You are on page 1of 240

ดวงรัตน ริยอง

อนุลักษณ จันทรคำ
ปรับปรุงครั้งที่ 3
ปรับปรุงครั้งที่ 3 ดวงรัตน ริยอง I อนุลักษณ จันทรคำ
พยาธิใบใม
(ปรับปรุงครั้งที่ 3)

ดวงรัตน ริยอง
อนุลักษณ จันทรคํา

หนังสือเลมนี้ไดรับการสนันสนุนจาก
โครงการตํารา คณะแพทยศาสตร
พ.ศ. 2563
พยาธิใบไม
ISBN 978-616-565-710-5
พิมพ์ครั้งที่ 1 มกราคม 2560
พิมพ์ครั้งที่ 2 มิถุนายน 2561 (ฉบับปรับปรุง)
พิมพ์ครั้งที่ 3 มกราคม 2563 (ฉบับปรับปรุง)
จํานวนพิมพ์ 100 เล่ม ราคาเล่มละ 300.- บาท
สงวนสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์

ข้อมูลบรรณานุกรมห้องสมุด
ดวงรัตน์ ริยอง
พยาธิใบไม้ (ปรับปรุงครั้งที่ 3). -- เชียงใหม่ : คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2563
232 หน้า : ภาพประกอบ, ตาราง
1. พยาธิใบไม้.
I.อนุลักษณ์ จันทร์คํา, ผู้แต่งร่วม.
II. พยาธิใบไม้ (ปรับปรุงครั้งที่ 3)
592.48
ISBN 978-616-565-710-5

พิมพ์ที่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


110 ถ. อินทวโรรส อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร. 053-935270
ปก: รุจิรา คําศรีจนั ทร์
จัดทําโดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงรัตน์ ริยอง,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุลักษณ์ จันทร์คํา
i

คํานํา
โรคติดเชื้อพยาธินับว่าเป็นปัญหาสําคัญทางสาธารณสุขสําหรับประชากร
ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอุปนิสัยในการบริโภคอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ หรือไม่ถูก
สุ ข ลั ก ษณะ กลุ่ ม พยาธิ ที่ พ บได้ บ่ อ ยตามลั ก ษณะรู ป ร่ า งได้ แ ก่ พยาธิ ตั ว กลม
(nematodes), พยาธิตัวตืด (cestodes หรือ tapeworm) และพยาธิใบไม้
(trematodes หรือ fluke) ซึ่งพยาธิใบไม้ตับจัดเป็นสาเหตุสําคัญที่ก่อให้เกิด
ปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประมาณการว่ามีผู้ป่วย
ด้วยโรคพยาธิใบไม้ตับไม่น้อยกว่า 8 ล้านคนในประเทศ
ในส่วนของพยาธิใบไม้นั้น การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis) มี
ความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งท่อน้ําดี โดยพบว่ามีอัตราของการเกิดมะเร็งท่อ
น้ําดีสูงในผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความชุก
ของการติดพยาธิใบไม้ตับสูงกว่าพื้นที่อื่นของประเทศไทย นอกจากนี้องค์ก าร
อนามัยโลก (World Health Organization) ได้จัดลําดับพยาธิใบไม้ที่ก่อให้เกิด
โรคพยาธิใบไม้เลือดเป็นโรคในเขตร้อนที่มีความสําคัญเป็นลําดับที่สองรองจากโรค
มาลาเรีย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจของประชากรโลก
มากกว่า 200 ล้านคน ใน 76 ประเทศ
ในเนื้อหาของตําราเล่มนี้ได้บรรยายถึงองค์ความรู้ของพยาธิใบไม้ในแง่ต่าง ๆ
อาทิ ลักษณะทางกายรูปวิทยา วงจรชีวิต การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ พยาธิ
สภาพและอาการของโรค การวินิจฉัย การรักษา การป้องกันโรค การศึกษาวิจัย
ทางภูมิคุ้มกันของโฮสต์ ระบาดวิทยาของพยาธิเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการ
ติดเชื้อ การศึกษาอณูชีววิทยาถึงระดับพันธุกรรมและวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของ
พยาธิ การพัฒนาวัคซีน และการนําสารสกัดที่ได้จากสมุนไพรมาใช้เป็นยาฆ่า
พยาธิใบไม้อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ
ii

ตําราพยาธิใบไม้เล่มนี้ได้จัดทําขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนด้าน
ปรสิตให้กับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่ครอบคลุมเนื้อหาในรายวิชาปรสิต
วิทยาสําหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ (พ.ปร. 221), ปรสิตวิทยาสําหรับนักศึกษา
เทคนิคการแพทย์ (พ.ปร. 331), ปรสิตวิทยาสําหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ (พ.ปร.
242), และนัก ศึก ษาแพทย์ (พ.วพ. 218, พ.วพ. 219, พ.วพ. 311) รวมทั้ง
นักศึกษาบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (พ.ปร. 702) และให้
ความรู้กับผู้สนใจทั่วไปทางด้านปรสิตในประเทศไทย ซึ่งผู้นิพนธ์ได้ศึกษาค้นคว้า
จากตําราและวารสารทางวิชาการทั้งในประเทศและนอกประเทศ รูปแบบการ
นําเสนอมีเนื้อหา ภาพจริงสวยงาม ซึ่งผู้นิพนธ์ได้บันทึกด้วยตัวเองและได้รับความ
อนุเคราะห์มา รวมทั้งมีคําอธิบายที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดี
และรวดเร็วยิ่งขึ้น

ผู้นิพนธ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตําราที่ได้เรียบเรียงขึ้นนี้จะเป็นประโยชน์แก่
นักศึกษา นักวิจัย และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับพยาธิใบไม้ที่มีความสําคัญทางการแพทย์
เพื่อจะนําไปใช้ศึกษา ค้นคว้า และอ้างอิงต่อไปในอนาคต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงรัตน์ ริยอง


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุลักษณ์ จันทร์คาํ
ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
iii

สารบัญ

บทที่ 1 บทนําและการจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้
การจัดกลุ่มตามหลักอนุกรมวิธาน 1
การจัดกลุ่มแบบง่าย 5
ระบบต่าง ๆ ของพยาธิใบไม้ 9
รูปร่างลักษณะไข่และตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ 16
ดวงรัตน ริยอง
บทที่ 2 พยาธิใบไม้ปอด
Paragonimus heterotremus 27
Paragonimus westermani 37
ดวงรัตน ริยอง
บทที่ 3 พยาธิใบไม้ตบั
Opisthorchis viverrini 48
Opisthorchis felineus 61
Clonorchis sinensis 63
Dicrocoelium dendriticum 66
Eurytrema pancreaticum 71
Fasciola hepatica 76
Fasciola gigantica 76
ดวงรัตน ริยอง
บทที่ 4 พยาธิใบไม้ลําไส้
Fasciolopsis buski 100
Gastrodiscoides hominis 108
Echinostoma malayanum 116
Echinostoma ilocanum 119
iv

Echinostoma revolutum 121


Episthmium caninum 122
Hypoderaeum conoideum 123
Haplorchis taichui 127
Heterophyes heterophyes 145
Stellantchasmus falcatus 150
Phaneropsolus bonnei 156
Phaneropsolus spinicirrus 159
Prosthodendrium molenkampi 160
Plagiorchis harinasutai 163
อนุลักษณ จันทรคาํ
บทที่ 5 พยาธิใบไม้เลือด
Schistosoma japonicum 180
Schistosoma haematobium 190
Schistosoma mansoni 196
Schistosoma mekongi 202
พยาธิใบไม้เลือดของสัตว์ 205
อนุลักษณ จันทรคาํ
บทส่งท้าย 213
ดรรชนี 214
บทนํา
การจัดแบงกลุมพยาธิใบไม
ดวงรัตน ริยอง

พยาธิ ใ บไม้ (fluke) ที่ มี ค วามสํ า คั ญ ทางการแพทย์ จั ด อยู่ ใ น phylum


Platyhelminthes; class Trematoda; order Digenea มีชื่อเรียกทั่วไปว่า
digenetic flukes(1)
การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ที่สําคัญ(1-5)
ในปรสิตวิทยาทางการแพทย์สามารถจัดหมวดหมู่ของพยาธิใบไม้โดยมีการ
จัดแบ่งใน 2 ลักษณะคือ
(1) การจัดกลุ่มตามหลักอนุกรมวิธาน (taxonomic classification)
(2) การจัดกลุ่มแบบง่าย (simple classification)
1. การจัดกลุ่มตามหลักอนุกรมวิธาน
Phylum PLATYHELMINTHES
Class TREMATODA
Order 1. MONOGENEA
2. ASPIDOBOTHREA
3. DIGENEA
Suborder 1. GASTEROSTOMATA
2. PROSOSTOMATA
Family 1. PARAGONIMIDAE
2. OPISTHORCHIIDAE
3. DICROCOELIIDAE
4. FASCIOLIDAE
2 พยาธิใบไม้

5. PARAMPHISTOMATIDAE
6. ECHINOSTOMATIDAE
7. HETEROPHYIDAE
8. LECITHODENDRIIDAE
9. SCHISTOSOMATIDAE
การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ตามหลักอนุกรมวิธาน โดยพยาธิใบไม้จัดอยู่ใน
class trematoda แบ่งเป็น 3 order ได้แก่
Order 1 Monogenea พยาธิกลุ่มนี้มีวิวัฒนาการที่ด้อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็นปรสิต
ภายนอก (ectoparasite) ของสัตว์เลือดเย็นที่อาศัยอยู่ในน้ํา สัตว์ครึ่ง
บกครึ่งน้ําและสัตว์เลื้อยคลาน เช่น ปลา กบ เต่า เป็นต้น ในวงจรชีวิต
ไม่ต้องการโฮสต์สื่อกลาง ส่วนล่างของลําตัวพยาธิตัวเต็มวัยมีอวัยวะ
เกาะ ติดโฮสต์เรียกว่า opisthaptor ส่วนหัวมีอวัยวะเกาะติดขนาด
เล็กเรียกว่า prohaptor
Order 2 Aspidobothrea พยาธิกลุ่มนี้เป็นปรสิตภายใน (endoparasite) ของ
หอย ปลา เต่า เป็นต้น พยาธิตัวเต็มวัยไม่มี oral sucker แต่มีอวัยวะ
เกาะติดด้านท้องขนาดใหญ่และแบ่งเป็นห้อง ๆ
Order 3 Digenea พยาธิเป็นปรสิตภายในร่างกายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
รวมทั้งคน มีวงจรชีวิตแบบซับซ้อนอาศัยโฮสต์สื่อกลางอย่างน้อย 1 ชนิด
พยาธิใบไม้กลุ่มนี้มีการสืบพันธุ์ 2 แบบคือ ระยะตัวเต็มวัย (adult) ที่
อาศัยอยู่ในโฮสต์เฉพาะได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลังจะมีการสืบพันธุ์
แบบอาศัย เพศ (sexual reproduction) โดยมีก ารผสมพัน ธุ ์แ ละ
ออกไข่ ส่วนระยะตัวอ่อน (immature) ที่อาศัยอยู่ในพืชและสัตว์ชนิด
ต่าง ๆ เช่น พืชน้ํา กุ้ง หอย ปู ปลาน้ําจืด มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัย
เพศ (asexual reproduction)
พยาธิ ตั ว เต็ ม วั ย มี รู ป ร่ า งคล้ า ยใบไม้ ลํ า ตั ว แบนด้ า นท้ อ ง ลั ก ษณะเป็ น
bilateral symmetry มีอวัยวะเกาะติดอยู่ทางส่วนหัวเรียกว่า oral sucker และ
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 3

อยู่ทางส่วนท้อง เรียกว่า ventral sucker (acetabulum) พยาธิส่วนใหญ่มีทั้ง


สองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน ยกเว้นพยาธิใบไม้เลือด พยาธิใบไม้ใน order digenea
แบ่งออกเป็น 2 suborder คือ
Suborder 1 Gasterostomata พยาธิกลุ่มนี้มีปากอยู่กลางลําตัว
Suborder 2 Prosostomata พยาธิกลุ่มนี้มีปากอยู่ต่ํากว่าส่วนหัว
เล็ ก น้ อ ย พยาธิ ใ บไม้ ที่ เ ป็ น ปรสิ ต ของคนส่ ว นใหญ่ จั ด อยู่ ใ น
suborder prosostomata สามารถแยกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้(2)
(a) Distome
เป็นกลุ่มพยาธิที่พบมากที่สุด มี oral sucker อยู่รอบช่องปาก
และอยู่ทางด้านหัว ventral sucker (acetabulum) อยู่ใน
ระดับ 1/3 ของลําตัว
(b) Echinostome
โดยทั่วไปพยาธิกลุ่มนี้มีลักษณะคล้ายกับกลุ่ม distome แต่มี
ปลอกคอร้อยหนาม (collar spines) ล้อมรอบ oral sucker
และช่องปาก
(c) Monostome
มีอวัยวะเกาะติดอยู่ทางด้านหัวเพียงอันเดียวคือ oral sucker
(d) Amphistome
พยาธิกลุ่มนี้มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มอื่นคือ acetabulum
มีขนาดใหญ่ และอยู่ท้ายสุดของลําตัว
(e) Gasterostome
มีปากอยู่กลางลําตัวแทนที่จะอยู่ทางด้านหัว
(f) Holostome (Strigeids)
ลําตัวคอดแบ่งเป็นส่วนหัวและท้าย ส่วนหัวมี oral sucker
และ acetabulum มีอ วัย วะเกาะติด ขนาดใหญ่ (tribolic
organ) อยู่ใต้ acetabulum
4 พยาธิใบไม้

(g) Schistosome
พยาธิตัวผู้มีลักษณะเด่น คือ มีร่องยาวที่ด้านท้อง (gyneco-
pholic canal) สําหรับให้พยาธิตัวเมียอาศัยอยู่ กลุ่มนี้ ได้แก่
พยาธิใบไม้เลือด
การจั ด หมวดหมู่ ข องพยาธิ ใ บไม้ ส ามารถจั ด แบ่ ง แบบ family ตามหลั ก
อนุกรมวิธานดังนี้ (ตารางที่ 1.1)
1. Family Schistosomatidae Poeche, 1907
พยาธิใบไม้เลือด: Schistosoma mansoni,
Schistosoma japonicum, Schistosoma haematobium,
Schistosoma mekongi, Schistosoma intercalatum
2. Family Paragonimidae Dollfus, 1939
พยาธิใบไม้ปอด: Paragonimus westermani,
Paragonimus heterotremus
3. Family Opisthorchiidae Braun, 1901
พยาธิใบไม้ตับ: Opisthorchis viverrini,
Opisthorchis felineus, Clonorchis sinensis
4. Family Heterophyidae Odhner, 1914
พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก: Heterophyes heterophyes,
Metagonimus yokogawai, Haplorchis spp.
5. Family Fasciolidae Railliet, 1895
พยาธิใบไม้ตับ: Fasciola hepatica, Fasciola gigantica
พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่: Fasciolopsis buski
6. Family Paramphistomatidae Fischoeder, 1901
พยาธิใบไม้ลําไส้: Gastrodiscoides hominis,
Watsonius watsoni
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 5

7. Family Dicrocoeliidae Odhner, 1910


พยาธิใบไม้ตับ ท่อน้ําดี ถุงน้ําดีและท่อน้ําย่อยตับอ่อน:
Dicrocoelium dendriticum, Eurytrema pancreaticum
8. Family Echinostomatidae Looss, 1902
พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดกลาง มีปลอกคอร้อยหนามรอบช่อง
ปาก: Echinostoma spp.
9. Family Lecithodendriidae Odhner, 1910
พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก: Phaneropsolus bonnei,
Prosthodendrium molenkampi
10. Family Nanophyetidae Dollfus, 1939
พยาธิใบไม้ลําไส้: Nanophyetus salmincola,
Nanophyetus salmincola schikhobalowi
2. การจัดกลุ่มแบบง่าย
เป็นการจัดจําแนกกลุ่มพยาธิใบไม้ตามอวัยวะที่พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ใน
โฮสต์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมากในปรสิตวิทยาทางการแพทย์ โดยแบ่งพยาธิใบไม้
ทั้งหมดออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ (ตารางที่ 1.1)
2.1 พยาธิใบไม้ปอด (lung flukes) พยาธิอาศัยอยู่ในเนื้อปอด สมาชิก
ในกลุ่มที่สําคัญ ได้แก่ Paragonimus westermani และ Paragoni-
mus heterotremus
2.2 พยาธิใบไม้ตับ (liver flukes) พยาธิอาศัยอยู่ในท่อน้ําดีของตับหรือ
ท่อน้ําดีใหญ่และถุงน้ําดี สมาชิกในกลุ่มนี้ที่สําคัญ ได้แก่ Opisthorchis
viverrini, Opisthorchis felineus, Dicrocoelium dendriticum,
Eurytrema pancreaticum, Fasciola gigantica และ Fasciola
hepatica
6 พยาธิใบไม้

ตารางที่ 1.1 การจัดกลุ่มตามหลักอนุกรมวิธาน

PHYLUM PLATYHELMINTHES
CLASS TREMATODA
ORDER DIGENEA
Schistosoma japonicum
Schistosoma haematobium
Schistosomatida Schistosoma mansoni
Schistosoma mekongi
Paragonimidae Paragonimus westermani
Paragonimus heterotremus
Opisthorchis viverrini
Opisthorchiidae Opisthorchis felineus
Clonorchis sinensis
Heterophyes heterophyes
Heterophyidae Metagonimus yokogawai
Haplorchis taichui
Fasciola hepatica
Fasciolidae Fasciola gigantica
Fasciolopsis buski
Gastrodiscoides hominis
Paramphistomatidae Watsonius watsoni
Dicrocoelium dendriticum
Dicrocoeliidae Eurytrema pancreaticum
Echinostoma malayanum
Echinostoma ilocanum
Echinostomatidae Echinostoma revolutum
Episthmium caninum
Hypoderaeum conoidium
Lecithodendriidae Phaneropsolus bonnei
Prosthodendrium molenkampi
Nanophyetidae Nanophyetus salmincola
Nanophyetus salmincola
schikhobalowi
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 7

ตารางที่ 1.2 สรุปการจัดแบ่งกลุ่มของพยาธิใบไม้ที่มีความสําคัญทางการแพทย์(1-5)


TAXONOMIC CLASSIFICATION
SIMPLE (phylum Platyhelminthes, class Trematoda, order
CLASSIFICATION Digenea)
Family Genus Species
Lung flukes Paragonimus westermani
PARAGONIMIDAE Paragonimus Paragonimus heterotremus*
(พยาธิใบไม้ปอด)
Opisthorchis Opisthorchis viverrini*
OPISTHORCHIIDAE Opisthorchis felineus
Liver flukes Clonorchis Clonorchis sinensis
(พยาธิใบไม้ตับ) Dicrocoelium Dicrocoelium dendriticum*
DICROCOELIIDAE Eurytrema pancreaticum*
Eurytrema
Fasciola gigantica*
Fasciola
FASCIOLIDAE Fasciola hepatica
Fasciolopsis Fasciolopsis buski*
Gastrodiscoides Gastrodiscoides hominis*
PARAMPHISTOMATIDAE
Echinostoma malayanum*
Intestinal flukes Echinostoma Echinostoma ilocanum*
(พยาธิใบไม้ลําไส้) ECHINOSTOMATIDAE Echinostoma revolutum*
Episthmium Episthmium caninum*
Hypoderaeum Hypoderaeum conoidium*
Heterophyes Heterophyes heterophyes*
HETEROPHYIDAE Metagonimus Metagonimus yokogawai*
Haplorchis Haplorchis taichui*
Phaneropsolus Phaneropsolus bonnei*
LECITHODENDRIIDAE Prosthodendrium Prosthodendrium
molenkampi*
Schistosoma japonicum
Blood flukes Schistosoma haematobium
(พยาธิใบไม้เลือด) SCHISTOSOMATIDAE Schistosoma Schistosoma mansoni
Schistosoma mekongi*
Schistosoma intercalatum

(* ชนิดที่มีความสําคัญทางการแพทย์ในประเทศไทย)
8 พยาธิใบไม้

2.3 พยาธิใบไม้ลําไส้ (intestinal flukes) พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ใน


ลําไส้เล็กหรือลําไส้ใหญ่ อาจแบ่งพยาธิใบไม้ลําไส้ออกเป็น 2 กลุ่ม ตาม
ขนาดของพยาธิตัวเต็มวัยและไข่ ดังนี้
2.3.1 พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ (large intestinal flukes)
พยาธิในกลุ่มนี้ตัวเต็มวัยและไข่ มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ไข่มี
ลักษณะเหมือนกับไข่ของพยาธิใบไม้ตับ Fasciola hepatica
สมาชิกในกลุ่มที่สําคัญ ได้แก่ Fasciolopsis buski, Echinosto-
ma malayanum, Echinostoma ilocanum, Echinostoma
revolutum, Episthmium caninum, Hypoderaeum conoi-
dium และ Gastrodiscoides hominis
2.3.2 พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก (minute intestinal flukes)
พยาธิ ใ บไม้ ก ลุ่ ม นี้ ตั ว เต็ ม วั ย และไข่ มี ข นาดเล็ ก ไข่ มี ลั ก ษณะ
คล้ายไข่พยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini สมาชิกในกลุ่ม
ที่สําคัญ ได้แก่ Heterophyes heterophyes, Metagonimus
yokogawai, Haplorchis taichui, Phaneropsolus bonnei
และ Prosthodendrium molenkampi
2.4 พยาธิใบไม้เลือด (blood flukes) พยาธิอาศัยอยู่ในหลอดเลือดดํา
ภายในอวัยวะต่าง ๆ สมาชิกในกลุ่มที่สําคัญ ได้แก่ Schistosoma
japonicum, Schistosoma haematobium, Schistosoma manso-
ni, Schistosoma mekongi และ Schistosoma intercalatum
รูปร่างลักษณะตัวเต็มวัยโดยทั่วไปของพยาธิใบไม้(1,6) มีดังนี้
1. รูปร่างยาวรีโดยยาวเรียวทางด้านหัว (anterior) และป้าน ทางด้านท้าย
(posterior) ลําตัวด้านท้องแบนด้านหลังนูนมีรูปร่างคล้ายใบไม้ จึงมีชื่อ
สามัญว่าพยาธิใบไม้
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 9

2. ขนาดพยาธิจะแตกต่างกันไป ตั้งแต่เล็กเพียง 0.6 มิลลิเมตร ไม่สามารถ


มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่น Haplorchis pumilio หรือขนาดใหญ่ถึง 75
มิลลิเมตร มองเห็นได้ชัดเจน เช่น Fasciolopsis buski(7)
3. มีอวัยวะสําหรับยึดเกาะเป็นกล้ามเนื้อแข็งแรง ลักษณะรูปถ้วย เรียกว่า
sucker ซึ่งส่วนใหญ่มี 2 ชนิดคือ (1) oral sucker อยู่บริเวณปลายส่วน
หัว ล้อมรอบช่องปากที่ติดกับทางเดินอาหารภายในตัวและ (2) ventral
sucker (acetabulum) อยู่ทางด้านท้อง พยาธิใช้ suckers เหล่านี้ใน
การเกาะติดโฮสต์ พยาธิใบไม้บางชนิดจะมี genital sucker (gonotyle)
อยู่รอบรูเปิดของอวัยวะเพศ (genital opening) (รูปที่ 1.1)
4. ไม่มีโพรงหรือช่องว่างภายในลําตัวที่แท้จริง อวัยวะภายในจะมีเนื้อเยื่อยึดไว้
พยาธิใบไม้ประกอบด้วยระบบต่าง ๆ ดังนี้(1,8,9)
ระบบผิวหนังและกล้ามเนื้อ (integumentary and muscular system)(10, 11)
ผิวคลุมลําตัวของพยาธิใบไม้ประกอบด้วยโครงสร้างของเซลล์ที่มีความ
ยืดหยุ่นและทนต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะทําหน้าที่ปกคลุมลําตัวแล้วยัง
สามารถดูดซึมสารอาหาร แร่ธาตุ และรับความรู้สึกได้ ผนังลําตัวมีลักษณะผิว
เรียบ บางครั้งอาจเป็นตุ่มหนามหรือเป็นสันนูนขึ้นมา
ระบบกล้ามเนื้อประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เส้นใย
กล้ามเนื้อเรียงเป็นวงรอบตัว (circular fibers) ซึ่งอยู่ชั้นนอกสุดเส้นใยกล้ามเนื้อ
เรียงตามยาว (longitudinal fibers) และเส้นใยกล้ามเนื้ออยู่เฉียงไปมา (oblique
fibers) นอกจากนี้ยังมีเส้นใยกล้ามเนื้อโยงระหว่างหลังกับท้อง และเส้นใย
กล้ามเนื้อที่ร่วมกับอวัยวะต่าง ๆ พยาธิใบไม้จึงสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือ
เคลื่อนไหวได้โดยอาศัยเส้นใยกล้ามเนื้อเหล่านี้
10 พยาธิใบไม้

oral sucker

genital sucker
ventral sucker

รูปที่ 1.1 อวัยวะสําหรับยึดเกาะของพยาธิใบไม้ Echinostoma ilocanum


(ภาพวาดจากตัวอย่างจริง; วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 11

ระบบทางเดินอาหาร (digestive system)(1,8,10)


ระบบทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้เป็นแบบไม่สมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่ปากอยู่
ปลายสุดทางส่วนหัวซึ่งมีกล้ามเนื้อซึ่งประกอบเป็น oral sucker อยู่รอบ ๆ ปาก
ต่อมาเป็นคอหอย (pharynx) มีลักษณะเป็นกระเปาะกล้ามเนื้อ ตามด้วยหลอด
อาหาร (esophagus) และท่อเดี่ย วที่ต่ อมาแยกออกเป็ น 2 แขนงแต่ละแขนง
เรียกว่าซีคัม (caecum) ซึ่งส่วนปลายสุดจะตันทําให้ไม่มีทวารหนัก
โดยทั่วไปพยาธิได้รับอาหารที่เป็นของเหลวหรือกึ่งของเหลวจากการดูดซึม
เข้าทางผนังลําตัว ส่วนอาหารที่ไม่ใช่ของเหลวจะกินเข้าทางปากและย่อยภายใน
ลําไส้ ผนังสําไส้จะดูดซึมสารอาหารที่ได้จากการย่อย ส่วนกากอาหารและของเสีย
ที่เหลือจะขย้อนกลับออกทางปาก (รูปที่ 1.2)
ระบบขับถ่าย (excretory system)(1,2,8)
มีระบบขับถ่ายที่สมมาตร 2 ฟากข้างลําตัว โดยเริ่มจาก ciliated cell เล็ก ๆ
ที่เรียกว่า flame cells (solenocyte) ที่กระจายอยู่ทั่วตัวทําหน้าที่พัดโบกเอา
ของเสียที่เป็นของเหลวจากเนื้อเยื่อโดยรอบเข้าสู่ท่อเล็ก ๆ (excretory capillary)
แล้วมารวมกันเป็นท่อใหญ่ (collecting tubules) จากนั้นจะไปเก็บสะสมอยู่ใน
กระเพาะขับถ่าย (excretory bladder) ก่อนถูกขับออกสู่ภายนอกลําตัวทางรูเปิด
(excretory pore) ที่อยู่ส่วนท้ายสุดของลําตัว กระเพาะขับถ่ายอาจเป็นรูปตัว I,
V หรือ Y ส่วนจํานวนและตําแหน่งการวางตัวของ flame cell จะเป็นไปในรูป
เดียวกันโดยไม่เปลี่ยนแปลงในพยาธิชนิดหนึ่ง ๆ (รูปที่ 1.3)
ระบบประสาท (nervous system)(2,5,8)
มีระบบประสาทแบบง่าย ประกอบด้วยปมประสาท (ganglion) 1 คู่ อยู่
ด้านหลังคอหอยและมีเส้นประสาท (nerve trunk) 3 คู่ อยู่ทางด้านหลังด้านท้อง
และด้านข้างด้านละ 1 คู่ ระหว่างเส้นประสาทเหล่านี้จะมีเส้นเชื่อมโยงเป็น
จํานวนมาก และมีปลายแขนงไปสู่อวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีปุ่มประสาทพิเศษ
บริเวณอวัยวะเพศ และมีปลายเส้นประสาทที่ไวต่อแสงอยู่บริเวณส่วนหัว
12 พยาธิใบไม้

oral sucker
pharynx
esophagus

caecum

รูปที่ 1.2 ระบบทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้ Paragonimus heterotremus


(ภาพวาดจากตัวอย่างจริง; วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 13

excretory bladder
excretory pore
(a) (b)

excretory bladder
excretory pore
(c)
รูปที่ 1.3 ระบบขับถ่ายของพยาธิใบไม้ (a) กระเพาะขับถ่ายเป็นรูปตัว Y (b) กระเพาะ
ขับถ่ายเป็นรูปตัว V (c) กระเพาะขับถ่ายเป็นรูปตัว I (ภาพวาดจากตัวอย่างจริง; วาดโดย
ดวงรัตน์ ริยอง)
14 พยาธิใบไม้

ระบบสืบพันธุ์ (reproductive system)(1,2,6,10)


ระบบสืบพันธุ์เจริญพัฒนาและสมบูรณ์ดี พยาธิใบไม้ส่วนใหญ่จะมีทั้งสอง
เพศในตัวเดียวกัน (hermaphrodite) ยกเว้นพยาธิใบไม้เลือดที่มีเพศแยกกัน
อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ประกอบด้วยอัณฑะ (testes) ซึ่งโดยปกติมี 2 ก้อน แต่
พยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้เลือดจะมีมากกว่า 2 ก้อน หรือพยาธิใบไม้ลําไส้
Haplorchis spp. มีอัณฑะเพียงก้อนเดียว อัณฑะมักอยู่บริเวณส่วนท้ายลําตัว มี
รูปร่างแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิเช่น เป็นก้อนกลม (globular) กลีบ
หรือพู (lobe) ท่อ (tubular) หรือกิ่งแขนง (dendritic) ต่อจากอัณฑะเป็นท่อนํา
อสุจิ (vas efferens) ซึ่งจะมารวมกันเป็นท่อรวมเดี่ยว (vas deferens) แล้วเปิด
เข้า สู ่ถ ุง เก็บ น้ํ า อสุจ ิ (seminal vesicle) ที ่อ ยู ่ภ ายในถุง เซอร์ร ัส (cirrus sac)
จากนั้นจะต่อเข้าสู่ท่อฉีดอสุจิ (ejaculatory duct, cirrus) ที่วิ่งผ่านต่อมลูกหมาก
(prostate gland) แล้วไปเปิดออกที่รูเปิดอวัยวะเพศโดยรูเปิดของอวัยวะเพศผู้
อาจเปิดร่วมกับอวัยวะเพศเมีย (common genital opening) หรือเปิดเดี่ยว
(male genital opening) ในบริเวณที่ต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของพยาธิ
อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศเมียประกอบด้วยรังไข่เดี่ยว (ovary) รูปร่างกลมรี
หรื อ เป็ น แขนง (รู ป ที่ 1.4) มี ท่ อ รั ง ไข่ สั้ น ๆ ต่ อ กั บ ถุ ง เก็ บ น้ํ า เชื้ อ (seminal
receptacle) และท่อวิเทลลินรวม (common vitelline duct) ของท่อย่อยต่าง ๆ
ที่ต่อมาจาก vitelline glands (vitellaria) ซึ่งกระจายแบบสมมาตรอยู่ 2 ฟากข้าง
ลําตัว จากนั้นจะเปิดเข้าสู่ ootype ที่ล้อมรอบด้วย Mehlis’ glands และเปิด
เข้าสู่มดลูก (uterus) ที่มีลักษณะเป็นท่อยาวขดไปมา ส่วนปลายสุดของมดลูกเป็น
กล้ามเนื้อแข็งแรงที่เปิดออกสู่ภายนอกทาง genital opening โดยทั่วไป seminal
receptacle ในพยาธิใบไม้จะมีปลายอีกด้านหนึ่งเปิดออกสู่ภายนอกทางส่วนหลัง
ของพยาธิ เรียกว่า Laurer’s canal ซึ่งคาดว่าอาจเป็นส่วนช่องคลอดดั้งเดิมของ
พยาธิ
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 15

ovary cirrus sac


testes
seminal
receptacle

uterus

รู ป ที่ 1.4 ระบบสื บ พั น ธุ์ เ พศผู้ แ ละเพศเมี ย ของพยาธิ ใ บไม้ Prosthodendrium


molenkampi (ภาพวาดจากตัวอย่างจริง; วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
16 พยาธิใบไม้

การผสมพันธุ์ (fertilization)(1,6,10)
การที่พยาธิใบไม้มีอวัยวะทั้งสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน ทําให้สามารถผสม
พันธุ์ในตัวเองได้ โดยจะเกิดในกรณีที่มีพยาธิอยู่เพียงลําพังตัวเดียวและพยาธินั้นมี
ท่อเปิดของอวัยวะเพศผู้และเพศเมียร่วมกัน แต่โดยปกติแล้วมักผสมพันธุ์กับ
พยาธิตัวอื่น
ในการผสมพันธุ์เชื้ออสุจิที่สร้างจากอัณฑะของอวัยวะเพศผู้จะถูกส่งผ่านมา
ตามท่ออสุจิไปเก็บไว้ที่ seminal vesicle ซึ่งจะฉีดส่งผ่านเข้าไปในมดลูกของ
พยาธิอีกตัวหนึ่งไปเก็บไว้ที่ seminal receptacle อสุจิส่วนเกินจะไหลออกไป
ทาง Laurer’s canal ส่วนเซลล์ไข่ (ovicyte) ที่สร้างจากรังไข่จะส่งมาตามท่อรัง
ไข่เข้าสู่ ootype เพื่อผสมกับเชื้ออสุจิใน ootype หลังการปฏิสนธิจะมี vitelline
cells มาห่อหุ้มและมีสารหลั่งจาก Mehlis’ gland มาช่วยในขบวนการสร้างเปลือก
ไข่ จากนั้นไข่จะเคลื่อนไปสู่มดลูกและปล่อยออกทาง genital opening

รูปร่างลักษณะไข่และตัวอ่อนของพยาธิใบไม้

ไข่ (egg)(1-3,8,10)
พยาธิใบไม้ทุกชนิดออกลูกเป็นไข่ (oviparous) เปลือกไข่ (egg shell) เรียบ
โปร่งแสง ส่วนมากมีสีเหลืองน้ําตาลจนถึงสีน้ําตาล ไข่ของพยาธิแต่ละชนิดมีขนาด
และรูปร่างแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่มีฝาปิด (operculum) พยาธิตัวอ่อนจะฟัก
ตัวออกทางฝาไข่ (รูปที่ 1.5)
ยกเว้นไข่พยาธิใบไม้เลือดที่ไม่มีฝาพยาธิตัวอ่อนจะฟักตัวออกจากไข่โดย
การแตกออกของเปลือกไข่
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 17

(b)
operculum operculum
unembryonated
egg
egg
shell
miracidium
operculum

(c)

(a)
รูปที่ 1.5 ไข่พยาธิใบไม้ (a) Fasciola spp. (b) Dicrocoelium dendriticum (c)
Opisthorchis spp. (ภาพวาดจากตัวอย่างจริง; วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
18 พยาธิใบไม้

พยาธิบางชนิดจะปล่อยไข่ที่เจริญเต็มที่ (embryonated egg) ซึ่งภายในไข่


มีตัวอ่อนระยะไมราซิเดียม (miracidium) เช่น ไข่ของ Dicrocoelium dendrite-
cum และ Opisthorchis spp. แต่พยาธิบางชนิด เช่น Fasciola spp. ไข่ที่ปล่อย
ออกมายังไม่เจริญเต็มที่ (unembryonated egg) ภายในไข่ยังไม่มีไมราซิเดียมไข่
จะต้องไปเจริญต่อภายนอกร่างกายโฮสต์ โดยในการเจริญเติบโตไข่ต้องอยู่ในน้ํา
มิฉะนั้นจะแห้งตาย
ไมราซิเดียม (miracidium)
เป็นตัวอ่อนที่เจริญภายในไข่มีขนาดเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย มีขนเล็ก ๆ
(cilia) ปกคลุมลําตัว ยกเว้นส่วนหัวซึ่งมี apical papilla และต่อมไช (penetra-
tion glands) ในการไชเข้าหอยที่เป็นโฮสต์สื่อกลาง ไมราซิเดียมจะใช้ apical
papilla เกาะติดกับเนื้อหอยแล้วขับน้ําย่อยออกมาเพื่อช่วยในการไชเข้าสู่หอย
จากนั้นจะสลัดขนรอบตัวทิ้งและเดินทางเข้าสู่อวัยวะภายในของหอยเจริญเติบโต
เป็นตัวอ่อนระยะสปอโรซิสต์ (sporocyst)
สปอโรซิสต์ (sporocyst)
ส่วนใหญ่ตัวอ่อนระยะสปอโรซิสต์จะมีการเจริญที่ตับ (hepatopancreas)
ของหอย มีรูปร่างเป็นถุงยาว ผนังบาง ไม่มีปากหรือระบบทางเดินอาหารแต่บาง
ชนิดอาจมีรูกําเนิด (birth pore) อยู่บริเวณส่วนปลายถุง ภายในสปอโรซิสต์มี
germ cells ที่สามารถแบ่งตัวเพิ่มจํานวนและเปลี่ยนรูปไปเป็นระยะสปอโรซิสต์
ลูก (daughter sporocyst) ที่มีรูปร่างลักษณะเหมือนเดิมแล้วเคลื่อนตัวออกไปสู่
อวัยวะอื่นของหอย หรือในพยาธิบางชนิดสปอโรซิสต์อาจเจริญต่อไปเป็นตัวอ่อน
อีกระยะหนึ่งคือรีเดีย (redia) แล้วออกจากสปอโรซิสต์ทางรูกําเนิด
รีเดีย (redia)(1,8,10,12)
เป็นระยะตัวอ่อนที่สร้างในสปอโรซิสต์ อาศัยอยู่ในตับ (hepatopancreas)
หรืออวัยวะสืบพันธุ์ของหอย มีรูปร่างเป็นถุงยาวมีรูกําเนิดใกล้ส่วนหัว ส่วนท้ายสุด
ของลําตัวอาจยื่นออกมาเล็กน้อยเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวลักษณะภายในที่
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 19

สําคัญคือ มีทางเดินอาหาร ประกอบด้วยคอหอย และถุงลําไส้ (intestinal sac)


รีเดียมีการเจริญเพิ่มจํานวนโดยไม่อาศัยเพศ ภายในรีเดียมีเอ็มบริโอที่อาจเจริญ
ไปเป็นระยะรีเดียลูก (daughter redia) หรือเจริญไปเป็นเซอร์คาเรีย (cercaria)
ซึ่งแล้วแต่ชนิดของพยาธิ นอกจากนั้นระยะรีเดียจะไม่พบในพยาธิใบไม้เลือด
เซอร์คาเรีย (cercaria)(1,2,8,10,12)
เป็นตัวอ่อนระยะสุดท้ายที่มีการเจริญในหอย โดยเจริญมาจากสปอโรซิสต์
หรือรีเดีย มีรูปร่างหลายแบบแล้วแต่ชนิดของพยาธิ ส่วนใหญ่มีลําตัวรูปรีมีหาง
สําหรับว่ายน้ํา ส่วนระยะเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้เลือดปลายหางแยกเป็นสอง
แฉกเรียกว่า fork-tailed cercaria ทางเดินอาหารในระยะเซอร์คาเรียประกอบด้วย
ส่วนปากที่ล้อมรอบด้วย oral sucker ต่อมาเป็นคอหอยและลําไส้ที่แยกเป็นสอง
แฉก ทางด้านท้องมีอวัยวะเกาะยึดที่เรียกว่า ventral sucker (รูปที่ 1.6)
เมตาเซอร์คาเรีย (metacercaria)(1-3,8,10,12)
เป็นตัวอ่อนที่เจริญมาจากระยะเซอร์คาเรีย เมื่อเซอร์คาเรียเจริญเติบโต
เต็มที่จะไชออกจากหอยว่ายอยู่ในน้ําเพื่อหาโฮสต์หรือวัตถุที่เหมาะสมหลังจากนั้น
จะไชเข้ า โฮสต์ แ ล้ ว สลั ด หางทิ้ ง และสร้ า งถุ ง ซิ ส ต์ หุ้ ม ตั ว ไว้ (encystation)
เจริญเติบโตเป็นระยะเมตาเซอร์คาเรียที่มีรูปร่างกลม ผนังหนาและมีตัวอ่อนอยู่
ภายใน (รูปที่ 1.7) หากโฮสต์เฉพาะได้รับตัวอ่อนระยะนี้เข้าไปพยาธิจะสามารถ
เจริญเติบโตไปเป็นตัวเต็มวัยได้ ดังนั้นเมตาเซอร์คาเรียจึงเป็นระยะติดต่อสําคัญ
ของพยาธิใบไม้ อย่างไรก็ตามในวงจรชีวิตของพยาธิใบไม้เลือด จะไม่พบระยะเม
ตาเซอร์คาเรียเพราะเซอร์คาเรียที่ไชเข้าโฮสต์ จะสามารถเจริญไปเป็นตัวเต็มวัยได้
เลย ดังนั้นระยะติดต่อสําคัญของพยาธิใบไม้เลือดคือระยะเซอร์คาเรีย
20 พยาธิใบไม้

oral sucker

ventral sucker

fork-tailed
i

รูปที่ 1.6 เซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้เลือด (ภาพวาดจากตัวอย่างจริง; วาดโดยดวงรัตน์


ริยอง)

oral sucker

ventral
sucker
excretory
bladder
cyst wall

รูปที่ 1.7 เมตาเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้ (ภาพวาดจากตัวอย่างจริง; วาดโดยดวงรัตน์


ริยอง)
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 21

วงจรชีวิต(1-3,7,13)
วงจรชี วิ ต โดยทั่ ว ไปของพยาธิ ใ บไม้ ค่ อ นข้ า งซั บ ซ้ อ นเรี ย กว่ า digenea
หมายถึงมีโฮสต์อย่างน้อย 2 ชนิดที่สําคัญในวงจรชีวิตได้แก่
- โฮสต์เฉพาะ (definitive host) ที่พยาธิอาศัยอยู่และมีการสืบพันธุ์แบบ
อาศัยเพศ ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง
- โฮสต์สื่อกลาง (intermediate host) ที่พยาธิอาศัยอยู่และมีการสืบพันธุ์
แบบไม่อาศัยเพศ
พยาธิใบไม้ทุกชนิดมีโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 เป็นหอย ส่วนโฮสต์สื่อกลางตัวที่
2 จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิอาจเป็นพืชน้ํา กุ้ง หอย ปู ปลาน้ําจืด
ส่วนพยาธิใบไม้เลือดมีโฮสต์สื่อกลางเพียงชนิดเดียวเท่านั้นคือหอย
โดยทั่วไปตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้อาศัยอยู่ในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของโฮสต์
คือ คนและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ หลังการผสมพันธุ์พยาธิจะปล่อยไข่ออกมา
ในอวัยวะที่พยาธิอาศัยอยู่ จากนั้นไข่จะออกสู่ภายนอกร่างกายโฮสต์โดยปะปน
ออกมากับอุจจาระ เสมหะหรือปัสสาวะ เมื่อไข่ตกลงสู่น้ํา ไข่บางชนิดที่มีไมราซิ-
เดียมเจริญเต็มที่จะฟักออกมาทันทีบางชนิดจะฟักหลังจากถูกหอยน้ําจืดกินเข้าไป
หรือบางชนิดต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์จึงจะเจริญเป็นไมราซิเดียม
หลังจากฟักออกจากไข่แล้วไมราซิเดียมจะว่ายอยู่ในน้ําและไชเข้าสู่หอยเจริญ
เป็นสปอโรซิสต์ จากนั้นจะเจริญเป็นระยะต่าง ๆ แล้วแต่ชนิดของพยาธิเช่น เจริญ
ต่อไปเป็นรีเดียและเซอร์คาเรีย
เมื่ อ เซอร์ ค าเรี ย เจริ ญ เต็ ม ที่ จ ะออกจากหอยว่ า ยอยู่ ใ นน้ํ า เพื่ อ หาโฮสต์
สื่อกลางตัวที่ 2 ที่เหมาะสมเช่น พืชน้ํา กุ้ง ปู ปลาน้ําจืด หลังจากนั้นจะไชเข้า
โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 แล้วสลัดหางทิ้งและสร้างถุงซิสต์เจริญเป็นเมตาเซอร์คาเรีย
ซึ่งเป็นระยะติดต่อ เมื่อคนหรือสัตว์มีกระดูกสันหลังซึ่งเป็นโฮสต์เฉพาะมากินเมตา-
เซอร์คาเรียเข้าไปเมตาเซอร์คาเรียจะออกจากถุงซิสต์บริเวณส่วนต้นของลําไส้เล็ก
แล้วเดินทางไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของโฮสต์เพื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป (รูปที่ 1.8)
22 พยาธิใบไม้

โฮสตเฉพาะ Adult
คน สุนัข แมว
เสือ แพะ แกะ
กวาง ลิง
วัว ควาย Egg

Miracidium

โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2: พืชน้ํา ปู หอย ปลา โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย


Sporocyst I, II
Redia I, II
Cercaria

Cercaria
รูปที่ 1.8 วงจรชีวิตโดยทั่วไปของพยาธิใบไม้ (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล;
ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
บทนํา การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ 23

สําหรับพยาธิใบไม้เลือดมีวงจรชีวิตที่แตกต่างจากพยาธิใบไม้กลุ่มอื่นคือ
พยาธิใบไม้เลือดเป็นพยาธิที่มีเพศผู้และเพศเมียแยกกัน แต่ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่
ด้วยกันเป็นคู่ ในหลอดเลือดดําภายในอวัยวะต่าง ๆ ของโฮสต์เฉพาะ หลังจาก
ผสมพันธุ์กันแล้วพยาธิเพศเมียจะปล่อยไข่ที่มีลักษณะเป็นไข่ไม่มีฝาปิด (non-
operculated egg) ออกมากับอุจจาระหรือปัสสาวะของโฮสต์เมื่อไข่ได้สัมผัสน้ํา
ไมราซิเดียมในไข่ซึ่งเจริญเติบโตเต็มที่จะฟักออกจากไข่และไชเข้าสู่โฮสต์สื่อกลาง
คือ หอยชนิดต่าง ๆ แล้วเจริญไปเป็นสปอโรซิสต์รุ่นที่ 1 และสปอโรซิสต์รุ่นที่ 2
จากนั้นเจริญต่อไปเป็นเซอร์คาเรียได้เลยโดยไม่ผ่านรีเดีย เซอร์คาเรียของพยาธิ
ใบไม้เลือดจะมีหางสองแฉก ออกจากหอยจะว่ายน้ําเป็นอิสระเพื่อคอยไชเข้าสู่
โฮสต์เฉพาะแล้วเจริญเป็นตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ต้องเจริญผ่านเมตาเซอร์คาเรีย
ดังนั้นในวงจรชีวิตของพยาธิใบไม้เลือดจึงมีโฮสต์สื่อกลางเพียงตัวเดียวคือหอยซึ่ง
เป็นระยะติดต่อสําคัญ

บทสรุป
การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ที่สําคัญทางการแพทย์สามารถจัดหมวดหมู่โดย
เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
(1) การจัดกลุ่มตามหลักอนุกรมวิธาน
(2) การจัดกลุ่มแบบง่าย ตามอวัยวะที่ตัวเต็มวัยของพยาธิอาศัยอยู่
ประกอบด้วย 4 กลุ่มใหญ่คือ พยาธิใบไม้ปอด พยาธิใบไม้ตับ
พยาธิใบไม้ลําไส้และพยาธิใบไม้เลือด
พยาธิใบไม้ประกอบด้วยระบบต่าง ๆ ได้แก่ ระบบผนังลําตัวและกล้ามเนื้อ
ระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบประสาท และระบบสืบพันธุ์ วงจรชีวิต
ของพยาธิใบไม้ประกอบด้วยโฮสต์อย่างน้อย 2 ชนิดคือโฮสต์เฉพาะและโฮสต์
สื่อกลาง
24 พยาธิใบไม้

เอกสารอางอิง
1. Beaver PC, Juing RC, Cupp EW. Clinical parasitology. 9th ed.
Philadelphia: Lea and Febiger; 1984
2. นิมิตร มรกต, เกตุรัตน์ สุขวัจน์. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์: โปรโตซัวและ
หนอนพยาธิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: โครงการตํารา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
3. วันชัย มาลีวงษ์, ผิวพรรณ มาลีวงษ์, นิมิตร มรกต. ปรสิตวิทยาทาง
การแพทย์: โปรโตซัวและหนอนพยาธิ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา
วิทยา; 2544.
4. ประยงค์ ระดมยศ, สุวณี สุภเวชย์, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ. ตําราปรสิต
วิทยาทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2539.
5. Zaman V, Keong LA. Handbook of medical parasitology. 3rd ed.
Singapore: KC Ang Publishing; 1994.
6. Miyazaki I. Helminthic zoonoses. International medical
foundation of Japan. Fukuoka: Shukosha Printing; 1991.
7. Markell E, John DT, Krotoshi WA. Markell and Voge’s Medical
parasitology. 8th ed. Philadelphia: Saunders Company; 1999.
8. Brown HW. Basic clinical parasitology. New York: Appleton-
Century-Crofts; 1975.
9. Neva FA, Brown HW. Basic clinical parasitology. 6th ed. Connecti-
cut: Appleton & Lange; 1994.
10. Bogitsh BJ, Cheng TC. Human parasitology. 2nd ed. USA:
Academic Press; 1998.
11. Malek EA. Snail-transmitted parasitic diseases. 2 vols. Boca
Raton (FL): CRC Press; 1980.
12. Roberts LS, Janovy J. Gerald D. Schmidt & Larry S. Roberts’
Foundations of parasitology. 5th ed. USA: Times Mirror Higher
Education Group, Inc; 1996.
13. Belding DL. Textbook of parasitology. 3rd ed. New York:
Appletion-Century-Crofts; 1965.
2
พยาธิใบไมปอด (Lung flukes)
ดวงรัตน ริยอง

