You are on page 1of 17

ความหลากหลายของนก

ในพื้นที่สวนสุขภาพในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นางสาวขนิษฐา แก้ววงษา รหัสประจำตัว 60010211320


นายณัฐสิทธิ์ นครเมือง รหัสประจำตัว 60010211332
นางสาวสุวัลรัฐ ผิวเหลือง รหัสประจำตัว 60010211366
นายกฤษณุพงศ์ พันทานนท์ รหัสประจำตัว 60010211373

ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา
ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปีการศึกษา 2563

กิตติกรรมประกาศ

โครงงานทางชีววิทยานี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความกรุณาของคณาจารย์ในรายวิชานิเวศวิทยา
ที่ให้การสนับสนุน รวมถึงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ให้การสนับสนุนสถานที่ในการดำเนินการจัดทำ
วิจัย จนโครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ขอกราบขอบพระคุ ณบิ ดา มารดา ที่ให้การอุป การะอบรมเลี้ ยงดู ตลอดจนส่งเสริ ม
การศึกษา และให้กำลังใจเป็นอย่างดี อีกทั้งขอขอบคุณเพื่อน ๆ ที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ
ด้วยดีเสมอมา และขอขอบพระคุณเจ้าของเอกสารและงานวิจัยทุกท่าน ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ นำมา
อ้างอิงในการทำวิจัย จนกระทั่งงานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

นางสาวขนิษฐา แก้ววงษา
นายณัฐสิทธิ์ นครเมือง
นางสาวสุวัลรัฐ ผิวเหลือง
นายกฤษณุพงศ์ พันทานนท์

สารบัญ

หน้า
กิตติกรรมประกาศ ก
สารบัญ ข
สารบัญตาราง ค
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 วัตถุประสงค์ 1
1.2 สมมุติฐาน 1
บทที่ 2 เอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานวิจัย 3
3.1 อุปกรณ์ 3
3.2 วิธีการวิจัย 3
บทที่ 4 ผลการศึกษาวิจัย 4
4.1 ตารางบันทึกผล 4
4.2 การวิเคราะห์ข้อมูล 8
บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน 12
5.1 อภิปรายและสรุปผล 12
บรรณานุกรม 13

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
4.1 วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 6.00 น. – 7.00 น. 4
4.2 วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 6.00 น. – 7.00 น. 5
4.3 วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 6.00 น. – 7.00 น. 6
4.4 ค่า Shannon-Wiener diversity index ของ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 8
2563 เวลา 6.00 น. – 7.00 น.
4.5 ค่า Shannon-Wiener diversity index ของ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 9
2563 เวลา 6.00 น. – 7.00 น.
4.6 ค่า Shannon-Wiener diversity index ของ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 10
2563 เวลา 6.00 น. – 7.00 น.
1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาความหลากหลายของชนิดของนกในพื้นที่สวนสุขภาพในมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม
2.เพื่อศึกษาชนิดเด่นของนกในพื้นที่สวนสุขภาพในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

1.2 สมมติฐาน
1.หากค้นพบนกกระจอกเป็นพวกนกเด่น แสดงว่าพื้นที่บริเวณที่ทำการศึกษามีความอุดม
สมบูรณ์ของแหล่งน้ำและป่าไม้มากพอที่จะทำให้นกกระจอกอาศัยและหาอาหารได้
2.พบความหลากหลาของนกพื้นที่สวนสุขภาพมหาวิทยาลัยมหาสารคามมากกว่า 1 ชนิด
2

บทที่ 2
เอกสารและวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การใช้นกเป็นตัวชี้วัดสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ พิจารณาจาก บทบาททางนิเวศของ


