You are on page 1of 14

รายงาน

เรื่อง น้ำยาล้างจานจากสมุนไพร

เสนอ
คุณครูอภิชาติ มีพรหม

จัดทำโดย
1. นายณรงค์กร เผ่าพงษ์ เลขที่ 5
2.นายณรงค์ชัย สุพร เลขที่ 6
3. นางสาวรุ้งนภา เหง้าโอสา เลขที่ 30
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/5
รายงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชา การสื่อสารและการนำ
เสนอ (IS)
ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

กิตติกรรมประกาศ
รายงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจากคุณครูอภิชาติ มี
พรหม อาจารย์ที่ปรึกษา
โครงงานที่ได้ให้คำเสนอแนะ แนวคิด ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่อง
ต่างๆ มาโดยตลอด จนโครงงาน
เล่มนี้เสร็จสมบูรณ์
ผู้ศึกษาจึงขอกราบขอบพระคุณเป็ นอย่างสูง ขอกราบ
ขอบพระคุณ คุณพ่อคุณแม่และผู้
ปกครองที่ให้คำปรึกษาใน เรื่องต่างๆ รวมทั้งเป็ นกำลังใจที่ดีเสมอ
มา ขอบคุณเพื่อนๆ ที่ให้คำ
แนะนำดีๆ และที่ได้ให้ความร่วมมือในการทำ แบบสอบถามเรื่อง
น้ำยาล้างจานจากสมุนไพร
จนทำให้ โครงงานสำเร็จลุล่วงไปได้
คณะผู้
จัดทำ
บทคัดย่อ
จากการที่ได้เข้ารับการปฏิบัติงานโครงการสหกิจศึกษา ณ
โรงแรมคราวน์ พลาซ่า กรุงเทพฯ ลุมพินี พาร์ค คณะผู้จัดทำมีความสนใจ
ที่จะนำวัตถุดิบเหลือใช้ มารีไซเคิลเป็ น “น้ำยาล้างจานขจัดคราบสูตร
มะนาว” โดยวัตถุดิบเหลือใช้นั้นนำมาจากการกำจัดวัตถุดิบของโรงแรม
โดยใช้ระบบ HACCP คือ การวิเคราะห์จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมของ
วัตถุดิบให้ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่โรงแรมกำหนดไว้ แต่ว่าวัตถุดิบจาก
ที่ผู้จัดทำได้เลือกใช้นั้นยังไม่หมดอายุแต่เพียงว่าจำเป็ นต้องกำจัดทิ้งจึงนำ
มาใช้ทำน้ำยาล้างจานขจัดคราบสูตรมะนาว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ทำความสะอาดอุปกรณ์ในครัวได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากอุปกรณ์
ที่ได้ใช้ในครัวจะมีปั ญหาเรื่องของคราบไขมัน ซึ่งทำให้การชำระล้างความ
มันออกยาก ดังนั้นผู้จัดทำมีความเห็นในการนำวัตถุดิบที่เหลือมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของน้ำยาล้างจาน จากการที่คณะผู้จัด
ทำทดลองทำ “น้ำยาล้างจานขจัดคราบสูตรมะนาว” เรียบร้อยแล้ว และ
ได้นำมาให้พนักงานแผนกครัวทดลองใช้ หลังจากนั้นได้ทำการสำรวจ
ความพึงพอใจโดยการแจกแบบสอบถามให้กับพนักงานแผนกครัวของ
โรงแรม จำนวน 30 คน สรุปได้ว่า ความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ “น้ำยาล้าง
จานขจัดคราบสูตรมะนาว” พบว่าคุณลักษณะในด้านสามารถทำความ
สะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในครัว และด้านความชอบโดยรวมมีความพึง
พอใจเฉลี่ยในระดับมากที่สุด สรุปได้ว่า “น้ำยาล้างจานขจัดคราบสูตร
มะนาว” สร้างประโยชน์และยังสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้กับสถาน
ประกอบการได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คำสำคัญ: น้ำยาล้างจานขจัด
คราบ
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
น้ำยาล้างจานในสมัยก่อนมีการทำแบบเป็ นสบู่หรือครีมซึ่งเมื่อ
ล้างจะส่งผลตัวผู้ที่มีอาการแพ้และคายเครื่องจึงมีการพัฒนาส่งผลทำให้มี
การละคายเคืองน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในน้ำยาล้างจานมีสารที่ทำให้ไขมันและสิ่งสกปรกหลุดออกจาก
ภาชนะและรวมตัวอยู่ในน้ำหรือฟองทำให้ล้างสะอาดขึ้น
จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างๆ กัน เช่น เกลียว กระบอก
หรือท่อน กลมซึ่งอาจเกาะเรียงตัวกันเป็ นสายหรือกลุ่ม แบคทีเรียมีการ
เจริญเพิ่มจำนวนโดยการแบ่งเซลล์ โดยเฉลี่ยที่สภาว้เหมาะสม จะเพิ่ม
จำนวนเป็ น 2 เท่าทุก 20-30 นาที ดังนั้นหากในอาหารมีแบคทีเรียปน
เปื้ อนเพียง 1 เซลล์ ภายใน 10 ชั่วโมง จะมีจำนวนแบคทีเรียมากกว่า 1
ล้านเซลล์ อาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้ อนอยู่ในระดับนี้ จะเกิดการเน่าเสีย
เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น
Pseudomonas Acinetobacter, Moraxella, Flavobacterium
เป็ นต้น แบคทีเรียที่ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียอาจแบ่งเป็ นกลุ่มๆได้ โดย
อาจพิจารณาจากความสามารถในการย่อยสลายประเภทอาหาร และ
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นยีสต์
จุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรีย เซลล์มีรูปร่างหลายลักณะ
เช่น กลม รี เป็ นต้น ส่วนใหญ่เพิ่มจำนวนโดยการแตกหน่อ ยีสต์เจริญได้ดี
ในอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ แยม ผลไม้แช่อิ่มหรือแห้ง รวมทั้ง
อาหารที่มีปริมาณเกลือมาก เช่น ผักดอง แฮม เบคอน และเนื้อเค็ม ส
ปอร์ของยีสต์ไม่ทนความร้อนเหมือนกับสปอร์ของแบคทีเรีย นอกจากนี้
ยีสต์ยังมีเอนไซม์ที่ย่อยสลายกรดอินทรีย์ต่างๆที่ใช้ในการถนอมอาหาร
เช่น กรดแล็กติก กรดแอซีติกได้ ทำให้กรดมีความเข้มข้นลดลง ทำให้
อาหารมีสภาวะเหมาะสมต่อการเจริญของแบคทีเรียได้ อาหารที่เกิดการ
เน่าเสียจากยีสต์มักเกิดกลิ่นหมัก เมือก หรือฝ้ าบริเวณผิวหน้า รวมทั้งเกิด
ความขุ่นและแก๊สได้ ตัวอย่างยีสต์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น
Saccharomyces, Pichia, Torulopsis เป็ นต้น
จุลินทรีย์ที่พบอยู่ทั่วไป มีรูปร่างลักษณะ และสีต่างๆกัน ราเป็ น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผัก ผลไม้ และอาหารแห้ง ผลิตภัณฑ์ขนมอบ เกิด
การเน่าเสีย มีสี กลิ่น ที่ผิดปกติ และราบางชนิดเช่น Aspergillus flavus
ยังสามารถสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินขึ้นในอาหารได้ โดยทั่วไปราเจริญ
ได้ช้ากว่าแบคทีเรียและยีสต์ แต่เมื่อราเจริญได้สักระยะหนึ่ง ก็จะเจริญได้
อย่างรวดเร็ว ราสามารถทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น มีความชื้น
น้อย ความเป็ นกรด จึงเป็ นปั ญหาในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารมาก
ตัวอย่างราที่ทำให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร เช่น Aspergillus,
Penicillium, Rhizopus เป็ นต้น
จุลินทรีย์เป็ นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติในสภาพ
แวดล้อมที่มีความเหมาะสมสำหรับการเจริญของจุลินทรีย์แต่ละชนิด
แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของจุลินทรีย์สามารถจัดแบ่งเป็ น แหล่งที่
อยู่ตามธรรมชาติทางกายภาพและทางชีวภาพ ซึ่งการทราบถึงแหล่งที่อยู่
อาศัยของจุลินทรีย์จะช่วยทำให้ทราบถึงการแพร่กระจายหรือการปน
เปื้ อนข้ามของจุลินทรีย์สู่วัตถุดิบทางการเกษตรหรืออาหาร
1.2 จุดประสงค์
1.เพื่อศึกษาสรรพคุณของสมุนไพรที่สามารภใช้ทำน้ำยาล้างจานได้
2.เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยาล้างจานในแตละสูตร
3.เพื้อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้น้ำยาล้างจานจากสมุนไพร

