You are on page 1of 30

เอกสารเผยแพร่ ทางวิชาการ

ปี ที่ 1 ฉบับที่ 1 2552

กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาการปลูกพืช
ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาห้ วยฮ่ องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
คํานํา

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอดอยสะเก็ด


จังหวัดเชียงใหม่ เป็ นศูนย์ศึกษาฯ ที่เน้นรู ปแบบการพัฒนาป่ าไม้ แหล่งนํ้า ที่สอดคล้องกับการทํา
เกษตรกรรมอย่างยัง่ ยืน โดยมุ่งความพอเพียงเป็ นหลักในการสร้างอาชีพและพึ่งพาตนเองได้ ฟื้ นฟู
และพัฒนาพื้นที่บริ เวณต้นนํ้าลําธารของภาคเหนือให้เหมาะสมตามสภาพภูมิสงั คม ทั้งด้าน
การศึกษาพัฒนาป่ าไม้ การอนุรักษ์ดินและนํ้า ประมง ปศุสตั ว์ และการเกษตรกรรมต่าง ๆ เสมือน
“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ” ทําหน้าที่เผยแพร่ ถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ตามแนวพระราชดําริ
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนําไปปรับใช้กบั การประกอบอาชีพ โดยเน้นรู ปแบบการทําเกษตร
ผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับเศรษฐกิจปัจจุบนั เหมาะสมกับพื้นที่

กุมภาพันธุ์ 2552
สารบัญ

หน้ า

บทนํา 1

การจําแนกไม้ ผล
- แบ่งตามสภาพภูมิอากาศ 1
- แบ่งตามพันธุ์และอายุการตกผล 1
- แบ่งตามขนาดของทรงพุม่ 2

การเลือกพืน้ ทีป่ ลูก


- สภาพภูมิอากาศ 2
- ดิน 2
- แหล่งนํ้า 3

การเตรียมพืน้ ที่
- ระยะปลูก 3
- การเลือกกิ่งพันธุ์ 3
- การเตรี ยมหลุมปลูก 3
- การปลูก 3

การดูแลรักษา
- การใส่ ปุ๋ย 4
- การให้น้ าํ 5
- การคํ้ากิ่ง 5
- การตัดแต่งกิ่ง 6
- การทําสาวไม้ผล 7
- การปลูกพืชคลุมดิน ในสวนไม้ผล 9
- การกําจัดวัชพืช 9
หน้ า

โรคแมลงศัตรู ของไม้ ผล
แมลงศัตรู ไม้ ผล
- แมลงปากกัด 9
- แมลงปากดูด 10
- การป้ องกันกําจัดแมลงศัตรู ไม้ผล 12

โรคของไม้ ผล 12
- การป้ องกันกําจัดโรค 14
- การเก็บเกี่ยว 14

ตัวอย่ างปฏิทนิ การดูแลรักษาไม้ ผล 15


- ชมพู่ 15
- น้อยหน่า 15
- กระท้อน 16
- ลําไย 16
- ส้มโอ 18
- มะม่วง 18

การขยายพันธุ์ไม้ ผล 19

วิธีการและขั้นตอนการขยายพันธุ์
- การปั กชํา 19
- การตอนกิ่ง 20
- การทาบกิ่ง 21
- การติดตา 22
- การเสี ยบยอด 23

ความหมายหรือแนวคิดการจัดการสวนไม้ ผลแบบผสมผสาน 24
- แนวคิดการจัดการสวนไม้ผล 24
- ข้อดีการทําไม้ผลผสมผสาน 24
- ประโยชน์การทําไม้ผลผสมผสาน 24
เอกสารเผยแพร่ ทางวิชาการ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
อําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ การดําเนินงานของศูนย์ฯ สู่ประชาชน
เจ้ าของ : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ผู้อาํ นวยการจัดทํา : นายประดับ กลัดเข็มเพชร
ทีป่ รึกษา : นายเฉลิมเกรี ยติ แสนวิเศษ
: นายสุ วฒั น์ เทพอารักษ์
: นายดนุชา สิ นธวานนท์
: นายปวัตร์ นวะมะรัตน
: นางฉันทนา สุ วรรณธาดา
บรรณาธิการ : นายสุ ทดั ปิ นตาเสน
กองบรรณาธิการ : นายชัยชาญ สังข์แก้ว
: นางอรทัย ธรรมเสน
: นางสาวศศิธร มหาเสน
: นายอดุลย์ มีสุข
: นายเจริ ญ กิติวรรณ
: นางสาวกมลวรรณ ขวัญยาว
เอกสารอ้างอิง

1. ชัยพร สารคริ ต. การสร้างสวนผลไม้. พ.ศ.2545. พิมพ์ครั้งที่ 1 : โครงหนังสื อเกษตรชุมชน.


กรุ งเทพ. 159 หน้า
2. รวี เสรฐภักดี. 2526. การสร้างสวนไม้ผล. กรุ งเทพมหานคร. โรงพิมพ์มิตรสยาม. 120 หน้า
3. วัฒนา สรรยาธิปัติ. 2527. การปลูกไม้ผล ศูนย์ส่งเสริ มและฝึ กอบรมการเกษตรแห่งชาติ
สํานักส่ งเสริ มและฝึ กอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4. วัฒนา เสถียรสวัสดิ์. 2535. หลักการไม้ผล ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
5. วิจิตร วังใน และปวินปุณศรี . 2537. ไม้ผล สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน เล่ม 5 รุ่ งศิลป์ การ
พิมพ์ กรุ งเทพมหานคร.
6. พิจิตร โชคพัฒนา. 2545. การปลูกไม้ผล. พิมพ์ครั้งที่ 1: โครงการหนังสื อเกษตรชุมชน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุ งเทพฯ. 360 หน้า.
7. อนงค์วรรณ เทพสุ ทิน และ กรุ ณา ชิดชอบ. เทคนิคการขยายพันธุ์พืช. ศูนย์การเรี ยนรู ้ปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริ และศูนย์สาธิตและส่ งเสริ มงานศิลปาชีพฯ
ภาคเหนือ. แผ่นพับ.
1

บทนํา

ไม้ผล จัดเป็ นพืชสวนที่สร้างอาชีพทํารายได้ให้กบั ชาวสวนในระยะยาว และที่สาํ คัญความ


