You are on page 1of 27

เครื่องแขวนจากเศษหลอดดูดน้ำ

จัดทำโดย
เด็กหญิงขวัญชนก เชยโพธิ์ เลขที่ 6
เด็กชายพานทอง เปลือยหนองแข้ เลขที่ 23
เด็กชายพิสิษฐ์ สินเจริญเลิศ เลขที่ 27
เด็กหญิงรัชญาภรณ์ พรหมจำปา เลขที่ 31
เด็กหญิงองค์อินทร์ มานะวงค์ เลขที่ 42
เด็กชายอติเทพ ไชยสาส์น เลขที่ 43
เด็กชายอานันต์ เพ็งโสดา เลขที่ 45
เสนอ
คุณครูกฤษณะชาล จุฑานันท์

การศึกษาค้นคว้านี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา IS 1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


กระทรวงศึกษาธิการ
UPWCSS : Udon Pittayanukoon School World – Class Standard school
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
เลขที่ 77 ถนนศรีสุข ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
www.Udonpit.ac.th
การศึกษาค้นคว้าเรื่อง เครื่องแขวนจากเศษหลอดดูดน้ำ
ชื่อผู้จัดทำ 1. เด็กหญิงขวัญชนก เชยโพธิ์ ม. 2/9 เลขที่ 6
2. เด็กชายพานทอง เปลือยหนองแข้ ม. 2/9 เลขที่ 23
3. เด็กชายพิสิษฐ์ สินเจริญเลิศ ม. 2/9 เลขที่ 27
4. เด็กหญิงรัชญาภรณ์ พรหมจำปา ม. 2/9 เลขที่ 31
5. เด็กหญิงองค์อินทร์ มานะวงค์ ม. 2/9 เลขที่ 42
6. เด็กชายอติเทพ ไชยสาส์น ม. 2/9 เลขที่ 43
7. เด็กชายอานันต์ เพ็งโสดา ม. 2/9 เลขที่ 45

ชื่อผู้ให้คำปรึกษา 1. คุณครูกฤษณะชาล จุฑานันท์


2. นางวราภรณ์ จงหมั่น

บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าเรื่อง เครื่องแขวนจากเศษหลอดดูดน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเป็น
การนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของตกแต่งบ้านได้ (2) เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษ
วัสดุเหลือใช้ (3) เป็ น แนวทางให้ ผู้ อื่ น สามารถศึ ก ษาและนำไปพั ฒ นาให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น ต่ อ ไป

โดยมีวิธีการดำเนินการดังนี้
1. เลือกหัวข้อหรือปัญหาที่จะศึกษา
2. การวางแผนในการทำโครงงาน
3. การลงมือทำโครงงาน
4. การเขียนรายงาน
5. การแสดงผล

ผลการศึกษาพบว่า
จากการทำโครงงานเครื่องแขวนจากเศษหลอดดูดน้ำ เป็นการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้
นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดชิ้นงานขึ้นมาใหม่ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุเหลือใช้ และยังเป็นการลด
ขยะมูลฝอยได้อีกด้วย เราสามารถใช้งานสิ่งประดิษฐ์ได้จริง สะดวก และมีความปลอดภัย สามารถ
นำไปเป็นของตกแต่งตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ ตลอดจนสามารถนำเป็นแนวทางให้ผู้อื่นนำไปศึกษาต่อ
และยังสามารถนำเอาชิ้นงานไปต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดชิ้นงานขึ้นมาใหม่ในรูปแบบที่
หลากหลาย

กิตติกรรมประกาศ

รานงานการศึกษาค้นคว้าฉบับนี้ สำเร็จอย่างสมบูรณ์ ได้ด้วยความช่วยเหลืออย่ างดียิ่งจาก