ชนิดพันธุ์นกในท้องถิ่น ตามความสามารถในการ แข่งขัน และความเด่นของชนิดพันธุ์นกในสังคม
ถิ่นอาศัยร่วมกัน วิเคราะห์ ได้จากดัชนีความสำคัญทางนิเวศของชนิดพันธุ์นก (Importance Value
Index - IVI) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของปัจจัยร่วมทางนิเวศ ได้แก่ ความชุกชุม ตามสถานภาพการปรากฏตัว
(relative abundance - RA) และความเด่น ของชนิดพันธุ์ ตามดัชนีสถานภาพความเด่น (relative
dominant - RD) เปรียบเทียบกับค่า IVI ของสังคมนกในถิ่นอาศัย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ย IVI ของ กลุ่ม
ประชากรนกทั้งหมด
ชนิดพันธุ์นก ที่มีค่า IVI สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากรนกทั้งหมด แสดงว่า เป็นนกที่มี
ขนาดประชากรมาก มีการปรากฏตัวพบเห็นได้ชุกชุม มีถิ่นอาศัยกระจายพันธุ์กว้าง และประสบ
ความสำเร็จในการแข่งขัน เพื่อ การดำรงชีวิตร่วมกับนกต่างชนิดพันธุ์ในสภาพแวดล้อมถิ่นอาศัย
เดียวกัน จัดเป็นพวกนกเด่น (common birds) โดยเฉพาะนกเด่นระดับชุกชุมมาก (common
dominant birds) ซึ่งมีสถานภาพจากการศึกษาใกล้เคียงกับ 3 สถานภาพที่เป็นจริงในท้องถิ่นนั้นมาก
ที่สุด จึงนำมาใช้เป็นชนิดพันธุ์ชี้วัด สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศสัตว์ป่าของท้องถิ่นนั้น ๆ ได้
เหมาะสมที่สุด
ส่วนชนิดพันธุ์นกที่มีค่า IVI ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประชากรนก ทั้งหมด แสดงว่า เป็นพวก
นกที่มีขนาดประชากรน้อย มีการปรากฏตัวพบ เห็นได้น้อย มีถิ่นกระจายพันธุ์ แคบจำกัด และการ
ปรับตัวแข่งขันกับนก ต่างชนิดพันธุ์ไม่ดี หรือไม่ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตในสภาพ แวดล้อม
ท้องถิ่นนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับพวกนกเด่นในท้องถิ่นเดียวกัน จัดเป็นพวกนกรอง (uncommon
birds)
ทั้งนี้ จำนวนชนิดพันธุ์ ขนาดประชากร และการปรากฏตัวของพวก นกรอง มักมีความ
คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง อันเนื่องมาจาก ระยะเวลาการสำรวจเก็บข้อมูล และความต่อเนื่อง
การศึกษาไม่เพียงพอ ครอบคลุมจำนวนชนิดพันธุ์และจำนวนตัวนกที่น่าจะมีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ
รวมถึง ความผิดพลาดจากการไม่สามารถจำแนกชนิดพันธุ์ หรือจำแนก ชนิดพันธุ์นกที่พบไม่ถูกต้อง
จึงไม่สมควรนำเอาชนิดพันธุ์นกรอง มาใช้ เป็นตัวชี้วัดสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศสัตว์ป่าในท้องถิ่น
โดยตรง
3

บทที่ 3
วิธีดำเนินงานวิจัย
3.1 อุปกรณ์
1.กล้องส่องทางไกลแบบสองตา (binocular)
2.กล้องถ่ายรูป
3.ตารางบันทึกพร้อมอุปกรณ์เครื่องเขียน
4.หนังสือคู่มือดูนก

3.2 วิธีการวิจัย
พื้นที่ที่ใช้สำหรับการศึกษาวิจัยคือสวนสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคามซึ่งมีพื้นที่
87,152 ตารางเมตรซึ่งช่วงเวลาที่ทำการศึกษาคือช่วง 6.00-7.00 น. สังเกตและบันทึกผลความ
หลากหลายลงในสมุดบันทึกเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ต่อไป
4

บทที่ 4
ผลการศึกษาวิจัย

4.1 ตารางบันทึกผล
จากการเดินสำรวจและทำการเก็บตัวอย่าง จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์ ทั้งหมดจำนวน 3 ครั้ง
โดยเริ่มทำการเก็บตัวอย่าง วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 24 กันยายน พ.ศ. 2563 และวันที่ 2
ตุลาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งได้ผลตามตารางดังนี้

ตารางที่ 4.1 วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 6.00 น. – 7.00 น.