ต้องการไม้ผลทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่ อย ๆ เพราะได้รับความนิยมทั้งเรื่ อง
ของรสชาติ ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่มีความเอื้ออํานวยต่อการปลูกไม้ผลมาก แบ่งตาม
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น พื้นที่ภาคเหนือส่ วนใหญ่เป็ นพื้นที่สูง มีสภาพอากาศหนาวเย็น ไม้ผล
ที่สามารถปลูกได้ส่วนใหญ่เป็ นไม้ผลเขตหนาว กึ่งหนาว ได้แก่ สตรอเบอรี่ พลับ ท้อ บ๊วย สาลี่
ลิ้นจี่ ลําไย ฯลฯ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็ นไม้ผลเขตร้อน ได้แก่ มะม่วง
มะละกอ แก้วมังกร ฯลฯ ภาคใต้และตะวันออกตามชายฝั่ง ไม้ผลที่เหมาะสมเป็ นไม้ผลที่ตอ้ งการ
ปริ มาณนํ้าฝนที่เพียงพอต่อความต้องการในการเจริ ญเติบโต ได้แก่ ทุเรี ยน มังคุด เงาะ สละ ฯลฯ
จะเห็นได้วา่ ประเทศไทยมีผลไม้ตามฤดูกาลที่ออกจําหน่ายสู่ ทอ้ งตลาดได้ตลอดปี
การทําสวนไม้ผลแต่เดิมปลูกเป็ นพืชเชิงเดี่ยว ให้ผลผลิตคราวละมาก ๆ แต่เนื่องจากการ
ทําเกษตรกรรมมีความแปรปรวนหลายปัจจัย เช่น อากาศ ปริ มาณนํ้าฝน ความอุดมสมบูรณ์ ของดิน
อุณหภูมิ และการผันแปรของราคาผลผลิตที่ไม่คงที่ ซึ่งบางปี ให้ผลผลิตมากราคาตกตํ่า บางปี ให้ผล
ผลิตน้อยราคาสู ง ปั จจุบนั ได้มีการเปลี่ยนรู ปแบบการทําสวนไม้ผล โดยนําเทคโนโลยีต่างๆ วิธีการ
ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้เพื่อลดความเสี่ ยงในเรื่ องของราคา ดังเช่น การทําสวนไม้ผลแบบ
ผสมผสาน คือ การปลูกไม้ผลหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน มีวตั ถุประสงค์เพื่อการใช้ที่ดินให้เกิด
ประโยชน์สูงสุ ด การเก็บเกี่ยวผลผลิตสามารถเก็บหมุนเวียนได้ตลอดปี ทําให้เกษตรกรมีรายได้
ต่อเนื่อง

การจําแนกไม้ ผล
แบ่ งตามสภาพภูมิอากาศ ได้ ดังนี้
1. ไม้ผลเขตร้อน เช่น เงาะ ทุเรี ยน มะม่วง มังคุด ฯลฯ
2. ไม้ผลกึ่งร้อน เช่น องุ่น ลิ้นจี่ ลําไย ฯลฯ
3. ไม้ผลเขตหนาว เช่น ท้อ พลับ สาลี่ สตรอเบอรี่ ฯลฯ

แบ่ งตามพันธุ์และอายุการตกผล
การเลือกพันธุ์ ต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และวัตถุประสงค์ของการทําสวนไม้ผล พันธุ์
ของไม้ผลแต่ละชนิดแบ่งตามอายุของการติดผล เช่น พันธุ์เบา พันธุ์กลาง พันธุ์หนัก เป็ นต้น
2

แบ่ งตามขนาดของทรงพุ่ม จําแนกได้ 3 ชนิด


1. ไม้ผลขนาดเล็กตํ่ากว่า 3 เมตร เช่น น้อยหน่า องุ่น มะละกอ กล้วย ทับทิม ฯลฯ
2. ไม้ผลขนาดกลาง เช่น ชมพู่ ฝรั่ง ส้ม ละมุด ลองกอง ฯลฯ
3. ไม้ผลขนาดใหญ่ เช่น ทุเรี ยน ลําไย มะม่วง เงาะ ลิ้นจี่ ขนุน ฯลฯ

การเลือกพืน้ ทีป่ ลูก


การทําสวนไม้ผลสิ่ งแรกของการลงมือทําสวนไม้ผล คือ การเลือกพื้นที่ที่จะสร้างสวน
เนื่องจากการทําสวนไม้ผลนั้นเป็ นการลงทุนในระยะยาวและต้องใช้เงินทุนในการดําเนินการ
ค่อนข้างสู ง จึงจําเป็ นต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน เพื่อให้การปลูกได้ผลตอบแทน
อย่างคุม้ ค่า มีปัจจัยดังนี้

ทําเลทีต่ ้งั สวน


ต้องอยูใ่ กล้ตลาด สะดวกและทันเวลาต่อการขนส่ ง

สภาพภูมิอากาศ
1. อุณหภูมิ เป็ นตัวกําหนดชนิดของไม้ผลที่จะปลูก เพื่อสร้างอาหารสะสมในการติดดอก
ผลิตลูก
2. ปริมาณนํา้ ฝน เป็ นตัวชี้วดั ในการเลือกตัดสิ นใจปลูกไม้ผลชนิดใดที่เหมาะสมต่อการ
เจริ ญเติบโตและความต้องการนํ้าของพืช
3. ลม ลมอ่อนมีส่วนช่วยในการผสมเกสรต้นไม้ให้มีการติดผลสมํ่าเสมอ ลมแรงเป็ น
อุปสรรคต่อการทําสวนไม้ผล คือ หักโคนสร้างความเสี ยหายให้กบั สวนไม้ผลได้

ดิน
ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกไม้ผลต้องมีอินทรี ยวัตถุสูง ความเป็ นกรดเป็ นด่าง ( pH) อยูใ่ น
ระดับกลาง ระบายนํ้าดี ความลึกของหน้าดินไม้นอ้ ยกว่า 1.5 เมตร
(ข้อแนะนํา ก่อนทําสวนไม้ผลควรทําการวิเคราะห์ดินก่อนปลูก เพื่อทราบธาตุอาหารใน
ดิน และสามารถประมาณการใส่ ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสม)
3

แหล่งนํา้
นํ้าเป็ นปั จจัยสําคัญของการทําสวนไม้ผล พืชต้องการนํ้าเพื่อไปใช้ในการละลายธาตุอาหาร
ต่าง ๆ บํารุ งต้น ต้องมีแหล่งนํ้าที่เพียงพอสําหรับช่วงระยะที่พืชต้องการ

การเตรียมพืน้ ที่
ควรมีการไถตากดินเพื่อป้ องกันโรค ไข่ของแมลง เมล็ดวัชพืช ที่อาจติดมาด้วย และปรับ
พื้นที่ให้เสมอกัน

ระยะปลูก
ระยะปลูกไม้ผลมีความแตกต่างกันตามขนาดทรงพุม่ จําแนกได้ดงั นี้
- ทรงพุม่ ขนาดใหญ่ ระยะห่ าง 8 -12 เมตร เช่น ลําไย ลิ้นจี่ มะม่วง ฯลฯ
- ทรงพุม่ ขนาดกลาง ระยะห่าง 4 - 8 เมตร เช่น ชมพู่ ฝรั่ง ส้ม ละมุด ฯลฯ
- ทรงพุม่ ขนาดเล็ก ระยะห่ าง 1 – 2 เมตร เช่น กล้วย มะละกอ น้อยหน่า
ฯลฯ
การเลือกกิง่ พันธุ์
กิ่งพันธุ์ที่จะนํามาปลูกควรมีลกั ษณะที่แข็งแรง ตรงตามพันธุ์ และปราศจากโรค กิ่งพันธุ์ดี
ที่ได้จากการตอนกิ่งต้องมีลาํ ต้นตั้งตรง มีจาํ นวนใบที่สมํ่าเสมอกัน

การเตรียมหลุมปลูก
ขนาดของหลุม กว้าง 1 เมตร x ยาว 1 เมตร xลึก 50 เซนติเมตร แยกดินออกเป็ น 2 ชั้น คือ
ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง

