You are on page 1of 26

CHAPTER 1

การขาดเอกภาพเป็ นปัญหาของอาเซียน*
Lack of unity is ASEAN’s problem

มาร์กกุ ซาโลมา (Markku Salomaa)1


เอกวิทย์ มณี ธร (Ekkawit Maneethorn) (ผูแ้ ปล)2
โชติสา ขาวสนิท (Shotisa Cousnit) (ผูแ้ ปล)3
ภารดี ปลื้มโกศล (Paradee Plumkoson) (ผูแ้ ปล) 4
1
ศาสตราจารย์วฒ ุ ิคุณ ดร., มหาวิทยาลัยตุรกู ศูนย์การศึกษาเอเชียตะวันออก
มหาวิทยาลัยฟิ นแลนด์ตะวันออก
Docent Professor Dr., University of Turku, Centre for East Asian Studies
University of Eastern Finland
2
รองศาสตราจารย์ ว่าที่เรื อตรี ดร.,3 ดร., 4อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Assoc.Prof.Sub Lt. Dr., Dr., Lecturer at Department of Laws, Faculty of political science and law
Burapha University
E-mail: shotianne@gmail.com

Received: 20 February 2020


Revised: 9 March 2020
Accepted: 29 March 2020

บทคัดย่ อ
บทความนี้ มี เป้ า หมายในการน าเสนอความไร้ เอกภาพของอาเซี ย นในสองประการซึ่ ง ท าให้
อาเซี ยนขาดความสามารถในระดับระหว่างประเทศ และเปิ ดโอกาสให้กบั จี นในการขยายอิ ทธิ พลมายัง

*
บทความชิ้นนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก ศาสตราจารย์วฒ ุ ิคุณ ดร.มาร์ กกุ ซาโลมา มหาวิทยาลัยตุรกู ศูนย์การศึกษาเอเชีย
ตะวันออก และมหาวิทยาลัยฟิ นแลนด์ตะวันออก เพื่อให้เป็ นบทความพิเศษสาหรับวารสารการเมื อง การบริ หาร และ
กฎหมาย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเนื้ อหาของบทความดังกล่าว เป็ นการบรรยายครั้งที่ 5 ในวัน
ศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 12:15 - 13:00 น. ของรายวิชา ยุทธศาสตร์ มหาอานาจจีนให้คาอธิ บายกับวิกฤติการณ์ทะเล
จีนตะวันออกและใต้ (Chinese superpower strategy explains East and South China Sea crisis) ซึ่ งเป็ นรายวิชาที่ เรี ยนแบบ
เข้มข้น (Intensive Course) ศูนย์การศึกษาเอเชียตะวันออก มหาวิทยาลัยตุรกู ประเทศฟิ นแลนด์

คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


37
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

อาเซี ยน ประการแรก อาเซี ยนไม่สามารถตัดสิ นใจบนพื้นฐานของจุดยืนร่ วมกันเพื่อต่อต้านจีนในการการยึด


พื้นที่ในทะเล ทั้งนี้ เนื่ องจาก รัฐสมาชิ กของอาเซี ยนต้องการพิทกั ษ์อานาจอธิ ปไตยโดยการแสดงจุดยืนและ
มีบทบาทที่แตกต่าง เนื่ องมาจากการขาดเอกภาพของอาเซี ยน จีนจึงสามารถทาตามทัศนะของชาติตนและ
ไม่สนใจคาประกาศและคาแนะนาของอาเซี ยน
ประการที่สอง ความขัดแย้งภายในอาเซี ยนทาให้อาเซี ยนให้ความสาคัญกับปั ญหาของตนเอง
ดังนั้นอาเซี ยนไม่สามารถเป็ นแนวร่ วมที่มีเอกภาพอย่างมีประสิ ทธิ ภาพในการต่อต้านการขยายอิทธิ พลของ
จีนปั ญหาประการหนึ่ งที่ส่งผลกระทบต่อรัฐสมาชิ กอาเซี ยนจานวนมากคือ วิกฤติผูอ้ พยพชาวโรฮิงญาซึ่ งมี
สาเหตุมาจากการที่ พม่ าฆ่า ล้างเผ่า พันธ์ ชาวโรฮิ งญาในรั ฐยะไข่ท างตอนเหนื อ แม้ว่ารั ฐสมาชิ ก บางรั ฐมี
ส่ วนร่ วมในการให้ความช่ วยเหลื อทางด้านมนุ ษยธรม แต่ความช่ วยเหนื อนี้ เน้นที่การแก้วิฤติมากกว่าการ
แก้ไขที่สาเหตุ อุ ปสรรคหลักอยู่ที่แนวคิดของพม่าที่ยึดถื อหลักอธิ ปไตยของตนเองและปฏิ เสธการเจรจา
เกี่ยวกับการให้ความเป็ นพลเมืองกับชาวโรฮิงญาว่าเป็ นการแทรกแซงกิ จการภายในประเทศของพม่าอย่าง
ไม่เหมาะสม

คาสาคัญ: การขาดเอกภาพ, ปัญหาของอาเซียน

Abstracts
This article aims to present Asean’s disunity in two important respects that makes Asean lack
international capability and offers opportunities to China to expand its influence into Asean.First Asean
cannot come to decision on common stand to confront China’s seizure of territories in the sea.This caused
by Asean member states want to conserve their sovereignty by showing their standpoints and playing their
roles differently.Due to Asean disunity, .China acts according to its national views and gives no attention to
declaration or recommendations by Asean.
Second, tension within Asean makes Asean put a priority on its own problems.Therefore, Asean
can not be an effective unified front against expanding Chinese influence.One important problem that affects
many member states is Rohingya refugee crisis caused by Burma’s anti-Rohingya cleansing in northern
Rakhine state. Even though, some member states take part in providing humanitarian assistance but this
assistance focus on managing the crisis not getting to the root causes.The main obstacle is Myanmar mindset
that holds on its sovereignty and rejects any talks relating to the issue of granting citizenship for Rohingya
as undue interference in domestic affairs
Keywords: Lack of unity, ASEAN’s problem

38 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

ภาพรวมปัญหาการขาดเอกภาพของอาเซียนซึ่งส่ งผลต่ อบทบาทของอาเซียนในเวทีโลกในกรณี


ความสั มพันธ์ ระหว่ างอาเซียนกับจีนและสหรัฐอเมริกาในกรณีพพิ าททางทะเล
เมื่อจีนและประเทศสมาชิ กสมาคมประชาชาติเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ (อาเซี ยน) 10 ประเทศ
กลับมาสานต่อการสนทนาหารื อกันอี กเกี่ ยวกับทะเลจี นใต้ ที่ประเทศสิ งคโปร์ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.
2557 ที่ผา่ นมานั้น เห็นได้อย่างชัดเจนว่าจีนได้ประโยชน์จากความแตกแยกของอาเซี ยน
อาเซี ยนไม่สามารถหาจุดยืนในการตัดสิ นใจร่ วมกันกรณี การเผชิ ญหน้ากับจีนที่อา้ งกรรมสิ ทธิ์ เข้า
ยึดครองดิ นแดนบางแห่ ง การขาดความเป็ นเอกภาพสร้ างโอกาสให้กบั จีนอย่างเต็มที่ จีนปฏิบตั ิการตาม
ความเห็นของชาติตนโดยไม่สนใจคาประกาศหรื อข้อเสนอแนะของอาเซี ยน
ความสามารถของอาเซี ยนมีไม่ถึงระดับนานาชาติ การประชุ มสุ ดยอดอาเซี ยน ครั้งที่ 31 ซึ่ งมีข้ ึน
ระหว่างวันที่ 13-14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่เมืองแอนเจลิส ในฟิ ลิปปิ นส์ โดยมี ประธานาธิ บดี โรดรี โก
โรอา ดูแตร์เต (Rodrigo Roa Duterte) เป็ นเจ้าภาพ แม้วา่ ประธานาธิ บดีสหรัฐอเมริ กา นายโดนัลด์ เจ. ทรัมพ์
ได้เข้าร่ วมการประชุ ม การประชุ มกลับไปไม่ได้ไกลไปกว่าการมีคาประกาศและข้อเรี ยกร้องในประเด็น
อย่า งเช่ น การรณรงค์ข องประธานาธิ บ ดี ดู แตร์ เต เพื่ อต่ อ ต้า นยาเสพติ ดภายในประเทศ การกวาดล้า ง
ชาวโรฮิ งญาของพม่าในรัฐยะไข่ทางตอนเหนื อหรื อการร่ วมกันยับยั้งโครงการทดลองขี ปนาวุธและอาวุธ
นิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
อาเซี ยนขาดความสามารถในการร่ วมกันกาหนดนโยบายและแก้ไขวิกฤติผลู ้ ้ ีภยั และการอพยพของ
ชาวโรฮิงญา สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการปะปนทางอารยธรรมในอาเซี ยน อาเซี ยนควรจะรวมอารยธรรม
พุทธ อิสลาม และคริ สต์ แต่กลับเป็ นไปไม่ได้ เมื่อปั ญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซบั ซ้อนขึ้น การจัดการกับปั ญหา
จึงยุง่ ยากมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่ งตามสภาพความเป็ นจริ งแล้วเกินกว่าที่กระบวนการและกลไกการตัดสิ นใจ
ของอาเซี ยนจะสามารถรับมือได้ อาเซี ยนไม่มีองค์กรที่สามารถทาการตัดสิ นใจดังกล่าว และยังขาดเจตจานง
ทางการเมืองร่ วมกัน เนื่องจากประเทศสมาชิ กต้องการปกปั กรักษาอานาจอธิ ปไตยของตนเองไว้ แม้วา่ รัฐที่
จีนพยายามขยายอิทธิ พลมาถึ งนั้นจะมีราคาที่ตอ้ งจ่ายสู งเพื่อรักษาอานาจอธิ ปไตยของตนเองก็ตาม ในทาง
ทฤษฎี แ ล้ว ค าประกาศและแนวปฏิ บ ัติ ใ นทะเลจี น ใต้ ซึ่ งเป็ นพื้ น ที่ แ ห่ ง การอ้า งสิ ท ธิ์ จะช่ ว ยบรรเทา
ความขัดแย้ง แต่ในความเป็ นจริ ง อาจจะเป็ นไปในทางตรงกันข้ามก็ได้
การประชุ มสุ ดยอดรัฐมนตรี ต่างประเทศแห่ งสมาคมประชาชาติเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ ที่ กรุ ง
พนมเปญ ประเทศกัมพูชาสิ้ นสุ ดโดยปราศจากข้อสรุ ปที่ลงตัวในการแก้ปัญหาการอ้างสิ ทธิ เหนื อพื้นที่ทาง
ทะเลซึ่ ง จีนอ้า งไว้รวมถึ ง ประเทศฟิ ลิ ปปิ นส์ เวียดนาม และมาเลเซี ย ไต้หวัน และบรู ไน ก็ ได้อ้างสิ ท ธิ
ดังกล่าวในบางส่ วนด้วย รัฐมนตรี ต่างประเทศของสหรัฐอเมริ กา นางฮิลลารี คลินตัน ผูเ้ ข้าร่ วมการเจรจาได้

คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


39
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

กดดัน ให้ มี ก ารหารื อ เกี่ ย วกับ ข้อ ตกลงแบบพหุ ภ าคี เ พื่ อ ผ่ อ นคลายความตึ ง เครี ยด ซึ่ งจี น ได้ค ัด ค้า น
การเคลื่อนไหวนี้ เนื่องจากจีนพอใจกับการเจรจาต่อรองกับแต่ละประเทศเป็ นการเฉพาะ
ผูท้ ี่คร่ าหวอดและคุน้ แคยอยูก่ บั บทสนทนาภายในกลุ่มประเทศอาเซี ยนนั้น ชี้ วา่ ประเทศในเอเชี ย
ตะวันออกเฉี ยงใต้ อภิปรายกันว่าการกดดันจีนนั้นทาได้ยากลาบาก ด้วยว่ามีประเทศ อย่างเช่ น กัมพูชาที่
ต่อต้านขั้นตอนใดใดก็ตามที่จะทาให้จีนลาบากใจ ส่ วนประเทศฟิ ลิปปิ นส์ ซ่ ึ งขับเคี่ยวแข่งขันกับจีนด้วยการ
อ้างสิ ทธิ เหนือพื้นที่ทางทะเลนั้นผลักดันให้อาเซี ยนใช้แนวทางที่แข็งกร้าวยิง่ ขึ้น
อารมณ์ปะทุข้ ึนอย่างร้อนแรงจนประเทศสมาชิ กอาเซี ยนทั้งสิ บประเทศไม่สามารถตกลงกันว่าว่า
จะเขียนแถลงการณ์สรุ ปให้ออกมาอย่างไรดี ซึ่ งโดยทัว่ ไปแล้วจะออกเมื่อสิ้ นสุ ดการประชุ มสุ ดยอดดังกล่าว
และใช้เป็ นบันทึกสุ ดท้ายของเหตุการณ์ เลขาธิ การ(ปั จจุบนั เป็ นอดีต) นายสุ รินทร์ พิศสุ วรรณ ได้กล่าวไว้
ในการประชุ มสุ ดยอดที่กรุ งเสี ยมเรี ยบ (ประเทศกัมพูชา) ในเดื อนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ว่า ความล้มเหลว
เช่ นนั้น "ไม่เคยมีมาก่อน" ในประวัติศาสตร์ (45 ปี )ของกลุ่มประเทศอาเซี ยน เหตุการณ์ ครั้งนี้ จึงเป็ นที่น่า
ผิดหวังอย่างมาก อาเซี ยนจะต้องเรี ยนรู ้วธิ ี การสร้างความแข็งแกร่ งและการประสานจุดยืนต่างๆ หากต้องการ
จะขึ้นมามีบทบาทในประชาคมโลก กระนั้น ตามจริ งแล้ว อาเซี ยนจาเป็ นต้องจัดการประชุมสุ ดยอดสามครั้ง
ในช่ วงปี พ.ศ. 2555 ซึ่ งใช้เวลาส่ วนใหญ่ไปกับกรณี ที่ประเทศไทยมุ่งแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่ องเขาพระวิหาร
และในที่สุดกัมพูชาก็ได้ถอนทหารออกมาจากพื้นที่ขดั แย้ง
รั ฐมนตรี ก ระทรวงการต่ า งประเทศของสหรั ฐฯ นางฮิ ล ลารี คลิ นตัน กล่ า ว ณ กรุ ง พนมเปญ
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ว่า การพูดถึงทะเลจีนใต้แสดงถึงความก้าวหน้า เพราะเป็ นการชี้ ให้เห็นว่า
ประเทศต่างๆ เต็มใจที่จะหารื อปั ญหาที่ยุ่งยาก แต่นกั วิเคราะห์กล่าวว่า ผลลัพธ์ที่ได้น้ นั เป็ นประโยชน์ต่อ
รัฐบาลจีน แดน บลูเมนธอล(Dan Blumenthal) ผูอ้ านวยการศูนย์ศึกษาเอเชี ย (Asian studies) แห่ งสถาบัน
วิสาหกิ จอเมริ กนั (Asian studies at the American Enterprise Institute, AEI) ซึ่ งเป็ นถังความคิดแนวอนุ รักษ์
นิยม ได้กล่าวว่า "เมื่อไหร่ ก็ตามที่ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซี ยนขาดจุดยืนร่ วมกัน เมื่อนั้นจีนก็ได้ชยั ชนะ"
จีนกาลังใช้ภาษาเพื่อกาหนด กฎหมายทางทะเลระหว่างประเทศ ในทะเลจีนตะวันออก และทะเล
จีนใต้ข้ ึนมาใหม่อย่างเงี ยบๆ ขณะที่อาเซี ยน(AEC) ไม่สามารถกาหนดทัศนะของตนได้ หรื ออาเซี ยนยังไม่
สามารถมี ฉัน ทามติ ที่ ม าจากการตัด สิ น ใจร่ ว มกัน ได้เ ลย เห็ น ได้ว่า ความเงี ย บไม่ ไ ด้เ ป็ นการแสดงถึ ง
ความยินยอมอันใดได้ในเรื่ องนี้
อาเซี ย นไม่ ค วรปล่ อยให้จีน นิ ย ามค าศัพ ท์ที่ ใ ช้ใ นการโต้แย้ง ตามความพอใจของจี น หรื อถ้า
อาเซี ยนปล่อยให้จีนใช้คาเหล่านี้ อย่างหละหลวมจนสู ญเสี ยความหมายทั้งหมดไป เท่ากับอาเซี ยนได้ปล่อย
ให้จีนตั้งสมมติฐานให้กบั การอภิปรายโต้แย้งที่จะเกิดขึ้นตามมานัน่ เอง ทันทีที่จีนกาหนดข้อสมมติฐาน จีน
สามารถพิสูจน์เพื่อยืนยันให้ได้สิ่งที่ตนเองต้องการ สิ่ งนี้เราเรี ยกว่า การเตรี ยมสนามรบในทางวาทศิลป์ หรื อ
เราจะเรี ยกว่า สงครามสามแบบ (three warfares) ไม่ว่า จะเรี ย กชื่ ออะไร สาหรั บรั ฐบาลจี นแล้วก็เป็ นการ

