You are on page 1of 25

1

การศึกษาทบทวนทางอนุกรมวิธาน Taxonomic Revision

Taxonomic Revision คืออะไร


Taxonomic revision คือการศึกษาทบทวนทางอนุกรมวิธาน เป็นการศึกษาพืชเฉพาะกลุ่มในพื้นที่ใด
พื้นที่หนึ่ง มักเน้นลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก ส่วน monograph เป็นการศึกษา
พืชกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเอาศาสตร์ทุกด้านที่เกี่ยวข้องมาศึกษาอย่างละเอียด และมักเป็นการศึกษาพืชกลุ่มนั้น ๆ ทั่ว
โลก งาน revision ที่ละเอียดจะมีความใกล้เคียงกับ monograph ส่วน synopsis เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ทำ
ระหว่างการทำ Revision
สิ่งที่ปรากฎใน revision ควรประกอบด้วยข้อมูลระบบการจำแนกกลุ่มพืชนั้น ๆ คำบรรยายลักษณะของ
แต่ละ taxon, key ของกลุ่มต่าง ๆ การอ้างตัวอย่างอ้างอิงรวมถึงตัวอย่างต้นแบบ (specimen citation) ข้อมูล
ด้านนิเวศวิทยาและเขตการกระจายพันธุ์พร้อมแผนที่แสดง และ notes ที่สำคัญต่าง ๆ

ทำไมต้องมีการทำ Revision
เหตุผลต่าง ๆ คือ
มาตรฐานในการกำหนดขอบเขตชนิดของนักพฤกษศาสตร์ไม่เหมือนกัน บางครั้งใช้ลักษณะทางสัณฐาน
วิทยาที่มีความผันแปรมากำหนดชนิด เช่น ขนาด สี รูปร่าง ซึ่งในชนิดเดียวกันอาจมีความผันแปรแบบต่อเนื่อง
ในอดีตการติดต่อสื่อสารไม่ง่ายเหมือนปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใช้เรือในการติดต่อสื่อสารซึ่งใช้เวลานาน พืชชนิด
เดียวกันถูกตีพิมพ์หลายครั้งภายใต้ชื่อที่ต่างกันในพื้นที่แตกต่างกัน เนื่องจากผู้ตีพิมพ์ไม่ทราบว่ามีการตีพิมพ์ไปแล้ว
บางครั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียในชนิดเดียวกันมีลักษณะแตกต่างกันมาก ทำให้ถูกตีพิมพ์เป็นพืชต่างชนิดกัน
หรือไม่ก็ในการตีพิมพ์ครั้งแรกมีข้อมูลประกอบน้อย เช่น มีเพียงแค่คำบรรยายสั้น ๆ ไม่มีภาพวาดประกอบ ทำให้
พืชชนิดเดียวกันถูกตีพิมพ์ซำ้ แล้วซ้ำอีก
ปัญหาจากผู้ตีพิมพ์ บางครั้งผู้ตีพิมพ์ไม่ได้รับการฝึกฝนทางอนุกรมวิธานโอยตรงแต่มีความชอบในด้านนี้
เมือ่ ทำการตีพิมพ์พืชชนิดใหม่จึงเกิดปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอนุกรมวิธานตามมา ซึ่งต้องมีการแก้ไข ปัญหา
แบบนี้เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปัญหาความเห็นแตกต่างกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดขอบเขตชนิด เช่น ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งบอก
เป็นชนิดเดียวกันหมด แต่อีกท่านหนึ่งบอกเป็น 2 ชนิดที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดผลงานตีพิมพ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องมี
การศึกษาตัวอย่างพืชอย่างละเอียดเพื่อแก้ปัญหา
เทคโนโลยีสมัยใหม่และความถูกต้องและมีมาตรฐานของข้อมูลในปัจจุบัน ช่วยทำให้นักอนุกรมวิธานแยก
ชนิดได้ง่ายขึ้นและช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต การใช้ DNA ช่วยในการศึกษาทำให้การแยกชนิดมีความถูกต้อง

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


2

มากขึ้น เช่น ชนิดที่ในอดีตเคยถูกแยกเป็น 2 ชนิด ความจริงคือชนิดเดียวกัน หรือ ชนิดที่ในอดีตถูกจัดเป็นชนิด


เดียวกันแต่ความจริงแล้วเป็น 2 ชนิด ที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ไม่มีผลงานการศึกษาทบทวนได้ที่สมบูรณ์ถูกต้องครบถ้วน เพียงแต่วิทยาการสมัยใหม่ช่วยทำให้
ข้อบกพร่องต่าง ๆ ลดน้อยลง ทำให้ผลงานการศึกษาทบทวนมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
สิ่งสำคัญที่จะทำให้การศึกษาทบทวนประสบผลสำเร็จคือการจัดการข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมี
โปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย เช่น โปรแกรม BRAHMS ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศ
อังกฤษ หรือโปรแกรม Scratchpads ของ Natural History Museum London การมีฐานข้อมูลที่ดีจะช่วยทำให้
การตรวจสอบชนิดและการเปรียบเทียบระหว่างชนิดทำได้ง่ายขึ้น

การทำ Revision ควรเริ่มต้นอย่างไร


ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพืชที่ศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาทางอนุกรมวิธาน
ศึกษาตัวอย่างพืชแต่ละชนิดและเลือกลักษณะที่ไม่ต่อเนื่องเพื่อใช้ในการแยกชนิด
รวมตัวอย่างเป็นกลุ่มตามลักษณะที่คล้ายกัน พยายามหาลักษณะเด่นร่วมเพื่อใช้แยกกลุ่ม
บันทึกความผันแปรของลักษณะทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม
แบ่งกลุ่มที่จัดไว้ตามภาคภูมิศาสตร์หรือตามลักษณะทางนิเวศวิทยาพร้อมทั้งระบุชื่อกลุ่ม เช่น ชนิด
(species) ชนิดย่อย (subspecies) หรือพันธุ์ (variety) ถ้าเป็นระดับ subspecies ส่วนใหญ่จะใช้ลักษณะทาง
สัณฐานวิทยารวมกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น ฝักมีขน พบที่ระดับ 1,000 เมตรขึ้นไป กับฝักเกลี้ยง พบที่ระดับ
ใกล้ทะเล ส่วนระดับ variety จะใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกับลักษณะทางนิเวศวิทยา เช่น ใบแดง ขึ้นตาม
แหล่งที่มีหินปูน กับใบเขียว ขึ้นตามดินทราย
จัดทำภาพวาดลายเส้น ภาพสี หรือแผนที่ ประกอบ
เขียนงานผลการศึกษาทบทวนตามรูปแบบที่วางไว้
อภิปรายผลความสัมพันธ์ต่าง ๆ

รูปแบบการเขียนงานศึกษาทบทวนด้านอนุกรมวิธานพืชระดับชนิด
ชื่อที่ถูกต้องและการอ้างอิง เริ่มด้วยชื่อที่เป็น accepted name หรือ correct name ตามด้วยชื่อพ้อง
ชื่อ Figures, Plates หรือ Maps ต่าง ๆ
คำบรรยายลักษณะ เริ่มตั้งแต่ลักษณะวิสัย ต้น ราก ใบ ดอก ผล เมล็ด แบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ตามความ
เหมาะสม
Distribution การกระจายพันธุ์ มักลงเป็นชื่อประเทศหรือภูมิภาค เช่น ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาค
มาเลเซีย ถ้าพบเฉพาะพื้นที่ก็ใส่เป็น endemic

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


3

Ecology ลักษณะทางนิเวศวิทยา ประกอบไปด้วยสภาพสังคมพืชที่พบ เช่น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ


ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง ระยะเวลาการออกดอกผล
Vernacular ชื่อพื้นเมือง
Etymology ที่มาของชื่อที่ตั้ง กรณีเป็นพืชชนิดใหม่
Uses การใช้ประโยชน์
Conservation Assessment สถานภาพ ส่วนใหญ่จะใช้ตามเกณฑ์ใน IUCN Red List Categories
and Criteria ซึ่งค้นได้จากอินเทอร์เน๊ต
Note ใส่ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น แยกจากชนิดที่ใกล้เคียงอย่างไร หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ผู้เขียนต้องการให้
ผู้อื่นรับรู้

สิ่งควรทราบและเขียนให้ถูกต้องในการศึกษาทบทวนด้านพืช
Citations การอ้างอิง
การอ้างอิง เป็นการอ้างในระดับต่าง ๆ เช่น การอ้างชื่อพฤกษศาสตร์พร้อมเอกสารที่ปรากฏชื่อ หรือการ
อ้างตัวอย่างอ้างอิงภายใต้ชนิดหนึ่ง ๆ
การอ้างชื่อ เป็นการเขียนอ้างชื่อในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในระดับสกุล ชนิด ชนิดย่อย หรือพันธุ์ แล้ว
ตามด้วยเอกสารอ้างอิงที่ปรากฏชื่อนั้น ๆ อยู่ การอ้างชื่อเริ่มต้นด้วยชื่อพฤกษศาสตร์ที่เป็นชื่อที่ถูกต้องและได้รับ
การยอมรับ (correct name) ตามด้วยชื่อ author ที่ย่อถูกต้องตามหนังสือ Authors of Plant Names โดย
Brummitt & Powell, Royal Botanic Gardens, Kew หรืออาจตรวจสอบได้จาก ipni (http://www.ipni.org)
โดยใส่นามสกุลเต็มเข้าไปในช่องค้นหาก็จะปรากฏชื่อย่อที่ถูกต้องให้ จากนั้นตามด้วยแหล่งที่ตีพิมพ์ครั้งแรก
(original publication) หรือบางครั้งเรียกว่า protologue ซึ่งประกอบด้วยคำบรรยายลักษณะและอาจมี
illustration เช่น ภาพวาดลายเส้นประกอบ จากนั้นตามด้วยงานสำคัญในเรื่องนั้น ๆ ที่อาจเป็น revision หรือ
monograph และหนังสือ Flora ต่าง ๆ ในและรอบพื้นที่ที่ทำการศึกษา เช่น ศึกษาพรรณพฤกษชาติประเทศไทย
ก็จะต้องอ้างเอกสารในประเทศที่พืชกลุ่มหรือชนิดนั้น ๆ กระจายพันธุ์ไปถึง เช่น อินเดีย ศรัลังกา เนปาล ภูฏาน
บังกลาเทศ เมียนมา จีน ภูมิภาคอินโดจีน (ลาว เวียดนาม กัมพูชา) และภูมิภาคมาเลเซีย (มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน
ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย และปาปัวนิวกินี) หลังจากนั้นตามด้วยชื่อพ้องและเอกสารที่ชื่อนั้นปรากฏเช่นกัน
ชื่อวารสาร (journal, bulletin) และชื่อหนังสือ (book) ต้องมีการย่อที่ถูกต้อง โดยชื่อวารสารให้ย่อตาม
หนังสือ BPH (Botanico-Periodicum-Huntianum: http://fmhibd.library.cmu.edu/HIBD-
DB/bpho/findrecords.php) ส่วนชื่อหนังสือให้ย่อตามหนังสือ TL2 [Taxonomic Literature II (TL-2)
Taxonomic Literature: A selective guide to botanical publications and collections with dates,
commentaries and types (Stafleu et al.); http://www.sil.si.edu/DigitalCollections/tl-2/search.cfm]

