You are on page 1of 9

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

รายวิชา ว 31241 ชีววิทยา1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1.5 หน่วยกิต


หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เวลา 8 คาบ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชีววิทยา เวลาเรียน 4 คาบ

1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระชีววิทยา
มาตรฐานการเรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต การศึกษาชีววิทยาและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สารที่
เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต กล้องจุลทรรศน์ โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ การแบ่งเซลล์ และการหายใจระดับเซลล์
ผลการเรียนรู้
2. อภิปราย และบอกความสำคัญของการระบุปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา สมมติฐาน และวิธีการ
ตรวจสอบสมมติฐาน รวมทั้งออกแบบการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1) ความรู้ (Knowledge)
-อธิบายความสำคัญของการระบุปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา สมมติฐาน และวิธีกร
ตรวจสอบสมมติฐานได้ (K)
2) ทักษะกระบวนการ (Process)
- ออกแบบและดำเนินการทดลองตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ (P)
3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude)
- ตระหนักถึงความสำคัญของพื้นฐานการศึกษาในงานวิทยาศาสตร์ (A)
3. สาระการเรียนรู้
- วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเริ่มจากการตั้งปัญหาหรือคาถาม
ตั้งสมมติฐาน ตรวจสอบสมมติฐาน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล

4. สาระสำคัญ
นักชีววิทยาใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน
การตรวจสอบสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล ความรู้ทางชีววิทยาอาจ
ได้จากการสำรวจและศึกษาทั้งในและนอกห้องปฏิบัติการ ดังนั้น ชีววิทยาประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
ส่วนที่เป็นความรู้และส่วนที่เป็นกระบวนการค้นหาความรู้
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
1) ทักษะการสังเกต
2) ทักษะการสำรวจค้นหา
3) ทักษะการตั้งคำถาม
4) ทักษะการตั้งสมมติฐาน
5) ทักษะการตรวจสอบสมมติฐาน
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

6. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ 5Es (5Es Instructional Model)

ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำ
กระตุ้นความสนใจ (Engage)
1. ครูนำเข้าสู่กิจกรรม โดยให้นักเรียนนับเลข 1-5 วนกันไปเรื่อยๆ จนครบทั้งห้อง จากนั้นให้นักเรียนที่นับ
เลขเดียวกัน อยู่กลุ่มเดียวกัน
2. ครูเตรียมรูปสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสังเกตลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น
โดยให้เวลาสังเกตประมาณ 5 นาที
3. ให้แต่ละกลุ่มจดบันทึกลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่สังเกต และตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้น 2-3 คำถาม
4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน จากนั้นครูตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียน
ร่วมกันอภิปราย ดังนี้
• ข้อมูลที่กลุ่มนักเรียนบันทึกได้จากการสังเกตสิ่งมีชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ แล้วมีข้อมูล
ละเอียดครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร
(แนวคำตอบ : นักเรียนบางกลุ่มอาจบันทึกข้อมูลได้ละเอียดครบถ้วน แต่บางกลุ่มอาจบันทึกได้ไม่
ละเอียดครบถ้วน)
• คำถามที่กลุ่มนักเรียนตั้งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ แล้วมีลักษณะอย่างไร
(แนวคำตอบ : บางคำถามอาจนำไปสู่การค้นหาคำตอบที่น่าสนใจ แต่บางคำถามไม่น่าสนใจ)
5. ครูเน้นย้ำให้นักเรียนตระหนักว่า การสังเกตเป็นทักษะสำคัญที่นำไปสู่การค้นพบปัญหา
สำรวจค้นหา (Explore)
1. ครูตั้งคำถามเพื่อนำเข้าสู่การสืบค้นข้อมูล ดังนี้
• วิธีการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง
(แนวคำตอบ : วิธีการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยการกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การ
ตรวจสอบสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล)
• นักเรียนคิดว่านักวิทยาศาสตร์ควรมีลักษณะอย่างไร
(แนวคำตอบ : นักวิทยาศาสตร์มักเป็นคนช่างสังเกต ซึ่งการสังเกตจะนำไปสู่การตั้งคำถาม)
• เพราะเหตุใดจึงควรตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ สมมติฐาน
(แนวคำตอบ : เพื่อให้มีแนวทางในการสื บค้นหาคำตอบได้ห ลายวิธ ี โดยไม่ยึดสมมติฐ านใด
สมมติฐานหนึ่งเป็นคำตอบก่อนที่จะได้พิสูจน์ตรวจสอบแล้ว)
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดปัญหา และการตั้งสมมติฐานจากหนังสือเรียน
3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม เรื่อง การกำหนดปัญหาและตั้งสมมติฐาน จากหนังสือเรียน
อธิบายความรู้ (Explain)
1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดปัญหาเกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และตั้งสมติฐานที่สอดคล้อง
กับปัญหาที่กำหนดขึ้น อย่างน้อยกลุ่มละ 3 ปัญหา ตัวอย่างเช่น
• ปัญหา : ความเข้มของแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่
สมมติฐาน : ถ้าความเข้มของแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น พืชที่อยู่กลางแจ้งจะ
เจริญเติบโตมากกว่าพืชที่อยู่ในที่ร่ม
: ถ้าความเข้มของแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น พืชที่อยู่กลางแจ้งจะมี
ความสูงมากกว่าพืชที่อยู่ในที่ร่ม
• ปัญหา : ความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์หรือไม่
สมมติฐาน : ถ้าความเข้มข้นของน้ำตาลในน้ำสับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำตาลของยีสต์ ดังนั้นใน
น้ำสับปะรดที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลสูงจะเกิดแก๊ส CO2 มากกว่าในน้ำสับปะรดที่มี
ความเข้มข้นของน้ำตาลต่ำ
2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายความเหมือนและความแตกต่างของสมมติฐานที่ยกตัวอย่างไปในข้อ 1.
• ปัญหา : ความเข้มของแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือไม่
สมมติฐาน : ถ้าความเข้มของแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น พืชที่อยู่กลางแจ้งจะ
เจริญเติบโตมากกว่าพืชที่อยู่ในที่ร่ม
: ถ้าความเข้มของแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น พืชที่อยู่กลางแจ้งจะมี
ความสูงมากกว่าพืชที่อยู่ในที่ร่ม
โดยแนวการอภิปรายควรเป็น ดังนี้ สมมติฐานทั้งสองนั้น ในส่วนที่เป็น ดังนั้น จะแนะแนวทางในการ
ออกแบบการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่ในที่แจ้งกับกลุ่มที่อยู่ในที่ร่ม แต่ส่วนที่ต่างกัน คือ
สมมติฐานแรกไม่ได้ระบุนิยามปฏิบัติการของการเจริญเติบโตของพืชว่าจะวัดจากสิ่งใด ส่วนสมมติฐานที่
สอง ระบุนิยามปฏิบัติการของการเจริญเติบโตว่าวัดจากความสูง ซึ่งเป็นการชี้แนะวิธีการวัดผลการ
ทดลองนั่นเอง
ชั่วโมงที่ 2
สำรวจค้นหา (Explore)
1. ครูตั้งคำถามเพื่อนำเข้าสู่การสืบค้นข้อมูล ดังนี้
• การตรวจสอบสมมติฐานสามารถทำได้อย่างไร
(แนวคำตอบ : นักเรียนอาจตอบว่าทำได้โดยการทดลอง)
2. จากคำถามในข้อ 1. หากนักเรียนตอบเพียงว่าทำได้จากการทดลอง ครูควรชี้แจงว่า การตรวจสอบ
สมมติฐานสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสังเกต การตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และ
การทดลอง
3. ครูนำอภิปรายเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการทดลองว่า ปัจจัยดังกล่าวนั้น เรียกว่า ตัวแปร จากนั้นให้
นักเรียนแต่ละคนศึกษาเรื่อง การตรวจสอบสมมติฐาน จากหนังสือเรียนชีววิทยา ม.4 เล่ม 1

