You are on page 1of 17

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 322

การวิเคราะห์สารประกอบฟลาโวนอยด์ในใบสะระแหน่ ใบทับทิม และใบว่านแร้งคอดา


เพื่อแปรรูปเป็นชาสมุนไพร
Determination of flavonoid compounds in Kitchen mint leaves, Pomegranate
leaves and Crinum latiffolium leaves for processing of herbal tea products

ณัฐนนท์ อยู่สถิตย์1 และชญาดา กลิ่นจันทร์1


Nattanon Yoosatit1 and Chayada Klinchan1

y
rcit
1
โปรแกรมวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร

ive
บทคัดย่อ

ce Un
สารอนุมูลอิสระเป็นสารที่ไวต่อปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทาให้เซลล์ถูกทาลาย หรือ
เสื่อมสภาพ และก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา สารต้านอนุมูลอิสระจึงถูกนามาใช้ป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ

en at
ในปั จจุบั นการบริโภคชาสมุ นไพรต้ านสารอนุมู ลอิส ระเป็น อีกหนึ่งทางเลือ กที่ ได้รั บความนิยมอย่า งแพร่ห ลาย
fer bh
สารฟลาโวนอยด์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สาคัญ และสูญสลายไปในธรรมชาติได้น้อยกว่าสารประกอบฟีนอลิก
on aja
ชนิดอื่นๆแม้เก็บรักษาไว้นาน การศึกษาในงานวิจัยนี้พบว่า ใบสะระแหน่และใบว่านแร้งคอดามี flavonol
lC tR

เป็นองค์ประกอบ ส่วนยอดและใบอ่อนของทับทิมมี flavanonol เป็นองค์ประกอบ สารสกัดเอทานอลของใบทับทิม


มีปริมาณฟลาโวนอยด์มากที่สุด คือ ระหว่าง 13.10 –21.55 มิลลิกรัม รองลงมา คือ ใบสะระแหน่ และใบว่านแร้ง
na he

คอดา คือ ระหว่าง 8.82 –17.13 และ 1.30 –2.50 มิลลิกรัม ตามลาดับ และผลการแปรรูปเป็นชาสมุนไพร พบว่า
tio g P

เครื่องดื่มชาใบสะระแหน่ (พืช 2 กรัม ต่อน้า 200 มิลลิลิตร) มีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงที่สุด คือ ประมาณ


Na en

100.86 รองลงมา คือ เครื่องดื่มชาใบทับทิม และเครื่องดื่มชาใบว่านแร้งคอดา คือ ประมาณ 32.53 และ 15.42
ha

มิลลิกรัม ตามลาดับ
คาสาคัญ : ฟลาโวนอยด์ / ใบสะระแหน่ / ใบทับทิม / ใบว่านแร้งคอดา
mp
Ka

Abstract
The free radicals are sensitively reacting with oxidation agent in the body. Their chief
rd

danger comes from the damage they can do when they react with important cell. Cells may
e3

function poorly or die if this occurs. To prevent free radical damage the body has a defense
Th

system for antioxidant. In present, consuming herb tea is popular type choice extensively.
Flavonoids are antioxidant that important. It is decays to natural less than the other phenolic
compounds, even long maintained. This study was found that kitchen mint leaves and Crinum
latiffolium leaves were flavonol elements and the soft pomegranate leaves was flavanonol
elements. Ethanol extract of pomegranate leaves had the most highest of total flavonoids which
was between 13.10 to 21.55 mg (quercetin/g dry weight), followed by the kitchen mint leaves
and Crinum latiffolium leaves which were between 8.82 to 17.13 and 1.30 - 2.50 mg
(quercetin/g/dry weight), respectively. The effect of privatization found that the kitchen mint
leave tea (two grams of plant per 200 ml of water) had the most amount of total flavonoids was
approximately 100.86 mg (quercetin/g dry weight), followed by the pomegranate leaves tea and
the Crinum latiffolium leave tea were approximately 32.53 and 15.42 mg (quercetin/g dry weight),
respectively.
Keywords: flavonoids / Kitchen mint leaves / Pomegranate leaves / Crinum latiffolium leaves
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 323

ที่มาและความสาคัญของปัญหา
ในปั จ จุ บั น ทั่ ว โลกได้ ใ ห้ ค วามส าคั ญ กั บ การใช้ พื ชสมุ น ไพรเพื่ อ ป้ อ งกั น และรั ก ษาโรคต่ า งๆมากมาย
ซึ่งสาเหตุ และกลไกการเกิดโรครวมถึงความแก่ชรามีผลอันเนื่องมาจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกาย
โดยปฏิกิริยาดังกล่าวมีสาเหตุสาคัญจากอนุมูลอิสระในร่างกาย การศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระจึงมีบทบาทสาคัญ
ในการป้องกันโรคต่างๆ สารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาตินับว่ามีความปลอดภัยมากที่สุดต่อการบริโภค และ
พืชสมุนไพรก็เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่สาคัญและสามารถหาได้ง่าย ซึ่งมีสารที่เป็น
องค์ประกอบ คือ สารกลุ่มพอลิฟีนอล และสารประกอบฟลาโวนอยด์ หลายชนิดได้แก่ ฟลาโวน ไอโซฟลาโวน
ฟลาโวนอล ฟลาวาโนน ฟลาวาโนนอล และแอนโทไซยานิน อีกทั้งสารประกอบฟลาโวนอยด์ยังสู ญสลายไป

y
rcit
ในธรรมชาติได้ช้ากว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด (นิธิดา พลโคตร และคณะ, 2556, หน้า 1-8)
สมุนไพรในประเทศไทยมีหลากหลายชนิด ซึ่งสามารถนามาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทาให้สะดวกต่อ

ive
การบริ โภคได้ การนาพืชสมุนไพรมาทาเป็นเครื่องดื่ม โดยเฉพาะนามาผลิ ตเป็นชาก็เป็น อีกทางเลือกหนึ่งของ

ce Un
การแปรรูปผลิตภัณฑ์สาหรับเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นการบริโภคสารต้านอนุมูลอิสระจาก
แหล่งธรรมชาติโดยตรงซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค พืชสมุนไพรที่ผู้วิจัยเลือกมาทาการศึกษาวิจัยครั้ง นี้

en at
คือ ใบสะระแหน่ ใบทับทิม และใบว่านแร้งคอดา ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง
fer bh
โดยนามาศึกษาผลของการแปรรูป และระยะเวลาการเก็บรักษาต่อปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด
on aja
เพื่อหาความเหมาะสมในการใช้เป็นชาสมุนไพรต้านอนุมูลอิสระของใบสะระแน่ ใบทับทิม และใบว่านแร้งคอดา
lC tR

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
na he

1. เพื่อศึกษาชนิดของสารประกอบฟลาโวนอยด์ในใบชาสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ สะระแน่ ทับทิม และ


tio g P

ว่านแร้งคอดา
2. เพื่อศึกษาความเหมาะสมในการใช้เป็นชาสมุนไพรต้านอนุมูลอิสระของใบสะระแน่ ใบทับทิม และ
Na en

ใบว่านแร้งคอดา
ha
mp

ขอบเขตการวิจัย
ในการศึกษาวิจัย และการวิเคราะห์ปริมาณของสารประกอบฟลาโวนอยด์ในใบชาสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่
Ka

สะระแน่ ทับทิม และว่านแร้งคอดา ได้กาหนดขอบเขตของงานวิจัย ดังนี้


rd

1. ขอบเขตเชิงเนื้อหา
e3

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาปริมาณของสารประกอบฟลาโวนอยด์ในใบสาระแน่ ใบชา ใบทับทิม


และใบว่านแร้งคอดา ซึ่งผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นชาสมุนไพร
Th

2. ขอบเขตเชิงตัวแปร
2.1) ตัวแปรที่ศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1
2.1.1) ตัวแปรต้น คือ ชนิดของพืช ได้แก่ สะระแน่, ทับทิม และว่านแร้งคอดา
2.1.2) ตัวแปรตาม คือ ชนิดของสารประกอบฟลาโวนอยด์
2.1.2.1) ฟลาโวนและไอโซฟลาโวน
2.1.2.2) ฟลาวานอล
2.1.2.3) ฟลาวาโนนอล
2.1.2.4) แอนโทไซยานิน
2.1.2.5) แซนโทน
2.1.2.6) แคลโคน และออโรน
2.2) ตัวแปรที่ศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2
2.2.1) ตัวแปรต้น คือ ชนิดของต้นพืช ได้แก่ สะระแน่, ทับทิม และว่านแร้งคอดา
2.2.2) ระยะเวลาหลังการชงชา โดยมีกาหนดเวลาดังต่อไปนี้ คือ 1, 2, 5, 10, 20, 40
และ 60 นาที
2.2.3) ระยะเวลาการเก็บรักษา โดยมีกาหนดเวลาดังต่อไปนี้ คือ 0, 1 และ 2 เดือน
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 324

