You are on page 1of 15

โครงงานสิ่งประดิษฐ์จากเศรษฐกิจพอเพียง

เรื่อง โคมไฟจากกระดาษเหลือใช้

จัดทำโดย
๑. นาย ภูริต โชติภัทรวาณิช เลขที่ ๒
๒. นางสาว ธมลพรรณ นนทปัทมะดุลย์ เลขที่ ๙
๓. นางสาว รัชฎารินทร์ สนธยานาวิน เลขที่ ๑๒
๔. นางสาว พิมพ์ชนก เต็มมาศ เลขที่ ๑๓
๕. นางสาว ณัฐณิชา ตริยางกูรศรี เลขที่ ๑๕
๖. นางสาว สิริยากร วรรณรัตน์ เลขที่ ๑๗

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ห้อง ๘

รายวิชา Thai Social Studies 1


ปีการศึกษา 2559
ครูที่ปรึกษาโครงงาน อาจารย์อัจฉรา เก่งบัญชา
โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล
เกี่ยวกับโครงงาน

ชื่อโครงงาน โครงงานสิ่งประดิษฐ์จากเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง โคมไฟจากกระดาษเหลือใช้


ผู้จัดทำ นาย ภูริต โชติภัทรวาณิช เลขที่ ๒
นางสาว ธมลพรรณ นนทปัทมะดุลย์ เลขที่ ๙
นางสาว รัชฎารินทร์ สนธยานาวิน เลขที่ ๑๒
นางสาว พิมพ์ชนก เต็มมาศ เลขที่ ๑๓
นางสาว ณัฐณิชา ตริยางกูรศรี เลขที่ ๑๕
นางสาว สิริยากร วรรณรัตน์ เลขที่ ๑๗

ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๕ ห้อง ๘


ครูที่ปรึกษา อาจารย์อัจฉรา เก่งบัญชา
สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล
ปีการศึกษา 2559
กิตติกรรมประกาศ

โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ด้วยคำแนะนำจากอาจารย์อัจฉชรา เก่งบัญชา ซึ่งชี้แนะให้เห็นถึงข้อ


บกพร่อง ช่วยพัฒนาแนวคิด และยังชี้แนวทางการแก้ไขปัญหาให้อีกด้วย ตลอดระยะเวลาการทำโครงงานนี้ จึง
ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้
ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยนำเสนอแนวคิดต่างๆ จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ทุ่มเทในการทำงาน ตลอดจนช่วย
เป็นกำลังที่ดีตลอดการทำงานเสมอมา
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณความช่วยเหลือจากห้องสมุดประจำโรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล
ในการช่วยจัดหานิตยสารเหลือใช้ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในโครงงานชิ้นนี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
หัวข้อโครงงาน : โคมไฟจากกระดาษเหลือใช้
ประเภทของโครงงาน : โครงงานสิ่งประดิษฐ์จากเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้เสนอโครงงาน : นาย ภูริต โชติภัทรวาณิช เลขที่ ๒
นางสาว ธมลพรรณ นนทปัทมะดุลย์ เลขที่ ๙
นางสาว รัชฎารินทร์ สนธยานาวิน เลขที่ ๑๒
นางสาว พิมพ์ชนก เต็มมาศ เลขที่ ๑๓
นางสาว ณัฐณิชา ตริยางกูรศรี
นางสาว สิริยากร วรรณรัตน์ เลขที่ ๑๗
ครูที่ปรึกษาโครงงาน : อาจารย์อัจฉรา เก่งบัญชา
ปีการศึกษา : 2559

บทคัดย่อ

โครงงานครั้งนี้ เป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์จากเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำโดยนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๕


