You are on page 1of 29

ความชุกของปรสิตภายนอกที่พบในสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มค

รัสเตเชียน
PREVALENCE PARASITES FOUND IN
ORNAMENTAL AQUATIC ANIMALS
CUSTACEAN

ณัฐนันท์ นาภูมิ
NATTHANAN NAPOOM
สหกิจศึกษานี้เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีทางทะเล
คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
ปี การศึกษา 2566
ลิขสิทธิ์เป็ นของมหาวิทยาลัยบูรพา
1

บทที่ 1
บทนำ
ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามเป็ นธุรกิจที่มีความสำคัญทาง
เศรษฐกิจและมีแนวโน้มเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้น เนื่องจาก
มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมีมูลค่าการส่ง
ออกสัตว์สวยงามอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.0-10.0 ต่อปี (สุ
ชัญญา, 2554) ซึ่งทำสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรจำนวนมาก จึงควร
ให้ความสำคัญกับแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามต่างๆ ใน
ประเทศไทย อ้างอิงจากข้อมูลรายงานเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
พบว่าในปี 2564 มีจำนวนฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามใน
ประเทศทั้งสิ้น 4,660 ฟาร์ม ภาคกลางมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็ น
ร้อยละ 29.61 (กรมประมง, 2564) โดยธุรกิจสัตว์น้ำสวยงามนี้มี
อัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี มีประเภทของสัตว์น้ำสวยงาม
มากมาย และมีสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัสเตเชียนเป็ นกลุ่มสัตว์น้ำที่ได้
รับความนิยมในการเพาะเลี้ยง เนื่องจากมีความสวยงามและหลาก
หลายชนิด เช่น กุ้งสวยงาม ปูสวยงาม เป็ นต้น แต่ในการเพาะเลี้ยง
ก็ถือว่าเป็ นปั ญหาสำคัญ เนื่องจากการดูแลจัดการฟาร์มที่ไม่ดีนัก
ทำให้สัตว์น้ำอาจติดโรคจากปรสิตภายนอกได้ เช่น ซูโอแทมเนียม
ไซฟิ เดีย เป็ นต้น

ในช่วงผลัดเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว หรือ
ช่วงปลายฝนต้นหนาวของทุกปี หลายพื้นที่ของประเทศไทยมี
2

อุณหภูมิลดต่ำลง หรือบางพื้นที่มีฝนตก ทำให้อุณหภูมิของน้ำเกิด


การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์
น้ำ เนื่องจากสัตว์น้ำเป็ นประเภทสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิร่างกายจะ
เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ทำให้สัตว์น้ำทั้งที่
อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติและที่เกษตรกรเลี้ยงปรับตัวไม่ทัน
เกิดความเครียด อ่อนแอ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่าย

ปั ญหาปรสิตภายนอกที่พบในการเพาะลี้ยงสัตว์น้ำเกิดจาก
อัตราการขยายตัวของฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีจำนวนมากขึ้น
เพื่อต้องการเพิ่มการส่งออกให้มีมูลค่าสูง ส่งผลให้เกิดการเลี้ยงสัตว์
น้ำแบบหนาแน่นเกินไป จึงไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมและ
การป้ องกันโรคที่ดีแก่สัตว์น้ำได้ ทำให้เกิดการติดปรสิตภายนอกได้
ง่าย ซึ่งโดยปกติแล้วแม้แต่สัตว์น้ำแข็งแรงที่อาศัยในแหล่งน้ำ
ธรรมชาติก็ยังสามารถพบปรสิตได้ด้วยเช่นกัน ปรสิตภายนอกจะดูด
กินเลือดและเนื้อเยื่อของสัตว์น้ำ ทำให้เกิดอาการระคายเคือง
อักเสบ สูญเสียน้ำหนัก ชะลอการเจริญเติบโต จนถึงแก่ความตายได้
นอกจากนี้ปรสิตภายนอกยังสามารถเป็ นพาหะนำโรคอื่น ๆ เช่น
โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ที่จะส่งผลให้เกิดความเสีย
หายมากกว่าการเกิดโรคจากปรสิต

ดังนั้นการศึกษาความชุกของปรสิตภายนอกที่พบในสัตว์น้ำ
สวยงามกลุ่มครัสเตเชียนในฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ภาค
กลางประเทศไทย ช่วงฤดูหนาว จึงเป็ นสิ่งสำคัญเพื่อที่จะได้ทราบถึง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของปรสิตภายนอก และหาแนวทางใน
การแก้ไขปั ญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาความชุกของปรสิตภายนอกในสัตว์น้ำสวยงามก
ลุ่มครัสเตเชียนในพื้นที่ภาคกลาง ช่วงฤดูหนาว

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย
1.เพื่อเป็ นข้อมูลในการเฝ้ าระวังโรคจากปรสิตในช่วงฤดู
หนาว

2.เพื่อช่วยแก้ปั ญหาการเกิดโรคปรสิตและสามารถเพิ่ม
อัตราการส่งออกที่มากขึ้น

ขอบเขตการวิจัย
ทำการตรวจหาปรสิตในสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัสเตเชียนที่
ส่งเข้ามาตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรคสัตว์น้ำ กอง
วิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำกรมประมง จากฟาร์มสัตว์น้ำ
สวยงามในเขตพื้นที่ภาคกลางมีตัวอย่างสัตว์น้ำทั้งหมด 6 ชนิด
ได้แก่ กุ้งก้ามกาม กุ้งเครย์ฟิ ช กุ้งแรด กุ้งแคระ กุ้งเชอร์รี่ ปูแมงมุม
โดยจะทำการสุ่มตัวอย่างสัตว์น้ำแต่ละชนิดมาชนิดละ 60 ตัว/ฟาร์ม
ทำการส่องกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอและบันทึกผล ในระหว่าง
เดือน ธันวาคม 2566 ถึง กุมภาพันธ์ 2567
4

