You are on page 1of 22

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 1 สาขาวิชาชีววิทยา

เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว


-------------------------------------------------------------------------------------
บทที่ 6 อาณาจักรสัตว (Kingdom Animalia)

อาณาจักรสัตวเปนหนึ่งใน 5 อาณาจักร (ตามการแบงของ Whittaker, 1969) ของสิ่งมีชีวิตที่มี


ทั้งหมดในโลก คาดกันวามีจํานวนมากกวา 1.5 ลานชนิด และประมาณ 97% ของสัตวทั้งหมดเปนสัตวไมมี
กระดูกสันหลัง (Invertebrate) ที่เหลือ 3% เปนสัตวมีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) โดยสัตวที่มีจํานวนชนิด
มากที่สุดในโลก คือ แมลง (พบแลวมากกวา 6 แสนชนิด) สวนสัตวที่มีขนาดใหญที่สุดไดแกสัตวเลี้ยงลูกดวย
น้ํานม นักสัตววิทยาไดจําแนกกลุมของสัตวออกเปน 32 ไฟลัม (จากการคาดคะเนแลวจํานวน 32 ไฟลัมนี้เปน
สัตวที่มีชีวิตรอดมาจากยุคโบราณเมื่อ 600 ลานปกอน ซึ่งรวม ๆ แลวนาจะมีสิ่งมีชีวิตไมต่ํากวา 100 ไฟลัม)
สัตวแตละไฟลัมจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกตางกัน การจําแนกทําโดยพิจารณาจากลักษณะรูปรางและหนาที่การ
ทํางานของโครงสรางสัตว รวมกับขอมูลอื่น ๆ เชน ขอมูลดานชีวเคมี และวิวัฒนาการ ความรูเกี่ยวกับสัตวยุค
โบราณจะไดจาก "ซากดึกดําบรรพ" (fossil) เนื่องดวยสภาพภูมิศาสตรและสภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา อิทธิพลของสภาพแวดลอมเหลานี้มีผลตอวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งในดานการแพรกระจาย การ
เจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวใหสอดคลองกับสภาพแวดลอมไดจะสามารถสืบพันธุมีลูกหลานตอไป
พวกที่ปรับตัวไมไดอาจสูญพันธุไป (การเปลี่ยนแปลงสภาพของเปลือกโลกที่รุนแรงมาก ๆ มีผลใหสิ่งมีชีวิตสูญ
พันธุเปนจํานวนมากได)

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้ที่เปนที่รูจักคอนขางมากมีอยู 12 ไฟลัม คือ


1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) [Major]
2. ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria) [Major]
3. ไฟลัมทีโนฟอร (Phylum Ctenophore) [Minor]
4. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (Phylum Platyhelminthes) [Major]
5. ไฟลัมโรติเฟอรา (Phylum Rotifera) [Minor]
6. ไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda) [Major]
7. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) [Major]
8. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) [Major]
9. ไฟลัมอารโทรโพดา (Phylum Arthropoda) [Major]
10. ไฟลัมเอชิโนเดอรมาตา (Phylum Echinodermata) [Major]
11. ไฟลัมเฮมิคอรดาตา (Phylum Hemichordata) [Major]
12. ไฟลัมคอรดาตา (Phylum Chordata) [Major]
[Major] หมายถึง Major phylum คือกลุมที่มีสมาชิกมากกวา 5,000 ชนิด สวน [Minor] คือ Minor
phylum ซึ่งมีสมาชิกนอยกวา 5,000 ชนิด จะเห็นไดวา Phylum ที่ศึกษากันสวนใหญจะเปนพวก Major
phylum ทั้ง 10 phyla สวน Minor phylum ที่เปนที่สนใจมากจะมีอยู 2 phyla จาก 22 phyla ตอไปนี้
1. Phylum Mesozoa : มีโซซัว
2. Phylum Placozoa : พลาโคซัว
3. Phylum Ctenophora : หวีวุน
4. Phylum Rhynchocoela : หนอนริบบิ้น
5. Phylum Rotifera : โรติเฟอร หรือหนอนจักร
6. Phylum Gastrotricha
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 2 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
7. Phylum Kinorhyncha
8. Phylum Gnathostomulida
9. Phylum Priapulida
10. Phylum Nematomorpha : พยาธิขนมา
11. Phylum Acanthocephala : หนอนหัวหนาม
12. Phylum Entoprocta
13. Phylum Loricifera
14. Phylum Echiurida : หนอนซอน
15. Phylum Sipuncula : หนอนถัว่
16. Phylum Tardigrada : หมีน้ํา
17. Phylum Pentastomida
18. Phylum Onychophora : หนอนกํามะหยี่
19. Phylum Pogonophora : หนอนเครา
20. Phylum Phoronida
21. Phylum Ectoprocta (Brypozoa)
22. Phylum Brachiopoda

การศึกษาเกี่ยวกับสัตวเรียกวา Zoology (Zoo มาจากรากศัพทกรีกวา zoa แปลวา สัตว ดังนั้นคําที่มี


องคประกอบของ zoo-, zoa-, zo-, -zoic, -zoid, -zoite, -zoal, -zonal, -zooid, -zoon, -zoa, -
zoan จึงมีความหมายที่เกี่ยวของกับสัตว) โดย zoology หมายถึงการศึกษาวิทยาศาสตรของสัตว ซึ่งรวม
ตั้งแต การจําแนกชนิด การดํารงชีวิต โครงสราง และหนาที่ของสวนตาง ๆ ในรางกาย การสืบพันธุ และ
ความสัมพันธของสัตวกับสิ่งแวดลอม การศึกษากลไกในการดําเนินชีวิตของสัตวชนิดตาง ๆ สะทอนถึงกลไกการ
ทํางานของรางกายมนุษยดวยเชนกัน
สัตวเปนสิ่งมีชีวิตที่มีความสําคัญตอระบบนิเวศในแงของการเปนผูบริโภค เนื่องจากสัตวทั้งหมดเปน
Heterotrophic การกินกันเปนทอด ๆ ของสัตวเปนผลทําใหมีการถายทอดพลังงานไปยังผูบริโภคระดับตาง
ๆ นอกจากนี้สัตวยังเปนผูสรางแกสคารบอนไดออกไซดซึ่งมีความสําคัญตอการสังเคราะหอาหารดวยแสงของ
พืช และกอใหเกิดความสมดุลในธรรมชาติ
ในยุคสมัยของอริสโตเติล (Aristotle : 384-322 กอนคริสตกาล) ผูคนมีความเชื่อวาสิ่งมีชีวิตมีตน
กําเนิดมาจากราเมือก หรือสิ่งไมมีชีวิตบางอยาง และมีสิ่งมหัศจรรยเหนือธรรมชาติเปนผูขีดวางความเปนชีวิต
ของพืชและสัตว แตอริสโตเติลปนผูยืนยันวาสัตวชนิดหนึ่งจะถือกําเนิดมาจากสัตวชนิดเดียวกันเทานั้น จนถึง
ยุคสมัยของชารล ดารวิน (Charles Darwin) ซึ่งเขียนหนังสือ The Origin of Species by Means of
Natural Selection และไดเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมกับ อัลเฟรด รัสเซล วอลเลส (Alfred
Russel Wallace) จากความรูในยุคของดารวินกระตุนใหนักวิทยาศาสตรในรุนหลัง ๆ มีความสนใจใน
การศึกษาวิวัฒนาการเพิ่มมากขึ้น ขอมูลเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสัตวจึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 3 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
หลักฐานสําคัญทีใ่ ชประกอบในการศึกษาวิวฒ ั นาการของสัตว
1. หลักฐานทางอนุกรมวิธาน หมายถึงการศึกษาการจัดจําแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตใหเปนหมวดหมู โดย
พิจารณาจากรูปราง โครงสรางภายนอก ไปจนถึงพันธุกรรม โดยมี คารล ลินเนียส (Carolus
Linnaeus) เปนผูริเริ่มการใชชอื่ วิทยาศาสตรกับสิ่งมีชีวิต