40 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

รณรงค์ที่ ไ ม่ มี ที่ สิ้ น สุ ด กล่ า วตรงๆ ก็ คื อ การรณรงค์น้ ี เรี ย กร้ อ งความเพี ย รพยายามอย่า งไม่ ล ดละเฉก
เช่นเดียวกัน (Foxnews, 2015, Online)
ดังนั้น ภาษาจึงเป็ นสมรภูมิของจีน ภายใต้อนุ สัญญาสหประชาชาติวา่ ด้วยกฎหมายทะเล การผ่าน
โดยสุ จริ ต (innocent passage) อ้างถึง สิ ทธิ ของเรื อที่จะแล่นผ่านทะเลอาณาเขตของรัฐชายฝั่ง นัน่ คือ 12 ไมล์
ทะเลจากชายฝั่ง โดยที่เรื อต้องไม่ทาสิ่ งที่ละเมิดความมัน่ คงของรัฐชายฝั่ง ซึ่ งข้อความในสนธิ สัญญาดังกล่าว
กาหนดว่า ลักษณะของกิจกรรมที่ละเมิดความมัน่ คงของรัฐ นั้นก็คือกิจกรรมเฝ้าระวังหรื อสอดส่ องตรวจตรา
ทางทหาร แต่การผ่านโดยสุ จริ ตเป็ นคาที่ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นอกทะเลอาณาเขต และเขตเศรษฐกิจจาเพาะ
หรื อ EEZ ของรั ฐชายฝั่ ง ซึ่ ง EEZ นี้ ครอบคลุ มบริ เวณพื้นที่ นอกชายฝั่ งในระยะ 200 ไปถึง 350 ไมล์ทะเล
ทั้งนี้ ขึ้นอยูก่ บั ภูมิศาสตร์ ใต้น้ า ณ ที่น้ ี เป็ นพื้นที่แห่งเสรี ภาพทางทะเล
โฆษกของอาเซี ยนจะต้องหักล้าง การใช้คาว่า การผ่านโดยสุ จริ ต ว่าไม่ถูกต้องในทุกครั้งที่รัฐบาล
จีนใช้คานี้ กบั EEZ ถ้าคานี้แทรกเข้ามาอยูใ่ นสานวนภาษาที่ใช้ร่วมกันได้เมื่อใด คานั้นก็จะหาช่องทางเข้าไป
อยูใ่ นการอภิปรายโต้แย้งทางกฎหมายในเรื่ อง EEZ แล้วปล่อยให้จีนกาหนดนิยามให้กบั หลักกฎหมายขึ้นมา
ใหม่ ส่ วนสหรัฐอเมริ กาจะพ่ายแพ้ในประเด็นที่สาคัญ เครื่ องบินทหาร ไม่ได้ไปเที่ยวชมที่นนั่ แต่ทาการบุก
สื บราชการลับทางทหารอย่างเข้มข้นด้วยการระดมกาลังพลขนาดใหญ่และต่อเนื่ องยาวนาน ซึ่ งเห็นได้ชดั ว่า
จีนได้ละเมิดกฎหมายของจีนเอง เช่ นเดียวกับรัฐชายฝั่งทั้งหมด จีนมีอานาจอธิ ปไตยเหนื อทะเลอาณาเขต
และน่านฟ้าของตนเท่านั้น
กฎหมายของจีนไม่ได้ควบคุมการเดินเรื อ หรื อ อากาศยานภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษของอาเซี ยน
มิพกั ต้องกล่าวถึง เส้นประเก้าเส้นที่ลอ้ มรอบทะเลจีนใต้ส่วนใหญ่ ที่รัฐบาลจีนกาหนดขึ้นเองโดยไม่มีเหตุผล
หากเรื อต่างประเทศรุ กล้ าเข้ามาจับปลา หรื อขุดเจาะน้ ามัน จีนก็จะเก็บหลักฐานไว้เพื่อเตรี ยมพร้อมสาหรับ
การฟ้ อ งร้ อ งคดี ภาวะผูน้ าของจี นที่ ต้องการควบคุ ม ทะเลและน่ า นฟ้ า ไม่ ไ ด้ท าให้น โยบายของจี นนั้น
กลายเป็ นกฎหมาย จุดยืนหนึ่งในการสนทนาตามแบบของจีน คือ การอ้างว่า กระนั้นก็ดี สหรัฐอเมริ กาก็ไม่
อนุ ญาตให้มีปฏิบตั ิการเช่นนี้ตามตามชายฝั่งทะเลของแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐฯเช่นกัน แต่การกล่าวซ้ าไปซ้ า
มาอย่างไม่หยุดหย่อนนั้นไม่ได้ทาให้สิ่งที่พูดกลายเป็ นความจริ งขึ้ นมาได้ ในวันที่ประหวัน่ พรั่ นพรึ งช่ วง
สงครามเย็น เรื อและเครื่ องบินของโซเวียต ปฏิบตั ิการตามชายฝั่งของยุโรปและอเมริ กาเหนื ออยูเ่ ป็ นประจา
ส่ วนเรื อและอากาศยานของประเทศตะวันตกก็ได้ปฏิ บตั ิการแบบเดี ยวกันโดยละเมิ ดสนธิ สัญญาวอร์ ซอ
ชาวอเมริ กนั และชาวโซเวียตหันมายอมรับความพยายามเช่ นนี้ ว่าเป็ นการเคลื่อนไหวที่ชอบธรรมในการ
แข่งขันเชิงยุทธศาสตร์

คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


41
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

UNCLOS ไม่ ได้ใ ห้สิ ทธิ ก ับประเทศใดใดในการดาเนิ นการอย่างเป็ นปรปั กษ์ในเขตเศรษฐกิ จ


จาเพาะ(EEZ) ของประเทศอื่ นๆ จุดยืนของสหรั ฐอเมริ กาที่ มองว่าสิ่ งที่ ตนกาลังทานั้นมี ความชอบธรรม
เต็มที่น้ นั ได้ถูกมองว่าเป็ นพวกปากว่าตาขยิบอย่างมาก เนื่องจากกองทัพสหรัฐฯ อาจจะยังคงเป็ นมหาอานาจ
ทางทหารประเทศเดี ยวที่สามารถปฏิ บตั ิการรวบรวมข้อมูลข่าวสารลับในเชิ งรุ กอย่างต่อเนื่ องยาวนานได้
แต่ แนวความคิ ด นี้ จ ะต้อ งไม่ ป ะปนกับ ภาษาทางกฎหมายของความขัด แย้ง กันด้ว ยอาวุ ธ ตัว อย่า งเช่ น
กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ นิยาม เจตนาร้าย (hostile intent) ว่าเป็ นภัยข่มขู่คุกคามที่ใกล้จะถึงซึ่ งจะเป็ น
อันตรายต่อบ้านเกิดเมืองนอน กองทัพ คนในชาติ หรื อทรัพย์สิน
ภัยข่มขู่คุกคามที่ใกล้จะถึง เข้ามาเป็ นมาตรฐานระหว่างประเทศที่เป็ นธรรมดาสามัญ ที่ให้เหตุผล
สนับสนุ นการแก้ปั ญหาด้วยการหันมาใช้อาวุธเพื่อตอบโต้ภยันตรายนั้นๆ ส่ วนที่ เหลื อของผูล้ งนามใน
UNCLOS จะต้องท้าทายความพยายามในการให้นิยามความหมายใหม่กบั ปฏิ บตั ิการทางทหารแบบปกติว่า
เป็ นการกระทาเสมือนว่าเป็ นการทาสงคราม (virtual acts of war)
ตราบเท่ า ที่ ป ฏิ บ ัติ ก ารของสหรั ฐ อเมริ ก า ถู ก มองว่ า มี ล ัก ษณะปากว่ า ตาขยิ บ ความจริ ง ที่ ว่ า
บางประเทศเลือกที่จะไม่ใช้สิทธิ พิเศษบางประการซึ่ งยอมรับกันในเวทีโลกไม่ได้ทาให้สิทธิ พิเศษที่ประเทศ
บางประเทศใช้ตอ้ งกลายเป็ นโมฆะ ถ้าจีนต้องการที่จะใช้ ธรรมเนี ยมสามัญแบบเดี ยวกันกับที่สหรัฐฯ ใช้
ก็ตอ้ งปล่อยให้จีนสร้างขีดความสามารถของตนเองแล้วก็เดินหน้าทาตามธรรมเนียมสามัญดังกล่าวไป
กระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริ กา ได้ดาเนิ นโครงการเสรี ภาพ
ของการเดินเรื อ (a Freedom of Navigation Program) มาเป็ นเวลาสามสิ บปี แล้วในปั จจุบนั เรื อของสหรัฐฯ
จงใจเย้ยหยามการอ้างสิ ทธิทางทะเลที่ผดิ กฎหมาย เช่น การที่ลิเบียอ้างสิ ทธิ์ การเป็ นเจ้าของอ่าวซิ ดรา (Sidra)
ทั้งหมดแต่เพียงผูเ้ ดียว ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศยืน่ หนังสื อประท้วงรัฐบาลที่อา้ งสิ ทธิ์ เช่นนั้น
ดังนั้น รั ฐบาลกลางสหรั ฐอเมริ กาจึ ง เป็ นผูน้ าในการเปิ ดประวัติก ารณ์ การคัดค้านการอ้างสิ ท ธิ์
ดังกล่าว ซึ่ งนัน่ เป็ นการกันไม่ให้ขอ้ เรี ยกร้ องเหล่านั้นมีน้ าหนักขึ้นจนกลายเป็ นธรรมเนี ยมปฏิ บตั ิระหว่าง
ประเทศและในท้ายที่สุดกลายไปเป็ นกฎหมาย รั ฐชายฝั่ งไม่ค่อยกล่าวถึ งเรื่ องนี้ บ่อยนัก ผลที่ ตามมาก็คือ
แต่ละฝ่ ายตกลงที่จะไม่เห็นด้วยและก็เดินหน้ากันต่อไป
แต่ เ มื่ อ ประเทศมหาอ านาจหลัก ยื่ น ข้อ เรี ย กร้ อ งที่ อ ยู่ เ หนื อ กฎหมายแล้ว แสดงก าลัง อ านาจ
สนับ สนุ น ข้อ เรี ย กร้ อ งของตนเอง นั่น ก็ ถึ ง เวลาแล้ว ที่ มิ ต รประเทศผูเ้ ดิ น เรื อ จะรวมพลัง กัน มากขึ้ น
เพื่อปกป้ องเสรี ภาพในท้องทะเล มิฉะนั้นแล้ว หลักการอาจจะเสื่ อมสลายไปตามกาลเวลา

42 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้ วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) เป็ นอนุสัญญาทีไ่ ม่ คลุมเครื อ


อนุ สัญญาสหประชาชาติวา่ ด้วยกฎหมายทะเล The United Nations Convention on the Law of the
Sea (UNCLOS) ยึ ด ถื อ แนวความคิ ด เรื่ อง การผ่ า นโดยสุ จริ ต ในทะเลอาณาเขตของรั ฐ ชายฝั่ ง
ซึ่ งแนวความคิดดังกล่าวเป็ นตัวกาหนดเนื้ อหาของแนวทางปฏิบตั ิการผ่าน จะเป็ นไปโดยสุ จริ ต เมื่อการผ่าน
นั้นไม่ไปกระทบต่อ ความสงบ ระเบียบอันดี หรื อ ความมัน่ คงของรัฐชายฝั่ง เรื อที่ผา่ นโดยสุ จริ ตอาจจะเข้า
ไปใน ทะเลอาณาเขตของรั ฐชายฝั่ ง อย่า งต่ อเนื่ องและรวดเร็ วโดยไม่ หยุดและไม่ ทอดสมอ เว้นแต่ก รณี
สุ ดวิสัย
กระทรวงการต่างประเทศฟิ ลิปปิ นส์ประณามประเทศกัมพูชาว่า เป็ นผูต้ ่อต้านคัดค้านอย่างไม่หยุด
หย่อนในทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงพื้นที่พิพาทพื้นที่หนึ่ ง จากข้อมูลของสานักข่าว Associated Press ซึ่ งได้อา้ ง
ถึงรัฐมนตรี การต่างประเทศของกัมพูชานายฮอ นาฮง (Hor Namhong) ที่กล่าวว่า ความล้มเหลวในการออก
แถลงการณ์น้ นั ตกอยูก่ บั ประเทศสมาชิกอาเซี ยนทั้งหมด
ความล้มเหลวของอาเซี ยนเกิ ดขึ้นมาท่ามกลาง การย้ าเตือนครั้งใหม่จากความพยายามของจีนใน
การยกระดับการยืนยันสิ ทธิ เหนื อทะเลจีนใต้ ซึ่ งเชื่ อว่ามี ทรัพยากรที่ อุดมสมบู รณ์ และเป็ นแหล่งเส้ นทาง
การค้าที่สาคัญ สถานทูตของจีนในฟิ ลิปปิ นส์ กล่าวว่า บุคลากรของจีนแล่นเรื อรบในน่านน้ าที่มีขอ้ พิพาทได้
สาเร็ จ โดยที่ลาเรื อได้รับความเสี ยหายเพียงเล็กน้อย และไม่มีบุคลากรของจีนรายใดที่บาดเจ็บล้มตายเลย
จากนั้น จีนแถลงว่าจะส่ งกองเรื อประมง จานวน 30 ลา ไปยังน่านน้ าใกล้หมู่เกาะสแปรตลีย ์ ซึ่ งทั้ง
จีนและฟิ ลิปปิ นส์ได้อา้ งสิ ทธิ์ ไว้ สานักข่าวซิ นหัวของทางการจีนกล่าวว่า เรื อจะใช้เวลาในการทาประมงเป็ น
เวลา 20 วัน นายหยางเจี๋ยฉี (Yang Jiechi) รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงต่างประเทศของจีนได้ตอบโต้ ฟิ ลิปปิ นส์
ในช่วงการประชุ มสุ ดยอดของจีน สานักข่าวซิ นหัว รายงานว่า นายหยาง เรี ยกร้องให้ฟิลิปปิ นส์ "เผชิ ญหน้า
กับข้อเท็จจริ งอย่างตรงไปตรงมาและไม่สร้างปั ญหา"เกี่ยวกับเกาะที่เป็ นกรณี พิพาทอีกเกาะหนึ่ง ซึ่ งเรี ยกเป็ น
ภาษาอังกฤษว่าเกาะปะการั งสการ์ โบโรห์ (Scarborough Shoal) และเรี ยกเป็ นภาษาจีนว่าเกาะหวงเหยียน
(Huangyan)
จิน กังรอง (Jin Canrong) รองคณบดีคณะการศึกษาระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยเรนมิง ในกรุ ง
ปั กกิ่ง (the school of international studies at Renmin University) ได้กล่าวว่า จีนสามารถเดินหน้ายืนยันสิ ทธิ์
ทางทะเลได้อย่างรวดเร็ วด้วยพลังเสี ยงสนับสนุ นจากมหาชนในประเทศ เขากล่าวว่า "ในระดับยุทธวิธี
รัฐบาลจีนจะมีความแข็งขันกว่าเดิม "จีนจะสื่ อสารกับสหรัฐอเมริ กามากขึ้นและจะแสดงตัวในทะเลจีนใต้
มากขึ้ น ด้วยการมุ่ งขุดเจาะน้ ามันและและส่ ง เรื อไปที่ นั่นเพิ่ มขึ้ น" การบรรลุ ข ้อตกลงนั้นท าได้ย ากและ
สหรั ฐ ฯ ก็ มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะดึ ง ประเทศที่ อ ยู่ ข ้า งจี น เช่ น กัม พู ช า มาเข้า ฝ่ ายสหรั ฐ ฯ นายบลู เ มนธอล

คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


43
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

(Mr. Blumenthal) แห่ ง AEI นั้น ได้อ้า งถึ ง สายสั ม พัน ธ์ ท างเศรษฐกิ จ ที่ ก ัม พู ช ามี ต่ อ จี น อย่ า งกว้า งขวาง
ซึ่ งรวมถึงความช่วยเหลือ และการใช้จ่ายในด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เขากล่าวว่า "ถ้าจีนจะดึงกัมพูชาให้มาเข้าพวก เราจะต้องทาเท่าที่เราสามารถทาได้เพื่อหยุดยั้งเรื่ อง
นี้ "อัน ที่ จ ริ ง ความล้ม เหลวของการเจรจาในกรุ ง พนมเปญเป็ นความล้ม เหลวในหลายๆ ด้า นส าหรั บ
สหรัฐอเมริ กาที่ได้พยายามมานานในการเสริ มสร้างให้อาเซี ยนเป็ นกลุ่มประเทศระดับภูมิภาคที่สามารถเป็ น
แนวร่ วมต่อต้านการขยายอิทธิ พลของจีน
นางคลินตันประกาศ การระดมทุนใหม่เป็ นจานวน 50 ล้านดอลลาร์ สาหรับโครงการการริ เริ่ มลุ่ม
แม่น้ าโขงตอนล่าง (the Lower Mekong Initiative) ซึ่ งเป็ นโครงการระยะเวลาสามปี ที่ให้การสนับสนุ นทาง
การเงินและทางเทคนิ ค ไปยังประเทศต่างๆ ที่อยูร่ ิ มแม่น้ าโขง แต่ยงั มีนกั วิเคราะห์กล่าวอีกว่าการระดมทุน
ดังกล่าวเป็ นไปเพื่อยืนยันบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้
เธอยังได้พบกับประธานาธิ บดี เต็ง เส่ ง (Thein Sein) ของพม่าในวันก่ อนหน้าที่ คณะผูแ้ ทนด้าน
ธุ รกิจสหรัฐฯ จะมาเยือนประเทศพม่าซึ่ งครั้งหนึ่งเคยเป็ นประเทศที่ลึกลับ นางคลินตันให้การรับรองชุดของ
การปฏิรูปเพื่อประชาธิ ปไตย ที่ประธานาธิ บดีพม่าได้ดาเนินการมากว่าหนึ่ งปี แล้ว ซึ่ งรัฐบาลนายโอบามาได้
กล่าวว่าในที่สุดก็มีการยกเลิกมาตรการคว่าบาตรทางเศรษฐกิจที่สาคัญกับประเทศหลังจากสัญญาว่าจะชะลอ
มาตรการดังกล่าวเมื่อตอนต้นปี
ส านัก ข่ า ว The Associated Press รายงานว่า บริ ษ ัท General Electric Co. GE กลายเป็ นหนึ่ ง ใน
บริ ษทั แห่ งแรกๆ ของสหรัฐฯ ที่ขยายกิ จการมายังพม่า หลังจากที่นายโอบามาประกาศการลงนามข้อตกลง
เพื่อจัดหาเครื่ องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลสองแห่งในประเทศพม่า
ตามข้อตกลงนี้ ซ่ ึ งมีมูลค่าประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ GE จะจัดหาเครื่ องเอ็กซเรย์จากบริ ษทั ท้องถิ่น
ของสหรั ฐ ถึ งกระนั้น ผลการประชุ มสุ ดยอดอาเซี ยนกลับย้อนแย้ง กับความพยายามของสหรั ฐฯในการ
เสริ มสร้างเอกภาพของอาเซี ยน ผลที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้ามกับที่สหรัฐฯ ต้องการ หลังจากที่สหรัฐฯ ตอกย้ า
การเรี ยกร้ องให้จีนเข้าร่ วมกับผูน้ าอาเซี ยนในการเจรจาทะเลจีนใต้ ด้วยว่าประเทศต่างๆ ในอาเซี ยนขาด
เอกภาพเนื่องจากวุน่ วายอยูก่ บั ความขัดแย้งในเรื่ องเล็กๆ น้อยๆ
นายเอียน สตอรี ย ์ (Ian Storey) นักวิชาการอาวุโสของสถาบันเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้เอเชียศึกษา
(the Institute of South-East Asian Studies) ในประเทศสิ งคโปร์ ได้กล่ าวว่า "สหรั ฐฯจะต้องผิดหวังอย่า ง
มากที่อาเซี ยนไม่สามารถแสวงหาข้อตกลงร่ วมกันในเรื่ องนี้ แต่แน่นอนว่าพวกเขาไม่สามารถกล่าวเช่นนั้น
ได้อย่างเปิ ดเผย" หลังจากได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการกดดันให้ทุกฝ่ ายมานัง่ ร่ วมโต๊ะเจรจากัน"

44 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2547 จีนได้ดาเนิ นการฝ่ ายเดี ยว ในการขวางกั้นเรื อฟิ ลิปปิ นส์ ที่พยายาม
ทาการเติ มเสบี ยงให้ก ับนาวิก โยธิ นในโขดหิ นโทมัสที่ สอง ในทะเลจี นใต้ นอกจากนี้ ค วามตึ ง เครี ย ดที่
เพิ่ ม ขึ้ น ระหว่ า งจี น และมาเลเซี ย กรณี ก ารค้น หาเที่ ย วบิ น MH307 ที่ ห ายไปโดยยัง ไม่ มี ค วามคื บ หน้ า
ซึ่ งเที่ยวบินนี้ มีผูโ้ ดยสารจานวน 239 ราย และผูโ้ ดยสาร ชาวจีนจานวน 154 ราย - อาจทาให้บรรยากาศใน
การประชุมแย่ลง

จาก DOC ถึง COC?


การปรึ กษาหารื อรอบแรกที่ประเทศจีนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 นั้นจัดขึ้นโดยคณะทางานร่ วม
เพื่อดาเนิ นการตาม คาแถลงการณ์ การดาเนิ นงานของภาคี ในทะเลจีนใต้ (the Declaration on Conduct of
Parties in the South China Sea) หรื อ DOC และเป็ นครั้ งแรกที่ กลุ่ มจัดการหารื อเบื้ องต้นเกี่ ยวกับประมวล
แนวปฏิบตั ิในทะเลจีนใต้ (a Code of Conduct in the South China Sea) หรื อ COC
แม้ ว่ า การหารื อเกี่ ย วกั บ DOC และ COC จะด าเนิ น ไปพร้ อ มกั น แต่ จี น ก็ ยื น ยัน ว่ า ควรให้
ความสาคัญกับการนา DOC ไปปฏิ บตั ิ อาเซี ยนพอใจกับการหารื อเรื่ อง DOC และ COC โดยแยกจากกัน
โดยมีการยกระดับการหารื อเรื่ อง COC จากเดิ มที่คณะทางานรั บผิดชอบดู แลอยู่ให้เป็ นเจ้าหน้าที่ทางการ
ระดับอาวุโสเข้ามามีบทบาทในการทางานเรื่ องนี้
ในการดาเนินการเรื่ อง COC นั้น อาเซี ยนสนับสนุนให้ใช้วิธีการตาม “มาตรการเร่ งด่วน” ทันทีที่
กาหนดข้อตกลงในประเด็นหนึ่ งได้แล้ว ควรดาเนิ นการตามข้อตกลงทันที ไม่ตอ้ งรอการกาหนดข้อตกลง
ของ COC ทั้งหมด
อาเซี ยนต้องการให้ COC มี ผลผูกพันทางกฎหมายโดยส่ วนตัวแล้วนักการทู ตอาเซี ย นกล่ าวว่า
พวกเขาต้องการให้ COC สรุ ปผลก่ อนสิ้ นปี พ.ศ. 2558 เมื่ อประชาคมความมัน่ คงทางการเมื องอาเซี ย น
(AEC) ได้ก่อตั้งขึ้น
อาเซี ยนต้องเผชิ ญกับปั ญหาจากจี นอย่างน้อยสองประการในการปฏิ บตั ิการตาม COC ประการ
แรก แม้วา่ DOC กาหนดให้ฝ่ายต่าง ๆ “ใช้ความอดกลั้นด้วยการละเว้นการทากิจกรรมที่จะทาให้ขอ้ พิพาทมี
ความซับ ซ้อนและทวีความรุ นแรงขึ้ นและส่ ง ผลกระทบต่ อสั นติ ภาพและความมัน่ คง” จีนเปลี่ ย นแปลง
สถานะของตนเองอย่างต่อเนื่ องให้เอื้อต่อการกระทาของจีนแต่ฝ่ายเดี ยว ดังเช่ น ในเดื อนพฤศจิกายน จี น
ประกาศสิ ทธิ พิเศษของตนในการก่อตั้ง เขตแสดงตนเพื่อการป้ องกันภัยทางอากาศ เหนือ ทะเลจีนใต้ (an Air
Defense Identification Zone) และในเดื อนเดี ยวกัน เจ้าหน้าที่จงั หวัดไหหลาประกาศปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์
ในการทาประมงให้ครอบคลุมถึงเกือบร้อยละ 60 ของทะเลจีนใต้ โดยรวมเขตเศรษฐกิจจาเพาะของรัฐหลาย
รัฐที่อา้ งสิ ทธิ เหนื อน่านน้ านี้ ดว้ ย ภายใต้กฎข้อบังคับฉบับแก้ไข เรื อต่างประเทศจะต้องขออนุ ญาตล่วงหน้า

คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


45
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

ก่ อนท าการประมงในพื้ นที่ แห่ ง นี้ ในเดื อนมกราคมจี นเริ่ ม การลาดตระเวนเป็ นประจาเพื่ อบังคับใช้ก ฎ
ข้อบังคับเหล่ านี้ ทางการรายงานการจับกุมเรื อประมงต่างประเทศเป็ นประจาทุกสัปดาห์ เรื อลาดตระเวน
ชายฝั่ งของจี นดาเนิ นการฝ่ ายเดี ยวเมื่ อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557 โดยขวางกั้นเรื อของฟิ ลิ ปปิ นส์ สองลาที่
พยายามทาการเติมเสบียงให้กบั นาวิกโยธิ นใน โขดหิ นโทมัสที่สอง ในทะเลจีนใต้ ฟิ ลิปปิ นส์ถูกบังคับให้
เติมเสบียงนาวิกโยธิ นทางอากาศ การทูตของอาเซี ยนล้มเหลวในการโน้มน้าวให้จีนมีความอดกลั้นไม่กระทา
การดังกล่าว
นอกจากนี้ ความพยายามของอาเซียนในการให้จีนยอมปฏิบตั ิตามประมวลแนวการปฏิบตั ิในทะเล
จี นใต้ ยัง ต้องเผชิ ญกับ ปั ญหาอุ ปสรรคประการที่ ส องนั่นคื อ การรั ก ษาความเป็ นเอกภาพในหมู่ป ระเทศ
อาเซี ยนด้วยกันเองในช่วงระหว่างการเจรจาต่อรอง
ภายใต้ฉากหน้าของอาเซี ยนที่แสดงเอกภาพทางการทูตในประเด็นทะเลจีนใต้ ประเทศสมาชิ ก
แต่ละประเทศยังคงมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับการดาเนินการตามประมวลแนวการปฏิบตั ิในทะเลจีน
ใต้ ตัวอย่างเช่น ความตึงเครี ยดทางการเมืองในกรุ งพนมเปญอาจส่ งผลให้กมั พูชาเดินตามจีนด้วยการเล่นบท
ที่สร้างความยุง่ ยากอีกครั้งในประเด็นทะเลจีนใต้
รัฐบาลนายฮุนเซนเผชิ ญกับปั ญหาการประท้วงต่อต้านขนาดใหญ่อนั เนื่ องมาจากรัฐบาลนายฮุ น
เซนนั้นได้เข้าควบคุมการเลือกตั้งในระดับประเทศ จีนแสดงท่าทีออกห่ างจากจากนายฮุนเซน บางที หัวหน้า
ฝ่ ายค้า น นายสมรั งสี หวังใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ ดังกล่ าว โดยเขาได้กล่ าวว่า การอ้า งสิ ท ธิ์ เหนื อ
ดินแดนในทะเลจีนใต้ของจีนนั้นเป็ นคากล่าวอ้างที่ใช้ได้
เวียดนามอ้างอานาจอธิ ปไตยเหนื อหมู่เกาะพาราเซล และต้องการให้หมู่เกาะนี้ รวมอยูใ่ นขอบเขต
ทางภู มิ ศ าสตร์ ข องประมวลแนวปฏิ บ ตั ิ ใ นทะเลจี นใต้ ประเทศสมาชิ ก อื่ น ๆ ในอาเซี ย นมองว่า หมู่ เกาะ
พาราเซลเป็ นเรื่ องทวิภาคีระหว่างปั กกิ่ งและฮานอย ขณะที่เวียดนามซึ่ งมีจุดยืนที่ตรงข้ามกับฟิ ลิ ปปิ นส์ น้ นั
จัดการป้ องกันไม่ให้ขอ้ พิพาทในทะเลจีนใต้กระทบต่อความสัมพันธ์แบบทวิภาคีโดยรวมระหว่างเวียดนาม
กับจีน
มาเลเซี ยและบรู ไนซึ่ งเป็ นรัฐผูอ้ า้ งสิ ทธิ เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ดว้ ยนั้น วางท่าทีอย่างรอบคอบ
ให้ไม่โดดเด่นเป็ นจุดสนใจ ในเรื่ องทะเลจีนใต้ เรื อประมงของจีนรุ กล้ าเข้ามาในเขตเศรษฐกิ จจาเพาะของ
มาเลเซี ยอยูเ่ สมอ
เรื อ ทหารพลเรื อ นของจี น (Chinese paramilitary vessels) ซึ่ งปั จ จุ บ ัน ได้รั บ การตั้ง ชื่ อ ใหม่ ว่ า
หน่ วยพิทกั ษ์ชายฝั่ งของจี น the China Coast Guard ซึ่ งท้าทายเรื อของบริ ษทั ปิ โตนาสซึ่ งเป็ นบริ ษทั น้ ามัน
ของรัฐเป็ นประจา ซึ่ งให้บริ การแท่นขุดเจาะนอกชายฝั่งในเขตเศรษฐกิจจาเพาะ (EEZ) ของมาเลเซีย