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 ชีววิทยาของสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัสเตเชียนที่นิยม
เพาะเลี้ยง
ประเทศไทยส่งออกสัตว์น้ำสวยงามไปสู่ประเทศต่าง ๆ
มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ไทยมีปริมาณการส่งออกอยู่อันดับต้น
ๆ และสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัสเตเชียนที่ส่งออกไปขายต่างประเทศ
ที่กำลังเป็ นที่นิยมในการเพาะลี้ยงเพื่อความสวยงาม มีดังนี้

1.กุ้งก้ามกราม
1.1 ข้อมูลทั่วไปของกุ้งก้ามกราม

Family Palaemonidae
Genus Macrobrachium

รูปที่ 1 กุ้งก้ามกาม
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki
5

กุ้งก้ามกราม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrobrachium


rosenbergii, อังกฤษ: Giant river prawn) อยู่ในไฟลัม
Arthropoda กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Palaemonidae มี
เปลือกสีเขียวอมฟ้ าหรือม่วง ก้ามยาวสีม่วงเข้ม โดยธรรมชาติจะอยู่
ในแม่น้ำลำคลองแทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ทั้งในน้ำ
จืดและน้ำกร่อย (กรมประมง, 2560)

กุ้งก้ามกราม มีเปลือกคลุมตัว ลำตัวแบ่งออกได้ 3


ส่วน คือ หัว อก และท้อง ส่วนหัวและอกรวมกันเป็ นปล้องเดียวกัน
บนเปลือกคลุมหัว ทางส่วนหางมีหนาม 2 อัน (hepatic spine
anternal spine) สองข้างแก้ มีร่องปรากฏอยู่เห็นชัด กรีมีลักษณะ
แบนข้าง ตามีก้านยาวยื่นออกนอกเบ้าตาเคลื่อนไหวไปมาได้ (บร
รถง, 2535) ส่วนของลำตัวเปลือกจะแยกเป็ นปล้อง ๆ กุ้งก้ามกราม
มีหนวด 2 คู่ ขาเดิน 5 คู่และขาว่ายน้ำ 5 คู่ ปลายหางเป็ นหนาม
แหลมและมีแพนหาง 2 ข้าง ขาเดินคู่ที่ 1 และ 2 จะมีปลายเป็ น
ก้าม ส่วนคู่ที่ 3,4 และ 5 มีลักษณะเป็ นปลายแหลมธรรมดา ขาเดิน
คู่ที่ 2 นั้นจะเป็ นก้ามที่มีขนาดใหญ่และยาวมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในตัวผู้ (ยนต์, 2529)

2.กุ้งเครย์ฟิ ช
2.1 ข้อมูลทั่วไปของกุ้งเครย์ฟิ ช
Family Cambaridae
Genus Procambarus
6

รูปที่ 2 กุ้งเครย์ฟิ ช
ที่มา:
https://www.fishi-pedia.com/crustacea/procambarus-
clarkii
กุ้งเครย์ฟิ ช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Procambarus
clarkii, อังกฤษ: Crayfish)
กุ้งเครย์ฟิ ชน้ำจืด (freshwater crayfish) ร่างกายแบ่งเป็ น ส่วนหัว-
ลำตัว (cephalothorax) มีเปลือกคลุม (carapace) และส่วนท้อง
(abdomen) มีระบบการสัมผัส ได้แก่ หนวดขนาดใหญ่ 1 คู่ เรียก
ว่า antennae และหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ที่เรียกว่า antennule ใช้
เพื่อการสัมผัส รับรสชาติและตรวจสอบคุณภาพน้ำ เช่น อุณหภูมิ
ความเค็ม กุ้งเครย์ฟิ ชน้ำจืด มีขา 5 คู่ ขาคู่ที่ 1 เป็ นก้ามขนาดใหญ่
(chelipeds) ขาคู่ 2-4 ทำหน้าที่เดินและจับอาหาร (periopods)
และส่วนอกมี 6 ปล้อง ซึ่งสามารถขยับได้ ปล้องคู่ที่ 2 ถึง 5 มีแผ่น
ว่ายน้ำ (pleopods) ตัวเมียมีขนเล็ก ๆ (setae) ปล้องคู่ที่ 6 มี
ขนาดใหญ่ ( uropods) หางเป็ นแผ่นแบน (telson) ซึ่งสามารถ
ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วและสามารถโค้งงอในระหว่างการฟั กไข่
7

(Hobb, 1989) การแยกชนิดทางอนุกรมวิธานของกุ้งในกลุ่ม


Cambarid crayfish ขึ้นอยู่กับรูปร่างของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และ
เพศเมีย (วิรัตดา สีตะสิทธิ์ และคณะ 2542)

