You are on page 1of 22

- ร่าง -

ข้อบังคับพรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกล พ.ศ. ๒๕๖๕

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ร่างข้อบังคับพรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกล พ.ศ. ๒๕๖๕”


ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่พรรคเป็นต้นไป

หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๓ พรรคที่ใช้ข้อบังคับนี้เรียกว่า “พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกล” ชื่อย่อภาษาไทยว่า “ศ.ก.” เขียนเป็นชื่อ
ภาษาอังกฤษว่า “Srisawat Forward Party” ชื่อย่อในภาษาอังกฤษว่า “SFP.”
ข้อ ๔ เครื่องหมายพรรคมีลักษณะเป็นหัวลูกศรสีส้ม มีตัวอักษรคำว่า “ศรีสวัสดิ์ก้าวไกล” ซึ่งเป็นชื่อ
ของพรรคปรากฏอยู่ด้านล่างเครื่องหมายดังกล่าว

โดยมีความหมาย ดังนี้
คำว่า “ศรีสวัสดิ์ก้าวไกล” มุ่งสื่อถึงการขับเคลื่อนโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่านไปข้างหน้าใน
อนาคต โดยเครื่องหมายพรรคมีลักษณะเป็นหัวลูกศร ตัว อ ที่มีความหมายถึงหัวลูกศรแห่งอนาคตที่พร้อมพุ่ง
ไปยัง เป้าหมายที่อยู่ข้างหน้า กอปรกับสีส้มอันหมายถึง “แสงสว่างแห่ง รุ่งอรุณ ” ซึ่งมีความหมายโดยนัย
หมายถึง “การเริ่มต้นใหม่” หลอมรวมเป็นพรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลที่พร้อมจะเริ่มต้นสู่เป้าหมายในอนาคต
ข้างหน้าอยู่เสมอ
ข้อ ๕ สำนักงานของพรรค ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๘๓/๑ ถนนกาดน้ำทองน่าน หมู่บ้านไชยสถาน ตำบล
ไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ ๕๕๐๐๐
ข้อ ๖ ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นที่ได้รับ การแต่งตั้ง ณ ระดับชั้นใด ให้เรียกว่า “ตัวแทนพรรคศรี
สวัสดิ์ก้าวไกล ระดับชั้น...”

หมวด ๒
คำประกาศอุดมการณ์ของพรรค
ข้อ ๗ อุดมการณ์ของพรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกล มีดังนี้
(๑) พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกล เชื่อมั่นว่านักเรียนมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ ดีกว่ า
นักเรียนมีสิทธิในการใฝ่ฝันถึงโรงเรียนที่ดีกว่า และนักเรียนมีความชอบธรรมสูงสุดในการกำหนดอนาคตของ
ตนเองและโรงเรียน
(๒) พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกล เชื่อมั่นในความเป็นไปได้ โลกยุคใหม่ สังคมยุคใหม่ และโรงเรียน
แบบใหม่ เป็นไปได้เสมอ
(๓) พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกล ยืนยันหลักการนักเรียนเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุด การใช้อำนาจใน
โรงเรียนต้องยึดโยงสัมพันธ์กับนักเรียน การดำเนินกิจกรรมของพรรคยึดหลักการมีส่วนร่วมของสมาชิ กพรรค
เป็นสำคัญ โดยส่งเสริมประชาธิปไตยภายในพรรคพร้อมกับประสิทธิภาพในการทำงาน

หมวด ๓
นโยบายพรรค
ข้อ ๘ นโยบายเศรษฐกิจ มีดังต่อไปนี้
พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตนักเรียนลดความเหลื่อมล้ำ กระจาย
ความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากร เพิ่มความสามารถในการแข่ง ขันของโรงเรียน รวมถึงการสร้างเสริม
ศักยภาพและขยายโอกาสในการประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของนักเรียน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ
ของโรงเรียน พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลจะผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับการพัฒนาเศรษฐกิจทุก
ภาคส่วน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อรองรับรูปแบบเศรษฐกิจแห่งยุดโลกาภิวัตน์และ
ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
ข้อ ๙ นโยบายด้านสวัสดิการ มีดังนี้
พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลมุ่งคุ้มครองนักเรียนผู้ยากไร้ ส่งเสริมการสร้างสวัสดิการที่ถ้วนหน้า ครบวงจร
เพื่อดูแลทุกช่วงชีวิตในฐานะสิทธิของนักเรียนทุกคน เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้ชีวิตและทำให้นักเรียนมี
ประสิทธิภาพมนการใช้ชีวิตในโรงเรียนอย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดการเติบโตที่ได้ประโยชน์ต่อนักเรียนส่วนใหญ่ใน
โรงเรียนมากที่สุด
ข้อ ๑๐ นโยบายด้านการศึกษา มีดังนี้
พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลส่งเสริมการกระจายอำนาจทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง ผลักดันให้
นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบและหลักสูตรการศึกษาทั้ง ในและนอกสถานศึกษาเพื่อให้สอดรั บกั บ
บริบทของแต่ละบุคคล จัดให้มีแหล่งเรียนรู้เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลายทั่วถึง
ทุกห้องเรียน พร้อมทั้งการสร้างเสริมความรู้ ทักษะชีวิต ประสบการณ์ และวิจารณญาณแก่นักเรียนให้พร้อม
รับมือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคมปัจจุบัน
ข้อ ๑๑ นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีดังนี้
พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลมุ่งเน้นในการอนุรักษณ์และใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่ าง
ยั่งยืน ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และมุ่งมั่นผลักดันให้เกิดการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อจัดสรรโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรของนักเรียนอย่างเป็นธรรม
ข้อ ๑๒ นโยบายด้านการกระจายอำนาจ มีดังนี้
พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลสนับสนุนการกระจายอำนาจการบริหารงานให้สภานักเรียนย่างแท้จริง โดยจัด
ให้มีการเลือกตั้งสภาระดับชั้น สภาห้องเรียน เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและทั่วถึง กำหนดให้การ
ดำเนินบริการสาธารณะในแต่ละระดับชั้นเป็นอำนาจของสภาระดับชั้นเป็นหลัก และการบริหารงานส่วนกลาง
ของสภานักเรียนมีอำนาจกำกับดูแลสภาระดับชั้นและสภาห้องเรียนได้
ข้อ ๑๓ นโยบายด้านความโปร่งใส มีดังนี้
พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลมุ่งปรับปรุงการบริหารงานของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพพร้อมกับการมีสว่ น
ร่วมของนักเรียน การดำเนินการตามนโยบายของโรงเรียนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม
จากสาธารณะ ตั้งแต่การนำเสนอนโยบาย การแสดงความเห็นต่อนโยบาย และกระบวนการตัดสินใจดำเนิน
นโยบาย เพื่อส่งเสริมให้เกิดประชิปไตยทางตรงมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในประเด็น
สำคัญและการจัดสรรงบประมาณ
ข้อ ๑๔ นโยบายด้านการสร้างความเสมอภาค มีดังนี้
พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลมีจุดมุ่งหมายในการผลักดันให้เกิดความคุ้มครองนักเรียนซึ่งอาจถูกกีดกันและ
เลือกปฏิบัติต่าง ๆ โดยยึดหลักความเสมอภาคเท่าเทียม ความหลากหลาย และการเสริมสร้างบทบาทเพื่อสร้าง
โครงข่ายทางสังคมที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิที่ควรได้รับอย่างเป็นธรรม และส่งเสรืมการศึกษาเพื่อทำให้
เกิดความเข้าใจในเรื่องเพศ สถานะ และชนชั้นทางสังคม
ข้อ ๑๕ นโยบายด้านประชาธิปไตย มีดังนี้
พรรคศรีสวัสดิ์ก้าวไกลมุ่งแก้ไขปรับปรุงกฎโรงเรียนให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยและสิทธิ
มนุษยชน ในการนี้ จำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมทั้งใน
กระบวนการจัดทำ และเนื้อหาที่เป็นประชาธิปไตยตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ได้มาซึ่งกฎโรงเรียนที่เป็นฉันทา
มติร่วมกันของคนในโรงเรียน และระเบียบการเมืองการปกครองที่ทุกฝ่ายยอมรับได้