ห้อง ๘ เรื่องโคมไฟจากกระดาษเหลือใช้ มีวัตถุประสงค์ในการนำขยะเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย
การนำกระดาษ หรือนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว แต่ยังคงมีสภาพดีอยู่มาประดิษฐ์ตกแต่งเป็นโคมไฟ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่ง
เสริมการลดขยะและการรณรงค์ให้ผู้คนหันมาสนใจในประโยชน์ของขยะมากขึ้น นอกจากนี้ โคมไฟจากกระดาษ
เหลือใช้สามารถเป็นแนวคิดในการสร้างรายได้ ตรงตามแนวหลักเศรษฐกิจพอเพียงในเงื่อนไขความรู้ จาก หลัก ๓
บ่วง ๒ เงื่อนไข ที่กล่าวถึงความรอบรู้ และการใช้ความรู้เพื่อประกอบการ วางแผน ในการทำสิ่งต่างๆ
ผลการศึกษาและจัดทำโครงงานพบว่า การนำกระดาษเหลือใช้มาทำเป็นโคมไฟนั้น ผลปรากฏว่า
สามารถนำมาใช้ได้จริง และสามารถประดับโคมไฟได้อย่างสวยงาม มีขนาดใหญ่พอดี ทำให้ไม่เสี่ยงต่อไฟไหม้
ทำให้การประดับตกแต่งโคมไฟด้วยกระดาษเหลือใช้จึงออกมามีประสิทธิภาพ
สารบัญ

เรื่อง หน้า
เกี่ยวกับโครงงาน ก
กิตติกรรมประกาศ ข
บทคัดย่อ ค
บทที่ 1 บทนำ 1
- ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
- วัตถุประสงค์
- ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง 2
บทที่ 3 วิธีการจัดทำโครงงาน 4
- วัสดุและอุปกรณ์
- วิีธีการจัดทำโครงงาน
บทที่ 4 ผลการศึกษา 7
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 8
- สรุปผลการศึกษา
- ประโยชน์ที่ได้จากโครงงาน
- ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม 9
บทที่ ๑
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในปัจจุบันนี้ผู้คนทุกเพศทุกวัยทั้งเด็กวัยเยาว์ ผู้ใหญ่ เเละผู้สูงอายุ ต่างมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ อาทิ
เช่น การรับผิดชอบหน้าที่การงานตามบทบาทของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน ต้องทำการบ้าน พนักงานบริษัท ผู้
บริหาร ที่ต้องทำงาน ส่วนผู้สูงอายุนั้นอาจจะอยากใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือเพื่อคลายความเครียดหรือ ศึกษา
สิ่งที่ตนเองสนใจเพิ่มเติม ทุกๆคนต่างต้องการเเสงไฟที่พอเพียงในการทำกิจกรรมเหล่านั้น เพื่อที่จะถนอมสายตา
และยังทำให้การทำงานต่างๆสะดวกเเละง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ โลกมีเทคโนโลยีมากมาย ที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้น
มาเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง มนุษย์ประดิษฐ์สิ่งของหลายสิ่งที่สามารถให้แสงสว่างได้ ซึ่งสิ่งของเเต่
ล่ะชนิดมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่เหมือนกันคือให้เเสงไฟ เเต่วิธีใช้งานเเตกต่างกันไป เช่น หลอดไฟฟลูออเรส
เซนต์ และหลอดตะเกียบซึ่งใช้ติดบริเวณบ้านเพื่อให้แสงสว่าง หรือไฟฉายที่ใช้พกพาไปยังสถาณที่ต่างๆ หนึ่งใน
สิ่งของถูกใช้อย่างเเพร่หลาย คือโคมไฟ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต้องใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็น
นักเรียน ที่ต้องมีการใช้โคมไฟเพื่ออ่านหนังสือ หรือทำการบ้านในยามค่ำคืน เราจึงเล็งเห็นความสำคัญว่า ในฐานะ
ที่เราเป็นนักเรียน เราก็สามารถประดิษฐ์โคมไฟด้วยตนเอง เพื่อประหยัดทรัพยากรที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อนำสิ่งเหลือใช้ มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นการปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
๒. เพื่อปลูกฝังให้รู้จักเห็นคุณค่า และความสำคัญ ของวัสดุเหลือใช้
๓. เพื่อลดปริมาณขยะ และของเหลือใช้ในบ้าน โรงเรียน และชุมชน
๔. เพื่อส่งเสริมจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
๕. รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า ๒๐ เมษายน ถึง ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โดยเป็นโปรเจ็คเกี่ยวกับสิ่ง
ประดิษฐ์ จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑.ได้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่มีความเหมาะสม สะดวก สวยงาม คงทน และใช้ได้จริง จากการนำเศษ กระดาษ
เก่าๆที่ไม่ใช้แล้วมารีไซเคิลเพื่อประโยชน์ที่สูงสุด
๒.มีความเข้าใจในหลักการ แนวคิด และจุดมุ่งหมายของการริไซเคิลมากขึ้น
๓.ได้รับการปลูกฝังจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้
๔.มีการรวมความคิดสร้างสรรค์และจิตนาการของสมาชิกในกลุ่มเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเหมาะต่อ
การนำมาใช้ ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์