พยาธิใบไม้ปอดจัดอยู่ใน genus Paragonimus ซึ่งพยาธิตัวเต็มวัยอาศัย


อยู่ในเนื้อเยื่อของโฮสต์เฉพาะที่พบได้บ่อยคือในเนื้อปอด โดยพยาธิอาศัยอยู่เป็นคู่
หรือมากกว่าในถุงซิสต์ในเนื้อปอด นอกจากนั้นยังพบพยาธิในเนื้อเยื่อนอกปอด(1)
เช่น กล้ามเนื้อ ตับ ไต ลําไส้ สมองและไขสันหลัง พยาธิใบไม้ปอดที่พบในคนและ
สัตว์มีหลาย species สามารถจําแนกชนิดแยกจากกันได้โดยอาศัยกายรูปวิทยา
ของพยาธิระยะตัวเต็มวัยและเมตาเซอร์คาเรีย พยาธิชนิดนี้ทําให้เกิดโรคพยาธิ
ใบไม้ปอด (Paragonimiasis) ซึ่งถือเป็นโรคของสัตว์ที่ติดต่อสู่คน (zoonosis)
ทางการกิน (food-borne parasitic disease) โดยกินปูน้ําจืด กุ้งดิบ ๆ หรือที่ปรุง
ไม่สุก หรือกินเนื้อดิบ เนื้อที่ปรุงไม่สุกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นโฮสต์พาราที
นิค ถึงแม้พยาธิใบไม้ปอดพบได้ในหลายประเทศของทวีปเอเชีย (เอเชียตะวันออก
เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ทวีปอเมริกาและทวีปแอฟริกา แต่พบบ่อย
ที่สุดในเอเชียตะวันออก(2) ประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ปอดราว 23 ล้านคน
ทั่วโลก(3) พยาธิใบไม้ปอดมีรายงานพบในคนอย่างน้อย 9 ชนิด ได้แก่
• Paragonimus africanus Voelker et Vogel, 1965
• Paragonimus ecuadorensis Voelker et Arzude, 1979
• Paragonimus heterotremus Chen et Hsia, 1964
• Paragonimus mexicanus Miyazaki et Ishii, 1968
• Paragonimus miyazakii Kamo et al., 1961
• Paragonimus skrjabini Chen, 1959
• Paragonimus uterobilateralis Voelker et Vogel, 1965
26 พยาธิใบไม้

• Paragonimus westermani (Kerbert, 1878) Braun, 1899


• Paragonimus peruvianus Miyazaki, Ibanez et Mirinda,
1969
จากการศึกษาโดยวิธีทางอณูชีววิทยาพบว่า Paragonimus ในทวีปเอเชีย
แบ่งออกเป็นชนิดซับซ้อน (species complex) ประกอบด้วย 4 กลุ่มใหญ่ได้แก่
Paragonimus heterotremus, Paragonimus skrjabini, Paragonimus ohirai
และ Paragonimus westermani และชนิดเดี่ยวอีก 2 กลุ่มคือ Paragonimus
vietnamensis และ Paragonimus macrorchis(4)
ในขณะที่ P. vietnamensis พบเฉพาะในประเทศเวียดนามทางตอนเหนือ(5)
ส่วน P. macrorchis พบรายงานครั้งแรกโดย Chen ต่อมาพบรายงานประปราย
จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และไทย(6,7) ในประเทศไทยมี
รายงานพบพยาธิใบไม้ปอด Paragonimus bangkokensis ในปี พ.ศ. 2510 และ
Paragonimus harinasutai ในปี พ.ศ. 2511 ในปูน้ําจืด Potamon smithia-
nus(8,9) นอกจากนี้มีรายงานการพบ Paragonimus pseudoheterotremus ใน
ปี พ.ศ. 2551(10) และพ.ศ. 2555 ในเสมหะของผู้ป่วย(11)
ในประเทศไทยมีรายงานเกี่ยวกับพยาธิใบไม้ปอดที่ทําให้เกิดโรคในคน 2
ชนิด คือ P. westermani และ P. heterotremus ซึ่งจากการพิสูจน์ตัวเต็มวัย
ของพยาธิที่ได้จากผู้ป่วยพบว่าเป็นชนิด P. heterotremus และจากการตรวจหา
เมตาเซอร์คาเรียจากปูที่เป็นโฮสต์สื่อกลางในธรรมชาติพบเมตาเซอร์คาเรียชนิด
P. heterotremus มากกว่าชนิด P. westermani ค่อนข้างสูง จึงพอสรุปได้ว่า
พยาธิใบไม้ปอดที่พบในคนไทยส่วนใหญ่เป็นชนิด P. heterotremus(12,13)
พยาธิใบไม้ปอด 27

Paragonimus heterotremus
Chen et Hsia, 1964

ประวัติและการกระจายทางภูมิศาสตร์
Paragonimus heterotremus พบครั้งแรกในเนื้อเยื่อปอดหนูที่มณฑล
กวางสีและยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2507 โดย Chen และ
Hsia(14) ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 มีรายงานพบในแมวและสุนัขที่อําเภอเมือง จังหวัด
นครนายก โดย Miyazaki และ Vajrasthira(15)
ในปี พ.ศ. 2471 ศ.นพ.เฉลิม พรมมาส(16) ได้รายงานผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ปอด
ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยผู้ป่วยมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอหล่มสัก จังหวัด
เพชรบูรณ์ ต่อมามีรายงานพบในคนที่ประเทศไทยและสปป.ลาว มากขึ้น(17,18)

โรค
โรคพยาธิใบไม้ปอด (Paragonimiasis)

กายรูปวิทยา
พยาธิตัวเต็มวัย(12,13,19)
มีขนาดใหญ่ (6-8×11-14 มิลลิเมตร) ลําตัวหนามาก รูปร่างคล้ายเมล็ด
กาแฟ เมื่อดูสด ๆ มีสีชมพู ผิวหนังมีหนามเล็ก ๆ ทั่วตัว oral sucker มีขนาดใหญ่
กว่า ventral sucker ประมาณ 2 เท่า vitellaria เป็นแขนงย่อยอยู่ 2 ฟากลําตัว
ทอดไปตามลําไส้ที่แยกเป็นสองแขนงปลายตันบริเวณกลางลําตัวมีรังไข่เป็นแขนง
ย่อย 1 อัน และมีมดลูกขนาดเล็กขดไปมา อัณฑะอยู่ส่วนท้ายลําตัวมีลักษณะเป็น
แขนง 1 คู่ มีขนาดใหญ่กว่ารังไข่ (รูปที่ 2.1)
28 พยาธิใบไม้

oral sucker
caecum

ventral
sucker
ovary

testes

(a) (b)
รูปที่ 2.1 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ปอด Paragonimus heterotremus (a) ภาพถ่าย (b)
ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและ
วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ปอด 29

ไข่(12,13,19)
มีขนาดใหญ่ (40-55×77-80 ไมโครเมตร) รูปร่างกลมรีสีเหลืองทอง เปลือกไข่
หนาสม่ําเสมอ ยกเว้นบริเวณส่วนท้ายจะมีความหนากว่าส่วนอื่น ๆ (irregular
thickness) มีฝาใหญ่เห็นชัดเจนส่วนที่อยู่ข้างฝาจะนูนเด่นเรียกว่าไหล่ (shoulder)
ภายในไข่ยังไม่เจริญเป็นตัวอ่อน (unembryonated egg) (รูปที่ 2.2)

operculum
shoulder

egg shell

yolk

irregular
thickness
(a) (b)
รูปที่ 2.2 ไข่พยาธิใบไม้ปอด Paragonimus heterotremus (a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด
(ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวง
รัตน์ ริยอง)
30 พยาธิใบไม้

วงจรชีวิต(12,13,19)
พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในปอดของโฮสต์เฉพาะได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เช่น คน สุนัข แมว เสือโดยอาศัยอยู่เป็นคู่หรือมากกว่าในถุงซิสต์ในเนื้อปอด เมื่อ
พยาธิออกไข่ภายในเนื้อปอดไข่จะออกจากถุงซิสต์ปะปนมากับเสมหะของโฮสต์
หรือหากโฮสต์กลืนเสมหะลงไปในท้องอาจจะตรวจพบไข่ในอุจจาระได้ ไข่ที่ออกมา
ยังเจริญไม่เต็มที่ต้องตกลงในน้ําหรือพื้นดินที่มีความชื้น จึงจะมีการเจริญเติบโต
เป็นไมราซิเดียมภายในเวลา 2 สัปดาห์
จากนั้นไมราซิเดียมจะฟักออกจากไข่ว่ายเป็นอิสระอยู่ในน้ําเพื่อไชเข้าสู่หอย
น้ําจืดที่เป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 ได้แก่ หอยใน family Assimineidae, Poma-
tiopsidae และ Thiaridae (หอยเจดีย์) แต่จากการทดลองพบว่าหอย Neotricula
aperta (β-race) และหอย Oncomelania spp. สามารถเป็นโฮสต์กึ่งกลางตัวที่
1 ได้ จากนั้นไมราซิเดียมจะเจริญเติบโตต่อไปเป็นสปอโรซิสต์ รีเดียแม่ รีเดียลูก
และเซอร์ ค าเรี ย ตามลํ า ดั บ ซึ่ ง เป็ น เซอร์ ค าเรี ย แบบหางเล็ ก และสั้ น (micro-
cercous cercaria)
เซอร์คาเรียจะออกจากหอย ไชเข้ากุ้ง(20,21) หรือปูน้ําจืดเช่น ปูน้ําตก ปูหิน
(22,23)
ซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 ระยะนี้จะมีการสร้างผนังซิสต์และเจริญเป็นเม
ตาเซอร์คาเรียซึ่งเป็นระยะติดต่ออยู่ในเนื้อ เหงือก และอวัยวะภายในของปูเมื่อ
โฮสต์เฉพาะกินปูดิบที่มีเมตาเซอร์คาเรียเข้าไปพยาธิจะออกจากซิสต์ บริเวณลําไส้
เล็กไชทะลุลําไส้เข้าสู่ ช่องท้อง ไชเข้ากล้ามเนื้อหน้ าท้องและบริ เวณใกล้ เคีย ง
จากนั้นจะไชกลับเข้าช่องท้องอีกครั้งโดยไชทะลุกระบังลมผ่านเยื่อหุ้มปอด และใน
ที่สุดจะเข้าสู่เนื้อปอดเจริญเป็นตัวเต็มวัยอยู่เป็นคู่ ๆ โดยสร้างถุงมาหุ้มตัวไว้ (รูปที่
2.3)
พยาธิใบไม้ปอด 31

โฮสตเฉพาะ Adult
คน
สุนัข
แมว
เสือ
Egg

Miracidium
โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2: ปู
โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย
Sporocyst I, II
Redia I, II
Metacercaria
Cercaria

Cercaria
รูปที่ 2.3 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ปอด Paragonimus heterotremus (ภาพถ่ายเป็น
การบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
32 พยาธิใบไม้

ระบาดวิทยา(12,19)
โรคพยาธิใบไม้ปอดมีรายงานใน 39 ประเทศ มีหอยมากกว่า 45 ชนิดเป็น
โฮสต์ สื่ อ กลางตั ว ที่ 1 โรคพยาธิ ใ บไม้ ป อดเป็ น โรคที่ ติ ด ต่ อ จากสั ต ว์ ม าสู่ ค น
นอกจากคนแล้วยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ เป็นโฮสต์สะสมเชื้อเช่น สุนัข
แมว เสือ เป็นต้น อุปนิสัยของคนในการชอบกินอาหารดิบ ๆ หรือปรุงไม่สุกด้วยปู
หรือกุ้ง เช่น ส้มตําปู กุ้งเต้น สัตว์บางชนิดที่เป็นโฮสต์พาราทีนิค เช่น สุกร หนู กิน
เมตาเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้ปอดเข้าไปแต่ไม่เจริญเป็นตัวเต็มวัยแต่ยังคงเป็น
ระยะตัวอ่อนในเนื้อสัตว์ คนอาจเป็นพยาธินี้ได้เมื่อรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ ๆ ที่มี
ตัวอ่อนระยะติดต่อเมตาเซอร์คาร์เรียของพยาธินี้อยู่

พยาธิสภาพและอาการ(13,18,24-26)
พยาธิ ส ภาพของโรคพยาธิ ใ บไม้ ป อดขึ้ น อยู่ กั บ จํ า นวนพยาธิ ใ นผู้ ป่ ว ย
ระยะเวลาการเป็นโรคและอวัยวะที่พยาธิไปอาศัยอยู่ โดยสารพิษที่ขับออกจากตัว
พยาธิ ห รื อ ภาวะภู มิ แ พ้ ข องผู้ ป่ ว ยจะมี ผ ลหรื อ เป็ น สาเหตุ สํ า คั ญ ที่ ทํ า ให้ เ กิ ด
พยาธิสภาพต่าง ๆ ในโฮสต์ สามารถแบ่งลักษณะการเกิดพยาธิสภาพได้เป็น 2
ลักษณะ ดังนี้
1. พยาธิสภาพในปอด
การที่พยาธิอาศัยอยู่และมีการเคลื่อนที่ภายในปอดจะมีผลทําให้เนื้อปอดใน
บริเวณนั้นตาย มีเลือดออกและมีการอักเสบ ซึ่งต่อมาจะมีพังผืด (fibrosis) เกิด
ล้อมรอบบริเวณนั้นกลายเป็นถุงหุ้มตัวพยาธิ (worm cyst) มีลักษณะเป็นก้อนสี
ขาวโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-4 เซนติเมตร ซึ่งภายในอาจพบพยาธิ
ได้ 1-2 ตัว หรือมากกว่าหรืออาจไม่มีตัวพยาธิ หลังจากพยาธิโตเต็มที่และออกไข่
ผนังหุ้มซิสต์จะแตกออกปล่อยไข่และสารต่าง ๆ ออกทางหลอดลมทําให้ผู้ป่วยไอมี
เสมหะ และมีการอักเสบของหลอดลม (bronchitis) นอกจากนี้อาจมีการติดเชื้อ
แบคทีเรียแทรกซ้อน ทําให้เกิดปอดอักเสบ (bronchopneumonia and intersti-
tial pneumonia) บางครั้งซิสต์ที่มีผนังหนาไม่แตกออกจะมีหินปูนมาเกาะทําให้
แข็งเป็นก้อนนูนได้
พยาธิใบไม้ปอด 33

ผู้ป่วยที่มีพยาธิใบไม้อยู่ในปอด (pulmonary paragonimiasis) หากมีพยาธิ


ในจํานวนน้อยผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่ถ้ามีพยาธิในร่างกายจํานวนมากผู้ป่วยอาจ
มีอาการตั้งแต่น้อยถึงมากได้ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยวัณโรค
ปอด ซึ่งอาการที่สําคัญคือ ไอเรื้อรัง ไอแบบมีเสมหะมาก เสมหะเหนียว ในบาง
รายอาจมีอาการไอเป็นเลือดร่วมด้วย ซึ่งหากเป็นเรื้อรังเสมหะมักเป็นสีสนิมเหล็ก
(rusty brown) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาไอเนื่องจากเยื่อหุ้ม
ปอดอักเสบ อาจมีไข้ต่ําและ/หรือหนาวสั่น ในบางรายมีอาการหอบ เหนื่อยง่าย
และวิงเวียนศีรษะ
2. พยาธิสภาพนอกปอด
พยาธิตัวเต็มวัยและตัวอ่อนอาจไชเคลื่อนที่หลงทางจากปอดไปยังอวัยวะ
อื่นได้ ที่พบบ่อยคือสมองผู้ป่วยมีอาการเหมือนสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
(meningoencephalitis) อาการลมบ้าหมู (epilepsy) มีไข้ ปวดหัว อาเจียน
ตาพร่า มีอัมพาตที่หน้า (facial palsy) อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia) อัมพาต
ครึ่งล่าง (paralysis) ชัก (jacksonian seizure) และไม่รู้สึกตัว (coma) ในระยะ
นี้ผู้ป่วยบางรายอาจเสียชีวิต ผู้ป่วยที่ไม่เสียชีวิตอาการมักหายเองใน 1-2 เดือน
แต่อาจเป็นซ้ําภายใน 2 ปี ในเด็กที่มีอายุต่ํากว่า 15 ปี อาจพบอาการอัมพาต
(infinite paralysis) เลือดออกในสมอง (cerebral hemorrhage) สมองอักเสบ
(encephalitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ในบริเวณที่พยาธิอาศัยอยู่พบ
เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอสิโนฟิลในน้ําไขสันหลังเป็นจํานวนมาก ผู้ป่วยบางรายมีพยาธิ
ที่ไขสันหลังแต่พบน้อย ผู้ป่วยมีอัมพาตครึ่งตัวหรืออัมพฤกษ์ที่แขนหรือขาข้าง
เดียว (monoplegia)
สําหรับระบบประสาทร้อยละ 80 ของผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีอายุน้อยกว่า 10 ปี
และโดยมากเป็นชาย นอกจากนั้นพบที่นัยน์ตา กล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง หรือพบตุ่มใต้
ผิวหนังที่เคลื่อนที่ได้ ลักษณะตุ่มแข็ง เจ็บ มีขนาดประมาณ 2-10 เซนติเมตร
โดยมากพบที่ท้องช่วงล่าง ขาหนีบ และต้นขา หรือพบที่หลังใบหู บางครั้งพยาธิ
ไม่สามารถเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในคนได้ แทนที่ผู้ป่วยจะไอเป็นเลือด (hemoptysis)
34 พยาธิใบไม้

หรือพบไข่พยาธิในเสมหะ กลับพบตุ่มเคลื่อนที่ใต้ผิวหนัง เรียกว่า trematode


larva migrans แทน นอกจากนั้นในตุ่มใต้ผิวหนังอาจพบพยาธิตัวอ่อนและพบ
เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอสิโนฟิลในเลือดสูงด้วย
นอกจากนี้ พ ยาธิ อ าจเคลื่ อ นไหวที่ ส มองทํ า ให้ เ กิ ด เลื อ ดออกในสมอง
(subarachnoid hemorrhage) พยาธิที่ถุงหุ้มอัณฑะ ช่องท้องและเยื่อหุ้มหัวใจ
ฯลฯ พยาธิ ส ามารถเจริ ญ เติ บ โตเป็ น ตั ว เต็ ม วั ย ได้ น อกปอด โดยมี ซิ ส ต์ เ ป็ น
granuloma หรือฝีเกิดขึ้นรอบพยาธิและไข่พยาธิ ถ้าพยาธิตัวอ่อนไชผ่านปอดมา
ที่สมองส่วน temporal และ occipital lobe ทําให้เกิดเนื้อสมองตายและมีการ
รวมตัวเป็นก้อนของเม็ดเลือดขาว (eosinophilic granuloma) เกิดขึ้น
การวินิจฉัย(12,13,19)
ผู้ป่วยที่มีพยาธิใบไม้อยู่ในปอดสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจเสมหะ น้ําจาก
ช่องปอด (pleural effusion) น้ําไขสันหลังหรืออุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิ นอกจาก
นั้นอาจอาศัยลักษณะอื่น ๆ ประกอบเช่น การเอกซเรย์ปอด การซักประวัติ การ
อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของพยาธิ การกินอาหารที่ปรุงด้วยกุ้งหรือปูสุก ๆ
ดิบ ๆ ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรังมานานรักษาไม่หาย มีเสมหะปนเลือด บางครั้งไอ
เป็นเลือด
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนอกปอดสามารถตรวจวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยา(18,27-
32)
โดยการตรวจวัดแอนติบอดีที่จําเพาะต่อโรคพยาธิใบไม้ปอดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
complement fixation test, ELISA, indirect haemagglutination test และ
immunoblotting นอกจากนี้ Sugiyama และคณะ พ.ศ. 2549 ได้พัฒนาวิธี
PCR-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP) และวิธี
multiplex PCR ในการเพิ่มจํานวนของยีน ITS2 พบว่าสามารถแยกเมตาเซอร์
คาเรียของพยาธิใบไม้ปอด P. heterotremus ออกจาก P. westermani ได้(33)
พยาธิใบไม้ปอด 35

ในปี พ.ศ. 2556 ผศ.ดร.ชัยรัตน์ ตัณตราวัฒน์พันธ์ และคณะ สามารถแยก


ชนิดของเมตาเซอร์คาเรียจํานวน 6 ชนิด คือ P. bangkokensis, P. harinasutai,
P. heterotremus, P. westermani, P. siamensis และ P. macrorchis โดย
วิธี PCR ร่วมกับการเรียงลําดับนิวคลีโอไทด์แบบสังเคราะห์อย่างรวดเร็ว (pyro-
sequencing) ของยีน ITS2 นอกจากนี้ในปีเดียวกันยังพัฒนาวิธีตรวจหาไข่ P.
heterotremus ในมูลแมว โดยวิธี real-time fluorescence resonance energy
transfer polymerase chain reaction (real-time FRET PCR) กับการวิเคราะห์
เม็ลติ้งเคิฟ (melting curve analysis) พบว่ามีความจําเพาะสูงไม่มีปฏิกิริยาคาบ
เกี่ยวกับปรสิตชนิดอื่น และพบว่าวิธีดังกล่าวนี้สามารถตรวจหาและแยกชนิดไข่
พยาธิใบไม้ชนิดอื่น ๆ ได้เช่น Echinostoma malayanum, Fasciola
gigantica(34-36)
การรักษา(28,37-39)
ในปัจจุบัน praziquantel เป็นยาที่ใช้ได้ผลดีที่สุดโดยให้กินในขนาด 25
มิล ลิก รัม /กิโ ลกรัม วัน ละ 3 ครั ้ง หลัง อาหารเป็น เวลา 2 วัน ติด ต่อ กัน ให้
ผลการรักษาร้อยละ 100(17) แต่ในรายที่มีพยาธิจํานวนมากอาจต้องให้ยาซ้ํา ซึ่ง
หลังให้ยาภายใน 2-3 สัปดาห์จะตรวจไม่พบไข่พยาธิและอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วย
จะหายเป็นปกติภายใน 2-3 เดือน แต่ภาพรังสีของปอดจะใช้เวลาหลายเดือนกว่า
จะเป็นปกติ ขึ้นกับระยะเวลาที่เป็นโรคและความรุนแรงของโรค อาการข้างเคียง
ของยาเช่น ง่วงนอนปวดหัว แต่พบค่อนข้างน้อยและพบเพียงชั่วคราวในรายที่มี
พยาธิในสมองต้องใช้ยาในขนาดสูงขึ้นและพบว่าการให้ยา corticosteroid จะให้
ผลการรักษาที่ดี
การพยากรณ์โรค(12,13,19)
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีพยาธิอยู่ภายในปอดมักไม่เป็นอันตรายถึงกับเสียชีวิต
ถึงแม้จะไม่ได้รับการรักษาโดยพยาธิจะตายเองภายในเวลา 1-2 ปี แต่ในรายที่มี
พยาธิในสมองอาจพบอาการผิดปกติทางสมองได้เป็นเวลานานเช่น ลมชัก หลงลืม
36 พยาธิใบไม้

หรือมีความพิการทางระบบประสาท จากรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคพยาธิ
ใบไม้ปอดพบว่าประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยที่มีพยาธิในสมองจะตายจากเลือด
ออกในสมองภายใน 2 ปี หลังจากเป็นโรค
การป้องกัน(12,13,19)
1. กินอาหารที่ปรุงสุกดีแล้ว โดยเฉพาะอาหารประเภทปูและกุ้ง
2. ไม่บ้วนเสมหะหรือถ่ายอุจจาระลงในแหล่งน้ําหรือทุ่งนาเพื่อป้องกัน
ไม่ให้ไข่พยาธิเจริญเป็นตัวอ่อนเข้าสู่หอยและปูได้
3. ในแหล่งที่มีการระบาดของพยาธิควรระวังการดื่มน้ําในแหล่งน้ําต่าง ๆ
ที่อาจมีการปนเปื้อนของเมตาเซอร์คาเรียได้
4. ให้การรักษาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อโดยทันทีเพื่อฆ่าและทําลายพยาธิตัว
เต็มวัย
5. ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนโดยเน้นให้รู้จักระมัดระวังการติดเชื้อพยาธินี้

สรุปวงจรชีวิตของ Paragonimus heterotremus


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ปอด
• โฮสต์เฉพาะ: คน สุนัข แมว เสือ
• โฮสต์ส่อื กลางตัวที่ 1: หอยใน family Assimineidae,
Pomatiopsidae และ Thiaridae (หอยเจดีย์)
• โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2: ปูและกุ้งน้ําจืดในประเทศไทยเช่น
ปูน้ําตก (Tiwaripotamon beusekomae)(12)
• การติดโรค: กินปูและกุ้งน้ําจืดดิบ ๆ ที่มีเมตาเซอร์คาเรีย
พยาธิใบไม้ปอด 37

Paragonimus westermani
(Kerbert, 1878) Braun, 1899

ประวัติและการกระจายทางภูมิศาสตร์
พบ Paragonimus westermani ครั้งแรกในปอดของเสือที่สวนสัตว์เมือง
อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2421 โดย Kerbert ต่อมาในปี
พ.ศ. 2423 มีรายงานพบพยาธินี้ในชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่ในเกาะไต้หวัน(20,40)
ประเทศไทยมีรายงานการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ในคน แต่ยังไม่เคยได้ตัวพยาธิชนิดนี้
จากคน แหล่งที่พบพยาธินี้ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน
อินเดีย และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น ประเทศฟิลิปปินส์(37,41)
และไทย(24,42-45)

โรค
โรคพยาธิใบไม้ปอด (Paragonimiasis)
กายรูปวิทยา(12,13,19)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดใหญ่ (4-6×7-12 มิลลิเมตร) ลําตัวหนามากรูปร่างคล้ายเมล็ดกาแฟ
เมื่อดูสด ๆ มีสีน้ําตาลแดงผิวหนังมีหนามเล็ก ๆ ทั่วตัว oral sucker มีขนาด
ใกล้เคียงกับ ventral sucker มี vitellaria เป็นแขนงย่อยอยู่ 2 ฟากลําตัวตั้งแต่
ระดับคอหอยไปจนถึงส่วนท้าย(44) บริเวณกลางลําตัวมีรังไข่เป็นแขนงจํานวน 6
กลีบ (lobes) มีมดลูกขนาดเล็กขดไปมาอัณฑะมีลักษณะเป็นแขนง 2 อัน ขนาดไม่
เท่ากันมีขนาดใหญ่กว่ารังไข่เล็กน้อยและอยู่ขนานกันทางส่วนท้ายลําตัว (รูปที่ 2.4)

ไข่(12,13,19)
มีขนาดใหญ่ (48-60×90-118 ไมโครเมตร) รูปร่างกลมรี สีเหลืองทองเปลือก
ไข่ส่วนท้ายจะหนากว่าส่วนอื่น ๆ มีฝาใหญ่เห็นชัดเจนส่วนที่อยู่ข้างฝาจะนูนเด่น
38 พยาธิใบไม้

เรียกว่าส่วนไหล่ มีลักษณะคล้ายไข่ของ P. heterotremus แยกจากกันได้ยาก


โดยทั่วไปไข่ของ Paragonimus, Echinostoma และ Fasciola มีความเหมือนกัน
ในด้านของขนาดและรูปร่างทําให้ยากต่อการแยกชนิด

oral sucker
intestine

ventral
sucker
ovary

testes

(a) (b)
รูปที่ 2.4 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ปอด Paragonimus westermani (a) ภาพถ่าย (b)
ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและ
วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ปอด 39

ตัวเต็มวัยของ P. westermani มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างคล้ายคลึงกับ


P. heterotremus แต่มีลักษณะแตกต่างกันหลายจุดที่สามารถใช้ในการวินิจฉัย
แยกจากกันได้ดังแสดงในรูปที่ 2.5

Paragonimus westermani Paragonimus heterotremus

1. oral sucker:ventral sucker


P. westermani: P. heterotremus
1:1 : 2:1

2. ovary (ขนาด-รูปราง)
P. westermani: P. heterotremus
แขนงใหญ 6 กลีบ: แขนงเล็ก-ละเอียด

3. testes (ขนาด)
P. westermani: P. heterotremus
เล็ก: ใหญ

รูปที่ 2.5 เปรียบเทียบตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ปอด Paragonimus westermani


และ Paragonimus heterotremus (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล;
ถ่ายโดยดวงรัตน์ ริยอง)
40 พยาธิใบไม้

วงจรชีวิต พยาธิสภาพและอาการ การรักษา การวินิจฉัย และการป้องกัน


เช่นเดียวกับ P. heterotremus การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการกินปูน้ําจืด
ดิบ ๆ หรือที่ปรุงไม่สุก อย่างไรก็ตามในประเทศญี่ปุ่นพบการติดเชื้อผ่านทางกินเนื้อ
หมีป่า เนื่องจากหมีป่าเป็นโฮสต์พาราทีนิคของ P. westermani และติดเชื้อผ่าน
ทางการกินเนื้อกวาง sika deer (Cervus nippon หรือ spotted deer, Japanese
deer)(47) ในประเทศเวียดนามมีรายงานพบว่าปูที่เป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 ของ P.
westermani คือ Vietopotamon aluoiense, Donopotamon haii และ
Indochinamon tannanti จากการพบเมตาเซอร์คาเรีย(48) และในประเทศญี่ปุ่น
มีปูขน Eriocheir japonicas, Potamon dahaani และกุ้ง Cambaroides
similis(10,49)

บทสรุป
พยาธิ ใ บไม้ ป อดที่ พ บในประเทศไทยส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ชนิ ด Paragonimus
heterotremus เนื่องจากการตรวจหาเมตาเซอร์คาเรียจากปูที่เป็นโฮสต์สื่อกลาง
ตัวที่ 2 ในธรรมชาติพบเมตาเซอร์คาเรียชนิด Paragonimus heterotremus
ค่อนข้างสูงในส่วนของการวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ปอด พยาธิใบไม้ปอดได้มีการ
พัฒนาการวินิจฉัยทั้งทางอิมมิวโนวิทยาและทางอณูชีววิทยาหลายวิธีเช่น
- ELISA
- Immunoblot
- PCR-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP)
- Multiplex PCR
- Pyrosequencing และ real-time fluorescence resonance energy
transfer polymerase chain reaction (real-time FRET PCR) ร่วมกับ
melting curve analysis
พยาธิใบไม้ปอด 41

เอกสารอางอิง
1. Roberts LS, Janovy J. Gerald D. Schmidt & Larry S. Roberts’
Foundations of parasitology. 5th ed. USA: Times Mirror Higher
Education Group; 1996.
2. Blair D, Xu ZB, Agatsuma T. Paragonimiasis and the genus
Paragonimus. Adv Parasitol 1999;42:113-222.
3. Blair D. Paragonimiasis. In: Rafael T and Bernard F, editors.
Digenetic Trematodes. Advances in Experimental Medicine and
Biology. Vol. 766. New York: Springer Science+Bussiness Media;
2014. p. 115-52.
4. Nawa Y, Thaenkham U, Doanh PN, Blair D. Helminth-trematode:
Paragonimus westermani and Paragonimus species. In:
Motarjemi Y, Moy G, Todd E, editors. Encyclopedia of Food
Safety. Oxford: Elsevier; 2014. p. 179-88.
5. Doanh PN, Shinohara A, Horii Y, Habe S, Nawa Y, Le NT. Descrip-
tion of a new lung fluke species Paragonimus vietnamensis
sp. nov. (Trematoda; Paragonimidae), found in northern Vietnam.
Parasitol Res 2007;101:1495-501.
6. Chen HT. Some new Chinese paragonimid trematodes: with
notes on certain technical problems in the study of the
group. Acta Sci Nat Univ Sunyatseni 1962;3:58-64.
7. Sanpool O, Intapan PM, Thanchomnang T, Janwan P, Laymani-
vong S, Sugiyama H, Malewong W. Morphological and molecu-
lar identification of a lung fluke, Paragonimus macrochis
(Trematoda, Paragonimidae), found in central Lao PDR and its
molecular phylogenetic status in the genus Paragonimus.
Parasitol Int 2015;64: 513-8.
8. Miyazaki I, Vajrasthira S. On a new lung fluke, Paragonimus
bangkokensis sp. nov. in Thailand (Trematoda: Troglotrema-
tidae). Jpn J Med Sci Biol 1967;20:243-9.
42 พยาธิใบไม้

9. Miyazaki I, Vajrasthira S. On a new lung fluke found in Thailand,


Paragonimus harinasutai sp. nov. (Trematoda, Troglotremati-
dae). Ann Trop Med Parasitol 1968;62:81-7.
10. ประยงค์ ระดมยศ, สุวณี สุภเวชย์, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ. ตําราปรสิต
วิทยาทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2539.
11. วันชัย มาลีวงษ์, ผิวพรรณ มาลีวงษ์, นิมิตร มรกต. ปรสิตวิทยาทาง
การแพทย์: โปรโตซัวและหนอนพยาธิ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา
วิทยา; 2544.
12. Thaenknam U, Waikagul J. Molecular phylogenetic relationship
of Paragonimus pseudoheterotremus. Southeast Asian J Trop
Med Public Health 2008;39:217-21.
13. Intapan PM, Sanpool O, Thanchomnang T, Imtawil K, Pongchaiya-
kul, Nawa Y, et al. Molecular identification of a case of
Paragonimus pseudoheterotremus infection in Thailand. Am J
Trop Med Hyg 2012;87:706-9.
14. Chen HT, Hsia TK. A preliminary report on new species of
Paragonimus heterotremus sp. nov. Zhongshan Daxue Xuebao
1964; 2:236-8.
15. Miyazaki I, Vajrasthira S. Occurrence of the lung fluke, Para-
gonimus heterotremus in Thailand. J Parasitol 1967;53:207.
16. หลวงเฉลิ ม คั ม ภี ร เวชช์ . โรคพยาธิ ตั บ ปอด และมะดู ร าฟุ ต . จ พ ส ท
2471;11:67-7.
17. Vajrasthira S. Paragonimiasis. In: The 25th anniversary of the
Faculty of Tropical Medicine, Bangkok; Thailand Bangkok: Krung
Siam Press; 1985. p. 98-104.
18. Vanijanonta S, Radomyos P, Bunnag D, Harinasuta T. Pulmo-
nary paragonimiasis with expectoration of worms. A case report.
Southeast Asian J Trop Med Public Health 1981;12:104-6.
19. นิมิตร มรกต, เกตุรัตน์ สุขวัจน์. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์: โปรโตซัวและ
หนอนพยาธิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: โครงการตํารา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
20. Beaver PC, Juing RC, Cupp EW. Clinical parasitology. 9th ed.
Philadelphia: Lea and Febiger; 1984.
พยาธิใบไม้ปอด 43

21. Seo BS. Paragonimiasis in Korea. Proceedings of the Fourth


Southeast Asian Seminar on Parasitology and Tropical Medicine,
Schistosomiasis and other Snail-Transmitted Helminthiasis,
Manila, 24-27 February 1969.
22. Naiyanetr P. Freshwater crabs as the intermediate host of
Paragonimus and their distribution in Thailand. J Parasitol
Trop Med Assoc Thai 1978;2:23-38.
23. Vajrasthira S. Paragonimiasis in Thailand. Proceeding of the
Fourth Southeast Asian Seminar on Parasitology and Tropical
Medicine, Schistosomiasis, and other Snail-Transmitted
Helminthiasis, Manila 24-27 February 1969.
24. Vajrasthira S, Harinasuta T, Maiphoom C. Study on helminthic
infections in Thailand. 2. The incidence of paragonimiasis in
the first recognized endemic area. Jpn J Exp Med 1958;29:159-
66.
25. Vanijanonta S, Bunnag D, Harinasuta T. Radiological findings in
pulmonary Paragonimus heterotremus. Southeast Asian J
Trop Med Public Health 1984;15:122-8.
26. Zaman V, Keong LA. Handbook of medical parasitology. 3rd ed.
Singapore: KC Ang Publishing; 1994.
27. Dekumyoy P, Setasuban P, Waikagul J, Yaemput S, Sanguankit
S. Human lung fluke Paragonimus heterotremus: differentia-
tion of antigenic proteins of adult worms by enzyme-linked
immuneelectrotransfer blot technique. Southeast Asian J Trop
Med Public Health 1995;26:434-8.
28. Goldsmith R, Bunnag D, Bunnag T. Lung fluke infections:
Paragonimiasis. In: Strichland GT, editor. Hunter: Tropical
Medicine. 7th ed. Philadelphia: WB Saunders; 1991. p. 27-831.
29. Maleewong W, Intapan PM, Priammuenwai M, Wongkham C,
Tapchaisri P, Morakote N, et al. Monoclonal antibodies to
Paragonimus heterotremus and their potential for diagnosis of
paragonimiasis. Am J Trop Med Hyg 1997;56:413-7.
44 พยาธิใบไม้

30. Maleewong W, Intapan PM, Wongkham C, Pajongthanasaris


MP, Morakote N, Chaicumpa W. Indirect haemagglutination
test using monoclonal antibody-affinity purified antigens for
diagnosis of human paragonimiasis due to Paragonimus
heterotremus. Trop Med Int Health 1998;3:57-9.
31. Slemenda SM, Maddison SE, Jong EC, Moore DD. Diagnosis of
paragonimiasis by immunoblot. Am J Trop Med Hyg 1988;39:469-
71.
32. Waikagul J. Serodiagnosis of paragonimiasis by enzyme-linked
immusorbent assay and immunoelectrophoresis. Southeast
Asian J Trop Med Public Health 1989;20:243-51.
33. Sugiyama H, Morishima Y, Rangsiruji A, Binchai S, Ketudat P,
Kawanaka M. Application of multiplex PCR for species discrimi-
nation using individual metacercariae of Paragonimus occurring
in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2006;
37:48-52.
34. Tantrawatpan C, Intapan PM, Janwan P, Sanpool O, Lulitanond
V, Srichantaratsamee C, et al. Molecular identification of
Paragonimus species by DNA pyrosequencing technology.
Parasitol Int 2013a;62:341-5.
35. Tantrawatpan C, Intapan PM, Thanchomnang T, Sanpool O,
Janwan P, Lulitanond V, et al. Application of a real-time
fluorescence resonance energy transfer polymerase chain
reaction assay with melting curve analysis for the detection of
Paragonimus heterotremus eggs in the feces of experiment-
tally infected cats. J Vet Diagn Invest 2013b;25:620-6.
36. Tantrawatpan C, Saijuntha W, Manochantr S, Kheolamai P,
Thanchomnang T, Sadaow L, et al. A singleplex real-time
fluorescence resonance energy transfer PCR with melting
curve analysis for the differential detection of Paragonimus
heterotremus, Echinostoma malayanum and Fasciola
gigantica eggs in faeces. Trans R Soc Trop Med Hyg 2016;
110:74-83.
พยาธิใบไม้ปอด 45

37. Cabrera BD, Fevidal PM. Studies on Paragonimus and Parago-


nimiasis in the Philippines. III. Prevalence and treatment of
human paragonimiasis with bithinol in Jaro, Leyte, Philippines.
Southeast Asian J Trop Med Public Health 1974;5:39-45.
38. Rim HJ, Chang YS. Chemotherapeutic effect of niclofolan and
praziquantel in the treatment of paragonimiasis. Korea Univ
Med J 1980;17:113-26.
39. Rim HJ, Chang YS, Lee JS, Joo KH, Suh WH, Tsuji M. Clinical
evaluation of praziquantel (Embay 8440; Biltricide(R)) in the
treatment of Paragonimus westermani. Korean J Parasitol
1981;19:27-37.
40. Belding DL. Textbook of parasitology. 3rd ed. New York:
Appletion-Century-Crofts; 1965.
41. Cabrera BD. Sundathelphusa philippina (Martens, 1868), the
new name of the crustacean intermediate host of mammalian
lung fluke (Paragonimus) in the Philippines. Southeast Asian J
Trop Med Public Health 1975;6:602.
42. ตระหนักจิต หะริณสุต, มงคล เครือตราชู, สุนทร ตัณฑนันทน์. รายงาน
ผู้ป่วยพยาธิใบไม้ปอด. จ พ ส ท 2500;40:227-33.
43. พรชัย ศิริสัมพันธ์. แหล่งที่พบใหม่ของโรคพยาธิใบไม้ปอดในประเทศไทย.
จ พ ส ท 2506;46:201-11.
44. Daengsvang S, Papasarathorn T, Tongkoom B. Paragonimus
westermani (Kerbert, 1878) in Thai leopards. Ann Trop Med
Parasitol 1964;58:304-6.
45. Sutthipunthu P, Songthanasak T, Kamboonruang C, Silprasert
W, Menakanit W. Paragonimiasis: A case report from Chiang Rai
province, Northern Thailand. J Med Assoc Thai 1978;61:427-33.
46. Miyazaki I. Helminthic zoonoses. International medical
foundation of Japan. Fukuoka: Shukosha Printing; 1991.
47. Yoshida A, Matsuo K, Moribe J, Tanaka Y, Kikuchi T, Nagayasu
E, et al. Venison, another source of Paragonimus westermani
infection. Parasitol Int 2016;65:607-12.
46 พยาธิใบไม้

48. Doanh NP, Tu AL, Bui TD, Loan TH, Nonaka N, Horii Y, et al.
Molecular and morphological variation of Paragonimus
westermani in Vietnam with records of new second interme-
diate crab hosts and a new locality in a northern province.
Parasitol 2016;143:1639-46.
49. Yokogawa M. Studies on the biological aspects of the larval
stages of Paragonimus westermanii, especially invasion of the
second intermediate hosts. The National Institute of Health
1952;501-16.
3
พยาธิใบไมตับ (Liver flukes)
ดวงรัตน ริยอง

พยาธิใบไม้ตับเป็นกลุ่มพยาธิที่ระยะตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในทางเดินน้ําดีและ
ถุงน้ําดีของสัตว์มีกระดูกสันหลังได้แก่ สัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งคน

การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ตับ
พยาธิใบไม้ตบั มีหลายชนิด จัดอยู่ใน 3 family ดังนี้
1. Family Opisthorchiidae
- Opisthorchis viverrini
- Opisthorchis felineus
- Clonorchis sinensis
2. Family Dicrocoeliidae
- Dicrocoelium dendriticum
- Eurytrema pancreaticum
3. Family Fasciolidae
- Fasciola hepatica
- Fasciola gigantica
48 พยาธิใบไม้

FAMILY OPISTHORCHIIDAE
Braun, 1901
พยาธิใบไม้ใน family Opisthorchiidae เป็นกลุ่มพยาธิใบไม้ตับที่มีขนาด
เล็กรูปร่างเรียว ลําตัวบางใส ลําไส้เป็นท่อปิดตามยาวซึ่งอาจมีความยาวถึงหรือไม่
ถึงส่วนท้ายของลําตัว อัณฑะและรังไข่อยู่ส่วนท้ายของลําตัวมดลูกขดอยู่กลางตัว
vitelline glands อยู่สองข้างช่วงกลางลําตัว ไข่มีขนาดเล็กฝาเห็นชัดภายในไข่มี
ตั ว อ่ อ นระยะไมราซิ เ ดี ย ม ที่ เ จริ ญ เต็ ม ที่ แ ล้ ว พยาธิ ที่ สํ า คั ญ ในกลุ่ ม นี้ ไ ด้ แ ก่
Opisthorchis viverrini, Opisthorchis felineus และ Clonorchis sinensis
โดยชนิดที่พบมากและสําคัญที่สุดของประเทศไทย คือ O. viverrini

Opisthorchis viverrini
Poirier, 1886

ประวัติ
มีรายงานพบในคนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2451 ที่ประเทศเวียดนาม(1) แต่
วินิจฉัยเป็น O. felineus ในประเทศไทยพบพยาธิชนิดนี้ในคนครั้งแรกในปี พ.ศ.
2458 ที่ จังหวัดเชียงใหม่ โดย Leiper(2) ได้วินิจฉัยตัวพยาธิที่ได้จากศพว่าเป็น O.
felineus และในปี พ.ศ. 2470 ศ.นพ.เฉลิม พรมมาส(3) ได้รายงานพบพยาธิ O.
felineus กว่า 1,000 ตัว ในท่อน้ําดีของศพชายไทยอายุ 17 ปี จากจังหวัดร้อยเอ็ด
ต่อมาปี พ.ศ. 2496-2498 Sadun(4) ได้มีการศึกษาวิจัยพยาธิใบไม้ตับโดย
ละเอียด และสรุปว่าพยาธิใบไม้ตับที่พบในประเทศไทยคือ O. viverrini โดยพบ
พยาธิชนิดนี้ชุกชุมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ประมาณว่าประชากรใน
ภาคนี้มีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมากกว่า 3.5 ล้านคน(5) O. viverrini เป็นพยาธิ
ใบไม้ตับที่มีความสําคัญมากที่สุด และก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขทําให้
พยาธิใบไม้ตับ 49

เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคแทรกที่สําคัญคือ มะเร็งท่อน้ําดี
(cholangiocarcinoma) เป็นจํานวนมาก

การกระจายทางภูมิศาสตร์
O. viverrini จัดเป็นพยาธิที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขในประเทศไทย
สปป.ลาว กั ม พู ช า และเวี ย ดนามตอนใต้ (6) ประเทศไทยพบมากบริ เ วณภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ มีการประมาณผู้ติดเชื้อกว่า 8 ล้านคนในประเทศไทย ซึ่ง
มากกว่าในประเทศอื่น ๆ(7) จากการสํารวจใน 15 จังหวัดแถบภาคตะวันออกเฉียง-
เหนือของไทยในปี พ.ศ. 2509 พบผู้ป่วยเป็นโรคพยาธิใบไม้ตับโดยพบมากที่สุด
คือร้อยละ 22 ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และพบน้อยที่สุดร้อยละ 10.1 ที่จังหวัดสุรินทร์(8)
และปี พ.ศ. 2523-2524 นายแพทย์สมพร พฤกษราชและคณะสํารวจพยาธิใบไม้
ตับทั่วประเทศไทยพบพยาธิใบไม้ตับมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคิดเป็น
ร้อยละ 34.6(9)
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการศึกษาถึงสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลก
ต่อการแพร่กระจายของพยาธิ O. viverrini ในประเทศไทยโดย ดร.อภิพร สุวรรณ
ไตรย์ และคณะฯ รายงานการแพร่กระจายของพยาธิชนิดนี้ภายใต้สภาพภูมิ-
อากาศที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตในปี พ.ศ. 2593 และพ.ศ. 2613 พบว่าภูมิอากาศ
ที่ เ หมาะสมมากที่ สุ ด อยู่ ใ นภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ และภาคเหนื อ ส่ ว นใน
ภาคใต้พบพยาธิได้น้อยที่สุด(10)

โรค
โรคพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchiasis)
กายรูปวิทยา(11-13)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดเล็กประมาณ (2-3×5-10 มิลลิเมตร) รูปร่างคล้ายใบหอก โดยทาง
ด้ า นหั ว (anterior) มี ลั ก ษณะยาวเรี ย วแต่ ด้ า นท้ า ย (posterior) มี ลั ก ษณะ
50 พยาธิใบไม้

ค่อนข้างกลม ลําตัวแบนบางและโปร่งใส (รูปที่ 3.1) มีสีชมพูเรื่อ ๆ ผิวลําตัวเรียบ


ไม่มีหนาม ปลายสุดด้านหัวมี oral sucker คอหอย สั้น ลําไส้แยกเป็น 2 แขนง
ยาวไปทางด้านข้างถึงส่วนท้ายลําตัว ventral sucker อยู่ถัดเข้ามาระหว่างรอยแยก
ของลําไส้ มดลูกยาวขดไปมาอยู่กลางลําตัวตั้งแต่ ventral sucker จนถึงรังไข่ รังไข่
มี 1 อัน ลักษณะเป็นกลีบอยู่ประมาณ 2/3 ของลําตัว
แหล่งเก็บน้ําอสุจิ (seminal receptacle) อยู่ใกล้ ๆ กับรังไข่ vitelline
glands เรียงตัวตามขวางเป็นกลุ่มกระจายอยู่สองข้างตรงบริเวณกลางตัวมีอัณฑะ
2 อัน ลักษณะเป็นกลีบเช่นกัน เรียงกันตามความยาวของลําตัวและเยื้องกัน
เล็กน้อยอยู่ท้ายสุดของลําตัว
ไข่(11-13)
มีขนาดเล็กประมาณ (11-22×22-32 ไมโครเมตร) รูปร่างกลมรี คล้าย
หลอดไฟฟ้า เปลือกไข่มีสีน้ําตาลปนเหลือง ไข่มีฝา มีไหล่ ด้านตรงข้ามกับฝามีปุ่ม
(knob) ภายในไข่มีไมราซิเดียมเจริญเต็มที่ (รูปที่ 3.2)
วงจรชีวิต(5,11-14)
พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในท่อน้ําดีของตับในโฮสต์เฉพาะได้แก่ คนและสัตว์
อื่น ๆ เช่น สุนัขและแมว (รูปที่ 3.3) หลังจากผสมพันธุ์พยาธิจะปล่อยไข่ปนกับ
น้ําดีเข้าสู่ลําไส้ แล้วออกสู่ภายนอกร่างกายโดยปนมากับอุจจาระลงสู่น้ํา เมื่อไข่
พยาธิที่มีไมราซิเดียมถูกหอยน้ําจืดในสกุล Bithynia spp. ซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลาง
ตัวที่ 1 กินเข้าไป ไมราซิเดียมจะออกจากไข่ในลําไส้ของหอยแล้วเจริญเติบโตเป็น
สปอโรซิสต์ หลังจากนั้นเจริญต่อไปเป็นรีเดียและเซอร์คาเรียโดยใช้เวลาเจริญ
เติบโตในหอยประมาณ 1 เดือน หอย Bithynia siamensis goniomphalos เป็น
โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 ของ O. viverrini ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
ไทยโดยหอยชนิดนี้พบมากบริเวณทุ่งนา(15) จากการวิจัยพบว่าประเทศไทยมีการ
ติดเชื้อ O. viverrini ในสภาพธรรมชาติ ในหอย B. siamensis goniomphalos
คิดเป็นร้อยละ 0.22 ถึง 6.93 (เฉลี่ยร้อยละ 3.04)(16) มีการศึกษาในประเทศไทยถึง
พยาธิใบไม้ตับ 51

ฤดูกาลที่ส่งผลต่อการติดเชื้อ O. viverrini ในหอย B. siamensis goniomphalos


โดยจับหอย 4,533 ตัว จากจังหวัดสกลนคร ทั้ง 3 ฤดู พบว่ามีจํานวนเซอร์คาเรีย
ออกมาจากหอยมากที่สุดช่วงเวลา 08:00 ถึง 10:00 น. ในช่วงระหว่างฤดูฝนและ
ฤดูหนาว ส่วนฤดูร้อนพบมากช่วงเวลา 10:00 ถึง 12:00 น.(17)

oral sucker

ventral sucker

uterus
vitelline
glands

ovary

testes

(a) (b)
รูปที่ 3.1 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini (a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด
(ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดย
ดวงรัตน์ ริยอง)
52 พยาธิใบไม้

operculum
shoulder

miracidium

knob
(a) (b)

