You are on page 1of 52

ประโยชน์และผลเสียของใบชาเขียว

ผศ.จรินทร์ทิพย์ ประทุมรัตน์

ภาณุพงศ์ ทุนทรัพย์ 64100104109


2

รายงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาการ
เรียนรู้สารสนเทศ (GE20004)

ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566

มหาวิทยาลัยรายภัฏอุดรธานี
ประโยชน์และผลเสียของใบชาเขียวญี่ปุ่น

ผศ.จรินทร์ทิพย์ ประทุมรัตน์

ภาณุพงศ์ ทุนทรัพย์ 64100104109


4

รายงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาการ
เรียนรู้สารสนเทศ (GE20004)

ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566

มหาวิทยาลัยรายภัฏอุดรธานี

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็ นสวนหนึ่งของรายวิชา
การรู้สารสนเทศ (GE20004) ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา
2566 เพื่อให้ได้ศึกษาความรู้เรื่องประโยชน์และผลเสียของ
ใบชาเขียวญี่ปุ่นและได้ศึกษาอย่างเข้าใจ เพื่อเป็ นประโยชน์
กับการเรียนและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้
และทำความเข้าใจในใบชาเขียวจะได้รู้จักประโยชน์
และผลเสียของใบชาเขียวญี่ปุ่น ซึ่งเป็ นประโยชน์ต่อผู้ที่
ต้องการศึกษาประโยชน์
และผลเสีย เพื่อที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันในการ
ดูแลสุขภาพร่างกาย
การรับประทาน และการทำประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เพื่อที่
จะได้ใช้ประสิทธิภาพ
ของใบชาเขียวให้ได้มากที่สุด

ผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะนำความรู้และเป็ น
ประโยชน์กับผู้อ่านหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาหาข้อมูล
แนวทางการการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจระหว่าง
บุคคลเรื่องประโยชน์และผลเสียของใบชาเขียวญี่ปุ่น

ภาณุพงศ์ ทุน
ทรัพย์

12 กันยายน
พ.ศ.2566

สารบัญ

เรื่อง หน้

คำนำ ก
สารบัญ ข
สารบัญภาพ ค

ประวัติและความเป็ นมาของใบชาเขียว 1
แหล่งที่ปลูกใบชาเขียวญี่ปุ่น 3
ขบวนผลิตและแปรรูปชาเขียว 4
สายพันธุ์ของใบชาเขียวญี่ปุ่น 9
ประเภทของใบชาเขียวญี่ปุ่น 10
สรรพคุณของใบชาเขียว 12
ประโยชน์ของใบชาเขียว 14
ผลเสียของใบชาเขียว 19
ข้อควรระวังในการดื่มชาเขียว 20
บทสรุป 23
บรรณานุกรม

สารบัญภาพ

รูปภาพ ห
น้า
รูปภาพที่ 1 การเก็บเกี่ยวใบชาเขียว 4
รูปภาพที่ 2 การทำให้ใบแห้ง 5
รูปภาพที่ 3 การหมุนกลิ้ง 6
รูปภาพที่ 4 การแบ่งระดับ 7
รูปภาพที่ 5 การเขย่าใบชาเขียว 7
รูปภาพที่ 6 ขั้นตอนการผลิต 8

ประวัติและความเป็ นมาของใบชาเขียว

ชา หรือ ชาเขียว ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน กว่า


4,000 ปี มีแล้ว
กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชาได้ถูกค้นพบโดย
จักรพรรดินามว่า เสินหนง
ซึ่งเป็ นบัณฑิตและนักสมุนไพร ผู้รักความสะอาดเป็ นอย่างมาก ดื่ม
เฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น
วันหนึ่งขณะที่ เสินหนง กำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่ า และกำลัง
ต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็ นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลง
ในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึก
กระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ทำให้ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยมาในช่วง
ศตวรรษต่าง ๆ ดังนี้

ช่วงศตวรรษที่ 3 ชาเป็ นยา เป็ นเครื่องบำรุงกำลังที่ได้รับ


ความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่3 ชาวบ้าน ก็เริ่มหันมาปลูกชากัน
และพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยมา

ช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5 ชาในประเทศจีนได้รับความนิยม


มากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็ นแผ่นคือ การนำใบชามา
นึ่งก่อน แล้วก็นำมา กระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็ น
ของขวัญแด่พระจักรพรรดิ
2

สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – 906) ถือเป็ นยุคทองของชา ชา


ไม่ได้ดื่ม เพื่อเป็ นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็ นประจำ
ทุกวัน เป็ นเครื่องมือเพื่อสุขภาพ

สมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960 – 1279) ชาได้เติมเครื่องเทศ


แบบใน สมัยราชวงศ์ถังแต่จะเพิ่มรสบาง ๆ เช่น น้ำมันจากดอก
มะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ

สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644) ชาที่ปลูกในจีน


ทั้งหมดเป็ นชาเขียว
สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็ นแผ่น แต่มี
การรวบรวมใบชานำมานึ่ง
และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ง่าย และรสชาติไม่
ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป การผลิตเพื่อจะ
รักษาคุณภาพชาให้นานขึ้นโดยได้คิดค้นกระบวนการที่เราเรียกว่า
การหมักเมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็ นที่มาของชาอูหลงและ
ชาดำในประเทศจีนมีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้อีก
ด้วยและด้วยรสชาติและสรรพคุณของชาและชาเขียวที่ใช้เป็ นยาได้
ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงนิยมและความนิยมนี้ได้แพร่หลายไปทั่ว
ประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ในโลกในเวลาต่อมา สำหรับประวัติ
ของชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นนั้น แรกเริ่มชาเขียวได้ถูกนำมาจาก
ประเทศจีนและได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและมีการปลูกชา
เขียวกันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ใน
3

โลกรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย แม้ว่าชาเขียวจะเป็ นหนึ่งใน


เครื่องดื่ม
ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นก็ตาม แต่ครั้งหนึ่งใน
อดีตชาเขียวถูกจัดว่าเป็ นสินค้าที่มีค่ามาก ดังนั้นผู้ที่สามารถบริโภค
ชาเขียวจะมีเพียงบางกลุ่มเท่านั้นในสังคม เช่น พระสงฆ์และขุนนาง
เท่านั้นที่สามารถซื้อหาชาเขียวและได้รับความสุขในการบริโภค ซึ่ง
เราต้องขอบคุณในความพยายามของท่าน(Eisai) ซึ่งเป็ นพระสงฆ์ใน
ศาสนาพุทธนิกายเซน (Zen) ที่ได้นำชาเขียวไปสู่สาธารณะ
และนักรบซามูไร และทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้จักชาเขียวเสมือนหนึ่ง
เป็ นปฐมบทแห่งการเริ่มต้นของการลิ้มรสชาติ

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 9 นักเขียนชาวจีนนามว่า (Lu Yu) ได้


เขียนบทความเกี่ยวกับใบชา
การเพาะปลูกชา ซึ่งงานเขียนและวิถีชีวิตของ (Lu Yu) ได้รับ
อิทธิพลอย่างมากจากศาสนาพุทธโดยเฉพาะโรงเรียนสอนศาสนา
(Zen – Cha) ซึ่งความคิดของเขามีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนา
พิธีชงชาแบบญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

ดังนั้นการดื่มชาจึงเป็ นวัฒนธรรมของประเทศจีนที่ถูกเผย
แพร่เข้ามาในญี่ปุ่น โดยพระสงฆ์เป็ นผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงสมัย
นาระ จนถึงตอนต้นสมัยเฮอัน เริ่มมีการดื่มชากันในหมู่พระสงฆ์
และชนชั้นสูงในราชสำนักต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระสงฆ์
4

นามว่า (Eisai) ซึ่งเป็ นพระสงฆ์ในศาสนาพุทธนิกายเซน (Zen) ได้


นำชาผงมัชชะ จากประเทศจีนเข้ามาเผยแพร่ในฐานะยารักษาโรค

ปลายศตวรรษที่ 12 รูปแบบของชาที่ถูกเตรียมขึ้นเรียกว่า
(tencha) โดยการวางชาผงไว้ในชามจากนั้นจึงเทน้ำร้อนเทลงใน
ชามและใช้ไม่ไผ่สำหรับชงชา ตีผสมชาผงกับน้ำร้อนให้เข้ากัน
ซึ่งเป็ นวิธีการที่ถูกนำติดตัวมาโดย (Eisai) และพระญี่ปุ่นรูปอื่น ๆ ที่
กลับมาจากประเทศจีน
และยังได้นำเมล็ดชากลับมายังประเทศญี่ปุ่นซึ่งต่อมาประเทศญี่ปุ่น
ก็ได้พัฒนารูปแบบการผลิตชา
จนกลายเป็ นแหล่งผลิตชาที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมอีกที่หนึ่งของโลก

โดยศตวรรษที่ 13 ชาเขียวผงนี้ถูกใช้ครั้งแรกในพิธีกรรมทาง
ศาสนาในวัดพุทธนิกายเซน และนักรบซามูไร เริ่มมีการจัดเตรียม
และดื่มมัชชะ ที่พวกเขานำมาจากพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
นิกายเซนและกลายเป็ นรากฐานของพิธีชงชาถูกวางไว้นับแต่นั้นมา
จากนั้นพิธีชามีการพัฒนาและถูกปฏิบัติสืบเนื่องมาและเริ่ม
วิวัฒนาการเป็ นความงดงามทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของประเทศ
ญี่ปุ่น ด้วยรูปแบบที่ทำให้รู้สึกสงบหรือเงียบขรึมแต่แฝงไว้ด้วย
ความหมายอันลึกซึ้งที่มาพร้อมกับรสชาติละมุนของชา คือลักษณะ
ความอ่อนน้อมถ่อมตนยับยั้งชั่งใจ เรียบง่ายเหมือนจริง ความลึก
ซึ้ง อ่อนโยน และความสมดุลเรียบง่ายของสิ่งรอบตัว พื้นที่
ปราศจากเครื่องตกแต่งทางสถาปั ตยกรรมเป็ น ความงามที่ลึกซึ้ง
5