46 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

ในปี พ.ศ. 2556 และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 กองเรื อรบของกองทัพปลดปล่อยประชาชนของ


จีน ได้เคลื่ อนไปยัง โขดหิ นเจมส์ ซ่ ึ งอยู่ห่างจากชายฝั่ งทะเลทางตะวันออกของมาเลเซี ยเป็ นระยะทาง 80
กิโลเมตรและห่ างจากจุดใต้สุดของของเส้นประเก้าเส้นที่จีนอ้างสิ ทธิ์ ในทะเลจีนใต้ โฆษกรัฐบาลมาเลเซี ย
กล่าวว่าไม่ทราบเรื่ อง ซึ่ งไม่น่าจะเป็ นไปได้วา่ ทางการมาเลเซี ยจะไม่ทราบเรื่ องนี้จริ งๆ
เจ้า หน้า ที่ ข องมาเลเซี ย ตระหนัก ถึ ง กิ จ กรรมการประมงที่ ผิ ด กฎหมายของจี น และการยื น ยัน
อธิ ปไตยของจีนอื่นๆ ในเขตเศรษฐกิ จจาเพาะ ตัวอย่างเช่ นในปี พ.ศ. 2556 นักการทูตมาเลเซี ย ได้บรรยาย
สรุ ปสั้นๆ เป็ นการส่ วนตัวให้กบั นักวิชาการจากถังความคิดอาเซียน (an ASEAN think tank) และบอกพวก
เขาว่าภาพถ่ายทางอากาศยืนยันว่ากองเรื อรบของกองทัพปลดปล่อยประชาชนของจี นอยู่ใกล้กบั โขดหิ น
เจมส์ ในปี นี้ หลังจากเจ้าหน้าที่ มาเลเซี ยนั้นกล่าวว่าไม่ทราบเรื่ องการที่ กองเรื อรบของกองทัพปลดปล่ อย
ประชาชนของจีนได้เข้ามาเยือนโขดหินเจมส์
ผูบ้ ญั ชาการทหารสู งสุ ดมาเลเซี ยยืนยันว่าได้ตรวจพบกองเรื อรบของจีนซึ่ ง “หลงเข้าไปในน่านน้ า
มาเลเซี ย … ตราบใดที่มนั เป็ นการผ่านอย่างสุ จริ ต สาหรับเราแล้ว ก็ไม่เป็ นไร” เจ้าหน้าที่มาเลเซี ยกล่าวโดย
ส่ วนตัวว่านายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค เป็ นผูก้ าหนดท่าที่แบบ “ไม่เห็ นอะไรไม่รู้อะไร” โดยนายกรัฐมนตรี
นาจิบ ราซัค นั้นคือผูค้ วบคุมนโยบายทะเลจีนใต้และระงับข้อความทางการที่เป็ นการวิพากษ์จีน
แต่หนึ่ งวันหลังจากนายกรัฐมนตรี มาเลเซี ยปรากฎตัว ในงานแถลงข่าวเรื่ องการค้นหาเที่ ยวบิ น
MH307 บทความแสดงความคิดเห็นในสานักพิมพ์ซินหัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558 ได้ต้ งั ข้อสังเกตต่อ
ท่าทีแบบไม่เห็นอะไร ไม่รู้อะไรว่าเป็ น “การละเลยหน้าที่ ไม่เช่นนั้นก็เป็ นความลังเลที่จะร่ วมแบ่งปั นข้อมูล
อย่างครบถ้วนและเหมาะสมกับเวลา"
ฟิ ลิปปิ นส์ เป็ นเจ้าภาพการประชุ มคณะทางานอาเซี ยนด้านการอ้างกรรมสิ ทธิ์ (ASEAN Claimants
Working Group) เป็ นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ด้วยความพยายามที่จะสร้างฉันทามติในหมู่
รัฐที่เกี่ ยวข้องที่สุด อย่างไรก็ตาม การที่บรู ไนไม่เข้าร่ วมประชุ ม ก็ทาให้อาเซี ยนขาดฉันทามติ เดื อนก่อน
หน้านี้บรู ไนปฏิเสธที่จะเข้าร่ วมการประชุมย่อยคู่ขนานซึ่ งมีผเู ้ รี ยกร้องสิ ทธิ อีกสามรัฐเข้าร่ วม ในการประชุ ม
รัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซี ยนอย่างไม่เป็ นทางการในประเทศพม่า
ผูส้ ั ง เกตการณ์ ก ล่ า วว่า แง่ บวกประการหนึ่ งของการประชุ มนั้นคื อมาเลเซี ยมี ส่ วนร่ วมมากขึ้ น
กว่า เดิ ม สหรั ฐฯ ได้ดาเนิ นการปู ท างไปสู่ ก ารเรี ย กร้ องให้ มี ก ารหารื อระหว่า งอาเซี ย นกับ จี นขึ้ นมาอี ก
โดยสหรัฐฯ มี บทบาทเชิ งรุ กมากขึ้ นด้วยการผลักดันให้จีนพิจารณาการเรี ยกร้ องสิ ทธิ เหนื ออาณาเขตทาง
ทะเลของตนให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
สมาชิ กแกนหลักของอาเซี ยนดูมีความเป็ นเอกภาพมากกว่าเดิ มในการกดดันจีนให้ยุติการกระทา
ฝ่ ายเดียวที่บ่อนทาลายความมัน่ คงในภูมิภาค แต่นโยบายภูมิภาคนิ ยมและการไม่แทรกแซงระหว่างกันของ

คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


47
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

รัฐในภูมิภาคเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้เป็ นพลังที่ตา้ นไม่ให้รัฐต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ใช้มาตรการในการตอบโต้


จักรวรรดินิยมของจีนได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ
อาเซี ยนได้แสดงจุ ดยืนในการไม่กดดันประเทศสมาชิ ก ในประเด็นปั ญหาภายในประเทศ เช่ น
การละเมิ ดสิ ทธิ แต่นโยบายดังกล่าวของอาเซี ยนได้กลับมาหลอกหลอนอาเซี ยนเองอีกในกรณี ที่รัฐบาล
เมียนมาร์ ละเมิดสิ ทธิ ของชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา
ในตอนนี้ ประเทศอาเซี ยนอื่นๆ อีกสามประเทศ อันได้แก่ อินโดนีเซี ย มาเลเซี ย และไทย ต้องต่อสู ้
กับวิกฤตด้านมนุ ษยธรรมที่ เกี่ ยวข้องกับชาวโรฮิงญาและบังคลาเทศหลายพันคนที่ ติดอยู่นอกชายฝั่ งของ
ประเทศเหล่ า นี้ การละเลยปั ญ หาเป็ นเวลาหลายปี ท าให้โ อกาสที่ จะนาการทู ตมาใช้เพื่ อเปลี่ ย นแปลง
พฤติกรรมของประเทศเมียนมาร์ เป็ นสิ่ งแทบจะเป็ นไปไม่ได้
วิกฤติครั้งนี้ เป็ นหนึ่งในการทดสอบที่ยงิ่ ใหญ่ที่สุดของกลุ่มประเทศ 10 ประเทศนับตั้งแต่สงคราม
เวียดนาม ไม่วา่ จะเป็ นการทดสอบอาเซี ยนว่าจะสามารถปกป้ องชี วติ ของแรงงานข้ามชาติได้หรื อไม่และใน
ระดับใดที่อาเซี ยนสามารถเผชิ ญหน้ากับประเทศสมาชิ กของอาเซี ยนเองได้ในระดับใด ซึ่ งในกรณี น้ ี คื อ
ประเทศเมียนมาร์ เดิมพันของอาเซี ยนนั้นสู ง ตามความสนใจระดับโลก วิกฤติกาลังจะเกิดขึ้นและเป็ นไปได้
ว่า แรงงานข้ามชาติจานวนมากอาจเสี ยชีวติ หากไม่มีประเทศใดรับพวกเขาเข้าประเทศ
สมาชิ ก รั ฐสภามาเลเซี ย นายชาร์ ล ส์ ซานติ เอโก กล่ า วว่า “นี่ เป็ นบททดสอบส าหรั บ อาเซี ย น
บททดสอบความยัง่ ยืนของอาเซี ยน ความชอบธรรมของอาเซี ยนจะขึ้นอยู่กบั แบบทดสอบนี้ และขึ้นอยู่กบั
วิธีการแก้ไข” ซึ่ งเขาเป็ นประธานกลุ่ มผูร้ ่ างกฎหมายระดับภูมิ ภาคซึ่ งเรี ยกร้องสิ ทธิ มนุ ษยชน และเขาได้
พูดถึงความจาเป็ นในการช่วยเหลือผูล้ ้ ีภยั และผูอ้ พยพที่ลอยอยูใ่ นน่านน้ าช่องแคบมะละกา จากเรื่ องนี้ ทาให้
หลักการพื้นฐานของอาเซี ยนในเรื่ องการไม่แทรกแซงกันนั้นได้ปรากฏรอยร้าวขึ้นมาเป็ นบางส่ วน

การเนรเทศชาวโรฮิงญาเป็ นจานวนมากขึน้
หน่ วยงานด้า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของสหประชาชาติ ก ล่ า วไว้ใ นวันที่ 27 สิ งหาคม พ.ศ. 2561 ว่า
พล.อ. มิ นอ้าวหลิ ง ผูบ้ ญั ชาการทหารบกของพม่าและผูบ้ งั คับบัญชาระดับสู งอื่น ๆ ควรถู กดาเนิ นคดี การ
ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮิงญา
หน่ วยงานด้านสิ ทธิ์ ได้ประณามการรณรงค์ดว้ ยความรุ นแรงที่ยาวนานนับปี ต่อชาวโรฮิงญานั้น
ด้วยภาษาที่ แข็งกร้ าวอย่างที่ สุด เช่ น กรณี ที่หน่ วยภารกิ จการค้นหาความจริ งซึ่ งมี สมาชิ กจานวนสามคน
ทาการประเมิ นว่ามี ผูเ้ สี ย ชี วิตไม่ต่ ากว่า 10,000 หน่ วยงานด้านสิ ท ธิ์ ตราหน้า ตัวเลขนี้ ว่า "เป็ นเพีย งการ
ประมาณขั้นต่า ซึ่ งในความเป็ นจริ งนั้นมีผูเ้ สี ยชี วิตมากกว่านี้ " นอกจากนี้ หน่ วยงานดังกล่าวยังเสนอให้นา
เรื่ องการละเมิดสิ ทธิ ชาวโรฮิงญาไปยืน่ ที่ศาลศาลอาญาระหว่างประเทศหรื อศาลพิเศษอื่น

48 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

เจ้าหน้าที่ สหประชาชาติ และกลุ่ มสิ ทธิ มนุ ษยชนได้ก ล่ าวในเดื อนที่ ผ่านมาว่าพบหลักฐานเป็ น
จานวนมากขึ้ นในเรื่ อง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในรั ฐยะไข่ของพม่าซึ่ งติ ดกับประเทศบังคลาเทศ การฆ่าล้า ง
เผ่าพันธุ์เป็ นคาที่แทบจะไม่ได้ใช้นกั และมีความหมายทางกฎหมายที่ชดั เจนแม่นยาซึ่ งมีมุ่งชี้ ถึงเจตนาของ
ผูก้ ระทาความผิด
แต่หลังจากรวบรวมภาพถ่ ายจากดาวเที ยมและการสัมภาษณ์ เหยื่อและพยานจานวน 875 ราย
รวมถึงข้อมูลบัญชี การฆ่าและการข่มขืนเหยื่อจานวนมาก ผูส้ อบสวนได้กล่าวในรายงานว่า เหตุการณ์ในรัฐ
ยะไข่ “มีลกั ษณะมีความรุ นแรง และขอบเขตที่คล้ายกันกับเหตุการณ์ ที่มีเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิ ดขึ้นใน
บริ บทอื่นๆ”
ที่สาคัญผูส้ อบสวนพบว่ามี "การจัดองค์กรในระดับที่มุ่งทาลายล้าง” องค์การสหประชาชาติกล่าว
ว่าประเทศเมี ยนมาร์ ควรรั บผิดชอบในการแก้ไขปั ญหาความตึ งเครี ยดทางชาติ พนั ธุ์ กบั ชาวโรฮิ งญาเพื่ อ
ป้ องกันไม่ให้สมาชิ กอาเซี ยนรัฐอื่นๆ ต้องแบกรับภาระและอีกไม่กี่วนั ต่อมา นับเป็ นครั้งแรกที่ ประเทศ
เมียนมาร์ เสนอความช่วยเหลือในการบรรเทาวิกฤติที่ถูกประมาณมีสาเหตุส่วนหนึ่ งมาว่ามาจากปฏิบตั ิการ
จากฝ่ ายรัฐบาลต่อชาวโรฮิงญา สื่ อทางการของรั ฐบาลพม่า อ้างคาแถลงของกระทรวงการต่างประเทศว่า
รัฐบาล "ร่ วม" แสดงความห่ วงใยกับข้อกังวลที่ประชาคมระหว่างประเทศแสดงออกมา และพร้ อมที่จะให้
ความช่ วยเหลื อด้านมนุ ษยธรรมต่อผูป้ ระสบทุกข์ภยั ในทะเล” นัน่ เป็ นคากล่าวที่ประนี ประนอม มากที่สุด
จากรัฐบาลเมียนมาร์ ซ่ ึ งถือว่าชาวโรฮิงญาเป็ นชาวต่างชาติจากบังคลาเทศซึ่ งเป็ นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง
และบอกปัดความรับผิดชอบใดใดต่อชาวโรฮิงญา
ชาวโรฮิงญาในประเทศเมียนมาร์ ถูกรังแกมานานหลายปี และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็ นต้นมา
เมื่อรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศมานานได้เปิ ดทางให้รัฐบาลที่มาจากการเลื อกตั้งแต่เพียงใน
นาม พวกเขาก็ยงิ่ ถูกรังแกมากขึ้น
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ชาวโรฮิงญามากกว่า 890,000 รายจากประชากรชาวโรฮิงญาทั้งหมด จานวน
1 ล้าน 3 แสนรายล้านคนหลบหนีออกนอกประเทศ เมื่อฝูงชนชุมนุมชาวพุทธได้สังหารพวกเขาถึง 280 คน
ในช่วงแรกและขับไล่ชาวโรฮิงญาหลายแสนคนจากบ้านเรื อนของพวกเขา ผูพ้ ลัดถิ่นเหล่านั้นถูกบังคับให้อยู่
ในค่ายพวกเขาไม่สามารถทางาน ไม่ได้รับการศึกษาที่เพียงพอหรื อไม่ได้รับการดูแลทางการแพทย์
ในประเทศไทย ผูน้ าได้กล่าวว่าวิกฤติผอู ้ พยพย้ายถิ่นไม่ใช่ปัญหาของพวกเขา แต่จาเป็ นต้องได้รับ
การแก้ไขจาก “ประเทศต้นทาง” ซึ่ งไม่ได้ระบุประเทศใดใดเป็ นการเฉพาะเจาะจง ประเทศเมียนมาร์ ปฏิเสธ
ที่จะใช้คาว่า “โรฮิงญา” และกล่าวว่ากลุ่มดังกล่าวนั้น อพยพมาจากบังคลาเทศโดยผิดกฎหมาย แม้วา่ กลุ่มนี้
อาศัยอยูใ่ นประเทศเมียนมาร์ มาหลายชัว่ อายุคนก็ตาม
สถานะของ ชาวโรฮิงยาในประเทศเมียนมาร์ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เมื่อกองทัพปลดปล่อยชาว
โรฮิ ง ญา-อาระกัน (Arakan Rohingya Salvation Army) หรื อ ARSA ) เริ่ ม ปฏิ บ ัติก ารในรั ฐ ยะไข่ ด้ว ยการ
คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
49
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

