You are on page 1of 244

พรรณปลาของเอสทูรี่

อาวไทยตอนใน

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝง
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝง
ชื่อหนังสือ พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand
ผู้เขียนและออกแบบปก ชวลิต วิทยานนท์
ภาพถ่าย ชวลิต วิทยานนท์ และคณะ
ปีที่พิมพ์ กรกฎาคม 2564
ครั้งที่พิมพ์ 1
จ�ำนวน 200 เล่ม
ลิขสิทธิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2564
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กรุงเทพฯ. เอ.พี. พริ้นติ้ง มีเดีย. 235 หน้า
ISBN 978-616-316-679-1
พิมพ์ที่ เอ.พี.พริ้นติ้ง มีเดีย
ค�ำขอบคุณ


รรณปลาของเอสทู รี่ อ ่ า วไทยตอนในเล่ ม นี้ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น และช่ ว ยเหลื อ จาก
บุคคลหลายฝ่าย จนส�ำเร็จเป็นรูปเล่มได้ คณะผู้จัดท�ำขอขอบคุณชาวประมงและชุมชน
ประมงที่มีส่วนช่วยเหลืออย่างมาก ศูนย์และสถานีวิจัยประมงหลายแห่ง เพื่อนเก่าๆ สมัยนั้น
ทัง้ หัวหน้าสถานีและเพือ่ นร่วมงานทีเ่ ดีย๋ วนีเ้ กษียณไปหลายคนแล้ว เพือ่ นนักส�ำรวจและนักอนุรกั ษ์ทคี่ อย
ชีเ้ ป้าข้อมูล แพปลาและพ่อค้าแม่คา้ ปลาหลายคนในตลาด ทัง้ ทีใ่ จดีและชอบเหวีย่ งเพราะร�ำคาญทีผ่ มไป
เกะกะ ทีไ่ ปบ่อยๆ ช่วงปีทา้ ยๆ ก็มี แพเจ๊แจ๋ว เจ๊แมว และเจ๊แต๋ว ทีบ่ างปะกง ฉะเชิงเทรา และแพป้าทุม
แม่ทองฟู และพี่อ้วน ที่บ้านแหลม เพชรบุรี รวมถึงอีกหลายท่านที่เอื้อเฟื้อให้ใช้ หรือให้ถ่ายรูปปลา
ที่หาได้ยาก และสวยๆ ได้แก่ คุณนันทวัฒน์ โชติสุวรรณ คุณนณณ์ ผาณิตวงศ์ คุณแน่งน้อย
ยศสุนทร คุณทัศพล กระจ่างดารา คุณทัพ มีทรัพยวัฒนา กลุ่ม ThaiWhales คุณก�ำพล อุดมฤทธิรุธ
คุณวิชา นรังสี อ.ภาสกร แสนจันแดง คุณธนิสร วศิโนภาส คุณปริญญา ผดุงถิ่น คุณวันสวัสดิ์
สวัสดิหลง คุณภวพล ศุภนันทนานนท์ คุณสมิทธิ์ สูตบิ ตุ ร ร้านปลาออร์แกนิค และคุณจารุปภา วะสี
ในการช่วยเหลือในการส�ำรวจภาคสนาม ทุกคนมีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งที่ท�ำให้เกิดการเห็นคุณค่า
และความส�ำคัญของพื้นที่นี้
ความดี ง ามจากหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ข อ
อุทิศให้กับ ดร.กาญจนา อดุลยานุโกศล
(แม่หมูน�้ำหรือพี่ตึก ของวงการสัตว์เลี้ยง
ลูกด้วยนมในทะเลไทย) ในความทุ่มเท
ให้กับการวิจัยและการอนุรักษ์สัตว์เหล่า
นี้รวมถึงของอ่าวไทยตอนในด้วย และได้
ผลักดันการจัดท�ำหนังสือเล่มนี้
ค�ำน�ำ
ค วามหลากหลายของพรรณปลาเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพของระบบนิเวศที่มี
ความส�ำคัญ อ่าวไทยตอนในเป็นบริเวณหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงโดยเฉพาะ
ปลาทะเล รวมทั้งสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยน�้ำนม นกทะเล และเต่าทะเล จึงเป็นระบบนิเวศที่มีคุณภาพ
และมีความส�ำคัญของน่านน�้ำไทย เนื่องด้วยบริเวณนี้มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีความจ�ำเพาะเป็น
พิเศษ กล่าวคือเป็นบริเวณที่เป็นลักษณะอ่าวกึ่งปิด เป็นแหล่งรวมและสะสมธาตุอาหารที่พัดพามากับ
แม่น�้ำที่ส�ำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น�้ำเจ้าพระยา แม่น�้ำ ท่าจีน แม่น�้ำบางปะกง ซึ่งไหลลงมาบรรจบ
กันในบริเวณนี้ จึงเป็นแหล่งอาหารที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตในสายใยอาหาร ก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์
ของทรัพยากรทางทะเล เป็นระบบนิเวศเอสทูรี่ที่ส�ำคัญของประเทศไทย สัตว์น�้ำในบริเวณนี้สร้าง
ความมัน่ คงทางอาหารให้แก่ชมุ ชนโดยรอบ เป็นแหล่งผลิตอาหารส�ำหรับคนไทยทัว่ ประเทศ เป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวชมวาฬบรูด้า และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศตามธรรมชาติที่เป็นที่นิยม
ปัจจุบัน ทรัพยากรทางทะเลมีปริมาณและความหลากหลายทางชีวภาพลดลง จากภัยธรรมชาติ
มลพิษทางน�้ำที่ถูกปล่อยและจากพัดพาจากแผ่นดิน และจากการใช้ประโยชน์ที่เกินศักยภาพการ
ผลิตทดแทน พบว่าปลาอย่างน้อยจ�ำนวน 380 ชนิด ซึ่งเป็นปลาเอสทูรี่แท้ๆ จ�ำนวน 279 ชนิด และ
เป็นปลาทะเลชายฝั่งที่เข้ามาอาศัยอยู่จ�ำนวน 101 ชนิด ในจ�ำนวนนี้มีชนิดที่ถูกคุกคามและสูญพันธุ์
จากน่านน�้ำไทยมากถึง 43 ชนิด นอกจากนี้ยังมีปลาต่างถิ่น (alien species) ที่แพร่พันธุ์อยู่เป็น
จ�ำนวน 7 ชนิด
หนังสือพรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนในฉบับนี้ เป็นการรวบรวมผลการศึกษาส�ำรวจพรรณ
ปลาอ่าวไทยตอนใน ของ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ กว่า 20 ปี เอกสารและรายงานการส�ำรวจซึ่งเริ่มมี
การศึกษาและจดบันทึกตั้งแต่ปี พ.ศ.2466 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดย ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิท (Dr. Huge M. Smith) ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงเป็นบันทึกและฐานข้อมูล
ส�ำคัญที่รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของปลาในเอสทูรี่ที่เคยพบเห็นในอ่าวไทยตอนใน ซึ่งจะ
เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างองค์ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ
ผูท้ สี่ นใจทัว่ ไป ส�ำหรับใช้ประกอบการส�ำรวจ ติดตาม เพือ่ ให้ทราบสถานภาพแนวโน้มการเปลีย่ นแปลง
ของประชากรปลา และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการก�ำหนดขีดจ�ำกัดการใช้ประโยชน์ และ
วางแผนการบริหารจัดการเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร
ในระบบนิเวศเอสทูรี่อ่าวไทยตอนในให้ยั่งยืนสืบไป

(นางสุมนา ขจรวัฒนากุล)
ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
วิธีใช้หนังสือ

นังสือพรรณปลาปากแม่น�้ำของก้นอ่าวไทยตอนในนี้ เป็น
คู ่ มื อ แบบง่ า ยที่ ใ ช้ ใ นการสั ง เกตและจ� ำ แนกปลาชนิ ด ต่ า งๆ
เท่ า ที่ ส� ำ รวจพบ โดยแสดงเป็ น รู ป เปรี ย บเที ย บชนิ ด สกุ ล ที่ มี ค วาม
คล้ายกันที่สุดและเรียงตามหลักการจ�ำแนกอันดับและวงศ์ของ Nelson
et al. (2016) ในแต่ละวงศ์ปลาจะแสดงชนิดที่พบด้วยสรุปค�ำบรรยาย
ลักษณะส�ำคัญของวงศ์หรือชนิด รูปถ่าย ชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ ที่เป็น
ชื่อสกุล และชนิด ตามด้วยชื่อผู้ตั้ง และปีในชื่อผู้ตั้งที่มีวงเล็บหมายถึง
ชื่อสกุลของชนิดนั้นถูกเปลี่ยนแปลงภายหลัง
อักษรย่อที่ใช้และความหมาย
e = พบบ่อยในท้องตลาด common edible species;
A = aquarium fish เป็นปลาสวยงาม;
สถานภาพ เชิ ง อนุ รั ก ษ์ ต ามเกณฑ์ IUCN และตามร่ า งบั ญ ชี ร ายชื่ อ
สถานภาพของสั ต ว์ มี ก ระดู ก สั น หลั ง ของประเทศไทยปี 2563 ของ
ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
RE = สูญพันธุ์แล้วจากก้นอ่าวไทย (Regionally Extinct)
CR = ใกล้สูญพันธุ์อย่างยืน (Critically Endangered)
EN = ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered)
VU = มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerabled)
NT = ใกล้ถูกคุกคาม (Near Theatened)
t= ปลาทะเลที่เข้ามาในบางช่วงชีวิตหรือครั้งคราว (Marine transient/visitor)
และ IAS = สัตว์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species)
ดูปลาดูอย่างไร
ในการสังเกตลักษณะของปลานั้น ดูได้จากรูปร่างแบบต่างๆ ที่เป็นลักษณะประจ�ำวงศ์และสกุล
และในแต่ละชนิดอาจต่างกันอย่างชัดเจน หรือคล้ายกันมาก จึงต้องสังเกตจากสีสัน ลวดลาย และ
ขนาดของส่วนต่างๆ ที่อาจต่างกันเล็กน้อย ลักษณะของปลาที่ใช้ในการสังเกตนั้น คือ หัวและปาก
(หนวด) รูปร่างครีบต่างๆ ที่ประกอบด้วย ครีบอก ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหาง เกล็ดและ
จ�ำนวนเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว
ขนาดของปลาที่ใช้วัดกันทั่วไปนั้น เช่น
ความยาวหัว (Head Length) เริ่มจากปลายสุดของจะงอยปากถึงจุดเริ่มบนสุดของช่องเหงือก
ความยาวรวม (Total Length) เริม่ จากปลายสุดของจะงอยปากถึงปลายสุดของหาง มักใช้กบั ปลาฉลาม
ปลาไหล ปลากระเบน ความยาวมาตรฐาน หรือความยาวล�ำตัว (Standard Length) เริ่มจากปลาย
สุดของจะงอยปากถึงกลางคอดหางที่เป็นจุดเริ่มของก้านครีบหาง
สารบัญ
วิธีใช้หนังสือ............................................................................................................................... ค
ดูปลาอย่างไร.............................................................................................................................. 1
1. บทน�ำ............................................................................................................................... 2
2. ความหลากชนิดของปลา...................................................................................................... 11
2.1 แผนภาพวงศ์ปลา...................................................................................................... 15
2.2 พรรณปลาปากแม่น�้ำของอ่าวไทยตอนใน.................................................................. 19
อันดับฉลามครีบด�ำ Order Carcharhiniformes.................................................. 19
อันดับฉลามกบ Order Orectolobiformes.......................................................... 21
อันดับปลาฉนาก Order Rhinopristiformes....................................................... 23
อันดับปลากระเบน Order Myliobatiformes...................................................... 24
อันดับปลาตาเหลือก Order Elopiformes........................................................... 35
อันดับปลาไหลทะเล Order Anguilliformes........................................................ 36
อันดับปลากะตัก หลังเขียว Order Clupeiformes............................................... 40
อันดับปลานวลจันทร์ทะเล Order Gonorhynchiformes................................... 55
อันดับปลาหนัง Order Siluriformes................................................................... 56
อันดับปลาปากคม Order Aulopiformes............................................................ 64
อันดับปลากุเราแคระ ปลาค๊อด Order Gadiformes............................................ 64
อันดับปลาข้าวเม่าน�้ำลึก Order Beryciformes.................................................... 65
อันดับปลาคางคก Order Batrachoidiformes................................................... 66
อันดับปลากบตกเบ็ด Order Lophiiformes......................................................... 67
อันดับปลาอมไข่ Order Kurtiformes................................................................... 67
อันดับปลาบู่ Order Gobiiformes....................................................................... 69
ซับซีรี่ส์ปลาแป้นแก้ว Subseries Ovalentaria..................................................... 90
อันดับปลากระบอก Order Mugiliformes........................................................... 92
อันดับปลาตั๊กแตนหิน Order Bleniformes.......................................................... 98
อันดับปลาหัวแข็ง Order Atheriniformes........................................................... 99
สารบัญ(ต่อ)
อันดับปลาหัวตะกั่ว Order Cyprinodontiformes.................................................... 101
อันดับปลาเข็ม กระทุงเหว ข้าวสาร Order Beloniformes........................................ 102
อันดับปลาไหลนา หลด Order Synbranchiformes.................................................. 107
อันดับปลาหางแข็ง Order Carangiformes................................................................ 109
อันดับปลาสาก กระโทงแทง Order Istiophoriformes............................................. 115
อันดับปลากัด หมอ ช่อน Order Anabantiformes................................................... 117
อันดับปลาซีกเดียว Order Pleuronectiformes........................................................ 118
อันดับม้าน�้ำ จิ้มฟันจระเข้ Order Syngnathiformes............................................... 125
อันดับปลามังกรน้อย Order Callionymiformes...................................................... 128
อันดับปลาทู อินทรี Order Scombriformes............................................................. 128
อันดับปลาอุบแก้มหนาม Order Trachiniformes...................................................... 132
อันดับปลากะพง Order Perciformes........................................................................ 132
อันดับปลาแมงป่อง สิงโต Order Scorpaeniformes................................................. 155
อันดับปลาหูช้าง Order Moroniformes.................................................................... 159
อันดับปลาขี้ตังเบ็ด จวด Order Acanthuriformes....................................................160
อันดับปลาอีคลุด Order Spariformes....................................................................... 170
อันดับปลาปักเป้า วัว Order Tetraodontiformes.................................................... 175
ปลาน�้ำจืดหลงน�้ำ......................................................................................................... 181
ปลาต่างถิ่น................................................................................................................... 182
บทส่งท้าย.................................................................................................................. 186
รายชื่อพรรณปลา......................................................................................................... 190
เอกสารอ้างอิง.............................................................................................................. 214
ดัชนีชื่อไทย.................................................................................................................. 217
ดัชนีชื่ออังกฤษ............................................................................................................. 222
ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์.................................................................................................... 229

พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 1
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ความยาวรวม
ความยาวหัว
ความยาวมาตรฐาน

ปลา
ดู
ดูอย่างไร
ครีบหลังอันหน้า
เกล็ดแนวเส้นข้างตัว ครีบหลังอันท้าย

ครีบหาง

ครีบอก ครีบท้อง ครีบก้น


2 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บทน�ำ
ก้นอ่าวไทย พื้นที่เล็กๆ ที่ (เคย) สมบูรณ์ที่สุด
ตามภูมิศาสตร์โลก อ่าวไทย หรือ Gulf of Thailand เป็นส่วนหนึ่งของภูมินิเวศทะเลจีนใต้
(Marine Ecoregion หมายเลข 115) หมายถึงพื้นที่ในทะเลตั้งแต่อ่าวไทยตอนบนที่อ่าวกอไก่
ของไทยไปทางตะวันออกเฉียงใต้จนถึงสุดแหลมญวณ (แหลมก๋าเหม่า) ของเวียดนาม และสุดอ่าวด้านใต้
ที่เมืองโกตาบารู ของมาเลเซีย
แต่หากกล่าวเฉพาะในน่านน�้ำไทย อ่าวไทยตอนบนจะหมายถึงพื้นที่ทะเลตั้งแต่ระหว่าง
จั ง หวั ด ตราดถึ ง ประจวบคี รี ขั น ธ์ อ่ า วไทยตอนกลางคื อ ส่ ว นที่ ต ่ อ ลงไปจนถึ ง สุ ร าษฎร์ ธ านี
และนครศรีธรรมราช และจากนั้นไปทางใต้จนสุดชายแดนไทยที่นราธิวาสคืออ่าวไทยตอนล่าง
ส่วน “ก้นอ่าวไทย” ซึ่งเป็นบ้านทั้งถาวรและชั่วคราวของบรรดาปลาในบทนี้ คือส่วนหนึ่ง
ของอ่าวไทยตอนบน พื้นที่ชายฝั่งประกอบด้วยสี่ปากแม่น�้ำใหญ่ๆ คือ เพชรบุรี แม่กลอง เจ้าพระยา-
ท่าจีน และบางปะกง และระบบนิเวศส�ำคัญสามแห่ง ได้แก่ แม่กลอง-เพชรบุรี
เจ้าพระยา-ท่าจีน และบางปะกง พื้นที่ในทะเลเริ่มจากฝั่งตะวันตกที่ปลาย
แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี ลากเส้นสมมุติความยาวเกือบ 100 กิโลเมตร
ข้ า มทะเลไปถึ ง ปลายแหลมเขาสามมุ ข จั ง หวั ด ชลบุ รี กิ น พื้ น ราว 3,200
ตารางกิโลเมตร รวมทั้งส่วนที่ลึกเข้าไปในแม่น้�ำถึงจุดที่น�้ำทะเลเข้าไปถึง เช่น
บางปะกง แปดริ้ว อัมพวา บางกะเจ้า ทั้งหมดอยู่ในภูมินิเวศแบบน�้ำกร่อย
คือโซนพื้นที่ที่น�้ำจืดในแม่น�้ำและน�้ำเค็มในทะเลมีอิทธิพลต่อกันอย่างใกล้ชิด

ขอบเขตอ่าวไทยตอนใน (ก้นอ่าวไทย) ที่พบชนิดปลาในหนังสือเล่มนี้


พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 3
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ย้อนไปราว 70 ปีก่อน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงหมาดๆ เรือส�ำรวจกาลาเทีย 2


(Galathea 2) ของเดนมาร์ก ออกเดินทางระยะเวลาสองปี (พ.ศ.2493-2495) เพื่อส�ำรวจทาง
วิทยาศาสตร์ในประเทศชายฝัง่ ทัง้ สามมหาสมุทร จากแอตแลนติกสูม่ หาสมุทรอินเดีย แปซิฟกิ และกลับ
สูเ่ ดนมาร์กพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ พืช และข้อมูลมานุษยวิทยาจ�ำนวนมาก จนกลายเป็นทริปหนึ่งใน
ต�ำนานระดับโลก และข้อมูลส�ำคัญชิ้นหนึ่งที่กาลาเทีย 2 ค้นพบจากการวัดคาร์บอน 14 เพื่อดู
ความสมบูรณ์อุดมสมบูรณ์ของชายฝั่งทะเลตามเส้นทางส�ำรวจคือ ปากแม่น�้ำเจ้าพระยาเป็นจุดที่มี
ความอุดมสมบูรณ์สูงสุดเท่าที่ส�ำรวจพบ
ที่เป็นอย่างนั้นเพราะในพื้นที่เล็กๆ ของก้นอ่าวไทยอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่ไหลมาจาก
ปากแม่ น�้ ำ ส� ำ คั ญ 5 สาย มารวมกั น ในทะเลที่ ถู ก ล้ อ มรอบด้ ว ยแนวชายฝั ่ ง ที่ ย าวรวมกั น ไม่ ถึ ง
200 กิโลเมตร และพื้นทะเลเป็นไหล่ทวีปที่ลึกไม่เกิน 30 เมตร ธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ที่หล่อเลี้ยง
ชีวิตใหญ่น้อยมากมายในห่วงโซ่อาหารเหล่านี้ มาจากพื้นที่ลุ่มน�้ำของแม่น�้ำทั้งห้ารวมแล้วมากกว่า
80,000 ตารางกิโลเมตร ทัง้ จากป่าภาคเหนือทีเ่ ป็นต้นน�ำ้ ปิง วัง ยม น่าน ป่าตะวันตก และป่าตะวันออก
อุปมาเหมือนเทข้าวสารจากรถสิบล้อลงในถังใบเล็กๆ เมล็ดข้าวย่อมเต็มถัง จนพูน และล้นแล้วล้น
อีกเป็นธรรมดา กลายเป็นสารอาหารเข้มข้นที่หมุนวนหล่อเลี้ยงภายในพื้นที่และไหลเวียนตามวัฏจักร
ของกระแสน�้ำมหาสมุทร ออกไปยังคาบสมุทรภาคใต้ ชายฝั่งกัมพูชา และเชื่อมสู่ทะเลจีนใต้
ความสมบูรณ์ขั้นสุดที่กล่าวถึงนี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยยังไม่มีการสร้างเขื่อน
ขนาดใหญ่ ผืนป่ายังเขียวชอุ่มรกชัฏ ยังไม่มีปรากฏการณ์น�้ำเน่าเสียรุนแรงจากน�้ำทิ้งของโรงงาน และ
สารเคมีภาคการเกษตร เป็นช่วงเวลาก่อนทีเ่ ขือ่ นขนาดใหญ่แห่งแรกจะสร้างกัน้ แม่นำ�้ เจ้าพระยาทีช่ ยั นาท
เมื่อปี พ.ศ.2495 และเขื่อนต่างๆ ทยอยสร้างขึ้นจนครบในลุ่มน�้ำทั้ง 5 สาย พร้อมกับที่ป่าต้นน�้ำ
จ�ำนวนมหาศาลถูกตัดโค่น สถานการณ์นำ�้ เน่าเสียรุนแรง การประมงแบบท�ำลายล้าง ฤดูกาลปรวนแปร
จากสภาวะโลกร้อน และการสูญพันธุ์ของปลาหลายชนิดในแม่น�้ำและทะเลไทย
สมุทรศาสตร์ของอ่าวไทย
ก้นอ่าวไทยคือส่วนบนสุดของอ่าวไทยรูปตัว “ก” มีอาณาบริเวณตามพระราชบัญญัติ
ก�ำหนดพื้นที่เขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ.2502 (https://th.wikipedia.org/wiki/อ่าวไทย)
ตั้งแต่ชายฝั่งของต�ำบลห้วยทรายเหนือ อ�ำเภอชะอ�ำ ในจังหวัดเพชรบุรีที่ละติจูด 12 องศา-35 ลิปดา
45 พิลิปดาเหนือ ลองจิจูด 49 องศา-47 ลิปดา-30 พิลิปดาตะวันออก ขึ้นเหนือไปตามพื้นที่ชายฝั่ง
ของจังหวัดสมุทรสงคราม ไปทางตะวันออกซึง่ เป็นพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี
มีลักษณะเป็นเอสทูรี่แบบแม่น�้ำในหุบเขาที่จมน�้ำ (Drowned river valley) ก้นทะเลเคยเป็น
ที่ราบที่เคยโผล่พ้นน�้ำมาก่อน บนก้นทะเลจะมีร่องน�้ำโบราณที่ต่อกับแม่น�้ำในปัจจุบัน เช่น กับแม่น�้ำ
แม่กลองและบางปะกง การหมุนเวียนของน�้ำในบริเวณส่วนบนของอ่าวถูกควบคุมโดยอิทธิพลของนํ้า
ขึ้นน�้ำลงและกระแสลม ในฤดูที่มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ กระแสน�้ำในอ่าวไทยจะเดินทางเป็น
4 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงรอบอ่าวตามเข็มนาฬิกา และในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กระแสน�้ำในอ่าวจะเดินทางเป็น


วงรอบอ่าวทวนเข็มนาฬิกา พื้นท้องทะเลเป็นโคลนและโคลนปนทราย มีลักษณะของตะกอนที่ผิวพื้น
ทะเลของอ่าวไทยตอนในประมาณร้อยละ 60 ประกอบด้วย ตะกอนโคลนทะเลปนด้วยเศษเปลือกหอย
ดินตะกอนมีสเี ทาอมเขียว เขียวเทา เทา ด�ำ น�ำ้ ตาลและน�ำ้ ตาลเข้ม รองลงมาเป็นตะกอนโคลนปนทราย
ร้อยละ 20 สีเทาอมเขียว เขียวเทา ทรายที่เป็นองค์ประกอบเป็นทรายละเอียด มีเศษเปลือกหอยปน
ร้อยละ 0-30 พื้นตะกอนที่เป็นทรายปนโคลนทะเลและตะกอนทรายพบสะสมจากชายฝั่งและบริเวณ
รอบเกาะต่างๆ ลักษณะธรณีวิทยาชั้นตะกอนใต้พื้นท้องทะเลแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชั้นตะกอนชุด
ล่างซึ่งสะสมตัวในสมัยไพลสโตซีนมีร่องรอยถูกกัดเซาะเป็นร่องน�้ำขนาดใหญ่ และชั้นตะกอนชุดบนมี
ความหนาตั้งแต่ 0-19 เมตร มีความหนามากบริเวณปากแม่น�้ำเจ้าพระยา เป็นชั้นตะกอนที่สะสมตัวใน
สมัยโฮโลซีนเนื่องจากการรุกล�้ำของน�้ำทะเลเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา
ความลึกเฉลี่ยในอ่าวไทยตอนบนประมาณ 15 เมตร และมีความลาดของพื้นอ่าวประมาณ
0.2 เมตรต่อ 1 กิโลเมตร มวลน�้ำในอ่าวไทยตอนในมีความเค็มผันแปรอยู่ในช่วง 30.5-32.5 psu
(https://en.wikipedia.org/ wiki/ Gulf_ of_ Thailand) และมีความเข้มข้นของสารอาหารละลาย
น�้ำสูงโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนช่วยส่งเสริมผลผลิตเบื้องต้นและผลผลิตทางการประมงในบริเวณนี้
ชายฝั่งด้านบนของอ่าวไทยตอนในเป็นหาดเลนในเขตน�้ำขึ้น-น�้ำลงที่บางส่วนปกคลุมด้วยป่าชายเลน
มีความกว้างในตอนน�้ำลงตั้งแต่ 1 ถึง 10 กิโลเมตร
นิเวศบริการของพื้นที่ก้นอ่าวไทย
การประมงพื้นบ้าน
เมื่อกว่า 60 ปีก่อนคนเกือบทั้งโลกเคยเชื่อว่า กุ้งหอยปูปลาในทะเลจะเกิดให้เราจับกินได้ไม่มี
วันหมด จนมีประโยคว่า “The Inexhaustible Sea” แต่ปัจจุบันของในทะเลมีเกือบไม่พอให้คนกิน
แล้ว ความเป็นจริงในวันนี้จึงกลายเป็น “So exhausted seas”
แม้ ป ลาธรรมชาติ ที่ น ้ อ ยลงเรื่ อ ยๆ จะแสดงถึ ง ความอ่ อ นล้ า ของทะเลอย่ า งรุ น แรง
แต่ถึงอย่างนั้น กุ้งหอยปูปลาจากก้นอ่าวไทย รวมกับผลิตอื่นๆ จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำในแม่น�้ำ
และชายฝั่งโดยเฉพาะกุ้ง หอยแครงและหอยแมลงภู่ ก็ยังมีเพียงพอส่งขายได้เกือบทั่วประเทศ และ
เลี้ยงดูผู้คนอยู่ 20-30 ล้านคน
ทั้งหล่อเลี้ยงให้มีอาชีพ มีอาหาร
และเป็ น ความมั่ น คงส� ำ คั ญ
ของประเทศ ดั ง นั้ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่
เราควรเข้าใจคือ อ่าวไทยตอนใน
ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์การค้าใหญ่ๆ
ในกรุงเทพฯเพียงไม่กี่กิโลเมตร
นี้ ยังมีของดีมากมาย เป็นแหล่ง
อวนรุน ทรั พ ยากรส� ำ คั ญ ที่ สุ ด แห่ ง หนึ่ ง
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 5
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ในโลก และเป็นระบบนิเวศที่เปราะบางมาก ไม่ใช่เป็นแค่อ่าวโคลนที่มีแต่ตึกรามบ้านช่อง น�้ำเสีย


และมีปลาไม่กี่ชนิด
การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำชายฝั่ง
เคยเป็นการเลี้ยงเพื่อยังชีพหรือตามวิถีพื้นบ้าน ลักษณะการเลี้ยงมีหลากหลายรูปแบบ
ตามแนวคิ ด ของแต่ ล ะถิ่ น เช่ น ใช้ ไ ม้ ไ ผ่ ป ั ก กั้ น คอก เลี้ ย งหอยชนิ ด ต่ า งๆ จนปั จ จุ บั น มี ก าร
พั ฒ นามาใช้ ก ารเลี้ ย งแบบอุ ต สาหกรรม (Intensive Culture Technologies) จนเป็ น
การผลิตปริมาณมากเพือ่ การส่งออกเป็นหลัก ชนิดสัตว์นำ�้ ทีม่ กี ารเพาะเลีย้ งกันมากได้แก่ ปลากะพงขาว
กุ้งกุลาด�ำ กุ้งขาว หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยนางรม และปูทะเล เนื่องจากเป็นสัตว์น�้ำที่ค่อนข้าง
มีราคาและเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งกุ้งทะเล (ส่วนใหญ่เป็นกุ้งขาวแวนนาไม) เป็นสัตว์น�้ำที่นิยม
ในการเพาะเลี้ยงและส่งออกมากที่สุดโดยเฉลี่ยร้อยละ 80-85 ของปริมาณสัตว์น�้ำทั้งหมด ในปี 2551
มีผลผลิตกุง้ ประมาณ 460,000 ตัน ผลผลิตหอย (ส่วนใหญ่เป็นหอยแมลงภู่ 382,920 ตัน และผลผลิต
จากปลาต่างๆ 20,350 ตัน)
การท�ำนาเกลือ
ประมาณ 900,000 ตัน หรือ 90.0 % ของผลผลิตทั้งประเทศ มาจากพื้นที่ก้นอ่าวไทย
มี พื้ น ที่ ท� ำ นาเกลื อ ทั้ ง หมดประมาณ 81,485 ไร่ โดยจั ง หวั ด เพชรบุ รี มี พื้ น ที่ ม ากที่ สุ ด
ร้อยละ 47.0 รองลงมาได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร ร้อยละ 43.1 จังหวัดสมุทรสงคราม ร้อยละ 7.7
จังหวัดชลบุรี ร้อยละ 1.0 การผลิตเกลือทะเลในรูปของเกลือเม็ดจะถูกรวบรวมโดยพ่อค้าคนกลาง
ประเภทพ่อค้าท้องที่และพ่อค้าท้องถิ่น และในบางท้องที่เกษตรกรจะขายผ่านสหกรณ์การเกษตรที่
ตนเองเป็นสมาชิกอยู่จากนั้นสินค้าเกลือทะเลจะไหลเวียนไปยังแหล่งต่างๆ ได้แก่ โรงโม่เกลือ โรงงาน
อุตสาหกรรมอาหาร และโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ก่อนจะกระจายไปถึงผู้บริโภค
(http://www.mkh.in.th/, 2564)
6 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
นอกจากที่นี่จ ะเป็นบ้านของ การดูปลาวาฬและนกทะเล
ปลาที่ เ ล็ ก ที่ สุ ด คื อ ปลาบู ่ ใ สที่ ตั ว เท่ า
ปลายก้อย จนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของประเทศไทยคือปลาวาฬ
และเป็ น เส้ น ทางอพยพและพั ก พิ ง
ของนกชายเลนที่ ส� ำ คั ญ ระดั บ โลก
เรียกว่า East Asian–Australasian
Flyway โดยประชากรนกอพยพของโลก
มากกว่า 1% หรือกว่า 2 แสนตัว ต้อง
แวะพักที่นี่ ยังพบนกทะเลรายงานใหม่
ของประเทศอีกหลายชนิด และนกใกล้
สูญพันธุ์อย่างยิ่งของโลกอย่างนกชาย
เลนปากช้อน นอกจากนัน้ ในป่าชายเลน
บางแห่งยังเป็นถิ่นอาศัยของเสือปลา
ทีว่ นั นีอ้ าจมีประชากรของไทยน้อยกว่าเสือโคร่งแล้ว พืน้ ทีก่ น้ อ่าวไทยจึงเป็นแหล่งส�ำคัญของการท่องเทีย่ ว
เชิงนิเวศในการดูนกชายเลนอพยพ การล่องเรือชมปลาวาฬ โลมา และดูนกทะเลทีผ่ สู้ นใจทัง้ ชาวไทยเอง
และชาวต่างประเทศต้องมาเยีย่ มชม ยังให้เกิดรายได้ในอาชีพอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องต่อชุมชนในท้องถิน่

cr. ปริญญา ผดุงถิ่น


พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand
7

การประมงโป๊ะน�้ำลึก ที่ปัจจุบันก�ำลังหมดไปจากก้นอ่าวไทย Cr. สมิทธิ์ สูติบุตร

โป๊ะน�้ำตื้น
8 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เรือประมงอวนรุน

เรือประมงอวนลากคู่
เรืออวนลากคู่
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 9
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อวนล้อมปลากระบอก

ตลาดมหาชัย ประมาณปี พ.ศ. 2450


Cr. สยามพหุรงค์
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
10 Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

การประมงปลาดุกทะเล
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand
11

ปลาจากก้นอ่าวไทยในตลาดสดพื้นบ้าน

ความหลากชนิดของปลาในเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
ปลา 381 ชนิด จาก 91 วงศ์ และ 37 อันดับ
องค์ประกอบชนิด (ภาพที่ 1 )
พบปลาพื้นเมืองรวมอย่างน้อย 381 ชนิด จัดอยู่ใน 37 อันดับ (Order) 91 วงศ์ (Family)
ดังรายละเอียดในตารางที่ 1 จ�ำแนกได้เป็นปลากระดูกอ่อน 7 วงศ์ เป็นปลาฉลามและกระเบนรวม 28 ชนิด
ปลากระดูกแข็ง 84 วงศ์ จ�ำนวน 353 ชนิด โดยกลุ่มปลากระดูกแข็งที่พบมีจ�ำนวนมากที่สุด คือ อันดับ
ปลากะพง (Order Perciformes) จ�ำนวน 56 ชนิด กลุม่ ปลาในอันดับปลาบู่ (Order Gobiiformes)
จ�ำนวน 55 ชนิด รองลงมาคือ อันดับปลาหลังเขียว (Order Clupeiformes) จ�ำนวน 40 ชนิด อันดับปลาจวด
จ�ำนวน 29 ชนิด และปลาในกลุ่ม Percomorpha อื่นๆ ที่มีรวมอยู่หลายอันดับและวงศ์ รวม 72 ชนิด
อันดับอื่่นๆ
อันดับปลากระบอก 13 28
ฉลามและกระเบน
12 อันดับปลาไหลทะเล 8
12 อันดับปลาปักเป้า อันดับปลากระตักหลังเขียว 40
56 อันดับPerciformes
อันดับปลาหนัง
20
อันดับปลาเข็ม
18
อันดับปลาบู่
55

72 Perciformesอืนๆ

อันดับปลาซีกเดียว วงศ์ปลาจวด
18 29
12 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชนิดปลาที่พบน้อยที่ถูกคุกคาม และใกล้สูญพันธุ์รวม 43 ชนิด เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัย


คุณภาพน�้ำ และสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ในจ�ำนวนนี้มี 4 ชนิดที่
สู ญ พั น ธุ ์ ไ ปจากพื้ น ที่ ก ้ น อ่ า วไทย ซึ่ ง ไม่ พ บมาเป็ น เวลานานแล้ ว ได้ แ ก่ ปลาฉนากทั้ ง 2 ชนิ ด
คือ Pristis pristis และ Anoxypris cuspidatus ปลาตะลุมพุก (Tenualosa toli) และปลากดหัวผาน
(Hemiarius verrucosus)
(ภาพที่ 2 )
4 ข้อมูลไม่เพียงพอ (DD) สูญพันธุ์จากก้นอ่าวไทย (RE)
4
ใกล้ถูกคุกคาม (NT)
8 ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิง่ (CR)
2

15 มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) ใกล้สูญพันธุ์ (EN)


10
ส�ำหรับปลาที่มีความส�ำคัญทางเศรษฐกิจของก้นอ่าวไทย ส่วนใหญ่เป็นปลาที่นิยมบริโภค
ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง ส�ำรวจพบวางจ�ำหน่ายในตลาด อย่างน้อย 174 ชนิด เช่น ปลาทู
ปลากะตัก กุแร กระบอก กุเรา และที่นิยมจับมาเป็นปลาสวยงาม 24 ชนิด เช่น ปลากระเบน
ปลาบู่ต่างๆ ปลาอุบสิงโต ปลาเสือพ่นน�้ำ เป็นต้น
ชนิดปลาที่พบในก้นอ่าวไทยนั้นแบ่งกลุ่มที่อาศัยตามระบบนิเวศได้
เป็น 3 กลุ่ม คือ
1. ปลาน�้ำกร่อยแท้ๆ (Estuarine fishes) ส�ำรวจพบ 280 ชนิด หรือราว 3 ใน 4 ของปลาทั้งหมด
ปลากลุ่มนี้เป็นเจ้าถิ่นของโซนน�้ำกร่อยใกล้ปากแม่น�้ำ และแบ่งโซนกันอยู่ตามความเค็มของน�้ำ
เป็นโซนน�ำ้ กร่อยมาก น�ำ้ กร่อยน้อย บางชนิดพบเฉพาะในแม่นำ �้ บางชนิดพบตามชายฝัง่ และว่ายเข้าไป
ในแม่น�้ำไปเป็นครั้งคราว เช่น กลุ่มปลาบู่ ที่พบตามป่าชายเลนที่เป็นหาดโคลน
2. ปลาทะเลที่เข้ามาในโซนน�้ำกร่อยเป็นครั้งคราว ส�ำรวจพบ 102 ชนิด หรือราว 1 ใน 4
ของปลาทั้งหมด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
2.1 ปลาทีม่ ชี วี ติ บางช่วงอยูใ่ นน�ำ้ กร่อย บางช่วงอยูใ่ นทะเล (Transient fishes) เช่น ตอนเป็น
ลูกปลาอยู่ในน�้ำกร่อย เมื่อโตก็กลับไปวางไข่ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในทะเล หรือบางชนิด
ก็เข้ามาวางไข่ในน�้ำกร่อย
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 13
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

2.2 ปลาทะเลที่เข้ามาเป็นครั้งคราว (Marine visitors) เป็นปลาทะเลที่ปกติอยู่ในทะเลเปิด


มหาสมุทร กองหิน หรือแนวปะการัง แต่พบแวะเวียนเข้ามาในโซนน�้ำกร่อยบางครั้ง
ในช่วงหน้าแล้งทีน่ ำ�้ ทะเลหนุนลึกเข้าไปในแม่นำ
�้ หรือช่วงทีก่ ระแสน�ำ้ จากมหาสมุทรพัด
ผ่านมาเข้ามาในอ่าวตอนใน มีทั้งที่ว่ายเข้ามาหากินตามกระแสน�้ำบ้าง หรือซนว่าย
หลงเข้ามาบ้าง
ปลาหลายชนิดในกลุ่มนี้สร้างสีสันและความตื่นตาตื่นใจให้ผู้พบเห็นได้ไม่น้อย เช่น ตอนที่
นักส�ำรวจวาฬโดยการบินโดรน ได้พบปลากระเบนราหู (Manta ray) ที่ปกติอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง
และในทะเลเปิด มาว่ายเล่นอยู่กับวาฬ หรือวันดีคืนดีเพื่อนนักส�ำรวจฉลามก็ส่งข่าวว่ามีฉลามวาฬ
ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดและใกล้สูญพันธุ์ของไทย มาลอยเกยตื้นตายแถวอ่างศิลา รวมถึงการพบปลา
ตัวเล็กๆ อย่างม้าน�ำ้ หรือพบเหาฉลามทีค่ งเกาะท้องวาฬเข้ามาในถิน่ นี้ ลูกปลาอินทรีทเี่ ข้ามาเลีย้ งตัวใน
น�ำ้ กร่อย รวมถึงลูกปลาทู ทีเ่ กิดในอ่าวไทยตอนกลาง และว่ายทวนกระแสน�ำ้ ตามแพลงก์ตอนเข้ามาหากิน
และเติบโตในก้นอ่าวไทย
3. ปลาน�้ำจืดที่หลงน�้ำออกมาในทะเล (freshwater vagrants) ปลากลุ่มนี้เป็นปลาน�้ำจืดที่
หลงมาในโซนน�ำ้ กร่อยเวลามวลน�ำ้ จืดจ�ำนวนมากไหลออกทะเล 4 ชนิด คือ ตะโกกหน้าสัน้ (Albulichthys
albuloides) หมอ (Anabas testudineus) ช่อน (Channa striata) ซึ่งมักพบปนมาในกองปลาเป็ด
จากการประมงอวนลาก และเคยพบปลาสวายหนู (Helicophagus leptorhynchus) ที่ Smith (1945)
รายงานว่าพบจากโป๊ะแถวปากแม่น�้ำเจ้าพระยา จากที่ปกติมักพบในแม่น�้ำต่างๆตอนใน ปลาหลงน�้ำ
ส่วนใหญ่ที่ออกมาในทะเลมักอยู่ได้พักเดียวก็ตาย ยกเว้นบางชนิดที่ทนมากๆ ก็อาจว่ายกลับเข้าไปได้
ประเภทของปลาทางนิเวศวิทยา
ํ ้ ดหลงนาํ ้ ปลาต่างถิน่ ทีแ่ พร่พันธุ์ได้
4 ปลานาจื
7
ปลาทะเลที่เข้ามา
101

ปลาปากแม่นํา้ แท้
280
14 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

นอกจากนั้นยังส�ำรวจพบปลาต่างถิ่น (Alien species) อีก 7 ชนิด ที่คนเอามาเลี้ยงและปล่อย


ลงแม่น�้ำทั้งที่ตั้งใจหรือหลุดออกมา ได้แก่ ปลากินยุง (Gambusia affinis) ปลาซิวไต้หวันหรือเซลฟิน
(Poecilia velifera) หมอสีมายัน (Mayaheros urophthalmus) ปลาหมอเทศ (Oreochromis
mossambicus) นิล (Oreochromis niloticus) ปลาหมอท้องเหลือง (Coptodon zillii) และที่เป็น
ชนิดต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive alien species) คือ หมอคางด�ำ (Sarotherodon melanotheron)
ที่ก่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
ตัวเลขของชนิดปลาที่ส�ำรวจพบบอกเราว่า บ้านหลังเล็กๆ ของปลาก้นอ่าวไทยที่มีพื้นที่ราว
ร้อยละ 0.01 ของพืน้ ทีท่ ะเลโลกแห่งนี้ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก ซึง่ เกิดจากความสมบูรณ์
ของสภาพแวดล้อมที่ดีหรือเคยดีมาก เพราะนอกจากจะพบชนิด (Species) จ�ำนวนมาก ยังพบ
มีความหลากหลายเชิงอนุกรมวิธาน (Taxonomic diversity) สูงด้วย ซึ่งเห็นได้จากจ�ำนวน 37 อันดับ
หรือกลุม่ วงศ์ (Order) ทีม่ ากกว่าร้อยละ 10 ของอันดับปลาในโลก และมีวงศ์ (Family) จ�ำนวน 91 วงศ์
ซึ่งถือว่าสูงเช่นกัน และจ�ำนวนชนิดรวมแล้วก็มากกว่าร้อยละ 12 ของปลาที่พบทั้งประเทศไทย
ประมาณ 2,970 ชนิด โดยส่วนใหญ่เป็นวงศ์ของปลาที่พบในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก มีหลายชนิด
คล้ายกับปลาน�้ำกร่อยของปากแม่น�้ำโขง ทะเลสาบสงขลา และปากแม่น้�ำของมาเลเซียซาบาห์ และ
ซาราวัก
ตัวอย่างการจ�ำแนกตามหลักอนุกรมวิธาน
คลาส (Class) Chondrichthyes ปลากระดูกอ่อน
อันดับ (Order) Carcharhiniformes ปลาฉลามครีบด�ำ
วงศ์ (Family) Carcharhinidae ปลาฉลามครีบด�ำ
สกุล และชนิด (ชื่อวิทยาศาสตร์) ฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas)

Cr. ทัพ มีทรัพย์วัฒนา


พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 15
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แผนภาพวงศ์ปลา
Family list วงศ์ปลาไทย อังกฤษ (จ�ำนวนชนิด) เลขหน้า

ฉลามครีบด�ำ Carcharhinidae (4)19-20

กระเบนธง Dasyatidae (17) 25-32 กระเบนนก Myliobatidae (1)34

ฉลามวาฬ Rhyncodontidae (1) 21

ฉลามกบ Hemiscylliidae (2)22-23 ปลายอดจาก Muraenesocidae


(2) 39-40

กระเบนราหู Mobulidae (1) 35


ปลาฉนาก Pristidae (2) 23-24

ตูหนา Anguillidae (1) 37

ปลาไหลงู Ophichthidae (4) 37-38 ปลาหลดหิน Muraenidae (1) 39

ตาเหลือกสั้น Megalopidae (2) 36 ปลาอีปุด Pristigasteridae (4) 40-41 ตาเหลือกยาว Elopidae (2) 36

ปลากะตัก Engraulidae (15) 42-47 ปลาหลังเขียว Clupeidae (20) 49-53


นวลจันทร์ทะเล Chanidae(1)55

ปลาปากคม Synodontidae (1) 64


ปลาสวาย Pangasiidae (1) 56
กดทะเล Ariidae (1) 57-62

ดุกทะเล Plotosidae (2) 57 กด, แขยง Bagridae (2) 63 ปลาดาบลาว Chirocentridae (1) 55
16 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กุเราแคระหูด�ำ Bregmaceros (1) ตับเต่า Hemiramphidae (4) 102-103 ปลาเขือ Oxudercidae (4) 79-89