รูปที่ 3.2 ไข่พยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini (a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด


(ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดย
ดวงรัตน์ ริยอง)

จากนั้นเซอร์คาเรียจะไชออกจากหอยว่ายอยู่ในน้ํา และไชเข้าไปอยู่ใต้เกล็ด
และเหงือกของปลาในตระกูลปลาตะเพียน (cyprinoid) ซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่
2 ได้แก่ ปลาแม่สะแด้ง ปลาขาว ปลาตะเพียนทราย ปลาแก้มช้ํา ปลาขาวน้อย
ปลากระสูบและปลาสร้อย ซึ่งเป็นปลาที่มีเกล็ดทั้งสิ้น ระยะนี้ตัวอ่อนพยาธิมีการ
สร้างผนังซิสต์และเจริญเป็นระยะติดต่อเมตาเซอร์คาเรียซึ่งอาศัยอยู่ตามเกล็ดหรือ
ครีบและอยู่ในเนื้อปลา จากการศึกษาวิจัยโดยการจับปลาจากหลายจังหวัดทาง
ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของประเทศไทย พบว่ า เมตาเซอร์ ค าเรี ย ของ O.
viverrini จากปลา 6 ชนิดคือ Cyclocheilichthys armatus, Puntius orphoides,
Hampala dispar, Henicorhynchus siamensis, Osteochilus hasselti
พยาธิใบไม้ตับ 53

และ Puntioplites proctozysron(18) ปลาน้ําจืดที่พบเมตาเซอร์คาเรียของ O.


viverrini ในประเทศไทยแสดงในตารางที่ 3.1

โฮสตเฉพาะ Adult

คน
สุนัข
แมว
Egg
(miracidium)

โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2: ปลาน้ําจืด โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย


Sporocyst
Redia
Cercaria
Metacercaria

Cercaria
รูปที่ 3.3 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini (ภาพถ่ายเป็นการบันทึก
จากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
54 พยาธิใบไม้

ตารางที่ 3.1 ปลาน้ําจืดที่พบตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้ตับ


Opisthorchis viverrini ในประเทศไทย(19)

พยาธิใบไม้ตบั ชนิดของปลาน้าํ จืดที่พบในประเทศไทย


Opisthorchis viverrini Barbonymus gonionotus (= Puntius
gonionotus, Barbodes gonionotus)
(ปลาตะเพียนขาว)
Cirrhinus jullieni (ปลาสร้อยขาว)
Cyclocheilichthys apogon (ปลาไส้ตันตาแดง)
Cyclocheilichthys armatus
(= Cyclocheilichthys siaja) (ปลาปากเหลี่ยม)
Cyclocheilichthys repasson (ปลาไส้ตันตาขาว)
Hampala dispar (ปลากระสูบจุด)
Hampala macrolepidota (ปลากระสูบขีด)
Labiobarbus leptocheilus (= Labiobarbus
burmanicus) (ปลาสร้อยลูกกล้วย)
Labiobarbus siamensis (= Labiobarbus
spilopleura) (ปลาซ่า)
Mystacoleucus atridorsalis (ปลาหนามหลังคีบดํา)
Osteochilus vittatus (= Osteochilus hasselti)
(ปลาสร้อยนกเขา)
Puntioplites proctozystron (ปลากระมังครีบสั้น)
Puntius brevis (= Puntius leiacanthus)
(ปลาตะเพียนทราย)
Puntius orphoides (= Systomus orphoides)
(ปลาแก้มช้ํา)
Puntius partipentazona (ปลาเสือข้างลาย)
Thynnichthys thynnoides (ปลาสร้อยเกล็ดถี่)
Trichogaster spp. (ปลากระดี)่
พยาธิใบไม้ตับ 55

เมตาเซอร์ ค าเรี ย มี ข นาด (201×167 ไมโครเมตร)(20) ในแหล่ ง ระบาด


เดียวกันพบความชุกของการติดเชื้อ O. viverrini ในปลาตระกูลปลาตะเพียนสูง
กว่าในหอยซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1(21) เมื่อคนหรือสัตว์กินปลาดิบหรือปลาที่
ปรุงไม่สุกเช่น ก้อยปลา ปลาร้า หรือลาบปลาจะได้รับเมตาเซอร์คาเรียเข้าไปโดย
เมตาเซอร์คาเรียจะออกจากซิสต์ในลําไส้เล็กส่วนต้น เดินทางไปตามทางเดินน้ําดี
จนถึงท่อน้ําดีส่วนปลายที่อยู่ในตับ มีการเจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย
อาศัยอยู่ในท่อน้ําดีของตับ ทั้งวงจรชีวิตใช้เวลาประมาณ 3 เดือน พยาธิตัวเต็มวัย
มีอายุ 15-20 ปี(22)
ระบาดวิทยา(11-13)
พบพยาธิ O. viverrini มากที่ประเทศไทยและสปป.ลาว(23,24) ในประเทศ
ไทยพบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคเหนือ จากการ
สํารวจในปี พ.ศ. 2509 พญ.ประภาศรี จงสุขสันติกุล และคณะ(25) ได้ศึกษาและ
รายงานความชุกของพยาธิใบไม้ตับในประชากรจาก 19 จังหวัดในภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ พบว่ามีความชุกถึงร้อยละ 18.6
นอกจากนั้นยังพบการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ในประเทศมาเลเซียและกัมพูชา
พยาธิ O. viverrini มีสุนัขและแมวเป็นโฮสต์สะสมเชื้อจึงทําให้มีการแพร่กระจาย
โรคอย่างกว้างขวางยากแก่การควบคุมสาเหตุที่ทําให้การแพร่ระบาดของโรค
พยาธิใบไม้ตับยังคงชุกชุมในบางส่วนของประเทศไทยเนื่องจาก(11-13)
1. พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ประชาชนยังคงนิยมกินอาหารดิบ ๆ
เช่น ก้อยปลา ปลาร้าและลาบปลา
2. การสุขาภิบาลในชนบทยังพัฒนาไม่ทั่วถึง มีการถ่ายอุจจาระลงในแหล่งน้ํา
ทําให้ไข่พยาธิมีโอกาสเจริญในหอยและปลาได้
3. ภูมิอากาศของประเทศไทยเหมาะแก่การเจริญพันธุ์ของหอยและปลา โดย
ในแหล่งน้ําต่าง ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหอยและปลาซึ่งเป็นโฮสต์
สื่อกลางของพยาธิอยู่ร่วมกัน ทําให้วงจรชีวิตของพยาธินี้สมบูรณ์
56 พยาธิใบไม้

พยาธิสภาพ
การที่พยาธิดูดเกาะในท่อทางเดินน้ําดีและพยาธิมีการปล่อยสารบางอย่าง
ออกมา (excretory-secretory products) ทําให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดิน
น้ําดี ซึ่งจะเกิดขึ้นมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจํานวนพยาธิและระยะเวลาที่เป็นโรค
พยาธิสภาพที่พบคือท่อน้ําดีและถุงน้ําดีหนาตัวขึ้นโดยมีการเพิ่มจํานวนเซลล์ของ
เยื่อบุผิว (hyperplasia) มีเม็ดเลือดขาว mononuclear cell และ eosinophil
แทรกตัวเข้ามา มีพังผืด (fibrosis) เกิดขึ้น มีการเพิ่มจํานวนของเยื่อบุผิวท่อน้ําดี
มากขึ้นเรื่อย ๆ ทําให้เกิดการอุดตันของท่อน้ําดีโดยเฉพาะท่อน้ําดีบริเวณขั้วตับ เกิด
การคั่งของน้ําดีในตับและมีการโป่งพองของท่อน้ําดีกลายเป็นถุงน้ําขนาดต่าง ๆ กัน
ในส่วนถุงน้ําดี (gall bladder) มีการขยายตัวและหนาตัวขึ้นอย่างมาก(26)
น้ําดีที่คั่งอยู่มีสีขาวขุ่น เรียกว่า white bile นอกจากนี้ยังเกิดนิ่วได้บ่อย(27) บางครั้ง
อาจพบไข่หรือตัวเต็มวัยของพยาธิอยู่ภายในก้อนนิ่วด้วย การอักเสบของท่อน้ําดี
และถุงน้ําดี (ascending cholangitis & cholecystitis) เกิดได้บ่อยจากเชื้อใน
ลําไส้และอาจทําให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด (septicemia) ถึงตายได้
การอั ก เสบซ้ํ า แล้ ว ซ้ํ า อี ก ก่ อ ให้ เ กิ ด โรคแทรกซ้ อ นที่ สํ า คั ญ คื อ ตั บ แข็ ง
(cirrhosis) ตับวาย (liver failure) และมะเร็งท่อน้ําดี (cholangiocarcinoma)
โดยเชื่อว่าสารก่อมะเร็งกลุ่ม nitrosamine ที่พบมากในปลาร้า อาจมีส่วนร่วมกับ
การก่อความระคายเคืองต่อท่อทางเดินน้ําดีที่เกิดจากพยาธิใบไม้ตับ ทําให้เกิด
มะเร็งท่อน้ําดี(8) จากการวิจัยพบว่า O. viverrini จัดเป็นสารก่อมะเร็งธรรมชาติที่
สําคัญ และสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคทางทางเดินน้ําดีหลายโรค รวมทั้งมะเร็งท่อ
น้ําดี(28)
พยาธิใบไม้ตับ 57

อาการ(1,29,30)
แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะแรก
ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ แต่พบไข่ของพยาธิได้จากการตรวจอุจจาระ โดยต้อง
แยกออกจากไข่พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก (minute intestinal fluke) อื่น ๆ
ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันด้วย
2. ระยะที่ปรากฏอาการ
2.1 อาการเล็กน้อย เป็นอาการที่ไม่จําเพาะเจาะจง (non-specific) เช่น
ท้ อ งอื ด แน่ น ท้ อ ง เจ็ บ บริ เ วณใต้ ช ายโครงด้ า นขวา ใต้ ลิ้ น ปี่ ปวดหลั ง
อ่อ นเพลีย รู้สึก ร้อ นบริเ วณท้อ ง โดยอาการร้อ นที่ท้อ งหรือ หลัง นี้เ ป็น
ลักษณะพิเศษที่พบได้ในผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับ(8) การตรวจวินิจฉัยอาจไม่
พบสิ่งผิดปกติหรือพบตับโตเล็กน้อย
การตรวจอุจจาระอาจพบไข่ของพยาธิน้อยกว่า 1,000 ฟองต่ออุจจาระ
1 กรัม ซึ่งอาจจะต้องใช้การตรวจพิเศษเช่น gastroscope หรือ upper GI
study ช่วยในการวินิจฉัย โดยในการวินิจฉัยโรคต้องนึกถึงโรคกระเพาะ
อาหาร และโรคพยาธิเส้นด้าย (Strongyloidiasis) ด้วย
2.2 อาการปานกลาง เกิดในผู้ป่วยที่เป็นมานานแล้ว และไม่ได้รับการรักษา
ที่ถูกต้องอาจตรวจพบตับและถุงน้ําดีโต การตรวจอุจจาระอาจพบไข่ของ
พยาธิใบไม้ตับระหว่าง 1,000-3,000 ฟอง ต่ออุจจาระ 1 กรัม
2.3 อาการรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการดีซ่าน (jaundice) ได้เป็นครั้งคราว
ทางเดินของน้ําดีมีการอุดตันบางส่วนทําให้เกิด relapsing cholecystitis
การตรวจอุจจาระอาจพบไข่พยาธิหรือไม่พบก็ได้ แต่จะตรวจพบได้ในน้ําดี
ในระยะนี้การตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิมากกว่า 30,000 ฟอง ต่ออุจจาระ
หนัก 1 กรัม หรืออาจพบน้อยกว่าหรือไม่พบเลยถ้าหากมีการอุดตันของ
ทางเดินน้ําดี
58 พยาธิใบไม้

3. โรคพยาธิใบไม้ตับระยะรุนแรงและมีโรคแทรก
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการของภาวะที่มีการอุดตันของท่อน้ําดีอย่างถาวร มี
อาการดีซ่าน (obstructive jaundice) ปัสสาวะสีเข้มแต่อุจจาระสีซีด คัน
ตามตัว สามารถคลําพบตับและถุงน้ําดีที่มีขนาดโตมากได้ มีไข้ต่ํา ๆ เบื่อ
อาหาร ผอม ท้องบวม (ascites) และเท้าบวม (edema)
3.1 มะเร็งท่อน้ําดี
พบร่วมกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ(31) และพบว่าร้อยละ 60 ของ
มะเร็งตับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมะเร็งท่อน้ําดี การวินิจฉัยทําได้
โดยวิธีใช้คลื่นเสียง (ultrasonography) ซึ่งอาจให้ผลบวกปลอม (false
positive) ได้สูงถึงร้อยละ 10
3.2 ตับแข็ง
มีอ าการท้อ งมาน (ascites) แขนขาบวม (edema) สัด ส่ว นของ
albumin ต่อ globulin ในร่างกายเปลี่ยนไป
3.3 Sepsis and septicemia
เกิดจากมีการอุดตันของท่อน้ําดีนาน ๆ ต่อมามีการติดเชื้อในกระแส
เลือดและมีการกระจายของเชื้อไปทั่วร่างกาย
3.4 Liver failure
เป็นระยะท้ายของโรคที่ตับไม่สามารถทํางานได้ ผู้ป่วยมีอาการทาง
สมอง (hepatic encephalopathy) ส่วนใหญ่มักเสียชีวิต
พยาธิใบไม้ตับ 59

การวินิจฉัย(11-13)
1. ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่หรือตัวพยาธิ โดยอาจพบตัวพยาธิได้หลังจากกิน
ยาขับพยาธิ การแยกชนิดออกจากไข่พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็กทําได้ยากเมื่อดู
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา จึงมักให้การวินิจฉัยว่าเป็นไข่ของ O. viverrini ไว้
ก่อน อย่างไรก็ตามหากย้อมไข่ด้วยสารละลายโปตัสเซียมเปอร์มังกาเนต จะ
สังเกตเห็นลายบนผิวของเปลือกไข่(32) หรือในงานวิจัยที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (scanning electron microscope) จะพบลายบน
เปลือกไข่ เป็นรูปตาข่ายคล้ายเปลือกผลแตง (muskmelon pattern)(32-34) ซึ่ง
ต่างจากไข่พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็กที่มีผิวของเปลือกไข่เรียบ
การศึกษาของ ผศ.ดร.ชัยรัตน์ ตัณทราวัฒน์พันธ์ และคณะในปี พ.ศ. 2557
ได้พัฒนาวิธี PCR ร่วมกับการเรียงลําดับนิวคลีโอไทด์แบบสังเคราะห์อย่างรวดเร็ว
(pyrosequencing) ของยีน 28S rDNA พบสามารถจําแนกระยะต่าง ๆ คือ ไข่
เซอร์คาเรีย และเมตาเซอร์คาเรียของ O. viverrini, C. sinensis, Haplorchis
taichui, Haplorchis pumilio และ Stellantchasmus falcatus ออกจากกันได้
(35)

2. การวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยา (immunodiagnosis) ใช้ในกรณีที่ไม่


สามารถตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระได้เพราะมีสภาพของโรคเรื้อรังและมีการอุด
ตันของทางเดินน้ําดี โดยทําการตรวจหา antibody หรือ antigen ในอุจจาระด้วย
วิธี ELISA มีการค้นพบ monoclonal antibody ที่ 16-17 kD และ 89-90 kD
antigens ซึ่งเป็น tegumental protein และ somatic protein โดยการทดลอง
ใช้ monoclonal antibody-based ELISA ต่อ 89 kD antigen ได้ผลเป็นที่น่า
พอใจในระดับหนึ่ง แต่ความไว (sensitivity) ในการตรวจไม่สูงพอ และมีปฏิกิริยา
คาบเกี่ยว (cross reaction) กับพยาธิชนิดอื่นค่อนข้างมาก(36,37)
3. การตรวจพิเศษอย่างอื่นเช่น การตรวจด้วย CT scan, MRI, ultrasono-
graphy หรือการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาซึ่งเป็นการตรวจหาพยาธิ
สภาพที่เกิดขึ้นกับทางเดินน้ําดี
60 พยาธิใบไม้

การรักษา(38,39)
praziquantel เป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดให้ครั้งละ 25 มิลลิกรัมต่อ
น้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม กิน 3 ครั้ง หลังอาหารเย็นหรือก่อนนอน อัตราหายร้อยละ
100 หรือใช้ในขนาด 40-50 มิลลิกรัมต่อน้ําหนักตัว 1 กิโลกรัม กินเพียงครั้งเดียว
อัตราหายร้อยละ 90 ถึง 100 ไข่พยาธิจะหมดไปจากอุจจาระภายใน 1 สัปดาห์
หลังได้รับยา ส่วนยา mebendazole(40) ในขนาด 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน
นาน 3-4 สัปดาห์ และ albendazole(41) ในขนาด 400 มิลลิกรัม กินวันละ 2 ครั้ง
นาน 3-7 วัน มีอัตราหายร้อยละ 89 ถึง 94 และ ร้อยละ 40 ถึง 63 ตามลําดับ
การป้องกันและควบคุม(11-13)
1. ปรับปรุงระบบสุขาภิบาล การสร้างและการใช้ส้วมอย่างถูกสุขลักษณะ ให้
ความรู้และสุขศึกษาแก่ประชาชนให้มองเห็นถึงความสําคัญของโรค ให้
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารโดยเฉพาะไม่กินอาหารประเภทปลา
น้ําจืดมีเกล็ดดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า ก้อยปลา รวมไปถึง
ไม่ให้เลี้ยงสุนัขและแมวด้วยปลาสุก ๆ ดิบ ๆ
2. กําจัดโฮสต์สื่อกลางเช่น หอยน้ําจืดหรือทําลายเมตาเซอร์คาเรียในปลาโดย
การฉายรังสีหรือการแช่แข็งปลา
3. ตรวจอุจจาระหาผู้ที่เป็นพยาธิและให้การรักษาโดยทันทีทุกคน เพื่อตัด
วงจรชีวิตของพยาธิ
การควบคุ ม และป้ อ งกั น ที่ ไ ด้ ผ ลจะต้ อ งมี ก ารผสมผสานระหว่ า งการให้
สุขาภิบาล และการให้ยารักษาผู้ป่วย(42,43)
พยาธิใบไม้ตับ 61

สรุปวงจรชีวิตของ Opisthorchis viverrini


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ท่อน้ําดีของตับ
• โฮสต์เฉพาะ: คน สุนัข แมว
• โฮสต์ส่อื กลางตัวที่ 1: หอย (Bithynia spp.) ได้แก่
Bithynia siamensis goniomphalos (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)(43)
Bithynia funiculata (ภาคเหนือ) และ Bithynia siamensis siamensis
(ภาคกลาง)
• โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2: ปลาน้ําจืดมีเกล็ดตระกูลปลาตะเพียน
(cyprinoid fish) ได้แก่ ปลาแม่สะแด้ง (Cyclocheilicthys apogon)
ปลาตะเพียนทราย (Puntius brevis) ปลาแก้มช้ํา (Puntius orphoides)
และปลากระสูบ (Hampala dispa)
• การติดโรค: กินปลาน้ําจืดมีเกล็ดที่มีเมตาเซอร์คาเรียโดยมีสุนัขและแมว
เป็นโฮสต์สะสมเชื้อ

Opisthorchis felineus
(Rivolta, 1884) Blanchard, 1895

ประวัติ
เป็น European liver fluke ที่มีรายงานพบในคนครั้งแรกที่ประเทศไซบีเรีย
ในปี พ.ศ. 2435 ต่อมาพบในทวีปยุโรป(44) เช่น ประเทศอิตาลี แอลบาเนีย กรีซ
ฝรั่งเศส ทวีปเอเชียเช่น ประเทศตุรกีและไซบีเรีย(42) และประเทศในแถบยุโรป
ตะวันออก โดยมีแหล่งระบาดสําคัญที่ประเทศรัสเซียและคาซัคสถาน
กายรูปวิทยา(11-13)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดยาว (2-3×7-12 มิลลิเมตร) รูปร่างคล้ายกับ O. viverrini แต่มี
ลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อยที่ (1) หลอดอาหารสั้นกว่า (2) vitelline follicles
62 พยาธิใบไม้

อยู่เป็นแถบขวาง แต่ของ O. viverrini รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ (3) ร่องกลีบอัณฑะตื้น


กว่า (4) มีขนาดของอัณฑะและรังไข่เล็กกว่า และรังไข่อยู่ห่างจากอัณฑะอันบน
มากกว่า
ไข่(11-13)
มีรูปร่างลักษณะคล้ายไข่ของ O. viverrini มีขนาด (11×30 ไมโครเมตร)
วงจรชีวิต(11-13)
มีลักษณะเช่นเดียวกับ O. viverrini แต่ต่างกันที่ชนิดของหอยและปลาที่เป็น
โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 1 และ 2 ตามลําดับ
พยาธิสภาพและอาการ การวินิจฉัยและการรักษา
เช่นเดียวกับ O. viverrini

สรุปวงจรชีวิตของ Opisthorchis felineus


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ท่อน้ําดีของตับ
• โฮสต์เฉพาะ: คน สุนัข แมว
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 1: หอย (Bithynia spp.) ได้แก่ Bithynia infata
(พบที่ประเทศรัสเซีย)
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2: ปลาน้ําจืดมีเกล็ดตระกูลปลาตะเพียน
(cyprinoid fish) ได้แก่ Idus melanotus และ Tinca tinca
• การติดโรค: กินปลาน้ําจืดมีเกล็ดที่มีเมตาเซอร์คาเรียโดยมีสุนัขและแมว
เป็นโฮสต์สะสมเชื้อ
พยาธิใบไม้ตับ 63

Clonorchis sinensis
(Cobbold, 1875) Looss, 1907

โรค
โรคพยาธิใบไม้ตับ (Clonorchiasis)
ประวัติ
พบในคนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418 จากผู้ป่วยชาวจีนวัย 20 ปีที่เสียชีวิตใน
ประเทศอินเดีย(22,45) โดยพบพยาธิตัวเต็มวัยในท่อน้ําดีต่อมาพบมากในประเทศ
แถบเอเชียตะวันออกได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาะไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น
ฮ่องกง และเวียดนาม(45-49) ในสาธารณรัฐประชาชนจีนคาดว่ามีผู้ติดเชื้อพยาธิชนิด
นี้มากกว่า 15 ล้านคน(50)
กายรูปวิทยา(11-13,45)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาด (3-5×10-25 มิลลิเมตร) (รูปที่ 3.4) มีลักษณะคล้ายกับ O. viverrini
แต่แตกต่างกันที่ (1) oral sucker ใหญ่กว่า ventral sucker เล็กน้อย (2) vitelline
glands เป็นฝอยละเอียดกระจายทั้งสองฟากข้างลําตัว (3) อัณฑะเป็นแขนงส่งไป
ถึงสองฟากข้างลําตัว
ไข่(11-13)
มีรูปร่างลักษณะคล้ายไข่ O. viverrini(34) มีขนาด (16×25 ไมโครเมตร)
วงจรชีวิต(45)
คล้ายกับ O. viverrini แต่ต่างกันตรงชนิดของหอยและปลาที่เป็นโฮสต์สื่อ
กลางตัวที่ 1 และ 2 ตามลําดับ จากการศึกษาในประเทศเวียดนาม พบเมตาเซอร์-
64 พยาธิใบไม้

คาเรียของพยาธิชนิดนี้ในปลาที่จับจากแหล่งเก็บน้ําทางตอนเหนือของประเทศ
ปลาที่พ บเมตาเซอร์ค าเรีย มากคือ Toxabramis houdemeri, Hemiculter
leucisculus, Cultrichthys erythropterus และ Culter recurvirostris โดยพบ
3.9-65.7 เมตาเซอร์คาเรียต่อปลา 1 ตัว พบเมตาเซอร์คาเรียในปลา Toxabra-
mis houdemeri บริเวณครีบหางมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนหัวและลําตัว(51)

oral sucker

ventral sucker
uterus
vitelline
glands

testes

(a) (b)
รูปที่ 3.4 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ตับ Clonorchis sinensis (a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด
(ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดย
ดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ตับ 65

พยาธิสภาพและอาการ การวินิจฉัยและการรักษา
เช่นเดียวกับ O. viverrini(14,45)

สรุปวงจรชีวิตของ Clonorchis sinensis


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ทางเดินน้ําดีและท่อน้ําดีในตับ
• โฮสต์เฉพาะ: คน สุนัข แมว
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 1: หอย Bithynia striatula var japonicas
(พบทีป่ ระเทศญี่ปุ่นและเกาหลี) และหอย Parafossarulus
manchouricus (พบที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและเกาะไต้หวัน)
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2: ปลามีเกล็ดขนาดเล็กใน family cyprinidae ได้แก่
Pseudorasbora parva และ Leucogobio elongata เป็นต้น
• การติดโรค: กินปลามีเกล็ดขนาดเล็กที่มีเมตาเซอร์คาเรีย โดยมี
สุนัขและแมวเป็นโฮสต์สะสมเชื้อ

FAMILY DICROCOELIIDAE
Odhner, 1910

เป็นกลุ่มพยาธิใบไม้ตับที่มีขนาดเล็กถึงปานกลางรูปร่างเรียวยาว มีอัณฑะ
อยู่ทางด้านหน้าของรังไข่ ไข่มีขนาดเล็กเปลือกหนามีสีน้ําตาล ภายในไข่มีตัวอ่อน
ไมราซิ เ ดี ย มที่ เ จริ ญ เต็ ม ที่ แ ล้ ว พยาธิ ที่ สํ า คั ญ ในกลุ่ ม นี้ ไ ด้ แ ก่ Dicrocoelium
dendriticum และ Eurytrema pancreaticum
66 พยาธิใบไม้

Dicrocoelium dendriticum
(Rudolphi, 1818) Looss, 1899

ชื่อสามัญ
พยาธิใบไม้รปู หอก (lancet fluke)
โรค
Dicrocoeliasis
ประวัติ
มีรายงานพบพยาธิชนิดนี้ในคนที่ประเทศรัสเซียและทวีปยุโรป เอเชียและ
แอฟริกา(14,45)
กายรูปวิทยา(11-13)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับ C. sinensis(52) รูปร่างคล้ายใบหอก ขนาด
(1.5-2. 5×5-15 มิลลิเมตร) มีอัณฑะ 2 ก้อน ลักษณะเป็นกลีบ อยู่เหนือรังไข่ที่
เป็นก้อนกลม มดลูกขดไปมาอยู่บริเวณครึ่งล่างลําตัว vitelline follicles อยู่
บริเวณกึ่งกลางลําตัวทั้งสองด้าน (รูปที่ 3.5)
ไข่(11,12)
มีขนาด (23-30×38-45 ไมโครเมตร) เปลือกหนาสีน้ําตาลเข้ม มีฝาใหญ่เห็น
ชัดไม่มีไหล่ไม่มีปุ่ม (รูปที่ 3.6) เมื่อปนออกมากับอุจจาระใหม่ ๆ ไข่พยาธิมีตัวอ่อน
ระยะไมราซิเดียมอยู่ภายในไข่
พยาธิใบไม้ตับ 67

oral sucker

ventral sucker
testes

ovary

uterus
with eggs

(a) (b)
รูปที่ 3.5 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ตับ Dicrocoelium dendriticum (a) ภาพถ่าย (b)
ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและ
วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
68 พยาธิใบไม้

operculum

miracidium

egg shell

(a) (b)

รูปที่ 3.6 ไข่พยาธิใบไม้ตับ Dicrocoelium dendriticum (a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด


(ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวง
รัตน์ ริยอง)

วงจรชีวิต(11-13,45)
ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในท่อน้ําดีภายในตับของโฮสต์เฉพาะ ไข่พยาธิปะปน
ออกมาในอุจจาระแปดเปื้อนตามพื้นดินและใบหญ้า หลังจากนั้นหอยบก (land
snail) กินไข่ พยาธิ ซึ่งมีไมราซิเดียมอยู่ภายใน ไมราซิเดียม จะออกจากไข่เจริ ญ
เติบโตไปเป็นระยะสปอโรซิสต์ เจริญต่อไปเป็นรีเดียแม่ รีเดียลูกและเซอร์คาเรีย
ในปอดของหอย ขณะเดียวกันหอยจะสร้างเมือกขึ้นมาหุ้มเซอร์คาเรียกลายเป็น
ก้อนเมือกซึ่งมีลักษณะกลม (slime ball) จากนั้นจะถูกขับออกมาอยู่ตามพื้นดิน
และใบหญ้าขณะที่หอยคืบคลานไปมา(53)
เมื่อมด Formica fusca (Netro ant) ซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 มากิน
ก้อนเมือกเข้าไป เซอร์คาเรียจะเจริญเติบโตเป็นเมตาเซอร์คาเรียซึ่งเป็นระยะ
ติดต่อในช่องท้องกลางลําตัวของมด เมื่อโฮสต์เฉพาะกินมดเข้าไปเมตาเซอร์คาเรีย
พยาธิใบไม้ตับ 69

จะออกจากซิสต์บริเวณลําไส้เล็กส่วนต้นเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในท่อน้ําดีของ
ตับภายในเวลา 6-7 สัปดาห์ และสามารถผลิตไข่ได้ในอีก 1 เดือนต่อมา ส่วนใหญ่
คนจะได้รับระยะติดต่อของพยาธิโดยบังเอิญกินมดเข้าไปโดยตรงหรืออาจติดไป
กับผักหรือผลไม้ (รูปที่ 3.7) บางครั้งอาจได้รับพยาธิจากการกินตับสัตว์เข้าไปโดย
ไม่มีการติดเชื้อจาก metacercaria แต่สามารถตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระได้
(false parasitosis)
ระบาดวิทยา(11-13)
พบพยาธิ ใ นสั ต ว์ กิ น พื ช หลายชนิ ด โดยพบมากในแกะ แถบทวี ป ยุ โ รป
แอฟริกาเหนือ เอเชียตอนเหนือและตะวันออก อเมริกาเหนือและใต้ มีรายงานพบ
ในคนทั้งในทวีปยุโรป เอเชียและอเมริกา แต่ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อหลอก (false
parasitosis) จากการที่คนกินตับแพะหรือแกะดิบ ๆ ที่มีพยาธิตัวเต็มวัยอยู่ภายใน
เมื่อตรวจอุจจาระจึงอาจพบไข่พยาธิได้
พยาธิสภาพและอาการ(11-13)
มี อ าการคล้ า ยคลึ ง กั บ พยาธิ ส ภาพที่ เ กิ ด จาก Clonorchiasis หรื อ
Fascioliasis ยกเว้นไม่มีการทําลายของผนังลําไส้และเซลล์ตับ ถ้ามีพยาธิมากจะมี
ผลต่อท่อน้ําดี บางรายพบมีภาวะเลือดเป็นพิษ (septicemia)(54)
การวินิจฉัย(11,12)
ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิ
การรักษา(11-13)
ให้ยา praziquantel โดยรักษาเช่นเดียวกับ O. viverrini นอกจากนี้มี
รายงานว่า ยา bithionol ใช้ได้ผลดีเช่นกัน(22)
70 พยาธิใบไม้

โฮสตเฉพาะ Adult

คน กวาง
แพะ แกะ
วัว ควาย
Egg
(miracidium)

โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2: มด โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย


Sporocyst
Redia
Metacercaria Cercaria

Cercaria
รูปที่ 3.7 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับ Dicrocoelium dendriticum (ภาพถ่ายเป็น
การบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ตับ 71

การป้องกัน(11,12)
รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงอาหารด้วยความร้อนให้สุกก่อน

สรุปวงจรชีวิตของ Dicrocoelium dendriticum


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ท่อน้ําดีในตับ
• โฮสต์เฉพาะ: สัตว์กนิ หญ้าเช่น แพะ แกะ กวาง วัว ควาย และ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งคน
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 1: หอยบก (land snail)
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2: มดใน genus Formica (Formica fusca)
• การติดโรค: กินมดทีม่ ีเมตาเซอร์คาเรีย

Eurytrema pancreaticum
(Janson, 1889) Looss, 1907

ประวัติ
เป็นพยาธิใบไม้ที่พบในท่อตับอ่อนในสัตว์จําพวกแพะ แกะ วัว ควาย ใน
หลายประเทศแถบเอเชียเช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศรัสเซีย ฮ่องกง
และญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังพบได้ในประเทศบราซิล(22,52) มีรายงานพบพยาธิชนิดนี้ใน
ผู้ป่วยจากฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีนและญี่ปุ่น
กายรูปวิทยา(11-12)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีลักษณะคล้าย D. dendriticum แต่ตัวอ้วนกว่า มีขนาด (5-8×8-16
มิลลิเมตร) ตัวแบนยาว ผิวลําตัวมีหนาม oral sucker ใหญ่กว่า ventral sucker
มาก (รูปที่ 3.8)
72 พยาธิใบไม้

ไข่(8,9)
คล้ายกับไข่ของ D. dendriticum ไม่สามารถแยกจากกันได้

oral sucker

ventral
sucker
testes

ovary

(a) (b)

รูปที่ 3.8 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ตับ Eurytrema pancreaticum (a) ภาพถ่าย, (b)


ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและ
วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ตับ 73

วงจรชีวิต(52)
เมื่อหอยบก (land snail: Bradybaena spp.) ซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่
1 กินไข่พยาธิที่ปนออกมากับอุจจาระเข้าไป (รูปที่ 3.9) ไมราซิเดียมซึ่งอยู่ภายใน
ไข่จะออกจากไข่เจริญเติบโตไปเป็นสปอโรซิสต์ รีเดียแม่ และรีเดียลูก ซึ่งภายในมี
เซอร์คาเรียอยู่มากมายเซอร์คาเรียจะถูกขับออกมาจากหอยมาเกาะติดกับใบหญ้า
เมื่อถูกตั๊กแตน (Conocephalus spp.) ซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 กินเข้าไป
เซอร์คาเรียจะออกมาในลําไส้ของตั๊กแตนเข้าสู่ช่องว่างในลําตัวเจริญต่อไปเป็นเม
ตาเซอร์คาเรียซึ่งเป็นระยะติดต่อ เมื่อโฮสต์เฉพาะกินตั๊กแตนเข้าไปเมตาเซอร์-
คาเรี ย จะออกจากซิ ส ต์ เ จริ ญ เติ บ โตเป็ น ตั ว เต็ ม วั ย และอาศั ย อยู่ ใ นท่ อ ตั บ อ่ อ น
(pancreatic duct) ต่อไป
พยาธิสภาพและอาการ(11-13,45)
ทําให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของท่อตับอ่อนซึ่งต่อมาทําให้เกิดการขยายตัว
และหนาตั ว ของผนั ง ท่ อ เมื่ อ มี ก ารอั ก เสบเรื้ อ รั ง เป็ น เวลานานอาจทํ า ให้ เ กิ ด
pancreatic cirrhosis อาการต่าง ๆ อาจพบภาวะโลหิตจาง น้ําหนักลด เนื่องจาก
คนมีพยาธิจํานวนไม่มากอาการที่รุนแรงจึงไม่ปรากฏชัดเจนนัก
การวินิจฉัย(11,12) ตรวจหาไข่ในอุจจาระ
การรักษา(11,12) ให้ยา praziquantel โดยรักษาเช่นเดียวกับ O. viverrini
การป้องกัน(11,12) ไม่รับประทานตั๊กแตนดิบ ๆ

สรุปวงจรชีวิตของ Eurytrema pancreaticum


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ท่อตับอ่อน
• โฮสต์เฉพาะ: แพะ แกะ วัว ควาย อูฐ สุกร กระต่าย ลิง รวมทั้งคน
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 1: หอยบก (land snail): Bradybaena spp.
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2: ตั๊กแตน (Conocephalus spp.)
• การติดโรค: กินตั๊กแตนที่มเี มตาเซอร์คาเรีย
74 พยาธิใบไม้

โฮสตเฉพาะ Adult

คน
แพะ แกะ
วัว ควาย
Egg
(miracidium)

โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2: ตั๊กแตน โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย


Sporocyst
Redia
Cercaria
Metacercaria

Cercaria
รูปที่ 3.9 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับ Eurytrema pancreaticum (ภาพถ่าย
เป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ตับ 75

สรุป
พยาธิใบไม้ตับใน family Opisthorchiidae และ family Dicrocoeliidae
จัดเป็นกลุ่มพยาธิใบไม้ตับที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีรูปร่างเรียวยาว ลักษณะ
โดยทัวไปของตัวเต็มวัยค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่มีลักษณะแตกต่างกันอย่าง
เด่นชัด ที่การจัดเรียงตัวของอัณฑะและรังไข่ พยาธิใน family Opisthorchiidae
มีระบบสืบพันธุ์อยู่ส่วนท้ายของลําตัวโดยรังไข่จะอยู่หน้าอัณฑะ ส่วนพยาธิใน
family Dicrocoeliidae มีระบบสืบพันธุ์อยู่ส่วนหน้าของลําตัวโดยอัณฑะจะอยู่
หน้ารังไข่ (รูปที่ 3.10)

testes
ovary

ovary
testes

Opisthorchis Clonorchis Dicrocoelium Eurytrema


viverrini sinensis dendriticum pancreaticum
A: Family Ophisthorchiidae B: Family Dicrocoeliidae
รูปที่ 3.10 เปรียบเทียบตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้ตับ (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้อง
ดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
76 พยาธิใบไม้

FAMILY FASCIOLIDAE
Railliet, 1895
เป็นพยาธิใบไม้ที่มีขนาดใหญ่ ลําตัวแบน oral sucker และ ventral sucker
อยู่ใกล้กันตรงส่วนหัวผิวหนังปกคลุมด้วยหนามเล็ก ๆ จํานวนมาก รังไข่เป็นแขนง
มดลูกสั้นขดไปมาอยู่ระหว่างรังไข่กับ ventral sucker ไข่มีขนาดใหญ่ฝาขนาด
เล็กเห็นไม่ชัดเจน เมื่อไข่ออกมาใหม่ ๆ ยังไม่มีตัวอ่อนไมราซิเดียมอยู่ภายใน ปกติ
เป็นปรสิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิดที่มีรายงานพบในคนได้แก่ Fasciola
hepatica และ Fasciola gigantica(22,45)

Fasciola hepatica Linnaeus, 1758 และ


Fasciola gigantica Cobbold, 1856
เป็นพยาธิใบไม้ตับที่มีขนาดใหญ่ มีลําตัวแบนจัดอยู่ใน family Fasciolidae
โดยปกติจัดเป็นปรสิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์กินหญ้า พยาธิที่มีรายงาน
พบในคนคือ Fasciola hepatica และ Fasciola gigantica
ชื่อสามัญ
พยาธิใบไม้ตับแกะ (sheep liver fluke)
โรค
โรคตับเน่า (liver rot หรือ Fascioliasis)
กายรูปวิทยา(11,12)
พยาธิตัวเต็มวัย
F. hepatica รูป ร่า งเหมือ นใบไม้ มีข นาดใหญ่ป ระมาณ (13×20-30
มิลลิเมตร) ที่หัวมีส่วนยื่นออกมาเรียกว่า กรวยหัว (oral sucker) มีขนาดเล็กแต่
พยาธิใบไม้ตับ 77

แข็งแรงอยู่บริเวณปลายหน้าสุด(53) โดยมี ventral sucker ที่มีขนาดใหญ่กว่าอยู่


ถัดลงมา อวัยวะภายในเช่น ลําไส้ อัณฑะ รังไข่ และ vitelline glands มีลักษณะ
เป็นแขนง ผิวลําตัวมีหนามขนาดเล็ก มีอัณฑะ 2 อัน แตกเป็นแขนงเรียงซ้อนกัน
อยู่ รังไข่เป็นแขนงอยู่ทางด้านหน้าของอัณฑะ มี vitelline glands เป็นแขนงอยู่
สองข้างตลอดลําตัว มดลูกสั้นและขดไปมาระหว่างรังไข่และ ventral sucker(55)
ไข่(11,33,34)
ไข่มีขนาดใหญ่ (63-90×130-150 ไมโครเมตร) รูปร่างกลมรี เปลือกบาง สี
น้ําตาลเหลือง ปลายข้างหนึ่งมีฝา ไข่ที่ออกมาในอุจจาระใหม่ ๆ จะมี yolk cell
อยู่ภายในไข่ (รูปที่ 3.11) ไข่ของพยาธิสองชนิดนี้มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกัน
มาก ไม่สามารถแยกได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา

operculum

egg shell

yolk cell

(a) (b)
รูปที่ 3.11 ไข่พยาธิใบไม้ตับ Fasciola spp. (a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็น
การบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
78 พยาธิใบไม้

F. gigantica มีลกั ษณะแตกต่างจาก F. hepatica เพียงเล็กน้อยตรงที่


(1) ตัวโตและยาวกว่า (2) กรวยหัวสั้นกว่าและไหล่แคบ (3) ลําไส้และรังไข่แตกแขนง
ย่อยกว่า(44) (รูปที่ 3.12)

oral sucker
intestine
ventral sucker
uterus

testes

(a) (b)
รูปที่ 3.12 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ตับ Fasciola gigantica (a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด
(ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดย
ดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ตับ 79

สพ.ญ.ดร.ประกายดาว ศรีมุษิกโพธิ์และคณะ พบว่าพยาธิ F. gigantica


(Thailand strain) มีความหลากหลายในขนาดของตัวเต็มวัยและไข่โดยพบตัว
เต็มวัย 3 ขนาดคือ <25 มิลลิเมตร; 25-35 มิลลิเมตร และ >35 มิลลิเมตร แต่
เมื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ไม่พบความแตกต่างที่
เด่นชัดของผิวลําตัวพยาธิทั้งสามขนาด นอกจากนี้ได้ศึกษาเมตาเฟสโครโมโซม
(metaphase chromosomes) ของเซลล์ที่สร้างอสุจิ พบว่า 2n=20(56)
เนื่องจากการแยกชนิดของ F. hepatica และ F. gigantica โดยอาศัยการ
ใช้กายรูปวิทยาไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนทั้งจากตัวที่ยังมีชีวิตและจากการ
ย้อมสี วิธีที่สามารถใช้ในการแยกชนิดของ Fasciola ได้อย่างถูกต้องแม่นยําคือ
เทคนิคทางอณูชีววิทยา จากการศึกษาของ ผศ.ดร.อัญชลี วรรณสารและคณะ ใช้
genetic marker 3 ชนิดได้แก่ mitochondrial nicotinamide adenine dinu-
cleotide dehydrogenase subunit 1 (nad1), mitochondrial cytochrome c
oxidase subunit I (cox1) และ nuclear ribosomal internal transcribed
spacer 2 (ITS2) ในการแยกชนิดของพยาธิ Fasciola 7 ตัวที่ได้จากผู้ป่วย 7 ราย
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2550-2553 และพยาธิ Fasciola ที่ได้มาจากวัว (พยาธิมี
ชีวิต 45 ตัวและพยาธิที่ย้อมสี 65 ตัว) พบว่าพยาธิทั้งในคนและวัวเป็นชนิด F.
gigantica เมื่อศึกษาจาก genetic marker ทั้ง nad1 และ cox1 mitochon-
drial gene(57)
รศ.ดร. ผ่องศรี ทิพวังโกศล และคณะ ได้นําพยาธิ Fasciola 1 ตัว จากท่อ
น้ําดีของผู้ป่วยโดยวิธี ERCP (รูปที่ 3.13) และใช้ cox1 gene ในการแยกชนิดของ
Fasciola พบว่าการใช้เทคนิคนีส้ ามารถยืนยันว่าพยาธิที่ได้จากผู้ป่วยเป็นชนิด F.
gigantica (Fasciola_TAK)(58)
80 พยาธิใบไม้

รูปที่ 3.13 ตัวพยาธิ Fasciola gigantica ที่มีชีวิต ที่ได้จากท่อน้ําดีของผู้ป่วยโดยวิธี


Endoscopic tetrograde cholangiopancreatography (ERCP) (ภาพถ่ายได้รับ
ความอนุเคราะห์จาก อ.นพ.ภูริพงค์ กิจดํารงธรรม และรศ.ดร.ผ่องศรี ทิพวังโกศล)
พยาธิใบไม้ตับ 81

วงจรชีวิต(45,59,60)
พยาธิตัวเต็มวัยอยู่ในท่อน้ําดีใหญ่ของตับสัตว์ที่กินหญ้าเป็นอาหารเช่น
แพะ แกะ วัว ควาย ไข่พยาธิปนออกมากับอุจจาระตกลงไปในน้ํา ใช้เวลาประมาณ
9-15 วัน ไมราซิเดียมจะฟักออกจากไข่ว่ายอยู่ในน้ําเพื่อไชเข้าโฮสต์สื่อกลางตัวที่
1 คือ หอยในสกุล Lymnaea spp. ในประเทศไทยคือ Radix rubiginosa
(= Lymnaea rubiginosa)(61,62) เมื่อเข้าสู่หอยไมราซิเดียมจะมีการเจริญเติบโต
ไปเป็นสปอโรซิสต์ รีเดียแม่ รีเดียลูกและเซอร์คาเรียตามลําดับ หลังจากนั้นเซอร์-
คาเรียจะออกจากหอยแล้วว่ายน้ําไปเกาะอยู่ตามพืชน้ําหรืออยู่เป็นอิสระในน้ํา
เมื่อเกาะอยู่กับพืชน้ําเซอร์คาเรียจะสลัดหางทิ้งแล้วสร้างผนังมาหุ้มตัวเป็น
ซิสต์กลม ๆ เรียกว่าเมตาเซอร์คาเรียซึ่งเป็นระยะติดต่อ พืชน้ําที่สําคัญได้แก่
ผักบุ้ง ผักกระเฉด แห้ว กระจับ สายบัว ผักตบชวา เมื่อคนหรือสัตว์ซึ่งเป็นโฮสต์
เฉพาะดื่มน้ําหรือกินพืชน้ําดิบ ๆ ที่มีเมตาเซอร์คาเรียอยู่ จะได้รับระยะติดต่อเข้า
ไป เมตาเซอร์คาเรียจะถูกย่อยและออกจากซิสต์ที่ลําไส้เล็กส่วนต้น ไชทะลุผนัง
ลําไส้ผ่านช่องท้องเข้าสู่เนื้อตับ สู่ท่อน้ําดีใหญ่แล้วเจริญเป็นตัวเต็มวัย พยาธิตัว
เต็มวัยมีอายุประมาณ 11 ปี ในแกะ 9-12 เดือนในวัว ควาย และ 9-13 ปี ในคน
(รูปที่ 3.14)
ระบาดวิทยา(11,12)
พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงแกะมาก มีรายงานผู้ป่วยโรค
Fascioliasis มากกว่า 40 ประเทศทั่วทวีปยุโรป ละตินอเมริกา เอเชีย แอฟริกา
เหนือ และพบผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 50 อาศัยอยู่ในทวีปยุโรป การติดเชื้อในคน
ไทยมีรายงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบัน โดยในช่วงแรกมีรายงานพบเฉพาะ
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ F. gigantica เท่านั้น ส่วนใหญ่พบพยาธิอยู่นอกตับ(11,63-65)
82 พยาธิใบไม้

โฮสตเฉพาะ Adult

คน
แพะ แกะ Egg
วัว ควาย
Miracidium

โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2: พืชน้ํา โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย


Sporocyst
Redia
Cercaria

Cercaria
รูปที่ 3.14 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับ Fasciola gigantica (ภาพถ่ายเป็นการ
บันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ตับ 83

วัฒนา แสวงกิจ (2533)(66) ได้รายงานผู้ป่วย Fascioliasis ในคนไทยจาก


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน 25 ราย โดยเป็น F. hepatica 6 ราย F.
gigantica 16 ราย และไม่ทราบชนิด 3 ราย ซึ่งแตกต่างจากที่พบในต่างประเทศ
ที่มักพบ F. hepatica มากกว่า F. gigantica นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2549 วาสนา
กนกศิลป์ และคณะพบผู้ป่วยหญิงที่ติดเชื้อพยาธิ F. gigantica จากจังหวัด
อ่างทอง(66) พยาธิ Fasciola spp. เป็นปรสิตของวัว ควายและสัตว์เลี้ยงลูกด้วย
นมที่กินหญ้าเป็นอาหาร จึงเป็นสาเหตุของการสูญเสียทางเศรษฐกิจในหมู่สัตว์
เลี้ยงพวกวัวควายเป็นอย่างมาก(68,27) ในประเทศไทยตรวจพบว่าวัวควายมีการติด
เชื้อ F. gigantica เป็นส่วนมาก
อนวัทย์ ผาลี และรศ.ดร.ชโลบล วงค์สวัสดิ์ ได้มีการศึกษาในปี พ.ศ. 2553
พบการติดเชื้อพยาธิ F. gigantica ในตับและถุงน้ําดีของวัวใน 3 อําเภอของ
จังหวัดเชียงใหม่ (เมือง ดอยสะเก็ด และสันป่าตอง) พบการติดเชื้อในวัว Bubalus
bubalis มากกว่า Bos taurus (ร้อยละ 67.27 และ 52.94 ตามลําดับ)(69)
พยาธิสภาพและอาการ(11,12)
พยาธิสภาพเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจํานวนของพยาธิที่ไชเข้าผนัง
ลําไส้และตับ และในขณะที่ตัวเต็มวัยอยู่ในทางเดินน้ําดีจะเกิดการอักเสบเป็นผล
ให้เกิดภาวะพังผืด ผนังหนาและขยายตัวขึ้น ส่วนพยาธิตัวเต็มวัยที่อยู่ในเนื้อตับ
อาจทําให้เกิดฝีในตับได้ ผู้ที่มีพยาธิจํานวนมากจะทําให้เกิดภาวะโลหิตจาง(70)
ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดท้องบริเวณตับ ปวดตามเนื้อตัว เกิดลมพิษ
ตรวจร่างกายอาจพบตับและม้ามโต มีน้ําในช่องท้อง ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อพยาธิ
จํานวนมากจะมีตับโตและกดเจ็บ ระยะนี้กินเวลา 2-4 เดือน หลังจาก 4 เดือน
เป็นต้นไปจะเป็นอาการที่เกิดจากการที่พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในทางเดินน้ําดี
อาจทําให้ท่อน้ําดีอักเสบ ท่อน้ําดีอุดตัน ถุงน้ําดีอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณ
ลิ้นปี่ อาจทําให้เกิดโรคดีซ่านได้ ไม่ค่อยพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตและมีผู้ป่วยจํานวน
น้อยรายที่เสียชีวิตจากเลือดออกในท่อน้ําดี อาจพบพยาธิตัวอ่อนไชหลงไปอยู่
นอกตับได้เรียกว่า “ectopic fascioliasis” ทําให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีพยาธิสภาพ
84 พยาธิใบไม้

