You are on page 1of 19

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 1

บทนำ

ระยะเวลา 5 คาบ (สัปดาห์ที่ 1)

หัวข้อเนื้อหาประจำบท
1. ความสำคัญของพืช
2. ประโยชน์ของการสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชใน
ท้องถิ่น
3. เอกสารอ้างอิง

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกลักษณะต่าง ๆ ของพืชได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกความสำคัญของพืชในต่าง ๆ ได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกประโยชน์ของการสำรวจและ
รวบรวมพันธุ์พืชในท้องถิ่น
4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกชื่อพืชในท้องถิ่นของตนเองและ
การนำไปใช้ประโยชน์ได้

วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนประจำบท
1. ขัน
้ การนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ซักถามความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของพืช
2

1.2 ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะ
สำคัญของพืช ประโยชน์ของการสำรวจและรวบรวมพันธุ์พืช และ
ชื่อพืชพืชท้องถิ่นของตนเอง
2. ขัน
้ การสอน
บรรยายเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของพืช ลักษณะสำคัญของ
พืช และประโยชน์ของการสำรวจและรวบรวมพันธุพ
์ ืช
3. ขัน
้ การสรุป
ผู้สอนร่วมกันสรุปกับผู้เรียน

สื่อการเรียนการสอน
เอกสารประกอบการสอน เรื่อง บทนำ

การวัดผลและประเมินผล
1. สังเกตการเข้าชัน
้ เรียน ความสนใจ และความตัง้ ใจในการ
เรียน
2. ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
3

บทที่ 1
บทนำ
4

พืชเป็ นกลุ่มของสิง่ มีชีวิตพวกยูคาริโอติกเซลล์ (Eukaryotic


cell)  ที่สร้างอาหารเองได้ เนื่องจากมีลก
ั ษณะพิเศษ คือ มีคลอโร
ฟิ ลล์ สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อเป็ นอาหารแก่กลุ่มที่สร้าง
อาหารเองไม่ได้ พืชมีโครงสร้างที่ประกอบขึน
้ ด้วยเซลล์หลายเซลล์
รวมกลุ่มกันเป็ นเนื้อเยื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ผนังเซลล์มี
สารประกอบเซลลูโลส (Cellulose) และสะสมอาหารในรูปเเป้ ง
(Starch) มีวงชีวิตเเบบสลับ (Alternation of Generation) ระ
หว่างระยะแกมีโตไฟต์ (Gametophyte) และระยะสปอโรไฟต์
(Sporophyte) พืชพบได้ทงั ้ บนบกและในน้ำ ปั จจุบันพันธุ์พืชในโลก
มีความ หลากชนิดและอาจมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
ซึ่งเกิดจากการผันแปรทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมหรือระบบ
นิเวศนัน
้ ๆ
การสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุพ
์ ช
ื ในท้องถิน
่ (Survey and
Collection of Local Plants) ถือเป็ นศาสตร์แขนงหนึง่ ของวิชาใน
สาขาชีววิทยา ซึง่ พืชทีข
่ น
ึ้ ในท้องถิน
่ ใดใดก็ตาม พืชเหล่านัน
้ ต้องมีการ
ปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมโดยธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมใน
แหล่งกำเนิดที่พืชนัน
้ อาศัยอยู่ พืชท้องถิ่นจึงเป็ นพืชเฉพาะ
ที่ และมีการเรียกชื่อตามท้องถิ่นนัน
้ ๆ และพืชในท้องถิ่นหนึ่ง
สามารถนำไปปลูกในอีกท้องถิ่นหนึง่ ได้ แต่อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน
ไป ซึ่งในปั จจุบันพืชในท้องถิ่นจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อ
มนุษย์เป็ นอย่างมาก โดยจำแนกเป็ นประเด็นต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี ้

