You are on page 1of 17

กล้องโทรทรรศน์

Telescope
ประวัติของกลองโทรทรรศน
้ ์

จากอดีตจนถึงปัจจุบันของนักโบราณคดีวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบเอกสารซึ่งเป็นใบสิทธิบัตรการคิดค้นประดิษฐ์
กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) ตัวแรกและถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1608 (พ.ศ. 2151) ซึ่งก็ยังเป็นที่สงสัยและถกเถียงกัน
ในวงการวิทยาศาสตร์ว่าใครเป็นผู้คิดค้นและประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาคนแรกกันแน่ ซึ่งจากหลักฐานที่มีการค้นพบในปัจจุบัน
นั้นทาให้หลายๆคนเชื่อว่า ฮานส์ ลิพเพอร์ฮาย (Hans Lippershey) เป็นบุคคลคนแรกที่ประดิษฐ์คิดค้นกล้อง
โทรทรรศน์ (Telescope) แต่จากหลักฐานหนึ่งที่ปรากฏพบว่ามีชายอีกท่านหนึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นกล้องโทรทรรศน์
(Telescope) ก่อนฮานส์ ลิพเพอร์ฮาย (Hans Lippershey) ถึง 8 ปี นั่นก็คือ ซาคาไรส์ แจนซ์เซน (Sacharias
Janssen) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดยืนยันได้ชัดเจนจึงทาให้ลิพเพอร์ฮายได้รับการยอมรับมากกว่าแจนซ์เซน และนักวิชาการ
ส่วนใหญ่นั้นเชื่อว่า ลิพเพอร์ฮายเป็นผู้คิดค้นคุณสมบัติของเลนส์ โดยวิธีการนาเลนส์ 2 ตัว มาวางซ้อนกันทาให้สามารถ
มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลออกไปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และต่อมาได้นาหลักการนี้มาสร้างเป็นกล้องส่องทางไกลขึ้นเป็นครั้งแรก ในยุค
นั้นอุปกรณ์ชิ้นนี้ถูกเรียกว่า “ท่อขยาย” และต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นกล้องโทรทรรศน์ (Telescope)
กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) ปรากฏตัวครั้งแรกในประเทศเนเธอแลนด์ ในเดือน ตุลาคม ค.ศ. 1608 (พ.ศ.
2151) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วยเลนส์นูนและเลนส์เว้าในท่อ จึงทาให้สามารถขยายวัตถุได้ถึง 3-4 เท่า ต่อมา
กาลิเลโอซึ่งไม่ได้เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) เป็นคนแรก แต่กาลิเลโอได้ออกแบบและสร้างกล้อง
โทรทรรศน์ (Telescope) ที่มีกาลังขยายที่มากขึ้นประมาณ 20 เท่า และนาเสนอให้ลูกค้าของเขากาลิเลโอเป็นผู้ผลิตเครื่อง
เครื่องมือที่มีความเชี่ยวชาญและกล้องโทรทรรศน์ (Telescope) จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “กล้องดูดาวแบบกาลิ เลโอ”
(Galileo’s Telescope) การเพิ่มกาลังขยาย ของกล้องโทรทรรศน์ แบบหักเหแสงนี้ แปรตามระยะโฟกัสของเลนส์วัตถุ นั่น
คือ การทาให้กาลังขยาย ของกล้องดูดาวเพิ่มขึ้น ระยะโฟกัสจะต้องมากขึ้น เลนส์ก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น และความยาวของ
กล้อง ก็ต้องมากตามไปด้วย

กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุบนท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมกันของแสง เพื่อให้


สามารถมองเห็นวัตถุบนท้องฟ้าที่อย่าไกลออกไปที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทาให้สามารถมองเห็นได้ชัดขึ้น และมี
ขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) ประกอบด้วยเลนส์นูนสองชุดทางานร่วมกัน หรือ กระจกเงาเว้าทางาน
ร่วมกับเลนส์นูน เลนส์นูนหรือกระจกเงาเว้าขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านใกล้วัตถุทาหน้าที่รวมแสง ส่วนเลนส์นูนที่อยู่ใกล้ตาทา
หน้าที่เพิ่มกาลังขยาย การเพิ่มกาลังรวมแสงช่วยให้นักดาราศาสตร์มองเห็นวัตถุที่มีความสว่างน้อย การเพิ่มกาลังขยายช่วย
ให้นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็นรายละเอียดของวัตถุมากขึ้น
ความหมายของกลองโทรทรรศน
้ ์

กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) หรือ กล้องดูดาว เป็นทัศนูปกรณ์


ซึ่งประกอบด้วย เลนส์นูนสองชุดทางานร่วมกัน หรือกระจกเงาเว้าทางาน
ร่วมกับเลนส์นูน

เลนส์นูน หรือ กระจกเงาเว้าขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านใกล้วัตถุทาหน้าที่รวมแสง


