You are on page 1of 902

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-1

หน่วยที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืม
และสัญญายืมใช้คงรูป


รองศาสตราจารย์ปรียา วิศาลเวทย์

มส

มส


ชื่อ รองศาสตราจารย์ปรียา วิศาลเวทย์
สธ
วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยมดี), น.บ.ท.
LL.M (Tulane University, U.S.A. ทุนรัฐบาล)
ต�ำแหน่ง กรรมการกลุ่มปรับปรุงเอกสารการสอน
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 1

1-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจ�ำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป

ตอนที่

แนวคิด
มส
1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืม
1.2 สัญญายืมใช้คงรูป
1.3 ความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป

1. ก ฎหมายจัดเรื่องยืมเข้าไว้เป็นเอกเทศสัญญา เนื่องจากมีบทบัญญัติที่ใช้บังคับเป็นการเฉพาะ
นอกเหนือไปจากหลักเกณฑ์ของสัญญาธรรมดาโดยทั่วไป

2. ยมื ใช้คงรูปเป็นสัญญายืมประเภทหนึง่ ซึง่ มีลกั ษณะเฉพาะอันเป็นสาระส�ำคัญ คือ ผูย้ มื มีสทิ ธิ
ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมได้เปล่าโดยกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินที่ยืมไม่โอนไปยังผู้ยืม ตลอดจนเรื่อง
สิทธิและหน้าทีใ่ นระหว่างผูย้ มื และผูใ้ ห้ยมื แตกต่างจากสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองซึง่ เป็นสัญญายืม
มส

อีกประเภทหนึ่งโดยสิ้นเชิง
3. กฎหมายบัญญัติเรื่องความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูป ตลอดจนอายุความที่เกี่ยวข้องไว้โดย
อาศัย หลักเกณฑ์อันเป็นลักษณะเฉพาะของสัญญายืมใช้คงรูป

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายลักษณะส�ำคัญและประเภทของสัญญายืมได้
2. บอกความแตกต่างในสาระส�ำคัญของสัญญายืมแต่ละประเภทได้
3. อธิบายสาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้คงรูปได้

4. แจกแจงสิทธิและหน้าที่ในระหว่างผู้ยืมและผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปได้
5. อธิบายเกี่ยวกับความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้
6. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสัญญายืมใช้คงรูปได้
สธ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-3

กิจกรรมระหว่างเรียน
1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 1
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 1.1-1.3
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน


4. ฟังซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
6. เข้ารับบริการสอนเสริม (ถ้ามี)
7.

สื่อการสอน
1.
2.
3.
4.
มส
ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 1

เอกสารการสอน
แบบฝึกปฏิบัติ
ซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
รายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
5. การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
มส

2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบประจ�ำภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 1 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป ม
สธ

1-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บทน�ำ

การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่าในสังคมหนึ่งๆ ของมนุษย์เรานั้น ย่อมจะต้องมีการพึ่งพาอาศัย


ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกันอยู่เป็นปกติวิสัย การยืมทรัพย์สินกันใช้สอยนั้นจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
ชีวิตประจ�ำวันของ คนทั่วไป ดังนั้น กฎหมายจึงจ�ำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการก�ำหนดหลักเกณฑ์ที่
ส�ำคัญต่างๆ ในเรือ่ งดังกล่าวไว้ เพือ่ เป็นการฟ้องกันข้อโต้เถียงซึง่ อาจจะเกิดขึน้ ได้ในระหว่างผูย้ มื และผูใ้ ห้

มส
ยืมทรัพย์สินนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อความเป็น ระเบียบและปกติสุขของบุคคลผู้อยู่ร่วมกันในสังคมให้มากที่สุด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรานัน้ ได้บญ ั ญัตหิ ลักเกณฑ์เกีย่ วกับสัญญายืมไว้เป็นพิเศษ
ซึ่ง เรียกว่าเอกเทศสัญญา ในบรรพ 3 ลักษณะ 9 ตั้งแต่มาตรา 640 ถึงมาตรา 656 รวมทั้งสิ้น 17 มาตรา
ด้วยกัน ในเอกสาร การสอนหน่วยที่ 1 และหน่วยที่ 2 ซึง่ นักศึกษาจะได้ศกึ ษาเป็นล�ำดับต่อไปนีจ้ ะได้กล่าว
ถึงลักษณะโดยทั่วไปของ สัญญายืมทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยลักษณะในทางกฎหมายของสัญญายืม
ประเภทของสัญญายืม สาระส�ำคัญ รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมและผู้ให้ยืม ตลอดถึงความระงับแห่ง
สัญญายืมและอายุความ ซึ่งจะมีบทมาตรา ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
ตั้งแต่มาตรา 640 ถึงมาตรา 652 ส่วนตั้งแต่มาตรา 653 ถึงมาตรา 656 ซึ่งเป็นเนื้อหาเฉพาะในเรื่องการ
กู้ยืมเงินนั้นจะได้นำ� ไปกล่าวแยกไว้เป็นพิเศษในหน่วยที่ 3 เนื่องจากมีเนื้อหาสาระซึ่งแตกต่างออกไปจาก

ลักษณะทัว่ ไปของสัญญายืมมาก ดังนัน้ ในการศึกษาเพือ่ ให้ทราบ เนือ้ หาในรายละเอียดของสัญญายืมโดย
ครบถ้วนสมบูรณ์ นักศึกษาจึงจ�ำเป็นต้องศึกษาเอกสารการสอนในหน่วยที่ 1 ถึงหน่วยที่ 3 เกี่ยวโยงต่อ
มส

เนื่องกันไปเพื่อผลในการท�ำความเข้าในเนื้อหาสาระของสัญญายืม ซึ่งบัญญัติไว้ใน บรรพ 3 ลักษณะ 9


แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้โดยตลอดและถูกต้องครบถ้วน


สธ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-5

ตอนที่ 1.1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืม
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 1.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
1.1.1 ลักษณะของสัญญายืม
1.1.2 ประเภทของสัญญายืม

1. ส ญ
ั ญายืมเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึง่ โดยเป็นสัญญาไม่ตา่ งตอบแทน และบริบรู ณ์
เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ตลอดจนมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน
2. สญ ั ญายืมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สัญญายืมใช้คงรูป และสัญญายืมใช้สนิ้ เปลือง
ซึ่งต่างก็มีลักษณะเฉพาะในตัวเองอย่างเด่นชัด

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 1.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
มส

1. อธิบายลักษณะที่สำ� คัญของสัญญายืม
2. แจกแจงประเภทของสัญญายืมได้


สธ

1-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ความน�ำ

จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเราได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ


เรื่องยืมไว้พิเศษเป็นลักษณะหนึ่งในบรรพ 3 ซึ่งเรียกว่า เอกเทศสัญญา ที่จัดว่าเป็นเอกเทศสัญญานั้น
เพราะเป็นลักษณะของสัญญาที่แตกต่างไปจากสัญญาธรรมดาโดยทั่วไป เนื่องจากมีบทบัญญัติพิเศษเพิ่ม
เติมขึ้นเพื่อใช้บังคับนอกเหนือไปจากหลักเกณฑ์ของสัญญาธรรมดาตามความส�ำคัญของสัญญานั้นๆ

ดังทีบ่ ญ
มส
อย่างไรก็ตาม เอกเทศสัญญาจะต้องเกิดขึ้นและมีความสมบูรณ์ตามหลักมูลฐานของสัญญาธรรมดาทั่วไป
ั ญัตไิ ว้ในบรรพ 1–2 นัน้ เสียก่อน ดังนัน้ ในการศึกษาเอกเทศสัญญานัน้ มิใช่จะมุง่ พิจารณาบทบัญญัติ
ของลักษณะทีว่ า่ ด้วยสัญญานัน้ ๆ โดยเฉพาะเท่านัน้ ต้องประกอบด้วยบทบัญญัตอิ นั เป็นมูลฐานของสัญญา
นัน้ ด้วย สัญญายืมทีจ่ ะศึกษาต่อไปนีก้ เ็ ช่นเดียวกันจะต้องเกิดเป็นสัญญาสมบูรณ์ตามหลักมูลฐานมาแล้ว
จึงจะพิจารณาต่อไปว่าเข้าลักษณะเป็นสัญญายืมหรือไม่ หากเข้าลักษณะเป็นสัญญายืมแล้วจึงจะใช้
บทบัญญัติลักษณะยืมมาใช้บังคับเป็นการเฉพาะต่อไป
ที่กล่าวว่าจะเป็นสัญญายืมได้จะต้องสมบูรณ์ตามหลักมูลฐานของสัญญามาก่อนนั้น หมายความ
ว่าการเกิดของสัญญาจะต้องเป็นไปตามหลักของนิติกรรม มีการแสดงเจตนาบริสุทธิ์ที่จะผูกพันกันตาม
สัญญานั้น มีคำ� เสนอ ค�ำสนองตรงกัน มีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย และคู่กรณีมีความสามารถที่จะ

ท�ำนิติกรรมได้ ซึ่งจะน�ำมากล่าวโดยสรุปได้ดังนี้คือ
1. สัญญาเป็นนิติกรรมหลายฝ่ายซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป
มส

เมื่อต้องการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ก่อสิทธิและหน้าที่ผูกพันกันเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ ดังนั้นจะ


เป็นสัญญาได้จะ ต้องมีบคุ คลเป็นคูส่ ญ ั ญาตัง้ แต่สองฝ่ายขึน้ ไป จะมีลกู หนีโ้ ดยไม่มเี จ้าหนี้ หรือมีเจ้าหนีโ้ ดย
ไม่มลี กู หนีไ้ ม่ได้ แม้จะ เป็นสัญญาไม่ตา่ งตอบแทนซึง่ ก่อหนีฝ้ า่ ยเดียวอย่างเช่นกรณีสญ ั ญายืมนี้ (ซึง่ จะได้
กล่าวในรายละเอียดต่อไป) ก็ยงั เป็นสัญญาซึง่ จะต้องมีคสู่ ญ ั ญาตัง้ แต่สองฝ่ายขึน้ ไปอยูน่ นั่ เอง ซึง่ มุง่ โดยตรง
ต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลตามหลักใน ปพพ. มาตรา 149 ที่ว่า “นิติกรรม หมายความว่า
การใด ๆ อันท�ำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง

ระหว่างบุคคลแล้วก็หาเป็นนิติกรรมไม่1
2. สัญญาจะเกิดขึน้ เมือ่ คูก่ รณีแสดงเจตนาเป็นค�ำเสนอค�ำสนองถูกต้องตรงกัน การแสดงเจตนานัน้
โดยปกติตอ้ งแสดงให้ปรากฏอย่างใดอย่างหนึง่ จะเป็นโดยกิรยิ าอาการ โดยวาจา หรือโดยลายลักษณ์อกั ษร

บุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ” ดังนัน้ ถ้าการใดมิได้มงุ่ ทีจ่ ะผูกนิตสิ มั พันธ์

ก็ตาม การนิง่ หรืองดเว้นไม่กระท�ำการตามหลักทัว่ ไปไม่ถอื เป็นการแสดงเจตนา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัตไิ ว้


สธ
1 ดู ฎ. 1107/2499, ฎ. 33/2502, ฎ. 1146/2538 และ ฎ. 6414/2551 ซึง่ วินจิ ฉัยไว้เป็นท�ำนองเดียวกันว่าการยืมตามกฎหมายนัน้
จะต้องเกิดขึน้ โดยสัญญา การทีจ่ ำ� เลยซึง่ เป็นข้าราชการได้ยมื เงินของราชการเพือ่ มาใช้ซอื้ ของในราชการ เมือ่ ได้ใบส�ำคัญการจ่ายเงิน
แล้วจึงส่งไปหักล้างในภายหลังเป็นการปฏิบตั หิ น้าทีร่ าชการตามปกติ จ�ำเลยมิได้อยูใ่ นฐานะเป็นผูย้ มื เพราะการเซ็นยืมนัน้ เป็นการท�ำ
แทนนิตบิ คุ คลเพือ่ งานของนิตบิ คุ คลนัน้ จึงมิใช่การผูกนิตสิ มั พันธ์ระหว่างนิตบิ คุ คลกับตัวผูเ้ ซ็นยืม ไม่เป็นสัญญา ไม่ผา่ นหลักนิตกิ รรม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-7

หรือตามปกติประเพณีให้ถอื เอาการนิง่ นัน้ เป็นการแสดงเจตนาท�ำนิตกิ รรมด้วย2 นอกจากนีย้ งั ต้องพิจารณา


ตามหลักทั่วไปใน ปพพ. บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่เกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ของนิติกรรมและหนี้ประกอบ
ด้วย
อุทาหรณ์
ฎ. 943/2495 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจ�ำเลยตามหนังสือสัญญากู้ จ�ำเลยต่อสู้ว่าเป็นนิติกรรม


อ�ำพราง เมื่อคดีได้ความว่าความจริงเป็นเรื่องโจทก์จ�ำเลยเข้าหุ้นส่วนกันในการแสดงละครเพื่อหาก�ำไร
จ�ำนวน เงินที่โจทก์จะมอบให้จ�ำเลยไปซื้อหาและใช้จ่ายในการแสดงละครนั้น โจทก์ให้จ�ำเลยท�ำหนังสือ

มส
สัญญากู้โจทก์ไว้ เพื่อให้จำ� เลยเอาเงินไปใช้เพื่อประโยชน์ในการจัดการแสดงจริงๆ และเพื่อป้องกันเจ้าหนี้
อื่น ถ้าหากว่าจ�ำเลยจะ ไปก่อให้เกิดขึ้นมิให้มาฟ้องร้องโจทก์ในฐานเป็นหุ้นส่วน ดังนี้สัญญากู้ดังกล่าวจึง
เป็นนิติกรรมอ�ำพรางตกเป็น โมฆะตาม ปพพ. มาตรา 118 (ปัจจุบันคือมาตรา 155)
ฎ. 2059/2525 จ�ำเลยท�ำสัญญากู้ให้โจทก์เพื่อเอาใจโจทก์ เพราะขณะนั้นจ�ำเลยถูกฟ้องคดีอาญา
และต้องการจะเอาบุตรซึง่ เกิดจากสามีของโจทก์คนก่อนมาเป็นพยานให้จำ� เลยในคดีทถี่ กู ฟ้อง และเกรง ว่า
โจทก์จะร้องเรียนผู้บังคับบัญชาทางวินัย เพราะจ�ำเลยมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนที่จะได้โจทก์
เป็น ภรรยา ส่วนโจทก์ประสงค์จะใช้สัญญากู้เป็นข้อต่อรองให้จ�ำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยมิได้มี
การรับเงินกัน ตามสัญญากู้เงิน ดังนี้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาท�ำขึ้นโดยเจตนาลวง ไม่
ประสงค์จะผูกพันกัน จึงบังคับไม่ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 118 (ปัจจุบันคือมาตรา 155)

ฎ. 1076/2539 เมื่อค�ำให้การจ�ำเลยแปลความได้ว่า จ�ำเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และ
หลังจากท�ำสัญญากูแ้ ล้ว จ�ำเลยได้รบั เงินจากโจทก์จนครบและเกินจ�ำนวนทีก่ ำ� หนดไว้ในสัญญากู้ จึงถือได้
มส

ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จ�ำเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าว สัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอ�ำพราง การยืม


เงินทดรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการท�ำไร่อ้อยที่จำ� เลยจะน�ำสืบพยานบุคคลหักล้างได้
ฎ. 3528/2539 จ�ำเลยท�ำสัญญากูเ้ งินให้โจทก์แทนการช�ำระราคาทีด่ นิ บางส่วนทีโ่ จทก์กบั พวกขาย
ให้แก่จ�ำเลย หนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินจึงเป็นหนี้ที่แปลงมาจากค่าที่ดินที่จำ� เลยต้องช�ำระแก่โจทก์ สัญญา
กู้เงินจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นนิติกรรมอ�ำพรางสัญญาขายที่ดิน
โจทก์เอาหนีเ้ งินกูท้ จี่ ำ� เลยค้างช�ำระตามสัญญากูเ้ งินฉบับเดิมมาเป็นต้นเงินกูต้ ามสัญญากูเ้ งินฉบับ

ใหม่ เป็นการแปลงหนีจ้ ากสัญญากูเ้ งินฉบับเดิมมาเป็นสัญญากูเ้ งินฉบับใหม่ สัญญากูเ้ งินฉบับใหม่ใช้บงั คับ
กันได้ตามกฎหมาย
3. สัญญาต้องมีวัตถุประสงค์ ซึ่งก็คือจุดประสงค์หรือความมุ่งหมายในการท�ำสัญญานั้นเอง และ
วัตถุประสงค์ดงั กล่าวต้องเป็นวัตถุประสงค์ทชี่ อบด้วยกฎหมายดังที่ ปพพ. มาตรา 150 บัญญัตวิ า่ “การใด
มีวัตถุ ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ” อนึง่ วัตถุประสงค์ทฝี่ า่ ฝืนตามมาตรา 150
นัน้ คูก่ รณีจะต้องรูถ้ งึ วัตถุประสงค์นนั้ จึงจะท�ำให้นติ กิ รรมเป็นโมฆะ เช่น กูเ้ งิน โดยบอกแก่ผใู้ ห้กวู้ า่ จะน�ำไป
สธ
2ศักดิ์ สนองชาติ ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยนิติกรรมและสัญญา แก้ไขเพิ่มเติม พิมพ์ครั้งที่ 2
นิติบรรณการ พ.ศ. 2524 น. 10

1-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ค้าฝิ่นเถื่อน (ฎ. 703/2487) หรือกู้เงินโดยบอกแก่ผู้ให้กู้ว่าจะน�ำไปช�ำระหนี้ในการที่ผู้กู้จ้างเขาฆ่าคน (ฎ.


358/2511) เป็นต้น3
4. สัญญาที่จะสมบูรณ์ตามหลักแห่งนิติกรรมนั้น คู่สัญญาจะต้องมีความสามารถตามกฎหมาย
มิฉะนัน้ ก็จะตกเป็นโมฆียกรรม ดังที่ ปพพ. มาตรา 153 บัญญัตวิ า่ “การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของ
กฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ” นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นหมายความว่า


นิติกรรม นั้นสมบูรณ์มีผลบังคับได้จนกว่าจะถูกบอกล้าง ซึ่ง ปพพ. มาตรา 175 ได้กำ� หนดตัวผู้มีอำ� นาจ
บอกล้างโมฆียะกรรมไว้แล้ว และเมือ่ มีผบู้ อกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ปพพ. มาตรา 176 ให้มผี ลถือว่านิตกิ รรม

มส
นัน้ เป็นโมฆะแต่เริม่ แรก คูก่ รณีตอ้ งกลับคืนสูฐ่ านะเดิม เว้นแต่ถา้ เป็นการพ้นวิสยั จะกลับคืนฐานะเดิมเช่นนัน้
ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้แทน
จากหลักมูลฐานแห่งนิติกรรมดังกล่าว หากได้พิจารณาว่าเอกเทศสัญญาใดไม่ขัดกับหลักมูลฐาน
ดังกล่าวแล้ว ก็จะต้องพิจารณาต่อไปว่าเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะใด เพือ่ ทีจ่ ะได้นำ� บทบัญญัตใิ นเอกเทศ
สัญญา ลักษณะนั้นๆ มาใช้บังคับต่อไป

เรื่องที่ 1.1.1

ลักษณะของสัญญายืม
มส

ค�ำว่า “ยืม” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า “ขอสิ่งของ


เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, น�ำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน”4
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรามิได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำ� ว่า “ยืม” ไว้ในที่ใดเลย แต่
เมื่อพิเคราะห์จากตัวบทกฎหมายซึ่งได้บัญญัติไว้ตั้งแต่ มาตรา 640 ถึง มาตรา 656 แล้ว พอจะให้ความ

หมายของค�ำว่า “ยืม” ได้ว่า “ยืม” เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ให้ยืม” ส่งมอบทรัพย์สิน
ให้แก่คสู่ ญ
ั ญาอีกฝ่ายหนึง่ เรียกว่า “ผูย้ มื ” เพือ่ ให้ใช้สอยทรัพย์สนิ นัน้ ได้เป็นประโยชน์แก่ผยู้ มื ภายในช่วง
ระยะเวลาหนึ่งแล้วผู้ยืมส่งคืนทรัพย์สินให้เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว
สัญญายืมมีลักษณะในทางกฎหมายที่สำ� คัญดังต่อไปนี้ คือ
1. สัญญายืมเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่ง ซึ่งได้อธิบายมาแล้วในเบื้องต้น ข้อส�ำคัญคือ จะ
ต้องพิจารณาว่าเอกเทศสัญญาหนึ่งๆ นั้นจัดเข้าลักษณะของสัญญายืมได้หรือไม่ เพราะหากไม่ใช่เรื่องยืม
แล้วก็จะน�ำบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องยืมมาใช้บังคับมิได้ และเมื่อเข้าลักษณะเป็นเรื่องยืมแล้วก็ต้อง
สธ
3 ดู ฎ. 1181/2491, ฎ. 690/2492, ฎ. 1160/2494, ฎ. 1288/2501, ฎ. 1124/2512 ประกอบ
4 พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-9

พิจารณาต่อไปว่าเป็นสัญญายืมประเภทใดด้วย เพื่อจะได้นำ� บทบัญญัติในเรื่อง นั้นๆ มาใช้บังคับได้อย่าง


ถูกต้อง
อุทาหรณ์
ฎ. 874/2477 คดีได้ความว่าโจทก์จำ� เลยต่างรับสินค้าซึ่งกันและกันไปจ�ำหน่าย บางคราวเวลารับ
สินค้าไปก็ยงั มิได้ช�ำระราคากัน บางคราวจ�ำเลยเคยใช้วธิ อี อกตัว๋ ให้โจทก์แล้วโจทก์จา่ ยเงินให้จ�ำเลยไปก่อน


โดยส่งตัว๋ นัน้ ไปเก็บเงินจากผูท้ จี่ ำ� เลยส่งสินค้าไปให้อกี ต่อหนึง่ การทีโ่ จทก์จา่ ยเงินให้จำ� เลย ดังนีห้ าเรียกว่า
เป็นการกู้ยืมเงินไม่ แม้จะไม่มีเอกสารลงลายมือชื่อจ�ำเลยผู้ต้องรับผิด โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินได้

มส
ฎ. 874/2486 การเข้าหุ้นเล่นแชร์เปียหวยไม่เป็นการกู้ยืมเงิน
ฎ. 315/2491 จ�ำเลยให้โจทก์เป็นนายหน้าขายสายพานให้ โดยจ�ำเลยขอให้โจทก์จ่ายเงินค่า
สายพานนี้ให้ก่อน 20,000 บาท ถ้าผู้มาซื้อสายพานไปตามนัด จ�ำเลยก็ไม่ต้องช�ำระเงินคืนให้โจทก์ แต่ถ้า
ผูซ้ อื้ ไม่มาซือ้ จ�ำเลยจะต้องคืนเงิน ดังนี้ ศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่า โจทก์มใิ ช่ผซู้ อื้ สายพาน ข้อตกลงระหว่างโจทก์
จ�ำเลยเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองตามมาตรา 650 เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตามมาตรา 653 โจทก์จะ
ฟ้องบังคับจ�ำเลยให้ช�ำระเงินคืนหาได้ไม่
ฎ. 49/2491 จ�ำเลยขอให้โจทก์จา่ ยเงินแก่หญิงคนหนึง่ ไปแล้ว จ�ำเลยจะใช้ให้ โจทก์จา่ ยเงินไปแล้ว
จ�ำเลยไม่ยอมใช้คนื โจทก์จงึ ฟ้องเรียกเงินทีจ่ า่ ยไป ศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่า การจ่ายเงินนัน้ โดยจ�ำเลยสัง่ เป็นการ
ท�ำแทนจ�ำเลยตัวแทนย่อมเรียกเงินทีจ่ า่ ยทดรองจากตัวการได้โดยไม่ตอ้ งมีหลักฐานเป็นหนังสือเพราะไม่ใช่

เรื่องกู้ยืม (มี ฎ. 319/2510 วินิจฉัยในท�ำนองเดียวกัน)
ฎ. 122/2501 รับมอบเงินไปซื้อกระบือและโคมาให้ ซื้อกระบือบ้างแล้วกลับขายเสียและคืนเงินให้
มส

บางส่วน ดังนี้ไม่ใช่กู้ยืมเงิน แม้ไม่มีหนังสือเป็นหลักฐานก็ฟ้องเรียกเงินได้


ฎ. 3326/2522 ผูข้ อรับช�ำระหนีไ้ ด้จา่ ยเงินทดรองค่าใช้จา่ ยของบริษทั ไม่ใช่กยู้ มื เงิน ไม่ตอ้ งมีหลักฐาน
เป็นหนังสือ เมื่อเป็นหนี้กันจริง ก็ขอรับช�ำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
2. สัญญายืมเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน ซึง่ สัญญาไม่ตา่ งตอบแทนนัน้ เป็นสัญญาทีก่ อ่ หนีใ้ ห้แก่
คูส่ ญ
ั ญาฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ แต่เพียงฝ่ายเดียว ต่างกับสัญญาต่างตอบแทนซึง่ ก่อหนีเ้ กิดแก่คสู่ ญ ั ญาทัง้ สองฝ่าย
(ปพพ. มาตรา 369) เช่น ในสัญญาซือ้ ขายทัง้ ผูซ้ อื้ และผูข้ ายมีหนีท้ จี่ ะต้องปฏิบตั ซิ งึ่ กันและกันแก่คสู่ ญ ั ญา

อีกฝ่ายหนึ่ง กล่าวคือ ผู้ขายมีหน้าที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องช�ำระ
ราคาให้ ถ้าฝ่ายหนึง่ ฝ่ายใดไม่ปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตน อีกฝ่ายหนึง่ ก็ยงั มีสทิ ธิทจี่ ะไม่ปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตน หรือ
มีสิทธิยับยั้งหรือยึดหน่วงบางประการตามกฎหมายได้ เช่น ในเรื่องสัญญาซื้อขายนี้ ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบ
ทรัพย์ให้ ผู้ซื้อก็มีสิทธิที่จะยังไม่ยอมช�ำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อนั้นได้จนกว่าผู้ขายจะยอมส่งมอบทรัพย์ให้
สัญญายืมเป็นสัญญาไม่ตา่ งตอบแทน เพราะก่อหนีห้ รือหน้าทีบ่ งั คับแก่ผยู้ มื เพียงฝ่ายเดียว นับแต่
หน้าทีใ่ นการเสียค่าฤชาธรรมเนียมในการท�ำสัญญายืม ค่าส่งมอบและค่าส่งคืนทรัพย์ทยี่ มื หน้าทีใ่ นการใช้
ทรัพย์สินตามสัญญา หน้าที่ในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม จนกระทั่งถึงหน้าที่ที่จะต้องส่งทรัพย์สินคืน
สธ
เมือ่ ใช้เสร็จแล้ว ส�ำหรับผู้ให้ยืมนั้นไม่มีหนี้อย่างใดจะต้องช�ำระให้แก่ผู้ยืม การที่ผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สิน
ที่ยืมให้แก่ผู้ยืมนั้นมิใช่เป็นการช�ำระหนี้ แต่เป็นส่วนประกอบที่เป็นสาระส�ำคัญของสัญญายืม เพราะ
ตราบใดที่ผู้ให้ยืมยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม สัญญายืมย่อมไม่บริบูรณ์ (ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป

1-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ในส่วนนี้) อย่างไรก็ตาม หากมีกรณีที่ผู้ให้ยืมจะเกิดมีหน้าที่ขึ้นได้ ก็ย่อมเกิดจากเหตุอื่นที่มิใช่เกิดจาก


สัญญายืมโดยตรง ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไปในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืม
อนึง่ แม้สัญญายืมจะเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนก็ตาม แต่อาจเป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนได้ ซึง่
ได้แก่ สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอันมีค่าตอบแทน เช่น สัญญากู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยตอบแทนแก่ผู้ให้ยืมใน
การที่ผู้ยืมได้ใช้เงินนั้น เป็นต้น แต่ก็ไม่ทำ� ให้สัญญากู้ยืมเงินนี้กลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไปได้


จากการที่สัญญายืมเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนนี้ย่อมมีผลทางกฎหมาย กล่าวคือ หลักเกณฑ์
ต่างๆ ที่ใช้บังคับกับสัญญาต่างตอบแทน จะน�ำมาใช้บังคับกับสัญญายืมไม่ได้ เช่นสิทธิที่จะบังคับเอากับ

มส
คู่สัญญาตาม ปพพ. มาตรา 369 ไม่สามารถจะน�ำมาใช้กับสัญญายืมได้ ผลทางกฎหมายก็คือ ถ้าเกิดมี
กรณีที่ผู้ให้ยืมไม่ยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ผู้ยืมก็ไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้ผู้ยืมส่งมอบให้ เป็นต้น
3. สัญญายืมเป็นสัญญาทีบ่ ริบรู ณ์ตอ่ เมือ่ ส่งมอบทรัพย์สนิ ทีใ่ ห้ยมื (มาตรา 641 และมาตรา 650
วรรคสอง) หมายความว่า ตราบใดทีผ่ ใู้ ห้ยมื ยังไม่สง่ มอบทรัพย์สนิ ทีใ่ ห้ยมื แก่ผยู้ มื สัญญายืมก็ยงั ไม่ บริบรู ณ์
แม้ว่าคู่สัญญาจะได้ท�ำสัญญากันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม5
ส่วนปัญหาทีว่ า่ การทีไ่ ม่มกี ารส่งมอบทรัพย์อนั เป็นเหตุให้สญ
ั ญายืมไม่บริบรู ณ์นนั้ จะหมายความถึงว่า
สัญญายืมนั้นตกเป็นโมฆะไปเลยหรือไม่ มีความเห็นของนักกฎหมายแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายแรก6 มีความเห็นว่า การส่งมอบทรัพย์สินเป็นแบบอย่างหนึ่งของนิติกรรมนอกเหนือไปจาก
แบบที่กฎหมายบังคับอย่างอื่น กล่าวคือ ฝ่ายนี้มีความเห็นว่าแบบแห่งความสมบูรณ์หรือบริบูรณ์ของ

นิติกรรมที่กฎหมายบังคับไว้แบ่งแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ
ก. ต้องท�ำเป็นหนังสือ เช่น สัญญาเช่าซื้อ ตาม ปพพ. มาตรา 572
มส

ข. ต้องท�ำเป็นหนังสือและจดทะเบียน เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา


456 วรรคหนึ่ง
ค. ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สิน เช่น สัญญายืม จ�ำน�ำ และฝากทรัพย์ เป็นต้น
ดังนั้น ตามความเห็นของฝ่ายแรกนี้ หากนิติกรรมใดไม่กระท�ำตามแบบที่กฎหมายก�ำหนดบังคับ
ไว้ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไป ตาม ปพพ. มาตรา 152 และเนื่องจากสัญญายืมเป็นสัญญา
ที่บริบูรณ์ ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืมตามมาตรา 641 และ 650 วรรคสอง ดังนั้น สัญญายืมที่
ไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืมจึงไม่บริบูรณ์และตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 152 ม
ฝ่ายที่สอง7 มีความเห็นว่า การส่งมอบทรัพย์มิใช่แบบของนิติกรรม คือมิใช่พิธีการเพื่อความ
สมบูรณ์ของนิติกรรม แต่เป็นเพียงส่วนประกอบของการแสดงเจตนาในการท�ำนิติกรรมบางประเภทซึ่ง
ต้องมีการส่งมอบทรัพย์ด้วย เช่น ให้โดยเสน่หา (ปพพ. มาตรา 523) ยืม (มาตรา 641, 650) ฝากทรัพย์

5 จิ๊ด เศรษฐบุตร ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอม การ


พนันและขันต่อ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2492 น. 6.
สธ
6 เรื่องเดียวกัน น. 5–6 สุปัน พูลพัฒน์ ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของใน
คลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2515 น. 3.
7 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 (ภาค 1-2) แก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. 2505 พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2478 น. 160 ศักดิ์ สนองชาติ เรื่องเดียวกัน น. 67.

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-11

(ปพพ. มาตรา 657) เป็นต้น ถ้าไม่มีการส่งมอบทรัพย์ ถือว่าการแสดงเจตนายังไม่สมบูรณ์หรือบริบูรณ์


นิติกรรมจึงยังไม่เกิด แต่ไม่ตกเป็นโมฆะ ถ้ามีการส่งมอบทรัพย์เมื่อไร นิติกรรมก็สมบูรณ์ ถ้าถือว่าการ
ส่งมอบทรัพย์เป็น แบบของนิติกรรม เมื่อไม่ส่งมอบทรัพย์ นิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการ
ส่งมอบในภายหลังก็ไม่ท�ำให้นิติกรรมนั้นกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้
ในเรื่องดังกล่าวนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า เมื่อพิเคราะห์ตามบทบัญญัติในมาตรา 641 และมาตรา


650 ได้ความแต่เพียงว่า สัญญายืมนัน้ ย่อมบริบรู ณ์ตอ่ เมือ่ ส่งมอบทรัพย์สนิ ซึง่ ให้ยมื ซึง่ ตีความหมายได้วา่
ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืม สัญญายืมนั้นก็ยังไม่มีผลบริบูรณ์ตามกฎหมาย ต่อเมื่อมีการ

มส
ส่งมอบทรัพย์แล้วสัญญานัน้ ย่อมมีผลบริบรู ณ์ คือก่อให้เกิดสิทธิและหน้าทีข่ องคูส่ ญ ั ญาตามกฎหมาย ไม่มี
ข้อความใดในบทบัญญัตทิ ใี่ ห้ตกเป็นโมฆะซึง่ หมายความถึงความเสียเปล่าอันไม่สามารถจะท�ำให้กลับคืนดี
ได้ในภายหลัง หากกฎหมายมีเจตนารมณ์จะให้การส่งมอบทรัพย์เป็นแบบของนิตกิ รรมก็ควรจะได้บญ
ผลไว้ชดั แจ้งว่าให้ตกเป็นโมฆะ เช่น ในสัญญาซือ้ ขายอสังหาริมทรัพย์ (ปพพ. มาตรา 456) หรือในสัญญา
เช่าซื้อ (ปพพ. มาตรา 572) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติใน ปพพ. อีกหลายประการ ซึ่งเห็นได้โดย
ชัดแจ้งว่าไม่ใช่แบบของนิติกรรมซึ่งจะมีผลท�ำให้นิติกรรมกลายเป็นโมฆะหากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมาย
ก�ำหนด เช่น ในเรื่องหลักฐานเป็นหนังสือในสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน (ปพพ. มาตรา 456 วรรคสอง)
ั ญัติ

สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ปพพ. มาตรา 537) การกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาท (มาตรา 653) เป็นต้น


ซึ่งกฎหมายบัญญัติแต่เพียงว่าถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะฟ้องร้องบังคับคดีกันมิได้ แต่ไม่ถึงกับท�ำให้

นิตกิ รรมทีไ่ ม่มหี ลักฐานเป็นหนังสือเหล่านัน้ ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใด อาศัยเหตุผลในท�ำนองเดียวกันกับใน
เรื่องการส่งมอบทรัพย์ ผู้เขียนจึงเห็นด้วยกับความเห็นของฝ่ายที่สองดังกล่าวข้างต้นว่าการส่งมอบไม่ใช่
มส

แบบ แต่เป็นองค์ประกอบแห่งความสมบูรณ์ของสัญญายืม หากยังไม่ส่งมอบสัญญาก็ยังไม่มีผลบังคับแม้


จะมีค�ำเสนอ ค�ำสนองถูกต้องตรงกันแล้วก็ตาม
การส่งมอบทรัพย์สนิ ทีย่ มื กันนัน้ กฎหมายในเรือ่ งยืมมิได้วางบทบัญญัตไิ ว้วา่ จะต้องมีพธิ กี ารอย่างไร
แต่ในเรือ่ งซือ้ ขาย ปพพ. มาตรา 462 บัญญัตเิ รือ่ งการส่งมอบไว้วา่ “การส่งมอบนัน้ จะท�ำอย่างหนึง่ อย่างใด
ก็ได้สุดแต่ว่าเป็นผลให้ทรัพย์สินนั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ” การส่งมอบในเรือ่ งยืมจึงใช้วธิ กี ารเดียวกัน
กับ ปพพ. มาตรา 462 โดยอาจแยกออกเป็น 2 กรณี คือ การส่งมอบโดยตรง ได้แก่การหยิบยื่นทรัพย์

ที่ยืมให้แก่ผู้ยืมหรือตัวแทนของผู้ยืมโดยตรง เช่น ส่งมอบโต๊ะ เก้าอี้ หนังสือ ฯลฯ เมื่อผู้ยืมรับเอาไว้แล้ว
ก็เป็นการส่งมอบที่ท�ำให้สัญญายืมมีผลบริบูรณ์ตามกฎหมาย ส่วนการส่งมอบโดยปริยาย ได้แก่การ
ส่งมอบทีม่ ใิ ช่การหยิบยืน่ ทรัพย์สนิ ทีย่ มื โดยตรง แต่เป็นการกระท�ำใดๆ อันมีผลให้ทรัพย์อยูใ่ นความครอบ
ครองหรือดูแลรักษาของผูย้ มื หรือตัวแทนของผูย้ มื เช่น ขอยืมของในลิน้ ชัก ผูใ้ ห้ยมื ส่งมอบกุญแจให้ผยู้ มื ไป
เปิดไขเอาเอง หรือยืมรถยนต์ไปขับขี่ ผูใ้ ห้ยมื ส่งมอบกุญแจรถให้ หรือทรัพย์สนิ บางอย่างทีม่ ขี นาดใหญ่เกิน
กว่าจะหยิบยื่นให้ได้ เช่นเครื่องเรือน ผู้ให้ยืมอาจบอกกล่าวอนุญาตให้ผู้ยืมขนเอาไปเอง หรือโอนเงินเข้า
บัญชีเงินฝากของผู้ยืม เป็นต้น ควรสังเกตไว้ว่า ส�ำหรับการส่งมอบทรัพย์ที่ยืมโดยปริยายนี้ ถ้าผู้ยืมยัง
สธ
ไม่ได้ครอบครองทรัพย์สินนั้น (ซึ่งอาจเป็นการครอบครองแทนผู้ยืมก็ได้) สัญญายืมก็ยังไม่บริบูรณ์ เช่น
ตามอุทาหรณ์ขา้ งต้น ถ้าผูย้ มื ยังไม่ได้เอากุญแจไปเปิดไขลิน้ ชัก หรือเปิดประตูรถ หรือมาขนเครือ่ งเรือนไป
หรือมอบหมายให้ใครมาด�ำเนินการแทน ก็ยงั ถือไม่ได้วา่ ผูย้ มื ได้ครอบครองทรัพย์ทยี่ มื แล้ว นอกจากนี้ การ

1-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ส่งมอบให้ครอบครองอาจเกิดก่อนสัญญายืมก็ได้ เช่นผู้ยืมครอบครองทรัพย์ที่ยืมอยู่ก่อนแล้วโดยอาศัย
สัญญาอื่น เช่น รับฝากทรัพย์ที่ยืมไว้ก่อนแล้ว เป็นต้น
สัญญาจะให้ยืม
ปัญหาที่น่าพิจารณาเกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์อีกประการหนึ่งก็คือในเรื่องสัญญายืมจะมีผล
บริบรู ณ์ตอ่ เมือ่ มีการส่งมอบทรัพย์สนิ ทีย่ มื ตราบใดยังไม่มกี ารส่งมอบทรัพย์ทยี่ มื ให้แก่ผยู้ มื สัญญายืมยัง


ไม่มผี ลบังคับ ผูย้ มื ย่อมไม่อาจบังคับให้ผยู้ มื ส่งมอบทรัพย์สนิ ให้แก่ตนได้ ดังนัน้ หากคูส่ ญ
ั ญาท�ำสัญญาจะ
ให้ยมื ไว้ทำ� นองเดียวกับสัญญาจะให้ หรือสัญญาจะซือ้ จะขายทรัพย์สนิ เพือ่ ให้มผี ลบังคับกันได้หากผูใ้ ห้ยมื

มส
เปลี่ยนใจภายหลัง จะท�ำได้หรือไม่ ในเรื่องดังกล่าวมีความเห็นของนักกฎหมายแตกต่างกัน คือ ฝ่ายหนึ่ง
เห็นว่า สัญญาจะให้ยมื หรือค�ำมัน่ จะให้ยมื ใช้บงั คับตามกฎหมายไม่ได้8 เพราะยังไม่มกี ารส่งมอบทรัพย์ แม้
จะได้มกี ารตกลงเป็นหนังสือไว้วา่ ฝ่ายหนึง่ จะให้ยมื ทรัพย์สนิ แต่ถา้ ยังไม่มกี ารส่งมอบทรัพย์นนั้ อีกฝ่ายหนึง่
จะน�ำสัญญามาฟ้องให้ศาลบังคับผู้จะให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินนั้นไม่ได้ แต่ความเห็นของอีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า
สัญญาจะให้ยมื หรือค�ำมัน่ จะให้ยมื นัน้ น่าจะเป็นสัญญาทีส่ มบูรณ์บงั คับฟ้องร้องกันได้เพราะเป็นสัญญาตาม
หลักทัว่ ไปซึง่ ไม่ใช่สญ
กันเท่านั้น9
ั ญายืม จึงไม่จำ� เป็นต้องสมบูรณ์โดยการส่งมอบทรัพย์ แต่สมบูรณ์โดยมีเจตนาตกลง

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ศาสตราจารย์ ดร.จี๊ด เศรษฐบุตร10 ได้ให้ความเห็นโดยแยกพิจารณาเป็น


2 กรณี คือ สัญญาจะให้ยมื โดยไม่มคี า่ ตอบแทน และสัญญาจะให้ยมื โดยมีคา่ ตอบแทน ซึง่ จะขอยกความเห็น

ดังกล่าวของท่านมาลงไว้ในที่นี้ด้วย คือ
“ส�ำหรับข้าพเจ้านัน้ เห็นว่า เราจะตอบปัญหาเรือ่ งนีไ้ ด้จำ� เป็นจะต้องแบ่งลักษณะสัญญาจะให้ยมื
มส

หรือค�ำมั่นจะให้ยืมลงไปอีก คือ
1. สัญญาจะให้ยืมโดยไม่เอาค่าตอบแทนแต่อย่างใด ได้แก่ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายที่ให้ค�ำมั่นนั้น
ไม่หวังค่าตอบแทนในการให้ยมื แต่ประการใดเลย เช่น เรามีรถยนต์อยูค่ นั หนึง่ ได้มเี พือ่ นมาขอยืมใช้ในวัน
อาทิตย์หน้า โดยมิให้คา่ ตอบแทนแก่เราอย่างไร (ถ้าเพือ่ นให้คา่ ตอบแทนแก่เราก็จะเป็นสัญญาเช่ารถยนต์
ซึง่ ย่อมใช้บงั คับได้โดยไม่ตอ้ งมีการส่งมอบ) เราก็ตอบว่าได้ ให้มาเอารถยนต์ในวันอาทิตย์หน้า ดังนี้ เข้าใจ
ว่าสัญญาจะให้ยมื โดยไม่เอาค่าตอบแทนดังกล่าว หาใช้บงั คับได้ไม่ กล่าวคือ ตราบใดทีเ่ รายังไม่ได้สง่ มอบ
รถยนต์ให้ไปนั้น เราจะกลับใจไม่ยอมให้เพื่อนยืมรถยนต์ไปใช้ได้ ม
ทั้งนี้ ก็โดยเห็นว่าสัญญาจะให้ยืมโดยไม่เอาค่าตอบแทนนั้นมีลักษณะใกล้กับสัญญาให้มากที่สุด
แต่สัญญาให้นั้นจะสมบูรณ์ก็โดยการส่งมอบทรัพย์ (ดูมาตรา 523) สัญญาจะให้ยืมจึงน่าจะเข้าในข่ายแห่ง
สัญญา ให้นั้นด้วย

8 ประวัติ ปัตตพงศ์ ค�ำสอนชั้นปริญญาตรี กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฯลฯ พระนคร พ.ศ. 2487 น. 4 พจน์


สธ
ปุษปาคม ค�ำอธิบาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม กู้ยืม ฝากทรัพย์ พ.ศ. 2521 นิติบรรณาการ พ.ศ. 2521 น. 26.
9 จี๊ด เศรษฐบุตร ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอม การ
พนันและขันต่อ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2492 น. 7.
10 เรื่องเดียวกัน น. 7–8.

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-13

2. สัญญาจะให้ยมื โดยเอาค่าตอบแทน ได้แก่ สัญญาทีค่ สู่ ญ ั ญาฝ่ายทีใ่ ห้คำ� มัน่ นัน้ หวังค่าตอบแทน
ในการให้ยืมนั้น เช่น ธนาคารมีเงินให้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย ได้มีลูกค้ามาขอท�ำสัญญาให้ธนาคารเปิดเครดิต
เพื่อตน ยืมเงินไปได้ในอัตราดอกเบี้ยที่กำ� หนด ธนาคารก็ตกลง (กรณีเช่นนี้ไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์ เพราะ
เงินเป็นทรัพย์สิน ที่ใช้ไปสิ้นไป เป็นวัตถุแห่งสัญญาเช่าทรัพย์ไม่ได้) ดังนี้ เข้าใจว่า สัญญาจะให้ยืมโดยมี
ค่าตอบแทนดังกล่าวใช้ บังคับตามกฎหมายได้ กล่าวคือ หากธนาคารเกิดไม่ยอมให้ยืมตามที่สัญญาไว้


ลูกค้าย่อมมีสิทธิที่จะบังคับให้ให้ ยืมได้”
ส�ำหรับผู้เขียนนั้น มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า กฎหมายลักษณะยืมไม่ได้บัญญัติในเรื่องสัญญา

มส
จะให้ ยืมไว้ว่ามีได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ดูตามลักษณะของสัญญาแล้ว สัญญายืมเป็นสัญญาไม่
ต่างตอบ แทนซึ่งจะน�ำหลักเกณฑ์ของสัญญาต่างตอบแทนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสิทธิที่จะบังคับแก่
คู่สัญญา ตาม ปพพ. มาตรา 369 มาใช้บังคับไม่ได้ กล่าวคือ สัญญายืมในตัวของมันเอง เมื่อเกิดกรณีที่
ผู้ให้ยืมไม่ยอมส่งมอบทรัพย์ สินที่ยืม ผู้ยืมก็ไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้ผู้ยืมส่งมอบได้อยู่แล้ว ดังนั้น สัญญา
จะให้ยืมไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ก็ไม่น่าจะใช้บังคับได้ นอกจากนี้แม้แต่ในสัญญาต่างตอบแทน
บางประเภท เช่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ให้สิทธิคู่ สัญญาในการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาได้ ก็เพราะ
เป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ (ปพพ. มาตรา 456 วรรคสอง) หรือแม้ในสัญญาไม่ต่างตอบแทน
บางลักษณะ เช่น สัญญาให้ ในกรณีมคี ำ� มัน่ จะให้ซงึ่ ให้สทิ ธิผรู้ บั เรียกให้ผใู้ ห้สง่ มอบทรัพย์สนิ หรือราคาแทน
ทรัพย์สินได้นั้น ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้กระท�ำได้เช่นกัน มิฉะนั้นแล้วก็ไม่อาจจะ

ฟ้องร้องบังคับกันได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีความเห็นต่อไปอีกว่า ที่ว่าสัญญาจะให้ยืมใช้ บังคับไม่ได้นั้น
หมายความเพียงว่าผู้จะยืมจะฟ้องบังคับให้ผู้จะให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินที่จะให้ยืมไม่ได้เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับ
มส

กรณีที่ผู้จะยืมอาจเกิดความเสียหายจากการที่ผู้จะให้ยืมผิดสัญญา ซึ่งอาจฟ้องเรียกค่าเสียหายกันได้เป็น
ส่วนหนึ่งต่างหากตามหลักของสัญญาทั่วไป
อุทาหรณ์เกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
ฎ. 2525/2499 โจทก์ให้จำ� เลยวิง่ เต้นขายทีด่ นิ ถ้าได้เงินมาจะให้จำ� เลยยืมเงินหนึง่ แสนบาท จ�ำเลย
ท�ำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ล่วงหน้า แต่การขายไม่ส�ำเร็จ จ�ำเลยไม่ได้เงิน สัญญายืมไม่บริบูรณ์เพราะไม่มีการ
ส่งมอบ

มาตรา 653 ซึ่งท�ำให้ยังฟ้องร้องไม่ได้เท่านั้น



ฎ. 28/2505 ยืมเงินกัน โจทก์ให้เงินไปก่อนโดยยังไม่ได้ท�ำสัญญากู้ ถือว่ามีการส่งมอบโดยตรง
และมี หนีก้ ยู้ มื เกิดขึน้ แล้วโดยสมบูรณ์เพียงแต่ขาดหลักฐานเป็นหนังสือตามทีก่ ฎหมายต้องการ ตาม ปพพ.

ฎ. 580/2509 จ�ำเลยท�ำสัญญาเป็นผู้กู้โดยมีผู้อื่นรับเงินไป ถือเป็นการส่งมอบและรับเงินไปตาม


สัญญากู้แล้ว แม้ในใจจริงจ�ำเลยจะถือว่าท�ำแทนผู้อื่นและไม่มีเจตนาให้ถูกผูกพันก็ต้องถูกผูกพันตามที่ได้
แสดงเจตนาออกมา เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้กู้จะได้รู้ถึงเจตนาอันซ่อนอยู่ในใจนั้น
ฎ. 3011/2527 การกู้ยืมเงินเข้าลักษณะยืมใช้สิ้นเปลือง ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
สธ
จ�ำเลยย่อมน�ำสืบได้วา่ จ�ำเลยมิได้กยู้ มื เงินโจทก์ อันเป็นการน�ำสืบว่าจ�ำเลยมิได้รบั มอบเงินกูจ้ ากโจทก์ ซึง่
เป็นเหตุให้สัญญากู้ไม่บริบูรณ์ ทั้งไม่มีมูลหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์จ�ำเลย ไม่เป็นการต้องห้าม ตาม ปวพ.
มาตรา 94

1-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 519/2533 ค�ำพยานโจทก์ขัดต่อเหตุผล และตามค�ำพยานจ�ำเลยฟังได้ว่า จ�ำเลยท�ำสัญญากู้ไว้


แทน การเช่า โดยจ�ำเลยมิได้รับเงินตามสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจ�ำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริง ก็
ย่อมบังคับ ตามสัญญากู้ไม่ได้
ฎ. 1500/2535 จ�ำเลยอ้างว่าการกู้เงินยังไม่บริบูรณ์เพราะจ�ำเลยยังมิได้รับเงินกู้ ภาระการพิสูจน์
จึงตกแก่จ�ำเลย


ฎ. 4686/2540 เมื่อ ปพพ. มาตรา 650 วรรคสอง ระบุว่า สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองย่อมบริบูรณ์
ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม การกู้ยืมเงินเข้าลักษณะยืมใช้สิ้นเปลือง ดังนั้นที่จำ� เลยน�ำสืบว่าไม่ได้รับเงิน

มส
ตามสัญญากูย้ มื เงินย่อมเป็นเหตุให้สญ ั ญากูย้ มื เงินไม่บริบรู ณ์ ทัง้ ไม่มมี ลู หนีเ้ งินกูร้ ะหว่างโจทก์จำ� เลย การ
ทีจ่ ำ� เลยน�ำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากูย้ มื เงินดังกล่าวไม่มมี ลู หนีเ้ พราะจ�ำเลยไม่ได้รบั เงิน จ�ำเลยไม่ตอ้ ง
รับผิดตามสัญญากูย้ มื เงินต่อโจทก์ จ�ำเลยย่อมน�ำสืบได้ ตาม ปวพ. มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตาม
กฎหมายไม่
ฎ. 621/2543 หลังจากที่จ�ำเลยที่ 1 ท�ำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์แล้ว โจทก์ได้โอนเงินจ�ำนวน
45,000,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินไปเข้าบัญชีเงินฝากของจ�ำเลยที่ 1 แล้วน�ำไปหักกับดอกเบี้ยเงินกู้
รายอื่นที่จำ� เลยที่ 1 ค้างช�ำระแก่โจทก์ ดังนี้ แม้จ�ำเลยที่ 1 จะมิได้ถอนเงินจ�ำนวน 45,000,000 บาท จาก
บัญชีเงินฝากจ�ำเลยที่ 1 แต่การทีโ่ จทก์จดั ให้นำ� เงินจ�ำนวนดังกล่าวไปช�ำระหนีค้ า่ ดอกเบีย้ ทีจ่ ำ� เลยที่ 1 เป็น
หนี้โจทก์อยู่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับอื่น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้จำ� นวน 45,000,000 บาท ให้

แก่จำ� เลยที่ 1 แล้ว สัญญากูย้ มื เงินระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยที่ 1 ย่อมบริบรู ณ์ ตาม ปพพ. มาตรา 650 วรรค
สอง
ฎ. 6792/2543 จ�ำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท ฟ. จ�ำกัด เพื่อช�ำระหนี้ตามสัญญา
มส

กู้ยืมเงินที่บริษัท ฟ. จ�ำกัด กู้ไปจากโจทก์ร่วม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัท ฟ. จ�ำกัด ยังไม่ได้รับเงิน


ตามสัญญากู้ยืมเงิน ดังนั้นสัญญากู้ยืมเงินย่อมไม่สมบูรณ์ ตาม ปพพ. มาตรา 650 วรรคสอง จึงถือไม่ได้
ว่าบริษัท ฟ. จ�ำกัด เป็นหนี้โจทก์ร่วมตามสัญญากู้ยืมเงิน (หมายเหตุ-ค�ำว่าไม่สมบูรณ์ น่าจะหมายถึงไม่
บริบูรณ์-ผู้เขียน)
ฎ. 4266/2548 จ�ำเลย ได้ดำ� เนินการเสนอค�ำขอสินเชือ่ ไปยังส�ำนักงานของโจทก์ เมือ่ โจทก์พจิ ารณา

เงินระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยบริบูรณ์ ตาม ปพพ. มาตรา 650 วรรคสอง



อนุมตั เิ งินกูใ้ ห้จำ� เลยทีส่ ำ� นักงานโจทก์แล้ว โจทก์ได้โอนเงินกูเ้ ข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ก. จ�ำกัด (มหาชน)
ซึ่งจ�ำเลยเป็นเจ้าของบัญชี กรณีจึงถือได้ว่า โจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำ� เลยอันจะมีผลท�ำให้สัญญากู้ยืม

ฎ. 13825/2553 โจทก์ฟอ้ งว่าจ�ำเลยกูย้ มื เงินจากโจทก์เมือ่ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 และจ�ำเลย


ได้รับเงินกู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว จ�ำเลยให้การว่าจ�ำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยได้รับเงินไปจาก
โจทก์ จ�ำเลยท�ำสัญญาจ�ำนองที่ดินเพื่อประกันการท�ำสัญญานายหน้าจัดส่งคนงานไปท�ำงานที่ไต้หวัน
เท่ากับจ�ำเลยให้การว่าสัญญากูย้ มื เงินตามค�ำฟ้องซึง่ เป็นการยืมใช้สนิ้ เปลืองไม่สมบูรณ์ (หมายเหตุ-ค�ำว่า
สธ
ไม่สมบูรณ์น่าจะหมายถึงไม่บริบูรณ์–ผู้เขียน) เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ตาม ปพพ. มาตรา
650 จ�ำเลยจึงไม่ตอ้ งห้ามมิให้นำ� สืบพยานบุคคลว่าสัญญากูย้ มื เงินตามค�ำฟ้องไม่สมบูรณ์ ตาม ปวพ. มาตรา
94

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-15

4. สัญญายืมเป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน ทัง้ สัญญายืมใช้คงรูป (มาตรา 640)


และสัญญายืมใช้สนิ้ เปลือง (มาตรา 650) ใช้คำ� ว่า “ยืมทรัพย์สนิ ” ซึง่ ตาม ปพพ. มาตรา 138 หมายความ
รวมทัง้ วัตถุมรี ปู ร่างและไม่มรี ปู ร่างทีม่ รี าคาและถือเอาได้ แต่ในทางปฏิบตั นิ นั้ มีผใู้ ห้ความเห็นว่า สัญญายืม
นั้นจะมีวัตถุแห่งสัญญาได้เฉพาะสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างเท่านั้น เพราะสัญญายืมจะบริบูรณ์ต่อเมื่อมีการ
ส่งมอบ ดังนั้น ทรัพย์สินซึ่งโดยสภาพไม่อาจส่งมอบกันได้ (แม้จะเป็นการส่งมอบโดยปริยายก็ตาม) เช่น


อสังหาริมทรัพย์ สิทธิตา่ งๆ ย่อมไม่ใช่วตั ถุทจี่ ะให้ยมื กันได้ การให้ยมื อสังหาริมทรัพย์ เช่น ทีด่ นิ บ้านเรือน
นัน้ แม้จะกล่าวว่าเป็นการให้ยมื ก็ตาม ก็ยอ่ มมีผลบังคับกันในลักษณะสัญญาอย่างอืน่ เช่น ให้ยมื ทีด่ นิ หรือ

มส
บ้านโดยไม่มีค่าตอบแทน ก็ย่อมบังคับกันในลักษณะของสิทธิอาศัย แต่ถ้ามีค่าตอบแทนก็ย่อมกลายเป็น
เรือ่ งเช่าไป ส่วนถ้าเป็นสิทธิตา่ งๆ เช่น ลิขสิทธิห์ รือสิทธิการเช่า ก็ไม่อาจให้ยมื ได้เช่นเดียวกัน แต่อาจโอน
ขาย (ในกรณีที่เป็นลิขสิทธิ์) หรือให้เช่าช่วงไปได้ (ในกรณีที่เป็นสิทธิการเช่า)11
อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่ว่าอสังหาริมทรัพย์จะเป็นวัตถุแห่งการยืมไม่ได้ เพราะโดยลักษณะและ
สภาพ อสังหาริมทรัพย์เป็นสิง่ ทีเ่ คลือ่ นทีไ่ ม่ได้ยอ่ มไม่อาจส่งมอบกันได้นนั้ มีความเห็นแตกต่างออกไป ซึง่
ผู้เขียนเห็นด้วยว่ามีเหตุผลอยู่มากโดยเฉพาะในสัญญายืมใช้คงรูป กล่าวคือ เห็นว่าการส่งมอบทรัพย์ตาม
ที่กฎหมายต้องการนั้นมิได้หมายความว่า ต้องเอามือจับทรัพย์นั้นแล้วยกมาส่งให้ผู้ยืมจริงๆ เพราะหาก
กฎหมายต้องการเช่นนั้นแล้ว แม้แต่สังหาริมทรัพย์บางชนิด เช่น รถยนต์ เรือก�ำปั่น ฯลฯ ก็ไม่มีทางที่จะ
ส่งมอบกันได้ การส่งมอบโดยปริยายคืออากัปกิริยาที่แสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินนั้นได้อยู่ในครอบครองของ

ผูย้ มื ก็เป็นการเพียงพอแล้วทีจ่ ะถือว่าเป็นการส่งมอบ ดังนัน้ การส่งมอบอสังหาริมทรัพย์กน็ า่ จะท�ำได้ เช่น
ยืมบ้านพักตากอากาศ เจ้าของบ้านผู้ให้ยืมมอบกุญแจให้ผู้ยืมไขประตูเข้าไปในบ้าน เมื่อผู้ยืมได้เข้าไปใน
มส

บ้านและสามารถครอบครองใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็นา่ จะแสดงว่าได้มกี ารส่งมอบแล้ว หรือยืมทีด่ นิ เพือ่ ปลูก


พืชหรือเพิงพักชั่วคราว ยืมสนามฟุตบอล ฯลฯ เป็นต้น ส่วนเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิอาศัยในโรงเรือน ตาม
ปพพ. บรรพ 4 ลักษณะ 5 นัน้ เห็นว่าเป็นคนละเรือ่ งกัน เพราะหลักเกณฑ์ในการก่อสิทธิอาศัยในโรงเรือน
นั้น เป็นคนละอย่างกับสัญญายืม นอกจากนี้ สิทธิอาศัยเป็นทรัพยสิทธิ ส่วนสิทธิตามสัญญายืมเป็นบุคคล
สิทธิ ย่อมจะใช้แทนกันไม่ได้ ดังนั้น อสังหาริมทรัพย์จึงน่าจะเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้12
5. ผู้ยืมตกลงส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม สัญญายืมไม่ว่าจะเป็นการยืมใช้คงรูปหรือยืมใช้สิ้นเปลือง

ผูย้ มื มีหน้าทีต่ อ้ งคืนทรัพย์สนิ ทีย่ มื แก่ผใู้ ห้ยมื ไม่วา่ จะคืนทรัพย์อนั เดียวกับทีย่ มื ไปโดยตรงตามสัญญายืมใช้
คงรูป หรือคืนทรัพย์ที่เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ก็ต้องคืนอยู่
นั่นเอง ถ้าไม่มีข้อตกลงว่าจะคืนทรัพย์ที่ยืมไปย่อมไม่ใช่สัญญายืม นอกจากนี้ ในกรณีสัญญายืมใช้คงรูป
หากในทีส่ ดุ การคืนทรัพย์สนิ ทีย่ มื ต้องตกเป็นพ้นวิสยั เพราะความผิดของผูย้ มื หรือไม่กต็ าม ยังต้องค�ำนึงถึง

11 หลวงประเสริฐมนูกิจ ค�ำสอนชั้นปริญญาตรีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฯลฯ 2477 น. 2 สุปัน พูนพัฒน์


สธ
ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ การพนันและ
ขันต่อ พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2515 น. 5-6.
12 จี๊ด เศรษฐยุตร ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอม การ
พนันและขันต่อ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2492 น. 18-19.

1-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บทบัญญัติทั่วไปในเรื่องการช�ำระหนี้ตาม ปพพ. มาตรา 215-219 ด้วย นอกเหนือจากบทบัญญัติเฉพาะ


เกี่ยวกับการท�ำผิดหน้าที่ของผู้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป

กิจกรรม 1.1.1


สัญญายืมมีลกั ษณะในทางกฎหมายทีส่ ำ� คัญอย่างไรบ้าง จงอธิบาย และทีว่ า่ สัญญายืมเป็นเอกเทศ
สัญญานั้น หมายความว่าอย่างไร

เสียก่อน
มส
แนวตอบกิจกรรม 1.1.1
สัญญายืมมีลักษณะในทางกฎหมายที่สำ� คัญ คือ
1. เป็นเอกเทศสัญญา คือ เป็นสัญญาทีม่ บี ทบัญญัตเิ ป็นพิเศษแตกต่างออกไปจากสัญญาธรรมดา
โดยทั่วไป แต่จะเป็นเอกเทศสัญญาได้จะต้องมีความสมบูรณ์ของสัญญาตามหลักมูลฐานแห่งนิติกรรม

2. สัญญายืมเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน คือ ก่อหนี้แก่ผู้ยืมแต่เพียงฝ่ายเดียว


3. สัญญายืมเป็นสัญญาที่บริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
4. สัญญายืมเป็นสัญญาที่มีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน

มส

เรื่องที่ 1.1.2
ประเภทของสัญญายืม


เมือ่ พิจารณา ปพพ. มาตรา 640 และมาตรา 650 เปรียบเทียบกัน ท�ำให้แยกประเภทของสัญญายืม
ได้เป็น 2 ประเภทคือ ยืมใช้คงรูป และยืมใช้สิ้นเปลือง
สัญญายืมใช้คงรูปนั้น มาตรา 640 บัญญัติไว้ว่า “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคน
หนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืม
ตกลงว่าจะคืน ทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”
ส่วนสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง มาตรา 650 บัญญัติไว้ว่า “อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่ง
ผู้ให้ยืม โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีก�ำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืม
สธ
ตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น”
ลักษณะแตกต่างทีส่ �ำคัญระหว่างสัญญายืมใช้คงรูปและสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ อยูท่ ปี่ ระเภทและ
ชนิดของทรัพย์ รวมทั้งลักษณะการใช้ทรัพย์นั้น ตลอดถึงปัญหาเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ยืมด้วย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-17

สัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ ทรัพย์ทใี่ ห้ยมื เป็นชนิดซึง่ เมือ่ ใช้ไปแล้วย่อมเสียภาวะเสือ่ มสลายไปหรือ


สิน้ เปลืองหมดไป ย่อมคืนทรัพย์อนั เก่าทีใ่ ห้ยมื นัน้ ไม่ได้ กฎหมายจึงบัญญัตใิ ห้คนื ทรัพย์ประเภท ชนิด และ
ปริมาณเดียวกันกับที่ได้ให้ยืม13 โดยต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ยืมไป เช่น ข้าวสาร น�้ำมัน ฟืน ถ่าน น�้ำตาล
ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ทรัพย์เหล่านีม้ ใิ ช่วา่ จะต้องเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองเสมอไป ในบางกรณีอาจ
เป็นยืมใช้คงรูปได้ ทั้งนี้เพราะสาระส�ำคัญอาจมิได้อยู่ที่ลักษณะของทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียว โดยจะต้อง


ค�ำนึงเจตนาของคูส่ ญ ั ญาเป็นส�ำคัญด้วย เช่น ยืมข้าวสารตัวอย่างไปตัง้ แสดงในงานนิทรรศการผลิตผลทาง
เกษตร แล้วตกลงจะคืนของเดิมเมื่อเสร็จงาน เช่นนี้จะเห็นว่าเป็นการยืมใช้คงรูป เพราะการใช้ทรัพย์ตาม

มส
เจตนาของคู่สัญญานั้นไม่ท�ำให้เสียภาวะเสื่อมสลายหรือสิ้นเปลืองหมดไป
สัญญายืมใช้คงรูปนัน้ ลักษณะการใช้ทรัพย์ไม่ทำ� ให้เสียภาวะเสือ่ มสลายไป และไม่ทำ� ให้สนิ้ เปลือง
หมดไป จึงต้องคืนของเดิมทีย่ มื ไปนัน้ และไม่มกี ารโอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทีย่ มื โดยปกติทรัพย์สนิ ทีเ่ ป็น
วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปนั้น จัดอยู่ในจ�ำพวกสังหาริมทรัพย์อันมิอาจจะใช้ของอื่นแทนเช่นนั้นได้14 เช่น
รถยนต์ ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น และในท�ำนองเดียวกัน แม้ทรัพย์นั้นจะเข้าลักษณะเป็นทรัพย์ตาม
สัญญายืมใช้คงรูป แต่ตามเจตนาของคู่สัญญาอาจเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองได้ เช่น ยืมโคมาฆ่าเอาเนื้อไป
ขาย เป็นต้น กรณีเช่นนี้จึงเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง
สรุปได้ว่าเราอาจจ�ำแนกข้อแตกต่างที่ส�ำคัญระหว่างสัญญายืมใช้คงรูปและสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
ได้ 3 ประการ คือ

1. สัญญายืมใช้คงรูป ผู้ให้ยืมไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม ส่วนสัญญายืมใช้
สิ้นเปลืองนั้น ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม
มส

2. สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่มคี า่ ตอบแทน ผูย้ มื ใช้ทรัพย์สนิ ทีย่ มื ได้เปล่าไม่ตอ้ งเสียค่าตอบแทน


ใดๆ เพราะหากมีการตกลงให้ค่าตอบแทนกันก็จะกลายเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ไป ไม่ใช่สัญญายืมใช้คงรูป
ส่วนสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้นจะเป็นสัญญามีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ สุดแล้วแต่คู่สัญญาจะตกลงกัน เช่น
ให้ยืมข้าวสาร 100 ถัง เวลาใช้คืนอาจตกลงใช้คืน 100 ถัง หรือ 110 ถัง ก็ได้ ให้กู้ยืมเงินอาจมีข้อตกลงคิด
ดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้
3. สัญญายืมใช้คงรูป ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์อันเดียวกับที่ยืมไป จะคืนทรัพย์อย่างอื่นไม่ได้ เพราะ
วัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์ทไี่ ม่เปลีย่ นสภาพ ไม่ใช่ทรัพย์สนิ ทีใ่ ช้ไปสิน้ ไป แต่สญ ม ั ญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ วัตถุ
แห่งสัญญาเป็นทรัพย์ที่ใช้ไปสิ้นไป เช่น ข้าวสาร น�้ำตาล เงินตรา ฯลฯ ผู้ยืมไม่ต้องคืนทรัพย์เดิม แต่ต้อง
คืนทรัพย์ที่เป็นประเภท ชนิดและปริมาณเดียวกันให้แทน อย่างไรก็ตาม แม้อาจจะตกลงเป็นสัญญายืมใช้
สิน้ เปลืองกันไว้ในเบือ้ งต้น แต่ถา้ มีเหตุทผี่ ยู้ มื ไม่ได้ใช้ทรัพย์ทยี่ มื ไปนัน้ ผูย้ มื ก็อาจคืนทรัพย์อนั เดิมทีย่ มื ไป
ได้หากทรัพย์ทยี่ มื มานัน้ ไม่ใช่ทรัพย์ทเี่ น่าเสียได้เมือ่ เวลาผ่านไป เช่น ยืมข้าวสารมา 1 ถังเพือ่ ไว้หงุ รับประทาน

13 ทรัพย์ประเภทนี้เดิมเรียกว่า “สังกมะทรัพย์” และ “โภคยทรัพย์” ตามบทบัญญัติในมาตรา 102 และ 103 แห่ง ปพพ.
สธ
บรรพ 1 ที่ได้ตรวจช�ำระใหม่ พ.ศ. 2468 ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดย พรบ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ปพพ. ที่ได้ตรวจ
ช�ำระใหม่ พ.ศ. 2535
14 ทรัพย์ประเภทนี้เดิมเรียกว่า “อสังกมะทรัพย์” ตามมาตรา 102 แพ่ง ปพพ. บรรพ 1 ที่ได้ตรวจช�ำระใหม่ พ.ศ. 2468
ซึ่งในปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดย พรบ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ปพพ. ที่ได้ตรวจช�ำระใหม่ พ.ศ. 2535 เช่นกัน

1-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แต่ต่อมาผู้ยืมได้รับบริจาคข้าวสารมาจากผู้ใจบุญหลายถัง ผู้ยืมไม่มีความจ�ำเป็นต้องใช้ข้าวสารที่ยืมมาก็
อาจส่งคืนข้าวสารถังเดิมนั้นได้โดยไม่ท�ำให้กลายเป็นสัญญายืมใช้คงรูปไปเพราะคู่กรณีมีเจตนาท�ำสัญญา
ยืมใช้สิ้นเปลืองกันตั้งแต่ต้น
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นแต่เพียงการแสดงลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างสัญญายืมใช้คงรูปและ
สัญญา ยืมใช้สิ้นเปลืองโดยสังเขปเท่านั้น นักศึกษาจะได้ทราบถึงสาระส�ำคัญอันเป็นลักษณะเฉพาะของ


สัญญาทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ในรายละเอียดต่อไปตามล�ำดับ

มส
กิจกรรม 1.1.2
สัญญายืมแบ่งออกได้เป็นกีป่ ระเภท จงอธิบายลักษณะทีแ่ ตกต่างกันในสาระส�ำคัญของสัญญาแต่ละ
ประเภทมาพอสังเขป

แนวตอบกิจกรรม 1.1.2
สัญญายืมแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สัญญายืมใช้คงรูปและสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
ข้อแตกต่างในสาระส�ำคัญ คือ สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นสัญญาที่ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์
ประเภท ใช้ไปหมดเปลืองไปให้แก่ผยู้ มื ไป และผูย้ มื ต้องคืนทรัพย์อนั เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกัน

ให้แก่ผใู้ ห้ยมื แต่สญ
ั ญายืมใช้คงรูปนัน้ ผูใ้ ห้ยมื ไม่โอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ให้แก่ผยู้ มื วัตถุของสัญญาและ
ลักษณะของการใช้ทรัพย์มไิ ด้สนิ้ เปลืองหมดไป หรือเสียภาวะเสือ่ มสลายไป และผูย้ มื ต้องคืนทรัพย์อนั เดียว
มส

กับที่ยืมไปนั้นให้แก่ผู้ให้ยืมเมื่อได้ใช้สอยทรัพย์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว


สธ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-19

ตอนที่ 1.2
สัญญายืมใช้คงรูป
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 1.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
1.2.1 สาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้คงรูป
1.2.2 สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูป
1.2.3 สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมใช้คงรูป

1. ส ัญญายืมใช้คงรูปมีลักษณะเฉพาะอันเป็นสาระส�ำคัญนอกเหนือไปจากลักษณะทั่วไป
ของสัญญายืม เป็นสัญญาไม่มคี า่ ตอบแทน และไม่โอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทีย่ มื วัตถุ
แห่งสัญญายืมใช้คงรูปเป็น ทรัพย์อันเดียวกับที่ยืมไป ซึ่งไม่อาจใช้ของอื่นแทนได้
2. ผยู้ มื ใช้คงรูปมีสทิ ธิใช้สอยทรัพย์สนิ ทีย่ มื ตามสัญญาและมีสทิ ธิตอ่ บุคคลภายนอกในฐานะ

เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สิน แต่ก็มีหน้าที่จะต้องเสียค่าใช้จ่าย ต้องใช้ทรัพย์สินโดยชอบ
ต้องสงวนรักษาทรัพย์สินเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง และต้องส่งคืน
มส

ทรัพย์สินอันเดียวกับที่ยืมไปนั้นแก่ผู้ให้ยืมเมื่อถึงก�ำหนดเวลาต้องส่งคืน
3. ผใู้ ห้ยมื ใช้คงรูปมีสทิ ธิบอกเลิกสัญญาและเรียกทรัพย์สนิ คืนจากผูย้ มื เมือ่ ครบก�ำหนดเวลา
ยืม หรือเมือ่ ผูย้ มื ปฏิบตั ผิ ดิ หน้าทีใ่ นการใช้หรือสงวนรักษาทรัพย์สนิ และมีสทิ ธิเรียกค่า
ทดแทนในความเสียหายที่ เกิดแก่ทรัพย์สนิ เนือ่ งจากความผิดของผูย้ มื แต่กม็ หี น้าทีไ่ ม่
ขัดขวางการใช้ทรัพย์สนิ ของผูย้ มื ตาม สัญญา และรับผลแห่งภัยพิบตั ใิ นทรัพย์สนิ นัน้ เอง
หากเกิดความเสียหายขึ้นโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืม

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 1.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายสาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้คงรูปได้

2. แจกแจงสิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปได้
3. แจกแจงสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปได้
สธ
4. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสัญญายืมใช้คงรูปได้

1-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 1.2.1
สาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้คงรูป


ปพพ. มาตรา 640 บัญญัติว่า “อันว่ายืมใช้คงรูปนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้
บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สิน

มส
นั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว”
จากมาตรา 640 จะเห็นได้ว่า สัญญายืมใช้คงรูปมีสาระส�ำคัญส่วนหนึ่งที่เป็นลักษณะโดยทั่วไป
เช่นเดียวกับสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองตามทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 1.1 จะไม่นำ� มากล่าวในรายละเอียดซ�ำ้ อีก
เพียงแต่จะสรุปหัวข้อดังกล่าวไว้ดังนี้คือ
1. สัญญายืมใช้คงรูปเป็นเอกเทศสัญญา
2. สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน
3. สัญญายืมใช้คงรูปบริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม
4. สัญญายืมใช้คงรูปมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน
นอกจากนี้สัญญายืมใช้คงรูปมีสาระส�ำคัญซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในตัวของมันเอง กล่าวคือ

1. สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน กล่าวคือ นอกจากจะเป็นสัญญาไม่ต่าง
ตอบแทน คือก่อหนีห้ รือหน้าทีใ่ ห้เกิดแก่ผยู้ มื แต่เพียงฝ่ายเดียวแล้ว สัญญายืมใช้คงรูปยังเป็นสัญญาทีผ่ ใู้ ห้ยมื
ให้ผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมนั้นอย่างได้เปล่า คือไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น หมายความว่าผู้ยืมไม่มี
มส

หน้าที่จะต้อง จ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้ให้ยืมในการใช้สอยทรัพย์สินนั้น ในขณะเดียวกันผู้ให้ยืมก็ไม่มีสิทธิ


ที่จะเรียกร้องค่าตอบแทนเอาจากผู้ยืม การที่กฎหมายบัญญัติให้สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่มีลักษณะ
พิเศษเช่นนี้ ก็เพือ่ ให้แตกต่างออกไปจากสัญญาเช่าทรัพย์ซงึ่ เป็นสัญญาต่างตอบแทน เนือ่ งจากสัญญาเช่า
ทรัพย์นั้นเป็นสัญญาที่ผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าได้ใช้สอยทรัพย์สินที่เช่า โดยผู้เช่าจะต้องเสียค่าเช่า
เป็นการตอบแทนการได้ใช้สอยทรัพย์สนิ นัน้ ดังนัน้ ถ้าผูใ้ ดได้ใช้ทรัพย์สนิ โดยต้องเสียค่าตอบแทนแล้วก็จะ
กลายเป็นเรื่องเช่าทรัพย์ไป หาใช่สัญญายืมใช้คงรูปไม่

ประการ กล่าวคือ

อนึ่ง โดยเหตุที่สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน จึงท�ำให้เกิดผลทางกฎหมายบาง

1.1 สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่ท�ำขึ้นโดยความเชื่อถือในตัวบุคคลผู้ยืมเป็นส�ำคัญ
เนือ่ งจากการยืมใช้คงรูปเป็นการให้ใช้สอยทรัพย์สนิ อย่างได้เปล่าไม่มคี า่ ตอบแทน ก่อนทีจ่ ะให้ยมื ผูใ้ ห้ยมื
ย่อมจะต้องพิจารณาถึงตัวบุคคลผู้ยืมแล้วว่าสมควรจะให้ยืมทรัพย์สินไปหรือไม่ โดยอาจจะพิจารณาถึง
บุคลิกลักษณะนิสัยของผู้ยืมว่าเป็นบุคคลที่ใช้และระวังรักษาทรัพย์สินดีมากน้อยเพียงใด ด้วยเหตุนี้หาก
สธ
เป็นกรณีทผี่ ใู้ ห้ยมื ให้ยมื ทรัพย์สนิ โดยส�ำคัญผิดในตัวบุคคลผูย้ มื เช่น นายฟ้าตัง้ ใจจะให้นายด�ำยืมทรัพย์สนิ
ของตน แต่กลับให้นายแดงซึ่งเป็นน้องฝาแฝดของนายด�ำยืมไป ดังนี้ สัญญายืมใช้คงรูปดังกล่าวย่อมตก
เป็นโมฆะไป ตาม ปพพ. มาตรา 156 และโดยเหตุที่สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่อาศัยสิทธิเฉพาะตัว

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-21

ของผู้ยืมเป็นส�ำคัญ ปพพ. มาตรา 648 จึงบัญญัติไว้ว่า “อันการยืมใช้คงรูปนั้น ย่อมระงับสิ้นไปด้วย


มรณะของผู้ยืม” หมายความว่าสิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูปไม่ตกทอดเป็นมรดกไปถึงทายาท เพราะเป็น
เรื่องเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้ ซึ่งในเรื่องนี้จะได้น�ำไปกล่าวไว้ในเรื่องความระงับแห่งสัญญายืมเป็นส่วนหนึ่ง
ต่างหาก
1.2 ในเรื่องการยืมใช้คงรูป กฎหมายก�ำหนดหน้าที่ของผู้ยืมไว้หลายประการด้วยกันเมื่อ


เปรียบเทียบกับเรือ่ งเช่า ทัง้ นีเ้ พราะสัญญาเช่านัน้ เป็นสัญญาทีผ่ เู้ ช่าได้ใช้สอยทรัพย์สนิ โดยเสียค่าเช่าให้แก่
ผู้ให้เช่าเป็นค่าตอบแทน หน้าที่ซึ่งกฎหมายก�ำหนดให้ผู้เช่าต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าจึงมีน้อยกว่าในเรื่องยืม

มส
ใช้คงรูป ซึ่งผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ แก่ผู้ให้ยืม ในทางกลับกัน เรื่องเช่า
ทรัพย์นนั้ กฎหมายก�ำหนดหน้าทีข่ องผูใ้ ห้เช่าไว้หลายประการ เช่น ต้องส่งมอบทรัพย์สนิ ในสภาพทีซ่ อ่ มแซม
ดีแล้ว ต้องรับผิดต่อกรณีช�ำรุดบกพร่องและการรอนสิทธิ (ปพพ. มาตรา 546-550) เป็นต้น แต่ในสัญญา
ยืมใช้คงรูป กฎหมายไม่ได้ก�ำหนดหน้าที่ของผู้ให้ยืมไว้แต่ประการใดเลย เช่น ยืมรถไปใช้ ผู้ให้ยืมไม่มี
หน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืมในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว แต่ถ้าเป็นกรณีที่เกิดความช�ำรุดบกพร่อง
เพราะความผิดของผู้ให้ยืม เช่น เบรครถไม่ดีอยู่แล้ว ผู้ให้ยืมก็ทราบอยู่แต่ไม่บอกความจริงให้ผู้ยืมทราบ
ยังขืนให้ยมื ไป หากผูย้ มื ไปขับขีแ่ ล้วเกิดความเสียหายขึน้ ผูย้ มื ไม่ตอ้ งรับผิดออกค่าซ่อมแซมความเสียหาย
นัน้ และหากผูย้ มื ได้รบั ความเสียหายจากการนีก้ ส็ ามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนเอาจากผูใ้ ห้ยมื ได้ดว้ ย แต่
ถ้าผู้ให้ยืมไม่รู้ถึงความช�ำรุดบกพร่องนั้นก็ไม่ต้องรับผิด ซึ่งในเรื่องนี้ต่างกับกรณีเช่าทรัพย์ ซึ่งแม้ผู้ให้เช่า

จะไม่มีส่วนผิด คือไม่รู้ถึงความช�ำรุดบกพร่องที่มีอยู่ ผู้ให้เช่าก็ยังต้องรับผิดอยู่นั่นเอง15
2. สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ยืม คงมีแต่การส่งมอบให้
มส

ผู้ยืมได้ครอบครองใช้สอยในทรัพย์สินนั้นแล้วต้องส่งคืนทรัพย์สินอันเดียวกันนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้วแก่
ผู้ให้ยืม เนื่องจากประเภทของทรัพย์สินที่ยืมนั้นเป็นทรัพย์สินที่ไม่เสียภาวะเสื่อมสลายไปเพราะการใช้
กรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ดังกล่าวจึงไม่โอนไปยังผูย้ มื ลักษณะทีส่ ำ� คัญในประการนีท้ ำ� ให้เกิดผลทางกฎหมาย
บางประการคือ
2.1 ผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปอาจไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้นก็ได้ แต่ก็ต้องมีสิทธิที่จะให้ยืมด้วย เช่น ผู้เช่ารถจักรยานยนต์ของคนอื่นมา อาจให้
เพื่อนยืมรถคันนั้นไปขับขี่ต่อไปได้ ม
2.2 ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืมแล้ว
ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ถ้าผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นก็ต้องยอมรับผลพิบัติที่เกิดขึ้นแก่
ทรัพย์สนิ นัน้ เองตามหลัก กฎหมายทัว่ ไปว่า ความวินาศแห่งทรัพย์สนิ ตกเป็นพับแก่เจ้าของ แต่ถา้ ผูใ้ ห้ยมื
ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สนิ ผูใ้ ห้ยมื จะต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์สนิ นัน้ อย่างไร ก็ตอ้ งพิจารณาดูวา่ ในระหว่าง
ผู้ให้ยืมกับเจ้าของทรัพย์สินนั้น มีสัญญาต่อกันไว้อย่างไรเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
สธ

15 ดู ปพพ. มาตรา 472 ประกอบมาตรา 549



1-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์ที่แสดงว่าสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่ไม่โอนกรรมสิทธิ์
ฎ. 1554-1555/2512 จ�ำเลยยืมเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งเป็นทรัพย์ประเภทที่จัดอยู่ในเรื่องยืมใช้
คงรูปไป แล้วไม่ยอมคืนทรัพย์นั้น กลับทุจริตยักยอกเอาไว้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเสีย จ�ำเลยย่อมมี
ความผิดทางอาญา ฐานยักยอกทรัพย์ด้วย มิใช่เป็นเพียงเรื่องยืมในทางแพ่งเท่านั้น
ฎ. 5946/2537 ตามค�ำฟ้องระบุว่าจ�ำเลยยืมถังแก๊สจากโจทก์ จ�ำเลยก็ให้การว่าได้ยืมถังแก๊สจาก


โจทก์จริง เพียงแต่อ้างว่าจ�ำเลยไม่ได้ผิดสัญญา จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองน�ำ
ปพพ. มาตรา 640 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปมาปรับใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้ จึงไม่เป็นการ

มส
คลาดเคลื่อนหรือนอกค�ำฟ้อง
ฎ. 1407/2538 โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิท์ รัพย์พพิ าทรายการที่ 1 ถึงที่ 4 จึงมีสทิ ธิตดิ ตามเอาคืน
จากจ�ำเลยได้ ทรัพย์พิพาทรายการที่ 5 ไม่ใช่ทรัพย์ของโจทก์แต่เป็นทรัพย์ของผู้อื่นที่โจทก์ขอยืมมาแล้ว
ให้ ท. ยืมไปอีกต่อหนึ่งดังนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิครอบครองในทรัพย์พิพาทรายการนี้ เมื่อทรัพย์
พิพาทรายการนี้ไปตกอยู่กับจ�ำเลยโดยจ�ำเลยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของ โจทก์ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
ในทรัพย์รายการนี้ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจ�ำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้
ฎ. 1184/2543 จ�ำเลยได้ยมื เครือ่ งมือก่อสร้างตามฟ้องไปจากโจทก์ตามบันทึกการยืมระบุขอ้ ความ
ว่า จะน�ำมาส่งคืนเมือ่ แล้วเสร็จหรือทวงถาม หลังจากจ�ำเลยยืมเครือ่ งมือก่อสร้างไปแล้วโจทก์กไ็ ม่พบจ�ำเลย
อีก มาพบจ�ำเลยอีกครั้งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โจทก์ทวงถามถึงเครื่องมือก่อสร้างที่จำ� เลยยืมไป

แต่จ�ำเลยปฏิเสธ ถือได้ว่าโจทก์ทราบว่าจ�ำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาเครื่องมือก่อสร้างของโจทก์ไปในวันที่
15 ธันวาคม พ.ศ. 2537 วันดังกล่าวจึงเป็นวันทีโ่ จทก์รเู้ รือ่ งความผิดและรูต้ วั ผูก้ ระท�ำผิดคดีนแี้ ละอายุความ
มส

เริ่มนับตั้งแต่วันนั้น

กิจกรรม 1.2.1
สัญญายืมใช้คงรูปมีสาระส�ำคัญอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

แนวตอบกิจกรรม 1.2.1 ม
สัญญายืมใช้คงรูปนอกจากจะมีสาระส�ำคัญตามลักษณะโดยทั่วไปของสัญญายืม กล่าวคือ เป็น
สัญญา ไม่ตา่ งตอบแทนซึง่ มีวตั ถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สนิ และมีผลบริบรู ณ์เมือ่ มีการส่งมอบทรัพย์ทใี่ ห้ยมื
แล้วยังมี ลักษณะเฉพาะที่สำ� คัญซึ่งแตกต่างไปจากสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ สัญญายืม
ใช้คงรูปเป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน และเป็นสัญญาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ยืมมิได้โอนไปยังผู้ยืม
ผู้ยืมจึงต้องคืน ทรัพย์อันเดิมกับที่ได้ยืมไปนั้นให้แก่ผู้ให้ยืม
สธ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-23

เรื่องที่ 1.2.2
สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูป


เมือ่ สัญญายืมใช้คงรูปเกิดขึน้ และมีผลบริบรู ณ์ตามกฎหมาย กล่าวคือ ได้มกี ารส่งมอบทรัพย์สนิ ที่
ให้ยืมกันเรียบร้อยแล้ว ผลของสัญญายืมใช้คงรูปนี้ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ในระหว่างผู้ยืมและผู้ให้ยืม ใน

มส
เรื่องที่ 1.2.2 นี้จะได้กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ในส่วนของผู้ยืม ดังต่อไปนี้

สิทธิของผู้ยืมใช้คงรูป
แยกอธิบายได้ คือ
1. มีสิทธิใช้สอยทรัพย์ สัญญายืมใช้คงรูปมีลักษณะส�ำคัญอยู่ที่การได้ใช้สอยทรัพย์ได้เปล่าโดย
ไม่ตอ้ งเสียค่าตอบแทน และต้องส่งทรัพย์คนื ดังนัน้ ผูย้ มื จึงมีสทิ ธิใช้ทรัพย์ตามสัญญา การใช้สอยทรัพย์สนิ
ซึ่งเป็นการได้เปล่านี้ผิดกับการเช่าซึ่งมีค่าตอบแทนในการใช้ทรัพย์เป็นค่าเช่า16 แต่สัญญายืมใช้คงรูป
เป็นการใช้ทรัพย์ที่ยืมได้เปล่า ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ให้ยืมต้องส่งมอบทรัพย์ในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว
เหมือนการเช่า ดังนั้น ผู้ยืมจึงได้แต่ใช้สอยทรัพย์ตามสภาพที่ได้รับมอบมา ถ้าทรัพย์ที่ยืมซึ่งได้รับมอบมา

อยู่ในสภาพที่ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ผู้ยืมก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ให้ยืมซ่อมแซม หรือถ้าผู้ยืมเอา
ทรัพย์นั้นไปซ่อมแซมเองเกินกว่าการบ�ำรุงรักษาตามปกติโดยไม่จำ� เป็นเพื่อจะให้ใช้ทรัพย์นั้นได้ เช่น ยืม
รถยนต์ไปใช้ รถยนต์ที่รับมอบมานั้นเกิดยางแตก ถ้าผู้ยืมไปซื้อยางเส้นใหม่มาเปลี่ยน ถือว่าเป็นการ
มส

ซ่อมแซมเกินกว่าบ�ำรุงรักษาตามปกติโดยไม่จ�ำเป็น (ซึ่งตามปกติควรจะน�ำยางไปปะเท่านั้น) ผู้ยืมจะมา


เรียกร้องเอาค่ายางเส้นใหม่จากผู้ให้ยืมเหมือนอย่างการเช่าไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่าผู้ยืมได้ตกลงกับผู้ให้ยืมไว้
ในเรื่องดังกล่าว แต่ในเรื่องนี้มีผู้ให้ความเห็นว่า หากยางที่แตกนั้นเสียหายจนไม่อาจปะได้ จนท�ำให้ผู้ยืม
ต้องซือ้ ยางเส้นใหม่มาเปลีย่ น ผูย้ มื ก็นา่ จะเรียกร้องค่าใช้จา่ ยในส่วนนีไ้ ด้เพราะถือว่าเป็นค่าใช้จา่ ยทีจ่ ำ� เป็น
อันมิใช่การบ�ำรุงรักษาตามปกติ17

16

กฎหมายในเรื่องเช่าบัญญัติหน้าที่ของผู้ให้เช่าไว้ว่าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่านั้นในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว (ปพพ.
มาตรา 546) ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เช่าได้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าได้ ถ้ามีการช�ำรุดบกพร่องในทรัพย์สินนั้นในระหว่างการเช่า ผู้ให้เช่า
ต้องซ่อมแซม เว้นแต่จะเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อย หรือมีกฎหมายหรือจารีตประเพณีว่าเป็นหน้าที่ของผู้เช่าต้องซ่อมแซม (ปพพ.
มาตรา 550) หรือถ้าผู้เช่าต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยความจ�ำเป็นและสมควร เพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเช่านอกจากปกติที่ผู้เช่าจะต้องท�ำ
แล้ว ผูใ้ ห้เช่าก็ตอ้ งชดใช้คา่ ใช้จา่ ยนัน้ ให้แก่ผเู้ ช่า (ปพพ. มาตรา 547) ซึง่ จะเห็นว่าสัญญาเช่าทีผ่ เู้ ช่าได้ ใช้ทรัพย์สนิ โดยเสียค่าตอบแทน
สธ
ทรัพย์ทเี่ ช่าจึงต้องอยูใ่ นสภาพทีใ่ ช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ทเี่ ช่าได้ เช่น เช่ารถยนต์ไปขับ รถยนต์นนั้ ก็ตอ้ งอยูใ่ นสภาพทีผ่ เู้ ช่าจะน�ำ
ไปใช้ขับได้ ถ้าใช้ไม่ได้ ผู้เช่าก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ (ปพพ. มาตรา 548)
17 ประพันธ์ ทรัพย์แสง ให้ความเห็นในคณะกรรมการกลุ่มปรับปรุงเอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายพาณิชย์ 2 เมื่อวันที่
17 ก.ย. 2556

1-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. มีสิทธิต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สิน แม้สัญญายืมใช้คงรูปนั้น
กรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ จะไม่โอนไปยังผูย้ มื แต่การทีผ่ ใู้ ห้ยมื ส่งมอบทรัพย์สนิ ให้กเ็ ป็นการมอบการครอบครอง
ทรัพย์สนิ นัน้ ให้แก่ผยู้ มื ผูย้ มื ในฐานะผูค้ รอบครองจึงมีสทิ ธิตอ่ บุคคลภายนอกในการทีจ่ ะขัดขวางมิให้บคุ คล
อื่นสอดเข้ามา เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่
ทรัพย์สินนั้นเสมือนหนึ่ง ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินของผู้ยืมเอง เช่น ขัดขวางผู้ที่มาบุกรุกหรือแย่งการ


ครอบครองทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบ ซึ่งถ้าหากถึงขนาดไม่อาจขัดขวางหรือป้องกันได้โดยอ�ำนาจของตน ก็
ต้องรีบบอกกล่าวถึงภัยดังกล่าวที่เกิดขึ้นให้ แก่ผู้ให้ยืมซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทราบทันที

มส
หน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูป
จากการที่สัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่ผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า ไม่ต้องเสียค่าตอบแทน
กฎหมายจึงต้องก�ำหนดหน้าที่ของผู้ยืมไว้หลายประการ กล่าวคือ
1. หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่าย ในเรื่องนี้มี มาตรา 642 บัญญัติว่า “ค่าฤชาธรรมเนียมในการท�ำ
สัญญาก็ดี ค่าส่งมอบ และค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกอยู่กับผู้ยืมเป็นผู้เสีย” และ มาตรา 647
บัญญัติว่า “ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติแก่การบ�ำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย”
เหตุผลก็คือ สัญญายืมใช้คงรูปนั้นผู้ยืมได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว คือได้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า
กฎหมายจึงต้องบัญญัติว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นหน้าที่ของผู้ยืมจะต้องรับผิดชอบ อย่างไรก็ตามถ้าผู้ยืมและ

ผู้ให้ยืมจะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายก็รับบังคับให้เนื่องจากไม่ใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มส

ค่าฤชาธรรมเนียม หมายถึง ค่าธรรมเนียมต่างๆ ทีผ่ เู้ กีย่ วข้องจะต้องช�ำระให้แก่รฐั เช่น ค่าอากร


แสตมป์ เป็นต้น แต่เนือ่ งจากสัญญายืมใช้คงรูปนีเ้ พียงแต่คสู่ ญ ั ญาแสดงเจตนาตกลงกันแล้วส่งมอบทรัพย์สนิ
ต่อกัน สัญญายืมใช้คงรูปก็บริบูรณ์บังคับกันได้แล้วโดยไม่จำ� เป็นต้องท�ำสัญญาเป็นหนังสือแต่อย่างใด ใน
กรณีเช่นนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมในการท�ำสัญญาก็ไม่มี แต่เมื่อท�ำสัญญาเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
(ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ทำ� ) ก็ต้องมีค่าฤชาธรรมเนียม
ค่าส่งมอบทรัพย์สิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ให้ยืมต้องใช้จ่ายไปในการส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ยืม

เช่น ค่าไปรษณียากร (ในกรณีส่งมอบทางไปรษณีย์) หรือค่าขนส่งทรัพย์สินที่ยืมไปมอบให้ผู้ยืม เป็นต้น
ค่าส่งคืนทรัพย์สิน หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้ยืมต้องใช้จ่ายไปในการส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้ยืม
เนือ่ งจากมาตรา 642 บัญญัตแิ ต่เพียงว่าค่าส่งคืนทรัพย์สนิ ย่อมตกแก่ผยู้ มื เป็นผูเ้ สีย เท่านัน้ มิได้บญั ญัตถิ งึ
สถานทีท่ จี่ ะต้องส่งคืนทรัพย์สนิ นัน้ ไว้แต่อย่างใด ดังนัน้ ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอืน่ ก็ตอ้ งน�ำบทบัญญัติ
ทั่วไปในเรื่องการช�ำระหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 324 มาใช้บังคับ ทั้งนี้เพราะการส่งคืนทรัพย์สินเป็นการ
ช�ำระหนี้อย่างหนึ่ง และการส่งคืนทรัพย์ในสัญญายืมใช้คงรูปนั้นเป็นการส่งมอบทรัพย์อันเดียวกับที่ยืมไป
ซึ่งถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง บทบัญญัติในมาตรา 324 ดังกล่าวจึงต้องน�ำมาใช้บังคับ ซึ่งสรุปสาระส�ำคัญได้
สธ
คือ ถ้ามิได้มีการแสดงเจตนาไว้เป็นการเฉพาะเจาะจงว่าจะช�ำระหนี้โดยส่งมอบทรัพย์สินกันที่ใด ก็ต้อง
ส่งมอบ ณ สถานทีท่ ที่ รัพย์นนั้ ได้อยูใ่ นเวลาก่อหนี้ ส�ำหรับรายละเอียดในเรือ่ งการส่งมอบทรัพย์คนื ตลอดจน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-25

ค่าใช้จ่ายในการนี้ จะได้น�ำไปกล่าวไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากในเรื่องความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปใน
ตอนที่ 1.3 ความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป ต่อไป
ค่าใช้จา่ ยอันเป็นปกติแก่การบ�ำรุงรักษาทรัพย์สนิ ทีย่ มื เช่น ยืมรถยนต์กต็ อ้ งเสียค่าน�ำ้ มันหล่อลืน่
ค่าน�ำ้ กลัน่ หม้อแบตเตอรี ค่าปะยาง ฯลฯ หรือยืมช้าง ม้า โค กระบือ ไปใช้งาน ก็ตอ้ งเสียค่าอาหารเลีย้ งดูใน
ระหว่างการยืม เป็นต้น


การที่กฎหมายก�ำหนดให้ผู้ยืมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพียงฝ่ายเดียวเนื่องจากสัญญายืมใช้
คงรูปนั้นผู้ยืมเป็นผู้ได้ประโยชน์จากสัญญายืมแต่เพียงฝ่ายเดียว เมื่อผู้ให้ยืมไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน

มส
จากสัญญายืมเลยก็เป็นธรรมดีแล้วที่ผู้ให้ยืมไม่ควรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดขึ้นจากการยืมนั้น
2. หน้าที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินที่ยืม จากการทีผ่ ยู้ มื ในสัญญายืมใช้คงรูปมีสทิ ธิจะใช้สอยทรัพย์
ทีย่ มื นัน้ ได้เปล่าโดยไม่ตอ้ งเสียค่าตอบแทน กฎหมายจึงต้องบัญญัตใิ ห้ผยู้ มื มีหน้าทีเ่ กีย่ วกับการใช้ทรัพย์สนิ
นัน้ ด้วย กล่าวคือ มาตรา 643 บัญญัตวิ า่ “ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการ
อันเป็นปกติแก่ทรัพย์สินนั้นหรือนอกจากการอันปรากฏในสัญญาก็ดี เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอยก็ดี
เอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ก็ดี ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุที่ทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลาย
ไปอย่างหนึ่งอย่างใด แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร ๆ ทรัพย์สินนั้นก็
คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”
ตามมาตรานี้ แบ่งแยกหน้าที่ในการใช้ทรัพย์สินของผู้ยืมได้ 3 ประการ คือ

2.1 ผู้ยืมมีหน้าที่ต้องใช้ทรัพย์สินที่ยืมอย่างปกติที่วิญญูชนเขาใช้ทรัพย์กัน หรือตามที่มีข้อ
ตกลงกันไว้ในสัญญา เช่น ยืมมีดโกนหนวด ตามปกติก็ต้องน�ำไปใช้โกนหนวดเครา ถ้าเอาไปหั่นเนื้อหรือ
มส

เหลาดินสอจนมีดเสีย คมไป ผู้ยืมต้องรับผิด หรือถ้ามีข้อตกลงตามสัญญาไว้ว่า จะยืมรถยนต์เพื่อใช้แห่


งานบวชนาค แต่กลับเอารถนั้น ขับไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือเอาไปบรรทุกสิ่งของที่หนักเกินควรท�ำให้
รถยนต์เสียหาย ถือว่าท�ำผิดหน้าที่ในการใช้ทรัพย์
2.2 ผูย้ มื มีหน้าทีจ่ ะต้องใช้ทรัพย์สนิ ทีย่ มื มานัน้ ด้วยตนเอง จะเอาไปให้บคุ คลภายนอกใช้ไม่
ได้ ทั้งนี้จากการที่สัญญายืมใช้คงรูปเป็นเรื่องสิทธิเฉพาะตัวผู้ยืม การที่ผู้ให้ยืมจะให้ใครยืมทรัพย์สินไปใช้
ก็ย่อมจะต้องพิจารณาจากตัวบุคคลผู้ยืมเป็นส�ำคัญ เนื่องจากเป็นการให้ใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่าไม่มีค่า

ตอบแทน ดังนั้น ถ้าผู้ยืมเอาทรัพย์สินที่ยืมนั้นไปให้ผู้อื่นใช้ก็เท่ากับเป็นการผิดเจตนารมณ์ของผู้ให้ยืม
เป็นการท�ำผิดหน้าทีใ่ นการใช้ทรัพย์ อย่างไรเป็นการเอาทรัพย์สนิ ทีย่ มื ไปให้ผอู้ นื่ ใช้ ต้องพิจารณาลักษณะ
การใช้ทรัพย์ประกอบด้วย เช่น ยืมรถยนต์มาใช้โดยให้คนรถเป็นคนขับหรือมีผู้อื่นนั่งไปในรถด้วย ก็ยัง
ถือว่าผู้ยืมเป็นผู้ใช้รถนั้นอยู่ หรือยืมถ้วยชามมาใช้ในงานเลี้ยง ย่อมเห็นได้ชัดว่าต้องมีผู้อื่นที่มาในงานนั้น
เป็นผู้ใช้ถ้วยชามนั้นๆ ด้วย แต่ก็ยังอยู่ในความดูแลของผู้ยืม ซึ่งยังถือว่าเป็นการใช้ของผู้ยืมอยู่ แต่ถ้าใน
สัญญาได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้อื่นนอกจากผู้ยืมจะใช้ทรัพย์สินนั้นไม่ได้ก็ต้องเป็นไปตามนั้น18
สธ
18 มีกรณีตัวอย่างจาก ฎ. 1892/2535 ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่จ�ำเลยที่ 1 ยืมรถยนต์ของโจทก์ไปใช้ โดยจะส่งคืนในวัน
รุ่งขึ้นและรับว่าจะไม่ให้คนอื่นยืมต่อ แต่กลับผิดสัญญาต่อโจทก์ โดยน�ำรถของโจทก์ไปให้จำ� เลยที่ 2 ยืมไปขับ แล้วจ�ำเลยที่ 2 ขับขี่
รถของโจทก์ไปด้วยความประมาท เป็นเหตุให้รถพลิกคว�ำ่ และตาย โจทก์จงึ มีสทิ ธิฟอ้ งจ�ำเลยที่ 1 ให้รบั ผิดตามสัญญายืม ตาม ปพพ.
มาตรา 640 ประกอบมาตรา 643

1-26 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2.3 ผู้ยืมจะต้องไม่เอาทรัพย์สินที่ยืมไว้นานกว่าที่ควร ปัญหาที่จะต้องพิจารณาคือ แค่ไหน


จะถือว่าเอาทรัพย์สินที่ยืมไว้นานเกินควร ถ้าการยืมนั้นไม่ได้ก�ำหนดเวลาไว้เรื่องนี้ต้องดูพฤติการณ์เป็น
กรณีๆ ไป โดยพิจารณาตาม มาตรา 646 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับก�ำหนดเวลายืมประกอบด้วย เช่น ยืม
รถยนต์ไปตากอากาศที่พัทยา เมื่อกลับมาแล้วก็ควรจะต้องส่งคืนในเวลาสมควร โดยอาจจะคืนหลังจาก
ท�ำความสะอาดรถให้เขาเรียบร้อยแล้ว แต่ถา้ ยังไม่คนื โดยจะเก็บเอาไว้เพือ่ ไปตากอากาศทีเ่ ชียงใหม่ตอ่ อีก


ก็ถือได้ว่าเอาทรัพย์ของเขาไว้นานเกินควร หรือถ้ายืมไปแล้วทอดทิ้งไม่ใช้เสียตั้งแต่ต้น ซึ่งถ้าได้ใช้เสียใน
ระหว่างเวลาทีล่ ว่ งเลยไปก็คงจะใช้เสร็จแล้ว เช่น ยืมหนังสือไปอ่าน แต่กไ็ ม่ได้อา่ นสักทีจนเวลาผ่านไป ซึง่

มส
ถ้าอ่านเสียก็คงจะจบแล้วในระยะเวลาทีล่ ว่ งเลยไปนัน้ เช่นนี้ ต้องถือว่าเวลาผ่านไปพอสมควรทีจ่ ะได้ใช้สอย
ทรัพย์แล้ว ซึ่งผู้ให้ยืมเรียกทรัพย์คืนได้ ส�ำหรับมาตรา 646 นี้จะได้กล่าวรายละเอียดในตอนที่ 1.3 ความ
ระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป ต่อไป
ตามทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าผูย้ มื มิได้ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการใช้ทรัพย์สนิ ดังกล่าว ไม่วา่ จะเป็นการ
ใช้ ทรัพย์ผดิ ไปจากปกติทคี่ วรใช้ หรือผิดไปจากข้อตกลงหรือสัญญา หรือเอาไปให้บคุ คลภายนอกใช้ หรือ
เก็บทรัพย์ ไว้นานกว่าที่ควรก็ดี นอกเหนือจากผู้ให้ยืมจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามมาตรา 645 ซึ่งจะ
กล่าวเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากในเรื่องสิทธิของผู้ให้ยืมแล้ว ผู้ยืมยังจะต้องรับผิดในเหตุที่ทรัพย์สินนั้นต้อง
สูญหายหรือบุบสลายไป แม้ว่าจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่ผู้ยืมจะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ ทรัพย์สิน
นั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่ นั่นเอง

ค�ำว่า “เหตุสุดวิสัย” นี้ ปพพ. มาตรา 8 บัญญัติไว้ว่า “เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติ
ก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการ
มส

ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลนัน้ ในฐานะและภาวะเช่นนัน้ ” เช่น ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว


อุทกภัย วาตภัย ภัยจากสงคราม เป็นต้น
จะเห็นว่าในการท�ำผิดหน้าทีใ่ นการใช้ทรัพย์ตามทีก่ ล่าวข้างต้น กฎหมายบัญญัตใิ ห้ผยู้ มื ต้องรับผิด
ในการสูญหายหรือบุบสลายของทรัพย์สนิ ทีใ่ ห้ยมื โดยสิน้ เชิง ถึงแม้ความเสียหายบุบสลายหรือสูญหายของ
ทรัพย์นนั้ จะ เกิดจากเหตุสดุ วิสยั ก็ตาม ทัง้ นีเ้ ป็นบทยกเว้นหลักทัว่ ไปในการช�ำระหนี้ ซึง่ โดยปกติการทีล่ กู
หนี้ไม่สามารถจะช�ำระหนี้ได้เพราะเหตุสุดวิสัย ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ เว้นแต่ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด

เท่านั้น19 แต่ในเรื่องการใช้ทรัพย์สินที่ยืมโดยมิชอบ ผู้ยืมต้องรับผิดแม้ความสูญหายหรือบุบสลายของ
ทรัพย์สนิ ทีย่ มื จะเกิดจากเหตุสดุ วิสยั เช่น นายด�ำยืมกระบือจากนายแดงมาใช้ไถนาแล้วกลับเอาไปให้นาย
ขาวยืมใช้ต่อ ถ้าในระหว่างนั้นเกิดน�้ำท่วมใหญ่พัดเอากระบือของนายแดงจมน�้ำตายไปซึ่งนับว่าเป็น
เหตุสดุ วิสยั แต่นายด�ำก็ตอ้ งรับผิดชดใช้ราคากระบือให้แก่นายแดง เหตุผลในเรือ่ งนีน้ อกจากจะถือเป็นเรือ่ ง
ใช้ทรัพย์โดยมิชอบแล้ว ยังถือว่าการยืมใช้คงรูปนั้น ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์ได้เปล่าโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน
กฎหมายจึงต้องบัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับภาระในการใช้ทรัพย์สินให้มากกว่าในกรณีอื่นเช่นเรื่องเช่าทรัพย์
เป็นต้น
สธ

19 ดู ปพพ. มาตรา 217



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-27

อย่างไรก็ตาม มาตรา 643 นัน้ เองได้บญ ั ญัตขิ อ้ ยกเว้นไว้วา่ ถ้าผูย้ มื สามารถพิสจู น์ได้วา่ ถึงอย่างไร
ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง ผู้ยืมก็อาจหลุดพ้นจากความรับผิดได้ เช่น ตาม
อุทาหรณ์ข้างต้น ถ้าบ้านของนายแดง นายขาว และนายด�ำอยู่ในละแวกเดียวกัน กระบือของนายแดงก็
ต้องถูกน�้ำท่วมตายอยู่นั่นเอง เพราะภัยจากน�้ำท่วมนั้นแผ่ขยายกว้างขวางครอบคลุมทั่วไปหมด ซึ่งหาก
นายด�ำพิสูจน์ ได้เช่นนี้ นายด�ำก็ไม่ต้องรับผิดแม้ตนจะใช้ทรัพย์นั้นโดยมิชอบ ความเสียหายก็ตกเป็น


ภัยพิบัติของผู้ให้ยืมไป
อนึ่ง ในเรื่องความรับผิดของผู้ยืมในการใช้ทรัพย์สินที่ยืมนั้น ถ้าปรากฏว่าผู้ยืมได้ใช้ความ

มส
ระมัดระวังและ ใช้ทรัพย์สินอย่างปกติ ถ้าทรัพย์ที่ยืมเกิดความเสียหายขึ้นโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืมแล้ว
ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม เช่น ยืมรถของผู้อื่นใช้อย่างปกติและถูกรถของผู้อื่นชนเสียหายโดยไม่ใช่
เพราะความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ให้ยืม เว้นแต่ผู้ยืมจงใจหรือ
ประมาทเลินเล่อท�ำให้ทรัพย์เสียหาย ผู้ให้ยืมฟ้องให้ผู้ยืมรับผิดในเรื่องละเมิดได้
อุทาหรณ์
ฎ. 534/2506 ยืมรถของผู้อื่นไปใช้อย่างปกติแล้วถูกรถของบุคคลภายนอกชนเสียหาย โดยไม่ใช่
เพราะความผิดของฝ่ายผู้ยืม ผู้ยืมก็ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ฎ. 526/2529 โจทก์ติดต่อซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเพื่อใช้ในราชการโดยโจทก์ได้รับรถยนต์
จากผูข้ ายมาใช้กอ่ น ในวันเกิดเหตุจำ� เลยยืมรถยนต์คนั ดังกล่าวจากโจทก์ไปใช้และเกิดอุบตั เิ หตุได้รบั ความ

เสียหาย โจทก์จึงฟ้องให้จ�ำเลยรับผิดตามสัญญายืมใช้คงรูป เมื่อรถยนต์คันที่จ�ำเลยยืมไปใช้เกิดอุบัติเหตุ
ชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของบุคคลอื่น รถยนต์คันดังกล่าวเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างที่โจทก์ดูแล
มส

และทดลองใช้อยู่ โจทก์ช�ำระเงินค่าซ่อมให้เจ้าของรถแล้ว จ�ำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนแก่โจทก์


ตามค�ำฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุใดตาม ปพพ. มาตรา 643 ที่จะท�ำให้จ�ำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความ
เสียหายทีเ่ กิดขึน้ เลย จ�ำเลยจึงไม่ตอ้ งรับผิดชดใช้คา่ เสียหายให้โจทก์ (หมายเหตุ-ฟ้องให้รบั ผิดตามสัญญา
ยืมใช้คงรูป ศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุตามมาตรา 643 ที่จะให้ผู้ยืมรับผิด-ผู้เขียน)
ฎ. 1892/2535 โจทก์ฟ้องว่า จ�ำเลยที่ 1 ได้ขอยืมรถจากโจทก์โดยสัญญาว่าจะไม่นำ� รถของโจทก์
ไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย แต่กลับผิดสัญญาโดยน�ำรถของโจทก์ไปให้จำ� เลยที่ 2 ยืมไปขับ จ�ำเลยที่ 2

ได้ขบั รถของโจทก์ดว้ ยความประมาทในขณะมึนเมาสุราและขับด้วยความเร็วสูงเป็นเหตุให้รถแฉลบเสียหลัก
พลิกคว�ำ ่ รถของโจทก์ได้รบั ความเสียหายซึง่ ท�ำให้โจทก์เสียหาย ศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่า คดีนโี้ จทก์ฟอ้ งจ�ำเลย
ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ในฐานละเมิดเพราะจ�ำเลยที่ 2 ได้ขบั รถของโจทก์โดยประมาท เป็นเหตุให้รถของโจทก์พลิก
คว�่ำเสียหาย จ�ำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะบิดามารดามิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจ�ำเลย
ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ แม้โจทก์จะได้ฟ้องจ�ำเลยที่ 1 ตามสัญญายืม มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายตาม
สัญญายืมก็ตามก็หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจ�ำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ฐานละเมิดด้วยไม่
ฎ. 2766/2551 เหตุละเมิดทีเ่ กิดขึน้ แก่รถยนต์ทโี่ จทก์ยมื มาจากมารดาโจทก์ซงึ่ เป็นเจ้าของเนือ่ งจาก
สธ
ความผิดของห้างหุน้ ส่วนจ�ำกัดจ�ำเลยที่ 2 ซึง่ เป็นบุคคลภายนอกทีร่ บั จ้างกรมทางหลวงจ�ำเลยที่ 1 ก่อสร้าง
ถนนโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 643 แม้โจทก์จะซ่อมรถยนต์
เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด

1-28 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

จ�ำเลยที่ 2 และจ�ำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วง


สิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำ� นาจฟ้อง
3. หน้าที่ในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม เนื่องจากสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาที่กรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินที่ยืมมิได้โอนไปยังผู้ยืม หากทรัพย์สินที่ยืมนั้นบุบสลายหรือสูญหายไปโดยมิใช่ความผิดของ
ผู้ยืมแล้ว ผู้ยืมก็ไม่จ�ำเป็นต้องรับผิดชอบ ภัยพิบัติจึงตกหนักแก่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ยืม และเมื่อการ


ยืมใช้คงรูปเป็นการที่ผู้ยืมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า ย่อมเป็นการสมควรที่กฎหมายจะก�ำหนดหน้าที่
ในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมในระหว่างที่ผู้ยืมได้ครอบครองใช้สอยทรัพย์สินนั้น ดังที่ มาตรา 644

มส
บัญญัติว่า “ผู้ยืมจ�ำต้องสงวนทรัพย์สินซึ่งยืมไปเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตน”
ค�ำว่า “วิญญูชน” นั้นคือ บุคคลผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ20 หรือบุคคลที่มีความระมัดระวังอย่าง
ธรรมดา (a person of ordinary prudence)21 ในหมู่บุคคลธรรมดาย่อมจะต้องมีความระมัดระวังอย่าง
คนธรรมดาโดยทัว่ ไป แต่ในหมูบ่ คุ คลทีม่ อี าชีพทีต่ อ้ งใช้ศลิ ปะหรือฝีมอื ความสามารถเป็นพิเศษ เช่น แพทย์
วิศวกร ทนายความ ฯลฯ ความระมัดระวังของบุคคลประเภทเหล่านี้ก็ต้องอาศัยความช�ำนาญ ฝีมือ และ
ความระมัดระวังยิ่งกว่าบุคคล ธรรมดา22 ดังนั้น การสงวนทรัพย์สินอย่างเช่นวิญญูชนจะสงวนทรัพย์สิน
ของตนเอง จึงพอจะอธิบายโดยเทียบ เคียงได้ว่าบุคคลผู้อยู่ในสภาพและฐานะเช่นเดียวกับผู้ยืมนั้นควรจะ
ปฏิบัติในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมเช่น เดียวกับที่ผู้ยืมได้ปฏิบัติหรือไม่23 เป็นการพิจารณาในระดับ
ของคนทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถธรรมดาจะพึงปฏิบตั ใิ นการสงวนทรัพย์สนิ ตามสภาพของทรัพย์นนั้ ๆ ไม่ใช่

ระดับของคนทีย่ อ่ หย่อนความระมัดระวัง หรือในระดับทีเ่ คย ประพฤติของตนเองซึง่ ต�ำ่ กว่าระดับของธรรมดา
ที่เขาพึงประพฤติกัน24
มส

ขนาดไหนจึงจะถือว่าเป็นการระมัดระวังอย่างวิญญูชนจึงต้องแล้วแต่พฤติการณ์เป็นกรณีไป เช่น
ยืมรถยนต์เขามาแล้วจอดทิ้งไว้กลางแดดกลางฝน จนสีรถร่อนแตกออกและตัวถังผุเพราะแช่น�้ำฝน
จะถือว่าผู้ยืมได้ สงวนรักษารถยนต์นั้นเช่นวิญญูชนแล้วหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่าคนที่มีความระมัดระวัง
ตามธรรมดาทั่วไปจะสงวนรักษารถยนต์ของตนเองอย่างไร คือจะจอดทิ้งไว้กลางแดดกลางฝนหรือไม่ ถ้า
ไม่เป็นเช่นนั้น ก็ต้องถือว่าผู้ยืมท�ำผิดหน้าที่ในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม กล่าวคือ จะถือระดับความ
ระมัดระวังเช่นทีเ่ คยประพฤติในกิจการตนเองของผูย้ มื เป็นส�ำคัญไม่ได้ เพราะแม้โดยปกติผยู้ มื จะเคยสงวน

20
21
พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

รักษาทรัพย์สินของตนเองอย่างปล่อยปละละเลย เช่น รถของตนก็จอดตากแดดตากฝนไว้เป็นประจ�ำ ก็จะ
กระท�ำต่อรถที่ยืมเขามาเหมือนอย่างที่ตนเองประพฤติไม่ได้ เช่นนี้เป็นต้น

จี๊ด เศรษฐบุตร ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอม การ


พนันและขันต่อ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2492 น. 25.
22 บัญญัติ สุชีวะ “ประมาท” บทบัณฑิตย์ เล่ม 21 ตอน 2 เมษายน พ.ศ. 2506 น. 278.
สธ
23 จี๊ด เศรษฐบุตร ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอม การ
พนันและขันต่อ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. 2492 น. 25.
24 พจน์ ปุษปาคม ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยยืม กู้ยืม ฝากทรัพย์ พ.ศ. 2521 นิติบรรณาการ
พ.ศ. 2521 น. 37.

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-29

จากการทีผ่ ยู้ มื มีหน้าทีต่ อ้ งสงวนทรัพย์สนิ ทีย่ มื เช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สนิ ของตนเอง ผูย้ มื


จึงต้องมี หน้าทีใ่ นการบ�ำรุงรักษาทรัพย์สนิ ตามปกติดว้ ย มาตรา 647 จึงบัญญัตวิ า่ “ค่าใช้จ่ายอันเป็นปกติ
แก่การบ�ำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย” เช่น ยืมรถไปใช้ หน้าที่ในการสงวนรักษาคือ
ต้องเก็บไว้ในที่สมควร ถ้ามีโรงเก็บรถก็ต้องเก็บไว้ในโรงรถนั้นหรือถ้าไม่มีก็ต้องจอดไว้ใต้ชายคาหรือมีผ้า
คลุมกันแดดกันฝน นอกจากนี้ก็ควรต้องคอยดูเปลี่ยนน�้ำมันเครื่อง เติมน�้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี รวมทั้ง


ท�ำความสะอาดพอสมควร ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบ�ำรุงรักษาตามปกติเช่นนี้เป็นหน้าที่ของผู้ยืมต้อง
รับผิดชอบ หากผู้ยืมกระท�ำได้เช่นนี้ ย่อมพอจะนับได้ว่าเป็นการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมเช่นวิญญูชน

มส
จะกระท�ำต่อทรัพย์สินของตนเองแล้ว
ผลของการละเลยหน้าที่ไม่สงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมเช่นวิญญูชนจะสงวนรักษาทรัพย์สินของ
ตนเองดัง กล่าวนี้ นอกจากจะท�ำให้ผู้ให้ยืมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 645 ซึ่งจะได้กล่าวถึงเป็นอีก
ส่วนหนึ่งต่าง หากต่อไปแล้ว ผู้ยืมยังอาจจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายใดๆ ที่
เกิดแก่ทรัพย์สินที่ยืมด้วย เช่น ตามอุทาหรณ์ข้างต้น ยืมรถเขามาแล้วจอดตากแดดตากฝนไว้ ท�ำให้สีรถ
หลุดร่อนและตัวถังผุเพราะแช่น�้ำฝน ผู้ยืมจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวแก่
ผู้ให้ยืม ทั้งนี้แม้บทบัญญัติในเรื่องยืมจะไม่ได้กล่าวไว้โดยเฉพาะดังเช่นมาตรา 643 แต่ก็เป็นไปตามหลัก
ทั่วไปว่าด้วยการไม่ชำ� ระหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 213
ในกรณีทบี่ คุ คลภายนอกกระท�ำละเมิดท�ำให้ทรัพย์สนิ ทีย่ มื เสียหายนัน้ หากผูย้ มื ไม่ได้ทำ� ผิดหน้าที่

ตามมาตรา 643 หรือ 644 ผูย้ มื ย่อมไม่มอี ำ� นาจฟ้องเรียกค่าซ่อมแซมทรัพย์สนิ จากผูท้ ำ� ละเมิด เพราะกรณี
เช่นนี้ผู้ยืมไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้ให้ยืมมาฟ้องได้
มส

อุทาหรณ์
ฎ. 1180/2519 โจทก์ฟอ้ งว่าจ�ำเลยขับรถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ของโจทก์โดยละเมิด แต่ได้ความว่า
รถจักรยานยนต์เป็นของน้องชายโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถ และการที่เกิดเหตุชนกันก็เป็นการใช้รถ
จักรยานยนต์ของโจทก์โดยปกติธรรมดา โจทก์จึงไม่มีอ�ำนาจฟ้องให้จ�ำเลยใช้ค่าซ่อมรถและค่าเสื่อมราคา
ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่เกี่ยวกับรถโดยตรง
ฎ. 3451/2524 ในการยืมใช้คงรูปนั้น ปพพ. มาตรา 643 ได้บัญญัติให้ผู้ยืมต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม

เฉพาะแต่กรณีผยู้ มื เอาทรัพย์ทยี่ มื ไปใช้การอย่างอืน่ นอกจากการอันเป็นปกติแก่ทรัพย์สนิ นัน้ หรือนอกจาก
การอันปรากฏในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย หรือเอาไปไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ โจทก์
เป็นแต่เพียงผู้ยืมรถคันที่ถูกชน ไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อผู้ให้ยืม
และการทีร่ ถทีโ่ จทก์ขบั ได้รบั ความเสียหายก็มใิ ช่เป็นความผิดของโจทก์ ฉะนัน้ โจทก์ในฐานะผูย้ มื จึงไม่ตอ้ ง
รับผิดต่อเจ้าของรถและแม้ว่าโจทก์จะได้ซ่อมรถคันดังกล่าวไปแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิ
ของเจ้าของรถทีจ่ ะเรียกร้องให้จำ� เลยรับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ตอ่ เมือ่ ผูร้ บั ช่วงสิทธิมหี นีอ้ นั จะ
ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของรถ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิโจทก์จึงไม่มีอำ� นาจฟ้อง
สธ
ฎ. 2766/2551 เหตุละเมิดทีเ่ กิดขึน้ แก่รถยนต์ทโี่ จทก์ยมื มาจากมารดาโจทก์ซงึ่ เป็นเจ้าของเนือ่ งจาก
ความผิดของห้างหุน้ ส่วนจ�ำกัดจ�ำเลยที่ 2 ซึง่ เป็นบุคคลภายนอกทีร่ บั จ้างกรมทางหลวงจ�ำเลยที่ 1 ก่อสร้าง
ถนนโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 643 แม้โจทก์จะซ่อมรถยนต์

1-30 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรียบร้อยแล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะรับช่วงสิทธิของเจ้าของทรัพย์ที่จะเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด
จ�ำเลยที่ 2 และจ�ำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดได้ เพราะการรับช่วงสิทธิจะมีได้ต่อเมื่อผู้รับช่วง
สิทธิมีหนี้อันจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้คือเจ้าของ เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำ� นาจฟ้อง
4. ผู้ยืมมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว หลักในเรือ่ งนีป้ รากฏอยูใ่ นมาตรา
640 ดังที่บัญญัติว่า “…ผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว” ทั้งนี้เนื่องจากสัญญา


ยืมใช้คงรูปนัน้ กรรมสิทธิแ์ ห่งทรัพย์สนิ ทีย่ มื มิได้ตกอยูแ่ ก่ผยู้ มื ฉะนัน้ เมือ่ ได้มกี ารใช้สอยเสร็จแล้ว หรือเมือ่
มีการบอกเลิก สัญญากันแล้ว ผู้ยืมก็มีหน้าที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินนั้น ซึ่งทรัพย์สินที่ต้องส่งคืนนั้นต้องเป็น

มส
ทรัพย์สนิ อันเดียวกับทีผ่ ใู้ ห้ยมื ได้สง่ มอบให้แก่ผยู้ มื ไปเมือ่ แรกเริม่ ท�ำสัญญากัน ความข้อนีแ้ ตกต่างกับสัญญา
ยืมใช้สนิ้ เปลืองซึง่ จะได้ กล่าวต่อไปเพราะในสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ ผูย้ มื คงคืนแต่ทรัพย์สนิ ทีเ่ ป็นประเภท
ชนิด และปริมาณเดียวกับ ทรัพย์สินที่ได้รับมอบมาเท่านั้น
จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินซึ่งเป็น
วัตถุแห่ง สัญญายืมใช้คงรูปได้บุบสลายหรือสูญหายไปโดยจะโทษผู้ยืมไม่ได้แล้ว ผู้ให้ยืมก็จะต้องรับเอา
ความวินาศนั้นเอง ดังนั้น ในทางกลับกันถ้าทรัพย์สินนั้นได้เกิดดอกผลธรรมดาขึ้น เช่น ยืมกระบือตัวเมีย
ไปไถนาแล้วกระบือนั้นเกิดตกลูกออกมา ผู้ยืมก็ต้องคืนลูกกระบือนั้นให้แก่ผู้ให้ยืมด้วย เพราะดอกผลของ
กระบือคือลูกกระบือนั้นย่อมตกเป็นของผู้ให้ยืม ตามนัยแห่ง ปพพ. มาตรา 1336
ในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อใช้สอยเสร็จแล้วนั้น แยกพิจารณาได้คือ

4.1 ในกรณีที่การยืมใช้คงรูปนั้นมีก�ำหนดเวลาส่งคืนไว้เป็นการแน่นอน เมื่อครบก�ำหนด
ผู้ยืมก็ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้นตามสภาพแห่งการใช้และการส่งคืนโดยปกติ
มส

4.2 ถ้าไม่มีก�ำหนดเวลา ก็ต้องส่งคืนเมื่อใช้สอยเสร็จแล้วตามที่ปรากฏในสัญญา เช่น ยืม


รถยนต์ไปตากอากาศทีพ่ ทั ยา เมือ่ กลับจากพัทยาแล้วก็ตอ้ งส่งคืนเพราะได้ใช้สอยเสร็จแล้วตามสัญญา หรือ
ถ้าในสัญญาไม่ ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อกิจการใด ผู้ยืมก็ต้องส่งคืนเมื่อเวลาได้ล่วงพ้นไปพอสมควรที่จะได้
ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จ แล้ว
ขอให้ระลึกอยูเ่ สมอว่า มาตรา 643 มีผลเกีย่ วโยงในการใช้บงั คับแก่ผยู้ มื ด้วย หากผูย้ มื ส่งคืนทรัพย์
ทีย่ มื ล่าช้า คือเอาไว้นานเกินกว่าทีค่ วร เช่น ถึงก�ำหนดทีจ่ ะต้องส่งคืนก็ยงั ไม่สง่ คืน หรือสัญญาไม่มกี ำ� หนด

เวลาแต่ อนุมานได้ว่ายืมใช้เพื่อการใด เมื่อใช้เพื่อการนั้นเสร็จแล้วหรือเวลาได้ผ่านไปพอสมควรแก่การใช้
นั้นแล้วก็ยังไม่ได้ส่งคืน หรือแม้แต่เวลาก็ไม่ได้ก�ำหนด และไม่ทราบว่ายืมใช้เพื่อการใดแต่ผู้ยืมก็เก็บเอา
ทรัพย์สนิ นัน้ ไว้นานเกินควรทอดทิง้ เสียไม่ใช้จนเวลาล่วงเลยไป หากเกิดความเสียหาย ผูย้ มื ก็ตอ้ งรับผิดชอบ
จากที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา 643
อนึ่ง ในเรื่องก�ำหนดเวลาส่งคืนทรัพย์สินทื่ยืมนี้จะได้น�ำไปกล่าวรายละเอียดในตอนที่ 1.3 ในส่วน
ที่ว่า ด้วยความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปต่อไป
สธ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-31

กิจกรรม 1.2.2
1. จงกล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปมาโดยสังเขป
2. ด�ำให้แดงยืมรถยนต์ไปท�ำธุระที่ภูเก็ตเป็นเวลา 10 วัน เมื่อครบก�ำหนด 10 วันแล้ว แดงเกิดมี
ธุระจะต้องไปท�ำต่อทีน่ ครศรีธรรมราชอีก 7 วัน จึงขับรถต่อไปท�ำธุระทีน่ ครศรีธรรมราช หลังจากนัน้ จึงขับ


รถกลับกรุงเทพมหานคร ระหว่างนั้นมีฝนตกพายุพัดอย่างหนัก แดงไม่สามารถจะขับรถหนีไปได้ จึงต้อง
จอดรถอยู่ข้างทางจนกระทั่งพายุสงบเป็นเหตุให้รถยนต์ของด�ำต้องแช่น�้ำอยู่หลายชั่วโมงท�ำให้เครื่องยนต์

มส
เสียหายต้องซ่อมแซมเป็นเงิน 3,000 บาท ดังนี้ ด�ำจะเรียกค่าซ่อมแซมจากแดงได้หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 1.2.2
1. สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืม แบ่งเป็น
1.1 สิทธิของผู้ยืม คือ
1) มีสทิ ธิใช้สอยทรัพย์สนิ ทีย่ มื ได้เปล่าโดยไม่ตอ้ งเสียค่าตอบแทนตามสภาพปกติของ
ทรัพย์และตามข้อตกลงในสัญญา
2) มีสิทธิต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่ยืม มีสิทธิขัดขวางมิ
ให้ผู้อื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้องในทรัพย์นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
1.2 หน้าที่ของผู้ยืม คือ

1) หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการยืม
2) หน้าที่ในการใช้ทรัพย์ที่ยืมโดยชอบ
มส

3) หน้าที่ในการสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมเช่นวิญญูชน
4) หน้าที่ในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว
2. ตามอุทาหรณ์ เป็นการยืมใช้คงรูป แดงต้องคืนทรัพย์ คือรถยนต์นั้นเมื่อครบก�ำหนด 10 วัน
การที่ แดงเอารถไปใช้ที่นครศรีธรรมราชต่ออีก 7 วัน เป็นการเอาทรัพย์ที่ยืมไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้
เป็นการฝ่าฝืน มาตรา 643 เมื่อรถเกิดเสียหายในระหว่างที่แดงใช้รถโดยมิชอบ แม้จะเป็นด้วยเหตุสุดวิสัย
แดงก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าซ่อมแซมรถดังกล่าวให้แก่ด�ำ

สธ

1-32 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 1.2.3
สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมใช้คงรูป


ในเรือ่ งที่ 1.2.2 นักศึกษาได้ทราบถึงสิทธิและหน้าทีข่ องผูย้ มื ในสัญญายืมใช้คงรูปแล้ว ต่อไปจะได้
กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืม

มส
สิทธิของผู้ให้ยืมใช้คงรูป
แยกอธิบายได้ ดังนี้
1. สิทธิบอกเลิกสัญญาเมือ่ ผูย้ มื บกพร่องในหน้าทีข่ องผูย้ มื เช่น กรณีไม่ใช้ทรัพย์สนิ ทีย่ มื ตามปกติ
หรือตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้ เอาไปไว้นานกว่าที่ควร (มาตรา 643)
หรือไม่สงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมเช่นวิญญูชนพึงสงวนทรัพย์สินของตน (มาตรา 644) ดังที่ มาตรา 645
บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีทั้งหลายดังกล่าวไว้ในมาตรา 643 นี้ก็ดี หรือถ้าผู้ยืมประพฤติฝ่าฝืนต่อความใน
มาตรา 644 ก็ดี ผู้ให้ยืมจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้”
2. สิทธิเรียกเอาทรัพย์คืนหรือให้ใช้ราคา ซึ่งเป็นสิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูป ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียก

ทรัพย์สินที่ให้ยืมคืนได้หรือเรียกให้ชดใช้ราคาเมื่อไม่มีตัวทรัพย์นั้นแล้วในกรณีดังต่อไปนี้คือ
2.1 เมื่อบอกเลิกสัญญาตาม มาตรา 645 แล้ว
2.2 เมื่อครบก�ำหนดเวลาส่งคืน ส�ำหรับก�ำหนดเวลาในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมนี้มีบัญญัติ
มส

ไว้ใน มาตรา 646 ซึ่งจะได้น�ำไปกล่าวโดยละเอียดในตอนที่ 1.3 ซึ่งว่าด้วยความระงับแห่งสัญญายืมใช้


คงรูป ในที่นี้ สรุปได้ว่าถ้าสัญญายืมใช้คงรูปมีก�ำหนดเวลาส่งคืนไว้ ผู้ให้ยืมก็เรียกทรัพย์สินที่ให้ยืมคืนได้
เมือ่ ถึงเวลาทีก่ ำ� หนด หรือหากมิได้กำ� หนดเวลากันไว้กเ็ รียกคืนได้เมือ่ ผูย้ มื ได้ใช้สอยทรัพย์สนิ ทีย่ มื เสร็จแล้ว
หรือเมื่อเวลาล่วงพ้นไปพอที่จะใช้เสร็จแล้ว ในบางกรณีทมี่ ิได้ก�ำหนดเวลาส่งคืนกันไว้ และไม่ปรากฏว่าจะ
น�ำไปใช้ในการใด ผู้ให้ยืมก็จะเรียกคืนเมื่อใดก็ได้
2.3 ในกรณีทผี่ ยู้ มื ตาย ซึง่ มาตรา 648 บัญญัตใิ ห้สญ ม
ั ญายืมใช้คงรูประงับลง ผูใ้ ห้ยมื ก็มสี ทิ ธิ
เรียกทรัพย์สนิ คืนได้แม้จะยังไม่ครบก�ำหนดระยะเวลาก็ตาม แต่สำ� หรับผู้ให้ยืมนั้น การตายของผู้ให้ยืมไม่
เป็นเหตุให้สัญญายืมใช้คงรูประงับ (ส�ำหรับกรณีทยี่ งั ไม่ถงึ ก�ำหนดเวลาส่งคืนทรัพย์หรือเป็นการยืมตลอด
อายุผู้ยืม) ดังนั้น ทายาทของผู้ให้ยืมจึงจะเรียกทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้นคืนยังไม่ได้ (ฎ. 338/2479) เว้นแต่
กรณีทผี่ ยู้ มื ปฏิบตั ผิ ดิ หน้าทีต่ ามมาตรา 643 หรือมาตรา 644 ทายาทของผูใ้ ห้ยมื จึงจะบอกเลิกสัญญาและ
เรียกทรัพย์คืนได้ตามมาตรา 645
3. ในกรณีทผี่ ใู้ ห้ยมื เป็นเจ้าของทรัพย์สนิ หรือมีสทิ ธิครอบครองทรัพย์สนิ ทีย่ มื ผูใ้ ห้ยมื ก็มสี ทิ ธิตาม
สธ
กฎหมายติดตามเอาทรัพย์สินที่ยืมนั้นคืนหากทรัพย์สินนั้นไปตกอยู่กับบุคคลภายนอก ทั้งนี้ ด้วยอ�ำนาจ
แห่งกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครอง ตาม ปพพ. มาตรา 1336 และมาตรา 1367 ประกอบมาตรา 1372

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-33

อุทาหรณ์
ฎ. 643/2480 ยืมของเขาไปแล้วไม่สง่ คืน เมือ่ ของนัน้ ไปตกอยูท่ บี่ คุ คลอืน่ ผูใ้ ห้ยมื ย่อมมีสทิ ธิตดิ ตาม
เอาของคืนจากบุคคลนั้นได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1336
ฎ. 1407/2538 โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิท์ รัพย์พพิ าทรายการที่ 1 ถึงที่ 4 จึงมีสทิ ธิตดิ ตามเอาคืน
จากจ�ำเลยได้ ทรัพย์พิพาทรายการที่ 5 ไม่ใช่ทรัพย์ของโจทก์แต่เป็นทรัพย์ของผู้อื่นที่โจทก์ขอยืมมาแล้ว


ให้ ท. ยืมไปอีกต่อหนึง่ ดังนี้ ถือได้วา่ โจทก์เป็นผูท้ รงสิทธิครอบครองในทรัพย์พพิ าทรายการนี้ เมือ่ ทรัพย์
พิพาทรายการนี้ไปตกอยู่กับจ�ำเลยโดยจ�ำเลยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของ โจทก์ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง

มส
ในทรัพย์รายการนี้ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจ�ำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้
4. ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิที่จะได้ดอกผลธรรมดาอันเกิดจาก
ทรัพย์สนิ ทีใ่ ห้ยมื ในระหว่างการยืมใช้ทรัพย์สนิ นัน้ ทัง้ นีด้ ว้ ยอ�ำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ตาม ปพพ. มาตรา 1336
เช่นเดียวกัน ตัวอย่างที่เคยได้กล่าวถึงมาแล้ว เช่น ให้ยืมแม่กระบือไปใช้ไถนา ในระหว่างนั้นแม่กระบือ
ตกลูกออกมา ลูกกระบือย่อมเป็น กรรมสิทธิ์ของผู้ให้ยืมซึ่งเป็นเจ้าของแม่กระบือ ซึ่งผู้ยืมต้องส่งมอบให้
แก่ผู้ให้ยืม
5. สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทนหรือค่าสินไหมทดแทน ซึ่งแบ่งได้ ดังนี้
5.1 สิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเมื่อผู้ยืมปฏิบัติผิดหน้าที่จนท�ำให้เกิด
ความเสียหายตามมาตรา 643 ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในเรื่องหน้าที่ของผู้ยืม กล่าวคือ ไม่ใช้ทรัพย์ตามปกติ

หรือตามข้อตกลงในสัญญา เอาไปให้บคุ คลภายนอกใช้ หรือเอาไว้นานกว่าทีค่ วร จนกระทัง่ ท�ำให้เกิดความ
บุบสลายหรือสูญหายในทรัพย์สินที่ยืม ดังนี้ ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิจะเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่
เกิดขึน้ ได้25 แม้ความเสียหายนัน้ จะเกิดจากเหตุสดุ วิสยั ก็ตาม เว้นแต่ผยู้ มื จะพิสจู น์ได้วา่ ถึงอย่างไรทรัพย์สนิ
มส

นั้นก็จะต้องบุบสลาย หรือสูญหายอยู่นั่นเอง ขอให้นักศึกษาย้อนกลับไปดูรายละเอียดในเรื่องที่ 1.2.2 ที่ว่า


ด้วยหน้าที่ของผู้ยืมดังได้กล่าวแล้ว
5.2 สิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่ผู้ให้ยืมได้รับเนื่องจากการที่ผู้ยืมไม่
สงวนทรัพย์สินที่ยืมเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตน ตาม ปพพ. มาตรา 644 ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว
เช่นเดียวกัน

สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายดังกล่าวได้โดยอาศัยมาตรา 643 ประกอบ มาตรา 646 เพราะ



5.3 สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากการที่ผู้ยืมไม่ส่งทรัพย์สินคืนตามมาตรา
646 เช่น ครบก�ำหนดส่งคืนทรัพย์แล้ว ผู้ยืมก็ยังไม่ส่งคืนให้จนกระทั่งทรัพย์นั้นถูกขโมยลักไป ผู้ให้ยืมก็มี

เป็นกรณีทผี่ ยู้ มื ผิดสัญญาไม่สง่ คืนทรัพย์ตามก�ำหนด แม้ความเสียหายแก่ทรัพย์จะเกิดขึน้ โดยตนมิได้เป็น


ผูท้ ำ� ละเมิดเองก็ตาม แต่เหตุทเี่ กิดขึน้ คือการทีท่ รัพย์ถกู ขโมยลักไปนัน้ อยูใ่ นระหว่างเวลาทีผ่ ยู้ มื ผิดสัญญา
ไม่ส่งคืนทรัพย์ กฎหมายจึงให้ผู้ยืมรับผิดในความเสียหายนี้
5.4 สิทธิเรียกค่าทดแทนในค่าใช้จา่ ยต่างๆ ทีผ่ ใู้ ห้ยมื จ่ายไปแทนผูย้ มื เช่น ค่าฤชาธรรมเนียม
สธ
ในการท�ำสัญญา ค่าส่งมอบ ค่าส่งคืนทรัพย์สินตามมาตรา 642 ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบ�ำรุงรักษา

25 ฎ. 1892/2535

1-34 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ทรัพย์สนิ ทีย่ มื ตามปกติตามมาตรา 647 เนือ่ งจากกฎหมายบัญญัตใิ ห้คา่ ใช้จา่ ยต่างๆ ดังกล่าวเหล่านี้ ผูย้ มื
ต้องเป็นผู้เสีย ดังนั้น เมื่อผู้ให้ยืมต้องจ่ายแทนไปให้ก่อน จึงมีสิทธิเรียกคืนเอาจากผู้ยืมได้
อนึ่ง สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามที่ได้กล่าวมานี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากสัญญายืมใช้คงรูป
เท่านัน้ ไม่เกีย่ วกับการท�ำให้ทรัพย์สนิ ทีย่ มื เสียหายโดยละเมิด ซึง่ ถ้าผูย้ มื เป็นผูท้ ำ� ละเมิด ผูย้ มื ก็ตอ้ งรับผิด
ในเหตุละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก


หน้าที่ของผู้ให้ยืมใช้คงรูป

มส
ปพพ. ไม่ได้บัญญัติถึงหน้าที่ของผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปไว้แต่ประการใดเลย นอกเหนือจาก
การปฏิบัติหน้าที่อันเป็นสาระส�ำคัญของสัญญาคือการส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้ยืม เพื่อให้สัญญายืมใช้คงรูปมี
ผลบริบูรณ์ตามกฎหมายใช้บังคับกันได้แล้วก็ไม่มีบัญญัติถึงหน้าที่ของผู้ให้ยืมไว้ประการใดอีก แต่แม้จะ
ไม่มบี ทบัญญัตไิ ว้ชดั แจ้งเช่นนัน้ โดยหลักทัว่ ไปตามลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป ผูใ้ ห้ยมื ย่อมมีหน้าทีอ่ ยู่
บางประการและอาจจะต้องรับผิดต่อผู้ยืมในการละเลยต่อหน้าที่ ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ผู้ยืมเช่น
เดียวกัน ซึ่งแยกอธิบายได้ดังต่อไปนี้
1. หน้าทีท่ จี่ ะต้องบอกกล่าวให้ผยู้ มื ได้ทราบถึงการช�ำรุดบกพร่องหรือบุบสลายแห่งทรัพย์ทใี่ ห้ยมื
ในกรณีที่มิได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น หากทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้นมีการช�ำรุดบกพร่องหรือบุบสลายซึ่ง
ผูใ้ ห้ยมื ได้รอู้ ยูแ่ ล้วก่อนการส่งมอบว่าทรัพย์สนิ นัน้ ช�ำรุดบกพร่องหรือบุบสลาย ซึง่ อาจเกิดอันตรายเสียหาย

แก่ผู้ยืมได้แล้ว ผู้ยืมมีหน้าที่จะต้องบอกกล่าวให้ผู้ยืมได้ทราบถึงการช�ำรุดบกพร่องหรือบุบสลายแห่ง
ทรัพย์สินที่ให้ยืมนี้ เช่น ให้ยืมรถที่เบรคไม่ดีอยู่แล้ว ถ้าผู้ให้ยืมได้ทราบถึงการช�ำรุดบกพร่องดังกล่าวแล้ว
มส

ปิดบังไม่แจ้งให้ผู้ยืมทราบ เมื่อผู้ยืมน�ำรถไปใช้แล้วเกิดเบรคแตก ท�ำให้รถพลิกคว�่ำ ผู้ยืมได้รับบาดเจ็บ


ผู้ให้ยืมจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้ยืม
2. หน้าที่ที่จะต้องไม่ขัดขวางในการที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินตามสัญญา เว้นแต่กรณีสัญญา
ยืมระงับลงแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด
3. หน้าที่ที่จะต้องรับผลแห่งภัยพิบัติแห่งทรัพย์สินที่ให้ยืมเอง ในกรณีที่ผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของ
ทรัพย์สิน หากทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้นเกิดบุบสลายหรือสูญหายไปเนื่องมาจากการใช้ทรัพย์สินที่ยืมโดยปกติ

ไปเองตามหลัก Res perit domino ความวินาศตกเป็นพับแก่เจ้าของ


อุทาหรณ์

ไม่ฝ่าฝืนมาตรา 643, 644 คือ ไม่ใช่ความผิดของผู้ยืม ทั้งนี้เพราะสัญญายืมใช้คงรูปนั้นกรรมสิทธิ์ยังอยู่
กับผูใ้ ห้ยมื ซึง่ เป็นเจ้าของทรัพย์สนิ อยูโ่ ดยบริบรู ณ์ เจ้าของกรรมสิทธิจ์ งึ ต้องรับความวินาศแห่งทรัพย์สนิ นัน้

ฎ. 534/2506 จ�ำเลยยืมรถของโจทก์ไปใช้และได้ขับไปตามปกติทื่ยืมมาตามที่ตกลงกัน ระหว่าง


ทางถูกรถของบุคคลภายนอกชนท�ำให้รถเสียหายโดยมิใช่เพราะความผิดของจ�ำเลย ดังนี้จ�ำเลยผู้ยืมจึงไม่
ต้องรับผิดใน ความเสียหายนัน้ ต่อโจทก์ผใู้ ห้ยมื โจทก์ชอบทีจ่ ะฟ้องร้องจากบุคคลภายนอกผูก้ ระท�ำละเมิด
สธ
ฎ. 526/2529 โจทก์ติดต่อซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุเพื่อใช้ในราชการโดยโจทก์ได้รับรถยนต์
จากผูข้ ายมาใช้กอ่ น ในวันเกิดเหตุจำ� เลยยืมรถยนต์คนั ดังกล่าวจากโจทก์ไปใช้และเกิดอุบตั เิ หตุได้รบั ความ
เสียหาย โจทก์จึงฟ้องให้จ�ำเลยรับผิดตามสัญญายืมใช้คงรูป เมื่อรถยนต์คันที่จ�ำเลยยืมไปใช้เกิดอุบัติเหตุ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-35

ชนกับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของบุคคลอื่น รถยนต์คันดังกล่าวเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างที่โจทก์ดูแล
และทดลองใช้อยู่ โจทก์ช�ำระเงินค่าซ่อมให้เจ้าของรถแล้ว จ�ำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนแก่โจทก์
ตามค�ำฟ้องดังกล่าวไม่ปรากฏเหตุใดตาม ปพพ. มาตรา 643 ที่จะท�ำให้จ�ำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความ
เสียหายทีเ่ กิดขึน้ เลย จ�ำเลยจึงไม่ตอ้ งรับผิดชดใช้คา่ เสียหายให้โจทก์ (หมายเหตุ-ฟ้องให้รบั ผิดตามสัญญา
ยืมใช้คงรูป ศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุตามมาตรา 643 ที่จะให้ผู้ยืมรับผิด-ผู้เขียน)


ฎ. 1892/2535 โจทก์ฟอ้ งว่าจ�ำเลยที่ 1 ได้ขอยืมรถจากโจทก์โดยสัญญาว่าจะไม่นำ� รถของโจทก์ไป
ให้บุคคลภายนอกใช้สอย แต่กลับผิดสัญญาโดยน�ำรถของโจทก์ไปให้จำ� เลยที่ 2 ยืมไปขับ จ�ำเลยที่ 2 ได้

พลิกคว�ำ
มส
ขับรถของโจทก์ด้วยความประมาทในขณะมึนเมาสุราและขับด้วยความเร็วสูงเป็นเหตุให้รถแฉลบเสียหลัก
่ รถของโจทก์ได้รบั ความเสียหายซึง่ ท�ำให้โจทก์เสียหาย ศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่า คดีนโี้ จทก์ฟอ้ งจ�ำเลย
ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ในฐานละเมิดเพราะจ�ำเลยที่ 2 ได้ขบั รถของโจทก์โดยประมาท เป็นเหตุให้รถของโจทก์พลิก
คว�่ำเสียหาย จ�ำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะบิดามารดามิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจ�ำเลย
ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ แม้โจทก์จะได้ฟ้องจ�ำเลยที่ 1 ตามสัญญายืม มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายตาม
สัญญายืมก็ตามก็หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจ�ำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ฐานละเมิดด้วยไม่
ฎ. 2766/2551 เหตุละเมิดทีเ่ กิดขึน้ แก่รถยนต์ทโี่ จทก์ยมื มาจากมารดาโจทก์ซงึ่ เป็นเจ้าของเนือ่ งจาก
ความผิดของห้างหุน้ ส่วนจ�ำกัดจ�ำเลยที่ 2 ซึง่ เป็นบุคคลภายนอกทีร่ บั จ้างกรมทางหลวงจ�ำเลยที่ 1 ก่อสร้าง
ถนนโจทก์ในฐานะผู้ยืมจึงไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 643

4. ถ้าผู้ยืมต้องเสียค่าใช้จ่ายไปโดยกรณีจ�ำเป็น ซึ่งมิใช่เป็นการบ�ำรุงรักษาตามปกติ ทั้งนี้เพื่อ
เป็นการรักษาหรือป้องกันอันตรายซึ่งอาจเกิดจากการช�ำรุดบกพร่องหรือบุบสลายของทรัพย์นั้น ผู้ให้ยืม
มส

ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวที่ผู้ยืมได้เสียไปให้แก่ผู้ยืม เช่น ให้ยืมรถไปใช้ผู้ยืมก็ใช้รถตามปกติ แต่เพราะ


ความเก่าของรถ ลูกสูบรถเกิดเสียหายโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืม ผู้ยืมต้องซ่อมโดยพลันเพื่อที่จะเอารถ
กลับมาได้ ผู้ให้ยืมต้องชดใช้ค่าเปลี่ยนลูกสูบรถแก่ผู้ยืมเพราะเกิดจากการช�ำรุดบกพร่องซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติ
ของตัวทรัพย์นั้น


สธ

1-36 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 1.2.3
สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้คงรูปมีอย่างไรบ้าง จงอธิบายโดยสังเขป

แนวตอบกิจกรรม 1.2.3


สิทธิของผู้ให้ยืม คือ
1. บอกเลิกสัญญาและเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในกรณีผยู้ มื ท�ำผิดหน้าทีต่ ามมาตรา
643, 644, 646

มส
2. เรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ยืมเมื่อบอกเลิกสัญญาหรือเมื่อครบก�ำหนดสัญญายืม หรือถ้าไม่มี
ก�ำหนด เวลา เมือ่ ผูย้ มื ได้ใช้สอยทรัพย์สนิ ทีย่ มื นัน้ เสร็จสิน้ แล้ว หรือเมือ่ เวลาได้ลว่ งพ้นไปพอสมควรทีผ่ ยู้ มื
จะได้ใช้สอย ทรัพย์เสร็จแล้ว หรือถ้าไม่ได้ก�ำหนดเวลาส่งคืนไว้ และไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใด ผู้ให้
ยืมเรียกทรัพย์สินคืนได้ทันที
หน้าที่ของผู้ให้ยืม คือ
1. หน้าที่รับผลแห่งภัยพิบัติในทรัพย์ที่ยืม เมื่อทรัพย์นั้นเกิดสูญหายหรือบุบสลายไปโดยไม่ใช่
ความผิดของผู้ยืม
2. หน้าทีต่ อ้ งบอกกล่าวแก่ผยู้ มื ในเวลาส่งมอบทรัพย์ หากผูใ้ ห้ยมื ได้รวู้ า่ มีความช�ำรุดบกพร่องใน
ทรัพย์ทจี่ ะให้ยมื อย่างไร หากปิดบังไว้ไม่บอกกล่าวแล้วเกิดความเสียหายขึน้ แก่ผยู้ มื เมือ่ น�ำทรัพย์นนั้ ไปใช้

ผู้ให้ยืมต้องรับผิดชอบ
3. หน้าที่ไม่ขัดขวางการใช้สอยทรัพย์สินของผู้ยืมตามสัญญา
มส

4. หน้าที่ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ผู้ยืมได้จ่ายทดรองไปก่อนในกรณีจ�ำเป็นเพื่อรักษาทรัพย์ที่ยืมซึ่งมิใช่
เป็นการบ�ำรุงรักษาตามปกติ


สธ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-37

ตอนที่ 1.3
ความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 1.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
1.3.1 ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปในกรณีปกติ
1.3.2 ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปในกรณีพิเศษ
1.3.3 อายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป

1. ส ัญญายืมใช้คงรูประงับไปในกรณีปกติ เมื่อครบก�ำหนดเวลายืม หรือเมื่อผู้ยืมใช้สอย


ทรัพย์สินที่ยืมเสร็จแล้ว และเมื่อผู้ยืมส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมแม้จะยังไม่ครบก�ำหนดเวลา
2. สัญญายืมใช้คงรูปอาจจะระงับไปในกรณีพิเศษ เมื่อผู้ยืมหรือผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญา
เนื่องจากผู้ยืมผิดสัญญา หรือเมื่อทรัพย์สินที่ยืมนั้นสูญหายไปทั้งหมด

3. อายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูปมีทั้งอายุความในการเรียกทรัพย์สินคืน หรือให้ใช้ราคา
และอายุความในการเรียกค่าทดแทนตามสัญญา
มส

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 1.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปในกรณีปกติและในกรณีพิเศษได้
2. อธิบายอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้
3. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูปได้

สธ

1-38 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 1.3.1
ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปในกรณีปกติ


สัญญายืมใช้คงรูประงับไปอย่างปกติธรรมดาคือไม่มเี หตุการณ์พเิ ศษเกิดขึน้ ตามทีม่ บี ทบัญญัตไิ ว้
ในเรื่องการยืมใช้คงรูป ดังนี้

มส
1. ถ้าคู่สัญญาได้ก�ำหนดระยะเวลายืมกันไว้ในสัญญา
สัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับไปเมื่อพ้นก�ำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้นั้นเหมือนกับสัญญา
ธรรมดา ทั่วไป เช่น สัญญายืมพัดลมมีก�ำหนด 5 วัน เมื่อครบก�ำหนด 5 วัน สัญญาย่อมระงับลงทันที
ผูย้ มื ก็ตอ้ งส่งคืนพัดลมให้แก่ผใู้ ห้ยมื ทันที ในเรือ่ งระยะเวลายืมนีอ้ าจก�ำหนดกันตลอดชีวติ ก็ได้ แม้กฎหมาย
ในเรือ่ งนีจ้ ะมิได้ บัญญัตไิ ว้ แต่สญ
ั ญายืมเป็นเรือ่ งของบุคคลสิทธิ และโดยเฉพาะการยืมใช้คงรูปนัน้ ถือความ
ส�ำคัญเฉพาะตัวผู้ยืม เป็นหลัก คู่สัญญาจึงอาจจะตกลงให้ยืมกันนานเท่าใดก็เป็นเรื่องความพอใจของคู่
สัญญา หากไม่เป็นการขัดต่อ สิทธิของผู้อื่นในทรัพย์นั้น เช่น หากผู้ให้ยืมไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ให้ยืม
ได้แก่ เป็นผู้เช่าหรือผู้ครอบครองทรัพย์ก็ย่อมให้ยืมได้เพียงเท่าที่ไม่เกินก�ำหนดระยะเวลาที่ตนมีสิทธิตาม

สัญญาเช่าทรัพย์ หรือก�ำหนดเวลาครอบครองทรัพย์แล้วแต่กรณี แต่ถา้ ผูใ้ ห้ยมื เป็นเจ้าของทรัพย์สนิ ก็ไม่มี
ปัญหาในเรือ่ งนี้ ข้อส�ำคัญคือ ถ้าได้กำ� หนดระยะเวลายืมกันไว้ ผูใ้ ห้ยมื จะเรียกทรัพย์สนิ คืนก่อนก�ำหนดไม่ได้
อุทาหรณ์
มส

ฎ. 338/2479 คูส่ ญ
ั ญาตกลงกันให้ยมื ทรัพย์สนิ ตลอดชีวติ ผูย้ มื ได้ แม้ผใู้ ห้ยมื ตายก่อนผูย้ มื ทายาท
ของผู้ให้ยืมจะเรียกทรัพย์สินคืนก่อนก�ำหนดไม่ได้

2. ถ้าคู่สัญญามิได้ก�ำหนดระยะเวลายืมกันไว้
มาตรา 646 บัญญัติว่า “ถ้ามิได้ก�ำหนดเวลากันไว้ ท่านให้คืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อผู้ยืมได้ใช้สอย

ทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ตามการอันปรากฏในสัญญา แต่ผู้ให้ยืมจะเรียกคืนก่อนนั้นก็ได้ เมื่อเวลาได้ล่วง
ไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว
ถ้าเวลาก็มิได้ก�ำหนดกันไว้ ทั้งในสัญญาก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพื่อการใดไซร้ ท่านว่าผู้ให้ยืมจะ
เรียกของคืนเมื่อไรก็ได้”
ตามมาตรา 646 นี้ แยกอธิบายได้ คือ
2.1 ก�ำหนดเวลายืมไม่ได้ตกลงกันไว้แน่นอน แต่เมือ่ พิจารณาจากสัญญาแล้วได้ความว่า คูส่ ญ ั ญา
ได้ตกลงยืมทรัพย์สนิ ไปใช้เพือ่ การใด ซึง่ หากปรากฏความข้อนีแ้ ล้วสัญญายืมใช้คงรูปย่อมครบก�ำหนดเมือ่
สธ
ผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินเพื่อการนั้นแล้ว เช่น ยืมรถไปตากอากาศที่พัทยา เมื่อผู้ยืมได้ใช้รถไปในการตาก
อากาศที่พัทยาและกลับมาแล้ว ผู้ให้ยืมเรียกรถคืนได้ ซึ่งมีผลท�ำให้สัญญายืมใช้คงรูประงับลง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-39

2.2 ก�ำหนดเวลายืมไม่ได้ตกลงกันไว้ แต่ได้ความว่าคูส่ ญ ั ญาได้ตกลงยืมทรัพย์สนิ ไปใช้เพือ่ การใด


เช่นกรณีตามข้อ ก. แต่แม้ผู้ยืมยังไม่ได้ใช้สอยทรัพย์สินเพื่อการที่ได้ตกลงไว้ในสัญญาก็ตาม หากเวลาได้
ล่วงไปพอแก่การที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยเสร็จแล้ว ผู้ให้ยืมเรียกทรัพย์สินที่ให้ยืมนั้นคืนได้ ซึ่งมีผลท�ำให้สัญญา
ยืมใช้คงรูประงับในทีส่ ดุ เช่น กรณีตามอุทาหรณ์ขา้ งต้นคือยืมรถไปพัทยา ผูย้ มื ไม่ได้ใช้รถทีย่ มื นัน้ แต่กไ็ ด้
ไปพัทยาและเดินทางกลับมาแล้ว เช่นนี้ผู้ให้ยืมเรียกรถที่ให้ยืมไปนั้นคืนได้


2.3 ก�ำหนดเวลายืมไม่ได้ตกลงกันไว้ และในสัญญายืมใช้คงรูปนัน้ ก็ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพือ่ การ
ใด ดังนี้ผู้ให้ยืมเรียกทรัพย์สินที่ยืมคืนเมื่อใดก็ได้ซึ่งมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญา ท�ำให้สัญญายืมใช้คงรูป

มส
ระงับลง ทั้งนี้เป็นไปตามหลักทั่วไปในเรื่องเวลาอันพึงช�ำระหนี้มิได้ก�ำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจาก
พฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 203

3. เมื่อผู้ยืมส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม
เรื่องนี้เป็นไปตามหลักธรรมดาของสัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งผู้ยืมมีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมได้เปล่า
โดยไม่มีค่าตอบแทน ผู้ยืมจึงส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมคืนได้แม้ในสัญญาจะก�ำหนดระยะเวลายืมกันไว้ ผู้ยืมก็
คืนทรัพย์นั้น ก่อนก�ำหนดได้ เท่ากับเป็นการบอกเลิกสัญญาท�ำให้สัญญาระงับ ในเรื่องนี้ผิดกับสัญญาเช่า
ทรัพย์ไม่มีก�ำหนดเวลา ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้คู่สัญญาที่ประสงค์จะบอกเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวแก่อีก
ฝ่ายหนึง่ ให้รตู้ วั ก่อนล่วง หน้าชัว่ ก�ำหนดระยะเวลาช�ำระค่าเช่าระยะหนึง่ แต่ไม่เกิน 2 เดือน (ปพพ. มาตรา

566) เพราะในสัญญาเช่าผู้ให้เช่าได้ประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าเช่า การบอกเลิกสัญญาจึงต้องมีการบอก
กล่าวให้รู้ตัวล่วงหน้า เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
มส

ในกรณีทสี่ ญ ั ญายืมใช้คงรูปไม่มกี ำ� หนดเวลาไว้ แต่คสู่ ญ ั ญาได้ตกลงกันว่าจะยืมทรัพยสินไปใช้เพือ่


การใด ผู้ยืมก็ส่งคืนทรัพย์ที่ยืมได้แม้จะยังไม่ได้ใช้ หรือไม่ได้ใช้ทรัพย์สินนั้นเลยก็ตาม
ในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมตามสัญญายืมใช้คงรูปนี้มีกรณีที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวข้องอยู่คือ เรื่อง
ค่าใช้จ่าย ในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม และสถานที่ส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ซึ่งจะได้แยกอธิบายสาระส�ำคัญใน
แต่ละกรณี ดังนี้
3.1 ค่าใช้จ่ายในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม สัญญายืมใช้คงรูปมีบทบัญญัตเิ กีย่ วกับค่าใช้จา่ ยในการ

ส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมไว้เป็นพิเศษ นอกเหนือจากบทบัญญัติอันเป็นหลักทั่วไปในเรื่องค่าใช้จ่ายในการช�ำระ
หนีต้ าม ปพพ. มาตรา 325 จึงเป็นกรณีทตี่ อ้ งบังคับกับตามบทบัญญัตใิ นเรือ่ งสัญญายืมใช้คงรูปโดยเฉพาะ
อันได้แก่ มาตรา 642 ความว่า “…ค่าส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย”
ทีเ่ ป็นเช่นนีเ้ พราะสัญญายืมใช้คงรูปนัน้ เป็นเรือ่ งทีผ่ ยู้ มื ได้รบั ประโยชน์จากสัญญาแต่เพียงฝ่ายเดียว
คือได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ได้เปล่าโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใดๆ ให้แก่ผู้ให้ยืม กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็น
หน้าที่ของผู้ยืมที่จะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม เช่น ค่าพาหนะใน
การเดินทางไปส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม หรือหากไม่ไปส่งคืนด้วยตนเอง เช่น ส่งคืนทางไปรษณีย์ หรือโดย
สธ
การขนส่ง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้แก่ ค่าอากรแสตมป์ หรือค่าระวางขนส่ง แล้วแต่กรณี ย่อมเป็นค่าใช้จ่าย
ในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ซึ่งผู้ยืมต้องเป็นผู้เสีย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบทบัญญัติในมาตรา 642 นี้

1-40 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ไม่ใช่ขอ้ กฎหมายอันเกีย่ วด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คูส่ ญ ั ญาจึงอาจจะตกลง


กันเป็นอย่างอื่นได้ ไม่ต้องห้าม (ปพพ. มาตรา 151) ดังนั้น คู่กรณีในสัญญายืมใช้คงรูปจึงอาจจะตกลงกัน
ให้ผู้ให้ยืมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม หรือตกลงกันให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวฝ่าย
ละเท่าๆ กัน ก็ย่อมกระท�ำได้
3.2 สถานทีส่ ง่ คืนทรัพย์สนิ ทีย่ มื ปพพ. ลักษณะยืมไม่ได้บญ ั ญัตไิ ว้เป็นการเฉพาะในเรือ่ งสถานที่


ส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมเหมือนเช่นเรื่องค่าใช้จ่ายในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ดังนั้น เมื่อการส่งคืนทรัพย์สินที่
ยืมเป็นการช�ำระหนีต้ ามสัญญายืม จึงต้องน�ำบทบัญญัตอิ นั เป็นหลักทัว่ ไปในเรือ่ งการช�ำระหนี้ ตาม ปพพ.

มส
มาตรา 324 มาใช้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญายืมใช้คงรูป กล่าวคือ
มาตรา 324 บัญญัติว่า “เมื่อมิได้มีแสดงเจตนาไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าจะพึงช�ำระหนี้ ณ สถานที่
ใดไซร้ หากจะต้องส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง ท่านว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลา
เมื่อก่อให้เกิดหนี้ ...”
ตามมาตรานี้อธิบายได้ว่า หากได้มีการแสดงเจตนาไว้ในระหว่างผู้ยืมและผู้ให้ยืมว่าจะส่งคืน
ทรัพย์สินที่ยืมกันที่ใด ก็ต้องเป็นไปตามที่ได้ตกลงกันไว้ เช่น ให้ส่งคืนที่บ้านของผู้ให้ยืม ผู้ยืมก็ต้องส่งคืน
ทรัพย์สินที่ยืมที่บ้านของผู้ให้ยืมตามที่ได้ตกลงกัน แต่ถ้าเป็นกรณีที่มิได้ตกลงกันไว้ ก็ต้องส่งคืนทรัพย์สิน
ที่ยืมกันนั้น ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์ที่ยืมนั้นได้อยู่ในเวลาที่ก่อให้เกิดหนี้ เนื่องจากสัญญายืมใช้คงรูปนั้น
ทรัพย์สนิ ทีย่ มื มีลกั ษณะเป็นทรัพย์เฉพาะสิง่ คือเป็นทรัพย์ทกี่ ำ� หนดตัวได้แน่นอน และผูย้ มื ต้องคืนทรัพย์สนิ

อันเดียวกับที่ได้รับมอบมานั้นเองให้แก่ผู้ให้ยืม ไม่อาจเอาของอื่นมาแทนได้ ดังนั้น เมื่อเวลาที่สัญญายืม
เกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่าส่งมอบทรัพย์ที่ยืมกันที่ใด ก็ต้องส่งคืนทรัพย์ที่ยืม ณ สถานที่เดียวกัน หากมิได้
มส

มีการแสดงเจตนากันไว้เป็นอย่างอื่น

กิจกรรม 1.3.1
สัญญายืมใช้คงรูประงับในกรณีปกติ อย่างไรบ้าง จงอธิบาย

แนวตอบกิจกรรม 1.3.1
สัญญายืมใช้คงรูประงับไปในกรณีปกติ ดังนี้

1. เมื่อสัญญามีกำ� หนดระยะเวลา สัญญาย่อมระงับลงเมื่อพ้นก�ำหนดระยะเวลานั้น ผู้ให้ยืมเรียก
ทรัพย์สินที่ยืมคืนได้ และผู้ยืมต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้นให้
2. เมื่อสัญญาไม่มีก�ำหนดเวลา แบ่งเป็น
2.1 เมือ่ ปรากฏในสัญญาว่ายืมไปใช้เพือ่ การใด ผูใ้ ห้ยมื เรียกทรัพย์สนิ ทีย่ มื คืนได้เมือ่ ผูย้ มื ได้
ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว อันมีผลท�ำให้สัญญาระงับลง
สธ
2.2 เมื่อเวลาใดล่วงพ้นไปพอสมควรที่ผู้ยืมจะได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว แม้ความจริง
จะยังไม่ได้ใช้ก็ตาม ผู้ให้ยืมเรียกคืนได้ และท�ำให้สัญญาระงับ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-41

2.3 เมือ่ ไม่ปรากฏว่ายืมไปใช้เพือ่ การใด ผูใ้ ห้ยมื เรียกคืนเมือ่ ใดก็ได้ เท่ากับเป็นการบอกเลิก


สัญญาท�ำให้สัญญาระงับ
3. เมื่อผู้ยืมส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมแม้ยังไม่ครบก�ำหนดเวลายืม


เรื่องที่ 1.3.2

มส
ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูปในกรณีพิเศษ

ในบางกรณีสัญญายืมใช้คงรูปอาจระงับสิ้นผลไปได้เมื่อเกิดเหตุการณ์พิเศษซึ่งมิใช่กรณีปกติที่จะ
เกิดขึ้น โดยสัญญา ดังต่อไปนี้
1. ผูย้ มื ตาย เนือ่ งจากสัญญายืมใช้คงรูปเป็นสัญญาทีถ่ อื ความส�ำคัญเฉพาะตัวผูย้ มื เป็นหลัก ดังนัน้
ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่สัญญายืมใช้คงรูปนั้นมีก�ำหนดเวลาหรือไม่ก็ตาม หากผู้ยืมตายลง สัญญายืมใช้คงรูปก็
เป็นอันระงับสิ้นไปทันที ดังทีม่ าตรา 648 บัญญัติไว้ว่า “อันการยืมใช้คงรูป ย่อมระงับสิ้นไปด้วยมรณะ

แห่งผู้ยืม”
อนึ่ง ในการที่ผู้ให้ยืมจะฟ้องเรียกทรัพย์ที่ให้ยืมคืนในกรณีนี้ ต้องค�ำนึงถึงอายุความมรดก ตาม
มส

ปพพ. มาตรา 1754 ซึ่งห้ามฟ้องทายาทของลูกหนี้ซึ่งเป็นเจ้ามรดกเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือ


ควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกด้วย
อุทาหรณ์
ฎ. 236/2493 สามีจำ� เลยยืมกระบือของโจทก์ไป สามีจำ� เลยตาย โจทก์ไปในงานศพสามีจ�ำเลย และ
รู้การตายของสามีจำ� เลยเกิน 1 ปี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าทรัพย์ที่เจ้ามฤดกยืมมา เจ้าหนี้จะฟ้องเรียกคืนจาก
ทายาทเกิน 1 ปีนับแต่รู้ว่าเจ้ามฤดกตายนั้นไม่ได้ โดยถือว่าขาดอายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 1754

ควรสังเกตว่า บทบัญญัติในมาตรานี้บัญญัติให้สัญญายืมใช้คงรูประงับสิ้นไปเฉพาะกรณีผู้ยืมตาย
เท่านั้น ดังนั้น หากเป็นกรณีผู้ให้ยืมตายลงก่อนสิ้นระยะเวลายืม สัญญายืมย่อมไม่ระงับ ผู้ยืมยังมีสิทธิ
ใช้สอยทรัพย์ที่ยืมนั้นต่อไปได้ โดยที่ทายาทของผู้ให้ยืมจะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนก่อนก�ำหนดไม่ได้ ทั้งนี้มี
ฎ. 388/2479 ซึ่งได้กล่าวมาแล้ววินิจฉัยหลักการดังกล่าวไว้อย่างชัดแจ้ง
2. ผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผู้ยืมผิดสัญญา กล่าวคือ ผู้ยืมไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตาม
สัญญายืมดังทีก่ ล่าวไว้ในมาตรา 643 เช่น ไม่ใช้ทรัพย์สนิ ทีย่ มื ตามปกติทจี่ ะต้องใช้ หรือไม่ใช้ทรัพย์สนิ ตาม
ทีต่ กลงกันในสัญญา หรือเอาไปให้บคุ คลภายนอกใช้ หรือเอาเก็บไว้นานเกินกว่าทีส่ มควร และตามมาตรา
สธ
644 คือไม่สงวนทรัพย์สินที่ยืมเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งได้กล่าวรายละเอียด
ไว้แล้วในส่วนที่เกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูปในเรื่องที่ 1.2.2 เมื่อผู้ยืมไม่ปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรา 643

1-42 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

หรือมาตรา 644 ดังกล่าว ผู้ให้ยืมจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 645 ซึ่งได้กล่าวมาแล้วเช่นกันและ


เรียกทรัพย์สินที่ให้ยืมคืนได้ อันมีผลท�ำให้สัญญายืมใช้คงรูประงับลง
3. ทรัพย์สินที่ยืมสูญหายไปทั้งหมด ในข้อนี้ไม่มีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่อธิบายได้โดย
พิจารณาจากลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมไม่โอนไปยังผู้ยืมและผู้ยืมต้อง
คืนทรัพย์สินอัน เดียวกับที่ยืมไปนั้นให้แก่ผู้ให้ยืม ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินที่ยืมนั้นสูญหายไปทั้งหมดแล้ว ก็


ไม่มที รัพย์ทจี่ ะคืนให้อกี สัญญายืมใช้คงรูปจึงต้องระงับลงตามหลักกฎหมายทัว่ ไปทีว่ า่ สัญญาทัง้ ปวงย่อม
ระงับสิ้นไปเมื่อทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ของสัญญานั้นได้สูญหายไป

มส
อย่างไรก็ตาม การทีท่ รัพย์สนิ ทีย่ มื นัน้ สูญหายไปอาจเกิดขึน้ ได้ทงั้ ในกรณีทเี่ ป็นความผิดของผูย้ มื
และในกรณีที่มิใช่ความผิดของผู้ยืม ซึ่งท�ำให้เกิดผลในเรื่องสิทธิและความรับผิดระหว่างผู้ให้ยืมและผู้ยืม
แตกต่างกันคือ หากเป็นกรณีทรัพย์สินที่ยืมสูญหายไปเพราะความผิดของผู้ยืม เช่น เอาไปให้บุคคลอื่นใช้
แล้วทรัพย์สนิ นัน้ เกิดสูญหายไป สัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับลง แต่ผใู้ ห้ยมื มีสทิ ธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ความเสียหายดังกล่าวจากผู้ยืมซึ่งมีหน้าที่จะต้องชดใช้ให้ได้ตามมาตรา 643 เป็นต้น แต่หากทรัพย์สินที่
ยืมนั้นสูญหายไปโดยจะเอาผิดจากผู้ยืมไม่ได้ เช่น ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินนั้นตามปกติไม่ผิดหน้าที่ แต่
ทรัพย์สินที่ยืมนั้นสูญหายไปเนื่องจากถูกขโมยลักไป แม้ผู้ยืมจะได้สงวนทรัพย์สินนั้นเช่นวิญญูชนจะพึง
สงวนทรัพย์สินของตนแล้วก็ตาม เช่นนี้ สัญญายืมใช้คงรูปย่อมระงับลงโดยผู้ให้ยืมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้อง
อะไรจากผู้ยืมได้เลย ต้องรับบาปเคราะห์ในผลพิบัติที่เกิดขึ้นนั้นเอง

มส

กิจกรรม 1.3.2
สัญญายืมใช้คงรูปอาจระงับลงเมื่อเกิดเหตุการณ์อันมิใช่กรณีตามปกติที่จะเกิดขึ้นจากสัญญาได้
อย่างไรบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 1.3.2
สัญญายืมใช้คงรูปอาจระงับลงในกรณีที่มิใช่เหตุการณ์ปกติที่จะเกิดขึ้นโดยสัญญาได้ คือ
1. เมื่อผู้ยืมตาย
2. เมื่อผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผู้ยืมผิดสัญญา
3. เมื่อทรัพย์สินที่ยืมสูญหายไปทั้งหมด

สธ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-43

เรื่องที่ 1.3.3
อายุความแห่งสัญญายืมใช้คงรูป


อายุความเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปนั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

มส
1. การบังคับเอาทรัพย์สินคืน
1.1 ในกรณีที่ทรัพย์สินที่ยืมนั้นมีตัวอยู่ ไม่ได้สูญหายหรือถูกท�ำลายไป การที่ผู้ให้ยืมใช้คงรูปจะมี
สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์ที่ยืมในก�ำหนดอายุความเท่าใดนั้น แยกอธิบายได้ดังนี้
1) ถ้าผูใ้ ห้ยมื เป็นเจ้าของกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์ทยี่ มื นัน้ ผูใ้ ห้ยมื ก็มสี ทิ ธิตดิ ตามเอาทรัพย์คนื ได้
โดยอาศัยหลักอ�ำนาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 โดยไม่มีอายุความจนกว่าจะสิ้น
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น ทั้งนี้ โจทก์ผู้ให้ยืมต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่ง
ทรัพย์ของโจทก์จากจ�ำเลยผูย้ มื ซึง่ ไม่มสี ทิ ธิยดึ ถือไว้ตามอ�ำนาจแห่งเจ้าของกรรมสิทธิท์ ี่ ปพพ. มาตรา 1336
บัญญัติไว้
2) ถ้าผู้ให้ยืมไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือแม้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ได้อาศัยสิทธิตาม

สัญญายืมใช้คงรูปฟ้องร้องเรียกทรัพย์คนื โดยไม่บรรยายฟ้องให้คลุมถึงการใช้อำ� นาจแห่งกรรมสิทธิด์ งั กล่าว
ข้างต้น การใช้สทิ ธิเรียกร้องให้คนื ทรัพย์ทยี่ มื ตามสัญญายืมใช้คงรูปนีใ้ นกฎหมายลักษณะยืมไม่มบี ทบัญญัติ
ไว้เป็นพิเศษ เรื่องนี้ศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ ได้ให้ความเห็นไว้ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยว่า ต้องบังคับกัน
มส

ตาม ปพพ. มาตรา 1376 ซึ่งให้น�ำ ปพพ. มาตรา 412–418 ในเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม


เกี่ยวกับว่าจะต้องคืนกันในลักษณะใด แต่ ปพพ. มาตรา 1376 ไม่ได้บัญญัติคลุมไปถึง ปพพ. มาตรา 419
ด้วย จึงไม่อาจน�ำ ปพพ. มาตรา 419 เรื่องอายุความลาภมิควรได้มาใช้ด้วย ดังนั้น จึงคงต้องใช้หลักอายุ
ความทั่วไป ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 193/30 บัญญัติไว้ว่า “อายุความนั้น ถ้า
ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีก�ำหนดสิบปี”

ที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป…”

ส่วนการก�ำหนดนับอายุความนัน้ ปพพ. มาตรา 193/12 บัญญัตวิ า่ “อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะ

ดังนั้น อาศัยสิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูป ผู้ให้ยืมจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเรียกทรัพย์คืนภายใน


ก�ำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่เวลาที่จะต้องคืนทรัพย์26 อันเป็นเวลาที่สัญญาระงับลงนั่นเอง
สธ
26 จิตติ ติงศภัทิย์ สัมภาษณ์โดยผู้เขียน เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และดูบนั ทึกท้ายค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2522 จัดพิมพ์โดยเนติบณ ั ฑิตยสภา และดู ฎ. 643/2480, ฎ. 1407/2538 ทีก่ ล่าวมาแล้ว
ในเรื่องที่ 1.2.3 ในส่วนที่ว่าด้วยสิทธิของผู้ให้ยืมใช้คงรูป และดู ประพันธ์ ทรัพย์แสง จากบทความเรื่อง อายุความการใช้สิทธิติดตาม
เอาทรัพย์สินคืน วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556

1-44 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

1.2 ในกรณีที่ทรัพย์ที่ยืมนั้นสูญหายหรือถูกท�ำลายไปหมดแล้ว ไม่มีตัวทรัพย์มาคืน ผู้ให้ยืม (ไม่


ว่าจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่) จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ยืมใช้ราคาทรัพย์สินซึ่งต้องน�ำ ปพพ. มาตรา
1376 มาใช้บังคับเช่นกัน ผลก็คือต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่ขณะที่จะต้องใช้ราคาทรัพย์ที่ยืมนั้น27
อุทาหรณ์
ฎ. 785/2476 อายุความฟ้องร้องเรียกให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ยืมมีก�ำหนด 10 ปี ตามหลัก


ทั่วไปใน ปพพ. มาตรา 164 (ปัจจุบันมาตรา 193/30)
ฎ. 187/2522 ยืมโคไปใช้งาน แล้วกลับเอาโคไปขายเอาเงินไปใช้ประโยชน์สว่ นตัวเสีย เป็นการยืม

มส
แล้วไม่คืนให้ และเมื่อคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคา เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษจึงมีกำ� หนด 10 ปี ตาม
หลักอายุความทั่วไป
ฎ. 2589/2526 อายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 649 เป็นกรณีฟ้องให้รับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอัน
เกี่ยวกับการยืมใช้คงรูป เช่น ค่าเสียหายเกี่ยวกับความช�ำรุดหรือเสื่อมราคาเนื่องจากการใช้สอยทรัพย์ที่
ยืม ในกรณีฟอ้ งเรียกคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ทยี่ มื ไม่มบี ทกฎหมายบัญญัตไิ ว้ จึงต้องปรับด้วย ปพพ. มาตรา
164 (ปัจจุบันมาตรา 193/30) คือมีอายุความ 10 ปี
ฎ. 566/2536 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จ�ำเลยที่ 1 ซือ้ ผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและยืมลังไม้ใส่ขวดแก้วจาก
โจทก์หลายคราวติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2522 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปพพ. มาตรา 649 เป็น
เรื่องความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูป เช่น เรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับความช�ำรุดหรือ

เสือ่ มราคาจากการใช้ทรัพย์ทใี่ ห้ยมื แต่ตามค�ำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกคืนลังไม้หรือราคาลังไม้ซงึ่ จ�ำเลย
ที่ 1 ยืมไปพร้อมผลิตภัณฑ์ขวดแก้วซึ่งโจทก์ขายให้จ�ำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขาย และจ�ำเลยที่ 1 ปฏิบัติ
มส

กับโจทก์ตลอดมาตั้งแต่มีการซื้อขายกัน จึงน�ำมาตรา 649 มาบังคับหาได้ไม่ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม


ปพพ. มาตรา 164 (ปัจจุบันมาตรา 193/30)

2. การเรียกร้องค่าทดแทนตามสัญญา
ในเรื่องนี้ มาตรา 649 บัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกค่าทดแทนความเสียหาย ตามสัญญายืม
ใช้คงรูปไว้ว่า

“ในข้อความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนอันเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น
เวลาหก เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา”
ตามมาตรา 649 นี้ มีความหมายว่า สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใดๆ อันเกี่ยวกับสัญญายืมใช้คงรูป
นั้นให้มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญาซึ่งก็คือวันที่สัญญายืมใช้คงรูประงับลงนั่นเอง
ข้อสังเกต ค่าทดแทนตามมาตรา 649 นี้ มีความหมายเดียวกับ “ค่าสินไหมทดแทน” ในมาตรา
671 คือเป็นค่าสินไหมทดแทนซึ่งเกิดจากสัญญาโดยชดใช้กันด้วยเงินเท่านั้น ต่างกับค่าสินไหมทดแทนใน
เรื่องละเมิดซึ่งมีความหมายกว้างกว่ามาก เพราะ ตาม ปพพ. มาตรา 438 วรรคสอง ค่าสินไหมทดแทน
สธ
ในเรือ่ งละเมิดนัน้ ได้แก่การคืนทรัพย์สนิ อันผูเ้ สียหายต้องเสียหายไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สนิ นัน้
และรวมทั้งค่าเสียหายที่มีขึ้นจากการละเมิดด้วย
27 เรื่องเดียวกัน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-45

มาตรา 649 มิได้บัญญัติว่า อายุความ 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญานั้นใช้เฉพาะในกรณีผู้ให้ยืม


เรียกค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น หากมีเหตุที่ผู้ยืมจะมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามสัญญาได้ อายุความ 6
เดือนนั้นก็ต้องน�ำมาใช้กับผู้ยืมในการเรียกร้องค่าทดแทนได้เช่นกัน
ปัญหาว่าค่าทดแทนในสัญญายืมใช้คงรูปนี้ ได้แก่อะไรบ้าง อาจพิจารณาได้ คือ
ส�ำหรับกรณีผู้ให้ยืม ได้แก่


1. ค่าทดแทนความเสียหายเมื่อผู้ยืมปฏิบัติผิดสัญญาตามมาตรา 643, 644 ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว
ในเรื่องที่ 1.2.3 สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมใช้คงรูป

มส
2. ค่าทดแทนความเสียหายเมือ่ ผูย้ มื ผิดสัญญาไม่สง่ ทรัพย์สนิ คืนเมือ่ ถึงก�ำหนด แล้วความเสียหาย
เกิดแก่ทรัพย์สินนั้นแม้จะด้วยเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 643 ประกอบมาตรา 646 เช่น ยืมรถเขามาใช้แล้ว
ไม่ส่งคืนเมื่อครบก�ำหนด แล้วเกิดไฟไหม้ลามมาจากที่อื่นท�ำให้รถยนต์ถูกไฟไหม้เสียหาย เป็นต้น
3. ค่าฤชาธรรมเนียมในการท�ำสัญญา ค่าส่งมอบ และค่าส่งคืนทรัพย์สนิ ตามมาตรา 642 ซึง่ ผูใ้ ห้
ยืมได้จ่ายแทนผู้ยืมไปก่อน
4. ค่าใช้จ่ายในการบ�ำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืมตามปกติซึ่งผู้ยืมจะต้องออกตามมาตรา 647 และผู้
ให้ยืมได้ออกแทนไปก่อน
ส�ำหรับกรณีผู้ยืม ได้แก่
1. ค่าทดแทนความเสียหาย เมื่อผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินซึ่งช�ำรุดบกพร่องให้แก่ผู้ยืมโดยไม่แจ้ง

ให้ผยู้ มื ทราบ ทัง้ ทีผ่ ใู้ ห้ยมื ได้รอู้ ยูแ่ ล้วก่อนการส่งมอบว่าทรัพย์สนิ นัน้ ช�ำรุด อาจเป็นอันตรายหรือเกิดความ
เสียหายแก่ผู้ยืมได้ ซึ่งเมื่อผู้ยืมน�ำทรัพย์สินไปใช้แล้วเกิดความเสียหายขึ้นดังกล่าว
มส

2. ค่าใช้จ่ายในการบ�ำรุงรักษาทรัพย์สินที่ยืมในกรณีจ�ำเป็นอันมิใช่การบ�ำรุงรักษาทรัพย์สินตาม
ปกติ ซึ่งผู้ให้ยืมจะต้องเสีย แต่ผู้ยืมได้ออกทดรองไปก่อน


สธ

1-46 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 1.3.3
1. อายุความเกี่ยวกับสัญญายืมใช้คงรูปมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
2. นายด�ำยืมรถยนต์ทนี่ ายแดงเช่ามาเพือ่ ใช้ในการทอดกฐิน มีกำ� หนดเวลา 7 วัน เมือ่ ครบก�ำหนด
แล้ว นายด�ำไม่ยอมส่งคืนรถยนต์ให้นายแดง ดังนี้ นายแดงจะต้องฟ้องเรียกรถยนต์คืนตามสัญญาจาก


นายด�ำภายในก�ำหนดอายุความเท่าใด

แนวตอบกิจกรรม 1.3.3

มส
1. อายุความเกีย่ วกับสัญญายืมใช้คงรูป ได้แก่ อายุความในการฟ้องเรียกทรัพย์คนื และให้ใช้ราคา
ทรัพย์ตามสัญญา ซึ่งแยกพิจารณาได้คือ
1.1 ในกรณีที่มีตัวทรัพย์อยู่ ถ้าผู้ให้ยืมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์
คืนได้โดยไม่มีก�ำหนดอายุความ โดยอาศัยอ�ำนาจ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 แต่ถ้าผู้ให้ยืมไม่ใช่เจ้าของ
กรรมสิทธิ์หรือแม้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืนโดยอาศัยสัญญายืมใช้คงรูปต้องใช้
อายุความ10 ปี นับแต่วันที่สัญญาระงับตามหลักทั่วไปใน ปพพ. มาตรา 193/30
1.2 กรณีทที่ รัพย์สญ
ู หายหรือถูกท�ำลายไปแล้ว ผูย้ มื ต้องใช้ราคาทรัพย์ทยี่ มื นัน้ โดยผูใ้ ห้ยมื
(ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่) ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในอายุความ 10 ปี
2. เป็นกรณีฟอ้ งเรียกทรัพย์คนื ตามสัญญา นายแดงต้องใช้สทิ ธิฟอ้ งร้องภายในก�ำหนด 10 ปี นับ

แต่วันครบก�ำหนดตามสัญญายืมดังกล่าวอันเป็นวันที่สัญญายืมระงับ
มส


สธ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญายืมและสัญญายืมใช้คงรูป 1-47

บรรณานุกรม

กมล สนธิเกษตริน. (2521). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืมและฝากทรัพย์. คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จี๊ด เศรษฐบุตร. (2492). ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง.

มส
บัญญัติ สุชีวะ. (2506). “ประมาท” บทบัณฑิตย์. เล่ม 21 ตอน 2 เมษายน พ.ศ. 2506
ประวัติ ปัตตพงศ์. (2487). ค�ำสอนชั้นปริญญาตรีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฯลฯ. พระนคร.
ประเสริฐมนูกิจ, หลวง. (2477). ค�ำสอนชั้นปริญญาตรีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฯลฯ. พระนคร.
พจน์ ปุษปาคม. (2521). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยยืม กูย้ มื ฝากทรัพย์. นิตบิ รรณาการ.
ศักดิ์ สนองชาติ. (2524). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยนิติกรรมและสัญญา. (พิมพ์ครั้งที่
2). นิติบรรณาการ.
สุปัน พูลพัฒน์. (2515). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พระนคร.
เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2505). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้. เล่ม 1 (ภาค 1-2)
พ.ศ. 2478 แก้ไขเพิ่มเติม (พิมพ์ครั้งที่ 2). นิติบรรณาการ.

มส


สธ
มส

มส
สธ ธ
ม ม

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-1

หน่วยที่ 2
สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง


รองศาสตราจารย์ปรียา วิศาลเวทย์

มส

มส


ชื่อ รองศาสตราจารย์ปรียา วิศาลเวทย์
สธ
วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยมดี), น.บ.ท.
LL.M. (Tulane University, U.S.A. ทุนรัฐบาล)
ต�ำแหน่ง กรรมการกลุ่มปรับปรุงเอกสารการสอน
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 2

2-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจ�ำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 2 สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง

ตอนที่

แนวคิด
มส
2.1 สาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองและสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญา
2.2 ความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง

1. ยืมใช้สิ้นเปลืองเป็นการยืมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะอันเป็นสาระส�ำคัญที่แตกต่างจาก
สัญญายืมใช้คงรูปโดยสิ้นเชิง
2. ความระงับแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองและอายุความที่เกี่ยวข้องมีทั้งบทบัญญัติที่ใช้ทั่วไป และ

บทบัญญัติพิเศษที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงิน

วัตถุประสงค์
มส

เมื่อศึกษาหน่วยที่ 2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ


1. อธิบายสาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองได้
2. แจกแจงสิทธิและหน้าที่ในระหว่างผู้ยืมและผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองได้
3. อธิบายเกี่ยวกับความระงับของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ตลอดจนอายุความที่เกี่ยวข้องได้
4. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
1.
2.
3.
ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 2
ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 2.1-2.2
ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน

4. ฟังซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
สธ
6. เข้ารับบริการสอนเสริม (ถ้ามี)
7. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 2

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-3

สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. ซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
4. รายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)


5. การสอนเสริม (ถ้ามี)

มส
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบประจ�ำภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 2 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

มส


สธ

2-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 2.1
สาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองและสิทธิหน้าที่ของคู่สัญญา
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 2.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
2.1.1 สาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
2.1.2 สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง
2.1.3 สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมใช้สิ้นเปลือง

1. สญั ญายืมใช้สนิ้ เปลืองมีลกั ษณะเฉพาะอันเป็นสาระส�ำคัญนอกเหนือไปจากลักษณะทัว่ ไป


ของสัญญายืม คือเป็นสัญญาที่อาจมีค่าตอบแทนได้และเป็นสัญญาที่กรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินที่ยืมโอนไปยังผู้ยืม วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นทรัพย์ประเภทใช้ไป
ย่อมเสียภาวะเสือ่ มสลายหรือสิน้ เปลืองหมดไป ซึง่ อาจใช้ทรัพย์อนื่ อันเป็นประเภท ชนิด

และปริมาณเดียวกันแทนได้
2. ผยู้ มื ใช้สนิ้ เปลืองมีสทิ ธิใช้สอยทรัพย์สนิ ทีย่ มื ตามความพอใจโดยไม่มขี อ้ จ�ำกัดในเรือ่ งการ
ใช้หรือ สงวนรักษาทรัพย์สนิ แต่กม็ หี น้าทีใ่ นการเสียค่าใช้จา่ ยตามสัญญา และต้องส่งคืน
มส

ทรัพย์สนิ อันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับทีย่ มื ไปให้แก่ผใู้ ห้ยมื เมือ่ ถึงก�ำหนด


เวลาส่งคืน
3. ผู้ให้ยืมใช้สิ้นเปลืองมีสิทธิเรียกทรัพย์สินคืนหรือเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์สินที่ยืมเมื่อถึง
ก�ำหนดเวลา ส่งคืน และมีหน้าที่แจ้งความช�ำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ยืมซึ่งผู้ให้ยืม
ได้รอู้ ยูแ่ ล้วก่อนการส่งมอบให้ผยู้ มื ทราบ มิฉะนัน้ จะต้องรับผิดต่อผูย้ มื หากเกิดความเสียหาย

วัตถุประสงค์
ขึ้น

เมื่อศึกษาตอนที่ 2.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ


1. อธิบายสาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองได้

2. แจกแจงสิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองได้
3. แจกแจงสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมใช้สิ้นเปลืองได้
สธ
4. วินจิ ฉัยปัญหาเกีย่ วกับสาระส�ำคัญและสิทธิหน้าทีร่ ะหว่างคูก่ รณีในสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองได้

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-5

ความน�ำ

นักศึกษาได้ศกึ ษามาแล้วในหน่วยที่ 1 ซึง่ ว่าด้วยลักษณะส�ำคัญโดยทัว่ ไปของสัญญายืม ตลอดจน


การแบ่งประเภทของสัญญายืมว่ามีอยู่ 2 ประเภท คือ สัญญายืมใช้คงรูป และสัญญายืมใช้สนิ้ เปลือง ส�ำหรับ
สัญญายืมใช้คงรูปนั้นได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วว่ามีสาระส�ำคัญของสัญญาอย่างไร ผลในทางกฎหมายได้
ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าทีใ่ นระหว่างคูส่ ญ
ั ญา คือผูย้ มื และผูใ้ ห้ยมื ในประการใดบ้าง รวมตลอดถึงความระงับ

มส
แห่งสัญญาและอายุความ ในหน่วยที่ 2 นี้จะได้กล่าวต่อไปในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองโดย
เฉพาะในท�ำนองเดียวกับสัญญายืมใช้คงรูป โดยจะกล่าวถึงสาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สนิ้ เปลือง ผลในทาง
กฎหมายซึง่ ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าทีใ่ นระหว่างผูใ้ ห้ยมื และผูย้ มื ทีจ่ ะต้องปฏิบตั ติ อ่ กัน จนในทีส่ ดุ จะได้กล่าว
ถึงความระงับแห่งสัญญายืมประเภทนี้ ตลอดจนอายุความที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อการท�ำความเข้าใจถึง
ลักษณะโดยทั่วไปของสัญญายืมให้ได้ชัดเจนและถูกต้องครบถ้วน นักศึกษาจึงจ�ำเป็นต้องศึกษาเอกสาร
การสอนในหน่วยที่ 1 และ 2 นี้ต่อเนื่องกันไปโดยไม่ขาดตอน

เรื่องที่ 2.1.1

สาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
มส

มาตรา 650 บัญญัตวิ า่ “อันว่ายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ คือสัญญาซึง่ ผูใ้ ห้ยมื โอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ
ชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีก�ำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินประเภท ชนิด
และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น
สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม”

สัญญายืม ซึ่งจะขอน�ำมากล่าวโดยสรุปไว้ ดังต่อไปนี้


1. สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นเอกเทศสัญญา
2. สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน

จากมาตรา 650 ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองมีสาระส�ำคัญส่วนหนึ่งที่เป็นลักษณะ
ทั่วไปร่วมอยู่กับสัญญายืมใช้คงรูปตามที่ได้กล่าวมาแล้วในหน่วยที่ 1 ตอนที่ 1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ

3. สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองย่อมบริบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม
4. สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สิน
สธ
ในส่วนรายละเอียดของหัวข้อดังกล่าวข้างต้น ขอให้นักศึกษาย้อนกลับไปทบทวนเนื้อหาของ
หน่วยที่ 1 ตอนที่ 1.1 ดังกล่าว เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น

2-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

นอกจากสาระส�ำคัญอันเป็นลักษณะร่วมดังกล่าว สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองยังมีสาระส�ำคัญซึ่งเป็น
ลักษณะเฉพาะในตัวของมันเองซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าแตกต่างจากสัญญายืมใช้คงรูปโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ
1. สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอาจเป็นสัญญามีค่าตอบแทนได้ ในสัญญายืมใช้คงรูปนั้นได้กล่าวมา
แล้วว่านอกจากจะเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน คือก่อหนี้ให้เกิดแก่ผู้ยืมเพียงฝ่ายเดียวแล้ว ยังเป็นสัญญา
ไม่มีค่าตอบแทนอีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากความในมาตรา 640 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอย


ทรัพย์สินได้เปล่า และถือเป็นลักษณะส�ำคัญของสัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งท�ำให้เกิดผลทางกฎหมายอยู่หลาย
ประการตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น มาตรา 650 ไม่ได้กล่าวไว้เลยว่าผู้ให้ยืมให้

มส
ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินได้เปล่า ดังนั้น ในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจึงอาจมีค่าตอบแทนได้ด้วย การที่อาจมี
ค่าตอบแทนนี้ท�ำให้สัญญายืมใช้ สิ้นเปลืองมีลักษณะใกล้เคียงกับสัญญาเช่าทรัพย์ แต่มีข้อแตกต่างกันอยู่
ทีว่ า่ ในสัญญาเช่าทรัพย์นนั้ วัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์เฉพาะสิง่ ทีก่ ำ� หนดตัวแน่นอน ไม่อาจใช้ของอืน่ แทน
ได้ และผู้เช่าไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า ผู้เช่าจึงต้องส่งคืนทรัพย์อันเดียวกับที่ผู้ให้เช่าได้ส่ง
มอบมาให้แก่ผใู้ ห้เช่า ส่วนสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ เป็นการโอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์ทยี่ มื ให้แก่ผยู้ มื ผูย้ มื ไม่จำ� ต้อง
ส่งคืนทรัพย์สนิ อันเดียวกับทีย่ มื ไป คงคืนแต่ทรัพย์สนิ อันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับทรัพย์สนิ
ที่รับมอบไปคืนให้แก่ผู้ให้ยืมเท่านั้น
ค่าตอบแทนในสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนีม้ ไิ ด้จำ� กัดว่าจะต้องเป็นทรัพย์สงิ่ ใด หรือประเภทใด ดังนัน้
ค่าตอบแทนจึงอาจจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้สุดแล้วแต่คู่สัญญาจะได้ตกลงกัน ที่สำ� คัญคือต้อง

ตกลงกันจึงจะเรียกค่าตอบแทนได้ เช่น ยืมข้าวสาร 10 ลิตร ตกลงเรียกค่าตอบแทนเป็นข้าวสาร 2 ลิตร
หรือยืมเงินตกลงเรียกดอกเบีย้ เป็นค่าตอบแทน เป็นต้น ในกรณียมื เงินนี้ ถ้าไม่ได้มขี อ้ ตกลงให้ดอกเบีย้ จะ
มส

เรียกดอกเบี้ยในระหว่างสัญญาไม่ได้ เว้นแต่จะผิดนัดแล้วเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อนึ่ง การยืมเงินโดยผู้ยืมให้ค่าตอบแทนแก่ผู้ให้ยืมในการที่ผู้ยืมได้ใช้ประโยชน์ในเงินที่ยืมไปเป็น
ดอกเบี้ยนั้น กฎหมายเรียกว่า การกู้ยืมเงิน ซึ่งการกู้ยืมเงินก็เป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองอย่างหนึ่ง แต่ก็มี
บทบัญญัตทิ เี่ กีย่ วกับการกูย้ มื เงินและใช้บงั คับแก่การกูย้ มื เงินเป็นพิเศษแตกต่างจากการยืมใช้สนิ้ เปลืองใน
ทรัพย์สินอื่นอยู่หลายมาตรา คือตั้งแต่ มาตรา 653 ถึงมาตรา 656 เช่น การให้ยืมทรัพย์สินอื่นไม่มี
บทบัญญัตใิ ห้ตอ้ งมีหลักฐานเป็นหนังสือเหมือนการกูย้ มื เงิน การใช้คนื ก็ไม่มขี อ้ จ�ำกัดการพิสจู น์เหมือนการ

ใช้เงิน แต่เป็นการพิสูจน์โดยอาศัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานทั่วไป ที่เป็นเช่นนี้เพราะเงินหรือเงินตรา
นั้นมีการหยิบยืมใช้กันมากกว่าทรัพย์สินอย่างอื่น และมีลักษณะพิเศษกว่าทรัพย์สินอื่นอยู่หลายประการ
เช่น ถ้าใครได้ไปโดยสุจริตแล้วเจ้าของจะมาติดตามเอาคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 1331 ซึ่งบัญญัติ
ว่า “สิทธิของบุคคลผู้ได้เงินตรามาโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไปถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าเงินนั้นมิใช่
ของบุคคลซึ่งโอนให้มา” ซึ่งต่างกับทรัพย์สินอื่นซึ่งถ้าผู้ให้ยืมไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ (เช่นในสัญญายืมใช้
คงรูป) เจ้าของที่แท้จริงมีสิทธิติดตามเอาคืนได้
มีปัญหาว่า การยืมเงินคิดดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนได้เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ท�ำได้1 ถ้า
สธ
เป็นการยืมทรัพย์สินอย่างอื่นโดยมีค่าตอบแทน จะเป็นการขัดกับบทบัญญัติในมาตรา 650 ซึ่งก�ำหนดให้

1 ดู ปพพ. มาตรา 654



สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-7

ผูย้ มื ต้องคืน ทรัพย์สนิ ในปริมาณเช่นเดียวกันกับทีใ่ ห้ยมื หรือไม่ ในเรือ่ งนีค้ วรพิจารณาดู ปพพ. มาตรา 151
ซึง่ บัญญัตวิ า่ “การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับ ความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ” ดังนั้น หากมีการตกลงให้คืนทรัพย์สิน
ที่ยืมเกินกว่าปริมาณ ที่ให้ยืม ซึ่งถือเป็นการยืมโดยมีค่าตอบแทน จึงต้องดูผลแห่งการตกลงนั้นว่า ต้อง
ห้ามตามกฎหมายอืน่ และเป็นกฎหมายอันเกีย่ วด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือ


ไม่ หากเป็นการต้องห้ามตามนั้น ข้อตกลงนั้นก็เป็นโมฆะ หากไม่ต้องห้ามข้อตกลงนั้นก็ใช้บังคับได้ตาม
กฎหมาย ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

มส
ในเรื่องกู้ยืมเงินนั้นมีพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 บัญญัติห้ามเรียก
ดอกเบี้ย เงินกู้เกินอัตราที่กฎหมายก�ำหนดไว้ ตาม ปพพ. มาตรา 654 คือ ร้อยละ 15 ต่อปี ผู้ฝ่าฝืนย่อม
มีโทษทางอาญา นอกจากนัน้ ยังมีประกาศห้ามมิให้ตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ. 1239 ซึง่ มีสาระส�ำคัญ คือ ถ้าผูก้ เู้ งิน
กันแล้วตกลงให้ส่ง ข้าวแทนตัวเงินหรือดอกเบี้ย ห้ามมิให้คิดราคาข้าวตํ่ากว่าราคาที่ซื้อขายกันในเวลาใช้
ข้าว ซึ่งต่อมามีค�ำพิพากษาศาลฎีกา2 วินิจฉัยว่าประกาศห้ามตกข้าวแก่ชาวนา จ.ศ. 1239 นั้น รวมอยู่ใน
ปพพ. มาตรา 656 แล้ว ประกาศดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไปไม่ใช้บังคับแล้ว ในเรื่องนี้จึงขอให้สังเกตว่า
พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 นั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่การกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่
ใช้บังคับแก่การยืมใช้สิ้นเปลืองทรัพย์สินอย่างอื่นด้วย ดังนั้น ถ้ายืมข้าวสารกัน 2 กระสอบ และตกลงกัน
ว่าจะใช้คนื 3 กระสอบ ซึง่ ถ้าจะคิดว่าเป็นดอกเบีย้ ก็เท่ากับร้อยละ 50 เช่นนี้ ย่อมกระท�ำได้ ไม่เป็นการเรียกร้อง

ดอกเบีย้ เกินอัตราตามกฎหมายแต่อย่างใด และกรณีกไ็ ม่เข้า ตาม ปพพ. มาตรา 656 ซึง่ เป็นเรือ่ งกูย้ มื เงิน
แล้วช�ำระคืนเป็นสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจ�ำนวนเงินด้วย
อุทาหรณ์
มส

ฎ. 1050/2512 การยืมข้าวเปลือกซึ่งตกลงให้ดอกเบี้ยเป็นข้าวเปลือกในอัตรา 1 ถังต่อข้าวเปลือก


ที่ยืม 2 ถังนั้น มิใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของกฎหมายเพราะผลประโยชน์ที่เรียกเป็นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้น
ได้จากหนี้เงินเท่านั้น เมื่อตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในการยืมข้าวเปลือกกันไว้อย่างไร แม้คำ� นวณ
แล้วผลประโยชน์ ตอบแทนจะสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ผู้ยืมก็ต้องช�ำระให้ตามข้อตกลงนั้น
ส�ำหรับรายละเอียดเกีย่ วกับเรือ่ งการกูย้ มื เงินนี้ นักศึกษาจะได้ศกึ ษาเป็นอีกส่วนหนึง่ ต่างหากโดย
เฉพาะ ในหน่วยที่ 3 การกู้ยืมเงิน ต่อไป

ยืมใช้สิ้นเปลืองนั้นกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไป กล่าวคือ ลักษณะที่เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนของ



อนึ่ง ขอให้สังเกตว่า แม้จะมีค่าตอบแทนเกิดขึ้นในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองก็ตาม ก็ไม่ทำ� ให้สัญญา

สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองยังคงมีอยู่ ผู้ยืมยังคงมีหนี้ตามสัญญาต่อผู้ให้ยืมอยู่ฝ่ายเดียวดังเดิม เพียงแต่เพิ่ม


หน้าที่ที่ต้องช�ำระ ค่าตอบแทนควบคู่ไปด้วยเท่านั้น
2. สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นสัญญาโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ยืม ความข้อนี้ปรากฏชัดใน
มาตรา 650 นั้นเองว่า “…ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน…” ซึ่งเป็นลักษณะส�ำคัญอีกประการหนึ่ง
สธ
ที่แตกต่างกับสัญญายืมใช้คงรูป เพราะในสัญญายืมใช้คงรูปนั้นผู้ให้ยืมมอบการครอบครองในทรัพย์สินให้
แก่ผยู้ มื ไป เพียงเพือ่ ใช้สอยเท่านัน้ โดยผูย้ มื ต้องส่งคืนทรัพย์สนิ อันเดิมทีย่ มื ไปแก่ผใู้ ห้ยมื เมือ่ สิน้ สุดสัญญาแล้ว

2 ฎ. 650/2505, ฎ.1981/2511.