3.กุ้งแรด
3.1 ข้อมูลทั่วไปของกุ้งแรด
Family Atyidae
Genus Atyopsis

รูปที่ 3 กุ้งแรด
ที่มา: https://www.fishi-pedia.com/crustacea/atyopsis-
moluccensis
กุ้งแรด หรือ กุ้งไม้ไผ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Atyopsis
moluccensis, อังกฤษ: Bamboo shrimp) กุ้งน้ำจืดสกุลหนึ่งจาก
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกพบในปี 1983 โดย Chace Jr. พบได้
บนเกาะภูเขาไฟ เป็ นสัตว์น้ำจืดขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงาม กุ้งแรด
กำลังได้รับความนิยมเป็ นสัตว์เลี้ยงในตู้ปลา ด้วยความน่ารัก
8

สวยงาม และเลี้ยงง่าย กุ้งแรดมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียง


ใต้ พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดที่มีตะไคร่น้ำ ตัวเต็มวัยโตเต็มที่
ประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีอายุขัย 1-2 ปี มีลักษณะลำตัวสีน้ำตาล
ใส มีลายทางสีดำ ขาสีน้ำตาล หนวดสีน้ำตาล ตาสีดำ ก้ามสีน้ำตาล
เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ อาศัยอยู่ตามซอกหินหรือพืชน้ำ
อาหารสำหรับกุ้งแรดคือตะไคร่น้ำ เศษอาหารปลา และอาหารกุ้ง
สำเร็จรูป อาศัยอยู่ที่อุณหภูมิ 22-28 °C ค่า pH: 6.5-7.5 เพศเมีย
สามารถวางไข่ได้ 20-30 ฟอง ไข่จะฟั กเป็ นตัวอ่อนภายใน 30-40
วัน (De Grave, 2022)

4.กุ้งแคระ
4.1 ข้อมูลทั่วไปของกุ้งแคระ
family Atyidae
genus Caridina

รูปที่ 4 รูปร่างของกุ้งแคระนิล (A) กุ้งเพศผู้ และ (B) กุ้งเพศเมีย


9

ที่มา : สยาม อรุณศรีมรกต(2558)

กุ้งแคระนิล (ชื่อวิทยาศาตร์คือ Caridina


tonkinesis) ซึ่งเป็ นกุ้งที่จัดอยู่ในวงศ์ Atyidae สกุล Caridina กุ้ง
แคระในธรรมชาติมีถิ่นกำเนิดอยู่ในโซนทวีปเอเชียตะวันออก เช่น
จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ศรีลังกา รวมถึง
ประเทศไทย

ลักษณะทั่วไปของกุ้งแคระนิล คือ มีกรีเรียบ


ไม่มีหนามเหนือเบ้าตา มีหนามบริเวณด้านข้างของ carapace ส่วน
หน้าใกล้กับฐานหนวดคู่ที่ 2 มีลักษณะมน ส่วนปลาย carpus ของ
ขาเดินคู่ที่ 1 จะเว้าคล้ายถ้วย ขาเดินคู่ที่ 1 และ 2 มีลักษณะเป็ น
ก้ามหนีบ บริเวณปลายขาจะมีขนเป็ นพู่ และขาเดินคู่ที่ 1 จะสั้นกว่า
คู่ที่ 2 โดยกุ้งแคระเพศผู้จะมีลักษณะลำตัวเพรียว ส่วนหัวเชิดขึ้น
เล็กน้อย โคนหางและแพนหางเรียวเล็ก ส่วนกุ้งแคระเพศเมียจะมี
ลักษณะอวบอ้วน เพราะมีเปลือกมากกว่า ช่องท้องนูนสำหรับเก็บ
ไข่ ส่วนหัวอูม โคนหางและแพนหางใหญ่กว่าเพศผู้ ดังรูปที่4 (สยาม
อรุณศรีมรกตและคณะ, 2558) ขาคู่แรกที่เป็ นก้ามจะใช้ในการหยิบ
จับอาหารและ ส่วนของขาว่ายน้ำ จะมีลักษณะเป็ นแผ่นบาง ๆ คอย
โบกเอาน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อใช้หายใจและเพื่อ
ประโยชน์ในการพัดออกซิเจนไปใช้ในการฟั กไข่ที่อยู่ใต้ท้อง และใต้
ขาว่ายน้ำยังใช้เป็ นที่อุ้มไข่ที่ถูกรับการปฏิสนธิแล้วเพื่อรอเวลาใน
การฟั กเป็ นลูกกุ้ง
10

5.กุ้งเชอร์รี่
5.1 ข้อมูลทั่วไปของกุ้งเชอร์รี่
Family Atyidae
Genus Neocaridina

รูปที่ 5 กุ้งเชอร์รี่
ที่มา:
https://www.shutterstock.com/th/search/neocaridina-
davidi
กุ้งเชอร์รี่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neocaridina
davidi, อังกฤษ: cherry shrimp) Neocaridina davidi หรือที่
รู้จักกันในชื่อ กุ้งแคระเชอร์รี่ หรือ กุ้งเรดเชอร์รี่ เป็ นสัตว์น้ำจืด
ขนาดเล็กที่มีสีสันสดใส กำลังได้รับความนิยมเป็ นสัตว์เลี้ยงในตู้ปลา
ด้วยความน่ารัก สวยงาม เลี้ยงง่าย และช่วยรักษาความสะอาดของ
ตู้ปลา กุ้งเชอร์รี่มีลำตัวใส สีแดง มีจุดสีดำบนหลัง ขาสีแดง หนวดสี
แดง ตาสีดำ เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ โดยทั่วไปจะโตเต็มที่
ประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และมีอายุขัย 1-2 ปี พบได้ในน้ำจืด
ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีตะไคร่น้ำ พบได้ทั่วไปในเอเชียตะวัน
11

