You are on page 1of 11

0

เอกสารประกอบการติว
วิชา การงานอาชีพ 6
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

ชื่อ...........................................................................................ชือ่ เล่น.......................ชั้น..................เลขที่................
1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืช
ความหมายของการขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืช เป็นกระบวนการหรือวิธีการในการทำให้ต้นพืชมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ทั้งโดยการใช้
ส่วนของเมล็ดพืชหรือการเพิ่มจำนวนต้นพืชโดยการใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช เช่น ราก ใบ ลำต้น เป็นต้น
วัตถุประสงค์ในการขยายพันธุ์พืชเพื่อเก็บรักษาพืชพันธุ์ที่มีลักษณะดีไ ว้ไม่ให้สูญ พันธุ์ เป็ นการเพิ่ มปริมาณ
ผลผลิตให้มากขึ้น เป็นการเพิ่มปริมาณต้นพืชที่มีคุณลักษณะที่ดีให้แพร่หลายมากขึ้น หรือเพื่อการจัดจำหน่ายต้นพืชที่ดี
เป็นต้น

ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช
1. ความสำคัญต่อด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืช
พรรณไม้หายากในประเทศ เช่น ชมพูภูคา กุหลาบแดง รางจืดภูคาเต่าร้างดอยภูคา กฤษณาน้อย โมกราชินี
2. ความสำคัญต่อมนุษย์
พืชส่วนใหญ่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะเป็นแหล่งอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

3. ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ
การชยายพันธุ์พืชสามารถช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศให้มี
ปริมาณมากขึ้นทำให้ประเทศมีรายได้จากการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้น

ประเภทของการขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืช โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. การขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด
เป็นการนำเมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ ที่ได้จากการคัดเลือกคุณภาพว่า
เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดี นำมาเพาะลงนในภาชนะที่เตรียมขึ้น เช่น กระ
บังเพาะ ถาดเพาะเมล็ด หรือแปลงเพาะ จนกระทั่งเมล็ดงอกและ
เจริญเติบโตเป็นต้นกล้า แล้วจึงย้ายปลูก นิยมเรียกการขยายพันธุ์
แบบนี้ว่า การเพาะเมล็ด
2

2. การขยายพันธุ์พืชด้วยส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช
เป็นวิธีการเพิ่มจำนวนต้นพืชให้มากขึ้นด้วยการใช้ส่วนต่าง ๆ ของ
พืช ได้แก่ ลำต้น กิ่งก้าน ใบ หรือราก เพื่อให้ได้ต้นพืชที่มีลักษณะ
ต่าง ๆ ได้แก่ ไม้ดอก ไม้ประดับ เช่น กุหลาย ชบา มะลิ จำปี
สายหยุด พืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ไม้ผล เช่น ฝรั่ง มะม่วง
ส้ม ซึ่งวิธีการที่นิยมปฏิบัติกัน ได้แก่ การปักชำ การตอนกิ่ง การ
ทาบกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง และการแยกหน่อ

ข้อดีและข้อเสียของการขยายพันธุ์พืช
 ข้อดีของการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด
1. มีขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อยแต่ได้พืชจำนวนมาก
2. เมล็ดพืชมีขนาดเล็ก จึงสามารถขนส่งได้สะดวกและได้ปริมาณมาก
3. อุปกรณ์ที่ใช้สามารถหาซื้อได้ง่ายในท้องถิ่น มีราคาถูก
4. ต้นพืชที่ได้มีรากแก้วที่หยั่งลึกลงไปในดิน ช่วยให้ต้นพืชมีความมั่นคง
5. ต้นพืชจะมีความต้านทานต่อโรคแมลงศัตรูพืช และทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี
6. ต้นพืชที่ได้จะมีความหลากหลายทำให้โอกาสที่จะได้ต้นพืชที่มีลักษณะดีกว่าต้นแม่
7. การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดสามารถทำได้ตลอดปี
 ข้อเสียของการขายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด
1. ต้นพืชที่ได้มีโอกาสกลายพันธุ์ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะที่ไม่ดี
2. การขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดจะใช้เวลาในการออกดอกติดผลนาน โดยเฉพาะไม้ผล
3. ต้นพืชที่ได้จะมีลำต้นสูงใหญ่ ทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการดูแลรักษาทำได้ยาก
4. พืชบางชนิดเมื่อนำมาขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดจะใช้เวลานานกว่าจะงอก
5. การชยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด ไม่สามารถใช้ได้กับพืชบางชนิด เช่น กล้วย กระเทียม
3