2.3) ตัวแปรตาม คือ ปริมาณของสารประกอบฟลาโวนอยด์

กรอบแนวความคิด
สารประกอบฟลาโวนอยด์เป็นสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติประเภทหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในอาหารที่เป็นพืช เช่น
ผักและผลไม้ โครงสร้างพื้นฐานของสารประกอบฟลาโวนอยด์เป็นฟีนอลเบนโซไพโรน (phenylbenzopyrones)
ประกอบด้วยคาร์บอน 15 ตัว (C6-C3-C6) จัดเรียงเป็น 3 ring เรียกเป็น ring A, B, และ C โดย ring A และ B
เป็นวงเบนซีน (benzene ring) ส่วน ring C เป็น heterocyclic pyran ring ซึ่งอยู่ตรงกลางของโครงสร้าง
(วิภพ สุทธนะ, 2556, หน้า 567-582) ในธรรมชาติสารประกอบฟลาโวนอยด์มีมากกว่า 4,000 ชนิด ส่วนใหญ่

y
rcit
อยู่ในรูปฟลาโวนอยด์ไกลโคไซค์ซึ่งมีหมู่ไฮดรอกซิลหนึ่งหมู่ หรือมากกว่าในโมเลกุลของสารประกอบฟลาโวนอยด์
จะเกิดพันธะกับโมเลกุลของน้าตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส (glucose) แรมโนส (rhamnose) อะราบิโนส

ive
(arabinose) และไซโลส (xylose) (Narikawa, Shinoyama & Fujii, 2000, pp. 1317-1319)

ce Un
en at
fer bh
on aja
ภาพที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานของฟลาโวนอยด์
lC tR

สารประกอบฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์สามารถพบได้ในส่วนของใบ ดอก ผล และเกสรดอกไม้ของพืช


na he

เป็นสารสี (soluble pigments) ที่พบในส่วนต่างๆ ของพืช โดยเฉพาะในดอกทาให้มีสีสวยงาม ส่วนใหญ่จะออกไป


tio g P

ทางสีแดง สีเหลือง สีม่วง และสีน้าเงิน โดยส่วนของน้าตาลมักจะจับที่ตาแหน่ง 3, 5 หรือ 7 ส่วนใหญ่มักจะพบ


สารประกอบฟลาโวนอยด์ไกลโคไซค์ในส่วนที่เป็นของเหลวภายในเซลล์ของดอกไม้และผลไม้ บางครั้งสามารถพบ
Na en

สารประกอบในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่เป็นอะไกลโคน (aglycone) ในเนื้อไม้ (Larson, 1988, pp.969-978)


ha

สารประกอบฟลาโวนอยด์ เ ป็ น สารเมแทบอไลท์ ขั้ น ทุ ติ ย ภู มิ ใ นพื ช สร้ า งจากกรดอะมิ โ นที่ มี ว งแหวน


mp

(aromatic amino acids) ได้แก่ ฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) ไทโรซีน (tyrosine) และมาโลเนท (malonate)
โดยทาหน้าที่เป็นสารให้สีที่สาคัญในพืชช่วยในการกรองรังสีอัลตราไวเลต และการช่วยตรึงไนโตรเจน (วิภพ สุทธนะ,
Ka

2556, หน้า 567-582) นอกจากนี้ สารประกอบฟลาโวนอยด์ยังมีความสาคัญต่อการสร้างรงควัตถุในพืชทาหน้าที่


rd

เป็นไฟโตอเล็กซิน (phytoalexin) เพื่อช่วยป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ (Jez et al., 2000, pp.768-791) ช่วยป้องกันแสง


e3

อุลตร้าไวโอเลตป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ช่วยต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการถูกคุกคามจากไวรั ส
(Pielta, 2000, pp.1035-1042)
Th

สารประกอบฟลาโวนอยด์สามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามตาแหน่งของหมู่ ฟังก์ชันซึ่งแทนที่ในโครงสร้าง
พื้นฐาน ได้เป็น 7 กลุ่ม ได้แก่
1) ฟลาโวนอล (flavonols) เช่น เคอร์ซิติ (quercetin), แคมป์เฟอรอล (kaempferol), ไมริซิติน
(myricetin)
2) ฟลาโวน (flavones) เช่น ลูติโอลิน (luteolin), อาพิจินิน (apigenin), ไครซิน (chrysin)
3) ฟลาวาโนน (flavanones) เช่น เฮสเพอริติน (hesperetin), นารินจินิน (naringenin), อีริโอดิคทิออล
(eriodictyol)
4) ฟลาวานอล (flavanols) เช่น แคทิชิน (catechin), แกลโลแคทิชิน (gallocatechin), อีพิแคทิชิน
(epicatechin), อีพิแกลโลแคทิชิน (epigallocatechin), อีพิแคทิชิน-3-แกลเลต (epicatechin-3-gallate),
อิพิแกลโลแคทิชิน-3-แกลเลต (epigallocatechin-3-gallate)
5) ฟลาวาโนนอล (flavanonols) เช่น แทกซิโฟลิน (taxifolin)
6) ไอโซฟลาโวน (isoflavones) เช่น เดดซีน (daidzein), จีนิสตีน (genistein), ไกลซิตีน (glycitein),
ฟอร์โมโนเนติน (formononetin)
7) แอนโธไซยานิดิน (anthocyanidins) เช่น ไซยานิดิน (cyanidin), เดลฟินิดิน (delphinidin) มาลวิดิน
(malvidin), พีลาร์โกนิดิน (pelargonidin), พีโอนิดิน (peonidin), พีทูนิดิ (petunidin)
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 325

ประโยชน์ของฟลาโวนอยด์
ด้านสุขภาพ
ฟลาโวนอยด์ เป็นสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระพบในเม็ดสีชนิดละลายในน้าของผัก
ผลไม้ เมล็ดธัญพืช ใบไม้ และเปลือกไม้ ฟลาโวนอยด์มีอยู่มากมายหลายชนิด และพืชแต่ละชนิดจะมีฟลาโวนอยด์
แต่ ล ะประเภทในความเข้ ม ข้ น ที่ ต่ า งกั น ไป แท้ จ ริ งแล้ ว มี ก ารศึ ก ษาหลายชิ้ น พบว่ า ฟลาโวนอยด์ บ างชนิ ด
มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเหนือกว่าวิตามินซีหรือวิตามินอีถึง 50 เท่า และฟลาโวนอยด์ในองุ่นแดง
มีความสามารถในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันแอลดีแอล (LDL-fat) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการอุดตันของ
เส้นเลือดแดงและการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าวิตามินอีถึงกว่าหนึ่งพันเท่าฟลาโวนอยด์ชนิดต่างๆ

y
rcit
ที่พบบางส่วนมีดังนี้
1) แคเทคิน (Catechin) เป็นหนึ่งในสมาชิกของตระกูลพอลิฟีนอล-ฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติในการยับยั้ง

ive
การเจริญเติบโตของแบคทีเรียกลุ่มสแตฟไฟโลคอกคัส (Staphylococcus) ซึ่งดื้อต่อยาหลายชนิดการติดเชื้อ

ce Un
แบคทีเรียชนิดนี้ทาให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ แคเทคินยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของผู้ที่รับประทาน
อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และยังช่วยป้องกันฟันผุและโรคเหงือกได้อีกด้วย ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พบว่า

en at
แคเทคินอาจช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งปอดช่วยป้องกันการทาลายของดีเอ็นเอ (DNA)
fer bh
จากอนุมูลอิสระ และยังช่วยชะลอการเกิดของโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว แคเทคินพบมาในชาเขียว องุ่น (น้าองุ่น,
on aja
ไวน์องุ่น)
2) เรสเวอราทรอล (Resveratrol ) สมาชิกสาคัญอีกหนึ่งจากตระกูลพอลิฟีนอลฟลาโวนอยด์มีการศึกษา
lC tR

พบว่า มันช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองตีบ โดยการยับยั้งการก่อตัวของลิ่มเลือดและไขมัน


na he

ชนิดแอลดีแอล (LDL) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และยังพบว่า มันยังช่วยยับยั้งการสร้างเซลล์มะเร็ง และ


tio g P

สามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งร้ายให้กลับคืนเป็นเซลล์ปกติได้ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเรสเวอราทรอลพบในในผิวและ
เมล็ดขององุ่น (ไวน์แดง) และถั่วลิสง
Na en

