You are on page 1of 15

แผนการจัดการเรียนรู้

โรงเรียนจันทรเกษมวิทยาลัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิชาวิทยาศาสตร์ 2 ระดับชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 1
ปี การศึกษา 2567
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง พลังงานความร้อน เรื่อง สถานะของ
สสาร จำนวน 1 คาบ เวลา 30 นาที
สอนวัน พฤหัสบดี ที่ 7 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2567
ผู้สอน นางสาวผกายแก้ว เจริญผล

1. เป้ าหมายการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสมบัติของสาร องค์ประกอบ
ของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึด
เหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะ
ของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ตัวชี้วัด : ว 2.1 ม.1/9 อธิบายและเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคและการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารชนิด
เดียวกันในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยใช้แบบจำลอง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.1 ด้านความรู้ (K)
1. อธิบายและเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค แรงยึด
เหนี่ยวระหว่างอนุภาคและการเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารชนิด
เดียวกันในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊สได้
1.2 ด้านทักษะกระบวนการ (P)
1. สร้างแบบจำลองอนุภาคของสสารชนิดเดียวกัน
ในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊สได้ 1.3 ด้านคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ (A) 1. มีวินัย
2. ใฝ่ เรียนรู้
3. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
4. มีจิตสาธารณะ
2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (C)
1. ความสามารถในการแก้ปั ญหา
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

3. สาระการเรียนรู้
- อนุภาคของของแข็ง
- อนุภาคของของเหลว
- อนุภาคของแก๊ส

4. สาระสำคัญ
อนุภาคของของแข็งเรียงชิดกัน มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมาก
ที่สุด อนุภาคสั่นอยู่กับที่ทําให้มีรูปร่างและปริมาตรคงที่ส่วนอนุภาคของ
ของเหลวอยู่ใกล้กัน มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็งแต่
มากกว่าแก๊สอนุภาคเคลื่อนที่ได้แต่ไม่เป็ นอิสระเท่าแก๊ส ทําให้มีรูปร่างไม่
คงที่แต่ปริมาตรคงที่และอนุภาคของแก๊สอยู่ห่างกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างอนุภาคน้อยที่สุด อนุภาคเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระทุกทิศทาง ทําให้
มีรูปร่างและปริมาตรไม่คงที่

5. กระบวนการจัดการเรียนรู้ (จัดการเรียนรู้แบบการสอนสืบเสาะ
หาความรู้ (5E) )
1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) (5 นาที)
1.1 ครูกล่าวทักทายและสนทนากับนักเรียน
1.2 ครูถามคำถามกับนักเรียน ดังนี้
- นักเรียนคิดว่าสารต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราสามารถจำแนกออก
เป็ นกี่สถานะ และมีสถานะอะไรบ้าง (แนวคำตอบ : จำแนกเป็ น 3
สถานะ ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส)
- ให้นักเรียนสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวที่อยู่ในห้องเรียน พร้อมให้
แต่ละคนยกตัวอย่างมา 3 ชนิด
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันบอกว่าสิ่งที่ยกตัวอย่างมี
สถานะอะไรบ้าง (แนวคำตอบ: คำตอบแตกต่างกันตามตัวอย่างของแต่ละ
คน)
- จากการยกตัวอย่างของนักเรียนแต่ละคน นักเรียนคิดว่า
สามารถนำเกณฑ์ใดมาใช้ในการจำแนกสถานะของสารได้บ้าง (แนวคำ
ตอบ: ใช้เกณฑ์การจัดเรียงอนุภาคของสาร รูปร่างและปริมาตรของสาร
เป็ นต้น)
1.3 ครูพูดกับนักเรียนว่า ดังนั้นวันนี้เราจะมาศึกษาว่าสสาร
แต่ละชนิดมีการจัดเรียงอนุภาคเป็ นอย่างไร มีแรงยึดเหนี่ยวและการ
เคลื่อนที่ของอนุภาคเป็ นอย่างไรได้บ้าง
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) (15 นาที)
2.1 นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็ น 3 กลุ่ม
2.2 ครูให้นักเรียนศึกษาสมบัติของสารสื่อทำมือโดยครูจะแจกให้
คนล่ะ 1 สื่อ ใช้การหมุนเวียนสื่อแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 3 นาที จนครบ 3 กลุ่ม
จากนั้นส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอการจัดเรียงอนุภาคของสสารใน
แต่ละสถานะหน้าชั้นเรียน
2.3 ครูให้นักเรียนศึกษาใบกิจกรรมที่ 1.1 เรื่องแบบจำลอง
อนุภาคของสสารในแต่ละสถานะเป็ นอย่างไร
2.4 นักเรียนทำกิจกรรมตามใบกิจกรรมที่ 1.1 เรื่องแบบจำลอง
อนุภาคของสสารในแต่ละสถานะเป็ นอย่างไรโดยมีครูสังเกตพฤติกรรม
และให้คำแนะนำตลอดการจัดกิจกรรม

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) (5 นาที)


