You are on page 1of 7

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.

3 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 กฎหมายแพ่งและอาญา
ตัวชี้วัด
อธิบายความแตกต่างของการกระทำความผิดระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่ง (ส 2.1 ม.3/1)
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. ลักษณะการกระทำความผิดทางอาญา
2. ลักษณะการกระทำความผิดทางแพ่งและความรับผิดทางแพ่ง
3. ตัวอย่างการกระทำความผิดทางอาญา เช่น ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สิน
4. ตัวอย่างการกระทำความผิดทางแพ่ง เช่น การทำผิดสัญญา การทำละเมิด
เป้าหมายการเรียนรู้
1. อธิบายกฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับสัญญาซื้อขาย การกู้ยืม การเช่าทรัพย์ การเช่าซื้อ และสามารถปฏิบัติตนได้
อย่างถูกต้อง
2. อธิบายกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
3. อธิบายกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและทางอาญาได้อย่างถูกต้อง
4. อธิบายความแตกต่างของการกระทำความผิดระหว่างคดีแพ่งและคดีอาญา
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.3 2

1. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยทั่วไปกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน ถือได้ว่าเป็น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่เกิดจนถึงตายซึ่งเราควรให้ความสนใจในข้อบังคับของ
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงกรณีศึกษาทั้งหลายที่มักจะพบเห็นได้จากสื่อต่าง ๆ หรือประสบการณ์จริง เพราะถ้า
หากเราปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็จะทำให้ชีวิตของเราดำเนินไปได้อย่างปกติสุข
ประเทศไทยได้รวมเอากฎหมายแพ่งและพาณิชย์เข้าไว้ด้วยกัน โดยจัดทำในรูปของประมวลกฎหมายที่มีการจัดแบ่ง
เนื้อหาอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

1.1 ลักษณะการกระทำความผิดทางแพ่งและความรับผิดทางแพ่ง
การกระทำความผิดทางแพ่งเป็นการฝ่าฝืนหรือละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะเป็น
ลักษณะเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์ นิติกรรม ระยะเวลา อายุความ หนี้ ละเมิด เอกเทศสัญ ญา ทรัพย์สิน ครอบครัว
และมรดก ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สำหรับกฎหมายพแพ่งและพาณิ ชย์ที่นักเรียนควรรู้ ได้แก่ เรื่องนิติกรรมหรือสัญ ญา โดยเฉพาะสัญ ญาบาง
ประเภท เช่น ซื้อขาย กู้ยืม เช่าทรัพย์ และเช่าซื้อ
นิติกรรม คือ การที่บุคคลแสดงเจตนากระทำไปโดยประสงค์จะให้มีผลผูกพันใช้บังคับได้ ตามกฎหมาย
สัญญา คือ นิติกรรมประเภทหนึ่งที่เกิดจากการตกลงก่อความผูกพันในทางกฎหมายระหว่าง บุคคลตั้งแต่สอง
ฝ่ายขึ้นไป ตามปกติบุคคลมีสิทธิทำนิติกรรมหรือสัญญาใด ๆ ให้มีผลผูกพันกันได้ทั้งสิ้น นิติกรรมหรือสัญญานั้นจะต้อง
ไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
เช่น สัญญาขนยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งสัญญาจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1) ซื้อขาย เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ขาย” โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีก
ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ซื้อ” โดยผู้ซื้อได้ใช้ราคาทรัพย์สินนั้นเป็นเงินแก่ผู้ขายเพื่อเป็นการตอบแทน
1.1) ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินที่มีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็น
อันเดียวกันกับที่ดินนั้น และรวมถึงทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือ ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกัน
กับที่ดินนั้น เช่น ที่ดิน บ้านเรือน ไม้ยืนต้น และสิทธิจำนองที่ดิน เป็นต้น
สั ง หาริ ม ทรั พ ย์ หมายถึ ง ทรั พ ย์ สิ น อื่ น นอกจากอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เช่ น ช้ า ง ม้ า โตะ เก้ า อี้ และ
หมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เช่น สิทธิจำนำ เป็นต้น
1.2) ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้ ทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้นมักจะทำการซื้อขายกันได้ แต่ก็ยังมีทรัพย์สิน
บางประเภทที่ไม่สามารถจะซื้อขายกันได้ เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะบางอย่างซึ่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนด
เอาไว้ ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันไม่ได้ เช่น
1. สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่น ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ที่ดินที่รัฐบาล หวงห้าม เช่น ที่ป่าสงวน เป็นต้น
2. สิทธิซึ่งกฎหมายห้ามโอน เช่น สิทธิที่จะได้รับมรดกของเจ้ามรดกที่ยังมีชีวิตอยู่ สิทธิที่จะได้รับค่า
อุปการะเลี้ยงดู
3. ทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามมีไว้ในความครอบครอง เช่น อาวุธปืนเถื่อน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา เป็นต้น
4. ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์
5. สิทธิที่จะได้รับบำเหน็จ บำนาญ จากทางราชการ
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.3 3