ออก ในการอยู่อาศัยกุ้งชนิดนี้เหมาะสมกับอุณหภูมิที่ 18-26 °C


และกิน ตะไคร่น้ำ, เศษอาหารปลา, อาหารกุ้งสำเร็จรูป เป็ นอาหาร
กุ้งเชอร์รี่เพาะพันธุ์ได้ง่าย เพศเมียสามารถวางไข่ได้ 20- 30 ฟอง ไข่
จะฟั กเป็ นตัวอ่อนภายใน 30 -40 วัน มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสาย
พันธุ์มีสีสันและลวดลายที่แตกต่างกันไป เช่น Red Cherry: สีแดง,
Yellow Cherry: สีเหลือง, Blue Cherry: สีน้ำเงิน, Black Rose:
สีดำ, Snowball: สีขาว (Carrie and Jennifer, 2021)

6.ปูแมงมุมแคระ
6.1 ข้อมูลทั่วไปของปูแมงมุม
Family Hymenosomatidae

Genus Limnopilos naiyanetri


12

รูปที่ 6 ปูแมงมุม (Limnopilos naiyanetri)

ที่มา: http://siamensis.org/node/5876#!

ปูแมงมุมแคระ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Limnopilos


naiyanetri, อังกฤษ: Thai Micro Crab) อยู่ในวงค์
Hymenosomatidae (กลุ่มปูแมงมุม) มีขนาดเล็กพอที่จะเรียกว่า
เป็ นปูแมงมุมแคระ ด้วยขนาดและรูปร่าง ทำให้เหมาะสำหรับการ
เพาะเลี้ยงเพื่อความสวยงาม
ลักษณะทั่วไป โดยทั่วไปมีสีเทา อาจมีบางตัวที่มี
สีน้ำตาล เมื่อโตเต็มที่ความกว้างของกระดองยาว 6 มิลลิเมตร วัด
จากปลายขาด้านซ้ายไปหาปลายขาด้านขวายาวประมาณ 1
เซนติเมตร ขายาวนี้สามารถพับได้ครึ่งหนึ่งเวลาถูกรบกวนหรือจับ
ขึ้นจากน้ำ ขาและก้ามมีปอยขนงอกออกขึ้นมา ปอยขนนี้จะเป็ นตัว
วัดสุขภาพของปูแมงมุมได้เพราะตัวที่สมบูรณ์จะมีขนขึ้นเต็มทั้งขา
ทั้งก้าม และมันใช้ปอยขนนี้สำหรับจับอนุภาคของอาหารที่ลอยมา
ตามน้ำ (limnopilos niyanetri) (อ้างอิง_Aqua.c1ub.net)
13

2.2 ปรสิตภายนอกที่พบในสัตว์น้ำ
ปรสิตภายนอกที่พบในสัตว์น้ำมีทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ
Protozoa, Crustacean, Trematode, Nematode,
Acanthocephalan

โดยปรสิตภายนอกที่พบได้บ่อยในสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัส
เตเชียน คือโปรโตซัว (Protozoas) เป็ นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเซลล์
เดียว ต้องมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จึงสามารถมองเห็นได้ พบการ
ดำรงชีวิตที่เป็ นอิสระ (Free living) และที่เป็ นปรสิต โปรโตซัว
สามารถแบ่งออกเป็ น 3 กลุ่มตามลักษณะโครงสร้างในการเคลื่อนที่
คือ กลุ่มที่มีขนเล็ก ๆ (Ciliates) กลุ่มที่มีแส้ (Flagellates) และ
กลุ่มที่มีเซลล์เป็ นสปอร์ (Sporozoa) โดยชนิดของปรสิตโปรโตซัวที่
พบ มีดังนี้
2.2.1 ปรสิตกลุ่มโปรโตซัว (Protozoa)
1. ซูโอแทมเนียม
ซูโอแทมเนียม (Zoothamnium sp.) โปรโตซัวในสกุล
Zoothamnium อยู่ในกลุ่ม Ciliated protozoa พบได้ทั้งในน้ำจืด
น้ำกร่อยและน้ำเค็ม เป็ นปรสิตภายนอกที่พบเกาะอยู่บริเวณอวัยวะ
ภายนอก ได้แก่ เหงือก รยางค์ เปลือก และลำตัวของกุ้ง ปู ปลา
และหอย บางครั้งพบลอยเป็ นกลุ่มในน้ำหรือในบ่อคอนกรีตที่เลี้ยง
แพลงก์ตอน กุ้งที่ป่ วยมีรยางค์กุดกร่อน กุ้งตัวไม่สะอาด มีเศษซาก
ตะกอนติดอยู่ตามรยางค์ เหงือกเป็ นสีน้ำตาลหรือดำ ทำให้กุ้งลอก
คราบไม่ออกและตายได้ ซูโอแทมเนียมมีคุณลักษณะเด่น คือ มี
เซลล์ที่เรียกว่า zooid อยู่รวมกันเป็ นช่อ ๆ เรียกว่า colony ด้วย
14