2-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ผลทางกฎหมายบางประการจากการที่สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นสัญญาโอนกรรมสิทธิ์แห่ง
ทรัพย์สิน มีดังต่อไปนี้
2.1 ผูใ้ ห้ยมื ในสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองต้องเป็นผูม้ กี รรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทีใ่ ห้ยมื นัน้ หรือเป็นเจ้าของ
ทรัพย์สินนั้น หรืออาจเป็นตัวแทนหรือผู้ได้รับมอบอ�ำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการให้ยืมได้ มิฉะนั้นก็
ไม่อาจ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไปได้3 ปัญหาโต้เถียงอาจมีได้ว่า ในกรณีที่ผู้ให้ยืมไม่มีกรรมสิทธิ์ใน


ทรัพย์สินที่ให้ยืมสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองน่าจะมีผลบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา คือ ห้ามมิให้จำ� เลยต่อสู้
ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของ ทรัพย์สินที่ให้ยืม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการกู้ยืมเงินซึ่งมีหลักฐานในสัญญาเป็น

มส
เอกสารประกอบด้วย ในเรื่อง นี้เคยมี ฎ. 1413/2479 วินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องจ�ำเลยตามสัญญากู้ จ�ำเลยต่อสู้
ว่าเงินกู้ไม่ใช่ของโจทก์ แต่รับว่า โจทก์ท�ำการแทนเจ้าของเงินกู้ ศาลฎีกาจึงวินัจฉัยว่า สัญญายืมเงินนั้น
สมบูรณ์ ไม่ให้จำ� เลยน�ำพยานบุคคลเข้า มาสืบหักล้างเอกสาร ซึ่งเรื่องนี้มีข้อเท็จจริงว่า จ�ำเลยรับว่าโจทก์
ท�ำการแทนเจ้าของเงินกู้ จึงย่อมมีอำ� นาจมาท�ำสัญญาให้กู้ได้ แต่หากไม่ได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น เช่น โจทก์
ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ แล้วจ�ำเลยต่อสูว้ า่ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของเงิน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ทำ� การแทนหรือ
ได้รับมอบอ�ำนาจจากเจ้าของเงินมาหรือไม่ เช่นนี้ ก็ยังน่าจะถือว่า จ�ำเลยไม่สามารถจะน�ำพยานบุคคลมา
สืบได้ เพราะจะเป็นการสืบแก้ไขพยานเอกสารคือสัญญากู้ที่ได้ท�ำขึ้นนั้น อันเป็นการต้องห้าม ตาม ปวพ.
มาตรา 94
ต่อมามี ฎ.16/2534 วินิจฉัยในท�ำนองเดียวกันโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงตามที่คู่ความ

น�ำสืบฟังเป็นยุตวิ า่ เมือ่ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2527 จ�ำเลยที่ 1 ได้ทำ� สัญญากูเ้ งินโจทก์จำ� นวน 300,000 บาท
อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายคือร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี จ�ำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปเรียบร้อยแล้วจากมารดาโจทก์
มส

ก�ำหนดใช้เงินคืนภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2527 โดยจ�ำเลยที่ 2 เป็นผู้คํ้าประกัน เมื่อจ�ำเลยที่ 1 ได้


ท�ำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ แม้เงินกู้ที่จ�ำเลยที่ 1 รับไป จะเป็นเงินของมารดาโจทก์และมารดาโจทก์เป็นผู้
มอบเงินกู้ให้แก่จ�ำเลยที่ 1 รับไป ก็เป็นเรื่องที่มารดาโจทก์มีเจตนาช่วยออกเงินกู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นบุตร
โจทก์ในฐานะเป็นผู้ให้กู้ จึงมีอ�ำนาจฟ้องจ�ำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ และฟ้องจ�ำเลยที่ 2 ในฐานะผู้คํ้าประกัน”
2.2 เมื่อสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไปยังผู้ยืม ผลก็เท่ากับว่า
ผู้ยืมจะใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมนั้นอย่างไร หรือเอาไปให้บุคคลภายนอกใช้ หรือโอนกรรมสิทธิ์ต่อไป ก็ย่อมมี

สิทธิที่จะท�ำได้ตามอ�ำนาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตาม ปพพ. มาตรา 1336 เพราะการยืมใน
ประเภทนี้ ถ้าไม่โอนกรรมสิทธิใ์ ห้ผยู้ มื ก็ไม่มที างใช้สอยทรัพย์ได้ และขอให้สงั เกตว่าทรัพย์อนั เป็นวัตถุแห่ง
สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองมีได้แต่สังหาริมทรัพย์เท่านั้น เพราะอสังหาริมทรัพย์โดยสภาพจะยืมใช้สิ้นเปลืองไม่
ได้ นอกจากนั้น ถ้าทรัพย์สินที่ยืมนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ผู้ยืมก็ต้องรับ
ความวินาศในผลพิบตั นิ นั้ เองแต่ผเู้ ดียว ตามหลักลาตินทีว่ า่ “Res perit domino” ความวินาศในทรัพย์สนิ
ตกเป็นพับแก่ เจ้าของ เช่น ยืมนํ้าตาลเขามา 1 กระสอบ เมื่อรับมอบมาแล้วในระหว่างนั้นบ้านเกิดถูก
นาํ้ ท่วม นาํ้ ตาลจึงละลาย สูญหายไปหมดโดยสุดวิสยั ทีผ่ ยู้ มื จะขนของหนีนาํ้ ได้ทนั เช่นนี้ เมือ่ ถึงก�ำหนดจะ
สธ
3 จี๊ด
เศรษฐบุตร คำ�อธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ ฯลฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
พ.ศ. 2492 น. 39-40, กมล สนธิเกษตริน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยยืมและฝากทรัพย์ คณะนิตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2521 น. 23.

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-9

ต้องใช้คืนนํ้าตาล ผู้ยืมจะไม่ยอมคืนนํ้าตาลอันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับที่ยืมไปโดยอ้างว่า


นํ้าตาลนั้นถูกท�ำลายโดยมิใช่ความผิดของตนหาได้ไม่
2.3 วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองเป็นทรัพย์สนิ ชนิดใช้ไปสิน้ ไปตามทีป่ รากฏในมาตรา 650 คือ
เมื่อมีการใช้สอยทรัพย์ตามสัญญา ทรัพย์นั้นจะเปลี่ยนแปลงภาวะเสื่อมสลายไปหรือสิ้นเปลืองหมดไป
ไม่คงรูปอยูใ่ นสภาพเดิม เนือ่ งจากการทีผ่ ยู้ มื ได้รบั โอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์ทยี่ มื ไปแล้ว ก็ยอ่ มมีสทิ ธิใช้สอยทรัพย์


นัน้ จนสิน้ เปลืองหมดไปไม่อาจน�ำของเดิมมาใช้คนื ได้ จึงต้องให้คนื ทรัพย์อนั เป็นประเภท ชนิด และปริมาณ
เดียวกันแทน ทรัพย์ประเภทนี้ เช่น ข้าว นํ้าตาล ถ่าน นํ้ามัน เกลือ แป้ง เงินตรา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม

มส
ทรัพย์สนิ บางประเภท ถ้าพิจารณาเพียงลักษณะของทรัพย์สนิ นัน้ น่าจะเป็นวัตถุแห่งสัญญายืมใช้สนิ้ เปลือง
หรือสัญญายืมใช้คงรูป แต่กรณีอาจหาเป็นเช่นนัน้ ไม่ ทัง้ นีต้ อ้ งดูเจตนาของคูส่ ญ ั ญาประกอบด้วยว่าต้องการ
ให้เป็นสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองหรือยืมใช้คงรูป เช่น ยืมข้าวสารตัวอย่าง หรือเงินตรารุน่ เก่า ซึง่ ไม่มกี ารพิมพ์
ออกมาใช้แล้วไว้ส�ำหรับไปแสดงในงานนิทรรศการ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการยืมในลักษณะนี้เป็นการยืมใช้
คงรูป กล่าวคือ เมื่อเสร็จงานนิทรรศการแล้ว ผู้ยืมก็จะน�ำข้าวสารและเงินตราดังกล่าวนั้นมาคืนแก่ผู้ให้ยืม
ดังเดิม โดยมิได้มีการใช้ทรัพย์ให้เสื่อมสลายภาวะไปแต่อย่างใด
อุทาหรณ์
ฎ. 905/2505 จ�ำเลยได้ยมื ไม้และสังกะสีของผูร้ อ้ งเพือ่ ปลูกเรือน ซึง่ อาจต้องเอามาบัน่ ทอน ตัดฟัน
แปรสภาพไปเป็นตัวเรือน หาได้คงรูปในสภาพเดิมไม่ และหากตามปกติเมือ่ ยืมมาใช้เช่นนีก้ ห็ มายความว่า

เอาทรัพย์นั้นๆ มาขาดทีเดียว ไม่ใช่จะเอาทรัพย์นั้นไปคืนอีก ฉะนั้นการยืมชนิดนี้ต้องถือว่าเป็นการยืมใช้
สิ้นเปลืองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์โอนไปเป็นของจ�ำเลย ตาม ปพพ. มาตรา 650
มส

กิจกรรม 2.1.1
1. จงกล่าวถึงสาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง โดยสังเขป
2. นายเขียวยืมนํ้าตาลทรายจากนายขาวมา 1 กระสอบ เพื่อใช้ท�ำอาหารขาย ก�ำหนดจะใช้คืน
ภายใน 1 เดือน ในระหว่างการใช้ เกิดไฟไหม้โรงครัวของนายเขียว ท�ำให้นํ้าตาลทรายที่ยืมมาและเก็บไว้

ทรายให้นายขาว ได้หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 2.1.1

ในโรงครัวนั้นเสีย หายหมด เมื่อเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่ความผิดของนายเขียว นายเขียวจะไม่ยอมคืนนํ้าตาล

1. สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนอกจากจะมีสาระส�ำคัญอันเป็นลักษณะทั่วไปของสัญญายืมร่วมอยู่กับ
สัญญายืมใช้คงรูป กล่าวคือ เป็นสัญญาไม่ตา่ งตอบแทนและมีผลบริบรู ณ์เมือ่ มีการส่งมอบทรัพย์สนิ ทีใ่ ห้ยมื
แล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะที่ส�ำคัญที่แตกต่างไปจากสัญญายืมใช้คงรูปโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ สัญญายืมใช้
สธ
สิน้ เปลืองนัน้ อาจเป็นสัญญามีคา่ ตอบแทนก็ได้ และเป็นสัญญาทีผ่ ใู้ ห้ยมื โอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ประเภท
ใช้ไปสิ้นไป คือ เสื่อมภาวะสลายไปให้แก่ผู้ยืม โดยที่ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์อันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณ
เดียวกันกับที่ยืมไป ให้แก่ผู้ให้ยืมเมื่อถึงก�ำหนดจะต้องส่งคืน

2-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. กรณีตามอุทาหรณ์ การยืมนํ้าตาลทรายมาใช้ท�ำอาหารขายลักษณะของนํ้าตาลเป็นทรัพย์
ประเภทใช้ไปสิ้นไป และตามเจตนาของคู่กรณีเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง กรรมสิทธิ์ในนํ้าตาลตกเป็นของ
นายเขียว ซึ่งนาย เขียวมีสิทธิจะใช้สอยอย่างไรก็ได้ตามอ�ำนาจแห่งกรรมสิทธิ์แห่ง ปพพ. มาตรา 1336
ดังนัน้ แม้นาํ้ ตาลจะสูญหาย ไปด้วยเหตุสดุ วิสยั นายเขียวก็ตอ้ งรับผลพิบตั แิ ห่งความเสียหายของนํา้ ตาลนัน้
ในฐานะเป็นเจ้าของ โดยทีน่ ายเขียวยังจะต้องมีหน้าทีป่ ฏิบตั ติ ามสัญญายืมใช้สนิ้ เปลือง คือคืนทรัพย์สนิ อัน


เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับที่ได้ยืมมาให้แก่นายขาว คือ นํ้าตาล 1 กระสอบ แก่นายขาว จะ
ปฏิเสธความรับผิดไม่ได้

มส
เรื่องที่ 2.1.2
สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง

เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืมให้แก่ผู้ยืมแล้ว สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองก็เกิดขึ้น

โดยบริบูรณ์และมีผลท�ำให้เกิดสิทธิและหน้าที่ในระหว่างผู้ให้ยืมและผู้ยืมผูกพันกันตามสัญญา ในเรื่องที่
2.1.2 นี้จะขอกล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลืองก่อน
เนือ่ งจากสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองมีลกั ษณะแตกต่างจากสัญญายืมใช้คงรูปในประการส�ำคัญประการหนึง่
มส

คือ เป็นสัญญาทีผ่ ใู้ ห้ยมื โอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทีใ่ ห้ยมื ให้แก่ผยู้ มื ตามทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วแต่ตน้ กรรมสิทธิ์
ใน ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของผู้ยืมทันทีที่มีการส่งมอบทรัพย์สินนั้น ดังนั้นกฎหมายจึงบัญญัติถึงสิทธิและ
หน้าที่ของผู้ยืมไว้น้อยกว่าในสัญญายืมใช้คงรูป ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

สิทธิของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง

โดยอ�ำนาจแห่งกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทีย่ มื ซึง่ ได้โอนมายังผูย้ มื ในทันทีทมี่ กี ารส่งมอบทรัพย์สนิ นัน้
ผู้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง จึงมีสิทธิที่จะใช้สอยทรัพย์สินนั้นอย่างไรก็ได้หรือจะโดยวิธีใดก็ได้ (ตาม
ปพพ. มาตรา 1336) สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองไม่ใช่เรื่องสิทธิเฉพาะตัวผู้ยืม แม้จะเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์
ที่ยืมมาก็ตาม ผู้ให้ยืมก็ไม่อาจทักท้วงห้ามปรามได้ เช่น ยืมข้าวสารเพื่อมาหุงรับประทาน แล้วผู้ยืมกลับ
น�ำเอามาแจกจ่ายหรือให้ผู้อื่นยืมต่อไปอีกก็ย่อมกระท�ำได้ นอกจากนี้ ผู้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองยังไม่
จ�ำเป็นต้องสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืมเหมือนเช่นในสัญญายืมใช้คงรูป เพราะเหตุที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่
ยืมโอนมายังผูย้ มื แล้ว หากจะเกิดความสูญหายหรือบุบสลายแก่ทรัพย์สนิ ทีย่ มื ในระหว่างนี้ ผูย้ มื ก็ตอ้ งรับผล
สธ
พิบัตินั้นเอง

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-11

หน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง
กฎหมายก�ำหนดหน้าที่ของผู้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองไว้เป็นประการส� ำคัญ 2 ประการ ดัง
ต่อไปนี้ คือ
1. หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่าย ซึ่ง มาตรา 651 บัญญัติว่า “ค่าฤชาธรรมเนียมในการท�ำสัญญาก็ดี
ค่าส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย”


มาตรานี้บัญญัติไว้เป็นอย่างเดียวกับมาตรา 642 ในสัญญายืมใช้คงรูป ซึ่งนักศึกษาได้ศึกษาผ่าน
มาแล้วในหน่วยที่ 1 เหตุผลจึงเป็นไปในท�ำนองเดียวกัน คือ ผู้ยืมเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่จาก

มส
สัญญาคือได้ใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมมา แม้ในบางกรณีสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอาจจะมีค่าตอบแทนในการได้
ใช้ทรัพย์สินซึ่งผู้ยืมจะต้องจ่ายให้ผู้ให้ยืมก็ตาม เช่น สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น แต่ก็ไม่ท�ำให้สัญญายืมใช้สิ้น
เปลืองนั้นกลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนไปได้4 ดังนั้น ในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอันเป็นสัญญาไม่ต่าง
ตอบแทนซึ่งก่อหนี้แก่ผู้ยืมเพียงฝ่ายเดียวกฎหมายจึงก�ำหนดให้ผู้ยืมเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ถ้าผูย้ มื และผูใ้ ห้ยมื จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอืน่ เช่น ตกลงกันให้ฝา่ ยผูใ้ ห้ยมื เป็นผูเ้ สียหรือให้
รับผิดชอบร่วมกันฝ่ายละครึ่งหนึ่ง กฎหมายก็ยอมรับบังคับให้ เนื่องจากมาตรา 651 ไม่ใช่กฎหมายที่
เกีย่ วกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คูส่ ญ ั ญาจึงตกลงเป็นอย่างอืน่ ได้ ไม่เป็นโมฆะ
(ปพพ. มาตรา 151)
ส่วนที่ว่า ค่าฤชาธรรมเนียมในการท�ำสัญญา ค่าส่งมอบ และค่าส่งคืนนั้น คืออะไรบ้าง ขอให้

นักศึกษา ย้อนกลับไปทบทวนหน่วยที่ 1 เรื่องที่ 1.2.2 สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมใช้คงรูป จะไม่นำ� มากล่าว
ซํ้าอีก
มส

อนึง่ ในส่วนทีเ่ กีย่ วกับสถานทีใ่ นการส่งคืนทรัพย์สนิ ทีย่ มื ในสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ ก็ตอ้ งน�ำบท
บัญญัติทั่วไปในเรื่องการช�ำระหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 324 มาใช้บังคับเช่นกัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงในล�ำดับ
ต่อไปเมื่อศึกษาเกี่ยวกับความระงับของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
2. หน้าที่ในการคืนทรัพย์สิน ผู้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองมีหน้าที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมไป
เมือ่ ครบก�ำหนดเวลาทีย่ มื หรือเมือ่ ครบก�ำหนดเวลาทีผ่ ใู้ ห้ยมื ได้บอกกล่าวให้ผยู้ มื ส่งคืนทรัพย์สนิ ทีย่ มื ตาม
ปพพ. มาตรา 652 แล้ว ซึ่งเรื่องก�ำหนดเวลาส่งคืนนี้จะได้กล่าวโดยละเอียดในเรื่องความระงับแห่งสัญญา

ยืมใช้สิ้นเปลืองต่อไป ทั้งนี้ผู้ยืมจะต้องคืนทรัพย์สินซึ่งเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันกับที่ได้
รับมอบมาให้ แก่ผู้ให้ยืม เพราะโดยลักษณะแห่งทรัพย์สินประกอบกับเจตนาของคู่กรณีในสัญญายืมใช้
สิน้ เปลืองนัน้ ผูย้ มื ได้รบั โอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทีย่ มื มาและใช้สอยทรัพย์นนั้ ในลักษณะทีใ่ ช้ไปแล้วทรัพย์
นัน้ นย่อมเสียภาวะเสือ่ มสลายหรือสิน้ เปลืองหมดไป ย่อมไม่มที รัพย์เดิมคืนให้แก่ผใู้ ห้ยมื กฎหมายจึงก�ำหนด
ให้คืนทรัพย์ซึ่งเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับที่ยืมไป
สธ
4 ในสัญญาต่างตอบแทนซึ่งตาม ปพพ. มาตรา 369 เป็นสัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่ผูกพันซึ่งกัน
และกัน ในการปฏิบัติการชำ�ระหนี้ตอบแทนให้แก่กันและกัน คือต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่ายนั้น โดยปกติ
คู่สัญญามีหน้าที่ต้องออกค่าฤชาธรรมเนียมในการทำ�สัญญากันฝ่ายละครึ่งหนึ่งเท่าๆ กัน เช่น สัญญาซื้อขายทรัพย์สิน ทั้งผู้ซื้อและ
ผู้ขายมีหน้าที่ออกค่าฤชาธรรมเนียมในการทำ�สัญญากันฝ่ายละเท่าๆ กัน (ปพพ. มาตรา 457)

2-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ค�ำว่า ประเภท (Kind) หมายถึง ทรัพย์สนิ จ�ำพวกเดียวกันมีชอื่ เรียกอย่างเดียวกัน เช่น ยืมข้าวสาร


ก็ต้องคืนข้าวสาร ยืมถ่านก็ต้องคืนถ่าน จะเอานํ้าตาลหรือถั่วเขียวมาคืนไม่ได้
ค�ำว่า ชนิด (Quality) หมายถึง คุณภาพของทรัพย์สนิ ในระดับเดียวกัน ทรัพย์สนิ ประเภทเดียวกัน
ย่อมมีคุณภาพแตกต่างกันได้ เมื่อยืมทรัพย์สินชนิดใดก็ต้องเอาทรัพย์สินที่มีคุณภาพเดียวกันมาคืน เช่น
ยืมข้าวสารหอมมะลิ 100% ก็ต้องคืนข้าวสารหอมมะลิ 100% ให้ จะคืนข้าวชนิด 5% หรือ 10% ซึ่งมีข้าว


หักหรือป่นปนอยู่ในจ�ำนวน 5% หรือ 10% ตามล�ำดับ ย่อมไม่ได้
ค�ำว่า ปริมาณ (Quantity) หมายถึง จ�ำนวนหรือปริมาตรของทรัพย์สินเดียวกัน คือต้องคืน

มส
ทรัพย์สนิ ในจ�ำนวนหรือปริมาตรเดียวกันกับทีย่ มื มา เช่น ยืมข้าวสารเสาไห้ชนิด 5% มา 2 กระสอบ ก็ตอ้ ง
คืนข้าวสารเสาไห้ชนิด 5% ในจ�ำนวน 2 กระสอบเท่าที่ยืมมา เช่นกัน หรือยืมนํ้ามันร�ำข้าวมา 1 ลิตร ก็
ต้องคืนนํ้ามันร�ำข้าว 1 ลิตรเช่นกัน

กิจกรรม 2.1.2
สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง มีอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

แนวตอบกิจกรรม 2.1.2

สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเป็นสัญญาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ยืม ดังนั้น ผู้ยืมจึงมีสิทธิ
ใช้สอย ทรัพย์สินยืมนั้นอย่างไรก็ได้ตามชอบใจ โดยไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ยืมต้องมีหน้าที่ใช้ทรัพย์ตามที่
มส

กฎหมายก�ำหนด หรือต้องสงวนรักษาทรัพย์สินนั้นแต่ประการใด หน้าที่ของผู้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง


จึงมีแต่หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามสัญญา เช่น ค่าส่งมอบ ค่าฤชาธรรมเนียมในการท�ำสัญญา
ค่าส่งคืนทรัพย์สิน และหน้าที่ในการคืนทรัพย์สินเมื่อถึงก�ำหนดต้องส่งคืน โดยจะต้องคืนทรัพย์สินเป็น
ประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับที่ยืมไปให้ผู้ให้ยืมตามสัญญา


สธ

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-13

เรื่องที่ 2.1.3
สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมใช้สิ้นเปลือง


จากเรื่องที่ 2.1.2 สิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมใช้สิ้นเปลือง นักศึกษาได้ศกึ ษาเกีย่ วกับสิทธิและหน้าที่
ของผู้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองแล้ว ต่อไปควรจะได้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมบ้างดังนี้

มส
สิทธิของผู้ให้ยืม
1. สิทธิเรียกคืนทรัพย์สนิ ถึงแม้วา่ สาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม และการใช้สอยทรัพย์สินนั้นจะเป็นการใช้ไปสิ้นเปลืองหมดไปก็ตาม แต่ผู้ยืมก็
มีหน้าทีจ่ ะต้องคืนทรัพย์สนิ อันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับทีไ่ ด้รบั มอบมาให้แก่ผใู้ ห้ยมื ดังนัน้
เมื่อครบก�ำหนดเวลายืมตามที่ได้ตกลงกันไว้ ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ยืมคืนทรัพย์สินอันเป็นประเภท
ชนิด และปริมาณเดียวกันนัน้ ได้ทนั ที หรือถ้าไม่ได้กำ� หนดเวลากันไว้กต็ อ้ งมีการบอกกล่าวก่อน (ตามมาตรา
652)
2. สิทธิเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์สิน ในกรณีที่ผู้ยืมไม่ยอมคืนทรัพย์สินอันเป็นประเภท ชนิด และ

ปริมาณเดียวกับที่ได้ยืมให้แก่ผู้ให้ยืม ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิฟ้องร้องขอให้ศาลบังคับผู้ยืมให้ส่งมอบทรัพย์สินอัน
เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับทีย่ มื หรือถ้าผูย้ มื ไม่สามารถหาทรัพย์สนิ เช่นนัน้ ได้ ผูใ้ ห้ยมื ก็มสี ทิ ธิ
เรียกร้องให้ผยู้ มื ใช้ราคาทรัพย์สนิ แก่ผใู้ ห้ยมื ได้ ในการเรียกร้องให้ใช้ราคาทรัพย์สนิ นัน้ มีปญ
ั หาว่าจะคิดราคา
มส

ทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ใด ซึ่งอาจพิจารณาได้ คือ


2.1 ถ้าสัญญาได้ก�ำหนดเวลาและสถานที่ในการส่งคืนทรัพย์ที่ยืมไว้อย่างไร การคิดราคา
ทรัพย์ให้เป็นไปตามที่ก�ำหนดไว้เช่นนั้น
2.2 ถ้าในสัญญาไม่ได้กำ� หนดเวลาและสถานทีใ่ นการส่งคืนทรัพย์สนิ ทีย่ มื ไว้ ปัญหาว่าในการ
คิดราคาทรัพย์นั้นจะคิดในเวลาและสถานที่ใดเนื่องจากทรัพย์สินบางอย่างอาจมีราคาเปลี่ยนแปลงได้ตาม

กาลเวลาและ สถานที่ เช่น ยืมข้าวสารไว้ 1 ถัง ซึง่ ขณะทีย่ มื นัน้ ข้าวสารชนิดดังกล่าวมีราคาถังละ 570 บาท
แต่ในเวลาที่ผู้ยืมถูกบังคับให้ต้องใช้ราคาข้าวสารนี้ ข้าวชนิดเดียวกันนี้มีราคาถังละ 640 บาท ในเรื่องนี้
บทบัญญัติใน ปพพ. มิได้กล่าวไว้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิเคราะห์ตามลักษณะของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองแล้ว
ผู้ให้ยืมมีสิทธิจะได้รับทรัพย์สิน อันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับที่ให้ยืมไปคืนจากผู้ยืม คือ
ข้าวสาร 1 ถัง ไม่ใช่จ�ำนวนเงิน การที่ให้ผู้ยืมช�ำระเป็นเงินแทนทรัพย์สินซึ่งไม่สามารถส่งคืนได้นั้นก็เพราะ
เป็นหน้าที่ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายของราคาทรัพย์ที่ยืมในขณะที่ส่งคืนเพราะผู้ให้ยืม
เสียหายไปจริงตามราคาข้าวสาร 1 ถังโดยตรง ผู้ให้ยืมจึงควรมีสิทธิได้รับช�ำระราคาแทนตามราคาในเวลา
สธ
และสถานที่ที่ส่งคืน

2-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 76/2489 จ�ำเลยขอยืมเงินโจทก์ 400 บาท โจทก์ไม่มีให้ จ�ำเลยจึงขอยืมทองรูปพรรณไป 5
อย่าง รวมหนัก 11 บาทสลึง โจทก์ให้ยมื ไป ต่อมาจ�ำเลยบอกกล่าวว่าทองค�ำจ�ำน�ำหลุดไปแล้ว ขอให้ใช้เงิน
60 บาทก่อน ส่วนที่ค้างเอาไว้คิดกันทีหลัง โจทก์ยอมตกลงด้วย ต่อมาจ�ำเลยไม่ยอมช�ำระอีกเลย โจทก์จึง
มาฟ้องขอให้ จ�ำเลยคืนทองหรือช�ำระราคาตามราคาในขณะฟ้อง


ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “เรื่องนี้จ�ำเลยขอใช้ราคาทองให้ไป 60 บาทก่อน เป็นกรณีที่โจทก์และจ�ำเลย
ต่างได้ ตกลงกันเสร็จแล้วว่าจะช�ำระเป็นเงินต่อกัน จึงต้องคิดราคาทองทีจ่ ะช�ำระต่อกันในขณะทีต่ กลงกันนัน้

มส
โจทก์จะมาเรียกทองคืนหรือมาคิดราคาในสมัยที่ทองขึ้นราคาแพงไปนั้นหาถูกต้องไม่”
3. สิทธิเรียกค่าเสียหาย นอกจากผูใ้ ห้ยมื จะมีสทิ ธิเรียกให้ผยู้ มื คืนทรัพย์สนิ หรือใช้ราคาแล้ว หาก
เกิดความเสียหายแก่ผใู้ ห้ยมื ในการไม่คนื ทรัพย์สนิ หรือคืนล่าช้า หรือไม่สามารถหาทรัพย์สนิ เช่นนัน้ มาคืน
ได้แล้วแต่กรณี ผู้ให้ยืมยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่ผู้ยืมไม่ช�ำระหนี้ให้ถูกต้องตามความประสงค์
ที่แท้จริงของมูลหนี้ นั้นได้อีกส่วนหนึ่งด้วยตามหลักทั่วไปในเรื่องหนี้

หน้าที่ของผู้ให้ยืม
ผูใ้ ห้ยมื ในสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองมีหน้าทีไ่ ม่ขดั ขวางการใช้ทรัพย์สนิ ตามความพอใจของผูย้ มื เพราะ
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นโอนไปยังผู้ยืมแล้ว นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในประการส�ำคัญเช่นเดียวกับกรณีของ

สัญญายืมใช้ คงรูปอยู่ประการหนึ่ง คือ ถ้าไม่มีข้อสัญญาก�ำหนดกันไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว หากทรัพย์สินที่
ให้ยมื นัน้ บุบสลายหรือ มีอนั ตราย ซึง่ ผูใ้ ห้ยมื ได้รอู้ ยูแ่ ล้วก่อนการส่งมอบถึงความบุบสลายหรืออันตรายเช่น
มส

ว่านัน้ ซึง่ อาจจะเกิดความเสีย หายแก่ผยู้ มื ได้ ผูใ้ ห้ยมื มีหน้าทีจ่ ะต้องบอกกล่าวให้ผยู้ มื ได้ทราบถึงความบุบ
สลายหรืออันตรายแห่งทรัพย์ที่ให้ยืมนั้น หากไม่บอกกล่าวให้ทราบและผู้ยืมใช้ทรัพย์สินที่ยืมไปแล้วเกิด
ความเสียหายหรือเกิดอันตรายขึน้ ผูใ้ ห้ยมื จะต้องรับผิดชดใช้คา่ เสียหายแก่ผยู้ มื เช่น ให้ยมื อาหารกระป๋อง
ไปโดยที่ผู้ให้ยืมรู้แล้วว่า อาหารกระป๋องนั้นได้เก็บ ไว้นานแล้วอาจจะเสียได้ แต่ไม่บอกให้ผู้ยืมรู้ เมื่อผู้ยืม
น�ำไปประกอบอาหารรับประทานแล้วเกิดมีอาการอาหาร เป็นพิษป่วยเจ็บขึ้น ผู้ให้ยืมต้องรับผิด เป็นต้น

กิจกรรม 2.1.3
สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้ยืมในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองมีอย่างไร จงอธิบาย

แนวตอบกิจกรรม 2.1.3

สัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองเป็นสัญญาทีผ่ ใู้ ห้ยมื โอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทีใ่ ห้ยมื ให้แก่ผยู้ มื ผูใ้ ห้ยมื จึง
มีแต่ เพียงสิทธิที่จะเรียกทรัพย์สินคืนเมื่อถึงเวลาต้องส่งคืน โดยเรียกเอาทรัพย์สินอันเป็นประเภท ชนิด
สธ
และปริมาณ เดียวกับที่ให้ยืมไปคืนจากผู้ยืม หากผู้ยืมไม่ยอมส่งคืนหรือไม่สามารถหาทรัพย์สินอันเป็น
ประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันมาคืนได้ ผู้ให้ยืมก็มีสิทธิฟ้องศาลบังคับให้ผู้ยืมคืนทรัพย์สินประเภท
ชนิด และปริมาณเดียวกัน หรือให้ใช้ราคาทรัพย์สนิ แล้วแต่กรณีและเรียกค่าเสียหาย ส่วนหน้าทีข่ องผูใ้ ห้ยมื

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-15

ก็เพียงแต่ไม่ขดั ขวางการใช้ทรัพย์ ตามความพอใจของผูย้ มื และต้องแจ้งถึงความบุบสลายหรือช�ำรุดอันตราย


ของทรั พ ย์ สิ น ซึ่ ง ผู ้ ใ ห้ ยื ม รู ้ อ ยู ่ แ ล้ ว ก่ อ น การส่ ง มอบให้ ผู ้ ยื ม ได้ ท ราบ มิ ฉ ะนั้ น ต้ อ งรั บ ผิ ด ต่ อ ผู ้ ยื ม
หากเกิดความเสียหายแก่ผู้ยืมเมื่อน�ำทรัพย์สินนั้นไปใช้


มส

มส


สธ

2-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 2.2
ความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 2.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
2.2.1 ความระงับแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
2.2.2 การช�ำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน
2.2.3 อายุความแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง

1. ความระงับแห่งสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองตามทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในกฎหมายลักษณะยืม คือ การที่


ผูย้ มื ส่งคืนทรัพย์อนั เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับทีย่ มื คืนให้แก่ผใู้ ห้ยมื เมือ่ ถึง
เวลาที่ก�ำหนด
2. การช�ำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมีบทบัญญัติพิเศษนอกเหนือจากการส่งคืนทรัพย์ที่ยืม

ในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองโดยทั่วไป
3. อ ายุค วามแห่งสัญญายืม ใช้สิ้น เปลืองมีเฉพาะเรื่องการเรียกทรัพย์สินที่ยืมคืนหรือ
เรียกดอกเบี้ยค้างส่งในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงิน แต่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความใน
มส

เรื่องค่าทดแทนดังเช่นสัญญายืมใช้คงรูป

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 2.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายเรื่องความระงับแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองได้
2. อธิบายเรื่องการช�ำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้
3. อธิบายและให้เหตุผลในเรื่องอายุความแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองได้

4. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความระงับและอายุความแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองได้
สธ

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-17

ความน�ำ

นักศึกษาได้ศึกษามาแล้วในตอนที่ 2.1 สาระส�ำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง เกี่ยวกับสาระ


ส�ำคัญของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของผู้ยืมและผู้ให้ยืมแล้ว ต่อไปตอนที่ 2.2 นี้ จะ
ได้กล่าวถึงเรื่องความระงับแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง และอายุความที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่าง
ออกไปจากสัญญายืมใช้คงรูป โดยเฉพาะความระงับแห่งสัญญาในกรณีที่เป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองทั่วไปกับ

ประการ
มส
กรณีที่เป็นการกู้ยืมเงิน ซึ่งแม้จะเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองเหมือนกัน ก็ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่หลาย

เรื่องที่ 2.2.1
ความระงับแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง

จากที่ได้ทราบแล้วว่า สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้นมีลักษณะเป็นสัญญาที่ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินที่ให้ยืมแก่ผู้ยืมไปโดยที่ทรัพย์สินนั้นเป็นประเภทใช้ไปสิ้นเปลืองหมดไป ผู้ยืมมีสิทธิที่จะใช้สอย
มส

ทรัพย์สินอย่างไรก็ได้ตามความพอใจ แต่เมื่อถึงก�ำหนดเวลาที่จะต้องคืนทรัพย์ ซึ่งเท่ากับเป็นการช�ำระหนี้


ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น ผู้ยืมเพียงแต่ต้องคืนทรัพย์อันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับที่ยืม
ไปให้แก่ผใู้ ห้ยมื เท่านัน้ ไม่จำ� ต้องคืนทรัพย์อนั เดิมนัน้ เหมือนอย่างสัญญายืมใช้คงรูป และเมือ่ มีการคืนทรัพย์
ตามสัญญาเสร็จสิ้นแล้วก็มีผลให้สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองระงับลง ซึ่งแยกอธิบายได้ คือ
1. ในกรณีที่สัญญายืมใช้สิ้นเหลืองนั้นได้มีก�ำหนดเวลายืมไว้ สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองย่อมระงับ
สิ้นไปเมื่อพ้นก�ำหนดเวลาตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา เช่น ยืมข้าวสารเสาไห้ชนิด 5% มา 5 กิโลกรัม เพื่อ

ใช้รับประทานมีกำ� หนด 7 วัน เมื่อครบก�ำหนดแล้วสัญญายืมดังกล่าวย่อมระงับสิ้นไป ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียก
ให้ผู้ยืมส่งคืนข้าวสารเสาไห้ชนิด 5% ในจ�ำนวน 5 กิโลกรัม ให้แก่ผู้ให้ยืมได้ทันที
ขอให้สงั เกตว่า ในกรณีทมี่ กี ารก�ำหนดเวลายืมกันไว้ ผูใ้ ห้ยมื จะเรียกให้ผยู้ มื คืนทรัพย์สนิ ทีย่ มื ก่อน
ถึงเวลาก�ำหนดไม่ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักทั่วไปใน ปพพ. มาตรา 192 ที่ให้สันนิษฐานว่าเงื่อนเวลา ไม่ว่า
จะเป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้ แต่ถ้าผู้ให้ยืมฟ้องเรียก
ทรัพย์สินคืนก่อนครบก�ำหนดตามสัญญา แล้วผู้ยืมไม่ยกก�ำหนดเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ก็ต้องถือว่าผู้ยืมสละ
ข้อต่อสู้ในเรื่องก�ำหนดเวลานี้แล้ว
สธ
อุทาหรณ์
ฎ. 1671/2505 เจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้ก่อนถึงก�ำหนดช�ำระ ลูกหนี้ปฏิเสธความรับผิด อ้างว่าเป็น
นิติกรรมอ�ำพราง ย่อมแสดงว่าลูกหนี้ไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาในสัญญากู้นั้น เงื่อนเวลาจึงไม่เป็น
ข้อที่ลูกหนี้จะอ้างเป็นประโยชน์ได้ต่อไป

2-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 1098/2507 เจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้ก่อนถึงก�ำหนดช�ำระ ลูกหนี้ปฏิเสธความรับผิด อ้างว่าช�ำระ


หนี้เงินกู้ตามสัญญาแล้ว ย่อมแสดงว่า ลูกหนี้ไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาในสัญญากู้นั้น เงื่อนเวลา
จึงไม่เป็นข้อที่ลูกหนี้จะอ้างเป็นประโยชน์ได้ต่อไป
ในบางกรณี แม้มีการก�ำหนดเวลาไว้ แต่หากมีการตกลงให้ผู้ให้ยืมเรียกทรัพย์คืนก่อนก�ำหนดได้
ก็ต้องบังคับไปตามนั้น เพราะถือว่าป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ


ประชาชน
อุทาหรณ์

มส
ฎ. 866/2534 สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ตกลงจะช�ำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.
2525 แต่ทงั้ นีไ้ ม่เป็นการตัดสิทธิผใู้ ห้กทู้ จี่ ะเรียกร้องให้ผกู้ ชู้ ำ� ระหนีต้ ามสัญญานีท้ งั้ หมดหรือแต่บางส่วนก่อน
ถึงก�ำหนดก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรและโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้
เรียกร้องให้ช�ำระหนี้ ผู้กู้จะช�ำระหนี้ที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
อันดีของประชาชน จึงมีผลผูกพัน
อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ยืมตายก่อนครบก�ำหนดเวลา ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์จากผู้รับมรดกหรือ
ผูจ้ ดั การมรดกของผูย้ มื ได้ทนั ทีโดยไม่ตอ้ งรอให้ถงึ ก�ำหนด และต้องเรียกคืนด้วย มิฉะนัน้ สิทธิเรียกร้องของ
ผู้ให้ยืมอาจขาดอายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 1754 วรรคสามได้
อุทาหรณ์

ฎ. 1413/2479 ในกรณีทลี่ กู หนีต้ ายก่อนหนีถ้ งึ ก�ำหนดช�ำระนัน้ เจ้าหนีม้ สี ทิ ธิฟอ้ งเรียกจากผูจ้ ดั การ
มฤดกได้ทันที แม้หนี้จะยังไม่ถึงก�ำหนดช�ำระก็ตาม อายุความมฤดก 1 ปีนั้นรวมถึงเจ้าหนี้ด้วย
มส

ฎ. 2620/2517 ปพพ. มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเสีย


ภายในก�ำหนด 1 ปี ย่อมเป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องคดีให้ช�ำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ถึงแก่กรรมโดย
เจ้าหนี้ไม่จำ� เป็นต้องทวงถามให้ช�ำระหนี้ก่อน ฉะนั้น แม้สัญญากู้ซึ่ง จ. กู้เงินโจทก์ไปจะมีข้อความว่าหาก
โจทก์ต้องการเงินคืนเมื่อใด จ. จะคืนให้ทันทีแต่ต้องบอกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก็ตาม เมื่อ จ. ถึงแก่
กรรม โจทก์ย่อมฟ้องคดีได้ทันทีโดยไม่จ�ำต้องทวงถามก่อน
ฎ. 3994/2540 ปพพ. มาตรา 1754 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นก�ำหนด

1 ปี นับแต่เจ้าหนีไ้ ด้รหู้ รือควรได้รถู้ งึ ความตายของลูกหนี้ ในกรณีดงั กล่าว เจ้าหนีข้ องผูต้ ายจะต้องเรียกร้อง
ให้ชำ� ระหนีจ้ ากทรัพย์มรดกของผูต้ ายซึง่ เป็นลูกหนีใ้ นก�ำหนด 1 ปี นับแต่ลกู หนีถ้ งึ แก่ความตาย ดังนัน้ แม้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ท�ำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงก�ำหนดช�ำระ แต่ลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน
โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของ
ลูกหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 1754 วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ถึงแก่
ความตาย หากรอจนหนี้ถึงก�ำหนดช�ำระ อายุความ 1 ปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม ดังกล่าวข้างต้นอาจ
จะล่วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำ� นาจฟ้องบังคับให้ช�ำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงก�ำหนดช�ำระ
สธ
2. ในกรณีที่สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้นไม่มีก�ำหนดระยะเวลายืม มีบทบัญญัติใน มาตรา 652
ความว่า “ถ้าในสัญญาไม่มีก�ำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไป ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืน
ทรัพย์สิน ภายในเวลาอันควรซึ่งก�ำหนดให้ในค�ำบอกกล่าวนั้นก็ได้”

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-19

ตามมาตรา 652 นี้หมายความว่า ในการยืมใช้สิ้นเปลืองที่ไม่ได้กำ� หนดเวลาคืนทรัพย์สินที่ยืมกัน


ไว้ ผู้ให้ยืมจะมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญายืมเมื่อใดก็ได้ แต่ผู้ให้ยืมจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ผู้ยืมจัดการ
ส่งคืนทรัพย์ สินที่ยืมคืนภายในเวลาสมควร โดยก�ำหนดเวลาให้ส่งคืนทรัพย์สินไว้ในค�ำบอกกล่าวนั้นด้วย
การทีก่ ฎหมายบัญญัติให้บอกกล่าวให้ผ้ยู ืมทราบล่วงหน้าเสียก่อน ก็เพื่อให้โอกาสผู้ยืมที่จะได้มเี วลาจัดหา
ทรัพย์สินอันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันมาคืนให้แก่ผู้ให้ยืมได้ทัน ซึ่งไม่เหมือนกับการยืมใช้


คงรูปซึ่งทรัพย์สินที่ต้องส่งคืนก็คือทรัพย์สินอันเดิมที่ได้รับมอบมานั่นเอง
เมื่อถึงก�ำหนดเวลาตามค�ำบอกกล่าวตามมาตรา 652 นี้แล้ว สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองย่อมระงับลง

มส
ถ้าผูย้ มื ยังไม่สง่ คืนทรัพย์สนิ ทีย่ มื ผูใ้ ห้ยมื ก็ยอ่ มมีสทิ ธิฟอ้ งร้องเรียกให้ผยู้ มื ส่งคืนหรือเรียกเอาราคาทรัพย์สนิ
ทีย่ มื รวมทัง้ ค่าเสียหายทีผ่ ใู้ ห้ยมื ได้รบั เนือ่ งจากการทีผ่ ยู้ มื ไม่สง่ ทรัพย์สนิ ทีย่ มื คืนตามก�ำหนดเวลาทีแ่ จ้งใน
ค�ำบอกกล่าวได้
อุทาหรณ์
ฎ. 859/2515 จ�ำเลยยืมเงินจากโจทก์รวมห้าครั้งโดยไม่มีก�ำหนดเวลาให้ใช้เงิน เมื่อโจทก์ได้ส่งค�ำ
บอกกล่าวให้จำ� เลยช�ำระเงินคืนภายในเวลาหนึง่ เดือน จ�ำเลยไม่ชำ� ระเงินภายในก�ำหนดเวลานัน้ โจทก์ฟอ้ ง
บังคับช�ำระหนี้เงินพร้อมทั้งดอกเบี้ย ตาม ปพพ. มาตรา 652 ได้โดยไม่จ�ำต้องมีการบอกเลิกสัญญาเสีย
ก่อน
ฎ. 599/2535 จ�ำเลยซึง่ เป็นชาวไร่ทำ� ใบยาสูบ ยืมปุย๋ ยาบ�ำรุงใบยาสูบและยาฆ่าแมลงไปจากโจทก์

เพือ่ ใช้ในการท�ำใบยาสูบ จ�ำเลยตกลงกับโจทก์ไว้วา่ จะต้องส่งคืนสิง่ ของเมือ่ สิน้ ฤดูกาลท�ำใบยาสูบ ซึง่ อนุมาน
จาก พฤติการณ์ว่าภายในสิ้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2526 อันเป็นกรณีที่มิได้ก�ำหนดไว้ตามวันแห่งปีปฏิทิน
มส

การที่จ�ำเลยยังไม่ส่งคืนของภายในสิ้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2526 จึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่เมื่อวันที่ 2


เมษายน พ.ศ. 2529 โจทก์มีหนังสือ บอกกล่าวให้จ�ำเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่ 11 เดือนเดียวกัน จ�ำเลย
ไม่คืนของตามที่ทวงถาม จ�ำเลยจึงตกเป็น ผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2529 ต้องใช้ดอกเบี้ย
ร้อยละ 7.5 ต่อปีของราคาสิ่งของที่ส่งคืนไม่ได้นับแต่วันดังกล่าว
จะเห็นได้วา่ ตาม ฎ. 859/2515 และ 599/2535 ซึง่ ได้ยกขึน้ มานัน้ เป็นกรณีทสี่ ญ ั ญายืมใช้สนิ้ เปลือง
นัน้ ไม่ได้กำ� หนดเวลาช�ำระหนีไ้ ว้และมีการบอกกล่าวให้ชำ� ระหนีต้ ามมาตรา 652 โดยถูกต้องครบถ้วน ปัญหา

มีต่อไปว่า หากเป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 652 จะเกิดผลที่ท�ำให้ผู้ให้ยืมจะยัง
บังคับให้ผู้ยืมช�ำระหนี้ตามสิทธิของตนโดยอาศัยบทบัญญัติทั่วไปใน ปพพ. มาตรา 203 ได้อยู่หรือไม่
ในเรือ่ งนีเ้ คยมี ฎ. 873/2518 (มี ฎ. 1324/2519 วินจิ ฉัยท�ำนองเดียวกัน) วินจิ ฉัยไว้วา่ “กู้เงินไม่มี
ก�ำหนดเวลาช�ำระคืน ผู้ให้กู้เรียกให้ช�ำระเงินได้โดยพลัน ไม่จ�ำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง” โดยท่าน
ศาสตราจารย์จติ ติ ติงศภัทยิ ์ ได้กรุณาหมายเหตุไว้ทา้ ยค�ำพิพากษาศาลฎีกานีไ้ ว้วา่ “ควรสังเกตข้อวินิจฉัย
ตามมาตรา 203 ซึ่งว่าเจ้าหนี้เรียกให้ช�ำระหนี้ได้โดยพลัน จึงไม่ต้องบอกกล่าวก่อนฟ้องนั้น โดยเฉพาะ
การกู้ยืมใช้สิ้นเปลืองมีมาตรา 652 บัญญัติว่า “ถ้าในสัญญาไม่มีก�ำหนดเวลาให้คืนทรัพย์สินซึ่งยืมไป
สธ
ผู้ให้ยืมจะบอกกล่าวแก่ผู้ยืมให้คืนทรัพย์สินภายในเวลาอันควร ซึ่งก�ำหนดให้ ในค�ำบอกกล่าวนั้นก็ได้”
หาใช่เรียกให้ช�ำระหนี้โดยพลันตามมาตรา 203 ไม่ ไม่ปรากฏว่าจ�ำเลยยกมาตรานี้ขึ้นโต้แย้งแต่อย่างใด”

2-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

จากหมายเหตุทา้ ยค�ำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวนี้ ท�ำให้เกิดค�ำถามต่อมาว่า หากจ�ำเลยโต้แย้งว่า


โจทก์มิได้บอกกล่าวล่วงหน้าก่อนตามมาตรา 652 ผลของค�ำวินิจฉัยของศาลฎีกาจะเปลี่ยนไปอย่างไรหรือ
ไม่ ซึ่งในระยะเวลาต่อมามี ฎ. 3493/2525 วินิจฉัยว่า “โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ช�ำระหนี้จน
ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 686 ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้คํ้า
ประกันช�ำระหนี้ได้แต่นั้น ดังนั้นแม้ผู้คํ้าประกันจะมิได้รับหนังสือทวงถาม ผู้คํ้าประกันก็หาหลุดพ้นจาก


ความรับผิดไม่ และโจทก์ย่อมมีอ�ำนาจฟ้องผู้คํ้าประกัน โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จ�ำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกแต่ไม่ปรากฏว่าจ�ำเลยที่ 1 ได้รับ

มส
หนังสือดังกล่าวเมื่อใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เพียงแค่วันที่ลงในหนังสือนั้น ต่อจากนั้นไป
คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา”
ศาสตราจารย์จติ ติ ติงศภัทยิ ์ ได้บนั ทึกหมายเหตุทา้ ยค�ำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวนีไ้ ว้วา่ “เรื่อง
ทวงถามหนี้ในแง่ของกฎหมายลักษณะหนี้อันเป็นสารบัญญัติ เมื่อเป็นหนี้เขาแล้วก็ต้องใช้หนี้เขา ซึ่งตาม
มาตรา 194 บัญญัติว่า ด้วยอ�ำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ช�ำระหนี้ได้ มิใช่ว่าถ้าไม่
ทวงถามก็ไม่มีอ�ำนาจเรียกให้ช�ำระหนี้หรือถ้ายังไม่ทวง ลูกหนี้ก็ยังไม่ต้องช�ำระหนี้ การทวงถามเป็นแค่
“ค�ำเตือน” ตามมาตรา 204 ซึ่งมีผลให้ลูกหนี้ผิดนัดในกรณีหนี้ที่มิได้ก�ำหนดช�ำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน
เท่านั้น… ถ้าเจ้าหนี้ ฟ้องคดีเช่นนี้โดยไม่ปรากฏว่าได้บอกกล่าวก่อนก็ถือว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิของ
เขาตามมาตรา 194 มาตรา 203 …ถ้าจ�ำเลยให้การปฏิเสธหนี้ก็คงแน่ชัดว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกันแล้ว ถ้า

จ�ำเลยรับว่าเป็นหนี้จริง หรือถือได้ว่าจ�ำเลยรับว่าเป็นหนี้จริงตามฟ้อง แต่อ้างว่าโจทก์ฟ้องไม่บอกกล่าว
ก่อน ค�ำฟ้องนั้นเองก็เป็นการบอกกล่าวอยู่ในตัวและคงไม่ใช่วิสัยที่ศาลจะให้ความยุติธรรมโดยยกฟ้อง
มส

เพราะโจทก์ไม่บอกกล่าวก่อนจึงไม่มีอ�ำนาจฟ้อง ทั้งที่จ�ำเลยก็รบั ว่าเป็นหนี้โจทก์จริง นอกจากจะเป็นกรณี


ที่เห็นได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามมาตรา 5… หรือมีแต่จะท�ำให้จ�ำเลยเสียหายตามมาตรา 421 ศาล
ก็คงยกฟ้องได้…”
อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้มี ฎ. 2103/2535 วินิจฉัยไว้อีกว่า “สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จ�ำเลย
ไม่ได้กำ� หนดเวลาช�ำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ผใู้ ห้กยู้ อ่ มจะเรียกให้จำ� เลยผูก้ ชู้ ำ� ระหนีไ้ ด้โดยพลัน ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และมีอ�ำนาจฟ้องให้จ�ำเลยช�ำระหนี้โดยไม่จ�ำต้องบอก

กล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 652 ก่อนก็ได้ จึงไม่จ� ำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่า
โจทก์บอกกล่าวให้จ�ำเลยช�ำระหนี้ก่อนฟ้องแล้วหรือไม่”
จากค�ำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวประกอบกับความเห็นของศาสตราจารย์จิตติ
ติงศภัทิย์ที่ได้ยกขึ้นมาแล้วนั้น ตลอดจนถ้อยค�ำในมาตรา 652 เอง ซึ่งใช้ค�ำว่า “ก็ได้” ไว้ในตอนท้าย
ผู้เขียนสรุปได้ว่า ในสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ซึ่งไม่ได้ก�ำหนดเวลาช�ำระหนี้กันไว้นั้น
หากโจทก์หรือเจ้าหนี้มิได้ปฏิบัติตามมาตรา 652 คือมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกหนี้ช�ำระหนี้ แม้จ�ำเลย
หรือลูกหนี้จะโต้แย้งขึ้นในประเด็นนี้ในขณะที่ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริง ศาลก็ยังหาทางออกด้วยเหตุผล
สธ
เพือ่ ความยุตธิ รรมโดยถือว่าเป็นการทีเ่ จ้าหนีใ้ ช้สทิ ธิ ตาม ปพพ. มาตรา 194, 203 อันเป็นบทบัญญัตทิ วั่ ไป
เท่ากับพิจารณาว่ามาตรา 652 ไม่มผี ลบังคับเคร่งครัดเด็ดขาดต่อเจ้าหนีซ้ งึ่ มิได้ปฏิบตั ติ ามบทบัญญัตนิ หี้ าก
ลูกหนีย้ อมรับว่าเป็นหนีเ้ ขาจริง ซึง่ เท่ากับว่าไม่ได้โต้แย้งสิทธิ และไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีทเี่ จ้าหนีใ้ ช้สทิ ธิไม่

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-21

สุจริตหรือมีแต่จะท�ำให้ลกู หนีเ้ สียหาย เช่นนีจ้ ะถือได้หรือไม่วา่ ศาลพิจารณาว่ามาตรา 652 ไม่ใช่บทยกเว้น


ของมาตรา 203 แต่เป็นการให้ทางเลือกแก่เจ้าหนีว้ า่ จะปฏิบตั ติ ามมาตรา 652 หรือไม่กไ็ ด้ ซึง่ อาจเป็นการ
วินจิ ฉัยโดยพิจารณาจากสภาพสังคมในปัจจุบนั ทีค่ วามเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการคมนาคม
สื่อสาร และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ท�ำให้อุปสรรคในการที่จะต้องให้เวลาแก่ลูกหนี้ในการจัดเตรียมหา
ทรัพย์สินอันเป็นประเภท ชนิด และประมาณเดียวกันกับที่ยืมเจ้าหนี้ไปมาคืนให้แก่เขานั้นลดน้อยลงแล้ว


หรือเกือบจะไม่มีเลย จึงต้องให้ความยุติธรรมแก่เจ้าหนี้ซึ่งอาจเลือกที่จะไม่ปฏิบัติในขั้นตอนของการบอก
กล่าวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่สุจริต และในเมื่อลูกหนี้ก็ยอมรับว่าเป็นหนี้เขาจริง ศาลก็ไม่อาจตัดฟ้อง

มส
โจทก์เพียงเพราะสาเหตุไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องการบอกกล่าวให้ช�ำระหนี้ก่อนฟ้อง5 โดยถือว่า
ค�ำฟ้องนั้นเองเป็นการบอกกล่าวอยู่ในตัวแล้ว
อนึ่ง ในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนี้มีเรื่องที่ต้องปฏิบัติเกี่ยวข้องอยู่ด้วย
ใน ท�ำนองเดียวกับสัญญายืมใช้คงรูป คือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม และสถานที่ส่งคืน
ทรัพย์สินที่ยืม กล่าวคือ
ค่าใช้จ่ายในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม สัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองมีบทบัญญัตเิ กีย่ วกับค่าใช้จา่ ยในการ
ส่งคืน ทรัพย์สนิ ทีย่ มื ไว้เป็นพิเศษเช่นเดียวกับในเรือ่ งการยืมใช้คงรูป ตามมาตรา 651 ซึง่ บัญญัตไิ ว้วา่ “…
ค่าส่งคืน ทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย”
เหตุผลก็เป็นท�ำนองเดียวกับสัญญายืมใช้คงรูป กล่าวคือ สัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองมีลกั ษณะส�ำคัญที่

ผู้ยืม ได้รับประโยชน์จากสัญญาแต่เพียงฝ่ายเดียว แม้ในบางกรณีสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองบางสัญญาอาจมี
ค่าตอบแทน แก่ผใู้ ห้ยมื ด้วยก็ตาม แต่กย็ งั ถือว่าสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองซึง่ เป็นสัญญาไม่ตา่ งตอบแทนนัน้ ถือ
มส

ประโยชน์ของผูย้ มื เป็นสาระส�ำคัญ กฎหมายจึงบัญญัตใิ ห้ฝา่ ยผูย้ มื เป็นผูเ้ สียค่าใช้จา่ ยในการส่งคืนทรัพย์สนิ


ที่ยืม เช่น ค่าพาหนะ ค่าอากรแสตมป์ หรือค่าระวางขนส่ง ฯลฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คู่สัญญาอาจตกลง
กันเป็นอย่างอืน่ นอกเหนือจากทีบ่ ญ ั ญติไว้ในมาตรา 651 ก็ได้ เพราะไม่ใช่บทบัญญัตทิ เี่ กีย่ วด้วยความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทัง้ นีก้ รณีเป็นเข่นเดียวกับมาตรา 642 ในสัญญายืมใช้คงรูปทีไ่ ด้
กล่าวมาแล้ว
สถานที่ส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม เช่นเดียวกับกรณีของสัญญายืมใช้คงรูป ในเรือ่ งการยืมใช้สนิ้ เปลือง

นี้ไม่มี บทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในเรื่องสถานที่ส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม จึงต้องน�ำหลักทั่วไปเรื่องการช�ำระ
หนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 324 มาใช้บงั คับ กล่าวคือ การส่งคืนทรัพย์สนิ ทีย่ มื ตามสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองต้อง
ส่งคืน ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิล�ำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้ หากไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าจะช�ำระกันที่ใด ตามความ
ใน ปพพ. มาตรา 324 ตอนท้าย ซึ่งบัญญัติว่า “…ส่วนการช�ำระหนี้โดยประการอื่น ท่านว่าต้องช�ำระ ณ
สถานที่ซึ่งเป็นภูมิล�ำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้”
การที่จะบังคับให้เป็นไปตามมาตรานี้ ก็คือ หากคู่สัญญาได้ตกลงกันไว้ว่าให้ส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม
กัน ณ สถานทีใ่ ด ก็ตอ้ งปฏิบตั ใิ ห้เป็นไปตามนัน้ แต่หากไม่ได้มกี ารตกลงกันไว้เนือ่ งจากทรัพย์สนิ ทีย่ มื ตาม
สธ
5 ดูความเห็นของท่านอาจารย์โสภณ รัตนากร ประกอบ จาก รวมคำ�บรรยายภาค 1 สมัย 4 ของสำ�นักอบรมกฎหมาย
เนติบัณฑิตยสภา, พ.ศ. 2537 เล่ม 5 น. 141

2-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

สัญญายืมใช้ สิน้ เปลืองมีลกั ษณะทีม่ ใิ ช่ทรัพย์เฉพาะสิง่ ซึง่ ไม่อาจหาของอืน่ มาแทนได้ แต่กลับเป็นทรัพย์สนิ


ซึ่งอาจหาของอื่น เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันมาแทนได้ เมื่อเวลาจะส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมจึง
ต้องส่งคืน ณ ภูมิล�ำเนา ปัจจุบันของเจ้าหนี้ซึ่งแตกต่างจากสัญญายืมใช้คงรูปในเรื่องดังกล่าว
ขอให้สงั เกตว่าบทบัญญัตใิ นส่วนทีเ่ กีย่ วกับความระงับของสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ มีกล่าวไว้โดย
เฉพาะในเรื่องก�ำหนดเวลายืมตามมาตรา 652 เท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องความระงับของสัญญา


เป็นกรณีพิเศษเช่นในสัญญายืมใช้คงรูป เช่น ในเรื่องการตายของผู้ยืม หรือการให้สิทธิผู้ให้ยืมในการบอก
เลิกสัญญาเพราะผูย้ มื ผิดสัญญาหรือไม่ปฏิบตั หิ น้าทีข่ องผูย้ มื ในการใช้ทรัพย์หรือสงวนรักษาทรัพย์สนิ อย่าง

มส
เช่นในสัญญายืมใช้คงรูป ทัง้ นีเ้ พราะลักษณะของสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ เป็นกรณีทผี่ ใู้ ห้ยมื โอนกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สนิ ชนิดใช้ไปสิน้ ไปให้แก่ผยู้ มื ไปใช้สอยตามความพอใจโดยผูใ้ ห้ยมื ไม่มสี ทิ ธิเข้าไปเกีย่ วข้อง ทรัพย์
นัน้ จะเสียหายหรือสูญหายไปในระหว่างการใช้อย่างไรก็เป็นเรือ่ งทีผ่ ยู้ มื จะต้องรับผลแห่งภัยพิบตั นิ นั้ เอง และ
จะสงวนรักษาทรัพย์สนิ นัน้ อย่างไรหรือไม่กเ็ ป็นเรือ่ งของผูย้ มื เองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หลักในเรือ่ ง
ถือเอาความส�ำคัญเฉพาะตัวผูย้ มื ก็ไม่นำ� มาใช้เพราะผูใ้ ห้ยมื มีสทิ ธิเพียงแต่จะได้รบั ทรัพย์สนิ อันเป็นประเภท
ชนิด และปริมาณเดียวกับทีไ่ ด้ให้ ยืมกลับคืนไปตามสัญญาเท่านัน้ ดังนัน้ ในสัญญายืมใช้สนิ้ เปลือง แม้ผยู้ มื
จะตายลงก่อนครบก�ำหนด เวลาส่งคืนทรัพย์ สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองก็ไม่ระงับ ทายาทหรือผูจ้ ดั การมรดก
ของผู้ยืมยังจะต้องรับผิดในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมคืนให้แก่ผู้ให้ยืม ตาม ปพพ. มาตรา 1600 โดยผู้ให้ยืม
ก็ต้องใช้สิทธิเรียกคืนโดยค�ำนึงถึง ปพพ. มาตรา 1754 วรรคสามตามที่กล่าวมาแล้วด้วย หรือแม้ทรัพย์สิน

นั้นจะสูญหายไปทั้งหมดสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองก็ไม่ระงับ ผู้ยืมยังคงมีหน้าที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินอันเป็น
ประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับที่ยืมมาให้แก่ผู้ให้ยืมตามสัญญาอยู่นั่นเอง ต่อเมื่อมีการส่งคืน
มส

ทรัพย์สินที่ยืมเสร็จสิ้นแล้วจึงจะมีผลให้สัญญาระงับลง

กิจกรรม 2.2.1
ความระงับของสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองโดยทั่วไปมีกรณีใดบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 2.2.1

ไว้ในสัญญา
สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองระงับลงในกรณีต่อไปนี้คือ

1. ถ้าเวลายืมได้กำ� หนดกันไว้ในสัญญา สัญญายืมย่อมระงับไป เมือ่ พ้นก�ำหนดเวลาทีไ่ ด้ตกลงกัน

2. ถ้าเวลายืมไม่ได้กำ� หนดไว้ในสัญญา ผูใ้ ห้ยมื จะบอกเลิกสัญญาเมือ่ ใดก็ได้ แต่จะต้องบอกกล่าว


ให้ผู้ยืมได้ทราบล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ยืมจัดการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมภายในเวลาสมควร โดยก� ำหนดเวลาให้ส่ง
คืนทรัพย์สิน ไว้ในค�ำบอกกล่าวด้วย และเมื่อถึงก�ำหนดเวลาตามค�ำบอกกล่าวแล้วสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
สธ
ย่อมระงับลง

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-23

เรื่องที่ 2.2.2
การช�ำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน


จากทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วว่าการกูย้ มื เงินก็เป็นการยืมใช้สนิ้ เปลืองอย่างหนึง่ แต่เนือ่ งจากทรัพย์อนั เป็น
วัตถุ แห่งสัญญากู้ยืมเงิน เป็นเงินตราซึ่งมีลักษณะพิเศษในตัวของมันเองแตกต่างจากทรัพย์ประเภทอื่น

มส
เนือ่ งจากเป็นวัตถุกลางแห่งการแลกเปลีย่ น ซึง่ หากใครได้ไปโดยสุจริตแล้วเจ้าของก็จะมาติดตามเอาคืนไม่
ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1331 ซึง่ ได้กล่าวมาแล้ว ดังนัน้ ในเรือ่ งการกูย้ มื เงินจึงมีบทบัญญัตพิ เิ ศษในลักษณะยืม
แตกต่างจากการยืมใช้สิ้นเปลืองโดยทั่วไป
ความระงับหนีข้ องสัญญากูย้ มื เงินในบทบัญญัตแิ ห่งกฎหมายลักษณะยืม ก็คอื การช�ำระหนีเ้ งินกูย้ มื
แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าหนี้กู้ยืมเงินจะระงับลงได้ก็แต่เพียงการช�ำระหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น เพราะยังมี
บทบัญญัติทั่วไปในบรรพ 2 หมวด 5 ว่าด้วยความระงับหนี้ ซึ่งบัญญัติถึงกรณีที่หนี้ทั้งหลายอาจจะระงับ
ไปด้วยเหตุอนื่ นอกจากการช�ำระหนีก้ ไ็ ด้ เช่น ปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ แปลงหนีใ้ หม่ หรือหนีเ้ กลือ่ นกลืนกัน
หนีก้ ยู้ มื เงินก็เช่นเดียวกัน อาจระงับไปด้วยเหตุอนื่ ดังกล่าวนีไ้ ด้ ดังนัน้ จึงต้องศึกษาบทบัญญัตใิ นบรรพ 2
หมวดที่ 5 ว่าด้วยความระงับหนีป้ ระกอบด้วย ในทีน่ จี้ ะกล่าวเฉพาะการช�ำระหนีเ้ งินกูย้ มื ตามบทบัญญัตใิ น

กฎหมายลักษณะยืมเท่านั้น และจะกล่าวเพียงสังเขปเพื่อให้ท�ำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนจะศึกษาราย
ละเอียดในหน่วยที่ 3 การกู้ยืมเงิน ต่อไป
การช�ำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ก็คือการใช้เงินที่ยืมพร้อมทั้งดอกเบี้ยที่ตกลงช�ำระให้ โดยปกติ
มส

การช�ำระหนี้กู้ยืมก็ต้องเป็นการส่งใช้เงินที่ยืมมาทั้งหมด จะช�ำระเพียงบางส่วน หรือช�ำระด้วยสิ่งของหรือ


ช�ำระเป็นอย่างอืน่ นอกจากเงินทีย่ มื ไม่ได้ เว้นแต่เจ้าหนีจ้ ะยินยอมด้วย (ปพพ. มาตรา 320, 321) การช�ำระหนี้
ตามสัญญากู้ยืมเงินจึงอาจแยกพิจารณาได้ 2 ประการ คือ
1. การช�ำระด้วยเงิน
2. การช�ำระด้วยทรัพย์สินหรือสิ่งของอื่น

1. การช�ำระด้วยเงิน เนือ่ งจากการกูย้ มื เงินนัน้ มีบทบัญญัตพิ เิ ศษเกีย่ วกับเรือ่ งหลักฐานเป็นหนังสือ
ไว้ เพือ่ ผลในการฟ้องร้องบังคับคดีกนั ในระหว่างผูใ้ ห้กแู้ ละผูก้ ตู้ ามมาตรา 653 วรรคหนึง่ ซึง่ บัญญัตใิ ห้การ
กู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเป็นส�ำคัญ ในการช�ำระหนี้เงิน
กู้ยืมก็อาจมีปัญหาโต้เถียงกันได้ว่าหนี้เงินกู้นั้นได้ชำ� ระกันแล้วหรือยัง มาตรา 653 วรรคสอง จึงบัญญัติไว้
ว่า “ในการกูย้ มื เงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนัน้ ท่านว่าจะน�ำสืบการใช้เงินได้ตอ่ เมือ่ มีหลักฐานเป็นหนังสือ
อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือ ชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืน
แล้วหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสาร นั้นแล้ว”
สธ
โดยหลักการแล้วการกู้ยืมเงินกันไม่เกินสองพันบาท กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็น
หนังสือลงลายมือชือ่ ผูก้ ู้ ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกนั ได้แล้ว ดังนัน้ การช�ำระหนีเ้ งินกูใ้ นจ�ำนวนเงินไม่เกิน
สองพันบาท ผูก้ กู้ ส็ ามารถพิสจู น์การช�ำระหนีไ้ ด้ดว้ ยการน�ำพยานบุคคลมาสืบโดยไม่จำ� ต้องมีหลักฐานเป็น

2-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

หนังสือแสดงการรับช�ำระหนี้ของผู้ให้กู้ หรือต้องมีการแทงเพิกถอนหรือเวนคืนเอกสารแต่อย่างใด เพราะ


ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานอะไรที่จำ� ต้องน�ำมาพิสูจน์ แต่ตามมาตรา 653 วรรคสอง นี้หมายความว่า หาก
ในการกูย้ มื เงินนัน้ ได้มกี ารท�ำหลักฐานเป็นหนังสือกันไว้ไม่วา่ จะเป็นจ�ำนวนเท่าใด การทีผ่ กู้ ยู้ มื จะพิสจู น์วา่
ได้มกี ารช�ำระหนีเ้ งินกูไ้ ปแล้ว ก็จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมีขอ้ ความแสดงว่าผูใ้ ห้กไู้ ด้รบั ช�ำระเงินจ�ำนวน
นั้นแล้ว และมีลายมือชื่อผู้ให้กู้ในหลักฐานนั้นมาแสดง หรือมิฉะนั้นก็ต้องมีการเวนคืนเอกสารอันเป็น


หลักฐานแห่งการกู้ยืม กล่าวคือ ผู้ให้กู้ส่งมอบหนังสือสัญญากู้หรือหลักฐานการกู้ยืมที่ผู้กู้ยืมได้ท�ำไว้คืนให้
แก่ผู้กู้ หรือได้มีการแทงเพิกถอนลงในเอกสารดังกล่าวนั้น คือ มีการบันทึกข้อความลงในเอกสารนั้นโดย

มส
ผู้ให้กู้แสดงว่าสัญญากู้ได้ระงับลงแล้วโดยการช�ำระเงินกู้ยืม ดังนั้น หากไม่มีการกระท�ำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในมาตรา 653 วรรคสองนี้ ผู้กู้จะน�ำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการช�ำระหนี้แล้วไม่ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 110/2480 กู้เงินกันแม้จะไม่เกินกว่า 50 บาท (ปัจจุบัน 2,000 บาท) ถ้าหากได้ท�ำหนังสือไว้
เป็นหลักฐาน การใช้เงินก็ตอ้ งมีหลักฐานเป็นหนังสือ ผูก้ จู้ ะน�ำพยานบุคคลมาสืบว่าได้ใช้เงินตามสัญญาแล้ว
ไม่ได้ ต้องบังคับ ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรคสาม (หมายเหตุ-ค�ำพิพากษาศาลฎีกานีต้ ดั สินตามกฎหมาย
เก่าก่อนมีการแก้ไขจ�ำนวนเงินตามมาตรา 653 ในปัจจุบัน-ผู้เขียน)
นอกจากนี้ มาตรา 653 วรรคสอง นีใ้ ช้บงั คับเฉพาะกรณีการช�ำระหนีต้ น้ เงินเท่านัน้ ไม่รวมถึงการ
ช�ำระดอกเบี้ยด้วย ดังนั้น การช�ำระดอกเบี้ยเงินกู้นั้นแม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงก็สืบพยาน

บุคคลแทนได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 653 วรรคสอง (ฎ. 243/2530, ฎ. 936/2504)
2. การช�ำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหรือสิ่งของอื่น เรื่องนี้มีมาตรา 656 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า ถ้า
มส

ท�ำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการช�ำระหนี้แทนเงินที่กู้
ยืมแล้ว หนี้ก็เป็นอัน ระงับไปได้ แต่การคิดราคาทรัพย์สินหรือสิ่งของนั้นต้องคิดตามราคาซื้อขาย ณ เวลา
และสถานทีท่ ไี่ ด้นำ� ทรัพย์สนิ หรือสิง่ ของอืน่ นัน้ มาช�ำระ เช่น ถ้ากูย้ มื เงินไป 1,000 บาท แล้วเจ้าหนีย้ อมรับ
เอาข้าวเปลือกจ�ำนวน 5 ถัง มาใช้หนี้แทนเงินก็ย่อมท�ำได้ แต่ต้องคิดราคาข้าวเปลือกในเวลาและสถานที่
ที่ได้น�ำข้าวเปลือกมาช�ำระแทนเงินนั้น เมื่อคิดราคาได้เป็นจ�ำนวนเงินเท่าใด จึงเอาไปหักกับหนี้เงินกู้ หลัง
จากนัน้ จึงจะรูว้ า่ หนีเ้ งินนัน้ ระงับไปมากน้อยเพียงใด ดังนัน้ ตามอุทาหรณ์ ถ้าในเวลาและสถานทีท่ ชี่ ำ� ระข้าว

เปลือกแทนเงินนัน้ ราคาข้าวเปลือก 5 ถัง ราคา 1,500 บาท ผูใ้ ห้กกู้ ต็ อ้ งคืนส่วนทีเ่ กินให้แก่ผกู้ ู้ แต่ถา้ ราคา
เพียง 900 บาท ก็ถือว่าผู้กู้ได้ช�ำระเงินคืนให้แก่ผู้ให้กู้เท่าจ�ำนวนราคาข้าวเปลือกนั้น
นอกจากการช�ำระหนีด้ ว้ ยทรัพย์สนิ หรือสิง่ ของอืน่ แล้ว ยังอาจมีการช�ำระหนีอ้ ย่างอืน่ ได้อกี ถ้าเจ้าหนี้
หรือ ผู้ให้กู้ยินยอมด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามหลักทั่วไปใน ปพพ. มาตรา 321 เช่น กู้ยืมเงินกัน แล้วต่อมาผู้ให้
กู้ยอมให้ผู้กู้มาท�ำงานให้แทนการช�ำระหนี้เป็นเงินก็ได้ เมื่อผู้กู้ทำ� งานครบตามก�ำหนดเวลาตามที่ตกลงกัน
หนี้เงินกู้ยืมก็ระงับไป โดยการช�ำระหนี้อย่างอื่น ตาม ปพพ. มาตรา 321
อนึ่ง ขอให้สังเกตว่า การน�ำสืบเรื่องการช�ำระหนี้ด้วยทรัพย์สินหรือสิ่งของอื่นหรือช�ำระอย่างอื่น
สธ
แทนการช�ำระเป็นเงินนั้น ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 653 วรรคสอง ผู้กู้จึงน�ำพยานบุคคลมาสืบได้ไม่ต้อง
ห้าม

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-25

อุทาหรณ์
ฎ. 905/2497 การกูเ้ งินมีหลักฐานเป็นหนังสือผูก้ นู้ ำ� พยานบุคคลมาสืบได้วา่ ผูใ้ ห้กยู้ อมรับการช�ำระหนี้
อย่างอื่นแทนเงินกู้
ฎ. 1051/2503 จ�ำเลยให้การรับว่าได้ท�ำสัญญายืมเงินโจทก์จริง แต่โจทก์ได้ยอมรับช�ำระหนี้ด้วย
ข้าวเปลือกแทนเงินตามสัญญายืม ดังนี้ หนี้เป็นอันระงับสิ้นไป ตาม ปพพ. มาตรา 321 จ�ำเลยย่อมสืบได้


ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 653 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 905/2497)
ฎ. 1496/2503 ท�ำหนังสือสัญญากู้เงินกัน แล้วต่อมาตกลงช�ำระหนี้ด้วยทรัพย์อย่างอื่น แม้จะมิได้

มส
ท�ำหลักฐานการช�ำระหนี้หรือเวนคืนหรือแทงเพิกถอนหนังสือสัญญากู้ก็ย่อมน�ำสืบการช�ำระหนี้เช่นนั้นได้
ฎ. 767/2505 การช�ำระหนีเ้ งินกูด้ ว้ ยเช็ค เป็นการช�ำระหนีด้ ว้ ยการออกตัว๋ เงิน ตาม ปพพ. มาตรา
321 วรรค สาม ถือว่าเป็นการช�ำระหนี้อย่างอื่นอันมิใช่การช�ำระหนี้ด้วยเงิน ผู้กู้จึงน�ำพยานบุคคลมาสืบได้
ไม่ต้องห้าม ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรคสอง
ฎ. 182/2518 ออกเช็คใช้หนีเ้ งินกูเ้ ป็นการช�ำระหนีด้ ว้ ยของอืน่ เมือ่ โจทก์ยอมรับและได้รบั เงินตาม
เช็คแล้ว หนี้ก็ระงับ จ�ำเลยน�ำสืบการใช้เงินโดยพยานบุคคลได้

กิจกรรม 2.2.2

การช�ำระหนี้เงินกู้ยืมในจ�ำนวนไม่เกินสองพันบาท ผู้กู้ยืมน�ำพยานบุคคลน�ำสืบพิสูจน์ได้เสมอไป
หรือไม่
มส

แนวตอบกิจกรรม 2.2.2
โดยหลักแล้ว การกู้ยืมเงินไม่เกินสองพันบาท กฎหมายไม่บังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลง
ลายมือชื่อผู้กู้ยืม ดังนั้น ในการช�ำระหนี้เงินกู้ยืมนี้ก็ไม่จำ� ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ยืม
แสดงการรับช�ำระหนี้แล้วมาแสดง หากเกิดปัญหาโต้เถียงกัน ผู้กู้ยืมน�ำพยานบุคคลมาสืบได้ แต่หากได้มี
การท�ำหลักฐานการกูย้ มื ไว้เป็นหนังสือแล้ว แม้เงินทีก่ ยู้ มื จะไม่เกินสองพันบาท การพิสจู น์วา่ ได้มกี ารช�ำระ

หนี้เงินกู้ยืมแล้ว ก็ต้องกระท�ำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตาม มาตรา 653 วรรคสอง ผู้กู้ยืมจะน�ำพยานบุคคล
มาสืบแทนไม่ได้
สธ

2-26 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 2.2.3
อายุความแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง


เนื่องจากสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมตกเป็นของผู้ยืมในทันทีที่ผู้ให้ยืม
ส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมแก่ผู้ยืม ในเรื่องสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของผู้ให้ยืม ตาม ปพพ. มาตรา 1336

มส
จึงไม่มี ผูย้ มื คงมีหนีแ้ ต่เพียงทีจ่ ะต้องคืนทรัพย์สนิ เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับทีย่ มื ไปให้แก่
ผูใ้ ห้ยมื เท่านัน้ ดังนัน้ สิทธิเรียกร้องของผูใ้ ห้ยมื ทีจ่ ะให้ผยู้ มื คืนทรัพย์สนิ ตามสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ (ไม่
ว่าวัตถุแห่งสัญญาจะเป็นสิ่งของหรือเป็นเงินก็ตาม) จึงเป็นสิทธิเรียกร้องให้ช�ำระหนี้ตามธรรมดา ซึ่งต้อง
น�ำหลักทัว่ ไปในเรือ่ งอายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 มาใช้บงั คับ เนือ่ งจากไม่มบี ทบัญญัตพิ เิ ศษ คือ
10 ปี นับแต่ที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ตาม ปพพ. มาตรา 193/12 ซึ่งแยกอธิบายได้ ดังนี้
1. ถ้าเป็นการยืมมีก�ำหนดเวลา อายุความ 10 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นก�ำหนดเวลายืมอันเป็นวัน
ที่ผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกร้องให้คืนทรัพย์สินที่ยืม
2. ถ้าเป็นการยืมไม่มีก�ำหนดเวลา แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
2.1 กรณีที่มีการบอกกล่าวเรียกทรัพย์สินคืนโดยก�ำหนดเวลาให้ในค�ำบอกกล่าวตามมาตรา

652 อายุความ 10 ปี เริ่มนับตั้งแต่เมื่อพ้นก�ำหนดเวลาในค�ำบอกกล่าวเลิกสัญญาของผู้ให้ยืม
2.2 กรณีไม่มีการบอกกล่าวเรียกทรัพย์สินคืน อายุความ 10 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่สัญญายืม
เกิดขึ้น เพราะเป็นขณะแรกที่จะบอกกล่าวเรียกทรัพย์สินคืนได้
มส

อุทาหรณ์
ฎ. 422/2478, ฎ. 22/2479 อายุความฟ้องเรียกเงินกูไ้ ม่มกี ฎหมายบัญญัตไิ ว้เป็นอย่างอืน่ ต้องถือว่า
มีกำ� หนดอายุความ 10 ปี
นอกจากนี้ สัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองไม่มบี ทบัญญัตเิ กีย่ วกับอายุความในเรือ่ งค่าทดแทน เหมือนเช่น
ในสัญญายืมใช้คงรูป ทั้งนี้เพราะไม่มีค่าทดแทนในการที่ท�ำให้ทรัพย์เสียหาย เนื่องจากเมื่อผู้ยืมได้ทรัพย์

นั้นมาก็เป็นการได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ยืมนั้นมาเป็นของตน ดังนั้นทรัพย์จะเสียหายหรือบุบสลาย
ไปอย่างไรก็เป็นเรื่องที่ผู้ยืมจะต้องรับบาปเคราะห์ในผลพิบัตินั่นเอง เมื่อครบก�ำหนดเวลายืมก็ต้องส่งคืน
ทรัพย์ใหม่อันเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกับที่ยืมไปให้แก่ผู้ให้ยืม ดังนั้น อายุความในเรื่องค่า
ทดแทนจึงไม่มีเหมือนเช่นในสัญญายืมใช้คงรูป
อนึง่ ส�ำหรับสัญญากูย้ มื เงินนัน้ อาจมีกำ� หนดเวลาช�ำระกันเป็นงวดๆ และมีการเรียกดอกเบีย้ เป็น
ค่า ตอบแทนในการให้กู้ยืมรวมอยู่ด้วย ดังนั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องเรียกเงินที่ผ่อนช�ำระเป็นงวดๆ
ซึ่งก�ำหนดไว้แน่นอนก็ดี หรือในการเรียกดอกเบี้ยที่ผู้กู้ค้างช�ำระอยู่ก่อนฟ้องก็ดี ก็ต้องบังคับกันโดยอายุ
สธ
ความ 5 ปี ตามบท บัญญัติใน ปพพ. มาตรา 193/33 (1),(2)

สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง 2-27

อุทาหรณ์
ฎ. 1187/2482 สิทธิเรียกร้องดอกเบีย้ ซึง่ มีกำ� หนดอายุความ 5 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 166 (ปัจจุบนั
มาตรา 193/33) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างส่งอยู่ก่อนฟ้อง ส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะใช้เงิน
เสร็จนั้น ไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้จนกว่าลูกหนี้จะใช้เงินเสร็จ ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา
166 (ปัจจุบัน มาตรา 193/33)


ฎ. 275/2487 แม้ในสัญญากูจ้ ะเขียนไว้วา่ ผ่อนช�ำระเป็นงวดก็ดี ถ้าไม่มขี อ้ ความว่าจะใช้กงี่ วด งวด
ละเท่าใด และใช้เมื่อใดแล้ว ถือว่าคดีไม่อยู่ในบังคับอายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 166 (ปัจจุบันมาตรา
193/33)

กิจกรรม 2.2.3
มส
เหตุใดในสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองจึงไม่น�ำ ปพพ. มาตรา 1336 มาใช้บังคับ และไม่มีก�ำหนดอายุ
ความในเรื่องค่าทดแทนดังเช่นในสัญญายืมใช้คงรูป

แนวตอบกิจกรรม 2.2.3
สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมตกเป็นของผู้ยืมในทันทีที่มีการส่งมอบ ใน

เรื่องสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของผู้ให้ยืม ตาม ปพพ. มาตรา 1336 จึงไม่มี ผู้ยืมคงมีหนี้แต่เพียงที่จะ
ต้องคืนทรัพย์สนิ เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับทีย่ มื ไปให้แก่ผใู้ ห้ยมื เท่านัน้ ดังนัน้ สิทธิเรียกร้อง
มส

ของผูใ้ ห้ยมื ทีจ่ ะให้ผยู้ มื คืนทรัพย์สนิ ตามสัญญายืมใช้สนิ้ เปลืองนัน้ (ไม่วา่ วัตถุแห่งสัญญาจะเป็นสิง่ ของหรือ
เป็นเงินก็ตาม) จึงเป็นสิทธิเรียกร้องให้ช�ำระหนี้ตามธรรมดา ซึ่งต้องน�ำหลักทั่วไปในเรื่องอายุความ ตาม
ปพพ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับ และเมื่อสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองมีลักษณะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สนิ ทีย่ มื ให้แก่ผยู้ มื ผูย้ มื จะใช้ทรัพย์สนิ ทีย่ มื อย่างไรก็ได้ หรือแม้ทรัพย์สนิ นัน้ สูญหายหรือบุบสลายไป
ก็เป็นเรื่องภัยพิบัติตกแก่ผู้ยืมเอง ผู้ให้ยืมจึงไม่มีสิทธิในการเรียกค่าทดแทนในการใช้ทรัพย์สินโดยไม่ชอบ
หรือไม่สงวนรักษาทรัพย์สินดังเช่นในสัญญายืมใช้คงรูป ก�ำหนดอายุความในการเรียกค่าทดแทนดังกล่าว
จึงไม่มี ม
สธ

2-28 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บรรณานุกรม

กมล สนธิเกษตริน. (2521). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืมและฝากทรัพย์. คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จี๊ด เศรษฐบุตร. (2492). ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง.

มส
บัญญัติ สุชีวะ. (2506). “ประมาท” บทบัณฑิตย์. เล่ม 21 ตอน 2 เมษายน พ.ศ. 2506.
ประวัติ ปัตตพงศ์. (2487). ค�ำสอนชั้นปริญญาตรีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฯลฯ. พระนคร.
ประเสริฐมนูกิจ, หลวง. (2477). ค�ำสอนชั้นปริญญาตรีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฯลฯ. พระนคร.
พจน์ ปุษปาคม. (2521). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยยืม กูย้ มื ฝากทรัพย์. นิตบิ รรณาการ.
ศักดิ์ สนองชาติ. (2524). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยนิตกิ รรมและสัญญา. (พิมพ์ครัง้ ที่ 2).
นิติบรรณาการ.
สุปัน พูลพัฒน์. (2515). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พระนคร.
เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2505). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้. เล่ม 1 (ภาค 1-2)
พ.ศ. 2478 แก้ไขเพิ่มเติม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นิติบรรณาการ.

มส


สธ

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-1

หน่วย​ที่ 3
การ​กู้​ยืม​เงิน


รอง​ศาสตราจารย์​เพ​ชรา จารุ​สกุล

มส

มส


ชื่อ รอง​ศาสตราจารย์​เพ​ชรา จารุ​สกุล
วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยม​ดี), น.ม. มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์
น.บ.ท., ประกาศนียบัตร​กฎหมาย​ทรัพย์สินท​ าง​ปัญญา
สธ
สำ�นัก​อบรม​ศึกษาแห่งเ​นติ​บัณฑิตย​ ​สภา
ตำ�แหน่ง อาจารย์พิเศษสาขา​วิชา​นิติศาสตร์
มหาวิทยาลัย​สุโขทัย​ธร​รมาธิ​ราช
หน่วย​ที่​ปรับปรุง หน่วย​ที่ 3

3-2 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

แผนการ​สอน​ประจำ�​หน่วย

ชุด​วิชา กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย


หน่วย​ที่ 3 การ​ก​ยู้ ืม​เงิน

ตอน​ที่
3.1
3.2
3.3
3.4
มสลักษณะ​ทั่วไป​ของ​การ​ก​ยู้ ืมเ​งิน
การ​กู้​ยืม​เงิน​ใน​ลักษณะ​อื่น​และ​การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย
ดอกเบี้ย
ความ​ระงับ​แห่ง​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​และ​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงินก​ ู้

แนวคิด
1. ก าร​กย​ู้ มื เ​งินเ​ป็นน​ ติ กิ รรม​สญั ญา​ชนิดห​ นึง่ ทีม​่ ค​ี วาม​เกีย่ ว​พนั ก​ บั ก​ าร​ด�ำ เนินช​ วี ติ ป​ ระจำ�​วนั ข​ อง​

มนุษย์​ทงั้ ​ใน​ทาง​สว่ น​ตวั และ​ท​เี่ กีย่ ว​กบั ​ธรุ กิจ ซึง่ ​สญั ญา​ก​ยู้ มื ​เงิน​ม​สี าระ​ส�ำ คัญ​ใน​เรือ่ ง​หลักฐ​ าน​
แห่ง​การ​ก​ยู้ ืม​เป็น​หนังสือ​ใน​กรณีก​ ยู้​ ืม​เงินก​ ว่า​สอง​พัน​บาท​ขึ้น​ไป
2. การ​กู้​ยืม​เงิน​ของ​สถาบัน​การ​เงิน และ​การ​กู้​ยืม​เงิน​ของ​รัฐ​มี​ขั้น​ตอน​และ​วิธี​การ​แตก​ต่าง​จาก​
มส

การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​ตาม​ธรรมดา
3. สัญญา​อื่น​ที่​มี​ลักษณะ​เดียว​กับ​สัญญา​กู้​ยืมเ​งิน ได้แก่ สัญญา​เบิกเ​งิน​เกิน​บัญชี สัญญา​ซื้อ​ลด​
ตั๋ว​เงิน สัญญา​เล่น​แชร์​เปีย​หวย มี​ลักษณะ​คล้าย​สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน
4. ดอกเบีย้ ​ท​ผี่ ​ใู้ ห้​ก​ยู้ มื ​สามารถ​คดิ ​ได้​ตาม​กฎหมาย​ไม่​เกิน​รอ้ ย​ละ​สบิ ​หา้ ​ตอ่ ​ปี และ​การ​คดิ ดอกเบีย้ ​
ทบ​ต้น​ใน​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​ทำ�​ไม่​ได้ เว้น​แต่​จะ​เข้า​หลัก​เกณฑ์​ตาม​กฎหมาย
5. ความ​ระงับ​แห่ง​สัญญา​ก​ยู้ ืมเ​งิน​เป็น​ไป​ตาม​ความ​ระงับ​แห่งส​ ัญญา​ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง

วัตถุประสงค์
เมื่อ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 3 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ

1. อธิบาย​ได้​ว่าการ​ก​ยู้ ืม​เงิน​เข้า​มา​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ดำ�เนิน​ชีวิต​ประจำ�​วันข​ อง​มนุษย์​อย่างไร และ​
สาระ​ส�ำ คัญ​ของ​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​มี​อะไร​บ้าง​ได้
2. อธิบาย​ถึง​วิธี​การ​กู้​ยืม​เงิน​และ​แหล่ง​เงิน​ก​ขู้ อง​รัฐ การ​กู้​ยืม​เงิน​ระหว่าง​สถาบัน​การ​เงิน​ต่างๆ ได้
สธ
พอ​สังเขป
3. บอก​ถงึ ช​ นิดข​ อง​สญ ั ญา​อนื่ ท​ ม​ี่ ล​ี กั ษณะ​เดียว​กบั ส​ ญ
ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินได้ และ​อธิบาย​ถงึ ค​ วาม​แตก​ตา่ ง​
ของ​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​และ​สัญญา​ชนิด​อื่น​ทมี่​ ลี​ ักษณะ​ใกล้​เคียง​กัน​ได้

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-3

4. อธิบาย​เรื่อง​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ตาม​กฎหมาย และ​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​สัญญา​ก​ยู้ ืมเ​งินได้


5. อธิบาย​ความ​ระงับ​แห่ง​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงินได้
6. วินิจฉัย​ปัญหา​อัน​เกิด​ขึ้น​เนื่องจาก​การ​กู้​ยืม​เงินได้

กิจกรรม​ระหว่าง​เรียน


1. ทำ�​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน​หน่วย​ที่ 3
2. ศึกษา​เอกสาร​การ​สอนตอน​ที่ 3.1-3.4
3.
4.
5.
6.
7.

สื่อ​การ​สอน
มส
ปฏิบัติ​กิจกรรม​ตาม​ที่​ได้​รับ​มอบ​หมาย​ใน​เอกสาร​การ​สอน
ฟัง​ซีด​เี สียง​ประจำ�​ชุด​วิชา
ชม​รายการ​วิทยุ​โทรทัศน์ (ถ้า​มี)
เข้า​รับ​การ​สอน​เสริม (ถ้า​มี)
ทำ�​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​หลัง​เรียน​หน่วย​ที่ 3

1. เอกสาร​การ​สอน
2. แบบ​ฝึก​ปฏิบัติ

3. ซีดี​เสียง​ประจำ�​ชุด​วิชา
4. รายการ​วิทยุ​โทรทัศน์ (ถ้า​มี)
มส

5. การ​สอน​เสริม (ถ้า​มี)

การ​ประเมิน​ผล
1. ประเมิน​ผล​จาก​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน​และ​หลังเ​รียน
2. ประเมิน​ผล​จาก​กิจกรรม​และ​แนว​ตอบ​ท้าย​เรื่อง
3. ประเมิน​ผล​จาก​การ​สอบ​ประจำ�​ภาค​การ​ศึกษา

เมื่อ​อ่าน​แผนการ​สอน​แล้ว ขอ​ให้​ทำ�​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน
หน่วย​ที่ 3 ใน​แบบ​ฝึก​ปฏิบัติ แล้ว​จึง​ศึกษา​เอกสาร​การ​สอน​ต่อ​ไป
สธ

3-4 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ตอน​ที่ 3.1
ลักษณะ​ทั่วไป​ของ​การ​กู้​ยืม​เงิน
โปรด​อ่าน​หัว​เรื่อง แนวคิด และ​วัตถุประสงค์​ของ​ตอน​ที่ 3.1 แล้ว​จึงศ​ ึกษา​ราย​ละเอียด​ต่อไ​ ป


หัว​เรื่อง

แนวคิด
มส
3.1.1 การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​และ​สัญญา​อื่น​ที่​มี​ลักษณะ​เดียว​กับ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน
3.1.2 สาระ​ส�ำ คัญ​ของ​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน

1. น อกจาก​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​แล้ว​ยัง​มี​สัญญา​อื่น​ที่​มี​ลักษณะ​เดียว​กับ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน ได้แก่
การ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี และ​การ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​เงิน
2. สาระ​ส�ำ คัญข​ อง​สญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​งิน ได้แก่ การ​สง่ ม​ อบ​เงินท​ ใ​ี่ ห้ก​ ย​ู้ มื หลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​งิน
​ที่​เป็น​หนังสือ​ที่​ผู้​ให้​กู้​ยืม​จำ�เป็น​ต้อง​มี​ไว้​เพื่อ​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง กรณี​ผู้​กู้​
ไม่​ชำ�ระ​หนี้

วัตถุประสงค์
มส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 3.1 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ


1. อธิบาย​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​และ​สัญญา​อื่น​ที่​มลี​ ักษณะ​เดียว​กับ​สัญญา​กู้​ยืม​เงินได้
2. อธิบาย​สาระ​ส�ำ คัญ​ของ​สัญญา​กยู้​ ืม​เงินได้


สธ

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-5

เรื่อง​ที่ 3.1.1
การ​กู้​ยืม​เงิน​และ​สัญญา​อื่น​ที่​มี​ลักษณะ​เดียว​กับ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน


การ​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​เอกเทศ​สัญญา​ชนิด​หนึ่ง​อยู​ใ่ น ปพพ. ลักษณะ 9 หมวด 2 ยืมใ​ช้​สิ้น​เปลือง การ​
กู​ย้ ืม​เงิน​ได้​เริ่ม​ม​มี า​ตั้งแต่​สมัย​โบราณ เดิม​เป็นการ​ยืม​สิ่งของ​เครื่อง​ใช้ เพื่อ​อุปโภค เช่น ยืม​วัว ควาย เพื่อ​

มส
ใช้​งาน ยืม​พืช​ผล​เพื่อ​บริโภค ต่อ​มา​เมื่อ​มนุษย์​รู้จัก​ใช้ว​ ัตถุ​กลาง​ใน​การ​แลก​เปลี่ยน​เป็น​เงิน มนุษย์จ​ ึง​ใช้​เงิน​
แลก​เปลี่ยน​สิ่ง​ที่​ต้องการ ดัง​นั้น จึง​มี​การ​ยืม​เงิน​แทน​การ​ยืม​วัตถุ​สิ่งของ ใน​ชั้น​แรก​เป็นการ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​ใน​
ระหว่าง​เอกชน ต่อ​มา​เมื่อ​การ​ค้า​ขยาย​กว้าง​ขึ้น ทำ�ให้​ระบบ​เศรษฐกิจ​เจริญ​ก้าวหน้า มี​การ​ตั้ง​สถาบัน​การ​
เงิน​อัน​ได้แก่​ธนาคาร ธนาคาร​ได้​ตั้ง​ขึ้น​ใน​ราว​ศตวรรษ​ที่ 12 หลัง​จาก​พ้น​ยุค​มืด การ​ธนาคาร​ใน​ยุโรป​ฟื้น​ตัว​
ขึน้ เมือ่ ส​ งั คม​มร​ี ะเบียบ​เรียบร้อย​การ​คา้ แ​ ละ​การ​พาณิชย์ก​ เ​็ จริญแ​ พร่ห​ ลาย​ขนึ้ จึงม​ ก​ี าร​กย​ู้ มื เ​งินจ​ าก​ธนาคาร​
มาก​ขนึ้ ธนาคาร​ใน​สมัยน​ นั้ เ​ฟือ่ ง​ฟู ผูด​้ �ำ เนินก​ จิ การ​ธนาคาร​ใน​ยคุ น​ นั้ ส​ ว่ น​มาก​เป็นพ​ วก​ยวิ เ​พราะ​พระ​ใน​สมัย​
นั้น​รังเกียจ​การ​ให้​กู้​ยืม​เงิน​โดย​คิด​ดอกเบี้ย พวก​ยิว​มี​ความ​ชำ�นาญ​ทางการ​เงิน​รู้จัก​ใช้​ตั๋ว​แลก​เงิน​ให้​พวก​
ขุนนาง​และ​ประชาชน​กู้​เงิน​โดย​มี​ที่ดิน เพชร พลอย และ​ของ​มี​ค่า​อื่นๆ เป็นป​ ระกัน และ​คิด​ดอกเบี้ย​แพง​
บางที​ร้อย​ละ 20 ถึง​ร้อย​ละ 30 เมื่อ​พวก​กษัตริย์​และ​ขุนนาง​ติด​หนี้​สินร​ ุงรัง​จน​ไม่ม​เี งิน​ชำ�ระ​คืน​ก็​ตระบัดห​ นี้​

ใช้​อ�ำ นาจ​ขับ​ไล่​พวก​ยิว​ออก​นอก​ประเทศ หลัง​จาก​พวก​ยิว​ถูก​ขับ​ไล่​ออก​จาก​อังกฤษ​แล้ว ชาว​ลอม​พาด จาก​
ฟลอ-เรนซ์ เวนิส และ​เยนั​วก็​เข้าไป​ทำ�​กิจการ​ธนาคาร​แทน​มาก​ขึ้นร​ าวๆ ศตวรรษ​ที่ 14 มีก​ าร​ให้​กเู้​งินโ​ ดย​
คิดอ​ ตั รา​ดอกเบีย้ แ​ ละ​ช�ำ ระ​เงินโ​ ดย​การ​ใช้ต​ วั๋ แ​ ลก​เงิน ใน​คริสต์ศ​ กั ราช 1546 กฎหมาย​อนุญาต​ให้ค​ ดิ ด​ อกเบีย้ ​
มส

ได้​ร้อย​ละ 10 แต่​อัตรา​น​ไี้ ด้​เปลี่ยนแปลง​เรื่อย​มา จน​ลด​ลง​เหลือร​ ้อย​ละ 5 ใน​คริสต์​ศักราช 17141

ความ​หมาย​ของ​การ​กู้​ยืม​เงิน
การ​กู้​ยืม​เงิน​ใน​ความ​เข้าใจ​ของ​คน​โดย​ทั่วไป​เข้าใจ​ว่า การ​กู้​ยืม​เงิน​คือ​การ​ยืม​เงิน​จาก​ผู้​อื่น โดย​
ให้​ดอกเบี้ย​เป็น​สิ่ง​แลก​เปลี่ยน2 ซึ่ง​อาจ​จะ​ทำ�​หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​ไว้ หรือ​บาง​ราย​มิได้​ทำ�​หลัก​ฐาน​

การ​กู้​ยืม​เนื่องจาก​เชื่อ​ใจ​กัน การ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​โดย​ไม่มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ ถ้า​เงิน​จำ�นวน​ไม่​มาก​นัก​ก็​ไม่มี​
ปัญหา​ใด หาก​เงิน​ที่​ให้​กู้​ยืม​มี​จำ�นวน​มาก​เกิน​กว่า​จำ�นวน​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด​ให้​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ
การ​ไม่ไ​ ด้ท​ ำ�​หลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสืออ​ าจ​เป็น​มูลเ​หตุใ​ห้เ​กิดก​ รณี​พิพาท​ใน​เรื่อง​การ​ไม่​ชำ�ระ​หนีเ้​งินท​ กี่​ ยู้​ ืมไ​ ด้
การ​กย​ู้ มื เ​งินอ​ าจ​มห​ี ลักป​ ระกัน​หรือไ​ ม่มก​ี ไ็ ด้ส​ ดุ แ​ ล้วแ​ ต่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื ก​ บั ผ​ ก​ู้ ย​ู้ มื ต​ กลง​กนั หาก​มท​ี รัพย์สนิ ​
ประเภท​สังหาริมทรัพย์ เช่น เครื่อง​ประดับ​มา​เป็น​ประกัน ได้แก่ การ​กู้​ยืม​เงิน​ที่​มี​การ​จำ�นำ�​ทรัพย์สิน​
เป็น​หลัก​ประกัน หรือ​กู้​ยืม​เงิน​โดย​มี​ที่ดิน​เป็น​หลัก​ประกัน โดย​จด​ทะเบียน​จำ�นอง​ที่ดิน​หลัก​ประกัน​ก็​เป็น
สธ
1 วารี พงษ์เวช การ​เงิน​และ​การ​ธนาคาร พิมพ์​ครั้ง​ที่ 4 พระนคร: อุตสาหกรรม​การ​พิมพ์ พ.ศ. 2502 น. 144, 146, 147.
2 พจนานุกรม​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

3-6 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

การ​กู้​ยืม​เงิน​ที่​มี​สัญญา​จำ�นอง​เข้า​มาเกี่ยวข้อง​ด้วย​หรือ​การ​กู้​ยืม​เงิน​โดย​ให้​บุคคล​ค้ำ�​ประกัน โดย​บุคคล​นั้น​
ทำ�​สัญญา​ค้ำ�​ประกัน​ให้​ผู้​ให้​กู้​ยืม เรียก​ว่าการ​กู้​ยืม​เงิน​โดย​มี​บุคคล​ค้ำ�​ประกัน ซึ่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน​ดัง​กล่าว​ข้าง​
ต้นม​ ี​สัญญา​กู้​ยืมเ​งินเ​ป็น​สัญญา​ประธาน มีก​ าร​จำ�นำ� จำ�นอง และ​การ​ค้ำ�​ประกัน ซึ่ง​เป็น​เอกเทศ​สัญญา​อัน​
เป็นส​ ัญญา​อุปกรณ์เ​ข้า​มา​เกี่ยวข้อง​ด้วย ซึ่งต​ ้อง​น�​ ำ หลักก​ ฎหมาย​ใน​สัญญา​นั้นๆ มา​ใช้บ​ ังคับก​ ับ​คกู่​ รณี​ด้วย


การ​กู้​ยืม​เงิน​จาก​สถาบัน​การ​เงิน​ต่างๆ
การ​กู้​ยืม​เงิน​นอกจาก​จะ​กู้​ยืม​จาก​เอกชน​ซึ่ง​เป็น​บุคคล​ธรรมดา​แล้ว ยัง​มี​การ​กู้​ยืม​เงิน​จาก​สถาบัน​

มส
ที่​ดำ�เนินก​ ิจการ​ให้​กู้​ยืม​เงิน​โดย​เฉพาะ ได้แก่ การ​กู้ย​ ืม​เงิน​จาก​โรง​รับจ​ ำ�นำ� การ​กู้​ยืม​จาก​ธนาคาร​พาณิชย์​
ที่​ตั้ง​ขึ้น​ด้วย​อำ�นาจ​แห่ง​กฎหมาย การ​กู้​ยืม​เงิน​จาก​สถาบัน​การ​เงิน​อื่น3และ​ต่อ​ไป​น​จี้ ะ​กล่าว​ถึง​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​
จาก​แหล่งก​ าร​เงินท​ สี่​ ำ�คัญๆ ดังนี้
1. โรง​รับ​จำ�นำ�4 (Pawn Shop) โรง​รับจ​ ำ�นำ�​เป็น​แหล่งเ​งิน​กู้​ที่​คน​มรี​ าย​ได้น​ ้อย​สามารถ​ใช้​บริการ​ได้
จน​ได้​ชื่อ​ว่า​เป็น​ธนาคาร​ของ​คน​ยาก การ​กู้​ยืม​เงิน​จาก​โรง​รับ​จำ�นำ� ผู้​กู้​ต้อง​มี​ทรัพย์สิน​เป็น​หลัก​ประกัน​การ​
กู้ย​ ืมค​ ือ ทรัพย์สิน​ที่​จ�ำ นำ�​นั่นเอง อาจ​เป็น​เครื่อง​ประดับ เครื่อง​ใช้​ซึ่ง​ม​รี าคา​ไม่ม​ าก​นัก ได้แก่ แหวน สร้อย
พัดลม เตารีด ตูเ้​ย็น วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ โรง​รับ​จำ�นำ�​ให้ก​ ู้​ยืมใ​น​วงเงินส​ ูงสุดไ​ ม่​เกิน 100,000 บาท ปัจจุบัน​
มีโ​รง​รับจ​ ำ�นำ� 3 ประเภท​คือ
1.1 โรง​รับ​จำ�นำ�​ที่​ดำ�เนิน​การ​โดย​เอกชน เป็น​โรง​รับ​จำ�นำ�​ที่​ตั้ง​ขึ้น​โดย​เอกชน​ซึ่ง​ใน​ปัจจุบัน​

ไม่มก​ี าร​ตงั้ โ​รง​รบั จ​ �ำ นำ�​ประเภท​นข​ี้ นึ้ ม​ า​อกี นอกจาก​ทม​ี่ อ​ี ยูแ​่ ล้ว เนือ่ งจาก​ใน​ภาย​หลังไ​ ด้ม​ ก​ี าร​ออก​กฎหมาย​
ห้าม​ตั้ง​โรง​รับ​จำ�นำ�​โดย​เอกชน
มส

1.2 สถาน​ธนา​นเุ​คราะห์ เป็น​โรง​รับจ​ ำ�นำ�​ที่​ดำ�เนินก​ าร​โดย​กรม​ประชาสงเคราะห์


1.3 สถาน​ธนา​นบุ​ าล เป็น​โรง​รับ​จ�ำ นำ�​ทดี่​ ำ�เนิน​การ​โดย​เทศบาล5
การ​ดำ�เนิน​กิจการ​ให้​กู้​ยืม​เงิน​โดย​โรง​รับ​จำ�นำ�​นั้น​มี​กฎหมาย​ที่​ใช้​บังคับ​เป็น​พิเศษ ได้แก่ พระ​ราช​
บัญญัต​โิ รง​รับ​จำ�นำ� พ.ศ. 2505

3 พระ​ราช​บญ
ั ญัตด​ิ อกเบีย้ เ​งินใ​ห้ก​ ย​ู้ มื ข​ อง​สถาบันก​ าร​เงิน พ.ศ. 2523 ให้ค​ วาม​หมาย​ค�​
(1) ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย
(2) ธนาคาร​พาณิชย์​ตาม​กฎหมาย​ว่า​ด้วย​การ​ธนาคาร​พาณิชย์

ำ วา่ ส​ ถาบันก​ าร​เงินต​ าม​มาตรา 3 ดังนี้

(3) บริษัท​เงิน​ทุน บริษัท​หลัก​ทรัพย์ และ​บริษัท​เครดิตฟองซิเอร์ ตาม​กฎหมาย​ว่า​ด้วย​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​เงินท​ ุน


ธุรกิจ​หลัก​ทรัพย์ และ​ธุรกิจ​เครดิตฟองซิเอร์
(4) สถาบัน​การ​เงิน​อื่น​ที่​รัฐมนตรี​กำ�หนด​โดย​คำ�​แนะนำ�​ของ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​โดย​ประกาศ​ใน​ราช​กิจ​จา-​
นุเบกษา
สธ
4 มาตรา 4 พรบ.โรง​รับ​จ�ำ นำ� พ.ศ. 2505 หมายความ​ว่า​สถาน​ที่​รับ​จำ�นำ� ซึ่ง​ประกอบ​การ​รับจ​ ำ�นำ�​สิ่งของ​เป็น​ประกัน​หนี้​
เงิน​ก​เู้ ป็น​ปกติธ​ ุระ​แต่ละ​ราย​ม​จี �ำ นวน​เงิน​ไม่​เกิน​หนึ่ง​แสน​บาท
5 สุ​รักษ์ บุนนาค และ​วณี จง​ศิริวัฒน์ การเงินและการธนาคาร พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ ไทยวัฒนะพาณิชย์ จำ�กัด น. 167,
168.

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-7

2. ธนาคาร​พาณิชย์ การ​ให้​กู้​ยืม​เงิน​และ​การ​ให้​บริการ​ใน​ลักษณะ​กู้​ยืม​เงิน (การ​ให้​สิน​เชื่อ) โดย​


ธนาคาร​พาณิชย์ มี 3 รูป​แบบ คือ
2.1 การ​ก​ยู้ ืม​เงิน (Loans)
2.2 การ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี (Overdrafts)
2.3 การ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​เงิน (Discount)


2.1 การ​กย​ู้ มื เ​งิน (Loans) การ​กย​ู้ มื เ​งินช​ นิดน​ เ​ี้ ป็นการ​กย​ู้ มื ช​ นิดท​ ม​ี่ ส​ี ญ
ั ญา​กเ​ู้ งินเ​ป็นล​ าย​ลกั ษณ์​
อักษร​ซงึ่ อ​ ยูใ​่ น​บท​บงั คับข​ อง​บทบัญญัติ ใน ปพพ. มาตรา 653 ถึงม​ าตรา 656 เช่น การ​ทธ​ี่ นาคาร​ให้ล​ กู ค้า​

น้�ำ ตาล
มส
กู้​ยืม​เงิน​เพื่อ​เป็น​ทุน​ใน​การ​ค้า เป็นต้น
ชนิด​ของ​เงินใ​ห้​ก​ยู้ ืม
2.1.1 การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​โดย​แบ่ง​ตาม​วัตถุประสงค์​ที่​น�ำ​เงิน​ไป​ใช้
1) เงิน​ให้​กู้​ยืม​เพื่อก​ าร​พาณิชย์ เช่น การ​ให้​กู้​ยืม​เพื่อ​ค้า​เสื้อผ้าส​ ำ�เร็จรูป
2) เงิน​ให้​กู้​ยืม​เพื่อ​การ​อุตสาหกรรม เช่น การ​ให้​กู้​ยืม​เพื่อ​กิจการ​โรงงาน​ผลิต​

3) เงินใ​ห้ก​ ย​ู้ มื เ​พือ่ ก​ ารก​สก​ิ รรม เช่น การ​ให้ก​ ย​ู้ มื เ​งินเ​พือ่ ก​ จิ การ​เลีย้ ง​สกุ ร เลีย้ ง​ไก่
ทำ�​สวน ทำ�​นา
4) เงินใ​ห้ก​ ​ยู้ ืมเ​พื่อก​ าร​บริโภค เช่น เงินใ​ห้ก​ ยู้​ ืมเ​พื่อใ​ช้จ​ ่าย​ส่วน​ตัว ปลูกบ​ ้าน ทุน​

การ​ศึกษา
2.1.2 การ​ให้​ก​ยู้ ืม​เงิน​โดย​แบ่ง​ตาม​ระยะ​เวลา​ครบ​ก�ำหนด
มส

1) ระยะ​สั้น เช่น 3 วัน 7 วัน หรือ​เป็น​เดือน แต่​ไม่​เกิน 1 ปี


2) ระยะ​กลาง 3-5 ปี
3) ระยะ​ยาว ได้แก่ 10 ปี ขึ้น​ไป
2.1.3 การ​ให้​ก​ยู้ ืม​เงิน​แบ่ง​โดย​คำ�นึง​เรื่อง​หลัก​ประกัน
1) มี​หลัก​ประกัน ได้แก่ ใบรับ​ฝาก​ประจำ� ใบหุ้น ที่ดิน เครื่องจักร เป็นต้น
2) ไม่มี​หลัก​ประกัน6ได้แก่ การ​ให้​กู้​ยืม​เงิน​โดย​ไม่มีห​ ลักป​ ระกัน​ใดๆ แต่​อาจ​ให้​
มีค​ น​ค้ำ�​ประกัน​การ​กู้​ยืม​เงิน ม
การ​ให้​ก​ยู้ ืม​เงิน​ดัง​กล่าว​อยู​ภ่ าย​ใต้​บังคับ​ของ​กฎหมาย​ลักษณะ​กู้​ยืม ตาม ปพพ.
สธ

6 เรื่อง​เดียวกัน น. 262-263.

3-8 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

2.2 การ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี (Overdrafts) การ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เป็นส​ ัญญา​ที่​มลี​ ักษณะ​เดียว​กับ​


สัญญา​กย​ู้ ืมเ​งิน ซึ่งม​ ส​ี ัญญา​กย​ู้ ืมเ​งินป​ ระกอบ​กับส​ ัญญา​บัญชีเ​ดินส​ ะพัด7ซึ่งใ​น​เรื่อง​สัญญา​บัญชีเ​ดินส​ ะพัดน​ ี้​
เป็นเ​อกเทศ​สัญญา​ประเภท​หนึ่ง​ซึ่งบ​ ัญญัตไิ​ ว้ใ​น ปพพ. มาตรา 856-860 การ​เบิก​เงิน​เกินบ​ ัญชีเ​ป็น​สัญญา​
กู้​ยืม​เงิน​ชนิด​หนึ่ง​ซึ่ง​ใช้​ปฏิบัติ​กัน​ระหว่าง​ธนาคาร​กับ​ผู้​กู้​ยืม (ผู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี) โดย​ผู้​กู้ (เบิก​เงิน​เกิน​
บัญชี) เปิด​บัญชีก​ ระแส​ราย​วัน (current account)8 กับ​ธนาคาร และ​ใช้​เช็ค​สั่ง​จ่าย​เงิน​จาก​บัญชี มี​การ​ตัด​


ทอน​บัญชี​หนี​ร้ ะหว่าง​กัน​ตาม​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด โดย​มี​ข้อ​สัญญา​กับ​ธนาคาร​ให้​ผู้​มี​บัญชี​ดัง​กล่าว​กู้​หรือ​
เบิกเ​งินเ​กินก​ ว่าเ​งินท​ ต​ี่ น​มอ​ี ยูใ​่ น​บญ
ั ชีภ​ ายใน​วงเงินท​ ไ​ี่ ด้ต​ กลง​กนั ไ​ ว้ ซึง่ บ​ าง​ครัง้ เ​รียก​วา่ ส​ ญ
ั ญา​กเ​ู้ บิกเ​งินเ​กิน​

มส
บัญชี สัญญา​กเ​ู้ บิกเ​งินเ​กินบ​ ญ
ตน​มอ​ี ยูใ​่ น​บญ
ั ชีเ​กิดข​ นึ้ เ​มือ่ ผ​ เ​ู้ บิกเ​งินเ​กินบ​ ญ
ั ชี โดย​ธนาคาร​กนั เ​งินไ​ ว้ใ​ห้ต​ าม​วงเงิน เช่น นาย​แดง​เปิดบ​ ญ

จำ�นวน​ทเ​ี่ ขียน​ใน​เช็ค แต่ไ​ ม่เ​กินจ​ �ำ นวน 100,000 บาท หาก​นาย​แดง​ได้ต​ กลง​ท�​


ธนาคาร​ภายใน​วงเงิน 200,000 บาท นาย​แดง​กม​็ ส​ี ทิ ธิส​ งั่ จ​ า่ ย​เงินจ​ าก​บญ
ั ชี เบิกเ​งินจ​ าก​บญ ั ชีก​ ระแส​ราย​วนั เ​กินก​ ว่าเ​งินท​ ​ี่
ั ชีก​ ระแส​ราย​วนั ก​ บั ธ​ นาคาร​เขียว
จำ�นวน​เงิน 100,000 บาท นาย​แดง​ม​สี ิทธิ​สั่ง​จ่าย​เงิน​จาก​บัญชี​ของ​ตน​ด้วย​เช็ค ธนาคาร​จะ​จ่าย​เงิน​ให้​ตาม​
ำ สญ ั ญา​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญั ชีก​ บั ​
ั ชีข​ อง​ตน​เกินจ​ าก​จ�ำ นวน​ทต​ี่ น​มอ​ี ยู​่
ใน​บัญชี​ได้​อีก 200,000 บาท​ตาม​ตัวอย่าง​ดัง​กล่าว นาย​แดง​ม​เี งิน​ใน​บัญชี 100,000 บาท นาย​แดง​สามารถ​
เขียน​เช็ค​สงั่ ​จา่ ย​เงิน​ได้​เกิน​กว่า​เงิน​ทต​ี่ น​มใ​ี น​บญ ั ชี กรณี​นน​ี้ าย​แดง​อาจ​เขียน​เช็ค​สงั่ ​จา่ ย​เงิน​จ�ำ นวน 250,000
บาท ดังนี​บ้ ัญชี​กระแส​ราย​วัน​ของ​นาย​แดง​จะ​มี​ยอด​เงิน​เป็น​ลูก​หนี​ธ้ นาคาร​จำ�นวน 150,000 บาท เพราะ​ใน​
บัญชี​เดิม​ของ​นาย​แดง​มี​เงิน​อยู่​เพียง 100,000 บาท เมื่อ​สั่ง​จ่าย​เงิน 250,000 บาท ธนาคาร​ต้อง​จ่าย​เงิน​

เกิน​จาก​บัญชี​ของ​นาย​แดง​ให้​อีก 150,000 บาท ซึ่ง​อยู่​ภายใน​วงเงิน​ทตี่​ กลง​กัน​ไว้​เมื่อ​ธนาคาร​ได้​จ่าย​เงิน​ให้
(200,000) สัญญา​ก​เู้ บิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เกิด​ขึ้น กรณี​นี้ นาย​แดง​ต้อง​เสียด​อก​เบี้ย​ให้​แก่ธ​ นาคาร​ใน​จำ�นวน​ต้น​
มส

เงิน 150,000 บาท ที​ธ่ นาคาร​จ่าย​เกิน​จาก​บัญชี​ของ​นาย​แดง​ตาม​สัญญา​และ​เนื่องจาก​บัญชี​ที่​นาย​แดง​ม​อี ยู่​


เป็นบ​ ญ ั ชีก​ ระแส​ราย​วนั นาย​แดง​อาจ​จะ​น�​ ำ เงินม​ า​เข้าบ​ ญ ั ชีข​ อง​ตน​ได้อ​ กี เช่น หลัง​จาก​ทน​ี่ าย​แดง​ได้เ​บิกเ​งิน​
ไป​จ�ำ นวน 250,000 บาท แล้ว ใน​เวลา 2 เดือน​ต่อ​มา นาย​แดง​นำ�​เงิน​มา​เข้า​บัญชี​จำ�นวน 250,000 บาท
กรณี​นี้​บัญชี​กระแส​ราย​วัน​ของ​นาย​แดง​ก็​มี​ยอด​เงิน​ใน​บัญชี​เป็น​เจ้า​หนี้​ธนาคาร แต่​ใน​ระหว่าง 2 เดือน​นั้น
ธนาคาร​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​จาก​ยอด​เงิน​ท​นี่ าย​แดง​เป็น​ลูก​หนี้​ธนาคาร และ​หาก​ใน​ระหว่าง​นั้น​ยัง​ไม่ค​ รบ​ก�ำ หนด​
ตาม​สัญญา​ท​ตี่ กลง​กัน​ไว้ เช่น 6 เดือน​หรือ 1 ปี นาย​แดง​ก​ย็ ัง​ม​สี ิทธิ​สั่ง​จ่าย​เงิน​จาก​บัญชี​กระแส​ราย​วัน​ของ​

เช่น​นี้​ได้​เรื่อย​ไป​จนกว่า​จะ​ครบ​กำ�หนด​ตาม​สัญญา หรือ​ต่อ​สัญญา​และ​เมื่อ​ครบ​กำ�หนด​สัญญา​จะ​มี​การ​หัก​

ไป​ใช้บ​ ญ

ตน​ได้​เกิน​กว่า​จ�ำ นวน​เงิน​ท​ตี่ น​มี​อยู​ใ่ น​บัญชี​แต่​ไม่​เกิน​วงเงิน​ที่​ทำ�​สัญญา​ไว้​กับ​ธนาคาร นาย​แดง​สามารถ​ท�​

ทอน​บัญชี​ช�ำ ระ​หนี​ก้ ัน สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ระหว่าง​นาย​แดง​กับ​ธนาคาร​เป็น​อัน​เลิก​กัน นาย​แดง​ก​ก็ ลับ​


ั ชีก​ ระแส​ราย​วนั ข​ อง​ตน​เช่นเ​ดิมไ​ ด้ แต่​ไม่มส​ี ทิ ธิเ​บิกเ​งินเ​กินก​ ว่าจ​ �ำ นวน​ทม​ี่ อ​ี ยูใ​่ น​บญ
จนกว่า​จะ​ม​ขี ้อ​ตกลง​กับ​ธนาคาร​ว่า​จะ​ท�​ ำ สัญญา​เช่น​นั้น
ั ชีข​ อง​ตน​ได้อ​ กี ​

สธ
7 มาตรา 856 ปพพ. “อันว่าส​ ญ
ั ญา​บญ
ั ชีเ​ดินส​ ะพัดน​ นั้ คือ สัญญา​ซงึ่ บ​ คุ คล​สอง​คน​ตกลง​กนั ว​ า่ ส​ บื แ​ ต่น​ นั้ ไ​ ป หรือใ​น​ชวั่ เ​วลา​
กำ�หนด​อัน​ใด​อัน​หนึ่ง​ให้​ตัด​ทอน​บัญชี​หนี้​ทั้งหมด​หรือ​แต่​บาง​ส่วน​อัน​เกิด​ขึ้น​แต่​กิจการ​ใน​ระหว่าง​เขา​ทั้ง​สอง​นั้น​หัก​กลบ​ลบ​กัน และ​คง​
ชำ�ระ​หนี้​แต่​ส่วน​ที่​เป็น​จ�ำ นวน​คง​เหลือ​โดย​ดุลย​ภาค”
8 ใน​ต้น​ร่าง​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ “บัญชีเ​ดินส​ ะพัด” ใช้ค ​ ำ�​ว่า “current account”

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-9

2.3 การ​ซอื้ ล​ ด​ตวั๋ เ​งิน (Discount) ก่อน​จะ​เข้าใจ​ความ​หมาย​ของ​ค�​ ำ วา่ ซือ้ ล​ ด​ตวั๋ เ​งิน ต้อง​เข้าใจ​
ความ​หมาย​ของ​คำ�​ว่า​ตั๋ว​เสีย​ก่อน ตั๋ว​ใน​ที่​นี้​หมาย​ถึง​ตั๋ว​เงิน อัน​ได้แก่ ตั๋ว​แลก​เงิน ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน และ​
เช็ค9การ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​เป็นส​ ัญญา​ชนิดห​ นึ่งท​ มี่​ ลี​ ักษณะ​เช่น​เดียวกัน​กับ​การ​ให้​ก​ยู้ ืม​โดย​มี​ตั๋ว​นั่นเอง​เป็น​ประกัน
2.3.1 การ​ซื้อล​ ด​ตั๋วแ​ ลก​เงิน ตั๋ว​แลก​เงินเ​ป็น​ตั๋ว​เงิน​ชนิด​หนึ่ง​ซึ่ง​มี​ค​กู่ รณี 3 ฝ่าย ได้แก่
1) ผู​ส้ ั่ง​จ่าย


2) ผู​จ้ ่าย
3) ผู้รับเ​งิน

จะ​น�​
มส ตัว๋ แ​ ลก​เงินต​ าม​ความ​หมาย​ใน ปพพ. มาตรา 908 บัญญัต​ิวา่ “อันว่าต​ วั๋ แ​ ลก​เงินน​ นั้ ค​ อื
หนังสือตราสาร​ซึ่ง​บุคคล​หนึ่ง​ ที่​เรียก​ว่า​ผู้​สั่ง​จ่าย​ สั่ง​บุคคล​อีก​คน​หนึ่ง​ เรียก​ว่าผู้​จ่าย ให้​ใช้​เงิน​จำ�นวน​หนึ่ง​แก่​
บุคคล​คน​หนึ่ง หรือ​ให้​ใช้​ตาม​คำ�​สั่ง​ของ​บุคคล​คน​หนึ่ง​เรียก​ว่าผู้รับ​เงิน” ตั๋ว​แลก​เงิน​ต้อง​มี​ข้อความ​ตาม​ที่​ระบุ​
ไว้​ใน ปพพ. มาตรา 909 จึงจ​ ะ​เป็นต​ ั๋วแ​ ลก​เงิน​ที่​สมบูรณ์
ผูจ​้ า่ ย​เงินต​ าม​ตวั๋ แ​ ลก​เงินป​ กติจ​ ะ​เป็นธ​ นาคาร​เพราะ​เป็นส​ ถาบันก​ าร​เงินท​ เ​ี่ ชือ่ ถ​ อื ไ​ ด้ การ​
ขาย​ลด​ตวั๋ แ​ ลก​เงิน ปฏิบตั ​ทิ �ำ นอง​เดียว​กบั ก​ าร​ขาย​ตวั๋ ส​ ญ
ำ มา​ขาย​ลด​กันม​ ากกว่า​ตั๋วเ​งินป​ ระเภท​อื่น
ั ญา​ใช้เ​งิน ซึง่ ​จะ​กล่าว​ตอ่ ไ​ ป​ใน​ขอ้ 2.3.2 ซึง่ น​ ยิ ม​ท​ี่

2.3.2 การ​ซื้อล​ ด​ตั๋วส​ ัญญา​ใช้เ​งิน ตั๋วส​ ัญญา​ใช้​เงิน​ตาม​ความ​หมาย​ใน​มาตรา 982 แห่ง


ปพพ. หมายความ​ดังนี้ “อันต​ ั๋วส​ ัญญา​ใช้​เงินน​ ั้น คือหนังสือ​ตราสาร​ซึ่ง​บุคคล​หนึ่ง​ เรียก​ว่าผู้​ออก​ตั๋ว ให้​ค�ำมั่น​

สัญญา​ว่า​จะ​ใช้​เงิน​จ�ำนวน​หนึ่ง​ให้​แก่​บุคคล​อีก​คน​หนึ่ง หรือ​ใช้​ให้​ตาม​ค�ำ​สั่ง​ของ​บุคคล​อีก​คน​หนึ่ง เรียก​ว่า
​ผรู้ บั ​เงิน” และ​ตวั๋ ​สญ
ั ญา​ใช้เ​งินต​ อ้ ง​ม​รี ายการ​ดงั บ​ ญ ั ญัต​ไิ ว้​ใน ปพพ. มาตรา 983 จึง​จะ​สมบูรณ์​เป็น​ตวั๋ ​สญ ั ญา​
มส

ใช้​เงิน ธนาคาร​รับ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​จาก​ผู้น�ำ​มา​ขาย​ลด​โดย​ตั๋ว​นั้น​ม​ีผู้รับ​รอง​การ​รับ​ซื้อ​ลด​เช่น​นี้​ถือ​
เป็นการ​ให้เ​ครดิต​อนั ​เป็นการ​ให้ (สิน​เชือ่ ) ชนิดห​ นึง่ ​ของ​ธนาคาร ปกติ​ธนาคาร​อนื่ ​เป็น​ผรู้ บั ​รอง (อาวั​ล) ถ้า​
ธนาคาร​ที่​รับ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​เห็น​ว่า​ตั๋ว​ฉบับ​นั้น​น่า​เชื่อ​ถือ ก็​จะ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​ฉบับ​นั้น​ไว้​โดย​หัก​ส่วนลด (ดอกเบี้ย) ไว้
เช่น บริษทั เ​หลือง​จ�ำกัด ออก​ตวั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้​เงินใ​ห้​นาย​แดง เพือ่ ​ช�ำระ​คา่ ​สนิ ค้า​จ�ำนวน 500,000 บาท ตัว๋ ​ครบ​
ก�ำหนด​ใน​เวลา​อีก 3 เดือน​ต่อ​มา แต่​นาย​แดง​ต้องการ​ใช้​เงิน​ก่อน จึง​น�ำ​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ฉบับ​นั้น​ไป​ให้​
ธนาคาร​ชว่ ย​ไทย​รบั รอง แล้วน​ �ำ​ตวั๋ ฯ ฉบับน​ นั้ ม​ า​ขาย​ลด​ให้ธ​ นาคาร​กอบ​กไ​ู้ ทย​โดย​นาย​แดง​สลักห​ ลังต​ วั๋ ฉ​ บับ​

นัน้ ธนาคาร​กอบ​กไ​ู้ ทย เห็น​วา่ ต​ วั๋ ​ฉบับน​ นั้ ​นา่ เ​ชือ่ ​ถอื ​และ​ม​ธี นาคาร​ชว่ ย​ไทย​รบั รอง จึง​รบั ​ซอื้ ​ลด​ตวั๋ ​นนั้ ​ไว้​โดย​
คิด​ดอกเบี้ย​จาก​วัน​ที่​นาย​แดง​น�ำ​ตั๋วฯ มา​ขาย​ลด​จนถึง​วัน​ที่​ครบ​ก�ำหนด​ตาม​ตั๋วฯ แล้ว​ธนาคาร​เพื่อ​ไทย​หัก​
ส่วนลด​จาก​จ�ำนวน​เงิน​ต้น 500,000 บาท​นั้น เหลือ​เท่าใด​จึง​เป็น​เงิน​ที่​นาย​แดง​ได้​รับ​สุทธิ​จาก​การ​ขาย​ลด​
ตัว๋ ฯ ซึง่ ​การ​ขาย​ลด​ตวั๋ ​น​ที้ าง​ฝา่ ย​เจ้า​หนี​ส้ ามารถ​หกั ​เอา​ดอกเบีย้ ​ช�ำระ​ได้​กอ่ น​ไม่​เหมือน​กบั ​การ​ก​ยู้ มื ​เงิน หรือ​
เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี ซึ่ง​ผู้​กู้​ยืม​จะ​ช�ำระ​ดอกเบี้ย​ต่อ​เมื่อ​ได้​น�ำ​เงิน​ที่​กู้​ยืม​ไป​ใช้​แล้ว อย่างไร​ก็ตาม การ​คิด​อัตรา​
ดอกเบี้ย​ใน​การ​รับ​ซื้อล​ ด​ตั๋ว (ส่วนลด) นี้ต​ ้อง​อยู​ภ่ ายใน​บังคับ​แห่ง ปพพ. เช่น​เดียวกัน
สธ
9 ปพพ. มาตรา 898 บัญญัต​วิ ่า “อัน​ตั๋ว​เงิน​ตาม​ความ​หมาย​แห่ง​ประมวล​กฎหมาย​นี้​มี​สาม​ประเภทๆ หนึ่ง​คือ ตั๋วแ​ ลก​เงิน
ประเภท​หนึ่ง​คือ ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน ประเภท​หนึ่ง​คือ “เช็ค”

3-10 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ใน​ทาง​ปฏิบัติ​เมื่อ​ธนาคาร​รับ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​จาก​ลูกค้า​แล้ว ธนาคาร​ก็​เป็น​ผู้ทรง​โดย​ชอบ
ธนาคาร​จะ​เก็บต​ ั๋ว​ฉบับ​นั้น​ไว้​จนกว่า​จะ​ครบ​กำ�หนด​แล้วน​ ำ�​ไป​เรียก​เก็บ​จาก​ผู้รับ​รอง กรณี​ข้าง​ต้น ธนาคาร​
เพื่อไ​ ทย​จะ​ไป​เรียก​เก็บ​เงิน​จาก​ธนาคาร​ช่วย​ไทย หรือ​ธนาคาร​ผู้รับ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​ไว้จ​ ะ​นำ�​ตั๋วไ​ ป​ขาย​ช่วง​ลด (Re
discount) ให้​กับ​ธนาคาร​กลาง​หรือ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ก็ได้ กรณี​ที่​ธนาคาร​ผู้รับ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​รอ​ให้​ตั๋ว​
ครบ​กำ�หนด​แล้วไป​เรียก​เก็บเ​งิน​ตาม​ตั๋ว จะ​ได้​เงินเ​ต็ม​จำ�นวน​ใน​ตั๋ว หาก​กรณี​นำ�​ไป​ขาย​ช่วง​ลด​ก็​จะ​ถูก​หัก​


ส่วนลด​เช่นก​ ัน
ใน​ปจั จุบนั ธ​ นาคาร​เข้าไป​มบ​ี ทบาท​ใน​เรือ่ ง​ตวั๋ เ​งินอ​ ย่าง​มาก พบ​วา่ แ​ นว​โน้มข​ อง​การ​ซอื้ ​

มส
ลด​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ของ​ธนาคาร​มี​แนว​โน้ม​สูง​ขึ้น ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ที่​ธนาคาร​รับ​ซื้อ​ลด​นั้น​เกิด​จาก​กิจกรรม​
การ​ค้า​ใน​ประเทศ​และ​จาก​กิจกรรม​การ​ค้า​ระหว่าง​ประเทศ​ด้วย ที่​สำ�คัญ​ปัจจุบัน​ความ​นิยม​ของ​การ​ใช้​
ตั๋ว​เงิน​ของ​ประชาชน​ทั่วๆ ไป​ยัง​ตํ่า ทั้งนี้​เพราะ​ประเทศไทย​ไม่​นิยม​ดำ�เนิน​ธุรกรรม​ทางการ​ค้า​โดย​อาศัย​
เครือ่ ง​มอื ท​ าง​เครดิต กิจกรรม​ทใ​ี่ ช้ต​ วั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้เ​งินโ​ ดย​มาก​มกั จ​ ะ​มา​จาก​กจิ กรรม​ทางการ​คา้ ร​ ะหว่าง​ประเทศ​
และ​อตุ สาหกรรม​เป็นส​ �ำ คัญ อาจ​มบ​ี า้ ง​ทธ​ี่ นาคาร​จะ​ท�ำ การ​รบั ซ​ อื้ ต​ วั๋ ส​ ญ
10
บ้าง แต่​กก​็ �ำ หนด​กนั ​ใน​วงเงิน​ท​จี่ �ำ กัด และ​การ​รบั ​ซอื้ ต​ วั๋ ​สญ
ั ญา​ใช้เ​งินร​ ะยะ​สนั้ จ​ าก​บคุ คล​ทวั่ ๆ ไป​
ั ญา​ใช้เ​งิน​นนั้ ​โดย​ทวั่ ๆ ไป ธนาคาร​มกั ใ​ห้ผ​ ข​ู้ าย​
ลด​ตั๋วส​ ัญญา​ใช้​เงินก​ ับธ​ นาคาร​ทำ�​หนังสือร​ ับรอง หรือ​ทำ�​สัญญา​ค้ำ�​ประกัน​ต่าง​หาก​อีก​ทหี​ นึ่ง
2.3.3 การ​ซอื้ ล​ ด​เช็ค เช็คเ​ป็นต​ วั๋ เ​งินช​ นิดห​ นึง่ ซ​ งึ่ ม​ ร​ี ปู แ​ บบ​เฉพาะ​ตา่ ง​หาก​จาก​ตวั๋ ส​ ญ
ั ญา​
ใช้เ​งินแ​ ละ​ตั๋วแ​ ลก​เงิน ดัง​คำ�​อธิบาย​ใน ปพพ. มาตรา 987 ซึ่งบ​ ัญญัติ​ว่า “อันว่าเ​ช็คน​ ั้น คือหนังสือ​ตราสาร

ซึ่งบ​ ุคคล​หนึ่ง​ เรียก​ว่า ผูส้​ ั่งจ​ ่าย​ สั่ง​ธนาคาร​ให้ใ​ ช้​เงิน​จำ�นวน​หนึ่งเ​มื่อ​ทวงถาม​ให้แ​ ก่​บคุ​ ลอีก​ ​คน​หนึ่ง​ หรือ​ให้ใ​ ช้​
ตาม​ค�​ำ สงั่ ข​ อง​บคุ คล​อกี ค​ น​หนึง่ ​ อนั เ​รียก​วา่ ผ​ รู้ บั เ​งิน” และ​เช็คต​ อ้ ง​มร​ี ายการ​ตาม​ทร​ี่ ะบุไ​ ว้ใ​น​มาตรา 988 จึง​จะ​
มส

เป็นเ​ช็คท​ ี่​สมบูรณ์
การ​ซอื้ ล​ ด​เช็คเ​ป็นส​ ญ ั ญา​ทม​ี่ ล​ี กั ษณะ​เดียว​กบั ก​ าร​กย​ู้ มื เ​งิน โดย​ผนู้ �​ ำ เช็คม​ า​ขาย​ลด​ให้ก​ บั ​
ธนาคาร​ผรู้ บั ซ​ อื้ ล​ ด เช่น ใน​วนั ท​ ี่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 นาย​กจิ นำ�​เช็คท​ ไ​ี่ ด้ร​ บั จ​ าก​การ​ขาย​สนิ ค้าใ​ห้น​ าย​ขงิ ซึง่ เ​ป็น
​เช็ค​ลง​วันท​ ลี่​ ่วง​หน้า เนื่องจาก​นาย​กิจ ให้เ​ครดิต​แก่​นาย​ขิง เป็นเ​วลา 3 เดือน นาย​ขิง ได้​เขียน​เช็ค​ลง​วัน​ที่​
ล่วง​หน้า​จำ�นวน​เงิน 100,000 บาท ให้แ​ ก่น​ าย​กิจ วัน​ที่​ลง​ใน​เช็คเ​ป็น​วันท​ ี่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ใน​กรณี​นี้​
นาย​กิจ จะ​นำ�​เช็ค​ไป​เบิกเ​งิน​จาก​ธนาคาร​ไม่ไ​ ด้​เพราะ​เช็คย​ ัง​ไม่ถ​ ึงก​ ำ�หนด หาก​นาย​กิจ มีค​ วาม​จำ�เป็น​ต้อง​

ใช้​เงิน​นาย​กิจ จะ​ทำ�ได้​โดย​นำ�​เช็ค​ฉบับ​นั้น​ไป​ขาย​ลด​ให้​กับ​ธนาคาร ธนาคาร​จะ​รับ​ซื้อ​ลด​เช็ค​ฉบับ​นั้น โดย​
พิจารณา​ให้​ผู้นำ�​เช็ค​มา​ขาย​ลด​ทำ�​หนังสือร​ ับรอง​ความ​เสีย​หาย​กับ​ธนาคาร หรือ​ให้​มี​ผู้​ค้ำ�​ประกันก​ าร​รับ​ซื้อ​
ลด​เช็ค​ของ​ธนาคาร​เช่น​เดียว​กับ​การ​ให้​กู้​ยืม​เงิน ธนาคาร​จะ​หัก​ส่วนลด​จาก​จำ�นวน​เงิน​ใน​เช็ค​และ​จ่าย​ส่วน​
ทีเ่​หลือ​ให้แ​ ก่​นาย​กิจ ซึ่งก​ รณีน​ นี้​ าย​กิจจะ​ได้​เงิน​จาก​การ​ขาย​ลด​เช็ค​ก่อน​เช็ค​ถึงก​ ำ�หนด ส่วน​ทาง​ธนาคาร​ก็​
จะ​น�​ ำ เช็คไ​ ป​เรียก​เก็บเ​งินเ​มื่อถ​ ึงว​ ัน​ทกี่​ ำ�หนด​ใน​เช็ค คือ​วัน​ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สธ

10 ปัญญา อุดม​ระ​ติ เศรษฐศาสตร์ การ​เงินแ​ ละ​การ​ธนาคาร กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัย​รามคำ�แหง พ.ศ. 2520 น. 115.

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-11

เมือ่ ไ​ ด้ก​ ล่าว​ถงึ ก​ าร​ซอื้ ล​ ด​ตวั๋ เ​งินอ​ นั เ​ป็นส​ ญ


ั ญา​ทม​ี่ ล​ี กั ษณะ​เดียวกันก​ าร​กย​ู้ มื เ​งิน ดังน​ นั้ จ​ งึ ข​ อ​กล่าว​ถงึ ​
สิ่ง​ท​มี่ ​ลี ักษณะ​คล้าย​ตั๋ว​เงิน​อีก​ชนิด​หนึ่ง​คือ พันธบัตร (bond) พันธบัตร​น​มี้ ิใช่​ตั๋ว​เงิน​แต่​เป็น​สิ่ง​ที่​รัฐบาล​ออก​
เพือ่ เ​ป็นห​ ลักป​ ระกันก​ าร​กย​ู้ มื เ​งินจ​ าก​ประชาชน​และ​สถาบันก​ าร​เงิน ซึง่ จ​ ะ​ได้ก​ ล่าว​ถงึ ใ​น​เรือ่ ง​ที่ 3.2.1 การ​กย​ู้ มื
​เงิน​ใน​ลักษณะ​พิเศษ


กิจกรรม 3.1.1

นั้นๆ พอ​สังเขป
มส
1. ให้น​ กั ศึกษา​ระบุส​ ญ
ั ญา​อนื่ ท​ ม​ี่ ล​ี กั ษณะ​เดียว​กบั ก​ าร​กย​ู้ มื และ​อธิบาย​ถงึ ล​ กั ษณะ​ของ​สญ

2. การ​ขาย​ลด​เช็ค​เป็น​สัญญา​ที่​มลี​ ักษณะ​อย่างไร

แนว​ตอบ​กิจกรรม 3.1.1
1. สัญญา​ท​มี่ ​ลี ักษณะ​เช่น​เดียว​กับ​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​มี 2 ชนิด คือ
1) การ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี (Overdrafts)
ั ญา​ชนิด​

2) การ​รับ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​เงิน (Discount)
(1) การ​เบิก​เงินเ​กิน​บัญชี คือ การ​กู้​ยืม​เงิน​ประกอบ​กับ​สัญญา​บัญชีเ​ดิน​สะพัด

(2) การ​รับ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​เงิน ได้แก่ การ​รับ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​แลก​เงิน ตั๋วส​ ัญญา​ใช้​เงิน เช็ค โดย​มี​ตั๋ว​
นั่นเอง​เป็น​ประกัน
มส

2. การ​ขาย​ลด​เช็คเ​ป็นส​ ญ ั ญา​ชนิดห​ นึง่ ท​ ม​ี่ ล​ี กั ษณะ​เช่นเ​ดียว​กบั ก​ าร​กย​ู้ มื เ​งินเ​พราะ​การ​ทผ​ี่ รู้ บั ซ​ อื้ ล​ ด​
เช็คไ​ ด้ใ​ห้เ​งินแ​ ก่ผ​ นู้ �​
ำ เช็คม​ า​ขาย​ลด​กอ่ น​วนั ท​ ค​ี่ รบ​ก�ำ หนด​ใน​เช็ค เป็นการ​ให้เ​ครดิตอ​ ย่าง​หนึง่ โดย​หกั ส​ ว่ นลด​
ซึ่ง​ถือ​เป็น​ดอกเบี้ย​จาก​ผู้น�​ ำ มา​ขาย​ลด


สธ

3-12 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

เรื่อง​ที่ 3.1.2
สาระ​สำ�คัญ​ของ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน


จาก​การ​ทไ​ี่ ด้ก​ ล่าว​ถงึ ช​ นิดข​ อง​การ​กย​ู้ มื เ​งินใ​น​หวั เ​รือ่ ง​ที่ 3.1.2 การ​กย​ู้ มื เ​งินแ​ ละ​สญ ั ญา​อนื่ ท​ ม​ี่ ล​ี กั ษณะ​
เดียว​กับ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​มา​แล้ว ใน​หัว​เรื่อง​นี้​จะ​ได้​กล่าว​ถึง​สาระ​สำ�คัญ​ของ​สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน​

มส
เป็น​สัญญา​ชนิด​หนึ่ง​ต้อง​มี​สาระ​สำ�คัญ​ตาม​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด​ตาม​ลักษณะ​ของ​นิติกรรม​สัญญา​โดย​ทั่วไป
ได้แก่ เรื่อง​วัตถุประสงค์ ความ​สามารถ​ของ​ค​สู่ ัญญา เช่น ใน​เรื่อง​วัตถุประสงค์​ใน​การ​ทำ�​สัญญา​ดัง​ตัวอย่าง​
ใน ฎ.707/2487 “ให้​กู้​เงิน​ไป​โดย​ผ​กู้ ​บู้ อก​ให้​ร​วู้ ่า​จะ​เอา​ไป​ค้า​ฝิ่น​เถื่อน​นั้น​สัญญา​กยู้​ ่อม​เป็น​โมฆะ ผูใ้​ห้ก​ ู้​ฟ้อง​
เรียก​เงิน​ก​ไู้ ม่​ได้” เพราะ​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​เช่น​นี้​ม​วี ัตถุประสงค์​ผิด​กฎหมาย​ตาม ปพพ. มาตรา 150 สัญญา​
ดัง​กล่าว​จึง​เป็น​โมฆะ ส่วน​การ​เล่น​การ​พนัน​แล้ว​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน​ไว้​แทน​การ​ชำ�ระ​หนี้​การ​พนัน​ไม่​
สามารถ​ฟ้อง​บังคับ​ให้​ใช้​หนี้​ตาม​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ได้​เพราะ​การ​พนัน​ขันต่อ​หา​ก่อ​ให้​เกิด​หนี้​ไม่​ ตาม ปพพ.
มาตรา 853
แต่ถ​ า้ ก​ ารก​ระ​ท�​
ำ ของ​โจทก์ไ​ ม่เ​ป็นการ​ตอ้ ง​หา้ ม​ตาม​กฎหมาย สัญญา​กย​ู้ มื ร​ ะหว่าง​เจ้าห​ นีแ​้ ละ​ลกู ห​ นี​้
จึง​ไม่​เป็น​โมฆะ

อุทาหรณ์
ฎ. 101/2532 จำ�เลย​ตกลง​ให้​โจทก์​ติดต่อ​กับ​บริษัท​จัดหา​งาน​ส่ง​จำ�เลย​ไป​ทำ�งาน​ต่าง​ประเทศ​โดย​
โจทก์ค​ ดิ ค​ า่ บ​ ริการ 35,000 บาท และ​ให้จ​ �ำ เลย​ท�​ ำ สญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินโ​จทก์ไ​ ว้ เมือ่ ก​ ารก​ระ​ท�​
ำ ของ​โจทก์ไ​ ม่เ​ป็นการ​
มส

ต้อง​ห้าม​ตาม พรบ. จัดหา​งาน​และ​คุ้มครอง​คน​หา​งาน พ.ศ. 2511 แล้ว สัญญา​กยู้​ ืม​ระหว่าง​โจทก์​จ�ำ เลย​จึง​


ไม่​เป็น​โมฆะ​ตาม ปพพ. มาตรา 113 (ปัจจุบัน​มาตรา 150) โจทก์​ย่อม​นำ�​สัญญา​กยู้​ ืมม​ า​ฟ้อง​ให้​จำ�เลย​ช�ำ ระ​
เงิน​ที่​ยัง​ค้าง​อยู​ไ่ ด้
สาระ​ส�ำ คัญข​ อง​สญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินท​ เ​ี่ ห็นไ​ ด้ช​ ดั คือ เรือ่ ง​การ​สง่ ม​ อบ​ทรัพย์สนิ ท​ ใ​ี่ ห้ย​ มื แ​ ละ​เรือ่ ง​หลักฐ​ าน​
ของ​สัญญา​กู้​ยืมเ​งิน ซึ่ง​จะ​แยก​กล่าว​เป็น 3 หัวข้อ​ดังนี้
1. การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ท​กี่ ​ยู้ ืม
2. หลัก​ฐาน​ใน​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน
3. สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​ต้อง​ปิด​อากร​แสตมป์

1. การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ที่​กู้​ยืม

สาระ​ส�ำ คัญป​ ระการ​หนึง่ ใ​น​สญ
ั ญา​กย​ู้ มื เ​งิน คือก​ าร​สง่ ม​ อบ​ทรัพย์สนิ ใ​ห้ก​ ย​ู้ มื การ​กย​ู้ มื เ​งินเ​ป็นส​ ญ
ั ญา​
ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง ดัง​นั้น ต้อง​นำ�​บทบัญญัต​ใิ น​เรื่อง​ยืมใ​ช้​สิ้น​เปลือง​มา​ใช้​บังคับ​ด้วย ดัง​ท​บี่ ัญญัติ​ไว้ใ​น มาตรา
สธ
650 วรรค 2 ว่า “สัญญา​น​ยี้ ่อม​บริบูรณ์​ต่อ​เมื่อ​ส่งม​ อบ​ทรัพย์สิน​ที่​ยืม” ทรัพย์สินท​ ี่​ต้อง​ส่ง​มอบ​ใน​สัญญา​กยู้​ ืม​

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-13

เงินก​ ค​็ อื เงิน เมือ่ ท​ �ำ สัญญา​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั แ​ ล้ว ผูใ​้ ห้ก​ ต​ู้ อ้ ง​สง่ ม​ อบ​เงินใ​ห้แ​ ก่ผ​ ก​ู้ ู้ สัญญา​กย​ู้ มื เ​งินจ​ งึ บ​ ริบรู ณ์11ผูใ​้ ห้​
กูจ้​ ะ​ส่ง​มอบ​สิ่ง​อื่น​แทน​เงินไ​ ม่​ได้ เว้นแ​ ต่​ผู้ก​ ​จู้ ะ​ตกลง​ยอม​เช่น​นั้น ซึ่ง​กรณี​จะ​เป็นเ​รื่อง​ทผี่​ กู้​ ยู้​ อมรับเ​อา​สิ่งของ​
หรือ​ทรัพย์สินอ​ ย่าง​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงิน ซึ่ง​จะ​ได้​กล่าว​ต่อ​ไป​ใน​หัว​เรื่อง​ที่ 3.2.2 การ​กู้​ยืม​โดย​วิธี​เอา​สิ่งของ​
หรือ​ทรัพย์สินอ​ ย่าง​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงิน
การ​สง่ ม​ อบ​เงินใ​ ห้แ​ ก่ผ​ ก​ู้ ใ​ู้ น​สญ
ั ญา​ยมื เ​งินเ​ป็นข​ อ้ ก​ �ำ หนด​ทเ​ี่ คร่งครัดห​ รือไ​ ม่ เมือ่ ท​ �​ ำ สญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั ​


ผู้​ให้ก​ ​จู้ ะ​ต้อง​ส่ง​มอบ​เงิน​ให้แ​ ก่​ผ​กู้ ู้​จึง​จะ​ทำ�ให้​สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน​บริบูรณ์ ตัวอย่าง​ต่อไ​ ป​นี้​ถือว่า​ได้ม​ ี​การ​ส่งม​ อบ​
เงินใ​ห้ผ​ กู้​ ​แู้ ล้ว

มส
อุทาหรณ์
ฎ.1374/2505 ความ​วา่ “โจทก์จ​ �ำ เลย​คดิ บ​ ญ

ได้ม​ ก​ี าร​สง่ ม​ อบ​เงินใ​ห้แ​ ก่ก​ นั ต​ าม​สญ


ั ชีห​ นีเ​้ ดิมก​ นั แล้วจ​ �ำ เลย​ท�​

ั ญา​กเ​ู้ งินท​ ไ​ี่ ด้ท​ �​


สัญญากูย้​ ืม​เท่านั้น สัญญา​กยู้​ ืมเ​งินก​ ันเ​ช่น​นี้​เป็นอ​ ันบ​ ริบูรณ์
ำ ขนึ้ จ​ ริงๆ เพียง​แต่ค​ ส​ู่ ญ
ำ สญ ั ญา​กเ​ู้ งินใ​ห้โ​จทก์ไ​ ว้แ​ ทน​
การ​จา่ ย​เงินท​ เ​ี่ ป็นห​ นีก​้ นั เช่นน​ ถ​ี้ อื ไ​ ด้ว​ า่ ม​ ก​ี าร​สง่ ม​ อบ​เงินท​ ก​ี่ ย​ู้ มื ก​ นั เ​ป็นการ​บริบรู ณ์แ​ ล้ว” ซึง่ จ​ ะ​เห็นไ​ ด้ว​ า่ ไ​ ม่​
ั ญา​มเ​ี จตนา​จะ​กอ่ ใ​ห้เ​กิดห​ นีต​้ าม​

ฎ. 4252/2528 จำ�เลย​ทำ�​สัญญา​กยู้​ ืมไ​ ว้แ​ ก่​โจทก์​แทน​การ​วาง​มัดจำ�​เป็นเ​งินสด​ตาม​สัญญา​จะ​ซื้อ​ขาย​


ทีด่ นิ แ​ ละ​สงิ่ ป​ ลูกส​ ร้าง สัญญา​กย​ู้ มื จ​ งึ ม​ ม​ี ลู ห​ นีม​้ า​จาก​การ​ทจ​ี่ �ำ เลย​มห​ี นีท​้ จ​ี่ ะ​ตอ้ ง​วาง​มดั จำ�​ตาม​สญ ั ญา​จะ​ซอื้ จ​ ะ​
ขาย​ที่ดิน​และ​สิ่ง​ปลูก​สร้าง เมื่อ​จำ�เลย​ผิด​สัญญา​จะ​ซื้อ​จะ​ขาย​ซึ่ง​โจทก์ม​ ี​สิทธิ​ริบ​เงิน​มัดจำ� โจทก์​ย่อม​มี​สิทธิ​
ฟ้อง​บงั คับต​ าม​สญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินได้ เพราะ​มม​ี ลู ห​ นีต​้ อ่ ก​ นั และ​กรณีเ​ช่นน​ ถ​ี้ อื ไ​ ด้ว​ า่ ไ​ ด้ม​ ก​ี าร​สง่ ม​ อบ​เงินใ​ห้ผ​ ก​ู้ แ​ู้ ล้ว

เมือ่ ส​ ญ
ั ญา​กย​ู้ มื ค​ รบ​ก�ำ หนด​จ�ำ เลย​ไม่ช​ �ำ ระ​หนีโ​้ จทก์ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ม​ู้ ส​ี ทิ ธิฟ​ อ้ ง​รอ้ ง​ให้จ​ �ำ เลย​ช�ำ ระ​เงินได้ โดย​
ถือว่าจ​ �ำ เลย​ผดิ นัดต​ งั้ แต่ถ​ ดั จ​ าก​วนั ค​ รบ​ก�ำ หนด​ตาม​สญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​ป็นต้นไ​ ป และ​เรียก​คา่ เ​สียห​ าย​รอ้ ย​ละ​เจ็ดค​ รึง่ ​
มส

ต่อป​ เี​ท่ากับด​ อกเบี้ย โดย​คิดต​ ั้งแต่ว​ ัน​ผิดนัด​ได้​ด้วย​ ตาม ปพพ. มาตรา 224 แต่ม​ ี​บาง​กรณีท​ ี่​คกู่​ รณี​เจตนา​
จะ​ก่อ​ให้เ​กิดห​ นีต้​ าม​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน แต่​มิได้​มี​การ​ส่งม​ อบ​เงิน​แก่ก​ ันก​ ็​ถือว่า​ม​มี ูล​หนี้​ต่อ​กัน​แล้ว
ฎ. 1557/2524 “ทำ�​สัญญา​ก​เู้ ป็นป​ ระกันว​ ่า​ถ้า​บุตร​โจทก์​ไม่​ได้​ไป​ทำ�งาน​ยัง​ต่าง​ประเทศ​ตาม​ทจี่​ ำ�เลย
ชักนำ� จำ�เลย​จะ​คืนเ​งิน​ทโี่​จทก์เ​สีย​ไป​แก่โ​จทก์ เมื่อ​บุตร​ไม่​ได้ท​ ำ�งาน​ตาม​สัญญา​จำ�เลย​ต้อง​คืน​เงินแ​ ก่​โจทก์​
เป็น​เรื่อง​มมี​ ูล​หนีต้​ ่อก​ ันต​ าม​สัญญา​กู้ ไม่​จำ�​ต้อง​รับ​เงิน​ไป​ตาม​สัญญา”
ฎ. 3359/2531 สัญญา​ก​มู้ ี​มูล​หนี้​มา​จาก​การ​ทโี่​จทก์​ทดรอง​จ่าย​เงินใ​น​การ​ซื้อ​ขาย​หุ้น​ให้จ​ ำ�เลย การ​ที่​

โจทก์อ​ อก​เช็คใ​ห้จ​ �ำ เลย​และ​จ�ำ เลย​สลักห​ ลังค​ นื แ​ ก่โ​จทก์เ​ป็นว​ ธิ ก​ี าร​ช�ำ ระ​หนีเ​้ งินท​ ดรอง​ทโ​ี่ จทก์จ​ า่ ย​แทน​จ�ำ เลย​
ไป​ใน​การ​ซอื้ ห​ นุ้ เ​ท่านัน้ เจตนา​อนั แ​ ท้จริงเ​ป็นเ​รือ่ ง​ทโ​ี่ จทก์จ​ �ำ เลย​ตกลง​ระงับห​ นีเ​้ งินท​ ดรอง​ทโ​ี่ จทก์อ​ อก​ไป​โดย​
วิธจ​ี �ำ เลย​กเ​ู้ งินโ​จทก์ใ​ช้ห​ นี้ จำ�นวน​เงินท​ โ​ี่ จทก์จ​ ะ​ตอ้ ง​จา่ ย​แก่จ​ �ำ เลย​ตาม​สญ ั ญา​คอื จำ�นวน​เงินท​ โ​ี่ จทก์น​ �​
หนีเ้​งิน​ทดรอง​จ่าย​นั้น​เอง เมื่อ​ปรากฏ​ว่า​จ�ำ เลย​ลง​ลายมือช​ ื่อใ​น​สัญญา​กู้​ดัง​กล่าว​และ​โจทก์​ได้น​ ำ�​จำ�นวน​เงิน​
ตาม​สญ ั ญา​กไ​ู้ ป​ช�ำ ระ​หนี​เ้ งินท​ ดรอง​จน​เสร็จ​สนิ้ แ​ ล้ว จึงต​ อ้ ง​ฟงั ​วา่ จ​ �ำ เลย​เป็น​หนี​โ้ จทก์ต​ าม​จ�ำ นวน​ทร​ี่ ะบุไ​ ว้ใ​น​
ำ ไป​ช�ำ ระ​

สัญญา​กน​ู้ นั้ จำ�เลย​จะ​อา้ ง​วา่ จ​ �ำ เลย​ยงั ไ​ ม่ไ​ ด้ร​ บั เ​งินต​ าม​สญ ั ญา​กแ​ู้ ละ​ไม่ต​ อ้ ง​รบั ผ​ ดิ ต​ อ่ โ​จทก์ต​ าม​สญ ั ญา​กไ​ู้ ม่ไ​ ด้
สธ
11ดูค
​ �​
ำ อธิบาย​เรือ่ ง สัญญา​บริบรู ณ์ใ​น​หน่วย​ที่ 2 การ​ยมื ใ​ช้ส​ นิ้ เ​ปลือง, เพ​ชรา จารุส​ กุล, ความสับสนของการใช้ค�ำ ในกฎหมาย
“ไม่สมบูรณ์” “ไม่บริบูรณ์” วารสาร​กฎหมาย​สุโขทัย​ธร​รมาธิร​ าช ปี​ที่ 24 ฉบับ​ที่ 2 ธันวาคม 2555 น. 5-6.

3-14 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

จาก​การ​วนิ จิ ฉัยใ​น​ค�​ ำ พพิ ากษา​ศาลฎีกา​ทย​ี่ ก​มา​เป็นต​ วั อย่าง​ขา้ ง​ตน้ จะ​เห็นไ​ ด้ว​ า่ ใ​น​เรือ่ ง​การ​สง่ ม​ อบ​
เงินใ​ห้แ​ ก่ผ​ ก​ู้ ใ​ู้ น​สญั ญา​กย​ู้ มื น​ นั้ ไม่เ​ป็นข​ อ้ ก​ �ำ หนด​ทเ​ี่ คร่งครัด อาจ​มก​ี าร​ปฏิบตั ก​ิ นั อ​ ย่าง​อนื่ ท​ ท​ี่ �ำ ให้ส​ ญ ั ญา​กย​ู้ มื ​
เงิน​บริบูรณ์​โดย​ไม่​ต้อง​ส่ง​มอบ​เงิน​ให้​แก่​กัน​ดังก​ ล่าว​แล้ว​ก็ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 10227/2551 โจทก์​และ​จ�ำ เลย​ที่ 1 ตกลง​กัน​ให้​นำ�​หนี้​พร้อม​ดอกเบี้ยท​ ี่​จำ�เลย​ที่ 1 ค้าง​ช�ำ ระ​โจทก์


ซึง่ เ​ป็นม​ ลู ห​ นีท​้ ช​ี่ อบ​ดว้ ย​กฎหมาย​มา​เป็นต้นเ​งินท​ �​ ำ สญ ั ญา​กนั ใ​หม่ ย่อม​ถอื ว่าโ​จทก์ไ​ ด้ส​ ง่ ม​ อบ​เงินท​ ก​ี่ ย​ู้ มื ต​ าม​
สัญญา​ให้​จำ�เลยที่ 1 โดย​ชอบ​แล้ว สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน​จึง​สมบูรณ์​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย

มส
อนึง่ กรณีท​ ต​ี่ อ่ สูว​้ า่ ส​ ญ
พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ได้
ั ญา​ยมื ใ​ช้ส​ นิ้ เ​ปลือง​ไม่บ​ ริบรู ณ์เ​พราะ​ยงั ม​ ไิ ด้ร​ บั ม​ อบ​เงินท​ ก​ี่ ย​ู้ มื ไ​ ป​สามารถ​น�​

ฎ.13825/2553 โจทก์​ฟ้อง​ว่า​จำ�เลย​ก​ยู้ ืม​เงิน​จาก​โจทก์​เมื่อ​วัน​ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 และ​จำ�เลย​


ได้​รับ​เงิน​กู้​ยืม​ไป​ครบ​ถ้วน​แล้ว​จำ�เลย​ให้การ​ว่า​จำ�เลย​ไม่​เคย​กู้​ยืม​เงิน​จาก​โจทก์​และ​ไม่​เคย​ได้​รับ​เงิน​ไป​จาก​
โจทก์ จำ�เลย​ทำ�​สัญญา​จำ�นอง​ที่ดิน​เพื่อ​ประกัน​การ​ทำ�​สัญญา​นาย​หน้า​จัด​ส่ง​คน​งาน​ไป​ทำ�งาน​ที่​ไต้หวัน
เท่ากับ​จำ�เลย​ให้การ​ว่า​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ตาม​คำ�ฟ้อง​ซึ่ง​เป็นการ​ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง​ไม่​สมบูรณ์​เพราะ​ไม่มี​การ​
ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ที่​ยืม​ ตาม ปพพ. มาตรา 650 จำ�เลย​จึง​ไม่​ต้อง​ห้าม​มิ​ให้​นำ�สืบ​พยาน​บุคคล​ว่า​สัญญา

​กู้​ยืม​เงิน​ตาม​ค�ำ ฟ้อง​ไม่​สมบูรณ์​ ตาม ปวพ. มาตรา 94


ข้อ​สังเกต ตาม​คำ�​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ข้าง​ต้น ที​ศ่ าล​ใช้​คำ�​ว่า “ไม่​สมบูรณ์” น่า​จะ​เป็น​เรื่อง​ไม่บ​ ริบูรณ์​

ตาม​มาตรา 650 วรรค​สอง
กรณี​ได้​รับ​เงิน​ก​เู้ ป็น​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน เงินสด และ​เช็ค​เท่ากับ​จำ�นวน​เงิน​ตาม​สัญญา​กู้ ถือว่า​ได้​รับ​
มส

เงิน​กู้​ไป​แล้ว
อุทาหรณ์
ฎ.1255/2541 การ​ท​ผี่ ู้​ร้อง​ท�​ ำ สัญญา​กู้​เงิน​จาก​จำ�เลย​และ​รับ​เงิน​ก​ดู้ ้วย​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน เมื่อผ​ รู้​ ้อง​ได้​
รับต​ วั๋ ส​ ญ
ั ญา​ใช้เ​งินด​ งั ก​ ล่าว​แล้ว ผูร​้ อ้ ง​ได้น​ �​ ำ ไป​ขาย​ลด​และ​ช�ำ ระ​หนีแ​้ ก่บ​ คุ คล​อนื่ โดย​เฉพาะ​ตวั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้เ​งินท​ ​ี่
ผู้​ร้อง​นำ�​ไป​ขาย​ลด​ให้​แก่​ธนาคาร แม้​ธนาคาร​จะ​รับ​เงิน​ตาม​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ไม่​ได้ แต่ธ​ นาคาร​ก็ได้​ยื่น​ขอรับ​
ชำ�ระ​หนีจ​้ าก​กอง​ทรัพย์สนิ ข​ อง​จ�ำ เลย​ใน​มลู ห​ นีต​้ าม​ตวั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้เ​งินด​ งั ก​ ล่าว ซึง่ ศ​ าล​ชนั้ ต​ น้ ไ​ ด้ม​ ค​ี �​ ำ สงั่ อ​ นุญาต​
ให้​ได้​รับช​ ำ�ระ​หนี้ และ​ธนาคาร​ได้​รับ​ส่วน​แบ่ง​จาก​กอง​ทรัพย์สิน​ของ​จำ�เลย​ครั้งแ​ รก​เป็น​เงิน 2 ล้าน​บาท​เศษ

เงินสด​แล้ว​เท่ากับ​จำ�นวน​เงิน​ตาม​สัญญา จึง​ถือว่า​ผู้​ร้อง​ได้​รับ​ประโยชน์​และ​ได้​รับ​เงิน​กู้​จาก​จำ�เลย​ไป​แล้ว
ผู​ร้ ้อง​จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​เงิน​ตาม​สัญญา​ก​จู้ าก​จ�ำ เลย

นอกจาก​น​ ี้ ผู​้ร้อง​ยัง​ได้​รับ​เงินสด​และ​เช็ค​จาก​การ​กู้​เงิน​ซึ่ง​เมื่อ​รวม​จ�ำ นวน​เงินต​ าม​ตั๋วส​ ัญญา​ใช้เ​งิน เช็ค และ​

ส่วน​ใน​การ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​โดย​ผู้​ให้​กู้ มอบ​เช็ค​ให้​แก่​ผู้​กู้​ก็​ถือว่า​เป็นการ​มอบ​เงิน​ให้​แก่​ผู้​กู้​แล้ว เช่น


ธนาคาร​มอบ​เช็ค​ของ​ธนาคาร (Cashier order) ให้​ผู้​กู้​และ​การ​กู้​ยืม​เงิน​ใน​ลักษณะ​อื่น เช่น การ​เบิกเ​งิน​เกิน​
บัญชี​ไม่​ต้อง​มี​การ​ส่ง​มอบตัว​เงิน​ให้แ​ ก่​ผ​กู้ ​โู้ ดยตรง เช่น นาย​แดง​ทำ�​สัญญา​เบิก​เงิน​เกินบ​ ัญชี​กับธ​ นาคาร​ขาว
สธ
ธนาคาร​ไม่จ​ �​ ำ ตอ้ ง​สง่ ม​ อบ​เงินใ​ห้แ​ ก่น​ าย​แดง​โดยตรง เพียง​แต่ใ​ห้ว​ งเงินต​ าม​สญ ั ญา​ใน​บญ ั ชีก​ ระแส​ราย​วนั ข​ อง​
นาย​แดง เมื่อ​นาย​แดง​เขียน​เช็ค​สั่ง​จ่าย​เงิน​จาก​บัญชี​ของ​ตน​ใน​จำ�นวน​ที่​อยู่​ใน​วงเงิน​ที่​ตกลง​กัน​ตาม​สัญญา
ธนาคาร​จะ​จา่ ย​เงินจ​ �ำ นวน​นนั้ ใ​ห้แ​ ก่น​ าย​แดง​ทนั ที ดังนีก​้ ถ​็ อื ว่าเ​ป็นการ​สง่ ม​ อบ​เงินใ​ห้แ​ ก่น​ าย​แดง​แล้วเ​ช่นก​ นั

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-15

ตัวอย่าง​ต่อ​ไป​นี้​ถือ​ไม่​ได้​ว่า​มี​มูล​หนี้​เงิน​กู้​ยืม
ฎ. 4951/2528 จำ�เลย​เช่า​ซื้อ​โทรทัศน์​จาก​บุคคล​อื่น โจทก์​ค�​ ้ำ ประกัน หลัง​ค้ำ�​ประกันเ​พียง 3 ชั่วโมง
โจทก์ใ​ห้จ​ �ำ เลย​ท�​ ำ สญ
ั ญา​กใ​ู้ ห้เ​พือ่ ป​ ระกันค​ วาม​เสียห​ าย​ใน​การ​ค�​ ้ำ ประกัน เมือ่ ค​ วาม​เสียห​ าย​จาก​การ​ค�​ ้ำ ประกัน​
การ​เช่าซ​ อื้ ย​ งั ไ​ ม่เ​กิดข​ นึ้ แ​ ละ​ยงั ค​ �ำ นวณ​ไม่ไ​ ด้ จึงเ​ป็นห​ นีท​้ ย​ี่ งั ไ​ ม่แ​ น่นอน​ไม่อ​ าจ​น�​ำ มา​เป็นม​ ลู ห​ นีใ​้ น​สญั ญา​กไ​ู้ ด้
จำ�เลย​จึง​ไม่ไ​ ด้​กู้​เงิน​โจทก์ ผู้​ค�​ ้ำ ประกัน​การ​ก​จู้ ึง​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด


ดัง​นั้น การ​ส่ง​มอบ​เงิน​ให้​แก่​ผ​ใู้ ห้​กู้​อาจ​จะ​ม​ไี ด้​หลาย​กรณี​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ คือ ส่ง​มอบ​กัน​ก่อน​ทำ�​สัญญา​
หรือ​หลัง​จาก​ทำ�​สัญญา​หรือ​บาง​กรณี​ก​ถ็ ือว่า​ได้​มี​การ​ส่ง​มอบ​เงิน​กัน​แล้ว

มส
นอกจาก​นั้น​ใน​กรณี​ท​ที่ �​ ำ สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงินแ​ ล้ว แต่​ยัง​ไม่​ได้​ส่ง​มอบ​เงิน​ให้​ผู้​ก​จู้ ะ​ฟ้อง​ให้​ส่ง​มอบ​เงินไ​ ม่​
ได้ แต่​ถ้า​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน​โดย​ทำ�​สัญญา​ต่าง​ตอบแทน​กัน​ไว้​ดังนีม้​ ​สี ิทธิ​ฟ้อง​ให้​ส่ง​มอบ​เงินก​ ัน​ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 2923/2525 ผู้​ให้​กู้​ยืนยัน​ตาม​ข้อ​ตกลง​เปลี่ยนแปลง​วงเงิน​ที่​ให้​ไว้​กับ​ผู้​กู้ ย่อม​เกิด​สัญญา​ผูกพัน​
ตาม​นนั้ จำ�เลย​มท​ี ดี่ นิ ไ​ ด้เ​สนอ​โจทก์เ​พือ่ ร​ ว่ ม​ท�​ ำ โครงการ​จดั สรร​ทดี่ นิ พร้อม​บา้ น​กบั จ​ �ำ เลย​พร้อม​อนุมตั ก​ิ เ​ู้ งิน​
เพื่อ​ลงทุน​ด้วย โจทก์​อนุมัติ ได้​ทำ�​สัญญา​กัน 2 ฉบับ คือ สัญญา​ก​เู้ งิน​และ​สัญญา​ให้​ผซู้​ ื้อ​ก​เู้ งิน​โจทก์​ไป​ซื้อ​
ทีด่ นิ แ​ ละ​บา้ น​ตาม​โครงการ ดังนี้ สัญญา​ฉบับห​ ลังเ​ป็นส​ ว่ น​หนึง่ ข​ อง​สญ ั ญา​ฉบับแ​ รก​ขอ้ ความ​ใน​สญ ั ญา​แต่ละ​
ฉบับม​ ผ​ี ล​ผกู พันบ​ งั คับก​ นั ไ​ ด้ ดังน​ นั้ การ​ตคี วาม​เจตนา​ของ​คส​ู่ ญ ั ญา​จงึ ต​ อ้ ง​แปล​จาก​สญ ั ญา​ทงั้ 2 ฉบับร​ วม​กนั
ไม่ใช่ย​ ก​เอา​เฉพาะ​ขอ้ ความ ตอน​ใด​ตอน​หนึง่ ห​ รือส​ ญ ั ญา​ฉบับใ​ด​ฉบับห​ นึง่ ห​ รือข​ อ้ ใ​ด​ขอ้ ห​ นึง่ ม​ า​แปล จึงไ​ ม่ใช่​

นิตกิ รรม​อ�ำ พราง และ​ไม่ใช่ส​ ญ ั ญา​กเ​ู้ งินโ​ดย​วธิ อ​ี อก​ตวั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้เ​งินอ​ ย่าง​เดียว สัญญา​ทงั้ 2 ฉบับจ​ งึ เ​ป็นส​ ญ ั ญา​​
ต่าง​ตอบแทน​กัน​เป็น​พิเศษ​ยิ่ง​กว่า​สัญญา​กู้​ธรรมดา คู่​สัญญา​แต่ละ​ฝ่าย​ต่าง​มี​สิทธิ​และ​หน้าที่​จะ​ต้อง​ปฏิบัติ​
มส

ตอบแทน​ซึ่ง​กัน​และ​กัน​ตาม​ข้อความ​ที่​ระบุ​ไว้​ใน​สัญญา
โจทก์​ยอม​ให้​จำ�เลย​กู้​เงิน​สูง​กว่า​จำ�นวน​ที่​ขอ​กู้​ใน​การ​เสนอ​โครงการ​ครั้ง​แรก แสดง​ว่า​ได้​ตกลง​
เปลีย่ นแปลง​วงเงินก​ นั แ​ ล้ว เท่ากับเ​ป็นการ​ยนื ยันต​ าม​ขอ้ ต​ กลง​นนั้ ข้อต​ กลง​นจ​ี้ งึ ผ​ กู พันโ​จทก์ โจทก์จ​ ะ​ปฏิเสธ​
ไม่​ให้​จ�ำ เลย​และ​ผู้​ซื้อ​ที่ดิน​กับ​บ้าน​ก​เู้ งิน​ถึง​จำ�นวน​ดัง​กล่าว​ไม่​ได้​เป็นการ​ผิด​สัญญา
ส่วน​การ​ส่ง​มอบ​เงิน​นั้น​จะ​ส่ง​มอบ​ให้​แก่​ใคร​ที่​เป็น​ตัวแทน​ของ​ผู้​กู้​ยืม​เงิน​ก็ได้ เช่น พ่อ​ทำ�​สัญญา
​กู้​ยืม​เงิน​แล้ว​ให้​เจ้า​หนี​ส้ ่ง​มอบ​เงิน​ให้​แก่​ลูก​ก​ถ็ ือว่าพ​ ่อ​ได้ร​ ับ​เงิน​ก​แู้ ล้ว

เงินข​ อง​พอ่ ม​ า​ปล่อย​ให้ค​ น​กู้ คน​ทท​ี่ �​ ำ สญ


ั ญา​กย​ู้ มื ต​ อ้ ง​รบั ผ​ ดิ ต​ าม​สญ
ผู​ใ้ ห้​กู้​ยืม​เพื่อ​ตน​จะ​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​หนี​เ้ งิน​ก​ไู้ ม่​ได้

2. หลัก​ฐาน​ใน​การ​กู้​ยืม​เงิน

ข้อส​ ังเกต เงิน​ที่​ให้​ก​เู้ ป็น​ของ​ใคร​ไม่​ส�ำ คัญ คน​ที่​ทำ�​สัญญา​กต็​ ้อง​รับผ​ ิด​ตาม​สัญญา​นั้น เช่น ลูก​นำ�​
ั ญา​จะ​ปฏิเสธ​วา่ ไ​ ม่ใช่เ​งินข​ อง​ลกู ค​ น​ทเ​ี่ ป็น​

สาระ​ส�ำ คัญข​ อง​สญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินอ​ กี เ​รือ่ ง​หนึง่ ค​ อื หลักฐ​ าน​ใน​การ​กย​ู้ มื เ​งิน การ​กย​ู้ มื เ​งินก​ ฎหมาย​ไม่ไ​ ด้
บังคับ​ให้​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ใน​การ​กู้​ยืม​กัน​ทุก​ครั้ง​ไป​เพียง​แต่​กฎหมาย​กำ�หนด​จำ�นวน​เงิน​ขั้น​ตํ่า​ไว้​
สธ
เป็นเ​กณฑ์ว​ ่าห​ าก​มี​การ​ท�​ ำ สัญญา​ก​ยู้ ืมเ​งินก​ ัน​เกินก​ ว่าจ​ ำ�นวน​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด​ให้ท​ ำ�​หลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือ​
ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​กู้​เป็น​สำ�คัญ​เพื่อ​เป็น​ประโยชน์​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​ระหว่าง​คู่​สัญญา เกณฑ์​ขั้น​ตํ่า​ที่​
กฎหมาย​ให้​ม​ีหลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ได้​ก�ำ หนด​ไว้​ใน​มาตรา 653 วรรค​หนึ่ง ซึ่ง​บัญญัติ​ว่า “การ​กู้​ยืม​เงิน​กว่า​

3-16 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

สอง​พันบ​ าท​ขึ้น​ไป​นั้น ถ้า​มิได้​มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้ย​ ืมเ​ป็น​หนังสืออ​ ย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง ลง​ลายมือผ​ ู้​ยืมเ​ป็น​สำ�คัญ


ท่าน​ว่า​จะ​ฟ้อง​ร้อง​ให้​บังคับ​คดี​หา​ได้​ไม่” ซึ่ง​หมายความ​ว่า หาก​มี​การ​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน​เป็น​จำ�นวน​กว่า
2,000 บาท​ขึ้นไ​ ป​แล้ว ถ้า​มิได้​มี​หลัก​ฐาน​แห่งก​ าร​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​หนังสืออ​ ย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่งล​ ง​ลายมือช​ ื่อ​ผู้​ยืม​
เป็น​สำ�คัญ ท่าน​ว่า​จะ​ฟ้อง​ร้อง​ให้​บังคับค​ ดี​หา​ได้​ไม่ ฎ. 200/2496 (ป. ใหญ่) เอา​เงิน​เขา​ไป​โดย​เสียด​อก​เบี้ย​
แล้ว​มอบ​ทอง​รูป​พรรณ​ไว้​เป็น​ประกัน​การ​จำ�นำ�​โดย​มูล​หนี้​เดิม​คือ​กู้​ยืม​เงิน ถ้า​ไม่มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​จะ​


ฟ้อง​ให้ล​ ูกห​ นีต้​ ้อง​ใช้​ส่วน​ที่​ขาด​จาก​การ​บังคับ​จำ�นำ�​ไม่​ได้
กฎหมาย​บังคับ​ให้​มี​หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​หนังสือ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ยืม​เป็น​สำ�คัญ​เท่านั้น ดัง​นั้น

มส
สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน​ที่​ไม่มีล​ ายมือ​ชื่อ​ผู้​ให้ก​ ู้​ยืม​กใ็​ช้​เป็น​หลักฐ​ าน​ฟ้อง​ผกู้​ ู้​ยืม​เงินได้
อุทาหรณ์
ฎ. 2484/2533 การ​ก​ยู้ ืม​เงินเ​กินก​ ว่า​ห้า​สิบบ​ าท (ปัจจุบัน​สอง​พัน​บาท) กฎหมาย​เพียง​แต่​บังคับใ​ห้​
มีห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​ป็นห​ นังสือแ​ ละ​ลง​ลายมือช​ อื่ ผ​ ก​ู้ จ​ู้ งึ จ​ ะ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​บงั คับค​ ดีไ​ ด้ โดย​มไิ ด้บ​ งั คับผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ต​ู้ อ้ ง​
ลง​ลายมือ​ชื่อ แม้​สัญญา​กเู้​งิน​จะ​เป็น​นิติกรรม​สอง​ฝ่าย แต่​ก​เ็ ป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เมื่อ​จำ�เลย​ลง​ลายมือ​
ชื่อ​ผกู้​ ู้แ​ ล้ว​กช็​ อบ​ที่​จะ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับค​ ดีไ​ ด้​ตาม ปพพ. มาตรา 653
ฎ. 4537/2553 ปพพ. มาตรา 653 วรรค​แรก (เดิม) บัญญัติ​ว่า “การ​กู้​ยืมเ​งิน​กว่า​ห้าส​ ิบบ​ าท​ขึ้น​ไป​นั้น
ถ้าม​ ไิ ด้ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​ป็นห​ นังสืออ​ ย่าง​ใด​อย่าง​หนึง่ ล​ ง​ลายมือช​ อื่ ผ​ ย​ู้ มื เ​ป็นส​ �ำ คัญ ท่าน​วา่ จ​ ะ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​ให้​
บังคับค​ ดีห​ า​ได้ไ​ ม่” สาระ​ส�ำ คัญข​ อง​หลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือต​ าม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​แรก อยูท​่ ว​ี่ า่ มีก​ าร​แสดง​

ให้เ​ห็นว​ ่าม​ ก​ี าร​กยู้​ ืมเ​งินก​ ันก​ เ​็ พียง​พอแล้ว ไม่ไ​ ด้บ​ ังคับถ​ ึงก​ ับจ​ ะ​ต้อง​ระบุช​ ื่อข​ อง​ผใู้​ห้ก​ ไู้​ ว้ ดังน​ ั้น เมื่อโ​จทก์น​ ำ�​
หนังสือ​สัญญา​กู้​และ​ค้ำ�​ประกัน​มา​ฟ้อง​จ�ำ เลย​ทั้ง​สาม และ​ปรากฏ​ชัด​ว่า​เอกสาร​พิพาท​มสี​ าระ​สำ�คัญ​แสดง​ให้​
มส

เห็นว​ า่ จำ�เลย​ที่ 1 กูย​้ มื เ​งินจ​ าก​ผใ​ู้ ห้ก​ ู้ แม้จ​ ะ​ไม่ไ​ ด้ร​ ะบุช​ อื่ ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ล​ู้ ง​ไว้ใ​ห้ถ​ กู ต​ อ้ ง​แต่ร​ ะบุจ​ �ำ นวน​เงินแ​ ละ​จ�ำ เลย​ที่ 1
ลง​ลายมือ​ชื่อ​ไว้​ใน​ฐานะ​ผู้​ก​คู้ รบ​ถ้วน จึง​ถือว่าเ​ป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​และ​ค้ำ�​ประกัน​ของ​โจทก์​ได้​แล้ว
นอกจาก​นั้น​หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​เงิน​นั้น​ไม่มี​พยาน​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ใน​ขณะ​ที่​ทำ�​หนังสือ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​
กันก​ ใ็​ช้​เป็นห​ ลัก​ฐาน​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง​คดี​ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 650/2536 จ�ำ เลย​กเ​ู้ งินจ​ าก​โจทก์จ​ �ำ นวน 120,000 บาท โดย​ไม่ไ​ ด้ท​ �​ ำ หลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือไ​ว้ แล้วต​ อ่ ​
มา​จ�ำ เลย​ได้ท​ �​ ำ หนังสือส​ ญั ญา​กเ​ู้ งินใ​ห้โ​จทก์ไ​ ว้ ขณะ​ทจ​ี่ �ำ เลย​เขียน​สญ
ไม่มี​บุคคล​อื่น​ลงชื่อ​เป็น​พยาน​ใน​สัญญา โดย​พยาน​ดัง​กล่าว​ได้​ลงชื่อ​เป็น​พยาน​ใน​สัญญา​กู้​เงิน​ใน​ภาย​หลัง
ก็​ไม่มี​ผล​ทำ�ให้​หนังสือ​สัญญา​กู้​เงิน​เสื่อม​เสีย​ไป เพราะ​ไม่มี​กฎหมาย​บัญญัติ​ว่า​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน​
เป็นห​ นังสือน​ นั้ จ​ ะ​ตอ้ ง​มล​ี ายมือช​ อื่ ข​ อง​พยาน​ดว้ ย แต่ถ​ า้ ผ​ ก​ู้ พ​ู้ มิ พ์ล​ าย​นวิ้ ม​ อื ใ​น​สญ

ั ญา​กเ​ู้ งินแ​ ละ​ลงชือ่ เ​ป็นผ​ ก​ู้ ใ​ู้ น​สญ

พิมพ์น​ ิ้วม​ ือ 2 คน หาก​มี​พยาน​รับรอง​ลาย​พิมพ์​นิ้ว​มือไ​ ม่​ครบ​ถ้วน สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงินน​ ั้นจ​ ะ​ถือ​เสมอ​กับผ​ ู้​กู้​ลง​


ั ญา​นนั้

ั ญา​ตอ้ ง​มพ​ี ยาน​รบั รอง​ลาย​

ลายมือช​ ื่อ​ยัง​ไม่ไ​ ด้ (ฎ. 7156/2541)


ส่วน​การ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​จำ�นวน​สอง​พัน​บาท​หรือ​ตํ่า​กว่า​สอง​พัน​บาท ผู้​ให้​กู้​ยืม​ไม่​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​
สธ
หนังสือ​ก็​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​กัน​ได้ โดย​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ ดังน​ ั้น การ​กู้​ยืม​เงินก​ ว่า 2,000 บาท ถ้าผ​ ู้​ให้​ยืม​
ไม่มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​ดัง​กล่าว​มา​แสดง ผู้​ให้​กู้​ยืม​จะ​นำ�​คดี​มา​ฟ้อง​ร้อง​ต่อ​ศาล​ว่า​ผู้​กู้​ไม่​ชำ�ระ​หนี้​ที่​กู้​ยืม
โดย​นำ�สืบพ​ ยาน​บุคคล​แทน​ย่อม​ทำ�​ไม่​ได้ ซึ่งใ​น​เรื่อง​การนำ�​สืบ​นี้​ได้​บัญญัติ​ไว้​ใน ปวพ. มาตรา 94 ความ​ว่า

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-17

“เมื่อ​ใด​มี​กฎหมาย​บังคับ​ให้​ต้อง​มี​พยาน​เอกสาร​มา​แสดง​ห้าม​มิ​ให้​ศาล​ยอมรับ​ฟัง​พยาน​บุคคล​ใน​กรณี​อย่าง​ใด​
อย่าง​หนึ่ง​ดังต​ ่อไ​ ป​นี้ แม้​ถึงว่า​ค​คู่ วาม​อีก​ฝ่าย​หนึ่งจ​ ะ​ได้ยิน​ยอม​ก็​ดี ฯลฯ” ซึ่ง​เรื่อง​การนำ�​สืบ​พยาน​บุคคล​นี้​มิได้​
ห้าม​โดย​เด็ดข​ าด มีข​ อ้ ย​ กเว้น ซึง่ จ​ ะ​กล่าว​ไว้ใ​น​เรือ่ ง​การนำ�​สบื ก​ าร​ใช้เ​งินใ​น​ตอน​ที่ 3.4 ความ​ระงับแ​ ห่งส​ ญ ั ญา
​กเู้​งิน​และ​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงินก​ ตู้​ ่อ​ไป
อนึ่ง กรณี​ที่​ทำ�​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ไว้​แล้ว​แต่​ต่อ​มา​หลัก​ฐาน​ดัง​กล่าว​ถูก​เพิก​ถอน ก็​ยัง​ถือว่า​การ​


กู้ย​ ืม​เงินไ​ ด้​มี​หลัก​ฐาน​การ​กยู้​ ืม​เงิน​แล้ว
อุทาหรณ์

มส
ฎ. 2274/2531 หนังสือ​สัญญา​จำ�นอง​มี​ข้อความ​ระบุ​ว่า​ให้​ถือ​สัญญา​จำ�นอง​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ
​กู้​ยืม​เงิน​จำ�นวน 300,000 บาท แม้​ต่อ​มา​สัญญา​จำ�นอง​จะ​ถูก​เพิก​ถอน​ก็​ไม่​กระทบ​กระเทือน​ถึง​ข้อความ​ที่​
ระบุไ​ ว้เ​กี่ยว​กับ​การ​ก​ยู้ ืม ถือ​ได้​ว่าการ​กู้​ยืม​ม​หี ลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​เจ้า​หนี้​มี​สิทธิ​ขอรับ​ชำ�ระ​หนี้​ได้​ตาม พรบ.
ล้ม​ละ​ลายฯ มาตรา 92
การ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​กู้​เป็น​ส�ำ คัญ หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​เงิน​ที่​เป็น​หนังสือ​ดัง​กล่าว​ต้อง​มลี​ ายมือ​ชื่อ​ผู้ก​ ู้​เป็น​
สำ�คัญ ซึง่ ล​ ายมือช​ อื่ น​ ม​ี้ ไิ ด้ก​ �ำ หนด​เคร่งครัดว​ า่ จ​ ะ​ตอ้ ง​เป็นล​ ายมือช​ อื่ ข​ อง​ผก​ู้ เ​ู้ ท่านัน้ ผูก​้ อ​ู้ าจ​จะ​ท�​
แกงได ลาย​พมิ พ์น​ วิ้ ม​ อื หรือใ​ช้ต​ รา​ประทับแ​ ทน​ลง​ลายมือช​ อื่ ซึง่ ก​ ารก​ระ​ท�​
ำ เครือ่ งหมาย​
ำ ดงั ก​ ล่าว​กถ​็ อื ว่าม​ ผ​ี ล​สมบูรณ์ต​ าม​
กฎหมาย (ปพพ. มาตรา 9 วรรค​สอง) 12
แต่​ใน​เรื่อง​การ​พิมพ์​ลาย​นิ้ว​มือ แกงได​หรือ​เครื่องหมาย​อื่น​ทำ�นอง​เช่น​ว่า​นี้​ย่อม​นำ�​ไป​ใช้​ใน​เรื่อง​

สัญญา​ก​ู้เงิน​ประเภท​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ไม่​ได้ เพราะ​ใน​การ​ปฏิบัติ​ตาม​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ต้อง​ม​ีสัญญา​
บัญชี​เดิน​สะพัด​ควบคู​่กัน​ไป การ​สั่ง​จ่าย​เงิน​ต้อง​ใช้​เช็ค ซึ่ง​เป็น​ตั๋ว​เงิน​ชนิด​หนึ่ง ซึ่ง ปพพ. มาตรา 900 วรรค​
มส

สอง ได้​บัญญัต​หิ ้าม​ใน​เรื่อง​การ​ใช้​เครื่องหมาย​อย่าง​อื่น​แทน​การ​ลง​ลายมือ​ชื่อ


เนื่องจาก​สัญญา​กู้​เงิน​ประเภท​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เกี่ยวข้อง​กับ​ธุรกิจ​อัน​เป็น​ส่วน​รวม ฉะนั้น
กฎหมาย​จงึ ต​ อ้ งการ​ให้ผ​ ม​ู้ ค​ี วาม​รส​ู้ ามารถ​อา่ น​ออก​เขียน​ได้ด​ �ำ เนินก​ าร ประกอบ​กบั ก​ าร​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญ ั ชีต​ อ้ ง​
ใช้​เช็ค หาก​อนุญาต​ให้​มี​การ​ใช้​เครื่องหมาย​อื่น​แทน​การ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​แล้ว อาจ​ทำ�ให้​เกิด​ผล​เสียห​ าย​ได้​ง่าย
ใน​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กฎหมาย​ต้องการ​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​กรณี​กู้​ยืม​เงิน​เกิน​กว่า 2,000 บาท ซึ่ง​
มิใช่​เรื่อง​แบบ​ของ​สัญญา อัน​จะ​ทำ�ให้​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​ไม่ส​ มบูรณ์ หาก​ไม่มหี​ ลัก​ฐาน​ดัง​กล่าว หลัก​ฐาน​นี้​เป็น​

พาณิชย์ บัญญัต​ไิ ว้​ใน​พระ​ไอ​ยการ​ลักษณะ​ก​หู้ นี้ ข้อ 9 ดังนี้



หลัก​ฐาน​ที่​จะ​นำ�​มา​ฟ้อง​ร้อง​เท่านั้น ซึ่ง​ใน​เรื่อง​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​นี้​ได้​ปรากฏ​ใน​กฎหมาย​ตรา​สาม​ดวง​
อัน​เป็น​กฎหมาย​ของ​ประเทศไทย​แต่​โบราณ ซึ่ง​ใช้​บังคับ​มา​ก่อน​การ​ประกาศ​ใช้ป​ ระมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​

1. มาตรา​หนึ่ง​ทวย​ราษฎร​ก​หู้ นี​ถ้ ือส​ ีนแ​ ก่​กัน​แต่ ๑ ขึ้น​ไป​ให้​กรม​ทัน​แกง​ไดเป็น​สำ�คัญ ให้​ผูกดอก​เบี้ย​


เดือน​ละ ๑ ถ้า​หา​เอกสาร​สำ�คัญ​มิได้​มา​ร้อง​ฟ้อง ท่าน​ว่าอ​ ย่า​ให้​รับไ​ ว้​บังคับ​บัญชา13
สธ
12 ลาย​พม
ิ พ์น​ วิ้ ม​ อื แกงได ตรา​ประทับ หรือเ​ครือ่ งหมาย​อนื่ ท​ �ำ นอง​เช่นว​ า่ น​ นั้ ทีท​่ �​
ำ ลง​ใน​เอกสาร​แทน​การ​ลง​ลายมือช​ อื่ หาก​
มี​พยาน​ลง​ลายมือ​ชื่อ​รับรอง​ไว้​ด้วย​สอง​คน​แล้ว ให้​ถือ​เสมือน​กับ​ลง​ลายมือ​ชื่อ
13 กรม​ศิลปากร เรื่อง​กฎหมาย​ตรา​สาม​ดวง ม.ป.ท. กรม​ศิลปากร 2521 น. 365.