6. ทรัพย์สินที่ได้มาโดยข้อกำหนดห้ามโอน เช่น เจ้ามรดกได้โอนที่ดิน แปลงหนึ่งให้แก่นายแดงใน


ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าห้ามนายแดงโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ใดทั้งสิ้น ดังนั้นที่ดิน
แปลงนี้ก็ไม่สามารถซื้อขายได้
1.3) แบบของสัญญาซื้อขาย โดยปกติกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบของสัญญาซื้อขาย แต่การซื้อขาย
ทรัพยตอไปนี้จะตองทำตามแบบ คือ ตองทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจาหนาที่
1. อสังหาริมทรัพย์ เชน ที่ดิน อาคาร บ้านเรือน เป็นตน
2. สังหาริมทรั พย์ชนิดพิเศษ เชน เรือที่มีระวางตั้งแต่ หาตันขึ้นไป แพที่อยู่ อาศัย และสัตวพาหนะ
เป็นตน
การซื้อขายทรัพยทั้ง 2 ชนิด คือ อสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพ ย์ชนิดพิเศษ ถาไม่ทำตามแบบ
แล้วยอมตกเป็นโมฆะ คือ เป็นการเสียเปลา เทากับวาไม่เคยมีการทำสัญญากันเลย
การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เชน การทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านหรือที่ดินจะตองทำสัญญา
หรือหลักฐานอย่ างใดอย่างหนึ่ง เป็ นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ ที่อาจตองรับผิดไว หรือมีการวางมัดจำไว หรือชําระหนี้
บางส่วนไว มิฉะนั้นจะฟองรองบังคับคดีไม่ได้
ตัวอย่าง
นายไตรขายที่ดินให้แก่นายวิทย์เป็นจำนวนเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท นายวิทย์ได้วางเงินมัดจำไว้ ๑๐,๐๐๐ บาท ทั้งสองคนนัดกัน
ไปจดทะเบียนซื้อขายต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เมื่อถึงวันนัดนายวิทย์ไม่ไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน นายวิทย์ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน
ดังนั้น นายไตรจึงสามารถริบเงิน จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาทได้ และเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นตามความเป็นจริงได้

สำหรับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาซื้อขายเป็นเงินตั้งแต่ สองหมื่นบาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานการซื้อขาย


เป็นหนัง สืออย่างใดอย่างหนึ่ง และลงลายมือชื่อ ฝายที่ต้องรับผิดชอบ วางมัดจำ หรือได้ชำระหนี้บางส่วน ถ้าไม่ได้
กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างดังกล่าวมาแล้ว กฎหมายห้ามไม่ให้ฟ้องร้องคดีต่อศาล
ตัวอย่าง
นายบอย ตกลงขายนาฬิกาข้อมือนำเข้าจากต่างประเทศแก่นายเอก ราคา ๓๐,๐๐๐ บาท ทั้งสองทำสัญญาซื้อขายไว้ โดย
กำหนดวันส่งมอบนาฬิกาข้อมือ เมื่อถึงวันกำหนดนัด นายบอยเปลี่ยนใจไม่ยอม ขายนาฬิกาข้อมือเพราะเห็นว่าราคาถูกเกินไป ในกรณีนี้
ถือว่านายบอยผิดสัญญา นายเอกสามารถฟ้องร้อง บังคับคดีโดยให้นายบอยส่งมอบนาฬิกาตามที่ได้ตกลงกันไว้ได้