การปลูก
- นําส่ วนผสมประกอบด้วยปุ๋ ยคอกหรื อปุ๋ ยหมัก คลุกเคล้ากับดินชั้นบน จากนั้น ใส่ รองก้น
หลุมผสมคลุกเคล้ากับดินชั้นล่างอีกรอบ
- นํากิ่งพันธุ์ดีลงปลูกแล้วกลบดินชั้นบน
- ปักหลักไม้ยดึ แล้วใช้เชือกมัดเพื่อให้ตน้ ตั้งตรงเพื่อป้ องกันกิ่งหักจากลมแรง
4

ตัวอย่ างแผนผัง/รู ปแบบการปลูกไม้ ผลผสมผสาน พืน้ ที่ 1 ไร่

การดูแลรักษา

การใส่ ปุ๋ย
ควรใส่ บริ เวณรอบทรงพุม่ ไม่ควรใส่ ที่โคนต้นเพราะจะทําให้รากได้รับอันตราย

การให้ ปุ๋ย
แบ่งตามระยะการให้ปุ๋ย มี 4 ระยะ ดังนี้
5

1. ระยะทีย่ งั ไม่ ให้ ผลผลิต


เป็ นระยะที่พืชต้องการไนโตรเจนสูงเล็กน้อย เป็ นระยะที่พืชต้องการสร้างใบ และสร้าง
อาหารสะสมในการออกดอกติดผล
- ใส่ ปุ๋ยคอกหรื อปุ๋ ยหมัก ควบคู่กบั ปุ๋ ยเคมี
- ปุ๋ ยเคมี ใช้สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรื อ ใช้สูตร 15-15-15 ผสมกับปุ๋ ยสูตร 46-0-0
อัตราส่ วน 3:1
- อัตราการใส่ ปุ๋ยเคมี ให้ใช้อายุตน้ หารด้วย 2 เช่น ไม้ผลอายุ 1 ปี ให้ใส่ ครึ่ งกิโลกรัม โดย
แบ่งใส่ 2 ครั้ง ช่วงต้น ฤดูฝนและปลายฤดูฝน

2. ระยะทีเ่ ริ่มให้ ผลผลิต


เป็ นระยะที่พืชต้องการสร้างดอก ควรเน้นธาตุฟอสฟอรัส และให้ปุ๋ยเสริ มทางใบด้วยอีก
ทางหนึ่ง แบ่งออกเป็ น 2 ระยะ ดังนี้
2.1 ระยะก่อนออกดอก
2.2 ปลายฤดูฝนเมื่อฝนทิ้งช่วง ให้ใส่ ปุ๋ยสูตร 9-24-24 หรื อ 12-24-12 อัตราส่ วนที่ใช้
ประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อต้น อาจให้ปุ๋ยทางใบเสริ มด้วยอีกทางหนึ่ง เพื่อช่วยในการแทงช่อดอก

3. ระยะทีก่ าํ ลังติดผล
ในระยะแรกของการติดผลพืชต้องการไนโตรเจนในการเจริ ญเติบโตของผล เพื่อเพิ่มขนาด
ของผล ภายหลังติดผลใหม่ ๆ เน้นธาตุโปแตสเซียม ช่วยเพิ่มคุณภาพและรสชาติ ใส่ ปุ๋ยสูตร 15-
15-15 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากนั้นให้ใส่ ปุ๋ยสู ตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม /ต้น ควร
ใส่ 2 ครั้ง

4. ระยะหลังเก็บเกีย่ ว
ทําการตัดแต่งกิ่งและใส่ ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรื อ 15-15-15 ผสมกับ 46-0-0
อัตราส่ วน 3: 1 ใส่ 2-3 กิโลกรัมต่อต้น (ขึ้นอยูก่ บั ขนาดของทรงพุม่ ) และใส่ ปุ๋ยคอกหรื อปุ๋ ยหมัก
ตามอัตราส่ วน 50 กิโลกรัมต่อต้น การใส่ ควรอยูใ่ นช่วงฤดูฝน

การให้ นํา้
แบ่งเป็ น 2 ช่วง
1. ช่วงระยะที่ไม้ผลต้องการนํ้ามากที่สุด มี 2 ช่วง คือ ระยะที่มีการเจริ ญเติบโตทางกิ่งใบ และ
ระยะที่ตน้ กําลังติดผล
2. ช่วยระยะที่ไม้ผลต้องการนํ้าน้อย คือ ช่วงก่อนออกดอก
6

การคํา้ กิง่
การคํ้ากิ่งมีวตั ถุประสงค์ 2 อย่าง คือ ช่วยป้ องกันกิ่งฉีกขาด และระยะที่ติดผล ควร
ยกระดับของผลให้สูงจากพื้นดิน เพื่อป้ องกันโรคแมลงเข้าทําลาย การคํ้ากิ่งทําได้ 2 แบบดังนี้
1. การคํ้ากิ่งแบบคอก หรื อนัง่ ร้าน นิยมทํากับส้มเขียวหวาน
มะนาว ลําไยและลิ้นจี่ ลักษณะล้อมเป็ นรู ปสามเหลี่ยม
รองรับส่ วนของกิ่งใหญ่ๆ ไว้ อาจทําเป็ น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่ง
พาดอยูบ่ นนัง่ ร้านเป็ นระดับไป
2. การคํ้าแบบเฉพาะกิ่ง ส่ วนใหญ่ใช้ไม้รวกคํ้าตามความ
เหมาะสมของขนาดกิ่ง

การตัดแต่ งกิง่

ประโยชน์ ของการตัดแต่ งกิง่ คือ


- เพื่อให้ตน้ ไม้มีโครงสร้างแข็งแรงและสะดวกในการปฏิบตั ิงานในสวน
- เพื่อสร้างอาหารสะสมและมีการออกดอกติดผลสมํ่าเสมอ
- ป้ องกันการระบาดของโรคแมลง

การตัดแต่ งกิง่ แบบต่ างๆ

ตัดยอดกลางออก

การจัดทรงพุ่มในระยะแรกของการปลูก
ทรงฝาชีหงาย ทรงสี่เหลี่ยม ทรงเปิดกลางทรง
7

การตัดแต่ งกิง่ ของลําไย การตัดแต่ งกิง่ ของมะขาม

ทรงแบน ทรงสี่ เหลีย่ ม ทรงลานบิน

การทําสาวไม้ ผล
การทําสาวในไม้ผลนิยมทําในไม้ผลที่มีอายุมาก สภาพต้นโทรมหรื อต้นไม้ผลที่มีทรงพุม่ ที่
สูงใหญ่ ทําให้การดูแลรักษาและการจัดการสวนเป็ นไปอย่างยากลําบาก เช่น การฉีดพ่นสารกําจัด
แมลง การเก็บเกี่ยว เป็ นต้น นอกจากนี้พ้ืนที่ที่มีทรงพุม่ ชนกัน จะทําให้ไม่เกิดการออกดอก,ติดผล
ดังนั้นถ้ามีการนํามาปลูกใหม่เพื่อทดแทนต้นเก่า ซึ่งต้องใช้เวลานานไม่คุม้ กับการลงทุน การที่จะ
ปลูกใหม่ จึงต้องใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งเพื่อทําสาวแทน หลังจากการทําสาวได้ประมาณ 2 ปี ก็จะเกิด
กิ่งใหม่ สามารถติดดอกออกผลและให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น การตัดแต่งกิ่งเพื่อทําสาว มักจะทํากัน
ในช่วงฤดูฝน เพื่อให้ตน้ ไม้ปรับสภาพและฟื้ นฟูได้เร็ วขึ้น