ปลาเข็ม Zenarchopteridae (6) 103-105

ข้าวเม่าน�้ำลึก Holocentridae (1) 65 ซิวข้าวสาร Adrianichthyidae (1) 107

ปลากะทิง Mastacembelidae (1)107

ปลาคางคก Batrachoididae (1)66

หัวตะกั่ว Aplocheilidae (1) 101


แป้นแก้ว Ambassidae (6) 90-92

ปลากบ Antennariidae (1)67


กระบอก Mugilidae (10) 94-97 บู่ใส Phallostethidae (2) 100-101

ปลาอมไข่ Apogonidae (4)67-68


ปลากุเรา Polynemidae (2) 97-98

กะทุงเหว Belonidae (5) 105-106


บู่เกล็ดแข็ง Butidae (5)69-71

ปลาไหลนา Sybranchidae (2) 108

บู่ลื่น Eleotridae (5)71-73

ปลาบู่ Gobiidae (14)73-78 หัวแข็ง Atherinidae (3) 99-100

หางแข็ง Carangidae (14)109-114 ตั๊กแตนหิน Bleniidae (1) 98


พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 17
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เหาฉลาม Echeneidae (1)114-115


กะพงแดง Syngnathidae
(4)126-127

เหาฉลาม Echeneidae (1)115


ผีเสื้อกลางคืน Pegasidae
(2)125-126

น�้ำดอกไม้ Sphyraenidae (4)116-117

ปลาทูอินทรี Scombridae (4)128-130


ช่อน Channidae (1)118

แรด, สลิด, กัด Osphronemidae (11)117


ปลาจะละเม็ด Stromateidae
(2)130-131

กะพงแดง Lutjanidae (5)142-144

อุบ Uranoscopidae (1)132

ปลาใบไม้ Soleidae (6)118-120 กะพงขาว Latidae (1) 132

กะรัง Serranidae (3) 133-134

ลิ้นควาย Paralichthyidae (1)121 แพะลาย Upeneaus


(3) 144-145

ยอดม่วง Cynoglossidae (11) 122-125


ปลาแป้น Leiognathidae
(18)136-140
ดาบเงิน Trichiuridae (1) 131

ดอกหมาก Family Gerreidae


มังกรน้อย Callionymidae (1) 128 (5)140-142
18 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ตาหวาน Priacanthidae (1)147 สร้อยนกเขาทะเล Haemulidae (4)145-147 ปลาน�้ำจืดหลงน�้ำ (4)181-182

ใบโพธิ์ Drepanidae (1)159 กะพงขี้เซา Lobotidae (1)173


ตะกรับ Scatophagidae (1)148

เสือพ่นน�้ำ Toxotidae (3)149-151


หูช้าง Ephippidae (1)160 เสือตอ Datnioidae (1) 171

เห็ดโคน Sillaginidae (5)173-175


เฉี่ยวหิน Monodactylidae (1) 148 ปลาจวด Sciaenidae (29)160-170

ข้างตะเภา Eutner (3)151-152


งัวหางพัด Monacanthidae (1)176 วัวสามเงี่ยง Triacanthidae (1)175-176

สลิดหิน Pomacentridae (2)153


ปักเป้า Tetraodontidae (10)178-180

อีคลุด Sparidae (1)170-171

ใบขนุน Siganidae (3)154-155


แมงป่องก�ำมะหยี่ Aploactinidae (1)157
ช้างเหยียบ Platycephalidae (5)157-159

ทรายแดง Nemipteridae (2)172 หิน Synanceiidae (1)156

ปลาผีเสื้อ Chaetodontidae (2)149

แมงป่องครีบยาว Apistidae (1)155 หัวโขนเล็ก Tetrarogidae (1)156 ปลาต่างถิ่น (7)182-184


พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 19
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

พรรณปลาปากแม่น�้ำของอ่าวไทยตอนใน
ปลากระดูกอ่อน
อันดับปลาฉลามครีบด�ำ (Order Carchariniformes)
เป็นปลากระดูกอ่อน ลักษณะล�ำตัวรูปร่างเพรียวรูปกระสวย จะงอยปากค่อนข้างแหลม ปากอยู่
ด้านล่างมีรูปร่างโค้งเป็นวงพระจันทร์เสี้ยว มีฟันแหลมคมบนขากรรไกร บางชนิดมีรูเปิดช่องเล็กมาก
ทีห่ ลังดวงตา มีชอ่ งเหงือก 5 คู่ อยูด่ า้ นข้างของส่วนหัว ผิวหนังมีเกล็ดสากแบบกระดาษทราย ครีบหลังมี
2 ครีบ ตอนหลังมีขนาดเล็ก ครีบหางมีแพนบนยาวกว่าแพนล่างมาก อาศัยในทะเล บางชนิดอาจเข้ามา
ในปากแม่นำ�้ และน�ำ้ จืด พบในเขตอบอุน่ และเขตร้อนรอบโลก
วงศ์ปลาฉลามครีบด�ำ (Family Carcharhinidae)
เป็นปลาฉลามทีม่ ขี นาดเล็กถึงใหญ่ ส่วนหัวแบนลงเล็กน้อย ตากลมไม่มรี อยบากทีข่ อบด้านท้าย
ตามีหนังตาปิดจากด้านล่าง มฟี นั รูปสามเหลีย่ มแหลมขอบคม อาจมีจกั หรือเรียบ รูปร่างเพรียวรูปกระสวย
มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนแรกมีขนาดใหญ่หว่าตอนหลังมาก พบในไทยมากกว่า 30 ชนิด มีขนาดตัง้ แต่
80 เซนติเมตร ถึง 4 เมตร พบในก้นอ่าวไทยตอนใน 4 ชนิด ได้แก่
ฉลามหัวบาตร (Carcharhinus leucas)
ส่วนหัวสัน้ จะงอยปากโค้งมน ปลายครีบมีสคี ล�ำ
้ ขนาดทีพ่ บใหญ่สดุ มี ความยาวถึง 5 เมตร
ในก้ น อ่ า วไทยมั ก พบขนาดเล็ ก และเคยพบเข้ า มาลึ ก ในเขตน�้ ำ จื ด ของแม่ น�้ ำ บางปะกง
และแม่กลอง เป็นผลพลอยจับของอวนลอย เบ็ด และอวนลาก พบน้อยในท้องตลาด มีรายงานกัดคน
นานๆ ครั้ง สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) ในน่านน�้ำไทย
ฉลามจ้าวมัน (Carcharhinus amblyrhynchoides)
ส่วนหัวค่อนข้างป้าน จะงอยปากแหลม รูปร่างป้อม เรียวลงทางดานท้าย ปลายครีบอก ครีบหลัง
อันท้ายและครีบหางแพนล่างมีแต้มสีดำ
� ขนาดทีพ่ บใหญ่สดุ มีความยาวถึง 1.7 เมตร
พบน้อยในอ่าวไทยตอนในมีสถานภาพ ใกล้ถกู คุกคาม (NT) ในน่านน�ำ้ ไทย
ฉลามจุดด�ำ (Carcharhinus sorrah)
ส่วนหัวเรียว จะงอยปากแหลม รูปร่างเพรียวยาว ปลายครีบอก ครีบหลังทัง้ สอง และครีบหางแพน
ล่างมีแต้มสีดำ
� ขนาดทีพ่ บใหญ่สดุ มีความยาวถึง 1.6 เมตร
พบทัว่ น่านน�ำ้ ไทย พบไม่บอ่ ยในก้นอ่าวไทยตอนใน เป็นผลพลอยจับของอวนลอย และอวนลาก
พบเป็นครัง้ คราวในท้องตลาดมีสถานภาพ ใกล้ถกู คุกคาม (NT) ในน่านน�ำ้ ไทย
20 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ฉลามหนู (Scoliodon macrorhynchos)


หัวและจะงอยปากเรียวแหลม รูปร่างเพรียวยาว ครีบอกค่อนข้างสั้น ครีบหลังอันท้ายเล็ก
ตัวมีสีพื้นเทา ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาวถึง 1 เมตร
พบน้อยมากในก้นอ่าวไทยตอนใน มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (NT) ในน่านน�้ำไทย

ฉลามหัวบาตร
Carcharhinus leucas (Müller & Henle, 1839)

ฉลามจ้าวมัน
Carcharhinus amblyrhynchoides (Whitley, 1934)
cr. ทัศพล กระจ่างดารา

ฉลามจุดดำ�
Carcharhinus sorrah (Müller & Henle, 1839)

ฉลามหนู
Scoliodon macrorhynchos (Bleeker, 1852)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 21
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลาฉลามกบ (Order Orectolobiformes)


เป็นปลาฉลามทีม่ ขี นาดเล็กถึงใหญ่มาก ส่วนหัว และจะงอยปากมนกลมหรือแบนราบในบางวงศ์
ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านหน้าของตาเสมอ มีฟันซี่เล็กหรือเป็นเม็ด รูปร่างเพรียว มีครีบหลัง 2 ตอน
ตอนแรกและตอนหลังขนาดพอๆ กัน พบในไทย 5 วงศ์ 10 ชนิด มีขนาดตั้งแต่ 80 เซนติเมตร ถึง
12 เมตร พบในก้นอ่าวไทยตอนใน 2 วงศ์ 3 ชนิด ได้แก่
วงศ์ปลาฉลามวาฬ (Family Rhyncodontidae)
มี ช นิ ด เดี ย วคื อ ฉลามวาฬ (Rhyncodon typus) เป็ น ปลาฉลามที่ มี ข นาดใหญ่ ม าก
ส่วนหัวแบนราบ มีปากกว้างอยูต่ อนหน้าสุด ตัวมีสนั ตามแนวยาวทีด่ า้ นหลัง และข้างคอดหาง ครีบใหญ่
กินแพลงค์ตอนสัตว์ ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาวถึง 17 เมตร
พบในทะเลของเขตร้อน และอบอุน่ รอบโลก รวมถึงเขตอินโด-แปซิฟคิ ในก้นอ่าวไทยพบน้อยมาก
เป็นครั้งคราว สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) ในน่านน�้ำไทย

ฉลามวาฬ
Rhyncodon typus Smith, 1828 Cr.แน่งน้อย ยศสุนทร
22 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาฉลามกบ (Family Hemiscylliidae)


เป็นปลาฉลามขนาดกลาง ล�ำตัวเป็นรูปทรงกระบอกเรียวไปด้านท้าย ตาอยู่ทางด้านบน
ในแนวข้างของส่วนหัว มีช่องหายใจ (Spiracle) ขนาดใหญ่อยู่ทางด้านหลังของตา มีร่องเชื่อมระหว่าง
จมูกกับปากมีอวัยวะคล้ายหนวดสัน้ ๆ ทีจ่ มูก ปากเล็ก ครีบหลังทัง้ สองครีบมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบอก
มีขนาดเล็ก และกลม ครีบก้นอยู่ชิดกับครีบหาง ครีบหางยาว กินสัตว์น�้ำหน้าดินพวกกุ้งปู หอย
ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาวถึง 2 เมตร พบ 5 ชนิด ในน่านน�้ำไทย พบในก้นอ่าวไทยตอนใน 2 ชนิด
เป็นผลพลอยจับของอวนลอย เบ็ด และอวนลาก พบเป็นครั้งคราวในท้องตลาด ได้แก่

ฉลามกบ
Chiloscyllium punctatum Müller & Henle, 1838

ฉลามกบเทา
Chiloscyllium griseum Müller & Henle, 1838
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 23
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ฉลามกบ (Chiloscyllium punctatum)


ครีบหลังใหญ่ ปลายค่อนข้างแหลม มีขอบครีบเว้า พบในเขตอินโด-แปซิฟิค ในก้นอ่าวไทย
พบบ่อย สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) ในน่านน�้ำไทย
ฉลามกบเทา (Chiloscyllium griseum)
ลักษณะคล้ายชนิดก่อน แต่มีขอบครีบหลังมนกลม พบในเขตอินโด-แปซิฟิค ในก้นอ่าวไทย
พบน้อย สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU) ในน่านน�้ำไทย
อันดับปลาฉนาก (Order Rhinopristiformes)
เป็นปลากลุ่มกระเบนที่มีรูปร่างคล้ายฉลาม ส่วนหัวแบนราบ จะงอยปากแหลมยาว ปากเล็ก
อยู่ด้านล่าง มีช่องหายใจอยู่หลังตา ช่องเหงือกมี 5 ช่อง อยู่ด้านท้อง ครีบอกกว้างมีปลายเป็นเหลี่ยม
ครีบหลังมีปลายแหลม ไม่มีครีบก้น ครีบหางมีแพนบนยาวกว่า
วงศ์ปลาฉนาก (Family Pristidae)
เป็นปลาขนาดใหญ่ มีจะงอยปากเป็นแท่งยืน่ ยาวและมีฟนั แหลมเรียงเป็นแถวทีด่ า้ นข้าง กินปลา
และสัตว์หน้าดิน
ฉนากจะงอยกว้าง (Pristis pristis)
จะงอยปากกว้าง มีฟันตั้งแต่โคน อาศัยในชายฝั่ง พบเข้ามาในแม่น�้ำเป็นครั้งคราว ขนาดที่พบ
ใหญ่สุดมีความยาวถึง 5 เมตร พบในทะเลชายฝั่งและปากแม่น�้ำของเขตร้อน และอบอุ่นรอบโลก
เคยเข้ามาในแม่น�้ำเจ้าพระยาถึงบึงบอระเพ็ด มีสถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) และสูญพันธุ์
แล้วจากประเทศไทย
ฉนากจะงอยแคบ (Anoxypris cuspidatus)
จะงอยปากเรี ย ว ไม่ มี ฟ ั น ที่ โ คนจะงอยปาก ฟั น มี รู ป ร่ า งแบน ครี บ หางเว้ า ลึ ก แพนล่ า ง
มีปลายแหลมอาศัยในชายฝั่ง ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาวถึง 3 เมตร พบในทะเลชายฝั่ง และปาก
แม่น�้ำของเขตร้อนเขตอินโด-แปซิฟิค เคยพบเข้ามาในแม่น�้ำเจ้าพระยา จับได้ที่ จ.นนทบุรีครั้งเดียว
(กิตติพงษ์ จารุธานินทร์ ติดต่อส่วนตัว) มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) และสูญพันธุ์แล้วจาก
ประเทศไทย

ฉนากจะงอยกว้าง
Pristis pristis (Linnaeus, 1758)
24 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ฉนากจะงอยแคบ
Anoxypris cuspidatus (Latham, 1794)
Cr. กิตติพงษ์ จารุธานินทร์

อันดับปลากระเบน (Order Myliobatiformes)


เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดตัง้ แต่เล็กถึงใหญ่มาก พบทัง้ ในทะเล และน�ำ้ จืด ปากเล็ก มีฟนั เป็นเม็ด
ส่วนมากอยู่ด้านล่าง ลักษณะล�ำตัวแบนราบ มีรูปร่างกลมเหมือนจาน ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง ส่วน
ท้ายของลูกตามีรูหายใจ มีช่องเหงือก 5 คู่ อยู่ด้านท้อง ผิวหนังเรียบนิ่มไม่มีเกล็ด ส่วนหางเรียวยาว
เป็นเส้นแบบแส้ ไม่มีครีบหาง บางวงศ์มีหางสั้น ส่วนมากมีเงี่ยงที่โคนหาง
วงศ์ปลากระเบนธง (Family Dasyatidae)
เป็นปลากระเบนขนาดเล็กถึงใหญ่ แผ่นล�ำตัวเป็นรูปกลม รูปไข่ หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
ผิวเรียบ ส่วนใหญ่กลางแผ่นล�ำตัวมีเกล็ดเป็นเม็ดแบนเป็นกลุม่ หรือเป็นตุม่ แข็งขนาดต่างๆ กัน บางชนิด
มีแนวหนามขนาดแตกต่างกันไปอยูต่ อนกลางแผ่นล�ำตัวถึงโคนหาง ส่วนหางเรียวยาวเป็นเส้น บางชนิด
มีแผ่นหนังบางเป็นริ้วที่ด้านบนและล่างของส่วนหางตอนต้นโคนหางด้านบนมีเงี่ยง 1-3 อัน จะงอย
ปากมีปลายแหลม พฤติกรรมส่วนใหญ่จะอยู่นิ่งๆบริเวณพื้นท้องน�้ำ อาจฝังตัวใต้พื้นทรายหรือโคลน
และกินปลาขนาดเล็ก สัตว์เปลือกแข็งต่างๆ ที่อาศัยตามพื้นท้องน�้ำ เช่น กุ้ง ปู และหอย ส่วนใหญ่
พบในทะเล ในน�้ำจืดพบน้อยชนิดกว่า มักถูกจับปนมากับปลาอื่นๆ ในการประมงอวนต่างๆ และเบ็ด
พบ 17 ชนิด ได้แก่
กระบางกลม (Brevitrygon cf.imbricata)
ปลากระเบนขนาดเล็ก มีความยาวแผ่นตัวมากกว่าความกว้างเล็กน้อย ปีกค่อนข้างกลม
หางเรียวยาว ขนาดโตสุด ล�ำตัวและปีกมีความกว้าง 20 เซนติเมตร
กระบางหางหนา (Brevitrygon heterura)
ปลากระเบนขนาดเล็ก ส่วนหน้าแหลมกว่า มีความยาวแผ่นตัวมากกว่าความกว้างเล็กน้อย หางสัน้
ส่วนปลายบวมในตัวผู้ ขนาดโตสุด ล�ำตัวและปีกมีความกว้าง 20 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 25
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระบางครีบเหลี่ยม (Telatrygon biasa)


ปลากระเบนขนาดเล็ก ส่วนหน้าแหลมมาก ปีกด้านข้างมนกลม ขนาดโตสุด ล�ำตัว และปีก
มีความกว้าง 30 เซนติเมตร
กระบางหน้าแหลม (Telatrygon zugei)
ปลากระเบนขนาดเล็ก ส่วนหน้าแหลมกว่าชนิดก่อน ปีกด้านข้างมีปลายเป็นมุมเล็กน้อย
ขนาดโตสุด ล�ำตัวและปีกมีความกว้าง 30 เซนติเมตร

กระบางกลม
Brevitrygon cf. imbricata (Bloch & Schneider, 1801)

กระบางหางหนา
Brevitrygon heterura (Bleeker, 1852)
26 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระบางครีบเหลี่ยม
Telatrygon biasa Last, White & Naylor, 2016

กระบางหน้าแหลม
Telatrygon zugei (Müller & Henle, 1841)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 27
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระเบนราหูน�้ำจืด
Urogymnus chaophraya (Monkolprasit and Roberts, 1990)

กระเบนลาย
Fluvitrygon oxyrhyncha (Sauvage, 1878)
28 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระเบนขาว
Fluvitrygon signifer (Compagno & Roberts, 1982)

กระเบนสีเลือด
Hemitrygon akajei (Müller & Henle, 1841)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 29
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระเบนปากแม่น�้ำ
Hemitrygon fluviorum (Ogilby, 1908)

กระเบนหางหวาย
Hemitrygon bennettii (Müller & Henle, 1841)
30 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระเบนทรายเทา
Hemitrygon narvarrae
(Steindachner, 1892)

กระเบนใบบัว
Pateobatis uarnacoides (Bleeker, 1852)

กระเบนจ้าวมัน
Maculabatis pastinacoides
(Bleeker, 1852)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 31
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระเบนหิน
Pateobatis fai (Jordan & Seale, 1906)

กระเบนธงจมูกดาว
Pastinachus stellurostris Last, Fahmi & Naylor, 2010
32 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระเบนแมลงวัน
Maculabatis gerrardi (Gray, 1851)

กระเบนจุดขาว
Maculabatis macrura (Bleeker, 1852)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 33
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ราหูน�้ำจืด (Urogymnus chaophraya)


ปลากระเบนขนาดใหญ่ ปีกมีขอบกลม จะงอยปากแหลม ดูคล้ายใบโพธิ์ ขนาดโตสุดมีความ
กว้างล�ำตัวถึง 2.5 เมตร และมีน�้ำหนักมากถึง 500 กิโลกรัม อาศัยในแม่น�้ำสายหลัก จนถึงปากแม่น�้ำ
มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CR) เป็นสัตว์น�้ำคุ้มครอง
กระเบนลาย (Fluvitrygon oxyrhyncha)
ปลากระเบนขนาดกลาง จะงอยปากแหลมยาว ด้านหลังมีจุดประสีคล�้ำ อาศัยในแม่น�้ำตอน
ล่างถึงบริเวณปากแม่น�้ำ ขนาดโตสุดมีความกว้างล�ำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร อาศัยในปากแม่น�้ำ
มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (EN)
กระเบนขาว (Fluvitrygon signifer)
ปลากระเบนขนาดกลาง จะงอยปากแหลม ด้านบนปีกมีสีน�้ำตาลอ่อน รูหายใจและขอบปีก
มีสีจาง หางขาว ขนาดโตสุดความกว้างล�ำตัวประมาณ 40 เซนติเมตร อาศัยในแม่น�้ำสายหลัก
ถึงปากแม่น�้ำ มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (EN)
กระเบนสีเลือด (Hemitrygon akajei)
ปลากระเบนขนาดใหญ่ แนวกลางหลั ง มี ตุ ่ ม เล็ ก ๆ ไปถึ ง โคนหาง ใต้ ท ้ อ งมี ข อบสี ส ้ ม แดง
ขนาดโตสุดความกว้างล�ำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร อาศัยในทะเลชายฝั่ง พบบ่อยในก้นอ่าวไทย
มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (NT)
กระเบนปากแม่น�้ำ (Hemitrygon fluviorum)
ปลากระเบนขนาดใหญ่ ปลายจะงอยปากสั้นเป็นมุมเหลี่ยม ด้านหลังมีจุดสีคล�้ำจ�ำนวนน้อย
กระจาย มีแนวหนามสั้นตั้งแต่โคนหางไป ขนาดโตสุดมีความกว้างล�ำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร
อาศัยในทะเลชายฝั่ง พบน้อย มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (NT)
กระเบนหางหวาย (Hemitrygon bennettii)
ปลากระเบนขนาดใหญ่ ส่วนจะงอยปากค่อนข้างยื่นแหลม ด้านหลังมีสีเรียบ กลางหลังมีแนว
หนามสั้นไปถึงโคนหาง ขนาดโตสุดมีความกว้างล�ำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร อาศัยในทะเลชายฝั่ง
พบน้อย มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (NT)
กระเบนทรายเทา (Hemitrygon narvarrae)
คล้ายชนิดก่อน แต่ด้านหลังเรียบ มีตุ่มสีขาวเป็นแนวจ�ำนวนน้อย ขนาดใหญ่สุดที่พบความกว้าง
ล�ำตัวประมาณ 60 เซนติเมตร พบน้อย สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU)
กระเบนใบบัว (Pateobatis uarnacoides)
ปลากระเบนขนาดใหญ่ ส่วนปลายจะงอยปากยื่นแหลมโดยเฉพาะตัวผู้ ใต้ท้องมีขอบสีคล�้ำ
ขนาดใหญ่สดุ ทีพ่ บความกว้างล�ำตัวประมาณ 70 เซนติเมตร อาศัยในปากแม่นำ
�้ พบน้อยในก้นอ่าวไทย
สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU)
34 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระเบนจ้าวมัน (Maculabatis pastinacoides)


ปลากระเบนขนาดใหญ่ ขอบปีกมนกลม ด้านหลังสีน�้ำตาลเรียบ ไม่มีจุด ขนาดใหญ่สุดที่พบ
ความกว้างล�ำตัวประมาณ 70 เซนติเมตร สถานภาพแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU)
กระเบนหิน (Pateobatis fai)
ปลากระเบนขนาดใหญ่ จะงอยปากเป็นมุมเหลี่ยมกว้างมาก ขอบปีกเป็นมุม ด้านหลังสีน�้ำตาล
คล�้ำเรียบ ไม่มีจุด ขนาดใหญ่สุดที่พบความกว้างล�ำตัวประมาณ 80 เซนติเมตร อาศัยในทะเลชายฝั่ง
พบน้อยมากในก้นอ่าวไทย สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU)
กระเบนธงจมูกดาว (Pastinachus stellurostris)
ปลากระเบนขนาดใหญ่ บริเวณจะงอยปากมีเกล็ดเล็กๆ เป็นรูปดาว หางมีริ้วเป็นชายธงกว้าง
ขนาดใหญ่สุดที่พบมีความกว้างล�ำตัวถึง 1 เมตร พบในทะเลชายฝั่ง พบน้อยในก้นอ่าวไทยตอนใน
เช่น แม่น�้ำบางปะกง สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU)
กระเบนแมลงวัน (Maculabatis gerrardi)
ปลากระเบนขนาดใหญ่ จะงอยปากเป็นเหลี่ยมมุมกว้าง บนปีกมีจุดจ�ำนวนน้อยที่ด้านท้าย
หรือไม่มีจุดเลย หางยาวมีลายปล้อง ขนาดใหญ่สุดที่พบมีความกว้างล�ำตัวถึง 70 เซนติเมตร
พบน้อยในก้นอ่าวไทยตอนใน มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (NT)
กระเบนจุดขาว (Maculabatis macrura)
ปลากระเบนขนาดใหญ่ คล้ายชนิดก่อน แต่บนปีกมีจุดจ�ำนวนมากเต็มทั้งหมด ขนาดโตสุดมี
ความกว้างล�ำตัวถึง 70 เซนติเมตร พบมากในทะเลชายฝั่งของเขตในเขตทะเลจีนใต้ พบน้อย
ในก้นอ่าวไทยตอนใน มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (NT)
วงศ์ปลากระเบนนก (Family Myliobatidae)
เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ จะงอยปากแหลม มีครีบอกหรือปีกไม่ต่อกับส่วนหัวมีปลาย
เรียวแหลม มีครีบหลังอันเล็ก หางยาวเรียว มีเงี่ยงอันสั้นที่โคนหาง พบชนิดเดียวคือ กระเบนนก
(Aetobatus ocellatus) ด้านหลังสีเทาอมฟ้า มีจุดเล็กสีขาวกระจาย ขนาดโตสุดมีความกว้างล�ำตัว
70 เซนติเมตร อาศัยอยู่บริเวณกลางน�้ำถึงพื้นท้องน�้ำ พบน้อย จับได้ปนกับปลาอื่นๆ ในท้องตลาด
มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (EN)

กระเบนนก
Aetobatus ocellatus (Kuhl, 1823)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 35
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลากระเบนราหู (Family Mobulidae)


ปลากระเบนขนาดใหญ่มาก จะงอยปากเป็นแผ่นคู่ซ้ายขวา มีครีบอกหรือปีกใหญ่ มีปลาย
เรียวโค้ง มีครีบหลังอันเล็ก หางสัน้ บางชนิดมีเงีย่ งอันสัน้ ทีโ่ คนหาง มักอาศัยอยูบ่ ริเวณกลางน�ำ้ ถึงผิวน�ำ้
อาศัยในบริเวณข้างเกาะ แนวปะการัง ถึงทะเลเปิด กินแพลงค์ตอนสัตว์ พบน้อยมากในอ่าวไทย
ตอนในเพียงครั้งเดียว จากการถ่ายโดยโดรนพบว่ายอยู่กับปลาวาฬแกลบ ที่บางตะบูน จ.เพชรบุรี
พบชนิดเดียวคือ กระเบนราหูหางหนาม (Mobula mobular) ขนาดโตสุดมีความกว้างล�ำตัว 1.5 เมตร
มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (EN)

G.ThaiWhale.org

กระเบนราหูหางหนาม
Mobula mobular (Bonnaterre, 1788) Cr. B.M. Mabel Manjaji Matsumoto

ปลากระดูกแข็ง
อันดับปลาตาเหลือก (Order Elopiformes)
เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ ลักษณะรูปร่างเพรียวยาว มีเยื่อไขมันคลุมตา ปากกว้าง ที่ใต้คาง
ระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูกแบน 1 ชิ้น ตัวอ่อนมีลักษณะเป็นเหมือนใบไม้ใสแบบ
Leptocephalus
วงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Family Elopidae)
ลักษณะรูปร่างเพรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ตาโต เกล็ดเล็ก มีสีเงิน ก้านครีบหลังก้านสุดท้ายสั้น
ไม่มีเส้นครีบยื่นยาวออกมา ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก กินปลาและสัตว์น�้ำขนาดเล็ก อาศัยบริเวณชายฝั่ง
หรือปากแม่น�้ำ พบชนิดเดียวคือ ปลาตาเหลือกยาว (Elops machnata)
วงศ์ปลาตาเหลือกสั้น (Family Megalopidae)
ลักษณะล�ำตัวแบนข้างเล็กน้อยทรงยาว ปากกว้าง ตาโต มีเยื่อไขมันคลุมตา เกล็ดใหญ่ มีสีเงิน
ก้านครีบหลังอันสุดท้ายยืน่ เป็นเส้นยาว อาศัยอยูช่ ายฝัง่ ทะเล แต่สามารถเข้ามาในน�ำ้ กร่อยหรือน�ำ้ จืดได้
พบชนิดเดียวคือ ปลาเดือน หรือ ตาเหลือกสั้น (Megalops cyprinoides)
36 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ตาเหลือกยาว
Elops machnata (Forsskål, 1775)

ตาเหลือกสั้น
Megalops cyprinoides (Broussonet, 1782)

อันดับปลาไหลทะเล (Order Anguilliformes)


รูปร่าง ยาวแบบงู มีเกล็ดจะมีขนาดเล็กฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบอกมีขนาดเล็ก
และสั้นพบได้ทั้งน�้ำจืด น�้ำกร่อย และในทะเล เป็นปลากินเนื้อ พบ 4 วงศ์ ชนิด ได้แก่ วงศ์ปลาตูหนา
(Anguillidae) วงศ์ปลาไหลงู (Ophichthidae) วงศ์ปลาหลดหิน (Muraenidae) และวงศ์ปลายอดจาก
(Muraenesocidae)
วงศ์ปลาตูหนา (Family Anguillidae) หรือปลาไหลทะเลแท้
ปลาไหลขนาดกลางถึงใหญ่ ปากกว้าง มีเขี้ยวเล็กละเอียดบนขากรรไกร ครีบอกเป็นรูปกลมรี
มีครีบหลังยาวติดต่อกับครีบหางที่มน และครีบก้นที่ยาว มีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งต้องออกไปวางไข่
ในทะเลลึกแล้วตัวอ่อนจึงล่องลอยกลับมาเลีย้ งตัวในตามปากแม่นำ�้ และชายฝัง่ ก่อนเข้ามาเติบโตเต็มวัย
ในแม่น�้ำ เคยพบขึ้นไปสูงถึงบริเวณน�้ำตกล�ำธารบนภูเขา เป็นปลากินเนื้อ ปลาวงศ์นี้พบรอบโลก
ในเขตร้อน และเขตอบอุ่น พบ ชนิดเดียวในก้นอ่าวไทย
ปลาตูหนา ปลาไหลหูด�ำ (Anguilla bicolor pacifica)
มีรูปร่างอ้วนป้อม ล�ำตัวยาวแบบปลาไหล ครีบอกมักมีสีคล�้ำ ในตัวเต็มวัยครีบหลัง และครีบก้น
ของปลาชนิดนีม้ สี คี ล�ำ้ หรือมีสนี ำ�้ ตาลอ่อนทีด่ า้ นหลัง ด้านท้องมีสขี าว พบทัว่ ไป 40-60 เซนติเมตร พบน้อย
เป็นครั้งคราว เคยพบขึ้นไปถึงบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 37
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ตูหนาหูด�ำ
Anguilla bicolor pacifica Schmidt, 1928

วงศ์ปลาไหลงู (Family Ophichthidae)


ส่วนคอมักป่องออกเล็กน้อย มีท่อรูจมูกหน้าหลังตามขอบล่างของริมฝีปาก ฟันเป็นแบบฟันบด
ช่องเหงือกเล็ก ล�ำตัวทรงกระบอกยาวคล้ายงูและแบนข้างไปด้านท้าย ไม่มีครีบหาง ครีบอกอันเล็ก
พบ 4 ชนิด คือ
ปลาไหลงู (Pisodonophis boro)
ส่ ว นหั ว โต ตั ว ยาวเรี ย ว อาศั ย ในปากแม่ น�้ ำ และทะเลชายฝั ่ ง กิ น กุ ้ ง และปู ขนาดโตสุ ด
ยาวประมาณ 1.4 เมตร
ไหลกินปู (Pisodonophis cancrivorus)
ส่วนหัวโต ตัวสั้นกว่าชนิดก่อน ขนาดโตสุดยาว 60 เซนติเมตร อาศัยในปากแม่น�้ำและแม่น�้ำ
ตอนใน พบน้อยในอ่าวไทยตอนใน
ไหลงูสั้น (Myrophis microchir)
ส่วนหัวโต ตัวอวบกว่า ตัวมีสีเทาอมเหลือง มีลายด่าง ส่วนหัวสีคล�้ำ ขนาดใหญ่สุดที่พบ
ยาวประมาณ 1 เมตร พบน้อย
ไหลงูเรียว (Ophichthus rutidoderma)
ตัวยาวเรียวกว่าทุกชนิด ขนาดใหญ่สุด 1.5 เมตร อาศัยในปากแม่น�้ำ

ไหลงู
Pisodonophis boro (Hamilton, 1822)
38 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ไหลกินปู
Pisodonophis cancrivorus (Richardson, 1844)

ไหลงูสั้น
Myrophis microchir (Bleeker, 1864)

ไหลงูเรียว
Ophichthus rutidoderma (Bleeker, 1852)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 39
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาหลดหิน (Family Muraenidae)


ลักษณะล�ำตัวคล้ายงูและค่อนข้างกลม ส่วนท้ายล�ำตัวแบนข้าง แนวล�ำตัวส่วนหัวที่อยู่หลัง
ตายกสูงขึ้น ช่องเปิดเหงือกเป็นช่องขนาดเล็ก ไม่มีเส้นข้างล�ำตัว แต่มีรูรับความรู้สึกบนหัว ปากกว้าง
มี ฟ ั น เขี้ ย วแหลมและแข็ ง แรงมาก ครี บ หลั ง ครี บ หาง และครี บ ก้ น เชื่ อ มติ ด กั น ไม่ มี ค รี บ อก
และครีบท้อง ล�ำตัวสีพื้นหรือมีลวดลายต่างๆ มักอาศัยตามซอกหินหรือขุดโพรงอยู่ ชนิดปลาที่พบ
คือไหลช่อ (Gymnothorax tile) มีสว่ นหัวเล็ก ตัวสีเทามีจดุ ประสีจางทัว่ ตัว ขนาดใหญ่สดุ 70 เซ็นติเมตร
อาศัยในปากแม่น�้ำ

ไหลช่อ
Gymnothorax tile (Hamilton, 1822)

วงศ์ปลายอดจาก (Family Muraenesocidae)


ลักษณะล�ำตัวยาวคล้ายงู ส่วนหัวค่อนข้างยาว จะงอยปากแหลม ปากกว้างยาวเลยหลังขอบตา
มีฟนั เขีย้ วบนเพดานปาก ล�ำตัวกลมส่วนท้ายของล�ำตัวแบนข้าง ครีบอกมีขนาดใหญ่ทสี่ ดุ ในของทุกวงศ์
ครีบหลังมีจุดเริ่มต้นตรงกับครีบอก ครีบหาง และครีบก้นเชื่อมต่อกัน ล�ำตัวมีสีพื้นเรียบไม่มีลวดลาย
อาศัยพื้นท้องน�้ำ พบ 2 ชนิด ได้แก่
ยอดจาก (Congresox talabon)
เป็นปลาไหลขนาดกลาง ครีบอกมีสจี าง ขนาดใหญ่สดุ 1 เมตร อาศัยในปากแม่นำ�้ และทะเลชายฝัง่
ยอดจากหูด�ำ (Muraenosox cinereus)
เป็นปลาไหลขนาดกลาง ครีบอกมีสีด�ำหรือคล�้ำ ขนาดใหญ่สุด 80 เซ็นติเมตร อาศัยในปากแม่น�้ำ
และทะเลชายฝั่ง
40 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ยอดจากหูด�ำ
Muraenosox cinereus (Forsskål, 1775)

ยอดจาก
Congresox talabon (Cuvier, 1829)

อันดับปลากะตัก หลังเขียว (Order Clupeiformes)


เป็นปลาทะเลขนาดเล็กถึงใหญ่ ลักษณะริมฝีปากบนเป็นแผ่นกระดูกบางๆ มีฟันซี่เล็กละเอียด
หรืออาจไม่มีเลย ล�ำตัวมักแบนข้าง มีเกล็ดบาง ขอบเรียบ เกล็ดที่ด้านท้อง มักเป็นสันคม ครีบหาง
มั ก เว้ า ลึ ก มั ก มี สี สี เ งิ น และส่ ว นหลั ง มี สี เ ขี ย วเรื่ อ ส่ ว นมากกิ น แพลงก์ ต อนโดยใช้ ซี่ ก รองเหงื อ ก
บางวงศ์ กิ น เนื้อมีถุงลมที่มีท่อเชื่อมต่อไปยังล�ำไส้ พบ 4 วงศ์ 22 ชนิด ได้แก่ วงศ์ ป ลาอี ปุ ด
(Pristigasteridae) วงศ์ ป ลากะตั ก (Engraulidae) วงศ์ ป ลากุ แ ล (Clupeidae) และ
ปลาดาบลาว (Chirocentridae)
วงศ์ปลาอีปุด (Family Pristigasteridae)
ลักษณะล�ำตัวยาว แบนข้างมาก ปากอยู่ทางด้านบน มีเกล็ดสันคมที่ด้านท้อง ครีบหลังสั้น
ครีบก้นยาว ครีบอกยาว ครีบท้องมีขนาดเล็ก ล�ำตัวสีเทา มีแถบสีเหลืองบริเวณโคนครีบ เป็นอาหารโปรด
ของปลาวาฬ อาศัยในทะเลชายฝั่ง พบ 4 ชนิด มีรูปร่างล�ำตัวและขนาดลูกตาต่างกัน ได้แก่
ตาตุ่ม (Ilisha megaloptera)
ตาโต ล�ำตัวมีความลึก ½.5 เท่าของความยาวล�ำตัว มีเกล็ดสันที่ท้อง 30-34 อัน ขนาดโตสุด
17 เซนติเมตร
อีปุดตาโต (Ilisha melastoma)
ตาโตกว่ า ชนิ ด ก่ อ น ล� ำ ตั ว มี ค วามลึ ก น้ อ ยกว่ า (1/3 เท่ า ของความยาวล� ำ ตั ว ) มี เ กล็ ด สั น
ที่ท้อง 25-30 อัน ขนาดโตสุด 15 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 41
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อีปุด (Ilisha sirishai)


ล�ำตัวมีความลึกมากกว่าชนิดอื่น มีเกล็ดสันที่ท้อง 28-29 อัน ขนาดโตสุด 17 เซนติเมตร
อีปุดเรียว (Ilisha kampeni)
มีรูปร่างเรียวที่สุดกว่าชนิดอื่น ขนาดโตสุด 15 เซนติเมตร

ตาตุ่ม
Ilisha megaloptera (Swainson,1839)

อีปุดตาโต
Ilisha melastoma (Bloch & Schneider, 1801)

อีปุด
Ilisha sirishai Seshagiri Rao, 1975

อีปุดเรียว
Ilisha kampeni (Weber & de Beaufort, 1913)
42 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลากะตัก (Family Engraulidae)


มีรูปร่างยาว ส่วนหัวโต ปากกว้าง เฉียงลง มีกระดูกขากรรไกรบนเป็นแผ่นแบน เรียว ยาว
ยื่นออกไปทางด้านท้าย มักมีฟันเล็กแหลม ล�ำตัวแบนข้างมาก ส่วนมากท้องมีเกล็ดเป็นสันคม
เกล็ดบางหลุดร่วงง่าย ไม่มเี ส้นข้างล�ำตัว ครีบหลังเล็ก ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าลึก ส่วนมากเป็นปลาทะเล
เป็นอาหารโปรดของปลาวาฬ อาศัยในทะเลชายฝั่งถึงในแม่น�้ำ พบ 15 ชนิด ได้แก่

หางไก่จุดทอง
Coilia dussumieri Valenciennes, 1848

หางไก่น�้ำจืด
Coilia lindmani Bleeker, 1857
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 43
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แมวหูยาว
Setipinna taty (Valenciennes, 1848)

แมวหูด�ำ
Setipinna melanochir (Bleeker, 1849)

แมว
Thryssa hamiltonii (Gray, 1835)
44 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แมวงายาว
Thryssa setirostris (Broussonet, 1782)

แมวเขี้ยวยาว
Lycothrysa crocodylus (Bleeker, 1850)

กระตักเรียว
Stolephorus commersonii Lacepède, 1803
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 45
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กะตักควาย
Stolephorus oceanicus Hardenberg, 1933

กะตักสั้น
Stolephorus baganensis Hardenberg, 1933

กะตักอ่าวไทย
Stolephorus dubiosus Wongratana, 1988

กะตัก
Stolephorus insularis Hardenberg, 1933
46 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กะตักหัวด�ำ
Stolephorus tri (Bleeker, 1852)

กะตักเหลือง
Stolephorus waitei Jordan & Seale, 1926

กะตักหัวแข็ง
Encrasicholina pseudoheteroloba (Hardenberg, 1933)

หางไก่จุดทอง (Coilia dussumieri )


รูปร่างเรียวไปด้านท้าย ครีบก้นยาว ครีบหางเล็ก ข้างล�ำตัวมีจดุ เรืองแสงสีเงิน อาศัยในปากแม่นำ�้
ถึงทะเลชายฝั่ง
หางไก่น�้ำจืด (Coilia lindmani )
ขากรรไกรบนยื่นยาวไปด้านท้าย ข้างล�ำตัวมีสีเงินเรียบ ส่วนใหญ่อาศัยในแม่น�้ำตอนกลาง
ถึงปากแม่น�้ำ ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 25 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 47
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แมวหูด�ำ (Setipinna melanochir)


ตั ว ผู ้ มี ค รี บ อกสี ด� ำ อาศั ย ในแม่ น�้ ำ ลงมาจนถึ ง บริ เ วณปากแม่ น�้ ำ ขนาดโตสุ ด มี ค วามยาว
30 เซนติเมตร
แมวหูยาว (Setipinna taty)
ปลายครีบอกมีเส้นยาว ตัวและครีบมีสีเงินอมส้ม ขนาดโตสุดมีความยาว 25เซนติเมตร
อาศัยในทะเลชายฝั่งและปากแม่น�้ำ พบมากในก้นอ่าวไทย
แมว (Thryssa hamiltonii)
บนขอบช่องเปิดเหงือกมีแต้มสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 25 เซนติเมตร
แมวงายาว (Thryssa setirostris)
ขากรรไกรบนยื่นยาวไปด้านท้าย รูปร่างสั้นกว่าชนิดอื่น ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร
แมวเขี้ยวยาว (Lycothrissa crocodylus)
รูปร่างเพรียวยาว ปากกว้างมากมีฟนั เขีย้ ว ส่วนมาก ขนาดโตสุดมีความยาว 28 เซนติเมตร อาศัย
ในแม่น�้ำสายหลักและบริเวณปากแม่น�้ำ
ปลากะตัก สกุล (Stolephorus)
เป็นปลาทะเลขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีส่วนหัวสั้น ปากกว้าง ตาโต ล�ำตัวแบนข้างเล็กน้อยถึง
มาก เกล็ดบาง หลุดร่วงง่าย มีแถบสีเงินตามยาวทีก่ ลางแนวล�ำตัวมักอยูเ่ ป็นฝูงใหญ่ เป็นปลาเศรษฐกิจ
ส�ำคัญของการแปรรูปโดยเฉพาะน�้ำปลา และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นอาหารหลักของปลาวาฬ พบในก้น
อ่าวไทยอย่างน้อย 7 ชนิด ได้แก่
กะตักเรียว (Stolephorus commersonii )
รูปร่างค่อนข้างเรียว ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร
กะตักควาย (Stolephorus oceanicus)
ต�ำแหน่งครีบท้องค่อนมาด้านหน้ากว่าชนิดอื่น เป็นปลากะตักที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของที่พบ
ในก้นอ่าวไทย ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
กะตักสั้น (Stolephorus baganensis)
รูปร่างสั้นกว่าชนิดอื่น ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
กะตักอ่าวไทย (Stolephorus dubiosus)
ขอบครีบหางเป็นสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
กะตักหางเหลือง (Stolephorus insularis)
ครีบหางมีสีเหลืองสด ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
48 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กะตักหัวด�ำ (Stolephorus tri )


มีจุดด�ำที่ตอนต้นของครีบหลัง ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
กะตักเหลือง (Stolephorus waitei )
ส่วนหัวมีจุดสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
และมี อี ก สกุ ล คื อ กะตั ก หั ว แข็ ง พบชนิ ด เดี ย วคื อ กะตั ก หั ว แข็ ง (Encrasicholina
pseudoheteroloba) ที่มีรูปร่างล�ำตัวเรียวกว่ากะตักทั่วไปมาก ส่วนหัวและจะงอยปากยื่นยาว
กว่าขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
วงศ์ปลาหลังเขียว (Family Clupeidae)
เป็นปลาขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ล�ำตัวแบนข้าง ริมฝีปากบนเป็นแผ่นกระดูกบาง ปากอยู่
ตอนปลายสุดของหัวเป็นส่วนมาก มีฟันซี่เล็กละเอียด หรืออาจไม่มีในบางชนิด ล�ำตัวยาวหรือ
ป้อมแบนข้าง ไม่มเี ส้นข้างตัว มีเกล็ดบางแบบขอบเรียบ ปกคลุมทัว่ ตัว ครีบมีขนาดเล็ก ไม่มกี า้ นครีบแข็ง
ครีบหางมักเว้าลึก ส่วนมากมักมีเกล็ดที่ด้านท้องเป็นสันคม มักมีสีตัวเป็นสีเงิน และสีด้านหลัง
เป็นสีเขียวเรื่อจึงเป็นที่มาของชื่อ พบในทะเลเป็นส่วนมากในเขตอบอุ่นถึงเขตร้อน อาศัยแถบชายฝั่ง
ทะเล และบริเวณปากน�้ำ พบในก้นอ่าวไทย 19 ชนิด ได้แก่
ตะเพียนน�้ำเค็ม โคก (Anodontostoma chacunda)
รูปร่างป้อมสั้น มีจุดด�ำชัดที่หลังขอบเหงือก ขนาดโตสุด 13 เซนติเมตร
โคบ (Anodontostoma thailandiae)
จุดที่หลังขอบเหงือกจางหรือไม่มี ขนาดโตสุด 12 เซนติเมตร
โคบกระโดง (Nematalosa nasus)
ท้ายครีบหลังมีก้านเป็นเส้นยาวมาก ขนาดโตสุด 15 เซนติเมตร
มงโกรย (Hilsa kelee)
ส่วนหัวโตกว่าสกุลอื่น ผิวบนท้ายทอยเป็นลายริ้ว มีแต้มคล�้ำที่หลังขอบเหงือก และข้างล�ำตัว
อีก 3-4 แต้ม ครีบหางสั้น ขนาดโตสุด 20 เซนติเมตร
ตะลุมพุกสั้น (Tenualosa reevesi)
รูปร่างคล้ายปลามงโกรย แต่ส่วนผิวบนท้ายทอยเรียบ ครีบหางยาวกว่ามาก ขนาดโตสุด
30 เซนติเมตร
ตะลุมพุก (Tenualosa toli )
รู ป ร่ า งทรงกระสวย ล� ำ ตั ว แบนข้ า ง ครี บ หางยาวทั้ ง สองซี ก ขนาดโตสุ ด 60 เซนติ เ มตร
เป็นปลาสองน�้ำที่เติบโตในทะเล เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จึงจะอพยพเข้ามาวางไข่ในแม่น�้ำ กินแพลงก์ตอน
เคยพบอพยพเข้ามาวางไข่ถึง กรุงเทพฯ
ใกล้สูญพันธุ์ (EN) ในน่านน�้ำไทยและสูญพันธุ์แล้วจากก้นอ่าวไทย
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 49
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กุแรหลังจุด (Herklotsichthys dispilonotus)


