You are on page 1of 6

1

นกกระทาทุ่ง (Chinese Francolin )

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Francolinus pintadeanus

วงศ์ : Phasianidae

อันดับ : Galliformes

นกกระทาทุ่ง เป็นนกประจาถิ่น มีลักษณะเป็นนกขนาดกลาง พบบ่อย ร้องดัง ทา ทัก


กะทา ทา ทา ทัก กะทา ทา ทั่วโลกมี ๒ ชนิดย่อย ประเทศไทย พบ ๑ ชนิดย่อย คือ F . p .
phayrei โดยสีสันสองเพศแตกต่างกันและนกตัวผู้และนกตัวเมียมีลักษณะไม่เหมือนกัน

ลักษณะทั่วไป

ความยาวจากปลายปากถึงหาง ประมาณ ๓๒ – ๓๓ ซม. ปากอ้วนสั้นสีดาแต่ปลายปาก


ทู่ สันปากบนโค้งลงเล็กน้อย และแข็งแรง คอค่อนข้างสั้น ปีกกว้าง ปลายปีกมน ยาวราว
๑๓ – ๑๕ ซม. จงใช้บินไปไหนมาไหนไกลๆ ไม่ได้ ใช้บินได้เฉพาะระยะทางใกล้ๆ เท่านั้น
ขนปลายปีกมี ๑o เส้น ขนปลายปีกเส้นที่ ๑o ซึ่งเป็นเส้นนอกสุดมีความยาวพอๆ กับขนปลายปีก
เส้นที่ ๑ ขนปลายปีกเส้นที่ ๗ หรือเส้นที่ ๘ ยาวที่สุด ขนปลายปีกเส้นที่ ๕ และเส้นที่ ๖ สั้นกว่า
เล็กน้อย ขนหางมี ๑๔ เส้น มีความยาวราว ๖ – ๗ ซม. หางสั้น ลาตัวอ้วน ขาค่อนข้างสั้น ขาและ
นิ้วเท้าสีเหลือง ขาใหญ่แข็งแรงแต่ค่อนข้างสั้น ขาท่อนล่างทางด้านหน้ามีเกล็ดขนาดใหญ่เรียง
ซ้อนทับกัน นิ้วเท้าแข็งแรง นิ้วเท้ามีข้างละ ๔ นิ้ว ยื่นไปข้างหน้า ๓ นิ้ว และยื่นไปข้างหลัง ๑ นิ้ว
นิ้วทุกนิ้วอยู่ในระดับเดียวกันและมีความยาวพอๆกับนิ้วกลางหรือนิ้วที๓พร้
่ อมเล็บ
นกตัวผู้ บริเวณใต้คอ และ คาง สีขาว , ขนบริเวณหู สีขาว , ใต้ตา มีแถบสีดา พาด
จากโคนปากไปคอด้านข้าง , คิ้ว สีดา , อก ท้องตอนหน้า และ ไหล่ สีดา มีลายจุดขนาดใหญ่
สีขาว กระจายทั่วไป , โคนปีก ตะโพก และ ขนคลุมโคนขนหางด้านล่าง สีน้าตาล
แดง , หาง สีดา มีลายแถบเล็กๆ สีขาว หรือ สีน้าตาลอ่อน
2

นกตัวเมีย ลักษณะและสีคล้ายนกตัวผู้ แต่ แถบใต้ตา สีน้าตาล , คอด้านบน และ


ไหล่ สีดา มีลายแถบสีน้าตาล , ตะโพก ขนคลุมโคนขนหางด้านบน และหางมีแถบกว้างสีดา
สลับกับ แถบเล็กสีน้าตาล , ลาตัวด้านล่าง สีน้าตาล , คอ อก และ ท้อง มีแถบสีดา ไม่มีเดือย

ถิ่นอาศัยและอาหาร

พบในจีน ไหหลา พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนามมนอินเดีย , จีนตอนใต้ , เกาะ