ภาพที่ 1 การจําแนกสิ่งมีชีวิต
(ที่มาภาพ : http://danmarkltd.tripod.com/sitebuildercontent/sitebuilderpictures/animal_tree.jpeg)

2. หลักฐานทางกายวิภาคศาสตรเปรียบเทียบ เปนการศึกษาเปรียบเทียบโครงสรางของสิ่งมีชีวิตเพื่อนํามา
โยงความสัมพันธดานการสืบเชื้อสายเชน การเปรียบเทียบโครงสรางที่เหมือนกันแตอาจทําหนาที่ตางกัน
(Homologous organ) และโครงสรางที่แตกตางกันแตทําหนาที่เหมือนกัน (Analogous organ)

ภาพที่ 2 Homologous organ


(ที่มาภาพ : http://online.morainevalley.edu/WebSupported/BIO112/homologous.jpg)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 4 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------

ภาพที่ 3 Analogous organ ของปกแมลง และปกสัตวมีกระดูกสันหลัง


(ที่มาภาพ : http://biodidac.bio.uottawa.ca/ftp/BIODIDAC/ZOO/GENERAL/DIAGBW/GENE009B.GIF)

3. หลักฐานทางวิทยาเอมบริโอเปรียบเทียบ เปนการศึกษาการเจริญของตัวออนวามีรูปแบบการเจริญที่
เหมือนกันหรือแตกตางกันอยางไร เนื่องจากมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่เมื่อเจริญเปนตัวเต็มวัยแลวมีความ
แตกตางกันอยางมากแตเมื่อพิจารณาลักษณะเมื่อเปนตัวออนจะสามารถพบความคลายคลึงกันเชน ใน
กรณีของเพรียงหัวหอมที่ถูกจัดวาเปนกลุมของ Protochordate ถาดูลักษณะของตัวเต็มวัยแลวจะพบวา
ไมมีลักษณะที่บงบอกวาจะมีความใกลเคียงกับคอรเดทเชน หนู แตถาไดศึกษาถึงวิทยาเอมบริโอของ
เพรียงหัวหอมแลวจะพบวาในชวงที่เปนตัวออน เพรียงหัวหอมจะมีโนโตคอรดที่เปนลักษณะรวมของพวก
คอรเดทเชนเดียวกับที่ตัวออนของหนูมี

ภาพที่ 4 กายวิภาคเปรียบเทียบของ embryo สัตวมีกระดูกสันหลัง


(ที่มาภาพ : http://biology.kenyon.edu/slonc/bio3/comparative_embryo.jpg)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 5 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------

ภาพที่ 5 เพรียงหัวหอมระยะตัวเต็มวัย (a,b) และตัวออน (c)


(ที่มาภาพ : http://kentsimmons.uwinnipeg.ca/16cm05/1116/34-03-Tunicate-L.jpg)

ภาพที่ 6 เปรียบเทียบตัวออนของหนูกับตัวออนของเพรียงหัวหอม
(ที่มาภาพ : http://evolution.berkeley.edu/evosite/history/images/notochords.jpg)

4. หลักฐานทางสรีรวิทยาและชีวเคมีเปรียบเทียบ ซึ่งจะตองศึกษาลึกลงไปถึงระดับชีวเคมี โดยจะเนนไปถึง


โครงสรางพื้นฐานระดับชีวโมเลกุลที่เกี่ยวของกับการถายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การศึกษาความ
เหมือนหรือความแตกตางในโมเลกุลของ Protein หรือ DNA จะชวยใหทราบถึงความสัมพันธระหวาง
สิ่งมีชีวิตที่ใกลชิดกันได ในปจจุบันความรูความเขาใจในสายสัมพันธของสารพันธุกรรม ไดนํามาใชประโยชน
ในทางสังคมมากขึ้นเชน กรณีการยืนยันความเปนพอแมลูก การฆาตกรรม นอกจากนี้หลักฐานทางชีวเคมี
ยังสามารถนําไปใชในการศึกษากับซากดึกดําบรรพของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ไดดวย นับวาเปนการศึกษาภาพใน
อดีตที่ไดขาดหายไปเปนจํานวนมาก ทําใหเกิดความเชื่อมตอของขอมูลในโลกยุคโบราณและปจจุบันไดเปน
อยางดี

ภาพที่ 7 ความสัมพันธของสิ่งมีชีวิตเมื่อพิจารณาจากโปรตีนบางชนิด
(ที่มาภาพ : http://cache.eb.com/eb/image?id=80451&rendTypeId=4)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 6 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------

ภาพที่ 8 จํานวนคูเบสของ DNA ของ Cytochrome C ที่แตกตางของสิ่งมีชีวิต


(ที่มาภาพ : http://www.nap.edu/readingroom/books/evolution98/page39.html)

5. หลักฐานทางซากดึกดําบรรพ เปนการศึกษาซากหรือรองรอยของสิ่งมีชีวิตที่ถูกทับถมอยูในชั้นหินยุคตาง
ๆ ซากดึกดําบรรพที่พบอาจไมครบถวนสมบูรณ อาจจะเปนบางชิ้นสวนของโครงกระดูก เนื่องจากเปนสวน
ที่มีความแข็งแรง ทนทานตอการเนาเปอยผุพัง แตนักวิทยาศาสตรจะตองนําความรูทางธรณีวิทยาเขามา
ชวยเพื่อใหทราบขอมูลของอายุของสิ่งมีชีวิตนั้น ซากดึกดําบรรพที่ปรากฏในชั้นหินระดับตาง ๆ จะชี้ใหเห็น
ถึงกระบวนการวิวัฒนาการวามีความใกลเคียงกับสิ่งมีชีวิตใด มีการสูญพันธเกิดขึ้นเพราะอะไร