คุณครูกฤษณะชาล จุฑานันท์ และนางวราภรณ์ จงหมั่น ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษา เรื่องข้อมูลต่าง ๆ
ขอกราบขอบพระคุณ เป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ คุณครูกฤษณะชาล จุฑานันท์ ครูผู้สอนรายวิชา IS 1
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ที่ได้ให้คำแนะนำ อบรมสั่งสอนในการจัดทำโครงงาน การใช้อุปกรณ์และ
เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในการดำเนินงานจัดทำสิ่ง ประดิษฐ์ในครั้งนี้ไ ด้สำเร็จตามจุดประสงค์ ที่
กำหนดไว้
ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการ ธวัช ทุมมนตรี โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล อำเภอ เมือง
จังหวัด อุดรธานี ที่ได้ให้การสนับสนุนด้าน สถานที่และเป็นกำลังใจในทุก ๆ ด้าน ในการดำเนินการจน
สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากการศึกษาค้นคว้านี้ ผู้จัดทำขอน้อมบูชาพระคุณบิดา
มารดา และบูรพาจารย์ทุกท่านที่ได้อบรมสั่ง สอนวิชาความรู้ และให้ความเมตตาแก่ผู้จัดทำมาโดย
ตลอด และเป็นกำลังใจสำคัญที่ทำให้รายงานโครงงานฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา IS 1 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องราว
ของการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่าง ๆ อาทิเช่น ตำรา หนังสือ
หนังสือพิมพ์ วารสาร ห้องสมุด และแหล่งความรู้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยรายงานเล่มนี้ต้องมีเนื้อหา
เกี่ยวกับ การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ ขั้นตอนในการประดิษฐ์ และการนำไปใช้ทำประโยชน์
ผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำเอกสารฉบับนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่
สนใจศึกษาวรรณกรรมไทยเป็นอย่างดี

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

เรื่อง หน้า

บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
คำนำ ค
สารบัญตาราง จ
สารบัญภาพ ฉ
บทที่ 1 บทนำ 1
ที่มาและความสำคัญ 1
วัตถุประสงค์ของโครงงาน 2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 4
บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ 10
บทที่ 4 ผลการดำเนินการ 15
บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผล 16
สรุปผลการดำเนินการ 16
อภิปรายผลการดำเนินการ 16
ข้อเสนอแนะ 16
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า 16
บรรณานุกรม 17
ภาคผนวก 18

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

1 แสดงแผนปฏิบัติงาน 2
2 แสดงสรุปแบบประเมินความพึงพอใจ 22

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า

1 แสดงภาพวัสดุ 4
2 แสดงภาพเศษวัสดุ 4
3 แสดงภาพวัสดุธรรมชาติ 5
4 แสดงภาพวัสดุสังเคราะห์ 5
5 แสดงภาพวัสดุธรรมชาติจากสัตว์ 6
6 แสดงภาพวัสดุธรรมชาติจากพืช 6
7 แสดงภาพวัสดุธรรมชาติจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 7
8 แสดงภาพชนิดของวัสดุในท้องถิ่น 7
9 แสดงภาพเครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ 8
10 แสดงภาพวัสดุ – อุปกรณ์ 11
บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

ปัจจุบันนี้ปริมาณของเศษวัสดุเหลือใช้มีมากมายหลากหลายชนิด โดยเฉพาะปัญหา
ที่เกิดจากขยะที่นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดปัญ หาขยะตกค้างจากการกำจัดขยะบาง
ประเภทสามารถย่อยสลายได้ บางประเภทสามารถรีไซเคิลได้ และบางประเภทสามารถนำมาใช้ซ้ำ
ให้เกิดประโยชน์ได้อีก ผู้รายงานได้ตระหนักถึงทางเลือกในการนำวัสดุที่เหลือใช้มาทำประโยชน์ใน
รูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยลดปัญหาการตกค้างของขยะ ลดการใช้พลังงานในการรีไซเคิล เห็นคุณค่า
ของวัสดุใช้แล้ว และเป็นการกระตุ้นเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดจิตสำนึก มีส่วนร่วมในการจัดการและ
แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เหมาะสมกับยุคเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
และเกิดคุณค่าสูงสุ ด จึงนำเศษวัสดุ เหลือใช้มาประดิษฐ์ และจัดทำเป็น โครงงาน ให้นักเรียนใช้
ประกอบการเรียน ฝึกกระบวนการคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญหากนักเรียนมีประสบการณ์มีความ
ชำนาญเพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อาจจะก่อให้เกิดเป็นงานอาชีพเพื่อหา
รายได้เสริมให้กับตนเองและครอบครัว
ในยุคนี้อะไรประหยัดได้ก็ต้องประหยัด แม้แต่กระถางต้นไม้ที่จะใช้ปลูกต้นไม้ สามารถทำ
กระถางใช้เอง ด้วยวัสดุเหลือใช้ภายในบ้านแบบง่าย ๆ ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินได้มากเลยทีเดียว
กระถางที่นำมาใช้ปลูกพืชพรรณต่าง ๆ ไม่เพียงส่งผลต่อทัศนียภาพภายในสวนของเราเท่านั้น แต่
ยังหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เราจะต้องเสียและวิธีการดูแลที่เปลี่ยนไปด้วย เราก็อาจจะทำกระถางที่
ประดับด้วยดอกไม้พลาสติกได้ด้วยก็ได้ เพื่อที่ง่ายต่อการดูแลรักษา และกระถางเราก็ทำมาจากเศษ
วัสดุเหลือใช้ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุเหลือใช้ เช่น แจกันติดผนังจากขวดแก้วเหลือ ใช้
กล่องกระดาษทิชชูเก่า แก้วใบเก่าหรือพลาสติกแข็ง หลอดดูดน้ำ เป็นอุปกรณ์ในการดูดของเหลว
มักใช้กับ เครื ่องดื่ ม โดยทั่วไปหลอดดูด จะเป็น ท่อ ผอมและยาว ทำจากพลาสติก (มักจะเป็ น
polystyrene) มีทั้งหลอดดูดตรง และหลอดดูดที่สามารถงอตรงปลายได้ เพื่อให้ดูดเครื่องดื่มได้
ง่ายขึ้น เราสามารถนำเอาหลอดดูดน้ำมาประดิษฐ์เป็นกระถางใส่ดอกไม้เพื่อประดับตกแต่ง สถานที่
ให้สวยงาม โดยการนำเอาหลอดดูดน้ำมาทำเป็นเกรียวระย้า ทำให้มีความพลิ้วไหวและมีสีสันที่
สวยงามและหลอดเราก็สามารถหาได้ง่ายและเมื่อเราใช้ดูดน้ำแล้วส่วนมากก็ทิ้งให้เป็นเศษวัสดุ จึง
ได้นำมาประดิษฐ์เกลียวระย้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุเหลือใช้
2