3-18 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

กฎหมาย​ดงั ก​ ล่าว​มใ​ี จความ​ส�ำ คัญว​ า่ หาก​มก​ี าร​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั ต​ งั้ แต่ 1 ชัง่ (80 บาท) ขึน้ ไ​ ป​ให้ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​
เป็น​หนังสือ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​เป็น​ส�ำ คัญ ให้ค​ ิด​ดอกเบี้ย 1 บาท ฯลฯ ส่วน​ใน​วรรค​สอง บัญญัติ​ว่า ถ้า​หา​เอกสาร​
สำ�คัญ​ดัง​กล่าว​ไม่​ได้ หาก​มา​ฟ้อง​ร้อง​กัน กฎหมาย​ห้าม​บังคับ​ให้ คือ​ไม่​รับ​ฟัง​และ​กฎหมาย​ตรา​สาม​ดวง​ได้​
บัญญัติ​ไว้​เคร่งครัด​กว่า​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ใน​ปัจจุบัน เพราะ​กรณี​การ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​โดย​ไม่มี​
หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ใน​ส่วน​ที่​ไม่มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​กฎหมาย​ห้าม​คิด​ดอกเบี้ย​ด้วย ดัง​ข้อความ​ใน​พระ​


ไอ​ยการ​ลักษณะ​กู้​หนี้ ข้อ 63
3. มาตรา​หนึง่ ท​ �​ำ สาร​กรม​ทนั ก​ เ​ู้ งินท​ า่ น มีใ​ น​สาร​กรม​ทนั ต​ น้ เ​งินแ​ ต่เ​ท่านัน้ ๆ แล้วเ​อา​เงินน​ อก​กรม​ทนั ​

มส
นัน้ อ​ กี ม​ าก​นอ้ ย​เท่าใด​กด​็ ี และ​คดิ เ​อา​ดอกเบีย้ ม​ ไิ ด้เ​ลย เพราะ​เป็นเ​งินน​ อก​กรม14 หมายความ​วา่ การ​ท�​

เงินจ​ ำ�นวน​ทกี่​ ไู้​ ป​ภาย​หลังไ​ ม่​ได้ เพราะ​ไม่มหี​ ลักฐ​ าน​การ​กู้​ยืมเ​งิน​ใน​ส่วน​นั้น


ส่วน​การ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​ไม่​เกิน​ห้า​สิบ​บาท (ปัจจุบัน 2,000 บาท) กฎหมาย​ไม่​ได้​กำ�หนด​ให้​ต้อง​ทำ�​
หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​หนังสือ แต่​ถ้า​คู่​กรณี​ได้​ทำ�​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ไว้​ก็​ย่อม​ทำ�ได้ และ​การ​ฟ้อง​ร้อง​
ให้บ​ ังคับค​ ดี​กต็​ ้อง​มีห​ ลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ (เทียบ ฎ. 110/2480)
ลักษณะ​ของ​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​นั้นก​ ฎหมาย​ไม่​ได้​กำ�หนด​รูป​ลักษณะ​ว่า​จะ​
ำ หลักฐ​ าน​
การ​ก​ยู้ ืม​เงินก​ ันไ​ ว้​จำ�นวน​หนึ่ง แต่ไ​ ด้ก​ ยู้​ ืมเ​พิ่ม​อีกโ​ ดย​ไม่ไ​ ด้ท​ ำ�​หลัก​ฐาน​เป็นห​ นังสือ ผู้​ให้​กจู้​ ะ​คิดด​ อกเบี้ยใ​น​

ต้อง​ท�​ ำ ใน​รปู ส​ ญ
ั ญา​กเ​ู้ งินเ​ท่านัน้ เพราะ​หลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือไ​ ม่ใช่แ​ บบ​ของ​นติ กิ รรม​เรือ่ ง​แบบ​ก�ำ หนด​ไว้เ​ป็น​
องค์ส​ มบูรณ์แ​ ห่งน​ ติ กิ รรม ถ้าไ​ ม่ท​ �​ ำ ตาม​การ​ทท​ี่ �​
ำ ไป​ตก​เป็นโ​มฆะ​เสียเ​ปล่า (ปพพ. มาตรา 152) จะ​ให้ส​ ตั ยาบัน​

กันไ​ ม่ไ​ ด้ (ปพพ. มาตรา 172) การ​ใด​ตก​เป็น​โมฆะ​ย่อม​จะ​มกี​ าร​รับ​ชำ�ระ​หนี้​แก่ก​ ันไ​ ม่​ได้ เพราะ​โมฆกรรม​
ไม่ก​ อ่ ใ​ห้เ​กิดห​ นีท​้ จ​ี่ ะ​พงึ ร​ บั ช​ �ำ ระ​กนั ไ​ ด้ ส่วน​หลักฐ​ าน​ไม่ใช่อ​ งค์ส​ มบูรณ์​แห่งน​ ติ กิ รรม นิตกิ รรม​ทข​ี่ าด​หลักฐ​ าน
มส

เป็นแ​ ต่ฟ​ อ้ ง​รอ้ งขอ​ให้บ​ งั คับค​ ดีไ​ ม่ไ​ ด้ ไม่ใช่โ​ มฆะ​หรือโ​ มฆียะ หนีย​้ อ่ ม​เกิดข​ นึ้ แ​ ม้น​ ติ กิ รรม​สญ ั ญา​ทเ​ี่ ป็นม​ ลู น​ นั้ ​
จะ​ขาด​หลักฐ​ าน เพราะ​ฉะนัน้ จ​ งึ อ​ าจ​มก​ี าร​ช�ำ ระ​หนีก​้ นั ไ​ ด้โ​ดย​สมบูรณ์15นอกจาก​นนั้ ย​ งั ม​ ค​ี �​ ำ พพิ ากษา​ของ​ศาล​
ฎีกา​ได้​ตัดสิน​ท�ำ นอง​เดียวกัน
ฎ. 3464/2528 หลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​ป็นห​ นังสือม​ ใิ ช่แ​ บบ​ของ​นติ กิ รรม ทัง้ ก​ ฎหมาย​กม​็ ไิ ด้บ​ ญ ั ญัตว​ิ า่ ​
หลัก​ฐาน​นนั้ ​จะ​ตอ้ ง​ม​ใี น​ขณะ​ท​ใี่ ห้​ก​ยู้ มื หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​ก​ยู้ มื เ​ป็น​หนังสือ​จงึ ​อาจ​ม​กี อ่ น​หรือ​หลัง​การ​ก​ยู้ มื ​เงิน​
ก็ได้

จำ�เลย​จ�ำ นอง​ทดี่ นิ พ​ ร้อม​สงิ่ ป​ ลูกส​ ร้าง​ไว้แ​ ก่โ​จทก์ เพือ่ เ​ป็นป​ ระกันก​ าร​ช�ำ ระ​หนีเ​้ งินก​ ซ​ู้ งึ่ จ​ �ำ เลย​กจ​ู้ าก​
โจทก์ เมื่อ​หนังสือ​สัญญา​จำ�นอง​เป็น​หลัก​ฐาน​การ​กู้​เงิน​ด้วย และ​จำ�เลย​มิได้​ปฏิเสธ​ว่า​ไม่​ได้​รับ​เงิน​ที่​กู้​จาก​
โจทก์ ดังนี้​หนังสือ​สัญญา​จ�ำ นอง​นั้น​ย่อม​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ
สธ
14 เรื่อง​เดียวกัน น. 371.
15 ธร์​มสาร เล่ม 18 คำ�​พิพากษา​ฎีกา พ.ศ. 2477 (บันทึก​ท้าย​คำ�​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ที่ 534/2477)

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-19

ฎ. 320/2534 ปพพ. มาตรา 653 วรรค​หนึ่ง​มิได้​บังคับ​ว่า หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็นห​ นังสือต​ ้อง​ม​ี


ข้อความ​วา่ ใคร​เป็นผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ู้ ใคร​เป็นผ​ ก​ู้ ู้ กูย​้ มื ก​ นั เ​มือ่ ไร กำ�หนด​ช�ำ ระ​เงินก​ นั อ​ ย่างไร อีกท​ งั้ ต​ าม​มาตรา​ดงั ก​ ล่าว​ท​ี่
ว่าถ​ า้ ม​ ไิ ด้ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​ป็นห​ นังสืออ​ ย่าง​ใด​อย่าง​หนึง่ ล​ ง​ลายมือช​ อื่ ผ​ ย​ู้ มื เ​ป็นส​ �ำ คัญน​ นั้ หา​ได้ม​ ค​ี วาม​
หมาย​เคร่งครัด​ว่า​จะ​ต้อง​ม​ีถ้อยคำ�​ว่า​ก​ู้ยืม​ปรากฏ​อยู่​ใน​เอกสาร​นั้น​ไม่ และ​ข้อความ​ที่​จะ​รับ​ฟัง​เป็น​หลัก​ฐาน​
แห่ง​การ​ก​ยู้ มื ​ได้​นนั้ ​ไม่​จ�​ำ ตอ้ ง​ม​บี รรจุ​อยู​ใ่ น​เอกสาร​ฉบับ​เดียวกัน อาจ​รวบรวม​จาก​เอกสาร​หลาย​ฉบับ​ทเ​ี่ กีย่ ว​


โยง​เป็น​เรื่อง​เดียวกัน และ​รับ​ฟัง​ประกอบ​กัน​เป็นห​ ลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​ได้​ใน​ทาง​ปฏิบัติ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​
สัญญา​ท​มี่ ี​ค่า​ตอบแทน (ดอกเบี้ย​เป็น​ค่า​ตอบแทน​แก่​ผู้​ให้​กู้)

ข้าง​ท้าย)
มส
ดัง​นั้น ใน​ทาง​ปฏิบัติ​จึง​มัก​ทำ�​หลัก​ฐาน​ใน​รูป​ของ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน (ดัง​ตัวอย่าง​หนังสือ​สัญญา​กู้​


ตัวอย่าง​หนังสือ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน

เขียน​ที่............................
วัน​ที่..........เดือน...........................พ.ศ..........
ข้าพเจ้า..................................................................................................................................ผู้ ​กู้ อายุ........................ปี
อยูบ​่ า้ น​เลข​ที่ ........................ตำ�บล.....................อำ�เภอ..........................................จังหวัด........................ได้ท​ �​ ำ หนังสือส​ ญ ั ญา​กเ​ู้ งิน​
ให้ไ​ ว้แ​ ก่.............................................................................................................ดังม​ ​ขี ้อความ​ต่อไ​ ป​นี้

ข้อ 1 ผู้ก​ ู้​ได้​ยืม​เงิน​ของ​ท่าน​ผู้​ให้​กู้​ไป​เป็น​จำ�นวน​เงิน......................................................................................................
(.......................................................................................) และ​ได้​รับเ​งิน​ไป​เสร็จ​แล้ว แต่​วันท​ ำ�​สัญญา​นี้
ข้อ 2 ผูก้​ ​ยู้ อม​ให้​ดอกเบี้ย​ตาม​จำ�นวน​เงิน​ที่​กู้​แก่​ผู้​ให้​กู้​ใน​อัตรา​ร้อย​ละ..........................ต่อ​ปี นับแ​ ต่​วัน​ทำ�​สัญญา​นี้​เป็นต้น​
มส

ไป​จนกว่า​จะ​ใช้ต​ ้นเ​งิน​เสร็จ​สิ้น
ข้อ 3 ผูก้​ ู้​ยอม​สัญญา​ว่า​จะ​นำ�​เงิน​ท​กี่ ู้​นี้​มา​ชำ�ระ​ให้​แก่​ผู้​ให้​กภู้​ ายใน​วัน​ที่.............เดือน.............พ.ศ...
ข้อ 4 เพื่อ​เป็น​ประกัน​ใน​การ​กู้​ยืม​เงิน​นี้ ผู้​กู้​ได้​นำ�..........................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................
มอบ​ให้​ไว้​แก่ผ​ ู้​ให้​กู้​เพื่อ​ยึด​ไว้​เป็น​ประกัน​เงิน​กู้ และ​ผู้​ก​รู้ ับรอง​ว่า​ทรัพย์สิน​ที่​ได้น​ ำ�​มา​มอบ​เป็น​ประกัน​ไว้​นเี้​ป็น​ทรัพย์สิน​ของ​
ผูก้​ ​เู้ อง และ​มิได้​เป็นป​ ระกัน​หรือ​มี​ภาระ​ติดพัน​ใน​หนี​ส้ ิน​ราย​อื่น หรือ

ข้อ 6 ผูก​้ ย​ู้ อม​ให้ส​ ญ ั ญา​วา่ ถ้าผ​ ก​ู้ ป​ู้ ระพฤติผ​ ดิ ส​ ญ



ข้อ 5 ผูก้​ ต​ู้ กลง​ให้.............................เป็นผ​ คู้​ ้ำ�​ประกันห​ นีร้​ าย​นขี้​ อง​ข้าพเจ้า และ​ให้................เป็นผ​ ู้รับผ​ ิดร​ ่วม​กับข​ ้าพเจ้า​
ใน​หนี้​ราย​นี้ จนกว่าจ​ ะ​ชำ�ระ​หนี​เ้ สร็จ​สิ้น
ั ญา​นี้ แต่ข​ อ้ ห​ นึง่ ข​ อ้ ใ​ด​ผก​ู้ ย​ู้ อม​ให้ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ เ​ู้ รียก​รอ้ ง​ตน้ เ​งินก​ ค​ู้ นื ท​ นั ทีแ​ ละ​ยอม​
เสีย​คา่ ​เสีย​หาย​ตา่ งๆ ตลอด​จน​คา่ ​พาหนะ​และ​คา่ ​ใช้​จา่ ย​อื่นๆ ที่​ตอ้ ง​เสีย​ไป​เนือ่ งจาก​การ​ทวงถาม และ​ค่า​ธรรมเนียม​ใน​การ​ฟอ้ ง​ร้อง​คดี​
ให้​แก่ผ​ ​ู้ให้​กทู้​ ั้ง​สิ้น
ข้อ 7 ผูเ​้ ขียน​สญ ั ญา​ได้อ​ า่ น​ขอ้ ความ​ใน​สญ ั ญา​ให้ผ​ ก​ู้ ฟ​ู้ งั โ​ ดย​ตลอด​แล้ว และ​ผก​ู้ เ​ู้ ข้าใจ​โดย​ละเอียด​ทกุ ข​ อ้ จึง​ลง​ลายมือ​ชอื่ ใ​ห้​
ไว้​ต่อ​หน้าพ​ ยาน
สธ
ลง​ลายมือ​ชื่อ............................................ผูก​้ ู้
ลง​ลายมือ​ชื่อ........................................ผู​ใ้ ห้​กู้
ลง​ลายมือ​ชื่อ........................................พยาน
ลง​ลายมือ​ชื่อ........................................พยาน

3-20 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​เงิน​จะ​มี​ลักษณะ​รูป​แบบ​อย่าง​ใดๆ ก็ได้ เพียง​แต่​มี​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​กู้​เป็น​สำ�คัญ มี​


ข้อความ​แสดง​ว่า​ได้​เป็น​หนี้​กัน​จริง​ก็​ใช้ได้ ดัง​คำ�​อธิบาย​คำ�​ว่า​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ​ใน ฎ.
439/2493 ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า ปพพ. มาตรา 653 ที​ว่ ่า “ถ้าม​ ิได้​ม​หี ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กยู้​ ืม​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​
อย่าง​หนึง่ ล​ ง​ลายมือช​ ื่อ​ผ​ยู้ ืม​เป็นส​ ำ�คัญ” นัน้ ​หา​ได้​ม​คี วาม​หมาย​เคร่งครัด​ถงึ ​กบั ​วา่ ​จะ​ตอ้ ง​ม​ถี อ้ ยคำ�​วา่ ​ก​ยู้ มื ​เป็น​
หลัก​ฐาน​ใน​เอกสาร​นั้น​ไม่ เมื่อ​โจทก์​ได้​ทำ�​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​แสดง​ความ​เป็น​หนี้​สิน​


ลง​ลายมือ​ชอื่ ​ลกู ​หนี​แ้ ละ​สบื ​พยาน​หลัก​ฐาน​ประกอบ​อธิบาย​ได้​วา่ หนี​ส้ นิ ​นนั้ ​เป็น​หนีส​้ นิ ​แห่ง​การ​กย​ู้ มื เอกสาร​
นั้น​ก็​เป็น​หนังสือ​อัน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​ก​ยู้ ืม​แล้ว การ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ก​ยู้ ืมน​ ั้น​จะ​ลง​ใน​บริเวณ​ใด​ใน​หนังสือ​

มส
สัญญา​กู้​ยืม​หรือ​หลัก​ฐาน​อื่นๆ ก็ได้ จะ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​เป็น​ชื่อ​ตนเอง​หรือ​ชื่อบ​ ุคคล​อื่น เมื่อต​ น​ได้​ลง​ลายมือ​ชื่อ​
ใน​ฐานะ​ผู้​ก​ยู้ ืม​ก็​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน
ตัวอย่าง​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​อื่นๆ เช่น จดหมาย (ฎ.483/2510) บันทึก​การ​เป็น​หนี้​บันทึก
​เปรียบ​เทียบ​ของ​อำ�เภอ (ฎ. 1567/2499) รายงาน​การ​ประชุม (ฎ. 368/2505) บันทึกป​ ระจำ�​วัน​ของ​สถานี​
ตำ�รวจ (ฎ. 644/2509 และ ฎ. 3003/2538) เป็นต้น แต่เ​ช็คไ​ ม่ใช่ห​ ลักฐ​ าน​ใน​การ​กย​ู้ มื เ​งินด​ งั ม​ ค​ี �​
ศาล​ฎกี า​ได้ว​ นิ จิ ฉัยไ​ ว้ใ​น ฎ. 914/2467 ฎ. 1595/2503 (ป.ใหญ่) วินจิ ฉัยว​ า่ “เช็คม​ ไิ ด้ม​ ค​ี �​ำ วา่ ก​ ห​ู้ รือย​ มื ข้อความ​
ำ พพิ ากษา​ของ​

ใน​เช็คก​ ไ็​ ม่ม​เี ค้า​ว่าเ​ป็นการ​กยู้​ ืมแ​ ต่ป​ ระการ​ใด สภาพ​ของ​เช็คเ​ป็นการ​ใช้เ​งิน ไม่ใช่ก​ าร​กหู้​ รือย​ ืมเ​งิน ฉะนั้น เช็คจ​ ึง​
มิใช่ห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื ” ใน ฎ. 159/2503 ได้ม​ บ​ี นั ทึกห​ มายเหตุท​ า้ ย​ค�​ ำ พพิ ากษา​ฎกี า​ของ​อาจารย์ ยล ธีรก​ ลุ
ว่า “ปพพ. มาตรา 653 ใช้ค​ �​ ำ วา่ “หลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​ป็นห​ นังสือ” (written evidence of the loan) ไม่ใช่

“หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ” เฉยๆ เหมือน​กรณี​อื่นๆ ทั้งนี้​หมายความ​ว่า หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​นั้น​ต้อง​มอี​ ะไร
บ่ง​แสดง​ใน​หนังสือ​นั่นเอง​ว่า​เป็นการ​ก​ยู้ ืม​ด้วย สำ�หรับ​เช็ค​นั้น​ตาม มาตรา 987 บัญญัติ​แสดง​อยูว่​ ่าเ​ช็ค​เป็น​
มส

หนังสือ​สั่ง​ให้​ธนาคาร​จ่าย​เงิน​ให้​เขา​ไป ไม่ใช่​เอา​เงิน​เขา​มา ตาม​ปกติ​เช็ค​ออก​ให้​แก่​กัน​เพื่อ​ชำ�ระ​หนี้ โดย​


สั่ง​ธนาคาร​ให้​จ่าย​เงิน​แก่​ผู้ทรง​เช็ค​นั้น ข้อความ​ใน​เช็ค​ก็​มิได้​แสดง​ให้​เห็น​ได้​แต่​อย่างไร​เลย​ว่า​เป็นการ​กู้​ยืม
ฉะนั้น​จึง​เอา​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​แสดง​ว่า​มี​การ​กู้​ยืม​กัน​ไม่​ได้”
เหตุผล​ใน​ท้าย​คำ�​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ดัง​กล่าว มี​เหตุผล​อย่าง​ชัดเจน​ที​เดียว​ว่า เหตุ​ใด​เช็ค​จึง​ไม่ใช่​
หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม แต่​มี​ปัญหา​โต้​เถียง​ใน​เรื่อง​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ว่า​เป็นห​ ลัก​ฐาน​แห่งก​ าร​กู้ย​ ืมเ​งิน​หรือไ​ ม่
เพราะ​ตวั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้เ​งินเ​ป็นต​ วั๋ เ​งินช​ นิดห​ นึง่ เ​ช่นเ​ดียว​กบั เ​ช็ค ตาม ปพพ. มาตรา 898 ซึง่ ใ​น​วงการ​ธรุ กิจป​ จั จุบนั ​

การ​กู้​ยืม​เงิน​ระหว่าง​สถาบัน​การ​เงิน​หรือ​แม้แต่​ระหว่าง​บุคคล​ธรรมดา ส่วน​มาก​ผู้​กู้​ยืม​จะ​ออก​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​
เงิน​เป็น​หลัก​ประกัน​การ​กู้​ยืม​เงิน​เพราะ​ใน​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​นั้น​เอง​มี​ข้อความ​ที่​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​เป็น​หนี้​กัน​อยู่
นัก​กฎหมาย​ม​คี วาม​เห็น​เป็น​สอง​ฝ่าย ฝ่าย​หนึ่ง​เห็น​ว่า​ตั๋ว​สัญญา​ใช้เ​งิน​ไม่ใช่​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืมเ​งิน โดย​
ให้​เหตุผล​ท�ำ นอง​เดียว​กับใ​น​เรื่อง​เช็ค​ว่าส​ ภาพ​ของ​ตั๋วส​ ัญญา​ใช้เ​งินเ​ป็นการ​ใช้เ​งินไ​ ม่ใช่ก​ าร​กหู้​ รือ​ยืม​เงิน อีก​
ฝ่าย​หนึง่ ม​ ค​ี วาม​เห็นว​ า่ ต​ วั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้เ​งินเ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​งิน เพราะ​ตวั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้เ​งินม​ ข​ี อ้ ความ​แสดง​
ความ​เป็นห​ นีก​้ นั ซึง่ ผ​ เ​ู้ ขียน​มค​ี วาม​เห็นด​ ว้ ย​กบั ฝ​ า่ ย​หลัง เพราะ​เห็นว​ า่ ต​ วั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้เ​งินม​ ข​ี อ้ ความ​แสดง​ความ​
เป็นห​ นีก​้ นั จริงอ​ ยูอ​่ าจ​จะ​เป็นม​ ลู ห​ นีท​้ เ​ี่ กิดจ​ าก​การ​ซอื้ ข​ าย​หรืออ​ ย่าง​อนื่ ก​ ไ็ ด้ แต่ห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั ​
สธ
ไม่จ​ �​
ำ ตอ้ ง​มถ​ี อ้ ยคำ�​วา่ ก​ ย​ู้ มื เ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​ใน​เอกสาร​นนั้ ไ​ ม่ (ฎ. 439/2493 (ป. ใหญ่)) เพียง​แต่ม​ ข​ี อ้ ความ​แสดง​
ความ​เป็นห​ นีต​้ อ่ ก​ นั ก​ ใ​็ ช้เ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​งินได้ ซึง่ ข​ อ้ น​ ต​ี้ า่ ง​กบั เ​ช็คใ​น​แง่ท​ ว​ี่ า่ เช็คไ​ ม่มข​ี อ้ ค​ วาม​ใดๆ
ที่​แสดง​ความ​เป็น​หนี้​กัน ผู​ส้ ั่ง​จ่าย​เช็ค​อาจ​จะ​เขียน​เช็ค​สั่งจ​ ่าย​เงิน​ให้​แก่ก​ ัน​ใน​กรณี​ใดๆ ก็ได้ เช่น​ใน​กรณี​ให้​

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-21

ด้วย​ความ​เสน่หา​ซงึ่ เ​ดิมม​ ไิ ด้ม​ ห​ี นีต​้ อ่ ก​ นั ม​ า​กอ่ น เนือ่ งจาก​เช็คเ​ป็นเ​ครือ่ ง​มอื ใ​น​การ​ด�ำ เนินธ​ รุ กิจอ​ ย่าง​หนึง่ ข​ อง​
ระบบ​เศรษฐกิจใ​น​ปจั จุบนั ซ​ งึ่ ถ​ อื ว่าก​ าร​ใช้เ​ช็คเ​ป็นว​ ธิ ห​ี นึง่ ท​ ก​ี่ อ่ ใ​ห้เ​กิดเ​งินต​ าม​บญ ั ชีก​ ระแส​ราย​วนั อันเ​ป็นเ​งิน​
ซึง่ ส​ ร้าง​โดย​ระบบ​ธนาคาร มีว​ ธิ ส​ี งั่ จ​ า่ ย​เงินด​ ว้ ย​เช็ค ดังน​ นั้ เช็คจ​ งึ ม​ ใิ ช่ห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​งิน แม้บ​ าง​กรณี​
การ​ออก​เช็ค​จะ​มี​มูล​เหตุ​จาก​การ​ให้​กู้​ยืม​ก็ตาม ปัญหา​เรื่อง​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม
เ​งินห​ รือไ​ ม่น​ นั้ ไ​ ด้ม​ ค​ี �​
ำ พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​ทว​ี่ นิ จิ ฉัยไ​ ว้ใ​น ฎ. 439/2493 ความ​วา่ โจทก์ฟ​ อ้ ง​เรียก​เงินก​ โ​ู้ ดย​อา้ ง​


ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ซึ่ง​มี​ข้อความ​แสดง​แต่​เพียง​รับรอง​ว่า​จำ�เลย​มี​หนี้​อัน​จะ​ต้อง​ชำ�ระ​แก่​โจทก์​โดย​ไม่มี​ถ้อยคำ�​
ชัด​ว่าเ​ป็น​หนี้​เงินก​ ู้ หรือห​ นี้​อย่าง​อื่น โจทก์​ย่อม​นำ�​พยาน​หลัก​ฐาน​มา​สืบ​ประกอบ​ว่าห​ นี้​นั้น​เป็นห​ นี้​เงินก​ ไู้​ ด้

มส
ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ มาตรา 653 หา​ได้​มี​ความ​หมาย​เคร่งครัด​ถึง​กับ​ว่า​จะ​ต้อง​มี​
ถ้อยคำ�​วา่ ก​ ย​ู้ มื เ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​ใน​เอกสาร​นนั้ ไ​ ม่ เมือ่ โ​จทก์ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือแ​ สดง​ความ​เป็นห​ นีล​้ ง​ลายมือช​ อื่ ​
ลูก​หนี​แ้ ล้ว และ​สืบ​พยาน​ประกอบ​อธิบาย​ได้​ว่า หนีน้​ ั้นเ​ป็น​หนี​ส้ ิน​แห่ง​การ​ก​ยู้ ืม เอกสาร​นั้น​กเ็​ป็น​หนังสือ​อัน​
เป็นห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื แ​ ล้ว คำ�​พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​วนิ จิ ฉัยโ​ดยทีป​่ ระชุมใ​หญ่แ​ ละ​มบ​ี นั ทึกท​ า้ ย​ค�​
ฎีกา โดย อาจารย์​ประกอบ หุต​ะ​สิงห์ “คำ�​พิพากษา​คดี​นี้ ได้​วาง​หลัก​ซึ่ง​เกี่ยว​กับ​บทบัญญัติ​มาตรา 653
ประมวล​แพ่ง​และ​พาณิชย์ ลง​ไป​ว่า​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​ตาม​มาตรา​นี้​ไม่​จำ�เป็น​จะ​ต้อง​ถึง​กับ​มี​คำ�​ว่า​กู้​ยืม​
ปรากฏ​อยูใ​่ น​เอกสาร​นนั้ ด​ ว้ ย เป็นแ​ ต่เ​พียง​มห​ี ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือล​ ง​ลายมือช​ อื่ ฝ​ า่ ย​ผก​ู้ ต​ู้ อ้ ง​รบั ผ​ ดิ อ​ นั แ​ สดง​ถงึ ​
ำ พพิ ากษา​

การ​เป็นห​ นีก​้ นั อ​ ยูก​่ พ​็ อแล้ว ซึง่ ผ​ อ​ู้ า้ ง​เอกสาร​นนั้ ย​ อ่ ม​มส​ี ทิ ธิท​ จ​ี่ ะ​ขอ​สบื พ​ ยาน เพือ่ แ​ สดง​วา่ ห​ นีต​้ าม​เอกสาร​นนั้ ​
เป็นห​ นี้​แห่ง​การ​กยู้​ ืม​ได้​ตาม​มาตรา 94 ปวพ. ความ​จริง​ถ้อยคำ�​แห่ง​มาตรา 653 นี้​เอง​เป็น​เหตุใ​ห้​เกิดค​ วาม​

สงสัย​ขนึ้ ​ได้​ใน​เรือ่ ง​นี้ เพราะ​ใน​บรรดา​กจิ การ​ท​กี่ ฎหมาย​บญ ั ญัต​วิ า่ ต้อง​ม​หี ลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​จงึ ​จะ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​
บังคับ​คดี​ได้น​ ั้น กฎหมาย​บัญญัติ​ไว้ แต่เ​พียง​ว่า​ต้อง​ม​หี ลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ลง​ลายมือช​ ื่อ​
มส

ฝ่าย​ที่​ต้อง​รับ​ผิด​เป็น​สำ�คัญ ดัง​เช่น​บทบัญญัติ​ประมวล​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์​มาตรา 456, 538, 680 และ 851


เป็นต้น แต่​ใน​มาตรา 653 นี้​เป็น​พิเศษ​อยู่ คือ กฎหมาย​บัญญัติ​ว่า​ต้อง​ม​หี ลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็นห​ นังสือ​
ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผยู้​ ืม​จึงจ​ ะ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับค​ ดีไ​ ด้ จึง​ทำ�ให้​เกิดค​ วาม​สงสัยข​ ึ้นด​ ัง​กล่าว ซึ่ง​ศาล​ฎีกา​ก็ได้​อธิบาย​ไว้​
ใน​ค�​ ำ พพิ ากษา​นแ​ี้ ล้วว​ า่ ใ​น​เอกสาร​นนั้ ไ​ ม่จ​ �​ ำ ตอ้ ง​มถ​ี อ้ ยคำ�​วา่ ก​ ย​ู้ มื อ​ ยูด​่ ว้ ย​กฟ​็ อ้ ง​รอ้ ง​ได้” ซึง่ ใ​น​เวลา​ตอ่ ม​ า​กม​็ ค​ี �​

พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ยืนยัน​ความ​เห็น​ของ​อาจารย์​ประกอบ หุต​ะ​สิงห์ ดังนี้
ฎ. 1776/2541 คำ�​ว่า​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือต​ าม​ทบี่​ ัญญัติ​ไว้ใ​น ปพพ. มาตรา 653 วรรค​หนึ่ง มิได้​

เคร่งครัด​ถึง​กับ​ว่า​จะ​ต้อง​มี​ถ้อยคำ�​ว่า​กู้​ยืม​อยู่​ใน​หนังสือ​นั้น เมื่อ​เอกสาร​มี​ข้อความ​ระบุ​ว่า​จำ�เลย​เป็น​หนี้​
กู้​ยืม​เงิน​โจทก์​รวม 116,000 บาท มี​ลายมือ​ชื่อ​จำ�เลย​ลง​ไว้​แม้​ลายมือ​ชื่อ​มิได้​อยู่​ใน​ช่อง​ผู้​กู้ แต่​มี​ตัว​โจทก์​
มา​สบื ป​ ระกอบ​อธิบาย​วา่ เ​หตุท​ ใ​ี่ ห้จ​ �ำ เลย​กย​ู้ มื เ​งินเ​พราะ​เห็นว​ า่ จ​ �ำ เลย​เป็นค​ น​นา่ เ​ชือ่ ถ​ อื ไ​ ด้ โดย​จ�ำ เลย​กเ​ู้ งินไ​ ป​
เพือ่ ท​ �​
ำ สวน จำ�เลย​เอง​กเ​็ บิกค​ วาม​วา่ ต​ น​มส​ี วน​อยู่ 80 ไร่ ใช้ป​ ยุ๋ ค​ รัง้ ล​ ะ​ประมาณ 2 ตัน เป็นเ​งินเ​กือบ 20,000 บาท
จำ�เลย​ถกู ธ​ นาคาร​ฟอ้ ง​เรียก​เงินท​ ก​ี่ ย​ู้ มื แสดง​วา่ ฐ​ านะ​ของ​จ�ำ เลย​ไม่ด​ น​ี กั เมือ่ จ​ �ำ เลย​ลง​ลายมือช​ อื่ ใ​น​เอกสาร​ท​ี่
มีข​ ้อความ​ระบุ​ว่า​จำ�เลย​เป็น​หนี้​โจทก์จ​ ึง​ถือว่า​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​ก​ยู้ ืมไ​ ด้ จำ�เลย​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​เนื้อค​ วาม​
ทีป่​ รากฏ​ใน​เอกสาร​นั้น
สธ
ผูเ​้ ขียน​เห็นพ​ อ้ ง​ดว้ ย​กบั ค​ วาม​เห็นด​ งั ก​ ล่าว​นี้ เพราะ​แม้แต่ห​ ลักฐ​ าน​อนื่ ๆ เช่น จดหมาย​โต้ตอบ​กนั ห​ รือ​
หลักฐ​ าน​อนื่ ๆ ทีม​่ ข​ี อ้ ความ​วา่ เ​ป็นห​ นีก​้ นั โดย​ไม่มค​ี �​ ำ วา่ ก​ ย​ู้ มื ใ​น​เอกสาร ก็ส​ ามารถ​น�​ ำ มา​เป็นห​ ลักฐ​ าน​ฟอ้ ง​รอ้ ง
บ​ งั คับค​ ดีเ​รียก​หนีจ​้ าก​ผก​ู้ ย​ู้ มื ไ​ ด้ด​ งั ก​ ล่าว​แล้ว ซึง่ ใ​น​ระยะ​ตอ่ ๆ มายังไ​ ม่ป​ รากฏ​วา่ ม​ ค​ี �​ ำ พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​ฉบับใ​ด​

3-22 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ที่​วินิจฉัย​ใน​เรื่อง​การ​ใช้​ตั๋ว​สัญญา​ใช้เ​งิน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กยู้​ ืม​เงิน​ได้​ชัดเจน​เท่า ฎ. 439/2493 นี้ แม้จ​ ะ​


มีค​ �​ ำ พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​ทว​ี่ นิ จิ ฉัยใ​น​เรือ่ ง​การ​กย​ู้ มื เ​งิน โดย​ออก​ตวั๋ ส​ ญ ั ญา​ใช้เ​งินช​ �ำ ระ​หนีใ​้ ห้แ​ ก่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื ก็ม​ ไิ ด้​
วินิจฉัยใ​น​ประเด็น​ที่​ว่า​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงินเ​ป็น​หลัก​ฐาน​แห่งก​ าร​กู้​ยืม​เงิน​หรือ​ไม่ ดัง​นัย ฎ. ที่ 592/2510 ความ​
ว่า “จำ�เลย​กู้​เงินโ​จทก์​แล้ว​ออก​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ชำ�ระ​หนี้​โจทก์ เมื่อโ​จทก์ฟ​ ้อง​เรียก​เงิน​ตาม​ตั๋วส​ ัญญา​ใช้​เงิน
มิได้​ฟ้อง​ตาม​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​จึง​ไม่​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​หนังสือ​มา​แสดง​เมื่อ​จำ�เลย​ไม่​อาจ​เถียง​


ได้​ว่า​ตั๋วส​ ัญญา​ใช้​เงิน​นั้น​ปราศจาก​มูล​หนี้​จำ�เลย​จึงต​ ้อง​รับ​ผิด​ตาม​ตั๋วส​ ัญญา​ใช้เ​งินน​ ั้น” ใน​คำ�​พิพากษา​ศาล​
ฎีกา​ฉบับน​ ี้ มิได้ว​ ินจิ ฉัย​ตรง​ประเด็นท​ วี่​ ่า​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงินเ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กยู้​ ืม​เงินห​ รือไ​ ม่ เพราะ​โจทก์​

มส
ใน​คดีน​ ี้​ฟ้อง​เรียก​หนี้​ตาม​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน มิใช่เ​รียก​หนี้​ตาม​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน หาก​กรณี​นี้​โจทก์​ฟ้อง​เรียก​หนี้​
ตาม​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​โดย​อ้าง​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน ศาล​ฎีกา​จะ​วินิจฉัย​ไป​ใน​รูป​ใด
ผู้เ​ขียน​เห็น​ว่าศ​ าล​ฎีกา​อาจ​จะ​วินิจฉัย​ยืน​ตาม ฎ. 439/2493 หรือ​วินิจฉัยต​ าม ฎ. 1595/2503 ก็​อาจ​เป็น​ไป​
ได้ต​ าม​เหตุผล​ทไี่​ ด้​กล่าว​มา​แล้วข​ ้าง​ต้น
ข้อส​ งั เกต เหตุท​ ม​ี่ ก​ี าร​โต้เ​ถียง​กนั ว​ า่ ต​ วั๋ ส​ ญ
ั ญา​ใช้เ​งินห​ รือเ​ช็คเ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื ก​ นั ห​ รือไ​ ม่ ก็​
เพราะ​คู่​สัญญา​จะ​อาศัย​ประโยชน์​จาก​เรื่อง​อายุ​ความ หาก​ฟ้อง​โดย​อาศัย​เรื่อง​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​หรือ​เช็ค อายุ​
ความ​ใน​การ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​จะ​สนั้ เ​พียง 3 ปีห​ รือ 1 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 1001, 1002 ส่วน​การ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​ตาม​สญ
อายุค​ วาม​การ​ฟ้อง​ร้อง​มกี​ ำ�หนด​ถึง 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 ส่วน​เอกสาร​อื่นๆ จะ​ถือเ​ป็น​หลัก​ฐาน​
ั ญา​กย​ู้ มื

แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน​หรือ​ไม่ ดัง​เช่น แบบ​พิมพ์​ถอน​เงิน​ออมสิน ก็​มิใช่​หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​เงิน​ดัง​วินิจฉัย​ใน ฎ.


1468/2511 “เอกสาร​แบบ​พิมพ์​ถอน​เงิน​ออมสิน​จะ​ต้อง​พิจารณา​รวม​กัน​ตลอด​ทั้ง​ฉบับ มิใช่​พิจารณา​แบ่ง​แยก​

เป็นบ​ าง​สว่ น​บาง​ตอน เมือ่ อ​ า่ น​รวม​ทงั้ ฉ​ บับก​ ไ็ ด้ค​ วาม​วา่ โจทก์ผ​ เ​ู้ ป็นเ​จ้าของ​บญ ั ชีอ​ อมสินไ​ ด้ถ​ อน​เงินจ​ าก​ธนาคาร​
ออมสิน​เป็น​จำ�นวน 9,800 บาท โดย​มอบ​ฉันทะ​ให้​จำ�เลย​เป็น​ผู้รับ​เงิน​แทน​และ​จำ�เลย​ได้​รับ​เงิน​จำ�นวน​นั้น​จาก​
มส

ธนาคาร​ออมสินแ​ ล้ว เป็นเ​รือ่ ง​การ​มอบ​อ�ำ นาจ​ให้ผ​ อ​ู้ นื่ ร​ บั เ​งินแ​ ทน มีข​ อ้ ความ​เป็นค​ วาม​หมาย​ชดั แ​ จ้ง นอกจาก​นนั้ ​
เอกสาร​แบบ​พมิ พ์ถ​ อน​เงินอ​ อมสินก​ ม​็ ไิ ด้ม​ เ​ี ค้าม​ ลู ว​ า่ เ​ป็นการ​กย​ู้ มื แ​ ต่ป​ ระการ​ใด ฉะนัน้ จ​ งึ ไ​ ม่เ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​
กูย้​ ืมต​ าม ปพพ. มาตรา 653 จะ​นำ�สืบ​พยาน​บุคคล​ว่าเ​ป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืมเ​งิน​หา​ได้ไ​ ม่”
อย่างไร​กต็ าม แม้ห​ ลักฐ​ าน​การ​กย​ู้ มื เ​งินไ​ ม่จ​ �​ ำ ตอ้ ง​มข​ี อ้ ความ​วา่ ก​ ย​ู้ มื เ​งิน แต่ค​ วร​มข​ี อ้ ความ​ใด​ทท​ี่ �ำ ให้​
ผูอ​้ า่ น​เข้าใจ​ได้ว​ า่ ค​ ก​ู่ รณีม​ ห​ี นีก​้ นั ต​ าม​สญ
ั ญา​กู้ ดังต​ วั อย่าง​ค�​ำ พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​ตอ่ ไ​ ป​นไ​ี้ ม่ถ​ อื ว่าเ​ป็นห​ นีก​้ ย​ู้ มื ก​ นั
ฎ. 3809/2526 ตอน​บน​ของ​เอกสาร​มชี อื่ แ​ ละ​นามสกุล​ของ​จ�ำ เลย​ถดั ไ​ ป​เป็นร​ ายการ​ลง​วนั เ​ดือน​ปแ​ี ละ​
มีข​ ้อความ​ว่า “เอา​เงิน” กับ​จ�ำ นวน​เงิน​ต่างๆ กัน​รวม 12 รายการ อีก 5 รายการ มี​ข้อความ​ว่า “ข้าวสาร”
และ​ลง​จำ�นวน​ไว้ว​ ่า 1 กิโลกรัม​บ้าง 1 ถัง​บ้าง 3 ถัง​บ้าง และ​ทุก​รายการ​มีชื่อจ​ ำ�เลย​ลง​ก�ำ กับไ​ ว้ ดังนี้​เอกสาร​
ดัง​กล่าว​ไม่​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน​ตาม ปพพ. มาตรา 653
ฎ. 2757/2528 ความ​ใน​เอกสาร​มี​ว่า อ. ที่​นับถือ​ผม​ให้ ส. มา​หา ผม​กำ�ลัง​วิ่ง​หา​ซื้อ​ของ​จะ​ขึ้น​ไป​

หน่วย​งาน​ที่​ผม​เรียน​ไว้​เมื่อ​เช้า​ว่า​จะ​เอา​คืน​ก่อน 400,000 บาท ผม​คิด​รายการ​ที่​จำ�เป็น​จะ​ต้อง​ใช้​ดู​ไม่​ค่อย​
พอดี จึงเ​ขียน​เช็คม​ า​ให้ 450,000 บาท ขอ​ให้ค​ ณ ุ จ​ า่ ย​ธนาคาร อ. ผม​จะ​ให้ ส. ไป​ท�​ ำ แคชเชียร์เ​ช็คจ​ าก​ธนาคาร
สธ
ดังนี้​ไม่มี​ข้อความ​ตอน​ใด​พอที่​จะ​แสดง​ว่า​มี​การ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​หรือ​จำ�เลย​เป็น​ลูก​หนี้​โจทก์​จะ​ใช้​เงิน​คืนให้​โจทก์
จึงไ​ ม่ใช่ห​ ลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-23

เช็ค​ที่​จำ�เลย​ลงชื่อ​เป็น​ผู้​สั่ง​จ่าย​มอบ​ให้​แก่​โจทก์​ก็​ดี​หรือ​เช็ค​ที่​โจทก์​ออก​ให้​แก่​จำ�เลย​และ​จำ�เลย​นำ�​
ไป​รับ​เงิน​แล้ว​ก็​ดี ไม่​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​กา​รกู้ย​ตื าม ปพพ. มาตรา 653
กรณี​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน​โดย​นำ�​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​รวม​เป็นต้น​เงิน​ด้วย เมื่อ​แยก​ดอกเบี้ย​ส่วน​ที่​
เป็น​โมฆะ​ออก ส่วน​ท​เี่ หลือ​เป็น​เงิน​ต้น สามารถ​นำ�​มา​เป็นห​ ลัก​ฐาน​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​ได้
อุทาหรณ์


ฎ. 2657/2534 โจทก์ใ​ห้จ​ �ำ เลย​กย​ู้ มื เ​งินโ​ดย​คดิ ด​ อกเบีย้ เ​กินอ​ ตั รา​ทก​ี่ ฎหมาย​ก�ำ หนด แต่จ​ �ำ เลย​ยนิ ยอม​
ให้เ​อา​ดอกเบีย้ ร​ วม​กบั ต​ น้ เ​งินก​ รอก​ลง​ใน​สญ ั ญา​กู้ จึงไ​ ม่เ​ป็นเ​อกสาร​ปลอม​โดย​แยก​สว่ น​ตน้ เ​งินท​ ส​ี่ มบูรณ์อ​ อก​

มส
ต่าง​หาก​ได้ สัญญา​ก​คู้ ง​ตก​เป็น​โมฆะ​เฉพาะ​ส่วน​ดอกเบี้ย หา​ตก​เป็น​โมฆะ​ทั้ง​ฉบับไ​ ม่
ฎ. 4690/2540 จำ�เลย​ที่ 1 และ​จ�ำ เลย​ที่ 2 ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​และ​ค�​ ้ำ ประกัน​กับ​โจทก์ต​ าม​ลำ�ดับ จำ�เลย​
ทั้ง​สอง​รู้​และ​ยินยอม​ให้​โจทก์​คำ�นวณ​ดอกเบี้ย​เกิน​กว่า​อัตรา​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด​รวม​เข้า​เป็น​เงิน​ต้น​ด้วย​นั้น​
เป็น​นิติกรรม​ที่​มุ่ง​โดยตรง​ต่อ​การ​ผูก​นิติ​สัมพันธ์​ขึ้น​ระหว่าง​โจทก์​และ​จำ�เลย​ทั้ง​สอง สัญญา​กู้​ยืม​และ​สัญญา​
ค้�​ ำ ประกัน​ดงั ก​ ล่าว​มผ​ี ล​ใช้บ​ งั คับไ​ ด้ห​ า​เป็นโ​ มฆะ​ทงั้ ฉ​ บับไ​ ม่ เฉพาะ​ดอกเบีย้ ​เกินก​ ว่าอ​ ตั รา​ทก​ี่ ฎหมาย​ก�ำ หนด​
และ​น�​
เป็น​โมฆะ
ำ ไป​คำ�นวณ​เป็นเ​งินต​ ้นเ​ป็นการ​กระทำ�​ทม​ี่ วี​ ัตถุประสงค์เ​ป็นการ​ต้อง​ห้าม​ชัดแ​ จ้งโ​ ดย​กฎหมาย​ย่อม​ตก​

นอกจาก​นี้ การ​ท�​ ำ นติ กิ รรม​อ�ำ พราง​สญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินส​ ญ


ั ญา​ทท​ี่ �​
ำ ขนึ้ เ​พือ่ อ​ �ำ พราง​นติ กิ รรม​กย​ู้ มื เ​งินจ​ ะ​
เป็น​โมฆะ​แต่​ถือว่า​สัญญา​นั้น​เป็น​นิติกรรม​สัญญา​กู้​ยืม​เงินท​ เี่​ป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร

ฎ. 1050/2536 สัญญา​จะ​ซื้อ​ขาย​ที่ดิน​ระหว่าง​โจทก์​จำ�เลย​ซึ่ง​ทำ�​เป็น​หนังสือ​ทำ�​ขึ้น​เพื่อ​อำ�พราง​
นิติกรรม​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน นิติกรรม​การ​จะ​ซื้อ​ขาย​จึงเ​ป็น​โมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 118 วรรค​แรก หนึ่ง (มาตรา
มส

155 วรรค​หนึง่ ) และ​ตอ้ ง​บงั คับต​ าม​นติ กิ รรม​การ​กย​ู้ มื เ​งินซ​ งึ่ เ​ป็นน​ ติ กิ รรม​ทถ​ี่ กู อ​ �ำ พราง​ไว้ต​ าม ปพพ. มาตรา
118 วรรค​สอง เดิม (มาตรา 155 วรรค​สอง) และ​แม้​ใน​กรณี​เช่น​นี้​จะ​มิได้​ม​ีหลัก​ฐาน​แห่ง​การ​ก​ู้ยืม​เงิน​เป็น​
หนังสืออ​ ย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ลง​ลายมือช​ ื่อ​จำ�เลย​เป็นส​ ำ�คัญต​ ่าง​หาก​จาก​สัญญา​จะ​ซื้อข​ าย​ก็ตาม ย่อม​ถือไ​ ด้​ว่า​
สัญญา​จะ​ซื้อ​ขาย​เป็น​นิติกรรม​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​ท​ที่ ำ�​กัน​ไว้​เป็น​ลาย​ลักษณ์​อักษร​ระหว่าง​จำ�เลย​กับ​โจทก์ จึง​ม​ี
ผล​บังคับ​กัน​ได้ เมื่อ​จ�ำ เลย​ยอม​ช�ำ ระ​เงิน​ท​กี่ ​ยู้ ืม​คืน​แก่​โจทก์ โจทก์ก​ ต็​ ้อง​คืนท​ ี่ดินพ​ ิพาท​ที่​ทำ�​กิน​ต่าง​ดอกเบี้ย​
และ นส.3 ก. ให้​แก่​จ�ำ เลย
ฎ. 1579/2552 โจทก์ม​ ห​ี นังสือส​ ญ ม
ั ญา​กู้ 2 ฉบับ ทีจ​่ �ำ เลย​ทงั้ ส​ าม​เถียง​วา่ โจทก์ล​ วง​ให้จ​ �ำ เลย​ที่ 1 ลงชือ่ ​
ผูกพัน​เป็น​ผู้​กู้​ไว้​ก่อน อีก​ทั้ง อ. พยาน​โจท​ก็​ซึ่งม​ ี​ต�ำ แหน่ง​เป็น​ผชู้​ ่วย​ผู้​จัดการ​ด้าน​สินเ​ชื่อส​ าขา​หาดใหญ่ข​ อง​
โจทก์​มา​เบิก​ความ​รับรอง​ด้วย​ว่า หลัง​จาก​โจทก์​อนุมัต​ใิ ห้​จำ�เลย​ที่ 1 กู้ จำ�เลย​ที่ 1 ก็ได้​รับ​เงิน​กู้​ทั้ง 2 จำ�นวน​
ไป​จาก​โจทก์​ครบ​ถ้วน​แล้ว โดย​จ�ำ เลย​ที่ 1 ลงชื่อ​รับเ​งิน​ไว้ เมื่อ​จำ�เลย​ที่ 1 มิได้ป​ ฏิเสธ​ว่า​ลายมือ​ชื่อผ​ ู้​กู้​มิใช่​
เป็น​ของ​จ�ำ เลย​ที่ 1 จึง​ถือว่า​โจทก์​มี​หลัก​ฐาน​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​เป็น​หนังสือ​ตาม​กฎหมาย​แล้ว
กรณี​ที่​มี​หนังสือ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม ต่อ​มา​มี​การ​แก้ไข​ต่อ​เติม​ตัวเลข​ลง​ใน​ตัว​
หนังสือ​สัญญา​ฉบับ​นั้น ปัญหา​เรื่อง​การ​แก้ไข​ต่อเ​ติม​ตัวเลข​ใน​หนังสือส​ ัญญา​ก​ยู้ ืม​เงินน​ ั้น ตัว​หนังสือ​สัญญา​
สธ
กู​ย้ ืม​เงิน​จะ​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง​ได้​หรือ​ไม่ ศาล​ฎีกา​ได้​วินิจฉัย​ไว้​ดังนี้

3-24 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 761/2509 (ป. ใหญ่) จำ�เลย​ท�​ ำ สัญญา​ก​เู้ งิน​ไว้​ให้​โจทก์​จำ�นวน​หนึ่ง ต่อ​มา​โจทก์ล​ อบ​เติมเ​ลข 1 ลง​
หน้าจ​ �ำ นวน​เงินใ​น​เอกสาร​นนั้ ทำ�ให้จ​ �ำ นวน​เงินก​ ม​ู้ าก​ขนึ้ แ​ ล้วเ​อา​เอกสาร​นนั้ ม​ า​ฟอ้ ง​เรียก​เงินจ​ าก​จ�ำ เลย ศาล​
พิพากษา​ให้​จำ�เลย​ช�ำ ระ​เงิน​จ�ำ นวน​เดิม คือ​จ�ำ นวน​ที่​จำ�เลย​ยืม​ไป​ได้ การ​เติม​เลข 1 ลง​เพื่อ​เพิ่ม​จ�ำ นวน​เงิน​กู้​
เดิม​ไม่​ท�ำ ให้​หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​หนังสือ​เดิม​เสีย​ไป (ฎ.1149/2552)


แต่​ถ้า​ได้​ความ​ว่า​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​เป็น​เอกสาร​ปลอม​ก็​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ใน​การ​กยู้​ ืม​เงิน​ไม่ไ​ ด้
อุทาหรณ์

มสฎ. 431/2544 การ​ที่​โจทก์​กรอก​ข้อความ​ลง​ใน​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​และ​สัญญา​ค้ำ�​ประกัน​ที่​จำ�เลย​ลง​


ลายมือช​ อื่ แต่ย​ งั ไ​ ม่ไ​ ด้ก​ รอก​ขอ้ ความ​อนื่ ใ​ด​วา่ ไ​ ด้ม​ ก​ี าร​กย​ู้ มื เ​งินแ​ ละ​ค�​ ้ำ ประกันใ​น​จ�ำ นวน​เงินถ​ งึ 100,000 บาท
เกิน​กว่า​จ�ำ นวน​หนี​ท้ ี่​เป็น​จริง​โดย​จ�ำ เลย​ทั้ง​สอง​มิได้​รู้​เห็น​ยินยอม​ด้วย สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​และ​สัญญา​ค้ำ�​ประกัน​
จึง​ไม่​สมบูรณ์ ทำ�ให้​เอกสาร​นั้น​เป็น​เอกสาร​ปลอม โจทก์​จึง​อ้าง​เอกสาร​นั้น​มา​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดี​
อย่าง​ใด​ไม่ไ​ ด้ ฉะนัน้ การ​กเ​ู้ งินแ​ ละ​การ​ค�​
ให้​บังคับ​คดี​ได้​ตาม ปพพ. มาตรา 653 และ​มาตรา 680
้ำ ประกันท​ ฟ​ี่ อ้ ง จึงถ​ อื ว่าไ​ ม่มพ​ี ยาน​หลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือท​ จ​ี่ ะ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​

ฎ. 1806/2546 โจทก์​อ้าง​ว่า​จำ�เลย​ก​ยู้ ืม​เงินโ​จทก์ 110,000 บาท แต่​จำ�เลย​อ้าง​ว่า​กู้​ยืม​เงิน​โจทก์​เพียง


40,000 บาท สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​เป็น​เอกสาร​ปลอม​โจทก์​มีหน้า​ที่​นำ�สืบ​ให้​เห็น​ว่า สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน​เป็น​เอกสาร​
ทีแ่ ท้จ​ ริง เมื่อ​พยาน​หลัก​ฐาน​โจทก์​และ​จ�ำ เลย​นำ�สืบร​ ับฟ​ ังได้​วา่ สัญญา​กู้​ยืม​เงินเ​ป็นเ​อกสาร​ปลอม​โดย​โจทก์​
กรอก​ข้อความ​ภาย​หลัง​โจทก์​จึง​ต้อง​เป็น​ฝ่าย​แพ้

ฎ. 2518/2547 จำ�เลย​ได้​ก​เู้ งิน​ไป​เพียง 30,000 บาท แต่​โจทก์​กลับ​ไป​กรอก​ข้อความ​ใน​สัญญา​เงิน​ก​ู้
เป็น​เงิน​ถึง 109,000 บาท โดย​จำ�เลย​ไม่​ได้ยิน​ยอม​สัญญา​กู้​จึง​เป็น​เอกสาร​ปลอม โจทก์​ไม่​อาจ​นำ�​มา​ใช้เ​ป็น​
มส

พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​การ​ฟ้อง​คดี​ได้​เมื่อ​เงิน​กู้​จำ�นวน​ดัง​กล่าว​ไม่มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​จำ�เลย​ซึ่ง​
เป็น​ผู้​ก​มู้ า​แสดง​โจทก์​จึง​ไม่​อาจ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​ให้​จำ�เลย​รับ​ผิดช​ ำ�ระ​หนี้​เงิน​ก​แู้ ก่​โจทก์​ได้
ฎ. 1539/2548 ข้อ​เท็จ​จริง​รับ​ฟังได้​ว่า จำ�เลย​ที่ 1 กู้​ยืม​เงิน​ไป​จาก​โจทก์​เพียง 45,000 บาท และ​ลง​
ลายมือช​ ื่อ​ใน​สัญญา​กย​ู้ ืม​เงินท​ ย​ี่ ัง​ไม่​ได้​กรอก​จ�ำ นวน​เงินไ​ ว้ แล้วม​ กี​ ารนำ�​สญ ั ญา​กยู้​ ืม​เงินไ​ ป​กรอก​จำ�นวน​เงิน​
กูเ​้ ป็น 200,000 บาท ใน​ภาย​หลังเ​กินก​ ว่าจ​ �ำ นวน​เงินก​ ท​ู้ แี่ ท้จ​ ริง โดย​จ�ำ เลย​ที่ 1 ไม่ไ​ ด้ยนิ ย​ อม สัญญา​กย​ู้ มื เ​งิน​
ดังก​ ล่าว​จงึ เ​ป็นเ​อกสาร​ปลอม ถือไ​ ด้ว​ า่ โ​จทก์ม​ ไิ ด้ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​งินเ​ป็นห​ นังสือ โจก​ทจ​์ งึ ไ​ ม่อ​ าจ​ฟอ้ ง​

ไป​เป็น​เงิน 45,000 บาท จำ�เลย​ที่ 1 ก็​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด



ร้อง​ให้​บังคับ​คดี​ได้​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​หนึ่ง ดัง​นั้น แม้​จำ�เลย​ที่ 1 ให้การ​รับว​ ่าไ​ ด้​ก​แู้ ละ​รับ​เงินก​ ู้​

ฎ. 552/2548 จำ�เลย​ที่ 1 กูย​้ มื เ​งินโ​จทก์ 20,000 บาท โจทก์ค​ ดิ ด​ อกเบีย้ อ​ ตั รา​รอ้ ย​ละ 10 ต่อเ​ดือน จำ�เลย​
ที่ 1 ชำ�ระ​ดอกเบีย้ แ​ ก่โ​จทก์ป​ ระมาณ 50,000 บาท เมือ่ จ​ �ำ เลย​ที่ 1 หยุดช​ �ำ ระ​ดอกเบีย้ ด​ งั ก​ ล่าว โจทก์จ​ งึ น​ �​
กู​เ้ งิน​ท​จี่ �ำ เลย​ที่ 1 ลง​ลายมือ​ชื่อ​ไว้ และ​สัญญา​ค้ำ�​ประกัน​ที่​จำ�เลย​ที่ 2 พิมพ์ล​ าย​นิ้วม​ ือ​ไว้​มาก​รอก​ข้อความ​ใน​
ำ สญั ญา​

ภาย​หลัง​เกิน​กว่า​ความ​เป็น​จริง โดย​จ�ำ เลย​ทั้ง​สอง​มิได้​รเู้​ห็น​ยินยอม​ด้วย สัญญา​กู้​เงินแ​ ละ​สัญญา​ค้ำ�​ประกัน​


สธ
จึง​เป็น​เอกสาร​ปลอม ถือว่า​การ​กู้​ยืม​เงิน​และ​การ​ค้ำ�​ประกัน​คดี​นี้​ไม่ม​หี ลัก​ฐาน​เป็นห​ นังสือ โจทก์​ไม่​อาจ​ฟ้อง​
บังคับ​ให้​จำ�เลย​ทั้ง​สอง​ชำ�ระ​ต้น​เงิน​พร้อม​ดอกเบี้ย​แก่​โจทก์​ได้

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-25

ฎ. 625/2548 ข้อ​ที่​จำ�เลย​ทั้ง​สอง​ให้การ​ต่อสู้​คดี​ว่า​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​สัญญา​กู้​เงิน​ที่​โจทก์​นำ�​มา​ฟ้อง
เนื่องจาก​จำ�เลย​ทั้ง​สอง​กู้​ยืม​เงิน​เพียง 100,000 บาท แต่​โจทก์ก​ รอก​จำ�นวน​เงิน​ใน​สัญญา​กู้​เงิน​เป็น​จำ�นวน
275,000 บาท โดย​จ�ำ เลย​ทั้ง​สอง​ไม่​ยินยอม​สัญญา​กู้​เงิน​จึง​เป็น​เอกสาร​ปลอม​นั้น หาก​ข้อเ​ท็จ​จริงร​ ับ​ฟังได้​
ตาม​ที่​จำ�เลย​ทั้ง​สอง​อ้าง​ก็​ย่อม​มี​ผล​ทำ�ให้​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ตาม​คำ�ฟ้อง​ของ​โจทก์​ไม่​ได้​รับ​การ​บังคับ​ให้​ตาม​
กฎหมาย​และ​ศาล​ย่อม​นำ�​มา​เป็น​เหตุ​ยกฟ้อง​ได้​อยู่​แล้ว จำ�เลย​ทั้ง​สอง​หา​จำ�​ต้อง​ฟ้อง​แย้ง​ขอ​ให้​บังคับ​โจทก์​


รับ​ชำ�ระ​หนี้ 100,000 บาท พร้อม​ดอกเบี้ย และ​ให้​โจทก์​ส่ง​มอบ​สัญญา​ก​เู้ งิน​ปลอม​แก่​จำ�เลย​ทั้ง​สอง​เพื่อ​นำ�​
ไป​ทำ�ลาย​ประการ​ใด​ไม่ ทั้ง​คำ�ขอ​ตาม​ฟ้อง​แย้ง​ดัง​กล่าว​ศาล​ก็​ไม่​อาจ​บังคับ​ให้​ได้ เพราะ​หาก​สัญญา​กู้​เงิน​

มส
ตาม​ฟ้อง​เป็น​เอกสาร​ปลอม ก็​เท่ากับ​การ​กู้​ยืม​เงิน​ราย​นี้​ไม่มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ โจทก์​ไม่​อาจ​นำ�​มา​ฟ้อง​
ร้อง​บังคับ​เอา​แก่​จ�ำ เลย​ทั้ง​สอง​ได้
ฎ. 1651/2548 จ�ำ เลย​กเ​ู้ งินโ​จทก์จ​ �ำ นวน 10,000 บาท และ​ได้ล​ ง​ลายมือช​ อื่ ไ​ว้ใ​น​แบบ​พมิ พ์ห​ นังสือส​ ญ
กู้​เงิน​ที่​ยัง​ไม่​ได้​กรอก​ข้อความ​มอบ​ไว้​ให้​แก่​โจทก์ ต่อ​มา​โจทก์​ได้​กรอก​ข้อความ​และ​จำ�นวน​เงิน​ใน​หนังสือ​
สัญญา​กเ​ู้ งินว​ า่ จำ�เลย​กเ​ู้ งินโ​จทก์ไ​ ป 300,000 บาท โดย​จ�ำ เลย​มไิ ด้ร​ เ​ู้ ห็นย​ นิ ยอม​ดว้ ย​สญ
เป็นเ​อกสาร​ปลอม โจทก์จ​ งึ ไ​ ม่อ​ าจ​อา้ ง​เอกสาร​ดงั ก​ ล่าว​มา​เป็นพ​ ยาน​หลักฐ​ าน​ใน​คดีไ​ ด้ ถือว่าโ​จทก์ไ​ ม่มห​ี ลักฐ​ าน
​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ​ที่​จะ​ฟ้อง​ร้อง​ให้​บังคับ​คดี​ได้​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​หนึ่ง
ั ญา​

ั ญา​กเ​ู้ งินต​ าม​ฟอ้ ง​จงึ ​

ฎ. 1903/2548 จำ�เลย​เขียน​วัน​ที่ ชื่อ​และ​ที่​อยู่​ของ​จำ�เลย กับ​ลง​ลายมือ​ชื่อใ​น​ช่อง​ผู้​กู้​ใน​สัญญา​กแู้​ ล้ว​


มอบ​ไว้​แก่​โจทก์ เมือ่ ​ม​กี ารก​รอก​ขอ้ ความ​อนื่ ๆ รวม​ทงั้ ​จ�ำ นวน​เงิน​ก​ลู้ ง​ใน​สญ ั ญา​กใ​ู้ น​ภาย​หลัง​โดย​จ�ำ เลย​มไิ ด้​

รูเ​้ ห็น​ยนิ ยอม สัญญา​กด​ู้ งั ​กล่าว​จงึ ​เป็น​เอกสาร​ปลอม​และ​ถอื ​ได้​วา่ ​โจทก์​ไม่ม​พี ยาน​หลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื ​เงิน​
ที่​จะ​ฟ้อง​บังคับ​จำ�เลย​ได้ จำ�เลย​จึง​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​โจทก์
มส

ฎ. 7541/2548 จำ�เลย​ทั้ง​สอง​ได้​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ใน​หนังสือ​สัญญา​กเู้​งินใ​น​ช่อง​ผู้​กโู้​ ดย​ยังไ​ ม่มกี​ ารก​รอก​


ข้อความ โจทก์ไ​ ด้ก​ รอก​ขอ้ ความ​ใน​ภาย​หลังซ​ งึ่ จ​ �ำ นวน​เงินน​ นั้ เ​กินก​ ว่าจ​ �ำ นวน​หนีท​้ เ​ี่ ป็นจ​ ริง โดย​จ�ำ เลย​ทงั้ ส​ อง​
มิได้ร​ เ​ู้ ห็นย​ นิ ยอม​ดว้ ย หนังสือ​สญ ั ญา​กเ​ู้ งินจ​ งึ ไ​ ม่ส​ มบูรณ์ เอกสาร​ดงั ก​ ล่าว​จงึ เ​ป็นเ​อกสาร​ปลอม โจทก์​จะ​อา้ ง​
เอกสาร​นนั้ ม​ า​เป็นพ​ ยาน​หลักฐ​ าน​ใน​คดีอ​ ย่าง​ใด​ไม่ไ​ ด้ การ​กย​ู้ มื เ​งินต​ าม​ฟอ้ ง​จงึ ไ​ ม่มห​ี ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือท​ จ​ี่ ะ​
ฟ้อง​ร้อง​ให้​บังคับ​คดี​ได้​ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​หนึ่ง
อนึง่ กรณีท​ ม​ี่ ก​ี าร​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั จ​ ริง แต่ต​ วั ห​ นังสือส​ ญ
ั ญา​ไม่ต​ รง​กบั เ​งินท​ ไ​ี่ ด้ก​ ย​ู้ มื ก​ นั ไ​ ป หนังสือส​ ญ
ั ญา​
กู​ย้ ืม​ก​ใ็ ช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง​คดีไ​ ด้
ฎ. 2335/2548 จำ�เลย​กู้​เงิน​โจทก์​ไป 500,000 บาท ต่อ​มา​จำ�เลย​ได้​ติดต่อ​ขอ​กู้​เงิน​โจทก์​อีก
4,000,000 บาท แล้วโ​จทก์ก​ บั จ​ �ำ เลย​ได้ท​ �​ ำ หนังส​ อ​ื สัญญ

​ า​กย​ู้ มื เ​งินโ​ ดย​ระบุร​ วม​เอา​จ�ำ นวน​เงิน 500,000 บาท
ที​จ่ �ำ เลย​กู้​จาก​โจทก์​ไป​ก่อน​หน้า​นั้น​เข้า​ไว้​ด้วย รวม​เป็น​เงินท​ ั้ง​สิ้น 4,500,000 บาท แม้ก​ าร​กเู้​งิน​กัน​จ�ำ นวน
4,000,000 บาท ใน​ภาย​หลัง​จะ​ไม่​เกิด​ขึ้น หนังสือ​สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน​ดัง​กล่าว​กย็​ ัง​มผี​ ล​สมบูรณ์บ​ ังคับก​ ันไ​ ด้​ใน​
หนีจ้​ ำ�นวน 500,000 บาท ที​ม่ ี​การ​ก​ยู้ ืม​กัน​จริง และ​ถือว่า​โจทก์​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ทจี่​ ะ​ฟ้อง​ร้อง​ให้​บังคับ​
คดี​ใน​หนี​เ้ งิน​กู้​ยืม​จ�ำ นวน 500,000 บาท แล้ว​ตาม​บทบัญญัติ​แห่ง ปพพ. มาตรา 653 วรรค​หนึ่ง
สธ
ฎ. 5685/2548 หนังสือส​ ญ ั ญา​กเ​ู้ งินม​ ก​ี ารก​รอก​ขอ้ ความ​วา่ จ​ �ำ เลย​ที่ 1 ได้ก​ เ​ู้ งินโ​จทก์จ​ �ำ นวน 400,000 บาท
และ​หนังสือส​ ญ ั ญา​ค�​้ำ ประกันม​ ก​ี ารก​รอก​ขอ้ ความ​วา่ จ​ �ำ เลย​ที่ 2 ค้�​ ำ ประกันเ​งินก​ ด​ู้ งั ก​ ล่าว​ให้แ​ ก่โ​จทก์ อันเ​ป็นการ​
กรอก​ขอ้ ความ​ทม​ี่ ม​ี ลู ห​ นีก​้ นั จ​ ริง แม้จ​ ะ​เป็นการ​กรอก​ขอ้ ความ​ภาย​หลังท​ จ​ี่ �ำ เลย​ทงั้ ส​ อง​ลง​ลายมือช​ อื่ ใ​น​สญ ั ญา​

3-26 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

กูเ​้ งินแ​ ละ​สญั ญา​ค�​ ้ำ ประกันแ​ ล้ว ก็ไ​ ม่ท​ �ำ ให้ห​ นังสือส​ ญั ญา​กเ​ู้ งินแ​ ละ​หนังสือส​ ญ ั ญา​ค�​
้ำ ประกันเ​ป็นเ​อกสาร​ปลอม
หนังสือ​สัญญา​ทั้ง​สอง​ฉบับ​จึง​มี​ผล​ผูกพัน​โจทก์​กับ​จำ�เลย​ทั้ง​สอง
ฎ. 1149/2552 โจทก์​ม​ีหนังสือ​สัญญา​ก​ู้ยืม​ที่​จำ�เลย​ลง​ลายมือ​ชื่อ​เป็น​ผู้​กู้​ระบุ​ว่า​จำ�เลย​ก​ู้ยืม​เงิน​โจทก์​
จำ�นวน 20,000 บาท เป็น​หลักฐ​ าน​การ​ก​ยู้ ืม​เป็น​หนังสือ​ซึ่ง​จำ�เลย​ต้อง​รับ​ผิด แม้ภ​ าย​หลัง​โจทก์แ​ ก้ไข​จำ�นวน​
เงินใ​น​สญ ั ญา​กใ​ู้ ห้ส​ งู ข​ นึ้ เ​ป็น 120,000 บาท ซึง่ ไ​ ม่เ​ป็นไ​ ป​ตาม​ทโ​ี่ จทก์แ​ ละ​จ�ำ เลย​ตกลง​กนั แต่ก​ ไ​็ ม่ท​ �ำ ให้ห​ ลักฐ​ าน​


การ​กยู้​ ืม​เงินท​ ที่​ ำ�​ไว้​แต่​เดิม และ​มี​ผล​สมบูรณ์​ต้อง​เสีย​ไป จำ�เลย​ต้อง​รับผ​ ิด​ต่อ​โจทก์​เท่า​ทกี่​ ไู้​ ป​จริง
สรุป จาก​ตวั อย่าง​ใน​ค�​ ำ พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​ใน​เรือ่ ง​จ�ำ นวน​เงินต​ าม​สญ ั ญา​กน​ู้ นั้ หาก​ไม่ไ​ ด้ร​ ะบุต​ วั เลข​

มส
ไว้​ใน​หนังสือ​สัญญา ผู้​ให้​กู้​ใส่​ตัวเลข​ตาม​จำ�นวน​ที่แท้​จริง หนังสือ​สัญญา​กู้​ยืม​ฉบับ​นั้น​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ใน​
การ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับไ​ ด้ แต่​หาก​เว้น​ช่อง​ว่าง​ไว้ ผู้​ให้ก​ ู้​กรอก​จำ�นวน​เงิน​มากกว่าจ​ ำ�นวน​เงิน​ที่​ก​ยู้ ืม​กัน สัญญา​
กู้​เป็น​สัญญา​ปลอม​หรือ​จำ�นวน​เงิน​ใน​เอกสาร​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​จำ�นวน​หนึ่ง ผู้​กู้​ยืม​ได้​ขอยืม​เงิน​เพิ่ม​และ​ผู้​ให้​กู้​
ยืมแ​ ก้ไข​ตัวเลข​ใน​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เพิ่ม​ขึ้น หนังสือ​สัญญา​ก​ยู้ ืม​นั้น​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ใน​การ​กู้​ยืม​เงินได้ หรือ​ผใู้​ห้​กู้​
แก้ไข​จำ�นวน​เงิน​โดย​พลการ หนังสือ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​บังคับ​กัน​ได้​เฉพาะ​แต่​ตาม​จำ�นวน​
เงินเ​ดิม​ทกี่​ ู้​กัน​จริง
กรณีม​ ี​หลักฐ​ าน​การ​กยู้​ ืม​เงินเ​ป็น​หนังสือ​ไม่​ว่าจ​ ะ​เป็นห​ ลัก​ฐาน​การ​ยืมเ​งิน​กู้ หรือ​ทำ�​สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน​
เป็น​อย่าง​อื่น ก็​ถือว่า​มี​หลัก​ฐาน​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​เป็นห​ นังสือ​ตาม​มาตรา 653 แล้ว
อุทาหรณ์

ฎ. 3775/2546 หนังสือ​หลัก​ฐาน​การ​รับ​เงิน​กู้​ที่​จำ�เลย​ลง​ลายมือ​ชื่อ​เป็น​แบบ​พิมพ์​ของ​โจทก์​ที่​มี​
ราย​ละเอียด​ระบุถ​ งึ ก​ าร​กเ​ู้ งินแ​ ละ​รบั เ​งินท​ ก​ี่ ไ​ู้ ว้อ​ ย่าง​ชดั เจน ผูท​้ อ​ี่ า่ น​ยอ่ ม​สามารถ​เข้าใจ​ได้โ​ ดย​งา่ ย ดังน​ นั้ เมือ่ ​
มส

จำ�เลย​ได้​กู้​เงิน​โจทก์​โดย​ทำ�​สัญญา​จำ�นอง​เป็น​ประกัน​ไว้​จริง และ​จำ�เลย​ได้​รับ​เงิน​ไป​จาก​โจทก์​ตาม​หนังสือ​
หลัก​ฐาน​การ​รับ​เงิน​กู้ ซึ่ง​เอกสาร​ดัง​กล่าว​สามารถ​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​ได้ จำ�เลย​จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​
โจทก์
สัญญา​กู้​เงิน​และ​สัญญา​จำ�นอง เป็น​นิติกรรม​คนละ​ประเภท​ที่​สามารถ​แยก​ออก​จาก​กัน​ได้ โจทก์​
ฟ้อง​ขอ​ให้​จำ�เลย​ชำ�ระ​ต้น​เงิน​พร้อม​ดอกเบี้ย​ตาม​สัญญา​กู้​เงิน​เมื่อ​สัญญา​กู้​เงิน​ไม่​อาจ​รับ​ฟัง​เป็น​พยาน​
หลัก​ฐาน ย่อม​ไม่​อาจ​น�​ ำ เอา​อัตรา​ดอกเบี้ยท​ ี่​กำ�หนด​ไว้​ใน​สัญญา​จำ�นอง​มา​บังคับการ​ก​เู้ งินได้
อุทาหรณ์

จาก​โจทก์จ​ ำ�นวน 200,000 บาท กำ�หนด​ชำ�ระ​เงินค​ ืน​ภายใน​วัน​ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2538 เพื่อ​เป็น​ประกัน​
การ​ช�ำ ระ​หนี้ จำ�เลย​ได้ส​ งั่ จ​ า่ ย​เช็คธ​ นาคาร​กรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ให้ไ​ ว้ต​ าม​เอกสาร​สญ

ฎ. 3826/2546 โจทก์​นำ�สืบ​ว่า​เมื่อ​วัน​ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2538 จำ�เลย​ทำ�​สัญญา​กู้​และ​รับ​เงิน​ไป​

ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินแ​ ละ​เช็ค


ส่วน​จำ�เลย​ให้การ​ต่อสู้​ว่า​ไม่​ได้​กู้​ยืม​เงิน​และ​ไม่​ได้​รับ​เงิน​ตาม​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน สัญญา​กู้​เงิน​ตาม​ฟ้อง​และ​เช็ค​
ดังก​ ล่าว​ทำ�​เพื่อ​เป็นการ​ประกัน​ว่า​จำ�เลย​ได้​รับ​งาน​รับเ​หมา​ก่อสร้าง​จาก​โจทก์ เท่ากับจ​ ำ�เลย​ให้การ​รับว​ ่าไ​ ด้​
ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​ตาม​ฟ้อง​ให้​โจทก์​จริง เพียง​แต่​จำ�เลย​มี​เจตนา​ใน​การ​ทำ�​สัญญา​กู้​เป็น​อย่าง​อื่น เมื่อ​จำ�เลย​ทำ�​
สธ
สัญญา​กเ​ู้ งินแ​ ละ​ได้ร​ บั เ​งินจ​ �ำ นวน 200,000 บาท ไป​จาก​โจทก์จ​ ริง ถือไ​ ด้ว​ า่ โ​จทก์ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​ป็น​
หนังสือล​ ง​ลายมือช​ ื่อ​จ�ำ เลย​ผู้​ยืม​เป็น​ส�ำ คัญ โจทก์​จึง​ฟ้อง​ร้อง​ให้​บังคับค​ ดี​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 ไม่จ​ ำ�​ต้อง​
อาศัยพ​ ยาน​หลักฐ​ าน​จาก​ตวั เอก​สาร​นนั้ จึงไ​ ม่จ​ �​ ำ ตอ้ ง​วนิ จิ ฉัยถ​ งึ ป​ ญ
ั หา​เรือ่ ง​อากร​แสตมป์ใ​น​เอกสาร​ดงั ก​ ล่าว

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-27

กรณีม​ เ​ี อกสาร​ระบุว​ า่ ร​ บั เ​งินไ​ ป​โดย​ไม่ร​ ะบุว​ า่ จ​ ะ​ใช้เ​งินค​ นื โ​จทก์อ​ ย่างไร ไม่ถ​ อื เ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​การ​กย​ู้ มื ​
ที่​เป็น​หนังสือ ตาม ปพพ. มาตรา 653
ฎ. 306/2506 (ป.ใหญ่) ส่วน​เอกสาร​ท​มี่ ขี​ ้อความ​เพียง​ว่า​รับ​เงินไ​ ป​จ�ำ นวน​หนึ่งแ​ ล้ว​ลงชื่อ​จำ�เลย โดย​
ไม่มี​ข้อความ​แสดง​ว่า​ใน​การ​รับ​เงิน จำ�เลย​เป็น​ลูก​หนี้​จะ​ใช้​เงิน​คืน​แก่​โจทก์​แต่​อย่าง​ใด​นั้น​ฟัง​เป็น​หลัก​ฐาน​
การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​ไม่​ได้


ฎ. 7620/2540 แม้​จำ�เลย​ทั้ง​สอง​จะ​นำ�สืบ​ให้​เห็น​ได้​ว่า​โจทก์​ยัง​เป็น​หนี้​กู้​ยืม​จำ�เลย​ทั้ง​สอง​จำ�นวน
50,000 บาท​จริง แต่​ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​แรก กำ�หนด​ว่าการ​กู้​ยืม​เงิน​กว่า​ห้า​สิบ​บาท (ปัจจุบัน

มส
2,000 บาท) ขึ้น​ไป​นั้น ถ้า​มิได้​มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ยืมเ​ป็น​
สำ�คัญ จะ​ฟ้อง​ร้อง​ให้​บังคับ​คดี​หา​ได้ไ​ ม่ ดัง​นั้น​หนี​เ้ งิน​กู้ 50,000 บาท ดัง​กล่าว จึงเ​ป็น​หนี้​ทไี่​ ม่​อาจ​ฟ้อง​ร้อง​
ให้​บังคับ​คดี​กัน​ได้ เมื่อ​หนี้​ท​ี่จ�ำ เลย​ทั้ง​สอง​อาศัย​เป็น​มูล​เหตุ​ให้​ยืด​ถือ​โฉนด​ที่ดิน​พิพาท​ไว้​ไม่​อาจ​ฟ้อง​ร้อง​ให้​
บังคับ​คดี​ได้ จำ�เลย​ทั้ง​สอง​จึง​ไม่มี​สิทธิ​ยึดถือ​โฉนด​ที่ดิน​พิพาท​ต่อ​ไป จำ�เลย​ทั้ง​สอง​จะ​มี​สิทธิ​นำ�สืบ​ถึง​หนี้​
จำ�นวน​ดัง​กล่าว​หรือ​ไม่ ไม่​เป็น​ประโยชน์​แก่​คดี​ของ​จำ�เลย​ทั้ง​สอง
หมายเหตุ หาก​กรณีไ​ ด้ค​ วาม​วา่ ไ​ ม่ใช่ส​ ญ
หวย ก็​ไม่​ต้อง​ม​หี ลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ก็​ฟ้อง​ร้อง​ตาม​สัญญา​นั้นๆ ได้
ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั เช่น สัญญา​ตา่ ง​ตอบแทน การ​เล่นแ​ ชร์เ​ปีย​

อุทาหรณ์
ฎ. 4805/2540 กจิ การ​แพ​ปลา​ของ​โจทก์น​ อกจาก​จะ​รบั ซ​ อื้ ส​ ตั ว์น​ �​ ้ำ แล้ว โจทก์ย​ งั ใ​ห้ย​ มื เ​งินแ​ ละ​ทดรอง​

จ่าย​ค่า​ใช้​จ่าย​และ​ค่า​อุปกรณ์​เกี่ยว​กับ​เรือ​ประมง​ของ​ผู้​ซึ่ง​นำ�​สัตว์​น้ำ�​มา​ขาย​แก่​โจทก์ การ​ชำ�ระ​คืน​ตกลง​ให้​
หัก​เอา​จาก​ค่า​ปลา​หรือ​สัตว์​น้ำ�​ท​นี่ �​ ำ มา​ขาย จำ�เลย​เป็น​เจ้าของ​เรือ​ประมง 4 ลำ� และ​เป็น​ผู้นำ�​ปลา​มา​ขาย​แก่​
มส

โจทก์ โดย​โจทก์​ให้​จ�ำ เลย​ยืม​เงิน​และ​ทดรอง​จ่าย​ค่า​ใช้​จ่าย​ต่างๆ เกี่ยว​กับ​เรือ​ประมง​ของ​จ�ำ เลย​ไป​ก่อน เมื่อ​


จำ�เลย​น�​ ำ สัตว์​น้ำ�​มา​ขาย​แก่​โจทก์ โจทก์​จึง​คิด​หัก​หนี​เ้ งิน​ที่​จำ�เลย​รับ​ล่วง​หน้า​และ​ทดรอง​จ่าย​ไป นิติ​สัมพันธ์​
ระหว่าง​โจทก์​กับ​จำ�เลย​ดัง​กล่าว​จึง​มิใช่​เป็นการ​กู้​ยืม​แต่​เป็นการ​รับ​เงิน​ไป​เป็น​ทุนหมุนเวียน​ใน​การ​ทำ�การ​
ประมง​ของ​จ�ำ เลย โดย​โจทก์ร​ บั ด​ �ำ เนิน​การ​ใน​ภาระ​ตา่ งๆ ทีเ​่ กีย่ วข้อง​เฉพาะ​กบั เ​รือป​ ระมง​ทจ​ี่ ะ​ออก​ทะเล​โดย​
มุง่ ท​ จ​ี่ ะ​ซอื้ ส​ ตั ว์น​ �​
้ำ จาก​เรือข​ อง​จ�ำ เลย​ส�ำ หรับค​ า่ ใ​ช้จ​ า่ ย​ตา่ งๆ ทีโ​่ จทก์อ​ อก​ไป​จะ​น�​ ำ มา​หกั ก​ บั ค​ า่ ซ​ อื้ ข​ าย​สตั ว์น​ �​
้ำ
ทีเ​่ รือแ​ ต่ละ​ล�​ ำ ได้ม​ า ต่าง​กบั ก​ าร​กยู้​ มื เ​งินท​ วั่ ๆ ไป​ทไ​ี่ ม่มข​ี ้อผ​ ูกมัดว​ ่าจ​ ะ​ตอ้ ง​จา่ ย​เงินไ​ ด้เ​ฉพาะ​เรือ่ ง และ​ถอื เ​อา​
ผล​ประโยชน์​จาก​ดอกเบี้ย​เป็น​สำ�คัญ นิติ​สัมพันธ์​ระหว่าง​โจทก์​กับ​จำ�เลย​เป็น​สัญญา​ต่าง​ตอบแทน​ประเภท​
หนึ่ง เป็น​นิติกรรม​ที่​ไม่มี​แบบ ย่อม​สมบูรณ์​ด้วย​การ​แสดง​เจตนา​และ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​กัน​ได้​โดย​ไม่​จำ�​ต้อง​ม​ี
หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​มา​แสดง

ฎ. 2253/2518 การ​เล่น​วง​แชร์​เป็น​สัญญา​ชนิดห​ นึ่ง​เกิดข​ ึ้น​จาก​ความ​ตกลง​ของ​ผู้​เล่น ไม่ม​กี ฎหมาย​
บังคับ​ว่า​จะ​ต้อง​ทำ�​สัญญา​หรือ​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ คง​บังคับ​กัน​ได้​ตาม​หลักส​ ัญญา​ทั่วไป
หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน​ต้อง​มี​ใน​ขณะ​ใด หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน​นั้น ไม่​จำ�​ต้อง​มี​ใน​ขณะ​ทำ�​
สัญญา​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั แม้ผ​ ก​ู้ ท​ู้ �ำ ให้ใ​น​ภาย​หลังม​ ล​ี ายมือช​ อื่ ผ​ ก​ู้ เ​ู้ ป็นส​ �ำ คัญ ก็น​ �​ ำ มา​ฟอ้ ง​รอ้ ง​บงั คับค​ ดีก​ นั ไ​ ด้ คือใ​ห้​
สธ
มีห​ ลักฐ​ าน​แสดง​ตอ่ ศ​ าล​ได้ก​ เ​็ ป็นพ​ อ หลักฐ​ าน​ตอ้ ง​มก​ี อ่ น​ฟอ้ ง​คดี (ฎ. 3464/2528, 1286/2535) ดังต​ วั อย่าง​ใน
ฎ. 28/2505 “ยืม​เงิน​กัน โจทก์​ให้​เงิน​ไป​ก่อน​แต่​ยัง​ไม่​ได้​ทำ�​สัญญา​กู้​ภาย​หลัง​จึง​ทำ�​หนังสือร​ ับรอง​ใช้​หนี้​ให้
ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า​จริง​อยู่​ใน​กรณี​นี้​ใน​เวลา​ที่​อ้าง​ว่า​ได้​มี​การ​กู้​ยืม​กัน​นั้น​คู่​กรณี​หา​ได้​ทำ�​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​

3-28 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

กูย​้ มื เ​ป็นห​ นังสือก​ นั ไ​ ว้ไ​ ม่แ​ ต่ใ​น​เวลา​ตอ่ ม​ า​ถา้ ไ​ ด้ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื เ​ป็นห​ นังสือล​ ง​ลายมือช​ อื่ ผ​ ต​ู้ อ้ ง​รบั ผ​ ดิ ​
เป็นส​ ำ�คัญเ​กิดข​ ึ้นแ​ ล้ว ผู้​ให้ย​ ืมก​ ย็​ ่อม​ฟ้อง​ร้อง​ให้บ​ ังคับค​ ดีน​ ั้นไ​ ด้” ซึ่งอ​ าจารย์พ​ จน์ป​ ุษป​ า​คม ได้ใ​ห้ค​ วาม​เห็น​
ใน​คำ�​พิพากษา​ฉบับ​นี้​ว่า “เรื่อง​นี้​มี​การ​ส่งม​ อบ​โดยตรง​แล้ว และ​มหี​ นี้​กู้​ยืมเ​กิด​ขึ้น​แล้ว แต่​ยังฟ​ ้อง​ร้อง​ไม่ไ​ ด้​
เพราะ​ขาด​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ตาม​ทกี่​ ฎหมาย​ต้องการ เมื่อม​ ี​หลัก​ฐาน​เกิด​ขึ้นแ​ ล้ว​สิทธิฟ​ ้อง​ร้อง​ก็​มี​ขึ้น หนี้​
ที่​มี​อยู่​แล้ว​เป็น​หนี้​สมบูรณ์​แล้ว​เพียง​แต่​ขาด​หลัก​ฐาน​เท่านั้น16ต่อ​มา​มี​คำ�​พิพากษา​ศาล​ฎีกา 8175/2551 ก็​


บัญญัตไิ​ ว้​เช่นเ​ดียวกัน
ดัง​นั้น ถ้าก​ ยู้​ ืมเ​งินก​ ว่า 2,000 บาท ผูใ้​ห้ก​ ู้​ไม่ม​หี ลัก​ฐาน​การ​ให้​กู้​ยืม​จะ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​ผู้​กไู้​ ม่ไ​ ด้

มส
ฎ. 200/2496 (ป.ใหญ่) เอา​เงินข​ อง​เขา​ไป​โดย​เสียด​อก​เบีย้ แ​ ล้วม​ อบ​ทอง​รปู พ​ รรณ​ไว้เ​ป็นป​ ระกัน การ​
จำ�นำ� โดย​มูลห​ นีเ้​ดิมค​ ือก​ ยู้​ ืม​เงิน ถ้าไ​ ม่มี​หลักฐ​ าน​เป็น​หนังสือ จะ​ฟ้อง​ให้ล​ ูกห​ นี้​ต้อง​ใช้ส​ ่วน​ที่​ยังข​ าด​จาก​การ​
บังคับ​จำ�นำ�​ไม่ไ​ ด้
หลักฐ​ าน​ของ​การ​กย​ู้ มื ต​ าม​สญ ั ญา​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญ ั ชี ดังท​ ไ​ี่ ด้ก​ ล่าว​ถงึ ล​ กั ษณะ​ของ​การ​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญ
มา​บ้าง​แล้ว​ใน​หัวข้อ​ที่ 3.1.2 การ​กู้​ยืม​เงิน​และ​สัญญา​อื่น​ที่​มี​ลักษณะ​เดียว​กับ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน การ​เบิก​เงิน​
เกิน​บัญชี​เป็นการ​กู้​ยืม​เงิน​ชนิด​หนึ่ง​อัน​ประกอบ​ด้วย​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​ตาม​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​
พาณิชย์ มาตรา 85617และสัญญา​กู้​ยืมเ​งิน โดย​ผู้​เบิกเ​กินบ​ ัญชีต​ กลง​กับธ​ นาคาร​ใน​การ​ขอ​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ัญชี​
ั ชี​

ตาม​จำ�นวน​เงิน​ใน​สัญญา​ที่​ตกลง​กัน​ไว้ ซึ่ง​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​นี้​มี​ข้อ​แตก​ต่าง​จาก​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​อยู่​
บ้าง ใน​กรณี​ที่​การ​กู้​ยืม​เงิน​เกิน​กว่า​สอง​พัน​บาท​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​หนังสือ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​

ผู้​กู้​เป็น​สำ�คัญ​จึง​จะ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​กัน​ได้ ส่วน​การ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​นั้น​แม้​ไม่มี​หลัก​ฐาน​การ​เบิก​เงิน​เกิน​
บัญชี​เป็น​หนังสือ​กฟ็​ ้อง​ร้อง​บังคับค​ ดี​กัน​ได้ ดัง​ตัวอย่าง​ใน ฎ. 1446/2512 ซึ่ง​วินิจฉัย​ดังนี้ “คดี​นี้​จ�ำ เลย​ทำ�​
มส

หนังสือส​ ัญญา​ก​เู้ บิกเ​งิน​เกินบ​ ัญชี​เพียง 50,000 บาท แต่​จำ�เลย​เบิก​เงิน​ไป​ถึง 2 แสน​บาท​เศษ และ​นำ�​เงิน​


เข้า​บัญชี​เพียง​แสน​บาท​เศษ หัก​แล้ว​คง​ค้าง​อีก​แสน​บาท​เศษ ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า “เรื่อง​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​
ถือว่า​เป็น​เรื่อง​ของ​บัญชี​เดิน​สะพัด ซึ่ง​ไม่​จำ�เป็น​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​แม้​เบิก​เงิน​ไป​มากกว่า​วงเงิน​ที่​
กู้ 50,000 บาท จำ�เลย​ยัง​ต้อง​รับ​ผิด​ใน​ยอด​เงินท​ เี่​กิน​นั้น​ด้วย”
คำ�​วินิจฉัย​ของ​ศาล​ฎีกา​ฉบับ​นี้ อาจารย์​พจน์ ปุษ​ปา​คม ได้​อธิบาย​ถึง​เหตุผล​ใน​การ​ที่​จำ�เลย​ต้อง​
รับ​ผิด​ใน​ยอด​เงิน​ที่​เกิน​บัญชี​ไว้​อย่าง​ชัดเจน​ว่า “คำ�​วินิจฉัย​ของ​ศาล​ฎีกา​ใน​คดี​นี้​คง​วินิจฉัย​เฉพาะ​กรณี​ที่​

กู​เ้ งิน​จาก​ธนาคาร มี​การ​เบิก​เงิน​ท​กี่ ​โู้ ดย​วธิ ​ใี ช้ต​ วั๋ ​เงิน คือ​เช็ค​สงั่ ​ให้​ธนาคาร​จา่ ย​เงิน​และ​ธนาคาร​ได้​จา่ ย​เงิน​ไป​
ตาม​เช็ค​นั้นแ​ ล้ว จึง​นำ�​มา​ลง​ใน​บัญชีเ​ดิน​สะพัดไ​ ด้​ตาม​มาตรา 857 บัญญัติ​ว่า “การนำ�​ตั๋วเ​งินล​ ง​เป็น​รายการ​
ใน​บัญชี​เดิน​สะพัด​นั้น ท่าน​ให้​สันนิษฐาน​ไว้​ก่อน​ว่า​ได้​ลง​ด้วย​เงื่อนไข​ว่า​จะ​มี​ผู้​ชำ�ระ​เงิน​ตาม​ตั๋ว​เงิน​นั้น ถ้า​และ​
ตั๋ว​เงิน​นั้น​มิได้​ชำ�ระ​เงิน​ไซร้​จะ​เพิก​ถอน​รายการ​อัน​นั้น​เสีย​ก็ได้” จึง​เห็น​ได้​ว่า ถ้า​ไม่ม​ีหนี้​แล้ว​จะ​นำ�​มา​ลง​บัญชี​
ไม่ไ​ ด้เ​พราะ​บัญชีเ​ดินส​ ะพัดเ​ป็นบ​ ัญชีห​ นีท้​ งั้ ส​ อง​ฝ่าย​แล้วห​ กั ก​ ลบ​ลบ​กัน จะ​ถือเ​ป็นห​ ลักท​ วั่ ไป​วา่ การ​ลง​บญ ั ชี​

16 พจน์ ปุษป
​ า​คม คำ�​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์ว​ า่ ด​ ว้ ย​ยมื กูย​้ มื และ​ฝาก​ทรัพย์ กรุงเทพมหานคร แสงทอง​
สธ
การ​พิมพ์ พ.ศ. 2511 น. 61.
17 มาตรา 856 “อันว่าส​ ญ ั ญา​บญ
ั ชีเ​ดินส​ ะพัดน​ นั้ คือส​ ญ
ั ญา​ซงึ่ บ​ คุ คล​สอง​คน​ตกลง​กนั ว​ า่ ส​ บื แ​ ต่น​ นั้ ไ​ ป หรือใ​น​ซงึ่ เ​วลา​ก�ำ หนด​
อัน​ใด​อัน​หนึ่ง​ให้​ตัด​ทอน​บัญชี​ทั้งหมด หรือแ​ ต่​บาง​ส่วน​อัน​เกิด​ขึ้น​แต่​กิจการ​ระหว่าง​เขา​ทั้ง​สอง​นั้น​หัก​กลบ​ลบ​กัน และ​คง​ชำ�ระ​แต่​ส่วน​
ที่​เป็น​จำ�นวน​คง​เหลือ​โดย​ดุลย​ภาค”

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-29

เดิน​สะพัด​ก่อ​ให้​เกิด​หนี้​ไม่​ได้ ถ้า​หนี้​นั้น​เป็นการ​กู้​ยืม​โดย​เฉพาะ​และ​มิได้​เบิก​เงิน​โดย​ตั๋ว​เงิน​เมื่อ​ไม่มี​
หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ​ก็​ไม่​เกิด​หนี้​ที่​จะ​เรียก​ร้อง​กัน​ได้ การ​หัก​กลบ​ลบ​หนี้​ตาม​บัญชี​เดิน​สะพัด​
ก็ต​ ้อง​นำ�​บทบัญญัติ​เรื่อง​หัก​กลบ​ลบ​หนี้​ตาม ปพพ. มาตรา 341 ถึง 348 มา​ใช้​ด้วย สิทธิเ​รียก​ร้อง​ใด​ยัง​มี​
ข้อ​ต่อสู้​อยู่​สิทธิ​เรียก​ร้อง​นั้น ท่าน​ว่า​หา​อาจ​จะ​นำ�​มา​หัก​กลบ​ลบ​หนี้​ได้​ไม่​ตาม ปพพ. มาตรา 344 เมื่อ​หนี้​
เงิน​กู้​ไม่มี​เอกสาร​แห่ง​การ​กู้​ยืม​หนี้​เช่น​นี้​เอา​มา​หัก​กลบ​ลบ​หนี้​ไม่​ได้​เพราะ​เป็น​หนี้​ที่​มี​ข้อ​ต่อสู้”18 ซึ่ง​ผู้​เขียน​


เห็น​ว่า​หาก​จะ​พิจารณา​ดู​เหตุผล​ว่าที่​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ไม่​จำ�เป็น​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ ผู้​กู้​โดย​
เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญ ั ชีย​ งั ค​ ง​ตอ้ ง​รบั ผ​ ดิ เนือ่ งจาก​ใน​การ​ท�​ ำ สญั ญา​บญ ั ชีเ​ดินส​ ะพัดน​ นั้ ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​อยูแ​่ ล้วค​ อื ร​ ายการ​

มส
หัก​ทอน​บัญชี​ระหว่าง​เจ้า​หนี้​และ​ลูก​หนี้​ใน​การ์ด​ลง​บัญชี​ของ​ลูก​หนี้ และ​นอกจาก​นั้น​ยัง​มี​เช็ค​ซึ่ง​เป็นการ​
สัง่ จ​ า่ ย​เงินจ​ าก​บญั ชี ซึง่ ม​ ล​ี ายมือช​ อื่ ข​ อง​ลกู ห​ นีป​้ รากฏ​อยูแ​่ ล้ว หลักฐ​ าน​ทงั้ ส​ อง​อย่าง​กน​็ า่ จ​ ะ​เพียง​พอ สำ�หรับ​
ยืนยันค​ วาม​เป็นห​ นี้​ได้​โดย​ไม่​จำ�เป็นต​ ้อง​มี​หลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กู้เ​งินเ​กินบ​ ัญชีเ​ป็นห​ นังสืออ​ ีก ดังม​ ีต​ ัวอย่าง​ใน
ฎ. 1122/2514 วินจิ ฉัย​วา่ “การ​ให้ก​ ​เู้ บิก​เงิน​เกิน​บญ ั ชี​เป็น​คราวๆ โดย​วธิ ​ใี ช้เ​ช็ค​สงั่ จ​ า่ ย​เงิน​และ​ม​กี าร​ฝาก​เงิน​
เข้า​บัญชี​ลด​หนี้​เช่น​นี้ หา​เข้า​ลักษณะ​การ​กู้​ยืม​เงิน​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 ไม่ แต่​เข้าลักษณะ​สัญญา​บัญชี​
เดิน​สะพัด ตาม​มาตรา 856 ซึ่ง​ไม่​จำ�เป็น​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ” การ​ที่​ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า “หา​เข้า​
ลักษณะ​การ​กยู้​ ืม​เงิน​ตาม ปพพ. มาตรา 653 ไม่ แต่เ​ข้าล​ ักษณะ​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด ซึ่ง​น่า​จะ​เข้าใจ​ว่า
ศาล​ปฏิเสธ​ไม่​ยอมรับ​ว่าการ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เป็น​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน เฉพาะ​เรื่อง​ที่​ต้องการ​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​
กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง​คดี​เท่านั้น จะ​ถือว่า​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ไม่ใช่​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​เสีย​เลย​
ที​เดียว​หา​ได้​ไม่ เพราะ​ลักษณะ​ที่​ธนาคาร​ให้​ลูก​หนี้​เบิก​เงิน​ไป​เกิน​กว่า​จำ�นวน​ที่​ตน​มี​อยู่​ใน​บัญชี​เป็นการ​ให้​

เครดิต​แก่​ลูกห​ นี้ คือ การ​ให้​กยู้​ ืม​เงิน​ใน​ลักษณะ​ที่​มี​สัญญา​บัญชี​เดินส​ ะพัด​ประกอบ​ด้วย เพราะ​หาก​ตีความ​
ว่า​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เป็น​สัญญา​บัญชีเดิน​สะพัด​เพียง​อย่าง​เดียว​ก็​ไม่​ถูก​ต้อง​ทั้งหมด เพราะ​มี​สัญญา​
มส

บัญชี​เดิน​สะพัด​บาง​อย่าง​ซึ่ง​ไม่ใช่​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน เช่น การ​ตกลง​ใน​กิจการ​ค้า​ระหว่าง​คู่​สัญญา​ตกลง​


เปิดบ​ ัญชี​แล้ว​หัก​บัญชี​กัน เช่น ใน ฎ. 81/2509 เป็นเ​รื่อง​ที่ค​ สู่​ ัญญา​ตกลง​กัน​ให้​ฝ่าย​หนึ่งอ​ อก​ค่า​ใช้​จ่าย​เมื่อ​
จับ​ปลา​ได้​จะ​ส่ง​มา​ให้​ขาย​หัก​ค่า​ขาย​เหลือ​เท่าใด​จด​บัญชี​แล้ว​หัก​กัน​เป็น​คราวๆ เป็น​กิจการ​ค้า​ระหว่าง​คู่​
สัญญา​ตกลง​เปิด​บัญชี​แล้ว​หัก​บัญชี​กัน​เข้า​ลักษณะ​บัญชี​เดิน​สะพัด แต่​ไม่​เข้า​ลักษณะ​กู้​ยืม​เงิน​เพราะ​เงิน​ที่​
จ่าย​ไป​เป็น​ค่า​จ้าง เบี้ย​เลี้ยง​ลูก​เรือ ค่าน้ำ�​มัน​เป็น​เงิน​ทดรอง​ไม่ใช่​ยืม​เป็น​หนี้​ใน​การ​ค้า ค่า​ขาย​ปลา​ก็​เป็น​
หนี้​ใน​การ​ค้า​เอา​มา​หักก​ ัน”

ดัง​นั้น จึง​เห็น​ว่า​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เป็น​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​ประกอบ​ด้วย​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน
แม้​ไม่มี​หลัก​ฐาน​แห่งก​ าร​กู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เป็นห​ นังสือ​ก็​ฟ้อง​ร้อง​บังคับก​ ัน​ได้ แม้แต่​จะ​ไม่​ได้​มี​สัญญา​เบิก​
เงินเ​กิน​บัญชี​ต่อ​กัน แต่​ถ้า​คู่​สัญญา​ได้​ปฏิบัต​ติ ่อ​กัน​เช่นอ​ ย่าง​สัญญา​เบิก​เงิน​เกินบ​ ัญชีก​ ย็​ ังฟ​ ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​
กัน​ได้​เช่น​กัน ดัง​คำ�​วินิจฉัย​ใน ฎ. 1837/2524 ว่า “การ​ฝาก​เงิน​กระแส​ราย​วัน ถ้าไ​ ม่​ตกลง​เบิกเ​งิน​เกินบ​ ัญชี​
หรือไ​ ม่มร​ี ะเบียบ​การ​บญ ั ชีเ​งินฝ​ าก​ประกอบ​แล้ว ธนาคาร​ไม่จ​ า่ ย​เงินเ​กินบ​ ญ ั ชีฝ​ าก แต่จ​ �ำ เลย​ได้ร​ บั แ​ ละ​ทราบ​
ระเบียบ​การ​บัญชี​เงิน​ฝาก​กระแส​ราย​วัน​ของ​ธนาคาร​โจทก์​ดีแล้ว จึง​ยินยอม​เข้าผ​ ูกพัน​กับ​โจทก์ด​ ้วย​การ​ขอ​
เปิดบ​ ญ ั ชีเ​งินฝ​ าก​กระแส​ราย​วนั เ​มือ่ จ​ �ำ เลย​สงั่ จ​ า่ ย​เช็คถ​ อน​เงินเ​กินก​ ว่าจ​ �ำ นวน​ทจ​ี่ �ำ เลย​มอ​ี ยูใ​่ น​บญ ั ชีแ​ ละ​โจทก์​
สธ
ได้​ผ่อน​ผันจ​ ่าย​ให้​ไป จำ�เลย​จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​โจทก์​เสมือน​โจทก์ก​ ับ​จำ�เลย​มสี​ ัญญา​เบิกเ​งิน​เกินบ​ ัญชีต​ ่อก​ ัน”

18 พจน์ ปุษป​ า​คม เรื่อง​เดียว น. 217.



3-30 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

3. สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ต้อง​ปิด​อากร​แสตมป์
ดัง​ที่​ได้​กล่าว​แล้ว​ว่า​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​นั้น ไม่​จำ�​ต้อง​ทำ�​เป็น​หนังสือ​สัญญา​กู้​ยืม​กัน​เป็น​กิจจะ
ลักษณะ​อย่าง​ชัด​​แจ้ง เพียง​แต่​กฎหมาย​บัญญัติ​ว่า หาก​มี​การ​กู้​ยืม​เงิน​เกิน​กว่า​สอง​พัน​บาท​ขึ้น​ไป​ต้อง​มี​
หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ยืม​เป็น​สำ�คัญ​ถึง​จะ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​กัน​ได้ ซึ่ง​กรณี​ดัง​กล่าว​หลัก​ฐาน​


แห่ง​การ​กู้​ยืม​เหล่า​นั้น​ไม่​ต้อง​ปิด​อากร​แสตมป์​ก็​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ฟ้อง​ร้อง​กัน​ได้​ตาม​กฎหมาย ซึ่ง​ถ้า​เป็น​
หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​อื่น​ก​ไ็ ม่​ต้อง​ปิด​อากร​แสตมป์​ก​ใ็ ช้​ฟ้อง​ร้อง​บังคับค​ ดี​กัน​ได้ ถ้าท​ ำ�​ใน​รูป​สัญญา​กู้​ยืม​
จึง​ต้อง​ปิด​อากร​แสตมป์ ตาม​ประมวล​รัษฎากร มาตรา 118 ดัง​ตัวอย่าง​ใน ฎ. 368/2506 ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า

มส
“ที่​จำ�เลย​ฎีกา​ว่า​รายงาน​การ​ประชุม​ตาม​เอกสาร​หมาย จ. 1-2 รับ​ฟังเ​ป็นพ​ ยาน​ไม่​ได้ เป็น​หนังสือ​แสดง​ว่า​
ได้​มี​การ​กู้​ยืม​เงิน​ราย​นี้​กัน​เท่านั้น จึง​ไม่​อยู่​ใน​ข่าย​ที่​จะ​ต้อง​ปิด​อากร​แสตมป์ เพราะ​ไม่​ได้​ปิด​อากร​แสตมป์​
ตาม​ประมวล​รัษฎากร​รับ​ฟัง​เป็นพ​ ยาน​ได้” ฎ. 248/2507 “จำ�เลย​ทำ�​หลักฐ​ าน​เป็น​รูป​จดหมาย​ให้​ไว้แ​ ก่โ​จทก์
ขอรับ​รอง​และ​ขอบคุณ​โจทก์ สำ�หรับ​เงิน​กท​ู้ โ​ี่ จทก์​ให้​จ�ำ เลย​กจ​ู้ งึ ​เป็น​เพียง​หนังสือ​รบั ​สภาพ​วา่ ​เป็น​เงิน​ทโ​ี่ จทก์​
ให้​จ�ำ เลย​ยืม​อัน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​ ตาม​มาตรา 653 แห่ง​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​อย่าง​
หนึ่ง​เท่านั้น​หา​ใช่​เป็น​ลักษณะ​แห่ง​ตราสาร​การ​กู้​ยืม​อัน​จะ​ถึง​ต้อง​ปิด​อากร​แสตมป์ไ​ ม่”
นอกจาก​นั้น บันทึก​เงิน​ยืม​เป็น​เพียง​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ​มิใช่ห​ นังสือ​สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน​
จึงไ​ ม่เ​ข้าล​ กั ษณะ​ประมวล​รษั ฎากร​แม้ไ​ ม่ไ​ ด้ป​ ดิ อ​ ากร​แสตมป์ก​ ร​็ บั ฟ​ งั เ​ป็นพ​ ยาน​หลักฐ​ าน​ได้ (ฎ. 10428/2551)
อนึ่ง หาก​ต้องการ​ใช้​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​มา​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดีต​ ้อง​ปิด​อากร​แสตมป์​ให้ค​ รบ​ถ้วน

มิ​ฉะนั้น​จะ​ใช้​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดี​แพ่ง​ไม่​ได้ เท่ากับไ​ ม่มี​หลักฐ​ าน​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง​คดี
อุทาหรณ์
มส

ฎ. 692/2546 โจทก์​ฟ้อง​จ�ำ เลย​โดย​อาศัย​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน จำ�เลย​ให้การ​ว่า​กู้​เงิน​จาก​โจทก์จ​ ริงแ​ ต่ร​ ับ​


เงิน​ไม่​ถึง​จำ�นวน​ที่​ระบุ​ไว้​ใน​สัญญา จึง​เป็นการ​กล่าว​อ้าง​ว่า​สัญญา​บาง​ส่วน​ไม่​สมบูรณ์ ศาล​จำ�​ต้อง​ใช้​สัญญา​
​กู้​ยืม​เงิน​มา​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดี การ​รับ​ฟัง​พยาน​เอกสาร​ดัง​กล่าว​โจทก์​ต้อง​ปิด​อากร​แสตมป์​บน​สัญญา​
กู​ย้ มื ​เงิน​ให้​ถกู ​ตอ้ ง​บริบรู ณ์​ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 118 เมือ่ ​สญ ั ญา​ก​ยู้ มื ​เงิน​ปดิ ​อากร​แสตมป์​เพียง 20 บาท
ซึ่ง​ตาม​บัญชี​อากร​แสตมป์​ท้าย ป.รัษฎากรฯ ต้อง​ปิด​อากร​แสตมป์​จำ�นวน 30 บาท สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน​จึง​ปิด​
อากร​แสตมป์​ไม่​บริบูรณ์​ใช้​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดี​แพ่ง​ไม่​ได้​โจทก์​ไม่มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​

หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ยืม​เป็น​ส�ำ คัญ​จึง​ฟ้อง​ร้อง​ให้​บังคับ​จำ�เลย​ไม่ไ​ ด้
ฎ. 1424/2548 ศาล​อุทธรณ์ภ​ าค 1 วินิจฉัยว​ ่า สัญญา​จำ�นอง​เป็นเ​พียง​หลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​ก​ยู้ ืมเ​งินเ​ป็น​
หนังสือ​ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​หนึ่ง เท่านั้น มิใช่​เป็นห​ นังสือ​สัญญา​กู้​ยืมเ​งิน​ระหว่าง​โจทก์ก​ ับ​จำ�เลย
อัน​จะ​ถือ​เป็น​ตราสาร​ที่​ต้อง​เสีย​อากร​โดย​ปิด​แสตมป์​บริบูรณ์ ตาม​ความ​มุ่ง​หมาย​แห่ง ป.รัษฎากรฯ มาตรา
103, 104 และ 118 แม้​ไม่​ได้​ปิด​อากร​แสตมป์​ก็​สามารถ​ใช้​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดี​ได้ เหตุผล​เช่น​ว่า​นี้​ได้​
กล่าว​โดย​ชดั เจน​และ​ชอบ​ดว้ ย​บทบัญญัตข​ิ อง​กฎหมาย​แล้ว ฎีกา​ของ​จ�ำ เลย​ไม่อ​ าจ​เปลีย่ นแปลง​ผล​แห่งค​ ดีไ​ ด้
ฎีกา​ของ​จำ�เลย​ใน​ปัญหา​ข้อ​กฎหมาย​เป็น​ฎีกา​ใน​ข้อ​ที่​เป็น​สาระ​แก่​คดี​ไม่​ควร​ได้ร​ ับ​การ​วินิจฉัยจ​ าก​ศาล​ฎีกา​
สธ
ตาม ป.ว.พ. มาตรา 249 วรรค​หนึ่ง ศาล​ฎีกา​ไม่​วินิจฉัยซ​ ้ำ�​อีก (ฎ. 41/2541)

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-31

ส่วน​กรณี​ถ้า​คู่​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน​ไว้ ซึ่ง​ใน​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ดัง​กล่าว​มี​ข้อความ​โดย​ละเอียด​ชัดเจน
และ​รัดกุม​และ​ส่วน​ใหญ่​มี​ข้อความ​ท​เี่ ป็น​ประโยชน์ สำ�หรับ​ผู้​ให้​ก​ยู้ ืม​เงิน ซึ่ง​มรี​ าย​ละเอียด​ใน​เรื่อง​จำ�นวน​เงิน​
ที​ก่ ​ยู้ ืม​กัน อัตรา​ดอกเบี้ย กำ�หนด​เวลา​ช�ำ ระ​คืน (ตาม​ตัวอย่าง​สัญญา​กู้​ยืม​ข้าง​ต้น) และ​บาง​กรณีส​ ัญญา​กยู้​ ืม​
จะ​มี​ข้อความ​สงวน​สิทธิ​ของ​ผู้​ให้​กู้​ยืม​ใน​การ​เปลี่ยนแปลง​เรื่อง​อัตรา​ดอกเบี้ย​ใน​กรณี​ที่​ผู้​ให้​กู้​ยืม​เป็น​สถาบัน​
การ​เงิน เช่น ธนาคาร เป็นต้น สัญญา​กย​ู้ มื เ​งินท​ ท​ี่ �​ ำ ขนึ้ ด​ งั ก​ ล่าว​กฎหมาย​ได้บ​ ญ ั ญัตใ​ิ ห้ป​ ดิ อ​ ากร​แสตมป์อ​ นั เ​ป็น​


ค่า​ธรรมเนียม​ที่​เป็น​ราย​ได้​ของ​รัฐ หาก​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​ฉบับ​ใด​ไม่​ได้​ปิด​อากร​แสตมป์​ไว้ (อากร​แสตมป์ท​ ี่​ปิด​
สัญญา​กย​ู้ มื ปิดต​ าม​จ�ำ นวน​เงินท​ ก​ี่ ย​ู้ มื ก​ นั หมืน่ ล​ ะ​หา้ บ​ าท) สัญญา​กย​ู้ มื ฉ​ บับน​ นั้ ก​ ไ​็ ม่ส​ มบูรณ์น​ �​ำ มา​เป็นห​ ลักฐ​ าน

มส
​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง​คดี​หา​ได้​ไม่ มิใช่​ว่า​สัญญา​กู้​ยืม​ฉบับ​นั้น​เสีย​ไป​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​การ​กู้​ยืม​ไม่​ได้​เพียง​แต่​ไม่​
สมบูรณ์​เท่านั้น หาก​มี​การ​ปิด​อากร​แสตมป์​ให้​ครบ​ถ้วน​และ​มี​การ​ขีด​ฆ่า​อากร​แสตมป์​ก่อน​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​
ใน​การ​อ้างอิง​ใน​ศาล สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​ฉบับ​นั้น​ใช้ได้​สมบูรณ์​ตาม​กฎหมาย ดัง​ตัวอย่าง​ใน ฎ. 1873/2493 ซึ่ง​
วินิจฉัย​ว่า “ประมวล​รัษฎากร​มาตรา 118 บังคับ​แต่​เพียง​จะ​ใช้​ตราสาร​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดี​แพ่ง​ไม่​ได้​
จนกว่า​จะ​ได้​ปิด​อากร​แสตมป์​บริบูรณ์​และ​ขีด​ฆ่า​แล้ว​เท่านั้น ซึ่ง​เป็น​ทเี่​ห็น​ได้​ชัด​ว่า ตราสาร​ที่​มิได้ป​ ิด​อากร​
แสตมป์​บริบูรณ์​มา​แต่​เดิม​ก็​ดี ถ้า​ได้​มี​การ​ปิด​อากร​แสตมป์​ขึ้น​แล้ว​ใน​ภาย​หลัง​ก็​ย่อม​ใช้​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​
ใน​คดี​แพ่ง​ได้​ทันที มิได้​มี​อะไร​สูญ​เสีย​ไป โจทก์​ฟ้อง​เรียก​เงิน​จาก​จำ�เลย​ตาม​เอกสาร​สัญญา​กู้ แต่​ปรากฏ​ว่า​
สัญญา​กป​ู้ ดิ อ​ ากร​แสตมป์ย​ งั ไ​ ม่ค​ รบ​ถว้ น เมือ่ ส​ บื พ​ ยาน​โจทก์เ​สร็จแ​ ล้ว สืบพ​ ยาน​จ�ำ เลย​เสร็จแ​ ล้ว ศาล​ยอม​ให้​
โจทก์​นำ�​สัญญา​ก​ไู้ ป​ปิด​อากร​แสตมป์​ครบ​ถ้วน​บริบูรณ์ด​ ังนี้​ศาล​ย่อม​รับ​ฟัง​สัญญา​ก​เู้ ป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ได้”

ฎ. 1400/2522 เอกสาร​กู้​เงิน​ติด​อากร​แสตมป์ แต่​มิได้​ขีด​ฆ่า​ถือว่า​ยัง​ไม่​ติด​อากร​แสตมป์​บริบูรณ์
ไม่​อาจ​รับ​ฟัง​เป็น​พยาน​หลัก​ฐาน​ใน​คดี​แพ่ง​ได้
มส

การ​ปิด​อากร​แสตมป์ใ​น​หนังสือส​ ัญญา​ก​ยู้ ืม​เงินน​ ั้น หาก​ไม่​ปิด​หรือป​ ิด​ไม่​ครบ​ถ้วน​หรือป​ ิด​ครบ​ถ้วน​


แต่​ไม่​ได้​ขีด​ฆ่า​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ใน​การ​ให้​ก​ยู้ ืม​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 ไม่​ได้
คู่​สัญญา​ฝ่าย​ที่​ต้อง​เป็น​ผู้​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​ท�ำ ​สัญญา​กู้​เงิน
ค่าใ​ช้จ​ า่ ย​ใน​การ​ท�​
ำ สญ
ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินไ​ ด้แก่ ค่าอ​ ากร​แสตมป์ป​ ดิ ส​ ญ ั ญา ค่าจ​ ด​ทะเบียน​จ�ำ นอง (กรณีท​ ม​ี่ ​ี
ทีด่ นิ เ​ป็นห​ ลักป​ ระกัน) ค่าใ​ช้จ​ า่ ย​ตา่ งๆ อันอ​ าจ​มข​ี นึ้ โดย​ปกติผ​ ก​ู้ ย​ู้ มื เ​ป็นผ​ เ​ู้ สีย เนือ่ งจาก​เป็นผ​ ไ​ู้ ด้ร​ บั ป​ ระโยชน์​
จาก​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ดัง​กล่าว​ ตาม ปพพ. มาตรา 651 “ค่า​ฤชา​ธรรมเนียม​ใน​การ​ทำ�​สัญญา​ก็​ดี ค่าส​ ่ง​มอบ​และ​

ส่ง​คืน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ยืม​ก็​ดี ย่อม​ตก​แก่​ผ​ยู้ ืมเ​ป็น​ผ​เู้ สีย” อย่างไร​ก็​ดี​ค​สู่ ัญญา​จะ​ตกลง​กันอ​ ย่าง​อื่น​ก็ได้ คือ​จะ​ตกลง​
ให้​ผู้​ให้​กู้​ยืม​เป็น​ผู้​เสีย​หรือ​แบ่ง​กัน​เสียคน​ละ​ครึ่ง​ก็ได้ เพราะ​ข้อ​ตกลง​ดัง​กล่าว​ไม่​ขัด​ต่อ​ความ​สงบ​เรียบร้อย​
และ​ศีล​ธรรม​อัน​ด​ขี อง​ประชาชน ตาม ปพพ. มาตรา 151

กิจกรรม 3.1.2
1. ให้​นักศึกษา​สรุป​สาระ​ส�ำ คัญ​ของ​สัญญา​กู้​ยืมเ​งิน
สธ
2. ให้​นักศึกษา​อธิบาย​ว่า ทำ�ไม​สัญญา​กู้​ชนิดเ​บิกเ​งิน​เกินบ​ ัญชีไ​ ม่ต​ ้อง​ม​หี ลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้ (เบิก​
เงิน​เกิน​บัญชี) เป็น​หนังสือ​กฟ็​ ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​ได้

3-32 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

แนว​ตอบ​กิจกรรม 3.1.2
1. สาระ​ส�ำ คัญข​ อง​การ​กย​ู้ มื เ​งิน ต้อง​มก​ี าร​สง่ ม​ อบ​ทรัพย์สนิ ท​ ใ​ี่ ห้ก​ ย​ู้ มื และ​การ​กย​ู้ มื เ​งินก​ ว่าส​ อง​พนั ​
บาท ต้อง​ม​หี ลัก​ฐาน​แห่ง​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​เป็น​หนังสือ ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​กู้​ยืม​เป็น​สำ�คัญ มิฉ​ ะนั้นจ​ ะ​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​
คดี​ไม่​ได้ (ปพพ. มาตรา 653)


2. สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี เป็น​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ที่​ประกอบ​ด้วย​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด การนำ�​ตั๋ว​
เงิน​ลง​เป็น​รายการ​ใน​บัญชี​เดิน​สะพัด​นั้น​ท่าน​ให้ส​ ันนิษฐาน​ไว้ก​ ่อน​ว่า ลง​ด้วย​เงื่อนไข​ว่าจ​ ะ​ม​ผี ชู้​ �ำ ระ​เงิน​ตาม​

จะ​น�​ ำ มา​ลง​บญ

มส
ตัว๋ เ​งินน​ นั้ และ​ถา้ ต​ วั๋ เ​งินน​ นั้ ม​ ไิ ด้ช​ �ำ ระ​เงินไ​ ซร้จ​ ะ​เพิกถ​ อน​รายการ​อนั น​ นั้ เ​สียก​ ไ็ ด้ จึงเ​ห็นไ​ ด้ว​ า่ ถ​ า้ ไ​ ม่มห​ี นีแ​้ ล้ว​
ั ชีไ​ ม่ไ​ ด้ เพราะ​บญ ั ชีเ​ดินส​ ะพัดเ​ป็นบ​ ญ ั ชีห​ นีท​้ งั้ ส​ อง​ฝา่ ย​แล้วห​ กั ก​ ลบ​ลบ​กนั ดังน​ นั้ สัญญา​เบิก​
เงิน​เกิน​บัญชี​จึง​ไม่​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้ (เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี) ก็ฟ​ ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​ได้

มส


สธ

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-33

ตอน​ที่ 3.2
การ​กู้​ยืม​เงิน​ใน​ลักษณะ​อื่น​และ​การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย
โปรด​อ่าน​หัว​เรื่อง แนวคิด และ​วัตถุประสงค์​ของ​ตอน​ที่ 3.2 แล้ว​จึง​ศึกษา​ราย​ละเอียด​ต่อ​ไป


หัว​เรื่อง

แนวคิด
มส
3.2.1 การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​ใน​ลักษณะ​พิเศษ
3.2.2 การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​โดย​วิธี​เอา​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สินอ​ ย่าง​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงิน
3.2.3 การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​และ​การ​กู้​ยืม​เงินท​ ี่​เป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน

1. ก าร​กู้​ยืม​เงิน​นอกจาก​มี​การ​กู้​ยืม​เงิน​ระหว่าง​เอกชน​ด้วย​กัน​แล้ว ยัง​มี​การ​กู้​ยืม​เงิน​ใน​
ลักษณะ​พิเศษ​อื่นๆ ใน​ระหว่าง​รัฐ​กับ​เอกชน และ​รัฐ​กับ​รัฐ การ​กู้​ยืม​เงิน​ระหว่าง​รัฐ​กับ​
สถาบัน​การ​เงิน​ใน​ประเทศ​และ​ต่าง​ประเทศ เป็นต้น
2. การ​กู้​ยืม​เงิน​นอกจาก​จะ​ส่ง​มอบ​เงิน​ให้​แก่​กัน​แล้ว คู่​สัญญา​สามารถ​ตกลง​กัน​โดย​ผู้​กู้​ยืม​

ยอมรับส​ งิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ อ​ นื่ แ​ ทน​จ�ำ นวน​เงินก​ ไ็ ด้ โดย​คดิ เ​ป็นห​ นีค​้ า้ ง​ช�ำ ระ​ตาม​จ�ำ นวน​
เท่ากับ​ราคา​ท้อง​ตลาด​แห่ง​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น​ใน​เวลา ​และ ณ สถาน​ที่​ที่​ส่ง​มอบ
มส

3. การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​ไม่ใช่​สัญญา​กู้​เงิน แต่​เป็น​สัญญา​ชนิด​หนึ่ง​ซึ่ง​มี​ผล​บังคับ​ได้​ตาม​
กฎหมาย การ​เล่น​แชร์​ที่​เข้า​ลักษณะ​ของ​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​มี​ความ​ผิด​ทาง​อาญา ตาม
พรบ. การ​เล่น​แชร์ พ.ศ. 2534 และ​การ​ก​ยู้ ืม​เงินท​ ี่​มี​ลักษณะ​เป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน​มี​
ความ​ผิด​ตามพ​ระ​ราช​ก�ำ หนดการ​กู้​ยืม​เงิน​ทเี่​ป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน พ.ศ. 2527

วัตถุประสงค์
เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 3.2 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ ม
1. อธิบาย​สาระ​ส�ำ คัญ​ของ​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​ของ​สถาบัน​การ​เงิน​อื่น และ​การ​กู้​ยืมเ​งิน​ของ​รัฐ​ได้
2. อธิบาย​ถึง​วิธี​การ​กู้​ยืม​เงิน​โดย​ยอมรับเ​อา​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงินได้
3. อธิบาย​ลักษณะ​ของ​การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย การ​เล่น​แชร์​ที่​เข้า​ลักษณะ​ความ​ผิด​ทาง​อาญา
และ​ลักษณะ​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​ท​เี่ ป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน​ได้
สธ

3-34 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

เรื่อง​ที่ 3.2.1
การ​กู้​ยืม​เงิน​ใน​ลักษณะ​พิเศษ


นอกจาก​การ​กย​ู้ มื เ​งินใ​น​ระหว่าง​เอกชน​กบั เ​อกชน​แล้ว ยังม​ ก​ี าร​กย​ู้ มื เ​งินร​ ะหว่าง​รฐั ก​ บั เ​อกชน ระหว่าง​
รัฐ​กับ​สถาบัน​การ​เงิน​ใน​ประเทศ​และ​สถาบัน​การ​เงิน​​ต่าง​ประเทศ ซึ่ง​มี​วิธี​การ​ใน​ทาง​ปฏิบัติ​ต่าง​ไป​จาก​การ​

มส
กู้​ยืม​กัน​ระหว่าง​เอกชน​กับ​เอกชน​ดังนี้

1. การ​กู้​ยืม​เงิน​ระหว่าง​รัฐ​กับ​เอกชน
เมือ่ ร​ ฐั บาล​ตอ้ งการ​ใช้เ​งินท​ นุ เ​พือ่ พ​ ฒ
ั นา​ประเทศ​หรือท​ �​
ำ กจิ การ​ใด​เพือ่ ส​ าธารณูปโภค นอกจาก​ราย​ได้​
จาก​การ​เก็บ​ภาษี​อากร​จาก​ราษฎร​แล้ว วิธี​ท​รี่ ัฐ​จะ​ได้​มา​ซึ่ง​เงิน​ทุน​ดัง​กล่าว​ทำ�ได้โ​ ดย​การ​ออก​พันธบัตร หรือ​
ตัว๋ เ​งินค​ งคลัง19 ใน​ประเทศไทย​เมือ่ ร​ ฐั บาล​ตอ้ งการ​เงินท​ นุ ด​ งั ก​ ล่าว รัฐจ​ ะ​ออก​พนั ธบัตร​รฐั บาล​มก​ี �ำ หนด​ระยะ​
เวลา เช่น 5 ปี 10 ปี ตาม​ความ​เหมาะ​สม และ​จะ​ก�ำ หนด​ดอกเบี้ย​ใน​พันธบัตร​รัฐบาล​นั้น​ปกติ​จะ​เท่ากับ​อัตรา​
ดอกเบี้ยเ​งิน​ฝาก​ประจำ� หรือ​สูงก​ ว่าเ​ล็กน​ ้อย​เพื่อเ​ป็นการ​จูงใจ​ให้​มี​ผู้​ซื้อ​พันธบัตร​มาก​ขึ้น พันธบัตร​รัฐบาล​
นับ​เป็น​หลัก​ประกัน​ทมี่​ ั่นคง เมื่อผ​ ู้​ใด​ถือ​พันธบัตร​รัฐบาล20 ก็​เท่ากับ​ผู้​นั้น​เป็นเ​จ้า​หนี้​รัฐบาล​ใน​จำ�นวน​เงินท​ ี่​

ปรากฏ​ใน​พันธบัตร21
นอกจาก​การ​ออก​พนั ธบัตร​เป็นท​ าง​ให้ร​ ฐั ไ​ ด้ม​ า​ซงึ่ เ​งินท​ นุ เ​ท่ากับร​ ฐั ก​ ย​ู้ มื เ​งินจ​ าก​ประชาชน​แล้ว แหล่ง​
เงิน​ก​ู้ท​สี่ �ำ คัญ​อีก​แหล่ง​หนึ่ง​ของ​รัฐ​ก​ค็ ือ ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย รัฐ​จะ​ก​เู้ งิน​จาก​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​
มส

ตาม​ระเบียบ​วิธี​การ​ทางการ​เงิน​การ​ธนาคาร​ของ​ประเทศ

2. การ​กู้​ยืม​เงิน​ระหว่าง​รัฐ​กับ​รัฐ
ใน​กรณีร​ ฐั บาล​ตอ้ งการ​เงินท​ นุ เ​พือ่ จ​ ะ​ด�ำ เนินก​ าร​ตาม​โครงการ​ใด​ของ​รฐั นอกจาก​วธิ ก​ี าร​ขอ้ 1 แล้ว รัฐย​ งั ​
มีว​ ธิ ห​ี าเงินท​ นุ โ​ดย​กย​ู้ มื จ​ าก​รฐั ต​ า่ ง​ประเทศ​โดย​ตวั แทน​ของ​รฐั บาล เช่น นายก​รฐั มนตรีจ​ ะ​เจรจา​กบั ต​ วั แทน​ของ​

รัฐ​ต่าง​ประเทศ​ถึง​เรื่อง​ความ​ต้องการ​ความ​ช่วย​เหลือ​ทางการ​เงิน​โดย​วิธ​ีกู้​เงิน​ซึ่ง​จะ​ตกลง​ใน​เรื่อง​จำ�นวน​เงิน
อัตรา​ดอกเบี้ย กำ�หนด​เวลา​ช�ำ ระ​คืน ซึ่ง​การ​ให้​ความ​ช่วย​เหลือ​ของ​รัฐต​ ่าง​ประเทศ​มักจ​ ะ​ให้​ความ​ช่วย​เหลือ​
เพื่อ​รัฐผู้​กู้​ใช้​ใน​โครงการ​ระยะ​ยาว เช่น ใน​โครงการ​แก๊ส​ธรรมชาติ รัฐ​สามารถ​กู้​เงิน​ได้​จาก​มิตร​ประเทศ เช่น
ประเทศ​สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ​และ​ฝรั่งเศส เป็นต้น โดย​มี​กระทรวง​การ​คลังเ​ป็น​ผดู้​ ำ�เนิน​การ​กู้​ยืม​
โดย​ผ่าน​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย
สธ
19 วารี พงษ์เวช เรื่อง​เดียวกัน น. 91.
20 ผู้​ถือ​พันธบัตร เป็นผ
​ ู้​ซื้อ​พันธบัตร​จาก​รัฐบาล​และ​เป็นเ​จ้าของ​พันธบัตร
21 ม.ร.ว. คึกฤ
​ ทธิ์ ปราโมช การ​ธนาคาร​พาณิชย์ ธนาคาร​ศรีนคร​จดั พ​ มิ พ์เ​ป็นอ​ นุสรณ์ใ​น​งาน​พระราชทาน​เพลิงศ​ พ​พระยา-
โทณวณิก​ มน​ตรี กรุงเทพมหานคร เกษม​สัมพันธ์ก​ าร​พิมพ์ พ.ศ. 2516 น. 41.

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-35

3. การ​กู้​ยืม​เงิน​ของ​สถาบัน​การ​เงิน​ใน​ประเทศ
การ​กู้​ยืม​เงิน​ของ​สถาบัน​การ​เงิน​ใน​ประเทศ ได้แก่
3.1 การ​กู้​ยืม​เงิน​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์
3.2 การ​กู้​ยืม​เงิน​ของ​บริษัท​เงิน​ทุน​และ​ค้า​หลัก​ทรัพย์ หรือ​สถาบัน​การ​เงิน​อื่น
3.1 การ​กู้​ยืม​เงิน​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์ การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์​ใน​ประเทศ ได้แก่ การ​กยู้​ ืม​


เงิน​ระหว่าง​ธนาคาร​พาณิชย์​กับ​ธนาคาร​พาณิชย์​เพื่อ​ด�ำ รง​เงินสด​สำ�รอง​ตาม​กฎหมาย​และ​อื่นๆ
ธนาคาร​พาณิชย์​ใน​ประเทศไทย​ก​ยู้ ืม​เงิน​ได้​จาก​แหล่ง​ที่​สำ�คัญ 3 แหล่ง คือ

มส 1) ธนาคาร​พาณิชย์​ใน​ต่าง​ประเทศ
2) ธนาคาร​พาณิชย์​ใน​ประเทศ
3) ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย
ธนาคาร​พาณิชย์ใ​น​ประเทศไทย​กู้​ยืมเ​งินจ​ าก​ธนาคาร​พาณิชย์ใ​น​ต่าง​ประเทศ​เป็นจ​ ำ�นวน​มาก​ที่สุด
เมื่อ​เปรียบ​เทียบ​กับ​การ​ก​จู้ าก​แหล่ง​อื่น​อีก 2 แหล่ง22 สาเหตุ​เพราะ​จาก​ลักษณะ​เฉพาะ​ของ​การ​ด�ำ เนิน​งาน​
ของ​ธนาคาร​ใน​ประเทศ​อย่าง​หนึ่ง คือ​การ​ที่​ธนาคาร​ให้​เครดิต​แก่​ลูกค้า​เพื่อ​การ​ส่ง​สินค้า​ออก​หรือ​สั่ง​สินค้า​
เข้า​แล้ว ธนาคาร​มัก​จะ​ไป​ขอ​เปิด Credit กับ​ธนาคาร​ใน​ต่าง​ประเทศ​ต่อ​อีก​ท​หี นึ่ง​โดย​เฉพาะ​เครดิต​เพื่อ​การ​
สั่ง​สินค้า​เข้า
เหตุ​ส�ำ คัญ 2 ประการ​ท​ธี่ นาคาร​พาณิชย์​ใน​ประเทศ​มัก​ไป​ก​ยู้ ืม​เงิน​จาก​ธนาคาร​ต่าง​ประเทศ

1. ธนาคาร​พาณิชย์ส​ ามารถ​กย​ู้ มื จ​ าก​ตลาด​เงินใ​น​ตา่ ง​ประเทศ​เกือบ​จะ​ไม่มข​ี อบเขต​จ�ำ กัด และ​เสีย
ด​อก​เบี้ย​ใน​อัตรา​ตํ่า​กว่า​ท​ธี่ นาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​เรียก​เก็บ
มส

2. ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​รับ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​เงิน​บาง​ประเภท​เท่านั้น ซึ่ง​ได้แก่ ตั๋ว​เงิน​เพื่อ​การ​ส่ง​ออก


ตัว๋ เ​งินเ​พือ่ ก​ าร​อตุ สาหกรรม และ​ตวั๋ เ​งินเ​พือ่ ก​ ารเกษตร​กรรม นอกจาก​นย​ี้ งั ม​ เ​ี งือ่ นไข​วา่ ธ​ นาคาร​พาณิชย์ต​ อ้ ง​
นำ�​ไป​ใช้​ใน​กิจการ​ดัง​กล่าว การ​ก​ยู้ ืม​ใน​รูป​แบบ​น​จี้ ะ​เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​กว่า​อัตรา​ท​กี่ �ำ หนด​ไม่​ได้
1) การ​กู้​ยืม​เงิน​ระหว่าง​ธนาคาร​พาณิชย์​ใน​ประเทศ​กับ​ธนาคาร​พาณิชย์​ต่าง​ประเทศ กระทำ�​ได้​
โดย​การ​ที่​ธนาคาร​พาณิชย์​ใน​ประเทศ​เจรจา​กับ​ธนาคาร​พาณิชย์​ใน​ต่าง​ประเทศ​ตกลง​ใน​ความ​สำ�คัญ​ว่า จะ​
กู​้เงิน​จ�ำ นวน​เท่าใด อัตรา​ดอกเบี้ย ระยะ​เวลา​ช�ำ ระ​หนี้ ทำ�​เป็น​ข้อ​ตกลง​ผ่าน​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย ซึ่ง​

ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ต้อง​จด​ทะเบียน (Register) การ​กู้​ยืม​นั้น เพราะ​การนำ�​เงิน​เข้า​หรือ​ออก​จาก​
ประเทศ​ต้อง​ผ่าน​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย23
2) การ​กู้​ยืม​ระหว่าง​ธนาคาร​พาณิชย์​ใน​ประเทศ การ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​ใน​ระหว่าง​ธนาคาร​พาณิชย์​
ใน​ประเทศ​โดย​หลัก​แล้ว​ธนาคาร​พาณิชย์​สามารถ​กู้​ยืม​เงิน​ตาม​สัญญา​กู้​ยืม​เงินได้ แต่​ใน​ทาง​ปฏิบัติ​มัก​จะ​
กระทำ�​โดย​ตกลง​กนั ด​ ว้ ย​วาจา​กย​ู้ มื ก​ นั ใ​น​ระยะ​สนั้ เรียก​วา่ Call loan หรือ Money at Call ระยะ​เวลา 3 วัน
7 วัน โดย​ม​ตี ั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​เป็น​หลัก​ประกัน การ​ก​ยู้ ืม​เงินโ​ ดย​วิธ​นี ​จี้ ึง​ทำ�​โดย​ไม่ต​ ้อง​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน
สธ
22 เรื่อง​เดียวกัน น. 113.
23 สัมภาษณ์น
​ าย​พนม ตัง้ น​ มิ ติ ร​มงคล ผูอ​้ �ำ นวย​การ​ฝา่ ย​การ​ธนาคาร​ตา่ ง​ประเทศ ณ ธนาคาร​ไทย​ทนุ จำ�กัด (ปัจจุบนั ค​ วบ​
รวม​กับ​ธนาคาร​ทหารไทย​เป็น​ธนาคาร TMB) สำ�นักงาน​ใหญ่ วัน​ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525

3-36 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

3) การ​กย​ู้ มื เ​งินธ​ นาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​เป็นแ​ หล่งก​ ย​ู้ มื แ​ หล่งส​ ดุ ท้าย​
ของ​ธนาคาร​พาณิชย์ เพราะ​หาก​ธนาคาร​พาณิชย์ส​ ามารถ​กย​ู้ มื ไ​ ด้จ​ าก​ธนาคาร​อนื่ ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​
จะ​ไม่ใ​ห้ก​ ู้ ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​จะ​ให้ธ​ นาคาร​พาณิชย์ก​ ย​ู้ มื เ​งินเ​พือ่ ใ​ห้ธ​ นาคาร​พาณิชย์ด​ �ำ รง​เงินสด​ส�ำ รอง​
ไว้​หรือ​เพื่อ​ผดุง​ฐานะ​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์​เท่านั้น การ​ให้​ธนาคาร​พาณิชย์​กู้​ยืม​นั้น​อาจ​ไม่มี​หลัก​ประกัน​ใด
แต่​อยู่​ภาย​ใต้​เงื่อนไข​การ​ชำ�ระ​คืน​ตาม​ข้อ​ก�ำ หนด​ของ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย


ธนาคาร​พาณิชย์​ก​ยู้ ืม​เงิน​จาก​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ได้ 2 วิธี
1) กูย​้ มื โ​ ดย​มห​ี ลักท​ รัพย์ร​ ฐั บาล​ไทย24 เป็นป​ ระกัน ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​พจิ ารณา​ให้ก​ ย​ู้ มื ​

มส
เป็น​รายๆ ไป​ตาม​ความ​จำ�เป็น​ของ​แต่ละ​ธนาคาร เช่น เพื่อ​ดำ�รง​เงินสด​สำ�รอง​ให้​ถูก​ต้อง​ตาม​ที่​กฎหมาย​
กำ�หนด หรือ​เพื่อ​ช่วย​เหลือ​ธนาคาร​โดย​ทำ�​หนังสือ​ขอ​กู้​และ​วาง​หลัก​ทรัพย์​รัฐบาล​เป็น​ประกัน​ตาม​ระเบียบ​
แล้ว ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​จะ​จา่ ย​เงินก​ ใ​ู้ ห้ท​ นั ที นอกจาก​นธ​ี้ นาคาร​พาณิชย์ย​ งั อ​ าจ​ท�​
กู้​เงิน​และ​วาง​หลัก​ทรัพย์​รัฐบาล​เป็น​ประกัน​ล่วง​หน้า​ได้​ด้วย และ​เมื่อ​มี​ความ​จำ�เป็น​ต้อง​ใช้​เงิน​ขึ้น ธนาคาร​
พาณิชย์ก​ เ​็ พียง​แต่อ​ อก​ตวั๋ ส​ ญ
ำ หนังสือค​ วาม​ตกลง​

ั ญา​ใช้เ​งินต​ าม​จ�ำ นวน​ทต​ี่ อ้ งการ​จะ​กย​ู้ มื ซ​ งึ่ แ​ ต่ละ​ครัง้ ม​ ก​ี �ำ หนด​ไม่เ​กิน 90 วัน25


2) กู้​ยืม​โดย​ขอ​ช่วง​ลด​ตั๋ว​สัญญา​ใช้เ​งิน​บาง​ชนิด​จาก​ธนาคาร​พาณิชย์ ซึ่ง​ได้แก่ ตั๋วส​ ัญญา​ใช้เ​งิน​
ที่​เกิด​จาก​การ​ส่ง​สินค้า​ออก การ​ประกอบ​กิจการ​อุตสาหกรรม​และ​ที่​เกิด​จาก​เกษตรกร
3.2 การ​กย​ู้ มื เ​งินข​ อง​บริษทั เ​งินท​ นุ แ​ ละ​คา้ ห​ ลักท​ รัพย์ หรือส​ ถาบันก​ าร​เงินอ​ นื่ (Finance and Security
Companies)

ธุรกิจ​เงิน​ทุน หมาย​ถึง ธุรกิจ​การ​เงิน​เพื่อ​การ​ค้า การ​บริโภค การ​ลงทุน การ​เคหะ ฯลฯ
ส่วน​ธุรกิจ​การ​ค้า​หลัก​ทรัพย์ หมาย​ถึง การ​เป็น​นาย​หน้าแ​ ละ​ผู้​ค้า​หลัก​ทรัพย์ ซึ่งธ​ ุรกิจ​ทั้ง​สอง​ชนิด​
มส

มัก​จะ​รวม​อยู​ด่ ้วย​กัน
แหล่ง​สำ�คัญ​ของ​เงิน​ทุน​ของ​บริษัท​เงิน​ทุน การ​กู้​ยืม​เงิน​จาก​ประชาชน​โดย​วิธี​ขาย​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน
กำ�หนด​อายุ​ใน​ตั๋ว และ​กำ�หนด​ดอกเบี้ย​ให้การ​กู้​ยืม​เงิน​และ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​จาก​ธนาคาร​พาณิชย์26 ส่วน​
สถาบัน​การ​เงิน​อื่น เช่น บริษัท​เครดิตฟองซิเอร์​บ้าน​และ​ที่ดิน ทรัสต์ ก็​ม​ที าง​หาเงิน​ทุน​โดย​วิธ​กี าร​กู้​ยืม​เงิน​
ทาง​หนึ่ง ซึ่ง​ก​เ็ ป็น​ไป​ใน​ทำ�นอง​เดียว​กับ​สถาบัน​การ​เงิน​ที่​ได้​กล่าว​มา​แล้ว

4. การ​กู้​ยืม​เงิน​ของ​รัฐบาล​กับ​สถาบัน​การ​เงิน​ระหว่าง​ประเทศ

​กู้​ยืม​เงิน​จาก​ธนาคารโลก กองทุน​การ​เงินร​ ะหว่าง​ประเทศ (IMF) ธนาคาร​พัฒนา​เอเชีย (ADB) ธนาคาร​



การ​กู้​ยืม​เงิน​ใน​ลักษณะ​นี้​ของ​รัฐบาล​ก็​มี​เงื่อนไข​ใน​การ​ให้​กู้​ยืม​ต่าง​ไป​ตาม​สถาบัน​นั้นๆ เช่น การ

แห่งส​ หภาพ​ยโุ รป (EBC) ธนาคาร​ของ​อเมริกา (OECF) เป็นต้น ซึง่ ใ​น​ทน​ี่ จ​ี้ ะ​ขอ​ยก​ตวั อย่าง​เพือ่ ใ​ห้ท​ ราบ​ถงึ
​วัตถุประสงค์​เงื่อนไข​ของ​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​เฉพาะ​สถาบันท​ ี่​สำ�คัญ​ที่สุดค​ ือ ธนาคารโลก
สธ
24 หลัก​ทรัพย์​รัฐบาล ได้แก่ พันธบัตร​รัฐบาล
25 ฝ่าย​วิชาการ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย หนังสือ​ที่​ระลึก​ครบ​รอบ 30 ปี ประวัติ​และ​การ​ดำ�เนิน​งาน​ของ​ธนาคาร​แห่ง​
ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ห้าง​หุ้น​ส่วน​จำ�กัด ศิว​พร พ.ศ. 2515 น. 43.
26 สุ​รักษ์ บุญนาค และ​วณี จง​ศิริ​รัตน์ เรื่อง​เดียวกัน น. 159.

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-37

การ​กู้​ยืม​เงิน​ของ​รัฐบาล​กับ​ธนาคารโลก ธนาคารโลก​มีชื่อ​เต็ม​ว่า “International Bank of


Reconstruction and Development” มี​วัตถุประสงค์​ที่​จะ​ช่วย​เหลือท​ างการ​เงิน​แก่​ชาติ​ทเี่​ป็นส​ มาชิก เพื่อ​
บูรณะ​ซ่อมแซม​และ​พัฒนา​เศรษฐกิจ27 ซึ่ง​การ​ให้​ความ​ช่วย​เหลือ​ดัง​กล่าว​ช่วย​เหลือ​โดย​ให้​ความ​สะดวก​ใน​
การ​ลงทุน​ใน​กิจการ​ท​จี่ ะ​เพิ่ม​ผลผลิต รวม​ทั้ง​ฟื้นฟู​เศรษฐกิจ​ที่​ถูก​ทำ�ลาย​หรือ​สลาย​ไป​เนื่องจาก​สงคราม​และ​
เพือ่ ส​ ง่ เ​สริมใ​ห้การ​คา้ ร​ ะหว่าง​ประเทศ​เจริญงอกเงย​ได้ส​ ว่ นสัดใ​น​ระยะ​นาน​และ​ให้ด​ ลุ ช​ �ำ ระ​เงินร​ ะหว่าง​ประเทศ​


มี​สมดุล​โดย​การ​สนับสนุน​การ​ลงทุน​ระหว่าง​ประเทศ เพื่อ​พัฒนา​ทรัพยากร​ที่​จะ​เพิ่ม​กำ�ลังผ​ ลิต​ของ​ประเทศ​
สมาชิก นอกจาก​นี้​ธนาคารโลก​ยัง​ช่วย​เหลือ​รัฐบาล​โดย​ทาง​อ้อม​โดย​วิธี​ค�​ ้ำ ประกัน​หรือ​เข้า​ร่วม​กับ​บุคคล​อื่น​

มส
ใน​การ​ให้​เอกชน​ก​ยู้ ืม​และ​ลงทุน​ใน​ต่าง​ประเทศ
ประเทศ​ที่​เป็น​สมาชิก​ของ​ธนาคารโลก​เวลา​นี้​มี​สมาชิก​กว่า 185 ประเทศ28 รวม​ทั้ง​ประเทศไทย
การ​ช�ำ ระ​ค่า​หุ้น​ใน​ธนาคารโลก​ต้อง​ชำ�ระ​เป็น​ทองคำ�​หรือ​ดอลลาร์​สหรัฐอเมริกา ร้อย​ละ 2 ของ​จำ�นวน​เงิน​ที่​
จะ​ต้อง​ช�ำ ระ​ทั้งหมด ส่วน​อีก​ร้อย​ละ 18 จะ​ต้อง​ช�ำ ระ​เป็น​เงิน​ตรา​ของ​สมาชิก​ที่​ซื้อ​หุ้น​และ​ฝาก​ไว้ ณ ธนาคาร​
กลาง​ของ​ประเทศ​สมาชิก เช่น เงิน​บาท​ก็​ฝาก​ไว้ ณ ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย เป็นต้น29
โดย​ทั่วๆ ไป​ธนาคารโลก​มี​อำ�นาจ​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย ระยะ​เวลา และ​กำ�หนด​เงื่อนไข​ใน​การ​
ไถ่ถอน​เงิน​ท​ธี่ นาคาร​ให้​ก​ไู้ ป และ​ก�ำ หนด​เงื่อนไข​ที่​ธนาคาร​จะ​ค้ำ�​ประกัน​เงิน​กู้​ของ​สมาชิก​หรือเ​อกชน
เนื่องจาก​ธนาคารโลก​เป็น​สถาบัน​การ​เงิน​ที่​สำ�คัญ​ที่สุด ดัง​นั้น จึง​ได้​กำ�หนด​เงื่อนไข​ใน​การ​ให้​
ประเทศ​สมาชิก​กู้​ยืม​เงิน หรือ​ค้ำ�​ประกัน​ค่อน​ข้าง​เคร่งครัด ซึ่ง​จะ​ขอ​ยก​ขึ้น​มา​กล่าว​เป็น​ตัวอย่าง​พอ​ให้​เห็น​

เป็น​แนวทาง​ดังนี้
เงื่อนไข​ใน​การ​ให้​ก​ยู้ ืม​และ​ค้ำ�​ประกัน ธนาคารโลก​มี​เงื่อนไข​ใน​การ​ให้​กู้​ยืม​และ​ค้ำ�​ประกัน​ดังนี้
มส

1. ธนาคาร​อาจ​ให้ก​ ย​ู้ มื ห​ รือค​ �​


้ำ ประกันเ​ฉพาะ​เมือ่ พ​ อใจ​แล้วว​ า่ ผ​ ก​ู้ ไ​ู้ ม่ส​ ามารถ​กย​ู้ มื ไ​ ด้จ​ าก​ทาง​อนื่ ใ​น​
ข้อ​ตกลง​ท​สี่ มควร
2. ยกเว้นเ​มือ่ ม​ เ​ี หตุการณ์พ​ เิ ศษ เงินก​ ท​ู้ ธ​ี่ นาคาร​จะ​ให้ก​ ย​ู้ มื ห​ รือค​ �​
้ำ ประกันน​ นั้ จ​ ะ​ให้ก​ ห​ู้ รือค​ �​
้ำ ประกัน​
เฉพาะ​ขอ้ ต​ กลง​ใน​โครงการ​เพือ่ ก​ าร​บรู ณะ​และ​พฒ ั นา​เศรษฐกิจ กล่าว​โดย​ทวั่ ๆ ไป ธนาคาร​จะ​จา่ ย​เงินก​ เ​ู้ ป็น​
เงิน​ตรา​ต่าง​ประเทศ​ให้​สมาชิก
3. เมื่อ​รัฐบาล​มิใช่​ผู้​กู้​เอง แต่​มี​โครงการ​จัด​สร้าง​ภายใน​อาณาเขต​ของ​ตน​อีก​นัย​หนึ่ง​ว่า​มี​บริษัท​
กสิกรรม​อุตสาหกรรม​ของ​เอกชน​ต้องการ​กู้​หรือ​ให้​ธนาคาร​ค้ำ�​ประกัน ธนาคาร​อาจ​ไม่​ให้​กู้​หรือ​ค้ำ�​ประกัน ม
เว้น​แต่​รัฐบาล​ของ​สมาชิก​ธนาคาร​กลาง​หรือ​ตัวแทน​อื่น​ซึ่ง​มี​ฐานะ​เท่า​เทียม​กัน จะ​ยอม​ค้ำ�​ประกัน​การ​ชำ�ระ​
คืน​ทั้งหมด​ซึ่ง​เงิน​ต้น​และ​ดอกเบี้ย​ตลอด​จน​ค่า​ธรรมเนียม​อื่นๆ
สธ
27 เรื่อง​เดียวกัน น. 160.
28 www.worldbank.org/website/External/Countries
29 วารี พงษ์เวช เรื่อง​เดียวกัน น. 474, 475.

3-38 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

4. ใน​การ​ให้​กู้​ยืม​หรือ​ค้ำ�​ประกัน ธนาคาร​จะ​พิจารณา​ตาม​สมควร​ว่า​ผู้​กู้​หรือ​ผู้​ค้ำ�​ประกัน​มี​ความ​
สามารถ​ชำ�ระ​หนี้ ธนาคาร​จะ​ตั้ง​กรรมการ​ผู้​เชี่ยวชาญ​ทาง​เทคนิค​ขึ้น​เพื่อ​ศึกษา​โครงการ​และ​รายงาน​ว่า​
โครงการ​นนั้ จ​ ะ​เพิม่ ก​ �ำ ลังผ​ ลิต จะ​เพิม่ พูนท​ รัพย์แ​ ละ​ทรัพยากร​ของ​ประเทศ​และ​เป็นป​ ระโยชน์ช​ ว่ ย​ให้ส​ มาชิก​
มี​ฐานะ​ดี​ขึ้น​ใน​ดุล​ชำ�ระ​เงิน​ระหว่าง​ประเทศ​เพียง​ใด​หรือไ​ ม่
5. สมาชิกจ​ ะ​ตดิ ต่อก​ บั ธ​ นาคาร​โดย​ผา่ น​กระทรวง​การ​คลัง ธนาคาร​กลาง​กองทุนจ​ ดั เ​สถียรภาพ​หรือ​


ตัวแทน​การ​คลังท​ ท​ี่ �​ำ หน้าทีค​่ ล้ายคลึง​กนั และ​ธนาคาร​จะ​ตดิ ต่อก​ บั ส​ มาชิกโ​ ดย​ผา่ น​เจ้าห​ น้าทีด​่ งั ก​ ล่าว​เท่านัน้
6. ธนาคาร​ไม่บ​ ังคับห​ รือม​ เี​งื่อนไข​ว่าเ​งินก​ ทู้​ ผี่​ กู้​ ไู้​ ด้ร​ ับไ​ ป​นั้น จะ​ต้อง​เอา​ไป​ใช้ภ​ ายใน​อาณาเขต​ของ​

มส
สมาชิก​หรือ​ของ​บรรดา​สมาชิก โดย​เฉพาะ​เงิน​ที่​กู้​ยืม​ไป​นั้น​สมาชิก​จะ​เอา​ไป​ใช้​ใน​ประเทศ​สมาชิก​ใด​ก็ได้
ฉะนั้น​ธนาคาร​จึง​ช่วย​ให้​สมาชิก​ได้​กู้​ยืม​เงิน​ใน​ตลาด​ทุน​โดย​เสียด​อก​เบี้ย​ถูก​และ​ช่วย​ให้​สมาชิก​ได้​ใช้​เงิน​ซื้อ​
วัตถุดิบ​และ​เครื่องจักร ฯลฯ จาก​ท​ที่ ี่​มี​ราคา​ถูก30
รัฐบาล​ไทย​สามารถ​ก​ยู้ ืม​เงิน​จาก​ธนาคารโลก​ได้​ตาม​เงื่อนไข​ดัง​กล่าว​ข้าง​ต้น ซึ่งธ​ นาคารโลก​ได้​ให้​
ความ​ชว่ ย​เหลือแ​ ก่ร​ ฐั บาล​ไทย​ใน​การ​พฒ ั นา​ประเทศ​มา​โดย​ตลอด ธนาคารโลก​ให้ก​ ย​ู้ มื ร​ ะยะ​ยาว​กว่าธ​ นาคาร​
พาณิชย์​โดย​สามารถ​ก​ไู้ ด้​ใน​ระยะ​ยาว 15–20 ปี ขยาย​เวลา​การ​ช�ำ ระ​หนี้​คืน​งวด​แรก​เป็น 3–5 ปี รัฐบาล​ของ​
หลาย​ประเทศ​ที่​กำ�ลัง​พัฒนา​ให้​ก​เู้ งิน​ไป​เพื่อ​จัด​ท�​ ำ โครงการ​ต่างๆ เช่น ความ​พยายาม​ลด​ความ​ยากจน การ​
จัดบ​ ริการ​ทาง​สังคม​การ​พิทักษ์ส​ ิ่งแ​ วดล้อม และ​การ​สนับสนุนก​ าร​เติบโต​ทาง​เศรษฐกิจ ซึ่งจ​ ะ​นำ�​ไป​สกู่​ าร​ยก​
ระดับ​มาตรฐาน​การ​ครอง​ชีพ31

มส

กิจกรรม 3.2.1
ให้น​ กั ศึกษา​ทบทวน​เนือ้ หา​ของ​เรือ่ ง​ที่ 3.2.1 แล้วล​ อง​ให้ค​ �​
ำ ตอบ​วา่ ธนาคารโลก​ให้ก​ ย​ู้ มื แ​ ก่ป​ ระเทศ​
สมาชิก​เพื่อ​วัตถุประสงค์​ใด

แนว​ตอบ​กิจกรรม 3.2.1
ธนาคารโลก​ให้​ประเทศ​สมาชิก​กู้​ยืม​เพื่อ​ช่วย​เหลือ​ใน​การ​บูรณะ​และ​พัฒนา​ภายใน​อาณาเขต​ของ​
สมาชิก ม
สธ
30 เรื่อง​เดียวกัน น. 477-479.
31 www.worldbank.org/website/External/Countries.

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-39

เรื่อง​ที่ 3.2.2
การ​กู้​ยืม​เงิน​โดย​วิธี​เอา​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงิน


การ​กย​ู้ มื เ​งินโ​ ดย​วธิ เ​ี อา​สงิ่ ของ​หรือเ​อา​ทรัพย์สนิ อ​ ย่าง​อนื่ แ​ ทน​จ�ำ นวน​เงินน​ เ​ี้ ป็นการ​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั โ​ ดย​
มิได้​มี​การ​ส่ง​มอบ​เงิน​ให้​แก่​กัน​ตาม​ลักษณะ​สัญญา​ยืม​ใช้ส​ ิ้น​เปลือง​ทั่วไป ตาม ปพพ. มาตรา 650 วรรค​สอง

มส
ซึ่ง​บัญญัติ​ว่า “สัญญา​นี้​ย่อม​บริบูรณ์​ต่อ​เมื่อ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ที่​ยืม” ใน​การ​กู้​ยืม​เงิน​วัตถุ​แห่ง​สัญญา​ต้อง​
มอบ​เงิน​แก่​กัน แต่​ตาม​กรณี​ท​จี่ ะ​กล่าว​นี้​เป็นการ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​โดย​ม​วี ัตถุ​แห่ง​สัญญา​เป็น​สิ่งของ​หรือท​ รัพย์สิน​
อืน่ ซึง่ ก​ รณีน​ จ​ี้ ะ​ท�ำ ได้เ​พียง​ใด​และ​มผ​ี ล​บงั คับก​ นั ต​ าม​กฎหมาย​หรือไ​ ม่ การ​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั โ​ ดย​มว​ี ตั ถุแ​ ห่งส​ ญ
เป็น​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อื่น​ได้​บัญญัต​ไิ ว้​ใน ปพพ. มาตรา 656 ซึ่ง​บัญญัติ​ว่า “ถ้า​ทำ�​สัญญา​กู้ย​ ืม​เงินก​ ัน ​และ​
ผู้​กู้​ยืม​ยอมรับ​เอา​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงิน​นั้น​ไซร้​ ท่าน​ให้​คิด​เป็น​หนี้​เงิน​ค้าง​ชำ�ระ​โดย​
จำ�นวน​เท่ากับร​ าคา​ทอ้ ง​ตลาด​แห่งส​ งิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ น​ นั้ ใ​ น​เวลา​และ ณ สถาน​ทส​ี่ ง่ ม​ อบ” ดังน​ นั้ จ​ ะ​เห็นว​ า่ ก​ รณี​
ดัง​กล่าว​น​ที้ ำ�ได้​เมื่อ​ผู้​ก​ยู้ ืม​ยอมรับ​เอา​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงิน​นั้น เช่น กั้ง ยืมเ​งิน เข่ง
ั ญา​

โดย​กงั้ ผ​ ก​ู้ ย​ู้ มื ต​ กลง​กบั เ​ข่งผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ว​ู้ า่ จ​ ะ​รบั เ​อา​ขา้ วสาร​หนึง่ ก​ ระสอบ​แทน​จ�ำ นวน​เงินต​ าม​กรณีน​ ี้ กัง้ เป็นห​ นีเ​้ งิน​
ค้าง​ชำ�ระ​แก่ เข่ง​โดย​จำ�นวน​เท่ากับ​ราคา​ท้อง​ตลาด​แห่ง​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น​ใน​เวลา​และ ณ สถาน​ที่​

ส่งม​ อบ​ขา้ วสาร​นนั้ เช่น ใน​ขณะ​ทส​ี่ ง่ ม​ อบ​ขา้ วสาร​กนั น​ นั้ ข้าวสาร​มร​ี าคา​ใน​ทอ้ ง​ตลาด​กระสอบ​ละ 1,000 บาท
กรณี​น​ถี้ ือว่า กั้ง​เป็น​หนี​เ้ งิน​ค้าง​ชำ�ระ​แก่​เข่ง​จำ�นวน 1,000 บาท ตาม​ราคา​ข้าวสาร​ใน​ขณะ​นั้น
ใน​ทาง​กลับก​ นั ก​ รณีก​ าร​ช�ำ ระ​หนีท​้ ก​ี่ ย​ู้ มื ก​ นั ผูก​้ ต​ู้ กลง​กบั ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื เ​งินว​ า่ จ​ ะ​ช�ำ ระ​สงิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ ​
มส

อืน่ แ​ ทน​จ�ำ นวน​เงินท​ ก​ี่ ย​ู้ มื ก​ นั คูส​่ ญ ั ญา​ยอ่ ม​ตกลง​เช่นน​ นั้ ไ​ ด้ หาก​ขอ้ ส​ ญ ั ญา​ดงั ก​ ล่าว​ไม่ข​ ดั ต​ อ่ ม​ าตรา 656 วรรค​
สอง ซึ่ง​บัญญัติ​ว่า “ถ้า​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน และ​ผู้​ให้​กู้​ยืม​ยอมรับ​เอา​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​เป็นการ​
ชำ�ระ​หนีแ​้ ทน​เงินท​ ก​ี่ ย​ู้ มื ไ​ ซร้ หนีอ​้ นั ร​ ะงับไ​ ป​เพราะ​การ​ช�ำ ระ​เช่นน​ นั้ ​ ทา่ น​ให้ค​ ดิ เ​ป็นจ​ �ำ นวน​เท่ากับร​ าคา​ทอ้ ง​ตลาด
​แห่ง​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น​ใน​เวลา​และ ณ สถาน​ท​สี่ ่ง​มอบ”
ปกติ​ใน​การ​กู้​ยืม​เงิน​เวลา​ชำ�ระ​หนี้​ผู้​กู้​ต้อง​ชำ�ระ​คืนด้วย​เงิน แต่​มี​บาง​กรณี​ที่​ผู้​ให้​กู้​ยินยอม​รับ​เอา​

สิง่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ อ​ ย่าง​อนื่ แ​ ทน​การ​ช�ำ ระ​หนีด​้ ว้ ย​เงินก​ เ​็ ป็นไ​ ด้ ซึง่ ก​ าร​ยอมรับส​ งิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ อ​ นื่ ใ​ด​น​ี้
คู่​สัญญา​จะ​ตกลง​กัน​ไว้​ใน​ขณะ​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน หรือ​มา​ตกลง​กัน​ใน​ขณะ​ชำ�ระ​หนี้ ข้อ​นี้​เห็น​ว่า​ตกลง​กัน
เ​วลา​ใด​กไ็ ด้ เพียง​แต่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ อมรับก​ เ​็ ป็นอ​ นั ใ​ช้ได้ ข้อส​ �ำ คัญต​ อ้ ง​ตกลง​ใน​เรือ่ ง​ราคา​สงิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ อ​ นื่ ใ​น​
เวลา​และ ณ สถาน​ทส​ี่ ง่ ม​ อบ การ​ปฏิบตั เ​ิ ช่นน​ นั้ ก​ ถ​็ อื ว่าใ​ช้ได้ต​ าม​กฎหมาย เช่น กัง้ กูย​้ มื เ​งิน เข่ง จำ�นวน 1,000 บาท
โดย​ตกลง​กัน​ว่า​ใน​เวลา​ชำ�ระ​หนี้​กั้ง จะ​ชำ�ระ​ด้วย​ข้าวสาร​จำ�นวน 1 กระสอบ​แทน​จำ�นวน​เงิน 1,000 บาท
ดัง​นั้น เมื่อ​เข่ง ตกลง​ยินยอม​ด้วย​ใน​ขณะ​ชำ�ระ​หนี้ โดย​ยอมรับเ​อา​ข้าวสาร​นั้น​แทน​จำ�นวน​เงิน 1,000 บาท
โดย​คิด​ราคา​ข้าวสาร​นั้น​ตาม​ราคา​ท้อง​ตลาด​ใน​เวลา​และ ณ สถาน​ที่​ส่ง​มอบ เมื่อ​เข่ง ยอมรับ​ข้าวสาร​นั้น​
สธ
ไว้​เท่ากับ​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี้ หนี้​อัน​นั้น​ก​ร็ ะงับ​สิ้นไ​ ป​เพราะ​การ​ช�ำ ระ​เช่น​นั้น ความ​ตกลง​ของ​คู่​สัญญา​ดัง​กล่าว​
มี​ผล​บังคับ​ได้ ซึ่ง​การ​ที่​กฎหมาย​บังคับ​ไว้​เช่น​นั้น เป็นการ​ยุติธรรม​สำ�หรับ​ผู้​ให้​กู้​ยืม​และ​ผู้​กู้ยืม คือ​การ​ให้​
คิด​ราคา​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​ที่​ส่ง​มอบ​เท่ากับ​ราคา​แห่ง​ท้อง​ตลาด​แห่ง​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น

3-40 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ใน​เวลา​และ ณ สถาน​ที่​ท​สี่ ่ง​มอบ ไม่ว​ ่า​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​นั้นจ​ ะ​มี​ราคา​สูง​ขึ้น​หรือ​ลด​ตํ่า​ลง​อย่างไร หาก​


คิด​ราคา​ทรัพย์สิน​หรือ​สิ่งของ​ใน​เวลา​และ ณ สถาน​ที่​ที่​ส่ง​มอบ​ก็​ไม่​ทำ�ให้​ฝ่าย​ใด​เป็น​ฝ่าย​เสีย​เปรียบ เช่น
ขณะ​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน​ผู้​ให้​กู้​ส่ง​มอบ​ข้าวสาร 1 กระสอบ​ให้​ผู้​กู้​ยืม โดย​คิด​เท่ากับ​จำ�นวน​เงิน​ที่​กู้​ยืม​
คือ​จำ�นวน 1,000 บาท ซึ่ง​เท่ากับ​ราคา​ข้าวสาร​ใน​ท้อง​ตลาด​ขณะ​ส่ง​มอบ อีก 1 เดือน ต่อ​มา​ผู้​กู้​นำ�​เงิน​
มา​ชำ�ระ​แก่​ผู้​ให้​กู้​จำ�นวน 1,000 บาท (ดอกเบี้ย​ตกลง​กัน​ต่าง​หาก) แม้​ขณะ​ที่​ผู้​กู้​ชำ�ระ​หนี้​ให้​ผู้​ให้​กู้​ราคา​


ข้าวสาร​ใน​ท้อง​ตลาด​จะ​เพิ่ม​ขึ้น​เป็นก​ระ​สอบ​ละ 1,500 บาท ผู้​กู้​ก็​ไม่​ต้อง​ชำ�ระ​เงิน​ให้​ผู้​กู้​เท่า​จำ�นวน​ราคา​
ข้าวสาร​ใน​ขณะ​นั้น ผู้​กู้​คง​ชำ�ระ​เงิน​เท่ากับ​ราคา​ข้าวสาร​ขณะ​ส่ง​มอบ​เท่านั้น​คือ 1,000 บาท หรือ​กรณี​

มส
กลับ​กัน ผู้​กู้​ได้​กู้​เงิน​จาก​ผู้​ให้​กู้ 1,000 บาท ใน​ขณะ​ชำ�ระ​หนี้ ผู้​ให้​กู้​ยินยอม​จะ​ให้​ผู้​กู้​ชำ�ระ​คืน​ด้วย​
ข้ า วสาร​ช นิ ด ​ห นึ่ ง ​ซึ่ง ​ใ น​ข ณะ​ที่​ไ ด้​กู้​ยืม ​เงิน ​กัน ​ราคา​ข้าวสาร​ชนิด ​นั้น​มี ​ราคา 1,500 บาท แต่ ​ขณะ​ที่​
ผู้​กู้​ชำ�ระ​หนี้​คืนผ​ ู้​ให้​กู้​ยืม​ราคา​ใน​ท้อง​ตลาด​ของ​ข้าวสาร​ดัง​กล่าว​ลด​ลง​เหลือก​ระ​สอบ​ละ 1,000 บาท ดัง​นั้น
ผูก​้ ไ​ู้ ม่จ​ �​
ำ ตอ้ งหา​ขา้ วสาร​ชนิดร​ าคา 1,500 บาท มา​ช�ำ ระ​ให้แ​ ก่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ู้ ผูก​้ ช​ู้ �ำ ระ​ขา้ วสาร​ให้แ​ ก่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ต​ู้ าม​ราคา​ทอ้ ง​
ตลาด​ใน​ขณะ​นั้น คือ 1,000 บาท หาก​ผู้​ให้​กู้​ยอมรับ​การ​ชำ�ระ​หนีด้​ ้วย​ข้าวสาร ซึ่ง​เป็นการ​รับ​ช�ำ ระ​หนีด้​ ้วย​
สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อื่น ถือว่า​หนี้​ได้​ระงับ​สิ้น​ไป​เพราะ​การ​ชำ�ระ​หนี้​นั้น ผู้​ให้​กู้​จะ​บังคับ​ให้​ผู้​กู้​ชำ�ระ​หนี้​ด้วย​
ข้าวสาร​ชนิดท​ ี่​มี​ราคา​สูง โดย​คิด​ราคา​ขณะ​ท​ใี่ ห้ก​ ู้​ยืม​ไม่ไ​ ด้
อนึ่ง เดิมม​ ี​ประกาศ​ห้าม​มิ​ให้​ตกข้าว​แก่​ชาวนา จ.ศ. 1239 (พ.ศ. 2420) ซึ่ง​ห้าม​มิ​ให้​ตกลง​ส่ง​ใช้​
ต้นเ​งินแ​ ละ​ดอกเบีย้ เ​ป็นข​ า้ ว​โดย​ก�ำ หนด​จ�ำ นวน​ขา้ ว​แน่นอน​วา่ เ​ป็นจ​ �ำ นวน​เท่านัน้ เ​ท่าน​ ี้ ถ้าไ​ ด้ต​ กลง​กนั เ​ช่นน​ ี้

เรียก​ว่า ทำ�​สัญญา​ตกข้าว ห้าม​มิ​ให้​ศาล​บังคับ​คดี​ให้ แต่​ถ้า​คกู่​ รณี​ได้ต​ ี​ราคา​ข้าว​หรือ​กำ�หนด​ราคา​ไว้แ​ น่นอน
เช่น กู้​ยืม​เงิน​ไป 1,000 บาท ให้​ชำ�ระ​คืนด​ ้วย​ข้าวสาร 1 กระสอบ ราคา 1,000 บาท ย่อม​ทำ�ได้ไ​ ม่​ต้อง​ห้าม​
มส

ตาม​กฎหมาย เมื่อ​มี​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ใช้ (1 เมษายน พ.ศ. 2472) ประกาศ​ดังก​ ล่าว​ไม่​ได้​


นำ�​มา​ใช้ก​ นั อ​ กี แ​ ละ​ได้บ​ ญ ั ญัตม​ิ าตรา 656 ไว้ ตัวอย่าง​ค�​ ำ พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​วนิ จิ ฉัยใ​น​เรือ่ ง​รบั เ​อา​สงิ่ ของ​หรือ​
ทรัพย์สิน​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงิน​ใน ฎ. 645/2489 “ใน​เรื่อง​น​จี้ ำ�เลย​จะ​รับ​เอา​ผ้า​จาก​โจทก์​ไป​ขาย 6 พับ ราคา
1,800 บาท โจทก์ไ​ ม่​เชื่อใ​จ​จึง​ให้​จ�ำ เลย​ทำ�​เป็น​สัญญา​กู้​ไว้​เป็นเ​งิน 1,800 บาท เท่า​ราคา​ผ้า ดังนีศ้​ าล​วินิจฉัย​
ว่าเ​ข้าล​ กั ษณะ​รบั เ​อา​สงิ่ ของ​แทน​จ�ำ นวน​เงินต​ าม​ มาตรา 656 วรรค​หนึง่ จึงเ​ป็นส​ ญ ั ญา​กย​ู้ มื โ​ดย​ชอบ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​
บังคับ​ได้ เพราะ​คิด​ราคา​ตาม​ท้อง​ตลาด​ใน​เวลา​และ​สถาน​ทสี่​ ่ง​มอบ​กัน”

ใน​เรื่อง​ความ​ตกลง​ใน​กรณี​ท​ผี่ ​กู้ ู้​ยอมรับ​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงิน​ที่​กู้​ยืม​กัน​ก​ด็ ี หรือ​
ผูใ้​ห้ก​ ยู้​ อมรับ​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อื่นแ​ ทน​การ​รับ​ช�ำ ระ​หนี้​ด้วย​เงิน​ก​ด็ ​นี ั้น ขึ้น​อยู​ก่ ับก​ าร​ยอมรับ​ของ​ผู้​กู้​และ​
ผู้​ให้​กู้ ดัง​กล่าว​คือ ความ​ตกลง​ของ​ผู้​กู้​และ​ผู้​ให้​กู้​นั้น​ต้อง​ไม่​ขัด​ต่อ​บทบัญญัติ​ของ​กฎหมาย​ใน​เรื่อง​จำ�นวน​
หนี้​ที่​ผู้​กู้​ค้าง​ชำ�ระ​หรือ​จำ�นวน​เงิน​ท​ี่ผู้​ก​ู้จะ​ต้อง​ชำ�ระ​ให้​แก่​ผู้​กู้​นั้น คู่​สัญญา​ต้อง​ค�ำ นึง​ถึง​เรื่อง​ราคา​ของ​สิ่งของ​
หรือท​ รัพย์สนิ ​อย่าง​อนื่ ​เป็น​สาระ​ส�ำ คัญ ใน​ขณะ​ยอมรับ​สงิ่ ของ​หรือ​ทรัพย์สนิ ​อนื่ ​ซงึ่ ต​ อ้ ง​เป็น​ไป​ตาม​ราคา​ทอ้ ง​
ตลาด​แห่งส​ งิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ ใ​น​เวลา​และ ณ สถาน​ทส​ี่ ง่ ม​ อบ​เป็นส​ �ำ คัญ ซึง่ ใ​น​เรือ่ ง​ความ​ตกลง​นไ​ี้ ด้ก​ ล่าว​ไว้​
ใน มาตรา 656 วรรค​สาม ความ​ว่า “ความ​ตกลง​อย่างใด ๆ ขัดก​ ับ​ข้อความ​ดังกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ” ดัง​
สธ
ตัวอย่าง​ใน​คำ�​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ต่อ​ไป​นี้

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-41

ฎ. 1683/2493 สัญญา​กู้​เงิน​มี​ใจความ​ว่า​กู้​เงิน​ไป​จำ�นวน​หนึ่ง​สัญญา​จะ​ใช้​คืน​ภายใน​กำ�หนด​และ​มี​
ข้อความ​วา่ ผ​ ก​ู้ ไ​ู้ ด้น​ �​
ำ นา​แปลง​หนึง่ ม​ า​ให้ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ ดึ ไ​ ว้เ​ป็นป​ ระกัน โดย​มบ​ี นั ทึกว​ า่ นา​ราย​นข​ี้ า้ พเจ้าไ​ ม่น​ �​
ำ ตน้ เ​งิน
​และ​ดอกเบี้ย​มา​ให้​ท่าน​ตาม​สัญญา​นี้ ข้าพเจ้า​ยอม​โอน​ที่​นา​ราย​นี้​ให้​แก่​ท่าน​เป็น​กรรมสิทธิ์​ดังนี้​ถือว่า​เป็น​
สัญญา​กหู้​ นีธ​้ รรมดา​ไม่ใช่ส​ ัญญา​จะ​ซื้อข​ าย​ทนี่​ า ฉะนั้นจ​ ึงต​ ้อง​บังคับต​ าม​กฎหมาย​ว่าด​ ้วย​ยืมใ​ช้ส​ ิ้นเ​ปลือง​คือ​
ตาม ปพพ. มาตรา 650 เมือ่ ต​ กลง​กนั ล​ ว่ ง​หน้าว​ า่ ถ​ า้ ไ​ ม่ช​ �ำ ระ​หนีภ​้ ายใน​ก�ำ หนด​ยอม​โอน​ทน​ี่ า​ให้เ​ป็นก​ รรมสิทธิ์


จึง​เป็นการ​เอา​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​ชำ�ระ​หนี้​แทน​เงิน​กัน​ที​เดียว​โดย​มิ​คำ�นึง​ถึง​ราคา​นา​เสีย​เลย จึง​เป็นการ​ฝ่าฝืน​
มาตรา 656 วรรค​สอง และ​ตก​เป็น​โมฆะ ตาม​วรรค​สาม ผู้​ให้​ก​จู้ ึงไ​ ม่ม​สี ิทธิ​ที่​จะ​ฟ้อง​ขอ​ให้บ​ ังคับ​ผู้​กโู้​ อน​ทนี่​ า​

มส
ให้​แก่​ตน​ตาม​สัญญา​ได้
ฎ. 766–767/2506 (ป.ใหญ่) “ข้อ​ตกลง​ใน​สัญญา​กู้​ที่​ว่า​เมื่อ​ผู้​กู้​ไม่​ใช้​เงิน​ต้อง​โอน​สิทธิ​การ​เช่า​ให้​แก่​
ผู้​ให้​กู้​โดย​ไม่​ต้อง​คำ�นึง​ถึงว่า​สิทธิ​แห่ง​การ​เช่า​นั้น มี​ราคา​เท่าใด​ใน​ท้อง​ตลาด​ใน​เวลา​ส่ง​มอบ ย่อม​ขัด​กับ
ปพพ. มาตรา 656 วรรค​สอง​จึง​เป็น​โมฆะ​ตาม​วรรค​สาม​ผู้​ให้​กู้​ไม่มี​สิทธิ​ฟ้อง​ให้​โอน​สิทธิ​การ​เช่า​ดัง​กล่าว”
กรณี​น​แี้ ม้​ข้อ​ตกลง​ดัง​กล่าว​เป็น​โมฆะ แต่​ถ้าค​ ู่​กรณี​ได้​ทำ�​สัญญา​กยู้​ ืม​เงินก​ ันจ​ ริง ผู้​ให้​กกู้​ ม็​ ี​สิทธิ​ฟ้อง​เรียก​เงิน​
ำ พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ที่ 3052/2527 วินิจฉัย​ไว้ด​ ังนี้ “จำ�เลย​ทำ�​สัญญา​โอน​สิทธิ​
ที่​ให้​ก​ยู้ ืม​คืน​ได้ แต่​ต่อ​มา​มี​ค�​
การ​เช่า​อาคาร​พาณิชย์​กับ​โจทก์​ม​ีข้อความ​ว่า ตาม​ที่​จำ�เลย​ทำ�​สัญญา​กู้​เงิน​โจทก์ จำ�เลย​ตกลง​โอน​สิทธิ​การ​
เช่า​ให้​แก่​โจทก์​และ​โจทก์​ตกลง​รับ​โอน ภาย​ใต้​เงื่อนไข​บังคับ​ก่อน​ว่า การ​โอน​สิทธิ​การ​เช่า​ราย​นี้​จะ​บังเกิดผ​ ล​
สมบูรณ์ต​ าม​กฎหมาย​กต​็ อ่ เ​มือ่ จ​ �ำ เลย​ผดิ นัดไ​ ม่ช​ �ำ ระ​หนีต​้ าม​สญ ั ญา​กเ​ู้ งินใ​น​การ​โอน​สทิ ธิก​ าร​เช่า เมือ่ ผ​ รู้ บั โ​อน​

ตี​ราคา​สิทธิ​การ​เช่า​ตาม​ราคา​ทรัพย์​ใน​ท้อง​ตลาด​ตาม​นัย​แห่ง​มาตรา 656 ของ ปพพ. ใน​เวลา​และ​สถาน​ที่​
ส่งม​ อบ​แล้ว หาก​ได้เ​งินไ​ ม่พ​ อ​ช�ำ ระ​หนีจ​้ �ำ เลย​ยนิ ยอม​ช�ำ ระ​หนีส​้ ว่ น​ทข​ี่ าด​แก่โ​จทก์จ​ น​ครบ และ​ปรากฏ​ตอ่ ม​ า​วา่
มส

จำ�เลย​ผิดนัด​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กู้​ตาม​สัญญา ดังนี้​หนี้​เงิน​กู้​เดิม​ซึ่ง​เป็น​หนี้​ประธาน​มี​อยู่​อย่างไร​ก็​คง​มี​อยู่​อย่าง​นั้น​
มิได้​ม​กี าร​เปลี่ยน​สิ่ง​ซึ่ง​เป็น​สาระ​ส�ำ คัญ​อัน​จะ​ท�ำ ให้​หนี้​นั้น​เป็น​อัน​ระงับ​สิ้น​ไป เพราะ​เมื่อต​ ี​ราคา​สิทธิก​ าร​เช่า​
ตาม​ราคา​ทรัพย์ใ​น​ท้อง​ตลาด​ตาม​นัย​แห่ง​มาตรา 656 ใน​เวลา​และ​สถาน​ที่​ที่​ส่ง​มอบ​แล้ว หาก​ได้เ​งิน​ไม่​พอ​
ชำ�ระ​หนี้ จำ�เลย​ยนิ ยอม​ช�ำ ระ​หนีส​้ ว่ น​ทข​ี่ าด​จน​ครบ สัญญา​โอน​สทิ ธิก​ าร​เช่าด​ งั ก​ ล่าว​จงึ เ​ป็นเ​พียง​หลักป​ ระกัน​
การ​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​ก​เู้ พื่อ​ให้​โจทก์​สามารถ​บังคับ​เอา​ช�ำ ระ​หนี้​เงินก​ ไู้​ ด้​เท่านั้น หา​เป็นการ​แปลง​หนี้​ใหม่​ไม่ เมื่อ​
โจทก์​ไม่​สามารถ​รับ​โอน​สิทธิ​การ​เช่า​ตาม​สัญญา​เนื่องจาก​จำ�เลย​อ้าง​ว่า​ยัง​มิได้​ผิด​สัญญา​จำ�เลย​ก็​ต้อง​รับ​ผิด​

ชำ�ระ​หนี้​เงิน​ก​ู้พร้อม​ดอกเบี้ย​ตาม​ฟ้อง” ความ​เป็น​โมฆะ​ก็​เฉพาะ​เรื่อง​การ​คิด​ราคา​ไม่​ทำ�ให้​สัญญา​กู้​เสีย​ไป
ฎ. 779/2497 “การ​ก​เู้ งิน​โดย​มี​ข้อ​สัญญา​ว่าถ​ ้า​ไม่​ใช้​เงิน​ก​คู้ ืน ผู้​ก​ยู้ อม​โอน​กรรมสิทธิท์​ ี่​นา​ให้​นั้น ข้อ​
ตกลง​ท​เี่ ป็น​โมฆะ​ตาม​มาตรา 656 วรรค​สอง​และ​วรรค​สาม ก็​เฉพาะ​เรื่อง​การ​คิด​ราคา​ทรัพย์ท​ ี่​ใช้แ​ ทน​เงิน​ก​ู้
เท่านั้น หา​ทำ�ให้​สัญญา​กู้​เสีย​ไป​ทั้ง​ฉบับ​ไม่ ผู้​ให้​กู้​ฟ้อง​เรียก​เงิน​คืน​ได้” แต่​ถ้า​เป็นการ​สละ​การ​ครอบ​ครอง​
ล่วง​หน้าท​ �ำ ได้ต​ าม ฎ. 2146/2520 กูเ​้ งินแ​ ล้วม​ อบ​นา​ให้ท​ �​ ำ กนิ ต​ า่ ง​ดอกเบีย้ แ​ ละ​ท�​
ำ หนังสือย​ ก​นา​ให้เ​จ้าห​ นีเ​้ มือ่ ​
ผูก​้ ต​ู้ าย เป็นการ​สละ​การ​ครอบ​ครอง​ลว่ ง​หน้าแ​ ทน​การ​ช�ำ ระ​หนีไ​้ ม่ข​ ดั ต​ อ่ ม​ าตรา 656 วรรค​สอง​และ​วรรค​สาม
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 2033/2541 ล. มี​สิทธิ​ได้​โควต้า​สลาก​กิน​แบ่ง​รัฐบาล​จาก​สภา​สังคมสงเคราะห์​แห่ง​ประเทศไทย​
งวด​ละ 10 เล่ม​ครึ่ง ได้​มอบ​โควต้า​ให้ ส. ไป​รับ​สลาก​กิน​แบ่ง​แทน​โดย ส. ต้อง​ชำ�ระ​เงิน​ให้​แก่​สภา​สังคม
​สง​เคราะห์ฯ ใน​นาม​ของ ล. ไป​ก่อน ถือ​ได้​ว่า ล.เป็น​ตัวการ​ให้ ส. เป็น​ตัวแทน​ ตาม ปพพ. มาตรา 797

3-42 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

เมื่อ ส. จ่าย​เงิน​ทดรอง​ค่า​สลาก​กิน​แบ่ง​รัฐบาล​ไป​ก่อน ส. จึง​ม​สี ิทธิ​เรียก​เอา​เงิน​ชดใช้​จาก ล. ตัวการ​รวม​ทั้ง​


ดอกเบี้ย​ได้​ ตาม ปพพ. มาตรา 816 วรรค​หนึ่ง​และ​วรรค​สอง เมื่อ ส. กับ ล. ได้​หัก​ทอน​บัญชี​กันแ​ ล้ว ล.
ยังเ​ป็นห​ นีอ้​ ยู่​อีก ล. จึง​ทำ�​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​ให้​ไว้ แต่ ล. ยัง​ไม่ไ​ ด้​ชำ�ระ​หนี​ใ้ ห้​เสร็จ​สิ้น การ​ที่​จำ�เลย​เป็นภ​ ริยา​
ของ ล. โอน​สิทธิก​ าร​เช่า​ซื้อ​ที่ดินแ​ ละ​บ้าน​พิพาท​ให้แ​ ก่​โจทก์​ซึ่ง​เป็น ภริยา​ของ ส. จึง​น่า​เชื่อ​ว่า ล. กับ​จำ�เลย​
ได้ช​ ำ�ระ​หนีเ้​งินก​ ยู้​ ืม​ให้​แก่ ส. โดย​การ​โอน​สิทธิ​การ​เช่า​ที่ดิน​และ​บ้าน​พิพาท​ให้​แก่​โจทก์ เป็นการ​ยอมรับ​เอา​


สิง่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ อ​ ย่าง​อนื่ แ​ ทน​การ​ช�ำ ระ​หนีแ​้ ทน​เงินก​ ู้ แต่ไ​ ม่ป​ รากฏ​วา่ ไ​ ด้ม​ ก​ี ารตกลง​วา่ ส​ ทิ ธิก​ าร​เช่าซ​ อื้ ท​ ดี่ นิ ​
และ​บา้ น​พพิ าท​ทต​ี่ ใ​ี ช้ห​ นีเ​้ งินย​ มื ม​ ร​ี าคา​เท่าใด เท่ากับร​ าคา​ใน​ทอ้ ง​ตลาด​ใน​เวลา​และ​สถาน​ทม​ี่ อบ​หรือไ​ ม่ ข้อต​ กลง​​

มส
ดัง​กล่าว​จึง​ขัด​ต่อ ปพพ. มาตรา 656 วรรค​สอง ตก​เป็น​โมฆะ​ ตาม​มาตรา 656 วรรค​สาม การ​โอน​สิทธิ​การ
​เช่า​ซื้อท​ ี่ดิน​และ​บ้าน​พิพาท​ให้​แก่​โจทก์​โดย​ยินยอม​ของ ส. ย่อม​ไม่ม​ผี ล​บังคับ ถือ​ไม่​ได้ว​ ่า​จำ�เลย​ได้​โอน​สิทธิ​
การ​เช่า​ซื้อ​ที่ดิน​และ​บ้าน​พิพาท​ให้​แก่​โจทก์ แม้​จะ​มี​การ​ทำ�​สัญญา​โอน​สิทธิ​การ​เช่า​ต่อ​การ​เคหะ​แห่ง​ชาติ​
และ​โจทก์​ได้​ชำ�ระ​ค่า​เช่า​ซื้อ​ให้​แก่​การ​เคหะ​แห่ง​ชาติ​เสร็จ​สิ้น ทั้ง​ได้​จด​ทะเบียน​รับ​โอน​กรรมสิทธิ์​ที่ดิน​และ​
บ้าน​พิพาท​เป็น​ของ​โจทก์​แล้วก​ ็ตาม ก็​หา​ทำ�ให้​โจทก์​เป็น​เจ้าของ​กรรมสิทธิ์​ที่ดิน​และ​บ้าน​ดัง​กล่าว​ไม่
ฎ. 6449/2544 จำ�เลย​โอน​กรรมสิทธิ์​ที่ดิน​ตาม​ฟ้อง​เพื่อ​ช�ำ ระ​หนี​ข้ อง ป. ให้​แก่​จำ�เลย​ร่วม​ภาย​หลัง​ที่​
ศาล​ได้ม​ ค​ี �​ำ สงั่ ต​ งั้ โ​จทก์เ​ป็นผ​ จ​ู้ ดั การ​มรดก​ของ ป. ผูต​้ าย​แล้ว แม้จ​ �ำ เลย​รว่ ม​จะ​เป็นท​ ายาท​ของ ป. ผูต​้ าย​กเ​็ ป็น​
บุคคล​ที่​ไม่ม​สี ิทธิ​รับ​ชำ�ระ​หนี้​แทน ป. ผู้​ตาย ประกอบ​กับ​ข้อ​ตกลง​การ​โอน​ขาย​กรรมสิทธิ์​ที่ดิน​ดัง​กล่าว เพื่อ​
ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กยู้​ ืม ไม่​ปรากฏ​ว่าไ​ ด้​คิด​เป็น​หนี้​เงิน​ท​คี่ ้าง​ชำ�ระ​จำ�นวน​เท่ากับ​ราคา​ท้อง​ตลาด​แห่ง​ที่ดิน​ใน​วัน​ที่​

จด​ทะเบียน จึง​เป็น​ข้อ​ตกลง​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กู้​ยืม​ด้วย​ทรัพย์สิน​อื่น​แทน​จำ�นวน​เงิน​ที่​กู้​ยืม​โดย​ไม่มี​การ​คำ�นวณ​
หนี้​เงิน​ที่​ค้าง​ชำ�ระ​เท่ากับ​ราคา​ท้อง​ตลาด​ของ​ที่ดิน​ที่​อ้าง​ว่า​โอน​เพื่อ​ใช้​หนี้​แทน​ให้​จำ�เลย​ร่วม ข้อ​ตกลง​
มส

ดังก​ ล่าว​จงึ ข​ ดั ต​ อ่ ปพพ. มาตรา 656 วรรค​หนึง่ ย่อม​ตก​เป็นโ​ มฆะ​ตาม​มาตรา 656 วรรค​สาม การ​จด​ทะเบียน​
โอน​ขาย​กรรมสิทธิ์​ที่ดิน​ดัง​กล่าว​หา​ทำ�ให้ห​ นี้​เงินก​ ​รู้ ะงับ​ไม่
ฎ. 7378/2552 การ​กู้​ยืม​เงิน​โดย​ผู้​ให้​กู้​ยืม​ยอมรับ​เอา​ที่ดิน​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี้​แทน​เงิน​ที่​กู้​ยืม​นั้น
ปพพ. มาตรา 656 วรรค​สอง​บัญญัติ​ให้​หนี้​เป็น​อัน​ระงับ​ไป​เพราะ​การ​ชำ�ระ​เช่น​นั้น​ให้​ต้อง​คิด​เป็น​จำ�นวน​
เท่ากับ​ราคา​ท้อง​ตลาด​แห่ง​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น​ใน​เวลา​และ ณ สถาน​ที่​ส่ง​มอบ​ใน​วัน​ที่ 9 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2541 ซึ่ง​เป็น​วัน​จด​ทะเบียน​โอน​ที่ดิน​ตี​ราคา​ที่ดิน 590,000 บาท ซึ่ง​เป็น​ราคา​ประเมิน​ของ​กรม​

ที่ดิน แม้​โจทก์​จำ�เลย​จะ​มิได้​นำ�สืบ​ถึง​ราคา​ซื้อ​ขาย​ใน​ท้อง​ตลาด​ที่แท้​จริง​ซึ่ง​เป็น​ราคา​ที่ดิน​เป็น​หลัก​ใน​
การ​คำ�นวณ ณ เวลา​ที่​ส่ง​มอบ แต่​ก็​เห็น​ได้​ว่า​ราคา​ประเมิน​ใน​การ​จด​ทะเบียน​สิทธิ​และ​นิติกรรม​ของ​
กรม​ที่ดิน​ใน​เบื้อง​ต้น​พอ​จะ​อนุมาน​ได้​ว่า​น่า​จะ​ใกล้​เคียง​กับ​ราคา​ท้อง​ตลาด​และ​ไม่​แตก​ต่าง​กัน​มาก เว้น​
แต่​จะ​มี​เหตุผล​พิเศษ​สำ�หรับ​ที่ดิน​บาง​แปลง​เป็นการ​เฉพาะ​ราย​เท่านั้น ราคา​ที่ดิน​ขณะ​จด​ทะเบียน​
โอน​กรรมสิทธิ์​จึง​สูง​กว่า​ภาระ​หนี้​เงิน​กู้​พร้อม​ดอกเบี้ย​ค้าง​ชำ�ระ​ตาม​ที่​จำ�เลย​อ้าง ซึ่ง​มี​อยู่​ประมาณ
230,000 บาท จำ�เลย​ก็​รับ​ว่า​มี​ส่วน​ต่าง​อยู่​ประมาณ 300,000 บาท ดังนี้ ความ​ตกลง​ดัง​กล่าว​ย่อม​ตก​
เป็น​โมฆะ​ ตาม ปพพ. มาตรา 656 วรรค​สาม ปัญหา​ดัง​กล่าว​เป็น​ข้อ​กฎหมาย​อัน​เกี่ยว​ด้วย​ความ​สงบ​
สธ
เรียบร้อย​ของ​ประชาชน เพราะ​เป็นการ​เอา​รัด​เอา​เปรียบ​ผู้​กู้​และ​ทำ�ให้​ผู้​ให้​กู้​ได้​เปรียบ​ใน​ทาง​ทรัพย์สิน​
เงิน​ทอง แม้​ไม่มี​คู่​ความ​ฝ่าย​ใด​ฎีกา​และ​เป็น​ปัญหา​ที่​มิได้​ว่า​กัน​มา​โดย​ชอบ​ใน​ศาล​ล่าง ศาล​ฎีกา​ก็​มี​อำ�นาจ​

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-43

หยิบยก​ขึ้น​วินิจฉัย​ได้​เอง​ ตาม ป.ว.พ. มาตรา 142(5) ประกอบ​มาตรา 246 และ​มาตรา 247 เมื่อก​ าร​โอน​
กรรมสิทธิ​ท์ ี่ดิน​พิพาท​ตก​เป็น​โมฆะ จำ�เลย​จึง​ไม่ไ​ ด้ที่​ดิน​ไป​ทาง​ทะเบียน
ฎ. 6852/2553 การ​โอน​ขาย​ที่ดิน​ระหว่าง​โจทก์ก​ บั ​จำ�เลย​ที่ 1 เป็น​กรณี​สบื ​เนื่อง​มา​จาก​การ​ที่​โจทก์​ได้​
กู้​เงินจ​ าก​จำ�เลย​ที่ 2 แล้ว​ไม่​ชำ�ระ​หนีเ้​งิน​กู้ จำ�เลย​ที่ 2 จึง​นำ�​หนังสือ​มอบ​อำ�นาจ​ทโี่​จทก์​ทำ�ให้​ไว้​มา​โอน​ขาย​
ให้​แก่​จำ�เลย​ที่ 1 ผู้​เป็น​บิดา กรณีจ​ ึง​เป็นเ​รื่อง​นำ�​ทรัพย์สิน​มาตีร​ าคา​ช�ำ ระ​เงิน​กู้ ซึ่งต​ าม​บทบัญญัติ​ใน ปพพ.