ภาพที่ 9 อายุของฟอสซิลมีความสัมพันธกับชั้นหิน
(ที่มาภาพ : http://www.mnh.si.edu/earth/text/images/3_0_0_0/3_1_2_3_relative.jpg
http://www.calstatela.edu/faculty/acolvil/geotime/fossil_assemblage.jpg)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 7 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
Animal evolution theory
นักวิทยาศาสตรสวนใหญเชื่อวา โปรโตซัว (Protozoa) เปนสิ่งมีชีวิตเซลลเดียวที่คลายสัตว กลุมแรก
ของโลก โครงสรางและหนาที่การทํางานของโปรโตซัว เทียบไดกับการทํางานแตละเซลลของสัตวหลายเซลล
(Parazoa Metazoa และ Eumetazoa) ในปจจุบันโปรโตซัวถูกศึกษาจําแนกไวไมต่ํากวา 60,000 ชนิด และ
คงเหลืออยูในปจจุบันไมต่ํากวา 30,000 ชนิด นักสัตววิทยาไดเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวของกับ กําเนิดของสัตวหลาย
เซลลไว 2 ทฤษฎีคือ
1. ทฤษฎีหลายนิวเคลียส (Syncytial theory) มีแนวคิดวาสิ่งมีชีวิตเซลลเดียวพวกที่มีขนสั้น (Ciliate)
หลายนิวเคลียสเปนบรรพบุรุษของสัตวหลายเซลล โดยเกิดมีเยื่อหุมเซลลมาหอหุมนิวเคลียสแตละอัน จน
ไดเซลลหลายเซลล สัตวหลายเซลลที่เกิดขึ้นนี้จะมีรูปรางเหมือนหนอนตัวแบน มีชองเปด Cytostome
คลายกัน จากแนวคิดนี้จะเห็นวาสัตวที่มีสมมาตรครึ่งซีกเปนบรรพบุรุษของสมมาตรแบบรัศมีซึ่งขัดแยง
กับลําดับวิวัฒนาการ เนื่องจากไนดาเรีย (สมมาตรรัศมี) ซึ่งมีวิวัฒนาการต่ํากวาหนอนตัวแบน (สมมาตร
ครึ่งซีก) นั้น กลับมีสมมาตรที่วิวัฒนาการดีกวา ทฤษฎีนี้จึงไมคอยเปนที่ยอมรับมากนัก

ภาพที่ 10 Syncytial theory


(ที่มาภาพ : http://science.kennesaw.edu/~jdirnber/Bio2108/Lecture/LecBiodiversity/
syncytial.jpg)

2. ทฤษฎีโคโลนี (Colonial theory) มีแนวคิดวาสิ่งมีชีวิตหลายเซลลถือกําเนิดมาจาก โปรโตซัวที่เคลื่อนที่


โดยแฟลเจลลัมที่เรียกวา โคแอนโนแฟลเจลเลท (choanoflagellate) ซึ่งเปนโปรโตซัวที่อยูรวมกันเปน
โคโลนี (เชน Sphaeroeca volvox) กลุมเซลลแตละกลุมจะมีการพัฒนาแบงออกเปนสวนหัว และ
สวนทาย และมีการเคลื่อนที่ไปมาอยางมีทิศทาง เซลลแตละกลุมจะมีหนาที่การทํางานเฉพาะ เชน ดานหัว
จะทําหนาที่รับความรูสึกและเคลื่อนที่ เซลลบริเวณกลางจะทําหนาที่ในการหาอาหาร และการสืบพันธุ ตัว
ออนที่เกิดขึ้นมีลักษณะคลายตัวออน planura ของกลุมไนดาเรีย แนวคิดนี้ใหสมมาตรรัศมีเปนบรรพบุรุษ
ของสมมาตรครึง่ ซีก ซึ่งจะสอดคลองกับการศึกษาวิวัฒนาการของสัตว ในดานโครงสรางที่ไดจาก
การศึกษาทางดาน คัพภะวิทยาเปรียบเทียบดวย นักวิทยาศาสตรที่สนับสนุนแนวคิดนี้ไดแก
™ Haeckel ไดเสนอแนวคิดในการเกิดเปนสิ่งมีชีวิตหลายเซลลวามีกําเนิดมาจาก Choanoflagellate
มาอยูรวมกันเปนโคโลนี เซลลบางสวนจะมีการเคลื่อนยายเขาสูภายใน และมีการเพิ่มจํานวนเซลล
มากขึ้น ทําใหเกิดลักษณะคลายตัวออนพลานูรา
™ Metschnikoff ไดเสนอแนวคิดที่คลายกับ Heackel แตกตางกันที่เซลลจะเพิ่มจํานวนขึ้นเปนลูก
บอลอยูภายใน เกิดเปนลักษณะคลายตัวออนพลานูราเชนกัน
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 8 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------

ภาพที่ 11 Colonial theory


(ที่มาภาพ : http://science.kennesaw.edu/~jdirnber/InvertZoo/LecPorifera/
colonial%20theory.jpg)
หลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือ
1. สเปรมของสัตวชั้นสูงมีแฟลเจลลัม
2. พบเซลลที่มีแฟลเจลลัมในสัตวพวกฟองน้ํา และไนดาเรีย
ในชวงป 1946 เปนตนมา จากการสํารวจพื้นที่ตาง ๆ ทั่วโลกทําใหคาดวาสัตวหลายเซลลนั้นนาจะมีมา
ตั้งแตกอนยุคพรีแคมเบรียน โดยนาจะมีชีวิตอยูเมื่อประมาณ 600 ลานปกอน ตามอายุของ Ediacarian
Fossil ที่มซี ากของสัตวนี้ สัตวเหลานี้ถูกเรียกวา “Ediacaran” หรือ “Ediacara Biota” นอกจากนั้นมีบาง
รายงานที่คาดวาเปน Fossil ของ Metazoan ที่มีอายุราว 1,500 ปกอน อยางไรก็ตามฟอสซิลนั้นอาจเปน
สาหรายก็เปนได สําหรับสัตวไมมีกระดูกสันหลังที่เราคุนเคยที่พบฟอสซิลเกาแกที่สุดคือ แมงกะพรุน และ
หนอนทะเล สวนฟอสซิลของสัตวมีกระดูกสันหลังที่เกาแกที่สุดคือพวกปลา ซากฟอสซิลของสัตวโบราณเริ่มพบ
มากในยุคแคมเบรียน เรียกเหตุการณการพบสัตวหลากชนิดนั้นวา “Cambrian Explosion”
(สามารถศึกษา Time line ของกําเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ไดจาก http://www.uky.edu/KGS/education/
timeline_short.htm)

ภาพที่ 12 Ediacaran fossil ใน Canada


(ที่มาภาพ : http://geol.queensu.ca/museum/exhibits/ediac/ediac.html)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 9 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------

ภาพที่ 13 Timeline ของสัตว


(ที่มาภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio/
BioBookDiversity_7.html)