ซึ่งสอดคล้องกับโครงงานโครงงาน เรื่อง โต๊ะมหัศจรรย์ จัดทำโดยนายฐิตสิทธิ์ ลิขิตขจร,


นางสาวเเพรวา กอบเกื้อกูล, นายจิรัฎฐ์ ประเสริฐมรรก, นางสาวพิมพ์ภัทรา สันตะพันธุ์, นางสาว
ดวงจรินทร์ ศิริจงกลทอง, นางสาวกัญ ญาพัชร ทองทา มัธยมศึกษาปีท ี่ 5/1 โรงเรียนสาธิ ต
นานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล ผลปรากฏว่า กระดาษหนังสือพิมพ์สามารถนําไปสร้างโต๊ะได้ และ
โต๊ะดังกล่าวสามารถวางสิ่งของได้อย่างแข็งแรง (2559 : หน้า 12) และยังสอดคล้องกับโครงงาน
วิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ จัดทำโดยนายเกรียงศักดิ์ อินดี นางสาวลดาวัลย์ สีขันธ์
นางสาวสุภาวดี ศรีวิชัย โรงเรียนลองวิทยา อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ผลปรากฏว่า สิ่ง ประดิษ ฐ์
เครื่องตัดขวดพลาสติกเป็นเส้น plastic bottle to string เราสามารถใช้งานสิ่งประดิษฐ์ไ ด้ จริง
สามารถตัดขวดพลาสติกให้เป็นเส้น ตามต้องการได้ สามารถตัดขวดได้หลายขนาดตามต้อ งการ
ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย การ ประหยัดเวลา และประสิทธิภาพการใช้งาน (2557 :
บทคัดย่อ)

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อเป็นการนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของตกแต่งบ้านได้
2. เพื่ อ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุเหลือใช้
3. เป็นแนวทางให้ผู้อื่นสามารถศึกษาและนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2564 จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

วิธีการดำเนินงาน
1. เลือกหัวข้อหรือปัญหาที่จะศึกษา
2. การวางแผนในการทำโครงงาน
3. การลงมือทำโครงงาน
4. การเขียนรายงาน
5. การแสดงผล
3