ด้านหลังมีจุดสีด�ำขอบขาว 2 จุด ขนาดโตสุด 13 เซนติเมตร

ตะเพียนน�้ำเค็ม
Anodontostoma chacunda (Hamilton, 1822)

โคบ
Anodontostoma thailandiae Wongratana, 1983

โคบกระโดง
Nematalosa nasus (Bloch, 1795)

มงโกรย
Hilsa kelee (Cuvier, 1829)
50 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ตะลุมพุกสั้น
Tenualosa reevesi (Richardson, 1846)

ตะลุมพุก
Tenualosa toli (Valenciennes, 1847)

กุแลหลังจุด
Herklotsichthys dispilonotus
(Bleeker, 1852)

กุแลแบน
Sardinella albella (Valenciennes, 1847)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 51
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อกแรสั้น
Sardinella brachysoma Bleeker, 1852

กุแลหลังเขียว
Sardinella pacifica Hata & Motomura, 2019

กุแลหางเรียว
Sardinella richardsoni Wongratana, 1983

กุแลแถบทอง
Sardinella gibbosa Bleeker, 1849
52 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กุแลยาว
Sardinella lemuru Bleeker, 1853

อกแรกลม
Amblygaster sirm Walbaum, 1792

กะตักแก้วเรียว
Escualosa elongata Wongratana, 1983

กะตักแก้ว
Escualosa thoracata Valenciennes, 1847
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 53
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ซิวแก้วอ่าวไทย
Corica laciniata Fowler, 1935

ซิวแก้ว
Corica soborna Hamilton, 1822

ซิวแก้วหางดอก
Clupeoides borneensis Bleeker, 1849

ซิวแก้วสั้น
Clupeichthys goniognathus Bleeker, 1855
54 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กุแลแบน (Sardinella albella)


ต้นครีบหลังมีจุดสีคล�้ำ ขนาดโตสุด มีความยาว 14 เซนติเมตร
อกแรสั้น (Sardinella brachysoma)
ล�ำตัวมีความกว้างมากที่สุด ขนาดโตสุด 20 เซนติเมตร
กุแลหลังเขียว (Sardinella pacifica)
เคยถูกระบุชนิดเป็น Sardinella fimbriata (Valenciennes,1847) แต่ปัจจุบันพบว่าเป็น
คนละชนิดจากจ�ำนวนเกล็ดบนเส้นข้างตัวทีน่ อ้ ยกว่า (38–41 จาก 44–46) มีรปู ร่างเพรียวทรงกระสวย
ขนาดโตสุด 17 เซนติเมตร
กุแลหางเรียว (Sardinella richardsoni)
ลักษณะคล้ายชนิดก่อนแต่ล�ำตัวส่วนท้องกว้างและส่วนหางเรียวกว่า ขนาดโตสุด 17 เซนติเมตร
พบน้อยในก้นอ่าวไทย
กุแลแถบทอง (Sardinella gibbosa)
มีจุดด�ำที่ตอนหน้าครีบหลัง ขอบครีบมีสีคล�้ำ ขนาดโตสุด 15 เซนติเมตร
กุแลยาว (Sardinella lemuru)
มีรูปร่างล�ำตัวเรียวสุด ขนาดโตสุด 20 เซนติเมตร
อกแรกลม (Amblygaster sirm)
ส่วนท้องกลม ไม่เป็นสัน มีจุดสีคล�้ำที่บนขอบช่องเหงือกและตามแนวยาวล�ำตัว ขนาดโตสุด
17 เซนติเมตร
กะตักแก้วเรียว (Escualosa elongate)
ล� ำ ตั ว ที่ ส ่ ว นท้ อ งเรี ย ว แถบสี เ งิ น ที่ ก ลางล� ำ ตั ว แคบกว่ า ลู ก ตา ขนาดโตสุ ด 7 เซนติ เ มตร
พบเฉพาะฝั่งอ่าวไทย
กะตักแก้ว เกล็ดขาว (Escualosa thoracata)
ล� ำ ตั ว ที่ ส ่ ว นท้ อ งกว้ า งกว่ า ชนิ ด ก่ อ น แถบสี เ งิ น ที่ ก ลางล� ำ ตั ว กว้ า งเท่ า ลู ก ตา ขนาดโตสุ ด
10 เซนติเมตร พบทั้งสองฝั่งทะเล
ซิวแก้วอ่าวไทย (Corica laciniate)
มี ฟ ั น เขี้ ย วเล็ ก บนขากรรไกร ก้ า นครี บ ก้ น อั น สุ ด ท้ า ยแยกออก มี ข นาดใหญ่ ขนาดโตสุ ด
มีความยาว 4 เซนติเมตร
ไส้ตันหางดอก (Clupeoides borneensis)
ก้านครีบก้นอันสุดท้ายไม่แยกออก มีขนาดเล็ก ครีบหางมีขอบสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว
7 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 55
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ซิวแก้วสั้น (Clupeichthys goniognathus)


มีฟันเขี้ยวใหญ่บนขากรรไกร ก้านครีบก้นอันสุดท้ายแยกออก มีขนาดใหญ่ ขนาดโตสุด
มีความยาว 6 เซนติเมตร
วงศ์ปลาดาบลาว (Family Chirocentridae)
ลักษณะล�ำตัวทรงยาวและแบนข้าง ปากใหญ่และกว้างเฉียงขึ้น มีฟันเขี้ยวขนาดใหญ่ เกล็ด
มีขนาดเล็ก เกล็ดทีท่ อ้ งเป็นหนามสัน้ ครีบหลังมีขนาดเล็กสัน้ อยูค่ อ่ นไปทางท้ายล�ำตัว ครีบก้นมีตำ� แหน่ง
ตรงกับครีบหลัง ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบหางเว้าลึก ล�ำตัวด้านบนมีสีน�้ำเงินเข้มเหลือบเงิน ส่วนท้อง
มีสีขาวเงิน พบ ชนิดเดียวคือ ปลาดาบลาวสั้น (Chirocentrus nudus)

ดาบลาว
Chirocentrus nudus Swainson, 1839

อันดับปลานวลจันทร์ทะเล (Order Gonorynchiformes)


ปลาทะเลขนาดใหญ่ รูปร่างเพรียว ปากเล็ก ไม่มีฟันบนขากรรไกร มีเยื่อไขมันหนาคลุมตา
ครีบอกอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของล�ำตัว ไม่มีก้านครีบแข็ง
วงศ์ปลานวลจันทร์ทะเล (Family Chanidae)
รูปร่างเพรียวเป็นกระสวย ล�ำตัวแบนข้างเล็กน้อย ตามีเยื่อไขมันหนาคลุม เกล็ดเล็กละเอียด
สีเงิน ครีบหางเว้าลึก ครีบท้องและครีบหลังเล็ก มีเส้นข้างล�ำตัวเห็นชัดเจน มักอยู่รวมกันเป็นฝูง
อาศัยอยู่ตามชายฝั่งถึงทะเลเปิดในเขตอินโด-แปซิฟิค พบชนิดเดียว คือ ปลานวลจันทร์ทะเล
(Chanos chanos) เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงในบางแห่ง

นวลจันทร์ทะเล
Chanos chanos (Forsskål, 1775) Cr.นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ
56 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลาหนัง (Order Siluriformes)


ปลาน�้ ำ จื ด และทะเลขนาดเล็ ก ถึ ง ใหญ่ ม าก ไม่ มี เ กล็ ด จึ ง เป็ น ที่ ม าของชื่ อ สามั ญ ส่ ว นใหญ่
มีหนวดรอบปาก 1-4 คู่ ใช้สัมผัสและรับรส นอกจากนี้ยังใช้ผิวหนังสัมผัสรับรู้รสและสภาพน�้ำได้
ปลาหนั ง เกื อ บทุก ชนิด มีเ งี่ยงแข็งบนครีบกระโดงหลั ง และครี บอก เงี่ ย งของปลาหนั ง บางชนิ ด
มีพิษ ส่วนมากเป็นปลาน�้ำจืด พบในทะเลและปากแม่น�้ำของก้นอ่าวไทยพบ 4 วงศ์ รวม 21 ชนิด
ได้แก่วงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) วงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) วงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae)
และวงศ์ปลากดและปลาแขยง (Bagridae)
วงศ์ปลาสวาย (Family Pangasiidae)
เป็นปลาหนังขนาดเล็กถึงใหญ่มาก รูปร่างเพรียวมีส่วนท้องใหญ่ ล�ำตัวแบนข้างเล็กน้อย
ส่วนหัวโต ตาโต มีหนวด 2 คู่ ครีบไขมันเล็ก ฐานครีบก้นยาว พบขนาดตัง้ แต่ไม่เกิน 40 เซนติเมตร จนถึง
กว่า 2 เมตร เป็นปลาเศรษฐกิจส�ำคัญ มีการกระจายพันธุ์ จากอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และบอร์เนียว พบในปากแม่น�้ำของก้นอ่าวไทย 1 ชนิด ได้แก่
สังกะแวง สวายหยวก (Pangasius elongatus)
รูปร่างทรงกระบอกยาว เพรียวไปด้านท้าย มีฟันเป็นแถบหนาบนเพดานปาก ขนาดโตสุด
50 เซนติเมตร พบตั้งแต่ลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยาถึงลุ่มแม่น�้ำโขง

สังกะแวง
Pangasius elongatus Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002
วงศ์ปลาดุกทะเล (Family Plotosidae)
ลักษณะล�ำตัวค่อนข้างยาว ส่วนหัวกลมและแบนลง ด้านท้ายของล�ำตัวเรียวยาวแบนข้าง
มีหนวดยาว 4 คู่ ครีบหลังมีสองตอน ครีบหลังตอนแรกและครีบอกเป็นเงี่ยง มีต่อมพิษ ครีบหลังครีบ
ที่สองยาวเชื่อมกับครีบหางและครีบก้น ไม่มีครีบไขมัน พบ 2 ชนิด คือ
ดุกทะเล (Plotosus canius)
หัวโต มีหนวดยาว ตัวมีสีด�ำหรือคล�้ำด้านท้องสีจาง กินสัตว์หน้าดิน ขนาดโตสุดมีความยาว
ถึง 1.2 เมตร อาศัยในทะเลชายฝัง่ และปากแม่นำ �้ เข้ามาในแม่นำ�้ ตอนกลางบางครัง้ เคยพบขึน้ ไปสูงสุด
ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 57
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ปิ่นแก้ว (Plotosus lineatus)


ส่วนหัวเล็กกว่าดุกทะเล หนวดสั้นกว่า ตัวสีคล�้ำอมม่วง มีแถบสีจางตามแนวยาว อาศัยในทะเล
ชายฝั่งและแนวปะการัง พบน้อยในปากแม่น�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 35 เซนติเมตร

ดุกทะเล
Plotosus canius Hamilton, 1822

ปิ่นแก้ว
Plotosus lineatus (Thunberg, 1787)

วงศ์ปลากดทะเล ปลาอุก (Family Ariidae)


รูปร่างคล้ายปลาสวายแต่มีส่วนหัวโตกว่าและแบนราบเล็กน้อย บนเพดานมีฟันเป็นแถบแข็ง
รูปกลมรี ครีบหลังยกสูงมีก้านแข็งคมเช่นเดียวกับครีบอก ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก มีหนวด 1-3 คู่
รอบปาก ปลาวงศ์ นี้ มี ก ารวางไข่ โ ดยตั ว ผู ้ เ ป็ น ผู ้ อ มฟั ก ไข่ ไ ว้ ใ นปาก ไข่ มี ฟ องขนาดใหญ่ ตั้ ง แต่
0.5-1 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิด พบกระจายพันธุท์ วั่ เขตร้อนของโลก อาศัยบริเวณปากแม่นำ�้ และชายฝัง่
พบ 15 ชนิด
กดทะเล (Arius leptonotacanthus)
จะงอยปากยืน่ ยาว ก้านแข็งของครีบหลังเรียว ครีบไขมันมีแต้มด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 35 เซนติเมตร
กดทะเลกระโดงยาว (Arius venosus)
หัวสั้น ครีบหลังยื่นเป็นเส้นยาว ร่องที่ท้ายทอยสั้นและลึก ขนาดโตสุดมีความยาว 25 เซนติเมตร
กดอีติก (Arius oetik)
หัวยาวกว่าชนิดก่อน ครีบหลังไม่ยนื่ เป็นเส้นยาว ร่องทีท่ า้ ยทอยยาว ขนาดโตสุดมีความยาว 30 เซนติเมตร
เซียว (Plicofollis argyropleuron)
จะงอยปากยืน่ ยาว ก้านแข็งของครีบหลังหนา ครีบไขมันมีสเี รียบ ขนาดโตสุดมีความยาว 40 เซนติเมตร
58 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กดทะเลหลังจุด (Plicofollis dussumieri)


ปากค่อนข้างกว้าง ครีบหลังมีหลายแหลมเป็นเส้น ครีบไขมันมีจุดสี่ด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว
25 เซนติเมตร
กดหัวแข็ง (Plicofollis nella)
หั ว โต กระดู ก ท้ า ยทอยมน มี ล วดลายหยาบ รู ป ร่ า งค่ อ นข้ า งสั้ น ขนาดโตสุ ด มี ค วามยาว
28 เซนติเมตร
อุกจุดด�ำ (Cephalocassis bicolor)
หัวโต ปากเล็ก ตัวค่อนข้างสัน้ มีจดุ ด�ำขนาดใหญ่ทคี่ รีบไขมัน ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
อาศัยในแม่น�้ำตอนในถึงปากแม่น�้ำ
อุก (Cephalocassis borneensis)
ครี บ ไขมั น มี สี เ หมื อ นตั ว ไม่ มี จุ ด ขนาดโตสุ ด มี ค วามยาว 20 เซนติ เ มตร อาศั ย ในแม่ น�้ ำ
และปากแม่น�้ำ
กดหัวแข็ง (Nemapteryx nenga)
ก้านแข็งของครีบหลังหนา ปลายครีบเป็นเส้นยาว ครีบไขมันมีแต้มด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว
25 เซนติเมตร
กดคันหลาว (Cryptarius truncatus)
หั ว และจะงอยปากยาว ล� ำ ตั ว ทรงกระบอกยาว ขนาดโตสุ ด มี ค วามยาว 70 เซนติ เ มตร
อาศัยในทะเลชายฝั่งและปากแม่น�้ำ
กดขี้ลิง (Hexanematichthys sagor)
ส่ ว นหั ว และจะงอยปากมนกลม ก้ า นแข็ ง ของครี บ อกหนาและยาว ตั ว สี เ ทาเงิ น มี ล ายบั้ ง
จางๆ ขวาง ขนาดโตที่พบใหญ่สุดมีความยาว 60 เซนติเมตร
กดหัวอ่อน (Osteogeniosus militaris)
หนวดคูท่ มี่ มุ ปากยาวมากและเป็นกระดูกแข็ง ขนาดโตสุดมีความยาว 40 เซนติเมตร อาศัยบริเวณ
ปากแม่น�้ำและในแม่น�้ำตอนล่าง
กดหัวผาน (Hemiarius verrucosus)
จะงอยปากแหลม ปากอยู่ด้านล่าง ตาเล็ก ครีบหลังยกสูง อาศัยในปากแม่น�้ำ ขนาดโตสุดมี
ความยาวถึง 1 เมตร
เคยพบในลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา และบางปะกง และพบในแม่น�้ำโขงตอนล่าง สูญพันธุ์แล้ว
จากประเทศไทย (RE) หลังจากการสร้างเขื่อนในแม่น�้ำบางปะกงตอนล่าง
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 59
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กดหัวลิง (Ketengus typus)


ส่วนหัวสั้น ตาโต ปากกว้างกว่าสกุลอื่น อาศัยในปากแม่น�้ำ มีนิสัยพิเศษที่กินเกล็ดปลาอื่นๆ
ขนาดที่พบใหญ่สุดมีความยาว 10 เซนติเมตร สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU)
กดหัวกบ (Batrachocephalus mino)
ปากกว้างมาก ส่วนหัวค่อนข้างแบน มีนิสัยพิเศษที่กินครีบปลาอื่นๆ ขนาดโตสุดมีความยาว
15 เซนติเมตร สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย (VU)

กดทะเล
Arius leptonotacanthus Bleeker, 1849

กดทะเลกระโดงยาว
Arius venosus Valenciennes, 1840

กดอีติก
Arius oetik Bleeker, 1846
60 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เซียว
Plicofollis argyropleuron (Valenciennes 1840)

กดทะเลหลังจุด
Plicofollis dussumieri (Valenciennes, 1840)

กดหัวแข็ง
Plicofollis nella (Valenciennes, 1840)

อุกจุดด�ำ
Cephalocassis bicolor Fowler,1935
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 61
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กดหัวแข็ง
Nemapteryx nenga (Hamilton, 1822)

กดขี้ลิง
Hexanematichthys sagor (Hamilton, 1822)

อุก
Cephalocassis borneensis (Bleeker, 1851)

กดคันหลาว
Cryptarius truncatus (Valenciennes, 1840)
62 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กดหัวอ่อน
Osteogeneiosus militaris (Linnaeus, 1758)

กดหัวผาน
Hemiarius verrucosus (Ng, 2003)

กดหัวลิง
Ketengus typus Bleeker, 1846

กดหัวกบ
Batrachocephalus mino (Hamilton, 1822)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 63
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาปลากด แขยง (Family Bagridae)


ปลาน�้ำจืดขนาดเล็กถึงใหญ่ ส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ ล�ำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้าง
อยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันแหลม เป็นซี่เล็กเป็นแถบบนขากรรไกร และเพดาน มีหนวด 4 คู่
โดยคู่ที่อยู่ริมฝีปากจะยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบก้นสั้น
ครีบท้องค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น เป็นปลากินเนื้อ พบในปากแม่น�้ำ
2 ชนิด คือ
อีกง (Mystus cf. gulio)
ก้านครีบหลังไม่มีเส้นยาว ครีบไขมันสั้น ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร อาศัยในบริเวณ
ปากแม่น�้ำ เป็นปลาเศรษฐกิจในบางแห่ง
แขยงนวล (Mystus velifer)
ก้านครีบหลังมีเส้นยาว ครีบไขมันยาวกว่าชนิดก่อน อาศัยในบริเวณแม่นำ�้ ตอนกลาง ถึงปากแม่นำ
�้
ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ : พบตั้งแต่ลุ่มแม่น�้ำแม่กลองถึงลุ่มแม่น�้ำโขง และภาคใต้ของประเทศไทย

อีกง
Mystus cf. gulio (Hamilton, 1822)

แขยงนวล
Mystus velifer Ng, 2012
64 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลาปากคม (Order Aulopiformes)


ปลาทะเลขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีรูปร่างลักษณะล�ำตัวเรียวเป็นทรงกระบอกยาว ปากกว้าง
มีฟนั เล็กแหลม มีครีบไขมันเป็นติง่ เล็ก ใกล้โคนหาง กินปลาและสัตว์หน้าดินอืน่ ๆ อาศัยในทะเลชายฝัง่
ถึงน�้ำลึก
วงศ์ปลาปากคม (Family Synodontidae)
ลักษณะล�ำตัวเรียวรูปทรงกระบอกยาว ปากกว้างมีฟันเล็กแหลม ลักษณะหัวคล้ายหัวกิ้งก่า
มีครีบหลังยกสูง และมีครีบไขมันเป็นติ่งเล็กใกล้โคนหาง ก้านครีบอ่อนด้านในของครีบท้องยาวกว่า
ด้านนอก ครีบหางเว้าลึก ล�ำตัวเป็นสีน�้ำตาลอมเทาและมีลวดลาย เป็นปลากินเนื้อ พบ 1 ชนิด ได้แก่
ปากคมหูสั้น (Saurida micropectoralis)
มีครีบอกเล็ก ล�ำตัวยาวทรงกระบอก มีสีเรียบไม่มีลาย ขนาดโตสุดมีความยาว 25 เซนติเมตร

ปากคมหูสั้น
Saurida micropectoralis Shindo & Yamada, 1972

อันดับปลากุเราแคระ ปลาค็อด (Order Gadiformes)


ปลาทะเลขนาดกลางถึงใหญ่ ส่วนมากพบในเขตหนาวและทะเลลึก หลายชนิดเป็นปลาที่มี
ความส�ำคัญทางเศรษฐกิจ ลักษณะส�ำคัญคือ มคี รีบท้องอยูท่ สี่ ว่ นคอหรืออก มีขนาดเล็ก ไม่มกี า้ นครีบแข็ง
ครีบหลังและครีบก้นยาว อาจต่อกับครีบหาง ครีบหางอันเล็ก เกล็ดเล็กมีขอบเรียบ
วงศ์ปลากุเราแคระ (Family Bregmacerotidae)
ลักษณะล�ำตัวเรียวยาว หัวกลม ตาค่อนข้างโต จะงอยปากกลมมน เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ครีบหลัง
ตอนแรกมีลักษณะเป็นเส้นยาวอยู่ด้านท้ายทอย ครีบหลังตอนที่สองและครีบก้นยาว บริเวณส่วนกลาง
ของครีบเว้าลง ครีบท้องมีก้านครีบด้านนอก 3 ก้าน ยื่นออกเป็นเส้นยาว ล�ำตัวเทาจางเหลือบเงิน
พบชนิดเดียว คือ
กุเราแคระหูด�ำ (Bregmaceros mcclellandi)
ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 65
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กุเราแคระหูด�ำ
Bregmaceros mcclellandi Thompson, 1840

อันดับปลาข้าวเม่าน�้ำลึก (Order Beryciformes)


ปลาทะเลขนาดเล็กถึงกลาง มีรูปร่างรูปไข่ หรือกลม แบนข้างเล็กน้อย หัวโต ตาโต หัวมักเป็น
กระดูกแข็งมีลวดลาย เกล็ดใหญ่ หนาแบบขอบสาก คอดหางเรียว มักมีสีแดง ชมพูหรือเหลืองสด
พบตั้งแต่ชายฝั่งถึงทะเลลึก
วงศ์ปลาข้าวเม่าน�้ำลึก (Family Holocentridae)
รูปร่างรูปไข่ แบนข้างเล็กน้อย หัวโต กระดูกข้างแก้มมีหนามยาวชี้ไปด้านหลัง ครีบหลังเป็น
2 ตอนชิดกัน ตอนหน้ามีก้านครีบแข็ง ส่วนมากมีสีแดงเข้ม ชมพู เป็นปลาแนวปะการัง และหินกอง
พบในก้นอ่าวไทยน้อยมาก เข้ามาในแม่น�้ำบางปะกงเป็นครั้งคราว พบชนิดเดียวคือ
ข้าวเม่าน�้ำลึก (Sargocentron rubrum)
ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร

Cr. กิตติพงษ์ จารุธานินทร์

ข้าวเม่าน�้ำลึก
Sargocentron rubrum (Forsskål, 1775)
66 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลาคางคก (Order Batrachoidiformes)


ปลาทะเลขนาดกลาง รูปร่างป้อมส่วนหัวใหญ่ แบนราบเล็กน้อย ปากกว้างมาก ตาอยู่ด้านบน
ของหัว ล�ำตัวเรียวไปด้านท้าย ไม่มีเกล็ด ล�ำตัวนิ่มลื่น มี กว้าง ช่องเหงือกมีขนาดเล็ก มีหนามแหลม
บริเวณหัวและฝาปิดของเหงือก ตัวผู้ ใช้ถุงลมช่วยในการท�ำให้เกิดเสียงเพื่อดึงดูดตัวเมีย มีลวดลาย
ที่ไม่เป็นระเบียบดูเลอะ พบ 1 วงศ์ คือ
วงศ์ปลาคางคก (Family Batrachoididae)
ลักษณะล�ำตัวค่อนข้างกลมยาว แบนข้างทางส่วนท้าย ส่วนหัวกว้างและแบนลงเล็กน้อย
ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง มีติ่งเนื้อรอบปาก และบริเวณหัว ครีบหลังและครีบก้นยาวติดต่อกับฐาน
ครีบหาง ครีบหางกลมมน พบปลา 2 ชนิดคือ
อุบสิงโต (Allenbatrachus grunniens)
ช่องเปิดเหงือกแคบ ประมาณ 1/2 ของฐานครีบอก ตัวมีสีน�้ำตาลคล�้ำ ลายด�ำ ขนาดโตสุด
มีความยาว 20 เซนติเมตร อาศัยตอนกลางถึงปากแม่น�้ำ
ย่าไอ้ดุก (Batrachomoeus trispinosus)
ช่องเปิดเหงือกกว้างประมาณ 4/5 ของฐานครีบอก อก ตัวมีสนี ำ�้ ตาลอมส้มหรือเหลือง ลายสีคล�ำ

ขนาดโตสุดมีความยาว 25 เซนติเมตร อาศัยปากแม่น�้ำถึงทะเลชายฝั่ง

อุบสิงโต
Allenbatrachus grunniens (Linnaeus, 1758)

ย่าไอ้ดุก
Batrachomoeus trispinosus (Günther, 1861)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 67
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลากบตกเบ็ด (Order Lophiiformes)


ปลาทะเลขนาดกลางถึ ง ใหญ่ มี ส ่ ว นหั ว โต ปากกว้ า งมาก รู ป ร่ า งป้ อ มสั้ น อาจแบนราบ
หรือกลม แบนข้างเล็กน้อย ผิวมีทงั้ เรียบ และเป็นติง่ หนัง หรือมีเกล็ดเล็กมาก ก้านครีบหลังตอนหน้าสุด
มักเปลี่ยนรูปเป็นอวัยวะล่อเหยื่อเป็นติ่ง มักอยู่พื้นท้องน�้ำ หรืออยู่กับสาหร่ายต่างๆ ในก้นอ่าวไทย
พบวงศ์เดียว 1 ชนิดคือ
วงศ์ปลากบ (Family Antennariidae)
กบสาหร่าย (Histrio histrio)
ปลาขนาดเล็ก ผิวมีติ่งเนื้อ และลวดลายดูคล้ายกระจุกสาหร่ายทุ่น (Sargussum) ขนาดโตสุด
มีความยาว 20 เซนติเมตร พบน้อยมากในก้นอ่าวไทย มักอาศัยกับสาหร่ายหรือวัสดุลอยน�้ำ พบใน
เขตร้อนรอบโลก

กบสาหร่าย
Histrio histrio (Linnaeus, 1758)

อันดับปลาอมไข่ (Order Kurtiformes)


วงศ์ปลาอมไข่ (Family Apogonidae)
ลักษณะล�ำตัวทรงป้าน แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดใหญ่ หลุดง่าย มีทั้งแบบขอบบางเรียบ
และเกล็ดสาก ปากกว้าง เฉียงลง ส่วนมากมีฟันซี่เล็ก มีบางชนิดที่มีฟันเขี้ยวที่ตอนหน้าของปาก
ครีบหลังทัง้ สองครีบแยกจากกันชัด ครีบท้องอยูใ่ นต�ำแหน่งอก ครีบหางเว้าหรือตัดตรง มีสี และลวดลาย
ต่างกันแล้วแต่ชนิด พบ 4 ชนิด ได้แก่
อมไข่หลังโหนก (Yarica hyalosoma)
ส่วนหลังยกสูงกว่าชนิดอื่นๆ ตัวสีเรียบค่อนข้างใส ครีบหลังมีแถบคล�้ำที่ส่วนหน้า ขนาดโตสุด
มีความยาว 8 เซนติเมตร
68 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อมไข่แถบ (Ostorhinchus fasciatus)


ตัวสีน�้ำตาลแดง มีแถบสีจางตามแนวยาว ครีบมีสีแดงเรื่อ ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
อมไข่ครีบดวง (Jaydia carinatus)
หัวโต ล�ำตัวป้อม ครีบหางปลายมน ครีบหลังตอนท้ายมีดวงด�ำขอบขาว ขนาดโตสุดมีความ
ยาว 6 เซนติเมตร
อมไข่ครีบแถบ (Jaydia ellioti)
ครีบหลังและครีบก้นมีแถบและขอบด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร

อมไข่หลังโหนก
Yarica hyalosoma (Bleeker, 1852)

อมไข่แถบ
Ostorhinchus fasciatus (White, 1790)

อมไข่ครีบดวง
Jaydia carinatus (Cuvier, 1828)

อมไข่ครีบแถบ
Jaydia ellioti (Day, 1875)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 69
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลาบู่ (Order Gobiiformes)


เป็นปลาทะเลและน�้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลาง อันดับนี้เคยจัดอยู่ในอันดับย่อยของอันดับ
ปลากะพง (Perciformes) แต่การศึกษาวิวัฒนาการในปัจจุบันได้จ�ำแนกเป็น 8 วงศ์ของทั้งโลก
(Nelson et al.,2016) โดยใช้ลักษณะของกระดูกและทางพันธุศาสตร์โมเลกุล พบประมาณ
2,200 ชนิดทั่วโลก มีลักษณะส�ำคัญคือ ส่วนหัวมีแนวเส้นรูประสาทเป็นรูปแบบต่างๆ มีครีบท้องที่
อาจรวมเป็นถ้วยหรือแยกจากกัน ครีบหลังมี 2 ตอน ตอนท้ายมักยาวกว่ามาก ส่วนมากอาศัยบน
พื้นท้องน�้ำของชายฝั่งและปากแม่น�้ำ ในก้นอ่าวไทย พบ 4 วงศ์ รวม 55 ชนิด ได้แก่ วงศ์ปลาบู่ทราย
(Butidae) วงศ์ปลาบูล่ นื่ (Eleotridae) วงศ์ปลาตีน ปลาเขือ (Oxudercidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae)
วงศ์ปลาบู่ทราย (Family Butidae)
ล�ำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหัวและจะงอยปากค่อนข้างแหลม มีเส้นข้างล�ำตัว และแถวของ
เส้ น ประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลั ง แยกออกเป็ น 2 ตอนชั ดเจน ครี บท้ อ งแยกจากกั น
ครีบก้นยาว ครีบอกมีขนาดใหญ่ เกล็ดค่อนข้างใหญ่ พบ 5 ชนิด ได้แก่
บู่หางจุด (Bostrychus sinensis)
ส่ ว นหั ว และจะงอยปากทู ่ เกล็ ด เล็ ก มี ด วงสี ค ล�้ ำ ที่ โ คนครี บ หางด้ า นบน ขนาดโตสุ ด
มีความยาว 12 เซนติเมตร
บู่เกล็ดแข็ง (Butis butis)
ส่วนหัวและจะงอยปากแหลม เกล็ดใหญ่แบบขอบสาก ปลายครีบหางด้านบนใส ขนาดโตสุด
มีความยาว 8 เซนติเมตร
บู่จากผอม (Butis amboinensis)
โคนครีบมีสีแดงเรื่อ ปลายครีบหางด้านบนเป็นเส้นแหลม ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร
บู่จากด�ำ (Butis humeralis)
ครีบมีสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
บู่จากแต้มส้ม (Butis gymnopomus)
ตัวและครีบมีแต้มส้มอมแดง ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร

บู่หางจุด
Bostrychus sinensis Lacepède, 1801
70 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่เกล็ดแข็ง
Butis butis (Hamilton 1822)

บู่จากผอม
Butis amboinensis (Bleeker, 1853)

บู่จากด�ำ
Butis humeralis (Valenciennes, 1837)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 71
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่จากแต้มส้ม
Butis gymnopomus (Bleeker, 1853)

วงศ์ปลาบู่ลื่น (Family Eleotridae)


ล�ำตัวค่อนข้างยาวกลม ส่วนท้ายล�ำตัวแบนข้าง หัวและจะงอยปากมน ครีบท้องแยกจากกัน
ครีบก้นยาว ครีบหางกลมมน เกล็ดเล็ก อาศัยในบริเวณปากแม่น�้ำพบ 5 ชนิดคือ
บู่ด�ำ (Eleotris melanosoma)
ครีบหลังตอนแรกมีแถบคล�้ำ ข้างแก้มตอนล่างมีหนามสั้น ขนาดโตสุด 12 เซนติเมตร
บู่ลื่นครีบจุด (0xyeletris urophthalmoides)
โคนหางตอนบนมีลายดวงตาสีด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
บู่หัวมัน (Ophiocara porocephala)
รูปร่างป้อม ตัวมีลายประสีเหลืองจาง ครีบหลังมีขอบเหลือง ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร
บู่เกล็ดแข็งหัวสั้น (Prionobutis koilomatodon)
ส่วนหัวกลม รูปร่างสั้นกว่าชนิดอื่น โคนครีบอกมีจุดด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
บู่ค้างคาว (Prionobutis microps)
ตาเล็ก ครีบอกใหญ่กว่าชนิดอื่น ขนาดโตสุดมีความยาว 16 เซนติเมตร

บู่ด�ำ
Eleotris melanosoma Bleeker, 1853
72 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่ลื่นครีบจุด
Oxyeleotris urophthalmoides (Bleeker,1853)

บู่หัวมัน
Ophiocara porocephala (Valenciennes, 1837)

บู่เกล็ดแข็งหัวสั้น
Prionobutis koilomatodon (Bleeker, 1849)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 73
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่ค้างคาว
Prionobutis microps (Weber, 1907)

วงศ์ปลาบู่ (Family Gobiidae)


ปลาทะเลและน�้ำจืดขนาดเล็กถึงกลาง มีส่วนแก้มกว้างกว่าวงศ์ปลาบู่อื่นๆ ล�ำตัวทรงกระบอก
เรียว แบนข้างไปด้านท้าย ครีบหลังสองอันแยกหรือติดกัน ครีบท้องเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดใหญ่
บางชนิดมีเกล็ดทีส่ ว่ นหัว ครีบหางกลมมนหรือยาวมีปลายแหลม มีลวดลายต่างๆ แล้วแต่สกุลและชนิด
อาศัยในบริเวณปากแม่น�้ำ ถึงทะเลชายฝั่งและแนวปะการัง พบ 14 ชนิด ได้แก่
บู่เขี้ยว (Acentrogobius caninus)
เหนือช่องเหงือกมีดวงสีด�ำเหลือบเขียว ครีบมีจุดเหลือง ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร
บู่จุดฟ้า (Acentrogobius chlorostigmatoides)
ตัวมีจุดสีเขียวเรืองแสงกระจาย ครีบมีขอบสีแดงเรื่อ ขนาดโตสุดมีความยาว 9 เซนติเมตร
บู่ครีบม่วง (Acentrogobius janthinopterus)
ก้านครีบหลังตอนแรกมีเส้นยาว ขอบครีบหางมีแถบสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร
บู่จุดเขียว (Acentrogobius viridipunctatus)
ตั ว มี จุ ด สี เ ขี ย วอมทองกระจาย ครี บ หลั ง ตอนท้ า ยมี ข อบสี ค ล�้ ำ และแดงเรื่ อ ขนาดโตสุ ด มี
ความยาว 10เซนติเมตร
บู่ลูกหยี (Drombus kranjiensis)
หัวและล�ำตัวค่อนข้างสั้น ครีบใหญ่ ก้านครีบอันแรกของครีบหลังมีสีเหลืองจาง ครีบหางด้านบน
มีแถบสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
บู่หัวกลม (Drombus globiceps)
ตัวมีจุดสีฟ้ากระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
บู่ด�ำครีบยาว (Aulopareia cyanomos)
ในตั ว ผู ้ มี ก ้ า นครี บ หลั ง ตอนหน้ า เป็ น เส้ น ยาว ขอบครี บ หางด้ า นบนมี สี แ ดง ขนาดโตสุ ด
มีความยาว 16 เซนติเมตร
74 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่เทา (Aulopareia unicolor)


ครีบมีสีคล�้ำ โคนครีบหางด้านบนมีจุดด�ำจางๆ ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
บู่จุดด�ำ (Yongeichthys nebulosus)
ตัวและครีบมีแต้มประสีคล�้ำ ฐานครีบหางมีเต้มด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 16 เซนติเมตร
บู่หางจุด (Parachaeturichthys polynema)
ล�ำตัวเรียว โคนครีบหางด้านบนมีดวงด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 16 เซนติเมตร
บู่เครา (Gobiopsis macrostoma)
จะงอยปากด้านบน มีติ่งเนื้อสั้นๆ ขนาดโตสุดมีความยาว 7 เซนติเมตร
บู่ขี้เซา (Psammogobius biocellatus)
ห้วและจะงอยปากเรียว ตัวมีสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
บู่ทอง (Glossogobius aureus)
แนวเส้นข้างตัวที่ข้างแก้มเป็นเส้นตามยาว 5-6 แนว ตัวมีสีน�้ำตาลคล�้ำอมทอง ครีบหลังตอนท้าย
และครีบหางมีจุดกระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 28 เซนติเมตร
บู่ทองสีจาง (Glossogobius sparsipapillus)
ตัวมีสีจาง ครีบหลังตอนท้ายและครีบหางมีจุดน้อย ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร

บู่เขี้ยว
Acentrogobius caninus (Valenciennes, 1854)

บู่จุดฟ้า
Acentrogobius chlorostigmatoides (Bleeker, 1849)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 75
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่ครีบม่วง
Acentrogobius janthinopterus (Bleeker, 1852)

บู่จุดเขียว
Acentrogobius viridipunctatus (Valenciennes, 1837)

บู่ลูกหยี
Drombus kranjiensis (Herre, 1940)
76 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่หัวกลม
Drombus globiceps (Hora, 1923)

บู่ด�ำครีบยาว
Aulopareia cyanomos (Bleeker, 1849)

บู่เทา
Aulopareia unicolor (Valenciennes, 1837)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 77
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่จุดด�ำ
Yongeichthys nebulosus (Forsskål, 1775)

บู่หางจุด
Parachaeturichthys polynema (Bleeker, 1853)

บู่เครา
Gobiopsis macrostoma Steindachner, 1861.
78 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่ขี้เซา
Psammogobius biocellatus (Valenciennes, 1837)

บู่ทอง
Glossogobius aureus Akihito & Meguro, 1975

บู่ทองสีจาง
Glossogobius sparsipapillus Akihito & Meguro, 1976
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 79
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาเขือ (Family Oxudercidae)


ส่ ว นหั ว กลมมน ส่ ว นแก้ ม แคบ ล� ำ ตั ว ค่ อ นข้ า งยาวเรี ย ว แบนข้ า งไปด้ า นท้ า ย เกล็ ด เล็ ก
มีฟันซี่แหลมเล็ก บางสกุลตายกขึ้นหรือหดได้อยู่ด้านบนของหัว หนังตาอยู่ที่ขอบล่าง สามารถยกขึ้น
มาปิดคลุมลูกตา ปากกว้าง บางชนิดเล็กแคบ ครีบหลังตอนที่สองค่อนข้างยาว บางชนิดมีกระพุ้งแก้ม
เพื่อเก็บอากาศไว้ใช้ในการหายใจเมื่ออยู่พ้นน�้ำได้ อาศัยในน�้ำจืดจนถึงปากแม่น�้ำ และชายฝั่งทะเล
พบ 31 ชนิด
บู่หมาจูเล็ก (Brachygobius kabiliensis)
แถบที่โคนหาง แยกเป็น 3 แต้ม ขนาดโตสุดมีความยาว 2 เซนติเมตร
บู่หมาจู (Brachygobius xanthomelas)
แถบที่โคนหางเป็นแถบทึบแถบเดียว ขนาดโตสุดมีความยาว 3 เซนติเมตร
บู่ตาเล็ก (Eugnathogobius microps)
ตาเล็ก อยู่ห่างกัน ปากกว้างมากในตัวผู้ ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
บู่สยาม (Eugnathogobius siamensis)
ตาโตอยู่ใกล้กัน ครีบหลังมีขีดหลายเส้น ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
บู่ปากกว้าง (Eugnathogobius kabilia)
ครีบหางสีแดงเรื่อ ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
บู่ปากกว้างลายกระ (Eugnathogobius variegata)
ครีบหลังตอนหน้ามีจุดสีด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
บู่ใส (Gobiopterus chuno)
ตัวใส ไม่มีสี ขนาดโตสุดมีความยาว 3 เซนติเมตร
บู่ป่าเลน (Mugilogobius cavifrons)
ครีบหลังตอนแรกมีแถบด�ำ 2 แถบ ลายบนตัวคล้ายตาราง ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
บู่จุล (Mugilogobius chulae)
ตัวผู้มีเส้นยาวบนครีบหลังตอนหน้า ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
บู่ร�ำไพ (Mugilogobius rambaiae)
มีแต้มสีด�ำขอบจางที่บนช่องเหงือก ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร Dr.Hugh M. Smith
ตั้งชื่อเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 มีรายงาน
พบครั้งแรกในกรุงเทพฯ ปัจจุบันพบน้อยมากที่บางกระเจ้า
บู่ชวา (Pseudogobius poicilosoma)
ครีบหางมีจุดเป็นแถว 5-6 แถว ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
80 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่สั้น (Redigobius chrysosoma)


ตัวสั้น มีจุดด�ำใหญ่ที่ครีบหลังตอนหน้า ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
บู่กล้วย (Stigmatogobius pleurostigma)
ตอนกลางตัวมีจุดด�ำเรียงเป็นแนวยาว ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
บู่หน้าหนวด (Tridentiger cf. barbatus)
หัวและรอบปากมีหนวดสั้นสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
เขือปากกว้าง (Oxuderces dentatus)
ปากกว้าง ช่องปากมีสีด�ำ มีฟันเขี้ยวสั้นๆ 1 คู่ ล�ำตัวยาว ครีบหลังต่อกัน ขนาดโตสุดมีความ
ยาว 13 เซนติเมตร
เขือตาเขียว (Apocryptodon madurensis)
ตามีสเี หลือบเขียว ครีบหลังแยกจากกัน ตัวมีจดุ ด�ำกระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
เขือเกล็ดเล็ก (Oxyurichthys microlepis)
ล� ำ ตั ว ด้ า นหน้ า มี จุ ด ด� ำ กระจาย ครี บ หางมี ห ลายเรี ย ว ด้ า นล่ า งสี แ ดงเรื่ อ ขนาดโตสุ ด
มีความยาว 13 เซนติเมตร
พรวดหางแหลม (Pseudapocryptes elongatus)
ล�ำตัวเรียวยาว มีแต้มคล�้ำ เกล็ดเล็กมาก ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร
เขือเกล็ดใหญ่ (Parapocryptes serperaster)
เกล็ดใหญ่ ครีบหางขอบบนมีสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
จุมพรวด (Boleophthalmus boddarti)
ตาอยู่ค่อนไปด้านบนและชิดกัน ครีบหลังตอนหน้ามีก้านเป็นเส้นยาวในตัวผู้ ตัวมีแถบเฉียง
และมีจุดฟ้ากระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
ตีน (Periophthalmus chrysospilos)
ก้ า นครี บ หลั ง ตอนหน้ า เป็ น เส้ น ยาวเฉพาะก้ า นแรก ตั ว มี จุ ด ส้ ม ขนาดโตสุ ด มี ค วามยาว
10 เซนติเมตร
ตีนลาย (Periophthalmus argentilineatus)
ก้านครีบหลังตอนหน้าไม่เป็นเส้นยาว ตัวมีแต้มด�ำกระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 16 เซนติเมตร
กระจัง (Periophthalmodon schlosseri)
หัวโต ครีบหลังตอนหน้ามีขอบสีจาง ตัวมีแถบสีคล�้ำตามแนวยาว ขนาดโตสุดมีความยาว
30 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 81
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

พรวดกระโดง (Scartelaos histophorus)


ครีบหลังตอนหน้าเป็นกระโดงยาวมาก ขนาดโตสุดมีความยาว 17 เซนติเมตร
เขือเล็ก (Brachyamblyopus brachysoma)
เกล็ดเล็กมาก ครีบหางมีปลายเรียวยาว ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร
เขือกล้วย (Caragobioides geomys)
ฝาปิดเหงือกด้านบนไม่มีแนวเส้นข้างตัว ล�ำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดใหญ่ ขนาดโตสุด
มีความยาว 10 เซนติเมตร
เขือ (Trypauchen vagina)
ฝาปิดเหงือกด้านบนมีแนวเส้นข้างตัว ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
เขือคางยื่น (Taenioides cirratus)
ไม่มีเกล็ด ล�ำตัวยาวเรียว ครีบหลังอยู่ชิดกัน ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
เขือครีบด�ำ (Taenioides nigrimarginatus)
ครีบมีสีด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 30 เซนติเมตร
เขือเรียว (Taenioides gracilis)
ตั ว เรี ย วมาก ครี บ หลั ง ต่ อ กั น เป็ น ตอนเดี ย ว ครี บ หางตอนกลางสี ค ล�้ ำ ขนาดโตสุ ด มี
ความยาว 8 เซนติเมตร
ผี (Taenioides anguillaris)
มี ฟ ั น เขี้ ย วชั ก คางมี ติ่ ง หนวดสั้ น กระจาย แนวข้ า งล� ำ ตั ว มี รู เ ส้ น ข้ า งตั ว เรี ย งตลอดขนาด
โตสุด มีความยาว 26 เซนติเมตร

