You are on page 1of 11

153

การรวบรวมคุณสมบัติและประโยชน์ของต้นลูกใต้ใบ
A Review of a Property and Advantage: Phyllanthus spp.

มงคล คงเสน วท.ม. (Mongkon Khongsen, M.Sc.)1


อัจฉรา นิยมเดชา วท.ม. (Atchara Niyomdecha, M.Sc.)2
วาฟาอ์ หาญณรงค์ วท.บ. (Wafa Harnnarong, B.S.)1
พนม สุขจันทร์ ปร.ด. (Phanom Sukchan, Ph.D.)3

บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นลูกใต้ใบ ชนิดของต้นลูกใต้ใบที่พบ
ในประเทศไทย สรรพคุณโดยทั่วไปของต้นลูกใต้ใบ ประโยชน์ของลูกใต้ใบ องค์ประกอบของสารเคมีในลูกใต้ใบ และฤทธิ์ของ
ลูกใต้ใบ และพบว่า ต้นลูกใต้ใบเป็นวัชพืชสมุนไพรทีม่ คี ณ
ุ ค่าอย่างยิง่ มีสารทีเ่ ป็นประโยชน์ เช่น ไกลโคไซด์ ซาโพนิน ฟลาโวนอยด์
อัลคาลอยด์ แทนนิน และลิกแนน เป็นต้น มีฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบ ยับยั้งเชื้อเอดส์ ต้านเชื้อไวรัส ลดการอักเสบ ยับยั้งการ
เกิดอนุมูลอิสระ ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องเสีย ต้านเนื้องอก มะเร็งและการก่อกลายพันธุ์ คุมกำาเนิด
และป้องกันพิษจากพาราเซทตะมอลได้ ต้นลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่มีสารสกัดที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการ
ป้องกันโรค และสามารถนำามาประยุกต์ใช้ในสัตว์ได้
คำาสำาคัญ : คุณสมบัติ ประโยชน์ ลูกใต้ใบ

Abstract
This article has accumulated the information of Phyllanthus spp. on botanical features, classifi-
cations of the plant found in Thailand, phytochemical and biological properties, as well as the use and
clinical application. Report shown that Phyllanthus spp., is valuable herbal containing glycosides, sa-
ponins, flavonoids alkaloids, tannins, lignans, and etc. Pharmacological proportion are antiviral (hepatitis
and HIV), anti-inflammation, antioxidant, peptic ulcer treatment, anti-diarrhea, anti-tumor, anti-cancer,
anti-mutagen, contraception, and against paracetamol toxicity. Therefore, Phyllanthus spp. is precious
for disease prevention not only to human but also applicable to animal.
Keywords : property, advantage, Phyllanthus spp.

1
อาจารย์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
2
อาจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
3
อาจารย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
154

บทนำา
ต้นลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรทีค่ นไทยใช้รกั ษาโรคตับและแก้ไข้ การวิจยั ในสัตว์ทดลอง พบว่า นอกจากจะไม่มพี ษิ แล้ว ยัง
ป้องกันความเป็นพิษของพาราเซตตามอลต่อตับในสัตว์ทดลองอีกด้วย อย่างไรก็ตามมีการนำาเอาลูกใต้ใบมาใช้อยูแ่ ล้ว สรรพคุณ
โบราณ คือ ใช้แก้ดซี า่ น และมีการวิจยั ซ้าำ และยืนยันว่า ลูกใต้ใบสามารถป้องกันการเกิดภาวะตับอักเสบ (วันดี อุดมอักษร สถาพร
พฤฒิพรรลาย มาลิน ี วงศ์นาวา อนุพงศ์ นิตเิ รืองจรัส นุชรัตน์ วรรณพงศ์ และนิรชา ยรรเยีย่ ม, 2543) ทุกส่วนของลูกใต้ใบมีรส
ขม มีสรรพคุณด้านสมุนไพรมากมาย ได้แก่ ช่วยลดไข้ทกุ ชนิด (ไข้หวัด ไข้ทบั ระดู ไข้จบั สัน่ ) ขับระดูขาว แก้น้ำาดีพิการ แก้ดีซ่าน
แก้ขัดเบา แก้ไอ แก้กามโรค แก้ปวดฝี แก้ร้อนในกระหายน้ำา แก้ท้องเสีย แก้ฟกช้ำาบวม แก้นิ่ว และโรคตับ เป็นต้น มีฤทธิ์
ต้านไวรัสตับอักเสบ ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อเอชไอวี ฤทธิ์ต้านอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ลดการเจ็บปวดและอาการบวม ฤทธิ์
ต้านการเกิดแผลของกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ และฤทธิ์ต้านเนื้องอกและต้านมะเร็ง (หน่วยปฏิบัติการวิจัย
เคมีสารสนเทศ, ม.ป.ป.) และฤทธิ์ลด Salmonella และ Clostridium ในกระเพาะอาหารไก่เนื้อ (Nguyen Hieu & Nguyen
Quang, 2012) และประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำาคัญ คือ Na, K, Fe, Ca, Mg, Al, P, Cd และ As (Anupama et. al., 2012)
ในทางยาสมุนไพร ลูกใต้ใบมีฤทธิ์แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาบำารุงธาตุ ขับประจำาเดือน (ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ, 2536)
มีการศึกษาวิจยั ทางการแพทย์เกีย่ วกับการนำาไปใช้ประโยชน์ทางยาและอาจจะมีฤทธิต์ า้ นไวรัสเอดส์ และไวรัสตับอักเสบบี (Naik
& Juvekar, 2003 : Bagalkotkar, Sagineedu, Saad & Stanslas, 2006) ลดความดันโลหิต ลดการเป็นพิษต่อตับ (Raviku-
mar et. al., 2002) ในบราซิลและเปรูใช้เป็นยารักษาโรคนิ่วในไต (Nishiura, Campos, Boim, Heilberg & Schor, 2004)
และสามารถยับยั้งการเกิดก้อนนิ่วในหนูที่กินน้ำาคั้นของพืชนี้ได้ (Freitas, Schor & Boim, 2002) ซึ่งลูกใต้ใบถือว่าเป็นวัชพืช
สมุนไพรที่มีความน่าสนใจ และเป็นประโยชน์สำาหรับการรักษาโรคในมนุษย์และสัตว์
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ลูกใต้ใบมีถิ่นกำาเนิดในอเมริกา อาฟริกา และเอเชีย (Gruenwald , Bredler & Jaenicke, 2000) หรืออาจเรียกว่า
มะขามป้อมดิน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus amarus Schum & Thonn ชื่อสามัญ Tamalaki, Hazardana อยู่ในวงค์
Euphorbiaceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลูกใต้ใบเป็นไม้ล้มลุกสูง 10-60 เซนติเมตร ทุกส่วนมีรสขมโดยใบเป็นใบประกอบ
แบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23-25 ใบ ปลายใบมนกว้างโคนแคบขนาดประมาณ 0.40 x 1.00 เซนติเมตร ก้านใบสั้น
มาก และมีหูใบสีขาวนวล ดอกของลูกใต้ใบมีขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร ออกตามซอกก้านใบ
ย่อย และห้อยลงเป็นดอกแยกเพศ คือ ดอกเพศเมียมักอยู่ส่วนโคน ส่วนดอกเพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ผลของลูกใต้ใบมี
ทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละ
พูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำาตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลมขนาดประมาณ 0.10 เซนติเมตร ลูกใต้ใบ อาจเรียกว่า มะขามป้อมดิน
(ภาคเหนือ) หญ้าใต้ใบ (นครสวรรค์ อ่างทอง ชุมพร) หญ้าใต้ใบขาว (สุราษฎร์ธานี) ไฟเดือนห้า (ชลบุรี) หมากไข่หลัง (เลย) จู
เกี๋ยเช่า (จีน) เติบโตได้ดีในพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย และยังกระจายอยู่ในหลาย ๆ ประเทศเขตร้อน ทั้งในบราซิล เปรู หมู่
เกาะคาริบเบียน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ทวีปแอฟริกา (ปาลิตา โตศรีสวัสดิ์เกษม, มปป.)
ชนิดของลูกใต้ใบที่พบในประเทศไทย
สมุนไพรลูกใต้ใบหรือหญ้าใต้ใบ ในประเทศไทย ตามการรายงานของ พิสมัย เหล่าภัทรเกษม บังอร ศรีพานิชกุลชัย
อัญชลี ตัตตะวะศาสตร์ ปราโมทย์ ทองกระจาย วริมา วงศ์พาณิชย์ และแจ่มใส สุวรรณศักดิ์ศร (2544) พบได้ทั่วไปอยู่ 4 ชนิด
คือ Phyllanthus amarus (ภาพที่ 1), Phyllanthus debilis (ภาพที่ 2), Phyllanthus urinaria (ภาพที่ 3) และ Phyllanthus
virgatus (ภาพที่ 4)
155