มาตรา 656 วรรค​สอง ข้อ​ตกลง​เรื่อง​การ​ทผี่​ ู้​ให้​กยู้​ อมรับ​เอา​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​เป็นการ​ช�ำ ระ​หนี​้
แทน​เงิน​ที่​กู้​ยืม​นั้น​หนี้​เงิน​กู้​จะ​ระงับ​ไป​ต้อง​คิด​เป็น​จำ�นวน​เท่ากับ​ราคา​ท้อง​ตลาด​แห่ง​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​

มส
นั้น​ใน​เวลา​และ ณ สถาน​ที่​ส่ง​มอบ และ​หาก​มี​ข้อ​ตกลง​อย่าง​ใดๆ ขัด​กับ​ข้อความ​ดัง​กล่าว​นี้​ย่อม​ตก​เป็น​
โมฆะ​ตาม​มาตรา 656 วรรค​สาม เมื่อ​สัญญา​ซื้อ​ขาย​ที่ดิน​ระหว่าง​โจทก์​กับ​จำ�เลย​ที่ 1 ตกลง​ซื้อ​ขาย​ใน​ราคา
700,000 บาท เท่ากับ​จำ�นวน​เงิน​ที่​โจทก์​ก​เู้ งิน​จาก​จำ�เลย​ที่ 2 ส่วน​คำ�ขอ​จด​ทะเบียน​สิทธิ​และ​นิติกรรม และ​
บันทึกก​ าร​ประเมินร​ าคา​ทรัพย์สนิ เ​พือ่ จ​ ด​ทะเบียน​สทิ ธิแ​ ละ​นติ กิ รรม ราคา​ประเมินต​ าราง​วา​ละ 130 บาท รวม​
ราคา​ประเมิน 270,400 บาท ราคา​ประเมินข​ อง​เจ้า​พนักงาน​ที่ดิน​เป็น​ราคา​ประเมิน​เพื่อ​ใช้​เป็นเ​กณฑ์​ใน​การ​
คำ�นวณ​ภาษี​จด​ทะเบียน​สทิ ธิ​และ​นติ กิ รรม หา​ใช่เ​ป็น​ราคา​ทอ้ ง​ตลาด​แห่ง​ทดี่ นิ ​ไม่ ทัง้ ร​ าคา​ประเมิน​ของ​ทดี่ นิ ​
พิพาท​เมื่อ​วันท​ ี่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2540 ใน​คราว​ที่ทำ�การ​ประเมิน​เพื่อ​จด​ทะเบียน​สิทธิแ​ ละ​นิติกรรม​ประเภท​
ขาย​ฝาก​ก่อน​จด​ทะเบียน​ซื้อ​ขาย​วัน​ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542 มี​ราคา​ประเมิน​ถึง​ตาราง​วา​ละ 1,000 บาท คิด​
เป็น​เงิน 2,080,000 บาท ยิ่ง​กว่า​นั้น​ราคา​ประเมิน​ของ​ที่ดิน​พิพาท​ใน​คราว​ที่​นำ�​ไป​ใช้​ประกันผ​ ู้​ต้องหา​เมื่อ​วัน​

ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2544 กลับ​มี​ราคา​สูง​ขึ้น​มา​อีก​จาก​ตาราง​วา​ละ 130 บาท ใน​วัน​ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542
เป็นต​ าราง​วา​ละ 1,000 บาท บ่งช​ ว​ี้ า่ ร​ าคา​ประเมินเ​ฉพาะ​ใน​วนั ท​ ี่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542 ซึง่ เ​ป็นว​ นั จ​ ด​ทะเบียน​
มส

ซื้อ​ขาย​กัน​จึง​มี​ราคา​ตํ่า นอก​นั้น​มี​ราคา​สูง​หมด ทำ�ให้​รับ​ฟัง​เอา​ความ​จริง​ไม่​ได้ ข้อ​ตกลง​ใน​เอกสาร​สัญญา​​


กู้​ยืม​เงิน​จึง​เป็น​เรื่อง​จำ�เลย​ที่ 2 ผู้​ให้​กู้​ยอมรับ​เอา​ที่ดิน​พร้อม​สิ่ง​ปลูก​สร้าง​อย่าง​อื่น​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี้​แทน​เงิน​ที่​
กู้​ยืม โดย​ไม่​ได้​คิด​เป็น​จำ�นวน​เงิน​เท่ากับ​ราคา​ท้อง​ตลาด​แห่ง​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น​ใน​เวลา​และ ณ สถาน​ที่​
ส่ง​มอบ แต่​ให้​ยึด​ที่ดิน​พิพาท​พร้อม​สิ่ง​ปลูก​สร้าง​ที่​วาง​ประกัน​เอา​ชำ�ระ​หนี้​ได้​ทันที โดย​ไม่​ต้อง​คำ�นวณ​ราคา​​
ท้อง​ตลาด​กัน​อีก ข้อ​ตกลง​ดัง​กล่าว​จึง​ตก​เป็น​โมฆะ ​ตาม ปพพ. มาตรา 656 วรรค​สาม
ฎ. 10751/2553 การ​ที่​โจทก์​โอน​ที่ดิน​พิพาท​ให้​จำ�เลย​เพื่อ​ชำ�ระ​หนี้​จำ�นอง​แก่​จำ�เลย​โดย​มิได้​คำ�นึง​

ว่าทีด่​ ิน​พิพาท​มี​ราคา​เท่าใด​นั้น เป็น​ความ​ตกลง​ท​ขี่ ัด​ต่อ ปพพ. มาตรา 656 วรรค​สอง​ที่​บัญญัติ​ว่า ถ้า​ทำ�​
สัญญา​กู้​ยืม​กัน​และ​ผู้​ให้​กู้​ยอมรับ​เอา​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี้​แทน​เงิน​ที่​กู้​ยืม​หนี้​
อันร​ ะงับไ​ ป​เพราะ​การ​ช�ำ ระ​หนีน​้ นั้ ท่าน​ให้ค​ ดิ เ​ป็นจ​ �ำ นวน​เท่ากับร​ าคา​ทอ้ ง​ตลาด​แห่งส​ งิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ น​ นั้ ​
ใน​เวลา​และ​สถาน​ทส​ี่ ง่ ม​ อบ​การ​โอน​ทดี่ นิ พ​ พิ าท​แทน​การ​ช�ำ ระ​หนีด​้ งั ก​ ล่าว​จงึ ต​ ก​เป็นโ​มฆะ​ ตาม ปพพ. มาตรา
656 วรรค​สาม ทำ�ให้​ถือ​ไม่​ได้​ว่า​มี​การ​ชำ�ระ​หนีโ้​ ดย​ชอบ​แล้ว
การ​ที่​จำ�เลย​เข้า​ครอบ​ครอง​ทำ�​ประโยชน์​ใน​ที่ดิน​พิพาท​สืบ​เนื่อง​มา​จาก​โจทก์​ยอม​โอน​ที่ดิน​พิพาท​
ให้​จำ�เลย​เพื่อ​ช�ำ ระ​หนี้ แม้​การ​โอน​นั้น​จะ​เป็น​โมฆะ​ ตาม ปพพ. มาตรา 656 วรรค​ท้าย แต่ก​ แ็​ สดง​ว่าโ​จทก์​
สธ
ยินยอม​ให้​จำ�เลย​เข้า​ครอบ​ครอง​ทำ�​ประโยชน์​ใน​ที่ดิน​พิพาท​จึง​ไม่​ถือว่า​การ​ครอบ​ครอง​ทำ�​ประโยชน์​ของ​
จำ�เลย​เป็นการ​กระทำ�​ละเมิด​ต่อ​โจทก์

3-44 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

จาก​ตวั อย่าง​ค�​ ำ วนิ จิ ฉัยด​ งั ก​ ล่าว​ขา้ ง​ตน้ เ​ห็นว​ า่ เ​มือ่ ค​ ส​ู่ ญ


ั ญา​ตกลง​ขดั ก​ บั ข​ อ้ ความ​ใน​มาตรา 656 ความ​
ตกลง​ดัง​กล่าว​ตก​เป็น​โมฆะ บังคับ​กัน​ตาม​สัญญา​ไม่ไ​ ด้ เนื่องจาก​กฎหมาย​ดังก​ ล่าว​บัญญัติ​เพื่อ​ป้องกัน​ม​ใิ ห้​
ผู้​ให้​กู้​ยืม​เอา​เปรียบ​ผู้​กู้ เพราะ​ใน​ขณะ​เดือด​ร้อน​ผู้​กู้​ย่อม​ต้อง​ยอม​ตาม​ที่​ผู้​ให้​กู้​เรียก​ร้อง ซึ่ง​จะ​เป็น​ช่อง​ทาง​
ทำ�ให้ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื เ​งินเ​อา​เปรียบ​ผก​ู้ ย​ู้ มื เ​กินไ​ ป กฎหมาย​จงึ บ​ ญ ั ญัตป​ิ อ้ งกันไ​ ว้ใ​น​มาตรา 656 วรรค​สาม ว่า “ความ​
ตกลง​กัน​อย่าง​ใด ๆ ขัด​กับ​ข้อความ​ดัง​กล่าว​มา​นี้ ท่าน​ว่า​เป็น​โมฆะ”


ดังน​ นั้ ใน​กรณีท​ ผ​ี่ ก​ู้ น​ู้ �​
ำ สงิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ อ​ นื่ ม​ า​ช�ำ ระ​หนีแ​้ ทน​เงินน​ นั้ ต้อง​มก​ี าร​ตร​ี าคา​สงิ่ ของ​หรือ​
ทรัพย์สิน​นั้น​เสมอ​ไม่​ว่า​ทรัพย์สิน​นั้น​จะ​เป็น​อสังหาริมทรัพย์ เช่น​ที่ดินห​ รือส​ ังหาริมทรัพย์ เช่น แหวน​เพชร

กู​เ้ งิน​ด�
มส
ข้อ​ตกลง​นั้น​จะ​มี​มา​ก่อน​หรือ​หลัง​ใช้​หนี​ก้ ็ได้ มิ​ฉะนั้น​ข้อ​ตกลง​เป็นโ​ มฆะ​ตาม​มาตรา 656 วรรค​สาม เช่น แดง
ำ สาม​แสน​บาท โดย​มี​ที่ดิน​เป็น​หลัก​ประกัน เมื่อ​หนี้​ถึง​ก�ำ หนด​แดง​ไม่ใ​ช้​หนี้​เงิน​กู้​ให้​ดำ� แต่​ยอม​ให้​ดำ�​
ยึด​ที่ดิน​ท​เี่ ป็น​ประกัน​ใช้​หนี้ ต่อ​มา​ราคา​ที่ดิน​เพิ่ม​สูง​ขึ้น​มาก แดง​มา​ฟ้อง​ศาล​ให้​ด�​
ใน​ขณะ​ทย​ี่ ก​ทดี่ นิ ​ใช้ห​ นีใ​้ ห้ด​ �​
ดำ�​ต้อง​คืน​ที่ดิน​ให้​แดง
ข้อส​ ังเกต การ​ชำ�ระ​หนี้​อย่าง​อื่น​ต่าง​จาก​การ​ช�ำ ระ​หนี้​ด้วย​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อื่น
การ​ชำ�ระ​หนี้​ด้วย​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​แทน​เงิน​ได้​กล่าว​มา​แล้ว​ตาม​มาตรา 656 วรรค​สอง
ำ คืน​ที่ดิน​แก่​ตน​โดย​อ้าง​ว่า​
ำ ไม่ไ​ ด้ม​ ก​ี าร​ตร​ี าคา​ทดี่ นิ ​ตาม​ราคา​ทอ้ ง​ตลาด​ใน​ขณะ​นนั้ ข้อต​ กลง​ยอ่ ม​เป็น​โมฆะ

แต่ การ​ชำ�ระ​หนี​อ้ ย่าง​อื่น​เป็น​ไป​ ตาม ปพพ. มาตรา 321 ถ้า​เจ้า​หนี้​ยอมรับ​การ​ชำ�ระ​หนี้​อย่าง​อื่น​แทน​การ​


ชำ�ระ​หนี​ท้ ี่​ได้​ตกลง​กัน​ไว้ หนี้​นั้น​เป็น​อัน​ระงับ​สิ้น​ไป

การ​ชำ�ระ​หนี้​ด้วย​สิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​แทน​เงิน​นั้น ต้อง​เป็นส​ ิ่งของ​หรือ​ทรัพย์สิน​อื่น​ไม่ใช่​
ตัว​เงิน​หรือ​สิ่ง​ท​ใี่ ช้​แทน​เงิน​ได้​เช่น เช็ค แต่​การ​ชำ�ระ​หนี้​อย่าง​อื่นแ​ ทน​การ​ช�ำ ระ​หนี้​ทตี่​ กลง​ไว้น​ ั้น การ​ชำ�ระ​หนี​้
มส

นั้น​ยัง​คง​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี้​ด้วย​เงิน แต่​เป็น​เงิน​ใน​รูป​แบบ​อื่น​คือ​เช็ค ที่​มี​ค่า​ตาม​จำ�นวน​ที่​ลง​ใน​เช็ค ซึ่ง​หาก​


เจ้า​หนี​ย้ อมรับ​การ​ช�ำ ระ​หนี​อ้ ย่าง​อื่น​แทน​การ​ชำ�ระ​หนี้​ที่​ตกลง​กันไ​ ว้ หนี้​นั้น​ก​ร็ ะงับส​ ิ้น​ไป​ ตาม ปพพ. มาตรา
321 และ​หาก​เป็นการ​ช�ำ ระ​หนี​ด้ ้วย​เช็ค​หนี​น้ ั้น​จะ​ระงับ​สิ้น​ไป​เมื่อ​เช็ค​ได้​ใช้เ​งิน​แล้ว​ตาม​มาตรา 321 วรรค​สาม
“ถ้าช​ �ำ ระ​หนีด​้ ว้ ย​ออก​ ดว้ ย​โอน​ หรือด​ ว้ ย​สลักห​ ลังต​ วั๋ เงินหรือป​ ระทวนสินค้า ท่าน​วา่ ห​ นีน​้ นั้ จ​ ะ​ระงับส​ นิ้ ไ​ ป​ตอ่ เ​มือ่ ​
ตั๋ว​เงิน​หรือ​ประทวนสินค้า​นั้น​ได้​ใช้​เงิน​แล้ว”
การ​ช�ำ ระ​หนีด​้ ว้ ย​เช็คห​ รือต​ วั๋ เ​งินอ​ นื่ ๆ ไม่ใช่เ​ป็นการ​ช�ำ ระ​หนีด​้ ว้ ย​สงิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ อ​ ย่าง​อนื่ แ​ ทน​

การ​ใช้​เงิน​ตาม​เช็ค​แล้ว

เงิน​ท​ใี่ ห้​กู้​ยืม​ตาม​มาตรา 656 วรรค 2 แต่​เป็นการ​ชำ�ระ​หนีอ้​ ย่าง​อื่น​ตาม​ความ​ใน​มาตรา 321 ส่วน​หนึ่งต​ ่าง​
หาก​เพราะ​ใน การ​ช�ำ ระ​หนี​ด้ ้วย​เช็ค หนี​ย้ ัง​ไม่​ระงับ​สิ้น​ไป หนี้​กยู้​ ืม​ทไี่​ ด้​รับ​ชำ�ระ​ด้วย​เช็ค​จะ​ระงับ​ไป​ต่อ​เมื่อม​ ​ี

ตัวอย่าง​เช่น กุ้ง ทำ�​สัญญา​ก​ยู้ ืมเ​งิน เข้ม จำ�นวน 1,000 บาท กำ�หนด​ชำ�ระ​คืน​ภายใน 1 ปี กุ้ง ชำ�ระ​
ดอกเบีย้ ท​ กุ เ​ดือน เมือ่ ค​ รบ​ก�ำ หนด​กงุ้ ไ​ ด้น​ �​ ำ เงินสด​จ�ำ นวน 5,000 บาท​และ​เช็ค จำ�นวน 5,000 บาท มา​ช�ำ ระ​คนื
ดังนี้​จะ​ถือว่า​หนี​ร้ ะงับ​ไป​ใน​ขั้น​แรก​จ�ำ นวน 5,000 บาท ตาม​จำ�นวน​เงินสด ใน​ส่วน​ที่​ช�ำ ระ​ด้วย​เช็ค จะ​ถือว่า​
หนี้​ระงับ​ต่อ​เมื่อ​เข้ม​เรียก​เก็บ​เงิน​ตาม​เช็ค​ได้​แล้ว
สธ

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-45

อุทาหรณ์
ฎ. 905/2497 (ป. ใหญ่) จ�ำ เลย​กเ​ู้ งินโ​จทก์ไ​ ป​ซอื้ ร​ ถยนต์แ​ ล้วโ​จทก์ย​ อมรับโ​ อน​รถยนต์จ​ าก​จ�ำ เลย​แทน​
การ​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​ดังนี้ เท่ากับ​โจทก์​ยอมรับ​ชำ�ระ​หนี้​อย่าง​อื่น​แทน​หนี้​เงิน หนี้ส​ ิน​ระหว่าง​โจทก์ก​ ับ​จำ�เลย​ตาม​
หนังสือ​สัญญา​กเู้​งิน​ย่อม​ระงับ​สิ้น​ไป​ ตาม ปพพ. มาตรา 321 โจทก์​จะ​มา​ฟ้อง​จำ�เลย​อีกห​ า​ได้ไ​ ม่ แม้​หนังสือ​
สัญญา​กเ​ู้ งินจ​ ะ​อยูก​่ บั โ​จทก์โ​ดย​ยงั ม​ ไิ ด้ค​ นื ให้แ​ ก่จ​ �ำ เลย​กต็ าม จำ�เลย​น�ำ สืบถ​ งึ ก​ าร​ช�ำ ระ​หนีด​้ ว้ ย​พยาน​บคุ คล​ได้


ฎ. 767/2505 (ป.ใหญ่) การ​ชำ�ระ​เงิน​กู้​ด้วย​เช็ค​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี้​ด้วย​การ​ออก​ตั๋ว​เงิน​ ตาม ปพพ.
มาตรา 321 วรรค​สาม ย่อม​ถือ​ได้​ว่า​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี้​อย่าง​อื่น​ซึ่ง​มิใช่​การ​ชำ�ระ​หนี้​ด้วย​เงิน แม้ว่า​การ​ช�ำ ระ​

มส
หนี้​เงิน​กู้​นั้น​จะ​ไม่มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง ศาล​ก​ย็ ่อม​รับ​ฟัง​พยาน​บุคคล​
ที​น่ �ำ สืบ​ใน​เรื่อง​การ​ชำ�ระ​หนี้​นั้น​ได้
ฎ. 4643/2537 ล. ทำ�​สัญญา​ก​เู้ งิน​จาก​โจทก์ 2 ครั้ง และ​ได้​มอบ​สมุด​ค​ฝู่ าก​บัญชี​เงิน​ฝาก​ออม​ทรัพย์​
และ​บตั ร​ถอน​เงินอ​ ตั โนมัตไ​ิ ว้ก​ บั โ​จทก์ โดย​มข​ี อ้ ต​ กลง​ให้โ​จทก์น​ �​ ำ สมุดค​ ฝ​ู่ าก​เงินฝ​ าก​ออม​ทรัพย์แ​ ละ​บตั ร​ถอน​
เงิน​อัตโนมัติ​ดัง​กล่าว​ไป​เบิก​เงิน​จาก​ธนาคาร​เพื่อ​หัก​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กู้​ได้ แม้​การ​ใช้​เงิน​กู้​จะ​ไม่มี​หลัก​ฐาน​เป็น​
หนังสืออ​ ย่าง​หนึง่ อ​ ย่าง​ใด​ลง​ลายมือช​ อื่ ผ​ ใ​ู้ ห้ย​ มื ม​ า​แสดง หรือเ​อกสาร​อนั เ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื ไ​ ด้เ​วนคืน​
แล้ว หรือ​ได้​แทง​เพิก​ถอน​ลง​ใน​เอกสาร​นั้นแ​ ล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง แต่ก​ าร​ที่​โจทก์ไ​ ด้​รับ​มอบ​
สิทธิ​ใน​การ​เบิก​เงิน​จาก ล. โดย​น�​ ำ บัตร​ถอน​เงิน​อัตโนมัตไ​ิ ป​ถอน​เงิน​จาก​บัญชี​เงิน​ฝาก​ออม​ทรัพย์​ของ ล. ที่​
เปิด​ไว้​กับ​ธนาคาร​ผ่าน​เครื่อง​ถอน​เงิน​อัตโนมัติ​ของ​ธนาคาร​นั้น ถือว่า​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี้​อย่าง​อื่น​ซึ่ง​โจก​ท์​ใน​

ฐานะ​เจ้า​หนี​ไ้ ด้​ยอมรับ​แล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 321 วรรค​แรก
ฎ. 6028/2539 จำ�เลย​โอน​เงินท​ าง​โทรศัพท์เ​ข้าบ​ ญ ั ชีโ​จทก์เ​พือ่ ช​ �ำ ระ​หนีเ​้ งินก​ ไ​ู้ ม่ต​ อ้ ง​ดว้ ย ปพพ. มาตรา
มส

653 แต่​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี​อ้ ย่าง​อื่น เมื่อ​โจทก์​ยอมรับ​แล้ว​หนี้​เงินก​ ู้​จึง​ระงับ​ลง

กิจกรรม 3.2.2
ให้​นักศึกษา​ทำ�ความ​เข้าใจ​ใน​หัว​เรื่อง​ที่ 3.2.2 และ​ให้​วินิจฉัย​ปัญหา​ข้าง​ล่าง​นี้ โดย​ให้​เหตุผล​
ประกอบ​ค�​ ำ ตอบ

นาย​ขาว​กู้​ยืม​เงิน​นาย​มืด จำ�นวน 5,000 บาท เพื่อ​ลงทุน​ซื้อ​ปุ๋ย​ใส่​ใน​นา​ข้าว นาย​มืด​ตกลง​ให้ก​ ยู้​ ืม​
เงิน​ดัง​กล่าว โดย​ตกลง​กับ​นาย​ขาว​ว่า หาก​นาย​ขาว​ไม่​สามารถ​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กู้​ดัง​กล่าว​ได้ภ​ ายใน​เวลา 1 ปี
ให้​นาย​ขาว​โอน​ที่​นา​ให้​แก่​ตน ดังนี้​เมื่อ​นาย​ขาว​ไม่​สามารถ​ชำ�ระ​หนี้​ให้​แก่​นาย​มืด​ได้​ภายใน​กำ�หนด​เวลา​ที่​
ตกลง​กัน นาย​มืด​จะ​บังคับ​ให้​นาย​ขาว​โอน​ทนี่​ า​ให้แ​ ก่​ตน​ได้​หรือ​ไม่ เพียง​ใด

แนว​ตอบ​กิจกรรม 3.2.2
นาย​มืด​จะ​บังคับ​ให้​นาย​ขาว​โอน​ที่​นา​ให้​แก่​ตน​ไม่​ได้ เนื่องจาก​ข้อ​ตกลง​ดัง​กล่าว​ขัด​กับ​ ปพพ.
สธ
มาตรา 656 วรรค​สอง เป็น​โมฆะ​ตาม​วรรค​สาม เพราะ​นาย​มืด​ไม่​ได้ค​ ิด​ราคา​สิ่งของ (ที่น​ า) กับ​ราคา​ท้อง​
ตลาด​แห่งส​ งิ่ ของ​หรือท​ รัพย์สนิ น​ นั้ ใ​น​เวลา ​และ ณ สถาน​ทส​ี่ ง่ ม​ อบ แต่น​ าย​มดื จ​ ะ​ฟอ้ ง​เรียก​เงินท​ ใ​ี่ ห้น​ าย​ขาว​
กู​ย้ ืม​ไป​คืน​จาก​นาย​ขาว​ได้

3-46 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

เรื่อง​ที่ 3.2.3
การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​และ​การ​กู้​ยืม​เงิน​ที่​เป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน


การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย
เหตุ​ท​นี่ ำ�​เรื่อง​การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​มา​กล่าว​ไว้​ใน​ลักษณะ​กู้​ยืมเ​งิน​ด้วย เพราะ​การ​เล่น​แชร์​เปียห​ วย​

มส
มี​ลักษณะ​ใกล้​เคียง​กับ​การ​กู้​ยืม​เงิน​มาก​ลักษณะ​หนึ่ง ประกอบ​กับ​การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​เป็น​ที่​นิยม​เล่น​กัน​
แพร่ห​ ลาย ใน​ระหว่าง​ญาติ เพือ่ น​ฝงู พนักงาน​ใน​หน่วย​งาน​ของ​รฐั แ​ ละ​เอกชน และ​มป​ี ญ
การ​เล่น​แชร์​ดัง​กล่าว​อยู​เ่ สมอ
วิเคราะห์​ศัพท์ “แชร์​เปีย​หวย​เป็น​คำ�​ผสม​ระหว่าง​อังกฤษ​กับ​จีน “แชร์” (Share) เป็น​ภาษา​
อังกฤษ​หมาย​ถึง​หุ้น​ส่วน​ใน​กิจการ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง “เปีย” เป็น​ภาษา​จีน แปล​ว่า ประมูล​ใน​ราคา​สูงสุด
แข่งขัน​ให้​ราคา​สูง​กว่า “หวย” เป็น​ภาษา​จีน แปล​ว่า มา​พบ​กัน มา​รวม​กัน สมาคม​ประชุม32 ตาม​รูปศ​ ัพท์
แชร์ ​เ ปี ย​ห วย​เ มื่ อ​รวม​เป็น​คำ�​เดียวกัน​น่า ​จะ​แ ปล​ได้​ว่า “กิจการ​ที่​เอา​เงิน ​หรือ​สิ่งของ​มา​ร่วม​กันแล้ว​
ั หา​ขอ้ พ​ พิ าท​ใน​เรือ่ ง​

ประมูล​ให้​ราคา​สูง​กว่า” แต่​ความ​หมาย​ที่​สมบูรณ์​หมาย​ถึง​คน​กลุ่ม​หนึ่ง​ตกลง​กัน​ระหว่าง​ผู้​เล่น​ออก​
เงิน​เป็น​ราย​เดือน ราย​สัปดาห์​หรือ​ราย​วัน​คนละ​เท่าๆ กัน รวม​เข้า​กัน เป็น​เงิน​กอง​กลาง​แล้ผลัด​กัน​

ชัก​ทุนก​ อง​กลาง​นั้นไ​ ป​ใช้สอย​โดย​เสียด​อก​เบี้ยอ​ ัตรา​สูงสุดป​ ระจำ�​เดือน หรือ​ระยะ​เวลา​นั้นๆ33
การ​เล่นแ​ ชร์ต​ าม​ความ​เข้าใจ​ของ​คน​ทวั่ ไป หมาย​ถงึ ก​ าร​ทบ​ี่ คุ คล​น�​ ำ เงินม​ า​รวม​กนั โดย​ให้บ​ คุ คล​หนึง่ ​
บุคคล​ใด​มีหน้า​ที่​รวบรวม​เงิน และ​มี​สิทธิ​ใช้​เงิน​นั้น​ได้​ก่อน และ​ลูกวง​ผลัด​กัน​นำ�​เงิน​ไป​ใช้ได้​โดย​วิธี​ประมูล​
มส

ดอกเบี้ย ใคร​ประมูล​ดอกเบี้ย​ได้​สูง มี​สิทธิ​นำ�​เงิน​จำ�นวน​นั้น​ไป​ใช้ ผู้​ตั้ง​วง​แชร์​จึง​เป็น​ผู้​รวบรวม​เงิน​เรียก​ว่า


“เถ้า” (เท้า) หรือ “ฮ่วย​เถ้า”34 ซึ่ง​ใน​ปัจจุบัน​ได้​ม​คี ำ�​จ�ำ กัด​ความ​ของ​ค�​ ำ ว่า “การ​เล่น​แชร์” ไว้​ใน​พระ​ราช​
บัญญัต​กิ าร​เล่น​แชร์ พ.ศ. 2534 ว่า
“การ​เล่นแ​ ชร์ หมายความ​วา่ การ​ทบ​ี่ คุ คล​ตงั้ แต่ส​ าม​คน​ขนึ้ ไ​ ป​ตกลง​กนั เ​ป็นส​ มาชิกว​ ง​แชร์โ​ ดย​แต่ละ​
คน​มภ​ี าระ​ทจ​ี่ ะ​สง่ เ​งินห​ รือท​ รัพย์สนิ อ​ นื่ ใ​ด รวม​เข้าเ​ป็นท​ นุ ก​ อง​กลาง​เป็นง​ วดๆ เพือ่ ใ​ห้ส​ มาชิกว​ ง​แชร์ห​ มุนเวียน​

กัน​รบั ​ทนุ ​กอง​กลาง​แต่ละ​งวด​นนั้ ​ไป​โดย​การ​ประมูล หรือ​โดย​วธิ ​อี นื่ ​ใด และ​ให้​หมายความ​รวม​ถงึ ก​ าร​รวม​ทนุ ​
ใน​ลักษณะ​อื่น​ตาม​ที่​ก�ำ หนด​ใน​กฎ​กระทรวง​ด้วย”35
ใน​การ​เล่นแ​ ชร์จ​ ะ​ท�ำ ได้ต​ อ่ เ​มือ่ ม​ บ​ี คุ คล​คน​หนึง่ ท​ เ​ี่ รียก​วา่ “เถ้า” หา​ลกู วง​เพือ่ เ​ล่นแ​ ชร์ใ​ห้ค​ รบ​จ�ำ นวน​
มือท​ ต​ี่ งั้ ไ​ ว้ เช่น แชร์ 12 มือ มีผ​ เ​ู้ ล่น 12 คน กำ�หนด​มอื ล​ ะ 100 บาท กำ�หนด​เล่นภ​ ายใน 12 เดือน สมมติเ​ริม่ ต​ น้
​ใน​วัน​ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ใน​เดือน​แรก “เถ้า” จะ​เก็บเ​งิน​จาก​ลูกวง​คนละ 100 บาท โดย​เถ้า​มี​สิทธิ​นำ�
สธ
32 ธรรม​นต ิ ย์ วิชญ​เนติน​ ยั แชร์เ​ปียห​ วย​กบั ป​ ญ
ั หา​กฎหมาย กรุงเทพมหานคร บริษทั ส​ ยาม​บรรณ จำ�กัด พ.ศ. 2523 น. 5-6.
33 เรื่อง​เดียวกัน
34 เรื่อง​เดียวกัน น. 7.
35 พรบ.การ​เล่น​แชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-47

เ​งินก​ อง​กลาง​ทร​ี่ วบรวม​ได้ไ​ ป​ใช้ก​ อ่ น​โดย​ไม่เ​สียด​อก​เบีย้ ใน​เดือน​ตอ่ ๆ มา​มก​ี าร​ประมูลด​ อกเบีย้ ก​ นั ใ​น​ระหว่าง​
ลูกวง​เรียก​ว่า “เปีย” ลูกวง​คน​ใด​ให้​ราคา (ดอกเบี้ย) สูงสุด ซึ่ง​ถือว่า​เปีย​ได้ มี​สิทธิ​นำ�​เงิน​ไป​ใช้​ก่อน โดย​
เถ้า​เป็น​ตัวแทน​เก็บ​เงิน​จาก​ลูกวง​ทุก​คน​คนละ 100 บาท ให้​ลูกวง​คน​ที่​เปีย​ได้ เดือน​ต่อ​มา​ก็​มี​การ​ประมูล​
ดอกเบี้ย​กัน​อีก ยกเว้น​คน​ที่​เปีย​แล้ว​ไม่มี​สิทธิ​เปีย ​นอก​เสีย​ว่า​คนๆ นั้น​จะ​เล่น​แชร์​หลาย​มือ เมื่อ​คน​ที่​เปีย​
ได้เ​ดือน​ถัด​มา​มี​สิทธิ​น�​ ำ เงิน​กอง​กลาง​พร้อม​กับด​ อกเบี้ย​ของ​คน​ที่​เปีย​ไป​ก่อน​แล้วไป​ใช้ เช่น กุ้ง เปีย​โดย​ให้​


ดอกเบี้ยส​ ูงสุด 30 บาท​ใน​เดือน​ที่ 2 ต่อ​มา​ใน​เดือน​ที่ 3 เข้มเ​ปีย​ได้ เดือน​ที่ 3 นีก้​ ุ้ง​ต้อง​ช�ำ ระ​เงิน​จำ�นวน
130 บาท ส่วน​เดือน​ที่ 4 เข้มต​ ้อง​ชำ�ระ​เงิน 100 บาท บวก​ด้วย​ดอกเบี้ยท​ ี่ เข้มเ​ปีย​ได้ ส่วน​กุ้ง​ก็​ต้อง​ช�ำ ระ​

มส
เดือน​ละ 130 บาท ทุกๆ เดือน​จนกว่าผ​ เู้​ล่นจ​ ะ​ประมูลค​ รบ​ทุก​คน ซึ่ง​ใน​มือส​ ุดท้าย​เรียก​ว่า “บ๊วย” ไม่​ต้อง
“เปีย” จะ​ได้เ​งินท​ ั้ง​จ�ำ นวน​พร้อม​ดอกเบี้ย​ของ​ลูกวง​คน​อื่นๆ ทีป่​ ระมูล​ได้เ​งิน​ไป​แล้ว
ดอกเบี้ยใ​น​การ​ประมูล (เปีย) แชร์​ม​ที ั้ง​ชนิด “ดอก​ตาม” และ “ดอก​หัก” “แชร์ด​ อก​ตาม” ได้แก่​
ผูเ​้ ล่นช​ �ำ ระ​ดอกเบีย้ ต​ าม​ทต​ี่ น​ได้ป​ ระมูลไ​ ว้ไ​ ป​พร้อม​กบั เ​งินท​ ต​ี่ น​ตอ้ ง​สง่ ค​ นื ท​ กุ ๆ เดือน ส่วน​แชร์ “ดอก​หกั ” นัน้
“เถ้า” แชร์​จะ​หัก​ดอกเบี้ย​ไว้​ก่อน​เหลือ​เท่าใด จะ​ให้​ลูกวง​ที่​เปีย​ได้ การ​เล่น​แชร์​ดอก​หัก​มัก​ไม่​นิยม​เล่น​กัน
เพราะ​ผเู้​ปียจ​ ะ​ถูก​หัก​ดอกเบี้ย​ไว้​ก่อน
ชนิด​ของ​แชร์ แชร์ม​ ี 2 ชนิด
1. แชร์เ​ชื่อ​ใจ​กัน อาศัย​ความ​ไว้​เนื้อ​เชื่อใ​จ​กัน​โดย​ไม่ม​หี ลัก​ฐาน​ใด​เลย
2. แชร์เ​ช็ค แชร์ช​ นิดน​ ม​ี้ ก​ี าร​เก็บเ​งินเ​ป็นเ​ช็คจ​ า่ ย​เงินเ​ป็นเ​ช็ค เถ้าต​ งั้ แ​ ชร์เ​ก็บเ​งินจ​ าก​ลกู วง​แชร์ โดย​

การ​รับ​เช็ค​ของ​ลูก​แชร์​แต่ละ​คน​มา​ใน​ขณะ​เดียวกัน เถ้า​เอง​ก็​จ่าย​เช็คข​ อง​ตน​ให้​แก่ล​ ูก​แชร์​ไป​คนละ​ใบ​ทุก​คน
แชร์เ​ช็ค​นั้น​เถ้า​แชร์ต​ ้อง​สลัก​หลัง​เช็ค​ทุก​ใบ และ​ต้อง​รับ​ผิด​แทน​ลูกวง​ไม่​ชำ�ระ​หนี36 ้
มส

เนือ่ งจาก​การ​เล่นแ​ ชร์เ​ปียห​ วย​เป็นท​ น​ี่ ยิ ม​เล่นก​ นั ด​ งั ก​ ล่าว​แล้ว แม้ใ​น​หน่วย​งาน​ของ​รฐั ซ​ งึ่ ม​ ค​ี �​
ำ สงั่ ห​ า้ ม​
การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย (ตาม​มติ​ของ​คณะ​รัฐมนตรี ที่ น.ว. 12/2498) แต่ก​ ย็​ ัง​มกี​ าร​เล่น​กันอ​ ยูท่​ ั่วไป เนื่องจาก​
มี​ปัญหา​การ​ฉ้อโกง​แชร์​กัน​อยู​เ่ สมอ ทั้ง​ผ​ฉู้ ้อโกง​และ​ผถู้​ ูก​ฉ้อโกง​มัก​จะ​ต่อสูค้​ ดี ใน​เรื่อง​การ​เล่นแ​ ชร์​เปีย​หวย​
ว่า​เป็น​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน เพราะ​หาก​ปรับ​เข้า​ลักษณะ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ก​ต็ ้อง​นำ�​บทบัญญัติข​ อง​กฎหมาย​ใน​เรื่อง​
การ​กู้​ยืม​เงินม​ า​ใช้​บังคับก​ ับ​คู่​กรณี​ด้วย ดัง​นั้น การ​จะ​ตัดสินว​ ่า​สัญญา​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​เข้า​ลักษณะ​สัญญา​ใด
ก็​พิจารณา​ได้​จาก​เหตุผล​ใน​คำ�​พิพากษา​ของ​ศาล​ฎีกา​ที่​วินิจฉัย​ใน​เรื่อง​นี้​ไว้​โดย​สังเขป
อุทาหรณ์ ม
ฎ.1631-1634/2508 การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​เกิด​ขึ้น​จาก​ความ​ตกลง​กัน​ใน​ระหว่าง​ผู้เ​ล่น​จึง​เป็น​สัญญา​
ชนิด​หนึ่ง​เมื่อ​ไม่มี​กฎหมาย​ห้าม​ก็​ใช้​บังคับ​ได้​แม้​จะ​ไม่​เป็นการ​กู้​ยืม นาย​วง​ก็​ไม่มี​เหตุ​ที่​จะ​อ้าง​ได้​ว่า​นาย​วง​
ได้ท​ รัพย์​ไป​โดย​ไม่มี​มูล​ท​จี่ ะ​อ้าง​ได้​ตาม​กฎหมาย กรณี​ไม่​เป็น​ลาภ​ม​คิ วร​ได้
ฎ.284/2516 การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย เกิดจ​ าก​การ​ตกลง​กัน​ใน​ระหว่าง​ผู้​เล่น จึง​เป็นส​ ัญญา​ชนิด​หนึ่ง​
เมื่อ​ไม่ม​กี ฎหมาย​ห้าม​ก​ใ็ ห้​บังคับ​ได้ แม้​จะ​ไม่​เป็นการ​ก​ยู้ ืม​จำ�เลย​ก็​ไม่มี​เหตุ​ที่​จะ​อ้าง​ได้ว​ ่าจ​ ำ�เลย​ได้ท​ รัพย์​ไป​
โดย​ไม่ม​มี ูล​จะ​อ้าง​ได้​ตาม​กฎหมาย​กรณี​ไม่ใช่​เป็น​ลาภ​มิ​ควร​ได้
สธ

36 ธรรม​นิตย์ วิชญ​เนติ​นัย น. 10.



3-48 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ฎ.2253/2518 การ​เล่นว​ ง​แชร์เ​ป็นส​ ญ ั ญา​ชนิดห​ นึง่ เ​กิดข​ นึ้ จ​ าก​ความ​ตกลง​ระหว่าง​ผเ​ู้ ล่น ไม่มก​ี ฎหมาย​
บังคับว​ ่า​จะ​ต้อง​ทำ�​สัญญา​หรือ​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือค​ ง​บังคับก​ ัน​ได้​ตาม​หลัก​สัญญา​ทั่วไป เมื่อ​พฤติการณ์​
เป็นท​ เ​ี่ ข้าใจ​กนั ร​ ะหว่าง​ผเ​ู้ ล่นว​ า่ จ​ �ำ เลย​เป็นน​ าย​วง​ตกลง​ยอม​เป็นผ​ รู้ บั ผ​ ดิ ช​ อบ​ใน​เงินแ​ ก่ล​ กู วง​ทย​ี่ งั ไ​ ม่ไ​ ด้ป​ ระมูล
(เปีย) ใน​เมื่อ​วง​แชร์​ล้ม​ดังนี้ เมื่อ​วง​แชร์​ล้ม​จำ�เลย​ก็​ต้อง​รับผ​ ิด​ชอบ​ต่อโ​จทก์ ซึ่ง​เป็น​ลูกวง​และ​ยัง​มิได้​ประมูล
จาก​ค�​ ำ พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​ทย​ี่ ก​มา​เป็นต​ วั อย่าง​ขา้ ง​ตน้ พ​ อ​ท�ำ ให้เ​ข้าใจ​ใน​ขนั้ ต​ น้ แ​ ล้วว​ า่ ส​ ญ ั ญา​เล่นแ​ ชร์​


เปียห​ วย​ไม่ใช่ส​ ญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​งิน แต่จ​ ะ​เข้าล​ กั ษณะ​สญ ั ญา​ใด​นนั้ ศ​ าล​ฎกี า​ยงั ไ​ ม่ไ​ ด้ว​ นิ จิ ฉัยใ​ห้ช​ ดั แ​ จ้ง นักก​ ฎหมาย​
ได้พ​ ยายาม​ปรับ​เรือ่ ง​การ​เล่นแ​ ชร์เ​ปียห​ วย​เข้าล​ ักษณะ​สัญญา​ต่างๆ เช่น ลักษณะ​สญ ั ญา​ตวั แทน​บ้าง สัญญา​
ค้�​

มส
ำ ประกัน​บ้าง ฯลฯ เพื่อ​ว่า​จะ​ได้​นำ�​กฎหมาย​ใน​ลักษณะ​นั้น มา​ใช้​บังคับ​แก่ค​ กู่​ รณี สัญญา​เล่น​แชร์เ​ปียห​ วย
เป็น​สัญญา​ท​ไี่ ม่มี​ชื่อ​ใน​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์
ดัง​นั้น จน​บัดนี้​ก​ย็ ัง​ไม่​สามารถ​ช​ชี้ ัด​ได้​ว่า สัญญา​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​เป็น​สัญญา​ชนิด​ใด แต่​ควร​ทราบ​
ไว้​ประการ​หนึ่ง​ว่า สัญญา​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​ไม่ใช่​สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน ดัง​นั้น จึง​ไม่​อาจ​นำ�​บทบัญญัติ​ใน​เรื่อง​กู้​ยืม​
เงิน​มา​ใช้​กับ​การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​ได้ จึง​ต้อง​ท�​
แชร์เ​ปียห​ วย​ไม่เ​ข้าล​ กั ษณะ​สญ
ำ บทบัญญัติ​ใน​เรื่อง​สัญญา​โดย​ทั่วไป​มา​ใช้​บังคับ เมื่อก​ าร​เล่น​
ั ญา​กย​ู้ มื เ​งิน จึงไ​ ม่น​ �​
ำ เรือ่ ง​การทำ�​หลักฐ​ าน​การ​กย​ู้ มื เ​งิน กรณีท​ ก​ี่ ย​ู้ มื เ​งินก​ ว่าส​ อง​
พัน​บาท​มา​ใช้​บังคับ​หมายความ​ว่า การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​แม้​มจี​ ำ�นวน​กว่า​ห้าส​ ิบ​บาท (ปัจจุบัน​สอง​พัน​บาท)
ไม่​ต้อง​ทำ�​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ก็​ฟ้อง​ร้อง​บังคับ​คดี​กัน​ได้ (ฎ.629/2486) หรือ​การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​ไม่​ต้อง​
ห้าม​ใน​การ​คิด​ดอกเบี้ย​เกิน​กว่า​ร้อย​ละ​สิบ​ห้าต​ ่อ​ปี (ฎ.764/2502, และ 1631-1634/2508) วินิจฉัยว​ ่า “การ​

เล่น​แชร์​เปีย​หวย ไม่​เป็นการ​ก​ยู้ ืม แม้​ไม่มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ก็​ฟ้อง​ร้อง​กัน​ได้ การ​ประมูล​ให้​ดอกเบี้ยก​ ัน​
ถือ​ไม่​ได้​ว่า เป็นการ​ให้​ดอกเบี้ย​ใน​การ​ก​ยู้ ืม​เป็น​ลักษณะ​การ​ประมูล​ว่า​ใคร​จะ​ให้​ประโยชน์ส​ ูง​กว่า​กัน​เท่านั้น
มส

มิได้​ก�ำ หนด​อัตรา​ให้​เรียก​ร้อง​กัน​ได้​แต่​อย่าง​ใด​จึง​ไม่​อยู​ใ่ น​บังคับ​แห่ง ปพพ. มาตรา 654”


อนึง่ เ​นือ่ งจาก​มก​ี าร​นยิ ม​เล่นแ​ ชร์เ​ป็นการ​แพร่ห​ ลาย​สง่ ผ​ ลก​ระ​ทบ​ตอ่ ร​ ะบบ​เศรษฐกิจโ​ดย​สว่ น​รวม จึง​
ได้​ม​กี าร​ออก พรบ.การ​เล่น​แชร์ พ.ศ. 2534 เพือ่ ​บรรเทา​ความ​เสีย​หาย​ทาง​เศรษฐกิจ​ เหตุผล​ใน​การ​ประกาศ​
ใช้ พรบ.ฉบับน​ ี้ คือ เนือ่ งจาก​ใน​ปจั จุบนั ไ​ ด้ม​ ผ​ี ป​ู้ ระกอบ​ธรุ กิจเ​ป็นน​ าย​วง​แชร์ห​ รือจ​ ดั ใ​ห้ม​ ก​ี าร​เล่นแ​ ชร์ก​ นั อ​ ย่าง​
กว้าง​ขวาง การ​ประกอบ​ธรุ กิจด​ งั ก​ ล่าว​นอกจาก​จะ​เป็นอ​ นั ตราย​ตอ่ ป​ ระชาชน​แล้วย​ งั ก​ ระทบ​ตอ่ ก​ าร​ระดม​เงิน​
ออม​ของ​สถาบัน​การ​เงิน​ที่ทาง​ราชการ​สนับสนุน​และ​รับ​ผิด​ชอบ​และ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ไป​ถึง​ระบบ​เศรษฐกิจ​โดย​
ส่วน​รวม​อีก​ด้วย นอกจาก​นี้​ยัง​ปรากฏ​ว่า​ผู้​ประกอบ​ธุรกิจ​ดัง​กล่าว​หลาย​ราย​ได้​พยายาม​ดำ�เนิน​การ​ให้​ใกล้​
เคียง​กับ​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​เงิน​ทุน ซึ่ง​มี​กฎหมาย​ควบคุม​อยู่​แล้ว ใน​การ​นี้​เห็น​สมควร​ห้าม​ประกอบ​ธุรกิจ​

ประเภท​นี้ ส่วน​การ​เล่น​แชร์​ของ​ประชาชน​ทั่วไป​ที่​มิได้​ดำ�เนิน​การ​เป็น​ธุรกิจ​นั้น​ยัง​ให้​กระทำ�​ต่อ​ไป​ได้ จึง​
จำ�เป็น​ต้อง​ตรา​พระ​ราช​บัญญัต​นิ ี้
พระ​ราช​บัญญัต​กิ าร​เล่น​แชร์ พ.ศ. 2534 ห้าม​ม​ใิ ห้​นิติบุคคล​หรือ​บุคคล​ธรรมดา​เป็น​นาย​แชร์ หรือ​
จัด​ให้​มี​การ​เล่น​แชร์​ตาม​มาตรา 5 ผู้​ใด​ฝ่าฝืน​ต้อง​ระวาง​โทษ​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​ดัง​กล่าว ซึ่ง​การ​เล่น​แชร์​
ดัง​กล่าว​ต้อง​เป็น​ไป​ใน​ลักษณะ​ของ​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​ตาม​มาตรา 6 คือ
สธ
“ห้าม​มิ​ให้​บุคคล​ธรรมดา​เป็น​นาย​วง​แชร์ หรือ​จัด​ให้​มี​การ​เล่น​แชร์​ที่​มี​ลักษณะ​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด
ดัง​ต่อ​ไป​นี้

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-49

(1) เป็น​นาย​วง​แชร์ หรือ​จัด​ให้​ม​กี าร​เล่น​แชร์​ม​จี ำ�นวน​วง​แชร์​รวม​กัน​มากกว่า​สาม​วง


(2) มี​จ�ำ นวน​สมาชิก​วง​แชร์​รวม​กัน​ทุก​วง​มากกว่า​สามสิบ​คน
(3) มี​ทุน​กอง​กลาง​ต่อ​หนึ่ง​งวด​รวม​กัน​ทุก​วง​เป็น​มูลค่า​มากกว่า​จ�ำ นวน​ท​กี่ ำ�หนด​ไว้​ใน​กฎ​กระทรวง 37
(4) นาย​วง​แชร์ห​ รือห​ รือผ​ จ​ู้ ดั ใ​ ห้ม​ ก​ี าร​เล่นแ​ ชร์น​ นั้ ไ​ ด้ร​ บั ป​ ระโยชน์ต​ อบแทน​อย่าง​อนื่ น​ อกจาก​สทิ ธิท​ จ​ี่ ะ​
ได้​รับ​ทุน​กอง​กลาง​เข้า​ร่วม​เล่น​แชร์​ใน​งวด​หนึ่ง​งวด​ใด​ได้​โดย​ไม่​ต้อง​เสียด​อก​เบี้ย”


เพือ่ ป​ ระโยชน์แ​ ห่งม​ าตรา​นี้ ให้ถ​ อื ว่าผ​ ท​ู้ ส​ี่ ญ
ั ญา​วา่ จ​ ะ​ใช้เ​งิน หรือท​ รัพย์สนิ อ​ นื่ ใ​ด​แทน​นาย​วง​แชร์ หรือ​
ผู​จ้ ัด​ให้​ม​กี าร​เล่น​เป็น​นาย​วง​แชร์ หรือ​ผ​จู้ ัดใ​ห้​มี​การ​เล่น​แชร์​ด้วย

มส
ดังน​ ั้น บุคคล​หรือ​นิติบุคคล​ใด​เป็น​นาย​วง​แชร์​หรือ​จัด​ให้​ม​กี าร​เล่น​แชร์​ตาม​ลักษณะ​ของ​มาตรา 6 มี​
ความ​ผดิ ต​ ามพ​ระ​ราช​บญ ั ญัตแ​ิ ละ​มโ​ี ทษ ตาม​ทบ​ี่ ญ ั ญัตไ​ิ ว้ใ​น​มาตรา 16 ทีว​่ า่ “นิตบิ คุ คล​ใด​ทฝ​ี่ า่ ฝืนม​ าตรา 5 ต้อง​
ระวาง​โทษ​ปรับต​ งั้ แต่ห​ นึง่ เ​ท่า หรือส​ าม​เท่าข​ องกอง​กลาง​แต่ละ​งวด​ของ​ทกุ ว​ ง​แชร์ แต่ต​ อ้ ง​ไม่ต​ าํ่ ก​ ว่าส​ อง​แสน​บาท
และ​ให้​ศาล​สั่ง​ให้​นิติบุคคล​นั้น​หยุด​ด�ำ เนิน​การ​เป็น​นาย​วง​แชร์” หรือ​มาตรา 17 บัญญัติ​ว่า “ผู้​ใด​ฝ่าฝืน​มาตรา 6
ต้อง​ระวาง​โทษจำ�​คุก​ไม่​เกิน​หก​เดือน หรือ​ปรับ​ไม่​เกิน​หนึ่ง​แสน​บาท หรือ​ทั้งจ​ ำ�​ทั้ง​ปรับ” เป็นต้น
ดังน​ นั้ ใน​ปจั จุบนั น​ ห​ี้ าก​บคุ คล​ธรรมดา หรือน​ ติ บิ คุ คล​ใด​จดั ใ​ห้ม​ ก​ี าร​เล่นแ​ ชร์ท​ ม​ี่ ล​ี กั ษณะ​ตาม​มาตรา
6 แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​การ​เล่น​แชร์ พ.ศ. 2534 มีค​ วาม​ผิด​ทาง​อาญา​และ​ต้อง​ได้​รับ​โทษ​ดัง​กล่าว อย่างไร​กด็​ ี​
กฎหมาย​มิได้​กำ�หนด​ว่าการ​เล่น​แชร์​ตก​เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด
อุทาหรณ์

ฎ.85/2543 จำ�เลย​เป็น​ผู้​ลง​ลายมือ​ชื่อ​สั่ง​จ่าย​เช็ค​พิพาท​และ​โจทก์​เป็น​ผู้ทรง​เช็ค​พิพาท แม้​เช็ค​
ดัง​กล่าว​โจทก์​จะ​ได้​มา​จาก​การ​เล่น​แชร์​ซึ่ง​ตาม พรบ. การ​เล่น​แชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ห้าม​มิ​ให้​บุคคล​
มส

ธรรมดา​เป็นน​ าย​วง​แชร์ หรือจ​ ดั ใ​ห้ม​ ก​ี าร​เล่นแ​ ชร์ท​ ม​ี่ ท​ี นุ ก​ อง​กลาง​ตอ่ ห​ นึง่ ง​ วด​รวม​ทงั้ ท​ กุ ว​ ง​เป็นม​ ลู ค่าม​ ากกว่า​
จำ�นวน​ทก​ี่ �ำ หนด​ไว้ใ​น​กฎ​กระทรวง ​แต่ใ​น​มาตรา 7 ก็บ​ ญ ั ญัตใ​ิ ห้ส​ ทิ ธิแ​ ก่ส​ มาชิกว​ ง​แชร์ท​ จ​ี่ ะ​ฟอ้ ง​คดีห​ รือใ​ช้ส​ ทิ ธิ​
เรียก​ร้อง​เอา​กับ​นาย​วง​แชร์​หรือ​ผู้​จัด​ให้​มี​การ​เล่น​แชร์​ได้​ย่อม​แสดง​ว่า​กฎหมาย​มิได้​มี​กำ�หนด​ว่าการ​เล่น​แชร์​
ดัง​กล่าว​ตก​เป็น​โมฆะ​เสีย​หมด การ​นี้​โจทก์​จำ�เลย​กับ​พวก​ซึ่ง​เป็น​ผู้​เข้า​ร่วม​เล่น​แชร์​มี​การ​ประมูล​ระหว่าง​
กัน​และ​กัน​และ​จำ�เลย​สั่ง​จ่าย​เช็ค​พิพาท​เพื่อ​ชำ�ระ​หนี้​ค่า​แชร์​แล้ว​เช็ค​มา​อยู่​ใน​ครอบ​ครอง​ของ​โจทก์​ซึ่ง​เป็น​
ลูกวง​แชร์​ด้วย​กัน​ย่อม​ไม่​เป็นการ​ฝ่าฝืน​มาตรา 6 นิติกรรม​การ​เล่น​แชร์​ของ​โจทก์​จำ�เลย​จึง​ไม่​ตก​เป็น​โมฆะ​
ตาม ปพพ.มาตรา 173 จำ�เลย​ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​เงิน​ตาม​เช็ค​ให้​โจทก์
อย่างไร​ก​ด็ ี ผู​เ้ ข้า​ร่วม​เล่น​แชร์​มี​การ​ประมูล​ระหว่าง​กัน​สามารถ​ฟ้อง​ร้อง​กัน​ได้

สธ
37 ให้ก
​ �ำ หนด​ทนุ ก​ อง​กลาง​หา้ ม​มใ​ิ ห้บ​ คุ คล​ธรรมดา​เป็นการ​วง​แชร์ห​ รือจ​ ดั ใ​ห้ม​ ก​ี าร​เล่นแ​ ชร์ต​ อ่ ห​ นึง่ ง​ วด​รวม​กนั ท​ กุ ว​ ง​เป็นม​ ลู ค่า​
มากกว่า​สาม​แสน​บาท

3-50 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

การ​กู้​ยืม​เงิน​ที่​เป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน
อนึ่ง เคย​มี​การ​ให้​กู้​ยืม​เงิน​จาก​บุคคล​เป็น​จำ�นวน​มาก โดย​ผู้​ยืม​ได้​นำ�​เงิน​ของ​ผู้​ให้​กู้​ราย​ใหม่​ไป​
หมุนเวียน​จา่ ย​เป็นด​ อกเบีย้ ใ​ห้แ​ ก่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ร​ู้ าย​เก่าท​ ต​ี่ น​กย​ู้ มื เ​งินไ​ ป​ซงึ่ เ​รียก​กนั ว​ า่ “แชร์” ใน​ยคุ แ​ ชร์แ​ ม่ช​ ม้อย หรือ​
แชร์แ​ ม่น​ กแก้ว หรือแ​ ชร์ล​ กู โซ่ต​ า่ งๆ ทีท​่ �​ ำ โดย​หลอก​ผเ​ู้ ข้าร​ ว่ ม​ลงทุนว​ า่ จ​ ะ​ได้ผ​ ล​ตอบแทน​เป็นจ​ �ำ นวน​สงู ครัง้ แ​ รก​


ก็ส​ ามารถ​จา่ ย​ผล​ตอบแทน​ได้ส​ งู จ​ ริง ต่อม​ า​กม​็ ผ​ี ห​ู้ ลง​เชือ่ ค​ �​ ำ หลอก​ลวง​เข้าม​ า​ลงทุน​ ผห​ู้ ลอก​ลวง​กน​็ �​ ำ เงินเ​หล่าน​ ​ี้
ไป​จา่ ย​ให้ผ​ ล​ู้ งทุนเ​ดิม หาก​มผ​ี ม​ู้ า​รว่ ม​ลงทุนม​ าก​เข้า ผูน​้ นั้ ก​ ไ​็ ม่ส​ ามารถ​จา่ ย​คา่ ต​ อบแทน​ให้ผ​ ร​ู้ ว่ ม​ลงทุนไ​ ด้ต​ าม​ท​ี่
โฆษณา​ไว้ ซึง่ แ​ ชร์ล​ กู โซ่ด​ งั ก​ ล่าว​เกิดข​ นึ้ ใ​น​สงั คม​ไทย​เป็นร​ ะยะๆ ใน​รปู แ​ บบ​ตา่ งๆ เช่น แชร์น​ �้ำ มัน แชร์ท​ องคำ�

มส
ปัจจุบนั (ปลาย​ปี 2556) มีแ​ ชร์ล​ อตเตอรี่ หลอก​ให้เ​ข้าล​ งทุน 38,000 บาท จะ​ได้ร​ บั เ​งินปันผล​เดือน​ละ 4,000 บาท
กำ�หนด​เวลา 20 เดือน หาก​ผห​ู้ ลง​เชือ่ ไ​ ป​หา​ลกู ค้าเ​พิม่ อ​ กี จ​ ะ​ได้เ​พิม่ ห​ วั ล​ ะ 1,000 บาท เท่ากับเ​ป็นการ​หลอก​ลวง​
ผู้​เข้า​ร่วม​ลงทุน ซึ่ง​การ​เล่น​แชร์​ลูกโซ่​ดัง​กล่าว​มิใช่​แชร์​ตาม​สัญญา​เล่น​แชร์​เปีย​หวย​ตาม​ที่​กล่าว​มา​แล้ว แต่​
เป็นการ​กู้​ยืม​เงิน​ที่​เป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน​ซึ่ง​ทำ�ให้​ประชาชน​ที่​นำ�​เงิน​ไป​ให้​ผู้​กู้​ยืม​เหล่า​นั้น​นำ�​เงิน​ไป​
หมุนเวียน​โดย​วิธี​ดัง​กล่าว​เดือด​ร้อน​เป็น​อัน​มาก​เนื่องจาก​มิได้​รับ​ต้น​เงิน​คืน เกิด​ความ​ปั่น​ป่วน​ใน​ระบบ​
เศรษฐกิจ​ของ​ประเทศ​เป็น​อย่าง​ยิ่ง จึง​ได้​ม​ีการ​ตรา​พระ​ราช​กำ�หนดการ​กยู้​ ืม​เงิน​ทเี่​ป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน
พ.ศ. 2527 ขึ้น เพื่อ​ลงโทษ​บุคคล​ท​ดี่ �ำ เนิน​การ​ดัง​กล่าว​ใน​ทาง​อาญา ซึ่ง​การ​กู้​ยืม​เงินต​ ามพระ​ราช​กำ�หนด​นี้​
ได้​วิเคราะห์​ศัพท์​ตาม​มาตรา 3 ดังนี้
“กู้​ยืม​เงิน” “หมายความ​ว่า​รับ​เงิน​ไม่​ว่าใ​ น​ลักษณะ​ของ​การ​รับ​ฝาก การ​กู้ การ​ยืม การ​รับ​เข้า​ร่วม​ลงทุน​

หรือ​ใน​ลักษณะ​อื่น​ใด โดย​ผู้​กู้​ยืม​เงิน​จ่าย​ผล​ประโยชน์​ตอบแทน​หรือ​ตกลง​ว่า​จะ​จ่าย​ผล​ประโยชน์​ตอบแทน​แก่​
ผูใ​้ ห้ก​ ย​ู้ มื เ​งิน ทัง้ นีไ​้ ม่ว​ า่ จ​ ะ​เป็นการ​รบั เ​พือ่ ต​ นเอง​หรือร​ บั ใ​ น​ฐานะ​ตวั แทน​หรือล​ กู จ้าง​ของ​ผก​ู้ ย​ู้ มื เ​งินห​ รือข​ อง​ผใ​ู้ ห้​
มส

กู​ย้ ืม​เงิน​หรือ​ใน​ฐานะ​อื่น​ใด และ​ไม่​ว่าการ​รับ​หรือ​จ่าย​ต้น​เงินห​ รือ​ผล​ประโยชน์​ตอบแทน​นั้น จะ​กระทำ�​อำ�พราง​


ด้วย​วิธี​การ​อย่าง​ใด ๆ”
ดัง​นั้น การก​ระ​ทำ�​ใด​ที่​เป็นการ​กู้​ยืม​เงิน​ใน​พระ​ราช​กำ�​หนดฯ จึง​ไม่​เหมือน​กับ​การ​กู้​ยืม​เงิน​ตาม​
ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ที่​ได้​กล่าว​มา​แล้ว นอกจาก​นั้น​ผู้​กู้​ยืม​เงิน​ที่​จะ​มี​ความ​ผิด​ตามพ​ระ​ราช​-
กำ�​หนดฯ ต้อง​ม​กี ารก​ระ​ท�​ ำ ใน​ลักษณะ​ท​กี่ ล่าว​ไว้ใ​น​มาตรา 4 แห่ง​พระ​ราช​กำ�​หนดฯ ดังนี้ “ผู้​ใด โฆษณา​หรือ​
ประกาศ​ให้​ปรากฏ​แก่​ประชาชน​หรือ​กระทำ�​ด้วย​ประการ​ใด ๆ ให้​ปรากฏ​แก่บ​ ุคคล​ตั้งแต่ส​ ิบ​คน​ขึ้น​ไป​ว่า ใน​การ​
กู้​ยืม​เงิน​ ตน​หรือ​บุคคล​ใด​จะ​จ่าย​ผล​ประโยชน์​ตอบแทน​ให้​สูง​กว่า​อัตรา​ดอกเบี้ย​สูงสุด​ที่​สถาบัน​การ​เงิน​ตาม​ ม
กฎหมาย​วา่ ด​ ว้ ย​ดอกเบีย้ เ​งินใ​ ห้ก​ ย​ู้ มื ข​ อง​สถาบันก​ าร​เงินจ​ ะ​พงึ จ​ า่ ย​ได้โ​ ดยทีต​่ น​รห​ู้ รือค​ วร​รอ​ู้ ยูแ​่ ล้วว​ า่ ตน​หรือบ​ คุ คล​
นัน้ จ​ ะ​น�​ำ เงินจ​ าก​ผใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื เ​งินร​ าย​นนั้ ห​ รือร​ าย​อนื่ ม​ า​จา่ ย​หมุนเวียน​ให้แ​ ก่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื เ​งินห​ รือโ​ ดยทีต​่ น​รห​ู้ รือค​ วร​รอ​ู้ ยู​่
แล้ว​ว่า ตน​หรือ​บุคคล​นั้น​ไม่​สามารถ​ประกอบ​กิจการ​ใดๆ โดย​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย​ทจี่​ ะ​ให้​ผล​ประโยชน์​ตอบแทน​
พอ​เพียง​ที่​จะ​นำ�​มา​จ่าย​ใน​อัตรา​นั้น​ได้​และ​ใน​การ​นั้น​เป็น​เหตุ​ให้​ตน​หรือ​บุคคลอื่​น​ใด​ได้​กู้​ยืม​เงิน​ไป ผู้​นั้น​กระทำ�​
ความ​ผิด​ฐาน​ก​ยู้ ืม​เงิน​ท​เี่ ป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน”
นอกจาก​นั้น พระ​ราช​ก�​ ำ หนดฯ ได้​ก�ำ หนด​โทษ​บุคคล​ทกี่​ ระทำ�​การ​ตาม​มาตรา 5 ให้​ระวาง​โทษ​เช่น​
สธ
เดียว​กับ​ผ​กู้ ระทำ�​ความ​ผิด​ฐาน​ก​ยู้ ืม​เงิน​ท​เี่ ป็นการ​ฉ้อโกง​ประชาชน​ตาม​มาตรา 4 ด้วย

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-51

กิจกรรม 3.2.3
1. ให้​นักศึกษา​อธิบาย​ว่า การ​เล่น​แชร์​เปีย​หวย เป็น​สัญญา​ประเภท​ใด
2. การ​ประมูลด​ อกเบีย้ ใ​น​การ​เล่นแ​ ชร์เ​ปียห​ วย ประมูลไ​ ด้ส​ งู สุดเ​กินก​ ว่าอ​ ตั รา​รอ้ ย​ละ​สบิ ห​ า้ ต​ อ่ ป​ ไ​ี ด้​
หรือ​ไม่​เพราะ​เหตุ​ใด


แนว​ตอบ​กิจกรรม 3.2.3

มส
1. การ​เล่นแ​ ชร์เ​ปียห​ วย ไม่ใช่ส​ ญ ั ญา​กย​ู้ มื เ​งิน หรือส​ ญั ญา​ค�​้ำ ประกันห​ รือส​ ญ
ั ญา​ตวั แทน​เป็นส​ ญ
ธรรมดา​ชนิดห​ นึง่ ซึง่ ฟ​ อ้ ง​รอ้ ง​บงั คับค​ ดีก​ นั ไ​ ด้ แม้ไ​ ม่มห​ี ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือ (ฎ.1631-1634/2508, 284/2516,
2553/2518)
2. การ​ประมูลด​ อกเบีย้ ใ​น​การ​เล่นแ​ ชร์เ​ปียห​ วย​ประมูลไ​ ด้เ​กินร​ อ้ ย​ละ​สบิ ห​ า้ ต​ อ่ ป​ เ​ี พราะ​มใิ ช่ส​ ญ
ยืม​เงิน​ไม่​ต้อง​ห้าม​ ตาม ปพพ. มาตรา 654 และ​ พรบ. ห้าม​เรียก​ดอกเบี้ยเ​กิน​อัตรา พ.ศ. 2475
ั ญา​

ั ญา​ก​ู้

มส


สธ

3-52 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ตอน​ที่ 3.3
ดอกเบี้ย
โปรด​อ่าน​หัว​เรื่อง แนวคิด และ​วัตถุประสงค์​ของ​ตอน​ที่ 3.3 แล้ว​จึง​ศึกษา​ราย​ละเอียด​ต่อ​ไป


หัว​เรื่อง

แนวคิด
มส
3.3.1 ความ​หมาย​ของ​ดอกเบี้ย​และ​การ​คิด​อัตรา​ดอกเบี้ย
3.3.2 ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น

1. ดอกเบี้ย​เป็น​ผล​ตอบแทน​จาก​การ​ให้​กู้​ยืม​เงิน
2. การ​คิด​ดอกเบี้ย​คิด​ได้​สูงสุด​ไม่​เกิน​อัตรา​ที่​กฎหมาย​ก�ำ หนด
3. การ​คดิ อ​ ตั รา​ดอกเบีย้ ข​ อง​สถาบันก​ าร​เงินน​ นั้ สามารถ​คดิ ไ​ ด้ต​ าม​ทก​ี่ �ำ หนด​ไว้ใ​น​กฎหมาย​
พิเศษ​ซึ่ง​อาจ​คิด​ได้​ใน​อัตรา​ท​สี่ ูง​กว่า​ที่​กำ�หนด​ไว้​ใน​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์
4. ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​เป็นการ​คิด​ดอกเบี้ย​จาก​ดอกเบี้ย​ที่​ค้าง​ชำ�ระ แล้ว​นำ�​ไป​ทบ​กับ​ต้น​เงิน​

เป็นต้น​เงิน​ใหม่​ซึ่ง​ตาม​ปกติ​กฎหมาย​ห้าม​มิ​ให้​กระทำ�

วัตถุประสงค์
มส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 3.3 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ


1. อธิบาย​อัตรา​ดอกเบี้ย​สูงสุด​ท​กี่ ฎหมาย​ก�ำ หนด​ได้
2. อธิบาย​เหตุผล​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ของ​สถาบัน​การ​เงินได้
3. วินิจฉัย​ได้​ว่า​กรณี​ใด​ที่​กฎหมาย​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้


สธ

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-53

เรื่อง​ที่ 3.3.1
ความ​หมาย​ของ​ดอกเบี้ย​และ​การ​คิด​อัตรา​ดอกเบี้ย


ความ​หมาย​ของ​ดอกเบี้ย
พจนานุกรม​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้​ความ​หมาย​คำ�​ว่าด​ อกเบี้ย​ว่า “ค่า​ตอบแทน​ที่​บุคคล​

มส
คน​หนึ่ง​ต้อง​ใช้​ให้​แก่​บุคคล​อีก​คน​หนึ่ง​เพื่อ​การ​ที่​ได้​ใช้​เงิน​ของ​บุคคล​นั้น หรือ​เพื่อ​ทดแทน​การ​ไม่​ชำ�ระ​หนี้​หรือ​
ชำ�ระ​หนี้​ไม่​ถูก​ต้อง”
เดิมป​ ระเทศไทย​ใช้เ​บีย้ 38 เป็นอ​ ปุ กรณ์​ส�ำ หรับ​ใช้จ​ า่ ย​สงิ่ ของ ดอกเบีย้ ​จงึ เ​ป็นด​ อก​ทง​ี่ อกเงย​จาก​เงิน

ความ​หมาย​ของ​ดอกเบี้ย​ใน​ทางการ​เงิน
ใน​ทางการ​เงิน ดอกเบี้ย หมาย​ถึง จำ�นวน​เงิน​ที่​ผู้​ก​ตู้ ้อง​จ่าย​ชำ�ระ​แก่ผ​ ู้ใ​ห้​ก​เู้ นื่องจาก​ได้​น�​
สิ่งของ​มี​ค่า​อื่น​ของ​ผู้​ให้​กู้​ไป​ใช้​ประโยชน์ โดย​สัญญา​ว่า​จะ​ชำ�ระ​คืน​เต็ม​มูลค่า​ใน​วัน​กำ�หนด​ใน​อนาคต โดย​
ทั่วไป​ดอกเบี้ย​คิด​เป็น​ร้อย​ละ​ของ​ต้น​เงิน เรียก​ว่า “อัตรา​ดอกเบี้ย”39
ำ เงิน​หรือ​

ความ​หมาย​ของ​ดอกเบี้ย​ใน​วิชา​เศรษฐศาสตร์

ใน​วชิ า​เศรษฐศาสตร์ ดอกเบีย้ ​เป็นค​ า่ ต​ อบแทน​ปจั จัยก​ าร​ผลิตช​ นิดห​ นึง่ คือ เป็นค​ า่ ต​ อบแทน​ปจั จัย​
การผลิตป​ ระเภท​ทนุ ทฤษฎีด​ อกเบีย้ ซึง่ ม​ อ​ี ยูห​่ ลาย​ทฤษฎีไ​ ด้อ​ ธิบาย​ความ​หมาย​ของ​ดอกเบีย้ ต​ า่ งๆ กันด​ งั นี้
มส

เช่น​ อธิบาย​วา่ ด​ อกเบีย้ ค​ อื ร​ าคา​ทผ​ี่ ย​ู้ มื จ​ า่ ย​แก่ผ​ ใ​ู้ ห้ย​ มื เ​ป็นค​ า่ ป​ ระโยชน์ข​ อง​เงิน หรือด​ อกเบีย้ คือ รางวัลท​ จ​ี่ า่ ย​
ให้แ​ ก่ผ​ ย​ู้ มื เ​สียส​ ละ​ความ​คล่อง​ตวั ข​ อง​เงินอ​ อม40 (คือย​ อม​ให้ผ​ อ​ู้ นื่ น​ �​ ำ เงินข​ อง​ตน​ไป​ใช้ห​ มุนเวียน​ใน​กจิ การ​เพือ่ ​
ให้​ผยู้​ ืมม​ คี​ วาม​คล่อง​ตัว​ใน​ธุรกิจ​มาก​ขึ้น รางวัลข​ อง​การ​ทยี่​ อม​เช่นน​ ั้น คือ ดอกเบี้ย)

ความ​หมาย​ของ​ดอกเบี้ย​ใน​ทาง​กฎหมาย
ตาม​ความ​หมาย​ใน​ทาง​กฎหมาย ดอกเบีย้ ถ​ อื เ​ป็นด​ อก​ผล​นติ นิ ยั ดังท​ บ​ี่ ญ ั ญัตไ​ิ ว้ใ​น​ประมวล​กฎหมาย​

แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์ มาตรา 148 วรรค 3 ความ​ว่า “ดอก​ผล​นิตินัยห​ มายความ​ว่าท​ รัพย์ห​ รือ​ประโยชน์อ​ ื่น​ที่​ได้เ​ป็น​
ครัง้ ค​ ราว​แก่เ​จ้าท​ รัพย์จ​ าก​ผอ​ู้ นื่ ท​ ไ​ี่ ด้ใ​ ช้ท​ รัพย์น​ นั้ และ​สามารถ​ค�ำ นวณ​และ​ถอื เ​อา​ได้เ​ป็นร​ าย​วนั หรือต​ าม​ระยะ​เวลา​
ทีก​่ �ำ หนด​ไว้” จาก​ความ​หมาย​ดงั ก​ ล่าว​ขา้ ง​ตน้ ด​ อกเบีย้ เ​ป็นด​ อก​ผล​ทก​ี่ �ำ หนด​โดย​กฎหมาย​ทต​ี่ ก​ได้แก่เ​จ้าท​ รัพย์​
จาก​ผู้​อื่น เพื่อ​ท​ไี่ ด้​ใช้​ทรัพย์​นั้น คือ จาก​การ​ท​ผี่ ู้​ยืม​เงิน​ได้​ใช้​ประโยชน์​จาก​เงินน​ ั้น ดอกเบี้ย​ย่อม​คำ�นวณ​และ​
ถือ​เอา​ได้​ตาม​ราย​วัน​หรือ​ตาม​ระยะ​เวลา​ที่​กำ�หนด​ไว้
สธ
38เบี้ย คือ หอย​จำ�พวก​หลัง​นูน ท้อง​เป็น​ร่องๆ เปลือก​แข็ง โบราณ​ใช้​เป็น​อุปกรณ์​ส�ำ หรับ​ใช้​จ่าย​สิ่งของ มี​อัตรา 100 เบี้ย
เป็น 1 อัฐ ไชย​ณัฏ ธีร​พัฒนะ “ดอกเบี้ย” บท​บัณฑิตย์ เล่ม​ที่ 32 ตอน​ที่ 2 พ.ศ. 2518 น. 227.
39 สุ​รักษ์ บุนนาค และ​วณี จง​ศิริวัฒน์ เรื่อง​เดียวกัน น. 59.
40 เรื่อง​เดียวกัน

3-54 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

การ​กู้​ยืม​เงิน​กัน​นั้น​จะ​มี​ข้อ​ตกลง​ไม่​คิด​ดอกเบี้ย​หรือค​ ิด​ดอกเบี้ย​ก็ได้
การ​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​ทาง​กฎหมาย มี 2 กรณี คือ
1. การ​คิด​ดอกเบี้ย​กรณี​ท​คี่ ู่​สัญญา​มิได้​กำ�หนด
2. การ​คิด​ดอกเบี้ย​กรณี​ท​คี่ ู่​สัญญา​ตกลง​กัน​ก�ำ หนด
1. การ​คิด​ดอกเบี้ย​กรณี​ที่​คู่​สัญญา​มิได้​กำ�หนด กรณี​ที่​ไม่ไ​ ด้​กำ�หนด​เรื่อง​อัตรา​ดอกเบี้ย​ไว้​ใน​สัญญา​


กู้​ยืม กรณี​นี้​ผู้​ให้​กู้​ยืม​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​จาก​ผู้​กู้​ยืม​เป็น​จำ�นวน​เท่าใด ซึ่ง​ใน​เรื่อง​นี้​บทบัญญัติ​ใน​เรื่อง​การ​กู้​ยืม​
เงิน​มิได้​กำ�หนด​ไว้ ดัง​นั้น จึง​ต้อง​น�​ ำ บทบัญญัติ​ทั่วไป​ใน​เรื่อง​การ​เสียด​อก​เบี้ย​ให้​แก่​กัน กรณี​ดอกเบี้ย​มิได้​

มส
กำ�หนด​ไว้​โดย​นิติกรรม​หรือ​บท​กฎหมาย​ให้​ชัด​แจ้ง จึงน​ ำ�​บท​ทั่วไป​แห่ง ปพพ. ใช้​บังคับใ​น​กรณี​นั้น ดังน​ ั้น
ผู​ใ้ ห้​ก​ยู้ ืม​ย่อม​คิด​ดอกเบี้ย​จาก​ผ​กู้ ​ยู้ ืม​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ปี​ตาม ปพพ. มาตรา 7 41
นอกจาก​นนั้ ใ​น​กรณีค​ ส​ู่ ญ ั ญา​ตกลง​กนั ใ​ห้เ​รียก​ดอกเบีย้ ไ​ ด้ต​ าม​กฎหมาย ซึง่ ก​ รณีน​ ผ​ี้ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื ส​ ามารถ​
เรียก​ดอกเบี้ย​จาก​ผู้​ก​ยู้ ืม​ได้​ใน​อัตรา​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ป​เี ช่น​กัน
อุทาหรณ์
ฎ. 497/2506 สัญญา​กู้​มี​ข้อ​สัญญา​ว่า​ผู้​กู้​ยอม​ให้ด​ อกเบี้ยต​ าม​จำ�นวน​เงิน​ที่​กู้​แก่​ผู้​ให้ก​ ู้​ตาม​กฎหมาย​
ย่อม​ถือว่า​มี​อัตรา​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ปี เพราะ​กรณี​ต้อง​ด้วย ปพพ.มาตรา 7
ฎ. 235/2507 ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า “ปัญหา​เบื้อง​ต้น​มี​ว่า​ใน​การ​กู้​ราย​นี้​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​กัน​ใน​อัตรา​
เท่าใด​ใน​สัญญา​กู้​หมาย จ.1 ระบุ​ว่า​ให้​คิด​ดอกเบี้ยก​ ัน​ตาม​กฎหมาย แต่​มิได้​กำ�หนด​อัตรา​ว่า​เท่าใด​ชัดแ​ จ้ง
ตาม ปพพ. มาตรา 7 บัญญัต​วิ ่า “ถ้า​จะ​ต้อง​เสียด​อก​เบี้ย​แก่​กัน​และ​มิได้​ก�ำ หนด​อัตรา​ดอกเบี้ยไว้​โดย​นิติกรรม

หรือ​โดย​บท​กฎหมาย​อัน​ชัด​แจ้ง​ไซร้ ให้​ใช้​อัตรา​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ปี”
ฎ. 3708/2528 สญ ั ญา​กร​ู้ ะบุเ​รือ่ ง​ดอกเบีย้ ว​ า่ “ยอม​ให้ด​ อกเบีย้ ต​ าม​กฎหมาย​อย่าง​สงู ” เป็นข​ อ้ ความ​
มส

ที่​มิได้​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​โดย​ชัด​แจ้ง​แน่นอน​ว่า​เป็น​อัตรา​อย่าง​สูง​เท่าไร ต้อง​ตีความ​ไป​ใน​ทาง​ที่​เป็น​
คุณ​แก่​ผ​กู้ ู้ ผู้​ให้​กู้​มี​สิทธิ​เรียก​ดอกเบี้ย​ได้​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ปตี​ าม ปพพ. มาตรา 7
กรณี​ที่​ผู้​กู้​ตกลง​กับ​ผู้​ให้​กู้​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ได้​ใน​อัตรา​สูงสุด แต่​ไม่​ได้​ระบุ​อัตรา​ไว้ ผู้​ให้​กู้​สามารถ​คิด​
ดอกเบี้ย​จาก​ผ​กู้ ู้​ได้​ไม่​เกิน​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ป​เี ช่น​เดีว​ยกัน
อนึง่ แม้ใ​น​หนังสือส​ ญ ั ญา​กย​ู้ มื ร​ ะบุข​ อ้ ความ​วา่ ไ​ ม่มด​ี อกเบีย้ แ​ ต่ข​ อ้ ความ​ตอน​ตน้ ร​ ะบุไ​ ว้ว​ า่ ผ​ ก​ู้ ย​ู้ อม​ให้​
ดอกเบี้ย​ตาม​จำ�นวน​ท​กี่ ู้​แก่​ผู้​ให้​กู้ ถือ​ได้​ว่าม​ ี​การ​ก�ำ หนด​ดอกเบี้ย​กัน​ไว้
อุทาหรณ์

นอกจาก​นี้ ป. ผูก​้ ย​ู้ งั ไ​ ด้บ​ นั ทึกร​ บั รอง​ไว้ต​ อน​ทา้ ย​สญ


คิดด​ อกเบีย้ น​ บั จ​ าก​วนั ค​ รบ​สญ

ฎ. 3994/2540 แม้​ใน​หนังสือ​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ข้อ 2 จะ​ระบุ​ข้อความ​ไว้​ว่า​ไม่มดี​ อกเบี้ย แต่​ข้อความ​
ตอน​ตน้ ร​ ะบุไ​ ว้ว​ า่ ผ​ ก​ู้ ย​ู้ อม​ให้ด​ อกเบีย้ ต​ าม​จ�ำ นวน​เงินท​ ก​ี่ แ​ู้ ก่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ช​ู้ งั่ ล​ ะ​หนึง่ บ​ าท​ตอ่ เ​ดือน​นบั แ​ ต่ว​ นั ท​ ท​ี่ �​
ั ญา​กย​ู้ มื ว​ า่ ถ้าห​ าก​ไม่ช​ �ำ ระ​หนีต​้ าม​สญ ั ญา​ใน 2 ปี ยินยอม​
ั ญา แสดง​ให้เ​ห็นว​ า่ ป. ยอมรับผ​ ดิ ช​ �ำ ระ​ดอกเบีย้ ใ​ห้แ​ ก่โ​จทก์ใ​น​อตั รา​ชงั่ ล​ ะ​หนึง่ ​
ำ สญ
ั ญา

บาท​ต่อ​เดือน (ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี) นับ​แต่ว​ ัน​ครบ​ก�ำ หนด​ช�ำ ระ​หนี​ต้ าม​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ดัง​กล่าว หา​ใช่​คสู่​ ัญญา​
ไม่​ได้​ตกลง​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​ใน​อัน​ท​จี่ ะ​ใช้อ​ ัตรา​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ปี ตาม ปพพ. มาตรา 7 ไม่
สธ
41ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ มาตรา 7 (แก้ไข​เพิ่มเ​ติม พ.ศ. 2535) “ถ้า​จะ​ต้อง​เสียด​อก​เบี้ยแ​ ก่ก​ ัน​และ​ดอกเบี้ย​
นั้น​มิได้​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​ไว้โ​ ดย​นิติกรรม หรือบ​ ท​กฎหมาย​อัน​ชัด​แจ้ง​ให้​ใช้อ​ ัตรา​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อป​ ี”

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-55

นอกจาก​นี้​ควร​สังเกต​ว่า มี​กรณี​ที่​กฎหมาย​บัญญัติ​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​เป็น​ค่า​เสีย​หาย โดย​คู่​กรณี​มิได้​


ตกลง​กัน​ไว้​แต่​อย่าง​ใด เช่น หนีเ้​งิน กฎหมาย​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​ระหว่าง​เวลา​ผิดนัด​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อป​ ี ตาม
ปพพ. มาตรา 224 (ฎ.2654/2546)
2. การ​คดิ ด​ อกเบีย้ ก​ รณีท​ ค​ี่ ส​ู่ ญ
ั ญา​ตกลง​กนั ก​ �ำ หนด ดอกเบีย้ ก​ รณีท​ ค​ี่ ส​ู่ ญ ั ญา​ตกลง​กนั ก​ �ำ หนด ได้แก่
ดอกเบี้ย​ท​คี่ ู่​สัญญา​ตกลง​กัน​ไว้​ใน​สัญญา​ให้​คิด​เป็น​ค่า​ป่วย​การ​ของ​เงิน


กฎหมาย​ได้ก​ �ำ หนด​อตั รา​ดอกเบีย้ ส​ งู สุดซ​ งึ่ ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื ส​ ามารถ​คดิ จ​ าก​ผก​ู้ ไ​ู้ ด้ใ​น มาตรา 654 ซึง่ บ​ ญ ั ญัต​ิ
ว่า “ท่าน​ห้าม​มิ​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​เกิน​ร้อย​ละ​สิบห​ ้า​ต่อ​ปี ถ้าใ​ น​สัญญา​กำ�หนด​ดอกเบี้ย​เกินก​ ว่าน​ ั้น​ก็​ให้ล​ ด​ลง​มา​เป็น​

มส
ร้อย​ละ​สบิ ห​ า้ ต​ อ่ ป​ ”ี ดอกเบีย้ ก​ รณีน​ ี้ คูส​่ ญ

เกิน​กว่า​นั้น ดอกเบี้ย​เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด
อุทาหรณ์
ั ญา​ตกลง​กนั ใ​ห้ผ​ ก​ู้ ย​ู้ มื ช​ �ำ ระ​แก่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื เ​ป็นร​ าย​เดือน โดย​ผใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื
คิด​ได้​สูงสุด​ใน​อัตรา​ไม่​เกิน​ร้อย​ละ​สิบ​ห้า​ต่อ​ปี (ร้อย​ละ​หนึ่ง​บาท​ยี่สิบ​ห้า​สตางค์​ต่อ​เดือน) หาก​ตกลง​กัน​

ฎ.2032/2522 เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา ดอกเบี้ย​เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด เมื่อ​ผิดนัด​เรียก​ดอกเบี้ย​ตั้งแต่​


วัน​ผิดนัด​ร้อย​ละ 7.5 ต่อ​ปี เรียก​ตาม​มาตรา 224 ไม่ใช่เ​รียก​ตาม​สัญญา เพราะ​สัญญา​เป็น​โมฆะ​เรียก​ไม่ไ​ ด้
กฎหมาย​เห็น​ว่า​อัตรา​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ป​พี อ​เหมาะ​สม​แก่ก​ าร​ที่​ผกู้​ ู้​นำ�​เงิน​นั้น​ไป​ใช้​ประโยชน์
อัตรา​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ​สิบ​ห้า​ต่อ​ปี​เข้าใจ​ว่า​นำ�​มา​จาก​กฎหมาย​ตรา​สาม​ดวง​ใน​พระ​ไอ​ยการ ลักษณะ​กู้​หนี้​ให้​
คิด​อัตรา​ดอกเบี้ย​เงิน​ให้​ก​ยู้ ืม​ชั่ง​ละ​หนึ่ง​บาท (เงิน​ต้น 80 บาท​ให้ค​ ิด​ดอกเบี้ย 1 บาท​ต่อเ​ดือน เท่ากับร​ ้อย​ละ

15 ต่อ​ป​ีพอดี) และเนื่องจาก​มี​พระ​ราช​บัญญัติ​ห้าม​เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​พุทธศักราช 2475 กำ�หนด​บท​
ลงโทษ​แก่​ผู้​ฝ่าฝืน​ข้อ​กำ�หนด​ดัง​กล่าว
มส

ความ​มุ่ง​หมาย​ใน​การ​ออก​พระ​ราช​บัญญัติ​ห้าม​เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา ได้​ปรากฏ​ใน​คำ�แถลง​การณ์​
ของ​คณะ​กรรมการ​ราษฎร ดังนี้ “เหตุผล​ที่​จูงใจ​รัฐบาล​ออก​กฎหมาย​ฉบับ​นี้ คือ หวัง​จะ​บำ�รุง​การ​กู้​ยืม​ให้​เป็น​
ไป​ทาง​ที่​ควร การ​กู้​ยืม​นั้น​โดย​ปกติ​ผู้​กู้​ต้องการ​ทุน เมื่อ​ได้​ทุน​แล้วไป​ประกอบ​กิจการ​อัน​ใด​อัน​หนึ่ง​มี​ผลง​อก​งาม​
ขึ้น​ก็​แบ่ง​ผล​นั้น​ใช้​เป็น​ดอกเบี้ย​บ้าง​หรือ​รวบรวม​ไว้​เพื่อ​ใช้​หนี้​ทุน​ต่อ​ไป ดังนี้​ฝ่าย​เจ้า​หนี้​ก็ได้​ดอกเบี้ย​เป็น​ค่า​
ป่วย​การ และ​มี​โอกาส​ที่​จะ​ได้​รับ​ใช้​ทุน​คืน​ใน​ภาย​หลัง แต่​ถ้า​ดอกเบี้ย​เรียก​แรง​เกิน​ไป​แล้ว ลูก​หนี้​ได้​ผล​ไม่​พอที่​
จะ​ใช้​ดอกเบี้ย​ได้ ย่อม​ต้อง​ย่อยยับ​ไป​ด้วย​กัน​ทั้ง 2 ฝ่าย ด้วย​เหตุ​นี้​ประเทศ​ทั้ง​หลาย​และ​ประเทศ​ของ​เรา​เอง​จึง​มี​

กฎหมาย​มา​แต่โ​ บราณกาล​ก�ำ หนด​อตั รา​ดอกเบีย้ อ​ ย่าง​สงู ไ​ ว้ กล่าว​คอื ชัง่ ล​ ะ 1 บาท​ตอ่ เ​ดือน (หรือร​ อ้ ย​ละ 15 ต่อป​ )ี ​
อัน​ที่​จริง​อัตรา​นี้​เป็น​อัตรา​ที่​ค่อน​ข้าง​สูง​อยู่​แล้ว แต่​แม้​กระนั้น​ยัง​ปรากฏ​ทุก​วัน​นี้​มี​การ​ให้​กู้​ยืม​กัน​โดย​อัตรา​สูง​
กว่าน​ นั้ และ​เจ้าห​ นีก​้ บั ล​ กู ห​ นีต​้ า่ ง​รว่ มใจ​รว่ ม​มอื ก​ นั ห​ ลีกเ​ลีย่ ง​กฎหมาย เพราะ​ฝา่ ย​หนึง่ อ​ ยาก​ได้ อีกฝ​ า่ ย​หนึง่ ค​ วาม​
จำ�เป็น​บังคับ ใน​ที่สุด​ก็ได้​ผล​อัน​ไม่​พึง​ปรารถนา​ดัง​กล่าว ฯลฯ”
เหตุผล​ของ​การ​ที่​กฎหมาย​ห้าม​คิด​อัตรา​ดอกเบี้ย​เกิน​ร้อย​ละ​สิบ​ห้า​ต่อ​ปี​ก็​เนื่องจาก​ไม่​ประสงค์​ให้​
ผู​ใ้ ห้​ก​ยู้ ืม​เงิน​เอา​เปรียบ​ผู้​กู้ ดัง​นั้น ผล​ของ​การ​ฝ่าฝืน​กฎหมาย​ตาม​มาตรา​นี้ ผู้​ให้​ก​จู้ ะ​มี​ความ​ผิด​ตาม พรบ.
ห้าม​เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา พ.ศ. 2475 ซึ่ง​เป็น​กฎหมาย​อาญา ผู้​ฝ่าฝืน​จะ​ถูกล​ งโทษ​ตาม​ความ​ใน​มาตรา 3
สธ
ของ พรบ. ดัง​กล่าว​และ​ดอกเบี้ย​ท​คี่ ิด​เกิน​อัตราตก​เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด

3-56 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 478/2488 (ป.ใหญ่) การ​กู้​ยืม​โดย​เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​นั้น ดอกเบี้ย​ตก​เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด
แต่​ต้น​เงิน​ไม่​เป็น​โมฆะ ดัง​นั้น​ผ​ใู้ ห้​ก​จู้ ึง​ฟ้อง​เรียก​ได้​เฉพาะ​ต้น​เงิน
ฎ. 533/2532 จำ�เลย​กู้​ยืม​เงิน​โจทก์ จำ�เลย​ตกลง​ให้​มี​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​อัตรา​เกิน​กว่า​ที่​กฎหมาย​
กำ�หนด ดอกเบี้ย​สำ�หรับ​ต้น​เงิน​กจู้​ ึง​ตก​เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด​จำ�เลย​ไม่ม​สี ิทธิน​ ำ�​ดอกเบี้ย​ทชี่​ ำ�ระ​ให้​โจทก์​ไป​แล้ว​


ซึ่ง​ตก​เป็น​โมฆะ​นั้น​ไป​หัก​กับ​ต้น​เงิน​ให้​ลด​น้อย​ลง​ไป​ได้​ตาม ปพพ. มาตรา 407 เมื่อ​จำ�เลย​ยังไ​ ม่​ได้ช​ �ำ ระ​ต้น​
เงิน จำ�เลย​จึง​ยัง​ต้อง​รับ​ผิด​ช�ำ ระ​ต้น​เงิน​ให้​แก่​โจทก์

มส
ฎ. 966/2534 สัญญา​กู้​ระบุ​ให้​ตกลง​คิด​ดอกเบี้ย​กัน​ใน​อัตรา​ร้อย​ละ 1.5 ต่อ​เดือน​อัตรา​ดัง​กล่าว​
เกิน​กว่า​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี ตาม ปพพ. มาตรา 654 และ​ต้อง​ห้าม​ตาม พรบ.ห้าม​เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา พ.ศ.
2475 ดอกเบี้ย​จึง​ตก​เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด
การ​คิด​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​นั้น​เฉพาะ​ดอกเบี้ย​เท่านั้น​เป็น​โมฆะ ส่วน​เงิน​ต้น​เรียก​คืน​ได้ และ​เรียก​
ดอกเบี้ย​ใน​ระหว่าง​ผิดนัด​ได้
ฎ. 1238/25025 “ดอกเบี้ย​ตาม​สัญญา​ก​เู้ ป็น​โมฆะ​เพราะ​เกิน​อัตรา​ที่​กฎหมาย​ก�ำ หนด​ไว้ เจ้า​หนี้​ไม่ม​ี
สิทธิ​ได้​รับ​ดอกเบี้ย​ตั้งแต่​วัน​ทำ�​สัญญา​กู้ และ​ไม่​ปรากฏ​ว่า​ก่อน​ฟ้อง​ได้​มี​การ​ผิดนัด​ลูก​หนี้​จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​
ดอกเบี้ย​ตั้งแต่​วัน​ฟ้อง​เป็นต้น​ไป”
ฎ. 2032/2522 จำ�เลย​กู้​เงิน​โจทก์ โดย​โจทก์​จำ�เลย​ตกลง​ให้​มี​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​อัตรา​เกิน​กว่า​ที่​

กฎหมาย​กำ�หนด ดอกเบี้ย​สำ�หรับ​ต้น​เงิน​กู้​จึง​ตก​เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด จำ�เลย​ไม่มี​สิทธิ​นำ�​ดอกเบี้ย​ที่​ชำ�ระ​เงิน​
ให้​โจทก์​ไป​แล้ว ซึ่ง​ตก​เป็น​โมฆะ​นั้น​ไป​หัก​กับ​ต้น​เงิน​ให้​ลด​น้อย​ลง​ไป​ได้​ ตาม ปพพ. มาตรา 407 เมื่อ​จำ�เลย​
มส

ยัง​ไม่​ได้​ชำ�ระ​ต้น​เงิน จำ�เลย​จึง​ยัง​ต้อง​รับ​ผิด​ช�ำ ระ​ต้น​เงิน​ให้​แก่​โจทก์


ฎ. 1100/2523 “ค้าง​เงิน​ค่า​เซ้ง​ตึก​ที่​ต้อง​คืน​กัน 80,000 บาท คู่​สัญญา​ตกลง​กัน​ทำ�​เป็น​สัญญา​กู้
โดย​คิด​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 2 ครึ่ง​เกิน​อัตรา​ท​กี่ ฎหมาย​กำ�หนด​เป็น​เวลา 15 เดือน เงิน 30,000 บาท รวม​เป็น​
สัญญา​กู้ 110,000 บาท เงิน 30,000 บาท​นี้ เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด เจ้า​หนี้​มี​สิทธิ​ได้​รับ​เงิน​คืน​โดย​บวก​ดอกเบี้ย​
ร้อย​ละ 7 ต่อ​ปี”
การ​ทศ​ี่ าล​วนิ จิ ฉัยว​ า่ ด​ อกเบีย้ เ​ป็นโ​มฆะ​นี้ เป็นโ​มฆะ​เฉพาะ​ดอกเบีย้ หา​มผ​ี ล​ถงึ ต​ น้ เ​งินไ​ ม่ แม้ด​ อกเบีย้ ​

อัตรา​ดอกเบี้ย​ ตาม ปพพ. มาตรา 7 คือ ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ป​ดี ัง​กล่าว​แล้ว​เป็นเ​กณฑ์​ใน​การ​เรียก​ร้อง​จาก​กัน



ทีเ​่ กินอ​ ตั รา​เป็นโ​ มฆะ แต่เ​จ้าห​ นีม​้ ส​ี ทิ ธิไ​ ด้ร​ บั ด​ อกเบีย้ ร​ อ้ ย​ละ​เจ็ดค​ รึง่ ต​ อ่ ป​ จ​ี าก​ตน้ เ​งินท​ ฟ​ี่ อ้ ง เมือ่ ข​ อ้ ต​ กลง​เรือ่ ง​
ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​เป็น​โมฆะ ถือว่า​ไม่​ได้​ม​ีการ​ตกลง​เรื่อง​อัตรา​ดอกเบี้ย​กัน​ไว้ ดัง​นั้น คู​ส่ ัญญา​ก็​ต้อง​ถือ​เอา​

ฎ.3236/2533 จำ�เลย​ไม่​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กตู้​ าม​สัญญา​กู้ โจทก์ จำ�เลย​จึงต​ กลง​แปลง​หนีต้​ าม​สัญญา​กนู้​ ั้น​


ซึ่ง​รวม​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​และ​คิด​โดย​วิธี​ทบ​ต้น​มา​เป็น​เงิน​กู้​ด้วย ดังนี้​ส่วน​ที่​เป็น​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​และ​คิด​
โดย​วิธี​ทบ​ต้น​จึง​ต้อง​ห้าม​ชัด​แจ้ง​โดย​กฎหมาย​เป็นโ​ มฆะ​ ตาม ปพพ. มาตรา 113 (ปัจจุบัน​คือ​มาตรา 150)
มาตรา 654 และ​มาตรา 655 นอกจาก​นี้ กรณี​ออก​เช็ค​ช�ำ ระ​หนี​ด้ อกเบี้ย​ที่​เป็นโ​ มฆะ​ไม่​ทำ�ให้​เช็ค​บังคับ​ช�ำ ระ​
สธ
หนี​ต้ าม​สัญญา​ตั๋ว​เงินได้

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-57

อุทาหรณ์
ฎ. 804/2506 (ป.ใหญ่) ลูก​หนี้​ออก​เช็ค​ชำ�ระ​หนี​เ้ งิน​กู้​ให้​แก่เ​จ้า​หนี้​ทั้ง​ต้นเ​งิน​และ​ดอกเบี้ย​ปรากฏ​ว่า​
ดอกเบีย้ ​เป็นโ​ มฆะ​รวม​อยูด​่ ว้ ย​ศาล​ฎกี า​แยก​ให้เ​ห็นว​ า่ การ​ออก​เช็คก​ บั ก​ าร​กอ่ ห​ นีน​้ เ​ี้ ป็นน​ ติ กิ รรม​คนละ​อนั ก​ นั ​
เพราะ​นิติกรรม​เช็ค​ไม่​ตก​เป็น​โมฆะ​ด้วย (ส่วน​ไหน​เป็น​โมฆะ​ก็​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด) จึง​พิพากษา​ให้​จำ�เลย​ผู้​ออก
​เช็​คชำ�​ระ​หนี​เ้ งิน​ตาม​เช็ค​เฉพาะ​ต้น​เงิน ส่วน​ดอกเบี้ยใ​ห้ย​ กฟ้อง​ไป


ฎ. 2657/2534 โจทก์​ให้​จำ�เลย​กู้​ยืม​เงิน​โดย​คิด​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด แต่​จำ�เลย​
ยินยอม​ให้​เอา​ดอกเบี้ย​รวม​กับ​ต้น​เงิน​กรอก​ลง​ใน​สัญญา​กู้ จึง​ไม่​เป็น​เอกสาร​ปลอม​โดย​แยก​ส่วน​ต้น​เงิน​ที่​

มส
สมบูรณ์​ออก​ต่าง​หาก​ได้ สัญญา​ก​คู้ ง​ตก​เป็น​โมฆะ​เฉพาะ​ส่วน​ดอกเบี้ย​หา​ตก​เป็น​โมฆะ​ทั้ง​ฉบับไ​ ม่
ข้อ​สังเกต จะ​เห็น​ได้​ว่า​กรณี​มี​บทบัญญัต​เิ ฉพาะ​ตาม พรบ. การ​ห้าม​เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา พ.ศ.
2475 แล้ว ให้​ใช้​บทบัญญัต​ดิ ัง​กล่าว คือ​ดอกเบี้ย​ที่​เกินอ​ ัตรา​ตก​เป็น​โมฆะ​ทั้งหมด ไม่​นำ� ปพพ. มาตรา 654
ตอน​ท้าย​มา​ใช้​คือ กรณี​คิด​ดอกเบี้ย​เกิน​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ป​ใี ห้ล​ ด​ลง​มา​เป็นร​ ้อย​ละ​สิบ​ห้า​ต่อ​ปี​อีกต​ ่อไ​ ป ประกอบ​
กับ​การ​ประกาศ​ใช้​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​บรรพ 3 มี​มา​ก่อน​การ​ประกาศ​ใช้ พรบ. ห้าม​เรียก​
ดอกเบีย้ เ​กินอ​ ตั รา พ.ศ. 2475 ซึง่ พ​ ระ​ราช​กฤษฎีกา​ให้ใ​ช้บ​ ทบัญญัตแ​ิ ห่งป​ ระมวล​กฎหมาย​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์​
ที่​ได้​ตรวจ​ชำ�ระ​ใหม่​นี้​ให้​ใช้​ตั้งแต่​วัน​ที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2472 เป็นต้น​ไป
ดังน​ นั้ จะ​เห็น​ได้ว​ า่ ม​ ก​ี าร​คดิ อ​ ตั รา​ดอกเบีย้ ​เกิน​กว่า​ทก​ี่ ฎหมาย​ก�ำ หนด​ไว้ส​ �ำ หรับ​การ​กย​ู้ มื เ​งิน​กนั อ​ ยู​่
เสมอ​ใน​ทาง​ปฏิบตั อ​ิ ตั รา​ดอกเบีย้ ส​ งู สุดท​ ก​ี่ �ำ หนด​ขนึ้ น​ ม​ี้ ผ​ี ล​บงั คับไ​ ด้เ​ฉพาะ​การ​กย​ู้ มื ใ​น​ตลาด​การ​เงินใ​น​ระบบ
(organized money market)42เท่านัน้ ยาก​จะ​บงั คับไ​ ด้ก​ บั ต​ ลาด​การ​เงินน​ อก​ระบบ (unorganized money

market)43เพราะ​ใน​ตลาด​นผ​ี้ ก​ู้ จ​ู้ ะ​ยนิ ดีจ​ า่ ย​ดอกเบีย้ ส​ งู ก​ ว่าอ​ ตั รา​สงู สุดท​ ก​ี่ ฎหมาย​ก�ำ หนด โดย​รว่ ม​มอื ก​ บั ผ​ ใ​ู้ ห้​
กูห​้ ลีกเ​ลีย่ ง​กฎหมาย​ดว้ ย​วธิ ก​ี าร​มากมาย เช่น ยินยอม​ท�​ ำ สญ
ั ญา​เงินก​ เ​ู้ ป็นจ​ �ำ นวน​สงู ก​ ว่าท​ ไ​ี่ ด้ร​ บั จ​ ริง ซึง่ ก​ รณี​
มส

ดัง​กล่าว​เป็นต้น​เหตุ​ให้​เกิด​ข้อ​พิพาท​ทาง​กฎหมาย​อยู่​เนืองๆ เนื่องจาก​ตลาด​การ​เงิน​ใน​ระบบ​ของ​ไทย​ยัง​
ไม่​เจริญ​ก้าวหน้า​เท่า​ที่​ควร​ ผู้​กู้​จำ�เป็น​ต้อง​พึ่ง​เงิน​กู้​จาก​ตลาด​การ​เงิน​นอก​ระบบ​อย่าง​มาก และ​จำ�​ต้อง​เสีย
ด​อก​เบี้ยใ​น​อัตรา​สูง​ระหว่าง​ร้อย​ละ 2 ต่อ​เดือน จนถึง​ร้อย​ละ 20 ต่อ​เดือน ซึ่ง​คิดว​ ่าไ​ ม่​น่า​จะ​เป็น​ไป​ได้ แต่​ก​็
มี​ใน​การ​กยู้​ ืม​ใน​ตลาด​การ​เงินน​ อก​ระบบ​ใน​ประเทศไทย44
อนึ่ง การ​คิด​ดอกเบี้ย​การ​กู้​ยืม​เงิน​ใน​อัตรา​ไม่​เกิน​ร้อย​ละ​สิบ​ห้า​ต่อ​ปี​นั้น มี​เฉพาะ​ใน​การ​กู้​ยืม​เงิน​
ระหว่าง​เอกชน​กับ​เอกชน ส่วน​สถาบันก​ าร​เงินส​ ามารถ​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​อัตรา​สูง​กว่า​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี​ได้ต​ าม
พรบ.ดอกเบี้ย​เงิน​ให้​ก​ยู้ ืม​ของ​สถาบัน​การ​เงิน พ.ศ. 2523 มาตรา 4 บัญญัตวิ​ ่า “เพื่อป​ ระโยชน์​ใน​การ​แก้ไข​
ภาวะ​เศรษฐกิจ​ของ​ประเทศ รัฐมนตรี​โดย​ค�​ำ แนะนำ�​ของ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย มี​อ�ำ นาจ​กำ�หนด​อัตรา​สูงสุด​
ของ​ดอกเบี้ยท​ ี่​สถาบัน​การ​เงิน​อาจ​คิด​จาก​ผ​กู้ ู้​ยืม​ให้​สูง​กว่า​ร้อย​ละ​สิบ​ห้า​ต่อป​ ี​ก็ได้ ฯลฯ”
นอกจาก​นั้น พรบ.ฯ ฉบับ​ดัง​กล่าว​ไม่ใ​ห้​น�

ำ ปพพ. มาตรา 654 มา​ใช้​ตาม​มาตรา 6 ที่​บัญญัตวิ​ ่า
“เมื่อ​รัฐมนตรี​กำ�หนด​อัตรา​สูงสุด​ของ​ดอกเบี้ย​ตาม​มาตรา 4 แล้ว มิ​ให้​นำ�​มาตรา 654 แห่ง​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​
และ​พาณิชย์ม​ า​ใช้​บังคับ​แก่​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ของ​สถาบัน​การ​เงิน​ท​รี่ ัฐมนตรี​กำ�หนด​ตาม​มาตรา 4”
สธ
42 ตลาด​การ​เงิน​ที่​สร้าง​ขึ้น​จาก​สถาบัน​การ​เงิน​ท​ต
ี่ ั้ง​ขึ้นต​ าม​กฎหมาย เช่น ธนาคาร
43 ตลาด​การ​เงิน​โดย​ทั่วไป เป็นการ​ก​ยู้ ืม​เงิน​ระหว่าง​บุคคล
44 สุ​รักษ์ บุนนาค และ​วณี จง​ศิริวัฒน์ เรื่อง​เดียวกัน น. 70.

3-58 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ดัง​นั้น อัตรา​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี ใน​ปัจจุบัน​ก็​ไม่​อาจ​คง​อยู่​ได้​ต่อ​ไป เนื่องจาก​ความ​เจริญ​


เติบโต​ทาง​เศรษฐกิจ และ​เพื่อ​เป็นการ​รักษา​เสถียรภาพ​ทางการ​เงิน​ของ​ประเทศ​ถือ​เป็น​หน้าที่​สำ�คัญ​ที่สุด​
ของ​ธนาคาร​กลาง (ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย) อีก​ทั้ง​อัตรา​ดอกเบี้ย​ทั่ว​โลก​ได้​เพิ่ม​สูง​ขึ้น ธนาคาร​กลาง​มี​
ความ​จ�ำ เป็น​ต้อง​รักษา​เสถียรภาพ​ทางการ​เงิน โดย​วิธก​ี าร​ต่างๆ การ​ขึ้น​อัตรา​ดอกเบี้ย​เงิน​ให้​กู้​ยืม​ก็​เป็น​วิธ​ี
การ​หนึง่ ​ทจ​ี่ ะ​รกั ษา​เสถียรภาพ​ดงั ​กล่าว​ไว้​ได้ ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​มอ​ี �ำ นาจ​ก�ำ หนด​อตั รา​ดอกเบีย้ ​สงู สุด​


ด้วย​ความ​เห็น​ชอบ​ของ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​การ​คลัง​ตาม​มาตรา 14 แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​การ​ธนาคาร​
พาณิชย์ พ.ศ. 2505 แก้ไข​เพิ่ม​เติม​โดย พรบ.การ​ธนาคาร​พาณิชย์ (ฉบับ​ที่ 2) พ.ศ. 2522 ซึ่ง​ใน​ปี 2524

มส
ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​ได้อ​ อก​ประกาศ​ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย เรื่อง​การ​ก�ำ หนด​ให้ธ​ นาคาร​พาณิชย์ถ​ ือ​
ปฏิบัต​ิใน​เรื่อง​ดอกเบี้ย​และ​ส่วนลด (ฉบับ​ที่ 5) พ.ศ. 2524 ถึง​ร้อย​ละ 19 ต่อ​ปี
หลังจ​ าก​มป​ี ระกาศ​ฉบับน​ ี้ อัตรา​ดอกเบีย้ ด​ งั ก​ ล่าว​ได้ข​ นึ้ ล​ ง​ตาม​ความ​เคลือ่ นไหว​ของ​ภาวะ​เศรษฐกิจ​
ภายในประเทศ​หลาย​ครั้ง เมื่อ​สภาพ​การ​เงิน​มี​ความ​คล่อง​ตัว​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ได้​ประกาศ​ลด​อัตรา​
ดอกเบีย้ เ​งินใ​ห้ก​ ย​ู้ มื เ​พือ่ ใ​ห้ธ​ นาคาร​พาณิชย์ถ​ อื ป​ ฏิบตั ิ ใน​ชว่ ง​ปี 2525 เศรษฐกิจข​ อง​ประเทศ​มค​ี วาม​คล่อง​ตวั ​
มาก​ขนึ้ ธ​ นาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​ได้ป​ ระกาศ​ลด​อตั รา​ดอกเบีย้ เ​ป็นค​ รัง้ ค​ ราว เมือ่ ภ​ าวะ​เศรษฐกิจข​ อง​ประเทศ​
ไม่​คล่อง​ตัว​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ก็ได้​ประกาศ​ขึ้น​อัตรา​ดอกเบี้ย​อีก​โดย​พิจารณา​ดู​จาก​เสถียรภาพ​
ทางการ​เงินข​ อง​ประเทศ​เป็นค​ ราวๆ ไป ซึง่ ใ​น​ชว่ ง​ระยะ​เวลา​ระหว่าง พ.ศ. 2533–2534 ก็ได้ม​ ก​ี าร​ด�ำ เนินก​ าร​
ดังก​ ล่าว ต่อม​ า​ใน​ชว่ ง พ.ศ. 2539–2540 ประเทศไทย​ประสบ​วกิ ฤต​ทาง​เศรษฐกิจอ​ กี ค​ รัง้ ห​ นึง่ ภาวะ​ดอกเบีย้ ​

ก็​ผันผวน​ตาม​มา​ม​กี าร​ปรับ​อัตรา​ดอกเบี้ย​ให้​สอดคล้อง​กับภ​ าวะ​เศรษฐกิจ และ​ใน​ปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) ค่า​
เงิน​บาท​ไทย​แข็ง​ขึ้น มี​แนว​โน้ม​ที่​จะ​ปรับ​อัตรา​ดอกเบี้ย
มส

อย่างไร​ก็ตาม​อัตรา​ดอกเบี้ย​แม้​จะ​คิด​ได้​เกิน​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี ตาม​ประกาศ​ของ​ธนาคาร​แห่ง​


ประเทศไทย ผู​ใ้ ห้​ก​ตู้ ้อง​เป็น​สถาบัน​การ​เงิน​ตาม​กฎหมาย​ด้วย
อุทาหรณ์
ฎ. 4072/2545 จำ�เลย​ยอมรับ​ข้อ​เท็จ​จริง​ว่า โจทก์​เป็น​สถาบัน​การ​เงิน ดัง​นั้น โจทก์​ย่อม​ม​สี ิทธิค​ ิด​
ดอกเบี้ย​ตาม​ประกาศ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย ซึ่ง​ออก​โดย​อาศัย​อำ�นาจ​ ตาม พรบ. การ​ประกอบ​ธุรกิจ​
เงินท​ นุ ธุรกิจห​ ลักท​ รัพย์แ​ ละ​ธรุ กิจเ​ครดิตฟ​ อง​ซเ​ิ อร์ฯ มาตรา 30 (2) ไม่ต​ ก​อยูใ​่ น​บงั คับต​ าม ปพพ. มาตรา 654

แม้ธ​ นาคาร​พาณิชย์จ​ ะ​ไม่อ​ ยูใ​่ น​บงั คับ ปพพ. มาตรา 654 แต่ก​ ต​็ อ้ ง​อยูภ​่ าย​ใต้บ​ ทบัญญัตก​ิ าร​ธนาคาร​
พาณิชย์ มาตรา 14 ซึ่ง​กำ�หนด​ให้​ธนาคาร​พาณิชย์​ปฏิบัติ​ใน​เรื่อง​ดอกเบี้ย​และ​ส่วนลด หาก​ธนาคาร​พาณิชย์​
กำ�หนด​อตั รา​ดอกเบีย้ ข​ นึ้ เ​อง​โดย​ไม่มป​ี ระกาศ​ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​เป็นการ​ปฏิบตั ฝ​ิ า่ ฝืนบ​ ทบัญญัตข​ิ อง​
กฎหมาย
อุทาหรณ์
ฎ. 2165/2548 โจทก์​จ�ำ เลย​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​กัน​วัน​ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2535 ส่วน​ประกาศ​ของ​
โจทก์​เรื่อง​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​มี​ผล​ใช้​บังคับ​ตั้งแต่​วัน​ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2535 จึง​ไม่ใช่​ประกาศ​ที่​ใช้​
สธ
บังคับ​ใน​ขณะ​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน เมื่อ​ไม่​ปรากฏ​หลัก​ฐาน​อื่น​ใด​ที่​ให้​สิทธิ​โจทก์​ใน​การ​เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​กว่า​
ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี แม้​โจทก์​จะ​เป็น​ธนาคาร​พาณิชย์​มิได้​ตก​อยูภ่​ าย​ใต้​บังคับ​แห่ง ปพพ. มาตรา 654 แต่​การ​
คิด​ดอกเบี้ย​ของ​โจทก์​จะ​ต้อง​อยู​ภ่ าย​ใต้​บทบัญญัต​ขิ อง พรบ. การ​ธนาคาร​พาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่ง​กำ�หนด​

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-59

ให้​ธนาคาร​พาณิชย์​ปฏิบัติ​ใน​เรื่อง​ดอกเบี้ย​และ​ส่วนลด การ​ที่​โจทก์ก​ ำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​ใน​สัญญา​กยู้​ ืมเ​งิน​


โดย​ไม่ป​ รากฏ​วา่ ม​ ป​ี ระกาศ​ของ​โจทก์เ​กีย่ ว​กบั เ​รือ่ ง​ดงั ก​ ล่าว จึงเ​ป็นการ​ปฏิบตั ฝ​ิ า่ ฝืนบ​ ทบัญญัตข​ิ อง​กฎหมาย
ข้อ​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 19 ต่อ​ปี ใน​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​จึง​ตก​เป็น​โมฆะ
อย่างไร​ก็ตาม แม้​ธนาคาร​พาณิชย์​จะ​มี​สิทธิ​คิด​ดอกเบี้ย​เงิน​กู้​ได้​ใน​อัตรา​ตาม​ประกาศ​ธนาคาร​
แห่งป​ ระเทศไทย หาก​ธนาคาร​พาณิชย์​คดิ ด​ อกเบีย้ ​เงิน​กจ​ู้ าก​ผก​ู้ ย​ู้ มื เ​กิน​ไป​จาก​อตั รา​ทก​ี่ �ำ หนด​ไว้ใ​น​ประกาศ​


ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทยก็เ​ป็นการ​คดิ ด​ อกเบีย้ เ​กินอ​ ตั รา​ตาม พรบ. ห้าม​เรียก​ดอกเบีย้ เ​กินอ​ ตั รา พ.ศ. 2475
เช่นก​ ัน

มส
อุทาหรณ์
ฎ. 956/2541 แม้โ​จทก์ซ​ งึ่ เ​ป็นธ​ นาคาร​พาณิชย์จ​ ะ​มส​ี ทิ ธิค​ ดิ ด​ อกเบีย้ เ​งินก​ ไ​ู้ ด้ใ​น​อตั รา​รอ้ ย​ละ 18.5 ต่อป​ ​ี
ตาม​ประกาศ​ธนาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย เรือ่ ง การ​ก�ำ หนด​ให้ธ​ นาคาร​พาณิชย์ป​ ฏิบตั ใ​ิ น​เรือ่ ง​ดอกเบีย้ แ​ ละ​สว่ นลด
ซึ่ง​อัตรา​ดอกเบี้ย​ดัง​กล่าว​เป็น​อัตรา​ที่​โจทก์​สามารถ​คิด​ได้​แต่​เฉพาะ​กับ​ลูก​หนี้​ซึ่ง​ผิดนัด​ชำ�ระ​หนี้​หรือ​ปฏิบัติ​
ผิด​เงื่อนไข​ของ​สัญญา​กู้ มิใช่​อัตรา​ดอกเบี้ย​สำ�หรับ​ลูกค้า​ทั่วไป ซึ่ง​ตาม​ประกาศ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​​
ใน​ขณะ​นั้น​กำ�หนด​ไว้​ไม่​เกิน​อัตรา​ร้อย​ละ 16.5 ต่อ​ปี แต่​ขณะ​ทำ�​สัญญา​โจทก์​คิด​ดอกเบี้ย​กับ​จำ�เลย​ซึ่ง​เป็น​
ลูกค้าท​ ั่วไป​ใน​อัตรา​ร้อย​ละ 18.5 ต่อป​ ี จึงเ​ป็นการ​คิด​ดอกเบี้ย​เกิน​กว่า​อัตรา​ตาม​ประกาศ​ของ​ธนาคาร​แห่ง​
ประเทศไทย​และ​เกิน​กว่าอ​ ัตรา​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด ขัด​ต่อ พรบ. ห้าม​เรียก​ดอกเบี้ยเ​กินอ​ ัตรา พ.ศ. 2475
ดอกเบี้ย​ดัง​กล่าว​จึง​ตก​เป็นโ​ มฆะ

ฎ. 8749/2544 โจทก์​เป็น​ธนาคาร​พาณิชย์ ขณะ​จำ�เลย​ทำ�​สัญญา​กยู้​ ืมเ​งินจ​ าก​โจทก์ โจทก์​ประกาศ​
อัตรา​ดอกเบี้ย​โดย​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​ใน​การ​อำ�นวย​สิน​เชื่อ​ไว้​สำ�หรับ​สิน​เชื่อ​สำ�หรับ​บุคคล​ทั่วไป​ว่า 1.1
มส

กรณีอ​ ยู่​ภายใน​วงเงิน​และ​ไม่​ผิด​เงื่อนไข​ใน​การ​ผ่อน​ช�ำ ระ​อัตรา​ร้อย​ละ 16.5 ต่อป​ ี และ 1.2 กรณี​เกิน​วงเงิน/


ผิด​เงื่อนไข​ใน​การ​ผ่อน​ชำ�ระ​อัตรา​ร้อย​ละ 19 ต่อป​ ี กรณีข​ อง​จำ�เลย​อยู่​ใน​หลักเ​กณฑ์ข​ ้อ 1.1 แต่​ใน​สัญญา​กู้​
ยืม​เงิน​ระบุด​ อกเบี้ย​ไว้​อัตราร้อย​ละ 19 ต่อ​ปี ใน​ชั้น​พิจารณา​ของ​ศาล พนักงาน​ฝ่าย​สิน​เชื่อ​และ​เร่งรัดห​ นี้​สิน​
ของ​โจทก์​เบิก​ความ​ยืนยัน​ว่า​คิด​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 19 ต่อ​ปี ดังนี้ แม้ว่า​โจทก์​เป็น​ธนาคาร​พาณิชย์ ใน​การ​
คิด​อัตรา​ดอกเบี้ยม​ ิได้​อยู่​ภาย​ใต้ ปพพ. มาตรา 654 แต่​การ​คิด​อัตรา​ดอกเบี้ยข​ อง​โจทก์​จะ​ต้อง​อยู่​ภาย​ใต้​
บทบัญญัตข​ิ อง พรบ. การ​ธนาคาร​พาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึง่ ก​ �ำ หนด​ให้ธ​ นาคาร​แห่งป​ ระเทศไทย​ออก​ประกาศ​

ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​กำ�หนด​ให้​ธนาคาร​พาณิชย์​ปฏิบัติ​ใน​เรื่อง​ดอกเบี้ย​และ​ส่วนลด ซึ่ง​โจทก์​ได้​ออก​
ประกาศ​ดอกเบีย้ แ​ ละ​สว่ นลด​ตาม​อตั รา​ดอกเบีย้ แ​ ต่ละ​กรณี ดังน​ นั้ การ​ทโ​ี่ จทก์ก​ �ำ หนด​อตั รา​ดอกเบีย้ เ​กินก​ ว่า​
ประกาศ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​และ​ประกาศ​ของ​โจทก์​ดังก​ ล่าว​ข้าง​ต้น จึง​เป็นการ​ปฏิบัติ​ฝ่าฝืน​ต่อ พรบ.
การ​ธนาคาร​พาณิชย์ฯ เป็นการ​ตอ้ ง​หา้ ม​ตาม พรบ. ห้าม​เรียก​ดอกเบีย้ เ​กินอ​ ตั ร​ าฯ มาตรา 3 (ก) จึงเ​ป็นโ​ มฆะ
หาก​ปรากฏ​ว่าการ​ประกอบ​กิจการ​นั้น​ไม่​เป็น​สถาบัน​การ​เงิน​ตาม​กฎหมาย​ก็​ไม่มี​สิทธิ​คิด​ดอกเบี้ย​
เกินอ​ ัตรา​ตาม ปพพ. มาตรา 654 (ฎ. 6465/2552 ฎ. 13835/2553)
นอกจาก​นั้น​แม้ว่า​เดิม​ธนาคาร​มี​สิทธิ​คิด​ดอกเบี้ย​ได้​สูงสุด​เกิน​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี ตาม​ประกาศ​ของ​
สธ
ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย ต่อ​มา​ธนาคาร​ได้​บอก​เลิก​สัญญา​และ​บอก​กล่าว​บังคับ​จำ�นอง​ธนาคาร​มี​สิทธิ​คิด​
ดอกเบี้ย​ใน​อัตรา​เดิม​ที่ตกลง​กัน​ไว้ ไม่ใช่​อัตรา​สูงสุด​ตาม​ประกาศ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย (ฎ. 510/2545)

3-60 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ข้อ​สังเกต
อย่างไร​ก็ตาม ประกาศ​กระทรวง​การ​คลัง​ใน​เรื่อง​การ​ขึ้น​อัตรา​ดอกเบี้ย​นั้น​เป็นเ​รื่อง​ข้อ​เท็จจ​ ริง​ผู้​ใด​
กล่าว​อ้าง​ถึง​ประกาศ​ดัง​กล่าว ผู้​นั้น​ต้อง​มีหน้า​ท​นี่ �ำ สืบ​ว่า​ม​ปี ระกาศ​เช่นน​ ั้น​จริง
อุทาหรณ์
ฎ. 650/2532 ประกาศ​กระทรวง​การ​คลังเ​รือ่ ง​อตั รา​ดอกเบีย้ เ​ป็นข​ อ้ เ​ท็จจ​ ริงไ​ ม่ใช่ข​ อ้ ก​ ฎหมาย​แต่เ​ป็น​


ข้อ​เท็จ​จริง​ที่​ต้อง​น�ำ สืบ เมื่อ​โจทก์​ไม่​สืบ โจทก์​จึง​ไม่ม​สี ิทธิ​คิด​ดอกเบี้ยเ​กินไ​ ป​จาก​อัตรา​ปกติ​ตาม​ที่​กฎหมาย​
บัญญัต​ไิ ว้ (ฎ. 567/2536)

มส
อนึง่ ป​ จั จุบนั ​มก​ี าร​ใช้บ​ ตั ร​เครดิต​กนั อ​ ย่าง​แพร่ห​ ลาย​ตาม พรบ. บัตร​เครดิต พ.ศ. 2542 แต่เ​นือ่ งจาก​
การ​ใช้​บัตร​เครดิต​ไม่ใช่​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน ดัง​นั้น มาตรา 4 แห่ง พรบ. ดัง​กล่าว​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​และ​ค่าป​ รับ​
ที่​ผู้​ออก​บัตร​อาจ​เรียก​เก็บ​จาก​ผ​ถู้ ือ​บัตร​ใน​กรณี​ผิดนัด​ชำ�ระ​หนี้​หรือ​ช�ำ ระ​หนี้​ล่าช้า​กว่า​กำ�หนด ดอกเบี้ยแ​ ละ​
ค่า​ปรับ​นั้น​เมื่อ​คิด​คำ�นวณ​รวม​กัน​แล้ว​ต้อง​ไม่​เกิน​ร้อย​ละ 1.5 ต่อ​เดือน​หรืออ​ ัตรา​ร้อย​ละ 18 ต่อ​ปี
อุทาหรณ์
ฎ. 1550/2539 คำ�ขอ​สิน​เชื่อ​บัตร​เครดิต​มี​ข้อ​สัญญา​ว่า​โจทก์​ยอม​ผ่อน​ผัน​จ่าย​เงิน​ไป​ก่อน​ทั้ง​ที่​เงิน​
ฝาก​ใน​บัญชี​มี​ไม่​พอ​จ่าย โดย​ไม่มี​กำ�หนด​เวลา​ชำ�ระ​คืน เป็น​แต่​เพียง​จำ�เลย​ตกลง​ชำ�ระ​คืน​พร้อม​ดอกเบี้ย​
ใน​อัตรา​สูงสุด​ท​ธี่ นาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ก�ำ หนด​เป็นการ​กำ�หนด​ดอกเบี้ย​ไว้​ล่วง​หน้า ถือ​ได้​ว่า​จำ�เลย​ตกลง​
ให้​โจทก์​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​อัตรา​ดัง​กล่าว​แต่​ต้น จึง​ไม่​อยู่​ใน​บังคับ ปพพ. มาตรา 654 ซึ่ง​ห้าม​คิด​ดอกเบี้ย​เกิน​

ร้อย​ละ​สิบ​ห้า​ต่อ​ปี เพราะ​มิใช่​การ​ก​ยู้ ืม และ​โจทก์​เป็น​ธนาคาร​พาณิชย์ ข้อต​ กลง​ดัง​กล่าว​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย
ไม่มี​ลักษณะ​เป็น​เบี้ย​ปรับ
มส

กิจกรรม 3.3.1
1. อัตรา​ดอกเบี้ย​เงิน​ก​ยู้ ืม​สูงสุด​ท​พี่ ึง​คิด​ได้​ตาม​กฎหมาย ได้แก่ อัตรา​เท่าใด
2. ธนาคาร​คิด​ดอกเบี้ย​ลูกค้า​เงิน​ก​ยู้ ืม​ได้​สูงสุด​เกิน​ร้อย​ละ​สิบห​ ้า​ต่อ​ปี​ได้ห​ รือ​ไม่ เพราะ​เหตุใ​ด
3. กรณี​มิได้​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​เงิน​กู้​ยืม​ไว้ ผู้​ให้​กู้​สามารถ​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​อัตรา​เท่าใด​ตาม​
กฎหมาย

แนว​ตอบ​กิจกรรม 3.3.1
1. ร้อย​ละ​สิบ​ห้า​ต่อ​ปี ปพพ. มาตรา 654
2. ได้ เพราะ​ทำ�ได้​ตาม พรบ. ธนาคาร​พาณิชย์​มาตรา 14 และ​ตาม​ประกาศ​ธนาคาร​แห่ง​

ประเทศไทย
3. ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ปี ปพพ. มาตรา 7
สธ

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-61

เรื่อง​ที่ 3.3.2
ดอกเบี้ยท​ บ​ต้น


นอกจาก​กฎหมาย​หา้ ม​คดิ อ​ ตั รา​ดอกเบีย้ เ​งินใ​ห้ก​ ย​ู้ มื เ​กินร​ อ้ ย​ละ 15 ต่อป​ แ​ี ล้วย​ งั ห​ า้ ม​การ​คดิ ด​ อกเบีย้ ​
ซ้อน​ดอกเบี้ย (ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น) ใน​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​ด้วย

มส
จาก​บทบัญญัต​ใิ น ปพพ. มาตรา 655 วรรค​หนึง่ ซึง่ บ​ ญ
ทีค​่ า้ ง​ช�ำ ระ​ แต่ท​ ว่าเ​มือ่ ด​ อกเบีย้ ค​ า้ ง​ช�ำ ระ​ไม่น​ อ้ ย​กว่าป​ ห​ี นึง่ ​คส​ู่ ญ

การ​ท�​ ำ เป็นห​ นังสือ ได้แก่ การ​ท�​


ั ญัต​วิ า่ “ท่าน​หา้ ม​มใ​ิ ห้ค​ ดิ ด​ อกเบีย้ ใ​ น​ดอกเบีย้ ​
ั ญา​กย​ู้ มื จ​ ะ​ตกลง​กนั ใ​ ห้เ​อา​ดอกเบีย้ น​ นั้ ท​ บ​เข้าก​ บั ​
ต้น​เงิน แล้ว​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​จ�ำ นวน​เงิน​ท​ที่ บ​เข้า​กัน​นั้น​ก็ได้​ แต่​การ​ตกลง​เช่น​นั้น​ต้อง​ทำ�​เป็นห​ นังสือ”
ำ ขอ้ ต​ กลง​เป็นล​ าย​ลกั ษณ์อ​ กั ษร โดย​ผก​ู้ ย​ู้ มื แ​ ละ​ผใ​ู้ ห้ก​ ต​ู้ กลง​ยนิ ยอม​
ให้ค​ ดิ ด​ อกเบีย้ ​ทบ​ตน้ ไ​ ด้ แต่ก​ าร​ตกลง​ดว้ ย​วาจา​ไม่ส​ ามารถ​บงั คับไ​ ด้ บทบัญญัตม​ิ าตรา 655 นีก​้ ฎหมาย​หา้ ม​
มิ​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​ดอกเบี้ย​ท​คี่ ้าง​ชำ�ระ​คือห​ ้าม​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​กัน​นั่นเอง (ดอกเบี้ยท​ บ​ต้น ได้แก่ การนำ�​
ดอกเบี้ย​ไป​รวม​กับ​ต้น​เงิน​เดิม และ​คิด​ดอกเบี้ย​จาก​จำ�นวน​ต้น​เงิน​ใหม่) ดัง​ตัวอย่าง​ใน ฎ. 2687/2522 ซึ่ง​
วินิจฉัย​ไว้​ว่า “สัญญา​ก​ทู้ ้าย​ฟ้อง​กล่าว​ถึง​เรื่อง​ดอกเบี้ย​ไว้ 2 ข้อ ฯลฯ ความ​ใน​ข้อ 5 มีว​ ่า หาก​ผิดส​ ัญญา​
ชำ�ระ​ดอกเบี้ย ผู​ก้ ู้​ย่อม​ให้​ผู้​ให้​ก​คู้ ิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้​ด้วย ดังนี้ สัญญา​ก​ขู้ ้อ 5 เท่านั้น​ที่​ต้อง​ห้าม​ ตาม ปพพ.

มาตรา 655 เพราะ​เป็นการ​คดิ ​ดอกเบีย้ ทบ​ตน้ แต่​โจทก์​ม​สี ทิ ธิเ​รียก​ดอกเบีย้ ​อย่าง​ธรรมดา​ตาม​สญ ั ญา​กข​ู้ อ้ 2
ได้ เพราะ​เป็นการ​คิด​ดอกเบี้ย​ไม่​เกิน​อัตรา​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด”
สำ�หรับ​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ตาม​มาตรา 655 แบ่ง​ได้ ดังนี้
มส

1. กรณี​ดอกเบี้ย​ค้าง​ชำ�ระ​กว่า 1 ปี การ​ห้าม​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​นั้น​เป็นการ​ห้าม​
อย่าง​เด็ด​ขาด​หรือ​ไม่ เพราะ​ใน​บทบัญญัต​ขิ อง​มาตรา 655 ประโยค​ต่อ​มา​ม​วี ่า “แต่ท​ ว่า​เมื่อ​ดอกเบี้ย​ค้าง​ชำ�ระ​
ไม่​น้อย​กว่า​ปี​หนึ่ง คู่​สัญญา​กู้​ยืม​จะ​ตกลง​กัน​ให้​เอา​ดอกเบี้ย​นั้น​ทบ​เข้า​กับ​ต้น​เงิน ​แล้ว​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​จำ�นวน​
เงิน​ที่​ทบ​เข้า​กัน​นั้น​ได้ แต่​การ​ตกลง​เช่น​นั้น​ต้อง​ทำ�​เป็น​หนังสือ” ถ้า​อ่าน​จาก​ข้อความ​ดัง​กล่าว​จะ​เห็น​ได้​ว่า
กฎหมาย​ให้ค​ ิดด​ อกเบี้ยท​ บ​ต้นก​ ันใ​น​สัญญา​กย​ู้ ืมเ​งินไ​ ด้ใ​น​กรณีท​ มี่​ ีดอ​ ก​เบี้ยค​ ้าง​ช�ำ ระ​ไม่น​ ้อย​กว่าป​ หี​ นึ่ง และ​
ความ​ตกลง​เช่น​นั้น​ของ​คู่​สัญญา​ต้อง​ท�​

ทุกเ​ดือน นาย​ด�​
ทบ​ต้น​จาก​นาย​ด�​

ำ เป็น​หนังสือ เช่น นาย​ดำ�​ก​ยู้ ืม​เงิน​จาก​นาย​ขาว​จำ�นวน 100,000 บาท
กำ�หนด​ชำ�ระ​ต้น​เงิน​คืน​ภายใน​เวลา 3 ปี อัตรา​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี โดย​นาย​ดำ�​ตกลง​จะ​ชำ�ระ​ดอกเบี้ย​
ำ ได้ค​ า้ ง​ช�ำ ระ​ดอกเบีย้ น​ าย​ขาว​เป็นเ​วลา​ปกี ว​ า่ ใ​น​ชว่ ง​เวลา 1 ปีท​ ผ​ี่ า่ น​มา นาย​ขาว​จะ​คดิ ด​ อกเบีย้ ​
ำ ไม่​ได้​คือ​จะ​นำ�​ดอกเบี้ย​มา​รวม​กับต​ ้น​เงิน 100,000 บาท แล้วค​ ิดด​ อกเบี้ย​จาก​ต้น​เงินใ​หม่​
ไม่​ได้ นอก​เสีย​ว่า​นาย​ขาว​และ​นาย​ดำ�​ทำ�​ข้อ​ตกลง​เป็น​หนังสือ​ว่า นาย​ดำ�ยินยอม​ให้​นาย​ขาว​นำ�​ดอกเบี้ย​ที่​
ค้าง​ชำ�ระ​ภายใน 1 ปี มา​รวม​กับ​ต้น​เงิน 100,000 บาท เป็น​จำ�นวน​ต้น​เงิน​ใหม่ และ​คิดด​ อกเบี้ย​จาก​ต้น​เงิน​
จำ�นวน​นั้น​ได้ ส่วน​กรณี​ถ้า​คู่​สัญญา​มี​ข้อ​ตกลง​กัน​ไว้​ย่อม​คิด​ดอกเบี้ยท​ บ​ต้น​ได้ แต่​จะคิดก​ ัน​ตั้งแต่แ​ รก​กู้​ทำ�
สธ
ไ​ ม่ไ​ ด้อ​ กี เ​ช่นก​ นั แต่ก​ รณีข​ า้ ง​ตน้ หาก​นาย​ด�​ ำ มไิ ด้ต​ กลง​ยนิ ยอม​กบั น​ าย​ขาว​โดย​มข​ี อ้ ต​ กลง​เป็นห​ นังสือใ​น​การ​
ที่​นาย​ขาว​จะ​นำ�​ดอกเบี้ย​ที่​ค้าง​ชำ�ระ​ไป​บวก​กับ​ต้น​เงิน​และ​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​เงิน​จำ�นวน​นั้น นาย​ขาว​ก็​ย่อม​คิด​
ดอกเบี้ยท​ บ​ต้น​ไม่​ได้ เพราะ​กฎหมาย​ได้​ห้าม​การก​ระ​ทำ�​เช่น​นั้น​ไว้

3-62 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 694/2506 การ​กู้​เงิน​โดย​เอา​ที่ดิน​และ​บ้าน​มา​ทำ�​จำ�นอง​เป็น​ประกัน​หนี้​นั้น เมื่อ​ไม่มี​ข้อ​ตกลง​ให้​
เจ้าห​ นีผ​้ รู้ บั จ​ �ำ นอง​คดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ไ​ ด้ กรณีต​ อ้ ง​ปรับด​ ว้ ย ปพพ. มาตรา 655 วรรค​แรก ซึง่ ห​ า้ ม​เอา​ดอกเบีย้ ​
ทบ​เข้า​กับ​ต้นเ​งิน
ฎ. 6457/2539 การ​กู้​ยืม​เงิน​ระหว่าง​โจทก์​จำ�เลย​เป็น​เรื่อง​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ธรรมดา แม้​ตาม​บันทึก


​ข้อ​ตกลง​ต่อ​ท้าย​สัญญา​จ�ำ นอง​ข้อ 2 ระบุ​ข้อความ​ว่า ผู้​จำ�นอง​ยอม​เสียด​อก​เบี้ย​อัตรา​ร้อย​ละ 21 ต่อ​ปี ยอม​
ส่ง​เงิน​ดอก​เบี้ย​ทุกๆ เดือน​เสมอ​ไป ถ้า​ผิดนัด​ชำ�ระ​ดอกเบี้ย​ยอม​ให้​ผู้รับ​จำ�นอง​คำ�นวณ​ดอกเบี้ย​ที่​ค้าง​ทบ​

มส
เข้า​ใน​บัญชี​ของ​ผ​จู้ ำ�นอง​ด้วย ก็​เป็น​เรื่อง​ท​โี่ จทก์​เป็น​ลูก​หนี้​จำ�เลย​แต่​ฝ่าย​เดียว ไม่ม​หี นี้​สินอ​ ะไร​ทจี่​ ะ​หัก​กลบ
​ลบ​หนี้​ใน​ทาง​บัญชี​เดิน​สะพัด​ได้ ส่วน​บัญชี​ท​ี่ระบุ​ไว้​ดัง​กล่าว​เป็น​เรื่อง​ที่​จ�ำ เลย​ทำ�​บัญชี​เพื่อ​ประสงค์​จะ​ทราบ​
ว่า​โจทก์​ก​ู้เงิน​ไป​เมื่อ​ใด จำ�นวน​เท่าใด ผ่อน​ชำ�ระ​ดอกเบี้ยแ​ ละ​ต้น​เงินแ​ ล้ว​เพียง​ใด กับ​ยัง​ค้าง​ชำ�ระ​อีก​เท่าใด
จึง​มิใช่​บัญชี​เดิน​สะพัด​หรือ​การ​ค้าขาย​อย่าง​อื่น​ทำ�นอง​บัญชี​เดิน​สะพัด ทั้ง​บันทึก​ข้อ​ตกลง​ไม่มี​ข้อความ​ว่า​
ต้อง​รอ​ให้​ดอกเบี้ยค​ ้าง​ชำ�ระ​ไม่​น้อย​กว่า​หนึ่ง​ปี​ก่อน​จึง​จะ​นำ�​มา​ทบ​เข้า​กับ​ต้น​เงิน แล้ว​คิด​ดอกเบี้ยใ​น​จำ�นวน​
เงินท​ ี่​ทบ​เข้าก​ ัน​นั้น ต้อง​ปรับด​ ้วย ปพพ. มาตรา 655 วรรค​หนึ่ง​ ข้อ​ตกลง​เฉพาะ​ที่​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​
ดัง​กล่าว​ตก​เป็น​โมฆะ​และ​เป็น​ปัญหา​ข้อ​กฎหมาย​อัน​เกี่ยว​ด้วย​ความ​สงบ​เรียบร้อย​ของ​ประชาชน ศาล​ฎีกา​
มี​อ�ำ นาจ​ยก​ขึ้น​วินิจฉัย​ได้
อนึ่ง การ​แปลง​หนี้​ใหม่​โดย​นำ�​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​มา​รวม​กับ​ต้น​เงิน​และ​คิด​โดย​วิธี​ทบ​ต้น​มา​เป็นต้น​

เงิน​กู้ส่วน​ท​เี่ ป็น​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา และ​คิด​โดย​วิธี​ทบ​ต้น​เป็น​โมฆะ
อุทาหรณ์
มส

ฎ. 3236/2533 จำ�เลย​ไม่​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กู้​ตาม​สัญญา​กู้​โจทก์​จำ�เลย​จึง​ตกลง​แปลง​หนี้​ตาม​สัญญา​กู้​นั้น
ซึ่ง​รวม​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​และ​คิด​โดย​วิธี​ทบ​ต้น​มา​เป็นต้นเ​งิน​กู้​ด้วย ดัง​นั้นส​ ่วน​ที่​เป็น​ดอกเบี้ยเ​กิน​อัตรา​และ​
คิด​โดย​วิธี​ทบ​ต้น​จึง​ต้อง​ห้าม​ชัด​แจ้ง​โดย​กฎหมาย​เป็น​โมฆะ​ ตาม ปพพ. มาตรา 113 (ปัจจุบัน​มาตรา 150)
มาตรา 654 และ​มาตรา 655
นอกจาก​นั้น​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​กัน ตั้งแต่​แรก​กู้​เงิน​ต้อง​ห้าม​ตาม​กฎหมาย ฎ. 1260/2509
ดอกเบี้ยท​ จ​ี่ ะ​เอา​มา​ทบ​เป็นเ​งินต​ ้นไ​ ด้ต​ ้อง​เป็นด​ อกเบี้ยท​ คี่​ ้าง​ชำ�ระ​มา​แล้วไ​ ม่น​ ้อย​กว่า 1 ปี การ​ทเี่​อา​ดอกเบี้ย​
มา​ทบ​ต้น​ตั้งแต่​แรก​กู้​เงิน​โดย​ยัง​ไม่​ค้าง​ชำ�ระ​เป็นการ​ต้อง​ห้าม​ตาม​กฎหมาย​มาตรา 655 แห่ง​ประมวล​
กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์

2. กรณี​มี​ประเพณี​การ​ค้าขาย การ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน โดย​ปกติ​ทำ�​ไม่​ได้​ ตาม
ปพพ. มาตรา 655 วรรค 1 แต่​ถ้า​หาก​มีด​อก​เบี้ย​ค้าง​ชำ�ระ​ไม่​น้อย​กว่า​ปี​หนึ่ง​และ​คู่​สัญญา​กู้​ยืมต​ กลง​กัน​เป็น​
หนังสือ​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​กัน​ย่อม​ท�ำ ได้ นอกจาก​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​สัญญา​กู้​ยืม​ดัง​กล่าว​แล้ว​ยัง​มี​
การ​คดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ใ​น​การ​คา้ ขาย ทีค​่ �ำ นวณ​ดอกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ก​ นั ต​ าม​มาตรา 655 วรรค​สอง ความ​วา่ “ส่วน​
ประเพณีก​ าร​คา้ ขาย​ทค​ี่ �ำ นวณ​ดอกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ใ​น​บญ ั ชีเ​ดินส​ ะพัดก​ ด​็ ี ใน​การ​คา้ ขาย​อย่าง​อนื่ ท​ �ำ นอง​เช่นว​ า่ น​ ก​ี้ ด​็ ี
สธ
หา​อยูใ​่ น​บงั คับ​แห่ง​บทบัญญัต​ซิ งึ่ ก​ ล่าว​มา​ใน​วรรค​กอ่ น​นนั้ ไ​ ม่” กฎหมาย​ยนิ ยอม​ให้ค​ ดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ก​ นั ไ​ ด้​
ใน​ประเพณีก​ าร​คา้ ขาย (Commercial usage) ทีค​่ �ำ นวณ​ดอกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ใ​น​บญ ั ชีเ​ดินส​ ะพัดซ​ งึ่ ป​ ระเพณีก​ าร​

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-63

ค้าขาย​ทคี่​ ำ�นวณ​ดอกเบี้ยท​ บ​ต้นใ​น​บัญชีเ​ดินส​ ะพัด ได้แก่ ประเพณีข​ อง​ธนาคาร​ซึ่งม​ ขี​ ึ้นโ​ ดย​ลูกค้าเ​ปิดบ​ ัญชี​
กระแส​ราย​วัน​กับ​ธนาคาร​และ​มกี​ าร​หัก​ทอน​บัญชี​หนี้​ระหว่าง​กัน
ประเพณี (usage) หมาย​ถึง ทาง​ปฏิบัต​ทิ ี่​เป็น​มา​ทำ�นอง​เดียว​กับ​ประเพณี​ตาม​มาตรา 368, 552,
803 ฯลฯ ต่าง​กับ​ประเพณี​ท้อง​ถิ่น (local custom) ซึ่ง​จะ​นำ�​มา​ใช้​บังคับ​อย่าง​กฎหมาย​ตาม​มาตรา 4 จึง​
หมายความ​แต่​เพียง​เคย​ปฏิบัติ​กัน​มา​อย่างไร​ก็​ปฏิบัติ​กัน​อย่าง​นั้น ไม่​ต้อง​มี​มา​นาน​อย่าง​ประเพณี​ท้อง​ถิ่น


ฯลฯ นอกจาก​นี้ The Concise Oxford Dictionary ให้​ความ​หมาย ของ​ค�​ ำ ว่า usage (ซึ่ง​เป็น​ถ้อยคำ�​ที่​
ใช้ใ​น​ฉบับภ​ าษา​อังกฤษ) ใน​ทาง​กฎหมาย​ไว้ว​ ่า “เป็น​ปกติ​วิสัย แต่ไ​ ม่​จำ�เป็นต​ ้อง​ปฏิบัติ​มา​นาน​จน​จ�​ ำ ไม่ไ​ ด้”

มส
(habitual but not necessarily immemorial practice)45
ประเพณีก​ าร​คา้ ขาย​ของ​ธนาคาร​ทจ​ี่ ะ​คดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ก​ นั ไ​ ด้ต​ าม​กฎหมาย นักก​ ฎหมาย​บาง​ทา่ น​
เห็น​ว่า​ต้อง​ม​อี งค์​ประกอบ 3 ประการ​คือ
2.1 ต้อง​เป็นการ​ให้​กู้​ยืม​เป็นการ​ค้า
2.2 ต้อง​ม​ปี ระเพณี​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้ และ
2.3 ต้อง​เป็นการ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​โดย​วิธี​บัญชี​เดินส​ ะพัด
เมื่อ​ครบ​หลัก​เกณฑ์ 3 ประการ​นี้ ธนาคาร​จึงจ​ ะ​คิดด​ อกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้46 หาก​ขาด​หลัก​เกณฑ์​ข้อ​ใด​
ข้อห​ นึ่งธ​ นาคาร​จะ​คิดด​ อกเบี้ยท​ บ​ต้นไ​ ม่ไ​ ด้ ซึ่งก​ รณี​นศี้​ าสตราจารย์​ไพจิตร ปุญญ​พันธุ์ มี​ความ​เห็น​ว่าการ​ที่​
ธนาคาร​จะ​คิดด​ อกเบี้ยท​ บ​ต้นไ​ ด้ต​ ้อง​เข้าห​ ลักเ​กณฑ์ 2 ประการ​ข้าง​ต้น คือ​เป็นการ​ให้​กู้​ยืม เป็นการ​ค้า​และ​

มีป​ ระเพณี​ให้​คิด​ดอกเบี้ยท​ บ​ต้นไ​ ด้ แต่ไ​ ม่จ​ ำ�เป็นต​ ้อง​เป็นการ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้นโ​ ดย​วิธ​บี ัญชี​เดินส​ ะพัด​ตาม​
ข้อ 3 ซึ่งผ​ เู้​ขียน​เห็นด​ ้วย​กับศ​ าสตราจารย์ไ​ พจิตร ปุญญ​พันธุ์ เพราะ​เห็นว​ ่าการ​ที่​ธนาคาร​จะ​คิด​ดอกเบี้ยท​ บ​
มส

ต้นไ​ ด้น​ นั้ ไม่ใช่ม​ เ​ี ฉพาะ​กรณีป​ ระเพณีก​ าร​คา้ ขาย​ทใ​ี่ ห้ค​ ดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ต​ าม​บญั ชีเ​ดินส​ ะพัดเ​ท่านัน้ มิฉ​ ะนัน้ ​
มาตรา 655 วรรค 2 จะ​ไม่บ​ ัญญัตถิ​ ึงใ​น​การ​ค้าขาย​อย่าง​อื่นท​ ำ�นอง​เช่น​ว่า​นี้ ก็​แสดง​ว่า​ต้อง​มปี​ ระเพณี​การ​
ค้าอ​ ย่าง​อื่น​นอกจาก​บัญชีเ​ดินส​ ะพัด
ดังน​ ั้น จึงส​ รุปไ​ ด้ว​ ่าการ​คิดด​ อกเบี้ยท​ บ​ต้น​ได้​ตาม​มาตรา 655 วรรค 2 มี 2 กรณี คือ
1) กรณีม​ ป​ี ระเพณีก​ าร​คา้ ขาย​ทค​ี่ �ำ นวณ​ดอกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ใ​น​บญ ั ชีเ​ดินส​ ะพัด กรณีน​ ต​ี้ อ้ ง​มบ​ี ญ
ั ชี​
เดินส​ ะพัดใ​น​การ​หักท​ อน​หนีก้​ ันร​ ะหว่าง​ผใู้​ห้ก​ แู้​ ละ​ผู้​กยู้​ ืม

2) กรณีก​ าร​ค้าขาย​อย่าง​อื่นท​ ำ�นอง​บัญชีเ​ดินส​ ะพัดก​ รณีน​ ไี้​ ม่ต​ ้อง​มบี​ ัญชีเ​ดินส​ ะพัด แต่เ​ป็น​
ประเพณี​การ​ค้าข​ อง​ธนาคาร​ให้ค​ ิดด​ อกเบี้ยท​ บ​ต้นไ​ ด้
ดัง​มี​ตัวอย่าง​คำ�​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ที่​วินิจฉัย​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ไว้​เช่น ฎ. 1951/2506 ซึ่ง​
วินิจฉัยว​ ่า “แม้ป​ ระมวล​กฎหมาย​แพ่งม​ าตรา 655 บัญญัติ​ความ​ไว้ใ​น​วรรค​ต้น​ว่าท​ ่าน​ห้าม​มใิ​ห้ค​ ิด​ดอกเบี้ย​
ที่​ค้าง​ชำ�ระ ฯลฯ ก็ตาม แต่​ใน​วรรค​สอง​ยัง​บัญญัติ​ยกเว้น​ไว้​อีก​ว่า “ส่วน​ประเพณี​การ​ค้าขาย​ที่​คำ�นวณ​
ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​บัญชี​เดิน​สะพัด​ก็​ดี ใน​การ​ค้าขาย​อื่น​ทำ�นอง​เช่น​ว่า​นี้​ก็​ดี หาอยู่​ใน​บังคับแห่ง​บทบัญญัติ​

สธ
45 ไพจิตร ปุญญ​พันธุ์ “ธนาคาร​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้นใ​น​เงินก​ ไู้​ ด้ห​ รือไ​ ม่” บท​บัณฑิตย์ เล่ม 37 ตอน 3 ปี 2523 น. 384.
46 เรื่อง​เดียวกัน น. 379.

3-64 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ซึง่ ก​ ล่าว​มา​ใน​วรรค​กอ่ น​นนั้ ไ​ ม่ ฯลฯ เห็นว​ า่ ม​ าตรา 655 วรรค​สอง​มใ​ิ ห้เ​อา​ขอ้ บ​ ญ ั ญัตใ​ิ น​วรรค​ตน้ ม​ า​ใช้บ​ งั คับ
​ใน​ประเพณี​การ​ค้า​ที่​มี​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​บัญชี​เดิน​สะพัด​อย่าง​หนึ่ง และ​ประเพณี​การ​ค้า​อย่าง​
อื่น​ที่​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​โดย​ไม่ใช่​บัญชี​เดิน​สะพัด แต่​อาจ​จะ​ใช้วิธีอย่าง​อื่น​ใน​ทำ�นอง​นั้น​ก็ได้​อีก​อย่าง​
หนึ่ง ฯลฯ รูป​คดี​นี้​เข้า​อยู่​ใน​บทบัญญัติ​ของ​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ มาตรา 655 วรรค​สอง
ซึ่ ง ​เ ป็ น ​ข้ อ ​ย กเว้ น ​ข อง​ว รรค​ต้ น สั ญ ญา​กู้ ​ที่ ​จำ � เลย​ทำ �​ไว้ ​กั บ ​ธ นาคาร​โจทก์ ​ย อม​ใ ห้ ​คิ ด ​ด อกเบี้ ย ทบ​ต้ น


เมื่อ​ผิดนัด​เป็น​ราย​เดือน​จึง​สมบูรณ์​ใช้ได้​หา​เป็น​โมฆะ​ดัง​จำ�เลย​ที่ 1 กล่าว​อ้าง​ไม่ จำ�เลย​จึง​ต้อง​ชำ�ระ​
ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​เป็น​ราย​เดือน​ให้​แก่​โจทก์” ส่วน​การ​กู้​เงิน​ธนาคาร​ไป​เพื่อ​ปลูก​บ้าน​โดยตรง​มิใช่​กรณี​บัญชี​

มส
เดิน​สะพัด​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์ ธนาคาร​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ไม่​ได้​ต้อง​ห้าม​ตาม​มาตรา 655 วรรค​หนึ่ง
ดัง​คำ�​วินิจฉัย​ใน ฎ. 580/2509 ใน​คดี​นี้​จำ�เลย​กู้​เงิน​ธนาคาร​ไป​ปลูก​บ้าน​ค้าง​ต้น​เงิน​แสน​บาท​เศษ​โจทก์​
ฟ้อง​จำ�เลย​ใช้​ต้น​เงิน​กับ​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​อีก 40,000 บาท​เศษ ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า​ส่วน​ที่​โจทก์​เรียก​ร้อง​
ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ตาม​สัญญา​ข้อ 4 ที่​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ค้าง​ชำ�ระ​ทบ​ต้น​ทุก​วัน​สิ้น​เดือน​นั้น เป็นการ​ขัด​ต่อ​
ข้อ​ห้าม​ ตาม ปพพ. มาตรา 655 เพราะ​กรณี​ของ​โจทก์​จำ�เลย​นี้​เป็นการ​กู้​ยืม​เงิน​ปลูก​อาคาร​โดยตรง
มิใช่​กรณี​บัญชี​เดิน​สะพัด​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์​ที่​จะ​อ้าง​ประเพณี​การ​ค้าขาย ใน​การ​คำ�นวณ​ดอกเบี้ย
ทบ​ต้น​ตาม​ความ​ใน​วรรค​สอง​แต่​ประการ​ใด สัญญา​ข้อ 4 จึง​เป็น​โมฆะ พิพากษา​ให้​จำ�เลย​ใช้​ต้น​เงิน​กับ​
ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 4 ครึ่ง​ต่อ​ปี​เท่า​ที่​โจทก์​ฟ้อง (โดย​ไม่​ให้​คิด​ทบ​ต้น)47 ส่วน​ตัวอย่าง​คำ�​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​
ทีว่​ ินิจฉัย​ให้​ธนาคาร​คิด​ดอกเบี้ยท​ บ​ต้น​ได้​ตาม ฎ. 1129/2524 “เมื่อ​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ระหว่าง​โจทก์​

จำ�เลย​มิได้​ก�ำ หนด​ระยะ​เวลา​กันไ​ ว้ ต้อง​ถือว่าไ​ ด้ม​ ี​การ​เลิก​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด เมื่อ​จำ�เลย​ไม่​ชำ�ระ​หนี้​ให้​
โจทก์​ภายใน​ระยะ​เวลา​ที่​โจทก์แ​ จ้งไ​ ป​ยังจ​ ำ�เลย​ให้จ​ ัดการ​ชำ�ระ​หนี้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี ซึ่ง​ใน​ระหว่าง​นั้น​จำ�เลย​
มส

ก็​มิได้​สั่ง​จ่าย​เงิน​อีก
ตาม​ประเพณี​การ​ค้า​ธนาคาร​โจทก์​ย่อม​มี​สิทธิ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​บัญชี​เดิน​สะพัด​ได้
ข้อต​ กลง​ไม่​เป็น​โมฆะ ปัญหา​ว่าข​ ้อ​นี้​เป็นโ​ มฆะ​หรือ​ไม่​เกี่ยว​กับ​ความ​สงบ​เรียบร้อย​ของ​ประชาชน”
1) กรณี​ไม่มี​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​มี​เพียง​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้​
หรือ​ไม่ ตาม​ที่​ได้​กล่าว​มา​แล้ว​ว่า สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ตาม​ธรรมดา​กฎหมาย​ห้าม​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​เว้น​แต่​จะ​
มี​ข้อ​ตกลง​ระหว่าง​คู่​สัญญา​ให้​ทำ�​เช่น​นั้น​ได้ กรณี​มีด​อก​เบี้ย​ค้าง​ชำ�ระ​กว่า​หนึ่ง​ปี​ขึ้น​ไป และ​การ​กู้​ยืม​เงิน​

ชนิด​ที่​เรียก​ว่า​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เท่านั้น​ที่​สามารถ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​กัน​ได้ ส่วน​การ​มี​บัญชี​เดิน​สะพัด​โดย​
ไม่​ได้​มี​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ต่อ​กัน​ดังนี้ จะ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้​หรือ​ไม่ ย่อม​ทำ�ได้​เพราะ​เป็น​ไป​ตาม​
มาตรา 655 วรรค​สอง โดยตรง มี​คำ�​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ได้​วินิจฉัย​ว่าการ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ดัง​กล่าว​ย่อม​
ทำ�ได้​ตาม ฎ. 1837/2524 ความ​ว่า “การ​ฝาก​เงิน​กระแส​ราย​วัน ถ้า​ไม่​ตกลง​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​หรือ​ไม่มี​
ระเบียบ​การ​บัญชี​เงิน​ฝาก​ประกอบ​แล้ว​ธนาคาร​ไม่​จ่าย​เงิน​ฝาก​แต่​จำ�เลย​ได้​รับ​และ​ทราบ​ระเบียบ​การ​บัญชี​
เงิน​ฝาก​กระแส​ราย​วัน​ของ​ธนาคาร​โจทก์​ดีแล้ว จึง​ยินยอม​เข้า​ผูกพัน​กับ​โจทก์​ด้วย​การ​ขอ​เปิด​บัญชี​เงิน​
สธ
47 ตัวอย่าง ฎ. 580/2509 โจทก์เ​ป็นธ​ นาคาร​อาคารสงเคราะห์ มิใช่ธ​ นาคาร​พาณิชย์ จะ​อา้ ง​ประเพณีก
​ าร​คา้ ด​ งั เ​ช่นธ​ นาคาร​
พาณิชย์​ไม่​ได้

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-65

ฝาก​กระแส​ราย​วนั เมือ่ จ​ �ำ เลย​จา่ ย​เช็คถ​ อน​เงินเ​กินก​ ว่าจ​ �ำ นวน​ทจ​ี่ �ำ เลย​มอ​ี ยูใ​่ น​บญ ั ชีแ​ ละ​โจทก์ไ​ ด้ผ​ อ่ น​ผนั จ​ า่ ย​
ให้​ไป จำ�เลย​จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​โจทก์​เสมือน​โจทก์​กับ​จำ�เลย​ม​ีสัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ต่อ​กัน โจทก์​มี​สิทธิ​คิด​
ดอกเบี้ยท​ บ​ต้น​ได้”
อนึง่ มีน​ กั ก​ ฎหมาย​บาง​ทา่ น​เห็นว​ า่ การ​มบ​ี ญ ั ชีเ​ดินส​ ะพัดก​ บั ธ​ นาคาร​ถา้ ไ​ ม่ไ​ ด้ม​ ส​ี ญ ั ญา​เบิกเ​งิน​
เกิน​บัญชีต​ ่อก​ ันจ​ ะ​คิด​ดอกเบี้ยท​ บ​ต้น​ไม่​ได้


นอกจาก​การ​คดิ อ​ ตั รา​ดอกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ใ​น​บญ ั ชีเ​ดินส​ ะพัด ตาม​ประเพณีก​ าร​คา้ ข​ อง​ธนาคาร​แล้ว
ยัง​สามารถ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​การ​ค้าขาย​อย่าง​อื่น​ทำ�นอง​เดียว​กับ​บัญชี​เดิน​สะพัด​ได้ ซึ่ง​ประเพณี​การ​

มส
ค้าขาย​อย่าง​อื่น​ท�ำ นอง​เดียว​กับ​บัญชี​เดิน​สะพัด ได้แก่ การ​ค้า​เงิน​อัน​เป็น​ธุรกิจส​ ำ�คัญ​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์
หาก​ผู้​ให้​กู้ (ธนาคาร) นำ�สืบ​ได้​ว่า​เป็น​ประเพณี​การ​ค้า​ของ​ธนาคาร​แล้ว​ย่อม​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้ ส่วน​
การ​ตกลง​กัน​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ธร​มดา​ก็​ไม่​ถือว่า​การ​กู้​ยืม​เงิน​เป็นการ​ค้าขาย​อย่าง​
อื่น​ทำ�นอง​เดียว​กับ​บัญชี​เดิน​สะพัด เพราะ​ประเพณี​ธนาคาร​ที่​จะ​ใช้​ใน​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​มี​ได้​เฉพาะ​
ใน​วรรค 2 เท่านั้น คือ​การ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี ดัง​ตัวอย่าง​ใน ฎ. 543/2510 วินิจฉัย​ว่า “ตาม​ประมวล​
กฎหมาย​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์​มาตรา 655 ห้าม​มิ​ให้​คิด​ดอกเบี้ยใ​น​ดอกเบี้ยท​ ี่ค​ ้าง​ช�ำ ระ​แต่​ค​สู่ ัญญา​จะ​ตกลง​กัน​
เป็น​หนังสือ​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้​ใน​เมื่อ​ดอกเบี้ย​ค้าง​ชำ�ระ​ไม่​น้อย​กว่า 1 ปี หรือ​มี​ประเพณี​การ​ค้าขาย​
ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้ ตาม​สัญญา​กู้​ที่​โจทก์​ฟ้อง​ข้อ 3 มี​ว่า “การ​ให้​กู้​และ​กู้​ตาม​หนังสือ​นี้​ให้​เป็น​ไป​ตาม​
ประเพณี​ผู้​ให้​กู้ ฉะนั้น​หาก​ผู้​กู้​ผิดนัด​ไม่​ส่งดอก​เบี้ย​ตาม​อัตรา​และ​กำ�หนด​ที่​กล่าว​มา​แล้ว​ใน​ข้อ 2 ฯลฯ ผู้​กู้​

ยินยอม​ให้​ดอกเบี้ย​ที่​ค้าง​ชำ�ระ​นั้น​ทบ​เข้า​กับ​ต้น​เงิน​ทันที​ที่​ค้าง​ชำ�ระ​เป็น​คราวๆ ไป และ​ยอม​ให้​ผู้​ให้​กู้​คิด​
ดอกเบี้ย​ทบ​เข้า​กับ​ต้น​เงิน ดัง​ว่า​นี้​เป็น​ตัว​เงิน​อัน​ผู้​กู้​จะ​ต้อง​เสียด​อก​เบี้ย​ใน​อัตรา​เดียวกัน และ​มี​กำ�หนด​
มส

ชำ�ระ​อย่าง​เดียวกัน​กับ​ที่​ระบุ​ใน​ข้อ 2” ตาม​สัญญา​กู้​ข้อ 2 ให้​ส่งดอก​เบี้ย​เป็น​ราย​เดือน ฉะนั้น จึง​เห็น​


ว่าการ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​เป็นการ​ให้​คิด​กัน​ได้​ทันที​ที่​ผู้​กู้​ผิดนัด​ไม่​ชำ�ระ​ดอกเบี้ย​จึง​ไม่​อยู่​ใน​ข้อ​ยกเว้น​อัน​จะ​
ทำ�ได้​ตาม​มาตรา 655 ดัง​กล่าว แม้​ใน​สัญญา​กู้​จะ​เขียน​ไว้​ว่าการ​ให้​กู้​เป็น​ไป​ตาม​ประเพณี​ผู้​ให้​กู้​แต่​โจทก์​
มิได้​นำ�สืบ​ให้​เห็น​ว่า​ประเพณี​ผู้​ให้​กู้​ตาม​ที่​เขียน​ไว้​นั้น​เป็น​ประเพณี​การ​ค้า​ที่​ให้​คำ�นวณ​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น
ดังน​ นั้ ข้อความ​ทเ​ี่ กีย่ ว​กบั ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ต​ าม​สญ
ั ญา​กร​ู้ าย​ทโ​ี่ จทก์ฟ​ อ้ ง​นจ​ี้ งึ เ​ป็นการ​ฝา่ ฝืนต​ อ่ ป​ ระมวล​กฎหมาย​
แพ่ง​และ​พาณิชย์ มาตรา 655 ข้อ​ตกลง​นี้​จึง​เป็น​โมฆะ ปัญหา​จำ�เลย​จะ​นำ�สืบ​ประเพณี​ธนาคาร​ได้​หรือ​ไม่
ซึ่ง​ศาสตราจารย์​ไพจิตร ปุญญ​พันธุ์ เห็น​ว่า​ได้​ตาม​มาตรา 4 แห่ง​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์
เพราะ​มี​กฎหมาย​บัญญัติ​อยู่​แล้ว​และ​เป็น​กฎหมาย​เกี่ยว​กับ​ความ​สงบฯ ประเพณี​ธนาคาร​ใช้ได้​เฉพาะ​กรณี​

ตาม​วรรค​สอง​เท่านั้น คดี​หา​อยู่​ใน​บังคับ​แห่ง​บทบัญญัติ​ซึ่ง​กล่าว​มา​ใน​วรรค​ก่อน​นั้น​ไม่ ความ​หมาย​ของ​
บทบัญญัติ มาตรา 655 วรรค​สอง อันเ​ป็นข​ อ้ ย​ กเว้นใ​ห้ม​ ก​ี าร​คดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ก​ นั ไ​ ด้ ก็เ​พราะ​เป็นเ​รือ่ ง​การ​
ค้าขาย​และ​เป็นการ​คา้ ขาย​เงินย​ อ่ ม​จะ​มดี อ​ ก​ผล​เพิม่ พูนข​ นึ้ ต​ ลอด​เวลา หาก​ไม่ท​ �ำ ให้ก​ าร​คา้ ขาย​เงินม​ ดี อ​ ก​ผล
​เพิ่มพูน​ขึ้น​การ​ค้าขาย​นั้น​ก็​ย่อม​อยู่​ไม่​ได้ รัฐ​ก็​ไม่​ได้​ภาษี​อากร กิจการ​ย่อม​จะ​ถึงแก่​การ​หายนะ​ล่มจม​
ใน​ที่สุด และ​กิจการ​ค้าขาย​เงิน​ให้​กู้​ยืม​เงิน​ย่อม​จะ​เป็น​กิจการ​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์​ที่​สำ�คัญ​อย่าง​หนึ่ง48
สธ

48 เรื่อง​เดียวกัน น. 378–379.

3-66 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ซึ่ง​ผู้​เขียน​เห็น​ว่า​ธนาคาร​พาณิชย์​มี​สิทธิ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​การ​ให้​กู้​ยืม​เงินได้ หาก​มี​ข้อ​ตกลง​เช่น​นั้น
เนื่องจาก​ประเพณี​การ​ค้า​อย่าง​อื่น​ทำ�นอง​เดียว​กับ​บัญชี​เดิน​สะพัด​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์​คือ การ​ให้​กู้​ยืม​เงิน​
ไม่ว​ า่ ใ​น​รปู ใ​ด​ทท​ี่ �ำ ให้ธ​ นาคาร​ได้ด​ อกเบีย้ ​อนั เ​ป็นร​ าย​ได้ส​ ว่ น​หนึง่ ข​ อง​ธนาคาร​พาณิชย์ แต่​มค​ี �​ ำ พพิ ากษา​ศาล​
ฎีกา​ทว​ี่ นิ จิ ฉัยว​ า่ การ​ท�​ ำ สญั ญา​กย​ู้ มื เ​งินก​ บั บ​ ริษทั เ​งินท​ นุ ห​ ลักท​ รัพย์ไ​ ม่ใช่เ​รือ่ ง​บญ
ั ชีเ​ดินส​ ะพัดห​ รือก​ าร​คา้ ขาย​
อย่าง​อื่นท​ ำ�นอง​บัญชี​เดิน​สะพัด


อุทาหรณ์
ฎ. 1870/2527 สัญญา​กู้​ที่​ตกลง​ให้​ส่งดอก​เบี้ย​เป็น​ราย​เดือน​หาก​ผู้​กู้​ผิดนัด​ไม่​ชำ�ระ​เดือน​ใด​

มส
ผูใ​้ ห้ก​ ม​ู้ ส​ี ทิ ธิค​ ดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ ไ​ ด้ท​ นั ทีโ​ดย​ไม่ต​ อ้ ง​รอ​ให้ด​ อกเบีย้ ค​ า้ ง​ช�ำ ระ​ไม่น​ อ้ ย​กว่าป​ ห​ี นึง่ ก​ อ่ น​นนั้ ข้อต​ กลง​
เฉพาะ​ที่​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​เป็นการ​ฝ่าฝืน​มาตรา 655 วรรค​แรก​ตก​เป็น​โมฆะ
สัญญา​กเ​ู้ งินร​ ะหว่าง​บริษทั เ​งินท​ นุ ห​ ลักท​ รัพย์ โจทก์ก​ บั จ​ �ำ เลย​เป็นส​ ญ
โดย​จ�ำ เลย​เป็นล​ กู ห​ นีโ​้ จทก์เ​พียง​ฝา่ ย​เดียว​ไม่มห​ี นีส​้ นิ อ​ ะไร​ทจ​ี่ ะ​หกั ก​ ลบ​ลบ​กนั แม้โ​จทก์จ​ ะ​ท�​
กู้​เงิน​ไว้​ก็​เพื่อ​ประสงค์​จะ​ทราบ​ว่า​จำ�เลย​กู้​เงิน​ไป​เมื่อ​ใด จำ�นวน​เท่าใด ผ่อน​ชำ�ระ​ดอกเบี้ย​และ​เงิน​ต้น​แล้ว​
เพียง​ใด​กับย​ ังค​ ้าง​ชำ�ระ​อีก​เท่าใด มิใช่​เป็นการ​ตัด​ทอน​บัญชี​หนี้​อัน​เกิด​ขึ้นแ​ ต่​กิจการ​ใน​ระหว่าง​โจทก์จ​ ำ�เลย
นิติ​สัมพันธ์​ระหว่าง​โจทก์​จำ�เลย​จึง​มิใช่​เรื่อง​บัญชี​เดิน​สะพัด​หรือ​การ​ค้าขาย​อย่าง​อื่น​ทำ�นอง​บัญชี​เดิน​สะพัด
ั ญา​กเ​ู้ งินก​ นั ต​ าม​ธรรมดา
ำ ทะเบียน​สญ ั ญา​

โจทก์​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​จาก​จ�ำ เลย​ตาม​มาตรา 655 วรรค​สอง​ไม่ไ​ ด้


ฎ. 3236/2533 จำ�เลย​ไม่ช​ �ำ ระ​หนีเ​้ งินก​ ต​ู้ าม​สญ ั ญา​กู้ โจทก์จ​ �ำ เลย​จงึ ต​ กลง​แปลง​หนีต​้ าม​สญ ั ญา​

กู้​นั้น ซึ่ง​รวม​ดอกเบี้ยเ​กิน​อัตรา​และ​คิด​โดย​วิธี​ทบ​ต้น​มา​เป็นต้น​เงิน​กู้​ด้วย​ดังนี้​ส่วน​ที่​เป็น​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา​
และ​คิด​โดย​วิธี​ทบ​ต้น จึง​ต้อง​ห้าม​ชัด​แจ้ง​โดย​กฎหมาย​เป็นโ​ มฆะ​ ตาม ปพพ. มาตรา 113 (ปัจจุบัน มาตรา
มส

150) มาตรา 654 และ​มาตรา 655


อนึ่ง​การ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ ตาม ปพพ. มาตรา 655 นั้น เมื่อ​รวม​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​เข้า​
ด้วย​แล้ว​จะ​ทำ�ให้​จำ�นวน​ดอกเบี้ย​เกิน​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี ก็​ไม่​ขัด​ต่อ พรบ. ห้าม​เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​อัต​ราฯ
(ฎ. 658–659/2511 (ป.ใหญ่))
2) เวลา​ทจ​ี่ ะ​คดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ การ​ทธ​ี่ นาคาร​คดิ ด​ อกเบีย้ ​ทบ​ตน้ ไ​ ด้น​ ี้ น่าจ​ ะ​คดิ ไ​ ด้เ​มือ่ ถ​ งึ ร​ ะยะ​
เวลา​หัก​ทอน​บัญชี​ตาม​มาตรา 860 ซึ่ง​บัญญัต​วิ ่า “เงินส​ ่วน​ท​ผี่ ิด​กัน​อยูน่​ ั้น​ถ้า​ยัง​มิได้ช​ ำ�ระ​ท่าน​ให้​คิด​ดอกเบี้ย​
นับ​แต่​วัน​ท​หี่ ักท​ อน​บัญชี​เสร็จ​เป็นต้น​ไป” เช่น กรณี นาย​กิจ​ทำ�​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​กับ​ธนาคาร ตกลง​ให้​ ม
หัก​ทอน​บัญชี​หนีก้​ ัน​ทุก​สิ้น​เดือน​ดังนี้ หาก​นาย กิจ มีย​ อด​เงิน​ใน​บัญชี​เป็น​ลูกห​ นี้​ธนาคาร​หลัง​จาก​หัก​ทอน​
บัญชีห​ นีก้​ ันใ​น​วันท​ ี่ 30 ดังนี้ ธนาคาร​สามารถ​คิดด​ อกเบี้ยท​ บ​ต้นจ​ าก นาย​กิจ ได้ นับแ​ ต่ว​ ันท​ หี่​ ักท​ อน​บัญชี​
เสร็จ​คือ​วัน​ที่ 30 เป็นต้น​ไป ธนาคาร​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น ก่อน​ทมี่​ ​กี าร​หัก​ทอน​บัญชีห​ นี้​กัน​ใน​วัน​ที่ 30 ไม่​
ได้ต​ ้อง​ห้าม​ตาม​กฎหมาย
3) การ​งด​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​หลัง​จาก​สัญญา​กเู้​งินเ​กินบ​ ัญชีร​ ะงับ
ก. กรณี​เลิก​สัญญา เมื่อ​คู่​สัญญา​ได้​ตกลง​ให้​หัก​ทอน​บัญชี​หนี้​สิน​ระหว่าง​กัน​เท่ากับ​
สธ
เป็นการ​เลิกส​ ญ ั ญา​บญ ั ชีเ​ดินส​ ะพัด ทำ�ให้ส​ ญ ั ญา​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญ ั ชีร​ ะงับไ​ ป​ดว้ ย ดังน​ นั้ ธนาคาร​จะ​คดิ ด​ อกเบีย้ ​
ทบ​ต้น​จาก​ลูก​หนี​ต้ ่อไ​ ป​ไม่​ได้​นอกจาก​คิดด​ อกเบี้ยอ​ ัตรา​ธรรมดา

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-67

อุทาหรณ์
ฎ. 1054/2526 ธนาคาร​โจทก์​ให้​จำ�เลย​กู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี จำ�เลย​ได้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี
และ​น�​ ำ เงินเ​ข้าบ​ ญ
ั ชีห​ ลาย​ครัง้ เ​พือ่ ห​ กั ก​ ลบ​ลบ​หนี้ ดังนีส​้ ญ ั ญา​ระหว่าง​โจทก์จ​ �ำ เลย​มล​ี กั ษณะ​เป็นส​ ญ ั ญา​บญ ั ชี​
เดินส​ ะพัด
การ​ที่​โจทก์​มี​หนังสือ​บอก​กล่าว​ให้​จำ�เลย​นำ�​เงิน​ส่ง​เข้า​บัญชี​เพื่อ​ลด​ยอด​เงิน​ที่​เบิก​เกิน​


บัญชี​ทั้งหมด​ภายใน​กำ�หนด 1 เดือน นับ​แต่​วัน​รับ​หนังสือ มิ​ฉะนั้น​โจทก์​จะ​ดำ�เนิน​คดี​แก่​จำ�เลย​เช่น​นี้​เป็น
การ​บอก​เลิกส​ ญ ั ญา​บญ ั ชีเ​ดินส​ ะพัด โดย​มผ​ี ล​ให้ส​ ญ ั ญา​เลิกก​ นั เ​มือ่ ค​ รบ​ก�ำ หนด 1 เดือน นับแ​ ต่ว​ นั ร​ บั ห​ นังสือ​

เท่านั้น
มส
แล้ว หลัง​จาก​สัญญา​เลิก​กัน​แล้ว​ธนาคาร​โจทก์​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​อีก​ไม่​ได้​คง​คิด​ดอกเบี้ย​โดย​วิธี​ธรรมดา​

ฎ. 540/2535 หลัง​จาก​ครบ​กำ�หนด​อายุ​สัญญา​กู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี จำ�เลย​ยัง​ถอน​เงิน​


ออก​และ​นำ�​เงิน​เข้า​บัญชี​หัก​ทอน​กับ​โจทก์​อีก​หลาย​ครั้ง ถือ​ได้​ว่า​คู่​กรณี​ตกลง​ทำ�​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​กัน​
ต่อ​ไป​โดย​ไม่มี​กำ�หนด​อายุ​สัญญา เมื่อ​ไม่มี​การ​หัก​ทอน​บัญชี​และ​บอก​กล่าว​เลิก​สัญญา สัญญา​บัญชี​เดิน​
สะพัดร​ ะหว่าง​โจทก์ก​ บั จ​ �ำ เลย​จงึ ไ​ ม่ส​ นิ้ ส​ ดุ ล​ ง เมือ่ ต​ อ่ ม​ า​โจทก์ม​ ห​ี นังสือท​ วงถาม​ให้จ​ �ำ เลย​ช�ำ ระ​หนีใ​้ ห้เ​สร็จส​ นิ้ ​
ภายใน​ก�ำ หนด​ยอ่ ม​ถอื ไ​ ด้ว​ า่ เ​ป็นการ​บอก​กล่าว​เลิกส​ ญ ั ญา​และ​มผ​ี ล​ให้ส​ ญ ั ญา​เลิกก​ นั ใ​น​วนั ค​ รบ​ก�ำ หนด​โจทก์​
จึง​ม​สี ิทธิ​คิดด​ อกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้​จนถึง​วัน​เลิกส​ ัญญา และ​ม​สี ิทธิค​ ิด​ดอกเบี้ย​ไม่ท​ บ​ต้น​ใน​หนี้​ที่​ค้าง​ชำ�ระ​นับ​แต่​
นั้น​ไป​จนถึงว​ ันท​ ี่​กำ�หนด​ไม่​เกิน 5 ปี

ข. ครบ​กำ�หนด​สญ ั ญา เมือ่ ค​ ส​ู่ ญั ญา​ได้ก​ �ำ หนด​เวลา​ไว้ใ​น​สญ ั ญา เช่น กุง้ ทำ�​สญ ั ญา​เบิก​
เงิน​เกิน​บัญชี​กับ​ธนาคาร กำ�หนด​ชำ�ระ​เงิน​คืน​ภายใน 1 ปี ดังนี้​เมื่อ​ครบ​กำ�หนด​เวลา​ตาม​สัญญา สัญญา​
มส

เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เป็น​อัน​ระงับ เป็น​ผล​ให้​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​ที่​ประกอบ​อยู่​ระงับ​ไป​ด้วย ธนาคาร​จะ​คิด​


ดอกเบี้ยท​ บ​ต้นห​ ลัง​จาก​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​ระงับ​แล้วไ​ ม่​ได้​เป็นการ​ขัดก​ ับ​มาตรา 655 วรรค​สอง
ฎ. 2260/2535 สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​กำ�หนด​เวลา​ชำ�ระ​หนี้​ไว้​แน่นอน​เมื่อ​ไม่​ปรากฏ​
ว่าธ​ นาคาร​โจทก์ย​ อม​ให้จ​ �ำ เลย​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญ ั ชีอ​ กี ต​ อ่ ไ​ ป นับแ​ ต่ว​ นั ส​ นิ้ ส​ ดุ ข​ อง​สญ ั ญา ทัง้ ไ​ ม่ป​ รากฏ​วา่ จ​ �ำ เลย​
นำ�​เงิน​เข้าบ​ ัญชี​เพื่อ​หักท​ อน​บัญชี พฤติการณ์แ​ สดง​ว่า​ค​กู่ รณีท​ ั้ง​สอง​ฝ่าย​ถือว่า​สัญญา​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ัญชี​เป็น​
อัน​สิ้น​สุด​ลง​ตาม​กำ�หนด​เวลา​ทรี่​ ะบุ​ไว้​หลัง​จาก​นั้น​ธนาคาร​โจทก์ไ​ ม่มสี​ ิทธิค​ ิดด​ อกเบี้ย​ทบ​ต้นอ​ ีก​ต่อ​ไป

เดินส​ ะพัด​ทาง​บัญชี ธนาคาร​จึง​ไม่มี​สิทธิค​ ิดด​ อกเบี้ย​ทบ​ต้น​นับแ​ ต่ว​ ัน​ถัด​จาก​วัน​สิ้น​สุด​สัญญา​ดัง​กล่าว


อุทาหรณ์
ฎ. 2730/2534 ปรากฏ​ตาม​บัญชี​กระแส​ราย​วัน​ว่า​นับ​แต่​วัน​ถัด​จาก​วัน​ครบ​กำ�หนด​ตาม​

อนึ่ง​แม้​มี​การ​หัก​ทอน​บัญชี​กัน​แล้ว ลูก​หนี้​ได้​นำ�​เงิน​มา​เข้า​บัญชี​เพื่อ​หัก​ทอน​หนี้​ตาม​
ยอด​เงิน​ที่​ค้าง​ชำ�ระ​อยู่ แต่​ไม่​ปรากฏ​ว่า​ธนาคาร​ให้​ลูก​หนี้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ต่อ​ไป​อีก ไม่มี​ลักษณะ​เป็นการ​

บันทึกเ​พิม่ เ​ติมต​ อ่ อ​ ายุส​ ญั ญา​กเ​ู้ บิกเ​งินเ​กินบ​ ญ ั ชีค​ รัง้ ส​ ดุ ท้าย​จนถึงว​ นั ท​ โ​ี่ จทก์ค​ ดิ ห​ กั ท​ อน​บญ ั ชีค​ รัง้ ส​ ดุ ท้าย​ ก่อน​
ทวงถาม​ให้จ​ �ำ เลย​ทงั้ ส​ ช​ี่ �ำ ระ​เงินต​ าม​สญ ั ญา​ดงั ก​ ล่าว จำ�เลย​ที่ 1 ไม่ไ​ ด้เ​บิกเ​งินอ​ กี เ​ลย และ​ไม่ป​ รากฏ​วา่ โ​จทก์​
สธ
ได้ย​ อม​ให้จ​ �ำ เลย​ที่ 1 เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญ ั ชีต​ อ่ ไ​ ป​อกี คง​มแ​ี ต่จ​ �ำ เลย​ที่ 1 นำ�​เงินเ​ข้าบ​ ญ ั ชีเ​พือ่ ห​ กั ท​ อน​หนีต​้ าม​ยอด​
เงินท​ ค​ี่ า้ ง​ช�ำ ระ​ใน​ระหว่าง​นนั้ ร​ วม 8 ครัง้ เป็นเ​งิน 6,000 บาท โดย​ไม่มล​ี กั ษณะ​เป็นการ​เดินส​ ะพัดท​ าง​บญ ั ชี​
หักก​ ลบ​ลบ​กนั ใ​น​ระหว่าง​โจทก์จ​ �ำ เลย​ที่ 1 ใน​ชว่ ง​ระยะ​เวลา​ดงั ก​ ล่าว ดังนี้ พฤติการณ์แ​ สดง​วา่ โ​จทก์จ​ �ำ เลย​ที่ 1

3-68 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ไม่​ประสงค์​จะ​ต่อ​อายุ​สัญญา​กู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​กัน​อีก ถือว่า​สัญญา​กู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​อัน​เป็น​สัญญา​บัญชี​
เดินส​ ะพัดส​ ิ้นส​ ุดล​ ง​นับแ​ ต่ว​ ันค​ รบ​กำ�หนด​ตาม​บันทึกเ​พิ่มเ​ติมต​ ่ออ​ ายุส​ ัญญา​ครั้งส​ ทุ​ ด้าย ตาม ปพพ. มาตรา
856 โจทก์ไ​ ม่มส​ี ทิ ธิค​ ดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ จ​ าก​จ�ำ เลย​ที่ 3 และ​ที่ 4 อีกน​ บั แ​ ต่ว​ นั ถ​ ดั จ​ าก​วนั ส​ นิ้ ส​ ดุ ส​ ญ
ั ญา​คง​มส​ี ทิ ธิ​
คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้​ตั้งแต่​วัน​ที่​จำ�เลย​ที่ 1 ทำ�​สัญญา​กู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​จาก​โจทก์​จนถึง​วัน​สิ้น​สุด​สัญญา​
และ​มี​สิทธิ​คิด​ดอกเบี้ย​โดย​ไม่​ทบ​ต้น​ได้​ตั้งแต่​วัน​ถัด​จาก​วัน​สิ้น​สุด​สัญญา​ไป​จนกว่า​จำ�เลย​ที่ 3 และ​ที่ 4 จะ​


ชำ�ระ​เสร็จแ​ ก่​โจทก์
ฎ. 801/2536 สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัดร​ ะหว่าง​โจทก์​จำ�เลย​รวม​อยู่​ใน​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​
บัญชี ซึ่ง​ท�​

มส
ำ ขึ้น​เมื่อ​วัน​ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2523 มี​ก�ำ หนด 12 เดือน ย่อม​สิ้นส​ ุด​ลง​ใน​วัน​ที่ 28 สิงหาคม
พ.ศ. 2524 สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​ซึ่ง​รวม​อยู่​ด้วย​จึง​สิ้น​สุด​ไป​พร้อม​กัน​ เว้น​แต่​โจทก์​จำ�เลย​จะ​ได้​ตกลง​ต่อ​
สัญญา​กัน​ต่อ​ไป​โดยตรง​หรือ​โดย​ปริยาย การ​ที่​โจทก์​จำ�เลย​จะ​เดิน​สะพัด​ทาง​บัญชี​กัน​ต่อ​ไป​ภาย​หลัง​จาก​
สัญญา​ครบ​กำ�หนด​แล้ว จำ�เลย​จะ​ต้อง​เบิก​เงิน​จาก​บัญชี​ได้​อีก แต่​โจทก์​หาย​อม​ให้​จำ�เลย​เบิก​เงิน​ได้​อีก​ไม่
จึง​เห็น​เจตนา​ของ​โจทก์​ชัด​แจ้ง​ว่า​โจทก์​ไม่​ประสงค์​จะ​เดิน​สะพัด​ทาง​บัญชี​กับ​จำ�เลย​อีก ส่วน​การ​ที่​จำ�เลย​นำ�​
เงินเ​ข้า​บัญชี 2 ครั้ง ภาย​หลังจ​ าก​ครบ​กำ�หนด​เวลา​ตาม​สัญญา​แล้วก​ ็​เป็นการ​นำ�​เงิน​เข้า​บัญชีเ​พื่อช​ ำ�ระ​หนี้​
เท่านัน้ หา​ได้ม​ เ​ี จตนา​จะ​เดินส​ ะพัดท​ าง​บญ ั ชีก​ บั โ​จทก์ต​ อ่ ไ​ ป​ไม่ ภาย​หลังจ​ าก​สญ ั ญา​ดงั ก​ ล่าว​สนิ้ ส​ ดุ ล​ ง โจทก์​
คง​มี​สิทธิ​คิดด​ อกเบี้ย​จาก​จำ�เลย​ได้​โดย​วิธธี​ รรมดา​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​โดย​วิธ​ที บ​ต้นต​ ่อ​ไป​อีก​หา​ได้​ไม่
ค. ผู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ตาย เมื่อ​ผู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ตาย สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​อัน​

ประกอบ​ด้วย​สัญญา​บัญชีเ​ดินส​ ะพัดย​ ่อม​ระงับไ​ ป​ด้วย เพราะ​ถือว่าส​ ัญญา​บัญชีเ​ดินส​ ะพัดเ​ป็นส​ ัญญา​ที่​เกิด​
ขึ้น​เนื่องจาก​ความ​เชื่อ​ถือ​ระหว่าง​บุคคล​เท่านั้น เมื่อ​คู่​สัญญา​ตาย​สัญญา​ย่อม​ระงับ​ไป​โดย​ปริยาย ดัง​นั้น
มส

ธนาคาร​จะ​คิดด​ อกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​กรณี​ที่​ผ​เู้ บิก​เงินเ​กิน​บัญชีต​ าย​แล้ว​ไม่​ได้


อุทาหรณ์
ฎ. 1862/2518 ซึ่งใ​ห้​เหตุผล​ใน​เรื่อง​นไี้​ ว้อ​ ย่าง​ชัดเจน​ว่า “การ​กยู้​ ืม​เงิน​โดย​วิธกี​ าร​บัญชี​
เดินส​ ะพัดจ​ าก​ธนาคาร​ เบิก​และ​ใช้ค​ นื ใ​น​วงเงินแ​ ละ​ก�ำ หนด​เวลา​ตาม​ขอ้ ต​ กลง​เป็นเ​รือ่ ง​เฉพาะ​ตวั เมือ่ ผ​ ก​ู้ ต​ู้ าย​
สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​ระงับ ภริยา​และ​ผู้​จัดการ​มรดก​รับ​สภาพ​หนี้​ไม่​ทำ�ให้​เป็น​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​อยู่​
ต่อไ​ ป จึงค​ ิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ต่อไ​ ป​ไม่​ได้”

กันเ​ท่านัน้ ธนาคาร​จะ​เรียก​รอ้ ง​หนีร​้ าย​นจ​ี้ าก​ทายาท​ของ​ผต​ู้ าย​ได้เ​ฉพาะ​ตาม​สญ


ดอกเบี้ยต​ าม​ธรรมดา (ไม่​ทบ​ต้น)

การ​ที่​เจ้า​หนี้​จะ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​จาก​ลูก​หนี้​ได้​ ตาม ปพพ. มาตรา 655 วรรค​สอง​
นั้น​จะ​ต้อง​ประกอบ​ด้วย​หลัก​เกณฑ์​ว่า เป็นการ​คิด​กัน​ตาม​ประเพณี​การ​ค้าขาย​ใน​เมื่อ​มี​บัญชี​เดิน​สะพัด​ต่อ​
ั ญา​กย​ู้ มื ต​ าม​ธรรมดา​พร้อม​

กิจกรรม 3.3.2
สธ
1. ให้​นักศึกษา​อธิบาย​ว่า การ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​สัญญา​ก​ยู้ ืมเ​งิน​ทำ�ได้ห​ รือ​ไม่เ​พียง​ใด
2. ให้​นักศึกษา​ให้​เหตุผล​ว่า ทำ�ไม​จึงค​ ิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ใน​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ได้

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-69

แนว​ตอบ​กิจกรรม 3.3.2
1. ทำ�ได้​กรณี​ผู้​กู้​ค้าง​ชำ�ระ​ดอกเบี้ย​กว่า​หนึ่ง​ปี​ขึ้น​ไป​และ​ตกลง​กับ​ผู้​ให้​กู้​เป็น​หนังสือ​ว่าย​อม​ให้​คิด​
ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้ และ​ท�ำ ได้​ใน​กรณี​ม​ปี ระเพณี​ค้าขาย​ให้ท​ ำ�ได้ (ปพพ. มาตรา 655 วรรค​หนึ่ง และสอง)
2. เพราะ​เป็นเ​รือ่ ง​การ​คา้ ขาย​เงิน และ​ประเพณีธ​ นาคาร​ทจ​ี่ ะ​ใช้ใ​น​การ​คดิ ด​ อกเบีย้ ท​ บ​ตน้ มีเ​ฉพาะ​


ใน​บัญชี​เดิน​สะพัด ดัง​นั้น สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เป็น​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​ประกอบ​ด้วย​สัญญา​กยู้​ ืม​เงิน
จึง​สามารถ​คิด​ดอกเบี้ย​ทบ​ต้น​ได้ (ปพพ. มาตรา 655 วรรค​สอง)

มส

มส


สธ

3-70 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ตอน​ที่ 3.4
ความ​ระงับแ​ ห่ง​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​และ​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​กู้
โปรด​อ่าน​หัว​เรื่อง แนวคิด และ​วัตถุประสงค์​ของ​ตอน​ที่ 3.4 แล้วจ​ ึงศ​ ึกษา​ราย​ละเอียด​ต่อไ​ ป


หัว​เรื่อง

แนวคิด
มส
3.4.1 ความ​ระงับ​แห่ง​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน
3.4.2 การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​กู้

1. ส ัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ที่​กำ�หนด​ระยะ​เวลา​ชำ�ระ​เงิน ย่อม​ระงับ​ลง​เมื่อ​สัญญา​กู้​ยืม​ครบ​กำ�หนด​
ชำ�ระ
2. สญั ญา​กย​ู้ มื เ​งินท​ ไ​ี่ ม่ไ​ ด้ก​ �ำ หนด​ระยะ​เวลา​การ​ช�ำ ระ​เงิน ย่อม​ครบ​ก�ำ หนด​ตาม​ระยะ​เวลา​ใน
​ค�​
ำ บอกกล่าว​ที่​ผ​ใู้ ห้​ก​ยู้ ืม​แจ้ง​ไป​ยัง​ผู้​ก​ยู้ ืม
3. การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ต้อง​ไม่​ขัด​กับ​มาตรา 94 แห่ง​ประมวล​กฎหมาย​วิธี​พิจารณา​ความ​

แพ่งค​ อื จะนำ�​พยาน​บคุ คล​มา​สบื ต​ ดั ท​ อน​หรือเ​ปลีย่ นแปลง​แก้ไข​ขอ้ ความ​ใน​เอกสาร​ไม่ไ​ ด้

วัตถุประสงค์
มส

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 3.4 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ


1. อธิบาย​ก�ำ หนดการ​ชำ�ระ​หนี้​ตาม​สัญญา​กู้​ยืม​เงินได้
2. อธิบาย​เรื่อง​การนำ�​สืบ​ท​เี่ กี่ยวข้อง​กับ​สัญญา​กู้​ยืมเ​งิน​พอ​สังเขป​ได้


สธ

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-71

เรื่อง​ที่ 3.4.1
ความ​ระงับแ​ ห่ง​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน


เนื่องจาก​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​เป็น​สัญญา​ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง​ชนิด​หนึ่ง ความ​ระงับ​แห่ง​สัญญา​จึง​ต้อง​นำ�​
บทบัญญัติ​ใน​เรื่อง​ความ​ระงับ​แห่ง​สัญญา​ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง​มา​ใช้​บังคับ​ซึ่ง​ได้​กล่าว​ไว้​อย่าง​ละเอียด​ใน​หน่วย​ที่

มส
2 ดัง​นั้น​ใน​เรื่อง​นี้​จะ​กล่าว​ไว้​เพียง​สังเขป

1. สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​มี​กำ�หนด​เวลา​ชำ�ระ
ใน​การ​ท�​ ำ สญ
ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินเ​มือ่ ค​ ส​ู่ ญ
ผู​ใ้ ห้​ก​ยู้ ืม ก็​ให้​ถือ​เวลา​นั้น​เป็น​เวลา​ครบ​ก�ำ หนด​สัญญา
ั ญา​ได้ต​ กลง​กนั ไ​ ว้ว​ า่ เวลา​ใด​เป็นเ​วลา​ทผ​ี่ ก​ู้ ย​ู้ มื จ​ ะ​ตอ้ ง​ช�ำ ระ​หนีค​้ นื ​

การ​แสดง​เจตนา​ดงั ก​ ล่าว​มา​ใน​วรรค​กอ่ น ท่าน​วา่ ห​ า​อาจ​จะ​ถอน​ได้” เช่น กุง้ ใ​ห้ เข้มก​ ย​ู้ มื เ​งินจ​ �ำ นวน
10,000 บาท ใน​วัน​ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 กำ�หนด​ให้​เข้ม​ชำ�ระ​ต้น​เงิน​คืน​ภายใน 1 ปี โดย​กำ�หนด​วันช​ ำ�ระ​
เงิน​คืน​ตาม​สัญญา​ใน​วัน​ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ดัง​นั้น หาก​เข้ม​ลูก​หนี้​มิได้​ช�ำ ระ​หนีใ้​ห้​กุ้งใ​น​วัน​ดัง​กล่าว
เข้ม​ตก​เป็น​ผู้​ผิดนัด โดย​กุ้ง​ผู้​ให้​ก​ยู้ ืม​มิ​พัก​ต้อง​เตือน​เลย​ ตาม ปพพ. มาตรา 204 วรรค​สอง สัญญา​กู้​ยืมเ​ป็น​
อัน​ระงับ

2. ความ​ตาย​ของ​คู่​สัญญา​ไม่​ทำ�ให้​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ระงับ
มส

เนือ่ งจาก​การ​กย​ู้ มื เ​งินเ​ป็นส​ ญ


ั ญา​ยมื ใ​ช้ส​ นิ้ เ​ปลือง​ซงึ่ ม​ ใิ ช่เ​ป็นเ​รือ่ ง​เฉพาะ​ตวั ด​ งั ส​ ญ
ั ญา​ยมื ใ​ช้ค​ ง​รปู ซึง่ ​
สัญญา​ยมื ใช้คงรูปย่อม​ระงับไ​ ป​เมือ่ ผ​ ย​ู้ มื ถ​ งึ แก่ค​ วาม​ตาย​ ตาม ปพพ. มาตรา 648 การ​กย​ู้ มื เ​งินส​ าระ​ส�ำ คัญอ​ ยู​่
ที​ก่ าร​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ท​ใี่ ห้​ยืม ​ตาม ปพพ. มาตรา 650 ดัง​นั้น ความ​ตาย​ของ​ค​สู่ ัญญา​ย่อม​ไม่​ทำ�ให้​สัญญา​
กู้​ยืม​เงิน​ระงับ และ​หนี​ต้ าม​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงินย​ ่อม​ตกทอด​ไป​ยัง​ทายาท​ ตาม ปพพ. มาตรา 1600 ใน​ลักษณะ​
มรดก
ส่วน​ความ​ตาย​ของ​ผก​ู้ ย​ู้ มื ใ​น​สญ ั ญา​กป​ู้ ระเภท​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญ ั ชีน​ นั้ ย่อม​ท�ำ ให้ส​ ญั ญา​เบิกเ​งินเ​กินบ​ ญ ั ชี​
ระงับ เนื่องจาก​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​เป็นส​ ัญญา​ที่​อาศัย​ความ​ไว้​วางใจ​เฉพาะ​ตัว​ระหว่าง​คู่​สัญญา เพราะ​
ผู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ต้อง​มี​สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​กับ​ธนาคาร ซึ่ง​ตาม​ธรรมเนียม​ของ​ธนาคาร​หัก​ทอน​บัญชี​

โดย​ตั๋ว​เงิน ดัง​นั้น​เมื่อ​ผู้​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ตาย สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี​ย่อม​ระงับ เพราะ​เมื่อ​เจ้าของ​บัญชี​
เดิน​สะพัด​ถึงแก่​ความ​ตาย สัญญา​บัญชี​เดิน​สะพัด​เป็น​อัน​เลิก​กัน เป็น​ผล​ให้​สัญญา​กู้​ยืม (เบิก​เงิน​เกินบ​ ัญชี)
ที่​ประกอบ​อยู่​ระงับ​ไป​ด้วย

3. สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ที่​ไม่​ได้​กำ�หนด​ระยะ​เวลา
สธ
ความ​ระงับแ​ ห่งส​ ญ
ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินใ​น​กรณีน​ ย​ี้ อ่ ม​เป็นไ​ ป​ตาม​ความ​ระงับแ​ ห่งส​ ญ
ั ญา​ยมื ใ​ช้ส​ นิ้ เ​ปลือง​ตาม
ปพพ. มาตรา 652 ความ​ว่า “ถ้า​ใน​สัญญา​ไม่ม​กี �ำ หนด​เวลา​ให้​คืน​ทรัพย์สิน​ซึ่งย​ ืม​ไป ผูใ้​ ห้​ยืม​จะ​บอก​กล่าว​แก่​
ผู​ย้ ืม​ให้​คืน​ทรัพย์สิน​ภายใน​เวลา​ดัง​กล่าว​นั้น​ก็ได้” เช่น ขาว​ให้​เขียว​กู้​ยืม​เงิน​ไป​จำ�นวน 3,000 บาท โดย​มิได้​

3-72 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

กำ�หนด​ให้​เขียว​ชำ�ระ​คืน​ภายใน​เวลา​ใด ดังนี้​ผู้​ให้​ยืม​คือ​ขาว​ต้อง​ทำ�​คำ�​บอก​กล่าว​ไป​ยัง​เขียว​ผู้​ยืม​ว่า​ให้​ชำ�ระ​
เงิน​ที่​ยืม​เมื่อ​ใด​อาจ​จะ​กำ�หนด​ให้เขียว​นำ�​เงิน​มา​ชำ�ระ​คืน​ภายใน 30 วัน นับ​แต่​วัน​ที่​ได้​รับคำ�​บอก​กล่าว​นั้น
เมื่อ​ครบ​กำ�หนด​เขียว​ไม่​นำ�​เงิน​มา​ชำ�ระ​คืน​ขาว ถือว่า​เขียว​ตก​เป็น​ผู้​ผิดนัด เมื่อ​เขียว​ผิดนัด ขาว​อาจ​บอก​
เลิกส​ ัญญา​กับเ​ขียว​ได้ สัญญา​เป็น​อัน​ระงับ เขียว​ต้อง​นำ�​เงินม​ า​ช�ำ ระ​คืนให้​ขาว
อนึ่งใน​เรื่อง​การ​ก​ยู้ ืม​เงินซ​ ึ่ง​เป็น​สัญญา​ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง​นไี้​ ม่​นำ�​บทบัญญัติ​ใน ปพพ. มาตรา 20349


ใน​เรื่อง​การ​ชำ�ระ​หนี้​โดย​ทั่วไป​มา​ใช้​บังคับ เพราะ​มี​บท​กฎหมาย​โดย​เฉพาะ​ใช้​บังคับ ดัง​นั้น การ​ที่​จะ​ทำ�ให้​
สัญญา​กู้​ยืม​ชนิด​ที่​ไม่​ได้​กำ�หนด​ระยะ​เวลา​การ​ชำ�ระ​หนี้​ไว้​ระงับ ผู้​ให้​กู้​ยืม​ต้อง​ทำ�​คำ�​บอก​กล่าว​แจ้ง​ไป​ยัง

มส
​ผกู้​ ู้​ยืมก​ ่อน เมื่อ​ผกู้​ ยู้​ ืมไ​ ม่ป​ ฏิบัติต​ าม​กำ�หนด​ใน​คำ�​บอก​กล่าว​จึง​ตก​เป็นผ​ ผู้​ ิดนัด และ​ผใู้​ห้ก​ ู้​มี​สิทธิ​เลิก​สัญญา
อายุค​ วาม​ตาม​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน
ใน​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​นั้น ปพพ. มิได้​กำ�หนด​อายุ​ความ​ไว้​โดย​เฉพาะ ดัง​นั้น​จึง​ต้อง​นำ�​บทบัญญัติ​ใน
ปพพ. มาตรา 193/30 มา​บังคับ “อายุ​ความ​นั้น ถ้า​ประมวล​กฎหมาย​นี้​หรือ​กฎหมาย​อื่น​มิได้​บัญญัติ​ไว้​โดย​
เฉพาะ​ให้ม​ กี​ �ำ หนด​สิบ​ปี” (ฎ. 229/2522 ป.ใหญ่) อายุ​ความ 10 ปี นับ​ตั้งแต่​วัน​กู้​เงิน​ถึง​วัน​ที่​โจทก์​ฟ้อง แต่​
หาก​ฟ้อง​ให้ก​ อง​มรดก​ชำ�ระ​หนี้ กรณีล​ ูกห​ นีเ้​งินก​ ตู้​ าย​ก่อน​ยัง​ไม่​ได้​ช�ำ ระ​หนี้​ก็​ต้อง​อยู่​ภายใน​อายุ​ความ​มรดก​
ตาม ปพพ. มาตรา 1754 วรรค​สาม​ด้วย

กิจกรรม 3.4.1
ให้​นักศึกษา​ตอบ​คำ�ถาม​ต่อ​ไป​นี้
มส

1. สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ที่​มี​กำ�หนด​เวลา​ชำ�ระ​หนี้​สัญญา​จะ​ระงับ​สิ้น​ไป​เมื่อ​ใด ความ​ตาย​ของ​คู่​สัญญา​
ทำ�ให้​สัญญา​ระงับ​สิ้น​ไป​หรือ​ไม่ เพราะ​เหตุ​ใด
2. สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​ท​ไี่ ม่​ได้​ก�ำ หนด​เวลา​ชำ�ระ​หนี้​กัน​ไว้ ระงับ​สิ้นไ​ ป​เมื่อ​ใด

แนว​ตอบ​กิจกรรม 3.4.1
1. สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ที่​ไม่​ได้​กำ�หนด​เวลา​ชำ�ระ​ระงับ​สิ้น​ไป​เมื่อ​ครบ​กำ�หนด​สัญญา ความ​ตาย​ของ​คู่​

สัญญา​หา​ทำ�ให้​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ระงับ​ไป​ไม่ เพราะ​สาระ​สำ�คัญ​ของ​การ​กู้​ยืม​เงิน​อยู่​ที่​การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์​ที่​ให้​
กู​้ยืม​ตาม​มาตรา 650 มิใช่​เป็นส​ ิทธิ​เฉพาะ​ตัว
2. สัญญา​กย​ู้ มื เ​งินท​ ไ​ี่ ม่ไ​ ด้ก​ �ำ หนด​เวลา​ช�ำ ระ​หนีก​้ นั ไ​ ว้ ระงับส​ นิ้ ไ​ ป​เมือ่ เ​จ้าห​ นีม​้ ห​ี นังสือบ​ อก​กล่าว​ให้​
ลูก​หนี​ช้ ำ�ระ​หนี​ภ้ ายใน​ก�ำ หนด​ไว้​ใน​ค�​ ำ บอก​กล่าว (ปพพ. มาตรา 652) หาก​ลูก​หนีไ้​ ม่ช​ ำ�ระ​หนี้​ตาม​กำ�หนด​
เวลา​ใน​คำ�​บอก​กล่าว​ถือว่า​ลูก​หนี้​ผิดนัด เจ้า​หนี​ม้ ​สี ิทธิ​บอก​เลิก​สัญญา เป็น​เหตุ​ให้​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงินร​ ะงับ
สธ
49 มาตรา 203 “ถ้า​เวลา​อัน​จะ​พึง​ชำ�ระ​หนี้​นั้น​มิได้​กำ�หนด​ลง​ไว้​หรือ​จะ​อนุมาน​จาก​พฤติการณ์​ทั้ง​ปวง​ก็​ไม่​ได้​ไซร้ ท่าน​ว่า​
เจ้า​หนี้​ย่อม​จะ​เรียก​ให้​ช�ำ ระ​หนี้​ได้​โดย​พลัน และ​ฝ่าย​ลูก​หนี้​ก็​ย่อม​จะ​ช�ำ ระ​หนี้​ของ​ตน​ได้​โดย​พลัน​ดุจ​กัน”

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-73

เรื่อง​ที่ 3.4.2
การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​กู้


เรือ่ ง​การนำ�​สบื ก​ าร​ใช้เ​งินน​ เ​ี้ ป็นเ​รือ่ ง​ทม​ี่ ค​ี วาม​ส�ำ คัญใ​น​ล�ำ ดับเ​ดียวกันก​ บั เ​รือ่ ง​การ​กย​ู้ มื เ​งินท​ ก​ี่ ฎหมาย​
กำ�หนด​ให้​มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ เรื่อง​การนำ�​สืบ​เป็น​เรื่อง​ที่​จะ​ศึกษา​ได้​โดย​ละเอียด​ใน​วิธี​

ชนิด คือ
มส
พิจารณา​ความ​แพ่ง ส่วน​ใน​หัวข้อ​นี้​จะ​กล่าว​ไว้โ​ ดย​สังเขป​เท่านั้น การนำ�​สืบ​การ​ใช้เ​งิน​น�​

1. พยาน​บุคคล การ​กู้​ยืม​เงิน​กรณี​ที่​กฎหมาย​ไม่​บังคับ​ให้​มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ​
การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​กรณี​นี้​คู่​สัญญา​สามารถ​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ได้ เช่น กุ้ง​กู้​ยืม​เงิน​เข้ม​จำ�นวน 1,500
ำ พยาน​มา​สืบ​ได้ 2

บาท โดย​ไม่ม​หี ลัก​ฐาน​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​เป็น​หนังสือ แล้ว​ก​ไ็ ม่​ช�ำ ระ​เงินค​ ืน​เข้ม ดัง​นั้น​ใน​ชั้น​ดำ�เนินค​ ดี เข้มย​ ่อม​
นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ได้​ว่า​กุ้ง​กู้​เงิน​เข้ม​ไป​จริง
2. พยาน​เอกสาร กรณี​ท​กี่ ฎหมาย​บังคับใ​ห้​มหี​ ลัก​ฐาน​แห่ง​การ​ก​ยู้ ืม​เงินเ​ป็น​หนังสือ การนำ�​สืบ​การ​
ใช้​เงิน​ดัง​กล่าว ผู้นำ�​สืบ​ต้อง​นำ�​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​ก​ยู้ ืม​เป็น​หนังสือ​อัน​เป็น​พยาน​เอกสาร​มา​แสดง​ ตาม ปวพ.
มาตรา 94 ความ​ว่า “เมื่อ​ใด​มี​กฎหมาย​บังคับ​ให้​ต้อง​มี​พยาน​เอกสาร​มา​แสดง​ ห้าม​มิ​ให้​ศาล​ยอมรับ​ฟัง​พยาน​

บุคคล​ใน​กรณี​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ แม้​ถึงว่าค​ ู่​ความ​อีก​ฝ่าย​หนึ่ง​จะ​ได้ยิน​ยอม​ก​ด็ ี”
(ก) ขอ​สืบ​พยาน​บุคคล​แทน​พยาน​เอกสาร เมื่อ​ไม่​สามารถ​นำ�​เอกสาร​มา​แสดง
(ข) สืบ​พยาน​บุคคล​ประกอบ​ข้อ​อ้าง​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​เมื่อ​ได้​นำ�​เอกสาร​มา​แสดง​แล้ว​ว่า ยัง​มี​
มส

ข้อความ​เพิ่ม​เติม​ตัด​ทอน หรือ​เปลี่ยนแปลง​แก้ไข​ข้อความ​ใน​เอกสาร​นั้น​อยู่​อีก ฯลฯ”


จาก​บทบัญญัติ​ดัง​กล่าว​จะ​เห็น​ได้​ว่า​เรื่อง​การนำ�​พยาน​เอกสาร​มา​แสดง​เป็น​เรื่อง​ที่​กฎหมาย​บังคับ
ดัง​นั้น​คู่​กรณี​จะ​นำ�สืบ​พยาน​บุคคล​แทน​พยาน​เอกสาร​ไม่​ได้​หรือ​จะ​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ประกอบ​เพื่อ​เพิ่ม​
เติม​ตัด​ทอน หรือ​เปลี่ยนแปลง​แก้ไข​ข้อความ​ใน​เอกสาร​ที่​นำ�​มา​แสดง​ไม่​ได้ ทั้งนี้​แม้ว่า​คู่​ความ​อีก​ฝ่าย​หนึ่ง​
จะ​ยนิ ยอม​กต็ าม แต่ถ​ า้ ก​ รณีต​ น้ ฉบับเ​อกสาร​น�​ ำ มา​ไม่ไ​ ด้เ​พราะ​ถกู ท​ �ำ ลาย​โดย​เหตุสดุ วิสยั ห​ รือส​ ญ ู หาย​หรือไ​ ม่​
สามารถ​น�​ ำ มา​ได้โ​ดย​ประการ​อนื่ ศ​ าล​จะ​อนุญาต​ให้น​ �​
(2) และ​ใน​กรณีท​ เ​ี่ อกสาร​ทน​ี่ �​

ำ ส�ำ เนา​หรือพ​ ยาน​บคุ คล​มา​สบื ไ​ ด้​ ตาม ปวพ. มาตรา 93
ำ มา​แสดง​เป็นเ​อกสาร​ปลอม​หรือไ​ ม่ถ​ กู ต​ อ้ ง​ทงั้ หมด​หรือแ​ ต่บ​ าง​สว่ น หรือส​ ญ ั ญา​
หรือห​ นีอ​้ ย่าง​อนื่ ท​ ร​ี่ ะบุไ​ ว้ใ​น​เอกสาร​นนั้ ไ​ ม่ส​ มบูรณ์ห​ รือค​ ค​ู่ วาม​อกี ฝ​ า่ ย​ตคี วาม​หมาย​ผดิ ไ​ ม่ต​ ดั ส​ ทิ ธิค​ ค​ู่ วาม​ทจ​ี่ ะ​
กล่าว​อ้าง​และ​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ประกอบ​ได้​ ตาม ​ปวพ. มาตรา 94 วรรค​สอง
ใน​เรื่อง​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ตาม​สัญญา​กู้​เงิน​กว่า​สอง​พัน​บาท​ขึ้น​ไป​เป็น​กรณี​ที่​กฎหมาย​บังคับ​ให้​
ต้อง​ม​พี ยาน​เอกสาร​มา​แสดง ดัง​นั้น ผู​ก้ ​จู้ ะ​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ไม่​ได้​ดัง​กล่าว​แล้ว
ดัง​นั้น การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน กรณี​ท​ไี่ ม่มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็นห​ นังสือ ผู้​กยู้​ ่อม​นำ�​พยาน​บุคคล​
สธ
มา​สืบ​ได้ ส่วน​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ใน​กรณี​ที่​มี​การ​กู้​ยืม​เงิน​มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ การนำ�​สืบ​
การ​ใช้​เงิน​ใน​กรณี​น​กี้ ็ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือเ​ช่นก​ ัน ดัง​บทบัญญัติ​แห่ง​มาตรา 653 วรรค​สอง ความ​ว่า
“ใน​การ​กู้​ยืม​เงิน​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​นั้น​ ท่าน​ว่า​จะ​น�ำ สืบ​การ​ใช้​เงิน​ได้​ต่อ​เมื่อ​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​

3-74 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

อย่าง​หนึง่ ล​ ง​ลายมือช​ อื่ ผ​ ใ​ู้ ห้ย​ มื ม​ า​แสดง หรือเ​อกสาร​อนั เ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื น​ นั้ ไ​ ด้เ​วนคืนแ​ ล้ว ​หรือไ​ ด้แ​ ทง​
เพิกถ​ อน​ลง​ใน​เอกสาร​นั้น​แล้ว” เช่น แดง​ก​ยู้ ืมเ​งิน​ดำ� 1,000 บาท โดย​ทำ�​หลัก​ฐาน​การ​กยู้​ ืม​เงิน​เป็นห​ นังสือ
เมื่อ​แดง​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กู้​ไป​แล้ว​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​การ​ใช้​เงิน​เป็น​หนังสือ​ หรือ​เวนคืน​เอกสาร​กู้​ยืม​เงิน​หรือ​แทง​
เพิกถ​ อน​ลง​ใน​เอกสาร มิ​ฉะนั้น​จะ​นำ�​สืบการ​ใช้​เงินไ​ ม่ไ​ ด้ ตาม​มาตรา 653 วรรค​สอง แม้​กู้​ยืมเ​งิน​กัน​ไม่​เกิน
2,000 บาท​ก็ตาม


การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ตาม​มาตรา 653 วรรค​สอง หมายความ​ถึงก​ าร​ใช้​ต้น​เงิน​ไม่​รวม​ถึง​ดอกเบี้ย​ที่​
เกิดจ​ าก​ต้นเ​งินน​ ั้น (ฎ. 826/2504)

มส
การนำ�​สืบก​ าร​ใช้​เงิน กระทำ�​ได้ 3 กรณี
1) มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ลง​ลายมือช​ ื่อ​ผู้​ให้ย​ ืม​มา​แสดง หรือ
2) เอกสาร​อัน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​นั้นไ​ ด้​เวนคืน​แล้ว หรือ
3) ได้​แทง​เพิก​ถอน​ลง​ใน​เอกสาร​นั้นแ​ ล้ว
ทั้ง 3 ข้อ​นจี้​ ะ​ได้​กล่าว​ราย​ละเอียด​ดัง​ต่อ​ไป​นี้
1) มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ให้​ยืม​มา​แสดง การ​กู้​ยืม​เงิน​ที่​มี​
หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงินเ​ป็นห​ นังสือ การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ก็​ต้อง​มี​หลักฐ​ าน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง
ลง​ลายมือช​ ื่อ​ผู้​ให้​ยืม​มา​แสดง​เช่น​กัน ซึ่ง​โดย​ปกติ​ได้แก่ใ​บ​เสร็จ​รับ​เงิน

ตัวอย่าง​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน
มส

ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน

เลข​ที่ 098845 เล่มท​ ี่ 0543


สถาน​ที่.................................................................วัน​ที่.....................พ.ศ.............................
ได้​รับ​จาก............................................................................จำ�นวน​เงิน..................................บาท
ซึ่ง​จ่าย​เป็นค​ ่า............................................................................................................................................