บู่หมาจูเล็ก
Brachygobius kabiliensis Inger, 1958
82 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่หมาจู
Brachygobius xanthomelas Herre, 1937

บู่ตาเล็ก
Eugnathogobius microps Smith, 1931 cr. ffishasia

บู่สยาม
Eugnathogobius siamensis (Fowler, 1934) cr. นณณ์ ผาณิตวงศ์
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 83
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่ปากกว้าง
Eugnathogobius kabilia (Herre, 1940)

บู่ปากกว้างลายกระ
Eugnathogobius variegata (Peters, 1869)

บู่ใส
Gobiopterus chuno (Hamilton, 1822)

บู่ป่าเลน
Mugilogobius cavifrons (Weber, 1909)
84 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่จุล
Mugilogobius chulae (Smith, 1932)
Cr.นณณ์ ผาณิตวงศ์

บู่ร�ำไพ
Mugilogobius rambaiae (Smith, 1945) Cr.นณณ์ ผาณิตวงศ์

บู่ชวา
Pseudogobius poicilosoma (Bleeker, 1849)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 85
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่สั้น
Redigobius chrysosoma (Kaumans, 1953)

บู่กล้วย
Stigmatogobius pleurostigma (Bleeker, 1849)

บู่หน้าหนวด
Tridentiger cf. barbatus (Günther, 1861)
86 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เขือปากกว้าง
Oxuderces dentatus (Eydoux & Souleyet, 1850)

เขือตาเขียว
Apocryptodon madurensis (Bleeker, 1849)

เขือเกล็ดเล็ก
Oxyurichthys microlepis (Bleeker, 1849)

พรวดหางแหลม
Pseudapocryptes elongatus (Cuvier, 1816)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 87
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เขือเกล็ดใหญ่
Parapocryptes serperaster (Richardson, 1846)

จุมพรวด
Boleophthalmus boddarti (Pallas, 1770) Cr.วิชา นรังสี

ตีน
Periophthalmus chrysospilos Bleeker, 1852 Cr.วิชา นรังสี

ตีนลาย
Periophthalmus argentilineatus Valenciennes, 1837
88 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระจัง
Periophthalmodon schlosseri (Pallas, 1770) Cr.วิชา นรังสี

พรวดกระโดง
Scartelaos histophorus (Valenciennes, 1837)

เขือเล็ก
Brachyamblyopus brachysoma (Bleeker, 1854)

เขือกล้วย
Caragobioides geomys Fowler, 1935
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 89
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เขือ
Trypauchen vagina (Bloch & Schneider, 1801)

เขือคางยื่น
Taenioides cirratus (Blyth, 1860)

เขือครีบด�ำ
Taenioides nigrimarginatus Hora, 1924

เขือเรียว
Taenioides gracilis (Valenciennes, 1837)

ผี
Taenioides anguillaris (Linnaeus, 1758)
90 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ซับซีรีส์ปลาแป้นแก้ว (Subseries Ovalentaria)


ซับซีรีส์น้ีเป็นกลุ่มของวงศ์ที่ยังไม่สามารถจัดเข้าอันดับใดได้ใน Nelson et al. 2016 เคยถูก
จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Order Perciformes) แต่มีลักษณะทั้งทางพันธุกรรมโมเลกุลและสัณฐาน
ที่เฉพาะตัว
วงศ์ปลาแป้นแก้ว (Family Ambassidae)
ล�ำตัวแบนข้าง เนื้อใส สามารถมองเห็นภายในล�ำตัวได้ หัวโต ตาโต ปากกว้าง ครีบหลังแบ่ง
เป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านแข็งแรงและแหลมคม ตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบหางเว้าลึก ครีบก้น
มีก้านแข็ง 3 ก้าน ครีบท้องมีก้านแข็ง 1 ชิ้น ครีบอกเล็ก ด้านท้องมีสีเงิน พบ 6 ชนิด
แป้นแก้วครีบจุด (Ambassis kopsi)
ครีบหลังตอนแรกมีจุดด�ำที่ปลาย ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
แป้นแก้ว (Ambassis gymnocephaluss)
ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
แป้นแก้วหางเหลือง (Ambassis interruptu)
ครีบหางเหลืองสด ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
แป้นแก้ว (Ambassis nalua)
ล�ำตัวค่อนข้างป้อม เกล็ดใหญ่ ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
แป้นแก้วหางแถบ (Ambassis urotaenia)
ขอบครีบหางมีแถบคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
แป้นแก้วยักษ์ (Parambassis wolffii)
เกล็ดเล็กมาก ก้านครีบก้นอันแรกใหญ่หนา ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร

แป้นแก้วครีบจุด
Ambassis kopsi Bleeker, 1858
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 91
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แป้นแก้วหางเหลือง
Ambassis gymnocephaluss Lacepède, 1802

แป้นแก้ว
Ambassis interruptus Bleeker, 1852

แป้นแก้ว
Ambassis nalua (Hamilton, 1822)
92 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แป้นแก้วหางแถบ
Ambassis urotaenia Bleeker, 1852

แป้นแก้วยักษ์
Parambassis wolffii (Bleeker, 1850)

อันดับปลากระบอก (Order Mugiliformes)


อันดับปลากระบอกเดิมเป็นหน่วยย่อยของอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาทะเล
ขนาดเล็กถึงใหญ่มาก รูปร่างล�ำตัวทรงกระบอกหรือทรงป้าน แบนข้างเล็กน้อย เส้นข้างตัวไม่ชัด
เกล็ดบางมีขอบเรียบหรือเป็นจักละเอียด ครีบหลังเป็น 2 ตอนอยู่ห่างกัน ครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก
ครีบหางเว้าตื้นหรือลึก มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ส่วนใหญ่อยู่ใน
ทะเลชายฝั่งและปากแม่น�้ำ บางชนิดพบอยู่ในน�้ำจืด พบ 2 วงศ์ ได้แก่ วงศ์กระบอก (Mugilidae)
และวงศ์กุเรา (Polynemidae)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 93
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลากระบอก (Family Mugilidae)


ลักษณะรูปร่างทรงกระบอก ปากเล็ก ตามีเยื่อไขมันคลุม มีครีบหลัง 2 ตอน ครีบหางเว้าตื้น
เกล็ดใหญ่ บางเป็นสีเงินเหลือบเขียวหรือเทาเงิน เส้นข้างตัวไม่ชัด พบ 10 ชนิด ได้แก่
กระบอกหัวแหลม (Planiliza tade)
ล�ำตัวทรงกระบอกยาว ครีบหลังตอนแรกตั้งอยู่กึ่งกลางความยาวล�ำตัวขนาดโตสุด มีความยาว
22 เซนติเมตร
กระบอกด�ำ (Planiliza subviridis)
ครีบหลังตอนแรกตั้งอยู่หลังกึ่งกลางความยาวล�ำตัว ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
กระบาก (Paramugil parmata)
ล�ำตัวแบนข้างสั้น ก้านครีบหลังอันแรกใหญ่ยาว ขนาดโตสุดมีความยาว 7 เซนติเมตร
กระบอกหูด�ำ (Ellochelon vaigiensis)
ล�ำตัวทรงกระบอกหนา ครีบอกมีสีด�ำ ครีบหางปลายตัด เกล็ดใหญ่ ขนาดโตสุดมีความยาว
60 เซนติเมตร
กระเมาะ (Osteomugil cunnesius)
เยื่อไขมันคลุมตามีน้อย ขนาดโตสุดมีความยาว 17 เซนติเมตร
กระเมาะหางเหลือง (Osteomugil speigleri)
ครีบหลังตอนหลังและครีบก้นไม่มีเกล็ดคลุม ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
กระเมาะครีบยาว (Osteomugil perusii)
เยื่อไขมันคลุมตาหนา ครีบหลังตอนหลังและครีบก้นมีเกล็ดคลุม ขนาดโตสุดมีความยาว
17 เซนติเมตร
กระบอกหางฟ้า (Crenimugil pedaraki)
ครีบอกยาว มีจุดด�ำที่ฐานครีบ ครีบหลังตอนท้ายและครีบก้นยกสูง ขนาดโตสุดมีความยาว
70 เซนติเมตร
กระบอกหางเขียว (Crenimugil seheli)
ครีบอกสัน้ กว่าชนิดก่อน ครีบหลังตอนท้ายและครีบก้นสัน้ กว่า ล�ำตัวเรียวกว่าเล็กน้อย ขนาดโตสุด
มีความยาว 60 เซนติเมตร
กระบอกเทา (Mugil cephalus)
ตามี เ ยื่ อ ไขมั น ขนาดใหญ่ ม ากคลุ ม ครี บ อกสั้ น ที่ ฐ านครี บ มี สี จ าง ขนาดโตสุ ด มี ค วามยาว
70 เซนติเมตร เคยพบแต่ทางภาคใต้ ในก้นอ่าวไทยเพิ่งพบเป็นครั้งแรกที่ จังหวัดเพชรบุรี
94 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระบอกหัวแหลม
Planiliza tade (Forsskål, 1775)

กระบอกด�ำ
Planiliza subviridis (Valenciennes, 1836)

กระบาก
Paramugil parmata (Cantor, 1849)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 95
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระบอกหูด�ำ
Ellochelon vaigiensis (Quoy & Gaimard, 1825)

กระเมาะ
Osteomugil cunnesius (Valenciennes, 1836)

กระเมาะหางเหลือง
Osteomugil speigleri (Bleeker, 1859)
96 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระเมาะครีบยาว
Osteomugil perusii (Valenciennes, 1836)

กระบอกหางฟ้า
Crenimugil pedaraki (Valenciennes, 1836)

กระบอกหางเขียว
Crenimugil seheli (Forsskål, 1775)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 97
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระบอกเทา
Mugil cephalus Linnaeus, 1758

วงศ์ปลากุเราหนวดพราหมณ์ (Family Polynemidae)


เป็นปลาขนาดกลางถึงใหญ่ ส่วนหัวและจะงอยปากทู่ ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก
ปากกว้าง ริมฝีปากหนา มีฟันซี่ละเอียดบนขากรรไกร ตามีเยื่อไขมันคลุม รูปร่างเป็นทรงกระบอก
แบนข้างเล็กน้อย ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนหน้ามีก้านแข็ง 7 อัน ครีบอกแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนบนเป็นครีบยาวแหลม ส่วนล่างเป็นเส้นยาวแยกออกเป็น 4-14 เส้น ครีบหางเว้าลึก กินสัตว์หน้าดิน
อาศัยในปากแม่น�้ำ และชายฝั่งในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิค พบในก้นอ่าวไทย 2 ชนิด ได้แก่
กุเรา (Eleutheronema tetradactylum)
ก้านครีบอกด้านล่างเป็นเส้นสัน้ 4 เส้น ขนาดโตสุดมีความยาว 60 เซนติเมตร เป็นปลาเศรษฐกิจ
ที่ส�ำคัญ พบมากในท้องตลาด
หนวดพราหมณ์ (Polynemus aguilonaris)
ก้านครีบอกด้านล่างเป็นเส้นยาวกว่าล�ำตัว มีขา้ งละ 7 เส้น ขนาดโตสุดมีความยาว 30 เซนติเมตร

กุเรา
Eleutheronema tetradactylum (Bleeker, 1849)
98 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

หนวดพราหมณ์
Polynemus aguillonaris Motomura, 2003

อันดับปลาตัก
๊ แตนหิน (Order Bleniformes)
ปลาทะเลขนาดเล็ก ล�ำตัวมีรูปร่างเรียวไปด้านท้าย หัวโต ส่วนหัวกลมมน ปากเล็ก มีฟันเขี้ยว
ลักษณะโค้งคล้ายหวีบนขากรรไกรทั้งสอง มักมีติ่งเนื้อที่ยื่นเหนือขอบตา ช่องเปิดรูจมูก ที่หน้าผาก
ไม่มีเกล็ด ครีบอกอยู่ด้านหน้าฐานครีบท้อง ครีบหลังเป็นแบบตอนเดียวยาวต่อเนื่องกัน โดยมีจุดเริ่ม
อยูท่ ดี่ า้ นหน้าของตา ครีบท้องเล็ก ครีบหางมนหรือเว้าตืน้ มักอาศัยอยูใ่ นโพรงไม้หรือหิน ครีบก้นมีกา้ น
ครีบแข็งน้อยกว่า 3 ก้าน (0-2 ก้าน) และก้านครีบอ่อนทั้งหมดไม่แตกแขนง พบในก้นอ่าวไทย 1 วงศ์
คือวงศ์ปลาตั๊กแตนหิน (Bleniidae) พบ 1 ชนิด คือ
ปลาตั๊กแตนหินหน้าลาย (Omobranchus ferox)
หน้ามีลายเส้นสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร

ตั๊กแตนหินหน้าลาย
Omobranchus ferox (Herre, 1927) Cr.นณณ์ ผาณิตวงศ์
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 99
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลาหัวแข็ง (Order Atheriniformes)


ปลาทะเลขนาดเล็ ก มี ค รี บ หลั ง สองอั น อั น แรกมี ข นาดเล็ ก มาก เส้ น ข้ า งล� ำ ตั ว ไม่ ชั ด เจน
หรือขาดเป็น พบ 2 วงศ์ 5 ชนิด ได้แก่ วงศ์ปลาหัวแข็ง (Atherinidae) และ วงศ์ปลาบู่ใส
(Phallostethidae)
วงศ์ปลาหัวแข็ง (Family Atherinidae)
ลักษณะค่อนข้างยาวเรียว ทรงกระบอก ค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมในแนวตัดขวาง หัวแบนราบ
เล็กน้อย ระยะห่างของตาค่อนข้างกว้าง ปากกว้าง ขากรรไกรบนและขากรรไกรล่างยาวเท่ากัน
เกล็ดมีขนาดใหญ่ ไม่มีเส้นข้างตัว ครีบหลังมี 2 ตอน ครีบอกอยู่ในต�ำแหน่งสูงกว่ากึ่งกลางตัว
ครีบท้องอยู่ในต�ำแหน่งกลางล�ำตัว ล�ำตัวมีสีขาวเหลือบเงิน พบ 3 ชนิด
หัวแข็งแถบแคบ (Atherinomorus duodecimalis)
แถบสีเงินตามยาวกลางล�ำตัวแคบ ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร
หัวแข็งตาโต (Atherinomorus lacunosus)
ตาโต แถบสีเงินตามยาวกลางล�ำตัวกว้าง ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร
หัวแข็งเรียว (Hypoatherina valenciennei)
ล�ำตัวยาวเรียว ขนาดโตสุดมีความยาว 7 เซนติเมตร

หัวแข็งแถบแคบ
Atherinomorus duodecimalis (Valenciennes, 1835)

หัวแข็งตาโต
Atherinomorus lacunosus (Forster, 1801)
100 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

หัวแข็งเรียว
Hypoatherina valenciennei (Bleeker, 1853)

วงศ์ปลาบู่ใส (Family Phallostethidae)


เป็นปลาขนาดเล็ก มีรูปร่างเพรียว หัวเล็ก ตาเล็ก ใต้คางมีขดกระดูกเป็นอวัยวะพิเศษใช้ใน
การสืบพันธุ์ เรียก Priapium มีรปู ร่างแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ตัวใส มีครีบหลัง 2 ตอน ตอนแรกเล็กมาก
มีเพียง 1 ก้านครีบสั้นๆ ตอนหลังมีขนาดเล็ก ทั้งสองส่วนอยู่ค่อนไปด้านท้ายล�ำตัว ครีบหางเว้าตื้น
ครีบก้นใหญ่ ครีบอกเล็ก ไม่มเี กล็ด อยูเ่ ป็นฝูงบริเวณผิวน�ำ้ ของน�ำ้ จืด และน�ำ้ กร่อย มักพบในร่องสวน
พบในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบ 2 ชนิด ได้แก่
บู่ใส (Neostethus bicornis)
ครีบก้นมีฐานยาว มีกา้ นครีบ 15-16 อัน ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
บู่ใสหางเหลือง (Phenacostethus smithi)
ครีบก้นมีฐานสัน้ กว่า มีกา้ นครีบ 13-14 อัน โคนหางมีแต้มเหลือง ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ
2 เซนติเมตร

บู่ใส
Neostethus bicornis Regan, 1916
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 101
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บู่ใสหางเหลือง
Phenacostethus smithi Myers, 1928.

อันดับปลาหัวตะกัว
่ (Order Cyprinodontiformes)
ปลาน�้ำจืดและน�้ำกร่อยขนาดเล็ก มีลักษณะเฉพาะคือตัวผู้จะมีอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งมีการพัฒนา
ลักษณะโครงสร้างมาจากก้านครีบก้นมีลกั ษณะยืน่ ยาวเรียกว่า Gonopodium ปลาในอันดับนีอ้ อกลูก
เป็นตัว โดยผสมพันธุ์ภายใน ปลาตัวเมียที่ได้ผสมกับปลาตัวผู้เพียงครั้งเดียว สามารถให้ลูกได้ต่อไป
อีกหลายครั้ง เนื่องจากน�้ำเชื้อถูกกักเก็บไว้ในท่อน�ำไข่ พบ 1 วงศ์ ชนิดเดียว ได้แก่
วงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Family Aplocheilidae)
ลักษณะรูปร่างทรงกระบอกสั้น จะงอยปากเรียว ตาโตและอยู่ส่วนบนของหัว บนหัวมีแต้ม
สะท้อนแสงเด่น ครีบท้องอยูใ่ กล้กบั ครีบก้น ครีบหลังอยูใ่ กล้กบั คอดหาง ครีบก้นใหญ่ ครีบหางปลายมน
ตัวมีลวดลายเป็นจุดหลายสี อาศัยอยูบ่ ริเวณผิวน�ำ
้ พบเพียงชนิดเดียวคือ
ปลาหัวตะกั่ว (Aplocheilus armatus)
ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร

หัวตะกั่ว
Aplocheilus armatus (van Hasselt, 1823)
102 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลาเข็ม กระทุงเหว ข้าวสาร (Order Beloniformes)


เป็นปลาขนาดเล็กถึงใหญ่ มีล�ำตัวทรงกระบอกยาว เป็นรูปเหลี่ยมในแนวตัดขวาง ครีบท้องอยู่
ค่อนไปทางด้านท้ายของล�ำตัว ครีบอกอยู่ระดับสูงของล�ำตัว ริมฝีปากบนหรือริมฝีปากล่างอาจยื่นยาว
มีเกล็ดเป็นแบบขอบบางเรียบ พบ 5 วงศ์รวม 18 ชนิด ได้แก่
วงศ์ปลาตับเต่า (Family Hemiramphidae)
ลักษณะล�ำตัวเรียวยาว หัวสั้น จะงอยปากล่างอย่างเดียวที่ยื่นยาว ปากบนสั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม
มีฟนั เล็กละเอียด มีเกล็ดแบบขอบสาก ครีบทัง้ หมดบางใส ครีบหลังและครีบก้นอยูใ่ กล้คอดหาง ลักษณะ
ของครีบก้นใช้ในการจ�ำแนกสกุล ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบอก อยู่เหนือแนวกลางล�ำตัว พบ 4 ชนิด
ตับเต่าทะเล (Hemiramphus archipelagicus)
ปากล่างยาว ครีบหลังมีแถบด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
ตับเต่าลาย (Hemiramphus far)
ตัวมีจุดด�ำ 4-5 จุด ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
ตับเต่าหางเหลือง (Hyporhamphus limbatus)
ปากสั้น ครีบมีสีเหลือง ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร
ตับเต่าปากแดง (Hyporhamphus dussumieri)
ปลายปากมีแต้มแดง ปลายครีบหลังมีขลิบด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร

ตับเต่าทะเล
Hemiramphus archipelagicus Collate & Parin, 1978

ตับเต่าลาย
Hemiramphus far (Forsskål, 1775)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 103
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ตับเต่าหางเหลือง
Hyporhamphus limbatus (Valenciennes, 1846)

ตับเต่าปากแดง
Hyporhamphus dussumieri (Valenciennes, 1847)

วงศ์ปลาเข็ม (Family Zenarchopteridae)


ลั ก ษณะรู ป ร่ า งทรงกระบอกเรี ย ว จะงอยปากล่ า งอย่ า งเดี ย วที่ ยื่ น ยาว ครี บ หางตั ด ตรง
หรือเป็นทรงกลม จุดเริม่ ต้นของครีบหลังอยูห่ ลังจุดเริม่ ต้นของครีบก้น ในปลาตัวผูค้ รีบก้นส่วนหน้าจะเปลีย่ น
เป็นอวัยวะช่วยสืบพันธุ์ มักว่ายอยูในระดับผิวน�้ำ พบ 6 ชนิด คือ

เข็ม
Dermogenys siamensis Fowler, 1934

ตับเต่าน�้ำจืด
Zenarchopterus buffonis (Valenciennes, 1847)
104 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ตับเต่าหางตัด
Zenarchopterus dunckeri Mohr, 1926

ตับเต่าใส
Zenarchopterus clarus Mohr, 1926

ตับเต่า
Zenarchopterus ectuntio Hamilton, 1822

ตับเต่าครีบหลังด�ำ
Zenarchopterus pappenheimi Mohr, 1926
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 105
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เข็ม (Dermogenys siamensis)


ครีบท้องมีสีแดงเรื่อ ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
ตับเต่าน�้ำจืด (Zenarchopterus buffonis)
ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร
ตับเต่า (Zenarchopterus dunckeri)
ตัวผู้มีครีบก้นขยายหนาเป็นติ่ง ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
ตับเต่าใส (Zenarchopterus clarus)
ฐานครีบหลังยาว ครีบหางมีปลายมน ขนาดโตสุดมีความยาว 11 เซนติเมตร
ตับเต่า (Zenarchopterus ectuntio)
ครีบหลังมีฐานยาวกว่าของครีบก้น ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
ตับเต่าครีบหลังด�ำ (Zenarchopterus pappenheimi)
ปากล่างยาวกว่าชนิดอื่น ครีบหลังมีสีด�ำคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร
วงศ์ปลากระทุงเหว (Family Belonidae)
ลักษณะเป็นปลาขนาดกลางถึงใหญ่ จะงอยปากทั้งบนและล่างยาวเรียวแหลม มีฟันแหลม
ซี่เล็กๆ ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้กับครีบหาง ครีบอกขนาดใหญ่ พบ 5 ชนิด
กระทุงเหวหูด�ำ (Strongylura leiura)
ครีบหางมีปลายตัด ขนาดโตสุดมีความยาว 50 เซนติเมตร
กระทุงเหวแม่หม้าย (Strongylura strongylura)
โคนครีบหางมีจุดด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 35 เซนติเมตร
กระทุงเหวเขียว (Strongylura incisa)
ครีบหางเว้าลึกรูปวงเดือน ขนาดโตสุดมีความยาว 45 เซนติเมตร
กระทุงเหวยักษ์ (Tylosurus crocodylus)
ปากค่อนข้างสั้น คอดหางมีสันนิ่มสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 1 เมตร
กระทุงเหวเรียว (Tylosurus acus melanotus)
ปากเรียว ครีบหางเว้าลึกรูปส้อม ขนาดโตสุดมีความยาว 80 เซนติเมตร

กระทุงเหวหูด�ำ
Strongylura leiura (Bleeker, 1850)
106 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กระทุงเหวแม่หม้าย
Strongylura strongylura (van Hasselt, 1823)

กระทุงเหว
Strongylura incisa (Valenciennes, 1846)

กระทุงเหวยักษ์
Tylosurus crocodylus (Peron & Leseuer, 1821)

กระทุงเหว
Tylosurus acus melanotus (Bleeker, 1850)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 107
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Family Adrianichthyidae)


ลักษณะล�ำตัวเรียวยาว ตาโต ปากเฉียงขึ้นเล็กน้อย ไม่มีเส้นข้างล�ำตัว ช่องจมูกเปิดทะลุ
ถึงก้นครีบหลังอยู่ใกล้ครีบหาง ครีบหางมีทั้งปลายตรงและปลายกลมมน พบชนิดเดียว คือ
ปลาซิวข้าวสารน�้ำกร่อย (Oryzias haugiangensis)
ขนาดโตสุดมีความยาว 3 เซนติเมตร

ซิวข้าวสารน�้ำกร่อย
Oryzias haugiangensis Roberts, 1998

อันดับปลาไหลนา หลด (Order Synbranchiformes)


ปลาน�ำ้ จืดและน�ำ้ กร่อยขนาดเล็กถึงกลาง รูปร่าง เรียวยาวแบบปลาไหลหรืองู เกล็ดมีขนาดเล็กมาก
ฝังบนผิว บางชนิดไม่มีเกล็ด ตาเล็ก มีฟันเล็กบนขากรรไกร และเพดานปาก ไม่มีครีบท้อง ช่องเปิด
เหงือกแคบอยูท่ างด้านล่างของส่วนหัวหรือบริเวณคอหอย มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ อาจมีหรือ
ไม่มีครีบคู่ ไม่มีกระเพาะลม เส้นข้างล�ำตัวสมบูรณ์ พบ 2 วงศ์ 3 ชนิด ได้แก่
วงศ์ปลากระทิง (Family Mastacembelidae)
ปลาน�้ำจืดขนาดกลาง รูปร่างแบบปลาไหล ตาเล็ก ปากเล็ก และจะงอยปาก ปลายจมูกเป็น
งวงแหลมสั้นๆ ปลายแฉก มีครีบอก ครีบหลัง และครีบก้น ครีบหางเล็ก ด้านหลังมีก้านครีบแข็ง
สั้นๆแหลมคมอยู่ตอนต้น อาศัยอยู่ใกล้พื้นท้องน�้ำ หรือ อยู่ในโพรงไม้ และรากไม้ พบชนิดเดียว
คือ ปลากระทิงไฟ (Mastacembelus erythrotaenia) ตัวสีคล�้ำ มีลายจุดแต้มสีแดงส้ม ขนาดโตสุด
มีความยาว 60 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (VU)

กระทิงไฟ
Mastacembelus erythrotaenia Bleeker, 1870
108 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาไหลนา (Family Synbranchidae)


ลักษณะล�ำตัวยาว ไม่มคี รีบอกและครีบท้อง ครีบหลังและครีบก้นจะไปรวมกับครีบหาง ครีบหลัง
เริ่มต้นตรงกับแนวของรูก้นทอดไปตามแนวสันล�ำตัวด้านบน ส่วนครีบก้น เริ่มต้นจากจุดกึ่งกลางของ
ระยะรูก้นกับปลายหาง หางมีปลายเรียวแหลม พบ 2 ชนิด ได้แก่
ปลาไหลหลาด (Ophisternon cf. bengalense)
รูปร่างคล้ายปลาไหลนา ครีบหางแบนกว้างกว่า ตัวมีสีน�้ำตาลคล�้ำ อาจมีจุดประด�ำ กินสัตว์
หน้าดิน ขนาดโตสุดมีความยาว 50 เซนติเมตร
ปลาหลาดแดง (Macrotrema cf.caligans)
ตัวเรียวกว่าปลาไหลหลาด และมีสีแดง ชมพูเข้มไม่มีจุด ขนาดโตสุดความยาว 20 เซนติเมตร

หลาดแดง
Macrotrema cf. caligans (Cantor, 1849)

ไหลหลาด
Ophisternon cf. bengalense M’Clelland, 1844
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 109
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลาหางแข็ง (Order Carangiformes)


ปลาทะเลขนาดเล็กถึงใหญ่มาก ถูกจ�ำแนกจากอันดับ Perciformes จากลักษณะกระดูก
ทีร่ อบรูจมูก และเกล็ดขอบเรียบขนาดเล็กทีฝ่ งั บนผิว มีรปู ร่างล�ำตัวแบนข้างหรือทรงกระสวย คอดหาง
มักเรียว พบ 3 วงศ์ 16 ชนิด ได้แก่ วงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) เหาฉลาม (Echeneidae) และ
วงศ์ปลาช่อนทะเล (Rachycentridae)
วงศ์ปลาหางแข็ง (Family Carangidae)
รูปร่างล�ำตัวทรงป้าน แบนข้าง คอดหางเรียว มีเกล็ดเล็กฝังแน่นบนผิว เส้นข้างล�ำตัวสมบูรณ์
มีเกล็ดแข็งขนาดใหญ่ที่แนวเส้นข้างล�ำตัวถึงคอดหาง โดยเฉพาะบริเวณคอดหางเป็นสันแข็ง อันเป็น
ที่มาของชื่อ ส่วนหน้าโค้งงอ ส่วนท้ายอาจมีหรือไม่มีสันกระดูกแข็ง ส่วนใหญ่มีซี่กรองเหงือกยาวเรียว
ครีบหลังมีสองตอนแยกจากกัน ครีบแรกมีก้านแข็ง ครีบอกยาวเรียวโค้งแบบรูปเคียว บริเวณหน้า
ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 อัน แยกชัด ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม พบ 14 ชนิด
สะดือขอ (Alepes kleinii)
ตัวแบนข้างมาก เหนือช่องเหงือกมีจุดด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
สีกุนหัวอ่อน (Alepes djedaba)
หัวและจะงอยปากค่อนข้างแหลม ครีบหลังมีสจี าง ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
สีกุนหัวอ่อนกระโดงด�ำ (Alepes malanoptera)
หัวและจะงอยปากค่อนข้างมน ครีบหลังตอนแรกมีสีด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาวประมาณ
25 เซนติเมตร
สีกุนทอง (Atule mate)
ก้ า นครี บ หลั ง และครี บ ก้ น อั น สุ ด ท้ า ยแยกออกมาชั ด ล� ำ ตั ว มี แ ถบบั้ ง สี จ าง ขนาดโตสุ ด
มีความยาว 30 เซนติเมตร
ตะโกรงขาว (Atropus atropos)
ครีบท้องยาว มีสีด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 30 เซนติเมตร
สีขนผี (Caranx sexfasciatus)
ตาแดง แนวด้ า นหลั ง โค้ ง แนวท้ อ งเรี ย บ แนวเกล็ ด เส้ น ข้ า งตั ว มี สี ค ล�้ ำ ขนาดโตสุ ด
มีความยาว 1 เมตร
จุ้ยจิน (Carangoides armatus)
ก้านครีบหลังตอนท้ายอันแรกเป็นเส้นยาว ในปลาตัวโตเป็นเส้นยาวหลายอัน ขนาดโตสุด
มีความยาว 30 เซนติเมตร
110 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

หางแข็งครีบด�ำ (Carangiodes praeustus)


ครีบหลังตอนท้ายมีแต้มด�ำขลิบขาว ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
โฉมงามหน้าตั้ง (Alectis indicus)
แนวส่วนหัวเรียบยกสูงเป็นเหลีย่ ม ปลาเล็กมีกา้ นครีบหลังเป็นเส้นยาว ขนาดโตสุดมีความยาว 1 เมตร
โฉมงาม (Alectis cilialis)
แนวส่วนหัวเป็นแนวโค้งมน ขนาดโตสุดมีความยาว 1 เมตร
เฉลียบ (Scomberoides tol)
รูปร่างเพรียว ล�ำตัวแบนข้างมาก ครีบหลังมีแต้มด�ำ แต้มข้างล�ำตัวเป็นขีดแคบๆ ขนาดโตสุด
มีความยาว 35 เซนติเมตร
สละ (Scomberoides commersonnianus)
ครีบหลังมีแต้มด�ำ แต้มข้างล�ำตัวเป็นแต้มกลม 7-8 แต้ม ขนาดโตสุดมีความยาว 85 เซนติเมตร
ข้างเหลือง (Selaroides leptolepis)
มีแถบเหลืองพาดตามยาวที่ข้างล�ำตัว ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร
แข้งไก่ (Megalaspis cordyla)
แนวเกล็ดบนเส้นข้างตัวเป็นแถบใหญ่มาก ตามีเยื่อไขมันคลุมหนา ขนาดโตสุดมีความยาว
40 เซนติเมตร

สีกุนหัวอ่อนกระโดงด�ำ
Alepes malanoptera (Swainson, 1839)

สีกุนหัวอ่อน
Alepes djedaba (Forsskål, 1775).
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 111
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

สะดือขอ
Alepes kleinii (Bloch, 1793)

สีกุนทอง
Atule mate (Cuvier, 1833)

ตะโกรงขาว
Atropus atropos Bloch & Schneider, 1801
112 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

สีขนผี
Caranx sexfasciatus Quoy & Gaimard, 1824

จุ้ยจิน
Carangoides armatus (Rüppell, 1830)

หางแข็งครีบด�ำ
Carangiodes praeustus (Bennett, 1830)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 113
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

โฉมงามหน้าตั้ง
Alectis indicus (Rüppell, 1830)

โฉมงาม
Alectis cilialis (Bloch, 1787)

เฉลียบ
Scomberoides tol (Cuvier, 1832)
114 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

สละ
Scomberoides commersonnianus Lacepède, 1801

ข้างเหลือง
Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)

แข้งไก่
Megalaspis cordyla (Linnaeus 1758)

วงศ์ปลาเหาฉลาม (Family Echeneidae)


ปลาทะเลขนาดกลาง รูปร่างเพรียวยาว จะงอยปากแหลม ส่วนหัวมีแผ่นดูดแบนที่ดัดแปลง
จากครีบหลัง ครีบหางเว้าตื้น มักเกาะติดกับปลาใหญ่ รวมถึงกับท้องปลาวาฬ พบเข้ามาในปาก
แม่น�้ำ น้อยมาก อาศัยในทะเลชายฝั่งถึงทะเลเปิด กระจายพันธุ์รอบเขตร้อนของโลก พบชนิดเดียว
ในก้นอ่าวไทยคือ เหาฉลาม (Echeneis naucrates) ขนาดโตสุดมีความยาว 40 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 115
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เหาฉลาม
Echeneis naucrates Linnaeus, 1758

วงศ์ปลาช่อนทะเล (Family Rachycentridae)


ปลาทะเลขนาดใหญ่ รูปร่างเพรียว ส่วนหัวรูปกรวย แบนราบที่ส่วนบน จะงอยปากเรียว
ปากกว้าง รูปร่างดูคล้ายปลาช่อน ครีบหลังตอนหน้าเป็นก้านแข็งสัน้ ๆ หลายอัน ตอนหลังยาว เกล็ดเล็ก
ครีบหางเว้าลึก ปลาวัยเด็กมีสคี ล้ายของปลาเหาฉลาม อาศัยในทะเลชายฝัง่ ถึงทะเลเปิด เป็นปลาเศรษฐกิจ
ส�ำคัญ พบกระจายพันธุ์รอบเขตร้อนของโลกชนิดเดียว คือ ช่อนทะเล (Rachycentron canadum)
ขนาดโตสุดมีความยาว 2 เมตร

ช่อนทะเล
Rachycentron canadum (Linnaeus, 1766)

อันดับปลาสาก กระโทงแทง (Order Istiophoriformes)


ปลาทะเลขนาดกลางถึงใหญ่มาก รูปร่างเพรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีจะงอยปากยาว บางวงศ์
จะงอยปากยื่นแหลม หรือมีฟันเขี้ยวยาว มีเกล็ดเล็ก เป็นปลาฝูงอยู่กลางน�้ำในทะเลเปิดและชายฝั่ง
หลายชนิดเป็นพวกว่ายน�้ำเร็ว เช่น ปลากระโทงแทง พบ 1 วงศ์ คือ
วงศ์ปลาสาก (Family Sphyraenidae)
ปลาทะเลขนาดกลางถึงใหญ่ รูปร่างเพรียวยาว ทรงกระบอก หัวมีขนาดใหญ่ ตาใหญ่ จะงอย
ปากแหลม ปากกว้ า ง ฟั น เป็ น เขี้ ย วแหลมคม เกล็ ด ขนาดเล็ ก แบบขอบเรี ย บ ครี บ หลั ง สอง
ห่างกันมาก ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง 5 อัน ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม ล�ำตัวสีเหลือบเงิน อาจมีลายสีคล�้ำ
กินปลา และหมึก อาศัยในชายฝั่งถึงทะเลเปิดของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิค พบ 4 ชนิด ได้แก่
116 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

น�้ำดอกไม้ (Sphyraena jello)


แถบสีคล�้ำบนกลางล�ำตัวไม่เป็นหัวลูกศร หางสีเหลือง ขนาดโตสุดมีความยาว 2 เมตร
น�้ำดอกไม้บั้ง (Sphyraena putnama)
แถบสีคล�้ำบนกลางล�ำตัวเป็นหัวลูกศร หางสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 1.8 เมตร
น�้ำดอกไม้หางเหลือง (Sphyraena obtusata)
ตัวมีสีเรียบ หางเหลือง ขนาดโตสุดมีความยาว 35 เซนติเมตร
น�้ำดอกไม้ตาโต (Sphyraena forsteri)
ตัวมีแต้มสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร

น�้ำดอกไม้
Sphyraena jello Cuvier, 1829

น�้ำดอกไม้บั้ง
Sphyraena putnamae Jordan & Seale, 1905

น�้ำดอกไม้หางเหลือง
Sphyraena obtusata Cuvier, 1829
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 117
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

น�้ำดอกไม้ตาโต
Sphyraena forsteri Cuvier, 1829

อันดับปลากัด หมอ ช่อน (Order Anabantiformes)


ปลาน�้ ำ จื ด ขนาดเล็ ก ถึ ง กลาง ลั ก ษณะส� ำ คั ญ คื อ มี อ วั ย วะช่ ว ยหายใจจากอากาศเรี ย กว่ า
labirynth organ มีลักษณะคล้ายฟองน�้ำอบู่ที่เหนือเหงือก ตัวผู้มีสีสันสดใส หลายชนิดจึงนิยม
เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มักท�ำรังวางไข่ ดูแลโดยตัวผู้ พบ 2 วงศ์ 2 ชนิดที่อาศัยในน�้ำกร่อยได้
คือ วงศ์ปลากระดี่ ปลากัด (Osphronemidae) และวงศ์ปลาช่อน (Channidae)
วงศ์ปลากระดี่ ปลากัด (Family Osphronemidae)
ปลาน�ำ้ จืดขนาดเล็ก รูปร่างล�ำตัวป้อมสัน้ แบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก ยึดหดได้ เกล็ดขนาดใหญ่
ครีบท้องเล็ก มีก้านครีบอันหน้าเป็นรยางค์ยาว ล�ำตัวมีสีสันหรือลวดลายต่างๆ กันแล้วแต่ชนิด
ตัวผู้มักมีสีสันที่เข้ม สดใสกว่าตัวเมีย มักท�ำรังวางโดยตัวผู้ดูแลหรืออมฟักไข่ในปาก พบชนิดเดียว
คือ กัดมหาชัย (Betta mahachaiensis) มีสีออกเขียวและฟ้ามากกว่าปลากัดทั่วไป ครีบท้องมีแถบ
สีฟ้าสดที่ตอนหน้า ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร อาศัยในป่าจากบางแห่งของ จ.สมุทรสาคร
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาถิ่นเดียวของไทย และใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤติ (CR)

กัดมหาชัย
Betta mahachaiensis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Sriwattanarothai, 2012
118 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาช่อน (Family Channidae)


ปลาขนาดกลาง ลักษณะรูปร่างทรงกระบอกค่อนข้างกลมตามแนวตัดขวาง หัวโต ตาโต
ปากกว้าง มีฟนั เขีย้ วบนขากรรไกร ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน
เกล็ดมีขนาดใหญ่มีขอบเรียบ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่เหนือเหงือก พบชนิดเดียว
ที่อยู่ในปากแม่น�้ำตอนใน คือ ปลากั้ง (Channa cf. gachua) ขนาดโตสุดมีความยาว 18 เซนติเมตร

กั้ง
Channa cf. gachua (Hamilton, 1822)

อันดับปลาซีกเดียว (Order Pleuronectiformes)


ปลาทะเลและน�้ำจืดขนาดเล็กถึงกลาง มีลักษณะพิเศษคือ มีตาทั้งคู่อยู่ข้างด้านใดด้านหนึ่ง
(ซ้ายหรือขวาแล้วแต่วงศ์) ล�ำตัวแบนข้างแต่ว่ายน�้ำในแนวราบ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนตายังอยู่คนละซีก
เป็ น เหมื อ นปลาชนิ ด อื่ น แต่ จ ะย้ า ยมารวมกั บ อี ก ด้ า นเมี่ อ โตขึ้ น ครี บ หลั ง และครี บ ก้ น ยาว
เกล็ดมีลักษณะทั้งแบบขอบสากและแบบเรียบ พบ 4 วงศ์ 21 ชนิด ได้แก่ วงศ์ปลาจักรผาน
(Psettodidae) วงศ์ปลาใบไม้ (Soleidae) วงศ์ ปลาลิ้ นควาย (Paralichthyidae) และวงศ์
ปลายอดม่วง (Cynoglossidae)
วงศ์ปลาใบไม้ (Family Soleidae)
ปลาทะเลและน�้ำจืดขนาดเล็กถึงกลาง ลักษณะล�ำตัวรูปไข่หรือวงรี และเรียวไปด้านท้าย
ตาเล็ก อยูซ่ กี ขวาของตัว ครีบอกและครีบก้นเล็ก ครีบหลังยาวตลอดล�ำตัว มีกา้ นครีบอ่อนสัน้ ๆ เชือ่ มต่อ
กับครีบหางและครีบก้น เกล็ดเล็กเป็นแบบขอบสาก มีเส้นข้างล�ำตัวหลายเส้น ล�ำตัวด้านล่างเป็นสีขาว
กินสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก พบ 6 ชนิด

ใบไม้ขน
Brachirus orientalis (Bloch, 1801)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 119
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ใบไม้สยาม
Brachirus siamensis (Sauvage, 1878)

ใบไม้แต้ม
Brachirus panoides Bleeker, 1851

ใบไม้ปากด�ำ
Achiroides melanorhynchus (Bleeker, 1850)
120 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ลิ้นหมาขอบขาว
Synaptura commersonnii (Lacepède, 1802)

ใบไม้กลม
Solea ovata Richardson, 1846

ใบไม้ขน (Brachirus orientalis)


มีติ่งคล้ายขนที่ด้านนบนของตัว ครีบอกใหญ่ ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
ใบไม้สยาม (Brachirus siamensis)
ครีบอกลดรูป ตัวมีแต้มใหญ่สีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 18 เซนติเมตร
ลิ้นหมา (Synaptera panoides)
ครีบมีแต้มสีคล�้ำรอบ ขนาดโตสุดมีความยาว 18 เซนติเมตร
ใบไม้ปากด�ำ (Achiroides melanorhynchus)
ริมฝีปากด�ำ ไม่มีครีบอก ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
ลิ้นหมาขอบขาว (Synaptura commersonnii)
ตัวเรียวยาวกว่าชนิดอื่น ครีบอกอันเล็ก ครีบมีขอบขาว ขนาดโตสุดมีความยาว 23 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 121
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ใบไม้กลม (Solea ovata)


ตัวกลมรูปไข่ ครีบหางแยกจากครีบอื่น ขนาดโตสุดมีความยาว 7 เซนติเมตร
วงศ์ปลาลิ้นควาย (Family Paralichthyidae)
ปลาทะเลขนาดกลาง ลักษณะล�ำตัวรูปไข่ ตาอยูด่ า้ นซ้ายของตัว มีรจู มูกด้านละ 2 รู ด้านท้าย
ของรู จ มู ก คู ่ แ รกมี ลั ก ษณะเป็ น แผ่ น หนั ง ยื่ น ยาว ปากกว้ า ง มี ฟ ั น เขี้ ย วเล็ ก ครี บ หลั ง ครี บ หาง
และครีบก้นไม่เชื่อมต่อกัน ครีบหางเว้าเป็นสองช่วง ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง พบชนิดเดียว
คือปลาลิ้นควาย (Pseudorhombus arsius) มีดวงสีจางที่กลางล�ำตัวด้านบน 2 ดวง ขนาดโตสุด
มีความยาว 18 เซนติเมตร

ลิน้ ควาย
Pseudorhombus arsius (Hamilton, 1822)

วงศ์ปลายอดม่วง (Family Cynoglossidae)


ปลาทะเลขนาดกลาง ลักษณะล�ำตัวเรียวยาวส่วนท้ายแหลมคล้ายใบมะม่วง ตา อยู่ข้างซ้าย
ของตัว เกล็ดแบบขอบหยักที่ด้านบน เส้นข้างล�ำตัวมี 2-3เส้น ไม่มีครีบอก ครีบหลังครีบก้นติดต่อกับ
ครีบหาง พบ 11 ชนิด
ยอดม่วงสองเส้น (Cynoglossus bilineatus)
มีเส้นข้างตัว 2 เส้น ตรงด้านบนและล่าง ขนาดโตสุดมีความยาว 25 เซนติเมตร
ยอดม่วง (Cynoglossus cynoglossus)
เส้นข้างตัวเส้นบนเป็นลูกคลื่นเล็กน้อย ขนาดโตสุดมีความยาว 25 เซนติเมตร
ยอดม่วงยาว (Cynoglossus lingua)
ตัวเรียว มีแต้มคล�้ำหลายแต้มด้านบน เกล็ดระหว่างเส้นข้างตัวเล็ก ขนาดโตสุดมีความยาว
25 เซนติเมตร
ยอดม่วงเกล็ดใหญ่ (Cynoglossus arel)
ตัวมีสีเรียบ เกล็ดระหว่างเส้นข้างตัวใหญ่ ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
122 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ยอดม่วงยาว (Cynoglossus lida)


รูปร่างตัวค่อนข้างสั้น ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
ยอดม่วง (Cynoglossus oligolepis)
ตัวมีจุดสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
ช่างชุน (Cynoglossus puncticeps)
ตัวมีลายแต้มด่าง ครีบมีจุดประ ขนาดโตสุดมีความยาว 16 เซนติเมตร
ช่างชุนลายเสือ (Cynoglossus semifasciatus)
ครีบมีลายสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 16 เซนติเมตร
ยอดม่วงด่าง (Cynoglossus kopsii)
ตัวมีจุดประสีจางกระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
ยอดม่วง (Cynoglossus trulla)
กลางล�ำตัวมีแนวคล�้ำตามเส้นข้างตัว ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
ยอดม่วงปากยาว (Paraplagusia bilineata)
ริมฝีปากบนยาวมาก ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร

ยอดม่วงสองเส้น
Cynoglossus bilineatus (Lacepède, 1802)

ยอดม่วง
Cynoglossus cynoglossus (Hamilton, 1822)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 123
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ยอดม่วงยาว
Cynoglossus lingua Hamilton, 1822

