You are on page 1of 32

โครงงาน

เรื่อง สเปรย์สมุนไพรดับกลิ่น

จัดทำโดย
1. นาย ธนทัต หอมบุบผา เลขที่ 15
2. น.ส ปนัดดา ศรีพรหม เลขที่ 27
3. น.ส กัลยาณี อินต๊ะริน เลขที 30

4. น.ส ตรีรัตน์ อินทะวัง เลขที่ 37

เสนอ
ครูพิเชฐ โสภา
คุณครูที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้า

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา Independent Study (IS)


โรงเรียนทุ่งเสลียมชนูปถัมภ์ จังหวัดสุโขทัย
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
โครงงาน
เรื่อง สเปรย์สมุนไพรดับกลิ่น

จัดทำโดย
1. นาย ธนทัต หอมบุบผา เลขที่ 15
2. . น.ส ปนัดดา ศรีพรหม เลขที่ 27

3. น.ส กัลยาณี อินต๊ะริน เลขที 30


4. น.ส ตรีรัตน์ อินทะวัง เลขที่ 37

เสนอ

คุณครู พิเชฐ โสภา


คุณครูที่ปรึกษาการศึกษาค้นคว้า

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา Independent Study (IS)


โรงเรียนทุ่งเสลียมชนูปถัมภ์ จังหวัดสุโขทัย
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

ชื่อเรื่อง สเปรย์สมุนไพรดับกลิ่น
ผู้ศึกษาค้นคว้า 1. นางสาว จิราวรรณ บุญประกอบ เลขที่ 21
2. นางสาว นริศรา ผาเเก้ว เลขที่28
3. นางสาว ปลายมาศ บุญนัตศาสตร์ เลขที่29
4. นางสาว วนัสนันต์ สีไพ เลขที่31
5. นางสาว วิชญาดา ศรียาฮาต เลขที่32
ระดับการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
ครูที่ปรึกษา 1. นางวนิดา บุญพิเชฐวงศ์
2. นายธงชัย บุญพิเชฐวงศ์
รายวิชา สื่อสารและการนำเสนอ ( Independent Study : IS2 )
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
ปีการศึกษาที่ค้นคว้า 2564

บทคัดย่อ
รายงานการศึกษาค้นคว้า เรื่อง สเปรย์สมุนไพรดับกลิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทำตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหมายถึงแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการ พึ่งตนเอง ความพอมี พอใช้
การรู้จักพอประมาณการคำนึงถึงความมีเหตุผล ส่งเสริมความประหยัดในครัวเรือน และเป็นการใช้สมุนไพร
แทนการใช้น้ำหอม วิธีการศึกษาค้นคว้ามีดังนี้
1. กำหนดเรื่องที่จะศึกษา โดยสมาชิกทั้ง 5 คน ประชุมร่วมกัน และร่วมกันคิดและวางแผนว่า จะ
ศึกษาเรื่องใด
2. สำรวจปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีทั้งปัญหาด้านผู้เรียน ครูผู้สอน อาคาร สถานที่และ
สิ่งแวดล้อมรอบตัว

