You are on page 1of 8

ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด

โดย
นางสาวกชพร บุญภิละ เลขที่ 19
นางสาวฉัตรทิปภา เทียมทัน เลขที่ 20
นางสาวธนพร สุกากิจ เลขที่ 22
นางสาวณญาดา เหลืองทองนารา เลขที่ 26
ความสำคัญ : เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ
เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ เป็น
แหล่งที่ให้น้ำในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร
ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจืด พืช เช่น จอก สาหร่าย
แหน เป็นต้น สัตว์ เช่น หอย ปลาต่าง ๆ กุ้ง เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีพ
• ปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ปริมาณก๊าซออกซิเจน ปริมาณก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณแร่ธาตุ ความขุ่นในของน้ำ
• ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ชนิดและปริมาณของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
• ปัจจัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งเมื่อชะล้างลงสู่แหล่งน้ำจะไปทำลาย
สิ่งมีชีวิตในน้ำ น้ำบางชนิดทำให้มีผลกระทบต่อการถ่ายทอดพลังงานและสมดุลทางธรรมชาติในแหล่งน้ำ

สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ
• ผู้ผลิต ได้แก่ พืชต่าง ๆ ซึ่งในแหล่งน้ำมีทั้งที่เป็นพวกแพลงก์ตอน สาหร่ายต่าง ๆ เฟิร์น และพืชดอก
• ผู้บริโภค ได้แก่ พวกแพลงก์ตอนสัตว์ แมลงต่าง ๆ และสัตว์พวกกินซากอินทรีย์
• ผู้ย่อยสลาย มีทั้งพวกแบคทีเรีย เห็ด รา
ระบบนิเวศน้ำจืดแบ่งตามลักษณะของแหล่งน้ำเป็น 3 ประเภท คือ
1. แหล่งน้ำนิ่ง เช่น ทะเลสาบ บึง ถ้าเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ สามารถแบ่งเขตแหล่งน้ำนิ่งได้ 3 เขต

1.1 เขตชายฝั่ ง เป็นบริเวณรอบๆ แหล่งน้ำแสงส่องได้ถึงก้นน้ำ เป็นเขตที่มีผู้ผลิตและผู้บริโภคมากกว่าเขตอื่นๆ ผู้ผลิตบริเวณ


ชายฝั่ ง ได้แก่ พืชที่มีรากยึดอยู่ในพื้นดินใต้ท้องน้ำ
1.2 ผิวน้ำหรือเขตกลางน้ำ นับจากชายฝั่ งเข้ามาจนถึงระดับลึกที่แสงส่องถึง มีความเข้มของแสงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของแสง
จากดวงอาทิตย์ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นแพลงก์ตอนและพวกที่ว่ายน้ำอิสระ มีจำนวนชนิดและจำนวนสมาชิกน้อยกว่าเขตชายฝั่ ง
แพลงก์ตอนพืช ได้แก่ สาหร่ายสีเขียว ไดอะตอม
1.3 เขตก้นน้ำ เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดจนถึงหน้าดินของพื้นท้องน้ำ กล่าวได้ว่า แหล่งน้ำขนาดเล็กจะไม่มีในเขตที่สามนี้ แสงส่องไม่
ถึง จึงไม่มีผู้ผลิต สิ่งมีชีวิตที่พบ ได้แก่ รา แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน หนอนเลือด
2. แหล่งน้ำไหล เช่น แม่น้ำ ลำธาร โครงสร้างของกลุ่มสิ่งมีชีวิตน้ำไหลขึ้นอยู่กับความเร็วของน้ำ แหล่งน้ำไหลนี้จึงแบ่งออกเป็น
2 ชนิด
2.1 เขตน้ำเชี่ยว เป็นเขตที่มีกระแสน้ำไหลแรง จึงไม่มีตะกอนสะสมใต้น้ำ สิ่งมีชีวิตในบริเวณนี้มักเป็นพวกที่สามารถเกาะติด
กับวัตถุใต้น้ำ หรือคืบคลานไปมาสะดวก พวกที่ว่ายน้ำได้จะต้องเป็นพวกที่ทนทานต่อการต้านกระแสน้ำ แพลงก์ตอนแทบจะไม่
ปรากฎในบริเวณนี้
2.2 เขตน้ำไหลเอื่อย เป็นช่วงที่มีความลึก ความเร็วของกระแสน้ำลดลง อนุภาคต่างๆ จึงตกตะกอนทับถมกันหนาแน่นในเขต
นี้ มักไม่มีสัตว์เกาะตามท้องน้ำ เขตนี้เหมาะกับพวกที่ขุดรูอยู่ เช่น หอยสองกาบ ตัวอ่อนของแมลงปอ ชีปะขาว

