You are on page 1of 98

1

บทที่ 1
ความสำคัญและการจัดจำแนกของไม้ผล

ไม้ผลเป็ นพืชชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ
สามารถจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากเป็ นอาหารที่อุดมไป
ด้วยคุณค่าทางอาหาร เช่น วิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็ น
สำหรับร่างกายของมนุษย์ นอกจากการบริโภคในรูปของผลสดแล้ว ไม้ผล
หรือผลไม้ยังสามารถแปรรูปเป็ นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีกมากมายหลายชนิด
เช่น ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน ผลไม้ดอง และผลไม้อบแห้ง เป็ นต้น เป็ นการ
เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตได้อีกทางหนึ่ง การศึกษาเกี่ยวกับไม้ผลนั้น ถือเป็ น
ศาสตร์หนึ่งของวิชาทางพืชสวน ส่วนใหญ่นิยมศึกษาเกี่ยวกับส่วน
ประกอบต่างๆ ของไม้ผล การเขตกรรมไม้ผล (การให้น้ำ การใส่ปุ๋ย การ
ป้ องกันโรคและแมลง ฯ) การขยายพันธุ์ไม้ผล การจัดทรงพุ่มและการตัด
แต่งกิ่ง การเก็บเกี่ยว และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เป็ นต้น

วิชาไม้ผล (pomology) เป็ นการผสมคำระหว่างคำว่า ‘pomum’


แปลว่า ผลไม้ และคำว่า ‘logos’ แปลว่าวิชา เมื่อนำสองคำมาผสมกัน
จึงมีความหมายว่า วิชาเกี่ยวกับผลไม้หรือวิชาที่ว่าด้วยการผลิตผลไม้ หรือ
วิชาไม้ผล นั้นเอง วิชาไม้ผลสามารถจำแนกได้เป็ น 3 สาขา ดังนี้
1. ไม้ผลปฏิบัติ (practical pomology) ศึกษาเกี่ยวกับการปลูก
การปฏิบัติ การดูแลรักษา จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต
2. ไม้ผลการค้า (commercial pomology) ศึกษาเกี่ยวกับไม้ผล
หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ได้แก่ การบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษาหลังการเก็บ
เกี่ยว การขนส่ง และการตลาดของผลไม้
2

3. อนุกรมวิธานไม้ผล (systemic pomology) ศึกษาเกี่ยวกับการ


แบ่งแยกประเภท และการตั้งชื่อไม้ผล ตลอดจนการศึกษารายละเอียด
เรื่องพันธุ์ไม้ผลต่างๆ (สุรพล, 2550)

สำหรับในประเทศไทยการทำสวนไม้ผลเป็ นอาชีพหนึ่งที่สำคัญ โดย


สวนไม้ผลสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีการจัดจำแนก
ประเภทของสวนผลไม้ออกเป็ น 4 ประเภท ดังนี้
1. การปลูกไม้ผลบริเวณบ้านหรือสถานที่ (homeyard fruit
growing) เป็ นการปลูกไม้ผลเพื่อประดับบ้านหรือสถานที่เพื่อให้เกิดความ
สวยงาม ให้ความร่มรื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริโภค
และจำหน่ายผลผลิตที่เหลือจากการบริโภค การปลูกไม้ผลลักษณะนี้รวม
ความไปถึงการปลูกบริเวณหัวไร่ปลายนาใกล้ๆ กับกระท่อมกลางทุ่งนาได้
อีกด้วย โดยปกติการปลูกไม้ผลประเภทนี้ ผู้ปลูกมักจะปลูกไม้ผลหลายๆ
ชนิดอยู่ด้วยกัน มักไม่มีการวางแผนหรือจัดผังสวนไม่เน้นระยะปลูกตาม
หลักวิชาการ แต่เน้นความเหมาะสมของสถานที่เป็ นหลัก
2. การปลูกไม้ผลเพื่อการค้า (commercial fruit growing)
เป็ นการปลูกเพื่อเก็บผลผลิตจำหน่าย ชนิดของไม้ผลและขนาดการปลูก
แตกต่างกันไป เช่น ปลูกไม้ผลเพียงชนิดเดียว ปลูกไม้ผลหลายชนิด หรือ
ปลูกพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้เครื่องจักรกลทุ่นแรง ใช้วิทยาการต่างๆ
เข้าช่วยในการผลิต การทำสวนประเภทนี้ผู้ปลูกมักจะมีการวางผังสวน
เป็ นอย่างดี มีระยะปลูกที่แน่นอน มีการดูแลรักษาเป็ นอย่างดี
3. การปลูกไม้ผลเพื่อนำผลไม้เข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม (fruit
production for canning processing) เป็ นการทำสวนผลไม้เพื่อส่ง
โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องมีการตกลงกันระหว่างผู้ปลูกและโรงงานว่า
ต้องการผลไม้ชนิดใด ปริมาณเท่าไหร่ และคุณภาพเช่นไร ราคาผลผลิต
3

ต้องมีความเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนของโรงงาน การทำสวน
ประเภทนี้ควรมีพื้นที่ปลูกใกล้กับโรงงาน และควรมีเส้นทางคมนาคมที่
สะดวกต่อการขนส่งผลผลิต การทำสวนประเภทนี้มีจำนวนไม่มากนัก
เนื่องจากคนไทยไม่นิยมบริโภคผลไม้กระป๋ อง ผลไม้ที่ผลิตเพื่อเข้าโรงงาน
เช่น เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย และสับปะรด เป็ นต้น
4. การทำสวนผลไม้เพื่อจำหน่ายกิ่งพันธุ์ (fruit growing for
propagation purpose) การทำสวนไม้ผลวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
จำหน่ายส่วนขยายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น กิ่งตอน กิ่งทาบ กิ่งปั กชำ รวมถึงต้น
กล้าที่เพาะจากเมล็ดด้วย แต่บางครั้งก็พบว่าชาวสวนมีการผลิตผลไม้ร่วม
กับการผลิตกิ่งพันธุ์ด้วย ดังนั้นการปลูกสวนผลไม้ประเภทนี้จึงต้องมีการ
วางผังสวนที่ดี สำหรับระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวอาจกำหนด
ให้แคบกว่าการปลูกไม้ผลเพื่อการค้าได้ เนื่องจากเราต้องการให้ต้นไม้ผลมี
การแตกกิ่งจำนวนมากๆ มากกว่าจะให้มีการติดผล ดังนั้นพื้นที่ที่ใช้ในการ
ทำสวนประเภทนี้จึงต้องการไม่มากนัก แต่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่
ต้นไม้ผลเหล่านี้ค่อนข้างมาก (เกศิณี และวิรัตน์, 2522)

การปลูกไม้ผลมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศเป็ นอย่าง
มาก นอกจากจะมีส่วนในด้านการเสริมสร้างเศรษฐกิจของครอบครัว
เกษตรกรและประเทศชาติแล้วยังมีส่วนช่วยในด้านเสริมสร้างความ
สวยงามด้านธรรมชาติของบ้านเมืองอีกด้วย ความสำคัญของการปลูกไม้
ผลพอสรุปได้ ดังนี้
1. ไม้ผลมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ คือ สามารถจำหน่ายผลผลิตได้
ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ทุเรียน มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย กล้วย และ
สับปะรด ฯลฯ
4

2. ผลไม้ที่มีความสำคัญด้านอาหารที่ช่วยป้ องกันโรค เนื่องจากผล


ไม้เป็ นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญหลากหลายชนิด เช่น
วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และโปรตีน เป็ นต้น
นอกจากนี้จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ ค้นพบว่าผลไม้เป็ นแหล่งสำคัญของ
สารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากธรรมชาติ เช่น แอนโทไซยานิน แคโรทีนอย์
และสารประกอบฟี นอลิกหลากหลายชนิด เป็ นต้น ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนมี
ประโยชน์ในด้านการป้ องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายชนิด ซึ่งเป็ น
โรคที่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากในปั จจุบัน
3. ไม้ผลเป็ นอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายสูงมาก ตัวอย่างเช่น
เนื้อมังคุดหนัก 100 กรัม ให้พลังงานได้ถึง 57-81 กิโลแคลอรี่ เป็ นต้น
4. ไม้ผลให้ผลผลิตสูงต่อหน่วยพื้นที่ และมีมูลค่าสูง สร้างรายได้ให้
แก่เกษตรกรมากกว่าการปลูกพืชชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ส้มเขียว
หวานให้ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 3,000 กิโลกรัม กล้วยให้ผลผลิตต่อไร่
ประมาณ 2,000-2,500 กิโลกรัม ทุเรียนให้ผลผลิต 1,500-2,000
กิโลกรัมต่อไร่ เป็ นต้น
5. ไม้ผลทำให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น
6. การปลูกไม้ผลเหมาะสำหรับประกอบอาชีพเป็ นงานอดิเรก และ
อาชีพเสริมรายได้ของผู้มีอาชีพอื่นๆ เช่น การสร้างสวนไม้ผลรอบๆ บ้าน
การสร้างสวนไม้ผลเสริมรายได้งานประจำ การขยายพันธุ์กิ่งพันธุ์ดีเพื่อ
จำหน่าย การสร้างเรือนเพาะชำ หรือร้านจำหน่ายพันธุ์ไม้ผล
7. การปลูกไม้ผลเป็ นการสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นดินเช่นเดียวกับ
การปลูกป่ า เพราะไม้ผลส่วนใหญ่จะเป็ นไม้ยืนต้น ในการสร้างสวนผลไม้
จะต้องมีการวางแผนผังปลูก การขุดหลุมปลูก การปลูกพืชแซม การปลูก
พืชคลุม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดินได้เป็ นอย่างดี จะ
5

เห็นว่าในพื้นที่ซึ่งมีสวนผลไม้มักจะมีความเขียวชอุ่มและมีความชุ่มชื้นดี
เหมือนสวนป่ าโดยทั่วไป (สัมฤทธิ์, 2527)

การจำแนกประเภทของไม้ผล
การจำแนกประเภทของไม้ผลสามารถใช้เกณฑ์ในการจำแนกได้
หลายเกณฑ์ด้วยกัน ได้แก่ การจำแนกตามอุณหภูมิ การจำแนกตามขนาด
ของทรงพุ่ม การจำแนกตามการเจริญเติบโต และลักษณะของลำต้น การ
จำแนกตามอายุตกของผลและฤดูกาลตกผลและการจำแนกตามลักษณะ
ทางพฤกษศาสตร์ การจำแนกพรรณไม้ผลที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ การ
จำแนกตามอุณหภูมิโดยอาศัยสภาพดินฟ้ าอากาศที่เหมาะสมของไม้ผล
แต่ละชนิดเป็ นหลัก ซึ่งหมายถึง สภาพดินฟ้ าอากาศที่เหมาะสมต่อ
คุณภาพของผลผลิตที่ได้รับด้วย

การจำแนกตามอุณหภูมิ
รวี (2528) ได้จัดจำแนกไม้ผลตามอุณหภูมิออกเป็ น 3 ประเภท
ได้แก่
1. ไม้ผลเมืองร้อน (tropical fruit crops) เป็ นไม้ผลที่ต้องการ
อากาศร้อนหรือต้องการอุณหภูมิสูงจึงจะให้ดอก และผลไม้ประเภทนี้จะ
ปลูกกันมากในเขตเส้นศูนย์สูตรระหว่างเส้นรุ้ง (latitude) ที่ 23.5 องศา
เหนือและใต้ บริเวณที่ปลูกไม้ผลเมืองร้อนอุณหภูมิในรอบปี จะไม่
เปลี่ยนแปลงมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำที่สุดประมาณ 18 องศาเซลเซียส
หรือสูงกว่านี้ ไม้ผลประเภทนี้ไม่ต้องการอุณหภูมิสูงเพื่อทำให้สุก มีไม้ผล
จำนวนไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ทนต่อน้ำค้างแข็งได้ Jackson and Looney
(1999) ได้จำแนกไม้ผลเขตร้อนออกเป็ น 3 ชนิด ดังนี้
6

1.1 ไม้ผลเขตร้อนชื้น (humid tropical fruit crops) เป็ นไม้


ผลที่ต้องการอากาศร้อนมีฝนตกชุกและมีความชื้นสัมพันธ์ในอากาศสูง
ได้แก่ มังคุด ทุเรียน เงาะ ลางสาด และลองกอง เป็ นต้น
1.2 ไม้ผลเขตร้อนค่อนข้างแล้ง (semi-arid fruit crops) เป็ น
ไม้ผลที่ต้องการอากาศร้อนและฝนตกปานกลางและมีความแห้งแล้งเป็ น
บางช่วงในรอบปี ได้แก่ มะม่วง มะขาม ขนุน และน้อยหน่า เป็ นต้น
1.3 ไม้ผลเขตร้อนแห้งแล้ง (arid fruit crops) เป็ นไม้ผลที่
ต้องการอากาศร้อนและมีความชื้นสัมพันธ์ในบรรยากาศต่ำ ได้แก่
อินทผลัม และแก้วมังกร เป็ นต้น
2. ไม้ผลกึ่งร้อน (sub-tropical fruit crops) เป็ นไม้ผลที่ต้องการ
อุณหภูมิสูงในช่วงการเจริญเติบโตทางใบ และลำต้น และต้องการ
อุณหภูมิต่ำอีกช่วงหนึ่ง เพื่อให้เกิดการพักตัวเตรียมตัวเกิดดอก โดย
อุณหภูมิจะต้องไม่ต่ำมากจนเกิดอันตรายต่อไม้ผล อุณหภูมิต่ำที่เหมาะ
สมอยู่ในช่วง 13-18 องศาเซลเซียส ไม้ผลประเภทนี้จะปลูกกันในเขต
ระหว่างเส้นรุ้ง (latitude) ที่ 23.5-35.0 องศาเหนือและใต้ ไม้ผลที่จัดอยู่
ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ องุ่น และอโวกาโด เป็ นต้น
3. ไม้ผลเขตหนาว (temperate fruit crops) เป็ นไม้ผลผลัดใบเป็ น
ส่วนใหญ่ เพราะต้องผ่านช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ อุณหภูมินี้จะเป็ นตัว
ทำลายการพักตัวของตาดอกด้วย ช่วงอุณหภูมิต่ำจะต้องต่ำกว่า 4 องศา
เซลเซียส จนถึงจุดเยือกแข็ง จะต้องมีช่วงอุณหภูมิต่ำติดต่อกันระยะเวลา
ไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมง อาจต่ำหรือสูงกว่านี้เล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นกับพันธุ์
และชนิดของพืช ซึ่งเมื่อต้นไม้ผลผ่านช่วงเวลาหนาวจัดเข้าสู่ช่วงที่มี
อุณหภูมิสูงขึ้นจะเริ่มแทงตาดอกและตาใบ กลายเป็ นดอก ช่อดอก และ
ใบอ่อน ตามลำดับ การเจริญเติบโตของผลจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ไม้ผล
ประเภทนี้จะปลูกกันในเขตระหว่างเส้นรุ้งที่ 35.0 องศาเหนือและใต้ขึ้น
7

ไป ตัวอย่างผลไม้ที่จัดอยู่ในประเภทนี้ คือ บ๊วย สาลี่ พีช และพลับ


เป็ นต้น

การจำแนกไม้ผลตามอุณหภูมิออกเป็ น 3 ประเภทนี้ ส่วนใหญ่ยัง


อาศัยเส้นรุ้งเป็ นตัวแบ่งที่สำคัญ อย่างไรก็ตามในปั จจุบันมีการปลูกไม้ผล
ข้ามเขตกัน เช่น ไม้ผลเขตหนาวมีการนำมาปลูกในภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือบางจังหวัด ซึ่งจังหวัดในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่
เชียงราย และจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เลย ซึ่งเมื่อ
พิจารณาตำแหน่งของเมืองจะอยู่เส้นรุ้งที่ 21 องศาเหนือ อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล จึงทำให้มีสภาพแวดล้อม
ใกล้เคียงกับพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมตามระดับของเส้นรุ้ง พื้นที่สูงที่แนะนำ
สำหรับการปลูกไม้ผลเขตหนาวควรอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลอย่างน้อย
700 เมตร และจะให้ผลดีมากถ้ามีความสูงตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตรเหนือ
ระดับน้ำทะเลขึ้นไป

การจำแนกไม้ผลตามขนาดของทรงพุ่ม
สามารถจำแนกออกได้เป็ น 3 ขนาด ดังนี้
1. ไม้ผลขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่ม หรือระยะ
ปลูกประมาณ 1-3 เมตร เช่น สับปะรด กล้วย และทับทิม เป็ นต้น
2. ไม้ผลขนาดกลาง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่ม หรือระยะ
ปลูกประมาณ 4-8 เมตร เช่น น้อยหน่า ส้ม ลางสาด และลองกอง
เป็ นต้น
3. ไม้ผลขนาดใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่ม หรือระยะ
ปลูกประมาณ 8 เมตรขึ้นไป เช่น มะม่วง เงาะ ลำไย และลิ้นจี่ เป็ นต้น (ร
วี, 2528)
8

การจำแนกไม้ผลตามการเจริญเติบโตและลักษณะของลำต้น
สามารถจำแนกไม้ผลได้เป็ น 3 ชนิด (สุรพล, 2550) ดังนี้
1. ไม้ผลยืนต้น (tree) ได้แก่ มะม่วง ขนุน ทุเรียน เงาะ และมังคุด
เป็ นต้น
2. ไม้ผลเป็ นเถาเลื้อย (vine) ได้แก่ องุ่น เสาวรส และแก้วมังกร
เป็ นต้น
3. ไม้ผลล้มลุกพวกอวบน้ำ และไม้ผลหลายฤดูอวบน้ำ (annual
and herbaceous perennial) เช่น สตรอเบอรี่ แตงโม แคนตาลูป และ
สับปะรด เป็ นต้น
การจำแนกตามอายุการตกผล
การจำแนกไม้ผลวิธีนี้จะจำแนกไม้ผลชนิดเดียวกัน โดยใช้ระยะเวลา
ตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งให้ดอกให้ผลเป็ นครั้งแรกที่แตกต่างกันเป็ นหลัก
ในการจำแนก สามารถจำแนกได้เป็ น 3 ประเภท ดังนี้
1. พันธุ์เบา หมายถึง ไม้ผลที่ปลูกแล้วใช้ระยะเวลาไม่กี่ปี ก็ได้
ผลผลิต
2. พันธุ์กลาง หมายถึง ไม้ผลที่ใช้ระยะเวลานานกว่าพันธุ์เบา แต่
น้อยกว่าพันธุ์หนัก
3. พันธุ์หนัก หมายถึง ไม้ผลที่ใช้ระยะเวลายาวนานกว่าจะให้
ผลผลิต

การจำแนกตามฤดูกาลตกผล
การจำแนกไม้ผลวิธีนี้จะจำแนกไม้ผลที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็ นไม้ผล
ชนิดเดียวกัน ปลูกในที่ใกล้เคียงกัน แต่เวลาการให้ดอกให้ผลในปี เดียวกัน
9

นั้นต่างกัน คือ บางพันธุ์จะออกดอกออกผลก่อนหลังแตกต่างกัน สามารถ


จำแนกได้เป็ น 3 ประเภท ดังนี้
1. พันธุ์เบา เช่น ลำไยพันธุ์อีดอ ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม
2. พันธุ์กลาง เช่น ลำไยพันธุ์สีชมพู ลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย
3. พันธุ์หนัก เช่น ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว ลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ

การจำแนกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การจำแนกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์นี้อาศัยหลักการของคา
โรลัส ลินเนียส (Carolus Linneaus) โดยอาศัยลักษณะต่างๆ ของไม้ผล
เอง เช่น ลักษณะเกสรเพศผู้ จำนวนพูของรังไข่ ตำแหน่งของรังไข่ การ
เกาะกันของรังไข่บนรก และแบบของช่อดอก เป็ นต้น จนในที่สุดพืชแต่ละ
ชนิดจะมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ หรือชื่อทางพฤกษศาสตร์ (scientific
name or botanical name) ประกอบด้วยชื่อสกุล (genus) และชนิด
(species) เช่น ชื่อวิทยาศาสตร์ของพีช คือ Prunus persica L. โดยมีคำ
ว่า ‘Prunus’ เป็ นชื่อสกุล และมีคำว่า ‘persica’ เป็ นชื่อชนิด ส่วน L.
คือชื่อผู้ที่ตั้งชื่อนั้นเอง

ชนิดและพันธุ์ไม้ผล
จากการจำแนกไม้ผลตามหลักพฤกษศาสตร์ ไม้ผลจัดเป็ นพืชดอก
(class angiospermae) ซึ่งเป็ นกลุ่มพืชที่มีจำนวนมากที่สุด เนื่องจาก
ส่วนของผลจะต้องพัฒนาการมาจากดอก การศึกษาเรื่องชนิด และพันธุ์
ไม้ผลจำเป็ นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจำแนกไม้ผลทางพฤกษศาสตร์ การ
จำแนกพืชตามหลักพฤกษศาสตร์จะจำแนกจากระดับสูงไปสู่ระดับต่ำ คือ
จากอาณาจักร (kingdom) ไปจนถึงระดับย่อยที่สุด การจำแนกแบ่งออก
เป็ น 2 ประเภท คือ
10

1. การจำแนกระดับสูง หรือการจำแนกอย่างหยาบ (major taxa)


ประกอบด้วย kingdom division class order และ family
2. การจำแนกอย่างละเอียด (minor taxa) ประกอบด้วย genus
species variety และ individual (clone)
การจำแนกพืชตามหลักพฤกษศาสตร์ส่วนใหญ่เป็ นการจำแนกอย่าง
ละเอียด ต้องการจำแนกพืชในระดับสกุล (genus) และในระดับชนิด
(species) เป็ นส่วนมากเพราะสามารถจำแนกพืชออกจากกัน และเอามา
ใช้เรียกชื่อพืชต่างๆ ได้ ในการจำแนกพืชทางหลักพฤกษศาสตร์ ถ้า
จำแนกอย่างหยาบพืชจะมีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัด แต่ถ้าจำแนก
อย่างละเอียดพืชจะมีความใกล้ชิดมองเห็นความแตกต่างได้ยากขึ้น ใน
ส่วนของไม้ผลจะจำแนกอย่างละเอียดจนถึงระดับชนิด (species) พันธุ์
(variety) และระดับสายพันธุ์ (clone) พันธุ์ในทางพฤกษศาสตร์กับพันธุ์
ในทางพืชสวนมีความแตกต่างกัน ในทางพฤกษศาสตร์ หมายถึง variety
ซึ่งเป็ นชนิดย่อย (sub-species) คือ เป็ นกลุ่มของพืชที่แตกย่อยมาจาก
species อาจจะแตกต่างในเรื่องนิสัยการเจริญเติบโตหรือนิเวศวิทยา
หรือสัณฐานวิทยา บางครั้งเรียกพันทางพฤกษศาสตร์ว่า varieta ส่วน
พันธุ์ในทางพืชสวนหรือทางเกษตร พันธุ์ หมายถึง cultivar โดยเฉพาะ
ทางไม้ผลคำว่าพันธุ์ยังมีความหมายพิเศษ คือ ไม้ผลแต่ละพันธุ์ต้องมี
ลักษณะทางพันธุกรรม (genotype) ที่เหมือนกันทุกประการ คือ เป็ น
โคลน (clone) หรือสายพันธุ์เดียวกัน ทั้งนี้การขยายโคลนทำได้โดยการ
ขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศอย่างเดียวเท่านั้น

การจำแนกกลุ่มของพืชได้จัดให้พืชเป็ นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักร
เมตาไฟตา (kingdom: metaphyta) สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งออก
เป็ น 2 ดิวิชั่น คือ ไบรโอไฟตา (division: bryophyta) และทรีคีโอไฟตา
11

(division: tracheophyta) พืชในดิวิชั่นไบรโอไฟตาจัดเป็ นพืชขนาดเล็ก


เจริญตามดิน หิน ขอนไม้ และตามพื้นดินในป่ า ตามริมน้ำต่างๆ พืชพวก
นี้ยังต้องอาศัยอยู่ใกล้น้ำเนื่องจากไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงและเซลล์สืบพันธุ์
เพศผู้ยังคงมีหางเพื่อว่ายน้ำไปผสมกับไข่ การที่ไม่มีท่อลำเลียงน้ำ ซึ่ง
มีหน้าที่ในการค้ำจุนด้วยทำให้ขนาดของพืชถูกจำกัดให้เล็ก พืชในกลุ่มนี้
ได้แก่ มอส (mosses) ลิเวอร์เวิร์ท (liverworts) และฮอร์เวิร์ท
(hornwort) พืชในดิวิชั่นนี้จัดเป็ นพืชชั้นต่ำไม่เกี่ยวกับไม้ผล พืชที่เกี่ยวกับ
ไม้ผลจะอยู่ในดิวิชั่นเทรคีโอไฟตา ซึ่งเป็ นพืชที่พัฒนาขึ้นมาอยู่บนดินอย่าง
สมบูรณ์ เนื้อเยื่อลำเลียงซึ่งประกอบด้วยท่อน้ำ (xylem) และท่ออาหาร
(phloem) มีส่วนของราก ลำต้น ใบ เห็นได้อย่างชัดเจน และมีชีวิตอยู่ได้
ยาวนาน พืชในกลุ่มนี้มีมากมายสามารถจำแนกเป็ น 4 ซับดิวิชั่น (sub-
division) (สมบุญ, 2537) คือ
1. Psilopsida เป็ นกลุ่มพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำสุดของบรรดาพืชที่มี
เนื้อเยื่อลำเลียง ได้แก่ หวายทะนอย
2. Lycopsida ได้แก่ ช้องนางคลี่ สร้อยสีดา และหญ้ารังไก่
3. Sphenopsida ได้แก่ หญ้าถอดปล้อง
4. Pteropsida เป็ นกลุ่มพืชที่มีมากชนิด และมีปริมาณมากที่สุด
ลำต้น รากมีขนาดใหญ่ขึ้น มีใบใหญ่แผ่นกว้าง และมีเส้นใบแตกแขนง
ออกจากเส้นกลางใบ เป็ นซับดิวิชั่นของพืชชั้นสูงสุด แบ่งออกเป็ น 3
คลาส (class) ได้แก่
4.1 Filicinae ได้แก่ เฟิ ร์น (fern) เป็ นพืชที่ยังไม่มีดอกแต่จะ
มีสปอร์ (spore) ซึ่งอยู่ในสปอร์แรงเจียม (sporangium) และอยู่กันเปนก
ลุ่มๆ แต่ละกลุ่มเรียกว่า ซอรัส (sorus)
12

4.2 Gymnospermae เป้ นพวกมีเมล็ดที่เก่าแก่ที่สุด พืชพวก


นี้ไม่มีเปลือกหุ้ม ได้แก่ ปรง (cycads) สน (conifers) และแปะก๊วย
(ginkgos)
4.3 Angiospermae ได้แก่ พืชดอกซึ่งเป็ นกลุ่มพืชที่มีจำนวน
มากที่สุด มีราก ลำต้น ใบ เห็นได้อย่างชัดเจน ไม้ผลซึ่งเป็ นพืชชั้นสูงจัดอยู่
ในกลุ่มนี้ พืชในกลุ่มนี้สามารถจำแนกย่อยออกได้เป็ น 2 ซับคลาส
(subclass) ดังนี้
4.3.1 Dicotyledonae เป็ นพืชใบเลี้ยงคู่ ประกอบด้วย
ใบเลี้ยง 2 ใบ มีระบบรากเป็ นระบบรากแก้ว (tab root system) การ
เรียงของเส้นใบเป็ นร่างแห (netted venation)
4.3.2 Monocotyledonae เป็ นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ระบบ
รากเป็ นระบบรากฝอย (fibrous root system) การเรียงตัวของเส้นใบ
เป็ นแบบขนาน (parallel venation)