ก้าน (stalk) ที่มีเส้นในแกนกลางเชื่อมต่อกันตลอด เรียกว่า


continuous myoneme ทำให้มีการเคลื่อนไหวของเซลล์เป็ นแบบ
ยืดหดตัวพร้อมกัน
Colony จะมีก้าน (stalk) อันเดียวโยงเชื่อมเซลล์แต่ละ
เซลล์ไว้ด้วยกัน ดังนั้นจะเห็นว่าโคโลนีมีลักษณะแผ่กระจายออกไป
คล้ายพัดโดยมีก้านยึดอันเดียว ก้านนี้ยืดหดได้ ภายในก้านของเซลล์
และโคโลนี myonemes ติดต่อกันตลอด เวลาหดตัวจึงหดลงทั้งโค
โลนี ตัวเซลล์มีรูปทรงกลม หรือรูปไข่กลม ตรงปากมีขนล้อมรอบ
(ประไพสิริ สิริกาญจน, 2546)

(ก) (ข)
(ที่มา: Fernandez-Leborans et al., 2009)
รูปที่ 7 ลักษณะของซูโอแทมเนียม (Zoothamnium sp.); (ก):
ลักษณะการแตกช่อของซูโอแทมเนียม และ (ข): ส่วนประกอบก้าน
ช่อของซูโอแทมเนียม (mi: micronucleus, ma: macronucleus,
s: stalk และ my: myoneme)
15

2.ไซฟิ เดีย (Scyphidia sp.)


ไซฟิ เดีย (Scyphidia) อยู่ในกลุ่ม Ciliated protozoa มี
รูปร่างหลายแบบแล้วแต่ชนิด บางชนิดอวัยวะที่ยึดติดกับวัตถุในน้ำ
จะมีลักษณะคล้ายก้านยาว แต่บางชนิดไม่มีที่ยึด มี cilia อยู่รอบ
ปากและบริเวณกลางเซลล์ จะว่ายน้ำเป็ นอิสระ ทำให้เกิดโรคเมือก
ขุ่นทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล โดยพบเกาะอยู่ตามซี่เหงือก เมือก ผิว
ตัว ครีบปลา กุ้ง ปู ทั้งน้ำจืดและทะเลโดยเฉพาะลูกปลาที่เลี้ยงกัน
หนาแน่น ซึ่งก่อให้เกิดการระคายเคืองกับบริเวณที่เกาะ ลักษณะ
อาการที่เห็นได้ชัดเมื่อปลาติดปรสิตชนิดนี้คือ ปลาจะเอาลำตัวถูข้าง
บ่อ บางครั้งจะมีอาการตัวเกร็ง เกล็ดตั้ง (Lepidothorsis) และ
ทำให้เกล็ดหลุด หางกุด ปลาจะขับเมือกออกมามากเห็นเมือกสีขาว
บริเวณลำตัวเป็ นหย่อม ๆ ซี่เหงือกอักเสบบวมและขัดขวางการแลก
เปลี่ยนแก๊สของเหงือก ทำให้ปลามีอาการว่ายบริเวณผิวน้ำ
ทุรนทุราย แล้วปลาก็จะหยุดกินอาหาร หากเกิดกับปลาวัยอ่อนจะ
ทำให้ปลามีอัตราการตายสูง นอกจากนั้นยังพบในกุ้ง (เจนจิตต์ คง
กำเนิด, 2562)
16

รูปที่ 9 Scyphidia
ที่มา : https://www.naturamediterraneo.com
2.2.3 กลุ่ม Crustacean

เห็บปลา (Argulus sp.) เป็ นสัตว์ในไฟลัม Arthopoda


ขนาดตัวเต็มวัยยาวประมาณ 10-20 มิลลิเมตร สามารถ
เกาะที่ตัวหรือเหงือกของสัตว์น้ำได้ทุกส่วนของสัตว์น้ำ เช่น
เกาะตามลำตัว ครีบ หางและเหงือกของสัตว์น้ำ มองเห็นได้
ด้วยตาเปล่า ลำตัวกลมแบนกึ่งโปร่งใส เมื่อเกาะที่อวัยวะ
ของสัตว์น้ำแล้วจะใช้เข็มที่ปากแทงเข้าไปกินน้ำเลี้ยงของ
ปลาซึ่งทำให้ปลาตกเลือด หรือเกิดแผล หากเห็บดูดเลือด
จำนวนมากอาจทำให้สัตว์น้ำเสียชีวิตได้ (เจนจิตต์ คง
กำเนิด, 2562)

รูปที่ 12 เห็บปลา Argulus sp.

ที่มา: https://www4.fisheries.go.th
17

2.3 การสุ่มเก็บตัวอย่างและการคำนวณหาค่าความชุก

1. การหาค่าความชุกชุม (Prevalence) (Bush, 1997)


Prevalence หมายถึง ค่าที่แสดงสัตว์น้ำที่มีปรสิตต่อสัตว์
น้ำทั้งหมด เพื่อใช้ในการแยกกลุ่มของตัวอย่างสัตว์น้ำที่พบปรสิต
และไม่พบปรสิต โดยแสดงค่าเป็ นเปอร์เซ็นต์
จำนวนตัว สัตว์น้ำที่ มีปรสิตแต่ละชนิด
คำนวณจากสูตร % Prevalence of infection= × 100
จำนวน สัตว์น้ำทั้ งหมด