1.3 สมมติฐาน
1.น้ำยาล้างจานจากมะกรูดมีประสิทธิภาพในการขจัดคาบความมัน
และขจัดกลิ่นได้ดีที่สุด
2.สามารถน้ำสมุนไพรมาใช้ในด้านอื่นได้ด้วย
3.สามารถทำความสะอาดภาชนะได้เป็ นอย่างดีเหมือนกับที่มีขายใน
ห้างสรรพสินค้าหรือตาม ท้องตลาด

1.4 ขอบเขตการศึกษา
1.เรื่องที่จะศึกษาคือสมุนไพรที่นำมาทำน้ำยาล้างจานได้แก่ มะกรูด
และมะนาว
2.กลุ่มเป้ าหมายเป็ นผู้ใช้น้ำยาล้างจานอายุ10-18 ปี จำนวน 15 คน

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทำให้ได้รับความรู้คุณประโยชน์ของสมุนไพรที่นำมาใช้ในการทำ
น้ำยาล้างจาน
2.ลดรายจ่ายภายในครัวเรื่อน
3.สามารถต่อยอดความคิดในเชิงพาณิชย์ได้โดยนำผลิตภัณฑ์น้ำยา
ล้างจานจากสมุนไพรไปจำหน่ายเพื่อหารายได้เสริม
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษากรดจากน้ำมะนาวมาทำน้ำยาล้างจานมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาคุณภาพว่าสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้น้ำยาล้างจานได้ดี
ขึ้นหรือไม่ ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังมีหัวข้อต่อไปนี้
1. ความสำคัญของน้ำยาล้างจาน
2. สารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำยาล้างจาน
3. ประโยชน์, โทษของน้ำยาล้างจาน และการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาหาร
ผิดปกติที่เกิดจากน้ำยาล้างจาน
4.สรรพคุณ
5.สมุนไพรที่ใช้
6.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.ความสำคัญของน้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้าง
จาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ
ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือ
หลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่ง
สกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็ นอีมัลชัน (emulsion)
อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบ
ด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับ
โมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัย
ก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจานเนื่องจากเคยผลิต
ในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปั จจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่
ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็ นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมาก
ขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม

2.สารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำยาล้างจาน
น้ำยาล้างจาน Linear Alkylbenzene Sulfonates, Sodium
Salt (LAS) จัดเป็ นสารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant)
LAS เป็ นสารผสมของสารที่มีจำนวนคาร์บอนอยู่ระหว่าง 10-14 อะตอม
บนสายอัลคิล (alkyl chain) ซึ่งต่อกับวงแหวนเบนซินที่ตำแหน่งพารา 1
LAS ในรูปของเกลือโซเดียมจัดเป็ นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ทำความ
สะอาดเสื้อผ้า และ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ในความเข้มข้นระหว่าง 5-25
%2 เนื่องจาก LAS สามารถทำให้สิ่งสกปรก หรือคราบไขมันหลุดจากผิว
ของผ้าหรือจานชามได้