การตัดแต่ งทําสาว
- ควรตัดแต่งช่วงฤดูฝน
- ให้ตดั แต่งเฉพาะกิ่งแขนงหลัง
- ปล่อยให้แตกหน่อใหม่ 3-4 กิ่งรอบต้น
- ต้นจะเจริ ญเติบโตและออกดอกในปี ที่ 2

วิธีการทําสาว
- ตัดกิ่งให้สูงจากพื้นโคนต้นประมาณ 1.5 – 2 เมตร
- ตัดกิ่งที่มีเส้นผ่านศูนย์การไม่เกิน 4 – 6 นิ้ว
- ทาสี ที่ใช้ทาบ้านตรงส่ วนแผลที่ตดั เพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงแดด และยังป้ องกันการ
เข้าทําลายของโรคแมลง
- ประมาณ 1 เดือน หลังจากการทําสาว จะเกิดยอดใหม่ออกมาให้ทาํ การตัดกิ่งออกบ้างให้
เหลือต้นละประมาณ 3 – 4 กิ่ง หรื อตัดแต่งกิ่งบางส่ วนที่ทึบเกินไปและกิ่งที่มีโครงสร้างที่
ไม่แข็งแรงออก
8

- ช่วงนี้ตอ้ งอย่าให้ขาดนํ้าและสํารวจการเกิดโรคและแมลงที่จะเข้ามาทําลายยอดอ่อนอย่าง
สมํ่าเสมอหรื ออีกวิธี คือ ในปี แรกอาจจะตัดเพียงครึ่ งต้นก็ได้ เพื่อให้เหลือกิ่งไว้เลี้ยงต้น
แล้วจึงกลับมาตัดอีกครั้งในปี ที่ 2 สําหรับกิ่งที่เหลือ

ประโยชน์ ของการทําสาว
1. ได้ทรงของต้นที่สะดวกในการปฏิบตั ิงาน
2. ได้ตน้ ที่แข็งแรง ไม่เป็ นโรคและแมลง
3. ทําให้ตน้ มีสภาพที่สมบูรณ์
4. มีผลผลิตที่สมํ่าเสมอทัว่ ทั้งต้น
5. ไม่ตอ้ งเสี ยเวลาปลูกทดแทนต้นเก่า
6. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการภายในสวน

การตัดแต่ งทําสาวไม้ ผล

1 2 3

การตัดแต่ งทําสาวมะม่ วง

1 2 3

ต้ นมะม่ วง
4 5 6
9

การปลูกพืชคลุมดินในสวนไม้ ผล
ประโยชน์ของการปลูกพืชคลุมดิน คือ
- เพื่อช่วยเพิ่มอินทรี ยวัตถุและธาตุอาหารต่างๆ แก่ดินปลูกส่ วนมากใช้พืชตระกูลถัว่
- ช่วยป้ องกันการชะล้างหน้าดินเนื่องจากนํ้าฝน นํ้าป่ า
- ช่วยป้ องกันวัชพืช

การกําจัดวัชพืช
การทําสวนไม้ผล ควรต้องดูแลป้ องกันกําจัดวัชพืชอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อป้ องกันโรคแมลง
ต่างๆ ที่อาศัยอยูก่ บั วัชพืช ทําได้มี 2 วิธี ดังนี้
- ใช้แรงงานคน เช่น ถาง ตัด
- ใช้สารเคมีป้องกันกําจัดวัชพืช

โรคและแมลงศัตรู ของไม้ ผล

แมลงศัตรู ไม้ ผล
1.1 แมลงปากกัด
เข้าทําลายไม้ผลโดยการกัดกินส่ วนต่างๆ ของพืช จําแนกได้ดงั นี้
- แมลงกินราก ได้แก่ ปลวก ตัวหนอนของด้วงปี กแข็ง จิ้งหรี ด
- หนอนเจาะโคนต้น เป็ นตัวหนอนของแมลงทับ ด้วงหนวดยาว ผีเสื้ อ
- หนอนชอนใบ ได้แก่ หนอนชอนใบส้ม หนอนชอนใบมังคุด หนอบชอน
ใบละมุด
- หนอนผีเสื้ อกัดกินใบ เช่น หนอนคืบ หนอนกระทูต้ ่างๆ
- หนอนผีเสื้ อกัดกินดอก เช่น หนอนกระทูด้ อกมะม่วง ลําไย เงาะ เป็ นต้น
- หนอนผีเสื้ อเจาะผล เช่น หนอนเจาะผลน้อยหน่า
- หนอนแมลงวันเจาะผลไม้
- ด้วงกัดกินใบ ได้แก่ พวกด้วงแรดและแมงนูน แมลงค่อมทอง
10

หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนเจาะขั้วผล

หนอนเจาะผล หนอนสีแดงเจาะก้าน หนอนม้วนใบ

1.2 แมลงปากดูด
เป็ นแมลงที่ใช้ปากทิ่มแทงเข้าสู่ ต่างๆ ของพืช แล้วดูดกินนํ้าเลี้ยง จําแนกได้ ดังนี้
- เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ ง และครั่ง
- เพลี้ยจักจัน่ เช่น เพลี้ยจักจัน่ มะม่วง
- เพลี้ยอ่อน
- เพลี้ยไก่แจ้
- มวนเขียวส้ม เช่น มวนลําไยหรื อแมงแก่ง
- เพลี้ยไฟ
- มวนหวาน
- ไร เช่น ไรแดง ไรแมงมุง ไรสองจุด
11

หนอนเจาะสมอฝ้ายทําลายดอก ผลเป็นขี้กลากเนื่องจากเพลี้ย

การเข้ าทําลายของหนอนเจาะผล เพลีย้ หอยในลําไย

หนอนเจาะผลส้ มโอ เพลี้ยหอยหลังเต่า

ไรสี่ขา เพลี้ยแป้ง

ผีเสื้อมวนหวาน เพลีย้ หอยข้ าวตอก เพลี้ยไก่แจ้

เพลี้ยไฟ

มวนลําไย
12

การป้องกันกําจัดแมลงศัตรู ไม้ ผล

สามารถทําได้ หลายวิธี คือ


- การทําลายเศษซากพืชที่ถูกโรคและแมลงทําลาย
- การป้ องกันด้วยวิธีการปฏิบตั ิ เช่น จับบี้ดว้ ยมือ จุดไฟล่อแมลง การห่ อผล
- การฉี ดพ่นสารเคมี
- การกําจัดเชื้อโรคในดิน เช่น การใช้เชื้อไตรโครเดอร์ม่าป้ องกันโรคโคนเน่า เป็ นต้น
- การป้ องกันด้วยการใช้พนั ธุ์ตา้ นทาน
- การป้ องกันกําจัดด้วยชีวะวิธี เช่น การเลี้ยงแมลงเต่าทองเพื่อให้กินพวกเพลี้ยแป้ งและ
เพลี้ยหอย
- การป้ องกันกําจัดโดยใช้สารจากธรรมชาติ เช่น นํ้าส้มควันไม้

