You are on page 1of 4

สัญญา

ลักษณะของสัญญา
สัญญาเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดง เจตนาของบุคคลตั้งแต่
สองฝ่ายข้ึนไปโดยฝ่าย หน่ึงแสดงเจตนาเป็นคำเสนอและอีกฝ่าย
แสดง เจตนาเป็นคําสนอง เมื่อคําเสนอและคําสนอง ถูกต้องตรงกัน
จึงเกิดเป็นสัญญา

องค์ประกอบของสัญญา
1.เกิดขึ้นโดยบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป
2.มีการแสดงเจตนาที่ถูกต้องตรงกนัของคู่สัญญา
3.ต้องมีวัตถุประสงค์ของคู่สัญญา

ประเภทของสัญญา
1.สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน
2.สัญญามีค่าตอบแทนกับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน
3.สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์
4.เอกเทศสัญญากับสัญญาไม่มีชื่อ
5.สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก

สัญญาต่างตอบแทน
เป็นสัญญาที่คู่สัญญาต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกันกล่าวคือคู่สัญญา
ต่างฝ่ายมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันเป็นการตอบแทน

สัญญาต่างไม่ตอบแทน
เป็นสัญญาที่ก่อหนี้ให้แก่คู่สัญญาฝ่ายเดียวกล่าวคือมีคู่สัญญาฝ่าย
หนึ่งเท่านั้นที่เป็นเจ้าหนี้โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกหนี้
สัญญามีค่าตอบแทน
เป็นสัญญาที่คู่สัญญาต่างมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนซึ่งกันและกันซึ่งค่า
ตอบแทนนั้นอาจเป็นทรัพย์สินแรงงานหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ก็ได้

สัญญาไม่มีค่าตอบแทน
สัญญาที่ก่อประโยชน์ให้แก่คู่สัญญาเพียงฝ่ายเดียวโดยคู่สัญญาอีก
ฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับประโยชน์อย่างใดเป็นค่าตอบแทน

สัญญาประธาน
เป็นสัญญาที่เกิดขึ้นและอยู่ได้โดยลำพังไม่ขึ้นกับสัญญาอื่นโดยอาศัย
ความสมบูรณ์ของสัญญาจากตัวสัญญานั้นเองเท่านั้น

สัญญาอุปกรณ์
เป็นสัญญาที่ไม่สามารถเกิดขึ้นและอยู่ได้โดยลำพังด้วยตนเองโดยอาศัย
ความสมบูรณ์จากสัญญาอื่นอีกฉบับหนึ่ง

เอกเทศสัญญา
เป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะเรื่องใน ป.พ.พ. บรรพ 3 ว่าว่า
ด้วยเอกเทศสัญญาโดยได้กำหนดชื่อของสัญญาลักษณะของสัญญา
วัตถุประสงค์รวมตลอดถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาไว้แต่ละประเภท

สัญญาไม่มีชื่อ
สัญญาอื่นนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ซึ่งซึ่งได้ทำถูกต้องตามหลักทั่วไป
ในเรื่องนิติกรรมสัญญาและกฎหมายยอมรับบังคับให้ตามที่ตกลงกันสัญญานั้น
สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก
เป็นสัญญาที่คู่สัญญาตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ให้แก่บุคคล
ภายนอกโดยบุคคลภายนอกไม่ได้เข้ามาเป็นคู่สัญญาด้วย

การเกิดสัญญา
คำเสนอและคำสนองต้องถูกต้องตรงกัน
1.คำสนองต้อง คำสนองต้องไม่มีข้อเพิ่มเติมข้อจำกัดหรือข้อแก้ไขประการอื่น
2.คำสนองต้อง คำสนองต้องกรอบกลับไปภายในระยะเวลาให้ทำคำสนอง

คำเสนอ

หมายถึงการแสดงความประสงค์ของตนต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือ
หลายคนเพื่อขอให้เขาทำสัญญาด้วย

คำเสนอสิ้นผลผูกพัน

1.ผู้ผู้รับคำเสนอได้บอกปัดคำเสนอนั้น
2.ผู้ผู้รับคำเสนอไม่ทำคำสนองกลับมาภายในระยะเวลาให้ทำคำสนอง
3.ผู้เสนอตายหรือตกเป็นคนไร้ความสามารถ

คำสนอง
หมายถึงการแสดงเจตนาตอบรับเข้าทำสัญญาตามคำเสนอ

เวลาที่สัญญาเกิด
เวลาที่คำสนองมีผล
คำมั่น

หมายถึงการแสดงเจตนาของบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งยอมจะผูกพันตนเอง
ที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ประเภทของคำมั่น

1.คำมั่นคำมั่นซึ่งทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
2.คำมั่นคำมั่นซึ่งทำต่อบุคคลทั่วไปไม่ได้เฉพาะเจาะจง

คำมั่นจะทำตามสัญญา

มีลักษณะเป็นคำขอให้ทำสัญญาเช่นเดียวกับคำเสนอ

ดังนั้นบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยคำเสนอย่อมจะนำมาใช้บังคับ
สำหรับคำมันด้วยเว้นแต่จะมีบทบัญญัติในเอกเทศสัญญา
บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

นายเนติพันธ์ กุ่มดวง 65031577

You might also like