ในศตวรรษที่ 14 พระในวัดเซนได้กำหนดแบบแผนการดื่ม
ชาขึ้นมา แบบแผนงานดื่มชาในวัดเซนแพร่หลายออกไปในหมู่
นักรบและขุนนางจนกลายมาเป็ นต้นแบบของพิธีชงชาในสมัย (มุ
โระมะชิ) นักรบและขุนนางตลอดจนพ่อค้าชาวเมืองที่ร่ำรวยนิยม
จัดงานดื่มชาในงานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งมักนำศิลปวัตถุหรูหราโอ่อ่า
ของจีนมาประดับประดากัน

ในศตวรรษที่ 15 – 16 ท่าน (Takeno Joo's) และท่าน


(Sen no Rikyu) ได้พัฒนาแบบแผนพิธีชงชาแบบวะบิชะขึ้นมาเน้น
ความงามแบบเรียบง่ายและการสร้างความผูกพันทางใจเป็ นอัน
หนึ่งอันเดียวกันระหว่างเจ้าภาพกับแขก พิธีชงชาแบบวะบิชะนี้ได้
สืบทอดมาจนถึงปั จจุบันในฐานะศิลปะแห่งการดื่มชาญี่ปุ่นซึ่งแฝง
ปรัชญาแห่งชีวิตและฉายให้เห็นความงามในจิตใจ ทำให้การดื่มชา
มิได้เป็ นเพียงการดื่มชา

จากนั้นเป็ นต้นมาการดื่มชาได้แพร่กระจายไปทุกระดับของ
สังคมในประเทศญี่ปุ่น
และต่อมาชาเขียวก็ยังคงหยั่งรากลึกในสังคมญี่ปุ่นสืบมา แม้กระทั้ง
ในปั จจุบันก็เป็ นอีกครั้งที่ชาเขียวได้ดึงดูดความสนใจอย่างมาก ใน
ฐานะของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ส่งเสริมร่างกายและมีประโยชน์
มากมาย

แหล่งที่ปลูกใบชาเขียวญี่ปุ่น
6

ในประเทศญี่ปุ่นมีแหล่งเพาะปลูกชาเขียวหลัก ๆ อยู่ที่เมือง
Uji จังหวัด Kyoto
จังหวัด Shizuoka และ จังหวัด Kagoshima คุณภาพของชาก็จะ
ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ใช้เพาะปลูก
สภาพภูมิอากาศในแต่พื้นที่ และการดูแลเอาใจใส่ กว่าจะเก็บเกี่ยว
ชาเขียวได้ในแต่ละครั้งนั้น เกษตรกรต้องดูแลเอาใจใส่เจ้าต้นชาเป็ น
อย่างมาก ในฤดูร้อนที่มีแมลงมากมายคอยรบกวนต้นชาอยู่หลาย
ชนิดทำให้เกษตรกรต้องทำงาน หนักท่ามกลางแดดที่ร้อนอบอ้าว
หากแมลงบุกมาก
ชาจะเกิดความเสียหายและเกิดโรคได้ง่าย การฉีดพ่นยากำจัดแมลง
นั้นก็สามารถทำได้เหมือนกัน
แต่ในประเทศญี่ปุ่นนั้น มีการควบคุมการฉีดพ่นสารเคมีอย่างเข้ม
งวด สารเคมีที่ใช้นั้นต้องถูกต้อง
ตามมาตราฐานที่กำหนดไว้ซึ่งไม่ได้ช่วยให้แมลง หมดสิ้นไปทั้งหมด
ส่วนการเก็บเกี่ยวชาเขียวนั้นมีอยู่สามวิธี ได้แก่ ใช้มือเด็ด ใช้
กรรไกรตัด และใช้เครื่องจักร

ช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยวชาเขียวในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็ น
Shincha หรือ Ichibancha
คือ การเก็บเกี่ยวชาในครั้งแรก หรือ ชาใหม่ (Nibancha) การเก็บ
เกี่ยวชาในครั้งที่สอง Sanbancha การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สาม ใน
7

บางพื้นที่ อาจมีการเก็บชาถึงสี่ครั้งเรียกว่า Yonbancha


ส่วนชาที่เหลือจากปี ก่อน ๆ เรียกว่า Kocha หมายถึง ชาเก่า

ขบวนผลิตและแปรรูปชาเขียว

กระบวนการผลิตชาถือได้ว่าเป็ นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะการ


ควบคุมการผลิตอย่างใกล้ชิด และด้วยความประณีตทุกขั้นตอนการ
ผลิตจะทำให้ได้ชาหลากหลายชนิดและรสชาติที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็ นการทำให้ใบชาแห้ง หรือที่เรียกว่า Withering ผ่านการ
Rolling และการหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ ทุกขั้นตอนล้วน
มีความสำคัญต่อรสชาติของชา ซึ่งการผลิตที่จะได้ใบชาที่ดี ต้อง

ผ่านปลูกในคุณภาพดีเช่นกัน เพราะส่วนสำคัญมาจากสภาพ
แวดล้อมทางธรรมชาติทั้งภูมิประเทศและภูมิอากาศ และยังมีอีก
หลายเรื่องที่เป็ นข้อควรรู้ของการปลูกชาเขียว ที่ญี่ปุ่นเองก็มีไม่กี่ที่
ที่สามารถปลูกชาเขียวได้ผลผลิตดี ที่รู้จักกันดีจะเป็ นบริเวณ เมืองอู
8

จิ เกียวโต ที่เกษตรกร
มีประสบการณ์ทั้งเทคนิค การปลูกและการเก็บเกี่ยว

รูปภาพที่ 1 การเก็บเกี่ยวใบชาเขียว

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวใบชาจะเริ่มในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม
เมื่อใบอ่อนได้รับการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันจากต้นชาโดยยอดอ่อน
ที่ดีที่สุดนั้น เรียกว่า ichibancha โดยผู้เชี่ยวชาญจะคัดเลือกเฉพาะ
ส่วนที่เป็ นใบอ่อนที่สุดและเขียวที่สุดของเพื่อเป็ น namacha หรื
อ “ชาสด” นั่นเอง
ก่อนนำใบชาเข้าสู่ขั้นตอนหลัก ๆ ในการผลิต ดังนี้

1. การทำให้ใบแห้ง (Withering) กระบวนการนี้ทำโดยนำ


ใบชาสดมาสลัดความชุ่มชื้นที่อุณหภูมิห้องเป็ นเวลา 8-24 ชั่วโมง
(แล้วแต่ชนิดของชาที่ต้องการกระผลิต) โดยตากใบที่เพิ่งเก็บให้แห้ง

เพื่อลดส่วนประกอบน้ำในใบชา 50-60% ลักษณะใบชาที่ได้ ใบ


อ่อนนิ่ม และดัดงอง่าย
เพื่อจะนำไปผ่านกระบวนการขั้นต่อไป
9

รูปภาพที่ 2 การทำให้ใบแห้ง

2. การหมุนกลิ้ง (Rolling) โดยการรีดใบให้แห้งโดยทำให้


บิดงอและยุ่ย ในการหมุนกลิ้งจะมีใบที่แตกหักบ้างถือเป็ นเรื่องปกติ
หากไม่มีเครื่องบางที่อาจใช้การเขย่าหรือใช้มือก็ได้ โดยในระหว่าง
กระบวนการหมุนกลิ้งจะมีน้ำมันออกจากใบชา ทำให้ชามีกลิ่นหอม
พิเศษเฉพาะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจะเกิดช่วงเวลาสั้น ๆ ผ่าน
การหมุนกลิ้งจะ จะทำให้ได้ใบชาที่รสดีและกลิ่นหอม หลังจากนั้น
จะถูกส่งเข้าเครื่องร่อน เพื่อแยกประเภทชา ใบที่เล็กจะไปสู่ขั้นตอน
ต่อไป ในขณะใบที่ใหญ่และแข็งกว่าจะถูกตีกลับไปหมุนกลิ้งครั้งที่
2

รูปภาพที่ 3 การหมุนกลิ้ง

3. การหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์
(Oxidation/Fermentation) เป็ นกระบวนการทางเคมีที่
ออกซิเจนถูกดูดซึมเพื่อปลดปล่อยเอนไซม์ที่ทำปฏิกิริยากับอากาศ
โดยจะเริ่มต้นเมื่อเยื่อบุผิวใบแตกหักระหว่างการทำปฏิกิริยา
ออกไซด์ส่งผลให้ใบเปลี่ยนเป็ นสีทองสว่าง ขั้นนี้เองเป็ นปั จจัยสำคัญ
10

ที่ตัดสินว่าชาจะเป็ นชนิดใด ระหว่างชาเขียว ชาดำ หรือชาอู่หลง


เป็ นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่ส่งผลต่อกลิ่นหอม สี หากขั้นตอนนี้หยุด
เร็วเกินไปชาก็จะมีสีเขียว และอาจมีรสชาติคล้ายโลหะ
ถ้าหมักนานเกินไปมันจะค่อย ๆ หวานและสูญเสียทั้งคุณภาพและ
กลิ่นหอม