ภาพที่ 1 Phyllanthus amarus ภาพที่ 2 Phyllanthus debilis


ที่มา: Wikimediacommons (2013) ที่มา: Plants of Hawaii (2013)

ภาพที่ 3 Phyllanthus urinaria ภาพที่ 4 Phyllanthus virgatus


ที่มา: Flickriver (2013) ที่มา: Flickriver (2013)

ต่อมาได้มีการค้นพบลูกใต้ใบในประเทศไทยพบเพิ่มเติมอีก 3 ชนิด (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 2544) ดังนี้


1. ลูกใต้ใบดอกขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus sp.1 วงศ์ ลูกใต้ใบ (Phyllanthaceae) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกฤดูเดียว ใบเดี่ยวเรียงสลับ คล้ายใบประกอบ ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ
ผลมีก้านยาว ลักษณะเด่น กลีบเลี้ยงสีขาว ก้านยาว พบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติน้ำาหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ค้นพบโดย
ศาสตราจารย์ ดร.ประนอม จันทรโณทัย และนายจิโรจน์ แสงรัตนประเสริฐ
2. ลูกใต้ใบตีนชี้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus sp.2 วงศ์ ลูกใต้ใบ (Phyllanthaceae) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกฤดูเดียว ใบเดี่ยวเรียงสลับ คล้ายใบประกอบ ขอบกลีบดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ
ขอบกลีบจัก ผลเรียบ พบครั้งแรกที่ดอยหัวหมด จังหวัดตาก ค้นพบโดย ศ.ดร.ประนอม จันทรโณทัย
3. ลูกใต้ใบหัวหมด ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus sp.3 วงศ์ ลูกใต้ใบ (Phyllanthaceae) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกฤดูเดี่ยว ใบเดี่ยวเรียงสลับ คล้ายใบประกอบ ดอกมีกลีบรวม 6 กลีบ ผลมีขนกระจายห่างๆ พบครั้งแรกที่ดอยหัว
หมด จังหวัดตาก ค้นพบโดย ศ.ดร.ประนอม จันทรโณทัย
156

สรรพคุณโดยทั่วไปของลูกใต้ใบ
ราก : ฝนกับน้ำาซาวข้าว แก้ไข้หวัด แก้ท้องเสีย แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้โรคดีซ่าน ระดูไหลไม่หยุด บำารุงธาตุ
(Gruenwald, Bredler & Jaenicke, 2000: de Padua, Bunyapraphatsara & Lemmens. 1999) แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ
(หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ, มปป.)
ต้น : ยาต้มใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคดีซา่ น แก้ปวด ปวดบวม ตามร่างกาย ต้มกับ
สมุนไพรอืน่ (Stachytarpheta jamaicensis) ใช้ปอ้ งกันพยาธิลาำ ไส้ในเด็ก (Gruenwald, Bredler & Jaenicke, 2000: de
Padua, Bunyapraphatsara & Lemmens. 1999) มีสรรพคุณช่วยลดไข้ แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้นิ่ว แก้ปวดฝี แก้ฟกช้ำา
บวม ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไข้จากอ่อนเพลีย ไข้จับสั่น รวมทั้งแก้ท้องเสียได้ดีนัก ชาวบ้านใน
หลายพื้นที่นิยมตากลูกใต้ใบให้แห้งเก็บใส่โหลไว้ชงเป็นชากินเพื่อแก้ไข้ แก้ปวดข้อ แก้อักเสบ แก้ปวด มีรายงานการวิจัย พบ
ว่า ลูกใต้ใบมีฤทธิ์ในการแก้ไข้ แก้อักเสบได้ ใช้ต้มกินเป็นยาแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบตัวเหลือง ตาเหลือง ลูกใต้ใบ เป็นสมุนไพร
ยอดนิยมของผู้ป่วยเบาหวาน หมอยาและชาวบ้านในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เชื่อว่าลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรช่วยคุม
ระดับน้ำาตาลในคนเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยา พบว่า สารสกัด ของลูกใต้ใบมีฤทธิ์ลดระดับน้ำาตาล
ในเลือดได้ (หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ, มปป.)
ผล : แก้ไข้ พิษตานซาง แก้ร้อนใน (Gruenwald, Bredler & Jaenicke, 2000: de Padua, Bunyapraphatsara
& Lemmens. 1999) แก้ร้อนใน แก้ไข้ (หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ, มปป.)
ใบ : น้ำาต้มใบแก้ปวดท้อง บำารุงธาตุ ลดไข้ ขับนิ่วในไต แก้น้ำาเหลืองเสีย แก้ไอในเด็ก รักษามาลาเรียในประเทศ
อินเดีย ใช้บรรเทาอาการปวดท้อง ท้องมาน ดีซ่าน บิด ท้องร่วง ไข้ อาการเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ โรคตา หิดและ บาดแผล
(Gruenwald, Bredler & Jaenicke, 2000: de Padua, Bunyapraphatsara & Lemmens. 1999)