๑.๔) หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย มีดังนี้


๑. การส่งมอบทรัพย์สิน ผู้ขายจะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อตามข้อตกลงในสัญญา
๒. ถ้าทรัพย์สินที่ซื้อขายชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด มีผลทำให้ทรัพย์สินเสื่อมราคา หรือเสื่อมประโยชน์ใน
การใช้สอย ผู้ขายจะต้องรับผิด
ตัวอย่าง
นางสาวหวาน ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่จากร้านของนายศร เมื่อกลับมาถึงบ้านพบว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่มีรอยแตกร้าว ดังนั้น นาย
ศรจึงต้องรับผิดโดยเปลี่ยนโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องใหม่ให้แก่นางสาวน้ำหวาน
ทั้งนี้ผู้ขายไม่จำเป็นต้องรับผิดในทรัพย์สินที่ชำรุดบกพร่องในกรณีต่อไปนี้
1) ผู้ซื้อรู้อยู่แล้วตั้งแต่ในเวลาซื้อขายว่าทรัพย์สินนั้นมีความชำรุดบกพร่องหรือ ควรจะได้รู้แต่ไม่ได้ใช้ความ
ระมัดระวังอันบุคคลทั่วไปจะพึงคาดหมายได้
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.3 4

2) ความชำรุดบกพร่องนั้นเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยไม่ได้อิดเอื้อน
3) ทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายมาจากการขายทอดตลาด
๒) กู้ยืม คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้กู้” ได้ขอยืมเงินจำนวนหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้จากบุคคลอีกคน
หนึ่ง เรียกว่า “ผู้ให้กู้” เพื่อผู้กู้จะนำเงินไปใช้สอยตามที่ต้องการและ ผู้กู้ตกลงคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้ให้กู้ตามเวลาที่
กำหนด พร้อมกับยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามอัตราที่ตกลงไว้เป็นการตอบแทน
๒.๑) หลักฐานในการกู้ยืม การกู้ยืมเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไป หากไม่มีหลักฐาน การกู้ยืมเงินเป็นหนังสือและ
ลงลายมือชื่อผู้กู้เป็น สำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้กล่าวคือ ในการกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไป ต้องทำ
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือ ชื่อผู้กู้ไว้เป็นหลักฐานเพื่อฟ้องร้องบังคับคดีแต่ทั้งนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดว่า
ต้องทำตามแบบ เพียงแต่มีข้อความที่พอจะให้เข้าใจได้ว่าเป็นหลักฐานที่แสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริง โดยอาจจะเป็น
บันทึกข้อความ จดหมาย หรือเอกสารที่แสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมกันและมีลายมือชื่อผู้กู้ก็ใช้ได้
ในกรณีที่ทำสัญญากู้ยืมเงินกันโดยที่ผู้กู้ไม่สามารถเขียนหนังสือได้จะต้องมี ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ประทับใน
หนังสือดังกล่าวด้วย โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้อย่างน้อย ๒ คน เพื่อใช้แทนลายมือชื่อของ
ผู้กู้
๒.๒) การชำระหนี้กู้ยืมเงิน การชำระหนี้กู้ยืมเงิน คือ การใช้เงินที่ยืมพร้อมดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาที่ผู้
กู้จะต้องชำระให้แก่ผู้ให้กู้ภายในอัตราที่กฎหมายกำหนด กฎหมายได้กำหนดว่า ในการพิสูจน์ว่าได้มีการชำระหนี้การ
กู้ยืมเงินนั้นจะต้องมีหลักฐานหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
๑. หลักฐานเป็นหนังสือที่มีข้อความแสดงว่า ผู้ให้กู้ได้รับ ชำระหนี้เงินกู้จำนวนนั้นแล้ว พร้อมทั้งลงลายมือชื่อ
ผู้ให้กู้ ดังนั้น เมื่อผู้กู้ได้ชำระหนี้แล้ว จำเป็นจะต้องขอหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าผู้ให้กู้รับเงินจากผู้กู้ไปแล้ว
๒. มี การเวนคืน เอกสารอัน เป็น หลักฐานแห่ง การกู้ ยืมเงิน กล่าวคือ ผู้ให้ กู้เงิน จะต้ องส่ง มอบสัญ ญากู้ห รือ
หลักฐานการกู้ยืมเงินแก่ผู้กู้
๓. มี ก ารเพิ ก ถอนในเอกสาร กล่ าวคื อ มี ก ารบั น ทึ ก ข้ อความลงในหนั ง สื อสั ญ ญากู้ห รื อผู้ ให้ กู้บั น ทึ ก ลงใน
หลักฐานการกู้ยืมเงินนั้น ว่าได้เลิกสัญญากู้ยืมหรือเอกสารนั้นแล้ว หรือผู้ให้กู้บันทึกว่า ได้รับการชำระหนี้เงินกู้ยืมรายนี้
แล้วตามจำนวนเงินที่กำหนดโดยมีลายมือชื่อผู้ให้กู้
ถ้าหากผู้กู้ชำระเงินคืนแต่เพียงบางส่วนจะต้องให้ผู้ให้กู้บันทึกเป็นหลักฐาน ในหนังสือสัญญากู้ยืมที่ได้ทำกันไว้
นั้นว่าได้มีการชำระเงินคืนเป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งลงวัน เดือน ปี
ให้ครบถ้วน
๒.๓) การคิดดอกเบี้ยการให้กู้ยืมเงิน ในการกู้ยืมเงินกันนั้น กฎหมายได้กำหนดว่าผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสูงสุดได้ไม่
เกินร้อยละสิบห้าต่อปี เว้นแต่ในส่วนของธนาคาร สถาบันการเงิน กฎหมายกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้มากกว่านั้น ถ้าใน
สัญ ญาผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดจะมีผลให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งหมด คือ ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ย
เลย ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระเงินต้นคืนเท่านั้น ในกรณีที่เขียนอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงินไว้ว่า ให้ดอกเบี้ยตาม
กฎหมาย ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.3 5