 ข้อดีของการขยายพันธุ์พืชด้วยส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช
1. ต้นพืชที่ได้จะมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ทุกประการ
2. การขยายพันธุ์พืชด้วยส่วนต่าง ๆ ของต้นพืชจะให้ผลผลิตเร็ว
3. ต้นพืชที่ได้จะมีขนาดลำต้นไม่สูงจนเกินไป ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิต
4. ต้นพืชที่ได้จะมีนาดเท่า ๆ กัน
 ข้อเสียของการขยายพันธุ์พืชด้วยส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช
1. มีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน และต้องมีทักษะในการทำมาก่อนจึงจะสามารถทำได้สำเร็จ
2. ใช้อุปกรณ์ค่อนข้างมาก
3. การขนย้ายกิ่งพันธุ์หรือต้นพืชทำได้ลำบากเนื่องจากลำต้นมีขนาดใหญ่และใช้พื้นที่มาก
4. ต้นพืชที่ได้จะมีปริมาณน้อย เนื่องจากการเพิ่มปริมาณต้นพืชแต่ละต้นต้องใช้ระยะเวลานาน
5. ต้นพืชที่ได้จะมีโอกาสเกิดโรคระบาดได้ง่าย เพราะอาจจะติดมากับต้นแม่

ปัจจัยสำคัญในการขยายพันธุ์พืช
1. พันธุกรรมของพืช
ต้นพืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน จึงทำให้การชยายพันธุ์พืชแต่ละชนิด ต้องใช้
วิธีการที่แตกต่างกันออกไป เช่น
 พืชที่ออกรากง่าย
จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ พืชที่เหมาะสมกับการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ เช่น โกสน ไฮเดรนเยีย
เล็บมือนาง ลั่นทม มะลิเทียนทอง โมก ชยา โฮยา พู่ระหง เพเพอโรเมีย
 พืชที่ออกรากยาก
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เช่น มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ ส้มโอ กระท้อน กุหลาบ
ดังนั้นการขยายพันธุ์พืชผู้ขยายพันธุ์พืชควรศึกษาพืชแต่ละชนิด
2. ความสมบูรณ์ของเมล็ดหรือส่วนของพืชที่ใช้ในการขยายพันธุ์
ผู้ที่ขยายพันธุ์พืชจะต้องคัดเลือกเมล็ดหรือส่วนต่าง ๆ ของพืชที่มีคุณภาพเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่มีความแข็งแรง
และทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีโดยเมล็ดที่มีคุณภาพดีจะทำให้งอกได้เร็ว
3. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต
สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ ปริมาณความเข้มของแสง
อุณหภูมิและความชื้น เช่น การขยายพันธุ์พืชในช่วงฤดูฝน พืชจะเจริญเติบโตดี เพราะสภาพอากาศมีความชื้นสูง ดังนั้น
การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธการปักชำและการตอนกิ่งจึงควรทำในช่วงฤดูฝน เพราะจะทำให้พืชออกรากได้ดี
4

4. ความชำนาญของผู้ขยายพันธุ์พืช
การขยายพันธุ์พืชต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ จึงสามารถขยายพันธุ์พืชได้สำเร็จ ซึ่งคุณสมบัติ
ของผู้ขยายพันธุ์พืชที่ดีจะต้องคอยฝึกฝนฝีมืออยู่เสมอเพื่อให้เกิดความชำนาญ และต้องทำด้วยความละเอียดประณีต