ชนิดของนกที่พบ จำนวนตัว บริเวณที่พบ
นกเอี้ยงสาริกา 13 บริเวณรอบสระน้ำ / บริเวณ
(Acridotheres tristis) ในป่าเต็งรัง
นกนางแอ่นบ้าน 7 บินอยู่เหนือรอบสระน้ำ
(Hirundo rustica)
นกเขาชวา 3 บริเวณรอบขอบสระ
(Geopelia striata)
นกอีแพรดแถบอกดำ 6 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Rhipidura javanica)
นกขมิ้นน้อยธรรมดา 3 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Aegithina tiphia)

จากตารางบันทึกผลสามารถบันทึกชนิดของนกได้ทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ นกเอี้ยงสาลิกา


( Acridotheres tristis), นกนางแอ่ น บ้ า น (Hirundo rustica), นกอี แ พรดแถบอกดำ (Rhipidura
javanica) และนกขมิ้นน้อยธรรมดา ( Aegithina tiphia) ซึ่งบริเวณที่พบนกเหล่านี้นั้น มักจะอยู่ ใน
บริเวณที่ใกล้ ๆ กัน โดยสังเกตจากพฤติกรรมแล้ว คาดว่านกเหล่านี้กำลังออกหาอาหารในช่วงเวลาเช้า
และนกที่พบจำนวนมากที่สุด ได้แก่ นกเอี้ยงสาริกา ที่มีจำนวนถึง 13 ตัว โดยพฤติกรรมที่สังเกตได้คือ
การที่นกเหล่านี้เดินอยู่ตามพื้น คาดการณ์ว่าเป็นพฤติกรรมการหาอาหารบริเวณที่เป็นพื้นหญ้า ซึ่งอยู่
รอบ ๆ บริเวณสระน้ำของสวนสุขภาพ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
5

ตารางที่ 4.2 วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 6.00 น. – 7.00 น.


ชนิดของนกที่พบ จำนวนตัว บริเวณที่พบ
นกเขาชวา 5 บริเวณใกล้สวนสัตว์
(Geopelia striata)
นกเอี้ยงสาลิกา 5 บริเวณรอบสระน้ำ
(Acridotheres tristis)
นกนางแอ่นบ้าน 21 บริเวณในป่าเต็งรัง / บินอยู่
(Hirundo rustica) เหนือรอบสระน้ำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา 15 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Aegithina tiphia)
นกกระจอกบ้าน 4 บินอยู่บริเวณเหนือสระน้ำ
(Passer montanus)
นกอีแพรดแถบอกดำ 2 ใกล้บริเวณพิพิธภัณฑ์ มมส.
(Rhipidura javanica)

จากตารางบันทึกผล สามารถทำการบันทึกชนิดของนกได้ทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ นกเขาชวา


(Geopelia striata), นกเอี้ยงสาลิกา ( Acridotheres tristis), นกนางแอ่นบ้าน (Hirundo rustica),
นกขมิ้นน้อยธรรมดา (Aegithina tiphia), นกกระจอกบ้าน (Passer montanus), นกอีแพรดแถบอก
ดำ (Rhipidura javanica) และนกที่พบในจำนวนที่เยอะที่สุด คือ นกนางแอ่นบ้าน โดยมีจำนวนอยู่ที่
21 ตัว เป็นอย่างต่ำ ซึ่งนกเหล่านี้จะบินรวมกันเป็นกลุ่ม บางกลุ่มอาจมีจำนวนสมาชิก 3 – 4 ตัว หรือ
บางกลุ่มอาจมี 10 – 15 ตัว จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมแล้ว นกนางแอ่นบ้านมีการบิน วนรอบ ๆ
สระน้ำ ซึ่งอาจคาดการณ์ได้ว่า นกเหล่านี้อาจจะกำลังมองหาอาหารอยู่
6

ตารางที่ 4.3 วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 6.00 น. – 7.00 น.