ลักษณะของสิง่ มีชีวติ ในอาณาจักรสัตว


1. เซลลแบบยูคาริโอต (Eukaryotic cell) เปนเซลลที่มีเยื่อหุมนิวเคลียส ในไซโทพลาซึมมีออรแกนเนลล
ตาง ๆ กระจายอยู

ภาพที่ 14 เซลลสัตว
(ที่มาภาพ : http://www.harlem-school.com/10TH/sci_pdf/graphics/animal_cell.gif)

2. รางกายประกอบดวยเซลลชนิดที่ไมมีผนังเซลล ทําใหเซลลมีลกั ษณะออนนุม และแตกตางไปจากเซลลพืช


เซลลเหลานี้จะมารวมกันเปนเนื้อเยื่อเพื่อทําหนาที่เฉพาะอยาง ซึ่งพบวาเซลลในเนื้อเยื่อมักมีขนาดและ
รูปรางเหมือนกัน มีการประสานการทํางานระหวางกัน สัตวชั้นสูงมีเนื้อเยื่อหลายชนิดสามารถจําแนกตาม
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 10 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
หนาที่และตําแหนงที่อยูของรางกายเปน 5 ประเภท คือ เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelial tissue) เนื้อเยื่อ
เกี่ยวพัน (Connective tissue) เนื้อเยื่อกลามเนื้อ (Muscular tissue) เนื้อเยื่อลําเลียง (Vascular
tissue) และเนื้อเยื่อประสาท (Nervous tissue)

ภาพที่ 15 เนื้อเยื่อของสัตว
(ที่มาภาพ : http://users.rcn.com/jkimball.ma.ultranet/BiologyPages/A/AnimalTissues.gif)

3. สรางอาหารเองไมได เพราะไมมีคลอโรฟลล ดังนั้นการดํารงชีวิตจึงตองกินสิ่งมีชีวิตอื่นเปนอาหารซึ่งอาจ


เปนพืชหรือสัตวดวยกัน การดํารงชีวิตจึงมักเปนแบบผูลาเหยื่อหรือปรสิต
4. โดยทั่วไปเคลื่อนที่ไดดวยตนเองตลอดชีวิต มีบางชนิดพบวาเมื่อเปนตัวเต็มวัยแลวเกาะอยูกับที่
5. โดยสวนใหญสามารถตอบสนองตอสิ่งเราไดอยางรวดเร็วเนื่องจากมีระบบประสาท มีอวัยวะรับความรูสึก
และตอบสนอง เชน การกินอาหาร การขับถาย การสืบพันธุ เปนตน

เกณฑทใี่ ชในการจําแนกหมวดหมูข องอาณาจักรสัตว


1. ระดับการทํางานรวมกันของเซลล (Level of cell organization) โดยดูการรวมกันทํางานของเซลลและ
การจัดเปนเนื้อเยื่อนั้นมีลักษณะเปนอยางไร ซึ่งระดับการทํางานแบงเปน 5 ระดับคือ
(1) Protoplasmic level of organization เปนการทํางานในระดับโปรโตพลาซึม ซึ่งพบในสิ่งมีชีวิต
เซลลเดียวเชน โปรโตซัว
(2) Cellular level of organization มีการรวมกลุมกันของเซลลชนิดเดียวกัน และมีการจัดแบงหนาที่
การทํางานที่พิเศษขึ้น เซลลบางชนิดก็มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปรางและโครงสราง เชน กลุมเซลลที่
เปลี่ยนแปลงเพื่อทําหนาที่ในการสืบพันธุ กลุมอื่น ๆ ที่เหลือจะทําหนาที่ในการกินอาหารเปนตน มี
กลุมเซลลเพียงเล็กนอยที่มีแนวโนมจะเปลี่ยนแปลงไปเปนเนื้อเยื่อ (Tissue) ในโปรโตซัวหลายชนิดที่
จะพบวา มีการเปลี่ยนแปลงเซลลที่มีการรวมกลุม กันใหทําหนาที่เฉพาะอยางมากขึ้น นักสัตววิทยาจัด
ให “ฟองน้ํา” (Sponge) เปนสัตวที่อยูในกลุมที่มีการทํางานระดับเซลล
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 11 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
(3) Cell-tissue level of organization กลุมเซลลที่เหมือนกันเกิดการเปลี่ยนแปลงเปนรูปแบบเฉพาะ
เชน รวมเปนชั้นของเนื้อเยื่อ (Tissue layer) สิ่งมีชีวิตที่จัดวามีการทํางานอยูในกลุมนี้คือ ไนดาเรีย
(Cnidaria) และทีโนฟอร (Ctenophore) ซึ่งแสดงใหเห็นถึงโครงสรางของลําตัว ในระดับเนื้อเยื่อ
ชัดเจนเชน รางแหประสาท (Nerve net) ซึ่งเกิดจากกลุมของเซลลประสาทมารวมตัวกันเปนเนื้อเยื่อ
ที่ทําหนาที่เฉพาะ
(4) Tissue-organ level of organization การรวมกลุมกันของเนื้อเยื่อเปนอวัยวะ (Organ) ซึ่งนับวา
เปนการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นมาก โดยปกติอวัยวะจะถูกสรางขึ้นมาจากการรวมตัวของเนื้อเยื่อที่
มากกวา 1 ชนิดและมีหนาที่การทํางานที่พิเศษกวาเนื้อเยื่อ การทํางานในระดับนี้พบในกลุมของหนอน
ตัวแบน (Flatworm) ในไฟลัม Platyhelminthes ตัวอยางของอวัยวะที่เห็นไดชัดเจนคือ Eyespot
ระบบทางเดินอาหาร และอวัยวะสืบพันธุ
(5) Organ-system level of organization การพัฒนาของรางกายในระดับสูงสุด คือการที่อวัยวะตาง
ๆ สามารถทํางานรวมกันไดจนกลายเปนการทํางานที่เปนระบบ (System) ระบบตาง ๆ ในรางกาย
จะมีความเกี่ยวกันกันกับพื้นฐานโครงสรางและ การทํางานของรางกาย การไหลเวียนของเลือด การ
หายใจ การยอยอาหาร
หรืออีกนัยหนึ่งอาจแบงสัตวเปนสองกลุมตามการพิจารณาจากเนื้อเยื่อคือ
1.1 เนื้อเยื่อที่ไมแทจริง ( No true tissue) เรียกสัตวกลุมนี้วา พาราซัว (Parazoa) เนื่องจากเซลลในสัตว
กลุมนี้ไมมีการประสานงานกันระหวางเซลล โดยเซลลทุกเซลลจะมีหนาที่ในการดํารงชีวิตของตนเอง
หนาที่ทั่วไปคือดานโภชนาการ และสืบพันธุ ไดแก พวกฟองน้ํา
1.2 เนื้อเยื่อที่แทจริง (True tissue) เรียกสัตวกลุมนี้วา ยูเมตาซัว (Eumetazoa) ซึ่งเนื้อเยื่อจะถูกสราง
ขึ้นเปนชั้น หรือเรียกวา ชั้นของเนื้อเยื่อ (Germ layer) มี 2 ประเภทคือ
1.2.1 เนื้อเยื่อ 2 ชั้น (Diploblastica) ประกอบดวยเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน
(Endoderm) ไดแก พวกไฮดรา แมงกะพรุน โอบีเลีย
1.2.2 เนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica) ประกอบดวยเนื้อเยื่อชั้นนอก ชั้นกลาง (Mesoderm) และชั้นใน
ไดแกพวกหนอนตัวแบนขึ้นไป จนถึงสัตวที่มีกระดูกสันหลัง