แผนปฏิบัติงาน
วัน/เดือน/ปี งานที่ปฏิบัติ สถานที่ ผู้รับผิดชอบ ปัญหา-อุปสรรค
17/มิ.ย./64 เลือกหัวข้อหรือ โรงเรียนอุดร คณะผู้จัดทำ -
ปัญหาที่จะศึกษา พิทยานุกูล
23/มิ.ย./64 การวางแผนในการ โรงเรียนอุดร คณะผู้จัดทำ -
ทำโครงงาน พิทยานุกูล
25/มิ.ย./64 การลงมือทำ โรงเรียนอุดร คณะผู้จัดทำ -
โครงงาน พิทยานุกูล
9/ก.ค./64 การเขียนรายงาน โรงเรียนอุดร คณะผู้จัดทำ -
พิทยานุกูล
5/ต.ค./64 การแสดงผล โรงเรียนอุดร คณะผู้จัดทำ -
พิทยานุกูล
ตารางที่ 1 แสดงแผนปฏิบัติงาน

งบประมาณ 50 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นําสิ่งที่ไม่ใช้แล้วมาแปรรูปเป็นสิ่งของที่สามารถใช้ประโยชน์ได้
2. ลดปริมาณขยะ
3. ได้รู้จักการทํางานร่วมกันกับผู้อื่น
4. เป็นเเบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นได้นําไปปฏิบัติตาม
5. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้จัดทาได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และได้นาเสนอดังนี้


1. ความหมายของวัสดุและเศษวัสดุ
2. การประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุและเศษวัสดุ
3. โครงงานที่เกี่ยวข้อง

1. ความหมายของวัสดุและเศษวัสดุ
วัสดุ หมายถึง วัตถุที่นามาใช้ในงานต่างๆ ซึ่งมีระยะการใช้งานไม่มากนัก เช่น กระดาษ
ดินสอ

ภาพที่ 1 แสดงภาพวัสดุ

เศษวัสดุ หมายถึง เศษวัตถุที่เหลือจากการใช้ เช่น กระป๋องน้าอัดลม แกนกระดาษชาระ


หลอดกาแฟ

ภาพที่ 2 แสดงภาพเศษวัสดุ
5

ประเภทของเศษวัสดุในโรงเรียน
เศษวัสดุธรรมชาติ เช่นเปลือกไข่
เศษวัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติก แก้ว
วัสดุในท้องถิ่น หมายถึง วัตถุตามธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น เช่น ผักตบชวา ใบตาล กระบอก
ไม้ไผ่
วัสดุและสมบัติของวัสดุ
ในชีวิตประจาวันเราต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานในการดารงชีวิต ได้แก่ อาหาร ที่อยู่
อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ทามาจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่มนุษย์
สร้างขึ้น ในอดีตวัสดุที่นามาใช้ส่วนใหญ่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น นาหินมากะเทาะทาเป็นขวานหิน
นาดินมาปั้นเป็น หม้อ,โอ่ง,ไห นาหนังสัตว์มาใช้ทาเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ซึ่งต่างจากในปัจจุบันที่
เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ของใช้ต่าง ๆ จึงผลิตมาจากวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้นวัสดุจึงมี
ความจาเป็นและความสาคัญมากขึ้นตามไปด้วย
ประเภทของวัสดุ
วัสดุในชีวิตประจาวันที่นามาใช้ในงานต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. วัสดุธรรมชาติ เป็นวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ดิน หิน แร่ธาตุ ต้นไม้ ขนสัตว์
เส้นใยพืช เป็นต้น การนาวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์โดยตรงจะไม่ค่อยสะดวกในการใช้งาน

ภาพที่ 3 แสดงภาพวัสดุธรรมชาติ

2. วัสดุสังเคราะห์ เป็นวัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์หรือทาขึ้นมา เช่น พลาสติก


เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ แก้ว อิฐ โฟม เป็นต้น

ภาพที่ 4 แสดงภาพวัสดุสังเคราะห์
6

สรุปตามแนวคิด ทางคณะผู้จัดทาเห็นว่า วัสดุ หมายถึงสิ่งของที่ใช้แล้วหมดไปหรือเหลือ


น้อยลง เศษวัสดุหมายถึง เศษของที่เหลือจากการใช้งานแล้ว สามารถนาเอากลับมาใช้ใหม่หรือทา
ให้เกิดประโยชน์ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุ
ที่มา : การประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุ เข้าได้ถึงจาก http://patchanee.wikispaces.com

2. การประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุและเศษวัสดุ
การประดิษฐ์เศษวัสดุ หมายถึง การนาเอาเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์ให้เป็นของใช้ของ
ประดับตกแต่ง และของเล่น ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อนาไปใช้ นาไปตกแต่ง นาไปเล่นในชีวิตประจาวันได้
จริง มีลักษณะเด่นที่ไม่เหมือนใคร ทั้งสี รูปทรง ขนาด และวัสดุที่นามาประดิษฐ์ เน้นวัสดุที่ใช้แล้ว
หรื อ เหลื อ ใช้ เพื่ อ เป็ น การประหยั ด ค่ า ใช้ จ่ า ยด้ ว ยความพอเพี ย งและช่ ว ยลดภาวะโลกร้ อ น
ตอบสนองความต้องการของนักเรียน โดยประดิษฐ์จากเศษวัสดุ อาทิเช่น หลอดดูดน้า ไม้ไอศกรีม
ถ้วยขนมปีโป้ กระป๋องนม กระดาษ แก้วน้าพลาสติก เส้นรัดของพลาสติก กล่องนม ถุงบรรจุขนม
กล่ อ งบรรจุ ภั ณ ฑ์ ต่ า ง ๆ หรื อ ของที่ ไ ร้ ค่ า มาใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ และยั ง เป็ น การช่ ว ยอนุ รั ก ษ์
สิ่งแวดล้อมและลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว
ประโยชน์ของงานประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น หมายถึง การใช้วัสดุที่
มีในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ออกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ประโยชน์ใช้สอยตรงกับความต้องการ วัสดุใน
ท้องถิ่น ได้แก่
1. วัสดุธรรมชาติจากสัตว์ เช่น เปลือกหอย เปลือกไข่ ขนนก ขนไก่ เกล็ดปลา แต่
ทั้งนี้จะต้องไม่ทาลายสิ่งแวดล้อม

ภาพที่ 5 แสดงภาพวัสดุธรรมชาติจากสัตว์

2. วัสดุธรรมชาติจากพืช เช่น ไม้ไผ่ มะพร้าว ต้นกล้วย ป่าน ปอ เป็นต้น

ภาพที่ 6 แสดงภาพวัสดุธรรมชาติจากพืช
7

3. วัสดุธรรมชาติจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น เส้นใยของพืชและสัตว์ ผ้า


กระดาษ พลาสติก ลวด กระป๋อง เป็นต้น

ภาพที่ 7 แสดงภาพวัสดุธรรมชาติจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประโยชน์ของงานประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น
1. สร้างนิสัยการทางานที่มีความสุขุม ใจเย็น รอบคอบในการทางาน
2. มีนิสัยรักการทางาน มีความมานะอดทนในการทางานและรู้คุณค่าของผลงาน
3. ได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสติปัญญา
4. มีความสามารถในการพัฒนาฝีมือ
5. มีอารมณ์มั่นคง มีสมาธิ
6. สร้างความรัก ความสามัคคีในกลุ่มและหมู่คณะ
7. ยึดเป็นอาชีพในการเลี้ยงครอบครัวได้
ชนิดของวัสดุในท้องถิ่น
2.1.ไม้ไผ่ 2.2. มะพร้าว
2.3. กล้วย 2.4. ผักตบชวา
2.5. กระจูด 2.6. กก
2.7. หวาย 2.8. ย่านลิเภา
2.9. ลาน 2.10.เปลือกหอย

ภาพที่ 8 แสดงภาพชนิดของวัสดุในท้องถิ่น
8

เครื่องมือเครื่องใช้ในการทางานประดิษฐ์ มีหลักในการเลือกดังต่อไปนี้
3.1 ต้องมีจาหน่ายในท้องถิ่น ถ้าเกิดการชารุดเสียหายจึงจะสามารถซื้ออะไหล่มา
ซ่อมได้
3.2 มาความทนทานสามารถใช้งานได้ยาวนาน
3.3 คานึงถึงความสะดวกในการใช้งานมากกว่าเรื่องราคา
3.4 มีการรับรองคุณภาพ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน
หลักทั่วไปในการดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์
1. จัดหาที่เก็บให้เรียบร้อยและจดบันทึกจานวนเพื่อสะดวกในการใช้
2. อุปกรณ์ที่เป็นอันตรายควรจัดเก็บให้พ้นมือเด็กเล็ก
3. อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าควรเก็บสายไฟให้เรียบร้อย
4. อุปกรณ์ที่เป็นเหล็กก่อนเก็บต้องทาความสะอาดและเช็ดด้วยน้ามันเพื่อ
ป้องกันสนิม
5. เครื่องมือที่เป็นไม้ควรเก็บในที่แห้ง
6. เครื่องมือที่เป็นชิ้นเล็กๆควรเก็บใส่กล่อง
7. อุปกรณ์ที่ชารุดควรซ่อมก่อนใช้งานต่อไปให้เรียบร้อย
ประเภทอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์
1. อุปกรณ์ที่ใช้วัด ได้แก่ สายวัด ตลับเมตร ไม้บรรทัด
2. อุปกรณ์ที่ใช้ตัด ได้แก่ กรรไกร เลื่อย มีด
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะ สว่านมือ สว่านไฟฟ้า
4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการขึ้นรูปทรง ได้แก่ ค้อน ไขควง คีม