ยอดม่วงยาวเกล็ดใหญ่
Cynoglossus arel (Bloch & Schneider, 1801)

ยอดม่วงยาว
Cynoglossus lida (Bleeker, 1851)

ยอดม่วง
Cynoglossus oligolepis (Bleeker, 1855)
124 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ช่างชุน
Cynoglossus puncticeps (Richardson, 1846)

ช่างชุนลายเสือ
Cynoglossus semifasciatus Day, 1877

ยอดม่วงด่าง
Cynoglossus kopsii (Bleeker, 1851)

ยอดม่วง
Cynoglossus trulla (Cantor, 1849)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 125
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ยอดม่วงปากยาว
Paraplagusia bilineata (Bloch, 1787)

อันดับม้าน�้ำ จิ้มฟันจระเข้ (Order Syngnathiformes)


ปลาทะเลและน�้ำจืด ขนาดเล็ก มีเกล็ดแข็งเป็นปล้องคล้ายเกราะ จะงอยปากมีลักษณะ
เป็นท่อยาว ปากมีขนาดเล็ก มีหรือไม่มีครีบหลัง ไม่มีกระดูกซี่โครง ตัวผู้มีส่วนท้องดัดแปลงใช้ฟักไข่
พบ 2 วงศ์ 6 ชนิดคือ
วงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืน (Family Pegasidae)
ปลาทะเลขนาดเล็ก มีล�ำตัวหนาและแบนราบ มีแผ่นกระดูกแข็งหุ้ม จะงอยปากยาวแบน
เป็นรูปช้อน ปากอยู่ด้านล่างและสามารถยืดหดได้เล็กน้อย ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง ครีบหลังและ
ครีบก้นสั้น ก้านครีบทุกก้านไม่แตกแขนง ครีบท้องอยู่ในใต้ท้องมีลักษณะเป็นเส้น มักว่ายอยู่ผิวน�้ำ
ตอนกลางคืน พบ 2 ชนิด คือ
มังกรบิน (Pegasus laternarius)
ปากสั้น ส่วนหางสั้น มีความยาวเท่าๆ กับล�ำตัว ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
ปลาผีเสื้อทะเลยาว (Pegasus volitans)
ปากยาว ส่วนหางยาว มีความยาวกว่าล�ำตัว ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร

มังกรบิน
Pegasus laternarius Cuvier, 1816
126 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ผีเสือ้ ทะเลยาว
Pegasus volitans Linnaeus, 1758

วงศ์ม้าน�้ำ จิ้มฟันจระเข้ (Family Syngnathidae)


ปลาขนาดเล็ ก ถึ ง กลาง ส่ ว นมากพบในทะเล รู ป ร่ า งเรี ย วยาว ล� ำ ตั ว เป็ น สี่ เ หลี่ ย มตาม
แนวตัดขวาง มีจะงอยปากยาวเป็นท่อ ปากเล็ก มีครีบหลังและครีบอกเล็กบาง และมักมีครีบหางเล็ก
หรือไม่มี ตัวเมียวางไข่ติดกับหน้าท้องของตัวผู้ กินแพลงก์ตอนสัตว์ พบ 4 ชนิด คือ
ม้าน�้ำมงกุฏสั้น (Hippocampus kuda)
ส่วนมงกุฎบนหัวสัน้ ตัวมีหนามทือ่ ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร มีสถานะใกล้สญ
ู พันธุ์ (EN )
ในน่านน�้ำไทย
จิ้มฟันจระเข้ปากสั้น (Ichtyocampus carce)
ปากสั้น ข้างล�ำตัวส่วนท้องมีจุดขาวเรียง ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
จิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Doryichthys boaja)
ปากยาว ปล้องล�ำตัวมีบั้งสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 35 เซนติเมตร
จิ้มฟันจระเข้ทะเล (Hippichthys spicifer)
ปากสั้น มีจุดสีคล�้ำที่ปล้องล�ำตัว ขนาดโตสุดมีความยาว 18 เซนติเมตร

ม้าน�้ำมงกุฏสั้น
Hippocampus kuda Bleeker, 1852
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 127
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จิ้มฟันจระเข้ปากสั้น
Ichtyocampus carce (Hamilton, 1822)

จิ้มฟันจระเข้ยักษ์
Doryichthys cf. boaja (Bleeker, 1851)

จิ้มฟันจระเข้ทะเล
Hippichthys spicifer (Rüppell, 1838)
128 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลามังกรน้อย (Order Callionymiformes)


ปลาทะเลขนาดเล็กถึงกลาง มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับปลาบู่ ส่วนหัวขนาดใหญ่ ตาโตมีครีบใหญ่
โดยเฉพาะครีบหางและครีบท้อง กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของอินโด-แปซิฟิก หากินโดย
ใช้ปากที่มีขนาดเล็กคุ้ยเขี่ยพื้นทรายหากิน พบ 1 วงศ์ ได้แก่ วงศ์ปลามังกรน้อย (Callionymidae)
วงศ์ปลามังกรน้อย (Family Callionymidae)
ลักษณะหัวและล�ำตัวเรียวยาวและแบนราบ ปากยืดหดได้ดี ตาโต ไม่มีเกล็ด เส้นข้างตัวเป็นรู
ขนาดเล็ก ครีบหลังมีสองตอนแยกจากกัน ครีบอกใหญ่ ยาวถึงจุดเริ่มต้นของครีบก้น ครีบท้องอยู่
ในต�ำแหน่งคอ ครีบหางมนหรือมีเส้นยาว ล�ำตัวมีสลี วดลายสีสนั แตกต่างกันไปตามชนิด พบ 1 ชนิด คือ
มังกรน้อย (Repomucenus sagitta)
ครีบหลังตอนหน้าสั้น มีสีด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 7 เซนติเมตร

มังกรน้อย
Repomucenus sagitta Pallas, 1770

อันดับปลาทู อินทรี (Order Scombriformes)


ปลาทะเลขนาดกลางถึงใหญ่มาก มีรูปร่างเป็นกระสวย หรือแบนข้าง ลักษณะส�ำคัญคือ
ขากรรไกรบนยืดหดไม่ได้ ครีบหลังมักแยกเป็น 2 ตอน ตอนท้ายมักมีครีบย่อย ครีบหางเว้าลึก
ส่วนมากเป็นปลาผิวน�้ำ กลางน�้ำ และเป็นปลากินเนื้อ
วงศ์ปลาทู (Family Scombridae)
ลักษณะรูปร่างแบบกระสวยล�ำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก แบบขอบเรียบ ตามีแผ่น
ไขมันปกคลุม ปากกว้าง มีฟันขนาดเล็ก บางสกุลมีซี่กรองเหงือกมีขนาดเล็ก ยาว และมีจ�ำนวนมาก
คอดหางเรียว มีครีบฝอยทีส่ ว่ นท้ายของครีบหลังและครีบก้น ครีบหางเว้าลึกคล้ายส้อม พบ 4 ชนิด ได้แก่
ทู (Rastrelliger brachysoma)
ความกว้างสุดของหัวเท่ากับความยาวหัว ขนาดโตสุดมีความยาว 17 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 129
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ลัง (Rastrelliger karnagurtaa)


ความกว้างสุดของหัวน้อยกว่าความยาวหัว ขนาดโตสุดมีความยาว 23 เซนติเมตร
ทูปากจิ้งจก (Rastrelliger faughni)
หัวเรียว ซี่กรองเหงือกสั้น ไม่ยื่นมาถึงลิ้น ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
อินทรีบั้ง (Scomberomorus commerson)
ตัวมีลายบั้ง ขนาดโตสุดมีความยาว 1 เมตร

ทู
Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851)

ลัง
Rastrelliger kanagurta (Cuvier, 1816)

ทูปากจิ้งจก
Rastrelliger faughni Matsui, 1967
130 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อินทรีบั้ง
Scomberomorus commerson (Lacepède, 1800)

วงศ์ปลาจะละเม็ด (Family Stromateidae)


ลั ก ษณะล� ำ ตั ว รู ป สี่ เ หลี่ ย มขนมเปี ย กปู น แบนข้ า งมาก หั ว เล็ ก จะงอยปากมน ปากเล็ ก
เกล็ดเล็กมาก หลุดร่วงง่าย ไม่มคี รีบท้อง คอดหางกว้าง ครีบหางเป็นแฉกยาวเว้าลึก ล�ำตัวสีเงิน หรือสีเทา
มักอยู่รวมกันเป็นฝูง พบ 2 ชนิดคือ
ปลาจะละเม็ดขาว (Pampus argenteus)
ตัวสีเงินจาง ครีบหางเว้าลึกรูปส้อม ขนาดโตสุดมีความยาว 28 เซนติเมตร
ปลาจะละเม็ดเทา (Pampus chinensis)
ตัวสีเทาคล�้ำ ครีบหางเว้าตื้น มีปลายมน ขนาดโตสุดมีความยาว 30 เซนติเมตร

จะละเม็ดเทา
Pampus chinensis (Euphrasen, 1788)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 131
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จะละเม็ดขาว
Pampus argenteus (Euphrasen, 1788)

วงศ์ปลาดาบเงิน (Family Trichiuridae)


ลักษณะล�ำตัวยาวและแบนข้างมากคล้ายริบบิ้น ส่วนท้ายของล�ำตัวเรียวยาวถึงปลายครีบหาง
จนเป็นเส้น ขอบทางด้านล่างของกระดูกแผ่นปิดเหงือกเว้าเข้า ปากกว้าง ขากรรไกรล่างยาวกว่า
ขากรรไกรบน ฟันคมและแบน ไม่มคี รีบท้อง ครีบหลังตอนเดียวยาวจนสุดปลายหาง ก้านครีบก้นฝังอยู่
ใต้ผิวครีบอกสั้น ล�ำตัวสีขาวเหลือบเงิน พบ 1 ชนิด คือ
ปลาดาบเงิน (Lepturacanthus savala)
มีฟันเขี้ยวยื่นออกที่ปลายขากรรไกรบน ขนาดโตสุดมีความยาว 90 เซนติเมตร

ดาบเงิน
Lepturacanthus savala (Cuvier, 1829)
132 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อันดับปลาอุบแก้มหนาม (Order Trachiniformes)


ปลาทะเลขนาดกลาง มีส่วนหัวโต ตามักอยู่ด้านบน ปากกว้างอาจมีเขี้ยวยาวหรือไม่มี รูปร่าง
รูปไข่หรือทรงกระบอกต่างๆ ทั้งสั้นหรือยาว เรียวไปด้านท้าย ครีบหลัง 2 ตอนแยกใกล้กัน ตอนหลัง
ยาวกว่ามาก ครีบอกมักอันใหญ่ ครีบท้องอยู่ตอนหน้าหรือใต้ส่วนหัว มักอาศัยอยู่หน้าดินหรือทะเลลึก
วงศ์ปลาอุบ (Family Uranoscopidae)
ล�ำตัวทรงกระบอกสั้นป้อมเรียวไปด้านท้าย หัวโตมาก ปากกว้าง ตาเล็กมากอยู่ด้านบน
เหมื อ นช่ อ งเหงื อ กมีห นามแหลมยาว เกล็ดเล็ ก เรี ย งคล้ า ยกระเบื้ อ ง พบชนิ ด เดี ย วคื อ ปลาอุ บ
(Uranoscopus cognatus) ล�ำตัวมีสีเรียบ ไม่มีลวดลาย ครีบหลังตอนแรกอันเล็กมีสีด�ำ ขนาดโตสุด
มีความยาว 18 เซนติเมตร

อุบ
Uranoscopus cognatus Cantor, 1849
อันดับปลากะพง (Order Perciformes)
เป็นปลาทะเลและน�ำ้ จืดขนาดเล็กถึงใหญ่มาก เกล็ดแบบขอบสาก ปากยืดหดได้ดี มีกา้ นครีบแข็ง
ที่ครีบหลังตอนหน้า ส่วนใหญ่เป็นปลากินเนื้อ เป็นปลากระดูกแข็งที่มีชนิดอยู่มากถึงประมาณ 30%
ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด พบ 13 วงศ์ 44 ชนิด ได้แก่
วงศ์ปลากะพงขาว (Family Latidae)
ปลาทะเลขนาดกลางถึงใหญ่ รูปร่างทรงป้านแบนข้างเล็กน้อย ตาโต มีฟันเขี้ยวเล็กละเอียด
บนขากรรไกร ขอบกระดูกแก้มเป็นจัก เกล็ดใหญ่แบบขอบเรียบ ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนอยูช่ ดิ กัน
ครีบหางปลายมน พบ 1 ชนิด ได้แก่
ปลากะพงขาว (Lates calcarifer)
ขนาดโตสุดมีความยาว 1.4 เมตร

กะพงขาว
Lates calcalifer (Bloch, 1790)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 133
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลากะรัง (Family Serranidae)


ปลาทะเลขนาดกลางถึงใหญ่มาก หัวโต ปากกว้างมาก ลักษณะรูปร่างรูปไข่ ล�ำตัวป้อม
กลมแบนข้างไปทางส่วนท้าย เกล็ดเล็กแบบขอบสาก ครีบหลังมีทั้งแบบยาวติดกันและแบบแบ่งเป็น
สองตอนครีบก้นสัน้ ครีบหางมีแบบปลายมนกลม เว้า หรือตัดตรง แปลงเพศได้ตามวัย ในตัววัยรุน่ มักเป็น
ตัวเมียก่อน แล้วเป็นตัวผูต้ อนแก่ มีลวดดลายสีสนั ต่างๆ แล้วแต่ชนิด อาศัยในทะเลชายฝัง่ และแนวปะการัง
พบ 3 ชนิด ได้แก่
กะรังลายเม็ดพริกไทย (Epinephelus areolatus)
หางมีปลายตัด ตัวมีลายดวงสีคล�ำ้ ติดกัน ขนาดโตสุดมีความยาว 40 เซนติเมตร
กะรังจุดน�้ำตาล (Epinephelus coioides)
หางมีปลายมน ตัวมีจดุ สีนำ�้ ตาลแดงกระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 1.2 เมตร
กะรังลายหกบั้ง (Epinephelus sexfasciatus)
ตัวมีบงั้ สีคล�ำ
้ 6 บัง้ และจุดสีนำ�้ ตาลกระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร

กะรังลายเม็ดพริกไทย
Epinephelus areolatus (Forsskål, 1775)

กะรังลายจุดน�้ำตาล
Epinephelus coioides (Forsskål, 1775)
134 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กะรังลายหกบั้ง
Epinephelus sexfasciatus (Valenciennes, 1828)

วงศ์ปลาแป้น (Family Leiognathidae)


ปลาทะเลขนาดเล็ก รูปร่างรูปไข่ ล�ำตัวแบนข้างมาก มีเกล็ดเล็ก ปากเล็กยืดหดได้ดี ครีบหลัง
มีตอนเดียว ครีบหางเว้าลึก ล�ำตัวด้านบนเป็นสีเหลือบเงิน ด้านท้องมีสีจางมัก มีแถบ และจุดสีต่างๆ
อาศัยในทะเลชายฝั่งและปากแม่น�้ำ พบ 18 ชนิด ได้แก่
แป้นลาย (Aurigequula fasciatus)
รูปร่างกลม ตัวด้านบนมีลายเส้นแนวตั้ง ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
แป้นข้างทอง (Eubleekeria splendens)
รูปร่างรูปไข่กลม เส้นข้างตัวมีสีเหลืองทอง ปลายครีบหลังตอนหน้ามีขลิบสีส้ม ขนาดโตสุด
มีความยาว 8 เซนติเมตร
แป้นขลิบด�ำ (Eubleekeria jonesi)
ตัวด้านบนมีลายประสีจาง ปลายครีบหลังตอนหน้ามีขลิบสีดำ
� ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
แป้น (Equulites oblongus)
รูปร่างรูปไข่ ตัวด้านบนมีลายขีดประสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
แป้นยาว (Equulites elongatus)
รูปร่างรูปไข่เรียว ตัวด้านบนมีลายเส้นวนสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
แป้นเมือก (Leiognathus equulus)
รูปร่างรูปกลม ตัวด้านบนมีลายขีดจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 17 เซนติเมตร
แป้นหน้าสั้น (Leiognathus brevirostris)
รูปร่างรูปไข่ ตัวด้านบนมีลายเส้นสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 7 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 135
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แป้นแต้ม (Nuchequula mannusella)


ส่วนหลังตอนหน้ามีจุดคล�้ำ ตัวด้านบนมีลายขีดประ ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
แป้นกระโดงสั้น (Nuchequula gerroides)
ส่วนหลังตอนหน้ามีแต้มคล�้ำ ด้านท้องมีจุดเฉียงสีส้ม ก้านครีบหลังอันแรกสั้น ขนาดโตสุด
มีความยาว 6 เซนติเมตร
แป้นกระโดงยาว (Nuchequula longicornis)
คล้ายชนิดก่อนแต่ก้านครีบหลังอันแรกยาวมาก ขนาดโตสุดมีความยาว 6 เซนติเมตร
แป้นกลม (Photopectoralis bindus)
รูปร่างกลม ปลายครีบหลังตอนหน้ามีขลิบสีส้ม ขนาดโตสุดมีความยาว 5 เซนติเมตร
แป้นเบี้ย (Deveximentum hanedai)
ปากยืด ชี้ขึ้นไปด้านบน รูปร่างรูปไข่รี จุดบนล�ำตัวด้านบนเป็นดวงใหญ่ ขนาดโตสุดมีความยาว
4 เซนติเมตร
แป้นเบี้ย (Deveximentum insidiator)
รู ป ร่ า งรู ป ไข่ เ รี ย วไปทางส่ ว นหาง จุ ด บนล� ำ ตั ว ด้ า นบนเป็ น จุ ด เล็ ก และขี ด ขนาดโตสุ ด
มีความยาว 5 เซนติเมตร
แป้นเบี้ยเกล็ดใหญ่ (Deveximentum megalolepis)
เกล็ดใหญ่ จุดบนล�ำตัวด้านบนเป็นจุดประ ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
แป้นเบี้ย (Deveximentum interruptum)
รูปร่างรูปไข่เรียวไปทางส่วนหาง จุดบนล�ำตัวด้านบนเป็นขีดประ ขนาดโตสุดมีความยาว
3 เซนติเมตร
แป้นเบี้ย (Deveximentum ruconius)
รูปร่างกลม จุดบนล�ำตัวด้านบนเป็นขีดแนวตั้ง ขนาดโตสุดมีความยาว 3 เซนติเมตร
แป้นเขี้ยว (Gazza minuta)
ปากยืดออกไปด้านหน้า ชี้ลง มีฟันเขี้ยว รูปร่างรูปไข่รี ล�ำตัวตอนหน้ามีเกล็ดคลุม ขนาดโตสุด
มีความยาว 8 เซนติเมตร
แป้นเขี้ยวกลม (Gazza achlamys)
ล�ำตัวตอนหน้าไม่มีเกล็ดคลุม รูปร่างรูปไข่กลม ตัวขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร
136 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แป้นลาย
Aurigequula fasciatus (Lacepède, 1803)

แป้นข้างทอง
Eubleekeria splendens (Cuvier, 1829)

แป้นขลิบด�ำ
Eubleekeria jonesi (James, 1971)

แป้น
Equulites oblongus (Valenciennes, 1835)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 137
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แป้นยาว
Equulites elongatus (Günther, 1874)

แป้นเมือก
Leiognathus equulus
(Forsskål, 1775)

แป้นหน้าสัน้
Leiognathus brevirostris (Valenciennes, 1835)

แป้นแต้ม
Nuchequula mannusella Chakrabarty, 2007
138 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แป้นกระโดงสัน้
Nuchequula gerroides (Bleeker, 1851)

แป้นกระโดงยาว
Nuchequula longicornis
Kimura, Kimura & Ikejima, 2008

แป้นกลม
Photopectoralis bindus (Valenciennes, 1835)

แป้นเบีย้
Deveximentum hanedai (Moshizuki & Hayashi, 1989)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 139
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แป้นเบีย้
Deveximentum insidiator (Bloch, 1787)

แป้นเบีย้ เกล็ดใหญ่
Deveximentum megalolepis Mochizuki & Hayashi, 1989

แป้นเบีย้
Deveximentum interruptum (Valenciennes, 1835)

แป้นเบีย้
Deveximentum ruconius (Hamilton, 1822)
140 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แป้นเขีย้ ว
Gazza minuta (Bloch, 1795)

แป้นเขีย้ วกลม
Gazza achlamys Jordan & Starks, 1917

วงศ์ปลาดอกหมาก (Family Gerreidae)


ปลาทะเลขนาดเล็ก ลักษณะรูปไข่ ล�ำตัวแบนข้าง คล้ายปลาแป้น ปากยืดหดได้ดี มีฟันเล็ก
ละเอียด มีแถบเกล็ด (scaly sheath) ที่ฐานครีบหลังและครีบก้น ครีบหลังมีตอนเดียว ครีบหางเว้า
แบบส้อม พบ 5 ชนิด ได้แก่
ดอกหมากหางเหลือง (Gerres erythrourus)
รู ป ร่ า งค่ อนข้างกลม ล�ำตัวมีสีเ รียบ ครี บก้ นและครี บหางเหลื อ ง ขนาดโตสุ ด มี ค วามยาว
16 เซนติเมตร
ดอกหมากกระโดง (Gerres filamentosus)
รูปร่างรูปไข่ ก้านครีบหลังตอนหน้าอันแรกยาวมาก ล�ำตัวมีจดุ สีคล�ำ้ เป็นแนวหลายแนว ขนาดโตสุด
มีความยาว 16 เซนติเมตร
ดอกหมากลาย (Gerres decacanthus)
ก้านครีบหลังตอนหน้าอันแรกสั้น ล�ำตัวมีบั้งสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 141
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ดอกหมากเรียว (Gerres oyena)


ตาโต รูปร่างรูปไข่เรียว ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร
ดอกหมากทอง (Gerres chrysops)
ตัวและครีบมีสีเหลืองทอง ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร

ดอกหมากหางเหลือง
Gerres erythrourus (Bloch, 1791)

ดอกหมากกระโดง
Gerres filamentosus (Cuvier, 1829)

ดอกหมากลาย
Gerres decacanthus (Bleeker, 1864)
142 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ดอกหมากเรียว
Gerres oyena (Forsskål, 1775)

ดอกหมากทอง
Gerres chrysops Iwatsuki Kimura & Yoshino, 1999

วงศ์ปลากะพงแดง (Family Lutjanidae)


ปลาทะเลขนาดกลาง ลักษณะรูปร่างทรงป้านหรือรูปไข่ ล�ำตัวแบนข้าง หัวใหญ่ ปากกว้างยาว
ยืดหดได้ ฟันเป็นเขี้ยวเล็กแหลม ครีบหลังยาว แบ่งเป็นก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อน อาศัยในทะเล
ชายฝั่ง พบ 5 ชนิด ได้แก่
กะพงแดงปากแม่น�้ำ (Lutjanus argentimaculatus)
ปลาเล็กมีแต้มสีจางกระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 40 เซนติเมตร
กะพงแดงข้างปาน (Lutjanus monostigma)
แต้มที่ล�ำตัวด้านท้ายเล็ก ไม่ชัด และอยู่ค่อนมาด้านล่างของเส้นข้างตัว ขนาดโตสุดมีความยาว
30 เซนติเมตร
กะพงข้างปาน (Lutjanus russellii)
แต้มทีล่ ำ� ตัวด้านท้ายใหญ่ชดั และอยูด่ า้ นบนของเส้นข้างตัว ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 143
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กะพงทอง (Lutjanus johni)


ส่วนหัวด้านหน้าโค้งยกสูงในปลาใหญ่ แต้มทีล่ ำ� ตัวด้านท้ายใหญ่แต่ไม่ชดั ตัวมีสนี ำ�้ ตาลอมเหลือง
ส้มและมีจุดประสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 45 เซนติเมตร
กะพงแดงลายขีด (Lutjanus vitta)
กลางล�ำตัวมีขีดด�ำตามแนวยาวพาด ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร

กะพงแดงปากแม่นำ�้
Lutjanus argentimaculatus (Forsskål, 1775)

กะพงแดงข้างปาน
Lutjanus monostigma (Cuvier, 1828)

กะพงข้างปาน
Lutjanus russellii (Bleeker, 1849)
144 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

กะพงทอง
Lutjanus johni (Bloch, 1792)

กะพงแดงลายขีด
Lutjanus vitta (Quoy & Gaimard, 1824)

วงศ์ปลาแพะ (Family Mullidae)


ปลาทะเลขนาดเล็กถึงกลาง ลักษณะล�ำตัวทรงกระบอก แบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กยืดหดได้
ใต้คางมีหนวดยาว 2 เส้น ท�ำหน้าที่คุ้ยหาเหยื่อที่ฝังตัวอยู่ใต้พื้นท้องน�้ำ มีฟันขนาดเล็กคล้ายแปรง
เกล็ดใหญ่ ครีบหลังสองตอนแยกห่างออกจากกัน ครีบหางเว้าเป็นรูปส้อม พบกระจายพันธุ์ตาม
แนวชายฝั่งและแนวปะการัง พบ 3 ชนิด ได้แก่
แพะลาย (Upeneaus tragula)
ตัวมีลายประสีแดงคล�้ำ หางมีลายบั้งชัดทั้งสองซีก ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร
แพะญี่ปุ่น (Upeneaus japonicus)
ด้านท้องมีแถบเหลือง ครีบหางซีกบนมีลายบั้งจางๆ ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร
แพะซุนดา (Upeneaus sundaicus)
ครีบหางไม่มีลาย ซีกล่างสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 145
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

แพะลาย
Upeneaus tragula (Richardson, 1846)

แพะญีป่ นุ่
Upeneaus japonicus (Houttuyn 1782)

แพะซุนดา
Upeneaus sundaicus (Bleeker, 1855)

วงศ์ปลาสร้อยนกเขาทะเล (Family Haemulidae)


ปลาทะเลขนาดกลาง ลักษณะรูปร่างทรงป้าน ล�ำตัวแบนข้าง แนวหัวโค้งลาดลง ริมฝีปากหนา
ใต้คางมีรู 1-3 คู่ เกล็ดเล็กเป็นแบบขอบมีสีสันเป็นลวดลายต่างๆ ในปลาขนาดเล็กมีลวดลายที่ต่าง
จากปลาโตอย่างมาก อาศัยในชายฝั่ง และแนวปะการัง พบ 4 ชนิด ได้แก่
สร้อยนกเขาทะเล (Diagramma pictum)
ล�ำตัวกว้างทีส่ ว่ นหน้า เรียวไปด้านท้าย เกล็ดเล็ก มีจดุ สีสม้ คล�ำ้ กระจายทีด่ า้ นบนล�ำตัว ขนาดโตสุด
มีความยาว 40 เซนติเมตร
สีกรุดปากหมู (Plectorhinchus gibbosus)
ริมฝีปากหนา รูปร่างสั้นกว่าชนิดก่อน เกล็ดใหญ่ ตัวมีสีเทาคล�้ำ ไม่มีลาย ขนาดโตสุดมีความยาว
30 เซนติเมตร
146 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

สีกรุดดวง (Pomadasys maculatus)


ตัวและครีบหลังตอนหน้ามีแต้มด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
สีกรุดเทา (Pomadasys kaakan)
ตัวและครีบหลังตอนหน้ามีจุดสีคล�้ำกระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 40 เซนติเมตร

สร้อยนกเขาทะเล
Diagramma pictum (Thunberg, 1792)

สีกรุดปากหมู
Plectorhinchus gibbosus (Lacepède, 1802)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 147
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

สีกรุดดวง
Pomadasys maculatus (Bloch, 1797)

สีกรุดเทา
Pomadasys kaakan (Cuvier, 1870)

วงศ์ปลาตาหวาน (Family Priacanthidae)


ปลาทะเลขนาดกลาง ตาโต ปากกว้างเฉียงลง มีรูปร่างทรงป้าน ล�ำตัวแบนข้าง ครีบหลังมี
ตอนเดียว ครีบท้องค่อนข้างใหญ่ ครีบหางเว้ารูปวงเดือนหรือปลายตัด เกล็ดเล็ก มักมีสีแดง ชมพู
เป็นสีพื้น พบในก้นอ่าวไทยชนิดเดียวคือ
ตาหวาน (Priacanthus tayenus)
ครีบท้องมีจุดสีด�ำกระจาย ครีบหางเว้าตื้น ขนาดโตสุดมีความยาว 30 เซนติเมตร

ตาหวาน
Priacanthus tayenus Richardson, 1846
148 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาเฉี่ยวหิน (Family Monodactylidae)


ลักษณะรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ล�ำตัวแบนข้างคล้ายปลาจะละเม็ด หัวเล็ก ปากเล็ก เกล็ดเล็ก
ละเอียด ครีบอกสั้น ครีบหางเว้าตื้น มีลายพาดสีด�ำบริเวณช่องปิดเหงือก อาศัยในเขตชายฝั่ง
และปากแม่น�้ำ พบ 1 ชนิด ได้แก่
เฉี่ยวหิน (Monodactylus argenteus)
ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร

เฉีย่ วหิน
Monodactylus argenteus (Linnaeus, 1758)
วงศ์ปลาตะกรับ (Family Scatophagidae)
ปลาทะเลขนาดกลาง รู ป ร่ า งกลมล� ำ ตั ว แบนข้ า งมาก ปากเล็ ก มี ฟ ั น ซี่ ล ะเอี ย ด เกล็ ด เล็ ก
ละเอียดติดผิวแน่น เส้นข้างล�ำตัวโค้งและสมบูรณ์ ครีบหลังตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลัง
เป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางตัดตรง มีจุดสีด�ำหรือลวดลายกระจายไปทั่วต่างกัน พบชนิดเดียว คือ
ตะกรับ (Scatophagus argus)
ขนาดโตสุดมีความยาว 17 เซนติเมตร

ตะกรับ
Scatophagus argus (Bloch, 1788)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 149
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาผีเสื้อ (Family Chaetodontidae)


ผีเสื้อข้างจุด (Parachaetodon ocellatus)
ปากสั้น ปลายครีบหลังเป็นมุม มีบั้งสีส้มพาดแนวตั้ง 5 บั้ง ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร
ผีเสื้อครีบสูง (Coradion altivelis)
ปากยาวกว่าเล็กน้อย ครีบหลังยกสูง ปลายครีบหลังมนกลม มีบั้งสีด�ำพาดแนวตั้งที่หัวและกลาง
ตัว 2 บั้ง ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร

ผีเสือ้ ข้างจุด
Parachaetodon ocellatus
(Cuvier, 1831)

ผีเสือ้ ครีบสูง
Coradion altivelis Mcculloch, 1916

วงศ์ปลาเสือพ่นน�้ำ (Family Toxotidae)


ปลาน�้ำจืดและปากแม่น�้ำขนาดเล็กถึงกลาง ลักษณะล�ำตัวรูปไข่ แบนข้าง ตาโต จะงอยปากเรียว
ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอนต่อกัน อยู่ค่อนไปทางด้านท้าย ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ครีบหางตัดตรง
หรือเว้าเล็กน้อย ตัวมักมีลายเป็นดวงด�ำขนาดใหญ่บนพื้นสีขาว หากินใกล้ผิวน�้ำ กินแมลงโดยพ่นน�้ำ
เพื่อยิงเหยื่อให้ตกลงมาในน�้ำ พบปลาทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่
150 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เสือพ่นน�้ำทะเล (Toxotes jaculatrix)


ครีบหลังตอนหน้ามีก้านครีบแข็ง 4 อัน ขนาดโตสุดมีความยาว 16 เซนติเมตร
เสือพ่นน�้ำเกล็ดถี่ (Toxotes microlepis)
ครีบหลังตอนหน้ามีก้านครีบแข็ง 5 อัน เกล็ดเล็กมากที่สุดของวงศ์ มีมากกว่า 43 เกล็ด
ตามแนวเส้นข้างตัว ขนาดโตสุดมีความยาว 16 เซนติเมตร หายาก ในลุม่ แม่นำ�้ เจ้าพระยา และบางปะกง
เท่านั้น
เสือพ่นน�้ำธรรมดา (Toxotes aff. chatareus)
ครีบหลังตอนหน้ามีกา้ นครีบแข็ง 5 อัน ขนาดโตสุดมีความยาว 25 เซนติเมตร เป็นปลาเศรษฐกิจ
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

เสือพ่นน�ำ้ ทะเล
Toxotes jaculatrix (Pallas, 1766)

เสือพ่นน�ำ้ เกล็ดถี่
Toxotes microlepis Günther, 1860 Cr.นณณ์ ผาณิตวงศ์
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 151
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เสือพ่นน�ำ้ ธรรมดา
Toxotes aff. chatareus (Hamilton, 1822)
วงศ์ปลาข้างตะเภา (Family Terapontidae)
ปลาทะเลขนาดเล็ก ลักษณะรูปไข่ ล�ำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กถึงปานกลางแบบขอบสาก
ปากเล็ก ครีบหลังสองตอนติดกัน ครีบหางเว้าเล็กน้อย ครีบท้องอยู่ในต�ำแหน่งอก ล�ำตัวมีสีขาว
เหลือบเงิน มีลวดลายเป็นแถบตามแนวยาว พบ 4 ชนิด ได้แก่
ข้างตะเภาลายตรง (Eutherapon theraps)
ลายบนตัวเป็นแนวตรง 4-5 แนว หางมีลาย ขนาดโตสุดมีความยาว 17 เซนติเมตร
ข้างตะเภา (Terapon jarbua)
ลายบนตัวเป็นแนวโค้ง ขนาดโตสุดมีความยาว 16 เซนติเมตร
ข้างลาย (Terapon puta)
ลายบนตัวเป็นแนวตรง 3 แนว ขนาดโตสุดมีความยาว 14 เซนติเมตร
ข้างลายจุด (Pelates sexlineatus)
เหนือช่องเหงือกมีแต้มสีคล�้ำ หางไม่มีลาย ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร

ข้างตะเภาลายตรง
Eutherapon theraps (Cuvier, 1829)
152 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ข้างตะเภา
Terapon jarbua (Forsskål, 1775)

ข้างลาย
Terapon puta Cuvier,1829

ข้างลายจุด
Pelates sexlineatus (Quoy & Gaimard, 1824)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 153
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาสลิดหิน (Family Pomacentridae)


เป็นปลาขนาดเล็ก มักมีรูปร่างรูปไข่ ล�ำตัวแบนข้าง ปากเล็ก ช่องจมูกมีรูเดียว ครีบก้นมี
ก้านแข็ง 2 อัน ตัวเมียและตัวผู้ช่วยกันฟักไข่ เป็นปลาที่มีสีสัน จึงนิยมเอามาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ส่วนมากอาศัยในแนวปะการัง และหาดหิน พบน้อยในน�ำ้ กร่อย กินแพลงค์ตอนสัตว์ และสิง่ มีชวี ติ เล็กๆ
กระจายพันธุ์ทั่วภูมิภาคอินโด-แปซิฟิค พบ 2 ชนิด คือ
สลิดหินหางแถบ (Neopomacentrus taeniurus)
ครีบหางปลายแหลม ขอบครีบหางมีแถบคล�ำ
้ ตัวสีฟา้ คล�ำ
้ ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร
ตะกรับลาย (Abudefduf bengalensis)
รูปร่างกลม ครีบหางปลายมน ตัวมีบั้งสีคล�้ำ 5 บั้ง ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร

สลิดหินหางแถบ
Neopomacentrus taeniurus (Bleeker, 1856) Cr.ภวพล ศุภนันทนานนท์

ตะกรับลาย
Abudefduf bengalensis (Bloch, 1787)
154 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาใบขนุน (Family Siganidae)


รูปร่างรูปไข่ ล�ำตัวแบนข้าง ปากเล็ก เกล็ดเล็กแบบขอบเรียบฝังอยู่ใต้ผิว เส้นข้างตัวสมบูรณ์
ครีบหลังยาว ตอนหน้าเป็นก้านครีบแข็ง ครีบท้องมีกา้ นครีบแข็ง 2 ก้านปิดหัวท้าย ครีบหางเว้าเล็กน้อย
หรือเว้าลึก ล�ำตัวสีเทาอมเหลืองหรือเทาอมเขียวอ่อน มีจดุ หรือแถบสีจางกระจาย พบ 3 ชนิด ได้แก่
ใบขนุน (Siganus fuscescens)
ตัวมีสีเทาอมเขียว มีจุดประเล็กกระจาย ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
ใบขนุนแถบ (Siganus javus)
ด้านท้องมีลายเป็นเส้นสีจาง ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
ใบขนุนจุด (Siganus guttatus)
ตัวมีดวงสีคล�้ำ เหนือคอดหางมีแต้มกลมสีส้ม ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร

ใบขนุน
Siganus fuscescens (Houttuyn, 1782)

ใบขนุนแถบ
Siganus javus (Linnaeus, 1766)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 155
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ใบขนุนจุด
Siganus guttatus (Bloch, 1787)
อันดับปลาแมงป่อง สิงโต (Order Scorpaeniformes)
ปลาทะเลขนาดเล็กถึงกลาง มีหัวโตและบริเวณส่วนหัวและกระดูกแก้มมีหนาม ปากกว้าง
ล�ำตัวป้อม มีครีบต่างๆ แผ่กว้าง บางชนิดมีพัฒนาการของผิวหนังให้เป็นเส้นหรือแผ่นยื่นยาว
ออกมา ครีบหลัง ครีบก้นมีก้านครีบแข็งแหลมคมและมักมีต่อมพิษ ครีบท้องอยู่บริเวณอกหรือใกล้
คอ เกล็ดเป็นขอบหยักละเอียดหรือเรียบผสมกัน ว่ายน�้ำช้าๆ และนอนนิ่งๆ บนหน้าดินหรือฝังตัว
เพื่อรอเหยื่อพบส่วนมากในเขตร้อน มีหลายชนิดเป็นปลาสวยงาม พบ 5 วงศ์ ได้แก่ วงศ์ปลา
แมงป่องครีบยาว (Family Apistidae) วงศ์ปลาหิน (Family Synanceidae) วงศ์ปลาหัวโขนเล็ก
(Family Tetrarogidae) วงศ์ปลาหัวโขนก�ำมะหยี่ (Family Aploactluide) วงศ์ปลาช้างเหยียบ
(Family Platycaphalidea)
วงศ์ปลาแมงป่องครีบยาว (Family Apistidae)
แมงป่องครีบยาว (Apistus carinatus)
ใต้คางมีหนวดยาว 2 คู่ ครีบอกยาวถึงคอดหาง มีสีด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร

แมงป่องครีบยาว
Apistus carinatus (Bloch & Schneider, 1801)
156 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาหิน (Family Synanceidae)


ลักษณะหัวใหญ่ มีหนาม ตาเล็กโปนและมักหน้าหัก ช่องเหงือกแคบ ผิวหนังหนาและเป็นปุ่ม
ไม่มีเกล็ด ครีบหลังมีก้านแข็งแหลมและมักมีต่อมพิษ ครีบอกใหญ่กว้าง สีล�ำตัวคล�้ำมีลายเลอะ
ท�ำให้แลดูคล้ายก้อนหิน อาศัยตามชายฝัง่ และแนวปะการังในภูมภิ าคอินโด-แปซิฟคิ พบปลา 1 ชนิด คือ
แมงป่องเทา (Minous monodactylus)
ก้านครีบท้องอันแรกเป็นเส้นยาว ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร

แมงป่องเทา
Minous monodactylus (Schneider, 1801)

วงศ์ปลาหัวโขนเล็ก (Family Tetrarogidae)


ปลาทะเลขนาดเล็ก หัวโต ล�ำตัวแบนข้าง ครีบหลังตอนหน้ามีก้านครีบใหญ่กว่าตอนหลังชัด
มีครีบอกขนาดใหญ่ บางชนิดมีลักษณะที่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม ส่วนมากมักจะอาศัย และ
หากินบริเวณพื้นท้องน�้ำ พบชนิดเดียว คือ ปลาหัวโขนเล็ก ผีเข้าผีออก (Vespicula trachinoides)
หัวโขนเล็ก ผีเข้าผีออก (Vespicula trachynoides)
ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอน มีก้านครีบแข็งหลายอัน ครีบท้องใหญ่ ขนาดโตสุดมีความยาว
4 เซนติเมตร

หัวโขนเล็ก ผีเข้าผีออก
Vespicula trachynoides (Cuvier & Valenciennes, 1829)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 157
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาหัวโขนก�ำมะหยี่ (Family Aploactinidae)


ปลาทะเลขนาดเล็ก หัวโต ล�ำตัวแบนข้าง ครีบหลังแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนหน้าสุดมีก้านครีบ
ยกสูง ครีบท้องเล็กเป็นเส้นสั้น ผิวเรียบไม่มีเกล็ดแต่ดูคล้ายเป็นขุย เป็นปลาอยู่หน้าดิน พบชนิด
เดียวในก้นอ่าวไทย
หัวโขนก�ำมะหยี่ (Acanthosphex leurynnis)
ใต้คางมีหนวดสั้น 1 อัน ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร

หัวโขนก�ำมะหยี่
Acanthosphex leurynnis (Jordan & Seale 1906)

วงศ์ปลาช้างเหยียบ (Family Platycephalidae)


ปลาทะเลขนาดกลาง ล�ำตัวยาวและแบนลง ส่วนหัวแบนราบ จะงอยปากแหลม มีสันแข็ง
ที่ขอบของกระดูกส่วนหัว เป็นหนามเรียงเป็นแถว ล�ำตัวเพรียวไปทางหาง ครีบอกใหญ่ เกล็ดแบบ
ขอบสาก มีเส้นข้างล�ำตัวสมบูรณ์ ครีบหลังแยกออกเป็นสองตอน โดยครีบหลังตอนสองยาวกว่า
ตอนแรก ครีบท้องอยู่ต�ำแหน่งอก ล�ำตัวด้านบนมีสีน�้ำตาลเข้มจนถึงน�้ำตาลด�ำ ด้านท้องเป็นสีอ่อน
มีจุดและลาดลายแตกต่างกัน พบ 5 ชนิด
หางควาย (Platycephalus culteratutus)
หางมีลายเป็นเส้นหนาสีด�ำขนานกัน ขนาดโตสุดมีความยาว 36 เซนติเมตร เป็นปลาเศรษฐกิจ
ช้างเหยียบครีบดวง (Rogadius asper)
ครีบท้องมีดวงด�ำกระจาย ครีบหลังตอนหน้ามีปื้นสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร
ช้างเหยียบด่าง (Rogadius pristiger)
ครีบท้องมีขีดประสีคล�้ำเล็กน้อย ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร
ช้างเหยียบครีบไส (Suggrundus macracanthus)
ครีบหลังใส มีจุดจางเล็กน้อย ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร
158 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ช้างเหยียบหางเรียว (Grammoplites scaber)


ครีบหลังมีจุดสีคล�้ำกระจาย คอดหางเรียว ขนาดโตสุดมีความยาว 8 เซนติเมตร

หางควาย
Platycephalus culteratutus
(Richardson, 1846)

ช้างเหยียบครีบดวง
Rogadius asper (Cuvier, 1829)

ช้างเหยียบด่าง
Rogadius pristiger (Cuvier, 1829)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 159
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ช้างเหยียบครีบใส
Suggrundus macracanthus (Bleeker, 1869)

ช้างเหยียบหางเรียว
Grammoplites scaber (Linnaeus, 1758)

อันดับปลาหูช้าง (Order Moroniformes)


เป็นปลาทะเลขนาดกลาง รูปร่างกลมเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือเป็นรูปไข่ ล�ำตัวแบน
ข้างมาก มีเกล็ดขนาดเล็กขอบสาก พบ 2 วงศ์ 4 ชนิด ได้แก่ วงศ์ปลาหูช้าง (Ephippidae) และวงศ์
ปลาใบโพธิ์ (Drepaneidae)
วงศ์ปลาใบโพธิ์ (Family Drepaneidae)
ลักษณะรูปร่างรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนล�ำตัวแบนข้างมาก เกล็ดขนาดปานกลาง แบบขอบ
สาก ปากเล็ก ยืดหดได้ดี ครีบหลังมีรอยเว้าแยกระหว่างครีบหลังส่วนหน้าที่เป็นก้านครีบแข็ง
และครีบหลังส่วนหลังทีเ่ ป็นก้านครีบอ่อน ครีบอกเป็นรูปเคียว ยาวถึงคอดหาง ล�ำตัวมีสเี ทาเหลือบเงิน
มีจุดสีด�ำหรือแถบสีคล�้ำ พบ 1 ชนิดคือ
ใบโพธิ์ (Drepane punctata)
ตัวด้านหลังมีจุดด�ำเป็นแถวในแนวตั้ง 9-10 แนว
ขนาดโตสุดมีความยาว 35 เซนติเมตร

ใบโพธิ์
Drepane punctata (Linnaeus, 1758)
160 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาหูช้าง (Family Ephippidae)


ลักษณะรูปไข่หรือรูปสีเ่ หลีย่ มขนมเปียกปูน ล�ำตัวแบนข้างมาก หัวค่อนข้างเล็ก ไม่มเี กล็ดปกคลุม
ปากเล็กยืดหดไม่ได้ เกล็ดขนาดปานกลาง ครีบหลังยกสูงตอนหน้า ครีบอกสั้นและกลม ครีบท้องมี
ปลายแหลม ครีบหางเป็นแบบเว้าตื้น 2 ตอนตัวเป็นสีคล�้ำ มีแถบสีแตกต่างกันไป
ค้างคาว (Platax teira)
หัวและตัวมีแถบคล�้ำพาดตามแนวตั้ง 3 แถบ ปลาโตมีส่วนหัวโหนกสูง ขนาดโตสุดมีความยาว
38 เซนติเมตร มักพบปลาเล็กเข้ามาในแม่น�้ำบางปะกง

ค้างคาว
Platax teira (Forsskål, 1775)

อันดับปลาขี้ตังเบ็ด จวด (Order Acanthuriformes)