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


4

ถ้าไม่มีหนังสือทั้ง 2 อย่างเป็นเล่ม สามารถตรวจสอบได้จาก website ของหนังสือดังกล่าว หรือจาก ipni


(http://www.ipni.org) กรณีหนังสือที่มีบรรณาธิการหรือการตีพิมพ์งานในงานของผู้อื่นที่เป็นเจ้าของงานหลัก
สมัยก่อนนิยมเขียนเฉพาะชื่อเจ้าของงาน แต่ในปัจจุบันนิยมใส่ชื่อบรรณาธิการหรือเจ้าของงานหลักไปด้วย อย่างไร
ก็ตาม ก็แล้วแต่ว่าในแต่ละสถาบันที่รับผิดชอบงานนั้น ๆ จะกำหนดรูปแบบเป็นเช่นไร

ตัวอย่างการอ้างชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องและเอกสารประกอบ

Coleus parishii (Hook. f.) A. J. Paton, PhytoKeys 129: 82. 2019. Type: as for basionym below.
Plectranthus parishii Hook. f., Fl. Brit. India 4(12): 622. 1885; Mukerjee, Rec. Bot. Surv. India 14:
50. 1940; Suddee, A. J. Paton & J. Parn., Kew Bull. 59(3): 395. 2004. Type: Burma,
Tenasserim, Moulmein, Parish 444 (holotype K!).
Calamintha esquirolii H. Lév., Repert. Spec. Nov. Regni Veg. 8: 450. 1910. Type: China, Kweichow,
Shingny-hien, Sy-Koua-Tong, Nov. 1906, Esquirol 1058 (holotype E!),
Coleus esquirolii (H. Lév.) Dunn, Notes Roy. Bot. Gard. Edinburgh 8(37): 158. 1913; Dunn, Notes
Roy. Bot. Gard. Edinburgh 6(28): 144. 1915; Kudo, Mem. Fac. Sci. Taihoku Imp. Univ. 2(2):
144. 1929; Y. C. Huang in C. Y. Wu & H. W. Li, Fl. Reipubl. Popularis Sin. 66: 540, f. 114, 10.
1977; McKean, Notes Roy. Bot. Gard. Edinburgh 40(1); 162. 1982; X. W. Li & Hedge in C. Y.
Wu & P. H. Raven, Fl. China 17: 292. 1994. Type: as for above.

ในที่นี้ ชื่อ Coleus parishii (Hook. f.) A. J. Paton ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสาร Phytokeys ฉบับที่
129 หน้า 82 ปี ค.ศ. 2019. เมื่ออ้างชื่อที่ถูกต้องแล้วให้ตามด้วยชื่อพ้องที่เป็น basionym (ถ้ามี) คือชื่อก่อนมีการ
ย้ายเปลี่ยนแปลง ในที่นี้คือ Plectranthus parishii Hook. f. ซึ่งมีการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ Flora of British
India โดยมีชื่อย่อที่ถูกต้องว่า Fl. Brit. India นอกจากนี้ชื่อ Plectranthus parishii ยังไปปรากฏในเอกสารอื่น ๆ
อีก เช่น ในวารสาร Records of the Botanical Survey of India ซึ่งมีชื่อย่อที่ถูกต้องว่า Rec. Bot. Surv. India
และปรากฏในวารสาร Kew Bulletin ซึ่งมีชื่อย่อที่ถูกต้องว่า Kew Bull. เมื่ออ้าง basionym พร้อมเอกสารที่
เกี่ยวข้องเสร็จแล้ว หลังจากนั้นตามด้วยชื่อพ้องอื่น ๆ พร้อมด้วยเอกสารที่ปรากฏ เรียงตามปี ค.ศ. ที่พิมพ์ เรียกว่า
เรียงแบบ chronological order ถ้าเป็นหนังสือที่มีบรรณาธิการ ปัจจุบันนิยมใส่ชื่อทีมบรรณาธิการไว้ด้วย
ตัวอย่างเช่น Coleus esquirolii (H. Lév.) Dunn ปรากฏในหนังสือ Flora of China ซึ่งมีชื่อย่อถูกต้องว่า Fl.
China ในฉบับที่ 17 หน้า 292 ปี ค.ศ. 1994 โดยผู้เขียนงานคือ Xing Wen Li ร่วมกับ Ian Charleson Hedge
ซึ่งมีชื่อช่อที่ถูกต้องคือ X. W. Li และ Hedge ตามลำดับ และในหนังสือ Flora of China ฉบับที่ 17 มีทีม

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


5

บรรณาธิการคือ Cheng Yih Wu และ Peter Hamilton Raven ซึ่งมีชื่อย่อที่ถูกต้องว่า C. Y. Wu และ P. H.


Raven ตามลำดับ จึงอ้างได้เป็น X. W. Li & Hedge in C. Y. Wu & P. H. Raven, Fl. China 17: 292. 1994.
กรณีเขียน Flora ถ้ามีชื่อพ้องมากอาจไม่ต้อง cite ทั้งหมด ให้เน้นชื่อพ้องที่เคยถูกใช้บ่อย หรือเป็นชื่อที่
ตั้งขึ้นในประเทศหรือภูมิภาคที่เราศึกษาอยู่ เช่น เป็นชื่อพ้องที่ตั้งชื่อให้กับพืชในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ใน
การสืบค้นต่อเนื่อง ข้อมูลที่สำคัญบางอย่างของพืชชนิดนั้น ๆ อาจปรากฏอยู่ในคำบรรยายหรือภาพวาดภายใต้ชื่อ
พ้อง
ชื่อบุคคลถ้าไม่มีใน Authors of Plant Names หรือค้นไม่พบใน ipni ให้ใช้นามสกุลเต็มโดยไม่ย่อ แต่ถ้า
เป็นนามสกุลที่รู้จักกันแพร่หลายให้ใส่ชื่อย่อชื่อตัวไปด้วยเพื่อกันความสับสนว่าเป็นใคร เช่น H. Larsen, T. Larsen
ถ้า author เดียวกันเขียนงานหลายเล่ม ให้อ้าง author ครั้งเดียวในครั้งแรกแล้วตามด้วยชื่อหนังสือหรือ
วารสาร ตัวอย่างเช่น
Plectranthus cordifolius D. Don, Prodr. Fl. Nepal.: 116. 1825; Benth. in Wall., Pl. Asiat. Rar. 2: 16.
1830; Labiat. Gen. Spec.: 35. 1832; 709. 1835; in DC., Prodr. 12: 66. 1848. Type: Nepal, Wall. Cat.
2736A (K! (Herb. Benthamianum), neotype chosen here; isoneotypes 2 shts. K! (Herb.
Hookerianum), K-W!).

ด้วยเหตุที่งานที่อ้างแต่ละเรื่องไม่ได้มีความถูกต้องทั้งหมด ในงานอนุกรมวิธานระดับสูงต้องมีการ
ตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งจะพบกับคำย่อต่าง ๆ มากมายซึ่งต้องทำความเข้าใจ ตัวอย่าง
Platostoma siamense (Murata) A. J. Paton, Kew Bull. 52(2): 275. 1997. Type: as for basionym
below.
Geniosporum siamense Murata, Acta Phytotax. Geobot. 24(4-6): 108, f. 3 & f. 4, 1-3. 1970;
SouthE Asian Stud. 8(4): 498. 1971; 14(2): 186. 1976. Type: Thailand, Chiang Mai, along
highway between Mae Sariang and Chom Thong, in deciduous forest, 1100 m, 19 Sept.
1967, Iwatsuki & Fukuoka T-10400 (holotype KYO!; isotypes BKF!, C!, K!, L!, US!, TI!).
Geniosporum strobiliferum sensu auct. Craib (non Wall. ex Benth. 1830), Bull. Misc. Inform. Kew
1911(10): 445. 1911; Craib, Aberdeen Univ. Stud. 57: 168. 1912, pro parte, quoad Kerr
771.

(ตัวอย่างหมายเลข Kerr 771 เมื่อตรวจสอลแล้วเป็น P. siamense)

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


6

Platostoma tectum A. J. Paton, Kew Bull. 52(2): 282, f. 7B. 1997. Type: Thailand, Sakon Nakhon,
Nam Pung Dam, 17 Oct. 1990, Chantaranothai & Parnell 90/774 (holotype K!; isotypes KKU!,
TCD!).
Mesona palustris sensu auct. Doan in Lecomte, Fl. Indo-Chine 4: 929. 1936, pro parte, quoad
Counillon s.n. (Laos), Massie s.n. (Laos), Poilane 11408 (Laos), Poilane 13961 (Cambodia)
& Thorel s.n. (Thailand).

[ตัวอย่างหมายเลข Counillon s.n. (Laos), Massie s.n. (Laos), Poilane 11408 (Laos), Poilane 13961
(Cambodia) และ Thorel s.n. (Thailand) เมื่อตรวจสอบแล้วเป็น P. tectum]

ในบางเอกสารการอ้างอิงอาจจัดชื่อเป็นกลุ่ม เช่น ชื่อที่ถูกต้อง ตามด้วยกลุ่ม homotypic synonyms


ก่อน เรียงตามปี แล้วตามด้วย heterotypic synonyms เรียงตามปี (แต่ละ heterotypic synonym ก็จัดกลุ่ม
homotypic synonyms ตามปี ในกลุ่มของตัวเอง) ดูตัวอย่าง
Platostoma cochinchinense (Lour.) A. J. Paton, Kew Bull. 52(2): 285. 1997. Type: as for
basionym below.
Dracocephalum cochinchinense Lour., Fl. Cochinch.: 371. 1790. Type: Vietnam, Thua Thien Hue,
Hue, South River, sea level, 5 Mar. 1927, Squire 156 (K! neotype chosen here;
isoneotypes A!, BM!, E!, NY!, P!).
Nosema cochinchinense (Lour.) Merr., Trans. Amer. Philos. Soc. n. s. 24, 2: 343. 1935, as
‘cochinchinensis’; Keng, Gard. Bull. Singapore 24: 125, f. 23f-h. 1969; Murata, SouthE
Asian Stud. 8 (4): 509. 1971, as ‘cochinchinensis’; Y. C. Huang in C. Y. Wu & H. W. Li, Fl.
Reipubl. Popularis Sin. 66: 546, f. 115, 1-5. 1977, as ‘cochinchinensis’; Keng in Steenis, Fl.
Males. Ser. I, 8(3): 375. 1978; Phuong, Novit. Syst. Pl. Vasc. 19: 145. 1982, as
‘cochinchinensis’; X. W. Li & Hedge in C. Y. Wu & P. H. Raven, Fl. China 17: 294. 1994, as
‘cochinchinensis’; Phuong, J. Biol. 17 (4): 40. 1995, as ‘cochinchinensis’; A. L. Budantsev,
Komarovia 1: 28. 1999; Phuong in Bân et al., Fl. Vietnam 2: 65. 2000, as
‘cochinchinensis’. Type: as for Dracocephalum cochinchinense.
Geniosporum holochilum Hance, J. Bot. 17: 13. 1879. Type: China, Juxta Pakhoi, Kwangtung, Nov.
1877, Bullock (Herb. Propr. no. 20515, holotype BM!).