หมวด ๔
โครงสร้างการบริหารพรรคและตำแหน่งต่าง ๆ ในพรรค
ส่วนที่ ๑
โครงสร้างการบริหารพรรค
ข้อ ๑๖ โครงสร้างของพรรคประกอบด้วย
(๑) คณะกรรมการบริหารพรรค
(๒) ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น

ส่วนที่ ๒
คณะกรรมการบริหารพรรค
ข้ อ ๑๗ ให้ ม ี ก รรมการคณะหนึ ่ ง เป็ น คณะกรรมการบริ ห ารพรรคมี จ ำนวนไม่ น ้ อยกว่ า แปดคน
ประกอบด้วย
(๑) หัวหน้าพรรค
(๒) เลขาธิการพรรค
(๓) เหรัญญิกพรรค
(๔) นายทะเบียนสมาชิกพรรค
(๕) กรรมการบริหารพรรคอื่น ๆ
ข้อ ๑๘ การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคให้ดำเนินการในที่ประชุมใหญ่ของพรรค โดยการ
ลงคะแนนลับตามลำดับ ดังนี้
(๑) ให้ที่ประชุมใหญ่กำหนดจำนวนของคณะกรรมการบริหารพรรคตามข้อ ๑๗
(๒) ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคจนครบจำนวนตามที่กำหนดใน (๑)
ซึ่งในการเสนอชื่อผู้รับการเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคแต่ละตำแหน่งต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมรับรอง
ไม่น้อยกว่าสิบคน และผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อต้องอยู่ในที่ประชุม
ข้อ ๑๙ กรรมการบริหารพรรคต้องเป็นสมาชิกพรรค อายุไม่ต่ำกว่าสิบสองปี มีวาระการดำรงตำแหน่ง
คราวละสองปี นับแต่วันที่ตั้งพรรคหรือนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่พรรคเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุด
ใหม่ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๐ ประธานนักเรียนและรองประธานนักเรียนจะต้องเป็นกรรมการบริหารพรรค
ข้อ ๒๑ ความเป็นกรรการบริหารพรรคสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดจากสมาชิกภาพ
(๔) อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับพรรคกำหนด
เมื่อตำแหน่งกรรกมารบริหารพรรคว่างลงตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าพรรคแต่งตั้งกรรมการบริ ห าร
พรรคคนใดคนหนึ่งที่เหมาะสมเข้าทำหน้าที่แทน จนกว่าจะมีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างซึ่งต้องกระทำ
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ข้อ ๒๒ กรรมการบริหารพรรคทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ครบวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับพรรค
(๒) ความเป็นกรรมการบริหารพรรคของหัวหน้าพรรคสิ้นสุดลงตามข้อ ๒๑
(๓) กรรมารบริหารพรรคว่างลงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด
ในกรณีกรรมการบริหารพรรคทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตาม (๒) ให้กรรกมารบริหารพรรคที่เหลืออยู่
ประชุมเลือกกรรมการบริหารพรรคคนใดคนหนึ่ง ทำหน้าที่แทนหัวหน้าพรรคและให้เลือกตั้งคณะกรรมการชุด
ใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่กรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
ในกรณีกรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะยกเว้นตาม (๒) ให้เลือกตั้งคณะกรรมการ
บริหารพรรคชุดใหม่ภายในสิบวัน นับแต่วันที่กรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
ในกรณีที่มีเหตุให้กรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ให้กรรมการบริหารพรรคที่พ้นจาก
ตำแหน่งทั้งคณะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะการบริหารพรรคชุดใหม่
ข้อ ๒๓ คณะกรรมการบริหารพรรคมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินกิจกรรมของพรรคให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค และมติ
ของที่ประชุมใหญ่พรรค รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของโรงเรียน
(๒) ควบคุมและกำกับดู แลมิให้สมาชิกพรรค หรือผู้ดำรงตำแหน่ง ในพรรคกระทำการใน
ลักษณะที่อาจทำให้การเลือกตั้งหรือการเลือกมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ไม่ชอบด้วยธรรมนูญสภา
นักเรียน หรืออาจเป็นคุณหรือโทษแก่บุคคลใดซึ่ง สมัครรับเลือกเป็นคณะกรรมการสภานักเรียน ไม่ว่าโดย
ทางตรงหรือทางอ้อม
(๓) ให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนหรือโครงการที่จำดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ใน
ธรรมนูญสภานักเรียนว่าด้วยพรรคการเมือง
(๔) ดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญ สภา
นักเรียนว่าด้วยพรรคการเมือง
(๕) บริหารการเงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดของพรรค ตลอดจนจัดทำบัญ ชีตามที่
กำหนดไว้ในธรรมนูญสภานักเรียนว่าด้วยพรรคการเมืองให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
(๖) ตรวจสอบและควบคุมมิให้มีการนำเงินหรือทรัพย์สินของพรรคไปใช้จ่ายเพื่อการอื่นใด
นอกจากที่กำหนดไว้ในธรรมนูญสภานักเรียนว่าด้วยพรรคการเมือง
(๗) กรณีพรรคสิ้นสภาพความเป็นพรรค หรือยุบพรรค ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่จนกว่าจะ
ชำระบัญชีจะแล้วเสร็จ แต่จะดำเนินกิจกรรมในนามพรรคที่สิ้นสภาพความเป็นพรรคหรือยุบพรรคมิได้
(๘) ออกกฎระเบียบและจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายพรรค
และข้อบังคับพรรค
(๙) ควบคุมไม่ให้พรรค และผู้ซึ่งพรรคส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งใช้เกินวงเงินตามที่ธรรมนูญสภา
นักเรียนกำหนด
(๑๐) เลิกพรรค และตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
(๑๑) กำหนดให้มีการประชุมใหญ่พรรคอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และรายงานกิจการด้านต่าง
ๆ ต่อที่ประชุมพรรค
(๑๒) แต่งตั้งและถอดถอนผู้ปฏิบัติงานของพรรคในกิจการต่าง ๆ ของพรรคและคณะทำงาน
เฉพาะกิจ ทั้งในส่วนกลางและส่วนระดับชั้น
ข้อ ๒๔ กรรมการบริหารพรรคแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
(๑) หัวหน้าพรรค มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นประธานของคณะกรรมการบริหารพรรคและเป็นผู้เรียกประชุมคณะกรรมการ
บริหารพรรค ตลอดจนดำเนินการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค
(ข) เป็นผู้เรียกประชุมใหญ่ของพรรคตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารพรรค
และเป็นประธานของที่ประชุมใหญ่พรรคตลอดจนดำเนินการระชุมใหญ่พรรค
(ค) เป็นผู้เรียกประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการบริหารพรรคและคณะกรรมการสภา
นักเรียนของพรรคและเป็นประธานของที่ประชุมตลอดจนเป็นผู้ดำเนินการประชุมดังกล่าว
(ง) เป็นผู้ลงนามประกาศ กฎระเบียบ มติของพรรคและคำสั่งพรรค
(จ) ในกรณีที่มีความจำเป็นในการดำเนินกิจการให้มีอำนาจปฏิบัติการในนามของพรรค
ได้ โดยความเห็นชอบของกรรมการบริหารพรรคไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการบริหารพรรค
เท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นและให้ถือว่าการดำเนินการนั้นเป็นมติพรรค
(ฉ) อำนาจอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญสภานักเรียนและข้อบังคับพรรค
(๒) เลขาธิการพรรค มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นผู้ตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการทั้งปวงของพรรคตาที่คณะกรรมการบริห าร
พรรคมอบหมายและให้รับผิดชอบโดยตรงจากหัวหน้าพรรคในกิจการที่หัวหน้าพรรคมอบหมายให้ปฏิบัติ
(ข) เป็นผู้เสนอรายงานต่อคณะกรรมการบริหารพรรคที่ประชุมร่วมคณะกรรมการบริหาร
พรรคและคณะกรรมการสภานักเรียนของพรรคและต่อที่ประชุมพรรค
(ค) เป็นเลขานุการของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคที่ประชุมร่วมคณะกรรมการ
บริหารพรรค คณะที่ปรึกษาพรรค และคณะกรรมการสภานักเรียนของพรรคและที่ประชุมใหญ่พรรค
(ง) เป็นผู้กำกับดูแบการบริหารงานสำนักงานใหญ่พรรค
(๓) เหรัญญิกพรรค มีหน้าที่ในการควบคุมรายรับ รายจ่ายเงิน บัญชีทรัพย์สินหนี้สินและงบ
การเงินของพรรคตามที่คณะกรรมการบริหารพรรคกำหนด
(๔) นายทะเบียนสมาชิกพรรค มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติและ
ลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรค และจัดทำทะเบียนสมาชิกพรรคให้ตรงตามความเป็นจริง
และต้องให้สมาชิกพรรคตรวจดูได้โดยสะดวก ณ สำนักงานใหญ่ของพรรค รวมทั้งประกาศชื่อและนามสกุ
ของสมาชิกพรรคให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้อง
(๕) กรรมการบริหารพรรคอื่น ๆ มีหน้าที่และอำนาจหน้ที่ตามที่หัวหน้าพรรคหรือคณะ
กรรมการบริหารพรรคมอบหมาย