ความสำคัญของพืช
5

1. ความสำคัญของพืชต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
พืชเป็ นสิง่ มีชีวิตที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปั จจัย 4 ซึง่ สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี ้
1.1 มนุษย์ได้นำพืชมาเป็ นอาหารตัง้ แต่สมัยโบราณที่เรายัง
ไม่สามารถปลูกข้าวได้ มนุษย์ได้อาศัยพืชหัวทีข
่ น
ึ ้ อยูใ่ นป่ า เช่น เผือก
มัน กลอย มารับประทาน ต่อมาวิวฒ
ั นาการของมนุษย์สามารถทีจ
่ ะ
ปลูกข้าวได้ และพบว่ามีพช
ื ป่ าจำนวนมากทีส
่ ามารถนำมาเป็ นอาหาร
ในชีวต
ิ ประจำวันได้ และได้นำออกมาจากป่ าเมื่อมาปลูกไว้ทห
่ี วั ไร่
ปลายนาหรือในบริเวณพืชสวนหลังบ้าน เพื่อสะดวกในการเก็บมาบริ
โภค โดยอาหารทีไ่ ด้จากพืชนัน
้ อยูใ่ นรูปของผัก ผลไม้ตา่ ง ๆ หรือใน
รูปของแป้ ง เป็ นต้น
1.2 การใช้เส้นใย มาถักทอ เป็ นเครื่องนุง่ ห่ม และอื่น ๆ
เนื่องจากในสมัยโบราณ มนุษย์ได้มก
ี ารนำเอาส่วนต่าง ๆ ของพืช
เช่น นำใบไม้มาร้อยทำเป็ นเสื้อ เพื่อมาปกปิ ดร่างกาย หรือทำเป็ น
หมวกเพื่อใช้ในการสวมใส่ ต่อมาได้มก
ี ารนำเส้นใยจากพืชมาปั่ นและ
ถักทอเป็ นเครื่องนุง่ ห่ม และเมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมเี จริญ
ก้าวหน้ามากขึน
้ มนุษย์จงึ นำเอาเส้นใย หรือวัสดุทไ่ี ด้จากส่วนต่าง ๆ
ของพืชมาถักทอด้วยเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้
เครื่องนุ่งห่มที่ได้มานัน
้ มีสีสันสวยงาม คงทน และมีลวดลายที่ทัน
สมัย ซึ่งนอกจากจะเก็บไว้ใช้เองแล้ว ยังสามารถนำไปจำหน่ายเพื่อ
เป็ นรายได้อีกด้วย
1.3 การใช้ไม้มาสร้างอาคารบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
และเป็ นฟื น ในอดีตที่ผ่านมาพืชมีความหลากหลายจำนวนมาก
ทำให้มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมายหลายด้าน นั่นคือ
6

ใช้เพื่อการสร้างที่อยู่อาศัย หรือสร้างเครื่องเรือนต่าง ๆ เช่น


เฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบที่ทันสมัยต่าง ๆ และพืชบางชนิดสามารถนำ
เยื่อมาผลิตเป็ นกระดาษเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยูคาลิปตัส
นอกจากนี ้ มนุษย์ใช้ไม้เพื่อทำเป็ นฟื นเพื่อการหุงหาอาหาร เป็ นต้น
1.4 ใช้ทำยารักษาโรคต่าง ๆ  มนุษย์สามารถนำพืชมาใช้
เป็ นยารักษาโรค ซึ่งเรียกว่า สมุนไพรนั่นเอง โดยมนุษย์สามารถใช้
ส่วนต่าง ๆ ของพืช ไม่ว่าจะเป็ น ราก เหง้าหรือหัว ลำต้น ใบ ดอก
ผล และ เมล็ด มาใช้ในการรักษาโรคที่แตกต่างกันออกไป โดย
อาจจะใช้เป็ นแบบเดี่ยว หรือ รวมแต่ละชนิดเป็ นตำหรับยาก็
สามารถทำได้ ขึน
้ อยู่กับภูมิปัญญาของคนในสมัยอดีตกาล ใน
ปั จจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญอย่าง
รวดเร็ว มนุษย์สามารถนำพืชมาสกัดเป็ นยา เป็ นน้ำมันหอมระเหย
เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ความสำคัญของพืชต่อระบบนิเวศ
พืชมีความสำคัญต่อระบบนิเวศในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี ้
2.1 เป็ นผู้ผลิตในระบบนิเวศ
พืชเป็ นพวกออโตทรอพ (Autotroph) ซึง่ เป็ นคำภาษา
กรีก คำว่า ออโต(Autos) แปลว่าตัวเอง และ โทรฟี (Trophe) แปล
ว่าโภชนาการ ดังนัน
้ ออโตทรอพ จึงหมายถึง สิง่ มีชวี ต
ิ ทีส
่ ามารถสร้าง
อาหารเองได้ โดยทำการผลิตอาหารขึน
้ มาจากก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ทเ่ี ป็ นแหล่งคาร์บอน และแสงหรือสารอนินทรีย์
อื่น ๆ เป็ นแหล่งพลังงาน สิง่ มีชวี ต
ิ ประเภทออโตทรอพ ถูกจัดให้เป็ น
ผูผ
้ ลิตในห่วงโซ่อาหารทุก ๆ ระบบนิเวศ (ออโตทรอพ. 2562) พืชจึง
ได้ช่ อ
ื ว่าเป็ นผูผ
้ ลิต โดยมีสง่ิ มีชวี ต
ิ จำพวกเฮเทโรทรอพ
7