ปลาอันดับนี้มีความแตกต่างมากใน 2 วงศ์ที่พบคือปลาขี้ตังเบ็ดและปลาจวด แต่ Nelson et al,
(2016) จัดรวมกันจากข้อมูลทางพันธุศาสตร์ เป็นปลาทะเลขนาดกลาง พบในลุ่มน�้ำนี้ 1 วงศ์ 19 ชนิด
คือ วงศ์ปลาจวด (Sciaenidae)
วงศ์ปลาม้า ปลาจวด (Family Scianidae)
ปลาทะเลขนาดเล็กถึงใหญ่ ลักษณะรูปร่างทรงกระบอกหรือทรงป้าน เรียวไปด้านท้าย หัวโต
ตาโต ปากกว้าง อยู่ไปทางด้านล่างของจะงอยปาก ริมฝีปากบาง มีฟันเป็นเขี้ยวซี่เล็กๆ มักมีรูเล็กๆ
อยู่ใต้คาง เกล็ดเล็ก มีเกล็ดใหญ่บนเส้นข้างล�ำตัวจนถึงปลายครีบหาง ครีบหลังยาวและเว้าเป็น 2 ตอน
ปลายครีบหางอาจจะมีปลายแหลมหรือตัดตรง ครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก อาศัยในปากแม่น�้ำและชายฝั่ง
สกุลต่างๆถูกจ�ำแนกได้จากลักษณะของกระเพาะลมและกระดูกในหู ชนิดในของแต่ละสกุลดูคล้ายกัน
มากพบอย่างน้อย พบ 12 สกุล 29 ชนิด ได้แก่
จวดสาก (Aspericorvina jubata)
เกล็ดที่ส่วนหน้าล�ำตัวด้านบนสาก ขนาดโตสุดมีความยาว 80 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 161
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

หางกิ่ว (Boesemania polykladiskos)


เกล็ดที่คอดหางใหญ่มาก มี 7-9 เกล็ดในแต่ละด้าน ตัวมีเงินแกมสีเหลืองหรือส้ม ขนาดโตสุด
มีความยาว 70 เซนติเมตร
ปลาม้า (Boesemania aeneocorpus)
ชื่อ Boesemania microlepis ที่เคยใช้เป็นชนิดและสกุลอื่นของสุมาตรา ชนิดของไทยอาจเป็น
สกุลใหม่ที่ยังไม่มีการให้ชื่อสกุล (Ning Labbish Shao, ติดต่อส่วนตัว) มีเกล็ดเล็กมาก เกล็ดที่คอด
หาง มี 10-12 เกล็ดในแต่ละด้าน ตัวมีสีขาวเงิน ขนาดโตสุดมีความยาว 70 เซนติเมตร อาศัยในแม่น�้ำ
และปากแม่น�้ำ เป็นปลาส�ำคัญในด้านการประมง นิยมบริโภค
ม้ากิ่ว (Boesemania aff. aeneocorpus)
เกล็ดใหญ่กว่าของปลาม้า มีเกล็ดที่คอดหาง 9-10 เกล็ดในแต่ละด้าน มักมีสีขาวนวลอมเหลือง
ขนาดโตสุดมีความยาว 60 เซนติเมตร
จวดทอง (Chrysochir aureus)
มีฟันเขี้ยวเฉพาะที่ปลายขากรรไกรบน ขนาดโตสุดมีความยาว 35 เซนติเมตร
จวดหน้าสั้น (Dendrophysa russelli)
มีหนวดสั้นที่ใต้คาง มีแต้มด�ำที่หลังช่องเหงือกด้านบน ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
จวดสกุล Johnius มีลักษณะภายนอกดูคล้ายกัน พบ 13 ชนิด ได้แก่
จวดเครา (Johnius amblycephalus)
มีหนวดสั้นใต้คาง ครีบหลังตอนหน้ายกสูง ตัวมีสีพื้นคล�้ำ ไม่มีจุดใดๆ ขนาดโตสุดมีความยาว
12 เซนติเมตร
จวดบอร์เนียว (Johnius borneensis)
ก้านครีบก้นอันเล็กสั้น ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
จวดม่อม (Johnius carouna)
ก้านครีบก้นยาวมากกว่าครึ่งของความสูงครีบก้น ขนาดโตสุดมีความยาว 14 เซนติเมตร
จวดเรียว (Johnius weberi)
หัวและล�ำตัวเรียว ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
จวดตาโต (Johnius plagiostoma)
ตาโตกว่าจวดชนิดอื่น มีฟันเขี้ยวเล็ก ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
จวดหูด�ำ (Johnius trachycephalus)
ล�ำตัวเรียว ครีบอกมีสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
162 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จวดด�ำ (Johnius belangerii)


ส่วนหลังยกสูง ตัวมีสีเทาคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 12-30 เซนติเมตร
จวดกระบอก (Johnius elongatus)
ล�ำตัวทรงกระบอกกว่าชนิดอื่น ขนาดโตสุดมีความยาว 12-30 เซนติเมตร
จวด (Johnius macropterus)
ใต้คางมีหนวดอันเล็กมาก ขนาดโตสุดมีความยาว 12-30 เซนติเมตร
จวดจมูกโต (Johnius macrorhynus)
จะงอยปากหนา ขนาดโตสุดมีความยาว 12-30 เซนติเมตร
จวด (Johnius trewavasae)
จะงอยปากทู่ ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร
จวดหัวโหนก (Johnius latifrons)
ส่วนหัวโต มีแนวโค้งยกสูง ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
จวดเกล็ดซ้อน (Johnius heterolepis)
เกล็ดที่ท้องใหญ่กว่าส่วนอื่น ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร
จวดค่อม (Nibea soldado)
ส่วนหัวด้านหน้าและหลังยกสูง ขนาดโตสุดมีความยาว 50 เซนติเมตร
จวดท้องโต (Nibea semifasciata)
จะงอยปากค่อนข้างแหลม ขนาดโตสุดมีความยาว 25 เซนติเมตร
จวดเทียน (Otolithoides biauritus)
จะงอยปากทู่ เกล็ดที่แก้มเล็ก ขนาดโตสุดมีความยาว 70 เซนติเมตร
จวดเขี้ยว (Otolithes ruber)
มีฟันเขี้ยวที่ปลายขากรรไกรทั้งบนและล่าง ขนาดโตสุดมีความยาว 40 เซนติเมตร
จวดคอม้า (Panna microdon)
จะงอยปากยื่นแหลมเล็กน้อย เกล็ดที่แก้มใหญ่ ขนาดโตสุดมีความยาว 30 เซนติเมตร
จวดหางตัด (Pennahia anea)
หัวโต ปลายครีบหางตัดตรง ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
จวดหัวโต (Pennahia macrocephalus)
ปลายครีบหางเว้า 2 ตอนตรงกลางเป็นมุม ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 163
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จวดแก้มด�ำ (Pennahia pawak)


ฝาเหงือกมีแต้มสีคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
จวดไข่ (Pennahia ovata)
รูปร่างสั้น ดูคล้ายรูปไข่ ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
จวดด�ำ (Megalonibea diacanthus)
ปลาเล็กมีสีเทาคล�้ำ มีจุดด�ำกระจายด้านหลัง ในปลาใหญ่กว่า 50 เซนติเมตร จุดจะหายไป
ในก้นอ่าวไทยมักพบแต่ปลาเล็ก ขนาดโตสุดมีความยาว 1 เมตร

จวดสาก
Aspericorvina jubata (Bleeker, 1855)

หางกิว่
Boesemania polykladiskos (Bleeker, 1852)

ม้ากิว่
Boesemania aff. aeneocorpus (Fowler, 1935)
164 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ม้า
Boesemania aeneocorpus (Fowler, 1935)

จวดทอง
Chrysochir aureus (Richardson, 1846)

จวดหน้าสัน้
Dendrophysa russelli (Cuvier, 1830)

จวดเครา
Johnius amblycephalus (Bleeker, 1855)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 165
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จวดบอร์เนียว
Johnius borneensis (Bleeker, 1851)

จวดม่อม
Johnius carouna (Cuvier, 1830)

จวดเรียว
Johnius weberi Hardenberg, 1936

จวดตาโต
Johnius plagiostoma (Bleeker, 1849)
166 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จวดหูดำ�
Johnius trachycephalus (Bleeker, 1851)

จวดด�ำ
Johnius belangerii (Cuvier, 1830)

จวดกระบอก
Johnius elongatus Lal Mohan, 1976

จวด
Johnius macropterus (Bleeker, 1853)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 167
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จวดจมูกโต
Johnius macrorhynus Lal Mohan, 1976

จวด
Johnius trewavasae Sasaki, 1992

จวดหัวโหนก
Johnius latifrons Sasaki, 1992

จวดเกล็ดซ้อน
Johnius heterolepis Bleeker, 1873
168 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จวดค่อม
Nibea soldado (Lacepède, 1802)

จวดท้องโต
Nibea semifasciata Cu, Lo & Wu, 1963

จวดเทียน
Otolithoides biauritus (Cantor, 1849)

จวดเขีย้ ว
Otolithes ruber (Bloch & Schneider, 1801)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 169
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จวดคอม้า
Panna microdon (Bleeker, 1849)

จวดหางตัด
Pennahia anea (Bloch, 1793)

จวดหัวโต
Pennahia macrocephalus (Tang, 1937)

จวดแก้มด�ำ
Pennahia pawak (Lin, 1940)
170 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

จวดไข่
Pennahia ovata Sasaki, 1996

จวดด่าง
Megalonibea diacanthus (Lacepède, 1802)

อันดับปลาอีคลุด (Order Spariformes)


ปลาทะเลและน�้ำจืดขนาดกลาง มีรูปร่างตั้งแต่กลม รูปไข่ ถึงทรงกระบอก ล�ำตัวแบนข้าง
ถูกจ�ำแนกกลุ่มแยกจากอันดับปลากะพง (Perciformes) จากลักษณะทางกายวิภาคของกระดูก
ส่วนต่างๆ และทางพันธุศาสตร์ พบ 5 วงศ์รวม 6 ชนิด ได้แก่ วงศ์ปลาเห็ดโคน (Sillaginidae)
วงศ์ปลาอีคลุด (Sparidae) วงศ์ปลากะพงขี้เซา (Lobotidae) วงศ์ปลาเสือตอ (Datnioidae)
และวงศ์ปลาแดง (Nemipteridae)
วงศ์ปลาอีคลุด (Family Sparidae)
ลั ก ษณะรู ป ร่ า งกลม ล� ำ ตั ว แบนข้ า ง หั ว โต ส่ ว นหั ว และหลั ง โค้ ง ส่ ว นท้ อ งตรง ปากเล็ ก
ครี บ หลั ง มี ก ้ า นครี บ แข็ ง ตอนหน้ า ครี บ ก้ น สั้ น ก้ า นครี บ แข็ ง อั น กลางใหญ่ แ ละยาวกว่ า ก้ า นอื่ น
ครีบอกยาวปลายแหลม ครีบท้องค่อนข้างใหญ่และมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหางปลายเป็นแฉก อาศัยใน
ชายฝั่งพบชนิดเดียว คือ
อีคลุด (Acanthopagrus pacificus)
ขนาดโตสุดมีความยาว 40 เซนติเมตร
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 171
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

อีคลุด
Acanthopagrus pacificus Iwatsuki, Kume & Yoshino, 2010

วงศ์ปลาเสือตอ (Family Datnioidae)


ปลาน�้ำจืดและปากแม่น�้ำขนาดกลาง ลักษณะรูปร่างทรงป้าน ล�ำตัวแบนข้าง ปากยืดได้ดี
ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน เกล็ดเล็กเป็นแบบขอบสาก เป็นปลากินเนื้อ พบ 1 ชนิด คือ
กะพงลาย (Datnioides polota)
มีลายบั้งสีคล�้ำพาด 7-8 บั้ง ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร

กะพงลาย
Datnioides polota (Hamilton, 1822)
172 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาทรายแดง (Family Nemipteridae)


ลักษณะรูปร่างรูปไข่เรียว ล�ำตัว แบนข้างเล็กน้อย ปากกว้าง มีฟันเขี้ยวเล็ก หัวด้านหน้า
ของตาไม่มีเกล็ด ล�ำตัวมีเกล็ดขนาดปานกลางแบบขอบสาก ครีบหลังเป็นตอนเดียวยาว ครีบก้น
ค่อนข้างยาว ครีบหางแบบเว้าลึก หรือเว้าตืน้ มักมีสพี นื้ ตัวเป็นสีแดงหรือชมพูเข้ม อาศัยในทะเลชายฝัง่
อยู่ใกล้หน้าดิน พบ 2 ชนิดคือ
ทรายขาว (Scolopsis taeniopterus)
กระดู ก ใต้ ต ายื่ น เป็ น หนามแหลม ครี บ หางเว้ า ตื้ น มี จุ ด แดงที่ ฐ านครี บ อก ขนาดโตสุ ด
มีความยาว 16 เซนติเมตร
ทรายแดง (Nemipterus furcosus)
กระดูกใต้ตาเรียบ ครีบหางเว้าลึกรูปส้อม ขนาดโตสุดมีความยาว 18 เซนติเมตร

ทรายขาว
Scolopsis taeniopterus (Cuvier, 1830)

ทรายแดง
Nemipterus furcosus (Valenciennes, 1830)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 173
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลากะพงขี้เซา (Family Lobotidae)


ลักษณะรูปร่างทรงป้าน ล�ำตัวแบนข้างเล็กน้อย ปากกว้างเฉียงขึ้น ครีบหลังยาวมีตอนเดียว
ครีบหางปลายมน สีล�ำตัวมีสีเทาคล�้ำและประเลอะ ในปลาเล็ก มักลอยตัวอยู่นิ่งๆ โดยใช้ส่วนหัวทิ่มลง
กับพื้น ใต้วัสดุต่างๆ พบรอบเขตร้อนของโลกชนิดเดียว คือ
กะพงขี้เซา (Lobotes surinamensis)
ขนาดโตสุดมีความยาว 45 เซนติเมตร

กะพงขีเ้ ซา
Lobotes surinamensis (Bloch, 1790)

วงศ์ปลาเห็ดโคน (Family Sillaginidae)


ลักษณะล�ำตัวเรียวยาว ค่อนข้างกลมตามแนวตัดขวาง ส่วนหัวเป็นรูปกรวยจะงอยปากเรียว
ปากเล็กยืดหดได้ ฟันเล็กละเอียด เกล็ดเล็กแบบมีขอบสาก ครีบหลังมีสองตอนแยกกัน ครีบอก
และครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาว ครีบหางตัดตรงหรือเว้าตื้น ล�ำตัวสีขาวหรือสีจางออกเหลือง
พบ 5 ชนิด คือ
เห็ดโคนลาย (Sillago aeolus)
ตัวมีลายเส้นเฉียงสั้นๆ สีน�้ำตาลคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 14 เซนติเมตร
เห็ดโคนจุด (Sillago intermedius)
ตัวมีลายเป็นขีดสั้นๆ และจุด สีน�้ำตาลคล�้ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 13 เซนติเมตร
เห็ดโคนหางด�ำ (Sillago ingenuua)
ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
174 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เห็ดโคนหางแถบ (Sillago asiatica)


ขอบบน และล่างครีบหางมีแถบด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 15 เซนติเมตร
เห็ดโคน (Sillago sihama)
ตัว และครีบมีสีพื้นเรียบ ขนาดโตสุดมีความยาว 18 เซนติเมตร

เห็ดโคนลาย
Sillago aeolus Jordan & Evermann, 1902

เห็ดโคนจุด
Sillago intermedius Wongratana, 1977

เห็ดโคนหางด�ำ
Sillago ingenuua (McKay, 1985)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 175
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เห็ดโคนหางแถบ
Sillago asiatica (McKay, 1982)

เห็ดโคน
Sillago sihama (Forsskål, 1775)

อันดับปลาปักเป้า วัว (Order Tetraodontiformes)


ปลาทะเลและน�้ำจืดขนาดเล็กถึงกลาง ส่วนหัวโต ปากเล็กมาก มักมีฟันเป็นซี่ใหญ่หรือเป็น
แผ่นช่องเหงือกแคบ ลักษณะรูปร่างรูปไข่หรือทรงสี่เหลี่ยม คอดหางเรียว ล�ำตัวกลมหรือแบนข้าง
มักไม่มีครีบท้องหรือแปลงรูปไป ผิวหนังหนา เหนียวมีเกล็ดเป็นหนามเล็กฝังในผิว ส่วนมากว่ายน�้ำ
โดยใช้ครีบหลังและครีบก้น จึงว่ายน�้ำได้เชื่องช้า พบ 3 วงศ์รวม 12 ชนิด ได้แก่ วงศ์ปลาวัวสามเงี่ยง
(Triacanthidae) วงศ์ปลาวัวหางพัด (Monacanthidae) และวงศ์ปลาปักเป้า (Tetraodontidae)
วงศ์ปลาวัวสามเงี่ยง (Family Triacanthidae)
ลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยม เรียวที่คอดหาง ล�ำตัวแบนข้าง ปากเล็ก จะงอยปากยื่นยาว ฟันซี่เล็ก
ที่เกล็ด เล็กมาก ครีบหลังสองตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง มีอันหน้าสุดใหญ่ยาว ครีบอกเล็ก
ครีบท้องมีก้านครีบแข็งยาวแหลม มีก้านเดียวในแต่ละครีบ คอดหางเรียวยาว ครีบหางเว้าลึก
พบ 1 ชนิด คือ
สามเงี่ยง (Triacanthus nieuhofii)
โคนก้านครีบหลังอันแรกมีสีด�ำ ครีบหางสีเหลืองสด ขนาดโตสุดมีความยาว 18 เซนติเมตร
176 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

สามเงีย่ ง
Triacanthus nieuhofii Bleeker, 1852
วงศ์ปลางัวหางพัด (Family Monacanthidae)
ลักษณะรูปร่างรูปไข่หรือเหลี่ยม ล�ำตัวแบนข้างมาก เกล็ดมีขนาดเล็กเป็นหนาม ปากเล็กมีฟัน
เล็กเป็นเส้นสั้นๆ ครีบหลังมีสองตอน ตอนแรกมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน ครีบท้องแปลงรูปเป็นก้านแข็ง
อันเดียวอยู่ใต้ผิว ครีบก้นยาว ครีบหางตัดตรงหรือโค้งเป็นรูปพัดหรือมีปลายแหลม สีล�ำตัวมีลวดลาย
ต่างๆ แล้วแต่ชนิด พบชนิดเดียว ได้แก่
งัวหางพัด (Monacanthus chinensis)
คอดหางมีหนามเป็นตะขอสั้น 3 คู่ ครีบหางใหญ่ มีขนาดโตสุดมีความยาว 17 เซนติเมตร

งัวหางพัด
Monacanthus chinensis (Osbeck, 1762)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 177
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

วงศ์ปลาปักเป้า (Family Tetraodontidae)


ลักษณะรูปร่างรูปไข่ ล�ำตัวกลม หัวโต คอดหางสั้นเรียว ฟันเป็นซี่ใหญ่แบบจะงอยปากนกแก้ว
ใช้ส�ำหรับขบกัดสัตว์น�้ำมีเปลือกต่างๆได้ เมื่อตกใจสามารถสูบน�้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออก
ได้คล้ายลูกโป่ง ในหลายชนิดพบความเป็นพิษ ไม่ควรบริโภค พบ 10 ชนิดในก้นอ่าวไทย ได้แก่
ปักเป้าลายหินอ่อน (Chelonodontops patoca)
มีจุดและดวงสีจางกระจายบนตัวส่วนบน ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
ปักเป้าหลังเรียบ (Lagocephalus inermis)
ด้านหลังเรียบ ไม่มีเกล็ดหนามเล็ก ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
ปักเป้าหลังครึ่ง (Lagocephalus spadiceus)
ด้านหลังมีเกล็ดหนามเล็กถึงกึ่งกลางระหว่างครีบหลัง ขนาดโตสุดมีความยาว 20 เซนติเมตร
ปักเป้าหางวงเดือน (Lagocephalus lunaris)
ด้ า นหลั ง มี เ กล็ ด หนามเล็ ก ถึ ง ครี บ หลั ง ครี บ หางเว้ า รู ป วงเดื อ น ขนาดโตสุ ด มี ค วามยาว
40 เซนติเมตร
ปักเป้าจุดด�ำ (Chelonodon nigroviridis)
ตัวมีดวงสีด�ำบนพื้นเขียว ขนาดโตสุดมีความยาว 10 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปักเป้าเลขแปด (Dichotomyctere ocellatus)
บนหลังมีลายเป็นดวงด�ำขอบเหลือง ขนาดโตสุดมีความยาว 7 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็น
ปลาสวยงาม
ปักเป้าตาแดง (Carinotetraodon lorteti)
ล�ำตัวแบนข้างเล็กน้อย ตาแดง ครีบมีสีแดงเรื่อ ขนาดโตสุดมีความยาว 4 เซนติเมตร นิยมเลี้ยง
เป็นปลาสวยงาม
ปักเป้าจุดแดง (Pao fangi)
ใต้ครีบหลังมีดวงแดงขอบด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 7 เซนติเมตร
ปักเป้าหน้ายาว (Pao cambodgensis)
จะงอยปากยื่นยาว ใต้ครีบหลังมีดวงด�ำ ขนาดโตสุดมีความยาว 12 เซนติเมตร
ปักเป้าทอง (Auriglobus modestus)
ล�ำตัวแบนข้าง ฐานครีบหลังและครีบก้นยาว ตัวมีสีเขียวอมทอง ขนาดโตสุดมีความยาว
9 เซนติเมตร
178 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ปักเป้าลายหินอ่อน
Chelonodontops patoca (Hamilton, 1822)

ปักเป้าหลังเรียบ
Lagocephalus inermis (Bloch &Schneider, 1801)

ปักเป้าหลังครึง่
Lagocephalus spadiceus (Richardson, 1844)

ปักเป้าหางวงเดือน
Lagocephalus lunaris (Bloch &Schneider, 1801)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 179
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ปักเป้าจุดด�ำ
Dichotomyctere nigroviridis (Proce, 1822)

ปักเป้าเลขแปด
Dichotomyctere ocellatus (Steindachner, 1870)

ปักเป้าตาแดง
Carinotetraodon lorteti (Tirant, 1885)
180 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ปักเป้าจุดแดง
Pao fangi (Pellegrin & Chevey, 1940)

ปักเป้าหน้ายาว
Pao cambodgensis (Chabanaud, 1923)

ปักเป้าทอง
Auriglobus modestus (Bleeker, 1850)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 181
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ปลาน�้ำจืดที่หลงน�้ำ ไปในทะเลชายฝั่ง พบ 4 ชนิด คือ


ตะโกกหน้าสั้น (Albulichthys albuloides)
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) พบถูกจับได้ในปากแม่น�้ำบางปะกงช่วงฤดูน�้ำหลาก
ในบางครั้ง
สวายหนู (Helicophagus leptorhynchus)
อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีรายงานโดย Smith (1945) ถูกจับได้จากโป๊ะ
ทีป่ ากแม่นำ�้ เจ้าพระยา
วงศ์ปลาหมอ (Anabantidae) หมอ (Anabas testudineus) และวงศ์ปลาช่อน (Channidae)
ปลาช่อน (Channa striata) พบถูกจับได้จากอวนรุนในชายฝั่งเป็นครั้งคราว

ตะโกกหน้าสัน้
Albulichthys albuloides (Bleeker, 1855) Cr.ภาสกร แสนจันแดง

สวายหนู
Helicophagus leptorhynchus Ng & Kottelat, 2000
182 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

หมอ
Anabas testudineus (Bloch, 1792)

ช่อน
Channa striata (Bloch, 1793)

ปลาต่างถิ่น
ที่แพร่พันธุ์ได้ในระบบนิเวศต่างๆ ของก้นอ่าวไทย พบ 6 ชนิด ได้แก่ วงศ์ปลาหางนกยูง
(Poeciliidae) พบ 2 ชนิดคือ ปลากินยุง (Gambusia affinis) และปลาเซลฟิน ซิวไต้หวัน
(Poecilia velifera) มักพบในนากุ้งและแหล่งน�้ำนิ่งในปากแม่น�้ำ
วงศ์ปลานิล (Cichlidae) พบ 5 ชนิดคือ
หมอสีมายัน (Mayaheros urophthalmus)
เป็นปลาสวยงามที่ถูกทิ้งลงแหล่งน�้ำ
หมอเทศ (Oreochromis mossambicus) และหมอท้องเหลือง (Coptodon zillii)
เคยถูกน�ำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร แต่ไม่ได้รับความนิยมจึงถูกทิ้งให้แพร่พันธุ์ในธรรมชาติ
พบเป็นศัตรูในนากุ้งบางครั้ง
นิล (Oreochromis niloticus)
เป็นปลาที่หลุดจากบ่อเลี้ยงและปรับตัวได้ในน�้ำกร่อย
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 183
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

หมอคางด�ำ (Sarotherodon melanotheron)


เป็นปลาที่ถูกทิ้งจากการทดลองเลี้ยงของฟาร์มเอกชน เป็นปลาต่างถิ่นที่รุกราน และมี
ผลกระทบรุนแรงต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ำและระบบนิเวศ

กินยุง
Gambusia affinis (Baird & Girard, 1853)

เซลฟิน
Poecilia velifera (Regan, 1914)

หมอสีมายัน
Mayaheros urophthalmus (Günther, 1862)

หมอเทศ
Oreochromis mossambicus (Peters, 1852)
184 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

หมอท้องเหลือง
Coptodon zillii (Gervais, 1848)

นิล
Oreochromis niloticus (Linnaeus, 1758)

หมอคางด�ำ
Sarotherodon melanotheron (Ruppel, 1852)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 185
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บทส่งท้าย
186 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

บทส่งท้าย
20 ปี ของการส�ำรวจปลาก้นอ่าวไทย

ที่
ผ่านมายังไม่มีการส�ำรวจปลาอย่างเป็นระบบในพื้นที่อ่าวไทยมาก่อน ข้อมูลเดิมมีน้อย
และกระจัดกระจาย เช่น มีหมอสมิธ (Hugh McCormick Smith) เจ้ากรมรักษาสัตว์น�้ำ
(อธิบดีกรมประมง) คนแรกของไทย เขียนถึงการพบปลาฉนากไว้ในหนังสือปลาน�้ำจืดไทย
เล่มแรก The Freshwater Fishes of Siam or Thailand (พ.ศ.2488) หรือมีเอกสารวิชาการ
และวิทยานิพนธ์อีกเล็กน้อยและไม่ชัดเจน
งานส�ำรวจปลาถิ่นนี้อย่างจริงจังครั้งแรกเริ่มเมื่อ ปี พ.ศ.2543 เมื่อผมได้ทุนจาก BRT (โครงการ
พัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย) ศึกษาความ
หลากหลายของชนิดปลาบูใ่ นอ่าวไทยตอนบนในช่วง ปี พ.ศ.2543-2545 โดยเก็บข้อมูลตามป่าชายเลน
หาดโคลน และปากแม่นำ �้ ตัง้ แต่ตราดจนถึงเพชรบุรี เนือ่ งจากความหลากหลายของชนิดปลาบูส่ ามารถ
เป็นตัวชีว้ ดั สุขภาพถิน่ อาศัยของมันได้ ผลส�ำรวจรอบนัน้ พบปลาบูเ่ กือบ 50 ชนิด ซึง่ ถือว่ามากพอสมควร
มีตั้งแต่ตัวเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย จนถึงตัวโตๆ อย่างปลาตีนและปลากระจัง และจากการส�ำรวจต่อมา
จนถึงปัจจุบัน พบปลาบู่ที่อ่าวไทยทั้งหมดราว 55 ชนิด
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 187
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

นอกจากส�ำรวจปลาบู่แล้ว ผมเก็บข้อมูลสัตว์น�้ำอื่นๆ ด้วย ทั้งกุ้งหอยปูปลา เรียกว่าเก็บทุกอย่าง


ที่ขวางหน้าก็ได้ แหล่งส�ำรวจก็หลากหลาย คือทุกที่ที่เข้าถึงได้ ตั้งแต่ออกไปกับเรือประมงชาวบ้าน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรืออวนรุนขนาดเล็กที่ออกตอนกลางวันไปรุนเคยหรือจับปลากระตัก ออกไปตาม
โพงพางหรือโป๊ะที่เขาก�ำลังกู้สดๆ ถ้าได้ปลาบู่หรือปลาแปลกๆ เราก็เก็บมา ส�ำรวจตามแพขายส่งปลา
แผงปลาในตลาดสดตอนเช้าและตลาดนัดตอนเย็น แม้แต่ขอแบ่งปลาจากนักตกปลาตามสะพานข้าม
แม่น�้ำ หรือชาวบ้านที่ถือกระป๋องเดินหาปูหาหอยตามชายหาด ทุกที่ล้วนเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี และมี
ลุ้นทุกครั้งว่าจะเจออะไรที่ยังไม่เคยเจอบ้างไหม
ในช่วงปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน ผมเกษียณจากงานประจ�ำ และได้กลับมาส�ำรวจชายฝั่งย่าน
นี้บ่อยๆ อีกครั้ง แหล่งข้อมูลส�ำคัญที่เพิ่มเข้ามาปีท้ายๆ คือข่าวสารจากโซเชียลมีเดีย ทั้งจากไลน์กลุ่ม
และเฟสบุ๊คของเพื่อนๆ ที่เต็มไปด้วยนักวิชาการ นักส�ำรวจ และคนที่สนใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โพสต์ในกลุ่มเฉพาะต่างๆ และข้อความที่ส่งมาสอบถามโดยตรงเวลาเจอตัวอะไรแปลกๆ ข้อมูลที่
ป๊อบอัปขึ้นมาตรงนั้นตรงนี้กลายเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นเล็กๆ มากมายให้ได้ตรวจสอบและเก็บสะสม
อย่างล่าสุดเมื่อไม่นานนี้ มีคนโพสต์เฟสบุ๊คว่าเจอปลาตัวหนึ่งในวงศ์ปลาตั๊กแตนหินที่ริมน�้ำ
แถวปทุมธานี แม้จะไม่ใช่ปลาหายาก แต่ก็เจอไม่ง่าย เพราะเป็นปลาตัวเล็กที่ชอบซุกอยู่ตามโพรงไม้
และยังไม่เคยมีบันทึกแบบเป็นทางการว่าพบในเขตนี้มาก่อน ผมเชื่อว่าโพสต์นั้นเป็นข้อมูลจริง เพราะ
ตามธรรมชาติแล้วเจ้าปลาตัวนีเ้ ป็นปลาน�ำ้ กร่อย ทีบ่ างกระเจ้าก็คงมีตวั แต่ไม่มรี ายงานเหมือนกัน มีคน
เข้ามาคอมเมนต์ด้วยว่า เคยจับได้ที่ท่าน�้ำวัดพระแก้ว แต่เมื่อไม่มีรูปถ่ายยืนยันก็ต้องละไว้ก่อน
188 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

พืน้ ทีจ่ ดุ ส�ำคัญทีผ่ มลงพืน้ ทีส่ ำ� รวจบ่อยในช่วงนีค้ อื ทีป่ ากน�ำ้ บางปะกง และเพชรบุรี เพราะทีป่ ากน�ำ้
ท่าจีน เจ้าพระยา และแม่กลอง เหลือปลาพื้นถิ่นน้อยลงมาก ปลาส่วนใหญ่ในตลาดย่านนั้นมาจาก
นอกพืน้ ที่ สะท้อนให้เห็นว่าสุขภาพของแม่นำ�้ บางปะกงและเพชรบุรยี งั ดีกว่าแม่นำ�้ อีกสามสายทีน่ ำ�้ เน่า
ใหญ่แทบทุกปี แต่ละครั้งมีปลาตายจ�ำนวนมาก และปลาที่เปราะบางก็มักตายจนหมด เช่น ปลากะโห้
ปลายีส่ ก ทีส่ ญ ู พันธุไ์ ปจากแม่กลอง เพราะน�ำ้ เน่าจากโรงงานน�ำ้ ตาลและโรงงานอุตสาหกรรมในราชบุรี
ส่วนปลากระเบน แม้จะตายมากแต่ก็ยังพอมีเหลือ เพราะบางส่วนว่ายหนีออกทะเลได้ นอกจากนั้น
ในลุ่มน�้ำแม่กลองยังมีเขื่อนนับสิบแห่ง ซึ่งท�ำให้ธาตุอาหารในแม่น�้ำลดลง และกีดขวางการกระจาย
ตัวอย่างอิสระของสัตว์ตามล�ำน�้ำ
ในรอบยี่สิบปีของการส�ำรวจนี้ พบว่าปลาก้นอ่าวไทยน้อยลงมากทั้งชนิดและปริมาณ ปลาหลาย
อย่าง เช่น ปลาหางกิ่ว ปลากระเบนธง ที่เมื่อก่อนหาไม่ยากและมีวางขายเต็มตลาด แต่ปัจจุบันพบ
น้อยมาก ถ้ามีมาถึงแผงก็ขายหมดในพริบตา ปลาน�ำ้ จืดและทะเลหลายชนิด ปลาฉนาก และปลาฉลาม
บางชนิดหายไป และไม่เคยพบอีก กุ้งหอยปูน้อยลง และกุ้งส่วนใหญ่มาจากบ่อเลี้ยง
แต่ถ้ามองในภาพรวม คุณภาพน�้ำก้นอ่าวไทยก็ยังพอใช้ได้ แต่ต้องดูแลปัญหามลพิษที่เกิดเป็น
ครัง้ คราว แม้จะเจอชนิดปลาโดยรวมน้อยลง แต่ในพืน้ ทีก่ ย็ งั มีปลาตระกูลกระเบน และฉลาม ผูล้ า่ ข้างบน
ของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน�้ำที่ดีและระบบนิเวศที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะที่แม่น�้ำบางปะกง
ทีผ่ า่ นมา กรมประมงพยายามป้องกันไม่ให้ปลาทูสญ ู พันธุ์ ด้วยการออกมาตรการปิดอ่าวไทยตอนกลาง
แถวหมู่เกาะอ่างทองและอ่าวประจวบในฤดูปลามีไข่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม เพื่อป้องกัน
ไม่ให้แม่ปลาถูกจับไปจนหมด แต่จ�ำนวนปลาทูก็ยังไม่เพิ่ม ปัญหาที่พบก็คือ เมื่อฝูงลูกปลาทูตัวเท่า
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 189
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ปลายก้อยออกจากไข่ว่ายไปอยู่กลางทะเลนอกโซนปิดอ่าว ก็ถูกกองเรืออวนล้อมส่องไฟจับปลากะตัก
ตอนกลางคืนจับไปพร้อมปลากะตัก เอามาตากแห้งขายเป็นถุงๆ เรียกปลาทูแก้วบ้าง ปลาทูเล็กบ้าง
ปลาทูมันบ้าง ถุงหนึ่งมีลูกปลาทูราวสองร้อยตัว หรือลูกปลาอื่นๆ อย่างปลาสาก ปลาน�้ำดอกไม้
ปลาอินทรี ที่ปกติที่ควรบริโภคต้องตัวใหญ่เท่าแขนเท่าขา ก็ถูกจับมาตอนตัวไม่ถึงคืบ และกลายเป็น
ของทิ้งอยู่ตามแพปลา คิดเป็นค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล เทียบไม่ได้เลยกับการปล่อย
ให้ลูกปลาโตป็นตัวเต็มวัย ซึ่งถ้าจะอนุรักษ์ให้เห็นผล ควรมีมาตรการห้ามเรือปั่นไฟจับปลากะตักตอน
กลางคืน โดยเลิกเกรงใจเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
ช่องว่างของความรู้ส�ำคัญที่ควรท�ำในระยะยาว คือการส�ำรวจและประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจ
ที่แท้จริงจากผลผลิตทางทะเลของอ่าวไทยตอนใน ว่าสัตว์น�้ำทั้งที่จับและเพาะเลี้ยงได้มีจ�ำนวนเท่าไร
ส่งไปขายถึงไหนบ้าง หล่อเลี้ยงผู้คนจ�ำนวนเท่าไหร่ และคิดเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ซึ่งเป็นข้อมูลส�ำคัญ
ที่ต้องใช้ในการประเมินคุณค่าทางเศรษฐนิเวศที่แท้จริงของพื้นที่ อันมีประโยชน์ต่อการประเมินผล
กระทบทางสิ่งแวดล้อมส�ำหรับโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเฉพาะแผนงาน หรือนโยบาย
ใดๆ ที่จะเกิดผลกระทบในทางลบ ที่เปลี่ยนระบบนิเวศอย่างสิ้นเชิง เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
ปิดปากอ่าว หรือก�ำแพงกั้นน�้ำท่วม
การเข้าใจความจริงจะท�ำให้ก�ำหนดนโยบายที่ถูกต้อง เพื่อความสมบูรณ์ ยั่งยืน และเกิดมูลค่า
เพิ่มต่อทรัพยากรชีวภาพ ที่มีคุณค่ามหาศาลในก้นอ่าวไทย
190 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

รายชื่อพรรณปลา
ความหมายค�ำย่อ: e = พบบ่อยในท้องตลาด common edible species; A= aquarium fish
จับเป็นปลาสวยงาม; RE= สูญพันธุ์แล้วจากก้นอ่าวไทย Regionally Extinct; CR = ใกล้สูญพันธุ์
อย่างวิกฤติ Critically Endangered; EN = ใกล้สูญพันธุ์ Endangered; VU = ล่อแหลมต่อการ
ใกล้สูญพันธุ์ Vulnerabled; NT = ใกล้ถูกคุกคาม Near Theatened; DD = ข้อมูลไม่เพียงพอ
ในการประเมิน data deficient; t = ปลาทะเลทีเ่ ข้ามาในบางช่วงชีวติ หรือครัง้ คราว Marine transient/
visitor; IAS = สัตว์ต่างถิ่นที่รุกราน Invasive Alien Species

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์

ปลากระดูกอ่อน CLASS CHONDRICHTHYES


อันดับปลาฉลามครีบด�ำ (Order Carcharhiniformes)
วงศ์ปลาฉลามครีบด�ำ (Family Carcharhinidae)
ฉลามหัวบาตร Bull shark Carcharhinus leucas
(Müller & Henle, 1839) EN, t
ฉลามจ้าวมัน Graceful shark Carcharhinus amblyrhynchoides
(Whitley, 1934) NT, t
ฉลามจุดด�ำ Spottail shark Carcharhinus sorrah
(Müller & Henle, 1839) e, NT, t
ฉลามหนู Spadenose shark Scoliodon macrorhynchos
(Bleeker, 1852) NT, t
อันดับปลาฉลามกบ (Order Orectolobiformes)
วงศ์ปลาฉลามวาฬ (Family Rhyncodontidae)
ฉลามวาฬ Whaleshark Rhyncodon typus Smith, 1828 EN, t
วงศ์ปลาฉลามกบ (Family Hemiscylliidae)
ฉลามกบ Indonesian bambooshark Chiloscyllium punctatum
Müller & Henle, 1838
ฉลามกบเทา Grey bambooshark Chiloscyllium griseum Müller &
Henle, 1838 VU, t
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 191
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
อันดับปลาฉนาก (Order Rhinopristiformes)
วงศ์ปลาฉนาก (Family Pristidae)
ฉนากจะงอยกว้าง Great-tooth sawfish Pristis pristis (Linnaeus, 1758) RE, t
ฉนากจะงอยแคบ Pointed sawfish Anoxypris cuspidatus
(Latham, 1794) RE, t
อันดับปลากระเบน (Order Myliobatiformes)
วงศ์ปลากระเบนธง (Family Dasyatidae)

กระบางกลม Scaly whipray Brevitrygon cf. imbricata


(Bloch & Schneider, 1801) e, VU, t
กระบางหางหนา Dwarf Whipray Brevitrygon heterura
(Bleeker, 1852) e, VU, t
กระบางครีบเหลีย่ ม Indonesian sharpnose ray Telatrygon biasa Last, White & Naylor,
2016 e, VU, t
กระบางหน้าแหลม Pale-edge sharpnose ray Telatrygon zugei
(Müller & Henle, 1841) e, NT, t
กระเบนราหูน�้ำจืด Urogymnus chaophraya
Chao Phraya giant whipray (Monkolprasit and Roberts, 1990) CR
กระเบนลาย Marbled whipray Fluvitrygon oxyrhyncha
(Sauvage, 1878) A, EN
กระเบนขาว White edge whipray Fluvitrygon signifer
(Compagno & Roberts, 1982 )A, EN
กระเบนสีเลือด Red stingray Hemitrygon akajei
(Müller & Henle, 1841) e, NT, t
กระเบนปากแม่น�้ำ Estuary stingray Hemitrygon fluviorum
(Ogilby, 1908) e, VU
กระเบนหางหวาย Bennett’s stirgray Hemitrygon bennettii
(Müller & Henle, 1841) e, VU, t
กระเบนทรายเทา Oriental black stingray Hemitrygon narvarrae
(Steindachner, 1892) e, VU, t
192 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
กระเบนใบบัว Whitenose whipray Pateobatis uarnacoides
(Bleeker, 1852) EN, t
กระเบนจ้าวมัน Round whipray Maculabatis pastinacoides (Bleeker, 1852)
กระเบนหิน Pink whipray Pateobatis fai (Jordan & Seale, 1906) VU, t
กระเบนธงจมูกดาว Narrowtail stingray Pastinachus stellurostris Last, Fahmi &
Naylor, 2010 e, A, VU
กระเบนแมลงวัน Whitespotted whipray Maculabatis gerrardi (Gray, 1851) e, EN, t
กระเบนจุดขาว Sharpnose whipray Maculabatis macrura
(Bleeker, 1852) e, EN, t
วงศ์ปลากระเบนนก (Family Myliobatidae)
กระเบนนก Mottled eagle ray Aetobatus ocellatus (Kuhl, 1823) VU, t
วงศ์ปลากระเบนราหุ (Family Mobulidae)
กระเบนราหูหางหนาม Giant devilray Mobula mobular (Bonnaterre, 1788) EN
ปลากระดูกแข็ง CLASS OSTEICHTHYES
อันดับปลาตาเหลือก (Order Elopiformes)
วงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Family Elopidae)
ตาเหลือกยาว Tenpounder Elops machnata (Forsskål, 1775), t
วงศ์ปลาตาเหลือกสั้น (Family Megalopidae)
ตาเหลือกสั้น Indo-Pacific tarpon Megalops cyprinoides (Broussonet, 1782) e, t
อันดับปลาไหลทะเล (Order Anguilliformes)
วงศ์ปลาตูหนา (Family Anguillidae)
ตูหนาหูด�ำ Pacific shortfin eel Anguilla bicolor pacifica Schmidt, 1928 NT
วงศ์ปลาไหลงู (Family Ophichthidae)
ไหลงู Rice-paddy eel Pisodonophis boro (Hamilton, 1822) A
ไหลกินปู Crab-eater eel Pisodonophis cancrivorus (Richardson, 1844)
ไหลงูสั้น Snake eel Myrophis microchir (Bleeker, 1864)
ไหลงูเรียว Ordinary snake-eel Ophichthus rutidoderma (Bleeker, 1852)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 193
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
วงศ์ปลาหลดหิน (Family Muraenidae)
ไหลช่อ Estuarine moray Gymnothorax tile (Hamilton, 1822) A
วงศ์ปลายอดจาก (Family Muraenesocidae)
ยอดจาก Yellow pike conger Congresox talabon (Cuvier, 1829) e,
ยอดจากหูด�ำ Daggertooth pike conger Muraenosox cinereus (Forsskål, 1775) e,
อันดับปลากะตัก หลังเขียว (Order Clupeiformes)
วงศ์ปลาอีปุด (Family Pristigasteridae)
ตาตุ่ม Bigeye ilisha Ilisha megaloptera (Swainson,1839) e,
อีปุดตาโต Indian ilisha Ilisha melastoma (Bloch & Schneider, 1801)
อีปุด Lobejaw ilisha Ilisha sirishai Seshagiri Rao, 1975
อีปุดเรียว Kampen’s ilisha Ilisha kampeni (Weber & de Beaufort, 1913)
วงศ์ปลากะตัก (Family Engraulidae)
หางไก่จดุ ทอง Goldspotted grenadier anchovy Coilia dussumieri Valenciennes, 1848
หางไก่นำ�้ จืด Lindman’s grenadier anchovy Coilia lindmani Bleeker, 1857
แมวหูยาว Scaly hairfin anchovy Setipinna taty (Valenciennes, 1848) e,
แมวหูด�ำ Dusky-hairfin anchovy Setipinna melanochir (Bleeker, 1849) e,
แมว Hamilton’s thryssa Thryssa hamiltonii (Gray, 1835) e,
แมวงายาว Longjaw thryssa Thryssa setirostris (Broussonet, 1782)
แมวเขี้ยวยาว Sabretoothed thryssa Lycothrysa crocodylus (Bleeker, 1850)
กะตักเรียว Commerson’s anchovy Stolephorus commersonii Lacepède, 1803 e,
กะตักควาย Pacific anchovy Stolephorus oceanicus Hardenberg, 1933 e
กะตักสั้น Bagan anchovy Stolephorus baganensis Hardenberg, 1933 e
กะตักอ่าวไทย Thai anchovy Stolephorus dubiosus Wongratana, 1988
กะตัก Hardenberg’s anchovy Stolephorus insularis Hardenberg, 1933
กะตักหัวด�ำ Spined anchovy Stolephorus tri (Bleeker, 1852) e
กะตักเหลือง Spotty-face anchovy Stolephorus waitei Jordan & Seale, 1926 e
กะตักหัวแข็ง Shorthead anchovy Encrasicholina pseudoheteroloba
(Hardenberg, 1933) e
194 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์

วงศ์ปลาหลังเขียว (Family Clupeidae)

ตะเพียนน�้ำเค็ม Chacunda gizzard shad Anodontostoma chacunda


(Hamilton, 1822) e
โคบ Thai gizzard shad Anodontostoma thailandiae
Wongratana, 1983
โคบกระโดง Bloch’s gizzard shad Nematalosa nasus (Bloch, 1795) e,
มงโกรย Kelee shad Hilsa kelee (Cuvier, 1829) e,
ตะลุมพุกสั้น Reeves shad Tenualosa reevesi (Richardson, 1846)
ตะลุมพุก Toli shad Tenualosa toli (Valenciennes, 1847) RE
กุแลหลังจุด Blacksaddle herring Herklotsichthys dispilonotus
(Bleeker, 1852)
กุแลแบน White sardinella Sardinella albella (Valenciennes, 1847
อกแรสั้น Deepbody sardinella Sardinella brachysoma Bleeker, 1852 e,
กุแลหลังเขียว Pacific fringescale sardinella Sardinella pacifica
Hata & Motomura, 2019 e,
กุแลหางเรียว Richardson’s sardinella Sardinella richardsoni Wongratana, 1983
กุแลแถบทอง Goldstripe sardinella Sardinella gibbosa (Bleeker, 1849) e,
กุแลยาว Bali sardinella Sardinella lemuru Bleeker, 1853 e,
อกแรกลม Spotted sardinella Amblygaster sirm (Walbaum, 1792) e,
กะตักแก้วเรียว Slender white sardine Escualosa elongata Wongratana, 1983 e,
กะตักแก้ว White sardine Escualosa thoracata (Valenciennes, 1847) e,
ซิวแก้วอ่าวไทย Bangkok river sprat Corica laciniata Fowler, 1935 e,
ซิวแก้ว Ganges river sprat Corica soborna Hamilton, 1822 e,
ซิวแก้วหางดอก Borneo river sprat Clupeoides borneensis Bleeker, 1849 e,
ซิวแก้วสั้น Sumatran river sprat Clupeichthys goniognathus
Bleeker, 1855 e,
วงศ์ปลาดาบลาว (Family Chirocentridae)