ภาพที่ 16 เนื้อเยื่อของสัตว
(ที่มาภาพ : http://biology.kenyon.edu/courses/biol112/Biol112WebPage/Syllabus/
Topics/Week%207/Resources/diptrip.GIF)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 12 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
2. สมมาตร (Symmetry) คือลักษณะการแบงรางกายออกเปนซีก ๆ ตามความยาวของซีกเทา ๆ กัน มีอยู 3
ลักษณะ ไดแก
2.1 ไมมีสมมาตร (Asymmetry) มีรูปรางไมแนนอน ไมสามารถแบงซีกซายและซีกขวาได เทา ๆ กัน
ไดแก พวกฟองน้ํา
2.2 สมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) รางกายของสัตวจะมีรูปรางคลายทรงกระบอก หรือลอรถ
ถาตัดผานจุดศูนยกลางแลวจะตัดอยางไรก็ได 2 สวนที่เทากันเสมอ หรือเรียกวา มีสมมาตรทีผ่ าซีกได
เทา ๆ กันหลาย ๆ ครั้งในแนวรัศมี ไดแก สัตวพวกไฮดรา แมงกะพรุน ดาวทะเล เมนทะเล
2.3 สมมาตรแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry) หรือมีสามาตรที่ผาซีกไดเทา ๆ กัน เพียง 1 ครั้ง
สมมาตรแบบนี้สามารถผาหรือตัดแบงครึ่งรางกายตามความยาวของลําตัวแลวทําให 2 ขางเทากัน
ไดเพียงครั้งเดียวเทานั้น ไดแก พวกหนอนตัวกลม แมลง สัตวมีกระดูกสันหลัง

ภาพที่ 17 สมมาตรของสัตวแบบตาง ๆ
(ที่มาภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio
/BioBookDiversity_7.html)

3. ลักษณะชองวางในลําตัวหรือชองตัว (Body cavity หรือ Coelom) คือชองวางภายในลําตัวที่อยูระหวาง


ผนังลําตัวกับอวัยวะภายในตัว ภายใน Coelom มักจะมีของเหลวอยูเต็ม ของเหลวเหลานี้ทําหนาที่เสมือนหนึ่ง
ระบบไหลเวียนโลหิตงาย ๆ ในสัตวบางพวกชวยลําเลียงสารอาหาร ออกซิเจน และของเสีย เปนตน อีกทั้งยัง
ชวยลดแรงกระแทกจากภายนอกที่อาจเปนอันตรายตออวัยวะภายใน และยังเปนบริเวณที่ทําใหอวัยวะภายใน
เคลื่อนที่ไดอิสระจากผนังลําตัว ยอมใหอวัยวะขยายใหญได ซึ่งสามารถนํามาใชเปนเกณฑในการจําแนกสัตวได
แบงเปน 3 พวกคือ
3.1 ไมมีชองวางในลําตัวหรือไมมีชองตัว (No body cavity หรือ Acoelom) เปนพวกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
อยูชิดกัน โดยไมมีชองวางในแตละชั้น ไดแกพวกหนอนตัวแบน

ภาพที่ 18 สัตวที่ไมมีชองวางในตัว
(ที่มาภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio
/BioBookDiversity_7.html)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 13 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
3.2 มีชองตัวเทียม (Pseudocoelom) เปนชองตัวที่เจริญอยูระหวาง mesoderm ของผนังลําตัว และ
endoderm ซึ่งเปนทางเดินอาหาร ชองตัวนี้ไมมีเยื่อบุชองทองกั้นเปนขอบเขต ไดแก พวกหนอนตัว
กลม โรติเฟอร (Rotifer)

ภาพที่ 19 สัตวที่มีชองวางในตัวแบบชองตัวเทียม
(ที่มาภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio
/BioBookDiversity_7.html)

3.3 มีชองตัวที่แทจริง (Eucoelom หรือ Coelom) เปนชองตัวที่เจริญแทรกอยูระหวาง Mesoderm 2


ชั้น คือ Mesoderm ชั้นนอกเปนสวนหนึ่งของผนังลําตัว (Body wall) กับ Mesoderm ชั้นในซึ่งเปน
สวนหนึ่งของผนังลําไส (Intestinal wall) และ Mesoderm ทั้งสองสวนจะบุดวยเยื่อบุชองทอง
(Peritoneum) ไดแก ไสเดือนดิน หอย แมลง ปลา สัตวมีกระดูกสันหลัง เปนตน

ภาพที่ 20 สัตวที่มีชองวางในตัวแบบชองตัวแทจริง
(ที่มาภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio
/BioBookDiversity_7.html)

4. การเกิดชองปาก ซึ่งสามารถแบงสัตวตามการเกิดชองปากได 2 กลุม


4.1 โปรโตสโตเมีย (Protostomia) เปนสัตวพวกที่ชองปากเกิดกอนชองทวารในขณะที่เปนตัวออน ซึ่งชอง
ปากเกิดจากบลาสโตพอร หรือบริเวณใกล ๆ บลาสโตพอร (Blastopore) ไดแก พวกหนอนตัวแบน
หนอนตัวกลม หนอนมีปลอง หอย สัตวขาขอ
4.2 ดิวเทอโรสโตเมีย (Deuterostomia) เปนสัตวพวกที่ชองปากเกิดภายหลังชองทวาร เกิดจากชองใหมที่
จะเจริญพัฒนาไปเปนทางเดินอาหารซึ่งอยูตรงขามกับ บลาสโตพอร ไดแก พวกดาวทะเล และสัตวมี
กระดูกสันหลัง
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 14 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------

ภาพที่ 21 การเกิดชองปาก และทวาร


(ที่มาภาพ : http://web.nkc.kku.ac.th/images/lean/1-4.jpg)

5. ทางเดินอาหาร (Digestive tract) โดยทั่วไปแบงไดเปน 2 ลักษณะ คือ


5.1 ทางเดินอาหารแบบไมสมบูรณ (Incomplete digestive tract) เปนทางเดินอาหารของสัตวที่มีปาก
แตไมมีทวารหนัก หรือมีชองทางเดินอาหารเขาออกทางเดียวกัน หรือทางเดินอาหารแบบปากถุง
(One-hole-sac) ไดแกพวกไฮดรา แมงกะพรุน หนอนตัวแบน
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 15 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
5.2 ทางเดินอาหารแบบสมบูรณ (Complete digestive tract) เปนทางเดินอาหารของสัตวที่มีทั้งปาก
และทวารหนัก หรือมีชองทางเขาออกของอาหารคนละทางกัน หรือทางเดินอาหารแบบทอกลวง
(Two-hole-tube) ไดแก พวกหนอนตัวกลม จนถึงสัตวมีกระดูกสันหลัง