ภาพที่ 9 แสดงภาพเครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์

ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์
1. ศึกษาคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์ให้เข้าใจ
2. แต่งกายรัดกุมก่อนใช้เครื่องมือเพื่อความปลอดภัย
3. ผู้ที่มีผมยาวควรรัดผมให้เรียบร้อย
9

4. ในขณะทางานและใช้เครื่องมือต้องควบคุมอารมณ์ของตนเองให้อยู่ในสภาวะ
ที่ปกติ
5. ในขณะทางานหากมีอาการง่วงนอนให้หยุดการทางานและพักผ่อนทันที
6. ต้องตรวจสอบเครื่องมือให้อยู่ในสภาวะการใช้งานได้และปลอดภัยที่สุด
สรุปตามแนวคิด งานประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุ ทางคณะผู้จัดทาเห็นว่าเป็นสิ่งที่ช่วย
เพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุ และเป็นการลดขยะ และยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ใน
บางครั้งเรายังสามารถต่อยอดเป็นการสร้างอาชีพได้อีกด้วย
ที่มา : งานประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น
เข้าได้ถึงจาก http://www.namsongkram.com

3. โครงงานที่เกี่ยวข้อง
3.1 โครงงาน เรื่อง โต๊ะมหัศจรรย์ จัดทาโดย นายฐิตสิทธิ์ ลิขิตขจร และคณะ โรงเรียน
สาธิ ตนานาชาติ มหาวิ ทยาลั ยมหิด ล จัง หวั ด นครปฐม ผลการด าเนิน งานปรากฏว่า กระดาษ
หนังสือพิมพ์สามารถนาไปสร้างโต๊ะได้ และโต๊ะดังกล่าวสามารถวางสิ่งของได้อย่างแข็งแรง (2559 :
หน้า 12)
3.2 โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่ง ประดิษฐ์ จัดทาโดย นายเกรียงศักดิ์ อินดี และ
คณะ โรงเรียนลองวิทยา อาเภอลอง จังหวัดแพร่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต
37 จังหวัด แพร่ ผลการดาเนินงานปรากฏว่า จากการดาเนินการในการทาโครงงานสิ่ง ประดิษฐ์
เรื่ อ งเครื่ อ งตั ด ขวดพลาสติ ก ให้ เ ป็ น เส้ น “Plastic bottle to string” สรปุ ผ ลทดลองตาม
จุด มุ่ง หมายของโครงงานดัง นี้ 1. ได้ เครื่อ งมื อที่ สามารถตัด ขวดพลาสติ ก ให้ เป็ นเส้น ได้ 2. ได้
แนวทาง และเห็นคุณค่าของขยะ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะที่สามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้ 3.
เป็นแนวทางให้ผู้อื่นสามารถศึกษา และนาไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นต่อไป (2557 : หน้า 22)
3.3 โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก จัดทาโดย นายพีรวิชญ์ สุวรรณรัฐ
และคณะ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัด กาญจนบุรี ผลการดาเนินงาน
ปรากฏว่า จากการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก สรุปผลได้ว่า เป็นการสร้างสรรค์ผลงานตาม
จินตนาการ ลดภาวะขยะพลาสติก ลดพื้นที่ในการเพาะปลูก มีความสวยงาม และสามารถนามาใช้
เป็นกระถางปลูกต้นไม้ได้เป็นอย่างดี (2556 : หน้า 9)
3.4 โครงงานการประดิษฐ์ชุดโซฟาเด็กจากกระป๋องนม จัดทาโดย นายธวัชชัย ถิ่นลาปาง
และคณะ โรงเรียนเมืองราดวิทยาคม จังหวัด เพชรบูรณ์ ผลการดาเนินงานปรากฏว่า จากการ
ประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก สรุปผลได้ว่า โต๊ะ สามารถรับน้าหนักได้เป็นอย่างดีและยัง มี
สภาพเหมือนเดิม มีความแข็งแรงมากพอที่จะนาไปใช้สาหรับเด็กนั่ง ได้อย่างปลอดภัยไม่มีการ
แตกหัก สามารถรองรับน้าหนักได้มากถึง 50 กิโลกรัม เป็นไปตามสมมุติฐานที่ไ ด้ตั้ง ไว้ (2556 :
หน้า 12)
บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ

1. วัสดุ-อุปกรณ์

1. หลอดดูดแบบยาว 2. ไม้ตะเกียบ

3. ใบมีดโกน 4. คัตเตอร์

5. ดินสอ 6. กรรไกร
11

7. กระดาษแข็ง 8. กาวร้อน

9. บรรทัดเหล็ก

ภาพที่ 10 แสดงภาพวัสดุ - อุปกรณ์

2. วิธีการดำเนินการ

1. เตรียมทำใบมีดตัดหลอด
1.1 ใช้กรรไกรตัดใบมีดโกน ขนาด 0.2 x 1 เซนติเมตร จำนวน 2 อัน
ตามรูป (ควรใช้ใบมีดโกนอย่างระมัดระวัง)
12

1.2 ใช้บรรทัดเหล็ก วัดตะเกียบไม้ ยาว 6 เซนติเมตร แล้วใช้ดินสอจุดตำแหน่ง


ไว้ ตามรูป

1.3 ใช้มีดคัตเตอร์บากตามตำแหน่งที่วัดไว้แล้ว โดยวางใบมีดเฉียงทำมุมกับ


ตะเกียบไม้ 65 – 70 องศา (ถ้าเฉียงต่ำกว่า 65 องศา จะทำให้เกลียวมีขนาดใหญ่) และกลับด้าม
ตะเกียบไม้ บากด้านตรงข้ามกันอีกครั้ง ตามรูปด้านล่าง (ระวังคัตเตอร์บาดมือ)

1.4 นำใบมีดที่ตัดไว้แล้วเสียบที่รอยบาก จัดใบมีดให้เข้าที่แล้วหยอดกาว


ร้อน ตามรูปด้านล่าง (ระวังใบมีดบาดมือ และระมัดระวังไม่ควรให้กาวร้อนโดนส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของร่างกาย)
13

1.5 ตัดกระดาษแข็ง ขนาด 1 x 2 เซนติเมตร ทากาวติดที่ตะเกียบไม้โดยให้ขนานกับใบมีด ต่ำกว่า


ใบมีด 1 เซนติเมตร (เพื่อแยกเส้นเกลียวออกจากกันไม่ให้พันกัน) ตามรูป

2. ขั้นตอนการทำหลอดให้เป็นเกลียว
2.1 นำหลอดสวมใส่ตะเกียบไม้ด้านบน ใช้มือข้างหนึ่งจับหลอดอีกข้างหนึ่ง
จับตะเกียบไม้หมุน ใบมีดจะทำหน้าที่กรีดหลอด ตามรูป

2.2 เมื่อหมุนตะเกียบไม้แล้ว ใบมีดจะกรีดหลอดให้เป็นเส้นจำนวน 2 เส้น


จนเหลือปลายหลอด 4 เซนติเมตร แล้วนำหลอดออกจากตะเกียบไม้ เพื่อใช้สำหรับปักลงใน
กระถาง ตามรูป
14

3. นำหลอดที่ทำเกลียวแล้วหลาย ๆ เส้น มาปักตกแต่งกระถางต้นไม้ที่


เตรียมไว้ให้สวยงาม

4. ตัดหลอดออกมาเท่าขนาดที่เราต้องการ ผ่าครึ่งแล้วคลี่ออกในเป็นระนาบเดียวกัน

4.1 ติดด้วยเทปกาวสองหน้า (แบบบาง) ตัดด้วยกรรไกรให้มีลักษณะเป็นฝอย ๆ แกะตัวกาวสอง


หน้าออกแล้วนำมาพันรอบบริเวณหัวของคัตเติ้นบัต
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