ใน​บทบัญญัตแ​ิ ห่งป​ ระมวล​กฎหมาย​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์ม​ าตรา 326 ได้บ​ ญ


ม ......................... ผู้รับ​เงิน

ั ญัตว​ิ า่ “บุคคล​ผช​ู้ �ำ ระ​


หนี​ช้ อบ​ท​จี่ ะ​ได้​รับ​ใบ​เสร็จ​เป็น​ส�ำ คัญ​จาก​ผู้รับ​ชำ�ระ​หนี้​นั้น” เช่น กุ้ง​ได้​ชำ�ระ​หนีเ้​งิน​ก​ใู้ ห้​แก่​เข้ม ดังนี้ กุ้งย​ ่อม​
จะ​มสี​ ิทธิ​ให้​เข้ม​ออก​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน​ให้​แก่​ตน
สธ
เนื่องจาก​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน เป็น​หลัก​ฐาน​ที่​เป็น​หนังสือ​ม​ลี ายมือ​ชื่อ​ผใู้​ห้ก​ ู้​ยืม​เป็น​สำ�คัญ​จึงถ​ ือว่า​
ใบ​เสร็จร​ บั เ​งินเ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​การ​ช�ำ ระ​หนีท​้ ส​ี่ �ำ คัญอ​ นั ห​ นึง่ ท​ ผ​ี่ ก​ู้ ย​ู้ มื พ​ งึ ย​ ดึ ถือไ​ ว้เ​พือ่ ต​ อ่ สูผ​้ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื ใ​น​กรณีท​ ผ​ี่ ใ​ู้ ห้​
กู้​ยืม​อ้าง​ว่าม​ ิได้​รับ​ชำ�ระ​หนี้​จาก​ผ​กู้ ​ยู้ ืม

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-75

แม้ใ​บ​เสร็จ​รบั เ​งิน​จะ​เป็น​หลัก​ฐาน​ส�ำ คัญข​ อง​ฝ่าย​ผู้​กู้​ยืม แต่ก​ ็​มไิ ด้ห​ มายความ​วา่ หาก​ไม่ม​ใี บ​


เสร็จ​รับ​เงิน​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ของ​ผู้​ให้​ก​มู้ า​แสดง​แล้ว ผู้​กู้​จะ​ต่อสู​ผ้ ู้​ให้​กู้​ยืมไ​ ม่​ได้​ก็​หาไม่​เพราะ​หลักฐ​ าน​ที่​แสดง​ว่า
​ผู้​กู้​ยืม​ได้​ชำ�ระ​หนี้​แล้ว ไม่​เพียง​จะ​มี​แต่​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน​เท่านั้น หลัก​ฐาน​อย่าง​อื่น​ซึ่ง​ไม่ใช่​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน แต่​
มี​ข้อความ​แสดง​ให้​เห็น​ว่า​ผู้​ให้​กู้​ได้​รับ​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กู้​จาก​ผู้​กู้​และ​มี​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ให้​กู้​ยืม​เป็น​สำ�คัญ​ก็​ใช้ได้
ดัง​ตัวอย่าง​ใน ฎ. 531/2505, 1696/2523 ศาล​ฎีกา​ได้​วินิจฉัย​ว่า มาตรา 653 วรรค​สอง​บัญญัติ​ว่า “ใน​การ​


กูย​้ มื เ​งินม​ ห​ี ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือน​ นั้ ท​ า่ น​วา่ จ​ ะ​น�ำ สืบก​ าร​ใช้เ​งินไ​ ด้ต​ อ่ เ​มือ่ ม​ ห​ี ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสืออ​ ย่าง​ใด​อย่าง​หนึง่
ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ให้​ยืม​มา​แสดง ฯลฯ” กฎหมาย​มิได้​บังคับ​ว่า​จะ​ต้อง​ม​ใี บ​เสร็จ​รับ​เงินม​ า​แสดง​เลย

มส หลักฐ​ าน​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึง่ น​ นั้ จะ​เป็นห​ ลักฐ​ าน​อะไร​กไ็ ด้ข​ อ​ให้ม​ ข​ี อ้ ความ​แสดง​วา่ ผูใ​้ ห้ก​ ย​ู้ มื ไ​ ด้​
รับช​ �ำ ระ​หนีท​้ ใ​ี่ ห้ก​ ย​ู้ มื แ​ ล้วโ​ดย​มล​ี ายมือช​ อื่ ข​ อง​ผใ​ู้ ห้ย​ มื เ​ป็นส​ �ำ คัญ ซึง่ เ​ป็นท​ �ำ นอง​เดียวกันก​ บั ห​ ลักฐ​ าน​การ​กย​ู้ มื ​
เงิน ซึง่ ​หลัก​ฐาน​ดงั ​กล่าว​อาจ​จะ​เป็น​จดหมาย​หรือ​บนั ทึก​ใดๆ ก็ได้ ข้อ​ส�ำ คัญ​หลัก​ฐาน​ดงั ​กล่าว​ตอ้ ง​ม​ลี ายมือ​
ชือ่ ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ เ​ู้ ป็นส​ �ำ คัญห​ รือห​ าก​ไม่มล​ี ายมือช​ อื่ ข​ อง​ผใ​ู้ ห้ก​ ู้ ผูใ​้ ห้ก​ จ​ู้ ะ​พมิ พ์ล​ าย​นวิ้ ม​ อื ก​ ใ​็ ช้ได้ แต่ต​ อ้ ง​มพ​ี ยาน​รบั รอง​
พิมพ์​ลาย​นวิ้ ​มอื ​สอง​คน​ ตาม​ ปพพ. มาตรา 9 หาก​ไม่ม​พี ยาน​รบั รอง​ก​ถ็ อื ​ไม่​ได้​วา่ ​มล​ี ายมือ​ชอื่ ​ของ​ผ​ใู้ ห้​กย​ู้ มื ​
เป็น​สำ�คัญ ผู​ก้ ู้​จะ​ใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ไม่​ได้​ว่า​ผ​ใู้ ห้​ก​ไู้ ด้​รับ​ชำ�ระ​หนี้​จาก​ผู้​กู้​แล้ว (ฎ. 2550/2554)
อุทาหรณ์
ฎ. 3339/2532 (ป.ใหญ่) ใน​การ​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​ยืม ผู้​ยืม​ให้​ผู้​ให้​กู้​ยืม​เงิน​รับ​เงิน​เดือน​แทน​ผู้​ยืม
​และ​หัก​เงิน​เดือน​ชำ�ระ​หนี้ ดังนี้​สมุด​จ่าย​เงิน​เดือน​ของ​ทาง​ราชการ​ที่​ผู้​ให้​ยืม​ลงชื่อ​รับ​เงิน​เดือน​แทน​ผู้​ยืม​นั้น
เป็น​หลัก​ฐาน​การ​ใช้​เงิน​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง

ฎ. 3657/2534 จำ�เลย​ที่ 1 กู้​เงิน​โจทก์​และ​ได้​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กู้​ราย​พิพาท​เป็น​เช็ค แต่​ธนาคาร​
ปฏิเสธ​การ​จ่าย​เงิน​ตาม​เช็ค หนี​เ้ งิน​ก​จู้ ึง​ยัง​คง​มี​อยู่ การ​ที่​จำ�เลย​ที่ 2 ซึ่ง​เป็น​ผ​คู้ �​ ้ำ ประกันน​ ำ�สืบ​ว่า จำ�เลย​ที่ 1
มส

นำ�​เงินสด​ตาม​เช็คไ​ ป​ช�ำ ระ​แก่โ​จทก์จ​ น​ครบ​และ​รบั เ​ช็คค​ นื จ​ าก​โจทก์แ​ ล้วจ​ งึ เ​ป็นการ​น�ำ สืบก​ าร​ใช้เ​งินต​ าม​ความ​
หมาย​ของ ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง​เมื่อ​จ�ำ เลย​ที่ 2 ไม่ม​หี ลัก​ฐาน​เป็นห​ นังสือล​ ง​ลายมือช​ ื่อ​ผู้​ให้​ยืมม​ า​
แสดง และ​ไม่ป​ รากฏ​วา่ เ​อกสาร​อนั เ​ป็นห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื น​ นั้ ไ​ ด้เ​วนคืนห​ รือไ​ ด้แ​ ทง​เพิกถ​ อน​ลง​ใน​เอกสาร​
นั้น​แล้ว​จึง​รับ​ฟัง​ไม่​ได้​ว่า​จ�ำ เลย​ที่ 1 ได้​ช�ำ ระ​หนี​ใ้ ห้​แก่​โจทก์
ฎ. 4094/2540 การ​ช�ำ ระ​หนี้​ก​ยู้ ืม​เงิน​ต้อง​ม​หี ลัก​ฐาน​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง​มา​
แสดง จำ�เลย​ร่วม​เพียง​ปาก​เดียว​มา​เบิก​ความ​ลอยๆ ว่า​ได้​ชดใช้​เงิน​ให้​แก่​โจทก์​จึง​ไม่​อาจ​รับ​ฟังได้

กู้​ยืม​เงิน​นั้น​ได้​เวนคืน​แล้ว หรือ​ได้​แทง​เพิก​ถอน​ลง​ใน​เอกสาร​นั้น​แล้ว​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง



ฎ. 3564/2548 ใน​การ​กู้​ยืม​เงิน​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ จำ�เลย​จะ​นำ�สืบ​การ​ใช้​เงิน​ได้​ต่อ​เมื่อ​มี​
หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ให้​ยืม​มา​แสดง​หรือ​เอกสาร​อัน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​

การ​ที่​จำ�เลย​นำ�​เงิน​ฝาก​เข้า​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​โจทก์​เพื่อ​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​ที่​กู้​ยืม​จาก​โจทก์​เป็นการ​ชำ�ระ​หนี้​ผ่าน​
ธนาคาร​ที่​โจทก์​มี​บัญชี​เงิน​ฝาก​เพื่อ​ให้​โจทก์​ได้​รับ​เงิน​ที่​ชำ�ระ​หนี้​โดย​ไม่​ได้​ทำ�​นิติกรรม​โดยตรง​ต่อ​โจทก์​
ไม่​อาจ​ม​กี ารก​ระ​ทำ�​ ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง แต่​เป็น​กรณี​ที่​เจ้า​หนี้​ยอมรับ​การ​ชำ�ระ​หนี้​อย่าง​อื่น​
แทน​การ​ชำ�ระ​หนี้​ที่​ได้​ตกลง​กัน​ไว้​ตาม ปพพ. มาตรา 321 วรรค​หนึ่ง​ที่​จำ�เลย​น�ำ สืบ​ว่าจ​ ำ�เลย​ช�ำ ระ​หนีใ้​ห้​แก่​
สธ
โจทก์ด​ ้วย​การนำ�​เงิน​ฝาก​เข้า​บัญชี​ของ​โจทก์​ได้​นั้น​จำ�เลย​จึง​นำ�สืบ​ได้

3-76 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

ส่วน​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​กรณี​ที่​คู่​สัญญา​ตกลง​ชำ�ระ​หนี้​เงิน​กู้​ด้วย​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​แม้​จะ​
มิได้​ทำ�​หลัก​ฐาน​การ​ชำ�ระ​หนี​เ้ ป็น​หนังสือ​ก​ย็ ่อม​น�​ ำ พยาน​บุคคล​มา​สืบ​การ​ช�ำ ระ​หนี​เ้ ช่น​นั้นไ​ ด้ ดัง​ตัวอย่าง​ใน
ฎ. 1496/2503 ซึง่ ​คส​ู่ ญ ั ญา​ได้ท​ �​ำ หนังสือส​ ญ
ั ญา​กย​ู้ มื เ​งินก​ นั แ​ ล้วต​ อ่ ม​ า​ตกลง​ช�ำ ระ​หนีด​้ ว้ ย​ทรัพย์อ​ ย่าง​อนื่ แม้​
จะ​มิได้​ท�​ ำ หลัก​ฐาน​การ​ชำ�ระ​หนี้​เป็น​หนังสือ​ก​ย็ ่อม​นำ�สืบ​การ​ชำ�ระ​หนี้​นั้น​ได้ ศาล​ฎีกา​ได้​ให้​เหตุผล​ว่า “ตาม​
ประมวล​กฎหมาย​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์ มาตรา 653 วรรค​สอง บัญญัต​กิ ารนำ�​สบื เ​ฉพาะ​กรณีก​ าร​ใช้เ​งิน ไม่​หา้ ม​


การนำ�​สืบ​กรณี​ใช้​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​ชำ�ระ​หนี​แ้ ทน​เงิน”
2) เอกสาร​อัน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​ได้​เวนคืน​แล้ว นอกจาก​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน โดย​มี​

มส
หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ให้​ยืม​มา​แสดง​แล้ว ผู้​กู้​ยัง​นำ�สืบ​ได้​ว่า​หลัก​ฐาน​การ
​กู้​ยืม​ได้​เวนคืน​ให้​แก่​ผ​กู้ ​แู้ ล้ว
เวนคืน หมาย​ถึง การ​มอบ​เอก​สา​รอันป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​คืนให้​แก่​ผู้​กู้​ยืม เมื่อ​ผู้​กู้​ยืม​
ได้​ชำ�ระ​หนี้​แก่​ผู้​ให้​กู้​ยืม​แล้ว เช่น กุ้ง​กู้​ยืม​เงิน​เข้ม​โดย​ทำ�​สัญญา​กู้​ยืม​กัน​ไว้ เมื่อ​กุ้ง​ได้​ชำ�ระ​หนี้​ราย​นี้​เสร็จ​
สิ้น​เรียบร้อย​แล้ว​เข้ม​ย่อม​จะ​เวนคืน​เอกสาร​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ให้​แก่​กุ้ง​ผู้​กู้​เป็นการ​แสดง​ว่า​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ดัง​
กล่าว​ได้​ระงับ​สิ้น​ลง​ตาม​ความ​ใน ปพพ. มาตรา 326 ที่​บัญญัติ​ว่า “บุคคล​ผ​ชู้ ำ�ระ​หนี้​ชอบ​ที่​จะ​ได้ร​ ับ​ใบ​เสร็จ​
เป็น​ส�ำ คัญ​จาก​ผรู้ บั ​ช�ำ ระ​หนี​น้ นั้ และ​ถา้ ​หนี​น้ นั้ ​ได้​ช�ำ ระ​สนิ้ เ​ชิง​แล้ว​ ผ​ชู้ �ำ ระ​หนี​ช้ อบ​ท​จี่ ะ​ได้ร​ บั ​เวนคืน​เอกสาร​อนั ​
เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​หนี้” และ​การ​เวนคืน​เอกสาร​ดัง​กล่าว​ถือว่า​หนี้​นั้น​ระงับ​สิ้นไ​ ป ตาม​มาตรา 327 วรรค​สาม
“ถ้า​เอกสาร​อัน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​หนี้​ได้​เวนคืน​แล้ว​ไซร้ ท่าน​ให้​สันนิษฐาน​ไว้​ก่อน​ว่า​หนี้​นั้น​เป็น​อัน​ระงับ​สิ้น​

ไป​แล้ว”
การ​เวนคืน​เอกสาร​ดัง​กล่าว ต้อง​เป็น​เจตนา​ของ​ผู้​ให้​กู้​ที่​จะ​เวนคืน​ให้​แก่​ผู้​กู้​ เนื่องจาก​ผู้​กู้​ได้​
มส

ชำ�ระ​หนี​เ้ งิน​กเ​ู้ รียบร้อย​แล้ว ไม่ใช่​เพียง​แต่​วา่ ​สญ ั ญา​กย​ู้ มื ​ได้​ตก​ไป​อยู​ใ่ น​มอื ​ของ​ผก​ู้ โ​ู้ ดย​วธิ ​อี นื่ เช่น ผู​ก้ ข​ู้ อยืม​
สัญญา​กู้​จาก​ผ​ใู้ ห้​กู้​ยืม​ไป​แล้ว​ไม่​คืนให้ หรือ​ผู้​ก​ไู้ ด้ล​ ัก​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงินไ​ ป​จาก​ผู้​ให้ก​ ู้ หรือผ​ ู้​ให้​ก​ทู้ ำ�​สัญญา​ก​ตู้ ก​
หาย​แล้ว​มี​ผู้​เก็บ​ไป​ให้​ผู้​กู้ กรณี​ที่​กล่าว​เช่น​นี้​ไม่​ถือว่า​เป็นการ​เวนคืน​เอกสาร​อัน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​สัญญา​
กู้​ยืม​โดย​เจตนา​ของ​ผู้​ให้​ก​ยู้ ืม
อุทาหรณ์
ฎ. 2657/2534 หนังสือร​ บั รอง​การ​ท�​ ำ ประโยชน์ท​ จ​ี่ �ำ เลย​มอบ​ให้โ​จทก์เ​ป็นห​ ลักป​ ระกันก​ าร​กย​ู้ มื ​

เงินไ​ ม่ใช่ห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื การ​เวนคืนเ​อกสาร​ดงั ก​ ล่าว​จงึ ร​ บั ฟ​ งั ไ​ ม่ไ​ ด้ว​ า่ จ​ �ำ เลย​ช�ำ ระ​หนีใ​้ ห้แ​ ก่โ​จทก์แ​ ล้ว
3) ได้​แทง​เพิก​ถอน​ลง​ใน​เอกสาร​นั้น​แล้ว การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ใน​ข้อ​สุดท้าย​นี้ เป็นการ​แทง
​เพิก​ถอน​ลง​ใน​เอกสาร​ที่​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​นั้น​โดยตรง ซึ่ง​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เงิน อาจ​จะ​เป็น​
ตัวเอก​สาร​สัญญา​ก​ยู้ ืม​เงิน​หรือ​หลัก​ฐาน​อย่าง​อื่น
การ​แทง​เพิก​ถอน หมาย​ถึง บันทึก​แสดง​การ​ชำ�ระ​หนี้​ของ​ผู้​กู้​ยืม เช่น ผู้​ให้​กู้​ได้​ทำ�​สัญญา
​กู้​ฉบับน​ ั้นว​ ่าไ​ ด้ม​ ี​การ​ชำ�ระ​หนีก​้ ันเ​รียบร้อย​แล้ว โดย​ผู้​ให้ก​ ู้​ไม่จ​ ำ�​ต้อง​คืนส​ ัญญา​กู้​ให้แ​ ก่ผ​ ู้​ก​กู้ ​ย็ ่อม​ทำ�ได้ ถือว่า​
การ​แทง​เพิก​ถอน​ลง​ใน​สัญญา​ดัง​กล่าว​เป็นการ​ทำ�ให้​สัญญา​กู้​ระงับ​สิ้น​ไป​อย่าง​หนึ่ง การ​แทง​เพิก​ถอน​ลง​ใน​
สธ
สัญญา​กู้​ยืมเ​งิน​นี้ ผู้​ให้​กู้ (เจ้า​หนี้) ต้อง​เป็น​ผ​แู้ ทง​เพิก​ถอน หรือ​โดย​คำ�​สั่ง​ของ​เจ้า​หนี​ใ้ ห้​แทง​เพิก​ถอน ผู้​กู้​
จะ​แทง​เพิก​ถอน​เอง​ไม่​ได้

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-77

การก​ระ​ท�​ ำ ใน​กรณี​อื่น นอกจาก​วิธี​การ​ตามมาตรา 653 วรรค​สอง เช่น ฉีก​เอกสาร​สัญญา​


กู​ย้ ืม​เงิน​ทิ้ง ไม่​สามารถ​น�ำ สืบ​การ​ใช้​เงินได้
การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ใน​กรณี​อื่น ๆ
1) การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​เรื่อง​ดอกเบี้ย ใน​เรื่อง​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ใน​กรณี​อื่นๆ นั้น​ก็​เช่น​
เดียวกัน​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ตาม​ที่​ได้​กล่าว​มา​แล้ว สามารถ​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ใน​เรื่อง​ที่​กฎหมาย​ไม่​


บังคับ​ให้​ม​หี ลัก​ฐาน​แห่ง​การ​ก​ยู้ ืม​เงิน​เป็น​หนังสือ หรือ​ต้อง​น�​ ำ พยาน​เอกสาร​มา​สืบก​ รณี​ท​กี่ ฎหมาย​บังคับ​ให้​
มีห​ ลักฐ​ าน​แห่งก​ าร​กย​ู้ มื ม​ า​แสดง​ดงั บ​ ทบัญญัตใ​ิ น ปวพ. 94 ความ​วา่ “เมือ่ ใ​ ด​มก​ี ฎหมาย​บงั คับใ​ ห้ต​ อ้ ง​มพ​ี ยาน​

มส
เอกสาร​มา​แสดง ห้าม​มิ​ให้​ศาล​ยอมรับ​ฟัง​พยาน​บุคคล​ใน​กรณี​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ดัง​ต่อ​ไป​นี้ แม้​ถึงว่า​คู่​ความ​อีก​
ฝ่าย​หนึ่ง​จะ​ได้ยิน​ยอม​ก​ด็ ี ฯลฯ”
การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​เรื่อง​ดอกเบี้ย​นั้น​กฎหมาย​มิได้​บังคับ​ให้​ต้อง​มี​พยาน​เอกสาร​มา​แสดง
ดัง​นั้น​ผู้​กู้​สามารถ​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​เรื่อง​การ​ชำ�ระดอกเบี้ย​ได้​โดย​ไม่​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​การ​ใช้​เงิน​เป็น
​หนังสือ​อัน​เป็น​พยาน​เอกสาร​มา​แสดง​ต่อ​ศาล ซึ่ง​มี​ตัวอย่าง​คำ�​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ที่​วินิจฉัย​ใน​เรื่อง​นี้​ว่า
ใน​เรื่อง​การ​กู้​ยืม​เงิน​ที่​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​กฎหมาย​ห้าม​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​การ​ใช้​เงิน เฉพาะ​ใน​
ต้น​เงิน แต่​ใน​เรื่อง​การ​ช�ำ ระ​ดอกเบี้ย กฎหมาย​มิได้​ห้าม​ดัง​เช่น ฎ. 243/2503 ซึ่งศ​ าล​ฎีกา​วินิจฉัย​โดย​มติ​
ที​่ประชุม​ใหญ่ “เห็น​ว่า​วรรค​สอง​แห่ง​กฎหมาย​ดัง​กล่าว (มาตรา 653) ปัญหา​เรื่อง​การนำ�​สืบ​การ​ให้​เงิน​ว่า​
ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​เฉพาะ​เรื่อง​การ​กู้​ยืม​เงิน​กว่า​ห้า​สิบ​บาท (ปัจจุบัน​สอง​พัน​บาท) ขึ้น​ไป​เท่านั้น
ส่วน​ดอกเบี้ย​หา​ได้​ม​บี ัญญัต​ไิ ว้​ไม่ ด้วย​เหตุ​นี้​การ​ที่​จำ�เลย​จะ​นำ�สืบ​พยาน​บุคคล​ว่า​ได้​ช�ำ ระ​ดอกเบี้ย​แก่​โจทก์​

จึง​ไม่​ขัด​ต่อ ปวพ. มาตรา 94 ฯลฯ”
ฎ. 1084/2510 “การ​ช�ำ ระ​ดอกเบีย้ ไ​ ม่จ​ �​ ำ ตอ้ ง​มห​ี ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือต​ าม​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​
มส

และ​พาณิชย์ มาตรา 653 วรรค​สอง จึง​นำ�สืบ​พยาน​บุคคล​ว่า​ได้​ช�ำ ระ​ดอกเบี้ย​แล้ว​ได้”


ฎ. 1345/2532 การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง​นั้น​หมาย​ถึง​ต้น​เงิน​
ไม่​หมาย​รวม​ถึง​ดอกเบี้ย
ส่วน​กรณี​ที่​คู่​สัญญา​ได้​กำ�หนด​อัตรา​ดอกเบี้ย​ไว้​ใน​สัญญา​กู้​ยืม​ชัด​แจ้ง​แล้ว จะ​ขอ​นำ�สืบ​
เปลีย่ นแปลง​วา่ ม​ ข​ี อ้ ต​ กลง​กนั อ​ กี ต​ า่ ง​หาก​สว่ น​หนึง่ ใ​ห้ค​ ดิ อ​ ตั รา​เกินก​ ว่าท​ ก​ี่ �ำ หนด​ไว้ไ​ ม่ไ​ ด้ ต้อง​หา้ ม​ตาม ปวพ.
มาตรา 94 (ฎ. 235/2507) ข้อ​นี้​ต้อง​ห้าม​เพราะ​เป็นการ​น�ำ สืบ​เปลี่ยนแปลง​แก้ไข​เอกสาร

รับ​ชำ�ระ​หนี้ เพื่อ​ระยะ ก่อนๆ นั้น​ด้วย​แล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 327 เช่น คู​ส่ ัญญา​กำ�หนด​ช�ำ ระ​ดอกเบี้ย​

2) การนำ�​สบื เ​รือ่ ง​การ​ใช้ด​ อกเบีย้ ห​ รือต​ น้ เ​งินใ​น​กรณีช​ �ำ ระ​ดอกเบีย้ ห​ รือต​ น้ เ​งินพ​ ร้อม​ดอกเบีย้ ​
เป็นง​ วดๆ นัน้ ถ้าเ​จ้าห​ นีอ​้ อก​ใบ​เสร็จใ​ห้เ​พือ่ ร​ ะยะ​หนึง่ แ​ ล้วโ​ ดย​มอ​ิ ดิ เ​อือ้ น ให้ส​ นั นิษฐาน​ไว้ก​ อ่ น​วา่ เจ้าห​ นีไ​้ ด้​

เป็น​ราย​เดือน​ภายใน​วัน​ที่ 1 ของ​ทุกๆ เดือน​ ใน​กรณี​นี้​ถ้า​เจ้า​หนี้​ได้​ออก​ใบ​เสร็จ​รับ​ชำ�ระ​ดอกเบี้ย​เงิน​กู้​ยืม​


ให้​แก่​ผู้​กู้​ยืม​ไว้ ใน​วัน​ที่ 1 ตุลาคม 2556 กฎหมาย​ให้​สันนิษฐาน​ว่า การ​ชำ�ระ​ดอกเบี้ย​ก่อน​เดือน​ตุลาคม
ย​ อ้ น​หลังไ​ ป เจ้าห​ นีไ​้ ด้ร​ บั ช​ �ำ ระ​จาก​ลกู ห​ นีแ​้ ล้ว หรือใ​น​กรณีผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื อ​ อก​ใบ​เสร็จร​ บั ช​ �ำ ระ​ตน้ เ​งินใ​ห้ผ​ ก​ู้ ภ​ู้ ายใน​
วันท​ ี่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 กรณีเ​ช่นน​ ี้ กฎหมาย​สนั นิษฐาน​วา่ ใน​เดือน​กอ่ นๆ ผูใ​้ ห้ก​ ย​ู้ มื ไ​ ด้ร​ บั ช​ �ำ ระ​ตน้ เ​งินจ​ าก​
สธ
ผู​ก้ ู้​ยืม​แล้ว ถ้า​ผู้​ให้​ก​ยู้ ืม​อ้าง​ว่า​มิได้​รับ​ชำ�ระ ผู้​ให้​ก​ยู้ ืม​ต้อง​เป็นฝ​ ่าย​นำ�สืบ​หักล​ ้าง​ข้อ​สันนิษฐาน​ของ​กฎหมาย​
ดัง​กล่าว (ฎ. 1649/2479) และ​กรณี​ผ​ใู้ ห้​ก​ยู้ ืม​ได้​ออก​ใบ​เสร็จ​ว่า​ได้​รับ​ชำ�ระ​ต้นเ​งิน​จาก​ผู้​ก​ยู้ ืม​แล้ว​สันนิษฐาน​
ว่า​ผู้​กู้​ยืม​ได้​ชำ�ระ​ดอกเบี้ย​เดือน​ก่อนๆ แก่​ผ​ใู้ ห้​ก​ยู้ ืม​แล้ว​เช่น​กัน (ปพพ. มาตรา 327 วรรค 2)

3-78 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

3) การนำ�​สืบ​การ​ช�ำ ระ​หนี​ด้ ้วย​เช็ค กรณี​ช�ำ ระ​หนี้​ด้วย​เช็ค ซึ่ง​เป็นการ​ช�ำ ระ​หนี​ด้ ้วย​การ​ออก


​ตั๋ว​เงิน​ตาม ปพพ. มาตรา 321 วรรค 3 ความ​ว่า “ถ้า​ชำ�ระ​หนี้​ด้วย​ออก ด้วย​โอน หรือ​ด้วย​สลัก​หลังต​ ั๋ว​เงิน​
หรือป​ ระทวนสินค้า ท่าน​วา่ ห​ นีน​้ นั้ จ​ ะ​ระงับส​ นิ้ ไ​ ป​ตอ่ เ​มือ่ ต​ วั๋ เ​งินห​ รือป​ ระทวนสินค้าน​ นั้ ไ​ ด้ใ​ ช้เ​งินแ​ ล้ว” ซึง่ ก​ ารนำ�​
สืบก​ าร​ช�ำ ระ​หนีด​้ ว้ ย​เช็ค มิใช่ก​ ารนำ�​สบื ก​ าร​ช�ำ ระ​หนีด​้ ว้ ย​เงิน ฉะนัน้ ​แม้ไ​ ม่มห​ี ลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือต​ าม​มาตรา
653 ก็น​ �​ำ พยาน​บคุ คล​มา​สบื ไ​ ด้ ศาล​ฎกี า​ได้วนิ จิ ฉัยว​ า่ การ​ช�ำ ระ​ดว้ ย​เช็คเ​ป็นการ​ช�ำ ระ​หนีท​้ น​ี่ �ำ สืบพ​ ยาน​บคุ คล​


ใน​เรื่อง​ชำ�ระ​หนี้​ได้ (ฎ. 767/2505, 543/2510, 1084/2510)
4) การนำ�​สบื ก​ าร​ช�ำ ระ​หนีโ​้ ดย​โอน​เงินท​ าง​อนิ เทอร์เน็ต​หรือเ​อทีเอ็ม ใน​ปจั จุบนั เ​ทคโนโลยี​ได้​

มส
พัฒนา​ไป​อย่าง​รวดเร็ว วิธ​กี าร​ชำ�ระ​หนี​้ก​ร็ ุด​หน้า​ไป​ด้วย​มี​การ​โอน​เงิน​ทาง Internet (อินเทอร์เน็ต) หรือใ​ช้
ATM ก่อน​มก​ี าร​ยกเลิก​การ​ใช้โ​ ทรเลข​ใน​ประเทศไทย ได้​มก​ี าร​โอน​เงินท​ าง​โทรเลข​เข้าบ​ ญ
ถือ​เป็นการ​ใช้​เงิน​อย่าง​หนึ่ง
อุทาหรณ์
ฎ. 2965/2531 การ​กู้​ยืม​เงิน​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​จะ​นำ�สืบ​การ​ใช้​เงิน​ได้​ต่อ​เมื่อ​มี​หลัก​ฐาน​
เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ให้​ยืม​มา​แสดง​หรือ​เอกสาร​อัน​เป็น​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​ได้​
เวนคืน​แล้ว​หรือ​ได้​แทง​เพิก​ถอน​ลง​ใน​เอกสาร​นั้น​แล้ว​ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง การ​ที่​จำ�เลย​โอน​
เงิน​ทาง​โทรเลข​เข้า​บัญชี​โจทก์​ไม่​เข้า​บทบัญญัต​ิมาตรา​นี้ แต่​เป็นการ​ช�ำ ระ​หนี้​อย่าง​อื่น​ตาม ปพพ. มาตรา
ั ชีข​ อง​เจ้าห​ นี้ ซึง่ ​

321 ซึ่งโ​จทก์​ใน​ฐานะ​เจ้า​หนี​ไ้ ด้​ยอมรับ​แล้ว ถือว่า​จำ�เลย​ช�ำ ระ​ให้​โจทก์​ตาม​จำ�นวน​เงิน​ดัง​กล่าว


ดัง​นั้น การ​ชำ�ระ​หนี​ก้ ​ยู้ ืม​เงิน​ทาง​โทรเลข จึง​น�​ ำ พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ได้ ส่วน​การ​ชำ�ระ​หนี​ท้ าง

Internet หรือ​ใช้ ATM ถือ​เป็นการ​ใช้​เงิน​อย่าง​หนึ่ง ผู้​เขียน​เห็น​ว่า​กน็​ ่า​จะ​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ได้​เช่น​กัน
ข้อส​ ังเกต
มส

การ​ทจ​ี่ ะ​น�ำ สืบต​ าม มาตรา 653 วรรค​สอง​นนั้ ต​ อ้ งเป็นการ​ช�ำ ระ​หนีก​้ นั ด​ ว้ ย​เงินโ​ดยตรง ชำ�ระ​
ด้วย​มือ​ต่อ​มือ (by hand)

กิจกรรม 3.4.2
ให้​นักศึกษา​ศึกษา​ถึง​เรื่อง​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงินแ​ ล้ว​ตอบ​ค�ำ ถาม​ต่อ​ไป​นี้
1. การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​นั้น ผู​ก้ ​สู้ ามารถ​นำ�สืบ​การ​ใช้​เงิน​ได้​กี่​วิธี อะไร​บ้าง จง​อธิบายม
2. หลัก​ฐาน​การ​ใช้​เงิน​ม​เี พียง​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน​ใช่​หรือ​ไม่ หลักฐ​ าน​อย่าง​อื่น​ใช้ได้​เพียง​ใด​จง​อธิบาย
3. การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน หมายความ​ว่า​นำ�สืบ​ใน​เรื่อง​ใด การนำ�​สืบ​พยาน​บุคคล​ใน​เรื่อง​ดอกเบี้ย​
ทำ�ได้​หรือ​ไม่ เพียง​ใด ให้​เหตุผล​ประกอบ

แนว​ตอบ​กิจกรรม 3.4.2
1. การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​ตาม ปพพ. มาตรา 653 วรรค​สอง​มี 3 วิธี
สธ
1) มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​ใช้​เงิน​เป็น​หนังสือ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ให้ย​ ืมเ​ป็น​สำ�คัญ
2) ได้​เวนคืน​เอกสาร​แห่งก​ าร​กยู้​ ืม​เงิน
3) ได้​แทง​เพิก​ถอน​ลง​ใน​เอกสาร​การกู้​ยืม​เงิน

การ​กู้​ยืม​เงิน 3-79

2. ไม่ใช่ หลักฐ​ าน​เป็นห​ นังสือใ​ดๆ ก็ได้แ​ สดง​วา่ ม​ ก​ี าร​ใช้เ​งินใ​ห้แ​ ก่ผ​ ใ​ู้ ห้ก​ ย​ู้ มื แ​ ล้ว เช่น จดหมาย​ตอบ​รบั
3. การนำ�​สืบ​การ​ใช้​เงิน​หมายความ​ถึง​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​ต้น​เงิน​ตาม​มาตรา 653 วรรค 2 การนำ�​
พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ใน​เรื่อง​ดอกเบี้ย​ทำ�ได้​เพราะ​มิใช่​การนำ�​สืบ​การ​ใช้​ต้น​เงิน การนำ�​สืบ​ตาม​มาตรา 653 ที่​
กฎหมาย​บังคับ​ให้​มี​พยาน​เอกสาร​มา​แสดง​นั้น​ใช้​เฉพาะ​การนำ�​สืบ​ต้น​เงิน การนำ�​สืบ​เรื่อง​ชำ�ระ​ดอกเบี้ย
สามารถ​นำ�​พยาน​บุคคล​มา​สืบ​ได้ (ฎ. 1084/2510, ฎ.243/2503)


มส

มส


สธ

3-80 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝาก​ทรัพย์ ตัวแทน ประกัน​ภัย

บรรณานุกรม

กรม​ศิลปากร. (2521). กฎหมาย​ตรา​สาม​ดวง. กรม​ศิลปากร จัดพ​ ิมพ์​เผย​แพร่.


ไชย​ณัฐ ธีระ​ ​พัฒนะ. (2518). ดอกเบี้ย. บท​บัณฑิตย์ 32. ตอน 2.
ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย ฝ่าย​วิชาการ. (2515). ประวัติ​และ​การ​ดำ�เนิน​งาน​ของ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร: ห้าง​หุ้นส​ ่วน​จำ�กัดศ​ ิว​พร หนังสือท​ รี่​ ะลึกค​ รบ​รอบ 30 ปี ของ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย

มส
ธรรม​นิตย์ วิชญ​เนติ​นัย. (2523). แชร์​เปีย​หวย​กับ​ปัญหา​กฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทส​ ยาม​บรรณ จำ�กัด.
ปัญญา อุดม​ระ​ติ. (2520). เศรษฐศาสตร์​การ​เงิน​และ​การ​ธนาคาร. กรุงเทพมหานคร: โรง​พิมพ์​มหาวิทยาลัย​
รามคำ�แหง.
พจน์ ปุษ​ปา​คม. (2511). คำ�​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​ด้วย​ยืม กู้​ยืม และ​ฝาก​ทรัพย์.
กรุงเทพมหานคร: แสงทอง​การ​พิมพ์.
พนม ตั้ง​นิมิตร​มงคล. (2525). ผู้​อำ�นวย​การ​ฝ่าย​การ​ธนาคาร​ต่าง​ประเทศ สัมภาษณ์ ณ ธนาคาร​ไทย​ทนุ จำ�กัด
สำ�นักงาน​ใหญ่. วัน​ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525
พระ​ราช​บัญญัติ​ดอกเบี้ย​เงิน​ให้​กู้​ยืม​ของ​สถาบัน​การ​เงิน พ.ศ. 2523
ไพจิตร ปุญญ​พันธุ์. (2523). ธนาคาร​จะ​คิด​ดอกเบี้ยท​ บ​ต้นใ​น​เงินก​ ู้​ได้ห​ รือ​ไม่. บท​บัณฑิตย์ 37. ตอน 3 ปี 2523.
ม.ร.ว. คึกฤ​ ทธิ์ ปราโมช.(2516). การ​ธนาคาร​พาณิชย์. กรุงเทพมหานคร: เกษม​สมั พันธ์ก​ าร​พมิ พ์ ธนาคาร​ศรีนคร

จัดพ​ ิมพ์เ​ป็น​อนุสรณ์​ใน​งาน​พระราชทาน​เพลิง​ศพ​พระ​ยา​โทณวณิ​กมน​ตรี.
วารี พงษ์เวช. (2502). การ​เงิน​และ​การ​ธนาคาร. (พิมพ์​ครั้ง​ที่ 4). พระนคร: อุตสาหกรรม​การ​พิมพ์.
มส

สุร​ ักษ์ บุนนาค และ​วณี จง​ศิริวัฒน์. (2510). การ​เงิน​และ​การ​ธนาคาร. (พิมพ์ค​ รั้งท​ ี่ 1). กรุงเทพมหานคร: สำ�นัก​
พิมพ์ไ​ ทย​วัฒนา​พาณิชย์ จำ�กัด.
www. worldbank.org/website/External/Countries.


สธ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-1

หน่วย​ที่ 4
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์


รอง​ศาสตราจารย์​เพ​ชรา จารุ​สกุล

มส

มส

ชื่อ
วุฒิ
รอง​ศาสตราจารย์เ​พ​ชรา จารุ​สกุล

น.บ. (เกียรตินิยม​ดี), น.ม. มหาวิทยาลัยธ​ รรมศาสตร์
น.บท., ประกาศนียบัตร​กฎหมาย​ทรัพย์สินท​ าง​ปัญญา
ส�ำนัก​อบรม​ศึกษา​แห่งเ​นติบ​ ัณฑิตย​ ส​ ภา
ต�ำแหน่ง อาจารย์พิเศษสาขา​วิชา​นิติศาสตร์
สธ
มหาวิทยาลัย​สุโขทัย​ธร​รมาธิ​ราช
หน่วย​ที่​ปรับปรุง หน่วย​ที่ 4

ปรับปรุง​จาก​ต้นฉบับ​เดิม หน่วย​ที่ 4 สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ อาจารย์​สม​ชัย ศิริ​บุตร รอง​ศาสตราจารย์​เพ​ชรา จารุส​ กุล



4-2 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการ​สอน​ประจ�ำ​หน่วย

ชุด​วิชา กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วย​ที่ 4 สัญญา​ฝาก​ทรัพย์

ตอน​ที่

แนวคิด
มส
4.1 ลักษณะ​ทั่วไป​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
4.2 สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​ใน​การ​ฝาก​เงิน
4.3 สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​สำ� หรับ​การ​ฝาก​กับ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม

1. ส ัญญา​ฝาก​ทรัพย์ เป็น​ชื่อ​ของ​เอกเทศ​สัญญา​ลักษณะ​หนึ่ง​ที่​กฎหมาย​บัญญัติ​ขึ้น​เพื่อ​คุ้มครอง​
บุคคล​ท​เี่ รียก​วา่ “ผู​ฝ้ าก” กับ​บคุ คล​อกี ค​ น​หนึง่ ​ท​เี่ รียก​วา่ “ผูร้ บั ​ฝาก” โดย​กำ� หนด​สทิ ธิ​และ​หน้าที่​

ระหว่าง​กัน ตลอด​จน​ความ​ระงับ​แห่ง​สิทธิ​และ​หน้าที่​ดัง​กล่าว และ​ข้อ​ก�ำหนด​ว่า​ด้วย​อายุ​ความ
2. การ​ฝาก​เงิน มี​ลักษณะ​พิเศษ​แตก​ต่าง​จาก​การ​ฝาก​ทรัพย์​ธรรมดา กฎหมาย​จึง​บัญญัตกิ​ �ำหนด​
สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​ผ​ฝู้ าก​เงิน​และ​ผู้รับ​ฝาก​เงิน​ขึ้น​โดย​เฉพาะ
มส

3. ก าร​ฝ าก​ทรั พ ย์​กั บ​เจ้ า ​สำ� นัก ​โรงแรม มี ​ลั กษณะ​พิ เ ศษ​แตก​ต่ าง​จ าก​การ​ฝาก​ทรัพย์​ธรรมดา
กฎหมาย​ได้​บญ ั ญัต​สิ ทิ ธิ​หน้าที​่ของ​คน​เดิน​ทาง​กบั ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ขนึ้ ​เฉพาะ และ​กำ� หนด​อายุ​
ความ​ใช้​ค่า​ทดแทน​เพื่อ​ทรัพย์สิน​คน​เดิน​ทาง​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​เป็น​กรณี​พิเศษ​ไว้ด​ ้วย

วัตถุประสงค์
เมื่อ​ศึกษา​หน่วย​ที่ 4 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ

ส�ำหรับ​การ​ฝาก​กับ​เจ้า​สำ� นักโรงแรม​ได้
2. วินิจฉัย​ปัญหา​เกี่ยว​กับ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​ใน​การ​ฝาก​เงินได้
3. วินิจฉัย​ปัญหา​เกี่ยว​กับ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​การ​ฝาก​กับ​เจ้า​ส�ำนักโ​รงแรม​ได้

1. อธิบาย​หลัก​เกณฑ์​และ​ยก​ตัวอย่าง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ วิธ​ีเฉพาะ​ใน​การ​ฝาก​เงิน และ​วิธี​เฉพาะ​

กิจกรรม​ระหว่าง​เรียน
สธ
1. ท�ำ​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน​หน่วย​ที่ 4
2. ศึกษา​เอกสาร​การ​สอนตอน​ที่ 4.1-4.3
3. ปฏิบัติ​กจิ กรรม​ตาม​ที่​ได้​รับ​มอบ​หมาย​ใน​เอกสาร​การ​สอน

สัญญาฝากทรัพย์ 4-3

4. ฟัง​ซีด​เี สียง​ประจ�ำ​ชุด​วิชา
5. ชม​รายการ​วิทยุ​โทรทัศน์ (ถ้า​มี)
6. เข้า​รับ​การ​สอน​เสริม (ถ้า​มี)
7. ท�ำ​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​หลัง​เรียน​หน่วย​ที่ 4


สื่อ​การ​สอน
1. เอกสาร​การ​สอน
2.
3.
4.
5.
มส
แบบ​ฝึก​ปฏิบัติ
ซีดี​เสียง​ประจ�ำ​ชุด​วิชา
รายการ​วิทยุ​โทรทัศน์ (ถ้า​มี)
การ​สอน​เสริม (ถ้า​มี)

การ​ประเมิน​ผล
1. ประเมิน​ผล​จาก​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน​และ​หลัง​เรียน
2. ประเมิน​ผล​จาก​กิจกรรม​และ​แนว​ตอบ​ท้าย​เรื่อง
3. ประเมิน​ผล​จาก​การ​สอบ​ประจ�ำ​ภาค​การ​ศึกษา

มส

เมื่อ​อ่าน​แผนการ​สอน​แล้ว ขอ​ให้​ท�ำ​แบบ​ประเมิน​ผล​ตนเอง​ก่อน​เรียน
หน่วย​ที่ 4 ใน​แบบ​ฝึก​ปฏิบัติ แล้ว​จึง​ศึกษา​เอกสาร​การ​สอน​ต่อ​ไป


สธ

4-4 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอน​ที่ 4.1
ลักษณะ​ทั่วไป​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
โปรด​อ่าน​หัว​เรื่อง แนวคิด และ​วัตถุประสงค์​ของ​ตอน​ที่ 4.1 แล้ว​จึง​ศึกษา​ราย​ละเอียด​ต่อ​ไป


หัว​เรื่อง

แนวคิด
มส
4.1.1 สาระ​สำ� คัญ​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
4.1.2 สิทธิ​และ​หน้าที​ข่ อง​ผู้รับ​ฝาก
4.1.3 สิทธิ​และ​หน้าที​ข่ อง​ผู้​ฝาก
4.1.4 ความ​ระงับ​แห่ง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
4.1.5 อายุ​ความ

1. ล ักษณะ​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นั้น ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​เก็บ​รักษา​ทรัพย์สิน​ไว้​ใน​อารักขา​
แห่ง ตน​แล้ว​จะ​คืนให้ โดย​ผู้รับฝาก​ไม่​ได้​รับ​บ�ำเหน็ จ​ค่า ​ฝาก เว้น​แต่​มี ​ข้อ ​ตกลง​หรือ​

พึงค​ าด​หมาย​ได้โ​ดย​พฤติการณ์ว​ า่ ม​ ​บี ำ� เหน็จค​ า่ ฝ​ าก ความ​บริบรู ณ์ข​ อง​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​
นัน้ อยูท​่ ​กี่ าร​สง่ ​มอบ​ทรัพย์สนิ ท​ ​ฝี่ าก โดย​ไม่​จำ​
� ตอ้ ง​ม​หี ลักฐ​ าน​เป็น​หนังสือห​ รือ​ม​แี บบ​พเิ ศษ​
แต่​อย่าง​ใด
มส

2. ผรู้ บั ​ฝาก​มหี น้า​ท​อี่ ยู่ 4 ประการ​คอื สงวน​รกั ษา​ทรัพย์สนิ ท​ ​ฝี่ าก งด​เว้น​การ​ใช้สอย​ทรัพย์​


หรือ​ให้​คน​อนื่ ​เก็บ​รกั ษาทรัพย์​ท​ฝี่ าก บอก​กล่าว​แก่​ผ​ฝู้ าก​เมือ่ ​ถกู ​ฟอ้ ง​หรือ​ถกู ​ยดึ ​ทรัพย์สนิ ​
ที่​ฝาก​และ​มีหน้า​ที่​คืน​ทรัพย์สิน​ท​ี่ฝาก​พร้อม​ด้วย​ดอก​ผล ส่วน​สิทธิ​ของ​ผู้รับ​ฝาก​มี​อยู่ 4
ประการ ได้แก่ สิทธิ​เรียก​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​คืน​ทรัพย์​และ​สงวน​รักษา​ทรัพย์ สิทธิ​เรียก​
บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​และ​สิทธิ​ยึด​หน่วง​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก

3. ​สิทธิ​ของ​ผ​ฝู้ าก​ม​อี ยู่ 3 ประการ ได้แก่ สิทธิ​ฟอ้ ง​บงั คับ​ให้ส​ งวน​รกั ษา​ทรัพย์ ห้าม​ใช้สอย​
หรือ​หา้ ม​คน​อนื่ ​เก็บ​รกั ษา สิทธิ​เรียก​คา่ ​สนิ ไหม​ทดแทน​เกีย่ ว​แก่​การ​ฝาก​ทรัพย์ และ​สทิ ธิ​
ใน​การ​เรียก​คืน​ทรัพย์​และ​ดอก​ผล ผู้ฝากมีหน้าที่ 3 ประการคือ หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายคืน
ทรัพย์ หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการสงวนรักษาทรัพย์ และหน้าที่ช�ำระบ�ำเหน็จค่าตาม
ข้อตกลง
4. สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ระงับ​ด้วย​เหตุ 4 ประการ​คือ ระงับ​ตาม​ข้อ​ตก​ลง ระงับ​เมื่อ​ส่ง​ทรัพย์​
คืน ระงับเ​มื่อท​ รัพย์ส​ ูญหาย​หรือท​ ำ� ลาย​ไป​หมด หรือบ​ ุคคล​ภายนอก​ยึดท​ รัพย์ท​ รี่​ ับฝ​ าก​
สธ
ไป​โดย​ชอบ​และ​ระงับ​เมื่อ​ผู้รับ​ฝาก​ตาย

สัญญาฝากทรัพย์ 4-5

5. อ ายุ​ความ​ใน​เรื่อง​ฝาก​ทรัพย์​แบ่ง​เป็น​อายุ​ความ​เฉพาะ คือ​ใน​ข้อความ​รับ​ผิด​เพื่อ​ใช้​เงิน​
บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์ ชดใช้​เงิน​ค่า​ใช้​จ่าย​หรือ​ใช้​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เกี่ยว​แก่​การ​ฝาก​
ทรัพย์ ซึ่ง​มี​กำ� หนด​เวลา​เพียง 6 เดือน​นับ​แต่​วัน​สิ้น​สัญญา​เท่านั้น อายุ​ความ​เรียก​คืน​
ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​ใน​กรณี​อื่นๆ ซึ่ง​มี​กำ� หนด​เวลา 10 ปี


วัตถุประสงค์

มส
เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 4.1 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ
1. อธิบาย​หลักเ​กณฑ์ และ​ยก​ตวั อย่าง​สญ
กับ​กฎหมาย​ลักษณะอื่น​ได้
2. ร่าง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ได้
ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ และ​เปรียบ​เทียบ​สญั ญา​ฝาก​ทรัพย์​

3. อธิบาย​สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​และ​ผ​ู้ฝาก การ​ระงับ​แห่ง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​และ​อายุ​
ความ​ใน​เรื่อง​ฝาก​ทรัพย์ตาม​สถานการณ์​ที่​กำ� หนด​ให้​ได้
4. วินิจฉัย​ปัญหา​เกี่ยว​กับ​ลักษณะ​ทั่วไป​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ได้

มส


สธ

4-6 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ความ​น�ำ

สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ (Deposit) เป็น​ชื่อ​ของ​เอกเทศ​สัญญา​ลักษณะ​หนึ่ง เกิด​จาก​ค�ำ​เสนอ (offer)


และ​ค�ำ​สนอง (acceptance) ถูก​ต้อง​ตรง​กัน​เช่น​เดียว​กับ​สัญญา​ทั้ง​หลาย แต่​ม​ลี ักษณะ​เฉพาะ​คือ​ต้อง​มกี​ าร​
ส่ง​ม อบ​ท รั พย์สิน​ท​ี่ ฝาก​ด้วย​สั ญญา​จึ ง​จ ะ​บริบู รณ์ และ​ผู้รั บ​ฝาก​ที่​รับ​ม อบ​ท รัพย์ ต้อง​ตกลง​รักษา​ทรั พย์​
โดย​เก็บ​ไว้​ให้​แล้ว​จะ​ส่ง​คืน ดัง​นั้น เพื่อ​ป้องกัน​การ​โต้​แย้ง​ระหว่าง​ผู้​ฝาก​กับ​ผู้รับ​ฝาก กฎหมาย​จึง​กำ� หนด​

มส
สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​คู่​กรณี​ขึ้น​เพื่อ​ให้​ปฏิบัติ​ได้​ถูก​ต้อง​ต่อ​ไป
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ หมาย​รวม​เอาการ​ฝาก​ทรัพย์สิน​ทุก​ชนิด ตลอด​จนถึง​การ​ฝาก​เงิน​และ​ฝาก​
เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​ดว้ ย เว้นแ​ ต่ก​ าร​ฝาก​สนิ ค้าซ​ งึ่ ​ถงึ ​แม้ส​ นิ ค้าจ​ ะ​เป็นท​ รัพย์สนิ อ​ ย่าง​หนึง่ ก​ ต็ าม แต่ก​ ฎหมาย​ได้​
แยก​บญ ั ญัต​ิเป็น​เอกเทศ​สญ
หน่วย​ที่ 5 ต่อ​ไป
ั ญา​ลกั ษณะ​หนึง่ ​ตา่ ง​หาก คือ​เก็บ​ของ​ใน​คลัง​สนิ ค้า​ซงึ่ ​นกั ศึกษา​พงึ ​ศกึ ษา​ได้​จาก​

สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ท​จี่ ะ​ศึกษา​ใน​หน่วย​ที่ 4 นี้ จะ​แยก​อธิบาย​เป็น 3 ตอน​คือ


ตอน​ที่ 4.1 ลักษณะ​ทั่วไป​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
ตอน​ที่ 4.2 สัญญาฝากทรัพย์เฉพาะ​ใน​การ​ฝาก​เงิน
ตอน​ที่ 4.3 สัญญาฝากทรัพย์เฉพาะ​สำ� หรับการฝากกับเจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม

ใน​เรื่อง​ความ​รับ​ผิด​ของเจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ที่​ต้อง​รับ​ผิด​เพื่อ​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อย่าง​ใดๆ
อัน​เกิด​แก่​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ได้​พา​มา​นั้น หาก​เป็น​ของ​มี​ค่า คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​
มส

ต้อ ง​ฝ าก​ข อง​นั้ น ​ไว้ ​แ ก่​เจ้า ​สำ� นั ก ​โรงแรม​แ ละ​บ อก​ราคา​แ ห่ง ​ทรั พย์ สิน​นั้น​ไว้ ​ด้ วย หาก​มิไ ด้​ท�ำ​เช่ น​นั้ น
เดิม​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ต้อง​รับ​ผิด​เพียงห้า​ร้อย​บาท ต่อ​มา​เมื่อ​มูลค่า​แห่ง​เงิน​นั้น​ลด​น้อย​ลง​ได้​มี​การ​แก้ไข​เพิ่ม​
เติม ปพพ. มาตรา 675 วรรค​สอง โดย​พระ​ราช​บัญญัติ​แก้ไข​เพิ่ม​เติม ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์
(ฉบับ​ที่ 14) พ.ศ. 2548 ได้​แก้ไข​จำ� นวน​เงิน​ท​ี่เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ต้อง​รับ​ผิด​จาก​ห้า​ร้อย​บาท​เป็น​ห้า​พัน​บาท
เพื่อ​ให้​เหมาะ​สม​กับ​มูลค่า​ของ​เงิน​ใน​ปัจจุบัน


สธ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-7

เรื่อง​ที่ 4.1.1
สาระ​ส�ำคัญ​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์


ประวัติ​ความ​เป็น​มา​และ​ประเภท​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
ประวัตค​ิ วาม​เป็นม​ า​ของ​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ใ​น​สมัยด​ งั้ เดิมน​ นั้ ​อาจ​เกิดจ​ าก​ความ​จำ� เป็นท​ เ​ี่ จ้าของ​ทรัพย์​

มส
จะ​ตอ้ ง​ไป​กจิ ธ​ รุ ะ​คา้ ง​แรม​ท​อี่ นื่ เ​ป็นเ​วลา​นาน จึงอ​ อกปาก​ฝาก​ทรัพย์สนิ เช่น บ้าน​เรือน ต้นไม้ สัตว์​เลีย้ ง ของ​
มี​ค่า ฯลฯ ให้​ไว้​แก่​เพื่อน​บ้าน​ช่วย​เก็บ​รักษา​ไว้ เมื่อ​กลับ​มา​ก็​เอา​คืน​ไป เป็นต้น หรือ​ใน​กรณี​ที่​เกิด​ภัย​ทาง​
ธรรมชาติ​หรือ​มี​เหตุ​ฉุกเฉิน เช่น เกิด​อุทกภัย วาตภัย แผ่น​ดิน​ไหว ไฟ​ไหม้ เรือ​อับปาง การ​จลาจล การ​
ศึก​สงคราม ซึง่ เ​จ้าของ​ทรัพย์จ​ ำ​ � ตอ้ ง​ฝาก​ทรัพย์แ​ ก่​เพือ่ น​บา้ น​โดย​ความ​จำ� เป็น ใน​พฤติการณ์พ​ เิ ศษ​ดงั ​กล่าว
จึง​เกิด​การ​ฝาก​ทรัพย์​ขึ้น หรือ​ใน​บาง​กรณี​การ​ฝาก​ทรัพย์​อาจ​เกิด​ขึ้น​ได้​โดย​บังเอิญ เช่น ทรัพย์​ของ​เพื่อน​
บ้าน​ปลิว​มา​ตกใน​บริเวณ​ทดี่ นิ ​หรือ​บา้ น​ของ​เรา​และ​ออกปาก​ฝาก​เรา​ไว้ แล้ว​เรา​ก​เ็ ข้าไป​เคลือ่ น​ยา้ ย​เก็บ​รกั ษา​
ไว้​ให้ เป็นต้น นอกจาก​น​กี้ าร​ฝาก​ทรัพย์อ​ าจ​เกิด​ขนึ้ ใ​น​กรณีท​ ​เี่ จ้าของ​ทรัพย์ไ​ ม่มส​ี ถาน​ทเ​ี่ ก็บ​รกั ษา หรือท​ รัพย์​
เป็นข​ อง​ใหญ่โ​ ต​หรือม​ ​จี ำ� นวน​มาก หรือถ​ นน​หนทาง​ท​จี่ ะ​นำ​ � ทรัพย์เ​ข้าม​ า​เก็บใ​น​บา้ น​ของ​เจ้าท​ รัพย์ล​ ำ� บาก จึง​
จ�ำ​ตอ้ ง​ฝาก​ทรัพย์ไ​ ว้ ณ สถาน​ท​ใี่ ด​สถาน​ท​หี่ นึง่ ดังนี้ เป็นต้นจ​ งึ อ​ าจ​กล่าว​ได้ว​ า่ ตาม​ปกติแ​ ล้วก​ าร​ฝาก​ทรัพย์​

ได้​กระท�ำ​กัน​โดย​อัธยาศัย​เพื่อน​บ้าน ไม่มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​กัน​ดัง​กล่าว เว้น​แต่โ​ ดย​พฤติการณ์​พึงค​ าด​หมาย​
ได้​วา่ ​เขา​รบั ​ฝาก​ทรัพย์​เพือ่ ​บำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก​หรือ​ตกลง​กนั ​วา่ ​จะ​มบ​ี ำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก​กนั อย่างไร​กด​็ ี เมือ่ ​บา้ น​เมือง​
เจริญ​ขึ้น ที่ดิน​และ​สิ่ง​ต่างๆ มี​ราคา​สูง​ขึ้น ความ​จำ� เป็น​ที่​จะ​ต้อง​มี​สถาน​ที่​เก็บ​ทรัพย์​และ​ให้​ทรัพย์สิน​ปลอด​
มส

จาก​อัคคี​ภัย​และ​โจรกรรม ท�ำให้​กิจกรรม​ฝาก​ทรัพย์​กลาย​เป็น​ธุรกิจ และ​ต้อง​มี​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก​กัน ซึ่ง​ก่อ​


ประโยชน์​ทงั้ ​แก่​ผ​ฝู้ าก​และ​ผรู้ บั ​ฝาก​เป็น​อนั ​มาก อีก​ทงั้ ​เป็น​อาชีพ​ท​รี่ ำ�่ รวย​ได้​ด​อี าชีพ​หนึง่ มี​ผ​ดู้ ำ� เนิน​การ​โดย​
แพร่ห​ ลาย เช่น ตัง้ ร​ า้ น​รบั ฝ​ าก​รถ​จกั รยาน​หรือร​ ถ​จกั รยานยนต์ สถาน​ท​รี่ บั ฝ​ าก​รถยนต์ สถาน​ทร​ี่ บั ฝ​ าก​สตั ว์​
เลี้ยง สถาน​ที่​รับ​ฝาก​เงิน​และ​ของ​มี​ค่าที่​เรียก​ว่า ธนาคาร​หรือ​บริษัท​เงิน​ทุน-หลัก​ทรัพย์​ทั้ง​หลาย ตลอด​จน​
สถาน​ที่​รับ​ฝาก​สินค้า​ท​เี่ รียก​ว่า​คลัง​สินค้า

สรุป​แล้ว​ความ​จ�ำเป็น​และ​ความ​บังเอิญ​ดัง​กล่าว​ท�ำให้​เกิด​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ขึ้น ซึ่ง​พอ​จะ​แยก​ตาม​
ระดับ​ของ​ความ​ระมัดระวัง​ใน​การ​เก็บ​รักษา​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​ได้​เป็น 3 ประเภท คือ 1. ฝาก​ทรัพย์​โดย​ไม่ม​ี
บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก 2. ฝาก​ทรัพย์​โดย​มี​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก และ 3. ฝาก​ทรัพย์​โดย​ผู้​มี​อาชีพ​รับ​ฝาก ซึ่ง​จะ​ศึกษา​
ละเอียด​ได้​จาก​เรื่อง​ที่ 4.1.2 สิทธิ​หน้าที​ข่ อง​ผู้รับ​ฝาก ต่อ​ไป
สธ

4-8 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ความ​หมาย​และ​สาระ​ส�ำคัญ​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
ค�ำ​ว่า “ฝาก” มี ความ​หมาย 3 อย่าง คือ
1) มอบ​ให้​ไว้ เป็นต้น​ว่า​เพื่อ​ให้​ช่วย​ดูแล คุ้มครอง​หรือ​พิทักษ์​รักษา เช่น ฝาก​บ้าน เป็นต้น
2) ให้​ปรากฏ​เป็น​เกียรติ เช่น ฝาก​ชื่อ​เสียง ฝาก​ฝีมือ
� แทน​ตัว เช่น ฝาก​จดหมาย​ฝาก​หน้าที่11


3) ให้​น�ำ​ไป​หรือ​ให้​ทำ​
แต่​คำ​� ว่า “ฝาก​ทรัพย์” ใน​ความ​หมาย​ของ​กฎหมาย​นั้น มุ่ง​ใน​ความ​หมาย​ที่​ว่า ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​
ให้​เก็บ​รักษา​แล้ว​ผู้รับ​ฝาก​จะ​คืนให้ ไม่​หมาย​ถึง​ฝาก​ทรัพย์สิน​ให้​นำ​ � ส่ง​ให้​อีก​ต่อ​หนึ่ง อัน​เป็น​ลักษณะ​ของ​

มส
สัญญา​รับ​ขน​หรือ​สัญญา​ตัวแทน
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นนั้ ปพพ. มาตรา 657 ให้​ความ​หมาย​วา่ คือ “สัญญา​ซงึ่ บ​ คุ คล​คน​หนึง่ เรียก​วา่ ​
ผู้​ฝ าก ส่ ง ​ม อบ​ท รั พ ย์ สิ น ​ใ ห้ ​แก่​บุคคล​อีก​คน​หนึ่ ง เรียก​ว่า​ผู้ รับ​ฝ าก และ​ผู้รับ​ฝาก​ตกลง​ว่ า​จะ​เก็บ​รักษา​
ทรัพย์สิน​นั้น​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน​แล้ว​จะ​คืนให้” ดังนี้​จึง​พอ​จ�ำแนก​สาระ​ส�ำคัญ​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​
ออก​ได้ 5 ประการ​คือ
1. สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​สัญญา 2 ฝ่าย และ​ไม่​ต้องการ​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​หรือแ​ บบ
2. สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​สัญญา​ประเภท​ทบี่​ ริบูรณ์ด​ ้วย​การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก
3. วัตถุ​แห่ง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ต้อง​เป็น​ทรัพย์สิน
4. หนี้​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​คือ​ผู้รับ​ฝาก​ตกลง​ว่า​จะ​เก็บ​รักษา​ทรัพย์สิน​นั้น​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน​

แล้ว​จะ​คืนให้
5. สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​สญ ั ญา​ไม่​ตา่ ง​ตอบแทน​และ​ไม่ม​คี า่ ​ตอบแทน เว้นแ​ ต่ต​ กลง​วา่ ​มค​ี า่ ​ตอบแทน​
มส

หรือ​โดย​พฤติการณ์​พึง​คาด​หมาย​ได้​ว่า​มี​ค่า​ตอบแทน
1. สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​สญ ั ญา 2 ฝ่าย และ​ไม่​ตอ้ งการ​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​หรือ​แบบ หมายความ​วา่
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่าย​หนึ่ง เรียก​ว่า ผู้​ฝาก​อีก​ฝ่าย​หนึ่ง​เรียก​ว่า ผู้รับ​ฝาก เมื่อ​มี​คำ​ � เสนอ​
กับ​คำ​� สนอง​ของ​ผู้​ฝาก​และ​ผู้รับ​ฝาก​ตรง​กัน แม้​จะ​เสนอ​สนอง​ตกลง​กัน​ด้วย​วาจา​ก็​ม​ีผล​บังคับ​ได้ การ​ฝาก​
ทรัพย์​ใดๆ ก็​ด​ีหรือ​ฝาก​เงิน​กว่า 2,000 บาท​ก็​ดี มิได้​บังคับ​ให้​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​การ​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​หนังสือ​
เหมือน​กบั ​การ​ก​ยู้ มื ​เงิน​กว่า 2,000 บาท ตาม ปพพ. มาตรา 653 หรือ​ตอ้ ง​ทำ​ � เป็น​หนังสือ​เหมือน​กบั ​สญ ั ญา​

อสังหาริมทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 456 วรรค​หนึ่ง​เพียง​แต่​กฎหมาย​ก�ำหนด​หลัก​เกณฑ์​ความ​บริบูรณ์​


ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ผ​ู้ฝาก​จำ​
พึง​สงั เกต​วา่ ​สญ
� ต้อง​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก ซึ่ง​จะ​กล่าว​ถึง​ใน​ข้อ​ต่อ​ไป
ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ต​ อ้ ง​เกิด​จาก​คำ​� เสนอ​กบั ​คำ​

เช่า ​ซื้ อ ​ต าม ปพพ. มาตรา 572 หรือ ​ต้ อ ง​ท�ำ​เป็น ​ห นังสื อ​และ​จ ด​ทะเบี ยน​เหมื อ น​กับ ​สั ญญา​ซื้อ ​ขาย​

� สนอง​ตรง​กนั มุง่ ต​ อ่ ​การ​ผกู ​นติ ​สิ มั พันธ์ข​ นึ้ ​


ระหว่าง​ผู้​ฝาก​กับ​ผู้รับ​ฝาก ถ้า​เป็น​กรณี​ที่​ทั้ง​สอง​ฝ่าย​มิได้​ตกลง​กัน หรือ​มิได้​ส่ง​มอบ​ทรัพย์​และ​ครอบ​ครอง​
ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​แก่​กนั หาก​เกิด​ความ​เสีย​หาย​ขนึ้ ก็​จะ​บงั คับ​ตาม​บทบัญญัต​เิ รือ่ ง​ฝาก​ทรัพย์​ไม่​ได้ เช่น เมือ่ ​เกิด​
เหตุการณ์​ฉุกเฉิน​เป็นต้น​ว่า​เพลิง​ไหม้ น�้ำ​ท่วม เรือ​อับปาง เจ้าของ​ทรัพย์​จึง​วาน​ให้​เรา​ช่วย​ดูแล​ทรัพย์​ให้
สธ

1 พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542



สัญญาฝากทรัพย์ 4-9

หรือ​ใน​กรณี​ท​นี่ ำ​ �้ พดั ​ไม้​ขอนสัก​มา​คา้ ง​ใน​ทดี่ นิ ​ของ​เรา​หรือผ​ ล​ไม้​ของ​เพือ่ น​บา้ น​ตก​มา​อยู​ใ่ น​สวน​ของ​เรา หรือ​
ต้นไม้​เพือ่ น​บา้ น​ลม้ ​เข้า​มา​ใน​ทดี่ นิ ​ของ​เรา ถ้า​เรา​ไป​แตะ​ตอ้ ง​เคลือ่ น​ยา้ ย​ทรัพย์​นนั้ เ​ข้า​หรือ​เรา​เก็บ​ทรัพย์​ท​ตี่ ก​
หาย​ใน​ที่​สาธารณะ หรือ​ที่​มี​ผู้​ส่ง​ทรัพย์​อย่าง​หนึ่ง​มา​ให้​โดยที่​เรา​ไม่​ได้​ร้องขอ เช่น ส่ง​ภาพ​วาด​มา​ให้​หรือ​
ส่ง​มอบ​ให้​เรา​โดย​สำ� คัญ​ผิด เช่น กิจประสงค์​ฝาก​นาฬิกา​แก่ เข่ง แต่​ส่ง​มอบ​ให้​แก่​เรา​โดย​ส่ง​ผิด​ตัว ดังนี้
แม้เ​รา​จะ​รบั ท​ รัพย์​ดงั ​กล่าว​ไว้​ก​ไ็ ม่ใช่ท​ ำ​
� สญั ญา​ฝาก​ทรัพย์ ดัง​นนั้ ถ้าท​ รัพย์​ดงั ก​ ล่าว​เกิด​เสียห​ าย​ขนึ้ ​ใน​ระหว่าง​


ทีอ​่ ยู​ก่ บั ​เรา ก็​จะ​นำ​
� เรือ่ ง​ฝาก​ทรัพย์​มา​วนิ จิ ฉัย​ให้​เรา​รบั ​ผดิ ​ไม่​ได้ และ​จะ​นำ​
� หลัก​เกณฑ์​เรือ่ ง​การ​สง่ มอบ​ทรัพย์​
โดย​ปริยาย​มา​วินิจฉัยว่า​มี​การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์​แล้ว จึง​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ก็​ไม่​ได้​เช่น​เดียวกัน ส่วน​การ​ที่​

มส
ทรัพย์​นนั้ ​มา​อยูใ​่ น​อารักขา​ของ​เรา ท�ำให้​เรา​มหี น้า​ทจ​ี่ ะ​ตอ้ ง​ระมัดระวัง​รกั ษา​หาก​ประมาท​เลินเล่อ​ทำ� ให้​ทรัพย์​
นัน้ เ​สียห​ าย เรา​ตอ้ ง​รบั ผ​ ดิ อ​ ย่างไร​หรือไ​ ม่น​ นั้ อาจารย์ส​ ม​ชยั ศิรบ​ิ ตุ ร เห็นว​ า่ เ​รา​จะ​ตอ้ ง​พจิ ารณา​ตาม​กฎหมาย​
ละเมิด (ดู ปพพ. มาตรา 420) หา​ใช่​พิจารณา​ตาม​กฎหมาย​ลักษณะ​ฝาก​ทรัพย์​ไม่2
2. สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​สัญญา​ที่​บริบูรณ์​ด้วย​การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก หมายความ​ว่า
ั ญา​ฝาก​ทรัพย์จ​ งึ จ​ ะ​เกิดข​ นึ้ บ​ ริบรู ณ์3
ผูฝ​้ าก​จะ​ตอ้ ง​สง่ ม​ อบ​ทรัพย์สนิ ท​ ฝ​ี่ าก​ให้แ​ ก่ผ​ รู้ บั ฝ​ าก​เข้าค​ รอบ​ครอง​แล้วส​ ญ
การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก จึง​ไม่ใช่​แบบ​ของ​นิติกรรม4 แต่​อยู่​ใน​ขั้น​แสดง​เจตนา คือ​ถ้า​ยัง​ไม่​ส่ง​มอบ​ก​็ถือ​
ไม่​ได้​ว่า​เขา​มี​เจตนา​จะ​ให้​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​บริบูรณ์ ดัง​นั้น​ก่อน​ส่ง​มอบ​ผู้​ฝาก​จึง​อาจ​กลับ​ใจ​ได้​เทียบ​ได้​กับ​
การ​แสดง​เจตนา​ต่อ​ผู้​อยู่​ห่าง​โดย​ระยะ​ทาง​ตราบ​ใด​ที่​ผู้​แสดง​เจตนา​เปลี่ยน​ใจ ย่อม​ถอน​คืน​ได้​ตาม ปพพ.
มาตรา 169 สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ ซึ่ง​ต้อง​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​จึง​จะ​เป็น​สัญญา​ที่​บริบูรณ์​นี้ ก็​ท�ำนอง​เดียว​กับ​

สัญญา​ยืม​ตาม ปพพ. มาตรา 641, 650 สัญญา​จำ� น�ำ ตาม ปพพ. มาตรา 747 นั่นเอง
มส

2 สม​ชัย ศิริ​บุตร เอกสาร​การ​สอน​ชุด​วิชา​กฎหมาย​พาณิชย์ 2 ฉบับ​ปรับปรุง​ครั้ง​ที่ 1 พ.ศ. 2539 น. 126 แต่​ม​นี ัก​กฎหมาย​


บาง​ทา่ น​เห็นว​ า่ เ​กิดส​ ญ
ั ญา​ฝาก​ทรัพย์โ​ดย​ปริยาย​แล้วน​ ำ�​เรือ่ ง​ฝาก​ทรัพย์ม​ า​ใช้บ​ งั คับไ​ ด้ ดูห​ ลวง​ประเสริฐม​ นูก​ จิ กฎหมาย​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์​
ว่า​ด้วย​ยืม ฝาก​ทรัพย์ เก็บ​ของ​ใน​คลัง​สินค้า ประนีประนอม การ​พนัน​และ​ขันต่อ คำ�​สอน​ภาค 3 ชั้น​ปริญญา​ตรี​ของ​มหาวิทยาลัย​
ธรรมศาสตร์-และ​การเมือง พระนคร ม.ป.ท. 2477 น. 28-31.
3 พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ค ม
​ วาม​หมาย​ว่า “ครบ​ถ้วน เต็มท​ ี่ เต็ม​เปี่ยม”
4 ม.ร.ว. เสนี ย์ ปราโมช ปพพ. ว่ า ​ด้ ว ย​นิ ติ ก รรม​แ ละ​ห นี้ ​เ ล่ ม 1 ภาค 1-2 พ.ศ. 2478 แก้ไข​เพิ่ม​เติม พ.ศ. 2505
กรุงเทพมหานคร แสวง​สุทธิ​การ​พิมพ์ พ.ศ. 2520 น. 160 แต่​มี​นัก​กฎหมาย​บาง​ท่าน​มี​ความ​เห็น​ว่า การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์​เป็น​แบบ​
แห่ง​ความ​สมบูรณ์​ของ​สัญญา ดู สุ​ปัน พูล​พัฒน์ ค�ำ​อธิบาย ปพพ. ว่า​ด้วย​ยืม​ฝาก​ทรัพย์ เก็บ​ของ​ใน​คลัง​สินค้า ฯลฯ พิมพ์​ครั้ง​ที่ 3
กรุงเทพมหานคร เลี่ยง​เซี​ยง​จงเจริญ พ.ศ. 2515 น. 3 และ มาโนช สุทธิ​วา​ทนฤ​พุฒิ ค�ำ​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​
ด้วย​ยืม ฝาก​ทรัพย์ เก็บ​ของ​ใน​คลัง​สินค้า ประนีประนอม​ยอม​ความ​การ​พนัน​และ​ขันต่อ แก้ไข​เพิ่ม​เติม พ.ศ. 2522 กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัย​รามค�ำแหง พ.ศ. 2522 น. 155 ผล​ของ​การ​ที่​ถือว่า​เป็น​แบบ​คือ ถ้า​มิได้​มี​การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ย่อม​
ตก​เป็น​โมฆะ​ตาม​มาตรา 152 ซึ่ง​อาจารย์​สม​ชัย ศิริ​บุตร ไม่​เห็น​พ้อง​ด้วย “เพราะ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ที่​ยัง​มิได้​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ที่​
สธ
ฝาก​กัน ผล​ใน​กฎหมาย​คือ​สัญญา​ยัง​ไม่​บริบูรณ์​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ แต่​อาจ​บริบูรณ์​เป็น​สัญญา​อย่าง​อื่น​หรือ​กลับ​ใจ​ไม่​ฝาก​ก็ได้​
ต่าง​กับ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​โมฆะ หมายความ​ว่า​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เกิด​ขึ้น​แล้ว​แต่​โมฆะ​เสีย​เปล่า​ไม่มี​ผล​ใน​กฎหมาย​ตาม​มาตรา 175
เหตุ​นี้ จึง​เห็น​ว่า​ตราบ​ใด​ที่​ยัง​ไม่มี​การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์​ที่​ฝาก จึง​ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​โมฆะ” ซึ่ง​ผู้​เขียน​เห็น​ว่า​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​
ที่​ยัง​ไม่​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ท​ฝี่ าก ไม่​ทำ� ให้​สัญญา​เป็น​โมฆะ​เพียง​แต่ส​ ัญญา​ไม่​บริบูรณ์​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เท่านั้น

4-10 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​และ​การ​เข้า​ครอบ​ครอง​ทรัพย์สิน​ที่​รับ​ฝาก​อาจ​กระท�ำ​โดยตรง​เช่น
หยิบ​ยนื่ ​ทรัพย์สนิ ​ท​ฝี่ าก​ให้​และ​ผรู้ บั ​ฝาก​รบั ​ไว้​ เป็นต้น​ หรือ​สง่ ​มอบ​โดย​ปริยาย เช่น มอบ​กญ ุ แจ​รถ​ให้ นอกจาก​นี้​
การ​เข้า​ครอบ​ครอง​อาจ​ให้​บคุ คล​อนื่ ​ครอบ​ครอง​แทน​ผรู้ บั ​ฝาก​กไ็ ด้ เช่น สัง่ ​ให้​ลกู จ้าง​ครอบ​ครอง​แทน เป็นต้น
3. วัตถุ​แห่ง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ต้อง​เป็น​ทรัพย์สิน ค�ำ​ว่า “ทรัพย์สิน” ตาม ปพพ. มาตรา 138
หมายความ​รวม​ทั้ง​ทรัพย์​และ​วัตถุ​ที่​ไม่มี​รูป​ร่าง​ซึ่ง​อาจ​มี​ราคา​และ​อาจ​ถือ​เอา​ได้ แต่​วัตถุ​ไม่มี​รูป​ร่าง เช่น


ลิขสิทธิ์ สิทธิใ​น​เครือ่ งหมายการค้า สิทธิบ​ ตั ร​ไม่​อาจ​สง่ ม​ อบ​ให้​แก่​กนั ​เพือ่ ​เก็บ​รกั ษา ไม่ว​ า่ ​จะ​เป็นการ​สง่ ​มอบ​
โดยตรง​หรือ​ส่ง​มอบ​โดย​ปริยาย​ก็ตาม จึง​เป็น​ทรัพย์สิน​ที่​ไม่​อาจ​ฝาก​กัน​ได้ แต่​ก็​มี​นัก​กฎหมาย​บาง​ท่าน​

มส
เห็น​ว่า การ​รับ​ฝาก​นั้น​รวม​ทั้ง​การ​ดูแลระมัดระวัง​มิ​ให้​ทรัพย์สิน​นั้น​เกิด​ความ​เสีย​หาย อัน​จะ​ท�ำให้​เจ้าของ​
ทรัพย์สิน​หรือ​ผ​ฝู้ าก​นั้น​ได้​รับ​ความ​เสีย​หาย ฉะนั้นก​ าร​ฝาก​ให้บ​ ุคคล​ใด​บุคคล​หนึ่ง​ดูแล​รักษา​ม​ใิ ห้​ใคร​ละเมิด​
สิทธิ​ก​น็ ่าจ​ ะ​เป็นการ​ฝาก​ทรัพย์สิน​ได้5 ซึ่งอ​ าจารย์​สม​ชัย ศิรบุตร ไม่เ​ห็น​ด้วย เห็นว​ ่าการ​ฝาก​ลิขสิทธิ์ สิทธิ​
ในเครื่องหมายการค้า หรือ​สิทธิ​บัตร​เพื่อ​ให้​ดูแล​ระมัดระวัง​มิ​ให้​ผู้​ใด​มา​ละเมิด ก่อ​ให้​เกิด​ความ​เสีย​หาย​แก่​
เจ้าของ​ทรัพย์ น่าจ​ ะ​เป็นส​ ัญญา​ตัวแทน​ไม่ใช่ส​ ัญญา​ฝาก​ทรัพย์ ซึ่ง​ผู้​เขียน​เห็นพ​ ้อง​ด้วย
สังหาริมทรัพย์​ตาม ปพพ. มาตรา 140 นั้น ย่อม​เป็น​ทรัพย์​ที่​ฝาก​กัน​ได้​เสมอ เช่น ฝาก​รถยนต์
รถ​จกั รยาน เครือ่ ง​บนิ โต๊ะ เก้าอี้ สมุด ดินสอ สัตว์​ตา่ งๆ เครือ่ ง​ทอง​รปู ​พรรณ กระเป๋า เครือ่ ง​มอื เครือ่ ง​ใช้​
ต่างๆ เงิน ทอง​ตรา ธนบัตร ตั๋ว​เงิน ใบหุ้น ใบหุ้น​กู้ ประทวนสินค้า อัญมณี​หรือ​ของ​มี​ค่า​อื่นๆ เป็นต้น
ส่วน​ก�ำลัง​แรง​แห่ง​ธรรมชาติ เช่น แก๊ส พลัง​ไอ​น�้ำ พลัง​นำ�้ ตก อยู่​ใน​ความ​หมาย​ของ​ทรัพย์สิน​อื่น​นอกจาก​

อสังหาริมทรัพย์ ทรัพย์สนิ น​ นั้ ห​ มายความ​รวม​ทงั้ ​วตั ถุ​ไม่มร​ี ปู ร​ า่ ง ซึง่ อ​ าจ​มร​ี าคา​และ​อาจ​ถอื เ​อา​ได้ เมือ่ บ​ รรจุ​
ภาชนะ​มร​ี ปู ร​ า่ ง​ก​ย็ อ่ ม​ฝาก​กนั ​ได้ ส่วน​สงั หาริมทรัพย์ท​ ​หี่ มายความ​ถงึ ส​ ทิ ธิอ​ นั เ​กีย่ ว​กบั ท​ รัพย์สนิ น​ นั้ ​ดว้ ย หาก​
เป็น​วัตถุ​ที่​มี​รูป​ร่าง​ก็​ย่อม​ฝาก​กัน​ได้ ส่วน​สังหาริมทรัพย์​ที่​หมายความ​ถึง​สิทธิ​ทั้ง​หลาย​อัน​เกี่ยว​ด้วย​
มส

สังหาริมทรัพย์​ที่​ไม่มี​รูป​ร่าง เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิ​ใน​เครื่องหมาย​การ​ค้าฯ ย่อม​เป็น​ทรัพย์​ที่​ฝาก​กัน​ไม่​ได้​


ดัง​กล่าว​แล้ว
ส�ำหรับอ​ สังหาริมทรัพย์ไ​ ด้แก่ท​ ดี่ นิ ​กบั ​ทรัพย์​อนั ​ตดิ อ​ ยู​ก่ บั ​ทดี่ นิ มีล​ กั ษณะ​เป็นการ​ถาวร​หรือป​ ระกอบ​
เป็น​อัน​เดียว​กับ​ที่ดิน ตาม ปพพ. มาตรา 139 เป็นท​ รัพย์สินท​ ี่​ฝาก​กันไ​ ด้ห​ รือไ​ ม่น​ ั้น นัก​กฎหมาย​บาง​ท่าน
​เห็น​ว่า​น่า​จะ​ฝาก​กัน​ไม่​ได้ เพราะ​โดย​สภาพ​อสังหาริมทรัพย์​เคลื่อนที่​ไม่​ได้ ไม่​อาจ​ส่ง​มอบ​แก่​กัน​ได้ แต่​

อาจารย์​สม​ชัย ศิริ​บุตร เห็น​ว่าการ​ส่ง​มอบ​อาจ​กระท�ำ​โดยตรง​หรือ​โดย​ปริยาย เช่น​ชี้​ให้​ดู​บ้าน​และ​ที่ดิน​ที่​
ประสงค์​จะ​ฝาก หรือ​ส่ง​มอบ​กุญแจ​ให้ เป็นต้น ทั้ง​มาตรา 657 ก็​บัญญัต​ไิ ว้ว​ ่า ส่ง​มอบ “ทรัพย์สิน” เท่านั้น
อสังหาริมทรัพย์​ก็​อาจ​เสื่อมโทรม​ได้​หาก​ขาด​การ​ดูแล​รักษา ดังนี้ เมื่อ​ผู้รับ​ฝาก​ตกลง​จะ​ดูแล​รักษา​ให้​อยู่​ใน​
ความ​อารักขา​แห่งต​ น สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ย​ อ่ ม​เกิดข​ นึ้ โ​ ดย​บริบรู ณ์ นอกจาก​นเ​ี้ คย​มค​ี ดีท​ โ​ี่ จทก์ฟ​ อ้ ง​อา้ ง​วา่ ฝ​ าก​
เรือน​ให้​จ�ำเลย​อยู่​อาศัย​ดูแล​แทน บัดนี้​ไม่​ประสงค์จ​ ะ​ให้​จ�ำเลย​อยู่ จึง​ฟ้อง​ขับ​ไล่​จ�ำเลย​ออก​จาก​เรือน จ�ำเลย​
ให้การ​ปฏิเสธ​และ​ฟ้อง​แย้ง​ด้วย​ว่า โจทก์​ขาย​เรือน​ให้​จำ� เลย จึง​ขอ​ให้​โจทก์​โอน​ทะเบียน​เรือน​เป็น​ชื่อ​ของ​
จ�ำเลย​หรือ​มิ​ฉะนั้น​ก็​ขอ​ให้​คืน​ราคา​ที่​ชำ� ระ​ไป​แล้ว กับ​ขอ​ให้​ช�ำระ​ค่า​ซ่อมแซม​เรือน​ที่​จ�ำเลย​ออก​เงิน​ค่า​ซ่อม​
สธ
ไป ทาง​พิจารณา​ได้​ความ​ว่า โจทก์​ฝาก​เรือน​ไว้ ส่วน​จ�ำเลย​เสีย​ค่า​ซ่อมแซม​เรือน​ไป​จริง ศาล​จึง​ตัดสิน​ให้​

5
กมล สนธิ​เกษตริ​น ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​ด้วย​ยืม​และ​ฝาก​ทรัพย์ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัย​
ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2521 น. 51-52.

สัญญาฝากทรัพย์ 4-11

ขับ​ไล่​จ�ำเลย โดย​โจทก์​ต้อง​ใช้​ค่าซ​ ่อมแซม​เรือน​แก่​จ�ำเลย6 ดังนี้ ย่อม​แสดง​ว่า เรือน​ซึ่ง​เป็น​อสังหาริมทรัพย์​


ย่อม​ทำ​ � สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ได้ ซึ่ง​ผู้​เขียน​เห็น​ด้วย
กล่าว​โดย​สรุป การ​ฝาก​ทรัพย์​ต่อ​กัน​นั้น​ย่อม​ฝาก​ได้​ทั้ง​สังหาริมทรัพย์​และ​อสังหาริมทรัพย์7 เพียง​
แต่​ทรัพย์สิน​นั้น​ต้อง​เป็น​วัตถุ​ม​ีรูป​ร่าง​เท่านั้น ส่วน​ผู้​ฝาก​จะ​เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​หรือ​ไม่​ก็ได้ เช่น
กั้ง เช่า​รถยนต์​มา​จาก​เข่ง กั้ง ใน​ฐานะ​ผ​เู้ ช่า​อาจ​เอา​รถยนต์​ไป​ฝาก คัง ก็ได้ ดัง​นั้น ผู้​ฝาก​จึง​ไม่​จำ​ � ต้อง​เป็น​


เจ้าของ​ทรัพย์​ที่​ฝาก​แต่​อย่าง​ใด เคย​มี​คดี​เรื่อง​หนึ่ง โจทก์​ฟ้อง​ว่า​ได้​นำ​ � เรือ​บรรทุก​ข้าว​ไป​ฝาก​จ�ำเลย​ไว้ จึง​
ฟ้อง​ขอ​คืน จ�ำเลย​ต่อสู้​คดี​ว่า​ซื้อ​เรือ​จาก​โจทก์และ​มอบ​เงิน​ให้​ไป​แล้ว​ไม่​ได้​รับ​ฝาก ศาล​ชั้น​ต้น​จึง​สั่ง​งด

มส
​สบื พ​ ยาน​แล้วพ​ พิ ากษา​วา่ โ​จทก์ไ​ ม่มอ​ี ำ� นาจ​ฟอ้ ง พิพากษา​ยกฟ้อง ศาล​อทุ ธรณ์​และ​ศาล​ฎกี า​วนิ จิ ฉัยว​ า่ ฟ้อง​
ของ​โจทก์เ​ป็น​เรือ่ ง​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์แ​ ล้ว​จำ� เลย​ผดิ ​สญ

ผู้​ฝาก​จริง​หรือ​ไม่8 ดัง​นั้น​จึง​เห็น​ได้​ว่า ผู้​ฝาก​ไม่​จำ​


อุทาหรณ์
ั ญา ประเด็นค​ ง​ม​วี า่ ​จำ� เลย​ฝาก​ทรัพย์ห​ รือ​ไม่ เมือ่ เ​ป็น​
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ผู้​ฝาก​ย่อม​มี​สิทธิ​เรียก​คืน ไม่มี​ประเด็น​จะ​ต้อง​วินิจฉัย​ถึง​กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์​ว่า เป็น​ของ​
� ต้อง​เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​ก็​ย่อม​ทำ​ � สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ได้

ฎ. 4835/2540 โจทก์​ใน​ฐานะ​ผู้​เช่า​ซื้อ​มี​สิทธิ​ที่​จะ​ยึดถือ​และ​ใช้​ประโยชน์​ตลอด​จน​หน้าที่​ต้อง​ดูแล​
รักษา​รถ​จักรยานยนต์​ที่​เช่า​ซื้อ​ให้​อยู่​ใน​สภาพ​ใช้​การ​ได้​ดี​ตลอด​ไป และ​ได้​ชำ� ระ​เงิน​ให้​ครบ​ถ้วน​ตาม​สัญญา​
เช่า​ซื้อ​แล้ว รถ​จักรยานยนต์​ย่อม​ตก​เป็น​สิทธิ​แก่​โจทก์​หรือ​หาก​เลิก​สัญญา​เช่า​ซื้อ​กัน โจทก์​มีหน้า​ที่​ต้อง​
ส่งม​ อบ​รถ​จักรยานยนต์ค​ ืนผ​ ู้​ให้​เช่า​ซื้อใ​น​สภาพ​เดิม ดัง​นั้น เมื่อ​รถ​จักรยานยนต์ท​ ี่​โจทก์​น�ำ​มา​ฝาก​จ�ำเลย​ทั้ง​

สอง​ได้​สูญหาย​ใน​ระหว่าง​อยู่​ใน​ความ​ดูแล​ของ​จ�ำเลย​ทั้ง​สอง​จน​เป็น​เหตุ​ให้​จ�ำเลย​ทั้ง​สอง​ไม่​สามารถ​คืน​
รถ​จกั รยานยนต์​ซงึ่ ​รบั ​ฝาก​นนั้ ​ให้​แก่​ผ​ฝู้ าก​ได้ จ�ำเลย​ทงั้ ​สอง​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​คนื ​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​รบั ​ฝาก​หรือ​ชดใช้​ราคา
โจทก์ซ​ ึ่งเ​ป็นผ​ ฝู้​ าก​ทรัพย์​จึงม​ ี​สิทธิฟ​ ้อง​จ�ำเลย​ทั้ง​สอง​ให้​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์ซ​ ึ่ง​รับฝ​ าก​ได้
มส

การ​ฝาก​ทรัพย์​นนั้ อาจ​ทำ​ � ใน​ลกั ษณะ​ทช​ี่ ดั ​แจ้ง​โดยตรง เช่น น�ำ​สตั ว์​เลีย้ ง​ไป​ฝาก​เพือ่ น​บา้ น​เลีย้ ง​ไว้
ใน​ขณะ​ที่​ผ​ู้ฝาก​ไป​ต่าง​จังหวัด​หลาย​วัน แต่​มี​การ​ฝาก​ทรัพย์​บาง​อย่าง​ไม่​ได้​เป็นการ​ฝาก​โดยตรง แต่​ม​ี
พฤติการณ์​ถือว่า​เป็นการ​ฝาก​ทรัพย์ เช่น ไป​รับ​ประทาน​อาหาร​ที่​ห้อง​อาหาร​และ​นำ​ � รถ​ไป​ด้วย ขณะ​ที่​นั่ง​
รับ​ประทาน​อาหาร​กจ​็ อด​รถ​ให้​อยูใ​่ น​ความ​ดแู ล​ของ​รา้ น​อาหาร หรือ​ไป​หา้ ง​สรรพ​สนิ ค้าน​ ำ​ � รถ​ไป​จอด​ใน​บริเวณ​
ที่​ห้างฯ จัด​บริการ​ไว้​ส�ำหรับ​ผู้​มา​ใช้​บริการ​ใน​ห้างฯ หรือ​ไป​งาน​เลี้ยง​ที่​โรงแรม​มี​พนักงาน​ของ​โรงแรม​มา

บ​รกิ​ าร​ขับร​ ถยนต์ไ​ ป​จอด​ให้ โดย​เจ้าของ​รถ​ส่งม​ อบ​กุญแจ​ให้พ​ นักงาน​ดังก​ ล่าว​ไป​เหล่าน​ เี้​ป็นการ​ฝาก​ทรัพย์​
หรือไ​ ม่

6 ฎ. 401/2491
สธ
7 กฎหมาย​ต่าง​ประเทศ​เช่น​อังกฤษ​และ​ฝรั่งเศส ทรัพย์​ที่​จะ​ฝาก​กัน​ได้​ต้อง​เป็น​สังหาริมทรัพย์ ดู​หลวง​ประเสริฐ​มนู​กิจ
กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​วา่ ​ดว้ ย​ยมื ​ฝาก​ทรัพย์ ฯลฯ ค�ำ​สอน​ภาค 3 ชัน้ ​ปริญญา​ตรีข​ อง​มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์​และ​การเมือง พระนคร
ม.ป.ท. พ.ศ. 2477 น. 28.
8 ฎ. 800/2498

4-12 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 925/2536 จ�ำเลย​ที่ 1 จัด​บริการ​ให้​แก่ล​ ูกค้า​ซึ่งไ​ ป​รับป​ ระทาน​อาหาร​ทภี่​ ัตตาคาร​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1
โดย​ให้​จ�ำเลย​ที่ 2 ลูกจ้าง​ของ​จำ� เลย​ที่ 1 ต้อนรับ เอา​กุญแจ​รถยนต์​ขับ​รถยนต์​เข้า​ที่​จอด และ​เคลื่อน​ย้าย​
รถยนต์ หาก​ม​รี ถยนต์​คัน​อื่น​เข้า​ออก​ใน​บริเวณ​ภัตตาคาร ออก​ใบรับท​ ี่จ​ ดหมาย​เลข​ทะเบียน​รถยนต์​และ​รับ​
กุญแจ​รถยนต์​ของ​โจทก์​เก็บ​ไว้ ถือ​ได้​ว่า​เป็นการ​ฝาก​ทรัพย์​ตาม ปพพ. มาตรา 657 ซึง่ ​จำ� เลย​ที่ 1 ผูร้ บั ​ฝาก​


จะ​ต้อง​ดูแล​ระมัดระวัง​สงวน​ทรัพย์สิน​ท​ฝี่ าก​นั้น​เหมือน​เช่น​ที่​เคย​ประพฤติ​ใน​กิจการ​ของ​ตนเอง เมื่อ​รถยนต์
โจทก์​ที่​นำ​ � มา​ฝาก​เพื่อ​รับ​ประทาน​อาหาร​ใน​ภัตตาคาร​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 หาย​ไป โดย​จำ� เลย​ที่ 1 มิได้​ดูแล​หรือ​

มส
ใช้​ความ​ระมัดระวัง​สงวน​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​ฝาก​นนั้ ​เหมือน​เช่น​ท​เี่ คย​ประพฤติ​ใน​กจิ การ​ของ​ตน จ�ำเลย​ที่ 1 จึง​ตอ้ ง
​รับ​ผิด​ใช้​ค่า​เสีย​หาย​แก่​โจทก์
โจทก์​ใช้​รถยนต์​ประกอบ​การ​คา้ เมือ่ ​รถยนต์​หาย​ไป​โจทก์​ไม่ม​รี ถยนต์​ท​จี่ ะ​ใช้​ประกอบ​อาชีพ​ได้​ยอ่ ม​
ได้​รับ​ความ​เสีย​หาย มี​สิทธิ​ได้​รับ​ค่า​เสีย​หาย​ส่วน​นี้
ส่วน​การ​ไป​จอด​รถ​ใน​ห้าง​สรรพ​สินค้า ที่​มี​การ​รับ​บัตร​เข้า​ออก​หรือ​จอด​รถ​ใน​โรงแรม​โดย​พนักงาน​
ของ​โรงแรม​เป็น​ผ​ขู้ บั ​รถ​ไป​จอด​ให้​นนั้ ผู​เ้ ขียน​เห็น​วา่ ​เป็นการ​ฝาก​ทรัพย์​กนั ​โดย​ปริยาย​เพราะ​รถ​อยู​ใ่ น​อารักขา​
ของ​หา้ งฯ หรือ​โรงแรม​แล้ว แต่​ม​คี ำ​ � พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​ที่ 4845/2555 ไม่​ได้​วนิ จิ ฉัย​วา่ ​เป็น​สญ
ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​
โดยตรง ซึ่ง​ต่าง​จาก​การ​เข้าไป​จอด​รถ​ใน​สถาน​ท​รี่ าชการ​หรือ​หน่วย​งาน​อื่น เพื่อ​ติดต่อ​ราชการ หรือ​ท�ำ​ธุระ​
แม้​จะ​ม​บี ัตร​เข้าไป​จอด​ก​ไ็ ม่ใช่​การ​ฝาก​ทรัพย์ แต่​เป็นการ​บริการ​ให้​ท​จี่ อด​รถ​แก่​ผู้​มา​ติดต่อ
นอกจาก​นั้นก​ ารน�ำ​รถยนต์ไ​ ป​จอด​ยังส​ ถาน​ที่​ทดี่​ �ำเนินก​ ิจการ​รับฝ​ าก​รถ​โดย​มี​บ�ำเหน็จ เมื่อร​ ถยนต์​

สูญหาย​ไป ผู​ด้ ำ� เนิน​กจิ การ​ดงั ​กล่าว​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ใน​ฐานะ​ผรู้ บั ​ฝาก​ตาม​สญ
ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ จะ​อา้ ง​วา่ เ​ป็นการ​ให้​
เช่าท​ ​จี่ อด​รถ​เพื่อ​จะ​ปฏิเสธ​ไม่​รับ​ผิด​ไม่​ได้
มส

อุทาหรณ์
ฎ. 4235/2541 โจทก์​น�ำ​รถยนต์​คัน​พิพาท​ไป​ฝาก​ไว้​กับ​จ�ำเลย​ที่ 2 และ​ที่ 3 ครั้ง​แรก​เมื่อ​วัน​ที่ 23
มกราคม พ.ศ. 2535 และ​ฝาก​เรื่อย​มา​จน​กระทั่ง​ถึง​วัน​ที่​รถ​หาย​โดย​จ�ำเลย​ที่ 2 และ​ที่ 3 เรียก​เก็บ​ค่า​ฝาก​
เป็น​ราย​เดือน มี​ระเบียบ​ว่า​เจ้าของ​รถ​จะ​ต้อง​ฝาก​กุญแจ​รถ​ไว้​กับ​จ�ำเลย​ที่ 3 เพื่อ​ให้​จำ� เลย​ที่ 3 เลื่อน​รถ​ใน​
กรณี​ที่​ม​ีรถ​อื่น​เข้า​มา​จอด ซึ่ง​โจทก์​ได้​มอบ​กุญแจ​ให้​จ�ำเลย​ที่ 3 ทุก​ครั้ง​ที่​นำ​ � รถ​มา​จอด พฤติการณ์​ดัง​กล่าว​
แสดง​ว่า​จำ� เลย​ที่ 2 และ​ที่ 3 รับ​ฝาก​ทรัพย์​โดย​มี​บ�ำเหน็จ​หา​ใช่​เป็นเ​รื่อง​ที่​จ�ำเลย​ที่ 2 และ​ที่ 3 ให้เ​ช่า​สถาน​

ที่​จอด​รถ​ไม่ เมื่อ​รถยนต์​คัน​พิพาท​ของ​โจทก์​หาย​ไป จ�ำเลย​ที่ 2 และ​ที่ 3 จึงต​ ้อง​รับ​ผิด​ต่อ​โจทก์
โจทก์​ซื้อ​รถยนต์​คัน​พิพาท​มา​ใน​ราคา 1,350,000 บาท ได้​ใช้​รถยนต์​คัน​พิพาท​เพียง 5 เดือน​เศษ​
แล้ว​หาย​ไป การ​ที่​ศาล​ก�ำหนด​ให้​จำ� เลย​ที่ 2 และ​ที่ 3 ใช้​ราคา​รถยนต์​คัน​พิพาท​แก่​โจทก์​จ�ำนวน 800,000
บาท จึงเ​หมาะ​สม​แล้ว
แต่​กรณี​ที่​น�ำ​รถ​ไป​จอด​ใน​บริเวณ​ศูนย์ฯ รถ​หาย​ไป​ศาล​ฎีกา​ตัดสิน​ว่า​เป็นการ​ละเมิด​โดย​ประมาท​
ปราศจาก​ความ​ระมัดระวัง
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 374/2551 จ�ำเลย​ที่ 1 ท�ำ​สัญญา​กับ​จ�ำเลย​ที่ 2 รับจ้าง​รักษา​ความ​ปลอดภัย​บริเวณ​ภายใน​และ​
ภายนอก​อาคาร​ท​ี่ก�ำหนด​รวม​ทั้ง​ลาน​จอด​รถ​ของ​จ�ำเลย​ที่ 3 โดย​ก�ำหนด​ให้​ต้อง​รักษา​ความ​ปลอดภัย​ด้าน​
โจรกรรม และ​ดูแล​รถ​ของ​ลูกค้า​หรือ​บุคคล​ภายนอก​ที่​เข้า​มา​ใช้​บริการ​ภายใน​ศูนย์​ไม่​ให้​เกิด​ความ​เสีย​หาย

สัญญาฝากทรัพย์ 4-13

ซึ่ง​ใน​ทาง​ปฏิบัติ​จ�ำเลย​ที่ 1 จะ​จัด​ให้​ม​ีพนักงาน​ประจ�ำ​ที่ทาง​เข้า​ลาน​จอด​รถ​เพื่อ​คอย​มอบ​บัตร​ผ่าน​ลาน​จอด​
รถ​และ​เขียน​หมายเลข​ทะเบียน​กำ� กับ​ไว้ก​ อ่ น​มอบ​ให้​ผท​ู้ ​จี่ ะ​นำ​ � รถ​เข้า​มา​จอด เมือ่ ​จะ​นำ​ � รถ​ออก​ผ​ขู้ บั ร​ ถ​จะ​ตอ้ ง​
คืน​บตั ร​ผา่ น​ลาน​จอด​รถ​และ​ชำ� ระ​คา่ บ​ ริการ​จอด​รถ​ให้แ​ ก่พ​ นักงาน​ท​ปี่ ระจ�ำ​ทางออก​ให้เ​สร็จเ​รียบร้อย​กอ่ น​จงึ ​
ขับร​ ถ​ผา่ น​ออก​ไป​ได้ ก. และ ว. ผูเ​้ อา​ประกันภ​ ยั ไ​ ด้น​ ำ​ � รถ​ท​โี่ จทก์ร​ บั ป​ ระกันภ​ ยั เ​ข้าไป​จอด​ใน​ลาน​จอด​รถ​ของ​
อาคาร​ดงั ก​ ล่าว และ​ได้​รบั ​บตั ร​ผา่ น​ลาน​จอด​รถ​จาก​พนักงาน​ของ​จำ� เลย​ที่ 1 แต่​ไม่​ได้​เขียน​หมายเลข​ทะเบียน​


รถ​กำ� กับไ​ ว้ จึงม​ ​ผี นู้ ำ​
� รถยนต์พ​ พิ าท​ผา่ น​ออก​จาก​ลาน​จอด​รถ​ได้ โดยทีบ​่ ตั ร​ผา่ น​ลาน​จอด​รถ​และ​หลักฐ​ าน​การ​
เป็นเ​จ้าของ​รถ​ยงั ​อยู​ก่ บั ว. ผูเ​้ อา​ประกันภ​ ยั เหตุท​ ร​ี่ ถยนต์ข​ อง ว. ผูเ​้ อา​ประกันภ​ ยั ​สญ ู หาย​ไป​เกิด​จาก​ความ​

มส
ประมาท​เลินเล่อ​ของ​พนักงาน​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ที่​ไม่​เขียน​หมายเลข​ทะเบียน​รถ​ก�ำกับ​ไว้​ใน​บัตร​ผ่าน​ลาน​จอด​
รถ​และ​ไม่ต​ รวจ​สอบ​หลักฐ​ าน​ให้ล​ ะเอียด​รอบคอบ​กอ่ น​ท​จี่ ะ​อนุญาต​ให้น​ ำ​ � รถ​ออก​ไป เป็นการ​ละเว้นไ​ ม่ป​ ฏิบตั ​ิ
หน้าที่​ตาม​เงื่อนไข​ที่​ระบุ​ไว้​ด้าน​หลัง​บัตร​ผ่าน​ลาน​จอด​รถ ถือ​ได้​ว่า​พนักงาน​ของ​จำ� เลย​ที่ 1 กระท�ำ​โดย​
ประมาท​ปราศจาก​ความ​ระมัดระวัง​ใน​การ​ปฏิบัติ​หน้าที่​เป็น​เหตุ​ให้​รถยนต์​ของ ว. ผู้​เอา​ประกัน​ภัย​
สูญหาย ถือ​ได้​ว่า​ลูกจ้าง​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 กระท�ำ​ละเมิด​ใน​ทางการ​ที่​จ้าง​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ดัง​นั้น จ�ำเลย​ที่ 1
จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ใน​ค่า​เสีย​หาย​แก่​โจทก์​ผ​เู้ อา​ประกัน​ภัย
เงื่อนไข​ที่​ระบุ​ไว้​ด้าน​หลัง​บัตร​ผ่าน​ลาน​จอด​รถ​ที่​ว่า การ​ออก​บัตร​นี้​ไม่ใช่​เป็นการ​รับ​ฝาก​รถ
บริษัทฯ จะ​ไม่​รับ​ผิด​ชอบ​ต่อ​การ​สูญหาย​หรือ​เสีย​หาย​ต่อ​รถ​ใด ๆ ทั้ง​สิ้น เป็นเ​งื่อนไข​ที่​จ�ำเลย​ที่ 1 ก�ำหนด​
ขึน้ ​เพือ่ ใ​ห้​จำ� เลย​ที่ 1 พ้นค​ วาม​รบั ผ​ ดิ ต​ าม​เงือ่ นไข​ทจ​ี่ ำ� เลย​ที่ 1 ก�ำหนด​ขนึ้ แ​ ต่​ฝา่ ย​เดียว ไม่มผ​ี ล​เป็นการ​ยกเว้น​

ความ​รับ​ผิดใ​น​การก​ระ​ท�ำ​ละเมิดข​ อง​ลูกจ้าง​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ดัง​นั้น จ�ำเลย​ที่ 1 จึงต​ ้อง​ร่วม​กับ​จ�ำเลย​ที่ 2 และ​
ที่ 3 รับผ​ ิดช​ ดใช้ค​ ่าเ​สียห​ าย​แก่โ​จทก์ใ​น​ฐานะ​ผู้รับช​ ่วง​สิทธิ
หมายเหตุ กรณีน​ ศ​ี้ าล​ไม่ไ​ ด้ว​ นิ จิ ฉัยว​ า่ เ​ป็นส​ ญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ แต่ใ​ห้จ​ ำ� เลย​รบั ​ผดิ ​เพราะ​การ​ท​รี่ ถยนต์​
มส

หาย​ไป​เป็นการ​ละเมิดโ​ ดย​ประมาท​เลินเล่อของจ�ำเลย
นอกจาก​นั้น ยังม​ คี​ �ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ที่ 4845/2555 วินิจฉัย​ว่าการ​ทหี่​ ้าง​สรรพ​สินค้าม​ อบ​หมาย​
ให้พ​ นักงาน​รกั ษา​ความ​ปลอดภัยเ​ป็นต​ วั แทน​ของ​บริษทั รับด​ แู ล​ความ​ปลอดภัยเ​พือ่ อ​ ำ� นวย​ความ​สะดวก​ให้​
แก่ล​ ูกค้าผ​ มู้​ า​ใช้บ​ ริการ เมื่อพ​ นักงาน​รักษา​ความ​ปลอดภัยล​ ะเมิดโ​ ดย​ปล่อย​ปละ​ละเลย​ให้ค​ นร้าย​ลักร​ ถยนต์​
ของ​ลูกค้า​ไป ห้าง​สรรพ​สินค้าซ​ ึ่งเ​ป็น​ตัวการ​ต้อง​ร่วม​รับผ​ ิด
อุทาหรณ์
ฎ.4845/2555 จ�ำเลย​ที่ 1 มี​ข้อ​ปฏิบัติ​สำ� หรับ​ผู้​ที่​จะ​นำ​
ห้าง​สรรพ​สินค้า​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ว่า​จะ​ต้อง​รับ​บัตร​จอด​รถ​จาก​พนักงาน​รักษา​ความ​ปลอดภัย​ซึ่ง​เป็น​ลูกจ้าง​
ของ​จ�ำเลย​ที่ 2 ก่อน และ​เมื่อ​จะ​น�ำ​รถ​ออก​จาก​บริเวณ​ลาน​จอด​รถ​ก็​จะ​ต้อง​นำ​
พนักงาน​รักษา​ความ​ปลอดภัยท​ ี่ทาง​ออก หาก​ไม่มบี​ ัตร​จอด​รถ​พนักงาน​รักษา​ความ​ปลอดภัยจ​ ะ​ไม่อ​ นุญาต​

� รถยนต์​เข้าไป​จอด​ใน​บริเวณ​ลาน​จอด​รถ​ใน​

� บัตร​จอด​รถ​มอบ​คืนให้​แก่​

ให้​นำ​� รถยนต์​ออก​ จะ​ตอ้ ง​นำ​ � หลัก​ฐาน​ความ​เป็น​เจ้าของ​รถยนต์​และ​บตั ร​ประจ�ำ​ตวั ​ประชาชน​มา​แสดง​จงึ ​จะ​นำ​ �


รถยนต์​ออก​ไป​ได้ แม้​ผู้​ที่มา​ใช้​บริการ​ที่​จอด​รถ​จะ​เป็น​ผู้​เลือก​ที่​จอด​รถยนต์​เอง ดูแล​ปิด​ประตู​รถยนต์​และ​
สธ
เก็บ​กุญแจ​รถยนต์​ไว้​เอง และ​ไม่​ต้อง​เสีย​ค่า​บริการ​ก็ตาม แต่​พฤติการณ์​ของ​จำ� เลย​ที่ 1 ย่อม​ท�ำให้​ลูกค้า​
ทีม่ า​ใช้​บริการ​โดย​ทวั่ ไป​เข้าใจ​วา่ ​บริเวณ​ลาน​จอด​รถ​จำ� เลย​ที่ 1 ได้​จดั ​ให้​ม​บี ริการ​ดแู ล​รกั ษา​ความ​สงบ​เรียบร้อย​
และ​ความ​ปลอดภัย​ส�ำหรับ​ทรัพย์สิน​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ตลอด​จน​รถยนต์​ที่​ลูกค้า​จะ​น�ำ​เข้า​มา​จอด​ขณะ​เข้าไป​

4-14 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ซือ้ ส​ นิ ค้าท​ ห​ี่ า้ ง​สรรพ​สนิ ค้าข​ อง​จำ� เลย​ที่ 1 โดย​จำ� เลย​ที่ 1 มอบ​หมาย​ให้​จ�ำเลย​ที่ 2 และ​พนักงาน​รักษา​ความ​
ปลอดภัย​ของ​จ�ำเลย​ที่ 2 เป็น​ตัวแทน​รับ​ดูแล​รักษา​ความ​เรียบร้อย​และ​ความ​ปลอดภัย​โดย​ถือว่า​เป็นการ​
ให้​บริการ​อย่าง​หนึ่ง​ของ​จำ� เลย​ที่ 1 เพื่อ​อ�ำนวย​ความ​สะดวก​ให้​แก่​ลูกค้า​ผู้​มา​ใช้​บริการ ซึ่ง​ถือ​ได้​ว่า​มี​ผล​
โดยตรง​ต่อย​อด​การ​จำ� หน่าย​สินค้า​ของ​จำ� เลย​ที่ 1 ด้วย เมื่อ​พนักงาน​รักษา​ความ​ปลอดภัย​ของ​จำ� เลย​ที่ 2
กระท�ำ​ละเมิด​โดย​ปล่อย​ปละ​ละเลย​ให้​คนร้าย​ลัก​รถยนต์​ของ อ. ผู​้เอา​ประกัน​ภัย​ซึ่ง​จอด​อยู่​ใน​ลาน​จอด​รถ​


ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ไป จ�ำเลย​ที่ 1 ซึ่ง​เป็น​ตัวการ​จึง​ต้อง​ร่วม​รับ​ผิด​กับ​จำ� เลย​ที่ 2 ตาม ปพพ. มาตรา 427
ประกอบ​มาตรา 420 โจทก์​ใน​ฐานะ​ผู้รับ​ประกัน​ภัย​ตาม​สัญญา​ประกัน​ภัย​ซึ่ง​ได้​ชำ� ระ​ค่า​เสีย​หาย​ใน​การ​ที่​

มส
รถยนต์​สูญหาย​ไป​แล้ว​จึงร​ ับ​ช่วง​สิทธิท​ จี่​ ะ​ไล่​เบี้ย​เอา​แก่จ​ �ำเลย​ที่ 1 ได้
ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ดังก​ ล่าว​ข้าง​ต้น ศาล​กไ็​ ม่ไ​ ด้ว​ ินิจฉัยโ​ ดยตรง​ว่า การ​เอา​รถยนต์เ​ข้าไป​จอด​ใน​
ห้างสรรพ​สินค้า​เป็นการ​ฝาก​ทรัพย์ ถือ​เป็นการ​ให้​บริการ​อย่าง​หนึ่ง​ของ​ห้างฯ เพื่อ​อ�ำนวย​ความ​สะดวก​ให้​
แก่​ลูกค้า แต่​ศาล​วินิจฉัย​ไป​ใน​ทาง​ที่​ว่า​เมื่อ​ห้าง​ท�ำ​สัญญา​จ้าง​บริษัท​รักษา​ความ​ปลอดภัย​มา​ดูแล​ทรัพย์สิน
เมื่อ​พนักงาน​รักษา​ความ​ปลอดภัย​ของ​บริษัท​ดัง​กล่าว​กระท�ำ​ละเมิด​ปล่อย​ปละ​ละเลย​ให้​คนร้าย​ลัก​รถยนต์​
ของ​ลูกค้า​ไป ห้าง​สรรพ​สินค้า​ซึ่ง​เป็น​ตัวการ​ต้อง​ร่วม​รับ​ผิด​กับ​บริษัทฯ ตัวแทน​ ตาม ปพพ. มาตรา 427
ประกอบ​มาตรา 420 เมื่อ​บริษัทป​ ระกันภ​ ัยช​ ดใช้ค​ ่าเ​สีย​หาย​ให้แ​ ก่ล​ ูกค้าต​ าม​สัญญา​ประกัน​ภัยท​ ลี่​ ูกค้าท​ �ำ​ไว้​
กับ​บริษัท​ประกัน​ภัยแ​ ล้ว จึง​รับช​ ่วง​สิทธิท​ จี่​ ะ​ไล่​เบี้ยจ​ าก​ตัวการ​คือห​ ้าง​สรรพ​สินค้า​ได้
4. หนี้​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ คือ​ผู้รับ​ฝาก​ตกลง​ว่า​จะ​เก็บ​รักษา​ทรัพย์สิน​นั้น​ไว้​ใน​อารักขา​​
แห่ง​ตน​แล้ว​จะ​คืนให้ หนี้​หรือ​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​ใน​ข้อ​นี้ แยก​อธิบาย​เป็น 2 ประการ คือ 4.1 หน้าที่​เก็บ​

รักษา​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​ไว้ใ​น​อารักขา​แห่ง​ตน 4.2 หน้าที่​คืน​ทรัพย์​ท​รี่ ับ​ฝาก
4.1 หน้าทีเ่​ก็บร​ ักษา​ทรัพย์สินท​ ี่​ฝาก​ไว้ใ​น​อารักขา​แห่งต​ น หมายความ​ว่า เมื่อผ​ ฝู้​ าก​ส่งม​ อบ​
มส

ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​ให้​แล้ว ผู้รับ​ฝาก​ได้​เข้า​ครอบ​ครอง​ทรัพย์สิน​นั้น​ให้​อยู่​ใน​อำ� นาจ​การ​ดูแล​รักษา​ของ​ผู้รับ​ฝาก


เช่น รับ​ฝาก​ไก่​ไว้ ก็​เอา​ไก่​เข้า​เล้า รับ​ฝาก​โค​ไว้​ก็​เอา​โค​เข้า​คอก รับ​ฝาก​ไม้​ใน​ป่า​ไม้​ก็​ชัก​ลาก​ไม้​จาก​ป่า​เข้า​
โรง​เก็บ หรือ​รับ​ฝาก​เอกสาร​หรือ​เงิน​ไว้​ก็​น�ำ​เอกสาร​หรือ​เงิน​เข้า​เก็บ​ใน​ตู้​นิรภัย เป็นต้น
หน้าทีเ​่ ก็บ​รกั ษา​น​ตี้ อ้ ง​เก็บร​ กั ษา​ไว้​เอง จะ​ให้​คน​อนื่ ​เก็บ​รกั ษา​ไม่​ได้ เว้นแ​ ต่​ผ​ฝู้ าก​อนุญาต​ตาม​
มาตรา 660 รวม​ตลอด​ทั้ง​ต้อง​งด​เว้น​ใช้สอย​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก กับ​ต้อง​ระมัดระวัง​ดูแล​รักษา​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​
ด้วย ซึง่ ​นกั ศึกษา​จะ​ศกึ ษา​ใน​ราย​ละเอียด​ได้​จาก​เรือ่ ง​ที่ 4.1.2 สิทธิ​และ​หน้าที​ข่ อง​ผรู้ บั ​ฝาก​ตอ่ ไ​ ป นอกจาก​นี้​

รักษา​ไม่​ได้ เช่น น�ำ​ทรัพย์ท​ ร​ี่ บั ​ฝาก​ไป​หาด​อก​ผล​หรือ​นำ​


ของ​ผู้​ฝาก​ก็​ทำ​

การ​เก็บ​รักษา​ยัง​หมายความ​ว่า ผู้รับ​ฝาก​จะ​เอา​ทรัพย์​นั้น​ไป​จัดการ​หา​ผล​ประโยชน์​นอก​เหนือ​จาก​การ​เก็บ​
� ไป​ขาย​หา​กำ� ไร​ไม่​ได้ แม้จ​ ะ​กระท�ำ​ไป​เพือ่ ​ประโยชน์​
� ไม่​ได้​เช่น​เดียวกัน กล่าว​คือ การ​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​ถ้า​ตกลง​ให้​ผู้รับ​ฝาก​น�ำ​เอา​ทรัพย์​ไป​กระท�ำ​
กิจการ​อื่น​นอก​เหนือ​จาก​การ​เก็บ​รักษา​ทรัพย์​ที่​ฝาก ย่อม​ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​แต่​จะ​กลาย​เป็น​สัญญา​
ตัวแทน​ไป หรือ​ตกลง​เพียง​แค่​วาน​ให้​ช่วย​ดูแล​ทรัพย์​เท่านั้น ยัง​ไม่​ได้​มอบ​การ​ครอบ​ครอง​ให้​เก็บ​รักษา
ก็​ไม่ใช่ส​ ญั ญา​ฝาก​ทรัพย์เ​ช่นเ​ดียวกัน กล่าว​อกี ​นยั ห​ นึง่ ถ้าต​ กลง​เพิม่ ห​ น้าทีม​่ ากกว่าท​ ​จี่ ะ​เก็บ​รกั ษา​ทรัพย์เ​ช่น
มอบ​เงิน​ให้​ไป​หาด​อก​ผล​ให้ เป็นการ​เพิม่ ห​ น้าทีม​่ าก​ขนึ้ ​กว่าก​ าร​เก็บ​รกั ษา​ทรัพย์ ย่อม​ไม่ใช่ส​ ญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์
สธ
นัย​ตรง​กัน​ข้าม​ถ้าต​ กลง​ลด​หน้าที่​ให้​มีหน้าท​ ี่​น้อย​ลง​กว่า​หน้าที่​เก็บ​รักษา​ทรัพย์ ก็​ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​อีก​
เหมือน​กัน เช่น วาน​ให้​ช่วย​ดูแล​ม้า​ใน​ระหว่าง​ที่​เข้า​ห้องน�้ำ​ดังนี้ ม้า​ยัง​อยู่​ใน​ความ​ครอบ​ครอง​ของ​ผู้​วาน
เป็นการ​ตกลง​ให้​มีหน้าท​ ี่​น้อย​กว่าก​ าร​เก็บ​รักษา​ทรัพย์ ย่อม​ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ดุจ​เดียวกัน

สัญญาฝากทรัพย์ 4-15

4.2 หน้าที่​คืน​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก หมายความ​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​มีหน้า​ที่​ครอบ​ครอง​ระมัดระวัง​ดูแล​


ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​แล้ว​ต้อง​ส่ง​คืนให้​แก่​ผ​ฝู้ าก ไม่​เอา​ไป​หา​ประโยชน์น​ อก​เหนือ​จาก​การ​เก็บร​ ักษา​ดัง​กล่าว​แล้ว
ดัง​นั้น​ข้อ​ตกลง​ของ ผู้รับ​ฝาก ที​จ่ ะ​เก็บ​รักษา​ทรัพย์​ไว้​ใน​อารักขา​แห่งต​ น​แล้วจ​ ะ​คืนให้ (to keep it
in his custody and return it) จึง​นับ​ว่า​เป็น​สาระ​ส�ำคัญ​ยิ่ง​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ เพราะ​ถ้า​ผู้รับ​ฝาก​ไม่มี​
ข้อ​ตกลง​จะ​เก็บ​รกั ษา​ทรัพย์สนิ น​ นั้ ​ไว้​ใน​อารักขา​แห่งต​ น​แล้ว สัญญา​นนั้ ​ก​ไ็ ม่ใช่ส​ ญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ แต่อ​ าจ​เป็น​


สัญญา​ประเภท​อนื่ เช่น สัญญา​ตวั แทน สัญญา​รบั ​ขน​ของ สัญญา​ยมื สัญญา​จา้ ง​ทำ​ � ของ สัญญา​จา้ ง​แรงงาน
ฯลฯ หา​ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ไม่

ใน​ฐานะ​ตัวการ
มส
อุทาหรณ์
ฎ. 305/2469 จ�ำเลย​รบั ฝ​ าก​เงิน​ของ​เด็กไ​ ว้โ​ ดย​มหี น้าท​ ​จี่ ดั หา​ผล​ประโยชน์แ​ ทน​เด็กไ​ ม่ใช่ก​ าร​รบั ​ฝาก​
ทรัพย์ แต่​เป็น​เรือ่ ง​บงั คับ​ตาม​สญ ั ญา​ตวั แทน เพราะ​การ​รบั ​ฝาก​ไว้​นนั้ ​เป็นการ​รบั ​ปกครอง​เงิน​นนั้ ​ไว้​แทน​เด็ก​

ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​แม้​จะ​ได้​รับ​มอบ​ทรัพย์​ไว้​แต่​มิใช่​เพื่อ​เก็บ​รักษา​อย่าง​เดียว​แล้ว​จะ​คืนให้
จึง​ไม่ใช่​ฝาก​ทรัพย์ แต่​เป็นการ​รับ​มอบ​เพื่อ​จัดการ​ทรัพย์​นั้น โดย​ม​ีอำ� นาจ​กระท�ำ​ต่อ​บุคคล​ภายนอก ซึ่ง​
ตัวการ​จะ​ต้อง​ผูกพัน​จึง​เป็น​สัญญา​ตัวแทน
ฎ. 872/2486 โจทก์​มอบ​เครื่อง​เ งิน เครื่ อง​ทอง​ให้​จ�ำเลย​ไป​ขาย ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ ตาม​
ค�ำ​พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​นี้ ผูร้ บั ม​ อบ​ทรัพย์ไ​ ป​ได้ส​ ทิ ธิท​ จ​ี่ ะ​นำ​
� ไป​ขาย​ดว้ ย ถ้าผ​ รู้ บั ม​ อบ​ทรัพย์ข​ าย​ไป​ตาม​อำ� นาจ​

ที​ม่ อบ​ให้ ผู้​มอบ​เอา​คืน​ไม่​ได้จ​ ึง​ไม่ใช่ฝ​ าก​ทรัพย์ ซึ่ง​ต้อง​เป็นเ​รื่อง​ตกลง​จะ​คืนให้แ​ ละ​มีหน้า​ที่​เก็บร​ ักษา​อย่าง​
เดียว
ฎ. 769/2473 โจทก์จ​ ำ� เลย​ตา่ ง​ไป​เลีย้ ง​โค​ใน​ทงุ่ น​ า​ดว้ ย​กนั โค​นนั้ ป​ ล่อย​หากินอ​ ยูใ​่ น​ทงุ่ น​ า โจทก์พ​ ดู ​
มส

ฝาก​ให้​จ�ำเลย​เลี้ยง​โค​แทน​โจทก์ 39 ตัว ครั้น​โจทก์​รับ​โค​คืน​ใน​ตอน​เย็น ปรากฏ​ว่า​โค​หาย​ไป 11 ตัว โจทก์​


จึง​ฟ้อง​เรียก​ราคา​โค ดังนี้​วินิจฉัย​ว่า พฤติการณ์​ระหว่าง​โจทก์​จ�ำเลย​เป็น​แต่​เพียง​โจทก์​วาน​ให้จ​ �ำเลย​เอา​โค​
ไป​เลี้ยง​เท่านั้น หา​ใช่​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ไม่ ความ​รับ​ผิด​ของ​จ�ำเลย​เป็น​เรื่อง​ตัวการ​ตัวแทน​ตาม ปพพ.
มาตรา 812 เมื่อ​โจทก์​น�ำสืบ​ถึง​ความ​ประมาท​ของ​จ�ำเลย​ไม่ไ​ ด้ จ�ำเลย​ก็​ไม่​ต้อง​รับ​ผิดต​ ่อ​โจทก์
ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ไม่ใช่​ฝาก​ทรัพย์ เพราะ​จ�ำเลย​ไม่​ได้​ตกลง​จะ​เก็บร​ ักษา​ทรัพย์สิน​นั้นไ​ ว้​ใน​

อารักขา​แห่ง​ตน เนื่องจาก​ต่าง​คน​ต่าง​เลี้ยง​โค ซึ่ง​ปล่อย​ให้หา​กิน​อยู่​ใน​ทุ่ง​นา เป็น​เพียง​วาน​ให้​ดูแล​แทน​
เท่ า นั้น ยั ง​ไม่ มี​อ�ำ นาจ​ค รอบ​ค รอง​โ ค​อ ย่ าง​เด็ด​ข าด เพราะ​มิ ไ ด้ ​ต้อน​หรื อ ​ล าก​จู ง​ไป​เก็ บ ​ไว้ ​ใ น​อ ารั กขา​
แห่ง​ตน เช่น​เก็บ​ไว้​ใน​คอก เป็นต้น จึง​ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ ส่วน​ที่​ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า​ความ​รับ​ผิด​ของ​
จ�ำเลย​เป็น​เรื่อง​ตัวการ​ตัวแทน​นั้น นัก​กฎหมาย​บาง​ท่าน9 รวม​ทั้ง​อาจารย์​สม​ชัย ศิริ​บุตร ไม่​เห็น​พ้อง​ด้วย
เพราะ​ผู้รับ​วาน​ให้​ดูแล​โค​ยัง​ไม่​ได้​ผูก​นิติ​สัมพันธ์​กับ​ผู้​วาน​อัน​จะ​เป็น​สัญญา​ที่​ผู้รับ​วาน​จะ​มี​อ�ำนาจ​กระท�ำ​ต่อ​
บุคคล​ภายนอก​แทน​ผู้​วาน จึง​ไม่ใช่​สัญญา​ตัวแทน​ตาม​มาตรา 79710 ส่วน​ปัญหา​ที่​ว่าการ​วาน​ให้​เลี้ยง​โค
สธ
9พจน์ ปุษ​ปา​คม คำ�​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​ด้วย​ยืม กูย้​ ืม​ ฝาก​ทรัพย์ กรุงเทพมหานคร แสงทอง​
การ​พิมพ์ พ.ศ. 2511 น. 212.
10 ฎ. 1980/2505

4-16 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

จ�ำเลย​ตอ้ ง​รบั ผ​ ดิ ใ​น​โค​ท​หี่ าย​อย่างไร​นนั้ เห็นว​ า่ เ​มือ่ จ​ ำ� เลย​รบั ท​ ำ​


� หน้าทีเ​่ ลีย้ ง​โค​แทน​ทำ� ให้ม​ ​คี วาม​สมั พันธ์แ​ ละ​
เกิด​หน้าที่​ต้อง​ระมัดระวัง​ดูแล​โค ถ้า​จ�ำเลย​ประมาท​เลินเล่อ​ท�ำให้​โค​ของ​โจทก์​หาย จ�ำเลย​เป็น​ผู้​ท�ำ​ละเมิด
ต้อง​ชดใช้​ราคา​โค​แก่​โจทก์ (ปพพ. มาตรา 420) แต่​ถ้า​โจทก์​น�ำสืบ​ถึง​ความ​ประมาท​เลินเล่อ​ของ​จ�ำเลย
​ไม่​ได้​จำ� เลย​ก​ไ็ ม่​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ตอ่ ​โจทก์​ใน​ฐานะ​ละเมิด11 หา​ใช่​จำ� เลย​ไม่​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ตอ่ ​โจทก์​ฐาน​สญ ั ญา​ตวั แทน​ไม่
อุทาหรณ์


ฎ. 685/2512 กรม​ป่า​ไม้​ทำ​ � สัญญา​จ้าง​ผู้รับ​จ้าง​เฝ้า​รักษา​ป่า​ไม้​ของ​กลาง ซึ่ง​เจ้า​พนักงาน​ป่า​ไม้​จับ​
ั ญา​วา่ “สัญญา​จ้าง​เฝ้า​รักษา” มี​ขอ้ ส​ ญ
ได้ และ​ของ​กลาง​ยงั ​อยูท​่ ​ตี่ อ​ท​ถี่ กู ​ตดั ​โค่นใ​น​ปา่ ร​ ะบุช​ อื่ ​สญ ั ญา​วา่ ผูร้ บั ​

มส
จ้าง​ยอมรับ​เฝ้า​รักษา​ไม้​ของ​กลาง โดย​คิด​อัตรา​ค่า​จ้าง​เป็น​ราย​ท่อน​ต่อ​เดือน นับ​แต่​วัน​ท�ำ​สัญญา​ถ้า​ไม้​ซึ่ง​
รับจ้าง​เฝ้า​รักษา​ขาด​หาย​หรืออันตราย ผู้รับ​จ้าง​ยอม​ให้​ปรับ​ไหม​เป็น​ราย​ท่อน​ตาม​จ�ำนวน​ที่​สูญหาย หรือ​
เป็น​อันตราย​ระหว่าง​เวลา​ที่​ผู้รับ​จ้าง​รับ​ผิด​ชอบ​เฝ้า​รักษา กรม​ป่า​ไม้​ผู้​จ้าง​อาจ​ขน​ไม้​ของ​กลาง​ทั้งหมด​หรือ​
แต่​บาง​สว่ น​ไป​จาก​ท​เี่ ดิม​ใน​เวลา​ใดๆ ก็ได้​แต่​ตอ้ ง​แจ้ง​ให้​ผรู้ บั ​จา้ ง​ทราบ​และ​ทำ​ � ใบรับ​ไม้​ให้ ดังนี​ว้ นิ จิ ฉัย​วา่ ​เป็น​
สัญญา​จ้าง​แรงงาน มิใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ เพราะ​อำ� นาจ​การ​ครอบ​ครอง​ไม้​ของ​กลาง​ยัง​อยู่​กับ​กรม​ป่า​ไม้​
ผู้​จ้าง ผู้รับ​จ้าง​เป็น​เพียง​เฝ้า​รักษา​ระวัง​มิ​ให้​ผู้​ใด​มา​ลัก​หรือ​เกิด​ภัย​พิบัติ ไม้​ของ​กลาง​ยัง​อยู่​ใน​ป่า​ตาม​เดิม
ผู้รับ​จ้าง​มิได้​ชักล​ าก​ไป​เก็บ​ไว้ใ​น​อารักขา​แห่ง​ตน12
ตาม​ค�ำ​พิพากษา​นี้​แสดง​ให้​เห็น​หลัก​กฎหมาย​ส�ำคัญ​ที่​จะ​บ่ง​ชี้​ว่า​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​หรือ​ไม่ คือ
หน้าที​เ่ ก็บ​รกั ษา​ทรัพย์​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน และ​ขนาด​ไหน​ท​จี่ ะ​ถอื ว่า​เก็บ​รกั ษา​ทรัพย์สนิ ​ไว้​ใน​อารักขา​แห่งต​ น​

นัน้ ศาล​ฎกี า​ตคี วาม​จำ� กัดโ​ ดย​ถอื เ​อา​อำ� นาจ​การ​ครอบ​ครอง​ทรัพย์สนิ ​ท​ฝี่ าก​วา่ ​ตอ้ ง​ชกั ​ลาก​ไป​เก็บ​ไว้​ใน​ความ​
อารักขา​ของ​ตน​ดว้ ย ตาม​ฎกี า​น​ไี้ ม้​ของ​กลาง​ยงั ​อยู​ท่ ​ตี่ อ​ทถ​ี่ กู ​โค่น​ใน​ปา่ ​ตาม​เดิมไ​ ม่ม​กี าร​ชกั ​ลาก​ไป​เก็บ​ไว้ จึง​
มส

ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
ฎ. 607/2521 (ป.ใหญ่) โจทก์​จ�ำเลย​ตกลง​ท�ำ​สัญญา​กัน โดย​กรม​ป่า​ไม้​โจทก์​มอบ​ไม้​ของ​กลาง​ให้​
จ�ำเลย​จัดการ​ขน​ย้าย​จาก​ที่​แห่ง​หนึ่ง​ไป​เก็บ​รักษา​ไว้​ใน​ที่​ปลอดภัย​และ​จ�ำเลย​ต้อง​เก็บ​รักษา​ไม้​ของ​กลาง​ไว้​
เป็นการ​ชั่วคราว​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน ดังนี้​วินิจฉัย​ว่า​ข้อ​ตกลง​ดัง​กล่าว​เป็นการ​ยอม​ให้​จ�ำเลย​ครอบ​ครอง​ไม้​
ของ​กลาง​แทน​โจทก์ เข้า​ลักษณะ​ฝาก​ทรัพย์
ตาม​คำ​ � พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​ฉบับ​นี้ จ�ำเลย​เก็บ​รกั ษา​ไม้​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน​เท่ากับ​จำ� เลย​ครอบ​ครอง​
ไม้​ของ​กลาง จึง​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​แตก​ต่าง​กับค​ �ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ข้าง​ต้น
ฎ. 2152/2522 สัญญา​พพิ าท​เรียก​วา่ “สัญญา​รบั ​ฝาก​เก็บ และ​ส​แี ปร​สภาพ​ขา้ ว​เปลือก” เป็น​สญ

ระหว่าง​กระทรวง​พาณิชย์​โจทก์​ซึ่ง​ใน​สัญญา​เรียก​ว่า ผู้​ฝาก​กับ​โรง​สี​มิตร​ทวี​โดย​จ�ำเลย​เป็น​เจ้าของ​และ​
ผู​้จัดการ ซึ่ง​ใน​สัญญา​เรียก​ว่า ผู้รับ​ฝาก​เก็บ​และ​สี​แปร​สภาพ​ข้าว โดย​ผู้​รับ​ฝากฯ ตกลง​จะ​รับ​ฝาก​เก็บ​และ
​ส​แี ปร​สภาพ​ขา้ ว​กลับค​ นื ให้แ​ ก่ผ​ ฝ​ู้ าก​เป็นข​ า้ วสาร​ตาม​ชนิด จ�ำนวน​และ​ระยะ​เวลา​ท​คี่ ณะ​กรรมการ​สำ� รอง​ขา้ ว​
ั ญา​
สธ
11 แต่​มี​นัก​กฎหมาย​บาง​ท่าน​ว่า ตาม​อุทาหรณ์​นี้ เป็น​สัญญา​ทั่วไป ที่​ไม่มี​บทบัญญัติ​โดย​เฉพาะ​ที่​จะ​นำ�​มา​ปรับ​แก่​คดี​ได้
ศาล​จึง​ต้อง​นำ�​หลักก​ ฎหมาย​ตัวแทน​มา​ปรับ​กับค​ ดี อาศัย​ท​เี่ ป็นก​ ฎหมาย​ใกล้เ​คียง​อย่าง​ยิ่ง ตาม​มาตรา 4 ดู มาโนช สุทธิว​ า​ทนฤ​พุฒิ
เรื่อง​เดียวกัน น.157.
12 ฎ. 1523/2520 และ ฎ. 243/2536 วินิจฉัย​ท�ำนอง​เดียวกัน

สัญญาฝากทรัพย์ 4-17

สั่งโดย​ผู้​ฝาก​ให้​ประโยชน์​ตอบแทน​แก่​ผู้รับ​ฝาก​คือ​ต้น​ข้าว ปลาย​ข้าว​และ​ร�ำ​ข้าว​ทั้งหมด​ที่​เหลือ​จาก​การ​ส่ง​
ให้​แก่​ผ​ฝู้ าก โดย​ใน​สญ ั ญา​ไม่​ปรากฏ​วา่ ​ผรู้ บั ​ฝาก​ตอ้ ง​สง่ ​คนื ​ขา้ ว​เปลือก​ท​รี่ บั ​ไว้​นนั้ ​ให้​แก่​ผ​ฝู้ าก ดังนี​ว้ นิ จิ ฉัย​วา่ ​
สัญญา​พิพาท​หา​ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ไม่ แต่ ​เป็ น​สั ญญา​ที่​จ�ำเลย​ตกลง​รั บ​ฝาก​เ ก็บ​ข้าว​เปลือก​ไว้​เ พื่อ​สี​
แปร​สภาพ​จน​ส�ำเร็จ​เป็น​ข้าว​ให้​แก่​โจทก์ และ​โจทก์​ตกลง​ให้​ต้นข​ ้าว ปลาย​ข้าว​และ​ร�ำ​ข้าว​เป็นการ​ตอบแทน​
ที่จ​ �ำเลย​สแี​ ปร​สภาพ​ข้าว​เปลือก​เป็นข​ ้าวสาร สัญญา​พิพาท​จึงเ​ป็น​สัญญา​ต่าง​ตอบแทน​ประเภท​หนึ่ง


ตาม​คำ​� พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​นี้ ปรากฏ​วา่ ​เนือ่ งจาก​รฐั บาล​มนี ​โย​บาย​ท​จี่ ะ​พยุง​ราคา​ขา้ ว โดย​ให้​ชาวนา​
ขาย​ข้าว​เปลือก​ทตี่​ น​ผลิต​แก่​รัฐบาล​โดยตรง โดย​มหี​ น่วย​รับซ​ ื้อข​ อง​ทาง​ราชการ คือ​เจ้าห​ น้าทีข่​ อง​กระทรวง​

มส
พาณิชย์ โจทก์​และ​คณะ​กรรมการ​ส�ำรอง​ข้าว​ซึ่ง​มี​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​พาณิชย์​เป็น​ประธาน​คณะ​
กรรมการ​ดำ� เนินก​ าร​นี้ เมือ่ ซ​ อื้ ข​ า้ ว​เปลือก​จาก​ชาวนา​แล้วจ​ ะ​มอบ​ไว้ก​ บั โ​รง​สท​ี ต​ี่ งั้ อ​ ยูใ​่ น​ทอ้ ง​ทเ​ี่ ป็นผ​ เ​ู้ ก็บร​ กั ษา​
ข้าว​เปลือก และ​เมือ่ ค​ ณะ​กรรมการ​สำ� รอง​ขา้ ว​ม​คี ำ​ � สงั่ ใ​ห้โ​รง​สส​ี ง่ ม​ อบ โรง​สจ​ี ะ​ตอ้ ง​แปร​สภาพ​ขา้ ว​เปลือก​เป็น​
ข้าวสาร​ชนิด​ใด​ชนิด​หนึ่ง​ตาม​ที่​ตกลง​ส่ง​มอบ​ให้​เป็น​คราวๆ โดย​โรง​สี​จะ​ได้​รับ​ประโยชน์​คือ​ร�ำ​ข้าว ต้น​ข้าว​
และ​ปลาย​ข้าว​ทั้งหมด จ�ำเลยซึ่ง​เป็น​เจ้าของ​โรง​สี​มิตร​ทวีจึง​ยื่น​ค�ำ​เสนอ​ขอรับ​เป็น​ผู้รับ​ฝาก​เก็บ​และ​สี​แปร​
สภาพ​ข้าว​เปลือก​ตาม​สัญญา​พิพาท จ�ำเลย​ให้การ​และ​ฟ้อง​แย้ง​ว่า​เป็น​สัญญาฝาก​ทรัพย์ โจทก์​จะ​คิด​ราคา​
ข้าว​ใน​ขณะ​เรียก​ให้​ส่ง​มอบ​ไม่​ได้ ได้​แต่​เรียก​ร้อง​ราคา​ทรัพย์​ที่​ฝาก​ตาม​ราคา​ใน​วัน​ฝาก​เท่านั้น และ​คดี​
ขาด​อายุค​ วาม​เพราะ​เรียก​คา่ ​ทดแทน​เกีย่ ว​กบั ฝ​ าก​ทรัพย์พ​ น้ 6 เดือน นับ​แต่​วนั ส​ นิ้ ส​ ญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ จึง​ฟอ้ ง​
แย้ง​เรียก​เงิน​ที่​โจทก์​เรียก​ร้อง​เอา​จาก​ธนาคาร​ที่​ค�้ำ​ประกัน​จำ� เลย ซึ่ง​เกิด​จาก​ความ​รับ​ผิด​ของ​จ�ำเลย โจทก์​

แก้​ฟ้อง​แย้ง​ว่า สัญญา​พิพาท​เป็น​สัญญา​จ้าง​แรงงาน หาก​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ตาม​ฟ้อง​แย้ง​ของ​จำ� เลย
ฟ้อง​แย้ง​ก็​ขาด​อายุ​ความ​เช่น​เดียวกัน ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่าส​ ัญญา​พิพาท​เป็น​สัญญา​ต่าง​ตอบแทน​ประเภท​
หนึ่ง​ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​หรือ​สัญญา​แจ้ง​แรงงาน และ​สัญญา​พิพาท​มีอายุค​ วาม 10 ปี คดี​โจทก์​ไม่​ขาด​
มส

อายุค​ วาม จ�ำเลย​เป็น​ฝ่าย​ผิดส​ ัญญา​จึง​ต้อง​ใช้​ค่า​เสีย​หาย​แก่​โจทก์


ฎ. 331/2524 จ�ำเลย​ยินยอม​ให้​บุคคล​อื่น​น�ำ​รถ​เข้าไป​จอด​ใน​บริเวณ​ปั๊ม​นำ�้ มัน​ของ​จ�ำเลย โดย​ปั๊ม​
ได้​รบั ​เงิน​คา่ ​จอด การน�ำ​รถ​เข้า​จอด เด็ก​ท​ปี่ ม๊ั ​จะ​บอก​ช​ที้ ​ใี่ ห้​จอด​ตรง​ท​วี่ า่ ง​ใน​บริเวณ​ปม๊ั หาก​จะ​ม​กี าร​เคลือ่ น​
ย้าย​รถ​พนักงาน​ของ​ปั๊ม​จะ​ใช้​แม่แรง​จระเข้​ยก​เพลา​ท้าย​เพื่อ​การ​เคลื่อน​ย้าย เมื่อ​ปั๊ม​ปิด​จะ​มี​รั้ว​เหล็ก​ปิด​กั้น​
หน้า​ปั๊ม​ใส่​กุญแจ​มี​คน​ประจ�ำ​เฝ้า​ปั๊ม​ไว้​ด้วย ดังนี้​วินิจฉัย​ว่าการ​น�ำ​รถ​เข้า​จอด​ภายใน​อาณา​บริเวณ​ปั๊ม ทาง​

ปั๊ม​มิได้​ก�ำหนด​สถาน​ที่​ที่​จอด​รถ​ของ​แต่ละ​คัน​ให้​เป็น​ที่​แน่นอน​ตายตัว แล้ว​แต่​ทาง​ปั๊ม​จะ​ก�ำหนด​สถาน​ที่​ให้​
จอด​เป็น​คราวๆ และ​ชอบ​ที่​จะ​เคลื่อน​ย้าย​รถ​ที่​จอด​ได้​ตาม​ควร​แก่​กรณี ตาม​ทาง​ปฏิบัติ​และ​พฤติการณ์​
ดัง​กล่าว ย่อม​ถอื ​ได้​วา่ ​ทาง​ปม๊ั ​ได้​รบั ​มอบ​ทรัพย์สนิ ​ไว้​เพือ่ ​ดแู ล​เก็บ​รกั ษา​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน อัน​เป็นการ​รบั ​
ฝาก​ทรัพย์ต​ าม​มาตรา 657 แม้ท​ าง​ปั๊มจ​ ะ​มี​ประกาศ​ว่าใ​ห้เ​ช่าเ​ป็นท​ ี่​จอด​รถ รวม​ทั้งร​ ะบุข​ ้อความ​ใน​ใบรับเ​งิน​
และ​เงื่อนไข​ต่างๆ ซึ่ง​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด ก็​เป็นการ​กระท�ำ​ของ​จ�ำเลย (ทาง​ปั๊ม) ฝ่าย​เดียว บุคคล​ภายนอก​มิได้​
มี​ข้อ​ตกลง​ตาม​นั้น อัน​จะ​ท�ำให้​เกิด​ผล​เปลี่ยนแปลง​การ​ปฏิบัติ​ของ​จ�ำเลย (ทาง​ปั๊ม) ไป​ใน​รูป​ลักษณะ​ของ​
นิติกรรม​อย่าง​อื่น ซึ่ง​ไม่ใช่ล​ ักษณะ​ของ​การ​รับ​ฝาก​ทรัพย์13
สธ

13 ฎ. 932/2517, ฎ. 2004/2517, ฎ. 749/2518, ฎ. 365/2521 วินิจฉัยท​ ำ�นอง​เดียวกัน



4-18 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​นี้ ศาล​ฟัง​ข้อ​เท็จ​จริง​ว่า ปั๊ม​น�้ำมัน​รับ​มอบ​การ​ครอบ​ครอง​รถยนต์​ไว้​ใน​


อารักขา เพราะ​การ​จอด​ไม่​ประจ�ำ​ที่ และ​ปม๊ั ​เคลือ่ น​ยา้ ย​รถ​ท​จี่ อด​ได้ มีร​ วั้ ​เหล็ก​ปดิ ก​ นั้ ​หน้าป​ ม๊ั ​ใส่​กญ ุ แจ มีค​ น​
ประจ�ำ​เฝ้า​ปั๊ม แม้​จะ​มี​ใบ​เสร็จ​และ​ประกาศ​ติด​ไว้​ว่า ให้​เช่า​ที่​จอด​รถ แต่​เจ้าของ​รถ​มิได้​ตกลง​ด้วย ศาล​ฎีกา​
จึง​วินิจฉัย​ว่า​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
ฎ. 847/2525 เจ้าของ​รถยนต์​นำ​ � รถยนต์​ไป​จอด​ท​ปี่ ม๊ั ​นำ�้ มันข​ อง​จำ� เลย​ใส่​กญ ุ แจ​รถยนต์ แล้ว​นำ​ � กญ ุ แจ​


ติดตัวไ​ ป​ด้วย​และ​ลงชื่อ​รับ​ทราบ​ข้อความ​ใน​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน​ซึ่ง​มวี​ ่า “โปรด​ทราบ รถ​ทที่​ ่าน​น�ำ​มา​จอด​บริเวณ​
ปัม๊ ​น​ตี้ อ้ ง​นำ​
� กญุ แจ​กลับ​ไป​ดว้ ย เพราะ​ทาง​รา้ น​ให้​เช่า​ท​จี่ อด​รถ​ไม่ใช่​รบั ​ฝาก​รถ ฉะนัน้ ทาง​รา้ น​ไม่​รบั ​ผดิ ​ชอบ​

มส
ใน​การ​สูญหาย เสีย​หาย​ต่อ​รถ​และ​สิ่งของ​ใดๆ ที่​มี​อยู่​ใน​รถ” ดังนี้​วินิจฉัย​ว่า​ไม่มี​การก​ระ​ทำ​
เห็นว​ า่ ​เจ้าของ​รถยนต์​หรือ​ผนู้ ำ​
รถยนต์ท​ น​ี่ ำ​
เจตนา​ของ​จ�ำเลย​ตาม​ข้อความ​ใน​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน​ว่า ให้​เช่า​ที่​จอด​รถ​ไม่ใช่​รับ​ฝาก รถยนต์​ที่​นำ​
ยังอ​ ยู่​ใน​ความ​ครอบ​ครอง​ของ​เจ้าของ​รถยนต์ จึงม​ ิใช่ส​ ัญญา​ฝาก​ทรัพย์14
� ใดๆ แสดง​ให้​
� รถยนต์​ไป​จอด​ได้​สง่ ​มอบ​รถยนต์​ให้​แก่​จำ� เลย​และ​จำ� เลย​ตกลง​วา่ ​จะ​เก็บ​รกั ษา​
� ไป​จอด​นนั้ ไ​ ว้ใ​น​อารักขา​ของ​จำ� เลย​แล้วจ​ ะ​คนื ให้​ เจ้าของ​รถยนต์ห​ รือผ​ นู้ ำ​ � รถยนต์ไ​ ป​จอด​ก​ท็ ราบ​

ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​นี้​แตก​ต่าง​กับ​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ที่ 331/2524 คือ ปั๊ม​มี​เจตนา​ให้​เช่า​


ที่​จอด​รถ​ตาม​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน​และ​ประกาศ​ติด​ไว้ โดย​เจ้าของ​รถ​ลงชื่อ​รับ​ทราบ​ข้อความ​ใน​ใบ​เสร็จ​รับ​เงิน​ว่า
เป็นการ​เช่า​ที่​จอด​รถ ไม่ใช่​รับ​ฝาก​เป็น​เรื่อง​ที่​คู่​สัญญา​ท�ำ​คำ​
� ไป​จอด​ใน​ปั๊ม​

� เสนอ​สนอง​ตกลง​เช่า​ที่​จอด​รถ​ไม่ใช่​ฝาก​รถ ทั้ง​
การ​ปฏิบัติ​เจ้าของ​รถ​ก็​เป็น​ผู้​ใส่​กุญแจ​รถ​และ​นำ​ � กุญแจ​กลับ​ไป ศาล​ฎีกา​จึง​วินิจฉัย​ว่า​เป็น​สัญญา​เช่า​ที่​จอด​
รถยนต์ ไม่ใช่​ฝาก​รถยนต์ อย่างไร​ก็​ดีผู้​เขียน​เห็น​ว่าการ​เช่า​สถาน​ที่​จอด​รถ ถ้า​เจ้าของ​รถ​บรรยาย​ฟ้อง​และ​

น�ำสืบไ​ ด้ว​ า่ ​ปม๊ั ​นำ�้ มัน​จงใจ​หรือ​ประมาท​เลินเล่อ ท�ำให้ร​ ถ​ท​เี่ ช่าส​ ถาน​ท​จี่ อด​เสีย​หาย​หรือ​สญ ู หาย​ไป ปัม๊ ก​ อ​็ าจ​
ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​ค่า​สินไหม​ทดแทน​ฐาน​ละเมิด​ได้ ไม่ใช่​ไม่​ต้อง​รับผ​ ิดใ​ดๆ
มส

ฎ. 1621/2534 จ�ำเลย​ยินยอม​ให้​ลูกค้า​น�ำ​รถยนต์​มา​จอด​ใน​บริเวณ​ที่​ว่าง​ใน​สถานี​บริการ​น�้ำมัน​ทั้ง​
กลาง​วันแ​ ละ​กลาง​คืน​เป็นการ​ชั่วคราว​ได้​โดย​ไม่​ต้อง​เสียเ​งิน แต่ถ​ ้า​น�ำ​รถยนต์อ​ อก​ไป​จาก​ที่​จอด​หลังเ​วลา 6
นาฬิกา จะ​ตอ้ ง​เสีย​เงิน​คนั ​ละ 10 บาท การน�ำ​รถยนต์​มา​จอด​หรือ​เอา​ออก​ไป​ไม่​ตอ้ ง​บอก​ใคร กรณี​มก​ี าร​เก็บ​
เงินพ​ นักงาน​ของ​จ�ำเลย​จะ​มา​เก็บ เมื่อ ส. น�ำ​รถยนต์ม​ า​จอด ล็อก​ประตูแ​ ล้วเ​ก็บก​ ุญแจ​ไว้เ​อง​มิได้ส​ ่งม​ อบ​ให้​
พนักงาน​ของ​จำ� เลย การ​ครอบ​ครอง​รถยนต์​ระหว่าง​ท​จี่ อด​ยงั ​อยู​ใ่ น​ความ​ครอบ​ครอง​ของ ส. แม้​จะ​มก​ี าร​เก็บ​
เงินค​ ่าจ​ อด​หรือ​ค่า​บริการ​ก็​ไม่​เป็นการ​ฝาก​ทรัพย์
ฎ. 243/2536 กรม​ปา่ ไ​ ม้​โจทก์​ทำ​ � สญ ม
ั ญา​จา้ ง​จำ� เลย​เฝ้า​รกั ษา​ไม้​ของ​กลาง ระบุช​ อื่ ส​ ญ

โดย​คิด​อัตรา​ค่า​จ้าง​เป็น​ราย​ลูกบาศก์​เมตร นับ​แต่​วัน​ท�ำ​สัญญา​เป็นต้น​ไป​จนกว่า​ผู้​ว่า​จ้าง​จะ​รับ​ไม้​คืน หาก​


ขาด​หาย​หรือ​เป็น​อนั ตราย​ผรู้ บั ​จา้ ง​ให้​ผรู้ บั ​จา้ ง​ปรับ​ไหม​เป็น​ราย​ลกู บาศก์​เมตร​ตาม​จำ� นวน​ท​สี่ ญ
ั ญา​วา่ “สัญญา​
จ้าง​เฝ้า​รกั ษา” มี​ขอ้ ​ตกลง​วา่ ​ผ​วู้ า่ ​จา้ ง​ตกลง​ให้​คา่ ​จา้ ง​แก่​ผรู้ บั ​จา้ ง​เฝ้า​รกั ษา​ไม้​ของ​กลาง​ตาม​บญ ั ชี​ทา้ ย​สญ

อันตราย ระหว่าง​เวลา​ท​ผี่ ู้รับ​จ้าง​รับผ​ ิดช​ อบ​เฝ้า​รักษา​ไม้ ผู้​ว่า​จ้าง​อาจ​ขน​ไม้​ทั้งหมด​หรือ​แต่​บาง​ส่วน​ไป​จาก​


ั ญา​

ู หาย​หรือ​เป็น​

ทีเ​่ ดิม​ใน​เวลา​ใดๆ ก็ได้​แต่​ตอ้ ง​แจ้ง​ให้​ผวู้ า่ จ้าง​ทราบ​และ​ทำ​ � ใบรับ​ไม้​ท​ขี่ น​ไป​นนั้ ​ทกุ ​คราว​ไป​หลัง​จาก​ทำ​ � สญ ั ญา​
แล้วไ​ ม้ข​ อง​กลาง​อยูห​่ า่ ง​จาก​บา้ น​จำ� เลย​ประมาณ 2 กิโลเมตร โดย​กอง​อยูร​่ มิ ท​ าง​เดินใ​น​หมูบ่ า้ น จ�ำเลย​มไิ ด้​
สธ
ชัก​ลาก​ไม้​มา​เก็บ​รักษา​ไว้​ใน​อารักขา​ของ​ตน ดังนี้​แสดง​ว่า​อำ� นาจ​การ​ครอบ​ครอง​ไม้​ยัง​อยู่​แก่​โจทก์ มิได้​ส่ง​

14 ฎ. 657/2521, ฎ. 286/2525 วินิจฉัยท​ ำ�นอง​เดียวกัน



สัญญาฝากทรัพย์ 4-19

มอบไม้​ให้​แก่จ​ �ำเลย จ�ำเลย​มีหน้าท​ เี่​ฝ้า​รักษา​มใิ​ห้​ไม้​เป็น​อันตราย​หรือ​สูญหาย​ไป​เท่านั้น ไม่ไ​ ด้น​ ำ​ � ทรัพย์สิน​


ที่​รับ​ฝาก​มา​เก็บร​ ักษา​ไว้​ใน​อารักขา​ของ​ตน จึง​ไม่เ​ป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ แต่​เป็น​สัญญา​จ้าง​แรงงาน
ฎ. 7291/2539 ด. และ ห. น�ำ​รถยนต์​เข้าไป​จอด​ใน​บริเวณ​ที่​จอด​รถ​ที่​จ�ำเลย​ทั้ง​สอง​จัดใ​ห้​มี​ขึ้นต​ าม​
ที​พ่ นักงาน​ของ​จำ� เลย​ทงั้ ​สอง​บอก​วา่ ​ขา้ ง​ใน​ม​ที ​จี่ อด โดย​ได้ช​ ำ� ระ​เงิน​คา่ จ​ อด​รถ​ให้พ​ นักงาน​ของ​จำ� เลย​ทงั้ ​สอง
และ​ได้ร​ บั ใ​บรับซ​ งึ่ ม​ ​ขี อ้ ความ​วา่ บ​ ตั ร​จอด​รถ​โดย ด. และ ห. ยังค​ ง​เก็บก​ ญ ุ แจ​รถ​ไว้เ​อง​แล้วอ​ อก​ไป​จาก​บริเวณ​


ที​จ่ อด​รถ​ดัง​กล่าว ยังไ​ ม่​พอ​ฟัง​ว่า​เป็นการ​ส่งม​ อบ​รถยนต์​ให้​แก่​จ�ำเลย​ทั้ง​สอง​อัน​จะ​ท�ำให้​จ�ำเลย​ทั้งส​ อง​อยู่​ใน​
ฐานะ​ผู้รับ​ฝาก​ทรัพย์​มี​บ�ำเหน็จ เมื่อ​รถยนต์​ได้​สูญหาย​ไป จ�ำเลย​ทั้ง​สอง​จึงไ​ ม่​ต้อง​รับ​ผิด​ชดใช้ค​ ่า​เสีย​หาย

มส
5. สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​สัญญา​ไม่​ต่าง​ตอบแทน​และ​ไม่มี​ค่า​ตอบแทน เว้น​แต่​ตกลง​ว่า​มี​ค่า​
ตอบแทน​หรือ​โดย​พฤติการณ์​พึง​คาด​หมาย​ได้​ว่า​มี​ค่า​ตอบแทน15 หมายความ​ว่า สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​
สัญญา​ไม่​ตา่ ง​ตอบแทน​ท​เี่ ป็น​หนี​ผ้ กู พัน​ผรู้ บั ​ฝาก​ฝา่ ย​เดียว​วา่ ต้อง​เก็บ​รกั ษา​ทรัพย์สนิ ​นนั้ ​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​
ตน​แล้ว​จะ​คืนให้ ทั้ง​เป็น​สัญญา​ที่​ท�ำให้​เปล่า​ไม่มี​ค่า​ตอบแทน​หรือ​ไม่มี​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​ด้วย ดัง​นั้น​จึง​
อาจ​กล่าว​ได้​ว่า ถ้า​ไม่มี​ข้อ​ตกลง​ว่า การ​ฝาก​ทรัพย์น​ ั้น​มีบ�ำเหน็จ​ค่าฝ​ าก​หรือค​ าด​หมาย​จาก​พฤติการณ์​ก็​ไม่​
ได้​แล้ว ต้อง​ถือว่าส​ ัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ราย​นั้น​ไม่มี​บ�ำเหน็จ​ค่าฝ​ าก​หรือ​เป็น​สัญญา​ไม่ม​คี ่า​ตอบแทน​นั่นเอง
บ�ำเหน็จค​ า่ ฝ​ าก​อาจ​เป็นต​ วั เ​งิน หรือเ​ป็นป​ ระโยชน์ใ​น​ทาง​ทรัพย์สนิ ท​ ​ไี่ ม่ใช่ต​ วั เ​งิน เช่น ให้เ​ป็นส​ งิ่ ของ​
หรือท​ �ำการ​งาน​ให้ เป็นต้น แต่ป​ ระโยชน์​ท​ใี่ ห้​กันท​ าง​จิตใจ​ไม่ใช่บ​ �ำเหน็จ​ค่า​ฝาก
อย่างไร​ก็​ดี สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​อาจ​เป็น​สัญญา​ที่​มี​ค่า​ตอบแทน หรือ​มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ตอบแทน​กัน​
ได้​ใน 2 กรณี คือ

1) ตกลง​โดย​ชัดแ​ จ้ง
2) ตกลง​โดย​ปริยาย
มส

ที่​ว่า​ตกลง​โดย​ชัด​แจ้ง หมายความ​ว่า ผู้​ฝาก​กับ​ผู้รับ​ฝาก​ตกลง​ฝาก​ทรัพย์​โดย​มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​


ทรัพย์​กัน ส่วน​ตกลง​โดย​ปริยาย หมายความ​ตาม​มาตรา 658 คือ​ โดย​พฤติการณ์​พึง​คาด​หมาย​ได้​ว่า​เขา​
รับ​ฝาก​ทรัพย์​ก็​เพื่อ​จะ​ได้​รับ​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​เท่านั้น เช่น เจ้าของ​บ้าน​ติด​ป้าย​ประกาศ​ไว้​ว่า “รับ​ฝาก​
รถ” หรือ​ผ​มู้ ธี​ ุรกิจ​อาชีพ​เกี่ยว​กับ​การ​รับ​ฝาก​ทรัพย์โ​ ดย​เฉพาะ เช่น สถาน​ที่​รับฝ​ าก​รถยนต์ สัตว์เ​ลี้ยง ฯลฯ
หรือ ​เด็ ก ​วั ด ​รับ ​ฝาก​รองเท้า ใน​ขณะ​ที่​เรา​ถ อด​รองเท้า​เพื่อ​จะ​เข้าไป​ใน​โบสถ์ ดังนี้​พึ ง​คาด​หมาย​ได้​โดย​
พฤติการณ์​ว่า​เขา​รับ​ฝาก​ทรัพย์​ก็​เพื่อ​จะ​ได้​รับ​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​เท่านั้น กฎหมาย​จึง​ให้​ถือว่า​ตกลง​มี​
บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์โ​ ดย​ปริยาย​แล้ว ม
ใน​กรณี ​ที่ ​สั ญ ญา​ฝ าก​ท รั พ ย์ ​มี​บ�ำ เหน็ จ​ค่า​ฝาก สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​เป็น​สัญญา​มี​ค่า​ตอบแทน
กล่าว​คือ​ผ​ฝู้ าก​มีหน้า​ทตี่​ ้อง​ช�ำระ​บ�ำเหน็จค​ ่า​ฝาก​ทรัพย์แ​ ก่​ผู้รับ​ฝาก (มาตรา 667) ส่วน​ผู้รับ​ฝาก​ก็​ม​สี ิทธิ​ได้​
รับ​บำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก​ถา้ ​ผ​ฝู้ าก​ไม่​ชำ� ระ​บำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก ผูร้ บั ​ฝาก​ก​ม็ ​สี ทิ ธิ​ยดึ ​หน่วง​เอา​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​ฝาก​นนั้ ​ไว้​ได้
(มาตรา 670)
สธ
15 แต่​มี​นักก​ ฎหมาย​บาง​ท่าน​เห็น​ว่าการ​ฝาก​ทรัพย์น​ ั้น สันนิษฐาน​ไว้​ว่า​ม​บี ำ�เหน็จ เว้นแ​ ต่จ​ ะ​ปรากฏ​ว่าผ​ ู้รับฝ​ าก​ไม่ม​คี วาม​
ประสงค์​จะ​เรียก​บำ�เหน็จ ดู เสริม วินิจฉัย​กุล เอกเทศ​สัญญา คำ�​สอน​วิชาการ​บัญชี พ.ศ. 2483 พิมพ์​ครั้ง​ที่ 4 กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2499 น.92.

4-20 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ความ​แตก​ต่าง​ระหว่าง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ไม่ม​ีบ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​กับ​มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​อีก​
ประการ​หนึ่ง​คือ หน้าที่​ใน​การ​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​สงวน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​ย่อม​ไม่​เหมือน​กัน​ตาม​มาตรา 659
กล่าว​คือ ฝาก​ทรัพย์​ไม่มี​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​สงวน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​เหมือน​เช่น​เคย​ประพฤติ​
ใน​กิจการ​ของ​ตนเอง ส่วน​ฝาก​ทรัพย์​มี​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก​ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​สงวน​ทรัพย์สิน​นั้นเ​หมือน​เช่นว​ ิญญูชน
รวม​ทงั้ ​การ​ใช้​ฝมี อื ​อนั ​พเิ ศษ​เฉพาะ​การ​ใน​ทจ​ี่ ะ​พงึ ​ใช้​ฝมี อื ​ดว้ ย และ​เฉพาะ​ใน​กรณี​ของ​ผ​มู้ ​อี าชีพ​รบั ​ฝาก​ทรัพย์


ก็​ยงิ่ ต​ อ้ ง​ใช้ค​ วาม​ระมัดระวังแ​ ละ​ใช้ฝ​ มี อื เ​ท่าท​ ​เี่ ป็นธ​ รรมดา​จะ​ตอ้ ง​ใช้แ​ ละ​สมควร​จะ​ตอ้ ง​ใช้ใ​น​กจิ การ​คา้ ข​ าย​หรือ​
อา​ชีพ​รับ​ฝาก​ทรัพย์​ด้วย

มส
เมื่อ​ได้​ตกลง​ชัด​แจ้ง​หรือ​ถือ​ได้​โดย​ปริยาย​ว่า ฝาก​ทรัพย์​ม​ีบ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​แล้ว​ปัญหา​ว่า​บ�ำเหน็จ​
ค่า​ฝาก​เป็น​จำ� นวน​เท่าใด​นนั้ เห็น​วา่ ถ้า​เป็น​กรณี​ท​ผี่ รู้ บั ​ฝาก​ประกอบ​อาชีพ​รบั ​ฝาก​ทรัพย์​ยอ่ ม​ม​อี ตั รา​คา่ ​ฝาก​
ก�ำหนด​ไว้​แน่นอน การ​ท​ผี่ ​ฝู้ าก​นำ​ � ทรัพย์​เข้า​ฝาก​เท่ากับ​ยอมรับ​อัตรา​ค่า​ฝาก​ที่​ก�ำหนด​ไว้​แล้ว แต่ถ​ ้า​ฝาก​กับ​
บุคคล​ธรรมดา ถ้า​ไม่​ตกลง​จ�ำนวน​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก น่า​จะ​ต้อง​ถือว่า​ได้​ตกลง​กัน​เป็น​จ�ำนวน​ตาม​ธรรมเนียม
(เทียบ ปพพ. มาตรา 846 วรรค​สอง)
อุทาหรณ์
ฎ. 2748-2749/2515 การ​ท่าเรือ​แห่ง​ประเทศไทย​โจทก์​เป็น​องค์การ​ประกอบ​กิจการ​ท่าเรือ​เพื่อ​
ประโยชน์​แห่ง​รัฐ​และ​ประชาชน มี​บท​กฎหมาย​พิเศษ​ที่​ก่อ​ตั้ง​และ​รับรอง​ให้​มี​อ�ำนาจ​กำ� หนด​อัตรา​ค่า​ภาระ​
การ​ใช้​ทา่ เรือ ซึง่ ร​ วม​ถงึ ​คา่ ​ฝาก​ของ​ท​เี่ ก็บ​ไว้​ท​ที่ า่ เรือน​ นั้ ด​ ว้ ย ผูใ​้ ด​มา​ใช้​บริการ​เอา​ของ​ฝาก​ไว้​ท​ที่ า่ เรือ สัญญา​

ฝาก​ทรัพย์​ระหว่าง​โจทก์​กับ​ผู้​นั้น​ก​็เกิด​ขึ้น​โดย​ไม่​ต้อง​ตกลง​กัน​อีก​ใน​เรื่อง​ค่า​ฝาก เพราะ​เท่ากับ​ได้​ตกลง​กัน​
อยูใ​่ น​ตวั ​วา่ ใ​ห้ถ​ อื ​เอา​ตาม​อตั รา​ท​โี่ จก​ท​ไ์ ด้ก​ ำ� หนด​ไว้ แม้โ​จทก์ก​ ำ� หนด​อตั รา​คา่ ฝ​ าก​ให้ส​ งู ​ขนึ้ หลังจ​ าก​ท​โี่ จทก์​
รับ​ฝาก​ทรัพย์​ของ​จำ� เลย​ไว้​แล้ว ก็​ถือ​ได้​ว่า​อัตรา​ใหม่​นั้น​ก็​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​อยู่​ใน​ข้อ​ตกลง​เดิม ใน​สัญญา​ฝาก​
มส

ทรัพย์​ระหว่าง​โจทก์​กับ​จ�ำเลย​ทั้ง​จำ� เลย​ก็​ร​ู้อยู​่ว่า​โจทก์​ขึ้น​ราคา​ค่า​ฝาก แต่​ไม่​ขน​ทรัพย์​ที่​ฝาก​ออก​ไป จึง​ถือ​


ได้​ว่า จ�ำเลย​ยอม​เสีย​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ให้​โจทก์​ตาม​อัตรา​ใหม่ แม้ค​ ่า​ฝาก​จะ​ท่วม​ราคา​ทรัพย์​ที่​ฝาก​มาก ก็​ไม่​
เป็น​เหตุ​ให้​จ�ำเลย​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ชดใช้​ให้​โจทก์
ตาม​คำ​ � พพิ ากษา​ศาล​ฎกี าข้างต้น โจทก์​ประกอบ​กจิ การ​ก​เ็ พือ่ ​บำ� เหน็จค​ า่ ฝ​ าก​และ​ได้​ประกาศ​อตั รา​
ค่า​ฝาก​ไว้​เป็น ค�ำ​เสนอ​เมื่อ​จำ� เลย​สนอง​รับ​น�ำ​สินค้า​เข้า​มา​ฝาก​ก็​เท่ากับ​ตกลง​ค่า​ฝาก​ตาม​อัตรา​ที่​โจทก์​

หน้า​แล้ว

ประกาศ​ไว้ ส่วน​ภาย​หลัง​โจทก์​ขึ้น​อัตรา​ค่า​ฝาก แต่​จ�ำเลย​รู้​แล้ว​ก็​ไม่​ขน​ทรัพย์​ออก​ไป ย่อม​ถือ​ได้​ว่า​ตกลง​
โดย​ปริยาย​ตาม​อัตรา​ค่าฝ​ าก​ใหม่​นั้น​แล้ว
ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​นี้​จึง​ต่าง​กับ​กรณี​ฝาก​ทรัพย์​กับ​บุคคล​ธรรมดา​ทั่วๆ ไป ซึ่ง​ต้อง​ตกลง​กัน​ใน​
จ�ำนวน​บำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก​ไว้​ดว้ ย เว้น​แต่​ผ​ปู้ ระกอบ​อาชีพ​รบั ​ฝาก​ท​กี่ ำ� หนด​อตั รา​คา่ ​ฝาก​เป็น​คำ​ � เสนอ​ซงึ่ ​ร​กู้ นั ​ลว่ ง​

ข้อ​สังเกต มี​บาง​กรณี​ท​เี่ จ้าของ​สถาน​ท​บี่ ริการ​ให้​จอด​รถ​โดย​ม​คี า่ ​ตอบแทน ไม่ใช่​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​


โดย​มบ​ี ำ� เหน็จ เพราะ​การ​จดั ​บริการ​เช่น​นนั้ ​ไม่ใช่​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ การ​เก็บ​คา่ ​จอด​จงึ เ​ป็นการ​ให้​คา่ ​ตอบแทน​
สธ
ใน​การ​ให้​บริการ ซึ่ง​เป็น​สัญญา​ต่าง​ตอบแทน​ธรรมดา

สัญญาฝากทรัพย์ 4-21

อุทาหรณ์
ฎ. 1685/2529 จ�ำเลย​ที่ 2 เป็น​เจ้าของ​ที่ดิน​บริเวณ​สยามสแควร์​มอบ​ให้​จ�ำเลย​ที่ 1 ดูแล​ความ​
เรียบร้อย​และ​จัดการ​จราจร​ภายใน​ที่ดิน​ดัง​กล่าว พนักงาน​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 จะ​ออก​บัตร​ให้​และ​เจ้าของ​รถ​จะ​
ต้อง​คืน​บัตร​เมื่อ​น�ำ​รถ​ออก​ไป หาก​จอด​รถ​จะ​ต้อง​เสีย​ค่า​บริการ แต่​เจ้าของ​รถ​เป็น​ผู้​เลือก​สถาน​ที่​จอด​รถ
เปิด ปิด ประตู​และ​เก็บ​กุญแจ​รถ​ไว้​เอง หาก​เจ้าของ​รถ​จะ​เคลื่อน​ย้าย​รถ​หรือ​นำ� ​รถ​ออก​จาก​ที่​จอด​หรือ​


น�ำ​ไป​จอด​ที่​ใด​ใน​บริเวณ​นั้น ก็​ท�ำได้​เอง​โดย​ไม่​ต้อง​แจ้ง​ให้​พนักงาน​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ทราบ​เช่น​นี้ รถยนต์​ที่​
น�ำ​มา​จอด​ยัง​อยู่​ใน​ความ​ครอบ​ครอง​ของ​เจ้าของ​รถ กรณี​นี้​ไม่ใช่​การ​ฝาก​ทรัพย์ เพราะ​ไม่มี​การ​ส่ง​มอบ​

มส
ทรัพย์สิน​ให้​แก่​จำ� เลย​ทั้ง​สอง หรือ​พนักงาน​ของ​จำ� เลย​ทั้ง​สอง และ​จ�ำเลย​ทั้ง​สอง​ได้​ตกลง​จะ​รักษา​รถยนต์​
คัน​ดัง​กล่าว​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน​แล้ว จะ​คืนให้ จ�ำเลย​จึง​ไม่มี​ข้อ​ผูกพัน​ที่​จะ​ต้อง​รับ​ผิด​ใน​การ​ที่​รถยนต์​ซึ่ง​
น�ำ​มา​จอด​ใน​ที่ดินบ​ ริเวณ​นั้นส​ ูญหาย​ไป

เปรียบ​เทียบ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​กับ​สัญญา​ลักษณะ​อื่น
เพื่อ​ให้​นักศึกษา​เข้าใจ​ลักษณะ​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​อย่าง​แท้จริง เห็น​สมควร​เปรียบ​เทียบ​สัญญา​
ฝาก​ทรัพย์​กับ​สัญญา​ลักษณะ​อื่น​ท​คี่ ล้ายคลึง​กัน ดัง​ต่อ​ไป​นี้
1. เปรียบ​เทียบ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​กับ​สัญญา​ยืม สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เหมือน​กับ​สัญญา​ยืม​ใช้​คง​รูป​
ใน​ข้อ​ที่​ต้อง​มี​การ​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ให้​แก่​กัน สัญญา​จึง​จะ​บริบูรณ์ นัย​หนึ่ง​คือ ทรัพย์​ตก​มา​อยู่​ใน​อ�ำนาจ​

ครอบ​ครอง​ของ​ผู้รับ​มอบ​โดย​เป็นการ​ครอบ​ครอง​แทน และ​มีหน้า​ที่​รักษา​ทรัพย์​นั้น​จนกว่า​จะ​ส่ง​คืน​เหมือน​
กัน แต่แ​ ตก​ตา่ ง​กนั ​ท​คี่ วาม​ประสงค์ข​ อง​สญ ั ญา คือย​ มื ​ใช้ค​ ง​รปู เ​ป็นการ​รบั ม​ อบ​ทรัพย์เ​พือ่ ป​ ระโยชน์ข​ อง​ผรู้ บั ​
มส

มอบ​เอา​ทรัพย์​มา​ใช้สอย ส่วน​ฝาก​ทรัพย์​เป็นการ​รับ​มอบ​ทรัพย์ เพื่อ​การ​เก็บ​รักษา​ตาม​สภาพ​ของ​ทรัพย์​ท​ี่


ฝาก ไม่มี​ความ​ประสงค์​ให้​ใช้​ทรัพย์​นั้น ประโยชน์​ของ​คู่​สัญญา​ต่าง​กัน​ตรง​ที่​ว่า ฝาก​ทรัพย์​นั้น​ผู้​ฝาก​ได้​
ประโยชน์​ที่​อีก​ฝ่าย​หนึ่ง​เก็บ​รักษา​ไว้​ให้ ส่วน​ยืม​ใช้​คง​รูป ประโยชน์​อยู่​ที่​ผู้รับ​มอบ​ได้​ใช้​ทรัพย์​นั้น หนี​้ของ​
สัญญา​ยืม​ใช้​คง​รูป​ คือ เมื่อ​ได้​ใช้สอย​เสร็จ​แล้ว​ต้อง​ส่ง​คืน ส่วน​หนี้​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ คือก​ ​ระ​ท�ำ​การเก็บ​
รักษา​แล้ว​สง่ ​คนื ให้ กรรมสิทธิ​์ใน​ทรัพย์​คง​เดิม​ไม่​เปลีย่ นแปลง ถ้า​ทรัพย์​นนั้ ​สญ ู หาย​ทำ� ลาย​โดย​มใิ ช่​ความ​ผดิ ​
ของ​ผรู้ บั ​ฝาก ความ​สญ ู หาย​หรือ​ภยั ​นนั้ ​ก​ต็ ก​เป็น​พบั ​แก่​เจ้าของ​ทรัพย์ ความ​รบั ​ผดิ ​คง​มต​ี าม​หน้าที​ห่ รือ​หนี​ใ้ น​

สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ ถ้า​ได้​ปฏิบัติ​หน้าที่​ตาม​สัญญา​แล้ว​ก็​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด16 นอกจาก​นี้​สัญญา​ยืม​ใช้​คง​รูป​เป็น
การ​ให้​เปล่า แต่ส​ ัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​อาจ​เป็น​สัญญา​มี​​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​กัน​ก็ได้
สัญญา​ฝาก​เงิน​เหมือน​กับ​สัญญา​ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง ที่​กรรมสิทธิ​์ใน​ทรัพย์​โอน​ไป​แก่​ผู้รับ​มอบ​เงิน​ว่า​
ไม่​ต้อง​คืน​เงิน​อัน​เดิม​ให้ และ​นำ​� เงิน​ออก​ใช้ได้ แต่แ​ ตก​ต่าง​กัน​ที่​สัญญา​ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง​เกี่ยว​กับ​การ​กู้​ยืม​เงิน​
กว่า 2,000 บาท​ขึ้น​ไป ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ยืม จึง​จะ​ฟ้อง​ร้อง​ให้​บังคับ​คดี​กัน​ได้
ส่วน​ฝาก​ทรัพย์​หรือ​ฝาก​เงิน​กว่า 2,000 บาท​ขึ้น​ไป ไม่​ต้อง​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​หรือ​แบบ ตกลง​กัน​ด้วย​
วาจา​กม็​ ​ผี ล​บังคับไ​ ด้
สธ

16 พจน์ ปุษป​ า​คม เรื่อง​เดียวกัน น. 211.