2. การสุ่มเก็บตัวอย่าง
การสุ่มเก็บตัวอย่างสามารถพิจารณาจำนวนในการสุ่ม
ตัวอย่างได้จากตารางการสุ่มตัวอย่างในตารางที่ 1 โดยที่จำนวน
ตัวอย่างที่สุ่มจะขึ้นอยู่กับความชุกของโรค (Disease prevalence)
ชนิดนั้น ๆ หากมีความชุกของโรคสูง จำนวนตัวอย่างที่เก็บก็จะใช้
จำนวนน้อยเนื่องจากมีโอกาสที่จะตรวจพบโรคชนิดนั้นสูง แต่ถ้า
หากความชุกของโรคต่ำ จำนวนตัวอย่างที่เก็บก็จะต้องมีจำนวนเพิ่ม
มากขึ้นด้วย เพื่อทำให้เพิ่มความเป็ นไปได้ของการตรวจพบโรค สัตว์
น้ำกลุ่มครัสเตเชียนมีเปอร์เซ็นต์ความชุกของโรคเท่ากับ 5.0
เปอร์เซ็นต์ จะเก็บจำนวนสัตว์น้ำที่ 60 ตัว ดังตารางที่1 (เจนจิตต์
คงกำเนิด, 2562)
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนของตัวอย่างที่ต้องเก็บตามเปอร์เซ็นต์ความ
ชุกของโรค (% prevalence) และจำนวนประชากร (Ossiander
and Wedermeyer, 1973)
Population Prevalence (%)
size 0.5 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0 10.0
18

50 46 46 46 37 37 29 30
100 93 93 76 61 50 43 23
250 192 156 110 76 62 49 25
500 314 223 127 88 67 54 26
1000 448 256 136 92 69 55 27
2500 512 279 142 95 71 56 27
5000 562 288 145 96 72 57 27
10000 579 292 146 96 72 57 27
100000 594 296 147 96 72 57 27
1000000 596 297 147 97 72 57 27
>1000000 600 300 150 100 75 60 30

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วรกฤต วรนันทกิจ (2566) ทำการศึกษาปรสิตภายนอกใน
ตัวอย่างปลานิลแดงทั้งหมด 180 ตัว ที่เลี้ยงในกระชังในคลองและ
กระชังในบ่อดิน บริเวณคลอง 13 อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
ระหว่างเดือนธันวาคม 2555 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เป็ นระยะ
เวลา 3 เดือน พบปรสิตทั้งหมด 4 ไฟลัม (Mastigophora,
Myxozoa, Ciliophora และ Platyhelminthes) 7 สกุล
(Oodinium, Myxobolus, Apiosoma, Trichodina,
Cichlidogyrus, Scutogyrus และ Gyrodactylus) 12 ชนิด
(Oodinium sp., Myxobolus sp., Apiosoma sp., Trichodina
heterodentata, T. centrostrigeata, T.compacta,
cichlidogyrus tilapiae, C. halli, C. sclerosus, C.
19

thurstonae, Scutogyrus longicornis และ Gyrodactylus sp.)


โดยค่าความชุกชุม ของปรสิตกลุ่ม trichodinids จากกระชังในบ่อ
ดินมีค่าสูงสุดเท่ากับ 96 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่จากกระชังในคลอง
เท่ากับ 70 เปอร์เซ็นต์ และพบปลาที่มีปรสิตชนิด Oodinium sp.
น้อยที่สุดจากกระชังในบ่อดินเท่ากับ 1 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ไม่พบ
ปลาที่ติดปรสิตชนิดนี้จากกระชังในคลอง

จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน และคณะ (2529) จากการศึกษาโปร


โตซัวที่เป็ นปรสิตภายนอกของปลาน้ำจืดบางชนิดในรอบปี ตั้งแต่
เดือนธันวาคม 2528 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2529 ทั้งปลาในบ่อเลี้ยง
และปลาสวยงาม ปรากฏว่าพบโปรโตซัวทั้งหมด 12 สกุล ได้แก่
Ichthyopthirius, Oodinium, Trichodina, Trichodunella,
Glossatella, Henneguya, Scyphidia, Bodomonas, Epistylis,
Chilodonella, Myxobolus และ Plistophora ในจำนวนปลา
ทั้งหมด 417 ราย พบโปรโตซัวที่เป็ นปรสิตภายนอก 109 ราย คิด
เป็ นร้อยละ 26.1 โดยพบว่า ปลาที่นำมาจากบ่อเลี้ยงเป็ นโรคที่เกิด
จากโปรโตชัว Trichodina มากที่สุด คิดเป็ นร้อยละ 49.7 จาก
จำนวนปลาจากบ่อเลี้ยงที่มีปั ญหา เนื่องจากโปรโตชัวทั้งหมด ส่วน
ปลาสวยงามที่นำมาตรวจเพื่อใบปลอดโรคพบ Oodinium มาก
ที่สุดถึงร้อยละ 60

จันทรา วัฒนะเมธานนท์ และคณะ (2556) ปรสิตภายนอก


เป็ นปั ญหาที่พบได้บ่อยที่สุดในปลาน้ำจืด ทำให้ปลาอ่อนแอ เจริญ
เติบโตช้าลง เกิดบาดแผล ติดเชื้ออื่นแทรกช้อน คณะผู้วิจัยจึง
ทำการศึกษาย้อนหลังปั ญหาปรสิตภายนอกในปลาน้ำจืดในพื้นที่
20