3) โปรแอนโทไซยานิดินส์และแอนโทไซยานิดินส์ (Proanthocyanidins & Anthocyanidins, PCOs)


ha

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โอลิโกเมอริกโปรแอนโทไซยานิดินส์ (OPCs) ฟลาโวนอยด์เหล่านี้เป็นผู้คุ้มกันผนังหลอดเลือด


mp

ที่ทรงพลัง และยังโดดเด่นในการเชื่อมโยงและสร้างความแข็งแรงให้เส้นสายโปรตีนคอลลาเจนโดยเฉพาะคอลลาเจน
บริเวณเนื้อเยื้ออ่อน เส้นเอ็น และกระดูก ด้วยเหตุผลดังกล่าว OPCs จึงช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด
Ka

ไปหล่อเลี้ยงต่อม และอวัยวะทั่วร่างกายซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญในการป้องกัน และรักษาโรคช่วยรักษาเส้นเลือดฝอย


rd

ที่เปราะแตกง่าย เช่น อาการฟกช้า เส้นเลือดขอดบริเวณขา และริดสีดวงทวาร และยังมีส่วนสาคัญในการป้องกัน


e3

โรคกระดูกพรุน OPCs มีคุณสมบัติการละลายน้าได้ดีส่งผลให้ช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในของเหลวรอบ


เนื้อเยื่อต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระหนึ่งในไม่กี่ตัวที่สามารถผ่านระบบกันระหว่างเส้นเลือดกับ
Th

สมองได้ ดังนั้น มันจึงสามารถช่วยป้องกันสมองและเนื่อเยื่อประสาทจากการเข้าทาลายของอนุมูลอิสระได้


พบมากในสารสกัดจากเมล็ดองุ่น และเปลือกสน

ด้านการใช้สีจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
ฟลาโวนอยด์เป็นแหล่งของสีย้อมธรรมชาติ ส่วนใหญ่ให้สีเหลือง สีส้ม หรือส้มแดง เช่น ลูทิโอลิน
(Luteolin) จากพืชในตระกูล Reseda luteola จะให้สีเหลืองเควอซีทีน (Quercetin) จากเปลือกหอมหัวใหญ่
ให้สีเหลืองเข้มมอริน (Morin) จากแก่นขนุนจะให้สีเหลืองเข้มคาร์ทามิน (Carthamin) จากดอกคาฝอยให้
สีเหลืองปนน้าตาล (วิจิตร อุดอ้าย, 2546, หน้า 1-285)
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 326

ภาพที่ 2 โครงสร้างของ Luteolin, Quercetin และ Morin

ด้านการแพทย์

y
ในระบบทางเดิ น อาหารฟลาโวนอยด์ จ ะถู ก ย่ อ ยโดยน้ าย่ อ ย และถู ก ดู ด ซึ ม ที่ ล าไส้ เ ล็ ก เป็ น ส่ ว นใหญ่

rcit
ส่วนฟลาโวนอยด์ที่ไม่ถูกดูดซึมที่ลาไส้เล็ก และฟลาโวนอยด์ที่ถูกดูดซึมแล้วถูกขับออกทางน้าดีจะเข้าสู่ลาไส้ใหญ่และ

ive
ถูกสลายโดยจุลชีพบางชนิดทาให้ได้กรดฟินอลิคซึ่งจะถูกดูดซึมกลับเข้ากระแสเลือดอีกครั้ง โดยฟลาโวนอยด์ที่อยู่ใน
กระแสเลือดก็จะไปยังเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายและสามารถถูกกาจัดได้ทางไตโดยที่เซลล์ของเนื้อเยื่อ

ce Un
ต่างๆ ฟลาโวนอยด์อาจผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างซึ่งอาจทาให้ฤทธิ์ทางชีวภาพ
เปลี่ยนแปลงไปได้ (Hollman, 2004, pp.74–83) ในการการศึกษาทางคลินิกสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ได้ถูกพั ฒนา

en at
fer bh
เป็นยารักษาโรคมะเร็งซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์และชักนาการตายของเซลล์มะเร็งโดยไม่ส่งผลกระทบ
ต่อเซลล์ปกติและสามารถยับยั้งการพัฒนา และความรุนแรงของโรคมะเร็ง เช่น การอักเสบการสร้างหลอดเลือดใหม่
on aja
การแพร่กระจายรวมถึงการเอาชนะปัญหาการดื้อยาของเซลล์มะเร็งได้และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลไก การ
lC tR

ออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุลบ่งชี้ว่าการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งของฟลาโวนอยด์ ได้แก่ การยับยั้งการแบ่งตัว เพิ่ม


na he

จ านวนของเซลล์ ม ะเร็ งซึ่ ง เป็ น ผลมาจากการหยุ ด วงวั ฏ จั ก รของเซลล์ และชั ก น าการตายแบบอะพอพโตซิ ส


(ดูภาพที่ 3) รวมถึงการยับยั้งการอักเสบที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งการสร้างหลอดเลือดใหม่การแพร่กระจายและการดื้อยา
tio g P

แบบหลายขนานของเซลล์ ม ะเร็งด้ วยโดยกลไกการออกฤทธิ์ข องสารกลุ่ มฟลาโวนอยด์ เกี่ ยวข้ องกับ การยับ ยั้ ง
Na en

การส่ งสั ญ ญาณภายในเซลล์ และการแสดงออกของยี น ส์ ที่ ขึ้ น อยู่ กั บ ทรานสคริ ป ชั น แฟคเตอร์ NFκB รวมถึ ง
ha

การทาให้เกิดความเสียหายที่ระดับไมโทคอนเดรียของซึ่งส่งผลต่อสถานะเชิงพลังงานของเซลล์มะเร็ง
mp
Ka
rd
e3
Th

ภาพที่ 3 การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโตซิส
(ที่มา : Gewies, 2003, pp.1-26)

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การออกฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารกลุ่มฟลาโวนอยด์อาจจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อ


เซลล์มะเร็งแต่อาจออกฤทธิ์กับเซลล์อื่นๆ เช่น การยับยั้งการตอบสนองของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็ง
ซึ่งจะส่งผลในการต้านการอักเสบที่เกิดจากโรคมะเร็ง หรือการยับยั้งการหลัง VEGF ของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของ
หลอดเลือดซึ่งส่งผลไปขัดขวางการสร้างหลอดเลือดใหม่ในก้อนมะเร็ง (วิภพ สุทธนะ, 2556, หน้า 567-582)
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 327

การวิเคราะห์หาปริมาณฟลาโวนอยด์
1) การหาปริมาณฟลาโวนอยด์โดยเฉพาะกลุ่ม
การวิเคราะห์หาปริมาณฟลาโวนอยด์โดยเฉพาะกลุ่ม หรือโดยเฉพาะชนิดนั้น สามารถทาได้โดยมักใช้
เทคนิค HPLC (High-Performance Liquid Chromatography), UV-Visible สเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (UV-Visible
Spectrophotometer) และการตรวจวัดด้วยรังสีอุลตราไวโอเลต PDH (Photo-diode array) หรือ
MS (Mass spectrometer) เนื่องจากสารประกอบฟลาโวนอยด์จ ากพืชมักอยู่ในรูปออร์โทไกลโคซิดิค (O-
glycosidic) โดยจับกับ น้าตาล เช่น กลูโคส (glucose) กาแลคโตส (galactose) แรมโนส (rhamnose) อะราบิโนส
(arabinose) และรูติโนส (rutinose) แต่ในการวิเคราะห์หาปริมาณฟลาโวนอยด์จะทาการวิเคราะห์เฉพาะส่วน

y
rcit
อะไกลโคน ดั งนั้ น ต้ อ งใช้ ก รดไฮโดรไลซ์ น้ าตาลออกไปจากโมเลกุ ล ซึ่ งโดยมากนิ ย มใช้ ก รดไฮโดรคลอริ ก
(Hydrochloric acid) ก่อนที่จะนามาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคและเครื่องมือที่กล่าวไว้ในข้างต้น

ive
2) การหาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด

ce Un
วิธีสเปคโตรโฟโตมิตรีเป็นวิธีในการทดสอบโครงสร้างสารประกอบเชิงซ้อนของอะลูมิเนียมเป็นหนึ่งในวิธี
ที่นิยมใช้มากที่สุดในการหาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด องค์ประกอบของสารประกอบเหล่านี้ถือเป็นตัวแปรสาคัญ

en at
สาหรับการประเมินคุณค่าอาหารหรือตัวอย่างพืชสมุนไพร วิธีนี้ถูกริเริ่มโดย Christ and MŨller ในปี 1960
fer bh
เพื่อวิเคราะห์วัตถุดิบพืชสมุนไพร และได้รับการปรับปรุงอีกหลายครั้งงานวิจัยในวารสารวิชาการต่างๆ เป็นเครื่อง
on aja
บ่งชี้ถึงความผันแปรในเงื่อนไขการทดลองเมื่อเกิดปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของอะลูมิเนียมฟลาโวนอยด์
(Aluminium-flavonoid complex) ดังที่แสดงในตารางที่ 1 แสดงให้เห็นการอธิบายโดยสรุปสั้นๆ จากรายงานวิจัย
lC tR