4-22 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. เปรี ย บ​เ ที ย บ​สั ญ ญา​ฝ าก​ทรัพย์​กับ​สัญญา​ตัวแทน สัญญา​ตัวแทน​นั้น ตัวแทน​อาจ​รับ​มอบ​


ทรัพย์สนิ ​จาก​ตวั การ​เพือ่ ​ไป​ทำ​ � กจิ การ​แทน​ตวั การ​ตอ่ ​บคุ คล​ภายนอก​ซงึ่ ไ​ ม่ใช่​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ เพราะ​ตวั แทน​
ไม่​ได้​ตกลง​วา่ ​จะ​เก็บ​รกั ษา​ทรัพย์สนิ ​นนั้ ​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน​แต่​เพียง​อย่าง​เดียว​แล้ว​จะ​คนื ให้ อัน​เป็น​ลกั ษณะ​
ส�ำคัญ​ของ​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ หาก​ตวั แทน​ยงั ​ตอ้ ง​มหี น้า​ท​จี่ ดั ​ทำ​ � กจิ การ​แทน​ตวั การ​ตอ่ ​บคุ คล​ภายนอก​อกี ​ดว้ ย
นับ​ว่า​ตัวแทน​ต้อง​มีหน้า​ท​ี่เพิ่ม​ขึ้น​จาก​การ​เก็บ​รักษา​ทรัพย์​ตาม​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นั่นเอง เช่น รับ​ฝาก​เงิน​


ของ​เด็ก​จาก​ผปู้​ กครอง​เด็ก​เพื่อ​หา​ประโยชน์​แทน​เด็ก​เป็น​สัญญา​ตัวแทน ไม่ใช่ส​ ัญญา​ฝาก​ทรัพย์
3. เปรียบ​เทียบ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​กับ​สัญญา​รับ​ขน​ของ สัญญา​รบั ​ขน​ของ​นนั้ ผู​ข้ นส่ง​รบั ​มอบ​ของ​

มส
จาก​ผู้​ส่ง​ก็​เพื่อ​จัดการ​ขน​ไป​ยัง​ผู้รับ​ตรา​ส่ง​ใน​ที่​อีก​แห่ง​หนึ่ง​ตาม​ค�ำ​สั่ง​ของ​ผู้​ส่ง จึง​ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
เพราะ​ไม่​ได้​มอบ​ของ​ให้​ไป​เก็บ​รกั ษา​ไว้​ใน​อารักขา​แล้ว​จะ​คนื ให้​เท่านัน้ หาก​แต่​มหี น้า​ท​ตี่ อ้ ง​จดั ​สง่ ​ของ​ไป​ตาม​
ค�ำ​สั่ง​ของ​ผู้​ส่ง​อีก​ด้วย เช่น รับ​มอบ​ข้าวโพด​ลง​เรือ​เพื่อ​น�ำ​ส่ง​ไป​ยัง​ที่​หมาย​ปลาย​ทาง​เป็น​สัญญา​รับ​ขน​ของ
ไม่ใช่ส​ ัญญา​ฝาก​ทรัพย์

จ้าง​ทำ​
4. เปรียบ​เทียบ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​กับ​สัญญา​จ้าง​แรงงาน​หรือ​จ้าง​ท�ำ​ของ สัญญา​จา้ ง​แรงงาน​หรือ​
� ของ​ใน​กรณี​ท​นี่ ายจ้าง​หรือ​ผ​วู้ า่ ​จา้ ง​สง่ ​มอบ​ทรัพย์สนิ ​ให้​แก่​ลกู จ้าง​หรือ​ผรู้ บั ​จา้ ง​ตาม​ลำ� ดับ​นนั้ ก็​เพือ่ ​ให้​
ท�ำงาน​ให้​ตาม​ที่​จ้าง จึง​ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ เพราะ​ไม่​ได้​มอบ​ทรัพย์สิน​ให้​ไป​เก็บ​รักษา​ไว้​เท่านั้น เช่น
ลูกจ้าง​ตาม​สัญญา​จ้าง​แรงงาน​ได้ร​ ับ​มอบ​เครื่อง​มือ​ก็​เพื่อ​ทำ� งาน​ให้​นายจ้าง ไม่ใช่​เอา​ไป​เก็บ​รักษา หรือ​ผู้รับ​
จ้าง​ตาม​สญ ั ญา​จา้ ง​ทำ​ � ของ​ได้​รบั ​มอบ​สมั ภาระ​สำ� หรับ​การ​ทำ� งาน ก็​เพือ่ ​ทำ� การ​งาน​สงิ่ ​นนั้ ​ให้​สำ� เร็จ เมือ่ ​ทำ� การ​

งาน​เสร็จ​แล้วม​ สี​ ัมภาระ​เหลืออ​ ยู่​ก​ต็ ้อง​ส่ง​คืน ไม่ใช่​เอา​ไป​เก็บ​รักษา​เท่านั้น
เมื่อ​ได้​ศึกษา​ลักษณะ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​โดย​ตลอด​แล้ว ย่อม​เห็น​ได้​ว่า สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​แตก​ต่าง​
มส

จาก​นิติกรรม​สัญญา​อื่น​ตรง​ที่​ต้อง​เก็บ​รักษา​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน​แล้ว​จะ​คืนให้ สัญญา​ฝาก​
ทรัพย์​เป็น​ชอื่ ​ของ​สญ ั ญา​ที่ ปพพ. ก�ำหนด​ให้​เรียก​เช่น​นนั้ แต่​ใน​ทาง​ปฏิบตั ิ​อาจ​เรียก​ชอื่ ​สญ ั ญา​เป็น​อย่าง​อนื่ ​
ก็ได้​เช่น​เรียก​ว่า สัญญา​เก็บ​ทรัพย์ สัญญา​รักษา​ทรัพย์ สัญญา​รับ​ฝาก​และ​รักษา​ทรัพย์19 ฯลฯ ดัง​นั้น
17 18
นักศึกษา​อย่า​ติด​ชื่อ​ของ​สัญญา แต่​ควร​พิเคราะห์ด​ ู​สาระ​สำ� คัญ​ของ​สัญญา​นั้นๆ เพื่อ​เป็น​หลัก​เกณฑ์​ใน​การ​
พิจารณา​ว่า เป็น​สัญญา​อะไร เมื่อ​ทราบ​ว่า​เป็น​สัญญา​อะไร​แล้ว​ย่อม​เป็นการ​ง่าย​ที่​จะ​วินิจฉัย​ว่า​คู่​สัญญา​นั้น​
มี​สิทธิ​และ​หน้าทีท่​ ี่​จะ​พึงป​ ฏิบัติ​ต่อ​กัน​อย่างไร​ดัง​ท​จี่ ะ​ศึกษา​ต่อ​ไป

17 ดู​หน่วย​ที่ 5 เก็บ​ของ​ใน​คลัง​สินค้า ซึ่งเ​ป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ชนิด​หนึ่ง นัยก​ ลับ​กัน​อาจ​เรียก​สัญญา​เก็บ​ของ​ใน​คลังส​ ินค้า​
สธ
เป็น​สัญญา​ฝาก​ของ​ใน​คลัง​สินค้า​ก็ได้
18 ใน​ทาง​ปฏิบัติ เจ้า​พนักงาน​บังคับ​คดีท ​ �ำการ​ยึด​ทรัพย์ จะ​ท�ำ “สัญญา​รักษา​ทรัพย์” กับล​ ูกห​ นีเ้​หนือบ​ ุคคล​ภายนอก​ไว้
ไม่น​ ิยม​เขียน​ชื่อส​ ัญญา​ว่า สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ ดู ปวพ. มาตรา 303, 304, 305
19 ฎ. 689/2510

สัญญาฝากทรัพย์ 4-23

กิจกรรม 4.1.1
1. จง​แสดง​ตาราง​เปรียบ​เทียบ​ขอ้ ​ท​เี่ หมือน​กนั วัตถุประสงค์ข​ อง​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ ประโยชน์ข​ อง​
สัญญา​และ​หนี​ข้ อง​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​กบั ​สญ ั ญา​ยมื ​ใช้​คง​รปู สัญญา​ตวั แทน สัญญา​รบั ​ขน​ของ​และ​สญ ั ญา​จา้ ง​
แรงงาน


2. จง​ร่าง​สัญญา​ฝาก​ข้าว​เปลือก​จำ� นวน 10 เกวียน ราคา 200,000 บาท ซึ่ง​ฝาก​เก็บ​ไว้​ใน​ยุ้ง​ข้าว​
ของ​ผรู้ บั ​ฝาก​และ​ผรู้ บั ​ฝาก​ได้​รบั ​บำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก 2,000 บาท ไป​ตงั้ แต่​วนั ​ทำ​
� สญั ญา​แล้ว กับ​ม​กี ำ� หนด​สง่ ​คนื ​

มส
ใน​วั น ​ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถ้า ​ผิด​สั ญญา ยอม​ใช้ ​ราคา​พร้อม​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 15 ต่อ​ปี ตลอด​จน​
ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​ทวงถาม​และ​ค่า​ฤชา​ธรรมเนียม​ใน​การ​ฟ้อง​ร้อง​แก่​ผู้​ฝาก

แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.1.1
1. ตาราง​เปรียบ​เทียบ​ข้อ​ที่​เหมือน​กัน วัตถุ​ประสงค์ ประโยชน์​และ​หนี้​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ กับ​
สัญญา​ยืม​ใช้​คง​รูป ตัวแทน รับ​ขน​ของ​และ​จ้าง​แรงงาน

ลักษณะ ข้อที่เหมือนกัน ความประสงค์ ประโยชน์ของสัญญา หนี้ของสัญญา


สัญญา ของสัญญา

(1) ทรัพย์ตกอยู่ในอ�ำนาจ เพื่อเก็บรักษาทรัพย์ ผู้ฝากได้ประโยชน์ที่ กระท�ำการเก็บรักษาแล้ว
ฝากทรัพย์ ครอบครองของผู้รับ ตามสภาพของทรัพย์ อีกฝ่ายหนึ่งเก็บรักษา ส่งคืน
มอบโดยเป็นการ ไว้ให้
มส

ครอบครองแทน
(2) ” เพื่อผู้รับมอบเอาทรัพย์ ผู้ยืม (ผู้รับมอบ) เมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว
ยืมใช้คงรูป ” ออกใช้สอย ได้ใช้ทรัพย์นั้น ต้องส่งคืน
(3) ” เพื่อไปท�ำกิจการแทน ตัวการ (ผู้มอบ) เมื่อกระท�ำการแทนแล้ว
ตัวแทน ตัวการต่อบุคคลภายนอก ได้ประโยชน์ที่มีผู้กระท�ำ เงินและทรัพย์สินที่รับไว้
กิจการแทนให้ ต้องส่งให้ตัวการ
(4)
รับขนของ

(5)
จ้างแรงงาน



เพื่อให้ขนของส่งไปยัง
ผู้รับตราส่ง
ผู้ส่ง (ผู้มอบ) ได้
ประโยชน์ที่มี
ผู้ขนของส่งไปให้
เพื่อให้ทำ� งานให้ตามที่จ้าง นายจ้าง (ผู้มอบ) ได้
ประโยชน์ที่มี
ม ผู้ขนส่งต้องขนของส่งไป
ยังผู้รับตราส่งตามค�ำสั่ง
ของผู้ส่ง
ลูกจ้าง (ผู้รับมอบ) ต้อง
ท�ำงานให้ ส่วนนายจ้าง
ผู้ทำ� การงานให้ (ผู้มอบ) ก็ต้องให้สินจ้าง
ตลอดเวลาที่ท�ำงานให้
สธ

4-24 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. ร่าง​สัญญา​ฝาก​ข้าว​เปลือก

สัญญา​ท�ำ​ที่ ................................
วัน​ที่ ........... เดือน..................ปี พ.ศ. .............
(นาย, นาง, นางสาว) ....................................................................... อายุ ............. ปี


ตัง้ บ​ า้ น​เรือน​อยู่ ณ บ้าน​เลข​ท.ี่ ...........................ถนน.......................ต�ำบล (แขวง)...........................อ�ำเภอ
(เขต)..........................จังหวัด..................................................................ซึ่ง​ต่อ​ไป​ใน​สัญญา​นี้​เรียก​ว่า

มส
“ผู​ฝ้ าก” ฝ่าย​หนึง่ ​กบั (นาย, นาง​, นางสาว)...............................................อายุ ......................ตัง้ ​บา้ น​เรือน​
อยู่ ณ บ้ า น​เลข​ที่ ..........................ถนน...................................ต�ำบล (แขวง).................................
อ�ำเภอ (เขต)......................จังหวัด........................ ซึ่ง​ต่อ​ไป​ใน​สัญญา​นี้​เรียก​ว่า “ผู้รับ​ฝาก” อีก​ฝ่าย​หนึ่ง
ทั้ง​สอง​ฝ่าย​ตกลง​ท�ำ​สัญญา​กัน มี​ข้อความ​ดัง​ต่อ​ไป​นี้:
ข้อ 1 ผู้​ฝาก​ตกลง​ฝาก​และ​ผู้รับ​ฝาก​ตกลง​เก็บ​รักษา ข้าว​เปลือก จ�ำนวน 10 เกวียน ไว้​ใน​ยุ้ง​ข้าว​
ของ​ผู้รับ​ฝาก คิด​เป็น​ราคา​ทรัพย์สิน​ท​ฝี่ าก​จ�ำนวน 20,000 บาท และ​ใน​วัน​ท�ำ​สัญญา​นี้​ผู้​ฝาก​ได้​ส่ง​
มอบ​ทรัพย์สิน​ให้​แก่​ผู้รับ​ฝาก​ไป​ครบ​ถ้วน​แล้ว
ข้อ 2 ผู​ฝ้ าก​ตกลง​ให้​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​เป็น​เงิน​จ�ำนวน 20,00 บาท แก่​ผู้รับฝ​ าก และ​ผู้รับ​ฝาก​
ได้​รับ​เงิน​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ไป​ตั้งแต่​วัน​ท�ำ​สัญญา​น​แี้ ล้ว

ข้อ 3 ผู้ ​ฝ าก​แ ละ​ผู้ รั บ ​ฝ าก​ต กลง​จ ะ​คื น ​ท รัพ ย์ สิ น ​ที่ ​ฝาก​ทั้งหมด​ให้ ณ วัน​ที่ 1 เดือน มกราคม
พ.ศ. 2556
มส

ข้อ 4 ถ้ า ​ผู้รับ​ฝาก​ผิด​สัญญา​ข้อ 3 ผู้รับ​ฝาก​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์สิน​ที่​รับ​ฝาก​พร้อม​ด้วย ดอกเบี้ย​


ร้อย​ละ 15 ปี นับ​แต่​วนั ​ท​ตี่ อ้ ง​คนื ​ทรัพย์สนิ ​ท​รี่ บั ​ฝาก​ตาม​สญ ั ญา​ขอ้ 3 เป็นต้น​ไป จนกว่า​จะ​ชำ� ระ​เสร็จ ตลอด​จน
ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​ทวงถาม และ​ยอม​เสีย ค่า​ฤชา​ธรรมเนียม​ในการ​ฟ้อง​ร้อง แก่ผ​ ู้​ฝาก​ทั้งส​ ิ้น
(ลงชื่อ) ผู้รับ​ฝาก
(ลงชื่อ) ผู้​ฝาก
(ลงชื่อ) พยาน
(ลงชื่อ) พยาน ม
สธ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-25

เรื่อง​ที่ 4.1.2
สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก


เมื่ อ ​สั ญ ญา​ฝาก​ทรัพย์ ​เกิด​ขึ้น​แล้ว คู่​กรณี​ย่อม​ม​ี สิทธิ​และ​หน้าที่​ตาม​สัญญา สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​
ผู้รับ​ฝาก​เกิด​จาก​หนี้​ที่​จะ​ต้อง​เก็บ​รักษา​ทรัพย์สิน เว้น​แต่​ค​ู่สัญญา​จะ​มี​ข้อ​ตกลง​กัน​ใน​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​

มส
อย่าง​อื่นแล้ว20 ผู้รับ​ฝาก​มี​สิทธิ​และ​หน้าที​ด่ ัง​ต่อไ​ ป​นี้

สิทธิ​ของ​ผู้รับ​ฝาก
ผู้รับ​ฝาก มี​สิทธิ​อยู่ 4 ประการ คือ
1. สิทธิ​เรียก​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​คืน​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก
2. สิทธิ​เรียก​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​สงวน​รักษา​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก
3. สิทธิ​เรียก​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก
4. สิทธิ​ยึด​หน่วง​ทรัพย์สิน​ท​ฝี่ าก
1. สิทธิ​เรียก​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​คืน​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก เนื่องจาก​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​สัญญา​ที่​ทำ​ � ขึ้น​

เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผ​ู้ฝาก​ซึ่ง​เป็น​เจ้า​หนี้ เมื่อ​ม​ีค่า​ใช้​จ่าย​เกี่ยว​กับ​การ​คืน​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก มาตรา 667 จึง​
บัญญัต​ิวา่ “ค่า​คืนท​ รัพย์สินซ​ ึ่งฝ​ าก​นั้น ย่อม​ตก​แก่ผ​ ู้ฝ​ าก​เป็น​ผู้เ​สีย” เช่น กุง้ อยู​่จงั หวัด​ลำ� ปาง รับ​ฝาก​ชา้ ง​
ของเข่ง​ซึ่ง​ภูมิลำ� เนา​อยู่​ที่​เชียงใหม่ ใน​การ​คืน​ช้าง​ที่​รับ​ฝาก กุ้ง​ต้อง​จ้าง​คน​งาน​และ​รถ​บรรทุก​ช้าง​มา​ส่ง​คืน​
มส

แก่ เข่ง​ทเี่​ชียงใหม่ ตาม ปพพ. มาตรา 324 ดังนี้ เมื่อ กุ้ง ออก​ค่าใ​ช้จ​ ่าย​ไป​เท่าใด กุ้ง​ย่อม​ม​สี ิทธิเ​รียก​จาก​
เข่ง​ได้
อย่างไร​กด​็ ี คูส​่ ญ
ั ญา​อาจ​ตกลง​ยกเว้นม​ าตรา 667 ให้ผ​ รู้ บั ฝ​ าก​เป็นผ​ เ​ู้ สียค​ า่ ใ​ช้จ​ า่ ย​ใน​การ​คนื ท​ รัพย์สนิ ​
ทีฝ​่ าก​กย​็ อ่ ม​ทำ� ได้ ไม่​เป็นการ​ขดั ​ตอ่ ​ความ​สงบ​เรียบร้อย​หรือ​ศลี ​ธรรม​อนั ​ด​ขี อง​ประชาชน​ ตาม ปพพ. มาตรา
151 เช่น กุ้ง รับฝ​ าก​ช้าง​ของ​เข่งไ​ ว้ โดย​มีข​ ้อส​ ัญญา​ว่า กุ้ง เอา​ช้าง​ไป​ใช้​งาน​ได้ และ​ต้อง​รับ​ผิดใ​น​ค่า​ใช้​จ่าย​

เกี่ยว​กับการ​คืน​ช้าง​ด้วย ดังนี้​ย่อม​เป็น​ข้อ​ตกลง​ที่​ชอบ กุ้ง​จึง​ต้อง​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​เกี่ยว​กับ​การ​คืน​ช้าง​เอง จะ​
เรียก​ร้อง​จาก เข่งห​ า​ได้ไ​ ม่
2. สิทธิ​เรียก​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​สงวน​รักษา​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก โดยที่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​ผู้รับ​ฝาก​มี
หน้า ​ที่ ​ต้ อง​เ ก็ บ ​รัก ษา​ทรั พ ย์ สิน​ที่​ฝ าก ใน​ระหว่าง​สั ญญา​จ�ำ​ต้อง​บ�ำรุง​รัก ษา​ท รัพย์​ที่​ฝาก จึง​อ าจ​ต้อง​เสีย​
ค่า​ใช้​จา่ ย​เพือ่ ​การ​นี้ มาตรา 668 จึง​บญ ั ญัต​วิ า่ “ค่าใ​ ช้จ​ ่าย​ใด​อันค​ วร​แก่​การ​บ�ำรุง​รักษา​ทรัพย์สิน​ซึ่งฝ​ าก​นั้น
ผู้​ฝาก​จ�ำ​ต้อง​ชดใช้​ให้​แก่​ผู้รับ​ฝาก เว้น​แต่​จะ​ได้​ตกลง​กัน​ไว้​โดย​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ว่าผู้รับ​ฝาก​จะ​ต้อง​ออก​เงิน
ค่า​ใช้​จ่าย​นั้น​เอง” เช่น กุ้ง รับ​ฝาก​ม้า​จาก​เข่ง กุ้ง ต้อง​ซื้อ​หญ้า ข้าว​เปลือก เพื่อ​บำ� รุง​รักษา​ม้า ดังนี้ กุ้ง​ม​ี
สธ
20
ใน​กรณี​ที่​คู่​สัญญา​ตกลง​กัน​ให้ม​ ี​สิทธิ​และ​หน้าที่​มากกว่า​หรือน​ ้อย​กว่า​ที่​กฎหมาย​กำ�หนด อาจ​กลาย​เป็น​สัญญา​อื่นไ​ ม่ใช่​
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ซ​ ึ่งต​ ้อง​พิจารณา​ข้อ​เท็จจ​ ริง​เป็น​เรื่องๆ ไป

4-26 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

สิทธิ​เรียก​ค่า​ใช้​จ่าย​ดัง​กล่าว​จาก เข่ง​หรือ กุ้ง​รับฝ​ าก​เรือน​จาก เข่ง และ​กุ้ง ได้อ​ อก​เงินซ​ ่อมแซม​เรือน​ไป กุ้ง
มี​สิทธิเ​รียก​ชดใช้เ​งิน​ซ่อมแซม​จาก เข่ง21 เป็นต้น
การ​บ�ำรุง​รักษา22 นั้น​หมายความ​ถึง​กระท�ำ​ต่อ​ทรัพย์​นั้น​ใน​ทาง​ระวัง​ดูแล​ป้องกัน​ให้​ทรัพย์​นั้น​คง​
สภาพ​เดิม​เป็น​คา่ ​ใช้​จา่ ย​นอก​เหนือ​จาก​คา่ ​ตอบแทน​ใน​การ​ฝาก​ทรัพย์​ทเ​ี่ รียก​วา่ ​บำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก เช่น ค่า​เลีย้ ง​
สัตว์ ค่า​ปุ๋ย​บำ� รุง​ต้นไม้ ค่า​ซ่อมแซม​โรง​เรือน​หรือ​สิ่ง​ปลูก​สร้าง ค่า​ทำ� ความ​สะอาด​กระจก​รถยนต์ ฯลฯ ซึ่ง​


กฎหมาย​ก�ำหนด​ให้​ผู้รับ​ฝาก​มีหน้า​ที่​ตาม​มาตรา 659 นั่นเอง แต่​ไม่​หมาย​ถึง​การ​ใช้สอย​ทรัพย์​ซึ่ง​เป็นการ​
กระท�ำ​เพือ่ ​ประโยชน์​แก่​คน​ท​ใี่ ช้สอย​เอง​ตาม​มาตรา 660 หรือ​คา่ ใ​ช้​จา่ ย​ใน​การ​จา้ ง​คน​เฝ้าร​ กั ษา​ทรัพย์ ซึง่ ​คดิ ​

มส
รวม​อยู​ใ่ น​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก​แล้ว
อย่างไร​ก​ด็ ี ถ้า​ตกลง​กัน​ไว้​ใน​สัญญา​ว่า ผู้รับ​ฝาก​เป็น​คน​ออก​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​บ�ำรุง​รักษา​ทรัพย์สิน​
ที​ฝ่ าก ก็​ต้อง​เป็น​ไป​ตาม​ข้อ​สัญญา​นั้น
3. สิทธิ​เรียก​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก การ​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​ถ้า​คู่​สัญญา​ตกลง​ชัดเจน​ว่า มี​ค่า​ตอบแทน​ใน​การ​
รับ​ฝาก​ทรัพย์​หรือ​ที่​เรียก​ว่า บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​หรือ​การ​ฝาก​ทรัพย์​ที่​โดย​พฤติการณ์​พึง​คาด​หมาย​ได้​ว่า​
มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​กัน​ตาม​มาตรา 658 แล้ว ผู้รับ​ฝาก​ก​็ย่อม​มี​สิทธิ​ได้​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก ส่วน​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​
จะพึงใ​ห้ก​ นั ​เมือ่ ​ใด​นนั้ มาตรา 669 บัญญัตว​ิ า่ “ถ้า​ไม่​ได้​ก�ำหนด​เวลา​ไว้​ใน​สัญญา​หรือ​ไม่มี​ก�ำหนด​โดย​จารีต​
ประเพณี​ว่า​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​จะ​พึง​ช�ำระ​เมื่อไร​ไซร้ ท่าน​ให้​ช�ำระ​เมื่อ​คืน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก ถ้า​ได้​
ก�ำหนด​เวลา​กันไ​ ว้เ​ป็นร​ ะยะ​เวลา​อย่างไร ก็พ​ ึงช​ �ำระ​เมื่อส​ ิ้นร​ ะยะ​เวลา​นั้นท​ ุกค​ ราว​ไป” บทบัญญัต​นิ ​ที้ ำ� นอง​

เดียว​กับ​การ​จ่าย​สิน​จ้าง​ใน​การ​จ้าง​แรงงาน​ ตาม ปพพ. มาตรา 580 ซึ่ง​เห็น​ได้​ว่า​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​นั้น​
ช�ำระ​กัน​ใน​กำ� หนด​เวลา​ต่อ​ไป​นี้ คือ ช�ำระ​เมื่อ​คืน​ทรัพย์ กับ​ช�ำระ​ตาม​ก�ำหนด​ใน​สัญญา
มส

3.1 กรณี​ช�ำระ​เมื่อ​คืน​ทรัพย์ หมาย​ถึง ไม่​ได้​กำ� หนด​เวลา​ไว้​ใน​สัญญา​หรือ​ไม่มี​ก�ำหนด​โดย​


จารีต​ประเพณี เช่น กุ้ง​รับ​ฝาก​แหวน​ของ เข่ง​โดย​ตกลง​มี​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก 500 บาท เมื่อ กุ้ง​คืน​แหวน​แก่
เข่ง กุ้ง​ก็​มี​สิทธิ​ได้​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก 500 บาท​จาก เข่ง เว้น​แต่​ตกลง​กัน​ใน​สัญญา​ว่า​ช�ำระ​กัน​ตั้งแต่​เริ่ม​ฝาก​
หรือม​ ี​จารีต​ประเพณี​ใน​การ​ฝาก​ทรัพย์​ชนิดน​ ั้นๆ ว่า ต้อง​จ่าย​บ�ำเหน็จ​ค่าฝ​ าก​ก่อน​ฝาก​กัน เป็นต้น
3.2 กรณี​ช�ำระ​ตาม​ก�ำหนด​สัญญา หมาย​ถึง ก�ำหนด​ระยะ​เวลา​กัน​ไว้​ว่า​จะ​ชำ� ระ​บ�ำเหน็จ​
ค่า​ฝาก​เป็น​ระยะๆ หรือ​เป็น​คราวๆ ไป ผู้รับ​ฝาก​ก็​มี​สิทธิ​เรียก​ช�ำระ​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​เมื่อ​สิ้น​ระยะ​เวลา​นั้น​

ทุก​คราว​ไป เช่น กุ้ง​รับ​ฝาก​แหวน​จาก เข่ง​โดย​มี​ก�ำหนด​จ่าย​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​เป็น​ราย​วัน ทุก 5 วัน ราย​
สัปดาห์ ราย​เดือน หรือร​ าย​ปี ต้อง จ่าย​กัน​เมื่อส​ ิ้นเ​วลา​ตาม​ระยะ​นั้น​ทุก​คราว​ไป หรือฝ​ าก​กัน​ก�ำหนด 2 ปี
กุ้ง​ก​ม็ ​สี ิทธิ​เรียก​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก​เมื่อ​ครบ 2 ปี ถ้า เข่ง​ไม่​ช�ำระ กุ้ง​ย่อม​ม​สี ิทธิ​เรียก​ดอกเบี้ย​ใน​เงิน​นั้น​นับ​แต่​
วัน​ที่ เข่ง​ผิดนัด​เป็นต้น​ไป​ ตาม ปพพ. มาตรา 221 อีก​ส่วน​หนึ่ง​ด้วย
สธ
21 ฎ. 401/2491
22 ค�ำ​วา่ “บ�ำรุง” พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ค
​ วาม​หมาย​วา่ ท�ำให้ง​ อกงาม ท�ำให้เ​จริญ เช่น บ�ำรุง​
ต้นไม้ บ�ำรุง​บ้าน​เมือง รักษา​ให้​อยู่​ใน​สภาพ​ที่​ดี เช่น บ�ำรุงสุข​ภาพ บ�ำรุง​ร่างกาย เงิน​ค่า​บ�ำรุง ส่วน​คำ​
� ว่า “รักษา” หมาย​ถึง ระวัง
ดูแล ป้องกัน เยียวยา

สัญญาฝากทรัพย์ 4-27

4. สิทธิ​ยึด​หน่วง​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก สิทธิ​ยึด​หน่วง​นี้​มี​บัญญัติ​อยู​่ใน​ส่วน​ที่ 5 หมวด 2 ว่า​ด้วย​ผล​


แห่ง​หนี​ท้ วั่ ไป​ ตาม ปพพ. มาตรา 241 ใน​การ​ฝาก​ทรัพย์​นนั้ ​ผรู้ บั ​ฝาก​เป็น​ผค​ู้ รอบ​ครอง​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก ซึง่ ​อาจ​
มี​คา่ ​ใช้​จา่ ย​ใน​การ​คนื ​ทรัพย์ ค่า​ใช้​จา่ ย​ใน​การ​สงวน​รกั ษา​ทรัพย์​และ​บำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก​ท​ผี่ ​ฝู้ าก​ยงั ​ไม่​ชำ� ระ​ให้ เหตุ​
นีม​้ าตรา 670 จึงบ​ ญ ั ญัตว​ิ า่ “ผู้รับ​ฝาก​ชอบ​ที่จ​ ะ​ยึด​หน่วง​เอา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ไว้​ได้​จนกว่า​จะ​ได้​รับ​เงิน​
บรรดา​ที่​ค้าง​ช�ำระ​แก่​ตน​เกี่ยว​ด้วย​การ​ฝาก​ทรัพย์​นั้น” เช่น กุ้ง​รับ​ฝาก​ถั่ว​แดง 200,000 กระสอบ​จาก เข่ง


ตกลง​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก 2,000 บาท กุ้ง​ออก​ค่า​ใช้​จ่าย​อบ​ถั่ว​ให้​แห้ง​เป็นการ​บ�ำรุง​รักษา​ถั่ว​ที่​ฝาก 500 บาท
และ​เสีย​ค่า​รถ​บรรทุก​ถั่ว​ส่ง​คืน​แก่ เข่ง 500 บาท รวม​เป็น​เงิน​ที่ เข่ง​ค้าง​แก่ กุ้ง 3,000 บาท ดังนี​ถ้ ้า เข่ง​ไม่​

มส
ช�ำระ​เงิน​จ�ำนวน​นี้​เมื่อ​ส่ง​คืน​ถั่ว​ให้ กุ้ง​ย่อม​มี​สิทธิ​ยึด​หน่วง​ถั่ว​แดง​จ�ำนวน 200,000 กระสอบ​ไว้​จนกว่า เข่ง​
จะ​ชำ� ระ​เงิน​บรรดา​ท​คี่ ้าง​ทั้งหมด​ให้ (ปพพ. มาตรา 244)
การ​ยึด​หน่วง​ดัง​กล่าว​ก​เ็ พื่อ​ให้​ได้​ช�ำระ​เงิน​บรรดา​ทคี่​ ้าง​ชำ� ระ​แก่​ผู้รับ​ฝาก​เท่านั้น จะ​เอา​ทรัพย์​ที่​ยึด​
หน่วง​ไป​ใช้สอย​หรือ​ให้​เช่า​หรือ​เอา​ไป​ทำ​
จะ​รักษา​ทรัพย์สิน​ท​ฝี่ าก
� เป็น​หลัก​ประกัน​ไม่​ได้ เว้น​แต่​ผ​ฝู้ าก​ยนิ ยอม​หรือ​เป็นการ​ใช้สอย​เพือ่ ​

แต่​ใน​กรณี​ที่​ผู้​ฝาก​ขอรับ​เอา​ทรัพย์​คืน สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​สิ้น​สุด​ลง หลัง​จาก​นั้น​ย่อม​ไม่ม​ีบ�ำเหน็จ​


ค่า​ฝาก การ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​ใช้​สิทธิ​ยึด​หน่วง ก็​หมายความ​ว่า ยึด​หน่วง​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ที่​ค้าง​ช�ำระ​จะ​เรียก​เอา​
บ�ำเหน็จ​คา่ ​ฝาก​ใน​ระหว่าง​ท​ยี่ ดึ ​หน่วง​ไม่​ได้ เช่น จ�ำเลย​สงั่ ​สนิ ค้า​กระจก​แผ่นเ​ข้า​มา​แล้วเ​ก็บไ​ ว้​ท​โี่ รง​พกั ​สนิ ค้า​
ของ​การ​ทา่ เรือแ​ ห่งป​ ระเทศไทย โจทก์ จ�ำเลย​ยอ่ ม​มค​ี วาม​ผกู พันต​ าม​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ท​ ​จี่ ะ​ตอ้ ง​ชำ� ระ​บำ� เหน็จ​

ค่า​ฝาก​ให้​แก่​โจทก์ แม้​โจทก์​จะ​เก็บ​รกั ษา​ของ​จำ� เลย​ไม่​ดี จน​เป็น​เหตุ​ให้​ทรัพย์​นนั้ ​เสือ่ ม​เสีย​ไป​บา้ ง​ก​ไ็ ม่​ทำ� ให้​
สิทธิ​ของ​โจทก์​ที่​จะ​ได้​รับ​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก​ต้อง​สูญ​สิ้น​ไป การ​ที่​จ�ำเลย​ไม่​ช�ำระ​ค่า​ฝาก โจทก์​ย่อม​จะ​ยึด​หน่วง​
มส

ทรัพย์​ที่​ฝาก​นั้น​ไว้​ได้​จนกว่า​จะ​ได้​รับ​ช�ำระ​ค่า​ฝาก แม้​ศาล​ชั้น​ต้น​จะ​ได้​มี​ค�ำ​พิพากษา​ให้​จ�ำเลย​น�ำ​สินค้า​ของ​
จ�ำเลย​ออก​ไป​จาก​โรง​พัก​สินค้า​ของ​โจทก์ โจทก์​ก็​ยัง​มี​สิทธิ​ยึด​หน่วง​สินค้า​นั้น​ไว้​ได้​จนกว่า​จะ​ได้​รับ​ช�ำระ​ค่า​
ฝาก ส่วน​กรณี​เกี่ยว​กับ​การ​บังคับ​ตาม​ค�ำ​พิพากษา​และ​การ​คิด​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​นั้น​ได้​ความ​ว่า จ�ำเลย​ไป​ขอ​
ขน​ทรัพย์​ออก​จาก​โรง​พัก​สินค้า​เพื่อ​ปฏิบัติ​ตาม​ค�ำ​พิพากษา แต่​โจทก์​ไม่​ยอม​ให้​ขน​ออก​ไป​ต้อง​ถือว่า​จ�ำเลย​
มิได้ฝ​ า่ ฝืนค​ ำ​� บงั คับข​ อง​ศาล การ​ท​ที่ รัพย์อ​ ยูใ​่ น​โรง​พกั ส​ นิ ค้าข​ อง​โจทก์ ก็เ​ป็นเ​รือ่ ง​ท​โี่ จทก์ใ​ช้ส​ ทิ ธิย​ ดึ ห​ น่วง​เอา
ไว้​เอง​ตาม​สิทธิ​ของ​โจทก์ มิใช่​จ�ำเลย​ฝ่าฝืน​ไม่​น�ำ​ออก​ไป การ​คิด​บำ� เหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​จาก​จ�ำเลย​ตาม​ค�ำ​

จะ​ม​คี ำ​� พพิ ากษา​และ​ออก​คำ​ � บงั คับ​ให้​จำ� เลย​นำ​



พิพากษา​จงึ ​ตอ้ ง​ยตุ ​ลิ ง​ใน​วนั ​ท​จี่ ำ� เลย​ไป​ขอ​ขน​ทรัพย์​ออก​แล้ว โจทก์ไ​ ม่​ยอม​ให้​ขน23 ดังนี​จ้ ะ​เห็น​ได้​วา่ ​แม้​ศาล​
� สนิ ค้า​ออก​ไป​จาก​โรง​พกั ส​ นิ ค้า​ของ​โจทก์ แต่​โจทก์​ก​ย็ งั ม​ ​สี ทิ ธิ​
ยึดห​ น่วง​สินค้าน​ ั้น​ไว้​จนกว่าจ​ ะ​ชำ� ระ​หนี​ส้ ิ้น​เชิง ตาม ปพพ. มาตรา 244 สิทธิย​ ึด​หน่วง​จะ​ระงับก​ ็​ต่อ​เมื่อ​การ​
ครอง​ทรัพย์สิน​ของ​โจทก์​สูญ​สิ้น​ไป​ ตาม ปพพ. มาตรา 250 หรือ​ผู้​ฝาก​เรียก​ร้อง​ให้​ระงับ​สิทธิ​ยึด​หน่วง​ด้วย​
หา​ประกัน​ให้​ไว้​ตาม​สมควร​ ตาม ปพพ. มาตรา 249 เท่านั้น
สธ

23 ฎ. 2748-2749/2515.

4-28 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

มีข​ อ้ ​สงั เกต​วา่ สิทธิ​ยดึ ​หน่วง​เอา​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​ฝาก​น​ผี้ รู้ บั ​ฝาก​ชอบ​ท​จี่ ะ​ยดึ ​หน่วง​ไว้​ได้​จนกว่า​จะ​ได้​รบั ​
เงินบ​ รรดา​ท​คี่ ้าง​ชำ� ระ​แก่ต​ น​เกี่ยว​ด้วย​การ​ฝาก​ทรัพย์น​ ั้นเ​ท่านั้น ไม่มส​ี ิทธิท​ ี่​จะ​เอา​ทรัพย์สินท​ ไี่​ ด้ย​ ึดห​ น่วง​ไว้​
นั้ น ​อ อก​ข าย​ทอด​ตลาด​แ ล้ว​หัก​เงิน ​บรรดา​ที่​ค้าง​ช�ำระ​ด้วย​ตนเอง​ดัง​ที่​กฎหมาย​บัญญัติ​ให้​สิท ธิ​แก่​เจ้า​
ส�ำนัก​โรงแรม โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​อื่น​เช่น​ว่า​นั้น ตาม​มาตรา 679


หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก
ผู้รับ​ฝาก​มีหน้า​ที่ 4 ประการ​คือ

มส
1. หน้าที​ใ่ น​การ​สงวน​รักษา​ทรัพย์สิน​ท​ฝี่ าก
2. หน้าที​ใ่ น​การ​งด​เว้น​ใช้สอย​ทรัพย์​หรือ​ให้​คน​อื่นเ​ก็บ​รักษา​ทรัพย์​ทฝี่​ าก
3. หน้าที​ใ่ น​การ​บอก​กล่าว​เมื่อ​ถูกฟ​ ้อง​หรือ​ยึดท​ รัพย์สิน​ที่​ฝาก
4. หน้าที​ใ่ น​การ​คืน​ทรัพย์สิน​ท​ฝี่ าก​พร้อม​ด้วย​ดอก​ผล
1. หน้าที่​ใน​การ​สงวน​รักษา​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก หน้าที่​ข้อ​นี้​เป็น​หน้าที่​สำ� คัญ​ของ​ผู้รับ​ฝาก หาก​ผู้รับ​
ฝาก​ผิด​หน้าที่​ก็​จะ​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​ผ​ู้ฝาก​ใน​ความ​เสีย​หาย​อย่าง​ใดๆ ที่​เกิด​ขึ้น24 และ​โดยที่​ระดับ​ของ​ความ​
ระมัดระวัง​ใน​การ​สงวน​รักษา​ทรัพย์สิน​ของ​บุคคล​ย่อม​แตก​ต่าง​กัน จึง​ขอ​แบ่ง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ออก​เป็น
3 ประเภท ตาม​หน้าทีใ่​น​การ​สงวน​รักษา​ทรัพย์สิน​ทฝี่​ าก​คือ
1.1 สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​โดย​ไม่มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​หรือ​การ​รับ​ฝาก​ทรัพย์​เป็นการ​ท�ำให้​เปล่า

มาตรา 659 วรรค​หนึ่ง บัญญัติ​ว่า “ถ้าการรับฝากเป็นการกระท�ำให้เปล่า ไม่มีบ�ำเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับ​
ฝาก​จ�ำ​ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวังส​ งวน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​เหมือน​เช่น​เคย​ประพฤติ​ใน​กิจการ​ของ​ตนเอง”
มส

หมายความ​วา่ ผูร้ บั ​ฝาก​สงวน​รกั ษา​ทรัพย์สนิ ​ตนเอง​อย่างไร​ก​ต็ อ้ ง​สงวน​รกั ษา​ทรัพย์สนิ ​ท​รี่ บั ​ฝาก​ไว้​อย่าง​นนั้


ไม่ใช่​มีหน้า​ที่​มาก​หรือ​น้อย​ไป​กว่า​ปกติ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​เคย​ปฏิบัติ เหตุ​ที่​กฎหมาย​ก�ำหนด​ให้​ผู้รับ​ฝาก​ใช้​ความ​
ระมัดระวัง​สงวน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​เพียง​เท่า​ที่​ผู้รับ​ฝาก​เคย​ประพฤติ​ใน​กิจการ​ของ​ตนเอง​เช่น​นี้ ก็​เพราะ​
การ​รบั ​ฝาก​ทรัพย์​ทำ� ให้​เปล่า ไม่ม​บี ำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก ผู​ฝ้ าก​จงึ ​ไม่​ควร​จะ​หวัง​ให้​ผรู้ บั ​ฝาก​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ดแู ล​
รักษา​ทรัพย์สินท​ ฝี่​ าก​มาก​ไป​กว่า​ทเี่​ขา​ปฏิบัติแ​ ก่ท​ รัพย์สินข​ อง​เขา​เอง
อุทาหรณ์

กุง้ เป็น​คน​ไม่ม​รี ะเบียบ รถ​จกั รยาน​และ​สงิ่ ของ​อนื่ ๆ ของ กุง้ ​เอง กุง้ ก็​เก็บ​อย่าง​ทงิ้ ๆ ขว้างๆ
ปล่อย​ให้​ตาก​แดด​ตาก​ฝน ดัง​นั้น การ​ที่ กุ้ง​เก็บ​รถ​จักรยาน​ที่​ฝาก​ของ เข่ง​ทิ้งๆ ขว้างๆ ปล่อย​ให้​ตาก​แดด​
ตาก​ฝน ก็​จะ​ถือว่า กุ้ง​ไม่​ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​สงวน​รถ​จักรยาน​ทฝี่​ าก​เป็นการ​ผิด​สัญญา​หา​ได้​ไม่
สธ
24 แต่​ก็​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ใน​กรณี​ที่​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​เพราะ​เหตุสุดวิสัย ดัง​ที่​บัญญัติ​ไว้​ใน​มาตรา 660 ซึ่ง​
จำ�กัด​เฉพาะ​ผิดห​ น้าที่​เอา​ทรัพย์​ไป​ใช้สอย​หรือ​ให้​คน​อื่น​เก็บ​รักษา

สัญญาฝากทรัพย์ 4-29

มก​รา​เป็น​คนละ​เอียด​ลออ รถ​จักรยาน​ของ​มก​รา​ต้อง​เก็บ​อย่าง​ดี​ใต้​หลังคา หรือ​มี​ผ้าใบ​คลุม​


กันแดด​กนั ​ฝน ดังนีก​้ ารทีม​่ ก​รา​เก็บร​ ถ​จกั รยาน​ท​ฝี่ าก​ของ​กมุ ภา​ทงิ้ ๆ ขว้างๆ ปล่อย​ให้ต​ าก​แดด​ตาก​ฝน ย่อม​
เป็นการ​ผดิ ​หน้าที​่ตาม​สญ ั ญา แต่​ถา้ ​มก​รา​เก็บ​รถ​จกั รยาน​ของ​ตนเอง​ใต้ถนุ ​บา้ น​โดย​ไม่​ใส่​กญ ุ แจ​รถ และ​เก็บ​
รักษา​รถ​จักรยาน​ของ​กุมภา​ใต้ถุน​บ้าน​โดย​ไม่​ใส่​กุญแจ​เหมือน​กัน เป็น​เหตุ​ให้​คนร้าย​ลัก​รถ​จักรยาน​ของ​
มก​รา​และ​กุมภา​ไป ดังนี้​มก​รา​ก็​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​กุมภา​เพราะ​มก​รา​ระมัดระวัง​สงวน​รักษา​รถ​จักรยาน​ของ​


กุมภา​เช่น​รถ​ของ​มก​รา​แล้ว
อุทาหรณ์

มส ฎ. 2004/2517 จ�ำเลย​เป็นน​ ิติบุคคล​มวี​ ัตถุประสงค์ใ​น​การ​ค้าน​ �้ำมัน โจทก์เ​ป็นผ​ บู้​ อก​ผจู้​ ัดการ​


ของ​จ�ำเลย​ว่า​ไม่มี​ที่​จอด​รถ ขอ​จอด​รถ​ที่​ปั๊ม​ของ​จ�ำเลย​ใน​เวลา​กลาง​คืน ผู้​จัดการ​ของ​จ�ำเลย​อนุญาต​และ​ให้​
มอบ​กุญแจ​ไว้​กับ​คน​งาน​ของ​จ�ำเลย แล้ว​มี​บุคคล​อื่น​น�ำ​จดหมาย​ปลอม​มา​ขอรับ​รถยนต์​ไป​จาก​คน​งาน​ของ​
จ�ำเลย ดังนี้ เห็น​ได้​ว่า​โจทก์​มอบ​รถ​ให้​อยู่​ใน​ความ​ดูแล​ของ​จ�ำเลย จึง​มอบ​กุญแจ​รถ​ไว้​ให้ แม้​จ�ำเลย​จะ​​
ไม่​ได้​รับ​บ�ำเหน็จ​ตอบแทน ก็​หา​พ้น​ความ​รับ​ผิด​ใน​ฐาน​ผู้รับ​ฝาก​ไม่ คน​งาน​ของ​จ�ำเลย​คืน​รถ​ให้​คน​ที่​ถือ​
หนังสือ​ปลอม​มา​ขอรับ​โดย​มิ​ตรวจ​ด​ูหนังสือ​ทั้ง​ที่​จำ� ลาย​มือ​โจทก์​ได้ เป็นการ​ประมาท​เลินเล่อ​อย่าง​ร้าย​แรง
จ�ำเลย​ต้อง​รับผ​ ิดใ​ช้ร​ าคา​รถยนต์แ​ ก่โ​จทก์
ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​นี้ แสดง​ว่า การ​ฝาก​ทรัพย์​ทไี่​ ม่มบี​ �ำเหน็จ​ค่า​ฝาก ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​ใช้​
ความ​ระมัดระวัง​อย่าง​ที่​เคย​ประพฤติ​แก่​ทรัพย์​ของ​ตนเอง​ตาม​มาตรา 659 วรรค​แรก เมื่อ​มอบ​รถ​ให้​แก่​คน​

อื่นท​ ถี่​ ือห​ นังสือม​ า​รับร​ ถ​โดย​ไม่ด​ ูล​ ายมือช​ ื่อว​ ่าเ​ป็น​ของ​ผู้​ฝาก​หรือไ​ ม่ ทั้งๆ ที่​ตนเอง​จ�ำลาย​มือ​ผู้​ฝาก​ได้ เช่น​
นี้ ถือว่า​ผรู้ บั ​ฝาก​หรือ​คน​ของ​ผรู้ บั ​ฝาก​ขาด​ความ​ระมัดระวัง​ใน​การ​สงวน​รกั ษา​รถ​ทฝ​ี่ าก​อย่าง​ท​เี่ คย​ประพฤติ​
มส

แก่ร​ ถ​ของ​ตนเอง​แล้ว จึงต​ ้อง​รับผ​ ิดต​ ่อผ​ ฝู้​ าก


1.2 สั ญ ญา​ฝ าก​ท รั พ ย์ ​ที่ ​มี ​บ�ำ เหน็ จ ​ค่ า ​ฝ าก มาตรา 659 วรรค​สอง บัญญัติ​ ว่า “ถ้าการ
รับฝากทรัพย์นั้นมีบ�ำเหน็จค่าฝากผู้รับฝ​ าก​จ�ำ​ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​และ​ใช้​ฝีมือ​เพื่อ​สงวน​ทรัพย์สิน​นั้น
เหมือน​เช่นว​ ิญญูชน​จะ​พึงป​ ฏิบัตโิ​ ดย​พฤติการณ์ด​ ั่งน​ ั้น ทั้งนีย้​ ่อม​รวม​ทั้งก​ าร​ใช้ฝ​ ีมืออ​ ันพ​ ิเศษ​เฉพาะ​การ​ใน
ที่​จะ​พึง​ใช้​ฝีมือ​เช่น​นั้น​ด้วย” หมายความ​ว่า ใช้​มาตรฐาน​ความ​ระมัดระวัง​และ​ใช้​ฝีมือ​อัน​พิเศษ​เฉพาะ​การ​
ใน​ที่​จะ​พึง​ใช้​ฝีมือ​เช่น​นั้น​ด้วย” หมายความ​ว่า ใช้​มาตรฐาน​ความ​ระมัดระวัง​และ​ใช้​ฝีมือ​ระดับ​วิญญูชน25

(a person of ordinary prudence) กล่าว​คือ บุคคล​ผ​ู้รู้​ผิด​รู้​ชอบ​ตาม​ปกติ26 นัย​หนึ่ง​คือ ผู้​ที่​มี​ความ​
ระมัดระวัง​รักษา​ทรัพย์สิน​ระดับ​กลางๆ ไม่ใช่​คนละ​เอียด​ลออ​จน​เกิน​ไป​หรือ​ไม่ใช่​คน​หยาบ​จน​เกิน​ไป​เป็น​
เกณฑ์​พจิ ารณา​วา่ วิญญูชน​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​และ​ใช้​ฝมี อื ​เพือ่ ​สงวน​ทรัพย์สนิ ​ของ​ตน​ขนาด​ใด​ใน​พฤติการณ์​
สธ
25 หลัก​ความ​รับ​ผิด​ตาม​สัญญา ถือ​ความ​ระมัดระวัง​ระดับ​วิญญูชน (ปพพ. มาตรา 323 วรรค​สอง, 533, 644, 759, 802,
807 ฯลฯ เว้นแ​ ต่​มาตรา 659 วรรค​หนึ่ง​และ​วรรค​สาม) แต่ค​ วาม​รับ​ผิด​ทาง​ละเมิดถ​ ือ​ความ​ระมัดระวังใ​น​ระดับท​ บี่​ ุคคล​ใน​ภาวะ​เช่น​นั้น​
จัก​ต้อง​มี​ตาม​วิสัย​และ​พฤติการณ์
26 เป็น​ความ​หมาย​ตาม​พจนานุกรม​ฉบับร​ าชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

4-30 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

นั้นๆ ผู้รับ​ฝาก​ก็​ต้อง​ใช้​ขนาด​นั้น จะ​น้อย​กว่า​ระดับ​วิญญูชน ซึ่ง​เป็น​ระดับ​ที่​กฎหมาย​ต้องการ​ไม่​ได้ แต่​ใช้​


ความ​ระมัดระวัง​และ​ใช้​ฝีมือ​มากกว่า​ระดับ​วิญญูชน​ย่อม​กระท�ำ​ได้ เช่น รับ​ฝาก​เรือ​เพื่อ​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ก​็
ต้องหา​โซ่​มา​รอ้ ย​และ​ใส่​กญ ุ แจ​ไว้​ไม่​ให้​เรือ​ขาดลอย​ไป ไม่ใช่​เพียง​ใช้​เชือก​ผกู เ​รือ​ไว้​เท่านัน้ หรือ​รบั ฝ​ าก​รถยนต์​
ก็ต​ อ้ ง​มส​ี ถาน​ทเ​ี่ ก็บ​ไม่​ปล่อย​ให้​ตาก​แดด​ตาก​ฝน หรือร​ บั ​ฝาก​สนิ ค้า​กระจก แต่​เก็บไ​ ว้​กลาง​แจ้งไ​ ม่ม​อี ะไร​ปดิ บัง​
เมื่อ​ฝน​ตกลง​มา​ท�ำให้​กระจก​เป็น​ฝ้า​มี​สนิม กระจก​ที่​บรรจุ​เรียง​กัน​อยู่​ติด​กัน​แกะ​จาก​กัน​ไม่​ออก เป็นต้น


นอกจาก​นี้​ผู้รับ​ฝาก​ก็​ต้อง​ใช้​ฝีมือความ​รู้​ความ​สามารถ​พิเศษ​ของ​ตน​เฉพาะ​การ​รับ​ฝาก​ทรัพย์​ซึ่ง​ตาม​สภาพ​
แล้ว​ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​เอาใจ​ใส่​เป็น​พิเศษ​อีก​ด้วย เช่น รับ​ฝาก​เสื้อ​ขน​สัตว์​หรือ​เสื้อผ้า​ไหม ก็​ต้อง​

มส
ระมัดระวัง​เป็น​พิเศษ​ไม่​ให้​เสื้อ​เสีย​หาย​มี​แมลง​มา​กัด​กิน หรือ​รับ​ฝาก​กล้วยไม้​หรือ​นกเขา​ก็​ต้อง​สงวน​รักษา​
โดย​ใช้​ความ​รู้​เรื่อง​กล้วยไม้ หรือ​การ​เลี้ยง​นกเขา​เข้า​ช่วย​ด้วย หรือ​รับ​ฝาก​ปลา​เงิน​ปลาทอง​ก็​ต้อง​ใช้​ความ​รู้​
การ​เลี้ยง​ปลา เช่น ต้อง​คอย​เปลี่ยน​น�้ำ​ให้​หรือ​รับ​ฝาก​รถยนต์​โดย​มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก ก็​ต้อง​ท�ำความ​สะอาด
ทดลอง​เดิน​เครื่อง​ทุก​วัน เป็นต้น รวม​ทั้ง​ต้อง​ใช้​ฝีมือ​อัน​พิเศษ เช่น การ​ท�ำความ​สะอาด​รถ​ที่​รับ​ฝาก ต้อง​
ขัด​ให้​สะอาด​เป็นเ​งา​งาม​น่า​ดู หรือ​ดูแล​เครื่องยนต์​ให้​ใช้​งาน​ได้​ตาม​ปกติ
อุทาหรณ์
ฎ. 932/2517 จ�ำเลย​ที่ 4 เป็น​นิติบุคคล​มี​วัตถุประสงค์​จำ� หน่าย​นำ�้ มัน​เชื้อ​เพลิงบ​ ริการ​อัดฉีด​
และ​ล้าง​รถ ให้​จอด​รถ​โดย​คิด​ค่า​บริการ​คืน​ละ 5 บาท​ต่อ​รถยนต์​หนึ่ง​คัน โจทก์​นำ​ � รถยนต์​ไป​ฝาก​ที่​ปั๊ม​ของ​
จ�ำเลย​ที่ 4 ซึ่ง​มี​จำ� เลย​ที่ 3 เป็น​ผู้​จัดการ และ​มอบ​กุญแจ​รถ​ให้​จำ� เลย​ที่ 1 ซึ่ง​เป็น​ลูกจ้าง​ของ​จ�ำเลย​ที่ 3

จ�ำเลย​ที่ 1 ที่ 2 มีหน้า​ที่​ดูแล​รถยนต์​ที่​น�ำ​มา​ฝาก จ�ำเลย​ที่ 2 รับ​กุญแจ​รถยนต์​จาก​จำ� เลย​ที่ 1 ไป​ไข​กุญแจ​
ติด​เครือ่ งยนต์​ของ​โจทก์​ถอย​ออก​ไป​จาก​โรง​เก็บ เอา​ไป​จอด​หน้า​โรง​เก็บ​เพือ่ ​ให้​รถยนต์​ของ​ผ​อู้ นื่ ​ออก​ไป เมือ่ ​
มส

จ�ำเลย​ที่ 2 ถอย​รถยนต์​ของ​โจทก์​ไป​จอด​แล้ว​ไม่​เอา​กุญแจรถ​ออก ไม่​ปิด​ประตู​รถ​และ​ไม่​เฝ้า​รถ เป็น​เหตุ​ให้​


รถ​โจทก์​ถูก​ลัก​ไป ดังนี​้เห็น​ว่า​โจทก์​น�ำ​รถยนต์​ไป​ฝาก​ที่​ปั๊ม​นำ�้ มัน​ของ​จ�ำเลย​ที่ 4 ได้​มอบ​กุญแจ​รถ​ให้​ไว้
คน​ของ​จ�ำเลย​ที่ 4 ได้​น�ำ​รถยนต์​ของ​โจทก์​ไป​เก็บ​ไว้​ใน​ที่​เคย​เก็บ​รถยนต์ ปฏิบัติ​เช่น​นี้​มา​เป็น​เวลา​นาน
การก​ระ​ท�ำ​ดัง​กล่าว​ฟังได้​ว่า​จ�ำเลย​ได้​ตกลง​รับ​ฝาก​รถยนต์​ของ​โจทก์​ไว้​ใน​อารักขา​ของ​ตน​แล้ว ตลอด​เวลา​
ที​ร่ ถยนต์​ของ​โจทก์​อยู​ท่ ปี่​ ั๊ม​ของ​จ�ำเลย อ�ำนาจ​การ​ครอบ​ครอง​รถยนต์​ของ​โจทก์​ตก​อยู​ก่ ับ​จ�ำเลย​ที่​จะ​จัดการ​
เกี่ยว​กับ​รถยนต์​นั้น​ได้​ทุก​เมื่อ​จนกว่า​โจทก์​จะ​มา​รับ​รถยนต์​คืน​ไป เป็น​สัญญา​ฝาก​รถยนต์​ที่​จ�ำเลย​ที่ 4 ได้​
รับผ​ ล​ประโยชน์เ​ป็นเ​งินต​ อบแทน จึงเ​ป็นส​ ญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์โ​ดย​ม​บี ำ� เหน็จ หา​ใช่ส​ ญ มั ญา​เช่าท​ ​จี่ อด​รถ​ไม่ จ�ำเลย​
ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ไม่​ได้​ท�ำ​ละเมิด​ต่อ​โจทก์ พิพากษา​ให้​จ�ำเลย​ที่ 4 ผู้​เดียว​รับ​ผิด​คืน​รถยนต์​ให้​โจทก์ หาก​คืน​
ไม่ไ​ ด้​ให้​ใช้​ราคา
ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​นี้ แสดง​ว่า การ​ฝาก​ทรัพย์​ที่​มี​บ�ำเหน็จ​ค่าฝาก ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​ใช้​
ความ​ระมัดระวัง​อย่าง​วิญญูชน ตาม​มาตรา 659 วรรค​สอง เมื่อ​ถอย​รถ​ที่​รับ​ฝาก​ออก​ไป​จาก​โรง​เก็บ​คง​
ปล่อย​กญ ุ แจ​รถ​คา​ไว้ ทัง้ ​ไม่ป​ ดิ ป​ ระตู​รถ​และ​ไม่​จดั ​ให้​คน​เฝ้า​รถ เป็น​เหตุ​ให้​รถ​ท​รี่ บั ​ฝาก​ถกู ​ลกั ​ไป เช่น​น​ถี้ อื ว่า​
ผู้รับ​ฝาก​ขาด​ความ​ระมัดระวัง​ใน​การ​สงวน​รักษา​รถ​ที่​ฝาก​อย่าง​วิญญูชน​แล้ว จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​ผู้​ฝาก
สธ
1.3 สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ท​ ี่ม​ ี​บ�ำเหน็จ​ค่าฝ​ าก​และ​ผู้รับ​ฝาก​เป็นผ​ ู้ป​ ระกอบ​อาชีพ​เพื่อก​ าร​นั้นโ​ ดย​
เฉพาะ มาตรา 659 วรรค​สาม​บญ ั ญัต​วิ า่ “ถ้า​และ​ผู้รับ​ฝาก​เป็น​ผู้​มีว​ ิชาชีพ​เฉพาะ​กิจการ​ค้าขาย​หรือ​อาชีวะ​
อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด ก็​จ�ำ​ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​และ​ใช้​ฝีมือ​เท่า​ที่​เป็น​ธรรมดา​จะต้อง​ใช้​และ​สมควร​จะ​ต้อง​

สัญญาฝากทรัพย์ 4-31

ใช้​ใน​อย่าง​กิจการ​ค้าขาย​หรือ​อาชีวะ​อย่างนั้น” ข้อ​นี้​หมายความ​ว่า ผู้​ประกอบ​อาชีพ​รับ​ฝาก​ทรัพย์​ต้อง​ใช้​


ความ​ระมัดระวังแ​ ละ​ใช้ฝ​ มี อื เ​ท่าท​ เ​ี่ ป็นธ​ รรมดา​เหมือน​เช่นว​ ญ ิ ญูชน​พงึ ​ตอ้ ง​ใช้แ​ ล้ว ยังต​ อ้ ง​ใช้ค​ วาม​ระมัดระวัง​
และ​ฝีมือ​เช่น​คน​ที่​ประกอบ​อาชีพ หรือ​ท�ำการ​ค้าขาย​ใน​เรื่อง​นั้นๆ จะ​ต้อง​ใช้​อีก​ด้วย จึง​เห็น​ว่า​กฎหมาย​
ก�ำหนด​ขนาด​แห่งค​ วาม​ระมัดระวังไ​ ว้ส​ งู ​กว่าเ​กณฑ์ท​ ​กี่ ล่าว​มา​แล้ว เช่น ธนาคาร​รบั ​ฝาก​เอกสาร อัญมณีห​ รือ​
ของ​มี​ค่า​อื่นๆ ก็​ต้อง​มี​ตู้​นิรภัย​ที่​มั่นคง​ป้องกัน​โจร​ภัย​และ​อัคคี​ภัย​ได้ เดิม​มี​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า​


เป็น​สัญญา​เช่าท​ รัพย์
อุทาหรณ์

มส ฎ. 6704/2537 การ​ที่​โจทก์ท​ ี่ 1 กับ น. เช่าต​ น​ู้ ิรภัยจ​ าก​จ�ำเลย​ที่ 1 เพื่อใ​ช้เ​ป็นท​ เี่​ก็บท​ รัพย์น​ ั้น
ทุก​ครั้ง​ท​ี่โจทก์​ที่ 1 กับ น.ภรรยา​โจทก์​ที่ 1 น�ำ​ทรัพย์​ไป​เก็บ โจทก์​ที่ 1 กับ น. มิได้​ส่ง​มอบ​ทรัพย์​ที่​เก็บ​ให้​
จ�ำเลย​ที่ 1 และ​จ�ำเลย​ที่ 1 ก็​มิได้​มี​ส่วน​รู้​เห็น​ว่า โจทก์​ที่ 1 กับ น. น�ำ​ทรัพย์​อะไร​ไป​เก็บ​ไว้​บ้าง เมื่อ​โจทก์​ที่
1 กับ น.ต้องการ​นำ​ � ทรัพย์​ที่​เก็บ​ไว้​ทั้งหมด​หรือ​แต่​บาง​ส่วน​กลับ​คืน​ไป​ก็​ไป​นำ​ � กลับ​มา​เอง​โดย​โจทก์​ที่ 1 กับ
น.เพียง​แต่​ยื่น​ค�ำร้อง​ขอ​ให้​จำ� เลย​ที่ 1 น�ำ​กุญแจ​ต้นแบบ​ของ​ธนาคาร​มา​ร่วม​ไข​เปิด​ตู้​นิรภัย​ด้วย​เท่านั้น โดย​
จ�ำเลย​ที่ 1 มิได้​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​คืน​เป็น​สัญญา​เช่า​ต​นู้ ิรภัย​จึง​ไม่ใช่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
แต่​ปจั จุบนั ​การ​เก็บ​ของ​ใน​ต​นู้ ริ ภัย​ของ​ธนาคาร​ศาล​ฎกี า​ได้​พพิ ากษา​วา่ ​ธนาคาร​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ฐาน​
ละเมิด ตาม ปพพ. มาตรา 420 เพราะ​ทรัพย์สิน​ดัง​กล่าว​อยู​ใ่ น​ตนู้​ ิรภัย​ซึ่ง​อยู​ใ่ น​ครอบ​ครอง​ของ​ธนาคาร​อยู่​
ตลอด​เวลา เมื่อ​ทรัพย์สิน​หาย​ไป​ธนาคาร​ต้อง​รับ​ผิด แม้​จะ​ใช้​ชื่อ​ว่า​สัญญา​เช่า​ตู้​นิรภัย​ก็ตาม

อุทาหรณ์
ฎ. 2205/2542 จ�ำเลย​ที่ 1 ฎีกา​ว่า​ทรัพย์สิน​โจทก์​ทั้ง​สาม​มิได้​สูญหาย​จริง แม้​จ�ำเลย​ที่ 1 จะ​
มส

ยก​ขึ้น​ว่า​กัน​มา​แล้ว​ใน​ชั้น​อุทธรณ์ แต่​ปรากฏ​ว่า​จ�ำนวน​ทุน​ทรัพย์​ที่​พิพาท​กัน​ใน​ชั้น​อุทธรณ์​ไม่​เกิน 50,000


บาท ซึ่ง​ต้อง​ห้าม​อุทธรณ์​ใน​ปัญหา​ข้อ​เท็จ​จริง ตาม ปวพ.มาตรา 224 วรรค​หนึ่ง ศาล​ฎีกา​ไม่​รับ​วินิจฉัย
ตาม​สัญญา​เช่าตู้​นิรภัย​เป็นการ​เช่า​เพื่อ​เก็บ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ตู้​นิรภัย​อยู่​ใน​ความ​ควบคุม​ดูแล​ของ​จำ� เลย​ที่ 1​
ดัง​นั้น​แม้​จ�ำเลย​ที่ 1 จะ​ไม่รู้​เห็น​การน�ำ​ทรัพย์สินเ​ข้า​เก็บ​หรือ​น�ำ​ออก​จาก​ตู้​นิรภัย จ�ำเลย​ก็​ไม่​หลุด​พ้น​จาก​
ความ​รับ​ผิด​หาก​ทรัพย์สิน​ที่​เก็บ​ใน​ตู้​นิรภัย​นั้น​สูญหาย​จริง และ​ขอ้ ​เท็จ​จริง​ยงั ​ปรากฏ​วา่ ​มี​ลาย​นิ้ว​มอื ​แฝง​ที่​
ตู้​นิรภัย​ซึ่ง​มิใช่​ของ​โจทก์​ที่ 1 และ​ที่ 2 และ​มิใช่​ของ​เจ้า​หน้าที่​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ด้วย เป็น​ข้อ​ที่​ช​ี้ให้​เห็น​ว่า​มี​
คนร้าย​เข้าไป​เปิด​ต​นู้ ริ ภัย​และ​นำ​ ม
� เอา​ทรัพย์สนิ ​ท​เี่ ก็บ​ไป​จริง จ�ำเลย​ที่ 1 อ้าง​วา่ ​อาจ​เป็น​ลาย​นวิ้ ​มอื ​แฝง​ของ​คน​
ของ​โจทก์​ที่ 1 และ​ที่ 2 นั้น​ก็​เป็นการ​คาด​คะเน​โดย​ปราศจาก​ข้อ​เท็จ​จริง​สนับสนุน การ​ที่​คนร้าย​ลัก​เอา​
ทรัพย์สิน​ใน​ตู้​นิรภัย​ไป​ถือ​เป็น​ความ​บกพร่อง​ใน​หน้าที่​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ใน​การ​ดูแล​ป้องกัน​ภัย​แก่​ทรัพย์สิน
ความ​ระมัดระวัง​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 จึง​ไม่​พอ เป็นการ​ละเมิด​ต่อ​โจทก์​ที่ 1 และ​ที่ 2 จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ชดใช้​ให้​แก่​
โจทก์​ที่ 1 และ​ที่ 2 ทรัพย์​บาง​รายการ​ที่​โจทก์​ที่ 1 และ​ที่ 2 รับ​ฝาก​ไว้​จาก อ. โจทก์​ที่ 1 และ​ที่ 2 จึง​มี​
นิติ​สัมพันธ์​ที่​จะ​ต้องรับ​ผิด​ชอบ​ต่อ อ. ย่อม​ถือ​เป็น​ความ​เสีย​หาย​ที่​เกิด​แก่​โจทก์​ที่ 1 และ​ที่ 2 ซึ่ง​จ�ำเลย​ที่ 1
มีหน้า​ท​รี่ ับ​ผิด​ชอบ​เช่น​กัน
สธ
ผู้​เขียน​เห็น​ว่าการ​ที่​ทรัพย์สิน​ของ​ลูกค้า​ที่​เก็บ​อยู​่ใน​ตู้​นิรภัย​ของ​ธนาคาร​นั้น เท่ากับ​อยู​่ใน​
อารักขา​ของ​ธนาคาร​เป็นการ​ฝาก​ทรัพย์​แล้ว และ​ธนาคาร​ได้​รับ​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​จาก​ผู้​ฝาก นอกจาก​นั้น
ธนาคาร​เป็นผ​ ​มู้ ​วี ชิ าชีพ​เฉพาะ​กจิ การ​คา้ ขาย หรือ​อาชีวะ​อย่าง​หนึง่ ​อย่าง​ใด ก็​จำ​ � ตอ้ ง​ใช้​ความ​ระมัดระวังแ​ ละ​

4-32 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ใช้​ฝีมือ​เท่า​ที่​เป็น​ธรรมดา​จะ​ต้อง​ใช้​และ​สมควร​จะ​ต้อง​ใช้​ใน​กิจการ​ค้าขาย​หรือ​อาชีวะ​อย่าง​นั้น ตาม​มาตรา
659 วรรค​สาม คือ​ต้อง​จัดใ​ห้​ม​กี าร​ป้องกัน​ท​มี่ ั่นคง แข็งแ​ รง ยาก​แก่​การ​เข้าไป​เอา​ตัว​ทรัพย์​ได้​โดย​ง่าย
นอกจาก​นั้น​ใน​อาชีพ​อื่นๆ ใน​การ​รับ​ฝาก​ทรัพย์ เช่น ผู้​มี​อาชีพ​รับ​ฝาก​รถยนต์ ก็​ต้อง​มี​การ​
ดูแล​รักษา​ไว้​ใน​โรง​เก็บ​ท​มี่ ั่นคงปลอดภัย​มี​ท​ดี่ ับเ​พลิง​และ​ยาม​เฝ้า​ด้วย เป็นต้น
อุทาหรณ์


ฎ. 10082/2551 การ​ที่​จะ​พิจารณา​ว่า​จ�ำเลย​ใน​ฐานะ​ผู้รับ​ฝาก​รถยนต์​คัน​พิพาท​ไว้​โดย​ม​ี
บ�ำเหน็จค​ ่าฝ​ าก​ได้ใ​ช้ค​ วาม​ระมัดระวังแ​ ละ​ใช้ฝ​ ีมือเ​พื่อส​ งวน​ทรัพย์สินน​ ั้น​เหมือน​เช่นว​ ิญญูชน​จะ​พึง​ประพฤติ​

มส
โดย​พฤติการณ์​ดัง​นั้น​หรือ​ไม่​นั้น จะ​ต้อง​พิจารณา​เปรียบ​เทียบ​กับ​คน​ทั่วๆ ไป​ใน​ภาวะ​เช่น​นั้น​ว่า​ควร​จะ​พึง​
ใช้​ความ​ระมัดระวัง​เช่น​ไร ข้อ​เท็จ​จริงรับ​ฟังได้​ว่า​จ�ำเลย​จอด​รถยนต์​คัน​พิพาท​ไว้​บริเวณ​ด้าน​หน้า​อ​ู่ซ่อม​รถ​
ของ​จำ� เลย โดย​ได้​ลอ็ ก​ประตู​และ​ลอ็ ก​พวง​มาลัย​รถยนต์​คนั ​พพิ าท ส่วน​ตวั ​จำ� เลย​ก​น็ อน​อยู​่ภายใน​อ​ดู่ งั ​กล่าว
เมือ่ ​ได้ยนิ ​เสียง​เครือ่ งยนต์​รถ​ดงั ​ขนึ้ ​กไ็ ด้​ลกุ ​ขนึ้ ​ดู ปรากฏ​วา่ ​รถยนต์​คนั ​พพิ าท​หาย​ไป​กไ็ ด้​แจ้ง​ให้​เจ้า​พนักงาน​
ต�ำรวจ​สาย​ตรวจ​ท​ผี่ า่ น​มาท​ราบ​และ​ออก​ตดิ ตาม​คนร้าย​กบั เ​จ้าพ​ นักงาน​ตำ� รวจ​ดว้ ย ตาม​พฤติการณ์ด​ งั ก​ ล่าว​
ถือว่า​จ�ำเลย​ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​และ​ใช้​ฝีมือ​เพื่อ​สงวน​ทรัพย์สิน​นั้น​เหมือน​เช่น​วิญญูชน​จะ​พึง​ประพฤติ​
โดย​พฤติการณ์​ดัง​นั้น​แล้ว
อู​ซ่ อ่ ม​รถ​ของ​จำ� เลย​เป็น​หอ้ ง​แถว​และ​เป็น​อ​ขู่ นาด​เล็ก บริเวณ​ดา้ น​หน้า​ของ​อ​ตู่ งั้ ​ประชิด​ตดิ ​กบั
​ขอบ​ถนน ย่อม​เป็น​ไป​ได้​ยาก​ที่​จะ​มี​การ​กั้น​รั้ว​หรือ​จัดหา​ยาม​มา​คอย​ระ​แวด​ระวัง​ใน​เวลา​กลาง​คืน ดัง​นั้น

การ​ที่​จำ� เลย​จอด​รถยนต์​คัน​พิพาท​ไว้​บริเวณ​ด้าน​หน้า​ของ​อู่​จะ​ถือว่า​จำ� เลย​ไม่​ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​และ​ใช้​
ฝีมือ​เพื่อ​สงวน​ทรัพย์สิน​นั้น​เหมือน​เช่น​วิญญูชน​จะ​พึง​ประพฤติ​โดย​พฤติการณ์​ดัง​นั้น​หา​ได้ไ​ ม่
มส

ใน​กรณี​ที่​เปิด​บริการ​รับ​ฝาก​รถ หาก​ผู้​ให้​บริการ​ไม่​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​เท่า​ที่​จะ​ต้อง​ใช้​ใน​การ​
ประกอบ​การ​ค้า ผู้​นั้น​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์
อุทาหรณ์
ฎ. 749/2518 โจทก์​นำ​ � รถยนต์​บรรทุก​เล็ก​ไป​จอด​ที่​ปั๊ม​ของ​จ�ำเลย​ที่​มี​บริการ​คิด​ค่า​จอด​
เดือน​ละ 80 บาท ผู้น�ำ​รถ​มา​จอด​ใส่​กญ ุ แจ​รถ​ถอื ​กลับ​ไป แต่​ปล่อย​ห้าม​ล้อ​ให้​เข็น​ย้าย​ที่​ได้ รถ​ของ​โจทก์ห​ าย​
ไป โจทก์​จงึ ฟ​ อ้ ง​เรียก​ราคา​รถ​กบั ​คา่ ​เสีย​หาย​ใน​การ​จา้ ง​รถ​อนื่ ม​ า​ใช้​แทน ดังนี​พ้ ฤติการณ์​เป็น​ทร​ี่ ก​ู้ นั ท​ วั่ ไป​วา่

วรรค​สาม กรณี​ลูกจ้าง​ของ​จำ� เลย​ไป​ทำ​



การ​บริการ​ของ​จ�ำเลย​เป็นการ​รับ​ฝาก​รถ ฟังได้​ว่า​จ�ำเลย​ได้​เปิด​บริการ​รับ​ฝาก​รถยนต์​หา​ใช่​ให้​เช่า​สถาน​ที่​
จอด​รถยนต์​ไม่ จ�ำเลย​จึง​ต้อง​ม​ีความ​ระมัดระวัง​เท่า​ที่​จะ​ต้อง​ใช้​ใน​การ​ประกอบ​การ​ค้า​นั้น​ตาม​มาตรา 659
� ธุระ​ท​ี่หลัง​ปั๊ม​ก็​ควร​จะ​จัด​ผู้​อื่น​ดูแล​แทน เมื่อ​รถยนต์​หาย​ไป​ระหว่าง​
นั้น เป็นการ​ไม่​ระมัดระวัง​ดูแล​รถยนต์​เท่า​ที่​เป็น​ธรรมดา​จะ​ต้อง​ใช้ จ�ำเลย​จึง​ต้อง​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​คือ​ราคา​
รถ​เป็น​เงิน 30,000 บาท และ​คา่ ที​โ่ จทก์​ตอ้ ง​จา้ ง​รถยนต์​อนื่ ​บรรทุก​ผกั ​แทน เป็น​ความ​เสีย​หาย​ทโ​ี่ จทก์​ได้​รบั ​
อัน​เนื่องจาก​โจทก์​ไม่​ได้​ใช้​รถยนต์​ตาม​ปกติ​ที่​เคย​ใช้ จ�ำนวน 5,000 บาท อัน​เป็น​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เพื่อ​
ความ​เสีย​หาย​เช่น​ท​ตี่ าม​ปกติ​ย่อม​เกิด​ขึ้น​แต่​การ​ไม่​ชำ� ระ​หนี​อ้ ีก​ด้วย
สธ
ตาม​คำ​ � พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​นี้ แสดง​วา่ บริการ​รบั ​ฝาก​รถยนต์​เป็นอ​ าชีพ ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​
อย่าง​ผู้​มี​อาชีพ​รับ​ฝาก​รถยนต์ ตาม​มาตรา 659 วรรค​สาม เมื่อ​ไม่​จัดการ​ดูแล​รถยนต์​ตลอด​เวลา เป็น​เหตุ​
ให้​รถ​ท​รี่ ับ​ฝาก​หาย​ไป​ใน​ระหว่าง​ท​ขี่ าด​ผู้​ดูแล เช่น​น​ถี้ ือว่า ผู้รับ​ฝาก​ขาด​ความ​ระมัดระวังใ​น​การ​สงวน​รักษา​

สัญญาฝากทรัพย์ 4-33

รถ​ที่​ฝาก​อย่าง​ผู้​มี​อาชีพ​แล้ว​จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​ผู้​ฝาก ซึ่ง​ใน​คดี​นี้​คือ​ราคา​รถ​กับ​ค่าที่​ไม่​ได้​ใช้​ทรัพย์​ตาม​ปกติ​ที่​
เคย​ใช้ (ปพพ. ตาม​มาตรา 222) เป็นต้น
ฎ. 22/2536 โจทก์เ​ดินท​ าง​เข้าม​ า​ทอ่ ง​เทีย่ ว​ใน​ประเทศ​ได้น​ ำ​ � ทรัพย์สนิ ท​ ​ตี่ ดิ ตัวม​ า​ไป​ฝาก​ไว้แ​ ก่​
เจ้าห​ น้าทีร​่ บั ​ฝาก​ทรัพย์ท​ ​ดี่ า่ น​ศลุ กากร​ทา่ ​อากาศยาน​กรุงเทพ ของ​กรม​ศลุ กากร​จำ� เลย​รกั ษา​ไว้ร​ ะหว่าง​ทอ่ ง​
เทีย่ ว​โดย​ม​บี ำ� เหน็จ จ�ำเลย​ผรู้ บั ​ฝาก​จำ​ � ตอ้ ง​ใช้​ความ​ระมัดระวังแ​ ละ​ใช้​ฝมี อื ​เพือ่ ​สงวน​ทรัพย์สนิ ​นนั้ ​เหมือน​เช่น​


วิญญูชน​จะ​พงึ ​ประพฤติ​โดย​พฤติการณ์​ดงั่ ​นนั้ การ​ท​เี่ จ้า​หน้าที​ข่ อง​จำ� เลย​กระท�ำ​ความ​ผดิ ​โดย​ใช้​รถยนต์​ของ​
จ�ำเลย​ขน​ทรัพย์สิน​ของ​โจทก์​ออก​ไป​โดย​หลบ​หนี​ภาษี​ศุลกากร​จน​ทรัพย์สิน​ของ​โจทก์​ถูก​ยึด​เป็น​ของ​กลาง​

มส
ระหว่าง​ดำ� เนินค​ ดี​อาญา​แสดง​วา่ จ�ำเลย​ขาด​ความ​ระมัดระวังไ​ ม่​ใช้ฝ​ มี อื ​สงวน​รกั ษา​ทรัพย์สนิ ท​ ​รี่ บั ฝ​ าก​ไว้เ​ช่น​
วิญญูชน กรณี​มิใช่​เหตุสุดวิสัย จ�ำเลย​จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ใน​ทรัพย์สิน​ที่​รับฝ​ าก​จาก​โจทก์
ฎ. 6280/2538 จ�ำเลย​ประกอบ​ธุรกิจ​ธนาคาร การ​จ่าย​เงิน​ตาม​เช็ค​ที่​มี​ผู้​มา​ขอ​เบิก​เงิน​เป็น​
ธุรกิจ​อย่าง​หนึ่ง​ของ​จ�ำเลย​ซึ่ง​ต้อง​ปฏิบัติ​อยู่​เป็น​ประจ�ำ จ�ำเลย​ย่อม​มี​ความ​ชำ� นาญ​ใน​การ​ตรวจ​สอบ​ลาย
มือ​ชอื่ ​ใน​เช็ค​วา่ ​เป็น​ลายมือ​ชอื่ ​ของ​ผ​สู้ งั่ ​จา่ ย​หรือ​ไม่​ยงิ่ ​กว่า​บคุ คล​ธรรมดา ทัง้ ​จำ� เลย​จะ​ตอ้ ง​ม​คี วาม​ระมัดระวัง​
ใน​การ​จ่าย​เงิน​ตาม​เช็ค​ยิ่ง​กว่า​วิญญูชน​ทั่วๆ ไป การ​ที่​จ�ำเลย​จ่าย​เงิน​ตาม​เช็ค​พิพาท​ให้​แก่​ผู้น�ำ​มา​เรียก​
เก็บ​เงิน​ไป​โดยที่​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​สั่ง​จ่าย​ไม่ใช่​ลายมือ​ชื่อ​โจทก์ ทั้ง​ที่​มี​ตัวอย่าง​ลายมือ​ชื่อ​โจทก์​ที่​ให้​ไว้​กับ​จำ� เลย​
กับม​ ​เี ช็คอ​ กี ห​ ลาย​ฉบับท​ ​โี่ จทก์เ​คย​สงั่ จ​ า่ ย​ไว้อ​ ยูท​่ ​จี่ ำ� เลย จึงเ​ป็นการ​ขาด​ความ​ระมัดระวังข​ อง​จำ� เลย เป็นการ​
กระท�ำ​ละเมิด​และ​ผิด​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ต่อ​โจทก์ จ�ำเลย​จะ​ยก​ข้อ​ตกลง​ยกเว้น​ความ​รับ​ผิด​ตาม​ที่​ระบุ​ไว้​ใน​

ค�ำขอ​เปิด​บัญชี​กระแส​ราย​วัน​มา​อ้าง​เพื่อ​ปฏิเสธ​ความ​รับ​ผิด​ไม่​ได้
ฎ. 1795/2541 จ�ำเลย​เป็น​ธนาคาร​ผรู้ บั ​ฝาก​เงิน​เป็น​อาชีพ​โดย​หวัง​ผล​ประโยชน์​ใน​การ​เอา​เงิน​
มส

ฝาก​ของ​ผฝู้​ าก​ไป​แสวงหา​ผล​ประโยชน์ จะ​ต้อง​ใช้ค​ วาม​ระมัดระวังแ​ ละ​ความ​รคู้​ วาม​ช�ำนาญ​เป็นพ​ ิเศษ​ตรวจ​


สอบ​ลายมือ​ชื่อ​สั่ง​จ่าย​ว่า​เหมือน​ลายมือ​ชื่อ​ที่​ให้​ตัวอย่าง​ไว้​แก่​จ�ำเลย​หรือ​ไม่ ฉะนั้น เมื่อ​ไม่​ปรากฏ​ว่า​จ�ำเลย​
ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​และ​ความ​รค​ู้ วาม​ชำ� นาญ​ดงั ​กล่าว​แต่​อย่าง​ใด การ​ทจ​ี่ ำ� เลย​ได้จ​ า่ ย​หรือ​หกั ​บญ ั ชีเ​งินฝ​ าก​
ของ​โจทก์​ให้​บุคคล​อื่น​ไป​จึง​ถือ​ได้​ว่าเ​ป็น​ความ​ประมาท​เลินเล่อ​ของ​จ�ำเลย
ฎ. 4844/2545 การ​ท​จี่ ำ� เลย​จดั หา​สถาน​ท​รี่ บั ​ฝาก​สนิ ค้า​ให้​โจทก์​ใน​ประเทศ​สห​ราช​อาณาจักร​
และ​เรียก​เก็บ​เงิน​ค่า​เก็บ​รักษา​สินค้า​จาก​โจทก์​ใน​นาม​ของ​จ�ำเลย​นั้น มิใช่​เป็นการ​งาน​ทจี่​ �ำเลย​ท�ำให้เ​ปล่าใ​น​

จาก​โจทก์โ​ ดย​มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ตาม ปพพ. มาตรา 657 และ​มาตรา 659 วรรค​สอง และ​เนื่องจาก​สินค้า​ได้​



ฐานะ​ที่​จำ� เลย​เป็น​ตัวแทน​ของ​โจทก์​และ​ตัวแทน​ของ​บริษัท อ. แต่​จ�ำเลย​และ​บริษัท​ดัง​กล่าว​มี​ผล​ประโยชน์​
ร่วม​กนั ใ​น​การ​รบั ฝ​ าก​สนิ ค้าข​ อง​โจทก์ถ​ อื ไ​ ด้ว​ า่ จ​ ำ� เลย​กบั พ​ วก​เป็นต​ วั การ​รว่ ม​กนั ใ​น​การ​รบั ฝ​ าก​สนิ ค้าท​ ​สี่ ญ

สูญหาย​เพราะ​ถูก​คนร้าย​ลัก​เอา​ไป ท�ำให้​การ​ส่ง​คืน​สินค้า​แก่​โจทก์​กลาย​เป็น​พ้น​วิสัย​ซึ่ง​เกิด​จาก​จ�ำเลย​กับ​
พวก​ไม่ไ​ ด้ใ​ช้ค​ วาม​ระมัดระวัง​และ​ใช้​ฝีมือ​เพื่อ​รักษา​สินค้าข​ อง​โจทก์ใ​น​ฐานะ​เป็นผ​ มู้​ วี​ ิชาชีพ​ใน​กิจการ​ค้าขาย​
ู หาย​

ของ​ตน​ตาม ปพพ. มาตรา 659 วรรค​สาม จ�ำเลย​จึงต​ ้อง​รับผ​ ิด​ชอบ​ใน​การ​สูญหาย​ของ​สินค้าต​ ่อโ​จทก์


ฎ. 880/2546 ลายมือ​ชอื่ ​โจทก์​ใน​ใบ​ถอน​เงิน​ไม่​เหมือน​กบั ​ลายมือ​ชอื่ ​โจทก์​ตวั อย่าง​ลายมือ​ชอื่ ​
สธ
ใน​สมุด​เงิน​ฝาก​และ​ค�ำขอ​เปิด​บัญชี​เงิน​ฝาก​ออม​ทรัพย์​โดย​ชัดเจน​เพียง​แต่​คล้าย​กัน​เท่านั้น ซึ่ง​โดย​ปกติ​
ถ้า​เป็น​ลูกค้า​ทั่วไป พนักงาน​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ก็​จะ​ไม่​จ่าย​เงิน​ให้หา​กลาย​มือ​ชื่อ​ไม่​เหมือน​กัน แต่​ที่​จ่าย​ให้​
เพราะ​จำ� เลย​ที่ 2 เป็นล​ กู จ้าง​ทำ� งาน​อยูใ​่ น​สำ� นักงาน​ของ​จำ� เลย​ที่ 1 สาขา​สนาม​จนั ทร์ด​ ว้ ย​กนั จึงเ​ชือ่ ใ​จ​อนุโลม​

4-34 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

และ​ยืดหยุ่น​จ่าย​ให้​ไป โดย​มิได้​ใส่ใจ​ให้​ความ​ส�ำคัญ​แก่​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ถอน​เงิน​ว่า​เป็น​ลายมือ​ชื่อ​ที่แท้​จริง​หรือ​
ไม่ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ใน​กรณี​ที่​ใบ​ถอน​เงิน​ลงชื่อ​โจทก์​เป็น​ผู้รับ​เงิน​เอง แต่​ไม่มี​ตัว​โจทก์​มา พนักงาน​ของ​
จ�ำเลย​ที่ 1 ก็ย​ งั ​จา่ ย​เงินใ​ห้​แก่​จำ� เลย​ที่ 2 ไป​แทน พฤติการณ์ช​ ช​ี้ ดั ​วา่ พ​ นักงาน​ของ​จำ� เลย​ที่ 1 ประมาท​เลินเล่อ​
อย่าง​ร้าย​แรง​ใน​การ​จ่าย​เงิน​ให้​แก่​จ�ำเลย​ที่ 2 หาก​พนักงาน​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 ใช้​ความ​ละเอียด​รอบคอบ​และ​
ความ​ระมัดระวังเ​ยีย่ ง​ผป​ู้ ระกอบ​วชิ าชีพธ​ นาคาร​แล้ว ก็ย​ อ่ ม​จะ​ทราบ​ได้ว​ า่ ล​ ายมือช​ อื่ โ​จทก์ใ​น​ใบ​ถอน​เงินเ​ป็น​


ลายมือ​ชื่อป​ ลอม และ​จำ� เลย​ที่ 2 ก็​จะ​ไม่​สามารถ​ถอน​เงิน​ฝาก​จาก​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​โจทก์ไ​ ป​ได้
แม้​ใน​ปก​หน้า​ดา้ น​ใน​ของ​สมุดเ​งิน​ฝาก จะ​ม​ขี อ้ ความ​ให้​ผ​ฝู้ าก​เงิน​เป็น​ผเ​ู้ ก็บ​รกั ษา​สมุด​เงิน​ฝาก​

มส
เอง​ก็ตาม ก็​เป็น​เพียง​ค�ำ​แนะน�ำ​มิใช่​ข้อ​ตกลง​ใน​การ​ฝาก​เงิน ส่วน​ใน​ค�ำขอ​เปิด​บัญชี​เงิน​ฝาก​นั้น​ก​็ไม่​ได้​มี​
เงื่อนไข​โดย​ชัด​แจ้ง​ว่า​ผู้​ฝาก​หรือ​โจทก์​จะ​ต้อง​เก็บ​รักษา​สมุด​เงิน​ฝาก​ไว้​เอง คง​มี​แต่​ค�ำ​แนะน�ำ​ว่า​ควร​เก็บ​ไว้​
ใน​ที่​ปลอดภัย​เท่านั้น การ​ที่​จ�ำเลย​ที่ 2 ถอน​เงิน​ฝาก​จาก​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​โจทก์​ไป​ได้ จึง​เกิด​จาก​ความ​
ประมาท​เลินเล่อ​ของ​พนักงาน​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 มิได้​เป็น​ผล​โดยตรง​จาก​การ​ที่​โจทก์​ฝาก​สมุด​เงิน​ฝาก​ไว้​กับ​
จ�ำเลย​ที่ 2 การก​ระ​ท�ำ​ของ​โจทก์​ยัง​ถือ​ไม่​ได้​ว่า​โจทก์​มี​ส่วน​ประมาท​เลินเล่อ​ใน​การก​ระ​ท�ำ​ละเมิด​ของ​
จ�ำเลย​ที่ 2 ด้วย
ฎ. 555/2553 รถยนต์​กระบะ​คัน​พิพาท​เข้า​ซ่อม​ที่​อู่​ของ​จ�ำเลย​ที่ 2 และ​ใน​ระหว่าง​ที่ท�ำการ​
ซ่อม​ร ถยนต์ ​ไ ด้ ​ถูก ​คนร้า ย​ลั ก​ไป ถือ​ได้​ว่า ​รถยนต์​กระบะ​พิพาท​อยู่​ใน​ค วาม​ครอบ​ครอง​ของ​จ�ำเลย​ที่ 2
ดังน​ ั้น จ�ำเลย​ที่ 2 จะ​ต้อง​เก็บ​รักษา​รถยนต์​กระบะ​คันพ​ ิพาท​ไว้​ใน​ที่​ปลอดภัยใ​น​ระหว่าง​การ​ซ่อม ทั้ง​ต้อง​ใช้​

ความ​ระมัดระวัง​ตาม​สมควร​เพื่อ​ม​ิให้​รถยนต์​กระบะ​คัน​พิพาท​ต้อง​สูญหาย​หรือ​เสีย​หาย เมื่อ​ข้อ​เท็จ​จริง​รับ​
ฟังได้​อย่าง​แน่ชัด​ว่า จ�ำเลย​ที่ 2 น�ำ​รถยนต์​กระบะ​คัน​พิพาท​ไป​จอด​ไว้​บริเวณ​ที่​ว่าง​หน้า​อู่​โดย​ไม่มี​รั้ว​รอบ​
มส

ขอบ​ชิด อัน​เป็น​เครื่อง​ป้องกัน​การ​เคลื่อน​ย้าย​รถยนต์​และ​ไม่​ได้​จัด​ให้​ม​ีผู้​ดูแล​รักษา​รถยนต์​แต่​อย่าง​ใด ทั้ง​


เมื่อ​รถยนต์​คัน​พิพาท​หาย​ไป จ�ำเลย​ที่ 2 ก็ได้​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​ให้​แก่ ช. เจ้าของ​รถยนต์​กระบะ​คัน​พิพาท​
เป็น​จำ� นวน 100,000 บาท ซึ่ง​เท่ากับ​ว่า​จำ� เลย​ที่ 2 ยอมรับ​ผิด​ใน​เหตุ​ที่​รถยนต์​กระบะ​คัน​พิพาท​หาย​ไป​ใน​
ระหว่าง​ที่​อยู่​ใน​ความ​ครอบ​ครอง​ของ​ตน ตาม​พฤติการณ์​ดัง​กล่าว​นับ​ได้​ว่า​เป็น​ความ​ประมาท​เลินเล่อ​ของ​
จ�ำเลย​ที่ 2 ที่​ไม่ใช่​ความ​ระมัดระวัง​ตาม​สมควร​เพื่อ​ป้องกัน​มิ​ให้​รถยนต์​กระบะ​คัน​พิพาท​ต้อง​สูญหาย การ​
ปฏิบตั ิ​ตอ่ ​ลูกค้า​ของ​จำ� เลย​ที่ 2 ใน​การน�ำ​รถยนต์​ท​นี่ ำ​ � มา​ซอ่ ม​แล้ว​ไม่​เสร็จ​จอด​ไว้​บริเวณ​หน้า​อู่ มิได้​เป็นการ​

ได้ใ​ช้​ความ​ระมัดระวัง​ตาม​สมควร​แล้ว

แสดง​ให้​เห็น​ว่า​จ�ำเลย​ที่ 2 ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ตาม​สมควร​เพื่อ​ป้องกัน​มิ​ให้​รถยนต์​สูญหาย​หรือ​เสีย​หาย​
แต่​อย่าง​ใด และ​การ​ที่​ไม่​เคย​มี​รถยนต์​สูญหาย​หรือ​ได้​รับ​ความ​เสีย​หาย​มิได้​เป็น​หลัก​ประกัน​ว่า จ�ำเลย​ที่ 2

ฎ. 520/2554 โจทก์​ฟ้อง​ขอ​ให้​จ�ำเลย​รับ​ผิด​ตาม​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ โดย​จ�ำเลย​เป็น​นิติบุคคล​


ประกอบ​ธุรกิจ​การ​ธนาคาร​พาณิชย์​มี​วัตถุประสงค์​ว่า​รับ​ฝาก​เงิน จ�ำเลย​จึง​เป็น​ผู้รับ​ฝาก​ผู้​มี​วิชาชีพ​เฉพาะ​
กิจการ​ค้าขาย​หรือ​อาชีวะ​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด จึง​ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​และ​ฝีมือ​เท่า​ที่​เป็น​ธรรมดา​จะ​ต้อง​
ใช้​และ​สมควร​จะ​ต้อง​ใช้​ใน​กิจการ​ค้าขาย​หรือ​อาชีวะ​อย่าง​นั้น​ตาม​บทบัญญัต​ิมาตรา 659 วรรค​สาม แห่ง
สธ
ปพพ. อัน​เป็นการ​ก�ำหนด​มาตรฐาน​ใน​การ​ระมัดระวัง​ใน​การ​ปฏิบัติ​ตาม​สัญญา​ใน​ขั้น​สูงสุด​เยี่ยง​ผู้​มี​วิชาชีพ​
เช่นน​ นั้ ​จะ​พงึ ​ปฏิบตั ​ใิ น​กจิ การ​ทก​ี่ ระท�ำ เมือ่ ข​ อ้ เ​ท็จจ​ ริงป​ รากฏ​วา่ พนักงาน​ของ​จำ� เลย​ทจุ ริต​ลกั ลอบ​เบิกถ​ อน​
เงินจ​ าก​บัญชี​เงินฝ​ าก​ของ​ลูกค้าต​ ่างๆ จ�ำนวน 34 บัญชี รวม​ทั้ง​ราย​บัญชี​ของ​โจทก์ แสดง​ว่า​จำ� เลย​มิได้​ใช้​

สัญญาฝากทรัพย์ 4-35

ความ​ระมัดระวัง​ใน​การ​ดูแล​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​โจทก์​อัน​เป็นการ​ปฏิบัติ​ผิด​สัญญา ได้​ความ​ว่า​โจทก์​ฝาก​เงิน​
ประเภท​ประจ�ำ 3 ปี กรณี​เป็น​เรื่อง​ปกติ​วิสัย​ที่​เจ้าของ​บัญชี​จะ​อุ่น​ใจ​มิได้​ติดตาม​ผล​ใน​บัญชี​เงิน​ฝาก​จนกว่า​
จะ​ครบ​ก�ำหนด​ตาม​ระยะ​เวลา​ที่​กำ� หนด การ​ที่​โจทก์​มิได้​ไป​ติดต่อ​รับ​ดอกเบี้ย​จึง​มิใช่​เรื่องผิด​วิสัย​และ​ไม่ใช่​
ความ​ผดิ ข​ อง​โจทก์​เนือ่ งจาก​โจทก์​เป็น​ลกู ค้า​ของ​จำ� เลย มิใช่​ผม​ู้ หี น้า​ท​รี่ ะมัดระวัง​ดแู ล​ทรัพย์สนิ ​ท​ตี่ น​ฝาก เมือ่ ​
ข้อ​เท็จ​จริง​รับ​ฟังได้​ว่า จ�ำเลย​ผิด​สัญญา​ฝาก​เงิน​ไม่​ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​และ​ใช้​ฝีมือ​เท่า​ที่​เป็น​ธรรมดา​จะ​


ต้อง​ใช้​และ​สมควร​จะ​ตอ้ ง​ใช้​ใน​กจิ การ​คา้ ขาย​หรือ​อาชีวะ​อย่าง​นนั้ ใ​น​การ​ดแู ล​เงิน​ฝาก​ของ​โจทก์ เมือ่ ​เงิน​ฝาก​
ของ​โจทก์​ถูก​เบิก​ถอน​ไป​จน​หมด จ�ำเลย​จึง​ต้อง​รับผ​ ิด​ชดใช้​เงิน​จ�ำนวน​ดัง​กล่าว​คืน​แก่​โจทก์

มส ฎ. 5246/2555 ตาม​ระเบียบ​การ​ถอน​เงิน​ของ​จ�ำเลย​ระบุ​ว่า หาก​เจ้าของ​บัญชี​ไม่​ได้​ถอน​เงิน​


ด้วย​ตัว​เอง จะ​ต้อง​มอบ​ฉันทะ​ให้​ผู้รับ​มอบ​ฉันทะ​ไป​ด�ำเนิน​การ จะ​ต้อง​กรอก​ราย​ละเอียด​ใน​การ​มอบ​ฉันทะ​
รวม​ทั้ง​ลง​ลายมือ​ชื่อ​เจ้าของ​บัญชี​และ​ลายมือ​ชื่อ​ของ​ผู้​มอบ​ฉันทะ​ใน​เอกสาร​ใบ​ถอน​เงิน และ​ต้อง​มี​บัตร​
ประจ�ำ​ตวั ​ประชาชน​ของ​ผรู้ บั ​มอบ​ฉนั ทะ​มา​แสดง​ดว้ ย​โดย​ลกู จ้าง​จำ� เลย​จะ​ตอ้ ง​กรอก​ราย​ละเอียด​ของ​ผรู้ บั ​มอบ​
ฉันทะ​ไว้ เช่น ชื่อ​และ​ที่​อยู่​แสดง​ว่าที่​จ�ำเลย​ต้อง​ออก​ระเบียบ​ดัง​กล่าว​ก็​เพื่อ​ป้องกัน​ไม่​ให้​ผู้​ใด​มา​ทุจริต​แอบ​
อ้าง​ถอน​เงิน​ของ​เจ้าของ​บัญชีไ​ ป​โดย​มชิ​ อบ ซึ่ง​ข้อ​เท็จจ​ ริง​ได้​ความ​ว่า ก. เป็น​ผู้​ถอน​เงิน​ไป​ทั้ง 17 ครั้ง โดย​
ไม่​ปรากฏ​ว่า​โจทก์​ได้​มอบ​ฉันทะ​ให้ ก. ถอน​เงิน​แต่​อย่าง​ใด แต่​ลูกจ้าง​ของ​จ�ำเลย​ก็​จ่าย​เงิน​ให้​แก่ ก. ทั้งๆ
ที่​ไม่มี​ใบ​มอบ​ฉันทะ​ของ​โจทก์ อัน​เป็นการ​ผิด​ระเบียบ​ของ​จ�ำเลย​โดย​ชัด​แจ้ง ท�ำให้​ยาก​แก่​การ​ตรวจ​สอบ
การ​ที่​ลูกจ้าง​ของ​จ�ำเลย​ไม่​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ให้​เพียง​พอ​ใน​การ​ปฏิบัติ​หน้าที่ จึง​เป็นการ​กระท�ำ​โดย​

ประมาท​เลินเล่อ และ​ตาม​พฤติการณ์​ดัง​กล่าว​เป็น​เรื่อง​ที่ ก. ทุจริต​ถอน​เงิน​ของ​โจทก์​ไป​โดยที่​โจทก์​ไม่​
ทราบ กรณีจ​ ึง​ไม่ใช่​เรื่อง ก. เป็น​ตัวแทน​เชิด​ของ​โจทก์​ดัง​ที่​จ�ำเลย​ฎีกา จ�ำเลย​ซึ่งเ​ป็น​นายจ้าง​จึงต​ ้อง​รับ​ผิด​
มส

ต่อ​โจทก์ อย่างไร​ก​ด็ ข​ี อ้ ​เท็จ​จริง​ได้​ความ​วา่ ก. เป็น​ลกู จ้าง​ของ​โจทก์​สามารถ​ปลอม​สมุดเ​งินฝ​ าก​กบั ​ใบ​ถอน​เงิน​


และ​น�ำ​ไป​เบิก​เงิน​จาก​บัญชี​ของ​โจทก์​กับ​จ�ำเลย​ถึง 17 ครั้ง แสดง​ว่า​โจทก์​ละเลย​ไม่​ระมัดระวัง​ใน​การ​เก็บ​
รักษา​สมุด​เงิน​ฝาก​และ​ไม่มี​มาตรการ​ใน​การ​ตรวจ​สอบ​ยอด​เงิน​ใน​สมุด​เงิน​ฝาก ท�ำให้ ก. สามารถ​ถอน​เงิน​
ได้​โดย​ง่าย ถือ​ได้​ว่า​โจทก์​มี​ส่วน​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​เสีย​หาย​ด้วย การ​กำ� หนด​คา่ เ​สียห​ าย​แก่​โจทก์เ​พียง​ใด ต้อง​
อาศัย​พฤติการณ์เ​ป็น​ประมาณ​ ตาม ปพพ. มาตรา 223 วรรค​หนึ่ง 438 และ 442
2. หน้าที่​ใน​การ​งด​เว้น​ใช้สอย​ทรัพย์​หรือ​ให้​คน​อื่น​เก็บ​รักษา​ทรัพย์​ที่​ฝาก หน้าที่​ข้อ​นี้​เกิด​ขึ้น​
เนือ่ งจาก​สญ

ย่อม​ทำ​

ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​นนั้ ผูร้ บั ​ฝาก​ตกลง​วา่ ​จะ​เก็บ​รกั ษา​ทรัพย์สนิ ​นนั้ ​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน ดัง​นนั้ ผูร้ บั ​
ฝาก​จะ​เอา​ไป​ให้​บุคคล​ภายนอก​ซึ่ง​ไม่ใช่​คนใน​บังคับ​บัญชา​ของ​ผู้รับ​ฝาก​เก็บ​รักษา​โดย​ผู้​ฝาก​มิได้​อนุญาต​
� ไม่​ได้ ส่วน​การ​ใช้สอย​ทรัพย์​นั้น เป็น​อัน​ห้าม​ขาด คือ​ผู้​ฝาก​เอง​หรือ​บุคคล​ภายนอก​ก็​เอา​ไป​ใช้สอย​
ไม่​ได้​เว้น​แต่​ผ​ฝู้ าก​อนุญาต หาก​ฝา่ ฝืน​และ​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​สญ ู หาย​หรือ​บบุ ​สลาย ผูร้ บั ​ฝาก​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ หน้าที​่ขอ้ ​
นี้​เช่น​เดียว​กับ​หน้าที่​ของ​ผู้​ยืม​ใช้​คง​รูป​ตาม​มาตรา 643 ผู้รับ​จ�ำน�ำ​ ตาม ปพพ. ​มาตรา 760 ส่วน​เรื่อง​ฝาก​
ทรัพย์ บัญญัติ​อยู่​ใน​มาตรา 660 ว่า “ถ้า​ผู้​ฝาก​มิได้​อนุญาต​ และ​ผู้รับ​ฝาก​เอา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​
ใช้สอย​เอง หรือ​เอา​ไป​ให้​บุคคล​ภายนอก​ใช้สอย​หรือ​ให้​บุคคล​ภายนอก​เก็บ​รักษา​ไซร้ ท่าน​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​จะ​
สธ
ต้อง​รับ​ผิด​เมื่อ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด​แม้​ถึง​จะ​เป็น​เหตุสุดวิสัย เว้น​
แต่​จะ​พิสูจน์​ได้​ว่า ถึง​อย่างไร ๆ ทรัพย์สิน​นั้น​ก็​คงจะ​ต้อง​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อยู่​นั่นเอง” หน้าที่​ตาม​
มาตรา 660 จึง​แบ่ง​ได้ 2 กรณี คือ 1. หน้าที​เ่ ก็บ​รักษา​ทรัพย์​กับ 2. หน้าที่​งด​เว้น​ใช้สอย​ทรัพย์

4-36 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2.1 หน้าทีเ่​ก็บร​ ักษา​ทรัพย์ ผูร้ บั ฝ​ าก​จะ​ตอ้ ง​เก็บร​ กั ษา​ทรัพย์ท​ ​ฝี่ าก​ไว้ใ​น​อารักขา พจนานุกรม​
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ค​ วาม​หมาย​คำ� ว่า “อารักขา” “ป้องกัน คุ้มครอง ดูแล” แห่งต​ น (มาตรา
657) จะ​ให้​บุคคล​ภายนอก​เก็บ​รักษา​ไม่​ได้ (มาตรา 660) แต่​ค�ำ​ว่า “บุคคล​ภายนอก” ย่อม​ไม่​หมาย​ถึง​คน​
ของ​ผู้รับ​ฝาก เช่น ลูกจ้าง​ของ​ผู้รับ​ฝาก หรือ​ผู้​อยู่​ใต้​บังคับ​บัญชา​ของ​ผู้รับ​ฝาก จะ​ถือว่า​ลูกจ้าง​หรือ​ผู้​อยู่​ใต้​
บังคับ​บัญชา​ของ​ผู้รับ​ฝาก​เป็น​บุคคล​ภายนอก​ไม่​ได้ เช่น กุ้ง รับ​ฝาก​นาฬิกา​ของ เข่ง ดังนี้ กุ้ง ต้อง​เก็บ​


รักษา​นาฬิกา​นนั้ ​ดว้ ย​ตนเอง แต่​กงุ้ ​อาจ​สงั่ ​ให้ คัง​ลกู จ้าง​ของ​ตน​หรือ​เงิน บุตร​ของ​ตน​เก็บ​รกั ษา​ไว้​กไ็ ด้ สมมติ​
ว่า กุ้ง​ให้ จิ้ง​ซึ่ง​เป็น​บุคคล​ภายนอก​เก็บ​รักษา​ไว้​ที่​บ้าน​จิ้ง ดังนี้​ย่อม​ท�ำ​ไม่​ได้ เพราะ​ถ้า​นาฬิกา​เรือน​นั้น​

มส
ถูก​ฟ้าผ่า​สูญหาย​ระหว่าง​ที่ จิ้ง​เก็บ​รักษา​เป็น​เหตุสุดวิสัย กุ้ง ก็​ยังต​ ้อง​รับ​ผิด​ต่อ เข่ง เว้น​แต่ กุ้ง​จะ​พิสูจน์​ได้​
ว่า​เกิด​ฟ้าผ่า​ทั้ง​ที่​บ้าน​กุ้ง​และ​ที่​บ้าน​จิ้ง​ซึ่ง​อยู่​ติด​กัน ไม่​ว่า​นาฬิกา​ของ เข่ง​จะ​เก็บ​รักษา​ไว้​ที่​บ้าน​กุ้ง หรือ​ที่​
บ้าน​จ​งิ้ ก็​ต้อง​ถูก​ฟ้าผ่า​สูญหาย​เช่น​เดียวกัน ดังนี้ กุ้ง​จึงจ​ ะ​พ้น​ความ​รับผ​ ิด​ไป​ได้
ที่​ว่า “เหตุสุดวิสัย” (force majeure) นั้น หมายความ​ว่า “เหตุ​ใด ๆ อัน​จะ​เกิด​ขึ้น​ก็​ดี​จะ​
ให้​ผล​พิบัติ​ก็​ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจ​ป้องกัน​ได้แม้​ทั้ง​บุคล​ผู้​ต้อง​ประสบ​หรือ​ใกล้​จะ​ต้อง​ประสบ​เหตุ​นั้น จะ​ได้​
จัดการ​ระมัดระวัง​ตาม​สมควร​อนั ​พงึ ​คาด​หมาย​ได้​จาก​บคุ คล​นนั้ ​ใน​ฐานะ​และภาวะเช่น​นนั้ ” (ปพพ. มาตรา
8) กล่าว​คือ ใน​กรณี​ฝาก​ทรัพย์ ถ้า​เหตุ​ที่​เกิด​ขึ้น​มิใช่​ความ​ผิด​ของ​ผู้รับ​ฝาก​หรือ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​
และ​เป็น​เหตุ​ท​ไี่ ม่​สามารถ​ปอ้ งกัน​ได้ ทัง้ ๆ ที​่ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​ตาม​สมควร​แล้ว เช่น ฟ้าผ่า แผ่น​ดนิ ​ไหว
พายุ​พัด น�ำ​ ้ ท่วม​ท�ำให้​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย หรือ​โจร​ปล้น​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก ฯลฯ ดังนี้ ผู้รับ​

ฝาก​ไม่​ต้อง​รับผ​ ิด (ปพพ. มาตรา 219)
แต่​ถา้ ​เหตุสดุ วิสยั ​ท​เี่ กิด​ขนึ้ ​ทำ� ให้​ทรัพย์สนิ ​ท​ฝี่ าก​สญ
ู หาย​หรือบ​ บุ ​สลาย​ไป เป็น​กรณี​ทผ​ี่ รู้ บั ​ฝาก​
มส

เอา​ไป​ให้​บุคคล​ภายนอก​เก็บ​รักษา ดังนี​้ผู้รับ​ฝาก​จะ​ต้อง​รับ​ผิด แต่​มี​ข้อ​ยกเว้น​ที่​ผู้รับ​ฝาก​พิสูจน์​ได้​ว่า ถึง​


อย่างไรๆ ทรัพย์​ที่​ฝาก​ก็​คง​ต้อง​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อยู่​นั่นเอง ผู้รับ​ฝาก​จึง​จะ​พ้น​จาก​ความ​ผิด​ไป​ได้ เช่น
รับ​ฝาก​หม้อ​แบตเตอรี หรือ​รบั ​ฝาก​นำ�้ มัน​เบนซิน ผูร้ บั ​ฝาก​ได้​เก็บ​รกั ษา​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน​แล้ว ไฟ​ใน​หม้อ​
แบตเตอรีหมด​ไป หรือ​น�้ำมันเ​บนซิน​ระเหย​ไป​บ้าง​ตาม​สภาพ​ของ​มัน ผู้รับ​ฝาก​ก็​ไม่​ต้อง​รับผ​ ิด
อย่างไร​ก็​ดี การ​ให้​คน​อื่น​เก็บ​รักษา​ก​็ดี เอา​ออก​ใช้สอย​เอง​หรือ​ให้​บุคคล​ภายนอก​ใช้สอย​ก็​ดี
ถ้า​ไม่​ทำ� ให้​ทรัพย์​ทฝ​ี่ าก​สญ ู หาย​หรือ​บบุ ​สลาย​กไ​็ ม่​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ตาม​มาตรา 660 เช่น กุง้ รับ​ฝาก​ทรัพย์​ของเข่ง​

อุทาหรณ์

แล้ว​เอา​ไป​ให้ คัง​เก็บ​รักษา แต่​ทรัพย์​ที่​ฝาก​ไม่​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อย่าง​ใด กุ้ง ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​มาตรา
660 แต่ กุ้ง​ยัง​ต้อง​รับผ​ ิด​ต่อ เข่ง​ฐาน​ผิด​สัญญา​ตาม​มาตรา 657, 222 ซึ่ง​เป็น​อีก​ปัญหา​หนึ่ง

การ​ที่ ​ผู้​เช่า​ซื้อ​แม้​ไม่ใช่​เจ้าของ​กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์สิน​ท​ี่ ฝาก​น�ำ​รถยนต์​ไป​ฝาก​ผู้​อื่น​ไม่ใช่​


เป็นการ​ท​ผี่ ​ฝู้ าก​ให้​บุคคล​ภายนอก​เก็บ​รักษา​ทรัพย์​ทฝี่​ าก​ตาม​มาตรา 660
อุทาหรณ์
ฎ. 4835/2540 โจทก์ใ​น​ฐานะ​ผ​เู้ ช่า​ซอื้ ​ม​สี ทิ ธิ​ท​จี่ ะ​ยดึ ถือ​และ​ใช้​ประโยชน์​ตลอด​จน​มหี น้า​ท​ตี่ อ้ ง​
สธ
ดูแล​รักษา​รถ​จักรยานยนต์ท​ ​เี่ ช่าซ​ ื้อใ​ห้อ​ ยูใ​่ น​สภาพ​ใช้ก​ าร​ได้ด​ ี​ตลอด​ไป และ​เมื่อไ​ ด้ช​ ำ� ระ​เงินใ​ห้ค​ รบ​ถ้วน​ตาม​
สัญญา​เช่า​ซอื้ ​แล้ว​รถ​จกั รยานยนต์​ยอ่ ม​ตก​เป็น​สทิ ธิ​แก่​โจทก์​หรือ​หาก​เลิก​สญ ั ญา​เช่า​ซอื้ ​กนั โจทก์​มหี น้า​ท​ตี่ อ้ ง​
ส่ง​มอบ​รถ​จักรยานยนต์​คืน​ผู้​ให้​เช่า​ซื้อ​ใน​สภาพ​เดิม ดัง​นั้น เมื่อ​รถ​จักรยานยนต์​ที่​โจทก์​นำ​ � มา​ฝาก​จำ� เลย​

สัญญาฝากทรัพย์ 4-37

ทั้ง​สอง​ได้​สูญหาย​ใน​ระหว่าง​อยู่​ใน​ความ​ดูแล​ของ​จ�ำเลย​ทั้ง​สอง​จน​เป็น​เหตุ​ให้​จ�ำเลย​ทั้ง​สอง​ไม่​สามารถ​คืน​
รถ​จกั รยานยนต์​ซงึ่ ​รบั ​ฝาก​นนั้ ​ให้​แก่​ผ​ฝู้ าก​ได้ จ�ำเลย​ทงั้ ​สอง​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​คนื ​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​รบั ​ฝาก​หรือ​ชดใช้​ราคา
โจทก์ซ​ ึ่ง​เป็น​ผู้​ฝาก​ทรัพย์​จึง​มี​สิทธิ​ฟ้อง​จำ� เลย​ทั้ง​สอง​ให้ช​ ดใช้ร​ าคา​ทรัพย์ซ​ ึ่ง​รับ​ฝาก​ได้
2.2 หน้าที่​งด​เว้น​ใช้สอย​ทรัพย์ หน้าที่​ข้อ​นี้​ห้าม​ทั้ง​ผู้รับ​ฝาก​เอา​ทรัพย์​ออก​ใช้สอย​เอง​หรือ​
เอา​ไป​ให้​บุคคล​ภายนอก​ใช้สอย​ด้วย ค�ำ​ว่า “ใช้สอย” หมายความ​ว่า เอา​มา​ท�ำให้​เกิด​ประโยชน์​แก่​คน​ที่​


ใช้สอย​นั้น​เอง เช่น ขับ​รถ​ที่​รับ​ฝาก​ไป​จ่าย​ตลาด หรือ​เอา​ม้า​ที่​รับ​ฝาก​มา​ขี่​เล่น เป็นต้น ซึ่ง​เป็นการ​กระท�ำ​
นอก​เหนือ​เพื่อ​รักษา​ทรัพย์ แต่​ทรัพย์​บาง​อย่าง​ต้อง​มี​การ​เคลื่อนไหว​เพื่อ​รักษา​ทรัพย์ เช่น รับ​ฝาก​รถยนต์​

มส
เป็น​เวลา​นาน ต้อง​รักษา​เครื่องยนต์​โดย​การ​เดิน​เครื่องยนต์​บ้าง หรือ​รับ​ฝาก​ม้า ไม่ใช่ผ​ ูก​ให้​ม้า​ยืน​อยู่​เฉยๆ
ต้อง​ให้เ​ดินใ​ห้ว​ งิ่ หรือร​ บั ​ฝาก​มา้ แ​ ข่งก​ ​ต็ อ้ ง​พา​เดินต​ อน​เช้าแ​ ละ​ซอ้ ม​วงิ่ ​ใน​สนาม​เป็นการ​สงวน​ฝเี ท้าใ​น​การ​แข่ง​
ไว้​ตาม​หน้าที่​ใน​การ​เก็บ​รักษา​ทรัพย์​ที่​ฝาก​หรือ​รับ​ฝาก​เปีย​โน​ไว้ ก็​ต้อง​ดีด​เปีย​โน​ใน​บาง​คราว​เพื่อ​จะ​รักษา​
เสียง​ให้​ดี​ไว้​เสมอ มิ​ฉะนั้น​ฝุ่น​ละออง​จะ​จับ​สาย​ท�ำให้​เสียง​เพี้ยน​หรือ​อาจ​เกิด​สนิม​ที่​สาย​ก็ได้27 อย่างไร​เป็น
การ​ใช้สอย​และ​อย่างไร​เป็น​เพียง​การ​รักษา​ให้​ทรัพย์​อยู่​ใน​สภาพ​เดิม เป็น​ข้อ​เท็จ​จริง​ซึ่ง​ต้อง​พิจารณา​ตาม​
สภาพ​ของ​ทรัพย์​เป็น​เรื่องๆ ไป
การ​ผิด​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​ท​ี่เอา​ทรัพย์​ออก​ใช้สอย​นี้ ถ้า​ทรัพย์​ที่​ฝาก​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​
อย่าง​หนึง่ อ​ ย่าง​ใด​แม้ถ​ งึ จ​ ะ​เป็นเ​หตุสดุ วิสยั ผูร้ บั ฝ​ าก​ก​ต็ อ้ ง​รบั ผ​ ดิ เว้นแ​ ต่จ​ ะ​พสิ จู น์ไ​ ด้ว​ า่ ถ​ งึ อ​ ย่างไรๆ ทรัพย์สนิ ​
ทีฝ่​ าก​กค็​ งจะ​ต้อง สูญหาย​หรือ​บุบส​ ลาย​อยู​น่ ั่นเอง เช่น กุ้ง รับ​ฝาก​ม้า​แข่ง​จาก เข่ง​แล้ว กุ้ง​เอา​ไป​ให้ คัง​น�ำ​

ไป​แสดง​ละคร​เก็บ​เงิน ต่อ​มา​ม้า​แข่ง เป็น​โรค​ตาย กุ้ง​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ เข่ง เว้น​แต่ กุ้ง​พิสูจน์​ได้​ว่า​ใน​ต�ำบล​ที่
กุง้ ​และ​คงั อ​ ยูม​่ ​โี รค​ระบาด​ของ​มา้ ไม่​วา่ ​มา้ ​ท​รี่ บั ​ฝาก​จะ​อยู​ท่ ี่ กุง้ ห​ รือ​ที่ คัง​มา้ ​ท​รี่ บั ​ฝาก​ก​จ็ ะ​ตอ้ ง​ตาย​เหมือน​กนั
มส

เช่น​นี้ กุ้ง​จึง​จะ​พ้น​ความ​รับ​ผิด อย่างไร​ก​ด็ ี ถ้า​ม้า​ที่​รับ​ฝาก​ไม่​สูญหาย​หรือบ​ ุบ​สลาย​แล้ว แม้ กุ้ง​จะ​เอา​ไป​ให้


คัง​ใช้สอย กุ้ง​ก​็ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​มาตรา 660 แต่ กุ้ง​ยัง​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ เข่ง​ฐาน​ผิด​สัญญา ตาม​มาตรา 657,
222
อุทาหรณ์
ฎ. 3009/2516 โจทก์​ได้​เอา​รถ​ไป​ฝาก​ไว้​ที่​ปั๊ม​น�้ำมัน​ของ​จ�ำเลย จ�ำเลย​ไม่​ระมัดระวัง​ปล่อย​ให้​
ลูกจ้าง​ของ​จำ� เลย​ขบั ​รถ​ออก​จาก​ปม๊ั ​ไป​ชน​รา้ น​คา้ ​ของ​กงุ้ ​เสีย​หาย​จำ� เลย​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ใน​ความ​เสีย​หาย​ท​เี่ กิด​แก่​

รถ​ของ​โจทก์ต​ าม​มาตรา 660 และ​ร่วม​รับ​ผิด​กับล​ ูกจ้าง​ใน​ความ​เสียห​ าย​ที่​เกิด​แก่​ร้าน​ค้า​ของ​กุ้ง​ด้วย
ตาม​คำ​
� พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​นี้ ผูฝ​้ าก​ไม่​อนุญาต จ�ำเลย​ผรู้ บั ​ฝาก​ไม่​ระมัดระวัง​เป็น​เหตุ​ให้​ลกู จ้าง​
เอา​รถ​ออก​ไป​ใช้แ​ ล้ว​เกิด​เสีย​หาย​ขึ้นจ​ ึงต​ ้อง​รับ​ผิดต​ ่อ​ผู้​ฝาก
3. หน้ า ที่ ​ใ น​ก าร​บ อก​ก ล่า ว​เมื่ อ​ถู ก​ฟ้ อ ง​ห รื อ​ยึ ด ​ท รั พย์ สิ น ​ที่ ​ฝาก โดยที​่ ผู้รับ​ฝาก​ครอบ​ครอง​
ทรัพย์สิน​แทน​ผ​ู้ฝาก​เช่น​เดียว​กับ​ผู้​เช่า ตาม ปพพ. มาตรา 557 กฎหมาย​บัญญัติ​ไว้​ใน​มาตรา 661 ว่า
“ถ้า​บุคคล​ภายนอก​อ้าง​ว่า​มี​สิทธิ​เหนือ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​และ​ยื่น​ฟ้อง​ผู้รับ​ฝาก​ก็​ดี​ หรือ​ยึด​ทรัพย์สิน​นั้น​ก็​ดี
ผู้รับฝ​ าก​ต้อง​รีบ​บอก​กล่าว​แก่​ผู้ฝ​ าก​โดย​พลัน”
สธ
27 หลวง​ประเสริฐม
​ นูก​ ิจ
กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​ด้วย​ยืม​ฝาก​ทรัพย์​เก็บ​ของ​ใน​คลัง​สินค้า​ประนีประนอม​การ​พนัน​และ​
ขันต่อ คำ�​สอน​ภาค 3 มหาวิทยาลัยธ​ รรมศาสตร์แ​ ละ​การเมือง พระนคร ม.ป.ท. 2477 น.24

4-38 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เนือ่ งจาก​ผรู้ บั ​ฝาก​ไม่ใช่​เจ้าของ​กรรมสิทธิ​ท์ รัพย์​ท​รี่ บั ​ฝาก เป็น​เพียง​ผ​เู้ ก็บ​รกั ษา​ทรัพย์​ไว้​ใน​อารักขา​


แห่ง​ตน​เมือ่ ​มี​บคุ คล​ภายนอก​มา​อ้าง​ว่า​มี​สิทธิ​เหนือ​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​ไว้​นั้น​และ​ได้​ยื่น​ฟ้อง​ผู้รบั ฝ​ าก หรือ​มา​ยึด​
ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​ไว้ จึง​เป็น​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​ที่​จะ​ต้อง​รีบ​บอก​กล่าว​แก่​ผู้​ฝาก ซึ่ง​เป็น​เจ้าของ​กรรมสิทธิ์​ใน​
ทรัพย์​ท​ฝี่ าก เพื่อ​จะ​ได้​เข้า​มา​ต่อสู​ค้ ดี​เกี่ยว​กับ​ทรัพย์​ที่​ตน​ได้​ฝาก​ไว้​กับ​ผู้รับ​ฝาก หาก​มขี​ ้อ​ต่อสู้​ใดๆ ใน​เรื่อง​
กรรมสิทธิ์ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 จะ​ได้​ต่อสู้​บุคคล​ภายนอก​ได้​ทัน​ท่วงที ถ้า​ผู้รับ​ฝาก​ละเลย​ไม่​ปฏิบัติ​


ตาม​บทบัญญัตน​ิ ี้ ผูร้ บั ​ฝาก​จะ​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ตอ่ ​ผ​ฝู้ าก​ใน​เมือ่ ​ผ​ฝู้ าก​ตอ้ ง​เสีย​หาย​อย่าง​ใด​เพราะ​ความ​ละเลย​ชกั ช้า​
ของ​ผู้รับ​ฝาก​ ตาม ปพพ.มาตรา 251, 222 การ​บอก​กล่าว​ให้ผ​ ู้​ฝาก​ทราบ​นั้น ต้อง​กระท�ำ​โดย​พลัน28 ทันที​

มส
ที่​บุคคล​ภายนอก​มา​อ้าง​สิทธิ อาจ​กระท�ำ​ด้วย​วาจา​หรือ​หนังสือ​ก็ได้ ขอ​ให้​ผู้รับ​ฝาก​ทราบ​ก็​เพียง​พอแล้ว
แม้​ผู้​ฝาก​ทราบ​เหตุ​นั้น​อยู่​ก่อน​แล้ว​ก็​เห็น​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​ก็​ยัง​ต้อง​บอก​กล่าว เพราะ​กฎหมาย​ไม่​ได้​ยกเว้น​ให้​
ไม่​ต้อง​บอก​กล่าว​ใน​กรณี​ที่​ผู้​ฝาก​ทราบ​แล้ว ดัง​เช่น​ผู้​เช่า​ ตาม ปพพ. มาตรา 557 อย่างไร​ก็​ดี ถ้า​ผู้​ฝาก​
ทราบ​เหตุ​นั้น​อยู่​ก่อน​แล้ว ผู้​ฝาก​ย่อม​เข้า​ต่อสู้​คดี​หรือ​โต้​แย้ง​การ​ยึด​ทรัพย์​ได้​อยู่​แล้ว ผู้​ฝาก​จึง​อาจ​จะ​ไม่​
เสีย​หาย จึง​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​จาก​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​ได้​เท่านั้น​เอง
4. หน้าที่​ใน​การ​คืน​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​พร้อม​ดอก​ผล หน้าทีข​่ อ้ ​นข​ี้ อง​ผรู้ บั ฝ​ าก​ก​เ็ นือ่ งจาก​สญ ั ญา​ฝาก​
ทรั พ ย์ ​นั้ น ​ผู้ รั บ ​ฝ าก​เ ก็บ ​รั ก ษา​ท รั พ ย์ สิ น ​นั้ น ​ไว้ ​ใ ห้ ​แ ล้ ว ​ต กลง​จะ​คืน ให้ การ​คืน ​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​จึง​เป็น​
ความ​รับ​ผิด​โดยตรง​ของ​สัญญา ถ้า​ผู้รับ​ฝาก​คืน​ทรัพย์สิน​นั้น​ให้​ไม่​ได้​หรือ​คืน​ไม่​ตรง​เวลา​หรือ​คืน​ผิด​ตัว​ไป​ก็​
ต้อง​รับผ​ ิด ซึ่ง​จะ​แยก​อธิบาย​เป็น 3 ข้อ ดังนี้

4.1 ระยะ​เวลา​คืนท​ รัพย์
4.2 ทรัพย์ท​ จี่​ ะ​ต้อง​คืน
มส

4.3 ผูม้​ ี​สิทธิ​รับ​คืน


4.1 ระยะ​เวลา​คืน​ทรัพย์ ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​จะ​ต้อง​คืน​กัน​เมื่อ​ใด​นั้น พอ​แยก​เป็น 2 กรณี​คือ กรณี​
ที่​คู่​สัญญา​ตกลง​กัน ก�ำหนด​เวลา​กัน​ว่า​จะ​คืน​ทรัพย์สิน​กัน​เมื่อ​ใด เช่น ก�ำหนด​ใน​วัน​ที่ 1 มกราคม พ.ศ.
2556 หรือ​คืน​ใน​วัน​สถาปนา​มหาวิทยาลัย​สุโขทัย​ธร​รมาธิ​ราช​ครบ​รอบ​ป​ที ี่ 30 เป็นต้น กับ​อีก​กรณี​หนึ่ง​คือ
คู​ส่ ัญญา​ไม่​ได้​ตกลง​กำ� หนด​เวลา​ไว้​ว่า​จะ​คืน​ทรัพย์สิน​กัน​เมื่อ​ใด
1) กรณี​ที่​คู่​สัญญา​ก�ำหนด​เวลา​กัน​ไว้ ตาม​หลัก​ทั่วไป​ของ​สัญญา เมื่อ​สัญญา​ก�ำหนด​

เวลา​ไว้​คู่​สัญญา​ก็​จ�ำ​ต้อง​ปฏิบัติ ฝ่าย​ใด​ฝ่าย​หนึ่ง​จะ​เรียก​ทรัพย์​คืน​หรือ​คืน​ทรัพย์​ก่อน​กำ� หนด​เวลา​ไม่​ได้ แต่​
โดยที​ส่ ญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​มไ​ี ว้เ​พือ่ ป​ ระโยชน์ข​ อง​ผ​ฝู้ าก​เมือ่ ​ได้​กำ� หนด​เวลา​ฝาก​ทรัพย์​ไว้​ก​ห็ มายความ​วา่ ​กำ� หนด​
ไว้​เพื่อ​ประโยชน์​แก่​ผู้​ฝาก (ปพพ. มาตรา 191 วรรค​สอง มาตรา 192) เหตุ​นี้​มาตรา 662 จึง​บัญญัติ​ว่า
“ถ้าได้ก�ำหนดเวลากันไว้ว่าจะพึงคืนทรัพย์สินที่ฝากนั้นเมื่อไร ท่านว่าผู้รับ​ฝาก​ไม่มี​สิทธิ​จะ​คืน​ทรัพย์สิน​
ก่อน​ถึง​เวลา​ก�ำหนด เว้น​แต่​ใน​เหตุ​จ�ำเป็น​อันม​ ิ​อาจ​จะ​ก้าว​ล่วง​เสีย​ได้” เช่น กุง้ รับฝ​ าก​ขา้ ว​เปลือก​ของ เข่ง​
สธ
28
คำ�​ว่า โดย​พลัน พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ให้​ความ​หมาย​ว่า โดย​เร็ว โดย​ด่วน หรือโ​ ดย​ทันที​
ทันใด แต่​พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้​หมายความ​ว่า โดย​ทันที ส่วน​คำ�​ว่า “พลัน” นั้น พจนานุกรม​ฉบับ​
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้​ความ​หมาย​ว่า ทันที เช่น โดย​พลัน เร็วพ​ ลัน

สัญญาฝากทรัพย์ 4-39

มี​ก�ำหนด 2 เดือน กุ้ง จะ​คืน​ข้าว​เปลือก​แก่ เข่ง​ก่อน​ถึง​กำ� หนด​ระยะ​เวลา 2 เดือน​ที่​ตกลง​กันไ​ ม่ไ​ ด้ ถ้า กุ้ง​
คืน​ก่อน​ก�ำหนด​ก็​ถือว่า กุ้ง​ผิด​สัญญา เข่ง ย่อม​ฟ้อง​ร้อง​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​ได้​ ตาม​ ปพพ. มาตรา 213, 222
เว้นแ​ ต่​กุ้ง​มี​เหตุ​จำ� เป็นอ​ นั ​มิ​อาจ​ก้าว​ล่วง​ได้ เช่น บ้าน​เรือน​และ​ทดี่ ิน​ของ​ก้งุ ​ถกู ท​ าง​ราชการ​เวนคืน​ไม่มี​ที่​เก็บ
​ขา้ ว​เปลือก เป็นต้น กุง้ ​จงึ ​ม​สี ทิ ธิ​คนื ​ขา้ ว​เปลือก​แก่​ เข่ง​กอ่ น​ถงึ ​กำ� หนด​เวลา หรือ​ใน​กรณี​ท​กี่ งุ้ ​รบั ​ฝาก​เรือ​ยนต์​
ของ​เข่ง​ไว้​จนกว่าเ​ข่งจ​ ะ​ปลูก​บ้าน​เสร็จ กุ้ง ก็​จะ​คืนเ​รือ​ยนต์แ​ ก่ เข่ง​ก่อน​ก�ำหนด​ไม่​ได้ เว้น​แต่ กุ้ง​ได้ร​ ับค�ำ​สั่ง​


ให้​ไป​ปฏิบัติ​ราชการ​ต่าง​ประเทศ ซึ่ง​เป็น​เหตุ​จ�ำเป็น​อัน​มิ​อาจ​ก้าว​ล่วง​เสีย​ได้ กุ้ง ย่อม​คืน​เรือ​ยนต์​แก่
เข่ง​ก่อนเข่ง​ปลูก​สร้าง​บ้าน​เสร็จ​ได้

มส ตรง​กัน​ข้าม​กรณี​ผู้​ฝาก​นั้น ย่อม​เรียก​ทรัพย์สิน​คืน​ได้​ก่อน​เวลา​เสมอ​ดัง​ที่มา​ตรา 663


บัญญัตว​ิ า่ “ถึง​แม้ว่า​คู่​สัญญา​จะ​ได้​ก�ำหนด​เวลา​ไว้​ว่า​พึงจะ​คืน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​เมื่อไร​ก็ตาม ถ้าว่า​ผู้​ฝาก​
จะ​เรียก​คืน​ใน​เวลา​ใด ๆ ผู้รับ​ฝาก​ก็​ต้อง​คืนให้” เช่น กุ้ง รับ​ฝาก​นกเขา​ของ เข่ง​ม​ีกำ� หนด 1 ปี พอ​ฝาก​ไป​
ได้ 2 วัน เข่ง​คิดถึง​นกเขา​จึง​มา​ขอ​คืน ดังนี้ กุ้ง​ต้อง​คืน​นกเขา​ให้ เข่ง กุ้ง จะ​อ้าง​ว่า​ยัง​ไม่​ครบ​กำ� หนด​เวลา​
คืน​ตาม​สัญญา​ดังนี้​ไม่​ได้ เหตุ​ที่​เป็น​เช่น​นี้​ก็​เนื่องจาก​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​มี​ไว้​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผู้​ฝาก
แม้​จะ​ได้​ก�ำหนด​เวลา​ฝาก​กัน​ไว้​แต่​ผู้​ฝาก​ก็​อาจ​จะ​สละ​ประโยชน์​แห่ง​เงื่อน​เวลา​นั้น​ได้ (ปพพ. มาตรา 192)
ดัง​นั้น ผู้​ฝาก​จึง​เรียก​คืน​ทรัพย์​ได้​ไม่​ว่า​เวลา​ใดๆ ซึ่ง​ต่าง​กับ​หนี้​ทั่วไป เมื่อ​ได้​กำ� หนด​เวลา​ไว้​แล้ว​เจ้า​หนี้​จะ​
เรียก​ให้​ช�ำระ​หนี​ก้ ่อน​ถึง​เวลา​ที่​ก�ำหนด​หา​ได้​ไม่ (ปพพ. มาตรา 203 วรรค​สอง)
2) กรณี​ที่​คู่​สัญญา​ไม่​ได้ก​ �ำหนด​เวลา​กันไ​ ว้ มาตรา 664 บัญญัติ​ว่า “ถ้าคู่สัญญาไม่ได้

ก�ำหนดเวลาไว้ว่าจะพึงคืนรัพย์สิน ซึ่งฝากนั้นเมื่อไร ผู้รับ​ฝาก​อาจ​คืน​ทรัพย์สิน​นั้น​ได้​ทุก​เมื่อ” ส่วน​ด้าน​
ผู​้ฝาก​นั้น แม้​บทบัญญัติ​ใน​เรื่อง​ฝาก​ทรัพย์​ไม่​ได้​บัญญัติ​ไว้ โดย​นัย​ของ​มาตรา 663 ผู้​ฝาก​ย่อม​เรียก​ทรัพย์​
มส

ได้​ไม่ว​ า่ ​เวลา​ใดๆ อยู​แ่ ล้ว ซึง่ ​หลัก​เกณฑ์​ดงั ​กล่าว​ตรง​กบั ​ผล​แห่ง​หนี​ท้ วั่ ๆ ไป​ท​บี่ ญ ั ญัต​วิ า่ “ถ้า​เวลา​อัน​จะ​พึง​
ช�ำระ​หนี้​นั้น​มิได้​ก�ำหนด​ลง​ไว้ ฯลฯ ท่าน​ว่า​เจ้า​หนี้​ย่อม​จะ​เรียก​ให้​ช�ำระ​หนี้​ได้​โดย​พลัน​และ​ฝ่าย​ลูก​หนี้​ก​็
ย่อม​จะ​ช�ำระ​หนี้​ของ​ตน​ได้​โดย​พลัน​ดุจ​กัน” (ปพพ. มาตรา 203 วรรค​หนึง่ ) เช่น กุง้ ฝาก​กล้วยไม้​แก่ เข่ง​
โดย​ไม่​กำ� หนด​ระยะ​เวลา​ฝาก​กัน​นาน​เท่าใด พอ​ตกลง​ฝาก​กันเ​รียบร้อย เข่ง​ผู้รับ​ฝาก​ก็​อาจ​คืน​กล้วยไม้​ทรี่​ ับ​
ฝาก​แก่ กุ้งไ​ ด้​ทันที กุ้ง จะ​ปฏิเสธ​ไม่​รับ​คืน​อ้าง​ว่า​ยัง​ไม่ม​ที ี่​เก็บ​หรือ​ฝาก​กัน​ยัง​ไม่ทันข​ ้าม​วันก​ ็​เอา​มา​คืน​ดังนี​้
ไม่ไ​ ด้ ฝ่าย กุ้งท​ ​ฝี่ าก​กล้วยไม้ไ​ ว้เ​มื่อไ​ ม่ก​ ำ� หนด​เวลา​เรียก​คืน ก็เ​รียก​กล้วยไม้ค​ ืนไ​ ด้ท​ ุกเ​มื่อเ​ช่นเ​ดียวกัน เหตุ​

ที่​เป็น​เช่น​นี้​ก็​เพราะ​การ​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​เป็น​ภาระ​แก่​ผู้รับ​ฝาก เมื่อ​ไม่​ก�ำหนด​เวลา​กัน​ไว้ ผู้รับ​ฝาก​จึง​ย่อม​คืน​
ทรัพย์​นั้น​ได้​ทุก​เมื่อ
4.2 ทรั พ ย์ ​ที่ ​จ ะ​ต้ อ ง​คื น ทรัพย์สิน​ที่​ผู้รับ​ฝาก​มีหน้า​ท​ี่ ต้อง​คืน​นั้น​แบ่ง​ได้​เป็น 2 กรณี​คือ
1. การ​คืนตัว​ทรัพย์​กับ 2. การ​คืนด​ อก​ผล
1) การ​คนื ตัว​ทรัพย์ ทรัพย์สนิ ท​ ​ผี่ รู้ บั ​ฝาก​มหี น้า​ทต​ี่ อ้ ง​คนื ให้​แก่​ผ​ฝู้ าก​นนั้ ก็​คอื ทรัพย์สนิ ​
ที​ร่ บั ฝ​ าก​อนั ​เป็น​วตั ถุ​แห่ง​หนี​ต้ าม​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​นนั้ ​เอง (มาตรา 665, 657) จะ​คนื ​ทรัพย์​อนั ​อนื่ ​แก่​ผ​ฝู้ าก​
ก็​ไม่​ได้ ถ้า​ผู้รับ​ฝาก​คืน​ทรัพย์​อัน​อื่น​ซึ่ง​ไม่ใช่​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก ผู้​ฝาก​ย่อม​ปฏิเสธ​และ​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​ได้​ด้วย
สธ
นอกจาก​นี้​การ​คืน​ทรัพย์สิน​ที่​รับ​ฝาก​ไม่​ได้ เนื่องจาก​ทรัพย์​ที่​ฝาก​สูญหาย​หรือ​ถูก​ท�ำลาย หรือ​เสีย​หาย​จน​
คืน​ไม่​ได้ ผู้รับฝ​ าก​ก​ต็ ้อง​รับ​ผิด​ใช้​ราคา​ทรัพย์​แก่​ผู้​ฝาก​ตาม ปพพ. มาตรา 222 เว้นแ​ ต่​ผู้รับฝ​ าก​พิสูจน์ไ​ ด้​ว่า
การ​คนื ​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​กลาย​เป็น​พน้ ​วสิ ยั ​เพราะ​พฤติการณ์​ซงึ่ ​ผรู้ บั ​ฝาก​ไม่​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ชอบ​เกิด​ขนึ้ ผูร้ บั ​ฝาก​จงึ ​จะ​

4-40 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

หลุด​พ้นจ​ าก​การ​คืน​ทรัพย์​นั้น​ตาม ปพพ. มาตรา 219 เช่น กุ้ง รับฝ​ าก​รถยนต์​ของ เข่ง​ไว้ กุ้ง ได้เ​ก็บ​รักษา​
ทรัพย์ข​ อง เข่งต​ าม​หน้าทีแ่​ ต่​รถยนต์​ของ เข่ง​ถูก​ฟ้าผ่า​เสีย​หาย​ใช้​การ​ไม่​ได้ ดังนี้ กุ้ง​กไ็​ ม่​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ เข่ง
เหตุ​ที่​เป็น​เช่น​นี้​ก็​เพราะ​กรรมสิทธิ์​ใน​รถยนต์​ยัง​เป็น​ของ เข่ง กุ้ง เป็น​แต่​เพียง​ครอบ​ครอง​แทน​เมื่อ​รถยนต์​
ที่​รับ​ฝาก​สูญหาย​เพราะ​ไม่ใช่​ความ​ผิด​ของ​กุ้ง บาป​เคราะห์​แห่ง​ทรัพย์สิน​จึง​ย่อม​ตก​เป็น​พับ​แก่​เจ้าของ​
ทรัพย์สิน​นั้น ตาม​หลัก​ทั่วไป​ที่​ว่า ความ​วินาศ​แห่ง​ทรัพย์สิน​ย่อม​ตก​เป็น​พับ​แก่​ผู้​เป็น​เจ้าของ หรือ​ท​ี่ภาษา​


ละตินว​ ่า Res Perit Domino
อย่างไร​กต็ าม ถ้า​ผรู้ บั ​ฝาก​ยอมรับ​ทรัพย์สนิ ​อนื่ ​แทน​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก หนี​น้ นั้ ​ก​เ็ ป็น​อนั ​ระงับ​

กับท​ ฝี่​ าก
มส
สิ้น​ไป​ ตาม ปพพ. มาตรา 321 หรือ​ฝาก​เงิน​ตาม​มาตรา 672 ผู้รับ​ฝาก​ก็​ไม่​จ�ำ​ต้อง​คืน​เงิน​ตรา​อัน​เดียวกัน​

อุทาหรณ์
ฎ. 3067/2533 จ�ำเลย​รับ​ฝาก​เงิน​ของ​โจทก์ จ�ำเลย​ผู้รับ​ฝาก​จะ​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​
ใช้​ก็ได้ ฉะนั้น แม้​การ​รับ​ฝาก​เงิน​จะ​ไม่มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​และ​จ�ำเลย​จะ​ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวัง สงวน​รักษา​
ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​เหมือน​เช่น​เคย​ประพฤติ​ใน​กิจการ​ของ​จ�ำเลย​เอง​ก็ตาม เมื่อ​ปรากฏ​ว่า เงิน​ที่​ฝาก​นั้น​
สูญหาย​เพราะ​ถูกค​ นร้าย​ลัก​ไป แม้​จะ​เป็น​เหตุสุดวิสัย​ซึ่งไ​ ม่​อาจ​ป้องกัน​ได้จ​ �ำเลย​กต็​ ้อง​รับผ​ ิด​คืนจ​ �ำนวน​เงิน​
ทีร่​ ับฝ​ าก
2) การ​คนื ​ดอก​ผล ค�ำ​วา่ “ดอก​ผล​ของ​ทรัพย์​นนั้ ” ได้แก่ (1) ดอก​ผล​ธรรมดา หมายความ​

ว่า สิง่ ​ทเ​ี่ กิด​ขนึ้ ​ตาม​ธรรมชาติ​ของ​ทรัพย์ ซึง่ ​ได้​มา​จาก​ตวั ​ทรัพย์​โดย​การ​มห​ี รือ​การ​ใช้​ทรัพย์​นนั้ ​ตาม​ปกติ​นยิ ม
และ​สามารถ​ถือ​เอา​ได้​เมื่อข​ าด​จาก​ทรัพย์​นั้น (2) ดอก​ผล​นิตินัย หมายความ​ว่า ทรัพย์​หรือ​ประโยชน์อ​ ย่าง​
มส

อืน่ ​ท​ไี่ ด้​มา​เป็น​ครัง้ ​คราว​แก่​เจ้าของ​ทรัพย์​จาก​ผ​อู้ นื่ เพือ่ ​การ​ทไ​ี่ ด้​ใช้​ทรัพย์​นนั้ ​และ​สามารถ​คำ� นวณ​และ​ถอื เ​อา​
ได้เ​ป็นร​ าย​วัน หรือต​ าม​ระยะ​เวลา​ท​กี่ �ำหนด​ไว้ (ปพพ. มาตรา 148) ฉะนั้นใ​น​กรณีฝ​ าก​ทรัพย์ กรรมสิทธิใ​์ น​
ทรัพย์​ทฝ​ี่ าก​ยงั ​เป็นข​ อง​ผ​ฝู้ าก เหตุ​น​มี้ าตรา 666 จึง​บญ ั ญัต​วิ า่ “เมื่อ​คืน​ทรัพย์​ถ้า​มีด​อก​ผล​เกิด​แต่​ทรัพย์สิน​
ซึ่งฝ​ าก​นั้นเ​ท่าใด ผู้รับฝ​ าก​จ�ำ​ต้อง​ส่ง​มอบ​พร้อม​ไป​กับท​ รัพย์สินน​ ั้นด​ ้วย” เช่น กุ้ง รับฝ​ าก​แม่แ​ พะ​จาก​เข่ง​
ระหว่าง​ที่​รับ​ฝาก​นั้น แม่​แพะ​ตกลูก 2 ตัว ดัง​นั้น เวลา​คืน​ทรัพย์​ท​ี่รับ​ฝาก นอกจาก กุ้ง​ต้อง​คืน​แม่​แพะ​แก่
เข่ง​แล้ว กุ้ง ยัง​ต้อง​คืน​ลูก​แพะ 2 ตัว​พร้อม​ไป​กับ​แม่​แพะ​ด้วย หรือ​กุ้ง​รับ​ฝาก​ดูแล​บ้าน​และ​ที่ดิน​ของ เข่ง​

อุทาหรณ์

ระหว่าง​ที่​รับ​ฝาก คัง​ได้​ให้​ค่า​เช่า​ที่ดิน​ให้​แก่ กุ้ง ดังนี้​เวลา​คืน​บ้าน​และ​ที่ดิน​แก่ เข่ง กุ้ง ต้อง​คืน​ค่า​เช่า​ที่​ได้​
รับม​ า​จาก คังส​ ่งม​ อบ​ให้ เข่งพ​ ร้อม​กันไ​ ป​ด้วย

ฎ. 1221/2533 จ�ำเลย​เป็น​ค​ู่สัญญา​กับ​โจทก์ โดย​จ�ำเลย​ได้​รับ​มอบ​เงิน​จาก​โจทก์​แล้ว


สัญญา​จะ​ใช้​คนื ​พร้อม​ดอกเบีย้ อัน​เป็นการ​รบั ​ฝาก​เงิน​โดย​สญ ั ญา​ให้ด​ อกเบีย้ ด​ งั นี​ม้ ​ผี ล​ผกู พัน​บริษทั ​จำ� เลย​ให้​
ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​สัญญา​รับ​ฝาก​เงิน ดัง​กล่าว
4.3 ผู้​มีส​ ิทธิ​รับ​คืน ทรัพย์สิน​ท​ฝี่ าก​จะ​ต้อง​คืน​แก่​ผู้​ใด​นั้น มาตรา 665 วรรค​หนึ่ง บัญญัติว​ ่า
สธ
“ผู้รับ​ฝาก​จ�ำ​ต้อง​คืน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​รับ​ฝาก​ไว้​นั้น​ให้แก่​ผู้​ฝาก หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น​ฝาก​ใน​นาม​ของ​ผู้​ใด คืนให้​
แก่​ผู้​นั้น หรือ​ผู้รับ​ฝาก​ได้​รับค�ำ​สั่ง​โดย​ชอบ​ให้​คืน​ทรัพย์สิน​ไป​แก่​ผู้​ใด คืนให้​แก่​ผู้​นั้น” และ​มาตรา 665
วรรค​สอง บัญญัต​วิ า่ “แต่​หาก​ผฝู้​ าก​ทรัพย์​ตาย ท่าน​ให้​คืน​ทรัพย์สิน​นั้น​ให้​แก่​ทายาท” ดังนี​พ้ อ​จะ​แบ่ง​บคุ คล​

สัญญาฝากทรัพย์ 4-41

ที่​มี​สิทธิ​รบั ​คนื ​ทรัพย์​ท​ี่ฝาก​ได้​เป็น 4 ประเภท​คอื 1) ผู​้ฝาก 2) บุคคล​ที่​ผ้​ูฝาก​ระบุ​นาม 3) บุคคล​ท​ี่ผ​้ฝู าก​มี​


ค�ำ​สงั่ ​และ 4) ทายาท​ของ​ผู้​ฝาก
1) ผู้ฝ​ าก ผู​ฝ้ าก​เป็น​คส​ู่ ญั ญา​โดยตรง​ใน​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​เมือ่ ​สญ ั ญา​ระงับห​ รือ​มก​ี รณีท​ ี่​
ต้อง​คืน​ทรัพย์​ที่​ฝาก ผู้รับ​ฝาก​จึง​ต้อง​คืน​ทรัพย์สิน​ที่​รับ​ฝาก​ไว้​นั้น​ให้​แก่​ผู้​ฝาก ผู้รับ​ฝาก​จึง​ต้อง​คืน​ทรัพย์สิน​
ทีร​่ บั ​ฝาก​ไว้​นนั้ ​ให้​แก่​ผฝ​ู้ าก ไม่​ตอ้ ง​คำ� นึง​วา่ ​ผ​ฝู้ าก​เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​หรือ​ไม่​และ​แม้​กรรมสิทธิ​ใ์ น​ทรัพย์​


ที่​ฝาก​จะ​โอน​ไป​แล้ว ผู้รับ​ฝาก​ก็​ยัง​ต้อง​คืนให้​แก่​ผู้​ฝาก เพราะ​ใน​เรื่อง​การ​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​ผู้​ฝาก​ทรัพย์​ย่อม​ม​ี
สิทธิ​เรียก​คนื ท​ รัพย์​ท​ตี่ น​ฝาก​จาก​ผรู้ บั ​ฝาก​ได้​เสมอ ไม่ม​ปี ระเด็น​จะ​ตอ้ ง​วนิ จิ ฉัย​ถงึ ​กรรมสิทธิ​ใ์ น​ทรัพย์​วา่ เ​ป็น​

มส
ของ​ผ​ฝู้ าก​จริง​หรือ​ไม่ (ฎ. 800/2498)
ผู​ฝ้ าก​อาจ​ใช้​ชอื่ ​จริง นามสกุล​จริง​ใน​การ​ฝาก​ทรัพย์ หรือ​อาจ​ใช้​นามแฝง​หรือ​นาม​สมมติ​
ขึน้ ​มา หรือ​ใช้​เลข​รหัส​ทก​ี่ ำ� หนด​ขนึ้ ​ใน​การ​ฝาก​ทรัพย์​กไ็ ด้ เช่น​ใช้​ชอื่ ​วา่ “หนุมาน” “ราม” “ลักษณ์” “สุ​คร​ พี ”
“191” “123” ฯลฯ เป็น​ผู้​ฝาก เป็นต้น เมื่อ​ต้อง​คืน​ทรัพย์ ผู้รับ​ฝาก​ก​็ต้อง​คืนให้​แก่​ผู้​ฝาก​ซึ่ง​เป็น​คู่​สัญญา​
โดยตรง
อุทาหรณ์
ฎ. 2423/2551 หลัง​จาก​โจทก์​เบิก​เงิน​จาก​บัญชี​เงิน​ฝาก​ประจ�ำ​ของ ท. บิดา​โจทก์​ไป​
แล้ว แม้วา่ ​ตอ่ ​มา​โจทก์​นำ​ � เงิน​มา​ฝาก​ตาม​บญ ั ชี​พพิ าท​ใน​นาม​ของ​โจทก์ เท่ากับ​โจทก์​เป็น​ผู้​ฝาก​เงิน​ตาม​บัญชี​
พิพาท ส่วน​ปญ ั หา​ทว​ี่ า่ ​เงิน​ใน​บญั ชี​พพิ าท​เป็น​ทรัพย์​มรดก​หรือ​ไม่ บรรดา​ทายาท​ตอ้ ง​ไป​วา่ ​กล่าว​เป็น​อกี ​คดี​

หนึ่ ง​ต่าง​ห าก​ไม่​เกี่ยว​กับ​คดี ​นี้ นอกจาก​นี้​ใ น​ระหว่าง​การ​พิจารณา​ของ​ศาล​ชั้ น​ต้น มี​คำ​ � สั่ง​ตั้ง​โจทก์​เป็น​
ผู​จ้ ดั การ​มรดก​ของ ท. ซึง่ ​ตาม​คำ​ � ให้การ​ของ​จำ� เลย จ�ำเลย​รบั ​วา่ ​จะ​คนื ​เงิน​ให้​แก่​ทายาท​ท​ศี่ าล​ม​คี ำ​ � สงั่ ​ตงั้ ​เป็น​
มส

ผู​้จัดการ​มรดก​ของ ท. ต่อ​ไป เงื่อนไข​อัน​เป็น​ข้อ​ต่อสู้​เรื่อง​ระงับ​การ​เบิก​ถอน​เงิน​ของ​จ�ำเลย​หมด​สิ้น​ไป​แล้ว


ส่วน​การ​ท​โี่ จทก์เ​บิกเ​งิน​ฝาก​ประจ�ำ​ของ ท. ไป​กอ่ น​ท​ศี่ าล​จะ​ม​คี ำ​ � สงั่ ​ตงั้ ​โจทก์​เป็นผ​ ​จู้ ดั การ​มรดก​ของ ท. และ​
จ�ำเลย​ยินยอม​ให้​โจทก์​เบิก​เงิน​ดัง​กล่าว​ไป​ได้ ก็​ถือ​เป็นการ​ยอมรับ​ความ​เสี่ยง​ภัย​ของ​จ�ำเลย​เอง​ตาม ปพพ.
มาตรา 665 วรรค​สอง ไม่เ​กี่ยว​กับ​บัญชี​เงิน​ฝาก​พิพาท ดัง​นั้น เมื่อ​โจทก์​ประสงค์​จะ​ถอน​เงิน​ฝาก​จาก​บัญชี​
พิพาท จ�ำเลย​ก็​ต้อง​คืนให้แ​ ก่​โจทก์​ ตาม ปพพ. มาตรา 665 วรรค​สอง เมื่อ​โจทก์​ไป​ยื่น​ค�ำขอ​เบิก​เงิน​จาก​
บัญชี​พิพาท​จาก​จ�ำเลย​ครั้งแ​ รก แต่​จ�ำเลย​ระงับก​ าร​จ่าย​เงิน​ให้​แก่​โจทก์ จึง​เป็นการ​ละเมิด​ต่อ​โจทก์

เป็นการ​ฝาก​ใน​นาม​ของ​จำ� เลย​โดย​ไม่​ปรากฏ​ขอ้ ความ​วา่ ​จำ� เลย​เปิดบ​ ญ



ฎ. 8963/2553 ปพพ. มาตรา 665 วรรค​หนึ่ง บัญญัตวิ​ ่า ผู้รับฝ​ าก​จ�ำ​ต้อง​คืนท​ รัพย์สิน​
ซึ่ง​รับ​ฝาก​ไว้​นั้น​ให้​แก่​ผู้​ฝาก หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น​ฝาก​ใน​นาม​ของ​ผู้​ใด​คืนให้​แก่​ผู้​นั้น... บัญชี​เงิน​ฝาก​ชื่อ​บัญชี​
ั ชีเ​งิน​ฝาก​ดงั ​กล่าว​แทน​ผร​ู้ อ้ ง ธนาคาร​
ผู้รับ​ฝาก​จึง​ต้อง​คืน​เงิน​ฝาก​ให้​แก่​จ�ำเลย​ตาม​บทบัญญัติ​ของ​กฎหมาย แม้​ผู้​ร้อง​น�ำ​เงิน​เข้า​บัญชี​ของ​จ�ำเลย​
เพื่อ​ให้​จ�ำเลย​รับ​ซื้อ​น�้ำมัน​ใช้​แล้ว​จาก​ลูกค้า​ทั่วไป​แทน​ผู้​ร้อง แต่​เงิน​ที่​ผู้​ร้อง​น�ำ​เข้า​ฝาก​ใน​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​
จ�ำเลย​จึง​เป็น​กรณี​การ​ฝาก​เงิน ซึ่ง​ตาม ปพพ. มาตรา 672 ให้​สันนิษฐาน​ไว้​ก่อน​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​พึง​ต้อง​
ส่งค​ นื เ​ป็นเ​งินต​ รา​อนั ​เดียวกันก​ บั ​ท​ฝี่ าก ผูร้ บั ฝ​ าก​ม​สี ทิ ธิเ​อา​เงินน​ นั้ อ​ อก​ใช้ได้ ฉะนัน้ เ​งินท​ ฝ​ี่ าก​จงึ ​ตก​เป็นข​ อง​
สธ
ธนาคาร เมือ่ ​จำ� เลย​ใช้​สทิ ธิ​เรียก​รอ้ ง​เอา​เงิน​ทฝ​ี่ าก​จาก​ธนาคาร ธนาคาร​ก​ไ็ ม่​จำ​ � ตอ้ ง​คนื ​เงิน​ตรา​อนั ​เดียว​กบั ​ที่​
รับ​ฝาก ธนาคาร​คง​มแ​ี ต่ห​ น้าทีจ​่ ะ​ตอ้ ง​คนื ​เงินใ​ห้ค​ รบ​ถว้ น​เท่านัน้ จ�ำเลย​เป็นผ​ ท​ู้ ำ​ � สญั ญา​เปิดบ​ ญ ั ชีเ​งินฝ​ าก​กบั ​
ธนาคาร​ใน​นาม​ของ​จ�ำเลย ธนาคาร​ผู้รับฝ​ าก​จึง​ต้อง​คืนเ​งิน​ฝาก​พร้อม​ดอกเบี้ย​ให้​จ�ำเลย​ซึ่ง​เป็น​ผู้​ฝาก ผู้​ร้อง​

4-42 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

มิได้เ​ป็นค​ ส​ู่ ญ
ั ญา​กบั ธ​ นาคาร​ดว้ ย จึงไ​ ม่มส​ี ทิ ธิเ​รียก​คนื เ​งินท​ ร​ี่ บั ฝ​ าก​ไว้จ​ าก​บญ ั ชีเ​งินฝ​ าก​ท​เี่ ปิดไ​ ว้ใ​น​นาม​ของ​
จ�ำเลย​ ตาม ปพพ. มาตรา 665 และ​มาตรา 672 ผู้​ร้อง​เพียง​แต่ม​ ี​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ให้​จ�ำเลย​ปฏิบัติ​ตาม​หน้าที่​
ทีจ่​ �ำเลย​ม​ตี ่อ​ผร​ู้ ้อง​เท่านั้น หาก​จ�ำเลย​ไม่​รับ​ซื้อ​นำ�้ มันใ​ช้แ​ ล้ว​จาก​ลูกค้า​ตาม​ที่​ผู้​ร้อง​อนุมัติ​เงินไ​ ป ผูร้​ ้อง​ก็​ไม่ม​ี
สิทธิท​ จ​ี่ ะ​ถอน​เงิน​จาก​บญ ั ชี​เงิน​ฝาก​ของ​จำ� เลย​คนื ไ​ ด้​เอง ผูร​้ อ้ ง​จงึ ม​ ใิ ช่​เจ้าของ​เงิน​ฝาก​ตาม​บญ ั ชี​ธนาคาร​ของ​
จ�ำเลย​ทถี่​ ูก​อายัดไ​ ว้ และ​ไม่มี​สิทธิ​ขอ​ให้​ถอน​อายัด​เงิน​ฝาก​ดัง​กล่าว


2) บุคคล​ที่​ผู้​ฝาก​ระบุ​นาม ผู้​ฝาก​อาจ​แจ้ง​นาม​ให้​ผู้รับ​ฝาก​ทราบ​ว่า ทรัพย์สิน​นั้น​ฝาก​
ใน​นาม​ของ​ผู้​ใด​ ผู้รับ​ฝาก​ก็​ต้อง​คืน​แก่​ผู้​นั้น เช่น กุ้ง เป็น​ตัวแทน​น�ำ​รถยนต์​ของ เข่ง​ไป​ฝาก คัง​โดย​แจ้ง​ให้​

มส
คัง​ทราบ​ว่า เข่ง เป็น​ผู้​ฝาก ดังนี้ คัง มีหน้า​ที่​ต้อง​คืนร​ ถยนต์แ​ ก่ เข่ง
3) บุคคล​ที่​ผู้​ฝาก​มี​ค�ำ​สั่ง ผู้​ฝาก​อาจ​แจ้ง​ให้​ผู้รับ​ฝาก​ทราบ​ว่า​ทรัพย์​ที่​ฝาก​นั้น​ให้​คืน​แก่​
ผู้​ใด หรือ​ให้​คืน​แก่​ผ​ทู้ ี่​ระบุ​ชื่อ​ใน​สัญญา ดังนี้​ผู้รับ​ฝาก​กต็​ ้อง​คืนแ​ ก่​ผู้​นั้น​ไม่ต​ ้อง​คืนแ​ ก่​ผู้​ฝาก
ค�ำ​สั่ง​ของ​ผู้​ฝาก​ใน​ข้อ​นี้​ต้อง​ให้​โดยตรง​แก่​ผู้รับ​ฝาก​จะ​ให้​ใน​ขณะ​ฝาก​หรือภ​ าย​หลัง​ก็ได้
แต่​จะ​สั่ง​แก่​บุคคล​อื่น​ที่​ไม่ใช่​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​ได้ ทั้ง​จะ​ต้อง​เป็น​คำ​ � สั่ง​โดย​ชอบ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​ปฏิบัติ​ได้​ด้วย เช่น กุ้ง
ฝาก​นาฬิกา​แก่ เข่ง​แล้ว​บอก​ให้ เข่ง​คืน​แก่ คัง เมื่อ​เข่ง​ได้​คืน​นาฬิกา​แก่ คัง​ตาม​ค�ำ​สั่ง​แล้ว ก็​ถือว่า​คืน​ตาม​
สัญญา เข่ง ไม่​ต้อง​คืน​แก่ กุ้ง หรือแดง​ฝาก​เครื่อง​ทอง​แก่ ด�ำ เพื่อ​ให้​แก่​บุตร​แดง บุตร​แดง​ไป​เอา​คืน​จาก
ด�ำ​โดย แดง​รู้​แล้ว​ไม่​คัดค้าน ดังนี้​ถือว่า ด�ำ​คืน​ทรัพย์โ​ ดย​ชอบ​แล้ว แดง​จะ​ฟ้อง​เรียก​เครื่อง​ทอง​คืน​จาก ด�ำ​
อีกไม่​ได้ (ฎ. 999/2493)

4) ทายาท​ของ​ผู้​ฝาก ใน​กรณี​ที่​ผู้​ฝาก​ตาย​กฎหมาย​บัญญัติ​ให้​คืน​แก่​ทายาท​ของ​ผ​ู้ฝาก
ไม่ใช่​ทายาท​ของ​เจ้าของ​ทรัพย์ ทายาท​ของ​ผู้​ฝาก​อาจ​เป็น​ทายาท​โดย​ธรรม​หรือ​ผู้รับ​พินัยกรรม (ปพพ.
มส

มาตรา 1603) ถ้า​ผู้​ฝาก​ตาย​และ​มี​ผู้​จัดการ​มรดก ผู้รับ​ฝาก​ก็​ชอบ​ที่​จะ​คืน​ทรัพย์​ที่​ฝาก​แก่​ผู้​จัดการ​มรดก


(ปพพ. มาตรา 1719 และ 1724) แต่​ถ้า​ไม่​สามารถ​หยั่ง​ร​ู้ถึง​สิทธิ​หรือ​ไม่รู้​ตัว​ทายาท​ของ​ผู้​ฝาก​โดย​มิใช่​
ความ​ผิดข​ อง​ผู้รับฝ​ าก​แล้ว ผู้รับฝ​ าก​อาจ​วาง​ทรัพย์ท​ ี่​ฝาก ณ ส�ำนักงาน​วาง​ทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 331,
333 ได้
ใน​กรณีท​ ​ผี่ ฝ​ู้ าก​ระบุน​ าม​วา่ ฝ​ าก​ใน​นาม​ของ​ผใ​ู้ ด​หรือผ​ ฝ​ู้ าก​ม​คี ำ​
� สงั่ โ​ ดย​ชอบ​ให้ค​ นื แ​ ก่ผ​ ใ​ู้ ด​
ไป​แล้ว ผูฝ​้ าก​ตาย ไม่เ​ข้าห​ ลักข​ อ้ น​ ี้ กล่าว​คอื ไม่ใช่ค​ นื แ​ ก่ท​ ายาท​ของ​ผฝ​ู้ าก แต่ต​ อ้ ง​คนื แ​ ก่บ​ คุ คล​ท​ผี่ ฝ​ู้ าก​ระบุ​
นาม หรือ​ทายาท​ของ​บุคคล​ที่​ผู้​ฝาก​มี​ค�ำ​สั่งแ​ ล้ว​แต่​กรณี

บุคคล 4 ประเภท​ดัง​กล่าว​แล้ว ถ้า​เอา​ทรัพย์น​ ั้น​ไป​คืน​แก่​บุคคล​อื่น ดังนี้ ผู้รับ​ฝาก​จะ​ต้อง​รับ​ผิด


อุทาหรณ์
ฎ. 2004/2517 เมือ่ ​ปรากฏ​วา่ ​ผรู้ บั ​ฝาก​จำ​

เมื่อ​ผู้รับ​ฝาก​หรือ​บุคคล​ท​ี่อยู่​ใต้​บังคับ​บัญชา​ของ​ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​คืน​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​แก่​

� ตอ้ ง​คนื ​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​รบั ​ฝาก​ไว้​นนั้ ​ให้​แก่​ผ​ฝู้ าก​


หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น​ฝาก​ใน​นาม​ของ​ผู้​ใด คืนให้​แก่​ผู้​นั้น หรือ​ผู้รับ​ฝาก​ได้​รับค�ำ​สั่ง​โดย​ชอบ​ให้​คืน​ทรัพย์สิน​นั้น​
ไป​แก่​ผ​ู้ใด คืนให้​แก่​ผู้​นั้น​ตาม​มาตรา 665 แต่​คน​งาน​ของ​จ�ำเลย​ได้​คืน​รถยนต์​ของ​โจทก์​ที่​จ�ำเลย​รับ​ฝาก​ให้​
สธ
คน​อื่น​ไป​โดย​มิได้​ตรวจ​ดู​หนังสือ​ที่​มี​ผู้น�ำ​มา​ขอรับ​รถ​ให้​ดี​เสีย​ก่อน​ว่า เป็น​ลายมือ​ชื่อ​ของ​โจทก์​หรือ​ไม่ ทั้งๆ
ที่​คน​งาน​ของ​จำ� เลย​ก็​จำ� ลาย​มือ​ของ​โจทก์​ได้ เช่น​นี้​เป็นการ​ประมาท​เลินเล่อ​อย่าง​ร้าย​แรง จ�ำเลย​จึง​ต้อง​รับ​
ผิด​ใช้​ราคา​รถ​แก่​โจทก์

สัญญาฝากทรัพย์ 4-43

ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​ฉบับ​นี้ ผู้รับ​ฝาก​จะ​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​ใน​ความ​ผิด​ของ​คน​งาน​ที่​ตน​ใช้​
ใน​การ​ช�ำระ​หนี้​นั้น​โดย​ขนาด​เสมอ​กับ​ว่า​เป็น​ความ​ผิด​ของ​ตนเอง ตาม ปพพ.มาตรา 220 อย่างไร​ก็ตาม
ผูร้ บั ​ฝาก​อาจ​ตกลง​ลว่ ง​หน้า​กบั ​ผ​ฝู้ าก​เป็น​ขอ้ ความ​ยกเว้น​ม​ใิ ห้​ตน​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​เพือ่ ​กล​ฉอ้ ฉล​หรือ​ความ​ประมาท​
เลินเล่อ​อย่าง​ร้าย​แรง​ของ​บุคคล​ที่​ตน​ใช้​ใน​การ​ช�ำระ​หนี้ หรือ​ของ​ตัวแทน​ของ​ตน​ได้ (ปพพ. มาตรา 220,
373)


อนึง่ การ​คนื ​ทรัพย์​ให้​แก่​บคุ คล​ตาม​มาตรา 665 นัน้ ผูร้ บั ​ฝาก​ตอ้ ง​คนื ตัว​ทรัพย์​ทฝ​ี่ าก​ใน​สภาพ​
เดิม​ขณะ​รับ​ฝาก พร้อม​ทั้ง​ดอก​ผล​แห่ง​ทรัพย์​นั้น​ด้วย

กิจกรรม 4.1.2 มส
กิจ​ไป​ตา่ ง​จงั หวัดจ​ งึ ​เอา​สนุ ขั ช​ อื่ ​แต้มฝ​ าก สุขมุ เ​พือ่ น​บา้ น สุขมุ ใ​ห้แ​ ต้มส​ นุ ขั ท​ ​ฝี่ าก​กนิ อ​ าหาร​สนุ ขั เ​ช่น​
เดียว​กับ​สุนัข​ท​ตี่ น​เลี้ยง แต้ม​เกิด​ป่วย​เพราะ​อาหาร​ไม่​ย่อย กิจก​ ลับ​มา​น�ำ​แต้ม​ไป​หา​สัตวแพทย์ ดังนี้ กิจจะ​
เรียก​ค่า​รักษา​แต้ม​จาก​สุขุม​ได้​หรือ​ไม่ เพราะ​เหตุ​ใด

แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.1.2
สุขมุ ผ​ รู้ บั ฝ​ าก​ดว้ ย​การ​ทำ� ให้เ​ปล่าไ​ ม่มบ​ี ำ� เหน็จค​ า่ ฝ​ าก​ได้ใ​ช้ค​ วาม​ระมัดระวังส​ งวน​รกั ษา​ทรัพย์สนิ ท​ ี่​

ฝาก คือ​สุนัข​ชื่อ​แต้ม​ให้​กิน​อาหาร​เช่น​เดียว​กับ​ท​ี่ให้​สุนัข​ของ​ตน​กิน เป็นการ​ชอบ​ด้วย ปพพ. มาตรา 659
วรรค​หนึ่ง​แล้ว กิจจะ​เรียก​ค่า​รักษา​จาก​สุนัข​ไม่ไ​ ด้
มส


สธ

4-44 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่อง​ที่ 4.1.3
สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​ผู้​ฝาก


สิทธิ​และ​หน้าที​ข่ อง​ผ​ฝู้ าก​ท​จี่ ะ​กล่าว​ตอ่ ​ไป​นี้ เป็นการ​กล่าว​ใน​ดา้ น​ตรง​กนั ข​ า้ ม​กบั ​เรือ่ ง​ที่ 4.1.2 สิทธิ​
และ​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​ที่​ได้​ศึกษา​มา​แล้ว ทั้งนี้​เว้น​แต่​ค​ู่สัญญา​จะ​ได้​ตกลง​กัน​ไว้​ใน​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เป็น​
อย่าง​อื่น

มส
สิทธิ​ของ​ผู้​ฝาก
ผู้​ฝาก​ม​สี ิทธิ​อยู่ 3 ประการ​คือ
1. สิทธิ​ฟ้อง​บังคับ​ให้​สงวน​รักษา​ทรัพย์ ห้าม​ใช้สอย หรือ​ห้าม​คน​อื่น​เก็บ​รักษา​ทรัพย์
2. สิทธิ​เรียก​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เกี่ยว​แก่​การ​ฝาก​ทรัพย์
3. สิทธิ​​เรียก​คืน​ทรัพย์​และ​ดอก​ผล
1. สิ ท ธิ ​ฟ้อง​บั งคั บ ​ให้​ส งวน​รั กษา​ทรัพย์ ห้าม​ใช้สอย​หรือ​ห้าม​คน​อื่น​เก็บ​รักษา​ทรัพย์ ใน​การ​
ฝาก​ทรัพย์ ผู้รับ​ฝาก​มีหน้า​ท​สี่ งวน​รักษา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก ตาม​มาตรา 659 และ​จะ​เอา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​

ออก​ใช้สอย​เอง หรือเ​อา​ไป​ให้บ​ ุคคล​ภายนอก​ใช้สอย​หรือใ​ห้บ​ ุคคล​ภายนอก​เก็บร​ ักษา​ไม่ไ​ ด้ต​ าม​มาตรา 660
หาก​ผู้รับ​ฝาก​ละเลย​ไม่ช​ �ำระ​หนี้ (fails to perform) ที่ต​ น​มี​ภาระ​ผูกพัน​อยู​ต่ าม​มาตรา 659,660 ผู้​ฝาก​ซึ่ง​
เป็นเจ้า​หนี​ย้ อ่ ม​ฟอ้ ง​ให้​ศาล​สงั่ ​บงั คับ​ให้​ผรู้ บั ​ฝาก​งด​เว้น​ใช้สอย​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​หรือ​งด​เว้น​ให้​คน​อนื่ ​เก็บ​รกั ษา​ตาม​
มส

มาตรา 660 หรือข​ อ​ให้ศ​ าล​สั่ง​ให้​โอกาส​ผ​ฝู้ าก​จ้าง​คน​อื่นเ​ก็บ​สงวน​รักษา​ทรัพย์​ที่​ฝาก​โดย​ให้ผ​ ู้รับ​ฝาก​เสีย​ค่า​


ใช้​จ่าย​ก​็ย่อม​ทำ� ได้ ทั้งนีไ้​ ม่​จำ� เป็น​ต้อง​ใช้​สิทธิ​บอก​เลิก​สัญญา​หรือ​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​เท่านั้น
อุทาหรณ์
1. กิจ มี​อาชีพ​รับ​ฝาก​รถยนต์ ได้​เอา​รถยนต์​ของ เข่ง​ที่​รับ​ฝาก​ไป​ใช้สอย หรือ​ให้​บุคคล​ภายนอก​
เก็บ​รักษา ดังนี้ เข่ง ย่อม​ฟ้อง​ให้​ศาล​สั่ง​ห้าม กิจ​ได้

2. หนึ่ง​เก็บ​รักษา​รถยนต์​ของ​สอง​ไม่​ดี ปล่อย​ให้​ตาก​แดด​ตาก​ฝน ไม่​ท�ำความ​สะอาด​และ​ไม่​เดิน​
เครื่อง​เพื่อ​รักษา​เครื่องยนต์ แต่​ก​็ยัง​ไม่​ถึง​กับ​ทำ� ให้​รถยนต์​ที่​ฝาก​เสีย​หาย ดังนี​้จะ​เห็น​ว่า​สภาพ​แห่ง​หนี้​ไม่​
เปิด​ชอ่ ง​ให้​บงั คับ​หนึง่ ​ชำ� ระ​หนี​ไ้ ด้ สอง​ยอ่ ม​ฟอ้ ง​ตอ่ ​ศาล​เพือ่ ​ให้​โอกาส​สอง​จา้ ง​คน​อนื่ ​มา (กระท�ำ​การ) รักษา​
รถยนต์​แทน​โดย​ให้​หนึง่ ​เสีย​คา่ ​ใช้​จา่ ย​ให้​กไ็ ด้ (ปพพ. มาตรา 213 วรรค​สอง) ทัง้ นี​้นาย​สอง​ไม่​จำ​
เลิก​สญ ั ญา​หรือ​ฟอ้ ง​เรียก​คา่ ​เสีย​หาย​แต่​อย่าง​เดียว เนือ่ งจาก​บาง​กรณี​นาย​หนึง่ ​และ​นาย​สอง อาจ​ตกลง​ฝาก​
� ตอ้ ง​ใช้​สทิ ธิ​

ทรัพย์ก​ นั เ​ป็น​เวลา​นาน โดย​ม​บี ำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก และ​ม​ขี อ้ ​ตกลง​ดว้ ย​วา่ ​ถา้ ​ระหว่าง​สญ ั ญา สอง​นำ​ � ทรัพย์​ไป​ฝาก​
ที่​อื่น ต้อง​เสีย​เบี้ย​ปรับ​อย่าง​สูง​แก่​หนึ่ง​ทั้ง​การก​ระ​ท�ำ​ของ​หนึ่ง​ยัง​ไม่​ถึง​ขนาด​ที่​ท�ำให้​รถยนต์​ที่​ฝาก​เสีย​หาย​
สธ
อัน​จะ​ฟ้อง​เรียก​ค่า​เสีย​หาย ดังนี้ สอง​ย่อม​ฟ้อง​ต่อ​ศาล​ให้​สั่งบ​ ังคับ​หนึ่ง​ให้​ชำ� ระ​หนี​ ้ ตาม ปพพ. มาตรา 213
วรรค​สอง

สัญญาฝากทรัพย์ 4-45

2. สิทธิ​เรียก​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เกี่ยว​แก่​การ​ฝาก​ทรัพย์ ผู​ฝ้ าก​ฟอ้ ง​เรียก​คา่ ​เสีย​หาย​หรือ​คา่ ​สนิ ไหม​


ทดแทน​ใน​เมือ่ ผ​ รู้ บั ฝ​ าก​กระท�ำ​ผดิ ​หน้าทีท​่ ำ� ให้เ​กิดค​ วาม​เสียห​ าย​อกี ​ดว้ ย ซึง่ แ​ บ่งไ​ ด้เ​ป็น 3 กรณี คือ 1) กรณี​
ผูร้ บั ​ฝาก​ไม่ส​ งวน​รกั ษา​ทรัพย์ท​ ​ฝี่ าก​ตาม​มาตรา 659 2) กรณี​ผรู้ บั ​ฝาก​ใช้สอย​หรือใ​ห้ค​ น​อนื่ เ​ก็บร​ กั ษา​ทรัพย์​
ที่​ฝากตาม​มาตรา 660 กับ 3) กรณี​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​บอก​กล่าว​เมื่อ​ถูก​ฟ้อง​หรือ​ถูก​ยึด​ทรัพย์สิน​ท​ี่ฝาก​ตาม​
มาตรา 661


2.1 กรณีผ​ ู้รับฝ​ าก​ไม่ส​ งวน​รักษา​ทรัพย์ท​ ี่​ฝาก​ตาม มาตรา 659 ผูร้ บั ​ฝาก​มหี น้า​ทส​ี่ งวน​รกั ษา​
ทรัพย์ท​ ​ฝี่ าก​ใน​ระหว่าง​ทตี่​ น​เก็บร​ ักษา ถ้าผ​ ู้รับฝ​ าก​ละเลย​ไม่​สงวน​รักษา​ทรัพย์สินจ​ น​เป็นเ​หตุ​ให้ท​ รัพย์​ที่​รับ​

มส
ฝาก​สูญหาย​หรือ​ถูกท�ำลาย หรือ​เสีย​หาย​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด อัน​ถือ​ได้​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​ช�ำระ​หนี้​ให้​ต้อง​ตาม​
ความ​ประสงค์​อนั แ​ ท้จริง​แห่ง​มลู ห​ นี้ ผูฝ​้ าก​ยอ่ ม​ฟอ้ ง​เรียก​คา่ ​สนิ ไหม​ทดแทน​เพือ่ ​ความ​เสีย​หาย​อนั เ​กิด​แต่​การ​
นั้น​ได้ (ปพพ. มาตรา 215) ค่าเ​สียห​ าย​ทฟี่​ ้อง​เรียก​นั้น​ได้แก่​เรียก​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เพื่อ​ความ​เสีย​หาย​เช่น​
ที​ต่ าม​ปกติ​ยอ่ ม​เกิด​ขนึ้ ​แต่​การ​ไม่​ชำ� ระ​หนี​น้ นั้ นอกจาก​น​ผี้ ้​ฝู าก​จะ​เรียก​คา่ ​สนิ ไหม​ทดแทน​ได้ แม้​กระทัง่ ​เพือ่ ​
ความ​เสีย​หาย​อัน​เกิด​แต่​พฤติการณ์​พิเศษ หากว่า​คู่​กรณี​ที่​เกี่ยวข้อง​ได้​คาด​เห็น​หรือ​ควร​จะ​ได้​คาด​เห็น​
พฤติการณ์เ​ช่นน​ ั้นล​ ่วง​หน้าก​ ่อน​แล้ว (ปพพ. มาตรา 222)
อุทาหรณ์
กิจ​รบั ​ฝาก​รถยนต์​รบั จ้าง​คน​โดยสาร​ของ เข่ง ซึง่ ​ม​รี าคา 2 แสน​บาท แต่ กิจ​ลมื ​ปดิ ​โรงรถ​และ​
ทิง้ ​กญุ แจ​รถยนต์ไ​ ว้ด​ ว้ ย คนร้าย​จงึ ​ลกั ​เอา​รถยนต์ข​ อง เข่งไ​ ป กิจม​ ​คี วาม​ผดิ ​ท​ไี่ ม่ร​ ะมัดระวังส​ งวน​รกั ษา​รถยนต์​
ของ เข่ง รุ่ง​ขึ้น เข่ง​ไป​ทวง​รถ​แต่ กิจ​ไม่มี​รถ​ให้ ดังนี้ เข่ง​ย่อม​มี​สิทธิ​ฟ้อง​เรียก​ราคา​รถ 2 แสน​บาท พร้อม​

ด้วย​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 7 ครึ่ง​ต่อ​ปี​จาก กิจ รวม​ทั้ง​ค่าที่ เข่ง​ต้อง​ว่า​จ้าง​รถ​อื่น​ไป​ส่ง​ที่​ท�ำงาน​ทั้ง​ขา​ไป​ขาก​ลับ​
ทุก​วนั วัน​ละ 200 บาท นับ​แต่​วนั ​ไป​ทวง​รถ​จนกว่า กิจจะ​ชำ� ระ​ให้​เสร็จ​สนิ้ นอกจาก​นเ​ี้ วลา​เลิก​งาน​แล้ว เข่ง​
มส

ได้​น�ำ​รถยนต์​ออกรับ​จ้าง​ได้​เงิน​วัน​ละ 600 บาท ซึ่ง​กิจ​ผู้รับ​ฝาก​ก็​รู้​เห็น​อยู่​ทุก​วัน กิจ​จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ชดใช้​เงิน​


ราย​ได้ที่ เข่ง​ขาด​ไป​อีก​วัน​ละ 600 บาท นับ​แต่​วัน​ไป​ทวง​รถ​จนกว่า กิจจะ​ชำ� ระ​ให้​เสร็จ​สิ้น​อีก​ส่วน​หนึ่งด​ ้วย
อย่างไร​ก็​ดี ถ้า​การ​ไม่​ระมัดระวัง​สงวน​รักษา​ทรัพย์​ตาม​มาตรา 659 เป็น​เหตุ​ให้​ทรัพย์​ที่​รับ​
ฝาก​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย หรือ​เสีย​หาย​อย่าง​หนึ่ง​อย่าง​ใด​เพราะ​เหตุสุดวิสัย ดังนี​้ผู้รับ​ฝาก​ก็​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​
ตาม​หลัก​เกณฑ์​ทั่วไป​แห่ง​หนี้ ดัง​ที่​บัญญัติ​ไว้​ใน ปพพ. มาตรา 219 และ​ไม่​ต้อง​น�ำ​บทบัญญัติ​ความ​รับ​ผิด​
เฉพาะ​การ​ใช้สอย​หรือ​ให้​คน​อื่น​เก็บ​รักษา​ตาม​มาตรา 660 มา​ใช้​แก่​กรณี​ตาม​มาตรา 659 ด้วย
อุทาหรณ์ ม
กิจ​รับ​ฝาก​รถยนต์​ของ​เข่ง กิจ​ลืม​ปิด​ประตู​ใส่​กุญแจ​โรงรถ​และ​ทิ้ง​กุญแจ​รถยนต์​ไว้​ด้วย พอดี​
ฟ้า ผ่ า ​โรงรถ​ทำ� ให้​รถ​ข อง​เข่ง​พัง​ก ลาย​เป็น​เ ศษ​เ หล็ก อัน​เป็ น​เหตุสุด วิสัย การ​ส่ง ​คืน ​รถยนต์​เป็น​พ้น​วิสัย​
เพราะ​พฤติการณ์​ซงึ่ กิจ​ไม่​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ชอบ กิจ​เป็นอ​ นั ​หลุดพ​ น้ จ​ าก​การ​ตอ้ ง​สง่ ​คนื ​รถยนต์​หรือใ​ช้ร​ าคา​แก่​เข่ง​
รวม​ทงั้ ไ​ ม่ต​ อ้ ง​ชดใช้ค​ า่ เ​สียห​ าย​อย่าง​ใดๆ ด้วย บาป​เคราะห์ย​ อ่ ม​ตก​เป็น​พบั แ​ ก่เ​ข่ง​เจ้าของ​รถยนต์ ตาม ปพพ.
มาตรา 219
2.2 กรณี ​ผู้รับ​ฝาก​ใช้สอย​หรือ​ให้​คน​อื่น​เก็บ​รักษา​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​ตาม​มาตรา 660 การ​
สธ
ใช้สอย​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​หรือ​ให้​คน​อื่น​เก็บ​รักษา​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​นั้น มาตรา 660 บัญญัติ​ว่า “ถ้าผ​ ู้​ฝาก​มิได้​อนุญาต​
และ​ผู้รับ​ฝาก​เอา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้สอย​เอง หรือ​เอา​ไป​ให้​บุคคล​ภายนอก​ใช้สอย​ หรือ​ให้​บุคคล​
ภายนอก​เก็บ​รักษา​ไซร้ ท่าน​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​จะ​ต้อง​รับ​ผิด​เมื่อ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อย่าง​

4-46 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

หนึ่ง​อย่าง​ใด แม้​ถึงจ​ ะ​เป็น​เพราะ​เหตุสุดวิสัย เว้น​แต่​จะ​พิสูจน์​ได้​ว่า​ถึง​อย่างไร ๆ ทรัพย์สิน​นั้น​ก็​คงจะ​ต้อง​


สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อยู่​นั่นเอง” มาตรา​นี้​บัญญัติ​ความ​รับ​ผิด​ตก​แก่​ผู้รับ​ฝาก​ที่​ฝ่าฝืน​เอา​ทรัพย์​ไป​ใช้สอย​
หรือ​ให้​บุคคล​ภายนอกเก็บ​รักษา​ว่า แม้​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​จะ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​เพราะ​เหตุสุดวิสัย​ก็​ยัง​ต้อง​
รับ​ผิด
อุทาหรณ์


กิจ​รบั ​ฝาก​โค​ของ เข่ง​ผ​้มู ​อี าชีพ​ทำ​ � นา​และ​รบั จ้าง​ไถนา แต่​กจิ ​เอา​โค​ไป​ข​เี่ ล่น บังเอิญ​โค​ตกลง​
ไป​ใน​แม่น�้ำ​ตาย นอกจาก กิจ​ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​ราคา​โค​แก่ เข่ง​แล้ว กิจ​ยัง​ต้อง​รับ​ผิด​ที่ เข่ง​ไม่​สามารถ​เอา​โค​ไป​

มส
ไถนา ต้อง​เสีย​ค่า​เช่า​โค​ของคน​อื่น​มา​ไถนา กับ​ต้อง​รับ​ผิด​ใน​การ​ที่ เข่ง​ขาด​ราย​ได้​จาก​การ​เอา​โค​ให้​เช่า​
วัน​ละ 300 บาท ซึ่ง กิจ​คาด​เห็น​ได้​อยู​แ่ ล้ว นับ​แต่​โค​ตาย​จนกว่าจ​ ะ​ช�ำระ​เสร็จ​อีก​ด้วย
อย่างไร​ก็​ดี มี​ข้อ​ยกเว้น​ท​ี่ผู้รับ​ฝาก​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด คือ​พิสูจน์​ได้​ว่า ถึง​อย่างไรๆ ทรัพย์สิน​ที่​
รับ​ฝาก​ก​ค็ งจะ​ต้อง​สูญหาย​หรือ​บุ​สลาย​อยู​น่ ั่นเอง
อุทาหรณ์
กิจ​เอา​มา้ ​แข่ง​ท​รี่ บั ​ฝาก​ไป​ข​เี่ ล่นท​ ​หี่ น้าบ​ า้ น​ของ กิจ​เอง แต่​วนั ​เกิด​เหตุ​ฟา้ ผ่าท​ ​โี่ รง​เก็บ​มา้ ​กบั ​ท​ี่
หน้า​บ้าน​กิจ​พร้อมๆ กัน ไม่​ว่า​ม้า​แข่ง​ของ เข่ง​จะ​อยู่​ที่​โรง​เก็บ​ม้า​หรือ​อยู่​ที่​หน้า​บ้าน กิจ ม้า​แข่ง​ก็​ต้อง​ถูก​
ฟ้าผ่า​ตาย​เหมือน​กัน ดังนี้ กิจ​พ้น​ผิด เข่ง​ไม่มี​สิทธิ​เรียก​ชดใช้ค​ ่า​สินไหม​ทดแทน​จาก กิจ
2.3 กรณี​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​บอก​กล่าว​เมื่อ​ถูก​ฟ้อง​หรือ​ถูก​ยึด​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​ตาม​มาตรา 661 ถ้า​
บุคคล​ภายนอก​อ้าง​ว่า​มี​สิทธิ​เหนือ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก และ​ยื่น​ฟ้อง​ผู้รับ​ฝาก​ก็​ดี หรือ​ยึด​ทรัพย์สิน​นั้น​ก็​ดี ผู้รับ​

ฝาก​ต้อง​รีบ​บอก​กล่าว​แก่ผู้​ฝาก​โดย​พลัน ดังนี้​หาก​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​ได้​บอก​กล่าว​แก่​ผู้​ฝาก​เลย หรือ​บอก​กล่าว​
ล่าช้า​จน​เกิด​ความ​เสีย​หาย​แก่​ผู้​ฝาก ย่อม​ถือ​ได้​ว่า ผู้​ฝาก​ไม่​ช�ำระ​หนี้​ให้​ต้อง​ตาม​ความ​ประสงค์​อัน​แท้จริง​
มส

แห่ง​มลู ​หนี้ ผู​ฝ้ าก​ยอ่ ม​ฟอ้ ง​เรียก​เอา​คา่ ​สนิ ไหม​ทดแทน​เพือ่ ​ความ​เสีย​หาย​อัน​เกิด​แต่​การ​ละเลย​ไม่​บอก​กล่าว​


หรือ​บอก​กล่าว​ล่าช้า​นั้นๆ ได้
อุทาหรณ์
กิจ ​รั บ ​ฝาก​ข้าวโพด​จาก เข่ง​จำ� นวน 10,000 กระสอบ ราคา 2 แสน​บาท คัง​ฟ้อง กิจ​ว่า​
ข้า วโพด​ท​ี่ รับ​ฝาก​เป็น​ของ คั ง กิจ​ไม่​บอก​กล่าว​แก่ เข่ง​ว่า​ถูก​ฟ้อง จน​ศาล​พิจารณา​คดี​ไป​ฝ่าย​เดียว​และ​
พิพากษา​ให้ กิจ​สง่ ​มอบ​ขา้ วโพด​ท​รี่ บั ​ฝาก​แก่ คัง​ไป ดังนี้ เข่ง​ยอ่ ม​ฟอ้ ง​เรียก​คา่ ​เสีย​หาย 2 แสน​บาท​จาก กิจ​
ได้​พร้อม​ด้วย​ดอกเบี้ย ม
3. สิทธิ​เรียก​คืน​ทรัพย์​และ​ดอก​ผล การ​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​ถึง​แม้ว่า​ค​สู่ ัญญา​จะ​ไม่​ได้​ก�ำหนด​เวลา​หรือ​
ได้​กำ� หนด​เวลา​ไม่​วา่ จ​ ะ​พงึ ​คนื ​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​ฝาก​นนั้ เ​มือ่ ไร​กต็ าม ผู​ฝ้ าก​ก​ย็ อ่ ม​เรียก​คนื ​ใน​เวลา​ใดๆ ก็ได้ (มาตรา
663) หรือผ​ ฝ​ู้ าก​จะ​เรียก​คนื ​เมือ่ ค​ รบ​กำ� หนด​สญ ั ญา​หรือผ​ ฝ​ู้ าก​เรียก​คนื แต่ผ​ รู้ บั ฝ​ าก​ไม่ค​ นื ให้ ผูฝ​้ าก​ยอ่ ม​ฟอ้ ง​
ร้อง​ต่อ​ศาล​ให้​บังคับ​คืน​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​นั้น​ได้ (ปพพ. มาตรา 213) และ​ถ้า​ผู้​ฝาก​ตาย สิทธิ​เรียก​คืน​ทรัพย์​
ย่อม​ตกทอด​แก่​ทายาท​ของ​ผ​ฝู้ าก (มาตรา 665 วรรค​ทา้ ย) ใน​การ​คนื ​ทรัพย์​นนั้ ถ้า​มดี ​อก​ผล​เกิด​แต่​ทรัพย์สนิ ​
สธ
ซึง่ ​ฝาก​นนั้ ​เท่าใด ผูฝ​้ าก​ยอ่ ม​ม​สี ทิ ธิเ​รียก​ให้ผ​ รู้ บั ​ฝาก​สง่ ​มอบ​พร้อม​กบั ​ทรัพย์สนิ ท​ ​ฝี่ าก​นนั้ ​ดว้ ย (มาตรา 666)

สัญญาฝากทรัพย์ 4-47

หน้าที่​ของ​ผู้​ฝาก
ผู้​ฝาก​มีหน้า​ที่ 3 ประการ คือ
1. หน้าที​เ่ สีย​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​คืน​ทรัพย์
2. หน้าที​เ่ สีย​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​สงวน​รักษา​ทรัพย์
3. หน้าที​ช่ �ำระ​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก


1. หน้าที่​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​คืน​ทรัพย์ สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ม​ขี ึ้น​ก็​เพื่อ​ประโยชน์​ของ​ผู้​ฝาก ดังน​ ั้น
มาตรา 667 จึ ง ​บั ญ ญั ติ​ว่ า “ค่ า​คืน​ท รัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้ น ย่อม​ตก​แก่​ผู้​ฝาก​เป็น​ผู้​เสีย” ถ้า​ผู้​ฝาก​ไม่​เสีย

มส
ผู้รับ​ฝาก​ย่อม​ฟ้อง​ร้อง​ต่อ​ศาล​ให้​บังคับ​ได้ (มาตรา 671) รวม​ทั้ง​เรียก​ดอกเบี้ย​ใน​เงิน​นั้น​นับ​แต่​วัน​ท​ี่ผ​ู้ฝาก​
ผิดนัด​เป็นต้น​ไป​ตาม ปพพ. มาตรา 221 ได้​ด้วย หรือ​ผู้รับ​ฝาก​จะ​ใช้​สิทธิ​ยึด​หน่วง​เอา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​
ไว้​จนกว่า​จะ​ได้​รับ​ค่า​คืน​ทรัพย์​ตาม​มาตรา 670 ก็ได้ อย่างไร​ก็​ดี​ถ้า​คู่​สัญญา​ตกลง​ให้​ผู้รับ​ฝาก​เป็น​ผู้​เสีย​ค่า​
คืน​ทรัพย์​ก​ต็ ้อง​เป็น​ไป​ตาม​ข้อ​ตกลง​นั้น
2. หน้าที่​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​สงวน​รักษา​ทรัพย์ ใน​บาง​กรณี​ผู้รับ​ฝาก​จ�ำ​ต้อง​บ�ำรุง​รักษา​ทรัพย์ท​ ี่​
ฝาก ดัง​นั้น​มาตรา 668 จึง​บัญญัติ​ว่า “ค่า​ใช้​จ่าย​ใด​อัน​ควร​แก่​การ​บ�ำรุง​รักษา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น ผู้​ฝาก​
จ�ำ​ต้อง​ชดใช้ใ​ ห้แก่ผ​ ู้รับฝ​ าก” เช่น ค่า​ซ่อมแซม​ทรัพย์สิน ค่า​อาหาร​ส�ำหรับ​สัตว์​ที่​ฝาก​เลี้ยง ค่า​รักษา​ความ​
สะอาด ฯลฯ เหล่า​นี้​ผู้รับ​ฝาก​ได้​ออก​ไป​ก่อน ผู้​ฝาก​จึง​มีหน้า​ที่​ต้อง​ชดใช้​แก่​ผู้รับ​ฝาก ถ้า​ผู้​ฝาก​ไม่​ชดใช้
ผู้รับ​ฝาก​ย่อม​ฟ้อง​ร้อง​ต่อ​ศาล​ให้​บังคับ​พร้อม​ด้วย​ดอกเบี้ย​ใน​เงิน​ที่​ผิดนัด​ด้วย (มาตรา 671) นอกจาก​นี้​

ผูร้ บั ฝ​ าก​ยงั ​อาจ​ใช้ส​ ทิ ธิย​ ดึ ​หน่วง​ทรัพย์สนิ ซ​ งึ่ ​ฝาก​นนั้ ​ไว้จ​ นกว่าจ​ ะ​ได้ร​ บั ช​ ดใช้ค​ า่ ใ​ช้จ​ า่ ย​ใน​การ​บำ� รุงร​ กั ษา​ทรัพย์​
ที​่ฝาก​ตาม​มาตรา 670 ได้​ด้วย อย่างไร​ก็​ด​ีคู่​สัญญา​อาจ​ตกลง​กัน​ให้​ผู้รับ​ฝาก​เป็น​ผู้​เสีย จึง​ม​ีข้อ​ยกเว้น​ใน​
มาตรา 668 ว่า “เว้น​แต่​จะ​ได้​ตกลง​กัน​ไว้​โดย​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ว่าผู้รับ​ฝาก​จะ​ต้อง​ออกเงิน​ค่า​ใช้​จ่าย
มส

(ใน​การ​บ�ำรุง​รักษา​ทรัพย์สิน) นั้น​เอง”
3. หน้าที่​ช�ำระ​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก ตาม​ปกติแ​ ล้วก​ าร​ฝาก​ทรัพย์ไ​ ม่มค​ี า่ ​ตอบแทน​ใน​การ​รบั ฝ​ าก​ทรัพย์​
หรือ​ที่​เรียก​ว่า “บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก” (remuneration) แต่​คู่​สัญญา​อาจ​ตกลง​ชัด​แจ้ง​ให้​มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​หรือ​
ตกลง​โดย​ปริยาย​ให้​ม​บี ำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก​กนั ​กไ็ ด้ ดัง​ทศ​ี่ กึ ษา​มา​ใน​เรือ่ ง​ที่ 4.1.1 สาระ​สำ� คัญ​ของ​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์
เมือ่ ม​ ​ขี อ้ ต​ กลง​กนั ด​ งั ก​ ล่าว ผูฝ​้ าก​ก​จ็ ำ​
� ตอ้ ง​ชำ� ระ​บำ� เหน็จค​ า่ ฝ​ าก​ตาม​ท​กี่ ำ� หนด​ไว้ส​ ญ ั ญา​หรือต​ าม​จารีตป​ ระเพณี​
ทีถ​่ อื ​ปฏิบตั ​กิ นั ใ​น​การ​ฝาก​ทรัพย์​ประเภท​นนั้ ๆ ถ้า​ไม่​ได้ก​ ำ� หนด​เวลา​ไว้ใ​น​สญ ั ญา​หรือ​ไม่ม​กี ำ� หนด​โดย​ประเพณี

ผู​้ฝาก​ก็​มีหน้า​ที่​ชำ� ระ​เมื่อ​เวลา​ที่​ผู้รับ​ฝาก​คืน​ทรัพย์​ตาม​มาตรา 669 ถ้า​ผู้​ฝาก​ไม่​ช�ำระ​เงิน​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​
ทรัพย์ ผู้รับฝ​ าก​ย่อม​ฟ้อง​ร้อง​ต่อศ​ าล​ให้​บังคับไ​ ด้​พร้อม​ด้วย​ดอกเบี้ยใ​น​เงินน​ ั้น​นับ​วัน​ผิดนัด (ปพพ. มาตรา
671) นอกจาก​นี้ ผูร้ บั ​ฝาก​ชอบ​ทจ​ี่ ะ​ยดึ ​หน่วง​เอา​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ฝ​ าก​นนั้ ไ​ ด้ จนกว่า​จะ​ได้ร​ บั เ​งิน​บำ� เหน็จ​คา่ ฝ​ าก
ตาม​มาตรา 670 อีกด​ ้วย

กิจกรรม 4.1.3
สธ
หนึ่ง​รับ​ฝาก​ม้า​แข่ง​จาก​สอง ต่อ​มา​ฟ้าผ่า​ม้า​แข่ง​ของ​สอง​ตาย​ไป เนื่องจาก​หนึ่ง​ไม่​ระมัดระวัง​ดูแล
ม้า​แข่ง​ให้​ด​อี ย่าง​หนึ่ง หรือห​ นึ่ง​เอา​ม้า​แข่ง​ไป​ฝาก​แก่​สาม​ดูแล​รักษา​อีก​อย่าง​หนึ่ง ฟ้าผ่าม​ ้า​แข่งต​ าย​ไป ดังนี้
หนึ่ง​จะ​ต้อง​รับ​ผิด​ชดใช้​ราคา​ม้า​แข่ง​แก่​สอง​อย่างไร​บ้าง​หรือ​ไม่

4-48 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.1.3
กรณีท​ ห​ี่ นึง่ ไ​ ม่ร​ ะมัดระวังด​ แู ล​มา้ แ​ ข่งใ​ห้ด​ ​นี นั้ เป็นการ​ผดิ ห​ น้าทีต​่ าม ปพพ. มาตรา 659 แต่ม​ า้ แ​ ข่ง​
ตาย​เพราะ​ฟ้าผ่า​อัน​เป็น​เหตุสุดวิสัย การ​คืน​ม้า​กลาย​เป็น​พ้น​วิสัย​เพราะ​พฤติการณ์​ซึ่ง​เกิด​ขึ้น​ภาย​หลัง​และ​
หนึ่งไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​หนึ่ง​เป็น​อัน​หลุด​พ้นจ​ าก​การ​คืน​ม้า​แข่ง​หรือ​รับผ​ ิด​ชดใช้​ราคา​ม้า​แข่ง​แก่​สอง


ส่วน​ใน​กรณี​ที่​หนึ่ง​เอา​ม้า​แข่ง​ของ​สอง​ไป​ฝาก​แก่​สาม​ดูแล​รักษา​นั้น แม้​ม้า​แข่ง​จะ​ตาย​เพราะ​ฟ้าผ่า
อัน​เป็น​เหตุสุดวิสัย หนึ่ง​ก็​ยัง​ต้อง​รับ​ผิด​ชดใช้​ราคา​ม้า​แข่ง​แก่​สอง เพราะ​หนึ่ง​กระท�ำ​ผิด​หน้าที​ข่ อง​ผู้รับ​ฝาก​

มส
ตาม ปพพ. มาตรา 660

เรื่อง​ที่ 4.1.4
ความ​ระงับแ​ ห่ง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์

สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นั้น ผู​้ฝาก​ได้​ส่ง​มอบ​ทรัพย์สิน​ให้​แก่​ผู้รับ​ฝาก​เพื่อ​เก็บ​รักษา​แล้ว​จะ​คืนให้ ดัง​นั้น​



เมื่อ​มี​การ​คืน​ทรัพย์​สัญญา​ย่อม​ระงับ การ​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​ผู้รับ​ฝาก​จะ​ให้​บุคคล​ภายนอก​เก็บ​รักษา​ทรัพย์​ที่​
ฝาก​ไม่​ได้ จึง​นบั ​เป็น​คณ
ุ สมบัต​ิเฉพาะ​ตวั ​ของ​ผรู้ บั ​ฝาก เมือ่ ​ผรู้ บั ​ฝาก​ตาย สัญญา​ก​ร็ ะงับ​เช่น​เดียวกัน นอกจาก​นี้​
มส

ความ​ระงับข​ อง​สญ ั ญา​ยอ่ ม​เป็นไ​ ป​ตาม​หลักก​ ฎหมาย​ทวั่ ไป​และ​ตาม​รปู ​ของ​สญ ั ญา ดังน​ นั้ จ​ งึ ​เห็นไ​ ด้ว​ า่ สัญญา​
ฝาก​ทรัพย์​ระงับด​ ้วย​เหตุ 4 ประการ ต่อ​ไป​นี้
1. ระงับ​ตาม​ข้อ​ตกลง​ใน​สัญญา
2. ระงับ​เมื่อ​ส่ง​ทรัพย์​คืน
3. ระงับ​เมือ่ ​ทรัพย์​สญู หาย​หรือ​ถกู ​ทำ� ลาย​ไป​หมด หรือ​บคุ คล​ภายนอก​ยดึ ​ทรัพย์​ท​รี่ บั ​ฝาก​ไป​โดย​ชอบ
4. ระงับ​เมื่อ​ผู้รับฝ​ าก​ตาย

1. ระงับ​ตาม​ข้อ​ตกลง​ใน​สัญญา

สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ย่อม​ระงับ​ไป​เมื่อ​สิ้น​สุด​ก�ำหนด​เวลา​ที่​ได้​ตกลง​กัน​ไว้ หรือ​ตกลง​ว่า​เมื่อ​เงื่อนไข​ที่​
ก�ำหนด​ใน​สัญญา​เสร็จ​สิ้น สัญญา​เป็น​อัน​ระงับ​กต็​ ้อง​เป็น​ไป​ตาม​นั้น
อุทาหรณ์
กิจ​ฝาก​แหวน​แก่​ เข่ง​ม​กี ำ� หนด 7 วัน เมื่อ​ครบ 7 วัน สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ย่อม​ระงับ
สธ
นาย​อาทิตย์​ฝาก​สร้อย​แก่​นาย​จันทร์​โดย​ม​ีเงื่อนไข​ว่า ถ้า​นาย​อาทิตย์​สอบไล่​ได้​นิติ​ศาสตร​บัณฑิต​
ของ​มหาวิทยาลัย​สุโขทัย​ธร​รมาธิ​ราช​เมื่อ​ใด นาย​จันทร์​ต้อง​คืน​สร้อย​แก่​นาย​อาทิตย์ ดังนี้​เมื่อ​นาย​อาทิตย์​
สอบ​ได้ นาย​จันทร์​ก​ต็ ้อง​คืน​สร้อย​แก่​นาย​อาทิตย์​ตาม​เงื่อนไข​ใน​สัญญา (ปพพ. มาตรา 183 วรรค​สอง)