ภาพที่ 22 ทางเดินอาหารของสัตว
(ที่มาภาพ : http://www.utm.edu/departments/cens/biology/rirwin/compincompdigtract.GIF)

6. การแบงเปนปลอง (Segmentation) การแบงเปนปลองเปนการเกิดรอยคอดขึ้นกับลําตัวแบงออกเปน


6.1 การแบงเปนปลองเฉพาะภายนอก (Superficial segmentation) เปนการเกิดปลองขึ้นเฉพาะที่สวนผิว
ลําตัวเทานั้นไมไดเกิดตลอดตัว เชน พยาธิตัวตืด
6.2 การแบงเปนปลองที่แทจริง (Metameric segmentation) เปนการเกิดปลองขึ้นตลอดลําตัวทั้ง
ภายนอกและภายใน โดยขอปลองเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อชั้นกลาง ทําใหเนื้อเยื่อชั้นอื่น ๆ เกิดเปนปลองไปดวย ไดแก
ไสเดือน กุง ปู แมลง ตลอดไปจนสัตวมีกระดูกสันหลังทุกชนิด

ในลําดับขั้นของการจัดหมวดหมูของสิ่งมีชีวิตในกลุมของสัตวทั้งหมดโดยหลัก แลวจะแบงเปน 7 ชั้น


โดยจะเริ่มจาก Kingdom Phylum Class Order Family Genus Species แตอาจจะมีการจัดลําดับชั้นที่
ยอยลงไปอีกก็ได เพื่อใหแตละลําดับชั้นแสดงคุณลักษณะนั้น ๆ ไดเดนชัดขึ้น (ในปจจุบันนักชีววิทยาจัดลําดับ
ขั้นมากถึง 30 ลําดับชั้นไปแลว ซึ่งมีความจําเปนตอกลุมของสัตวที่มีจํานวนชนิดมาก ๆ เชน ปลา และแมลง)
แผนภาพที่แสดงลําดับชั้นของการจัดสายสัมพันธระหวางสิ่งมีชีวิต เรียกวา Cladogram ซึ่งอาจแบงเปนกิ่ง
(Branch) ตาง ๆ ดังนี้
Branch A (Mesozoa) : phylum Mesozoa
Branch B (Parazoa) : phylum Porifera และ Placozoa
Branch C : (Eumetazoa) : phylum ที่เหลือทั้งหมด
Grade I (สมมาตรรัศมี : Radiata) : phylum Cnidaria และ Ctenophora
Grade II (สมมาตรครึ่งซีก : Bialteria) : phylum ที่เหลือทั้งหมดซึ่งแบงเปน 2 กลุม (Division) คือ
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 16 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
Division A (Prostomia) : ไดแกสัตวใน phylum ตอไปนี้
*พวกที่ไมมีชองตัว (Acoelomate): phylum Platyhelminthes และ Rhychocoela
(Nemertea)
*พวกที่มีชองลําตัวเทียม (Pseudocoelomates): phylum Rotifera, Gastrotricha,
Kinorhyncha, Gnathostomulida, Nematoda, Priapulida, Nematonorpha
*พวกที่มีชองลําตัวที่แทจริง (Eucoelomates): phylum Mollusca, Annelida, Arthropoda,
Echiurida, Sipuncula, Tardigrada, Pentastomida, Onychophora, Pogonophora
Division B (Deuterostomia) : ไดแกสัตวในไฟลัมตอไปนี้
Phoroida, Ectoprocta, Brachiopoda, Echinodermata, Hemichordata, Chordata

Practice :
ใหนักเรียนวาด Cladogram ของสิ่งมีชีวิต 12 phyla ที่มีผูสนใจศึกษามากที่สุด โดยใชขอมูลจากการแบงชั้น
สิ่งมีชีวิตที่กําหนดใหขางบน ลงในกรอบที่กําหนดใหขางลางนี้

ภาพแสดง Cladogram ของสัตว


โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 17 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)

ฟองน้ําจัดเปนสัตวโบราณที่มีกําเนิดมาตั้งแตยุคแคมเบรียน หรืออาจจะยอนไปถึงยุคพรีแคมเบรียน
ก็เปนได พบซากฟอสซิลรวมกันอยูจํานวนมาก ฟองน้ําจะแตกตางจากโปรโตซัว ตรงที่เปนสัตวหลายเซลลที่
เรียกวา เมตาซัว (Metazoa) แตอยางไรก็ตามก็ยังจัดวาเปนกลุมของเมตาซัวที่มีรูปรางไมสลับซับซอน
โครงสรางการทํางานของรางกายอยูในระดับเซลล เนื่องจากไมมีเนื้อเยื่อที่แทจริง

ภาพที่ 23 การรวมกลุมของเซลลฟองน้ํา
(ที่มาภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio/
BioBookDiversity_7.html)