4. การทำให้แห้งหรือการก่อไฟ ขั้นตอนนี้จะทำให้ใบแห้ง
เสมอกันทั่วทั้งใบ โดยใช้ความร้อนประมาณ 120-200 องศา
ฟาเรนไฮต์ต่อเนื่อง เพื่อหยุดกระบวนการหมักของปฏิกิริยา
ออกไซด์
ซึ่งการหยุกกระบวนการหมักของปฏิกิริยาออกไซด์สามารถกระทำ
ได้ 2 วิธี คือ การอบไอน้ำโดยใช้ความร้อน หรือโดยการคั่ว จะ
ทำการวางใบชาไว้ในอ่างเหล็กขนาดใหญ่ประมาณ 20-30 วินาที
และให้ความร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส เป็ นการหยุดการทำลาย
เอนไซม์ที่เป็ นสาเหตุของการหมัก ใบชาจึงยังคงเขียว ส่วนการ
ทำให้แห้งโดยการคั่วจะส่งผลให้ใบชาเปลี่ยนเป็ นสีดำและแห้ง
คงเหลือความชุ่มชื้นเพียง 2-3% อย่างไรก็ตาม ความร้อนมากเกิน
ไปอาจทำให้ชาสูญเสียรสชาติ
สี และกลิ่นหอมได้

5. การแบ่งระดับ เป็ นขั้นตอนที่มีการแบ่งระดับใบโดยใช้


เครื่องร่อนแยกหรือตะแกรงร่อนที่มีปากกระบอกขนาดต่างกันซึ่ง
11

ขั้นตอนทั้งหมดข้างต้น ไม่ได้หมายถึงชาทุกชนิดต้องผ่านขั้นตอนนี้
แต่เป็ นเพียงภาพรวมของกระบวนการแปรรูปใบชาเท่านั้น

รูปภาพที่ 4 การแบ่งระดับ

การผลิตชาแต่ละชนิดจะมีจุดต่างกันอยู่เพียงเล็กน้อย ก็ได้รสชาติที่
ต่างกัน เช่น การผลิตชาขาวมีขั้นตอนที่สั้นที่สุด เนื่องจากไม่ต้อง
ผ่านกระบวนการหมุนกลิ้งและกระบวนการหมักหรือการทำ
ปฏิกิริยาออกไซด์ ยอดใบชาที่ยังอ่อน ๆ จะถูกเก็บและนำมาตากไว้
ให้แห้ง ก่อนจะนำมาเข้าสู่ขั้นตอนการทำแห้งโดยใช้ความร้อนอบไอ
น้ำทันที เนื่องจากชาขาวไม่มีกระบวนการหมัก ทำให้สีของใบชายัง
ออกเป็ นสีเขียวขาวอยู่หากพูดถึงการผลิตชาดำ เป็ นชาที่ผ่านขั้น
ตอนการแปรรูปมากที่สุด
12

ใบชาที่เก็บจะผ่านกระบวนการหมักเต็มที่ ประกอบไปด้วย 5 ขั้น


ตอนพื้นฐานข้างต้น โดยช่วงที่นำไปทำให้แห้ง จะทำให้ใบแห้งถึง
80% นั่นเองถึงจะได้เป็ นชาดำ แต่ถ้าทำให้แห้งมากเกินไปอาจจะ
ไม่มีกลิ่นหอม ซึ่งวิธีทำชาอู่หลงจะคล้ายกับชาดำ แต่ความแตกต่าง
อยู่ที่ใบถูกตากแดดโดยตรง
โดยใช้เวลา 6 ชั่วโมง จากนั้นจึงเขย่าใบในตะกร้าไม้ไผ่เพื่อทำให้
ขอบใบมีตำหนิ ในขณะที่ส่วนกลางยังคงสีเขียว เวลาที่ใช้ในการ
หมักจะประมาณครึ่งหนึ่งของชาดำ การทำปฏิกิริยาออกไซด์ถูก
หยุดโดยการก่อไฟ สำหรับชาอูหลง ใบผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูง
กว่า เนื่องจากมีส่วนผสมน้ำต่ำกว่านั่นเอง

รูปภาพที่ 5 การเขย่าใบชาเขียว

ส่วนชาเขียวเริ่มต้นจากการทำให้ใบชาแห้งเหี่ยวเป็ นอันดับแรก
หลังจากนั้นวางบนกระทะก่อไฟหรือนำใบชามาอบไอน้ำ เพื่อ
ป้ องกันปฏิกิริยาออกไซด์ สุดท้ายคือ การหมุนกลิ้งใบและทำให้แห้ง
อย่างรวดเร็วครั้งสุดท้าย ด้วยวิธีการดังกล่าว จึงทำให้ใบชายังคงมีสี
เขียว จากกระบวนการผลิตที่ง่ายและน้อยขั้นตอน ทำให้ชาเขียวยัง
คงมีสารในพืชที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่น ๆ
นั่นเอง ทั้งนี้ชาเขียวเองยังสามารถแบ่งออกเป็ น 2 ประเภท คือ ชา
เขียวอบไอน้ำและชาเขียวคั่ว
13

1.1 ชาเขียวอบไอน้ำ เป็ นการหยุดกระบวนการทางเคมีใน


ใบชาด้วยการอบไอน้ำ
ในช่วงเวลาสั้น ๆ คือ เมื่อเก็บยอดชาต้องนำมานึ่งด้วยไอที่อุณหภูมิ
100 องศาเซลเซียส
เป็ นเวลา 0.7 นาที เพื่อหยุดกิจกรรมของเอนไซม์ พอลิฟี นอล ออก
ซิเดส เสร็จแล้วนำไปนวด
อบไอร้อนเพื่อลดปริมาณความชื้นในใบลง ต่อจากนั้นนำมานวดใน
ห้องอุณหภูมิปกติเพื่อทำให้เซลล์แตก และนวดด้วยความร้อนอีก
เพื่อทำให้ใบชาม้วนตัวสวยงาม แล้วนำไปอบแห้งให้ความชื้นในใบ
ชาลดเหลือ 4 % ชาเขียวอบไอน้ำส่วนใหญ่ มีการแปรรูปใน
ประเทศญี่ปุ่น สีของน้ำชาประเภทนี้
จะมีสีเขียวถึงเขียวอมเหลือง เนื่องจากยังมีคลอโรฟิ ลล์อยู่

1.2 ชาเขียวคั่ว เป็ นชาที่หยุดกระบวนการทางเคมีในยอดชา


ด้วยการคั่วด้วยกระทะร้อน
ที่อุณหภูมิสูงประมาณ 300-350 องศาเซลเซียส แล้วนำไปนวดให้
เซลล์แตกจนม้วนตัว และอบแห้ง
14

ชาเขียวคั่วสามารถแยกได้เป็ น 2 แบบ คือ ชาเขียวคั่วหมักอ่อน


และชาเขียวที่ไม่มีการหมัก
สีน้ำชามีสีเขียวอ่อนอมเหลือง จากกระบวนการผลิตชาหลากหลาย
ขั้นตอนข้างต้นสามารถสรุป
ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ตามแผนภาพนี้

รูปภาพที่ 6 ขั้นตอนการผลิต

สายพันธุ์ของใบชาเขียวญี่ปุ่น

Gokoh green tea พันธุ์นี้มีรสและกลิ่นหอมมาก และยังมี


รสชาติหวานอีกด้วย
เหมาะสำหรับนำไปผลิตเป็ นชาประเภทชา Gyokuro สีของชาเป็ น
สีเขียวอ่อนสดสวยงาม

Samidori พันธุ์นี้มีรสและกลิ่นหอมมากเหมือนกัน และก็ยัง


มีรสชาติหวานอีกด้วย
เหมาะที่จะนำไปผลิตเป็ นชาประเภชา Gyokuro และชา Matcha
สีของชาออกเขียวอมเหลืองเล็กน้อย
15

Asahi พันธุ์นี้มีรสชาติเป็ นธรรมชาติมาก เหมาะสำหรับนำไป


ผลิตเป็ นชาประเภทชา Matcha ผู้แข่งขันชงชามักจะเลือกสายพันธุ์
นี้ไปแข่งขัน

Yabukita พันธุ์นี้มีรสชาติและกลิ่นหอมที่เต็มไปด้วยความ
สดชื่นเป็ นพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ดูแลยากพอตัว ส่วนใหญ่จะ
นำไปผลิตเป็ นชาประเภท Sencha

Asatsuyu พันธุ์นี้มีรสและกลิ่นเป็ นธรรมชาติสูง เป็ นที่รู้จัก


กันในชาประเภท Gyokuro
โดยที่สีของน้ำชาเป็ นสีเขียวเข้ม

Sae midori เป็ นสายพันธุ์ที่พัฒนามาจากพันธุ์ Yabukita


และพันธุ์ Asatsuyu มีกลิ่นหอมมาก ใช้เวลาเก็บเกี่ยวในระยะอัน
สั้น และในอนาคตอาจจะแพร่หลายไปในพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งตอนนี้จะมี
มากที่ Uji เกียวโต ส่วนใหญ่จะนำไปผลิตเป็ นชาประเภท
Fukamushicha