ถูกทําลายพร้อมกับมีการอักเสบและเกิดพังผืด (fibrosis) ของอวัยวะที่พยาธิตัว


อ่อนไชเข้าไป มีรายงานพบพยาธิที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น สมอง ปอด หัวใจ ตับอ่อน
กระเพาะอาหาร ม้าม กล้ามเนื้อ นัยน์ตา และ epididymis
การวินิจฉัย(1,3)
1. ตรวจอุจจาระ เพื่อหาไข่พยาธิ(45)
2. ลักษณะอาการทางคลินิก ในระยะแรกของการติดเชื้อ อาจตรวจไม่พบไข่
พยาธิในอุ จจาระ การวินิจฉัย จึง ขึ้นอยู่กับการสังเกตอาการและอาการ
แสดงของผู้ป่วย ส่วนการตรวจวัดแอนติเจนในเลือดหรืออุจจาระอาจช่วย
วินิจฉัยได้บ้าง(69)
3. รังสีวินิจฉัย การใช้รังสีวินิจฉัยมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค Fascioliasis
แม้ว่าผลที่ได้จะไม่จําเพาะก็ตาม มีรายงานการใช้ radioisotope scanning,
endoscopic tetrograde cholangiopancreatography, ultrasound และ
computer tomography (CT scan) ในการวินิจฉัยโรคนี(70) ้
4. การวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยา ผศ.ดร.พรอนันต์ เกื้อไข่ และคณะปีพ.ศ.
2558 ได้ศึกษา saposin-like protein 2 (SAP-2) โดยใช้ polyclonal
antibody (PoAb) ต่อ recombinant FgSAP-2 โดยวิธี sandwich ELISA
เพื่อตรวจหา circulating FgSAP-2 ในซีรัมหนูที่ติดเชื้อพยาธิ F. gigantica
เมตาเซอร์คาเรีย พบว่าให้ความไวและความจําเพาะร้อยละ 99.99 และ
98.67 ตามลําดับ(72) และเมื่อเร็ว ๆ นี้ รศ.ดร.น.สพ.ปณัฐ อนุรักษ์ปรีดา
และคณะ ปีพ.ศ. 2559 ได้ผลิต monoclonal antihody ต่อ recombi-
nant F. gigantica cathepsin L1 (rFgCatL1) โดยวิธี sandwich ELISA
และวิธี immunochromatographic (IC) test มาใช้ในการตรวจหา
circulating CatL1 antigen ในซีรั่มของหนู และวัว ควายที่ติดเชื้อพยาธิ
เช่นกัน พบว่าทั้งสองวิธีให้ความไวและความจําเพาะสูง สําหรับการวินิจฉัย
F. gigantica(73)
พยาธิใบไม้ตับ 85

การรักษา(11,12)
แบ่งการรักษาเป็น 2 ลักษณะคือ การผ่าตัดและการรักษาด้วยยา การผ่าตัด
จําเป็นในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการรักษา
ด้วยยาฆ่าพยาธิได้ดี ยาที่นิยมใช้ในการรักษาโรค Fascioliasis(74) ได้แก่
- Bithionol 30-50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน แบ่งให้ 3 ขนาด วันเว้นวัน
นาน 15 วัน
- Triclabendazole(75) เป็นยาใหม่ในกลุ่ม benzimidazole ขนาด
10-12 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน โดยให้วันละครั้งหรือแบ่งให้วันละ 2
เวลา เพียงวันเดียว
- Praziquantel 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินครั้งเดียว แต่มีรายงานว่า
praziquantel มีประสิทธิภาพในการรักษา Fascioliasis ไม่ค่อยดี
นัก(76,77)
ดร.นรินทร์ ช่างกลึงเหมาะ และคณะ ปีพ.ศ. 2559 ได้รายงานว่า recom-
binant mature FgCatL1G (rmFgCatL1G vaccine) เป็นวัคซีนที่ได้พัฒนาขึ้น
เพื่อใช้รักษาโรคที่เกิดจากพยาธิ F. gigantica ซึ่งจากการทดลองในหนูพบว่ามี
ประสิทธิภาพดีและคาดว่าในอนาคตจะได้ทําการพัฒนาในสัตว์ใหญ่ต่อไป(78)
การป้องกัน(11,12)
ไม่รับประทานพืชน้ําดิบ ดื่มน้ําที่สุกสะอาด ควรให้ยารักษาสัตว์เลี้ยงพวก
วัว ควาย แพะ แกะ เพื่อตัดวงจรชีวิตของพยาธิ นอกจากนั้นควรมีการกําจัดหอย
น้ําจืดที่เป็นโฮสต์สื่อกลาง
86 พยาธิใบไม้

สรุปวงจรชีวิต Fasciola hepatica และ Fasciola gigantica


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ท่อน้ําดีใหญ่ของตับ
• โฮสต์เฉพาะ: แพะ แกะ วัว ควาย และสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมอื่น ๆ
รวมทัง้ คน
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 1: หอย
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2: พืชน้ําเช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด แห้ว กระจับ สายบัว
ผักตบชวา
• การติดโรค: กินพืชน้ําสดที่มีเมตาเซอร์คาเรียหรือดื่มน้ําจากลําห้วยและทุ่ง
นาที่ปนเปื้อนด้วยเมตาเซอร์คาเรียโดยมี แพะ แกะ วัว ควาย
• เป็นโฮสต์สะสมเชื้อ

บทสรุป

ถึ ง แม้ ว่ า ประเทศไทยจะพบพยาธิ ใ บไม้ ตั บ หลายชนิ ด แต่ ช นิ ด ที่ มี ค วาม


สําคัญมากที่สุดคือ Opisthorchis viverrini โดยพบมากที่สุดในภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ เนื่องจากประชาชนมีพฤติกรรมบริโภคปลาน้ําจืดมีเกล็ดแบบดิบ หรือ
ที่ปรุงไม่สุก ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิอาศัยอยู่ การติดเชื้อเรื้อรังหรือติด
เชื้อซ้ําบ่อย ๆ ก่อให้เกิดมะเร็งท่อน้ําดีได้
พยาธิใบไม้ตับ 87

เอกสารอางอิง
1. Verbun P, Bruyant L. La douve du chat Opisthorchis felineus
(RIV) existe au Tonkin et sobserve chez 1’homme. Arch
Parasitol 1908; 12:125-34.
2. Leiper RT. Notes on the occurrence of parasites presumably
rare in man. J Roy Army Med Corps 1915;24:569-75.
3. Prommas C. Report of a case of Opisthorchis felineus in Siam.
Ann Trop Med Parasitol 1927;21:9-10.
4. Sadun EH. Studies on Opisthorchis viverrini in Thailand. Am J
Hyg 1955;62:81-115.
5. Wykoff DE, Harinasuta C, Juttijudata P, Winn MM. Opisthorchis
viverrini in Thailand. The life cycle and comparison with O.
felineus. J Parasitol 1965;51:207-14.
6. Sithithaworn P, Andrews RH, Nguyen VD, Wongsaroj T, Sinuon
M, Odermatt P, et al. The current status of opisthorchiasis and
clonorchiasis in the Mekong Basin. Parasitol Int 2012;61:10-6.
7. Sripa B, Bethony JM, Sithithaworn P, Kaewkes S, Mairiang E,
Loukas A, et al. Opisthorchiasis and Opisthorchis-associated
cholangiocarcinoma in Thailand and Laos. Acta Trop 2011;120:
158-68.
8. Harinasuta C. Opisthorchiasis in Thailand: A review. Proceedings
of the Fourth Southeast Asian Seminar on Parasitology and
Tropical Medicine, Schistosomiasis and other Snail-Transmitted
Helminthiasis Manila, 24-27 February 1969. p. 253-64.
9. สมพร พฤกษราช, เชาวลิต จิระดิษฐ์, อเนก สถิตย์ไทย, ทวีศักดิ์ สีดลรัศมี,
สุมิตร กิจวรรณี. การศึกษาหาความชุกชุมและความรุนแรงของโรคหนอน
พยาธิลําไส้ในชนบทประเทศไทย พ.ศ. 2523-2524. วารสารโรคติดต่อ
2525;8:245-69.
88 พยาธิใบไม้

10. Suwannatrai A, Pratumchart K, Suwannatrai K, Thinkhamrop K,


Chaiyos J, Kim CS, et al. Modeling impacts of climate change
on the potential distribution of the carcinogenic liver fluke,
Opisthorchis viverrini, in Thailand. Parasitol Res 2016;Doi
10.1007/ s00436-016-5285-x.
11. นิมิตร มรกต, เกตุรัตน์ สุขวัจน์. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์: โปรโตซัวและ
หนอนพยาธิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: โครงการตํารา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
12. ประยงค์ ระดมยศ, สุวณี สุภเวชย์, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ. ตําราปรสิต
วิทยาทางการแพทย์ กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2539.
13. วันชัย มาลีวงษ์, ผิวพรรณ มาลีวงษ์, นิมิตร มรกต. ปรสิตวิทยาทาง
การแพทย์: โปรโตซัวและหนอนพยาธิ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา
วิทยา; 2544.
14. Bogitsh BJ, Cheng TC. Human parasitology. 2nd ed. New York:
Academic Press; 1998.
15. Piratae S. Bithynia siamensis goniomphalos, the first interme-
diate host of Opisthorchis viverrini in Thailand. Asian Pac J Trop
Med 2015; 8:779-83.
16. Kiatsopit N, Sithithaworn P, Saijuntha W, Boonmars T, Tesana
S, Sithithaworn J, et al. Exceptionally high prevalence of
infection of Bithynia siamensis goniomphalos with Opisthorchis
viverrini cercariae in different wetlands in Thailand and Lao
PDR. Am J Trop Med Hyg 2012;86:464-9.
17. Laoprom N, Kiatsopit N, Sithithaworn P, Kopolrat K, Namsanor
J, Andrews RH, et al. Cercarial emergence patterns for
Opisthorchis viverrini sensu lato infecting Bithynia siamensis
goniomphalos from Sakon Nakhon Province, Thailand. Parasitol
Res 2016;115: 3313-21.
พยาธิใบไม้ตับ 89

18. Pinlaor S, Onsurathum S, Boonmars T, Pinlaor P, Hongsrichan


N, Chaidee A, et al. Distribution and abundance of Opisthorchis
viverrini metacercariae in cyprinid fish in Northeastern Thailand.
Korean J Parasitol 2013;51:703-10.
19. พิสิษฐ์ สุนทราวิฑูร. ตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ําจืด
ของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2557;19:237-49.
20. Harinasuta C, Harinasuta T. Opisthorchis viverrini: life cycle,
intermediate hosts, transmission to man and geographical
distribution in Thailand. Arzneimittel-Forsch 1984;34:1164-7.
21. Vichasri V and Viyanant ES. Upatham Opisthorchis viverrini:
intensity and rates of infection in cyprinoid fish from an
endemic focus in Northeast Thailand. Southeast Asian J Trop
Med Public Health 1982;16:138-41.
22. Belding DL. Textbook of parasitology. 3rd ed. New York:
Appletion-Century-Crofts; 1965.
23. Giboda M, Scholz T, Bouaphanh S. Current status of food-
borne parasitic zoonoses in Laos. Southeast Asian J Trop Med
Public Health 1991;22:56-61.
24. Kobayashi J, Vannachone B, Sato Y, Manivong K, Nambanya S,
Inthakone S. An epidemiological study on Opisthorchis viverrini
infection in Lao villages. Southeast Asian J Trop Med Public
Health 2000;31:128-32.
25. Jongsuksuntigul P, Imsomboon T, Teerarat S, Suruthanavanith
P, Kongpradit S. Consequences of opisthorchiasis control
programme in northeastern Thailand. J Trop Med Parasitol
1996;19:24-39.
26. Koompirochana C, Sonakul D, Chinda K, Stitnimankarn T.
Opisthorchiasis: a clinicopathological study of 154 autopsy
cases. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1978;9:60-4.
90 พยาธิใบไม้

27. Sripa B, Kanla P, Sinawat P, Haswell-Elkins MR. Opisthorchiasis-


associated biliary stones: light and scanning electron
microscopic study. World J Gastroenterol 2004;10:3318-21.
28. Brindley PJ, da Costa JM, Sripa B. Why does infection with
some helminths cause cancer? Trends Cancer 2015;1:174-82.
29. ประภาศรี จงสุขสันติกุล, ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์. คู่มือปฏิบัติงานควบคุม
โรคพยาธิใบไม้ตับสําหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2535.
30. Pungpak S, Riganti M, Bunnag D, Harinasuta T. Clinical features
in severe Opisthorchiasis viverrini. Southeast Asian J Trop Med
Public Health 1985;16:234-9
31. Sornmani S, Vivatanasesth P, Impand P, Phatihatakorn W,
Sitabatra P, Schelp FP. Infection and re-infection rates of
opisthorchiasis in the water resource development area of
Nam Pong project, Khon Kaen Province northeast Thailand.
Ann Trop Med Parasitol 1984; 78:649-56.
32. Sukontason K, Piangjai S, Sukontason K, Chaithong U.
Potassium permanganate staining for differentiation the surface
morphology of Opisthorchis viverrini, Haplorchis taichui and
Phaneropsolus bonnei eggs. Southeast Asian J Trop Med
Public Health 1999;30: 371-4.
33. ประยงค์ ระดมยศ, อัญชลี ตั้งตรงจิตร, พลรัตน์ วิไลรัตน์, ศรชัย หลูอารีย์
สุวรรณ, แทน จงศุภชัยสิทธิ์. Atlas of medical parasitology. พิมพ์ครั้ง
ที่ 4. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2541.
34. Kaewkes S. Taxonomy and biology of liver flukes. Acta Trop
2003; 88:177-86.
35. Tantrawatpan C, Intapan PM, Thanchomnang T, Sanpool O,
Janwan P, Lulitanond V, et al. Development of a PCR assay
and pyrosequencing for identification of important human
พยาธิใบไม้ตับ 91

fish-borne trematodes and its potential use for detection in


fecal specimens. Parasit Vectors 2014;7:88.
36. Chaicumpa W, Ybanez L, Kittikoon V, Pungpak S, Ruangkuna-
porn Y, Chongsa-nquan M, et al. Detection of Opisthorchis
viverrini antigens in stools using specific monoclonal antibody.
Int J Parasitol 1992; 22: 527-51.
37. Sirisinha S, Chawengkirttikul R, Sermswan R, Amornpant S,
Mongkolsuk S, Panyim S. Detection of Opisthorchis viverrini by
monoclonal antibody-based ELISA and DNA hybridization. Am
J Trop Med Hyg 1991;44:140-5.
38. Bunnag D, Harinasuta T. Studies on the chemotherapy of
human opisthorchiasis in Thailand: III, Minimum effective dose
of praziquantel. Southeast Asian J Trop Med Public Health
1981;12: 413-7.
39. Pungpak S, Bunnag D, Harinasuta T. Studies on the chemo-
therapy of human opisthorchiasis: effective dose of praziquantel
in heavy infection. Southeast Asian J Trop Med Public Health
1985;16:248-52.
40. Jaroonvesma N, Charoenlarp K, Cross JH. Treatment of
Opisthorchis viverrini with mebendazole. Southeast Asian J Trop
Med Public Health 1981;12:595-7.
41. Pungpark S, Bunnag D, Harinasuta T. Albendazole in the treat-
ment of opisthorchiasis and concomitant intestinal helminthic
infections. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1984;15:
44-50.
42 Sirisinha S. Immunodiagnosis of human liver fluke infections.
Asian Pacific J Allergy Immunol 1986;4:81-8.
43. Sriamporn S, Pisani P, Pipitgool V, Suwanrungruang K, Kamsa-
ard S, Parkin DM. Prevalence of Opisthorchis viverrini infection
92 พยาธิใบไม้

and incidence of cholangiocarcinoma in Khon Kaen, Northeast


Thailand. Trop Med Int Health 2004;9:588-94.
44. Miyazaki I. Helminthic zoonoses. International medical
foundation of Japan. Fukuoka: Shukosha Printing; 1991.
45. Beaver PC, Juing RC, Cupp EW. Clinical parasitology. 9th ed.
Philadelphia: Lea and Febiger; 1984.
46. Cross JH. Clonorchiasis in Taiwan. Proceeding of the fourth
Southeast Asian Seminar of Parasitology and Tropical Medicine,
Schistosomiasis and other Snail-Transmitted Heminthiasis. Manila
Philippines, 24-27 February 1969. p. 231-42.
47. Soh CT. Clonorchiasis in Korea. Proceeding of the fourth
Southeast Asian Seminar of Parasitology and Tropical Medicine,
Schistosomiasis and other Snail-Transmitted Heminthiasis.
Manila Philippines, 24-27 February 1969. p. 219-29.
48. Sun T. Clonorchiasis in Hong Kong. Proceeding of the fourth
Southeast Asian Seminar of Parasitology and Tropical Medicine,
Schistosomiasis and other Snail-Transmitted Heminthiasis.
Manila Philippines, 24-27 February 1969. p. 243-51.
49. Yokogawa M. Clonorchiasis in Japan. Proceeding of the fourth
Southeast Asian Seminar of Parasitology and Tropical Medicine,
Schistosomiasis and other Snail-Transmitted Heminthiasis.
Manila Philippines 24-27 February 1969. p. 209-18.
50. Lai DH, Hong XK, Su BX, Liang C, Hide G, Zhang X. Current
status of Clonorchis sinensis and clonorchiasis in China. Trans R
Soc Trop Med Hyg 2015;110:21-7.
51. Bui TN, Pham TT, Nguyen NT, Nguyen HV, Murrell D, Phan VT.
The importance of wild fish in the epidemiology of Clonorchis
sinensis in Vietnam. Parasitol Res 2016;115:3401-8.
52. Markell E, John DT, Krotoshi WA. Markell and Voge’s Medical
พยาธิใบไม้ตับ 93

parasitology. 8th ed. Philadelphia: Saunders company; 1999.


53. Manning GS, Anluchai T, Nganpanya B, Promano R, Kanhaviang
K. Redescription of the intestinal fluke Phaneropsolus bonnei.
Southeast Asian J Trop Med Public Health 1970;1:492-5.
54. Roberts LS, Janovy J. Gerald D. Schmidt & Larry S. Roberts’
Foundations of parasitology. 5th ed. USA: Times Mirror Higher
Education Group, Inc; 1996.
55. Watanabe S. A revision of Genus Fasciola in Japan, with parti-
cular reference to Fasciola hepatica and Fasciola gigantica.
Prog Med Parasitol Japan 1965;2:360-81.
56. Srimuzipo P, Komalamisra C, Choochote W, Jitpakdi A,
Vanichthanakorn P, Keha P, et al. Comparative morphometry,
morphology of egg and adult surface topography under light
and scanning electron microscopies, and metaphase karyotype
among three size-races of Fasciola gigantica in Thailand.
Southeast Asian J Trop Med Public Health 2000;31:366-73.
57. Wannasan A, Khositharattanakool P, Chaiwong P, Piangjai S,
Uparanukraw P, Morakote N. Identification of Fasciola species
based on mitochondrial and nuclear DNA reveals the co-
existence of intermediate Fasciola and Fasciola gigantica in
Thailand. Exp Parasitol 2014;146:64-70.
58. Tippawangkosol P, Saingamsook J, Kijdamrongthum P,
Thirungroj N, Jariyawat K, Somboon P. A case report of biliary
fascioliasis in Thailand: Endoscopic management and
identification of Fasciola fluke based on mitochordrial DNA.
Southeast Asian J Trop Med Public Health (submitted).
59. Hoa KE, Joe LK, Kong OYC. Note on the life history of Fasciola
gigantica (Cobbold, 1885) in West Malaysia. Southeast Asian J
Trop Med Public Health 1970;1:300.
60. Thomas APW. The life history of the liver fluke (Fasciola
hepatica). QJ Microsc Sci 1883;23:99-133.
94 พยาธิใบไม้

61. Kaseta C, Eursitthichaia V, Vichasri-Grams S, Viyananta V, Grams


R. Rapid identification of lymnaeid snails and their infection
with Fasciola gigantica in Thailand. Exp Parasitol 2010;4:482-8.
62. Charoenchai A, Tesana S, Pholpark M. Natrual infection of
trematoeds in Lymnaea (Radix) auricularia rubiginosa in water
reservoirs in Amphoe Muang, Khon Kaen Province. Southeast
Asian J Trop Med Public Health 1997;28:209-12.
63. Kachintorn U, Atisook K, Tesjaroen S, Lertakyamanee N,
Plengvanit U. Fasciola gigantica: The second case of human
infection in Thailand. J Med Assoc Thai 1988;71:451-5.
64. Tesana S, Pamarapa A, Sio O. Acute cholecystitis and Fasciola
sp. infection in Thailand: Report of two cases. Southeast Asian
J Trop Med Public Health 1989;20:447-52.
65. Vajarasthira S, Sunthornsiri V. Fascioliasis from the skin. Thai
Police Med J 1979;5:48-54.
66. วัฒนา แสวงกิจ. Clinical syndrome of fascioliasis. ใน: วิวัฒนาการใน
ระบบทางเดินอาหาร 6. กรุงเทพฯ: กรุงเทพวารสาร; 2533:183-206.
67. Kanoksil W, Wattanatranon D, Wilasrusmee C, Mingphruedh S,
Bunyaratvej S. Endoscopic removal of one live biliary Fasciola
gigantica. J Med Assoc Thai 2006;12:2015-4.
68. Saleha AA. Liver fluke disease (Fascioliasis): epidemiology,
economic impact and public health significance. Southeast
Asian J Trop Med Public Health 1991;22:361-4.
69. Phalee A and Wongsawad C. Prevalence of infection and
molecular confirmation by using ITS-2 region of Fasciola
gigantica found in domestic cattle from Chiang Mai province,
Thailand. Asian Pac J Trop Med 2014;3:207-11.
70. Espino AM, Diaz A, Perez A, Finlay CM. Dynamics of antigene-
mia and coproantigens during a human Fasciola hepatica
outbreak. J Clin Microbiol 1998;36:2723-6.
พยาธิใบไม้ตับ 95

71. Chen MC, Mott KE. Progress in assessment of morbidity due to


Fasciola hepatica infection: A review of recent literature. Trop
Dis Bull 1990;87:R1-38.
72. Kueakhai P, Changklungmoa K, Chaithirayanon K, Phatsara M,
Preyavichyapugdee N, Riengrojpitak S, et al. Saposin-like protein
2 has an immunodiagnostic potential for detecting Fasciolosis
gigantica. Exp Parasitol 2015;151:8-13.
73. Anuracpreeda P, Chawengkirttikul R, Sobhon P. Immunodiag-
nosis of Fasciola gigantica infection using monoclonal
antibody-based sandwich ELISA and immunochromatographic
assay for detection of circulating cathepsin L1 protease. PLoS
One 2016;11:1-22.
74. Mas-Coma S, Bargues MD, Esteban JG. Human fasciolosis. In:
Dalton JP, editor. Fasciolosis. Wallingford: CAB International
Publishing; 1999. p. 411-34.
75. Wessely K, Reischig HL, Heinerman M, Stempka R. Human
fascioliasis treated with triclabendazole (Fasinex) for the first
time. Trans R Soc Trop Med Hyg 1988;82:743-5.
76. Farid Z, Kamal M, Mansour N. Praziquantel and Fasciola
hepatica infection. Trans R Soc Trop Med Hyg 1989;83:813.
77. Farid Z, Trabolsi B, Boctor F, Hafez A. Unsuccessful use of
praziquantel to treat acute fascioliasis in children. J Infect Dis
1986; 154:920-1.
78. Changklungmoa N, Phoinok N, Yencham C, Sobhon P, Kueakhai
P. Vaccine potential of recombinant cathepsinL1G against
Fasciola gigantica in mice. Vet Parasitol 2016;226:124-31.
4
พยาธิใบไมลําไส (Intestinal flukes)
อนุลักษณ จันทรคํา

พยาธิใบไม้ลําไส้มีระยะตัวเต็มวัยเป็นปรสิตเกาะอาศัยอยู่ที่ผนังลําไส้ของ
โฮสต์ พยาธิใบไม้ลําไส้มีมากมายหลายชนิดทั้งพยาธิของคนและสัตว์ โดยพยาธิ
บางชนิ ด สามารถอยู่ ได้ ทั้ ง ในคนและสั ต ว์ อย่ า งไรก็ ต ามพยาธิใ บไม้ ลํา ไส้ ไม่ ไ ด้
ก่อให้เกิดพยาธิสภาพที่รุนแรงมาก เมื่อเทียบกับพยาธิใบไม้กลุ่มอื่น โดยทั่วไปมัก
ทําให้เกิดอาการระคายเคืองและอุดตันลําไส้(1)
การจัดแบ่งกลุ่มพยาธิใบไม้ลําไส้ สามารถแบ่งพยาธิใบไม้ลําไส้ออกเป็น 2 กลุ่ม
ตามขนาดของตัวเต็มวัยและไข่(2,3) ดังนี้

พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ (large intestinal flukes)


พยาธิในกลุ่มนี้ตัวเต็มวัยและไข่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ไข่มีขนาดประมาณ
(46-67×84-113) - (60-72×150-152) ไมโครเมตร มีลักษณะเหมือนกับไข่ของ
พยาธิใบไม้ตับ Fasciola spp. คือมีรูปร่างกลมรีเหมือนไข่ไก่ เปลือกบาง มีฝาเปิด
ขนาดเล็ก มีสีเหลืองปนน้ําตาลและมี yolk cell อยู่ภายใน พยาธิใบไม้ลําไส้กลุ่มนี้
จัดอยู่ใน 3 family ดังนี้
1.1 Family Fasciolidae
- Fasciolopsis buski
1.2 Family Paramphistomatidae
- Gastrodiscoides hominis
- Watsonius watsoni
พยาธิใบไม้ลําไส้ 97

1.3 Family Echinostomatidae


- Echinostoma malayanum
- Echinostoma ilocanum
- Echinostoma revolutum
- Episthmium caninum
- Hypoderaeum conoideum
พยาธิ ใ บไม้ ลํ า ไส้ ข นาดใหญ่ ที่ มี ร ายงานพบอยู่ ใ นประเทศไทย ได้ แ ก่
Fasciolopsis buski
1. พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก (minute intestinal flukes)
พยาธิในกลุ่มนี้ตัวเต็มวัยและไข่มีขนาดเล็ก (22-13×28-14 ไมโครเมตร)
ไข่มีลักษณะคล้ายกับไข่ของพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini คือ มีรูปร่าง
กลมรีคล้ายหลอดไฟฟ้า เปลือกไข่มีสีน้ําตาลอ่อน มีฝา ด้านตรงข้ามกับฝามีปุ่ม
ภายในไข่มีตัวอ่อนระยะไมราซิเดียม พยาธิกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นปรสิตของสัตว์ แต่
ที่อาจติดต่อถึงคนได้มีอย่างน้อย 20 ชนิด พยาธิที่พบในคนส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน
1 มิลลิเมตร พยาธิใบไม้ลําไส้กลุ่มนี้จัดอยู่ใน 3 family ดังนี้
2.1 Family Heterophyidae
- Heterophyes heterophyes
- Metagonimus yokogawai
- Haplorchis taichui
- Haplorchis pumilio
- Haplorchis yokogawai
- Stellantchasmus falcatus
- Centrocestus caninus
98 พยาธิใบไม้

2.2 Family Lecithodendriidae


- Phaneropsolus bonnei
- Phaneropsolus spinicirrus
- Prosthodendrium molenkampi
2.3 Family Plagiorchiidae
- Plagiorchis harinasutai
- Plagiorchis philippinensis
- Plagiorchis javensis
- Plagiorchis muris
พยาธิ ใ บไม้ ลํ า ไส้ ข นาดเล็ ก ที่ มี ร ายงานพบบ่ อ ยในประเทศไทย ได้ แ ก่
Haplorchis taichui แต่พยาธิใบไม้ลําไส้ที่มีรายงานพบในคนไทยมีมากกว่า 14
ชนิด ดังสรุปไว้ในตารางที่ 4.1
ตารางที่ 4.1 พยาธิใบไม้ลําไส้ที่พบในคนไทย(2,3)

พยาธิ แหล่งที่มีรายงานพบผู้ตดิ เชื้อพยาธิ


จังหวัด ประเทศ
Family Fasciolidae
Fasciolopsis buski สุพรรณบุรี อยุธยา สาธารณรัฐประชาชนจีน
อ่างทอง นครปฐม สปป.ลาว เวียดนาม
ธนบุรี กัมพูชา ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์
Family Paramphistomatidae
Gastrodiscoides hominis
พิจิตร (1 ราย) เมียนมา
มาเลเซีย เวียดนาม
พยาธิใบไม้ลําไส้ 99

พยาธิ แหล่งที่มีรายงานพบผู้ตดิ เชื้อพยาธิ


จังหวัด ประเทศ
Family Echinostomatidae
Echinostoma ilocanum กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อินโดนีเซีย
ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ฟิลิปปินส์
อุดรธานี ยโสธร มาเลเซีย
Echinostoma malayanum กาฬสินธุ์ อินโดนีเซีย
Echinostoma revolutum กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อินโดนีเซีย
Episthmium caninum กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด
ยโสธร
Hypoderaeum conoideum กาฬสินธุ์

Family Heterophyidae
Haplorchis taichui เชียงใหม่ อุดรธานี สปป.ลาว
หนองคาย ฟิลิปปินส์
Haplorchis pumilio เชียงใหม่ อุดรธานี สปป.ลาว
ขอนแก่น ฟิลิปปินส์
Haplorchis yokogawai อุดรธานี อินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์
Stellantchasmus falcatus เชียงใหม่ ฟิลิปปินส์
Centrocestus caninus เชียงใหม่ เชียงราย
Family Lecithodendriidae
Phaneropsolus bonnei อุดรธานี หนองคาย อินโดนีเซีย
มาเลเซีย
สปป.ลาว
Phaneropsolus spinicirrus กาฬสินธุ์
Prosthodendrium อุดรธานี หนองคาย อินโดนีเซีย
molenkampi สปป.ลาว
Family Plagiorchiidae
Plagiorchis harinasutai ภาคตะวันออกเฉียง
เหนือของไทย
100 พยาธิใบไม้

พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ (Large intestinal flukes)


FAMILY FASCIOLIDAE
Railliet, 1895

พยาธิใน family Fasciolidae เป็นพยาธิใบไม้ขนาดใหญ่ ลําตัวแบน ผิวหนัง


ปกคลุมด้วยหนามเล็ก ๆ จํานวนมาก มี oral sucker และ ventral sucker อยู่ใกล้
กันตรงส่วนหัว อัณฑะและรังไข่เป็นแขนง ปกติเป็นปรสิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
สมาชิกใน family นี้มีทั้งพยาธิใบไม้ตับ Fasciola hepatica และ Fasciola
gigantica และพยาธิใบไม้ลําไส้ Fasciolopsis buski

Fasciolopsis buski
(Lankester, 1857) Odhner, 1902

ชื่อสามัญ
พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดยักษ์ (The giant intestinal fluke) ถือเป็นพยาธิใบไม้
ลําไส้ขนาดใหญ่ที่สุดในลําไส้คน
โรค
โรคพยาธิใบไม้ลําไส้ (Fasciolopsiasis)
ประวัต(2,4,5)

พบครั้งแรกโดย Busk ในปี พ.ศ. 2386(6) จากการตรวจศพ (autopsy)
กะลาสีเรือชาวอินเดียที่ตายในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พบพยาธิตัวเต็มวัย
บริเวณลําไส้เล็กส่วน duodenum ในประเทศไทยมีรายงานพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.
2484 โดย ศ.นพ. สวัสดิ์ แดงสว่างและ ศ.นพ. มนตรี มงคลสมัย พบในผู้ป่วยเด็ก
ชายชาวไทยอายุ 6 ปี จากจังหวัดธนบุร(7,8)

พยาธิใบไม้ลําไส้ 101

การกระจายทางภูมิศาสตร์(2,4,5)
มี ก ารระบาดบริ เ วณทางตอนใต้ ข องสาธารณรั ฐ ประชาชนจี น เอเชี ย
ตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ สําหรับประเทศไทยมีรายงาน
การระบาดบริเวณภาคกลาง(9) โดยเฉพาะอําเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กายรูปวิทยา(1,2,4,5)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดใหญ่ (8-20×20-75 มิลลิเมตร) ลําตัวค่อนข้างแบนมีความหนา
ประมาณ 2 มิลลิเมตร รูปร่างเหมือนใบไม้รูปรี ผิวหนังมีหนามเล็ก ๆ รอบตัว ส่วนหัว
ไม่มีรอยคอด (cephalic cone) ทางด้านหัวมี oral sucker (เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5
มิลลิเมตร) มีขนาดเล็กกว่า ventral sucker (ขนาด 2-3 มิลลิเมตร) ประมาณ 4-6
เท่า ทางเดินอาหารที่ต่อจาก oral sucker ประกอบด้วย คอหอย (pharynx) และ
หลอดอาหาร (esophagus) จากนั้นแยกเป็นลําไส้ปลายตัน 2 อัน อยู่สองข้างลําตัว
ไม่แตกกิ่งก้านเป็นแขนง (รูปที่ 4.1)
อวัยวะสืบพันธุ์ประกอบด้วย อัณฑะ มีลักษณะเป็นแขนงย่อย 1 คู่ เรียงตาม
ความยาวของลําตัวทางด้านท้าย รังไข่เป็นแขนงย่อย 1 อัน อยู่กึ่งกลางความยาว
ของลําตัวทางด้านขวา รังไข่จะเชื่อมต่อกับ ootype ที่ถูกล้อมรอบด้วย Mehlis’
glands และยังเชื่อมต่อกับ vitelline ducts ที่ต่อกับ vitelline glands ขนาด
เล็กกระจายอยู่ด้านข้างลําตัวตั้งแต่ ventral sucker ลงไปจนถึงปลายสุดของลําตัว
มดลูกมีลักษณะเป็นท่อขดไปมาอยู่ระหว่างรังไข่และ ventral sucker
โดยทั่วไปตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ F. buski มีรูปร่างลักษณะค่อนข้าง
คล้ายคลึงกับพยาธิใบไม้ตับ F. gigantica(1,10) แต่มีลักษณะแตกต่างกันหลายจุดที่
สามารถใช้ในการวินิจฉัยแยกออกจากกันได้ดังนี้ (รูปที่ 4.2)
102 พยาธิใบไม้
oral sucker
ventral sucker

uterus
intestine
ovary

testes

vitelline
glands

(a) (b)
operculum
yolk cell
egg shell

(c)
รูปที่ 4.1 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ Fasciolopsis buski (a) ภาพถ่าย (b)
ภาพวาด (c) ไข่ (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง
ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 103

Fasciola gigantica : Fasciolopsis buski


1. oral: ventral 1:3 : 1:4-6
2. cephalic cone มี : ไมมี
3. intestine แขนง : ทอ

4. testes ซอนกัน : แยกกัน

Fasciola gigantica Fasciolopsis buski

รูปที่ 4.2 เปรียบเทียบตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ขนาดใหญ่ Fasciola gigantica และ


Fasciolopsis buski (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
104 พยาธิใบไม้

ไข่(2,4)
มีขนาดใหญ่ (80-85×130-140 ไมโครเมตร) รูปร่างกลมรีคล้ายไข่ไก่ มี
เปลือกบางสีเหลืองปนน้ําตาลและมีฝาเล็ก ๆ เห็นไม่ชัด มี yolk cell อยู่ภายในไข่
(รูปที่ 4.1)
วงจรชีวิต(1,6,11-13)
พยาธิตัวเต็มวัยเกาะอาศัยอยู่ที่ผนังลําไส้เล็กส่วน duodenum และ
jejunum ของคนและสุกรซึ่งเป็นโฮสต์เฉพาะหลังการผสมพันธุ์จะปล่อยไข่ออกมา
กับอุจจาระโดยพยาธิตัวเมีย 1 ตัว สามารถออกไข่ได้ประมาณ 13,000-26,000
ฟองต่อวัน โดยเฉลี่ย 16,000 ฟองต่อวัน
เมื่อไข่ตกลงไปในน้ําจะใช้เวลาประมาณ 3-7 สัปดาห์ ภายในไข่จะมีการ
เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนไมราซิเดียมจากนั้นไมราซิเดียมจะฟักออกจากไข่ว่ายอยูใ่ น
น้ําและไชเข้าหอยน้ําจืดซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 เจริญเติบโตเป็นสปอโรซิสต์
รีเดียแม่ รีเดียลูกและเซอร์คาเรีย โดยใช้เวลาการเจริญเติบโตในหอยประมาณ 4
สัปดาห์ จากนั้นเซอร์คาเรียจะออกจากหอยไปเกาะอยู่ตามพืชน้ําซึ่งเป็นโฮสต์
สื่อกลางตัวที่ 2 ระยะนี้มีการสร้างผนังซิสต์และเจริญเป็นระยะติดต่อเมตาเซอร์คา-
เรีย หากโฮสต์เฉพาะมากินพืชน้ําก็จะได้รับระยะติดต่อนี้เข้าไป เมื่อเมตาเซอร์-
คาเรียลงสู่กระเพาะอาหารจะถูกน้ําย่อยในกระเพาะอาหารย่อย cyst wall แล้ว
ตัวอ่อนจะออกมาจาก cyst ที่ลําไส้ส่วน duodenum และเจริญเป็นตัวเต็มวัย
อาศัยอยู่ในลําไส้เล็กต่อไป (รูปที่ 4.3)
ระบาดวิทยา(2,4,5)
พบการติดเชื้อ F. buski บ่อยในคนและสุกร ในสาธารณรัฐประชาชนจีน
เกาะไต้หวัน บอร์เนียว สุมาตรา ประเทศไทย เวียดนาม อินเดีย บังคลาเทศ และ
มาเลเซีย(14) ในประเทศไทยมีการระบาดบริเวณภาคกลางแถบลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยา
ที่มีน้ําขังตลอดปี มีพืชน้ํามากและมีการเลี้ยงสุกรเช่น อยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทอง
และนครปฐม
พยาธิใบไม้ลําไส้ 105

โฮสตเฉพาะ Adult

คน สุกร
Egg

Miracidium

โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2: พืชน้ํา โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย


Sporocyst
Redia
Cercaria

Cercaria
รูปที่ 4.3 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ Fasciolopsis buski (ภาพถ่าย
เป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
106 พยาธิใบไม้

ในประเทศกัมพูชาพบว่ามีการติดเชื้อ F. buski มากที่สุดในสุกรจากจังหวัด


Takeo คือร้อยละ 30 จากการตรวจอุจจาระด้วยวิธีเข้มข้นฟอร์มาลิน-เอทิลอะซิเตท
(formalin-ethyl acetate concentration technique) ซึ่งสุกรมีความสําคัญใน
แง่การเป็นโฮสต์สะสมเชื้อ (reservoir host)(15) ในประเทศเวียดนามพบสุกรที่ติด
เชื้อพยาธิชนิดนี้มากในตอนเหนือของประเทศมากกว่าทางตอนใต้(16)
พยาธิสภาพและอาการ(2,4,5)
พยาธิตัวเต็มวัยเกาะติดกับผนังลําไส้ส่วน duodenum และ jejunum แต่
ในรายที่มีพยาธิมากจะพบบริเวณ ileum และ colon ด้วย พยาธิสภาพที่เกิดขึ้น
คือมี inflammation และ ulceration โดยทั่วไปไม่มีพยาธิสภาพและอาการที่
รุนแรง แต่บางรายอาจมีเลือดออกอาจเกิดฝีหรือมีลําไส้อุดตันได้ ในรายที่มีพยาธิ
มากพยาธิอาจปล่อย metabolites ที่เป็นพิษออกมาทําให้เกิด allergic reaction
อาจมีอาการบวมบริเวณใบหน้า
ในประเทศอินเดียปี พ.ศ. 2558 พบรายงานผู้ป่วยเด็กหญิงอายุ 8 ปี ใน
หมู่บ้านทางตอนเหนือของประเทศอินเดียที่มีประวัติการกินแห้วที่ไม่ได้ล้างน้ํา พบ
พยาธิชนิดนี้ในลําไส้ส่วน duodenum และมีเลือดออก จากการส่องตรวจภายใน
พบผนังลําไส้ถลอกและมีบาดแผลซึ่งเป็นผลจาก ventral sucker(17) นอกจากนี้
อาจพบภาวะไส้ติ่งอักเสบได้แต่ไม่บ่อยนัก(18)
ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 เดือน โดยทั่วไปผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ
อะไร แต่หากมีอาการระยะแรกมักเริ่มด้วยท้องร่วงสลับกับท้องผูกและเสียดท้อง
เนื่องจากพยาธิตัวเต็มวัยใช้ sucker เกาะและดูดลําไส้ส่วนต้น อาจทําให้ผนังลําไส้
บริเวณนั้นอักเสบ การย่อยและการดูดซึมอาหารไม่ดี พยาธิแย่งอาหารทําให้เกิด
ภาวะทุพโภชนาการได้ ในรายที่รุนแรงอาจพบอาการปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง ซีด
และมีอาการแพ้ได้(19)
ถ้ามีพยาธิจํานวนมากอาจเกิดการอุดตันของลําไส้ ซึ่งมีรายงานการอุดตัน
ของลําไส้เนื่องจากมีพยาธิ นําไปสู่อาการบาดเจ็บที่ไตอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็น
รายงานผู้ป่วยในประเทศอินเดีย(20) มีรายงานผู้ป่วยเด็กชายชาวอินเดีย อายุ 10 ปี
พยาธิใบไม้ลําไส้ 107

ที่ลําไส้ทะลุ เนื่องจากมีการติดเชื้อพยาธิจํานวนมาก(21) นอกจากนั้นมีรายงานพบ


พยาธิ ห ลุ ด ออกมาจากการอาเจี ย นจากผู้ ป่ ว ยซึ่ ง เป็ น เด็ ก หญิ ง อายุ 5 ขวบใน
ประเทศบังคลาเทศ อาการอื่น ๆ คือซีดและตับโต มีไข้ ปวดรอบสะดือ(22) และใน
ประเทศอินเดียพบผู้ป่วยเด็กชายอายุ 11 ปี ที่พยาธิหลุดออกมาจากการอาเจียน(23)
ในประเทศไทยมีรายงานพบเด็กที่มีพยาธิอยู่ในลําไส้มากถึง 466 ตัว อาการ
ระยะหลัง อุจจาระมีสีเขียว หยาบและมีกลิ่นเหม็น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มี
น้ําในช่องท้อง ระยะสุดท้ายมีอาการบวมไปทั้งตัว เนื่องจากแพ้สารพิษที่พยาธิ
ปล่อยออกมาคือ หน้าบวม ท้องบวม ขาบวม ผิวหนังแห้ง อ่อนเพลีย ผู้ป่วยมัก
เสียชีวิตจากการได้รับสารพิษจากพยาธิ(24,25)
การวินิจฉัย(2,4,5)
ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่ของพยาธิ
การรักษา(2,4,5)
ยาที่ดีที่สุดคือ praziquantel 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยให้กินเพียงครั้ง
(24)
เดียว นอกจากนี้พบรายงานการให้ยา nitazoxanide 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
เป็นเวลา 5 วัน(23)
การป้องกัน(2,4,5)
1. ไม่รับประทานพืชน้ําสด ๆ หรือดิบ ๆ
2. ถ่ายอุจจาระในส้วมทีถ่ ูกสุขลักษณะ
3. กักเก็บมูลสุกรไม่ให้ลงสูแ่ ม่น้ําและไม่ใช้อุจจาระเป็นปุ๋ย
108 พยาธิใบไม้

สรุปวงจรชีวิตของ Fasciolopsis buski


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ลําไส้เล็กส่วน duodenum และ jejunum
• โฮสต์เฉพาะ: คนและสุกร
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 1: หอยน้ําจืดตัวเล็ก (Segmentina spp.)
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2: พืชน้ําจืดเช่น กระจับ แห้วจีน สายบัว ผักบุง้
ผักแว่น ผักกระเฉด ผักตบชวา(25)
• การติดโรค: กินพืชน้ําสด ที่มีเมตาเซอร์คาเรียทีผ่ ิวพืชน้ํา

FAMILY PARAMPHISTOMATIDAE
Fischoeder, 1901
พยาธิใน family นี้มีลักษณะเด่น คือ มี ventral sucker ขนาดใหญ่อยู่
ส่วนท้ายสุดของลําตัว พยาธิในกลุ่มนี้มีหลายชนิดแต่ที่ทําให้เกิดโรคในคน ได้แก่
1. Gastrodiscoides hominis
2. Watsonius watsoni พยาธิชนิดนี้มีความสําคัญน้อยมาก

Gastrodiscoides hominis
(Lewis and McConnell, 1876) Leiper, 1913

โรค
Gastrodiscoidiasis
ประวัติ
รายงานพบครั้งแรกโดย Lewis และ McConnell ในปี พ.ศ. 2419(1) จาก
การตรวจศพชาวพื ้น เมือ งรัฐ อัส สัม ประเทศอิน เดีย ต่อ มาในปี พ.ศ. 2456
Stephen และ Leiper บรรยายซ้ําใหม่ ชื่อพยาธิหมายถึง “ท้องรูปจาน”(6) ใน
พยาธิใบไม้ลําไส้ 109

ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการพบพยาธิในสัตว์เช่น สุกร ลิงและค่าง มีรายงานพบ


พยาธินี้ในคนไทยที่ จังหวัดพิจิตรเพียงรายเดียว(26)

การกระจายทางภูมิศาสตร์
มีการระบาดมากใน รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย และมีรายงานพบในส่วนอื่น ๆ
ของประเทศอินเดีย เมียนมา ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์
และคาซัคสถาน(1,6) นอกจากนี้พบรายงานผู้ป่วยในประเทศไนจีเรีย(27)
กายรูปวิทยา(1,2,4,6,28)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดใหญ่ (5-8×8-14 มิลลิเมตร) ผิวคลุมลําตัวเรียบไม่มีหนาม มีลักษณะ
แตกต่างจากพยาธิตัวอื่นคือ มีรูปร่างคล้ายหยดน้ําหรือน้ําเต้าลําตัวแบ่งออกเป็น
2 ส่วน ส่วนหัวเรียวมีรูปร่างเหมือนกรวย (anterior conical portion) ส่วนท้าย
มีลักษณะกลมคล้ายจาน (posterior discoidal portion) (รูปที่ 4.4)
มี oral sucker ขนาดเล็กอยู่ทางส่วนหัว ventral sucker ขนาดใหญ่อยู่
ส่วนท้ายลําตัวมีอัณฑะ 1 คู่ รูปร่างเป็นกลีบ (lobe) เรียงกันอยู่หน้ารังไข่รูปกลม
ที่อยู่บริเวณกลางลําตัว มดลูกขดไปมาอยู่ตั้งแต่ทางแยกของลําไส้ลงมาจนถึง 2
ใน 3 ของลําตัว มี vitelline follicles 2 กลุ่ม เรียงตัวอยู่ทางด้านข้างของลําตัว
ไข่(2,4,5)
มีขนาดใหญ่ (60-70×150-170 ไมโครเมตร) มีรูปร่างคล้ายรูปสี่เหลี่ยม
ขนมเปียกปูน มีฝาปิด ลักษณะคล้ายไข่ของ F. buski แต่หัวท้ายค่อนข้างเรียวกว่า
วงจรชีวิต(1,6)
G. hominis เป็นพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในลําไส้ใหญ่บริเวณ
caecum และ ascending colon ของโฮสต์เฉพาะ เช่น คน และพบได้บ่อยใน
สุกร นอกจากนั้นยังมีรายงานพบพยาธิในลิง ค่างและหนู อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน
ยังไม่ทราบวงจรชีวิตที่แน่ชัด แต่จากการทดลองพบว่าโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 เป็น
110 พยาธิใบไม้

หอยน้ําจืด Planorbid (Helicorbis coenosus)(29,30) ส่วนโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2


ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่าเป็นพืชน้ําโดยมีสุกรเป็นโฮสต์สะสมเชื้อ

oral sucker
suctorial

caecum

ventral
sucker

(a) (b)
รูปที่ 4.4 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ Gastrodiscoides hominis (a)
ภาพถ่าย (b) ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่าง
จริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 111

พยาธิสภาพและอาการ(6,31)
พยาธิตัว เต็ม วัย ในคนเกาะอาศัย ผนัง ลํา ไส้ใ หญ่บ ริเ วณ caecum และ
ascending colon ทําให้มีบาดแผลในบริเวณที่เกาะ(32) เกิดการอักเสบและมีการ
ลอกตัวออก (desquamation) ของผนังลําไส้ หรืออาจทําให้ผนังลําไส้เปื่อยเน่า
ตาย (necrosis) โดยทั่วไปโฮสต์มักไม่แสดงอาการ แต่ในบางรายผู้ป่วยอาจมีอาการ
ท้องร่วง ถ่ายเหลวเป็นมูกและอาจพบอาการบวมที่หน้าและขา มีภาวะซีด พบเม็ด
เลือดขาวในปริมาณสูง (leucocytosis) มีอุจจาระปนมากับปัสสาวะเนื่องมาจากมี
แผลไชทะลุของลําไส้ (jejuno-ileo-caecal fistula) และมีแผลไชทะลุลําไส้กับ
กระเพาะปัสสาวะและช่องคลอด (jejuno-ileo-vesicovaginal fistula) ซึ่งเป็น
พยาธิส ภาพที่ต รวจพบ ในศพผู้ป่ว ยชาวไทยรายหนึ่ง ที่เ สีย ชีวิต ลัก ษณะอื่นที่
ตรวจพบ ได้แก่ มีก้อนเนื้องอกที่ต่อมน้ําเหลือง (lymphosarcoma) ของลําไส้
การวินิจฉัย(2,4)
ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิที่มีลักษณะเหมือนไข่ของ F. buski แต่แคบ
กว่าและมีสีเขียวแกมน้ําตาล(5)
การรักษา(16,32)
ยา praziquantel 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้กินครั้งเดียว แต่อาจพบอาการ
ข้างเคียงเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องและปวดเมื่อยตามตัวที่ไม่รุนแรงและ
หายไปภายใน 48 ชั่วโมง นอกจากนี้พบรายงานการให้ยา mebendazole 100
มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน พบจํานวนพยาธิลดลงแต่ไม่หมดไป และให้ยา
ซ้ําอีก 3 วัน(33)
การป้องกัน(2,4,5)
ยังไม่มีการศึกษาแต่คาดว่ามีระยะติดต่อคือเมตาเซอร์คาเรีย เกาะอยู่ตาม
พืชน้ํา ดังนั้นควรรับประทานพืชผักที่ต้มสุกดีแล้วและดื่มน้ําสะอาด
112 พยาธิใบไม้