ส่วนที่ ๓
ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
ข้อ ๒๕ ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นต้องเป็นกรรมการบริหารพรรค
ข้อ ๒๖ การแต่งตั้งตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น ในระดับชั้นใดที่มีสมาชิกอยู่ในระดับชั้นนั้นเกินสิบ
ห้าคน ให้สมาชิกพรรคไม่น้อยกว่าแปดคนจัดประชุมเพื่อดำเนินการเลือกตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น โดยใน
การลงคะแนนให้สมาชิกพรรคมี สิทธิลงคะแนนเลือกได้หนึ่งคน และเมื่อลงคะแนนเลือกเสร็ จสิ้นแล้วให้ นับ
คะแนนและประกาศผลการนับคะแนนแล้วรายงานชื่อสมาชิกพรรคซึ่งได้รับคะแนนลำดับสูงสุดสามลำดับแรก
ให้หัวหน้าพรรคทราบโดยเร็วและให้หัวหน้าพรรคแต่งตั้งสมาชิกพรรคที่ได้ รบคะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับเป็น
ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นและกรรกมการบริหารพรรค ในกรณีที่คะแนนเท่ากันให้เป็นอำนาจของหัวหน้า
พรรคในการพิจารณาแต่งตั้งและให้หัวหน้าพรรคแจ้งให้นายทะเบียนพรรคทราบภายในสิบห้าวันนับแต่ วันที่
แต่งตั้งตัวแทนสาขาพรรคประจำระดับชั้น
ในกรณีที่ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น ลำดับแรกไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้หัวหน้าพรรค
แต่งตั้งตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นที่ได้ รับเลือกในลำดับถัดไปเป็นตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
ข้อ ๒๗ ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นต้องเป็นสมาชิกพรรคมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบสองปี มีวาระการดำรง
ตำแหน่งคราวละสองปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
ข้อ ๒๘ ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
(๑) ดำเนินกิจกรรมของพรรคให้เป็นไปตามธรรมนูญสภานักเรียน ข้อบังคับพรรค นโยบาย
พรรคและมติของที่ประชุมใหญ่พรรค รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของโรงเรียน
(๒) ส่งเสริมให้สมาชิกและนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การใช้สิทธิและเสรีภาพอย่างมีเหตุผล และมีความ
รับผิดชอบต่อสังคม และความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของปวงชนชาวไทย
(๓) ร่วมกับประชาชนในการหาแนวทางการพัฒนาการศึกษาและประเทศ และการแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอย่างมีเหตุผล โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุ กับการ
พัฒนาด้านจิตใจ และความอยู่เย็นเป็นสุขของนกักเรียนประกอบกัน
(๔) ส่งเสริมการมีส ่วนร่วมของนัก เรี ยนในการดำเนินกิ จกรรมต่ าง ๆ รวมตลอดทั้ ง การ
ตรวจสอบการใช้อำนาจของโรงเรียนอย่างมีเหตุผล
(๕) ส่งเสริมให้สมาชิกและนักเรียนมีความสามัคคีปรองดองรู้ จักยอมรับในความเห็น โดย
สุจริตที่แตกต่างและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธีเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและ
นักเรียน
(๖) กิจกรรมอื่นอันจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขรวมทั้งการพัฒนาพรรคให้เป็นสถาบันทางการเมืองของนักเรียน ทั้งนี้ตามที่ได้รับความเห็นชอบ
จากโรงเรียน
ข้อ ๒๙ ความเป็นตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดจากสมาชิกภาพ
(๔) หัวหน้าพรรคโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารพรรคสั่งให้ออกจาก การเป็น
ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น