3. เลือกเรื่องที่จะศึกษา โดยเลือกเรื่องที่สมาชิกมีความสนใจมากที่สุด เพื่อเป็นแรงจูงใจในการ ค้นหา
คำตอบ
4. ศึกษาแนวคิดในการแก้แก้ปัญหา
5. ตั้งชื่อเรื่อง
6. สมาชิกทั้ง 5 คนของกลุ่ม พบครูผู้สอนเพื่อปรึกษาวางแผนและรับฟังความคิดเห็นปรับปรุง แก้ไข
7. เขียนความสำคัญ ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน ขอบเขตการวิจัยและ ประโยชน์
ที่คาดว่าจะได้รับ โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือหรือสืบค้นอินเตอร์เน็ต
8. รวบรวมข้อมูล
9. วิเคราะห์ข้อมูล
10. สรุปการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้ว ยขวดสเปรย์ สมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้ มะกรูด ใบเตย ขมิ้น อัญชัน และ
แอลกอฮอล์
ผลการศึกษาพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีอากาศที่ร้อนขึ้น ซึ่งทำให้เวลาที่คนเราต้องเดินทางออกไป
ด้านนอก ก็ทำให้ร่างกายของเราได้มีการเผาผลาญพลังงานออกมาในรูปของเหงื่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหงื่อก็
เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสื้อผ้าที่เราใส่อยู่นั้นเกิดกลิ่นอับและมีความชื้น ซึ่งความชื้นและกลิ่นเหม็นอับหากเราสูด
ดมเข้าไป ซึ่งสิ่งแรกก็จะทำให้เราเกิดความรำคาญ และหากติดต่อกันหลายชั่วโมง ก็อาจจะทำให้ปอดทำงาน
หนัก และส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดโรคภูมิแพ้หอบหืด ปอดติดเชื้อ และ โรคอื่น ๆ หลากหลายชนิด ดังนั้น
การทำสเปรย์สมุนไพรดับกลิ่นจึงมีส่วนช่วยได้บ้างในชีวิตประจำวัน

กิตติกรรมประกาศ

รายงานฉบับนี สําเร็จและสมบูรณ์เป นรูปเล่ม ด้วยความกรุณาและเอาใ


คุณครูพิเชฐ โสภา คุณครูประจำวิชา และคุณครูปารณี พิธาสวัดดิ์ คุณครูปรึกษา ที่ได้ กรุณาให้
คําปรึกษาและแนะแนวทางการดําเนินการทํารายงานในครั งนี โดยไม่มีข้อบก
ข้อคิดเห็นต่างๆ ตลอดทั งการตรวจแก้ไขรายงานฉบับนี ให้สําเร็จสมบูรณ์ยิ
ขอขอบพระคุณ เป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณคุณครูทุกท่านที ได้ประสิทธิ ประสาทวิชา ความรู้ และป
ความสําเร็จให้บังเกิด
สุดท้ายนี ขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ ที เป นกําลังใจ และให้ความช
ข้อมูล และให้คําแนะนําในการทํารายงานครั งนี ให้สําเร็จลุล่วงด้วยดีตลอดม

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6

สารบัญ

ชื่อเรื่อง หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ค
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ 1
วัตถุประสงค์ 1
ขอบเขตของการศึกษา 1
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3
ตะไคร้ 4
มะกรูด 6
ใบเตย 8
ขมิ้น 10
อัญชัน 11
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
วิธีการดำเนินการ 13
วัสดุอุปกรณ์ 14
บทที่ 4 ผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินการ 15
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
สรุปและอภิปรายผลการศึกษา 16
ข้อเสนอแนะ 16
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 16
บรรณานุกรม 17
ภาคผนวก
ข้อมูลผู้จัดทำ 22