องค์ประกอบของสารเคมีในลูกใต้ใบ
ส่วนเหนือดิน ประกอบด้วย แทนนิน (tannins) คือ แกลโลแทนนิน (gallontannin) เช่น อะมาริอนิ (amariin) ฟิล
แลนทูซอิ นิ ดี (phyllanthusiin D) เจอรานิอนี (geraniine) คอริลาจิน (corilagin) อีเลคาร์ปซู นิ (elecarpusin) ฟลาโวนอยด์
(flavonoids) คือ รูตนิ (rutin), เคอร์เซติน-3-0-กลูโคไซด์ (quercetin-3-0-glucoside), ลิกแนนส์ (lignans) คือ ฟิลแลนติน
(phyllantin, 0.8%), ไฮโปฟิลแลนติน (hypo-phyllantin) (Gruenwald, Bredler & Jaenicke, 2000) และจากการตรวจสอบ
พฤกษเคมี (phytochemical) ของใบ ราก และลำาต้นลูกใต้ใบ พบว่า มีสาร alkaloids, tannins, flavonoids, saponin และ
glycosides แต่ไม่พบสาร steroids (Akin-Osanaiye, Gabriel & Alebiosu, 2011)
การทดสอบสารเคมีในลูกใต้ใบ พบว่า มีสาร glycosides, saponins, tannins และ flavonoids ซึ่งเป็นสารกลุ่ม
สารพฤกษเคมี (Fabian, Ameachina & Omogbai, 2007) สารพฤกษเคมี หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะ
ในพืช สารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำาให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่นหรือรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว สารพฤกษเคมีเหล่านี้หลาย
ชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดและโรคสำาคัญที่มักจะกล่าวกันว่าสารกลุ่มนี้ช่วยป้องกันได้คือ “ โรคมะเร็ง ” กลไก
การทำางานของสารพฤกษเคมีเมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจเป็นไปโดยการช่วยให้เอ็นไซม์บางกลุ่มทำางานได้ดีขึ้น เอ็นไซม์บางชนิดทำา
หน้าที่ทำาลายสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย มีผลทำาให้สารก่อมะเร็งหมดฤทธิ์ ซึ่งปัจจุบันพบสารพฤกษเคมีแล้วมากกว่า 15,000
ชนิด และพบว่า สารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ คือ ต้านออกซิเดชั่น ทำาลายฤทธิ์ของ
อนุมูลอิสระ ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำาคัญที่ทำาให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้ เพิ่มภูมิ
ต้านทานโรค ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน เป็นต้น (วินัย ดะห์ลัน, 2550)
157