(Heterotroph) เป็ นพวกทีส


่ ร้างอาหารเองไม่ได้เป็ นผูบ
้ ริโภค
(Consumer) ซึง่ แบ่งได้ 4 กลุม
่ คือ กลุม
่ เฮอบิวอร์ (Herbivore) ผู้
บริโภคพืช เช่น ช้าง วัว ควาย กลุม
่ คาร์นวิ อร์(Carnivore) ผูบ
้ ริโภค
สัตว์ เช่น เสือ สิงโต กลุม
่ โอมมิวอร์ (Omnivore) ผูบ
้ ริโภคทัง้ พืชและ
สัตว์ เช่น ได้แก่ นกหัวขวาน นกกระทาทุง่ (กินทัง้ แมลงและเมล็ดพืช)
และกลุม
่ สคาร์เวนเจอร์(Scavenger) ผูบ
้ ริโภคซากพืชซากสัตว์ เช่น
ไส้เดือนดิน ปลวก นกแร้ง เป็ นต้น (ภาพที่ 1.1)

ต้นข้าว ตั๊กแตน กบ นก

ภาพที่ 1.1 ห่วงโซ่อาหาร


ที่มา (คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ. 2562)

2.2 บทบาทต่อเสถียรภาพของระบบนิเวศ
ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณที่ประกอบไปด้วย
พืชหลากชนิด (Species diversity) ย่อมเป็ นแหล่งรวมของ
พันธุกรรมพืชที่หลากหลาย (Genetic Diversity) ที่มีการเติบโตร่วม
8

กันอยู่ และได้มีการปรับตัวเพื่อความเหมาะสมในการอยู่รอดตาม
แหล่งอาศัยนัน
้ ๆ ยังผลให้เกิดระบบนิเวศที่แตกต่างกันออกไป
(Ecological Diversity) (นิตพ
ิ ัฒน์ พัฒนฉัตรชัย. 2548 : 4)
หากมนุษย์หรือธรรมชาติทำให้ระบบนิเวศที่เป็ นอยู่เกิดการ
เปลี่ยนแปลง เช่น มีการตัดไม้ทำลายป่ า เกิดภาวะน้ำป่ าไหล
หลาก เกิดแผ่นดินไหว ฯลฯ ย่อมทำให้เกิดความไม่สมดุลใน
ธรรมชาติเกิดขึน
้ ส่งผลต่อความเป็ นอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลกนั่นเอง
2.3 ป้ องกันการชะล้างพังทลายของดิน
การชะล้างพังทลายของดิน มีสาเหตุสำคัญคือ มีการตัด
ไม้ทำลายป่ าเป็ นจำนวนมาก เมื่อมีฝนตกลงมาปริมาณมาก แต่
ไม่มีต้นไม้ที่มีรากยึดเกาะช่วยดูดซับน้ำเก็บไว้ ทำให้น้ำฝนไหลบ่า
กัดเซาะและพัดพาหน้าดิน จนทำให้เกิดดินถล่มได้ พืชจึงมีบทบาท
สำคัญมาก ปั จจุบันได้มีการศึกษาวิเคราะห์พืชที่ช่วยในการชะลอ
หรือลดการพังทลายของหน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็ นที่
นิยมอย่างมากนั่นก็คือ หญ้าแฝก ซึง่ เป็ นหญ้าที่มีความทนทาน
เพราะสามารถขึน
้ ได้ในดินแทบทุกชนิด ทัง้ ดินเปรีย
้ ว ดินเค็ม ดิน
ด่าง และดินทราย เป็ นต้น เมื่อนำหญ้าแฝกมาปลูกเป็ นแถวตาม
แนวระดับ ขวางความลาดเทของพื้นที่ หญ้าแฝกก็จะมีการเจริญ
เติบโตโดยการแตกหน่อจากกอเล็กเป็ นกอใหญ่ กอจะอัดกันแน่นชิด
ติดกันจนมีลักษณะเสมือนมีรว
ั ้ หรือกำแพงที่มีชีวิตกัน
้ ขวางทิศทาง
น้ำที่ไหลบ่า และระบบรากของหญ้าแฝกมีระบบรากที่แข็งแรงหยั่ง
ลึกลงไปในดินตามแนวดิ่ง นอกจากนีร้ ากหญ้าแฝกยังสานกันอย่าง
หนาแน่นและหยั่งลึกจึงเป็ นเหมือนมีกำแพงใต้ดิน (ภาพที่ 1.2) จึง
ทำให้ลดการพังทลายของหน้าดินได้
9