สารบัญรูปภาพ

ภาพที่ หน้า
รูปภาพที่ 1 แสดงการล้างสมุนไพร 19
รูปภาพที่ 2 แสดงการหั่นสมุนไพร 19
รูปภาพที่ 3 แสดงการตำสมุนไพร 20
รูปภาพที่ 4 แสดงถึงการต้มสมุนไพร 20
รูปภาพที่ 5 แสดงถึงการกรองสมุนไพร 21
รูปภาพที่ 6 แสดงถึงผลงานที่ได้ 21
บทที่ 1
ความเป็นมาและความสำคัญ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญ
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ซึ่งหมายถึงแนวทางการพัฒ นาที่อยู่บนพื้นฐานของการ
พึ่งตนเอง ความพอมี พอใช้ การรู้จ ักพอประมาณการคำนึงถึงความมีเหตุผ ล ส่งเสริมความประหยัดใน
ครัวเรือน หากจะต้องซื้อสเปรย์ปรับอากาศอาจจะต้องทำให้เสียเงินซื้อในราคาที่แพงและบางยี่ห้ออาจจะมี
ส่วนผสมของสารเคมีทอี่ ันตรายบางชนิด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ
เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีอากาศที่ร้อนขึ้น ซึ่งทำให้เวลาที่คนเราต้องเดินทางออกไปด้านนอก
ก็ทำให้ร่างกายของเราได้มีการเผาผลาญพลังงานออกมาในรูปของเหงื่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหงื่อก็เป็นสาเหตุ
หนึ่งที่ทำให้เสื้อผ้าที่เราใส่อยู่นั้นเกิดกลิ่นอับและมีความชื้น ซึ่งความชื้นและกลิ่นเหม็นอับหากเราสูดดมเข้าไป
ซึ่งสิ่งแรกก็จะทำให้เราเกิดความรำคาญ และหากติดต่อกันหลายชั่วโมง ก็อาจจะทำให้ปอดทำงานหนัก และ
ส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดโรคภูมิแพ้หอบหืด ปอดติดเชื้อ และ โรคอื่น ๆ หลากหลายชนิด
ซึ่งในห้องน้ำ ชั้นวางรองเท้า ตู้เสื้อผ้าของพวกเรา ได้กับพบปัญหากลิ่นอับเนื่องมาจากห้องน้ำไม่ได้รับ
อากาศและแสงแดดจากธรรมชาติมากนัก ชั้นวางรองเท้าก็ส่งกลิ่นเหม็นอับเนื่องจากเหงื่อจากเท้า ตู้เสื้อผ้า ที่มี
ปัญหาเนื่องจากเสื้อผ้าของเรา จากปัญหาดังกล่าวส่งผลเสียต่อนักเรียนและครูด้วยเหตุนี้จึงสนใจในการทดลอง
สเปรย์ดับกลิ่นขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์
รายงาน เรื่องสเปรย์สมุนไพรดับกลิ่น มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1. เพื่อลดกลิ่นอับในห้องน้ำ ชั้นวางรองเท้า และตู้เสื้อผ้า
2. เพื่อศึกษาวิธีการทำสเปรย์ดับกลิ่น
1.3 ขอบเขตการศึกษา
ขอบเขตการศึกษาเนื้อหา
1.3.1 การใช้ข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิด
2
1.3.2 การใช้ข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการทำสเปรย์สมุนไพร
ขอบเขตการศึกษาด้านระยะเวลา
เริ่มดำเนินงานตั้งแต่เดือนสิงหาคม-มกราคม
1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.4.1 ห้องน้ำ ชั้นวางรองเท้า ตู้เสือผ้ามีกลิ่นที่ดีขึ้น กลิ่นอับลดน้อยลง
1.4.2 สามารถนำไปต่อยอดและประกอบเป็นอาชีพได้
1.4.3 เป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

โครงงาน เรื่อง สเปรย์สมุนไพรดับกลิ่น ผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


1. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ตะไคร้
3. มะกรูด
4. ใบเตย
5. ขมิ้น
6. อัญชัน
1. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
1. ความพอประมาณ ได้แก่การจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่พอดีไม่จัดหามาเกินความต้องการ
2. ความมีเหตุผล ได้แก่ การตัดสินใจเกี่ยวกับการทำงานต่างๆ
3. ภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเงื่อนไขของการ
ตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย การนำเอาความรู้ที่ได้เรียนมาและนำมาใช้ในการจัดทำโครงงาน
2. เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์
สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการทำโครงงาน
4
2. ตะไคร้
ตะไคร้ มีถิ่นกำเนิดใน ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย ตะไคร้ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ
Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ส่วนชื่อตะไคร้ภาษาอังกฤษจะ ใช้ค าว่า Lemongrass จัดเป็นพืชล้มลุก
ใบเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นพืชตระกูลหญ้า
ตะไคร้จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ซึ่ง
ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่
นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา
ตะไคร้ เป็น สมุน ไพรเพื่อสุขภาพ โดยประโยชน์ของตะไคร้และสรรพคุณของตะไคร้นั้นมีมากมาย
สรรพคุณ เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีทั้ งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ
ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก
ประโยชน์ของตะไคร้
ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร เพราะมีเกลือแร่จำเป็นหลายชนิด ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และ
วิตามิน นำตะไคร้มาสกัดกลั่น กลิ่นใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย รวมถึงตะไคร้ห อมมีคุณสมบัติกันยุงได้ ด้ว ย
สรรพคุณทางยาของตะไคร้ ช่วยแก้อาการต่างๆ
สรรพคุณของตะไคร้
รากตะไคร้
สรรพคุณของรากตะไคร้ ช่วยบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว แก้ปวดกระเพาะ รวมถึงรักษา
กลากเกลื้อนได้อีกด้วย
ลำต้นตะไคร้
สรรพคุณของลำต้น ตะไคร้น ำมาใช้แก้ปวด จากการปวดข้อและฟกช้ำ แก้โ รคทางเดินปัส สาวะ แก้
ประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงช่วยให้เจริญอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด แก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในลำไส้
วิธีใช้คือรับประทานสด หรือผึ่งแห้งแล้วนำมาใช้ต้มดื่ม
5
ใบตะไคร้
สรรพคุณของใบตะไคร้ช่วยลดความดันโลหิตสูง นำมาใช้สกัดทำน้ำมันหอมระเหย
แม้ว่าตะไคร้จะเป็นพืชที่ใช้ประกอบอาหาร แต่ก็มีสรรพคุณทางสมุนไพร หากคุณต้องการใช้ตะไคร้แห้งเพื่อมา
ต้มน้ำดื่มเป็นยา เว็บไซต์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้อธิบายวิธีและปริมาณ
การใช้ประโยชน์ตะไคร้ ใช้ตะไคร้แก้อาการท้องอืด จุกเสียด อาการปวดท้องที่มาจากการแน่นท้อง จุกเสียด
แน่นเฟ้อ ใช้ตะไคร้แก่ทุบแหลก 1 กำมือ (ขนาดประมาณ 40 - 60 กรัม) ต้มน้ำดื่ม หรือนำมาประกอบอาหาร
ใช้ตะไคร้ 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือ โดยต้มให้เหลือ 1 ใน 3 จากน้ำที่ต้ม หลังจากนั้นดื่ม 1 แก้ว ติดต่อกัน
3 วัน จึงจะคลายปวดท้อง
ใช้ตะไคร้แก้อาการขัดเบา ปัสสาวะไม่คล่อง (ไม่มีอาการบวม)
ใช้ต้นแก่ 1 กำมือ (ต้นสดใช้ 40-60 กรัม หรือต้นแห้งหนัก 20 - 30 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา
(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง ใช้เหง้าตะไคร้แก่ ฝานเป็นแว่นบางๆ คั่วจนเหลือง ชงแทนชา ดื่ม
ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง
โทษของตะไคร้
แม้ว่าตะไคร้เป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยามากมาย แต่ก็มีข้อควรระวัง ดังนี้
-หญิงตั้งครรภ์ : หญิงตั้งครรภ์อ่อนๆ หรือใกล้คลอด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานตะไคร้มากเกินไป
เพราะตะไคร้มีฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว
-ผู้ป่วยโรคไต : ควรระมัดระวังการดื่มน้ำตะไคร้ หรือใช้ตะไคร้ในทางสมุนไพร เนื่องจากตะไคร้มีฤทธิ์ขับ
ปัสสาวะ
-ผู้ป่วยภูมิแพ้ : หลีกเลี่ยงการสูดดม หรือการใช้น้ำมันตะไคร้หอมไล่ยุง เพราะอาจระคายเคืองต่อดวงตา
และผิวหนังที่อ่อนโยน
หากคุณพบว่าเมื่อรับประทาน หรือ สูดดมกลิ่นตะไคร้แล้วมีอาการแพ้ ควรหยุดการใช้ และปรึกษา
แพทย์ อย่างไรก็ดีตะไคร้เป็นพืชที่มีสรรพคุณและประโยชน์มากมาย เมื่อนำมาประกอบอาหารก็เป็นเหมือน
สมุนไพร ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกายให้เป็นปกติ และต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทาง
โภชนาการอย่างครบถ้วน จึงจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงปลอดโรค เพื่อใช้ชีวิตทำกิจกรรมที่คุณรักไปได้ยาวนาน
ประโยชน์ของตะไคร้
6
3. มะกรูด
ภาษาอังกฤษ Kaffir lime, Leech lime, Mauritius papeda มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus x hystrixL.
และยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีกเช่น มะขู (แม่ฮ่องสอน), มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ), ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) เป็น
ต้น ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล ส้ม (Citrus) โดยมีถิ่นก าเนิดในประเทศไทย ลาว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย หลายๆ
ทุกคนคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็น
ส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมา
เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่างๆแล้ว ก็
ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้
ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะท าให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูก
ไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ประโยชน์ของมะกรูด
1. มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรค
2. ประโยชน์ของมะกรูดช่วยทำให้เจริญอาหาร
3. น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง
ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้น มากกว่า 1%
เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
4. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน
นำมาบดเป็นผงนำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม
5. สรรพคุณมะกรูดใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง
เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง
6. ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบางๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูร เล็กน้อย
แล้วนำมารับประทานแก้อาการ
7. ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดน ามาผ่าซึกเติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้ว
บีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อยๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วย
8. สรรพคุณของใบมะกรูดสามารถใช้แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำในได้อีกด้วย
7
9. ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการน าผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วน าไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้งประมาณ
1เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยฟอกโลหิตได้เป็นอย่างดี
10. ใบมะกรูดสรรพคุณช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้เนื่องจาก
ใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน
11. สรรพคุณของมะกรูดช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ
1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง
12. น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปลงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบางๆ บริเวณ
เหงือก
13. ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในล าไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝาน
เป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือดแช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่
ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง
14. ช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน หรือการน าผลมะกรูดมาคว้านไส้
กลางออก นำมหาหิงส์ใส่และปิดจุก แล้วน าไปเผาไฟจนเกรียมและบดจนเป็นผง
15. ละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้
16. ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดน ามาดองท าเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ
17. ช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยรักษาฝีภายใน (ราก)
18. มะกรูด สรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
19. น้ำมันมะกรูดมีฤทธิ์อ่อนๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
20. ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ท าให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความ
8
4. ใบเตย
ใบเตย หรือ เตยหอม หรือ ใบเตยหอม ภาษาอังกฤษ Pandan Leaves, Fragrant Pandan,
Pandom wangiมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pandanus amaryllifolius Roxb. และยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆอีกเช่น ใบ
ส้มม่า(ระนอง), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน),ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) ใบเตย จัดเป็นไม้ยืน
ต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ ลักษณะของเป็นทางยาว สีเขียว
เป็นมัน ใบค่อนข้างแข็งมีขอบใบเรียบ ซึ่งเราสามารถนาใบเตยมาใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง ในใบเตยจะมีกลิ่น
หอมของน้ำมันหอมระเหย (Fragrant Screw Pine) โดยกลิ่นหอมของใบเตยนั้นมากจากสารเคมีที่ชื่อว่า 2-
acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นเดียวกันกับที่ได้ใน ข้าวหอมมะลิ ขนมปังขาว และดอกชมนาดนอกจากนี้
ใบเตยยังประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญอีกหลายชนิด โดยใบเตยหอม 100 กรัมนั้นจะมีเบต้าแคโรทีน
3 ไมโครกรัม, วิตามินซี 8 มิลลิกรัม , วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม , วิตามินบี3 1.2มิลลิกรัม , ธาตุแคลเซียม124
มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 27 k.(ก) มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรต4.6 กรัม ,
โปรตีน 1.9 กรัม และให้พลังงานถึง 35 กิโลแคลอรี !ใบเตยเป็นพืชที่คนไทยทุกคนต่างก็รู้จักกันดี
เนื่องจากมีการนำมาใช้กันอย่างหลากหลายตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาปรุงแต่ง
อาหารอย่างขนมไทยให้มีกลิ่นหอม อร่อย และยังให้สีสันน่ารับประทานอีกด้วย
ประโยชน์ของใบเตย
1. ใบเตยหอม สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น และช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจ (น้ำใบเตย)การดื่มน้ำ
ใบเตยจะช่วยดับกระหายคลายร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะใบเตยมีกลิ่นหอมเย็นทานแล้วจึงรู้สึกสดชื่น ผ่อคลาย
2. รสหวานเย็นของใบเตย ช่วยชูกำลังได้
3. การดื่มน้ำใบเตยช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของร่างกายได้
4. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
5. ผู้ที่มีธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุไฟนั้นการรับประทานอาหารที่ปรุงจากใบเตยจะช่วยทำให้รู้สึกเย็นสบายสด
ชื่นได้
9
6. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งตามตำรับยาไทยได้มีการนำใบเตยหอม