ซึ่งได้ใช้ปฏิกิริยาดังกล่าวในกระบวนการหาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในตัวอย่างหลายชนิดที่แตกต่างกัน
na he

หลักการของ Al-flavonoid complexation reaction คือ การทาปฏิกิริยากันระหว่างอะลูมิเนียมไอออน


tio g P

และกลุ่ม o-dihydroxyl (3', 4'-OH) ในวงแหวน B และ o-dihydroxy ในโมเลกุลของสารประกอบฟลาโวนอยด์


ซึ่งสามารถประสานกันช่วยเสริมให้จับกับอะลูมิเนียมไอออนได้ดียิ่งขึ้นเกิดผลิตภัณฑ์เป็นสารประกอบเชิงซ้อนของ
Na en

อะลูมิเนียมกับฟลาโวนอยด์ (Anna Pekal & KrystynaPyrzynska, 2014, pp.1776–1782)


ha
mp

ตารางที่ 1 ตัวอย่างของการศึกษาการหาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในตัวแปรต่างๆ ที่แตกต่างกัน


Ka

Al(III) Time, λmax, Standard


Sample Medium Ref.
solution min nm compound
rd

Herb drop of Matyuschenko and


e3

1
10 % 40 404 Rutin
preparation HCl Stepanova 2003
Th

Glacial
Propolis 2% 30 415 Galangin Cvek et al. 2007
CH3COOH
Herbs 2% – 60 420 Quercetrin Ordonez et al. 2006
Herbs 1.5 % – 2 415 Quercetrin Chen et al. 2007
Oregano 2% – 10 430 Rutin Licina et al. 2013
Aronia 10 % CH3COOK 30 415 Quercetin Horszwald et al.
2013
Praveen and
Fruits 2% – 10 415 Catechin
Awang2007
Gouveia and
Herb extract 10 % CH3COOK 30 415 Rutin
Castilho 2011
Herbs 0.1 M CH3COOK 20 410 Rutin Zhang et al. 2013
Tea 25 g/L CH3COONa 15 430 Rutin Cimpoiu et al. 2011
Honey 10 % NaNO2+NaOH 11 510 Quercetin Mãrghitas et al. 2009
Wines 1% NaNO2+NaOH 5 510 Catechin Ivanova et al. 2010
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 328

ตารางที่ 1 ตัวอย่างของการศึกษาการหาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในตัวแปรต่างๆ ที่แตกต่างกัน (ต่อ)


Al(III) Time, λmax, Standard
Sample Medium Ref.
solution min nm compound
Ghasemzadeh et
Ginger 10 % NaNO2+NaOH 10 430 Quercetin
al. 2010
Jaiswal and Abu-
Cabbage 10 % NaNO2+NaOH 6 510 Quercetin
Ghannam2013

y
Eghdami and

rcit
Herbs 10 % NaNO2+NaOH 5 510 Quercetin
Sadeghi2010

ive
ที่มา : Anna Pekal & KrystynaPyrzynska, 2014, pp.1776–1782

ce Un
ปฏิกิริยาโดยทั่วไปเป็นดังนี้

en at
fer bh
on aja
lC tR
na he
tio g P

ตัวอย่างปฏิกิริยา คือ การทาปฏิกิริยาของเคอร์ซิทินกับอะลูมิเนียมไนเตรท ได้สารประกอบเชิงซ้อนของ


อะลูมิเนียม-เคอร์ซิตินเป็นผลิตภัณฑ์เคอร์ซิตินอะลูมิเนียมไนเตรทสารเชิงซ้อนของอะลูมิเนียม-เคอร์ซิตินกลไกของ
Na en

การเกิดปฏิกิริยาเป็นดังนี้
ha
mp
Ka
rd
e3
Th

ขั้นที่ 1 โซเดียมไนไตรท์รวมตัวกับอะลูมิเนียมไนเตรทได้เป็นสารประกอบเชิงซ้อน แล้วจึงแตกพันธะกับโซเดียม


ไอออน ซึ่งทาหน้าที่เป็นอิเล็กโทรไฟล์

ตะกอนสีขาว โซเดียมไอออน

ขั้นที่ 2 โซเดียมไอออนทาปฏิกิริยากับไฮดรอกซิลออกซิเจน และคาร์บอนิลออกซิเจนในโมเลกุลของเคอร์ซิติน


การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 329

ขั้นที่ 3 เนื่องจากมีความเป็นบวกที่ออกซิเจนในเคอร์ซิตินทาให้อะลูมิเนียมจาก NO2-Al(NO3)3 เข้าสร้างพันธะกับ

y
ออกซิเจนได้ง่าย

rcit
ive
ce Un
en at
fer bh
on aja
lC tR
na he
tio g P
Na en
ha
mp
Ka
rd

ขั้นที่ 4 เติม NaOH เข้าไปในปฏิกิริยาโดย OH- จาก NaOH เข้าไปจับกับ H+ และ NO3- จาก Al(NO3)3
e3

เข้าจับกับ Na+
Th

สารเชิงซ้อนของอะลูมิเนียม-เคอร์ซิติน

จากแนวทางการวิจัยและความสาคัญดังกล่าวจึงมีนักวิจัยได้ให้ความสนใจในการศึกษาและสกัดสาร
ฟลาโวนอยด์จากพืชและสมุนไพร ตลอดจนผักและผลไม้เป็นจานวนมากดังนี้ โดยในปี 2556 นิธิดา พลโคตร และ
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 330

คณะ, 2556, หน้า 1-8) ได้ศึกษาการตรวจหาปริมาณฟลาโวนอยด์ในเกสรบัวหลวงการตรวจหาปริมาณฟลาโวนอยด์


ทั้งหมดของเกสรบัวหลวง 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ปทุม บุณฑริก สัตตบงกช และสัตตบุษย์ และเกสรบัวหลวงแห้ง
10 ตัวอย่างจากร้านขายยาสมุนไพรโดยวิธี aluminum chloride colorimetric พบว่า ปริมาณฟลาโวนอยด์
ทั้งหมดในเกสรบัวหลวง 4 สายพันธุ์ที่นามาทาให้แห้งเองมีปริมาณมากกว่าตัวอย่างจากร้านขายยาสมุนไพรอย่าง
มีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05, ที่ความเชื่อมั่น 95%) พบว่าสารสกัด methanol ของเกสรบัวหลวง 4 สายพันธุ์
มีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้ งหมดอยู่ในช่วง 306.30-349.78 mg% และตัวอย่างจากร้านขายยาสมุนไพรมีปริมาณ
ฟลาโวนอยด์ทั้งหมดอยู่ในช่วง 151.68-269.70 mg% (calculated as quercetin) ทั้งนี้ เชื่อว่าอาจเนื่องจาก
แหล่งวัตถุดิบระยะเวลา และสภาวะการเก็บตัวอย่างที่แตกต่างกัน

y
rcit
นอกจากนั้ น ได้ มี ก ารศึ ก ษาผลของอุ ณ หภู มิ ที มี ต่ อ ปริ ม าณฟลาโวนอยด์ ใ นดอกไม้ ที่ รั บ ประทานได้
14 สายพันธุ์ (5 กลุ่มสี) คือ กุหลาบ (Rosa damascena Mill) ชบา (Hibicusrosasinensis Linn.)

ive
เข็ม (IxoraLobbii Loud.) ขี้เหล็ก (Cassia siamea) ขจร (Telosma minorcraib) ปลัง (Basella alba Linn.)

ce Un
แค (Sesbaniagrandiflora (L.) Pers.) กล้วยไม้ (Dendrobium hybrids) เฟื่องฟ้ า (Bougainvillea hybrid)
อัญชัน (Critoriaternatea L.) ดาวเรือง (Tageteserecta L.) ดาวกระจาย (Cosmos sulphureus Cav.)