ซาโพนิน (saponins) คือ สารทีส่ ว่ นใหญ่สกัดได้จากใบชา (tea seed saponin) เป็นซาโปนินชนิด triterpenoid
saponin ซึง่ มีโครงสร้างพืน้ ฐานประกอบด้วย สารซาโปจีนนิ (sapogenin) สารอะไกลคอน (aglycon) และกรดอินทรีย ์ สูตร
โมเลกุลของสารซาโปนิน คือ C57H90O26 มีคณ ุ สมบัตเิ ป็นสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มอี อิ อน (non-ionic surfactant) ทำาให้
เกิดฟองได้ด ี สารซาโปนินมีรสขม เผ็ด ทำาให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและจมูกได้ ซาโปนินจากชา มีลกั ษณะเป็นผลึกสีขาวดูด
ความชืน้ ได้งา่ ยจุดหลอมเหลว 224 องศาเซลเซียส ละลายได้ดใี นสารละลายเมธิลแอลกอฮอล์, สารละลายเอธิลแอลกอฮอล์และ
กรดอะซิตกิ เข้มข้น เป็นต้น สามารถนำาไปใช้ได้ หลากหลายวิธอี าทิ เช่น สารลดแรงตึงผิว สารทำาความสะอาด สารกำาจัดศัตรูพชื
สารเคลือบกันขูดขีด สารผสม (emulsifier) สารกันบูด สารทำาให้เกิดฟองในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ ในทางการเกษตรและการ
ประมงมีการใช้เป็นสารกำาจัดแมลง สารฆ่าเชือ้ โรคใช้แทนยาปฏิชวี นะในอาหารสัตว์ สารกำาจัดสัตว์นาำ้ ทีไ่ ม่พงึ ประสงค์ ในบ่อเพาะ
เลีย้ ง สัตว์นาำ้ โดยสารซาโปนินจะทำาลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์เลือดเย็น เช่น ปลา หอยเป็นต้น (บุณฑริกา ศิร,ิ 2556)
แทนนิน (tannin) เป็นสารทีม่ โี มเลกุลใหญ่และโครงสร้างซับซ้อน มีสถานะเป็นกรดอ่อนรสฝาด เป็นสารให้ความฝาด
ในพืช พบได้ในพืชหลายชนิด แทนนิน มี 2 ชนิด คือ คอนเดนส์แทนนิน (condensed tannins) หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแอน
โทรไซยานิน (proanthrocyanin) พบได้ในส่วนเปลือกต้น และแก่นไม้เป็นส่วนใหญ่ และ สารไฮโดรไลซ์แทนนิน (hydrolysable
tannins) คือแบบทีส่ ามารถถูกแยกออกเป็นโมเลกุลเล็กๆ ได้ พบมากในส่วนใบ ฝัก และส่วนทีป่ ดู ออกมาจากปกติ เมือ่ ต้นไม้ได้
รับอันตราย (gall) แทนนิน มีคณ ุ สมบัตติ กตะกอนโปรตีน ทำาให้หนังสัตว์ไม่เน่าเปือ่ ย จึงมีการใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังด้วย
แทนนินมีฤทธิฝ์ าดสมาน จึงใช้เป็นยารักษาโรคท้องเสียได้ แทนนินมีฤทธิย์ บั ยัง้ การเจริญของแบคทีเรียได้ ตัวอย่างแทนนิน ได้แก่
theogallin, gallic acid, ellagic acid (พีรศักด์ ิ วรสุนทรโรสถ, 2544)
ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) จัดเป็น nutraceutical มีสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยทำาหน้าที่
ในการหน่วงเหนี่ยวหรือป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) จึงช่วยหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ของ อนุมูลอิสระได้ แหล่ง
อาหารที่พบ ฟลาโวนอยด์มาก ได้แก่ พืช ผักและผลไม้ เช่น ยอ ถั่วเหลือง กระชายดำา สารสกัดจากเมล็ดองุ่น รวมทั้งเครื่อง
ดื่มต่าง ๆ เช่น ชา ไวน์ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังพบสารกลุ่ม alkaloids, tannins, flavonoids, glycoside and saponin
(Akin-Osanaiye, Gabriel & Alebiosu, 2011) อัลคาลอยด์ (alkaloid) เป็นสารอินทรีย์กลุ่มที่มีธาตุไนโตรเจนอยู่ภายใน
โมเลกุล ในรูปของเอมีน (amine) เอมีนออกไซด์ (amine oxide) หรืออาจพบอยู่ในรูปของเอไมด์ (amide) และอีไมด์ (imide)
ไนโตรเจนในอัลคาลอยด์ได้มาจากกรดอะมิโน โดยทั่วไปอัลคาลอยด์จะมีคุณสมบัติเป็นเบส แต่จะมากหรือน้อยขึ้นกับจำานวน
ของไนโตรเจน บางชนิดเป็นกลาง (Mc Naught & Wilkinson, 1997) หรือเป็นกรดอ่อน (Manske, 1965) มักมีฤทธิ์ทาง
ยา ในธรรมชาติจะพบอัลคาลอยด์มากในพืชชั้นสูง ตามส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก ผล เมล็ด รากและเปลือก พบน้อยใน
พืชชั้นต่า สัตว์ และจุลินทรีย์ หน้าที่ของอัลคาลอยด์ในพืชยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจเป็นแหล่ง สะสมไนโตรเจน
เพื่อสร้างโปรตีน ควบคุมการเจริญเติบโต หรือการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด ช่วยป้องกันพืชจากแมลง หรืออาจเป็นสารที่ได้
จากการทำาลายพิษที่เกิดขึ้นในกระบวนการเมทาบอลิซึมของพืช อัลคาลอยด์ส่วนใหญ่มักมีรสขมและมีพิษ อย่างไรก็ตามมีพืช
มากกว่า 80% ที่ไม่สร้างและไม่สะสมอัลคาลอยด์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าสารอัลคาลอยด์เป็นสารที่ไม่จำาเป็นต่อการดำารงชีวิตของพืชทุก
ชนิด (ประไพรัตน์ สีพลไกร, 2555)
แร่ธาตุ ในลูกใต้ใบประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำาคัญ คือ Na 0.86 % K 12.84 % Fe 10.68 % Ca 6.57 % Mg 0.34 %
Al 3.92 % P 0.34 % Cd 8 ppm และ As 12 pmm (Anupama et. al., 2012)
158