Sayama kaori สายพันธุ์นี้มีต้นที่ทนทานและแข็งแรง ใบชา


ที่ได้จะมีรสชาติกลมกล่อม
และมีกลิ่นหอม เป็ นสายพันธุ์ที่ดี ดูแลง่าย มีคุณค่าสูง

Oku midori พันธุ์นี้มีรสชาติและกลิ่นหอมสดชื่นคล้ายกับ


พันธุ์ Yabukita ส่วนใหญ่
16

จะนำไปผลิตเป็ นชาประเภท Gyokuro สีของน้ำชาเป็ นสีเขียวขุ่น มี


ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับพันธุ์ Gokoh

ประเภทของใบชาเขียวญี่ปุ่น

Gyokuro ซึ่งเป็ นชาติที่มีคุณภาพสูงมีระดับที่สุด เพราะเป็ น


ชา ichibancha ชาแรกของปี รสหวานกำลังดี ความฝาดน้อยมาก
มีปริมาณเก็บเกี่ยวเก็บค่อนข้างน้อย ราคาจึงแพง เพราะฉะนั้นเค้า
จะเน้นใช้ในงานที่พิธีการ ชาชนิดนี้จะถูกดูแลอย่างดีในร่มไม่โดน
แดดถึงก่อนเก็บเกี่ยวประมาณสามอาทิตย์ หลังจากเก็บเกี่ยวจะถูก
อบและนวดใบชา ลักษณะที่ดีของชาเกียวโระคุคือม้วนตัวเรียว
สีเข้มอย่างสวยงาม

Tencha เป็ นชาที่มีลักษณะไม่ม้วนตัวสวยงามเหมือนชาเกีย


วคุโระ จึงถูกแยกออกมาเพื่อนำไปอบและบดให้ละเอียดจนกลาย
เป็ น ชามัทฉะ

Matcha เป็ นชาที่ดีมีคุณภาพราคาแพงเหมือนกัน แต่ถูก


ผลิตออกมาในรูปแบบผงชาบดละเอียด มักจะนำไปใช้ในพิธีชงชา
สไตล์ญี่ปุ่น ปลูกเหมือนกับชาเกียวโระคุ ชามัทฉะนั้นสามารแบ่ง
ออกได้หลายเกรด เพื่อนำไปผสมกับอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเพิ่ม
17

สีสันและรสชาติ เช่นนำไปทำขนมโมจิ ขนมเค้ก ขนมญี่ปุ่น ขนมวา


กาชิ ไอศครีมชาเขียว น้ำปั่ น และอาหารประเภทเส้นก็ได้

Konacha ทำมาจากชิ้นส่วนเล็ก ๆ น้อยที่แยกมาจาก ชาเกีย


วคุโระ และ ชาเซนฉะ
สามารถหาซื่อในตลาดทั่วไปในชื่อ Gyokuroko หรือ
Gyokurokocha ก็ได้ ราคาจะถูกกว่าชาชั้นดีทั้งสอง และมักถูก
เสริฟในร้านขายซูชิ

Sencha เป็ นชาที่มีคุณภาพรองลงมาจากชา เกียวโระคุ และ


มัทฉะ เป็ นชาที่มีการผลิตมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น สามารถเก็บ
เกี่ยวในช่วงแรกหรือช่วงที่สองก็ได้ ชาประเภทนี้จะนำมาผลิตเป็ น
ชาเขียวให้คนญี่ปุ่นใช้ดื่มในชีวิตประจำวัน เป็ นใบชาที่สามารถโดน
แดดได้อย่างเต็มที่จนถึงเวลาเก็บเกี่ยว จากนั้นจะนำใบชาไปอบไอ
น้ำอย่างเร็วไว เพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเอนไซม์ เพราะจะ
ทำให้คงสภาพสีและกลิ่นของของชาเอาไว้ได้

Fukamushicha เป็ นชาชนิดเดียวกับชา เซนฉะ แต่จะผ่าน


วิธีการผลิตแตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่นำไปอบนานเป็ นสองเท่า
ของชาเซนฉะ แต่เวลาต้มชาออกมาน้ำชาจะมีสีเข้มหม่น ๆ กว่าชา
เซนฉะ รสชาติเข้มข้นและหวานกว่า
18

Kabusecha เป็ นชาประเภทเดียวกับชาเซนฉะ แต่ก่อนเก็บ


เกี่ยวประมาณ 20 วันจะถูกปกคลุมไปด้วยตาข่าย รสชาติจะอ่อน
กว่าชาเซนฉะ

Kawayanagi เป็ นชาที่ทำมาจากใบอ่อนขนาดใหญ่ของ ชา


คาบุเซะชะ และ ชาเซนชะ รสชาติเบา ๆ

Bancha เป็ นชาที่เก็บหลังจาก ชาเซนฉะ สามารถเก็บเกี่ยว


ในช่วงที่สามหรือช่วงที่สี่ คุณภาพจะรองลงมาจากชาเซนฉะอีก เป็ น
ใบชาที่เหลืออยู่ที่ยอดชา จะมีขนาดใหญ่กว่าที่นำไปผลิตเป็ นชาเซน
ฉะ หลังจากนั้นก็นำมานวดเล็กน้อย รสชาติจะอ่อน ๆ

Genmaicha เรียกว่า ชาข้าวกล้อง หรือชาข้าวโพดก็ได้ เพราะเวลา


คั่วข้าว เมล็ดข้าวจะพองโตเหมือนเมล็ดข้าวโพด เป็ นชาที่นำข้าว
กล้องคั่วมาผสมกับชาบันฉะ ในสมัยก่อนเป็ นเครื่องดื่มของคนยาก
คนจน และพระ เพราะชามีราคาแพง แค่มีชาเขียวเสริมคุณค่าด้วย
ข้าวกล้องคั่วก็หอมอร่อยได้เหมือนกัน ชาประเภทนี้เป็ นที่รู้จักกันว่า
เป็ นชาของผู้คนอย่างแท้จริง

Aracha เป็ นชาเขียวดิบ ที่ผลิตมาจากทั้งใบและส่วนก้าน


ของชา จากนั้นจะนำมาอบและรีดให้แห้ง เป็ นชาที่ให้รสชาติเข้มข้น
มาก ส่วนใหญ่ชาชนิดนี้จะนำไปผสมกับชาอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ
เฉพาะตัวที่เข้มข้นขึ้น
19

Tamaryokucha หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ Guricha เป็ นชาที่


ลักษณะใบชาแห้งหยิก
เป็ นคลื่น ๆ เล็กน้อย มีรสฝาดน้อยมีกลิ่นหอมเบา ๆ เหมือนลูก
เบอร์รี่

Kamairicha เป็ นชาที่ผลิตมาจาก จังหวัด Nagasaki เป็ น


ส่วนใหญ่ ชาประเภทนี้จะนำไปคั่วในกะทะกลิ้งไปกลิ้งมา มีรส
หวานหอม รสชาติอ่อนโยน Kukicha มีอีกชื่อหนึ่งว่า Boucha เป็ น
ชาที่เป็ นผลพลอยได้มาจากลำต้นและก้านของ ชาเซนฉะ หรือ ชามั
ทฉะ มีใบชาผสมน้อยมาก มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำ
ผลไม้สำหรับเด็ก ๆ ได้ด้วย

Karigane หรือ Shiraore เป็ นชาที่เป็ นผลพลอยได้มาจาก


ก้านของชาเกียวโระคุ
มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็ก ๆ ได้ด้วย
เช่นกัน

Mecha เป็ นชาที่เก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิ โดยการนำเอาใบ


และก้านที่แยกมาจาก
ชาเกียวโระคุ และชาเซนฉะมาอบและรีดรวม ๆ กัน เป็ นชาที่มักจะ
เสริฟที่ร้านซูชิเพื่อล้างรสคาว
ที่เพดานปาก รสชาติเข้มข้นขมฝาดพอประมาณ
20

Houjicha เป็ นชาในช่วงเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายแล้ว ทำมาจาก


ชา บันฉะ, เซนฉะ, คุคิฉะ
ผสม ๆ แล้วก็มีกิ่งชาผสมอยู่ด้วยจากนั้นนำไปคั่วในไฟร้อน เพื่อลด
รสชาติที่ฝาดของชา
เป็ นชาที่ให้ความรู้สึกอ่อนโยน ดื่มสบาย ๆ ในระหว่างหรือหลังมื้อ
เย็นของบ้าน สามารถทานก่อน
ที่จะเข้านอนก็ได้ เป็ นที่โปรดปรานของผู้สูงอายุและเด็กพอตัวเลยที
เดียว

Funmatsucha คือ ชาเขียวชนิดผงสำเร็จรูป พกสะดวก ชง


ง่าย สไตล์คนสมัยใหม่

สรรพคุณของใบชาเขียว

ชาเขียวถูกนำมาใช้ในการรักษาตั้งแต่โรคปวดศีรษะไปจนถึง
โรคซึมเศร้า ซึ่งในประเทศจีน
มีการใช้ชาเขียวเป็ นยามามากกว่า 4,000 ปี แล้ว ช่วยทำให้เจริญ
อาหาร แก้เมาเหล้า ทำให้สร่างเมา ช่วยแก้หวัด แก้ร้อนใน ช่วยขับ
เหงื่อ ขับสารพิษตกค้าง ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ สงบประสาท
ระบายความร้อนจากศีรษะและเบ้าตา ทำให้สดชื่น ตาสว่าง ไม่ง่วง
นอน และช่วยทำให้หายใจสดชื่น ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ระบาย
21

ความร้อนออกจากปอด และช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้บิด ท้องร่วง