โรงเรือนเพาะชำและเครื่องมือที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช

โรงเรือนกระจก
ก่อสร้างด้วยโครงเหล็ก และด้านข้างปิดด้วยกระจก หลังคาส่วนใหญ่นิยม
ทำแบบหลัง คาหน้าจั่ว นิยมใช้กันมากในประเทศที่มีสภาพอากาศหนาว
เพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิและแสงแดดให้เหมาะกับการเจริญเติบโต

โรงเรือนไม้ระแนง
เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์พืชหรือการเพาะปลูกพืชทั่วไปที่พืชต้องการร่ม
เงาหรือการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ โรงเรือนสร้างขึ้นจากวัสดุที่หาง่าย เช่น
ปูน ไม้ แต่ใช้ไม้ระแนงตีบริเวณด้านบนและด้านข้างเพื่อช่วยพรางแสงแดด
ปัจจุบันนิยมใช้สแลนทำหลังคาแทนไม้มากกว่า เนื่องจากสแลนติดตั้งได้ง่าย
มีน้ำหนักเบาและราคาถูก

เครื่องมือที่ใช้ในการชยายพันธุ์พืช
กรรไกรแต่งกิ่ง
กรรไกรตัดแต่งกิ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ กรรไกรตัดแต่งกิ่งที่มีใบมีดตรงและ
ใบมีดโค้ง แต่ที่นิยมใช้งานกันทั่วไปจะเป็นกรรไกรตัดแต่งกิ่ง ที่มีใบมีด
โค้ง เพราะจะทำให้กิ่งที่ตัดไม่มีรอยช้ำ
หลักในการพิจารณาเลือกซื้อกรรไกรตัดแต่งกิ่ง มีดังนี้
1. มีน้ำหนักเบา ขนาดพอเหมาะกับมือผู้ใช้
2. มีใบมีดคม แข็งแรง ไม่บิ่น และไม่เป็นสนิมง่าย
3. มีชิ้นส่วนประกอบครบ ไม่ซับซ้อน สามารถถอดบำรุงรักษาได้ง่าย
4. ใช้งานสะดวกสามารถปิดและล็อกได้ด้วยมือเพียงข้างเดียว
5

การใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
1. กิ่งไม้ที่จะทำการตัดกิ่ง ควรเป็นกิ่งที่มีขนาดเหมาะกับขนาดของกรรไกรตัดแต่งกิ่งที่ใช้
2. ขณะที่ตัดกิ่งไม้ ควรใช้บริเวณตรงกลางใบมีดตัดเพื่อทำให้กิ่งที่ตัดขาดได้ง่ายขึ้น
3. ถ้ากิ่งที่จะตัดเป็นกิ่งไม้ที่มีเนื้อแข็งผู้ใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งควรตัดในลักษณะเฉียงโดยทำมุมกับกรรไกรประมาณ
45-60 องศา
4. การใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ควรจับกรรไกรให้ค่อนไปด้านปลายของด้าม
5. หลังจากการใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งผู้ใช้ควรทำความสะอาดทุกครั้งและเก็บให้เรียบร้อย
การดูแลรักษากรรไกรตัดแต่งกิ่ง
1. ใช้นิ้วปลดล็อกออก ให้ใบมีดแยกออกจากคานรับ
2. ถอดตัวสปริงที่ด้ามออก
3. ใช้ประแจไขนอตที่ยึดไว้ออก ถอดสกรูว์ และถอดคานรับออกจากใบมีด
4. นำใบมีดลับกับกระดาษทราย โดยวางใบมีดด้านหลังถูกับกระดาษทรายไปมาจนกว่าใบมีดจะคม
5. หลังจากที่ใบมีดคมแล้ว จึงใช้ใบมีดด้านหน้าถูกับกระดาษทราย ประมาณ 2-3 ครั้ง
6. ใช้กระดาษทรายถูบริเวณคานรับและบริเวณที่มีสนิมออกให้หมด
7. เมื่อทำทุกอย่างเสร็จแล้ว ให้ประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ กลับเข้าที่เดิม

