You are on page 1of 13

บทที่1

บทนำ

1.1 ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา

น้ำเป็ นสิ่งที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวัน หากพื้นที่ใด


ขาดแคลนน้ำจำทำให้เกิดปั ญหาแห้งแล้งในพื้นที่ หรือพื้นที่ใดมีน้ำมาก
เกินไปจะทำให้เกิดปั ญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ ทุกวันนี้กรุงเทพมหานครฯ
ประสบปั ญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ในช่วงเวลาที่ฝนตกหนัก พื้นที่ของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพก็เป็ นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
ปั ญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมขังเป็ นพื้นที่ที่ใช้เดินทางใน
มหาวิทยาลัยของบุคลากรและนักศึกษา ทำให้เวลาจะเดินทางไปจาก
อาคารหนึ่งไปอีกอาคารหนึ่งได้ลำบาก

โครงการศึกษานี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปั ญหาน้ำท่วม
ขังดังกล่าว แต่ยังขาดงบประมาณและวิธีการดำเนินแก้ไขปั ญหา ดังนั้นจึง
ต้องทำการศึกษานี้เพื่อเป็ นข้อมูลประกอบในการพิจารณาแนวทางความ
เป็ นไปได้ของโครงการแก้ไขปั ญหา สำหรับการแก้ไขปั ญหาน้ำท่วมขังใน
ระยะยาวของพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ

1.2 วัตถุประสงค์ของการแก้ไขปั ญหา

1.2.1. เพื่อหาวิธีการบริหารจัดการน้ำ

1.2.2. เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

1.2.3. เพื่อหาแนวทางแก้ไขปั ญหาน้ำท่วมขัง

1.3 ขอบเขตและแนวทางการศึกษา
1.3.1. ดำเนินการเก็บข้อมูลของแผนที่ท่อส่งน้ำและภูมิประเทศของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เพื่อศึกษาการไหลของน้ำและ
ทำการลงสำรวจพื้นที่บริเวณที่ประสบปั ญหา ว่าเป็ นพื้นที่อาคารไหนของ
สาขาไหนบ้าง มีจำนวณพื้นที่เท่าไหร่ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
กรุงเทพ

1.3.2. ศึกษาสาเหตุ และผลกระทบในการเกิดปั ญหาน้ำท่วมขัง และ


สภาพของทางระบายน้ำ ในพื้นที่ว่ามีความเป็ นไปได้ หรือไม่ที่จะดำเนิน
การแก๎ไขปั ญหาในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

1.3.3. นำข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีการแก้ไข


ปั ญหาที่เหมาะสมและถูกต้อง สำหรับการป้ องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่มหาวิ
ยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของปั ญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่
มหาวิทยาลัย และแนวทางสำหรับการแก้ไข ปั ญหาความเดือดร้อนของ
นักศึกษาและบุคลากรในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ให้สามารถเดินทางหรือใช้สอยพื้นที่ในมหาลัยได้ปลอดภัยและมีประโยชน์
มากที่สุด
บทที่2

ทบทวนวรรณกรรม

การศึกษาการแก้ไข้ปั ญหาน้ำท่วมขัง กรณีศึกษา มหาวิทยาลัย


เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะผู้จัดทำได้ทำการทบทวนวรรณกรรม
และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

2.1 ข้อมูลพื้นที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

2.2 อุทกภัย

2.3 สาเหตุของปั ญหาน้ำท่วม

2.4 ทฤษฎีการแก้ไขปั ญหาน้ำท่วม

2.5 แนวทางและวิทีการแก้ไขน้ำท่วมขัง

2.6 สภาพน้ำท่วมขังในกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล


กรุงเทพ

2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 ข้อมูลพื้นที่ของกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล


กรุงเทพ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18
มกราคม 2548 เป็ นสถาบันอุดมศึกษาสายอาชีพเปิ ดสอนในระดับ
ปริญญาตรีและปริญญาโทและมีรากฐานมาจากการหลอมรวมตัวกันของ
สถาบันการศึกษาสายอาชีพที่มีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์มาอย่าง
ยาวนาน 3 แห่ง คือ
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพระนครใต้หรือการช่างสตรี
พระนครใต้ มีชื่อเสียงในความเชี่ยวชาญด้านงานช่างสตรี อาทิ งานตัดเย็บ
เสื้อผ้าและออกแบบแฟชั่น งานประดิษฐ์และจัดดอกไม้ อาหารอาหาร
แปรรูป วิทยาศาสตร์การอาหาร ซึ่งมีประวัติศาสตร์มานานกว่า 80 ปี