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


7

Nosema holochilum (Hance) Kudo, Mem. Fac. Sci Taihoku Imp. Univ. 2 (2): 108. 1929. Type: as
for G. holochilum.
Anisochilus sinensis Hance, J. Bot. 23: 327. 1885; Dunn, Notes Roy. Bot. Gard. Edinburgh 6(28):
145. 1915; Kudo, Mem. Fac. Sci. Taihoku Imp. Univ. 2(2): 142. 1929. Type: China, Juxta
Lamko, Hainan, 24 Oct. 1882, Henry (Herb. Propr. no. 22207, holotype BM!).
Mesona prunelloides Hemsl., J. Linn. Soc., Bot. 26: 267. 1890; Doan in Lecomte, Fl. Indo-Chine 4:
932. 1936. Type: China. Kwangtung, Pakhoi, Apr. 1883, Playfair 110 (holotype K!).
Nosema prunelloides (Hemsl.) C. B. Clarke ex Prain, J. Asiat. Soc. Bengal, Pt. 2, Nat. Hist. 73: 21.
1904; Dunn, Notes Roy. Bot. Gard. Edinburgh 6 (38): 134. 1915; Kudo, Mem. Fac. Sci.
Taihoku Imp. Univ. 2(2): 108. 1929. Type: as for M. prunelloides.
Nosema capitatum Prain, J. Asiat. Soc. Bengal, Pt. 2, Nat. Hist. 73: 20. 1904; Hosseus, Beih. Bot.
Centralbl. 28(2): 500. 1911; Craib, Bull. Misc. Inform. Kew 1911(10): 445. 1911; Aberdeen
Univ. Stud. 57: 168. 1912; Murata, SouthE Asian Stud. 8(4): 509. 1971; Phuong, Novit.
Syst. Pl. Vasc. 19: 145. 1982; J. Biol. 17(4): 40. 1995; A. L. Budantsev, Komarovia 1: 28.
1999; Phuong in Bân et al., Fl. Vietnam 2: 67 (2000), as ‘capitata’. Type: Thailand,
Kanchanaburi, Teysmanns s.n. (holotype K!).
Mesona capitata (Prain) Doan in Lecomte, Fl. Indo-Chine 4: 931. 1936. Type: as for N.
capitatum.
Nosema tonkinense C. B. Clarke ex Prain, J. Asiat. Soc. Bengal, Pt. 2, Nat. Hist. 73: 21. 1904. Type:
Vietnam, Tonkin, Nov. 1885, Balansa 993 (holotype K!; isotype P!).
Nosema capitatum Prain var. javanicum C. B. Clarke ex Prain, J. Asiat. Soc. Bengal, Pt. 2, Nat.
Hist. 73: 21. 1904, in adnot.
Elsholtzia blanda sensu auct. Muschler & Hosseus [non (Benth.) Benth. 1833], Beih. Bot.
Centralbl. 27(2): 498. 1910.
Acrocephalus klossii Wernham, J. Nat. Hist. Soc. Siam 4: 142. 1921. Type: Vietnam, Lang Bian,
Lian Khanh Falls, 900 m, Apr. 1918, Kloss s.n. (holotype BM!).

กรณีต้อง cite ตัวอย่างทีที่ศึกษา นิยมให้ชื่อผู้เก็บเป็นตัวเอียง หมายเลขเป็นตัวตรงปกติ เช่น Kerr 12345


(BK) โดยเรียงตามตัวอักษรชื่อนามสกุลผู้เก็บ

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


8

ตัวอย่างการ cite specimens ของ Platostoma tectum A. J. Paton

Specimens examined. Cambodia: Siem Reap, entre Re Nam et Anlong Veng, 4 Nov. 1927,
Poilane 13961 (HM, P); Stueng Streng, 1866-1868, Thorel s.n. (GH, P). Laos: Xieng Khouang, Jul.
1897, Counillon s.n. (P); Xieng Khouang, Entres le 30 Apr. 1895, Massie s.n. (P); Tchepone, Kilo
202 de la route de Savannakhet de Quan Tri, 2 Jan. 1925, Poilane 11408 (P); Louang Prabang-
Pak Lai (in Sayabouri), 1866-1868, Thorel s.n. (P). Thailand: Sakon Nakhon, Nam Pung Dam, 17
Oct. 1990, Chantaranothai & Parnell 90/774 (holotype K; isotypes KKU, TCD); Chumphon, Siep
Yuan, c 20 m, 21 Sept. 1928, Kerr 16259 (2 shts. BM); Sakon Nakhon, Phu Phan National Park, c
30 km SW of Sakon Nakhon, c 17° 00’N 104° 00’E, c 350-400 m, 13 Nov. 1984, Murata et al. T-
50619 (A, AAU, BKF, KYO); Sakon Nakhon, Phu Phan National Park, c 30 km SW of Sakon Nakhon,
c 17° 00’N 104° 00’E, c 380 m, 13 Nov. 1984, Murata et al. T-51131 (BKF); Sakon Nakhon, Phu
Phan National Park, c 30 km SW of Sakon Nakhon, c 17° 00’N 104° 00’E, c 300 m, 13 Nov. 1984,
Murata et al. T-51973 (3 sht. KYO); Sakon Nakhon, Phu Phan National Park, 17 Nov. 1962,
Phloenchit 1908 (BKF); Sakon Nakhon, Phu Phan National Park, Kham Hom waterfall, 500 m, 9
Sept. 1997, Suddee 816 (BKF, K); Mukdahan National Park, 800 m S of Park H.Q., 100 m, 17 Oct.
1998, Suddee et al. 990 (BKF, K); Sakon Nakhon, Phu Phan National Park., trail N of Park H.Q., 17°
03’ 89N 103° 58’ 13E, 260 m, 20 Oct. 1998, Suddee et al. 1005 (BKF, K, TCD); Sakon Nakhon,
Phu Phan National Park, Kham Hom waterfall, 17° 07’ 40N 104° 01’ 15E, 525 m, 21 Oct. 1998,
Suddee et al. 1030 (BKF, K, TCD); Ubon Ratchathani, Buntharik Distr., 270 m, 10 Dec. 1982, Terao
& Wongprasert T-30708 (BKF, KYO, TI); Mukdahan, Muang Distr., along route 212, Dongman
village, 220 m, 12 Dec. 1982, Terao & Wongprasert T-30889 (BKF, KYO, TI); Ubon Ratchathani,
Khemarat Distr., 1866-1868, Thorel s.n. (2 shts. P, US).

ชื่อย่อหนังสือที่สำคัญที่ใช้ในการศึกษาพรรณพฤกษชาติประเทศไทย Flora of Thailand) และตัวอย่างการเขียน


เอกสารอ้างอิงตามแบบมาตรฐาน (ชื่อย่ออยู่ในวงเล็บ)

1. Flora Malesiana. Series I. Spermatophyta (Fl. Males., Ser. I)


Ashton, P. S. 1982. Dipterocarpaceae. In: C. G. G. J. van Steenis (ed.), Flora Malesiana Ser. I, 9(2):
237–552. Martinus Nijhoff, The Hague, the Netherlands.

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


9

2. Flora of Java (Fl. Java)


Backer, C. A. & Bakhuizen van den Brink, R. C. 1963. Magnoliaceae. Flora of Java 1: 96–100. N. V. P.
Noordhoff, Groningen, the Netherlands.
3. Flora of British India (Fl. Brit. India)
Baker, J. G. 1876. Leguminnosae. In: J. D. Hooker (ed.), Flora of British India 2(4): 56–306.
L. Reeve, England.
4. A Dictionary of the Economic Products of the Malay Peninsula (Dict. Econ. Prod. Malay Penins.
ย่อเอง)
Burkill, I. H. 1966. A Dictionary of the Economic Products of the Malay Peninsula 1: 695. Ministry of
Agriculture and Co-Operatives, Kuala Lumpur.
5. Flora of China (Fl. China)
Chang, M. C., Qui, L. Q. & Green, P. S. 1996. Oleaceae. In: C. Y. Wu & P. H. Raven (eds.), Flora of
China 15: 273–274. Science Press, Beijing, and Missouri Botanical Garden Press, St. Louis.
6. Flora of Thailand (Fl. Thailand)
Chayamarit, K. 1991. Capparaceae. In: T. Smitinand & K. Larsen (eds.), Flora of Thailand 5(3): 246–
247. Chutima Press, Bangkok.
7. Flore Générale de L'Indo-Chine (Fl. Indo-Chine)
Constantin, J. 1912. Asclépiadacées. In: M. H. Lecomte & F. Gagnepain (eds.), Flore Générale de
L'Indo-Chine 4: 1–154. Masson, Paris.
8. Bulletin of Miscellaneous Information, Royal Gardens, Kew (Bull. Misc. Inform. Kew)
Craib, W. G. 1911. Contribution to the Flora of Siam. List of Siamese Plants, with Descriptions of
New Species. Bulletin of Miscellaneous Information, Royal Gardens, Kew 1911: 395, 418.
9. Florae Siamensis enumeratio: a list of the plants known from Siam, with records of their
occurrence (Fl. Siam.)
Craib, W. G. 1925. Florae Siamensis Enumeratio: a list of the plants known from Siam, with records
of their occurrence 1: 295–301. The Siam Society, Bangkok.
10. The Genus Paphiopedilum (Gen. Paphiopedilum)
Cribb, P. J. 1998. The Genus Paphiopedilum. Natural History Publications (Borneo), Kota
Kinabalu. 427 pp.
11. Plant Resources of South-East Asia (Pl. Resources SE Asia ย่อเอง)

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


10

Darmakusuma, D. 2003. Scindapsus hederaceus Schott. In: R. H. M. J. Lemmens & N.