FAMILY ECHINOSTOMATIDAE
Poche, 1926
พยาธิใน family นี้เรียกว่า Echinostomes เป็นพยาธิที่อาศัยอยู่ในลําไส้
เล็กของคนและสัตว์มีกระดูกสันหลัง พยาธิตัวเต็มวัยมีขนาดลําตัวปานกลาง ผิว
ลําตัวปกคลุมด้วยหนามเล็ก ๆ มีลักษณะเด่นคือ มีลําตัวยาว ส่วนหัวมีคอเป็นรูป
เกือกม้า (head collar) และมีหนาม 1-2 แถว รอบ ๆ oral sucker เรียกว่า collar
spines(9) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหนามที่ปกคลุมลําตัวส่วนอื่น ๆ

การกระจายทางภูมิศาสตร์
พยาธิกลุ่มนี้พบว่ามีการกระจายอยู่ในประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชียตะวันออก
และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาะไต้หวัน เกาหลี
อินเดีย (รัฐสุลาเวสี) ญี่ปุ่น เมียนมา ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์(10,34)
และสปป.ลาว(35,36) มีรายงานพบในคนมากกว่า 20 species ประกอบด้วย 8
genera (Echinostoma, Echinochasmus, Acanthoparyphium, Artyfechino-
stomum, Episthmium, Himasthla, Hypoderaeum และ Isthmiophora)(37)
นอกจากนี้ยังพบรายงานผู้ป่วยจํานวนมากของ Echinostomiasis ในคน
จากประเทศญี่ปุ่น (Echinostoma cinetorchis, Echinostoma hortense
และ Echinostoma japonicum), อินเดีย (Echinostoma malayanum และ
Paryphostomum sufrartyfex) แ ล ะ ไ ท ย (Echinostoma malayanum,
Echinostoma ilocanum, Echinostoma revolutum, Episthmium caninum,
Hypoderaeum conoideum และ Echinostoma echinatum)(38-43)

โรค
Echinostomiasis
พยาธิใบไม้ลําไส้ 113

กายรูปวิทยา(1,9,34)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดปานกลาง ลําตัวยาว ส่วนหัวมีคอเป็นรูปเกือกม้า (head collar,
collar spines) ประกอบด้วยหนามแหลมขนาดใหญ่ 1-2 แถว ล้อมรอบ oral
sucker ทางด้านหลังและด้านข้าง oral sucker ขนาดเล็กกว่า ventral sucker
(รูปที่ 4.5) ทางเดินอาหารประกอบด้วย ช่องปาก คอหอย หลอดอาหารค่อนข้าง
ยาวและลําไส้ปลายตัน 2 อัน ที่ไปสิ้นสุดบริเวณส่วนท้ายของลําตัว มีอัณฑะ 1 คู่
อยู่เรียงแถวตามยาวหรืออยู่เยื้องกันที่ส่วนท้ายลําตัว รังไข่อยู่กลางหรือด้านข้าง
ของลําตัวและอยู่หน้าอัณฑะ มีมดลูกขดอยู่ทางหน้าของลําตัวโดยมี vitelline
follicles กระจายอยู่สองข้างของลําตัว การจําแนกชนิดของ Echinostomes ใน
อดีตใช้วิธีทางกายรูปวิทยา โดยใช้จํานวนและการกระจายของ collar spines(44)
แต่ปัจจุบันใช้วิธีทางอณูชีววิทยาร่วมด้วย(36)
ไข่(2,4,5)
มีขนาดใหญ่และมีขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด ไข่มีเปลือกบางและมีฝา
ขณะออกมาใหม่ ๆ ยังไม่เจริญเต็มที่ (unembryonated egg) ภายในไข่ยังไม่มี
ไมราซิเดียม (รูปที่ 4.5)
วงจรชีวิต(9,45)
พยาธิในกลุ่มนี้มีวงจรชีวิตที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน ตัวเต็มวัยที่อาศัยอยู่ใน
ลําไส้เล็กมีการผสมพันธุ์และปล่อยไข่ (unembryonated egg) ออกมากับอุจจาระ
เมื่อไข่ตกลงไปในน้ําภายในเวลาประมาณ 10 วัน ภายในไข่จะมีการเจริญต่อเป็น
ไมราซิเดียม จากนั้นไมราซิเดียมจะไชเข้าหอยน้ําจืดมีฝาซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่
1 เจริญเติบโตเป็นสปอโรซิสต์ รีเดียแม่ รีเดียลูกและเซอร์คาเรีย
จากนั้ น เซอร์ ค าเรี ย จะไชออกจากหอยเข้ า สู่ โ ฮสต์ สื่ อ กลางตั ว ที่ 2 และ
เจริญเติบโตไปเป็นเมตาเซอร์คาเรียซึ่งเป็นระยะติดต่อ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดของ
พยาธิ เมื่อโฮสต์เฉพาะกินโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 โดยไม่ทําให้สุกก่อน เมตาเซอร์-
114 พยาธิใบไม้

คาเรียจะสามารถเจริญไปเป็นตัวเต็มวัย และอาศัยอยู่ในลําไส้เล็กของโฮสต์เฉพาะ
ต่อไป (รูปที่ 4.6)

oral sucker
collar
spines

ventral
sucker

(a) operculum (b)


egg shell
yolk cell

(c)
รูปที่ 4.5 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่กลุ่ม Echinostomes (a) ภาพถ่าย (b)
ภาพวาด (c) ไข่ (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง
ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 115

โฮสตเฉพาะ Adult

คน สุนัข
หนู และ
Egg
สัตวปก
Miracidium

โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2:หอย ลูกออด โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย


Sporocyst
Redia
Metacercaria Cercaria

Cercaria
รูปที่ 4.6 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่กลุ่ม Echinostomes (ภาพถ่าย
เป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
116 พยาธิใบไม้

พยาธิสภาพและอาการ(1)
โดยทั่วไปพยาธิกลุ่ม Echinostomes ไม่ทําให้เกิดโรคหรือพยาธิสภาพที่
รุนแรง แต่อาจทําให้เกิดการอักเสบบริเวณที่มีพยาธิเกาะ หากมีจํานวนพยาธิใน
ลําไส้น้อยมักไม่ปรากฏอาการ แต่ถ้ามีพยาธิจํานวนมากอาจก่อให้เกิดอาการทาง
ลําไส้เช่น ปวดท้อง ท้องร่วง มีเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล (eosinophil) สูง
อาจพบอาการบวมและมีภาวะซีดได้ นอกจากนี้อาจพบอาการปวดตรงกระบังลม
หน้าท้อง ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ (epigastric) ตามมาด้วยท้องเสีย อ่อนเพลีย เบื่อ
อาหารและทุพโภชนาการ(37)

การวินิจฉัย(2,4,5)
ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่ของพยาธิ แต่อาจจะแยกจากไข่พยาธิชนิดอื่นได้
ยาก วินิจฉัยจากพยาธิตัวเต็มวัยจะได้ผลแน่นอนกว่า
การรักษา(2,4,5)
ให้ยา praziquantel 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เพียงครั้งเดียวหลังอาหารเย็น
หรือก่อนนอน หรือขนาด 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น(46)
หรืออาจให้ยา niclosamide ได้(45)
การป้องกัน(2,4,5)
กินหอย ปลาและลูกอ๊อดที่ปรุงสุกแล้ว

Echinostoma malayanum
Leiper, 1911
ประวัต(2,4)

E. malayanum เป็นพยาธิใบไม้ลําไส้ของคนและหนู พบครั้งแรกในปี
พ.ศ. 2454 โดย Leiper จากชาวทมิฬ ในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2456
Odhner ได้อธิบายถึงรูปร่างลักษณะของพยาธิตัวนี้ นอกจากนี้ยังพบที่ชายแดน
พยาธิใบไม้ลําไส้ 117

เขตปกครองตนเองทิเบต และเกาะสุมาตราตอนเหนือ(1) ในประเทศไทยมีรายงาน


พบผู้ติดเชื้อครั้งแรกที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ในปี พ.ศ. 2505(39)
กายรูปวิทยา(2,4,34)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีลําตัวยาวเรียวขนาด (2.5×5-10 มิลลิเมตร) มีหนามเล็ก ๆ คลุมลําตัว
ส่วนหน้าไปจนถึง ventral sucker ที่ส่วนหัวมีคอเป็นรูปเกือกม้า (head collar)
ประกอบด้วยหนามแหลมจํานวน 43-45 อันเรียงรอบ 2 แถว จากการศึกษาด้วย
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่า ตัวเต็มวัยประกอบด้วยหนาม
จํานวน 41 อัน พบอวัยวะรับความรู้สึก (sensory papillae) หนาแน่นบริเวณรอบ
oral sucker และ ventral sucker(47)
oral sucker มีขนาดเล็ก ventral sucker มีขนาดใหญ่รูปถ้วย มีอัณฑะ 1
คู่ ลักษณะเป็นกลีบลึก อยู่เรียงกันในส่วนท้ายของลําตัว รังไข่มีรูปกลมรีอยู่เหนือ
อัณฑะไม่มี seminal receptacle มดลูกขดเต็มระหว่างอัณฑะและ ventral
sucker ส่วน vitelline glands เป็น follicle เล็ก ๆ กระจายอยู่สองฟากลําตัว
ตั้งแต่ระดับขอบล่างของ ventral sucker ลงไป (รูปที่ 4.7)
ไข่(2,4,5)
มีขนาดใหญ่รูปไข่ไก่ ขนาด (76-90×120-137 ไมโครเมตร) สีน้ําตาลแกม
เหลืองขอบบาง มีฝา ปลายข้างหนึ่งมีตมุ่ เล็ก ๆ ภายในยังไม่เป็นตัวอ่อนไมราซิเดียม
(unembryonated egg)
วงจรชีวิต(2,4,5)
คล้ายกับวงจรชีวิตในกลุ่ม Echinostomes ในประเทศไทยพบรายงานว่า
โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 1 คือ หอยน้ําจืด Indoplanorbis exustus (หอยคัน)(48) ส่วน
ในประเทศฟิลิปปินส์คือหอย Lymnaea (Bullastra) cumingiana(49) ส่วนโฮสต์
118 พยาธิใบไม้

สื่อกลางตัวที่ 2 คือ ลูกอ๊อด (tadpole) และหอยน้ําจืดบางชนิดเช่น Lymnaea


(Radix) rubiginosa, Gyraulus convexiusculus เป็นโฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2 ใน
ประเทศไทย มีการสํารวจพบพยาธิชนิดนี้ในหนู Rattus losea ในสปป.ลาว(50) ใน
ประเทศฟิลิปปินส์ พบว่าหอย Radix quadrasi, Physastra hungerfordiana
และ Lymnaea (Bullastra) cumingiana เป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2(51,52)

oral sucker
collar
spines
ventral sucker
intestine
uterus with
eggs

ovary

testes

vitelline
glands

(a) (b)
รูปที่ 4.7 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ Echinostoma malayanum (a)
ภาพถ่าย (b) ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่าง
จริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 119

Echinostoma ilocanum
(Garrison, 1908) Odhner, 1911

ประวัต(2,4)

Echinostoma ilocanum เป็นพยาธิใบไม้ลําไส้ของคน หนู และสุนัข
Garrison เป็นคนแรกที่พบพยาธินี้จากนักโทษในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
ในปี พ.ศ. 2450 ในปี พ.ศ. 2482 Sandground และ Prawirohardjo พบพยาธินี้
ในคนในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2482 Sandground ได้พบ
พยาธินี้ใน Lanteng Agung จากคนที่กินหอยดิบหรือไม่สุก ในประเทศไทย
ศ.ประยงค์ ระดมยศ และคณะได้รายงานไว้เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2525 จากการ
ถ่ายพยาธิผู้ป่วยที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน 253 ราย พบ E. ilocanum
10 ราย เป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และอุดรธานี
โดยรายที่พบพยาธิมากที่สุดถึง 109 ตัว(43)
กายรูปวิทยา(2,4,34)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีลําตัวยาวเรียวขนาด (0.8-1.9×5-1.5 มิลลิเมตร) มีหนามเล็ก ๆ คลุมลําตัว
ส่วนหน้าไปจนถึง ventral sucker ปลอกคอมีหนามแหลมจํานวน 49-51 อัน
เรียงรอบ 2 แถว oral sucker มีขนาดเล็กในขณะที่ ventral sucker มีขนาด
ใหญ่เป็นรูปถ้วย อยู่ค่อนไปทางส่วนหัว มีอัณฑะ 1 คู่ ลักษณะเป็นกลีบลึก อยู่เรียง
กันในแนวดิ่ง ก้อนบนอยู่ระดับ 2/3 ของลําตัว vitelline glands เป็น follicle
กระจายอยู่สองฟากของ 3/4 ของด้านท้ายลําตัว (รูปที่ 4.8)

ไข่(2,4)
มีขนาดใหญ่ (53-76×94-137 ไมโครเมตร) สีน้ําตาลแกมเหลือง เปลือกบาง
เรีย บ มีฝ า ปลายข้า งหนึ่ง มีตุ่ม เล็ก ๆ ภายในยัง ไม่เ ป็น ตัว อ่อ นไมราซิเ ดีย ม
(unembryonated egg)
120 พยาธิใบไม้

oral sucker
collar spines

ventral
sucker

uterus

ovary

testes

vitelline glands

(a) (b)

รูปที่ 4.8 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ Echinostoma ilocanum (a) ภาพถ่าย


(b) ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูป
และวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 121

วงจรชีวิต(2,4,5)
คล้ายกับวงจรชีวิตในกลุ่ม Echinostomes โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 เป็นหอย
น้ําจืดชนิด Gyraulus convexiusculus พบในประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ในขณะที่หอยน้ําจืดชนิด Gyraulus prashadi และ Hippeutis umbilicalis
เป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 ในประเทศฟิลิปปินส์
โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 คือหอย Gyraulus convexiusculus, Gyraulus
prashadi, Viviparus burranghina, Viviparus javanica, Viviparus rudipellis,
Thiara asperata, Bulinus hungerfordianus, Planorbis umbilicatus,
Pila conica, Pila ampullacea, Pila luzonica, Lymnaea (Radix)
rubiginosa และ Lymnaea (Radix) peregra

Echinostoma revolutum
(Froelich, 1802) Looss, 1899

ประวัต(2,4)

E. revolutum เป็นพยาธิใบไม้ลําไส้ของคนและสัตว์ปีก พบครั้งแรกจาก
หญิงในเกาะไต้หวันในปี พ.ศ. 2472 โดย Anazawa และมีรายงานในประเทศ
ญี่ปุ่นและเกาหลี ในประเทศไทยพบครั้งแรกโดย ศ.ดร.มนูญ ไพบูลย์ และคณะใน
ปี พ.ศ. 2509(38)
กายรูปวิทยา(2,4,34)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีลําตัวยาวเรียวขนาด (0.8-2.5×8-22 มิลลิเมตร) มีหนามคลุมตลอดลําตัว
ปลอกคอมีหนามแหลมจํานวน 37 อัน oral sucker มีขนาดเล็กอยู่เกือบปลาย
สุด ventral sucker มีขนาดใหญ่รูปถ้วยอยู่กึ่งกลางลําตัว มีอัณฑะเป็นก้อนกลมรี
หรือเป็นกลีบตื้น 2 ก้อนอยู่ส่วนท้ายของลําตัว vitelline follicle อยู่ด้านหน้า
122 พยาธิใบไม้

ของลําตัว เริ่มต้นที่ระดับใต้ ventral sucker มีรังไข่ 1 ก้อนอยู่เหนืออัณฑะก้อน


แรก มดลูกเป็นท่อขดวนไปมาระหว่างรังไข่และ ventral sucker
ไข่(2,4)
รูปร่างเป็นรูปไข่ มีขนาด (45-71×84-126 ไมโครเมตร) สีน้ําตาลปนเหลือง
มีฝาที่ปลายข้างหนึ่ง ไข่ที่ออกมากับอุจจาระยังไม่เป็นตัวอ่อนไมราซิเดียม
วงจรชีวิต(2,4,5,28)
คล้ายกับวงจรชีวิตในกลุ่ม Echinostomes โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 เป็นหอย
น้ําจืด Lymnaea (Radix) rubiginosa, Stagnicola palustris, Helisoma
trivolvis, Physa gyrina, Physa oculans, Planorbis tenuis, Indoplanorbis
exustus, Lymnaea stagnalis, Lymnaea attenuata, Lymnaea (Radix)
peregra, Lymnaea (Radix) swinhoei และ Lymnaea (Radix) ollula
โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 คือหอย Lymnaea (Radix) rubiginosa, Indoplanorbis
exustus, Viviparus viviparus, Sphaerium corneum, Fossaria spp.,
Corbicula fluminea และลูกอ๊อด

Episthmium caninum
(Verma, 1935) Yamaguti, 1958

ประวัต(2,4)

E. caninum เป็นพยาธิใบไม้ลําไส้ของสุนัขในเกาะ Hainan พบครั้งแรก
โดย Verma ในปี พ.ศ. 2478 มีรายงานครั้งแรกในผู้ป่วยจํานวน 3 ราย ในประเทศ
ไทย โดย ศ.ประยงค์ ระดมยศ และคณะ(2,4)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 123

กายรูปวิทยา(2,4,34)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีรูปทรงคล้ายผลมะละกอ ขนาด (0.35-0.8×0.77-1.5 มิลลิเมตร) มีหนาม
คลุมตลอดลําตัว ปลอกคอมีหนามแหลมจํานวน 24 อัน ventral sucker มีขนาด
ใหญ่อยู่ที่ 1/4 ของลําตัว มดลูกสั้นมีไข่อยู่ประมาณ 1-7 ฟอง อัณฑะรูปร่างกลม
ใหญ่ 2 ก้อน ขนาดต่างกันอยู่ชิดกันเรียงกันตามยาว รังไข่ค่อนข้างกลมอยู่คอ่ นไป
ทางซ้ายเล็กน้อย อยู่ระหว่าง ventral sucker และอัณฑะก้อนแรก vitelline
follicles อยู่ทางด้านข้างทั้งสองข้าง โดยเริม่ จากระดับ genital pore ไปจนถึง
ปลายสุดของตัว
ไข่(2,4)
มีรูปรี ขนาด (56-96×85-102 ไมโครเมตร) ปลายข้างหนึ่งมีฝา สีน้ําตาล
ปนเหลือง ไข่ที่ออกมากับอุจจาระภายในยังไม่เป็นตัวอ่อนไมราซิเดียม
วงจรชีวิต(2,4,5,28)
คล้ายกับวงจรชีวิตของพยาธิในกลุ่ม Echinostomes หอยซึง่ เป็นโฮสต์สอื่
กลางตัวที่ 1 ได้แก่ Segmentina nitidella โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2 คือหอย
Lymnaea (Radix) japonica, Planorbis compressus, Segmentina nitidella
และ Viviparus malleatus, ลูกอ๊อดของ Rana nigromaculata และ Hippeutis
(Helicorbis) cantori

Hypoderaeum conoideum
(Bloch, 1782) Dietz 1908

ประวัต(2,4)

H. conoideum เป็นพยาธิใบไม้ลําไส้อยู่ในลําไส้เล็กของสัตว์ปกี เช่น เป็ด
ไก่ ห่าน และหงส์ มีรายงานในคนเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดย ศ.ดร.มนูญ
ไพบูลย์ และคณะ ในปี พ.ศ. 2507(39) และ Yokogawa ในปี พ.ศ. 2508(40)
124 พยาธิใบไม้

กายรูปวิทยา(2,4,25)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีลําตัวยาวเรียว แบน ขนาด (1.5×8 มิลลิเมตร) มีหนามคลุมมองเห็นได้
ชัดเจนเริ่มจากบริเวณส่วนหัวลงมาถึง ventral sucker ปลอกคอมีหนามแหลม
จํานวน 47-53 อัน ventral sucker มีขนาดใหญ่รูปถ้วยอยู่ 1/4 ของลําตัวอยู่ใกล้
กับ oral sucker มีหลอดอาหารสั้น แต่ลําไส้ยาวจนเกือบถึงท้ายลําตัว
vitelline glands กระจายอยู่ส องฟากของลํา ตัว ตั้ง แต่ร ะดับ ventral
sucker ไปจนถึงท้ายลําตัว อัณฑะรูปร่างเป็นไส้กรอกสั้น 2 ก้อนเรียงกันตามยาว
อยู่ตรงระดับ 3/4 ของลําตัว รังไข่อยู่เหนืออัณฑะ มดลูกเป็นท่อขดวนไปมาแต่สั้น
กว่าของ E. malayanum (รูปที่ 4.9)
ไข่(2,4)
มีรูปรีขนาดใหญ่ (45-71×84-126 ไมโครเมตร) สีเหลืองปนน้ําตาลใส เปลือก
บางเรียบ ปลายข้างหนึ่งมีฝา
วงจรชีวิต(2,4,5)
คล้ายกับวงจรชีวิตในกลุ่ม Echinostomes (ตารางที่ 4.2) หอยซึ่งเป็นโฮสต์
สื่อกลางตัวที่ 1 คือ Indoplanorbis exustus โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 ได้แก่ หอย
Lymnaea (Radix) rubiginosa, Lymnaea stagnalis, Lymnaea palustris,
Planorbis oculans และลูกอ๊อดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ํา
พยาธิใบไม้ลําไส้ 125

oral sucker
collar spines

ventral sucker

uterus

ovary

testes

vitelline glands

(a) (b)
รูปที่ 4.9 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดใหญ่ Hypoderaeum conoideum (a)
ภาพถ่าย (b) ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่าง
จริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
126 พยาธิใบไม้

ตารางที่ 4.2 สรุปพยาธิใน family Echinostomatidae ที่พบในประเทศไทย


(2,10,38-42)

Family Echinostomatidae
Echinostoma Echinostoma Echinostoma Hypoderaeum
malayanum ilocanum revolutum conoideum
1. ตัวเต็มวัย
ขนาด (size) 2.5×5-10 0.8-1.9×5-9.5 0.8-2.5×8-22 1.5×8
มิลลิเมตร มิลลิเมตร มิลลิเมตร มิลลิเมตร
หนามคลุมลําตัว
มีหนามคลุมลําตัว มีหนามคลุมลําตัว มีหนามคลุมทั่วตัว มีหนามคลุมตั้งแต่ส่วนหัวถึง
(cuticular spines) ส่วนหน้า ส่วนหน้า Ventral sucker
จํานวนหนามแผงคอ
43 - 45 49 - 51 37 47 - 53
(collar spines)
2. ไข่ (ขนาด) 76-90×120-137 53-76×94-137 45-71×84-126 45-71×84-126
ไมโครเมตร ไมโครเมตร ไมโครเมตร ไมโครเมตร
3. วงจรชีวิต
ที่อยู่ปกติในโฮสต์ ลําไส้เล็ก
โฮสต์เฉพาะ คนและหนู คน หนูและสุนัข คนและสัตว์ปีก คนและสัตว์ปีก
โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 หอย Lymnaea
หอย Lymnaea spp. และหอยน้ําจืดอีกหลายชนิด
spp.
โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 หอย Lymnaea หอย Lymnaea หอย Lymnaea หอย Lymnaea spp., หอยน้าํ
spp., หอยน้ําจืด spp., หอยน้ําจืด spp., หอยน้ําจืด จืดหลายชนิด, ลูกอ๊อด
หลายชนิด, ลูกอ๊อด หลายชนิด หลายชนิด, ลูกอ๊อด
การติดต่อ กินโฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2 ที่มีระยะติดต่อเมตาเซอร์คาเรีย
4. แหล่งระบาด มาเลเซีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐ ไทย
สาธารณรัฐ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน ญี่ปุ่น
ประชาชนจีน ประชาชนจีน เกาหลี ไทย
อินโดนีเซีย ไทย อินโดนีเซีย ไทย
พยาธิใบไม้ลําไส้ 127

พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก (minute intestinal flukes)


พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก จัดอยู่ใน 3 family ดังนี้
1. Family Heterophyidae ชนิดที่มีรายงานพบในประเทศไทย ได้แก่
Haplorchis taichui, Haplorchis pumilio และ Stellantchasmus
falcatus
2. Family Lecithodendriidae ชนิดที่มีรายงานพบในประเทศไทย ได้แก่
Prosthodendrium molenkampi, Phaneropsolus bonnei และ
Phaneropsolus spinicirrus
3. Family Plagiorchiidae ชนิดที่มีรายงานพบในประเทศไทย ได้แก่
Plagiorchis harinasutai

FAMILY HETEROPHYIDAE
Odhner, 1914

พยาธิใน family Heterophyidae เป็นพยาธิใบไม้ขนาดเล็กอาศัยอยู่ใน


ลําไส้สัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งคน(1) โดยมีหอยน้ําจืดและปลาน้ําจืด
มีเกล็ดเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 และ 2 ตามลําดับ พยาธิตัวเต็มวัยมีรูปร่างคล้าย
กระสวย อวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมดอยู่ในส่วนครึ่งท้ายของลําตัว พยาธิบางชนิดมี
genital sucker (gonotyle) อยู่รอบรูเปิดของอวัยวะเพศ (genital opening) ซึ่ง
เป็นลักษณะสําคัญที่ใช้ในการแยกชนิดของพยาธิในกลุ่มนี้
128 พยาธิใบไม้

Haplorchis taichui
(Nishigori, 1924) Witenberg, 1930

โรค
Haplorchiasis
ประวัติ
Haplorchis taichui ได้ถูกพบครั้งแรกโดย Nishigori ในปี พ.ศ. 2467(53)
ที่เกาะไต้หวันซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับการตั้งชื่อว่า Monochotrema taichui ตาม
สถานที่ที่พบพยาธิครั้งแรก คือ Taichu ของเกาะไต้หวัน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น
H. taichui พยาธิชนิดนี้เป็นพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็กพบได้ในคน แมว สุนัขและ
นกกระสา
การกระจายทางภูมิศาสตร์
มีรายงานพบพยาธิในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชียได้แก่ ประเทศไทย
ฟิลิปปินส์ เกาะไต้หวัน ตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศอียิปต์
ในประเทศไทยมีรายงานพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดย Manning และคณะ(54)
จากการผ่าศพในโรงพยาบาลจังหวัดอุดรธานี ต่อมามีรายงานพบพยาธิตัวเต็มวัย
ในผู้ป่วยจากอุดรธานี หนองคาย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัยและเชียงใหม่(55)
กายรูปวิทยา(1)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดเล็ก (0.43-0.51×0.88-1.16 มิลลิเมตร) รูปร่างคล้ายหยดน้ํา
ลักษณะเด่นของพยาธิชนิดนี้คือ ประมาณกึ่งกลางลําตัวทางด้านท้อง มีอวัยวะ
เรียกว่า ventral sucker และ genital sucker รวมกันเป็น ventrogenital sac
(genital-ventral sucker apparatus, ventro-genital sucker complex) อยู่
ทางส่วนขวาของลําตัวพยาธิ ในส่วนของ ventral sucker มีส่วนของ ventral
และ dorsal lip โดยมีส่วนของ medial notch แยกจากกัน ส่วนของ ventral lip
พบว่ามีหนามขนาดเล็กเรียกว่า sclerite (รูปที่ 4.10) และหนามในส่วนกลางโค้ง
ขนาดความยาวประมาณ 19 ไมโครเมตร จํานวน 13-14 อัน(56,57) หรือ 12-18
พยาธิใบไม้ลําไส้ 129

อันเรียงตัวโค้งงอคล้ายพระจันทร์เสี้ยว(58) หรือ 14-20 อัน (ที่พบบ่อยคือ 15 อัน)(59)


มีหนามขนาดเล็กจํานวน 3-4 อัน งอตั้งฉากกับหนามโค้ง นอกจากนี้ยังมีหนาม
ขนาดเล็กในส่วนกลางของ ventral lip ด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของ dorsal lip
และ genital sucker ไม่มีหนาม หนามที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาว 18-21
ไมโครเมตร ซึ่งอยู่บริเวณกลางของหนามทั้งหมดที่เรียงตัวคล้ายพัด(59)
จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าส่วน
ของ ventral sucker มีหนามรูปเคียวเรียงตัวปิดส่วน ventral sucker ไว้ คล้าย
หน้ากากปิดของพัดลมดูดระบายอากาศที่ใช้ในบ้าน ventral sucker ฝังตัวอยู่ใน
ชั้นเนื้อแท้อวัยวะ (parenchyma) และอยู่เยื้องไปทางขวาเล็กน้อย(59) บริเวณ
กลางลําตัวมีรอยคอดเล็กน้อย ปลายสุดของลําตัวทางด้านท้ายมีรูเปิดของระบบ
ขับถ่าย (excretory pore) ขนาดใหญ่ที่สุดมีความกว้างถึง 3 ไมโครเมตร แต่ละ
หนามมีปลายแตกเป็นซี่เล็ก ๆ อย่างไรก็ตามบริเวณรอบ oral sucker และ
ventrogenital sac และส่วนท้ายสุดของลําตัวไม่มีหนามปกคลุม
หนามในแต่ ล ะส่ ว นของตั ว พยาธิ มี ข นาดและจํ า นวนปลายที่ แ ตกเป็ น ซี่
แตกต่างกัน และถือเป็นลักษณะเฉพาะของหนามในแต่ละตําแหน่ง หนามในส่วน
ต้นลําตัวมีปลายแตกออกเป็น 7-11 ซี่ ลักษณะคล้ายนิ้วมือ ขนาดของหนามและ
จํานวนซี่ที่ปลายหนามลดลงเรื่อย ๆ จากส่วนหัวไปสู่ส่วนปลายของตัวพยาธิซึ่ง
หนามมีปลายแตกออกเป็น 10-11 ซี่ แต่เมื่อเลยระดับ ventrogenital sac หนาม
มีขนาดเล็กลงและปลายแตกออกมีลักษณะคล้ายฟัน 7-8 ซี่ จํานวนของหนาม
และซี่ฟันปลายหนามลดลงเรื่อย ๆ จนถึงปลายสุดของลําตัว(60)
จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (transmission
electron microscope) พบว่าตําแหน่งของหนามของ H. taichui มีลักษณะเป็น
เกล็ดอยู่ที่ชั้นผิวหนัง (tegument) ฐานของหนามอยู่ใกล้ parabasal membrane
ด้านโคนของหนามจมอยู่ในชั้นผิวหนังซึ่งเชื่อมต่อกับ plasma membrane(60)
ใต้ชั้นผิว นี้เป็น กล้า มเนื้อ ซึ่ง ประกอบด้ว ยสามชั้น คือ กล้ามเนื้อ ตามขวางตาม
ยาวและกล้ า มเนื้ อ เฉี ย ง ชั้ น กล้ า มเนื้ อ เจริ ญ ไม่ ดี นั ก ในตอนท้ า ยของลํ า ตั ว แต่
ด้านบนของลําตัวเห็นเด่นชัด
130 พยาธิใบไม้

oral sucker

ventral sucker
with spines
ovary
testes

(a) operculum (b)


shoulder
miracidium

(c)
รูปที่ 4.10 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก Haplorchis taichui (a) ภาพถ่าย (b)
ภาพวาด (c) ไข่ (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง
ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 131

พยาธิชนิดนี้มีระบบสืบพันธุ์ทั้งสองเพศอยู่ภายในตัวเดียว (hermaphrodite)
อวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศอยู่รวมกลุ่มที่ส่วนท้าย (posterior) ของลําตัว ต่ํา
กว่าระดับของรูเปิดอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งอยู่ประมาณ กึ่งกลางลําตัวทางด้านท้อง
อวั ย วะสืบ พั น ธุ์ เ พศผู้ (61) ประกอบด้ ว ยอั ณ ฑะ 1 ก้ อ น มี รู ป ร่ า งกลม อยู่
กึ่งกลางตามความกว้างของลําตัวในส่วนท้าย มีความยาวประมาณ 0.169 มิลลิเมตร
ความกว้าง 0.156 มิลลิเมตรและความหนา 0.13 มิลลิเมตร จากนั้นมีท่อนําอสุจิ
(vas efferens) เป็นท่อเดี่ยวออกจากส่วนบนของอัณฑะ อวัยวะส่วนนี้เป็นอวัยวะ
ที่สังเกตเห็นได้ยาก ต่อจากอัณฑะมีท่อนําอสุจิผ่านมาทางด้านซ้ายของรังไข่ ไป
เปิดออกที่ส่วนท้ายสุดของที่พักน้ําอสุจิ (seminal vesicle) ซึ่งอยู่ที่ส่วนล่างของ
ventral sucker ไปทางด้านซ้ายของลําตัว ที่พักน้ําอสุจิมีรอยคอดตรงกลางทําให้
แบ่งส่วนที่พักน้ําอสุจิออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนขวาหรือส่วนหน้า ขนาดประมาณ
0.09×0.07 มิลลิเมตร และส่วนซ้ายหรือส่วนหลัง ขนาดประมาณ 0.046×0.036
มิลลิ เ มตร (59) ในส่ วนขวามี ขนาดใหญ่ ก ว่าส่วนซ้ายและส่วนขวา มีก ารเปลี่ย น
รูปร่างให้แคบลงเป็นต่อมลูกหมาก (tubular prostate duct) ซึ่งเป็นท่อที่โค้งไป
ทางส่วนท้องของพยาธิเป็นท่อฉีดอสุจิ (ejaculatory duct) ซึ่งเปิดออกสู่ genital
sinus พยาธิชนิดนี้ไม่มีอวัยวะส่วน cirrus หรือ cirrus sac
อวั ย วะสื บ พั น ธุ์ เ พศเมี ย (63) ประกอบด้ ว ยรั ง ไข่ 1 ก้ อ น รู ป ร่ า งกลม อยู่
ส่วนท้ายของลําตัวหลังต่อจาก ventral sucker และอยู่เยื้องไปทางด้านขวาของ
ตัวพยาธิ มีความยาว 69 ไมโครเมตร และความกว้าง 77 ไมโครเมตร หรือเส้น
ผ่ า นศู น ย์ ก ลาง 0.065 มิ ล ลิ เ มตร (59) นอกจากนี้ ใ นระบบสื บ พั น ธุ์ เ พศเมี ย ยั ง
ประกอบด้วย ถุงเก็บอสุจิ (seminal receptacle) ซึ่งอยู่ด้านขวาของร่างกาย
พยาธิในระดับเดียวกับ รังไข่หรืออาจอยู่หลังรังไข่เล็กน้อย ถุงเก็บอสุจิเป็นอวัยวะ
ที่มีรูปร่างเป็นวงกลมขนาดความยาวประมาณ 57 ไมโครเมตร และความกว้าง
ประมาณ 61 ไมโครเมตร หรือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.107 มิลลิเมตร(59)
ภายในมีอสุจิอยู่และถ้าพยาธิยังมีชีวิตจะเห็นอสุจิมีการเคลื่อนไหวได้
132 พยาธิใบไม้

นอกจากนี้พ ยาธิย ัง มีท ่อ ลอเรอร์ (Laurer's canal) และต่อ มวิเ ทลลิน


(vitelline glands) เป็นอวัยวะที่มีการเจริญดีและสังเกตเห็นได้ ต่อมวิเทลลินอยู่
ในส่วนท้ายของลําตัวพยาธิ เริ่มจากส่วนท้ายของรังไข่และถุงเก็บอสุจิ และเห็นชัด
ตามขอบลําตัวของพยาธิโดยมีประมาณ 4-5 พูต่อข้าง จากต่อมวิเทลลินมีท่อ
ขนาดเล็กคือ vitelline duct มาเชื่อมต่อและไปสิ้นสุดเป็นท่อใหญ่ 2 ท่อ คือท่อ
จากส่วนท้ายของลําตัวและท่อจากส่วนขวาของลําตัวท่อทั้งสองมาเชื่อมกันเป็น
common vitelline duct ไปสู่โอโอไทป์ (ootype) ใกล้กับรูเปิดของท่อนําไข่
(oviduct) ซึ่งท่อนําไข่เป็นท่อที่เริ่มต้นจากส่วนซ้ายค่อนไปทางตอนกลางของรังไข่
จากนั้นท่อนําไข่ไปรวมกับท่อลอเรอร์และ common vitelline duct ในที่สุดไป
เปิดออกที่ โอโอไทป์ นอกจากนี้ รอบโอโอไทป์ มี ต่ อมสร้ างเปลือกไข่ ที่เรีย กว่ า
shell gland ซึ่งมีรูปร่างไม่แน่นอน ต่อมสร้างเปลือกไข่เหล่านี้ก็มีท่อไปเปิดออกที่
โอโอไทป์เช่นกัน
มดลูกเป็นอวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย โดยอยู่ต่อจาก
โอโอไทป์ในส่วนบนของอัณฑะและด้านซ้ายของรังไข่ ลักษณะของมดลูกเป็นท่อ
ขดทับไปมา ภายในมีไข่ของพยาธิ ไข่ที่อยู่ในส่วนต้นซึ่งอยู่ในส่วนซ้ายของลําตัว
เป็นไข่อ่อน ไข่ส่วนนี้มีเปลือกไข่ที่ใสไม่มีสีและภายในเป็นเซลล์ไข่ ส่วนไข่ที่อยู่ใน
ส่วนปลายของมดลูก ซึ่งอยู่ในส่วนขวาของลําตัวเป็นไข่แก่ที่มีเปลือกไข่สีเหลือง
น้ําตาล และภายในจะมีตัวอ่อนไมราซิเดียม ในส่วนปลายของมดลูกแคบและหนา
ตัวขึ้น ในที่สุดเปิดออกสู่ ventral-genital-sucker-apparatus ในพยาธิที่ถูกตรึง
สภาพแล้ว ส่วนนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.8 ไมโครเมตร(61) ในพยาธิที่โต
เต็มที่บางครั้งมีไข่จํานวนมากอยู่ใน genital sinus
ระบบขับถ่าย จะประกอบไปด้วย flame cell เช่นเดียวกับพยาธิใบไม้ชนิด
อื่น มีรูปแบบการเรียงตัว คือ 2[(2+2+2)+(2+2+2)] = 24(56,58) จาก flame cell
มีท่ออยู่ 2 ข้างลําตัวข้างละ 1 ท่อ นําของเสียจาก flame cell มารวมกันและเปิด
ออกสู่กระเพาะขับถ่าย (excretory bladder) ที่อยู่ในส่วนท้ายสุดของลําตัว ใน
พยาธิที่ยังเจริญไม่เต็มที่กระเพาะขับถ่ายมีรูปร่างกลมรี ส่วนในพยาธิตัวเต็มวัย
กระเพาะขั บ ถ่ า ยถู ก อั ณ ฑะเบี ย ดในส่ ว นกลางทํ า ให้ มี รู ป ร่ า งเป็ น รู ป อัก ษร "V"
พยาธิใบไม้ลําไส้ 133

ภายในกระเพาะขับ ถ่า ยมี excretory granule จํ า นวนมากเมื ่อ ดูจ ากกล้อ ง


จุลทรรศน์แบบธรรมดาเห็นเม็ดสีเหล่านี้สะท้อนแสง(61) มีท่อหลักจํานวนสองท่อ
ต่อขึ้นมาจากส่วนของกระเพาะขับถ่าย แต่ละท่อจะเป็นแนวไปสู่แต่ละข้างของ
ลําตัวทางด้านหน้าสุด ส่วนต้นของท่อที่บริเวณด้านหน้าลําตัวนี้มีลักษณะแตก
แขนงเป็นหลอดฝอย (capillary tubes) จํานวนมาก ซึ่งจะเป็นส่วนของโครงข่าย
ของหลอดฝอยและ flame cells ต่อม secretory เจริญดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บริเวณส่วนต้นของลําตัว ที่ด้านข้างของหลอดอาหารทั้งสองด้านมีกลุ่มของต่อม
secretory ซึ่งท่อจะเปิดสู่ผนังของ oral sucker(61)
ไข่(2,4)
รูปกลมรีขนาดเล็ก (10-16×23-32 ไมโครเมตร) รูปร่างลักษณะคล้ายไข่ O.
viverrini (รูปที่ 4.10) แต่เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่า
ลายบนเปลือกไข่ของ H. taichui มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายที่ขดไปมา(62) หรือคล้าย
เส้นใยขนาดเล็ก(63) หรือลักษณะเป็นสันคล้ายเชือกที่ขดไปมาไม่สม่ําเสมอ(64)
วงจรชีวิต(1)
H. taichui มีวงจรชีวิตโดยทั่วไปคล้ายกับพยาธิใบไม้ตับ (O. viverrini) ตัว
เต็มวัยอาศัยอยู่ในลําไส้เล็กของโฮสต์เฉพาะได้แก่ คน สุนัข แมวและสัตว์ที่กินปลา
เป็นอาหาร พยาธิออกไข่ในลําไส้และปนออกมากับอุจจาระ เมื่อไข่ตกลงสู่น้ําและ
ถูกหอยน้ําจืดซึ่งเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 กินเข้าไป ไมราซิเดียมจะเจริญเป็นสปอ-
โรซิสต์ รีเดียแม่ รีเดียลูกและเซอร์คาเรีย โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์
จากนั้นเซอร์คาเรียที่เจริญเต็มที่จะมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดของกบโดยมีตัว
และหาง เซอร์คาเรียว่ายน้ําโดยการสะบัดหางไปมาอย่างรุนแรง และชอบเข้าหา
แสง (phototropic) จะไชออกจากหอยเข้าสู่โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 คือ ปลาน้ําจืด
มีเกล็ด เจริญเติบโตเป็นเมตาเซอร์คาเรียอาศัยอยู่บริเวณเกล็ด ครีบ เหงือกและ
หางปลา แต่พบได้น้อยมากในเนื้อปลา เมื่อโฮสต์เฉพาะกินปลาที่ปรุงไม่สุกจะ
ได้รับเมตาเซอร์คาเรียเข้าไป โดยเมตาเซอร์คาเรียจะออกจากซิสต์และเจริญเป็น
134 พยาธิใบไม้

ตัวเต็มวัยและอาศัยอยู่ในลําไส้เล็กของโฮสต์เฉพาะ ภายหลังจากที่โฮสต์เฉพาะกิน
เมตาเซอร์คาเรียเข้าไปในระยะแรก พยาธิจะออกจากซิสต์ โดยอาศัยน้ําย่อย
ทริปซิน (รูปที่ 4.11) อย่างไรก็ตามในระยะเวลา 4 ชั่วโมงแรกหลังออกจากซิสต์
ขนาดของพยาธิและรูปร่างของพยาธิยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในระยะนี้พยาธิจะมี
oral sucker คอหอย ventral sucker อัณฑะและรังไข่ ต่อมาพยาธิมีการเจริญ-
เติบโตมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีการเจริญของอวัยวะที่สมบูรณ์ ภายหลังจากที่โฮสต์
เฉพาะกินเมตาเซอร์คาเรียเข้าไปประมาณ 48 ชั่วโมง สังเกตเห็นรังไข่ชัดเจนและ
มดลูกมีลักษณะเป็นขด อยู่ประมาณ 2-3 ขด ในรายที่มีการเจริญเร็วพบว่าที่พัก
น้ําอสุจิมีการเจริญในระยะนี้ด้วย
ในวันที่ 4 หลังจากที่โฮสต์เฉพาะกินเมตาเซอร์คาเรียพบว่าอัณฑะมีขนาด
ใหญ่ขึ้น โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 120 ไมโครเมตร ที่พักน้ําอสุจิเริ่มมีรอย
คอดตรงกลาง รังไข่และที่พักน้ําอสุจิมีขนาดใหญ่ และสามารถเห็นไข่ที่ยังเจริญไม่
เต็มที่ 2-3 ฟองในมดลูก นอกจากนี้ยังพบว่ามี vitellaria เจริญเต็มที่อยู่สองข้าง
ของลําตัว
วันที่ 5-6 หลังจากที่โฮสต์เฉพาะกินระยะเมตาเซอร์คาเรีย พยาธิมีอวัยวะ
ต่าง ๆ เจริญเกือบสมบูรณ์ ทั้งที่พักน้ําอสุจิและถุงเก็บอสุจิมีตัวอสุจิอยู่เต็ม ใน
มดลูกมีไข่ตั้งแต่ 50 ฟองขึ้นไป มีเปลือกสีเหลืองน้ําตาล
วันที่ 7-9 หลังจากที่โฮสต์เฉพาะกินระยะเมตาเซอร์คาเรีย พยาธิมีการเจริญ
เป็นพยาธิตัวเต็มวัยที่สมบูรณ์ ไข่ในมดลูกมีจํานวนมาก โดยมีไข่จํานวน 2-3 ฟอง
อยู่ใน genital sinus
พยาธิใบไม้ลําไส้ 135

โฮสตเฉพาะ Adult

คน สุนัข
แมว และ
Egg
สัตวกินปลา
Miracidium

โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2: ปลามีเกล็ด โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย


Sporocyst
Redia
Cercaria

Cercaria

รูปที่ 4.11 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก Haplorchis taichui (ภาพถ่ายเป็น


การบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
136 พยาธิใบไม้

ระบาดวิทยา(2,4,5)
พบได้ ใ นประเทศแถบทวี ป เอเชี ย และเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ได้ แ ก่
ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เกาะไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศอียิปต์
โดยเฉพาะประเทศไทยพบมากในพื้นที่ที่นิยมบริโภคปลาดิบเช่น ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือและภาคเหนือ(65,66) การสํารวจความชุกของหนอนพยาธิในประชากร
ตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ 681 คน ที่อาศัยใน 16 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทย รายงานโดย ศ. ประยงค์ ระดมยศ และคณะ (2537)(65) โดยการ
ให้ยาถ่ายพยาธิ praziquantel 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และเก็บอุจจาระเพื่อตรวจหา
พยาธิตัวเต็มวัย H. taichui ร้อยละ 7.8 (53/681) ในจํานวนตัวอย่างอุจจาระ 53
คน โดยพบในเพศชาย (41 คน) มากกว่าเพศหญิง (12 คน) และในปี พ.ศ. 2541
ศ.ประยงค์ ระดมยศ และคณะ(66) ได้ทําการตรวจหาพยาธิตัวเต็มวัยในอุจจาระ
ในประชากรตัวอย่าง 431 คนที่อาศัยใน 16 จังหวัดในภาคเหนือและภาคกลาง
(น่า น แพร่ อุต รดิต ถ์ พิษ ณุโ ลก เพชรบูร ณ์ พิจ ิต ร สุโ ขทัย กํ า แพงเพชร
นครสวรรค์ ตาก ลําปาง พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลําพูน) พบว่า
H. taichui มีความชุกสูงที่สุดคือร้อยละ 63.11 โดยพบในเกือบทุกจังหวัดที่สํารวจ
ยกเว้นจังหวัดพิจิตร
มีรายงานการศึกษาการติดเชื้อ H. taichui ทางตอนใต้ของประเทศ
ฟิลิปปินส์ โดย Belizario และคณะ (2548)(57) ซึ่งทําการตรวจอุจจาระประชากร
242 คน ด้วยวิธี Kato-Katz หรือวิธีตรวจเข้มข้นฟอร์มาลิน-อีเทอร์ พบความชุก
ของไข่พยาธิร้อยละ 36 (87/242) พบการติดเชื้อในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
โดยแบ่งเป็นเพศชาย 51 คน (ความชุกร้อยละ 41.8) และเพศหญิง 36 คน (ความ
ชุกร้อยละ 30.0) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างเพศใน
การติดเชื้อพยาธิ ประชากรตัวอย่างมีการติดเชื้อตั้งแต่อายุ 19 เดือนจนถึง 73 ปี
โดยเฉลี่ย 27.2 ปี การติดเชื้อมากที่สุด (ร้อยละ 55.3) ในกลุ่มประชากรช่วงอายุ
15 ถึง 30 ปี รองลงมาคือช่วงอายุ 31 ถึง 45 ปี ซึ่งทั้งสองช่วงนี้คิดรวมเป็นร้อย
ละ 62 ของประชากรทั้งหมดหกกลุ่มที่ทําการศึกษา นอกจากนี้พบความชุกการ
ติดเชื้อร้อยละ 16.7 ของเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ประชากรตัวอย่างจํานวนมาก
พยาธิใบไม้ลําไส้ 137

(ร้อยละ 71) ติดเชื้อปานกลาง (จํานวนไข่ในอุจจาระ 101-1,000 ฟองต่ออุจจาระ


หนึ่งกรัม) ถึงติดเชื้อมาก (จํานวนไข่ในอุจจาระมากกว่า 1,000 ฟองต่ออุจจาระ
หนึ่งกรัม) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ส่วนกลุ่มประชากร
ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี พบการติดเชื้อน้อย (จํานวนไข่ในอุจจาระ 1-100 ฟองต่อ
อุจจาระหนึ่งกรัม) โดยสรุปทั้งหมดคือมีจํานวนไข่ในอุจจาระเฉลี่ย 256 ฟองต่อ
อุจจาระหนึ่งกรัม อยู่ในช่วง 24 ฟองถึง 26,256 ฟองต่ออุจจาระหนึ่งกรัม
การศึกษาความชุกของเมตาเซอร์คาเรียที่เกาะไต้หวัน ในปี พ.ศ. 2538 ใน
ปลาที่จับจากทะเลสาบ Sun Moon ซึ่งเป็นแหล่งระบาดของพยาธิใบไม้ตับ C.
sinensis เป็นปลาน้ําจืดชนิด Hemiculter leucisculus โดยวิธีการย่อยเนื้อปลา
พบว่าร้อยละ 96.23 ของเมตาเซอร์คาเรียที่สํารวจเป็นของ H. taichui(67)
เนื่องจากไข่พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก H. taichui มีรูปร่างลักษณะคล้าย-
คลึงกับพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini(68) จึงมีการศึกษาโดยวิธีย้อมไข่พยาธิ ที่มี
ลัก ษณะคล้ายไข่พยาธิใบไม้ตับด้วยสารละลายด่างทับทิม จากจํานวนตัวอย่าง
อุจจาระ 68 ตัวอย่างจากผู้ป่วยในหมู่บ้านห้วยฮักและแม่ลวงเหนือ อําเภอดอย
สะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล พบว่าเป็น
ไข่ของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก H. taichui เพียงชนิดเดียว คิดเป็นร้อยละ 29.4
ในปี พ.ศ. 2555 รศ.ดร.ชโลบล วงศ์สวัสดิ์และคณะ(3) ได้ทําการศึกษาอัตราความ
ชุกของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก H. taichui และพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ใน
จังหวัดเชียงใหม่ โดยนําอุจจาระของผู้ป่วยที่อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มา
ตรวจด้วยวิธี high annealing temperature random amplified polymor-
phic DNA (HAT-RAPD) PCR พบอัตราความชุกของไข่พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก
H. taichui ตามฤดูกาลคือ ฤดูร้อนร้อยละ 19.62 ฤดูฝนร้อยละ 18.18 และฤดู
หนาวร้อยละ 14.54 ในขณะที่พบอัตราความชุกของไข่พยาธิใบไม้ตับ O. viverrini
เพียงฤดูกาลเดียวคือ ฤดูร้อนร้อยละ 6.54 ต่อมา ดร.อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร และคณะ
(2556)(69) ได้รายงานอัตราความชุกของ H. taichui ที่พบในจังหวัดน่านและลําปาง
ภาคเหนือของประเทศไทยโดยวิธี simple sedimentation เพื่อให้ได้พยาธิระยะ
138 พยาธิใบไม้