ไหหลา , และทุกประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ ที่พบตามเกาะมาร์ดากัสการ์ และ
ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยเป็น นกประจาถิ่น มีอยู่ทั่วไปทุกภาคยกเว้นภาคใต้
แหล่งอาศัย ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง และป่าเต็งรังผสมกับป่าสนเขาซึ่งพื้นป่าเป็นทุ่ง
หญ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญ้าคา และสามารถพบได้ตั้งแต่บนที่ราบขึ้นไปจนถึงระดับความสูง
1,500เมตร
นกกระทาทุ่ง กินเมล็ดพืช เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเมล็ดไผ่ ( ขุยไผ่ ) และ เมล็ด
หญ้า นอกจากนี้ มันยังกินแมลง ตัวหนอน ไส้เดือน และ สัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ใต้ดิน

พฤติกรรม , การสืบพันธุ์

พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นครอบครัวเล็กๆ หากินในเวลากลางวัน โดยเฉพาะตอนเช้าตรู่


และ ใกล้ค่า ปกติมักเดินหากินตามพื้นดินที่มีหญ้าหรือวัชพืชปกคลุมแน่นทึบทาให้มองเห็นตัว
ได้ยาก เป็นนกที่ตกใจง่าย เวลาตกใจหรือพบศัตรูจะบินหนี้เรี่ยยอดหญ้าราว ๒ – ๓ เมตร บินไป
ได้ไกลราว ๑๕ – ๒o เมตร จากนั้นมันจะหลบตามพงหญ้าแต่ยังคงวิ่งหนีไประหว่างกอหญ้า
ต่อไป เพียงเท่านี้มันก็สามารถหนีไปให้พ้นมนุษย์หรือศัตรูอื่นได้แล้ว พอตกกลางคืนมันจะบิน
ขึ้นไปเกาะนอนบนต้นไม้ โดยเลือกเกาะบนกิ่งไม้ใหญ่ที่ทอดไปตามแนวนอนและไม่สูงมากนัก
ซึ่งเกาะได้สะดวก แต่ต้องมีพุ่มใบหนาแน่นทึบมากพอที่มันจะใช้หลบซ่อนตัวจากศัตรูได้ด้วย
นกกระทาทุ่งเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ ๖ – ๘ เดือน ช่วงเวลาผสมพันธุต์ ั้งแต่เดือน
มีนาคมจนถึงกันยายน นกตัวเมียใช้เท้าคุ้ยเขี่ยดินในบริเวณป่าหญ้าให้เป็นแอ่งตื้นๆ แล้วไปคาบ
เอาใบไม้ ใบหญ้า กิ่งไม้เล็กๆ และขนนกมารองไว้ในแอ่งจนเป็นรัง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ ๑๒ – ๑๕ ซม. และลึกประมาณ ๓ – ๕ ซม.วางไข่ครอกละ ๓ ถึง ๗ ฟอง แต่มักมีเพียง
๔ หรือ ๕ ฟอง เปลือกไข่สีขาวอมเหลืองหรือสีเนื้อเรียบๆ ไม่มีจุดหรือลวดลายใดๆ แต่บางฟอง
3

อาจมีเงาสีเขียวจางๆ เล็กน้อย ไข่มีขนาดเฉลี่ย ๓๕.๓ X ๒๘.๗ ม.ม. เมื่อวางไข่หมดแล้ว นกตัว


เมียจึงเริ่มกกไข่โดยใช้เวลาประมาณ๒o-๒๒วันไข่จึงฟักออกเป็นตัว
ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จะได้ยินเสียง ตัวผู้ ร้องเกือบตลอดวัน แต่ส่วนใหญ่ จะได้ยินเสียง
ร้อง ในช่วงเช้า และ บ่าย การร้อง แต่ละครั้ง มักเป็น ๔ จังหวะ คือ " ตะ - ต๊าก - ตะ - ต่า
" และ หยุดประมาณ ๔o – ๗o วินาที แล้วค่อยร้องต่อ ขณะที่ตัวใดตัวหนึ่งร้อง ถ้ามีตัวอื่นร้อง
ตอบมันจะร้องถี่ขึ้นหากไม่มีมันจะทิ้งช่วง ในการร้องแต่ละครั้งนานนกกระทาทุ่งร้องเพื่อ
ประกาศอาณาเขต และดึงดูดตัวเมียขณะร้องมันมักเกาะตามกิ่งไม้ หากเดินอยู่ตามพื้นดิน
จะไม่ร้อง

สถานภาพทางกฏหมาย
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช
๒๕๓๕ ที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้