การออกฤทธิ์ของลูกใต้ใบ
1. ฤทธิต์ า้ นไวรัสตับอักเสบ จากการค้นคว้า พบว่า ลูกใต้ใบมีผลทางบวกต่อกระบวนการยับยัง้ ไวรัส และชีวเคมีของตับ
เมือ่ มีการติดเชือ้ HBV เรือ้ รัง อย่างไรก็ตามความชัดเจนค่อนข้างน้อย เนือ่ งจากมีความแตกต่างของสมุนไพร ในอนาคตจึงมีความ
จำาเป็นทีจ่ ะต้องมีการวิจยั ขนาดใหญ่ขน้ึ มา (Liu, Lin & McIntosh, 2011) การใช้สว่ นผสมของลูกใต้ใบ ชนิด P. amarus พบ
ว่า มีผลต่อ ไวรัสตับอักเสบ บี ทำาให้เกิดการฟื้นตัวของการทำาหน้าที่ของตับและเป็นคำาตอบสำาหรับการยับยั้ง HBV (Xin-Hua,
Chang-Qing, Xing-Bo & Lin-Chun, 2001) มีรายงานการศึกษาวิจัยฤทธิ์ต้านไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B virus,
HBV) ของสารสกัดของ P. amarus ในห้องปฏิบัติการ และมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องถึงกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งพบว่ามีได้หลาย
กลไกการออกฤทธิ์ เช่น การยับยั้ง HBV DNA polymerase ยับยั้ง HBV mRNA transcription & replication เป็นต้น
(Ott, Thyagarajan & Gupta, 1997) ลูกใต้ใบสามารถยับยั้ง ไวรัสตับอักเสบได้ (Lee, Ott, Thyagarajan, Shafritz, Burk
& Gupta, 1996)
2. ฤทธิย์ บั ยัง้ เชือ้ เอชไอวี สารสกัดด้วยน้าำ และสารสกัดด้วยน้าำ และแอลกอฮอล์ของ P. amarus มีฤทธิแ์ รงในการยับยัง้
HIV-1 โดยสารออกฤทธิอ์ ยูใ่ นกลุม่ gallotannin โดยสาร ellagitannins, geraniin และ corilagin มีฤทธิแ์ รงทีส่ ดุ นอกจากนี้
สารสกัดทัง้ สองและสาร geraniin ยังสามารถยับยัง้ HIV ได้ประมาณ 30 % และมีผลยับยัง้ HIV ทัง้ ใน in vitro และ in vivo
(Notka, Meier & Wagner, 2004)
3. ฤทธิ์ต้านไวรัสหัวเหลือง (Yellow head virus, YHV) ในกุ้งกุลาดำา สารสกัดสมุนไพรลูกใต้ใบชนิด P. urinaria
ที่ผสมในอาหารในการป้องกันการติดเชื้อ YHV ในกุ้งกุลาดำา กุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมสารสกัดสมุนไพรมีอัตราการรอดตาย
สูงและสามารถฟื้นเป็นปกติได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่พบอัตราการรอดเลย (อังคณา หิรัญ, สมทรง รักษ์เผ่า, สมจิตร์
เนียมสกุล และสุพรรณ จารุจงกลวงศ์, 2539)
4. ฤทธิ์ต้านอักเสบ ลดการเจ็บปวดและอาการบวม สารสกัดของ P. emblica มีฤทธิ์ช่วยลดการบวม น้ำาลดอาการ
เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Dang, Parekar, Kamat, Scindia & Rege, 2011)
5. ฤทธิ์ antioxidant และต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดด้วยเอทานอลในรากของ P. amarus มีฤทธิ์ antioxidant
สามารถลด oxidative stress (Maity, Chatterjee, Variyar, Sharma, Adhikari & Mazumder, 2013) และต้านอนุมลู อิสระ
ได้เมือ่ ศึกษาในหลอดทดลอง และสารสกัดแบบน้าำ ชาของลูกใต้ใบ พบว่า มีสารต้านอนุมลู อิสระ (Pinitsoontorn, Suwantrai &
Boonsiri, 2012)
6. ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลของกระเพาะอาหาร สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus สามารถลดการบวมน้ำาที่
อุ้งเท้า ลดการบาดเจ็บและอาการเลือดออกของกระเพาะอาหาร และลดอัตราการตาย เนื่องจากได้รับเอธานอลได้ (Raphael
& Kuttan, 2003)
7. ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสีย สารสกัดด้วยน้ำาจากใบของ P. amarus ทำาให้เกิดอาการท้องเสียช้าลง ลดความถี่ในการ
ขับถ่าย และลดการเคลื่อนตัวของอาหารในลำาไส้ ของหนูถีบจักร ชะลอการเกิดท้องเสีย และจำานวนครั้งที่ถ่าย หลังจากได้รับ
น้ำามันละหุ่ง (Odetola & Akojenu, 2000)
8. ฤทธิ์ลดน้ำาตาลในเลือด สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus มีฤทธิ์ลดน้ำาตาลในเลือดในหนูที่ถูก ทำาให้เป็น
เบาหวานด้วยการฉีดสาร alloxan (Lawson-Evi, Eklu-Gadegbeku, Agbonon, Aklikokou, Creppy & Gbeassor,
2011) สารสกัดด้วยน้ำาจากใบและเมล็ดของ P. amarus ช่วยลดน้ำาตาลในเลือด โดยให้ ดื่มน้ำาตาลซูโครส 10 % ตลอด 30 วัน
เพื่อเพิ่มภาวะน้ำาตาลในเลือด สามารถลดภาวะเบาหวานได้ (Adeneye, 2012)
159

9. ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ สารสกัดด้วยเมธานอลของ P. amarus มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสาร


2-acetaminofluorene (2-AFF),aflatoxin B1, sodium azide, N-methyl-N-nitro-N- nitrosoguanidine และ 4-nitro-
O-phenylenediamine เมื่อศึกษาด้วย Ames test ในหนู ผลการต่อต้านการกลายพันธุ์ของสารสกัดใน in vitro ดีกว่าใน in
vivo (Raphael, Ajith, Joseph & Kuttan, 2002)
10. ฤทธิ์ต้านเนื้องอกและต้านมะเร็ง สารสกัดด้วยน้ำาของ P. amarus สามารถต้านการเกิดมะเร็งsarcoma ในหนู
ที่ได้รับสารก่อมะเร็ง 20-methylcholanthrene และยืดอายุของหนูที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็ง และทำาให้ก้อนเนื้องอกมี
ขนาดเล็กลง การยับยั้งเนื้องอกและการยับยั้งมะเร็งของ P. amarus เกี่ยวข้องกับการยับยั้ง metabolic activation ของ
carcinogen ได้ดีกว่าการยับยั้ง cell cycle regulators และ DNA repair (Rajeshkumar, Joy, Kuttan, Ramsewak,
Nair & Kuttan, 2002)
11. ฤทธิ์คุมกำาเนิด เมื่อป้อนสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของ P. amarus ทั้งต้นแก่หนูถีบจักรเพศเมีย ในขนาด 100
มก./กก. นาน 30 วัน พบว่ามีผลต่อระดับเอนไซม์ 3-beta & 17-beta hydroxy steroid dehydrogenase ทำาให้หนูไม่ตั้ง
ท้องเมื่อเลี้ยงรวมกับหนูเพศผู้ (Islam, Naskar, Mazumder, Gupta & Ghosal, 2008)
12. ป้องกันการเกิดพิษต่อตับของหนูขาวทีไ่ ด้รบั พาราเซทตะมอล พบว่า การให้นาำ้ ต้มหรือผงลูกใต้ใบ จำานวน 1 ครัง้
ในขนาด 3.2 กรัม/น้ำาหนักตัว 1 กิโลกรัมของหนูทดลอง ก่อนให้พาราเซทตะมอลเป็นเวลา 1 ชั่วโมง มีผลลดความเป็นพิษ
ของพาราเซทตะมอลลงได้ดีที่สุด เมื่อพิจารณาจากค่าเอ็นไซม์ SGOT และ SGPT แต่ SALP และจุลพยาธิวิทยาของตับไม่
เปลี่ยนแปลง โดยกลไกการออกฤทธิ์ไม่ได้เกิดจากการยับยั้งการทำางานของเอ็นซัยม์ cytochrome P450 แต่ส่วนหนึ่งเกิดจาก
การเพิ่มระดับรีดิวส์กลูตาไธโอนที่ตับ (Wongnawa et. al., 2006)