ตัวอย่าง
นางสาวหวานทำสัญญากู้ยืมเงินนางสาวส้มเป็นจำนวนเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท โดยกำหนดชำระเงิน พร้อมดอกเบี้ยในวันที่ ๓๐
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๒ ต่อปี เมื่อถึงกำหนดวันชำระ เงินนางสาวหวานไม่ยอมชำระเงิน ถือว่านางสาวหวานผิด
สัญญาจะต้องรับผิด โดยคืนเงินต้น ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๑๒ ต่อปี ตั้งแต่วันทำสัญญาจนกว่าจะชำระเสร็จ

๓) เช่าทรัพย์ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือ


ได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และ ผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่า
๓.๑) หลักเกณฑ์การเช่า มีดังนี้
๑. การเช่าสังหาริมทรัพย์ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแม้จะเป็นการ เช่าสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เช่น
เรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ หรือสัตว์พาหนะ เป็นต้น ก็ไม่ต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือแต่อย่างใด
ตัวอย่าง
นายรามเช่าม้าของนายลักษณ์ เพื่อนำไปเป็นม้าแข่งเป็นเวลา ๒ ปี นายลักษณ์มอบม้าให้แก่นายราม เมื่อครบกำหนด ๒ ปี
นายรามส่งคืนม้าแข่งให้นายลักษณ์แต่ไม่ยอมชำระค่าเช่า ถือว่านายรามเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะต้องรับผิดต่อนายลักษณ์ คือต้องชำระค่า
เช่าให้แก่นายลักษณ์

๒. การเช่าอสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิด มิฉะนั้นจะฟ้องร้องกันไม่ได้


และถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีระยะเวลาเกินกว่า สามปีขึ้นไป หรือตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าจะต้องทำ
เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องกันได้เพียงสามปี
ตัวอย่าง
นางสาวจันทร์ตกลงเช่าห้ องพั กของนางดาวเป็น เวลา ๓ ปี ทำหนัง สือสัญ ญาเช่ากันเอง ไม่ได้ไปจดทะเบี ยนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ โดยตกลงชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน เดือนละ ๓,๐๐๐ บาท นางสาวจันทร์ชำระค่าเช่าทุกเดือนเป็นเวลา ๖ เดือน แล้วไม่ชำระ
อีกเลย ถือว่านางสาวจันทร์ผิดสัญญา นางดาวมีสิทธิบอกเลิกสัญญา นางสาวจันทร์จะต้องรับผิดในค่าเช่าที่ค้างชำระต่อนางดาว