หมวด ๕
การบริหารจัดการตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
ข้อ ๓๐ การบริหารจัดการตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
(๑) ให้มีการสมัครสมาชิกพรรค
(๒) ให้มีการจัดทำทะเบียนสมาชิกพรรคในระดับชั้นที่รับผิดชอบ
(๓) ประกาศชื่อและนามสกุลของสมาชิกพรรคให้นักเรียนทราบเป็นการทั่วไป

หมวด ๖
การประชุม
ส่วนที่ ๑
การประชุมใหญ่พรรค
ข้อ ๓๑ กรรมการบริหารพรรคต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญของพรรคอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๓๒ สมาชิกซึ่งเป็น คณะกรรมการสภานักเรียนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกซึ่งเป็น
คณะกรรมการสภานั ก เรี ย น หรื อ กรรมการบริ ห ารพรรคจำนวนไม่ น ้ อ ยกว่ า หนึ ่ ง ในสามของจำนวน
กรรมการบริหารพรรค หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของพรรค
หรือไม่น้อยกว่าห้าสิบคน แล้วแต่จำนวนใดจะน้อยกว่ามีสิทธิเข้าชื่อกันยื่นคําร้องขอให้ จัดการ ประชุมใหญ่
วิสามัญของพรรคได้
ข้อ ๓๓ องค์ประชุมใหญ่ของที่ประชุมใหญ่พรรค ประกอบด้วย
(๑) กรรมการบริหารพรรคไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด
(๒) ผู้แทนระดับของพรรคชั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก ณ ระดับชั้นนั้น ซึ่งใน
จำนวนนี้ จะต้องประกอบด้วยผู้แทนระดับชั้นของพรรคไม่น้อยกว่าหนึ่งในสองของสมาชิกพรรคในระดับชั้น
(๓) ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
(๔) สมาชิกพรรค
ข้อ ๓๔ องค์ประชุมใหญ่ของพรรคตามข้อ ๓๓ ต้องมีรวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าสิบคน
การลงมติให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุม ในกรณีที่มีเสียงเท่ ากันให้ประธานที่ประชุมออกเสียง
เพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๓๕ ให้หัวหน้าพรรคเป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ถ้าหัวหน้าพรรคไม่มาประชุมให้ที่ประชุมใหญ่
เลือกกรรมการบริหารพรรคคนใดคนหนึ่งเป็นประธาน และให้เลขาธิการพรรคเป็นเลขานุการที่ประชุม แต่ถ้า
เลขาธิการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุ มเลือกกรรมการบริหารพรรคคนใดคนหนึ่ง ทำ
หน้าที่แทน
ข้อ ๓๖ การดำเนินการดังต่อไปนี้ให้กระทำโดยที่ประชุมใหญ่ของพรรค
(๑) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําประกาศอุดมการณ์ของพรรคหรือนโยบายของพรรค
(๒) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค
(๓) การเลือกตั้งหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค เหรัญญิกพรรค นายทะเบียนสมาชิกพรรค
และกรรมการบริหารอื่นของพรรค
(๔) การเลือกตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค
(๕) ให้ความเห็นชอบรายงานการเงินและการดำเนินกิจการของพรรคที่ได้ดำเนินการไปใน
รอบปีที่ผ่านมา
(๖) กิจการที่เสนอโดยคณะกรรมการบริหารพรรคหรือตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
(๗) กิจการอื่นตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญสภานักเรียน หรือข้อบังคับพรรค
การลงมติในที่ประชุมใหญ่ให้กระทำโดยเปิดเผย แต่การลงมติเลือกบุคคลตาม ( ๓) และ ( ๔)
ให้ลงคะแนนลับ
ข้อ ๓๗ คําบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ ทุกคราวให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งกําหนดการประชุ มให้
ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โดยให้ระบุ วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมด้วย

ส่วนที่ ๒
การประชุมตัวแทนพรรคระดับชั้น
ข้อ ๓๘ คณะกรรมการพรรคระดับชั้นต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๓๙ องค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่พรรคระดับชั้น ประกอบด้วย
(๑) กรรมการพรรคระดับชั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการพรรคระดับชั้นนั้นทั้งหมด
(๒) สมาชิกพรรคระดับชั้นนั้น
ข้อ ๔๐ องค์ประชุมของกรรมการพรรคระดับชั้นตามข้อ ๓๙ ต้องมีรวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่าสิบคน
การลงมติให้ถือเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาร่วมประชุม กรณีที่มีเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม
ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๔๑ ให้ตัวแทนพรรคประจำระดั บ ชั ้นที่ เ ป็นกรรมการบริ ห ารพรรคเป็นประธานในที่ ป ระชุ ม
ระดับชั้นของพรรค ถ้าตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นที่เป็นกรรมการบริหารไม่มาประชุม ให้คณะกรรมการ
ระดับชั้นพรรคที่มาประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานที่ประชุมและให้เลขานุการระดับชั้นของ
พรรคทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม
ข้อ ๔๒ กิจการดังต่อไปนี้ให้กระทำโดยที่ประชุมใหญ่ระดับชั้นของพรรค
(๑) กิจการตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญสภา หรือข้อบังคับพรรค
(๒) การเลือกตั้งคณะกรรมการพรรคระดับชั้น
ข้อ ๔๓ คําบอกกล่าวเรียกประชุมสาขาพรรคทุกคราว ให้ประธานพรรคระดับชั้น แจ้งกำหนด การ
ประชุมให้สมาชิกพรรคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันโดยให้ระบุ วัน เวลา และสถานที่ประชุมและระเบียบ
วาระการประชุม

ส่วนที่ ๓
การประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค
ข้อ ๔๔ การประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ต้องมีกรรมการบริหารพรรคมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่ง
หนึ่ง ของจำนวนคณะกรรมการบริหารพรรคที่มีอยู่ในขณะนั้นจึง จะเป็นองค์ประชุม ให้หัวหน้าพรรคเป็น
ประธานที่ประชุม ถ้าหัวหน้าพรรคไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมคัดเลือกกรรมการบริหาร
พรรคคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่แทน และให้เลขาธิการพรรคเป็นเลขานุการในที่ประชุม แต่ถ้าเลขาธิการพรรคไม่
มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมคัดเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคคนใดคนหนึ่ง ทำหน้าที่
แทน
ข้อ ๔๕ มติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคให้ ถือเสียงข้างมาก