ภาพที่ 1.2 รากของหญ้าแฝก


ที่มา (Shutterstock.com. 2562)

2.4 ช่วยบำบัดน้ำเสีย
น้ำเสียจากชุมชนเป็ นปั ญหาหลักประการหนึ่ง ซึ่ง
หากมีการปล่อยน้ำเสียลงไปในพื้นที่ชุมชน ก็จะทำให้เกิดผลกระ
ทบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยอาจทำให้พืชในแหล่งน้ำ
เหล่านัน
้ เสียหายและตายลงไป จึงได้มีการนำพืชมาช่วยในการ
บำบัดน้ำเสีย เพื่อให้น้ำเสียนัน
้ มีคณ
ุ ภาพที่ดีขน
ึ ้ ซึ่งถือเป็ นวิธีการที่
อาศัยธรรมชาติช่วยธรรมชาติด้วยกันเอง พืชจะเป็ นตัวช่วยกรอง
และฟอกน้ำให้สะอาดขึน
้ อันเป็ นผลจากพืชดูดซับธาตุอาหารที่มีอยู่
ในน้ำเสียเหล่านัน
้ ไปใช้ในการเจริญเติบโต นอกจากนีย
้ ังช่วยย่อย
สลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดิน ซึ่งพืชที่ใช้บำบัด
10

น้ำเสียต้องเป็ นพืชที่หาได้ง่ายและมีแพร่หลาย รวมทัง้ มี


ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนา (2543 : 7) ได้
ยึดหลักตามแนวพระราชดำริและทำการวิจัยและพัฒนา โดยพบว่า
พืชที่เหมาะสมที่สุดมี 2 ชนิด คือ กกกลม(จันทบูรณ์) และ ธูปฤๅษี
เป็ นต้น

ภาพที่ 1.3 ตัวอย่างแปลงธูปฤาษีที่บ่อบำบัดน้ำเสีย


ที่มา (โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบีย
้ .
2562)
3. ความสำคัญของพืชต่อการศึกษาพืชด้านต่าง ๆ
พืชเป็ นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์
พืชบางชนิดกำลังขาดแคลนหรือกำลังจะสูญหายไป เนื่องมาจากมี
การบุกรุกทำลายป่ าทำให้เกิดการเสื่อมเสียสมดุลธรรมชาติ ดัง
นัน
้ ในปั จจุบันจึงมีการค้นคว้าศึกษาด้านพืชเป็ นจำนวนมาก เพื่อให้
พืชที่กำลังจะสูญหายไปยังคงอยู่ และอนุรักษ์พืชที่มีอยู่ให้อยู่ได้
ยั่งยืน จึงจำเป็ นที่จะต้องมีการศึกษาหรือการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพืช
11

