You are on page 1of 5

บทที่1

บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงการ
ปั จจุบันชาเป็ นเครื่องดื่มสำคัญและดื่มกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก ได้
จากกการนำสมุนไพรที่สรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพมาผ่านกระบวนการ
แปรรูป ด้วยการทำแห้งแล้วบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมใช้ ผู้บริโภคใช้
ผลิตภัณฑ์ ด้วยการคืนตัวชาสมุนไพรใบเตยด้วยการแช่ในน้ำร้อนแล้วดื่ม
ในขณะร้อน สรรพคุณหลักของชาสมุนไพรคือ ทำให้ร้ส
ู ึกสดชื่น ผ่อน
คลาย แก้กระหาย นอกจากนัน
้ ชาสมุนไพรใบเตยมีสรรพคุณทางยา เช่น
ช่วยกระตุ้นระบบหมุนเวียนเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ลดคลอเรสเตอรอล
และยังมีสรรพคุณรักษาโรค เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
เป็ นต้น เป็ นแนวทางการแพทย์ทางเลือกที่ไม่ต้องใช้สารเคมีในการบำบัด
ปั จจุบันในระดับอุตสาหกรรม ได้เริ่มมีการนำสมุนไพรชนิดต่าง ๆ มาผลิต
เป็ นชาสมุนไพร ดึงสรรพคุณเด่นทางยา ปรับสี และรสชาติให้เพื่อให้เกิด
ความสะดวกเหมาะแก่การบริโภคมากขึน
้ เป็ นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผล
ทางการเกษตร ธุรกิจการผลิตชาสมุนไพรกึ่งสำเร็จรูป มีการขยายตัวอย่าง
รวดเร็ว
จึงได้มีการจัดตัง้ โครงการ เพื่อส่งเสริมเป็ นแนวทางและการเรียนรู้
ให้แก่ประชาชน เพื่อการพัฒนาการทำโครงการและทดสอบคุณสมบัติ
ทางกายภาพ และการตรวจสอบในระดับคุณภาพของชาสมุนไพร รวมไป
ถึงการพัฒนาคุณภาพด้านต่าง ๆ ของกระบวนการเพื่อตอบสนองคุณภาพ
ในการผลิต
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.2.1 เพื่อศึกษาแปรรูปการทำแห้งชาสมุนไพรใบเตย ด้วยเครื่องอบ
แห้งแบบถาด
1.2.2 เพื่อศึกษาวิธีการทำชาสมุนไพรใบเตยออแกร์นิค
1.2.3 เพื่อเป็ นการใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
1.3 สมมติฐานของโครงการ
1.3.1 เป็ นการทดลองเกี่ยวกับการทำชาสมุนไพรใบเตยออแกร์นิค
1.3.2 สามารถนำชาสมุนไพรใบเตยออแกร์นิคไปเป็ นเครื่องดื่มเพื่อ
สุขภาพได้
1.4 ขอบเขตของโครงการ
1.4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ศึกษาด้านผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรใบ
เตยเพื่อสุขภาพจากชาสมุนไพรในปั จจุบันรวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้
มีความทันสมัยเป็ นที่น่าสนใจและมีความสะดวกสบายในการรับประทาน
1.4.2 ขอบเขตด้านกลุ่มเป้ าหมาย ได้แก่ประชาชนทั่วไปในชุมชน
บ้านหนองหญ้าม้า ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
1.4.3 ขอบเขตด้านเวลาและสถานที่
ด้านเวลาตัง้ แต่วันที่
ด้านสถานที่ ชุมชนบ้านหนองหญ้าม้าตำบลในเมืองอำเภอเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 ได้ผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรใบเตยเพื่อสุขภาพที่ทันสมัยและเป็ น
ที่น่าสนใจแก่ผู้บริโภค
1.5.2 ได้ทราบถึงความพึงพอใจของกลุ่มเป้ าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์
ชาสมุนไพรใบเตย
1.5.3 เป็ นช่องทางการจัดจำหน่ายและเป็ นการหารายได้ระหว่าง
เรียน
1.5.4 เราสามารถนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
ชา หมายถึงชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ขึน
้ ตามหุบเขาในเขตร้อน
ดอกสีขาวออกเป็ นกลุ่มตามปลายยอด หรือซอกใบใกล้ปลายกิง่ มีกลิ่น
หอมเย็น ใบอ่อนใช้ชงเป็ นเครื่องดื่ม
ใบเตย จะเรียกว่าเตยหอมหรือใบเตยหอม ภาษาอังกฤษ Pandan
Leaves, Fragrant Pandan, Pandom wangi ใบเตยจัดเป็ นไม้ยืนต้น
พุ่มเล็ก ขึน
้ เป็ นกอ มีใบเป็ นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็ นเกลียวจนถึงยอดใบ
ลักษณะของเป็ นทางยาว สีเขียวเป็ นมัน ใบค่อนข้างแข็งมีขอบใบเรียบ ซึง่
เราสามารถนำใบเตยมาใช้ได้ทัง้ ใบสดและใบแห้ง ในใบเตยจะมีกลิ่นหอม
ของน้ำมันหอมระเหย โดยกลิ่นหอมของใบเตยนัน
้ มากจากสารเคมีที่ช่ อ
ื ว่า
2-acetyl-1-pyrroline
สมุนไพร หมายถึงผลิตผลธรรมชาติได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่มี
สรรพคุณในการรักษาโรค อาการเจ็บป่ วยต่าง ๆ หรือบำรุงร่างกาย
สุขภาพ หมายถึงภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกายจิตใจและการ
ดำรงชีวิตอยู่
บรรจุภัณฑ์ หมายถึงสินค้าทุกชนิดที่ทำจากวัสดุใดๆ ที่นำมาใช้
สำหรับห่อหุ้ม ป้ องกัน ลำเลียง จัดส่ง และนำเสนอสินค้า ตัง้ แต่วัตถุดิบถึง
สินค้าที่ผ่านการผลิต ตัง้ แต่ผู้ผลิตถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภค

You might also like