en at
เล็บมือนาง (Quisqualisindica Linn.) และพวยพวง (Catharanthusroseus L.) พบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ
fer bh
4 องศาเซลเซียสร่วมกับการใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์แบบ Active modified atmosphere สามารถชะลอ
on aja
การสูญเสียฟลาโวนอยด์ได้โดยในภาชนะบรรจุที่มีค่าการซึมผ่านของออกซิเจน (OTR) เท่ากับ 12,000 ถึง 14,000
cm3/m2/วัน สามารถชะลอการสูญเสียฟลาโวนอยด์ได้ดีที่สุด ยกเว้นสาหรับดอกเฟื่องฟ้าที่เก็บรักษาในภาชนะ
lC tR

บรรจุที่มีค่า OTR 14,000 ถึง 15,000 cm3/m2/วัน สามารถชะลอการสูญเสียฟลาโวนอยด์ได้ดีที่สุด แต่สาหรับ


na he

ดอกดาวกระจายนั้นการใช้ภาชนะบรรจุภัณฑ์แบบ Active modified atmosphere ไม่สามารถชะลอการสูญเสีย


tio g P

ฟลาโวนอยด์ได้ (อรสุรินทร์ ฮวบบางยาง, 2554, 1-234)


การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ศึกษาเคมีเบื้องต้น และปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดในใบสะระแหน่และ
Na en

ใบทับทิม พบว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดโดยเฉพาะส่วนของสารสกัดที่ได้จากเมทานอลมากกว่าสารสกัดที่ได้


ha

จาก สารสกัดจากตัวทาละลายอื่นอีก 3 ชนิด คือ Hexane, Ethyl acetate, และ Butanol และจากการศึกษาเคมี
mp

เบื้องต้น และปริมาณ total phenolic content ในสารสกัด พบว่าสารสกัดของพืชทั้งสองนี้มี tannin, flavonoids


และมีปริมาณ total phenolic content สูงที่สุดเช่นกัน (ศิริพร โอโกโนกิ และคณะ, 2550, 1-240)
Ka
rd

วิธีดาเนินงานวิจัย
e3

1. การเตรียมใบชาสมุนไพรและสารสกัดหยาบ
1.1 เก็บตัวอย่างใบพืชสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ สะระแหน่ทับทิม และว่านแร้งคอดา จากตาบลเทพนคร
Th

อาเภอเมืองกาแพงเพชร จังหวัดกาแพงเพชร นามาตากให้แห้ง และอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส และนาใบชามา


ห่อด้วยอะลูมิเนียมฟอยด์และบรรจุใส่ถุงพอลิเอทิลีน จากนั้นเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา 1 เดือน และ 2 เดือน
ตามลาดับ
1.2 นาใบชาสมุนไพรไปบดให้ละเอียดที่สุดแล้วทาการหมัก (Maceration) ในตัวทาละลายเอทานอล
โดยใช้ปริมาณผงสมุนไพรต่อตัวทาละลาย 1 กรัม : 9 มิลลิลิตร เป็นเวลา 3 วัน จากนั้นนามากรองเก็บ filtrate
ไว้ในตู้เย็นนากากที่กรองได้ออกมาสกัดซ้าอีก 2 ครั้ง (การหมักวิธีนี้เรียกว่า Maceration 1 Cycle โดยจะ
ทาการหมัก 3 Cycles)
1.3 กรองของเหลวที่ได้ด้วยกระดาษกรอง และระเหยตัวทาละลายออกด้วยเครื่อง Rotary evaporator
ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส
2. การวิเคราะห์ทางเคมีเบื้องต้น
2.1 การวิเคราะห์สารสกัดด้วยเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทรกราฟี (TLC) โดยใช้สารละลายผสมของ
เมทานอลกับเอทิลอะซิเตท อัตราส่วน 75:25, 50:50 และ 75:25 เป็นตัวเคลื่อนสาร
2.2 การทดสอบชนิดของฟลาโวนอยด์ด้วยวิธี Cyanidin reaction test, Anthocyanins test และ
การทาปฏิกิริยากับด่าง
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 331

3. การหาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด
3.1 สร้างกราฟมาตรฐาน quercetin โดยวิธี Aluminium nitrate colorimetric method โดยปิเปต
5% NaNO2 0.15 มิลลิลิตร ลงในสารละลาย quercetin ในเมทานอล 2 มิลลิลิตร เจือจางด้วยน้ากลั่น 1 มิลลิลิตร
ตั้งทิ้งไว้ 6 นาที เติม 10% Al(NO3)3 0.15 มิลลิลิตร ตั้งทิ้งไว้ 6 นาที จากนั้นเติม 1 M NaOH 1 มิลลิลิตร ตั้งทิ้งไว้
12 นาที นาไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 510 นาโนเมตร
3.2 หาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในสารสกัดหยาบ ด้วยวิธีเช่นเดียวกับสารมาตรฐาน quercetin
3.3 หาปริมาณฟลาโวนอยด์ ทั้งหมดในน้ าชาสมุ นไพร ด้ว ยวิธี เช่น เดี ยวกั บสารมาตรฐาน quercetin
โดยปิเปตตัวอย่างหลังจากการชง 1, 2, 5, 10, 20, 40, และ 60 นาที

y
rcit
ผลการวิจัย

ive
1. ผลการเตรียมสารสกัดหยาบจากตัวอย่างใบชาสมุนไพร

ce Un
พืชสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ที่ได้เลือกมาใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ สะระแน่ ทับทิม และว่านแร้งคอดา ส่วนที่เลือก
นามาใช้คือ ส่วนของใบทั้งหมด ยกเว้นใบทับทิมได้คัดเลือกมาใช้เฉพาะส่วนยอดและใบอ่อนเท่านั้น การวิจัยนี้ได้นา

en at
ใบชาสมุนไพรตัวอย่างมาสกัดโดยทาการสกัดใบชาสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ที่ผลิตใหม่ที่มีอายุการเก็บรักษา 1 เดือน และ
fer bh
2 เดือน จึงทาให้ได้สารสกัดหยาบรวมทั้งหมด 9 ตัวอย่าง ผลของการสกัดพบว่า สารสกัดหยาบที่ได้มีลักษณะ
on aja
ที่ใกล้เคียงกัน คือ เป็นของกึ่งแข็งสีเข้ม โดยสารสกัดหยาบของใบสะระแน่มีสีเขียวคล้า สารสกัดหยาบของใบทับทิม
มีสีแดงคล้า และสารสกัดหยาบของใบว่านแร้งคอดามีสีน้าตาลดา ซึ่งพืชทั้ง 3 ชนิด ให้ปริมาณสารสกัดหยาบ
lC tR

ที่แตกต่างกันโดยมีค่า % yield เฉลี่ยอยู่ในช่วง 16.50 –27.58% ดังแสดงในตารางที่ 2 ซึ่งเรียงลาดับผลผลิตร้อยละ


na he

ของสารสกัดจากมากไปน้อย
tio g P

ตารางที่ 2 ค่าผลผลิตร้อยละของสารสกัดหยาบ
Na en

น้าหนัก (กรัม)
% yield
ha

ลาดับที่ ชื่อพืช
ผลิตใหม่ อายุการเก็บรักษา 1 เดือน อายุการเก็บรักษา 2 เดือน เฉลี่ย
mp

พืชแห้ง สารสกัด พืชแห้ง สารสกัด พืช แห้ง สารสกัด


1 ทับทิม 4.88 1.07 6.95 2.65 3.18 0.72 27.58
Ka

2 ว่านแร้งคอดา 8.00 2.48 21.00 5.19 12.00 2.46 25.38


rd

3 สะระแหน่ 5.50 0.73 9.60 1.13 6.83 1.67 16.50


e3
Th

2. ผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้น
เนื่ อ งจากสารประกอบฟลาโวนอยด์ เ ป็ น สารประกอบพอลี ฟี น อลิ ก กลุ่ ม ใหญ่ มี ห มู่ ฟั งก์ ชัน มากมาย
ที่แตกต่างกัน จึงต้องศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้น เพื่อแยกกลุ่มย่อยของฟลาโวนอยด์ ควบคู่ไปกับการศึกษา
เชิงปริมาณด้วย การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นในการวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่
1) การศึกษาการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นด้วยเทคนิคทินแลร์โครมาโตกราฟี (TLC)
2) การศึกษาชนิดของฟลาโวนอยด์ของสารสกัดหยาบ
2.1 ผลการศึกษาการวิเคราะห์ องค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นด้วยเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทรกราฟี
(TLC)
ตารางที่ 3 ค่า Rf ของพืชตัวอย่างทั้ง 3 ชนิด และสารมาตรฐานเคอร์ซีทิน (quercetin) ในตัวทาละลายชนิดต่างๆ
เมทานอล : เอทิลอะซีเตท เมทานอล : เอทิลอะซีเตท เมทานอล : เอทิลอะซีเตท
ตัวทาละลาย (1 : 3) (w/w) (1 : 1) (w/w)) (3 : 1) (w/w)
สารที่ศึกษา ค่า Rf ค่า Rf ค่า Rf
quercetin 0.9444 0.8667 0.7647
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 332

