You are on page 1of 11

ยาหม่องกลิ่น

มะกรูด
I22201

เสนอ คุณครูปณิชา พัฒนานนท์


ที่มาและความสำคัญ
ยาหม่องเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่มีทั้งความหอมสดชื่น และ
สรรพคุณในการบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น ใช้ดมแก้อาการวิงเวียน
ใช้ทาบรรเทาอาการปวดบวมแมลงสัตว์กัดต่อย และอีกมากมาย
มะกรูดเป็นพืชสมุนไพรราคาถูกที่สามารถหาได้ทั่วไปในท้องถิ่น แต่
กลับมีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งกลิ่นที่ให้ความหอมใช้บรรเทา
ความเครียดทำให้รู้สึกสดชื่นสดใส ใช้ทาบรรเทาอาการปวดบวม
และสรรพคุณทางยาอื่น ๆ พวกเราจึงคิดจะทำยาหม่องกลิ่น
มะกรูดเพื่อผนวกสรรพคุณของมะกรูด และยาหม่องเข้าด้วยกัน
เพื่อให้เป็นตัวยาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ใช้ได้ทั้งดมและทา โครง
งานเรื่องยาหม่องกลิ่นมะกรูดนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาว่า การนำยา
หม่องและน้ำมันมะกรูดมารวมกันจะทำให้มีสรรพคุณมากกว่ายา
หม่องธรรมดาหรือไม่ และนำมาผลิตจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.เพื่อศึกษาและดำเนินการสร้างยาหม่องกลิ่นมะกรูด.
2.เพื่อนำมาหารายได้เสริม

สมมติฐาน
1.สามารถทำยาหม่องกลิ่นมะกรูดจำหน่ายเป็น
รายได้เสริมได้
2. ยาหม่องกลิ่นมะกรูดสามารถใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการแมลงสัตว์กัด
ต่อย และสามารถใช้สูดดมเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียน หรือแก้อาการ
เครียดให้ความสดชื่นได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถหารายได้เสริม
2. ใช้สมุนไพรในท้องถิ่นที่
มีมาก มาทำยาหม่อง
ประหยัดงบประมาณได้
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
คณะผู้จัดทำได้ทำการทบทวน สืบหา วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ที่เกี่ยวข้อง

กับการศึกษาเรื่องยาหม่องกลิ่นมะกรูด สำหรับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมี
รายละเอียด ดังนี้
1. (นางสาวษิวภรณ์ พฤกษวิบูลย์,2561) นํ้ามันหอมระเหยจาก
มะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล
ทําให้จิตใจสงบนิ่งด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือนํ้ามันมะกรูดจะ
ช่วยได้ระดับหนึ่ง
2. (Bogucka-Kocka et al.,2561) ผิวมะกรูดซึ่งประกอบด้วย
น้ำมันหอมระเหยให้กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยผ่อนคลาย
ความเครียดคลายความกังวลทําให้จิตใจสงบนิ่ง
วัสดุและอุปกรณ์
1. เมนทอล 45 กรัม 7. น้ำมันกานพลู 3.75 กรัม
2. การบูร 45 กรัม 8. น้ำมันอบเชย 3.75 กรัม
3. พิมเสน 45 กรัม 9. หัวน้ำหอมกลิ่นมะกรูด 90 กรัม
4. เปปเปอร์มิ้นท์ 45 กรัม 10. หม้อ 1 ใบ
5. ยูคาลิปตัส 45 กรัม 11. ทัพพี 1 คัน
6. น้ำมันระกำ 15 กรัม 12. เตาแก๊ส 1 ตัว
13. บรรจุภัณฑ์ 9 ขวด (ขนาด
30 กรัม)
วิธีการดำเนินงาน
1. คณะผู้จัดทำ 3 คน ประชุมเสนอแนว ความคิดเรื่องที่จะทำโครงงาน
2. เขียนเค้าโครงงาน เรื่อง ยาหม่องกลิ่นมะกรูดและนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
3. แบ่งหน้าที่สมาชิกค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4. นำวาสลีน 2 ช้อนโต๊ะ พาราฟิน 1-1/2 ช้อนโต๊ะ ใส่ภาชนะตั้งไฟอ่อนๆ จนละลาย
5. นำส่วนผสมทั้ง 9 รายการตามจำนวน ผสมและคนให้เข้ากับส่วนผสมตามข้อ 4 ในขณะที่ยังร้อน
คนให้ละลายจนเป็นเนื้อเดียวกัน
6. นำส่วนผสมที่ได้ใส่ขวดขณะที่ยังร้อน ทิ้งไว้ให้แข็งตัว (ในขณะที่ยาหม่องยังไม่แข็งตัวห้ามเคลื่อน
ย้าย เพราะจะทำให้ปากขวดเลอะ)
7. เก็บข้อมูลจากการทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 3 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
8. จัดทำรายงานและสไลด์โครงงานเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
สรุปผล
ยาหม่องกลิ่นมะกรูด เกิดจากการนำยาหม่อง และน้ำมันหอม
ระเหยกลิ่นมะกรูดมาประดิษฐ์ โดยใช้ทฤษฎีความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับ
สรรพคุณของยาหม่องและมะกรูด เพื่อให้เป็นยาหม่องที่มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น จึงผนวกสรรพคุณของยาหม่องที่สามารถใช้ทา
เพื่อบรรเทาอาการปวดบวม และน้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูดที่
สามารถใช้สูดดมเพื่อบรรเทาความเครียดและเพื่อความสดชื่นได้
อภิปรายผล
ยาหม่องกลิ่นมะกรูดผสานสรรพคุณของยาหม่องที่ใช้ทา และน้ำมัน
หอมระเหยกลิ่นมะกรูดที่ใช้สูดดม ทำให้เป็นยาหม่องที่มีประสิทธิภาพ
สูงขึ้น ใช้ได้ทั้งทาและดม

ข้อเสนอแนะ
ควรใส่น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูดมากกว่านี้เพื่อให้กลิ่นชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาคผนวก
ภาพวัสดุอุปกรณ์ ภาพขณะศึกษา

ภาพผลิตภัณฑ์

You might also like