ภาคกลาง จากผลการตรวจตัวอย่างปลาน้ำจืดที่ส่งมาทดสอบโรค
และตรวจวินิจฉัยชันสูตรโรคที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ระหว่าง
ปี 2554-2556 จำนวนทั้งสิ้น 534 ตัว เพื่อตรวจหาปรสิตภายนอก
โดยวิธี Gill biopsy จากเหงือก และวิธี Skin scraping จาก
ผิวหนัง พบว่า ตัวอย่างปลาน้ำจืดมีการติดปรสิตภายนอกจำนวน
200 ตัว คิดเป็ น 37.45% ปลาที่เลี้ยงในจังหวัดกรุงเทพฯ และ
สุพรรณบุรี พบอัตราการติดปรสิตภายนอกสูงกว่าจังหวัดอื่น
(46.51% และ 45.10%, ตามลำดับ) โดยเหงือกเป็ นตำแหน่งที่
ตรวจพบปรสิตภายนอกมากกว่าผิวหนัง (35.02% และ 7.68%,
ตามลำดับ) และสามารถพบการติดปรสิตภายนอกร่วมกันมากกว่า
1 ชนิด ปรสิตภายนอกที่ตรวจพบจากการศึกษาในครั้งนี้มีทั้งสิ้น 4
กลุ่ม 8 ชนิด ปรสิตที่พบได้มากได้แก่ โปรโตซัว Trichodina spp.
(19.29%) พยาธิใบไม้ใน family Heterophyidae (10.11%) และ
ปลิงใส Dactylogyrus spp. (8.43%) ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา
ปรสิตภายนอกในปลาน้ำจืดในครั้งนี้ เกษตรกรสามารถนำข้อมูลไป
ใช้ในการวางแนวทางสำหรับการรักษา ควบคุม และป้ องกันโรคใน
ฟาร์มปลาน้ำจืดต่อไป

Monjit et al. (2023) ศึกษาการติดปรสิตภายนอกของกุ้ง


Macrobrachium rosenbergii แต่ละเดือนในรัฐเบงกอลตะวันตก
ของอินเดีย ในช่วงปี 2021 ถึง 2022 พบปรสิตกลุ่มโปรโตซัว เช่น
Zoothamnium sp., Epistylis sp., Vorticella sp. และ Acineta
sp. พบได้ทั่วไปในน้ำจืด น้ำกร่อย และในน้ำทะเล พบ
Zoothamnium sp. สูงในรอบปี โดยพบความชุกและความรุนแรง
21

เฉลี่ยมากขึ้นในช่วงมรสุมและฤดูร้อน แม้ว่า Epistylis sp.,


Vorticella sp. มีค่าต่ำกว่า Zoothamnium sp. แต่ก็มีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น Acineta sp. เกือบเท่า ๆ กันทั้งปี โดยมีจุดสูงสุดในเดือน
พฤศจิกายน พบว่าปรสิตส่วนใหญ่แยกตัวกันในเดือนต่างๆ แต่จะสูง
หลังช่วงมรสุมฤดูร้อน การศึกษานี้จะช่วยให้เกษตรกรใช้ป้ องกันการ
แพร่ระบาดของกุ้งน้ำจืดได้ก่อนที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง

Hafidloh and Sari (2019) งานวิจัยนี้ศึกษาปรสิตโปรโตซัวที่


รบกวนกุ้งขาวแวนนาไม ประเทศอินโดนีเซีย ปรสิตภายนอกกลุ่ม
โปรโตซัวที่พบในกุ้งขาวแวนนาไม คือ Zoothamnium sp.,
Vorticella sp. และ Epistylis sp. เก็บจากศูนย์เพาะเลี้ยงปลาใน
เมืองปาซูรูอัน ประเทศอินโดนีเซีย ทุกสัปดาห์เป็ นเวลาหนึ่งเดือน
อัตราความชุกของปรสิตภายนอกโปรโตซัว คือ Zoothamnium
sp. (72.5%), Vorticella sp. (55%) และ Epistylis sp. (42.5%)
ตามลำดับ ความอุดมสมบูรณ์ของปรสิตภายนอกของโปรโตซัวจะ
แตกต่างกันไปตามคุณภาพของแหล่งน้ำ น้ำที่มีสารอาหารสูงซึ่งเกิด
จากการให้อาหารมากเกินไปทำให้อาหารที่เหลือเหลืออยู่ในบ่อซึ่ง
ทำให้สารอินทรีย์ภายในบ่อมีปริมาณสูงและกระตุ้นการเจริญเติบโต
ของปรสิตซึ่งสามารถเจริญเติบได้ดีเช่นกัน
22

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

3.1 เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ และสารเคมี


1.เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ
1.1. กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ (Stereo
Microscopes)
1.2. ภาชนะสำหรับรองรับตัวอย่าง เช่น กะละมัง หรือ
ถัง
1.3. สวิงตักปลา
1.4. ปากคีบ (forceps)
1.5. Plate
1.6. กระดาษทิชชู

2.สารเคมี
2.1 แอลกอฮอล์ 70% (70% Ethanol)

3.2 การสุ่มเก็บตัวอย่าง

วิธีการสุ่มเก็บตัวอย่าง อ้างอิงจากข้อ 2.3

3.3 การเตรียมตัวอย่าง
23

1. นับจำนวนกุ้ง หรือปูที่ได้จากแต่ละฟาร์ม จำนวน 60 ตัว


2. แบ่งใส่ plate ละ 20 ตัว จำนวน 3 plate จากนั้นนำไป
ส่องดูปรสิตด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ และทำการบันทึกผล