ส่วนเลนส์นูนที่อยู่ใกล้ตาทาหน้าที่เพิ่มกาลังขยาย การเพิ่มกาลังรวมแสงช่วย
ให้นักดาราศาสตร์มองเห็นวัตถุที่มีความสว่างน้อย การเพิ่มกาลังขยายช่วยให้
นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็นรายละเอียดของวัตถุมากขึ้น
กล้องโทรทรรศน์มี 3 ประเภท คือ กล้องโทรทรรศน์ แบบหักเหแสง
กล้ อ งโทรทรรศน์ แ บบสะท้ อ นแสง และกล้ อ งโทรทรรศน์ แ บบผสม
กล้ อ งส่ อ งทางไกลชนิ ด สองตา มี ห ลั ก การท างานเช่ น เดี ย วกั บ กล้ อ ง
โทรทรรศน์แบบหักเหแสง เพียงแต่ใช้ปริซึมหักเหแสงไปมา เพื่อลด
ระยะความยาวของลากล้อง
1. กลองโทรทรรศน
้ แ์ บบหักเหแสง

กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง (Refractor telescope) เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่


ใช้เลนส์นูนในการรวมแสง มีใช้กันอย่างแพร่หลายสามารถพบเห็นได้ทั่วไป แต่ไม่
ค่อยนิยมใช้ในหอดูดาวเพราะส่วนมากแล้ว กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงมีขนาด
เล็ก ที่ส่วนมากต้องมีขนาดเล็กเนื่องจากเลนส์นูนที่ใช้ในกล้องโทรทรรศน์แบบหักเห
แสงส่วนใหญ่มีโฟกัสยาว (เลนส์นูนโฟกัสสั้นสร้างยากและมีราคาสูงมาก)
ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วตั ถุ
กาลังขยายของกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง =
ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา
ถ้าสร้างกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงขนาดใหญ่ เลนส์นูนขนาดใหญ่ก็จะทาให้โฟกัสยิ่งยาว ลา
กล้องก็จะยื่นยาวเกะกะ และมีน้าหนักมาก ไม่สะดวกแก่การพกพา เปลืองพื้นที่ในการติดตั้ง ทั้ง
ยังมีต้นทุนสูง ดังนั้น กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงขนาดเล็กจึงมีความสะดวกกว่า

ด้วยความที่กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงส่วนมากมีขนาดเล็ก จึงเหมาะสาหรับใช้ศึกษาวัตถุที่
มีความสว่างมาก และขนาดไม่ใหญ่เกินไป เช่น ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ แต่ไม่เหมาะสาหรับ
การใช้สังเกตวัตถุที่มีขนาดใหญ่แต่สว่างน้อย เช่น เนบิลา และกาแล็กซี เนื่องจากมีกาลังรวมแสง
น้อยและให้กาลังขยายมากเกินไป ภาพที่ได้จึงมีความสว่างน้อยและมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถ
มองเห็นภาพรวมของวัตถุได้นั่นเอง

ปั ญ หาของกล้ อ งโทรทรรศน์ แ บบหั ก เหแสงอี ก ประการหนึ่ ง ก็ คื อ “ความคลาดสี ” หรื อ


“ความคลาดรงค์” เนื่องจากเลนส์นูนที่ใช้ทาให้เกิดการหักเหแสง แสงขาวที่เข้าสู่ลากล้องจะ
กระจายออกมาเป็นสีรุ้ง ทาให้สังเกตขอบของวัตถุได้ไม่ชัดเจน ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขด้วยการ
เพิ่มชิ้น “เลนส์อรงค์” (Achromatic Lens) หรือเลนส์ที่ทาให้ไม่เกิดสีรุ้ง ประกบเข้าไปที่เลนส์
นูนอีกที โดยการทางานของเลนส์อรงค์นี้คือ การลดการหักเหของแสงสีต่างๆ จึงทาให้ภาพที่ได้มี
ความคมชัดมากขึ้น
2. กลองโทรทรรศน
้ แ์ บบสะทอนแสง

กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง (Reflector telescope) ถูก


คิดค้นโดย เซอร์ ไอแซก นิวตัน กล้องโทรทรรศน์แบบนี้ใช้กระจก
เว้าแทนเลนส์นูนใกล้วัตถุ ทาหน้าที่รวบรวมแสงส่งไปยังกระจก
ทุติยภูมิ ซึ่งเป็นกระจกเงาระนาบขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่ในลากล้อง
โดยทาหน้าที่สะท้อนลาแสงให้ตั้งฉากออกมาที่เลนส์ใกล้ตาซึ่งติด
ตั้งอยู่ที่ปลายของลากล้อง
กาลังขยายของกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง = ความยาวโฟกัสของกระจกเว้าความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา
กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง เนื่องจากกระจกเว้ามีน้าหนักเบา และ
ราคาถูกกว่าเลนส์นูนและเลนส์อรงค์ นอกจากนั้น กระจกเว้ายังสามารถสร้างให้มีความยาวโฟกัสสั้นได้ง่ายกว่า
เลนส์นูน

ดังนั้น ถ้าจะสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงจึงเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ากว่า หอดู