32 ใบ, ใบของต้นสัก 9 ใบ นำมาหั่นตากแดด แล้วนำมาชงเป็นชาดื่มอย่างน้อย 1 เดือ น หรือจะใช้ ราก
ประมาณ 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าเย็นก็ได้เหมือนกัน (ใบ,ราก)
7. ช่วยลดความดันโลหิต (สารสกัดน้ำจากใบเตย)
8. ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
9. ใบเตย สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการอาการและดับพิษไข้ได้
10. ใบเตยช่วยดับพิษร้อนภายในได้เป็นอย่างดี
11. ใช้รักษาโรคหืด (ใบ)
12. สรรพคุณใบเตยใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น,ราก)
13. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการใช้ต้น 1 ต้นหรือจะใช้รากครึ่งก ามือก็ได้ น ามาต้มกับน้ำดื่ม (ราก,ต้น)
14. สรรพคุณของใบเตยใช้รักษาโรคหัดได้
15. ใบเตยสดน ามาต าใช้พอกรักษาโรคผิวหนังได้
16. ประโยชน์ใบเตย มีการน าใบเตยมาใช้แต่งกลิ่นอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นของหวานต่างๆ
อย่าง ขนมลอดช่อง ขนมชั้น รวมไปถึงเค้กและสลัด เป็นต้น
17. การนำใบเตยมาทุบพอแตก น าไปใส่ก้นลังถึงสำหรับนึ่งขนม จะท าให้ขนมที่สุกแล้วมีกลิ่นหอมน่า
รับประทานมาก
18. ใช้ใบเตยลองก้นหวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว เมื่อข้าวสุกแล้วจะท าให้มีกลิ่นหอมมาก
19. สีเขียวของใบเตยเป็นสีของ คลอโรฟิลล์ สามารถนำมาใช้แต่งสีขนมได้
20. ใช้ใบเตยสดใส่ลงไปในน้ำมันที่ใช้แล้ว แล้วตั้งไฟให้ร้อนแล้วค่อยตักใบเตยขึ้น จะท าให้
21. น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดมีกลิ่นเหมือนน้ำมันใหม่ใบสามารถใช้ไล่แมลงสาบได้
10
5. ขมิ้น
ขมิ้น เป็นพืชล้มลุกที่จัดอยู่ในตระกูลขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าจะเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม
เฉพาะตัว มีตั้งแต่สีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดจัด โดยถิ่นก าเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีชื่ออื่น ๆ
อีก เช่น ขมิ้นชัน ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหั ว ขมิ้นหมิ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละภาคและจังหวัดนั้น ๆ นิยม
นำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสี แต่งกลิ่นอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น ขมิ้นชันอุดมไปด้วย
วิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3วิตามินซี วิตามินอี รวมถึง
ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใยคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็น
ต้น และขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการ
รักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บ เกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่ม
แตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย
9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไป
เสียก่อน
สรรพคุณของขมิ้น
1. ขมิ้นมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
4. ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
5. ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
6. ช่วยก าจัดสารพิษออกจากร่างกาย
7. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
8. มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
9. ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
10.ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
11
6. อัญชัน
อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นก าเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สี
ฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้
เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำเงางามหรือไปเลี้ยง
บริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้
ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลาย ๆ คนยังไม่ทราบ นั่นก็คือช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด
เส้นเลือดอุดตันได้ และการ "กินดอกอัญชันทุกวัน...วันละหนึ่งดอก" จะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้อีก
ด้วย
เนื่องจากดอกอัญชันนั้นมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชัน
เด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ
สรรพคุณของอัญชัน
1. น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
2. เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
3. มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
4. ดอกมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
5. ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
6. ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
7. ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
8. อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
9. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
11. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
12. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
12
13. อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
14. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
15. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
16. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
17. นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
18. นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
19. ใช้เป็นยาระบายแต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
20. ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
21. แก้อาการปัสสาวะพิการ
22. ใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
23. ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
24. นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน

ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง สเปรย์ดับกลิ่น ผู้จัดทำโครงงานมี


วิธีการดำเนินโครงงาน ตามขั้นตอนดังนี้
3.1 วัสดุ อุปกรณ์
3.1.1 เครื่องมือคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
3.1.2 เว็บไซส์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
3.2 ขั้นตอนการดำเนินโครงงาน
3.2.1 คิดหัวข้อโครงงายเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
3.2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่อง สเปรย์ดับกลิ่นว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด
และต้องศึกษาเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆและเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
3.2.3 ศึกษาการทำสเปรย์ดับกลิ่น จากเอกสารและเว็บต่างๆ ที่นำเสนอเทคนิคและวิธีทำสเปรย์ดับกลิ่น
3.2.4 จัดทำโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
3.2.5 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานอาชีพ เรื่อง สเปรย์ดับกลิ่น นำเสนอรายงานความก้าวหน้าของโครงงานเป็น
ระยะๆซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับ
คำแนะนำก็จะนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
3.2.6 จัดทำเอกสารโครงงานคอมพิวเตอร์
3.2.7 นำเสนองาน
14
3.3 อุปกรณ์และส่วนผสมการทำสเปรย์ดับกลิ่น
อุปกรณ์
1. ตะไคร้
2. เขียง
3. ผลมะกรูดใบมะกรูด
4. หม้อที่ใช้ในการต้ม
5. ใบเตย
6. ทัพพีที่ใช้ในการคน
7. แอลกอฮอล์
8. ที่กรอง
9. มีด
10. ผ้าขี้ริ้ว
11. ขวดสเปรย์
3.4 ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.4.1 นำตะไคร้ ใบมะกรูด ผลมะกรูดและใบเตยมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
3.4.2 นำแอลกอฮอล์ใส่หม้อตั้งไฟอ่อนๆตามด้วยสมุนไพรต้มจนกว่ากลิ่นสมุนไพรจะออกหรื อ
ประมาณ10-15นาที
3.4.3 ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองกากสมุนไพรออก จากนั้นบรรจุลงขวดสเปรย์
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน
จากการศึกษาโครงงานเรื่อง สเปรย์สมุนไพรดับกลิ่น เราสามารถผลิตสเปรย์สมุนไพรดับกลิ่นได้ตาม
เป้าหมายและจุดประสงค์ของโครงงานที่ตั้งไว้ คือ สามารถดับกลิ่นอับชื้นภายในตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้าและห้องน้ำ
ได้ ทำให้ในตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้าและห้องน้ำของพวกเรามีอากาศที่บริสุทธิ์
ตารางบันทึกผลและการดำเนินงาน