มีดขยายพันธุ์
หลักในการพิจารณาเลือกซื้อกรรไกรตัดแต่งกิ่ง มีดังนี้
1. มีน้ำหนักเบา ขนาดพอเหมาะกับมือผู้ใช้
2. ใบมีดคม แข็งแรง ไม่บิ่นง่าย และไม่เป็นสนิมง่าย
3. ใบมีดมีโหนกโค้งมนอยู่บริเวณสันมีด และปลายด้ามอีกฝั่ง ต้องมี
เขาติดอยู่
4. ใบมีดสามารถพับเก็บได้

ส่วนประกอบที่สำคัญของมีดขยายพันธุ์พืช
ส่วนที่ 1 ใบมีด ได้แก่ คมมีด โหนกสันมีด ปลายมีด
ส่วนที่ 2 ด้ามมีด ได้แก่ สปริงพับ ร่องเก็บมีด
ส่วนที่ 3 เขา เป็นส่วนที่อยู่ติดกับปลายด้ามทำด้วยโลหะ พลาสติก หรือกระดูกสัตว์เหมาะสำหรับใช้ในการ
เปิดหรือลอกเปลือกกิ่งไม้ และเนื้อเยื่อเจริญ
การใช้มีดขยายพันธุ์พืช
มีดขยายพันธุ์พืช ใช้สำหรับเฉือนเปลือกกิ่งไม้ ดังนั้น คมมีดจะต้องอยู่ในสภาพที่คมพร้อมใช้งานเสมอและต้อง
ไม่เป็นสนิม
6

การดูแลรักษามีดขยายพันธุ์พืช
การลับมีดด้วยหินลับมีด
1. นำหินลับมีดไปแช่ในน้ำทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ก่อนจะนำมาลับ
2. วางมีดชยายพันธุ์พืชให้ทำมุมประมาณ 30 องศากับหินลับมีด (ให้วาง
มีดด้านที่เอียง)
3. ใช้มือข้างที่ถนัดจับด้ามมีดให้แน่น ส่วนมืออีกข้างให้ใช้ปลายนิ้วกดที่
บริเวณปลายมีดเอาไว้ จากนนั้นลับให้เต็มหน้ามีด โดยการเคลื่อนมีดถู
กับหินลับมีดในแนวขึ้นลง พร้อมกับหยดน้ำลงหินบ่อย ๆ ขณะลับมีด
4. ตรวจเช็กความคมของมีดที่ลับ โดยจะต้องคมจลอดหน้ามีด
7

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด
ความหมายของการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด
การขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด เป็นวิธีการเพิ่มจำนวนต้นพืชให้มากขึ้นด้วยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ที่ดีมาขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดนิยมใช้พืชประเภทไร่ พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้ผลบางชนิด
ไม้ประดับ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ ยาสูบ งา เป็นต้น
ไม้ประดับ เช่น พืชตระกูลหมาก บอนสี พตระกูลปาล์ม เป็นต้น
ไม้ผล เช่น น้อยหน่า ขนุน มะพร้าว ทับทิม ส้ม มังคุด เป็นต้น
พืชผัก เช่น มะเขือเทศ คะน้า ผักบุ้ง พริก ผักกาดหอม เป็นต้น