โจมตีสถานีตารวจและกองทหาร ในวันที่ 25 สิ งหาคม พ.ศ. 2560 มีมือปื น 500-600 คน โจมตีเป้ าหมาย 30


จุด และโจมตี 60 ครั้ง การโจมตี มีผโู ้ จมตีถูกยิงเป็ นจานวนรวม 77 คน ส่ วนทหารและตารวจเมียนมาร์ ที่ถูก
ยิงเป็ น จานวนรวม12 นาย ถูกยิง และพลเรื อนที่ถูกยิงอีก 44 คน นอกเหนื อจากนั้น คนพม่าจานวน 22 คน
ถูกผูโ้ จมตีจบั เป็ นตัวประกันด้วย
วัน รุ่ ง ขึ้ น คณะมนตรี ค วามมั่น คงของเมี ย นมาร์ น าโดยนางออง ซาน ซู จี ประกาศว่า ARSA
มี ส ถานะเป็ นองค์ก ารก่ อ การร้ า ยและได้ด าเนิ น การรณรงค์ต่ อ ต้า นการก่ อ การร้ า ย ในช่ ว งเริ่ ม ต้น ของ
ปฏิบตั ิการ ทหารพม่าได้เผาและทาลายหมู่บา้ นโรฮิงญา 176 แห่ง (จาก 471 แห่ง)
ชาวโรฮิงญามีมสั ยิด 1,272 แห่ งในประเทศพม่า การทาลายมัสยิดเกิดขึ้นอย่างไร้ระบบ แต่ในไม่กี่
เดือนมีชาวโรฮิงญาจานวน 6,700 คน ถูกฆ่าตาย ทั้งหมดนี้เริ่ มต้นหลังจากเหตุการณ์ที่ชายชาวโรฮิงญาข่มขืน
เด็ กหญิ งชาวพม่า สมาคมสงฆ์ชาวพุ ท ธแห่ ง ชาติ ม าบาท่ า (Ma Ba Tha) เริ่ มกล่ าวโทษกลุ่ ม ชาวโรฮิ ง ญา
อิสลามแบบเหมารวม พม่าประกาศว่าสมาคมสงฆ์ผิดกฎหมาย แต่นนั่ ก็ไม่ได้หยุดการดาเนินการของสมาคม
นี้
อองซานซู จีกล่าวอย่างชัดเจนว่าพม่าจะไม่อนุ ญาตให้ ARSA ตั้งรัฐของตนเอง ยังมีกลุ่มชาติพนั ธุ์
หลายกลุ่ มในพม่าที่ ยงั คงต่อสู ้ กบั รั ฐบาลกลางต่อไป เช่ น กองทัพนักสู ้ คริ สเตี ยนเพื่ออิสรภาพของคะฉิ่ น
Kachin Independence Army) จานวน 8,000 คน นักสู ้แห่งกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติ Ta’Ang ของรัฐ Shani
จานวน 5,000 คน นักสู ้คอมมิวนิสต์ แห่ งกองทัพพันธมิตรประชาธิ ปไตยแห่งชาติพม่า (Myanmar National
Democratic Alliance Army) หรื อ MNDAA จานวน 2,000 คน ในภูมิภาคโกแกง (Kokang) และนักสู ้แห่ ง
กองทัพอะระกัน AA (Arakan Army)ในรัฐยะไข่ จานวน 1,500 คน อย่างไรก็ตามพม่าปฏิ เสธว่าตนไม่ได้
เป็ นต้นเหตุของวิกฤตและดูเหมือนไม่เต็มใจที่จะเข้าร่ วมการเจรจาระดับภูมิภาคเพื่อแก้ไขปั ญหานี้
รั ฐบาลพม่า แสดงท่ าที ล ังเลสงสั ยว่า จะเข้าร่ วมการประชุ ม ซึ่ งจัดโดยประเทศไทย ในวันที่ 29
พฤษภาคม พ.ศ. 2558 หรื อไม่ โดยการประชุมนี้รวม 15 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุฉุกเฉิน
รัฐมนตรี ต่างประเทศจากมาเลเซี ยและอินโดนีเซี ยซึ่ งรับผูอ้ พยพหลายพันคนจากเรื อจานวนหนึ่ งที่
มีผคู ้ นหนาแน่นมาขึ้นฝั่ง แต่ไม่รับเรื อลาอื่นๆ นั้นได้จดั หาที่พกั พิงชัว่ คราวให้กบั คนหลายพันคนที่ลอยค้าง
อยูใ่ นทะเล นี่นบั เป็ นความสาเร็ จครั้งแรกในการฝ่ าวิกฤตมนุษยธรรม
หลังจากการประชุมกับรัฐมนตรี วา่ การกระทรวงการต่างประเทศของประเทศ อินโดนีเซี ยและไทย
รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซี ย นายอานิฟาห์ อามาน (Anifah Aman) ได้กล่าวต่อผูส้ ื่ อข่าว
ว่า “ อินโดนีเซี ยและมาเลเซี ยตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุ ษยธรรมแก่ผทู ้ ี่ทาการอพยพอย่างผิดปกติ
จานวน 7,000 คนซึ่ ง อยู่ใ นทะเลและได้ตกลงกันว่า ที่ จะให้ที่ พ กั พิ ง ชั่วคราวแก่ พ วกเขาอี ก ด้วย หากว่า
กระบวนการการตั้งถิ่นฐานใหม่และการส่ งกลับจะดาเนินการภายในหนึ่งปี โดยชุมชนนานาชาติ"

50 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

แต่ผูเ้ ชี่ ยวชาญสงสัยว่าประเทศต่างๆ จะพากันวิพากษ์วิจารณ์ พม่ามากจนเกินไปในกาลข้างหน้า


ซึ่ งมีแต่จะเป็ นการตอกย้ าชื่ อเสี ยงที่ไร้น้ ายาของอาเซี ยน ส่ วนใหญ่ จุดเน้นเร่ งด่วนจะอยูท่ ี่การบริ หารจัดการ
วิกฤติ โดยไม่ไปถึงต้นเหตุ
ฐิ ติ นัน ท์ พงษ์ สุ ท ธิ รั ก ษ์ นัก รั ฐ ศาสตร์ แ ละผู ้อ านวยการสถาบัน ความมั่น คงและนานาชาติ
ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุ งเทพฯ ได้กล่าวว่า “นี่ จะเป็ นการแสดงให้เห็ นถึงความอ่อนแอของอาเซี ยน
นี่เป็ นภาพสะท้อนอีกภาพหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการขาดความเป็ นปึ กแผ่นที่มีประสิ ทธิ ภาพของอาเซี ยน”
อาเซี ยนก่ อตั้งขึ้นเมื่ อปี พ.ศ. 2510 ในฐานะกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิ สต์ในยุคสงครามเย็น อาเซี ยน
ดาเนินการเพียงเล็กน้อยในการจัดการจัดการปั ญหาด้านสิ ทธิ มนุษยชนในภูมิภาคอันกว้างใหญ่ซ่ ึ งมีประชากร
จานวน 600 ล้านคน ในกฎบัตรที่ ใช้ในปี พ.ศ. 2550 ประเทศในกลุ่ มอาเซี ยนมุ่งมัน่ ที่ จะรั กษากฎหมาย
ระหว่างประเทศและสิ ทธิ มนุ ษยชน แต่ยืนยันว่าพวกเขาจะไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน
ช่องโหว่ที่นกั วิจารณ์กล่าวว่าช่วยให้รัฐสมาชิกกระทาการละเมิดโดยปราศจากผลที่จะติดตามมา
ใน ปี พ.ศ. 2552 กลุ่ ม เปิ ดเผยคณะกรรมการที่ ไ ด้รั บ มอบหมายให้ ส่ ง เสริ ม สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน
แต่คณะกรรมการนี้ไม่มีอานาจในการสอบสวนการละเมิดหรื อดาเนินคดีต่อผูล้ ะเมิด บางครั้งสมาชิ กอาเซี ยน
วิพากษ์วจิ ารณ์เมียนมาร์ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในช่วงหลายปี ที่เมียนมาร์ ปกครองโดยรัฐบาลทหาร
แม้ว่า โดยทัว่ ไปแล้วผูข้ อลี้ ภยั ชาวโรฮิ ง ญาจะไปประเทศอื่ นในอาเซี ย นโดยเฉพาะมาเลเซี ย –
ประเทศเพื่อนบ้านของประเทศเมี ยนมาร์ ยอมรั บการอพยพของผูล้ ้ ี ภยั มานานแล้ว และในเชิ งเหน็ บแนม
เสี ย ดสี ใ นเรื่ อ งแปลกแต่ จริ ง ที่ ก ารปราบปรามการลัก ลอบค้า มนุ ษ ย์โ ดยทางการไทย เอื้ อ ให้ เ กิ ด วิ ก ฤติ
โดยเป็ นการทาให้กปั ตันและผูค้ า้ มนุษย์ทิ้งเรื อของพวกเขาและปล่อยให้แรงงานข้ามชาติซ่ ึ งแออัดอยูใ่ นเรื อที่
มีอาหาร น้ า เชื้อเพลิงเพียงเล็กน้อย และลอยล่องไปตามกระแสน้ าในมหาสมุทร
ประเทศไทยและมาเลเซี ยได้ย้ าว่าในขณะที่ พวกเขาตระหนักถึ งชะตากรรมของผูล้ ้ ี ภยั พวกเขา
ไม่สามารถรองรับผูล้ ้ ีภยั จานวนหลายพันคน เพราะกลัวว่าการรับเข้ามาเป็ นจานวนมากจะกระตุน้ ให้คนอีก
มากถาโถมเข้ามากัน มาเลเซี ยถูกวิพากษ์วจิ ารณ์วา่ ปฎิเสธเรื อสองลาซึ่ งเต็มไปด้วยผูค้ นที่หิวโหย
ประเทศมาเลเซี ย มีจานวนประชากรอยูป่ ระมาณ 30 ล้านคน และมีผลู ้ ้ ีภยั กว่า 150,000 คนรวมถึง
ชาวโรฮิงญาจานวน 45,000 ราย ส่ วนใหญ่แทบจะอดมื้อกินมื้อ เพราะพวกเขาไม่มีสถานะทางกฎหมายและ
ไม่สามารถทางานได้ตามกฎหมาย หลายคนได้ยื่นขอสถานะผูล้ ้ ีภยั กับหน่วยงานผูล้ ้ ี ภยั แห่ งสหประชาชาติ
และหวังว่าจะตั้งรกรากในประเทศที่สามเช่นสหรัฐอเมริ กา แต่นนั่ เป็ นความฝันที่มีผสู ้ มหวังได้นอ้ ยคนนัก
“ คุ ณคาดหวังอะไรให้เราทาอะไรหรื อ พวกเราดีมากกับคนที่บุกข้ามพรมแดนเข้ามาในประเทศ
ของเรา” รั ฐมนตรี ช่ วยว่า การกระทรวงมหาดไทย นายายวัน จู ไ นดี จาฟาร์ (Wan Junaidi Jafaar) กล่ า ว
“เราปฏิ บตั ิ ต่อพวกเขาอย่างมี มนุ ษยธรรม แต่พวกเขาไม่ได้รับอนุ ญาตให้โถมทะลักเข้ามายังชายฝั่ งของ
ประเทศเรา พวกเขาไม่ไ ด้รับการต้อนรั บที่ นี่” ในขณะที่ มีการโต้แย้ง ถกเถี ยงที่ เต็ม ไปด้วยอารมณ์ อย่า ง
คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
51
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

เข้มข้นว่า คนบนเรื อจะต้องได้รับความช่วยเหลื อให้รอดปลอดภัย ประเทศใดที่ทาเช่นนั้นจะต้องจัดการกับ


ปั ญหาที่ยงุ่ ยากเช่นสถานะทางกฎหมายของผูค้ นบนเรื อ และการที่พวกเขาพึ่งพาการสนับสนุนจากรัฐบาล
นายฐิตินนั ท์กล่าวว่าการกาหนดกรอบแนวทางในการจัดตั้งเขตประสานงาน เพื่อจัดการกับปั ญหาดังกล่าว
นั้นจะต้องใช้เวลาและคาดจะประสบความสาเร็ จหากว่ามีการสนับสนุนทางการเงินระหว่างประเทศเท่านั้น
เมี ยนมาร์ ไม่น่าจะตอบสนองต่อแรงกดดันของอาเซี ยนใดๆ ในขณะนี้ เพราะพม่ามุ่งไปที่ เรื่ อง
ภายในและโดยเฉพาะอย่างยิง่ การเจรจาสันติภาพกับกลุ่มกองโจร นายฐิตินนั ท์ กล่าวว่า “ในตอนนี้การเมือง
ของเมียนมาร์ เป็ นเรื่ องภายในประเทศไม่ใช่เรื่ องระหว่างประเทศ” “การเมืองของเมียนมาร์ จะอยูใ่ นรู ปแบบ
นี้ จนกว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น”
รัฐสภาอาเซี ยนเพื่อสิ ทธิ มนุ ษยชน (ASEAN Parliamentarians for Human Rights) ซึ่ งมีนายซานติ
เอโก, นักกฎหมายชาวมาเลเซี ย (the Malaysian lawmaker) เป็ นประธาน ผูเ้ รี ยกร้องให้อาเซี ยนละทิง้ นโยบาย
การไม่แทรกแซง และแถลงการณ์ไว้ดว้ ยว่า รัฐบาลพม่าต้องรับผิดชอบต่อการประหัตประหารชาวโรฮิงญา
นายซานติอาโกเชื่ อว่าพม่าจะตอบสนองแรงกดดันจากจีน สหรัฐฯ และนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ ใน
ประเทศมากขึ้น ในด้านนโยบายเกี่ยวกับโรฮิงญา “ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ อาเซี ยนไม่สามารถตอบสนองต่อ
วิกฤตการณ์ ด้านมนุ ษยธรรมที่ เกี่ ยวข้องกับคนในประเทศของตัวเอง” เขากล่ าว “แต่เพื่อความเป็ นธรรม
เรามาดูกนั ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสองหรื อสามวันต่อมา ความกลัวเพียงอย่างเดียวของฉันคือก่อนที่จะตัดสิ นใจ
ได้ ผูค้ นอีกจานวนมากก็จะตาย” ดังนั้น วิกฤตผูล้ ้ ีภยั ชาวโรฮิงยาจึงเป็ นบททดสอบการเป็ นประธานอาเซี ยน
ในปี พ.ศ. 2562 ของประเทศไทย
การตอบสนองของกรุ งเทพฯ เป็ นความพยายามที่จะรักษาสมดุลของพันธกรณี ทางด้านนโยบาย
ต่างประเทศที่มีต่ออาเซี ยน และบรรเทาความกังวลภายในประเทศต่อปั ญหามนุษยธรรมชาวโรฮิงญา
ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซี ยนส่ วนใหญ่ไม่ใช่ผลู ้ งนาม ในอนุ สัญญาผูล้ ้ ีภยั ปี พ.ศ. 2494
(the 1951 Refugee Convention) (เฉพาะกัมพูชาและฟิ ลิปปิ นส์ เท่านั้นที่เป็ นประเทศผูล้ งนามในสนธิ สัญญา
ดังกล่าว) และประเทศไทยไม่มีกรอบกฎหมายและกรอบการบริ หารจัดการเพื่อแก้ไขปั ญหาผูล้ ้ ี ภยั ดังนั้น
การรับผูล้ ้ ีภยั ชาวโรฮิงญาในจานวนที่มากขึ้นจะสร้างความตึงเครี ยดที่รุนแรงขึ้นในการรับมือกับผูอ้ พยพผิด
กฎหมายในประเทศ
แม้วา่ ประเทศไทยจะเผชิ ญกับปั ญหาดังกล่าว แต่ประเทศไทยนั้นได้กงั วลกับชะตากรรมของชาว
โรฮิงญามานานแล้ว ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลของนางสาว
ยิ่งลักษณ์ ชิ นวัตรในเวลานั้นและเรี ยกร้ องให้พม่าทาตามขั้นตอนอย่างทันที เพื่อแก้ไขปั ญหาชาวโรฮิงญา
การเรี ยกร้องของรัฐบาลประเทศไทย สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศในการแสดงถึงความเป็ นชาติสอง
ศาสนา (ศาสนาพุทธและอิสลาม) ด้วยการมีความห่วงใยใส่ ใจกับสวัสดิการของคนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม
อย่า งไรก็ ตาม ประเทศไทยไม่ ส ามารถแทรกแซงกิ จการภายในประเทศของพม่ า ได้โดยตรง
เนื่ องจากหลักการอาเซี ยนในการไม่กา้ วก่ายแทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิ กอื่นๆ อันที่จริ ง หากไม่มี