วิธีการใช้ประโยชน์ของลูกใต้ใบ (กระปุกดอทคอม, มปป.) ดังนี้


1. ใช้แก้ไข้ เป็นสรรพคุณแรก ๆ ของลูกใต้ใบที่คนรู้จักกันมากที่สุดว่า สามารถแก้ไข้ได้ผลดีเยี่ยม ลูกใต้ใบ จึงมัก
เป็นสมุนไพรที่พระธุดงค์ มักพกติดตัวในยามออกธุดงค์ เพื่อแก้ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากอากาศที่เปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ ลูกใต้ใบ ยังสามารถแก้ไข้จากการอ่อนเพลีย ไข้จับสั่น ได้อีก โดยวิธีการใช้จะนำาลูกใต้ใบไปตากแห้งเก็บใส่ขวดโหล
ไว้ เพื่อชงเป็นชาดื่มเวลาเกิดอาการ
2. แก้ปวด แก้อักเสบ และแก้ร้อนใน นอกจากลูกใต้ใบจะสามารถแก้ไข้ได้แล้ว ยังมีงานวิจัยพบว่า ลูกใต้ใบแก้
อาการปวดข้อ อาการอักเสบต่าง ๆ ได้
3. แก้ปวดหลัง ปวดเอว และปวดเมื่อย โดยนำาลูกใต้ใบมาล้างน้ำา และสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดให้แห้ง ต้มใส่หม้อ
ดิน นำามาดื่มแทนน้ำาชา
4. บำารุงตับ และลดอาการตับอักเสบ แพทย์จีนเชื่อว่า การรับประทานลูกใต้ใบติดต่อกันนาน 1 สัปดาห์ ช่วยกำาจัด
พิษออกจากตับ รักษาอาการดีซ่าน และช่วยบำารุงตับให้ดีขึ้น โดยนำาลูกใต้ใบนี้ไปต้มกินเป็นยารักษาอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตา
เหลือง เนื่องจากมีผลวิจัยว่า สารสกัดจากลูกใต้ใบมีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้ตับถูกทำาลายจากสารพิษ เช่น เหล้า ช่วยรักษาอาการ
อักเสบของตับทั้งประเภทเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบบี นอกจากนี้ยังช่วยปรับไขมันในตับให้เป็นปกติ และยัง
ช่วยให้เซลล์มะเร็งตับเติบโตช้าลง แต่ไม่ได้ฆ่าเซลล์มะเร็งโดยตรง
5. ควบคุมระดับน้ำาตาล เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาพบว่า สารสกัดของลูกใต้ใบ
มีฤทธิ์ลดระดับน้ำาตาลในเลือดได้ แต่มีข้อแนะนำาสำาหรับผู้ป่วยเบาหวานว่า ต้องรับประทานยาแผนปัจจุบันตามแพทย์สั่ง และ
หมั่นตรวจวัดระดับน้ำาตาลในเลือดอย่างสม่ำาเสมอด้วย
160

6. ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว และลดความดัน โดยหมอยาพื้นบ้านในแถบประเทศบราซิล สเปน นิยมนำาลูกใต้ใบมาใช้ขับ


นิ่ว รักษานิ่วในถุงน้ำาดีและนิ่วในไตได้ นอกจากนี้ยังนำาลูกใต้ใบไปใช้รักษาอาการมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการติดเชื้อในทางเดิน
ปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ลดอาการบวม ช่วยคนที่เป็นโรคเก๊าท์ ขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ
7. ขับประจำาเดือน สำาหรับผู้หญิงที่มีประจำาเดือนมาไม่ปกติ ลูกใต้ใบ ยังเป็นยาชั้นดีในการช่วยขับประจำาเดือนได้
อีกด้วย โดยนำาต้นลูกใต้ใบมาต้มกิน แต่หากประจำาเดือนมามากกว่าปกติ ให้นำารากสดของลูกใต้ใบมาตำาผสมกับน้ำาซาวข้าวกิน
จะช่วยให้ประจำาเดือนมาเป็นปกติ ส่วนผู้ที่เป็นไข้ทับระดู ก็นำาลูกใต้ใบทั้ง 5 มาล้างน้ำาสะอาด นำามาตำาผสมเหล้าขาว คั้นเฉพาะ
น้ำายามาดื่นครั้งละ 1 ถ้วยชา
8. แก้อาการนมหลง สำาหรับหญิงที่คลอดบุตรแล้วน้ำานมเกิดหยุดไหล หลังจากเคยไหลมาแล้ว จะเกิดอาการปวดเต้า
นม ซึ่งเรียกว่า อาการนมหลง ถ้าปล่อยไว้อาจกลายเป็นฝีที่นมได้ ให้นำาลูกใต้ใบทั้ง 5 จำานวน 1 กำามือมาตำาผสมเหล้าขาว คั้น
เอาน้ำาดื่ม 1 ถ้วยชา แล้วเอากากพอก ก็จะช่วยให้น้ำานมไหลออกมาได้
9. รักษาแผล ในอินเดียนิยมนำาลูกใต้ใบมาตำาพอก หรือตำาแล้วคั้นเอาน้ำามาทารักษาแผลสด แผลฟกช้ำา แต่หากเป็น
แผลเรื้อรังจะใช้ใบตำาผสมน้ำาซาวข้าวมาพอกได้
10. แก้คัน ตำาใบของลูกใต้ใบผสมกับเกลือ แล้วนำามาทาจะช่วยแก้คันได้
11. แก้เริม ใช้ลกู ใต้ใบทัง้ ห้า ตำาผสมกับเหล้าแล้วคัน้ เอาน้าำ ยา จากนัน้ ใช้สาำ ลีชบุ น้าำ ยามา แปะตรงทีเ่ ป็นเริม เพือ่ ให้รสู้ กึ
เย็น แล้วจะหายปวด
12. แก้ฟกช้ำา และแก้ฝ ี ใช้ต้นสด ๆ ตำาผสมกับเหล้า แล้วนำามาพอกแก้ฟกช้ำา ปวดบวมได้