จากการจำแนกพอสรุปได้ว่าไม้ผลเป็ นพืชดอก (Class


Angiospermae) มีราก ลำต้น ใบ เห็นได้อย่างชัดเจน ไม้ผลมีทั้งพวกที่
เป็ นใบเลี้ยงคู่ และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนใหญ่ของไม้ผลจะเป็ นพืชใบเลี้ยงคู่
มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีไม้ผลไม่กี่วงศ์ (family) ที่เป็ นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เช่น วงศ์กล้วย (Musaceae) วงศ์สับปะรด (Bromeliaceae) และวงศ์
ปาล์ม (Palmae) เป็ นต้น

ชนิดและพันธุ์ไม้ผลที่สำคัญ ไม้ผลที่สำคัญทั้งพืชที่เป็ นพืชใบเลี้ยงคู่


และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สามารถจำแนกได้เป็ นวงศ์ต่างๆ มีชื่อวิทยาศาสตร์
ชื่อภาษาไทย และชื่อสามัญ (common name) หลายชนิด สามารถ
จำแนกชนิด และพันธุ์ไม้ผลได้ ดังนี้ (วิจิตร, 2537)
13

วงศ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ


Anacardiaceae Anacardium มะม่วงหิมพานต์
occidentale L. (cashew nut)
Bouea macrophylla มะปราง
Griffith
Bouea oppositifolia มะปริง
Meissn.
Mangifera caloneura มะม่วงกะล่อน
Kurz.
Mangifera foetida มะมุด ลูกมุด
Lour.
Mangifera indica มะม่วง
Annonaceae Annona muricata L. ทุเรียนเทศ
Annona reticulate L. น้อยโหน่ง (custard
apple)
Annona squamosa L. น้อยหน่า (sugar
apple)
Averrhoaceae Averrhoa bilimbi L. ตะลิงปลิง
Averrhoa carambola L. มะเฟื อง (star fruit)
Bombacaceae Durio griffithii Bakh. ทุเรียนนก
Durio malaccensis ทุเรียนดอน
Planch.
Durio pinangianas ทุเรียนป่ า
14

Ridley.
Durio zibethinus ทุเรียน (durian)
Muray.
Brommeliacea Ananas comosus Merr. สับปะรด (pineapple)
e
Caesalpiniacea Cassia acutifolia มะขามแขก
e
Dialium ลูกหยี
cochinchinense Pierre
Tamarindus indica L. มะขาม (tamarind)
Caricaceae Carica papaya L. มะละกอ (papaya)
Enphorbiaceae Baccaurea motleyana ระไม
Muell. Arg.
Baccaurea sapida มะไฟ
Muell. Arg.
Phyllanthus distichus มะยม
Muell. Arg.
Phyllanthus emblica L. มะขามป้ อม
Guttiferae Garcinia atroviridis ส้มแขก
Griff.
Garcinia costata มังคุดป่ า
Hemsl.
Garcinia dulcis Kurz. มะพูด
Garcinia mangostana มังคุด (mangosteen)
15

L.
Lauraceae Persea Americana อโวกาโด (avocado)
Miller.
Meliaceae Lansium domesticum ลางสาด ลองกอง
Correa.
Aglaia dookoo Griff. ดูกู (duku)
Sandoricum indicum กระท้อน (santol)
Cav.
Minosaceae Parkia speciosa Hassk. สะตอ
Pithecellobium dulce มะขามเทศ
Benth.
Moraceae Artocarpus altilis สาเก
Fosberg
Artocarpus จำปาดะ (champedak)
champenden Lour.
Artocarpus chaplasha ขนุนนก
Roxb.
Artocarpus ขนุน (jack fruit)
heterophyllus Lamk.
Musaceae Musa acuminate Colla. กล้วยป่ า
Musa balbisiana Colla. กล้วยตานี
Musa chiliocarpa Back. กล้วยร้อยหวี
Musa sapientum L. กล้วยไข่ กล้วยส้ม กล้วย
หอม กล้วยนาก กล้วย
16

น้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง
และกล้วยหักมุก
Mytaceae Eugenia aequea Burm. ชมพู่ป่ า
Eugenia jambos L. ชมพู่น้ำดอกไม้ (rose
apple)
Eugenia javanica Lamk. ชมพู่แก้มแหม่ม
Eugenia malaccensis L. ชมพู่สาแหรก
Psidium guajava L. ฝรั่ง (guava)
Palmae Areca catechu L. หมาก
Arenga pinnata Merr. ตาว ลูกชิด
Cocos nucifera L. มะพร้าว
Borassus flabellifera L. ตาล ตาลโตนด
Nypa fruticans Wurmb. จาก
Phoenix dactylifera L. อินทผลัม
Salacca wallichiana ระกำ
Martius
Punicaceae Punica granatum L. ทับทิม (pomegranate)
Rhamnaceae Zizyphus mauritiana พุทรา
Lamk.
Rosaceae Frangaria ananassa สตรอเบอรี่
Duchesne. (strawberry)
Malus domestica แอปเปิ้ล (apple)
Borkh.
Prunus domestica L. พลัมยุโรป (European
17

plum)
Prunus mume Sieb. & บ๊วย
Zuce.
Prunus peersica พีช (peach)
Batsch.
Prunus salicina Lindl. พลัมญี่ปุ่น (Japanese
plum)
Pyrus communis L. สาลี่ฝรั่ง (European
pear)
Pyrus pyrifolia สาลี่เอเชีย (Asian
(N.L.Burman) Nakai pear)
Rutaceae Citrus sinensis (L.) ส้มเกลี้ยง ส้มตรา
Osbeck (sweet orange)
Citrus hustrix มะกรูด
Citrus reticulata ส้มเขียวหวาน
Blanco. (tangerine)
Citrus grandis Osb. ส้มโอ (pummelo)
Citrus limon เลมอน (lemon)
Citrus aurantifolia มะนาว (lime)
Swing.
Citrus parasidi Macf. เกรพฟรุ๊ต (grape fruit)
Poncirus trifoliata ส้มสามใบ (trifoliate
orange)
Feronia limonia Swing. มะขวิด (wood apple)
18

Feronia lucida Scheff. มะสัง


Sapindaceae Dimocarpus longan ลำไย (longan)
Lour.
Euphoria longana ลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียว
Lamk. อีดอ สีชมพู ตลับนาก
แห้ว
Lichi chinensis Sonn. ลิ้นจี่ (lychee)
Nephelium lappaceum เงาะ (rambutan)
L.
Sapotaceae Achras sapota L. ละมุด (sapodilla)
Mimusops elengi L. พิกุล
Vitaceae Vitis vinifera L. องุ่น (grape)
19

บทที่ 2
ส่วนประกอบต่างๆ ของไม้ผล

การศึกษาถึงส่วนต่างๆ ของไม้ผลซึ่งเป็ นพืชมีดอก (angiospermae


หรือ flowering plant) จะเน้นเฉพาะส่วนประกอบ หรือโครงสร้าง
ภายนอกเป็ นหลัก ส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ราก ลำต้น กิ่ง ตา ใบ
ดอก และผล การได้ทราบส่วนประกอบของไม้ผลจะเป็ นประโยชน์ต่อการ
ศึกษาไม้ผลในด้านต่าง ๆ เช่น การปลูก การดูแลรักษา การติดผล การจัด
ทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่ง และการขยายพันธุ์ เป็ นต้น

ไม้ผลส่วนใหญ่จะเป็ นไม้ยืนต้น (tree) ส่วนต่างๆ ของไม้ผลจำแนก


ได้เป็ น 2 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
1. ส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็ นส่วนของระบบราก (root system) ได้แก่
ส่วนของพืชที่เจริญเติบโตลงไปในดินตามทิศทางของแรงโน้มถ่วงของโลก
2. ส่วนที่อยู่เหนือดิน เป็ นส่วนของระบบยอด (shoot system)
ได้แก่ ส่วนของพืชที่เจริญเติบโตขึ้นมาเหนือดิน ประกอบด้วย ลำต้น กิ่ง
ก้าน ตาดอก ตาใบ ใบ ดอก และผล

ราก (root)
ราก คือ อวัยวะหรือส่วนของพืชที่ไม่มีข้อ ปล้อง ตา และใบ
(George, 2009) เจริญลงสู่ดินตามแรงดึงดูดของโลก (positive
geotropism) มีกำเนิดมาจากส่วนปลายของรากแรกเกิด (radicle) ของ
ต้นอ่อน หรือเอ็มบริโอ ซึ่งเรียกว่า คอราก (hypocotyl) เมื่อเมล็ดงอก
รากแรกเกิดจะแทงทะลุเปลือกหุ้มเมล็ดออกมา และเจริญเติบโตเป็ นราก
แก้ว (tap root หรือ primary root) รากแก้วนี้สามารถแตกแขนงออกไป
20

อีกมากมายเป็ นรากแขนง (lateral root หรือ secondary root) ราก


แขนงเจริญออกมาจากเนื้อเยื่อเพริไซเคิลของรากแก้วหรือรากแขนงด้วย
กันเอง ซึ่งเป็ นการแตกแขนงของรากจากเนื้อเยื่อข้างใน หรือเรียกว่าการ
แตกแขนงแบบจากภายใน (endogenous branching) นอกจากนี้ราก
บางชนิดที่มิได้กำเนิดจากรากแรกเกิดหรือรากแขนง แต่เจริญมาจากส่วน
อื่นๆ ของลำต้น อาทิเช่น ใบ ข้อ กิ่ง เรียกรากชนิดนี้ว่า รากพิเศษ
(adventitious root) รากพิเศษเหล่านี้เจริญขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ
อย่าง

พืชใบเลี้ยงคู่มีระบบรากแก้ว (tap root system) โดยมีรากแก้ว


เป็ นหลักมีขนาดใหญ่กว่ารากอื่นๆ มีรากแขนงแตกออกจากชั้นเพริไซเคิล
ของรากแก้ว ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีระบบรากฝอย (fibrous root
system) ซึ่งมักประกอบด้วยรากที่มีขนาดใกล้เคียงกัน มีลักษณะเป็ นเส้น
เล็กๆ แผ่กระจายออกไปโดยรอบ
สมบุญ (2537) ได้กล่าวว่า รากมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ดูด (absorption) น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหาร ซึ่งพืชจะสะสมไว้
ในรากขึ้นไปสู่ส่วนต่างๆ ของลำต้น
2. ลำเลียง (conduction) น้ำและอาหารผ่านทางท่อน้ำ (xylem)
ท่ออาหาร (phloem)
3. เป็ นแหล่งสังเคราะห์ฮอร์โมนพืช (producing hormones) ราก
เป็ นแหล่งสำคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิด เช่น ไซโทไคนิน
(cytokinin) และจิบเบอเรลลิน (gibberellin) ซึ่งจะถูกลำเลียงไปใช้เพื่อ
การพัฒนาของส่วนลำต้น ส่วนยอด และส่วนอื่นๆ ของพืช
4. ทำหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหาร สังเคราะห์แสง ค้ำจุน ยึด
เกาะ และหายใจ เป็ นต้น
21

ชนิดของราก ถ้าพิจารณาตามการเกิดของรากสามารถจำแนกได้เป็ น 3
ชนิด คือ
1. รากแก้วและรากอันแรก (primary root) เป็ นรากที่เจริญเติบโต
มาจากรากแรกเกิด (radicle) แล้วพุ่งลงสู่ดิน บริเวณโคนรากจะมีขนาด
ใหญ่แล้วค่อยๆ เรียวลงไปจนถึงปลายราก ส่วนใหญ่มักเรียกรากชนิดนี้ว่า
รากแก้ว (tab root) พืชหลายชนิดจะมีรากแก้วเป็ นรากสำคัญตลอดชั่ว
ชีวิตของพืชนั้นๆ
2. รากแขนง (secondary root) เป็ นรากที่เกิดจากส่วนหนึ่งส่วนใด
ของพืช เช่น เกิดจากกิ่ง ใบ หรือข้อของลำต้น มิได้เกิดจาก รากแรกเกิด
หรือ รากแก้วโดยตรง รากของต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่เมื่องอกจา
เมล็ดใหม่ๆ จะมีรากแก้วงอกออกมาก่อน ต่อมาจะมีราก 4-5 เส้นงอก
ออกมาจากเมล็ดอีกที เรียกรากเหล่านี้ว่า รากพิเศษแรกเกิด (seminal
root) ทำหน้าที่อยู่ระยะหนึ่งจนมีลำต้นอยู่เหนือดิน มีใบแรกออกมา จาก
นั้นข้อแรกของลำต้นก็จะมีรากแตกออกมาโดยรอบ รากเหล่านี้เรียกว่า
รากพิเศษ (adventitious root) เมื่อรากพิเศษทำหน้าที่แล้ว รากพิเศษ
แรกเกิดก็จะหายไป ดังนั้นต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่เมื่อเจริญเติบโตมี
ขนาดใหญ่จึงมีแต่รากพิเศษ กิ่งตอนของไม้ดอกและไม้ผลก็มีรากแบบราก
พิเศษทั้งสิ้น

ระบบของราก รากชนิดต่างๆ สามารถจัดแบ่งออกได้เป็ น 2 ระบบ


ดังนี้
1. ระบบรากแก้ว (tap root system) หมายถึง ระบบรากที่มีราก
แก้ว (primary root) เป็ นรากหลักเจริญเติบโตได้เร็ว หน้าที่ส่วนใหญ่ยึด
พื้นดินให้ส่วนของพืชทรงตัวอยู่ได้ ส่วนใหญ่จะพบในพืชใบเลี้ยงคู่
22

2. ระบบรากฝอย (fibrous root system หรือ diffused root


system) เป็ นรากที่มีจำนวนมาก และมีขนาดเท่าๆ กัน ไม่มีรากใดเป็ น
รากหลัก รากเหล่านี้จะแผ่กระจายไปรอบลำต้น พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เป็ นส่วนใหญ่ เช่น มะพร้าว ตาลโตนด เป็ นต้น รากที่เกิดจากกิ่งตอนก็
เป็ นระบบรากฝอยทั้งสิ้น

ความรู้เกี่ยวกับระบบรากของไม้ผลจะเป็ นประโยชน์ในการเลือกดิน
ปลูกให้ถูกต้องตามชนิดของไม้ผล เพราะความลึกของดินในแต่ละท้องถิ่น
แตกต่างกัน เช่น พวกมะม่วงและมะม่วงหิมพานต์ เป็ นพืชที่มีรากแก้วสั้น
สามารถขึ้นได้ในดินตื้นๆ แต่ในพืชบางชนิด เช่น อโวกาโด ไม่สามารถ
เจริญเติบโตในดินตื้นๆ ได้ นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับการแพร่กระจายของ
รากพืชแต่ละชนิดจะเป็ นประโยชน์ในการใส่ปุ๋ยว่าควรใส่บริเวณใดของพืช
จึงจะได้รับประโยชน์มากที่สุด
23

ลำต้น (stem)
ลำต้นเป็ นอวัยวะของพืชที่โดยทั่วไปเจริญอยู่เหนือพื้นดิน แต่ก็อาจมี
บ้างที่เจริญอยู่ใต้ดิน มีขนาด รูปร่าง และลักษณะแตกต่างกันไป ประกอบ
ด้วย ข้อ ปล้อง และตา (Parker, 2000) หน้าที่ของลำต้นประกอบด้วย
1. เป็ นแกนสำหรรับพยุงอวัยวะต่างๆ ได้แก่ กิ่ง ก้าน ใบ ดอก และ
ผล
2. เป็ นตัวกลางในการลำเลียงโดยลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากสู่ใบ
และลำเลียงสารอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์แสงจากใบสู่อวัยวะต่างๆ
ของพืช

นอกจากนี้ลำต้นยังทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะของพืช เช่น
ใบ ดอก ผลขึ้นมาใหม่ ตลอดจนทำหน้าที่พิเศษ เช่น สะสมอาหาร
สังเคราะห์แสง สืบพันธุ์ เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ยึดเกาะ มือพันเพื่อพยุง
ค้ำจุนลำต้น สร้างสารบางชนิด เช่น แทนนิน น้ำยาง และเรซิน เป็ นต้น

ลำต้นของไม้ผลบางชนิดเจริญราบไปตามดิน เช่น สตรอเบอรี่ แต่


ลำต้นของไม้ผลมักเป็ นไม้ยืนต้นที่เจริญขึ้นด้านบน ลำต้นของไม้ยืนต้น
เรียกว่า trunk หรือ ลำต้นหลัก (main stem) เป็ นส่วนของพืชที่วัดจาก
ผิวดินจนถึงกิ่งแรกที่แยกจากลำต้น ระยะดังกล่าวนี้เป็ นส่วนสูงของลำต้น
เรียกว่า head อาจสูงตั้งแต่ 2-3 นิ้วขึ้นไปจนถึงหลายฟุต เราสามารถจัด
จำแนก head ออกเป็ นประเภทต่างๆ ดังนี้
1. low-headed tree คือ ลำต้นของไม้ผลที่มีความสูงต่ำกว่า 4
ฟุตลงมา
2. high-headed tree คือ ลำต้นของไม้ผลที่มีความสูงมากกว่า 4
ฟุตขึ้นไป
24

3. leader คือ ส่วนของลำต้นที่เจริญเหนือจาก head ขึ้นไป

กิ่ง (branch)
กิ่ง คือ ส่วนของพืชที่แยกออกจากลำต้น หรือกิ่งยอด (leader) แบ่ง
ออกเป็ นหลายชนิด ดังนี้
1. กิ่งใหญ่ (primary หรือ main scaffold) หมายถึง กิ่งที่แยกออก
จากลำต้น หรือกิ่งยอด
2. กิ่งย่อย (secondary scaffold) หมายถึง กิ่งที่แยกจากกิ่งใหญ่
3. กิ่งแขนง (lateral branch) หมายถึง กิ่งที่แยกจากกิ่งย่อย
บริเวณปลายกิ่งแขนงจะเป็ นที่เกิดของสเปอร์ (spur) ซึ่งมีลักษณะคล้าย
กิ่งเล็กๆ มีการเจริญเติบโตประจำปี สั้นมาก มีความยาวน้อยกว่าครึ่งนิ้ว มี
ใบเกิดเป็ นวง มีข้อถี่มาก พืชหลายชนิดจะมีดอกจากสเปอร์ เช่น แอปเปิ้ล
สาลี่ เป็ นต้น

การเกิดง่าม (crotch) เมื่อกิ่งแยกออกจากลำต้นหรือกิ่งยอดก็จะ


เกิดง่ามขึ้น ง่ามที่เกิดขึ้นจะมี 2 ลักษณะ คือ ง่ามมุมกว้าง (wide or
strong crotch) กับง่ามมุมแคบ (narrow or weak crotch) ต้นไม้ที่มี
ง่ามมุมกว้างจะมีพุ่มแผ่กว้างและแข็งแรง ทนลมพายุได้ดีกว่าต้นไม้ที่มีมุม
ง่ามแคบ ทั้งนี้เพราะเนื้อเยื่อเจริญ (cambium) ของง่ามที่มีมุมกว้างจะ
เจริญได้เต็มที่ ไม่ถูกบีบเหมือนเยื่อเจริญของง่ามที่มีมุมแคบ บริเวณง่ามที่
มีมุมแคบจะมีเศษเปลือกไม้เน่าสะสมอยู่ ทำให้ง่ามเชื่อมกันไม่สนิทและ
ฉีกขาดได้ง่าย การทำให้เกิดกิ่งมุมกว้างสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ 1)
เลือกกิ่งที่มีลักษณะดีหรือมีการตัดแต่งกิ่งช่วย (training) 2) บังคับให้กิ่ง
ข้างเจริญช้าลง เช่น ใช้วิธีการถ่วงด้วยน้ำหนัก หรือการโน้มกิ่ง และ 3) ใช้
วัตถุบางอย่างถ่วงง่ามในขณะที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่ แต่ต้องทำด้วยความ
25

ระมัดระวังเพราะอาจทำให้เปลือกได้รับอันตรายได้ สำหรับในกรณีที่ไม่
สามารถแก้ไขการเกิดง่ามมุมแคบได้ อาจจะใช้ลวดช่วยยืด (brace) หรือ
ใช้การทาบกิ่ง (inarching) เพื่อยึดกิ่งไม่ให้ฉีกเวลารับน้ำหนักหรือมีลม
แรงพัดผ่าน ง่ามไม้ที่มีมากกว่า 2 อัน และเกิดตรงจุดเดียวกันเป็ นลักษณะ
ไม่ดีควรหลีกเลี่ยง เพราะนอกจากจะไม่แข็งแรงแล้วยังทำให้เกิดแอ่งขังน้ำ
ขึ้นได้ และทำให้บริเวณนั้นเกิดการเน่าต่อมา

กิ่งอ่อนหรือยอด (shoot) เป็ นกิ่งที่แตกออกมาจากส่วนต่างๆ ของ


ลำต้นหรือราก เรียกว่า หน่อ (sucker) หน่อนี้อาจเจริญมาจากส่วนโคน
ต้น หรือเจริญมาจากราก เช่น สาเก ถ้าหน่อยเกิดจาก lateral bud หรือ
ตาพิเศษ (adventitious bud) บนต้นหรือกิ่งใหญ่ การเจริญของกิ่งจะ
เจริญในลักษณะพุ่งตรงขึ้นไปในอากาศ เรียกว่า กิ่งกระโดงหรือกิ่งน้ำค้าง
(water sprout) กิ่งเหล่านี้เหมาะสำหรับใช้ในการตอนเพื่อขยายพันธุ์
เพราะมีลักษณะอวบ แข็งแรง ถ้าไม่ใช้ขยายพันธุ์กิ่งเหล่านี้ไม่ควรเหลือทิ้ง
ไว้ เพราะมีแขนงน้อย และไม่ค่อยให้ดอกผล เนื่องจากยังสภาพของความ
เยาว์อยู่ (juvenile phase)

ตา (buds)
ตาเป็ นโครงสร้างส่วนหนึ่งของลำต้น เป็ นจุดเริ่มต้นของกิ่งก้านสาขา
ใบดอก และผลของพืช ตามีลักษณะนูนโค้งคล้ายกรวย ภายในประกอบ
ด้วยเนื้อเยื่อเจริญจำนวนมาก เซลล์บริเวณนี้จะแบ่งตัวให้กำเนิดกิ่งก้านใบ
และดอกแล้วแต่ชนิดของตา ตาสามารถจำแนกได้เป็ น 2 แบบ คือ การ
จำแนกตาตามการเจริญเติบโต และการจำแนกตาตามตำแหน่งที่เกิด โดย
มีรายละเอียด ดังนี้
26

การจำแนกตาตามการเจริญเติบโต สามารถจำแนกได้เป็ น 3
ประเภท คือ 1) ตาใบ (leaf bud) จะเจริญให้กิ่งหรือใบ 2) ตาดอก
(flower bud) คือ ตาที่จะเจริญเป็ นดอก/ช่อดอก และ 3) ตารวม
(mixed bud) คือ ตาที่จะเจริญเป็ นได้ทั้ง กิ่ง ใบ และ/หรือ ดอก

การจำแนกตาตามตำแหน่งที่เกิด สามารถจำแนกได้เป็ น 4 ประเภท


ดังนี้ 1) ตาข้าง (lateral bud or auxiliary bud) เป็ นตาที่เกิดบริเวณมุม
ใบตรงที่ติดกับลำต้น หรือซอกใบ 2) ตายอด (terminal bud or apical
bud) เป็ นตาที่เกิดบริเวณปลายกิ่ง หรือยอดของลำต้น 3) ตาพิเศษ
(adventitious bud) เป็ นตาที่เกิดจากส่วนหนึ่งส่วนใดนอกเหนือจากที่
กล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่ตาชนิดนี้พืชจะสร้างเมื่อได้รับอันตราย เช่น น้ำขัง
น้ำท่วม เป็ นต้น และ 4) ตาช่วย (accessory bud) พบเฉพาะพืชบาง
ชนิด ตำแหน่งที่เกิดมักเกิดใกล้ๆ ตาข้าง (auxiliary bud) ถ้าตาข้างถูก
ทำลายจะเกิดตานี้ขึ้นมาทำหน้าที่แทน
27

ใบ (leaf)
ใบมีหน้าที่หลักสำคัญ 3 ประการ คือ สังเคราะห์แสง หายใจ และ
คายน้ำ การสังเคราะห์แสงทำได้โดยใช้อาหารแร่ธาตุ และน้ำจากดิน ได้
ผลลัพธ์ออกมาเป็ น คาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ เมื่อสร้างอาหาร
เรียบร้อยจะส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นพืชทางท่ออาหาร หรือ phloem

ใบมักเกิดบนกิ่งเล็กๆ หรือบนส่วนปลายสุดของกิ่ง จำนวนใบบนต้น


จะเกี่ยวข้องกับขนาดและคุณภาพของผลไม้ ดังนั้นต้นที่มีลักษณะดีนั้น
ควรจะมีอัตราส่วนยอดต่อราก (top-root ratio) ในอัตราที่พอดี การให้
ปุ๋ย และการตัดแต่งจะมีผลโดยตรงต่ออัตราส่วนยอดต่อรากนี้

ใบของพืชเป็ นส่วนที่ใช้ในการจัดแบ่งพืช (identification) ได้


มากกว่าส่วนเจริญเติบโตของพืชอื่นๆ ทั้งหมด ลักษณะที่ใช้ในการจัดแบ่ง
ได้แก่ โครงสร้าง (structure) เส้นใบ (venation) รูปร่างใบ (leaf
shape) ปลายใบ (leaf apex) ตำแหน่งและการจัดเรียงของใบ
(position and arrangement) โคนใบ (leaf base) ผิวใบ (surface)
ขอบใบ (leaf margin) แฉกใบ (cleft) และเนื้อใบ (texture)

การจัดระเบียบของใบที่ติดกับลำต้นหรือกิ่งหรือการเรียงใบแบบ
ต่างๆ คล้ายกับการจัดระเบียบของตาบนลำต้น ถือว่าเป็ นการปรับตัวของ
พืชให้ใบได้มีโอกาสรับแสงแดดได้เต็มที่ทุกใบ โดยไม่มีการบดบังแสง
ระหว่างใบต่อใบในพืชที่ต้องการแสงในการเจริญเติบโต การจัดระเบียบ
ของใบบนลำต้นหรือกิ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปดังต่อไปนี้ คือ
1. แบบสลับ (alternate) เป็ นการจัดระเบียบของใบโดยข้อหนึ่งๆ
ของลำต้นจะมีใบเพียงใบเดียวติดอยู่ ใบในข้อถัดไปจะอยู่ตรงกันข้ามกับ
28

ใบในข้อ 1 สลับกันไป พืชที่มีการจัดเรียงใบแบบนี้ ได้แก่ น้อยหน่า


มะม่วง
2. แบบเวียน (spiral) เป็ นการจัดระเบียบของใบ โดยที่ตำแหน่ง
ของใบในข้อที่ 1 และข้อถัดไปจะเยื้องกันเล็กน้อย และใบในข้ออื่นๆ ที่ถัด
ขึ้นไปจะเยื้องกันตลอดไป ทำให้เห็นคล้ายเป็ นเกลียว
3. แบบตรงกันข้าม (opposite) เป็ นการจัดระเบียบของใบในข้อ
หนึ่งๆ ของลำต้นหรือกิ่งมีใบติดอยู่ 2 ใบ ในทิศทางตรงกันข้าม ใบแต่ละคู่
จะอยู่ในแนวตรงกันหมดทุกข้อ ได้แก่ มะดัน มะยม
4. แบบตรงกันข้ามสลับตั้งฉาก (decussate) เป็ นการจัดระเบียบ
ของใบแบบตรงกันข้าม โดยแต่ละคู่ของใบในข้อหนึ่งอยู่ในแนวตั้งฉากกับ
คู่ของใบในอีกข้อหนึ่ง ได้แก่ ชมพู่
5. แบบวงรอบ (whorled or verticillate) เป็ นการจัดระเบียบของ
ใบที่ข้อหนึ่งๆ ของลำต้น หรือกิ่งมีใบตั้งแต่ 3 ใบขึ้นไป
6. แบบกระจุก (fascicled or tufted) เป็ นการจัดระเบียบของใบที่
ข้อหนึ่งๆ ของลำต้นหรือกิ่งมีใบติดอยู่เป็ นกระจุก และมีเยื่อบางๆ หุ้มไว้
ด้วย
ในพืชบางกลุ่มมีใบติดกับลำต้นเป็ นกระจุกบริเวณผิวดิน เนื่องจาก
ลำต้นมีข้อปล้องสั้นมากอาจจัดเป็ นกลุ่มที่มีการจัดระเบียบของใบแบบ
กระจุกที่ฐาน (basal) ได้แก่ สับปะรด