ท้องเสีย ช่วยเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ จึงสามารถช่วยล้างสาร
พิษและกำจัดพิษในลำไส้ได้
ช่วยป้ องกันตับจากพิษและโรคอื่น ๆ ช่วยป้ องกันการเกิดลิ่มเลือด
ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ ต้านเชื้อ
แบคทีเรียและเชื้อไวรัสต้านเชื้อ Botulinus
และเชื้อ Staphylococcus ช่วยขับปั สสาวะ ป้ องกันนิ่วในถุงน้ำดี
และในไต ช่วยในการห้ามเลือด
หรือทำให้เลือดไหลช้าลง ใช้เป็ นยาพอกรักษาแผลอักเสบ แผล
พุพอง ไฟไหม้ ฝี หนอง ช่วยบรรเทาอาการผดผื่นคัน ผิวร้อนแห้ง
แมลงสัตว์กัดต่อย และยังใช้เป็ นยากันยุงได้อีกด้วย ชาเขียว
สามารถช่วยป้ องกันโรคข้ออักเสบรูมาติก (Rheumatic arthritis)
ซึ่งมีอาการอักเสบบวมแดง
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ ที่มักเกิดกับสตรีวัยกลางคน

นายมานพ เลิศสุทธิรักษ์ นายกสมาคมแพทย์แผนจีน ได้ให้


ข้อมูลเกี่ยวกับชาเขียวว่า
การนำชาเขียวมาใช้ควบคู่กับพืชสมุนไพรชนิดอื่น ๆ จะส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพในการรักษาโรค
ที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งมี15 วิธีดังต่อไปนี้ คือ

1. ใช้ชาเขียวร่วมกับขึ้นฉ่าย จะช่วยลดความดันโลหิต

2. ใช้ชาเขียวร่วมกับไส้หมาก จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
22

3.ใช้ชาเขียวร่วมกับหนวดข้าวโพด จะช่วยลดความดันโลหิต
ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และช่วยลดอาการบวมน้ำ

4. ใช้ชาเขียวร่วมกับตะไคร้ จะช่วยขับไขมันในเส้นเลือด

5. ใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดเก๋ากี้ จะช่วยลดความอ้วน แก้ตาฟาง

6. ใช้ชาเขียวร่วมกับใบหม่อน จะช่วยป้ องกันโรคหวัด ลดไข


มันในเส้นเลือดได้ดี

7. ใช้ชาเขียวร่วมกับหัวต้นหอม จะช่วยแก้ไข้หวัดและช่วยขับ
เหงื่อ

8. ใช้ชาเขียวร่วมกับดอกเก๊กฮวยสีเหลือง จะช่วยแก้อาการ
วิงเวียนศีรษะ ตาลาย

9. ใช้ชาเขียวร่วมกับเนื้อลำไยแห้ง จะช่วยบำรุงสมอง และ


เสริมสร้างความจำ

10. ใช้ชาเขียวร่วมกับโสมอเมริกา ทำให้สดชื่น แก้คอแห้ง


และช่วยบำรุงหัวใจ

11. ใช้ชาเขียวร่วมกับบ๊วยเค็ม จะช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง


แสบคอ เสียงแหบ

12. ใช้ชาเขียวร่วมกับขิงสด จะช่วยรักษาอาการอาหารเป็ น


พิษและจุกลม
23

13. ใช้ชาเขียวร่วมกับลูกเดือย จะช่วยลดอาการบวมน้ำ


ตกขาว มดลูกอักเสบ

14. ใช้ชาเขียวร่วมกับน้ำตาลกลูโคส จะช่วยบรรเทาอาการ


ตับอักเสบ

15. ใช้ชาเขียวร่วมกับเม็ดบัว จะช่วยบรรเทาอาการฝั นเปี ยก


และยับยั้งการหลั่งเร็ว
ของสุภาพบุรุษ

ประโยชน์ของใบชาเขียว

epigallocatechin gallate (EGCG) ที่พบได้มากในชา


เขียว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยในการขับสารพิษในร่างกาย สามารถกวาดล้างอนุมูลอิสระที่
เป็ นตัวกัดกร่อน DNA ในกระแสเลือดลงได้ จึงส่งผลในการช่วย
ป้ องกันความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย
จนมีสุภาษิตจีนโบราณที่กล่าวไว้ว่า “ขาดอาหารสามวันยังดีเสีย
กว่า ขาดชาเพียงวันเดียว”
และชาเขียวยังมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้อยู่ในภาวะเครียดจาก
การทำงานสูง
24

และผู้ที่อยู่ในโปรแกรมการกำจัดไขมันหรือลดน้ำหนักดังจะได้กล่าว
ในข้อถัดไป

มีการพิสูจน์แล้วว่าสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวสามารถ
ช่วยชะลอความแก่ชราและช่วยคงความอ่อนเยาว์ไว้ได้ แม้ว่าใน
อาหารอื่น ๆ จะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิ
ตามินบี เบต้าแคโรทีน แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่า
คุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ
ของโพลีฟี นอลในชาเขียวจะเหนือกว่า การดื่มชาเขียวนอกจากจะ
ดื่มเพื่อแก้กระหายแล้ว ในชาเขียวยังมีกาเฟอีน (Caffeine) และธิ
โอฟิ ลลีน (Theophylline) ซึ่งเป็ นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงาน
ของระบบประสาทส่วนกลาง ที่ช่วยแก้อาการง่วงนอนและทำให้
ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า กาเฟอีนยังช่วยกระตุ้นสมอง
เพิ่มสมาธิ เพิ่มอัตราการเผาผลาญในร่างกาย เพิ่มความดันโลหิต
ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานดีขึ้น และยังมีสารจำพวก
alcohol และ aldehyde
ที่มีกลิ่นหอมทำให้รู้สึกผ่อนคลาย มีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนได้
ว่าการดื่มชาเขียวจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมันได้ จึง
ส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักของร่างกาย และยังมีงานวิจัยที่แสดง
ให้เห็นว่า การดื่มชาเขียวสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดย
รวมได้ และยังช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) เพิ่มไขมันดี (HDL) ที่
เป็ นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นการดื่มชาเขียวจึงสามารถ
ช่วยลดความอ้วนได้ โดยมีรายงานการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า
25

อาสาสมัครชาวญี่ปุ่นที่ดื่มชาเขียว
วันละ 9 ถ้วย สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้เฉลี่ย 8 มิลลิกรัม
ต่อเดซิลิตร ส่วนผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเจนีวา ในสวิตเซอร์
แลนด์ ที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร The American Journal of
Clinical Nutrition ในเดือนพฤศจิกายน ปี 1999 นักวิจัยได้พบว่า
ผู้ที่ดื่มกาเฟอีนและชาเขียว
จะมีอัตราการเผาผลาญแคลอรีมากกว่าคนที่ได้รับกาเฟอีนเพียง
อย่างเดียว ในขณะที่อีกงานวิจัยหนึ่งได้พบว่า คนที่มีระดับ
คอเลสเตอรอลค่อนข้างสูง เมื่อเสริมด้วยชาสกัดจากชาเขียวและชา
ดำ
เป็ นเวลานาน 3 เดือน จะมีระดับคอเลสเตอรอลที่ลดลงถึง 16%
แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ผลการวิจัยโดยใช้แต่สารสกัดจากชาเขียว ไม่
พบว่าช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าการเติม
ชาดำเข้าไปจะทำให้ผลวิจัยประสบความสำเร็จ

ชาเขียวกับการลดน้ำหนัก การดื่มชาเขียววันละ 2 ถ้วย


สามารถช่วยลดการเกิดไขมันส่วนเกินและทำให้รู้สึกอิ่มได้ ซึ่งจาก
การทดลองในหนูทดลอง โดยให้หนูบริโภคอาหารตามปกติ
และเสริมด้วยสารสกัดจากเชียว พบว่าการสะสมของไขมันในหนู
ทดลองลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่เมื่อให้อาหารเสริมชา
เขียวต่อไปนาน ๆ ปริมาณของไขมันกลับไม่ลดลงต่ำจนผิดปกติ
ส่วนการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง โดยการให้รับประทานชาเขียวสกัด
วันละ 1,500 มิลลิกรัม
26

ติดต่อกันเป็ นเวลา 3 เดือน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักตัวลดลง


โดยรวมประมาณ 4.6%
หรือประมาณ 3.5 กิโลกรัม และรอบเอวลดลงโดยรวม 4.48%
หรือประมาณ 1.6 นิ้ว จากการศึกษานี้ยังได้สรุปถึงกลไกการทำงาน
ของชาเขียวสกัดในการลดน้ำหนักไว้ว่า เขียวสามารถช่วยยับยั้งเอน
ไซม์ไลเปสจากกระเพาะอาหารและตับอ่อน ทำให้การย่อยไขมันลด
ลง ส่งผลให้ไขมันดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง จึงช่วยลดการสะสม
ของไขมันใหม่ได้ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญใน
ร่างกาย โดยการยับยั้งเอนไซม์ที่จะไปทำลาย Norepinephrine
จึงทำให้ Norepinephrine
อยู่ในร่างกายและออกฤทธิ์ได้นานขึ้น ส่งผลทำให้การเผาผลาญไข
มันในร่างกายมีเพิ่มมากขึ้น
สาร EGCG สามารถช่วยกำจัดไขมันคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
จึงส่งผลช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจากการ
อุดตันของไขมันในหลอดเลือดได้ ช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาล
ในเลือด จึงช่วยในการป้ องกันและชะลอการเกิดโรคเบาหวานได้
เพราะสาร catechins ในชาเขียวมีประสิทธิภาพในการจำกัดการ
ทำงานของ amylase enzyme ทำให้ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาล
กลูโคสเข้าสู่ร่างกายได้ ส่งผลทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้น ซึ่ง
สอดคล้องกับการทดสอบในหนูทดลองที่พบว่า catechins
สามารถช่วยลดระดับกลูโคสและระดับอินซูลินในเลือดได้ และเมื่อ
ทำการวิจัยกับอาสาสมัครโดยให้ catechins ในขนาด 300
27