Bunyapraphatsara (eds.), Plant Resources of South-East Asia 12(3), Medicinal and poisonous
plants 3: 366–367. Prosea Foundation, Bogor, Indonesia.
12. A Revised Handbook to the Flora of Ceylon (Revis. Handb. Fl. Ceylon)
Dassanayake, M. D. 1988. Zygophyllaceae. In: M. D. Dassanayake & F. R. Fosberg (eds.),
A Revised Handbook to the Flora of Ceylon 6: 421–424. Amerind Publishing, New Delhi.
13. Thai Forest Bulletin (Botany) (Thai Forest Bull., Bot.)
Dransfield, J., Barford, A. S. & Pongsattayapipat, R. 2004. A priliminary checklist to Thai Palms.
Thai Forest Bulletin (Botany) 32: 60.
14. The Orchids of Burma (Orchids Burma)
Grant, B. 1895. The Orchids of Burma (including the Andaman Islands) described. Compiled from
the works of various authorities. Hunthawaddy Press, Rangoon. 424 pp.
15. An Enumeration of the Flowering Plants of Nepal (Enum. Fl. Pl. Nepal)
Hara, H., Stern, W. T. & Williams, L. H. J. 1098. Gymnospermae. An Enumeration of the Flowering
Plants of Nepal 1: 23–28. Trustees of British Museum (Natural History), London.
16. Forest Flora of British Burma (Forest Fl. Burma)
Kurz, S. 1877. Forest Flora of British Burma 1. Office of the Superintendent of Government
Printing, Calcutta. 549 pp.
17. Journal of the Straits Branch of the Royal Asiatic Society (J. Straits Branch Roy. Asiat. Soc.)
Ridley, H. N. 1911. An account of a botanical expedition to Lower Siam. Journal of the Straits
Branch of the Royal Asiatic Society LIX: 27–234.
18. The Flora of the Malay Peninsula (Fl. Malay Penins.)
Ridley, H. N. 1923. The Flora of the Malay Peninsula 2. L. Reeve & Co., London. 672 pp. (กรณี
อ้างทั้งเล่ม ไม่เฉพาะสกุลหรือวงศ์)
19. Flora Indica (Fl. Ind.)
Roxburgh, W. 1820. Kaempferia. In: W. Carey (ed.), Flora Indica 1: 14–20. Mission Press,
Serampore, India.
20. Flore du Cambodge du Laos et du Vietnam (Fl. Cambodge, Laos & Vietnam)
Santisuk, T. & Vidal, J. E. 1985. Bignoniacees. In: J. F. Leroy (ed.), Flore du Cambodge du Laos et
du Vietnam 22: 3–63. Museum National D’ Histoire Naturelle, Paris.

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


11

21. Dansk Botanisk Arkiv (Dansk Bot. Ark.)


Seidenfaden, G. 1977. Orchid Genera in Thailand V. Orchidoideae, Dansk Botanisk Arkiv 31(2): 10–
11.
22. Opera Botanica (Opera Bot.)
Seidenfaden, G. 1988. Orchid Genera in Thailand 14. Fifty-nine vandoid Genera. Opera Botanica
95.
23. The Orchid of Peninsular Malaysia and Singapore (Orchids Penins. Malaysia Singapore)
Seidenfaden, G. & Wood, J. J. 1992. The Orchid of Peninsular Malaysia and Singapore : a revision
of R. E. Holttum: Orchids of Malaya. Olsen & Olsen, Fredensborg. 779 pp.
24. Flora of Bhutan (Fl. Bhutan)
Watson, M. F. 1999. Umbelliferae. In: D. G. Long (ed.), Flora of Bhutan 2(2): 434–504. Royal
Botanic Garden Edinburgh.

เครื่องหมายและคำย่อต่าง ๆ ที่พบบ่อยในงาน revision

! เครื่องหมายอัศเจรีย์ (exclamation mark) คือการได้เห็นกับตาตนเอง มักใช้กับ type ที่เห็นกับตาตนเองใน


พิพิธภัณฑ์พืชนั้น ๆ
† เครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าตัวอย่างต้นแบบถูกทำลายไปแล้ว
aff. (affinis) ใช้หลังคำว่า sp. หรือ sp. nov. กรณีตั้งเป็นชนิดใหม่ และให้อยู่ก่อนคำระบุชนิด เช่น Platostoma
sp. aff. cochinchinense หมายความว่าตัวอย่างที่มีอยู่ไม่ได้เหมือน P. cochinchinense จริง ๆ แต่ก็มี
ความใกล้เคียง เป็นการเปรียบเทียบที่ให้ความรู้สึกว่ามีความใกล้เคียงกับชนิดนั้น ๆ มากกว่าการใช้คำว่า
cf. (confer)
autonym ชื่อ subdivision ของสกุลหรือชนิดที่รวม type ของสกุลหรือชนิดนั้น คือมีการใช้ชื่อสกุลหรือคำ
ระบุชนิดซ้ำเมื่อมีการแยกเป็นสกุลย่อย ชนิดย่อย หรือ variety การเขียนไม่ต้องมี author ต่อท้าย
ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการตั้ง Sagina nodosa (L.) Fenzl subsp. borealis G. E. Crow ในปี 1978 จะมี
autonym Sagina nodosa (L.) Fenzl subsp. nodosa เกิดขึ้นทันที หรือ Rhododendron L. เมื่อมี
การตั้ง subgenus ใหม่ ก็จะมี subgen. Rhododendron เป็น autonym หรือ Ranunculus ficaria
L. เมื่อมีการตั้ง variety ใหม่ ก็จะมี var. ficaria เป็น autonym
basionym ชื่อดั้งเดิมของพืชที่มีการตั้งชื่อถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ต่อมามีการเปลี่ยนหน่วยอนุกรมวิธานโดยนำคำ
ระบุชนิดเดิมมาใช้เป็นฐานในชื่อหน่วยอนุกรมวิธานใหม่ เช่น Anisochilus cambodianus Murata

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


12

เปลี่ยนเป็น Coleus cambodianus (Murata) A. J. Paton ก็มี Anisochilus cambodianus Murata


เป็น basionym ทำนองเดียวกัน Elsholtzia blanda (Benth.) Benth. ตีพิมพ์ปี 1833 ก็มี
Aphanochilus blandus Benth. ที่ตีพิมพ์ใน Pl. Asiat. Rar. 1: 29. 1830 เป็น basionym
cf. (confer) = compare เปรียบเทียบ ใช้ทำนองเดียวกันกับ aff. เพื่อแสดงว่าตัวอย่างที่มีอยู่นั้นไม่ได้ตรงกับชนิด
ที่กล่าวถึงเลยที่เดียวแต่ควรเปรียบเทียบดู
conf. (confirmavit) = comfirmed ใช้เมื่อมีผู้ตรวจสอบชื่อและติด label ไว้บนตัวอย่างแล้ว (det. ไว้แล้ว) เมื่อ
เห็นด้วยก็เขียน conf. แล้วตามด้วยชื่อของนักพฤกษศาสตร์ที่เห็นด้วย
comb. nov. (combinatio nova) = new combination ใช้เมื่อ taxon ถูกเปลี่ยนชื่อ เช่นย้ายสกุล และคำ
ระบุชนิดเดิมยังถูกใช้อยู่ ชื่อใหม่เป็นชื่อ new combination ชื่อเดิมเป็น basionym
Det. (determinavit) = determined or identified ใช้เขียนบน label ตามด้วยชื่อผู้ตรวจสอบชนิด
homonym ชื่อที่สะกดเหมือนกันทั้งชื่อสกุลและคำระบุชนิดโดย author ต่างกันและต่างเวลากัน เป็นพืชต่าง
ชนิดกัน ชื่อที่ตีพิมพ์ทีหลังก็เป็น later homonym ใช้ไม่ได้ ตัวอย่างเช่น Astragalus rhizanthus Boiss.
(Diagn. Pl. Orient., ser. 1, 2: 83. 1843) เป็น later homonym ของ Astragalus rhizanthus
Royle ex Benth. (in Royle, Ill. Bot. Himal. Mts.: 200. 1835) ชื่อที่ตีพิมพ์ในปี 1843 ก็ใช้ไม่ได้
in adnot. (in adnotatione) = in note, in annotation เขียนไว้ใน note ดูตัวอย่าง
Nosema capitatum Prain var. javanicum C. B. Clarke ex Prain, J. Asiat. Soc. Bengal, Pt. 2,
Nat. Hist. 73: 21. 1904, in adnot.
[https://www.biodiversitylibrary.org/item/110167#page/43/mode/1up]
ined. (ineditus) = unpublished ใช้เขียนตามหลังชื่อพฤกษศาสตร์เพื่อแสดงว่าชื่อนั้นยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ใน
ขณะนั้น เช่น Gastrodia thailandica Suddee, ined.
isonym ชื่อที่สะกดเหมือนกันทุกประการ ตีพิมพ์ในเวลาต่างกันและใช้ตัวอย่างต้นแบบเดียวกันเป็นฐาน เช่น
Eusteralis peguana (Prain) Panigrahi, Phytologia 32(6): 47.7 Jan. 1976. Eusteralis peguana
(Prain) Murata, Southeast Asian Stud. 14(2): 185. Sept. 1976. Eusteralis peguana (Prain)
Majumdar, J. Bombay Nat. Hist. Soc. 74(2): 386. 1977. ภายใต้สกุล Eusteralis ชื่อ Eusteralis
peguana (Prain) Murata และ Eusteralis peguana (Prain) Majumdar เป็น isonyms ของ
Eusteralis peguana (Prain) Panigrahi เนื่องจากตีพิมพ์ในภายหลัง
nom. illegit., nom. illeg. (nomen illegitimum) = illegitimate name ใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าชื่อ
พฤกษศาสตร์นั้น ๆ ได้รับการตีพิมพ์ (validly published) แต่ไม่ถูกต้องตามกฎ ICN จึงใช้ไม่ได้
ตัวอย่างเช่น Astragalus rhizanthus Boiss., nom. illeg. เป็นชื่อที่ตีพิมพ์ในปี 1843 และใช้ไม่ได้
เนื่องจากมีชื่อ Astragalus rhizanthus Royle ex Benth. ที่ตีพิมพ์ในปี 1835 ก่อนหน้านี้แล้ว

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


13

nom. inval. (nomen invalidum) = an invalid name เป็นชื่อที่ไม่ validly published ตามกฎ ICN
ตัวอย่างเช่น
Pogostemon globulosus Phuong ex Suddee & A. J. Paton, Kew Bull. 61(4): 619. 2007.
Pogostemon globulosus (Doan) Phuong, J. Biol. 17 (4, special vol.): 43. 1995, nom. inval.
Pogostemon globulosus (Doan) A. L. Budantzev, Komarovia 1: 23. 1999, nom. inval.
Pogostemon globulosus (Doan) Chuakul, Kew Bull. 57(4): 1002. 2002, nom. inval.
การทำ new combination โดย Phoung, A. L. Budantzev และ Chuakul เป็น comb. inval. ก็คือ
ทำให้เกิด nom. inval. เนื่องจากว่า basionym คือ Dysophylla globulosa Doan ที่ตีพิมพ์เป็นภาษา
ฝรั่งเศสในปี 1936 ใน Fl. Indo-Chine 4 หน้า 969 เป็น nom. inval. โดยกฎ ICN ระบุว่า ตั้งแต่ 1
January 1935 ถึง 31 December 2011 ชื่อจะ validly published ได้ จะต้องมีคำบรรยายหรือ
diagnosis เป็นภาษาละติน ทำให้ต้องมีการตีพิมพ์ใหม่เป็น Pogostemon globulosus Phuong ex
Suddee & A. J. Paton ในปี 2007 สำหรับปัจจุบัน (1 January 2012 เป็นต้นมา) กำหนดให้มี
diagnosis เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาละตินก็ได้
nom. nov. (nomen novum) = new name ใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าชื่อชนิดได้ถูกเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ด้วยเหตุผล
บางประการเกี่ยวกับกฎการตั้งชื่อ ไม่ใช่เป็นพืชชนิดใหม่ ตัวอย่างเช่น
Plectranthus chiangdaoensis Suddee nom. nov.
Coleus calcicola Murata, Acta Phytotax. Geobot. 14(4 – 6): 105, f. 1, 1 – 5 & f. 2. 1970;
SouthE Asian Stud. 8(4): 493. 1971; SouthE Asian Stud. 14(2): 181. 1976. Type: Thailand,
Chiang Mai, Doi Chiang Dao, 1500 m, 15 Sept. 1967, Shimizu & Hutoh T-10153 (holotype
KYO!; isotypes 2 shts. BKF!, KYO!, 2 shts. TI!).
เมื่อต้องการย้าย Coleus calcicola Murata ไปอยู่ภายใต้สกุล Plectranthus ไม่สามารถใช้คำระบุชนิด
calcicola ได้ เพราะมี Plectranthus calcicola Hand.-Mazz., Symb. Sin. Pt. VII. 944. 1936 ซึง่
เป็นชนิดที่ต่างกันอยู่ก่อนแล้ว จึงต้องเปลี่ยนคำระบุชนิดแล้วตั้งเป็น nom. nov.
ปัจจุบันพืชชนิดนี้มีชื่อที่ถูกต้องภายใต้สกุล Coleus ฉะนั้นชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องในปัจจุบันคือ
Coleus calcicola Murata คือกลับไปใช้เหมือนเดิม ชื่อ Plectranthus chiangdaoensis Suddee ก็
เป็นชื่อพ้อง
nom. nud. (nomen nudum) = naked name เป็นชื่อที่ตอนตีพิมพ์ไม่มีคำบรรยายประกอบหรือไม่ได้โยงไป
ยังคำบรรยายที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มอื่น ตัวอย่างเช่น
Ocimum cristatum Roxb. [Hort. Bengal.: 45. 1814, nom. nud.], Fl. Indica 3: 19. 1832, as
‘Ocymum’.