ทุกสาขา โดยเฉพาะพื้นฐาน เพื่อนำไปต่อยอดกับเทคโนโลยีและ


นวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพืช เช่น
3.1 พฤกษศาสตร์ (Botany) เป็ นการศึกษาเกี่ยวกับพืช
ครอบคลุมตัง้ แต่พืช สาหร่ายและเห็ดรา และศึกษาการเจริญเติบโต
ทัง้ ในด้านโครงสร้าง การสืบพันธุ์ เมแทบอลิซึม (Metabolism)
คุณสมบัติทางเคมี และความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างกลุ่ม
ต่าง ๆ
3.2 สัณฐานวิทยาพืช (Plant Morphology) เป็ นการ
ศึกษาเกี่ยวกับรูปร่างภายนอกและคุณสมบัติเฉพาะของโครงสร้าง
ของพืช เช่น สี โครงสร้าง ขนาด รูปร่าง รูปแบบ ตัวอย่างเช่น
ลักษณะรูปร่างของใบ หรือการจัดเรียงตัวของใบ
3.3 อนุกรมวิธาน (Taxonomy) เป็ นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ
การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต ซึง่ ครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเป็ นหมวดหมู่ การตรวจสอบหาชื่อ
วิทยาศาสตร์ และการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์ 
3.4 นิเวศวิทยา (Ecology) เป็ นวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หรือแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติ ความ
สัมพันธ์ต่าง ๆ
3.5 สรีรวิทยาพืช (Plant physiology) เป็ นการศึกษา
หน้าที่และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึน
้ กับพืช ที่ทำให้พืชดำรง
ชีวิตได้อย่างเป็ นปกติ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับน้ำ
ภายในเซลล์ การลำเลียงธาตุอาหารของพืช กระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจระดับเซลล์ การเจริญเติบโตของพืช
12

ฮอร์โมนพืช เป็ นต้น ซึ่งการศึกษาสรีรวิทยาของพืช สามารถแบ่ง


ย่อยไปตามชนิดของพืช ได้แก่
3.5.1 สรีรวิทยาพืชสวน (Physiology of
Horticultural Crops) เป็ นวิชาที่ศึกษาถึงกระบวนการทาง
สรีรวิทยาต่าง ๆ ของพืชสวน เพื่อนำไปใช้ในการผลิตพืช โดยเฉพาะ
พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างพืชสวน ได้แก่ มะม่วง
มังคุด ทุเรียน เป็ นต้น
3.5.2 สรีรวิทยาพืชไร่ (Physiology of Field Crops)
เป็ นวิชาที่ศึกษาถึงกระบวนการต่าง ๆ ของพืชไร่ เพื่อศึกษาพื้นฐาน
ด้านสรีรวิทยาของกลุ่มพืชไร่ การวิเคราะห์การเจริญเติบโตของพืช
การวิเคราะห์ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตพืช ลักษณะทาง
สรีรวิทยาในการเพิ่มผลผลิตของพืช ตัวอย่าง พืชไร่ ได้แก่ ข้าว
ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง เป็ นต้น
3.5.3 สรีรวิทยาการผลิตพืช (Crop Production
Physiology) เป็ นวิชาการศึกษาถึงกระบวนการทางสรีรวิทยาต่าง
ๆ ของพืช อิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อกระบวนการทางสรีรวิทยา
เช่น กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ การคายน้ำ การ
เคลื่อนย้ายของน้ำทางท่อน้ำ การเคลื่อนย้ายแร่ธาตุทางท่ออาหาร
ธาตุอาหารพืช อิทธิพลของธาตุอาหารพืช สิ่งแวดล้อมต่อการเจริญ
เติบโตและพัฒนาการของพืช การตอบสนองของพืชต่อแสง
อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม เป็ นต้น
13

ประโยชน์ของการสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชใน
ท้องถิ่น
จากการที่ปัจจุบันมีการบุกรุกทำลายป่ าจำนวนมาก ทำให้
ความหลากหลายของพืชในป่ าชุมชนและในท้องถิ่นเปลี่ยนไป ดังนัน

การสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชในท้องถิ่นจึงมีความจำเป็ น
และสำคัญ โดยก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี ้
1. การสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชเป็ นการสนองแนว
พระราชดำริของพระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตัง้ แต่เมื่อครัง้ ปี
พ.ศ. ๒๕๐๓ ที่ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์ต้นยางนา และทรงให้
รวบรวมพืชพันธุ์ไม้ของภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศปลูกไว้ในสวน
จิตรลดา จึงเกิดเป็ นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ ฯ (อพ.สธ.) เพื่อให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์
ของพืชพรรณหลากชนิด ซึ่งบางชนิดมีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาด
การดูแลรักษา จนทำให้มีปริมาณลดลงและเกือบสูญพันธุ์จากท้อง
ถิ่นนัน
้ ๆ หรือพืชบางชนิดมีมานาน แต่คนในท้องถิ่นไม่ร้ถ
ู ึงคุณ
ประโยชน์ จึงถูกละเลยหรือถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ดังนัน

เพื่อให้คนในท้องถิ่นสำนึกที่จะร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์พืชให้คงอยู่
เป็ นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและพืชเหล่านัน
้ สามารถนำมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์ที่เกี่ยวกับ "ปั จจัยสี่" อันเป็ นพื้นฐานหลักในการดำรงชีวิต
ของมนุษย์ โดยมีกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึก ปั จจุบันโครงการ
อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มีการดำเนิน
งาน 3 กรอบงาน 8 กิจกรรม (กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อ
การพัฒนาจังหวัด. 2562) ดังนี ้
14

1.1 กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร เพื่อพัฒนาและเพิ่ม


ประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการพัฒนาและด้านการบริหาร
จัดการด้านปกปั กทรัพยากรของประเทศ จึงต้องมีการเรียนรู้
ทรัพยากรในพื้นที่ป่าธรรมชาติดงั ้ เดิมที่ปกปั กรักษาไว้
1.1.1 กิจกรรมปกปั กพันธุกรรมพืช มีเป้ าหมายที่จะปก
ปั กพื้นที่ป่าธรรมชาติ นอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของกรมป่ าไม้ และ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้แก่ ป่ าในสถาบันการ
ศึกษา ป่ าในศูนย์วิจัยและสถานีทดลอง ป่ าที่ประชาชนร่วมใจกันปก
ปั ก ซึง่ เมื่อรักษาป่ าธรรมชาติไว้ก็จะรักษาพันธุกรรมดัง้ เดิมในแต่ละ
พื้นที่ โดยมีเป้ าหมายให้มีกระจายทั่วประเทศในทุกเขตพรรณ
พฤกษชาติ
1.1.2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช เป็ น
กิจกรรมที่ดำเนินการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมในพื้นที่ที่กำลัง
จะเปลี่ยนแปลงหรือสูญสิน
้ จากการพัฒนา เช่น การพัฒนา
เปลี่ยนแปลงจากป่ าธรรมชาติเป็ นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งพันธุกรรมใน
พื้นที่เหล่านัน
้ อาจจะสูญหายไป
1.1.3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช เป็ นกิจกรรม
ต่อเนื่องจากการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช โดยการนำ
พันธุกรรมไปเพาะปลูกในพื้นที่ที่ปลอดภัย ในศูนย์การศึกษาการ
พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่มีอยู่ 6 ศูนย์ทั่วประเทศ
1.2 กรอบการใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาและเพิ่ม
ประสิทธิภาพการดำเนินงานศึกษาวิจัยและประเมินศักยภาพของ
ทรัพยากรต่าง ๆ ใน อพ.สธ. ทัง้ ในด้านการพัฒนาและการบริหาร
จัดการให้การดำเนินงานเป็ นไปในทิศทางเดียวกันและเอื้ออำนวย
15

ประโยชน์ต่อกัน รวมทัง้ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ อพ.สธ. ให้