1
บทที่ ๒
เอกสารเเละโครงงานที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์จากเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มของข้าพเจ้าได้ประดิษฐ์ โคมไฟจากกระดาษ


เเละหนังสือที่ไม่ได้ใช้เเล้ว โดยสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้มีเเนวคิดเกี่ยวข้อกับความคิด เอกสาร เเละโครงงานดังต่อไปนี้

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (http://www.chaipat.or.th/site_content/
34-13/3579-2010-10-08-05-24-39.html)
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ
ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดย
เฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความ
มีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งใน
การนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้น
ฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และ
ความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ
สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดย
พิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึง
ถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี
เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำ
ความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมี
ความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
การรีไซเคิล (https://sites.google.com/site/karrisikheilrecycle/risikheil-khux)
รีไซเคิล (อังกฤษ: Recycle) เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปร
สภาพ โดยเฉพาะการหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งวัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็น
ผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ รีไซเคิลมีความหมายต่างจาก รียูส (Reuse) ซึ่งหมายถึง การนำกลับมาใช้
ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใดๆทั้งสิ้น
ในความเข้าใจของคนบางกลุ่มนั้น การรีไซเคิลยังหมายถึง การนำวัสดุเหลือใช้กลับมาปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือ
พัฒนารูปร่างใหม่ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ขวดน้ำพลาสติก หากนำมาใช้ใส่น้ำอีกครั้ง
2
เป็น การรียูส์ (reuse) แต่ถ้านำเอาขวดนำพลาสติกมาตัดให้เป็นกระป๋อง แล้วนำไปใช้ตัดดินบรรจุในถุง หรือนำ
ขวดพลาสติดมาตัดครึ่ง เป็นแจกันใส่ดอกไม้ หรือเป็นที่ใส่ปากกา มักถูกเรียกว่าเป็นการรีไซเคิลขวดน้ำพลาสติก

โคมไฟฟ้า (http://montri.rmutl.ac.th/old/ee/04212209/L-04.pdf)
โคมไฟฟ้ามีหลาย แบบแล้ว แต่วัตถุประสงคของการใชงาน โคมไฟสามารถแบงออกตามการใชงานโดย
ท่ัวๆ ไปได เปน โคมภายใน และโคมภายนอก โคมภายในที่ใชควรมีประสทิ ธิภาพสูง ไมใหแสงบาดตา มากเกินไป
มีความสวยงามดวย สวนโคมภายนอกควรสามารถกันน้ําได และมีความปลอดภัย ตอการสัมผัส โคมไฟฟาใช
ภายในอาคารมีมากมายหลายแบบ แบบท่ีจะกลาวถึงในบทนี้ก็ เฉพาะที่ใชกันมากเทาน้ันและจะกลาวถึงหลักการ
และวิธีการใช้ในแต่ละชนิด
ดังน้ันพอจะสรุปหนาที่ของโคมไฟฟาไดดังน้ี
1. ปองกันหลอดไฟฟาและอุปกรณประกอบจากการกระทบจากภายนอก
2. เปนท่ีในการจบั ยึดหลอดไฟฟาและอุปกรณประกอบ รวมทั้งการเช่ือมตอวงจรไฟฟา
ของหลอดไฟฟา
3. เพื่อบังคับทศิ ทางของแสงทอ่ี อกมาจากหลอดไฟฟาไปตามทิศทางทตี่ องการ
4. ใหความสวยงาม ประดับในพื้นที่ที่ติดต้ัง
ดวงโคมไฟฟา จะหมายถงึ องคประกอบรวมของ หลอดไฟฟา (Lamp) , อุปกรณ ประกอบในวงจรหลอด และ โคม
ไฟฟา (Fixtures)