ส่วนประกอบที่สำคัญของเมล็ดพืช
1. เปลือกหุ้มเมล็ด
เป็น ส่วนที่ ช่วยในการป้ องกัน อัตรายให้กับ ต้น อ่อนหรือคั พภะ ทำหน้ าที่ควบคุม การดูดซึ มน้ำ อากา และ
ป้องกันไม่ให้โรคและแมลงทำลายเมล็ด พืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะของเปลือกหุ้มเมล็ดที่แตกต่างกัน
2. ต้นอ่อนหรือคัพภะ
เป็นต้นพืชที่มีขนาดเล็ก ๆ ที่เจริญอยู่ภายในเมล็ด ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 4 ส่วน ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ
และยอดอ่อน เมื่อนำเมล็ดไปเพาะ ต้นอ่อนหรือคัพภะก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นกล้า
3. อาหารสะสมภายในเมล็ด
เป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารไว้ให้ต้นอ่อนหรือคัพภะใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งพืชแต่ละชนิด
จะเก็บอาหารสะสมในเมล็ดที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งรูปแบบการสะสมอาหารเป็น 3 ประเภท คือ การเก็บสะสม
อาหารไว้ในใบเลี้ยง การเก็บสะสมอาหารไว้ในเอนโดสเปิร์ม การเก็บสะสมอาหารไว้ในเพอริสเปิร์ม

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการงอกของเมล็ด
การขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ดจะประสบผลสำเร็จทำให้เมล็ดงอกได้จะต้องอาศัยปัจจัยที่เหมาะสม ดังนี้
8

1. เมล็ดพืช
เมล็ดพืชจะต้องยังมีชีวิตอยู่ คือ ต้นอ่อนหรือคัพภะที่อยู่ภายในเมล็ดจะต้องมีชีวิตและพร้อมที่จะเจริญเติบโต
หรืองอกงามออกมาเป็นต้นกล้า การมีชีวิตของเมล็ดนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมระหว่างการเก็บรักษา ดังนั้น ก่อน
การเพาะเมล็ดควรจะต้องทดสอบเปอร์เซ็ นต์การงอกของเมล็ดก่อนนอกจากนี้ควรพิ จารณาคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ มี
ลักษณะดี เพื่อให้การเพาะเมล็ดประสบผลสำเร็จ
2. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเมล็ด วัสดุที่ใช้ในการเพาะเมล็ดนับว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่จะทำให้เมล็ดงอกออกมา
เป็นต้นกล้าได้ดีหรือไม่ โดยวัสดุที่ใช้ในการเพาะที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ด เช่น สามารถ
อุ้มน้ำหรือกักเก็บน้ำไว้ได้ดีหรือถ้าวัสดุเพาะอุ้มน้ำไม่ดีก็จะทำให้เมล็ดไม่งอก ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี และต้องมี
ค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสม (ค่า pH ประมาณ 7)
น้ำหรือความชื้น เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการงอกของเมล็ดอย่างมาก ถ้าเมล็ดพืชได้รับน้ำหรือความชื้นที่
เหมาะสมเมล็ดก็จะงอกเป็นต้นกล้าได้ดี น้ำหรือความชื้นมีบทบาทที่สำคัญ ต่อการงอกของเมล็ด เช่น เป็นตัวที่ทำให้
เปลือกของเมล็ดพืชที่แข็งอ่อนตัวลงหรือเกิดรอยแตกร้าวขึ้น จึงทำให้น้ำและออกซิเจนสามารถเข้าไปภายในเมล็ดพืชได้
แล้วไปละลายอาหารสะสมภายในเมล็ด ต้นอ่อนหรือคัพภะก็เจริญเติบโตขึ้นเป็นต้นกล้า
อุณ หภู มิ เป็น ปัจจั ยที่ส ำคัญ รองลงมาจากน้ ำหรือความชื้น โดยอุณ หภูมิ ที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ เมล็ ดเกิ ด
กระบวนการงอกได้เร็วขึ้น เมล็ดพืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิที่ใช้ในการงอกแตกต่างแต่หากเมล็ดพืชได้รับอุณหภูมิที่
สูงหรือต่ำเกินไปเมล็ดพืชจะไม่งอก อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 15-30 องศาเซลเซียส
ออกซิเจน เมล็ดพืชทั่วไปจะสามารถงอกได้ดีเมื่อมีอากาศหรือมีก๊าซออกซิเจน เพราะต้นอ่อนหรือคัพภะที่อยู่
ภายในเมล็ดจะต้องการใช้ก๊าซออกซิเจนในการสร้างพลังงาน เพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการงอกของเมล็ด
เช่น การย่อย
แสง มีควาสำคัญต่อการงอกของเมล็ด โดยเฉพาะในระยะแรกของการงอก ต้นอ่อนหรือคัพภะจะต้องได้รับแสง
ที่เหมาะสมจึงจะเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่หากได้รับแสงไม่เหมาะสมจึงจะเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่
สมบูรณ์แข็งแรง แต่หากได้รับแสงไม่เหมาะสมต้นกล้าที่งอกจะมี ลักษณะผอม ลำต้นยืดยาว สีขาวซีด ใบห่อลู่ ไ ม่คลี่
ปลายยอดจะงอเป็นตะขอ ดังนั้น การเพาะเมล็ดไม่ควรกลบเมล็ดลึกจนเกินไป เพราะจะทำให้เมล็ดไม่งอก หรืองอกเป็น
ต้นกล้าที่มีลักษณะไม่ดี
เมล็ดพืชสามารถแบ่งตามความต้องการใช้แสงในการงอกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. เมล็ดพืชที่ต้องการใช้แสงในการงอก เช่น พริก ผักกาดหอม ผักกาดขาวปลี มะเขือเทศ เป็นต้น
2. เมล็ดพืชที่ไม่ต้องการแสงในการงอก เช่น แตงกวา ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาดเขียว กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว บวบ
เหลี่ยม เป็นต้น
9