ไข่ แตนเบียน การห่ อผล นํ้าส้มควันไม้


กับดักล่อแมลงวันทอง

โรคของไม้ ผล
โรคทีส่ ํ าคัญ มีดังนี้
- โรคราดํา ทําให้ยอด ใบ ดอก กิ่งก้าน ลําต้น มีสีดาํ ปกคลุม ทําให้ไม่ติดผล กิ่งหลุด
ร่ วง
- โรคราสี ชมพู แพร่ กระจายทางลม เข้าทําลายบริ เวณง่ามกิ่งแล้ว สร้างกลุ่มเส้นใยสี ขาว
แกมสี ชมพูประสานกันหนาแน่น ทําให้กิ่งตาย กิ่งเน่า ยอดเหี่ ยวและแห้งตาย
- โรคราแป้ ง ระบาดเข้าทําลายต้นพืชในสภาพแห้งแล้งและอากาศเย็นมีราสี ขาวปกคลุม
ทัว่ ไป ทําลายผลขนาดต่างๆ ทําให้ผลบิดเบี้ยว มีร่องรอยตกกระ ผลไม่โต และทําให้
รสชาติเปลี่ยนไป
- โรคใบจุด ทําให้เกิดจุดบนใบมีรูปร่ างแตกต่างกันหลายแบบ ขึ้นอยูก่ บั ชนิดของเชื้อรา
ระบาดกับไม้ผลหลายชนิด ทําให้ใบเป็ นตุ่มเป็ นวงรี ดาํ ฟู มีเนื้อเยือ่ ตาย
13

- โรคใบจุดสาหร่ าย หรื อจุดสนิมเกิดกระจัดกระจายบนใบเป็ นกลุ่มสี เหลืองหรื อสี สม้ ใน


ไม้ผลหลายชนิด ทําให้ชะงักการเจริ ญเติบโตและระบาดเข้าทางกิ่ง ก็ทาํ ให้เปลือกกิ่งแตก และเกิด
จุดบนผล
- โรคใบไหม้ ใบติดอาการของโรคจะมีจุดตายบนใบแล้วขยายตัวลุกลามอย่างรวดเร็ วทํา
ให้มองเห็นเป็ นลักษณะใบแห้งตาย และใบพืชร่ วงมาก
- โรครากเน่า เกิดจากเชื้อราที่อาศัยอยูใ่ นดินหลายชนิดมักเป็ นระยะกล้าและต้นโต ต้น
จะมีลกั ษณะเหี่ ยวบริ เวณใบล่าง ร่ วงและลําต้นหยุดการเจริ ญเติบโต ถ้ามีน้ าํ ขังต้นก็จะ
เหี่ ยวตาย
- โรครากและโคนเน่า เข้าทําลายลุกลาม มักเกิดกับไม้ผลที่มีอายุมากจะมีลกั ษณะชุ่มนํ้า
มียางไหล เนื้อเยือ่ เปลี่ยนสี และเน่าตาย ยอดเหี่ ยวเพียงบางกิ่งและเหี่ ยวทั้งต้นในเวลา
ต่อมา
- โรคลําต้นเน่าคอดิน ระบาดมากในระยะกล้าหรื อระยะต้นโตทําให้ตน้ กล้าแห้งตายหรื อ
ลําต้นเหี่ ยวตาย เชื้อราสร้างเส้นใยขาวฟูรอบโคนต้น
- โรครากปม เกิดจากไส้เดือนฝอย ซึ่งอาศัยอยูใ่ นดินเข้าทําลายทางระบบรากฝอย ทําให้
ลําต้นชะงักการเจริ ญเติบโต รากเป็ นปมมากมาย ต้นจึงแคระแกร็ น ใบซีดเหลืองแห้ง
- โรคเหี่ ยว ทําความเสี ยหายกับต้นไม้ที่โตแล้วในลักษณะยืนต้น ต้นแห้งตาย ใบเหี่ ยว
อย่างรวดเร็ ว
- โรคแอนแทรคโนส ระบาดแทบทุกระยะการเจริ ญเติบโต ทั้งใบอ่อน ช่อดอก ผล และ
หลังการเก็บเกี่ยว กล้าอ่อนจะเกิดใบจุดสี น้ าํ ตาล กระจัดกระจาย ใบบิดเบี้ยว ยอด
แห้งตาย ที่ดอกทําให้ดอกเน่า บนผลจะปรากฏจุดดํา หรื อนํ้าตาล ผลจะร่ วง

โรคหงอย โรคพุ่มไม้กวาด ไรเคนท์ โรคราดํา โรคกิ่งปม โรคใบไหม้

ใบส้มโอ ผลส้มโอ
โรครานํ้าฝน โรคจุดสนิมสาหร่าย โรคใบไหม้ โรคใบจุดดํา เป็นโรคแคงเกอร์ เป็นโรคแคงเกอร์
14

การป้องกันกําจัดโรคพืช
- ควรหลีกเลี่ยงการเกิดโรค เช่น เลือกพื้นที่และเวลาปลูกนอกฤดูกาล เพื่อตัดวงจรของ
เชื้อโรคที่จะเข้าทําลาย
- ป้ องกันไม่ให้เชื้อโรคระบาดเข้าพื้นที่ท่ีไม่เคยปรากฏโรค เช่น การกําจัดวัชพืชอย่าง
สมํ่าเสมอและสํารวจการเกิดโรคแมลงเป็ นระยะๆ ตลอดจนถึงการเก็บเกี่ยว
- ทําลายและลดปริ มาณเชื้อโรคที่เกิดในสวน โดยการตัดแต่งกิ่งที่เป็ นโรคเผาทําลาย
- ป้ องกันในกรณี ที่เกิดโรคระบาดมาก โดยการฉี ดพ่นสารป้ องกันและกําจัดเชื้อโรคบน
ต้นพืช
- ใช้พนั ธุ์พืชที่ตา้ นทานโรค

การเก็บเกีย่ ว
วิธีการเก็บเกี่ยวให้ได้ผลไม้ที่มีคุณภาพดี
- การเก็บเกี่ยวผลในระยะความแก่ที่ถูกต้องและเหมาะสมตรงตามความต้องการของ
ตลาด
- ระยะเวลาที่เก็บเกี่ยวของผลไม้ในช่วงระยะเวลาที่ต่างๆ ของวัน เวลาเช้า
กลางวัน เย็น จะส่ งผลต่อคุณภาพของผลไม้ ซึ่งขึ้นอยูก่ บั ชนิดของไม้ผลนั้นๆ ที่มีวิธีการ
เก็บเกี่ยวและการดูแลหลังการเก็บเกี่ยวที่ต่างกันในช่วงของการสุ กที่เหมาะสม เช่น
ทุเรี ยน เก็บผลแก่ที่ไม่สุกเกินไป เพื่อต้องการให้สุกเมื่อนําออกสู่ ทอ้ งตลาดพอดี เป็ นต้น
- เครื่ องมือเก็บเกี่ยว ควรยึดหลักสําคัญ คือ ไม่ทาํ ให้ผลไม้ชอกชํ้า หรื อมีบาดแผล มี
ความสะดวกในการใช้และรวดเร็ ว
- วิธีเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวให้ถูกวิธี เพราะการเก็บเกี่ยวเป็ นขั้นตอนสําคัญที่ส่งผลต่อ
คุณภาพของผลไม้ เช่น ลําไยผลสด ควรตัดแต่งและให้มีข้วั ของผลติดไปด้วย เพื่อรักษา
ความสดไว้ เป็ นต้น
15