มิลลิกรัม แล้วตามด้วยการบริโภคแป้ งข้าว 50 กรัม พบว่าระดับ


ของกลูโคสและระดับของอินซูลินในเลือดไม่สูงขึ้นตามที่ควรจะเป็ น

การดื่มชาเขียวมีผลช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรค
มะเร็งต่าง ๆ ได้ โดยผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็ นประจำจะมีอัตราการเป็ น
มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อนต่ำกว่าผู้ที่
ไม่ได้ดื่ม โดยมีสาร EGCG เป็ นสารต้านพิษ และช่วยยับยั้งการ
เจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลาย
เนื้อเยื่อส่วนดี (แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่าชาเขียวสามารถ
รักษาโรคมะเร็งได้) ซึ่งในปี 1994 วารสารของสถาบันมะเร็งแห่ง
ชาติ ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการดื่มชาเขียวสามารถ
ช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งหลอดอาหารในหมู่ชาวจีนทั้งหญิง
และชายได้เกือบถึง 60% ส่วนนักวิจัย
จากมหาวิทยาลัยปูร์ดู ได้สรุปว่า สารประกอบในชาเขียวสามารถ
ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ส่วนนิตยสาร Herbs for
Health ได้อ้างตัวอย่างรายงานจากญี่ปุ่นว่าคนที่ดื่มชาเขียว 10
แก้วต่อวัน จะปลอดโรคมะเร็งนานกว่าคนที่ดื่มชาเขียวน้อยกว่า 3
แก้วต่อวัน ถึง 3 ปี (ในชาเขียว 3 แก้ว
มีโพลีฟี นอลประมาณ 240-320 มิลลิกรัม) ซึ่งสอดคล้องกับงาน
วิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น
ที่สถาบันวิจัยมะเร็ง Saitama ที่สรุปว่า การเกิดโรคมะเร็งเต้านม
หรือการขยายตัวของโรคนั้น
28

จะน้อยลง หากในประวัติผู้หญิงคนนั้นมีการดื่มชาเขียว 5 ถ้วย หรือ


มากกว่านั้นต่อวัน
และจากรายงานการแพทย์ของญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1982 และ 1987 ได้
พบว่าในแถบจังหวัดมิซูโอกะ ซึ่งเป็ นถิ่นที่มีการดื่มชาเขียวกันมาก
มีอัตราการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารอยู่ในระดับ
ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ส่วนรายงานจากทีมวิทยาศาสตร์จากศูนย์กลาง
การวิจัยโรคมะเร็ง ในบริติช โคลัมเบีย ได้สรุปว่าสารคาเทชินในชา
เขียวสามารถยับยั้งการสร้างไรโตรซามีนซึ่งเป็ นสารก่อมะเร็ง
ได้ นอกจากนี้ยังมีการทดลองในหนูทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิภาพ
ในการป้ องกันโรคมะเร็ง
ชนิดต่าง ๆ โดยให้หนูทดลองบริโภคสารละลายโพลีฟี นอลแต่ละ
ชนิด และฉีดสารก่อมะเร็งเอ็นเอ็นเคเข้าไป ผลปรากฏว่าสารโพลีฟี
นอล EGCG ที่พบมากในชาเขียวสามารถลดอัตราการก่อตัวเป็ น
มะเร็งได้ดีที่สุด โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า catechins มีบทบาท
ช่วยลดภาวะเป็ นพิษของสารก่อมะเร็งบางชนิด แทรกแซงกระบวน
เกาะยึดตัวของสารก่อมะเร็งต่อ DNA ของเซลล์ปกติ มีฤทธิ์เป็ นสาร
ต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง ช่วยเสริมการทำงานของสารต้านอนุมูล
อิสระและเอนไซม์อื่น ๆ
และช่วยจำกัดการลุกลามของเซลล์เนื้องอก

การวิจัยเมื่อปี 1997 ของมหาวิทยาลัยแคนซัส ได้สรุปว่า


EGCG นั้นมีฤทธิ์แรงเท่ากับ Resveratrol ถึงเกือบ 2 เท่า ซึ่ง
เป็ นการอธิบายว่า ทำไมชาวญี่ปุ่นจึงมีอัตราเสี่ยงของการเกิดโรค
29

หัวใจค่อนข้างต่ำ แม้ว่ามากกว่า 75% ของชาวญี่ปุ่นจะสูบบุหรี่


ก็ตาม แล้วทำไมชาวฝรั่งเศส
จึงมีอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าชาวอเมริกัน ทั้ง ๆ ที่
บริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเช่นกัน สาเหตุก็เป็ นเพราะชาวฝรั่งเศส
ชอบดื่มไวน์แดง ซึ่งมีสาร Resveratrol ที่เป็ นโพลีฟี นอล
ที่ช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่และรับประทานอาหารที่มีไขมัน
สูงนั่นเอง

ชาเขียวมีฤทธิ์ต่อต้านและยับยั้งการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
จากข้อมูลในปั จจุบันได้แนะนำว่าการบริโภคอาหารที่มีสารต้าน
อนุมูลอิสระสามารถช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ เพราะสารต้านอนุมูล
อิสระจะไปยับยั้งขบวนการออกซิเดชั่นของไขมัน อันจะนำไปสู่การ
ลดการเกิดของหลอดเลือดแข็งตัว (antherosclerosis) และลด
ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ในที่สุด สาร EGCG สามารถช่วย
ยับยั้งการก่อตัวแบบผิดปกติของก้อนเลือด ซึ่งเป็ นสาเหตุของ
อาการหัวใจวายและลมชักได้
และจากผลการวิจัยอื่น ๆ ยังพบอีกว่าชาเขียวนั้นมีสรรพคุณเทียบ
เท่ากับยาแอสไพรินในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ ซึ่ง
เป็ นสาเหตุหลักของโรคหัวใจวายและหลอดเลือดสมอง
สารไทอะนีน (Theanine) เป็ นกรดอะมิโนที่ทำให้ชาเขียวมีรส
กลมกล่อม สามารถช่วยควบคุมการทำงานของสมองและลดความ
ดันโลหิตได้ นอกจากชาเขียวจะมีสาร EGCG แล้ว
ชาเขียวยังมีสารอื่น ๆ ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น วิตามินและเกลือ
30

แร่ต่าง ๆ ซึ่งจำเป็ นต่อร่างกาย


สารคลอโรฟิ ลล์ (Chlorophyll) ที่มีประโยชน์ต่อขบวนการสร้าง
เซลล์เม็ดเลือดแดง และช่วยในการจับสารพิษตกค้างออกจาก
ร่างกาย มหาวิทยาลัย Cleveland’s Western Reserve ได้
สรุปว่า
การดื่มชาเขียว 4 แก้วหรือมากกว่านั้น จะช่วยป้ องกันโรคปวดข้อ
หรือลดอาการปวดในกรณีของคนที่ป่ วยอยู่แล้ว เมื่อไม่นานมานี้ได้
มีการศึกษาที่พบว่า สารประกอบหลัก (EGCG) ที่พบในชาเขียว
มีบทบาทสำคัญในการป้ องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ ซึ่งได้ตีพิมพ์ใน
วารสารวิทยาภูมิคุ้มกันทางการแพทย์และโรคภูมิแพ้ โดยผลการ
ทดลองได้แสดงให้เห็นว่า ชาเขียวเข้มข้นสามารถช่วยป้ องกันไม่ให้
เชื้อไวรัสเอชไอวีจับตัวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่มีความสำคัญต่อ
ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา (T cells) ซึ่งเป็ นด่านแรกที่ทำให้มี
โอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ ถ้ามีผลการศึกษาเพิ่มเติมยืนยันการวิจัยดัง
กล่าว ก็อาจจะนำสารในชาเขียวมาใช้ทดลองในการผลิตยาเพื่อ
ป้ องกันการลุกลามของเชื้อเอชไอวีต่อไป จากงานวิจัยของ
มหาวิทยาลัยในฮ่องกง ได้พบว่าสารคาเทชินสามารถส่งเสริมการ
เจริญเติบโตของกระดูกได้ถึง 79% โดยไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อ
กระดูก ดังนั้นการดื่มชาเขียวอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพของกระดูก
ช่วยป้ องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนหรือโรคทางกระดูกอื่น ๆ ได้
ชาเขียวยังช่วยป้ องกันฟั นผุได้ด้วย เพราะชาเขียวมีความสามารถใน
การทำลายแบคทีเรีย สามารถป้ องกันอาหารเป็ นพิษ และยังช่วยฆ่า
31

แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดคราบพลัคในช่องปากได้อีกด้วย
ซึ่งจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า สาร catechins
สามารถช่วยยับยั้งกระบวนการผลิตกลูแคนของเชื้อ
Streptococcus mutans ในช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(เชื้อชนิดนี้เป็ นสาเหตุของการเกิดฟั นผุ) จึงอาจกล่าวได้ว่าการดื่ม
ชาเขียวหลังมื้ออาหารจะสามารถป้ องกันโรคฟั นผุได้เป็ นอย่างดี