3. ประโยชน์, โทษของน้ำยาล้างจาน และการดูแลรักษาเมื่อเกิดอาหาร


ผิดปกติที่เกิดจากน้ำยาล้างจาน
ประโยชน์
ใช้ทำความสะอาดภาชนะหรือเครื่องใช้ในครัว อาการเมื่อเป็ นพิษ
ความเป็ นพิษของสารนี้ต่อมนุษย์จัดว่าเป็ นพิษน้อย โดยทั่วไปอาจก่อให้
เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง หรือตาได้เล็กน้อย ในการทดลองการ
ก่อการระคายเคืองของสารนี้ต่อผิวหนังและตาในกระต่าย พบว่าสารนี้
สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ตาได้ในความเข้มข้น 5% ส่วนที่
ผิวหนังต้องใช้ในความเข้มข้นที่สูงประมาณ 47-50% ส่วนความเป็ นพิษ
เมื่อรับประทานนั้น ต้องได้รับสารนี้ในความเข้มข้นมากกว่า 65%3 และ
จากการทดลองในหนูพบว่าปริมาณสารมากที่สุดที่ยังปลอดภัยเมื่อรับ
ประทาน คือ 85 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน 4 อาการเป็ นพิษที่พบได้ใน
หนูจะพบความผิดปกติ ดังนี้ เดินโซเซ ขนตั้งชัน การหายใจลดลง ง่วงซึม
หนังตาตก ท้องเสีย เป็ นต้น

การปฐมพยาบาล
- กรณีรับประทาน ห้ามทำให้อาเจียน ให้รีบดื่มน้ำหรือนมมาก ๆ เพื่อ
ลดการดูดซึม แล้วรีบนำผู้ป่ วยส่งแพทย์ทันที
-กรณีเข้าตา ให้รีบล้างตาด้วยน้ำมาก ๆ จนอาการระคายเคืองตาหายไป
หากไม่ดีขึ้นควรนำผู้ป่ วยพบแพทย์
ข้อควรระวัง (คำเตือน)
-ห้ามรับประทาน
-ระวังอย่าให้เข้าตา ควรเก็บในที่มิดชิดให้ห่างจากเด็กและอาหาร

4.สรรพคุณ
4.1) น้ำมะนาว - แก้โรคลักปิ ดลักเปิ ด (เลือดออกตามไรฟั น) ทำ
อาหาร ขับเสมหะ ฟอกโลหิต ทำให้ผิวนุ่มนวล แก้ซาง บำรุงเสียง
บำรุงโลหิต ขับระดู แก้เล็บขบ แก้ขาลาย จิบแก้ไอ ดับกลิ่นเหล้า
ฆ่าพยาธิในท้อง รักษาผม ขับลม รักษาลมพิษ แก้ริดสีดวง แก้ระดู
ขาว แก้พิษยางน่อง แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
4.2). ราก - กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม แก้ไข้ แก้
ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ถอนพิษไข้ กลับไข้ซ้ำ
4.3) ใบ - ฟอกโลหิต แก้ตับทรุด
4.4) ดอก - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้ อและปวดท้อง แก้อาการ
คลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ ) แก้ไอ ขับเสมหะ
4.5) ผล - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้ อและปวดท้อง ทาแก้ผิวแห้ง
ตกสะเก็ด แก้สิวฝ้ า แก้ส้นเท้าแตก แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ
4.6) เมล็ด - แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้ไข้ขับเสมหะ แก้พิษฝี
ภายใน
5.สมุนไพรที่ใช้
5.1) มะกรูด – ใบมะกรูดและน้ำมะกรูดสามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้
5.2) มะนาว - เปลือกมะนาวสามารถนำมาเช็ดภาชนะให้เงางามขึ้นได้ เช่น
เครื่องเงิน ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น
5.3) ว่านหางจระเข้ - โดยว่านหางจระเข้มีสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิด ที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญ
เติบโตของแบคทีเรียลดการติดเชื้อ และมีกรดอ่อนๆ ช่วยลดความมันบนใบหน้าได้หากใช้ต่อเนื่องจะเริ่มเห็นผลว่ารอย
ต่างๆดูจางล

6.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ณฐพงศ์ สิริจรรยาธรรม และ ภูธเรศ ตันธเนศ. (2561). น้ำยา
ล้างจานขจัดคราบสูตรมะนาว. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปะ
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