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯหรือวิทยาลัย
เทคนิคกรุงเทพฯ มีชื่อเสียงในความเชี่ยวชาญทางด้านช่างอุตสาหกรรม
อาทิ อุตสาหกรรมบริการ การท่องเที่ยว การโรงแรม อุตสาหกรรมสิ่งทอ
อุตสาหกรรมเครื่องเรือนวิศวกรรมไฟฟ้ าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์
เคมี ช่างสำรวจ ช่างภาพซึ่งมีประวัติศาสตร์มานานกว่า 60 ปี และ

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตบพิตรพิมุข มหาเมฆ มีชื่อเสียงใน


ความเชี่ยวชาญในด้านบริหารธุรกิจการตลาดและภาษาต่างประเทศโดย
เฉพาะ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ซึ่งมีประวัติศาสตร์มานานกว่า
30 ปี

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับ
ด้านการจัดการเรียนการสอนดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อ พ.ศ. 2549 ในอันดับที่ 5 จาก 50 อันดับ
มหาวิทยาลัยไทย และได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยดีเด่นด้าน
วิศวกรรมศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ในอันดับที่ 19 จากกระทรวงศึกษาธิการ
สิงคโปร์ เมื่อปี พ.ศ. 2548

ดังนั้น จึงนับเป็ นข้อดีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่


เป็ นแหล่งรวมความรู้ด้านวิชาชีพจากสถานศึกษาที่มีความรู้ความ
เชี่ยวชาญ และมีชื่อเสียงเป็ นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการ
เรียนการสอนจะพัฒนาก้าวหน้าไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในการจัดการ
การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยนั้น ได้แบ่งออกเป็ น 7 คณะ และ 1
วิทยาลัยนานาชาติ ได้แก่

1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
2. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
3. คณะบริหารธุรกิจ
4. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5. คณะวิศวกรรมศาสตร์
6. คณะศิลปศาสตร์
7. คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ
8. วิทยาลัยนานาชาติ

ปั จจุบัน โครงสร้างการบริหารงานของ มทร.กรุงเทพ ไม่มีวิทยาเขตอีกต่อ


ไป โดยจะบริหารงานในรูปแบบคณะแทน จึงนับได้ว่าราชมงคลกรุงเทพ
เป็ นราชมงคลแห่งเดียวที่ไม่มีวิทยาเขตอย่างสมบูรณ์ และต้นไม้ประจำ
มหาวิทยาลัยฯ คือ ต้นสาทร
รูปที่ 2.1 แผนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

รูปที่ 2.2 แผนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พื้นที่บพิตรพ


มุข
รูปที่ 2.3 แผนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พื้นที่เทคนิค
กรุงเทพฯ
รูปที่ 2.4 แผนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พื้นที่พระนคร
ใต้

2.2 อุทกภัย

2.2.1 นิยามและความหมาย

อุทกภัย คือ ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม หรือ อันตรายอัน


เกิดจากสภาวะที่น้ำไหลเอ่อล้นฝั่ งแม่น้ำ ลำธาร หรือทางน้ำ เข้าท่วมพื้นที่
ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ได้อยู่ใต้ระดับ น้ำ หรือเกิดจากการสะสมน้ำบนพื้นที่ซึ่ง
ระบายออกไม่ทัน ท้าให้พ้นที่นั้นปกคลุมไปด้วยน้ำ โดยทั่วไปแล้วอุทกภัย
มัก เกิดจากน้ำท่วม

2.2.2 ลักษณะของอุทกภัย

ลักษณะของอุทกภัยสามารถแบ่งออกเป็ น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ คือ


1) น้ำท่วมขัง/น้ำล้นตลิ่ง 2) น้ำท่วมฉับพลัน

2.2.2.1 น้ำท่วมขัง/น้ำล้นตลิ่ง
เป็ นสภาวะน้ำท่วมที่ เกิดขึ้นเนื่องจากระบบระบายน้ำไม่มี
ประสิทธิภาพ มัก เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบริเวณชุมชน
เมือง ใหญ่ๆ มีลักษณะค่อยเป็ นค่อยไป ซึ่งเกิดจากฝนตกหนัก ณ
บริเวณนั้นๆ ติดต่อกันเป็ นเวลาหลายวัน หรือเกิดจาก สภาวะน้ำล้น
ตลิ่ง น้ำท่วมขังส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณท้ายน้ำ และมีลักษณะแผ่เป็ น
บริเวณกว้างเนื่องจากไม่สามารถ ระบายได้ทัน ความเสียหายจะเกิด
กับพืชผลทางการเกษตร และอสังหาริมทรัพย์เป็ นส่วนใหญ่ สำหรับ
ความเสียหาย อื่นๆ มีไม่มากนักเพราะสามารถเคลื่อนย้ายไปอยู่ในที่
ที่ ปลอดภัย