คําวา Porifera มาจากภาษาละติน คือ porus หมายถึงรูพรุน และคําวา ferre หมายถึง การถือ
กําเนิด ฟองน้ํามีประมาณ 9,000 ชนิด มากกวา 5,000 species พบอาศัยอยูในทะเลแตอีกประมาณ 150
species พบอาศัยอยูในน้ําจืด พวกที่อยูใกลชายฝงทะเลจะมีลําตัวที่มีเปลือกหนา พวกที่อยูในทะเลลึกจะมี
ลําตัวออนนุมกวา เปนแทงยาว ฟองน้ําที่อยูบริเวณที่มีการขึ้นลงของกระแสน้ําจะมีรูปรางขนาดใหญ มีสมมาตร
ชัดเจน ลําตัวของฟองน้ํามีสีสรรมากมายคือ มวง น้ําเงิน เหลืองแดงเขม และจะเปลี่ยนสีซีดลงอยางรวดเร็วถา
นําขึ้นมาจากน้ํา ดํารงชีวิตแบบการพึ่งพาอาศัย (Symbiosis) โดยจะอยูรวมกับแบคทีเรียหรือสาหรายเซลล
เดียวหลายชนิด ตามปกติฟองน้ําตัวเต็มวัยไมเคลื่อนที่ แตพบการเคลื่อนที่ไดในตัวออน ลําตัวประกอบดวยรู
พรุนและมีทางเชื่อมติดตอกันเหมือนคลอง การทํางานของเซลลขึ้นอยูกับการไหลเวียนของน้ํา เนื่องจากน้ําจะนํา
ออกซิเจนและอาหารผานเขาไปในรางกายและนําของเสียออกนอกรางกายดวย โครงสรางของรางกายจะ
ประกอบดวย กลุมเซลลอยูรวมกับสารที่มีลักษณะคลายวุน และมีโครงรางแข็งที่เรียกวา "ขวาก" (spicule) ซึ่ง
เปนสารอาหารประเภทแคลเซียมหรือซิลิคาแทรกอยู ในฟองน้ําบางชนิดจะมีเสนใยที่ออนนุมเรียก "สปองจิน"
(spongin) แทรกอยู เซลลฟองน้ํามีการจัดเรียงตัวกันอยางหลวม ๆ ในรูปของเจลาติน เรียกวา มีโซฮิล
(Mesohyll) (บางครั้งอาจเรียกวา มีโซเกลีย (Mesoglea) หรือมีเชนไคม (Mesenchyme)) คําวา Mesohyll
จะเปรียบเสมือนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของฟองน้ํา นอกจากนี้ยังพบเซลลที่มีรูปรางคลายอมีบา (Amoeboid cell)
เสนใย และโครงค้ําจุนดวย ชนิดของเซลลที่พบไดแก
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 18 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
™ พินาโคไซท (Pinacocytes) เปนเซลลที่เกือบจะทําหนาที่เปนเนื้อเยื่อที่แทจริงแลว มีการจัดเรียงตัว
ของเซลลเปนเยื่อยุผิวดานนอก เซลลแบนบาง บางชนิดมีรูปรางเปนตัว T และเซลลนี้จะจัดเรียงตัว
ลอมรอบรูพรุนทําหนาที่ควบคุมอัตราการไหลเขาของน้ํา
™ พอโรไซท (Porocytes) เปนเซลที่มีรูปรางเปนทอ เจาะเขาไปในผนังของฟองน้ําเปนชองทางใหน้ําเขา
สูโพรงภายใน
™ โคแอนโนไซท Choanocytes) เปนเซลลที่มีรูปรางเปนปลอกคอ มีแฟลเจลลาเปนองคประกอบ
ดานหนึ่งของเซลลจะฝงตัวอยูในชั้น mesohyll อีกดานหนึ่งจะเปดออกเปนที่ตั้งของแฟลเจลลา เซลล
โคแอนโนไซทแตละเซลลจะเชื่อมตอกันดวยเสนใย เกิดเปนโครงรางที่คงรูปได แซลลนี้จะทําหนาที่
กรองอาหารจากน้ํา โดยการโบกพัดของแฟลเจลลา อนุภาคของอาหารที่มีขนาดใหญที่ไมสามารถเขาสู
เซลลได จะถูกยึดจับและสงมายังดานลางของเซลลเพื่อการกินโดยวิธี phagocytosis
™ อารคีโอไซท (Archeocytes) เปนเซลลรูปรางคลายอมีบาเคลื่อนที่ไปมาในชั้น mesohyll มีหนาที่
หลายชนิดเชน สเคอโรไซท (schlerocytes) ทําหนาที่สรางขวาก สปองโกไซท (spongocytes) ทํา
หนาที่สรางเสนใยสปองจิน คอลเลนไซท (collencytes) ทําหนาที่สรางเสนใย

ภาพที่ 24 ลักษณะของฟองน้ํา
(ที่มาภาพ : http://www.biologie.uni-hamburg.de/b-online/library/onlinebio/
BioBookDiversity_7.html)

ลักษณะเดนของฟองน้ําคือ การมีรูปรางแบบไมสมมาตร ลําตัวมีรูพรุนซึ่งเปนชองทางใหน้ําผานเขา (ostia)


ลําตัวดานในจะกลวง (spongocoel) ทําหนาที่คลายชองทางเดินอาหาร มีชองทางออกของน้ํา เรียกวา
osculum ผนังลําตัวฟองน้ําเปนเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้น epidermis เปน pinacocyte เซลลดานใน choanocyte
จะมี flagella ทําหนาที่ในการดักจับชิ้นอาหาร และชวยพัดพาน้ําใหเกิดการไหลเวียน โดยมี mesohyl ซึ่งเปน
gelatinous matrix อยูระหวางเนื้อเยื่อทั้ง 2 ชั้นและมี amoebocyte ทําหนาที่ในการยอยและสงสารอาหาร
และขวาก (spicule) ฝงตัวอยูในชั้นนี้ทําใหฟองน้ํามีโครงรางคอนขางแข็ง ไมมีอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่แทจริง
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 19 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
การยอยอาหารเกิดขึ้นภายในเซลล การขับถายและการหายใจใชวิธีแพร (Diffusion) ฟองน้ําสามารถ
ขยายพันธุไดทั้งแบบ asexual reproduction โดยการ budding หรือสรางเจมมูล และ sexual
reproduction โดยการสราง gamete
ฟองน้ําโดยทัว่ ไปมีระบบทอน้าํ ภายในรางกาย ซึง่ สามารถแบงออกไดเปน 3 แบบ คือ
1. Asconoid : เปนระบบการไหลเวียนของน้ําอยางงายที่สุด ฟองน้ําที่มีรูปรางแบบนี้มักเปนฟองน้ําที่มีขนาด
เล็ก รูปทอ น้ําจะไหลเขาทางรูที่มีขนาดเล็กมากผานเซลลที่เปนผนังลําตัว เขาไปภายในโพรงขนาดใหญ เรียก
สปองโกซิล (Spongocoel) ดานในของสปองโกซีลประกอบดวยเซลลโคแอนโนไซทที่มีแฟลเจลลา ฟองน้ําที่มี
ระบบไหลเวียนนี้มักจะมีออสคิวลัมเพียงอันเดียว ตัวอยางของฟองน้ําที่มีระบบไหลเวียนนี้ คือ ฟองน้ํารูปแจกัน
Leucosolenia ฟองน้ําสีขาวชนิดนี้จะมีรากยึดเกาะกับวัสดุ อีกชนิดหนึ่งคือ Clathrina จะมีสีเหลืองสดใส
สวยงาม
Osculum

Incurrent pore

Atrium

ภาพที่ 25 การไหลเวียนน้ําแบบแอสโคนอยด
(ที่มาภาพ : http://www-biol.paisley.ac.uk/biomedia/graphics/jpegs/asc.jpg)

2. Syconoid : มีรูปรางเปนทอและมีชองเปด osculum 1อัน แตกตางจากกลุมแรกตรงที่เซลลที่เปนเยื่อบุ


ผนังลําตัวจะมีขนาดหนากวา เนื่องจากมีการพับทบของเซลลโคแอนโนไซทจนกลายเปนชองทางน้ําเขา
(Incurrent canal) ดังนั้น ภายในสปองโกซีลจะมีเซลลเรียงพับทบอยูภายใน ฟองน้ําในกลุมนี้ไดแก Sycon
Osculum
Flagellated canal