อธิบายความรู้ (Explain)
1. ให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้
• เหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบสมมติฐาน และการตรวจสอบสมมติฐานมีจุดประสงค์เพื่อสิ่งใด
(แนวคำตอบ : การตรวจสอบสมมติฐ านเพื่อทำให้ทราบแน่ชัดว่าสมติฐ านใดถูกต้อง ซึ่งการ
ตรวจสอบสมมติฐานมีจุดประสงค์เพื่อค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบว่าสมมติฐาน
ข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องทีสุด)
2. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายความหมายของคำต่างๆ ดังนี้
• ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ (independent variable) : ตัวแปรที่ผู้ทดลองกำหนดขึ้นเพื่อทดสอบ
ผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
• ตัวแปรตาม (dependent variable) : ตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ
• ตัว แปรควบคุ ม (controlled variable) : สิ่งต่างๆ นอกเหนือจากตัว แปรต้ น ที ่ อาจทำให้ ผ ลการ
ทดลองเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งผู้ทดลองจะต้องควบคุมให้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นคงที่ตลอดการ
ทดลอง

ชั่วโมงที่ 3
สำรวจค้นหา (Explore)
1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลจากหนังสือเรียน
ชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 หรือจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
2. ให้นักเรียนกลุ่มเดิมศึกษากิจกรรมเรื่อง การกำหนดตัวแปร วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการทดลองจาก
หนังสือเรียน ชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 แล้วร่วมกันตอบคำถามท้ายกิจกรรม
3. ครูควรเน้นย้ำว่า จากกิจกรรมนักเรียนจะได้ใช้ทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการลงความ
คิดเห็นจากข้อมูล ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายของข้อมูล ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
ทักษะการตีความหมายและสรุปข้อมูล ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาวิทยาศาสตร์

อธิบายความรู้ (Explain)
1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายคำถามท้ายกิจกรรมในหนังสือเรียน ชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 ดังนี้
• ในการทดลองนี้ สิ่งใดเป็นตัวแปรควบคุม สิ่งใดเป็นตัวแปรต้น และสิ่งใดเป็นตัวแปรตาม
(แนวคำตอบ : ตัวแปรควบคุม คือ พืชชนิดเดียวกันที่มีขนาดใกล้เคียงกัน และมีอายุเท่ากัน ใช้ดิน
ชนิดเดียวกัน ปริมาณดินเท่ากัน กระถามขนาดเดียวกัน ปริมาณน้ำเท่ากัน
ตัวแปรต้น คือ แสงสว่างที่มีสีต่างกัน
ตัวแปรตาม คือ ขนาดและความสูงของลำต้น )
• แสงสีใดมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีที่สุด และได้น้อยที่สุดตามลำดับ
(แนวคำตอบ : แสงสีแดงมีผลทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ส่วนแสงสีเหลืองมีผลทำให้พืช
เจริญเติบโตได้น้อยที่สุด)
• ให้นักเรียนแสดงผลการทดลองเป็นแผนภูมิหรือกราฟการเจริญเติบโตของพืชเมื่อได้รับแสงสีต่างๆ
(แนวคำตอบ : พิจารณาจากผลงานของนักเรียน โดยอยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

ชั่วโมงที่ 4
ขั้นสรุป
ขยายความเข้าใจ (Elaborate)
1. ครูนำอภิปรายว่า หากผลการทดลองไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นักเรียนควรดำเนินการอย่างไร
แนวการอภิปรายควรเป็น ดังนี้ หากผลการทดลองไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นักเรียนควร
พิจารณาหาข้อผิดพลาดแล้วดำเนินการทดลองซ้ำ แต่หากทดลองซ้ำหลายครั้งแล้วผลการทดลองไม่
สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ควรตั้งสมมติฐานใหม่ และดำเนินการตรวจสอบสมมติฐานอีกครั้ง

2. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการศึกษาชีววิทยา โดยควรได้ข้อสรุป ดังนี้


การศึกษาชีววิทยาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นความรู้ และส่วนที่เป็นกระบวนการค้นหา
ความรู้ ซึ่งได้แก่ การกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การตรวจสอบสมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล
และวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล
ความรู้ที่ได้จากกระบวนการตรวจสอบสมมติฐาน ต้องผ่านการตรวจสอบจากนักวิทยาศาสตร์หลายๆ
ท่าน จนกระทั่งได้ข้อสรุปที่เป็นหลักการเดียวกัน ความรู้นั้นๆ จึงสามารถนำไปตั้งเป็นกฎและทฤษฎี เช่น
กฎของเมนเดล ทฤษฎีเซลล์ เป็นต้น
3. ครูจูงใจให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดำเนินการตามขั้นตอนที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการศึกษาสิ่งต่างๆ นับตั้งแต่
การกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐ าน การตรวจสอบสมมติฐาน การเก็บ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์
ข้อมูล และการสรุปผล โดยปฏิบัติกิจกรรมในใบงานที่ 1.3 เรื่อง วิธีการทางวิทยาศาสตร์
4. ครูมอบหมายการบ้านให้นักเรียนทำ Unit Exercise 1 ในหนังสือเรียนชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 หรือทำ
แบบฝึกหัดในหนังสือแบบฝึกหัดชีววิทยา ชีววิทยา ม.4 เล่ม 1

ตรวจสอบผล (Evaluate)
1. ครูประเมินผล โดยการสังเกตการตอบคำถาม การร่วมกันทำผลงาน และจากการนำเสนอผลงาน
2. ครูวัดและประเมินการปฏิบัติการ จากการทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. ครูตรวจสอบผลการทำแบบฝึกหัด
4. ครูตรวจสอบผลการทำแบบทดสอบหลังเรียน

7. การบูรณาการ
1) บูรณาการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ และผลกระทบต่อสุขภาพ
8. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียนชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
2) ใบงานที่ 1.3 เรื่อง วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3) PowerPoint เรื่อง วิธีการทางวิทยาศาสตร์
4) แบบฝึกหัดชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
8.2 แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องเรียน
2) บริเวณโรงเรียน
9. คุณธรรมและจริยธรรมที่สอดแทรก
1. การตรงต่อเวลา
2. ความรับผิดชอบ
3. ความมีระเบียบวินัย
10. การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีวัดผล เครื่องมือวัด เกณฑ์การผ่าน


จุดประสงค์
ด้านความรู้ (K)
-อธิบายความสำคัญของการระบุ
- ตรวจสมุด ตรวจ สมุด ตรวจแบบฝึกหัด
ปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
แบบฝึกหัด ใบงาน ใบงาน
สมมติฐาน และวิธีกรตรวจสอบ
สมมติฐานได้ (K)
ด้านทักษะกระบวนการ (P) - ระดับคุณภาพ 2
- ออกแบบและดำเนินการทดลอง สังเกตจาก แบบบันทึก
ผ่านเกณฑ์
ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ (P) การตอบคำถาม การสังเกต

ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (A)
- ตระหนักถึงความสำคัญของพื้นฐาน สังเกตความมีวินัย ใฝ่ แบบประเมินคุณลักษณะ
การศึกษาในงานวิทยาศาสตร์ (A) เรียนรู้ และมุ่งมั่น อันพึงประสงค์ด้านใฝ่ ระดับคุณภาพ 2
เรียนรู้ กล้าซักถาม และ ผ่านเกณฑ์
มุ่งมั่นในการทำงาน
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน การสังเกตพฤติกรรมใน
- ความสามารถในการคิด ชั้นเรียนตั้งใจใฝ่เรียนรู้
แบบประเมินสมรรถนะ ระดับคุณภาพ 2
- ความสามารถในการสื่อสาร มีความรับผิดชอบ มี
สำคัญของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์
ความสามารถในการ
นำเสนอ
11. บันทึกการจัดการเรียนรู้
1) ผลการสอน
....................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................... .................
..................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................... .................
..............................................................................................................................................................................
2) ปัญหาและอุปสรรค
....................................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

3) แนวทางการแก้ไข
....................................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

ลงชื่อ
(นางภัทรพร เมืองซอง)
ครูผู้สอน
ความคิดเห็นหัวหน้ากลุ่มสาระ
....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
ลงชื่อ
(นางรพีพรรณ หิมมะ)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
ลงชื่อ
(นางรพีพรรณ หิมมะ)
หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา
....................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
ลงชื่อ
(นายสุรศักดิ์ สุคนธา)
รองผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา
....................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................. ..................................
..................................................................................................................................................................

ว่าที่ร้อยตรี
(ฐปนนท ยิ่งชนะ)
ผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่แก้ววิทยา

You might also like