ตารางที่ 3 ค่า Rf ของพืชตัวอย่างทั้ง 3 ชนิด และสารมาตรฐานเคอร์ซีทิน (quercetin) ในตัวทาละลายชนิดต่างๆ


(ต่อ)
เมทานอล : เอทิลอะซีเตท เมทานอล : เอทิลอะซีเตท เมทานอล : เอทิลอะซีเตท
ตัวทาละลาย (1 : 3) (w/w) (1 : 1) (w/w)) (3 : 1) (w/w)
สารสกัดใบสะระแหน่ 0.9333 0.8500 0.7647
0.7333 0.7000 0.5490
สารสกัดใบทับทิม* - - -

y
สารสกัดใบว่านแร้งคอดา 0.9500 0.8917 0.8431

rcit
*สารสกัดเอทานอลของใบทับทิมไม่สามารถแยกสารได้ด้วยตัวทาละลายทั้ง 3 ชนิดนี้

ive
ce Un
จากตารางที่ 3 ค่า Rf ของสารสกัดหยาบของใบสะระแหน่ตัวที่ 1 มีค่าใกล้เคียงกับ quercetin ในทุก
สภาวะ ส่วนสารสกัดหยาบของใบว่านแร้งคอดามีค่าใกล้เคียงใน 2 สภาวะแรก แต่มีค่าสูงที่สภาวะที่ 3 แสดงให้เห็น

en at
ได้ว่ า สารสกัด หยาบของใบสะระแหน่มี quercetin เป็นองค์ ประกอบ สารสกัด หยาบของใบว่า นแร้งคอด า
fer bh
มีความเป็นไปได้ที่จะมีสารประกอบฟลาโวนอยด์กลุ่มฟลาโวนอลเป็นองค์ประกอบแต่ไม่ใช่ quercetin ส่วนสารสกัด
on aja
หยาบของใบทับทิมไม่มีสารประกอบฟลาโวนอยด์กลุ่มฟลาโวนอลเป็นองค์ประกอบ และไม่สามารถแยกสารจากสาร
สกัดหยาบของใบทับทิมได้ด้วยเทคนิค TLC เนื่องจากโมเลกุลของรงควัตถุภายในใบทับทิมมีความเป็นขั้วสูงกว่า
lC tR

quercetin มาก สารจึงถูกดึดดูดไว้กับอะลูมินาที่ทาหน้าที่เป็นตัวพาเคลื่อนที่ซึ่งมีขั้วสูงเช่นเดียวกัน


na he

2.2 ผลการศึกษาชนิดของฟลาโวนอยด์ของสารสกัดหยาบ
tio g P

การทดสอบชนิดของฟลาโวนอยด์ในการวิจัยนี้ใช้ 3 วิธี คือ


1) ปฏิกิริยา Cyaniding test
Na en

2) Anthocyanin test
ha

3) ปฏิกิริยากับด่าง
mp

ดั ง ที่ แ สดงในภาพที่ 4 ผลการศึ ก ษาพบว่ า มี ส ารกลุ่ ม ฟลาโวนอยด์ ใ นทุ ก ๆ สารสกั ด แต่ มี ช นิ ด ของ
ฟลาโวนอยด์ที่แตกต่างกัน ดังแสดงในตารางที่ 3
Ka
rd
e3
Th

ภาพที่ 4 ผลการทดสอบชนิดของฟลาโวนอยด์ทั้ง 3 วิธี


คาอธิบาย : หลอดทดลองที่ 1 ทดสอบสารสกัดหยาบของใบสะระแหน่ โดยวิธี Cyaniding test
หลอดทดลองที่ 2 ทดสอบสารสกัดหยาบของใบทับทิม โดยวิธี Cyaniding test
หลอดทดลองที่ 3 ทดสอบสารสกัดหยาบของใบว่านแร้งคอดา โดยวิธี Cyaniding test
หลอดทดลองที่ 4 ทดสอบสารสกัดหยาบของใบสะระแหน่ โดยวิธี Anthocyanin test
หลอดทดลองที่ 5 ทดสอบสารสกัดหยาบของใบทับทิม โดยวิธี Anthocyanin test
หลอดทดลองที่ 6 ทดสอบสารสกัดหยาบของใบว่านแร้งคอดา โดยวิธี Anthocyanin test
หลอดทดลองที่ 7 ทดสอบสารสกัดหยาบของใบสะระแหน่โดยวิธีทาปฏิกิรยิ ากับด่าง
หลอดทดลองที่ 8 ทดสอบสารสกัดหยาบของใบทับทิม โดยวิธีทาปฏิกิริยากับด่าง
หลอดทดลองที่ 9 ทดสอบสารสกัดหยาบของใบว่านแร้งคอดา โดยวิธีทาปฏิกิริยากับด่าง
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 333

ตารางที่ 4 ผลการทดสอบชนิดของฟลาโวนอยด์
ลาดับที่ ชื่อพืช Expected compounds
1 สะระแหน่ flavonol, flavone, xanthone
2 ทับทิม flavanonol
3 ว่านแร้งคอดา flavonol, flavone, xanthone

จากผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารสกัดหยาบเอทานอลของใบพืชสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด

y
พบว่า สารสกั ดหยาบของใบสะระแหน่มี quercetin เป็ นองค์ป ระกอบซึ่ ง quercetin เป็ นสารประกอบ

rcit
ฟลาโวนอยด์ กลุ่ม ฟลาโวนอล (flavonol) สารสกัดหยาบของใบทับทิ มไม่ มี quercetin เป็น องค์ ประกอบ

ive
แต่สารประกอบฟลาโวนอยด์กลุ่มฟลาวาโนนอล (flavanonol) เป็นองค์ประกอบ ส่วนสารสกัดหยาบของใบว่านแร้ง
คอดาไม่มี quercetin เป็นองค์ประกอบ แต่มีสารประกอบฟลาโวนอยด์กลุ่มเดียวกับ quercetin คือ ฟลาโวนอล

ce Un
(flavonol) เป็นองค์ประกอบ

en at
2.3 ผลการศึกษาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด
fer bh
2.3.1 ผลการทากราฟมาตรฐาน quercetin
on aja
กราฟมาตรฐานของ quercetin
lC tR

0.70
y = 0.0034x + 0.2529
0.60
na he

R² = 0.9857
0.50
ค่าการดูดกลืนแสง

tio g P

0.40
Na en

0.30
ha

0.20
0.10
mp

ค่าความเข้มข้น (µg/mL)
0.00
Ka

0 20 40 60 80 100 120
ภาพที่ 5 กราฟมาตรฐานของ quercetin
rd
e3

2.3.2 ผลศึกษาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในสารสกัดหยาบ
Th

ตารางที่ 5 ปริมาณฟลาโวนอยด์ทงั้ หมดในสารสกัดหยาบ


ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (mg/ g dry weight)
ชื่อพืช
ผลิตใหม่ อายุการเก็บรักษา 1 เดือน อายุการเก็บรักษา 2 เดือน
สะระแหน่ 17.1351 13.6459 8.8210
ทับทิม 21.5508 17.9005 13.1036
ว่านแร้งคอดา 2.5220 2.4757 1.3068
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 334

25
21.5508

quercetin equivalent/g dry weight)


ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (mg
20 17.1351 17.9005
สะระแหน่
15 13.6459 13.1036
ทับทิม
10 8.8210
ว่านแร้งคอ
5 1.3068 ดา
2.5220 2.4757

y
rcit
0
0 1 2
ระยะเวลาการเก็บรักษา (เดือน)

ive
ภาพที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดกับระยะเวลาการเก็บรักษาของใบชาสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด

ce Un
จากการศึกษาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในสารสกัดหยาบเอทานอลของพืชสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด พบว่า

en at
ใบทั บ ทิม มี ป ริ มาณฟลาโวนอยด์ ทั้ งหมดสู งที่ สุ ด รองลงมาคื อ ใบสะระแหน่ และใบว่ า นแร้ งคอด า ตามล าดั บ
fer bh
นอกจากนี้ยังทาให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดกับระยะเวลาการเก็บรักษา กล่าวคือ
on aja
ระยะเวลาการเก็บรักษามีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้ งหมด คือ เมื่อเก็บรักษายิ่งนาน
lC tR

ก็จะส่งผลให้ปริมาณฟลาโวนอยด์ลดลง สาหรับใบสะระแหน่มีอัตราการสูญเสียสารประกอบฟลาโวนอยด์คิดเป็น
ประมาณร้อยละ 20 ในช่วงเดือนแรก และลดลงอีกประมาณร้อยละ 30 ในช่วงเดือนที่สอง ส่วนใบทับทิมมีอัตราการ
na he