วิธีการ ขั้นตอนขออนุญาตเพาะเลี้ยง

สัตว์ป่าคุ้มครองที่ใช้ในกิจการเพาะพันธุ์

(๑) ต้องเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่จะอนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ (มี ๕๙ ชนิด)


(๒) ต้องมีหลักฐานการได้มา หรือการครอบครองหรือระบุว่าจะได้มาจากที่ใด

โดยสัตว์ป่าคุ้มครองที่ใช้ในกิจการเพาะพันธุ์ได้มาจาก

๑ ครอบครองสัตว์ป่าโดยชอบด้วยกฎหมายก่อน พ.ศ. ๒๕๓๕


๒ ครอบครองอยู่ก่อน มีกฎกระทรวงใหม่กาหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
๓ ได้มาจากทางราชการจัดหาให้เพื่อใช้ในกิจการเพาะพันธุ์ (ม. ๒๖)
๔ ได้มาจากผู้เลิกกิจการสวนสัตว์สาธารณะหรือกิจการเพาะพันธุ์
๕ ได้มาจากการซื้อจากผู้ค้าสัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้จากการเพาะพันธุ์
๖ ได้มาจากการนาเข้าจากต่างประเทศ
๗ ได้มาโดยมีหลักฐานการแจ้งรายการชนิดและจานวนสัตว์ป่าต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ในปี ๒๕๔๖
4

วิธีการ ขั้นตอนการขออนุญาตให้พันธุ์สัตว์ป่า (ที่มิใช่สัตว์น้า)

ยื่นค้าขอรับใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า

(สป.๘) ตามสถานที่ตั้งกิจการเพาะพันธุ์

ในกทม. ยื่นค้าขอที่ส้านักอนุรักษ์สัตว์ป่า ปริมณฑลและต่างจังหวัด ยื่นค้าขอที่ ทสจ.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (ให้บริการตรวจหลักฐานเบื้องต้น)

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช สบอ. ที่ ๑ – ๑๖

ตรวจค้าขอและหลักฐาน

ตรวจประวัติผู้ขอ

ตรวจสถานที่

รายงานและความเห็นตามล้าดับชั้น

อธิบดีหรือ ผอ.สบอ.

ออกใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์สัตว์ป่า
5

เอกสารการขออนุญาตกิจการการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า

กรณีบุคคลธรรมดา

- คาขอใบอนุญาต ฯ (แบบ สป.๘)


- สาเนาทะเบียนบ้าน
- สาเนาบัตรประชาชน
- หรือบัตรประจาตัวที่ทางราชการออกให้
- สาเนาเอกสารที่ดินสถานที่เพาะพันธุ์ฯ เช่น โฉนด นส.๓ หรือกรณีที่ดินของรัฐต้องมี
หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินหรือให้เช่า
- แผนที่แสดงเส้นทางไปสถานที่ขออนุญาต
- หลักฐานการได้มาซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครองที่ใช้ในกิจการเพาะพันธุ์หรือระบุในคาขอฯ ว่า
จะขอสนับสนุนพันธุ์สัตว์ป่าจากกรม อส.
- บัญชีชนิด จานวนสัตว์ป่าฯ ที่เพาะพันธุ์
- โครงการ แผนผัง รายการสิ่งก่อสร้างในกิจการ
- หนังสือมอบอานาจ (ถ้ามี) ปิดอากร ๓o บาท
กรณีนิติบุคคล มีเอกสารเพิ่มเติม
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
- กรณีบริษัท แนบสาเนาบริคณฑ์สนธิ
- หนังสือมอบอานาจ (ถ้ามี) ปิดอากร ๓o บาท

หมายเหตุ สัตว์น้ายื่นคาขอที่กรมประมง

ทสจ. = ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

สบอ. = สานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑ – ๑๖

กรม อส. = กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช


6

เอกสารอ้างอิง

http://www.moohin.com/animals/birds-20.shtml

http://www.birdsofthailand.net

http://school.obec.go.th/bmc_poonsri/page2.htm

http://www.2uiop.com

" นกในเมืองไทย " โดย รศ. โอภาส ขอบเขตต์

เรียบเรียงโดย

สพ.ญ รัตนา สาริวงศ์จันทร์

นายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ ประจาสานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖

You might also like