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหลพบว่าต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิต เช่น มีรูปร่างเพรียว เพื่อลดความต้านทานของ


กระแสน้ำ เช่น ปลาบางชนิดที่มีรูปร่างแบนราบไปกับพื้นที่เกาะ ตัวอ่อนแมลงบางชนิดสามารถเกาะติดแน่นกับพื้นผิวที่อาศัยอยู่ เช่น
แมลงหนอนปลอกน้ำและฟองน้ำจืด

3. ปากน้ำ ปากน้ำเป็นบริเวณที่น้ำมาบรรจบกันระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม ทำให้เป็นบริเวณที่มีน้ำกร่อยเกิดเป็นชุมชนรอยต่อ


ระหว่างชุมชนน้ำจืดและน้ำเค็ม ลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้นคือ มีสภาพทางชีววิทยาที่เอื้ออำนวยที่จะให้ผลผลิตอย่างสูงต่อสังคม
มนุษย์ ปากน้ำที่เกิดขึ้นมีหลายชนิด มีภูมิประเทศต่างจากที่อื่นๆ และมีลักษณะทางธรณีที่สำคัญเกิดขึ้น มีการเจริญเติบโตไป
จากฝั่ งทะเลและจมลงไปจากปากน้ำ เช่น ปากน้ำเจ้าพระยา
พืชน้ำ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
2. พืชชายน้ำหรือพืชริมน้ำ
1. พืชลอยน้ำ พืชชายน้ำหรือพืชริมน้ำ หมายถึง พืชที่มีส่วนราก และ
พืชลอยน้ำ หมายถึง พืชที่มีส่วนราก และ ลำต้นเจริญอยู่ในดินริมน้ำ ซึ่งอาจอยู่ในสภาพมีน้ำท่วม
ลำต้นเจริญอยู่ที่ผิวน้ำหรือทุกส่วนลอยอยู่ ขังหรือไม่มีน้ำท่วมขัง เช่น กกกลม ไมยราบยักษ์ ผัก
ผิวน้ำ เช่น จอก ผักตบชวา เป็นต้น แว่น เป็นต้น
3. พืชในน้ำ
พืชใต้น้ำ หมายถึง พืชที่มีส่วนราก และลำต้นเจริญอยู่บนดินใต้น้ำ ซึ่งอาจมีส่วนลำต้นหรือใบลอยอยู่กลาง
น้ำหรือโผล่ขึ้นมาจากน้ำ แบ่งย่อยได้ 2 ชนิด คือ
– พืชใต้น้ำ หมายถึง พืชที่มีส่วนราก และลำต้น เจริญบนดินใต้น้ำ โดยไม่มีส่วนลำต้น และใบโผล่พ้นเหนือ
น้ำ เช่น สาหร่ายชนิดต่างๆ
– พืชโผล่เหนือน้ำ หมายถึง พืชที่มีส่วนราก และลำต้น เจริญบนดินใต้น้ำในระยะหนึ่ง และเมื่อเจริญเต็มที่
จึงมีบางส่วนโผล่พ้นเหนือน้ำ เช่น บัวชนิดต่างๆ

You might also like