ตัวอย่ างปฏิทนิ การดูแลรักษาไม้ ผล

ชมพู่
เดือน การบํารุ งรักษา
มกราคม เป็ นระยะดอกบานและติดผลขนาดเล็กควรให้น้ าํ สมํ่าเสมอ ป้ องกันการกําจัด
แมลงในระยะช่อดอกและติดผลแล้ว (เว้นการฉี ดพ่นในระยะดอกบาน) เช่น
เพลี้ยไฟ หนอนกินดอก หนอนเจาะขั้วผล
กุมภาพันธ์ เป็ นระยะที่ผลกําลังเจริ ญเติบโต ให้ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15 -15 -15 ให้น้ าํ
อย่างสมํ่าเสมอ ป้ องกันการกําจัดแมลงเหมือนเดือนมกราคม
มีนาคม ปฏิบตั ิเหมือนเดือนกุมภาพันธ์
เมษายน การตัดแต่งและห่อผล
พฤษภาคม ใส่ ปุ๋ยเคมีสูตรท้ายสูง เช่น 13 -13 -21
มิถุนายน-กรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลผลิต หลังเก็บผลทําการตัดแต่งกิ่งใส่ ปุ๋ยคอกและปุ๋ ยสารเคมีกาํ จัด
วัชพืช
สิ งหาคม-กันยายน ป้ องกันกําจัดโรคและแมลง ตามความจําเป็ นถ้ามีระบาด
ตุลาคม ใส่ ปุ๋ยเคมี สูตร 9 -24 -24 หรื อ 12 – 24 -12 กําจัดวัชพืช
พฤศจิกายน งดการให้น้ าํ
ธันวาคม เริ่ มออกช่อดอก เริ่ มให้น้ าํ เล็กน้อย อย่างสมํ่าเสมอ ป้ องกันกําจัดแมลงในระยะ
ช่อดอก

น้ อยหน่ า
เดือน การบํารุ งรักษา
มกราคม – กุมภาพันธ์ แตกใบอ่อน ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ
มีนาคม ออกดอก ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกําจัดโรคแมลง(ยกเว้นช่วงดอกบาน)
เมษายน ให้ปุ๋ยสู ตร 15-15-15
พฤษภาคม-มิถุนายน ติดผลอ่อน ให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกําจัดโรคแมลง
กรกฎาคม-กันยายน เก็บเกี่ยวผลผลิต
ตุลาคม-พฤศจิกายน ช่วงพักต้น
ธันวาคม ตัดแต่งกิ่งรู ดใบทิ้งให้หมด กําจัดวัชพืช ให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เริ่ มให้น้ าํ
16

กระท้ อน
เดือน การบํารุ งรักษา
มกราคม เป็ นระยะดอกบานและติดผลขนาดเล็กควรให้น้ าํ สมํ่าเสมอ ป้ องกันการกําจัด
แมลงในระยะช่อดอกและติดผลแล้ว (เว้นการฉี ดพ่นในระยะดอกบาน) เช่น
เพลี้ยไฟ หนอนกินดอก หนอนเจาะขั้วผล
กุมภาพันธ์ เป็ นระยะที่ผลกําลังเจริ ญเติบโต ให้ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15 -15 -15 ให้น้ าํ
อย่างสมํ่าเสมอ ป้ องกันการกําจัดแมลงเหมือนเดือนมกราคม
มีนาคม ปฏิบตั ิเหมือนเดือนกุมภาพันธ์
เมษายน การตัดแต่งและห่อผล
พฤษภาคม ใส่ ปุ๋ยเคมีสูตรท้ายสูง เช่น 13 -13 -21 ในกระท้อนบางพันธุ์อาจจะมีผลแก่
สามารถเลือกเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
มิถุนายน-กรกฎาคม เก็บเกี่ยวผลผลิต หลังเก็บผลทําการตัดแต่งกิ่งใส่ ปุ๋ยคอกและปุ๋ ยสารเคมีกาํ จัด
วัชพืช
สิ งหาคม-กันยายน ป้ องกันกําจัดโรคและแมลง ตามความจําเป็ นถ้ามีระบาด
ตุลาคม ใส่ ปุ๋ยเคมี สูตร 9 -24-24 หรื อ 12-24-12 กําจัดวัชพืช
พฤศจิกายน งดการให้น้ าํ
ธันวาคม เริ่ มออกช่อดอก เริ่ มให้น้ าํ เล็กน้อย อย่างสมํ่าเสมอ ป้ องกันกําจัดแมลงในระยะ
ช่อดอก

ลําไย
เดือน การบํารุ งรักษา
มกราคม ระยะออกดอก ให้น้ าํ และเพิ่มปริ มาณขึ้นเรื่ อย ๆ เฝ้ าระวังและป้ องกันกําจัด
แมลงศัตรู ช่อดอก เช่น มวนละไย ควรพ่นคาร์บาริ ล 45 กรัม/ นํ้า 20 ลิตร พ่น
สารเคมีป้องกันกําจัดศัตรู พืช ควรพ่นก่อนดอกบาน พ่นปุ๋ ยทางใบ เพื่อบํารุ ง
ช่อดอกและการติดผลเช่นปุ๋ ยสู ตร 10 – 52 -17 หรื อ 10 – 45 -10 อัตรา 30- 40
กรัม/ นํ้า 20 ลิตร (ถ้าต้นไม้สมบูรณ์)
กุมภาพันธ์ ระยะดอกบาน ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ งดการพ่นสารเคมี หากมีแมลงผสมเกสรน้อย
ควรนําผึ้งมาเลี้ยงในสวน
17

