You are on page 1of 4

เคมีกับการแก้ปัญหา

1. ชื่อเรื่อง
เรื่อง : Reed diffuser oil ไล่ยุง

2. ชื่อคณะผู้วิจัย
นางสาวพันธิตรา ขุนบุญ เลขที่ 13
นางสาวกุลธิดา พันแสน เลขที่ 17
นางสาวสุรีย์รัตน์ คำทิต๊ะ เลขที่ 26
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
โรงเรียนเมืองด้งวิทยา

3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เนื่องจากการที่คณะผู้วิจัยได้สังเกตการณ์อัตราการเกิดยุงกัด พบว่าเมื่อไม่ใช้ยากันยุง มักจะมียุงมากัด
ตามแขน ขา หรือบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุมร่างกายมากกว่าการใช้ยากันยุง และหากถูกยุงกัดมาก ๆ อาจเป็น
ไข้เลือดออกได้ ซึ่ง จะเป็นผลทำให้เกิด อาการ เช่น ปวดศีรษะ หน้าแดง ปวดเบ้าตา ปวดรอบกระบอกตา
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมีจ้ำเลือด มีผื่นแดงขึ้นที่บริเวณผิวหนังร่างกาย หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
คณะผู้วิจัยจึงมีความคิดที่จะนำสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการไล่ยุงที่มีอยู่หลากหลายชนิด
ซึ่งคณะผูว้ ิจัยได้ทำการเลือกสมุนไพรสำหรับทำ Reed diffuser oil ไล่ยุง 2 ชนิดด้วยกัน คือ ผิวมะกรูด ผิวส้ม
ซึ่งสามารถหาได้ง่ายและมีกลิ่นหอมทั้งยังเหมาะแก่การนำมาทดลองทำเป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุง เพื่อทดแทนการใช้
ยาจุดกันยุง ซึ่ง มีควันที่อ าจส่ง ผลต่อระบบทางเดิน หายใจ และการจุด หนึ่ง ครั้ง สามารถใช้ ป้องกัน ได้ แ ค่
ระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น

4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาวิธีการทำ Reed diffuser oil ไล่ยุง
2. เพื่อทดสอบฤทธิ์ของสมุนไพรที่มีผลต่อการไล่ยุง
2. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ Reed diffuser oil ไล่ยุงจากสมุนไพร

5. สมมติฐานของการวิจัย
Reed diffuser oil ไล่ยุงจากสมุนไพรมีประสิทธิภาพต่อการไล่ยุง

6. ขอบเขตของการวิจัย
คณะผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำ Reed diffuser oil จากสมุนไพร เพื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์
Reed diffuser oil ไล่ยุง
7. ข้อจำกัดของการวิจัย
การวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำ Reed diffuser oil จากสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการไล่ยุงเท่านั้น
และได้เลือกใช้สมุนไพรเพียง 2 ชนิด หาได้ง่ายและมีกลิ่นหอม ไม่ได้ใช้สมุนไพรทุกชนิดที่มีคุณสมบัติในการ
ไล่ยุงมาทำการวิจัย

8. นิยามศัพท์เฉพาะ
Reed diffuser oil ไล่ยุง หมายถึง น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ในการไล่ยุง และทำจากสมุนไพร โดยใช้
ในส่วนของก้านไม้ในการกระจายกลิ่น

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
9.1 เพื่อลดค่าใช้จ่ายใช้จ่ายในการซื้อยาจุดกันยุงทีส่ ามารถจุดใช้ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อขด
9.2 สามารถนำวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายมาใช้ให้เกิดประโยชน์
9.3 เพื่อลดต้นทุนในการซื้อ Reed diffuser oil ที่มีขายตามท้องตลาด
9.4 เพื่อนำมาทดแทนการใช้ยาจุดกันยุงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

10. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พรรณเกษม แผ่พร, สุนัยนา สท้านไตรภพ, พรอนงค์ ทัศนัย และสุนิสา อ่อนคง (2562) การศึกษาวิจัย
ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดและเปรียบเทียบประสิทธิผลของสารออกฤทธิ์ที่เป็นองค์ประกอบในยา
จุดกันยุงเพื่อการเลือกใช้อย่างเหมาะสมในการป้องกันยุงกัด ดำเนินการโดยการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา
จุดกันยุงที่ทดสอบประสิทธิผลทางชีววิเคราะห์ต่อยุง ลายบ้าน โดยใช้วิธี glass chamber method ภายใน
ระยะเวลา 6 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2555-2560) มีจำนวนผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงรวมทั้งสิ้น 150 ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์
มีการใช้สารเคมีในกลุ่มไพรีทรอยด์ โดยสารเคมีที่ใช้มากที่สุดคือ d-Allethrin ในขณะที่สารออกฤทธิ์ในยา
จุดกันยุงที่สามารถทำให้ยุงหงายท้องเร็วที่สุด คือ transfluthrin 0.05% w/w มี KT90 เท่ากับ 1 นาที
29 วินาที และทำให้ยุงทดสอบตายร้อยละ 100.0
นางสาวศศิธร ข้อสกุล และนางสาวสุดารัตน์ กาหลง (2565) การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษากระบวนการทำเทียนหอมสมุนไพรและเพื่อเปรียบเทียบสมุนไพรที่แตกต่างกันในการทำเทียนหอม
สมุนไพร ทำการทดลองที่บ้านเลขที่228 หมู่ 9 ตำบลโคกมะม่วง อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแบ่ง
การทดลองเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่1 หาค่าร้อยละค่า x̄และค่า SD ตอนที่2 ใช้ แผนการทดลองแบบ RCBD
โดยทดลองเปรียบเทียบ 4 สูตรการทดลองคือ T1 เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงตะไคร้ T2 เทียนหอมสมุนไพร
ส้ม T3 เทียนหอมสมุนไพรมะกรูด และT4 เทียนหอมสมุนไพรสะระแหน่ ผลการทดลองพบว่า ตอนที่ 1
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78.2 มีอายุ 19-24 ปี ร้อยละ 90.9 อาชีพ นิสิตนักศึกษา
ร้อยละ 72.7
ตอนที่ 2 คะแนนความชอบของผลิตภัณฑ์เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงด้านกลิ่นคือ T3
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงมะกรูด เฉลี่ย 4.36 ด้านสีสันคือ สีสันของเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงส้ม เฉลี่ย 4.65
ด้านภาชนะคือ T1 เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงตะไคร้ เฉลี่ย 4.67 ด้านผลในการไล่ยุงคือ T4 เทียนหอมสมุนไพร
ไล่ยุงสะระแหน่ เฉลี่ย 4.40 ด้าน ความพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์คือ T2 เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงส้ม
เฉลี่ย 4.44
เรวดี คำเลิศ, โสภาวดี มูลเมฆ, วาสินี ศรีปล้อง, กามัล กอและ, อภิวัฏ ธวัชสิน และอุษาวดี ถาวระ
(2560) โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสำคัญด้านสุขภาพในประเทศไทย มาตรการในการป้องกันและควบคุม
โรคไข้เลือดออกมีด้วยกันหลายวิธี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนถือเป็นปัจจัยความสำเร็จในการควบคุม
ในปัจจุบันผู้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ซึ่งในพื้นที่
ภาคใต้พบว่ามีการใช้ภูมิปัญญาในการทาป้องกันยุงมาช้านานหลากหลายรูปแบบ โดยหลายวิธีมีการใช้
แต่ยังไม่มีการทดสอบประสิทธิผลในการป้องกันยุงอย่างชัดเจน ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสนใจรวบรวมข้อมูลการใช้
ภูมิปัญญาทาป้องกันยุงในท้องถิ่น 14 จังหวัดภาคใต้ และทดสอบประสิทธิผลของภูมิปัญญาทาป้องกันยุง
จากการสำรวจในครั้งนี้พบ 11 ภูมิปัญญาทาป้องกันยุง ใน 7 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ พัทลุง พังงา ยะลา ปัตตานี
ตรังและนราธิวาส เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิผลทางห้องปฏิบัติการ ด้วยการทดสอบสารทากันยุง
ตาม WHO/HTM/NTD/WHOPES/2009.4 โดยใช้อาสาสมัครทั้ง หมด 4 คน ทาด้วยภูมิปัญ ญาป้องกันยุง
บริเวณท้องแขนซ้ายเป็นบริเวณ 30 ซม.2 และทายากันยุงมาตรฐานตามท้องตลาด (DEET 12%) ที่แขนขวา
เพื่อใช้เป็นยาทากันยุงควบคุม ส่วนบริเวณแขนที่ไม่ทายาปกปิดให้มิดชิด ยื่นแขนเข้าไปในกรงยุง ขนาด 30 ซม.
3 ที่มียุงลายบ้านเพศเมีย งดน้ำหวานมาแล้ว 24 ชั่วโมง อายุ 5-7 วัน จำนวน 200 ตัว สังเกตยุงที่เข้ากัด
เป็นเวลา 3 นาที ทุกครึ่งชั่วโมง จนมียุงตัวที่ 1-2 ลงเกาะแขนที่ทาภูมิปัญญาจึงหยุดการทดสอบ หรือหยุดการ
ทดสอบเมื่อครบ 8 ชั่วโมง แล้วคำนวณระยะเวลาเฉลี่ยในการป้องกันยุงพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นทาป้องกันยุง
ที่มีประสิทธิผลในการป้องกันยุงมากกว่าสองชั่วโมง มี 2 ภูมิปัญญา ได้แก่ ครีมไบโอเรทากันยุงกลิ่นส้ม (กระบี่)
และภูมิปัญญาครีมน้ำนมมะขามตะไคร้หอมทากันยุง (พัทลุง) เมื่อสิ้นสุด โครงการได้รายงานผลการทดสอบ
กลับคืนสู่ชุมชน เพื่อให้ชุมชนนำผลการทดสอบไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิด การพึ่งพาตนเอง และเสริมสร้าง
ความมั่นคงด้านสุขภาพในชุมชน โดยเกิดประโยชน์ทางสาธารณสุขต่อไป