เป็ นเอกภาพ สมบูรณ์และเป็ นปั จจุบัน
1.2.1 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช
เป็ นกิจกรรมที่ดำเนินการศึกษาประเมินพันธุกรรมพืช ทีส
่ ำรวจเก็บ
รวบรวมมาปลูกรักษาไว้ โดยมีการศึกษาประเมินในสภาพธรรมชาติ
แปลงทดลอง ในด้านสัณฐานวิทยา ชีววิทยา สรีรวิทยา การปลูกเลีย
้ ง
การเขตกรรม เป็ นต้น
1.2.2 กิจกรรมศูนย์ขอ
้ มูลพันธุกรรมพืช เป็ นกิจกรรมที่
ดำเนินงานโดยศูนย์ขอ
้ มูลพันธุกรรมพืช อพ.สธ. สวนจิตรลดา ร่วมกับ
หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ บันทึกข้อมูลของการสำรวจเก็บ
รวบรวม การศึกษาประเมิน การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์ รวม
ทัง้ งานจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้แห้ง นอกจากนัน
้ ยังรวมถึงฐาน
ข้อมูลทรัพยากรอื่น ๆ นอกเหนือจากพันธุกรรมพืช เช่น ฐานข้อมูล
ของสัตว์ และจุลินทรีย์ การจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น
1.2.3 กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช เป็ นกิจกรรมที่
นำฐานข้อมูลจากกิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช มาใช้ในการ
พิจารณาศักยภาพของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์จุลินทรีย์ ฯลฯ
วิเคราะห์ข้อมูลและคัดเลือกสายต้นเพื่อเป็ นพ่อแม่พันธุ์พืช พร้อม
กับวางแผนพัฒนาพันธุ์ระยะยาวและนำแผนพัฒนาพันธุ์ขน
ึ้
ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อมีพระราชวินิจฉัยและพระราชทานแผนพัฒนาพันธุ์และ
พันธุกรรมที่คัดเลือกให้หน่วยงานที่มีความพร้อมนำไปปฏิบัติ พันธุ์
พืชที่อยู่ในเป้ าหมาย ได้แก่พันธุ์พืชสมุนไพร พันธุ์พืชพื้นเมืองต่าง ๆ
16

1.3 กรอบการสร้างจิตสำนึก เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้ า


หมายต่าง ๆ โดยเฉพาะเยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษาและบุคคล
ทั่วไป ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ และการอนุรักษ์
พันธุกรรมพืชของประเทศ จนตระหนักถึงความสำคัญและ
ประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชน
ชาวไทย
1.3.1 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรม
พืช เป็ นกิจกรรมสร้างสร้างจิตสำนึก ให้เยาวชน ประชาชนชาวไทย
ให้เข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของพันธุกรรมพืช ให้ร้จ
ู ัก
หวงแหน รู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึง่ มีความสำคัญต่อ
การจัดการ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรของประเทศ
1.3.2 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรม
พืช เป็ นกิจกรรมที่เปิ ดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมสนับสนุน
งานของ อพ.สธ. ในรูปแบบต่าง ๆ
2. การสำรวจพืชทำให้ได้ข้อมูลด้านนิเวศวิทยาของพันธุ์พืชใน
ท้องถิ่นแต่ละประเภท เช่น นิเวศวิทยาของพืชอาหารที่กินได้ในนา
ข้าว นิเวศวิทยาของพืชสมุนไพร นิเวศวิทยาของพืชคลุมดิน เป็ นต้น
3. ด้านข้อมูลพื้นฐานความหลากหลายของพันธุ์พช
ื ในท้องถิ่น
โดยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพันธุ์พืชในท้องถิ่น สามารถนำมาเป็ น
ข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดทำฐานข้อมูลของพันธุ์พืชในท้องถิ่น นอกจากนี ้
การสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชยังนำไปต่อยอดงานวิจัยได้
4. ด้านข้อมูลเพื่อการวางแผนและอนุรักษ์ เมื่อมีการสำรวจ
พันธุ์พืชในท้องถิ่นและพบว่าพืชบางชนิดกำลังจะสูญพันธุไ์ ปหรือแม้
17