๓.๒) หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า ได้แก่


๑. ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สิน ซึ่งให้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว
๒. ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สิน ซึ่งให้เช่าโดยสภาพไม่เหมาะสมแก่การใช้ ประโยชน์ของผู้เช่า ผู้เช่าจะบอกเลิก
สัญญาก็ได้
๓. ผู้ ให้ เช่ าต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบในความชำรุ ดบกพร่อ ง ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น ในระหว่ างเวลาเช่ า โดยผู้ ให้ เช่ าต้ อ งจัด การ
ซ่อมแซมในสิ่งจำเป็น เว้นแต่ว่าการซ่อมแซมนั้นมีกฎหมาย หรือจารีต ประเพณีว่าผู้เช่าต้องซ่อมแซมเอง
๓.๓) หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่า ได้แก่
๑. ผู้เช่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าในกิจการอื่น นอกจากที่ใช้กันตามประเพณีนิยมปกติหรือในกิจการที่ กำหนดไว้ใน
สัญญานั้นไม่ได้
๒. ผู้เช่าจะต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่านั้นเช่น เดียวกันกับ ทรัพย์สินของตนเอง และต้องบำรุงรักษาทั้ง ทำการ
ซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.3 6

๓. ผู้เช่าจะต้องให้ผู้ให้เช่าหรือตัวแทนของผู้ให้เช่า ตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าเป็น ครั้งคราวในเวลาและระยะอัน


เหมาะสม
๔. ถ้าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาได้
๔) เช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้ คำมั่นว่าจะขาย ทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้
ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็น จำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ทรัพย์สินที่เช่าซื้อนั้นได้แก่
ทรัพย์สินทุกประเภท
สัญ ญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ กล่าวคือ คู่สัญญาจะ ต้องลงลายมือชื่อในสัญ ญาทั้ง
สองฝ่าย
การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ กรรมสิทธิ์จะโอนไปยังผู้เช่าซื้อได้ ก็ต่อเมื่อผู้ให้ เช่าซื้อได้ทำหนังสือและจดทะเบียน
การโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าผู้ให้เช่าซื้อผิดสัญ ญาไม่ยอมไปจดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้เช่าซื้อมี
สิทธิฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อไปจดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
ตัวอย่าง
นายอัครเดชนำบ้านพร้อมที่ดิน 1 แปลง ให้นายศุภชัยเช่าซื้อในราคา ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท นายศุภชัยได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบ
10 งวด งวดละ ๓๐๐,๐๐๐ บาท แต่นายอัครเดชไม่ยอมทำหนังสือ และจดทะเบียนการโอนบ้านพร้อมที่ดินให้แก่นายศุภชัย ถือว่านาย
อัครเดชผิดสัญญา ดังนั้น นายศุภชัยมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับให้นายอัครเดชไปจดทะเบียนการโอนได้

ในกรณี ที่ ผู้เช่าซื้อผิดนั ดไม่ ใช้เงินสองคราวติดต่ อกัน หรือกระทำผิดสั ญ ญาในข้อที่ เป็น ส่วนสำคัญ เจ้าของ
ทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาก็ได้ และเงินที่ได้ชำระมาแล้ว ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินสามารถ
ที่จะกลับเข้าครองทรัพย์สินนั้นได้ด้วย
ตัวอย่าง
นายเขตเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทยานยนต์ จำกัด เป็นเงิน 5๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลงในสัญญาว่าจะชำระเงินจำนวน ๒5
งวด งวดละ ๒๐,๐๐๐ บาท นายเขชำาระเงินแก่บริษัทยานยนต์ จำกัด ไปแล้ว ๒๐ งวด แต่ปรากฏว่าไม่มีเงินไปขำระในงวดที่ ๒1 และ
งวดที่ ๒๒ บริษัทยานยนต์ จำกัด จึงบอกเลิกสัญญา และเรียกรถยนต์คืนพร้อมริบเงินที่นายเขตชำระมาแล้วจำนวน ๒๐ งวดไว้ นายเขต
ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อจะต้องคืนรถยนต์ให้แก่บริษัทยานยนต์ จำกัด

ประเด็นสำคัญของการเช่าซื้อ คือ สัญญาเช่าซื้อ จะต้องทำเป็นหนังสือ คู่สัญญา จะต้องลงลายมือชื่อในสัญญา