หมวด ๗
สมาชิกพรรค
ข้อ ๔๖ สมาชิกพรรคต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ในกรณีเป็นผู้มีสัญ ชาติไ ทยโดยการแปลงสัญ ชาติต้ อ งได้
สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบเอ็ดปี
(๓) ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามธรรมนูญสภานักเรียน
(๔) ไม่เป็นสมาชิกของพรรคอื่นหรือเป็นผู้ยื่นคําขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคอื่น หรือผู้แจ้งการ
เตรียมการจัดตั้งพรรค
ข้อ ๔๗ การสมัครเป็นสมาชิกพรรคให้ ยื่นใบสมัครตามแบบฟอร์มของพรรคด้วยตนเอง พร้อมด้วย
เอกสารประกอบตามที่พรรคกำหนด
สมาชิกภาพของสมาชิกพรรคเริ่มตั้งแต่ได้ชําระค่าบํารุงพรรค
ข้อ ๔๘ สมาชิกภาพของสมาชิกพรรคสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติ หรือมี ลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๔๖ เว้นแต่เป็นกรณีมีลักษณะต้องห้าม
ตามธรรมนูญสภานักเรียน แต่ในระหว่างลักษณะต้องห้ามดังกล่าวจะใช้สิทธิในฐานะสมาชิกพรรคมิได้
(๔) พรรคมีมติให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยหรือจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงหรือมีเหตุร้ายแรง
(๕) พรรคสิ้นสภาพความเป็นพรรค หรือยุบพรรค
การลาออกของสมาชิกพรรคตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้ถือว่าสมบูรณ์เมื่อได้ยื่นใบลาออกต่อนายทะเบียน
สมาชิกพรรค
การสิ้นสุดของสมาชิกภาพตามวรรคหนึ่ง (๔) หากสมาชิกผู้นั้นดำรงตำแหน่ง คณะกรรมการสภา
นักเรียน มติของพรรคต้องมีคะแนนเสียงไม่ น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารพรรค
และคณะกรรมการสภานักเรียนที่สังกัดพรรค
ข้อ ๔๙ สมาชิกพรรคมีสิทธิต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อพรรค
(๒) ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค
(๓) ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติงาน คณะทำงาน หรือคณะกรรมการ ตัวแทนพรรค
ประจำระดับชั้น หรืออนุกรรมการในคณะต่าง ๆ หรือกรรมการบริหารพรรค ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาพรรค
(๔) อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารพรรคจะพิจารณาเป็นแต่ละกรณีไป
ข้อ ๕๐ สมาชิกพรรคมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อพรรค ดังต่อไปนี้
(๑) ร่วมรับผิดชอบต่อเสถียรภาพของพรรค และให้ความร่วมมือในกิจกรรม ของพรรคด้วย
จิตสํานึกในอุดมคติของพรรคในฐานะเป็นเจ้าของพรรคร่วมกัน
(๒) สนับสนุนสมาชิกพรรคผู้ที่พรรคได้พิจารณาส่งลงสมัครรับเลือกตั้งในทุกระดับ และให้
ความร่วมมือในการดําเนินงานของพรรคด้วยความเต็มใจ และบริสุทธิ์ใจเพื่อความก้าวหน้าของพรรค
(๓) ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของพรรคอย่างเคร่งครัด ให้การสนับสนุนนโยบาย และ
มติของพรรคอย่างจริงจัง
(๔) ร่วมกิจกรรมของพรรคด้วยความเต็มใจและเต็มความสามารถ
ข้อ ๕๑ ความรับผิดชอบของพรรคต่อสมาชิกพรรค ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินกิจกรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้พรรคได้ก้าวไปสู่การมีบทบาท และเข้าสู่
การบริหารโรงเรียนตามนโยบายของพรรคเพื่อบรรลุเป้าหมายตามอุดมการณ์
(๒) ส่งเสริมสถานภาพของสมาชิกให้มีสมรรถภาพต่อการดำรงชีวิตของตนเอง และครอบครัว
และจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อสมานสามัคคีระหว่างมวลสมาชิก
(๓) ให้สวัสดิการคุ้มครองจากอิทธิพล อำนาจมืด และส่งเสริมอาชีพให้กับมวลสมาชิก
(๔) ให้ความสำคัญแก่มวลสมาชิกพรรคทุกท่านอย่างเต็มรูปแบบ โดยให้ถือว่าสมาชิกพรรค
เป็นบุคคลสำคัญและเป็นองค์กรหลักของพรรค

หมวด ๘
มาตรฐานจริยธรรมของสมาชิกพรรค
และกรรมการบริหารพรรค
ส่วนที่ ๑
มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์
ข้อ ๕๒ ต้องยึดมั่นและธํารงไว้ ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็น
ประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อ ๕๓ ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขต และ
เขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐและความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน
ข้อ ๕๔ ต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน
ข้อ ๕๕ ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองหรือผู้อื่ น
หรือมีพฤติการณ์ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
ข้อ ๕๖ ต้องไม่ขอ ไม่เรียก ไม่ รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดในประการ ที่อาจทำให้
กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่
ข้อ ๕๗ ต้องไม่รับของขวัญของกํานัล ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เว้นแต่เป็นการรับจากการให้โดย
ธรรมจรรยา และการรับที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับให้รับได้

ส่วนที่ ๒
มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก
ข้อ ๕๘ ไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าโดย
ทางตรงหรือทางอ้อม
ข้อ ๕๙ ยึดมั่นหลักนิติธรรม และประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีของนักเรียน
ข้อ ๖๐ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม เป็นอิสระ เป็นกลาง และปราศจากอคติโดยไม่หวั่นไหวต่อ
อิทธิพล กระแสสังคม หรือแรงกดดันอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของนักเรียน ทั้งนี้
ตามความเหมาะสมแห่งสถานภาพ
ข้อ ๖๑ รักษาไว้ซึ่งความลับในการประชุม การพิจารณาวินิจฉัย รวมทั้งเคารพต่อมติของที่ประชุม ฝ่าย
ข้างมาก และเหตุผลของทุกฝ่ายอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๖๒ ให้ข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริงแก่ นักเรียนหรือสื่อมวลชนอันอยู่ในความรับผิดชอบของตน
ถูกต้องครบถ้วนและไม่บิดเบือ
ข้อ ๖๓ ไม่ให้คำปรึกษาแก่บุคคลภายนอก หรือแสดงความคิดเห็น หรือข้อมูลต่อสื่อสาธารณะหรือ
สาธารณชนในเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสียความเป็นธรรมแก่การ
ปฏิบัติหน้าที่ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายขององค์กร
ข้อ ๖๔ ไม่กระทำการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง
ข้อ ๖๕ ไม่ปล่อยปละละเลยหรือยินยอมให้บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลที่อยู่ในกำกับดูแล หรือความ
รับผิดชอบของตน เรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากคู่กรณี หรือจากบุคคลอื่นใดใน
ประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตน
ข้อ ๖๕ ไม่คบหาสมาคมกับคู่กรณี ผู้ประพฤติผิดกฎหมาย ผู้มีอิทธิพล หรือผู้มีความประพฤติ หรือผู้มี
ชื่อเสียงในทางเสื่อมเสียอันอาจกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือศรัทธาของนักเรียนในการปฏิบัติหน้าที่
ข้ อ ๖๖ ไม่ ก ระทำการอั น มี ลั ก ษณะเป็ น การล่ ว งละเมิ ด หรื อ คุ ก คามทางเพศจนเป็ น เหตุ ท ำให้
ผู้ถูกกระทำได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรือกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยผู้ถูกกระทำอยู่ในภาวะจําต้อง
ยอมรับในการกระทำนั้น ไม่นําความสัมพันธ์ทางเพศที่ตนมีต่อบุคคลใดมาเป็นเหตุหรือมีอิทธิพลครอบงำให้ใช้
ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด

ส่วนที่ ๓
จริยธรรมทั่วไป
ข้อ ๖๗ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกําลัง ความสามารถ และยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม โปร่งใสและ
ตรวจสอบได้และปฏิบัติตามกฎหมายโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและความผาสุกของนักเรียนโดยรวม
ข้อ ๖๘ ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของพรรคอย่างประหยัด คุ้มค่า โดยระมัดระวัง มิให้เสียหายหรือ
สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น
ข้อ ๖๙ รักษาความลับของพรรค และระเบียบแบบแผนของพรรค
ข้อ ๗๐ ดำเนินการอื่นให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และระบบคุณธรรม รวมทั้ง ส่ง เสริมและ
สนับสนุนให้เกิดความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ส่วนที่ ๔
การฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ข้อ ๗๑ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในส่วนที่ ๑ ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง
การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในส่วนที่ ๒ และส่วนที่ ๓ จะถือว่ามีลักษณะร้ายแรงหรือไม่
ให้พิจารณาถึงพฤติกรรมของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติเจตนาและความร้ายแรงของความเสียหายที่เกิดจากการ
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัตินั้น
ข้อ ๗๒ การดำเนินการแก่บุคคลใดว่ากระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมนี้ให้
เป็นไปตามบทบัญญัติในธรรมนูญสภานักเรียน กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับว่าด้วยการนั้น

หมวด ๙
หลักเกณฑ์อละวิธีการคัดเลือกสมาชิกพรรคเพื่อส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
เป็นคณะกรรมการสภานักเรียนและการคัดเลือกซึ่งพรรคเห็นสมควร
จะเสนอให้ได้พิจารณาแต่งตั้งเป็นประธานนักเรียน
ส่วนที่ ๑
คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ข้อ ๗๓ เมื่อมีกรณี ต้องสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคการเมืองต้องจัดให้ มีคณะกรรมการสรรหา
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ข้อ ๗๓ ให้ มีกรรมการคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งมี จำนวนสิบเอ็ด คน
ประกอบด้วย
(๑) กรรมการบริหารพรรคจำนวนสี่คน
(๒) หัวหน้ากรรมการพรรคระดับชั้นซึ่งมาจากระดับชั้นละหนึ่งคน
(๓) ที่ปรึกษาพรรค
ข้อ ๗๔ ในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกที่มีขึ้นภายหลังจากวันที่ ประกาศ
ธรรมนู ญ สภานั ก รั ย นบั ง คั บ ใช้ ให้ ค ณะกรรมการสรรหาผู ้ ส มั ค รรั บ เลื อ กตั ้ ง ตามข้ อ ๗๔ ประกอบด้ วย
กรรมการบริหารพรรคจำนวนสี่คน และตัวแทนสมาชิกที่พรรคเลือกจำนวนเจ็ดคน
ข้อ ๗๕ การเลือกตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ดำเนินการในที่ประชุมใหญ่พรรค โดย
การลงคะแนนลับ

ส่วนที่ ๒
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกสมาชิกพรรค
เพื่อส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการสภานักเรียน
ข้อ ๗๖ พรรคซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการสภานักเรียนในการเลือกตั้งครั้งใด
จะต้องศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการสภานักเรียนในการเลือกตั้ง ครั้ง ใด ให้พรรคส่งผู้สมั ครรั บ
เลือกตั้งจากผู้ซึ่งได้รับเลือกจากกรรมการบริหารพรรค
ข้อ ๗๗ การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ให้ดำเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้คณะกรรมการสรรหากำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการสมัครเป็นผู้สมัคร รับเลือกตั้ง
และประกาศให้สมาชิกพรรคทราบเป็นการทั่วไป
(๒) เมื่อพ้นกําหนดเวลารับสมัครตาม (๑) ให้คณะกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติของ
ผู้สมัครในแต่ละคนแล้วส่งรายชื่อผู้สมัครให้กรรมการบริหารพรรค
(๓) เมื่อกรรมการบริหารพรรคได้รับรายชื่อผู้สมัครจากคณะกรรมการสรรหาแล้ว ให้ กรรก
มารบริหารคัดเลือกตำแหน่งที่จะส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง
ส่วนที่ ๓
ข้อยกเว้นในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ข้อ ๗๘ ในการเลือกตั้งทั่วไปการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียนให้ดำเนินการสรรหา
ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ ๗๗ เว้นแต่กรณีที่เป็นการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน สำหรับ
การเลือกตั้งแทนการเลือกตั้งที่เป็นโมฆะ หรือการเลือกตั้งใหม่ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดได้รับการเลือกตั้งหรือกรณี
ผู้สมัครตายก่อนปิดการรับสมัคร รับเลือกตั้งให้คณะกรรมการสรรหาผู้สมัค รรับเลือกตั้งและคณะกรรมการ
บริหารพรรคเป็นผู้พิจารณาร่วมกัน

ส่วนที่ ๔
การคัดเลือกบุคคล ซึ่งพรรคเห็นสมควรจะเสนอ
ใหได้รับพิจารณาเป็นประธานนักเรียน
ข้อ ๗๙ กรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปให้พรรคประกาศให้สมาชิกทราบเป็นการทั่วไปเพื่อเชิญชวน ให้
กรรมการบริหารพรรค ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นและสมาชิกพรรคเสนอชื่อบุคคลที่เห็นสมควรจะเสนอให้
ได้รับการพิจารณาเป็นประธานนักเรียนต่อคณะกรรมการบริหารพรรค ภายในระยะเวลาที่ก ำหนดและให้
คณะกรรมการบริหารพรรคพิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ธรรมนูญสภา
นักเรียนกำหนด และเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรม จากรายชื่อบุคคล
ที่กรรมการบริหารพรรค ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น หรือสมาชิกพรรคเสนอมา เพื่อเสนอให้ นักเรียนเป็นผู้
คัดเลือก และแจ้งให้ต่องานสภานักเรียนก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน
พรรคจะต้องเสนอรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคเห็นสมควรจะเสนอให้เป็นประธานนักเรียน
ข้อ ๘๐ การเสนอชื่อบุคคลตามข้อ ๗๙ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมีหนังสือยินยอมของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อ โดยมีรายละเอียดตามที่ ธรรมนูญ
สภานักเรียนกำหนด
(๒) ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็น ประธาน
นักเรียนตามที่ธรรมนูญสภานักเรียนกำหนด และไม่เคยทำหนังสือยินยอมตาม (๑) ให้พรรคอื่นในการเลือกตั้ง
คราวนั้น การเสนอชื่อบุคคลใดที่มิได้เป็นไปตามวรรคหนึ่งให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อบุคคลนั้น

