You are on page 1of 6

แบ่งบท

ปัณปัณ ปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (รูป 1) เป็นที่ยอมรับว่าต้องมีการเยียวยาอย่างเร่งด่วนเนื่องจากมี
ผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งกว่า 12 ล้านคน (รูป 2) และพื้นที่ชายฝั่งยังมีปัญหา
ความรุนแรง ของสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เกิดลมมรสุม และพายุที่รุนแรงมากขึ้นทุก
ปี ทำให้คลื่นลมทะเลแปรปรวนขึ้น
รูปที่ 1

รูปที่ 2

หลายพื้นที่เกิดปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลรุนแรง 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะรวมกันระยะทาง
กว่า 830 กิโลเมตร หรือร้อยละ 26 ของพื้นที่ชายฝั่งทะเล (รูปที่ 3)
รูปที่ 3

พราว สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
1. สาเหตุตามธรรมชาติ คือ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล + ปริมาณตะกอนจากทะเลที่พัดพาเข้าสู่ฝั่ง
ลดลง + กระแสน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ + ปริมาณฝนตกที่มากกว่าปกติ
ทำให้ ปริมาณตะกอนทดแทนมีปริมาณน้อย
ต้นหอม
2. สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์
2.1 การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นแม่น้ำ (รูปที่ 4)
ทำให้ ตะกอนที่จะมาทับถมมีปริมาณน้อยลง เพราะตะกอนถูกกักไว้ที่เขื่อนหรือฝาย
รูปที่ 4
2.2 การสร้างกำแพงกันคลื่น (seawall) เขื่อนดักตะกอน (groins) เขื่อนหินทิ้ง (revetment) และ
แนวหินทิ้ง (riprap) ในบริเวณหนึ่ง
ทำให้ เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียงได้
การก่อสร้างกำแพงปากแม่น้ำ (jetty) (รูปที่ 5)
ทำให้ ตะกอนถูกส่งออกไปไกลจากบริเวณชยฝั่งมากกว่าปกติทำให้ตะกอนสูญเสียออกไปจาก
ระบบ
รูปที่ 5

2.3 การก่อสร้างท่าเทียบเรือบริเวณชายฝั่ง
ทำให้ เกิดร่องน้ำลึก (ช่องทางเดินเรือ) ที่ขวางกั้นการไหลของตะกอนบริเวณชายฝั่ง
2.4 การถมสร้างชายหาดเทียม (beach nourishment) (รูปที่ 6)
ทำให้ เกิดหลุมลึก ซึ่งเป็นการเร่งให้เกิดการไหลของตะกอนมาเติมเต็มในหลุม
รูปที่ 6

พราว
3. สาเหตุจากการบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพ
แม้ว่าจะมีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลหลายฉบับ การ
ดำเนินการบังคับใช้กฎระเบียบ และกฎหมายยังขาดประสิทธิภาพ รวมทั้งยังขาดกฎหมายควบคุมและ
ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลในองค์รวม
เป็นต่อ สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
1. ด้านระบบนิเวศปัญหา จะเกิดปัญหาการทับถมของตะกอนเลนที่ถูกพัดมาจากบริเวณที่ถูกกัดเซาะ ทำ
ให้ระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งทะเล เช่น ป่าชายเลน แนวปะการัง เกิดเป็นระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม (รูป
ที่ 7) สูญเสียพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำทำให้ปริมาณผลผลิตและมูลค่าส่งออกของสินค้าสัตว์น้ำของประเทศ
ลดลง จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อศักยภาพและความเป็นผู้นำในการผลิตสัตว์น้ำของประเทศ
รูปที่ 7

2. ด้านเศรษฐกิจ การกัดเซาะชายฝั่งทะเล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพของชายฝั่ง (รูป


ที่ 8) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนในการพัฒนาประเทศทั้งภาคอุตสาหกรรม บริการ การท่องเที่ยว
บริเวณชายฝั่ง รวมถึงเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนด้วย
รูปที่ 8
บุ๊ค
3. ด้านสังคม ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่ประสบกับปัญหาการกัดเซาะไม่
สามารถ อยู่อาศัยในพื้นที่เดิมต่อไปได้ ต้องอพยพย้ายถิ่นไปยังพื้นที่อื่น (รูปที่ 9) ส่งผลให้เกิดการ
สูญเสียวิถีชีวิตของชุมชนรวมทั้ง วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม
รูปที่ 9

4. การกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่รุนแรงส่งผลให้ชุมชนต้องสูญเสียที่ดิน ที่ทำกิน และที่อยู่อาศัย ทำให้


ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตไปจากเดิม ตลอดจนเกิดความไม่มั่นคงในกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ของตน ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลต่อความมั่นคงในการดำเนินชีวิตในอนาคต
อูข่ ้าว การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
1. การสร้างหาดทราย (Beach Nourishment) เป็นการดูดทรายหรือนำทรายมาถมในบริเวณที่ถูกกัด
เซาะ ซึ่งวิธีการนี้จะสิ้นเปลื้อง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่สูงมาก แต่สภาพชายหาดจะสวยงาม

2. การสร้างเนินทราย (Dune Nourishment) เป็นการนำทรายมาถมให้สูงเลียนแบบเนินทรายเดิมที่ถูก


ทำลายไป และนำพืชบางชนิดที่ สามารถขึ้นในเนินทรายมาปลูกเสริมเข้าไปเพื่อดักทรายที่ถูกพัดพา
เข้าฝั่ง
3. การปลูกป่าชายเลน (Mangrove a forestation) ทำในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นที่ราบน้ำขึ้นถึงป่าชาย
เลน ซึ่งทางฝั่งอ่าวไทยได้มีการนำ กล้าไม้ป่าชายเลนมาปลูกขึ้นใหม่ในบริเวณที่ถูกทำลายไป

4. การกำหนดระยะร่นถอย (Setback) เป็นมาตรการเชิงแผนและนโยบายเพื่อเป็นการลดระดับความ


เสียหายของสิ่งก่อสร้างบริเวณ ชายหาด โดยไม่ให้มีสิ่งก่อสร้างบนชายหาดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการ
กัดเซาะ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความเสียหายของทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง

You might also like