3
บทที่ ๓
วิธีการจัดทำโครงงาน

วัสดุและอุปกรณ์
วัสดุและอุปกรณืที่ใช้ในการทำโครงงานได้แก่
๑. หนังสือพิมพ์เหลือใช้
๒. ปืนกาว
๓. หลอดไฟ
๔. เทปใส
๕. กรรไกร
๖. ไส้ปืนกาว

วิธีการจัดทำโครงงาน
๑. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำสิ่งประดิษฐ์ให้พร้อม
๒. ฉีกหนังสือพิมพ์เหลือใช้

4
๓. นำกระดาษที่ฉีกแล้วนั้นมาม้วนให้เป็นรูปทรงหลอดโดยม้วนในแนวเฉียงและเริ่มจากมุมใดมุมหนึ่งของ
กระดาษ

๔. เมื่อม้วนจดสุดปลายกระดาษ นำเทปใสมาติด

๕. ทำซ้ำในขั้นตอนที่ ๓-๕ จนได้หนังสือพิมพ์ที่ม้วนแล้วประมาณ ๑๕๐ อัน


๖. นำหนังสือพิมพ์ที่ม้วนแล้วมาเรียงทีละชั้นแล้วเชื่อมกันด้วยปืนกาว

5
๗. เมื่อกาวที่ติดแห้งแล้วนำโดมนั้นมาครอบติดกับหลอดไฟ
๘. เสียบปลั๊กหลอดไฟและพร้อมใช้งานทันที

6
บทที่ ๔
ผลการศึกษา
จากการศึกษาการสร้างโคมไฟสิ่งประดิษฐ์จากเศรษฐกิจพอเพียง ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้
ผู้จัดทำได้มีโอกาศนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย เช่น ความ
พอประมาณ โดยที่งานประดิษฐ์ชิ้นนี้มีความเหมาะสม สามารถใช้งานได้จริง ไม่ยากจนเกินไป และประหยัดเวลา
อีกทั้งผู้จัดทำสิ่งประดิษฐ์นี้ทุกคนได้รับภูมิคุ้มกันที่ดีโดยการที่สมาชิกในกลุ่มทุกคนเรียนรู้ที่จะประดิษฐ์ของใช้ที่มี
ประโยชน์จากของเหลือใช้ ความรู้นี้สามารถนำไป ประยุกต์ใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์คับขันต่างๆได้ หรือ ใช้ในชีวิต
ประจำวันก็ย่อมได้ และสิ่งประดิษฐ์นี้สามารถก่อประโยชน์ทางอ้อมตามมาอีกมากมาย เช่น การลดปริมาณขยะ
และของเหลือใช้ในบ้าน โรงเรียน และชุมชน สามารถปลูกจิตสำนึกให้รู้จักคุณค่าและความสำคัญของวัสดุเหลือใช้
และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

7
บทที่ ๕
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
จากการจัดทำโครงงานพบว่า สิ่งของที่เหลือใช้อย่างเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์เก่า เเละหลอดไฟที่ไม่ใช้
เเล้ว สามารถถูกนำมารีไซเคิลจนกลายเป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ดังเช่นโคมไฟซึ่งยัง
สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรงในด้านความพอประมาณ
ด้านความมีเหตุผล เเละ ด้านภูมิคุ้มกัน

ความพอประมาณนั้นเกี่ยวข้องในทั้ง ด้านจิตใจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม เเละด้าน


เทคโนโลยี เนื่องจากการมีจิตสำนึกที่ดีที่จะนำของเก่ามารีไซเคิลเพื่อให้เกิดทั้งประโยชน์ส่วยตนเองเเละประโยชน์
ส่วนรวมสะท้อนความพอประมาณในด้านจิตใจ การใช้สิ่งของเเต่ล่ะอย่างฉลาด อย่างเช่นใช้หลอดไฟกับ
หนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้เเล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการนำมารีไซเคิลเป็นโคมไฟทำให้ความพอประมาณในด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม การค้นหาข้อมูลการทำโคมไฟรีไซเคิลจากอินเทอร์เน็ตสะท้อนให้เห็นการใช้
เทคโนโลยีอย่างถูกวิธีเพราะว่าโคมไฟที่จะถูกทำขึ้นมานั้นทำมาจากของเหลือใช้ ซึ่งเป็นการลดขยะในชุมชน