ชนิดของนกที่พบ จำนวนตัว บริเวณที่พบ
กระเต็นน้อยธรรมดา 3 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Alcedo atthis)
นกแอ่นพง 3 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Artamus fuscus)
นกปรอดสวน 12 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Pycnonotus blanfordi)
อีกา 4 ใกล้บริเวณพิพิธภัณฑ์ มมส.
(Corvus macrorhynchos)
นกอีแพรดแถบอกดำ 4 ใกล้บริเวณพิพิธภัณฑ์ มมส. /
(Rhipidura javanica) บริเวณในป่าเต็งรัง
นกเอี้ยงสาริกา 8 บริเวณใกล้สวนสัตว์ มมส.
(Acridotheres tristis)
นกจับแมลงหัวเทา 4 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Culicicapa ceylonensis)
นกสีชมพูสวน 9 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Dicaeum cruentatum)
นกนางแอ่นบ้าน 2 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Hirundo rustica)
นกเขาใหญ่ 1 สายไฟใกล้ถนนทางโค้ง
(Spilopelia chinensis)
นกเขาชวา 3 บริเวณในป่าเต็งรัง / สายไฟ
(Geopelia striata) ใกล้ถนนทางโค้ง
นกแขวก 4 บริเวณป่าใกล้ถนนทางโค้ง
(Nycticorax nycticorax)
นกกระปูดใหญ่ 1 ใกล้ถนนทางโค้ง
(Centropus sinensis)
นกกระติ๊ดขี้หมู 7 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Lonchura punctulata)
นกกางเขนบ้าน 1 บริเวณในป่าเต็งรัง
7

(Copsychus saularis)
นกบั้งรอกใหญ่ 1 บริเวณป่าใกล้ถนนทางโค้ง
(Phaenicophaeus tristis)
นกกระติ๊ดตะโพกขาว 1 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Lonchura striata)
นกกินแมลงกระหม่อมแดง 3 บริเวณป่าใกล้ถนนทางโค้ง
(Timalia pileata)
นกกินปลีอกเหลือง 3 บริเวณในป่าเต็งรัง
(Cinnyris jugularis)
นกกระจอกใหญ่ 1 สายไฟใกล้ถนนทางโค้ง
(Passer domesticus)
นกกระจอกบ้าน 1 สายไฟใกล้ถนนทางโค้ง
(Passer montanus)
นกกระจอกตาล 1 สายไฟใกล้ถนนทางโค้ง
(Passer flaveolus)
นกกระจิบหญ้าสีเรียบ 1 บริเวณรอบขอบสระ
(Prinia inornata)