การจัดระเบียบของเส้นใบหรือการเรียงเส้นใบแบบต่างๆ สามารถ
แบ่งได้ ดังนี้ (สมบุญ, 2537)
1. แบบขนาน (parallel venation) พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเส้น
ใบจะเรียงขนานไปตลอด แบ่งออกเป็ น 2 ชนิด คือ
29

1.1 แบบขนานจากฐานใบถึงปลายใบ (basal parallel


venation) ได้แก่ สับปะรด มะพร้าว ระกำ สละ
1.2 แบบขนานตั้งแต่เส้นกลางใบไปจนถึงขอบใบ (coastal
parallel venation) ได้แก่ กล้วย
2. แบบร่างแห (netted venation) เป็ นการจัดระเบียบของใบ
แบบที่มีเส้นใบมาประสานกันเป็ นร่างแห หรือตาข่าย พบในพืชใบเลี้ยงคู่
ทั่วๆ ไป แบ่งย่อยออกเป็ น 2 ชนิด ดังนี้
2.1 แบบร่างแหรูปขนนก (pinnately netted venation)
เป็ นชนิดที่มีเส้นใบย่อยเรียงตัวแยกจากเส้นกลางใบเป็ นแบบขนนกหรือ
ก้างปลา ได้แก่ มะม่วง ฝรั่ง ขนุน ชมพู่ ทุเรียน เงาะ
2.2 แบบร่างแหรูปฝ่ ามือ (palmately netted venation)
เป็ นใบขนิดที่มีเส้นใบย่อยเรียงตัวแยกออกจากจุดเดียวกัน ตรงบริเวณ
ฐานใบส่วนที่ต่อกับก้านใบ คล้ายนิ้วมือแยกจากฝามือและมีเส้นใบย่อย
เล็กๆ (veinlet) แตกแขนงออกไปอีกมากมาย ได้แก่ มะละกอ สาเก องุ่น
สตรอเบอรี่
3. แบบปลายแยกเป็ นสองแฉก (dichotomous or open
venation) เป็ นการจัดระเบียบของเส้นใบโดยเส้นใบเส้นย่อยมีส่วนปลาย
แตกแขนงเป็ นแฉกจาก 1 เป็ น 2 เรื่อยๆ ไป สำหรับในไม้ผลไม่พบใบ
ลักษณะนี้

ใบเดี่ยว (simple leaf) หมายถึง ใบที่มีตัวใบเพียงใบเดียวติดกับ


ก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น ได้แก่ มะม่วง ชมพู่ กล้วย ส้ม
น้อยหน่า และขนุน เป็ นต้น ใบเดี่ยวบางชนิดบริเวณขอบใบอาจจะเว้า
หยักเข้าไปมากทำให้เห็นคล้ายใบประกอบ ได้แก่ สาเก มะละกอ
30

ใบประกอบ (compound leaf) หมายถึง ใบที่ประกอบด้วยใบย่อย


หลายใบ ตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไป ติดอยู่กับก้านใบ 1 ก้าน ได้แก่ มะขาม มะยม
มะพร้าว แต่ละใบของใบประกอบเรียกว่า ใบย่อย (leaflet or pinna)
ก้านใบย่อย เรียกว่า petiolule or petiolet ส่วนก้านใบใหญ่ที่อยู่
ระหว่างช่วงก้านใบย่อยเรียกว่า แกนกลาง (rachis) ที่โคนของก้านใบย่อย
จะมีหูใบ และตา ซึ่งต่างจากใบเดี่ยว คือ ตาแขนง และหูใบ ใบประกอบ
สามารถจำแนกได้เป็ นชนิดต่างๆ ดังนี้
1. ใบประกอบแบบนิ้วมือ (palmately compound leaf)
เป็ นใบประกอบที่มีใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้านใบที่จุดรวมเดียวกัน
ถ้ามีใบย่อย 2 ใบ เรียกว่า bifoliate เช่น มะขามเทศ ถ้ามีใบย่อย 3 ใบ
เรียกว่า trifoliate เช่น ยางพารา เถาคัน ถั่ว ถ้ามีใบย่อย 4 ใบ เรียกว่า
quadrifoliate เช่น ผักแว่น ถ้าพืชมีใบย่อยมากกว่า 4 ใบ หรือมีหลายใบ
ย่อย เรียกว่า polyfoliate เช่น นุ่น หนวดปลาหมึก เป็ นต้น
2. ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaf)
เป็ นใบประกอบที่ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้าน 2 ข้างของแกนกลาง
หรือราคิส คล้ายขนนก ปลายสุดของใบประกอบด้วยใบย่อย 1-2 ใบ ถ้า
ปลายสุดของใบประกอบมีใบเดียว เรียกว่า ขนนกแบบปลายคี่ (odd-
pinnate) เช่น กุหลาบ แคฝรั่ง อัญชัญ ก้ามปู และทองอุไร เป็ นต้น ถ้า
ปลายสุดของใบประกอบมี 2 ใบ เรียก แบบขนนกปลายคู่ (even
pinnate) เช่น มะขาม ชุมเห็ด ขี้เหล็ก และแคบ้าน เป็ นต้น เราสามารถ
จำแนกใบประกอบแบบขนนกออกเป็ นชนิดย่อยๆ ดังนี้
2.1 แบบขนนกชั้นเดียว (unipinnate or once
pinnate) เป็ นใบที่มีใบย่อยแยกออกแกนกลางเพียงครั้งเดียว ได้แก่
กุหลาบ ขี้เหล็ก แคบ้าน และมะขาม เป็ นต้น
31

2.2 แบบขนนกสองชั้น (bipinnate or twice


pinnate) เป็ นใบที่มีก้านแกนกลางแตกแขนงออกไปเป็ นครั้งที่ 2 จึงจะมี
ใบย่อย ได้แก่ จามจุรี หางนกยูงไทย และกระถิน เป็ นต้น ใบย่อยของใบ
ชนิดนี้เรียกว่า pinnule ส่วนแกนของใบย่อยที่แยกออกจากส่วนของแกน
กลางเรียกว่า rachilla
2.3 แบบขนนกสามชั้น (tripinnate) ใบที่มีก้านแกน
กลางแตกแขนงออกไปครั้งที่ 3 จึงจะมีใบย่อย ได้แก่ มะรุม ปี บ มะเขือ
เทศบางชนิด และเพกา เป็ นต้น

ดอก (flower)
ดอก คือ อวัยวะหรือส่วนของพืชที่เจริญ และเปลี่ยนแปลงมาเพื่อ
ทำหน้าที่สืบพันธุ์ โดยกิ่งที่เปลี่ยนสภาพมาเป็ นดอกนี้จะแตกต่างกันจาก
กิ่งธรรมดาทั่วไป คือ มีปล้องซึ่งเป็ นช่วงระหว่างชั้นของรยางค์ต่างๆ สั้น
มาก ตรงข้อไม่มีตาและการเติบโตที่ปลายยอดมีขอบเขตจำกัด ดอกไม่มี
แกนกลาง (axis) เปลี่ยนแปลงมาจากส่วนของกิ่ง แกนกลางของดอก คือ
ส่วนของก้านดอก (peduncle) และฐานรองดอก (receptacle) ซึ่งมี
รยางค์ต่างๆ ได้แก่ กลีบเลี้ยง (sepal) กลีบดอก (petal) เกสรตัวผู้
(stamen) และเกสรตัวเมีย (pistil) รยางค์เหล่านี้มีลักษณะคล้ายใบ เชื่อ
ว่าเป็ นโครงสร้างที่มีจุดกำเนิดร่วมกันมากับใบหรือเป็ นใบที่เปลี่ยนแปลง
มาช่วยเสริมระบบการสืบพันธุ์ของพืชให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (สมบุญ, 2537)

ดอกประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ส่วน ดังนี้


1. กลีบเลี้ยงหรือกลีบรอง (sepal) เป็ นส่วนที่เจริญเปลี่ยนแปลงมา
จากใบอยู่ด้านนอกสุดของดอก มีสีเขียว แต่พืชบางชนิดอาจจะมีสีอื่นๆ
32

เพื่อช่วยล่อแมลงมาผสมเกสร กลีบเลี้ยงของดอกแต่ละกลีบจะเรียงกัน
เป็ นวงรอบดอก เรียกว่า วงกลีบเลี้ยง (calyx)
2. กลีบดอก (petal) เป็ นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไปด้านใน
เป็ นวง เรียกว่า วงกลีบดอก (corolla) กลีบดอกจะมีกลิ่นหอมและมีสีสัน
ต่างๆ มากมาย จึงจัดเป็ นอวัยวะช่วย เพราะเป็ นส่วนสำคัญที่ช่วยล่อ
แมลงให้มาผสมเกสร ดอกบางชนิดมีกลีบรองและกลีบดอกคล้ายคลึงกัน
มากจนแยกไม่ออก จึงเรียกรวมกันว่า วงกลีบรวม (perianth)
3. เกสรตัวผู้ (stamen or microsporophyll) เป็ นส่วนที่อยู่ถัด
จากกลีบดอกเข้าไปด้านในจัดเป็ นวงที่สามเรียกว่า androecium จัดเป็ น
อวัยวะที่จำเป็ น เพราะทำหน้าที่เป็ นอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เกสร
เพศผู้แต่ละอันประกอบด้วย
3.1 ก้านชูอับละอองเกสร (filament)
3.2 อับละอองเกสร (anther or microsorus) มองจาก
ภายนอกมีลักษณะเป็ นพู 2 พูติดกัน ภายในพูแบ่งเป็ นถุงเล็กๆ ยาว 4 ถุง
เรียกว่า ถุงละอองเกสร (pollen sac) ทำหน้าที่บรรจุละอองเกสร
(pollen grain) จำนวนมากไว้
4. เกสรตัวเมีย (pistil or carpel) เป็ นส่วนของดอกที่อยู่วงในสุด
เรียก gynoecium or gynaecium เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากใบ เพื่อทำ
หน้าที่เป็ นอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย จึงจัดเป็ นอวัยวะที่จำเป็ น
เกสรตัวเมียประกอบด้วย
4.1 รังไข่ (ovary) ภายในประกอบด้วยไข่ (ovule)
4.2 ก้านเกสรตัวเมีย (style)
4.3 ยอดเกสรตัวเมีย (stigma)
33

ชนิดของดอก ดอกไม้สามารถจำแนกได้หลายชนิด ทั้งนี้ขึ้นกับ


เกณฑ์ที่พิจารณา ดังนี้
1. การจำแนกตามส่วนประกอบของดอก สามารถจำแนกได้เป็ น 2
ประเภท คือ
1.1 ดอกสมบูรณ์ (complete flower) หมายถึง ดอกที่มีองค์
ประกอบของเกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย กลีบเลี้ยง กลีบดอก และฐานรอง
ดอก ครบสมบูรณ์อยู่ในดอกเดียวกัน
1.2 ดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower) หมายถึง ดอกที่มี
องค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งขาดหายไป
2. การจำแนกตามลักษณะเพศดอก สามารถจำแนกได้เป็ น 2
ประเภท คือ
2.1 ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) หมายถึง ดอกที่มีทั้ง
เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
2.2 ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) หมายถึง ดอก
ที่มีเกสรตัวผู้ หรือเกสรตัวเมียอยู่ในดอกๆ หนึ่ง

พืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ภายในต้นเดียวกัน เรียกว่า
monoecious plant ถ้าดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น
เรียกว่า dioecious plant สำหรับพืชที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศจะต้องเป็ น
ดอกไม่สมบูรณ์ด้วย ส่วนพืชที่มีดอกไม่สมบูรณ์ไม่จำเป็ นจะต้องเป็ นดอก
ไม่สมบูรณ์เพศ

3. การจำแนกตามตำแหน่งของรังไข่ สามารถจำแนกได้เป็ น 3
ประเภท คือ
34

3.1 hypogynous flower หมายถึง ดอกที่มีรังไข่อยู่เหนือ


ส่วนอื่นๆ ของดอก ลักษณะของรังไข่แบบนี้ เรียกว่า รังไข่เหนือวงกลีบ
(superior ovary) ผลที่เกิดจากรังไข่แบบนี้เรียกว่า ผลจริง (true fruit)
เช่น องุ่น ส้ม
3.2 epigynous flower หมายถึง ดอกที่มีรังไข่เกิดอยู่ใต้ส่วน
อื่นๆ ของดอก กล่าวคือ รังไข่จะฝั งอยู่ในฐานรองดอก และอยู่ต่ำกว่าส่วน
ประกอบอื่นๆ ของดอก เรียก รังไข่ลักษณะนี้ว่า รังไข่ใต้วงกลีบ (inferior
ovary) ผลที่เกิดจากรังไข่พวกนี้จะเป็ นผลปลอม เช่น กล้วย แอปเปิ้ล
สาลี่ และทับทิม
3.3 perigynous flower หมายถึง ดอกที่มีรังไข่อยู่ในระดับ
เดียวกันกับกลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรตัวผู้ เรียกรังไข่ลักษณะนี้ว่า
รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ (half-inferior ovary) ดอกแบบนี้รังไข่อาจแตะกับฐาน
รองดอกมาก หรือน้อยก็ได้ ผลที่เกิดจากรังไข่แบบนี้เป็ น ผลจริง เช่น พีช
เชอรี่ และสตรอเบอรี่

4. การจำแนกตามลักษณะการติดผลของดอกบนก้านดอก สามารถ
แบ่งออกเป็ น 2 ชนิด คือ
4.1 ดอกเดี่ยว (solitary flower) หมายถึง ดอกไม้ที่เกิดบน
ก้านดอกเพียงดอกเดียว
4.2 ช่อดอก (inflorescence flower) หมายถึง กลุ่มของดอก
ที่เกิดอยู่บนก้านดอกก้านเดียวกัน

ช่อดอก หรือดอกช่อสามารถจำแนกย่อยได้เป็ น 2 แบบ คือ ช่อ


กระจะ และช่อกระจุก
35

1. indeterminate inflorescence หรือช่อดอกแบบกระจะ


(racemose inflorescence) เป็ นช่อดอกที่มีดอกย่อยที่อยู่ล่างสุดจะแก่
และบานก่อนดอกอื่นๆ ที่อยู่ถัดเข้าไปข้างในหรืออยู่เหนือขึ้นไปข้างบน
ดอกย่อยอาจมีก้านดอกย่อยหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีก้านดอกย่อยอันที่อยู่ล่าง
สุดจะยาวที่สุดเป็ นส่วนใหญ่ สามารถจำแนกได้เป็ น
1.1 ช่อกระจะ (raceme) เป็ นดอกช่อที่ดอกย่อยเกิดบนก้าน
ดอกซึ่งมีเรคิส หรือ แกนกลางที่ยาว ก้านดอกย่อยแต่ละดอกจะมีความ
ยาวใกล้เคียงกัน
1.2 ช่อเชิงหลั่น (corymb) เป็ นช่อดอกที่คล้ายช่อกระจะ แต่
ช่วงแกนกลางที่อยู่ระหว่างแต่ละดอกย่อยสั้นกว่าก้านดอกย่อยของดอก
ล่างสุดจะยาวที่สุด ส่วนก้านของดอกย่อยที่ถัดขึ้นไปจะสั้นลงตามลำดับ
ทำให้เห็นดอกย่อยอยู่ในระดับเดียวกัน
1.3 ช่อซี่ร่ม (umbel) เป็ นดอกช่อที่มีก้านดอกย่อยทั้งหมด
ยาวเท่ากัน และออมาจากจุดเดียวกันทำให้เห็นดอกมีลักษณะคล้ายร่ม
1.4 ช่อเชิงลด (spike) เป็ นดอกช่อที่มีแกนกลาง หรือเรคิส
ยาว ดอกย่อยทุกดอกไม่มีก้านดอกย่อย
1.5 ช่อแบบหางกระรอก (catkin) เป็ นช่อดอกที่มีลักษณะ
คล้ายช่อเชิงลดต่างกันตรงที่ปลายช่อห้อยลงแกว่งไปมาได้ เนื่องจากแกน
กลางเป็ นก้านอ่อนๆ
1.6 ช่อเชิงลดมีกาบ (spadix) เป็ นดอกช่อที่มีแกนกลางหนา
และนิ่มไม่มีก้านดอกย่อย ดอกตัวผู้มักอยู่ตอนบนส่วนดอกตัวเมียจะอยู่
ตอนล่างของแกนกลาง แต่มีพืชบางชนิดอาจอยู่สลับกันได้ มีริ้วประดับ
แผ่นใหญ่แผ่นเดียวมีสีสันสวยงาม เรียกว่า กาบหุ้มช่อดอก (spathe)
รองรับอยู่ที่โคนของแกนกลาง
36

1.7 ช่อกระจุกแน่น (head) เป็ นดอกช่อที่มีแกนกลางหรือเรคิ


สหดสั้นเข้าจนมีลักษณะแผ่กว้างออกและตรงกลางนูนขึ้นเล็กน้อย
เหมือนฐานรองดอกของดอกเดี่ยว แล้วจึงมีดอกย่อยเรียงเบียดกันแน่นบน
ฐานรองดอก ส่วนมากไม่มีก้านดอกย่อยหรือถ้ามีขนาดจะสั้นมาก อาจมี
ริ้วประดับที่เรียกว่า involucure bract อยู่ที่โคนของดอกย่อยด้วย
ช่อดอกแบบช่อกระจะแต่ละชนิดดังกล่าวเป็ นแบบช่อกระจะเดี่ยว
(simple racemose) ทั้งสิ้น ซึ่งสามารถแตกแขนงออกไปได้อีกตามแต่ละ
ชนิด ได้แก่ ช่อแยกแขนง (panicle) เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ และ
เงาะ เป็ นต้น

2. determinate inflorescence หรือช่อดอกแบบกระจุก


(crymose inflorescence) ดอกช่อแบบนี้มีดอกย่อยเจริญเติบโตมาจาก
ที่ยอดกิ่งหรือลำต้น ดอกย่อยที่อยู่ในสุดหรือบนสุดจะบานและแก่ก่อน
ดอกที่อยู่วงนอก สามารถจำแนกเป็ นประเภทย่อยๆ ดังนี้
2.1 ช่อกระจุก (cyme) เป็ นดอกช่อที่มี 3 ดอกย่อยเท่านั้น
ก้านดอกย่อยแยกออกจากแกนกลางที่จุดเดียวกัน ดอกย่อยที่อยู่ตรงกลาง
จะบานและแก่ก่อน
2.2 ช่อกระจุกซ้อน หรือ compound cyme (compound
dichasium) ช่อดอกแบบนี้ดอกย่อยแตกออกทางด้านข้างคล้ายช่อกระ
จุกหลายๆ ครั้ง ดอกที่อยู่ตรงกลางของกลุ่มดอกย่อยในแต่ละชุดจะบาน
ก่อนเสมอ ส่วนดอกย่อยทางด้านข้างจะบานตามเป็ นคู่ๆ
2.3 ช่อวงแถวเดี่ยว (helicoid cyme) เป็ นดอกที่มีดอกข้างๆ
แตกออกไปข้างเดียวตลอดทำให้ก้านดอกโค้งงอ
2.4 ช่อวงแถวคู่ (scorpioid cyme) มีดอกย่อยทั้ง 2 ข้าง
ตรงซอกใบในระดับเดียวกัน
37

บางครั้งพบว่าดอกของพืชบางชนิดมีลักษณะผสมผสานระหว่างช่อ
ดอกแบบ indeterminate และช่อดอกแบบ determinate ในช่อ
เดียวกัน ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ช่อกระจุกแยกแขนง (thyrsus) เช่น องุ่น

ผล (fruit)
ผล คือ รังไข่ที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาภายหลังการปฏิสนธิแล้ว ผล
ของพืชบางชนิดอาจมีส่วนอื่นๆ ของดอกเจริญควบคู่กันมาพร้อมกับรังไข่
และถือว่าเป็ นส่วนหนึ่งของผลด้วย เช่น กลีบเลี้ยง ได้แก่ ผลฝรั่ง ทับทิม
มังคุด หรือส่วนของฐานรองดอก ได้แก่ แอปเปิ้ล ชมพู่ ทับทิม มะเดื่อ
สำหรับไข่ (ovule) ภายในรังไข่ (ovary) จะเจริญไปเป็ นเมล็ด (seed) ผล
ประเภทนี้จัดเป็ นผลที่แท้จริง โดยปกติส่วนของดอกจะเจริญพัฒนาเป็ น
ผลภายหลังจากกระบวนการถ่ายละอองเกสร (pollination) และการ
ปฏิสนธิ (fertilization) แต่มีผลบางชนิดอาจเจริญขึ้นมาทั้งที่ไม่การผสม
เกสร ผลชนิดนี้เรียกว่า ผลเทียม หรือผลลม หรือ parthenocarpic fruit
เราเรียกกระบวนการเกิดผลแบบนี้ว่า pathenocarpy ผลชนิดนี้โดย
ทั่วไปเกิดขึ้นได้จากการกระตุ้นดอกด้วยการใช้สารควบคุมการเจริญ
เติบโต ได้แก่ ออกซิน (auxin) และจิบเบอเรลลิน (gibberellins) ฉีดพ่น
ดอกทำให้รังไข่เจริญเป็ นผลได้ ผลที่เจริญขึ้นมานี้จึงไม่มีเมล็ด ซึ่งจะให้ผล
ดีในพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ แตง กล้วย และส้มบางพันธุ์ เป็ นต้น ผล
จัดเป็ นโครงสร้างที่สำคัญช่วยเสริมให้วงชีพของพืชสมบูรณ์ ในพืชมีดอก
ทำหน้าที่ช่วยป้ องกันเมล็ดที่อยู่ภายในผล และช่วยในการกระจายพันธุ์
38

เมื่อรังไข่เปลี่ยนแปลงกลายเป็ นผล ผนังรังไข่จะเปลี่ยนเป็ น ผนังผล


(pericarp) ห่อหุ้มเมล็ดอยู่ภายใน ผนังผลแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่าง
กัน Ryugo (1988) กล่าวว่า ผนังผลประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ได้แก่
1. ผนังผลชั้นนอก (exocarp) เป็ นเปลือกชั้นนอกสุดมีลักษณะ
ต่างๆ กันออกไป เช่น แข็ง เรียบ เหนียว เป็ นมัน ขรุขระ อาจมีหนาม
มีขน หรือต่อมน้ำมัน เป็ นต้น ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเพียงชั้นเดียวหรือ
หลายชั้นก็ได้ บางครั้งอาจพบว่ามีขนและปากใบด้วย
2. ผนังผลชั้นกลาง (mesocarp) เป็ นเปลือกชั้นกลาง ผลไม้บาง
ชนิดเปลือกชั้นนี้จะบางมาก และมีส่วนของท่อน้ำท่ออาหารอยู่ด้วย ในผล
ไม้อีกหลายชนิดผนังผลชั้นกลางเป็ นเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถรับประทานได้
3. ผนังผลชั้นใน (endocarp) เป็ นส่วนชั้นในสุดของผนังผล
ประกอบด้วยเซลล์ที่มีความหนาเพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้นจนมีลักษณะ
หนามาก บางชนิดก็เป็ นเนื้ออ่อนนุ่มรับประทานได้

ผนังผลในผลต่างชนิดกันมีลักษณะแตกต่างกันไป ผลบางชนิดผนัง
ผลเชื่อมกันจนแยกชั้นต่างๆ ได้ยากมากหรือไม่สามารถแยกออกจากกัน
ได้ชัดเจน เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง บางชนิดส่วนของเปลือกชั้น
นอกและชั้นกลางเชื่อมติดกันหรือแยกกันไม่เด่นชัด เช่น มะเขือเทศ
มะละกอ ฟั ก แต่ผนังผลของพืชอีกหลายชนิดสามารถแบ่งออกเป็ น 3
ส่วนได้อย่างชัดเจน เช่น มะม่วง พุทรา มะพร้าว มะปราง มะยม พีช บ๊วย
พลัม และสาลี่ เป็ นต้น

ชนิดของผล นักพฤกษศาสตร์ได้อาศัยหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้เป็ น


ลักษณะในการจำแนกชนิดของผล ดังนี้
1. ลักษณะและโครงสร้างของดอกที่เจริญเป็ นผล
39

2. จำนวนรังไข่
3. จำนวนคาร์เพล (carpel) ในแต่ละรังไข่
4. ลักษณะของผนังผล อ่อนนุ่ม แห้ง เหนียว แตกเมื่อผลแก่หรือไม่
แตก เป็ นต้น
5. ส่วนอื่นๆ ของดอก เช่น กลีบเลี้ยง กลีบดอก ฐานรองดอก เจริญ
ไปเป็ นส่วนประกอบของผลหรือไม่ (สมบุญ, 2537)

จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงจำแนกผลเป็ นชนิดต่างๆ ดังนี้ (Parker,


2000)
1. ผลเดี่ยว (simple fruit) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่เดียวภายในดอกๆ
หนึ่ง รังไข่นี้อาจมี 1 คาร์เพล หรือหลายคาร์เพลเชื่อมรวมกันได้ ดอกเป็ น
ชนิดดอกเดี่ยวหรือดอกช่อก็ได้ เช่น ดอกมะละกอ 1 ดอก เจริญเป็ น 1
ผล หรือดอกองุ่น มะม่วง เงาะ ลำไย ออกดอกเป็ นช่อ ดอกแต่ละดอกมี
การพัฒนากลายเป็ นผลแต่ละผล ผลเดี่ยวนี้สามารถจำแนกตามลักษณะ
ผนังผลที่เป็ นเนื้อนุ่ม หรือแห้ง ดังนี้
1.1 ผลสด (fleshy fruit) เป็ นผลเดี่ยวที่เมื่อเจริญเต็มที่แล้วมี
เนื้ออ่อนนุ่มและสด แบ่งย่อยออกเป็ น
1.1.1 ผลเมล็ดเดียวแข็ง (drupe) เป็ นผลสดชนิดที่ผนัง
ผลแบ่งเป็ น 3 ชั้น ผนังผลชั้นในแข็งมากอาจเรียกว่า stone fruit มักติด
กับเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งมีอยู่เพียงเมล็ดเดียว ชั้นถัดออกมาเป็ นผนังผลชั้น
กลางมีลักษณะเป็ นเนื้อนุ่มหรือเป็ นเส้นเหนียวๆ ส่วนผนังผลชั้นนอกเรียบ
เป็ นมัน มีจำนวน 1 คาร์เพล หรือมากกว่า ได้แก่ พุทรา มะม่วง มะปราง
มะกอก ตาล มะพร้าว เชอรี่ พีช พลัม และบ๊วย เป็ นต้น
1.1.2 ผลที่มีเนื้อหลายเมล็ด (berry) เป็ นผลสดที่มีผนัง
ผลอ่อนนุ่ม ผนังผลชั้นอกเป็ นผิวบางๆ ผนังผลชั้นกลางและผนังผลชั้นใน
40