ในความมีเหตุผล การทำโคมไฟนี้เเสดงให้เห็นถึงจิตสำนึกเเละความคิดของนักเรียนในด้านความประหยัด
เพราะโคมไฟที่ทำขึ้นเองนั้นช่วยตัดทอนค่าใช้จ่ายในส่วนที่ต้องนำไปซื้อโคมไฟใหม่ได้ เเละงานชิ้นนี้ยังเเสดงให้เห็น
ถึงการปฏิบัติตนที่ดีของสมาชิกมนกลุ่มที่สามารถลดกิเลส ในการที่อยากได้โคมไฟที่ทันสมัยเเละใหม่ได้โดยการ
ประดิษฐ์โคมไฟขึ้นเองซึ่งประหยัดกว่า ลดภาระ เเละใช้งานได้เหมือนกัน

ด้านภูมิคุ้มกัน จะเเบ่งออกเป็นสองประเภท คือด้านภูมิปัญญาเเละด้านภูมิธรรม ในด้านภูมิปัญญานั้น


การทำงานชิ้นนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ที่หมายถึงการนำมารู้รอบตัวที่มีอยู่มารวมกันเเละกลายเป็น ความคิด
เเละวิธีที่จะผลิตโคมไฟ ความรอบคอบเเละระมัดระวังหมายถึง การคิดเเละกระทำอน่างถี่ถ้วนที่จะทำให้โคมไฟนั้น
ใช้ได้จริงเเละปลอดภัยกับผู้ใช้ ในด้านของภูมิธรรมนั้น การทำโคมไฟได้เเสดงให้เห็นถึงความอดทน ที่จะทำชิ้นงาน
ให้ำด้ออกมาอย่างละเอียด มีคุณภาพ เเละปราณีต

จากการทำสิ่งประดิาฐ์ชิ้นนี้สามชิกทุกคนได้พัฒนาความคิดด้านความสร้างสรรค์ ได้เรียนรู้ปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นข้อคิดที่ดีเเละเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตมาก นอกจากนั้นสามชิกทุกคนยังได้ใช้
เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เเบะฝึกการควบคุมตนเองควบคู่กับการวางตัวเมื่อทำงานเป็นกลุ่มอีกด้วย

ข้อเสนอแนะ
คณะผู้จัดทำได้รับประสบการณ์ และ ข้อคิดมากมาย ในการทำโครงงานนี้ ซึ่งพวกเราพบทั้งสิ่งที่ดีและ
อุปสรรคในการทำงาน จากการทำโครงงานนี้ เราพบว่า กระดาษจากนิตยสาร ซึ่งมีความแข็งแรง สีสันสดใส มัน
วาว และหนากว่ากระดาษทั่วไป เมื่อนำไปม้วนแล้ว จะมีความแข็งแรง แน่นหนา ไม่ยืดหยุ่น และยากต่อการตัด
แต่ง ซึ่งไม่เหมาะสมในการทำโคมไฟเท่าที่ควร พวกเราจึงคิดว่าการใช้กระดาษบางๆเช่นกระดาษหนังสือพิมพ์จะ
ทำให้การม้วน การนำมาประกอบกันเป็นโคมไฟ และการตัดแต่งง่ายมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง พวกเราใช้ปืนกาว และ กาว
ร้อนในการประกอบชิ้นส่วนกระดาษที่ม้วนเข้าด้วยกันเป็นโคมไฟ จะทำให้สิ่งประดิษฐ์ของเราค่อนข้างเปื้อน
เนื่องจากใยของกาวที่ย้อยลงมา พวกเราจึงคิดว่า ควรติดกาวอย่างระมัดระวัง ไม่ให้มันไหลย้อยออกมาจนเปื้อนสิ่ง
ประดิษฐ์ของเรา
8
บรรณานุกรม
บทที่ 4 : โคมไฟฟ้า. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม, จาก http://montri.rmutl.ac.th/old/ee/04212209/
L-04.pdf
การรีไซเคิล (recycle). เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม, จาก https://sites.google.com/site/
karrisikheilrecycle/risikheil-khux
เศรษฐกิจพอเพียง. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม, จาก http://www.chaipat.or.th/site_content/
34-13/3579-2010-10-08-05-24-39.html

You might also like