ดาบลาว Whitefin wolf-herring Chirocentrus nudus Swainson, 1839 e, t


พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 195
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์

อันดับปลานวลจันทร์ทะเล (Order Gonorynchiformes)


วงศ์ปลานวลจันทร์ทะเล (Family Chanidae)
นวลจันทร์ทะเล Milkfish Chanos chanos (Forsskål, 1775) e,
อันดับปลาหนัง (Order Siluriformes)
วงศ์ปลาสวาย (Family Pangasiidae)
สังกะแวง Slender pangasiid catfish Pangasius elongatus
Pouyaud, Gustiano & Teugels, 2002
วงศ์ปลาดุกทะเล (Family Plotosidae)
ดุกทะเล Gray eel-catfish Plotosus canius Hamilton, 1822 e,
ปิ่นแก้ว Striped eel-catfish Plotosus lineatus (Thunberg, 1787) e, t
วงศ์ปลากดทะเล ปลาอุก (Family Ariidae)
กดทะเล Slendered spine sea catfish Arius leptonotacanthus (Bleeker, 1849) e,
กดทะเลกระโดงยาว Veined catfish Arius venosus Valenciennes, 1840 e,
กดอีติก Oetik sea catfish Arius oetik Bleeker, 1846 e,
เซียว Longsnouted catfish Plicofollis argyropleuron
(Valenciennes 1840) e,
กดทะเลหลังจุด Spotted sea catfish Plicofollis dussumieri
(Valenciennes, 1840) e,
กดหัวแข็ง Shieldheaded catfish Plicofollis nella (Valenciennes, 1840) e,
อุกจุดด�ำ Spotted catfish Cephalocassis bicolor Fowler, 1935 e,
อุก Borneo sea catfish Cephalocassis borneensis (Bleeker, 1851) e,
กดหัวแข็ง Shieldheaded catfish Nemapteryx nenga (Hamilton, 1822) e,
กดคันหลาว Truncate sea catfish Cryptarius truncatus (Valenciennes, 1840) e,
กดขี้ลิง Sagor catfish Hexanematichthys sagor (Hamilton, 1822) e,
กดหัวอ่อน Soldier catfish Osteogeneiosus militaris (Linnaeus, 1758) e,
กดหัวผาน Armoured sea catfish Hemiarius verrucosus (Ng, 2003) RE
กดหัวลิง Scale-eater sea catfish Ketengus typus Bleeker, 1846 VU
กดหัวกบ Fin-eater sea catfish Batrachocephalus mino (Hamilton, 1822) VU
196 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
วงศ์ปลาปลากด แขยง (Family Bagridae)

อีกง Long whiskers catfish Mystus cf. gulio (Hamilton, 1822) e,


แขยงนวล Highfin catfish Mystus velifer Ng, 2012 e,
อันดับปลาปากคม (Order Aulopiformes)
วงศ์ปลาปากคม (Family Synodontidae)
ปากคมหูสั้น Shortfin lizardfish Saurida micropectoralis
Shindo & Yamada, 1972 e,
อันดับปลากุเราแคระ ปลาค็อด (Order Gadiformes)
วงศ์ปลากุเราแคระ (Family Bregmacerotidae)
กุเราแคระหูด�ำ Spotted codlet Bregmaceros mcclellandi
Thompson, 1840
อันดับปลาข้าวเม่าน�้ำลึก (Order Beryciformes)
วงศ์ปลาข้าวเม่าน�้ำลึก (Family Holocentridae)
ข้าวเม่าน�้ำลึก Redcoat Sargocentron rubrum (Forsskål, 1775 t)
อันดับปลาคางคก (Order Batrachoidiformes)
วงศ์ปลาคางคก (Family Batrachoididae)
อุบสิงโต Grunting toadfish Allenbatrachus grunniens
(Linnaeus, 1758) A
ย่าไอ้ดุก Three-spined frogfish Batrachomoeus trispinosus
(Günther, 1861)
อันดับปลาตกเบ็ด (Order Lophiiformes)
วงศ์ปลากบ (Family Antennariidae)
กบสาหร่าย Sargassumfish Histrio histrio (Linnaeus, 1758) t
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 197
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
อันดับปลาอมไข่ (Order Kurtiformes)
วงศ์ปลาอมไข่ (Family Apogonidae)
อมไข่หลังโหนก Humpbacked cardinalfish Yarica hyalosoma (Bleeker, 1852)
อมไข่แถบ Broadbanded cardinalfish Ostorhinchus fasciatus (White, 1790) t
อมไข่ครีบดวง Ocellate cardinalfish Jaydia carinatus (Cuvier, 1828) t
อมไข่ครีบแถบ Flag-in cardinal-fish Jaydia ellioti (Day, 1875) t
อันดับปลาบู่ (Order Gobiiformes)
วงศ์ปลาบู่ทราย (Family Butidae)
บู่ลื่น Four-eyed sleeper Bostrychus sinensis Lacepède 1801
บู่เกล็ดแข็ง Duckbill sleeper Butis butis (Hamilton 1822) A
บู่จากผอม Olive flathead-gudgeon Butis amboinensis (Bleeker, 1853)
บู่จากด�ำ Sleeper Butis humeralis (Valenciennes, 1837).
บู่จากแต้มส้ม Sleeper Butis gymnopomus (Bleeker, 1853
วงศ์ปลาบู่ลื่น (Family Eleotridae)
บู่ด�ำ Broadhead sleeper Eleotris melanosoma Bleeker, 1853
บู่ลื่นครีบจุด Mud gudgeon Oxyeleotris urophthalmoides (Bleeker, 1853) A
บู่หัวมัน Northern mud gudgeon Ophiocara porocephala
(Valenciennes, 1837)
บู่เกล็ดแข็งหัวสั้น Mud sleeper Prionobutis koilomatodon
(Bleeker, 1849)
บู่ค้างคาว Small-eyed loter Prionobutis microps (Weber 1907)
วงศ์ปลาบู่ (Family Gobiidae)
บู่เขี้ยว Tropical sand goby Acentrogobius caninus
(Valenciennes, 1854)
บู่จุดฟ้า Greenspot goby Acentrogobius chlorostigmatoides
(Bleeker, 1849) e,
บู่ครีบม่วง Robust mangrove goby Acentrogobius janthinopterus
(Bleeker, 1852)
198 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
บู่จุดเขียว Spotted green goby Acentrogobius viridipunctatus
(Valenciennes, 1837) e,
บู่ลูกหยี Kranji Drombus Drombus kranjiensis (Herre, 1940)
บู่หัวกลม Brown drombus Drombus globiceps (Hora 1923)
บู่ด�ำครีบยาว Threadfin blue goby Aulopareia cyanomos (Bleeker, 1849) e,
บู่เทา Scalycheek goby Aulopareia unicolor (Valenciennes, 1837) e,
บู่จุดด�ำ Shadow goby Yongeichthys nebulosus (Forsskål 1775)
บู่หางจุด Tail-eyed goby Parachaeturichthys polynema
(Bleeker, 1853)
บู่เครา Longjaw goby Gobiopsis macrostoma
Steindachner, 1861.
บู่ขี้เซา Sleepy goby Psammogobius biocellatus
(Valenciennes, 1837).
บู่ทอง Golden tank goby Glossogobius aureus
Akihito & Meguro, 1975 e,
บู่ทองสีจาง Pale tank goby Glossogobius sparsipapillus
Akihito & Meguro, 1976
วงศ์ปลาเขือ (Family Oxudercidae)

บู่หมาจูเล็ก Kabili bumblebee goby Brachygobius kabiliensis Inger 1958


บู่หมาจู Bumblebee goby Brachygobius xanthomelas Herre, 1937
บู่ตาเล็ก Small-eye calamiana Eugnathogobius microps Smith, 1931 DD
บู่สยาม Siamese calamiana Eugnathogobius siamensis (Fowler, 1934)
บู่ปากกว้าง Kabilia calamiana Eugnathogobius kabilia (Herre 1940)
บู่ปากกว้างลายกระ Variegated goby Eugnathogobius variegata (Peters, 1869)
บู่ใส Glass goby Gobiopterus chuno (Hamilton, 1822)
บู่ป่าเลน Mangrove Goby Mugilogobius cavifrons (Weber, 1909)
บู่จุล Two-spot Mangrove Goby Mugilogobius chulae (Smith, 1932)
บู่ร�ำไพ Queen Rambai’s goby Mugilogobius rambaiae (Smith 1945) VU
บู่ชวา Javanese Fat-nose Goby Pseudogobius poicilosong (Bleeker,1849)
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 199
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
บู่สั้น Speckled goby Redigobius chrysosoma (Kaumans, 1953)
บู่กล้วย Gray Knight Goby Stigmatogobius pleurostigma
(Bleeker, 1849)
บู่หน้าหนวด Bearded goby Tridentiger cf. barbatus (Günther, 1861).
เขือปากกว้าง Large mouth mudskipper Oxuderces dentatus
Eydoux & Souleyet, 1850.
เขือตาเขียว Madura goby Apocryptodon madurensis (Bleeker, 1849)
เขือเกล็ดเล็ก Frogface goby Oxyurichthys microlepis (Bleeker, 1849)
พรวดหางแหลม Pointed tail goby Pseudapocryptes elongatus (Cuvier, 1816)
เขือเกล็ดใหญ่ Large scale pointed tail goby Parapocryptes serperaster
(Richardson, 1846
จุมพรวด Boddart’s goggle-eyed goby Boleophthalmus boddarti (Pallas, 1770 e,)
ตีน Orange-spotted mudskipper Periophthalmus chrysospilos
Bleeker, 1852 A
ตีนลาย Barred mudskipper Periophthalmus argentilineatus
Valenciennes, 1837
กระจัง Giant mudskipper Periophthalmodon schlosseri
(Pallas, 1770) e,
พรวดกระโดง Bearded Mudskipper Scartelaos histophorus
(Valenciennes, 1837)
เขือเล็ก Short worm goby Brachyamblyopus brachysoma
(Bleeker, 1854)
เขือกล้วย Scaleless worm goby Caragobioides geomys Fowler, 1935
เขือ Large-scaled burrowing goby Trypauchen vagina
(Bloch & Schneider, 1801) e,
เขือคางยื่น Bearded worm goby Taenioides cirratus (Blyth, 1860)
เขือครีบด�ำ Blackfin eel goby Taenioides nigrimarginatus Hora, 1924
เขือเรียว Slender eel goby Taenioides gracilis (Valenciennes, 1837)
ผี Eel worm goby Taenioides anguillaris (Linnaeus, 1758) A
200 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
ซับซีรีส์ปลาแป้นแก้ว (Subseries Ovalentaria)
วงศ์ปลาแป้นแก้ว (Family Ambassidae)
แป้นแก้วครีบจุด Kops’s glass perchlet Ambassis kopsi Bleeker, 1858
แป้นแก้วหางเหลือง Bald glassy Ambassis gymnocephaluss Lacepède, 1802
แป้นแก้ว Long-spined glass perchlet Ambassis interruptus Bleeker, 1852
แป้นแก้ว Scalloped perchlet Ambassis nalua (Hamilton, 1822)
แป้นแก้วหางแถบ Banded-tail glassy perchlet Ambassis urotaenia Bleeker, 1852
แป้นแก้วยักษ์ Giant glassy perchlet Parambassis wolffii (Bleeker, 1850) e,
อันดับปลากระบอก (Order Mugiliformes)
วงศ์ปลากระบอก (Family Mugilidae)
กระบอกหัวแหลม Goldspot mullet Planiliza tade (Forsskål, 1775) e,
กระบอกด�ำ Greenback mullet Planiliza subviridis (Valenciennes, 1836) e,
กระบาก Broad-mouthed mullet Paramugil parmata (Cantor, 1849)
กระบอกหูด�ำ Squaretail mullet Ellochelon vaigiensis
(Quoy & Gaimard, 1825 e, t
กระเมาะ Longarm mullet Osteomugil cunnesius
(Valenciennes, 1836) e,
กระเมาะหางเหลือง Speigler’s mullet Osteomugil speigleri (Bleeker, 1859) e,
กระเมาะครีบยาว Longfinned mullet Osteomugil perusii (Valenciennes, 1836) e,
กระบอกหางฟ้า Longfin mullet Crenimugil pedaraki (Valenciennes, 1836) e,
กระบอกหางเขียว Bluespot mullet Crenimugil seheli (Forsskål, 1775) e,
กระบอกเทา Flathead grey mullet Mugil cephalus Linnaeus, 1758
วงศ์ปลากุเรา หนวดพราหมณ์ (Family Polynemidae)
กุเรา Fourfinger threadfin Eleutheronema tetradactylum
(Bleeker, 1849) e,
หนวดพราหมณ์ Northern paradise fish Polynemus aguillonaris
Motomura, 2003 e,
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 201
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์

อันดับปลาตั๊กแตนหิน (Order Bleniformes)


วงศ์ปลาตั๊กแตนหิน (Family Bleniidae)
ตั๊กแตนหินหน้าลาย Gossamer blenny Omobranchus ferox (Herre, 1927)
อันดับปลาหัวแข็ง (Order Atheriniformes)
วงศ์ปลาหัวแข็ง (Family Atherinidae)
หัวแข็ง Tropical silverside Atherinomorus duodecimalis
(Valenciennes, 1835)
หัวแข็ง Hardyhead silverside Atherinomorus lacunosus (Forster, 1801)
หัวแข็ง Sumatran silverside Hypoatherina valenciennei (Bleeker, 1853) t
อันดับปลาหัวตะกั่ว (Order Cyprinodontiformes)
วงศ์ปลาหัวตะกั่ว (Family Aplocheilidae)
หัวตะกั่ว Southeast Asian blue panchax Aplocheilus armatus (van Hasselt, 1823)
อันดับปลาเข็ม กระทุงเหว ข้าวสาร (Order Beloniformes)
วงศ์ปลาบู่ใส (Family Phallostethidae)
บู่ใส Priapiumfish Neostethus bicornis Regan, 1916
บู่ใส Smith’s priapiumfish Phenacostethus smithi Myers, 1928.
วงศ์ปลาตับเต่า (Family Hemiramphidae)

ตับเต่าทะเล Jumping halfbeak Hemiramphus archipelagicus


Collate & Parin, 1978 t
ตับเต่าลาย Black-barred halfbeak Hemiramphus far (Forsskål, 1775) e, t
ตับเต่าปากสั้น Congaturi halfbeak Hyporhamphus limbatus
(Valenciennes, 1846) e,
ตับเต่าปากแดง Dussumier’s halfbeak Hyporhamphus dussumieri
(Valenciennes, 1847)
202 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์

วงศ์ปลาเข็ม (Family Zenarchopteridae)


เข็ม Wrestling halfbeak Dermogenys siamensis Fowler 1934
ตับเต่าน�้ำจืด Buffon’s river-garfish Zenarchopterus buffonis
(Valenciennes, 1847)
ตับเต่าหางตัด Duncker’s river garfish Zenarchopterus dunckeri Mohr, 1926
ตับเต่าใส Clear helfbeak Zenarchopterus clarus Mohr, 1926
ตับเต่า Ectuntio halfbeak Zenarchopterus ectuntio
(Hamilton, 1822)
ตับเต่าครีบหลังด�ำ Bangkok halfbeak Zenarchopterus pappenheimi
Mohr, 1926 DD
วงศ์ปลากระทุงเหว (Family Belonidae)
กะทุงเหวหูด�ำ Banded needlefish Strongylura leiura (Bleeker, 1850) e,
กะทุงเหวแม่หม้าย Spottail needlefish Strongylura strongylura
(van Hasselt, 1823) e,
กะทุงเหว Reef Longtom Strongylura incisa (Valenciennes, 1846) e,
กะทุงเหวยักษ์ Longtom Tylosurus crocodylus
(Peron & Leseuer, 1821) e, t
กะทุงเหว Keel-jawed needle fish Tylosurus acus melanotus (Bleeker, 1850) t
วงศ์ปลาซิวข้าวสาร (Family Adrianichthyidae)
ซิวข้าวสารน�้ำกร่อย Haugian ricefish Oryzias haugiangensis Roberts, 1998
อันดับปลาไหลนา (Order Synbranchiformes)
วงศ์ปลากระทิง (Family Mastacembelidae)
กระทิงไฟ Fire spiny eel Mastacembelus erythrotaenia
Bleeker, 1870 A, VU
วงศ์ปลาไหลนา (Family Sybranchidae)
หลาดแดง Estuarine swamp eel Macrotrema cf. caligans (Cantor, 1849)
ไหลหลาด Bengal swamp eel Ophisternon cf. bengalense M’Clelland, 1844
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 203
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
อันดับปลาหางแข็ง (Order Carangiformes)
วงศ์ปลาหางแข็ง (Family Carangidae)
สะดือขอ Razorbelly scad Alepes kleinii (Bloch, 1793) e, t
สีกุนหัวอ่อน Shrimp Scad Alepes djedaba (Forsskål, 1775) e, t
สีกุนหัวอ่อนกระโดงด�ำ blackfin scad Alepes malanoptera (Swainson, 1839) e, t
สีกุนทอง Yellowtail scad Atule mate (Cuvier, 1833) e, t
ตะโกรงขาว Cleftbelly trevally Atropus atropos Bloch & Schneider 1801) t
สีขนผี Bigeye trevally Caranx sexfasciatus
Quoy & Gaimard, 1824 t
จุ้ยจิน Longfin trevally Carangoides armatus (Rüppell 1830) e, t
หางแข็งครีบด�ำ Brownback trevally Carangiodes praeustus (Bennett, 1830) e,
โฉมงามหน้าตั้ง Indian Threadfish Alectis indicus (Rüppell, 1830) e, t
โฉมงาม African pompano Alectis cilialis (Bloch, 1787) e, t
เฉลียบ Barred Queenfish Scomberoides tol (Cuvier, 1832) e, t
สละ Talang queenfish Scomberoides commersonnianus
Lacepède, 1801 e, t
ข้างเหลือง Yellowstripes Scad Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) e, t
แข้งไก่ Torpedo scad Megalaspis cordyla (Linnaeus 1758) e, t
วงศ์ปลาเหาฉลาม (Family Echeneidae)

เหาฉลาม Live sharksucker Echeneis naucrates Linnaeus 1758 t


วงศ์ปลาช่อนทะเล (Family Rachycentridae)

ช่อนทะเล Cobia Rachycentron canadum


(Linnaeus, 1766) t
อันดับปลาสาก กระโทงแทง (Order Istiophoriformes)
วงศ์ปลาสาก (Family Sphyraenidae)

น�้ำดอกไม้ Pickhandle barracuda Sphyraena jello Cuvier 1829 e, t


204 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
น�้ำดอกไม้บั้ง Sawtooth barracuda Sphyraena putnamae
Jordan & Seale, 1905 e, t
น�้ำดอกไม้ตาโต Obtuse barracuda Sphyraena obtusata Cuvier, 1829 e, t
น�้ำดอกไม้หางเหลือง Bigeye Barracuda Sphyraena forsteri Cuvier, 1829 e, t
อันดับปลากัด หมอ ช่อน (Order Anabantiformes)
วงศ์ปลากระดี่ ปลากัด (Family Osphronemidae)
กัดมหาชัย Mahachai betta Betta mahachaiensis Kowasupat, Panijpan,
Ruenwongsa & Sriwattanarothai 2012 A, CR
วงศ์ปลาช่อน (Family Channidae)
กั้ง Dwarf snakehead Channa cf. gachua (Hamilton 1822)
อันดับปลาซีกเดียว (Order Pleuronectiformes)
วงศ์ปลาใบไม้ (Family Soleidae)
ใบไม้ขน Oriental black sole Brachirus orientalis (Bloch, 1801) e,
ใบไม้แต้มด�ำ Pan sole Brachirus panoides Bleeker, 1851) e,
ใบไม้สยาม Siamese sole Brachirus siamensis (Sauvage 1878) e,
ใบไม้ปากด�ำ Blacklip sole Achiroides melanorhynchus
(Bleeker, 1850)
ลิ้นหมาขอบขาว Commerson’s sole Synaptura commersonnii
(Lacepède, 1802) e,
ใบไม้ไข่ Ovate sole Solea ovata Richardson, 1846
วงศ์ปลาลิ้นควาย (Family Paralichthyidae)

ลิ้นควาย Largetooth Flounder Pseudorhombus arsius (Hamilton, 1822) e,


วงศ์ปลายอดม่วง (Family Cynoglossidae)

ยอดม่วงสองเส้น Fourlined tonguesole Cynoglossus bilineatus (Lacepède, 1802) e,


ยอดม่วง Bengal Tonguesole Cynoglossus cynoglossus (Hamilton, 1822) e,
ยอดม่วงยาว Long tongue sole Cynoglossus lingua Hamilton, 1822
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 205
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
ยอดม่วงยาวเกล็ดใหญ่ Large scale tonguesole Cynoglossus arel (Bloch & Schneider, 1801) e,
ยอดม่วงยาว Roughscale tonguesole Cynoglossus lida (Bleeker, 1851)
ยอดม่วง Large scale tonguesole Cynoglossus oligolepis (Bleeker, 1855)
ช่างชุน Speckled tonguesole Cynoglossus puncticeps (Richardson, 1846) e,
ช่างชุนลายเสือ Bengal tonguesole Cynoglossus semifasciatus Day, 1877
ยอดม่วงด่าง Shortheaded tonguesole Cynoglossus kopsii (Bleeker, 1851)
ยอดม่วง Macau sole Cynoglossus trulla (Cantor, 1849)
ยอดม่วงปากยาว Doublelined tonguesole Paraplagusia bilineata (Bloch, 1787) e,
อันดับม้าน�้ำจิ้มฟันจระเข้ (Order Syngnathiformes)
วงศ์ปลาผีเสื้อกลางคืน (Family Pegasidae)
มังกรบิน Butterfly seamouth Pegasus laternarius Cuvier, 1816 DD, t
ผีเสื้อทะเลยาว Longtail seamouth Pegasus volitans Linnaeus, 1758 t
วงศ์ม้าน�้ำ จิ้มฟันจระเข้ (Family Syngnathidae)
ม้าน�้ำมงกุฏสั้น Spotted seahorse Hippocampus kuda Bleeker 1852 EN, t
จิ้มฟันจระเข้ปากสั้น Estuarine pipefish Ichtyocampus carce (Hamilton, 1822) A
จิ้มฟันจระเข้ยักษ์ Giant pipefish Doryichthys cf. boaja (Bleeker, 1851) A
จิ้มฟันจระเข้ทะเล Bellybarred pipefish Hippichthys spicifer (Rüppell, 1838)
อันดับปลามังกรน้อย (Order Callionymiformes)
วงศ์ปลามังกรน้อย (Family Callionymidae)
มังกรน้อย Arrow dragonet Callionemus sagitta Pallas, 1770
อันดับปลาทู อินทรี (Order Scombriformes)
วงศ์ปลาทู (Family Scombridae)
ทู Short mackerel Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) e,
ลัง Indian mackerel Rastrelliger kanagurta (Cuvier, 1816) e, t
ทูปากจิ้งจก Island mackerel Rastrelliger faughni Matsui, 1967 t
อินทรีบั้ง Narrow-barred Spanish mackerel Scomberomorus commerson
(Lacepède, 1800) e,t
206 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
วงศ์ปลาจะละเม็ด (Family Stromateidae)
จะละเม็ดเทา Grey pomfret Pampus chinensis (Euphrasen, 1788) t
จะละเม็ดขาว Silver pomfret Pampus argenteus (Euphrasen, 1788) e, t
วงศ์ปลาดาบเงิน (Family Trichiuridae)

ดาบเงิน Savalai hairtail Lepturacanthus savala (Cuvier, 1829) e, t


อันดับปลาอุบแก้มหนาม (Order Trachiniformes)
วงศ์ปลาอุบ (Family Uranoscopidae)
อุบTwo-spined yellow-tail stargazer Uranoscopus cognatus Cantor, 1849 t
อันดับปลากะพง (Order Perciformes)
วงศ์ปลากะพงขาว (Family Latidae)
กะพงขาว Giant seaperch Lates calcalifer (Bloch, 1790) e,
วงศ์ปลากะรัง (Family Serranidae)
กะรังลายเม็ดพริกไทย Areolate grouper Epinephelus areolatus (Forsskål, 1775) t
กะรังลายจุดน�ำ้ ตาล Orange-spotted grouper Epinephelus coioides (Forsskål, 1775) e,
กะรังลายหกบั้ง Six-banded grouper Epinephelus sexfasciatus
(Valenciennes, 1828) t
วงศ์ปลาแป้น (Family Leiognathidae)
แป้นลาย Striped ponyfish Aurigequula fasciatus (Lacepède, 1803) e,
แป้นข้างทอง Splendid ponyfish Eubleekeria splendens (Cuvier, 1829) e,
แป้นขลิบด�ำ Yellowlined Ponyfish Eubleekeria jonesi (James, 1971)
แป้น Oblong ponyfish Equulites oblongus (Valenciennes, 1835)
แป้นยาว Slender ponyfish Equulites elongatus (Günther, 1874)
แป้นเมือก Common ponyfish Leiognathus equulus (Forsskål, 1775) e,
แป้นหน้าสั้น Shortnose ponyfish Leiognathus brevirostris
(Valenciennes, 18355) e,
แป้นแต้ม Spotnape ponyfish Nuchequula mannusella Chakrabarty, 2007
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 207
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
แป้นกระโดงสั้น Decorated ponyfish Nuchequula gerroides (Bleeker, 1851) e,
แป้นกระโดงยาว Longspined ponyfish Nuchequula longicornis Kimura,
Kimura & Ikejima, 2008
แป้นกลม Orangefin ponyfish Photopectoralis bindus
(Valenciennes, 1835)
แป้นเบี้ย Haneda’s pugnose ponyfish Deveximentum hanedai
(Moshizuki & Hayashi, 1989)
แป้นเบี้ย Pugnose ponyfish Deveximentum insidiator (Bloch, 1787)
แป้นเบี้ยเกล็ดใหญ่ Bigscale ponyfish Deveximentum megalolepis
Mochizuki & Hayashi, 1989
แป้นเบี้ย Pig-nosed pony-fish Deveximentum interruptus
(Valenciennes, 1835)
แป้นเบี้ย Deep pugnose ponyfish Deveximentum ruconius (Hamilton, 1822)
แป้นเขี้ยว Toothpony Gazza minuta (Bloch, 1795) e,
แป้นเขี้ยว Smalltoothed ponyfish Gazza achlamys Jordan & Starks, 1917
วงศ์ปลาดอกหมาก (Family Gerreidae)
ดอกหมาก Deep-bodied mojarra Gerres erythrourus (Bloch, 1791) e,
ดอกหมากกระโดง Whipfin silver-biddy Gerres filamentosus (Cuvier, 1829) e,
ดอกหมากลาย Small Chinese silver-biddy Gerres decacanthus (Bleeker, 1864) e,
ดอกหมากเรียว Common silver-biddy Gerres oyena (Forsskål, 1775) e,
ดอกหมากทอง Gold sheen silver-biddy Gerres chrysops Iwatsuki Kimura &
Yoshino, 1999
วงศ์ปลากะพงแดง (Family Lutjanidae)
กะพงแดงปากแม่นำ
�้ Mangrove red snapper Lutjanus argentimaculatus (Forsskål, 1775)
กะพงแดงข้างปาน One-spot snapper Lutjanus monostigma (Cuvier, 1828) t
กะพงข้างปาน Russell’s snapper Lutjanus russellii (Bleeker, 1849) t
กะพงทอง John’s snapper Lutjanus johni (Bloch, 1792) e, t
กะพงแดงลายขีด Brownstripe red snapper Lutjanus vitta (Quoy & Gaimard, 1824) t
208 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
วงศ์ปลาแพะ (Family Mullidae)
แพะลาย Freckled Goatfish Upeneaus tragula (Richardson, 1846) t
แพะJapanese goatfish Upeneaus japonicus (Houttuyn 1782) t
แพะซุนดา Ochrebanded goatfish Upeneaus sundaicus (Bleeker 1855) t
วงศ์ปลาสร้อยนกเขาทะเล (Family Haemulidae)
สร้อยนกเขาทะเล Painted sweetlips Diagramma pictum (Thunberg, 1792) t
สีกรุดปากหมู Harry hotlips Plectorhinchus gibbosus
(Lacepède, 1802) e,
สีกรุดดวง Saddle grunt Pomadasys maculatus (Bloch, 1797) e,
สีกรุดเทา Silver grunt Pomadasys kaakan (Cuvier, 1870) t
วงศ์ปลาตาหวาน (Family Priacanthidae)
ตาหวาน Bigeye Priacanthus tayenus Richardson 1846 A, t
วงศ์ปลาเฉี่ยวหิน (Family Monodactylidae)
เฉี่ยวหิน Silver moony Monodactylus argenteus (Linnaeus, 1758)
วงศ์ปลาตะกรับ (Family Scatophagidae)
ตะกรับ Scat Scatophagus argus (Bloch, 1788) e,
วงศ์ปลาผีเสื้อ (Family Chaetodontidae)

ผีเสื้อข้างจุด Sixspine butterflyfish Parachaetodon ocellatus (Cuvier, 1831) t


ผีเสื้อครีบสูง Highfin butterflyfish Coradion altivelis Mcculloch, 1916 t
วงศ์ปลาเสือพ่นน�้ำ (Family Toxotidae)
เสือพ่นน�้ำทะเล Banded archerfish Toxotes jaculatrix (Pallas, 1766) A
เสือพ่นน�้ำเกล็ดถี่ Smallscale archerfish Toxotes microlepis Günther, 1860
เสือพ่นน�้ำธรรมดา Archerfish Toxotes aff. chatareus (Hamilton, 1822 A
วงศ์ปลาข้างตะเภา (Family Terapontidae)
ข้างตะเภา Largescaled terapon Eutherapon theraps (Cuvier, 1829)
ข้างตะเภา Jarbua terapon Terapon jarbua (Forsskål, 1775) e,
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 209
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
ข้างตะเภา Spiny-checked grunter Terapon puta Cuvier, 1829
ข้างตะเภา Fourlined terapon Pelates sexlineatus
(Quoy & Gaimard, 1824)
วงศ์ปลาสลิดหิน (Family Pomacentridae)
สลิดหิน Freshwater demoiselle Neopomacentrus taeniurus
ตะกรับลาย Bengal sergeant (Bleeker, 1856) t
Abudefduf bengalensis (Bloch, 1787) t
วงศ์ปลาใบขนุน (Family Siganidae)

สลิดทะเล White-spotted spinefoot Siganus fuscescens (Houttuyn 1782) e, t


สลิดทะเลแถบ Streaked spinefoot Siganus javus (Linnaeus, 1766) e, t
สลิดทะเลจุด Goldlined spinefoot Siganus guttatus (Bloch, 1787) t
อันดับปลาแมงป่อง สิงโต (Order Scorpaeniformes)
วงศ์ปลาแมงป่องครีบยาว (Family Apistidae)
แมงป่องครีบยาว Ocellated waspfish Apistus carinatus
(Bloch & Schneider, 1801) t
วงศ์ปลาหิน (Family Synanceiidae)
แมงป่องเทา Grey stingfish Minous monodactylus (Schneider, 1801) t
วงศ์ปลาหัวโขนเล็ก (Family Tetrarogidae)
หัวโขนเล็ก ผีเข้าผีออก Striped stingfish Vespicula trachynoides
(Cuvier & Valenciennes, 1829)
วงศ์ปลาหัวโขนก�ำมะหยี่ (Family Aploactinidae)
หัวโขนก�ำมะหยี่ Wasp-spine velvetfish Acanthosphex leurynnis
(Jordan & Seale 1906)
วงศ์ปลาช้างเหยียบ (Family Platycephalidae)
ช้างเหยียบ Bartail flathead Platycephalus culteratutus
Richardson, 1846 e,
210 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
ช้างเหยียบ Olive-tailed flathead Rogadius asper (Cuvier 1829)
ช้างเหยียบ Thorny flathead Rogadius pristiger (Cuvier, 1829)
ช้างเหยียบ Large-spined Flathead Suggrundus macracanthus (Bleeker, 1869)
ช้างเหยียบ Rough flathead Grammoplites scaber (Linnaeus, 1758)
อันดับปลาหูช้าง (Order Moroniformes)
วงศ์ปลาใบโพธิ์ (Family Drepanidae)
ใบโพธิ์ Spotted sicklefish Drepane punctata (Linnaeus, 1758) e, t
วงศ์ปลาหูช้าง (Family Ephippidae)
ค้างคาว Longfin batfish Platax teira (Forsskål, 1775) t
อันดับปลาขี้ตังเบ็ด จวด (Order Acanthuriformes)
วงศ์ปลาจวด (Family Sciaenidae)
จวดสาก Prickly croaker Aspericorvina jubata (Bleeker 1855)
หางกิ่ว Spine bahaba Boesemania polykladiskos (Bleeker, 1852) e,
ม้ากิ่ว Boesemania aff. aeneocorpus
(Fowler, 1935) e, NT
ม้า Plamaa croaker Boesemania aeneocorpus
(Fowler, 1935) e,
จวดทอง Reeve’s croaker Chrysochir aureus (Richardson, 1846) e,
จวดหน้าสั้น Goatee croaker Dendrophysa russelli (Cuvier, 1830) e,
จวดเครา Bearded croaker Johnius amblycephalus (Bleeker, 1855) e,
จวดบอร์เนียว Sharpnose hammer croaker Johnius borneensis (Bleeker 1851) e,
จวดม่อม Caroun croaker Johnius carouna (Cuvier, 1830) e,
จวดเรียว Paperhead croaker Johnius weberi Hardenberg 1936 e,
จวดตาโต Large-eye croaker Johnius plagiostoma (Bleeker 1849) e,
จวดหูด�ำ Leaftail croaker Johnius trachycephalus (Bleeker 1851) e,
จวดด�ำ Belanger’s croaker Johnius belangerii (Cuvier 1830) e,
จวดกระบอก Spindle croaker Johnius elongatus Lal Mohan 1976 e,
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 211
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
จวด Largefin croaker Johnius macropterus (Bleeker, 1853) e,
จวดจมูกโต Big-snout croaker Johnius macrorhynus (Mohan, 1976) e,
จวด Trewavas croaker Johnius trewavasae Sasaki, 1992 e,
จวดหัวโหนก Broad-head croaker Johnius latifrons Sasaki, 1992 e,
จวดเกล็ดซ้อน Large-scale croaker Johnius heterolepis Bleeker, 1873 e,
จวดค่อม Soldier croaker Nibea soldado (Lacepède 1802) e,
จวดท้องโต Sharpnose croaker Nibea semifasciata Cu, Lo & Wu, 1963 e,
จวดเทียน Bronze croaker Otolithoides biauritus (Cantor 1849) e,
จวดเขี้ยว Tigertooth croaker Otolithes ruber (Bloch & Schneider 1801) e,
จวดคอม้า Panna croaker Panna microdon (Bleeker, 1849) e,
จวดหางตัด Donkey croaker Pennahia anea (Bloch, 1793) e,
จวดหัวโต Big-head pennah croaker Pennahia macrocephalus (Tang, 1937) e,
จวดแก้มด�ำ Pawak croaker Pennahia pawak (Lin, 1940) e,
จวดไข่ Oval croaker Pennahia ovata Sasaki, 1996
จวดด่าง Blackspotted croaker Megalonibea diacanthus
(Lacepède, 1802) NT
อันดับปลาอีคลุด (Order Spariformes)
วงศ์ปลาอีคลุด (Family Sparidae)
อีคลุด Goldsilk seabream Acanthopagrus pacificus Iwatsuki, Kume
& Yoshino, 2010 e, t
วงศ์ปลาเสือตอ (Family Datnioididae)
กะพงลาย Barred tigerperch Datnioides polota (Hamilton, 1822) e, A
วงศ์ปลาทรายแดง (Family Nemipteridae)
ทรายขาว Lattice monocle bream Scolopsis taeniopterus (Cuvier, 1830) t
ทรายแดง Fork-tailed threadfin bream Nemipterus furcosus (Valenciennes 1830) e, t
วงศ์ปลากะพงขี้เซา (Family Lobotidae)
กะพงขี้เซา Tripletail Lobotes surinamensis (Bloch, 1790) e, t
212 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์

วงศ์ปลาเห็ดโคน (Family Sillaginidae)


เห็ดโคนลาย Oriental sillago Sillago aeolus Jordan & Evermann, 1902 e,
เห็ดโคนจุด Intermediate sillago Sillago intermedius Wongratana, 1977
เห็ดโคน Bay sillago Sillago ingenuua McKay, 1985 e,
เห็ดโคน Asian sillago Sillago asiatica McKay, 1982 e,
เห็ดโคน Silver sillago Sillago sihama (Forsskål, 1775) e,
อันดับปลาปักเป้า วัว (Order Tetraodontiformes)
วงศ์ปลาวัวสามเงี่ยง (Family Triacanthidae)

สามเงี่ยง Silver tripodfish Triacanthus nieuhofii Bleeker, 1852


วงศ์ปลางัวหางพัด (Family Monacanthidae)
งัวหางพัด Fanbellied Leatherjacket Monacanthus chinensis (Osbeck, 1762) t
วงศ์ปลาปักเป้า (Family Tetraodontidae)
ปักเป้าลายหินอ่อน Milkspotted puffer Chelonodontops patoca
(Hamilton, 1822) A
ปักเป้าหลังเรียบ Smooth blaasop Lagocephalus inermis
(Bloch &Schneider, 1801) t
ปักเป้าหลังเกล็ด Lagocephalus spadiceus
Half-smooth golden pufferfish (Richardson, 1844) t
ปักเป้าหางวงเดือน Lagocephalus lunaris
Rough Golden Puffers (Bloch &Schneider, 1801) t
ปักเป้าจุดด�ำ Dichotomyctere nigroviridis
Spotted green pufferfish (Proce, 1822) A
ปักเป้าเลขแปด Dichotomyctere ocellatus
Ceylon number-eight pufferfish (Steindachner 1870) A
ปักเป้าตาแดง Redeye puffer Carinotetraodon lorteti (Tirant, 1885) A
ปักเป้าจุดแดง Fang’s puffer Pao fangi (Pellegrin & Chevey 1940)
ปักเป้าหน้ายาว Cambodian longfaced puffer Pao cambodgensis (Chabanaud 1923) DD
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 213
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์
ปักเป้าทอง Greenbottle puffer Auriglobus modestus (Bleeker 1850) A
ปลาน�้ำจืดหลงน�้ำ
วงศ์ปลาตะเพียน (Family Cyprinidae)
ตะโกกหน้าสั้น Blunted snout barb Albulichthys albuloides (Bleeker, 1855)
วงศ์ปลาสวาย (Family Pangasiidae)
สวายหนู Snail-eater catfish Helicophagus leptorhynchus
Ng & Kottelat, 2000
วงศ์ปลากระดี่ ปลากัด (Family Anabantidae)

หมอ Climbing perch Anabas testudineus (Bloch, 1792)


วงศ์ปลาช่อน (Family Channidae)
ช่อน Striped snakehead Channa striata (Bloch, 1793)
ปลาต่างถิ่น
อันดับปลาหัวตะกั่ว (Order Cyprinodontiformes)
วงศ์ปลาหางนกยูง (Family Poeciliidae)

กินยุง Mosquito fish Gambusia affinis (Baird & Girard 1853)


เซลฟิน Sailfin molly Poecilia velifera (Regan, 1914) A
อันดับปลานิล หมอสี (Order Cichliformes)
วงศ์ปลานิล หมอสี (Family Cichlidae)
หมอสีมายัน Mayan chiclid Mayaheros urophthalmus (Günther 1862) A
หมอเทศ Mossambique tilapia Oreochromis mossambicus (Peters, 1852) e,
นิล Nile tilapia Oreochromis niloticus (Linnaeus 1758) e,
หมอคางด�ำ Blackchin tilapia Sarotherodon melanotheron
(Ruppel, 1852) IAS
หมอท้องเหลือง Redbelly tilapia Coptodon zillii (Gervais, 1848)
214 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

เอกสารอ้างอิง
กรมทรัพยากรน�้ำ. 2552. แผนที่มาตรฐานการแบ่งลุ่มน�้ำหลักและลุ่มน�้ำสาขาของประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร: สาํ นักวิจยั พัฒนาและอุทกวิทยา. กรมทรัพยากรน�ำ ้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม.
ทัศพล กระจ่างดารา อาหมัด อาลี ชวลิต วิทยานนท์ นันทริกา ชันซือ่ และสุภชัย รอดประดิษฐ์. 2562.
คู่มือปลากระดูกอ่อนที่พบในน่านน�้ำไทยและน่านน�้ำใกล้เคียง กรมประมง กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
นนณ์ ผาณิตวงศ์. 2563. ปลาน�้ำจืดไทย Siamensis Press.768 หน้า
ฮิว แมคคอร์มิค สมิท. 2468. รายงานส�ำรวจพืชพันธุ์ในน�้ำ และการอุตสาหกรรมแผนกสัตว์น�้ำของ
ประเทศสยาม พร้อมด้วยโครงการและข้อแนะน�ำในการควบคุมบัญชา การบ�ำรุงรักษาและ
การจัดให้เจริญขึ้น (ค�ำแปล). โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร กรุงเทพ. 152 หน้า
Anonymous. 1969. Eatable marine animal for Thais. Fishery exploratory Division,
Dept. Fisheries, Bangkok, Thailand, 179p (Thai).
Collette, B.B. 1984. Hemiramphidae. In W. Fischer and G. Bianchi(eds.) FAO species
identification sheets for fishery purposes. Western Indian Ocean fishing area 51.
Vol. 2. FAO,Rome. pag. var.
Faria, V.V., McDavitt, M.T., Charvet, P., Wiley, T.R., Simpfendorfer, C.A., Naylor, G.J.P. 2013.
Species delineation and global population structure of Critically Endangered sawfishes
(Pristidae). Zoological Journal of the Linnean Society, 167, 136-164.
Kyne, P.M., Carlson, J. and Smith, K. 2013. Pristis pristis. In: IUCN 2013. IUCN Red List of
Threatened Species. Version 2013.1. Available on the internet at: www.iucnredlist.org
Mckay, R.J. 1992. FAO species catalogue Vol.14. Sillaginid Fishes of the World
(Family Sillaginidae). An Annotated and Illustrated Catalogue of the Sillago, smelt or
Indo-Pacific Whiting species known to date. FAO. Fish. Synop.,(125) Vol.14:87 p.
Menon, A.G.K., 1977. A systematic monograph of the tongue soles of the genus
Cynoglossus Hamilton-Buchanan (Pisces: Cynoglossidae). Smithson. Contrib. Zool. (238):
1-129.
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 215
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Nagao Natural Environment Foundation. 2021. Fishes of Indochinese Mekong. Nagao


Natural Environment Foundation, Tokyo. xii+ 546 pp.

Nelson, J. S., Grande, T C. and Wilson, M. V. H. 2016. Fishes of the World, 5th Edition. Wiley.
Sasaki, K. 1996. Sciaenidae. Croakers, drums. p. 1-55. In K.E. Carpenter and V. Niem
(eds.) FAO Identification Guide for Fishery Purposes. The Western Central Pacific.
Smith, H. M. 1945. The freshwater fishes of Siam or Thailand. Bull. U. S. Nat. Mus.
188. xi + 622 pp., 9 pls.