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์พืช
หลักในการพิจารณาคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้ได้เมล็ดที่มีคุณภาพดี ดังนี้
1. พันธุกรรมของพืช
เป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ โดยผ่านกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพจนได้เมล็ดพันธุ์แท้ ไม่มี
สายพันธุ์อื่นปะปน
2. แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์
การจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ควรเลือกซื้อจากร้านค้าหรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์พืชที่มี
การรับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น มีการแจ้งเปอร์เซ็นต์การงอก ความบริสุทธิ์ของเมล็ด
3. พันธุกรรมของพืช
การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีลักษณะดี สามารถพิจารณาได้จาก 3 วิธี ดังนี้
การสังเกตด้วยสายตา สามารถตรวจสอบจากการสัง เกตลักษณะภายนอกของเมล็ดพั นธุ์ เช่น เป็น เมล็ ด
สมบูรณ์ มีขนาดสม่ำเสมอ ไม่ลีบบาง ไม่แตกหักเสียหาย ไม่มีรอยกัดแทะจากแมลง มีสีและรูปร่างตรงตามสายพันธุ์
เป็นเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ไม่นานเกินไป โดยสังเกตได้จากสีของเมล็ด เมล็ดที่ใหม่จะมีสีสดใสกว่าเมล็ดที่เก็บไว้นานแล้ว
การตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีการที่ไม่สามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าแต่จะสามารถตรวจสอบ
คุณภาพของเมล็ดจาการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดจากการตรวจสอบในห้องปฏิบัติการโดยนักวิชาการเฉพาะทาง
เท่านั้น เช่น เป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธิ์ ปราศจากโรค เป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง
การทดสอบการงอกของเมล็ด เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ขยายพันธุ์พืชมีความมั่นใจในคุณภาพเมล็ดมากขึ้นเพื่อให้
ได้จำนวนต้นกล้าตามที่ต้องการด้วยวิธีการทดสอบเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ด เช่น การเพาะในกระบะทราย การเพาะ
ในกระดาษทิชชู เป็นต้น เมื่อนำไปเพาะจะมีการงอกที่ดี งอกได้เร็ว สม่ำเสมอ และมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง ต้นกล้าที่ได้มี
ความแข็งแรงเจริญเติบโตดี
การทดสอบการงอกของเมล็ดสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
1. การแช่เมล็ดในน้ำสะอาด เป็นวิธีการทดสอบการงอกของเมล็ดที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ในการ
ทดสอบใช้เวลาน้อยก็ทราบว่ามีจำนวนเมล็ดที่มีคุณภาพอยู่จำนวนเท่าใด
อุปกรณ์ที่ใช้
1. เมล็ดพืช
2. กะละมังหรือถัง
3. น้ำสะอาด
2. การทดสอบหาอั ต ราการงอกของเมล็ ด การหาอั ต ราการงอกของเมล็ ด เป็ น วิ ธีที่ นิ ย มใช้ ค ำนวณหา
เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ด โดยการหาอัตราส่วนของเมล็ดที่งอกต่อจำนวนเมล็ดที่นำมาใช้ทดสอบสามารถคำนวณได้
จากจำนวนเมล็ดที่งอกทั้งหมด หารด้วยจำนวนเมล็ดทั้งหมดที่ใช้ทดสอบ (100 เม็ด) ก็จะทำให้ทราบว่าเปอร์เซ็นต์การ
งอกของเมล็ดพืชเป็นอย่างไร วิธีการทดสอบปฏิบัติได้ดังนี้
10

