You are on page 1of 5

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

อุณหภูมิและความโปร่งแสง

หัวข้อเรื่อง
1.1 อุณหภูมิ
1.2 ความโปร่งแสง
สาระสำคัญ
คุณสมบัติของน้ำทางกายภาพ ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ อุณหภูมิ สี ความขุ่น
ความโปร่งแสง ค่าการนำไฟฟ้า ฯ ค่าความโปร่งแสง แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำหรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
การวัดค่าความโปร่งแสงทำให้ทราบถึงระดับที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือไม่ รวมถึงการปรับปรุง
แก้ไข ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อไป

วัตถุประสงค์ เพื่อให้
1. นักศึกษาทราบถึงความสำคัญของอุณหภูมิและความโปร่งแสงที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. นักศึกษาทราบหลักการ และวิธีการวัดอุณหภูมิและความโปร่งแสง
3. นักศึกษาสามารถวัดอุณหภูมิ และความโปร่งแสงได้ถูกต้องตามหลักและวิธีการ
4. นักศึกษาสามารถแปรความหมายและปรับปรุงคุณภาพน้ำได้ตามหลักและวิธีการ

เนื้อหา
1.1 อุณหภูมิ (Temperature)
อุณหภูมิ มีความสำคัญอย่างมากเพราะเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ ในระบบนิเวศวิทยาของ
น้ำหลายประการ เช่น การย่อยสลายสารอินทรีย์ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของดินและน้ำ การละลายแร่ธาตุและ
ก๊าซ การระเหยของน้ำ การหายใจ และการเจริญเติบโต เป็นต้น แหล่งที่ให้ความร้อนแก่น้ำในบ่อปลา มากที่สุด
คือแสงจากดวงอาทิตย์และแสงสะท้อนจากท้องฟ้าและบรรยากาศที่ตกกระทบผิวน้ำและถูกดูดกลืนเปลี่ยนเป็น
พลังงานความร้อน น้ำในบ่อปลาดูดกลืนความร้อนได้มากน้อยเพียงใดขึ้นกับสีของน้ำและความขุ่น การสูญเสีย
ความร้อนของน้ำในบ่อปลาเกิดได้หลายทาง ได้แก่ การถ่ายเทความร้อนสู่บรรยากาศ พื้นก้นบ่อ
และการระเหยของน้ำ
1.1.1 การวัดอุณหภูมิ
อุณหภูมิของน้ำสามารถวัดได้โดยใช้ เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) สำหรับในประเทศไทยนิยม
วัดเป็นองศาเซลเซียส โดยทั่วไปนิยมวัดอุณหภูมิที่ผิวน้ำ เนื่องจากบริเวณผิวน้ำจะเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิ
สูงที่สุดในบ่อ ทั้งนี้เนื่องจาก สารแขวนลอยสามารถดูดซับพลังงานความร้อน และในการวัดอุณหภูมิของน้ำมักใช้
อ้างอิงกับอุณหภูมิของอากาศ โดยมีข้อควรระวังคือต้องไม่จับถูกบริเวณกระเปาะที่บรรจุสารปรอทเนื่องจากจะมี
ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซื่งอาจทำให้ค่าที่วัดได้คลาดเคลื่อน

ภาพที่ 2.1 การวัดอุณหภูมิที่ผิวน้ำ


ที่มา : เทิดพันธุ์ นิ่มสกล (2565)

ธรรมชาติของน้ำมีสมบัติเป็นตัวนำความร้อนที่ไม่ดี การกระจายความร้อนจากผิวน้ำลงระดับลึก
หรือส่วนอื่นของบ่อเกิดได้น้อย นอกจากนี้อุณหภูมิทำให้น้ำมีปริมาตรและน้ำหนักต่อหน่วยปริมาตรเปลี่ยนแปลง
คุณสมบัติของน้ำทั้งสองประการนี้ทำให้น้ำในบ่อมีการแบ่งชั้นเมื่ออุณหภูมิข องน้ำชั้นบนและล่างต่างกัน และน้ำ
หมุนเวียนผสมกันหลังจากอุณหภูมิน้ำทุกระดับความลึกเท่ากัน ซึ่งทำให้การแบ่งชั้นของน้ำสลายตัว การแบ่งชั้น
และการสลายตัวของชั้นน้ำเกิดจากการเปลี่ยนอุณหภูมิตามฤดูกาลและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างวัน
สำหรับประเทศไทยที่ตั้งในภูมิภาคเขตร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างฤดูกาลแตกต่างกันไม่มาก
เหมือนกับภูมิภาคเขตอบอุ่น อุณหภูมิในฤดูร้อนอยู่ระหว่าง 30-36 องศาเซลเซียส และในฤดูหนาวอยู่ในระหว่าง
24- 29 องศาเซลเซียส สภาพอุณภูมิดังกล่าวไม่ทำให้แหล่งน้ำนิ่งต่าง ๆ ในประเทศไทย แบ่งชั้นน้ำหรือหมุน เวียน
ของน้ำมีเสถียรภาพเท่ากับเขตอบอุ่น ประกอบกับอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดระหว่างวันมีความแตกกต่างกันมาก
การแบ่งชั้นน้ำและการหมุนเวียนของน้ำในแหล่งน้ำนิ่งจึงเกิดขึ้นหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวัน เวลา
กลางวันผิวน้ำร้อนกว่าชั้นน้ำที่อยู่ลึกลงไปถ้าไม่มี กระแสลมแล้ว น้ำก็จะไม่ผสมกันระหว่างชั้นความลึก หาก
อุณหภูมิของน้ำชั้นบนและน้ำชั้นล่างต่างกันมาก การแบ่งชั้นน้ำก็จะมีเสถียรภาพ เวลากลางคืนอุณหภูมิของ
อากาศลดลงมาก และอุณหภูมิที่ผิวน้ำเย็นลง น้ำเย็นจากผิวน้ำจมตัวผสมกับน้ำชั้นล่าง และอุณหภูมิของน้ำเท่ากัน
ทุกระดับความลึก น้ำในบ่อก็หมุนเวียนในที่สุด (อุธร ฤทธิลึก 2553)