Smith-Vaniz, W.F. 1984. Carangidae. In W. Fischer and G. Bianchi(eds.) FAO species


identification sheets for fishery purposes. Western Indian Ocean fishing area 51. Vol. 1.
[pag. var.]. FAO,Rome.
Suvatti, C. 1981. Fishes of Thailand. Bangkok. 379 pp.
Tordoff, A.W., Duckworth, J. W., Macfarlane, C., Ravn, M., Tallant, J. 2020. Ecosystem
Profile: Indo-Burma Biodiversity Hotspot 2020 Update. Critical Ecosystem Partnership
Fund
Wang, G. H., Hao, R. C., Yang, G. Z., & Zan, L. S. (2016). The complete mitochondrial
genome sequence of Eleutheronema tetradactylum (Mugiliformes: Polynemidae) and
phylogenetic studies of Mugiliformes. Mitochondrial DNA Part A, 27(6), 4457-4458.
Whitehead, P.J.P. 1985. FAO species catalogue. Vol.1,Part 1. Clupeoid fishes of
theworld (Suborder Clupeoidei) : Chirocentridae, Clupeidae and Pristigasteridae.
An annotated and illustrated catalogue of the herrings, sardines, pilchards, sprats,
shads, anchovies and wolf-herrings. FAO. Fish. Synop. (125) Vol.7,Part 1:303 p.
Whitehead, P.J.P., Nelson, G.J. and Wongratana, T. 1988. FAO species catalogue.
Vol.1,Part 2. Clupeoid fishes of the world (Suborder Clupeoidei): Engraulididae. An
annotated and illustrated catalogue of the herrings, sardines, pilchards, sprats,
shads, anchovies and wolf-herrings. FAO. Fish. Synop. (125) Vol.7,Part 2 : 579 p.
216 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Wongratana, T., Senou, H. and Vittayanon, C. 1984. First record of the striped grey
mullet, Mugil cephalus (Pisces:Mugilidae) from Thailand, with a key to all local
species. Nat. Hist. Bull. Siam Soc., 32(1):11-20.
Yoshida, T., Motomura, H., Musikasinthorn, P., and Matsuura, K.(eds). 2013. Fishes
of northern Gulf of Thailand. National Museum of nature and Science, Tsukuba,
Reserch Ins. for Humanity and Nature, Kyoto and Kagoshima Univ. Museum. viii+239pp.
http://sawfishconservationsociety.org/microdon.htm

Robinson, M.K., 1974. The physical oceanography of the Gulf of Thailand. NAGA Report.
Sojisuporn, P., Morimoto, A. and Yanagi, T. 2010. Seasonal variation of sea surface
current in the Gulf of Thailand. Coastal Marine Science 34 (1): 91-102.
Wattayakorn, G. 2006. Environmental Issues in the Gulf of Thailand. In: Wolanski,
E. (ed.) The Environment in Asia Pacific Harbours. Springer. The Netherlands. pp: 249-259.
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 217
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ดัชนีชื่อไทย

กะทุงเหว.............................106 กบสาหร่าย......................... 67 กระเบนราหูน�้ำจืด............... 27
กะทุงเหวแม่หม้าย..............106 กระจัง...................................88 กระเบนราหูหางหนาม........ 35
กะทุงเหวยักษ์.....................106 กะตัก.................................. 45 กระเบนลาย........................ 27
กะทุงเหวหูด�ำ.....................105 กะตักเรียว........................... 44 กระเบนสีเลือด.................... 28
กะพงแดงข้างปาน..............143 กะตักเหลือง........................ 46 กระเบนหางหวาย............... 29
กะพงแดงปากแม่น�้ำ...........143 กะตักแก้ว............................ 52 กระเบนหิน.......................... 31
กะพงแดงลายขีด................144 กะตักแก้วเรียว.................... 52 กระเมาะ.............................. 95
กะพงข้างปาน.....................143 กะตักควาย......................... 45 กระเมาะครีบยาว................ 96
กะพงขาว..........................132 กะตักสั้น............................ 45 กระเมาะหางเหลือง............. 95
กะพงขี้เซา.........................173 กะตักหัวแข็ง....................... 46 กระบอกเทา........................ 97
กะพงทอง.........................144 กะตักหัวด�ำ........................ 46 กระบอกด�ำ.......................... 94
กะพงลาย.........................171 กะตักอ่าวไทย................... 45 กระบอกหัวแหลม................ 94
กะรังลายเม็ดพริกไทย.......133 กระทิงไฟ............................107 กระบอกหางเขียว............... 96
กะรังลายจุดน�้ำตาล............133 กระบาก............................... 94 กระบอกหางฟ้า.................. 96
กะรังลายหกบั้ง...................134 กระบางกลม....................... 25 กระบอกหูด�ำ....................... 95
กดขี้ลิง................................. 61 กระบางครีบเหลี่ยม............ 26 กั้ง........................................118
กดคันหลาว......................... 61 กระบางหน้าแหลม.............. 26 กัดมหาชัย........................... 117
กดทะเล.............................. 59 กระบางหางหนา................. 25 กินยุง..................................183
กดทะเลกระโดงยาว............ 59 กระเบนแมลงวัน................. 32 กุเรา................................... 97
กดทะเลหลังจุด.................... 60 กระเบนใบบัว...................... 30 กุเราแคระหูด�ำ.................... 65
กดหัวผาน............................. 62 กระเบนขาว........................ 28 กุแลแถบทอง....................... 51
กดหัวแข็ง............................. 60 กระเบนจ้าวมัน................... 30 กุแลแบน............................. 50
กดหัวแข็ง............................. 61 กระเบนจุดขาว................... 32 กุแลยาว............................... 52
กดหัวกบ.............................. 62 กระเบนทรายเทา............... 30 กุแลหลังเขียว...................... 51
กดหัวลิง.............................. 62 กระเบนธงจมูกดาว............. 31 กุแลหลังจุด......................... 50
กดหัวอ่อน........................... 62 กระเบนนก.......................... 34 กุแลหางเรียว....................... 51
กดอีติก............................... 59 กระเบนปากแม่น�้ำ............... 29
218 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ข ฉ
ข้างเหลือง......................... 114 จวดเขี้ยว........................... 168 โฉมงาม.............................. 113
ข้างตะเภา........................ 152 จวดเครา............................ 164 โฉมงามหน้าตั้ง................... 113
ข้างลาย............................ 152 จวดเทียน........................... 168 เฉลียบ................................ 113
ข้างลายจุด....................... 152 จวดเรียว............................ 165 เฉี่ยวหิน.............................. 148
ข้าวเม่าน�้ำลึก.................... 65 จวดแก้มด�ำ....................... 169 ฉนากจะงอยแคบ................ 24
เข็ม................................... 103 จวดไข่............................... 170 ฉนากจะงอยกว้าง............... 23
เขือ................................... 89 จวดกระบอก...................... 166 ฉลามกบ............................. 22
เขือเกล็ดเล็ก..................... 86 จวดค่อม............................ 168 ฉลามกบเทา........................ 22
เขือเกล็ดใหญ่................... 87 จวดคอม้า.......................... 169 ฉลามจ้าวมัน....................... 20
เขือเรียว........................... 89 จวดจมูกโต......................... 167 ฉลามจุดด�ำ........................ 20
เขือเล็ก............................ 88 จวดด่าง............................. 170 ฉลามวาฬ.......................... 21
เขือกล้วย......................... 88 จวดด�ำ............................... 166 ฉลามหนู............................. 20
เขือครีบด�ำ...................... 89 จวดตาโต........................... 165 ฉลามหัวบาตร.................... 20
เขือคางยื่น...................... 89 จวดทอง............................ 164 ช
เขือตาเขียว..................... 86 จวดท้องโต......................... 168 ช่อน...................................... 182
เขือปากกว้าง.................... 86 จวดบอร์เนียว.................... 165 ช่อนทะเล........................... 115
แข้งไก่............................... 114 จวดม่อม............................ 165 ช้างเหยียบครีบดวง............. 158
แขยงนวล.......................... 63 จวดสาก............................. 163 ช้างเหยียบด่าง................... 158
ข้างตะเภาลายตรง............ 151 จวดหน้าสั้น....................... 164 ช้างเหยียบครีบใส............... 159
ค จวดหัวโต........................... 169 ช้างเหยียบหางเรียว............ 159
ค้างคาว............................ 160 จวดหัวโหนก...................... 167 ช่างชุน................................ 124
โคบ.................................. 49 จวดหางตัด........................ 169 ช่างชุนลายเสือ................... 124
โคบกระโดง...................... 49 จวดหูด�ำ............................ 166 ซ
ง จะละเม็ดเทา...................... 130 ซิวแก้ว.............................. 53
งัวหางพัด......................... 176 จะละเม็ดขาว..................... 131 ซิวแก้วสั้น........................ 53
จิ้มฟันจระเข้ทะเล.............. 127 ซิวแก้วหางดอก.................. 53
จ จิ้มฟันจระเข้ปากสั้น.......... 127 ซิวแก้วอ่าวไทย.................. 53
จวด.................................. 166 จิ้มฟันจระเข้ยักษ์............... 127 เซลฟิน............................... 183
จวด................................... 167 จุมพรวด............................ 87 เซียว................................ 60
จวดเกล็ดซ้อน................... 167 จุ้ยจิน................................. 112 ซิวข้าวสารน�้ำกร่อย........... 107
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 219
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand


ดอกหมากหางเหลือง.......... 141 ตูหนาหูด�ำ............................ 37 บู่จุดด�ำ.............................. 77
ดอกหมากเรียว.................. 142 ตับเต่าหางเหลือง.................103 บูจ่ ุดฟ้า.............................. 74
ดอกหมากกระโดง............. 141 ท บู่จุล.................................. 84
ดอกหมากทอง................... 142 ทรายแดง............................. 172 บู่ชวา................................... 84
ดอกหมากลาย................... 141 ทรายขาว..............................172 บู่ด�ำ................................... 71
ดาบเงิน.............................. 131 ทู..........................................129 บู่ด�ำครีบยาว...................... 76
ดาบลาว............................. 55 ทูปากจิ้งจก..........................129 บู่ตาเล็ก............................. 82
ดุกทะเล............................. 57 น บู่ทอง................................. 78
ต นวลจันทร์ทะเล.................... 55 บู่ทองสีจาง......................... 78
ตะเพียนน�้ำเค็ม.................. 49 น�้ำดอกไม้............................. 116 บู่ป่าเลน............................. 83
ตะโกกหน้าสั้น.................... 181 น�้ำดอกไม้ตาโต.................... 117 บู่ปากกว้าง........................ 83
ตะโกรงขาว........................ 111 น�้ำดอกไม้บั้ง........................ 116 บู่ปากกว้างลายกระ.......... 83
ตะกรับ............................... 148 น�้ำดอกไม้หางเหลือง............116 บู่ร�ำไพ................................ 84
ตะกรับลาย........................ 153 นิล.......................................184 บู่ลื่นครีบจุด....................... 72
ตะลุมพุก............................ 50 บ บู่ลูกหยี.............................. 75
ตะลุมพุกสั้น....................... 50 บู่เกล็ดแข็ง........................... 70 บู่สยาม............................... 82
ตั๊กแตนหินหน้าลาย........... 98 บู่เกล็ดแข็งหัวสั้น................. 72 บู่สั้น.................................. 85
ตับเต่า............................... 104 บู่เขี้ยว.................................. 74 บู่หน้าหนวด....................... 85
ตับเต่าใส........................... 104 บู่เครา.................................. 77 บู่หมาจู.............................. 82
ตับเต่าทะเล....................... 102 บู่เทา.................................... 76 บู่หมาจูเล็ก........................ 81
ตับเต่าครีบหลังด�ำ.............. 104 บู่ใส...................................... 83 บู่หัวกลม........................... 76
ตับเต่าน�้ำจืด...................... 103 บู่ใส......................................100 บู่หัวมัน.............................. 72
ตับเต่าปากแดง.................. 103 บู่กล้วย................................. 85 บู่หางจุด............................. 69
ตับเต่าลาย......................... 102 บู่ขี้เซา.................................. 78 บู่หางจุด............................. 77
ตับเต่าหางตัด..................... 104 บู่ครีบม่วง............................ 75 ใบโพธิ์................................ 159
ตาเหลือกยาว..................... 36 บู่ค้างคาว............................ 73 ใบไม้กลม........................... 120
ตาเหลือกสั้น....................... 36 บู่ใสหางเหลือง.....................101 ใบไม้แต้ม........................... 119
ตาตุ่ม.................................. 41 บู่จากแต้มส้ม....................... 71 ใบไม้สยาม......................... 119
ตาหวาน............................. 147 บู่จากด�ำ............................... 70 ใบไม้ขน............................. 118
ตีน...................................... 87 บู่จากผอม............................ 70 ใบไม้ปากด�ำ....................... 119
ตีนลาย............................... 87 บู่จุดเขียว............................. 75 ใบขนุน............................... 154
220 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ใบขนุนแถบ....................... 154 แป้นแต้ม............................. 137 แมวงายาว......................... 44


ใบขนุนจุด......................... 155 แป้นกระโดงยาว................ 138 แมวหูด�ำ............................ 43
ป แป้นกระโดงสั้น................ 138 แมวหูยาว.......................... 43
ปักเป้าเลขแปด................. 179 แป้นกลม........................... 138 ย
ปักเป้าจุดแดง.................... 180 แป้นขลิบด�ำ....................... 136 ยอดจาก............................. 40
ปักเป้าจุดด�ำ...................... 179 แป้นข้างทอง...................... 136 ยอดจากหูด�ำ...................... 40
ปักเป้าตาแดง.................... 179 แป้นยาว............................. 137 ยอดม่วง............................. 122
ปักเป้าทอง....................... 180 แป้นลาย............................ 136 ยอดม่วงสองเส้น................ 122
ปักเป้าลายหินอ่อน........... 178 แป้นหน้าสั้น....................... 137 ยอดม่วงด่าง....................... 124
ปักเป้าหน้ายาว.................. 180 ผ ยอดม่วงปากยาว................ 125
ปักเป้าหลังครึ่ง................... 178 ผี........................................ 89 ยอดม่วงยาว....................... 123
ปักเป้าหลังเรียบ................ 178 ผีเสื้อข้างจุด....................... 149 ยอดม่วงยาวเกล็ดใหญ่...... 123
ปักเป้าหางวงเดือน............. 178 ผีเสื้อครีบสูง....................... 149 ย่าไอ้ดุก............................. 66
ปากคมหูสั้น....................... 64 ผีเสื้อทะเลยาว.................. 126 ล
ปิ่นแก้ว............................... 57 พ ลัง...................................... 129
แป้น....................................... 136 แพะญี่ปุ่น........................... 145 ลิ้นควาย........................... 121
แป้นเขี้ยวกลม................... 140 แพะซุนดา.......................... 145 ลิ้นหมาขอบขาว................ 120
แป้นเขี้ยว........................... 140 แพะลาย............................. 145
แป้นเบี้ย............................ 139 พรวดกระโดง...................... 88
แป้นเบี้ย............................. 139 พรวดหางแหลม.................. 86
แป้นเบี้ย............................ 139 ม
แป้นเบี้ย............................. 138 มงโกรย.............................. 49
แป้นเบี้ยเกล็ดใหญ่............. 139 มังกรน้อย........................... 128
แป้นเมือก.......................... 137 มังกรบิน............................. 125
แป้นแก้ว........................... 91 ม้า...................................... 164
แป้นแก้ว............................ 91 ม้ากิ่ว.................................. 163
แป้นแก้วครีบจุด................. 90 ม้าน�้ำมงกุฏสั้น................... 126
แป้นเขี้ยวกลม.................... 140 แมงป่องเทา....................... 156
แป้นแก้วยักษ์..................... 92 แมงป่องครีบยาว................ 155
แป้นแก้วหางเหลือง........... 91 แมว.................................... 43
แป้นแก้วหางแถบ.............. 92 แมวเขี้ยวยาว..................... 44
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 221
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ส อ
สร้อยนกเขาทะเล.............. 146
หมอคางด�ำ....................... 184 อกแรกลม......................... 52
สละ................................... 114
หมอท้องเหลือง................. 184 อกแรสั้น............................ 51
สลิดหินหางแถบ................ 153
หมอสีมายัน........................ 183 อมไข่แถบ.......................... 68
สวายหนู............................ 181
หลาดแดง........................... 108 อมไข่ครีบแถบ.................. 68
สะดือขอ............................ 111
หัวแข็งตาโต....................... 99 อมไข่ครีบดวง.................... 68
สังกะแวง........................... 56
หัวแข็งเรียว....................... 100 อมไข่หลังโหนก................. 68
สามเงี่ยง............................ 176
หัวแข็งแถบแคบ................ 99 อินทรีบั้ง........................... 130
สีกรุดเทา........................... 147
หัวโขนเล็ก ผีเข้าผีออก...... 156 อีกง.................................. 63
สีกรุดดวง........................... 147
หัวตะกั่ว............................ 101 อีคลุด................................ 171
สีกรุดปากหมู..................... 146
หางแข็งครีบด�ำ.................. 112 อีปุด.................................. 41
สีกุนทอง............................ 111
หางไก่จุดทอง..................... 42 อีปุดเรียว.......................... 41
สีกุนหัวอ่อน...................... 110
หางไก่น�้ำจืด....................... 42 อีปุดตาโต.......................... 41
สีกุนหัวอ่อนกระโดงด�ำ..... 110
หางกิ่ว................................ 163 อุก..................................... 61
สีขนผี................................ 112
ไหลกินปู............................ 38 อุกจุดด�ำ............................ 60
เสือพ่นน�้ำเกล็ดถี.่ .............. 150
ไหลงู.................................. 37 อุบ..................................... 132
เสือพ่นน�้ำทะเล................. 150
ไหลงูเรียว.......................... 38 อุบสิงโต............................. 66
เสือพ่นน�้ำธรรมดา............. 151
ไหลงูสั้น............................. 38
ห ไหลช่อ............................... 39
เห็ดโคนทางแคบ............... 175 ไหลหลาด.......................... 108
หัวแข็งแถบแคบ................ 99
หัวโขนก�ำมะหยี.่ ................ 157
เห็ดโคน............................. 175
เห็ดโคนจุด........................ 174
เห็ดโคนลาย...................... 174
เห็ดโคนหางด�ำ.................. 174
หางควาย.......................... 158
เหาฉลาม........................... 115
หนวดพราหมณ์.................. 98
หมอ................................... 182
หมอเทศ............................ 183
222 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ดัชนีชื่ออังกฤษ
A
African pompano................................. 203 Bengal swamp eel................................ 202
Archerfish............................................... 208 Bengal Tonguesole............................... 204
Areolate grouper.................................. 206 Bengal tonguesole................................ 205
Armoured sea catfish.......................... 195 Bennett’s stingray................................. 191
Arrow dragonet..................................... 205 Bigeye....................................................... 208
Asian sillago........................................... 212 Bigeye Barracuda................................... 204
B Bigeye ilisha............................................ 193
Bagan anchovy ..................................... 193 Bigeye trevally....................................... 203
Bald glass................................................ 200 Big-head pennah croaker.................... 211
Bali sardinella........................................ 194 Bigscale ponyfish................................... 207
Banded archerfish................................. 208 Big-snout croaker................................... 211
Banded needlefish............................... 202 Black-barred halfbeak.......................... 201
Banded-tail glassy perchlet................ 200 Blackchin tilapia.................................... 213
Bangkok halfbeak.................................. 202 Blackfin eel goby.................................. 199
Bangkok river sprat............................... 194 blackfin scad.......................................... 203
Barred mudskipper............................... 199 Blacklip sole........................................... 204
Barred Queenfish.................................. 203 Blacksaddle herring.............................. 194
Barred tigerperch.................................. 211 Blackspotted croaker........................... 211
Bartail flathead...................................... 209 Bloch’s gizzard shad............................ 194
Bay sillago............................................... 212 Bluespot mullet.................................... 200
Bearded croaker.................................... 210 Blunted snaot barb.............................. 213
Bearded goby......................................... 199 Boddart’s goggle-eyed goby.............. 199
Bearded Mudskipper............................ 199 Borneo river sprat................................. 194
Bearded worm goby............................ 199 Borneo sea catfish................................ 195
Belanger’s croaker................................ 210 Broadbanded cardinalfish................... 197
Bellybarred pipefish............................. 205 Broad-head croaker.............................. 211
Bengal sergeant..................................... 209 Broadhead sleeper................................ 197
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 223
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Broad-mouthed mullet ....................... 200 Donkey croaker....................................... 211


Bronze croaker........................................ 211 Doublelined tonguesole....................... 205
Brown drombus...................................... 198 Duckbill sleeper...................................... 197
Brownback trevally................................ 203 Duncker’s river garfish........................... 202
Brownstripe red snapper...................... 207 Dusky-hairfin anchovy........................... 193
Buffon’s river-garfish.............................. 202 Dussumier’s halfbeak............................ 201
Bull shark................................................. 190 Dwarf snakehead.................................... 204
Bumblebee goby................................... 198 Dwarf Whipray......................................... 191
Butterfly seamouth............................... 205 E
C Ecluntio halfbeak.................................... 202
Cambodian longfaced puffer.............. 212 Eel worm goby........................................ 199
Caroun croaker....................................... 210 Estuarine moray...................................... 193
Ceylon number-eight pufferfish......... 212 Estuarine pipefish................................... 205
Chacunda gizzard shad......................... 194 Estuarine swamp eel............................. 202
Chao Phraya giant whipray.................. 191 Estuary stingray....................................... 191
Clear helfbeak........................................ 202
Cleftbelly trevally.................................. 203 F
Climbing perch....................................... 213 Fanbellied Leatherjacket..................... 212
Cobia......................................................... 203 Fang’s puffer........................................... 212
Commerson’s anchovy........................ 193 Fin-eater sea catfish.............................. 195
Commerson’s sole................................ 204 Fire spiny eel.......................................... 202
Common ponyfish................................. 206 Flathead grey mullet............................ 200
Common silver-biddy........................... 207 Flag-in cardinal-fish............................... 197
Congaturi halfbeak................................ 201 Fork-tailed threadfin bream................ 211
Crab-eater eel......................................... 192 Four-eyed sleeper................................. 197
D Fourfinger threadfin............................... 200
Daggertooth pike conger...................... 193 Fourlined terapon.................................. 209
Decorated ponyfish............................... 207 Fourlined tonguesole............................ 204
Deep pugnose ponyfish....................... 207 Freckled Goatfish................................... 208
Deep-bodied mojarra............................ 207 Freshwater demoiselle......................... 209
Deepbody sardinella............................. 194 Frogface goby......................................... 199
224 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

G H
Ganges river sprat................................. 194 Half-smooth golden pufferfish.......... 212
Giant devilray......................................... 192 Hamilton’s thryssa................................ 193
Giant glassy perchlet............................ 200 Haneda’s pugnose ponyfish .............. 207
Giant mudskipper.................................. 199 Hardenberg’s anchovy......................... 193
Giant pipefish......................................... 205 hardyhead silverside............................ 201
Giant seaperch....................................... 206 Harry hotlips........................................... 208
Glassgoby................................................ 198 Haugian ricefish...................................... 202
Goatee croaker...................................... 210 Highfin butterflyfish.............................. 208
Gold sheen silver-biddy...................... 207 Highfin catfish......................................... 196
Golden tank goby................................. 198 Humpbacked cardinalfish................... 197
Goldlined spinefoot............................. 209 I
Goldsilk seabream................................ 211 Indian ilisha............................................. 193
Goldspot mullet.................................... 200 Indian mackerel..................................... 205
Goldspotted grenadier anchovy........ 193 Indian Threadfish................................... 203
Goldstripe sardinella............................ 194 Indonesian bambooshark.................... 190
Gossamer blenny.................................. 201 Indonesian sharpnose ray................... 191
Graceful shark........................................ 190 Indo-Pacific tarpon................................ 192
Gray eel-catfish...................................... 195 Intermediate sillago.............................. 212
Gray Knight Goby.................................. 199 Island mackerel..................................... 205
Great-tooth sawfish.............................. 191 J
Greenback mullet................................. 200 Japanese goatfish.................................. 208
Greenbottle puffer................................ 213 Jarbua terapon...................................... 208
Greenspot goby..................................... 197 Javanese Fat-nose Goby..................... 198
Grey bambooshark................................ 190 John’s snapper...................................... 207
Grey pomfret.......................................... 206 Jumping halfbeak.................................. 201
Grey stingfish.......................................... 209 K
Grunting toadfish................................... 196 Kabili bumblebee goby....................... 198
Kabilia calamiana.................................. 198
Kampen’s ilisha..................................... 193
Keel-jawed needlefish........................ 202
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 225
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Kelee shad................................................. 194 Longtail seamouth................................ 205


Kops’s glass perchlet........................... 200 Longtom.................................................. 202
Kranji Drombus...................................... 198
M
L Macau sole............................................. 205
Large mouth mudskipper................... 199 Madura goby.......................................... 199
Large scale pointed tail goby............ 199 Mahachai betta...................................... 204
Large-eye croaker................................. 210 Mangrove Goby..................................... 198
Largefin croaker..................................... 211 Mangrove red snapper........................ 207
Large-scale croaker............................... 211 Marbled whipray................................... 191
Largescale tonguesole......................... 205 Mayan chiclid......................................... 213
Large-scaled burrowing goby............. 199 Milkfish..................................................... 195
Largescaled terapon............................ 208 Milkspotted puffer................................ 212
Large-spined Flathead. ....................... 210 Mosquito fish......................................... 213
Largetooth Flounder............................ 204 Mossambique tilapia............................ 213
Lattice monocle bream...................... 211 Mottled eagle ray................................. 192
Leaftail croaker...................................... 210 Mud gudgeon......................................... 197
Lindman’s grenadier anchovy........... 193 Mud sleeper........................................... 197
Live sharksucker.................................... 203 N
Lobejaw ilisha........................................ 193 Narrow-barred Spanish mackerel...... 205
Long tongue sole.................................. 204 Narrowtail stingray................................ 192
Long whiskers catfish........................... 196 Nile tilapia............................................... 213
Longarm mullet.................................... 200 Northern mud gudgeon....................... 197
Longfin batfish....................................... 210 Northern paradise fish......................... 200
Longfin mullet....................................... 200 O
Longfin trevally..................................... 203 Oblong ponyfish.................................... 206
Longfinned mullet................................ 200 Obtuse barracuda................................. 204
Longjaw goby........................................ 198 Ocellate cardinalfish............................ 197
Longjaw thryssa..................................... 193 Ocellated waspfish............................... 209
Longsnouted catfish............................. 195 Ochrebanded goatfish......................... 208
Long-spined glass perchlet................ 200 Oetik sea catfish.................................... 195
Longspined ponyfish............................ 207
226 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Olive flathead-gudgeon....................... 197 Prickly croaker........................................ 210


Olive-tailed flathead............................. 210 Pugnose ponyfish................................... 207
One-spot snapper................................. 207 Q
Orangefin ponyfish................................ 207 Queen Rambai’s goby........................... 198
Orange-spotted grouper......................
Orange-spotted mudskipper...............
206
199
R
Razorbelly scad....................................... 203
Ordinary snake-eel................................ 192 Red stingray............................................. 191
Oriental black sole................................ 204 Redbelly tilapia....................................... 213
Oriental black stingray.......................... 191 Redcoat..................................................... 196
Oriental sillago....................................... 212 Redeye puffer.......................................... 212
Oriental black sole............................... 204 Reef Longtom.......................................... 202
Oval croaker........................................... 211 Reeve’s croaker...................................... 210
Ovate sole.............................................. 204 Reeves shad............................................. 194
P Rice-paddy eel........................................ 192
Pacific anchovy...................................... 193 Richardson’s sardinella......................... 194
Pacific fringescale sardinella............... 194 Robust mangrove goby......................... 197
Pacific shortfin eel................................. 192 Rough flathead....................................... 210
Painted sweetlips.................................. 208 Rough Golden Puffers........................... 212
Pale tank goby....................................... 198 Roughscale tonguesole........................ 205
Pale-edge sharpnose ray...................... 191 Round whipray....................................... 192
Pan sole................................................... 204 Russell’s snapper................................... 207
Panna croaker......................................... 211 S
Paperhead croaker................................ 210 Sabretoothed thryssa............................ 193
Pawak croaker........................................ 211 Saddle grunt............................................ 208
Pickhandle barracuda........................... 203 Sagor catfish............................................ 195
Pig-nosed pony-fish............................... 207 Sailfin molly............................................ 213
Pink whipray............................................ 192 Sargassumfish.......................................... 196
Plamaa croaker...................................... 210 Savalai hairtail......................................... 206
Pointed sawfish...................................... 191 Sawtooth barracuda.............................. 204
Pointed tail goby................................... 199 Scale-eater sea catfish.......................... 195
Priapiumfish............................................. 201 Scaleless worm goby............................ 199
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 227
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Scalloped perchlet................................ 200 Slender ponyfish.................................... 206


Scaly hairfin anchovy............................ 193 Slender white sardine........................... 194
Scaly whipray.......................................... 191 Slendered spine sea catfish................. 195
Scalycheek goby.................................... 198 Small Chinese silver-biddy.................. 207
Scat........................................................... 208 Small-eye calamiana............................. 198
Shadow goby.......................................... 198 Small-eyed loter.................................... 197
Sharpnose croaker................................. 211 smallscale archerfish............................. 208
Sharpnose hammer croaker................ 210 Smalltoothed ponyfish......................... 207
Sharpnose whipray................................ 192 Smith’s priapiumfish.............................. 201
Shieldheaded catfish............................. 195 Smooth blaasop..................................... 212
Short mackerel....................................... 205 Snail-eater catfish................................... 213
Short worm goby................................... 199 Snake eel.................................................. 192
Shortfin lizardfish................................... 196 Soldier catfish.......................................... 195
Shorthead anchovy.............................. 193 soldier croaker........................................ 211
Shortheaded tonguesole........................ 205 Southeast Asian blue panchax............ 201
shortnose ponyfish................................ 206 Spadenose shark.................................... 190
Shrimp Scad............................................ 203 Speckled goby........................................ 199
Siamese calamiana................................ 198 Speckled tonguesole............................. 205
Siamese sale............................................ 204 Speigler’s mullet.................................... 200
Silver grunt............................................... 208 Spindle croaker....................................... 210
Silver moony........................................... 208 Spine bahaba.......................................... 210
Silver pomfret......................................... 206 Spined anchovy...................................... 193
Silver sillago............................................. 212 Spiny-checked grunter........................... 209
Silver tripodfish....................................... 212 Splendid ponyfish.................................. 206
Six-banded grouper............................... 206 Spotnape ponyfish................................ 206
Sixspine butterflyfish............................. 208 Spottail needlefish................................ 202
Sleeper..................................................... 197 Spottail shark.......................................... 190
Sleeper..................................................... 197 Spotted catfish....................................... 195
Sleepy goby............................................ 198 Spotted codlet....................................... 196
Slender eel goby................................... 199 Spotted green goby............................... 198
Slender pangasiid catfish..................... 195 Spotted green pufferfish...................... 212
228 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Spotted sardinella................................. 194 Two-spined yellow-tail stargazer....... 206


Spotted sea catfish................................... 195 Two-spot Mangrove Goby................... 198
Spotted seahorse................................... 205 V
Spotted sicklefish................................... 210 Variegated goby...................................... 198
Spotty-face anchovy.............................. 193 Veined catfish.......................................... 195
Squaretail mullet.................................... 200 W
Streaked spinefoot................................. 209 Wasp-spine velvetfish........................... 209
Striped eel-catfish.................................. 195 Whaleshark.............................................. 190
Striped ponyfish...................................... 206 Whipfin silver-biddy............................... 207
Striped snakehead................................. 213 White edge whipray............................... 191
Striped stingfish...................................... 209 White sardine.......................................... 194
Sumatran river sprat.............................. 194 White sardinella...................................... 194
Sumatran silverside............................... 201 Whitefin wolf-herring............................. 194
T Whitenose whipray................................ 192
Tail-eyed goby........................................ 198 White-spotted spinefoot...................... 209
Talang queenfish.................................... 203 Whitespotted whipray........................... 192
Tenpounder............................................ 192 Wrestling halfbeak ................................ 202
Thai anchovy ......................................... 193 Y
Thai gizzard shad................................... 194 Yellow pike conger................................ 193
Thorny flathead..................................... 210 Yellowlined Ponyfish............................. 206
Three-spined frogfish............................ 196 Yellowstripes Scad................................. 203
Tigertooth croaker................................. 211 Yellowtail scad........................................ 203
Toli shad.................................................. 194
Toothpony............................................... 207
Torpedo scad............................................. 203
Trewavas croaker................................... 211
Tripletail................................................... 211
Tropical sand goby................................ 197
Tropical silverside.................................. 201
Truncate sea catfish.............................. 195
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 229
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

ดัชนีชื่อวิทยาศาสตร์
A
Abudefduf bengalensis......................... 153 Apocryptodon madurensis..................... 86
Acanthopagrus pacificus...................... 171 Arius leptonotacanthus.......................... 59
Acanthosphex leurynnis....................... 157 Arius venosus............................................. 59
Acentrogobius caninus........................ 74 Arius oetik................................................... 59
Acentrogobius chlorostigmatoides...... 74 Aspericorvina jubata................................ 163
Acentrogobius janthinopterus............. 75 Atherinomorus duodecimalis................ 99
Acentrogobius viridipunctatus............. 75 Atherinomorus lacunosus....................... 99
Achiroides melanorhynchus................ 119 Atropus atropos......................................... 111
Aetobatus ocellatus.............................. 34 Atule mate................................................. 111
Albulichthys albuloides...................... 181 Aulopareia cyanomos............................. 76
Alectis cilialis.......................................... 113 Aulopareia unicolor................................. 76
Alectis indicus.......................................... 113 Aurigequula fasciatus............................. 136
Alepes djedaba....................................... 110 Auriglobus modestus.............................. 180
Alepes kleinii........................................... 111 B
Alepes malanoptera.............................. 110 Batrachocephalus mino......................... 62
Allenbatrachus grunniens..................... 66 Batrachomoeus trispinosus.................... 66
Ambassis gymnocephaluss................... 91 Betta mahachaiensis............................... 117
Ambassis interruptus.............................. 91 Boleophthalmus boddarti...................... 87
Ambassis kopsi......................................... 90 Boesemania aeneocorpus..................... 164
Ambassis nalua........................................ 91 Boesemania aff. aeneocorpus.............. 163
Ambassis urotaenia................................ 92 Boesemania polykladiskos.................... 163
Amblygaster sirm.................................... 52 Bostrychus sinensis................................... 69
Anabas testudineus............................... 182 Brachirus orientalis................................... 118
Anguilla bicolor pacifica....................... 37 Brachirus panoides................................... 119
Anodontostoma chacunda................. 49 Brachirus siamensis.................................. 119
Anodontostoma thailandiae............... 49 Brachyamblyopus brachysoma............ 88
Anoxypris cuspidatus............................ 24 Brachygobius kabiliensis......................... 81
Apistus carinatus.................................... 155 Brachygobius xanthomelas.................... 82
Aplocheilus armatus............................. 101 Bregmaceros mcclellandi....................... 65
230 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Brevitrygon cf. imbricata...................... 25 Corica laciniata......................................... 53


Brevitrygon heterura............................. 25 Corica soborna.......................................... 53
Butis amboinensis.................................. 70 Crenimugil pedaraki................................. 96
Butis butis................................................ 70 Crenimugil seheli...................................... 96
Butis gymnopomus................................ 71 Cryptarius truncatus................................ 61
Butis humeralis....................................... 70 Cynoglossus semifasciatus..................... 124
C Cynoglossus arel....................................... 123
Caragobioides geomys.......................... 88 Cynoglossus bilineatus............................ 122
Carangiodes praeustus......................... 112 Cynoglossus cynoglossus........................ 122
Carangoides armatus............................ 112 Cynoglossus kopsii.................................... 124
Caranx sexfasciatus............................... 112 Cynoglossus lida....................................... 123
Carcharhinus amblyrhynchoides....... 20 Cynoglossus lingua................................... 123
Carcharhinus leucas............................. 20 Cynoglossus puncticeps.......................... 124
Carcharhinus sorrah............................. 20 Cynoglossus oligolepis............................. 123
Carinotetraodon lorteti........................ 179 Cynoglossus trulla.................................... 124
Cephalocassis bicolor.......................... 60
Cephalocassis borneensis................... 61 D
Channa cf. gachua................................ 118 Datnioides polota..................................... 171
Channa striata....................................... 182 Dendrophysa russelli............................... 164
Chanos chanos...................................... 55 Dermogenys siamensis............................ 103
Chelonodontops patoca..................... 178 Deveximentum hanedai......................... 138
Chiloscyllium griseum........................... 22 Deveximentum insidiator........................ 139
Chiloscyllium punctatum.................... 22 Deveximentum interruptum....................... 139
Chirocentrus nudus............................... 55 Deveximentum megalolepis.................. 139
Chrysochir aureus................................ 164 Deveximentum ruconius......................... 139
Clupeichthys goniognathus................. 53 Diagramma pictum.................................. 146
Clupeoides borneensis......................... 53 Dichotomyctere nigroviridis.................... 179
Coilia dussumieri.................................... 42 Dichotomyctere ocellatus..................... 179
Coilia lindmani....................................... 42 Doryichthys cf. boaja.............................. 127
Congresox talabon................................ 40 Drepane punctata................................... 159
Coptodon zillii........................................ 184 Drombus globiceps.................................. 76
Coradion altivelis................................... 149 Drombus kranjiensis................................. 75
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 231
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

E
Echeneis naucrates................................ 115 Gerres oyena.............................................. 142
Eleotris melanosoma............................ 71 Glossogobius aureus................................ 78
Eleutheronema tetradactylum........... 97 Glossogobius sparsipapillus................... 78
Ellochelon vaigiensis.............................. 95 Gobiopsis macrostoma........................... 77
Elops machnata..................................... 36 Gobiopterus chuno.................................. 83
Encrasicholina pseudoheteroloba..... 46 Grammoplites scaber.............................. 159
Epinephelus areolatus.......................... 133 Gymnothorax tile...................................... 39
Epinephelus coioides............................ 133 H
Epinephelus sexfasciatus...................... 134 Helicophagus leptorhynchus................. 181
Equulites elongatus............................... 137 Hemiarius verrucosus............................... 62
Equulites oblongus................................ 136 Hemiramphus archipelagicus................ 102
Escualosa elongata............................... 52 Hemiramphus far...................................... 102
Escualosa thoracata............................. 52 Hemitrygon akajei.................................... 28
Eubleekeria jonesi.................................. 136 Hemitrygon fluviorum............................. 29
Eubleekeria splendens......................... 136 Hemitrygon narvarrae............................. 30
Eugnathogobius kabilia......................... 83 Hemitrygon bennettii............................... 29
Eugnathogobius microps....................... 82 Herklotsichthys dispilonotus.................. 50
Eugnathogobius siamensis................... 82 Hexanematichthys sagor........................ 61
Eugnathogobius variegata.................... 83 Hilsa kelee................................................. 49
Eutherapon theraps.............................. 151 Hippichthys spicifer.................................. 127
F Hippocampus kuda................................. 126
Fluvitrygon oxyrhyncha......................... 27 Histrio histrio.............................................. 67
Fluvitrygon signifer.................................. 28 Hypoatherina valenciennei................... 100
G Hyporhamphus dussumieri.................... 103
Gambusia affinis..................................... 183 Hyporhamphus limbatus....................... 103
Gazza achlamys..................................... 140 I
Gazza minuta.......................................... 140 Ichtyocampus carce................................ 127
Gerres chrysops....................................... 142 Ilisha kampeni........................................... 41
Gerres decacanthus............................... 141 Ilisha megaloptera................................... 41
Gerres erythrourus................................. 141 Ilisha melastoma...................................... 41
Gerres filamentosus............................... 141 Ilisha sirishai............................................... 41
232 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

J
Jaydia carinatus.................................... 68 Lutjanus vitta.............................................. 144
Jaydia ellioti........................................... 68 Lycothrysa crocodylus.............................. 44
Johnius amblycephalus...................... 164 M
Johnius belangerii................................. 166 Macrotrema cf.caligans............................ 108
Johnius borneensis............................... 165 Maculabatis gerrardi................................. 32
Johnius carouna................................... 165 Maculabatis macrura................................ 32
Johnius elongatus................................ 166 Maculabatis pastinacoides...................... 30
Johnius macropterus........................... 166 Mastacembelus erythrotaenia............... 107
Johnius macrorhynus.......................... 167 Mayaheros urophthalmus....................... 183
Johnius plagiostoma........................... 165 Megalaspis cordyla.................................... 114
Johnius trachycephalus...................... 166 Megalonibea diacanthus......................... 170
Johnius trewavasae............................. 167 Megalops cyprinoides............................... 36
Johnius weberi...................................... 165 Minous monodactylus.............................. 156
Johnius heterolepis.............................. 167 Mobula mobular........................................ 35
Johnius latifrons.................................... 167 Monacanthus chinensis............................ 176
K Monodactylus argenteus.......................... 148
Ketengus typus...................................... 62 Mugil cephalus............................................ 97
Mugilogobius cavifrons.............................. 83
L Mugilogobius chulae.................................. 84
Lagocephalus inermis.......................... 178 Mugilogobius rambaiae............................ 84
Lagocephalus lunaris........................... 178 Muraenosox cinereus................................ 40
Lagocephalus spadiceus..................... 178 Myrophis microchir.................................... 38
Lates calcalifer...................................... 132 Mystus cf.gulio............................................. 63
Leiognathus brevirostris....................... 137 Mystus velifer.............................................. 63
Leiognathus equulus............................ 137 N
Lepturacanthus savala....................... 131 Nemapteryx nenga.................................... 61
Lobotes surinamensis.......................... 173 Nematalosa nasus..................................... 49
Lutjanus argentimaculatus................ 143 Nemipteru furcosus.................................... 172
Lutjanus johni........................................ 144 Neopomacentrus taeniurus..................... 153
Lutjanus monostigma.......................... 143 Neostethus bicornis................................... 100
Lutjanus russellii................................... 143 Nibea semifasciata.................................... 168
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 233
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Nibea soldado.......................................... 168 Paramugil parmata.................................. 94


Nuchequula gerroides............................ 138 Paraplagusia bilineata............................. 125
Nuchequula longicornis......................... 138 Parapocryptes serperaster..................... 87
Nuchequula mannusella....................... 137 Pastinachus stellurostris.......................... 31
O Pateobatis fai............................................ 31
Omobranchus ferox................................ 98 Pateobatis uarnacoides.......................... 30
Ophichthus rutidoderma........................ 38 Pegasus laternarius.................................. 125
Ophiocara porocephala........................ 72 Pegasus volitans....................................... 126
Ophisternon cf.bengalense................... 108 Pelates sexlineatus.................................. 152
Oreochromis mossambicus................... 183 Pennahia anea.......................................... 169
Oreochromis niloticus............................ 184 Pennahia ovata........................................ 170
Oryzias haugiangensis............................ 107 Pennahia pawak....................................... 169
Osteogeneiosus militaris........................ 62 Pennahia macrocephalus...................... 169
Osteomugi cunnesius............................. 95 Periophthalmodon schlosseri................ 88
Osteomugi speigleri................................. 95 Periophthalmus argentilineatus............ 87
Osteomugil perusii................................... 96 Periophthalmus chrysospilos................. 87
Ostorhinchus fasciatus........................... 68 Phenacostethus smithi............................ 101
Otolithes ruber......................................... 168 Photopectoralis bindus........................... 138
Otolithoides biauritus............................. 168 Pisodonophis boro................................... 37
Oxuderces dentatus................................ 86 Pisodonophis cancrivorus....................... 38
Oxyeleotris urophthalmoides............... 72 Planiliza subviridis.................................... 94
Oxyurichthys microlepis......................... 86 Planiliza tade............................................ 94
P Platax teira................................................. 160
Pampus argenteus.................................. 131 Platycephalus culteratutus.................... 158
Pampus chinensis.................................... 130 Plectorhinchus gibbosus.......................... 146
Pangasius elongatus............................... 56 Plicofollis argyropleuron......................... 60
Panna microdon...................................... 169 Plicofollis nella......................................... 60
Pao cambodgensis.................................. 180 Plicofollis dussumieri............................... 60
Pao fangi................................................... 180 Plotosus canius......................................... 57
Parachaetodon ocellatus...................... 149 Plotosus lineatus...................................... 57
Parachaeturichthys polynema............. 77 Poecilia velifera........................................ 183
Parambassis wolffii.................................. 92 Polynemus aguillonaris........................... 98
234 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Pomadasys kaakan................................. 147 Scatophagus argus.................................. 148


Pomadasys maculatus........................... 147 Scoliodon macrorhynchos..................... 20
Priacanthus tayenus............................... 147 Scolopsis taeniopterus........................... 172
Prionobutis koilomatodon..................... 72 Scomberoides commersonnianus........ 114
Prionobutis microps................................. 73 Scomberoides tol..................................... 113
Pristis pristis............................................... 23 Scomberomorus commerson................ 130
Psammogobius biocellatus................... 78 Selaroides leptolepis.............................. 114
Pseudapocryptes elongatus................. 86 Setipinna melanochir............................. 43
Pseudogobius poicilosoma.................... 84 Setipinna taty........................................... 43
Pseudorhombus arsius........................... 121 Siganus fuscescens.................................. 154
R
Rachycentron canadum......................... 115
Siganus guttatus....................................... 155
Siganus javus............................................. 154
Rastrelliger brachysoma......................... 129 Sillago aeolus........................................... 174
Rastrelliger faughni.................................. 129 Sillago asiatica.......................................... 175
Rastrelliger kanagurta............................. 129 Sillago ingenuua....................................... 174
Redigobius chrysosoma.......................... 85 Sillago intermedius.................................. 174
Repomucenus sagitta............................. 128 Sillago sihama.......................................... 175
Rhyncodon typus..................................... 21 Solea ovata............................................... 120
Rogadius asper......................................... 158 Sphyraena forsteri................................... 117
Rogadius pristiger..................................... 158 Sphyraena jello........................................ 116
Sphyraena obtusata............................... 116
S Sphyraena putnamae............................ 116
Sardinella albella................................... 50 Stigmatogobius pleurostigma............... 85
Sardinella gibbosa.................................. 51 Stolephorus baganensis......................... 45
Sardinella lemuru................................... 52 Stolephorus commersonii...................... 44
Sardinella pacifica.................................. 51 Stolephorus dubiosus.............................. 45
Sardinella richardsoni............................ 51 Stolephorus insularis............................... 45
Sardinella brachysoma......................... 51 Stolephorus oceanicus........................... 45
Sargocentron rubrum............................. 65 Stolephorus tri........................................... 46
Sarotherodon melanotheron............... 184 Stolephorus waitei................................... 46
Saurida micropectoralis......................... 64 Strongylura incisa..................................... 106
Scartelaos histophorus.......................... 88 Strongylura leiura..................................... 105
พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน 235
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Strongylura strongylura............................. 106 V


Suggrundus macracanthus....................... 159 Vespicula trachynoides........................ 156
Synaptura commersonnii......................... 120
Y
T Yarica hyalosoma................................. 68
Taenioides anguillaris................................ 89 Yongeichthys nebulosus...................... 77
Taenioides cirratus...................................... 89 Z
Taenioides gracilis..................................... 89 Zenarchopterus clarus......................... 104
Taenioides nigrimarginatus....................... 89 Zenarchopterus dunckeri.................... 104
Telatrygon biasa ........................................ 26 Zenarchopterus ectuntio..................... 104
Telatrygon zugei......................................... 26 Zenarchopterus pappenheimi........... 104
Tenualosa reevesi....................................... 50 Zenarchopterus buffonis..................... 103
Tenualosa toli............................................. 50
Terapon jarbua........................................... 152
Terapon puta............................................... 152
Thryssa hamiltonii....................................... 43
Thryssa setirostris....................................... 44
Toxotes aff. chatareus.............................. 151
Toxotes jaculatrix....................................... 150
Toxotes microlepis...................................... 150
Triacanthus nieuhofii.................................. 176
Tridentiger cf.barbatus............................... 85
Trypauchen vagina..................................... 89
Tylosurus acus melanotus........................ 106
Tylosurus crocodylus.................................. 106
U
Upeneaus japonicus.................................. 145
Upeneaus sundaicus.................................. 145
Upeneaus tragula....................................... 145
Uranoscopus cognatus.............................. 132
Urogymnus chaophraya............................ 27
236 พรรณปลาของเอสทูรี่อ่าวไทยตอนใน
Estuarine Fishes of Inner Gulf of Thailand

Cr.นันทวัฒน์ โชติสุวรรณ

You might also like