สูญเสียสารประกอบฟลาโวนอยด์ คิดเป็นประมาณร้อยละ 17 ในช่ว งเดือนแรก และลดลงอีกประมาณร้อยละ


tio g P

22 ในช่วงเดือนที่สอง และใบว่านแร้งคอดามีอัตราการสูญเสียสารประกอบฟลาโวนอยด์เพียงร้อยละ 2 ในช่วงเดือน


Na en

แรก และลดลงอีกประมาณร้อยละ 48 ในช่วงเดือนที่สอง


2.4 ผลการศึกษาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในน้าชาสมุนไพร
ha

การทดลองนี้ ได้ทาการชงตัวอย่างชาสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ในอัตราส่วน ใบชาสมุนไพร 2 กรัม ต่อ น้า 200


mp

มิลลิลิตร เพื่อหาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดที่ร่างกายจะได้รับในการดื่มชาสมุนไพร 1 แก้ว ได้ผลการศึกษาของ


Ka

ชาสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด เป็นดังต่อไปนี้


rd

ตารางที่ 6 ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในน้าชาใบสาระแหน่
e3

ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (mg/ g dry weight)


Th

ระยะเวลาหลัง
การชง (นาที)
ผลิตใหม่ อายุการเก็บรักษา 1 เดือน อายุการเก็บรักษา 2 เดือน
1 56.0811 49.1558 32.4537
2 80.6589 61.1053 68.5737
5 145.8379 85.5474 89.6211
10 151.6768 91.7937 93.9663
20 178.3779 123.0253 113.9274
40 179.9705 123.4326 123.7042
60 204.2274 121.3958 135.5179
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 335

200

quercetin epuivalent/g dry weight)


ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (mg
150

100 ผลิตใหม่
1 เดือน
50
2 เดือน
0

y
1 2 5 10 20 40 60

rcit
ระยะเวลาหลังการชง (นาที)

ive
ภาพที่ 7 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในน้าชาสมุนไพรใบสะระแหน่กับระยะเวลา

ce Un
หลังการชง ณ เวลาต่างๆ

en at
ตารางที่ 7 ปริมาณฟลาโวนอยด์ทงั้ หมดในน้าชาใบทับทิม
fer bh
on aja
ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (mg/ g dry weight)
lC tR

ระยะเวลาหลังการชง(นาที)
ผลิตใหม่ อายุการเก็บรักษา1 เดือน อายุการเก็บรักษา 2
na he

เดือน
1 12.6284 12.9000 10.7274
tio g P

2 21.9979 20.5042 12.7642


Na en
ha

5 46.5758 28.2442 22.9484


mp

10 51.3284 33.8116 30.2811


Ka

20 82.8316 77.2642 50.2421


40 100.8916 77.5358 62.0558
rd
e3

60 118.1368 125.6053 64.6358


Th

200
quercetin epuivalent/g dry weight)
ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (mg

150

100 ผลิตใหม่
1 เดือน
50
2 เดือน
0
1 2 5 10 20 40 60
ระยะเวลาหลังการชง (นาที)

ภาพที่ 8 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในน้าชาสมุนไพรใบทับทิมกับระยะเวลาหลังการชง
ณ เวลาต่างๆ
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 336

ตารางที่ 8 ปริมาณฟลาโวนอยด์ทงั้ หมดในน้าชาใบว่านแร้งคอดา


ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (mg/ g dry weight)
ระยะเวลาหลัง
การชง(นาที)
ผลิตใหม่ อายุการเก็บรักษา 1 เดือน อายุการเก็บรักษา 2 เดือน
1 8.2832 8.8263 9.5053
2 13.0358 11.1348 12.0853
5 16.7021 13.1716 16.7021

y
rcit
10 17.1095 17.7884 17.6526

ive
20 35.3053 26.2074 22.8126

ce Un
40 41.8232 35.1695 26.7505

en at
60 66.8084 38.5642 35.9842
fer bh
on aja
200
(mg quercetin epuivalent/g

lC tR
ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด

150
na he dry weight)

100 ผลิตใหม่
tio g P

50 1 เดือน
2 เดือน
Na en

0
1 2 5 10 20 40 60
ha

ระยะเวลาหลังการชง (นาที)
mp
Ka

ภาพที่ 9 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในน้าชาสมุนไพรใบว่านแร้งคอดากับระยะเวลา
หลังการชง ณ เวลาต่างๆ
rd
e3

จากผลการศึ ก ษาปริ ม าณฟลาโวนอยด์ ทั้ ง หมดในน้ าชาสมุ น ไพรทั้ ง 3 ชนิ ด พบว่ า น้ าชาสมุ น ไพร
Th

ใบสะระแหน่มี ป ริ ม าณฟลาโวนอยด์ ทั้ ง หมดสู งที่ สุ ด รองลงมาคื อ น้ าชาใบทั บทิ ม และน้ าชาใบว่า นแร้งคอด า
ตามลาดับ ทั้งนี้ ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในน้าชาสมุนไพรขึ้นอยู่ชนิ ดของพืชสมุนไพร ส่วนของพืชที่นามาใช้
ลักษณะทางกายภาพของใบชาสมุนไพร และกรรมวิธีการผลิตชาสมุนไพร สาหรับในการทดลองนี้ได้แสดงให้เห็นว่า
น้าชาสมุนไพรสะระแหน่มีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงที่สุด เนื่องจากใบสะระแหน่มีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด
ที่สูง ประกอบกับลักษณะทางกายภาพของใบสะระแหน่ที่ผ่านการแปรรูปเป็นชาสมุนไพรที่บางและแห้งกรอบ
เมื่อถูกสกัดด้วยน้าร้อนซึ่งน้าเป็นตัวทาละลายที่มีขั้วสูง จึงสกัดสารประกอบฟลาโวนอยด์ออกมาได้ อีกทั้งมีอุณหภูมิ
ที่สูงช่วยให้ผนังเซลล์ของใบสะระแหน่แตกโดยง่าย ส่วนใบทับทิมเป็นพืชที่มีป ริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์ที่สูง
แต่หลังผ่านการแปรรูปเป็นชาสมุนไพร ชาใบทับทิมมีลักษณะทางกายภาพที่แข็งและใบหนากว่าชาใบสะระแหน่มาก
จึงสกัดสารประกอบฟลาโวนอยด์ออกมาได้น้อยกว่าน้าชาสมุนไพรใบสะระแหน่ และสุดท้ายน้าชาใบว่านแร้งคอดา
ซึ่งมี ปริ มาณฟลาโวนอยด์ทั้ งหมดต่าที่ สุด เนื่อ งจากใบว่านแร้ งคอด ามี ปริม าณฟลาโวนอยด์ต่าที่สุ ด คือ ต่ากว่ า
ใบสะระแหน่และใบทับทิมมาก นอกจากนี้ ยังพบว่าระยะเวลาการเก็บรักษามีผลต่อปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด
ที่ล ดต่ าลง โดยจากภาพที่ 8 ถึ ง 9 จะเห็ น ได้ ชัด ว่ า ปริ ม าณฟลาโวนอยด์ ทั้ งหมดจะล ดต่ าลงอย่า งมากในช่ ว ง
ระยะเวลาการเก็บรักที่ 1 เดือน แต่ช่วงระยะเวลาการเก็บรักษาที่ 2 เดือน กลับมีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด
ที่ลดลงจากตัวอย่างใบชาสมุนไพรที่ผ่านการเก็บรักษาที่ 1 เดือน เพียงเล็กน้อย ที่ผลการทดลองเป็นเช่นนี้สามารถ
อธิบายได้ว่า ในช่วงระยะเวลาการเก็บรักษาระหว่าง 0 ถึง 1 เดือน ใบชาสมุนไพรที่เพิ่งผลิตใหม่จะยังมีโครงสร้าง
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 337

ของผนังเซลล์ของใบพืชอยู่มาก แต่ผนังเซลล์ได้แตกและสลายไปด้วยอุณหภูมิ อากาศและกาลเวลา ซึ่งกระบวนการ