2.2.2.2 น้ำท่วมฉับพลัน

เป็ นภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้น อย่างฉับพลันในพื้นที่ เนื่องจากฝน


ตกหนักในบริเวณพื้นที่ ซึ่งมีความชันมาก และมีคุณสมบัติในการกัก
เก็บหรือการ ต้านน้ำน้อย หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ และมักเกิดขึ้น
ใน บริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งอาจจะไม่มีฝนตกหนักใน บริเวณ
นั้นมาก่อนเลยแต่มีฝนตกหนักมากบริเวณต้นน้ำที่ อยู่ห่างออกไป
เนื่องจากน้ำท่วมฉับพลันมีความรุนแรงและ เคลื่อนที่ด้วยความ
รวดเร็วมากโอกาสที่จะป้ องกันและ หลบหนีจึงมีน้อย ดังนั้นความ
เสียหายจากน้ำท่วมฉับพลัน จึงมีมากทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

2.3 สาเหตุของปั ญหาน้ำท่วม

ปั ญหาน้ำท่วมขังในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพได้มีการ
พัฒนาพื้นที่ที่เป็ นอาคารมากขึ้น ทำให้รางระบายน้ำในพื้นที่ของ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพเพื่อป้ องกันน้ำท่วมขังที่วางไว้
ไม่เพียงพอที่จะทำให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก ผนวกกับปั ญหาแผ่นดินทรุด
จึงทำให้ปั ญหาน้ำท่วมมีวามรุนแรงมากขึ้น