สัญญาฝากทรัพย์ 4-49

2. ระงับ​เมื่อ​ส่ง​ทรัพย์​คืน
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นั้น​ผู้รับ​ฝาก​ตกลง​ว่า​จะ​เก็บ​รักษา​ทรัพย์สิน​นั้น​ไว้​ใน​อารักขา​แห่ง​ตน เมื่อ​มี​การ​
ส่ง​คนื ​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​แล้ว​สญ
ั ญา​ยอ่ ม​ระงับ ทัง้ นี​ไ้ ม่​วา่ ​ผ​ฝู้ าก​เรียก​คนื (มาตรา 663) หรือ​ผรู้ บั ​ฝาก​สง่ ​คนื ​ใน​กรณี​
สัญญา​ไม่​ได้​กำ� หนด​เวลา​คืน​ทรัพย์ (มาตรา 664) หรือ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​กำ� หนด​เวลา​คืน​ทรัพย์​แต่​ผู้​ฝาก​


มี​เหตุ​จำ� เป็น​อัน​ม​อิ าจ​จะ​ก้าว​ล่วง​เสีย​ได้ จึง​คืน​ทรัพย์​ก่อน​ถึง​เวลา​กำ� หนด (มาตรา 662)
อุทาหรณ์
กิจ ฝาก​ตำ� รา​กฎหมาย​พาณิชย์ 2 แก่ เข่ง​โดย​ไม่​กำ� หนด​เวลา​คืน กิจย​ ่อม​เรียก​คืน​ต�ำรา​ได้ท​ ุก​เมื่อ

มส
ส่วน เข่ง​ก​ข็ อ​ส่ง​คืน​ต�ำรา​ท​รี่ ับ​ฝาก​ให้​ได้​ทุกเ​มื่อ​เช่น​เดียวกัน เมื่อ​กิจ​เรียก​คืน หรือ เข่ง​ขอ​ส่ง​คืน สัญญา​ฝาก​
ทรัพย์​ย่อม​ระงับ
อังคาร​ฝาก​ถัง​แก๊ส​ไว้​ท​ี่พุธ มี​กำ� หนด 15 วัน อังคาร​เรียก​ถัง​แก๊ส​คืน​ก่อน​ก�ำหนด 15 วัน​ได้ ส่วน​
พุธ​จะ​คืน​ก่อน​ก�ำหนด 15 วัน​ท​ตี่ กลง​กัน​ไม่​ได้ เว้นแ​ ต่​พุธ​มี​เหตุ​จ�ำเป็น​มิ​อาจ​ก้าว​ล่วง เช่น น�้ำ​ท่วม​บ้าน ก็​ขอ​
ส่ง​คืน​ก่อน​ก�ำหนด 15 วัน​ได้ เมื่อ​อังคาร​เรียก​คืน​หรือ​พุธ​ขอ​ส่ง​คืน สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ย​ ่อม​ระงับ

3. ระงับ​เมื่อ​ทรัพย์​สูญหาย​หรือ​ถูก​ท�ำลาย​ไป​หมด หรือ​ถูก​บุคคล​ภายนอก​ยึด​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​
ไป​โดย​ชอบ
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์น​ นั้ ​มก​ี าร​สง่ ม​ อบ​และ​รบั ม​ อบ​ทรัพย์ท​ ​ฝี่ าก​เพือ่ ใ​ห้ผ​ รู้ บั ฝ​ าก​เก็บร​ กั ษา เมือ่ ท​ รัพย์สนิ ​

ที​ฝ่ าก​สญ
ู หาย​หรือถ​ กู ท​ ำ� ลาย​ไป​หมด​เพราะ​เหตุสดุ วิสยั (มาตรา 660) หรือเ​พราะ​เหตุอ​ นื่ ใ​ด​อนั ม​ ใิ ช่ค​ วาม​ผดิ ​
ของ​ผู้รับ​ฝาก เป็นการ​พ้น​วิสัย​ท​จี่ ะ​คืน​ทรัพย์สิน​ท​ฝี่ าก (ปพพ. มาตรา 219) หรือ​เพราะ​บุคคล​ภายนอก​อ้าง​
มส

สิทธิ​เหนือ​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​และ​ยดึ ​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​ไป​โดย​ชอบ (เทียบ​มาตรา 661) ดังนี​ส้ ญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​ยอ่ ม​ระงับ


อุทาหรณ์
กิจ​รับ​ฝาก​นำ�้ ตาล​ของ เข่ง พายุ​พัด​นำ�้ ตาล​เสีย​หาย​หมด​โดย​เหตุสุดวิสัย สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ย่อม​
ระงับ​เพราะ ไม่ม​นี �้ำตาล​ท​ฝี่ าก
พฤหัส​รบั ​ฝาก​ชา้ ง​จาก​ศกุ ร์ ช้าง​ถกู ​งเู ห่า​กดั ​ตาย​โดย​มใิ ช่​ความ​ผดิ ​ของ​พฤหัส พ้นว​ สิ ยั ​ท​พี่ ฤหัส​จะ​คนื ​
ช้าง​ให้​แก่​ศุกร์ สัญญา​ฝาก​ช้าง​ย่อม​ระงับ เพราะ​ไม่ม​ชี ้าง​ที่​รับ​ฝาก

สัญญา​ฝาก​รถยนต์​เป็น​อัน​ระงับ

4. ระงับ​เมื่อ​ผู้รับ​ฝาก​ตาย

เสาร์​รับ​ฝาก​รถยนต์​จาก​อาทิตย์ จันทร์​อ้าง​ว่า​เป็น​เจ้าของ​รถยนต์​ยึด​เอา​รถยนต์​ไป​โดย​ชอบ ดังนี้

สัญ ญา​ฝ าก​ทรั พ ย์​นั้ น ผู้ รับ​ฝาก​จะ​เอา​ทรัพย์​ไป​ให้​บุคคล​ภายนอก​เก็บ​รักษา​ไม่​ได้ จึง​เห็น​ได้​ว่า


สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​นนั้ คุณสมบัต​ิของ​ผรู้ บั ​ฝาก​ยอ่ ม​เป็น​ขอ้ ​สำ� คัญ ดัง​นนั้ ​เมือ่ ​ผรู้ บั ​ฝาก​ตาย สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​
สธ
ย่อม​เป็น​อัน​ระงับ หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​ตาม​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ย่อม​ไม่​ตกทอด​เป็น​มรดก​แก่​ทายาท​ของ​ผู้รับ​
ฝาก​เนื่องจาก​ตาม​กฎหมาย​เห็น​ได้​ว่า เป็นการ​เฉพาะ​ตัว​ของ​ผู้รับ​ฝาก​โดย​แท้ (ปพพ. มาตรา 1600)

4-50 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
กิจ รับ​ฝาก​สุกร​จาก​เข่ง กิจ​ตาย สัญญา​ฝาก​สุกร​ย่อม​ระงับ ไม่​ตกทอด​แก่ คัง​ทายาท​ของ กิจ
ผล​ของ​การ​ที่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ระงับ คือ​ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​คืน​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก​แก่​ผู้​ฝาก หาก​คืน​ไม่​ได้​
ก็​ต้ อ ง​ใช้ ​ราคา​ทรัพ ย์ นอกจาก​นี้ ทรัพย์​ที่​รับ ​ฝาก​เสีย ​หาย​อ ย่าง​ใ ดๆ เพราะ​ความ​ผิด​ข อง​ผู้รั บ​ฝาก เช่น
เอา​ไป​ใช้สอย​หรือ​ให้​บุคคล​ภายนอก​เก็บ​รักษา ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​รับ​ผิด​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​แก่​ผู้​ฝาก และ​ถ้า​มี


ด​อก​ผล​เกิด​แต่​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​เท่าใด​ผู้รับ​ฝาก​จ�ำ​ต้อง​ส่ง​มอบ​พร้อม​ไป​กับ​ทรัพย์สิน​นั้น​ด้วย อย่างไร​ก็​ดี
ผู้รับ​ฝาก​ก็​มี​สิทธิ​ยึด​หน่วง​เอา​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​ไว้​ได้​จนกว่า​ผู้​ฝาก​จะ​ชำ� ระ​เงิน​บรรดา​ที่​ค้าง​แก่​ผู้รับ​ฝาก เช่น

มส
บ�ำเหน็จค​ า่ ฝ​ าก ค่าใ​ช้จ​ า่ ย​ใน​การ​บำ� รุงร​ กั ษา​ทรัพย์ท​ ​ฝี่ าก เป็นต้น การ​ท​ที่ ราบ​วา่ ส​ ญ
เหตุ​อย่าง​ใดอย่าง​หนึ่ง​ดัง​กล่าว​ย่อม​เป็นป​ ระโยชน์​ใน​การ​เริ่มน​ ับ​อายุ​ความ​อีกด​ ้วย

กิจกรรม 4.1.4
ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ร​ ะงับด​ ว้ ย​

นาย​ม่ อ น​ฝาก​แม่​แมว 1 ตัว ไว้​กับ​นาย​น้อม มี​กำ� หนด​รับ​คืน​ใน​วัน​ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556


วัน​ที่ 1 มกราคม 2556 แม่​แมว​ตกลูก 5 ตัว วัน​ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 นาย​น้อม​เอา​แม่​แมว​นั่ง​รถ​ไป​
เพือ่ ​ให้​แมว​เดิน​เล่น​ท​สี่ วน​สาธารณะ​พร้อม​กบั ​แมว​ตวั ผู​ข้ อง​ตน ใน​ระหว่าง​ทาง​ท​นี่ งั่ ​รถ​ไป แมว​ทงั้ ​สอง​กระโดด​
ออก​ทาง​หน้าต่าง​รถ​เป็น​เหตุ​ให้​ถูก​รถ​ทับ​ตาย วัน​ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 นาย​ม่อน​มาท​วง​แม่​แมว​คืน แต่​

นาย​น้อม​ไม่มี​แม่​แมว​คืนให้ ดังนี้​สัญญา​ฝาก​แม่​แมว​ระงับ​หรือ​ไม่ และ​นาย​ม่อน​มี​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ต่อ​นาย​น้อม​
อย่างไร​บ้าง​หรือ​ไม่
มส

แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.1.4
วัน​ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แม่​แมว​ตาย สัญญา​ฝาก​แม่​แมว​ระงับ แต่​การ​ฝาก​แม่​แมว​ราย​นี้​
เป็นการ​ทำ� ให้เ​ปล่า ไม่มบ​ี ำ� เหน็จ นาย​นอ้ ม​ผรู้ บั ฝ​ าก​ได้​ใช้​ความ​ระมัดระวังส​ งวน​แม่​แมว​เหมือน​เช่น​แมว​ตวั ผู​้
ของ​ตน การ​ท​แี่ ม่​แมว​ตาย ท�ำให้​การ​คนื ​แม่​แมว​เป็น​พน้ ​วสิ ยั ​เพราะ​พฤติการณ์​ซงึ่ ​เกิด​ขนึ้ ​และ​นาย​นอ้ ม​ไม่ต​ อ้ ง​
รับ​ผิด​ชอบ นาย​น้อม​เป็น​อัน​หลุด​พ้น​ไม่​ต้อง​คืน​แม่​แมว คง​ต้อง​คืน​ลูก​แมว 5 ตัว ที่​เป็น​ดอก​ผล​ของ​ทรัพย์​ที่​
ฝาก​ให้​แก่​นาย​ม่อน (ปพพ. มาตรา 659 วรรคหนึ่ง, 219, 666) ม
สธ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-51

เรื่อง​ที่ 4.1.5
อายุ​ความ


อายุค​ วาม​นนั้ ​หมาย​ถงึ ​กำ� หนด​ระยะ​เวลา​ท​กี่ ฎหมาย​กำ� หนด​ไว้​เพือ่ ​การ​ใช้​สทิ ธิ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​ถา้ ​มไิ ด้​ใช้ส​ ทิ ธิ​
เรียก​ร้อง​บังคับ​เสีย​ภายใน​ระยะ​เวลา​อัน​กฎหมาย​ก�ำหนด​ไว้​เป็น​อัน​ขาด​อายุ​ความ (ปพพ. มาตรา 193/9)

มส
อายุ​ความ​ท​ี่กฎหมาย​กำ� หนด​ไว้​นี้ มี​ระยะ​เวลา​แน่นอน​จะ​ขยาย​ออก​หรือ​ย่น​เข้า​ไม่​ได้ แต่​ถ้า​อายุ​ความ​ครบ​
บริบูรณ์​แล้ว​ลูก​หนี้​อาจ​จะ​​ละประโยชน์​แห่ง​อายุ​ความ​นั้น​ได้ และ​ถ้า​ลูก​หนี้​ชำ� ระ​หนี​้อย่าง​ใดๆ ไป​ตา​มสิ​ทธิ​
เรียก​ร้องอัน​ขาด​อายุ​ความ​แล้ว​เป็น​ราคา​มาก​น้อย​เท่าใด ย่อม​จะ​เรียก​คืน​ไม่​ได้ ถึง​แม้ว่า​การ​ชำ� ระ​หนี้​นั้นจ​ ะ​
ได้ท​ �ำ​ไป​เพราะ​ไม่รู้​กำ� หนด​อายุ​ความ​ก​เ็ รียก​คืน​ไม่​ได้ นอกจาก​นี้ เมื่อ​ลูก​หนี้​ไม่​ยก​อายุ​ความ​ขึ้นเ​ป็น​ข้อ​ต่อสู​้
ใน​กรณี​ท​ถี่ กู ฟ​ อ้ ง ศาล​ก​จ็ ะ​อา้ ง​เอา​อายุ​ความ​มา​เป็น​มลู ​ยกฟ้อง​ไม่​ได้​เช่น​เดียวกัน อย่างไร​ก​ด็ ​เี มือ่ ​กำ� หนด​อายุ​
ความ​ได้​ล่วง​พ้น​ไป​แล้ว ฝ่าย​ลูก​หนี้​ชอบ​ที่​จะ​บอกปัด​การ​ช�ำระ​หนี้​ได้
อายุค​ วาม​ใน​เรื่อง​ฝาก​ทรัพย์ แยก​ได้​เป็น 2 ชนิด คือ
1. อายุค​ วาม​เฉพาะ
2. อายุค​ วาม​เรียก​คืน​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก

1. อายุ​ความ​เฉพาะ
ใน​เรื่อง​ฝาก​ทรัพย์ กฎหมาย​กำ� หนด​อายุ​ความ​ไว้เฉพาะเพียง 6 เดือน​เท่านั้น ใน​มาตรา 671 ที่
มส

บัญญัติว่า “ใน​ข้อความ รับ​ผิด​เพื่อ​ใช้​เงิน​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ทรัพย์​ก็​ดี ชดใช้​เงิน​ค่า​ใช้​จ่าย​ก็​ดี ใช้​ค่า​สินไหม​


ทดแทน​เกี่ยว​แก่​การ​ฝาก​ทรัพย์​ก็​ดี ท่าน​ห้าม​มิ​ให้​ฟ้อง​เมื่อ​พ้น​เวลา​หก​เดือน​นับ​แต่​วัน​สิ้น​สัญญา” จึง​เห็น​
ได้​ว่า สิทธิ​เรียก​ร้อง 3 ประเภท คือ 1. สิทธิ​เรียก​ร้อง​เงิน​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก 2. สิทธิ​เรียก​ร้อง​เงิน​ค่า​ใช้​จ่าย
และ 3. สิทธิ​เรียก​ร้อง​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เกี่ยว​แก่​การ​ฝาก​ทรัพย์​เท่านั้น​ที่​กฎหมาย​ก�ำหนด​อายุ​ความ​เพียง
6 เดือน​นับ​แต่​วัน​สิ้นส​ ัญญา

ใน​สญ
ค�ำ​วา่ “วัน​สนิ้ ​สญ
ั ญา” หมายความ​วา่ วัน​ท​สี่ ญ
ั ญา ระงับเ​มือ่ ส​ ง่ ​ทรัพย์​คนื ระงับเ​มือ่ ​ทรัพย์​สญ

ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​ระงับ​ลง​ซงึ่ ​อาจ​จะ​ระงับ​ลง​ตาม​ขอ้ ต​ กลง​
ู หาย​หรือ​ถกู ​ทำ� ลาย​ไป​หมด หรือ​ระงับเ​มือ่ ​ผรู้ บั ฝ​ าก​ตาย
ดัง​ที่​กล่าว​มา​แล้ว​ใน​เรื่อง​ที่ 4.1.4 ความ​ระงับ​แห่ง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ การ​นับ​อายุ​ความ 6 เดือน จึง​ต้อง​เริ่ม​
นับ​แต่​วัน​ที่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ระงับ​ลง​ด้วย​เหตุ​ต่างๆ ข้าง​ต้น เช่น กิจ​รับ​ฝาก​โค​ของ เข่ง ตกลง​ฝาก​กัน 6
เดือน แต่ เข่ง​เรียก​โค​คืน​ก่อน​ก�ำหนด​และ​ค้าง​ชำ� ระ​ค่า​ใช้​จ่าย​คืน​โค​ที่​ฝาก ดังนี้ กิจ​ต้อง​ฟ้อง​เรียก​ค่า​ใช้​จ่าย​
คืน​โค​ภายใน 6 เดือน นับ​แต่​วัน​ท​สี่ ่ง​มอบ​โค​คืน​แก่ เข่ง
อย่างไร​ก็​ดี อัน​อายุ​ความ​นั้น​ท่าน​ให้​เริ่ม​นับ​แต่​ขณะ​ที่​จะ​อาจ​บังคับ​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ได้​เป็นต้น​ไป​ตาม
สธ
ปพพ. มาตรา 193/12 ดัง​นั้น ถ้า​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ยัง​ไม่​เลิก​กัน​หรือ​คู่​สัญญา​ตกลง​ก�ำหนด​เวลา​ชำ� ระ​หนี้​ที่​
ค้าง​กัน ดังนี้ อายุค​ วาม​ย่อม​เริ่ม​นับ​แต่​วัน​ที่​สัญญา​เลิก​กัน​หรือว​ ัน​ถัด​จาก​วัน​ที่​ครบ​กำ� หนด​เวลา​นั้น

4-52 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
กิจ​รับ​ฝาก​รถ​ของ เข่ง กิจ​ต้อง​เสีย​ค่า​บ�ำรุง​รักษา​เป็น​เงิน 1,000 บาท เข่ง​เรียก​รถ​คืน​และ​ขอ​ผลัด​
ช�ำระ​เงิน​ค่า​บำ� รุง​รักษา​ไป​อีก 1 ปี ดัง​นั้น กิจย​ ่อม​ฟ้อง​เรียก​เงิน 1,000 บาท​จาก เข่ง​ได้​ภายใน 6 เดือน นับ​
แต่​วัน​ถัด​จาก​วัน​ที่​ครบ​กำ� หนด 1 ปี​นั้น
อุทาหรณ์


ฎ. 538/2495 ท�ำ​สัญญา​ฝาก​ยาง​กัน​ไว้​จ�ำนวน​หนึ่ง​ภาย​หลัง​ผู้​ฝาก​ขาย​ยาง​ที่​ฝาก​ให้​แก่​ผู้​ซื้อ​ไป​
ส่วน​หนึ่ง​โดย​ให้​ผู้​ซื้อ​ไป​รับ​ยาง​จาก​ผู้รับ​ฝาก ดังนี้​ย่อม​ถือว่า​สัญญา​ฝาก​ยาง​จ�ำนวน​ที่​ยัง​คง​เหลือ​อยู่​ที่​ผู้รับ​

มส
ฝาก​ยงั ​หา​ได้​สนิ้ ​หรือ​เลิก​กนั ​ไม่​เพราะ​ยงั ​ไม่ม​กี าร​แสดง​เจตนา​เลิก​สญ
เริ่มน​ ับอ​ ายุค​ วาม​ตาม​มาตรา 671
ั ญา​กนั สัญญา​ยงั ​คง​ผกู พัน​อยู่ จึง​ยงั ​ไม่​

ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​นี้ แสดง​ว่า สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ยัง​มี​ผล​ผูกพัน​ไม่​เลิก​กัน อายุ​ความ​ตาม​


มาตรา 671 ยังไ​ ม่​เริ่ม​นับ​เพราะ​ยัง​ไม่​อาจ​บังคับส​ ิทธิเ​รียก​ร้อง​ได้ต​ าม ปพพ. มาตรา 193/12 นั่นเอง
ต่อไ​ ป​จะ​ได้อ​ ธิบาย​สิทธิเ​รียก​ร้อง​ตาม​มาตรา 671 ทั้ง 3 ประเภท
1.1 สิทธิ​เรียก​ร้อง​เงิน​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก ใน​กรณีท​ ​สี่ ญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ต​ กลง​เงินบ​ ำ� เหน็จค​ า่ ฝ​ าก​ไว้ห​ รือ​
ตกลง​โดย​ปริยาย​ว่า​มี​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก เมื่อ​ผู้​ฝาก​ไม่​ช�ำระ​ผู้รับ​ฝาก​อาจ​ยึด​หน่วง​ทรัพย์​ที่​ฝาก​ไว้​ตาม​มาตรา
670 และ​แม้​จะ​ยึด​หน่วง​ไว้​พน้ 6 เดือน​แล้ว ผูร้ บั ​ฝาก​ก​ย็ ัง​บังคับ​จาก​ทรัพย์​ท​ยี่ ดึ ​หน่วง​ได้​ตาม ปพพ. มาตรา
193/27 ซึ่งย​ ัง​คง​มสี​ ิทธิ​บังคับ​ชำ� ระ​หนี​จ้ าก​ทรัพย์สิน​ที่​ยึดถือไ​ ว้ แม้ว่า​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ใน​ส่วน​ทเี่​ป็นป​ ระธาน​จะ​

ขาด​อายุ​ความ แต่​ถา้ ​คนื ​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​ไป​แล้ว ผูร้ บั ​ฝาก​กไ็ ด้​แต่​ใช้​สทิ ธิ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​ภายใน 6 เดือน​นบั ​แต่​วนั ​ท​คี่ นื ​
ทรัพย์​ไป​หรือ​วัน​สิ้น​สัญญา
มส

อุทาหรณ์
กิจ​รั บ ​ฝาก​รถ​จักรยานยนต์​จาก เข่ง ตกลง​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก 100 บาท ถ้า เข่ง​ไม่​ช�ำระ​บ�ำเหน็จ​
ค่า​ฝาก กิจ​ต้อง​ฟ้อง​เรียก​ภายใน 6 เดือน​นับ​แต่​วัน​สิ้น​สัญญา
ทอง​รับ​ฝาก​โค​ของ​เงิน​เป็น​เวลา 7 วัน ​บ�ำเหน็จค​ ่า​ฝาก​วัน​ละ 200 บาท พอ​ฝาก​กัน​ได้ 2 วัน เงิน​
มาท​วง​โค​คนื และ​ไม่​ยอม​ชำ� ระ​บำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก 400 บาท ดังนี​้ถา้ ​ทอง​จะ​ฟอ้ ง​เรียก​บำ� เหน็จ​คา่ ​ฝาก​ตอ้ ง​ฟอ้ ง​
ภายใน 6 เดือน​นับ​แต่​วัน​ท​เี่ งิน​มาท​วง​โค​คืน

1.2 สิทธิ​เรียก​ร้อง​เงิน​ค่า​ใช้​จ่าย ใน​ก รณี​ที่​ผู้รับ​ฝาก​มี​สิทธิ​เรียก​ค่า​คืน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ตาม​
มาตรา 667 ก็​ดี เรียก​ให้​ชดใช้​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​บ�ำรุง​รักษา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ตาม​มาตรา 668 ก็​ดี ถ้า​
ผู้​ฝาก​ไม่​ช�ำระ ผู้รับ​ฝาก​ย่อม​ใช้​สิทธิ​ฟ้อง​ร้อง​ต่อ​ศาล​ให้​บังคับ​ผู้​ฝาก​ให้​ช�ำระ​ได้ แต่​ต้อง​ฟ้อง​เสีย​ภายใน 6
เดือน​นับ​แต่​วัน​สิ้น​สัญญา​หรือ​วัน​ที่​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ระงับ ถ้า​ไม่​ฟ้อง​ใน​ก�ำหนด​และ​ผู้​ฝาก​ยก​อายุ​ความ​ขึ้น​
ต่อสู้ ศาล​ก็​ต้อง​พิพากษา​ยกฟ้อง
อุทาหรณ์
กิจ​รบั ​ฝาก​มา้ ​ของ เข่ง​ตอ่ ​มา กิจ​ไม่​พอใจ เข่ง​จงึ เ​อา​มา้ ​ไป​คนื ​แก่ เข่ง​ใน​การ​นี้ กิจ​ตอ้ ง​จา้ ง​รถ​บรรทุก​
สธ
ม้า​ไป​ส่ง​มอบ​แก่ เข่ง เสีย​ค่า​รถ​ไป 1,000 บาท ถ้า เข่ง​ไม่​ยอม​ช�ำระ กิจ​ต้อง​ฟ้อง​เรียก​ภายใน 6 เดือน​นับ​
แต่​วัน​ที่​ส่ง​ม้า​คืน​ม​ฉิ ะนั้น​คดี​ขาด​อายุ​ความ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-53

น้อม​รับ​ฝาก​กล้วยไม้​ของ​น�้ำ น้อม​เสีย​ค่า​ปุ๋ย​บ�ำรุง​ต้น​กล้วยไม้​เป็น​เงิน 3,000 บาท ต่อ​มา​กล้วยไม้​


ถูก​แมลง​และ​หนอน​กัด​ทำ� ลาย​เสีย​หาย​หมด สัญญา​ฝาก​กล้วยไม้​เป็น​อัน​ระงับ น้อม​จะ​ฟ้อง​เรียก​ค่า​ปุ๋ย​เป็น​
เงิน 3,000 บาท​จาก​นำ �้ ต้อง​ฟ้อง​ภายใน​กำ� หนด 6 เดือน นับ​แต่ว​ ัน​สิ้น​สัญญา
1.3 สิทธิ​เรียก​ร้อง​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เกี่ยว​แก่​การ​ฝาก​ทรัพย์ ใน​การ​ฝาก​ทรัพย์ค​ ส​ู่ ญ ั ญา​อาจ​ม​สี ทิ ธิ​
เรียก​ค่า​สินไหม​ทดแทน​แก่​กัน เช่น ผู้รับ​ฝาก​ไม่​สงวน​รักษา​ทรัพย์​ที่​ฝาก​ตาม​มาตรา 659 ก็​ดี เอา​ไป​ใช้สอย​


หรือ​ให้​บุคคล​ภายนอก​เก็บ​รักษา​ตาม​มาตรา 660 ก็​ดี หรือ​ไม่​บอก​กล่าว​เมื่อ​ถูก​ฟ้อง​หรือ​ถูก​ยึด​ทรัพย์สิน​ที่​
ฝาก​ตาม​มาตรา 661 ก็​ดี หรือ​รักษา​ทรัพย์​ไม่​ดี​ทำ� ให้​สูญหาย ต้อง​เสีย​เบี้ย​ปรับ​ตาม​สัญญา​ก​็ดี ใน​กรณี​ใด​

สัญญา
มส
กรณี​หนึง่ ​ดงั ​กล่าว​หาก​เกิด​ความ​เสีย​หาย​แก่​ผ​ฝู้ าก ผู​ฝ้ าก​ยอ่ ม​ฟอ้ ง​เรียก​คา่ ​เสีย​หาย​จาก​ผรู้ บั ​ฝาก​ได้ แต่​ก​ต็ อ้ ง​
ฟ้อง​เสีย​ภายใน 6 เดือน​นับ​แต่​วัน​สิ้น​สัญญา​หรือ​วัน​ที่​ใช้​สิทธิ​เลิก​สัญญา มิ​ฉะนั้น​คดี​ขาด​อายุ​ความ
อุทาหรณ์
กิจ​รับ​ฝาก​สุนัข​พันธุ​์ปักกิ่ง​ของ เข่ง แต่ กิจ​ไม่​ระมัดระวัง​ดูแล​สงวน​รักษา​สุนัข​ของ เข่ง​เป็น​เหตุ​ให้​
สุนัข​ขา​หัก เข่ง​เลิก​สัญญา​และ​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​จาก กิจ​ได้ แต่​ต้อง​ฟ้อง​ภายใน 6 เดือน​นับแ​ ต่​วัน​ใช้​สิทธิ​เลิก​

น้อม​รับ​ฝาก​เรือ​ยนต์​จาก​น�้ำ​ต่อ​มา​โจน​อ้าง​ว่า​เป็น​เจ้าของ​เรือ​ยนต์​และ​เอา​เรือ​ยนต์​ไป โดย​น้อม​ลืม
​บอก​กล่าว​แก่​นำ​ �้ จน​กระทั่ง​โจน​เอา​เรือ​ยนต์​ไป​ขาย​แล้ว น�้ำ​จึง​ทราบ​เรื่อง ดังนี้​น�้ำ​ฟ้อง​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​จาก​
น้อม​ได้​ภายใน 6 เดือน​นับ​แต่​วัน​ทราบ​เรื่อง

อุทาหรณ์
ฎ. 607/2521 กรม​ปา่ ​ไม้​โจทก์​ทำ​ � สญ ั ญา​มอบ​ไม้ข​ อง​กลาง​ให้จ​ ำ� เลย​ขน​จาก​สถานีต​ ำ� รวจ​ไป​รกั ษา​ไว้
มส

ถ้า​ไม้​ขาด​หาย​ไป​จ�ำเลย​ยอม​ให้​ปรับ ดังนี้​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​โจทก์​ไม่​น�ำสืบ​เป็น​อย่าง​อื่น อายุ​ความ 6


เดือน​ตาม​มาตรา 671 นับแ​ ต่​วัน​ที่​โจทก์​ตรวจ​พบ​ว่าไ​ ม้ห​ าย​ไป คดีโ​จทก์จ​ ึงข​ าด​อายุค​ วาม พิพากษา​ยกฟ้อง
ตาม​คำ​ � พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​นี้ คดีม​ ป​ี ระเด็นเ​ฉพาะ​ทโ​ี่ จทก์ฟ​ อ้ ง​เรียก​เบีย้ ปรั
​​ บ เพราะ​ไม้ท​ จ​ี่ ำ� เลย​รกั ษา​
ไว้ห​ าย​ไป​จงึ ​ตอ้ ง​ใช้​อายุ​ความ 6 เดือน​ตาม​มาตรา 671 คดี​ไม่มป​ี ระเด็นเ​รียก​รอ้ ง​ให้ค​ นื ​หรือใ​ช้ร​ าคา​ทรัพย์​ซงึ่ ​
ไม่ใช่อ​ ายุค​ วาม​ตาม​มาตรา 671 ส่วน​การ​เริ่มน​ ับอ​ ายุค​ วาม​ ตาม ปพพ. มาตรา 193/12 นับแ​ ต่ข​ ณะ​ทจี่​ ะ​อาจ​
บังคับ​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ได้เป็นต้น​ไป ​คือ​ตั้งแต่​วัน​ที่​โจทก์​ตรวจ​พบ​ว่า​ไม้​หาย​ไป​จนถึง​วัน​ฟ้อง​เกิน 6 เดือน​แล้ว
คดีโ​จทก์จ​ ึงข​ าด​อายุค​ วาม ม
ฎ. 991/2521 โจทก์​ฟ้อง​ว่า​โจทก์ท​ ี่ 1 ฝาก​รถยนต์​ไว้​กับจ​ �ำเลย​ที่ 1 โดย​ม​บี �ำเหน็จค​ ่า​ฝาก จ�ำเลย​ที่
2 ซึ่ง​เป็น​ลูกจ้าง​ของ​จ�ำเลย​ที่ 1 น�ำ​รถ​ที่​รับ​ฝาก​ออก​ไป​ขับ​ชน​กับ​รถ​คัน​อื่น ท�ำให้​รถ​โจทก์​เสีย​หาย​ขอ​ให้​ใช้​
ค่า​ซอ่ ม ดังนี้ ศาล​ฎกี า​โดยที​ป่ ระชุม​ใหญ่​มม​ี ติ​วา่ การ​ฟอ้ ง​ขอ​ให้​ผรู้ บั ​ฝาก​ทรัพย์​ใช้​คา่ ​ซอ่ ม​รถยนต์​ทเ​ี่ กิด​ความ​
เสีย​หาย​เนือ่ งจาก​ความ​ผดิ ​ของ​ผรู้ บั ​ฝาก​เป็นการ​ฟอ้ ง​เรียก​คา่ ​สนิ ไหม​ทดแทน​เกีย่ ว​กบั ​การ​ฝาก​ทรัพย์ จึง​ตอ้ ง​
ห้าม​มใิ​ห้ฟ​ ้อง​เมื่อพ​ ้น​เวลา​หก​เดือน​นับแ​ ต่​วัน​สิ้นส​ ัญญา​ตาม​มาตรา 671 และ​ถือว่า​วันส​ ิ้น​สุดส​ ัญญา คือว​ ันท​ ี่​
โจทก์​ที่ 1 ได้​รบั ​รถยนต์​คนื ​มา​และ​นบั ​ตงั้ แต่​วนั ​ท​โี่ จทก์​ที่ 1 รับ​รถยนต์​คนื ​จนถึง​วนั ​ฟอ้ ง​คดี​น​เี้ ป็น​เวลา​หก​เดือน​
สธ
แล้ว ฟ้อง​ของ​โจทก์​ที่ 1 จึง​ขาด​อายุ​ความ พิพากษา​ยกฟ้อง

4-54 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 9190/2547 จ�ำเลย​รับจ้าง​โจทก์​ขน​ถ่าย​รถยนต์​ที่​โจทก์​สั่ง​ซื้อ​มา​จาก​ต่าง​ประเทศ​ขึ้น​จาก​เรือ​และ​
รับฝ​ าก​ไว้ท​ ล​ี่ าน​พกั ส​ นิ ค้าก​ ลาง​แจ้งข​ อง​จำ� เลย การ​ท​จี่ ำ� เลย​ขน​ถา่ ย​รถยนต์ท​ งั้ หมด​ขนึ้ จ​ าก​เรือเ​สร็จแ​ ล้ว โจทก์​
มิได้​รบั ​รถยนต์​ไป​ทนั ที แต่​ได้​ให้​จำ� เลย​เก็บ​รกั ษา​ไว้​ทล​ี่ าน​พกั ส​ นิ ค้า​ของ​จำ� เลย โดย​ม​กี าร​คดิ ​คา่ ​เก็บ​รกั ษา จึง​
มี​ลักษณะ​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​โดย​มี​บ�ำเหน็จ​รวม​อยู่​ด้วย ซึ่ง​หาก​รถยนต์​ได้​รับ​ความ​เสีย​หาย จ�ำเลย​ผู้รับ​
ฝาก​ทรัพย์​ต้อง​รับ​ผิด​ชดใช้​ค่า​เสีย​หาย​แก่​โจทก์​ผู้​ฝาก การ​ฟ้อง​เรียก​ค่า​ซ่อมแซม​รถยนต์​เป็นการ​ฟ้อง​เรียก​


ค่า​สินไหม​ทดแทน​เกี่ยว​แก่​การ​ฝาก​ทรัพย์​อัน​มีอายุ​ความ 6 เดือน​นับ​แต่​วัน​สิ้น​สัญญา​ตาม ปพพ. มาตรา
671 โจทก์ฟ​ ้อง​คดี​เมื่อพ​ ้น 6 เดือน​นับ​จาก​วันท​ ี่​โจทก์​รับ​รถยนต์​คืนไ​ ป​จาก​จ�ำเลย​อัน​เป็นเ​วลา​สิ้นส​ ัญญา​ฝาก​

มส
ทรัพย์ สิทธิเ​รียก​ร้อง​ของ​โจทก์​สำ� หรับ​จ�ำเลย​จึง​ขาด​อายุ​ความ

2. อายุ​ความ​เรียก​คืน​ทรัพย์​ที่​ฝาก
ตาม​ปกติ​แล้ว​ผู้​เป็น​เจ้าของ​ทรัพย์สิน​ย่อม​ม​ีสิทธิ​ติดตาม​และ​เอา​คืน​ซึ่ง​ทรัพย์สิน​ของ​ตน​จาก​บุคคล
​ผ​ไู้ ม่ม​สี ิทธิ​จะ​ยึดถือ​ไว้ ตาม​กฎหมาย​ลักษณะ​กรรมสิทธิ์​ใน ปพพ.มาตรา 1336 สิทธิ​ติดตาม​เอา​คืนน​ ี้​กระท�ำ​
ได้​โดย​ไม่​ต้อง​ฟ้อง​ศาล แต่​ถ้า​หาก​ม​ีบุคคล​อื่น​โต้​แย้ง​ว่า​เขา​ม​ีสิทธิ​ยึด​ไว้​โดย​ชอบ​ก็​ต้อง​ฟ้อง​ศาล​ให้​สั่ง​บังคับ
และ​ถา้ ​คนื ตัว​ทรัพย์​ไม่​ได้ ย่อม​ฟอ้ ง​ขอ​ให้​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์​นนั้ ​ได้ การ​ตดิ ตาม​เอา​ทรัพย์สนิ ​คนื ​นไ​ี้ ม่ม​กี ำ� หนด​
อายุ​ความ จะ​ช้าน​ าน​เพียง​ใด สิทธิ​ติดตาม​เอา​คนื ​ของ​เจ้า​ทรัพย์สิน​ก็​ยงั ​มี​อยู่ เว้น​เสีย​แต่​ผไู้​ ด้​ทรัพย์สิน​นนั้ ​จะ​
ได้​ครอบ​ครอง​จน​ได้​กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์สิน​นั้น​ ตาม ปพพ. มาตรา 1382, 138329

อุทาหรณ์
ฎ. 3939/2541 โจทก์ฟ​ อ้ ง​ขอ​ให้​จำ� เลย​คนื ​ขา้ ว​เปลือก​ท​ฝี่ าก​ไว้ ถ้าค​ นื ​ไม่​ได้​ให้​ชดใช้ร​ าคา​ขา้ ว​เปลือก​
มส

เป็น​กรณี​ท​ี่โจทก์​ใช้​สิทธิ​เรียก​คืน​ทรัพย์​ที่​ฝาก​ไว้​ใน​ฐานะ​เจ้าของ​กรรมสิทธิ์ ไม่ใช่​เรียก​ร้อง​ให้​จ�ำเลย​ช�ำระ​ค่า​
สินไหม​ทดแทน ดัง​นั้น เมื่อ​จำ� เลย​ยัง​ไม่​คืน​ทรัพย์​ที่​รับ​ฝาก โจทก์​ย่อม​มี​สิทธิ​ติดตาม​เรียก​คืน​ได้​ตลอด​เวลา​
ที่​ทรัพย์​ดัง​กล่าว​ยัง​เป็น​กรรมสิทธิ์​ของ​โจทก์​อยู่ ส่วน​การ​ให้​ชดใช้​ราคา​นั้น​เป็น​ขั้น​ตอน​ที่​โจทก์​จะ​บังคับ​คดี​
เอา​แก่​จำ� เลย เมื่อ​จำ� เลย​คืน​ทรัพย์​ที่​ฝาก​ไม่​ได้​เท่านั้น
ฎ. 5939/2545 จ�ำเลย​เปิด​บัญชี​เงิน​ฝาก​ออม​ทรัพย์​ไว้​กับ​ธนาคาร​โจทก์​นิติ​สัมพันธ์​ระหว่าง​โจทก์​
และ​จ�ำเลย​จึง​เป็น​เรื่อง​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์ การ​ที่​พนักงาน​ของ​โจทก์​บันทึก​รายการ​รับ​ฝาก​เงิน​เข้า​บัญชี​ของ​

จ�ำเลย​ซ�้ำ​กัน 2 ครั้ง ท�ำให้ย​ อด​เงิน​ใน​บัญชี​ของ​จำ� เลย​มจี​ �ำนวน​เกินไ​ ป​จาก​ความ​เป็นจ​ ริง 35,505 บาท และ​
จ�ำเลย​เบิกถ​ อน​เงิน​จำ� นวน​ดัง​กล่าว​ไป​โดย​อาศัย​ความ​ผิดพ​ ลาด​ใน​การ​ปฏิบัตหิ​ น้าที่ข​ อง​พนักงาน​โจทก์ เงิน​
จ�ำนวน​ดงั ก​ ล่าว​เป็นท​ รัพย์สนิ ข​ อง​โจทก์ เมือ่ จ​ ำ� เลย​ได้เ​งินน​ นั้ ไ​ ป​โดย​ไม่ช​ อบ โจทก์ย​ อ่ ม​มส​ี ทิ ธิต​ ดิ ตาม​เอา​เงิน​
จ�ำนวน​นั้นค​ ืน​จาก​จำ� เลย​ผ​ซู้ ึ่ง​ไม่มี​สิทธิ​จะ​ยึดถือ​ไว้​ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ซึ่งไ​ ม่มกี​ �ำหนด​อายุค​ วาม
สธ
29 ฎ. 424/2499, ฎ. 466/2508 วินจิ ฉัย​วา่ เ​จ้าของ​ทรัพย์สน
ิ ฟ​ อ้ ง​เรียก​เอา​ทรัพย์ท​ ผ​ี่ ท​ู้ ำ�​ละเมิดย​ ดึ ถือค​ รอบ​ครอง​ไว้โ​ดย​พลการ
เจ้าของ​ม​สี ทิ ธิ​ตดิ ตาม​เอา​คนื ​ได้​ตาม​มาตรา 1336 ผู​้ทำ�​ละเมิด​จะ​ได้​กรรมสิทธิ​์ก​ต็ อ้ ง​ครอบ​ครอง​ตาม​มาตรา 1382, 1383 จะ​ใช้อ​ ายุ​ความ​
ตาม​มาตรา 448 มิได้

สัญญาฝากทรัพย์ 4-55

อนึง่ ​การ​บรรยาย​ฟอ้ ง​กรณี​น​ตี้ อ้ ง​อา้ ง​สทิ ธิ​ตาม​สญ


ั ญา​หรือ​ละเมิด​และ​กล่าว​วา่ ​จำ� เลย​ไม่ม​สี ทิ ธิ​ยดึ ถือ​
ไว้โ​ จท์​ก์​จึง​ใช้​สิทธิ​ติดตาม​และ​เอา​คืน (ฎ. 2299/2538)30
อุทาหรณ์
ฎ. 2299/2538 โจทก์ม​ ไิ ด้บ​ รรยาย​ฟอ้ ง​วา่ จ�ำเลย​ได้​ยึดถือ​ทรัพย์สิน​ของ​โจทก์​ไว้ โดย​ไม่มี​สิทธิ​อัน​
จะ​เป็น​เหตุ​ให้โ​ จทก์​สามารถ​ใช้​สทิ ธิ​ตดิ ตาม​และ​เอา​คนื ​ทรัพย์สนิ ​ของ​โจทก์​จาก​จำ� เลย​ได้​ตาม ปพพ. มาตรา


438 วรรค​สอง 1336 แต่​กลับ​บรรยาย​ฟ้อง​ว่า​จำ� เลย​ได้​ละเว้น​การ​ปฏิบัติ​หน้าที่​ตาม​ระเบียบ​แบบแผน​ท​ี่
ราชการ​กำ� หนด​โดย​จงใจ หรือ​ประมาท​เลินเล่อ เป็น​เหตุ​ให้​โจทก์​ได้​รบั ​ความ​เสีย​หาย จ�ำนวน 310,670.20 บาท

มส
และ​จ�ำเลย​ต้อง​รับ​ผิด​คืน​เงิน​จ�ำนวน​ดัง​กล่าว​ให้​โจทก์ จึง​ไม่ใช่​การ​ฟ้อง​คดี​เพื่อ​ติดตาม​เอา​ทรัพย์สิน​ของ​
โจทก์​คืน​ซึ่ง​ไม่มี​ก�ำหนด​เวลา เว้น​แต่​จะ​ถูก​จำ� กัด​ด้วย​อายุ​ความ​ได้​สิทธิ แต่เ​ป็นการ​ฟ้อง​ให้​จ�ำเลย​รับ​ผิด​ใน​
การ​ละเมิด​ตาม​มาตรา 420 ซึ่ง​อยู่​ใน​บังคับ​อายุ​ความ 1 ปี ตาม​มาตรา 448 วรรค​แรก
หมายเหตุ กรณี​ที่​จะ​เรียก​ตัว​ทรัพย์​คืน ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ใน​กรณี​นี้ ต้อง​ยัง​ม​ตี ัว​ทรัพย์​อยู่
เช่น ฝาก​โค​ไว้​กับ​แดง แดง​ไม่​ยอม​คืน​โค​ที่​ฝาก ต่อ​มา​แดง​ตาย ผู้​ฝาก​สามารถ​ฟ้อง​เรียก​โค​คืน​จาก​ทายาท​
แดง​ได้ ใน​กรณีน​ ี้​เป็นการ​เรียก​ร้อง​ตาม​หลัก​เจ้าของ​กรรมสิทธิ์
ใน​กรณีท​ ี่​ไม่ใช่​การ​เรียก​ร้อง​ตาม มาตรา 671 คือ ความ​รับ​ผิด​เพื่อใ​ช้​เงิน​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก ซึ่ง​ใช้​เงิน​
ค่าใ​ช้จ​ ่าย​หรือ​ใช้​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เกี่ยว​กับ​การ​ฝาก​ทรัพย์​ให้​ใช้​อายุ​ความ 10 ปี
อุทาหรณ์
ฎ. 190/2538 โจทก์​ทำ​ � สัญญา​เช่า​ฉาง​กับ​จ�ำเลย​เพื่อ​ใช้​เป็น​สถาน​ที่​เก็บ​ข้าว​เปลือก​ของ​โจทก์​และ​

มี​ข้อ​สัญญา​ว่า จ�ำเลย​จะ​เก็บ​รักษา​ข้าว​เปลือก​ไว้​ม​ิให้​สูญหาย หาก​สูญหาย​จ�ำเลย​จะ​รับ​ผิด​ชอบ​ชดใช้​ราคา​
ข้าว​เปลือก​ให้ มี​ลักษณะ​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​รวม​อยู่​ใน​ตัว​ด้วย เมือ่ ​ทรัพย์​ท​รี่ บั ​ฝาก​สญ ู หาย​ไป​จำ� เลย​ตอ้ ง​
มส

ใช้​ราคา​แทน​การ​ฟอ้ ง​เรียก​ให้ใ​ช้​ราคา​ทรัพย์ กรณีน​ ไ​ี้ ม่ใช่​เรียก​คา่ ​สนิ ไหม​ทดแทน​เกีย่ ว​แก่​การ​ฝาก​ทรัพย์ ตาม


ปพพ. มาตรา 671 และ​ไม่มีก​ ฎหมาย​บัญญัติ​อายุค​ วาม​ไว้​โดย​เฉพาะ จึง​ต้อง​ใช้​อายุ​ความ 10 ปี​ตาม​มาตรา
193/30 (มาตรา 164 เดิม) หนี​เ้ งินน​ โ​ี้ จทก์ม​ ส​ี ทิ ธิค​ ดิ ​ดอกเบีย้ ​ได้​ใน​อตั รา​รอ้ ย​ละ​เจ็ด​ครึง่ ​ตอ่ ​ปี ใน​ระหว่าง​เวลา​
ที่​จำ� เลย​ผิดนัดไม่​ชำ� ระ​ได้​ตาม​มาตรา 224 วรค​แรก ไม่ใช่​ดอกเบี้ย​ค้าง​ส่ง​ตาม​มาตรา 166 เดิม (ปัจจุบัน​
มาตรา 193/33) แต่​เป็น​ดอกเบีย้ ท​ ก​ี่ ำ� หนด​แทน​คา่ เ​สียห​ าย​และ​ไม่ม​กี ฎหมาย​บญ ั ญัต​อิ ายุ​ความ​ไว้​โดย​เฉพาะ
จึงม​ ีอายุค​ วาม 10 ปี ตาม​มาตรา 164 เดิม (ปัจจุบันม​ าตรา 193/30)

ฎ. 1181/2541 โจทก์​ตกลง​ท�ำ​สัญญา​เช่า​ฉาง​เก็บ​รักษา​ข้าว​เปลือก​จาก​จ�ำเลย โดย​ม​ีข้อ​สัญญา​ที่​
จ�ำเลย​จะ​ต้อง​รับ​ผิด​ถ้า​เกิด​ความ​เสีย​หาย​หรือ​สูญหาย​ขึ้น และ​ต้อง​ชดใช้ร​ าคา​ข้าว​เปลือก​ที่​ยุบ​ตัว​ตาม​สภาพ​
ไม่​เกิน​ร้อย​ละ 2 ของ​จ�ำนวน​ข้าว​ทั้งหมด​หรือ​เกิด​จาก​เหตุสุดวิสัย สัญญา​ดัง​กล่าว​นอกจาก​เป็น​สัญญา​เช่า​
ทรัพย์​แล้ว ยัง​มี​ข้อ​ก�ำหนด​ให้​จ�ำเลย​มีหน้า​ที่​เก็บ​รักษา​ข้าว​เปลือก ดูแล​มิ​ให้​เกิด​ความ​เสีย​หาย​หรือ​สูญหาย​
ขึน้ จ�ำเลย​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ชอบ​ใช้​ราคา​ขา้ ว​เปลือก​ท​ขี่ าด​จำ� นวน​ไป​ให้​แก่​โจทก์ ซึง่ ​ม​ลี กั ษณะ​เป็น​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์​
สธ
30 ประพันธ์ ทรัพย์​แสง “อายุ​ความ​การ​ใช้​สิทธิ​ติดตาม​เอา​ทรัพย์สิน​คืน” วารสาร​กฎหมาย สุโขทัย​ธร​รมาธิ​ราช ปี​ที่ 25
ฉบับ​ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556 น. 9.

4-56 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

รวม​อยู่​ด้วย การ​ฟอ้ ง​ให้จ​ ำ� เลย​ชำ� ระ​ราคา​ขา้ ว​เปลือก​ท​ขี่ าด​จำ� นวน​ไป​พร้อม​ดอกเบีย้ เ​ช่นน​ ี้ มิใช่ก​ าร​ฟอ้ ง​เรียก​
ค่า​สินไหมทดแทน​เกี่ยว​กับ​การ​ฝาก​ทรัพย์​ ตาม ปพพ. มาตรา 671 และ​ไม่มี​กฎหมาย​บัญญัติ​ถึง​เรื่อง​อายุ​
ความ​ไว้​โดย​เฉพาะ จึง​ต้อง​ใช้​อายุ​ความ​ทั่วไป​คือ 10 ปี ตาม ปพพ. 193/30 (มาตรา 164 เดิม) ฟ้อง​โจทก์​
ยังไ​ ม่​ขาด​อายุ​ความ
ฎ. 4712/2546 โจทก์​ฟอ้ ง​ให้​จำ� เลย​ที่ 5 รับ​ผดิ ​ใน​ฐานะ​ท​เี่ ป็น​ผรู้ บั ​ฝาก​ต​สู้ นิ ค้า​ไว้​แล้ว​สนิ ค้า​ได้​สญ
ู หาย​


ไป​ใน​ระหว่าง​ทจ​ี่ ำ� เลย​ที่ 5 รับฝ​ าก เป็นการ​ฟอ้ ง​เรียก​ให้ใ​ช้ร​ าคา​ทรัพย์ไ​ ม่ใช่เ​รียก​คา่ ส​ นิ ไหม​ทดแทน​เกีย่ ว​แก่​
การ​ฝาก​ทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 671 และ​กรณีน​ ไี้​ ม่มกี​ ฎหมาย​บัญญัติ​อายุค​ วาม​ไว้โ​ ดย​เฉพาะ จึงต​ ้อง​ใช้​

มส
อายุค​ วาม 10 ปี ตาม​ ปพพ. มาตรา 193/30 คดีน​ ผี้​ ู้ข​ นส่งส​ ่งม​ อบ​และ​ผู้รับต​ รา​ส่งร​ ับม​ อบ​สินค้าเ​มื่อว​ ันท​ ี่ 15
ธันวาคม พ.ศ. 2541 ซึ่ง​เป็น​วัน​เดียว​กับ​ท​ี่ผู้รับ​ตรา​ส่ง​รู้​ว่า​สินค้า​หาย​ไป จาก​วัน​ดัง​กล่าว​นับ​ถึง​วัน​ฟ้อง​คือ​
วัน​ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ยัง​ไม่​ครบ 10 ปี ฟ้อง​โจทก์​เกีย่ ว​กบั ​จำ� เลย​ที่ 5 จึง​ไม่​ขาด​อายุ​ความ จ�ำเลย​ที่
5 และ 6 ต้อง​รับผ​ ิดต​ ่อโ​จทก์
อนึ่ง กรณี​ที่​ผู้รับฝ​ าก​ได้ก​ ระท�ำ​ให้ท​ รัพย์​ทฝี่​ าก​เสีย​หาย​ต้อง​รับผ​ ิดใ​น​ฐาน​ละเมิด​ด้วย
อุทาหรณ์
ฎ. 10155/2539 แม้​เป็น​เรื่อง​ฝาก​ทรัพย์​แต่​จำ� เลย​ได้​กระท�ำ​โดย​ประมาท​เลินเล่อ​เป็น​เหตุ​ให้​สินค้า​
เครื่องจักร​เสีย​หาย​ถือ​เป็นการ​กระท�ำ​ละเมิด​ต่อ​โจทก์​ด้วย จึง​มีอายุ​ความ 1 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 448
วรรค​หนึ่ง

เรื่อง​ฝาก​ทรัพย์ เป็น​เรื่อง​ท​คี่ ​ู่กรณี​ตกลง​ท�ำ​สัญญา​กัน ผู้รับ​ฝาก​มี​สิทธิ​ยึดถือ​ทรัพย์​ตาม​สัญญา​ฝาก​
ทรัพย์ แต่เ​มือ่ ​สญ ั ญา​ฝาก​ระงับห​ รือ​เลิก​กนั ผู​ฝ้ าก​ยอ่ ม​ม​สี ทิ ธิ​เรียก​คนื ​ทรัพย์ท​ ​ฝี่ าก​ไว้​พร้อม​ดอก​ผล ถ้าค​ นื ตัว​
ทรัพย์​ไม่​ได้​ก็​ให้​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์​นั้น​ได้ การ​เรียก​คืนตัว​ทรัพย์​ที่​ฝาก ไม่ใช่​การ​เรียก​ค่า​สินไหม​ทดแทน​
มส

เกีย่ ว​กบั ​การ​ฝาก​ทรัพย์ ซึง่ ​มอี ายุ​ความ 6 เดือน ตาม​มาตรา 671 ดัง​ท​อี่ ธิบาย​มา​แล้ว​และ​กรณี​น​ไี้ ม่ม​กี ฎหมาย​
บัญญัติ​อายุ​ความ​ไว้​เป็น​อย่าง​อื่น การ​เรียก​คืน​ทรัพย์​ที่​ฝาก​หรือ​ให้​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์​จึง​มี​ก�ำหนด​อายุ​ความ​
สิบ​ปี ตาม ปพพ. มาตรา 190/30 เช่น ผู้รับ​ฝาก​ไม่​สงวน​รักษา​ทรัพย์​ท​ฝี่ าก​ท�ำให้​ทรัพย์​ที่​ฝาก​หาย​ไป เป็น​
เหตุ​ให้​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ระงับ อายุ​ความ​เรียก​ให้​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์​ย่อม​ม​กี ำ� หนด​สิบ​ปี ดังนี​เ้ ป็นต้น
อุทาหรณ์

สิ้น​สัญญา ต้อง​ใช้อ​ ายุ​ความ​สิบป​ ี​ ตาม ปพพ. มาตรา 193/3 ใน​การ​ใช้​ราคา​ทรัพย์



ฎ. 2185/2519 กรณี​ฝาก​ทรัพย์​แล้ว​ทรัพย์​ที่​ฝาก​ได้​หาย​ไป มิใช่​เป็น​เรื่อง​ผู้รับ​ฝาก​ทรัพย์​ท�ำ​ละเมิด
จึง​ไม่ใช่​อายุ​ความ 1 ปี และ​ไม่​อยู่​ใน​บังคับ​ของ มาตรา 671 ที่​ห้าม​ม​ิให้​ฟ้อง​เมื่อ​พ้น​เวลา​หก​เดือน​นับ​แต่​วัน​

ฎ. 301/2520 ผู​เ้ อา​ประกัน​ภัย​ฝาก​รถยนต์​ทเี่​อา​ประกันภ​ ัยไ​ ว้​กับ​จ�ำเลย รถ​หาย​ไป ผู้รับ​ประกันภ​ ัย​


ใช้ค​ ่าส​ ินไหม​ทดแทน​แล้ว ได้ร​ ับ​ช่วง​สิทธิ​ฟ้อง​เรียก​ค่าเ​สีย​หาย​จาก​จ�ำเลย​ให้ใ​ช้​ราคา​รถ​ทฝี่​ าก​จ�ำเลย​ไว้ กรณี​
ไม่ใช่​เรียก​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เกี่ยว​แก่​การ​ฝาก​ทรัพย์​ตาม​มาตรา 671 แต่​เป็นการ​เรียก​ให้​ใช้​ทรัพย์​ซึ่ง​มีอายุ​
ความ 10 ปี
สธ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-57

ฎ. 2004/2517 แม้​ตาม​ฟ้อง​จะ​เรียก​เอา​ค่า​เสีย​หาย​แต่​โจทก์​เรียก​ร้อง​เอา​เท่ากับ​ราคา​รถยนต์ จึง​


เป็นการ​เรียก​เอา​ทรัพย์​ที่​ฝาก​คืน​นั่นเอง เมื่อ​รถ​สูญหาย​ไป โจทก์​จึง​เรียก​ราคา​แทน ซึ่ง​มีอายุ​ความ 10 ปี
คดีโ​จทก์​ไม่​ขาด​อายุความ31
การ​เริ่ม​นับ​อายุ​ความ 10 ปี นั้น ปพพ. มาตรา 193/12 บัญญัติ​ว่า “อายุ​ความ​ให้​เริ่ม​นับ​แต่​ขณะ​
ที่อ​ าจ​บังคับส​ ิทธิเ​รียก​ร้อง​ได้เ​ป็นต้นไ​ ป ฯลฯ” ดังน​ ั้น การ​ฟ้อง​เรียก​คืนท​ รัพย์ท​ ี่​ฝาก​หรือ​ใช้ร​ าคา ซึ่งม​ ีอายุ​


ความ 10 ปี จึง​เริ่มน​ ับแ​ ยก​เป็น 2 ประการ​ตาม​ประเภท​ของ​การ​ฝาก​ทรัพย์ คือ ฝาก​ทรัพย์โ​ ดย​ไม่ม​กี �ำหนด​
ระยะ​เวลา​กับฝ​ าก​ทรัพย์​โดย​มี​กำ� หนด​ระยะ​เวลา

มส
2.1 ฝาก​ทรัพย์​โดย​ไม่มี​ก�ำหนด​ระยะ​เวลา ผู้​ฝาก​มี​สิทธิ​เรียก​คืน​ได้​ทุก​เมื่อ จึง​เริ่ม​นับ​อายุ​ความ
10 ปี ตั้งแต่​เวลา​ท​รี่ ับ​ฝาก​ทรัพย์​เป็นต้น​ไป
อุทาหรณ์
ฎ. 350/2475 โจทก์​ฟอ้ ง​เรียก​เงิน 3,200 บาท ซึง่ ​ได้​ฝาก​ไว้​กบั ​จำ� เลย​ผเ​ู้ ป็น​พอ่ ตา​โจทก์​มา​เป็น​เวลา​
เกิน 10 ปี นับ​แต่​วัน​ฝาก​จนถึง​วัน​ฟ้อง โดย​ภาย​หลัง​ที่​ฝาก​กัน 10 ปี​แล้ว โจทก์​ไป​ทวงถาม​เงิน​นั้น จ�ำเลย​
ปฏิเสธ​ว่า​มิได้​รับ​ฝาก ศาล​ชั้น​ต้น​วินิจฉัย​ว่า อายุ​ความ​เริ่ม​นับแ​ ต่​วันท​ วงถาม​และ​จ�ำเลย​ปฏิเสธ คดี​โจทก์​ไม่​
ขาด​อายุ​ความ​แต่​ศาล​อุทธรณ์​และ​ศาล​ฎีกา​วินิจฉัยว​ ่า การ​ฝาก​เงินร​ าย​นี้​ไม่มกี​ �ำหนด​เวลา​เรียก​คืน โจทก์​จะ​
เรียก​คืนเ​มื่อใ​ดๆ ก็ได้ และ​ตาม ปพพ. มาตรา 193/12 ท่าน​ให้เ​ริ่มน​ ับอ​ ายุค​ วาม​แต่ข​ ณะ​ที่จ​ ะ​อาจ​บังคับส​ ิทธิ​
เรียก​รอ้ ง​ได้​เป็นต้น​ไป การ​นบั ​อายุ​ความ​ใน​เรือ่ ง​นี้​จงึ ​ตอ้ ง​นบั ​แต่​วัน​ฝาก ไม่ใช่​วนั ​ทวงถาม คดี​โจทก์​ขาด​อายุ​

ความ​เสีย​แล้ว
อายุค​ วาม​นนั้ ท่าน​ให้น​ บั ​เริม่ ​ตงั้ แต่​ขณะ​ผทู้ รง​สทิ ธิอ​ าจ​บงั คับส​ ทิ ธิเ​รียก​รอ้ ง​ได้เ​ป็นต้นไ​ ป ตาม ปพพ.
มส

มาตรา 193/12 ฝาก​เงิน​กนั ​โดย​ไม่​กำ� หนด​เวลา​เรียก​คนื ผู​ฝ้ าก​จะ​เรียก​คนื ​เมือ่ ​ใด​กไ็ ด้ เพราะ​ฉะนัน้ ​อายุ​ความ​
จึง​ต้อง​ตั้ง​ต้น​นับ​แต่​วัน​ฝาก​เป็นต้น​ไป หา​ใช่​ตั้งแต่​วัน​ทวงถาม และ​ผู้รับ​ฝาก​ปฏิเสธ​ไม่
ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​นี้ มี​ปัญหา​น่า​คิด​ว่า ถ้า​เรา​ฝาก​เงิน​กระแส​ราย​วัน​กับ​ธนาคาร​เกิน 10 ปี
เรา​มิ​หมด​สิทธิ​ที่​จะ​เรียก​ร้อง​เงิน​นั้น​คืน​หรือ เห็น​ว่าการ​ฝาก​เงิน​กระแส​ราย​วัน​กับ​ธนาคาร​นั้น​ตาม​วิธ​ีการ​ท​ี่
ธนาคาร​ปฏิบัต​ิกัน​แล้ว ธนาคาร​ส่ง​ใบ​แสดง​รายการ​ยอด​จ�ำนวน​เงิน​ที่​เหลือ​อยู่​กับ​ธนาคาร​มา​ให้​ผู้​ฝาก​ทุกๆ
6 เดือน เพราะ​ฉะนั้น อายุ​ความ​ย่อม​สะดุด​หยุด​ลง ตาม ป.พพ. มาตรา 193/1432
2.2 ฝาก​ทรัพย์​โดย​มี​ก�ำหนด​ระยะ​เวลา ผู้​ฝาก​มี​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ได้​ตั้งแต่​วัน​ถัด​จาก​วัน​ครบ​ก�ำหนด​
ระยะ​เวลา​นั้น​แล้ว
อุทาหรณ์
กิจ​ฝาก​เสื้อ​นอก​ไว้​ที่ เข่ง มี​กำ� หนด​ส่ง​คืน​ใน​วัน​ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 อายุ​ความ​ฟ้อง​เรียก​เสื้อ​
นอก​หรือ​ใช้​ราคา​เสื้อ​นอก มี​กำ� หนด 10 ปี นับ​แต่​วัน​ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้น​ไป

สธ
31 แต่​มี​นัก​กฎหมาย​บาง​ท่าน​เห็น​ว่า โจทก์เ​รียก​ค่า​เสีย​หาย​โดยตรง การ​ทศี่​ าล​แปล​ว่า​โจทก์ฟ​ ้อง​เรียก​เอา​ตัว​รถ​จึง​น่า​จะ​ขัด​
กับฟ​ อ้ ง ทัง้ ค​ ดีน​ โ​ี้ จทก์ฟ​ อ้ ง​เรียก​คา่ เ​สียห​ าย​เกิดจ​ าก​สญ
ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ม​ ใิ ช่เ​รือ่ ง​จำ�เลย​เอา​ทรัพย์โ​จทก์ไ​ ป​หรือค​ รอบ​ครอง​ทรัพย์โ​จทก์อ​ ยู่
ดูห​ มายเหตุ​ท้าย ฎ. 2004/2517
32 หลวง​ประเสริฐม ​ นูก​ ิจ เรื่อง​เดียวกัน น. 43.

4-58 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 4.1.5
เมื่อ​วัน​ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 เอ​ฝาก​รถยนต์​คัน​หนึ่ง​ราคา 3 แสน​บาท​ไว้​แก่​บี ต่อ​มา​วัน​ที่ 5
มีนาคม พ.ศ. 2556 บี​เอา​รถยนต์​ของ​เอ​ไป​ขับ​ชน​กับ​ต้นไม้​ท�ำให้​รถยนต์​เสีย​หาย​เป็น 5,000 บาท วัน​ที่ 2
ธันวาคม พ.ศ. 2556 เอ​ไป​ทวง​รถ​คืน บี​ปฏิเสธ​ว่า​ไม่​ได้​รับ​ฝาก​ไว้ วัน​ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557 เอ​จึง​ฟ้อง​


คดี​ศาล​บัง​คับ​ให้​บ​คี ืน​รถ​หรือ​ใช้​ราคา 3 แสน​บาท​กับ​ค่า​เสีย​หาย​อีก 5,000 บาท บีต​ ่อสู้​ว่า​คดี​ขาด​อายุ​ความ​
แล้ว ถ้า​ท่าน​เป็น​ศาล​จะ​ตัดสิน​อย่างไร

มส
แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.1.5
การ​ฝาก​รถยนต์​ราย​น​ไี้ ม่ม​กี ำ� หนด​เวลา อายุ​ความ​เรียก​คนื ​รถ​หรือ​ใช้​ราคา 3 แสน​บาท มีอายุ​ความ
10 ปี​นับ​แต่​วัน​ฝาก​รถ (ปพพ. มาตรา 193/12, 193/30) คือ​วัน​ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 เอ ฟ้อง​คดี​วัน​ที่
7 มกราคม พ.ศ. 2557 ยัง​ไม่​เกิน 10 ปี จึง​ไม่​ขาด​อายุ​ความ ส่วน​ค่า​เสีย​หาย 5,000 บาท เป็นการ​เรียก​
ร้องค่าส​ ินไหม​ทดแทน​เกี่ยว​แก่ก​ าร​ฝาก​ทรัพย์เ​นื่อง​จา​กบีเ​อา​รถยนต์ไ​ ป​ใช้สอย มีอายุค​ วาม 6 เดือน นับแ​ ต่​
วัน​สนิ้ ​สญ
ั ญา​คอื วัน​ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึง่ ​เป็น​วนั ​ทวง​รถ​คนื นับ​ถงึ ​วนั ฟ​ อ้ ง​คอื ​วนั ท​ ี่ 7 มกราคม พ.ศ.
2557 ยัง​ไม่​เกิน 6 เดือน ดัง​นั้น​คดี​จึง​ไม่​ขาด​อายุ​ความ​ ตาม ปพพ. มาตรา 671 ถ้า​ข้าพเจ้า​เป็น​ศาล
จะ​ตัดสิน​ใจ​ให้​บ​คี ืน​รถยนต์​หรือ​ใช้​ราคา​รถยนต์ 3 แสน​บาท กับ​ค่า​เสีย​หาย​อีก 5,000 บาท แก่​เอ

มส


สธ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-59

ตอน​ที่ 4.2
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​ใน​การ​ฝาก​เงิน
โปรด​อ่าน​หัว​เรื่อง แนวคิด และ​วัตถุประสงค์​ของ​ตอน​ที่ 4.2 แล้วจ​ ึงศ​ ึกษา​ราย​ละเอียด​ต่อไ​ ป


หัว​เรื่อง

แนวคิด
มส
4.2.1 การ​ฝาก​เงิน
4.2.2 สิทธิ​และ​หน้าที​ข่ อง​ผู้รับ​ฝาก​เงิน​และ​ผฝู้​ าก​เงิน

1. เงิน​หรือ​เงิน​ตรา มี​ลักษณะ​พิเศษ​ใน​ทาง​กฎหมาย​ยิ่ง​กว่า​ทรัพย์สิน​อื่น การ​ฝาก​เงิน​หรือ​


เงิน​ตรา​ก​็เช่น​เดียวกัน กฎหมาย​ได้​กำ� หนด​หลัก​เกณฑ์​บาง​ประการ​เป็น​พิเศษ​กว่า​การ​
ฝาก​ทรัพย์สิน​อื่น
2. ผู้รับ​ฝาก​เงิน​มี​สิทธิ​อยู่ 2 ประการ คือ สิทธิ​ที่​ไม่​พึง​ต้อง​คืน​เงิน​ตรา​อัน​เดียว​กับ​ที่​รับ​ฝาก
และ​สิ ทธิ ​ท​ี่ จะ​เอา​เงิ น​ซึ่ง ​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้ได้​และ​มีห น้า​ที่​คืน​เ งิน​ที่​ฝ าก​พ ร้อม​ดอกเบี้ย​ให้​

ผู้​ฝาก ส่วน​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​เงิน​มี​อยู่ 2 ประการ ได้แก่ หน้าที่​ที่​จะ​ต้อง​คืน​เงิน​ที่​รับ​
ฝาก​ให้​ครบ​จำ� นวน และ​หน้าที่​ไม่​ส่ง​คืน​เงิน​ก่อน​ถึง​เวลา​ที่​ตกลง​กัน​ไว้​เฉพาะ​ใน​กรณี​ที่​
มส

จ�ำ​ต้อง​คืน​เงิน​เพียง​เท่า​จำ� นวน​ท​ฝี่ าก
3. ผู้​ฝาก​เงิน​มีหน้า​ที่ 3 ประการ คือ หน้าที่​รับ​คืน​เงิน​ตรา​อัน​อื่น​ที่​ไม่ใช่​อัน​เดียว​กับ​ที่​ฝาก
หน้าที่​ไม่​ขัด​ขวาง​ใน​การ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้สอย​และ​หน้าที่​ไม่​ถอน​เงิน​
คืน​ก่อน​ถึง​เวลา​ที่ตกลง​กัน​ไว้​ เฉพาะ​ใน​กรณี​ที่​ผู้รับ​ฝาก​จ�ำ​ต้อง​คืน​เงินเ​พียง​เท่า​จ�ำนวน​ที่​
ฝาก ส่วน​สิทธิ​ของ​ผ​ฝู้ าก​เงิน​คือ สิทธิ​เรียก​คืน​เงิน​ที่​ฝาก​จน​ครบ​จ�ำนวน

วัตถุประสงค์
เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 4.2 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ
1. อธิบาย​หลัก​เกณฑ์​เกี่ยว​กับ​การ​ฝาก​เงินได้
2. บอก​สิทธิ​และ​หน้าที​ข่ อง​ผู้รับ​ฝาก​เงิน​และ​ผู้​ฝาก​เงินได้
3. เปรียบ​เทียบ​วิธี​การ​ฝาก​เงิน​กับ​การ​ยืม​เงินได้

4. วินิจฉัย​ปัญหา​เกี่ยว​กับ​วิธี​เฉพาะ​ใน​การ​ฝาก​เงินได้
สธ

4-60 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่อง​ที่ 4.2.1
การ​ฝาก​เงิน


ค�ำ​ว่า “เงิน” ก็​คือ “เงิน​ตรา” ตามพ​ระ​ราช​บัญญัตเิ​งิน​ตรา พ.ศ. 2501 ซึ่ง​มาตรา 6 แห่ง​พระ​ราช​
บัญญั ติ ​เ งิ น ​ตรา พ.ศ. 2501 บัญญัต​ิ ว่า เงิน​ต รา ได้แก่ เหรียญ​กษาปณ์​และ​ธนบั ตร นอกจาก​นี้ ​ธนาคาร​

มส
แห่ง ​ป ระเทศไทย​ยัง ​มี​อำ� นาจ​ออก​บัต ร​ธ นาคาร​ที่​ชำ� ระ​หนี้​ได้​ตาม​กฎหมาย​ตามพ​ระ​ราช​บั ญญั ติ​ธ นาคาร​
แห่ง​ประเทศไทย พ.ศ. 2485 และ​พระ​ราช​บัญญัติ​ควบคุม​การ​แลก​เปลี่ยน​เงิน พ.ศ. 2485 ดัง​นั้น เงิน​ตรา​
ก็​คือ​เหรียญ​กษาปณ์​และ​ธนบัตร หรือ​บัตร​ธนาคาร​ที่​ชำ� ระ​หนี้​ได้​ตาม​กฎหมาย ซึ่ง​ตรง​กับ​ความ​หมาย​อย่าง​
แคบ​ของ​ค�ำ​ว่า currency33
เหตุ​น​กี้ าร​ฝาก​เงิน​ก​ค็ ือ การ​ฝาก​เงิน​ตรา​นี่เอง34 ไม่ใช่​ฝาก​แร่​สี​ขาว​เนื้อ​อ่อน​ที่​แบ่ง​เป็น 2 ชนิด คือ
​เงิน​บริสุทธิ์ (silver) กับ​แร่​เงิน​ที่​ใช้​เป็น​เครื่อง​ประดับ​กาย หรือ​เป็น​ภาชนะ​กับ​ใช้​ใน​ทาง​วิทยาศาสตร์​และ​
อุตสาหกรรม​ถ่ายทอด​ภาพ​หรือ​อุตสาหกรรม​อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น35 เพราะ “เงิน” ใน​ความ​หมาย​อย่าง​
หลัง​นี้​เป็น​ทรัพย์สิน​อย่าง​หนึ่ง ดัง​นั้น​ถ้า​เป็นการ​ฝาก​เงิน​บริสุทธิ์​หรือ​แร่​เงิน​ก็​ต้อง​นำ​ � บท​เบ็ดเสร็จ​ทั่วไป​ใน​
ลักษณะ​ฝาก​ทรัพย์​มา​ใช้​บังคับ หา​ใช่​นำ​ � บทบัญญัตว​ิ ิธี​เฉพาะ​การ​ฝาก​เงิน​ดัง​ที่​จะ​ศึกษา​ใน​เรื่อง​นี้​มา​ใช้​บังคับ​

ไม่
ค�ำ​วา่ เงิน​หรือ​เงิน​ตรา​น​ตี้ อ้ ง​หมาย​ถงึ เงิน​ตรา​ของ​ไทย​ซงึ่ ​เป็นว​ ตั ถุ​ท​ชี่ ำ� ระ​หนี​ไ้ ด้​ตาม​กฎหมาย​ไทย​
ปัจจุบัน​ไม่​ใช้​เงิน​ตรา​ชนิด​ท​ี่ยกเลิก​ไม่​ใช้​กัน​แล้ว ถ้า​เป็นการ​ฝาก​เงิน​ตรา​ชนิด​ที่​ยกเลิก​ไม่​ใช้​แล้ว เช่น เงิน​
มส

พดด้วง​โบราณ​หรือเ​หรียญ​หรือธ​ นบัตร​ท​ยี่ กเลิกแ​ ล้ว ก็เ​ป็นการ​ฝาก​ทรัพย์ธ​ รรมดา​ตอ้ ง​นำ​ � บท​เบ็ดเสร็จท​ วั่ ไป​
ใน​ลักษณะ​ฝาก​ทรัพย์​มา​ใช้​บังคับ จะ​นำ​ � บทบัญญัตวิ​ ิธ​เี ฉพาะ​การ​ฝาก​เงิน​มา​ใช้​บังคับ​ไม่ไ​ ด้​เช่น​เดียวกัน
ส�ำหรับ​เงิน​ตรา​ตา่ ง​ประเทศ เช่น เงิน​ยโู ร​ของ​ประเทศ​ใน​สหภาพ​ยโุ รป เงิน​ดอลลาร์​ของ​สหรัฐอเมริกา
เงิน​เยน​ของ​ญี่ปุ่น ฯลฯ ธนาคาร​รับ​ฝาก​ได้ และ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​อนุญาต​ให้​ธนาคาร​พาณิชย์​จ่าย​
อัตรา​ดอกเบี้ย​ให้​แก่​ผ​ฝู้ าก​ได้​ใน​อัตรา​สูงก​ ว่า​เงิน​ฝาก​ที่​เป็น​เงิน​บาท​ตาม​ปกติ เนื่องจาก​เงิน​ตรา​ต่าง​ประเทศ​

มี​ค่า​แข็ง​กว่า​เงิน​ไทย และ​ไม่​จ�ำเป็น​ต้อง​เป็น​เงิน​ฝาก​ประเภท​ใด โดย​ปกติ​บุคคล​ที่​จะ​มี​เงิน​ตรา​ต่าง​ประเทศ​
ได้​ต้อง​เป็น​ผู้​มี​ถิ่น​ที่​อยู่​นอก​ประเทศไทย ฉะนั้น​ธนาคาร​จะ​รับ​ฝาก​เงิน​ตรา​ต่าง​ประเทศ​จาก ผู้​ที่​มี​ภูมิลำ� เนา​

33 เฉลิม ยง​บุญ​เกิด สารานุกรม​ไทย ฉบับร​ าชบัณฑิตยสถาน เล่ม 7 น. 4317-4380.


34 สิ่ง​ที่​เป็น “เงิน” อัน​เป็น​ที่​ยอมรับ​กัน​ใน​ปัจจุบัน​ของ นัก​เศรษฐศาสตร์ มี​อยู่ 3 ประเภท​ใหญ่ๆ คือ 1. เหรียญ​กษาปณ์
(coins) 2. ธนบัตร (currency หรือ paper notes) 3. เงิน​ฝาก​ที่​ต้อง​จ่าย​คืน​เมื่อ​ทวงถาม (demand deposits) เช่น ท่าน​ม​ีบัญชี​
สธ
เงิน​ฝาก​กระแส​ราย​วัน​กับ​ธนาคาร 10,000 บาท เงิน​ฝาก​นั่น​เป็นท​ ยี่​ อมรับ​ของ​นักเ​ศรษฐศาสตร์ว​ ่าเ​ป็น “เงิน” ได้ เพราะ​ท่าน​สามารถ​
สั่งจ​ ่าย​ด้วย​เช็ค​ใน​การ​ซื้อ ช�ำระ​ราคา และ​ผู้รับส​ ามารถ​นำ​ � เช็ค​นั้น​ไป​แลก​เงิน​เหรียญ​กษาปณ์​หรือธ​ นบัตร​ได้ท​ ันที ดู​พชิ​ า ด�ำรง​พิพัฒน์
กฎหมาย​ว่า​ด้วย​การ​ธนาคาร มหาวิทยาลัย​รามค�ำแหง กรุงเทพฯ แสงจันทร์​การ​พิมพ์ ม.ป.ป. น. 51.
35 สมาน บุ​รา​วาศ, สารานุกรม​ไทย ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 7 น. 4313-4314.

สัญญาฝากทรัพย์ 4-61

ใน​ประเทศไทย​ไม่​ได้ เพราะ​บุคคล​ท​อี่ ยู​ใ่ น​ประเทศไทย​จะ​ต้อง​ขาย​เงิน​ตรา​ต่าง​ประเทศ​ทมี่​ ​อี ยู่​ให้​แก่ธ​ นาคาร​


แห่ง​ประเทศไทย ธนาคาร​พาณิชย์​หรือ​บุคคล​ที่​รับ​อนุญาต​ภายใน 7 วัน นับ​แต่​วัน​ที่​ได้​เงิน​นั้น​มา อย่างไร​
ก็ตาม มี​ข้อย​ กเว้น​ให้​บุคคล​บาง​ประเภท​ฝาก​เงินต​ รา​ต่าง​ประเทศ​กับธ​ นาคาร​พาณิชย์ไ​ ด้​เช่น (ก) สถาน​ทูต​
ต่าง​ประเทศ (ข) สถาบันพ​ เิ ศษ​ท​ไี่ ด้ร​ บั ​การ​ยกเว้นโ​ ดย​สนธิส​ ญ ั ญา (ค) คน​ไทย​ท​มี่ ​ภี มู ลิ ำ� เนา​และ​ม​รี าย​ได้ใ​น​
ต่าง​ประเทศ 36


เงิน​หรือ​เงิน​ตรา​นี้​ม​ลี ักษณะ​พิเศษ​ใน​ทาง​กฎหมาย​ยิ่ง​กว่า​ทรัพย์สิน​อื่นๆ เช่น วัตถุ​แห่ง​หนี้ ถ้า​เป็น​
หนี้​เงิน (money) ได้​แสดง​ไว้​เป็น​เงิน​ต่าง​ประเทศ (a foreign currency) จะ​ส่ง​ใช้​เป็น​เงิน​ไทย (Thai

มส
currency) ก็ได้ โดย​คิด​อัตรา​แลก​เปลี่ยน​เงิน ณ สถาน​ที่​และ​ใน​เวลา​ที่​ใช้​เงิน (ปพพ. มาตรา 196) ถ้า​หนี้​
เงิน​จะ​พึง​ส่ง​ใช้​ด้วย​เงิน​ตรา​ชนิด​หนึ่ง​ชนิด​ใด​โดย​เฉพาะ อัน​เป็น​ชนิด​ที่​ยกเลิก​ไม่​ใช้​กัน​แล้ว​ใน​เวลา​ที่​จะ​ต้อง​
ส่ง​เงิน​ใช้​หนี้​นั้น​ไซร้ การ​ส่ง​ใช้​เงิน​ท่าน​ให้​ถือ​เสมือน​หนึ่ง​ว่า​มิได้​ระบุ​ไว้​ให้​ใช้​เป็น​เงิน​ตรา​ชนิด​นั้น (ปพพ.
มาตรา 197) หนี​เ้ งิน​ให้​คดิ ​ดอกเบีย้ ​ใน​ระหว่าง​ผดิ นัด แต่​หา้ ม​คดิ ​ดอกเบีย้ ​ซอ้ น​ดอกเบีย้ ​ใน​ระหว่าง​ผดิ นัด และ​
จะ​คิด​ดอกเบี้ย​ใน​ระหว่าง​ที่​เจ้า​หนี้​ผิดนัด​หา​ได้​ไม่ (ปพพ. มาตรา 224, 221) เรื่อง​กรรมสิทธิ์​ใน​เงิน​ตรา​ก็​มี
ปพพ. มาตรา 1331 บัญญัติ​ว่า “สิทธิ​ของ​บุคคล​ผู้​ได้​เงิน​ตรา​มา​โดย​สุจริต​นั้น ท่าน​ว่า​มิ​เสีย​ไป ถึง​แม้​
ภาย​หลัง​จะ​พิสูจน์​ได้​ว่า​เงิน​นั้น​มิใช่​ของ​บุคคล​ซึ่ง​ได้​โอน​ให้​มา” ส่วน​ใน​เรื่อง​สัญญา​กู้​ยืม​เงิน​ก​็ม​ีกฎหมาย​
บัญญัตห​ิ ลักเ​กณฑ์เ​ป็นพ​ ิเศษ ใน ปพพ. มาตรา 653 เรื่อง​ฝาก​เงินห​ รือฝ​ าก​เงินต​ รา​ก็​เช่นเ​ดียวกันก​ ฎหมาย​
ได้​กำ� หนด​หลัก​เกณฑ์​เป็น​พิเศษ​กว่า​การ​ฝาก​ทรัพย์สิน​อื่น​คือ

1. ผู้รับ​ฝาก​ไม่​ต้อง​คืน​เงิน​ตรา​อัน​เดียว​กับ​ที่​รับ​ฝาก
2. ผู้รับ​ฝาก​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้ได้
มส

3. ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​คืน​เงิน​ท​รี่ ับ​ฝาก​ครบ​จำ� นวน​แม้ว่า​เงิน​ที่​ฝาก​สูญหาย​ด้วย​เหตุสุดวิสัย


4. ผู้รับ​ฝาก​จำ​� ต้อง​คืน​เงิน​เพียง​เท่า​จำ� นวน​ที่​ฝาก​จะ​ส่ง​คืน​ก่อน​ถึง​เวลา​ท​ี่ตกลง​กัน​ไว้​ไม่​ได้ ส่วน
​ผ​ฝู้ าก​ก​็เรียก​ถอน​เงิน​คืน​ก่อน​ถึง​เวลา​นั้น​ไม่​ได้​ดุจ​กัน
นอกจาก​ที่ ปพพ. มาตรา 672, 673 บัญญัติ​วิธี​เฉพาะ​การ​ฝาก​เงิน​เป็น​พิเศษ​ดัง​กล่าว​แล้ว ก็​ต้อง​
ใช้​บท​เบ็ดเสร็จ​ทั่วไป​ว่า​ด้วย​ลักษณะ​ฝาก​ทรัพย์​บังคับ กล่าว​คือ การ​ฝาก​เงิน​เป็น​สัญญา​ที่​ไม่ม​ีแบบ​หรือ​ไม่​
ต้อง​ม​หี ลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ ก็​ฟอ้ ง​รอ้ ง​ให้​บงั คับ​คดี​กนั ​ได้ และ​สญั ญา​ฝาก​เงิน​จะ​บริบรู ณ์​ตอ่ ​เมือ่ ​ม​กี าร​สง่ ​มอบ​
เงิน​ท​ฝี่ าก เป็นต้น
อุทาหรณ์

ฎ. 1121/2533 จ�ำเลย​เป็นค​ สู่​ ัญญา​กับโ​จทก์โ​ ดย​จ�ำเลย​ได้ร​ ับม​ อบ​เงินจ​ าก​โจทก์แ​ ล้วส​ ัญญา​จะ​ใช้ค​ ืน​
พร้อม​ดอกเบี้ย​อัน​เป็นการ​ฝาก​เงิน​โดย​สัญญา​ให้​ดอกเบี้ย​ดังนี้​มี​ผล​ผูกพัน​บริษัท​จ�ำเลย​ให้​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​
สัญญา​รบั ​ฝาก​เงิน​ดงั ​กล่าว ส่วน​อายุ​ความ​ฝาก​เงิน ไม่ม​กี ฎหมาย​บญ ั ญัต​เิ ป็น​พเิ ศษ​จงึ ​ตอ้ ง​ใช้​อายุ​ความ​ทวั่ ไป​
ตาม​มาตรา 193/30 มา​ใช้​บังคับ​คือ อายุ​ความ 10 ปี นับ​แต่​วัน​อาจ​ใช้​สิทธิ​เรียก​ร้อง​เงิน​ฝาก​ได้​เป็นต้น​ไป
(ฎ. 942/2473, ฎ. 350/2476, ฎ. 349/2500)
สธ

36 พิ​ชา ดำ�​รงพิ​วัฒน์, เรื่อง​เดียวกัน น. 98.



4-62 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ปัญหา​ว่าการ​ฝาก​เงิน​กรรมสิทธิ์​โอน​ไป​ยัง​ผู้รับ​ฝาก​หรือ​ไม่ เห็น​ว่า​ถ้า​เปรียบ​เทียบ​กับ​การ​ยืม​เงิน​
แล้ว กฎหมาย​บญ ั ญัต​ไิ ว้​ชดั เจน​วา่ ​เงิน​ท​ใี่ ห้​ยมื ​ตก​เป็น​กรรมสิทธิ​ข์ อง​ผ​ยู้ มื ​และ​ผ​ยู้ มื ​ตกลง​จะ​คนื ​ทรัพย์สนิ ​ทเ​ี่ ป็น​
ประเภท​ชนิด​และ​ปริมาณ​เช่น​เดียวกัน​ให้​แทน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ให้​ยืม​นั้น (มาตรา 650) ส่วน​การ​ฝาก​เงิน​นั้น
มาตรา 672 หา​ได้​บัญญัติ​ว่า เป็นการ​โอน​กรรมสิทธิ์​ดัง​กรณี​ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง​ไม่​ แต่​บัญญัติ​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​ท�ำ​
อะไร​แก่​เงิน​นั้น​ได้​บ้าง เช่น ผู้รับ​ฝาก​ไม่​จำ​ � ต้อง​คืน​เงิน​ทอง​ตรา​อัน​เดียว​กับ​ที่​ฝาก (มาตรา 672 วรรค​หนึ่ง)


ผู้รับ​ฝาก​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้ได้ (มาตรา 672 วรรค​สอง) การ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​ใช้​เงิน​นั้น​ได้​และ​ต้อง​คืน​เงิน​
ให้​ครบ​จำ� นวน​ทั้ง​ต้อง​รับ​ผิด​แม้​เงิน​นั้น​สูญหาย​ไป​เพราะ​เหตุสุดวิสัย (มาตรา 672 วรรค​สอง) จึง​เห็น​ได้​ว่า​

มส
ผูร้ บั ​ฝาก​ม​แี ต่​หนี​ท้ ​จี่ ะ​ตอ้ ง​ชำ� ระ​เงิน​จำ� นวน​เท่า​กนั ​คนื หนี​ข้ อง​ผรู้ บั ​ฝาก​ไม่ใช่​รกั ษา​และ​คนื ตัว​ทรัพย์​เดิม​ท​เี่ ป็น​
กรรมสิทธิ์​ของ​ผ้​ฝู าก​เงิน37 อย่างไร​ก​ด็ ​กี ​ม็ ​คี วาม​เห็น​ของ​ศาล​ฎกี า​วนิ จิ ฉัย​วา่ การ​ฝาก​เงิน​นนั้ กรรมสิทธิ์​โอน​
ไป​ยัง​ผู้รับ​ฝาก​เงินแ​ ล้ว​ตาม​อุทาหรณ์​ข้าง​ล่าง​นี้
อุทาหรณ์
ฎ. 2611/2522 จ�ำเลย​ฝาก​เงิน​กับ​ธนาคาร เงิน​ที่​ฝาก​ย่อม​ตก​เป็น​กรรมสิทธิ์​ของ​ธนาคาร ธนาคาร​
คง​มีหน้า​ที่​ต้อง​คืนให้​ครบ​จ�ำนวน การ​ทจ​ี่ ำ� เลย​ตกลง​มอบ​เงิน​ฝาก​พร้อม​ใบรับ​ฝาก​เงิน​แก่​ธนาคาร เพือ่ ​เป็น​
ประกัน​ความ​เสีย​หาย​ท​ธี่ นาคาร​ออก​หนังสือ​คำ​ �้ ประกัน​จำ� เลย​ไว้​ตอ่ ​กรม​ทางหลวง​ให้​ธนาคาร​มอ​ี ำ� นาจ​หกั ​เงิน​
จาก​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​จำ� เลย ช�ำระ​ค่า​เสีย​หาย​ที่​ธนาคาร​ชดใช้​แทน​ได้​ทันที​และ​จ�ำเลย​จะ​ไม่​ถอน​เงิน​ฝาก​
จนกว่า​ธนาคาร​จะ​พน้ ​ภาระ​ความ​รบั ​ผดิ ​ชอบ ตาม​หนังสือ​คำ​ �้ ประกัน​นนั้ เป็น​เรือ่ ง​ตกลง​ใน​การ​ฝาก​เงิน​นนั้ ​เอง

หา​ทำ� ให้ต​ วั เ​งินต​ าม​จำ� นวน​ใน​บญ ั ชี​ฝาก​ตก​เป็น​กร​รม​สทิ ธ์​ของ​จำ� เลย​อนั ธ​นา​คาร​ได้​ยดึ ไ​ ว้​เพือ่ ​เป็น​ประกันก​ าร​
ช�ำระ​หนีไ้​ ม่ ความ​ตกลง​ดัง​กล่าว​จึง​ไม่ใช่ก​ าร​จ�ำน�ำ​เงิน​ฝาก
มส

ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา​นี้ ศาล​ฎีกา​วาง​หลัก​ว่า การ​ฝาก​เงิน​นั้น​กรรมสิทธิต์​ ก​แก่​ผู้รับ​ฝาก ท�ำให้​


การ​ที่​จะ​วินิจฉัย​ว่า​เป็น​ยืม​เงิน​หรือ​ฝาก​เงิน​ไม่​แตก​ต่าง​กัน สุด​แล้ว​แต่​ตกลง​ว่า​เป็น​ยืม​หรือ​ฝาก แม้​ธนาคาร​
กับผ​ ​เู้ คย​คา้ ซึง่ ​ยอ่ ม​เป็นท​ ​แี่ น่นอน​วา่ ธ​ นาคาร​ตอ้ งการ​เงินข​ อง​ผ​เู้ คย​คา้ ​ไป​ใช้ น่า​จะ​เป็น​ยมื ​แต่​เมือ่ ​ธนาคาร​กบั ​
ผู้เ​คย​ค้า​ตกลง​กันว​ ่า​ฝาก​ก็​ต้อง​รับ​ว่า​เป็นฝ​ าก​เงิน ไม่ใช่​ยืม​เงิน38
ฎ. 752/2523 เงิน​ที่​จ�ำเลย​น�ำ​ไป​ฝาก​ธนาคาร​ย่อม​เป็น​กรรมสิทธิ์​ของ​ธนาคาร​ตาม​มาตรา 672
เพราะ​ไม่​ปรากฏ​วา่ ​ม​ขี อ้ ​ตกลง​ให้​ธนาคาร​สง่ ​คนื ​เป็น​เงิน​ตรา​อนั ​เดียวกัน​กบั ​ท​รี่ บั ​ฝาก เมือ่ ​เจ้า​พนักงาน​บงั คับ​

คดี​อายัด​เงิน​ดัง​กล่าว เงิน​ที่​ธนาคาร​ส่ง​มา​ให้​เจ้า​พนักงาน​บังคับ​คดี​จึง​ไม่​จ�ำ​ต้อง​เป็น​เงิน​ตรา​อัน​เดียวกัน​กับ​
ทีจ่​ ำ� เลย​นำ​
� มา​ฝาก ทั้ง​ไม่มี​ข้อ​เท็จ​จริง​ใดๆ แสดง​ว่า​เงิน​ดังก​ ล่าว​เป็น​เงิน​ตรา​อัน​เดียว​กับท​ ี่​จ�ำเลย​เบิก​ไป​จาก​
ธนาคาร​ผู้​ร้อง​โดย​ทุจริต เงิน​นั้น​จึง​เป็น​ของ​จ�ำเลย​หา​ใช่​ของ​ธนาคาร​ผู้​ร้อง​ไม่ ธนาคาร​ผู้​ร้อง​ซึ่ง​ถูก​จ�ำเลย​
หลอก​ลวง​เบิก​เงิน​ไป​ไม่มี​สิทธิ​ขอ​ให้​ปล่อย​ทรัพย์
สธ
37
จิต​ติ ติงศ​ ภัทิย์ คำ�​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​อาญา​ภาค 2 ตอน​ที่ 2 และ​ภาค 3 พ.ศ. 2524 แก้ไข​เพิ่ม​เติม​พิมพ์ค​ รั้ง​ที่
2 กรุงเทพมหานคร สำ�นัก​อบรม​ศึกษา​กฎหมาย​แห่ง​เนติ​บัณฑิตย​ ส​ ภา น. 2609-2610.
38 จิต​ติ ติง​ศภัทิย์ หมายเหตุ​ท้าย​ฎีกา ค�ำ​พิพากษา​ประจ�ำ​พุทธศักราช 2522 กรุงเทพมหานคร: เนติ​บัณฑิต​ย​สภา พ.ศ.
2522 น. 2063-2069.

สัญญาฝากทรัพย์ 4-63

ที​ว่ า่ การ​ฝาก​เงิน​ กรรมสิทธิโ​์ อน​ไป​ยงั ธ​ นาคาร​นนั้ ห​ มายความ​วา่ ม​ ​กี าร​ฝาก​เป็นต​ วั เ​งิน แต่ถ​ า้ ธ​ นาคาร​
เป็น​แต่​เพียง​ตัวแทน​เรียก​เก็บ​เงิน​ตาม​เช็ค เมื่อ​เรียก​เก็บ​ไม่​ได้​ธนาคาร​ย่อม​เพิก​ถอน​เงิน​ฝาก​ตาม​เช็ค​นั้น​ได้
(ปพพ. มาตรา 321 วรรค​ท้าย)
ฎ. 1587/2523 จ�ำเลย​น�ำ​เช็ค​ธนาคาร​อื่น​เข้า​บัญชี​ของ​จ�ำเลย​ใน​ธนาคาร​โจทก์ ธนาคาร​โจทก์​เรียก​
เก็บ​เงิน​ตาม​เช็ค​ใน​ฐานะ​ตวั แทน​จำ� เลย แต่​เรียก​เก็บ​ไม่​ได้ ธนาคาร​โจทก์​ยอ่ ม​ม​อี ำ� นาจ​ทจ​ี่ ะ​เพิก​ถอน​รายการ​


การ​รับฝ​ าก​เงินต​ าม​เช็คด​ ังก​ ล่าว​ออก​ได้ ยังไ​ ม่ถ​ ือว่า​ธนาคาร​โจทก์​ได้ร​ ับ​ฝาก​เงินจ​ �ำนวน​ดังก​ ล่าว​ไว้
การ​ฝาก​เงิน​นั้น​ตาม​ปกติ​ผู้​ฝาก​ไม่​ต้อง​เสีย​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก เพราะ​ผู้รับ​ฝาก​เอา​เงิน​ที่​ฝาก​ออก​ใช้​หา​

มส
ประโยชน์​ได้​อยู​แ่ ล้ว (มาตรา 672) เหตุ​น​ผี้ รู้ บั ​ฝาก​จงึ ​เป็น​ฝา่ ย​ให้​คา่ ​ตอบแทน​หรือ​ดอกเบีย้ ​แก่​ผ​ฝู้ าก เว้น​แต่​
การ​ฝาก​เงิน​ชนิด​ที่ ตกลง​มิ​ให้​ผู้รับ​ฝาก​เอา​เงิน​ออก​ใช้ หรือ​ผู้รับ​ฝาก​มี​ฐานะ​มั่นคง​เป็น​ที่​เชื่อ​ถือ​ของ​ผู้​ฝาก​​
โดย​ทั่วไป ผู้รับ​ฝาก​อาจ​เรียก​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ก็​ย่อม​ท�ำได้ เนื่องจาก​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​สามารถ​น�ำ​เงิน​จ�ำนวน​​
ดัง​กล่าว​ไป​หา​ประโยชน์​ท​งี่ อกเงย​ขนึ้ ​ได้ แต่​ม​ภี าระ​ตอ้ ง​รบั ​ด​รู กั ษา​เงิน​ผ​ฝู้ าก​ไว้ เช่น เศรษฐี​เมือง​ไทย​เอา​เงิน​
ไป​ฝาก​ยัง​ธนาคาร​ใน​ประ​เทศ​ส​วิต​เซอร์​แลนด์ ซึ่ง​มี​การ​คิด​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก หรือ​ธนาคาร​พาณิชย์​ใน​ปัจจุบัน​
มี​ขอ้ ​สญ
ั ญา​กบั ​ผ​ฝู้ าก​เงิน​ขอ้ ​หนึง่ ​วา่ ถ้า​ผ​ฝู้ าก​ไม่​ตดิ ต่อ​กบั ​ธนาคาร​เป็น​เวลา 5 ปี ธนาคาร​จะ​คดิ ​คา่ ​รกั ษา​บญ
ปีล​ ะ 200 บาท โดย​หัก​จาก​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​ผู้​ฝาก ดังนี้​เป็นต้น ซึ่ง​น่า​จะ​ถือว่า​เป็น​บ�ำเหน็จ​ค่า​ฝาก​ได้
ั ชี​

เมื่อ​เป็นการ​ฝาก​เงิน ผู้รับ​ฝาก​ไม่​พึง​ต้อง​ส่ง​คืน​เป็น​เงิน​ทอง​ตรา​อัน​เดียว​กับ​ที่​ฝาก แต่​ต้อง​คืน​เงิน​


ให้ค​ รบ​จ�ำนวน แม้เ​งิน​ที่​ฝาก​สูญหาย​ไป​ด้วย​เหตุสุดวิสัย ผู้รับ​ฝาก​ก็​ต้อง​คืน​เงิน​จ�ำนวน​นั้น​ให้แ​ ก่ผ​ ู้ฝ​ าก

อุทาหรณ์
ฎ. 3076/2533 จ�ำเลย​รบั ฝ​ าก​เงินจ​ าก​โจทก์ จ�ำเลย​ผรู้ บั ฝ​ าก​จะ​เอา​เงินซ​ งึ่ ฝ​ าก​นนั้ อ​ อก​ใช้ก​ ไ็ ด้ ฉะนัน้
มส

แม้ก​ าร​รบั ฝ​ าก​เงินจ​ ะ​ไม่มบ​ี ำ� เหน็จค​ า่ ฝ​ าก​และ​จำ� เลย​จะ​ได้ใ​ช้ค​ วาม​ระมัดระวังส​ งวน​ทรัพย์สนิ ซ​ งึ่ ฝ​ าก​นนั้ เ​หมือน​
เช่น​เคย​ประพฤติ​ใน​กจิ การ​ของ​จำ� เลย​เอง​กต็ าม เมือ่ ​ปรากฏ​วา่ ​เงิน​ซงึ่ ​ฝาก​นนั้ ​สญ ู หาย​เพราะ​ถกู ​คนร้าย​ลกั ​ไป
แม้​จะ​เป็น​เหตุสุดวิสัย​ซึ่ง​ไม่​อาจ​ป้องกัน​ได้ จ�ำเลย​ก็​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​คืน​เงิน​จ�ำนวน​ที่​รับ​ฝาก​ไว้​แก่​โจทก์​ตาม
ปพพ. มาตรา 672
ฎ. 291/2547 โจทก์​เป็น​ธนาคาร​ซึ่ง​รับ​ฝาก​เงิน​ของ ส. ผู้​เป็น​ลูกค้า ย่อม​มีหน้า​ท​ี่ต้อง​คืน​เงิน​ที่ ส.
ฝาก​ไว้​เมื่อ ส. ทวงถาม การ​ท​จี่ ำ� เลย​ที่ 1 ได้​ถอน​เงิน​จาก​บัญชี ส. แล้ว​ยักยอก​เงิน​ดัง​กล่าว​ไป ท�ำให้​เงิน​ใน​

บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ ส. ขาด​หาย​ไป โจทก์​มหี น้า​ท​ตี่ อ้ ง​คนื ​เงิน​ท​หี่ าย​ไป​ให้​แก่ ส. ตาม ปพพ. มาตรา 672 การ​
ที่​โจทก์​คืน​เงิน​ท​ี่จำ� เลย​ที่ 1 ยักยอก​ไป​ให้​แก่ ส. จึง​มิใช่​เป็นการ​ชำ� ระ​หนี้​ตาม​อ�ำเภอ​ใจ​โดย​รู้​ว่า​ไม่ม​ีหนี​้ต้อง​
ช�ำระ เมื่อ​โจทก์​ได้​ช�ำระ​หนี้​ท​เี่ กิด​จาก​จำ� เลย​ที่ 1 กระท�ำ​ละเมิด​ต่อ​โจทก์​ให้​แก่ ส. ไป​แล้ว ย่อม​ม​สี ิทธิ​ฟ้อง​ให้​
จ�ำเลย​ที่ 1 รับ​ผิด​ใน​เงิน​ท​ชี่ �ำระ​ไป​ได้​ ตาม ปพพ.มาตรา 420
ฎ. 8963/2553 ปพพ. มาตรา 665 วรรค​หนึ่ง บัญญัติ​ว่า “ผู้รับ​ฝาก​จ�ำ​ต้อง​คืน​ทรัพย์สิน ซึ่ง​รับ​
ฝาก​ไว้​นั้น​ให้​แก่​ผู้​ฝาก หรือ​ทรัพย์สิน​นั้น​ฝาก​ใน​นาม​ของ​ผู้​ใด​คืนให้​แก่​ผู้​นั้น... บัญชี​เงิน​ฝาก​ชื่อ​บัญชี​
เป็นการ​ฝาก​ใน​นาม​จ�ำเลย​โดย​ไม่​ปรากฏ​ข้อความ​ว่า​จ�ำเลย​เปิด​บัญชี​เงิน​ฝาก​ดัง​กล่าว​แทน​ผู้​ร้อง ธนาคาร​
สธ
ผู้รับฝ​ าก​จึงต​ ้อง​คืนเ​งินฝ​ าก​ให้แ​ ก่จ​ �ำเลย​ตาม​บทบัญญัติ​ของ​กฎหมาย” แม้​ผรู้​ ้อง​น�ำ​เงินเ​ข้า​บัญชีข​ อง​จ�ำเลย​
เพื่อ​ให้​จ�ำเลย​รับ​ซื้อ​น�้ำมัน​ใช้​แล้ว​จาก​ลูกค้า​ทั่วไป​แทน​ผู้​ร้อง แต่​เงิน​ที่​ผู้​ร้อง​น�ำ​เข้า​ฝาก​ใน​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​
จ�ำเลย​จึง​เป็น​กรณี​การ​ฝาก​เงิน ซึ่ง​ตาม ปพพ. มาตรา 672 ให้​สันนิษฐาน​ไว้​ก่อน​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​พึง​ต้อง​ส่ง​

4-64 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

คืน​เป็น​เงิน​ตรา​อัน​เดียวกัน​กับ​ที่​ฝาก ผู้รับ​ฝาก​มี​สิทธิ​เอา​เงิน​นั้น​ออก​ใช้ได้ ฉะนั้น​เงิน​ที่​ฝาก​จึง​ตก​เป็น​ของ​


ธนาคาร เมือ่ ​จำ� เลย​ใช้​สทิ ธิ​เรียก​รอ้ ง​เอา​เงิน​ท​ฝี่ าก​จาก​ธนาคาร ธนาคาร​ก​ไ็ ม่​ตอ้ ง​คนื ​เงิน​ตรา​อนั ​เดียว​กบั ​ท​รี่ บั ​
ฝาก ธนาคาร​คง​มี​แต่​หน้าที่​จะ​ต้อง​คืน​เงิน​ให้​ครบ​ถ้วน​เท่านั้น จ�ำเลย​เป็น​ผู้​ท�ำ​สัญญา​เปิด​บัญชี​เงิน​ฝาก​กับ​
ธนาคาร​ใน​นาม​ของ​จ�ำเลย ธนาคาร​ผู้รับ​ฝาก​จึง​ต้อง​คืน​เงิน​ฝาก​พร้อม​ดอกเบี้ยใ​ห้​จ�ำเลย​ซึ่ง​เป็นผ​ ู้​ฝาก ผูร้​ ้อง​
มิได้เ​ป็นค​ ส​ู่ ญ
ั ญา​กบั ธ​ นาคาร​ดว้ ย จึงไ​ ม่มส​ี ทิ ธิเ​รียก​คนื เ​งินท​ ร​ี่ บั ฝ​ าก​ไว้จ​ าก​บญ
ั ชีเ​งินฝ​ าก​ท​เี่ ปิดไ​ ว้ใ​น​นาม​ของ​


จ�ำเลย​ตาม ปพพ. มาตร 665 และ​มาตรา 672 ผู้​ร้อง​เพียง​แต่​มี​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ให้​จ�ำเลย​ปฏิบัติ​ตาม​หน้าที่​ที่​
จ�ำเลย​มี​ต่อ​ผู้​ร้อง​นั้น หาก​จ�ำเลย​ไม่​รับ​ซื้อ​น�้ำมัน​ใช้​แล้ว​จาก​ลูกค้า​ตาม​ที่​ผู้​ร้อง​อนุมัติ​เงิน​ไป ผู้​ร้อง​ก็​ไม่มี​สิทธิ​

มส
ทีจ​่ ะ​ถอน​เงิน​จาก​บญ ั ชี​เงิน​ฝาก​ของ​จำ� เลย​คนื ​ได้​เอง ผู​ร้ อ้ ง​จงึ ​มใิ ช่​เจ้าของ​เงินฝ​ าก​ตาม​บญ
ที่​ถูก​อายัด​ไว้ และ​ไม่มี​สิทธิข​ อ​ให้ถ​ อน​อายัด​เงิน​ฝาก​ดัง​กล่าว
ั ชี​ธนาคาร​ของ​จำ� เลย​

กิจการ​รับ​ฝาก​เงิน​ที่​รู้จัก​กัน​แพร่​หลาย​ใน​ปัจจุบัน​คือ “ธนาคาร”39 ซึ่ง​เป็น​ที่ท�ำการ​รับ​กู้ และ​ให้​


กู​เ้ งิน​ตรา กล่าว​คอื ด้าน​รบั ​เครดิต (รับ​ก)ู้ อาจ​จะ​เป็น​ลกั ษณะ​การ​รบั ​ฝาก​หรือ​ก​กู้ ไ็ ด้ ส่วน​ดา้ น​ให้​เครดิต​อาจ​
จะ​เป็นการ​ให้​ก​ยู้ ืม การ​ซื้อ​ลด​ตั๋ว​เงิน การ​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี การ​ลงทุน ตลอด​จน​การ​ให้ค​ �้ำ​ประกัน ธนาคาร​
มี​หลาย​ประเภท เช่น ธนาคาร​พาณิชย์ ซึ่ง​การ​ประกอบ​การ​ธนาคาร​พาณิชย์​ต้อง​ได้​รับ​อนุญาต​และ​ห้าม​มิ​
ให้บ​ ุคคล​ใด​นอกจาก​ธนาคาร​พาณิชย์ ใช้ช​ ื่อห​ รือค​ ำ​ � แสดง​​ใน​ธุรกิจว​ ่าธ​ นาคาร หรือค​ �ำ​อื่นท​ ี่​มี​ความ​หมาย​เช่น​
เดียวกัน​อีก​ด้วย ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​การ​ธนาคาร​พาณิชย์ พ.ศ. 2505 มี​บท​วิเคราะห์​ศัพท์​ค�ำ “ธนาคาร​
พาณิชย์” คือ ธนาคาร​ที่​ประกอบ​ธุรกิจ​รับ​ฝาก​เงิน​ซึ่ง​ต้อง​จ่าย​คืน​เมื่อ​ทวงถาม หรือ​เมื่อ​สิ้น​ระยะ​เวลา​
อัน​ก�ำหนด​ไว้​และ​ใช้​ประโยชน์​เงิน​นั้น​ใน​ทาง​หนึ่ง​หรือ​หลาย​ทาง เช่น (ก) ให้​กู้​ยืม (ข) ซื้อ​ขาย หรือ​เรียก​

เก็บ​เงิน​ตาม​ตั๋ว​แลก​เงิน​หรือ​ตราสาร​เปลี่ยน​มือ​อื่น​ใด และ (ค) ซื้อแ​ ละ​ขาย​เงิน​ปริวรรต​ต่าง​ประเทศ ทั้งนีจ้​ ะ​
ประกอบ​ธุรกิจ​ประเภท​อื่น อัน​เป็น​ประเพณี​ท​ธี่ นาคาร​พาณิชย์​พึงก​ ระท�ำ​ด้วย​หรือไ​ ม่​ก็ตาม
มส

ใน​ประเทศไทย​นอกจาก​ธนาคาร​พาณิชย์​แล้ว สถาบัน​การ​เงิน​ที่​ใช้​ค�ำ​ว่า “ธนาคาร” เป็น​ชื่อ มี​


ธนาคาร​ที่​ตั้ง​ขึ้น​โดย​กฎหมาย​พิเศษ​คือ ธนาคาร​ออมสิน​ซึ่ง​รับ​ฝาก​เงิน​ออม​ทรัพย์​ราย​ย่อย​เป็น​ส�ำคัญ​ตั้ง​ขึ้น​
โดย​พระ​ราช​บัญญัติ​ธนาคาร​ออมสิน พ.ศ. 2489 ธนาคาร​อาคารสงเคราะห์​ซึ่ง​เป็น​ธนาคาร​ที่​ให้​ความ​
ช่วย​เหลือท​ างการ​เงินใ​ห้ป​ ระชาชน​ได้ม​ ​ที ​อี่ ยูอ​่ าศัยต​ งั้ ข​ นึ้ โ​ ดย​พระ​ราช​บญ ั ญัตธ​ิ นาคาร​อาคารสงเคราะห์ พ.ศ.
2496 ธนาคาร​เพื่อ​การเกษตร​และ​สหกรณ์​การเกษตร​ซึ่ง​เป็น​ธนาคาร​ที่​ให้​ความ​ช่วย​เหลือ​ทางการ​เงิน​แก่​
เกษตรกร กลุ่ม​เกษตรกร​หรือ​สหกรณ์​การเกษตร​ตั้ง​ขึ้น​โดย​พระ​ราช​บัญญัติ​ธนาคาร​เพื่อ​การเกษตร​และ​
สหกรณ์​การเกษตร พ.ศ. 2509 ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย​ซึ่ง​เป็น​ธนาคาร​กลาง​ของ​ประเทศ​ตั้ง​ขึ้น​โดย​ ม
พระ​ราช​บัญญัติ​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย พ.ศ. 2485 นอกจาก​นี้​สถาบัน​การ​เงิน​ที่​ตั้ง​ขึ้น​เพื่อ​ส่ง​เสริม​การ​
พัฒนา​อตุ สาหกรรม​สว่ น​เอกชน​และ​เข้า​ขา่ ย​ประกอบ​กจิ การ​ธนาคาร​ประเภท​หนึง่ ​เหมือน​กนั ​แต่​มไิ ด้​ใช้​คำ​
ธนาคาร คือ​บรรษัท​เงิน​ทุน​อุตสาหกรรม​แห่ง​ประเทศไทย ซึ่ง​ตั้ง​ขึ้น​โดย​พระ​ราช​บัญญัติ​บรรษัท​เงิน​ทุน​
อุตสาหกรรม​แห่งป​ ระเทศ พ.ศ. 250240 และ​สถาบันก​ าร​เงินใ​น​รปู ​ของ​บริษทั เ​งินท​ นุ ​บริษทั ห​ ลักท​ รัพย์ บริษทั ​
� วา่ ​

เครดิตฟองซิเอร์ ซึ่ง​ต้อง​อยู่​ภาย​ใต้​บังคับ​ของ​พระ​ราช​บัญญัติ​การ​ประกอบ​ธุรกิจ​เงิน​ทุน ธุรกิจ​หลักทรัพย์​


สธ
39 พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้​ความ​หมาย​คำ�​ว่า “ธนาคาร” ว่า “นิติบุคคล​ที่​ตั้ง​ขึ้น​ตาม​กฎหมาย
บริษัท​จำ�กัด หรือบ​ ริษัทม​ หาชน​จำ�กัด ที​ใ่ ช้​ชื่อห​ รือ​คำ�​แสดง​ชื่อ​ว่า ธนาคาร ซึ่ง​ประกอบ​ธุรกิจเ​กี่ยว​กับ​เงินแ​ ละ​ธุรกิจ​หลัก​ทรัพย์”
40 สม​หมาย ฮุน​ตระกูล สาร​นุ​กรม​ไทย ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 14 พ.ศ. 2521 น. 9052-9057.

สัญญาฝากทรัพย์ 4-65

และ​ธุรกิจเ​ครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งบ​ ริษัทเ​หล่าน​ ี้​สามารถ​กู้​ยืม​เงินจ​ าก​ประชาชน​หรือร​ ับฝ​ าก​เงินจ​ าก​
ประชาชน​ใน​รูปข​ อง​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ได้ด​ ้วย
กิจการ​รบั ​ฝาก​เงิน​เหล่า​น​ตี้ อ้ ง​ใช้​บทบัญญัต​ขิ อง​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​เรือ่ ง​การ​ฝาก​เงิน​
บังคับ เว้น​แต่​มี​บทบัญญัติ​ของ​กฎหมาย​พิเศษ​ดัง​กล่าว​แล้ว​บัญญัติ​ไว้​เป็น​อย่าง​อื่น เช่น ธนาคาร​ที่​รับ​ฝาก​
เงินย​ อ่ ม​คนื ​เงินฝ​ าก​ได้ท​ กุ ​เมือ่ ใน​เมือ่ เ​ป็นการ​ฝาก​เงินท​ ​มี่ ไิ ด้ก​ ำ� หนด​เวลา​ไว้ (มาตรา 664) (ฎ. 8963/2553)


หรือ​ธนาคาร​ที่​รับ​ฝาก​เงิน​ต้อง​คืน​เงิน​ที่​รับ​ฝาก​แก่​ผู้​ฝาก​หรือ​ที่​ผู้​ฝาก​ระบุ​นาม หรือ​ตาม​คำ​ � สั่ง​ของ​ผู้​ฝาก​และ​
ถ้า​ผฝู้​ าก​ตาย​ก็​ต้อง​คืน​เงิน​ฝาก​แก่​ทายาท​ของ​ผู้​ฝาก (มาตรา 665) เป็นต้น

มส
อุทาหรณ์
ฎ. 2335/2524 โจทก์​ทำ​ � สัญญา​ฝาก​เงิน​ออม​ทรัพย์​ไว้​กับ​ธนาคาร​ซึ่ง​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ที่​มิได้​
ก�ำหนด​เวลา​กัน​ไว้​ว่า จะ​พึง​คืน​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​เมื่อ​ใด ธนาคาร​ใน​ฐานะ​ผู้รับ​ฝาก จึง​อาจ​คืน​ทรัพย์​นั้น​ได้​
ทุก​เมื่อ​โดยไม่​ต้อง​บอก​กล่าว​ล่วง​หน้า ตาม​มาตรา 664 กรณี​ไม่​ต้อง​ด้วย ปพพ. มาตรา 393 ที่​จะ​ต้อง​
ก�ำหนด​ระยะ​เวลา​แก่​ฝ่าย​ท​มี่ สี​ ิทธิ​เลิก​สัญญา​ก่อน
ฎ. 244/2522 บิดา​ฝ าก​เ งิน ​กั บ​ธ นาคาร​ใ น​ชื่อ ​เ ด็ก​เ ป็น ​เจ้าของ​บัญชี โดย​เจตนา​ยก​เงิน​ให้​เด็ก
เงินต​ ก​เป็นก​ รรมสิทธิ​ข์ อง​เด็ก​ทนั ที​ท​ธี่ นาคาร​รบั ​เข้า​บญ ั ชี บิดา​ตกลง​กบั ​ธนาคาร​วา่ ​บดิ า​เป็น​ผ​ลู้ งชือ่ ถ​ อน​เงิน
บิดา​ตาย ธนาคาร จ่าย​เงิน​แก่​ผ​จู้ ดั การ​มรดก​ซงึ่ ​ขอ​ถอน​เงิน​นนั้ เป็นการ​ชอบ (มาตรา 665) ผู​้จดั การ​มรดก​
รับ​เงิน​มา​ต้อง​มอบ​แก่​เด็ก​ตาม​หน้าที่​เช่น​เดียว​กับ​บิดา​เด็ก เด็ก​ติดตาม​เอา​คืน​ได้ พร้อม​ด้วย​ดอกเบี้ย​ตั้งแต่​
วันผ​ ู้​จัดการ​มรดก​ขอ​ถอน​เงิน

กล่าว​โดย​เฉพาะ กิจการ​ของ​ธนาคาร​พาณิชย์​ที่​เปิด​รับ​ฝาก​เงิน​จาก​ผู้​ฝาก​ย่อม​อาศัย​แนว​ความ​คิด​
ดัง้ เดิมท​ ว​ี่ า่ ผูฝ​้ าก​ม​คี วาม​เชือ่ (trust) ต่อธ​ นาคาร​วา่ ​ฝาก​แล้ว​ตอ้ ง​ได้​ดอกเบีย้ ต้อง​ได้​บริการ และ​ถา้ ​ตอ้ งการ​
มส

จะ​ถอน​คืน​บาง​ส่วน​หรือ​ทั้งหมด​ใน​เวลา​ท�ำงาน​ของ​ธนาคาร​ต้อง​ได้ จะ​ผัดผ่อน​บิดพลิ้ว​ประวิง​เวลา หรือ​ต่อ​


รอง​ให้​ผดิ ​ไป​จาก​ความ​ประสงค์​ไม่​ได้​เพราะ​ธนาคาร​ม​เี งิน​จำ� นวน​มาก การ​ฝาก​เงิน​ตอ่ ​ธนาคาร​หลาย​ประเภท41
เช่น ประเภท​กระแส​ราย​วันใ​ช้เ​ช็ค ประเภท​ออม​ทรัพย์ ออม​ทรัพย์ป​ ระจ�ำ ฯลฯ จึงอ​ ยูใ่​น​ฐานะ​นอนใจ​ได้แ​ ละ​

41

เดือน 1 ปี ฯลฯ โดย​ธนาคาร​จะ​ให้​ดอกเบี้ย​ตอบแทน​สูง​กว่า​ธรรมดา​เพื่อ​ตอบแทน​คำ�​สัญญา​ดัง​กล่าว โดย​ปกติ​แล้ว​เงิน​ฝาก​ประจำ�​



เงิน​ฝาก​อาจ​แบ่ง​ออก​ได้เ​ป็น 3 ประเภท​คือ (1) เงินฝ​ าก​ประจำ� (time deposits) หรือ​ที่​เรียก​ใน​ประเทศไทย​ว่า​เป็น​เงิน​
ฝาก​ที่​กำ�หนด​เวลา​ถอน​คืน​เอา​ไว้ กล่าว​คือ จะ​มี​การ​ตกลง​กันไ​ ว้​ระหว่าง​ผู้​ฝาก​และ​ธนาคาร​ว่า​จะ​ไม่ถ​ อน​คืน​ก่อน​เวลา​ทกี่​ ำ�หนด เช่น 6

จะ​มี​สิทธิ​ได้​รับ​ดอกเบี้ย​ตาม​ประเภท​ที่​กำ�หนด​ต่อ​เมื่อ​ครบ​ระยะ​เวลา​ที่​กำ�หนด​ไว้​เท่านั้น ถ้า​ถอน​ก่อน​ระยะ​เวลา​ที่​กำ�หนด​ไว้​ผู้​ฝาก​ไม่มี​
สิทธิ​จะ​ได้​รับด​ อกเบี้ย​เหมือน​ประเภท​ที่ (3) (2) เงินฝ​ าก​ออม​ทรัพย์ (savings) กรณีน​ ี้​จะ​มี​สมุด​ฝาก​เงิน​ให้ผ​ ฝู้​ าก​เพื่อใ​ช้​ใน​การ​ฝาก​
เพิม่ ​เติม หรือ​ถอน​เงิน ซึง่ ​จะ​สามารถ​ฝาก​หรือ​ถอน​ได้​ทกุ ว​ นั แต่​ไม่ใ​ช้​เช็ค​ใน​การ​เบิก​ถอน​การ​ฝาก​ประเภท​นม​ี้ กั ก​ ำ�หนด​ให้​ฝาก​ครัง้ ​แรก​
ไม่​ต่ำ�​กว่า 100 บาท หรือฝ​ าก​จน​ครบ 100 บาท ธนาคาร​ก็​จะ​ให้ด​ อกเบี้ยค​ ่อน​ข้าง​สูง เพื่อส​ ่งเ​สริม​ออม​ทรัพย์ข​ อง​ประชาชน​ราย​ย่อย​
โดย​ทั่วไป ซึ่ง​ไม่มี​เงิน​จำ�นวน​มาก​เหลือพ​ อ​ฝาก​เป็นเ​งิน​ฝาก​ประจำ� (3) เงิน​ฝาก​ที่​ต้อง​จ่าย​คืนเ​มื่อ​ทวงถาม (demand deposits) ใน​
ประเทศไทย​เรียก​ชื่อบ​ ัญชีเ​งินฝ​ าก​ว่าเ​งินฝ​ าก​กระแส​ราย​วัน (current account) ใน​สหรัฐอเมริกา​เรียก​ว่า checking account เพราะ​
สธ
ต้อง​ใช้เ​ช็คใ​น​การ​ถอน​เงินห​ รือส​ งั่ จ​ า่ ย​เงินท​ ำ�ให้ส​ ะดวก​สบาย​ยงิ่ ข​ นึ้ เงินฝ​ าก​ประเภท​นร​ี้ วม​ถงึ ก​ าร​ฝาก​ทต​ี่ อ้ ง​จา่ ย​คนื เ​มือ่ ส​ นิ้ ร​ ะยะ​เวลา​ไม่​
ถึง 3 เดือน​ด้วย ธนาคาร​จะ​ให้​อัตรา​ดอกเบี้ย​ต่ำ�​มาก​เพราะ​เงินฝ​ าก​ประเภท​นี้ ผู้​ฝาก​มวี​ ัตถุประสงค์​เพื่อ​ใช้​ใน​ธุรกิจ เช่น ใช้​เช็ค มิได้​
หวังด​ อกเบีย้ แ​ ละ​ธนาคาร​กห​็ า​ประโยชน์จ​ าก​เงินฝ​ าก​นไ​ี้ ด้น​ อ้ ย เพราะ​ผฝ​ู้ าก​เบิกถ​ อน​ได้เ​สมอ​ตาม​ทต​ี่ อ้ งการ ใน​ทาง​ปฏิบตั แ​ิ ล้วธ​ นาคาร​
ส่วน​ใหญ่​มิได้​คิด​ดอกเบี้ย​ให้ส​ ำ�หรับเ​งินฝ​ าก​ประเภท​นี้ ดู​พิ​ชา ดำ�​รงพิ​วัฒน์ เรื่อง​เดียวกัน น. 62 และ 96.

4-66 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

รวดเร็ว​ที่​จะ​ถอน​คืนแม้​ผู้​ฝาก​จะ​ฝาก​เงิน​ไว้​กับ​ธนาคาร​ใน​ประเภท​ประจ�ำ (fixed deposits) ซึ่ง​มี​กำ� หนด​


เวลา​ถอน​คืน หรือ​ภาษา​ธนาคาร​แห่ง​ประเทศไทย เรียก​ว่า เงิน​ฝาก​ท​ี่ต้อง​จ่าย​คืน​เมื่อ​สิ้น​ระยะ​เวลา (time
deposits) ก็ตาม ผู้​ฝาก​มี​สิทธิ​ที่​จะ​ถอน​ก่อน​ครบ​กำ� หนด​เสมอ หาก​แต่​ว่า​ถ้า​ผู้​ฝาก​ถอน​ก่อน​ครบ​กำ� หนด​
หรือ​ก่อน​ครบ​สัญญา​ฝาก จะ​ได้​ดอกเบี้ย​ต�่ำ​ไป​จาก​ที่​ตกลง​กัน​ไว้​เมื่อ​เริ่ม​ฝาก ซึ่ง​เมื่อ​เปรียบ​เทียบ​กับ​การ​ที่​
ผู้​นั้น​ได้​ลงทุน​หรือ​ฝาก​ใน​รูป​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ไว้​กับ​บริษัท​การ​เงิน (financial company) มี​ก�ำหนด​เวลา​


และ​ถอน​ก่อน​ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน​ครบ​อายุ​หรือ​ก่อน​กำ� หนด​เวลา อาจ​เกิด​วิธี​การ​ต่อ​รอง​แบ่ง​ให้​ถอน​คืน​ก็ได้42
อย่างไร​ก็​ดี​กิจการ​ธนาคาร​พาณิชย์​ท​ี่รับ​ฝาก​เงิน​เป็น​อาชีพ ธนาคาร​ย่อม​ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​อย่าง​ผู้​มี​

มส
วิชาชีพ​และ​มหี น้า​ที่ รูจ้ กั ล​ ายมือช​ อื่ ​ของ ผูเ​้ คย​คา้ ต​ าม​ตวั อย่าง​ท​ใี่ ห้ไ​ ว้ต​ อ่ ธ​ นาคาร หรือก​ รณีท​ ​ผี่ ​เู้ คย​คา้ น​ ำ​
เข้า​บัญชี​เพื่อ​ให้​ธนาคาร​เรียก​เก็บ แต่​ธนาคาร​มิได้​เรียก​เก็บ และ​มิได้​แจ้ง​เหตุ​ขัดข้อง​จน​ผู้​เคย​ค้า​เสีย​สิทธิ​
เรียก​รอ้ ง​ชำ� ระ​เงิน​ตาม​เช็ค ธนาคาร​กต​็ อ้ ง​รบั ผ​ ดิ ​ เว้นแ​ ต่​ใน​กรณีอ​ นื่ ​ถา้ ​ธนาคาร​จา่ ย​เงิน​ไป​โดย​สจุ ริต​ปราศจาก​
ความ​ประมาท​เลินเล่อ ธนาคาร​กไ็​ ม่ต​ ้อง​รับผ​ ิด
อุทาหรณ์
ฎ. 1254/2497 ธนาคาร​จ่าย​เงิน​ตาม​เช็ค​ที่​ถูก​แก้​จ�ำนวน​เงิน 60,000 ลด​ลง​เป็น 50,000 บาท และ​
แก้​วัน​ที่ 25 เป็น 21 แต่​ธนาคาร​ได้​จ่าย​เงิน​ไป​โดย​สุจริต​ปราศจาก​ประมาท​เลินเล่อ แม้​จะ​ได้​ความ​ว่า​ผู้​สั่ง​
� เช็ค​

จ่าย​งด​จ่าย​เงิน​ก่อน​วัน​ที่ 25 ธนาคาร​ก​ไ็ ม่​ต้อง​รับ​ผิด


ตาม​คำ​ � พิพากษา​ศาล​ฎีกา​นี้​แสดง​ว่า การ​ที่​ธนาคาร​จ่าย​เงิน​ตาม​เช็ค​นั้น​ย่อม​จ่าย​โดย​อาศัย​สัญญา​

ระหว่าง​ผ​ู้สั่ง​จ่าย​กับ​ธนาคาร​อีก​ส่วน​หนึ่ง เช่น สัญญา​ฝาก​เงิน​หรือ​สัญญา​เบิก​เงิน​เกิน​บัญชี เป็นต้น การ​ที่​
ธนาคาร​จา่ ย​เงิน​ราย​นี้ จึง​ตอ้ ง​พจิ ารณา​ความ​รบั ​ผดิ ​ชอบ​ตาม​สญ ั ญา​นนั้ ๆ ด้วย43 คดี​น​ผี้ ​สู้ งั่ ​จา่ ย​ไม่ม​คี ำ​ � สงั่ ​ตอ่ ​
มส

ธนาคาร​ให้จ​ า่ ย​เงิน 60,000 บาท แม้จ​ ะ​ม​ผี แ​ู้ ก้จ​ ำ� นวน​เงินเ​ป็น 50,000 บาท และ​ธนาคาร​จา่ ย​เงินไ​ ป​ตาม​นนั้
ก็​ไม่​เป็นการ​ปฏิบัติ​นอก​เหนือ​คำ​ � สั่ง​ของ​โจทก์​แต่​อย่าง​ใด ส่วน​ที่​จ่าย​ไป​ก่อน​วัน​ที่แท้​จริง ก็​ไม่​ได้​ความ​ว่า​
ธนาคาร​ประมาท​เลินเล่อ ธนาคาร​จึง​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด
ฎ. 294/2522 โจทก์​มี​บัญชี​ฝาก​กระแส​ราย​วัน​กับ​ธนาคาร​จ�ำเลย มี​ผู้น�ำ​เช็ค​ที่​ปลอม​ลายมือ​ชื่อ​
โจก​ทส์​ ่งจ​ ่าย​เงิน 340,000 บาท มา​ยื่น และ​เปลี่ยน​รับ​แคชเชียร์​เช็คข​ อง​ธนาคาร​จ�ำเลย​ไป ต่อม​ า​โจทก์​ออก​
เช็คส​ ั่งจ​ ่าย​เงินม​ า 240,000 บาท ปรากฏ​ว่า​ไม่มี​เงินใ​น​บัญชีท​ จี่​ �ำเลย​จะ​จ่าย​ตาม​เช็ค​ให้ ดังนี้​เห็นว​ ่า​ธนาคาร​

จ�ำเลย​เป็นผ​ ู้รับฝ​ าก​เงินเ​ป็นอ​ าชีพ​โดย​หวัง​ประโยชน์​ใน​บ�ำเหน็จ​ค่าฝ​ าก หรือ​จาก​การ​เอา​เงิน​ฝาก​ของ​ผู้​ฝาก​
ไป​แสวงหา​ประโยชน์​ได้ มีหน้า​ทต​ี่ าม​กฎหมาย​จะ​ตอ้ ง​ใช้​ความ​ระ​วดั ​ระวัง​และ​ความ​ร​คู้ วาม​ชำ� นาญ​เป็น​พเิ ศษ
ตรวจ​สอบ​ลายมือ​ชอื่ ผ​ ส​ู้ งั่ ​จา่ ย​วา่ ​เหมือน​ลายมือ​ทใ​ี่ ห้​ตวั อย่าง​ไว้​กบั ​จำ� เลย​หรือ​ไม่ หาก​เห็น​วา่ ​ลายมือ​ชอื่ ​สงั่ จ​ า่ ย​
ใน​เช็คพ​ ิพาท​ไม่เ​หมือน​ตัวอย่าง​ทใี่​ห้ไ​ ว้ จ�ำเลย​ก็​ชอบ​ที่​จะ​ปฏิเสธ​การ​จ่าย​เงิน ฉะนั้นก​ าร​ที่​จ�ำเลย​ได้​จ่าย​หรือ​
หัก​บัญชี​เงิน​ฝาก​ของ​โจทก์​ให้​บุคคล​อื่น​ไป จึง​ถือ​ได้​ว่า​เป็น​ความ​ประมาท​เลินเล่อ​ของ​จำ� เลย จ�ำเลย​จึง​ต้อง​
สธ
42 เสรี (นามแฝง) “ธนาคาร​เขา​ทำ�งาน​กัน​อย่างไร?” หนังสือพิมพ์​สยาม​รัฐ​ราย​วัน ฉบับล​ ง​วัน​ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2525
น. 7.
43
จิต​ติ ติง​ศภัทิย์ หมาย​เห​ตุ​ท้าย ฎ. 1254/2497 ค�ำ​พิพากษา​ฎีกา​ประจ�ำ​พุทธศักราช 2497 พิมพ์​ครั้ง​ที่ 2 พระนคร เนติ​
บัณฑิต​สภา พ.ศ. 2497 น. 1121-1122.

สัญญาฝากทรัพย์ 4-67

รับ​ผิด​ช�ำระ​เงิน 240,000 บาท​กับ​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 7 ครึ่ง​ต่อ​ปี ตั้งแต่​วัน​ที่​โจทก์​ออก​เช็ค​สั่ง​จ่าย​เงิน​มา​อีก​


ฉบับห​ นึ่งซ​ ึ่งไ​ ม่มเี​งิน​ใน​บัญชี​จำ� เลย​จะ​จ่าย​ตาม​เช็คน​ ั้น
ตาม​คำ​ � พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​นี้ ถ้า​พจิ ารณา​ใน​ดา้ น​ท​วี่ า่ ศาล​ฎกี า​ปรับ​บท​วา่ ธนาคาร​เป็น​ผ​มู้ อ​ี าชีพ​รบั ​
ฝาก​เงิน ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​อย่าง​ผู้​มี​วิชาชีพ ตาม​มาตรา 659 แล้ว​ประมาท​เลินเล่อ​จึง​ต้อง​รับ​ผิด44 ก็​
เห็น​ได้​ว่า​ไม่​น่า​จะ​ตรง​เสียที​เดียว เพราะ​เรื่อง​การ​ฝาก​เงิน​นั้น มาตรา 672 วรรค​สอง บัญญัติ​ว่า แม้ว่า​เงิน​


ซึง่ ฝ​ าก​นนั้ จ​ ะ​ได้​สญ
ู หาย​ไป​ดว้ ย​เหตุสดุ วิสยั ​กต็ าม ผูร้ บั ​ฝาก​ก​จ็ ำ​ � ตอ้ ง​คนื ​เงิน​จำ� นวน​ดงั ​กล่าว​ให้ ฉะนัน้ ​ปญ ั หา​
เรือ่ ง​ธนาคาร​ผรู้ บั ฝ​ าก​เงินป​ ระมาท​เลินเล่อห​ รือ​ไม่ จึงม​ ไ​ี ม่​ได้อ​ ยูเ​่ อง โดย​เหตุ​นจ​ี้ งึ ม​ บ​ี ทบัญญัตใ​ิ น​กรณี​ธนาคาร​

มส
จ่าย​เงิน​ใน ปพพ. มาตรา 1009 ท�ำนอง​เดียว​กับ ปพพ. มาตรา 949 คือ ธนาคาร​ได้​รับ​ความ​คุ้มครอง​แม้​
ลายมือ​ชื่อ​ผู้​สลัก​หลัง​ปลอม แต่​ไม่​ยกเว้น​ความ​รับ​ผิด​กรณี​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​สั่ง​จ่าย​ปลอม เพราะ​ถ้า​ลายมือ​ชื่อ​
ผู้​สั่ง​จ่าย​ปลอม​ธนาคาร​ต้อง​รับ​ผิด​ไม่​ว่า​ใน​กรณี​ใดๆ แม้​เป็น​เหตุสุดวิสัย แต่​ถ้า​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​สั่ง​จ่าย​ไม่​ปลอม​
แต่ม​ ​เี หตุ​บกพร่อง​อื่น​ธนาคาร​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​ต่อ​เมื่อป​ ระมาท​เลินเล่อ​เท่านั้น45
ฎ. 521/2525 โจทก์​เป็น​ลูกค้า​ของ​ธนาคาร​ได้​เปิด​บัญชี​ฝาก​กระแส​ราย​วัน​ไว้ โจทก์​น�ำ​เช็ค​จำ� นวน​
เงิน 100,000 บาท ซึ่ง​นาย​วิรัช​สั่ง​จ่าย​ช�ำระ​หนี้​แก่​โจทก์​ฝาก​เข้า​บัญชี​เพื่อ​เรียก​เก็บ​เงิน แต่​ธนาคาร​จ�ำเลย​
มิได้เ​รียก​เก็บเ​งินต​ าม​เช็คจ​ าก​บัญชีข​ อง​นาย​วิรัชท​ ​มี่ ี​อยูท่​ ี่​จ�ำเลย ทั้งๆ ทีน่​ าย​วิรัชม​ เี​งินพ​ อ​จะ​เรียก​เก็บไ​ ด้ ทั้ง​
มิได้​คนื ​เช็ค​และ​มไิ ด้​แจ้ง​เหตุ​ขดั ข้อง​แก่​โจทก์ โจทก์​จงึ ​เข้าใจ​วา่ ​จำ� เลย​เรียก​เก็บ​เงิน​ตาม​เช็ค​ฉบับ​พพิ าท​ได้ จน​
กระทั่ง​เมื่อ​เดือน​มิถุนายน พ.ศ. 2521 โจทก์​จ่าย​เช็ค​ให้​ลูกค้า 100,000 บาท แต่​ธนาคาร​จ�ำเลย​ปฏิเสธ​การ​

จ่าย​เงิน โจทก์​จงึ ​ได้​ตรวจ​สอบ​ใบรับ​ฝาก​ทงั้ หมด​และ​บญ ั ชี​กระแส​ราย​วนั จึง​พบ​ขอ้ ​ผดิ ​พลาด​เรือ่ ง​ท​จี่ ำ� เลย​มไิ ด้​
เรียก​เก็บ​เงิน​ตาม​เช็ค​ฉบับ​พพิ าท​จาก​บญ ั ชี​ของ​นาย​วริ ชั จึง​ตอ้ ง​ถอื ว่า​โจทก์​ทราบ​เรือ่ ง​ทจ​ี่ ำ� เลย​มไิ ด้​เรียก​เก็บ​
มส

เงิน​ตาม​เช็ค​ฉบับ​พพิ าท​เมือ่ ​เดือน​มถิ นุ ายน พ.ศ. 2521 ฉะนัน้ ที​โ่ จทก์​นำ​ � คดีน​ ​มี้ า​ฟอ้ ง​เมือ่ ว​ นั ​ที่ 23 เมษายน
พ.ศ. 2522 จึง​ไม่​เกิน 1 ปี คดี​โจทก์​ไม่​ขาด​อายุ​ความ พิพากษา​ให้​จ�ำเลย​ใช้​เงิน​แก่​โจทก์ 100,000 บาท​
พร้อม​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ปี นับ​แต่​วันท​ เี่​ช็คฉ​ บับ​พิพาท​ถึงก​ �ำหนด​จนกว่า​จะ​ใช้เ​งินใ​ห้โ​จทก์​เสร็จ
ตาม​คำ​ � พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​นี้ ศาล​ฎกี า​วนิ จิ ฉัยว​ า่ ธนาคาร​กระท�ำ​ละเมิดน​ นั่ เอง จึงใ​ช้อ​ ายุ​ความ 1 ปี​
ตาม ปพพ. มาตรา 448 บังคับ ซึง่ ​เป็นการ​วนิ จิ ฉัย​ทำ� นอง​เดียว​กบั ​ท​เี่ คย​วนิ จิ ฉัย​มา​แล้ว ตาม ฎ. 820/2518
อนึ่ง​มี​ความ​เห็น​ของ​นัก​นิติศาสตร์​บาง​ท่าน​ว่า การ​ที่​ลูกค้า​ยื่น​ค�ำขอ​เปิด​บัญชี​เงิน​ฝาก​กระแส​
ราย​วนั และ​ธนาคาร​ตกลง เกิด​เป็น​สญ ั ญา​ผกู พัน​ระหว่าง​ลกู ค้า​กบั ​ธนาคาร​ตาม​ขอ้ ส​ ญ
ธนาคาร​ผรู้ บั ​ฝาก​มหี น้า​ทค​ี่ นื ​เงิน​ทฝ​ี่ าก​นนั้ (เทียบ ฎ. 2924/2522) อีก​ทงั้ ​การ​ท​ลี่ กู ค้า​นำ​

บัญชี​เพื่อ​ให้​ธนาคาร​เรียก​เก็บ​เงิน​ตาม ปพพ. มาตรา 925, 989 หาก​เรียก​เก็บ​ไม่​ได้​ก็​มีหน้า​ที่​ต้อง​คืน​เช็ค​
ให้​ลูกค้า การ​ที่​ธนาคาร​รับ​เช็ค​แล้ว​ไม่​จัดการ​เรียก​เก็บ​ให้ จะ​โดย​หลงลืม พลั้ง​เผลอ​หรือ​ประมาท​เลินเล่อ​
ก็ตาม ก็​เป็นการ​ผิด​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​หรือ​ตัวแทน​นั่นเอง จึง​ต้อง​นำ​
ั ญา​ใน​คำ� ขอ​เปิดบ​ ญ
� เช็ค​ฉบับ​พพิ าท​เข้า​

� อายุ​ความ​ใน​มูล​สัญญา​ดัง​กล่าว​มา​ใช้
ั ชี
สธ
44 ดู ฎ.5246/2555 ใน​เรื่อง​ที่ 4.1.2 สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก น่า​จะ​ตรง​กับ​มาตรา 659 มากกว่า
45 จิตต
​ ิ ติงศ​ ภัทยิ ์ หมาย​เห​ต​ทุ า้ ย​ฎกี า ค�ำ​พพิ ากษา​ฎกี า​ประจ�ำ​พทุ ธศักราช 2522 กรุงเทพมหานคร เนติบ​ ณ
ั ฑิตส​ ภา พ.ศ.
2522 น. 2301-2302.

4-68 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บังคับ หา​ใช่​น�ำ​อายุ​ความ​ใน​มูล​ละเมิด​มา​ปรับ​กับ​คดี​ไม่ อย่างไร​ก็​ดี​คดี​นี้​ไม่ม​ีปัญหา​โดยตรง​ว่า จะ​ปรับ​บท​


ว่าใ​ช้อ​ ายุ​ความ​ใน​มูล​สัญญา​หรือ​ใน​มูล​ละเมิด46
อุทาหรณ์
ฎ. 3806/2434 ใน​ระหว่าง​ทโี่​จทก์เ​ป็นผ​ จู้​ ัดการ​ร้าน​สหกรณ์จ​ �ำเลย เงิน​ของ​จ�ำเลย​มิได้​ขาด​บัญชีไ​ ป
เพียง​แต่​โจทก์​รบั ​เงิน​มา​แล้ว​นำ​ � เข้า​ฝาก​ธนาคาร​ใน​บญ ั ชี​ของ​จำ� เลย​โดย​มไิ ด้​นำ​
� มา​ลง​บญ ั ชี​สมุด​เงินสด​รบั เป็น​


เหตุใ​ห้ผ​ ต​ู้ รวจ​สอบ​บญ ั ชีเ​ห็น​วา่ เ​งินข​ าด​บญ
ั ชี​ไป จ�ำเลย​จงึ ​ได้​ให้โ​จทก์ท​ ำ​
� สญั ญา​ประนีประนอม​ยอม​ความ​และ​
รับ​สภาพ​หนี้​ยอมรับ​ผิด​ชดใช้​เงิน​ที่​ขาด​บัญชี ซึ่ง​ต่อ​มา​จ�ำเลย​ได้​ฟ้อง​เรียก​เงิน​ดัง​กล่าว​จาก​โจทก์ ศาล​ฎีกา​

มส
พิพากษา​ถึงที่​สุด​ให้​โจทก์​รับ​ผิด​ชอบ​ใช้​เงิน​นั้น และ​โจทก์​ได้​ชดใช้​เงิน​ให้​แก่​จ�ำเลย​แล้ว​ทั้ง​ที่​ปรากฏ​ว่า​เงิน​
จ�ำนวน​นยี้​ ังอ​ ยูใ่​น​บัญชีเ​งินฝ​ าก​ธนาคาร​ของ​จ�ำเลย เงินด​ ังก​ ล่าว​แม้จ​ ะ​ตก​เป็นข​ อง​ธนาคาร​แต่จ​ �ำเลย​ใน​ฐานะ​
เจ้าของ​บัญชี​ก็​มี​สิทธิ​เรียก​ร้อง​ให้​ธนาคาร​ใช้​เงิน​นั้น​ให้​แก่​จ�ำเลย​เมื่อ​ใด​ก็ได้ เมื่อ​จ�ำเลย​ได้​รับ​เงิน​จ�ำนวน​
เดียวกัน​กับ​เงิน​ที่​ฝาก​ธนาคาร​ไป​จาก​โจทก์​ตาม​คำ​ � พิพากษา​ถึงที่​สุด​แล้ว เงิน​ที่​จำ� เลย​มี​สิทธิ​เรียก​ร้อง​จาก​
ธนาคาร​จงึ ป​ ราศจาก​มลู อ​ นั จ​ ะ​อา้ ง​กฎหมาย​ได้ และ​เป็นการท�ำ​ให้โ​จทก์​เสีย​เปรียบ​โจทก์​มส​ี ทิ ธิ​ฟอ้ ง​เรียก​เงิน​
จ�ำนวน​ดังก​ ล่าว​คืนจ​ าก​จ�ำเลย​ใน​ฐาน​ลาภ​มคิ​ วร​ได้
ฎ. 744/2540 จ�ำเลย​เปิด​บัญชี​เงิน​ฝาก​ออม​ทรัพย์​กับ​ธนาคาร​โจทก์​เพื่อ​ฝาก​เงิน​และ​ถอน​เงิน​กับ​
โจทก์ สัญญา​ฝาก​เงิน​และ​เบิก​ถอน​เงิน​ระหว่าง​โจทก์​กับ​จ�ำเลย​เป็น​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​ซึ่ง​โจทก์​ใน​ฐานะ​ผู้รับ​
ฝาก​มีหน้า​ท​ตี่ อ้ ง​คนื ​เงิน​ท​รี่ บั ​ฝาก​ให้​จำ� เลย​เพียง​จำ� นวน​เงิน​ท​โี่ จทก์​รับ​ฝาก​ไว้​จาก​จำ� เลย ตาม ปพพ. มาตรา

672 การ​ที่​จ�ำเลย​เบิก​ถอน​เงิน​ฝาก​จาก​โจทก์​เกิน​กว่า​ที่​จ�ำเลย​ฝาก​ไว้​เป็น​จ�ำนวน​เงิน 62,811 บาท เป็นการ​
กระท�ำ​ผดิ ​ตอ่ ​สญ ั ญา​ฝาก​ทรัพย์ จ�ำเลย​จงึ ​ตอ้ ง​คนื ​เงิน​จำ� นวน​ดงั ​กล่าว​ให้​โจทก์​พร้อม​ดว้ ย​ดอกเบีย้ ​ใน​อตั รา​รอ้ ย​
มส

ละ​เจ็ด​ครึ่ง​ต่อ​ปี​นับ​แต่​วัน​ที่​จ�ำเลย​ผิดนัด​ไม่​คืน​เงิน​ให้​โจทก์​ตาม​มาตรา 224 เมื่อ​พยาน​หลัก​ฐาน​โจทก์​ไม่​


ปรากฏ​ว่า​โจทก์​ได้​ทวงถาม​ให้​จ�ำเลย​คืน​เงิน​ให้​โจทก์​แล้ว​จ�ำเลย​ไม่​คืนให้​อัน​จะ​ถือ​ได้​ว่า​จำ� เลย​ตก​เป็น​ผู้​นัด​
ตั้งแต่​วัน​เวลา​ใด​คง​ปรากฏ​เพียง​หลัก​ฐาน​ของ​จ�ำเลย​ว่า​เมื่อ​วัน​ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 จ�ำเลย​ได้​รับ​
หนังสือ​ของ​โจทก์​ที่​ให้​จ�ำเลย​น�ำ​เงิน​ไป​คืน​ภายใน 15 วัน นับ​แต่​วัน​ที่​จ�ำเลย​ได้​รับ​หนังสือ​คือ​ภายใน​วัน​ที่ 11
ธันวาคม พ.ศ. 2533 การ​ทจ​ี่ ำ� เลย​ไม่​ได้​นำ​ � เงิน​ไป​คนื ให้​โจทก์​ภายใน​กำ� หนด​เวลา​ดงั ​กล่าว จึง​ถอื ​ได้​วา่ ​จำ� เลย​
เป็น​ผ​ผู้ ิดนัด ต้อง​ช�ำระ​ดอกเบี้ย​ให้โ​จทก์​นับต​ ั้งแต่ว​ ันท​ ี่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เป็นต้น​ไป

อนึง่ เมือ่ ​ได้​ทราบ​ถงึ ก​ จิ การ​รบั ​ฝาก​เงิน​ของ​ธนาคาร​ซงึ่ ​จะ​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ตอ่ ​ผ​ฝู้ าก​อย่างไร​แล้ว ควร​ทราบ​
ว่า​ผู้​ฝาก​เงิน​ใน​ธนาคาร​คน​หนึ่ง​จะ​สั่ง​โอน​เงิน​ใน​บัญชี​ของ​ตน​ไป​เข้า​บัญชี​ของ​ผ​ฝู้ าก​อีก​คน​หนึ่ง​ทาง​โทรศัพท์​
ได้เ​พียง​ใด ปัญหา​น​เี้ ห็นว​ า่ การ​สงั่ โ​ อน​เงินฝ​ าก​ทาง​โทรศัพท์ย​ อ่ ม​จะ​ใช้ได้ใ​น​กรณีท​ ​ผี่ ฝ​ู้ าก​คน​เดียว​ม​บี ญ
ฝาก​อยู่​หลาย​บัญชี และ​สั่ง​โอน​เงิน​ฝาก​จาก​บัญชีห​ นึ่งไ​ ป​เข้า​อีก​บัญชี​หนึ่ง ซึ่ง​มิใช่​เป็นการ​โอน​สิทธิ​เรียก​ร้อง
แต่ก​ าร​โอน​เงิน​ฝาก​จาก​บญ ั ชีข​ อง​บคุ คล​คน​หนึง่ ​ไป​เข้า​บญ
ั ชีเ​งิน​

ั ชี​ของ​บคุ คล​อกี ​คน​หนึง่ เป็นการ​โอน​สทิ ธิ​เรียก​รอ้ ง


สธ
46 อัมพร ณ ตะกัว่ ทุง่ คำ�​พพ
ิ ากษา​ฎกี า​ประจำ�​พทุ ธศักราช 2525 ตอน​ที่ 3 กรุงเทพมหานคร เนติ​บณ
ั ฑิต​สภา พ.ศ. 2525
น. 414-415.

สัญญาฝากทรัพย์ 4-69

จึง​จำ� เป็น​ท​จี่ ะ​ตอ้ ง​ปฏิบตั ​ติ าม​กฎหมาย จะ​อา้ ง​ประเพณี​ของ​ธนาคาร​มา​ลบล้าง​กฎหมาย​ไม่​ได้ กล่าว​คอื ต้อง​
ท�ำ​เป็น​หนังสือ​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผ​ู้โอน ตาม ปพพ. มาตรา 306 ซึ่ง​เป็น​แบบ​ของ​นิติกรรม​ท​ี่กฎหมาย​บังคับ​ไว้
มิ​ฉะนั้น​ตก​เป็น​โมฆะ​ ตาม ปพพ. มาตรา 152 นั่นเอง (ฎ. 1947-1950/2524) อนึ่ง ปัจจุบัน​นี้​ธนาคาร​
พาณิชย์​ให้​สนิ ​เชือ่ ​แก่​ลกู ค้า​ไม่​วา่ ​ก​ยู้ มื ​เงิน เบิก​เงิน​เกิน​บญ ั ชี​จะ​นำ​
� เงิน​ฝาก​ประจ�ำ​ของ​ลกู ค้า​มา​เป็น​หลัก​ประกัน​
โดย​ทำ​ � ใน​รปู การ​จำ� น�ำ​สทิ ธิ​ใน​เงิน​ฝาก ซึง่ ​ศาล​ฎกี า​ได้​ม​คี ำ​ � พพิ ากษา​วนิ จิ ฉัย​วา่ การก​ระ​ทำ​ � เช่น​นนั้ ​ไม่ใช่​จำ� น�ำ​


สิทธิ​ซึ่ง​มี​ตราสาร สมุด​ฝาก​เงิน​เป็น​เพียง​หลัก​ฐาน​การ​รับ​ฝาก​และ​ถอน​เงิน เงิน​ฝาก​ของ​ลูก​ค้าที่​ฝาก​ไว้​กับ​
ธนาคาร​ย่อม​ตก​เป็น​กรรมสิทธิ์​ของ​ธนาคาร​ตั้งแต่​ท​มี่ ​กี าร​ฝาก​เงิน (ฎ. 9663/2554)

มสอุทาหรณ์
ฎ. 450/2536 ตาม ปพพ. มาตรา 747 ใน​การ​จำ� น�ำ​ผู้​จ�ำน�ำ​จะ​ต้อง​ส่ง​มอบ​สังหาริมทรัพย์​สิ่ง​หนึ่ง​
ให้แ​ ก่บ​ คุ คล​อกี ค​ น​หนึง่ เ​รียก​วา่ ผูร้ บั จ​ ำ� น�ำ​เพือ่ เ​ป็นการ​ประกันก​ าร​ชำ� ระ​หนี้ การ​ท​จี่ ำ� เลย​สลักห​ ลังจ​ ำ� น�ำ​ใบรับ​
ฝาก​เงิน​ประจ�ำ​และ​ยินยอม​ให้​ธนาคาร​ผู้​ร้อง​นำ​ � เงิน​ที่​ฝาก​ไว้​ตาม​ใบรับ​ฝาก​เงิน​ประจ�ำ​ของ​จำ� เลย​เป็น​ประกัน​
หนี้ ​ที่ ​ค้าง​ชำ� ระ​ต่อ​ผ​ู้ ร้อง​ได้ แต่ ​เ งิน​ฝ าก​ประจ�ำ​จ�ำนวน​ดัง ​กล่ าว​ที่ ​จำ� เลย​ฝ าก​ไว้​กับ​ผู้​ร้อง​นั้ น​ย่อม​ตก​เป็น​
กรรมสิทธิ์​ของ​ผ​ู้ร้อง​มา​ตั้งแต่​มี​การ​ฝาก​เงิน​แล้ว จ�ำเลย​ผู้​ฝาก​คง​มี​เพียง​สิทธิ​ที่​จะ​ถอน​เงิน​ที่​ฝาก​ไป​ได้​และ​
ผู​้ร้อง​คง​มีหน้า​ท​ตี่ ้อง​คืน​เงิน​ให้​ครบ​จำ� นวน​ที่​ขอ​ถอน​เท่านั้น จึง​มิใช่​การ​ส่ง​มอบ​สังหาริมทรัพย์​ของ​จ�ำเลย​ให้​
แก่​ผ​้รู อ้ ง​ตาม​ลกั ษณะ​จำ� น�ำ ผู​้รอ้ ง​จงึ ​หา​ม​สี ทิ ธิ​เหนือ​ทรัพย์สนิ ​ของ​จำ� เลย​ใน​ทาง​จำ� น�ำ​หรือ​ม​บี รุ มิ สิทธิ​ท​บี่ งั คับ​
ได้​ท�ำนอง​เดียว​กับ​ผู้รับ​จ�ำน�ำ​ไม่ ผู้​ร้อง​จึง​มิใช่​เจ้า​หนี้​มี​ประกัน​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัต​ิล้ม​ละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 ผู​ร้ อ้ ง​คง​ม​สี ทิ ธิ​ขอ​นำ​ � เงิน​ฝาก​ประจ�ำ​ของ​จำ� เลย​มา​หกั ​กลบ​ลบ​หนี​ก้ บั ​จำ� เลย​ได้​ตาม พรบ. ล้มละลาย
พ.ศ. 2483 มาตรา 102 เท่านั้น แต่​ก​ไ็ ม่​อาจ​น�ำ​ดอกเบี้ย​ของ​เงิน​ฝาก​ประจ�ำ​ของ​จ�ำเลย​ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​ภาย​หลัง​
มส

ที​ม่ ​ีคำ​
� สั่ง​พิทักษ์​ทรัพย์​แล้ว​มา​หัก​กลบ​ลบ​หนี​ไ้ ด้
ฎ. 4102/2539 จ�ำเลย​ฝาก​เงิน​ไว้​กับ​ผู้​ร้อง เงิน​ที่​ฝาก​จึง​ตก​เป็น​ของ​ผู้​ร้อง ผู้​ร้อง​คง​มี​แต่​หน้าที่​คืน​
เงิน​ให้​ครบ​จำ� นวน การ​ท​จี่ ำ� เลย​ทำ​ � สญ ั ญา​จำ� น�ำ​และ​มอบ​สมุด​ค​ฝู่ าก​เงิน​ประจ�ำ​ไว้​แก่​ผร​ู้ อ้ ง​กเ​็ พียง​เพือ่ ​ประกัน​
หนี​ท้ ​มี่ ​ตี อ่ ผ​ ​รู้ อ้ ง แม้​จะ​ยินยอม​ให้​ผู้​ร้อง​น�ำ​เงิน​จาก​บัญชี​ดัง​กล่าว​มา​ช�ำระ​หนี้​ได้​โดย​ไม่​ต้อง​บอก​กล่าว ก็​เป็น​
เรื่อง​ความ​ตกลง​ใน​การ​ฝาก​เงิน​เพื่อ​เป็น​ประกัน ไม่​เป็นการ​จ�ำน�ำ​เงิน​ฝาก อีกท​ งั้ ส​ มุดค​ ฝ​ู่ าก​เงินป​ ระจ�ำ​ก​เ็ ป็น​
เพียง​หลัก​ฐาน​การ​รับ​ฝาก​และ​ถอน​เงิน​ที่​ผู้​ร้อง​ออก​ให้​จ�ำเลย​ยึดถือ​ไว้​เพื่อ​สะดวก​ใน​การ​ฝาก​และ​ถอน​เงิน​ใน​

บัญชี​ของ​จ�ำเลย​เท่านั้น​ไม่​อยู่​ใน​ลักษณะ​ของ​สิทธิ​ซึ่ง​มีตราสาร ผู้​ร้อง​จึง​ไม่​เป็น​เจ้า​หนี้​บุริมสิทธิ​จ�ำน�ำ ไม่ม​ี
สิทธิ​ได้​รับช​ ำ� ระ​หนีก้​ ่อน​โจทก์
ฎ. 3293/2545 เงินฝ​ าก​ของ​ลกู ห​ นีท​้ ​ฝี่ าก​ไว้ก​ บั ธ​ นาคาร​ผร​ู้ อ้ ง​ยอ่ ม​ตก​เป็นก​ รรมสิทธิข​์ อง​ผร​ู้ อ้ ง​ตงั้ แต่​
ที่​มี​การ​ฝาก​เงิน ลูก​หนี้​มี​สิทธิ​ที่​จะ​ถอน​เงิน​ที่​ฝาก​ไป​ได้ ผู้​ร้อง​คง​มีหน้า​ที่​ต้อง​คืน​เงิน​ให้​ครบ​จ�ำนวน​เท่านั้น​
ตาม ปพพ. มาตรา 672 การ​สง่ ม​ อบ​สมุดเ​งินฝ​ าก​จงึ ​มใิ ช่เ​ป็นการ​สง่ ม​ อบ​เงินฝ​ าก​ซงึ่ ​เป็นส​ งั หาริมทรัพย์ สมุด​
เงิน​ฝาก​เป็น​เพียง​หลัก​ฐาน​การ​รับ​ฝาก​และ​ถอน​เงิน​ที่​ผู้รับ​ฝาก​ออก​ให้​แก่​ผู้​ฝาก​ยึดถือ​ไว้​เพื่อ​สะดวก​ใน​การ​
ฝาก​และ​ถอน​เงิน​ใน​บัญชี​ของ​ผู้​ฝาก สมุด​เงิน​ฝาก​จึง​ไม่​อยู่​ใน​ลักษณะ​ของ​สิทธิ​ซึ่ง​มี​ตราสาร ข้อ​ตกลง​ที่​
สธ
ลูก​หนี้​มอบ​สมุด​เงิน​ฝาก​ให้​ผู้​ร้อง​ยึดถือ​ไว้​เป็น​ประกัน​หนี้​ต่อ​ผู้​ร้อง​จึง​ไม่ใช่​เป็นการ​จำ� น�ำ​สิทธิ​ซึ่ง​ม​ีตราสาร​
ตาม ปพพ. มาตรา 750 ผูร​้ อ้ ง​จงึ ​มใิ ช่เ​จ้าห​ นี​ม้ ​ปี ระกัน​ ตาม​มาตรา 6 แห่ง พรบ. ล้มล​ ะ​ลายฯ (ฎ. 1063/2540)

4-70 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 4.2.1
จง​เปรียบ​เทียบ​การ​ฝาก​เงิน​กับ​การ​ยืม​เงิน

แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.2.1


1. การ​กู้​ยืม​เงิน​กว่า​สอง​พัน​บาท​ขึ้น​ไป​นั้น ถ้า​มิได้​มี​หลัก​ฐาน​แห่ง​การ​กู้​ยืม​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด
อย่าง​หนึง่ ​ลง​ลายมือ​ชอื่ ​ผ​ยู้ มื ​เป็น​สำ� คัญ จะ​ฟอ้ ง​รอ้ ง​ให้​บงั คับ​คดี​หา​ได้​ไม่ และ​การ​ก​ยู้ มื ​เงิน​โดย​ม​หี ลัก​ฐาน​เป็น​

มส
หนังสือ​จะ​นำ� สืบ​การ​ใช้​เงิน​ได้​ต่อ​เมื่อ​มี​หลัก​ฐาน​เป็น​หนังสือ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึ่ง​ลง​ลายมือ​ชื่อ​ผู้​ให้​ยืม หรือ​
เวนคืน​หรือ​แทง​เพิก​ถอน​ลง​ใน​เอกสาร​แห่ง​การ​กู้​ยืม​นั้น (ปพพ. มาตรา 653) ส่วน​การ​ฝาก​เงิน​ไม่​จ�ำ​ต้อง​ม​ี
เอกสาร​ส�ำหรับ​การ​รับ​ฝาก​หรือ​การ​คืน​เงิน​ฝาก​เพียง​แต่​ม​สี มุด​คู่​ฝาก​เพื่อต​ รวจ​สอบ​เงิน​ใน​บัญชีข​ อง​ผู้​ฝาก
2. การ​กย​ู้ มื เ​งินผ​ ใ​ู้ ห้ย​ มื ค​ ดิ ด​ อกเบีย้ ร​ อ้ ย​ละ​สบิ ห​ า้ ต​ อ่ ป​ ไ​ี ม่ไ​ ด้ (ปพพ. มาตรา 654) และ พรบ. ห้าม​
เรียก​ดอกเบี้ย​เกิน​อัตรา พ.ศ. 2475 ส่วน​การ​ฝาก​เงิน​นั้น​ผู้รับ​ฝาก​ให้​ดอกเบี้ย เท่าใด​ก็ได้
3. การ​ยืม​เงิน​และ​ฝาก​เงิน​ต่าง​กัน​ที่​มูล​เหตุ​ของ​สัญญา คือ​ถ้า​การ​ให้​เงิน​ไป​เป็น​เพราะ​เหตุ​ที่​ผู้รับ​
เงิน​ตอ้ ง​ใช้เ​งิน​ก​เ็ ป็น​ยมื ​ใช้​สนิ้ ​เปลือง (ปพพ. มาตรา 650) แต่ถ​ า้ ​เป็นการ​รบั ​เงิน​เพือ่ ร​ กั ษา​ไว้​แล้ว​คนื ให้​ไม่ใช่​
เพื่อ​ใช้​เงิน​นั้น ก็​เป็นการ​ฝาก (ปพพ. มาตรา 657) ส่วน​การ​เอา​เงิน​ออก​ใช้​นั้น ผู้รับ​ฝาก​เงิน​จะ​เอา​เงิน​ซึ่ง​
ฝาก​นนั้ ​ออก​ใช้​หรือ​ไม่​ใช้​กไ็ ด้ (ปพพ. มาตรา 672) เพราะ​การ​ใช้​เงิน​ไม่ใช่​วตั ถุ​แห่ง​หนี้ และ​ไม่ใช่​วตั ถุประสงค์​
ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์

4. วัตถุ​แห่ง​หนี้​ของ​การ​ฝาก​เงิน​และ​ยืม​เงิน​ที่​เหมือน​กัน​คือ ต้อง​ใช้​เงิน​คืน​และ​ไม่​ต้อง​คืน​เป็น​เงิน​
ทอง​ตรา​อัน​เดียว​กับ​ท​ยี่ ืม​หรือ​ฝาก แต่​จะ​ต้อง​คืน​เงิน​ให้​ครบ​จ�ำนวน​เท่านั้น
มส

5. การ​ยืม​เงิน​นั้น เป็น​สัญญา​ยืม​ใช้​สิ้น​เปลือง ซึ่ง​ผู้​ให้​ยืม​โอน​กรรมสิทธิ์​ใน​ทรัพย์สิน​ชนิด​ใช้​ไป​สิ้น​


ไป​นั้น​เป็น​ปริมาณ​มี​กำ� หนด​ให้​แก่​ผู้​ยืม (ปพพ. มาตรา 650) ส่วน​การ​ฝาก​เงิน กฎหมาย​หา​ได้​บัญญัติ​ว่า​
เป็นการ​โอน​กรรมสิทธิ์​ใน​เงิน​ตรงๆ ดัง ปพพ. มาตรา 650 ไม่ แต่​บัญญัติ​ว่า ผู้รับ​ฝาก​ไม่​พึง​ต้อง​คืน​เป็น​
เงิน​ทอง​ตรา​อัน​เดียว​กับ​ที่​ฝาก ผู้รับ​ฝาก​จะ​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้​ก็ได้ และ​แม้ว่า​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​จะ​ได้​
สูญหาย​ไป​ด้วย​เหตุสุดวิสัย ผู้รับ​ฝาก​ก​จ็ ำ​ � ต้อง​คืน​เงินใ​ห้​ครบ​จ�ำนวน (ปพพ. มาตรา 672) อย่างไร​ก็​ดี ศาล​
ฎีกา​ได้​วินิจฉัยข้อ​กฎหมาย​ไว้​ว่า การ​ฝาก​เงิน​นั้น กรรมสิทธิ์​โอน​ไป​ยัง​ผู้รับ​ฝาก​เงิน​เหมือน​กัน เหตุ​นี้​จึง
​เห็น​วา่ การ​จะ​เป็น​ยมื ​เงิน​หรือ​ฝาก​เงิน​จงึ ​ตอ้ ง​แล้ว​แต่​ความ​ตกลง​ของ​ค​สู่ ญ
มั ญา​วา่ เ​ป็นการ​ยมื ​หรือก​ าร​ฝาก แม้​
ธนาคาร​กับ​ผู้​เคย​ค้า​จะ​เป็น​ที่​เห็น​ได้​ว่า ธนาคาร​ต้องการ​เงิน​ของ​ผู้​เคย​ค้า​ไป​ใช้​หา​ประโยชน์ น่า​จะ​เป็นการ​
ยืม​เงิน​ผู้​เคย​ค้า แต่​เมื่อ​ค​สู่ ัญญา​ตกลง​กัน​ว่า​เป็นการ​ฝาก​เงิน​ก็​ต้อง​ถือว่า​เป็นส​ ัญญา​ฝาก​เงิน ไม่ใช่​ยืม​เงิน
สธ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-71

เรื่อง​ที่ 4.2.2
สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​เงิน​และ​ผู้​ฝาก​เงิน


การ​ฝาก​เงิน​นั้น​กฎหมาย​กำ� หนด​วิธี​การ​เฉพาะ​เกี่ยว​กับ​สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​เงิน​และ​ผู้​ฝาก​
เงิน​แตก​ต่าง​จาก​การ​ฝาก​ทรัพย์สิน​โดย​ทั่วไป ผู้รับ​ฝาก​เงิน​ม​สี ิทธิ​และ​หน้าที่ด​ ัง​ต่อไ​ ป​นี้

มส
สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​ผู้รับ​ฝาก​เงิน
ผู้รับ​ฝาก​เงิน​ม​สี ิทธิ​และ​หน้าที่ 4 ประการ​คือ
1. สิทธิ​ที่​จะ​ไม่​ต้อง​คืน​เงิน​ตรา​อัน​เดียว​กับ​ทรี่​ ับ​ฝาก
2. สิทธิ​ที่​จะ​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้ได้
3. หน้าที​ท่ ​จี่ ะ​ต้อง​คืน​เงิน​ท​รี่ ับ​ฝาก​ให้​ครบ​จ�ำนวน
4. หน้าที่​ไม่​ต้อง​ส่ง​คืน​เงิน​ก่อน​ถึง​เวลา​ที่​ตกลง​กัน​ไว้​เฉพาะ​ใน​กรณี​ที่​ต้อง​คืน​เงิน​เพียง​เท่า​จ�ำนวน​
ที​ฝ่ าก
1. สิทธิ​ที่​จะ​ไม่​ต้อง​คืน​เงิน​ตรา​อัน​เดียว​กับ​ที่​รับ​ฝาก การ​ฝาก​ทรัพย์​อนื่ ​นอกจาก​เงิน​ตรา​นนั้ ผูร้ บั ​

ฝาก​จ�ำ​ต้อง​คืน​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​รับ​ฝาก​ไว้​นั้น​ให้​แก่​ผู้​ฝาก (มาตรา 657, 665) จะ​คืน​ทรัพย์​อัน​อื่น​มิได้ ใน​เรื่อง​
ฝาก​เงิน​กฎหมาย​บัญญัต​ิข้อ​สันนิษฐาน​ไว้​เป็นการ​เฉพาะ​ใน​มาตรา 672 วรรค​หนึ่ง​ว่า “ถ้า​ฝาก​เงิน ท่าน​ให้​
สันนิษฐาน​ไว้ก​ ่อน​ว่า ผู้รับฝ​ าก​ไม่พ​ ึงต​ ้อง​ส่งค​ ืนเ​ป็นเ​งินท​ อง​ตรา​อันเ​ดียวกันก​ ับท​ ี่​ฝาก แต่จ​ ะ​ต้อง​คืนเ​งินใ​ ห้​
มส

ครบ​จ�ำนวน”
อุทาหรณ์
กิจ ฝาก​เงิน 2,000 บาท ไว้​ที่ เข่ง มี​ธนบัตร​ใบ​ละ 500 บาท 2 ฉบับ ฉบับล​ ะ 100 บาท 8 ฉบับ
ฉบับ​ละ 20 บาท 5 ฉบับ เหรียญ​บาท​อีก 100 อัน รวม​เป็น​เงิน 2,000 บาท เวลา​ที่​เข่ง​จะ​ส่ง​คืน​เงิน เข่ง​
คืนเ​ป็น​ธนบัตร​ฉบับ​ละ 10 บาท จ�ำนวน 200 ฉบับ รวม​เป็น​เงิน 2,000 บาท แก่ กิจ​ดังนี​เ้ ป็นการ​ชำ� ระ​หนี​้
โดย​ชอบ

ก็​เป็นการ​ฝาก​ทรัพย์​ธรรมดา
อุทาหรณ์
ฎ.752-753/2523 ศาล​ชนั้ ​ตน้ ​พพิ ากษา​ตาม​สญ

อย่างไร​ก็​ดี คู​่สัญญา​อาจ​ตกลง​ให้​ส่ง​เป็น​เงิน​ทอง​ตรา​อัน​เดียวกัน​กับ​ที่​ฝาก​ก็ได้ ซึ่ง​การ​ตกลง​เช่น​นี้

ั ญา​ประนีประนอม​ยอม​ความ​ให้​จำ� เลย​ชำ� ระ​หนี​โ้ จทก์


1,900,000 บาท จ�ำเลย​ไม่​ชำ� ระ โจทก์ข​ อ​ให้​เจ้า​พนักงาน​บงั ​คดี​อายัด​เงิน​ท​จี่ ำ� เลย​ฝาก​ธนาคาร​กรุงเทพ จ�ำกัด
สาขา บุคคโล 1,535,515 บาท ธนาคาร​เอเซีย​ทรัสต์ จ�ำกัด สาขา​จรัล​สนิท​วงศ์ 200,000 บาท ธนาคาร​
สธ
ทั้ง​สอง​ส่ง​เงิน​จำ� นวน​ดัง​กล่าว​มายัง​เจ้า​พนักงาน​บังคับ​คดี ธนาคาร​กสิกร​ไทย จ�ำกัด ผูร้​ ้องขอ​ให้​ศาล​ปล่อย​
เงิน​ทงั้ ​สอง​จำ� นวน อ้าง​วา่ ​เงิน​ท​ธี่ นาคาร​ดงั ​กล่าว​สง่ ​มายัง​เจ้า​พนักงาน​บงั คับ​คดี​มใิ ช่​ของ​จำ� เลย​แต่​เป็น​ทรัพย์​
ของ​กลาง​ท​ี่จำ� เลย​กับ​พวก​ปลอม​ตั๋ว​เงิน​และ​ฉ้อโกง​ไป​จาก​ผู้​ร้อง ศาล​ฎีกา​วินิจฉัย​ว่า​เงิน​ตรา​ที่​จำ� เลย​น�ำ​ไป​

4-72 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฝาก​ธนาคาร​กรุงเทพ จ�ำกัด สาขา​บุคคโล และ​ธนาคาร​เอเซีย​ทรัสต์ จ�ำกัด สาขา​จรัล​สนิทว​ งศ์​ย่อม​ตก​เป็น​


กรรมสิทธิ์​ของ​ธนาคาร​ทั้ง​สอง​ตาม​มาตรา 672 เพราะ​ไม่​ว่า​ปรากฏ​ว่า​มี​ข้อ​ตกลง​ให้​ธนาคาร​ส่ง​คืน​เป็น​เงิน​
ตรา​อัน​เดียวกัน​กับ​ที่​รับ​ฝาก เงิน​ที่​ธนาคาร​ทั้ง​สอง​ส่ง​มา​ให้​เจ้า​พนักงาน​บังคับ​คดี​จึง​ไม่​จ�ำเป็น​ต้อง​เป็น​เงิน​
ตรา​อัน​เดียวกัน​กับ​ที่​จำ� เลย​น�ำ​มา​ฝาก ทั้ง​ไม่มี​ข้อ​เท็จ​จริง​ใดๆ แสดง​ว่า​เงิน​ทั้ง​สอง​จ�ำนวน​ดัง​กล่าว​เป็น​เงิน​
ตรา​อนั เ​ดียวกัน​กบั ​ท​จี่ ำ� เลย​เบิกไ​ ป​จาก​ผ​รู้ อ้ ง เงินท​ งั้ ​สอง​จำ� นวน​จงึ ​เป็น​เงิน​ของ​จำ� เลย หา​ใช่​เป็น​ของ​ผ​รู้ อ้ ง​ไม่


ผู้ร​ ้อง​ไม่มี​สิทธิ​ขอ​ให้​ปล่อย​ทรัพย์ ให้​ยก​ค�ำร้อง
ตาม​คำ​ � พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​นี้ ศาล​ฎกี า​ตดั สิน​วา่ ​เงิน​ฝาก​โอน​เป็น​กร​รม​สทิ ธ์​ของ​ผรู้ บั ​ฝาก โดย​ตคี วาม​

มส
จาก​มาตรา 672 วรรค​แรก ที่​กฎหมาย​สันนิษฐาน​ไว้​ก่อน​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​ไม่​พึง​ต้อง​ส่ง​คืน​เป็น​เงิน​ทอง​ตรา​อัน​
เดียวกัน​กับ​ที่​ฝาก เงิน​ที่​ฝาก​ก็​เป็น​ของ​ผู้​ฝาก ธนาคาร​ผู้​ร้อง​จึง​จะ​อ้าง​ว่า​ตน​เป็น​เจ้าของ​เงิน​ที่​ถูก​ผู้​ฝาก​เงิน​
โกง​เอา​ไป​ฝาก​ไม่ไ​ ด้
2. สิ ท ธิ ​ที่ ​จ ะ​เ อา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้ได้ การ​ฝาก​ทรัพย์​อื่น​นอกจาก​เงิน​ตรา​นั้น ผู้รับ​ฝาก​เอา​
ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​ฝาก​นนั้ ​ออก​ใช้สอย​เอง​หรือ​เอา​ไป​ให้​บคุ คล​ภายนอก​ใช้สอย​โดย​ผ​ฝู้ าก​มไิ ด้​อนุญาต​ยอ่ ม​ทำ​
(มาตรา 660) แต่​เนือ่ งจาก​การ​ฝาก​เงิน กฎหมาย​สนั นิษฐาน​ไว้​กอ่ น​วา่ ​ผรู้ บั ​ฝาก​ไม่​ถงึ ​ตอ้ ง​สง่ ​คนื ​เป็น​เงิน​ทอง​
ตรา​อัน​เดียวกัน​กับ​ที่​รับ​ฝาก มาตรา 672 วรรค​แรก และ​เงิน​ฝาก​โอน​เป็น​กรรมสิทธิ์​ของ​ผู้รับ​ฝาก​แล้ว
� ไม่​ได้

เหตุ​น​จี้ ึง​มม​ี าตรา 672 วรรค​สอง​บัญญัต​วิ ่า “อนึ่ง ผู้รับฝ​ าก​จะ​เอา​เงิน​ที่​ฝาก​นั้นอ​ อก​ใช้​ก็ได้ แต่​หาก​จ�ำ​ต้อง​
คืน​เงิน​ให้​ครบ​จ�ำนวน​เท่า​นั้นฯ” เช่น กิจ​ฝาก​เงิน 2,000 บาท ไว้​ที่ เข่ง มี​ธนบัตร​ฉบับ​ละ 500 บาท

4 ฉบับ ดังนี้ เข่ง​มี​สิทธิเ​อา​ธนบัตร​ฉบับล​ ะ 500 บาท 4 ฉบับ ดังก​ ล่าว​ออก​ใช้ได้ แต่​เวลา​ส่งค​ ืน​ต้อง​คืน​เงิน​
ให้​ครบ​จ�ำนวน 2,000 บาท​เท่านั้น​จะ​ใช้ธ​ นบัตร​ฉบับ​ละ 1,000 บาท 2 ฉบับ มา​ส่ง​คืน​ก็ได้
มส

ผล​ของ​การ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​เงิน เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้ได้​คือ ผู้รับ​ฝาก​เงิน​ไม่ม​ีหน้าที่​ต้อง​ระมัดระวัง​


สงวน​รักษา​เงินท​ รี่​ ับ​ฝาก​นั้น​ตาม​เวลา 659 ไม่มหี​ น้าที่​ต้อง​รีบ​บอก​กล่าว​แก่​ผู้​ฝาก​โดย​พลัน ใน​กรณี​ที่​บุคคล​
ภายนอก​อา้ ง​สทิ ธิ​เหนือเ​งิน​ท​ฝี่ าก และ​ยนื่ ​ฟอ้ ง​หรือ​ยดึ ​เงิน​นนั้ ​ตาม​มาตรา 661 นอกจาก​น​ใี้ น​ทาง​อาญา ผูร้ บั ​
ฝาก​เงินเ​อา​เงินซ​ ึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้ ย่อม​ไม่มคี​ วาม​ผิด​ฐาน​ยักยอก​ตาม ปอ. มาตรา 352 เว้นแ​ ต่​ผู้รับฝ​ าก​เงิน​
มี​เจตนา​ทุจริต47
อุทาหรณ์

ฎ. 1866/2511 โจทก์​ฟอ้ ง​วา่ ​จำ� เลย​ได้​รบั ​เงิน 15,000 บาท ไป​จาก​ผ​เู้ สีย​หาย โดย​ผ​เู้ สีย​หาย​มอบ​ให้​
ไป​ซอื้ ข​ า้ ว​เปลือก​ และปอ​ฟอก แล้วจ​ ำ� เลย​เบียด​บงั เ​อา​เงินจ​ ำ� นวน​นไ​ี้ ป​เป็นข​ อง​จำ� เลย​ขอ​ให้ล​ งโทษ​ตาม ปอ.
มาตรา 352 และ​คืน​หรือ​ใช้​เงิน 15,000 บาท แก่​ผู้​เสีย​หาย จ�ำเลย​ให้การ​รับ​สารภาพ วินิจฉัย​ว่า การ​ที่​
จ�ำเลย​รบั ม​ อบ​เงิน​จาก​ผ​เู้ สีย​หาย​เพือ่ ​ไป​ซอื้ ​ขา้ ว​เปลือก​และ​ปอ​ฟอก​ให้ผ​ เ​ู้ สีย​หาย​เช่นน​ ​แี้ ม้​จะ​ไม่มก​ี ำ� หนด​เวลา​
ว่า​จ�ำเลย​ต้อง​ซื้อ​เมื่อ​ใด ก็​ไม่มี​ลักษณะ​เป็นการ​ฝาก​ทรัพย์​ตาม​มาตรา 657 และ 672 เพราะ​ไม่ใช่​เป็นการ​
มอบ​เงิน​ให้​เก็บ​รักษา​ไว้​ใน​อารักขา​ของ​จำ� เลย​แล้ว​จ�ำเลย​จะ​คืนให้ จริง​อยู่​จ�ำเลย​อาจ​นำ​ � ธนบัตร​ฉบับ​อื่น​หรือ​
สธ

47 ฎ.233/2504

สัญญาฝากทรัพย์ 4-73

เหรียญ​กษาปณ์​อัน​อื่น​ไป​ซื้อ​ได้ แต่​นั่น​เป็นเ​พราะ​ธนบัตร​และ​เหรียญ​กษาปณ์​เป็น​เงิน​ตรา​ที่​ช�ำระ​หนี​ไ้ ด้ต​ าม​


กฎหมาย​ด้วย​กัน​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัต​ิเงิน​ตราฯ จะ​นำ​ � ธนบัตร​ฉบับ​ไหน​ไป​ซื้อ​ก็​สม​ประโยชน์​ของ​ผ้​ูเสีย​หาย
และ​ยอ่ ม​ไม่ใช่​เป็นการ​กระท�ำ​โดย​ทจุ ริต ด้วย​เหตุ​นี้ เงิน​จำ� นวน 15,000 บาท ที​ผ่ ​เู้ สีย​หาย​มอบ​ให้​จำ� เลย​ครอบ​
ครอง​จงึ ​ยงั ​เป็น​ของผู​เ้ สีย​หาย​อยู​จ่ นกว่า​จำ� เลย​จะ​ได้​ซอื้ ​ขา้ ว​เปลือก​และ​ปอ​ฟอก​ให้​ผ​เู้ สีย​หาย อีก​ประการ​หนึง่
ฎ. 235/2516 ผูเ​้ สีย​หาย​ฝาก​เงิน​ไว้​กบั ​จำ� เลย ต่อ​มา​ผ​เู้ สีย​หาย​ขอ​คนื จ�ำเลย​คนื ให้​ไม่​ได้​อา้ ง​วา่ เ​อา​ไป​


ใช้​หมด​แล้ว หลัง​จาก​นนั้ ​ผ​เู้ สีย​หาย​ไป​ทวง​อกี ​หลาย​ครัง้ จ�ำเลย​ผดั ผ่อน​และ​ไม่​เคย​ปฏิเสธ​วา่ ​ไม่​ได้​รบั ​ฝาก​เงิน
จน​กระทัง่ ​ผ​้เู สีย​หาย​ไป​แจ้ง​ความ พนักงาน​สอบสวน​เรียก​ไป​สอบถาม จ�ำเลย​จงึ ​ปฏิเสธ​วา่ ​ไม่​เคย​รบั ​ฝาก​เงิน​

มส
จาก​ผ​เู้ สีย​หาย ดังนีเ​้ ห็น​วา่ ตาม​มาตรา 672 ผูร้ บั ฝ​ าก​เงินม​ ​สี ทิ ธิ​เอา​เงิน​ทฝ​ี่ าก​ไป​ใช้​โดย​มหี น้าท​ ​ตี่ อ้ ง​คนื เ​งิน​ให้​
ครบ​จำ� นวน ขณะ​ท​จี่ ำ� เลย​เอา​เงิน​ไป​ใช้​หมด จ�ำเลย​ไม่ม​ีเจตนา​ทจุ ริต​ยกั ยอก​เงิน​นนั้ ​เพราะ​จำ� เลย​ได้​ผดั ผ่อน​
การ​ชำ� ระ​เงิน​อยู่ จึง​เป็น​เรื่อง​ผิด​สัญญา​ทาง​แพ่ง การ​ที่​จำ� เลย​ปฏิเสธ​ใน​ภาย​หลัง​ว่า​ไม่​เคย​รับ​ฝาก​เงิน​กบั ​
ผู​เ้ สีย​หาย ไม่​ทำ� ให้​จำ� เลย​ม​คี วาม​ผดิ ​ฐาน​ทจุ ริต​ท​รี่ บั ​ฝาก ไม่​เป็น​ความ​ผดิ ​ยกั ยอก พิพากษา​ยกฟ้อง
3. หน้าที่​ที่​จะ​ต้อง​คืน​เงิน​ที่​รับ​ฝาก​ให้​ครบ​จ�ำนวน การ​ฝาก​ทรัพย์อ​ ื่น​นอกจาก​เงิน​ตรา ถ้า​ผู้​ฝาก​
มิได้​อนุญาต​และ​ผรู้ บั ​ฝาก​เอา​ทรัพย​สนิ ​ซงึ่ ​ฝาก​นนั้ ​ออก​ใช้สอย​หรือ​เอา​ไป​ให้​บคุ คล​ภายนอก​ใช้สอย ผูร้ บั ​ฝาก​
จะ​ต้อง​รับ​ผิด​เมื่อ​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​สูญ​าหย​หรือ​บุบ​สลาย แม้​ถึง​จะ​เป็น​เพราะ​เหตุสุดวิสัย (มาตรา 660)
ส่วน​การ​ฝาก​เงิน กฎหมาย​บัญญัติ​ให้​ผู้รับ​ฝาก​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ไป​ใช้ได้​เหตุ​นี้​จึง​บัญญัติ​ตาม​มาตรา
672 วรรค​สอง​ตอ่ ​ไป​วา่ “แม้ว่า​เงิน​ฝาก​นั้นจ​ ะ​ได้​สูญหาย​ไป​ด้วย​เหตุสุดวิสัย​ก็ตาม ผู้รับ​ฝาก​ก็จ​ �ำ​ต้อง​คืนเ​งิน​
เป็นจ​ �ำนวน​ดังว​ ่าน​ ั้น”

อุทาหรณ์
กิจฝ​ าก​เงิน​จำ� นวน 500 บาท ไว้​แก่ เข่ง มี​ธนบัตร​ฉบับ​ละ 100 บาท 5 ฉบับ เข่ง​รบั ​มอบ​แล้ว​เอา​ไป​
มส

เก็บ​ไว้​ใน​ตู้ ต่อ​มา​ไฟ​ไหม้​ธนบัตร​ทงั้ หมด ดังนี้ เข่ง ก็​ยงั ​มหี น้า​ท​ี่ตอ้ ง​คืน​เงิน​ให้​ครบ​จำ� นวน 500 บาท แก่​กจิ
ฎ. 1369/2493 ชาย​หญิง​อยู​ก่ นิ ​ดว้ ย​กนั ​ฉนั ​สามี​ภรรยา แต่​ไม่​จด​ทะเบียน​สมรส หญิง​มอบ​เงิน​จำ� นวน​
หนึ่ง​ให้​ชาย​เพื่อ​ให้หา​ผล​ประโยชน์​ให้ ชาย​จึง​เอา​เงิน​นั้น​ไป​ให้​ผู้​อื่น​กู้ ดังนี้​หา​ใช่​หญิง​ตั้ง​ชาย​เป็น​ตัวแทน​ไป​
ท�ำ​นติ กิ รรม​การ​ก​ไู้ ม่ ชาย​จงึ ​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​คนื ​เงิน​ให้​หญิง​โดย​ถอื ว่า​ชาย​เป็น​ผ​ใู้ ห้​ก​ยู้ อ่ ม​ม​สี ทิ ธิ​และ​ความ​รบั ​ผดิ ​ตอ่ ​
ผูก้​ โู้​ ดยตรง เงินท​ ี่​หญิง​มอบ​ให้​ชาย​ไว้​นั้น​เท่ากับ​เงินฝ​ าก​ซึ่งผ​ ู้รับ​ฝาก​จะ​ต้อง​คืนให้​ตาม​มาตรา 672 เมื่อช​ าย​
ตาย ผู​จ้ ดั การ​มรดก​และ​ทายาท​ตอ้ ง​คนื ​เงิน​จำ� นวน​น​แี้ ก่​หญิง จะ​อา้ ง​วา่ ​ชาย​เป็น​ตวั แทน​ของ​หญิง จึง​ให้​หญิง​
ไป​เรียก​ร้อง​เอา​จาก​ลูก​หนี้​เงินก​ ไู้​ ม่​ได้
ตาม​คำ​� พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า เมือ่ ว​ นิ จิ ฉัยว​ า่ เ​ป็นส​ ญ

(ปพพ. มาตรา 1600 และ 1734)



ั ญา​ฝาก​เงิน เมือ่ ผ​ รู้ บั ฝ​ าก​ตาย ผูจ​้ ดั การ​มรดก​และ​
ทายาท​ของ​ผู้รับ​ฝาก​ก็​มีหน้า​ที่​คืน​เงิน​ที่​รับ​ฝาก​ให้​ครบ​จ�ำนวน​แก่​ผู้​ฝาก​โดย​เอา​จาก​กอง​มรดก​ของ​ผู้รับ​ฝาก

4. หน้าที่​ไม่​ต้อง​ส่ง​คืน​เงิน​ก่อน​ถึง​เวลา​ที่​ตกลง​กัน​ไว้​เฉพาะ​ใน​กรณี​ที่​จ�ำ​ต้อง​คืน​เงิน​เพียง​เท่า​
จ�ำนวน​ท​ฝี่ าก การ​ฝาก​ทรัพย์อ​ นื่ น​ อกจาก​เงินต​ รา​นนั้ แม้วา่ ค​ ส​ู่ ญ ั ญา​จะ​ได้ก​ ำ� หนด​เวลา​ไว้ว​ า่ จ​ ะ​พงึ ค​ นื ท​ รัพย์สนิ ​
ซึ่ง​ฝาก​นั้น​เมื่อไร​ก็ตาม ผู​ฝ้ าก​เรียก​คืน​ใน​เวลา​ใดๆ ก็ได้ (มาตรา 663) แต่​การ​ฝาก​เงิน​นั้นผ​ ู้รับ​ฝาก​เอา​เงิน​
สธ
ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้ได้ (มาตรา 672 วรรค​สอง) ถ้า​ผู้​ฝาก​เรียก​คืน​ก่อน​ก�ำหนด​อาจ​ไม่​สะดวก​แก่​ผู้รับ​ฝาก
ส่วน​ดา้ น​ผรู้ บั ​ฝาก​ท​คี่ นื ​กอ่ น​ครบ​กำ� หนด ผู​ฝ้ าก​ก​อ็ าจ​จะ​ไม่​สะดวก​ท​จี่ ะ​เอา​เงิน​นนั้ ร​ กั ษา​ไว้​และ​อาจ​ไม่​เป็นการ​
ปลอดภัย​ก็ได้ เหตุ​นี้ กรณี​ที่​ต้อง​คืน​เงิน​แต่เ​พียง​เท่า​จ�ำนวน​ที่​ฝาก กฎหมาย​จึง​บัญญัตไิ​ ว้​ใน​มาตรา 673 ว่า

4-74 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

“เมื่อใ​ ด​ผู้รับฝ​ าก​จ�ำ​ต้อง​คืนเ​งิน​แต่เ​พียง​เท่า​จ�ำนวน​ที่ฝ​ าก ผู้ฝ​ าก​จะ​เรียก​ถอน​เงินค​ ืนก​ ่อน​ถึงเ​วลา​ที่ต​ กลง​กัน​


ไว้ไ​ ม่ไ​ ด้ หรือ​ฝ่าย​ผู้รับ​ฝาก​จะ​ส่ง​คืน​เงินก​ ่อน​ถึง​เวลา​นั้น​ไม่​ได้​ดุจก​ ัน”
ขอ​ให้​สังเกต​ให้​ดี​ว่า มาตรา 673 นี้ จ�ำกัด​เฉพาะ​การ​ฝาก​เงิน​ที่​ผู้รับ​ฝาก​จะ​ต้อง​คืน​เงิน​เพียง​เท่า​
จ�ำนวน​ที่​ฝาก​เท่านั้น ผู้​ฝาก​หรือ​ผรู้ บั ​ฝาก​จะ​ถอน​คนื ​หรือ​สง่ ​คืน​เงิน​กอ่ น​เวลา​ไม่​ได้ แต่​ถา้ ​การ​ฝาก​เงิน​ที่​ผรู้ บั ​
ฝาก​ต้อง​คืน​เงิน​ต้น​พร้อม​ดอกเบี้ย เช่น กิจการ​รับ​ฝาก​ของ​ธนาคาร ย่อม​ไม่​อยู่​ใน​บทบัญญัติ มาตรา 673


อุทาหรณ์
กิจ​ฝาก​เงิน 1,000 บาท ไว้​ที่ เข่ง มี​ก�ำหนด 2 เดือน และ เข่ง​ต้อง​คืน​เงิน​แต่​เพียง​จ�ำนวน 1,000

มส
บาท ดังนี้ กิจจะ​เรียก​ถอน​เงิน 1,000 บาท คืน​ก่อน 2 เดือน​ไม่ไ​ ด้ และ เข่ง จะ​ส่ง​เงิน 1,000 บาท คืน​ก่อน
2 เดือน ที​ต่ กลง​กัน​ไว้​ไม่​ได้​ดุจ​กัน
แดง ฝาก​เงิน 1,000 บาท แก่​ดำ � มี​ก�ำหนด 2 เดือน และ ด�ำ​ตกลง​จะ​ให้​ดอกเบี้ยแ​ ก่ แดง 20 บาท
ด้วย ดังนี้​แดง​ผ​ู้ฝาก​เงิน​เรียก​คืน​ใน​เวลา​ใดๆ ก่อน​กำ� หนด​ได้ (มาตรา 663) แต่ ด�ำ​ผู้รับ​ฝาก​ไม่ม​ีสิทธิ​คืน​
เงิน​ก่อน​ถึง​เวลา​ก�ำหนด (มาตรา 662)
อุทาหรณ์
ฎ. 80/2511 ผูฝ​้ าก​เงิน​ไว้​กบั ​ธนาคาร​มน​ี ติ ​สิ มั พันธ์​กบั ​ธนาคาร​ตาม​ลกั ษณะ​ฝาก​ทรัพย์ ผู​ฝ้ าก​จะ​ถอน​
เงินค​ นื ​กอ่ น​ถงึ เ​วลา​ท​ตี่ กลง​กนั ​ไว้ไ​ ม่​ได้ และ​ธนาคาร​ผรู้ บั ​ฝาก​จะ​สง่ ​เงิน​คนื ก​ อ่ น​ถงึ เ​วลา​นนั้ ​ก​ไ็ ม่ไ​ ด้ต​ าม​มาตรา
67348 แต่​ถ้า​ผ​ู้ฝาก​ตาย​ก่อน​ถึง​เวลา​ที่​ตกลง​กัน ธนาคาร​มีหน้า​ที่​ต้อง​คืน​เงิน​ให้​แก่​ทายาท​ตาม​มาตรา 665
จะ​อ้าง​มาตรา 673 ไม่​คืน​เงิน​จนกว่า​จะ​ถึง​กำ� หนด​ตาม​ที่​ตกลง​กัน​ไม่​ได้

ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกานี้ แสดง​ว่า มาตรา 673 ที่​ว่า​คืน​เงิน​ที่​ฝาก​ก่อน​ถึง​เวลา​ท​ี่ตกลง​กัน​ไม่​ได้​
ต้อง​อยูภ​่ าย​ใต้บ​ งั คับม​ าตรา 665 กล่าว​คอื ถ้าผ​ ฝ​ู้ าก​ตาย​กอ่ น​กำ� หนด​เวลา​ทต​ี่ กลง​กนั ผูร้ บั ฝ​ าก​ก​ต็ อ้ ง​คนื เ​งิน​
มส

แก่​ทายาท​ผ​ฝู้ าก​ทันที จะ​รอ​ให้​ครบ​กำ� หนด​เวลา​ท​ตี่ กลง​กัน​หา​ได้​ไม่


การ​ฝาก​เงิน​ที่​มี​ข้อ​ตกลง​ว่า ผู้รับ​ฝาก​จะ​ต้อง​คืน​เงิน​ประเภท​ชนิด​เดียวกัน​ปริมาณ​เท่า​กัน​ก​็ดี การ​
ฝาก​เงินท​ ​ไี่ ม่ก​ ำ� หนด​เวลา​ไว้ว​ า่ จ​ ะ​สง่ ค​ นื เ​งินท​ ​ฝี่ าก​เมือ่ ใ​ด​ก​ด็ ี ย่อม​ไม่อ​ ยูใ​่ น​บงั คับข​ อง​มาตรา 673 กล่าว​คอื ผู​้
ฝาก​เรียก​คืน​ได้​ทุก​เมื่อ (มาตรา 663) และ​ผู้รับ​ฝาก​ก​ค็ ืน​เงิน​นั้น​ได้​ทุก​เมื่อ (มาตรา 664) แล้ว​แต่​กรณี

สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​ผู้​ฝาก​เงิน
ผู้​ฝาก​เงิน​มี​สิทธิ​และ​หน้าที่ 4 ประการ คือ
1. สิทธิ​เรียก​เงิน​ท​ฝี่ าก​จน​ครบ​จำ� นวน
2. หน้าที​ร่ ับ​คืน​เงิน​ตรา​อัน​อื่น​ท​ไี่ ม่ใช่​อัน​เดียว​กับ​ท​ฝี่ าก
3. หน้าที​ไ่ ม่​ขัด​ขวาง​ใน​การ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้สอย

4. หน้าที​ไ่ ม่​ถอน​เงิน​คนื ก​ อ่ น​ถงึ เ​วลา​ท​ตี่ กลง​กนั ไ​ ว้​เฉพาะ​ใน​กรณี​ท​ผี่ รู้ บั ฝ​ าก​จำ​
� ตอ้ ง​คนื เ​งิน​เพียง​เท่า​
จ�ำนวน​ท​ฝี่ าก
สธ
48 มาตรา 673 หมายความ​เฉพาะ​กรณี​ที่​ธนาคาร​ผู้รับ​ฝาก คืน​เงิน​แต่​เพียง​เท่า​จำ�นวน​ที่​ฝาก​เท่านั้น เช่น คืน​ต้น​เงิน​ให้
ไม่มี​ดอกเบี้ย ถ้า​ธนาคาร​ผู้รับ​ฝาก​ต้อง​คืน​ดอกเบี้ย​ด้วย ก็​อ้าง​มาตรา 673 ไม่​ได้

สัญญาฝากทรัพย์ 4-75

1. สิทธิ​เรียก​คืน​เงิน​ที่​ฝาก​จน​ครบ​จ�ำนวน การ​ฝาก​เงิน​นั้น​กรรมสิทธิ์​ใน​เงิน​โอน​ไป​ยัง​ผู้รับ​ฝาก​
ดังก​ ล่าว​แล้ว เมื่อ​เงิน​นั้น​เกิด​สูญหาย​ด้วย​ประการ​ใดๆ ก็ด​ ี แม้เ​ป็นเ​หตุสุดวิสัย ก็ย​ ่อม​ตก​เป็นพ​ ับแ​ ก่เ​จ้าของ
เหตุ​นี้​กฎหมาย​จึง​บัญญัติ​ว่า​แม้ว่า​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​จะ​ได้​สูญหาย​ไป​ด้วย​เหตุสุดวิสัย​ก็ตาม ผู้รับ​ฝาก​ก็​จ�ำ​ต้อง
​คืน​เงิน​เป็น​จ�ำนวน​ดั่ง​ว่า​นั้น (มาตรา 672 วรรค​สอง) หรือ​กล่าว​อีก​นัย​หนึ่ง​ว่า​ผู้​ฝาก​เงิน​มี​สิทธิ​เรียก​คืน​เงิน​
ที่​ฝาก​จน​ครบ​จ�ำนวน​ทั้งๆ ที่​เงิน​ฝาก​ได้​สูญหาย​ด้วย​เหตุสุดวิสัยน​ ั่นเอง (ฎ.3076/2533)


อนึ่ง ผู้​ฝาก​เงิน​ได้​ฝาก​เงิน​แก่​ผู้รับ​ฝาก​โดย​ไม่รู้​ว่าการ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​เงิน​ประกอบ​การ​ธนาคาร​พาณิชย์​
โดย​มิได้ร​ ับอ​ นุญาต สัญญา​ฝาก​จึง​ไม่​เป็นโ​ มฆะ​เพราะ​มวี​ ัตถุประสงค์​เป็นการ​ต้อง​ห้าม​ตาม​กฎหมาย ปพพ.