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


14

แต่ถ้ามีโยงไปยังคำบรรยายที่อื่นก็ไม่ถือว่าเป็น nom. nud. ตัวอย่างเช่น


Plectranthus strobiliferus Roxb., Hort. Bengal.: 45. 1814; Fl. Ind. 3: 23. 1832. Type: Katu-
Kurka, Illustration in Rheede, Hort. Malab. 10: 179, t. 90. 1690, (holotype illustration!)
ตอนตีพิมพ์ใน Hortus Bengalensis หน้า 45 ปี 1814 Roxburgh ได้เขียนไว้ว่า Plectranthus
stribiliferus, R. 5 โดยท้ายหน้า 45 จะมีหมายเลข 5 และเขียนว่า H. M. 10 t. 90. ซึ่งหมายถึงหนังสือ
Rheede, Hort. Malab. 10: 179, t. 90. 1690 ซึ่งมีทั้งภาพและคำบรรยาย ปัจจุบันชื่อนี้เป็นชื่อพ้องของ
Coleus strobilifer (Roxb.) A. J. Paton
n.v. (non vidi) = not seen ใช้กับตัวอย่างต้นแบบเพื่อบอกว่าไม่ได้เห็นตัวอย่างนั้น ตัวอย่างเช่น
Gomphostemma hirsutum Walsingham, Kew Bull. 65(3): 480. 2011. Type: Malaysia,
Sabah, Ranau District, Kampung Menggis, 29 Aug. 1995, Rumtom 122 (holotype K!;
isotype KEP n.v.).
p.p. (pro parte) = in part บางส่วน ใช้เมื่ออ้างเอกสารแต่ไม่เอาเนื้อหาทั้งหมด เช่น เมื่อเอกสารอ้างตัวอย่าง
หมายเลขต่าง ๆ แต่มีตัวอย่างที่อ้างบางส่วนไม่ใช่พืชชนิดนั้น ๆ หมายความว่าภายใต้ชื่อที่อ้างถึงมีมากกว่า
1 taxon รวมอยู่
quoad = as to the ใช้ในการอ้างอิงร่วมกับ pro parte ตัวอย่างที่อยู่หลังคำว่า quoad เป็นตัวอย่างของ
taxon ที่กล่าวถึง ตัวอย่างเช่น
Platostoma tectum A. J. Paton, Kew Bull. 52(2): 282, f. 7B. 1997. Type: Thailand, Sakon
Nakhon, Nam Pung Dam, 17 Oct. 1990, Chantaranothai & Parnell 90/774 (holotype K!;
isotypes KKU!, TCD!).
Mesona palustris sensu auct. Doan in Lecomte, Fl. Indo-Chine 4: 929. 1936, pro parte,
quoad Counillon s.n. (Laos), Massie s.n. (Laos), Poilane 11408 (Laos), Poilane 13961
(Cambodia) & Thorel s.n. (Thailand).
sensu = in the sense of ใช้ในการอ้างอิงโดยใส่ระหว่างชื่อคำระบุชนิดกับชื่อ author ที่ใช้ชื่อไม่ถูกต้อง ส่วน
ใหญ่เกิดจากการ identify ผิด ชื่อเหล่านี้จะถูกใส่เป็นชื่อพ้อง แต่ไม่ใช่ชื่อพ้องที่แท้จริง ชื่อคำระบุชนิดที่ใช้
ถูกต้องโดย original author จะหมายถึง taxon อื่นที่ต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น
Platostoma cochinchinense (Lour.) A. J. Paton, Kew Bull. 52(2): 285. 1997.
Elsholtzia blanda sensu auct. Muschler & Hosseus [non (Benth.) Benth. 1833], Beih. Bot.
Centralbl. 27(2): 498. 1910.
กรณีนี้ Elsholtzia blanda (Benth.) Benth. ทีต่ ีพิมพ์ในปี 1833 จะเป็นพืชชนิดอื่นที่ต่างกันออกไป
sensu auct. (auctt.) (sensu auctorum) ใช้คล้ายกันกับ sensu นักพฤกษศาสตร์บางท่านนิยมใช้ auct.

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


15

หรือ auctt. ต่อท้าย


s.n. (sine numero) = without a number ใช้ต่อท้ายชื่อผู้เก็บตัวอย่างเพื่อแสดงว่าตัวอย่างนั้นไม่ได้ให้หมายเลข
ไว้ เช่นการอ้างตัวอย่างจากลาว Louang Prabang-Pak Lai, 1866-1868, Thorel s.n. (P)
stat. nov. (status novus) = new status ใช้เมื่อ taxon ถูกเปลี่ยน rank เช่น จากชนิดเป็น variety
syn., synon. (synonymum) = synonym ชื่อพ้อง
syn. nov. (synonymum novum) = new synonym ใส่เพื่อแสดงให้เห็นว่าชื่อนั้น ๆ author ได้ใส่ให้เป็นชื่อ
พ้องเป็นครั้งแรก
op. cit. (opere citato) = in the work cited เรื่องเดิม ดูตัวอย่าง
Keetia tenuiflora (Hiern) Bridson, Kew Bull. 41(4): 982. 1986.
Canthium brownii Bullock, Bull. Misc. Inform. Kew 1932(8): 370. 1932.
Canthium zanzibaricum sensu auct. Bullock (non Klotzsch 1861) in op. cit. 1932(8): 373.
1932.
loc. cit., l.c. (loco citato) = compare reference เรือ่ งเดียวกัน หน้าเดียวกัน
Rourea mimosoides (Vahl) Planch., Linnaea 23(4): 420. 1850.
Connarus mimosoides Vahl, Symb. Bot. (Vahl) iii. 87. 1794.
Santalodes mimusodes Kuntze, Revis. Gen. Pl. 1: 155. 1891; Craib, Fl. Siam. 1: 360. 1928.
Santalodes phyllanthodes Kuntze, loc. cit.; Craib, loc. cit.
ชื่อพ้องตัวสุดท้ายถ้าเขียนเต็มก็เป็น
Santalodes phyllanthodes Kuntze, Revis. Gen. Pl. 1: 155. 1891; Craib, Fl. Siam. 1: 360.
1928.
ibid (ibidem) = the same, in the same place ในเรื่องเดียวกัน ดูตัวอย่าง
Dipterocarpus philippinensis Foxw., Philipp. J. Sci., C 6: 253. 1911; ibid 13: 179. 1918;
ibid 67: 263. 1938; Merr. En. Philipp. 3: 90. 1923.

ตัวอย่างการใช้คำและเครื่องหมายต่าง ๆ เพิ่มเติม

1. Coleus helferi (Hook. f.) A. J. Paton comb. nov.


Plectranthus helferi Hook. f., Fl. Brit. India 4: 623. 1885; Mukerjee, Rec. Bot. Surv. India 14: 51.
1940. Type: Burma, Tenasserim, Helfer 4061 (holotype K!).
Plectranthus fulvescens Prain, J. Asiat. Soc. Bengal, Pt. 2, Nat. Hist. 66: 521. 1897; Mukerjee, Rec.

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


16

Bot. Surv. India 14: 51. 1940. Type: Burma, Attran, Brandis 811 (holotype CAL, isotype K!),

2. Coleus ater A. J. Paton nom. nov.


Anisochilus wightii Hook. f., Fl. Brit. India 4: 628. 1885., non Coleus wightii Benth. (1832). Type:
India, Deccan Peninsula, Anamallay Mts, July 1851, Herb. Wight 2132/1 (holotype K!;
isotypes C!, L!).

3. Platostoma palustre (Blume) A. J. Paton, Kew Bull. 52(2): 281. Type: as for basionym below.
Mesona palustris Blume, Bijdr.: 839. 1826; Benth. in DC, Prodr. 12: 46. 1848; sensu auct. Doan in
Lecomte, Fl. Indo-Chine 4: 929. 1936, pro parte, quoad Poilane 2229; Back. & Bakh. f., Fl.
Java 2: 638. 1965; Keng, Gard. Bull. Singapore 24: 114, f. 20a-f. 1969; in Steenis, Fl. Males.
8(3): 373. 1978; A. L. Budantsev, Komarovia 1: 29. 1999. Type: Java, Buitenzorg, Blume
s.n. (sheet no. 905, 103-495, L! lectotype chosen here; sheet no 905, 103-497,
isolectotype L!; 2 photos of types K!).
Mesona chinensis Benth., Fl. Hongk.: 274. 1861; Dunn, Notes Roy. Bot. Gard. Edinburgh 6(38):
134. 1915; Kudo, Mem. Fac. Sci. Taihoku Imp. Univ. 2(2): 107. 1929; Y. C. Huang in C. Y.
Wu & H. W. Li, Fl. Reipubl. Popularis Sin. 66: 547, f. 116, 1-7. 1977; Phuong, Novit. Syst. Pl.
Vasc. 19: 143. 1982; X. W. Li & Hedge in C. Y. Wu & P. H. Raven, Fl. China 17: 294. 1994;
Phuong, J. Biol. 17(4): 39. 1995; A. L. Budantsev, Komarovia 1: 29. 1999; Phuong in Ban et
al., Fl. Vietnam 2: 72. 2000. Type: China, Hong Kong at Saywan, Dec. 1857, Wilford 216
(lectotype K!; isolectotype K!), syn. nov.
Mesona procumbens Hemsl., Ann. Bot. 9: 155. t. 7. 1895; Dunn, Notes Roy. Bot. Gard. Edinburgh
6(38): 134. 1915; Kudo, Mem. Fac. Sci. Taihoku Imp. Univ. 2(2): 107. 1929. Type: Taiwan,
May 1894, Henry 1317(holotype K!), syn. nov.
Mesona elegans Hayata, J. Coll. Sci. Imp. Univ. Tokyo 22: 306. 1906. Type: Taiwan: in moute
Taitou, Aug. 1903, Nagasawa 202 (lectotype TI!, chosen here), syn. nov.