บทที่3
วิธีการดำเนินการ

ในการศึกษาการทำน้ำยาล้างจานจากวัสดุธรรมชาติและจาก
สมุนไพรในผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานผู้จัดทำได้มีวิธีการจัดทำดังนี้
3.1 วัสดุและสาเคมี
3.2 เครื่องมือและอุปกรณ์
3.3 วิธีทำดำเนินการ

3.1 วัสดุอุปกรณ์และสาเคมี
3.1.1 วัสดุอุปกรณ์
1. มะกรูด 15 ลูก
2. มะนาว 15 ลูก
3.. ว่านหางจระเข้
4.. น้ำเปล่า 9 ลิตร
5. เกลือ 450 กรัม
6.. กะละมัง 2 ใบ
7. หม้อ
8.. ไม้พาย
9. กรวยกรอก
3.1.2 สารเคมี
1.N70(สารที่ทำ หน้าที่ทำ ให้เกิดฟองแ ละความห นื ด) 1
กิโลกรัม
2.F24 (สารขจัดคราบ) 1 กิโลกรัม

วิธีการดำเนินงาน
ตอนที่ 1 การลงมือทำและทดสอบประสิทธิภาพของน้ำยาล้างจานจาก
สมุนไพร
1.เริ่มทำสูตรที่1 สูตรธรรมดา โดยการนำมะกรูคและมะนาวอย่าง
ละ ลูกมาผ่าครึ่งเป็ น 2
ซีก แล้วนำไปต้มในน้ำเดือดปริมาณ 1 ลิตร เป็ นเวลา 10 นาที
2.เมื่อต้มเสร็จแล้วให้ตักเนื้อมะกรูคและมะนาวออกจากหม้อ แล้ว
พักน้ำที่ต้มไว้ในหม้อจน
3. เท N70 ปริมาณ 1 กิโลกรัมใส่ะละมัง แล้วคนไปทางเดียวกัน
เป็ นเวลา 10 นาที
4. เท F24 ปริมาณ 1 กิโลกรัมลงไปผสมกับ N70 แล้วคนต่ออีก 10
นาที
5. นำเกลือ 150 กรั ม ไปต้มในน้ำเปล่าปริมาณ 1 ลิตร จนกว่า
เกลือจะละลายหมด
6. นำน้ำที่พักไว้ในข้อ 2 และน้ำเกลือมาเทลงไปผสมกับ N70 และ
F24 ในกะละมัง แล้ว
คนให้เป็ นเนื้อเดียวกัน
7. พอส่วนผสมหนืด ให้เติมน้ำเปล่าเพิ่ม 1 ลิตร แล้วคนต่ออีก 10
นาที
8. ทิ้งไว้ประมาณ เ คืน เพื่อให้ฟองยุบตัวลง แล้วบรรจุลงในขวด
บรรจุภัณฑ์
9. ทำอีก 2 สูตร โดยใช้วิธีเดียวกันตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 - 8 สูตรที่2
เพิ่มว่านหางจระเข้ ร ใบ
และสูตรที่3 เพิ่มสับปะรดครึ่งลูก
10. นำน้ำยาล้างจานทั้ง 3 สูตรไปทดสอบประสิทธิภาพในการขจัด
คราบไขมันและการขจัด
กลิ่น โดยการนำไปใช้ทำความสะอาดภาชนะใส่อาหาร

ตอนที่ 2 การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อน้ำยาล้างจานจาก
สมุนไพร
1. สมาชิกในกลุ่มร่วมกันลงความเห็นถึงการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะ
ศึกษา กำหนดกลุ่ม
ตัวอย่าง คือ ผู้ใช้น้ำยาล้างจานจากสมุนไพร อายุ 10 - 26 ปี ขึ้นไป
จำนวน 15 คน
2. จัดทำแบบประเมินเกี่ยวกับน้ำยาล้างจานจากสมุนไพรให้เหมาะ
สมกับสถานภาพของผู้
ตอบแบบประเมิน
3. นำแบบประเมินให้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน ทำแบบประเมิน
ความพึงพอใจ
4. รวบรวมแบบประเมิน เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปผล และ
รายงานผลการประเมิน
ความพึงพอใจของผู้ใช้น้ำยาล้างจานจากสมุนไพร

You might also like