Atrium
Incurrent pore

ภาพที่ 26 การไหลเวียนน้ําแบบไซโคนอยด
(ที่มาภาพ : http://www-biol.paisley.ac.uk/courses/tatner/biomedia/jpegs/sync.jpg
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 20 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
3. Leuconoid : เปนฟองน้ําที่อยูรวมกันเปนกลุมทําใหมีขนาดใหญขึ้น แตไมสามารถแยกออกจากกันได
เซลลโคแนโนไซทจะพับทบกันเกิดเปนโพรงรับน้ํา (Chamber) เมื่อน้ําถูกปลอยออกมาจะไปรวมกันที่
excurrent canal แลวจึงสงผานไปยัง osculum การที่มี chamber จํานวนมากนี้ ทําใหสปองโก
ซีลหายไป ตัวอยางของฟองน้ํานี้ไดแก Euspongia
Excurrent canal Osculum
Osculum
Dermal pore

Incurrnt canal

Flagellated chamber

ภาพที่ 27 การไหลเวียนน้ําแบบลิวโคนอยด
(ที่มาภาพ : http://www-biol.paisley.ac.uk/biomedia/graphics/jpegs/leuc.jpg

ชนิดของโครงค้ําจุน (Types of Skeletons) โครงค้ําจุนที่พบในฟองน้ําทําใหระบบการไหลเวียนและโพรง


ภายในมีความแข็งแรง โปรตีนหลักที่พบในโครงสรางของสัตวคือ คอลลาเจน (collagen) ซึ่งเสนใยของคอลลา
เจนนี้จะพบอยูระหวางเซลลของฟองน้ําเหลานี้ ฟองน้ําในคลาส Demospongiae จะสรางคอลลาเจนที่เรียกวา
สปองจิน (spongin) และขวากซิลิคา (siliceous spicules) สวนฟองน้ําในคลาส Calcareous จะสรางขวาก
ชนิดแคลเซียมที่เปนผลึก 1-3 แฉก ฟองน้ําแกว (glass sponges) จะพบขวากซิลิกา 6 แฉก ลักษณะของ
ขวากเหลานี้ชวยในการจัดจําแนกชนิดของฟองน้ําไดดวย

ภาพที่ 28 รูปรางของขวากในฟองน้ํา
(ที่มาภาพ : http://www.microscopy-uk.org.uk/mag/imgaug99/baspong1.jpg)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 21 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
การจําแนกหมวดหมูส ามารถแบงออกเปน 4 class คือ
1. คลาส แคลคาเรีย (Class Calcarea หรือ Calcispongiae) เปนฟองน้ําที่มีขวากเปนหินปูน มีขนาดเล็กสูง
ไมเกิน 10 เซนติเมตร รูปรางแบบแจกัน หรือเปนทอระบบทอน้ําเปนไดทั้ง 3 แบบ สวนมากจะมีสีมืด แตก็มี
บางชนิดที่มีสีสันสดใส เชน เหลือง แดง เขียว ไดแก ฟองน้ํารูปแจกัน (Leucosolenia) หรือ Scypha

ภาพที่ 29 (ซาย) Leucosolenia variabilis (ขวา) ฟองน้ํารูปแจกัน


(ที่มาภาพ : (ซาย) http://www.asturnatura.com/photo/_files/photogallery/b74b8ce4c4b758
b2c0b24a033add9321.jpg)
(ขวา) หาดสามพระยา จ.ประจวบคีรีขันธ ถายภาพโดยธัญญรัตน ดําเกาะ วันที่ 8 ธันวาคม 2550)

2. คลาสเฮกซะแอคทิเนลลิดา (Hexactinellida) ฟองน้ําแกว (glass sponge) ขวากเปนสารประกอบซิลิกา


เปนรูป 6 แฉกเชื่อมตอกันเปนตาขาย จัดเปนโครงรางที่แข็งแรงและเจริญดี มีรูปรางคลายถวยหรือแจกัน
ภายในลําตัวมีสปองโกซีลเจริญดี ออสคิวลัมมีแผนตะแกรงปดไว มีระบบทอน้ําแบบไซโคนอยดหรือลิวโคน
นอยด พบอยูในทะเลลึก มีขนาดตั้งแต 10-100 เซนติเมตร ไดแก กระเชาดอกไมของวีนัส (Venus's flower
basket : Eupletella aspergillum)

ภาพที่ 30 กระเชาดอกไมของวีนัส (Venus's flower basket : Eupletella aspergillum)


(ที่มาภาพ : http://biology.st-andrews.ac.uk/bellpet/px/venus.jpg
http://www.abdn.ac.uk/~nhi708/treasure/venus/venus.gif)
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ (องคการมหาชน) 22 สาขาวิชาชีววิทยา
เอกสารประกอบการเรียนวิชา ว40242 ความหลากหลายทางชีวภาพ อาณาจักรสัตว
-------------------------------------------------------------------------------------
3. คลาสดีโมสปองเจีย (Demospongiae) ประกอบไปดวยฟองน้ําจํานวนมากถึง 95% ของฟองน้ําทั้งหมด
ทุกชนิดอยูในทะเล ยกเวนใน family spongillidae ที่พบอยูในน้ําจืด ในพวกที่อยูในน้ําจืดจะพบแพรกระจาย
ในแหลงน้ําที่มีออกซิเจนสูง เกาะติดกับพืชน้ําหรือเศษไมเกา พวกที่อยูในทะเลจะเปนทรงสูง รูปคลายนิ้วมือ
รูปพัด รูปแจกัน รูปหมอน รูปลูกบอล ขวากฟองน้ําเปนซิลิกา บางชนิดเปนเสนใยฟองน้ํา หรือทั้งสองชนิดอยู
รวมกัน ระบบทอน้ําเปนแบบลิวโคนอยด ไมมีสมมาตร มีออสคิวลัมจํานวนมาก มีขนาดใหญเปนรูป ตะกรา
แจกัน หรือหลอด มักมีสีสรรสดในเชน ฟองน้ําเคลือบหิน (Haliclona) มีสีเหลือง เขียว มวง ชมพูแผคลุมกอน
หินในเขตน้ําขึ้นลงของชายฝงทะเล ฟองน้ําน้ําจืด (Spongilla) และฟองน้ําถูตัว (horny sponge) ก็อยูใน
คลาสนี้เชนกัน

ภาพที่ 31 (ซาย) Haliclona (ขวา) Spongilla


(ที่มาภาพ : http://www.museums.org.za/bio/images/mb/mb0328x.jpg
http://cache.eb.com/eb/image?id=11697&rendTypeId=4)

4. Class Sclerospongiae มีการจัดเรียงทอน้ําเปนแบบ leuconoid มักพบในที่ที่ไมคอยมีแสงสวาง เชน


ตามรอยแยกของแนวปะการัง ในถ้ําใตน้ํา หรือในเขตน้ําลึก จึงมักถูกเรียกวา Coralline sponge

ภาพที่ 32 Coralline sponge


(ที่มาภาพ : http://www.sfu.ca/~fankbone/v/killersp.jpg)

You might also like