รวมกันแบ่งได้ไม่ชัดเจน ได้แก่ มะเขือ มะเขือเทศ ฝรั่ง องุ่น และกล้วย


เป็ นต้น
1.1.3 ผลแบบแตง (pepo) เป็ นผลสดที่มีลักษณะคล้าย
เบอรี่แต่มีเปลือกนอกหนาเหนียวและแข็ง เจริญมาจากฐานรองดอกเชื่อม
รวมกันกับผนังผลชั้นนอก ผนังผลชั้นกลางและผนังผลชั้นในเป็ นเนื้อนุ่ม
ผลชนิดนี้มักเป็ นผลซึ่งเจริญมาจากดอกที่มีรังไข่แบบรังไข่ใต้วงกลีบ ได้แก่
แตงโม แตงกวา และแคนตาลูป เป็ นต้น
1.1.4 ผลแบบส้ม (hesperidium) ผลสดประเภทนี้มี
ผนังผลชั้นนอกค่อนข้างแข็งและเหนียว มีต่อมน้ำมันมากและมักมีสีเขียว
เปลือกสามารถดึงลอกเป็ นแผ่นได้ เป็ นส่วนของผนังผลชั้นนอกและผนัง
ผลชั้นกลางซึ่งติดกันและมองไม่เห็นรอยแยก แต่ชั้นผนังผลชั้นกลางจะอยู่
ด้านในมีสีขาว และไม่ค่อยมีต่อมน้ำมัน ผนังผลชั้นในเป็ นเยื่อบางๆ หุ้ม
เนื้อ บางส่วนจะเปลี่ยนไปเป็ นขนหรือถุงสำหรับเก็บน้ำ (juice sac) ซึ่ง
เป็ นส่วนที่เรารับประทาน ผลชนิดนี้มีเมล็ดมาก เช่น ส้ม ส้มโอ มะนาว
และมะกรูด เป็ นต้น
1.1.5 ผลแบบแอปเปิ้ล (pome) ผลชนิดนี้เจริญมาจาก
ดอกที่มีรังไข่แบบรังไข่ใต้วงกลีบ มีเกสรตัวเมียแบบประกอบซึ่งมีหลาย
คาร์เพล เนื้อของผลส่วนใหญ่เจริญมาจากฐานรองดอกหรือส่วนของฐาน
กลีบดอก กลีบเลี้ยง และก้านชูเกสรตัวผู้ เป็ นต้น ซึ่งเชื่อมติดกันโอบล้อม
ผนังรังไข่ เนื้อส่วนน้อยที่อยู่ด้านในเกิดจากผนังผล สำหรับผนังผลชั้นใน
จะบางหรือมีลักษณะกรุบๆ คล้ายกระดูกอ่อน ผลชนิดนี้ได้แก่ แอปเปิ้ล
ชมพู่ และสาลี่ เป็ นต้น
1.1.6 เอริล (aril) เป็ นผลสดซึ่งเนื้อที่รับประทานได้
เรียกว่า เอริล ซึ่งเจริญมาจากส่วนของเมล็ดพัฒนาจนกระทั่งโอบล้อม
เมล็ดไว้ได้ (outgrowth of seed) และมีผนังผลเป็ นเปลือกห่อหุ้มอยู่ชั้น
41

นอกอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งสามารถลอกออกได้ เช่น เงาะ ลำไย ลางสาด และ


ลองกอง เป็ นต้น
1.2 ผลแห้ง (dry fruit) คือ ผลที่เจริญเต็มที่แล้วผนังผลจะ
แห้ง ซึ่งไม้ผลส่วนใหญ่จะไม่มีผลแบบนี้ สามารถจำแนกได้เป็ น 2 ประเภท
ดังนี้
1.2.1 ผลแห้งแตกเองได้ (dry dehiscent fruit) ผล
ชนิดนี้เมื่อแก่ผนังผลจะแห้งและแตกได้ มักมีเมล็ดมาก จำแนกเป็ นชนิด
ย่อยๆ ได้อีก ดังนี้
1.2.1.1 ผลแตกแนวเดียว (follicle) เป็ นผลที่เกิด
จากดอกที่มีเกสรตัวเมียแบบธรรมดา มีจำนวน 1 คาร์เพล แตกได้ตาม
รอยตะเข็บเพียงด้านเดียว เช่น รัก ขจร โปยกั๊ก ยี่หุบ ลั่นทม และ
แพงพวย เป็ นต้น
1.2.1.2 ฝั กแบบถั่ว (legume) เป็ นผลที่เจริญมา
จากดอกที่มีเกสรตัวเมียแบบธรรมดา มีจำนวน 1 คาร์เพล แตกได้ตาม
รอยตะเข็บทั้ง 2 ด้าน เช่น ถั่ว แค กระถิน ชงโค และกาหลง เป็ นต้น
1.2.1.3 ผลแห้งแตก (capsule) เป็ นผลที่เกิดจาก
ดอกที่มีเกสรตัวเมียแบบประกอบมีหลายคาร์เพล ซึ่งเชื่อมติดกัน
(syncarpous) เมื่อผลแก่จะแตกตามรอยหรือมีช่องเปิ ดให้เมล็ดออก แยก
ตามลักษณะรอยแตกเป็ น
1.2.1.3.1 loculicidal capsule ผลที่แตก
ออกตรงกลางพูหรือกึ่งกลางของคาร์เพล เช่น ตะแบก อินทนิล และฝ้ าย
เป็ นต้น
1.2.1.3.2 septicidal capsule ผลที่แตก
ตรงผนังกั้นพู (septum) หรือแนวเชื่อมระหว่างคาร์เพล เช่น กระเช้าสีดา
เป็ นต้น
42

1.2.1.3.3 circumsessile capsule เป้ นผล


ที่แตกเป็ นวงรอบๆ ผลตามขวางมีลักษณะคล้ายฝาเปิ ด เช่น หงอนไก่
แพรเซี่ยงไฮ้ และโสม เป็ นต้น
1.2.1.3.4 poricidal capsule เป็ นผลเมื่อ
แก่มีช่องเปิ ดเล็กๆ ให้เมล็ดออก เช่น ฝิ่ น และลิ้นมังกร เป็ นต้น
1.2.1.4 ผลแตกแบบผักกาด (silique) เป็ นผลที่
เจริญมาจากดอกที่มีเกสรตัวเมียแบบประกอบมี 2 คาร์เพลติดกัน เมื่อผล
แก่ผนังผลจะแตกตรงกลางตะเข็บโดยเริ่มต้นจากก้านขึ้นไปทางปลายเป็ น
2 ซีก เหลือผนังบางๆ ติดก้านอยู่ เช่น ผักกาด ผักเสี้ยน และต้อยติ่ง
เป็ นต้น
1.2.1.5 ผลแยกแล้วแตก (schizocarp) เป็ นผลที่
เกิดจากเกสรตัวเมียแบบประกอบมีหลายคาร์เพล เมื่อแก่จะแตกออกเป็ น
2 ซีก แต่ละซีกเรียกว่า mericarp และมีเมล็ดอยู่ภายในซีกละ 1 เมล็ด มี
แกนต่อจากก้านชูดอกหรือก้านผล เรียกว่า carpophore ซึ่งเป็ นส่วนของ
ฐานรองดอกที่อยู่ระหว่างคาร์เพลนั่นเอง ผลชนิดนี้ ได้แก่ ผักชี ยี่หร่า คึ่น
ฉ่าย และแครอท เป็ นต้น
1.2.1.6 ฝั กหักข้อ (lomentum) เป็ นผลที่มีคาร์
เพลเดียวคล้ายฝั กแบบถั่ว แต่หักเป็ นข้อๆ ได้ ตามขวางของผล แต่ละข้อมี
1 เมล็ด ผลชนิดนี้มักมีฝั กยาว เช่น จามจุรี คูน มะขาม และไมยราพ
เป็ นต้น
1.2.2 ผลแห้งแล้วไม่แตก (indehiscent dry fruit) ผล
ชนิดนี้เมื่อแก่และเจริญเต็มที่แล้วผนังผลจะแห้งแต่ไม่แตกออก โดยมากมี
เมล็ดน้อยเพียง 1-2 เมล็ดเท่านั้น จำแนกย่อยเป็ นหลายชนิด ดังนี้
43

1.2.2.1 ผลแห้งเมล็ดล่อน (achene) เป็ นผล


ขนาดเล็กมี 1 เมล็ด ผนังผลบางและเหนียว ไม่เชื่อมรวมติดกับเปลือกหุ้ม
เมล็ด ได้แก่ ทานตะวัน ดาวเรือง บานชื่น และดาวกระจาย เป็ นต้น
1.2.2.2 ผลธัญพืช (caryopsis) เป็ นผลที่มีขนาด
เล็กมีจำนวน 1 เมล็ด คล้ายผลแห้งเมล็ดล่อน แต่ผนังผลเชื่อมรวมกัน
แน่นกับเปลือกหุ้มเมล็ด เช่น ข้าว ข้าวโพด และข้าวสาลี เป็ นต้น
1.2.2.3 ผลปี กเดียว (samara) เป็ นผลที่มีส่วน
ของผนังผลแผ่ออกเป็ นปี กแบนๆ บางๆ เพื่อให้ลอยลมได้ มีจำนวน 1-2
คาร์เพล แต่ละคาร์เพลมีจำนวน 1 เมล็ด เช่น ประดู่ และตะเคียน เป็ นต้น
1.2.2.4 ผลปี กเดียวแฝด (samaroid) เป็ นผลซึ่งมี
ปี กเจริญมาจากส่วนของกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอก เช่น ยางนา
1.2.2.5 ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut) เป็ นผลที่
เกิดจากเกสรตัวเมียแบบประกอบมีเปลือกหนาและแข็ง โดยมากมีเมล็ด
เดียว เช่น มะพร้าว ก่อ เกาลัด บัวหลวง มะม่วงหิมพานต์ แมคคาดิเมีย
และอัลมอนด์ เป็ นต้น

2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เป็ นผลที่เกิดจากดอกเดี่ยวที่มีรังไข่


หลายอันอยู่บนฐานของดอกอันเดียวกัน รังไข่แต่ละอันจะเจริญเป็ นผล
ย่อยๆ หนึ่งผล บางชนิดผนังรังไข่แต่ละอันอยู่อัดแน่นจนผนังเชื่อมรวมกัน
ทำให้ดูคล้ายเป็ นผลเดี่ยว เช่น น้อยหน่า สตรอเบอรี่ แต่บางชนิดแม้ผนัง
รังไข่จะอัดกันแน่นแต่จะไม่เชื่อมรวมกัน เช่น ลูกจาก นอกจากนี้ผลกลุ่ม
บางชนิดจะแยกเป็ นผลเล็กๆ หลายผลอยู่บนฐานรองดอกเดียวกัน เช่น
กระดังงา การะเวก นมแมว จำปี และจำปา เป็ นต้น
44

สำหรับสตรอเบอรี่เป็ นผลกลุ่มชนิดหนึ่ง เนื้อนุ่มๆ ส่วนที่สามารถรับ


ประทานได้เจริญมาจากฐานรองดอก ซึ่งเชื่อมรวมกันแล้วค่อยมีผลย่อยๆ
ซึ่งเป็ นผลเดี่ยวชนิดผลแห้งเมล็ดล่อนติดอยู่ใกล้กับผิวนอก

3. ผลรวม (multiple fruit or collective fruit) เป็ นผลที่เจริญมา


จากกลุ่มของรังไข่ของดอกช่อ ซึ่งเชื่อมรวมกันแน่นบนฐานรองดอก หรือ
ก้านดอกรวมเดียวกัน รังไข่เหล่านี้จะกลายเป็ นผลย่อยๆ และเชื่อมรวมกัน
แน่นจนเป็ นผลรวมหนึ่งผล บางชนิดอาจมีส่วนอื่นๆ ของดอก ได้แก่ ฐาน
รองดอก กลีบดอก กลีบเลี้ยง และยอดเกสรตัวเมีย เจริญรวบคู่มากับรังไข่
แล้วกลายเป็ นส่วนของผลด้วย ผลไม้ที่มีผลแบบผลรวม เช่น สับปะรด
ขนุน ยอ สาเก มะเดื่อ และหม่อน เป็ นต้น

สับปะรดเป็ นผลรวมที่มีส่วนที่เป็ นไส้กลางเจริญมาจากแกนกลาง


ของช่อดอกชนิดช่อเชิงลด เนื้อที่เรารับประทานส่วนนอกเกิดจากรังไข่โดย
มีส่วนโคนเชื่อมกันแน่น เนื้อส่วนในเกิดจากแกนของช่อดอก ส่วนที่เป็ น
แผ่นคลุมตา คือ ริ้วประดับ

ผลขนุน สาเก และยอ มีซังและเนื้อเป็ นส่วนวงกลีบรวม (perianth


ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงและกลีบดอก) ส่วนยอดเกสรตัวเมียจะกลายเป็ น
แผ่นติดกัน เป็ นส่วนผิวและหนามที่หุ้มผลไว้

ผลมะเดื่อ เป็ นผลรวมที่มีฐานรองดอกเจริญโอบล้อมผลเล็กๆ เอาไว้


ข้างใน เป็ นลูกกลมตรงกลางโพรง มีรูเปิ ดที่ส่วนปลายผล ผนังข้างในรอบ
โพรงมีผลย่อยๆ ซึ่งเกิดจากดอกย่อยที่มีเพศแยกฝั งตัวอยู่มากมาย ดอก
ตัวผู้และตัวเมียอาจเกิดบนช่อดอกเดียวกันหรือต่างช่อกัน ดอกตัวเมีย
45

แต่ละดอกมีรังไข่อันเดียว รังไข่แต่ละอันประกอบด้วยเซลล์เดียว ซึ่งจะ


เจริญเป็ นผลย่อยของมะเดื่อ ผลรวมชนิดนี้มักเรียกว่า ผลแบบมะเดื่อ
(syconium)
46

บทที่ 3
ดอกและการเกิดดอกของไม้ผล

เมื่อปลูกและดูแลรักษาไม้ผลจนกระทั่งถึงเวลาที่ไม้ผลจะเกิดดอก
ออกผลให้ผลผลิตบางครั้งเกิดปั ญหาไม้ผลไม่ยอมเกิดดอกออกผลทั้งๆ ที่
ถึงเวลาสมควร คือ ไม้ผลมีอายุสมควรจะให้ผลผลิต มีฤดูกาลเหมาะสม
ตลอดจนสภาพแวดล้อมก็เหมาะสม ปั ญหาเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปั จจัย
ต่างๆ ในการสร้างตาดอก และเมื่อไม้ผลสร้างตาดอกแล้วบางครั้งก็ไม่
สามารถติดผลและให้ผลผลิตได้ การศึกษาเกี่ยวกับการเกิดดอกและการ
ติดผลจะทำให้นักพืชสวนทราบถึงวิธีการแก้ไขปั ญหาดังกล่าว ทำให้การ
ปลูกไม้ผลประสบความสำเร็จมากขึ้น

การเกิดดอก
ปั จจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกของไม้ผลที่ทราบกันมานาน
แล้ว คือ อัตราส่วนระหว่างสารประกอบคาร์โบไฮเดรตหรือคาร์บอนต่อ
ไนโตรเจน (C/N ratio) ในต้นไม้ผล ซึ่งสรุปได้ว่าไม้ผลที่มีปริมาณ
คาร์โบไฮเดรตสูงและมีไนโตรเจนปานกลางพืชจะเกิดดอกได้ แต่ถ้ามี
สารประกอบไนโตรเจนสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตพืชจะมีการเจริญทางกิ่งใบ
เท่านั้น นอกจากอัตราส่วนของคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจนแล้ว การสร้าง
ตาดอกยังมีฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง
กับการเกิดดอกที่เรียกว่า ฟลอริเจน (florigen) ฮอร์โมนชนิดนี้อาจมีส่วน
สัมพันธ์กับอัตราส่วนของคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจนในการสร้างตาดอกก็
เป็ นได้ นอกจากนี้ยังมีปั จจัยด้านอื่นๆ ที่อาจมีบทบาทด้านการส่งเสริมให้
เกิดอัตราส่วนระหว่างคาร์โบไฮเดรตต่อไนโตรเจนที่เหมาะสมต่อการเกิด
ตาดอก ได้แก่ การให้ธาตุอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม การเขตกรรมต่างๆ
47

ในส่วน เช่น การตัดแต่งกิ่ง การให้น้ำ และการป้ องกันกำจัดศัตรูพืช


เป็ นต้นสำหรับปั จจัยที่ช่วยส่งเสริมการสร้างฮอร์โมนฟลอริเจน ได้แก่
อุณหภูมิต่ำ การสะสมอาหารในต้น และช่วงความยาวของวัน เป็ นต้น (วิจิ
ตร, 2537)

ช่วงเวลาตั้งแต่ไม้ผลเริ่มสร้างตาดอก (flower initiation) จนถึงเริ่ม


แทงช่อ (emergence) อาจกินเวลาเป็ นสัปดาห์หรือเป็ นเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับปั จจัยร่วมหลายประการ เช่น ความสมบูรณ์ของต้น พันธุกรรมของไม้
ผล สภาพแวดล้อม (อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ และแสง) การสร้างตาด
อกจนถึงการเริ่มแทงช่อดอกของพืชบางชนิดจะเตรียมการสร้างตาดอก
เป็ นเวลาหลายเดือน เช่น ไม้ผลผลัดใบจะแทงช่อดอกในต้นฤดูร้อนหลัง
จากการเตรียมสร้างตาดอกในช่วงเวลาพักตัวตลอดฤดูหนาว องุ่นจะแทง
ช่อดอกหลังจากตัดแต่งกิ่ง มะม่วงจะเตรียมสร้างตาดอกตั้งแต่ปลายฤดูฝน
จนกระทั่งได้รับอากาศหนาวอย่างพอเพียงแล้ว ก็จะแทงช่อดอกภายใน
2-3 วัน อย่างไรก็ตามการแทงช่อดอกอาจผันแปรได้ถึงแม้ว่าการสร้าง
ตาดอกจะสมบูรณ์แล้วก็ตาม ถ้าหากว่าสภาพแวดล้อมผันแปรไป ตัวอย่าง
เช่น มะม่วงที่กำลังจะทางช่อดอก แต่เผอิญมีฝนตกหนักหรือมีการให้น้ำ
ขณะที่กำลังจะแทงช่อดอก ตาดอกนั้นจะเปลี่ยนเป็ นตาใบภายหลังจากได้
รับน้ำหรือความชื้นในดินในระยะเวลาเพียง 2-3 วันเท่านั้น
การเกิดดอกไม้ผล คือ การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานจากระยะการ
เจริญเติบโตทางด้านกิ่งใบ (asexual phase or vegetative phase) มา
เป็ นระยะการเจริญเติบโตทางสืบพันธุ์ (sexual phase or
reproductive phase) ในระยะแรกก่อนการเปลี่ยนแปลงนี้มีการ
เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในเซลล์ ซึ่งยังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระ
ในเนื้อเยื่อขั้นสุดท้าย กล่าวคือ การเปลี่ยนสภาพจากการเริ่มเกิดการ
48

เจริญที่ไม่เกี่ยวกับเพศ (vegetative primordia) เป็ นการเริ่มเกิดการ


สร้างตาดอก (floral primordial) (สุรนันต์, 2526)

ปั จจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอก
การเกิดดอกของไม้ผลมีการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานโดยเนื้อเยื่อที่
กิ่งก้านมีการเปลี่ยนแปลงเป็ นตาดอก เป็ นการแสดงให้ทราบว่ามีการ
ชักนำให้เกิดการออกดอก ซึ่งต่อไปจะมีการพัฒนาไปเป็ นส่วนของดอก
และมีกระบวนการอื่นๆ เกิดขึ้นตามมา ได้แก่ การติดผล และการเจริญ
ของผล

ปั จจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกของไม้ผล แบ่งเป็ นปั จจัยภายในต้น


และปั จจัยภายนอกต้นไม้ผล
1. ปั จจัยภายในต้น เป็ นปั จจัยภายในต้นพืช ได้แก่ ปริมาณ
คาร์โบไฮเดรต ปริมาณไนโตรเจน และสารควบคุมการเจริญเติบโต
(plant growth regulator)

1.1 ปริมาณคาร์โบไฮเดรตและปริมาณไนโตรเจน การเกิด


ดอกในไม้ผลจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณคาร์โบไฮเดรตและไนโตรเจนที่
สะสมอยู่ในต้นพืช ซึ่งเป็ นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ
คาร์โบไฮเดรต โดยคาร์โบไฮเดรตเป็ นแหล่งเริ่มต้นและเป็ นต้นกำเนิดของ
พลังงานในส่วนต่างๆ ของพืช การสะสมคาร์โบไฮเดรตในพืชมีผลมาจาก
สภาพแวดล้อม เช่น สภาพความเครียดของต้น การผ่านช่วงเวลาที่ได้รับ
อุณหภูมิต่ำ เป็ นต้น คาร์โบไฮเดรตดังกล่าวอยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรตที่
ใช้ได้ (available carbohydrate) หรือคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดที่ไม่อยู่ใน
ส่วนของโครงสร้าง (total nonstructural carbohydrate; TNC) ส่วน
49

ปริมาณไนโตรเจนจะอยู่ในรูปของไนโตรเจนทั้งหมด (total nitrogen;


TN) (สุรนันต์, 2526)

การเจริญเติบโตทางกิ่งก้านและการสร้างส่วนสืบพันธุ์ของพืช
ต้องการสารประกอบคาร์โบไฮเดรตและธาตุอาหาร การเกิดดอกของพืช
หลายชนิดขึ้นอยู่กับสมดุลย์ของการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ (vegetative
growth) กับการเจริญทางด้านการสืบพันธุ์ (reproductive growth)
หมายความว่า เมื่อใดก็ตามที่การเจริญเติบโตทางกิ่งใบลดต่ำลงถึงระดับ
หนึ่ง จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเจริญทางกิ่งใบเป็ นการเจริญทาง
สืบพันธุ์ทันที โดยที่สมดุลย์ของการเจริญนั้นส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับความ
สัมพันธ์ระหว่างคาร์โบไฮเดรตและไนโตรเจน พบว่า ในเนื้อเยื่อพืชถ้าหาก
พืชสร้างและสะสมสารประกอบคาร์โบไฮเดรตไว้มากจะสนับสนุนการเกิด
ดอก ในขณะที่มีปริมาณธาตุไนโตรเจนในพืชสูงมีผลต่อการลดหรือการ
ยับยั้งการพัฒนาด้านสืบพันธุ์และจะส่งเสริมการเจริญทางกิ่งใบแทน
ปริมาณความสมดุลย์ระหว่างคาร์โบไฮเดรตและไนโตรเจนในไม้ผลมัก
เปลี่ยนแปลงได้ตามการเขตกรรม เช่น การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง และการ
ดูแลรักษาอื่นๆ ในรอบปี ต้นไม้ผลที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากๆ จะมีปริมาณ
ไนโตรเจนสูง และมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่สะสมปานกลาง ทำให้มีการ
เจริญเติบโตทางกิ่งก้านใบมาก แต่มีปริมาณดอกและการติดผลน้อย ใน
ขณะเดียวกันต้นไม้ผลที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาเลยอาจทำให้ปริมาณ
ไนโตรเจนต่ำ ปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงมาก ทำให้มีการเจริญเติบโตทาง
กิ่งใบและการออกดอกติดผลน้อยเช่นเดียวกัน สำหรับต้นไม้ผลที่ได้รับ
การเขตกรรมที่เหมาะสมจะพบว่ามีปริมาณไนโตรเจนระดับปานกลางและ
มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตในระดับสูง ทำให้เกิดการพัฒนาของกิ่งใบใน
50

ระดับปานกลาง และมีการออกดอกติดผลในระดับสูง (สุรันนต์, 2526;


สัมฤทธิ์, 2527)

1.2 สารควบคุมการเจริญเติบโต (plant growth regulator)


สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเป็ นปั จจัยภายในต้นพืชที่เกี่ยวข้องกับ
การเกิดดอกของไม้ผล การเกิดดอกของไม้ผลยืนต้นหลายชนิดถูกควบคุม
ด้วยปริมาณจิบเบอเรลลินและเอธทิลีนที่พืชสร้างขึ้น ในช่วงที่มีการเกิด
ดอกพบว่ามีปริมาณจิบเบอเรลลินลดลงและมีปริมาณเอธทิลีนเพิ่มสูงขึ้น
การเกิดดอกของพืชเป็ นกระบวนการหนึ่งที่พืชเข้าสู่ระยะชราภาพ
(senescence) ดังนั้น การลดระดับของจิบเบอเรลลินและการเพิ่ม
ปริมาณของเอธทิลีนสอดคล้องกับความจริงข้อนี้ นั่นคือจิบเบอเรลลินเป็ น
สารที่ส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตทางกิ่งใบหรือเกี่ยวข้องกับระยะเยาวภาพ
(juvenility) ของพืช ส่วนเอธทิลีนส่งเสริมให้เกิดการแก่ชรา สารควบคุม
การเจริญเติบโตชนิดอื่นๆ เช่น ออกซิน และไซโตไคนินอาจเกี่ยวข้องกับ
การเกิดดอกเช่นเดียวกัน เพราะสารควบคุมการเจริญเติบโตทั้งสองกลุ่มนี้
เกี่ยวข้องกับระยะเยาวภาพของพืช จึงมักมีผลชลอการเกิดดอกแต่ไม่เด่น
ชัดเท่าจิบเบอเรลลิน อย่างไรก็ตามการใช้สารจิบเบลเรลลิน ออกซิน หรือ
ไซโตไคนินกับพืชบางชนิดอาจช่วยกระตุ้นการเกิดดอกได้แต่ไม่ทุกกรณี
(พีรเดช, 2537)

2. ปั จจัยภายนอกต้น ได้แก่ ปั จจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม


และปั จจัยที่เกิดจากการเขตกรรมในสวน
2.1 ปั จจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
2.1.1 แสง เป็ นปั จจัยที่สำคัญในการสร้างอาหารพืช ดัง
นั้นปริมาณของแสงที่ส่งไปถึงตามกิ่งต่างๆ ของต้นจึงมีความสำคัญ ถ้า
51

ต้นไม้ผลนั้นไม่ได้รับการตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มจะหนาทึบทำให้แสงเข้าไปได้ไม่
ทั่วถึง ทำให้มีการออกดอกน้อย เนื่องจากอาหารที่สร้างขึ้นมาได้ในต้นจะ
ถูกนำไปใช้เพื่อการเจริญของกิ่งใบเสียหมด ไม่มีเหลือพอที่จะไปช่วยใน
การพัฒนาการเกิดตาดอก โดยทั่วไปแล้วไม้ผลแทบทุกชนิดต้องการ
ปริมาณแสงที่สูงสำหรับการเกิดดอกออกผล นอกจากจะช่วยในการสร้า
งอหารแล้ว ยังช่วยในการสังเคราะห์สารเคมีรวมทั้งรงควัตถุที่ช่วยในการ
เจริญของผลทำให้คุณภาพผลดีขึ้นด้วย การเกิดดอกจะมีมากน้อยขึ้นอยู่
กับความเข้มข้นของแสง (light intensity) กล่าวคือ ดอกจะเกิดมากใน
บริเวณที่ได้รับความเข้มข้นของแสงสูง ถ้าสังเกตการเกิดดอกของไม้ผล
โดยทั่วไปแล้ว จะเห็นได้ว่าดอกจะเกิดบริเวณรอบนอกของทรงพุ่ม
มากกว่าในทรงพุ่ม จากการวัดความเข้มข้นของแสงในต้นมะม่วง พบว่า
บริเวณในทรงพุ่มวัดได้ประมาณ 300-500 ลักซ์ ส่วนภายนอกทรงพุ่มวัด
ได้สูงกว่า 2,000 ลักซ์ การที่บริเวณใจกลางพุ่มไม่ค่อยมีดอกนั้นอาจเป็ น
เพราะมีการสังเคราะห์แสงน้อยหรือมีอาหารพวกไนโตรเจนในกิ่งเหล่านี้
ต่ำ สำหรับระยะเวลาการรับแสงจะไม่มีผลต่อการเกิดดอกของไม้ผล (สุ
เมษ, 2537)
2.1.2 อุณหภูมิ เป็ นปั จจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการเกิดดอก
ในไม้ผลหลายชนิด การจำแนกไม้ผลตามสภาพท้องถิ่นที่ปลูก เช่น ไม้ผล
เขตหนาว ไม้ผลเขตกึ่งร้อน และไม้ผลเขตร้อน ก็อาศัยการปรับตัวของไม้
ผลแต่ละชนิดตามแต่อุณหภูมิที่พืชนั้นได้รับและไม้ผลแต่ละประเภทก็
ตอบสนองต่ออุณหภูมิในการเกิดดอกไม่เหมือนกัน ไม้ผลเขตหนาวซึ่งมีถิ่น
กำเนิดในเขตอบอุ่น (temperate region) ที่มีช่วงฤดูหนาวที่เย็นมาก
และในบางครั้งอุณหภูมิก็ลดต่ำลงไปจนถึงจุดเยือกแข็ง ซึ่งอุณหภูมิต่ำนี้
อาจทำให้ตาดอก หรือตายอดที่แตกออกไปใหม่ๆ เป็ นอันตรายได้ ดังนั้น
ไม้ผลเขตหนาวส่วนใหญ่จึงมีการทิ้งใบในช่วงฤดูหนาวและธรรมชาติได้
52