ดาวจึงนิยมติดตั้งกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขนาดใหญ่ ซึ่งมีกาลังรวมแสงสูง ทาให้สามารถสังเกตเห็น
วัตถุที่มีความสว่างน้อย และอยู่ไกลมากอย่าง เนบิวลา และกาแล็กซี ได้ดี

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง กับกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงที่มีขนาด


เท่ากันแล้ว กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงจะให้ภาพที่สว่าง และคมชัดกว่า เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์แบบ
สะท้อนแสงมีกระจกทุติยภูมิอยู่ในลากล้อง ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคขวางทางเดินของแสง ทาให้ความสว่างของภาพที่
ได้นั้นลดลง หรือเรียกได้ว่าเกิด “ความคลาดแสง”

นอกจากนั้น ภาพที่เกิดจากการหักเหผ่านเลนส์อรงค์ของกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ยังมีความคมชัด และ


สว่างกว่าภาพที่ได้จากการสะท้อนของกระจกเว้า ในกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงอีกด้วย
3. กลองโทรทรรศน
้ แ์ บบผสม

กล้องโทรทรรศน์แบบผสม (Catadioptric telescope) เป็น


กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงที่ใช้การสะท้อนแสงกลับไป
กลับมา เพื่อลดระยะความยาวของตัวกล้อง กล้องจึงมีขนาดสั้น
ลงได้ โดยใช้กระจกนูนเป็นกระจกทุติยภูมิช่วยบีบลาแสง ซึ่งทา
ให้ยังคงมีกาลังขยายสูง
อย่างไรก็ตาม การทางานของกระจกนูนทาให้ภาพที่เกิดขึ้นบนระนาบโฟกัสมีความโค้ง จึงจาเป็นต้องติดตั้งเลนส์
ปรับแก้ (Correction plate) ไว้ที่ปากลากล้องเพื่อทางานร่วมกับกระจกทุติยภูมิ ในการชดเชยความโค้งของ
ระนาบโฟกัส โดยที่เลนส์ปรับแก้ไม่ได้มีอิทธิพลต่อกาลังรวมแสงและกาลังขยายเลย

กล้ อ งโทรทรรศน์ แ บบผสมถู ก ออกแบบขึ้ น มาเพื่ อ ให้ มี ล ากล้ อ งสั้ น และสะดวกในการติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ กล้ อ ง
โทรทรรศน์แบบนี้มีความยาวโฟกัสมาก เหมาะสาหรับใช้สารวจวัตถุขนาดเล็ก เช่น ดาวเคราะห์ เนบิวลา และ
กาแล็กซีที่อยู่ห่างไกล แต่ไม่เหมาะสาหรับการสังเกตวัตถุขนาดใหญ่ เช่น กระจุกดาวเปิด เนบิวลาและกาแล็กซีที่
อยู่ใกล้

กล้องโทรทรรศน์แบบผสมเป็นที่นิยมในหมู่นักดูดาวสมัครเล่น เพราะมีขนาดกระทัดรัด ขนย้ายสะดวก แต่ไม่


เหมาะสาหรับใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเลนส์ปรับแก้ที่อยู่ด้านหน้านั้นจะกรองรังสีบางช่วงความ
ยาวคลื่นออกไปด้วย
กลองโทรทรรศน
้ อ์ วกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (HST) ถูกส่งขึ้นไปโคจรอยู่เหนือชั้นบรรยากาศ


โลกที่ ร ะยะความสู ง 559 กิ โ ลเมตร เพื่ อ ให้ บั น ทึ ก ภาพได้ ค มชั ด กว่ า กล้ อ ง
โทรทรรศน์ที่อยู่บนพื้นผิวโลก

ฮับเบิลโคจรรอบโลกใช้เวลา 97 นาที เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง ใช้


กระจกปฐมภูมิขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร สามารถบันทึกภาพได้ในช่วง
รังสีที่ตามองเห็น (Visible light) รังสีอินฟราเรดใกล้ (Near infrared) และ
ยังติดตั้งอุปกรณ์สเปกโตรกราฟ เพื่อวิเคราะห์สเปกตรัมของวัตถุในห้วงอวกาศ

นักดาราศาสตร์ใช้ ฮับเบิลในการศึกษาวัตถุต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะ


เป็น ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ เนบิวลา ซูเปอร์โนวา กาแล็กซี สสารมืด เลนส์ความ
โน้มถ่วง และเอกภพตอนเยาว์วัย
กลองโทรทรรศน
้ อ์ วกาศจันทรา

กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา (Chandra) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศซึ่ง


ทางานในช่วงความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์ มีวงโคจรรูปวงรี ระยะใกล้ที่สุดอยู่ห่าง
จากโลก 16,000 กิโลเมตร ระยะไกลที่ สุด อยู่ ห่า งจากโลกเท่า กับ 1/3 ของ
ระยะทางจากโลกไปยังดวงจันทร์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศจัน ทราโคจรรอบโลกใช้เวลา 64 ชั่วโมง 18 นาที นั ก


ดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราในการศึกษาดาวนิวตรอน หลุมดา
และซูเปอร์โนวา

You might also like