4. Platostoma calcaratum (Hemsl.) A. J. Paton, var. garrettii (Craib) Suddee stat. nov.
Plectranthus garrettii Craib, Bull. Misc. Inform. Kew 1914: 132. 1914. Type: Thailand, Doi Angka
(Inthanon), Chiang Mai, 1142 m, 1 Oct. 1910, Garrett 65 (holotype K!; isotypes BKF!, E!, L!).

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


17

Ceratanthus garrettii (Craib) G. Taylor, J. Bot 74: 40. 1936; Murata, SouthE Asian Stud. 14(2): 180.
1976. Type: as for P. garrettii.
Ceratanthus annamensis sensu auct. Phuong (non G. Taylor, 1936), Novit. Syst. Pl. Vasc. 19: 129.
1982.
Platostoma garrettii (Craib) A. J. Paton, Kew Bull. 52(2): 281. 1997. Type: as for P. garrettii.
Ceratanthus stolonifer sensu auct. P. H. Hô (non G. Taylor, 1936), Illustr. Fl. Vietnam 2: 1075.
1993; Phuong, J. Biol. 17(4): 34. 1995; A. L. Budantsev, Komarovia 1: 28. 1999; Phuong, in
Ban et al., Fl. Vietnam 2: 42. 2000.
5. Crepis vesicaria L. var. rutilans (Lacaita) P. D. Sell comb. et stat. nov.
Crepis rutilans Lacaita, J. Linn. Soc., Bot. xliv. 128. 1918.

Type (ต้นแบบ)
ต้นแบบ (type) มีหลายแบบ อาจเป็นสกุลต้นแบบ ชนิดต้นแบบ หรือตัวอย่างต้นแบบ แตกต่างกันไป
แล้วแต่ว่าจะพิจารณาในลำดับใด
Type genus (สกุลต้นแบบ)
เป็นชื่อสกุลที่เป็นที่มาของชื่อวงศ์ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น

ชื่อวงศ์ สกุลต้นแบบ
Asteraceae (Compositae) Aster L.
Brassicaceae (Cruciferae) Brassica L.
Poaceae (Gramineae) Poa L.
Clusiaceae (Guttiferae) Clusia L.
Lamiaceae (Labiatae) Lamium L.
Fabaceae (Leguminosae) Faba Mill.
Arecaceae (Palmae) Areca L.
Apiaceae (Umbelliferae) Apium L.

ชื่อในวงเล็บเป็นชื่อที่ไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อ คือชื่อวงศ์ไม่ได้ลงท้ายด้วย –aceae แต่กฏ ICN


(International Code of Nomenclature for algae, fungi, and plants) มีข้อยกเว้นให้ใช้ได้ ปัจจุบันใน
วงการพฤกษศาสตร์ทั่วโลกสนับสนุนให้ใช้ชื่อที่ถูกต้องตามกฎมากกว่า

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


18

สกุลต้นแบบมักเป็นสกุลที่ใช้ในการตั้งชื่อวงศ์ครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องเป็นสกุลใหญ่สุดในวงศ์นั้น ๆ หรือเป็น


สกุลที่รู้จักกันดีในวงศ์นั้น ๆ กรณีที่ชื่อสกุลต้นแบบกลายเป็นชื่อพ้องของสกุลอื่นไปในภายหลัง ชื่อวงศ์ก็ยังคงเดิมไม่
ต้องเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด
Type species (ชนิดต้นแบบ)
เป็นชนิดต้นแบบเมื่อมีการตั้งชื่อสกุลใหม่ ถ้าในการตีพิมพ์ครั้งแรกมีมากกว่า 2 ชนิด ผู้ตีพิมพ์
จะระบุว่าชนิดใดเป็นชนิดต้นแบบของสกุลนั้น ๆ แต่ถ้ามีเพียงชนิดเดียว ชนิดนั้นก็เป็นชนิดต้นแบบ ในอดีตใตการ
ตีพิมพ์ครั้งแรกของชื่อสกุล ถ้ามีเพียงชนิดเดียวอาจไม่พบคำบรรยายของชนิด มีแค่คำบรรยายของสกุลและระบุชื่อ
ชนิด กรณีเช่นนี้ให้ถือว่าใช้ได้ ให้คำบรรยายของสกุลครอบคลุมถึงชนิดด้วย
ตัวอย่าง
สกุล Congea Roxb. (Lamiaceae) มี type species คือ C. tomentosa Roxb.
สกุล Sphenodesme Jack (Lamiaceae) มี type species คือ S. pentandra Jack

Type specimen (ตัวอย่างต้นแบบ)


เป็นตัวอย่างต้นแบบเมื่อมีการตั้งชื่อพืชชนิดใหม่ ตัวอย่างต้นแบบถือเป็นตัวอย่างอ้างอิง
(voucher specimen) แบบหนึ่ง ซึ่งตัวอย่างอ้างอิงมีหลายประเภท เช่น เป็นตัวอย่างพรรณไม้แห้งที่เย็บติด
กระดาษแล้ว (herbarium specimen) หรือเป็นชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเก็บไว้ในกล่องขนาดต่าง ๆ (carpological
collection) เป็นกรณีที่ไม่สามารถนำมาเย็บติดกระดาษได้ เช่น ตัวอย่างจากงานวิจัยด้านเภสัชศาสตร์บางอย่าง
หรือตัวอย่างเนื้อไม้ เปลือก ผล เมล็ด ที่ไม่เหมาะที่จะนำมาเย็บติดกระดาษ หรือเป็นตัวอย่างดอง (spirit
collection) ใช้สำหรับกลุ่มพืชที่มีกลีบดอกบอบบาง เช่น พืชวงศ์กล้วยไม้ ขิงข่า

ตัวอย่างต้นแบบ (type specimen) มีหลายประเภทคือ

ตัวอย่างต้นแบบแรก (holotype)
สำหรับตัวอย่างต้นแบบแรก (holotype) จะต้องเป็นตัวอย่างเดียว (a single specimen) ที่เก็บรักษาไว้
ในพิพิธภัณฑ์พืช หรือในอดีตอาจเป็นภาพ (illustration) แต่ตั้งแต่ 1 มกราคม 2007 เป็นต้นมาจะต้องเป็น
ตัวอย่างเท่านั้น เป็นภาพไม่ได้ คำว่าตัวอย่างเดียว (a single specimen) ต้องเป็นตัวอย่างที่เก็บในคราวเดียวกัน
(the same gathering) อาจเย็บติดกระดาษ ใส่ในกล่อง หรืออยู่ในขวดดอง การเย็บติดกระดาษถ้าเป็นต้นเล็ก ๆ
อาจมีหลายต้นรวมกัน ตัวอย่างเดียว (a specimen) ที่เก็บในคราวเดียวกันนั้นอาจเย็บติดกระดาษหลายแผ่นใน
กรณีที่ตัวอย่างมีขนาดใหญ่ซึ่งต้องตัดแบ่งเป็นหลายชิ้น เช่น ไผ่ ปาล์ม หรือเฟิร์นขนาดใหญ่ หรือบางส่วนทำเป็น
ตัวอย่างแห้งแล้วเอาดอกบางส่วนทำเป็นตัวอย่างดอง เช่นพืชวงศ์ขิงข่า กรณีเช่นนี้จะต้องมีเครื่องหมายหรือมีอักษร

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


19

แสดงให้ชัดเจนว่าเป็นส่วนของตัวอย่างเดียวกัน เช่นเขียนไว้ว่า sheet 1, sheet 2 หรือเขียนไว้ว่าตัวอย่างดองนี้


เป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างแห้ง ถ้าไม่มีเครื่องหมายหรืออักษรแสดงกำกับไว้ชัดเจนก็ให้ถือว่าเป็น duplicate คือเป็น
ตัวอย่างคู่ตัวอย่างต้นแบบ (isotype) ตัวอย่างที่มีเครื่องหมายหรือมีอักษรแสดงให้ชัดเจนว่าเป็นส่วนของตัวอย่าง
เดียวกันดังกล่าวข้างต้นต้องถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชเดียวกัน เช่นที่ BKF แต่ถ้าแยกบางส่วนเก็บไว้ที่อื่น เช่น 1
ชิ้นเก็บไว้ที่ BK ชิ้นที่ BK จะกลายเป็น duplicate หรือ isotype ทันที
ข้อควรระวังสำหรับตัวอย่างต้นแบบแรก (holotype)
ในการตีพิมพ์ครั้งแรกที่ระบุตัวอย่างเพียงหมายเลขเดียว ไม่ได้หมายความว่าหมายเลขนั้นเป็น holotype
ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้ตั้งชื่อเห็นตัวอย่างเพียงชิ้นเดียวจริง ๆ หรือหมายเลขนั้นมีตัวอย่างเพียงชิ้นเดียวจริง ๆ หรือผู้
ตั้งชื่อได้แสดงให้เห็นว่าได้ใช้ตัวอย่างชิ้นนั้นชิ้นเดียวในการตีพิมพ์ เช่น มีการ dissect ดอกใส่ซองไว้ มีการร่างภาพ
ลายเส้นติดไว้บนแผ่นตัวอย่าง เป็นต้น ดูตัวอย่างด้านล่างประกอบ
Spenodesme orbicularis [syn. of S. ferruginea (Griff.) Briq.] ถูกตีพิมพ์ใน Bull. Misc. Inform.
Kew 1938: 208 (1938) (ชื่อเก่าของ Kew Bulletin) ภายใต้ชื่อ Spenodesme orbicularis Fletcher ซึง่ ต้อง
แก้ใขชื่อ author เป็น Spenodesme orbicularis H. R. Fletcher เนื่องจากนามสกุล Fletcher มีหลายคน โดย
ได้เขียนรายงานตัวอย่างอ้างอิงไว้ตอนท้ายหลังคำบรรยายไว้ว่า
PUKET. Ranawng, Lamlieng, c. 10 m., climbing in scrub, Kerr 16411 กรณีเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า
หมายเลข Kerr 16411 มีชิ้นเดียวและเป็น holotype เลย ความจริงในยุคนั้นหมอคาร์เก็บตัวอย่างหลายชิ้นในแต่
ละหมายเลข และ Fletcher ผู้ศึกษาพืชสกุลนี้ทำงานอยู่ที่เอดินบะระในขณะนั้น ซึ่งได้เลือกตัวอย่างที่เอดินบะระ
เป็น holotype โดยเขียนไว้บน sheet ฉะนั้นตัวอย่างหมายเลขเดียวกันที่เก็บไว้ในที่อื่น ๆ ก็เป็น isotypes
การที่จะทราบได้ว่านักพฤกษศาสตร์ท่านใด ทำงานที่ใด และตัวอย่างตันแบบสำหรับชนิดใหม่ที่ตีพิมพ์ควร
ถูกเก็บไว้ ณ ที่ใด ตรวจสอบได้จาก Taxonmic Literature 2nd หรือ TL2 ซึ่งมี version online ผ่าน IAPT
(International Association for Plant Taxonomy) ถ้าไม่พบสามารถตรวจสอบได้จาก ipni หรือใน website
ต่าง ๆ ดังตัวอย่างด้านล่าง search ภายใต้ Harold Roy Fletcher โดยดูขอ้ มูลชื่อจาก ipni ก็จะได้ข้อมูลต่าง ๆ
เรื่องที่ทำงานและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Dr Harold Roy Fletcher FRSE (1907-1978) was a British botanist. He was Regius Keeper of
the Royal Botanic Garden Edinburgh from 1956 to 1970. As an author he is known as H. R.
Fletcher
สำหรับสถานที่ที่หมอคาร์ระบุไว้ เป็นชื่อสถานที่ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อหรือสถานะไปแล้ว เช่น ระนองใน
สมัยก่อนขึ้นกับมณฑลภูเก็ต ปัจจุบันไม่ใช่ ในงานศึกษาทบทวน (revision) การเขียนก็เช่นกันต้องให้เป็นปัจจุบัน
ตามมาตรฐานการเขียนชื่อสถานที่ ซึ่งก็ควรเป็น Ranong แทนที่จะเป็น Ranawng ส่วนภูเก็ตก็ตัดออก ส่วนคำว่า
Kerr จะอ่านว่าเคอร์หรือคาร์ก็ได้ แต่หมอคาร์อยู่ไทยหลายสิบปี ท่านให้ลูกน้องเรียกว่าหมอคาร์ ก็แสดงว่าไม่ผิดที่