สร้างให้ต้นไม้ผลนี้สร้างตาดอกในช่วงปลายของฤดูการเติบโตและตาดอก
ที่เกิดขึ้นนี้จะยังคงอยู่ในสภาวะพักตัวอยู่จนผ่านช่วงฤดูหนาวแล้ว ช่วง
ของอุณหภูมิต่ำในฤดูหนาวอยู่ประมาณ 7.2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะช่วยใน
การขจัดการพักตัวของตาดอก ทำให้ระดับของสารฮอร์โมนในต้น
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะให้ตาดอกแตกออกมาได้ ดังนั้นในไม้ผลเขต
หนาวต่างๆ เช่น แอปเปิ้ล พลับ พีช และสาลี่ ช่วงอุณหภูมิต่ำในฤดูหนาว
จึงนับว่าจำเป็ นต่อการเกิดดอกหรือที่ถูกแล้วควรจะกล่าวว่าช่วงอากาศ
หนาวจำเป็ นสำหรับขจัดการพักตัวของตาดอกในต้น สำหรับไม้ผลเขตกึ่ง
ร้อน (sub-tropical fruit) ได้แก่ ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น และส้ม เป็ นกลุ่มของ
ไม้ผลที่ต้องการอากาศหนาวเย็นช่วงเวลาหนึ่งเช่นเดียวกับไม้ผลเขตหนาว
แต่เป็ นช่วงระยะเวลาที่สั้นกว่า และต้องการความหนาวเย็นน้อยกว่า
ความหนาวเย็นนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างตาดอก อุณหภูมิที่เหมาะ
สมสำหรับไม้ผลเขตกึ่งร้อน คือ ระหว่าง 10-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิ
ต่ำนี้นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างตาดอกแล้ว ยังมีผลทำให้การ
เจริญทางกิ่งใบชงักได้อีกด้วย ไม้ผลอีกประเภทหนึ่งได้แก่ ไม้ผลเขตร้อน
(tropical fruit) ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน ชมพู่ มะม่วง และ
มะขาม เป็ นต้น อุณหภูมิมีบทบาทน้อยต่อการเกิดดอกของไม้ผลกลุ่มนี้
แต่การเกิดดอกจะขึ้นกับปั จจัยด้านอื่นๆ เช่น ความชื้นในบรรยากาศ
ความชื้นในดิน แสง ส่วนใหญ่ไม้ผลเขตร้อนจะเกิดดอกในช่วงฤดูแล้ง ซึ่ง
เป็ นช่วงที่ต้นไม้ได้รับความเครียดจากน้ำในดิน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงใน
ระดับของอาหารและสารฮอร์โมนในต้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะแก่การเกิด
ตาดอกได้

ช่วงการเกิดตาดอก (flower initiation) จนถึงดอกบาน


(flowering) นั้น แตกต่างกนในแต่ละชนิดของไม้ผล ระยะช่วงดังกล่าวจะ
53

สั้นในไม้ผลเขตร้อนและค่อนข้างยาวในไม้ผลเขตหนาว ส่วนไม้ผลเขตกึ่ง
ร้อนจะมีช่วงอยู่ในระหว่างกลางของไม้ผลทั้งสองประเภท หรืออาจจะ
พิจารณาง่ายๆ ว่า ไม้ผลที่มีช่วงชงักการเติบโตทางกิ่งใบสั้นจะมีช่วงการ
พัฒนาการของดอกสั้นด้วย

2.1.3 น้ำ เป็ นปั จจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการเกิดดอกของไม้


ผล น้ำให้ความชื้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งความชื้นในดิน ปริมาณความชุ่มชื้น
ในดินก็มีส่วนสำคัญในการเกิดดอกของไม้ผล การขาดน้ำหรือการงดการ
ให้น้ำแก่ต้นไม้ผลเพื่อชักนำให้เกิดความเครียดในต้นก็เป็ นสาเหตุหนึ่งที่
ช่วยให้มีการกระตุ้นการเกิดจุดกำเนิดดอกในไม้ผลเขตร้อนหลายชนิด
เช่น ทุเรียน เงาะ มะม่วง มังคุด และกาแฟ เป็ นต้น การขาดน้ำในช่วง
ระยะเวลาหนึ่งจะไปมีผลต่อการสะสมอาหารในต้นอันเนื่องมาจากการ
หยุดการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ

การลดการให้น้ำก่อนจะถึงฤดูเกิดดอกจะทำให้ความชื้น
ในดินน้อยลง พืชจะมีการสะสมคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น ทำให้ออกดอกเร็ว
ขึ้น ถ้าเราให้น้ำมากๆ เกินไปจนถึงฤดูเกิดดอกก็จะทำให้เกิดการออกดอก
ล่าช้าไปเพราะพืชจะมีการเจริญทางกิ่งใบเสียมากกว่า การกักส้มเขียว
หวานไว้รอจำหน่ายในเทศกาลตรุษจีนอาจทำได้โดยการควบคุมเรื่องน้ำ
กล่าวคือ ปกติส้มเขียวหวานจะเก็บเกี่ยวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม แต่
สามารถยืดเวลาเก็บเกี่ยวออกไปจนถึงปลายมกราคมหรือกุมภาพันธ์ได้
โดยการทดน้ำเข้าช่วยตลอดระยะเวลาที่ไม่เก็บเกี่ยวจะสามารถบังคับให้
ส้มเกิดดอกช้ากว่าปกติทำให้มีส้มขายนอกฤดูได้
54

2.2 ปั จจัยที่เกิดจากการปฏิบัติในสวน การปฏิบัติรักษาใน


สวนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ไม้ผลเกิดดอกได้ การปฏิบัติในสวน
สามารถกระทำได้หลายวิธี ได้แก่

2.2.1 การทรมานพืช ในการปฏิบัติเพื่อให้ไม้ผลเกิดดอก


นั้นอาจใช้วิธีการทรมานพืช เช่น การควั่นกิ่ง (ringing or girdling) เพื่อ
ตัดทางเดินของอาหารทำได้โดยการควั่นเอาเปลือกออกให้รอบกิ่งหรือ
ลำต้นให้มีรอยแผลแคบๆ ท่ออาหาร (phloem) จะถูกตัดขาดแต่เยื่อ
เจริญ (cambium) บริเวณรอยแผลจะยังคงมีอยู่อย่างเดิม อาหารจะ
สะสมอยู่ส่วนเหนือของรอยควั่นขึ้นไป จะทำให้ไม้ผลออกดอกได้ บางทีไม่
จำเป็ นต้องควั่นเอาเปลือกออกเพียงแต่เอามีดหรือของมีคมอย่างอื่นกดลง
ไปให้เป็ นรอยรอบๆ กิ่ง หรือลำต้นให้รอยแผลลึกลงไปจนถึงเยื่อเจริญ เรา
เรียกการปฏิบัติแบบนี้ว่า scoring นอกจากที่กล่าวแล้ว การทรมานพืช
อาจทำได้โดยการลอกเปลือกออกเป็ นแถบเล็กยาวพอประมาณตามด้าน
ยาวกิ่ง ให้รอยแผลห่างกันพอสมควรจนรอบกิ่งหรือลำต้น วิธีนี้เรียกว่า
stripping จะทำให้พืชสะสมอาหารไว้เหนือรอยแผลได้ เช่น การสับ
เปลือกให้รอบๆ บริวเณหนึ่งบนกิ่งหรือลำต้นก็นิยมทำกัน วิธีนี้เรียกว่า
notching การใช้ลวดผูกรอบต้นในขณะที่ต้นไม้ยังเล็กอยู่จะมีผลต่อการ
ออกดอกได้เช่นกันเมื่อต้นไม้โตขึ้น

ในการทำสวนผลไม้เป็ นการค้านั้นการทรมานพืชเพื่อให้
เกิดดอกนั้นมีความสำคัญน้อยมาก โดยเฉพาะการทรมานแบบควั่นกิ่ง
(ringing) จะต้องทำด้วยความระมัดระวัง คือ ควรจะทราบนิสัยของไม้ผล
ชนิดนั้นๆ เสียก่อนว่าทนต่อการทรมานหรือไม่ ปกติเขาไม่ใช้การควั่นกิ่ง
กับ stone fruit เพราะอาจได้รับความเสียหายได้ นอกจากนี้ไม่ควร
55

ทรมานไม้ผลที่โทรมหรือไม่ค่อยสมบูรณ์หรือไม้ผลที่มีอายุน้อย ในการ
ปฏิบัติควรลงมือทำก่อนถึงฤดูออกดอกประมาณ 3-5 สัปดาห์ เมื่อทำ
เสร็จแล้วควรหาวัตถุบางอย่างมาหุ้มหรือเคลือบเพื่อป้ องกันน้ำและเชื้อ
โรคเข้าสู่แผล

2.2.2 การตัดแต่งราก (root pruning) การตัดแต่งราก


จะเป็ นการลดปริมาณรากให้น้อยลงจะยังผลให้การดูดซึมแร่ธาตุอาหาร
น้อยลงทำให้การเจริญเติบโตทางกิ่งใบ (vegetative growth) มีน้อยลง
พืชก็จะสะสมอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตมากขึ้นทำให้เกิดดอกได้ การตัด
แต่งรากโดยทั่วไปควรทำก่อนต้นไม้จะออกดอกประมาณ 2-3 สัปดาห์
อย่างไรก็ดีการปฏิบัติด้วยวิธีนี้อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้
2.2.3 การงอกิ่ง (bending) เป็ นการงอหรือตัดกิ่งไม้ผล
ที่มีขนาดโตแล้วให้เอนลงในแนวนอนหรือให้กิ่งโค้งลงสู่ดินเข้าสู่แรงโน้ม
ถ่วงของโลกเพื่อลดการเจริญทางกิ่งใบ แต่จะไปส่งเสริมการสร้างตาดอก
และการเกิดดอก (Jackson and Looney, 1999)

2.3.4 การทำให้ใบร่วง (defoliation) ไม้ผลบางชนิดจะ


เกิดดอกได้ถ้าใบร่วงไปเสียบ้างเพราะทำให้อัตราส่วนระหว่างปริมาณ
คาร์โบไฮเดรตต่อปริมาณไนโตรเจนอยู่ในระดับพอดีที่จะทำให้เกิดดอก
เราจะสังเกตได้จากเวลาใบถูกแมลงทำลายหรือใบร่วงหล่น เพราะถูกสาร
เคมีจะทำให้ต้นไม้เกิดดอกมากขึ้น ในการทำสวนส้มเขียวหวานนิยมงดให้
น้ำจนพืชทิ้งใบจะช่วยทำให้เกิดดอกได้ แต่อย่างไรก็ดีถ้าใบร่วงมากๆ อาจ
ทำให้พืชไม่เกิดดอกหรือดอกมีน้อยทั้งนี้เพราะมีการสร้างคาร์โบไฮเดรต
น้อยนั้นเอง
56

2.3.5 การตัดแต่งกิ่งใบ (pruning) ไม้ผลที่มีพุ่มหนาทึบ


จะให้กิ่งใบอวบน้ำมีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง (dry matter) ต่ำ การสะสม
อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตจะมีน้อย พืชจะไม่ค่อยออกดอก การตัดแต่งกิ่ง
ใบที่มากเกินไปนั้นจะช่วยให้เกิดดอกได้ แต่ต้องทำให้พอดีและคำนึงถึง
อายุของต้นไม้ด้วย ปกติการตัดแต่งกิ่งไม้ผลที่ยังไม่เคยให้ดอกออกผลมา
ก่อน อาจทำให้เกิดดอกล่าช้าหรือลดการเกิดดอกได้

2.3.6 การรมควันหรือการสุมควัน การสุมควันภายใน


สวนจะทำให้เกิดก๊าซเอธทิลีนและอะเซธทิลีนขึ้น ซึ่งสามารถชักนำให้
ต้นไม้ผลเกิดดอกได้ วัสดุที่ใช้รมควัน คือ ใบไม้แห้ง ฟางแห้ง หญ้าแห้ง
เป็ นต้น ระยะเวลาที่เหมาะสมในการรมควันควรเป็ นช่วงที่ฝนตกน้อย
และอากาศเริ่มนาว

การรมควันนิยมทำกันในประเทศฟิ ลิปปิ นส์เพื่อบังคับให้


มะม่วงเกิดดอกนอกฤดูกาล การรมควันจะต้องหยุดทันทีเมื่อสังเกตเห็นว่า
ปลายกิ่งขยายขนาดใหญ่ขึ้น หลักในการรมควันก็คือ เร่งการสร้างตาดอก
อาจอธิบายได้ว่าในขณะที่รมควันใบมะม่วงจะแห้งกรอบและร่วง ก่อนที่
ใบจะร่วงอาหารที่อยู่ในใบพืช เช่น กรดอะมิโน และฮอร์โมนจะเคลื่อน
ย้ายกลับไปสะสมที่ปลายยอดของกิ่ง ทำให้ปลายกิ่งมีสภาพที่เหมาะสมแก่
การสร้างตาดอกขึ้น

2.3.7 การขาดน้ำในช่วงที่พืชสร้างตาดอก ปกติพืชจะ


สร้างตาดอกในช่วงใดช่วงหนึ่งของวงจรการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งก็แล้ว
แต่ละชนิด ถ้าในกรณีที่พืชสร้างตาดอกในช่วงที่อากาศแห้งอย่างเช่น
มะม่วงขาดน้ำหรือความชื้นในดินในขีดจำกัดหนึ่งจะทำให้เกิดการสร้าง
57

ตาดอกแต่น้อยมาก สำหรับสภาพการนี้อาจอธิบายได้ว่าพืชในระยะที่
กำลังสร้างตาดอก ถ้ามีสภาพความชื้นในดินลดลงการดูดซึมน้ำขึ้นไปใช้
ตระเตรียมการสร้างสารชีวเคมีภายในพืชก็จะเข้มข้นขึ้น ทำให้สารชีวเคมี
อาจมีสัดส่วนของปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ปริมาณไนโตรเจน หรือฮอร์โมน
ดอกอยู่ในสภาพที่พอเหมาะแก่การกระตุ้นการสร้างตาดอก
58

บทที่ 4
การติดผลและการเจริญของผล

การติดผล คือ การพัฒนาของรังไข่ไปเป็ นผลอ่อนโดยผ่าน


กระบวนการหรือปราศจากกระบวนการผสมเกสรก็ได้ ถ้าผลที่พัฒนาการ
มาจากรังไข่ที่ผ่านกระบวนการผสมเกสร เรียกว่า ผลแท้ แต่ถ้าผลที่
พัฒนาการมาจากรังไข่โดยปราศจากกระบวนการผสมเกสร เรียกว่า ผล
เทียมหรือผลลม การติดผลจะกล่าวถึงเฉพาะการติดผลในกรณีของผลแท้
เท่านั้น

หลังจากที่ไม้ผลได้รับการผสมเกสร คือ หลังจากเกิดกระบวนการ


ปฏิสนธิ (fertilization) ไม่นาน ส่วนของดอกเช่น กลีบดอก กลีบรอง
กลีบเลี้ยง และเกสรตัวผู้ จะเริ่มแห้งเหี่ยวและร่วงหล่นไป คงเหลือเพียง
รังไข่ (ovary) และฐานรองดอก (receptacle) รังไข่จะพัฒนาไปเป็ นผล
ผลจะมีการพัฒนาส่วนเนื้อเยื่อที่เป็ นส่วนของผนังผล (pericarp) ซึ่ง
ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ ผนังผลชั้นนอก (exocarp) มีลักษณะค่อนข้าง
เหนียว ผนังผลชั้นกลาง (mesocarp) มีลักษณะเป็ นเนื้อเยื่อส่วนของผลที่
ใช้รับประทานได้ และผนังผลชั้นใน (endocarp) มีลักษณะแข็งด้านนอก
และชั้นในมีลักษณะเป็ นแผ่นบางๆ ระยะเวลาในการพัฒนาของผลหลัง
จากการผสมพันธุ์หรือปฏิสนธิ (fertilization) จนกระทั่งผลโตเต็มที่
(maturity) แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดและพันธุ์ไม้ผล การติดผลจะไม่มี
ปั ญหาถ้าสภาพการเป็ นไปตามปกติทั้งสภาพการภายในของพืชและสภาพ
การภายนอกของพืช ในบางครั้งไม้ผลจะมีการเกิดดอกแต่อาจจะไม่มีการ
ติดผลก็ได้
59

การเกิดเมล็ดและจำนวนเมล็ดในผลจะขึ้นอยู่กับการผสมพันธุ์
(fertilization) กล่าวคือ ถ้าการผสมพันธุ์เป็ นไปด้วยความเรียบร้อย การ
เกิดเมล็ดก็จะเป็ นไปด้วยดี ทำให้ลักษณะและขนาดของเมล็ดอยู่ในสภาพ
สมบูรณ์ ถ้าการผสมพันธุ์มีอุปสรรค เช่น การรวมตัวของเชื้อเพศผู้และ
เพศเมียเป็ นไปอย่างผิดปกติ หรือการเจริญของคัพภะหรือส่วนอื่นๆ
ภายในไข่มีน้อย เมล็ดอาจลีบหรือไม่สมบูรณ์ ขณะที่เมล็ดกำลังพัฒนานั้น
จะมีการสร้างฮอร์โมนขึ้น และฮอร์โมนเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เซลล์ใน
เปลือกผล (pericarp) ขยายตัวออก ทั้งนี้ต้องมีธาตุอาหารและน้ำอย่าง
เพียงพอ ถ้าขาดสิ่งดังกล่าวแล้วการเจริญของคัพภะอาจชะงักและในที่สุด
จะร่วงหล่นไป

การเจริญของหลอดละอองเกสร (pollen tube) เกี่ยวข้องกับ


ปั จจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น สิ่งแวดล้อมและส่วนประกอบทาง
โครโมโซมของพืช โดยทั่วไปเปอร์เซ็นต์การงอกของหลอดละอองเกสรใน
พืชที่มีจำนวนโครโมโซม 2 ชุด (diploid) จะสูงและถ้าผสมกับพืชที่มี
โครโมโซม 2 ชุดด้วยกันมักจะให้ผลที่มีเมล็ดจำนวนมาก ส่วนพืชที่มี
จำนวนโครโมโซม 3 ชุด (triploid) หลอดละอองเกสรมักมีขนาดเล็กและ
มักจะแตกกลางคันจึงมีโอกาสผสมกับเชื้อเพศเมียได้น้อย นอกจากนี้การ
ผสมระหว่างพืชที่มีจำนวนโครโมโซมต่างกัน เช่น 2 ชุด กับ 3 ชุด จะได้
ผลที่มีเมล็ดน้อย

พาทีโนคาร์ปี (pathenocarpy) หมายถึง การพัฒนาของผลที่


ปราศจากการปฏิสนธิของไข่ ซึ่งจะพัฒนาเป็ นผลที่ไม่มีเมล็ด เรียกผลพวก
นี้ว่า พาทีโนคาร์ปิ กฟรุท (pathenocarpic fruit) ในธรรมชาติสามารถ
แบ่งได้เป็ น 2 ประเภท คือ
60

1. เวเกตเททิพ พาทีโนคาร์ปี (vegetative parthenocarpy) เป็ น


ผลที่เกิดขึ้นได้เองโดยดอกไม่ได้รับการถ่ายละออเกสรและการปฏิสนธิ
ปั จจัยที่ทำให้เกิดผล ได้แก่ ฮอร์โมนในดอก หรือ ฮอร์โมนในรังไข่ โดยไม่
ต้องได้รับการกระตุ้นจากภายนอก เช่น กล้วย สับปะรด มังคุด ลางสาด
ลองกอง และพลับ เป็ นต้น

2. สทิมูเลทิพ พาทีโนคาร์ปี (stimulative parthenocarpy)


เป็ นการติดผลที่จะต้องได้รับการกระตุ้นจากการถ่ายละอองเกสร แต่ยังไม่
เกิดการปฏิสนธิ เช่น มีการสร้างหลอดละอองเกสรไชชอนลงไปตามก้านชู
เกสรตัวเมียแต่ไม่เกิดการปฏิสนธิระหว่างละอองเกสรกับไข่ จากนั้น
ฮอร์โมนพืชจำพวกออกซินจะสร้างสารกระตุ้นให้รังไข่มีการขยายตัวจึง
เกิดการพัฒนาเป็ นผลได้ และผลที่ได้จะไม่มีเมล็ด เช่น ส้ม เลมอน และ
องุ่น เป็ นต้น

การเจริญเติบโตของผลและการพัฒนาของผล (fruit growth and fruit


development)

การเจริญเติบโตของผลเกิดขึ้นเกือบจะทันทีที่มีการติดผล โดยถือ
เอาจุดที่รังไข่เริ่มมีการขยายตัวเป็ นจุดเริ่มต้น ลักษณะการเจริญเติบโต
ของผลนั้นเป็ นการเพิ่มขึ้นด้านปริมาณ (quantitative) โดยสามารถ
สังเกตได้ง่ายจากขนาดที่โตขึ้น โดยอาจวัดเป็ นความยาว ความกว้าง หรือ
ความหนา หรืออาจวัดในรูปของการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก ซึ่งส่วนมากใช้น้ำ
หนักแห้งเป็ นเกณฑ์หรือวัดการเพิ่มขึ้นในรูปของปริมาตรก็ได้ ส่วนทาง
ด้านการพัฒนาของผลนั้นเป็ นการเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ
61

(qualitative) ซึ่งเกิดขึ้นภายใน มองเห็นไม่เด่นชัด เช่น เซลล์เกิดการ


เปลี่ยนแปลงสภาพ และการสุก เป็ นต้น อย่างไรก็ตามทั้งสองลักษณะนี้
เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน หรือกลมกลืนกันโดยที่มีเส้นแบ่งขอบเขต ดังนี้ ใน
ระยะแรกๆ นั้น การเจริญเติบโตของผลจะเด่นชัด ส่วนในระยะท้ายๆ
ของการพัฒนาของผล การพัฒนาด้านคุณภาพจะเด่นชัดกว่า เนื่องจาก
การขยายขนาดได้สิ้นสุดลงแล้ว

เมื่อศึกษาถึงการเจริญเติบโตของผลที่สัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาแล้ว
นำมาสร้างเป็ นกราฟ เราสามารถแบ่งได้เป็ นหลายรูปแบบ แต่เมื่อนำมา
จัดแบ่งแล้วจะสามารถจำแนกได้เป็ น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ซิมเพิลซิกมอยด์เคอร์พ (simple sigmoid curve) ซึ่งจะแบ่ง


การเจริญเติบโตได้เป็ น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 เป็ นช่วงที่เกิดภายหลังการติดผลใหม่ๆ มีการเพิ่ม
ขนาดน้อยมาก ซึ่งในระยะนี้ส่วนใหญ่เป็ นผลสืบเนื่องมาจากการแบ่งเซลล์
แลกเฟส (lag phase) การเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์ในผลนั้นจะมีความ
สัมพันธ์กับน้ำหนักผลโดยตรง
ระยะที่ 2 ระยะนี้ผลมีการขยายขนาดอย่างรวดเร็ว เป็ นการ
ขยายขนาดของเซลล์และการเพิ่มช่องว่างระหว่างเซลล์ จึงเรียกระยะนี้ว่า
ล๊อกเฟส (log phase) หากมีการเพิ่มปริมาตรมากกว่าน้ำหนักผลแล้วก็
เป็ นการยืนยันว่าการเพิ่มขึ้นนี้เป็ นการขยายขนาดของช่องว่างระหว่าง
เซลล์

ระยะที่ 3 การขยายขนาดมีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ผลเริ่ม


เข้าสู่ระยะแก่เต็มที่ (maturity) และเริ่มมีพัฒนาการทางด้านการ
62

เปลี่ยนแปลงสีผิว (pigmentation) และกระบวนการสุก (ripening) ได้


เริ่มต้นขึ้น

ผลที่มีการเจริญเติบโตแบบนี้ ได้แก่ แอปเปิ้ล สาลี่ ลองกอง เงาะ


มังคุด มะม่วง ลิ้นจี่ และทุเรียน

2. ดับเบิลซิกมอยด์เคอร์พ (double sigmoid curve) การเจริญ


เติบโตของผลแบบนี้สามารถจำแนกได้เป็ น 3 ระยะ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบใน
ผลไม้พวกมีกะลาหุ้มเมล็ด หรือที่เรียกกันว่ากลุ่ม stone fruits

ระยะที่ 1 เป็ นระยะภายหลังติดผล เป็ นช่วงที่มีการขยาย


ขนาดค่อนข้างช้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็ นผลสืบเนื่องมาจากการแบ่งเซลล์

ระยะที่ 2 ระยะนี้การเจริญเติบโตจะช้าลงอย่างมาก หรือ


ชะลอตัว มีอัตราการเพิ่มต่ำหรือไม่มีเลย เนื่องจากเปลือกผลชั้นใน ซึ่งมี
ลักษณะเซลล์อ่อนนุ่ม เซลล์เหล่านี้จะแปรสภาพเป็ นเซลล์หินทำให้เปลือก
ผลชั้นในแข็งตัว

ระยะที่ 3 เมื่อเปลือกผลชั้นในแข็งตัวแล้ว ผลจะมีการขยาย


ขนาดเพิ่มสูงอีกครั้ง อันเป็ นผลของการขยายตัวของเปลือกผลชั้นนอก
(exocarp) และเปลือกผลชั้นกลาง (mesocarp)

ผลที่มีการเจริญเติบโตแบบนี้ ได้แก่ พีช พลัม เชอรี่ บ๊วย แอพริคอท


มะพร้าว องุ่น และพุทรา เป็ นต้น
63

ปั จจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดผล

ในการทำสวนผลไม้ชาวสวนมักจะพบปั ญหาเกี่ยวกับการติดผลของ
ไม้ผลอยู่เสมอ ไม้ผลบางชนิดจะเกิดดอกเป็ นจำนวนมาก แต่ติดผลจริงๆ
เพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้เพราะมีดอกร่วงมากหรือผลเจริญผิด
ปกติ เช่น เงาะขี้ครอก (ผลมีรูปบูดเบี้ยว ขนสั้น) และบางทีดอกจะมี
ลักษณะไหม้และแห้งตายไป ปั จจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดผล และการ
เจริญของผลมีทั้งปั จจัยภายในผลเอง และปั จจัยภายนอก ดังนี้
64