เดือน การบํารุงรักษา
มีนาคม - เมษายน ระยะติดผลเล็ก ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ เพื่อป้ องกันผลแคระแกรนและร่ วง ใส่ ปุ๋ย
สู ตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตราส่ วน 1 – 2 กก./ต้น เพื่อบํารุ งผลให้โด พ่นสาร
ป้ องกันแมลงเช่นหนอนเจาะขั้วผล มวนลําไย หนอนม้วนใบ ใช้คาร์บาริ ล
อัตรา 45 กรัม/นํ้า 20 ลิตร หากพบการทําลายเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ ง ใช้น้ าํ มัน
ปิ โตรเลียมสเปรย์ออล์ พ่นป้ องกันกําจัดในอัตรา 60 มิลลิลิตร/นํ้า 20 ลิตร
พฤษภาคม - มิถุนายน ระยะผลกําลังเจริ ญเติบโต ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ หากฝนไม่ตก กําจัดวัชพืชภายใน
แปลงอย่าให้หญ้ารก
กรกฎาคม - สิ งหาคม ระยะผลลําไยโตเต็มที่ ก่อนการเก็บเกี่ยว ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต
30 วัน ควรใส่ ปุ๋ยเคมีสูตร 0 – 0 -60 หรื อ 13-13-21 อัตรา 1 กก./ต้น เพื่อเพิ่ม
คุณภาพผลผลิต
ระยะเก็บผลผลิต งดการให้น้ าํ ก่อนเก็บผลผลิต 7 – 10 วัน
กันยายน ระยะหลังการเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุม่ โปร่ ง กําจัดวัชพืชและใส่ ปุ๋ย
อินทรี ย ์ อัตรา 10-20 กก./ ต้น ใส่ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่ วมกับ 46-0-0 อัตรา
1: 1 อัตรา 1-2 กก./ต้น
ตุลาคม ระยะแตกใบอ่อน ( 2 เดือน ) ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ ป้ องกันกําจัดแมลงศัตรู ลาํ ไย
เช่น ไรลําไย โดยใช้กาํ มะถันผง 80% wp อัตรา 40 กรัม/นํ้า 20 ลิตร ควรมีการ
แตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ครั้ง กระตุน้ ให้ลาํ ไยมีใบแก่ใส่ ปุ๋ย สูตร 0-46-0 และ 0-
0-60 อัตรา 1:1 อัตรา 1-2 กก./ต้น
พฤศจิกายน - ธันวาคม ระยะใบแก่ (2 เดือน) พ่นปุ๋ ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100 -150 กรัม/นํ้า 20
ลิตร จํานวน 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อช่วยให้ใบแก่เร็ วขึ้นและช่วยป้ องกัน
การแตกยอดอ่อน
งดการให้น้ าํ เพ่อให้ตน้ พักตัวเร็ วขึ้น
18

ส้ มโอ
เดือน การบํารุ งรักษา
มกราคม กักนํ้าเพื่อบังคับให้สม้ โอออกดอกเร็ วและสมํ่าเสมอ พ่นสารป้ องกันแมลง
กุมภาพันธ์ - มีนาคม ระยะออกดอก สังเกตส้มโอจะมีลกั ษณะการเฉาและใบมีลกั ษณะห่อ เริ่ ม ให้น้ าํ
ต้นส้มโอ ใส่ ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1 กก./ต้น
เมษายน - พฤษภาคม ระยะติดผล ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ พ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ใส่ ปุ๋ยสูตร
15-15-15 อัตรา 1 กก./ ต้น
มิถุนายน - กรกฎาคม ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ พ่นสารเคมีป้องกันแมลง ห่ อผลส้มโอเพื่อป้ องกันแมลงวัน
ทอง ก่อนเก็บเกี่ยว 1 – 2 เดือน ใส่ ปุ๋ยสู ตร 13-13-21 หรื อ 0-0-60 อัตรา 1 กก.
ปุ๋ ยทางใบ อัตรา 10-10-30 อัตราตามฉลาก เพื่อพัฒนาคุณภาพของเนื้อและความ
หวาน
สิ งหาคม - กันยายน อยูใ่ นช่วงเก็บผลผลิต ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ
ก่อนเก็บเกี่ยวควรงดให้น้ าํ 7 วัน
ตุลาคม - พฤศจิกายน หลังการเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งต้นส้มโอ ใส่ ปุ๋ยอินทรี ย ์ อัตรา 20 กก./ต้น
ใส่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร่ วมกัน 46-0-0 อัตราส่ วน 1:1 อัตรา 1 – 2 กก./ต้น ให้น้ าํ
สมํ่าเสมอช่วงฝนไม่ตก
ธันวาคม ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ พ่นสารป้ องกันแมลง

มะม่ วง
เดือน การบํารุ งรักษา
ธันวาคม - กุมภาพันธ์ ระยะออกดอก ระยะติดผล (เท่าปลายไม้ขีดไฟ) ให้น้ าํ ที่ละน้อย พ่น
ฮอร์โมนป้ องกันผลหลุดร่ วง พ่นสารเคมีป้องกันเพลี้ยจั้กจัน่ เช่น สาร
ป้ องกันแมลงคาร์บาริ ล อัตรา 60 กรัม/นํ้า 20 ลิตร ใส่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15
อัตรา 1 กก. / ต้น พ่นปุ๋ ยทางใบสูตร 15-30-15 หรื อ 6-24-24 อัตรา 10 ซี
ซี/ นํ้า 20 ลิตร
มีนาคม ให้น้ าํ สมํ่าเสมอ พ่นสารเคมีป้องกันแมลงวันทอง โดยใช้คาร์บาริ ล อัตรา
60 กรัม /นํ้า 20 ลิตร ใส่ ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 1.5 กก./ต้น เพื่อเพิ่ม
ความหวาน เริ่ มห่อผลเพื่อป้ องกันแมลงวันทอง
เมษายน ใส่ ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรื อ 0-0-60 ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน เพื่อเพิ่มความ
หวาน
19

เดือน การบํารุงรักษา
พฤษภาคม ช่วงเก็บเกี่ยว เริ่ มลดการให้น้ าํ เพื่อให้ผลแก่
มิถุนายน ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว
ใส่ ปุ๋ยอินทรี ยป์ ระมาณ 10 – 20 กิโลกรัม / ต้น
กรกฎาคม ใส่ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่ วมกับ สูตร 46-0-0 อัตราส่ วน 1:1 อัตรา 1 – 2
กก./ ต้น
สิ งหาคม - กันยายน พ่นสารเคมีป้องกันแมลงช่วงแตกใบอ่อน
ตุลาคม ใส่ ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1 กก./ต้น เพื่อสะสมตาดอก
พฤศจิกายน งดการให้น้ าํ พ่นฮอร์โมนเปิ ดตาดอก (กรณี ตน้ ไม้สมบูรณ์)

การขยายพันธุ์ไม้ ผล

1. การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น การเพาะเมล็ด


2. การขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ คือ การใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ กิ่ง ลําต้น ราก
มาขยายพันธุ์ มีหลายวิธี ได้แก่ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง การปักชํา การเสี ยบยอด เป็ นต้น

วิธีการและขั้นตอนการขยายพันธุ์

1. การปักชํา คือ การนําส่ วนต่างๆ ของพืชพันธุ์ดี เช่น กิ่ง ใบ และ ราก มาตัดและปักชําในวัสดุ
เพาะชํา เพื่อให้เกิดต้นใหม่ สําหรับไม้ผลนิยมชํากิ่ง มีวิธีการ ดังนี้
1.1 เลือกกิ่งกึ่งแก่ก่ ึงอ่อน ตัดกิ่งให้ชิดข้อยาวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร โดยเฉื อนเป็ นรู ป
ปากฉลาม และตัดปลายบนให้เหนือตาประมาณ 1 เซนติเมตร
1.2 ถ้าต้องการให้เกิดรากไวขึ้น ควรชุบเซราดิกส์ฮอร์โมนเร่ งรากที่ส่วนของข้อที่ตดั แล้ว
ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง
1.3 ปั กชํากิ่งลงในวัสดุเพาะชํา ลึกประมาณ 2.5 – 5 เซนติเมตร
1.4 ใช้พลาสติกคลุมเพื่อลดการคายนํ้า ประมาณ 25 – 30 วัน กิ่งตัดชําจะแตกยอดอ่อน
พร้อมราก เมื่อเจริ ญเติบโตมากพอ จึงย้ายปลูกต่อไป
20

2. การตอนกิง่ คือ การทําให้ก่ิงหรื อต้นพืชเกิดรากขณะที่ติดอยูก่ บั ต้นใหม่ที่มีลกั ษณะเหมือนต้น