หมวด ๑๐
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลดำรงตำแหน่งในพรรค
ข้อ ๘๑ กรณีที่จะมีการแต่งตั้งบุคคลเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคนั้น ให้พรรคประกาศให้สมาชิกทราบ
เป็นการทั่วไปเพื่อเชิญชวนให้กรรมการบริหารพรรค ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นและสมาชิกพรรค เสนอชื่อ
บุคคลที่เห็นสมควรจะเสนอให้ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้ด ำรงตำแหน่งในพรรคคณะกรรมการบริห าร
พรรคภายในระยะเวลาที่กำหนด และให้คณะกรรมการบริหารพรรคพิจารณาคัดเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและ
ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ธรรมนูญสภานักเรียนกำหนด และเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถซื่อสัตย์ สุจริต
และมีคุณธรรมจริยธรรมจากรายชื่อบุคคลที่กรรมการบริหารพรรค ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น หรือสมาชิก
พรรคเสนอมาเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในพรรค

หมวด ๑๑
การบริหารการเงินและทรัพย์สินและการจัดทำบัญชีของพรรค
ข้อ ๘๒ ให้คณะกรรมการบริหารพรรคมีหน้าที่บริหารการเงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดของพรรค
ตลอดจนจัดให้มีการทำบัญชีให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ให้ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นจัดให้มีบัญ ชีรับและ
จ่ายเงินของระดับชั้น หรือที่ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นได้รับหรือจ่ายโดยบันทึกบัญชีให้แล้วเสร็จภายในสิบ
ห้าวันนับแต่วันที่รายการนั้นเกิดขึ้นและสรุปรายงานให้พรรคทราบเป็นประจำทุกสิ้นเดือนและปิดประกาศไว้
ณ สำนักงานพรรคหรือที่ทำการตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
ให้ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้นจัดให้มีการทำบัญชีรายชื่อพร้อมที่อยู่ของสมาชิกที่มี อยู่ในระดับชั้น
นั้น และปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานพรรคหรือที่ทำการตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
ข้อ ๘๓ การลงรายการบัญชีของพรรคต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่ถูกต้องครบถ้วน โดยต้อง
จัดทำภายในระยะเวลา ดังนี้
(๑) การลงบัญชีรายวันแสดงรายได้หรือรายรับและแสดงค่าใช้ จ่ายหรือรายจ่าย และบัญ ชีแสดง
รายรับจากการบริจาค ต้องลงรายการให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่รายการนั้นเกิดขึ้น
(๒) บัญชีแยกประเภทและบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต้องลงรายการให้แล้วเสร็จภายใน
สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่รายการนั้นเกิดขึ้น

หมวด ๑๒
รายได้ของพรรค
และอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรค
ข้อ ๘๔ พรรคอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(๑) เงินทุนประเดิมของพรรค
(๒) เงินค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรค
(๓) เงินที่ได้จากการจําหน่ายสินค้าหรือบริการของพรรค
(๔) เงินทรัพย์สินและประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรค
(๕) เงินทรัพย์สินและประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการรับบริจาค
(๖) เงินอุดหนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรค
(๗) ดอกผลของเงินและรายได้จากทรัพย์สินของพรรค

ส่วนที่ ๑
การหารายได้จากการจําหน่ายสินค้า
ข้อ ๘๕ การจําหน่ายสินค้าหรือบริการต้องไม่มุ่งแสวงหาผลกําไรมาแบ่งปันกันในทางธุรกิจโดยราคา
หรือค่าตอบแทนจากการจําหน่ายสินค้าหรือการให้บริการจะต้องคำนึงถึงราคาตามปกติในท้องที่นั้น
ข้อ ๘๖ สถานที่จําหน่ายสินค้าหรือบริการได้แก่ ที่ ตั้งสำนักงานใหญ่พรรค ที่ ตั้งสำนักงานสาขาพรรค
บริเวณสถานที่จัดกิจกรรมระดมทุน บริเวณสถานที่จัดประชุมใหญ่ประจำปีของพรรค สาขาพรรค หรือสถานที่
ทำการตัวแทนพรรคประขำระดับชั้น
ข้อ ๘๗ เมื่อพรรคดำเนินการจําหน่ายสินค้าหรือบริการให้หัวหน้าพรรคจัดทำทะเบียนสินค้ าหรือ
บริการ ซึ่งประกอบด้วยรายการจำนวนเงินหรือมูลค่าของสินค้าหรืออัตราค่าบริการแต่ละประเภทให้ครบถ้วน
และถูกต้อง
ข้อ ๘๘ การจําหน่ายสินค้าหรือบริการให้บันทึกบัญชีรายวันแสดงรายได้หรือรายรับและแสดงในงบ
การเงินประจำปีของพรรคการเมืองให้ครบถ้วนและถูกต้องตามที่ธรรมนูญสภานักเรียนกำหนด
ข้ อ ๘๙ การจํ า หน่ า ยสิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารต้ อ งไม่ ก ระทำในช่ ว งสามสิ บ วั น ก่ อ นวั น ครบอายุ ข อง
คณะกรรมการสภานัก เรียนจนถึงวันเลื อกตั้ง คณะกรรมการสภานัก เรี ยน ในกรณีการเลื อกตั้ง ทั่ว ไปอั น
เนื่องมาจากครบอายุของคณะกรรมการสภานักเรียน และต้องไม่กระทำในช่วงที่มี คำสั่ง ให้มีการเลือกตั้ง
คณะกรรมการสภานักเรียนจนถึงวันเลือกตั้ง คณะกรรมการสภานักเรียนและในกรณีที่เป็นการเลือกตั ้ง อัน
เนื่องมาจากเหตุอื่นนอกจากการครบอายุของคณะกรรมการสภานักเรียน