ชาเขียวสามารถช่วยลดกลิ่นปากและแบคทีเรียในช่องปากได้
โดยช่วยทำให้ลมหายใจหอมสดชื่นและป้ องกันการติดเชื้อ ซึ่งจาก
การศึกษาของมหาวิทยาลัยเพส สหรัฐอเมริกา พบว่าสารสกัดจาก
ชาเขียวมีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและ
ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็ นสาเหตุของโรคต่าง ๆ มีงานวิจัยที่ระบุว่า ถุง
ชา (tea bag) สามารถช่วยบำบัดโรค “sick-house syndrome”
หรือ มลภาวะภายในอาคารเป็ นพิษ (Indoor Air Pollution) ซึ่ง
เป็ นอาการป่ วยที่มีสาเหตุมาจาก
การแพ้อากาศภายในอาคารหรือที่อยู่อาศัย เช่น สารเคมีจากสีทา
บ้าน เฟอร์นิเจอร์
ที่มีสาร formaldehyde ซึ่งผสมอยู่ในสารเคมีเพื่อการตกแต่งบ้าน
ซึ่งจากการทดลองพบว่าใบชาเขียวหรือดำ ทั้งใหม่และแบบที่ชง
แล้ว สามารถช่วยดูดสารนี้ไว้แล้วไม่ปลดปล่อยสารกลับเข้าสู่
บรรยากาศหลังจากดูดไว้แล้ว วิธีการก็คือให้ทิ้งใบชาไว้ที่อับ เช่น
ในตู้เก็บถ้วยชาม ใบชา
จะลดปริมาณของสาร formaldehyde ที่มีอยู่ในอากาศได้ชาเขียว
32

ยังช่วยรักษาผิวที่ถูกแสงแดดทำลายได้ด้วย นี่จึงเป็ นเหตุว่าทำไม


ครีมหลายชนิดจึงมีชาเขียวเป็ นส่วนประกอบ ชาเขียวกับความงาม
สูตรน้ำแร่ชาเขียว ชั้นตอนแรกให้นำน้ำแร่มาต้มให้เดือด แล้วใส่ผง
ชาเขียวหรือใบชาเขียวลงไป
แล้วทิ้งไว้ให้เย็น (ถ้าใช้ใบชาควรกรองเอาแต่น้ำ) เสร็จแล้วเทน้ำใส่
ขวดสเปรย์ ใช้เป็ นสเปรย์น้ำแร่ชาเขียว โดยนำมาใช้ฉีดหน้าได้ทุก
เวลาที่ต้องการ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นและความเปล่งปลั่ง
ให้กับผิวหน้าของคุณได้เป็ นอย่างดี ส่วนอีกสูตรคือ สูตรถนอมผิว
รอบดวงตาด้วยชาเขียว ขั้นตอนแรกให้ต้มชาเขียวกับน้ำเดือด แล้ว
นำไปแช่ในตู้เย็นให้เย็นจัด แล้วใช้สำลีชุบชาเขียวให้เปี ยกชุ่ม
แล้วนำมาวางบริเวณเปลือกตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที วิธีนี้จะช่วย
ลดริ้วรอยจากความอ่อนล้าของผิวรอบดวงตา และยังช่วยลดอาการ
บวมของเปลือกตาและถุงใต้ตาได้ด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวนุ่มนวล
และดูสดชื่น ในปั จจุบันผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับชาเขียวก็มีวางจำหน่าย
ในหลากหลายรูปแบบ โดยผู้ผลิตได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีส่วน
ผสมของสารสกัดจากชาเขียวหลั่งไหลออกมาสู่ท้องตลาดเป็ น
จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็ นผลิตภัณฑ์ถนอมผิว เครื่องสำอางต่าง ๆ
สบู่ เกลืออาบน้ำ น้ำยาดับกลิ่นตัว
ครีมบำรุงผิว โลชั่น ยาสีฟั น น้ำยาบ้วนปาก ฯลฯ ชาเขียวยังนิยมนำ
มาใช้เพื่อปรุงแต่งกลิ่น สี
และรสชาติของอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย
ของผู้บริโภค โดยจัดเป็ นสาร
33

ให้กลิ่นรสจากธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ส่วน
ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของชาเขียวในรูปของอาหาร ได้แก่ เค้ก
ขนมปั ง ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต ลูกอม หมากฝรั่ง ฯลฯ
และยังถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมัน เพื่อป้ องกันไม่
ให้เหม็นหืนเร็ว จนมีการศึกษาวิจัยถึงความเป็ นไปได้ที่จะนำสาร
สกัดจากชาเขียวมาใช้เป็ นสารกันบูดสำหรับอาหารสด รวมไปถึง
การนำชาเขียวมาผสมกับเส้นใยผ้า สำหรับเสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า
ผ้าเช็ดตัว เป็ นต้น

และยังมีการนำไปใช้เป็ นส่วนผสมในแผ่นใยกรองอากาศ
สำหรับเครื่องปรับอากาศ
ซึ่งก็นับว่าเป็ นการเพิ่มช่องทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือ
เป็ นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
หรือผลิตภัณฑ์ได้

ผลเสียของใบชาเขียว

ชาเขียวเป็ นเครื่องดื่มที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากรับ


ประทานมากเกินไป
หรือใช้ไม่ถูกวิธี ก็สามารถให้โทษต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งผลเสียที่
อาจจะเกิดขึ้นจากการดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้มี 10 ข้อ ได้แก่
34

1. ในชาเขียวมีคาเฟอีน (Caffeine) เช่นเดียวกับในกาแฟและ


โกโก้ หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป เช่น มากกว่าวันละ 3-4 แก้ว
อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงจากคาเฟอีนได้
เช่น นอนไม่หลับ รู้สึกอึดอัดไม่สบายท้อง คลื่นไส้ รวมถึงอาจมี
อาการท้องเสียได้

2. คนที่เป็ นโรคหัวใจควรระมัดระวังในการดื่มชาเขียว เพราะ


คาเฟอีนสามารถ
ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้

3. คาเฟอีนอาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คน
ที่เป็ นเบาหวานจึงต้องระวัง
ในการดื่มชาชนิดนี้

4. อาจทำให้ผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลมีอาการแย่ลงได้

5. การดื่มชาเขียวปริมาณมากในขณะให้นมบุตรอาจทำให้
คาเฟอีนส่งผ่านไปยังเด็ก
ทางน้ำนม ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้ โดยมีคำแนะนำว่า
คุณแม่ที่ให้นมบุตรไม่ควรดื่ม
ชาเขียวเกินวันละ 2 แก้ว

6. การดื่มชาเขียวในระหว่างตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงใน
การแท้งลูก คนท้อง
35

จึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชนิดนี้ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทั้งหลาย
เช่น กาแฟ ชา และโกโก้

7. แม้จะมีความเชื่อว่า ชาเขียวสามารถรักษาและยับยั้งเซลล์
มะเร็งได้
แต่สารที่พบในชาเขียวก็ทำปฏิกิริยาต่อยารักษามะเร็งได้เช่นกัน
โดยเฉพาะยาบอร์ทีโซมิบ (Bortezomib)

8. วิตามินเคที่พบมากในชาเขียวอาจทำให้ฤทธิ์ละลายลิ่ม
เลือดของยาวาร์ฟารินลดลง
ซึ่งอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะใน
หลอดเลือดสมองและหัวใจ
ดังนั้นก่อนรับประทานชาเขียวและสมุนไพรอื่น ๆ ควรปรึกษา
แพทย์หรือเภสัชกรด้วย

9. สารแทนนิน (Tannin) ซึ่งเป็ นสารที่ทำให้เกิดรสขมในชา


เขียว สามารถยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารได้ จึงเพิ่มความ
เสี่ยงของภาวะขาดเหล็ก (Iron deficiency) ซึ่งจะทำให้เกิดโรค
โลหิตจางตามมา

10. มีความเชื่อว่า การดื่มชาเขียวในขณะท้องว่างจะสามารถ


ช่วยเติมเต็มสารอาหาร
ที่ควรจะได้จากอาหาร แต่จริง ๆ แล้วความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะ
จากการทดลองในหนูทดลอง
ที่ให้หนูดื่มชาเขียวในขณะท้องว่าง พบว่าทำให้เกิดพิษต่อตับ ไต
36

และระบบทางเดินอาหาร
แต่ก็ยังไม่มีการทดลองในมนุษย์โดยตรง

ข้อควรระวังในการดื่มชาเขียว

สำหรับผู้ที่ไม่ควรบริโภคชาเขียวหรือควรปรึกษาแพทย์ก่อน
การบริโภค ได้แก่ ผู้ที่มีปั ญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต
สูง เป็ นโรคไต เป็ นไฮเปอร์ไทรอยด์ ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ
ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติหรือมีการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ ผู้ป่ วยที่
กำลังรับประทานยาละลายลิ่มเลือด สตรีมีครรภ์ กระเพาะอาหาร
อักเสบ รวมไปถึงผู้ที่กังวลง่ายหรือมีอาการผิดปกติ
ทางระบบประสาท

จากงานวิจัยหลายชิ้นได้ระบุว่า อุณหภูมิและเวลามีผลต่อการ
ลดลงของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในชาเขียว ซึ่งบางบทความที่
เผยแพร่ในบ้านเรา ได้ระบุว่า “เป็ นเรื่องน่าห่วงสำหรับคนไทยนิยม
ที่ดื่มชาเขียวแช่เย็นที่มีขายตามท้องตลอด ซึ่งในประเทศที่ดื่มชา
เขียวเป็ นประจำอย่างญี่ปุ่น
เขาจะไม่ทำกัน เพราะชาเขียวจะมีประโยชน์ต่อร่างกายในขณะที่ยัง
ร้อนอยู่เท่านั้น
ในทางกลับกันก็เป็ นโทษต่อร่างกายหากดื่มชาเขียวแช่เย็น เพราะ
37