ตัวเต็มวัย พบอัตราความชุกในจังหวัดน่านร้อยละ 74 และ ร้อยละ 69 ในจังหวัด


ลําปาง
พยาธิสภาพและอาการ(2,4,5)
ยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่จะมีอาการเหมือนกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อพยาธิ
ในกลุ่ม Heterophyid flukes ชนิดอื่น เนื่องจากพยาธิชนิดนี้เกาะติดอยู่กับมิวโคซา
(mucosa) ของลําไส้เล็ก พยาธิสภาพขึ้นอยู่กับจํานวนพยาธิ ถ้าพยาธิมีจํานวนไม่
มากนัก อาจมีการอักเสบเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและผู้ป่วยไม่มีอาการทางคลินิก แต่
ถ้าพยาธิมีจํานวนมากทําให้มีการอักเสบมาก มีการหลุดลอก (sloughing) และ
เกิดแผลเน่าตาย (necrosis) ของผนังมิวโคซารวมทั้งมีเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอสิโนฟิล
และนิวโทรฟิล (eosinophil-neutrophil infiltration) ในผนังลําไส้ การตรวจ
ด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่ามีการอักเสบเรื้อรังของลําไส้ ไมโครวิลไล (microvilli)
หดสั้นและบางบริเวณเชื่อมต่อกัน ผนังลําไส้บางส่วนหลุดลอก พยาธิอาจใช้ส่วน
ปลายสุดของหัวแทงเข้าไปบริเวณผนังลําไส้ ตัวพยาธิอาจเข้าไปอยู่ภายในและถูก
หุ้มด้วยผนังลําไส้ (รูปที่ 4.12)
โรคที่เกิดจากพยาธิสกุล Haplorchis เรียกว่า Haplorchiasis(70) อาการที่
เกิดขึ้นในผู้ป่วยในประเทศไทย คือปวดท้อง ท้องเดินปนเลือดเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ
มีอาการคลื่นไส้ ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง อาจมีอาเจียน ท้องผูก(71) อาการของ
ผู้ป่วยที่มีรายงานในประเทศฟิลิปปินส์ผู้ป่วยมีอาการคล้าย peptic ulcer คือปวด
หรือแน่นท้อง (borborygmi) คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียเรื้อรัง น้ําหนักลด ส่วน
ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการแสดง(56)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 139

รูปที่ 4.12 พยาธิสภาพของลําไส้เล็กที่เกิดจากพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก Haplorchis


taichui 1) ผนังลําไส้บางลง (ลูกศรชี้) 2) พยาธิใช้ส่วนปลายสุดของหัว (ลูกศรชี้) แทง
เข้าไปบริเวณผนังลําไส้ 3), 4) ตัวพยาธิอาจเข้าไปอยู่ภายในและถูกหุ้มด้วยผนังลําไส้
(ลูกศรชี้) (ภาพถ่ายได้รับความอนุเคราะห์จาก นพ.ปิยะพงษ์ อุ่นปัญโญ และศ.ดร.นพ.คม
สุคนธสรรพ์)
140 พยาธิใบไม้

ส่วนพยาธิสภาพนอกลําไส้มีรายงานจากประเทศฟิลิปปินส์ พบพยาธิตัว
เต็มวัยและไข่ในหัวใจทําให้เกิดภาวะหัวใจวาย ไข่บางส่วนมีเนื้อพังผืดมาล้อมรอบ
และมีหินปูนจับ โดยเฉพาะบริเวณลิ้นหัวใจไมตรัล (mitral valve) ที่มีลักษณะ
แข็งตัว (sclerosed) นอกจากนี้ยังพบในกล้ามเนื้อหัวใจด้วย ผู้ป่วยที่มีพยาธิจํานวน
มากอาจทําให้เกิดลําไส้อักเสบเป็นส่วน ๆ ได้ (segmental enteritis) โดยอาจเป็น
มากถึงมีลําไส้ทะลุได้ โดยพบผู้ป่วยลักษณะดังกล่าวที่จังหวัดลําปาง(71)
การวินิจฉัย(2,4,5)
1. การตรวจหาไข่พยาธิ H. taichui ในอุจจาระ ทําได้โดยการตรวจพบไข่
พยาธิในอุจจาระ อาจแยกได้ยากจากพยาธิที่มีไข่รูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่ง
ได้แก่ไข่พยาธิใบไม้ตับ O. viverrini และไข่พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็กชนิดอื่น
อย่างไรก็ตามมีรายงานตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับและไข่พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก
ออกจากกันได้โดย ศ.ดร.นพ.คม สุคนธสรรพ์ และคณะ (2542)(72) โดยใช้วิธีการ
ตรวจอุจจาระด้วยวิธีเข้มข้นฟอร์มาลิน-อีเทอร์(73) และย้อมไข่ด้วยสารละลายด่าง
ทับทิมร้อยละ 1 และปรับปรุงวิธีการโดยสมศักดิ์ เปียงใจ และคณะ (2543)(74)
วิธีการดังกล่าวมีขั้นตอนดังแสดงในแผนภูมิที่ 4.1
มีการพัฒนาวิธีทางด้านอณูชีววิทยา เพื่อใช้ในการจําแนกระยะต่าง ๆ ของ
พยาธิใบไม้ที่มีไข่รูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกันเช่น การศึกษาของ ผศ.ดร.ชัยวัฒน์
ตัณทราวัฒน์พันธ์ และคณะ (2557)(75) ได้พัฒนาวิธี PCR ร่วมกับการเรียงลําดับ
นิวคลีโอไทด์แบบสังเคราะห์อย่างรวดเร็ว (pyrosequencing) ของยีน 28S rDNA
พบว่าสามารถจําแนกระยะต่าง ๆ คือ ไข่ เซอร์คาเรีย และเมตาเซอร์คาเรียของ
พยาธิใบไม้ O. viverrini, C. sinensis, H. taichui, H. pumilio และ S. falcatus
ได้
พยาธิใบไม้ลําไส้ 141

นําอุจจาระ ∼ 3 กรัม ผสมกับน้ําเกลือจํานวน 15


มิลลิลิตร กรองผานผากอซ 2 ชั้นที่เปยกน้ําลง
ในหลอดแก ว สํ า หรั บ ป น ที่ มี ป ริ ม าตร 15
- ปน 2,000 รอบตอนาที นาน 2 นาที
- ดูดน้าํ เกลือที่ใสทิ้ง

เติม 10% สารละลายฟอรมาลิน 10 มิลลิลิตร และ


diethyl ether 3 มิลลิลิตร ปดหลอดปนดวยจุก
ยาง เขยาสารทั้งหมดอยางแรง นาน 30 วินาที
- ปนที่ 2,000 รอบตอนาที นาน 2 นาที
- ดูดขยะและน้ําที่อยูดานบนทิ้ง

เติม diethyl ether 1 มิลลิลิตร ปดหลอดปนดวยจุก


ยาง เขยาหลอดอยางแรง นาน 30 วินาที

- ดูดน้าํ ที่อยูดานบนทิ้ง

ดูดตะกอนทีเ่ หลือกนหลอด 1 หยดลงบนสไลดกระจกที่


สะอาด และหยด 1% สารละลายดางทับทิม จํานวน 1
หยดบนสไลดกระจกเดียวกัน
ใชขอบ coverslip กวนสารละลายทั้งสองเขาดวยกัน แลว
ใช coverslip ปดทับ

นําไปตรวจหาไขพยาธิภายใตกลองจุลทรรศน

แผนภูมิที่ 4.1 ขั้นตอนการตรวจอุจจาระโดยวิธีเข้มข้นฟอร์มาลีน-อีเธอร์


142 พยาธิใบไม้

2. การตรวจหาเมตาเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก H. taichui จาก


เนื้อปลาสามารถบอกถึงความชุกของพยาธิในโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 ได้ วิธีการ
ตรวจหาเมตาเซอร์คาเรียมีหลายวิธีเช่น
2.1 การใช้แผ่นกระจกกดทับปลา แล้วตรวจสอบภายใต้กล้อง stereo-
microscope ซึ่งสามารถตรวจได้เฉพาะเนื้อและครีบ(76)
2.2 การย่ อ ยเนื้ อ ปลาด้ ว ยน้ํ า ย่ อ ยเพปซิ น ตามวิ ธี ก ารของ ศ.ดร.โกวิ ท
พั ฒ นาปั ญ ญาสั ต ย์ และคณะ (2526) (77) ขั้ น ตอนคื อ นํ า ปลาที่ จ ะ
ตรวจหาเมตาเซอร์คาเรียล้างน้ําให้สะอาด นําปลามาขูดเอาเนื้อตรง
โคนครีบหน้าของปลาออก เตรียมสารละลายเพปซินเอ 20 กรัม ละลาย
ในน้ําที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ประมาณ 990 มิลลิลิตร เติมกรด
เกลือเข้มข้น 10 มิลลิลิตร คนให้ละลาย นําเนื้อปลาที่ขูดได้ปริมาตร
100 กรัม มาใส่ในสารละลายเพปซินเอ ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
คนสารตลอดเวลาโดยใช้เครื่องคนอัตโนมัติ นาน 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น
นําไปกรองผ่านตะแกรง ซึ่งมีขนาดรูของแผ่นตะแกรง 300 ไมโครเมตร
และ 53 ไมโครเมตรตามลําดับ นํากากที่ติดอยู่บนแผ่นตะแกรงขนาดรู
53 ไมโครเมตรไปล้างด้วยน้ําเกลือ 3 ครั้ง จากนั้นปั่นล้าง และแยก
กากด้วยเครื่อง centrifuge โดยในการล้างปั่นครั้งสุดท้ายให้แยกเอา
กากมาผสมกับน้ําเกลือ 5 มิลลิลิตร แล้วเทลงบนกระจกนาฬิกา และ
ทําการตรวจหาเมตาเซอร์คาเรียด้วยกล้อง stereomicroscope
2.3 การย่อยเนื้อปลาด้วยน้ําคั้นสับปะรด ฑูรย์ ประวัง และคณะ (2545)(78)
รายงานการนําน้ําคั้นสับปะรดที่มีความสามารถย่อยโปรตีน มีราคาถูก
มาทดสอบเพื่อลดปริมาณการใช้สารละลายเพปซินโดยการใช้น้ําคั้นจาก
สับปะรด พันธุ์ศรีราชา วิธีการคือ นําน้ําคั้นสับปะรดแช่แข็งด้วยอุณหภูมิ
-18 องศาเซลเซียสหรือ -75 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วัน สามารถ
นํามาใช้แทนสารละลายเพปซินในการย่อยเนื้อปลาเพื่อตรวจหาเมตา-
เซอร์คาเรียได้ ต่อมา ดวงหทัย ศรีภักดี (2548)(79) ทดสอบประสิทธิภาพ
การใช้น้ําคั้นสับปะรด พันธุ์ภูเก็ตผสมกับสารละลายเพปซิน พบว่าน้ํา
พยาธิใบไม้ลําไส้ 143

สั บ ปะรดผสมสารละลายเพปซิ น มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพการย่ อ ยดี ก ว่ า น้ํ า


สับปะรดคั้นสดเพียงอย่างเดียว โดยน้ําสับปะรดผสมกับสารละลาย
เพปซิน (25:75) สามารถย่อยเนื้อปลาจํานวน 10 กรัม ได้ดีและพบจํานวน
เมตาเซอร์คาเรียในปลากระมัง (Puntioplites proctozysron) มากกว่า
สารละลายเพปซินอย่างเดียว เมตาเซอร์คาเรียที่ได้จากการย่อยเนื้อ
ปลาเป็นของ H. taichui มากที่สุดร้อยละ 83.33
2.4 การใช้วิธี polymerase chain reaction (PCR) การศึกษาของ ผศ.ดร.
อุรุษา แทนขํา และคณะ (2554)(80) ได้พัฒนาเทคนิค PCR-restriction
fragment length polymorphism (PCR-RFLP) ขึ้นเพื่อใช้ในการ
จําแนกเมตาเซอร์คาเรีย ของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็กที่อยู่ในปลาน้ํา
จืดจํานวน 6 ชนิด ได้แก่ H. taichui, H. pumilio, H. yokogawai,
Procerovum varium, S. falcatus และ Centrocestus formosanus
จากการวิจัยพบว่ายีนที่เหมาะสมในการทํา PCR-RFLP คือ ยีน 28S
rDNA และใช้เอนไซม์ MboII เป็น restriction enzyme ซึ่งจะให้แถบที่มี
ขนาดโมเลกุลที่แตกต่างกัน(80)
3. การตรวจหาพยาธิตัวเต็มวัยในอุจจาระคน จากรายงานของ ศ.ประยงค์
ระดมยศ และคณะ (2537)(65) มีวิธีการตามขั้นตอนดังนี้
3.1 ให้ยา praziquantel 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แก่ผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิ
3.2 ทําการเก็บอุจจาระ
3.3 ตรวจอุจจาระโดยวิธี sedimentation คือ เติมสารละลายน้ําเกลือ
ลงไปในตัวอย่างอุจจาระและกวนให้เข้ากัน
3.4 ตรวจวินิจฉัยภายใต้กล้อง stereomicroscope
144 พยาธิใบไม้

4. การตรวจหา antibody โดยใช้ antigen ที่ทํามาจากพยาธิตัวเต็มวัยพบว่า


cytoplasmic antigen ให้ผลดีกว่า membranous antigen และพบว่าวิธีelectro-
immuno transfer blots ให้ผลดีกว่าวิธี enzyme-linked immunosorbent
assay (ELISA)
การรักษา(2,4,5)
ถ้าหากผู้ป่วยไม่มีอาการไม่จําเป็นต้องรักษา
ยา praziquantel 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้กินครั้งเดียว หรือแบ่งให้ 3 ครั้ง
ในขนาด 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ภายใน 1 วัน ให้ผลการรักษาดีมาก(57) มีการ
ทดลองพบว่ายา niclosamide (Yomesan®) สามารถใช้รักษาได้ผลดี โดยให้ใน
ขนาด 4 เม็ด (เม็ดละ 0.5 กรัม) วันละครั้ง วันเว้นวัน จํานวน 3 ครั้ง การศึกษาใน
สัตว์ทดลองโดยใช้หนูถีบจักร (Mus musculus) พบว่า niclosamide ในขนาด
40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สามารถทําให้พยาธิหมดไปจากหนูได้ทั้งหมด(81)
นอกจากนี้การศึกษาเบื้องต้นถึงยา albendazole พบว่า ให้ยาในขนาด 40
มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้ผลดีมาก (อัตราการหายร้อยละ 100) ในการรักษา(82)
รายงานการรักษาพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็กคือพยาธิในสกุล Haplorchis ใน
ประเทศไทยพบว่ายา albendazole 400 มิลลิกรัม ให้ผลการรักษาพยาธิใบไม้
ลําไส้ขนาดเล็ก ร้อยละ 42.5 ส่วนยา mebendazole 500 มิลลิกรัม ให้ผลใน
การรักษาร้อยละ 32.4
มีรายงานการรักษาโดยรับประทานยากลุ่ม benzimidazole ครั้งเดียวไม่
สามารถให้ผลการรักษาขับตัวพยาธิ แต่สามารถลดภาวะการติดเชื้อของพยาธิลง
ได้ 1/3 ถึง 2/5(83)
การป้องกัน(2,4,5)
1. ไม่รับประทานปลาดิบและไม่ให้อาหารแก่สุนัขและแมวด้วยปลาที่ปรุงไม่สุก
2. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
พยาธิใบไม้ลําไส้ 145

สรุปวงจรชีวิตของ Haplorchis taichui


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ลําไส้เล็ก
• โฮสต์เฉพาะ: คน สุนัข แมวและสัตว์กินปลา
• โฮสต์ส่อื กลางตัวที่ 1: หอยน้ําจืดเช่น Melanoides tuberculata,
Thiara granifera(34) และ Thiara tuberculata
• โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2: ปลาน้ําจืดมีเกล็ดเช่น Puntius spp.(84)
• การติดโรค: กินปลาที่มีเมตาเซอร์คาเรีย

Heterophyes heterophyes
(Siebold, 1852) Stiles and Hassall, 1900

โรค
Heterophyiasis
ประวัติและการกระจายทางภูมิศาสตร์
พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2394(1) โดย Bilharz จากการผ่าศพพบพยาธิใน
ลําไส้ของเด็กชายชนพื้นเมืองชาวอียิปต์ ในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์พบพยาธิชนิด
นี้ได้บ่อยในบริเวณสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ําไนล์ มีรายงานพบในประเทศอียิปต์ ตุรกี
อิ ส ราเอล ญี่ ปุ่ น เกาหลี ตอนใต้ ข องสาธารณรั ฐ ประชาชนจี น เกาะไต้ ห วั น
ฟิลิปปินส์ สเปน กรีก และโมรอคโค(85) นอกจากคนแล้วยังพบในสุนัข แมว และ
นกกินปลา(86,87) ในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานพบพยาธิชนิดนี้ในคน
กายรูปวิทยา(2,4,11)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดเล็ก (0.3-0.7×1.0-1.8 มิลลิเมตร) รูปร่างเรียว ส่วนหัวเรียวกว่า
ส่วนท้าย ผิวลําตัวปกคลุมด้วยหนามลักษณะคล้ายเกล็ด (scale-liked spines)
โดยจะพบมากบริเวณส่วนหัว (anterior part) oral suckerอยู่เกือบปลายสุด
146 พยาธิใบไม้

ส่วนหัวมีขนาดเล็กกว่า ventral sucker ที่อยู่กึ่งกลางลําตัว ถัดจาก ventral


sucker ไปทางด้านหลังมี genital sucker 1 อัน
ลําไส้แยกเป็น 2 แขนง ยาวไปจนถึงส่วนท้ายลําตัวมีอัณฑะรูปไข่ 2 ก้อน
อยู่เกือบขนานกันทางด้านท้ายของลําตัว รังไข่รูปร่างค่อนข้างกลมอยู่หน้าอัณฑะ
มี vitelline follicles อยู่ทางด้านข้างลําตัวทางด้านท้าย ข้างละประมาณ 14 ก้อน
มดลูกขดไปมาอยู่บริเวณส่วนท้ายลําตัว และอยู่ระหว่างลําไส้ทั้งสองแขนง (รูปที่
4.13)
ไข่(2,4)
กลมรี ขนาดเล็ก (15-17×28-30 ไมโครเมตร) รูปร่างลักษณะคล้ายไข่
O. viverrini แต่มีผิวเรียบกว่าและมองเห็นไหล่ไม่ชัด
วงจรชีวิต(1,55)
พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในลําไส้เล็กของโฮสต์เฉพาะเช่น คน แมว สุนัข
สุนัขจิ้งจอก หนู แมวป่า ค้างคาวและสัตว์ที่กินปลาเป็นอาหาร พยาธิออกไข่ใน
ลําไส้และปนออกมากับอุจจาระ เมื่อไข่ตกลงสู่น้ําและถูกหอยน้ํากร่อย (brackish
water snail) เช่น Pirenella conica และ Cerithidea cingulata ซึ่งเป็นโฮสต์
สื่อกลางตัวที่ 1 กินเข้าไป ไมราซิเดียมจะเจริญเป็นสปอโรซิสต์ รีเดียแม่ รีเดียลูก
และเซอร์คาเรีย โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์
จากนั้นเซอร์คาเรียจะไชออกจากหอยเข้าสู่โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 คือ ปลา
น้ํากร่อยเช่น Mugil cephalus, Tilapia nilotica เจริญเติบโตเป็นเมตาเซอร์-
คาเรียอยู่บริเวณเกล็ด ครีบ เหงือกและหางปลา แต่พบในเนื้อปลาน้อยมาก เมื่อ
โฮสต์เฉพาะกินปลาที่ปรุงไม่สุก จะได้รับเมตาเซอร์คาเรียเข้าไป จากนั้นเมตาเซอร์-
คาเรียจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในลําไส้ต่อไป (รูปที่ 4.14)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 147

oral sucker

ventral sucker
genital sucker
uterus with
eggs
ovary

testes

(a) (b)
รูปที่ 4.13 ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก Heterophyes heterophyes (a)
ภาพถ่าย (b) ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่าง
จริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
148 พยาธิใบไม้

โฮสตเฉพาะ Adult

คน สุนัข
แมว และ Egg
สัตวกินปลา
Miracidium

โฮสตสื่อกลางตัวที่ 2: ปลามีเกล็ด โฮสตสื่อกลางตัวที่ 1: หอย


Sporocyst
Redia
Cercaria

Cercaria
รูปที่ 4.14 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก Heterophyes heterophyes
(ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 149

ระบาดวิทยา
คนติดเชื้อพยาธิจากการกินปลาที่ปรุงไม่สุก ในธรรมชาติพบพยาธิชนิดนี้ได้
ในแมว สุนัข สุนัขจิ้งจอกและสัตว์กินปลา ไม่มีรายงานพบพยาธิชนิดนี้ในประเทศ
ไทย

พยาธิสภาพและอาการ(2,4,5)
พยาธิชนิดนี้มีขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยเกาะติดอยู่กับมิวโคซา (mucosa) ของ
ลําไส้ พยาธิสภาพจะขึ้นอยู่กับจํานวนพยาธิ ถ้ามีพยาธิไม่มากจะมีการอักเสบ
เพียงเล็กน้อยและผู้ป่วยไม่แสดงอาการอะไร แต่ถ้ามีพยาธิจํานวนมากจะทําให้มี
การอักเสบระคายเคืองมาก พยาธิสภาพที่สําคัญเกิดจากตัวพยาธิไชเข้าไปในเยื่อบุ
ลําไส้ หรืออาจเข้าไปในหลอดเลือดทําให้ไข่พยาธิมีโอกาสที่จะเข้าไปในระบบ
หมุนเวียนโลหิตและเข้าสู่อวัยวะต่าง ๆ(88,89) เช่น ปอด ตับ หัวใจ สมองและไขสัน-
หลัง ทําให้เกิดการอุดตัน (embolism) อาจทําให้เกิดอาการรุนแรงของโรคได้

การวินิจฉัย(2,4,5)
ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิ ที่อาจวินิจฉัยแยกจากไข่พยาธิที่มีลักษณะ
คล้ายกันได้ยาก แต่หากพบพยาธิตัวเต็มวัยจะสามารถวินิจฉัยได้ง่ายและแน่นอน
กว่าจากรูปร่างลักษณะเฉพาะของพยาธิ

การรักษา(1,34)
praziquantel 15-25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้กินเพียงครั้งเดียวก่อนนอน
หรือใช้ niclosamide (Yomesan®) ที่ให้ผลรักษาได้ดีเช่นกัน โดยให้ในขนาด 4
เม็ด (เม็ดละ 0.5 กรัม) วันละครั้ง วันเว้นวัน จํานวน 3 ครั้ง หรือเลือกใช้ tetra-
chloroethylene
150 พยาธิใบไม้

การป้องกัน(2,4,5)
1. ไม่รับประทานปลาดิบและไม่ให้อาหารแก่สุนัขและแมวด้วยปลา
ที่ปรุงไม่สุก
2. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

สรุปวงจรชีวิตของ Heterophyes heterophyes


• ที่อยู่ปกติในโฮสต์เฉพาะ: ลําไส้เล็ก
• โฮสต์เฉพาะ: คน สุนัข แมวและสัตว์กนิ ปลา
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 1: หอยน้ํากร่อยเช่น Pirenella conica และ
Cerithidea cingulata
• โฮสต์สอื่ กลางตัวที่ 2: ปลาน้ํากร่อยเช่น Mugil cephalus,
Mugil capito และ Tilapia nilotica
• การติดโรค: กินปลาที่มีเมตาเซอร์คาเรีย

Stellantchasmus falcatus
Onji et Nishio, 1915

ประวัติและการกระจายทางภูมิศาสตร์
มีรายงานการพบครั้งแรกในแมว เมื่อปีพ.ศ. 2458 โดย Onji และ Nishio(90)
ส่วนในคนมีรายงานพบในประเทศญี่ปุ่น(91,92) เกาะฮาวายของสหรัฐอเมริกา(93)
เกาหลี(94) กัมพูชา(95) สปป.ลาว(96) และเวียดนาม(97) ส่วนในประเทศไทยพบใน
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(53,98,99)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 151

กายรูปวิทยา(2,4,100,101)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดเล็ก (0.484×0.246 มิลลิเมตร) รูปร่างเรียวคล้ายกระสวย มีหนาม
ปกคลุมผิวตลอดลําตัว oral sucker ขนาด (41×50 ไมโครเมตร) อยู่เกือบปลาย
สุดส่วนหัว มีคอหอยสั้นขนาด (29×21 ไมโครเมตร) ลําไส้แยกเป็น 2 แขนง ยาว
ไปตามด้านข้างถึงขอบหน้าอัณฑะ ventral sucker มีขนาดเล็ก มีอัณฑะรูปไข่ 2
ก้อน (ก้อนขวามีขนาด 117×74 ไมโครเมตร: ก้อนซ้ายมีขนาด 114×63 ไมโคร-
เมตร) อยู่สองข้างลําตัว รังไข่มีขนาด (58×69 ไมโครเมตร) 1 อันอยู่ทางด้านขวา
ของลําตัวระหว่าง ventral sucker และอัณฑะ มี vitelline follicles เป็นก้อน
จํานวนมากอยู่ถึงปลายท้ายลําตัว(95)
ไข่(2,4)
รูปกลมรีขนาดเล็ก (22.5×11.4 ไมโครเมตร) รูปร่างลักษณะคล้ายไข่ O.
viverrini แต่มีผิวเรียบกว่า เมื่อมองดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่อง
กราดพบว่าไม่มีลายบนเปลือกไข่
วงจรชีวิต(2,4,5)
มีว งจรชีว ิต คล้า ยคลึง กับ Heterophyid flukes ชนิด อื ่น โดยมีโ ฮสต์
สื่อกลางตัวที่ 1 เป็นหอย Stenomelania newcombi, Thiara granifera และ
Tarebia granifera mauiensis(102,103) โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 คือ ปลา Mugil
cephalus(3,102), Mugil dussumieri, Anabas testudineus, Liza menada,
Acanthogobius flavimanus และ Dermogenys pusillus
มีรายงานพบเมตาเซอร์คาเรียของ S. falcatus ในปลากระบอก Chelon
macrolepis พบความชุกของเมตาเซอร์คาเรีย 177 ตัว/ปลา 1 ตัว เมตาเซอร์-
คาเรียมีขนาด 220×168 ไมโครเมตร(95) ส่วนในสปป.ลาว พบเมตาเซอร์คาเรียที่
หางปลา Xenentodon canciloides(96)
152 พยาธิใบไม้

การศึกษาของ รศ.ดร.ชโลบล วงศ์สวัสดิ์ และคณะในปี พ.ศ. 2543 พบเม


ตาเซอร์คาเรียของ S. falcatus ร้อยละ 100 ในปลา X. cancila ที่จับจากลําน้ํา
แม่สา บริเวณอุทยานดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่(104) ต่อมา ดร.สุภาพ แสน
เพชร และคณะ รายงานพบเมตาเซอร์คาเรียในปลา Dermogenus pusillus
(ร้ อ ยละ 39.34) ที่ จับ จาก 4 อํ า เภอของจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ (หางดง สั นป่ า ตอง
จอมทอง และฮอด)(105)
การศึกษาของ ดร.ประลองยุทธ ศรีปาลวิทย์ และคณะในปี พ.ศ. 2546
พบว่าปลา half-beaked fish (D. pusillus) ที่จับจากอําเภอเมือง หางดง ดอย
สะเก็ดและสารภีของจังหวัดเชียงใหม่ติดเชื้อพยาธิชนิดนี้มาก โดยความชุกของเม
ตาเซอร์คาเรียต่อปลา 1 ตัวคือ 652-1,342 (ค่าเฉลี่ย 999.5) ในเมือง 562-2,422
(1,323.1) ในหางดง 185-2,492 (502.6) ในสารภีและ 22-550 (210.4) ในดอย
สะเก็ด โดยส่วนที่พบมากที่สุดคือบริเวณกล้ามเนื้อปลา(106)
ปลาน้ําจืดที่มีเมตาเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็กในประเทศ
ไทยดังแสดงในตารางที่ 4.3(107)
พยาธิสภาพและอาการ การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน(2,4,5)
เช่นเดียวกับ Heterophyid flukes อื่น ๆ
พยาธิใบไม้ลําไส้ 153

ตารางที่ 4.3 ปลาน้ําจืดที่มีตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้


ลําไส้ขนาดเล็กในประเทศไทย(107)

พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก ชนิดของปลาน้าํ จืดที่พบในประเทศไทย


Haplorchis taichui Anabus testudineus (ปลาหมอไทย)
Aplocheilus panchax (ปลาหัวตะกัว)
Amblyrhynchichthys truncatus
(ปลาตามิน)
Barbonymus altus (= Barbodes altus)
(ปลาตะเพียนทอง)
Barbonymus gonionotus (= Puntius
gonionotus, Barbodes gonionotus)
(ปลาตะเพียนขาว)
Barbonymus schwanenfeldii (= Puntius
schwanenfeldii) (ปลากระแห)
Cirrhinus jullieni (ปลาสร้อยขาว)
Cyclocheilichthys apogon
(ปลาไส้ตันตาแดง)
Cyclocheilichthys armatus (=
Cyclocheilichthys siaja)
(ปลาปากเหลี่ยม)
Cyclocheilichthys repasson
(ปลาไส้ตันตาขาว)
Dermogenys pusilla (= Dermogenys pusillus)
(ปลาเข็ม)
Devario regina (= Danio regina)
(ปลาซิวใบไผ่)
Esomus metallicus (ปลาซิวหนวดยาว)
Hampala dispar (ปลากระสูบจุด)
Hampala macrolepidota (ปลากระสูบขีด)
Henicorhynchus siamensis (ปลาสร้อยขาว)
154 พยาธิใบไม้

พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก ชนิดของปลาน้าํ จืดที่พบในประเทศไทย


Labiobarbus siamensis (= Labiobarbus
spilopleura) (ปลาซ่า)
Mystacoleucus atridorsalis
(ปลาหนามหลังคีบดํา)
Mystacoleucus marginatus
(ปลาหนามหลัง)
Notopterus notopterus (ปลาสลาด)
Osteochilus vittatus (= Osteochilus hasselti)
(ปลาสร้อยนกเขา)
Paralaubuca barroni (ปลาแปบ)
Paralaubuca harmandi (ปลาแปบควาย)
Poropuntius deauratus (ปลาจาด)
Puntioplites proctozystron
(ปลากระมังครีบสั้น)
Puntius brevis (= Puntius leiacanthus) (ปลา
ตะเพียนทราย)
Puntius orphoides (= Systomus orphoides)
(ปลาแก้มช้ํา)
Raiamas guttatus (ปลานางอ้าว)
Rasbora tornieri (ปลาซิวควาย)
Thynnichthys thynnoides
(ปลาสร้อยเกล็ดถี่)
Haplorchis pumilio Barbonymus schwanenfeldii (= Puntius
schwanenfeldii) (ปลากระแห)
Cirrhinus jullieni (ปลาสร้อยขาว)
Cyclocheilichthys armatus (=
Cyclocheilichthys siaja)
(ปลาปากเหลี่ยม)
Cyclocheilichthys repasson
(ปลาไส้ตันตาขาว)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 155

พยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก ชนิดของปลาน้าํ จืดที่พบในประเทศไทย


Devario regina (= Danio regina)
(ปลาซิวใบไผ่)
Esomus metallicus (ปลาซิวหนวดยาว)
Hampala dispar (ปลากระสูบจุด)
Henicorhynchus siamensis
(ปลาสร้อยขาว)
Labiobarbus leptocheilus (= Labiobarbus
burmanicus)
(ปลาสร้อยลูกกล้วย)
Mystacoleucus atridorsalis
(ปลาหนามหลังคีบดํา)
Osteochilus vittatus (= Osteochilus hasselti)
(ปลาสร้อยนกเขา)
Puntioplites proctozystron
(ปลากระมังครีบสั้น)
Puntius brevis (= Puntius leiacanthus) (ปลา
ตะเพียนทราย)
Stellantchasmus falcatus Anabus testudineus (ปลาหมอไทย)
Acantopsis thiemmedhi (ปลารากกล้วย)
Henicorhynchus siamensis
(ปลาสร้อยขาว)
Liza subviridis (ปลากระบอก)
Puntius brevis (= Puntius leiacanthus) (ปลา
ตะเพียนทราย)
Xenentodon cancila (ปลากะทุงเหว)
156 พยาธิใบไม้

FAMILY LECITHODENDRIIDAE
(Luhe, 1901) Odhner, 1910

พยาธิใน family นี้เป็นพยาธิใบไม้ขนาดเล็กอาศัยอยู่ในลําไส้เล็กของโฮสต์


เฉพาะพวกสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 เป็นหอยน้ํา
จืดและโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 คือ ตัวอ่อนของแมลงปอที่อยู่ในน้ํา (naiad)

Phaneropsolus bonnei
Lei-Kian Joe, 1951

ประวัติ
รายงานพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดย Lie-Kian-Joe(6) ซึ่งพบพยาธิใน
ศพที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยมีรายงานพบครั้งแรกที่
จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี พ.ศ 2513(108) โดย Manning และคณะ พบพยาธิในลําไส้
เล็กของผู้ป่วย
กายรูปวิทยา(2,4,109)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดเล็ก (300-500×450-850 ไมโครเมตร) รูปร่างกลมรีคล้ายหยดน้ํา
ผิวมีหนามรอบตัว oral sucker มีขนาดใหญ่อยู่เกือบปลายหัว ventral sucker
อยู่ 1/3 ของลําตัว ลําไส้ปลายตัน 2 อัน แต่สั้นมาก โดยสิ้นสุดที่ระดับ 1/4 ของ
ลําตัวส่วนบน อัณฑะรูปไข่มี 2 ก้อน ขนาดใหญ่กว่า ventral sucker อยู่ 2 ฟาก
ลําตัว ค่อนไปทางด้านหัวในระดับเดียวกับ ventral sucker รังไข่ มี 1 ก้อน อยู่
เหลื่อมซ้อนเล็กน้อยกับอัณฑะ
พยาธิใบไม้ลําไส้ 157

มดลู ก เจริ ญ ดี มี ลั ก ษณะขดไปมาอยู่ เ ต็ ม ส่ ว นท้ า ยลํ า ตั ว มี vitelline


follicles ขนาดใหญ่เห็นชัดเจน อยู่รวมกันเป็นกระจุก ๆ ละ 6-9 เม็ด อยู่ 2 ฟาก
ลําตัวทางหัว มีกระเพาะขับถ่าย (excretory bladder) เป็นรูปตัว Y (รูปที่ 4.15)
ไข่(2,4)
รูปร่างกลม ผนังบาง คล้ายกับไข่ของพยาธิ O. viverrini แต่มีขนาดยาว
กว่า (10-18×23-24 ไมโครเมตร) บริเวณฝาเห็นไหล่ไม่ชัด และเมื่อดูด้วยกล้อง
จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าผิวของเปลือกไข่เรียบ ไม่มีลาย

วงจรชีวิต(2,4)
ยังไม่ทราบวงจรชีวิตที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาคาดว่าพยาธิตัวเต็มวัยที่
อาศัยอยู่ในลํ าไส้ เล็ กของโฮสต์ เฉพาะคือ คนและลิงจะปล่อยไข่พยาธิ ออกมา
พร้ อ มกั บ อุ จ จาระ เมื่ อ ไข่ ต กลงสู่ น้ํ า ไมราซิ เ ดี ย มจะไชเข้ า สู่ ห อย (Bithynia
spp.)(110) เช่น Bithynia (Digoniostoma) siamensis goniomphalos ซึ่งเป็น
โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 และเจริญเติบโตเป็นสปอโรซิสต์ รีเดียแม่ รีเดียลูกและ
เซอร์คาเรียในที่สุด
เซอร์คาเรียจะไชออกจากหอยเข้าสู่โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2 คือ ตัวอ่อน
แมลงปอ (naiad) ที ่ม ีชื ่อ เรีย กว่า แมงระกํ า หรือ อิเ หนี ้ย ว ชนิด ที ่สํ า คัญ คือ
Orthetrum sabina, Trithemis pallidinervis, Crocothemis servilia และ
Brachythemis contaminata คนได้รับพยาธินี้โดยการกินตัวอ่อนแมลงปอที่
ปรุงไม่สุก

พยาธิสภาพและอาการ(2,4)
ยังไม่มีรายงานอาการและพยาธิสภาพของโรคที่เกิดจากพยาธินี้
158 พยาธิใบไม้

การวินิจฉัย(2,4,5)
ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิที่มีรูปร่างคล้ายไข่ O. viverrini แต่เมื่อหยด
น้ํายาไอโอดีนจะเห็นก้อนสีน้ําตาลภายในไข่ (iodophilic body) การตรวจอุจจาระ
เพื่อหาตัวพยาธิและอาศัยรูปร่างลักษณะของตัวพยาธิประกอบจะสามารถให้การ
วินิจฉัยได้แม่นยํามากขึ้น

oral sucker
vitellaria
testes

uterus
with eggs

excretory bladder

(a) (b)
รูปที่ 4.15 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก Phaneropsolus bonnei (a) ภาพถ่าย
(b) ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูป
และวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 159

การรักษา(2,4,5)
praziquantel 15-25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ครั้งเดียวก่อนนอน

การป้องกัน(1,2,8)
1. กินอาการที่ปรุงจากตัวอ่อนแมลงปอที่สุกดีแล้ว
2. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

Phaneropsolus spinicirrus
Kaewkes, Elkins, Haswell-Elkins and Sithithaworn, 1991

ประวัติ
รศ.ดร.ศศิธร แก้วเกษ และคณะ ได้พบและรายงานพยาธิชนิดนี้ในคนเป็น
ครั้งแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2543 ในจังหวัดกาฬสินธุ(2,4)

กายรูปวิทยา(2,4)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดเล็ก (0.651×0.502 มิลลิเมตร) รูปร่างรี ผิวมีหนามคลุมตลอดตัว
ยกเว้นบริเวณ oral sucker, ventral sucker และ genital pore oral sucker
อยู่ปลายหน้าสุดต่อมาคือคอหอยและหลอดอาหาร ลําไส้สั้นอยู่ด้านหน้าของตัว
ventral sucker อยู่กึ่งกลาง อัณฑะรูปไข่หรือกลมอยู่ทางด้านข้างใกล้กับส่วน
ปลายของลําไส้ มีรังไข่ vitelline follicles มี 2 กลุ่มขนาดเท่า ๆ กันกลุ่มละ 6-9
อัน อยู่ทางด้านข้างเหนืออัณฑะ มดลูกขดเป็นเกลียวอยู่ครึ่งหลังของตัว excretory
bladder ขนาดใหญ่รูปตัว V

ไข่(2,4)
รูปไข่ ขนาด (27-33×13-16 ไมโครเมตร) ผิวเรียบ ข้างหนึ่งมีฝา ขอบของ
ไข่อาจมองไม่เห็น
160 พยาธิใบไม้

วงจรชีวิต(2,4,5)
ยังไม่มีรายงาน

Prosthodendrium molenkampi
Lei-Kian Joe, 1951

ประวัติ
Lei-Kian Joe พบพยาธิในคนเป็นครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย(111) ในปี
พ.ศ. 2494 สําหรับประเทศไทยมีรายงานพบพยาธิในคน ค้างคาว (Scotophilus
kuhlii) และหนู (Rattus rattus) ในปี พ.ศ. 2514 ที่จังหวัดอุดรธานี และ
หนองคาย(112) ในปี พ.ศ. 2527(113) และ 2537(65) ศ.ประยงค์ ระดมยศ และคณะ
รายงานการพบพยาธิชนิดนี้ประมาณร้อยละ 19.4 ของประชากรในภาคตะวันออก-
เฉียงเหนือที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจจาระ
กายรูปวิทยา(2,4,108)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดเล็ก (410-770×550-920 ไมโครเมตร) รูปร่างกลมรีหรือยาวรีมี
หนามเล็ก ๆ ปกคลุมตลอดตัว oral sucker และ ventral sucker มีขนาดใกล้เคียง
กัน ลําไส้ปลายตันแต่สั้นมากโดยแยกเป็น 2 แขนงยาว และไปสิ้นสุดบริเวณเหนือ
อัณฑะ อัณฑะมี 2 ก้อน มีลักษณะกลม หรือรูปไข่อยู่สองฟากลําตัวระดับเดียวกับ
ventral sucker มีรังไข่ 1 อัน ลักษณะเป็นแขนงอยู่ระหว่างอัณฑะ มดลูกอยู่ครึ่ง
ลําตัวส่วนล่าง vitelline follicles มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกระจุก ๆ ละ 12-30
เม็ด อยู่ด้านข้างเหนือลําไส้ทางส่วนหัว excretory bladder เป็นรูปตัว V รูปร่าง
ลักษณะโดยทั่วไปของ P. molenkampi ค่อนข้างคล้ายคลึงกับ P. bonnei แต่มี
ลักษณะเด่นที่สามารถใช้แยกจากกันได้ คือ (1) ขนาดและการจัดเรียงตัวของ
vitelline follicles (2) รูปร่างของรังไข่ (3) ลักษณะและรูปร่างของ excretory
bladder (รูปที่ 4.16)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 161

ไข่(2,4)
มีขนาดเล็ก (10-13×22-29 ไมโครเมตร) รูปร่างคล้ายกับไข่ของพยาธิ O.
viverrini และ P. bonnei มาก แต่มีขนาดเล็กกว่า และเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จะไม่พบลายบนเปลือกไข่
วงจรชีวิต(2,4,5)
ยังไม่ทราบวงจรชีวิตที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาของ Manning และคณะ(110)
คาดว่าคล้ายกับ P. bonnei โดยมีหอยน้ําจืด Bithynia goniomphalos เป็น
โฮสต์สื่อกลางตัวที่ 1 และตัวอ่อนของแมลงปอเป็นโฮสต์สื่อกลางตัวที่ 2
พยาธิสภาพและอาการ(2,4)
ยังไม่มรี ายงานอาการและพยาธิสภาพของโรคที่เกิดจากพยาธินอี้ ย่างเด่นชัด
การวินิจฉัย(2,4,5)
ตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิที่มีรูปร่างคล้ายไข่ O. viverrini แต่เมื่อหยด
น้ํายาไอโอดีนจะเห็นก้อนสีน้ําตาล (iodophilic body) ภายในไข่
การป้องกัน(2,4,5)
กินอาหารทีป่ รุงจากตัวอ่อนแมลงปอที่สุกดีแล้ว และถ่ายอุจจาระลงส้วมที่
ถูกสุขลักษณะ
162 พยาธิใบไม้

oral sucker

vitellaria
testes
ovary

uterus
with eggs

excretory
bladder
(a) (b)

รูปที่ 4.16 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้ลําไส้ขนาดเล็ก Prosthodendrium molenkampi


(a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจติ อล; ภาพวาดจาก
ตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้ลําไส้ 163

FAMILY PLAGIORCHIIDAE
(Luhe, 1910) Ward, 1917

พยาธิใน family นี้เป็นพยาธิใบไม้ขนาดเล็ก รูปร่างรี มีหนามปกคลุมผิว


ลําตัว มีอวัยวะยึดเกาะเจริญดี คอหอยเห็นชัด รังไข่อยู่แกนกลางหรือด้านข้าง
ระหว่างอัณฑะและ ventral sucker มดลูกอยู่ระหว่างอัณฑะทั้งสอง ไข่ขนาดเล็ก
ฝาเห็นชัด และภายในมีไมราซิเดียมเจริญเต็มที่แล้ว ปกติเป็นปรสิตในลําไส้ ท่อ
น้ําดีหรือถุงน้ําดีของสัตว์มกี ระดูกสันหลังเช่น สัตว์ปกี และสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนม

Plagiorchis harinasutai
Radomyos, Bunnag, Harinasuta, 1989

ประวัติ
ในปี พ.ศ. 2532 ศ. ประยงค์ ระดมยศ และคณะ(46) ได้รายงานพบพยาธิ
ชนิดนี้เป็นครั้งแรกในผู้ป่วย 4 ราย จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
และต่อมามีรายงานพบผู้ป่วยเพิ่มอีก 1 ราย จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น
เดียวกัน(65) ส่วนใหญ่พบภายหลังจากการให้ยา praziquantel เพื่อฆ่าพยาธิใบไม้
ตับ
กายรูปวิทยา(2,4)
พยาธิตัวเต็มวัย
มีขนาดเล็ก (0.61×1.87 มิลลิเมตร) รูปร่างแบนรี มีหนามเล็ก ๆ ปกคลุมทั่ว
ผิวลําตัว มี oral sucker อยู่เกือบปลายสุดทางด้านหัว คอหอยเป็นกล้ามเนื้อเห็น
ได้ชัด ลําไส้ปลายตันแยกเป็น 2 แขนงยาวเกือบถึงส่วนท้ายลําตัว ventral sucker
อยู่กลางลําตัวค่อนไปทางส่วนหัว อัณฑะ 2 ก้อน มีลักษณะกลมหรือรูปไข่เรียงตัว
ตามแนวยาวลําตัว รังไข่อยู่ระหว่างอัณฑะอันแรกและ ventral sucker มี
164 พยาธิใบไม้

vitelline follicles กระจายอยู่ด้านข้างทั้งสอง มี genital pore อยู่ด้านหน้าของ


ventral sucker
ไข่(2,4)
ขนาดเล็ก (17.2×33.7 ไมโครเมตร) รูปร่างคล้ายกับไข่ของพยาธิ O. viverrini
มีฝา เปลือกไข่บางและเรียบ
วงจรชีวิต(2,4)
ยังไม่ทราบวงจรชีวิตที่แน่ชัดเนื่องจากยังไม่มีการศึกษาและรายงานไว้

บทสรุป
มีรายงานพบพยาธิใบไม้ลําไส้หลายชนิดที่เกิดจากการกิน (foodborne
intestinal flukes) ในคนซึ่งมีอาหารหลากหลายอย่างเป็นแหล่งของการติดเชื้อ
พยาธิดังกล่าวเช่น ปลาน้ําจืด พืชน้ํา ตัวอ่อนแมลงปอ นอกจากนี้พยาธิใบไม้ลําไส้
ยังมีแหล่งสะสมเชื้อในสัตว์หลายชนิดทําให้พยาธิยังคงมีอยู่ในธรรมชาติ อาการ
ทางคลินิคที่เกิดจากการติดเชื้อในคนขึ้นอยู่กับจํานวนของพยาธิ การวินิจฉัยการ
ติ ด เชื้ อ พยาธิ ใ บไม้ ลํ า ไส้ แ ต่ ล ะชนิ ด โดยการตรวจหาไข่ ใ นอุ จ จาระทํ า ได้ ย าก
เนื่องจากไข่ของพยาธิในกลุ่มนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากและคล้ายกับไข่พยาธิ
ใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini
พยาธิใบไม้ลําไส้ 165

เอกสารอางอิง
1. Beaver PC, Juing RC, Cupp EW. Clinical parasitology. 9th ed.
Philadelphia: Lea and Febiger; 1984.
2. นิมิตร มรกต, เกตุรัตน์ สุขวัจน์. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์: โปรโตซัวและ
หนอนพยาธิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: โครงการตํารา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
3. Wongsawad C, Phalee A, Noikong W, Chuboon S, Nithikathkul
C. Co-infection with Opisthorchis viverrini and Haplorchis
taichui detected by human fecal examination in Chomtong
district, Chiang Mai Province, Thailand. Parasitol Int 2012;61:56-9.
4. ประยงค์ ระดมยศ, สุวณี สุภเวชย์, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ. ตําราปรสิต
วิทยาทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2539.
5. วันชัย มาลีวงษ์, ผิวพรรณ มาลีวงษ์, นิมิตร มรกต. ปรสิตวิทยาทาง
การแพทย์: โปรโตซัวและหนอนพยาธิ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา;
2544.
6. Malek EA. Snail-transmitted parasitic diseases Vol. II. Boca
Raton, Florida: CRC Press; 1980.
7. สวัสดิ์ แดงสว่าง, มนตรี มงคลสมัย. รายงานคนไข้เด็กรายหนึ่งเป็นโรค
พยาธิใบไม้ลําไส้. จ พ ส ท 2484;24:453-65.
8. Daengsavang S, Mangalasmaya M. A record of some cases of
human infestation with Fasciolopsis buski occurring in Thailand.
Ann Trop Med Parasitol 1941;35:43-4.
9. Roberts LS, Janovy J. Gerald D. Schmidt & Larry S. Roberts’
Foundations of parasitology. 5th ed. USA: Times Mirror Higher
Education Group; 1996.
10. Bogitsh BJ, Cheng TC. Human parasitology. 2nd ed. New York:
Academic Press; 1998.
11. Barlow CH. The life cycle of the human intestinal fluke
Fasciolopsis buski (Lankester). Am J Hyg Monogr Ser 1925;4:1-
98.
166 พยาธิใบไม้