สรุป
จากการรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ทำาให้เห็นความสำาคัญของวัชพืชสมุนไพร ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในลูกใต้ใบ ที่พบว่า มี
สารที่เป็นประโยชน์ เช่น glycosides, saponins, flavonoids alkaloids, tannins และ lignans เป็นต้น ซึ่งเป็นสารที่มีคุณค่า
และมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการป้องกันโรค และยังสามารถประยุกต์ใช้ในสัตว์ได้

ข้อเสนอแนะ
ลูกใต้ใบเป็นวัชพืชสมุนไพรที่มีความน่าสนใจ ควรมีการศึกษาวิจัยให้มากขึ้น เพื่อนำาผลการวิจัยดังกล่าวมาใช้ในการ
รักษาโรคหรือใช้ประโยชน์ ทั้งในคนและในสัตว์

รายการอ้างอิง
กระปุกดอทคอม. (มปป.). ลูกใต้ใบ สมุนไพรชั้นเลิศ สรรพคุณเพียบ. เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2556, จาก http://health.
kapook.com/view16177.html.
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ .(2544). ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์. “นักวิจัย มข. ค้นพบ พืชพันธ์ใหม่ 18 ชนิด ของโลก” วันที่
11 กรกฎาคม 2554 12: 25. เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2556, จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/
detail/it/science/20110711/399703/นักวิจัย-มข.--ค้นพบ-พืชพันธ์ใหม่-18-ชนิด-ของโลก.html.
นันทวัน บุณยะประภัศร และอรนุช โชคชัยเจริญพร. (2542). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3). กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำากัด,
275-278.
161

บุณฑริกา ศิริ. (2556). สารซาโปนิน (Saponin). เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2556, จาก http://www.fisheries.go.th/if-center/
web2/images/pdf/saponin.pdf.
ปาลิตา โตศรีสวัสดิ์เกษม .(มปป.). ลูกใต้ใบ....สมุนไพรพื้น. 13/12/53.ศว. สระแก้ว. เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2556, จาก
http://herbalssak.blogspot.com/2010/12/blog-post_13.html.
ประไพรัตน์ สีพลไกร. (2555). สารอินโดลอัลคาลอยด์ และฤทธิ์ทางชีวภาพของต้นพญาสัตบรรณ. วารสารวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(1), 54-65.
พิสมัย เหล่าภัทรเกษม บังอร ศรีพานิชกุลชัย อัญชลี ตัตตะวะศาสตร์ ปราโมทย์ ทองกระจาย วริมา วงศ์-พาณิชย์ แจ่มใส
สุวรรณศักดิศ์ ร. (2544). การศึกษาฤทธิต์ า้ นไวรัสตับอักเสบและต้านพิษต่อตับของลูกใต้ใบและหญ้าใต้ใบ. รายงาน
วิจัยทุนอุดหนุนจากสภาวิจัยแหงชาติ ปี 1989. 25 หน้า.
พีรศักดิ์ วรสุนทรโรสถ. (2544). ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 พืชที่ให้สีย้อมและแทนนิน. กรุงเทพฯ :
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.). ห้างหุ้นส่วนจำากัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ. (2536). พืชสมุนไพรใช้เป็นยา (เล่ม 9). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
วันดี อุดมอักษร สถาพร พฤฒิพรรลาย มาลิน ี วงศ์นาวา อนุพงศ์ นิตเิ รืองจรัส นุชรัตน์ วรรณพงศ์ และ นิรชา ยรรเยีย่ ม.
(2543). ฤทธิ์ของลูกใต้ใบและกลไกการออกฤทธิ์ในการป้องกันความเป็นพิษของพาราเซทตะมอลต่อตับหนูขาว.
วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 44(2), 119-132.
วินัย ดะห์ลัน. (2550). โภชนาการพื้นฐานเพื่อการมีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด. เอกสารประกอบการบรรยาย. เรียบเรียงเพื่อใช้ใน
การเรื่องเล่าของกลุ่มวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการโดย วารีทิพย์ 13 พ.ย. 2552. เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2556, จาก
nutrition.anamai.moph.go.th/temp/files/morning_talk/phytonutrient.doc.
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ. (มปป.). รายงานการวิจัยฤทธิ์ของสมุนไพรใต้ใบทั้งหลาย Phyllanthus amarus. คณะ
วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1 พฤษภาคม 2556. เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2556, จาก
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID =9550000097435.
อังคณา หิรัญ, สมทรง รักษ์เผ่า, สมจิตร์ เนียมสกุล และสุพรรณ จารุจงกลวงศ์. (2539). ประสิทธิผลของสมุนไพรลูกใต้ใบ
ต่อการป้องกันไวรัสหัวเหลืองในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำา. วารสารผลงานวิชาการดีเด่น กระทรวงสาธารณสุข, 11-20.
Adeneye, A. A. (2012). The leaf and seed aqueous extract of Phyllanthus amarus improves insulin resistance
diabetes in experimental animal studies. J. Ethnopharmacol, 144(3), 705-711.
Akin-Osanaiye C. B., Gabriel A. F. & Alebiosu R. A., (2011). Characterization and antimicrobial screening
of ethyl oleate isolated from Phyllanthus Amarus (Schum and Thonn). Annals of Biological
Research, 2(2), 298-305.
Anupama N. J., Sujata D., Farhin I. & Zahabiya A. (2012). Elemental Analysis (Mineral and Heavy metal)
composition of Phyllanthus amarus, Jatropha gossypifolia and Ruta graveolens. Research Journal
of Pharmaceutical, Biological and Chemical Sciences, 3(3), 43-48.
Bagalkotkar G., Sagineedu S. R., Saad M. S. & Stanslas J. (2006). Phytochemicals from Phyllanthus niruri
Linn. and their pharmacological properties: a review. The Journal of Pharmacy and Pharmacology,
58(12), 1559–1570.
162