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


20

เรียกแบบนี้ ซึ่งก็ตรงกับการอ่านชื่อที่เขียนไว้ใน Blumea 11: 427-493. 1962 (Reliquiae Kerrianae) โดย M.


Jacob แห่ง Leiden ผู้รวบรวมประวัติการเก็บตัวอย่างของหมอคาร์ โดยเขียนว่าให้อ่านออกเสียงเหมือน car ใน
เล่มนี้มีข้อมูลของผู้เก็บตัวอย่างท่านอื่น ๆ ด้วย เช่น Rock, D. J. Collins, Garrett, Lakshnakara, Marcan,
Rabil, Eryl Smith, Vanpruk, Winit และ Put เป็นต้น
Congea connata R. H. Fletcher ถูกตีพิมพ์ใน Bull. Misc. Inform. Kew 1938: 208 (1938) งาน
เดียวกัน และได้เขียนรายงานตัวอย่างอ้างอิงไว้ตอนท้ายหลังคำบรรยายไว้ว่า

CHANTABURI. Krat, Kao Saming, under 50 m., evergreen forest, Kerr 17913 (type). Kaw Chang,
Klawng Mayom, c. 50 m., evergreen forest by stream, Kerr 6810. East Coast, on high banks of
stream below waterfall, Mrs. D. J. Collins 569. Kaw Chang, Eyrl Smith 306.
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน Kerr 17913 ไม่ได้มีชิ้นเดียว เมื่อทำการศึกษาทบทวนและตรวจสอบตัวอย่างก็พบว่า
ตัวอย่างต้นแบบแรกอยู่ที่ E (holotype E) เนื่องจาก Fletcher ซึ่งทำงานอยู่ที่เอดินบะระได้ทำการ dissect ดอก
เพื่อดูลักษณะประกอบการบรรยายแล้วเอาดอกใส่ซองไว้ ตัวอย่างคู่ตัวอย่างต้นแบบอยู่ที่ BK, BM และ K
(isotypes BK, BM, K)
สถานที่เก็บตัวอย่างต้องแก้ไขให้เป็นปัจจุบัน ตัวสะกดภาษาอังกฤษสามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน๊ต
(พิมพ์ : ชื่อตำบล อำเภอ จังหวัด ภาษาอังกฤษ) ตัวอย่างเช่น Chantaburi ตามตัวอย่าง ปัจจุบันสะกดเป็น
Chanthaburi
กรณีแหม่ม Mrs. D. J. Collins ซึ่งเก็บตัวอย่างมากแถบศรีราชา เพชรบุรี และเกาะช้าง (เกาะช้าง ตราด
ไม่ใช่ เกาะช้าง ระนอง) ในยุคเดียวกันกับหมอคาร์ ชื่อคำระบุชนิด (specific epithet) ของพืชในไทยที่ตั้งให้เป็น
เกียรติแก่ท่านต้องแก้ไขจาก ‘collinsae’ เป็น ‘collinsiae’ เสมอ ตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ เนื่องจาก
ชื่อสกุลลงท้ายด้วยพยัญชนะ s และเป็นเพศหญิง ต้องลงท้ายด้วย iae
Sphenodesme eryciboides Kurz ถูกตีพิมพ์ใน J. Asiat. Soc. Bengal, Pt. 2, Nat. Hist. 40(2): 76
(1871) ตัวอย่างต้นแบบเก็บจากเมียนมา เมือง Pegu ตัวอย่าง Bradis 879 มีชิ้นเดียว เก็บรักษาไว้ที่ K
(holotype K) กรณีนี้ตัวอย่างชิ้นเดียวนั้นเป็น holotype แน่ ๆ

ตัวอย่างคู่ตัวอย่างต้นแบบ (isotype)
เป็น duplicates ของ ตัวอย่างต้นแบบแรก (holotype) ต้องเป็นตัวอย่างเสมอ ไม่ใช่ภาพ
กรณีตัวอย่างของ Congea connata R. H. Fletcher ตัวอย่างหมายเลข Kerr 17913 ที่เก็บรักษาไว้ที่ E เป็น
holotype ที่เหลือในที่อื่น ๆ คือ BK, BM, K ก็เป็น isotypes

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


21

Sphenodesme robinsonii Dop (= S. griffithiana Wight) ถูกตีพิมพ์ใน Bull. Soc. Bot. France 61:
318 (1915). ตัวอย่างเก็บจากเวียดนาม (Vietnam, Nhatrang) Robinson 1464 กรณีนี้ Dop ตีพิมพ์โดยศึกษา
ตัวอย่างที่ P (Paris) ซึ่งมีลายมือเขียนบนตัวอย่างไว้ ตัวอย่างที่ P ก็เป็น holotype ตัวอย่างที่เก็บไว้ในที่อื่น ๆ ก็
เป็น isotypes (holotype P; isotypes A, K, NY)

ตัวอย่างเลือกเป็นตัวอย่างต้นแบบ (lectotype)
เป็นตัวอย่างหรือภาพที่เลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่างต้นแบบกรณีไม่ได้ระบุตัวอย่างต้นแบบแรก (holotype) ไว้
ในการตีพิมพ์ครั้งแรก หรือตัวอย่างต้นแบบแรกหาย หรือพบว่าตัวอย่างต้นแบบแรกนั้นประกอบไปด้วยหลาย taxa
คือให้เลือกจากสิ่งที่ปรากฏใน protologue ถ้าเป็นตัวอย่างก็เลือกจาก isotypes หรือ syntypes
Congea tomentosa Roxb. ถูตีพิมพ์ใน Pl. Coromandel 3: 90 (1820) โดย Roxburgh ไม่ได้ระบุ
ตัวอย่างต้นแบบไว้ ส่วนใหญ่งานตีพิมพ์พืชชนิดใหม่ของท่านจะมีภาพวาดซึ่งวาดจากตัวอย่างสดในสวน
พฤกษศาสตร์ในอินเดียที่ท่านทำงานอยู่ขณะนั้น ภาพวาดภาพสีมีจำนวนมากและมีคุณภาพสูง ปัจจุบันถูกเก็บ
รักษาไว้ที่สวนพฤกษศาสตร์คิว สหราชอาณาจักร โดยเรียงเป็นหมายเลขไว้ ถ้าทำการศึกษาทบทวนและตีพิมพ์
ผลงาน ภาพวาดเหล่านี้สามารถเลือกเป็น lectotype ได้ ตัวอย่างเช่น Types: Roxburgh’s illustration No.
2298 (K! illustration, lectotype chosen here); Roxburgh s. n. (BM!, epitype chosen here) ตัวอย่างที่
BM ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ Roxburgh ศึกษาตอนตีพิมพ์หรือไม่ และเนื่องจาก lectotype เป็น
ภาพวาด ก็สามารถเลือกตัวอย่างที่ BM ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันเป็น epitype ได้
Congea azurea Wall. ex Wight (= Congea tomentosa Roxb.) ถูกตีพิมพ์ใน Icon. Pl. Ind.
Orient. 4(3): 15, t. 1479/A (1849) ไม่ได้ระบุ holotype ไว้ ซึ่งใน protologue มีทั้งภาพลายเส้นและตัวอย่าง
ทีเ่ ก็บจากเมียนมา เมือง Martabania ตัวอย่างหมายเลข Wall. Cat. 1733a (or 1733.1) ถ้าทำการศึกษา
ทบทวนแล้วตีพิมพ์ผลงาน สามารถเลือก lectotype จากตัวอย่างใน Wallich Herbarium ได้ ตัวอย่างเช่น
(lectotype K!, chosen here; isolectotype BM!, E!, K-W!)
ตัวอย่าง Wallich Herbarium เก็บไว้ในตู้ไม้ภายใน Wing B ในตึก herbarium สวนพฤกษศาสตร์คิว
โดยในหนึ่ง sheet อาจมีตัวอย่างหลายชิ้นปนกัน จึงต้องมีหมายเลขย่อยกำกับไว้

ตัวอย่างต้นแบบที่ยังไม่ได้เลือก (syntype)
ตัวอย่างใด ๆ ก็ตามที่อ้างใน protologue กรณีไม่มีการเลือกตัวอย่างต้นแบบแรก (holotype) ไว้
Coleus paniculatus Benth. ตีพิมพ์ใน Pl. Asiat. Rar. 2: 16 (1830) อ้างตัวอย่างเก็บจาก India,
Dindygul, Herb. Wight in Wall. Cat. 2734 ตัวอย่างนี้มีทั้งใน general collection ของคิว คือในตู้เก็บ
ตัวอย่าง Wing C และใน Wallich Herbarium ใน Wing B ซึง่ George Bentham ทำงานที่คิว ตอนตีพิมพ์ต้อง

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


22

เห็นตัวอย่างทั้งหมด แต่ไม่ได้ระบุชิ้นใดโดยเฉพาะเป็น holotype ตัวอย่างทั้งหมดจึงเป็น syntype [syntypes K