นอกจากจะไม่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระและขับสารพิษออกจาก
ร่างกายแล้วยังก่อให้เกิดการเกาะตัวแน่นของสารพิษดังกล่าวอัน
เป็ นสาเหตุของมะเร็ง นอกจากนี้ชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันใน
ร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และไปอุดตันตามผนัง
ลำไส้ ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น หลอดเลือดหัวใจ
อุดตัน
เส้นเลือดตีบ มะเร็งลำไส้ ฯลฯ เป็ นต้น” แม้ว่าจะไม่มีงานวิจัย
รองรับว่าการดื่มชาเขียวเย็นจะเป็ นโทษต่อร่างกายมากมายขนาด
นั้นก็ตาม แต่บางข้อมูลกลับระบุว่า การดื่มชาเขียวร้อนหรือเย็น
(แบบชงเอง) ไม่น่าจะมีความแตกต่างกันการบริโภคชาเขียวใน
ปริมาณสูงและติดต่อกันเป็ นระยะเวลานานอาจส่งผลเสียต่อตับได้
เพราะมีรายงานการวิจัยในหนูเม้าส์ พบว่าสาร epigallocatechin
gallate (EGCG) ส่งผลให้ตับถูกทำลายเล็กน้อยเมื่อบริโภคในขนาด
สูง (2,500 มก./กก.)
ติดต่อกัน 5 วัน และความเป็ นพิษต่อตับจะยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อบริโภคชา
เขียวในขณะเป็ นไข้

ผลเสียของการดื่มชาเขียว คือ จะมีอาการนอนไม่หลับ


(เนื่องมาจากกาเฟอีน)
แต่อย่างไรก็ตาม ชาเขียวก็ยังมีปริมาณกาเฟอีนที่น้อยกว่ากาแฟ
กล่าวคือชาเขียวประมาณ 6-8 ออนซ์จะมีกาเฟอีนประมาณ 30-60
มิลลิกรัม แต่ในขณะที่กาแฟ 8 ออนซ์จะมีปริมาณของกาเฟอีน
มากกว่า 100 มิลลิกรัม ในชาเขียวมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมี
38

ฤทธิ์ฝาดสมานและเป็ นสารที่ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย จึงมีความ


เป็ นไปได้ว่าการดื่มชาเขียวในปริมาณมากเกินไป จะสามารถทำให้
ท้องผูกได้ ใบชามีองค์ประกอบของฟลูออไรด์ในปริมาณที่ค่อนข้าง
สูง (สูงกว่าในน้ำประปา)
การที่ร่างกายได้รับสารนี้เข้าไปทุกวันจากการดื่มชา จะเกิดการ
สะสมและมีผลให้ไตวาย เกิดโรคมะเร็งลำไส้ เป็ นโรคข้อ โรค
กระดูกพรุน และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก สำหรับในผู้ที่ดื่ม
ไม่มาก
ก็คงไม่ต้องเป็ นกังวล

ใบชายังมีสารที่ไม่ดีต่อสุขภาพอีก คือ สารออกซาเรต


(Oxalate) ซึ่งเป็ นสารที่มีผลทำลายไต แม้ว่าในใบชาจะมีสารชนิดนี้
อยู่ไม่มากก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่ดื่มชาในปริมาณมากและดื่มเป็ น
ประจำ สารออกซาเลตก็จะสะสมในร่างกายได้ โทษของการดื่มชา
ต่อร่างกายก็มีรายงานไว้เช่นกัน
จึงมีคำแนะนำว่าไม่ให้เด็กดื่มชาเขียว เพราะจะทำให้ร่างกายขาด
สารอาหารได้ โดยเฉพาะสารสำคัญ คือ แทนนิน จะไปตกตะกอน
โปรตีนและแร่ธาตุต่าง ๆ จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป
จึงส่งผลทำให้การดูดซึมสารอาหารในร่างกายลดลงด้วย

สำหรับบางคนที่ดื่มชาเขียวก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่น
กัน แต่ก็พบได้ไม่บ่อยนัก
ซึ่งถ้าเกิดอาการแพ้ก็ควรหยุดบริโภคชาเขียวและไปพบแพทย์ทันที
39

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น หายใจ


ติดขัด ริมฝี ปาก ลิ้น และใบหน้าบวม หรือเป็ นลมพิษ รู้สึกแน่น
เหมือนมีอะไรติดคอ และอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น
ได้เช่นกัน เช่น ปวดศีรษะ
มีอาการเสียดคอและหน้าอก ท้องเสีย ท้องร่วง มีอาการท้องผูก
เบื่ออาหาร มีอาการหงุดหงิดง่าย เป็ นกังวล นอนไม่หลับ มีอาการ
ตกใจ หัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีผลข้างเคียงอื่น ๆ อีกนอกจาก
ที่กล่าวมา ก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

ส่วนข้อมูลจากนายกสมาคมแพทย์แผนจีน ได้ให้ข้อมูลเพิ่ม
เติมว่า ถึงแม้ว่าชาเขียวจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายก็ตาม แต่
ในความเป็ นจริงแล้วชาเขียวก็มีสารที่เป็ นโทษต่อร่างกายด้วยเช่น
กัน แต่ไม่ถึงกับเป็ นอันตรายมากนัก ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่มีสภาพ
ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง
เมื่อดื่มแล้วทำให้มีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ มีอาการระคายเคือง
กระเพาะอาหาร ท้องผูก ฟั นดำ และหากดื่มอย่างต่อเนื่องก็อาจ
เป็ นการเสพติดได้
40

บทสรุป

ใบชาเขียว มีถิ่นกำเนิดมาจากหลายประเทศแต่ละประเทศก็
เอาใบชาเขียวไปประโยชน์แตกต่างกันหรือคล้าย ๆ กัน การดื่มชา
ได้แพร่กระจายไปทุกระดับของสังคมในประเทศญี่ปุ่น
และต่อมาชาเขียวก็ยังคงหยั่งรากลึกในสังคมญี่ปุ่นสืบมา แม้กระทั้ง
ในปั จจุบันก็เป็ นอีกครั้งที่ชาเขียวได้ดึงดูดความสนใจอย่างมาก ใน
ฐานะของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ส่งเสริมร่างกายและมีประโยชน์
มากมายช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยวชาเขียวในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็ น
Shincha หรือ Ichibancha
คือ การเก็บเกี่ยวชาในครั้งแรก หรือ ชาใหม่ (Nibancha) การเก็บ
41

เกี่ยวชาในครั้งที่สอง Sanbancha การเก็บเกี่ยวชาในครั้งที่สาม ใน


บางพื้นที่ อาจมีการเก็บชาถึงสี่ครั้งเรียกว่า Yonbancha
ส่วนชาที่เหลือจากปี ก่อน ๆ เรียกว่า Kocha หมายถึง ชาเก่า เมื่อ
สมัยก่อนผู้คนใช้เป็ นยารักษาโรคและได้มีการปรับแต่ง ศึกษาเกี่ยว
กับใบชาเขียวมากขึ้น จึงทำให้สมัยปั จจุบันมีการทำประโยชน์จาก
ใบชาเขียวเยอะขึ้นกว่าเดิมมาก ทั้งนำมาทำเป็ นน้ำดื่ม และนำไป
ประกอบอาหารหลากหลายชนิด
ใบชาเขียวมีหลายประเภทแต่ละประเภทก็มีสรรพคุณไม่เหมือนกัน
และรสชาติไม่เหมือนกัน
แล้วแต่ความชอบและนำไปใช้อะไร ขั้นตอนการผลิตหลากหลายวิธี
จึงทำให้เอื้อยต่อผู้ที่สนใจในการทำไร่ใบชาเขียวและมีทางเลือกใน
การปลูกที่เยอะ สามารถดูพันธุ์ชาเขียวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับใบชาเขียวเป็ นการช่วยให้รู้ประโยชน์และ
ผลเสียของใบชาเขียว เพื่อไปปรับใช้ในชีวิตประจำของเราให้มี
ประโยชน์กับคนที่สนใจเกี่ยวกับใบชาเขียวได้
บรรณานุกรม

Marumura. (2563). ประเภทของใบชาเขียว. สืบค้นเมื่อ


23 กันยายน 2566. จาก
https://www.marumura.com/japanese-green-tea/

Medthai. (2562). สรรพคุณและประโยชน์ของชาเขียว 38


ข้อ (Green Tea). สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2566. จาก
https://medthai.com/ชาเขียว/

Barista Buddy. (2563). วิธีการผลิตชาเขียว. สืบค้นเมื่อ


24 กันยายน 2566. จาก
https://www.baristabuddy.co.th/content/23029/green-
tea

ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา. (2563). ชาเขียว (Green


tea) คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2566. จาก
https://sciplanet.org/content/9101

Sanook. (2555). ประวัติความเป็ นมาของชาเขียว. สืบค้น


เมื่อ 27 กันยายน 2566. จาก
https://www.sanook.com/campus/996003/

วิตามินไบเบิล. (ดร.เอิร์ล มินเดลล์). “สารสกัดจากชาเขียว


(Green tea extract)”. หน้า 252-253. สืบค้นจาก
https://www.zenbiotech.co.th/1606

You might also like