ปั จจัยภายใน

1. ความโน้มเอียงในวิวัฒนาการ การวิวัฒนาการของพืชจะทำให้
ส่วนต่างๆ ของพืชมีลักษณะรูปร่างผิดแผกไปจากเดิมไม่มากก็น้อย หรือ
บางส่วนอาจขาดหายไป และบางส่วนอาจมีของใหม่มาเพิ่ม เช่น

1.1 ความไม่สมบูรณ์เพศของดอก ไม้ผลบางชนิดดอกตัวผู้และ


ดอกตัวเมียจะแยกกันอยู่ เช่น มะละกอ มะคาเดเมีย และสตรอเบอรี่
เป็ นต้น ทำให้การติดผลเป็ นไปด้วยความลำบาก ในมังคุดซึ่งมีดอก
สมบูรณ์เพศแต่เกสรตัวผู้ไม่ทำงาน การเกิดผลจึงไม่เกี่ยวข้องกับการผสม
พันธุ์ เมล็ดมังคุดจึงมีลักษณะพันธุกรรม (genotype) เหมือนต้นแม่ทุก
ประการ

1.2 ความไม่พอดีของส่วนต่างๆ ของดอก ดอกของพืชบาง


ชนิด เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียจะอยู่ในลักษณะที่เป็ นอุปสรรคต่อการ
ผสมพันธุ์ ซึ่งอาจทำให้ไม่ค่อยติดผล ความไม่พอดีของตำแหน่งเกสรแบบ
นี้เรียกว่า เฮเทโรสไตลี (heterostyly) เช่น ดอกที่มีก้านชูเกสรตัวเมียสั้น
และมีก้านชูเกสรตัวผู้ยาวเกินไป ทำให้ผึ้งไม่อาจสัมผัสละอองเกสรได้
เพราะมัวแต่หาน้ำหวานอยู่บริเวณโคนดอก หรือดอกที่มีส่วนของกลีบ
ดอกเกิดติดกันจนผึ้งหรือแมลงที่ช่วยผสมเกสรไม่สามารถเข้าไปข้างในได้
ลักษณะแบบนี้อาจป้ องกันการผสมตัวเอง การติดผลจึงลดลง

1.3 เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียแก่ไม่พร้อมกัน ในดอกของพืช


บางชนิดแม้จะเป็ นดอกสมบูรณ์เพศ แต่ไม่สามารถผสมตัวเองได้ (self-
incompatibility) เพราะเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียพร้อมที่จะผสมใน
65

เวลาต่างกัน กล่าวคือ ในขณะที่เกสรตัวผู้พร้อมที่จะผสม แต่เกสรตัวเมีย


ยังไม่พร้อมที่จะผสม หรือเกสรตัวเมียพร้อมที่จะผสม แต่เกสรตัวผู้อาจแก่
เกินไป จนหมดสภาพที่จะผสมพันธุ์ การเกิดแบบนี้ เรียกว่า ไดโคกามี
(dichogamy) ถ้าเกสรตัวผู้พร้อมที่จะผสมก่อนเกสรตัวเมีย เรียกว่า โพร
แทนดรี (protandry) ถ้าเกสรตัวเมียพร้อมที่จะผสมก่อนเกสรตัวผู้ เรียก
ว่า โพรโทกีนี (protogyny)

1.4 การแท้งหรือฝ่ อของเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ไม้ผลที่ให้


ดอกที่มีสเปิ ร์มและไข่ ไม่สมบูรณ์ การติดผลจะไม่ดี

1.5 ความแข็งแรงของละอองเกสร ผลจากการวิวัฒนาการจะ


มีผลต่อความแข็งแรงของละอองเกสรในพืชบางชนิด กล่าวคือ จะทำให้
การงอกของละอองเกสรมีมากน้อยต่างกัน ละอองเกสรของดอกมะม่วง
ปกติจะแท้งหรือไม่สมบูรณ์ประมาณร้อยละ 2-20

2. ลัษณะทางพันธุกรรม การผสมตัวเองไม่ติดและการผสมตัวเองที่
ให้ผลไม่ดก เป็ นลักษณะที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ไม้ผลที่ผสม
ตัวเองไม่ติด ควรจะปลูกปนกับไม้ผลอื่นๆ ในพืชชนิดเดียวกันที่มีการผสม
ข้ามได้ และต้นที่ปลูกไว้เพื่อเอาละอองเกสรนั้น ควรเลือกพันธุ์ที่ให้ละออง
เกสรที่สมบูรณ์ การบานของดอกควรจะพร้อมกันกับพันธุ์ที่ปลูก นอกจาก
นี้อาจจะใช้วิธีเสี่ยบกิ่ง โดยนำเอากิ่งจากต้นที่ให้ละอองเกสรดีมาเสียบเข้า
กับไม้ผลที่ผสมตัวเองไม่ค่อยติด เป็ นต้น

3. อิทธิพลทางสรีระของพืช
66

3.1 การให้ผลที่ไม่ดกอันเนื่องมาจากการเจริญของหลอด
ละอองเกสร (pollen tube) ที่ช้าเกินไป ทำให้ดอกร่วงหล่นไปก่อนที่จะมี
การปฏิสนธิระหว่างละอองเกสรกับไข่ แต่การที่หลอดละอองเกสรเจริญ
ช้านั้นอาจเนื่องมาจากเหตุอื่นๆ ได้ด้วย เช่น อุณหภูมิต่ำเกินไป เป็ นต้น

3.2 การผสมก่อนหรือหลังเกสรตัวเมียพร้อมที่จะผสม โดย


ละอองเกสรจะงอกหลอดละอองเกสรลงไปถึงรังไข่ แต่สเปิ ร์มไม่สามารถ
ผสมกับไข่ได้ ดอกก็จะร่วงไปโดยดอกจะไม่แสดงอาการเหี่ยวให้เห็น ซึ่งจะ
แตกต่างจากการร่วงของดอกอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นๆ

3.3 สภาพอาหารภายในพืช ปริมาณอาหารที่มีอยู่ในต้นก่อน


หรือขณะที่ดอกกำลังบานจะเกี่ยวข้องกับการติดผลโดยตรง กล่าวคือ ถ้า
อาหารไม่เพียงพอขณะดอกบาน ละอองเกสรจะไม่แข็งแรง อาจแห้งไป
ก่อนที่จะผสมเกสร และเกสรตัวเมียอาจเจริญไม่เป็ นไปตามปกติทำให้การ
ติดผลลดลง

ปั จจัยภายนอก

มีปั จจัยภายนอกหลายอย่างด้วยกันที่เกี่ยวข้องกับการติดผลและ
การเจริญของผล เช่น ปั จจัยเรื่องธาตุอาหรและน้ำ และปั จจัยทางนิเวศน์
วิทยาอื่นๆ จำแนกได้ออกเป็ น ดังนี้

1. อาหารและน้ำ อาหารและน้ำอาจเป็ นปั จจัยสำคัญเบื้องต้นที่


เกี่ยวข้องกับการติดผล ถ้าขาดน้ำและอาหารจะทำให้การสร้างส่วนจำเป็ น
ต่างๆ ของดอกหยุดชะงัก อันเป็ นผลให้การติดผลมีน้อย อาจจะทำให้ดอก
67

และผลเล็กๆ ร่วงได้ เนื่องจากไม้ผลเป็ นพืชที่จัดอยู่ในพวกไม้ยืนต้น จึง


ต้องการไนโตรเจนทุกระยะของการเจริญเติบโต หลังจากเกิดดอกแล้ว ถ้า
ขาดไนโตรเจนดอกจะร่วง หรืออาจทำให้ผลเล็กๆ ไม่เจริญต่อไปและจะ
ร่วงได้เช่นกัน

น้ำเป็ นพาหะนำอาหารหรือแร่ธาตุต่างๆ เข้าสู่พืช ดังนั้นการให้ธาตุ


อาหารจะต้องให้คู่กันไปกับการให้น้ำ ในสวนที่ต้นไม้กำลังเกิดดอก ถ้าขาด
น้ำจะทำให้ดอกหรือผลร่วงก่อนแก่ หรืออาจทำให้ผลไม้มีรูปร่างผิดปกติ
ได้ อย่างไรก็ดีการให้ธาตุอาหารหรือน้ำนั้นควรให้ในอัตราที่พอดี ถ้าให้
มากหรือน้อยเกินไปจะทำให้การติดผลกระทบกระเทือนได้
การตัดแต่งหรือการควั่นกิ่ง จะเป็ นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้การ
ติดผลดีขึ้น การปฏิบัติดังกล่าวนี้เป็ นการช่วยปรับสัดส่วนของอาหารเพื่อ
ช่วยให้การติดผลดีขึ้น แต่อาจใช้ได้ผลดีกับไม้ผลบางชนิดและบางพันธุ์
เท่านั้น เช่น องุ่น การควั่นกิ่งจะให้ผลดีกับพันธุ์ที่ไม่มีเมล็ดบางพันธุ์
เท่านั้น

2. ภูมิอากาศ (climate) การติดผลของไม้ผลบางชนิดจะแตกต่าง


กันออกไปตามท้องถิ่นต่างๆ แม้ว่าจะเป็ นพันธุ์เดียวกันก็ตาม ทั้งนี้เพราะ
สภาพแวดล้อมในท้องถิ่นที่แตกต่างกันนั้นเอง ปั จจัยด้านภูมิอากาศ
สามารถจำแนกได้ดังนี้

2.1 อุณหภูมิ (temperature) อุณหภูมิที่เหมาะสมแก่การ


งอกของละอองเกสรจะอยู่ระหว่าง 16-21 องศาเซลเซียส แต่พืชบางชนิด
ต้องการอุณหภูมิต่ำกว่านี้ ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 27 องศาเซลเซียส การงอก
ของละอองเกสรในไม้ผลโดยทั่วไปจะลดลง อุณหภูมิที่ต่ำเกินไปนอกจาก
68

จะเป็ นอันตรายต่อละอองเกสรโดยตรงแล้ว ยังเป็ นอันตรายต่อผึ้งที่เป็ น


พาหะในการผสมเกสรอีกด้วย ปกติผึ้งจะหยุดทำงานเมื่ออุณหภูมิลดลงถึง
5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่สูงเกินไปอาจจะทำให้ดอกหรือยอดเกสรตัว
เมียแห้งและร่วงหล่นได้

2.2 แสงสว่าง (light) การเจริญของดอกและการติดผลในพืช


บางชนิดต้องการแสงสว่างมาก ถ้าอยู่ในร่มตาดอกจะแห้งและร่วงหล่นไป
การที่แสงมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของดอกผลนั้น คงเนื่องมาจากการ
สร้างอาหารหรือสารบางอย่างภายในพืช อันจะเป็ นประโยชน์ต่อ
กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดผลในพืช

2.3 ลม (wind) ไม้ผลส่วนมากเป็ นพวกอาศัยแมลงในการผสม


เกสร ลมแรงๆ นอกจากจะเป็ นอัตรายต่อการบินของผึ้งที่ช่วยในการผสม
เกสรแล้ว ยังทำให้ยอดเกสรเพศเมียแห้งและทำให้ดอกเสียหายและร่วง
หล่นได้

2.4 ความชื้นในอากาศ (humidity) ความชื้นในอากาศที่มาก


เกินไปจะทำให้อับละอองเกสรแตกยากหรือช้าลง ทำให้เสียโอกาสที่จะ
ผสมเกสร ในทางตรงกันข้ามถ้าความชื้นในอากาศน้อยเกินไป จะทำให้
ยอดเกสรตัวเมียและก้านชูเกสรตัวเมียแห้งเหี่ยว เป็ นอุปกสรรคต่อการ
งอกของละอองเกสรและการเจริญของหลอดละอองเกสร

2.5 น้ำฝน (rainfall) ฝนที่ตกในขณะดอกกำลังบานจะเป็ น


ปั จจัยสำคัญยิ่งอันหนึ่งที่ทำให้การติดผลลดลง ซึ่งอาจจะเกิดจากน้ำฝนชะ
เอาละอองเกสรออกจากอับละอองเกสรหรืออาจจะทำให้อับละอองเกสร
69

แตกยากขึ้น นอกจากนี้น้ำฝนยังเป็ นอุปสรรค์ต่อการบินของผึ้งหรือแมลง


ที่เป็ นพาหะในการถ่ายละอองเกสรและการผสมเกสร และอาจทำให้ดอก
ได้รับอันตรายได้

3 โรคและแมลง (diseases and insects) ดอกหรือช่อดอกของไม้


ผลหลายชนิดมักจะถูกรบกวนโดยโรคและแมลง จะทำให้การติดผลน้อย
ลง แมลงบางชนิดจะเป็ นประโยชน์ต่อการผสมเกสร เช่น ผึ้ง แมลงภู่
ละอองเกสรของไม้ผลบางชนิดมีน้ำหนักและมีลักษณะเหนียว เช่น
ละอองเกสรของมะม่วง ฉะนั้นแมลงจึงเป็ นพาหะในการผสมเกสรที่ดีที่สุด

4. ผลอันเนื่องมาจากการพ่นสารเคมี ไม่ควรพ่นสารเคมีใดๆ ใน
ขณะที่ดอกกำลังบาน เพราะอาจจะทำให้ละอองเกสรหรือส่วนของดอก
อื่นๆ ได้รับอันตราย ดอกอาจร่วงและอาจเป็ นอันตรายต่อแมลงที่ช่วย
ผสมเกสรได้ การป้ องกันโรคและแมลงที่จะทำลายดอกหรือช่อดอกนั้น
ควรมีแผนพ่นสารเคมีล่วงหน้าไว้ก่อนดอกบาน

5. การปลิดผลที่มากเกินไปทิ้ง เพื่อเป็ นหลักประกันว่าผลที่เหลืออยู่


จะมีน้ำ อาหาร และคาร์โบไฮเดรตเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของผล
ต่อไปจนเต็มที่เก็บเกี่ยวได้ (Jackson and Looney, 1999)

การร่วงของผล (fruit drop or fruit shedding)

ก่อนที่ผลจะพัฒนาเต็มที่จะเกิดการร่วงเป็ นช่วงๆ ตามระยะการ


เจริญเติบโตช่วงต่างๆ ของการพัฒนาของผล ทั้งนี้เพราะพืชต้องจัด
สัดส่วนระหว่างจำนวนผลกับอาหารที่มีอยู่ในต้นพืชให้พอเหมาะพอดี
70

ฉะนั้นการร่วงของผลจึงเป็ นขบวนการธรรมชาติที่เป็ นประโยชน์ในการ


ป้ องกันกิ่งฉีกหักเนื่องจากแบกน้ำหนักมากเกินไป ไม้ผลมีการร่วงหล่น
ของผลแบ่งออกเป็ น 3 ระยะ และมักพบในผลไม้จำพวก ส้ม มะม่วง สาลี่
พลับ พรุน แอปเปิ ล ดังนี้

1. การร่วงระยะแรก (first drop) คือ การร่วงครั้งแรกจะปรากฏ


ขึ้นภายหลังที่ดอกบานเล็กน้อย ปกติดอกที่ส่วนของรังไข่เป็ นหมันมักจะ
ร่วงในระยะนี้

2. การร่วงระยะที่สอง (second drop) คือ การร่วงที่ปรากฏขึ้น


ภายหลังที่ดอกบานแล้ว 14 วัน ดอกที่ร่วงเป็ นดอกที่ไม่ได้รับการผสม
เกสร และดอกที่ได้รับการผสมเกสร สำหรับดอกที่ได้รับการผสมเกสรจะ
ร่วงเพราะสาเหตุจากการปรับสภาพระหว่างอาหาร และการติดผลของพืช
ให้เกิดความสมดุลขึ้น

3. การร่วงระยะที่สาม (third drop) การร่วงในระยะนี้จะปรากฏ


ผลมีขนาดเท่าลูกแก้ว การร่วงในระยะนี้เกิดขึ้น เพราะเกิดการแยกชั้น
ของเนื้อเยื่อตรงขั้วผล เป็ นการปรับสภาพของพืชเพื่อให้ผลมีคุณภาพดี
เช่น ผลร่วงในฤดูร้อนของไม้ผลเขตร้อน (tropical fruits)

นอกจากการร่วงของผลในสามระยะดังกล่าวแล้ว ยังมีการร่วงอีก
ลักษณะหนึ่ง เรียกว่า การร่วงก่อนเก็บเกี่ยว (pre-harvest drop) ผลจะ
มีขนาดโตประมาณ ¾ ของผลที่โตเต็มที่ การร่วงของผลในระยะนี้มี
สาเหตุจากสภาวะทางสรีรวิทยาของพืช คือ เอทธิลีน (ethylene) ที่ผลิต
71

ในผลแก่อาจชักนำให้เกิดรอยแยก (abscission) ของเนื้อเยื่อที่ขั้วของผล


ทำให้ผลร่วงได้

สาเหตุทั่วๆ ไปเกี่ยวกับการร่วงของผล การร่วงของผลมีสาเหตุโดย


ทั่วๆ ไป ดังนี้

1. ลม ถ้ามีลมแรงโดยเฉพาะลมพายุฝนฟ้ าคะนองจะทำให้ผลร่วงได้
เช่น การร่วงของมะม่วง เงาะ ลำไย ในช่วงเดือนเมษายนและเดือน
พฤษภาคม เนื่องจากลมพายุฝนฟ้ าคะนอง เป็ นต้น

2. อุณหภูมิและความชื้น ถ้าอากาศร้อนและความชื้นสัมพันธ์ต่ำมาก
จะทำให้ขั้วผลหลุด

3. ความชื้นในดิน ถ้ามีการให้น้ำที่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่ให้น้ำเลยจะ
ทำให้เกิดผิดปกติทางสรีรวิทยาขึ้น เป็ นเหตุให้ผลร่วงได้

4. ขาดไนโตรเจนจะทำให้กิ่งอ่อนแอ จะเกิดผลร่วงมากกว่ากิ่งที่แข็ง
แรง

5. การไถพรวนไม่ถูกต้อง ถ้ามีการไถพรวนในระยะติดผล ไถลึกเกิน


ไปจนรากพืชขาดเป็ นสาเหตุให้ผลร่วง รากที่มักขาดได้คือ รากขนอ่อน

6. โรคและแมลง โรคและแมลงจะเป็ นสาเหตุให้ผลร่วงได้เช่นเดียว


กับการเกิดดอกแล้วไม่ติดผล เช่น โรคแอนแทรคโนสของมะม่วง เพลี้ยจั๊ก
จั่นมะม่วง แมลงวันผลไม้วางไข่บนผลทำให้ผลร่วง เป็ นต้น
72

7. อายุของพืช การร่วงของผลเกี่ยวข้องกับอายุของพืช กล่าวคือ


พืชที่มีอายุยังน้อยผลจะร่วงมากกว่าพืชที่มีอายุมากกว่า เพราะอาหาร
สะสมในพืชอายุน้อยมีน้อยกว่าพืชที่มีอายุมาก

การป้ องกันผลร่วง

การป้ องกันผลร่วงใน 3 ระยะที่กล่าวไปแล้วนั้น ไม่มีความจำเป็ น


เพราะเป็ นช่วงระยะที่พืชต้องปรับสภาวะของจำนวนผลให้สมดุลย์กับ
อาหารภายในต้นตามธรรมชาติ การป้ องกันที่จำเป็ นที่สุด คือ ในระยะร่วง
ก่อนเก็บ วิธีการปฏิบัติ ได้แก่ การไถพรวนที่ถูกต้อง การระวังโรคและ
แมลง การให้น้ำและปุ๋ยที่ถูกต้อง การปลูกไม้บังลม และการใช้สารเคมี
ประเภทสารควบคุมการเจริญเติบโต (plant growth regulator) ในกลุ่ม
ของออกซิน (auxins) เช่น NAA (naphthalene acetic acid) ซึ่งนิยม
เรียกว่า ฮอร์โมนขั้วเหนียว เป็ นต้น
บทที่ 5
การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูกไม้ผล

การสร้างสวนไม้ผลนับเป็ นการลงทุนประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทุนมาก
และใช้ระยะเวลาหลายปี กว่าจะได้รับผลตอบแทน เนื่องจากสวนไม้ผล
ส่วนใหญ่เป็ นไม้ยืนต้น การสร้างสวนจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะ
หากลงทุนในระยะแรกไปแล้ว แต่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่าก็จะเกิดผล
เสียยากที่จะแก้ไข แต่ถ้ามีการวางแผนอย่างดี โดยพิจารณาลักษณะของ
ที่ดิน การเลือกทำเล การเลือกชนิดและพันธุ์ไม้ผลที่ใช้ปลูก ตลอดจนการ
73

กำหนดแผนผังที่ใช้ปลูกไม้ผลให้มีประสิทธิภาพ โอกาสที่จะเกิดความผิด
พลาดก็จะน้อยลง

ดินกับการผลิตไม้ผล

ไม้ผลก็เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นๆ คือ ต้องการดินดีที่มีความอุดม


สมบูรณ์สูง เนื่องจากส่วนใหญ่เป็ นไม้ยืนต้นต้องเก็บเกี่ยวผลผลิตติดต่อกัน
เป็ นระยะเวลานาน ดินที่ใช้เพาะปลูกควรมีคุณสมบัติเหมาะกับการปลูก
พืชที่ใช้เวลาในการเพาะปลูกต่อเนื่องกันหลายปี ลักษณะของดินที่ใช้ปลูก
ไม้ผล แบ่งออกเป็ น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ ดินในสภาพที่ลุ่มกับดินในสภาพ
ที่ดอน การปลูกไม้ผลในสภาพดินแตกต่างกันก็จะมีรายละเอียดในการ
ปฏิบัติแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามควรพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับดินใน
หัวข้อต่อไปนี้ประกอบด้วย (สัมฤทธิ์, 2527)

ชนิดและความอุดมสมบูรณ์ของดิน: ไม้ผลส่วนใหญ่จะชอบดินร่วน
หรือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูงหรือดินที่ชาวบ้านเรียกว่าดินน้ำ
ไหลทรายมูลหรือดินร่วนปนเหนียว ในสภาพดินเหนียวจัด ดินที่มีลูกรัง
และกรวดไม่เหมาะต่อการปลูกไม้ผล แต่ถ้ามีความจำเป็ นก็สามารถปลูก
ได้ แต่ควรมีการปรับปรุงลักษณะของดินให้เหมาะสมเสียก่อน การเลือก
ปลูกไม้ผลในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงก็จะได้เปรียบ เพราะไม้ผลจะให้
ผลตอบแทนได้เร็วกว่าและมากกว่า ในปั จจุบันการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย
เพื่อปรับปรุงดินมีมากขึ้น ดินที่ใช้ปลูกไม้ผลอาจไม่เหมาะสมและมีความ
อุดมสมบูรณ์ต่ำก็ไม่มีปั ญหา เพราะสามารถปรับปรุงได้ไม่ยากนัก
74

1. หน้าดิน ดินที่ใช้ปลูกไม้ผลควรจะมีชั้นของหน้าดินอย่างน้อย 180


เซนติเมตร เพราะ ไม้ผลมีระบบรากลึก ยิ่งไม้ผลที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
หรือมีต้นตอที่ใช้เมล็ด ไม้ผลเหล่านั้นจะมีระบบรากแก้วซึ่งหยั่งลึกลงไปใน
ดิน ถ้าชั้นของดินตื้นเกินไป การชอนไชของรากจะทำได้น้อย รากไม่
สามารถยึดลำต้นและการหาอาหารและน้ำก็จะทำได้น้อย มีข้อยกเว้น
สำหรับไม้ผลที่มีระบบรากตื้น เช่น ระบบรากฝอยของต้นไม้ผลขนาดเล็ก
รากพวกนี้จะสามารถปลูกบนดินที่มีหน้าดินตื้นๆ ได้

2. ระดับน้ำใต้ดิน พื้นที่ปลูกไม้ผลควรมีระดับน้ำใต้ดินอยู่ต่ำกว่า
180 เซนติเมตร ตลอดทั้งปี เพราะถ้าระดับน้ำใต้ดินตื้นหรืออยู่สูงจะทำให้
การถ่ายเทอากาศในดินชั้นล่างมีน้อย น้ำจะขังและทำให้รากเน่า เพราะ
ดินเปี ยกแฉะรากพืชหายใจไม่สะดวก

3. การระบายน้ำ ดินที่ปลูกไม้ผลควรจะมีการระบายน้ำดี ควรจะ


เป็ นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็ นดินเหนียวการระบายน้ำไม่ดีจะต้องมีการ
ปรับปรุงสภาพดิน โดยการขุดคูยกร่องให้พื้นที่มีความสูงอากาศเข้าออกได้
ง่าย การระบายน้ำจะดีขึ้นในสภาพพื้นที่ดอนและมีความลาดเทการ
ระบายน้ำจะดีกว่าสภาพพื้นที่เรียบ ดินที่ระบายน้ำดีจะทำให้รากเจริญ
แข็งแรง แต่ถ้าดินระบายน้ำไม่ดีก็จะทำให้พืชรากเน่าได้

4. คุณสมบัติทางเคมีของดิน สภาพความเป็ นกรด-ด่างของดิน


สภาพความเค็ม ถ้าหากคุณสมบัติทางเคมีของดินไม่เหมาะสมก็จะเกิดผล
เสียกับพืช เช่น การใช้แร่ธาตุอาหารบางชนิดจะไม่สามารถทำได้ ดินที่
เป็ นกรดหรือด่างมากๆ การทำงานของแบคทีเรียที่สร้างความอุดม
สมบูรณ์ให้กับดินจะไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลให้ต้นไม้ผลที่ปลูกในดิน
75

ชนิดดังกล่าวอาจเป็ นโรคต่างๆ ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงคุณสมบัติ


ทางเคมีของดินให้เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใส่
ปูนขาว ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือเปลือกหอยเผา เพื่อปรับสภาพความ
เป็ นกรดของดินให้มีความเป็ นกลางมากยิ่งขึ้น ถ้าดินมีคุณสมบัติเป็ นด่างก็
ปรับปรุงได้ด้วยการใส่กำมะถันผงหรือปูนยิปซั่ม ถ้าดินเค็มมีเกลือมากต้อง
ชะล้างเกลือด้วยระบบชลประทานหรือการเลือกชนิดของไม้ผลที่ทนต่อ
ความเค็มของดิน ดังนี้ สำหรับดินกรดไม้ผลที่เหมาะสม ได้แก่ ส้ม มะม่วง
มะพร้าว สำหรับดินด่าง สามารถปลูกไม้ผลดังนี้ ฝรั่ง ทับทิม อินทผลัม ใน
กรณีดินเค็มสามารถปลูกไม้ผล ดังนี้ มะพร้าว ละมุด และพุทรา เป็ นต้น
อย่างไรก็ตามดินที่มีคุณสมบัติทางเคมีเป็ นดินด่างและดินเค็มควรละเว้น
ในการเลือกทำสวนไม้ผล เพราะดินเหล่านี้จะทำให้ขอบใบไหม้ เป็ น
สาเหตุให้ใบร่วงหล่นและในที่สุดพืชก็จะตาย อันตรายจากดินด่างและดิน
เค็มมักเกิดขึ้นในฤดูร้อนในช่วงที่อากาศแห้งแล้งเพราะน้ำใต้ดินจะระเหย
สู่บรรยากาศและจะนำเอาเกลือจากชั้นใต้ดินขึ้นมาบนผิวดิน ซึ่งเกลือ
เหล่านี้จะสัมผัสกับเนื้อเยื่อพืชโดยตรงและเป็ นอันตรายต่อการเจริญ
เติบโตของต้นไม้ผล