บทที่4

ผลการวิจัย

จากการศึกษาค่าความชุกของปรสิตในสัตว์น้ำกลุ่มครัสเตเชีย
นที่ส่งเข้ามาตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรคสัตว์น้ำ กอง
วิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำกรมประมง ช่วงเดือน ธันวาคม
2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็ นช่วงฤดูหนาวในพื้นที่ภาคกลาง
จากทั้งหมดจำนวน 46 ฟาร์ม ตัวอย่างทั้งหมด 2520 ตัวอย่าง พบ
ว่ามีการติดปรสิตภายนอกเพียงกลุ่มเดียว คือกลุ่ม โปรโตซัว
มีจำนวน 102 ตัวอย่าง คิดเป็ นเปอร์เซ็นต์ความชุกอยู่ที่ 4.048 ดัง
ตารางที่ 1
24

ตารางที่ 1 จำนวนปรสิตที่ตรวจพบในพื้นที่ภาคกลาง

กลุ่ม/ชนิด จำนวน Positive Negative %


ปรสิต ตัวอย่าง Prevalenc
(ตัว) e
Protozoa 2520 102 2418 4.048
- - 75 - 2.976
Zoothamn
ium
-Scyphidia - 48 - 1.905

ตัวอย่างสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัสเตเชียนที่มีปรสิตภายนอก
จากทั้งหมด 102 ตัวอย่าง จำแนกเป็ นสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัสเต
เชียนที่มีการตรวจพบปรสิตภายนอก Zoothamnium เพียง 1
ชนิด, พบปรสิตภายนอก Scyphidia เพียง 1 ชนิด และ พบร่วมกัน
2 ชนิด มีจำ นวน 54, 27 และ 21 ตัวอย่าง คิดเป็ น 20.59%,
52.94% และ 26.47% ตามลำดับ

จากตัวอย่างสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัสเตเชียนจำนวน 2520
ตัวอย่าง จะมีสัตว์น้ำทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ กุ้งก้ามกราม 450
ตัวอย่าง, กุ้งเครย์ฟิ ช 240 ตัวอย่าง, กุ้งแรด 390 ตัวอย่าง, กุ้งเรดบี
390 ตัวอย่าง, กุ้งเชอร์รี่ 390 ตัวอย่าง และ ปูแมงมุมแคระ 420
ตัวอย่าง ซึ่งแต่ละชนิดพบปรสิตภายนอก 16, 0, 31, 1, 46 และ 8
ตัวอย่าง คิดเปอร์เซ็นต์ความชุกจากจำนวนของสัตว์น้ำแต่ละชนิด
จะได้ 3.56%, 0.00%, 7.95%, 0.56%, 5.11% และ 2.22% ตาม
ลำดับ
25

ตารางที่ 2 จำนวนปรสิตที่พบในสัตว์แต่ละชนิด

ชนิดสัตว์ ชนิดปรสิต จำนว Positi Negati %


น้ำ น ve ve Prevalenc
ตัวอย่ e
าง
(ตัว)
กุ้ง 1. 16 434 3.56
ก้ามกราม Zoothamnium
sp. 450
2. Scyphidia 0 450 0
sp.
กุ้งเครย์ฟิ ช 1. 0 240 0
Zoothamnium
sp. 240
2. Scyphidia 0 240 0
sp.
กุ้งแรด 1. 390 31 359 7.95
Zoothamnium
sp.
2. Scyphidia 0 390 0
26

sp.
กุ้งแคระ 1. 0 0 0
Zoothamnium
sp. 180
2. Scyphidia 1 179 0.56
sp.
กุ้งเชอร์รี่ 1. 20 880 2.22
Zoothamnium
sp. 900
2. Scyphidia 39 861 4.33
sp.
ปูแมงมุม 1. 8 412 2.22
แคระ Zoothamnium
sp. 420
2. Scyphidia 8 412 2.22
sp.
รวม 2520 102 2418 4.048

สำหรับตัวอย่างสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัสเตเชียนที่ตรวจพบการติด
ปรสิตภายนอกมากที่สุด คือ กุ้งแรด รองลงมา ได้แก่ กุ้งก้ามกาม
27

บทที่5

วิจารณ์ผลการทดลอง
จากผลการศึกษาค่าความชุกของปรสิตในสัตว์น้ำกลุ่มครัสเตเชีย
นที่ส่งเข้ามาตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรคสัตว์น้ำ กอง
วิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำกรมประมง ช่วงเดือน ธันวาคม
2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเป็ นช่วงฤดูหนาวในพื้นที่ภาคกลาง
จากทั้งหมดจำนวน 46 ฟาร์ม ตัวอย่างทั้งหมด 2520 ตัวอย่าง พบ
ว่ามีการติดปรสิตภายนอกเพียงกลุ่มเดียว คือกลุ่ม โปรโตซัว มี
จำนวน 102 ตัวอย่าง คิดเป็ นเปอร์เซ็นต์ความชุกอยู่ที่ 4.048 แสดง
ให้เห็นว่า ปรสิตภายนอกเป็ นปั ญหาที่สามารถพบได้บ่อยในสัตว์น้ำ
ซึ่งฟาร์มส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางที่เลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามกลุ่มครัส
เตเชียนเป็ นฟาร์มที่ผ่านการขึ้นทะเบียนสถานนประกอบการส่งออก
สัตว์น้ำ จึงมีการจัดการฟาร์มอยู่ในระดับที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
แต่ก็ยังตรวจพบปรสิตภายนอกได้

You might also like