สรุปประเด็นความพึงพอใจในการจัดทำโครงงานเครื่องแขวนจากเศษหลอดดูดน้ำ โดย
จากการสำรวจแบบสอบถามจะพบว่า ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมา จนถึงพึง
พอใจน้อยที่สุด สรุปได้ดังนี้
1. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบชิ้นงาน มีความพึงพอใจมากที่สุด คิด
เป็นร้อยละ 60.00 และมีความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 10.00 ตามลำดับ
2. สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 20.00 และ
มีความพึงพอใจมากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 50.00 ตามลำดับ
3. เป็นการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ มีความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 90.00
และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดคิด เป็นร้อยละ 10.00 ตามลำดับ
4. มีความประหยัดและคุ้มค่า มีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60.00 และมี
ความพึงพอใจระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.00 ตามลำดับ
5. สามารถนำไปหารายได้ระหว่างเรียน มีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ
20.00 และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.00 ตามลำดับ
6. เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.00 และ
มีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 30.00 ตามลำดับ
7. เป็นงานอดิเรกได้ มีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 50.00 และมีความ
พึงพอใจระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.00 ตามลำดับ
8. ปรับรูปแบบได้หลากหลาย มีความพึงพอใจระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 20.00
และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดและมาก คิดเป็นร้อยละ 20.00 ตามลำดับ
9. บำรุงรักษาได้ง่าย มีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 20.00 และมีความ
พึงพอใจระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 30.00 ตามลำดับ
10. เคลื่อนย้ายได้ง่าย สะดวกต่อการนำมาใช้งาน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด คิดเป็น
ร้อยละ 40.00 และมีความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 20.00 ตามลำดับ
บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผล

สรุปผล
จากการทำโครงงานเครื่องแขวนจากเศษหลอดดูดน้ำ ที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ ผลการ
ประเมินความพึงพอใจจากโครงงานชิ้นนี้ เป็นโครงงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการสร้าง
รูปแบบชิ้นงานขึ้นมาใหม่ จากเศษวัสดุเหลือใช้แล้ว นำมาสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่ากับเศษวัสดุและ
ยังเป็นการลดขยะมูลฝอยได้อีกด้วย

อภิปรายผล
จากผลการทำโครงงานเครื่องแขวนจากเศษหลอดดูดน้ำ เราสามารถใช้งานสิ่งประดิษฐ์ได้
จริง สะดวก และมีความปลอดภัย สามารถนำไปเป็นของตกแต่งตามสถานที่ต่าง ๆ ได้

ข้อเสนอแนะ
ควรมีการพัฒนางานประดิษฐ์เครื่องแขวนจากเศษหลอดดูดน้ำ ให้สามารถนำไปประดิษฐ์
หรือตกแต่งในรูปแบบที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
1. นักเรียนสามารถนําสิ่งที่ไม่ใช้แล้วมาแปรรูปเป็นสิ่งของที่สามารถใช้ประโยชน์ได้
2. เป็นการลดปริมาณขยะ
3. นักเรียนได้รู้จักการทํางานร่วมกันกับผู้อื่น
4. สามารถนำไปเป็นเเบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นได้นําไปปฏิบัติตาม
5. นักเรียนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
บรรณานุกรม

การประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุ (ออนไลน์) เข้าได้ถึงจาก


http://patchanee.wikispaces.com
(วันที่ค้นข้อมูล : 9 กรกฎาคม 2564)
ความหมายของความพึงพอใจ (ออนไลน์) เข้าได้ถึงจาก
http://maitree3.blogspot.com/2011/03/blog-post.html
(วันที่ค้นข้อมูล : 9 กรกฎาคม 2564)
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก (ออนไลน์) เข้าได้ถึงจาก
https://www.slideshare.net/Songsak1/ss-32114044
(วันที่ค้นข้อมูล : 9 กรกฎาคม 2564)
โครงงานการประดิษฐ์ชุดโซฟาเด็กจากกระป๋องนม (ออนไลน์) เข้าได้ถึงจาก
https://www.slideshare.net/chianvi/ss-41733974
(วันที่ค้นข้อมูล : 9 กรกฎาคม 2564)
โครงงาน เรื่อง โต๊ะมหัศจรรย์ (ออนไลน์) เข้าได้ถึงจาก
http://mmildmilds.weebly.com/uploads
(วันที่ค้นข้อมูล : 9 กรกฎาคม 2564)
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ (ออนไลน์) เข้าได้ถึงจาก
http://www.vcharkarn.com/uploads/project/938_1.pdf
(วันที่ค้นข้อมูล : 9 กรกฎาคม 2564)
งานประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น (ออนไลน์) เข้าได้ถึงจาก
http://www.namsongkram.com
(วันที่ค้นข้อมูล : 9 กรกฎาคม 2564)
ภาคผนวก
ภาพรวมในกลุ่มทำโครงงานเครื่องแขวนจากเศษหลอดดูดน้ำ

You might also like