ส่วนที่ ๒
การจัดกิจกรรมระดมทุน
ข้อ ๙๐ การจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคต้องกระทำโดยเปิดเผยและแสดงวัตถุประสงค์ ว่าเป็นการ
ระดมทุนของพรรคอย่างชัดเจน
ข้อ ๙๑ สถานที่จัดกิจกรรมระดมทุน ได้แก่ ที่ ตั้ง สำนักงานใหญ่พรรค ที่ตั้ง สำนักงานสาขาพรรค
บริเวณสถานที่จัดประชุมใหญ่ประจำปีของพรรค สาขาพรรค สถานที่ทำการ ตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
หรือสถานที่ที่พรรคเห็นสมควร
ข้อ ๙๒ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จัดกิจกรรมระดมทุนสิ้นสุดลง ให้หัวหน้าพรรคจัดทำรายละเอียด
เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมระดมทุนและจำนวนเงินที่ไ ด้รับจากการจัดกิจกรรมระดมทุน และให้หัวหน้าพรรค
ประกาศให้นักเรียนเป็นการทั่วไป พร้อมทั้งแจ้งให้นายทะเบียนพรรคทราบด้วย
ข้อ ๙๓ การจัดกิจกรรมระดมทุนให้บันทึกบัญชีรายวันแสดงรายได้หรือรายรับและนําไปแสดง ในงบ
การเงินประจำปีของพรรคให้ครบถ้วนและถูกต้องตามที่ธรรมนูญกำหนด
ข้อ ๙๔ การจัดกิจกรรมระดมทุนต้องไม่กระทำในช่วงสามสิบวันก่อนวันครบอายุของคณะกรรมการ
สภานักเรียน จนถึงวันเลือกตั้ง คณะกรรมการสภานักเรียนในกรณีการเลือกตั้งทั่วไปอันเนื่องมาจากครบอายุ
ของคณะกรรมการสภานักเรียน และต้องไม่กระทำในช่วงที่มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน
จนถึงวันเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียนและในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งอันเนื่องมาจากเหตุอื่นนอกจากการ
ครบอายุของคณะกรรมการสภานักเรียน

ส่วนที่ ๓
การรับบริจาคของพรรค
ข้อ ๙๕ ให้หัวหน้าพรรคและเหรัญญิกพรรคเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์โดยระบุชื่อเจ้าของบัญชี ใน
นามของพรรคนั้น และให้หัวหน้าพรรคแจ้งหมายเลขบัญชีของบัญชีเงินฝากและจำนวนเงินที่เปิดบัญ ชีของทุก
บัญชีให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เปิดบัญชีดังกล่าว
ข้อ ๙๖ กรณีรับบริจาคเป็นเงินสดให้หัวหน้าพรรคและเหรัญญิกพรรคนําเงินฝากไว้ในบัญชีธนาคาร
พาณิชย์ตามข้อ ๘๕ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับบริจาคหากการรับบริจาคเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คจะต้องไม่
ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินจึงถือได้ว่าเป็นการบริจาคแก่พรรค
ข้อ ๙๗ เมื่อมีการบริจาคให้ผู้รับบริจาคจัดทำบันทึกการรับบริจาคให้แล้วเสร็จภายในสามวัน นับแต่
วันที่ได้รับบริจาคและให้จัดส่งบันทึกการรับบริจาคพร้อมเงินทรัพย์สินประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคภายในเจ็ดวัน
นับแต่วันที่ได้รับบริจาค
ถ้าหากทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดมิอาจนําส่งแก่พรรคได้ให้ผู้ รับบริจาคแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับ
การรับบริจาคนั้นให้พรรคทราบ
ข้อ ๙๘ เมื่อพรรคได้รับหลักฐานตามข้อ ๙๗ ให้ออกใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับบริจาคทรัพย์
สินหรือประโยชน์อื่นใดภายในวันที่ที่ได้รับบริจาคแล้วจัดส่งใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐาน การรับบริจาคให้แก่ผู้
บริจาคภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ออกหลักฐานนั้น
ข้อ ๙๙ ให้พรรคบันทึกการรับบริจาคไว้ในบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคของพรรค ให้แล้วเสร็จ
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เกิดรายการโดยอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังนี้
(๑) ชื่อ ที่อยู่ของพรรค
(๒) ชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้บริจาค
(๓) ชื่อตัว ชื่อสกุล และตำแหน่งผู้รับบริจาค
(๔) วัน เดือน ปี ที่ รับบริจาค
(๕) รายละเอียดการรับบริจาค
(๖) จำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
(๗) เอกสารอ้างอิง
(๘) ลายมือชื่อหัวหน้าพรรคและเหรัญญิกพรรค
ข้อ ๑๐๐ ให้หัวหน้าพรรคประกาศบัญชีรายชื่อผู้บริจาคจำนวนเงินรายการทรัพย์สินหรือประโยชน์
อื่นใดที่ได้รับบริจาคที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าพันบาท พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของการบริจาคเพื่อให้นักเรียนทราบ
เป็นประจำทุกสิ้นเดือน แล้วแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศ
การตีราคาทรัพย์สินหรือการประเมินมูลค่าประโยชน์อื่นใดที่ได้รับบริจาคให้คํานวณราคาทรัพย์สิน
อัตราค่าเช่าค่าตอบแทนหรือค่าของสิทธิที่รับตามปกติทางการค้าในท้องที่นั้น
ข้อ ๑๐๑ บุคคลใดจะรับบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคมีมูลราคาเกิน หนึ่งหมื่น
บาทต่อพรรคต่อปีมิได้และในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นนิติบุคคลการบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่
พรรคไม่ว่าพรรคเดียวหรือหลายพรรคเกินปีละ ๕๐,๐๐๐ บาท ต้องแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นทราบในการ
ประชุมใหญ่ครั้งต่อไปหลังจากบริจาคแล้ว
พรรคการเมืองจะรับบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลราคาเกินวรรคหนึ่งมิได้

ส่วนที่ ๔
อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรค
ข้อ ๑๐๒ สมาชิกพรรคสามารถชําระค่าธรรมเนียมและค่าบํารุงพรรคปีละห้าสิบร้อยบาท แบบตลอด
ชีพหนึ่งร้อยบาท
เพื่อประโยชน์ในการนับรอบระยะเวลาการชําระค่าบํารุงพรรคประจำปีของสมาชิกให้ถือว่ ารอบ
ระยะเวลาการชําระค่าบํารุงพรรคประจำปีของปีที่สมาชิกได้ชําระค่าบํารุงพรรคเป็นครั้งแรกสิ้นสุดลงในวันสิ้นปี
ปฏิทินของปีเดียวกันนั้น และให้เริ่มต้นนับรอบระยะเวลาการชําระค่าบํารุ งพรรคประจำปีของปีถัดไปใหม่โดย
ให้เริ่มต้นนับตั้งแต่ วันที่ ๑ มกราคมและสิ้นสุดลงในวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีเดียวกัน ทั้งนี้สมาชิกชําระค่าบํารุง
พรรคประจำปีของปีถัดไปภายในรอบระยะเวลาดังกล่าวเมื่อใดก็ได้
หมวด ๑๓
การเลิกพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น
ข้อ ๑๐๓ การเลิกพรรคและตัวแทนพรรคประจำระดับชั้น ให้เป็นไปตามมติของกรรมการบริหารพรรค
ข้อ ๑๐๔ ในกรณีที่พรรคต้องสิ้นสภาพความเป็นพรรคหรือยุบพรรค ให้ทรัพย์สินของพรรคที่เหลือ
ภายหลังจากการชําระบัญชีแล้วตกเป็นของคณะกรรมการสภานักเรียน
(ร่าง)
ข้อบังคับพรรค
ศรีสวัสดิ์ก้าวไกล
พ.ศ. ๒๕๖๕

You might also like