2.2 ความโปร่งแสง (Transparency)


ค่าความโปร่งแสงสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Secchi disc มีลักษณะเป็นแผ่น
กลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร ทำด้วยโลหะ ไม้ หรือพลาสติกก็ได้ทาด้วยสีขาวสลับดำต่อด้วยเชือกที่มี
หน่วยวัดความยาว มีหน่วยเซนติเมตร อาจใช้สายวัดติดกับเชือกได้

ภาพที่ 2.2 เครื่องมือวัดความโปร่งแสง Secchi disc


ที่มา : เทิดพันธุ์ นิ่มสกล (2565)
2.1 หลักการหาค่าความโปร่งแสง
ค่าความเปร่งแสง เป็นการวัดความลึกที่แสงสามารถส่องผ่านลงไปในน้ำได้ ความผันแปรตามสี
ความขุ่นรวมถึงปริมาณแพลงตอน แต่บางครั้งความโปร่งแสงอาจผันแปรตามความเข้มของแสง และทิศทางของ
แสง ความโปร่งแสงเป็นตัวแปรคุณภาพน้ำที่วัดได้ง่าย และสามารถบอกถึงคุณภาพน้ำเบื้องต้นโดยเฉพาะด้านความ
สมบูรณ์ของแหล่งน้ำ หรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำมักพิจารณาควบคู่ไปกับสีของน้ำ
2.2 วิธีการ
2.2.1 โดยการหย่อน Secchi disc ลงในแหล่งน้ำที่ต้องการวัดค่าความโปร่งแสง โดย
ค่อยๆหย่อนลงไป จนกระทั่งมองไม่เห็นความแตกต่างระหว่างสีดำและสีขาว อ่านค่า ได้ค่าครั้งที่ 1
2.2.2 และหย่อน Secchi disc ลงไปให้ลึกจนมองไม่เห็น แล้วค่อย ๆ ดึงขึ้น จนกระทั่ง
มองเห็นความแตกต่างระหว่างสีดำและสีขาว อ่านค่า ได้ค่าที่ 2
2.2.3 นำค่าที่วัดได้ทั้ง 2 ครั้งมาหาค่าเฉลี่ย จะได้ค่าความโปร่งแสงของแหล่งน้ำ
มีหน่วยเป็นเซนติเมตร

ภาพที่ 2.3 วิธีการวัดค่าความโปร่งแสง


ที่มา : เทิดพันธุ์ นิ่มสกล (2565)
2.3 ค่าความโปร่งแสง ค่าความโปร่งแสงแสดงถึงความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำ และความเข้มข้น
ของแหล่งน้ำ ค่าความโปร่งแสงที่วัดได้มีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนี้
น้อยกว่า 30 เซนติเมตร หมายถึง แหล่งน้ำนั้นมีความเข้มข้นสูงซึ่งอาจเกิดจากตะกอนดินหรือ
ปริมาณแพลงตอน ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ควรแก้ไขด้วยการลดความเข้มข้น ได้แก่ การเติมน้ำ
หรือการเปลี่ยนถ่ายน้ำ โดยเฉพาะบริเวณก้นบ่อเพื่อลดปริมาณสารอินทรีย์ หรือสารอาหารของแพลงตอนพืช
30 – 60 เซนติเมตร หมายถึง แหล่งน้ำมีควาสมเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือมีปริมาณ
อาหารธรรมชาติ ที่เพียงพอไม่มากหรือน้อยเกินไป
มากกว่า 60 เซนติเมตร หมายถึง แหล่งน้ำที ขาดความอุดมสมบูรณ์ หรือมีปริมาณอาหาร
ธรรมชาติน้อยเกินไปไม่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ควรแก้ไขโดยการใส่ปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

You might also like