แม่ทุกประการ
2.1 เลือกกิ่งกึ่งแก่ก่ ึงอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคแมลง ต้นแม่มีอายุ 1-2 ปี ขึ้นไป และไม่
เป็ นกิ่งที่ลู่ลงดิน ลักษณะกิ่งที่ดีตอ้ งตั้งตรง ความยาวของกิ่งประมาณครึ่ งเมตร – 1 เมตร
2.2 ใช้มีดที่คมและสะอาดควัน่ กิ่งลอกเปลือกออก แล้วขูดเยือ่ เจริ ญที่เป็ นเมือกลื่นๆ ออก
ความยาวของรอยควัน่ 1-2 นิ้ว ข้อระวังอย่าให้รอบควัน่ ชํ้า
2.3 นําตุม้ ที่บรรจุขยุ มะพร้าวอัดถุงกรี ดตรงกลาง บีบนํ้าออกพอหมาดๆ นําไปหุม้ บนรอย
แผลของกิ่งตอน แล้วมัดด้วยเชือกตรงหัวท้ายให้แน่น
2.4 เมื่อรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่ มแก่มีสีเหลือง นํ้าตาล ปลายรากมีสีขาวจํานวนมากพอ
จึงตัดกิ่งตอนออกได้
2.5 นํากิ่งตอนไปชําในกระถางหรื อถุงพลาสติกเพื่อรอการปลูกต่อไป

1 2

3 4
21

3. การทาบกิง่ คือ การนําต้นพืช 2 ต้น ที่เป็ นระบบรากอาหารให้กบั ต้นพันธุ์ดี มีวิธีการ ดังนี้


3.1 เลือกกิ่งกึ่งแก่กิ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคแมลง
3.2 เฉื อนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็ นรู ปโล่ยาวประมาณ 1-2 นิ้ว และเฉื อนต้นตอเป็ นรู ปปากฉลาม
3.3 ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี พันพลาสติกให้แน่น แล้วมัดต้นตอกับกิ่งพันธุ์ดว้ ย
เชือกหรื อลวด
3.4 ประมาณ 6-7 สัปดาห์ แผลจะติดกันดี รากของตุม้ ต้นตอจะงอกแทงผ่านวัสดุ เริ่ มมีสี
นํ้าตาลปลายรากสี ขาวมีจาํ นวนมากพอจึงตัดได้
3.5 นําลงถุงเพาะชําพร้อมปั กหลักคํ้ายันต้นเพื่อป้ องกันต้นส้ม

1 2 3

4 5
22

4. การติดตา คือ การเชื่อมประสานส่ วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน ให้เจริ ญเป็ นต้นเดียวกัน โดยนําแผ่น


ตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ การติดตาจะมีวิธีการทํา 2 วิธี คือ วิธีการติดตาแบบลอกเนื้อไม้
และไม่ลอกเนื้อไม้ ซึ่งในที่น้ ีจะแนะนําเฉพาะขั้นตอน การติดตาแบบลอกเนื้อไม้ ดังนี้
4.1 เลือกต้นตอในส่ วนที่เป็ นสี เขียวบนนํ้าตาล กรี ดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกัน
ประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร
4.2 ตัดขวางรอยกรี ดา้ นบนแล้วลอกเปลือกออกจากด้านบนลงด้านล่างตันเปลือก ที่ลอก
ออกให้เหลือด้านล่าง ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
4.3 เฉื อนแผ่นตา ยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออก แล้วตัดแผ่นด้านล่างทิ้ง
4.4 สอดผ่านตาลงไปในเปลือกต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้นแล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
ประมาณ 7-10 วัน จึงเปิ ดพลาสติกออก แล้วพันใหม่ โดยเว้นช่องให้ตาโผล่ออกมาทิ้งไว้ประมาณ
2-3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรี ดพลาสติกออก

1 2 3

4 5 6
23

5. การเสี ยบยอด คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยือ่ ของต้นพืช 2 ต้น เข้าด้วยกัน เพื่อเจริ ญเติบโต เป็ น
ต้นเดียวกัน โดยมีข้นั ตอนการปฏิบตั ิ ดังนี้
5.1 ตัดยอดต้นตอให้สูงจากพื้นดินประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลําต้นของต้นตอให้
ลึกประมาณ 3-4 เซนติเมตร
5.2 เฉื อนยอดพันธุ์ดีเป็ นรู ปลิ่มยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
5.3 เสี ยบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอให้รอยแผลตรงกันแล้วใช้เชือกมัดด้านบนและ
ล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น
5.4 คลุมต้นที่เสี ยบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติกหรื อนําไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติกประมาณ
5-7 สัปดาห์ รอบแผลจะประสานกันดีและนําออกมาพักไว้ในโรงเรื อนเพื่อรอการปลูกต่อไป

1 2 3

3 4 5

6
24

ความหมายหรือแนวคิดการจัดการสวนไม้ ผลแบบผสมผสาน
หมายถึง ระบบการเกษตรที่มีการปลูกไม้ผลหลายชนิดรวมกัน เช่นอาจประกอบด้วย เงาะ
, กล้วย,ลองกอง ,ลําไย ,ส้มโอ,มะขาม และมะม่วง เป็ นต้น โดยที่กิจกรรมแต่ละชนิดต้องอยูใ่ น
พื้นที่เดียวกัน และจะต้องเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ เป็ นการใช้ทรัพยากรที่มี
อยูใ่ นสวนอย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุ ด มีความสมดุลของสภาพแวดล้อมและ
เพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

แนวคิดการจัดการสวนไม้ ผล
ในการที่หาระบบการผลิตสวนไม้ผล ที่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทาํ กันขนาดเล็ก เพื่อ
ลดความเสี่ ยงจากการผลิต ลดการพึ่งพิงเงินทุน ปัจจัยการผลิตและอาหารจากภายนอก เศษพืชและ
มูลสัตว์ ซึ่งเป็ นผลพลอยได้จากกิจกรรมการผลิต ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในไร่ นาและทําให้ผลผลิต
และรายได้เพิ่มขึ้น

ข้ อดีการทําไม้ ผลผสมผสาน
- ทรัพยากรที่มีอยูไ่ ม่สูญเสี ยโดยเปล่าประโยชน์ เพราะสามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อย่าง
เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุ ด
- การเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ลดการทําลายสิ่ งแวดล้อม ทําให้
เกษตรกรมีความเป็ นอิสระในการดํารงชีวิต
- ลดต้นทุนการผลิตลง เรี ยกว่า การประหยัดทางขอบข่าย ( Economy of Scope)

ประโยชน์ การทําไม้ ผลผสมผสาน


- รายได้เพิ่มขึ้นจากพื้นที่เกษตรขนาดย่อยที่กาํ จัด
- ทําให้ตน้ ทุนการผลิตลดลง
- รายได้สมํ่าเสมอ
- จดการว่างงานตามฤดูกาล มีงานทําทั้งปี ทําให้ลดการอพยพแรงงาน
- รายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น
- มีผลไม้รับประทานตลอดปี เพื่อลดรายจ่าย และเป็ นภูมิคุม้ กันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

You might also like