กระทัง่ พืชทุกชนิดที่ยังคงอยู่ ก็สามารถนำมาวิเคราะห์และวางแผน


เก็บรวบรวมพันธุพ
์ ช
ื เหล่านัน
้ เพื่อการอนุรก
ั ษ์อย่างยั่งยืนต่อไป

สรุป
พืชเป็ นกลุ่มของสิง่ มีชีวิตพวกยูคาริโอติกเซลล์ ที่สร้างอาหาร
เองได้ เนื่องจากมีลักษณะพิเศษ คือ คลอโรฟิ ลล์ จึงสามารถ
สังเคราะห์อาหารด้วยแสง มีผนังเซลล์ที่มีสารประกอบเซลลูโลส
และสะสมอาหารในรูปแป้ ง มีวงชีวิตแบบสลับ ระหว่างระยะแกมีโต
ไฟต์ และระยะสปอโรไฟต์ พืชที่ขน
ึ ้ ในท้องถิ่นใดใดก็ตาม พืชเหล่า
นัน
้ ต้องมีการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมโดยธรรมชาติ และสภาพ
แวดล้อมในแหล่งกำเนิดพืชท้องถิ่นจึงเป็ นพืชเฉพาะที่ และมีการ
เรียกชื่อตามท้องถิ่นนัน
้ ๆ พืชมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของ
มนุษย์ โดยเฉพาะปั จจัย 4 นอกจากนีย
้ ังมีความสำคัญต่อระบบ
นิเวศ รวมทัง้ ความสำคัญที่มีต่อการศึกษาพืชด้านต่าง ๆ การสำรวจ
และรวบรวมพันธุ์พืชถือเป็ นการสนองพระราชดำริฯ ดังเช่นใน
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ เพื่อ
ให้คนไทยได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของพืชพรรณหลากชนิด ซึ่งบาง
ชนิดมีการนำมาใช้ประโยชน์แต่ขาดการดูแลรักษา จนทำให้มี
ปริมาณลดลงและเกือบสูญพันธุ์จากท้องถิ่นนัน
้ ๆ หรือพืชบางชนิด
มีมานาน แต่คนในท้องถิ่นไม่ร้ถ
ู ึงคุณประโยชน์ จึงถูกละเลยหรือถูก
ทำลายไปอย่างน่าเสียดาย ประโยชน์ของการสำรวจและรวบรวม
พันธุ์พืชนัน
้ นอกจากจากจะได้ร้ถ
ู ึงระบบนิเวศและข้อมูลต่าง ๆ ของ
พืชนัน
้ ๆ เพื่อจัดทำเป็ นฐานข้อมูลพื้นฐานของพืชในท้องถิ่นแล้วยัง
18

สามารถต่อยอดไปสู่งานวิจัยของผู้สนใจต่อไปได้ รวมทัง้ สามารถนำ


มาวิเคราะห์และวางแผนการอนุรักษ์ให้พืชเหล่านัน
้ อยู่อย่างยั่งยืน
ต่อไป

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562).
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนอง
พระราชดำริโดยจังหวัดอุดรธานี [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :
http://www.udonthani. go.th/forest/history.php
สืบค้น 2 เมษายน 2562.
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ. (2562). หน้าที่ของระบบนิเวศ. [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก : https://ngthai. com
/science/25312/ecosystem-function/ สืบค้น 2
เมษายน 2562
“โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบีย
้ ”.
(2562). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :
https://www.konderntang.com/%E0%B9%81%E
0%B8%AB
%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%9C
%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%
B8%9A
19

%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2/ สืบค้น
2 เมษายน 2562
นิติพัฒน์ พัฒนฉัตรชัย. (2548). ความรู้พ้น
ื ฐานทางพืชศาสตร์.
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สุรินทร์.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2543). การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพืชกรองน้ำ
เสีย. คู่มือเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียตามแนวพระ
ราชดำริ. กรุงเทพฯ.
“ออโตทรอพ”. (2560). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/% E0%B8% AD
%E0%B8%AD
%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%
B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9E สืบค้น 8
มิถน
ุ ายน 2562.
“Shutterstock”. (2562). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
https://www.shutterstock.com/th/image-photo/gr
ass-roots-soil-1289030347?
fbclid=IwAR3aKhmyQAFUoKJmtY3uzOW lZ-
qr7IZ9K4SmIK-NWZnVsGnyDKW6xlGQ-XE สืบค้น
10 ธันวาคม 2562.

You might also like