Dang G. K., Parekar R. R., Kamat S. K., Scindia A. M. & Rege N. N. (2011). Antiinflammatory activity of
Phyllanthus emblica, Plumbago zeylanica and Cyperus rotundus in acute models of inflammation.
J. Phytother Res, 25(6), 904-908.
De Padua L. S., Bunyapraphatsara N. & Lemmens R. H. M. J. (1999). Plant Resources of South-East Asia
No (12)1. Medicinal and poisonous plant 1. Leiden : Backhuys Publishers. 387-388.
Fabian C, Ameachina E. & Omogbai K. (2007). hypotensive effect of aqueous extract of the leaves of
phyllanthus amarus schum and thonn (euphorbiaceae). Acta Poloniae Pharmaceutica, Drug Research,
64(6), 547-552.
Freitas A. M., Schor N. & Boim M. A. (2002). The effect of Phyllanthus niruri on urinary inhibitors of calcium
oxalate crystallization and other factors associated with renal stone formation. BJU International,
89(9), 829–834.
Flickriver. (2013). Phyllanthus virgatus. 1 June 2013, http://www.flickriver.com/photos/dinesh_valke/2796023201/.
Gruenwald J, Bredler T. & Jaenicke C. (2000). PDR for herbal medicines 2 nded. Montvale: Medical Economics
Company, Inc. 91.
Islam A., Naskar S., Mazumder U. K., Gupta M. & Ghosal, S. (2008). Estrogenic of Phyllanthus Amarus
against carbofuran Induced Toxicity in Female Rats. Phamacologyonline, 3, 1006-1016.
Lawson-Evi P., Eklu-Gadegbeku K., Agbonon A., Aklikokou K., Creppy E. & Gbeassor M. (2011). Antidiabetic
Activity of Phyllanthus Amarus Schum and Thonn (Euphabiaceae) on Alloxan Induce Diabetes in
Male Wistar Rats. Journal of Applied Sciences, 11(16), 2968-2973.
Lee C. D., Ott M., Thyagarajan S. P., Shafritz D. A., Burk R. D. & Gupta S. (1996). Phyllanthus amarus
down-regulates hepatitis B virus mRNA transcription and replication. Eur J Clin Invest, 26(12),
1069-1076.
Liu J., Lin H. & McIntosh H. (2011). Genus Phyllanthus for chronic hepatitis B virus infection: a systematic
review. J Viral Hepat, 8(5), 358-366.
Maity S., Chatterjee S., Variyar P. S., Sharma A., Adhikari S. & Mazumder S. (2013). Evaluation of antioxidant
activity and characterization of phenolic constituents of Phyllanthus amarus root. J Agric Food
Chem, 61(14), 3443-3450.
Manske R. H. F. (1965). The Alkaloids. Chemistry and Physiology. Volume VIII. New York : Academic
Press, 1965, 673 p.
Mc Naught A. D. & Wilkinson A. (1997). Compendium of Chemical Terminology. 2nd ed. (The “Gold Book”).
Oxford : Blackwell Scientific Publications.
Naik A. D. & Juvekar A. R. (2003). Effects of alkaloidal extract of Phyllanthus niruri on HIV replication.
Indian Journal of Medical Sciences, 57(9), 387–393.
163

Nishiura J. L., Campos A. H., Boim M. A., Heilberg I. P. & Schor N. (2004). Phyllanthus niruri normalizes
elevated urinary calcium levels in calcium stone forming (CSF) patients. Urological Research,
32(5), 362–366.
Nguyen Hieu P. & Nguyen Quang T. (2012). Effect of adding different Phyllanthus amarus powder
concentrations in chicken diet on their growth performance and health. Proceedings of the International
Conference Livestock-Based Farming Systems, Renewable Resources and the Environment 6-9
June 2012, Dalat, Vietnam (Editors: Reg Preston and Sisomphone Southavong)
Notka F, Meier G. & Wagner R. (2004). Concerted inhibitory activities of Phyllanthus amarus on HIV replication
in vitro and ex vivo. Antiviral Res, 64(2), 93-102.
Odetola A. A. & Akojenu S. M. (2000). Anti-diarrhoeal and gastro-intestinal potentials of the aqueous extract
of Phyllanthus amarus (Euphorbiaceae). Afr J Med Med Sci., 29(2), 119-122.
Ott M., Thyagarajan S. P. & Gupta S. (1997). Phyllanthus amarus suppresses hepatitis B virus by interrupting
interactions between HBV enhancer I and cellular transcription factors. Eur J Clin Invest, 27(11),
908-915.
Pinitsoontorn C., Suwantrai S. & Boonsiri P. (2012). Antioxidant activity and oxalate content of selected
Thai herbal teas. KKU Res. J, 17(1), 162-168.
Rajeshkumar N. V., Joy K. L., Kuttan G., Ramsewak R. S., Nair M. G. & Kuttan R. (2002). Antitumour and
anticarcinogenic activity of Phyllanthus amarus extract. J. Ethnopharmacol, 81(1), 17-22.
Raphael K. R., Ajith T. A., Joseph S. & Kuttan R. (2002). Anti-mutagenic activity of Phyllanthus amarus
Schum & Thonn in vitro as well as in vivo. Teratog Carcinog Mutagen, 22(4), 285-291.
Raphael K. R. & Kuttan R. (2003). Inhibition of experimental gastric lesion and inflammation by Phyllanthus
amarus extract. J. Ethnopharmacol, 87(2-3), 193-197.
Ravikumar Y. S., Ray U., Nandhitha M., Perween A., Naika H. R., Khanna N. & Das S. (2002). Inhibition
of Hepatitis C virus replication by herbal extract: Phyllanthus amarus as potent natural source.
Virus Res, 158(1-2), 89-97.
Wikimediacommons. (2013). Phyllanthus amarus. 1 June 2013, http://commons.wikimedia.org/wiki/
File:Starr_050419-0338_Phyllanthus amarus.jpg
Wongnawa M., Thaina P., Bumrungwong N., Rattanapirun P., Nitiruangjaras A., Muso A. & Prasartthong V.
(2006). The protective potential and possible mechanism of Phyllanthus amarus Schum. & Thonn.
aqueous extract on paracetamol-induced hepatotoxicity in rats. Songklanakarin J. Sci. Technol,
28(3), 551-561.
Xin-Hua W., Chang-Qing L., Xing-Bo G. & Lin-Chun F. (2001). A comparative study of Phyllanthus amarus
compound and interferon in the treatment of chronic viral hepatitis B. Southeast Asian J Trop Med
Public Health, 32(1), 140-142.

You might also like