ลำดับที่ ขั้นตอนการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไข

1. ขั้นวางแผน ปัญหา/อุปสรรค
• การเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
1.ศึกษาและหาข้อมูล

2.นำเสนอหัวข้อโครงงาน แนวทางการแก้ไข
• ช่วยกันออกความคิดเห็นว่าปัญหาใน
3.ส่งแบบร่างโครงงาน
ชีวิตประจำวันที่พบเจอมีอะไรบ้าง

2. ขั้นเตรียม ปัญหา/อุปสรรค
• การเลือกขนาดของขวดบรรจุ
1.จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์
ผลิตภัณฑ์
2.ออกแบผลิตภัณฑ์
แนวทางการแก้ไข
• เลือกขนาดที่สามารถพกพาได้

3. ขั้นดำเนินการ ปัญหา/อุปสรรค
• สเปรย์สมุนไพรดับกลิ่น ไม่สามารถ
1.เริ่มปฏิบัติและลงมือทำ
คงกลิ่นไว้นานได้ตามเป้าหมาย
2.นำผลิตภัณฑ์วางขายตาม
ท้องตลาด แนวทางการแก้ไข
• เพิ่มปริมาณสมุนไพรให้มากขึ้น
3.จัดทำรูปเล่มโครงงาน

4. ขั้นประเมินผล ปัญหา/อุปสรรค
-
1.บันทึกผล สรุปผล

แนวทางการแก้ไข
2.นำเสนอโครงงาน
-
บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองพบว่าสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศจาก ใบเตย ตะไคร้หอม และใบมะกรูดมรความสามารถ
ในการดับกลิ่นได้ โดยประสิทธิภาพของการดับกลิ่นนั้นขึ้นกับจำนวนครั้งที่ฉีดพ่น และกลิ่นจะคงอยู่เพียง
ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
ข้อเสนอแนะ
1. การทดลองในครั้งนี้เป็นการทดลองเปรียบเทียบ อาจสามารถเพิ่มสมุนไพรที่สามารถช่วยได้กลิ่นอื่นๆ ได้
2. ผลจากการใช้งานจะมีระยะเวลาเพียงชั่วครู่ อาจเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดให้ดีขึ้นเพื่อให้ได้น้ำมันหอม
ระเหยที่บริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้กลิ่นคงอยู่นาน
ประโยชน์ที่ได้คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาค้นคว้า
1. ทำให้ทราบถึงคุณค่าของสมุนไพรไทย
2. สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการทำสเปรย์สมุนไพรดับกลิ่น
3. ห้องเรียนมีกลิ่นที่ดีขึ้น กลิ่นอับลดน้อยลง
4. สามารถนำไปต่อยอดและประกอบเป็นอาชีพ
17
บรรณานุกรม

ขมิ้นและประโยชน์. สืบคันเมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑


จาก https://medthai.com/ขมิ้นชัน/
ตะไคร้และประโยชน์. สืบคันเมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑
จาก htps://medthai.com/ตะไคร้/
ใบเตยและประโยชน์. สืบคั้นเมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑
จาก htps://medthai.com/ใบเตย/
มะกรูดและประโยชน์. สืบคันเมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๕'๖๑
จาก htps://medthai.com/มะกรูด/
อัญชันและประโยชน์. สืบค้นเมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑
จาก htps://medthai.com/อัญชัน/
หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. สืบคันเมื่อ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๑,
จาก http://www.tupr.ac.th/sufficencyo.html
ภาคผนวก
19
1. รูปภาพที่1 แสดงการล้างสมุนไพร

2. รูปภาพที่2 แสดงการหั่นสมุนไพร
20
3. รู ปภาพที่3 แสดงการตาสมุนไพร

4. ภาพที่4 แสดงถึงการต้มสมุนไพร
21
5. ภาพที่5แสดงถึงการกรองสมุนไพร

6. ภาพที่6แสดงถึงผลงานที่ได้
22
ข้อมูลผู้จัดทำ

ชื่อ นางสาว จิราวรรณ บุญประกอบ


อายุ 17
ที่อยู่ 138/7 ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160
เบอร์โทร 0654483326

ชื่อ นางสาวนริศรา ผาแก้ว


อายุ 17 ปี
ที่อยู่ 187 หมู่ 4 ต.เมืองเพีย อ.กุดจับ จ.อุดรธานี 41250
เบอร์โทร 0928233602

ชื่อ นางสาว ปลายมาศ บุญนันตศาสตร์


อายุ 17 ปี
ที่อยู่ บ้านเลขที่62 หมู่ 18 บ้านกงพาน อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
เบอร์โทร 0953404549
23

ชื่อ นางสาว วนัสนันต์ สีไพ


อายุ 17 ปี
ที่อยู่ 94/1 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย 43130
เบอร์โทร 0996256387

ชื่อ นางสาว วิชญาดา ศรียาฮาต


อายุ 17 ปี
ที่อยู่ 88/2 ต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร 0645683045

You might also like