3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอผลการทำกิจกรรมที่
1.1 เรื่องแบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะหน้าชั้นเรียน
3.2 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ 1.1 เรื่องแบบ
จำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะหน้าชั้นเรียนโดยใช้คำถามดังต่อ
ไปนี้
- การที่นักเรียนปั้นดินน้ำมันเป็ นก้อนกลมขนาดเล็กๆและ
เรียงชิดติดกันเป็ นแบบจำลองของสารในสถานะใด
แนวคำตอบ เป็ นแบบจำลองที่แทนการจัดเรียงอนุภาคของ
สารในสถานะของแข็ง ทุกอนุภาคมีการสั่นสะเทือนตลอดเวลาแต่ยังคงอยู่
ที่ตำแหน่งเดิมและอนุภาคอยู่ชิดติดกัน มีแรงยึดเหนี่ยวนะหว่างอนุภาค
มาก ทำให้ของแข็งคงรูปอยู่ได้

- การที่นักเรียนปั้นดินน้ำมันเป็ นก้อนกลมขนาดเล็กๆและ
เรียงห่างกันเป็ นแบบจำลองของสารในสถานะใด
แนวคำตอบ เป็ นแบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคของสถานะ
ของเหลวทุกอนุภาคมีการสั่นและห่างกันเล็กน้อยมีการเคลื่อนตัวและ
กระจายอยู่ทั่วภาชนะจึงมีปริมาตรเพิ่มขึ้น ทำให้ความหนาแน่นและแรง
ยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็ง
- การที่นักเรียนปั้นดินน้ำมันเป็ นก้อนกลมขนาดเล็กๆและ
เรียงห่างกันมากๆเป็ นแบบจำลองของสารในสถานะใด
แนวคำตอบ แบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคของสารใน
สถานะแก๊ส ทุกอนุภาคมีการ เคลื่อนที่ตลอดเวลาและรวดเร็ว ฟุ้งกระจาย
เต็มภาชนะทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็งและ
ของเหลวมาก

3.3 หลังจากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการนำ
เสนอเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า
อนุภาคของของแข็งจะสั่นอยู่กับที่และเรียงชิดกัน โดยมีแรง
ยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมากกว่าของเหลวและแก๊ส จึงทำให้ของแข็งมี
รูปร่างและปริมาตรคงที่
อนุภาคของของเหลวอยู่ใกล้กัน โดยแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
อนุภาคน้อยกว่าของแข็งแต่มากกว่าแก๊ส อนุภาคของของเหลวจึง
เคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เป็ นอิสระ โดยจะเคลื่อนที่ได้รอบ ๆ อนุภาคใกล้เคียง
ทำให้ของเหลวมีรูปร่างไม่คงที่ โดยจะเปลี่ยนแปลงตามรูปร่างของภาชนะ
ที่บรรจุ แต่มีปริมาตรคงที่
อนุภาคของแก๊สอยู่ห่างกันมาก โดยแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
อนุภาคน้อยมาก อนุภาคจึงเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระทุกทิศทาง ทำให้แก๊สมี
รูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างและขนาดของภาชนะ

4. ขั้นขยายความรู้(Elaboration) (4 นาที)
4.1 ครูยกตัวอย่างสสารที่พบได้ทั้ง 3 สถานะ ได้แก่ น้ำ
สถานะของแข็ง คือ น้ำแข็ง โดยมีจุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิ 0
องศาเซลเซียส
สถานะของเหลว คือ น้ำ
สถานะแก๊ส คือ ไอน้ำ โดยจุดเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศา
เซลเซียส สอนเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
5. ขั้นประเมินผล (Evaluation) (1 นาที)

5.1 ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและ
การปฏิบัติกิจกรรมมีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วย
อธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ 5.2
ครูตรวจคำตอบของนักเรียนจากการทำแบบฝึ กหัด เรื่อง อนุภาคของ
สสาร

5. สื่อ/วัสดุ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 เล่ม 2
2. สื่อทำมือสถานะของสสาร
3. แบบฝึ กหัด เรื่อง อนุภาคของสสาร
4. ใบกิจกรรมที่ 1.1 แบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะเป็ น
อย่างไร

6. การวัดและประเมินผล
สิ่งที่วัดผล วิธีการวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน
1.ด้านความรู้ (K) - ตรวจแบบ - แบบฝึ กหัด - ผ่านเกณฑ์ร้อยละ
ฝึ กหัด เรื่อง เรื่อง อนุภาค 70 ขึ้นไป
ของสสาร
อนุภาคของสสาร

2.ด้านทักษะ/ - สังเกต - แบบสังเกต - ผ่านเกณฑ์อยู่ใน


กระบวนการ (P) พฤติกรรมการ พฤติกรรมการ ระดับ 14-20 คะแนน
ทำงานกลุ่ม ทำงานกลุ่ม หรือ ระดับดีขึ้นไป