52 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

การบรรเทาวิก ฤตด้า นมนุ ษ ยธรรมแม้สั ก ชั่วคราว สถานการณ์ น้ ันก็ จะน่ า เป็ นห่ วงไม่ เพี ย ง แต่ ส าหรั บ
มาเลเซีย แต่ยงั สาหรับผูล้ ้ ีภยั ชาวโรฮิงญาและอาเซี ยนด้วย
ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชดั คือความทุกข์ทรมานอย่างต่อเนื่องของชาวโรฮิงญา มาเลเซี ยอาจถูกมองว่าไม่มี
ความเป็ นผูน้ าในฐานะประธานอาเซี ยน นอกจากนี้ แล้ว ความล้มเหลวในการแก้ไขปั ญหาผูล้ ้ ี ภยั อาจทาให้
เกิดความสงสัยต่อความน่าเชื่ อถือของประชาคมอาเซี ยนหากไม่สามารถให้ทางออกที่เป็ นไปได้เพื่อบรรเทา
ความเดือดร้อนของชาวชาวโรฮิงญา
วิกฤตผูล้ ้ ี ภยั ชาวโรฮิ งญายังท้าทายปั ญหาภายในของประเทศไทย ในด้านหนึ่ ง การที่ ผูล้ ้ ี ภยั ชาว
โรฮิงญามีจานวนเพิ่มขึ้น อาจทาให้ปัญหาสังคมเศรษฐกิจและการเมืองที่เกี่ยวข้องกับผูอ้ พยพผิดกฎหมายใน
แถบที่มีชาวมุสลิมทางภาคใต้ของประเทศไทยนั้นรุ นแรงยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทยชี้ วา่ ปั ญหาด้านสุ ขภาพ
และความปลอดภัยอาจเกิดขึ้นตามมา
สถานการณ์ ด้า นมนุ ษ ยธรรมในส่ วนที่ เกี่ ย วข้องกับ การที่ บ งั คลาเทศให้ที่ พ กั พิ ง กับ ผูล้ ้ ี ภยั ชาว
โรฮิงญาหลายแสนคนนั้นยังคงย่าแย่ลงอย่างต่อเนื่ อง ทาให้องค์การสหประชาชาติช้ ีวา่ วิกฤติครั้งนี้เป็ นหนึ่ ง
ในวิกฤติผลู ้ ้ ีภยั ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็ วที่สุดในไม่กี่ปีที่ผา่ นมา
นายอั ง เครจ มาเฮกิ ก (Andrej Mahecic) โฆษกของส านั ก งานข้ า หลวงใหญ่ ผู ้ ล้ ี ภั ย แห่ ง
สหประชาชาติ (UNHCR) ได้กล่ าวกับผูส้ ื่ อข่าวในงานแถลงข่าวสื่ อมวลชน ที่ กรุ งเจนี วา ว่า "[วิกฤติ คือ]
การทาให้เกิดความต้องการด้านมนุ ษยธรรมอย่างมหาศาลในพื้นที่ของบังคลาเทศซึ่ งได้รับผลกระทบจากการ
อพยพของผูล้ ้ ีภยั ก่อนหน้านี้ ซึ่ งเป็ นการหลัง่ ไหลเข้ามาเมื่อไม่นานนี้ และบังคลาเทศก็ไม่พร้อมที่จะรับมือ
กับจานวนผูล้ ้ ีภยั ที่จะเข้าใหม่อีกเป็ นจานวนมาก"
ตามการประมาณการ มีผูล้ ้ ี ภยั ชาวโรฮิงญา อย่างน้อยเป็ นจานวน 890,000 รายหรื ออาจจะมีมาก
จนถึง 1 ล้านสามแสนรายในท้ายที่สุด ซึ่ งหลบหนี การล้างเผ่าพันธุ์และความรุ นแรงในรัฐยะไข่ตอนเหนื อที่
มุ่งจะข้ามชายแดนมายังบังคลาเทศตั้งแต่วนั ที่ 25 สิ งหาคม พ.ศ. 2560
นายมาเฮกิ กได้กล่ าวว่า "การไปเยือนพื้นที่ ในสัปดาห์ น้ ี โดยที ม UNHCR นาโดยผูช้ ่ วยข้าหลวง
ใหญ่เพื่อการดาเนิ นงาน (Assistant High Commissioner for Operations) นายจอร์ จ โอคอธ-ออบโบ (George
Okoth-Obbo) พบคนที่ ทุกข์ยากจริ งและเผชิ ญกับสภาพที่ ยากลาบากเป็ นที่ สุด ซึ่ งเห็ นได้จากสถานการณ์
ผูล้ ้ ีภยั ในปั จจุบนั "ทุกๆ วัน ผูล้ ้ ีภยั ยังคงเดินทางมาถึงบริ เวณภายนอกค่ายที่กาหนดไว้สองแห่ งซึ่ งมีจานวนผู ้
พักอาศัยอย่างล้นเกินมากอยูแ่ ล้ว ล้นเกินอย่างมีนยั สาคัญและหลายคนได้รับความช่วยเหลื อที่มีความหมาย
เพียงเล็กน้อย

คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


53
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

โฆษกของ UNHCR กล่าวว่า หน่วยงานสหประชาชาติได้ตอบสนองต่อสถานการณ์และช่วยเหลือ


ผูท้ ี่มา แต่เสบียงสิ่ งของสะสมที่มีอยูภ่ ายในประเทศไม่มีแล้ว แต่กาลังรอรับสิ่ งของช่วยเหลือที่กาลังมาถึง
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การช่ วยเหลื อเด็กๆ จากข้อมูลของกองทุนเด็กแห่ ง
สหประชาชาติ (UNICEF) มี ผูล้ ้ ี ภยั ที่ เป็ นเด็กอย่างน้อย 240,000 ราย และในกลุ่ ม เด็กผูล้ ้ ี ภยั นี้ มี ประมาณ
36,000 ราย ที่มีอายุน้อยกว่าหนึ่ งปี นอกจากนี้ ยังมีหญิงตั้งครรภ์และสตรี ที่ให้นมบุตรเป็ นจานวน 52,000
ราย
นายทาริ ค จาซาเรวิค (Tarik Jasarevic) โฆษกของหน่วยงานสหประชาชาติ ได้กล่าวขึ้นว่าในการ
ช่วยรับมือกับสถานการณ์น้ ี องค์การอนามัยโลก (WHO) กาลังเร่ งดาเนิ นการและในวันที่16 กันยายนจะเริ่ ม
การรณรงค์การฉี ดวัคซี นโรคโปลิโอและโรคหัดเพื่อครอบคลุมเด็กที่เพิ่งมาถึงจานวน 150,000 ซึ่ งมีอายุต้ งั แต่
6 เดือนถึง 15 ปี
"ในอีกไม่กี่วนั ข้างหน้า [เราจะ] แจกจ่ายชุ ดอุปกรณ์ การแพทย์ฉุกเฉิ นให้ครอบคลุ มผูค้ นจานวน
100,000 คน เม็ดทาน้ าให้บริ สุทธิ์ 2 ล้านเม็ดและชุ ดยารักษาอหิ วาตกโรคสาหรับ 20,000 คน "เขาได้กล่าว
เสริ มขึ้ น โดยให้ขอ้ สังเกตว่า หน่ วยงานด้านสุ ขภาพของสหประชาชาติ สนับสนุ นรัฐบาลบังคลาเทศด้วย
เช่นกันในการจัดหาให้มีทีมแพทย์ไปยังถิ่นฐานที่ต้ งั ขึ้นมาใหม่เอง
นอกจากนี้ โครงการอาหารโลก (The World Food Programme; WFP) ซึ่ งเป็ นหน่วยงานช่วยเหลือ
ด้านอาหารเร่ งด่วนขององค์การสหประชาชาติ ร่ วมกับพันธมิตรได้ดาเนิ นการเพิ่มการตอบสนองส่ งมอบ
แท่ ง อาหารพลัง งานสู ง อาหารร้ อ นๆ และข้า วสารส าหรั บ การท าอาหารให้ ก ับ ผู ้ล้ ี ภัย นั บ หมื่ น ราย
นายมาเฮกิก ยังกล่าวอีกว่าชุ มชนชาวบังคลาเทศแสดงความเอื้ออาทรอย่าง "โดดเด่น" ในการต้อนรับผูล้ ้ ีภยั
เข้ามาในประเทศและแบ่งปั นทรัพยากรกับพวกเขา
อย่ า งไรก็ ต าม จ านวนผู ้ม าใหม่ ย ัง คงเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ดัง นั้ น หน่ ว ยงานขององค์ ก าร
สหประชาชาติจึงต้องการกองทุนเพิ่มเติมอย่างเร่ งด่วน เพื่อให้ความคุม้ ครองและช่วยชีวติ
ในบรรดาหน่ วยงานขององค์การสหประชาชาติ UNHCR ได้ยื่นขอเงินช่ วยเหลือเบื้องต้นจานวน
30 ล้านดอลลาร์ สาหรับเหตุ ฉุกเฉิ น ดังนั้น การที่มาเลเซี ยดาเนิ นการแก้ไขปั ญหาระหว่างประเทศต่อวิกฤต
ผูล้ ้ ีภยั ชาวโรฮิงญาด้วย การรับผูล้ ้ ีภยั เป็ นการชัว่ คราวโดยให้ที่พกั พิงเป็ นเวลาหนึ่ งปี เป็ นมาตรการอุดช่องว่าง
ที่ช่วยให้มาเลเซี ยสามารถคงความน่าเชื่อถือไว้ได้ มาตรการนี้ ยงั ช่วยลดแรงกดดันภายในประเทศในการช่วย
ผูล้ ้ ีภยั ชาวโรฮิงญาและในเวลาเดียวกันก็ลดผลกระทบด้านลบของการมีผอู ้ พยพชาวโรฮิงญาอยูใ่ นประเทศ
ชาวโรฮิงญาเป็ นพลเมืองอาเซี ยนหรื อไม่ ในท้ายที่สุดแล้ว การเปิ ดพรมแดนให้กบั ชาวโรฮิงญา
อย่า งไม่ จ ากัดจ านวนคนนั้นไม่ ไ ด้ช่ ว ยปรั บ ปรุ ง สถานการณ์ ภายในประเทศของพม่ า ในความเป็ นจริ ง
การกระทาเช่ นนั้น อาจส่ ง สัญญาณที่ ผิดไปยัง ประเทศเมี ย นมาร์ ซ่ ึ ง เบี่ ยงเบนปั ญหาภายในของตนไปยัง
ประเทศอื่นให้เป็ นทางออกที่ย อมรับได้ แทนที่จะเป็ นเช่นนั้น มาเลเซี ย อินโดนี เซี ย และไทยกาลังส่ งสาส์ น

54 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

อย่างจริ งจังไปยังประเทศเมี ยนมาร์ ว่าการผลักความรั บผิดชอบไปให้ประเทศผูอ้ ื่ นนั้นขัดกับอุดมคติ ของ


ประชาคมอาเซียน
อันที่ จริ ง ทางออกที่ ยงั่ ยืนนั้นมาจากการเปลี่ ยนแปลงภายในประเทศเมียนมาร์ และได้รับการ
สนับ สนุ นจากประชาคมอาเซี ยนที่ ค รอบคลุ ม มากขึ้ น ซึ่ ง พัฒนามาตรการที่ เอื้ อต่ อการแก้ไ ขปั ญหาชาว
โรฮิ ง ญา ชาวโรฮิ ง ญาเป็ นส่ วนหนึ่ ง ของเอเชี ย ตะวันออกเฉี ย งใต้ ประชาคมอาเซี ย นที่ มี ป ระชาชนเป็ น
ศูนย์กลางควรดาเนินการตามคามัน่ สัญญาขององค์กรระดับภูมิภาคที่ ห่วงใยสวัสดิภาพของพลเมือง
ต่อจากนั้น ประเทศสิ บเจ็ดประเทศได้ประชุ มกัน ณ เมืองหลวงของประเทศไทยเพื่อแก้ไขปั ญหา
ดังกล่าวซึ่ ง เรี ยกว่า 'ปั ญหาคนบนเรื อ' ในทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล ในบรรดาผูเ้ ข้าร่ วมนั้น มีตวั แทน
ระดับสู งของห้าประเทศที่ ได้รับผลกระทบมากที่สุด อันได้แก่ บังคลาเทศ พม่า อินโดนี เซี ย มาเลเซี ย และ
ไทย
ความจริ งที่วา่ ศรี ลงั กา อินเดียเป็ น เช่นเดียวกับประเทศอัฟกานิ สถานที่ได้เข้าร่ วมเหตุการณ์สาคัญ
ซึ่ งตอกย้ าความจริ งที่วา่ วิกฤติ 'คนเรื อ' วิกฤตการณ์เป็ นปั ญหาที่เกี่ยวข้องไม่เพียงแต่เป็ นการเชื่ อมโยงระหว่าง
เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ แต่ยงั รวมถึงอนุทวีปต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
การประชุ มได้มีข้ ึน เพื่อแก้ไขการหลัง่ ไหลของผูอ้ พยพออกจากประเทศพม่าอย่างต่อเนื่ องผูล้ ้ ีภยั
เหล่ านี้ ส่วนใหญ่เป็ นชาวโรฮิ งญาซึ่ งเป็ นชนกลุ่ มน้อยทางศาสนามุ สลิ มที่ ต้ งั อยู่ในพื้นที่ อย่างเป็ นทางการ
ในรัฐยะไข่ของพม่า (รู ้จกั ในชื่ อรัฐอาระกันโดยชาวโรฮิงญา) ชาวโรฮิงญานั้นได้รับการปฏิบตั ิเหมือนว่าเป็ น
'พลเมืองชั้นสอง' ที่ตอ้ งทนทุกข์ทรมานจากการเลือกปฏิบตั ิทางสังคมการปราบปรามอย่างรุ นแรง การละเมิด
สิ ทธิ มนุ ษยชนและการกี ดกันทางการเมือง ชาวโรฮิงญาซึ่ งเป็ นคนชายขอบจึงได้หนี ออกจากประเทศเป็ น
จานวนมาก (Aljazeera, 2015, Online)
นอกจากนี้ ชาวโรฮิงญาไม่เพียงเผชิ ญกับนโยบายปราบปรามจาก รัฐบาลกลาง ที่เข้มงวดเท่านั้น
แต่ยงั ต้องเผชิ ญกับความรู ้สึกต่อต้านมุสลิมอย่างรุ นแรงจากนโยบายสาธารณะที่สนับสนุ นการยึดมัน่ ถือมัน่
ในศาสนาพุ ท ธในพม่ า เช่ น ขบวนการ 969 ซึ่ งน าโดยพระภิ ก ษุ เ ถรวาทหัว รุ น แรงชื่ อ วิ ร าธุ (Wirathu)
(Andrew, M., 2013, Online)
ดังนั้น ภูมิภาคดังกล่าวได้เผชิญกับการเคลื่อนไหวอย่างมากของผูล้ ้ ีภยั หลายหมื่นคน ที่พยายามเข้า
ประเทศเพื่ อ นบ้า นอย่ า งผิ ด กฎหมายรวมทั้ง ประเทศอื่ น ที่ มี อ าณาเขตติ ด กั น ทางบกและทางทะเล
จากข้อเท็จจริ งที่วา่ ประเทศส่ วนใหญ่เริ่ มลังเลมากขึ้นที่จะยอมรับผูอ้ พยพเพิ่มเติม ผูอ้ พยพชาวโรฮิงญาหลาย
พันคนติดอยูใ่ นทะเลในสภาพที่ขาดมนุษยธรรมอย่างรุ นแรง
นอกจากนี้ การค้นพบหลุมฝังศพจานวนมากในมาเลเซี ยและประเทศไทยได้สร้างความตระหนัก
ในระดับนานาชาติเกี่ยวกับ 'ชะตากรรมของชาวโรฮิงญา' นี่ เป็ นปรากฏการณ์ใหม่เนื่ องจากในอดีต ผูก้ าหนด
นโยบายทัว่ โลก เพิกเฉยต่อความเป็ นไปและผลกระทบของวิกฤติโรฮิงญา (BBCnews, 2015, Online)
คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
55
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