5. สภาพความสูงต่ำของพืชที่ กล่าวคือ ความลาดเอียงของพื้นที่


หรือลักษณะลุ่ม ดอน ของพื้นที่ และรวมถึงระดับความสูงของพื้นที่เหนือ
ระดับน้ำทะเลด้วย ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการวางแผนผังการ
ปลูก และการเจริญเติบโตของต้นไม้ผล รวมทั้งแนวทางในการเขตกรรม
ต้นไม้ผลด้วย

5.1 ดินในสภาพที่ลุ่ม ประกอบด้วย ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ต่ำที่เคย


เป็ นนามาก่อน พื้นที่เหล่านี้มักจะมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน การปลูกไม้ผลใน
76

สภาพพื้นที่เช่นนี้ เกษตรกรต้องลงทุนสูง เพราะจะต้องมีการขุดยกร่อง


ก่อนปลูกเพื่อป้ องกันน้ำท่วม แต่ก็ได้เปรียบ คือ มีน้ำอย่างเพียงพอ
สามารถให้น้ำแก่ไม้ผลได้ตลอดเวลา และสามารถปลูกพืชอื่นๆ เพื่อหา
รายได้ก่อนที่ไม้ผลจะให้ผลผลิตอีกด้วย สำหรับพื้นที่ใหม่ที่ยังไม่เคยปลูก
ควรเริ่มเตรียมพื้นที่ด้วยการวางผังสวนในกระดาษก่อน เพื่อจะได้กำหนด
ให้แน่นอน เช่น วัดขนาดความกว้างยาวของแปลง กำหนดขนาดของคู
ป้ องกันน้ำท่วมรอบพื้นที่ เป็ นต้น

การกำหนดทิศทางปลูก ควรให้ร่องปลูกในลักษณะขวางตะวัน
คือ หัวร่อง ท้ายร่องอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ขนาดคันคูที่ทำไว้เพื่อป้ องกัน
น้ำท่วม กำหนดโดยอาศัยระดับน้ำเป็ นหลัก คือ ยึดเอาระดับน้ำสูงสุดของ
น้ำแต่ละท้องที่ เช่น กว้าง 2 เมตร สูง 1 เมตร บางท้องที่สูง 2 เมตร
กว้าง 3-4 เมตร เป็ นต้น

ขนาดของร่องปลูก โดยทั่วไปขนาดกว้างประมาณ 4-6 เมตร


แล้วแต่ชนิดของไม้ผลและจำนวนแถวที่ปลูก

ขนาดร่องน้ำระหว่างร่องปลูก กว้างประมาณ 1-1.5 เมตร ลึก


ประมาณ 1-1.5 เมตร เมื่อกำหนดผังสวนเสร็จแล้ว ให้ลงมือขุดคันคูก่อน
และพยายามทำให้ดินบนคันคูอัดกันให้แน่น จากนั้นจึงขุดร่องปลูกตาม
แนวที่กำหนดไว้ (กวิศร์, 2545)

การปรับปรุงดินปลูก เนื่องจากดินที่ขุดลอกขึ้นมาเป็ นร่องปลูก


นั้นเป็ นดินชั้นล่าง สภาพดินไม่เหมาะที่จะปลูกไม้ผลโดยตรง คือ อาจจะ
เหนียวจัดหรือเป็ นกรดจัด จึงต้องปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
77

เสียก่อน กล่าวคือ ปล่อยให้ดินที่ขุดขึ้นมาตากแดดให้แห้งสนิทเสียก่อน


แล้วโรยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปูนขาว รดน้ำมากๆ แล้วค่อยขุดย่อยให้ดินแตก
เป็ นชิ้นเล็กๆ จากนั้นก็ปรับดินให้สม่ำเสมอทั่วแปลง การปรับปรุงดินปลูก
จำเป็ นต้องทำหลายๆ ครั้ง จนแน่ใจว่าดินนั้นอยู่ในสภาพที่เหมาะสม มี
ความร่วนโปร่งระบายน้ำและอากาศดี น้ำซึมได้สะดวก ในช่วงปรับปรุง
ดินนั้นอาจปลูกพืชอายุสั้นไปก่อนก็ได้ เมื่อเก็บผลผลิตแล้วก็ขุดพรวนดิน
ใส่ปูน ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงดินให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

การขุดหลุมปลูกในที่ลุ่ม ควรขุดขนาดกว้างและยาวประมาณ
50-100 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิดของไม้ผลและคุณลักษณะของดิน ความ
ลึกให้ใช้ระดับน้ำในดินเป็ นหลัก เพราะระดับน้ำในดินเป็ นตัวกำหนดความ
ลึกของรากพืช ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมนั้นตากแดดให้แห้งสนิท แล้วย่อย
ให้ละเอียดผสมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยฟอสเฟต กระดูกป่ น รวมทั้ง
เศษใบไม้ผุผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วกลบลงหลุมปลูกตามเดิม ดินใน
หลุมปลูกควรให้สูงกว่าดินในแปลงปลูกเล็กน้อย แล้วปล่อยให้ดินในหลุม
หยุบตัวดีเสียก่อนจึงลงมือปลูก

ดินในสภาพที่ดอน ในสภาพที่ดอนหรือที่สูงจะไม่มีปั ญหาเรื่องน้ำ


ท่วมขัง ที่ดอนนี้อาจจะเป็ นสวนไม้ผลเก่า หรือที่เคยปลูกพืชอื่นมาก่อน
ก่อนลงมือปลูกจะต้องมีการวางแผนผังในการปลูกให้สัมพันธ์กับสภาพ
แวดล้อมของพื้นที่ปลูก ถ้าหากพื้นที่ปลูกสูงๆ ต่ำๆ ไม่ราบเรียบควรมีการ
ปรับปรุงพื้นที่โดยการไถเกรดและปรับพื้นที่ปลูก ถ้าหากพื้นที่มีความ
ลาดเทมาก ควรปรับระดับให้มีลักษณะเป็ นขั้นบันได เพื่อป้ องกันการ
ชะล้างหน้าดิน ถ้าเป็ นที่ราบและมีแอ่งน้ำก็ต้องหาทางระบายน้ำออกเสีย
ก่อน การปรับปรุงดินเพื่อเตรียมปลูกไม้ผล ควรไถดินอย่างน้อย 2 ครั้ง
78

คือ ไถให้ดินเป็ นก้อนโตๆ ตากให้แห้งแล้วจึงไถพรวนให้ดินย่อยเป็ นก้อน


เล็กๆ อาจจะมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มความอุดม
สมบูรณ์ของดิน

เมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้วก็วางแผนการปลูกโดยให้มีระยะปลูกตาม
ที่ต้องการแล้วทำเครื่องหมายไว้ให้เสร็จหมดทั้งแปลง จากนั้นลงมือขุด
หลุมปลูก หลุมที่ขุดอาจจะเป็ นหลุมกลมหรือหลุมเหลี่ยมก็ได้ ขนาดของ
หลุมให้มีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร แล้วแต่
ขนาดของไม้ผลและลักษณะของดิน ถ้าดินดีอุดมสมบูรณ์ก็ขุดหลุมขนาด
เล็กได้ แต่ถ้าดินขาดความอุดมสมบูรณ์ก็ต้องขุดหลุมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
เพื่อปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าไม้
ผล การขุดหลุมปลูกในที่ดอนควรขุดดินออกเป็ น 2 ส่วน ส่วนหนึ่ง คือ ดิน
ชั้นบนแยกกองไว้ปากหลุมทางหนึ่ง เพราะดินชั้นบนเป็ นดินที่มีอินทรีย
วัตถุสูง ส่วนดินชั้นล่างซึ่งมีสภาพแตกต่างจากดินชั้นบน คือ มีสีแตกต่าง
กันและมีอินทรียวัตถุน้อยกว่า ตากดินไว้จนแห้งแล้วผสมดินทั้งสองกอง
กับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ผุ กระดูกป่ น หรือปุ๋ยฟอสเฟต เมื่อผสมกัน
ดีแล้วให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยฟอสเฟต จากนั้นก็กลบดินชั้น
บนลงก้นหลุมก่อน ส่วนดินชั้นล่างให้กลบตามหลัง เมื่อกลบแล้วดินใน
หลุมปลูกจะสูงกว่าดินทั่วไปเล็กน้อย ปล่องทิ้งไว้จนดินยุบตัวดีก่อนแล้วจึง
ลงมือปลูก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผล

การปลูกไม้ผลจำเป็ นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาเลือกสภาพแวดล้อมที่
เหมาะสมกับการเจริญเติบโต และการพัฒนาการของไม้ผลแต่ละชนิด
79

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ได้แก่ สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับดินและธาตุ


อาหารพืช สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับลมฟ้ าอากาศ และสภาพแวดล้อมเกี่ยว
กับศัตรูพืช ในบรรดาสภาพแวดล้อมเหล่านี้ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับลม
ฟ้ าอากาศจัดว่าเป็ นสภาพแวดล้อมที่สำคัญที่สุด สาเหตุที่มีการกระจา
ยการผลิตไม้ผลในภาคต่างๆ และในจังหวัดต่างๆ ที่สำคัญที่สุด คือ สาเหตุ
เกี่ยวกับลมฟ้ าอากาศ แหล่งผลิตไม้ผลที่สำคัญๆ ของไทยทำให้เกิดการ
เพาะปลูกไม้ผลได้ดีเป็ นเฉพาะแห่งจนเกิดการยอมรับผลิตผลจากแหล่ง
นั้น เช่น ลำไย ในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ ลิ้นจี่ในจังหวัดเชียงราย เงาะ
โรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลางสาดในจังหวัดอุตรดิตถ์ ลองกองจาก
นราธิวาส กล้วยไข่จากกำแพงเพชร น้อยหน่าจากปากช่อง จังหวัด
นครราชสีมา จำปาดะจากเกาะยอ จังหวัดสงขลา เป็ นต้น สภาพแวดล้อม
เกี่ยวกับดินและแร่ธาตุ อาหารและสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับศัตรูพืชจะได้
กล่าวอย่างละเอียดในบทต่อไป ในที่นี้จะกล่าวถึงสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับ
ลมฟ้ าอากาศเป็ นหลัก

สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับลมฟ้ าอากาศเป็ นปั จจัยสำคัญที่สุดทาง


ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่จะกำหนดความสำเร็จในการผลิตผลไม้ชนิดต่างๆ
ลมฟ้ าอากาศประกอบด้วย อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพันธ์ใน
อากาศ ลูกเห็บ แสง อากาศ และลม

อุณหภูมิ เป็ นปั จจัยสำคัญที่สุดเกี่ยวกับลมฟ้ าอากาศ การที่อุณหภูมิ


ของท้องที่ต่างๆ แตกต่างกันสาเหตุเนื่องมาจากเส้นรุ้ง (latitude) ความ
สูงของพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเล (altitude) ระยะทางจากแหล่งน้ำ และ
กระแสน้ำในทะเลและมหาสมุทร ทิศทางและความแรงของลม ความ
80

ต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมแตกต่างกันไปตามประเภทของไม้ผล ตาม
ชนิดของไม้ผล และตามพันธุ์ของไม้ผล

ไม้ผลเขตร้อนต้องการอุณหภูมิสูงสำหรับการเจริญเติบโตตลอดชั่ว
อายุทั้งระยะการเจริญเติบโตทางกิ่งก้านสาขาและลำต้น (vegetative
growth) และระยะการเกิดดอกออกผล (reproductive growth) โดย
เฉพาะระยะการเกิดดอกออกผลจะต้องการอุณหภูมิสูง เนื่องจาก
ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงเป็ นส่วนใหญ่จึงเหมาะกับการปลูกไม้ผลเขตร้อน
มาก

ไม้ผลเขตกึ่งร้อนต้องการอุณหภูมิสูงสำหรับการเจริญเติบโตทางกิ่ง
ใบ แต่ต้องการอุณหภูมิต่ำช่วงหนึ่งประมาณ 13-18 องศาเซลเซียส เพื่อ
ทำให้เกิดการเตรียมตัวเพื่อการออกดอก ช่วงระยะเวลาที่ได้รับอุณหภูมิ
ต่ำนี้ ถ้าได้รับติดต่อกันเป็ นระยะเวลานานประมาณ 2-3 เดือน ก็จะทำให้
เกิดดอกออกผลดีมาก แต่ถ้าได้รับอุณหภูมิไม่ต่ำเพียงพอหรือระยะเวลาที่
ได้รับอุณหภูมิต่ำไม่ต่อเนื่องกันเป็ นระยะเวลานานพอ การเกิดดอกอาจจะ
ไม่ดีพอ หรือพบปั ญหาการออกดอกติดผลได้

ไม้ผลเขตหนาวต้องการอุณหภูมิต่ำมากๆ เพื่อทำลายการพักตัวของ
ตาดอก เนื่องจากไม้ผลประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็ นไม้ผลัดใบ จึงมีความจำเป็ น
ที่จะต้องได้รับความเย็นติดต่อกันเป็ นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน เช่น
แอปเปิ้ลต้องการอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส เป็ นระยะเวลาอย่าง
น้อย 1,000 ชั่วโมงติดต่อกันไป เพื่อทำลายการพักตัวของตาดอก โดยไม้
ผลประเภทนี้จะมีช่วงการเจริญเติบโตที่ชัดเจน แบ่งออกเป็ น 4 ช่วง ได้แก่
ฤดูหนาวจะพักตัว ฤดูใบไม้ผลิจะมีการออกดอกและเริ่มติดผล ฤดูร้อนจะ
81

มีการพัฒนาของผลรวมถึงการพัฒนาของตาดอก การเก็บเกี่ยวผลผลิต
และฤดูใบไม้ร่วงจะเริ่มหยุดการเจริญเติบโต ทิ้งใบ เก็บสะสมอาหาร เพื่อ
เตรียมตัวสำหรับการเข้าสู่ฤดูหนาวต่อไป

อุณหภูมิมีส่วนในการกำหนดคุณภาพของไม้ผล ตัวอย่างเช่น อากาศ


หนาวจะทำให้องุ่นมีน้ำตาลสูงขึ้น ถ้าอากาศร้อนและแห้งแล้งจะทำให้
องุ่นเปลือกบาง ในกรณีของส้มเขียวหวานถ้ามีอากาศหนาวจะทำให้สีของ
ผิวส้มเขียวหวานมีสีส้มน่ารับประทาน เช่น ส้มสายน้ำผึ้ง (เชียงใหม่) ส้มสี
ทอง (น่าน) แต่ถ้าอากาศร้อนและชื้นจะทำให้สีของผิวส้มเขียวหวานเป็ นสี
เขียวอมเหลืองไม่น่ารับประทาน เช่น ส้มบางมด (กรุงเทพมหานคร) ส้ม
รังสิต (ปทุมธานี) ส้มโชกุน (ยะลา สงขลา) สำหรับความหวานของส้ม
เขียวหวานก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีอุณหภูมิต่ำหรืออากาศหนาวจะมีน้ำตาล
มากกว่าส้มที่ปลูกในอุณหภูมิสูง นอกจากนี้อุณหภูมิยังมีผลกระทบต่อการ
ผสมเกสร เพราะถ้าอากาศร้อนหรือหนาวเกินไปละอองเกสรตัวผู้จะไม่
งอกและอาจผสมเกสรไม่ติด อุณหภูมิยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการระบาด
ของโรคและแมลงศัตรูพืช ถ้ามีอากาศร้อนและชื้นจะเป็ นสาเหตุให้โรค
ระบาด เช่น โรคราน้ำค้างขององุ่น โรคแอนแทรคโนสของมะม่วง หรือ
แมลงระบาด เช่น เพลี้ยจั๊กจั่นกับมะม่วง เป็ นต้น

การป้ องกันอันตรายที่เกิดจากอุณหภูมิไม่เหมาะสม เช่น ถ้าอุณหภูมิ


ต่ำหรืออากาศหนาวเกินไปสามารถช่วยได้โดยการก่อไฟไว้ในสวนผลไม้
หรือการจุดตะเกียงขนาดใหญ่แขวนไว้เป็ นระยะๆ ในสวนผลไม้ เช่น สวน
ส้มของรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา จะเกิดน้ำค้างแข็งเสมอๆ ก็อาจ
ใช้วิธีดังกล่าวแก้ปั ญหาได้ ถ้ามีลมร้อนพัดผ่านอาจใช้วิธีปลูกไม้บังลมร้อน
82

เข้าช่วย เช่น ในสวนผลไม้ของประเทศอิสราเอล มักมีลมร้อนจากทะเล


ทรายพัดผ่านก็อาจใช้วิธีปลูกไม้บังลมแก้ปั ญหาได้

ฝน เป็ นปั จจัยที่สำคัญมากในการปลูกไม้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน


เขตที่ไม่มีระบบชลประทาน โดยปกติฝนจะมีประโยชน์ต่อพืชมากที่สุดใน
ระยะการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ ดังนั้นในระยะที่ไม้ผลยังเป็ นต้นเล็กๆ มี
ความต้องการน้ำจากฝนมาก จึงต้องปลูกไม้ผลต้นฤดูฝน ในกรณีที่ไม้ผล
โตเร็ว คือ โตพอที่จะให้ดอกและผลก็จะมีความต้องการน้ำฝนในระยะการ
เจริญทางกิ่งใบเช่นเดียวกัน เพื่อผลิตอาหารไว้สำหรับการสร้างตาดอก
และการออกดอกติดผลในรอบปี ถัดไป โดยทั่วไปไม้ผลและพืชอื่นๆ หลาย
ชนิดจะมีระยะวิกฤติ (critical period) สำหรับน้ำและความชื้นในระยะ
ก่อนและหลังการเกิดดอก คือ ไม่ต้องการฝน ระยะที่ไม่ต้องการฝนนี้ไม้ผล
จะมีการเก็บสะสมอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์โบไฮเดรต เพื่อเก็บไว้ใช้
ในการเกิดดอกติดผลในรอบปี แต่ถ้าหากไม่มีระยะวิกฤติของฝน คือ เกิด
ฝนตกในระยะก่อนการเกิดดอกจะทำให้ไม้ผลได้รับธาตุไนโตรเจนจากฝน
หรือน้ำ ไม้ผลก็จะแตกยอดอ่อนขึ้นมาแทนทำให้การเกิดดอกไม่ดี ด้วย
เหตุนี้การปลูกไม้ผลบางอย่างเป็ นการค้าไม่สามารถทำให้ผลดีในเขตที่ไม่มี
ฝนทิ้งช่วงเป็ นเวลานานเพียงพอ เช่น การปลูกมะม่วงในภาคใต้ของ
ประเทศไทยจะได้ผลไม่ดีเพราะมักจะมีฝนตกมากในระยะวิกฤติ ทำให้
มะม่วงแทงช่อดอกได้น้อยแต่จะแตกใบอ่อนขึ้นมาแทน นอกจากนี้การ
เกิดฝนตกในช่วงระหว่างการเกิดดอกใหม่ๆ น้ำฝนจะเป็ นอันตรายแก่ดอก
เพราะจะชะล้างละอองเกสรทำให้น้ำหล่อลื่นที่อยู่ปลายเกสรตัวเมียเจือ
จาง และยังทำให้เกิดโรคและแมลงระบาด ในทางกลับกันถ้ามีฝนตกน้อย
ก็จะเกิดปั ญหาด้านการเจริญเติบโตของไม้ผลไม่เพียงพอ ต้นแคระแกรน
จะต้องมีการให้น้ำเข้าช่วย ซึ่งจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการให้น้ำ ถ้าฝนตกน้อย
83

ในระยะติดผลก็อาจจะเกิดปั ญหาผลร่วงหรือผลผลิตต่ำ อาจต้องมีการให้


น้ำเข้าช่วยซึ่งเป็ นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตเช่นกัน

ความชื้น ความชื้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับฝนเพราะฝนให้น้ำและ
ความชื้นในบรรยากาศไม้ผลเขตร้อนหลายชนิดที่ต้องการอากาศร้อนและ
ความชื้นสูง เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลางสาด ลองกอง แต่มีไม้ผลบาง
ชนิด เช่น องุ่น ถ้าได้รับอากาศร้อนและความชื้นสูงจะทำให้เกิดโรค
ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคราน้ำค้าง เพราะสาเหตุนี้การปลูกองุ่นใน
ภาคใต้จะกระทำได้ยาก ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงความชื้นอย่างกระทันหัน
เช่นเกิดฝนตกหนักในช่วงที่พืชกำลังติดผลก็จะทำให้ผลแตก เช่น ทับทิม
องุ่น มะม่วง ฯลฯ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับความชื้นของอากาศแตกต่าง
กันได้อย่างเด่นชัด เช่น ไม้ผลเขตร้อนชื้นพวกเงาะ ทุเรียน มังคุด ลางสาด
ลองกอง จะปลูกได้ผลในจังหวัดทางภาคใต้และภาคตะวันออกของ
ประเทศไทย มีการนำไปปลูกในจังหวัดแถบภาคกลาง ภาคเหนือ และ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้บ้างในบางพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ซึ่งส่วนใหญ่
พื้นที่จะเป็ นหุบเขาและมีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอ

ลูกเห็บ ถ้าหากเกิดลูกเห็บตกลงมามากๆ จะเป็ นอันตรายแก่ไม้ผล


ได้ กล่าวคือ การเกิดรอยช้ำของผล กิ่ง ก้าน ดอก ร่วง จะทำให้เกิดการ
หักล้มของต้น โดยปกติประเทศไทยมักไม่ค่อยพบปั ญหาเกี่ยวกับพายุ
ลูกเห็บเท่าไรนัก แต่มักจะเกิดในเขตอบอุ่นมากกว่า

แสงเป็ นปั จจัยในการเจริญเติบโตที่สำคัญ เพราะ พืชเป็ นสิ่งมีชีวิตที่


ต้องสร้างอาหารขึ้นมาเอง ไม้ผลต้องการแสงเพื่อสร้างอาหารสะสมไว้
สำหรับสร้างตาดอก เพื่อการเกิดดอกติดผลและการพัฒนาของผลให้
84

ขยายใหญ่ขึ้น ตลอดจนการแก่การสุกของผล ปั จจัยที่เกี่ยวข้องกับแสงพอ


สรุปได้ 2 ประการ ดังนี้ คือ ช่วงแสงและคุณภาพ หรือความเข้มแสง

1. ช่วงแสง หมายถึง ระยะความยาวของช่วงเวลาที่พืชได้รับ


แสงติดต่อกันไปในแต่ละวัน ช่วงแสงจะเป็ นตัวกำหนดระยะการเกิดดอก
ของต้นไม้ผลบางชนิด โดยจะตอบสนองต่อช่วงแสง คือ เมื่อได้รับแสงตาม
ระยะเวลาที่ต้องการในแต่ละวันติดต่อกันหลายๆ วัน พืชเหล่านั้นก็จะ
กระตุ้นการเกิดดอกขึ้นมา สามารถแบ่งกลุ่มของพืชตามการตอบสนองต่อ
ปริมาณแสงออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ พืชวันสั้น พืชวันยาว และพืชไม่ตอบ
สนองต่อช่วงแสง ในส่วนของไม้ผลจะสรุปได้ว่าไม้ผลส่วนใหญ่ไม่ตอบ
สนองต่อช่วงแสง ไม้ผลเขตร้อนมักมีลักษณะของพืชวันสั้น และไม้ผลเขต
หนาวมักมีลักษณะของพืชวันยาว ช่วงแสงไม่ถือว่าเป็ นสภาพแวดล้อมที่
สำคัญ ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงสภาพแวดล้อมด้านอื่นๆ มากกว่า เช่น
อุณหภูมิ เป็ นต้น

2. ความเข้มของแสง จะเกี่ยวข้องกับไม้ผลในแง่ของปริมาณ
แสงที่ได้รับซึ่งจะสัมพันธ์กับความร้อนด้วย ถ้าพืชเจริญเติบโตกลางแจ้งจะ
ได้รับความเข้มของแสงมาก แต่ถ้าพืชเจริญเติบโตใต้ร่มเงามาบังก็จะได้รับ
ความเข้มของแสงน้อย ไม้ผลสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทตามความเข้ม
ของแสง คือ ไม้ผลกลางแจ้ง (sun plant) และไม้ผลในร่มเงา (shade
plant) ส่วนใหญ่ไม้ผลจะมีลักษณะเป็ นไม้ผลกลางแจ้ง มีเพียงส่วนน้อยที่
มีลักษณะเป็ นไม้ผลในร่มเงา เช่น ลางสาด ลองกอง มังคุด เป็ นต้น
คุณสมบัติการเป็ นไม้ผลในร่มเงาจะมีความจำเป็ นมากที่ต้องมีการบังแสง
ให้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกของการเจริญเติบโต (ประมาณช่วงสอง
ปี แรกของการปลูก) ถ้าความเข้มของแสงไม่เหมาะสมจะมีผลต่อการเจริญ
85

เติบโตและให้ผลผลิตของไม้ผล เช่น ไม้ผลกลางแจ้งถ้าได้รับความเข้มแสง


ไม่พอจะทำให้การเก็บสะสมอาหารโดยการสังเคราะห์แสงไม่เพียงพอมัก
ไม่เกิดการสร้างตาดอก หรือไม่เกิดดอก ในทำนองเดียวกันถ้าได้รับความ
เข้มของแสงมากเกินไปจะเกิดปั ญหาเรื่องผิวและเนื้อของไม้ผลในด้านที่
ถูกแสงแดดเผาอยู่เป็ นประจำทุกวันจะเปลี่ยนสีและสภาพเนื้อของผลไป
ซึ่งมีชื่อเรียกว่า โรคแดดเผา (sun burn) เช่น สับปะรด ฝรั่ง เป็ นต้น
สำหรับไม้ผลในร่มเงาที่ได้รับความเข้มของแสงมากเกินไปจะเกิดผลเสีย
ต่อการเจริญเติบโตเช่นกัน เช่น อาการใบไหม้ ใบแห้ง และมีการเจริญ
เติบโตช้ากว่าปกติ ตัวอย่างไม้ผลที่มีอาการเหล่านี้ได้แก่ ลางสาด ลองกอง
และมังคุด เป็ นต้น

อากาศและลม อากาศเกี่ยวข้องกับไม้ผล คือ ไม้ผลต้องการ


ออกซิเจนในการหายใจ ต้องการคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการ
สังเคราะห์แสง เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นๆ แต่ถ้าในบรรยากาศมีอากาศที่
ไม่เหมาะสม เช่น มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซคาร์บอนมอน
ออกไซด์ ซึ่งอาจจะได้จากควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์หรือรถมอเตอร์
ไซด์ หรือการเผาไหม้อื่นๆ จะมีผลต่อการเกิดดอกของไม้ผลจะทำให้ไม้ผล
เกิดดอกก่อนเวลาอันควรได้ ในส่วนของลมพื้นที่ปลูกไม้ผลไม่ควรมีลมแรง
เพราะกระแสลมแรงเป็ นสาเหตุในการขัดขวางการผสมเกสรของผึ้งและ
แมลง ทำให้การผสมเกสรเกิดขึ้นได้น้อยหรือผสมไม่ติด ทำให้ดอกเหี่ยว
ร่วงหล่น นอกจากนี้ลมแรงยังทำให้ดอกร่วง ผลร่วง กิ่งฉีก กิ่งหัก และโค่น
ล้ม ลมแรงยังมีผลต่อความชื้นและอุณหภูมิด้วย ถ้าพื้นที่ลมแรงควรหลีก
เลี่ยงการปลูกไม้ผลหรือควรปลูกพืชกำบังลมช่วยจะสามารถช่วยบรรเทา
ปั ญหาต่างๆ ที่กล่าวมาได้ในสวนไม้ผล
86