(Herb. Benthamianum), K-W!] ตัวอย่างเก่า ๆ ในคิว จะมีตรายางปั๊มติดตัวอย่างไว้ เช่น Herb.
Benthamianum, Herb. Hookerianum ตามชื่อนักพฤกษศาสตร์ที่ศึกษากลุ่มพืชนั้น ๆ
Decadontia caerulescens Griff. (= Sphenodesme griffithiana Wight) ถูกตีพิมพ์ใน Not. Pl.
Asiat. 4: 175 (1854). โดยอ้างตัวอย่างที่เก็บจากเมียนมา เมือง Mergui, Griffith 903 ตัวอย่างนี้ที่คิวมี 3 ชิ้น ซึ่ง
Griffith ทำงานที่คิว ตอนตีพิมพ์เห็นตัวอย่างทั้งหมด ฉะนั้น ถึงแม้จะมีตัวอย่างหมายเลขเดียวแต่มีหลายชิ้น
ตัวอย่างที่คิวก็เป็น syntypes [syntypes 3 shts. K; isosyntype E]
Plectranthus brandisii Prain [= Isodon walkeri (Arn.) H. Hara] ถูกตีพิมพ์ใน J. Asiat. Soc.
Bengal, Pt. 2, Nat. Hist. 59(4): 296 (1890) โดยอ้างตัวอย่างที่เก็บจากเมียนมา เมือง Pegu คือ Brandis 813
(K), Kurz 575 (K), Kurz 2401 (CAL), Kurz 2405 (K), Kurz 2406 (CAL), Kurz 2407 (CAL) ตัวอย่างทั้งหมด
เป็น syntypes
ข้อควรระวังคือ การตีพิมพ์พืชชนิดใหม่ในอดีตที่อ้างตัวอย่างเพียงหมายเลขเดียว ต้องตรวจสอบให้แน่ชัด
ว่ามีกี่ชิ้น ถ้ามีหลายชิ้นและคาดว่าผู้ตีพิมพ์เห็นตัวอย่างทั้งหมด ตัวอย่างต้องเป็น syntypes ยกเว้นมีลายมือของผู้
ตั้งชื่อเขียนไว้เฉพาะบนตัวอย่างชิ้นใดชิ้นหนึ่งว่าเป็น type ถือว่าชิ้นนั้นเป็น holotype ได้ ชิ้นที่เหลือเป็น
isotype(s) ปัจจุบันปัญหานี้ไม่เกิดขึ้นเพราะตอนตีพิมพ์กฎให้ระบุไปเลยว่า holotype อยู่ที่ใด ซึ่ง diagnostic
characters จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือละตินก็ได้ แต่ชื่อ binomial ยังคงเป็นละตินเสมอ การเขียนคำระบุ
ชนิดต้องมีไวยากรณ์ละตินมาเกี่ยวข้องซึ่งขึ้นอยู่กับชื่อสกุลซึ่งแบ่งเป็นสกุลเพศหญิง สกุลเพศชาย และสกุลไร้เพศ
หรือไม่มีเพศ

ตัวอย่างใหม่แทนตัวอย่างต้นแบบ (neotype)
เป็นตัวอย่างใหม่หรือภาพ เลือกแทนตัวอย่างต้นแบบกรณีตัวอย่างต้นแบบหายหรือถูกทำลายและไม่เหลือ
ตัวอย่างอื่น ๆ เลย (กรณีถ้ามีตัวอย่างหรือภาพเหลือก็ต้องเลือกเป็น lectotype ก่อน ยกเว้นสิ่งที่เหลืออยู่แตกต่าง
จากสิ่งที่หายไปมาก ไม่น่าเป็นสิ่งเดียวกันก็ให้เลือก neotype ได้)

ตัวอย่างเหลือจากตัวอย่างเลือกเป็นตัวอย่างต้นแบบ (lectoparatype)
ตัวอย่าง syntypes ทั้งหมดที่ไม่ได้ถูกเลือกเป็น lectotype (ตัวอย่างเลือกเป็นตัวอย่างต้นแบบ)
ตัวอย่าง Plectranthus brandisii Prain [= Isodon walkeri (Arn.) H. Hara] ถูกตีพิมพ์ใน J. Asiat.
Soc. Bengal, Pt. 2, Nat. Hist. 59 (4): 296 (1890) โดยอ้างตัวอย่างที่เก็บจากเมียนมา เมือง Pegu คือ Brandis
813 (K), Kurz 575 (K), Kurz 2401 (CAL), Kurz 2405 (K), Kurz 2406 (CAL), Kurz 2407 (CAL) ตัวอย่าง
ทั้งหมดเป็น syntypes

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


23

ถ้ามีการศึกษาทบทวนแล้วเลือก lectotype คือหมายเลข Brandis 813 (K) หมายเลขที่เหลือก็เป็น


lectoparatypes

ตัวอย่างตัวแทนตัวอย่างต้นแบบ (epitype)
เป็นตัวอย่างหรือภาพที่เลือกขึ้นมาเป็นตัวแทนตัวอย่างต้นแบบ (holotype, lectotype, neotype, etc.)
กรณีตัวอย่างต้นแบบไม่สมบูรณ์ แตกหัก ไม่สามารถใช้เทียบเคียงให้เห็นความแตกต่างเด่นชัดได้
ตัวอย่าง Plectranthus barbatus Andrews ถูกตีพิมพ์ใน Bot. Rep. 9: t. 594 (1809). Type:
Illustration in Bot. Rep. 9: t. 594 (1809), plate based on a plant cultivated in England, raised from
seed sent from Abyssinia by Lord Valentia (lectotype illustration!); Epitype: Eritrea, Dekemhare, 5
Sept. 1954, Colville 47 (K!, epitype chosen by Ryding).
Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng. ถูกตีพิมพ์ใน Syst. Veg. 2: 690 (1825). Type:
Rumphius Ic. in Herb. Amb. 5: t. 102, f. 2 (1750) (lectotype illustration).
Loureiro’s specimen at BM is a fragment but it is clearly P. amboinicus. The illustration in
Herb. Amb. 5: t. 102, f. 2 (1750) which Loureiro cited is not excellent but it is identifiable
(illustrations in those days were not always perfect). Launert (1968) mentioned that the illustration
Loureiro cited is not conclusive and the BM specimen is unidentifiable. He chose Kerr s.n., 25 May
1921 from Thailand as a representative specimen (probably equal to the term ‘Epitype’ in the
present code).

Duplicate specimens of a lectotype, neotype, and epitype should be referred to as isolectotypes,


isoneotypes, and isoepitypes, respectively.

ตัวอย่างอื่น ๆ ทีไ่ ม่ใช่ nomenclatural type

ตัวอย่างอ้างประกอบตัวอย่างต้นแบบ (paratype)
paratype ไม่ใช่ nomenclatural type เป็นแค่ตัวอย่างอื่น ๆ นอกจาก type ที่อ้างในการ
ตีพิมพ์ครั้งแรก ซึ่งก็คือตัวอย่างทั้งหมดใน protologue ที่ไม่ได้ถูกเลือกเป็นตัวอย่างต้นแบบ (type)
Congea connata R. H. Fletcher ถูกตีพิมพ์ใน Bull. Misc. Inform. Kew 1938: 208 (1938) งาน
เดียวกัน และได้เขียนรายงานตัวอย่างอ้างอิงไว้ตอนท้ายหลังคำบรรยายไว้ว่า

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


24

CHANTABURI. Krat, Kao Saming, under 50 m., evergreen forest, Kerr 17913 (type). Kaw Chang,
Klawng Mayom, c. 50 m., evergreen forest by stream, Kerr 6810. East Coast, on high banks of
stream below waterfall, Mrs. D. J. Collins 569. Kaw Chang, Eyrl Smith 306.
จากตัวอย่างข้างต้น หมายเลข Kerr 17913 เป็น type หมายเลขที่เหลือคือ , Kerr 6810, Mrs. D. J.
Collins 569, Eyrl Smith 306 เป็น paratypes

ตัวอย่างจากแหล่งเก็บตัวอย่างต้นแบบ (topotype)
topotype ไม่ใช่ nomenclatural type เป็นแค่ตัวอย่างที่เก็บมาจาก type locality

ตัวอย่างอ้างอิง
การจัดเก็บตัวอย่างในทุกรูปแบบต้องมีข้อมูลรายละเอียดติดไว้ประกอบแน่ชัด ตัวอย่างเหล่านี้เป็นตัวอย่าง
อ้างอิง ตัวอย่างอ้างอิงควรถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชที่มีการลงทะเบียนไว้เป็นสากลแล้ว ซึ่งจะมีการดูแลรักษา
ตัวอย่างเป็นระบบในระยะเวลายาวนาน ในประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์พืชที่ลงทะเบียนไว้เป็นสากลแล้ว 15 แห่ง
ได้แก่ BBH, BCU, BK, BKF, CMU, CMUB, DMSC, KKU, MFLU, MSUT, PBM, PSU, QBG, RAMK, TTM ซึง่
สามารถสืบค้นได้จาก
http://sweetgum.nybg.org/science/ih/herbarium-list/?AddPhysCountry=Thailand
ตัวอย่างอ้างอิงมีความสำคัญใช้สำหรับสนับสนุนงานวิจัย ใช้ตรวจสอบชนิดพืชว่าเป็นชนิดใด ใช้ในการ
ตรวจสอบย้อนกลับเมื่อชื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือตรวจสอบย้อนกลับว่าการตรวจสอบชื่อเริ่มต้นถูกต้องหรือไม่เมื่อ
ผลวิจัยที่ได้มีปัญหา หรือผลออกมาอย่างที่ไม่น่าเป็น ปัจจุบันงานตีพิมพ์ทางวิชาการในวารสารต้องอ้างตัวอย่าง
อ้างอิง (voucher specimen) เสมอ ถ้าไม่มีการอ้างอิงตัวอย่างคุณค่าของงานก็จะลดลง และอาจไม่ได้รับการ
ยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร

เว็บไซต์ที่สำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบตัวอย่าง

Kew Herbarium Catalogue


http://apps.kew.org/herbcat/navigator.do
Royal Botanic Garden Edinburgh Herbarium Catalogue
https://data.rbge.org.uk/search/herbarium/
The Wallich Catalogue Online
http://wallich.rbge.info/

สมราน สุดดี หอพรรณไม้


25

Natural History Museum (BM)


https://data.nhm.ac.uk/dataset/collection-specimens
Muséum National d'Histoire Naturelle (MNHN - Paris, France)
https://science.mnhn.fr/institution/mnhn/collection/p/item/search/form?lang=en_US
Naturalis Biodiversity Center (L)
https://bioportal.naturalis.nl/?language=en&back
University of Aberdeen, Museums & Collections
http://calms.abdn.ac.uk/Geology/DServe.exe?dsqApp=Archive&dsqDb=Catalog&dsqCmd=Search.
tcl
Plants of the World online
http://www.plantsoftheworldonline.org/

เว็บไซต์ที่สำคัญที่ใช้ในการตรวจสอบชื่อและเอกสาร

Index Nominum Genericorum (ING)


https://naturalhistory2.si.edu/botany/ing/
BHL Biodiversity Heritage Library
https://www.biodiversitylibrary.org/
WCSP World Checklist of Selected Plant Families
http://wcsp.science.kew.org/home.do

สมราน สุดดี หอพรรณไม้

You might also like