แม้แต่นางอองซานซู จี ผูเ้ ป็ นสัญลักษณ์ของประชาธิ ปไตยและเป็ นผูไ้ ด้รับรางวัลโนเบล ยังไม่ให้


ความคิดเห็นใดใดเกี่ยวกับชะตากรรมของชาวโรฮิงญา ซึ่ งทาให้ผสู ้ ังเกตการณ์ทางการเมืองต้องประหลาดใจ
โดยความเงียบเช่นนี้ชวนให้อึดอัดทีเดียว (Penny, G., 2015, Online)
อย่างไรก็ตาม มีตวั แสดงนานาชาติ จานวนมากขึ้นมาร่ วมเน้นย้ าถึ งสถานการณ์ เลวร้ ายลงอย่าง
ที่สุดลงของชาวโรฮิงญา โดยเฉพาะอย่างยิง่ สถานการณ์ที่เป็ นไปในเส้นทางเดินเรื อการประชุ มครั้งล่าสุ ดที่
กรุ งเทพเรื่ อง 'การย้ายถิ่ นฐานอย่างผิดกฎหมาย' จะมี ข้ ึ นในบริ บทของความพยายามเหล่ านี้ เพื่อปรั บปรุ ง
สถานการณ์ของคนที่ไม่เป็ นที่ตอ้ งการและถูกลอยแพ
ลักษณะเฉพาะของการประชุ ม "เรื่ องคนบนเรื อ" อยูท่ ี่การสร้ างสมดุลให้กบั การเสนอมาตรการที่
เป็ นรู ปธรรมที่ จะรั บมื ออย่า งจริ งจังกับวิกฤติ ชาวโรฮิ งญา ขณะที่ พยายามเอาใจเมี ยนมาร์ ไปด้วยในเวลา
เดียวกัน
ลัก ษณะเฉพาะประการหลัง นั้ น ได้มี ผู ้เ ข้า ร่ ว มการประชุ ม จ านวนมากได้ป ระกาศขึ้ น ว่ า มี
ความสาคัญมากที่สุด เนื่ องจากการชี้ นิ้วอย่างเปิ ดเผยไปหาผูท้ ี่ผิด จะนาไปสู่ การคว่าบาตรหรื อพฤติกรรม
การไม่ให้ความร่ วมมื อของตัวแทนจากประเทศพม่า ให้ระลึ กสิ่ งนี้ ไว้ในใจว่า ภาษาที่ ใช้ในระหว่างการ
สนทนาจะเปิ ดเผยความเป็ นจริ ง ออกมาเอง และก็คุ ้ม ที่ จะคอยดู ว่า การประชุ ม ประสบความส าเร็ จหรื อ
ล้มเหลว (Ashayagachat, A., & Jitcharoenkul, P., 2015, Online)
โดยรวมแม้จะมีอุปสรรคและการวิพากษ์วิจารณ์มากมาย แต่ก็สามารถกล่าวได้วา่ การประชุ มเป็ น
ขั้นตอนสาคัญที่มาถูกทิศถู กทางแล้วโดยมีเป้ าหมายเพื่อให้ประเทศผูเ้ ข้าร่ วมสามารถทาตามสัญญาที่สาคัญ
หลายๆ สัญญาได้
ประการแรก การประชุ ม ทาให้รัฐของเอเชี ย ใต้และเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้พูดคุ ย กันเกี่ ยวกับ
ปั ญหาชาวโรฮิงญา นี่ ถือเป็ นความสาเร็ จ เนื่ องจากยังไม่เคยมี ความร่ วมมื อที่ สาคัญระหว่างอนุ ภูมิภาคใน
เอเชียทั้งสองแห่งมาก่อน
ประการที่สอง เป็ นครั้งแรกที่รัฐที่เข้าร่ วมแลกเปลี่ยนมุมมองของพวกเขาในลักษณะที่ครอบคลุม
เกี่ ยวกับวิธีการแก้ไขปั ญหา 'การอพยพย้ายถิ่ นที่ผิดกฎหมาย' (หมายถึง วิกฤตการณ์ ของชาวโรฮิงญา ทั้งนี้
ไม่มีการเอ่ยชื่ อ) และเพื่อให้อย่างน้อยที่สุดสามารถมีขอ้ เสนอร่ วมเกี่ยวกับวิธีการดาเนิ นการโดยทันทีข้ ึนมา
ได้ ดังนั้น แม้ว่าจะไม่มีการกาหนดวันประชุ มในการเจรจารอบถัดไป แต่ก็เป็ นเรื่ องสาคัญที่ว่าประเทศที่
เข้าร่ วม ตกลงที่จะมีบทสนทนากันอีก
ประการที่สามการชุ มนุ มประสบความสาเร็ จโดยมีประเทศผูบ้ ริ จาค, โดยเฉพาะสหรัฐอเมริ กา
ออสเตรเลี ยและญี่ปุ่น ลักษณะการใช้จ่ายเงินนั้นสามารถคาดการณ์ ได้ว่าจะใช้จ่ายสาหรับที่พกั พิงชัว่ คราว
อาหารและความต้องการเร่ งด่วนอื่นๆ สาหรับผูล้ ้ ีภยั รวมถึงการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสาหรับผูย้ ากไร้ใน
รัฐยะไข่ของพม่าและเขตบาซาร์ ของคอคส์ในบังคลาเทศ (Cox’s Bazaar district) อย่างไรก็ตาม จานวนความ
ช่ วยเหลื อทางการเงิ นยังอีกห่ างไกลไม่ถึงระดับที่ เพียงพอ ตัวอย่างเช่ น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการ

56 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

อพยพโยกย้ายถิ่ นฐาน (the International Organization for Migration; IOM) ร้องขอเงิ นเป็ นจานวน 26 ล้าน
ดอลลาร์
ประการที่สี่นอกเหนือจากมาตรการอื่นๆ อีกหลายประการ การเพิ่มประสิ ทธิ ภาพในการค้นหาทาง
ทะเลและภารกิ จกูภ้ ยั เพื่อช่ วยเหลื อผูล้ ้ ี ภยั ที่มีความอ่อนไหว ซึ่ งคือ “คนเรื อ” ที่ติดอยู่ในทะเลของภูมิภาคนี้
นับเป็ น ขั้นตอนพิเศษของการให้ช่วยเหลือในทันที (Amy and Kanupriya, 2015, Online)
สหประชาชาติและผูส้ ังเกตการณ์อื่น ๆ พบว่า สถานการณ์ของชาวโรฮิงญาในพม่ายิง่ แย่ลงไปอีก
“เมียนมาร์ เล็งนโยบายที่มุ่งสู่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา” ซึ่ งแน่นอนว่าจะส่ งผลให้เกิดความเคลื่อนไหว
ต่อไปของผูย้ า้ ยถิ่นฐานและเพิ่มแรงกดดันต่อประเทศผูร้ ับผูอ้ พยพ ดังนั้น การสรุ ปขั้นตอนที่ชดั เจนเพื่อการ
ให้ความช่วยเหลือในทันทีสาหรับผูล้ ้ ีภยั นั้นมีความสาคัญอย่างยิง่ ต่อการอยูร่ อดของผูล้ ้ ีภยั
ประการที่ ห้า และที่ สาคัญที่ สุดคือให้พม่าเข้ามามีส่วนร่ วม นี่ เป็ นความท้าทายที่สาคัญมาตั้งแต่
การที่ประเทศเป็ นแหล่ งที่มาและจุดเน้นของวิกฤตการณ์ ชาวโรฮิงญา ในอดี ตที่ผ่านมา เมี ยนมาร์ ค่อนข้าง
ลัง เลที่ จ ะพู ด คุ ย เกี่ ย วกับ ชาวโรฮิ ง ญาและสกัด กั้น ความคิ ด ริ เริ่ มระดับ นานาชาติ ห ลายประการที่ มี
วัตถุประสงค์ในการปรับปรุ งสถานการณ์ของชุมชนชาวโรฮิงญา
ดังนั้น จึงสามารถตีความเป็ นสัญญาณเชิ งบวกว่าอย่างน้อยที่สุด ประเทศเมียนมาร์ ก็ได้ปรากฎตัว
การมีส่วนร่ วมของเมียนมาร์ มาพร้ อมกับราคาที่ตอ้ งจ่าย ในการยอมรับความต้องการของเมียนมาร์ น้ นั คือ
ไม่มีการกล่าวคาว่า “โรฮิงญา” เลย ตรงกันข้ามกับคาอย่างเช่ น 'ผูอ้ พยพที่ผิดกฎหมาย' หรื อ 'ผูค้ นในเรื อ
บ่งชี้ วา่ วาทศิลป์ ในที่ประชุ มนั้นมีลกั ษณะที่เป็ นความพยายามในการเลี่ยงการบ่งชี้ ที่ชดั เจนว่าผูค้ นกลุ่มใดที่
ควรจะได้รับความช่วยเหลือ
โดยการกล่ าวเช่ นนี้ ข้อจากัดเกี่ ยวกับเป้ าหมายและความสาเร็ จของการประชุ มจะเห็ นได้อย่าง
ชัด เจนยิ่ ง ขึ้ น และเป็ นสิ่ ง ที่ ถู ก ก าหนดวางไว้ก่ อ นล่ ว งหน้า แล้ว ประการแรก ประเทศที่ เ ข้า ร่ ว มขาด
ความสามารถในการบังคับใช้ขอ้ ตกลงที่มีผลผูกพันในทางปฏิบตั ิได้ ข้อเสนอแนะของการประชุม เป็ นเพียง
ข้อเสนอที่ไม่ใช่ขอ้ ผูกมัดให้แต่ละรัฐต้องตอบสนองในทันที
เมื่อพิจารณาถึ งข้อจากัดทางเศรษฐกิ จ การเมือง และสังคม ของประเทศที่ได้รับผลกระทบแล้ว
เป้ าหมายที่ไม่ชดั เจนในการส่ งเสริ มให้มีการเคารพสิ ทธิ มนุ ษยชนอย่างเต็มที่ และอย่างน้อยที่สุด ณ เวลานี้
มีเพียงแค่ความหวังใฝ่ ฝันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิ ทธิ และบริ การขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ โดยสิ ทธิ และ
บริ การดังกล่าว มีตวั อย่าง เช่น บ้านพักอาศัย การศึกษา การสาธารณสุ ข เป็ นต้น
ประการที่สอง ไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่าการประชุ มเป็ นเหตุการณ์ สาคัญที่เร่ งด่วนและเป็ นที่คาดหวัง
ว่าจะให้ผลดีมีแนวโน้มเกี่ยวกับการให้ความสาคัญอันดับหนึ่ งในเรื่ องการช่วยชีวิต 'ผูค้ นบนเรื อ' ซึ่ งจมอยูใ่ น
ความทุกข์ แต่การชุ มนุ มครั้งนี้ กลับล้มเหลว ไม่เพียงแค่ไม่สามารถมีขอ้ ตกลงผูกมัดในระยะสั้นแต่ยงั ไร้ซ่ ึ ง
ความพยายามที่เป็ นสาระสาคัญในการแก้ปัญหาวิกฤติชาวโรฮิงญาในมุมมองระยะยาว
คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
57
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

ประการที่สาม การประชุมจะจัดการกับผลที่ตามมาเท่านั้น แต่ไม่ได้แก้ไขความเป็ นไปของปั ญหา