12. Graczyk TK, Gilman RH, Fried B. Fasciolopsiasis: is it controlla-


ble food-borne disease? Parasitol Res 2001;87:80-3.
13. Nakagawa A. On the life cycle of Fasciolopsis buski Lankester.
Kitasato Arch Exp Med 1921;23:545-50.
14. Rohela M, Jamaiah I, Menon J, Rachel J. Fasciolopsiasis: A first
case report from Malaysia. Southeast Asian J Trop Med Public
Health 2005;36:456-45.
15. Inpankaew T, Murrell KD, Pinhopanuwat N, Chhoun C, Khov K,
Sem T, et al. A survey for potentially zoonotic gastrointestinal
parasites of dogs and pigs in Cambodia. Acta Parasitol 2015;4:
601-4.
16. Ha ZN, Ermolenko AV. Developmental characteristics of the
causative agent of fasciolopsiasis and its epidemiology in
Vietnam. Med Parasitol (Mosk.) 2009;3:21-4.
17. Sen Sarma M, Yachha SK, Srivastava A, Poddar U. Endoscopic
extraction of Fasciolopsis buski presenting as acute upper GI
bleeding in a child. Gastrointest Endosc 2015;82:743.
18. Cao YH, Ma YM, Qiu F, Zhang XQ. Rare cause of appendicitis:
Mechanical obstruction due to Fasciolopsis buski infestation.
World Gastroenterol 2015;21:3146-9.
19. Lee TH, Huang CT, Chung CS. Gastrointestinal: Fasciolopsis
buski infestation diagnosed by upper gastrointestinal endoscopy.
J Gastroenterol Hepatol 2011;26:1464.
20. Karthikeyan G, Ramkumar V, Ponsenthil KS, Ramkumar S,
Selvamani S, Vetriveeran B, et al. Intestinal infestation with
Fasciolopsis buski leading to acute kidney injury. J of Assoc
Physicians India 2013;61:936-8.
21. Bhattacharjee HK, Yadav D, Bagga D. Fasciolopsiasis presenting
as intestinal perforation: a case report. Trop Gastroenterol
2009;30:40-1.
22. Naher BS, Shahid AT, Khan KA, Nargis S, Hoque MM.
Fasciolopsiasis in a five year old girl. Mymensingh Med J 2013;
22:397-9.
พยาธิใบไม้ลําไส้ 167

23. Mohanty I, Narasimham MV, Sahu S, Panda P, Parida B. Live


Fasciolopsis buski vomited out by a boy. ATMPH 2012;5:403-5.
24. Bunnag D, Radomyos P, Harinasuta T. Field trial on the
treatment of fasciolopsiasis with praziquantel. Southeast Asian
J Trop Med Public Health 1983;14:216-9.
25. Manning GS, Sukhawat K, Viyanant V, Subhakul M, Lertprasert
P. Fasciolopsis buski in Thailand, with comments on other
intestinal parasites. J Med Assoc Thai 1969;52:905-13.
26. พินิธ สุรินทรางกูล, สุรีย์ ก้อนเทียน, อานนท์ ประทัตสุนทรสาร. เกสโต
รดิสคอยดีส โฮมีนีส จากคนในประเทศไทย รายงานผู้ป่วย 1 ราย. จ พ ส
ท 2508;48:96-103.
27. Dada-Adegbola HO, Falade CO, Oluwatoba OA, Abiodun OO.
Gastrodiscoides hominis infection in a Nigerian-Case report. West
Afr J Med 2004;23:185-6.
28. ประยงค์ ระดมยศ, อัญชลี ตั้งตรงจิตร, พลรัตน์ วิไลรัตน์, ศรชัย หลูอารีย์
สุวรรณ, แทน จงศุภชัยสิทธิ์. Atlas of medical parasitology. พิมพ์ครั้ง
ที่ 4. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2541.
29. Dutt SC, Srivastava HD. The intermediate host and cercaria of
Gastrodiscoides hominis (Trematoda: Gastrodiscidae). Preliminary
report. J Helminthol 1966;40:45-52.
30. Dutt SC, Srivastava HD. The life-history of Gastrodiscoides
hominis (Lewis and McConnell, 1876). Leiper; 1913. The
amphistome parasite of man and pig. J Helminthol 1972;46:
35-46.
31. Ahluwalia SS. Gastrodiscoides hominis (Lewis and Mc Connell)
Leiper, 1913. The amphistome parasite of man and pigs.
Indian J Med Res 1960;48:315.
32. Bunnag T, Bunnag D, Goldsmith R. Intestinal fluke infections.
In: Strickland GT. Hunter’s Tropical Medicine. 7th ed. Philadel-
phia: WB Saunders; 1991. p. 917.
33. Gupte A, Shah C, Koticha A, Shukla A, Kuyare S, Bhatia S.
Gastrodiscoides hominis infestation of colon: endoscopic
appearance. Gastrointest Endosc 2014;79:549-50.
168 พยาธิใบไม้

34. Markell E, John DT, Krotoshi WA. Markell and Voge’s Medical
parasitology. 8th ed. Philadelphia: Saunders company; 1999.
35. Chai JY, Sohn WM, Yong TS, Eom KS, Min DY, Hoang EH, et al.
Echinostome flukes recovered from humans in khammouane
province Lao PDR. Korean J Parasitol 2012;50:269-72.
36. Noikong W, Wongsawad C, Chai JY, Saenphet S, Trudgett A.
Molecular analysis of echinostome metacercariae from their
second intermediate host found in a localised geographic
region reveals genetic heterogeneity and possible cryptic
speciation. PLoS Negl Trop Dis 2014;8:e2778.
37. Chai JY. Echinostomes in humans. In Fried B, Toledo R, eds.
The Biology of Echinostomes. New York, USA: Springer; 2009.
p. 147-83.
38. มนูญ ไพบูลย์, จําลอง หะริณสุต, สนาม ถิระจันทรา. รายงานการพบ
พยาธิใบไม้ลําไส้เอคิโนสโตมา รีวอลูตัม ในคนในประเทศไทย. จ พ ส ท
2509;49:83-92.
39. มนูญ ไพบูลย์, ปรีชา เจริญลาภ, จําลอง หะริณสุต. รายงานการพบพยาธิ
ใบไม้ลําไส้เอคิโนสโตมา มาลายานัมและไฮโปเดอเรียมโคนอยเดียม ใน
ประเทศไทย. จ พ ส ท 2507;47:720-31.
40. Yokogawa M, Harinasuta C, Charoenlarp P. Hypoderaeum
conoideum (Bloch, 1872) Dietz, 1909. A common intestinal
fluke in man in the northeast Thailand. Jpn J Parasitol
1965;14:148-53.
41. Rim HJ. Echinostomiasis. CRC Handbook Series in Zoonoses,
Section C: Parasitic zoonoses (Trematode Zoonoses), Vol.III.
Boca Raton, Florida: CRC Press; 1982.
42. Sornmani S. Echinostomiasis in Thailand: a review. Proceedings
of the Fourth Southest Asian Seminar on Parasitology and
Tropical Medicine: Schistosomiasis and Other Snail
Transmitted Helminthiasis. Southeast Asian J Tropl Med Public
Health 1969;5:171-5.
พยาธิใบไม้ลําไส้ 169

43. Radomyos P, Bunnag D, Harinasuta T. Echinostoma ilocanum


(Garrison, 1908) Odhner, 1911, infection in man in Thailand.
Southeast Asian J Trop Med Public Health 1982;13:265-9.
44. Kanev I, Fried B, Radev V. Collar spine models in the genus
Echinostoma (Trematoda: Echinostomatidae). Parasitol Res
2009;105:921-7.
45. Carney WP. Echinostomiasis a snail-borne intestinal trematode
zoonosis. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1991;22:
206-11.
46. Radomyos P, Bunnag D, Harinasuta T. A new intestinal fluke,
Plagiorchis harinasutai n.sp. Southeast Asian J Trop Med Public
Health 1989;20:101-7.
47. Tesana S, Kanla P, Maleewong W, Kaewkes S. Scanning
electron microscopy of adult Echinostoma malayanum.
Southeast Asian J Trop Med Public Health 1987;18:233-40.
48. Sri-aroon P, Butraporn P, Limsoomboon J, Kaewpoolsri M,
Chusongsang Y, Charoenjai P, et al. Freshwater mollusks at
designated areas in eleven provinces of Thailand according to
the water resource development projects. Southeast Asian J
Trop Med Public Health 2007;38:294-301.
49. Monzon RB, Kitikoon V, Thammapalerd N, Temcharoen P,
Sornmani S, Viyanant V. Ecological observations on Lymnaea
(Bullastra) cumingiana. Southeast Asian J Trop Med Public
Health 1993;24:563-9.
50. Pakdeenarong N, P. Siribat P, Chaisiri K, Douangboupha B,
Ribas A, Chaval V, Herbreteau V, et al. Helminth communities
in murid rodents from southern and northern localities in Lao
PDR: the role of habitat and season. J Helminthol 2014;88:
302-9.
51. Monzon RB, Kitikoon V. Radix quadrasi and Physastra
hungerfordiana: additional natural second intermediate hosts
of Echinostoma malayanum in the Philippines. Southeast
Asian J Trop Med Public Health 1992;23:159-61.
170 พยาธิใบไม้

52. Tangtrongchitr A, Monzon RB. Eating habits associated with


Echinostoma malayanum infections in the Philippines. South-
east Asian J Trop Med Public Health 1991;22:212-6.
53. Nishigori M. Two new trematodes of the Family Hetero-
phyidae found in Formosa. Taiwan Igakki Zasshi 1924;237:569-
570.
54. Manning GS, Lertprasert P, Watanasermkit K, Chetty C. A
description of newly discovered intestinal parasites endemic
to northeastern Thailand. J Med Assoc Thai 1971;54:466-74.
55. Kliks M, Tantachamrun T. Heterophyid parasites of cats in
north Thailand, with notes on a human case found at
necropsy. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1974;4:
547-55.
56. Pearson JC, Ow-Yang CK. New species of Haplorchis from
Southeast Asia together with keys to the Haplorchis group
heterophyid trematodes of the region. Southeast Asian J Trop
Med Public Health 1982;13:35-60.
57. Belizario VY Jr, de Leon WU, Bersabe MJJ, Purnomo, Baird JK,
Bangs MJ. A focus of human infection by Haplorchis taichui
(Trematoda: Heterophyidae) in the Southern Philippines. J
Parasitol 2005;90:1165-9.
58. Martin WE. The life histories of some Hawaiian heterophid
trematodes. J Parasitol 1958;44:305-23.
59. Chen HT. A study of the Haplorchinae (Looss 1899) Poche
1926 (Trematoda: Heterophyidae). Parasitology 1936;28:40-55.
60. Scholz T, Ditrich O, Tuma M, Giboda M. Study of the body
surface of Haplorchis yokogawai (Katsuta, 1932) and H. taichui
(Nishigori, 1924) (Trematoda : Heterophyidae). Southeast Asian
J Trop Med Public Health 1991;22:443-8.
61. Faust EC, Nishigori M. The life cycles of two new species of
heterophyidae parasitic in mammals and birds. J Parasitol
1926;13:9 1-132.
พยาธิใบไม้ลําไส้ 171

62. Tesana S, Srisawangwonk T, Kaewkes S, Sithithaworn P, Kanla


P, Arunyanart C. Eggshell morphology of the small eggs of
human trematodes in Thailand. Southeast Asian J Trop Med
Public Health 1991;22:631-6.
63. Ditrich O, Giboda M, Scholz T, Beer SA. Comparative
morphology of eggs of the Haplorchiinae (Trematoda: Hetero-
phyidae) and some other medically important heterophyid
and opisthorchiid flukes. Folia Parasitol 1992;39:123-32.
64. Fujino T, Higo H, Ishii Y, Saito S, Chen ER. Comparative studies
on two similar species of Haplorchis and Metagonimus
(Trematoda: Heterophyidae) - surface ultrastructure of adults
and eggs. Proc Helminthol Soc Wash 1989;56:35-41.
65. Radomyos P, Radomyos B, Tungtrongchitr A. Multi-infection
with helminths in adults from northeast Thailand as
determined by post-treatment fecal examination of adult
worms. Trop Med Parasitol 1994;45:133-5.
66. Radomyos B, Wongsaroj T, Wilairatana P, Radomyos P,
Praevanich R, Meesomboon V, Jongsuksuntikul P. Opisthor-
chiasis and intestinal fluke infections in northern Thailand.
Southeast Asian J Trop Med Public Health 1998;29: 123-7.
67. Ooi HK, Chen CI, Lin SC, Tung KC, Wang JS, Kamiya M.
Metacercariae in fishes of Sun Moon lake which is an endemic
area for Clonorchis sinensis in Taiwan. Southeast Asian J Trop
Med Public Health 1997;28:222-3.
68. Sukontason KL, Sukontason K, Piangjai S, Pungpak S,
Radomyos P. Prevalence of Opisthorchis viverrini infection
among villagers harboring Opisthorchis-like eggs. Southeast
Asian J Trop Med Public Health 2001;32:23-6.
69. Wijit A, Morakote N, Klinchid J. High prevalence of
haplorchiasis in Nan and Lampang provinces, Thailand, proven
by adult worm recovery from suspected opisthorchiasis cases.
Korean J Parasitol 2013;51:767-9.
70. WHO. Foodborne trematode infections in Asia. Report of the
172 พยาธิใบไม้

Joint WHO/FAO Workshop; 2002 Nov 26-28; Ha Noi, VietNam.


WHO; 2004. p. 62.
71. Sukontason K, Unpunyo P, Sukontason KL, Piangjai S. Evidence
of Haplorchis taichui infection as pathogenic parasite: three
case reports. Scand J Infect Dis 2005;37:388-90.
72. Sukontason K, Piangjai S, Sukontason K, Chaithong U.
Potassium permanganate staining for differentiation the
surface morphology of Opisthorchis viverrini, Haplorchis
taichui and Phaneropsolus bonnei eggs. Southeast Asian J
Trop Med Public Health 1999;30:371-4.
73. Ritchie LS. An ether sedimentation technique for routine stool
examinations. Bull US Army Med Dept 1948;8:326.
74. Piangjai S, Sukontason K, Sukontason K, Methanitikorn R.
Enhancing identification of Opisthorchis viverrini eggs by
repeated ether extraction. J Trop Med Parasitol 2000;23:32-4.
75. Tantrawatpan C, Intapan PM, Thanchomnang T, Sanpool O,
Janwan P, Lulitanond V, et al. Development of a PCR assay
and pyrosequencing for identification of important human
fish-borne trematodes and its potential use for detection in
fecal specimens. Parasit Vectors 2014;7:88.
76. Vichasri S, Viyanant V, Upatham ES. Opisthorchis viverrini:
intensity and rates of infection in cyprinoid fish from an
endemic focus in northeast Thailand. Southeast Asian J Trop
Med Public Health 1982;13:138-41.
77. โกวิท พัฒนาปัญญาสัตย์, เดวิด เจ.ฟราเวลล์, วิรัตน์ วงศ์แสงนาค. การ
รวบรวม เมตาเซอร์คาเรียของหนอนพยาธิใบไม้ตับ. สารศิริราช 1983;
35:143-6.
78. Prawang T, Sukontason K, Sukontason KL, Choochote W,
Piangjai S. Pineapple juice as an agent for the digestion of fish
prior to the harvesting of metacercariae. Southeast Asian J
Trop Med Public Health 2002;33:99-102.
79. ดวงหทัย ศรีภักดี. การตรวจหาระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ตับหรือพยาธิ
ใบไม้ลําไส้โดยวิธีการย่อยปลาด้วยน้ําสับปะรด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร
พยาธิใบไม้ลําไส้ 173

มหาบัณฑิต (ปรสิตวิทยา) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


2548.
80. Thaenkham U, Phuphisut O, Pakdee W, Homsuwan N, Sa-
nguankiat S, Waikagul J, et al. Rapid and simple identification
of human pathogenic heterophyid intestinal fluke metacer-
cariae by PCR-RFLP. Parasitol Int 2011;60:503-6.
81. Sukontason K, Sukontason K, Muangyimpong Y, Piangjai S.
Treatment of Haplorchis taichui in Mus musculus mice. Exp
Parasitol 1999;94:48-50.
82. Waikagul J, Nuamtanong S, Visiadsuk K. A preliminary study on
the efficacy of albendazole against Haplorchis taichui: an
intestinal trematode. J Trop Med Parasitol 2003;26:98-9.
83. Waikagul J, Watthanakulpanich D, Muennoo C, Maipanich W,
Sa-nguankiat S, Phubampen S. Efficacy of benzimidazole
carbamate on an intestinal fluke co-infected with nematodes.
J Med Assoc Thai 2005;88:233-7.
84. Velasquez CC. Observations on some Heterophyidae
(Trematoda: Digenea) encysted in Philippine fishes. J Parasitol
1973;59:77-84.
85. Khalil M. The life history of the human trematode parasite,
Heterophyes heterophyes. CR Congr Internat Zool Lisbon
1937;3:1889-99.
86. Rifaat MA, Salem SA, El Kholy Sl. Studies on the incidence of
Heterophyes heterophyes in Dakahlia Governorate. J Egypt
Soc Parasitol 1980;10:369-73.
87. Sen HG. Heterophyes heterophyes from a dog in the western
part of India. Trans R Soc Trop Med Hyg 1965;59:610.
88. Africa CM, de Leon W, Garcia EY. Heterophyidiasis: V. ova in
the spinal cord of man. Phil J Sci 1940;62:393-7.
89. Gormaa T, Pulmonary complications of Heterophyes infection.
J Egypt Med Assoc 1962;45:317-22.
90. Onji Y, Nishio T. A monograph of intestinal trematodes. Chiba
Igakkai Zasshi 1924;2:351-99.
174 พยาธิใบไม้

91. Takahashi S. On the eggs of several kinds of intestinal


trematodes, which resemble that of Clornorchis sinensis,
especially the eggs of Stellantchusmus falcatus and Pygidiopsis
summus found in human stools with a supplement on the
examinations of the helminthic parasites of the dogs and cats
in Okayama Prefecture. Okayama Igakkai Zasshi 1929;41:1502-
13.
92. Kagei N, Oshima T, Ishikawa K, Kihata M. Two cases of human
infection with Stellantchusmus falcatus Onji et Nishio, 1915
(Heterophyidae) in Kochi Prefecture. Jpn J Parasitol 1964;13:
472-8.
93. Glover BA, Alicata JE. Intestinal heterophyidiasis. Hawaii Med J
1957;16:636-88.
94. Seo BS, Lee SH, Chai JY, Hong SJ. Studies on intestinal
trematodes in Korea XII. Two cases of human infection by
Stellantchasmus falcatus. Korean J Parasitol 1984;22:43-50.
95. Chai JY, Sohn WM, Na BK, Jeoung HG, Sinuon M, Socheat D.
Stellantchasmus falcatus (Digenea: Heterophyidae) in
Cambodia: discovery of metacercariae in mullets and recovery
of adult flukes in an experimental hamster. Korean J Parasitol
2016;54:537-41.
96. Ditrich O, Scholz T, Giboda M. Occurrence of some medically
important flukes (Trematoda: Opisthorchiidae and Hetero-
phyidae) in Nam Ngum water reservoir, Laos. Southeast Asian
J Trop Med Public Health 1990;21:482-8.
97. Thien PC, Dalsgaard A, Thanh BN, Olsen A, Murrell KD.
Prevalence of fishborne zoonotic parasites in important
cultured fish species in the Mekong Delta, Vietnam. Parasitol
Res 2009;101:1297-84.
98. Radomyos P, Radomyos B, Tungtrongchitr A. Two human cases
of Stellantchasmus falcatus (Trematoda: Heterophyidae) infec-
tion in Northeastern Thailand. Jpn J Parasitol 1990;39:7-11.
99. Tantachamrun T, Kliks M. Heterophyid infection in human
พยาธิใบไม้ลําไส้ 175

ileum: report of three cases. Southeast Asian J Trop Med


Public Health 1978;9:228-31.
100. Pearson JC. A revision of the subfamily Haplorchinae Looss,
1899 (Trematoda: heterophyidae). Parasitology 1964;54:601-
76.
101. Pearson JC, Ow-Yang CK. New species of Haplorchis from
Southeast Asia together with keys to the Haplorchis-group of
heterophyid trematodes of the region. Southeast Asian J Trop
Med Public Health 1982;13:35-60.
102. Martin WE. The life histories of some Hawaiian Heterophyid
trematodes. J Parasitol 1958;44:305-21.
103. Noda K. The larval development of Stellantchasmus falcatus
(Trematoda: Heterophyidea) in the first intermediate host. J
Parasitol 1959;45:635-52.
104. Wongsawad C, Rojanapaibul A, Mhad-arehin N, Pachanawan A,
Marayong T, Suwattanacoupt S, et al. Metacercaria from
freshwater fishes of Mae Sa stream, Chiang Mai, Thailand.
Southeast Asian J Trop Med Public Health 2000;31:54-7.
105. Saenphet S, Wongsawad C, Saenphet K. A survey of helminths
in freshwater animals from some areas in Chiang Mai.
Southeast Asian J Trop Med Public Health 2001;32:220-3.
106. Sripalwit P, Wongsawad C, Chai JY, Anuntalabhochai S,
Rojanapaibul A. Investigation of Stellantchasmus falcatus
metacercariae in half-beaked fish, Dermogenus pusillus from
four districts of Chiang Mai Province, Thailand. Southeast Asian
J Trop Med Public Health 2003;34:281-5.
107. พิสิษฐ์ สุนทราวิฑูร. ตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ําจืด
ของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2557;19:237-249.
108. Manning GS, Lertprasert P. Four new trematodes of man from
Thailand. Trans R Soc Trop Med Hyg 1971;65:101.
109. Manning GS, Diggs CL, Viyanant V, Lertprasert P, Watanasirmkit
K. Preliminary report on Phaneropsolus bonnei Lei Kian Joe,
1951, A newly discovered human intestinal fluke from
176 พยาธิใบไม้

northeastern Thailand. J Med Assoc Thai 1970;53:173-8.


110. Manning GS, Lertprasert P. Study on the life cycle of
Phaneropsolus bonnei and Prosthodendrium molenkampi in
Thailand. Ann Trop Med Parasitol 1973;67:361-5.
111. Lei KJ. Some human flukes from Indonesia. Doc Neerl Ind
Morb Trop 1951;3:105-16.
112. Manning GS, Lertprasert P, Watanasermkit K, Chetty C. A
description of newly discovered intestinal parasites endemic
to northeastern Thailand. J Med Assoc Thai 1971;54:466-74.
113. Radomyos B, Bunnag D, Harinasuta T. Worms recovered in
stool following praziquantel treatment. Arzneim Fosch Drug
Res 1984;34:1215-7.
5
พยาธิใบไมเลือด (Blood flukes)
อนุลักษณ จันทรคํา

พยาธิ ใ บไม้ เ ลื อ ด Schistosoma เป็ น ปรสิ ต ที่ มี ค วามสํ า คั ญ ทั่ ว โลก มี


ความสําคัญที่สุดในบรรดาพยาธิใบไม้ทั้งหมดเพราะทําให้เกิดพยาธิสภาพมาก
การรักษาโรค รวมทั้งการควบคุมและกําจัดทําได้ยากประมาณว่าประชากรทั่วโลก
ติดเชื้อมากกว่า 200 ล้านคนและกว่า 800 ล้านคนที่มีความเสี่ยงของการติดเชื้อ
พยาธิ(1) มีผู้ป่วยจํานวน 200 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 2 แสน
คนต่อปี
พยาธิใบไม้เลือดจัดอยู่ใน superfamily Schistosomatoidea, family
Schistosomatidae ลักษณะที่สําคัญของพยาธิใบไม้เลือดที่แตกต่างจากพยาธิ
ใบไม้ชนิดอื่น ๆ มีดังต่อไปนี้ (รูปที่ 5.1)(2-7)
1. เป็นพยาธิที่มีเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละตัว
2. รูปร่างเรียวยาว ขอบด้านข้างของลําตัวของตัวผู้จะม้วนพับมาทางด้าน
ท้อง เกิดเป็นร่องสําหรับโอบรัดตัวเมียเรียกว่า gynecophoric canal
3. ไม่มีคอหอย (pharynx)
4. ลําไส้แยกออกเป็นสองแขนงแล้วกลับมารวมกันอีก (intestinal reunion)
5. ตัวผู้มีอัณฑะมากกว่า 2 อัน
6. ไม่มีรีเดียในวงจรชีวิต
7. ไม่เจริญเป็นระยะเมตาเซอร์คาเรีย ดังนั้นตัวอ่อนระยะติดต่อ คือ เซอร์-
คาเรีย ซึ่งมีหางสองแฉกเรียกว่า fork-tail cercaria
8. ตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในหลอดเลือดดํา
178 พยาธิใบไม้

9. ไข่ไม่มีฝาปิด (non-operculated egg) เมื่อถูกขับออกมากับอุจจาระ


หรื อ ปั ส สาวะของโฮสต์ จ ะมี ตั ว อ่ อ นไมราซี เ ดี ย มที่ เ จริ ญ เต็ ม ที่ อ ยู่
ภายใน

oral
sucker testes
ventral
sucker

male

ovary

gynecophoric canal

female

รูปที่ 5.1 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้เลือด (blood flukes) (ภาพวาดจากตัวอย่างจริง;


วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้เลือด 179

พยาธิใบไม้เลือดที่มีความสําคัญและทําให้เกิดโรคในคนมีอยู่ 4 ชนิด คือ


1. Schistosoma japonicum (Katsurada, 1904)(3,5)
มีชื่อสามัญว่า พยาธิใบไม้เลือดทางตะวันออก (The oriental blood
flukes) ก่อโรค schistosomiasis japonica หรือ oriental schistosomiasis,
far eastern schistosomiasis, katayama fever, yangtze fever พบเฉพาะ
ในแถบทวีปเอเชีย (สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น) หอย
ที่เป็นโฮสต์สื่อกลางคือหอยสกุล Oncomelania โฮสต์สะสมเชื้อที่สําคัญคือ
สุนัข ลิง หนู สุกร และแมว
2. Schistosoma haematobium (Bilharz, 1852)(3,5)
พยาธิใบไม้เลือดของกระเพาะปัสสาวะ (The vesical blood flukes)
ก่อโรค vesical schistosomiasis, schistosomiasis haematobia, vesical
หรือ urinary bilharziasis, schistosomal hematuria มีรายงานพบมากใน
ทวีปแอฟริกา นอกจากนี้พบได้ในประเทศอินเดียและแถบฝั่งตะวันออกของ
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คนที่เป็นโรค Schistosomiasis พบว่ามากกว่าร้อยละ
95 ของผู ้ป ่ว ยทั ้ง หมดเกิด จากพยาธิใ บไม้เ ลือ ด 3 ชนิด (Schistosoma
mansoni, Schistosoma haematobium และ Schistosoma japonicum)
หอยที่เป็นโฮสต์สื่อกลางคือ หอยสกุล Bulinus
3. Schistosoma mansoni (Mansoni’s blood flukes)
(Sambon,1907)(3,5)
ก่อโรค schistosomiasis mansoni, mansoni’s intestinal schisto-
somiasis, bilharziasis พบหลายประเทศของทวีปแอฟริกา บางส่วนของเอเชีย-
ตะวันตกเฉียงใต้ บางประเทศและเกาะบางแห่งในอเมริกาใต้และอินดีสตะวันตก
พยาธิจะติดต่อจากคนสู่คนโดยหอยสกุล Biomphalaria เป็นโฮสต์สื่อกลาง
4. Schistosoma mekongi (Voge, Bruckner and Bruce, 1978)(3,5)
ก่อโรคพยาธิใบไม้เลือดลุ่มแม่น้ําโขง (schistosomiasis mekongi) มี
รายงานพบพยาธิชนิดนี้ในสปป.ลาว กัมพูชา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศไทยทําให้เกิดโรค intestinal schistosomiasis ในคน โดยมีหอย
ชนิด Neotricula aperta เป็นโฮสต์สื่อกลาง
180 พยาธิใบไม้

Schistosoma japonicum
(Katsurada, 1904)

ประวัต(3,5)

Schistosoma japonicum ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2390 โดยแพทย์
ชาวญี่ปุ่นชื่อ Rujii ต่อมามีการพบไข่ของพยาธิชนิดนี้ในอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งใน
อุจจาระผู้ป่วย และพบพยาธิตัวเมียใน portal vein ในปี พ.ศ. 2447 Katsurada
เป็นผู้ตั้งชื่อพยาธิใบไม้เลือดนี้ว่า Japonicum ซึ่งวงจรชีวิตได้ถูกศึกษาจนสําเร็จใน
ปี พ.ศ. 2457 โดย Miyagawa และ Miyairi กับ Suzuki
ชื่อสามัญ
พยาธิใบไม้เลือด (blood flukes)
โรค
Schistosomiasis japonica หรือ Schistosomiosis หรือ Bilharziasis
กายรูปวิทยา
พยาธิตัวเต็มวัย(2,3,5)
ตั ว ผู้ มี ข นาดประมาณ (12-20×0.5-0.55 มิ ล ลิ เ มตร) มี ผิ ว เรี ย บ (non-
tuberculated cuticle) มีอัณฑะ 6-8 อันเรียงตัวกันเป็นแถวเดียว intestinal
reunion อยู่ส่วนล่างของลําตัว (รูปที่ 5.2a, b)
ตัวเมียมีขนาดประมาณ (12-28×0.3 มิลลิเมตร) รังไข่อยู่กึ่งกลางลําตัว
มดลูกยาว มีไข่อยู่ประมาณ 50-100 ฟอง (รูปที่ 5.2c, d)
พยาธิใบไม้เลือด 181

oral sucker

ventral sucker

testes

(a) (b)

ovary

(c) (d)
รูปที่ 5.2 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma japonicum (a, c) ภาพถ่ายตัวผู้
และตัวเมีย (b, d) ภาพวาดตัวผู้และตัวเมีย (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล;
ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
182 พยาธิใบไม้

ไข่(2,4)
มีขนาดประมาณ (65-103×50-72 ไมโครเมตร) ลักษณะเหมือนรูปไข่มีตุ่ม
เล็ก ๆ อยู่ด้านข้าง (lateral knob) และมีตัวอ่อนเรียกว่าไมราซีเดียมซึ่งเจริญเต็มที่
อยู่ภายใน (รูปที่ 5.3)
เซอร์คาเรีย(2,3,5)
ลําตัวมีขนาดประมาณ (100-161×40-66 ไมโครเมตร) ส่วนหางมีขนาด
ประมาณ (140-160×20-35 ไมโครเมตร) ปลายหางแยกเป็นสองแฉกยาว (50×70
ไมโครเมตร) (รูปที่ 5.4)
วงจรชีวิต(3-6,8)
พยาธิ ตั ว ผู้ แ ละตั ว เมี ย จะอยู่ กั น เป็ น คู่ ๆ ในหลอดเลื อ ดดํ า superior
mesenteric vein ซึ่งเป็นที่อยู่เฉพาะของ S. japonicum (รูปที่ 5.5) ไข่ที่ออกมา
จะมีไมราซีเดียมที่ยังเจริญไม่เต็มที่อยู่ภายในจะใช้เวลาประมาณ 6-7 วันในการ
ทะลุผ่านหลอดเลือดและผนังของลําไส้ออกมาอยู่ในลําไส้เล็กและผ่านออกมากับ
อุจจาระเมื่อไข่ตกลงสู่น้ําไมราซีเดียมจะฟักตัวออกจากไข่แล้วว่ายน้ําเข้าไปใน
โฮสต์สื่อกลาง คือ หอยสกุล Oncomelania ชนิดต่าง ๆ เช่น Oncomelania
hupensis (สาธารณรัฐประชาชนจีน), Oncomelania nosophora (ญี่ปุ่น),
Oncomelania formosana (เกาะไต้หวัน), Oncomelania quadrasi (ฟิลิปปินส์)
และ Oncomelania lindoensis (อินโดนีเซีย)
ไมราซีเดียมจะไชเนื้อเยื่อของหอยแล้วเจริญต่อไปเป็นสปอโรซิสต์รุ่นที่หนึ่ง
หรือสปอโรซิสต์แม่ ซึ่งจะผลิตสปอโรซิสต์รุ่นที่สองหรือสปอโรซิสต์ลูก สปอโรซิสต์
รุ่นที่สองนี้จะผลิตเซอร์คาเรียที่มีหางเป็นสองแฉกเรียกว่า เซอร์คาเรียหางส้อม
(forked-tail cercaria) ซึ่งเป็นระยะติดต่อใช้เวลาเจริญเติบโตในหอยประมาณ
1-2 เดือน หลังจากนั้นเซอร์คาเรียจะออกจากหอย ว่ายอยู่ในน้ําและคอยไชเข้าสู่
คนและสัตว์ต่อไป เมื่อคนหรือสัตว์มาแช่น้ําหรือลงเล่นน้ําเซอร์คาเรียจะเข้ามา
พยาธิใบไม้เลือด 183

เกาะที่ผิวหนังเพื่อหาตําแหน่งที่เหมาะสมต่อการไชเมื่อพบมันจะไชเข้าผิวหนัง
แล้วสลัดหางทิ้ง จากนั้นจะไชทะลุหนังกําพร้าภายใน 1-30 วินาที

egg shell

miracidium

lateral knob

(a) (b)
รูปที่ 5.3 ไข่พยาธิใบไม้เลือด Schistosoma japonicum (a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด
(ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวง
รัตน์ ริยอง)
184 พยาธิใบไม้

oral sucker

ventral sucker

fork tailed

(a) (b)
รูปที่ 5.4 เซอร์คาเรียพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma japonicum (a) ภาพถ่าย (b)
ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและ
วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้เลือด 185

โฮสตเฉพาะ: คน
Worms
migrate
from liver
to superior
mesenteric
vein

Fork-tail
cercaria Egg

โฮสตสื่อกลาง: หอย
Miracidium
Sporocyst

รูปที่ 5.5 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma japonicum (ภาพถ่ายเป็นการ


บันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
186 พยาธิใบไม้

กลายเป็น schistosomula เข้าสู่หลอดเลือดดําใต้ผิวหนังผ่านไปยังหัวใจและปอด


แล้วกระจายไปตามกระแสโลหิตเข้าสู่ portal vein ไปยังตับ เจริญเติบโตเป็นตัว
เต็มวัย
จากนั้นพยาธิตัวผู้และตัวเมียจะจับคู่ผสมพันธุ์ พากันเคลื่อนย้ายออกจาก
ตับไปอาศัยอยู่ในหลอดเลือดดํา superior mesenteric veins จากนั้นตัวเมียจะ
เริ่มวางไข่ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กันสายพันธุ์ของ S.
japonicum
ระบาดวิทยา(2,3,5)
คนติดโรคจากการสัมผัสกับน้ําที่มีเซอร์คาเรีย จากพฤติกรรมการซักผ้า
อาบน้ํา ทํานา เป็นต้น ปัจจัยที่สําคัญต่อวงจรชีวิตและการแพร่กระจายของโรค
ได้แก่ การแปดเปื้อนของอุจจาระคนลงในแหล่งน้ํา หอยในสกุล Oncomelania
เป็นโฮสต์สื่อกลางสุนัข แมว หนูชนิดต่าง ๆ วัว ควาย สุกร แพะ แกะ เป็นโฮสต์
สะสมเชื้อ (reservoir host)
ถึงแม้ S. japonicum จะเป็นพยาธิใบไม้เลือดชนิดเดียวที่พบในสาธารณรัฐ-
ประชาชนจีน แต่อย่างไรก็ตามยังพบ imported case ของ S. mansoni และ S.
haematobium อีกด้วย(9) ในปี พ.ศ. 2557 มีรายงานการตรวจตัวอย่างอุจจาระ
ทั้งหมดจํานวน 9,461,348 ราย ใน 12 จังหวัดที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สําคัญพบ ว่า
8,250 ราย ให้ผลบวกกับพยาธิใบไม้เลือด S. japonicum(10) สําหรับเกาะไต้หวัน
โรคพยาธิใบไม้เลือดพบเฉพาะในสัตว์เท่านั้น (zoophilic strain) ประเทศฟิลิปปินส์
คาดมีการติดเชื้อของประชากรใน 28 จังหวัดประมาณสองแสนถึงสามแสนคน(11)
และประเทศอิ นโดนีเซี ยมีการติดเชื้ออยู่ร้อยละ 0.49 และร้อยละ 1.08 ใน 7
หมู่บ้านในหุบเขาลินดู และ 17 หมู่บ้านในหุบเขานาปู(12) ตามลําดับ
พยาธิใบไม้เลือด 187

พยาธิสภาพและอาการ(2,3,5,10,13,14)
พยาธิสภาพเกิดมากที่สุดในตับและลําไส้ โดยโรคพยาธิใบไม้เลือดที่เกิดจาก
พยาธิใบไม้เลือด S. japonicum จะมีความรุนแรงมากกว่าที่เกิดจากพยาธิใบไม้
เลือดชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการที่ตัวเมียของพยาธิใบไม้เลือด S.
japonicum สามารถผลิตไข่ได้มากกว่า ทําให้ไข่เหล่านี้ไปตกค้างที่ตับและลําไส้
ได้มากกว่า โดยพยาธิสภาพที่สําคัญของโรค มีดังต่อไปนี้
1. Katayama fever
เกิดจาก immune complexes ซึ่งก่อตัวมาจากการจับกันระหว่าง
แอนติบอดีกับแอนติเจนจากตัวเต็มวัยและไข่ของพยาธิ
2. Schistosomal granuloma หรือ Pseudotubercle
เซลล์ชนิดต่าง ๆ เช่น lymphocyte, plasma cells, macrophages,
eosinophils, mast cells และ fibroblasts จะมาล้อมรอบไข่พยาธิที่
ตกค้างอยู่ตามเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะในตับและลําไส้ ซึ่งเป็น
สาเหตุหลักของพยาธิสภาพของอวัยวะนั้น ๆ
3. Hepatosplenic schistosomiasis
พยาธิสภาพที่ตับและม้ามจะมีอาการตับโต ซึ่งเกิดจากการเพิ่มจํานวน
ของ vascular endothelium การก่อตัวของ granulomas และการเพิ่ม
จํานวนของ fibrous tissue ม้ามโตโดยมีสาเหตุมาจากแรงดันในหลอด
เลือดดําในม้ามเพิ่มขึ้น
4. Intestinal schistosomiasis
เกิดพยาธิสภาพที่ลําไส้จะรุนแรงตามจํานวนไข่พยาธิ เนื้อเยื่อรอบ ๆ ไข่
จะมีการอักเสบและเกิดเป็นฝีเล็ก ๆ มากมายบริเวณลําไส้และตับ เมื่อฝีแตก
จะเกิดเป็นแผลและมีการอักเสบตามมา ระยะนี้ผู้ป่วยจะถ่ายอุจจาระเป็น
มูกเลือด ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ําหนักลด ตับโต กดเจ็บ ตรวจอุจจาระพบ
ไข่ได้ง่าย อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะอยู่นาน 3-4 สัปดาห์ ก็จะลดลงและหายไป
188 พยาธิใบไม้

และจะเกิดขึ้นใหม่เมื่อพยาธิวางไข่ใหม่อีก ทําให้ผู้ป่วยเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง


ตับโตมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต
5. Cardiopulmonary schistosomiasis
อาจมีอาการทางปอดและหัวใจ ในขณะที่ตัวอ่อนเคลื่อนที่ไปยังปอด
6. อวัยวะอื่น ๆ
อาจพบพยาธิสภาพที่อวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น peritoneum ไส้ติ่ง ตับอ่อน
ระบบประสาทส่วนกลางและผิวหนัง
7. ระยะซ่อมแซมและเกิดมีแผลเป็น
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ท้องอืดท้องเฟ้อ น้ําหนักลด
มาก หายใจลําบาก โลหิตจาง อาจมีน้ําในช่องท้องได้ ในบางรายอาจเกิด
มะเร็งในลําไส้หรือตับ
การวินิจฉัย(2,3,14)
• อาการและอาการแสดงตามพยาธิสภาพของโรค ซักประวัติผู้ป่วยมาจาก
ถิ่นระบาดของโรค
• ตรวจไข่พยาธิจากอุจจาระพบไข่ S. japonicum อาจใช้วิธีตรวจดังนี้
o Simple direct smear
o Kato’s thick smear technique
o Concentration methods หรือวิธีตรวจแบบเข้มข้นมีหลายวิธีเช่น
simple sedimentation, AMS III method และ Bell’s filtration
technique
o Miracidium hatching technique
• ตรวจหาไข่พยาธิจาก rectal scrapings หรือ rectal biopsy
• ตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาเช่น enzyme-linked immunosorbent assay
(ELISA), indirect haemagglutination assay (IHAS) และ immunoblot
(IB)
พยาธิใบไม้เลือด 189

• ตรวจทางอณูชีววิทยาเช่น droplet digital PCR (ddPCR) duplex assay


ในการตรวจหา S. japonicum โดยใช้ retrotransposon SjR2 และ
mitochondrial gene (nad1)(15) และ real-time PCR assay coupled
with a high-resolution melt assay (real-time PCR-HRM assay)
โดยใช้ส่วนของยีน 18S rDNA ซึ่งวิธีนี้สามารถแยกพยาธิใบไม้เลือดได้ทั้ง 4
ชนิด คือ S. japonicum, S. mansoni, S. haematobium และ S.
mekongi ได้(16)
• ในการวินิจฉัยผู้ป่วยว่าไม่เป็นโรคพยาธิใบไม้เลือด S. japonicum ควรจะมี
ผลลบของการตรวจแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
o ผลลบของการตรวจอุจจาระด้วยวิธีตรวจแบบเข้มข้น อย่างน้อย 2
ครั้ง
o ผลลบของการทดสอบทางน้ําเหลือง
o ผลลบของการตรวจเนื้อเยื่อจาก rectal biopsy

การรักษา(2,3,17)
โดยการทํ า ลายตัว เต็ม วัย และไข่ข องพยาธิด ้ว ยยา praziquantel 40
มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ให้กินเพียงครั้งเดียวโดยแบ่งเป็น 2 มื้อ

การป้องกัน(2,3,18)
1. รักษาผู้ป่วยทุกคนทันที
2. หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับแหล่งน้ําที่คาดว่าจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หอยที่เป็น
โฮสต์สื่อกลาง
3. สวมรองเท้าบูธ เมื่อลงในแหล่งน้ํา
4. หากพบหอยที่เป็นโฮสต์สื่อกลางควรทําลายและมีการเฝ้าระวัง
5. ในโครงการสร้างเขื่อนจะต้องศึกษาสํารวจหอยที่เป็นพาหะ เพื่อเป็น
ข้อมูลในการป้องกันการระบาดของโรคพยาธิใบไม้เลือด
6. ให้การศึกษาและแนะนําให้ถ่ายอุจจาระลงส้วม
190 พยาธิใบไม้

Schistosoma haematobium
(Bilharz, 1852)

ประวัต(3,5)

Schistosoma haematobium มีประวัติยาวนานนับพันปีในบริเวณลุ่ม
แม่น้ําไนล์ พยาธิถูกพบครั้งแรกใน mesenteric veins ของผู้ป่วยพื้นเมืองกรุง
ไคโร ประเทศอียิปต์โดย Bilharz ในปี พ.ศ. 2394 จากนั้นเขาได้แสดงให้เห็นว่า
พยาธิชนิดนี้ เป็นสาเหตุของภาวะปัสสาวะปนเลือด (hematuria) โดยตรวจพบไข่
ซึ่งมีหนามตรงปลายในน้ําปัสสาวะของผู้ป่วย พยาธิใบไม้เลือด S. haematobium
พบได้ในหลายประเทศของทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และแหล่งเล็ก ๆ
บางแห่งในเอเชียใต้
ชื่อสามัญ
พยาธิใบไม้เลือด (blood flukes)
โรค
Schistosomiasis haematobium หรือ Bilharziasis หรือ Vesical
schistosomiasis
กายรูปวิทยา
พยาธิตัวเต็มวัย(3,5)
ตั ว ผู้ มี ข นาดประมาณ (10-15×0.75-1 มิ ล ลิ เ มตร) ผิ ว มี ลั ก ษณะเป็ น ตุ่ ม
ละเอียด (finely tuberculated) มีอัณฑะ 4-5 อัน เรียงกันเป็นกลุ่ม intestinal
reunion อยู่บริเวณกลางของลําตัว (รูปที่ 5.6a, b)
ตั ว เมี ย มี ข นาดประมาณ (20-26×0.25-1 มิ ล ลิ เ มตร) รั ง ไข่ อ ยู่ บ ริ เ วณ
ส่วนล่างของลําตัว มดลูกยาว มีไข่อยูประมาณ 10-100 ฟอง (รูปที่ 5.6c, d)
พยาธิใบไม้เลือด 191

ไข่(3,5)
มีขนาด (83-187×40-70 ไมโครเมตร) ลักษณะรูปร่างยาวรี มีหนามหนึ่ง
อันอยู่ด้านท้าย (terminal spine) และมีไมราซีเดียมซึ่งเจริญเต็มที่อยู่ภายใน (รูป
ที่ 5.7)
เซอร์คาเรีย(3,5)
คล้ายกับระยะเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้เลือด S. japonicum
วงจรชีวิต(2,3,5)
คล้ายกับพยาธิใบไม้เลือดชนิดอื่น ๆ พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในร่างแห
หลอดเลือดดําบริเวณกระเพาะปัสสาวะและเชิงกราน (vesical and pelvic
venous plexuses) หอยที่เป็นโฮสต์สื่อกลางคือ หอยในสกุล Bulinus spp. (รูปที่
5.8)
ระบาดวิทยา(2,3,19)
คนเป็ น โฮสต์ ที่ สํ า คั ญ ของพยาธิ ใ บไม้ เ ลื อ ด S. haematobium ในถิ่ น
ระบาดบางแห่งของประเทศอียิปต์ อูกานดา(20) เอธิโอเปีย(21) และคองโก(22)
ประชากรทั้งชุมชนล้วนมีการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ อัตราการเป็นโรคเพิ่มมากขึ้น
และเป็นไปอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เนื่องจากมีการแพร่กระจายของหอยที่เป็นโฮสต์
สื่อกลาง
พยาธิสภาพและอาการ(2,3,5,6)
S. haematobium เป็นพยาธิใบไม้เลือดชนิดเดียว ที่เป็นสาเหตุของอาการ
ทางระบบปัสสาวะ โดยทั่วไป S. haematobium จะทําให้เกิดภาวะการติดเชื้อที่
ไม่รุนแรงคือมักไม่ปรากฏอาการของโรคหรืออาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
แต่จะไม่มีความเจ็บปวด
192 พยาธิใบไม้

oral sucker

ventral sucker

testes

(a) (b)

egg
ovary

(c) (d)
รูปที่ 5.6 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma haematobium (a, c) ภาพถ่าย
ตัวผู้และตัวเมีย (b, d) ภาพวาดตัวผู้และตัวเมีย (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้อง
ดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้เลือด 193

egg shell

miracidium

terminal spine

(a) (b)
รูปที่ 5.7 ไข่พยาธิใบไม้เลือด Schistosoma haematobium (a) ภาพถ่าย (b)
ภาพวาด (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและ
วาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)

พยาธิสภาพที่สําคัญของโรคมีดังนี้
1. ไข่ของพยาธิใบไม้เลือด S. haematobium จะทําให้เกิดแผล granuloma
ที่ผนังของกระเพาะปัสสาวะและท่อไตอาจเป็นสาเหตุของการอุดตันของ
ทางเดินปัสสาวะ และมะเร็งของกระเพาะปัสสาวะได้
2. Immune complexes ที่เกิดขึ้นจะไหลเวียนอยู่ในกระแสโลหิต อาจไป
ตกค้างและจับอยู่ที่ไต ทําให้เกิดโรค glomerulonephritis, nephrotic
syndrome, amyloidosis และ pyelonephritis
194 พยาธิใบไม้

โฮสตเฉพาะ: คน
Worms
migrate
from liver
to vesical
and pelvic
venous
plexuses

Fork-tail
cercaria Egg

โฮสตสื่อกลาง: หอย
Miracidium
Sporocyst

รูปที่ 5.8 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma haematobium (ภาพถ่าย


เป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้เลือด 195

นอกจากนั้นการที่พยาธิตัวอ่อนไชเข้าผิวหนังจนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
นั้น อาจจะทําให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง มีลมพิษ ผื่นคัน จากนั้นประมาณ
10 สัปดาห์ต่อมา ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดหลังและแขนขา
มีไข้ เมื่อพยาธิวางไข่ใหม่และตรวจพบไข่ในปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ
อ่อนเพลีย มีไข้ อยากถ่ายปัสสาวะ และปวดบริเวณท้องน้อย
ระยะสุ ด ท้ า ย เมื่ อ เนื้ อ เยื่ อ มี ก ารซ่ อ มแซมและเกิ ด มี แ ผลเป็ น ผู้ ป่ ว ยจะ
อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ผอมแห้ง มีอาการปวดมากขณะถ่ายปัสสาวะ ซึ่งจะ
ถ่ายบ่อยแต่มีปริมาณน้อย ในที่สุดอาจถ่ายออกมาเฉพาะเลือดและหนองจํานวน
เล็กน้อยโดยไม่สามารถควบคุมได้
การวินิจฉัย(2,3,5)
การวินิจฉัยที่แน่นอน คือการตรวจพบไข่ในน้ําปัสสาวะหรือใน aspirates
หรือ biopsy ที่ได้จากกระเพาะปัสสาวะหรือลําไส้ตรงอาจตรวจพบไข่ในอุจจาระ
ได้เช่นกัน
1. อาการและอาการแสดงตามพยาธิสภาพของโรค ซักประวัติผู้ป่วยมา
จากถิ่นระบาดของโรค
2. การตรวจหาไข่พยาธิในปัสสาวะ อาจใช้วิธี urine sedimentation
หรือ urine filtration
3. ตรวจหาไข่พยาธิจาก aspirates หรือ biopsy จากกระเพาะปัสสาวะ
หรือลําไส้ตรง ซึ่งอาจนํามาตรวจโดยวิธี compression technique
หรือ tissue sectioning
4. ตรวจน้ํ า เหลื อ ง โดยวิ ธี ท างภู มิ คุ้ ม กั น วิ ท ยาแบบต่ า ง ๆ ที่ ใ ช้ จ ะมี
ความจําเพาะต่อพยาธิใบไม้ทั้งกลุ่ม คือไม่จําเพาะต่อชนิดใดชนิดหนึ่ง
วิธีนี้จะมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรคในขณะที่ไข่ยังไม่
ปรากฏให้ตรวจพบได้
196 พยาธิใบไม้