2.3.1 สาหตุของการเกิดอุทกภัยจากธรรมชาติ

1) ฝนตกหนักจากพายุหรือพายุฝนฟ้ าคะนอง เป็ นพายุที่เกิดขึ้น


ติดต่อกันเป็ นเวลาหลายชั่วโมงมีปริมาณฝนตกหนักมากจนไม่อาจไหลลงสู่
ต้นน้ำลำธารได้ทันจึงท่วมพื้นที่ที่อยู่ในที่ต่ำ มักเกิดในช่วงฤดูฝนหรือฤดู
ร้อน
2) ฝนตกหนักจากพายุหมุนเขตร้อน เมื่อพายุนี้ประจำอยู่ที่แห่งใด
แห่งหนึ่งเป็ นเวลานานหรือแทบไม่เคลื่อนที่ จะทำให้บริเวณนั้นมีฝน
ตกหนักติดต่อกันตลอดเวลา ยิ่งพายุมีความรุนแรงมาก เช่น มีความ
รุนแรงขนาดพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่น เมื่อเคลื่อนตัวไปถึงที่ใดก็ทำให้ที่นั้น
เกิดพายุลมแรง ฝนตกหนักเป็ นบริเวณกว้างและมีน้ำท่วมขัง นอกจากนี้
ถ้าความถี่ของพายุที่เคลื่อนที่เข้ามาหรือผ่านเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน ถึงแม้จะ
ในช่วงสั้นแต่ก็ทำให้น้ำท่วมเสมอ
3) ฝนตกหนักในป่ าบนภูเขา ทำให้ปริมาณน้ำบนภูเขาหรือแหล่ง
ต้นน้ำมาก มีการไหลและเชี่ยวอย่างรุนแรงลงสู่ที่ราบเชิงเขา เกิดน้ำท่วม
ขึ้นอย่างกะทันหัน เรียกว่าน้ำท่วมฉับพลัน เกิดขึ้นหลังจากที่มีฝนตกหนัก
ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือเกิดก่อนที่ฝนจะหยุดตก มักเกิดขึ้นในลำธาร
เล็กๆ โดยเฉพาะตอนที่อยู่ใกล้ต้นน้ำของบริเวณลุ่มน้ำ ระดับน้ำจะสูงขึ้น
อย่างรวดเร็ว จังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับเทือกสูง เช่น จังหวัดเชียงใหม่
เป็ นต้น
4) ผลจากน้ำทะเลหนุน ในระยะที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ใน
แนวที่ทำให้ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด น้ำทะเลจะหนุนให้ระดับน้ำในแม่น้ำ
สูงขึ้นอีกมาก เมื่อประจวบกับระยะเวลาที่น้ำป่ าและจากภูเขาไหลลงสู่
แม่น้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำไม่อาจไหลลงสู่ทะเลได้ ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่ง
และท่วมเป็ นบริเวณกว้างยิ่งถ้ามีฝนตกหนักหรือมีพายุเกิดขึ้นในช่วงนี้
ความเสียหายจากน้ำท่วมชนิดนี้จะมีมาก
5) ผลจากลมมรสุมมีกำลังแรง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็ นมรสุมที่
พัดพาความชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่เดือน
พฤษภาคมถึงตุลาคม เมื่อมีกำลังแรงเป็ นระยะเวลาหลาย วัน ทำให้เกิด
คลื่นลมแรง ระดับน้ำในทะเลตามขอบฝั่ งจะสูงขึ้น ประกอบกับมีฝน
ตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ยิ่งถ้ามีพายุเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ก็จะยิ่งเสริม
ให้มรสุมดังกล่าวมีกำลังแรงขึ้นอีก ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจาก
ประเทศจีนเข้าสู่ไทย ปะทะขอบฝั่ งตะวันออกของภาคใต้ มรสุมนี้มีกำลัง
แรงเป็ นครั้งคราว เมื่อบริเวณความกดอากาศสูงในประเทศจีนมีกำลังแรง
ขึ้นจะทำให้มีคลื่นค่อนข้างใหญ่ในอ่าวไทย และระดับน้ำทะเลสูงกว่าปกติ
บางครั้งทำให้มีฝนตกหนักในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไปทำให้เกิด
น้ำท่วมเป็ นบริเวณกว้าง
6) ผลจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือ
ภูเขาไฟบนบกและภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด เปลือกของผิวโลกบางส่วนจะได้
รับความกระทบกระเทือนต่อเนื่องกัน บางส่วนของผิวโลกจะสูงขึ้นบาง
ส่วนจะยุบลง ทำให้เกิดคลื่นใหญ่ในมหาสมุทรซัดขึ้นฝั่ ง เกิดน้ำท่วมตาม
หมู่เกาะและเมืองตามชายฝั่ งทะเลได้ เกิดขึ้นบ่อยครั้งในมหาสมุทร
แปซิฟิ ก
2.3.2 สาหตุของการเกิดอุทกภัยจากมนุษย์

1) การตัดไม้ทำลายป่ า ในพื้นที่เสี่ยงภัยเมื่อเกิดฝนตกหนักจะทำให้
อัตราการไหลสูงสุดเพิ่มมากขึ้นและไหลมาเร็วขึ้น เป็ นการเพิ่มความ
รุนแรงของน้ำในการทำลายและยังเป็ นสาเหตุของดินถล่มด้วย นอกจากนี้
ยังทำให้ดินและรากไม้ขนาดใหญ่ถูกชะล้างให้ไหลลงมาในท้องน้ำ ทำให้
ท้องน้ำตื้นเขินไม่สามารถระบายน้ำได้ทันที รวมทั้งก่อให้เกิดความสูญเสีย
ชีวิตและบาดเจ็บของประชาชนทางด้านท้ายน้ำ
2) การขยายเขตเมืองลุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ลุ่มต่ำ (Flood plain) ซึ่ง
เป็ นแหล่งเก็บน้ำธรรมชาติทำให้ไม่มีที่รับน้ำ ดังนั้นเมื่อน้ำล้นตลิ่งก็จะ
เข้าไปท่วมบริเวณที่เป็ นพื้นที่ลุ่มต่ำซึ่งเป็ นเขตเมืองที่ขยายใหม่ก่อน
3) การก่อสร้างโครงสร้างขวางทางน้ำธรรมชาติทำให้มีผลกระทบ
ต่อการระบายน้ำและก่อให้เกิดปั ญหาน้ำท่วม
4) การออกแบบทางระบายน้ำของถนนไม่เพียงพอ ทำให้น้ำล้นเอ่อ
ในเขตเมือง ทำความเสียหายให้แก่ชุมชนเมืองใหญ่ เนื่องจากการระบาย
ได้ช้ามาก
5) การบริหารจัดการน้ำที่ไม่ดีเป็ นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมโดย
เฉพาะบริเวณด้านท้ายเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ

You might also like