3.ด้านเจตคติ - ประเมิน - แบบประเมิน - ผ่านเกณฑ์อยู่ใน


และคุณลักษณะ คุณลักษณะอัน คุณลักษณะอัน ระดับ 11-16 คะแนน
(A) พึงประสงค์ พึงประสงค์ หรือ ระดับดีขึ้นไป
4.ด้านสมรรถนะ -ประเมินด้าน - แบบประเมิน - ผ่านเกณฑ์อยู่ใน
สำคัญของผู้เรียน สมรรถนะสำคัญ สมรรถนะสำคัญ ระดับ 11-16 คะแนน
(C) ของผู้เรียน ของผู้เรียน หรือ ระดับดีขึ้นไป

บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
ผลการจัดการเรียนรู้
 ด้านความรู้ (K)
……………………………………………………………………………………………………...
......................
………………………………………………………………………………………………………
….................……………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………...
......................…………………………..
……………………………………………………………………………………………………...
......................………………………………………….
 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
……………………………………………………………………………………………………...
......................
………………………………………………………………………………………………………
….................……………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………...
......................
………………………………………………………………………………………………………
……………………….........................…………………………………………….
 ด้านคุณลักษณะ (A)
……………………………………………………………………………………………………...
......................
………………………………………………………………………………………………………
….................……………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………...
......................
………………………………………………………………………………………………………
………………………….........................………………………………………..
 ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (C)
……………………………………………………………………………………………………...
......................
………………………………………………………………………………………………………
….................……………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………...
......................
………………………………………………………………………………………………………
………………………….........................…………………………………………

ปั ญหา/อุปสรรค
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………….........
……………………………………………………………………………………………………...
......................
………………………………………………………………………………………………………
……………………….........................………………………………………….
แนวทางแก้ไขปั ญหา
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………............
……………………………………………………………………………………………………...
......................
………………………………………………………………………………………………………
……………………….........................………………………………………….

ลงชื่อ…………….....………………
ผู้สอน

( นางสา
วผกายแก้ว เจริญผล )
ชื่อ-
นามสกุล..............................................................................................
ชั้น.................เลขที่..................

แบบฝึ กหัด
เรื่อง อนุภาค

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเขียนอธิบายแบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละ
สถานะ

ของแข็ง ของเหลว แก๊ส

แบบจำลอง
อนุภาคของ
สสาร

ระยะห่าง
ระหว่าง
อนุภาค
แรงยึดเหนี่ยว
ระหว่าง
อนุภาค

การเคลื่อนที่
ของอนุภาค

เฉลยแบบฝึ กหัด
เรื่อง อนุภาค

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเขียนอธิบายแบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละ
สถานะ

ของแข็ง ของเหลว แก๊ส

แบบจำลอง
อนุภาคของ ภาพวาดอนุภาค ภาพวาดอนุภาค ภาพวาดอนุภาค
สสาร

ระยะห่าง อนุภาคของ อนุภาคของ


อนุภาคของแก๊ส
ระหว่าง ของแข็งจะเรียงชิด ของเหลวอยู่ใกล้
อยู่ห่างกันมาก
อนุภาค กัน ระยะห่าง กัน
ระหว่างอนุภาค
น้อยมาก

แรงยึดเหนี่ยว
มากกว่าของเหลว น้อยกว่าของแข็ง
ระหว่าง น้อยมาก
และแก๊ส แต่มากกว่าแก๊ส
อนุภาค

เคลื่อนที่ได้แต่ไม่
การเคลื่อนที่ เป็ นอิสระ โดยจะ เคลื่อนที่ได้อย่าง
สั่นอยู่กับที่
ของอนุภาค เคลื่อนที่รอบๆ อิสระทุกทิศทาง
อนุภาคใกล้เคียง

กลุ่มที่........

ใบกิจกรรมที่ 1.1
แบบจำลองอนุภาคของสสารในแต่ละสถานะเป็ นอย่างไร
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. รวบรวมข้อมูลและสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการจัดเรียง
อนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของอนุภาคของ
สสารในสถานะ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
2. วิเคราะห์และเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของสสารในสถานะของแข็ง ของเหลว
และแก๊ส
คำชี้แจง : ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนต่อไปนี้พร้อมทั้ง
บันทึกและสรุปผลการทำกิจกรรม
วิธีทำกิจกรรม
1. ศึกษาแบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคของของแข็งและปั้นดิน
น้ำมันแสดงการจัดเรียงอนุภาคของของแข็ง
2. ศึกษาแบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคของของเหลวและปั้นดิน
น้ำมันแสดงการจัดเรียงอนุภาคของของเหลว
3. ศึกษาแบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคของแก๊สและปั้นดินน้ำมัน
แสดงการจัดเรียงอนุภาคของแก๊ส
ผลการทำกิจกรรม

กิจกรรม ผลการทำกิจกรรม
1. แบบจำลองอนุภาคของแข็ง

2. แบบจำลองอนุภาคของเหลว

3. แบบจำลองอนุภาคของแก๊ส
สรุปผลการทำกิจกรรม
...................................................................................................................
...........................................................
...................................................................................................................
...........................................................
...................................................................................................................
...........................................................
...................................................................................................................
...........................................................

You might also like