จากตารางบันทึกผล สามารถทำการบันทึกชนิดของนกได้ทั้งหมด 24 ชนิด ได้แก่ กระเต็น


น้ อ ยธรรมดา ( Alcedo atthis), นกแอ่ น พง (Artamus fuscus), นกปรอดสวน (Pycnonotus
blanfordi), อี ก า (Corvus macrorhynchos), นกอี แ พรดแถบอกดำ (Rhipidura javanica), นก
เอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis), นกจับแมลงหัวเทา (Culicicapa ceylonensis), นกสีชมพูสวน
(Dicaeum cruentatum), น ก น า ง แ อ ่ น บ ้ า น (Hirundo rustica), น ก เ ข า ใ ห ญ ่ (Spilopelia
chinensis), นกเขาชวา (Geopelia striata), นกแขวก (Nycticorax nycticorax), นกกระปูดใหญ่
(Centropus sinensis), นกกระติ ๊ ด ขี้ ห มู (Lonchura punctulata), นกกางเขนบ้ า น (Copsychus
saularis), นกบั้งรอกใหญ่ ( Phaenicophaeus tristis), นกกระติ๊ดตะโพกขาว (Lonchura striata),
นกกินแมลงกระหม่อมแดง (Timalia pileata), นกกินปลีอกเหลือง
(Cinnyris jugularis), น ก ก ร ะ จ อ ก ใ ห ญ ่ (Passer domesticus), น ก ก ร ะ จ อ ก บ ้ า น (Passer
montanus), นกกระจอกตาล (Passer flaveolus) และนกกระจิบหญ้าสีเรียบ ( Prinia inornata)
และจำนวนนกที่พบมากที่สุด คือ นกปรอดสวน ที่มีจำนวนประมาณ 12 ตัว บริเวณที่พบนกเหล่านี้คือ
บริเวณที่เป็นพื้นที่ป่าเต็งรัง นกเหล่านี้อาศัยอยู่ตามยอดไม้ และพฤติกรรมที่เห็นคือ นกปรอดสวนจะ
8

อยู่ตามต้นไม้แล้วส่งเสียงร้องเรียกกัน อาจเป็นไปได้ว่านกเหล่านี้อาจะร้องเรียกเพื่อส่งสัญญาเตือน
หรือร้องเรียกเพื่อสื่อสารกัน

4.2 การวิเคราะห์ข้อมูล

ตารางที่ 4.4 ค่า Shannon-Wiener diversity index ของ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 6.00
น. – 7.00 น.
จำนวน
ชนิดของนกที่พบ บริเวณที่พบ
ตัว Pi Ln Pi Pi(LnPi)
บริเวณรอบสระน้ำ /
นกเอี้ยงสาริกา 13
บริเวณในป่าเต็งรัง 0.40625 -0.90079 -0.36594
บินอยู่เหนือรอบสระ
7
นกนางแอ่นบ้าน น้ำ 0.21875 -1.51983 -0.33246
นกเขาชวา 3 บริเวณรอบขอบสระ 0.09375 -2.36712 -0.22192
นกอีแพรดแถบอกดำ 6 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.1875 -1.67398 -0.31387
นกขมิ้นน้อยธรรมดา 3 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.09375 -2.36712 -0.22192
ทั้งหมด 32 Sum Pi(Pi) -1.45611
H' 1.456113

จากตาราง ค่า Shannon-Wiener diversity index ของ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563
เวลา 6.00 น. – 7.00 น. สร้างเพื่อบ่งบอกค่าดัชนีความหลากชนิด (species diversity index) บ่งชี้
ระดับความหลากหลาย ของชนิดนกที่พบในบริเวณสวนสุขภาพ
9

ตารางที่ 4.5 ค่า Shannon-Wiener diversity index ของ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 6.00
น. – 7.00 น.
จำนวน
ชนิดของนกที่พบ บริเวณที่พบ Pi Ln Pi Ln(Pi)
ตัว
นกเขาชวา 5 บริเวณใกล้สวนสัตว์ 0.096154 -2.34181 -0.22517

นกเอี้ยงสาลิกา 5 บริเวณรอบสระน้ำ
0.096154 -2.34181 -0.22517

บริเวณในป่าเต็งรัง / บินอยู่
นกนางแอ่นบ้าน 21
เหนือรอบสระน้ำ
0.403846 -0.90672 -0.36618

นกขมิ้นน้อยธรรมดา 15 บริเวณในป่าเต็งรัง
0.288462 -1.24319 -0.35861

นกกระจอกบ้าน 4 บินอยู่บริเวณเหนือสระน้ำ
0.076923 -2.56495 -0.1973

นกอีแพรดแถบอกดำ 2 ใกล้บริเวณพิพิธภัณฑ์ มมส.