นี้ได้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลทาให้สารประกอบฟลาโวนอยด์หลุดออกมานอกเซลล์พืชและถูกแสงและอุณหภูมิ
ทาให้สูญสลายไปโดยง่าย แต่ในช่วงระยะเวลาการเก็บรักษาที่ 1 ถึง 2 เดือน ผนังเซลล์ของพืชได้แตกไปเกือบ
หมดแล้ว สารประกอบฟลาโวนอยด์ที่เหลือภายในเซลล์จึงไม่ได้หลุดออกมาเพิ่ม เพียงแต่ได้สลายตัวไปอย่างช้าๆ
ด้ว ยแสงและอุณ หภูมิ เ ท่า นั้ น ซึ่ ง กระบวนการนี้จ ะเป็ น ไปอย่า งช้า ๆ ตามระยะเวลาครึ่งชี วิต ของสารประกอบ
ฟลาโวนอยด์ทาให้ปริมาณฟลาโวนอยด์ในน้าชาสมุนไพรที่ได้จากการชงใบชาสมุนไพรที่เก็บรักษา 2 เดือน มีปริมาณ
ลดลงจากน้าชาสมุนไพรที่ได้จากการชงใบชาสมุนไพรที่เก็บรักษา 1 เดือน เพียงเล็กน้อย และในน้าชาสมุนไพรต่าง
ชนิดกันก็จะมีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ทาให้ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดที่ร่างกายที่ได้รับจากปริมาตรเครื่องดื่ม

y
rcit
ที่เท่ากันแตกต่างกันตามไปด้วย ดังที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 9 ซึ่งคานวนปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดจากค่าเฉลี่ยของ
ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในน้าชาสมุนไพรที่ผ่านระยะเวลาการเก็บรักษา ณ เวลาต่างๆ ในระยะเวลาหลังการชง

ive
2 ถึง 10 นาที ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการบริโภคน้าชา แต่อย่างไรก็ตามปริมาณการบริโภค

ce Un
ชายังต้องคานึงถึงผลข้างเคียงของการบริโภคพืชชนิดนั้นๆ ด้วย

en at
ตารางที่ 9 ปริมาณฟลาโวนอยด์ทงั้ หมดในน้าชาใบสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด
fer bh
ชนิดของเครื่องดื่มน้าชา *ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด
on aja
สมุนไพร [มิลลิกรัม quercetin/เครื่องดื่ม 200 มิลลิลิตร
lC tR

(พืช 2 กรัม / น้า 200 มิลลิลิตร)]


ใบสะระแหน่ 100.8614
na he

ใบทับทิม 32.5342
tio g P

ใบว่านแร้งคอดา 15.4253
*คานวณจากค่าเฉลี่ยของปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในน้าชาสมุนไพรที่ผ่านระยะเวลาการเก็บรักษา ณ เวลาต่างๆ
Na en

ในระยะเวลาหลังการชง 2 ถึง 10 นาที


ha
mp

จากกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในน้าชาใบสะระแหน่ (ภาพที่ 7) น้าชา


ใบทับทิม (ภาพที่ 8) และน้าชาใบว่านแร้ งคอดา (ภาพที่ 9) กับระยะเวลาหลังการชง (นาที) แสดงให้เห็นว่า ชาใบ
Ka

สะระแหน่ มี ป ริ ม าณฟลาโวนอยด์ ทั้ งหมดมากที่ สุ ด รองลงมาคื อ น้ าชาใบทั บ ทิ ม และน้ าชาใบว่ า นแร้ งคอด า
rd

ตามลาดับ แต่ผลการทดลองนี้ขัดกับผลการทดลองหาปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดในสารสกัดหยาบ ซึ่งในสารสกัด


e3

หยาบของใบทับทิมมีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงกว่าสารสกัดหยาบของใบสะระแหน่ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก
ในลักษณะทางกายภาพของใบสะระแหน่ที่มีใบบางและความหนาแน่น น้อยกว่าใบทับทิมจึงทาให้มีพื้นที่ผิวสัมผัส
Th

มาก และละลายได้ดีกว่า และเนื่องจากน้าเป็นตัวทาละลายที่มีความเป็นขั้วสูงกว่าเอทานอล จึงทาให้น้าชาสมุนไพร


มีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงกว่าสารสกัดหยาบเอทานอล

สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
สารสกัดหยาบของใบสะระแหน่มี quercetin เป็นองค์ประกอบซึ่ง quercetin เป็นสารประกอบ
ฟลาโวนอยด์ กลุ่ม ฟลาโวนอล (flavonol) สารสกัดหยาบของใบทับทิ มไม่ มี quercetin เป็น องค์ ประกอบ
แต่สารประกอบฟลาโวนอยด์กลุ่มฟลาวาโนนอล (flavanonol) เป็นองค์ประกอบ ส่วนสารสกัดหยาบของใบว่านแร้ง
คอด าไม่ มี quercetin เป็ น องค์ ป ระกอบ แต่ มี ส ารประกอบฟลาโวนอยด์ ก ลุ่ ม เดี ย วกั บ quercetin คื อ
ฟลาโวนอล (flavonol) เป็นองค์ประกอบ
สารสกั ด เอทานอลของใบทั บ ทิ ม มี ป ริ ม าณฟลาโวนอยด์ ทั้ งหมดมากที่ สุ ด คื อ ระหว่ า ง 13.1036 ถึ ง
21.5508 มิลลิกรัม quercetin/g dry weight รองลงมาคือ ใบสะระแหน่ และใบว่านแร้งคอดา คือระหว่าง 8.8210
ถึง 17.1351 และ 1.3068 ถึง 2.5052 มิลลิกรัม quercetin/g dry weight ตามลาดับ
ผลการแปรรู ป เป็ น ชาสมุ น ไพร พบว่ า เครื่ อ งดื่ ม ชาสมุ น ไพรใบสะระแหน่ (พื ช 2 กรั ม ต่ อ น้ า 200
มิลลิลิตร) มีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงที่สุด คือประมาณ 100.8614 มิลลิกรัม quercetin รองลงมา คือ
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ครัง้ ที่ 3 (ฉบับที่ 2) 338

เครื่องดื่มชาสมุนไพรใบทับทิมและเครื่องดื่มชาสมุนไพรใบว่านแร้งคอดา คือประมาณ 32.5342 และ 15.4253


มิลลิกรัม quercetin ตามลาดับ

การนาผลการวิจัยไปใช้และข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป
1. ทาการแยกสารให้บริสุทธิ์และนาไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีด้วยเครื่องมือชัดสูงต่อไป
2. นาชาสมุนไพรที่ผลิตได้ไปแนะนาให้ผู้ที่สนใจบริโภคและพร้อมทั้งให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

เอกสารอ้างอิง

y
rcit
นิธิดา พลโคตร, ฉันทนา อารมณ์ด,ี ปรียา พวงสาลี หวังสมนึก และอรวรรณ มนทกานติรัตน์. (2556).
การตรวจหาปริมาณฟลาโวนอยด์และปริมาณแคโรทีนในเกสรบัวหลวง. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร-

ive
มหาบัณฑิต สาขาเภสัชภัณฑ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ce Un
วิภพ สุทธนะ. (2556). ฤทธิ์ต้านมะเร็งของฟลาโวนอยด์ : กลไกการออกฤทธิ์. แขนงวิชาเคมีคลินิก
สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

en at
วิจิตร อุดอ้าย. (2546). เอกสารประกอบการสอนวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
fer bh
ศิริพร โอโกโนกิ, ชฎารัตน์ ดวงรัตน์, สมบัติ เชาวนพูนผล และทรงยศ อนุชปรีดา. (2550). การวิจัยสารต้านอนุมูล
on aja
อิสระจากสมุนไพรไทย(รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อรสุรินทร์ ฮวบบางยาง. (2554). ผลของอุณหภูมิและการบรรจุต่อคุณค่าทางอาหารของดอกไม้ที่รับประทานได้.
lC tR

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะทรัพยากรชีวภาพและ


na he

เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
tio g P

Anna Pekal & Krystyna Pyrzynska. (2014). Evaluation of Aluminium Complexation Reaction for
Flavonoid Content Assay. Food Anal. Methods, 7, 1776–1782.
Na en

Narikawa, Shinoyama & Fujii. (2000). A -rutinosidase from Penicillium ruglosum IFO 7242. That is
ha

a Peculiar Flavonoid Glycosidase, 64, 1317-1319.


mp

Larson, R. A. (1988). The Antioxidant of Higher Plant. Phytochemistry, 27, 969-978


Jez J.M., Bowman, Dixon & Noel. (2000). Structure and Mechanism of the Evolutionarily Unique
Ka

Plant Enzyme Chalcone Isomerase. Nat Struct Biol, 7, 768-791.


rd

Pielta, P.G. (2000). Flavonoids as Antioxidant. Journal of Nation Products, 63, 1035-1042.
e3

Hollman, P.C.H. (2004). Absorption, Bioavailability and Metabolism of Flavonoids. Pharm Biol, 42,
74–83.
Th

Gewies A. (2003). Introduction to Apoptosis, Aporeview, 1, 1-26.

You might also like