การเลือกทำเลผลิตไม้ผล
ในการเลือกที่ทำสวนไม้ผลโดยทั่วไปมีปั จจัย 2 ประการที่ควรนำมา
พิจารณา ได้แก่ ท้องถิ่น (location) และทำเล (site) ปั จจัยที่เกี่ยวกับ
ท้องถิ่นจะเกี่ยวข้องกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ หรือพื้นที่ที่สวนไม้ผลตั้งอยู่ใกล้
ไกลจากถนนหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทางด้านธุรกิจ ส่วนปั จจัย
เกี่ยวกับทำเล หมายถึง สถานที่ตั้งของสวนว่าอยู่ในระดับความสูงต่ำ
อย่างไร อยู่ใกล้ไกลจากแหล่งน้ำ สภาพของสถานที่ตั้งเป็ นเนินลาดเทหรือ
พื้นราบ เป็ นต้น ในที่นี้สถานที่ใช้ทำสวนไม้ผลจะกล่าวรวมๆ ทั้งสภาพของ
ท้องถิ่นและทำเล การเลือกทำเลการผลิตไม้ผลที่ถูกต้องจะมีความสำคัญ
ยิ่ง เพราะถ้าเลือกทำเลดีมีความเหมาะสมโอกาสจะประสบความสำเร็จ
ย่อมมีมากกว่าการเลือกทำเลที่ไม่เหมาะสม ทำเลที่ควรนำมาพิจารณาใน
การผลิตไม้ผล ได้แก่
1. ทำเลที่สร้างสวนควรเป็ นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าสามารถปลูกไม้ผล
ได้ผลดี โดยดูจากประสบการณ์ของเกษตรกรในท้องถิ่นว่าสามารถปลูกไม้
ผลนั้นได้ดีเพียงใด เช่น เงาะโรงเรียนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลองกองที่
จังหวัดนราธิวาส ลิ้นจี่ที่จังหวัดเชียงราย ลำไยที่จังหวัดลำพูน ส้มโอที่
อำเภอนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม เป็ นต้น ซึ่งแหล่งปลูกเหล่านี้สามารถ
ปลูกไม้ผลดังกล่าวได้ดี ถ้าลงทุนสร้างสวนไม้ผลเหล่านั้นก็จะสามารถ
ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
2. ทำเลควรอยู่ใกล้ตลาดทำให้สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายได้ง่าย
ไม่สูญเสียค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการดำเนินการขนส่งมากนัก
3. ทำเลที่สร้างสวนมีภูมิอากาศเหมาะสมทำให้ลดภาวการณ์เสี่ยงให้
น้อยลง
4. ทำเลที่สร้างสวนควรมีแหล่งน้ำเพียงพอ น้ำมีคุณภาพดีและมีน้ำ
ใช้ได้เพียงพอตลอดทั้งปี
87

5. ทำเลที่สร้างสวนควรมีการระบายน้ำได้ดีทั้งในและนอกฤดูฝน
6. ทำเลนั้นควรมีสภาพของดินเหมาะสมทั้งในด้านความอุดม
สมบูรณ์ของดิน ความลึกของหน้าดิน คุณสมบัติทางเคมีของดิน เป็ นต้น
7. ทำเลนั้นควรจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกของครอบครัวได้ง่ายและ
สะดวก เช่น โรงเรียน วัด โรงพยาบาล สถานที่ราชการ เป็ นต้น
8. ที่ดินมีราคาพอสมควร
9. หาแรงงานได้ง่ายและค่าแรงไม่แพงมากนัก
10. ไม่มีขโมยหรือปั ญหาการปกครองของบ้านเมือง เช่น ปั ญหา
ศาสนา ปั ญหาการแบ่งแยกดินแดน และปั ญหาการเรียกค่าคุ้มครอง
เป็ นต้น

การคัดเลือกชนิดและพันธุ์ไม้ผลให้เหมาะสม

การที่จะเลือกปลูกพืชชนิดใด และควรจะใช้พันธุ์อะไรในการปลูก
ควรทำการพิจารณาอย่างรอบคอบเพราะ ถ้าเลือกพืชปลูกผิดอาจจะทำให้
เกิดความยุ่งยากในการดูแลรักษาและอาจจะไม่ประสบความสำเร็จได้ มี
หลักการกว้างๆ ที่ควรพิจารณาในการเลือกชนิดและพันธุ์พืชเพื่อใช้ปลูก
คือ

1. พืชชนิดนั้นหรือพันธุ์นั้นๆ สามารถเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อม
ในท้องถิ่นนั้นๆ ได้หรือไม่ สภาพแวดล้อมถือว่าเป็ นสิ่งจำเป็ นมากเพราะ
โดยทั่วๆ ไป เกษตรกรไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ง่ายๆ ดังนั้น
จะต้องเลือกพืชที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ สภาพแวดล้อม
ได้แก่ ดินและธาตุอาหารกับลมฟ้ าอากาศ ลักษณะของดินในด้าน
คุณสมบัติต่างๆ ทั้งทางฟิ สิกส์ เคมี และชีวภาพ เหมาะสมกับพืชที่จะปลูก
88

หรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการปลูกไม้ผลเขตหนาวในภาคใต้ของ


ประเทศไทยจะปลูกได้หรือไม่ ในด้านพันธุ์พืชที่ใช้ก็ควรพิจารณาว่าพันธุ์
พืชนั้นๆ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีเพียงใด เช่น ถ้าปลูก
มะม่วงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรใช้พันธุ์อะไรจึงเหมาะสม มีพันธุ์
อะไรที่ไม่ควรปลูก

2. พืชชนิดนั้นหรือพันธุ์นั้นๆ ให้ผลผลิตดีหรือไม่ ผลผลิตที่ได้คุ้มค่า


การลงทุนหรือไม่ ผลผลิตที่ได้ต้องสูงพอสมควรจึงเลือกมาปลูกได้

3. ผลผลิตที่ได้จากไม้ผลชนิดและพันธุ์นั้นๆ จะต้องมีคุณภาพดีเป็ น
ที่นิยมของผู้บริโภค สามารถแข่งขันกับผลไม้ชนิดอื่นและพันธุ์อื่นๆ ได้

4. ต้องเป็ นพันธุ์ดีหรือพันธุ์ส่งเสริม การเลือกปลูกพืชพันธุ์ดีมี


ประโยชน์หลายประการ ได้แก่ การได้ผลผลิตสูง มีอายุการเก็บเกี่ยวเร็ว
กว่าปกติ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
สูง มีรูปทรงตรงกับความต้องการ มีสี ขนาด รูปร่าง รสของผลผลิตตาม
ความต้องการของตลาด และมีความต้านทานต่อโรคและแมลงสูง พืชพันธุ์
ดีในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ที่ถือว่าเป็ นพันธุ์ส่งเสริม เช่น เงาะพันธุ์ดี
ได้แก่ เงาะโรงเรียน เงาะสีชมพู ทุเรียนพันธุ์ดี ได้แก่ ก้านยาว หมอนทอง
ชะนี ส้มโอพันธุ์ดี ได้แก่ ขาวพวง ขาวทองดี ขาวแป้ น มะม่วงพันธุ์ดี ได้แก่
หนังกลางวัน น้ำดอกไม้ทะวายเบอร์สี น้ำดอกไม้สีทอง ทองดำ พิมเสนมัน
อกร่อง โชคอนันต์ มะละกอพันธุ์ดี ได้แก่ โกโก้ แขกดำ สายน้ำผึ้ง ลำไย
พันธุ์ดี ได้แก่ เบี้ยวเขียว อีดอ สีชมพู เป็ นต้น โดยปกติพืชพันธุ์ดีจะตอบ
สนองต่อปุ๋ยสูงและจะต้องเอาใจใส่ดูแลอย่างดีด้วย ดังนั้น ถ้าใช้พืชพันธุ์ดี
ปลูกจะต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย ในบางท้องถิ่นการใช้พืชพันธุ์ดีซึ่ง
89

ถือว่าเป็ นพันธุ์แท้ปลูกอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร อาจเนื่องจากดินฟ้ า


อากาศไม่เหมาะสม ก็ควรใช้พันธุ์ลูกผสม (hybrid) มาปลูก ซึ่งส่วนใหญ่
มักเป็ นพืชล้มลุกอายุสั้นๆ เช่น แตงโม แคนตาลูป สตรอเบอรี่ เป็ นต้น

5. แหล่งพันธุ์พืชนั้นจะต้องเชื่อถือได้ เช่น เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อ


ถือได้ หรือจากบริษัทที่รับรองคุณภาพ ถ้าเป็ นไม้ผลแหล่งพันธุ์จะต้องเชื่อ
ถือได้จริงๆ เพราะไม้ผลใช้เวลานานกว่าจะพิสูจน์ได้ แหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือ
ได้จริงๆ เพราะไม้ผลใช้เวลานานกว่าจะพิสูจน์ได้ แหล่งพันธุ์ที่เชื่อถือได้
เช่นจากศูนย์วิจัยหรือสถานีทดลองของกรมวิชาการเกษตร จากฟาร์ม
เอกชนที่เชื่อถือได้ เป็ นต้น

6. ไม้ผลชนิดและพันธุ์นั้นจะต้องดูแลรักษาง่าย จัดการง่าย ตัวอย่าง


เช่น ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ควบคุมขนาดและทรงต้นได้ง่าย
เก็บเกี่ยวได้ง่าย ออกผลพร้อมกัน ออกดอกติดผลนอกฤดูปกติได้ เป็ นต้น

7. เป็ นชนิดและพันธุ์ไม้ผลที่เมื่อนำมาปลูกแล้วใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ
ระยเวลาคืนทุนสั้น อายุการให้ผลนานให้ผลผลิตสูง และทำกำไรได้มาก

8. เป็ นชนิดและพันธุ์ไม้ผลที่ต้นพันธุ์มีมาก หาได้ง่าย ราคาถูก และ


มีลักษณะตรงตามพันธุ์ ปราศจากปั ญหาด้านการกลายพันธุ์ อีกทั้งยัง
สามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายอีกด้วย

9. ตลาดมีความต้องการเพียงใด ต้องพิจารณาว่าพืชนั้นๆ หรือพันธุ์


นั้นๆ ตลาดมีความต้องการเพียงใด ตลาดในที่นี้อาจจะหมายถึงตลาดใน
ท้องถิ่น ตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ การปลูกพืชตาม
90

ความต้องการของตลาดเป็ นสิ่งจำเป็ นอย่างมากเช่น ปั จจุบันนี้ตลาดต่าง


ประเทศนิยมรับประทานไม้ผลเขตร้อนหลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด
มะม่วง แต่มีความต้องการเพียงบางสายพันธุ์เท่านั้น

10. เกษตรกรสามารถปลูกพืชชนิดนั้นหรือพันธุ์นั้นๆ ได้ เนื่องจากมี


วิธีการที่ไม่ยุ่งยากเกินไปในการปฏิบัติรักษา อาจจะดูจากประสบการณ์ใน
ท้องถิ่นของเกษตรกรโดยทั่วๆ ไปว่าเคยปลูกพืชชนิดนั้น หรือพันธุ์นั้นๆ
ได้ผลเป็ นอย่างไร สามารถเกิดดอกออกผลได้หรือไม่ หรือเกิดดอกติดผล
ทุกปี หรือไม่ เป็ นต้น

11. ผลิตผลจากชนิดและพันธุ์ไม้ผลนี้ใช้แปรรูปได้ดี และแปรรูปได้


หลายรูปแบบ เพื่อป้ องกันปั ญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ

12. ผลิตผลจากชนิดและพันธุ์ไม้ผลนี้ไม่ต้องการการปฏิบัติหลังการ
เก็บเกี่ยวมากนัก ทนทานต่อการขนส่ง และเน่าเสียช้า หรือมีระยะเวลา
การวางจำหน่ายนาน

ลักษณะที่คาดหวังดังกล่าวนี้อาจยากเกินไปเสียหน่อยถ้าต้องการ
คุณสมบัติครบทั้งหมด แต่หากคัดเลือกได้ชนิดและพันธุ์ที่มีคุณสมบัติคาด
หวังมากที่สุดก็จะเป็ นสิ่งที่ดี

ชนิดและพันธุ์ของต้นตอ

โดยทั่วไปต้นตออาจเป็ นไม้ผลต่างชนิดหรือต่างพันธุ์กับส่วนพันธุ์ดี
(scion) หรือเป็ นคนละชนิดและพันธุ์เดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับว่าผู้ปลูก
91

ต้องการคุณสมบัติใดจากต้นตอ อย่างไรก็ตามต้นตอที่ดีควรมีคุณสมบัติ
ดังนี้ (กวิศน์, 2545)

1. หยั่งรากได้ลึกและแน่นหนา
2. มีความสามารถในการดูดน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี
3. ทนทานต่อสภาวะวิกฤตในดิน เช่น ความแห้งแล้ง สภาพดินเค็ม
สภาพน้ำท่วมขัง เป็ นต้น
4. ช่วยควบคุมขนาดของยอดพันธุ์ดีให้มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม
5. ถ่ายทอดลักษณะที่ดีสู่ยอดพันธุ์ดีและไม่ถ่ายทอดลักษณะที่ไม่ดี
ให้กับยอดพันธุ์ดี
6. หาพันธุ์ได้ง่ายและเชื่อมติดกับส่วนยอดพันธุ์ดีได้อย่างสมบูรณ์
7. มีความต้านทานต่อโรคหรือแมลงศัตรูไม้ผลที่เกิดขึ้นในส่วนราก
หรือโคนต้น

การวางแผนผังสวนไม้ผล

การวางแผนผังสวนไม้ผลเป็ นสิ่งที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง
เป็ นพิเศษ เพราะหากวางแผนผิดตั้งแต่ระยะเริ่มต้นแล้วจะทำให้เจ้าของ
สวนไม่สามารถที่จะแก้ไขปั ญหาที่จะเกิดในอนาคตได้ สิ่งที่ต้องกระทำใน
การวางแผนผังสวนก็คือ ต้องรู้แผนที่ของภูมิประเทศของบริเวณสวน
ทั้งหมด นอกจากนั้นต้องคำนึงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ท่อส่งน้ำของ
ระบบชลประทาน บ้านพักคนงาน สำนักงาน โรงเก็บของ แหล่งน้ำ
เป็ นต้น การวางแผนผังสวนต้องคำนึงถึงชนิดของไม้ผลด้วยว่ามีขนาดทรง
พุ่มเท่าใด จะต้องเตรียมกิ่งพันธุ์จำนวนเท่าไร ควรวางแผนการปลูกให้
92

เหมาะสม ไม่ให้เกิดความผิดพลาด เพราะถ้าเกิดข้อผิดพลาดแล้วการ


ปฏิบัติต่างๆ ในสวนก็จะกระทำได้ยากลำบากมากขึ้นด้วยในอนาคต

การวางผังปลูกไม้ผลต้องการความเป็ นระเบียบและสะดวกในการ
เข้าปฏิบัติงาน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักๆ ดังนี้
1. เพื่อให้มีจำนวนต้นมากที่สุด เพราะนั้นหมายถึงผลผลิตที่มี
ปริมาณมากขึ้น
2. เพื่อให้มีระยะห่างพอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นไม้ผล
3. เพื่อสะดวกต่อการเข้าปฏิบัติงานในแปลง เช่น การกำจัดวัชพืช
การพ่นยาป้ องกันโรคและแมลงศัตรูไม้ผล เป็ นต้น
การวางแผนผังสวนไม้ผลเป็ นการจัดเรียงต้นไม้ผลในแปลงปลูก ซึ่ง
จะมีความสัมพันธ์กับระยะปลูก ทิศทางของแถวปลูกและรูปร่างของแปลง
ปลูก โดยทั่วไปการวางแผนผังสวนไม้ผลในแปลงปลูกแบ่งออกเป็ น 5
แบบ ดังนี้

1. แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส (square pattern) จะมีระยะระหว่างต้น


และระยะระหว่างแถวเท่ากัน เช่น 4 x 4 เมตร 8 x 8 เมตร เป็ นต้น เป็ น
แบบที่นิยมกันมากโดยปลูกไม้ประธาน (permanent of main tree) ไว้
ตรงมุมของสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำให้สะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาและเก็บ
เกี่ยว เพราะมีที่ว่างทั้งระหว่างแถวและระหว่างต้น ในแถวอาจปลูกไม้
แซมในระหว่างไม้ประธานได้ตามความพอใจ และจะตัดทิ้งเมื่อทรงพุ่มเริ่ม
ซ้อนทับกับไม้ประธาน ทั้งนี้เพื่อเป็ นการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เต็มที่

2. แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า (rectangular pattern) มีรูปแบบการปลูกที่


คล้ายกับแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่มีระยะระหว่างต้นในแถวแคบกว่าระยะ
93

ระหว่างแถว เช่น 4 x 6 เมตร 8 x 10 เมตร เป็ นต้น โดยมีไม้ประธาน


ปลูกที่มุมของสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบนี้การปลูกไม้แซมจะยากกว่าแบบ
สี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่กรณีที่ต้องการให้มีช่องว่างเพื่อให้เป็ นทางเดินของรถ
หรือเครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับการเขตกรรมหรือเก็บเกี่ยวผลผลิต การปลูก
แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะเหมาะสมกว่าแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส

3. แบบสี่เหลี่ยมซ้อน (diagon or quincunx pattern) วิธีนี้


เป็ นการปลูกไม้ประธานไว้ตรงมุมของสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ก็ได้ แล้วปลูกไม้แซมหรือไม้ประธานอีกชุดหนึ่งตรงจุดที่เส้นทแยงมุมของ
สี่เหลี่ยมตัดกันทำให้มองดูลักษณะคล้ายกับมีสี่เหลี่ยมซ้อนสี่เหลี่ยมด้วย
กันอีกรูปหนึ่ง ไม้ประธานอีกชุดหนึ่งหรือไม้แซมที่ปลูกไว้ตรงจุดที่เส้น
ทแยงมุมตัดกันนี้ อาจตัดทิ้งได้เมื่อทรงพุ่มเบียดหรือซ้อนทับกับไม้
ประธานหรือเห็นว่าเกะกะ วิธีนี้เหมาะสำหรับการปลูกไม้ผลต่างพันธุ์กัน
โดยการปลูกสลับแถวเมื่อต้นไม้ผลให้ผลผลิตแล้ว อาจเลือกต้นของพันธุ์ใด
พันธุ์หนึ่งไว้ แล้วตัดอีกพันธุ์หนึ่งทิ้ง แต่การปลูกแบบนี้มีข้อเสียที่ทำให้ไม่
สะดวกต่อการเข้าไปดูแลรักษาต้นไม้ผลในแปลงปลูก โดยเฉพาะการใช้
เครื่องจักรกลยิ่งไม่สามารถทำได้เลย

4. แบบหกเหลี่ยมด้านเท่า (hexagonal pattern) รูปแบบการปลูก


ไม้ผลแบบนี้จัดเรียงต้นในลักษณะคล้ายกับมีสามเหลี่ยมด้านเท่า 6 รูป
บรรจุอยู่ในหกเหลี่ยมด้านเท่า การปลูกจะปลูกไม้ประธานไว้ตรงมุมของ
หกเหลี่ยมด้านเท่า และตรงกึ่งกลางของหกเหลี่ยมนี้อีก 1 ต้น จึงจะทำให้
ระยะระหว่างต้นในแถวและระยะระหว่างต้นที่อยู่ในแถวติดกันเท่ากัน
หมด วิธีนี้จะทำให้ได้จำนวนต้นตอพื้นที่มากที่สุด คือ มากกว่าแบบ
สี่เหลี่ยมจัตุรัส และสีเหลี่ยมผืนผ้าประมาณ 15.5 % เมื่อใช้ระยะปลูกเท่า
94

กัน แต่มีข้อเสียคือ ไม่สะดวกต่อการใช้เครื่องจักรกลในการปฏิบัติดูแล


รักษาและการเก็บเกี่ยว เพราะไม่มีเส้นทางที่เครื่องจักรจะวิ่งเข้าทำงานใน
แปลงได้ อีกทั้งยังไม่สามารถปลูกไม้แซมได้ เพราะในรูปแบบนี้จะไม่เหลือ
พื้นที่ว่างเลย

5. แบบคอนทัวร์หรือแบบแนวระดับ (contour pattern) การจัด


เรียงต้นรูปแบบนี้มีการคิดค้นขึ้น เนื่องจากต้องการปลูกไม้ผลในพื้นที่ที่มี
ลักษณะเป็ นเนินลาดชัน ปกติจะใช้รูปแบบนี้เมื่อมีความลาดชันของพื้นที่
เกิน 3% หมายความว่าทุกๆ ระยะทาง 100 เมตร มีความแตกต่างกัน
ของระดับความสูง อาจสูงขึ้นหรือต่ำลง ตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป ซึ่งการปลูก
ไม้ผลอาจจะปรับพื้นที่เป็ นขั้นบันได (terrace) หรือไม่ก็ได้ และที่ขอบของ
แต่ละชั้นอาจจจะยกเป็ นขอบเพื่อป้ องกันมิให้น้ำไหลลงสู่เบื้องล่างตามขั้น
บันไดเร็วเกินไป รวมทั้งช่วยป้ องกันการชะล้างและพังทลายของดิน หากมี
การปลูกพืชคลุมดินบนผิวดิน และปลูกหญ้าแฝกที่บริเวณขอบชั้นบันได
จะช่วยป้ องกันการชะล้างพังทะลายของดินได้ดี แต่การปลูกในรูปแบบนี้
จะไม่สะดวกที่จะนำเครื่องจักรกลเข้าทำงาน และต้องลงทุนในเรื่องระบบ
การให้น้ำ และการดูแลรักษาสูงกว่ารูปแบบอื่น (กวิศร์, 2545)

ระยะปลูกไม้ผล

วัตถุประสงค์ในการจัดระยะปลูกไม้ผล ประกอบด้วย
1. เพื่อให้ใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดหรือเพื่อให้มีจำนวน
ต้นไม้ผลต่อหน่วยพื้นที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็ นไปได้ โดยมีความสอดคล้องกับ
ปั จจัยอื่นๆ ของระบบสวนไม้ผล
95

2. เพื่อให้มีระยะห่างระหว่างต้นไม้ผลแต่ละต้นอย่างพอเหมาะอัน
จะมีผลให้ต้นไม้ผลแต่ละต้นเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงสุด ผลิตผลมี
คุณภาพดี ให้ผลผลิตสม่ำเสมอในทุกๆ ปี มีความสมบูรณ์แข็งแรงและ
มีอายุยืน เนื่องจากได้รับปั จจัยต่างๆ เช่น แสง น้ำ ธาตุอาหาร อย่างเพียง
พอและเหมาะสม เพราะไม่ต้องแข่งขันแก่งแยงกัน
3. เพื่อให้สะดวกและมีประสิทธิภาพในการเข้าทำงาน ปฏิบัติบำรุง
รักษาต้นไม้ผล รวมทั้งการเก็บเกี่ยวและขนส่งผลิตผลออกจากแปลงปลูก
โดยใช้เครื่องจักรกลหรือการใช้ระบบดูแลรักษาต่างๆ เช่น ระบบการให้
น้ำ เป็ นต้น
4. เพื่อให้การปลูกไม้ผลในแปลงปลูกเป็ นไปอย่างมีระเบียบ
เรียบร้อยและสวยงามง่ายต่อการวางแผนปฏิบัติการและตรวจสอบ

การจัดระยะปลูกที่เหมาะสม
1. ให้ดูปริมาณน้ำฝน ในที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยควรปลูกห่างๆ
2. ชนิดของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินเหนียวควรปลูกถี่
เพราะรากไม่แผ่ ทรงพุ่มจะเล็ก ดินที่อุดมสมบูรณ์ดีควรปลูกถี่และใช้การ
ตัดแต่งกิ่งเข้าช่วย เพราะจะปลูกได้มากต้น ใช้ประโยชน์จากดินได้เต็มที่
แต่ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรปลูกห่างๆ เพราะจะได้ปรับปรุงดิน
ให้ดีขึ้นได้
3. ต้นตอ ถ้าต้นตอเตี้ยหรือต้นตอแคระ จะต้องปลูกถี่ แต่ถ้าต้นตอ
ปกติก็ปลูกห่างตามชนิดและพันธุ์ของไม้ผลนั้นๆ
4. การตัดแต่งกิ่งและการจัดโครงสร้าง ถ้ามีการตัดแต่งกิ่งอย่างหนัก
และโครงสร้างแบบปิ รามิดก็อาจจะปลูกถี่ได้ แต่ถ้าตัดแต่งกิ่งน้อยและมี
โครงสร้างแบบแผ่ออกกว้าง เช่น แบบเปิ ดแกนกลาง หรือแบบแปรง ก็
ควรปลูกให้ห่าง
96

5. ระบบการให้น้ำ ถ้ามีแหล่งน้ำมากและสามารถให้น้ำได้มากก็
สามารถปลูกถี่ได้ แต่ถ้าประหยัดน้ำหรือแหล่งน้ำน้อยควรปลูกให้ห่าง (สุร
พล, 2550)

การคำนวณจำนวนต้นไม้ผลที่ปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยม
ผืนผ้า วิธีการคำนวณแบบนี้จะใช้สูตรง่ายๆ ดังนี้

พื้ นที่ปลูก
จำนวนต้น=
ระยะปลูก

ระยะปลูกในรูปแบบการปลูกแบบนี้จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว
เช่น 4 x 4 เมตร ซึ่งตัวเลขตัวแรกหมายถึงระยะระหว่างต้น และตัวเลข
ตัวที่สองหมายถึงระยะระหว่างแถว หากตัวเลขทั้งสองเท่ากันหมายถึงการ
ปลูกแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หากตัวแรกน้อยกว่าตัวหลังหมายถึงการปลูก
แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า สำหรับแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามารถคำนวณได้ ดังนี้
ต้องการหาจำนวนต้นไม้ผลที่ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ (กว้าง 40 เมตร
ยาว 40 เมตร) โดยใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร จะปลูกไม้ประธานเต็มพื้นที่
ได้กี่ต้น

40 × 40
จำนวนต้นปลูกตามหลักการ =
4×4

= 100 ต้น
97

เอกสารอ้างอิง

กวิศร์ วานิชกุล. 2545. ระบบการผลิตและการสร้างสวนไม้ผลเขตร้อน.


สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 174 น.
เกศิณี ระมิงค์วงศ์ และวิรัตน์ ชวาลกุล. 2522. หลักการพืชสวน. ภาค
วิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 358 น.
พีรเดช ทองอำไพ. 2537. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์: แนวทางการ
ใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. วิชัยการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร.
รวี เสรฐภักดี. 2528. การสร้างสวนผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์มิตร
สยาม, กรุงเทพมหานคร. 120 น.
วิจิตร วังใน. 2537. การจำแนกพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 96 น.
สุรนันต์ สุภัทรพันธ์. 2526. สรีรวิทยาของการเจริญเติบโตของพืชสวน.
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สุรพล มนัสเสรี. 2550. หลักการไม้ผล. ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์,
กรุงเทพมหานคร. 343 น.
สุเมษ เกตุวราภรณ์. 2537. ไม้ผลเบื้องต้น. สถาบันเทคโนโลยี
การเกษตรแม่โจ้, เชียงใหม่.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2537. พฤกษศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรง
พิมพ์สหมิตรออฟเซท, กรุงเทพมหานคร. 277 น.
สัมฤทธิ์ เฟื องจันทร์. 2527. หลักวิชาพืชสวน เล่ม 2. กรุงสยามการ
พิมพ์, กรุงเทพมหานคร.
George, A. 2009. Horticulture: Principle and Practices.
Prentice Hall, New York. 760 p.
98

Jackson, D.I. and Looney, N.E. 1999. Temperate and


nd
Subtropical Fruit Production. 2 . W.H. Freeman and
Company, San Francisco.
Parker, R.O. 2000. Introduction to Plant Science. Delmar,
New York.
Ryugo, K. 1988. Fruit Culture: Its Science and Art. John Wiley
& Sons, New York. 344 p.

You might also like