0.038462 -3.2581 -0.12531
ทั้งหมด 52 sum Pi -1.49775
H' 1.497752

จากตาราง ค่า Shannon-Wiener diversity index ของ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563
เวลา 6.00 น. – 7.00 น. สร้างเพื่อบ่งบอกค่าดัชนีความหลากชนิด (species diversity index) บ่งชี้
ระดับความหลากหลาย ของชนิดนกที่พบในบริเวณสวนสุขภาพ
10

ตารางที่ 4.6 ค่า Shannon-Wiener diversity index ของ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 6.00
น. – 7.00 น.
จำนวน
ชนิดของนกที่พบ บริเวณที่พบ Pi Ln Pi Ln(Pi)
ตัว
กระเต็นน้อยธรรมดา 3 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.038461538 -3.2581 -0.12531
นกแอ่นพง 3 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.038461538 -3.2581 -0.12531
นกปรอดสวน 12 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.153846154 -1.8718 -0.28797
อีกา 4 ใกล้บริเวณพิพิธภัณฑ์ มมส. 0.051282051 -2.97041 -0.15233
ใกล้บริเวณพิพิธภัณฑ์ มมส. /
นกอีแพรดแถบอกดำ
4 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.051282051 -2.97041 -0.15233
นกเอี้ยงสาริกา 8 บริเวณใกล้สวนสัตว์ มมส. 0.102564103 -2.27727 -0.23357
นกจับแมลงหัวเทา 4 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.051282051 -2.97041 -0.15233
นกสีชมพูสวน 9 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.115384615 -2.15948 -0.24917
นกนางแอ่นบ้าน 2 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.025641026 -3.66356 -0.09394
นกเขาใหญ่ 1 สายไฟใกล้ถนนทางโค้ง 0.012820513 -4.35671 -0.05586
บริเวณในป่าเต็งรัง / สายไฟ
นกเขาชวา
3 ใกล้ถนนทางโค้ง 0.038461538 -3.2581 -0.12531
นกแขวก 4 บริเวณป่าใกล้ถนนทางโค้ง 0.051282051 -2.97041 -0.15233
นกกระปูดใหญ่ 1 ใกล้ถนนทางโค้ง 0.012820513 -4.35671 -0.05586
นกกระติ๊ดขี้หมู 7 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.08974359 -2.4108 -0.21635
นกกางเขนบ้าน 1 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.012820513 -4.35671 -0.05586
นกบั้งรอกใหญ่ 1 บริเวณป่าใกล้ถนนทางโค้ง 0.012820513 -4.35671 -0.05586
นกกระติ๊ดตะโพกขาว 1 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.012820513 -4.35671 -0.05586
นกกินแมลงกระหม่อมแดง
บริเวณป่าใกล้ถนนทางโค้ง
) 3 0.038461538 -3.2581 -0.12531
นกกินปลีอกเหลือง 3 บริเวณในป่าเต็งรัง 0.038461538 -3.2581 -0.12531
นกกระจอกใหญ่ 1 สายไฟใกล้ถนนทางโค้ง 0.012820513 -4.35671 -0.05586
นกกระจอกบ้าน 1 สายไฟใกล้ถนนทางโค้ง 0.012820513 -4.35671 -0.05586
11

นกกระจอกตาล 1 สายไฟใกล้ถนนทางโค้ง 0.012820513 -4.35671 -0.05586


นกกระจิบหญ้าสีเรียบ 1 บริเวณรอบขอบสระ 0.012820513 -4.35671 -0.05586
ทั้งหมด 78 sum Ln(Pi) -2.81957
H' 2.819568

จากตาราง ค่า Shannon-Wiener diversity index ของ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563
เวลา 6.00 น. – 7.00 น. สร้างเพื่อบ่งบอกค่าดัชนีความหลากชนิด (species diversity index) บ่งชี้
ระดับความหลากหลาย ของชนิดนกที่พบในบริเวณสวนสุขภาพ
12

บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน

5.1 อภิปรายและสรุปผล
จากการสำรวจความหลากหลายของนกในสวนสุขภาพของมหาวิทลัยมหาสารคาม เวลา
06.00น.-07.00 น. จากตารางบันทึกผลที่บันทึกผลในแต่ละครั้งของการสำรวจ สามารถอภิปราย
ผลได้ว่า นกที่พบทั้งหมด 25 ชนิดได้แก่ นกเอี้ยงสาลิกา (Acridotheres tristis) นกนางแอ่นบ้าน
(Hirundo rustica) นกเขาชวา (Geopelia striata) นกอีแพรดแถบอกดำ (Rhipidura javanica) นก
ขมิ้นน้อยธรรมดา (Aegithina tiphia) นกกระจอกบ้าน (Passer montanus) นกกระเต็นธรรมดา
(Alcedo atthis) นกแอ่นพง (Artamus fuscus) นกปรอดสวน (Pycnonotus blanfordi) อีกา
(Corvus macrorhynchos) นกจับแมลงหัวเทา (Culicicapa ceylonensis) นกสีชมพูสวน
(Dicaeum cruentatum) นกเขาใหญ่ (Spilopelia chinensis) นกแขวก (Nycticorax nycticorax)
นกกระปูดใหญ่ (Centropus sinensis) นกกระติ๊ดขี้หมู (Lonchura punctulata) นกกางเขนบ้าน
(Copsychus saularis) นกบั้งรอกใหญ่ (Phaenicophaeus tristis) นกกระติ๊ดตะโพกขาว
(Lonchura striata) นกกินแมลงกระหม่อมแดง (Timalia pileata) นกกินปลีอกเหลือง (Cinnyris
jugularis) นกกระจอกใหญ่ (Passer domesticus) นกกระจอกตาล(Passer flaveolus) นกกระจิบ
หญ้าสีเรียบ (Prinia inornata) และจำนวนนกที่พบนกที่พบมากที่สุด คือ นกนางแอ่นบ้าน (Hirundo
rustica) จำนวน 21 ตัวเป็นอย่างต่ำ ซึ่งพบในบริเวณรอบสระน้ำ มีพฤติกรรมบินรวมกัน บินวนรอบ
สระน้ำ เมื่อสังเกตพฤติกรรมแล้ว คาดว่านกนางแอ่นเหล่านี้กำลังมองหาอาหารอยู่ อย่างไรก็ตามจาก
ข้อมูลทั้งหมด พบว่านกแต่ละชนิดสวนใหญ่จะพบในพื้นที่ป่าเต็งรัง
13

บรรณานุกรม

สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์. 2544. นกเมืองในสวนสาธารณะกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการป่าไม้ 3(2) :


139-154
สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์. 2545. คู่มือศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและการปรับตัว สัตว์ป่า โดยใช้นก
เป็นตัวชี้วัด. กลุ่มนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ส่วนวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้สำนัก
วิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้
สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์. 2547. สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนกในชนบทเมือง เกาะเกร็ด จังหวัด
นนทบุรี. การประชุมวิชาการวนเกษตร ครั้งที่ 1 “มิติของระบบวนเกษตรสำหรับชุมชน
อนาคต” คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร
จังหวัดพิษณุโลก
สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์. 2549. การใช้นกเป็นตัวชี้วัดสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ สัตว์ป่า อุทยาน
แห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. เรื่องเต็มการประชุมทาง วิชาการ “สิ่งแวดล้อม
นเรศวร” ครั้งที่ 2. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย
นเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์. 2550ก. การใช้นกเป็นดัชนีชี้วัดสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ ป่าชุมชนบ้านป่า
สักงาม อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เรื่องเต็มการ ประชุมทางวิชาการ “สิ่งแวดล้อม
นเรศวร ครั้งที่ 3”. คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย
นเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์. 2550ข. การใช้นกเป็นดัชนีชี้วัดการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและ ระบบนิเวศศูนย์
ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.
รายงานการศึกษาวิจัยการใช้นกเป็นตัวชี้วัด สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศสัตว์ป่า กลุ่มงาน
นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

You might also like