ทั้งสองฝ่าย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่
หลักเกณฑ์ของสัญญาเช่าซื้อ
ผู้ให้เช่าซือ้ ผู้เช่าซื้อ
1. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่า 1. ต้องชำระเงินตอบแทนให้แก่ผู้ให้เช่าจนครบถ้วนตาม
2. มอบทรัพย์สินให้ผู้เช่านำไปใช้ประโยชน์ จำนวนที่ได้ตกลงกันไว
3. ผู้ให้เช่าซื้อให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือให้ ทรัพย์สินนั้ น 2. จะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ โดยมอบทรัพย์สิน
ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่า กลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง
4. ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อไม่ชำระเงินงวดสองคราวติดต่อกัน ผู้ให้เช่า
ซื้อมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาก็ได้ และมีสิทธิที่จะริบเงินที่ได้
ใช้มาแล้วพร้อมกับมีสิทธิที่จะกลับเข้าครองทรัพย์สินที่ให้เช่า
ซื้อนั้นได้
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.3 7

สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายต้องทำร่วมกัน คือ
ต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย

สัญ ญาเช่าซื้อมี ความแตกต่างจากสัญ ญาซื้อขายเงินผ่อน คือ สัญ ญาซื้อขาย เงินผ่อ นเป็น การซื้ อขายเสร็จ
เด็ดขาด โดยมีข้อตกลงเรื่องการชำระราคาว่าผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาเป็นงวด ดังนั้น ถ้าเป็นสัญญาซื้อขาย
เงินผ่อน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อ ทันทีเมื่อตกลงซื้อขายกัน ส่วนสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นเพียงการที่เจ้าของเอา
ทรัพย์สินให้ผู้อื่นเช่า โดยมีคำมั่นว่าเมื่อผู้เช่าชำระค่าเช่าครบถ้วนตามสัญ ญาแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นตกเป็น
ของผู้เช่า ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ยังอยู่ที่ผู้ให้เช่า ผู้เช่าซื้อคงมีเพียงแต่สิทธิครอบครองในระหว่างการเช่าเท่านั้น
กล่าวได้ว่า ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย กู้ยืม เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ดังตัวอย่าง ที่กล่าวไปแล้วนั้น ถือว่าผู้นั้น
ผิดสัญญาต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
จากกรณีที่ได้ยกตัวอย่างมานั้น เป็นลักษณะการทำผิดสัญญาต่าง ๆ ซึ่งในกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์นั้นยังมี
ลักษณะการทำผิดที่น่าสนใจ คือ การทำละเมิด
การทำละเมิด หมายถึง การกระทำที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อ กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย
ถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ลักษณะของการเยียวยาความเสียหายที่เกิด
จากการทำละเมิดจะแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ ชดใช้โดยให้กระทำการ ชดใช้โดยงดเว้นกระทำการ และชดใช้ค่า
สินไหมทดแทน
ตัวอย่าง
นายจ้อนจอดรถจักรยานยนต์เพื่อซื้ออุปกรณ์การเรียนที่หน้าร้านค้าแห่งหนึ่ง นายโฉมขับรถยนต์มาด้วยความเร็วสูง พุ่งเข้าชน
รถจักรยานยนต์ของนายจ้อนได้รับความเสียหาย เสียค่าซ่อมรถเป็นเงินจำนวน 10,000 บาท การกระทำของนายโฉมเป็นการละเมิด
เพราะเป็นการกระทำโดยประมาททำให้รถจักรยานยนต์ของนายจ้อนเสียหาย นายโฉมจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้อน อันได้แก่ ค่า
ซ่อมรถจักรยานยนต์ และอื่น ๆ ซึ่งเสียหายเนื่องจากการไม่มีจักรยานยนต์ใช้

ตัวอย่าง
เด็กชายก่งชกต่อยเด็กชายจ้อนจนได้รับบาดเจ็บ เป็นการทำละเมิดต่อเด็กชายจ้อน เด็กชายเก่งจะต้องรับผิ ดชดใช้ค่าเสียหาย
ให้แก่เด็กชายจ้อน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าพาหนะในการเดินทางไปรักษาพยาบาล (ในกรณีเด็กชายเก่งเป็นผู้เยาว์ ดังนั้นบิดามารดา
หรือผู้ปกครองของเด็กชายเก่งจะต้องร่วมรับผิดกับเด็กชายเก่งด้วย)

ตัวอย่าง
นายชัยเอาก้อนอิฐขว้างปาหลังคาบ้านนางตาล ทำให้กระเบื้องหลังคาบ้านแตกเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อนางตาล นาย
ชัยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นางตาลเป็นค่ากระเบื้องหลังคาบ้านที่แตกเสียหาย รวมทั้งค่าจ้างให้ผู้อื่นมาซ่อมหลังคาให้เหมือนดิม

You might also like