การรักษา(2,3)
ยา praziquantel 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ให้กินเพียงครั้งเดียว โดยแบ่ง
เป็น 2 มื้อ
การป้องกัน(2,3)
เช่นเดียวกับพยาธิใบไม้เลือด S. japonicum

Schistosoma mansoni
(Sambon, 1907)

ประวัต(3,5)

Bilharz พบไข่ซึ่งมีหนามหนึ่งอันอยู่ด้านข้างเป็นครั้งแรกในพยาธิใบไม้เลือด
ซึ่งได้มาจากผู้ป่วยที่เสียชีวิต ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ Sonsino กับ Manson
พบว่าไข่พยาธินี้เป็นชนิดที่ต่างไปจากไข่ซึ่งมีหนามอยู่ตรงปลาย ต่อมาในปี พ.ศ.
2450 Sambon ได้ตั้งชื่อ species ของพยาธิใบไม้เลือดนี้ขึ้นใหม่เป็น Mansoni
พยาธิใบไม้เลือด S. mansoni พบได้ในหลายประเทศของทวีปแอฟริกา
บางส่วนของในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ บางประเทศและเกาะบางแห่งในอเมริกาใต้
และอินดีสตะวันตก
ชื่อสามัญ
พยาธิใบไม้เลือด (blood flukes)
โรค
Schistosomiasis mansoni หรือ Intestinal bilharziasis
พยาธิใบไม้เลือด 197

กายรูปวิทยา(2,3,5)
พยาธิตัวเต็มวัย
ตั ว ผู้ มี ข นาดประมาณ (6-13×1 มิ ล ลิ เ มตร) ผิ ว มี ลั ก ษณะเป็ น ตุ่ ม หยาบ
(grossly tuberculated) intestinal reunion อยู่บริเวณส่วนบนของลําตัว มี
อัณฑะ 4-13 อันเรียงกันเป็นกลุ่ม (รูปที่ 5.9)
ตัวเมีย มีขนาดประมาณ (7-17×0.25 มิลลิเมตร) รังไข่อยู่บริเวณส่วนบน
ของลําตัว มดลูกสั้น มีไข่อยู่ประมาณ 1-2 ฟอง (รูปที่ 5.9)

ไข่(3,5)
มีขนาดประมาณ (115-175×45-70 ไมโครเมตร) ลักษณะรูปร่างยาวรี มี
หนามหนึ่งอันอยู่ด้านข้าง (lateral spine) และมีไมราซีเดียมซึ่งเจริญเต็มที่อยู่
ภายใน (รูปที่ 5.10)
เซอร์คาเรีย(3,5)
คล้ายกับระยะเซอร์คาเรีย ของพยาธิใบไม้เลือด S. japonicum

วงจรชีวิต(2,3,5)
S. mansoni มีวงจรชีวิตคล้ายคลึงกับ S. japonicum แต่แตกต่างกันตรง
ชนิดของหอยที่เป็นโฮสต์สื่อกลางคือ หอย Biomphalaria spp. (Biomphalaria
glabrata) นอกจากนี้หอย Biomphalaria straminea เป็นโฮสต์สื่อกลางที่พบ
ทางทวีปอเมริกาใต้ แคริบเบียนรวมทั้งทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
(เซิ่นเจิ้นและแถบลุ่มแม่น้ํา Zhujiang)(23) นอกจากนี้พยาธิตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ที่
inferior mesenteric veins (รูปที่ 5.11)
198 พยาธิใบไม้

oral sucker

ventral sucker
male female
male
testes

testes

female

(a) (b)
รูปที่ 5.9 ตัวเต็มวัยพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma mansoni (a) ภาพถ่ายตัวผู้และตัว
เมีย (b) ภาพวาดตัวผู้และตัวเมีย (ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจาก
ตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้เลือด 199

egg shell
miracidium

lateral spine

(a) (b)

รูปที่ 5.10 ไข่พยาธิใบไม้เลือด Schistosoma mansoni (a) ภาพถ่าย (b) ภาพวาด


(ภาพถ่ายเป็นการบันทึกจากกล้องดิจิตอล; ภาพวาดจากตัวอย่างจริง ถ่ายรูปและวาดโดยดวง
รัตน์ ริยอง)
200 พยาธิใบไม้

โฮสตเฉพาะ: คน

Worms
migrate
from liver
to inferior
mesenteric
veins
Fork-tail
cercaria Egg

โฮสตสื่อกลาง: หอย
Miracidium
Sporocyst

รูปที่ 5.11 วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้เลือด Schistosoma mansoni (ภาพถ่ายเป็นการ


บันทึกจากกล้องดิจิตอล; ถ่ายรูปโดยดวงรัตน์ ริยอง)
พยาธิใบไม้เลือด 201

ระบาดวิทยา(2,3)
การระบาดส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากคนถ่ายอุจจาระลงในแหล่งน้ํา การย้าย
ถิ่นฐานของคนที่ติดเชื้อ การทดน้ําและการขยายระบบชลประทาน ในถิ่นระบาด
เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุให้การแพร่กระจายของโรคเพิ่มมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2559 จากการตรวจอุ จ จาระและปั ส สาวะของประชากรใน
ประเทศซู ดาน จํ านวน 2,433 ราย โดยแบ่ งเป็ นผู้ ชาย 1,195 ราย และผู้ หญิ ง
1,238 ราย พบว่ามีอัตราการติดเชื้อพยาธิใบไม้เลือด S. mansoni อยู่ที่ร้อยละ
27.4(24) ในขณะที่ประเทศมาลีมีรายงานพบว่ามีการติดเชื้อพยาธิใบไม้เลือด S.
mansoni ร้อยละ 5.4 และพยาธิใบไม้เลือด S. haematobium ร้อยละ 8.7(25)

พยาธิสภาพและอาการ(2,3)
พยาธิสภาพและอาการของโรคที่เกิดจาก S. mansoni จะคล้ายคลึงกับ S.
japonicum แต่จะเกิดอาการที่ลําไส้ใหญ่มากกว่า มีรายงานพบการไชบริเวณ
ผิวหนัง (cutaneous schistosomiasis) ในประเทศบราซิล โดยมีสาเหตุจาก S.
mansoni(26)

การวินิจฉัย(2,3)
วิธีการตรวจแบบต่าง ๆ เหมือนกันกับ S. japonicum มีรายงานการตรวจ
พยาธิ S. mansoni โดยวิธี PCR (polymerase chain reaction) ในผู้ป่วย 70 ราย
พบว่าให้ผลบวก 68 ราย ในผู้ป่วยที่เป็น chronic intestinal schistosomiasis(27)
การรักษา(2,3)
ยา praziquantel 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ให้กินเพียงครั้งเดียว โดย
แบ่งเป็น 2 มื้อ
มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรไทย โดย น.สพ.ดร.นรินทร์ ปริยวิชญภักดี
และคณะปี พ.ศ. 2559 ได้นําสารสกัดจากมะหาด (Artocarpus lakoocha,
Puag-Haad) มาทดสอบกับพยาธิ S. mansoni ที่ความเข้มข้น 250, 500 และ
202 พยาธิใบไม้

750 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร เปรียบเทียบกับยา praziquantel ที่ความเข้มข้น 175


ไมโครกรั ม /มิ ล ลิ ลิ ต ร พบว่ า สารสกั ด มะหาดที่ ค วามเข้ ม ข้ น 250 ไมโครกรั ม /
มิลลิลิตร ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ sucker และผิวลําตัวของพยาธิทั้งเพศผู้และ
เพศเมียมากกว่ายา praziquantel เมื่อดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบ
ส่องกราด(28)
การป้องกัน(2,3)
เช่นเดียวกันกับ S. japonicum

Schistosoma mekongi
(Voge, Bruckner and Bruce, 1978)(3,5)

ประวัต(3,6)

มีรายงานการพบผู้ป่วยรายแรกจากสปป.ลาว ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้เลือด
ชนิด Japonicum-like โดยพบไข่พ ยาธิจ ากการตัด ชิ้น เนื้อ ตับ (biopsy) ของ
นักศึกษาชาวลาวที่อาศัยอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาพบว่าที่สปป.ลาว
โดยเฉพาะที่เกาะโขง ซึ่งอยู่ในแม่น้ําโขงบริเวณตอนใต้ของสปป.ลาว และทางตอน
เหนือของประเทศกัมพูชา เป็นถิ่นระบาดของโรคและมีหอย Lithoglyphopsis
aperta เป็นโฮสต์สื่อกลาง ปัจจุบันพบอยู่ในสปป.ลาว ประเทศกัมพูชา และไทย

ชื่อสามัญ
พยาธิใบไม้เลือด (blood flukes)
โรค
Schistosomiasis mekongi หรือ Bilharziasis
พยาธิใบไม้เลือด 203

กายรูปวิทยา(3,6)
พยาธิตัวเต็มวัย
ลักษณะตัวผู้และตัวเมียเหมือนกับ S. japonicum ทุกประการแต่ขนาด
เล็กกว่า(29) (ตารางที่ 5.1) ตัวผู้มีขนาดประมาณ (10-18×0.5-0.55 มิลลิเมตร) ผิว
เรียบ มีอัณฑะประมาณ 7 อันเรียงกันเป็นแถว intestinal reunion อยู่บริเวณ
ด้านล่างของลําตัว
ตัวเมียมีขนาดประมาณ (14-20×0.3 มิลลิเมตร) มีรังไข่อยู่บริเวณกึ่งกลาง
ของลําตัว มดลูกยาว มีไข่อยู่ประมาณ 120-130 ฟอง
ไข่(2,5)
มีลักษณะคล้ายกับไข่ของ S. japonicum แต่มีขนาดเล็กกว่าคือประมาณ
(62-97×50-76 ไมโครเมตร) ลักษณะรูปร่างค่อนข้างกลม มีปุ่มเล็ก ๆ อยู่ด้านข้าง
(lateral knob) และมีไมราซีเดียมซึ่งเจริญเต็มที่อยู่ภายใน
เซอร์คาเรีย(2,5)
คล้ายกับระยะเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้เลือด S. japonicum
วงจรชีวิต(3,6)
S. mekongi มีวงจรชีวิตคล้ายกับพยาธิใบไม้เลือดชนิดอื่น ๆ ตัวเต็มวัย
อาศัยอยู่ที่ superior mesenteric veins และ portal veins หอยที่เป็นโฮสต์
สื่อกลางคือ N. aperta
ระบาดวิทยา(3,6)
นอกจากคนแล้วยังมีสุนัขที่เป็นโฮสต์สะสมเชื้อของ S. mekongi จากการ
สํารวจทางตอนใต้ของสปป.ลาว โดยวิธี Kato-Katz technique (KK) และวิธี
formalin-ethyl acetate concentration technique (FECT) พบว่ามีอัตรา
204 พยาธิใบไม้

การระบาดเท่ากับร้อยละ 12.88 และร้อยละ 24.3 ตามลําดับ ถิ่นระบาดที่สําคัญ


ของโรค อยู่ที่เกาะโขงซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสปป.ลาว ใกล้กับประเทศกัมพูชา(30-32)
ในประเทศกัมพูชามีถิ่นระบาดที่สําคัญของโรคอยู่ที่หมู่บ้านเรือนแพ เมืองกราตี มี
อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อประมาณ 80,000 คน(11)

ตารางที่ 5.1 เปรียบเทียบรูปร่างลักษณะของพยาธิใบไม้เลือดระยะตัวเต็มวัยและไข่


ทั้ง 4 ชนิด(1,2,29)
Schistosoma Schistosoma Schistosoma Schistosoma
haematobium mansoni japonicum mekongi
ตัวผู้
ผิวลําตัว เม็ดละเอียด หยาบ เรียบ เรียบ
ขนาด (mm) 10-15×0.75-1 6-13×1 12-20×0.5-0.55 10-18×0.5-0.55
จํานวนของอัณฑะ 4-5 4-13 6-8 7
ลําไส้ทมี่ ารวมตัวกัน กลาง 1/3 ของลําตัว 2/3 ของลําตัว 2/3 ของลําตัว
ตัวเมีย
ขนาด (mm) 20-26×0.25-1 7-17×0.25 12-28×0.3 14-20×0.3
ตําแหน่งรังไข่ ล่าง บน กลาง กลาง
ไข่
ขนาด (μm) 83-187×40-70 115-175×45-70 65-103×50-72 62-97×50-76
รูปร่าง รูปรี รูปรี กลมรี กลมรี
ตําแหน่งของ ปลาย ด้านข้าง ด้านข้าง ด้านข้าง
หนาม/ตุ่ม (terminal spine) (lateral spine) (lateral knob) (lateral knob)
หอยทีเ่ ป็นพาหะ Bulinus Biomphalaria Oncomelania Neotricula

สําหรับประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502-2527 พบไข่ Japonicum-like


จาก rectal biopsy ของผู้ป่วย และ autopsy ประมาณ 60 ราย จากจังหวัดต่าง ๆ
เนื่องจากไม่พบหอย Oncomelania spp. อยู่ในประเทศไทย แต่มีการพบหอย
Neotricula aperta β-strain ที่แม่น้ํามูล และหอย Neotricula aperta γ-
strain ที่แม่น้ําโขงจึงอนุมานได้ว่าพยาธิที่เป็นสาเหตุของโรคพยาธิใบไม้เลือดใน
ประเทศไทย คือ S. mekongi นอกจากนั้นยังมีรายงานการพบหอย N. aperta
(33)
γ-strain แห่งใหม่ที่จังหวัดหนองคายอีกด้วย
พยาธิใบไม้เลือด 205

พยาธิสภาพและอาการ(3,6)
ลักษณะการติดเชื้อพยาธิใบไม้เลือด S. mekongi จะคล้ายกับพยาธิใบไม้
เลือด S. japonicum แต่ความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่า
การวินิจฉัย(3,6)
วิธีการตรวจแบบต่าง ๆ เหมือนกันกับ S. japonicum
การรักษา(2,3,6)
ยา praziquantel 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ให้กินเพียงครั้งเดียว โดยแบ่ง
เป็น 2 มื้อ
การป้องกัน(2,3,6)
เช่นเดียวกับ S. japonicum

พยาธิใบไม้เลือดของสัตว์(2,3,5,6)

พยาธิใบไม้เลือดของสัตว์ สามารถไชเข้าสู่ผิวหนังของคน แต่ไม่สามารถ


เจริญเป็นตัวเต็มวัยในร่างกายคนได้ เซอร์คาเรียที่ไชเข้าไปมักจะตายอยู่ในชั้น
ผิวหนัง ทําให้เกิดตุ่มคันเป็นสีแดง เหมือนตุ่มลมพิษ (urticarial) เมื่อเกาจนผิวหนัง
ถลอกอาจทําให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยและในขณะเดียวกันเซอร์คาเรียจะ
ปล่อยสารพิษออกมาทําให้เกิดลมพิษ เกิดผิวหนังอักเสบ (cercaria dermatitis)
มีอาการคันมากเรียกผื่นคันชนิดนี้ว่า โรคพยาธิหอยคัน “Swimmer’s itch”
อาการโรคหอยคันเริ่มเกิดหลังจากสัมผัสกับน้ําที่มีเซอร์คาเรีย คนจะรู้สึก
เจ็บจิ๊ดบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับน้ํา จากนั้นจะคันนานประมาณ 1 ชั่วโมง อีก 2
ถึง 5 ชั่วโมงต่อมาจะเกิดตุ่มนูนแดงเหมือนตุ่มยุงกัด ขนาด 3-5 มิลลิเมตร ซึ่งจะ
หายไปเองภายใน 9-14 วัน
206 พยาธิใบไม้

การรักษา
ให้กินแอนติฮีสตามิน หรือทาคาลาไมน์โลชั่น
Schistosome cercarial dermatitis แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตาม
ลักษณะของพยาธิที่เป็นสาเหตุ ดังนี้
1. Avian schistosome cercarial dermatitis ชนิดน้ําจืด
มีสาเหตุมาจากเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้เลือดของสัตว์ปีกเช่น สกุล
Trichobilharzia, Gigantobilharzia และ Ornithobilharzia โฮสต์สื่อ
กลางที่เป็นพาหะของโรคได้แก่ หอยน้ําจืดในสกุล Lymnaea, Stagnicola,
Physa, Planorbis, Polypylis และ Chilina พบในสหรัฐอเมริกา แคนาดา
เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เวลส์ แอนซัลวาดอร์ คิวบา อาร์เจนตินา
เมียนมา ไทย มาเลเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้
และมลรัฐอลาสกาของสหรัฐอเมริกา
2. Avian schistosome cercarial dermatitis ชนิดน้ําเค็ม
มีสาเหตุมาจากเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้เลือดของสัตว์ปีกเช่นสกุล
Microbilharzia และ Gigantobilharzia โฮสต์สื่อกลางที่เป็นพาหะของ
โรคได้แก่ หอยน้ําเค็ม ซึ่งพบได้ในหลาย ๆ มลรัฐของสหรัฐอเมริกา
3. Mammalian schistosome cercarial dermatitis
มีสาเหตุมาจากเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้เลือดตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
โฮสต์สื่อกลางที่เป็นพาหะได้แก่ หอยน้ําจืด เช่น Schistosoma spindale
(หอย Indoplanorbis), Schistosoma bovis (หอย Bulinus), Schistoso-
ma mattheei (หอย Bulinus), Schistosoma incognitum (หอย
Lymnaea), Heterobilharzia americana (หอย Lymnaea), Orien-
tobilharzia turkestanica (หอย Lymnaea) และ Orientobilharzia
harinasutai (หอย Lymnaea) พบในประเทศมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย
อิหร่าน อิตาลี และสหรัฐอเมริกา
พยาธิใบไม้เลือด 207

ระบาดวิทยา(2,3)
พยาธิใบไม้เลือดในสัตว์ที่เป็นสาเหตุสําคัญและมีรายงานในประเทศไทย คือ
1. Schistosoma spindale เป็นปรสิตของโค กระบือและสัตว์กินหญ้า
ทํ า ให้ เ กิ ด ผิ ว หนั ง อั ก เสบในคนได้ รุ น แรงที่ สุ ด โฮสต์ สื่ อ กลางคื อ หอย
Indoplanorbis exustus พบที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. Orientobilharzia harinasutai พบในควาย โฮสต์สื่อกลางคือหอย
Lymnaea (Radix) rubiginosa พบที่ภาคใต้ของประเทศไทยไข่พยาธิ
มีรูปร่างคล้ายไข่ของ S. mansoni
3. Trichobilharzia maegrathi พบในเป็ด โฮสต์สื่อ กลางคือ หอย
Lymnaea (Radix) rubiginosa พบที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4. Schistosoma incognitum พบในหนู หนูพุกใหญ่ (Bandicota
indica), หนูท้องขาว (Rattus rattus) และ Rattus argentiventer
โฮสต์สื่อกลางคือหอย Lymnaea (Radix) rubiginosa พบที่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
การวินิจฉัย(3)
1. ประวัติการสัมผัสกับแหล่งน้ําที่สงสัย
2. มีเม็ดผืน่ คันตามผิวหนัง
3. ตรวจพบเซอร์คาเรียจากหอยในแหล่งน้ํานั้น ๆ
การรักษา(3)
รักษาตามอาการของโรค
การป้องกัน(3)
1. หลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับแหล่งน้ําที่คาดว่าจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหอยพาหะ
2. สวมรองเท้าบูธยาง
208 พยาธิใบไม้

บทสรุป
พยาธิใบไม้เลือดเป็นปรสิตที่มีความสําคัญทั่วโลก มีความสําคัญที่สุดใน
บรรดาพยาธิใบไม้ทั้งหมด เพราะทําให้เกิดพยาธิสภาพมาก การรักษา การควบคุม
และกําจัดได้ยาก พยาธิใบไม้เลือดที่ทําให้เกิดโรคในคนมี 4 ชนิด คือ
1. Schistosoma japonicum
2. Schistosoma haematobium
3. Schistosoma mansoni
4. Schistosoma mekongi
สําหรับประเทศไทยพยาธิที่เป็นสาเหตุของโรคพยาธิใบไม้เลือดคือ
Schistosoma mekongi เนื่องจากมีการพบหอย Neotricula aperta β-strain
ที่แม่น้ํามูล Neotricula aperta γ-strain ที่แม่น้ําโขงและจังหวัดหนองคาย
พยาธิใบไม้เลือด 209

เอกสารอางอิง
1. Steinmann P, Keiser J, Bos R, Tanner M, Utzinger J. Schisto-
somiasis and water resources development: systematic
review, meta-analysis, and estimates of people at risk. Lancet
Infect Dis 2006;6:411-25.
2. นิมิตร มรกต, เกตุรัตน์ สุขวัจน์. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์: โปรโตซัวและ
หนอนพยาธิ. เชียงใหม่: โครงการตํารา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย-
เชียงใหม่; 2539.
3. ประยงค์ ระดมยศ, สุวณี สุภเวชย์, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ. ตําราปรสิต
วิทยาทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2539.
4. Beaver PC, Jung RC, Cupp EW. Clinical parasitology. 9th ed.
Philadelphia: Lea and Febiger; 1984.
5. Bogitsh BJ, Cheng TC. Human parasitology. 2th ed. New York:
Academic Press; 1998. p. 229-48.
6. Markell E, John DT, Krotoshi WA. Markell and Voge’s Medical
parasitology. 8th ed. Philadephia: Saunders company; 1999.
7. Sun T. Parasitic disorders; pathology, diagnosis, and manage-
ment. 2th ed. Baltimore: Williams & Wilkins; 1999.
8. Despommier DD, Gwadz RW, Hotez PJ. Parastic diseases. 3rd
ed. USA: Springer-Verlag; 1997. p. 108-38.
9. Song LG, Wu XY, Sacko M, Wu ZD. History of schistosomiasis
epidemiology, current status, and challenges in China: on the
road to schistosomiasis elimination. Parasitol Res 2016;115:
4071-81.
10. Lei ZL, Zhang LJ, Xu ZM, Dang H, Xu J, Lv S, et al. Endemic
status of schistosomiasis in People's Republic of China in
2014. Zhongguo Xue Xi Chong Bing Fang Zhi Za Zhi 2015;27:
563-9.
11. Sinuon M, Tsuyuoka R, Socheat D, Odermatt P, Ohmae H,
Matsuda H, et al. Control of Schistosoma mekongi in
Cambodia: results of eight years of control activities in the
210 พยาธิใบไม้

two endemic provinces. Trans R Soc Trop Med Hyg 2007;101:


34-9.
12. Garjito TA, Sudomo M, Abdullah, Dahlan M, Nurwidayati A.
Schistosomiasis in Indonesia: past and present. Parasitol Int
2008;57:277-80.
13. Roberts LS, Janovy J. Foundations of parasitology. 5th ed. New
York: Wm. C. Brown; 1996.
14. WHO. Tropical disease research: Progress 1995-1996. Geneva:
WHO; 1997.
15. Weerakoon KG, Gordon CA, Gobert GN, Cai P, McManus DP.
Optimization of a droplet digital PCR assay for the diagnosis of
Schistosoma japonicum infection: A duplex approach with
DNA binding dye chemistry. J Microbiol Methods 2016;125:19-
27.
16. Li J, Zhao GH, Lin RQ, Blair D, Sugiyama H, Zhu XQ. Rapid
detection and identification of four major Schistosoma
species by high-resolution melt (HRM) analysis. Parasitol Res
2015;114:4225-32.
17. WHO. WHO model prescribing informatim: drugs used in
parasitic disease. Geneva: WHO; 1990.
18. WHO. Vector control: Methed for use by individuals and
communities. Geneva: WHO; 1997.
19. Madinga J, Linsuke S, Mpabanzi L, Meurs L, Kanobana K,
Speybroeck N, et al. Epidemiological interactions between
urogenital and intestinal human schistosomiasis in the context
of praziquentel treatment across three West African countries.
PLoS Negl Trop Dis 2015;9:e0004019.
20. French MD, Churcher TS, Webster JP, Fleming FM, Fenwick A,
Kabatereine NB, et al. Estimation of changes in the force of
infection for intestinal and urogenital schistosomiasis in countries
with schistosomiasis control initiative-assisted programs. Parasit
Vectors 2015;8:558.
พยาธิใบไม้เลือด 211

21. Degarege A, Erko B, Mekonnen Z, Legesse M, Negash Y,


Vercruysse J, et al. Comparison of individual and pooled urine
samples for estimating the presence and intensity of
Schistosoma haematobium infections at the population level.
Parasit Vectors 2015;8:593.
22. Madinga J, Linsuke S, Mpabanzi L, Meurs L, Kanobana K,
Speybroeck N, et al. Schistosomiasis in the Democratic Republic
of Congo: a literature review. Parasit Vectors 2015;8: 601.
23. Qu G, Wang W, Lu X, Dail J, Li X, Liang Y. Evaluating the risk of
Schistosoma mansoni transmission in mainland China.
Parasitol Res 2016;115:4711-3.
24. Afifi A, Ahmed AA, Sulieman Y, Pengsakul T. Epidemiology of
schistosomiasis among villagers of the new halfa agricultural
scheme, Sudan. Iran J Parasitol 2016;11:110-5.
25. Tandina F, Doumbo SN, Koné AK, Guindo D, Goita S, Sissoko
M, et al. Epidemiology of schistosomiasis in the periurban area
of Sotuba, 10 years mass treatment began in Mali. Med Sante
Trop 2016;26:51-6.
26. Barros CR, Maia DC, Santos JB, Medeiros CC, Araújo JG. Cuta-
neous ectopic schistosomiasis: diagnostic challenge. An Bras
Dermatol 2016;91:109-10.
27. Abdel-Hafeez EH, Mohamed RM, Belal US, Abdel-Raheem EM,
Naoi K, Norose K. Polymerase chain reaction: A better method
for diagnosing chronic Schistosoma mansoni infections. Trop
Med Health 2015;43:205-9.
28. Preyavichyapugdee N, Sangfuang M, Chaiyapum S, Sriburin S,
Pootaeng-on Y, Chusongsang P. Schistosomicidal activity of
the crude extract of Artocarpus lakoocha. Southeast Asian J
Trop Med Public Health 2016;49:1-15.
29. ประยงค์ ระดมยศ, อัญชลี ตั้งตรงจิตร, พลรัตน์ วิไลรัตน์, ศรชัย หลูอารีย์
สุวรรณ, แทน จงศุภชัยสิทธิ์. Atlas of medical parasitology.พิมพ์ครั้ง
ที่ 4. กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2541.
212 พยาธิใบไม้

30. Nickel B, Sayasone S, Vonghachack Y, Odermatt P, Marti H.


Schistosoma mansoni antigen detects Schistosoma mekongi
infection. Acta Trop 2015;141:310-4.
31. Sayasone S, Utzinger J, Akkhavong K, Odermatt P. Repeted
stool sampling and use of multiple technique enhance the
sensitivity of helminth diagnosis: a cross-sectional survey in
southern Lao People’s Democratic Republic. Acta Trop 2015;
141: 315-21.
32. Schmidt GD, Robert LS. Foundations of parasitology. 4th ed. St
Louis: CV Mosby; 1981.
33. Limpanont Y, Chusongsang P, Chusongsang Y, Limsomboon J,
Sanpool O, Kaewkong W, et al. A new population and habitat
for Neotricula aperta in the Mekong River of northeastern
Thailand: a DNA sequence-based phylogenetic assessment
confirms identification and interpopulation relationships. Am J
Trop Med Hyg 2015;92:336-9.
พยาธิใบไม้เลือด 213

บทสงทาย
พยาธิ ใ บไม้ ที่ มี ค วามสํ า คั ญ ทางการแพทย์ มี อ ยู่ ห ลายชนิ ด ถู ก
จําแนกตามอวัยวะที่พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในโฮสต์ คือ พยาธิใบไม้ปอด
พยาธิใบไม้ตับ พยาธิใบไม้ลําไส้ และพยาธิใบไม้เลือด โดยพยาธิใบไม้ตับ
ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขมากที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้ไม่ได้
หมายความว่า ประเทศไทยให้ความสําคัญกับโรคที่เกิดจากพยาธิใบไม้
น้อยเกินไป แต่หากเป็นเพราะขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยา
ของพยาธิใบไม้แต่ละชนิด ดังนั้นองค์ความรู้และความเข้าใจพื้นฐานที่
ถูกต้องเกี่ยวกับกายรูปวิทยา วงจรชีวิต การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
การก่อโรค พยาธิสภาพ การวินิจฉัย ระบาดวิทยา โฮสต์สะสมเชื้อ และ
การรักษานั้น มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมและกําจัดโรคพยาธิ
ใบไม้ที่เกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยทางภูมิคุ้มกันของโฮสต์และ
ทางด้านอณูชีววิทยาต่อพยาธิใบไม้ ซึ่งเทคนิคทางอณูชีววิทยานั้นมีความ
ไวและความจําเพาะสูง จึงมีการนํามาใช้ในการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยที่ติด
เชื้อพยาธิใบไม้ และยังเป็นประโยชน์ด้านอื่นเช่น การศึกษาระบาดวิทยา
ของพยาธิเพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อ การศึกษาถึงระดับ
พั น ธุ ก รรมและวิ วั ฒ นาการชาติ พั น ธุ์ ข องพยาธิ และนอกจากนั้ น ยั ง มี
การศึกษาถึงการพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ในการป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้
ในสัตว์ และการนําสารสกัดที่ได้จากสมุนไพรมาใช้เป็นยาฆ่าพยาธิใบไม้
ผู้ นิ พ นธ์ ห วั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า ตํ า ราที่ ไ ด้ เ รี ย บเรี ย งขึ้ น นี้ จ ะเป็ น
ประโยชน์ แ ก่ นั ก ศึ ก ษา นั ก วิ จั ย และผู้ ที่ ส นใจเกี่ ย วกั บ พยาธิ ใ บไม้ ที่ มี
ความสําคัญทางการแพทย์ เพื่อจะนําไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงรัตน์ ริยอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุลักษณ์ จันทร์คํา
ดรรชนี
Acanthogobius flavimanus 151
Acantopsis thiemmedhi 155
Acetabulum 3,4,9
Allergic reaction 106
Amblyrhynchichthys truncatus 153
Amphistome 4,167
AMS II method 188
Amyloidosis 193
Anabas testudineus 151,153
Anterior 8,49
Anterior conical portion 109
Anterior part 146
Antibody 44,59,84,90,144
Apical papilla 18
Aplocheilus panchax 153
Ascending colon 109,111
Ascending cholangitis & cholecystitis 56
Aspidobothrea 1,2
Aspirates 195
Avian schistosome cercarial dermatitis 96,206
Barbodes altus 153
Barbodes gonionotus 153
Barbonymus altus 153
Barbonymus gonionotus 153
Barbonymus schwanenfeldii 153
Bandicota indica 188
Bell’s filtration technique 202
Benzimidazole 85,144,173
Bilharziasis 145,179,190,196,206,207
Biomphalaria 179,197,204
Biomphalaria glabrata 197
Biomphalaria straminea 197
Biopsy 202,204
ดรรชนี 215

Birth pore 18
Bithionol 69,85
Bithynia spp. 61,62,67,157
Bithynia funiculata 61
Bithynia goniomphalos 161
Bithynia infata 62
Bithynia siamensis goniomphalos 61,88,157
Bithynia striatula var japonicas 65
Blood fluke 7,8,177,178,180,190,196,202
Brachythemis contaminata 157
Brackish water snail 146
Bronchitis 32
Bronchopneumonia 32
Bulinus 179,191,204,206
Bulinus hungerfordianus 121
Caecum 11,12,28,109,110,111
Cardiopulmonary schistosomiasis 201
Cercaria dermatitis 205
Cerebral hemorrhage 33
Cerithidea cingulata 146,150
Chilina 206
Cholangiocarcinoma 49,56,87,91
Chronic intestinal schistosomiasis 201
Ciliated cell 11
Circular fiber 9
Cirrhinus jullieni 54,153,154
Cirrus sac 14,15,131
Class 1,2,6,7
Clonorchis sinensis 4,6,7,47,48,59,63,64,65,75,92
137,140,171
ประวัติ 63
กายรูปวิทยา 63
ไข 63
วงจรชีวิต 63
Colon 106,167
216 พยาธิใบไม้

Collar spines 3,112,113,118,120,125,126


Collecting tubule 11
Coma 33
Common vitelline duct 132
Complement fixation test 34
Compression technique 195
Concentration method 203
Corticosteroid 35
Crocothemis servilia 157
Cutaneous schistosomiasis 201
Cyclocheilichthys apogon 54,153,154
Cyclocheilichthys armatus 52,54,153,154
Cyclocheilichthys repasson 54,153,154
Cyclocheilichthys siaja 54,153,154
Cyprinoid fish 61,62,89,172
Cyst wall 104
Danio regina 153,155
Daughter redia 18,19
Daughter sporocyst 18
Definitive host 21
Dermogenys pusilla 151-153,175
Dermogenys pusillus 163-165,188
Devario regina 153,155
Dicrocoeliidae 1,5-7,47,65,75
Dicrocoelium dendriticum 5-7,17,18,47,65-68,70,71,75
ประวัติ 66
กายรูปวิทยา 66
ไข 66
วงจรชีวิต 68
ระบาดวิทยา 69
พยาธิสภาพและอาการ 69
การวินิจฉัย 69
การรักษา 69
การปองกัน 71
ดรรชนี 217

Digenea 1-3,6,7,21,173,174
Digenetic flukes 1
Digestive system 11
Distome 3
Desquamation 111
Duodenum 100,104,106,108
Echinostome 3,112-117,121-124,168
Echinostoma ilocanum 6-8,10,97,99,112,119,
120,126,168
ประวัติ 119
กายรูปวิทยา 119
ไข 119
วงจรชีวิต 121
Echinostoma malayanum 6-8,35,44,97,99,112,
116,118,126,169
ประวัติ 116
กายรูปวิทยา 117
ไข 117
วงจรชีวิต 117
Echinostoma revolutum 6,7,8,97,99,112,121,126
ประวัติ 121
กายรูปวิทยา 121
ไข 122
วงจรชีวิต 122
Echinostomatidae 2,5-7,97,99,112,126,169
Ejaculatory duct 14,131
ELISA 34,40,59,84,85,90,94,144,188
Embolism 149
Embryonated egg 18
Encephalitis 33
Encystation 19
Eosinophil 56,116,187
Eosinophilic granuloma 34
Eosinophil-neutrophil infiltration 138
218 พยาธิใบไม้

Epilepsy 33
Episthmium caninum 6-8,97,99,112,122
ประวัติ 122
กายรูปวิทยา 122
ไข 123
วงจรชีวิต 123
Esomus metallicus 153,155
Esophagus 11,12,101
Eurytrema pancreaticum 5-7,47,65,71-75
ประวัติ 71
กายรูปวิทยา 71
ไข 72
วงจรชีวิต 73
พยาธิสภาพและอาการ 73
การวินิจฉัย 73
การรักษา 73
การปองกัน 73
Excretory bladder 11,13,132,157-160,
161,162
Excretory capillary 11
Excretory granule 133
Excretory pore 11,13,129
Excretory-secretory products 56
Excretory system 11
Facial palsy 33
Far eastern schistosomiasis 179
Fasciola spp. 17,18,77,83,96
Fasciola gigantica 4-8,35,44,47,76,78,79,
80,82,86,92-95,100,103
กายรูปวิทยา 76
ไข 77
วงจรชีวิต 81
ระบาดวิทยา 81
ดรรชนี 219

พยาธิสภาพและอาการ 83
การวินิจฉัย 84
การรักษา 85
การปองกัน 85
Fasciola hepatica 4-,8,47,76,86,92-94,100
กายรูปวิทยา 76
ไข 77
วงจรชีวิต 81
ระบาดวิทยา 81
พยาธิสภาพและอาการ 83
การวินิจฉัย 84
การรักษา 85
การปองกัน 85
Fasciolidae 1,4,6,7,47,96,98,100
Fascioliasis 69,76,81,83-85,93,94,100
Fasciolopsis buski 4,6,7-9,96-98,100,102,103,
105,108,109,111,165-167
ประวัติ 100
กายรูปวิทยา 101
ไข 104
วงจรชีวิต 104
ระบาดวิทยา 104
พยาธิสภาพและอาการ 106
การวินิจฉัย 107
การรักษา 107
การปองกัน 107
Female 178,198
Fibrosis 32,56,84
Flame cell 132,133
Fork-tailed cercaria 19,20,177,182,184,185,194,
200
Formalin-ethyl acetate concentration technique 106,203
Formica fusca 69,71
220 พยาธิใบไม้

Ganglion 11
Gasterostomata 1,3
Gasterostome 3
Gastrodiscoides hominis 5-8,96,98,108-110,167
ประวัติ 108
กายรูปวิทยา 109
ไข 109
วงจรชีวิต 109
พยาธิสภาพและอาการ 111
การวินิจฉัย 111
การรักษา 111
การปองกัน 111
Genital opening 9,14,16,127
Genital pore 123,159,171
Genital sucker 9,10,127-129,146,147
Genus 7,25,41,71,92,152,169,
Gigantobilharzia 220,221
Globular 14
Glomerulonephritis 193
Gonotyle 9,127
Granuloma 34,187,193
Grossly tuberculated 197
Gynecophoric canal 4,177,178
Hampala dispar 52,54,61,153,155
Hampala macrolepidota 54,153
Haplorchis pumilio 9,59,97,99,127,154
Haplorchis taichui 6-8,59,90,97,98,99,127,
128-130,135,139,145,153,
165,170-173
ประวัติ 128
กายรูปวิทยา 128
ไข 133
วงจรชีวิต 133
ระบาดวิทยา 136
ดรรชนี 221

พยาธิสภาพและอาการ 138,140
การวินิจฉัย 140
การรักษา 144
การปองกัน 140
Haplorchis yokogawai 97,99,170
Head collar 112,113,117
Helminthes 1,6,7
Helicorbis coenosus 110
Helisoma trivolvis 122
Hematuria 179,190
Hemoptysis 34
Henicorhynchus siamensis 52,153,155
Hepatic encephalopathy 58
Hepatopancreas 18
Hepatosplenic schistosomiasis 187
Hermaphrodite 14,131
Heterobilharzia americana 206
Heterophyidae 2,5,8,105,107,137,183,184,
186-188
Heterophyes heterophyes 4,6-8,97,145,147,148,162,186
ประวัติ 145
กายรูปวิทยา 145
ไข 146
วงจรชีวิต 146
ระบาดวิทยา 149
พยาธิสภาพและอาการ 149
การวินิจฉัย 149
การรักษา 149
การปองกัน 150
Hippeutis (Helicorbis) cantori 123
Hippeutis umbilicalis 121
Holostome 3
Hypoderaeum conoidium 6-8,97,99,112,122,123,
125,126,168
222 พยาธิใบไม้

ประวัติ 123
กายรูปวิทยา 124
ไข 124
วงจรชีวิต 124
Immunoblot 34,40,44,188
Immune complexes 187,193
Immunodiagnosis 59,91,102
Indirect haemagglutination test 34,44,188
Indoplanorbis exustus 117,122,124,207
Inferior mesenteric veins 197,200
Infinite paralysis 33
Inflammation 106
Integumentary 9
Intermediate host 21,43,45,46,88,89,93,167,
168,169,175
Intestinal flukes 7,8,96,97,100,127,164
Intestinal schistosomiasis 179,180,187,201
Intestine 38,78,102,103,118
Intestinal reunion 177,180,190,197,203
Intestinal sac 19
Iodophilic body 158,161
Jacksonian seizure 33
Jejuno-ileo-vesicovaginal fistula 111
Jejuno-ileo-caecal fistula 111
Jejunum 104,106,108
Katayama fever 179,187
Kato thick smear technique 188,203
Knob 50,52
Labiobarbus burmanicus 54,155
Labiobarbus leptocheilus 54,155
Labiobarbus siamensis 54,154
Labiobarbus spilopleura 54,154
Lateral spine 197,199,204
Lateral knob 182,183,203,204
Lecithodendriidae 2,5-7,98,99,127,156
ดรรชนี 223

Leucocytosis 111
Life cycle 87,89,165,166,170,175
Lithoglyphopsis aperta 202
Liver flukes 5,7,47,61,76,87,90,91,93,94
Liza menada 151
Liza subviridis 157
Longitudinal fiber 9
Lung flukes 5,7,25
Lymnaea attenuata 122
Lymnaea (Bullastra) cumingiana 117,118
Lymnaea palustris 124
Lymnaea (Radix) japonica 123
Lymnaea (Radix) ollula 122
Lymnaea (Radix) peregra 121
Lymnaea (Radix) rubiginosa 81,93,117,121,122,124,222
Lymnaea stagnalis 122,124
Lymnaea (Radix) swinhoei 122
Lymphosarcoma 111
Male 178,198
Mammalian schistosome cercarial dermatitis 206
Mansoni’s intestinal schistosomiasis 179
Meningoencephalitis 33
Metabolites 1067,
Metagonimus yokogawai 4,6,8,97
Miracidium 18,22,31,52,53,68,70,74,78,
82,105,130,135,148,183,185,
188,193,194,199,200
Mitochondria 79,92,93,189
Monoclonal antibody 43,44,59,84,90,94
Monogenea 1,2
Monoplegia 33
Monostome 3
Mucosa 138,149
Mugil capito 150
Mugil cephalus 146,150,151
Mugil dussumieri 151
224 พยาธิใบไม้

Muscular system 9
Mystacoleucus atridorsalis 54,154,155
Mystacoleucus Marginatus 154
Naiad 156,157
Nanophyetus salmincola 5,6
Necrosis 111,138
Neotricula aperta 30,180,203
Neotricula aperta β-stain 204,208
Neotricula aperta γ-stain 204,208
Nephrotic syndrome 193
Nerve trunk 11
Netro ant 69
Niclosamide 116,144,149
Non-operculated egg 178
Non-tuberculated cuticle 180
Notopterus notopterus 154
Oblique fiber 9
Occipital lobe 34
Oncomelania 30,179,182,186,204
Oncomelania formosana 182
Oncomelania hupensis 182
Oncomelania lindoensis 182
Oncomelania nosophora 182
Oncomelania quadrasi 182
Ootype 14,16,101,132
Operculum 16,17,23,29,52,68,77,102,
114,130
Opisthorchiidae 1,4,6,7,47,48,75,174
Opisthorchis felineus 4-7,47,48,61,62,87
ประวัติ 61
กายรูปวิทยา 61
ไข 62
วงจรชีวิต 62
พยาธิสภาพและอาการ 62
การวินิจฉัย 62
ดรรชนี 225

การรักษา 62
Opisthorchis viverini 4-8,47,48,50-54,61,75,86-91,
97,146,164,165,171,172
ประวัติ 48
กายรูปวิทยา 49
ไข 50
วงจรชีวิต 50
ระบาดวิทยา 55
พยาธิสภาพและอาการ 56,57
การวินิจฉัย 59
การรักษา 60
การปองกัน 60
Oral sucker 2-4,9-12,19,20,27,28,37-39,
50,51,63,64,67,71,72,76,78,
100-102,109, 110,112,114,
117-121,124,125,129,130,
133,134,146,147,151,156,
158-163,181,184,192,198
Oriental schistosomiasis 179
Orientobilharzia harinasutai 206,207
Orientobilharzia turkestanica 206
Order 1-3,6,7
Orthetrum sabina 157
Osteochilus hasselti 52,54,154,155
Osteochilus vittatus 54,154,155
Ovary 14,15,28,38,39,51,67,72,75,
102,118,120,125,130,147,
162,178,178,181,192
Oviduct 132
Oviparous 16
Paragonimidae 1,4,6,7,41
Paramphistomatidae 2,4,6,7,96,98,108
Paragonimus africanus 25
Paragonimus bangkokensis 35,41
226 พยาธิใบไม้

Paragonimus ecuadorensis 25
Paragonimus harinasutai 28,37,35,45
Paragonimus heterotremus 4-7,12,25-29, 31,34,35,39,
40,42-44
ประวัติ 27
กายรูปวิทยา 27
ไข 29
วงจรชีวิต 30
ระบาดวิทยา 32
พยาธิสภาพและอาการ 32
การวินิจฉัย 34
การรักษา 35
การปองกัน 36
Paragonimus macrorchis 25,26,35,41
Paragonimus mexicanus 25
Paragonimus miyazakii 25
Paragonimus ohirai 26
Paragonimus peruvianus 26
Paragonimus siamensis 35
Paragonimus skrjabini 26
Paragonimus uterobilateralis 26
Paragonimus vietnamensis 26,41
Paragonimus westermani 4-7,26,34,37-39,41,
45,46
ประวัติ 37
กายรูปวิทยา 37
ไข 37
วงจรชีวิต 40
ระบาดวิทยา 40
พยาธิสภาพและอาการ 40
การวินิจฉัย 40
การรักษา 40
การปองกัน 40
ดรรชนี 227

Paragonimiasis 25,27,33,37,41-45
Paralaubuca barroni 154
Paralaubuca harmandi 154
Paralysis 33
PCR (polymerase chain reaction) 34,35,40,44,59,90,137,140,
143,172,173,189,201,210
Penetration gland 18
Pharynx 19,101,177
Phaneropsolus bonnie 5-8,90,92,98,99,127,156,
158-160,172,175
Phylum 1,6,7
Physa gyrina 122
Physa oculans 122
Physastra hungerfordiana 118,169
Pirenella coninca 146,150
Planorbis 206
Pleural effusion 34
Polyclonal antibody 84
Polypylis 206
Praziquantel 35,45,60,69,73,85,91,94,
107,111,116,136,143,144,
149,159,163,167,176,189,
196,201,202,205,210
Prosostomata 1,3
Prosthodendrium molenkampi 5-8,14,15,98,99,127,131,160,
162,175
Poropuntius deauratus 154
Portal veins 180,186,203
Posterior 8,49,109,131
Pulmonary paragonimiasis 33,42
Puntius brevis 54,61,153-155
Puntius gonionotus 54,153
Puntius leiacanthus 54,154,155
Puntius orphoides 52,61,153,154
Puntius partipentazona 54
Puntioplites proctozystron 54,143,154,155
228 พยาธิใบไม้

Puntius schwanenfeldii 153,154


Pyelonephritis 193
Raiamas guttatus 154
Rasbora tornieri 154
Rattus argentiventer 207
Rattus rattus 160
Rectal biopsy 188,189,204
Redia 18,19,22,31,53,70,74,82,105,
115,135,148
Reproductive system 14
Rusty brown 33
Scale-like spines 146
Schistosoma bovis 206
Schistosome cercaria dermatitis 206
ระบาดวิทยา 206
การวินิจฉัย 207
การรักษา 207
การปองกัน 207
Schistosoma haematobium 4,6-8,179,190,192-194,
208,210
ประวัติ 190
กายรูปวิทยา 190
ไข 191
เซอรคาเรีย 191
วงจรชีวิต 191
ระบาดวิทยา 191
พยาธิสภาพและอาการ 191,193
การวินิจฉัย 195
การรักษา 195
การปองกัน 195
Schistosoma incognitum 206,207
Schistosoma japonicum 4,6-8,179-181,183-185,
203,208,210
ดรรชนี 229

ประวัติ 180
กายรูปวิทยา 180
ไข 182
เซอรคาเรีย 182
วงจรชีวิต 182
ระบาดวิทยา 186
พยาธิสภาพและอาการ 187
การวินิจฉัย 188
การรักษา 189
การปองกัน 189
Schistosoma mansoni 4,6-8,179,196,198,199,
200,208,211
ประวัติ 196
กายรูปวิทยา 197
ไข 197
เซอรคาเรีย 197
วงจรชีวิต 197
ระบาดวิทยา 201
พยาธิสภาพและอาการ 201
การวินิจฉัย 201
การรักษา 201
การปองกัน 202
Schistosoma mattheei 206
Schistosoma mekongi 4,6-8,208,209,211
ประวัติ 202
กายรูปวิทยา 202
ไข 202
เซอรคาเรีย 202
วงจรชีวิต 202
ระบาดวิทยา 202
พยาธิสภาพและอาการ 205
การวินิจฉัย 205
230 พยาธิใบไม้

การรักษา 205
การปองกัน 205
Schistosoma spindale 206,207
Schistosomal hematuria 179
Schistosomiasis haematobia 190
Schistosomiasis japonica 179,180
Schistosomatidae 2,4,7,177
Schistosome 4,206
Scotophilus kuhlii 160
Segmentina spp. 108
Segmentina nitidella 123
Segmental enteritis 140
Semisulcospira libertine 32
Sloughing 138
Species 7,25,26,41,42,44,92,112,
170,171,174,196,210
Shell gland 132
Shoulder 29,52,130
Sporocyst 18,22,31,53,70,74,82,105,
135,148,185,194,200
Stagnicola 206
Stenomelania newcombi 151
Subarachnoid hemorrhage 34
Suborder 1,3
Superior mesenteric veins 182,185,186,203
Swimmer’s itch 205
Systomus orphoides 54,154
Tarebia granifera mauiensis 151
Taxonomic classification 1,7
Terminal spine 191,193,204
Testes 14,15,28,38,39,51,64,67,
72,75,78,102,103,118,120,
125,130,147,158,162,178,
181,192,198
Tetrachloroethylene 149
ดรรชนี 231

The oriental blood flukes 179


The vesical blood flukes 179
Thiara asperata 121
Thiara granifera 145,151
Thiara tuberculata 145
Thiaridae 30,36
Thynnichthys thynnoides 54,154
Tilapia nilotica 149,150
Tissue sectioning 195
Tiwaripotamon beusekomae 36
trematode larva migrans 34
Trichobilharzia 206
Trichobilharzia maegrathi 207
Trichogaster spp. 54
Trithemis pallidinervis 157
Ulceration 106
Unembryonated egg 18,29,113,117,19
Urinary bilharziasis 179
Urine filtration 195
Urine sedimentation 195
Urticarial 205
Uterus 14,15,51,64,67,78,102,118,
120,125,147,158,162
Vas deferens 14
Vas efferents 14,131
Ventrogenital sac 128,129
Vesical and pelvic venous plexuses 128,129
Vesical schistosomiasis 179,190
Vitelline duct 101,132
Vitelline follicles 61,66,109,112,123,146,151,
157,159,160,161,164
Vitelline gland 14,48,50,63,77,101,117,119,
124,125,132
Watsonius watsoni 5,6,96,108
Worm cyst 32
Xenentodon cancila 155
232 พยาธิใบไม้

Yangtze fever 179


Yolk cell 29,77,96,102,114
Yomesan 144,149
Zoonosis 25,169
ดวงรัตน ริยอง
อนุลักษณ จันทรคำ
ปรับปรุงครั้งที่ 3
ปรับปรุงครั้งที่ 3 ดวงรัตน ริยอง I อนุลักษณ จันทรคำ

You might also like