วิธีการทดสอบ
1. ใช้ดินสิขีดเส้นเป็นตารางบนกระดาษทิชชูจำนวน 100 ช่อง แล้ววางกระดาษที่ขีดเส้นแล้วลงบน
ภาชนะที่ใช้ทดสอบ รดน้ำให้ชุ่ม
2. สุ่มหยิบเมล็ดที่จะทดสอบ จำนวน 100 เมล็ด ใส่ลงไปในช่องบนกระดาษทิชชู (ผ้าสำลีหรือทราย)
ช่องละ 1 เมล็ด ทั้ง 100 ช่อง
3. นำวัสดุซับน้ำปิดทับบนภาชนะทดสอบ
4. นำภาชนะที่ใช้ทดสอบวางไว้ในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
4. เมล็ดพันธุ์พ้นจากสภาพการพักตัว
โดยทั่วไปเมื่อเมล็ดได้รับปัจจัยที่เหมาะสมต่อการงอก ซึ่งได้แก่ น้ำ อุณหภูมิ ออกซิเจน แสง ต้นอ่อนหรือคัพภะ
ที่อยู่ภายในเมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่มีเมล็ดบางชนิดแม้จะได้รับปัจจัยที่เหมาะสม
ก็ไม่สามารถงอกได้ เรียกเมล็ดประเภทนี้ว่า เมล็ดพักตัว การพักตัวของเมล็ดมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ให้อยู่รอด
และเพื่อป้องกันการถูกทำลายจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
การทำเมล็ดพ้นจากสภาพการพักตัวก่อนที่จะนำมาเพาะหรือขยายพันธุ์ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การตัดเมล็ด
2. การขัดหรือฝนเมล็ด
3. การทุบเมล็ด
4. การแช่เมล็ดในน้ำ
5. การแช่เมล็ดในน้ำอุ่น

วิธีการขยายพันธุ์พืชด้วยเมล็ด
การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด สามารถทำได้ 2 วิธี
1. การเพาะเมล็ดในภาชนะ
1. การเตรียมภาชนะเพาะ
2. การใส่วัสดุเพาะ
3. การเพาะเมล็ดในภาชนะ
4. การปิดทับภาชนะด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
5. เมือ่ เมล็ดเริ่มงอกให้นำกระดาษหนังสือพิมพ์ออก
2. การเพาะเมล็ดในแปลง
1. พรวนดินและปรับผิวดินให้เรียบ
2. รดน้ำหลังการเพาะเมล็ดพันธุ์
3. การย้ายต้นกล้าลงในแปลงปลูก
4. การดูแลรักษาผักให้เจริญเติบโต

You might also like