เนื่ องจากนโยบายการเอาใจเมี ย นมาร์ การประชุ ม ล้ม เหลวที่ จะแก้ไ ขสาเหตุ รากฐานของปั ญหา ได้แก่
การกลัน่ แกล้งชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์
ยังไม่มีการพูดคุยเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานใหม่ของชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์ บนพื้นฐานของให้สิทธิ
การเป็ นพลเมืองเต็มรู ปแบบสาหรับผูอ้ พยพ การเจรจาใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับปั ญหาการให้สิทธิ การเป็ นพลเมือง
กับโรฮิงญาในเมียนมาร์ ได้รับการปฏิ เสธอย่างชัดเจนจากผูแ้ ทนของเมียนมาร์ ว่าเป็ นการแทรกแซงอย่าง
ไม่เหมาะสมในกิจการภายในประเทศ
ด้วยเหตุน้ ี จึงยังคงมีความลังเลที่จะยอมรับชาวโรฮิงญาอย่างชอบธรรมว่าเป็ นคนกลุ่มน้อยอย่าง
เป็ นทางการและให้สิทธิ การเป็ นพลเมืองเต็มรู ปแบบในเมียนมาร์ ดังจะเห็นได้จากการที่เจ้าหน้าที่ของพม่า
เรี ยกชาวโรฮิงญาว่าเป็ นชาวเบงกาลิส
อย่างไรก็ตาม บังคลาเทศ ยังไม่ยอมรับชาวโรฮิงญาว่าเป็ นพลเมือง (และชาวโรฮิงญาบอกว่าตนเอง
มาจากเมี ยนมาร์ ) เป็ นผลให้ท้ งั สองประเทศถื อว่าพวกเขาเป็ นคนไร้ สัญชาติ แม้ว่าชาวโรฮิงญา จะมองว่า
เมี ยนมาร์ ผิดต่อพวกเขามากที่สุด สิ่ งนี้ กาลังได้รับความสาคัญ เนื่ องจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคมี ปัญหา
อุปสรรคอย่างมากในการกาหนดสถานภาพทางกฎหมายที่เหมาะสมสาหรับผูล้ ้ ีภยั
ดังนั้น จึ งไม่น่าแปลกใจเลยที่ นายโวลเกอร์ เทอร์ ค (Volker Türk) ผูช้ ่ วยผูบ้ ริ หารระดับสู งของ
สานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อการป้ องกัน แห่ง UNHCR กล่าวขึ้นในที่ประชุมว่า "การให้สิทธิ การเป็ นพลเมือง
เป้ าหมายสู งสุ ด” สาหรับประเทศเมียนมาร์ เพื่อจัดการวิกฤติการอพยพย้ายถิ่นในปั จจุบนั ผลของการประชุม
คือ 'ไม่มีความก้าวหน้าที่สาคัญ' เกิดขึ้นเลย
อย่างไรก็ตาม การคาดหวัง "ทางแก้ไขปาฏิ หาริ ย"์ ทุ กชนิ ดว่าจะมีได้หลังจากการประชุ มกันแค่
หนึ่ งวันนั้นไม่สมจริ งเสี ยเลย หรื อตามคากล่าวของนายโวลเกอร์ เทอร์ ค ที่ว่า “ คงจะแปลกเกินไป หากจะ
เสนอแนะขึ้ น มาว่า การแก้ปั ญหาปรากฏการณ์ น้ ี ส ามารถท าได้ไ ม่ ย าก” แต่ ที่ ส าคัญที่ สุ ดคื อ ตัวแสดงที่
เกี่ยวข้องต้องเข้าใจว่าจาเป็ นต้องมีกรอบการทางานระดับภูมิภาคที่มีขอบเขตที่กว้างขวางเพื่อจัดการกับความ
ซับซ้อนของวิกฤติชาวโรฮิงญา (Shamil, S., 2015, Online)
ตามแนวทางนี้ สมาคมประชาชาติ แห่ ง เอเชี ย ตะวันออกเฉี ย งใต้ (อาเซี ย น) เสนอตัวเป็ นเวที
อันเยี่ยมยอดเพื่อระดมความพยายามทั้งหลายในเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ แต่ประสิ ทธิ ผลของเวทีอาเซี ยน
เกี่ยวกับการแก้ปัญหาวิกฤตของชาวโรฮิงญาที่เกิดขึ้นจะมีอยูอ่ ย่างจากัด เนื่ องจากปั จจัยต่อไปนี้: ประเทศใน
กลุ่มอาเซี ยนแต่ละประเทศ (รู ้สึกว่าตน) ได้รับผลกระทบจากวิกฤติน้ ีแตกต่างกันไป
ผลที่ตามมาคือ เจตจานงทางการเมืองและผลประโยชน์ของบรรดาประเทศสมาชิกหลายประเทศ
เพื่อแก้ไขปั ญหาผ่านขั้นตอน/ กลไกที่อาเซี ยนเสนอ นั้นจะมีอยูอ่ ย่างจากัด

58 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

นอกจากนี้ การแก้ปั ญ หาใดๆ เกี่ ย วกับ ผลที่ ต ามมาและความเป็ นไปของวิ ก ฤติ ช าวโรฮิ ง ญา
วิกฤตการณ์จะส่ งผลกระทบอย่างเห็นได้ชดั ต่ออธิ ปไตยของชาติ
สิ่ งนี้ กาหนดปั จจัยซึ่ งไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ แห่ งการก่อตั้งดั้งเดิมของอาเซี ยนที่มุ่งเน้นไปที่
การส่ งเสริ มความร่ วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฎีแล้ว กฎบัตรอาเซี ยนฉบับใหม่ ปี พ.ศ. 2550 จะอนุญาตให้ประเทศใน
กลุ่มอาเซี ยนเข้ามาแสดงความคิดเห็นแทรกแซงกิจการของรัฐสมาชิ กอื่น แม้ว่าจะมี สนธิ สัญญาไมตรี และ
ความร่ วมมือ (Treaty of Amity and Cooperation) ปี พ.ศ. 2519 อยูก่ ็ตาม
ในทางปฏิบตั ิ กฎบัตรใหม่น้ นั ไม่เพียงพอสาหรับให้อาเซี ยนแก้ไขปั ญหาที่ขดั แย้ง แน่นอนกฏบัตร
นี้ไม่ได้เสนออะไรใหม่ที่สามารถโน้มน้าวให้ประเทศเมียนมาร์ เปลี่ยนนโยบายต่อชาวโรฮิงญา
การเน้นว่าอาเซี ยนแตกต่างไปจากสหภาพยุโรปนั้นคือสิ่ งที่สาคัญ อาเซี ยนไม่ได้เป็ นโครงการทาง
การเมืองที่รวมองค์กรระดับภูมิภาคเข้าด้วยกันอย่างครอบคลุมเกือบทุกอาณาบริ เวณแห่งรัฐและสังคม
นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่ขดั ขวางกระบวนการตัดสิ นใจของอาเซี ยน นัน่ คือ ภัยคุกคามที่ใกล้เข้ามาซึ่ ง
ความขัดแย้งระดับทวิภาคี (เช่ น ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทย - กัมพูชา) และความไม่สมดุ ลเกี่ ยวกับ
อานาจและที่ต้ งั ทางภูมิศาสตร์ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซี ยน
เราต้องดู แค่เรื่ องความสัมพันธ์ระหว่างอินเดี ยกับปากี สถานที่ตึงเครี ยดซึ่ งมีผลให้ความร่ วมมือที่
สาคัญระดับ ภู มิ ภาคผ่า นทางสมาคมความร่ วมมื อแห่ งภู มิ ภาคเอเชี ยใต้ (SAARC) ซึ่ งเป็ นองค์ก ารระดับ
ภูมิภาคที่ใกล้ชิดกับอาเซี ยนนั้นแทบจะไม่คืบหน้าเลย ปรากฏการณ์เหล่านี้ อาจมีผลเสี ยอย่างรุ นแรงต่อการ
หาทางออกที่ยงั่ ยืนสาหรับวิกฤตการณ์ชาวโรฮิงญา
อย่างไรก็ตาม อาเซี ยนอาจมี ความสาคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอนุ ภูมิภาค ในการส่ งเสริ ม
ความร่ วมมือข้ามชาติ
ความจริ งแล้วการประชุ มล่ าสุ ดในกรุ งเทพได้รับการส่ งเสริ มเป็ นอย่างมากจากการหารื อระดับ
ทวิภาคีที่ประสบความสาเร็ จระหว่างมาเลเซี ยและอินโดนีเซี ยเกี่ยวกับวิธีจดั การกับปั ญหาของชาวโรฮิงญาใน
ปั จจุบนั ซึ่ งการหารื อดังกล่าวสามารถมองได้ว่าเป็ นตัวบ่งชี้ ถึงความร่ วมมือที่ประสบความสาเร็ จในระดับ
อนุภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะหาทางออกที่ครอบคลุมและยัง่ ยืนสาหรับวิกฤติโดยรวมถึงผลที่ตามมาและ
ความเป็ นไปของวิกฤติดว้ ยนั้น ทางแก้ไขปั ญหาจะต้องให้รัฐในเอเชียใต้เข้าร่ วมแก้ไขด้วย
ดัง นั้น จึ ง จ าเป็ นต้องมี องค์ก รระดับภู มิ ภ าคหรื อระบอบใหม่ ซ่ ึ ง ท าหน้า ที่ เป็ นเวที ส าหรั บ การ
สนทนาระหว่า งเอเชี ย ใต้และเอเชี ยตะวันออกเฉี ย งใต้รวมถึ ง ไม่ เพี ย ง แต่ มิ ติทางวัฒนธรรมและมิ ติท าง
เศรษฐกิจ แต่รวมถึงมิติการเมืองและมิติทางความมัน่ คงด้วย

คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


59
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

การพัฒนานโยบายผูล้ ้ ีภยั ข้ามชาติที่เชื่ อมโยงกันซึ่ งหาได้ยากในเอเชี ย (หาได้ยากแม้แต่ในสหภาพ


ยุโรปด้วยเช่นกัน) สามารถใช้เป็ นหลักอ้างอิงให้กบั ความร่ วมมือระดับภูมิภาคแบบใหม่ ความร่ วมมือระดับ
ภูมิภาคแบบใหม่สาหรั บเอเชี ยใต้น้ ันนั้น อาจจะคล้ายกับองค์การว่าด้วยความมัน่ คงและความร่ วมมื อใน
ยุโรป (OSCE) ซึ่ งจะมี พ้ืนฐานความร่ วมมื อที่ ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างพื้นที่ ของเอเชี ยใต้กบั เอเชี ยตะวันออก
เฉียงใต้ (และอื่นๆ นอกเหนือจากนี้)
อย่างไรก็ตาม สาคัญที่สถาบันความร่ วมมือในลักษณะเช่นนั้นจะเป็ นเครื่ องมือในการเสริ มสร้ าง
ความแข็งแกร่ งให้กบั องค์กรที่มีอยู่นนั่ คือ อาเซี ยนและ SAARC และจะไม่ใช่ การเข้าไปแทนที่สถาบันที่มี
อยูเ่ ดิม
ความต้องการคือท้ายที่สุดแล้ว รัฐบาลระดับภูมิภาคในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุถึง
ปั ญหาชาวโรฮิงญาที่ยงั ไม่ได้แก้ไขว่าเป็ นโอกาสในการร่ วมมือระดับภูมิภาคอย่างสร้างสรรค์ แทนการมอง
ว่าเป็ นอุปสรรคในการทางานร่ วมกัน
ดูเหมือนตัวแสดงที่เกี่ ยวข้องเข้าใจว่า จาเป็ นต้องมีกรอบการทางานระดับภูมิภาค (ที่ขยายกว้าง)
เพื่อจัดการกับความซับซ้อนของวิกฤติชาวโรฮิงญา
ดังนั้น การประชุ มจึงเป็ นก้าวย่างที่สาคัญในการมุ่งสู่ การปรับโครงสร้ างองค์กรของกลไกในการ
จัดการไม่เพียง แต่กบั ปั ญหาของวิกฤติดา้ นมนุ ษยธรรมในปั จจุบนั ของแรงงานข้ามชาติ แต่สามารถทาหน้าที่
เป็ นแผนที่นาทางเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต
ชาวพุ ทธหัวรุ นแรงในเมี ย นมาร์ ไ ด้ทาการประท้วงต่ อต้านแผนการของรั ฐบาลที่ จะมอบสิ ท ธิ
ความเป็ นพลเมืองให้กบั สมาชิกของชุมชนมุสลิมโรฮิงญาที่ถูกรังแก
พรรคอาระกันแห่ งชาติซ่ ึ งเป็ นพรรคที่ครอบงาโดดเด่นในรัฐยะไข่เป็ นผูน้ าในการประท้วงที่เมือง
สิ ตเทว (Sittwe) ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560
สื่ อได้อา้ งคากล่าวของนายอ่อง เต (Aung Htay) ซึ่ งเป็ นแกนนาจัดการประท้วงว่า "มุสลิมโรฮิงญา
หลายพันคนติ ดอยู่ในเมืองเป็ นเวลาเกื อบห้าปี เราก าลังประท้วงเพื่อบอกรั ฐบาลให้ป ฏิ บ ตั ิ ตามกฎหมาย
ความเป็ นพลเมืองในปี พ.ศ. 2525 และเราไม่สามารถปล่อยให้รัฐบาลมอบบัตรประจาตัวพลเมื องให้กบั
แรงงานข้ามชาติที่ผดิ กฎหมาย "
รัฐบาลพม่าปฏิ เสธที่จะยอมรับมุ สลิ มโรฮิ งญาในฐานะพลเมืองและติดป้ ายติ ดตรากลุ่ มนี้ ว่าเป็ น
พวกผูอ้ พยพที่ "ผิดกฎหมาย"
กลุ่ ม สิ ท ธิ และประเทศหลายประเทศได้ท ้า ทายการเรี ย กร้ องเช่ นนั้น โดยอ้า งว่า ชาวโรฮิ ง ญามี
รากฐานทางประวัติศาสตร์ อยูใ่ นประเทศพม่า
ชาวโรฮิงญาถูกปฏิเสธความเป็ นพลเมืองของประเทศพม่านับเนื่องมาจากกฎหมายสัญชาติใหม่ซ่ ึ ง
ตราขึ้นในปี พ.ศ. 2525 และมีการโจมตีชาวมุสลิมจานวนมากในช่วงปี ที่ผา่ นมา

60 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1


CHAPTER 1

รัฐบาลนากฎหมายการเลื อกปฏิ บตั ิมาเป็ นส่ วนหนึ่ งของแผนการขับไล่พวกเขาออกจากประเทศ


และยกเลิกการเป็ นพลเมืองของพวกเขา
กฎหมายจาแนกความแตกต่างระหว่างความเป็ นพลเมืองสามประเภท ได้แก่ ความเป็ นพลเมือง
พม่า ( citizenship) ความเป็ นพลเมืองแบบอาศัยร่ วม (associate citizenship) และความเป็ นพลเมืองจากการ
แปลงสัญชาติ (naturalized citizenship)

คณะรัฐศาสตร์ และนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


61
มาร์ กกุ ซาโลมา/ โชติสา ขาวสนิท/ ภารดี ปลื้มโกศล

รายการอ้างอิง
Aljazeera. (2015). Myanmar signs off controversial pregnancy law. Retrieved June 20, 2017, from
https://www.aljazeera.com/news/2015/05/myanmar-signs-controversial-pregnancy-law-
150523125320725.html
Ashayagachat, A., & Jitcharoenkul, P. (2015). Meeting agrees to help migrants.Retrieved June 20, 2017,
from https://www.bangkokpost.com/thailand/general/577099/meeting-agrees-to-help-migrants
BBCnews. (2015). Myanmar picks up migrants as Asean agrees to tackle crisis. Retrieved March 10,
2017, from https://www.bbc.com/news/world-asia-32925815
Foxnews. (2015). China waging 'Three Warfares' against United States in Asia, Pentagon says. Retrieved
May 10, 2017, from https://www.foxnews.com/politics/china-waging-three-warfares-against-united-
states-in-asia-pentagon-says
Penny, G. (2015). Aung San Suu Kyi's silence on the genocide of Rohingya Muslims is tantamount to
complicity. Retrieved July 15, 2017, from https://www.independent.co.uk/voices/comment/
aung-san-suu-kyis-silence-on-the-genocide-of-rohingya-muslims-is-tantamount-to-complicity-
10264497.html
Andrew, M. (2013). Special Report: Myanmar gives official blessing to anti-Muslim monks. Retrieved
January 10, 2017, from https://www.reuters.com/article/us-myanmar-969-specialreport/special-
report-myanmar-gives-official-blessing-to-anti-muslim-monks-idUSBRE95Q04720130627
Retrieved July 19, 2017, from https://www.bangkokpost.com/thailand/general/577099/meeting-
agrees-to-help-migrants
Shamil, S. ( 2015) . Myanmar's Rohingya conflict 'more economic than religious'. Retrieved May 29,
2017, from https://www.dw.com/en/myanmars-rohingya-conflict-more-economic-than-
Amy, S. L., & Kanupriya, K. (2015). SE Asia vows to rescue 'boat people'; Myanmar seizes migrant
vessel. Retrieved May 19, 2017, from http://www.reuters.com/article/2 0 1 5 / 0 5 / 2 9 / us-asia-
migrants-us- religious/a-18496206idUSKBN0OE05T20150529

62 วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปี ที่ 12 ฉบับที่ 1

You might also like