11. วิธีดำเนินการวิจัย
11.1 ศึกษาค้นคว้า เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
11.2 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่ใช้ในการทดลอง
11.3 การจัดเตรียมผิวส้ม และผิวมะกรูด เพื่อง่ายต่อการทำ Reed diffuser oil ไล่ยุง
11.4 เริ่มขั้นตอนการทำ Reed diffuser oil ไล่ยุง
11.5 ทดสอบประสิทธิภาพของ Reed diffuser oil ไล่ยุง
11.6 วิเคราะห์ผลการทดลอง
11.7 สรุปผล วิจารณ์ผล และข้อเสนอแนะ
แผนปฏิบัติการวิจัย
เดือน พ.ย. พ.ศ. 2566 เดือน ธ.ค. พ.ศ.2566 เดือน ม.ค. พ.ศ.2567
เดือน/ปี สัปดาห์ที่ สัปดาห์ที่ สัปดาห์ที่
การดำเนินการ 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4

11.1 ศึกษาค้นคว้า เอกสาร


และงานวิจัย
11.2 เตรียมอุปกรณ์ สารเคมี
และ วัตถุดิบ
11.3 การจัดเตรียมผิวส้ม
และผิวมะกรูด เพื่อง่ายต่อ
การทำ Reed diffuser oil
ไล่ยุง
11.4 เริ่มขั้นตอนการทำ
Reed diffuser oil ไล่ยุง
11.5 ทดสอบประสิทธิภาพ
ของ Reed diffuser oil ไล่ยุง
11.6 วิเคราะห์ผลการทดลอง
11.7 สรุปผล วิจารณ์ผล
และข้อเสนอแนะ

12. สถานที่ดำเนินการวิจัย
บ้านนาต้นจั่น หมู่ 5 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

บรรณานุกรม
พรรณเกษม แผ่พร และคณะ. 2562. การเปรียบเทียบประสิทธิผลผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุง,.
สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2566, จาก https://qrcd.org/3sAJ
นางสาวศศิธร ข้อสกุล และนางสาวสุดารัตน์ กาหลง. 2565, การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์เทียนหอม,.
สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2566, จาก https://qrcd.org/3sAG
เรวดี คำเลิศ และคณะ. 2560. การศึกษาหาประสิทธิผลของภูมิปัญญาท้องถิ่นทาป้องกันยุง,.
สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2566, จาก https://qrcd.org/3sAI

You might also like