มส
มาตรา 150 ผูฝ้​ าก​เงินม​ สี​ ิทธิ​เรียก​เงิน​ฝาก​คืน​จาก​ผู้รับฝ​ าก​ได้
ตาม​ค�ำ​พิพากษา​ศาล​ฎีกา ผู้​ฝาก​เงิน​ไม่รู้​ว่า ผู้รับ​ฝาก​เงิน​เอา​เงิน​ฝาก​ไป​หา​ประโยชน์​เข้า​ข่าย​
ประกอบ​การ​ธนาคาร​พาณิชย์​ซึ่ง​ต้อง​ห้าม​ตาม​กฎหมาย สัญญา​ฝาก​เงิน​ไม่​เป็น​โมฆะ ผู้​ฝาก​จึง​ม​ีสิทธิ​เรียก
​คืน​เงิน​ที่​ฝาก​จน​ครบ​จำ� นวน​แต่​หาก​ผู้​ฝาก​เงิน​รู้​ว่า​ผู้รับ​ฝาก​น�ำ​เงิน​ไป​ประกอบ​การ​ธนาคาร​พาณิชย์​แล้ว
สัญญา​ฝาก​เงิน​เป็น​โมฆะ เพราะ​วตั ถุประสงค์​ตอ้ ง​หา้ ม​ชดั แ​ จ้งโ​ ดย​กฎหมาย ตาม ปพพ. มาตรา 150 ผู​้ฝาก​
ไม่มสี​ ิทธิ​เรียก​เงินท​ ี่ฝ​ าก​คืน
อุทาหรณ์
ฎ. 1124/2512 กรณีส​ ืบเ​นื่องจาก​จ�ำเลย (ลูกห​ นี้) ถูกศ​ าล​พิพากษา​ให้เ​ป็นบ​ ุคคล​ล้มล​ ะลาย เจ้าห​ นี้​
ยืน่ ​คำ� ขอ​รบั ​ชำ� ระ​หนี​อ้ า้ ง​วา่ ​จำ� เลย (ลูก​หนี)้ เป็น​หนี​ค้ า่ ​รบั ​ฝาก​เงิน​และ​ดอกเบีย้ ศาล​ฎกี า​เห็น​วา่ การ​ฝาก​เงิน​

ราย​นี้ ผู​ข้ อรับช​ ำ� ระ​หนีจ​้ ะ​ถอน​คนื ต​ อ้ ง​บอก​กล่าว​ลว่ ง​หน้า​แก่ล​ กู ห​ นี้ 1 เดือน ลูกห​ นีใ​้ ห้​ผล​ประโยชน์ต​ อบแทน​
เป็น​ดอกเบี้ย​ร้อย​ละ 3 ต่อ​เดือน​โดย​ทบ​ต้น ลูก​หนี้​เอา​เงิน​ที่​ฝาก​ไป​หา​ประโยชน์​โดย​ให้​พ่อค้า​และ​เพื่อนๆ ที่​
มส

รูจ้ กั ​ชอบพอ​กนั ​ก​ยู้ มื ​โดย​ลกู ​หนี​เ้ รียก​คา่ ​นาย​หน้า ค่า​รางวัล ค่า​ดอกเบีย้ ​จาก​ผ​ทู้ ​กี่ ​ยู้ มื ​ไป​ม​จี ำ� นวน​สงู ก​ ว่า​จำ� นวน​
ดอกเบีย้ ​จาก​ผ​ทู้ ​กี่ ​ยู้ มื ​ไป​ม​จี ำ� นวน​สงู ​กว่า​จำ� นวน​ดอกเบีย้ ​ท​จี่ ะ​จา่ ย​ให้​แก่​ผ​ฝู้ าก การก​ระ​ทำ​ � ของ​ลกู ​หนี​เ้ ป็น​ปกติ​
ธุระ จึง​เป็นการ​ประกอบ​การ​ธนาคาร​พาณิชย์​ดัง​บัญญัติ​ใน​มาตรา 4 แห่ง​พระ​ราช​บัญญัติ​ธนาคาร​พาณิชย์
พ.ศ. 2505 ที่บัญญัติ​ว่า การก​ระ​ท�ำ​ของ​ลูก​หนี้​ใน​กิจกรรม​ธนาคาร​พาณิชย์​ดัง​กล่าว​มา​นี้​เป็น​โมฆะ​หรือ​ไม่
ศาล​ฎกี า​เห็นว​ า่ ผ​ ข​ู้ อรับช​ ำ� ระ​หนี​ไ้ ม่ท​ ราบ​วา่ ก​ จิ การ​ท​ลี่ กู ห​ นี​เ้ อา​เงินท​ ​รี่ บั ฝ​ าก​ไป​หา​ประโยชน์​เป็นการ​ธนาคาร​
พาณิชย์ ผู​ข้ อรับ​ชำ� ระ​หนี​ม้ ไิ ด้​รว่ ม​ร​ใู้ น​การก​ระ​ทำ​ � ของ​ลกู ​หนี้ ซึง่ ​ม​วี ตั ถุประสงค์​เป็นการ​ตอ้ ง​หา้ ม​โดย​กฎหมาย​

ดังนี้ นิตกิ รรม​รบั ​ฝาก​เงิน​ระหว่าง​ผ​ขู้ อรับ​ชำ� ระ​หนี​ก้ บั ​ลกู ​หนี​จ้ งึ ​ไม่​เป็น​โมฆะ ผูข​้ อรับช​ ำ� ระ​หนีม​้ ​สี ทิ ธิ​เรียก​เงิน​
ฝาก​นี้​คืน​ได้
2. หน้าที่​รับ​คืน​เงิน​ตรา​อัน​อื่น​ที่​ไม่ใช่​อัน​เดียว​กับ​ที่​ฝาก โดยที​่การ​ฝาก​เงิน กรรมสิทธิ​์ใน​เงิน​โอน​
ไป​ยัง​ผู้รับ​ฝาก ฉะนั้น​เวลา​รับ​คืน​เงิน​ฝาก ผู้​ฝาก​เงิน​จึง​ต้อง​รับ​คืน​เงิน​ตรา​อัน​อื่น​ที่​ไม่ใช่​อัน​เดียว​กับ​ที่​ฝาก
เพียง​แต่ม​ สี​ ิทธิร​ ับค​ ืนเ​งินฝ​ าก​ครบ​จ�ำนวน (มาตรา 672 วรรค​หนึ่ง)
3. หน้าที่​ไม่​ขัด​ขวาง​ใน​การ​ที่​ผู้รับ​ฝาก​เอา​เงิน​ซึ่ง​รับ​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้สอย การ​ฝาก​เงิน​กรรมสิทธิ์​
ใน​เงิน​โอน​ไป​ยัง​ผู้รับ​ฝาก​ดัง​กล่าว​มา​แล้ว กฎหมาย​จึง​บัญญัต​ิว่า​ผู้รับ​ฝาก​จะ​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้​ก็ได้
สธ
แต่​หาก​เวลา​คืนจ�ำ​ต้อง​คืน​เงิน​ให้​ครบ​จำ� นวน​เท่านั้น (มาตรา 672 วรรค​สอง) เหตุ​นี้ ผู้​ฝาก​เงิน​จึง​มีหน้า​ที่​
ไม่​ขัด​ขวาง​ใน​กรณี​ท​ผี่ ู้รับ​ฝาก​จะ​เอา​เงิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้

4-76 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

4. หน้าที่​ไม่​ถอน​เงิน​คืน​ก่อน​ถึง​เวลา​ที่​ตกลง​ไว้ เฉพาะ​ใน​กรณี​ที่​ผู้รับ​ฝาก​จ�ำ​ต้อง​คืน​เงิน​เพียง​เท่า​
จ�ำนวน​ที่​ฝาก ผูฝ้​ าก​เก็บเ​งินไ​ ว้เ​อง​อาจ​จะ​ไม่เ​ป็นการ​ปลอดภัยจ​ ึงน​ �ำ​เงินไ​ ป​ฝาก ฉะนั้น เมื่อค​ ส​ู่ ัญญา​คือผ​ ู้รับ​
ฝาก​และ​ผฝ​ู้ าก​เงินต​ า่ ง​ตกลง​กนั ก​ ำ� หนด​เวลา​ท​จี่ ะ​คนื เ​งินฝ​ าก​เท่าจ​ ำ� นวน​ท​ฝี่ าก​กนั เ​มือ่ ใ​ด​แล้ว ผูร้ บั ฝ​ าก​เงินจ​ ะ​
ส่ง​คนื ​เงิน​ฝาก​กอ่ น​ถงึ ​เวลา​ท​ตี่ กลง​กนั ​ไว้​ไม่​ได้ ส่วน​ผ​ฝู้ าก​เงิน​มหี น้า​ท​ที่ ​จี่ ะ​ไม่​ถอน​เงิน​คนื ​กอ่ น​ถงึ ​เวลา​ท​ตี่ กลง​
กันไ​ ว้เ​ช่น​เดียวกัน (มาตรา 673)


กิจกรรม 4.2.2

มส
สด​ม​รี าชการ​ต้อง​ไป​ต่าง​จังหวัด​หลาย​เดือน จึง​เอา​สุนัข 1 ตัว กับ​เงินสด 10,000 บาท ไป​ฝาก​สวย​
ไว้ โดย​ก�ำหนด​จะ​มา​รับ​ทรัพย์สิน​ท​ี่ฝาก​คืน​ใน​วัน​ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ต่อ​มาส​ดก​ลับ​ก่อน​ก�ำหนด​ใน​
วัน​ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 จึง​มา​ปรึกษา​ท่าน​ว่า

หรือ​ไม่
1. ถ้า​สด​ไป​ขอรับ​ทรัพย์สิน​ที่​ฝาก​คืน​ใน​วัน​ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 สวย​มีหน้า​ที่​ต้อง​คืนให้​

2. ถ้ า ​ส วย​เอา​ทรัพย์​ท​ี่ ฝาก​ไว้​ไป​คืนให้​ใน​วัน​ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 สด​จะ​ไม่​ยอมรับ​คืน​ได้​


หรือ​ไม่

แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.2.2
ตาม​ปัญหา​ข้าพเจ้า​จะ​ให้​ค�ำ​ปรึกษา​ดังนี้
มส

1. สด​เรียก​เอา​สุนัข​คืน​ใน​วัน​ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 ได้​แม้​จะ​ยัง​ไม่​ถึง​วัน​ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.


2556 ที่​ตกลง​กัน​ไว้​ก็ตาม สวย​จึง​มีหน้า​ท​ี่ต้อง​คืนให้ (มาตรา 663) ส่วน​เงินสด 10,000 บาท สด​เรียก​คืน​
ใน​วัน​ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 ไม่​ได้ สวย​จึงไ​ ม่​ต้อง​คืนให้​จนกว่า​จะ​ถึง​วัน​ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ตาม​
ที่​ตกลง​กัน​ไว้ (ปพพ.มาตรา 673)
2. สวย​เอา​สนุ ขั ท​ ​รี่ บั ฝ​ าก​ไว้ไ​ ป​คนื ให้ส​ ด​ใน​วนั ท​ ี่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 ก่อน​ถงึ เ​วลา​กำ� หนด​ไม่ไ​ ด้
ดัง​นั้น​สด​ไม่​ยอมรับ​คืน​ได้ (มาตรา 662) ส่วน​เงินสด 10,000 บาท​ท​ี่รับ​ฝาก​นั้น สวย​ก็​เอา​ไป​คืนให้​สด​ใน

​วนั ​ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 ก่อน​ถงึ ​เวลา​ท​ไี่ ด้​ตกลง​กนั ​ไว้ไ​ ม่ไ​ ด้​เช่น​เดียวกัน สด​จงึ ​ไม่​ยอมรับ​คนื ​ได้ (มาตรา
673)
สธ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-77

ตอน​ที่ 4.3
สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​ส�ำหรับ​การ​ฝาก​กับ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม
โปรด​อ่าน​หัว​เรื่อง แนวคิด และ​วัตถุประสงค์​ของ​ตอน​ที่ 4.3 แล้วจ​ ึงศ​ ึกษา​ราย​ละเอียด​ต่อไ​ ป


หัว​เรื่อง

แนวคิด
มส
4.3.1 การ​ฝาก​ทรัพย์​กับ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม
4.3.2 สิทธิ​และ​หน้าที​ข่ อง​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​และ​คน​เดิน​ทาง
4.3.3 อายุ​ความ

1. ค น​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ที่​เข้า​พัก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือส​ ถาน​ทอี่​ ื่น​ท�ำนอง​เช่นว​ ่า​นั้น​


ย่อม​มี​เครื่อง​เดิน​ทาง​และ​ทรัพย์สิน​อื่น​อัน​พา​มา​ไว้​ใน​โรงแรม โฮเต็ล​หรือ​สถาน​ที่​เช่น​นั้น
กฎหมาย​จึง​กำ� หนด​ความ​รับ ​ผิด ​เพื่อ​ความ​สูญ หาย​หรื อ​บุบ​ส ลาย​อัน​เกิด​แต่​ทรัพย์ สิน​
ดัง​กล่าว​ขึ้น​เป็น​พิเศษ

2. เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​มีหน้า​ท​ี่ให้​ความ​ปลอดภัย​แก่​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย
หาก​สู ญ หาย​ห รื อ ​บุ บ ​ส ลาย เจ้า​สำ� นัก ​โรงแรม​ต้อง​รับ​ผิด และ​เจ้า​ส�ำนัก ​โรงแรม​ย่อม​ม​ี
มส

สิทธิ​เหนือ​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ที่​เอา​มา​ไว้​ใน​โรงแรม 2 ประการ​คือ
สิทธิ​ยึด​หน่วง​และ​สิทธิ​เอา​ออก​ขาย​ทอด​ตลาด​เพื่อ​หัก​ใช้​หนี​้แก่​ตน ส่วน​คน​เดิน​ทาง​หรือ​
แขก​อาศัย​มีหน้า​ที่ 2 ประการ​คือ ให้​ค่า​พัก​อาศัย และ​ต้อง​แจ้ง​ความ​ทันที​เมื่อ​พบ​ว่า​
ทรัพย์สิน​ของ​ตน​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย กับ​มสี​ ิทธิ​ต่อ​เจ้าน​ ัก​โรงแรม 2 ประการ​ได้แก่ ได้​
รับ​ชดใช้​กรณี​ที่​ทรัพย์​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย และ​ไม่​ยอม​ตกลง​ใน​การ​ยกเว้น​หรือ​จ�ำกัด​
ความ​รับ​ผิด​ของ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม

วัตถุประสงค์

3. อายุ​ความ​ใน​เรือ่ ง​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​แบ่ง​เป็น​อายุ​ความ​เฉพาะ​เรียก​คา่ ​ทดแทน​ซงึ่ ​มก​ี ำ� หนด​
เวลา​เพียง 6 เดือน กับ​อายุ​ความ​เรียก​คนื ​ทรัพย์สนิ ​ท​หี่ ลงลืม​ไว้ซ​ งึ่ ไ​ ม่มก​ี ำ� หนด​อายุค​ วาม

เมื่อ​ศึกษา​ตอน​ที่ 4.3 จบ​แล้ว นักศึกษา​สามารถ


1. อธิบาย​หลัก​เกณฑ์​และ​ยก​ตัวอย่าง​เกี่ยว​กับ​การ​ฝาก​กับ​เจ้า​ส�ำนักโ​รงแรม​ได้
2. บอก​ถึง​สิทธิ​และ​หน้าที​ข่ อง​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​และ​คน​เดิน​ทาง​ได้
สธ
3. ระบุ​อายุ​ความ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​ส�ำหรับ​การ​ฝาก​กับ​เจ้าส​ �ำนัก​โรงแรม​ได้
4. วินิจฉัย​ปัญหา​เกี่ยว​กับ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​ส�ำหรับ​การ​ฝาก​กับเ​จ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ได้

4-78 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่อง​ที่ 4.3.1
การ​ฝาก​ทรัพย์​กับ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม


ค�ำ​วา่ “โรงแรม” พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ค​ วาม​หมาย​วา่ ทีพ่ กั ​เดินท​ าง​
ซึง่ ​ตอ้ ง​เสีย​คา่ ​พกั ​แรม​ดว้ ย ส่วน​คำ​ � วา่ “โฮเต็ล” พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายความ​

มส
ถึง​โรงแรม​หรือ​ที่พัก​คน​เดิน​ทาง ที่​ภาษา​อังกฤษ​ใช้​ค�ำ​ว่า hotel นั่นเอง ส่วน​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​โรงแรม
พ.ศ. 2547 มาตรา 4 ให้​นิยาม​คำ​ � ว่า “โรงแรม” หมายความ​ว่า “สถาน​ที่พัก​ทจี่​ ัด​ตั้ง​ขึ้น​โดย​ม​วี ัตถุประสงค์​
ใน​ทาง​ธรุ กิจ​เพือ่ ​ให้​บริการ​ทพี่ กั ​ชวั่ คราว​สำ� หรับ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​บคุ คล​อนื่ ​ใด​โดย​มค​ี า่ ต​ อบแทน​ทงั้ นี​ไ้ ม่​รวม​ถงึ
(1) สถาน​ที่พัก​ที่​จัด​ตั้ง​ขึ้น​เพื่อ​ให้​บริการ​ที่พัก​ชั่วคราว​ซึ่ง​ด�ำเนิน​การ​โดย​ส่วน​ราชการ รัฐวิสาหกิจ
องค์กร​มหาชน หรือ​หน่วย​งาน​อื่น​ของ​รัฐ​หรือ​เพื่อ​การ​กุศล​หรือ​การ​ศึกษา ทั้งนี้​โดย​มิใช่​เป็นการ​หา​ผล​ก�ำไร​
หรือ​ราย​ได้​มา​แบ่ง​ปัน​กัน

ไป​เท่านั้น
(2) สถาน​ทพี่ กั ​ท​จี่ ดั ​ตงั้ ​ขนึ้ ​โดย​ม​วี ตั ถุประสงค์​เพือ่ ​ให้​บริการ​ทพี่ กั ​โดย​คดิ ​คา่ ​บริการ​เป็น​ราย​เดือน​ขนึ้ ​

(3) สถาน​ที่พัก​อื่น​ใด​ตาม​ท​กี่ ำ� หนด​ใน​กฎ​กระทรวง”


ดังน​ ั้น สถาน​ที่พัก​ท​จี่ ัดต​ ั้งข​ ึ้นโ​ ดย​ไม่มวี​ ัตถุประสงค์ใ​น​ทาง​ธุรกิจ ก็ไ​ ม่ใช่โ​รงแรม​ตาม พรบ. โรงแรม

พ.ศ. 2547 ส่วน​บา้ น​พกั ​ท​เี่ รียก​วา่ ​แฟลต อ​พาร์​ท​เมน​ต์ คอร์ท เกส​ท​เ์ ฮา​ส์ ก็​ไม่​ถอื ว่า​เป็น​โรงแรม ส่วน​หอพัก​
ตาม พรบ. หอพัก มาตรา 3 หมายความ​ว่า สถาน​ที่​จัด​ขึ้น​เพื่อ​รับ​ผู้​พัก49 ตามพ​ระ​ราช​บัญญัติ​นี้ ไม่ใช่​
มส

โรงแรม​เช่น​กัน
เนือ่ งจาก​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ใช้บ​ ทบัญญัตแ​ิ ห่งป​ ระมวล​กฎหมาย​แพ่งแ​ ละ​พาณิชย์บ​ รรพ 3 ทีไ​่ ด้ต​ รวจ​
ช�ำระ​ใหม่​ซงึ่ ​ลกั ษณะ​ฝาก​ทรัพย์ เป็นเ​อกเทศ​สญ ั ญา​ชนิด​หนึง่ ​ท​บี่ ญ
ั ญัต​ใิ น​บรรพ 3 ประกาศ​วนั ​ที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2471 ซึง่ ​ขณะ​นนั้ ​ยงั ​ไม่ม​พี ระ​ราช​บญ ั ญัต​โิ รงแรม พ.ศ. 2478 (ปัจจุบนั ​แก้ไข​เพิม่ ​เติม​เป็น พรบ. โรงแรม
พ.ศ. 2547) และ​พระ​ราช​บญ ั ญัต​หิ อพัก พ.ศ. 2507 ออก​ใช้​บงั คับ ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ บรรพ
3 ลักษณะ​ฝาก​ทรัพย์​หมวด 3 วิธี​เฉพาะ​สำ� หรับ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม จึง​บังคับ​ถึง “โรงแรม หรือ​โฮเต็ล หรือ​
สถาน​ท​อี่ ื่นท​ �ำนอง​เช่น​ว่า​นั้น​ด้วย” ซึ่ง​ตัว​บท​ภาษา​อังกฤษ​ใช้​คำ​
ดัง​นั้น​ค�ำ​ว่า​โรงแรม (an inn) ตาม​ความ​เข้าใจ​ใน​ขณะ​ประกาศ​ใช้​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​น่า​จะ​

� ว่า “an inn, hotel or such other place”

หมาย​ถึงทีพ่​ ัก​เดิน​ทาง ไม่ใช่​โฮเต็ล (hotel) เพราะ​ถ้า​โรงแรม​กับ​โฮเต็ล​มี​ความ​หมาย​เหมือน​กัน ก็​ไม่​น่า​จะ​


บัญญัติ​ไว้​ทั้ง​สอง​ค�ำ เข้าใจ​ว่า​ขณะ​ประกาศ​ใช้ บรรพ 3 ค�ำ​เหล่า​นี้​ยัง​สับสน​ไม่​เป็น​ที่​แน่นอน​ใน​ภาษา​ไทย
แต่​กฎหมาย​ต้องการ​บังคับ​ถึงที่​พัก​คน​เดิน​ทาง​ทุก​ชนิด จึง​ต้อง​ใช้​ว่า “โรงแรม​หรือ​โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​อื่น​
ท�ำนอง​เช่น​ว่า​นั้น” อย่างไร​ก็​ดี​ค�ำ​ว่า “โฮเต็ล” ตาม​พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้​
สธ
49 พรบ. หอพัก พ.ศ. 2507 ให้​ความ​หมาย​คำ�​ว่า “ผูพ้​ ัก” คือ​ผซู้​ ึ่งอ​ ยู่ใ​น​ระหว่าง​การ​ศึกษา​ตาม​ที่​กำ�หนด​ใน​กฎ​กระทรวง​
และ​เข้าอ​ ยู่ใ​น​หอพัก​โดย​ให้​ทรัพย์สินต​ อบแทน

สัญญาฝากทรัพย์ 4-79

ความ​หมาย​ว่า“โรงแรม ที่พัก​ของ​คน​เดิน​ทาง” ดัง​นั้น​ใน​ปัจจุบัน​ค�ำ​ว่า “โฮเต็ล” ก็​หมายความ​ถึง​โรงแรม


นั่นเอง และ​พระ​ราช​บัญญัติ​โรงแรม พ.ศ. 2478 ก็ได้​บัญญัติ​ความ​หมาย​ของ​ค�ำ​ว่า โรงแรม ครอบคลุม​ถึง​
สถาน​ที่​ทุก​ชนิด​อยู่​แล้ว ดัง​นั้น​ความ​หมาย​ของ​ค�ำ​ว่า “โรงแรม” ใน​ปัจจุบัน จึง​ต้อง​อาศัย​พจนานุกรม​ฉบับ​
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 และ​พระ​ราช​บัญญัตโิ​รงแรม พ.ศ. 2547 แปล​ความ
ค�ำ​ว่า “สถาน​ที่​อื่น​ทำ� นอง​เช่น​ว่า​นั้น” ต้อง​หมาย​ถึง​สถาน​ที่​อื่น​ท�ำนอง​เดียว​กับ​โรงแรม​หรือ​โฮเต็ล​


เท่านัน้ เช่น ทีพ่ กั ค​ น​เดินท​ าง​ม​เี ครือ่ ง​เรือน​พร้อม​สำ� หรับผ​ ม​ู้ ​รี ถยนต์ห​ รือร​ ถ​จกั รยานยนต์ข​ บั ม​ า​พกั แ​ รม​ระหว่าง​
เมือง​ต่อ​เมือง​ใน​ต่าง​ประเทศ ทีเ่​รียก​ว่า motel ซึ่ง​วัตถุประสงค์​ต่าง​จาก​โมเต็ล​ทใี่​ช้​ใน​ประเทศไทย เป็นต้น

มส
บทบัญญัติ​ลักษณะ​ฝาก​ทรัพย์ วิธี​เฉพาะ​ส�ำหรับ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​นี้ กฎหมาย​บัญญัต​ิสิทธิ​หน้าที่​
ความ​รับ​ผิด​ของ​บุคคล​สอง​ฝ่าย​คือ “เจ้า​ส�ำนัก” ฝ่าย​หนึ่ง กับ “คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย” ค�ำ​ว่า “เจ้า​
ส�ำนัก” ตาม พรบ. โรงแรม พ.ศ. 2478 ให้​ความ​หมาย​ว่า​บุคคล​ผู้​ควบคุม​และ​จัดการ​โรงแรม​ต่อ​มา​เมื่อ​ม​ี
การ​ประกาศ​ใช้ พรบ. โรงแรม พ.ศ. 2547 ค�ำ​ว่า “เจ้า​ส�ำนัก” ไม่​ปรากฏ​ใน พรบ.ดัง​กล่าว​มี​เพียง​ค�ำ​ว่า
“ผู้ป​ ระกอบ​ธุรกิจโ​รงแรม” หมายความ​ว่า ผู้ไ​ ด้​รับอ​ นุญาต​ประกอบ​ธุรกิจโ​รงแรม​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัตนิ​ ี้​และ​
มี​ค�ำ​นิยาม​ค�ำ​ว่า “ผู้​จัดการ” หมายความ​ว่า “ผู้​จัดการ​โรงแรม​ตามพ​ระ​ราช​บัญญัต​ินี้​และ​ใน​มาตรา 30
แห่ง พรบ. ดัง​กล่าว​บญ ั ญัติ “ให้​ผป​ู้ ระกอบ​ธรุ กิจ​โรงแรม​จดั ใ​ห้​ม​ผี จ​ู้ ดั การ​คน​หนึง่ ​เป็น​ผม​ู้ หี น้า​ทจ​ี่ ดั การ​โรงแรม​
และ​ผปู้​ ระกอบ​ธุรกิจโ​รงแรม​และ​ผจู้​ ัดการ​โรงแรม​หนึ่งๆ จะ​เป็นบ​ ุคคล​คน​เดียวกันก​ ็ได้”
ดัง​นั้น​ปัจจุบัน​นี้ “เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม” ก็​หมายความ​ถึง​ผู้​ประกอบ​ธุรกิจ​โรงแรม​ตาม พรบ. โรงแรม

พ.ศ. 2547
ส่วน​ค�ำ​ว่า “ผู้​พัก” ตาม พรบ. ดัง​กล่าว​หมายความ​ว่า “คน​เดิน​ทาง​หรือ​บุคคล​อื่น​ใด​ที่​ใช้​บริการ​
มส

ที่พัก​ชั่วคราว​ของ​โรงแรม” ได้แก่ คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ตาม​เอกเทศ​สัญญา​ลักษณะ 10 หมวด 3 วิธี


เฉพาะ​ส�ำหรับ​เจ้าส​ �ำนัก​โรงแรม
ดัง ​นั้ น ค�ำ​ว่ า “เจ้ า ​ส�ำนั ก​โรงแรม หรือ​โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​อื่น​ท�ำนอง​เช่น​ว่า​นั้น” จึง​หมาย​ถึง
​ผู้​ประกอบ​ธุรกิจ​โรงแรม​หรือ​โฮเต็ล​หรือ​สถาน​ที่​อื่น​ท�ำนอง​เช่น​ว่า​นั้น​ด้วย เจ้า​ส�ำนัก​อาจ​จะ​ไม่ใช่​เจ้าของ​
กรรมสิทธิ์​ใน​สถาน​ที่​โรงแรม​หรือ​โฮเต็ล แต่​เป็น​ผู้​เช่า​สถาน​ที่มา​จัด​ท�ำ​เป็น​โรงแรม​หรือ​โฮเต็ล​ก็ได้ กล่าว​คือ
เจ้า​สำ� นัก​ต้อง​มี​อำ� นาจ​ขนาด​ควบคุม​และ​จัดการ​โรงแรม​หรือ​โฮเต็ล​ได้​นั่นเอง หา​ใช่​เป็น​เพียง​คน​งาน​หรือ​
ลูกจ้าง​ใน​โรงแรม​หรือ​โฮเต็ล​ไม่ ม
กรณี​ที่​โรงแรม​เป็น​นิติบุคคล คือ เป็น​ห้าง​หุ้น​ส่วน​สามัญ​นิติบุคคล หรือ​ห้าง​หุ้น​ส่วน​จ�ำกัด บริษัท​
จ�ำกัด ผูจ​้ ดั การ หรือก​ รรมการ​ผจ​ู้ ดั การ​โรงแรม​ดงั ก​ ล่าว​ก​ม็ ฐ​ี านะ​เป็นผ​ แ​ู้ ทน​ของ​โรงแรม​ท​เี่ ป็นน​ ติ บิ คุ คล​นนั้ ๆ
ด้วย​และ​นำ​ � บทบัญญัตว​ิ า่ ​ดว้ ย​ตวั แทน​แห่ง ปพพ. นี​ม้ า​ใช้บ​ งั คับ​แก่ค​ วาม​เกีย่ ว​พนั ​ระหว่าง​นติ บิ คุ คล (โรงแรม)
กับ​ผ​แู้ ทน​ของ​นติ บิ คุ คล และ​ระหว่าง​นติ บิ คุ คล หรือ​ผ​แู้ ทน​ของ​นติ บิ คุ คล​กบั บุคคลภายนอก​มา​ใช้โ​ ดย​อนุโลม
ตาม ปพพ. มาตรา 77
“คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย” หมาย​ถึง ผู้​พัก​อาศัย​ใน​โรงแรม​หรือ​โฮเต็ล​หรือ​สถาน​ที่​อื่น​ท�ำนอง​
สธ
เช่น​ว่า​นั้น​โดย​เสีย​ค่าที่​พัก ไม่​ว่า​จะ​เดิน​ทาง​มา​จาก​ต่าง​เมือง​หรือ​อยู่​ใน​เมือง​เดียวกัน แต่​ไม่​หมาย​รวม​ถึง​
บุคคล​ท​เี่ จ้า​สำ� นักจ​ ดั ใ​ห้พ​ กั เพราะ​เป็น​ครอบครัว คน​งาน​หรือ​ลกู จ้าง​เจ้า​สำ� นัก​และ​ไม่ใช่​ผคู้ น​ท​ไี่ ป​มา​เข้า​ออก

4-80 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​เช่น​ว่า​นั้น หรือ​บุคคล​ที่​คน​เดินท​ าง​หรือแ​ ขก​อาศัย​ได้​ต้อนรับ (เทียบ​มาตรา


674, 675)
กิจการ​โรงแรม​หรือ​โฮเต็ล​เป็นการ​ค้า ซึ่ง​คิด​ค่า​ตอบแทน​ใน​ธุรกิจ​ให้​ที่พัก​อาศัย​แก่​คน​เดิน​ทาง​หรือ
​แขก​อาศัย​ ส่วน​ทรัพย์สนิ ​ท​คี่ น​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​พา​มา อาจ​ม​กี าร​ฝาก​เจ้า​สำ� นัก​โดยตรง​หรือ​โดย​ปริยาย
ซึ่ง​มี​ลักษณะ​พิเศษ​จาก​การ​ฝาก​ทรัพย์​ธรรมดา​ทั่วไป กฎหมาย​จึง​ก�ำหนด​วิธี​การ​และ​ความ​รับ​ผิด​เฉพาะ​ขึ้น


แยก​ได้เ​ป็น 2 กรณี​คือ
1. ฝาก​ทรัพย์​โดยตรง หรือ​โดย​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​ราย

มส
2. ฝาก​ทรัพย์​โดย​ปริยาย หรือ​โดย​บทบัญญัติ​ของ​กฎหมาย
1. ฝาก​ทรัพย์​โดยตรง หรือ​โดย​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​ราย หมายความ​ว่า คน​เดิน​ทางหรือ​
แขก​อาศัย​ได้​พา​ทรัพย์สิน​มา เช่น กระเป๋า​เดิน​ทาง รถยนต์ เงิน​ตรา ตั๋ว​เงิน ฯลฯ ของ​มี​ค่า​อื่นๆ ได้​ฝาก​
ทรัพย์สนิ เ​หล่าน​ นั้ ไ​ ว้ต​ อ่ เ​จ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​หรือผ​ ​แู้ ทน​เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​โดยตรง​และ​บอก​ราคา​ของ​นนั้ ไ​ ว้ช​ ดั แ​ จ้ง
ซึ่งสิทธิ​หน้าที​่ความ​รับ​ผิด​ระหว่าง​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​กับ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัยย​ ่อม​เหมือน​กับ​ฝาก​ทรัพย์​
ธรรมดา ถ้า​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​เอา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ออก​ใช้สอย หรือ​เอา​ไป​ให้​บุคคล​ภายนอก​ใช้สอย​หรือ​
ให้​บคุ คล​ภายนอก​เก็บ​รกั ษา ก็​จะ​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​เมือ่ ​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​ฝาก​นนั้ ​สญ ู หาย​หรือ​บบุ ​สลาย​แม้​ถงึ ​จะ​เป็น​เพราะ​
เหตุสุดวิสัย (มาตรา 660) หรือ​บุคคล​ภายนอก​อ้าง​ว่า​ม​ีสิทธิ​เหนือ​ทรัพย์​ซึ่ง​ฝาก​และ​ยึด​ทรัพย์สิน​นั้น​
เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​ต้อง​รีบบ​ อก​กล่าว​แก่​คน​เดิน​ทาง หรือ​แขก​อาศัย​โดย​พลัน (มาตรา 661) เป็นต้น

ส่วน​บทบัญญัติ​ที่​แสดง​ว่า คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​อาจ​มี​การ​ฝาก​ทรัพย์​โดยตรง​หรือ​ทำ​ � สัญญา​
ฝาก​ทรัพย์​เฉพาะ​ราย​กับ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ก็​คือ มาตรา 675 วรรค​สอง ที่​บัญญัติ​ว่า “ความ​รับ​ผิด​นี้
มส

ถ้า​เกี่ยว​ด้วย​เงิน​ทอง​ตรา ธนบัตร ตั๋ว​เงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้น​กู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือ​ของ​ม​ี


ค่า​อื่น ๆ ให้จ�ำกัด​ไว้​เพียง​ห้า​พัน​บาท เว้น​แต่​จะ​ได้​ฝาก​ของ​มี​ค่า​เช่น​นี้​ไว้​แก่​เจ้า​ส�ำนัก และ​ได้​บอก​ราคา​
แห่ง​ของ​นั้นช​ ัดแ​ จ้ง”
2. ฝาก​ทรัพย์​โดย​ปริยาย หรือ​โดย​บทบัญญัติ​ของ​กฎหมาย การ​ฝาก​ทรัพย์​โดย​ปริยาย​นี้ เป็น​
บทบัญญัต​ทิ ​กี่ ฎหมาย​ลกั ษณะ​ฝาก​ทรัพย์ ก�ำหนด​วธิ ​เี ฉพาะ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​บญ ั ญัต​หิ นี​ข้ อง​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​
ขึ้น แตก​ต่าง​​การ​ฝาก​ทรัพย์​ธรรมดา กล่าว​คือ ทรัพย์สิน ซึ่ง​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ได้​พา​มา​หรือ​เอา​ไว้​

ใน​โรงแรม โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​เช่น​ว่า​นั้น คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ไม่​จ�ำ​ต้อง​บอก​ฝาก​ไว้ ดัง​เช่น​การ​ฝาก​
ทรัพย์​ธรรมดา และ​เนื่องจาก​กิจการ​โรงแรม​เป็น​ธุรกิจ​การ​ค้า​ที่​ท�ำ​ต่อ​ประชาชน​ทั่วไป​ใน​ด้าน​ที่พัก​อาศัย
ต่าง​กบั ​การ​เช่าส​ ถาน​ท​เี่ พียง​อย่าง​เดียว คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัยอ​ าจ​จะ​มก​ี ระเป๋าเ​ดิน​ทาง เงินต​ รา ตัว๋ เ​งิน
อัญมณี ของ​มี​ค่า เครื่อง​เล่น​กีฬา ตลอด​จน​พาหนะ​ที่​ใช้​เดิน​ทาง​มา​ด้วย ดัง​นั้น การ​ที่​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​
อาศัย​เอา​ทรัพย์สิน​เหล่า​นี้​ไว้​ใน​โรงแรม โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​เช่น​ว่า​นั้น​เท่ากับ​เอา​ทรัพย์สิน​เก็บ​รักษา​ไว้​ใน​
อารักขา​ของ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​โดย​ปริยาย ท�ำให้​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ไม่​ตอ้ ง​อยู​เ่ ฝ้า​ท​โี่ รงแรม​ตลอด​เวลา
เหตุ​นี้ มาตรา 674 จึง​บัญญัต​วิ ่า “เจ้าส​ �ำนักโ​ รงแรม​หรือ​โฮเต็ล​หรือ​สถาน​ที่อ​ ื่นท​ �ำนองเช่นว​ ่าน​ ั้น จะ​ต้อง​
สธ
รับผ​ ิดเ​พื่อค​ วาม​สูญหาย​หรือบ​ ุบ​สลาย​อย่าง​ใดๆ อันเ​กิดแ​ ก่ท​ รัพย์สินซ​ ึ่งค​ น​เดินท​ าง​หรือแ​ ขก​อาศัยห​ าก​ได้​
พา​มา” มาตรา 675 วรรค​แรก​บัญญัติ​ว่า “เจ้า​ส�ำนัก​ต้อง​รับ​ผิด​ใน​การ​ที่​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​
แขก​อาศัยสูญหาย​หรือ​บบุ ​สลาย​ไป​อย่าง​ใดๆ แม้​ถงึ ว่า​ความ​สญ ู หายหรือ​บบุ ​สลาย​นนั้ จะ​เกิด​ขนึ้ ​เพราะ​ผคู้ น​

สัญญาฝากทรัพย์ 4-81

ไป​มา​เข้า​ออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​เช่น​นั้น​ ก็ค​ ง​ต้อง​รับ​ผิด” และ​มาตรา 677 บัญญัติ​ว่า “ถ้า​มี​
ค�ำ​แจ้งค​ วาม​ปิดไ​ ว้ใ​ น​โรงแรม โฮเต็ล หรือส​ ถาน​ที่อ​ ื่นท�ำนอง​เช่นว​ ่าน​ ี้ เป็นข​ ้อความ​ยกเว้นห​ รือ​จ�ำกัดค​ วาม​
รับ​ผิด​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​ไซร้ ท่าน​ว่า​ความ​นั้น​เป็น​โมฆะ เว้น​แต่​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​จะ​ได้​ตกลง​ด้วย​
ชัดแ​ จ้ง​ใน​การ​ยกเว้น​หรือ​จ�ำกัด​ความ​รับ​ผิด​ดั่ง​ว่า​นั้น”
อุทาหรณ์


ฎ. 3024/2533 บริษัท ส. ได้​รับ​อนุญาต​ให้​ด�ำเนินก​ ิจการ​โรงแรม​โดย​มี​จ�ำเลย​เป็นเ​จ้าส​ �ำนักโ​รงแรม
จ�ำเลย​ซึ่ง​เจ้าของ​ส�ำ​นัก​โรงแรม​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​โจทก์ ตาม ปพพ. มาตรา 674, 675 จ�ำเลย​จะ​อ้าง​ว่า​ไม่​ต้อง​

มส
รับ​ผิดเ​ป็นส​ ่วน​ตัว​เพราะ​เป็น​ตัวแทน​ของ​บริษัท ส. ไม่ไ​ ด้
ฎ. 5005/2540 น.น�ำ​รถยนต์​มา​จอด​ไว้​ใน​บริเวณ​ลาน​จอด​รถ​ของ​โรงแรม​จ�ำเลย​และ​รถยนต์​ได้​หาย​
ไป จ�ำเลย​จึงต​ ้อง​รับ​ผิด​ต่อ​โจทก์ต​ าม ปพพ. มาตรา 674 แม้ น.จะ มิได้แ​ จ้งใ​ห้​พนักงาน​ของ​จ�ำเลย​ทราบ​ว่า​
ได้​น�ำ​รถยนต์​มา​จอด​ไว้​ก็ตาม แต่​เมื่อ น. ทราบ​แน่ชัด​ว่า​รถยนต์​หาย​ไป​ก็ได้​แจ้ง​แก่ ว. ผู้​จัดการ​ทั่วไป​ของ​
โรงแรม​จ�ำเลย​ทราบ​ใน​ทันที ทั้ง น. ได้​แจ้ง​ความ​ต่อ​พนักงาน​สอบสวน​ถือ​ได้​ว่า​เป็นการ​แจ้ง​เหตุ​แก่​จ�ำเลย​
ผู้เ​ป็นเ​จ้าส​ �ำนักโ​รงแรม​ทราบ​ทันที​ ตาม ปพพ. มาตรา 676 แล้ว ส่วน​ที่ใ​บ​กรอก​ราย​ละเอียด ชื่อ ทีอ่​ ยู่​ของ​
ผู้​เข้า​พัก​โรงแรม​จ�ำเลย ใน​ตอน​ท้าย​มี​ข้อความ​พิมพ์​ไว้​ว่า “โรงแรม​จะ​ไม่​รับ​ผิด​ชอบ​ใน​ทรัพย์สิน สิ่ง​มี​ค่า​
หรือธ​ นบัตร​ซึ่งอ​ าจ​เกิดส​ ูญหาย...” อันเ​ป็นการ​ยกเว้น​ความ​รับ​ผิด​ของ​จ�ำเลย และ​เป็นเ​อกสาร​ที่จ​ �ำเลย​ท�ำ​
ขึ้นฝ​ ่าย​เดียว ไม่ป​ รากฏ​ว่า น. ได้ต​ กลง​ด้วย​ชัดแ​ จ้งใ​ น​การ​ยกเว้น​หรือจ​ �ำกัดค​ วามรับผ​ ิดข​ อง​จ�ำเลย​ดังก​ ล่าว

ข้อความ​เช่นน​ ี้จ​ ึงเ​ป็นโ​ มฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 677 จ�ำเลย​จึง​ยัง​คง​ไม่​หลุด​พ้น​จาก​ความ​รับ​ผิด เมื่อ​โจทก์​
ใน​ฐานะ​ผู้รับ​ประกัน​ภัย​ได้​จ่าย​ค่า​สินไหม​ทดแทน​ให้​แก่​ผู้รับ​ประโยชน์​ไป​ตาม​สัญญา​ประกัน​ภัย​แล้ว​ย่อม​ได้​
มส

รับช​ ่วง​สิทธิ​มา​เรียก​ร้อง​เอา​จาก​จำ� เลย​ได้


อนึ่ง กรณี​ไป​ใช้​บริการ​ของ​โรงแรม เช่น เพื่อ​สัมมนา ประชุม หรือ​รับ​ประทาน​อาหาร ฯลฯ โดย​
ผู้ ​ใช้ ​บ ริ ก าร​นำ​
� รถยนต์ ​ไ ป​จ อด​ใ น​โรงแรม​ด้ วย กรณี​นี้​ไม่ใช่​สัญ ญา​ฝ าก​ทรัพ ย์​เฉพาะ​ส�ำหรั บ​การ​ฝาก​กับ​
เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​เพราะ​ผู้​เข้า​ใช้​บริการ​ไม่ใช่​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​เป็น​เรื่อง​ฝาก​ทรัพย์​ธรรมดา​ตาม​ที่​
กล่าว​มา​แล้ว​ข้าง​ต้น ใน​ตอน​ที่ 4.1 ลักษณะ​ทั่วไป​ของ​สัญญา​ฝาก​ทรัพย์

กิจกรรม 4.3.1
ทิว​ได้​มา​พัก​ที่​โรงแรม​ฟอล์คแลนด์ และ​นำ​

� รถยนต์​ที่​ยืม​มา​จาก​ราตรี​มา​จอด​ไว้​ใน​โรงแรม บุญช่วย​
คน​ของ​โรงแรม​น�ำ​รถ​ไป​ขับ ท�ำให้​ชน​กับ​รถ​คันอื่น​เสีย​หาย ผู้​จัดการ​โรงแรม​ฟอล์คแลนด์​โต้​แย้ง​ว่า ไม่​ต้อง​
รับ​ผิด​เพราะ​บุญช่วย​ไม่ใช่​ลูกจ้าง​ของ​โรงแรม และ​ทิว​ไม่​ได้​บอก​ฝาก​รถยนต์​แก่​ผู้​จัดการ​โรงแรม ดังนี้ ถ้า​
ราตรี​มา​ปรึกษา​ท่าน​เพื่อ​ฟ้อง​เรียก​ราคา​รถยนต์​จาก​โรง​แรม​ฟล์อค​แลนด์ ท่าน​จะ​แนะน�ำ​อย่างไร
สธ

4-82 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.3.1
การ​ท​คี่ น​เดินท​ าง​พา​ทรัพย์สินม​ า​ใน​โรงแรม คน​เดินท​ าง​ไม่ต​ ้อง​บอก​กล่าว​ฝาก​แก่เ​จ้าส​ �ำนักโ​รงแรม
เพราะ​มใิ ช่เ​รือ่ ง​ฝาก​ทรัพย์ธ​ รรมดา​ทวั่ ไป แต่เ​ป็นเ​รือ่ ง​เกีย่ ว​กบั ​เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​ซงึ่ ปพพ. มาตรา 674 บัญญัต​ิ
ว่าเจ้า​สำ� นัก​โรงแรม...จะ​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​เพือ่ ​ความ​สญ
ู หาย​หรือ​บบุ ​สลาย​อย่าง​ใดๆ อัน​เกิด​แก่​ทรัพย์สนิ ​ซงึ่ ​คน​เดิน​


ทาง​หรือ​แขก​อาศัย หาก​ได้​พา​มา​และ​ ปปพ. มาตรา 675 เจ้าส​ ำ� นัก​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ใ​น​การ​ท​ที่ รัพย์สนิ ข​ อง​คน​เดิน​
ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​ไป​อย่าง​ใดๆ แม้​ถึงว่า​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​นั้น​จะ​เกิด​ขึ้น​

มส
เพราะ​ผู้คน​ไป​มา​เข้า​ออก ณ โรงแรม...ก็​คง​ต้อง​รับ​ผิด เหตุ​นี้ เมื่อ​ทิว​ได้​พา​รถยนต์​มา​จอด​ไว้​ใน​โรงแรม​
ฟอล์คแลนด์ โรงแรม​ฟอล์คแลนด์​ก็​ต้อง​รับ​ผิด​โดย​ไม่​ต้อง​ค�ำนึง​ถึงว่า​บุญช่วย​ผู้​ทำ​ � ละเมิด​ขับ​รถ​ไป​ชน​รถ​
ค้นอื่น​เสีย​หาย​จะ​เป็น​ลูกจ้าง​ของ​โรงแรม​ฟอล์คแลนด์​หรือ​ไม่ กล่าว​คือ โรงแรม​ฟอล์คแลนด์​ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​
ราคา​รถยนต์​แก่​ราตรี ข้าพเจ้า​จะ​แนะน�ำ​ตาม​ที่​กล่าว​มา​แล้ว

เรื่อง​ที่ 4.3.2
สิทธิ​และ​หน้าที่​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​และ​คน​เดิน​ทาง

มส

เมื่อ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ได้​ตกลง​ท�ำ​สัญญา​พัก​อาศัย​อยู่​ใน​โรงแรม โฮเต็ล​หรือ​สถาน​ที่​อื่น​
ท�ำนอง​เช่น​ว่า​นั้น​แล้ว เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​และ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ย่อม​มี​สิทธิ​และ​หน้าที​ต่ ่อ​กันเ​กี่ยว​กับ​
ทรัพย์สิน​ที่​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ได้​พา​มา​หรือ​เอา​มา​ไว้​ใน​โรงแรม โฮเต็ล​หรือ​สถาน​ที่​เช่น​นั้น​โดย​
บทบัญญัต​ขิ อง​กฎหมาย​ทำ� นอง​คล้าย​กับ​ว่า​ทรัพย์สิน​นั้น​ฝาก​ไว้ก​ ับ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​แล้ว ดัง​ต่อ​ไป​นี้

สิทธิ​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม

คือ
1. สิทธิ​ยึด​หน่วง​เครื่อง​เดิน​ทาง​หรือ​ทรัพย์สิน​อื่น​อัน​เอา​ไว้​ใน​โรงแรม

เจ้า​สำ� นักโ​รงแรม มี​สทิ ธิ​เหนือ​ทรัพย์สนิ ​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ท​เี่ อา​ไว้​ใน​โรงแรม 2 ประการ​

2. สิทธิ​เอา​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดินท​ าง​หรือ​แขก​อาศัย​ออก​ขาย​ทอด​ตลาด​เพื่อห​ ัก​ใช้​หนี​แ้ ก่​ตน


1. สิทธิ​ยึด​หน่วง​เครื่อง​เดิ น​ทาง​หรื อ​ทรั พย์สิน​อื่ น​อั น​เอา​ไว้​ใน​โรงแรม การ​ฝาก​ทรัพ ย์สิ น​นั้น
ผู้รับ​ฝาก​ชอบ​ท​ี่จะ​ยึด​หน่วง​เอา​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​ฝาก​นั้น​ไว้​ได้​จนกว่า​จะ​ได้​รับ​เงิน​บรรดา​ที่​ค้าง​ชำ� ระ​แก่​ตน​เกี่ยว​
สธ
ด้วย​การ​ฝาก​ทรัพย์ (มาตรา 670) ใน​เรื่อง​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​นี้​จะ​ถือว่า เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ได้​ครอบ​ครอง​
เครือ่ ง​เดิน​ทาง​หรือ​ทรัพย์สนิ ​อย่าง​อนื่ ​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​อนั ​เอา​ไว้​ใน​โรงแรม​ยงั ​ไม่​ถนัด และ​การ​
ยึด​หน่วง​เครือ่ ง​เดิน​ทาง​หรือ​ทรัพย์สนิ อ​ ย่าง​อนื่ ​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัยเ​พือ่ ​ใช้​หนี​อ้ นั ​เกีย่ ว​กบั ​ทรัพย์สนิ ​

สัญญาฝากทรัพย์ 4-83

ทีย​่ ดึ ​หน่วง​กไ​็ ม่​ได้ แต่​ความ​จำ� เป็น​ท​คี่ น​เดิน​ทาง​มา​จาก​ตา่ ง​ประเทศ การ​ท​จี่ ะ​ให้​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ไป​ฟอ้ ง​รอ้ ง​
ย่อม​ไม่​คุ้ม​กับ​ความ​เสีย​หาย​และ​เป็นการ​ยุ่ง​ยาก​ทั้ง​เป็น​เงิน​จ�ำนวน​ไม่​มาก​นัก กิจการ​โรงแรม​เป็นการ​ค้า
ต้องการ​วิธี​ที่​รวบรัด​และ​รวดเร็ว เหตุ​นี้​กฎหมาย​จึง​บัญญัติ​ให้​อำ� นาจ​ยึด​หน่วง​โดย​เฉพาะ​ไว้​ใน​มาตรา 679
วรรค​หนึ่ง​ว่า “เจ้า​ส�ำนัก​ชอบ​ที่​จะ​ยึด​หน่วง​เครื่อง​เดิน​ทาง หรือ​ทรัพย์สิน​อย่าง​อื่น​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​
แขก​อาศัยอ​ ันเ​อา​ไว้​ใน​โรงแรม โฮเต็ล​ หรือ​สถาน​ที่เ​ช่นน​ ั้นไ​ ด้จ​ นกว่าจ​ ะ​ได้ร​ ับใ​ ช้​เงินบ​ รรดา​ที่ค​ ้าง​ช�ำระ​แก่​


ตน เพื่อ​การ​พัก​อาศัย​และ​การ​อื่น ๆ อัน​ได้​ท�ำให้​แก่​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ตาม​ที่​เขา​พึง​ต้องการ​นั้น
รวม​ทั้ง​การ​ชดใช้เ​งิน​ทั้งห​ ลาย​ที่​ได้​ออก​แทน​ไป​ด้วย”

มส
ทรัพย์สิน​ที่​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​มี​สิทธิ​ยึด​หน่วง​คือ​เครื่อง​เดิน​ทาง เช่น กระเป๋า​ใส่​เสื้อผ้า ใส่​เครื่อง​ใช้​
ส่วน​ตัว หรือ​เครื่อง​สำ� อาง​ของ​คน​เดิน​ทาง เป็นต้น รวม​ตลอด​ทั้ง​ทรัพย์สิน​อื่น​ของ​คน​เดิน​ทาง​อัน​เอา​ไว้​ใน​
โรงแรม เช่น เครื่อง​เล่น​กีฬา เครื่อง​มือ​เครื่อง​ใช้​ใน​การ​ประกอบ​อาชีพ​หรือ​วิชาชีพ​ที่​คน​เดิน​ทาง​เอา​มา​ไว้
ยาน​พาหนะ​ที่​คน​เดิน​ทาง​เอา​มไว้ ของ​เด็ก​เล่น ของ​ขวัญ​หรือ​ทรัพย์สิน​อื่น​ที่​คน​เดิน​ทาง​ซื้อ​มาระ​หว่าง​พัก​
แรม​และ​น�ำ​มา​ไว้​ใน​โรงแรม ฯลฯ เป็นต้น ข้อ​ส�ำคัญ​คือ​ทรัพย์สิน​เหล่า​นี้​คน​เดิน​ทาง​ต้อง​เป็น​เจ้าของ ไม่ใช่​
คน​เดิน​ทาง​รับ​ฝาก​ไว้​หรือ​ยืม​มา​หรือ​เป็น​ของ​บุคคล​อื่น และ​ถ้า​ทรัพย์สิน​เหล่า​นี้ แม้​เป็น​ของ​คน​เดิน​ทาง​แต่​
เอา​ไว้​นอก​โรงแรม เช่น คน​เดิน​ทาง​จอด​รถยนต์​ไว้​ที่​ข้าง​ถนน​หรือ​ที่​ปั๊ม​น�้ำมัน ซึ่ง​ไม่ใช่​เป็น​โรง​เก็บ​รถยนต์​
ของ​โรงแรม เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ก็​จะ​ยึด​หน่วง​ไม่​ได้ หรือ​เป็น​ของ​ติดตัว​ของ​ผู้​เดิน​ทาง เช่น ปากกา​ที่​เสียบ​ไว้​
ที่​กระเป๋า​เสื้อ นาฬิกา​ที่​ผูก​ไว้​ที่​ข้อ​มือ หรือส​ ร้อย​คอ​ที่​สวม​ไว้​ที่​คอ​ของ​คน​เดิน​ทาง เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ก็​จะ​ยึด​

หน่วง​ไม่​ได้​เช่น​เดียวกัน เพราะ​ทรัพย์สิน​ดัง​กล่าว คน​เดิน​ทาง​ไม่​ได้​เอา​ไว้​ใน​โรงแรม​นั่นเอง
มี​ข้อ​น่า​สังเกต​ประการ​หนึ่ง​ส�ำหรับ​หน้าที่​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ที่​ต้อง​รับ​ผิด​ต่อ​ทรัพย์สิน​ของ​
มส

คน​เดิน​ทาง​ที่ สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย ตาม​มาตรา 674 คือ กฎหมาย​ใช้​ค�ำ​ว่า​ทรัพย์สิน​ซึ่ง​คน​เดิน​ทาง​หรือ​


แขก​อาศัย “หาก​ได้​พา​มา” เช่น​คน​เดิน​ทาง​เสียบ​ปากกา​ไว้​ที่​กระเป๋า​เสื้อ ผูก​นาฬิกา​ไว้​ที่​ข้อ​มือ สวม​สร้อย​
ไว้​ที่​คอ ฯลฯ เหล่า​นี้​ถือว่า คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ได้​พา​ทรัพย์สิน​ดัง​กล่าว​มา หาก​เกิด​สูญหาย​หรือ​
บุบ​สลาย​ไม่ใช่​เพราะ​เหตุสุดวิสัย หรือ​เกิด​แต่​สภาพ​แห่ง​ทรัพย์สิน​นั้น หรือ​เกิด​แต่​ความ​ผิด​ของ​คน​เดิน​ทาง
​ผ​นู้ นั้ ​เอง​หรือ​บริวาร​ของ​เขา หรือ​บคุ คล​ซงึ่ ​เขา​ได้​ตอ้ นรับ​แล้ว​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ตอ้ ง​รบั ผ​ ดิ แต่​ทรัพย์สนิ ​ท​กี่ ล่าว​
ข้าง​ต้น เป็น​ของ​ติดตัว​ของ​ผู้​เดิน​ทาง ไม่ใช่​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง “อัน​เอา​ไว้ ใน​โรงแรม” เจ้า​ส�ำนัก​
โรงแรม​จะ​ใช้​สิทธิ​ยึด​หน่วง​ตาม​มาตรา 679 วรรค​หนึ่ง​ไม่​ได้
หน้าที​เ่ จ้า​สำ� นัก​โรงแรม​มสี​ ิทธิ​ยึด​หน่วง​ก​จ็ ำ� กัด​เฉพาะ 3 กรณี คือ
(1) หนี้​เงิน​บรรดา​ท​คี่ ้าง​ช�ำระ​เพื่อ​การ​พัก​อาศัย เช่น ค่า​ห้อง​พัก เป็นต้น

(2) หนี้เงิน​บรรดา​ที่​ค้าง​ชำ� ระ​เพื่อ​การ​อื่นๆ อัน​ได้​ท�ำให้​แก่​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ตาม​ที่​เขา​พึง​
ต้องการ​นั้น ค�ำ​ว่า “การ อื่นๆ อัน​ได้​ทำ� ให้” หมาย​เฉพาะ​บริการ​เท่านั้น​ไม่ใช่​ให้​ไป​ซื้อ​ของ​เชื่อ​มา​ให้​หรือ​ค่า​
อาหาร​ท​โี่ รงแรม​ขาย​ไม่ใช่​บริการ เว้น​แต่​คา่ ที​่พกั ​จะ​รวม​อาหาร​ดว้ ย50 แต่​ปจั จุบนั ​โรงแรม​ท​ที่ นั ​สมัย​จะ​จดั ​นำ​ �้
สธ
50พจน์ ปุษ​ปา​คม คำ�​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​ด้วย​ยืม กู้​ยืม ฝาก​ทรัพย์ กรุงเทพมหานคร แสงทอง​
การ​พิมพ์ พ.ศ. 2511 น. 230.

4-84 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อัดลม เครื่อง​กระป๋อง​ของ​ขบเคี้ยว​หรือ​ผล​ไม้​สด​ไว้​ใน​ตู้​เย็น​ประจ�ำ​ห้อง​พัก ซึ่งน​ ับว​ ่า​เป็นบ​ ริการ​อย่าง​หนึ่งท​ ี่​


โรงแรม​ต่างๆ พยายาม​ท�ำให้​แก่​คน​เดิน​ทาง​สะดวก​สบาย​แล้ว​คิด​เงิน​ตาม​ที่​คน​เดิน​ทาง​จะ​ดื่ม​กิน​ไป ดังนี้
ค่าเ​ครือ่ ง​ดมื่ ค่า​เครือ่ ง​กระป๋อง​หรือ​ผล​ไม้​สด ย่อม​เป็น​บริการ นอกจาก​นี้ ได้แก่ ค่า​บริการ​ซกั รีด บริการ​คา่ ​รถ
​ของ​โรงแรม​พา​เทีย่ ว ค่าโ​ ทรศัพท์ท​ าง​ไกล​ท​โี่ รงแรม​จดั ​ให้​แก่ค​ น​เดิน​ทาง ค่าใ​ช้ internet ของ​โรงแรม เป็นต้น
(3) หนี้​เงิน​ทั้ง​หลาย​ที่​ได้​ออก​แทน​ไป หมายความ​ว่า​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ได้​ออก​เงิน​ทดรอง​ไป เช่น


ทดรอง​เงิน​ค่าร​ ถ​รับจ้าง​ท​พี่ า​คน​เดินท​ าง​มา ทดรอง​เงิน​ซื้อข​ อง​ตาม​ที่​คน​เดินท​ าง​สั่ง เป็นต้น
นอกจาก​นี้ 3 กรณี​ดัง​กล่าว​แล้ว เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​จะ​ใช้​สิทธิ​ยึด​หน่วง​ไม่​ได้ เช่น หนี้​ที่​คน​เดิน​ทาง​

มส
กู้ย​ ืม​เงินเ​จ้าส​ �ำนักโ​รงแรม​หรือห​ นี้​ท​คี่ น​เดินท​ าง​ท�ำ​ละเมิดเ​ป็นเ​หตุใ​ห้โ​รงแรม​เสียห​ าย ฯลฯ เจ้าส​ �ำนักโ​รงแรม​
จะ​ยึดห​ น่วง​เครื่อง​เดิน​ทาง​หรือท​ รัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หา​ได้​ไม่
2. สิทธิ​เอา​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ออก​ขาย​ทอด​ตลาด​เพื่อ​หัก​ใช้​หนี้​แก่​ตน
เนือ่ งจาก​กจิ การ​โรงแรม​เป็นการ​คา้ พ​ าณิชย์ท​ ต​ี่ อ้ งการ​ความ​สะดวก​รวบรัดแ​ ละ​รวดเร็วด​ งั ก​ ล่าว กฎหมาย​จงึ ​
บัญญัติ​ให้​สิทธิ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ที่​จะ​บังคับการ​ช�ำระ​หนี้​ด้วย​ตนเอง​โดย​เอา​ทรัพย์สิน​ที่​ยึด​หน่วง​ออก​ขาย​
ทอด​ตลาด​หกั ใ​ช้ห​ นีแ​้ ก่ต​ น ไม่ต​ อ้ ง​ฟอ้ ง​ขอ​ให้ศ​ าล​บงั คับ​ให้ เช่น​เดียว​กบั ​สทิ ธิ​ของ​ผรู้ บั ​จำ� น�ำ ใน​การ​บงั คับ​จำ� น�ำ​
ตาม ปพพ. มาตรา 764-768 ซึ่ง​ผู้ทรง​สิทธิ​ยึด​หน่วง​อื่นๆ หา​มี​สิทธิ​เอา​ทรัพย์​ที่​ยึด​หน่วง​ออก​ขาย​ไม่ ใน​
เรื่อง​เจ้าส​ �ำนักโ​รงแรม กฎหมาย​บัญญัตไิ​ ว้เ​ป็นพ​ ิเศษ​ใน​มาตรา 679 วรรค​สอง และ​วรรค​สาม​ว่า
“เจ้า​สำ� นัก​จะ​เอา​ทรัพย์สนิ ​ท​ไี่ ด้​ยดึ ​หน่วง​ไว้​เช่น​วา่ ​นนั้ ​ออก​ขาย​ทอด​ตลาด​แล้ว​หกั ​เอา​เงิน​ใช้​จำ� นวน​

ที​่ค้าง​ชำ� ระ​แก่​ตน รวม​ทั้ง​ค่า​ฤชา​ธรรมเนียมและ​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​ขาย​ทอด​ตลาด​นั้นจ​ าก​เงิน​ที่​ขาย​ทรัพย์สิน​
นั้นก​ ็ได้ แต่​ท่าน​มิ​ให้เ​จ้าส​ �ำนัก​ใช้ส​ ิทธิ​ดังว​ ่าน​ ี้ จน​เมื่อ
มส

(1) ทรัพย์สินน​ ั้นต​ ก​อยู่​แก่​ตน​เป็น​เวลา​นาน​ถึงห​ ก​สัปดาห์​ยัง​มิได้ร​ ับช​ �ำระ​หนี้​สิน และ


(2) อย่าง​นอ้ ย​เดือน​หนึง่ ก​ อ่ น​วนั ​ขาย​ทอด​ตลาด ตน​ได้ป​ ระกาศ​โฆษณา​ใน​หนังสือพิมพ์ป​ ระจ�ำ​ทอ้ ง​
ถิ่น​ฉบับ​หนึ่ง​แจ้ง​ความ​จ�ำนง​ที่​จะ​ขาย​ทรัพย์สิน บอก​ลักษณะ​แห่ง​ทรัพย์สิน​ที่​จะ​ขาย​โดย​ย่อ กับ​ถ้า​รู้​ชื่อ​
เจ้าของ ก็​บอก​ด้วย
เมื่อข​ าย​ทอด​ตลาด​หักใ​ ช้​หนี้ด​ ัง​กล่าว​แล้ว มีเ​งินเ​หลืออ​ ยู่อ​ ีกเ​ท่าใด​ต้อง​คืนให้​แก่​เจ้าของ​หรือฝ​ าก​
ไว้ ณ ส�ำนักงาน​ฝาก​ทรัพย์​ตาม​บทบัญญัติ​ใน​มาตรา 331 และ 333”

การ​บงั คับ​ชำ� ระ​หนี​ด้ ว้ ย​ตนเอง​นี้ เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​จะ​ตอ้ ง​เอา​ทรัพย์สนิ ​ทย​ี่ ดึ ​หน่วง​ออก​ขาย​ทอด​ตลาด
คือ ขาย​ทรัพย์สนิ ​โดย​เปิด​โอกาส​ให้​บคุ คล​ทวั่ ไป​เข้า​ส​รู้ าคา ผู​้ส​รู้ าคา​สงู สุด​ยอ่ ม​เป็น​ผ​ซู้ อื้ ไ​ ด้ เมือ่ ​ผ​ทู้ อด​ตลาด​
แสดง​ความ ตกลง​ดว้ ย​เคาะ​ไม้ หรือ​ดว้ ย​กริ ยิ า​อนื่ ​อย่าง​ใด​อย่าง​หนึง่ ​ตาม​จารีต​ประเพณี​ใน​การ​ขาย​ทอด​ตลาด
(ปพพ. มาตรา 509-517) เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​จะ​ขาย​โดย​วิธ​ีอื่น​หรือ​ประมูล​ระหว่าง​กันเอง​หรือเ​อา​มา​แบ่ง​กัน​
หรือ​เอา​เป็น​ของ​ตนเอง​ไม่​ได้
ส่วน​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​จะ​ใช้​สิทธิ​ขาย​ทอด​ตลาด​ได้​ต่อเ​มื่อ​ปฏิบัติ​ตาม​กฎ​เกณฑ์ 2 ข้อ คือ
(1) เจ้าส​ �ำนักโ​รงแรม​ต้อง​รอ​อยูห่​ ก​สัปดาห์น​ ับ​แต่ต​ น​ใช้ส​ ทิ ธิย​ ึด​หน่วง​แล้ว​ยัง​ไม่ไ​ ด้ร​ ับ​ชำ� ระ​หนี้ และ
สธ
(2) เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ตอ้ ง​ประกาศ​โฆษณา​ใน​หนังสือพิมพ์​ประจ�ำ​ทอ้ ง​ถนิ่ ​หนึง่ ​ฉบับก​ อ่ น​วนั ​ขาย​ทอด​
ตลาด​อย่าง​น้อยห​นึ่ง​เดือน​ระบุ​ข้อความ​คือ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-85

(ก) แจ้ง​ความ​จำ� นง​ที่​จะ​ขาย​ทรัพย์สิน


(ข) บอก​ลักษณะ​แห่ง​ทรัพย์สิน​ทจี่​ ะ​ขาย​โดย​ย่อ
(ค) บอก​ชื่อ​เจ้าของ​ทรัพย์สิน (ถ้า​รู้)
เมือ่ เ​จ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​ขาย​ทอด​ตลาด​ได้เ​งินม​ า​แล้ว จะ​ตอ้ ง​เอา​ไป​ทำ​ � อะไร​นนั้ กฎหมาย​บญ ั ญัติ ดังนี้
(1) หัก​เอา​เงิน​ใช้​จำ� นวน​ท​คี่ ้าง​ช�ำระ​แก่​ตน คือ (ก) หนี​เ้ งิน​เพื่อ​การ​พัก​อาศัย (ข) หนี้​เงินเ​พื่อ​การ​


อื่นๆ อัน​ได้​ทำ� ให้​แก่​คน​เดิน​ทาง​และ (ค) หนี้​เงิน​ได้อ​ อก​แทน​ไป
(2) หัก​เอา​เงิน​ใช้​ค่า​ฤชา​ธรรมเนียม (ถ้า​มี) กล่าว​คือ กรณี​วาง​เงิน ณ ส�ำนักงาน​วาง​ทรัพย์ ซึ่ง​

มส
ต้อง​เสีย​คา่ ​ฤชา​ธรรมเนียม​ใน​การ​วาง​ทรัพย์ (ปพพ. มาตรา 338) เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ยอ่ ม​หกั ​เอา​ออก​จาก​เงิน​
ที​ข่ าย​ทอด​ตลาด​ได้
(3) หัก​เอา​เงิน​ใช้​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​ขาย​ทอด​ตลาด (ถ้า​มี) กล่าว​คือ การ​ขาย​ทอด​ตลาดหลักทรัพย์​
ที​ย่ ึดห​ น่วง เจ้าส​ �ำนักโ​รงแรม​อาจ​จัดการ​ขาย​เอง หรือม​ อบ​ให้ส​ �ำนักงาน​ที่​ท�ำ​หน้าทีข่​ าย​ทอด​ตลาด​จัดการ​ให้
ซึ่ง​ใน​การ​นี้​ย่อม​ต้อง​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การ​ขาย​ทอด​ตลาด ดังนี้ เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ย่อม​หัก​เอา​ออก​จาก​เงิน​ที่​
ขาย​ทอด​ตลาด​ได้​เช่น​เดียวกัน
(4) เมือ่ ​หกั ​ใช้​หนี​ด้ งั ​กล่าว​มา​ใน​ขอ้ (1) (2) (3) แล้ว​ม​เี งิน​เหลือ​อยู​อ่ กี ​เท่าใด ต้อง​คนื ให้​แก่​เจ้าของ51
(5) ถ้า​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ไม่​สามารถ​จะ​หยัง่ ​ร​ถู้ งึ ​สทิ ธิ​หรือ​ไม่ร​ตู้ วั ​เจ้าของ​ทรัพย์สนิ ​ได้​แน่นอน​โดย​มใิ ช่​
เป็น​ความ​ผิด​ของ​ตน​หรือ​เจ้าของ​ทรัพย์สิน​บอกปัด​ไม่​ยอมรับ​เงิน​ที่​เหลือ​หรือ​ไม่​สามารถ​จะ​รับ​เงิน​ที่​เหลือ​ไว้

เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ก็​ชอบ​ที่​จะ​วาง​เงิน​ที่​เหลือ ณ ส�ำนักงาน​วาง​ทรัพย์​ประจ�ำ​ต�ำบล​ที่​จะ​ต้อง​ชำ� ระ​หนี้ (ปพพ.
มาตรา 331, 333) ซึง่ ​ปจั จุบนั ​นี้ ส�ำนักงาน​วาง​ทรัพย์​สำ� หรับ​กรุงเทพมหานคร​คอื ส�ำนักงาน​วาง​ทรัพย์​กลาง
มส

กรม​บงั คับ​คดี ส่วน​ตา่ ง​จงั หวัด​คอื ​สำ� นักงาน​บงั คับ​คดี​และ​วาง​ทรัพย์​ภมู ภิ าค​ซงึ่ ​ตงั้ ​อยู​ใ่ น​จงั หวัด​ท​ตี่ งั้ ​สำ� นักงาน​
อธิบดีผ​ ​พู้ ิพากษา​ภาค​ทั้ง 9 ภาค แต่ใ​น​กรณีท​ ี่​สถาน​ที่​จะ​ต้อง​ชำ� ระ​หนี​ไ้ ม่ใช่ท​ ี่​ตั้ง​ส�ำนักงาน​บังคับค​ ดี​และ​วาง​
ทรัพย์ภ​ มู ภิ าค เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​ก​ช็ อบ​ท​จี่ ะ​วาง​เงินท​ ​เี่ หลือต​ อ่ จ​ า่ ศ​ าล​จงั หวัดน​ นั้ จ่าศ​ าล​จงั หวัดก​ ​จ็ ะ​รบั ท​ รัพย์​
นั้น​ไว้​แล้ว​แจ้ง​ให้​ส�ำนักงาน​บังคับ​คดี​และ​วาง​ทรัพย์​ภูมิภาค​ทราบ วิธี​การ​วาง​ทรัพย์​ต้อง​ปฏิบัติ​อย่างไร​นั้น
กระทรวง​ยุติธรรม​ได้​วาง​ระเบียบ​ว่า​ด้วย​การ​วาง​ทรัพย์ ส�ำนักงาน​วาง​ทรัพย์ก​ ลาง​กรม​บังคับ​คดี พ.ศ. 2518
และ​ระเบียบ​ปฏิบตั เ​ิ กีย่ ว​กบั ก​ าร​วาง​ทรัพย์ใ​น​ตา่ ง​จงั หวัดต​ าม น.ว. ที่ 36/2519 ลง​วนั ท​ ี่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.

2519 ขึน้ ​เพือ่ ​วาง​ระเบียบ​เกีย่ ว​กบั ​การ​วาง​ทรัพย์​ไว้​แล้ว52 เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ท​ปี่ ระสงค์​จะ​วาง​ทรัพย์​จงึ ​ไม่​ตอ้ ง​
ร้องขอ​ตอ่ ​ศาล​กำ� หนด​สำ� นักงาน​วาง​ทรัพย์ และ​ตงั้ ​ผ​พู้ ทิ กั ษ์​ทรัพย์​ท​วี่ าง​นนั้ ​ขนึ้ ​ตาม ปพพ. มาตรา 333 วรรค​
ท้าย
สธ
51แต่​ถ้า​นำ�​ทรัพย์สินท​ ยี่​ ึด​หน่วง​ออก​ขาย​ทอด​ตลาด​แล้ว ได้​เงินไ​ ม่​พอ​ชำ�ระ​หนี้ เจ้า​สำ�นัก​โรงแรม​ก​ต็ ้อง​ฟ้อง​คดี​เพื่อ​ให้ศ​ าล​
บังคับ​เอา​จาก​ทรัพย์สิน​อื่น​ของ​คน​เดิน​ทาง​ต่อ​ไป
52 สมชาย ศิริ​บุตร จิระ​วรรณ ศิร​บ ิ ุตร คู่มือต​ ุลาการ​ภาค​ปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​คดี​แพ่ง คดี​อาญา คดี​ล้ม​ละลาย คดี​อาญา​ใน​ศาล​
แขวง คดี​เด็ก​และ​เยาวชน เล่ม 1 กรุงเทพมหานคร แสวง​สุทธิ​การ​พิมพ์ พ.ศ. 2525 น. 134-142.

4-86 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

หน้าที่​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม
เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​มหี น้า​ท​ใี่ ห้​ความ​ปลอดภัย​แก่​ทรัพย์สนิ ​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย ถ้า​ไม่​ปฏิบตั ิ​
ก็​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​รับ​ผิด ซึ่ง​ความ​รับ​ผิด​เช่น​ว่า​นี้​อาจ​แยก​ออก​ได้เ​ป็น 2 ประการ คือ
1. ความ​รับ​ผิด​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์​ไม่​จำ� กัด​จ�ำนวน​เงิน


2. ความ​รับ​ผิด​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์สิน​โดย​จ�ำกัด​จ�ำนวน​เงิน
1. ความ​รับ​ผิด​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์สิน​ไม่​จ�ำกัด​จ�ำนวน​เงิน โดยที่​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ได้​ประโยชน์​
ตอบแทน​เป็น​คา่ ทีพ​่ กั ​จาก​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​จงึ ​ตอ้ ง​มหี น้า​ท​ใี่ ห้​ความ​ปลอดภัย​แก่​ทรัพย์สนิ ซ​ งึ่ ​คน​เดิน​

มส
ทาง​หรือแ​ ขก​อาศัยไ​ ด้พ​ า​มา​หรือเ​อา​มา​ไว้ใ​น​โรงแรม ซึง่ เ​ท่ากับส​ ง่ ม​ อบ​ทรัพย์สนิ น​ นั้ ​ฝาก​ไว้ก​ บั ​เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​
โดย​ปริยาย​แล้ว​นั่นเอง เมื่อ​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​ไป ไม่ว​ ่า​เกิด​จาก​
ครอบครัว​ลูกจ้าง​หรือ​คน​งาน​ของ​เจ้า​ส�ำนัก คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​คน​อื่น​หรือ​ผู้คน​ที่​ไป​มา​เข้า​ออก
โรง​แรมเป็นผ​ ู้​กระท�ำ เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม ก็​ต้อง​รับ​ผิด​ใน​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง โดย​ไม่​จ�ำกัด​จ�ำนวน​เท่าท​ ี่​
เสียห​ าย​จริง ดังท​ ี่มา​ตรา 674 บัญญัตวิ​ ่า “เจ้าส​ �ำนักโ​ รงแรม​หรือโ​ ฮเต็ล หรือส​ ถาน​ที่​อื่นท​ �ำนอง​เช่นว​ ่าน​ ั้น
จะ​ต้อง​รับ​ผิด​เพื่อ​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อย่าง​ใด ๆ อัน​เกิด​แก่​ทรัพย์สินซึ่ง​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​
หาก​ได้​พา​มา” และ​มาตรา 675 วรรค​หนึ่ง​บัญญัติ​ว่า “เจ้า​ส�ำนัก​ต้อง​รับ​ผิด​ใน​การ​ที่​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​
ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​สญ ู หาย​หรือ​บบุ ส​ ลาย​ไป​อย่าง​ใด ๆ แม้​ถงึ ว่า​ความ​สญ ู หาย​หรือ​บบุ ส​ ลาย​จะ​เกิด​ขนึ้ เ​พราะ​
ผู้คน​ไป​มา​เข้า​ออก ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​เช่น​นั้น ก็​คง​ต้อง​รับ​ผิด” ทรัพย์สิน​ที่​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​

มาตรา 674, 675 วรรค​หนึ่ง หมาย​ถึง ทรัพย์สิน​ทั่วๆ ไป เช่น กระเป๋าเดิน​ทาง เสื้อผ้า เครื่อง​กีฬา
ยาน​พาหนะ​และ​อื่นๆ ยกเว้น​ทรัพย์สิน​ที่​บัญญัติ​ไว้​ใน มาตรา 675 วรรค​สอง คือ​เงินทอง​ตรา ธนบัตร
มส

ตั๋ว​เงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้น​กู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือ​ของ​มี​ค่า​อื่นๆ ซึ่งก​ ฎหมาย​บัญญัติ​ความ​รับ​


ผิด​ต่าง​หาก​จาก​ทรัพย์สิน​อื่นๆ อย่างไร​ก็​ดี​การ​ที่​เจ้า​ส�ำนัก​ต้อง​รับ​ผิด​ไม่​จำ� กัด​จำ� นวน​เงิน​นี้ เมื่อ​คน​เดิน​ทาง​
หรือ​แขก​อาศัย​พบเห็น​ทรัพย์สิน​สูญหาย​หรือบุบ​สลาย​ขึ้น​ก็​มีหน้า​ที่​ต้อง​แจ้ง​ความ​ต่อ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ทันที
มิฉ​ ะนั้นเ​จ้าส​ �ำนักย​ ่อม​พ้น​จาก​ความ​รับผ​ ิด​ตาม​มาตรา 676 ซึ่งจ​ ะ​ศึกษา​ต่อไ​ ป
อุทาหรณ์
ฎ. 164/2489 โจทก์ม​ า​พกั ​โรงแรม​เข่ง​นำ​ �้ เฮง ซึง่ ​จำ� เลย​เป็น​ผ​จู้ ดั การ รุง่ ​ขนึ้ ​โจทก์​ไป​ธรุ ะ​นอก​โรงแรม​

ใส่​กุญแจ​ห้อง​ไว้ กลับ​มา​กุญแจ​ก็​เรียบร้อย แต่​เมื่อ​ไข​กุญแจ​เข้าไป จึง​ปรากฏ​ว่า​ของ​ใน​กระเป๋า​เสื่อ​จันทบุรี​
หาย​ไป คือ เสื้อ​เชิ้ต กางเกง น�ำ้ หอม รวม​ราคา 133 บาท ขณะ​นั้น​จ�ำเลย​ไม่​อยู่​ให้​นาย​คี้กิ๊ด​ท�ำการ​แทน
โจทก์​บอก​เรื่อง​แก่​นาย​คี้กิ๊ด​ทันที แต่​นาย​คี้กิ๊ด​ไม่​ยอมรับ​รู้ ดังนี้ เห็น​ว่า​ของ​หาย​ขณะ​โจทก์​ไม่​อยู่ ซึ่ง​เวลา​
เช่น​นั้น​อยูใ่​น​ความ​ดูแล​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม เมื่อ​ของ​หาย​โจทก์​ได้​แจ้ง​แก่​ผู้​แทน​จ�ำเลย​แล้ว จ�ำเลย​ไม่อ​ ยู่ ก็​
ไม่​พ้น​ผิด​ตาม​มาตรา 674, 675 และ​จะ​เถียง​ว่า​โจทก์​ไม่​มอบ​ฝาก​ทรัพย์​แก่​จ�ำเลย​ไม่​ได้ พิพากษา​ให้​จ�ำเลย​
ใช้​ราคา​ทรัพย์ 133 บาท
ฎ. 206-207/2522 โจทก์​คดี​หลัง​เป็น​พนักงาน​ของ​โจทก์​คดี​แรก ได้​น�ำ​กล้อง​ถ่าย​ภาพยนตร์​ราคา
สธ
27,650 บาท​ของ​โจทก์​คดี​แรก และ​น�ำ​กล้อง​ถ่าย​ภาพ​นิ่ง​ของ​ตนเอง​ราคา 6,000 บาท ไป​เก็บ​รักษา​ไว้​ใน​
ห้อง​พกั โ​รงแรม​ฟา้ ส​ าง​ของ​จำ� เลย ซึง่ โ​จทก์ค​ ดีห​ ลังเ​ช่าพ​ กั อ​ าศัย กล้อง​ดงั ก​ ล่าว​หาย​ไป​จาก​หอ้ ง​พกั โ​ ดย​ไม่ใช่​
ความ​ผดิ ​ของ​โจทก์​คดี​หลังใ​น​ขณะ​ท​อี่ อก​ไป​ธรุ ะ​ขา้ ง​นอก​และ​ได้แ​ จ้ง​ให้​พนักงาน​ของ​โรงแรม​จำ� เลย​ทราบ​ทนั ที

สัญญาฝากทรัพย์ 4-87

และ​แจ้ง​ความ​ต่อ​เจ้า​หน้าที่​ต�ำรวจ​ไว้​แล้ว ดัง​นั้น​เห็น​ว่า กล้อง​ถ่าย​ภาพยนตร์ และ​กล้อง​ถ่าย​ภาพ​นิ่ง​เป็น​


เพียง​เครื่อง​มือ​เครื่อง​ใช้​ส�ำหรับ​ผู้​ถ่าย​ภาพยนตร์​หรือ​ผู้​ถ่าย​ภาพ​ใช้​ใน​การ​บันทึก​ภาพ​เป็น​ภาพยนตร์​หรือ​
ภาพ​นิ่ง​เท่านั้น​เอง หา​เป็น​ของ​มี​ค่า​พิเศษ​นอก​เหนือ​ไป​จาก​การ​เป็น​ของใช้​ตาม​ธรรมดา​ไม่ ถึง​แม้ว่า​ราคา​
ทรัพย์น​ นั้ ​จะ​คอ่ น​ขา้ ง​สงู ​ก​ม็ ใิ ช่เ​ป็นข​ อง​ม​คี า่ ต​ าม​ความ​ใน​มาตรา 675 วรรค​สอง จ�ำเลย​จะ​อา้ ง​วา่ ม​ ไิ ด้ฝ​ าก​ของ​
มี​ค่าไ​ ว้​กับโ​รงแรม​ของ​จ�ำเลย จ�ำเลย​จึง​ไม่​รับ​ผิด หรือ​รับ​ผิด​ไม่​เกิน 500 บาท (ปัจจุบัน 5,000 บาท) ตาม​


มาตรา 675 วรรค​สอง​หา​ได้​ไม่ พิพากษา​ให้​จำ� เลย​ทั้ง​สอง​คดี​ใช้​ค่า​สินไหม​ทดแทน​แก่​โจทก์​คดี​แรก 27,650
บาท และ​แก่​โจทก์​คดีห​ ลัง 6,000 บาท

มส
2. ความ​รับ​ผิด​ชดใช้​ราคา​ทรัพย์สิน​โดย​จ�ำกัด​จ�ำนวน​เงิน โดยทีท​่ รัพย์สนิ บ​ าง​อย่าง คือ เงินท​ อง​
ตรา ธนบัตร ตั๋ว​เงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้น​กู้ ประทวนสินค้า อัญมณี​ของ​ม​ีค่า​อื่นๆ อาจ​ม​ีราคา​สูง​มาก
เป็น​ของ​ที่​ต้อง​เก็บ​รักษา​ไว้​อย่าง​มั่นคง​แข็ง​แรง​และ​ต้อง​ใช้​ความ​ระมัดระวัง​มากกว่า​ทรัพย์สิน​ธรรมดา หาก​
เกิด​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​ขึ้น​และ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ต้อง​รับ​ผิด​เท่า​ที่​เกิด​ความ​เสีย​หาย​แท้จริง​แล้ว กิจการ​
โรงแรม โฮเต็ ล หรื อ ​ส ถาน​ที่ ​อื่ น ​ท�ำ นอง​เช่ น ​ว่า ​นั้ น จะ​ต้อ ง​ล้ ม​ละลาย​เ นื่อ งจาก​ไ ม่มี ​เงิ น ​ช ดใช้ ​ก็​เ ป็น​ได้
ทั้ง​เป็นการ​บัญญัติ​ให้​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​รับ​ผิด​เกิน​ควร​อีก​ด้วย กฎหมาย​จึง​จ�ำกัด​ความ​รับ​ผิด​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​
โรงแรม​ไว้​เพียงห้า​พัน​บาท แต่​ถ้า​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ได้​ฝาก​ไว้​แก่​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​และ​ได้​บอก​ราคา​
แห่งข​ อง​นนั้ ชัดแ​ จ้ง เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​ยอ่ ม​ตอ้ ง​ใช้ค​ วาม​ระมัดระวังม​ าก​ขนึ้ แ​ ละ​เก็บร​ กั ษา​ของ​นนั้ ไ​ ว้ใ​น​ท​มี่ นั่ คง​
แข็งแ​ รง เช่น เก็บ​ไว้​ใน​ตู้​นิรภัย เป็นต้น ดังนี้ เมื่อ​เกิด​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​ขึ้น เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​จึง​จะ​ต้อง​

รับ​ผิด​ตาม​ราคา​แห่ง​ของ​ที่​รับ​ฝาก​ไว้ เหตุ​นี้​มาตรา 675 วรรค​สอง​จึง​บัญญัติ​ว่า “ความ​รับ​ผิด​นี้ (ความ​
รับ​ผิด​ใน​การ​ที่​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย) ถ้า​เกี่ยว​ด้วย​เงิน​ทอง​ตรา
มส

ธนบัตร ตั๋ว​เงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้น​กู้ ประทวนสินค้า อัญมณี หรือ​ของ​มี​ค่า​อื่น ๆ ให้จ�ำกัด​ไว้​เพียง​


ห้าพ​ ันบ​ าท เว้นแ​ ต่จ​ ะ​ได้ฝ​ าก​ของ​มีค​ ่าเ​ช่น​นี้ไ​ ว้แ​ ก่เ​จ้าส​ �ำนัก​และ​ได้บ​ อก​ราคา​แห่งข​ อง​นั้น​ชัดเจน”
ทรัพย์สิน​ที่​จำ� กัด​จ�ำนวน​เงิน​ความ​รับ​ผิด​เพียง 5,000 บาท ได้แก่
2.1 เงิน​ทอง​ตรา ธนบัตร (currency notes) เงิน​ทอง​ตรา​คือ​เหรียญ​กษาปณ์​ท​ี่ทำ​ � ด้วย​ทอง​
หรือ​เงิน ส่วน​ธนบัตร​คือบ​ ัตร​ท​ใี่ ช้​แทน​เงินต​ รา ทั้งเ​งินท​ อง​ตรา​และ​ธนบัตร​รวม​เรียก​ว่า เงินต​ รา ซึ่งเ​ป็นว​ ัตถุ​
ที่​ช�ำระ​หนี้​ได้​ตาม​กฎหมาย ดัง​ที่​ศึกษา​มา​แล้ว​ใน​เรื่อง​ที่ 4.2.1 การ​ฝาก​เงิน เงิน​ตรา​ต่าง​ประเทศ​ไม่​อยู่​ใน​
ข้อ​นี้ แต่​เข้า​อยู​ใ่ น​ข้อ 2.8 “ของ​ม​ีค่า​อื่น”

ตั๋ว​สัญญา​ใช้​เงิน และ​เช็ค

2.2 ตัว๋ ​เงิน (bills) ตาม​ความ​หมาย​แห่ง (ปพพ. มาตรา 898) มี​สาม​ประเภท​คอื ตัว๋ แ​ ลก​เงิน

2.3 พันธบัตร (bonds) คือ​เอกสาร​ที่​ออก​ให้​ไว้​แสดง​ถึง​จ�ำนวน​มูล​หนี้​แก่​ผู้​ถือ​พันธบัตร​นั้น


เช่น พันธบัตร​เงินก​ ข​ู้ อง​รฐั บาล​ท​อี่ อก​กเ​ู้ งินจ​ าก​ประชาชน​ทวั่ ไป ใน​พนั ธบัตร​นนั้ แสดง​ยอด​จำ� นวน​เงินก​ พ​ู้ ร้อม​
กับ​อตั รา​ดอกเบีย้ พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้​ความ​หมาย​ของ​พนั ธบัตร​วา่ เอกสาร​
ออก​โดย​รัฐ​หรือ​นิติบุคคล แสดง​การ​เป็น​หนี​ร้ ะยะ​ยาว​ที่​ก​จู้ าก​บุคคล​ทั่วไป ซึ่งพ​ ันธบัตร​จะ​กำ� หนด​ระยะ​เวลา​
สธ
และ​ราคา​ไว้
2.4 ใบหุ้น (shares) คือ​เอกสาร​ใบ​สำ� คัญ​ท​บี่ ริษทั ​ออก​ให้​แก่​ผ​ถู้ อื ​หนุ้ ​ใน​บริษทั ​นนั้ ​แสดง​จำ� นวน​
เงิน​ที่​ถือ​หุ้น​ไว้​อาจ​เป็นใ​บหุ้นช​ นิด​ระบุช​ ื่อผ​ ู้​ถือ​หุ้น หรือใ​บหุ้น​ออก​ให้​แก่​ผถู้​ ือ (ปพพ. มาตรา 1127, 1128)

4-88 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2.5 ใบหุ้น​กู้ (debentures) คือ​เอกสาร​ใบ​สำ� คัญท​ ​บี่ ริษทั ​ออก​ให้ไ​ ว้แ​ ก่​ผ​ทู้ ใ​ี่ ห้​บริษทั ก​ เ​ู้ งิน แสดง​
ยอด​จ�ำนวน​เงินท​ บี่​ ริษัทจ​ ะ​กู้ ยอด​จ�ำนวน​หุ้น​กู้ มูลค่าห​ ุ้นก​ หู้​ ุ้น​หนึ่งเ​ท่าใด อัตรา​ดอกเบี้ย วิธไี​ ถ่ค​ ืนหุ้น​กแู้​ ละ​
ก�ำหนด​เวลา​ทจี่​ ะ​ต้อง​ไถ่​คืน (ปัจจุบัน บริษัทเอกชน จะออกหุ้นกู้ไม่ได้ (ปพพ. มาตรา 1229))
2.6 ประทวนสิ น ค้ า (warrents) คือ ​เ อกสาร​ซึ่ ง​อ อก​จ าก​ทะเบี ยน​มี ​ต้ น​ขั้ว ​เฉพาะ​ก าร​ที่​
นาย​คลัง​สินค้า​ออก​ให้​แก่​ผ​ฝู้ าก​สินค้า (ปพพ. มาตรา 775, 778)


2.7 อัญมณี (jewels) ตาม​พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้​ความ​หมาย​
ว่าร​ ตั น​ชาติท​ เ​ี่ จียระไน​แล้ว แก้วม​ ณีอ​ นื่ ๆ นอกจาก​เพชร​พลอย พจนานุกรม​ไทย​ฉบับข​ อง​หา้ ง​หนุ้ ส​ ว่ น​จำ� กัด

มส
บ�ำรุงส​ าส์นจ​ �ำหน่าย ให้ค​ วาม​หมาย​ว่า เพชร​พลอย​และ​แก้ว​แหวน​มี​ค่า
2.8 ของ​มี​ค่า​อื่น (other valuables) คือ​ทรัพย์สิน​ที่​มี​คุณค่า​อัน​ม​ีลักษณะ​พิเศษ​ทำ� นอง​เดียว​
กับ​เงิน​ทอง​ตรา​ ธนบัตร ตั๋ว​เงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้น​กู้ ประทวนสินค้า อัญมณี นั่นเอง เช่น ธนาคาร​
บัตร (Bank note) (เทียบ​มาตรา 620) หรือ​เงิน​ตรา​ต่าง​ประเทศ เป็นต้น
ของ​มี​ค่าที่​บัญญัต​ิไว้​ใน​มาตรา 675 วรรค​สอง​นี้ ถ้า​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​เก็บ​เอา​ไว้​เอง
หาก​เกิด​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​ไป เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​รับ​ผิด​จ�ำกัด​เพียง​ห้า​พัน​บาท​เท่านั้น ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ของ​ม​ี
ค่าก​ ​สี่ งิ่ ก​ ต็ าม หรือข​ อง​ม​คี า่ เ​หล่าน​ นั้ จ​ ะ​ม​รี าคา​มหาศาล​เท่าใด​กต็ าม แต่ถ​ า้ ค​ น​เดินท​ าง​หรือแ​ ขก​อาศัยไ​ ด้ฝ​ าก​
ไว้แ​ ก่เ​จ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​และ​บอก​ราคา​แห่งข​ อง​นนั้ ​ชดั ​แจ้งแ​ ล้ว ถ้าเ​กิดส​ ญ ู หาย​ไป​เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​ก​ต็ อ้ ง​รบั ​ผดิ ​
ตาม​ราคา​ท​บี่ อก​ไว้ แต่ถ​ า้ เ​กิดบ​ บุ ส​ ลาย​ไป​ก็ รับผ​ ดิ ช​ ดใช้ค​ า่ ส​ นิ ไหม​ทดแทน​เท่าท​ ​บี่ บุ ส​ ลาย​นนั้ ต​ าม​ความ​เป็น​

จริง ไม่ใช่​จำ� กัด​เพียง​ห้า​พัน​บาท
อุทาหรณ์
มส

ฎ. 357/2502 สินค้า​ผ้า 1 หีบ เป็น​สิ่งของ​ธรรมดา​สามัญ​ทั่วๆ ไป ไม่​ปรากฏ​ว่า​เป็น​ของ​ม​ี


ค่า​พิ เ ศษ​อย่างไร จะ​ถือว่า​เป็น​ข อง​มี​ค่ า​ตาม​ค วาม​หมาย​ใน​มาตรา 620 ไม่ ​ได้ (มาตรา 620 ใน​เรื่อง​รับ​
ขน​ของ​ม​ขี ้อความ​เช่น​เดียว​กับ​มาตรา 675 วรรค​สอง จึงเ​ทียบ​เคียง​ได้)
ฎ. 997-998/2517 เครือ่ งพิมพ์ด​ ดี ช​ นิดก​ ระเป๋าห​ วิ้ ราคา 2,700 บาท และ​เครือ่ ง​บวก​เลข​ชนิด​
โยก​ดว้ ย​มอื ราคา 24,800 บาท ไม่เ​ป็น “ของ​มค​ี า่ ​อนื่ ๆ” ตาม​มาตรา 675 วรรค​สอง เมือ่ ผ​ ​เู้ ดิน​ทาง​นำ​ � มายัง​
โรงแรม​แล้ว​เกิด​หาย​ไป​จาก​ห้อง​พัก เจ้าส​ �ำนักโ​รงแรม​ก​ต็ ้อง​รับ​ผิด​ชดใช้​เต็ม​ราคา

มิใช่​ความ​ผิด​ของ​โจทก์ ปัญหา​มี​ว่า รถ​จักรยานยนต์​ของ​โจทก์​ก็​เป็น​ของ​มี​ค่า​ตาม​ความ​หมาย​ของ​มาตรา



ฎ. 824/2519 โจทก์​เข้า​พัก​ใน​โรงแรม​ซึ่ง​จ�ำเลย​เป็น​เจ้า​ส�ำนัก และ​น�ำ​รถ​จักรยานยนต์​ราคา
12,000 บาท เข้าเ​ก็บไ​ ว้ใ​น​ท​เี่ ก็บร​ ถ​ของ​โรงแรม โดย​บอก​ฝาก​ไว้ก​ บั พ​ นักงาน​โรงแรม รถ​ดงั ก​ ล่าว​หาย​ไป​โดย​

675 วรรค​สอง​หรือ​ไม่​เห็น​ว่า ค�ำ​ว่า “ของ​มี​ค่า” ตาม​มาตรา 675 วรรค​สอง หมาย​ถึง ทรัพย์สิน​ที่​มี​คุณค่า​


อัน​มี​ลักษณะ​พิเศษ​ท�ำนอง​เดียว​กับ​เงิน​ทอง​ตรา ธนบัตร ตั๋ว​เงิน ฯลฯ รถ​จักรยานยนต์​ของ​โจทก์​เป็น​เพียง​
ทรัพย์สิน​ตาม​ธรรมดา​ทั่วๆ ไป​เท่านั้น จึง​ถือ​ไม่​ได้​ว่า​เป็น​ของ​มี​ค่า​ตาม​กฎหมาย โจทก์​ไม่​จ�ำ​ต้อง​บอก​กล่าว​
ราคา​ชัด​แจ้ง​แก่​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม จ�ำเลย​จะ​รับ​ผิด​เพียง 500 บาท (ปัจจุบัน 5,000 บาท) ตาม​มาตรา 675
สธ
วรรค​สอง​ไม่​ได้ คง​ต้อง​รับ​ผิด​ตาม​มาตรา 674, 675 วรรค​หนึ่ง พิพากษา​ให้​จ�ำเลย​ใช้​ราคา​จักรยานยนต์
12,000 บาท​พร้อม​ด้วย​ดอกเบี้ย

สัญญาฝากทรัพย์ 4-89

ตาม​คำ​ � พพิ ากษา​ศาล​ฎกี า​นี้ คน​เดิน​ทาง​พา​รถ​จกั รยานยนต์เ​ข้า​จอด​ใน​โรงแรม ถ้าร​ ถ​สญ ู หาย​


ไป เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ก็​ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​ราคา​รถ​ให้​โดย​ไม่​ต้อง​พิสูจน์​ว่า มี​การ​ฝาก​รถ​แก่​ทาง​โรงแรม​หรือ​ไม่
เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​จะ​อ้าง​ว่า​คน​เดิน​ทาง​ฝาก​แก่​คน​ยาม ซึ่ง​ไม่มี​หน้าที่​เฝ้า​รักษา​ทรัพย์​หรือ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​
ไม่ไ​ ด้ล​ กั ​เอา​ไป จึงไ​ ม่ต​ อ้ ง​ชดใช้ร​ าคา​รถ​ไม่ไ​ ด้ และ​เมือ่ ว​ นิ จิ ฉัยว​ า่ ร​ ถ​จกั รยานยนต์ไ​ ม่ใช่ “ของ​ม​คี า่ ” เจ้าส​ ำ� นัก​
โรงแรม​ก​ต็ อ้ ง​รบั ​ผดิ ​ใช้​เท่ากับ​ราคา​รถ (เช่น​เดียว​กบั ฎ. 2196/2523) นอกจาก​นี้ รถยนต์​ทค​ี่ น​เดิน​ทาง​นำ​ � มา​


จอด​ใน​โรงแรม​แล้ว​หาย​ไป​ทาง​โรงแรม​ต้อง​รับ​ผิด
ฎ. 206-7/2522 กล้อง​ถ่าย​ภาพยนตร์ และ​กล้อง​ถ่าย​ภาพ​นิ่ง ไม่ใช่​ของ​มี​ค่า​นอก​เหนือ​จาก​

มส
ของใช้​ธรรมดา แม้​ราคา​สูง​ก​ไ็ ม่​อยู​ใ่ น​ความ​หมาย​ของ​มาตรา 675 วรรค​สอง
ฎ. 289/2523 ของ​มี​ค่า​ตาม​ความ​หมาย​ใน​มาตรา 675 ไม่​รวม​ถึง​ปืน​และ​กระสุน​ปืน ซึ่ง​มิใช่​
ของ​มคี​ ่าพ​ ิเศษ​นอก​เหนือ​ไป​จาก​ทรัพย์สิน​ธรรมดา
ฎ. 1370/2526 โจทก์​มา​พัก​โรงแรม​ของ​จ�ำเลย​และ​น�ำ​รถยนต์​จอด​ไว้​ที่​โรงรถ​หรือ​ลาน​จอด​รถ​
ใน​บริเวณ​โรงแรม​โดย​ลอ็ ค​กญ ุ แจ​ประตู​รถ​ไว้ ต่อ​มา​รถ​สญ
ทราบ​ทันที จ�ำเลย​ก​ต็ ้อง​รับ​ผิด​ต่อ​โจทก์
ู หาย​โดย​ถกู ​คนร้าย​ลกั ​ไป และ​โจทก์​ได้​แจ้ง​ให้​จำ� เลย​

ฎ. 727/2536 โจทก์​เข้า​พัก​ใน​โรงแรม​ได้​น�ำ​รถยนต์​ไป​จอด​ไว้​ที่​ถนน​สาธารณะ​หน้า​โรงแรม
​ตาม​ที่​พนักงาน​โรงแรม​บอก​ให้​จอด เมื่อ​รถยนต์​ของ​โจทก์​หาย​ไป จ�ำเลย​ที่ 2 ใน​ฐานะ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​จึง​
ต้อง​รับ​ผิด​ต่อโ​จทก์ต​ าม ปพพ. มาตรา 674

ฎ. 7790/2544 ลาน​จอด​รถ​เป็น​ของ​จ�ำเลย​จัด​ให้​ผู้​มา​พัก​โรงแรม​ของ​จ�ำเลย​ได้​จอด​รถ น.
ซึ่ง​เป็น​คน​เดิน​ทาง​จึง​มี​สิทธิ​โดย​ชอบ​ธรรม​ที่​จะ​น�ำ​รถยนต์​เข้าไป​จอด​ภายใน​บริเวณ​ลาน​จอด​รถ​ดัง​กล่าว​
มส

ซึง่ ​อยู​ใ่ น​ความ​รบั ​ผดิ ​ชอบ​ของ​จำ� เลย ส่วน​ท​จี่ ำ� เลย​ปดิ ​ประกาศ​ไม่​รบั ​ผดิ ​ชอบ​หาก​เกิดก​ าร​สญ ู หาย​ของ​ทรัพย์สนิ
ก็​ไม่​ปรากฏ​ว่า น. ได้​ตกลง​ด้วย​โดย​ชัด​แจ้ง​ใน​การ​ยกเว้น​ความ​รับ​ผิด​ตาม​ประกาศ​ดัง​กล่าว กรณี​จึง​ไม่​ต้อง​
ด้วย​ข้อ​ยกเว้น​ความ​รับ​ผิด​ ตาม ปพพ. มาตรา 677 และ​ใน​การ​จอด​รถ น. ได้ป​ ิดล​ ็อก​ประตู​รถ​ทุก​บาน​แล้ว​
เพราะ​เป็น​ระบบ​เซ็นทรัล​ล็อก ย่อม​ถือ​ได้​ว่า น. มิได้​ประมาท​เลินเล่อ​เป็น​เหตุ​ให้​รถยนต์​สูญหาย กรณี​
ไม่​ต้อง​ด้วย​ข้อ​ยกเว้น​ความ​รับ​ผิด​ตาม​มาตรา 675 วรรค​สาม
รถยนต์เ​ป็นเ​พียง​ทรัพย์สินธ​ รรมดา​ทั่วๆ ไป เท่านั้น ถึง​แม้​ราคา​จะ​ค่อน​ข้าง​สูง​ก็ตาม ยัง​ถือ​
ไม่​ได้​ม​ลี ักษณะ​เป็นข​ อง​มี​ค่า​ตาม​มาตรา 675 วรรค​สอง น. ไม่​จ�ำ​ต้อง​แจ้ง​ฝาก​รถยนต์​ไว้​ต่อ​จ�ำเลย

ข้อ​ยกเว้น​ความ​รับ​ผิด​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม

เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ที่​มีหน้า​ที่​รับ​ผิด​ต่อ​ทรัพย์สิน ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ไม่​ว่า​จ�ำกัด​จ�ำนวน​
เงิน​หา้ ​พนั ​บาท​หรือ​ไม่​จำ� กัด​จำ� นวน​เงิน​กต็ าม ก็​ม​ขี อ้ ​ยกเว้น​ไม่​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​ใน​กรณี​ตอ่ ​ไป​น​ซี้ งึ่ ​แยก​ได้ 5 ประการ​
คือ
1. ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​เพื่อ​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อัน​เกิด​แต่​เหตุสุดวิสัย
สธ
2. ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​เพื่อ​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อัน​เกิด​แต่​สภาพ​แห่ง​ทรัพย์สิน​นั้น
3. ไม่​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​เพือ่ ​ความ​สญ
ู หาย​หรือ​บบุ ​สลาย​อนั ​เกิด​แต่​ความ​ผดิ ​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย
หรือ​บริวาร​ของ​เขา​หรือ​บุคคล​ซึ่ง​เขา​ได้​ต้อนรับ

4-90 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

4. ไม่​ต้อง​รับ​ผิด เมื่อ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​พบเห็น​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​ไม่​แจ้ง​ความ​
ต่อ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ทันที
5. ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​เมื่อ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ได้​ตกลง​ด้วย​ชัด​แจ้ง​ใน​ข้อความ​ยกเว้น​หรือ​จ�ำกัด​
ความ​รับ​ผิด
1. ไม่​ต้ อ ง​รับ​ผิด​เพื่อ​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อัน​เกิด​แต่​เหตุสุดวิสัย “เหตุสุดวิสัย” นั้น


หมายความ​วา่ เ​หตุใ​ดๆ อันจ​ ะ​เกิดข​ นึ้ ก​ ด​็ จ​ี ะ​มผ​ี ล​พบิ ตั ก​ิ ด​็ ี ไม่มใ​ี คร​จะ​อาจ​ปอ้ งกันไ​ ด้ แม้ท​ งั้ บ​ คุ คล​ผต​ู้ อ้ ง​ประสบ​
หรือใ​กล้จ​ ะ​ตอ้ ง​ประสบ​เหตุน​ นั้ จะ​ได้จ​ ดั การ​ระมัดระวังต​ าม​สมควร อันพ​ งึ ​คาด​หมาย​ได้จ​ าก​บคุ คล​นนั้ ใ​น​ฐานะ​

มส
เช่น​นั้น (ปพพ. มาตรา 8) เหตุสุดวิสัย ก็​เป็น​เรื่อง​ที่​การ​ช�ำระ​หนี้​กลาย​เป็น​พ้น​วิสัย​เพราะ​พฤติการณ์​ที่​
ลูก​หนี้​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ชอบ​อย่าง​หนึ่ง ซึ่ง​ใน​เรื่อง​หนี้​ทั่วไป ลูก​หนี้​เป็น​อัน​หลุด​พ้น​จาก​การ​ช�ำระ​หนี้​นั้น​เหตุ​นี้​
มาตรา 675 วรรค​ท้าย จึง​บัญญัติ​ว่า “แต่​เจ้า​ส�ำนัก​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​เพื่อ​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อัน​เกิด​
แต่เ​หตุสุดวิสัย...” ด้วย เช่น โรงแรม​ทพี่ กั ​ถกู ร​ ะเบิด​ ภัย​จาก​สงคราม ฟ้าผ่า แผ่น​ดนิ ​ไหว ลม​พายุ53 น�ำ​
54
ฉับ​พลัน คลื่น​ลมผิด​ปกติ ฝน​ตก​ผิด​ปกติ​ติดต่อ​กัน​หลาย​วัน การ​ชิง​ทรัพย์​ปล้น​ทรัพย์ เพลิง​ไหม้​จาก​ที่​
อื่น56 ท�ำให้​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ที่​พา​มา​หรือ​เอา​ไว้​ใน​โรงแรม โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​อื่น​
ท�ำนอง​เช่น​ว่า​นั้น​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย เจ้า​ส�ำนัก​ย่อม​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด
55
้ ทว่ ม​

2. ไม่ต​ อ้ ง​รบั ​ผดิ ​เพือ่ ​ความ​สญ ู หาย​หรือ​บบุ ​สลาย​อนั ​เกิด​แต่​สภาพ​แห่ง​ทรัพย์สนิ ​นนั้ ค�ำ​วา่ “สภาพ​
แห่ง ​ท รัพย์ สิ น (the nature of the property) หมายความ​ว่ า ภาวะ​แ ห่ ง ​ท รั พ ย์ สิ น​หรือ​ธรรมชาติ​

แห่ง​ทรัพย์สิน หรือ​ความ​เป็น​เอง​หรือ​ลักษณะ​ใน​ตัว​เอง​ของ​ทรัพย์สิน​นั่นเอง ดัง​นั้น สภาพ​แห่ง​ทรัพย์สิน​ที่​
สูญหาย​หรือบ​ บุ ส​ ลาย​นี้ ก็ห​ มายความ​วา่ ท​ รัพย์สนิ น​ นั้ เ​สือ่ ม​เสียไ​ ป​ตาม​ภาวะ​หรือธ​ รรมชาติห​ รือค​ วาม​เป็นไ​ ป​
เอง​ของ​ทรัพย์สนิ น​ นั้ และ​เป็นเ​รือ่ ง​ท​กี่ าร​ชำ� ระ​หนีก​้ ลาย​เป็นพ​ น้ ว​ สิ ยั เพราะ​พฤติการณ์ท​ ​ลี่ กู ห​ นีไ​้ ม่ต​ อ้ ง​รบั ผ​ ดิ ​
มส

ชอบ​อย่าง​หนึง่ เช่นเ​ดียว​กบั ท​ ​บี่ ญ ั ญัตไ​ิ ว้ใ​น​เรือ่ ง​รบั ข​ น​ของ​ตาม​มาตรา 616 เก็บข​ อง​ใน​คลังส​ นิ ค้าต​ าม​มาตรา
772 ส่วน​ใน​เรื่องเจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​บัญญัติ​ไว้​ใน​มาตรา 675 วรรค​สาม​ว่า “แต่​เจ้า​ส�ำนัก​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​เพื่อ​
ความ​สูญหาย​หรือบ​ ุบส​ ลาย​อันเ​กิดแ​ ต่ส​ ภาพ​แห่งท​ รัพย์สินน​ ั้น....” เช่น คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัยน​ �ำ​องุน่
ทุเรียน หรือ​ผล​ไม้​อื่น​หรือ​ของสด​ของ​เสีย​ได้57 เป็นต้น​ว่า ปลา​สด กุ้ง​สด ของ​ทะเล เนื้อ​สัตว์ ไข่​มา​ไว้​ใน​
โรงแรม ทรัพย์สิน​ดัง​กล่าว​เกิดเ​น่าเ​สียห​ าย​ตาม​สภาพ​ดังนี้​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด

53

ฎ. 2140/2520
54 ฎ. 565/2497 ฎ. 1371/2524
55 ฎ. 2378/2523 สินค้า​สูญหาย​ไป​เพราะ​ถูก​คนร้าย​ใช้​อาวุธ​ชิง​เอา​ไป เป็น​เหตุสุดวิสัยท​ คี่​ น​ขับ​จะ​ป้องกัน​ขัดข​ วาง​ได้ ผู้​
สธ
ขนส่งจ​ ึง​ไม่​ต้อง รับ​ผิด​ตาม​มาตรา 616 (มาตรา 616 บัญญัต​ยิ กเว้น​ความ​รับผ​ ิด​เช่น​เดียว​กับ​มาตรา 675 วรรค​ท้าย จึงเ​ทียบ​เคียง​
กัน​ได้)
56 ฎ. 575/2510 ฎ. 830/2519
57 ดู​ถ้อยค�ำ​ใน ปพพ. มาตรา 631 วรรค​สาม ปวพ. มาตรา 308 วรรค​สอง

สัญญาฝากทรัพย์ 4-91

3. ไม่ ​ต้อง​รั บ​ผิด​เพื่อ​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​อัน​เกิด​แต่​ความ​ผิด​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​


แขก​อ าศั ย หรือ ​บ ริวาร​ของ​เขา​ห รือ​บุ ค คล​ซึ่ง​เ ขา​ได้​ต้ อนรับ ใน​เรื่อ ง​ความ​รับ​ผิด​ข อง​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​
กฎหมาย​บัญญั ติ ​ย กเว้ น​ความ​รับ ​ผิด​ของ​เจ้า ​สำ� นัก​โรงแรม​โดย​ทั่ว ไป​เสีย ​เ ลย ไม่​ต้อง​น�ำ​พฤติก ารณ์​
มา​คำ� นึง​ว่า ความ​เสีย​หาย​นั้น​ได้​เกิด​ขึ้น​เพราะ​ฝ่าย​คน​เดิน​ทาง​หรือ​ฝ่าย​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​เป็น​ผู้​ก่อ​ยิ่ง​หย่อน​
กว่า​กัน​เช่น​เดียว​กับ​ที่​บัญญัติ​ใน​เรื่อง​รับ​ขน​ของ​ ตาม ปพพ. มาตรา 616 เก็บ​ของ​ใน​คลัง​สินค้า​ตาม​มาตรา


772 โดย​ใ น​เรื่ อ งเจ้ า ​ส�ำ นัก ​โรงแรม กฎหมาย​บั ญ ญั ติ ​ยกเว้น ​ไว้​ใน ปพพ. มาตรา 675 วรรค​ส าม​ว่ า
“แต่ ​เ จ้ า ​ส�ำนั ก ​ไ ม่ ​ต้ อ ง​รับ ​ผิด ​เ พื่ อ ​ค วาม​สู ญ หาย​หรื อ ​บุ บ ​สลาย​อั น ​เกิด ​แ ต่ ​เหตุสุ ด วิ สั ย หรือแต่สภาพ

มส
แห่งทรัพย์สินนั้นหรือแต่ ความ​ผิดข​ อง​คน​เดิน​ทาง​หรือแ​ ขก​อาศัยผ​ ู้นั้นเองหรือบ​ ริวาร​ของ​เขา หรือบ​ ุคคล​
ซึ่งเ​ขา​ได้​ต้อนรับ”
“ความ​ผิด​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย” หมายความ​ว่า เรื่อง​ไม่​ถูก​ต้อง​หรือ​ผิด​พลาด​ของ​คน​
เดินท​ าง​หรือแ​ ขก​อาศัย นอกจาก​นี้​ความ​ประมาท​เลินเล่อ ไม่​ใช้ค​ วาม​ระมัดระวังอ​ ย่าง​วิญญูชน ก็ถ​ ือว่าเ​ป็น​
ความ​ผิดอ​ ย่าง​หนึ่งด​ ้วย
“บริวาร​ของ​เขา”58 หมายความ​ว่า ผู​แ้ วดล้อม​หรือ​ผู้​ติดตาม​ของ​คน​เดินท​ าง​หรือ​แขก​อาศัย
“บุคคล​ซึ่ง​เขา​ได้​ต้อนรับ”59 หมายความ​ว่า บุคคล​ที่​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย ได้​รับรอง​หรือ​
รับแขก
อุทาหรณ์

กิจ​ พัก​อยู่​ใน​โรงแรม​เข่ง​เฮง​แล้ว​ออก​จาก​ห้อง​พัก​โดย​ลืม​ใส่​กุญแจ​ห้อง เป็น​เหตุ​ให้​คนร้าย​เข้า​ลัก​
ทรัพย์​ใน​ห้อง​กิจ ดังนี้ เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​เข่ง​เฮง​ไม่ต​ ้อง​รับ​ผิด​ชดใช้ค​ ่าเ​สีย​หาย​แก่​กิจ
หนึง่ พา​เด็ก​รบั ​ใช้​มา​พกั ​แรม​ใน​โรงแรม​แล้ว​ออก​จาก​หอ้ ง​ไป​ธรุ ะ กลับ​มา​ปรากฏ​วา่ ​เด็ก​รบั ใ​ช้​หาย​ไป​
มส

พร้อม​กับเ​สื้อผ้า​ของ​หนึ่ง ดังนี้ เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​ค่า​เสื้อผ้า​ให้


อาทิตย์ พัก​แรม​อยู่​ใน​โรงแรม​ภูเก็ต ตก​ดึก​พา​นางสาว​ราตรี​มา​ค้าง​ด้วย รุ่ง​เช้า​ปรากฏ​ว่า​นางสาว​
ราตรี​หาย​ไป​และ​ลกั ​เอา​แหวน​เพชร นาฬิกา​ขอ้ ​มอื ​ของ​อาทิตย์​ไป​ดงั นี้ เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ภเู ก็ต ไม่​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​
ชดใช้​ทรัพย์สิน​ท​สี่ ูญหาย​แก่อ​ าทิตย์
อุทาหรณ์

ฎ. 724/2521 โจทก์​พกั ใ​น​โรงแรม​ระยอง​โอ​ตา​น​ ี่ จ�ำเลย​ที่ 1 คน​ขบั ​รถ​ของ​โจทก์ไ​ ด้ม​ อบ​กญ
ให้ล​ กู จ้าง​จำ� เลย​ที่ 1 ไป​เพือ่ เ​ลือ่ น​รถ​โจทก์ท​ ​ขี่ วาง​ทาง​รถ​คนั ​อนื่ เ​ป็นการ​ท​ลี่ กู จ้าง​จำ� เลย​รบั ​กญ
หน้าที่​ใน​กิจการ​โรงแรม​ของ​จำ� เลย​ที่ 1 แต่​ลูกจ้าง​จ�ำเลย​กลับ​ขับ​รถยนต์​ของ​โจก​ท์​ออก​จาก​โรงแรม​ไป​จน​
เกิด​อุบัติเหตุ​รถ​โจทก์​พลิก​คว�่ำ​ได้​รับ​ความ​เสีย​หาย จ�ำเลย​ที่ 1 จึง​ต้อง​รับ​ผิด​ใช้​ค่า​เสีย​หาย​พร้อม​ดอกเบี้ย
ส่วน​การ​ที่​คน​ขับ​รถ​บริวาร​ของ​โจทก์​มอบ​กุญแจ​รถ​ให้​ลูกจ้าง​จ�ำเลย​ที่ 1 ไป​นี้​มิใช่​ความ​ผิด​ของ​บริวาร​ของ​
ุ แจ​รถยนต์​
ุ แจ​รถ​ไป​ปฏิบตั ​ิ

โจทก์
สธ
58 พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
59 ค�ำ​ว่า “ต้อนรับ” พจนานุกรม​ฉบับ​ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้​ความ​หมาย​ว่า รับรอง รับแขก

4-92 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

4. ไม่​ต้อง​รับ​ผิด​เมื่อ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​พบเห็น​ความ​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​ไม่​แจ้ง​ความ​
ต่อ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ทันที ใน​เรื่อง​ผล​ของ​หนี้​โดย​ทั่วไป ถ้า​เป็น​ความ​ผิด​ของ​ฝ่าย​ผู้​ที่​เสีย​หาย​จะ​ม​ีแต่​เพียง​
ละเลย​ไม่​เตือน​ลกู ​หนี​ใ้ ห้​รสู้ กึ ​ถงึ ​อนั ตราย​แห่งก​ าร​เสีย​หาย​อนั เ​ป็นอ​ ย่าง​รา้ ย​แรง​ผดิ ป​ กติ ซึง่ ล​ กู ห​ นีไ​้ ม่รห​ู้ รือไ​ ม่​
อาจ​จะ​รู้​ได้​หรือ​เพียง​แต่ละ​เลย​ไม่​บ�ำบัด​ปัด​ป้อง​หรือ​บรรเทา​ความ​เสีย​หาย​นั้น​ด้วย ก็​น�ำ​มา​ค�ำนึง​ใน​การ​
ก�ำหนด​คา่ ​เสีย​หาย (ปพพ. มาตรา 223) เหตุ​น​ใี้ น​เรือ่ ง​ความ​รบั ​ผดิ ​ของ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​กฎหมาย​จงึ ​ยกเว้น​


ความ​รับ​ผิด​ไว้​ ตาม​ ปพพ. มาตรา 676 ว่า “ทรัพย์สินซ​ ึ่งม​ ิได้น​ �ำ​ฝาก​บอก​ราคา​ชัดแ​ จ้งน​ ั้นเ​มื่อ​พบเห็น​ว่า​
สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​ขึ้น คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ต้อง​แจ้ง​ความ​นั้น​ต่อ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม โฮเต็ล หรือ​

675 ”
มส
สถาน​ที่​เช่น​นั้น​ทันที มิ​ฉะนั้น ท่าน​ว่า​เจ้า​ส�ำนัก​ย่อม​พ้น​จาก​ความ​รับ​ผิด​ดั่ง​บัญญัติ​ไว้​ใน​มาตรา 674 และ

การ​แจ้ง​ความ​ตาม​มาตรา 676 หมาย​ถึงเ​ฉพาะ​กรณี​ที่​ทรัพย์สินม​ ิได้น​ �ำ​ฝาก​บอก​ราคา​ชัด​แจ้ง​ไม่ว​ ่า​


จะ​เป็น​เครือ่ ง​กระเป๋า​เดิน​ทาง หรือ​ของ​ม​คี า่ ​อนื่ ​ตาม​มาตรา 675 วรรค​ทา้ ย สูญหาย​หรือ​บบุ ​สลาย​ไป คน​เดิน​
ทาง​หรือ​แขก​อาศัยม​ หี น้า​ท​ตี่ อ้ ง​แจ้งค​ วาม​แก่เ​จ้า​สำ� นัก​เพือ่ เ​จ้า​สำ� นักจ​ ะ​ได้บ​ รรเทา​ความ​เสีย​หาย เช่น ติดตาม​
คนร้าย​ท​ลี่ กั ท​ รัพย์ท​ นั ที​เพือ่ ​เอา​ทรัพย์สนิ ​คนื เป็นต้น แต่​ถา้ ​เป็นท​ รัพย์สนิ ​ท​นี่ ำ​ � ฝาก​บอก​ราคา​ชดั แ​ จ้ง เท่ากับ​
เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​รับ​ฝาก​ทรัพย์​ไว้​แล้ว​เจ้า​ส�ำนัก​ย่อม​เก็บ​รักษา​ไว้​อย่าง​ดี หรือ​ระมัดระวัง​ดูแล​ห้อง​พัก​ของ​
คน​เดินท​ าง​หรือแ​ ขก​อาศัยผ​ น​ู้ นั้ เ​ป็นพ​ เิ ศษ ดังนี้ เมือ่ ท​ รัพย์สนิ ด​ งั ก​ ล่าว​สญ
ู หาย​หรือบ​ บุ ส​ ลาย เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​
ย่อม​ร​อู้ ยู​แ่ ล้ว ไม่​จำ​ � ตอ้ ง​กำ� หนด​ให้​เป็น​หน้าที​่ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​แจ้ง​ความ​ทนั ที​ตาม​มาตรา 676
นี้​อีก

ที​ว่ า่ “แจ้ง​ความ​ทนั ที” หมายความ​วา่ ​แจ้ง​ใน​ขณะ​นนั้ ​เอง แต่​ก​จ็ ำ� กัด​วา่ ​เมือ่ ​พบเห็น​การ​สญ ู หาย​หรือ​
บุบ​สลาย​ถ้า​ยัง​ไม่​พบเห็น ก็​ย่อม​แจ้ง​ความ​ไม่​ได้​อยู่​เอง เช่น คน​เดิน​ทาง​กลับ​จาก​ธุระ​เปิด​ห้อง​พัก​เข้าไป
มส

ก็​พบเห็น​สิ่งของ​ถูกร​ ื้อค​ ้น​กระจัดกระจาย และ​ทรัพย์สิน​เกิด​หาย​ไป เป็นต้น


บุคคล​ท​รี่ บั แ​ จ้ง​ความ​นนั้ กฎหมาย​บญ ั ญัตว​ิ า่ ต้อง​แจ้ง​ความ​ตอ่ ​เจ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม โฮเต็ล หรือส​ ถาน​ที่​
เช่น​นั้น แต่​ถ้าค​ น​เดิน​ทาง​หรือแ​ ขก​อาศัย​แจ้ง​ความ​แก่​ผู้​ท�ำ​หน้าที่​แทน​เจ้า​ส�ำนัก เช่น เจ้า​หน้าที่​ของ​โรงแรม
ก็​ถือว่า​แจ้ง​ต่อเ​จ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​แล้ว
อุทาหรณ์
ฎ. 164/2489 ผู​จ้ ดั การ​โรงแรม​ไม่​อยู่ ผูม​้ า​พกั ​จงึ ​แจ้ง​เรือ่ ง​ทรัพย์สนิ ห​ าย​ตอ่ ​ผ​แู้ ทน​ของ​ผ​จู้ ดั การ ถือว่า​
ได้​แจ้ง​ต่อ​สำ� นัก​โรงแรม​ตาม​มาตรา 676 แล้ว ม
5. ไม่​ตอ้ ง​รบั ​ผดิ ​เมือ่ ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ได้​ตกลง​ดว้ ย​ชดั ​แจ้ง​ใน​ขอ้ ​ยกเว้น​หรือ​จำ� กัด​ความ​
รับ​ผิด ใน​เรื่อง​ผล​แห่ง​สัญญา​ทั่วไป​นั้น “ความ​ตกลง​ท�ำ​ไว้​ล่วง​หน้า​เป็น​ข้อความ​ยกเว้น​มิ​ให้​ลูก​หนี้​ต้อง​รับ​
ผิดเ​พือ่ ฉ​ อ้ ฉล หรือ​ความ​ประมาท​เลินเล่อ​อย่าง​รา้ ย​แรง​ของ​ตน​นนั้ ท่าน​วา่ เ​ป็น​โมฆะ” (ปพพ. มาตรา 373)
หมายความ​วา่ ลูก​หนี้ ตกลง​ยกเว้น​หรือ​จำ� กัด​ความ​รบั ​ผดิ ​ไว้​ลว่ ง​หน้า​เพือ่ ​ความ​ประมาท​เลินเล่อ​อย่าง​ธรรมดา​
ของ​ตน​ได้ แต่​ใน​สัญญา​บาง​อย่าง เช่น สัญญา​รับ​ขน​ของ​ตาม​มาตรา 635 สัญญา​รับ​ขน​คน​โดยสาร​ตาม​
มาตรา 639 สัญญา​เก็บ​ของ​ใน​คลังส​ นิ ค้า​ ตาม​มาตรา 772 กฎหมาย​ได้​บญ ั ญัตเ​ิ ป็นห​ ลักท​ วั่ ไป​วา่ ​ถา้ ม​ ​ขี อ้ ความ​
สธ
ยกเว้น​หรือ​จ�ำกัด​ความ​รับ​ผิด​ของ​ผู้​ขนส่ง​หรือ​นาย​คลัง​สินค้า​ท่าน​ว่า​ความ​นั้น​เป็น​โมฆะ เว้น​แต่​คู่​สัญญา​อีก​
ฝ่าย​หนึง่ ​คอื ผู​ข้ นส่ง​หรือ​ผ​ฝู้ าก​จะ​ได้​ตกลง​ดว้ ย​ชดั ​แจ้ง เช่น​เดียว​กบั ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม ก็​ม​บี ญ ั ญัตไ​ิ ว้​ใน​มาตรา
677 ว่า “ถ้า​มี​ค�ำ​แจ้ง​ความ​ปิด​ไว้​ใน​โรงแรม ​โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​อื่น​ท�ำนอง​เช่น​ว่า​นี้ เป็น​ข้อความ​ยกเว้น​

สัญญาฝากทรัพย์ 4-93

หรือจ​ �ำกัดค​ วาม​รับผ​ ิด​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​ไซร้ ท่าน​ว่า​ความ​นั้นเ​ป็นโ​ มฆะ เว้นแ​ ต่ค​ น​เดินท​ าง​หรือแ​ ขก​อาศัยจ​ ะ​
ได้ต​ กลง​ด้วย​ชัด​แจ้ง ใน​การ​ยกเว้นห​ รือจ​ �ำกัดค​ วาม​รับผ​ ิด​ดั่งว​ ่าน​ ั้น” หมายความ​วา่ การ​เปลีย่ นแปลง​ความ​
รับ​ผิด​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ให้​เบา​ลง​นี้ ต้อง​ท�ำความ​ตกลง​กัน​อย่าง​ชัด​แจ้ง ​จะ​ถือว่า​การ​นิ่ง หรือ​ไม่​ทักท้วง​
ค�ำ​แจ้ง​ความ​ของ​โรงแรม​ท​ปี่ ิด​ไว้​ใน​ห้อง​พัก เป็นการ​ตกลง​ชัด​แจ้ง​ไม่​ได้
อย่างไร​ก​ด็ ี ถ้าข​ อ้ ความ​ยกเว้นห​ รือจ​ ำ� กัดค​ วาม​รบั ผ​ ดิ ข​ อง​เจ้าส�ำนักโ​รงแรม​นี้ ถ้าเ​ป็นค​ วาม​ตกลง​ทำ​ �


ไว้​ล่วง​หน้า​เป็น​ข้อความ​ยกเว้น​มิ​ให้​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ต้อง​รับ​ผิด​เพื่อ​กล​ฉ้อฉล​หรือ​ประมาท​เลินเล่อ​อย่าง​
ร้าย​แรง ย่อม​เป็น​โมฆะ​ ตาม ปพพ. มาตรา 373

มส
“กล​ฉ้อฉล” ตาม​มาตรา 37360 หมายความ​ถึง​การ​ไม่​ชำ� ระ​หนี​ห้ รือ​การ​ท�ำให้​เสีย​หาย​โดย​จงใจ ซึ่ง​
แตก​ตา่ ง​จาก​กล​ฉอ้ ฉล​ตาม​มาตรา 159 ซึง่ ​เป็นการ​หลอก​ลวง​ให้​ผ​้แู สดง​เจตนา​สำ� คัญ​ผดิ หรือ​แสดง​ขอ้ ความ​
ให้​ผิดค​ วาม​จริง​เพื่อล​ วง​ให้​เขา​หลง​เชื่อ​แสดง​เจตนา ส่วน​ประมาท​เลินเล่อ​อย่าง​ร้าย​แรง​นั้น61 หมายความ​ว่า
การก​ระ​ทำ​ � โดย​ปราศจาก​ความ​ระมัดระวัง​เสีย​เลย​ซึ่ง​ถือ​เท่ากับ​ความ​ผิด​โดย​จงใจ​เหมือน​กัน
อุทาหรณ์
โรงแรม​สวีเดน มี​แจ้ง​ความ​ของ​โรงแรม​วา่ ​จะ​ไม่​รบั ​ผดิ ​ชอบ​ใน​ทรัพย์สนิ ​ของ​คน​เดิน​ทาง​ท​นี่ ำ​
โรงแรม​และ​สญ
� มา​ไว้​ใน​
ู หาย​หรือ​บบุ ​สลาย​ไป และ​ให้​คน​เดิน​ทาง​ลงชือ่ ​ดว้ ย​แล้ว ดังนี้ เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​สวีเดน​ไม่​ตอ้ ง​
รับ​ผิด​เพราะ​คน​เดิน​ทาง​ได้​ตกลง​ด้วย​ชัด​แจ้ง​ใน​ข้อ​จ�ำกัด​ความ​รับ​ผิด
กรณี​ดัง​กล่าว​หาก​โรงแรม​ปิด​ประกาศ​ไว้​ไม่​ปรากฏ​ว่า​คน​เดิน​ทาง​ได้​ตกลง​ด้วย​โดย​ชัด​แจ้ง​ใน​การ​
ยกเว้น​ความ​รับ​ผิด​ดัง​กล่าว​โรงแรม​ยัง​ต้อง​รับ​ผิดเ​มื่อ​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หาย​ไป (ฎ. 7790/2544)

สิทธิ​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย
มส

คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย มี​สิทธิ​ต่อ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม 2 ประการ คือ


1. สิทธิ​ที่​จะ​ได้​รับ​ชดใช้​กรณีท​ที่ รัพย์สิน​ของ​ตน​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย
2. สิทธิ​ที่​จะ​ไม่​ตกลง​ใน​การ​ยกเว้น​หรือ​จำ� กัด​ความ​รับ​ผิด​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม
1. สิทธิ​ที่​จะ​ได้​รับ​ชดใช้​กรณี​ที่​ทรัพย์สิน​ของ​ตน​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย เมือ่ ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​
อาศัย​ได้​พา​ทรัพย์สิน​มา​ไว้​ที่​โรงแรม หาก​ทรัพย์สิน​ดัง​กล่าว​เกิด​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​ไป ถ้า​ไม่ใช่​เกิด​แต่​
เหตุสดุ วิสยั ห​ รือเ​กิดแ​ ต่ส​ ภาพ​แห่งท​ รัพย์สนิ น​ นั้ หรือเ​กิดแ​ ต่ค​ วาม​ผดิ ข​ อง​คน​เดินท​ าง​หรือแ​ ขก​อาศัยผ​ น​ู้ นั้ เ​อง

674, 675)
ู หาย​หรือบ​ บุ ส​ ลาย​ไป โดย​ไม่จ​ ำ​

หรือบ​ ริวาร​ของ​ตน​หรือ​บุคคล​ซึ่ง​ตน​ได้​ต้อนรับ​แล้ว คน​เดินท​ าง​หรือ​แขก​อาศัยย​ ่อม​มสี​ ิทธิ​ได้​รับช​ ดใช้​กรณีที่​
ทรัพย์สนิ ข​ อง​ตน​สญ � ตอ้ ง​ฝาก​ทรัพย์สนิ ด​ งั ก​ ล่าว​แก่เ​จ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม (มาตรา
สธ
60 จิต​ติ ติง​ศภัทิย์ คำ�​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 241 ถึง 452 กรุงเทพมหานคร
เนติบ​ ัณฑิตย​ ส​ ภา พ.ศ. 2503 น. 324.
61 เรื่อง​เดียวกัน น. 325.

4-94 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. สิทธิ​ที่​จะ​ไม่​ตกลง​ใน​การ​ยกเว้น​หรือ​จ�ำกัด​ความ​รับ​ผิด​ของ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม ใน​การ​พัก​แรม
ณ โรงแรม โฮเต็ล หรือ​สถาน​ที่​อื่น​ทำ� นอง​เช่น​ว่า​นี้ เจ้า​ส�ำนัก​อาจ​ยกเว้น​หรือ​จ�ำกัด​ความ​รับ​ผิด​ของ​ตน แต่​
ต้อง​ให้​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ตกลง​ด้วย​ชัด​แจ้ง มิ​ฉะนั้นเ​ป็น​โมฆะ เหตุ​นี้คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย จึง​
มีส​ ิทธิ​ท​จี่ ะ​ไม่​ตกลง​ใน​การ​ยกเว้น​หรือ​จำ� กัดค​ วาม​รับ​ผิด​เช่น​ว่า​นี้​ได้ (มาตรา 677)


หน้าที่​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย
คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​มีหน้า​ท​ตี่ ่อ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม 2 ประการ​คือ

แทน​ไป
มส
1. หน้าทีใ​่ ช้​เงินเ​พือ่ ก​ าร​พกั อ​ าศัย การ​อนื่ อ​ นั เ​จ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​ทำ� ให้แ​ ละ​เงินท​ ​เี่ จ้าส​ ำ� นักโ​รงแรม​ออก​

2. หน้าที่​แจ้ง​ความ​ต่อ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ทันที​ท​พี่ บเห็น​ว่า​ทรัพย์สิน​ของ​ตน​สูญหาย​หรือ​บุบส​ ลาย


1. หน้าที่​ใช้​เงิน​เพื่อ​การ​พัก​อาศัย การ​อื่น​อัน​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ท�ำให้​และ​เงิน​ที่​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​​
ออก​แทน​ไป โดยที​โ่ รงแรม​เป็น​กจิ การ​คา้ ​ท​จี่ ดั ​ตงั้ ​ขนึ้ ​เพือ่ ​รบั ​สนิ ​จา้ ง​จาก​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย ดัง​ท​ศี่ กึ ษา​
มา​ใน​เรือ่ ง​ที่ 4.3.1 การ​ฝาก​ทรัพย์​กบั ​เจ้า​สำ� นักโ​รงแรม คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ท​ที่ ำ​ � สญั ญา​เข้า​พกั ​แรม จึง​
มีหน้า​ท​ี่ต้อง​เสีย​ค่าที่​พัก ตลอด​จน​ค่า​บริการ​ที่​โรงแรม​จัดการ​ให้​และ​เงิน​ที่​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ออก​ทดรอง​ไป
มิฉ​ ะนัน้ ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ยอ่ ม​ทรง​สทิ ธิ​ยดึ ​หน่วง​เครือ่ ง​เดิน​ทาง​หรือท​ รัพย์สนิ ​อย่าง​อนื่ ​อนั ​เอา​ไว้​ใน​โรงแรม​ได้
(มาตรา 679)

2. หน้าที​แ่ จ้ง​ความ​ตอ่ ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ทนั ที​ท​พ ี่ บเห็น​วา่ ​ทรัพย์สนิ ​ของ​ตน​สญ ู หาย​หรือ​บบุ ​สลาย
ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​ซึ่ง​มิได้​น�ำ​ฝาก​บอก​ราคา​ชัด​แจ้ง​นั้น เมื่อ​พบเห็น​ว่า​สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย คน​เดิน​
ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ต้อง​แจ้ง​ความ​นั้น​ต่อ​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม โฮเต็ล​หรือ​สถาน​ที่​เช่น​นั้น​ทันที มิ​ฉะนั้น ท่าน​ว่า​
มส

เจ้าส​ �ำนัก​ย่อม​พ้น​จาก​ความ​รับ​ผิด​ดั่ง​บัญญัต​ไิ ว้​ใน​มาตรา 674 และ 675 (มาตรา 676) แต่​ถ้า​ทรัพย์สิน​นั้น


คน​เดินท​ าง​น�ำ​ฝาก​บอก​ราคาชัด​แจ้ง​ คน​เดิน​ทาง​ก็​ไม่ม​หี น้าที่​ต้อง​แจ้ง​ความ​แก่เ​จ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ทันที

กิจกรรม 4.3.2

น้อม​เดิน​ทาง​ไป​พัก​แรม​ที่​โรงแรม​เชียงใหม่ เจ้าของ​โรงแรม​ได้​ยื่น​ประกาศ​ระเบียบ​ของ​โรงแรม​ให้​
อ่าน​ด​กู อ่ น​ลงชือ่ เ​ข้าพ​ กั ​ความ​วา่ โรงแรม​จะ​ไม่ร​ บั ผ​ ดิ ช​ อบ​ใน​การ​สญ
ู หาย​หรือบ​ บุ ​สลาย​ท​เี่ กิดแ​ ก่ท​ รัพย์สนิ ข​ อง​
ผู้​มา​พัก​ไม่​ว่า​ใน​กรณี​ใดๆ น้อม​อ่าน​แล้ว​หัวเราะ​แล้ว​ลงชื่อ​เข้า​พัก​แรม ระหว่าง​พัก​อยู่​นั้น ม่อน​ทราบ จึง​มา​
เยี่ยม แล้ว​ลอบ​ลัก​เอา​ปากกา​ราคา 1,000 บาท ของ​น้อม​ไป ดังนี​เ้ จ้าของ​โรงแรม​เชียงใหม่​ต้อง​รับ​ผิด​ชดใช้​
ราคา​ปากกา​ของ​น้อม​เพียง​ใด หรือ​ไม่

แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.3.2
สธ
เจ้าส​ �ำนักโ​รงแรม​ต้อง​รับผ​ ิดใ​น​การ​ท​ที่ รัพย์สินข​ อง​คน​เดินท​ าง​หรือแ​ ขก​อาศัยส​ ูญหาย​หรือบ​ ุบส​ ลาย​
ไป​อย่าง​ใดๆ แม้วา่ จ​ ะ​เกิดข​ นึ้ เ​พราะ​ผคู้ น​ไป​มา​เข้าอ​ อก ณ โรงแรม​ก​ค็ ง​ตอ้ ง​รบั ผ​ ดิ (ปพพ. มาตรา 675 วรรค​
หนึง่ ) และ​ถา้ ​ม​คี ำ​
� แจ้ง​ความ​ยกเว้น​หรือ​จำ� กัด​ความ​รบั ​ผดิ ​ของ​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​ยอ่ ม​เป็น​โมฆะ เว้น​แต่​คน​เดิน​

สัญญาฝากทรัพย์ 4-95

ทาง​หรือแ​ ขก​อาศัยจ​ ะ​ได้​ตกลง​ดว้ ย​ชดั แ​ จ้งใ​น​การ​ยกเว้น​หรือจ​ ำ� กัดค​ วาม​รบั ผ​ ดิ ด​ งั่ ​วา่ ​นนั้ (ปพพ. มาตรา 677)
ตาม​ปัญหา​นี้ ประกาศ​ระเบียบ​ของ​โรงแรม​เชียงใหม่​ที่​จะ​ไม่​รับ​ผิด​ชอบ จึง​เป็น​โมฆะ เว้น​แต่​น้อม​จะ​ยอม​
ตกลง​ด้วย​และ​การ ตกลง​นั้น​จะ​ต้อง​กระท�ำ​โดย​ชัด​แจ้ง จะ​ถือ​เอา​โดย​ปริยาย​ไม่​ได้ การ​ที่​น้อม​นิ่ง​ไม่​ทักท้วง
เพียง​แต่​หวั เราะ จะ​ถอื ว่า​ได้​ตกลง​ดว้ ย​ชดั ​แจ้ง​หา​ได้​ไม่ ดัง​นนั้ ​ประกาศ​ของ​โรงแรม​เชียงใหม่​จงึ ​เป็น​โมฆะ แต่​
ตาม​ปญ ั หา​นี้ ปากกา​ของ​นอ้ ม​สญ ู หาย​ไป​เพราะ​มอ่ น​ซงึ่ ​มา​เยีย่ ม​เอา​ไป จึง​เข้า​ขอ้ ​ยกเว้น​วา่ เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม​


ไม่ต​ ้อง​รับ​ผิด​เพื่อ​ความ​สูญหาย​หรือบ​ ุบ​สลาย​อัน​เกิด​แต่ค​ วาม​ผิดข​ อง​บุคคล​ซึ่งค​ น​เดิน​ทาง​หรือแ​ ขก​อาศัยไ​ ด้​
ต้อนรับ กรณี​น​มี้ อ่ น​เป็น​บคุ คล​ซงึ่ ​นอ้ ม​ได้​ตอ้ นรับ และ​มอ่ น​เป็น​ผ​ลู้ กั ​ปากกา​ไป ฉะนัน้ ​เจ้าของ​โรงแรม​เชียงใหม่

มส
จึงไ​ ม่ต​ ้อง​รับ​ผิดช​ ดใช้​ค่า​ปากกา​แก่​น้อม

เรื่อง​ที่ 4.3.3
อายุ​ความ

อายุ​ความ​สำ� หรับ​การ​ฝาก​ทรัพย์​อื่น​แบ่ง​เป็น 2 ชนิด คือ อายุ​ความ​เฉพาะ 6 เดือน ตาม​มาตรา
671 กับ​อายุ​ความ​เรียก​คืน​ทรัพย์​กรณี​อื่น ซึ่ง​มีอายุ​ความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 ดัง​ที่​ศึกษา​มา​
มส

ในเรื่อง​ที่ 4.1.5 อายุ​ความ แล้ว ส่วน​การ​ฝาก​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม มีอายุ​ความ​บัญญัติ​เป็น​พิเศษ​ไว้​ใน​มาตรา


678 จึง​อาจ​แบ่ง​อายุ​ความ​ใน​เรื่อง​เจ้า​สำ� นักโ​รงแรม​ออก​เป็น 2 ชนิด คือ
1. อายุ​ความ​เฉพาะ
2. อายุ​ความ​เรียก​คืน​ทรัพย์​ที่​หลงลืม​ไว้
1. อายุ​ความ​เฉพาะ ใน​เรือ่ ง​เจ้า​สำ� นัก​โรงแรม กฎหมาย​กำ� หนด​อายุ​ความ​เฉพาะ​ไว้​เพียง 6 เดือน
ใน​มาตรา 678 ว่า “ใน​ข้อความ​รับ​ผิด​ใช้​ค่า​สินไหม​ทดแทน​เพื่อ​ทรัพย์สิน​ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​

โดยทีเ​่ จ้า​สำ� นัก​โรงแรม​จะ​ตอ้ ง​รบั ผ​ ดิ ​เพือ่ ​ความ​สญ



สูญหาย​หรือ​บุบ​สลาย​นั้น ท่าน​ห้าม​มิ​ให้​ฟ้อง​เมื่อ​พ้น​เวลา​หก​เดือน​นับ​แต่​วัน​ที่​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​
ออก​ไป​จาก​สถาน​ที่​นั้น”
ู หาย​หรือ​บบุ ​สลาย​อย่าง​ใดๆ อัน​เกิดแ​ ก่​ทรัพย์สนิ ​
ของ​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย (มาตรา 674, 675) หาก​เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ยัง​ไม่​ชดใช้​ให้ คน​เดิน​ทาง​หรือ​
แขก​อาศัย​ประสงค์​จะ​ฟ้อง​ร้อง ก็​ต้อง​ฟ้อง​เสีย​ภายใน​หก​เดือน​นับ​แต่​วัน​ที่​คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ออก​ไป​
จาก​โรงแรม (มาตรา 678) มิ​ฉะนั้น​คดี​ย่อม​ขาด​อายุ​ความ เจ้า​ส�ำนัก​โรงแรม​ยก​อายุ​ความ​ขึ้น​ต่อสู้ ศาล​ย่อม​
พิพากษา​ยกฟ้อง
สธ

4-96 กฎหมาย​พาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. อายุ​ความ​เรียก​คืน​ทรัพย์​ที่​หลงลืม​ไว้ ใน​กรณี​ท​ี่คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ออก​ไป​จาก​โรงแรม​
แล้ว​ลืม​ทรัพย์สิน​ไว้​ท​โี่ รงแรม​ก​ด็ ี คน​เดิน​ทาง​หรือ​แขก​อาศัย​ฝาก​ทรัพย์สิน​ไว้​แก่​เจ้า​ส�ำนักโ​รงแรม​แล้ว​ลืม​เอา​
ไป​ก็​ดี ดังนี้ เจ้าของ​ทรัพย์​ย่อม​ฟ้อง​เรียก​คืน​ทรัพย์​ได้ อาศัย​กฎหมาย​ลักษณะ​กรรมสิทธิ์ (ปพพ. มาตรา
1336) การ​ฟ้อง​เอา​ทรัพย์สิน​คืน​นี้​ไม่มี​กำ� หนด​อายุ​ความ
แต่ถ​ า้ ค​ น​เดินท​ าง​ฝาก​ทรัพย์ไ​ ว้แ​ ล้วล​ มื ​เอา​ไป ประสงค์จ​ ะ​ฟอ้ ง​โดย​อาศัยส​ ทิ ธิต​ าม​สญ
ั ญา​ฝาก​ทรัพย์


ก็​มีอายุ​ความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30

กิจกรรม 4.3.3
มส
นิล​เข้า​พัก​แรม​ที่​โรงแรม​ญี่ปุ่น วันท​ ี่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 วัน​ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 นิล​
ออก​จาก​โรงแรม​ไป​เทีย่ ว​ตา่ ง​จงั หวัด ต่อ​มา​วนั ​ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 จึง​กลับ​มา​หอ้ ง​พกั ​ปรากฏ​วา่ ​แหวน​
เพชร นาฬิกา และ​เสื้อผ้า​หาย​ไป จึง​รีบ​แจ้ง​แก่​ผู้​จัดการ​โรงแรม​ญี่ปุ่น แต่​ผู้​จัดการ​ไม่​ยอมรับ​รู้ นิล​โมโห​จึง​
ไป​พัก​แรม​ท​ี่โรงแรม​โตเกียว​ใน​วัน​นั้น​เอง วัน​ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557 นิล​ยื่น​ฟ้อง​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​จาก​ผู้​
จัดการ​โรงแรม​ญี่ปุ่น ผู้​จัดการ​โรงแรม​ญี่ปุ่น​ต่อสู​้ว่า นิล​ออก​ไป​จาก​ห้อง​พัก​ตั้งแต่​วัน​ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.
2556 คดี​ขาด​อายุ​ความ​แล้ว ดังนี​ข้ ้อ​ต่อสู​ข้ อง​ผ​จู้ ัดการ​โรงแรม​ญี่ปุ่น​ฟัง​ขึ้น​หรือไ​ ม่

แนว​ตอบ​กิจกรรม 4.3.3
ข้อ​ต่อสู้​ของ​ผู้​จัดการ​โรงแรม​ญี่ปุ่น​ฟัง​ไม่​ขึ้น เพราะ​นิล​ฟ้อง​เรียก​ค่า​เสีย​หาย​ภายใน​หก​เดือน​นับ​แต่​
มส

วัน​ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ซึ่ง​เป็น​วัน​ท​นี่ ิล​ออก​ไป​จาก​โรงแรม​ญี่ปุ่น​ซึ่ง​เป็น​วันส​ ิ้น​สัญญา จึง​ไม่ข​ าด​อายุ​


ความ ไม่ใช่​นับ​ตั้งแต่​วัน​ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ซึ่ง​เป็นว​ ัน​ที่​นิล​ออก​จาก​โรงแรม​ไป​เที่ยว แต่​ยัง​ไม่​เลิก​
สัญญา​พัก​แรม​ที่​โรงแรม​ญี่ปุ่น


สธ

สัญญาฝากทรัพย์ 4-97

บรรณานุกรม

กมล สนธิ ​เ กษตริ​น. (2520). ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​ด้วย​ยืม​และ​ฝาก​ทรัพย์. กรุงเทพมหานคร:


มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์.
จิต ​ติ ติ ง ​ศ ภัทิ ย์. (2503). ค�ำ​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 241 ถึง 452
กรุงเทพมหานคร: เนติ​บัณฑิตย​ ​สภา.

มส
จิต ​ติ ติ ง ​ศ ภัทิ ย์ (ม.ป.ป.) ค�ำ​อ ธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​อาญา ภาค 2 ตอน​ที่ 2 และ​ภาค 3. (พิมพ์​ครั้ง​ที่ 2).
กรุงเทพมหานคร: เนติ​บัณฑิต​ย​สภา.
หลวง​ประเสริฐม​ นูก​ จิ . (2477). กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​วา่ ​ดว้ ย​ยมื ฝาก​ทรัพย์ เก็บ​ของ​ใน​คลัง​สนิ ค้า ประนีประนอม
การ​พนัน​และขันต่อ ค�ำ​สอน​ภาค 3 ชัน้ ​ปริญญา​ตรี ของ​มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์​และ​การเมือง พระนคร:
ม.ป.ท..
พจน์ ปุ ษ​ปา​คม. (2511). ค�ำ​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​ด้วย ยืม กู้​ยืม ฝาก​ทรัพย์.
กรุงเทพมหานคร: แสงทอง​การ-พิมพ์.
พิ​ชา ด�ำ​รงพิ​วัฒน์. (ม.ป.ป.). กฎหมาย​ว่า​ด้วย​การ​ธนาคาร. กรุงเทพมหานคร: แสงจันทร์​การ​พิมพ์.
มาโนช สุทธิ​วา​ทนฤ​พุฒิ. (2522). ค�ำ​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​ด้วย ยืม ฝาก​ทรัพย์ เก็บ​ของ​
ใน​คลัง​สินค้า ประนีประนอม​ยอม​ความ การ​พนัน​และ​ขันต่อ. กรุงเทพมหานคร: โรง​พิมพ์​มหาวิทยาลัย​

ธรรมศาสตร์.
สม​ชัย ศิรบิ​ ุตร และ​จิ​ระ​วรรณ ศิร​บิ ุตร. (2525). คู่มือ​ตุลาการ​ภาค​ปฏิบัติ​เกี่ยว​กับ​คดี​แพ่ง คดี​อาญา คดี​ล้ม​ละลาย
มส

คดี​อาญา​ใน​ศาลแขวง คดี​เด็ก​และ​เยาวชน เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรง​พิมพ์แ​ สวง​สุทธิ​การ​พิมพ์.


สุ​ปัน พูล​พัฒน์. (2515). ค�ำ​อธิบาย​ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์ ว่า​ด้วย ยืม ฝาก​ทรัพย์ เก็บ​ของ​ใน​คลัง​
สินค้า ฯลฯ. (พิมพ์​ครั้งท​ ี่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรง​พิมพ์​เลี่ยง​เซี​ยง​จงเจริญ.
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช. (2520). ประมวล​กฎหมาย​แพ่ง​และ​พาณิชย์​ว่า​ด้วย​นิติกรรม​และ​หนี้ ภาค 1 (ภาค 1-2)
แก้ไข​เพิ่ม​เติม พ.ศ. 2505 กรุงเทพมหานคร: แสวง​สุทธิ​การ​พิมพ์.
เสรี (นามแฝง). (2525). “ธนาคาร​เขา​ท�ำงาน​กัน​อย่างไร..” หนังสือ​สยาม​รัฐ​ราย​วัน. ฉบับท​ ี่ 10 กันยายน.

เสริม วินิจฉัย​กุล. (2499). เอกเทศ​สัญญา. ค�ำ​สอน​วิชาการ​บัญชี พ.ศ. 2483. (พิมพ์ค​ รั้ง​ที่ 4). กรุงเทพมหานคร:
โรง​พิมพ์ม​ หาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์.
สธ
มส

มส
สธ ธ
ม ม

เก็บของในคลังสินค้า 5-1

หน่วยที่ 5
เก็บของในคลังสินค้า


อาจารย์อิงครัต ดลเจิม

มส

มส

ชื่อ
วุฒิ
อาจารย์อิงครัต ดลเจิม

นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ต�ำแหน่ง อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สธ
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 5

ปรับปรุงจากต้นฉบับเดิม หน่วยที่ 5 เก็บของในคลังสินค้า อาจารย์สถิตย์ เล็งไธสง และผู้ช่วยศาสตราจารย์เพชรา


จารุสกุล

5-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจ�ำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 5 เก็บของในคลังสินค้า

ตอนที่
มส
5.1 ลักษณะทั่วไปของการเก็บของในคลังสินค้า
5.2 สิทธิหน้าที่และความรับผิดของนายคลังสินค้าและผู้เกี่ยวข้อง
5.3 ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
5.4 อายุความ

แนวคิด
1. ก ารเก็บของในคลังสินค้าเป็นการฝากทรัพย์อย่างหนึง่ ซึง่ มีสถานทีซ่ งึ่ บุคคลใช้เก็บสินค้าโดย

เฉพาะเรียกว่า คลังสินค้า และเป็นสัญญาระหว่างนายคลังสินค้าซึ่งเป็นผู้รับฝากกับผู้ฝาก
สินค้า
2. นายคลังสินค้ามีสิทธิและมีหน้าที่หลายประการ ได้แก่ สิทธิได้รับบ�ำเหน็จค่าฝาก เก็บรักษา
มส

ทรัพย์ที่ฝาก ซึ่งต้องเป็นสินค้าเท่านั้น หน้าที่บอกกล่าวเมื่อบุคคลภายนอกอ้างสิทธิเหนือ


ทรัพย์สินที่รับฝาก คืนทรัพย์ที่ฝากและหน้าที่เบ็ดเตล็ดอื่นๆ รวมทั้งมีความรับผิดเนื่องจาก
การรับสินค้าไว้ในคลังสินค้า
3. ผู้เกี่ยวข้องกับการฝากสินค้า มีสิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดเกิดขึ้นในการเก็บของไว้
ที่คลังสินค้านั้น

4. ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าเป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานในการฝากทรัพย์ หรือ
จ�ำน�ำทรัพย์ที่ฝากในคลังสินค้า โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ฝากหรือจ�ำน�ำ
5. อายุความการเก็บของในคลังสินค้า ได้แก่ อายุความในเรือ่ งการไล่เบีย้ ของผูท้ รงตราสาร การ
เรียกเอาทรัพย์ในคลังสินค้าคืน การเรียกเอาบ�ำเหน็จของนายคลังสินค้า ค่าใช้จ่ายและ
ค่าสินไหมทดแทนที่นายคลังสินค้าเรียกจากผู้ฝาก เป็นต้น
สธ

เก็บของในคลังสินค้า 5-3

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 5 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายลักษณะทั่วไปของการเก็บของในคลังสินค้าได้
2. อธิบายสิทธิและหน้าที่ของนายคลังสินค้าได้


3. อธิบายสิทธิและความรับผิดของผู้เกี่ยวข้องได้
4. อธิบายลักษณะใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าได้
5. อธิบายอายุความเกี่ยวกับการเก็บของในคลังสินค้าได้

2.
3.
4.
มส
6. วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการเก็บของในคลังสินค้าได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 5
ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 5.1-5.4
ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน
ฟังซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
6. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)

7. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 5
มส

สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. ซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
4. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
5. การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง

3. ประเมินผลจากการสอบประจ�ำภาคการศึกษา
สธ
เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 5 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

5-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 5.1
ลักษณะทั่วไปของการเก็บของในคลังสินค้า
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
5.1.1 กิจการคลังสินค้า
5.1.2 การเก็บของในคลังสินค้ากับการฝากทรัพย์
5.1.3 ระยะเวลาฝาก

1. ค ลังสินค้าเป็นอาคาร หรือสถานทีซ่ งึ่ บุคคลใช้เก็บสิง่ ของ วัสดุ พืชผลและทีไ่ ว้สนิ ค้า คลัง
สินค้าเกิดจากความจ�ำเป็นทางการค้า คลังสินค้าที่จัดไว้เพื่อรับฝากสินค้าของคนอื่นนั้น
อาจมีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพสินค้านั้น
2. กจิ การของคลังสินค้านัน้ จะมีลกั ษณะทีเ่ กีย่ วข้องกับคลังสินค้า บุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกับการ

เก็บของในคลังสินค้า บ�ำเหน็จ และก�ำหนดเวลาช�ำระบ�ำเหน็จ
3. การเก็บของในคลังสินค้าถือเป็นการฝากทรัพย์อย่างหนึง่ และเป็นสัญญาระหว่างนายคลัง
สินค้าซึง่ เป็นผูร้ บั ฝากกับผูฝ้ ากสินค้า จึงน�ำบทบัญญัตวิ า่ ด้วยการฝากทรัพย์ทวั่ ไปมาใช้
มส

บังคับได้
4. การเก็บของในคลังสินค้ามีบทบัญญัติที่แตกต่างกับการฝากทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับ
บ�ำเหน็จค่าตอบแทน เอกสารการฝาก สถานทีเ่ ก็บสินค้า การควบคุมของกฎหมาย และ
สิ่งของที่ฝาก
5. ถ้าได้ก�ำหนดระยะเวลาฝากไว้ นายคลังสินค้าจะบังคับให้ผู้ฝากถอนสินค้าไปก่อนสิ้น
ระยะเวลาที่ตกลงกันไว้นนั้ มิได้ แต่ถ้ามิได้ก�ำหนดระยะเวลาฝากไว้ นายคลังสินค้าจะส่ง

วัตถุประสงค์
คืนสินค้าจะต้องแจ้งแก่ผู้ฝากล่วงหน้าก่อน

เมื่อศึกษาตอนที่ 5.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ



1. อธิบายลักษณะของกิจการคลังสินค้าได้
2. บอกความหมาย ความเป็นมา และความจ�ำเป็นที่จะมีคลังสินค้าได้
สธ
3. เปรียบเทียบระหว่างความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างการเก็บของในคลังสินค้า
กับการฝากทรัพย์ทั่วไปได้
4. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการเก็บของในคลังสินค้าได้

เก็บของในคลังสินค้า 5-5

ความน�ำ

เรือ่ งเก็บของในคลังสินค้านีเ้ ป็นเรือ่ งการพาณิชย์ มีนายคลังสินค้าเป็นผูป้ ระกอบการรับฝากสินค้า


สิ่งของจากลูกค้า เก็บไว้ในที่เก็บของตนเพื่อบ�ำเหน็จค่าจ้าง สินค้าที่ฝากอาจจ�ำหน่ายหรือจ�ำน�ำด้วยการ
สลักหลังเอกสารทีน่ ายคลังสินค้าออกให้ เพราะฉะนัน้ การเก็บของในคลังสินค้าทีจ่ ะกล่าวต่อไปนีจ้ งึ เป็นเรือ่ ง
ทีเ่ กีย่ วกับสิทธิและหน้าทีร่ ะหว่างบุคคลหลายฝ่าย คือ นายคลังสินค้า ผูฝ้ าก และผูร้ บั สลักหลังตราสาร ซึง่

มส
อาจมีได้หลายคน
ความเป็นมา คลังสินค้ามีมาแต่โบราณกาล ก�ำเนิดจากผลิตผลทางเกษตรเป็นต้นเหตุ เพราะสมัย
ก่อนประชาชนประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม เมื่อเก็บเกี่ยวผลิตผลแล้วต้องเก็บไว้ในที่เหมาะสมเรียกว่า
ยุ้งฉาง เพื่อความปลอดภัยของผลิตผลของตน จะได้เก็บไว้กินไว้ใช้ในอนาคตนานๆ ครั้นต่อมาเมื่อมีการ
ค้าขายเกิดขึน้ จึงมีระบบการเก็บสินค้าในคลัง (warehousing) เกิดขึน้ พ่อค้าบางรายก็มที เี่ ก็บของตนเอง
ซึ่งมักจะท�ำตามความสะดวกของตน อาจเป็นเพียงแพไม้ซุง ถังเก็บนํ้ามัน หรือเป็นเพียงห้องเก็บของ
แต่บางคนก็น�ำไปฝากในที่เก็บของคนอื่นซึ่งรับฝากสินค้าจากบุคคลทั่วไป โดยอาศัยข้อตกลงเป็นสัญญา
ฝากต่อมา คลังสินค้าประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคลังสินค้ารับฝาก หรือ Terminal warehouse เมื่อ
ขายสินค้าที่ฝาก ผู้ฝากก็เขียนค�ำสั่งให้ผู้ซื้อถือไปให้นายคลังสินค้าส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้ซื้อหรือมิฉะนั้นก็

ให้เก็บรักษาไว้ในคลังแทนผูซ้ อื้ ต่อไป นอกจากขายแล้วผูฝ้ ากอาจน�ำสินค้าทีฝ่ ากไปเป็นประกันหนีเ้ งินกูย้ มื
โดยให้ผรู้ บั ฝากครอบครองสินค้าทีเ่ ป็นประกันแทนเจ้าหนีผ้ รู้ บั จ�ำน�ำ ซึง่ การฝากสินค้าในลักษณะนี้ ในทีส่ ดุ
มส

ได้พฒ ั นามาเป็นทางปฏิบตั อิ นั แพร่หลายและเป็นปึกแผ่นจนได้บญ ั ญัตกิ ฎหมายออกรับรองดังทีศ่ กึ ษาอยูน่ ี้


ตามธรรมดาการฝากมักจะมีหลักฐานการฝากให้แก่ผู้ฝากถือไว้เป็นหลักฐาน หลักฐานการฝากนี้
คือใบรับคลังสินค้า (warehouse receipt) ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นตราสารเปลี่ยนมือที่สำ� คัญยิ่งในวงการธุรกิจ
อย่างหนึ่ง เอกสารใบนี้นอกจากจะสลักหลังขายสินค้าที่ฝากได้แล้วยังจ�ำน�ำได้ด้วย แต่ครั้นน�ำไปจ�ำน�ำไว้
กับเจ้าหนี้แล้วตนเองก็ไม่มีหลักฐานอันใดที่จะน�ำไปโฆษณาขายสินค้า จึงได้มีประเพณีออกเอกสารคู่ฉบับ
อีกฉบับหนึ่งเพื่อจ�ำน�ำแทนเรียกว่า ประทวนสินค้า (warrant) คือ ใบประกันนั่นเอง

กิจการเก็บของในคลังสินค้าเวลานี้มีทั้งของรัฐและเอกชน คลังสินค้าของรัฐก็เช่น คลังสินค้าของ
การรถไฟ ของการท่าเรือ และขององค์การคลังสินค้า แต่ละแห่งจัดสร้างขึ้นและมีเครื่องมือเครื่องใช้อัน
ทันสมัยเหมาะแก่การเก็บสิง่ ของแต่ละชนิดโดยค�ำนึงถึงความปลอดภัยของสินค้าทีเ่ ก็บรักษา รวมตลอดทัง้
ห้องปลอดภัยของธนาคาร (vault) ซึง่ เอกชนเช่าเก็บของมีคา่ และอัญมณีแต่ไม่รวมถึงส�ำนักงานวางทรัพย์
ที่กระทรวงยุติธรรมจัดตั้งขึ้น เพราะส�ำนักงานวางทรัพย์นั้นเป็นที่เก็บทรัพย์ที่ลูกหนี้น�ำมาวางแทนการ
ช�ำระหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้มารับเอาไปจะมีการจ�ำหน่ายหรือจ�ำน�ำไม่ได้
สธ
ส�ำหรับผู้เก็บของในคลังสินค้าของตนเองนั้น เวลาจะจ�ำน�ำค่อนข้างจะล�ำบาก เพราะไม่มีเอกสาร
การฝากไปจ�ำน�ำ ทางปฏิบตั เิ จ้าของสินค้าต้องไปตกลงกับเจ้าหนีใ้ ห้นายคลังสินค้าอืน่ มาควบคุมรักษาสินค้า
ในคลังของตนโดยตนเองเป็นผูอ้ อกค่าใช้จา่ ยทัง้ หมด ทัง้ นีจ้ ะได้ไม่ตอ้ งขนสินค้าไปเก็บไว้ในคลังของคนอืน่

5-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แต่มอบกุญแจคลังสินค้าให้แก่นายคลังผู้ท�ำการควบคุมแทน ซึ่งได้ผลอย่างเดียวกัน บริษัทคลังสินค้าที่


ควบคุมรักษาสินค้านั้นก็จะประทับตราหรือท�ำเครื่องหมายแสดงไว้ให้เป็นที่ทรบว่าสินค้านั้นๆ อยู่ในความ
ควบคุมของเขา และตามปกติบริษทั คลังสินค้าจะจ้างคนยามเฝ้าดูแลในบริเวณนัน้ ๆ ด้วย1 บริษทั คลังสินค้า
จะออกเอกสารการฝากให้แก่เจ้าหนี้เป็นจ�ำน�ำ
ประโยชน์ของคลังสินค้า มีหลายประการนอกจากเป็นที่พักสินค้าระหว่างขนส่งและที่เก็บสินค้า


ระหว่างรอจ�ำหน่ายแล้ว ตามกฎหมายเจ้าของสินค้าสามารถที่จะขายสินค้าในคลัง โดยสลักหลังใบรับของ
คลังสินค้า และจ�ำน�ำสินค้าด้วยการสลักหลังประทวนสินค้า

มส
เรื่องที่ 5.1.1
กิจการคลังสินค้า

ได้กล่าวมาแล้วว่าการเก็บของในคลังสินค้าเป็นกิจการพาณิชย์ มีบคุ คลเกีย่ วข้องกันหลายฝ่าย คือ



นายคลังสินค้า ผู้ฝากสินค้า และผู้ทรงเอกสารตราสารการฝากสินค้านั้น โดยมีคลังสินค้าเป็นที่เก็บของที่
ฝาก จึงขอท�ำความเข้าใจในลักษณะของกิจการประเภทนี้ไว้เป็นพื้นฐานดังนี้
1. คลังสินค้า (warehouse) เป็นอาคารหรือสถานที่ซึ่งบุคคลใช้เก็บสิ่งของ วัสดุ พืชผลและที่ไว้
มส

สินค้า คลังสินค้ามี 2 ชนิด คือ


1.1 คลังสินค้าที่เจ้าของสร้างขึ้นเพื่อเก็บสินค้าของเขาเอง (private หรือ captive ware-
house) และ
1.2 คลังสินค้าที่จัดไว้เพื่อรับฝากสินค้าของคนอื่น (public warehouse) ความในหน่วยนี้
เป็นเรื่องคลังสินค้าประเภทหลัง

ที่เก็บสินค้ามีลักษณะต่างๆ กัน ออกแบบและจัดสร้างขึ้นตามความเหมาะสมกับสินค้าที่จะเก็บ
ในลักษณะที่จะรักษาของนั้นมิให้เสียหายหรือบุบสลายระหว่างเก็บรักษา มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น ยุ้งฉาง
ไซโล (Silo) โกดัง (godown) ห้องเย็น ลานเก็บ และอื่นๆ แต่ละอย่างใช้เก็บสินค้าต่างกัน ห้องเย็นใช้
เก็บของสด จ�ำพวกเนือ้ และปลาไซโลส�ำหรับเก็บพืชพันธุธ์ ญ ั ชาติ ส่วนโกดังใช้เก็บสินค้าทัว่ ไป ซึง่ ผูป้ ระกอบ
การจะต้องจัดบริการอย่างมีประสิทธิภาพเพือ่ ดึงดูดลูกค้าของตน เพราะถ้าของทีเ่ ก็บเสียหายเนือ่ งจากสถาน
ทีเ่ ก็บไม่ได้มาตรฐานสมกับทีผ่ ฝู้ ากไว้วางใจ หรือมุง่ หวัง นอกจากจะขาดความนิยมแล้ว ผูร้ บั ฝากหรือนาย
คลังสินค้าจะต้องรับผิดต่อลูกค้าในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย
สธ

1 นงเยาว์ ชัยเสรี ธุรกิจการเงินภาคต้น กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2519 น. 256.



เก็บของในคลังสินค้า 5-7

อุทาหรณ์
ฎ. 2920/2522 จ�ำเลยรับเก็บรักษาล�ำไยในห้องเย็นของจ�ำเลย จ�ำเลยเป็นผูม้ วี ชิ าชีพเฉพาะกิจการ
ค้าทางห้องเย็นต้องใช้ความระวังและฝีมอื อันเป็นธรรมดาและสมควรในกิจการห้องเย็น จ�ำเลยใช้ความเย็น
ไม่พอล�ำไยของโจทก์เน่าเสีย จ�ำเลยต้องใช้ค่าเสียหาย
การเก็บของในคลังสินค้านี้เป็นการรับฝากทรัพย์ของประชาชน จัดอยู่ในกิจการค้าขายที่กระทบ


ถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน2 ผู้ที่จะประกอบกิจการคลังสินค้าจะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับ
อนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แล้วจึงจะประกอบกิจการรับฝากของได้ มิฉะนั้นมีความผิด

มส
ทางอาญา แต่ไม่กระทบกระเทือนตัวบุคคลภายนอกผู้ฝากของโดยสุจริตไม่รู้ว่าผู้รับฝากมิได้ขออนุญาต
หมายความว่าสัญญาฝากผูกพันตามตกลง3
คลังสินค้านั้นมักจะตั้งอยู่ในย่านสะดวก เช่น อยู่ใกล้ชิดติดกับสถานที่ขนส่ง เช่น ท่าเรือสินค้า
ท่าเรือหาปลา สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง สนามบิน หรือในย่านการผลิตสินค้า เพราะว่านอกจากจะเป็นความ
สะดวกในการขนส่งทั่วไปแล้วยังเป็นการประหยัดและสะดวกในการขนย้ายด้วย
คลังสินค้าเกิดขึน้ จากความจ�ำเป็นในทางค้าขายโดยแท้ คือพ่อค้าต้องเก็บสินค้าไว้กอ่ นทีจ่ ะขนส่ง
ต่อไป เช่น สินค้าทีส่ ง่ มาจากต่างประเทศพักไว้ทคี่ ลังสินค้าก่อนผ่านพิธศี ลุ กากรและส่งต่อไปยังผูร้ บั บางที
เป็นเวลาหลายๆ วัน อีกอย่างหนึ่งสินค้าบางประเภทขายได้เป็นบางฤดูกาลระหว่างที่ยังไม่ได้ขายก็ต้อง
อาศัยคลังสินค้าเป็นที่เก็บรักษา แม้ทั้งที่จ�ำหน่ายได้ทุกฤดูกาลก็ยังต้องอาศัยคลังสินค้าอยู่ดี เพราะราคา

อาจไม่ดี เจ้าของไม่ต้องการขายขณะนั้น หรือแม้จะขายก็ไม่สามารถขายหมดในคราวเดียวยิ่งกว่านั้นการ
ผลิตจ�ำเป็นต้องอาศัยการเก็บตุนวัตถุดิบไว้ในคลังเพื่อจะได้ป้อนโรงงานโดยไม่ขาดแคลน
มส

อนึ่ง ผู้ค้าส่วนใหญ่ยากที่จะสร้างที่เก็บสินค้าของตนเอง เพราะบางรายอาจเป็นไปไม่ได้ บางราย


ท�ำได้แต่ไม่คมุ้ ค่าใช้จา่ ย สูเ้ ก็บไว้ในคลังสินค้าของคนอืน่ ดีกว่าเผือ่ ว่าเงินขาดมือยังอาจเอาเอกสารการฝาก
ไปจ�ำน�ำเอาเงินมาหมุนเวียนได้ แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เก็บของตัวเองแล้วจะจ�ำน�ำต้องขวนขวายให้นายคลังอื่น
เขามาควบคุมรักษาซึ่งในที่สุดตนเองจะต้องรับภาระเสียค่าใช้จ่าย ดังจะกล่าวในตอนต่อไป
2. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเก็บของในคลังสินค้า บุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกับการเก็บของในคลังสินค้า
ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้คือ

2.1 นายคลังสินค้า (warehouseman) เป็นผูป้ ระกอบกิจการคลังสินค้าโดยใน ปพพ. มาตรา
770 บัญญัตวิ า่ “อันว่านายคลังสินค้านัน้ คือบุคคลผูร้ บั ท�ำการเก็บรักษาสินค้าเพือ่ บ�ำเหน็จเป็นทางค้าปกติ
ของตน” ดังนีอ้ าจกล่าวได้วา่ นายคลังสินค้า คือ บุคคลผูร้ บั ท�ำการเก็บรักษาสินค้าเพือ่ บ�ำเหน็จเป็นทางค้า
ปกติของเขา เช่น นายก้อง สร้างโกดังเพื่อรับฝากของและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากพ่อค้าทั่วไป เพื่อเก็บค่า
ฝากเป็นรายได้ปกติของตน ดังนั้น นายก้องเป็นนายคลังสินค้า
สธ
2 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58/2515 ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2515 ข้อ 5 (2)
3 ฎ. 2450/2516 และ ฎ. 1124/2512 ซึ่งตัดสินอย่างเดียวกันว่าถ้าผู้ฝากรู้ว่าผู้รับฝากไม่ได้รับอนุญาตเท่ากับร่วมกับผู้ฝาก
ฝ่าฝืนกฎหมาย สัญญานั้นย่อมจะเป็นโมฆะตามมาตรา 113 (ปัจจุบันคือมาตรา 150) แต่เจ้าของทรัพย์ก็เรียกทรัพย์คืนฐาน
ลาภมิควรได้ ได้

5-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

นายคลังสินค้าไม่จ�ำเป็นจะต้องสร้างโกดังหรือเป็นเจ้าของคลังสินค้าเสมอไป อาจเป็นเพียง
ผูเ้ ช่าอาคารสถานทีป่ ระกอบกิจการรับฝากสิง่ ของจากบุคคลอืน่ ก็ได้ แต่จะต้องเป็นคูส่ ญ ั ญาเก็บของในคลัง
สินค้ากับผู้ฝากทั้งหลาย
อนึ่ง นายคลังสินค้านั้นเป็นพ่อค้าซึ่งแสวงหาประโยชน์เป็นบ�ำเหน็จตอบแทน ย่อมอยู่ใน
ข้อสันนิษฐานว่ากระท�ำการเพื่อบ�ำเหน็จ ใครกล่าวอ้างว่านายคลังสินค้าเก็บรักษาของให้แก่ตนโดยไม่มี


บ�ำเหน็จตอบแทน ผู้นั้นจะต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
ในกรณีทผี่ ้ปู ระกอบการกิจการคลังสินค้าเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษทั ซึง่ มอบให้บคุ คลหนึง่

มส
หรือหลายคนเป็นผูจ้ ดั การ มีอำ� นาจลงชือ่ ในเอกสารใบรับรองของคลังสินค้า หรือประทวนสินค้า ห้างหุน้ ส่วน
หรือบริษทั ผูป้ ระกอบการเป็นนายคลังสินค้าตามกฎหมาย ไม่ใช่บคุ คลผูล้ งลายมือชือ่ ในช่องนายคลังสินค้า
เป็นนายคลังสินค้า
อุทาหรณ์
ตัวอย่าง บริษัทโกดังสินประเสริฐ มีวัตถุประสงค์รับฝากสินค้าทั่วไป ได้ตั้งให้นายเฮงเป็น
ผู้จัดการลงลายมือชื่อในเอกสารการฝากในฐานะหัวหน้าฝ่ายคลังสินค้าวันหนึ่งมีขโมยลักสินค้าที่ฝากไป
หลายอย่าง กรณีเช่นนีบ้ ริษทั อยูใ่ นฐานะเป็นนายคลังสินค้าผูเ้ ป็นคูส่ ญั ญารับผิดต่อเจ้าของสินค้าทีห่ าย นาย
เฮงเป็นแต่เพียงตัวแทนของบริษัทเท่านั้น นายเฮงจึงไม่ใช่คู่สัญญาในกรณีนี้
2.2 ผู้ฝาก (depositor) เป็นคูส่ ญ
ั ญาอีกฝ่ายหนึง่ คือผูน้ ำ� สิง่ ของหรือสินค้าไปมอบให้นายคลัง

สินค้าเพื่อเก็บรักษา
ผู้ฝากปกติเป็นเจ้าของสินค้าหรือสิ่งของที่ฝาก ผู้ฝากอาจไม่ใช่เจ้าของสินค้านั้นก็ได้ แต่มี
มส

อ�ำนาจจัดการอย่างเจ้าของ เช่น
ตัวอย่าง 1 แดงได้ส่งสินค้าไปให้ขาวในต่างจังหวัด ขาวในฐานะตัวแทนค้าต่างได้นำ� สินค้า
นั้นไปฝากไว้กับโกดังของเขียว ขาวก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฝากเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
ตัวอย่าง 2 บริษทั ขนส่งสินค้า ระหว่างทางรถเสียจะต้องขนสินค้าลงจากรถเพือ่ ซ่อมหลายวัน
ต้องเก็บสินค้าไว้ในโกดังเพือ่ ความปลอดภัย บริษทั ขนส่งสินค้าย่อมได้ชอื่ ว่าเป็นผูฝ้ ากเป็นคูส่ ญ ั ญากับนาย
คลังสินค้า

อีกเรื่องหนึ่ง

ส่วนผู้ใดจะเป็นผู้มีอ�ำนาจสลักหลังเอกสารการฝากของ เพื่อขายและ/หรือเพื่อจ�ำน�ำเป็น

2.3 ผู้รับสลักหลังตราสารการฝาก มีอยู่ 2 ประเภท คือ 1) ผู้รับสลักหลังใบรับของคลัง


สินค้าในฐานะผูร้ บั โอนกรรมสิทธิใ์ นสินค้านัน้ พวกหนึง่ และ 2) ผูร้ บั สลักหลังประทวนสินค้า และใบรับของ
คลังสินค้าในฐานะผู้รับจ�ำน�ำอีกพวกหนึ่ง
ผู้ฝากและนายคลังสินค้านั้นมิได้เพียงคนเดียวแต่ผู้รับสลักหลังมีได้หลายคน เช่น แดงฝาก
ของในคลังสินค้าบริษัทโกดังทอง จ�ำกัด ต่อมาแดงได้โอนขายสินค้าให้ขาว ขาวได้สลักหลังจ�ำน�ำ
สธ
ประทวนสินค้าให้เหลืองและโอนขายสินค้าต่อให้มว่ ง ม่วงได้สลักหลังขายสินค้าต่อไปให้เขียว บุคคลทัง้ หมด
คือ แดง ขาว เหลือง ม่วงและเขียวตลอดจนบริษัทโกดังทอง จ�ำกัด ต่างมีความผูกพันต่อกันตามหน้าที่
ของตนเหมือนคู่สัญญาในตั๋วเงิน

เก็บของในคลังสินค้า 5-9

3. ค่าตอบแทนการฝากของในคลังสินค้า
บ�ำเหน็จ เป็นค่าตอบแทนในการเก็บรักษาสิง่ ของในคลังสินค้าซึง่ มักจะมีเสมอ แต่อาจมีขอ้ ยกเว้น
บางราย เพราะเป็นกิจการค้าเป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้รับฝากจะต้องท�ำเพื่อค่าตอบแทน ดังความใน ปพพ.
มาตรา 770 ทีย่ กมาในข้างต้นนัน่ เอง เพราะฉะนัน้ ย่อมตกอยูใ่ นข้อสันนิษฐานว่าฝากทรัพย์มบี ำ� เหน็จ ผูใ้ ด
กล่าวอ้างว่าฝากเปล่าๆ โดยไม่มีบ�ำเหน็จ ผู้นั้นมีหน้าที่พิสูจน์ เพราะเหตุที่บ�ำเหน็จเป็นปัจจัยส�ำคัญใน


สัญญา การฝากของในคลังสินค้าจึงมักจะก�ำหนดบ�ำเหน็จค่าฝากกันไว้เสมอ ในการออกเอกสารการฝาก
ของไม่ว่าจะเป็นใบรับของคลังสินค้าหรือประทวนสินค้า ปพพ. มาตรา 778 (3) บังคับให้ระบุบ�ำเหน็จค่า
ฝากไว้ด้วย

มส
บ�ำเหน็จในทางการค้านั้นมักเป็นเงิน อาจเป็นเงินไทยหรือเงินสกุลต่างประเทศก็ได้สุดแท้แต่ข้อ
ตกลงของคู่สัญญา กฎหมายมิได้ก�ำหนดว่าบ�ำเหน็จจะต้องเป็นเงิน คู่สัญญาจะตกลงกันเป็นอย่างอื่นก็ได้
เช่น นายแดงน�ำข้าวเปลือกฝากในไซโลของนายด�ำ อาจตกลงให้ขา้ วเปลือกทีฝ่ ากส่วนหนึง่ เป็นบ�ำเหน็จค่า
ฝากแก่นายด�ำได้ สัญญาเก็บของในคลังสินค้าจึงเป็นสัญญามีค่าตอบแทน
3.1 อัตราค่าบ�ำเหน็จ มักจะก�ำหนดกันตามสะดวกของนายคลังสินค้า ผู้ประกอบการ โดย
ค�ำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง ไม่เหมือนกันทุกแห่งไป สุดแล้วแต่สภาพและสถานที่ตั้งของคลังสินค้า
คลังสินค้าใหม่อาจคิดค่าฝากแพง คลังสินค้าที่อยู่ใกล้ท่าเรือนํ้าลึก สามารถคิดค่าฝากสูงและสมํ่าเสมอ แต่
คลังสินค้าที่อยู่ในตรอกในซอยคนไม่นิยมฝาก ไม่สามารถจะคิดค่าฝากสูงดังต้องการได้ก็จะคิดค่าฝากลด
มาให้เหมาะกับความต้องการของผู้ฝาก

อัตราค่าฝากมักก�ำหนดกันไว้เป็นรายเดือนเพราะความสะดวกในการคิดค�ำนวณ แม้จะฝาก
ในระยะเวลาน้อยหรือมากกว่านัน้ ก็ตาม สุดแท้แต่ประเภทของสิง่ ของทีฝ่ าก อาจคิดตามนํา้ หนักหรือปริมาตร
มส

หรือทัง้ สองอย่างประกอบกันก็สดุ แท้แต่นายคลังสินค้า โกดังใหญ่ๆ อย่างเช่นของการท่าเรือมักจะจัดพิมพ์


อัตราไว้ให้ลกู ค้าทราบ ถ้าไม่ได้กำ� หนดอัตราค่าฝากไว้กเ็ ห็นจะต้องคิดอัตราตามธรรมเนียมปฏิบตั ิ ถ้าไม่มี
ธรรมเนียมปฏิบัติต้องคิดอัตราตามสมควรตามหลักทั่วไป
3.2 ก�ำหนดช�ำระ ปพพ. มาตรา 669 บัญญัติว่า “ถ้าไม่ได้ก�ำหนดเวลาไว้ในสัญญา หรือ
ไม่มีก�ำหนดโดยจารีตประเพณีว่าบ�ำเหน็จค่าฝากทรัพย์นั้นจะพึงช�ำระเมื่อไรไซร้ ท่านให้ช�ำระเมื่อคืน
ทรัพย์สินซึ่งฝาก ถ้าได้ก�ำหนดเวลากันไว้เป็นระยะอย่างไร ก็พึงช�ำระเมื่อสิ้นระยะเวลานั้นทุกคราวไป”

ปพพ. 669 ให้ถือข้อตกลงเป็นส�ำคัญ ถ้าคู่กรณีตกลงกันไว้ให้ช�ำระเมื่อใดก็ช�ำระเมื่อนั้น
ถ้าไม่มีกำ� หนดก็ถือตามประเพณี ถ้าไม่มีก�ำหนดกันไว้โดยสัญญา หรือไม่มีกำ� หนดโดยจารีตประเพณี ว่า
จะจ่ายบ�ำเหน็จกันเมื่อใด ให้ใช้กันเมื่อคืนทรัพย์สินซึ่งฝาก เพราะสะดวกคือยกของออกไปเมื่อใดก็คิดกัน
เมื่อนั้น
ในทางปฏิบัติมักจะระบุแต่เพียงระยะเวลาฝากว่าฝากตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด เป็นการเข้าใจ
โดยปริยายว่าถอนสินค้าเมือ่ ใดจ่ายค่าฝากเมือ่ นัน้ ในกรณีทมี่ ไิ ด้กำ� หนดเวลาช�ำระค่าฝากไว้เช่นนีน้ ายคลัง
สินค้าจะไม่เรียกร้องค่าฝากก่อนที่ผู้ฝากถอนสินค้า
สธ
3.3 ผู้มีหน้าที่ช�ำระค่าบ�ำเหน็จ ผู้มีหน้าที่ช�ำระค่าฝากก็คือ ผู้ฝากนั้นเองในฐานะที่เป็นคู่
สัญญาเบื้องต้น เช่น แดงฝากสินค้าไว้ที่คลังสินค้าของบริษัทโกดังทองสัญญาจะจ่ายค่าฝากเป็นรายเดือน
แดงมีหน้าที่จะต้องน�ำค่าฝากไปช�ำระเมื่อถึงก�ำหนด

5-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อนึง่ นายคลังสินค้ามีสทิ ธิยดึ หน่วงของทีฝ่ าก ตาม ปพพ. มาตรา 630 ประกอบมาตรา 772
เพราะฉะนัน้ สิทธิยดึ หน่วงนีจ้ งึ ยกขึน้ ต่อสูผ้ รู้ บั สลักหลังเอกสารการฝากได้ทกุ คนไม่วา่ จะเป็นผูร้ บั จ�ำน�ำสินค้า
หรือผู้รับโอนสินค้านั้น ผู้สลักหลังมีสิทธิอย่างไรในขณะที่ตนรับสลักหลังตนย่อมจะรับผลตามนั้น ในกรณี
ที่มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ฝากนายคลังสินค้ามีสิทธิที่จะหักค่าฝากไว้ก่อน แล้วจึงจ่ายให้ผู้รับจ�ำน�ำ
แม้เงินที่ขายได้นั้นจะไม่คุ้มหนี้ก็ตาม ผู้รับโอนสินค้าก็ท�ำนองเดียวกัน ถ้าผู้ฝากยังไม่ช�ำระบ�ำเหน็จค่าฝาก


นายคลังสินค้าไม่ยอมให้ถอนสินค้าตนก็จำ� เป็นต้องช�ำระค่าฝาก

กิจกรรม 5.1.1
มส
จงอธิบายความหมายของนายคลังสินค้าพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

แนวตอบกิจกรรม 5.1.1
นายคลังสินค้า เป็นผูป้ ระกอบกิจการคลังสินค้าโดยใน ปพพ. มาตรา 770 ได้ให้คำ� นิยามของนาย
คลังสินค้าไว้ว่า คือ บุคคลผู้รับท�ำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบ�ำเหน็จเป็นทางค้าปกติของเขา เช่น นายก้อง
สร้างโกดังเพื่อรับฝากสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากพ่อค้าทั่วไป เพื่อเก็บค่าฝากเป็นรายได้ปกติของตน
ดังนั้น นายก้องเป็นนายคลังสินค้า

มส


สธ

เก็บของในคลังสินค้า 5-11

เรื่องที่ 5.1.2
การเก็บของในคลังสินค้ากับการฝากทรัพย์


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีบทนิยามจ�ำกัดความว่า เก็บของในคลังสินค้าคืออะไร แต่
พอสรุปได้ว่าหมายถึง สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่า นายคลังสินค้า ซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาสินค้าเพื่อ

มส
บ�ำเหน็จเป็นการค้าปกติได้ตกลงกับคูส่ ญ ั ญาอีกฝ่ายหนึง่ เรียกว่าผูฝ้ าก ว่านายคลังสินค้าจะเก็บรักษาสินค้า
ของผูฝ้ ากไว้ในคลังสินค้า และเมือ่ ผูฝ้ ากต้องการ จะออกใบรับของคลังสินค้ากับประทวนสินค้าให้แก่ผฝู้ าก
เป็นหลักฐานเพื่อผู้ฝากจะได้โอนหรือจ�ำน�ำสินค้าต่อไปได้ โดยผู้ฝากตกลง จะให้บ�ำเหน็จค่าฝากแก่นาย
คลังสินค้าตามอัตราที่กำ� หนดไว้เป็นการตอบแทน4
1. ความแตกต่างระหว่างการเก็บของในคลังสินค้ากับการฝากทรัพย์ มีดังนี้ คือ
1.1 การเก็บของในคลังสินค้าเป็นเรื่องธุรกิจ ซึ่งต้องมีเงินทุนหมุนเวียน การเก็บของใน
คลังสินค้าจึงมีบ�ำเหน็จเป็นเครื่องตอบแทนทุกกรณีไป แม้ไม่ได้ตกลงค่าบ�ำเหน็จกันไว้ก็ต้องถือว่ามีและ
เรียกเอาได้ หากจะมีการเก็บสินค้าให้เปล่าๆ ก็คงเป็นข้อยกเว้น ดังก�ำหนดไว้ใน ปพพ. มาตรา 770 นัน่ เอง
ส่วนการฝากทรัพย์ทั่วๆ ไป ปกติเป็นการไหว้วานใช้สอย เช่น แดงจะไปตากอากาศจึงน�ำของมีค่าไปฝาก

ไว้กับด�ำเพื่อนบ้าน ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จะคิดเอาบ�ำเหน็จค่าฝากแก่กัน แดงอาจซื้อปลาเค็มมาฝากด�ำสัก
ตัวหนึง่ นัน่ เป็นสินนาํ้ ใจไม่ใช่บำ� เหน็จค่าฝาก ถ้าแดงและด�ำจะคิดบ�ำเหน็จค่าฝากทรัพย์แก่กนั ต้องตกลงกัน
ไว้ มิฉะนั้นผู้รับฝากจะเรียกเอาบ�ำเหน็จไม่ได้
มส

1.2 การเก็บของในคลังสินค้านั้นมีเอกสารการฝาก ได้แก่ ใบรับของคลังสินค้าและใบ


ประทวนสินค้า ดังบัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 775 ว่า “ถ้าผู้ฝากต้องการไซร้ นายคลังสินค้าต้องส่งมอบ
เอกสารซึ่งเอาออกจากทะเบียนมีต้นขั้วเฉพาะการอันมีใบรับของคลังสินค้าฉบับหนึ่ง และประทวนสินค้า
ฉบับหนึง่ ให้แก่ผฝู้ าก” โดยนายคลังสินค้าจะต้องออกให้แก่ผฝู้ ากเอกสารดังกล่าว นอกจากจะเป็นหลักฐาน
ในการฝากแล้วกฎหมายยังอนุญาตให้ผฝู้ ากสลักหลัง โอนขายหรือจ�ำน�ำสินค้าแล้วแต่กรณีกไ็ ด้ แต่การฝาก

ทรัพย์ธรรมดากฎหมายหาบังคับให้ผู้รับฝากต้องออกใบรับแก่ผู้ฝากไม่ แม้จะออกให้ก็เป็นเพียงหลักฐาน
กันเป็นส่วนตัวจะเอาไปจ�ำน�ำแก่ใครก็ไม่ได้ ต้องน�ำตัวทรัพย์จริงๆ ไปจ�ำน�ำ
อนึ่ง เอกสารการเก็บของในคลังสินค้านั้นกฎหมายก�ำหนดรายการไว้เป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อ
ความสะดวกในการด�ำเนินธุรกิจ แต่ในการฝากทรัพย์ทั่วๆ ไป แม้หากจะมีการออกใบรับกฎหมายไม่ได้
บังคับว่าต้องมีรายการอะไรบ้าง กฎหมายเขียนเพียงว่าได้รับสิ่งของอะไรได้จากใคร ตั้งแต่เมื่อใดก็เพียง
พอแล้ว
สธ
4
สุบัน พูลพัฒน์ คำ�อธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอม
ความ การพนันและขันต่อ กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์นิติบรรณาการ พ.ศ. 2532 น. 109.

5-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

1.3 การเก็บของ ในคลังสินค้ามีทเี่ ก็บเรียกว่า “คลังสินค้า” แต่การฝากทรัพย์ทวั่ ๆ ไปไม่มี


คลังที่เก็บ
1.4 มีกฎหมายควบคุม การเก็บของในคลังสินค้านั้น กฎหมายควบคุมเพราะเป็นกิจการที่
กระทบถึงความปลอดภัยและความผาสุกของสาธารณชน ส่วนการฝากทรัพย์ทวั่ ๆ ไปกฎหมายมิได้ควบคุม
การประกอบกิจการ


1.5 สิง่ ของทีฝ่ าก ในคลังสินค้านัน้ ต้องเป็นสินค้า5 แต่ทรัพย์ทชี่ าวบ้านฝากกันทัว่ ๆ ไป ปกติ
ไม่ใช่สินค้า

มส
2. การน�ำบทบัญญัติในเรื่องฝากทรัพย์มาใช้ ปพพ. มาตรา 771 ให้น�ำมาใช้ได้เพียงเท่าที่ไม่ขัด
กับบทบัญญัตใิ นลักษณะนี้ ถ้าบทบัญญัตใิ นลักษณะนีก้ ล่าวไว้ แล้วก็เป็นเรือ่ งเฉพาะไปจะน�ำบทบัญญัตใิ น
เรื่องฝากทรัพย์ทั่วๆ ไปมาใช้ไม่ได้อยู่เอง เช่น ถ้าถามว่าการเก็บของในคลังสินค้าคืออะไร ก็ต้องน�ำ
บทบัญญัตใิ นเรือ่ งเก็บของในคลังสินค้ามาใช้ ดังนีเ้ ป็นต้น นักศึกษาจะเห็นจากการศึกษาต่อไปว่า เรือ่ งเก็บ
ของในคลังสินค้านี้ได้น�ำเอาบทบัญญัติในเรื่องฝากทรัพย์ธรรมดามาใช้เป็นส่วนใหญ่ เช่น ถ้ามีปัญหาว่า
นายคลังสินค้ามีหน้าที่ใช้ความระมัดระวังและฝีมือมากน้อยเพียงใดต้องอาศัย ปพพ. มาตรา 659 ความ
รับผิดของนายคลังสินค้าเมื่อเอาของที่ฝากไปใช้ต้องใช้ ปพพ. มาตรา 660 นายคลังสินค้ามีหน้าที่ต้องแจ้ง
ให้ผู้ฝากทราบเมื่อมีบุคคลภายนอกอ้างสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ฝากไว้ ตาม ปพพ. มาตรา 661 การคืน
ทรัพย์สินและการถอนทรัพย์สินที่ฝากต้องใช้ ปพพ. มาตรา 662, 663 และ 664 การคืนดอกผลของ

ทรัพย์สินที่ฝากต้องอาศัย ปพพ. มาตรา 666 ความรับผิดของผู้ฝากในการคืนทรัพย์สินใช้ ปพพ. มาตรา
667 ค่าใช้จ่ายในการรักษาทรัพย์ซึ่งฝากผู้ฝากเป็นผู้รับภาระตาม ปพพ. มาตรา 668 ก�ำหนดจ่ายบ�ำเหน็จ
มส

ค่าฝากใช้ ปพพ. มาตรา 669 สิทธิยึดหน่วงของนายคลังสินค้าใช้ ปพพ. มาตรา 680 และอายุความเกี่ยว


บ�ำเหน็จค่าฝาก ค่าใช้จ่าย และค่าสินไหมทดแทน ใช้ ปพพ. มาตรา 671 เป็นต้น เพราะเรื่องเหล่านี้
บทบัญญัติในเรื่องเก็บของในคลังสินค้าไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ส่วนข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับบ�ำเหน็จ
ค่าฝากนั้น ปพพ. มาตรา 770 ในเรื่องเก็บของในคลังสินค้าบัญญัติไว้แล้วว่า นายคลังสินค้ารับท�ำการเก็บ
สินค้าเพื่อบ�ำเหน็จอยู่แล้ว ไม่น�ำข้อสันนิษฐานเรื่องบ�ำเหน็จ ตาม ปพพ. มาตรา 658 มาใช้ ใครน�ำทรัพย์
ไปฝากไว้กับนายคลังสินค้าต้องถือว่าตกลงเสียบ�ำเหน็จ ตาม ปพพ. มาตรา 770 และการคืนทรัพย์ที่ฝาก

เราก็ยังน�ำ ปพพ. มาตรา 665 มาใช้ได้ตามจ�ำเป็น แต่ถ้ามีการสลักหลังโอนขาย หรือจ�ำน�ำสินค้าที่ฝาก
เราต้องมาใช้บทบัญญัติในเรื่องเก็บของในคลังสินค้าซึ่งบัญญัติไว้แล้วโดยเฉพาะ
สธ

5 สิ่งของที่ซื้อขายกัน

เก็บของในคลังสินค้า 5-13

กิจกรรม 5.1.2
1. สัญญาเก็บของในคลังสินค้ากับสัญญาฝากทรัพย์ทั่วไปเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
2. การน�ำบทบัญญัติในเรื่องฝากทรัพย์มาใช้กับการเก็บของในคลังสินค้าใช้อย่างไร อธิบาย


แนวตอบกิจกรรม 5.1.2
1. เก็บของในคลังสินค้า ก็คือฝากทรัพย์ชนิดหนึ่งนั่นเอง เกิดจากสัญญาระหว่างนายคลังสินค้า

มส
ผูร้ บั ฝากอาชีพกับผูฝ้ ากซึง่ ส่วนใหญ่กเ็ ป็นพ่อค้าอีกเหมือนกัน เพราะฉะนัน้ สัญญาเก็บของคลังสินค้าจึงเป็น
สัญญาฝากทรัพย์ชนิดหนึ่ง จะต่างกับสัญญาฝากทรัพย์ทั่วๆ ไปก็เฉพาะคู่สัญญากับวัตถุแห่งสัญญาคือ
ทรัพย์ที่ฝาก ซึ่งท�ำให้มีผลแตกต่างจากการฝากทรัพย์ธรรมดาไปบ้าง กฎหมายจึงได้บัญญัติรองรับไว้เป็น
พิเศษในลักษณะนี้
2. การน�ำบทบัญญัตใิ นเรือ่ งฝากทรัพย์ทวั่ ๆ ไปมาใช้กบั การเก็บของในคลังสินค้านัน้ ใช้เท่าทีไ่ ม่ขดั
กับบทบัญญัติเฉพาะที่กำ� หนดวิธีการพิเศษไว้ในเรื่องเก็บของในคลังสินค้าแล้ว

เรื่องที่ 5.1.3

ระยะเวลาฝาก
มส

ระยะเวลาฝากก�ำหนดไว้เพือ่ ประโยชน์ของผูฝ้ าก ดังจะเห็นได้จาก ปพพ. มาตรา 774 ซึง่ บัญญัติ


ว่า “นายคลังสินค้าจะเรียกให้ผู้ฝากถอนสินค้าไปก่อนสิ้นระยะเวลาที่ตกลงกันไว้นั้น ท่านว่าหาอาจท�ำได้
ไม่ ถ้าไม่มีก�ำหนดเวลาส่งคืนสินค้า นายคลังสินค้าจะส่งคืนได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้ผู้ฝากทราบล่วงหน้า
เดือนหนึ่ง แต่ท่านมิให้ผู้ฝากต้องถูกบังคับให้ถอนสินค้าไปก่อนเวลาล่วงแล้วสองเดือน นับแต่วันที่ได้

ส่งมอบฝากไว้” และ ปพพ. มาตรา 663 บัญญัติว่า “ถึงแม้ว่าคู่สัญญาจะได้ก�ำหนดเวลาไว้ว่าจะพึงคืน
ทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเมื่อไรก็ตาม ถ้าว่าผู้ฝากจะเรียกคืนในเวลาใดๆ ผู้รับฝากก็ต้องคืนให้”
จากความใน 2 มาตราดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าระยะเวลาการฝากของในคลังสินค้าอาจแบ่ง
แยกออกได้เป็น 2 กรณี คือ
1. กรณีก�ำหนดระยะเวลาฝากไว้ นายคลังสินค้าจะบังคับให้ผู้ฝากถอนสินค้าไปก่อนหน้านั้นไม่
ได้
สธ
ตัวอย่าง แดงฝากสินค้าข้าวเปลือกไว้ในโกดังของบริษทั โกดังทอง ก�ำหนดเวลาฝาก 3 เดือน หลัง
จากฝากหนึ่งเดือน โกดังของบริษัทโกดังทองถูกไฟไหม้หลังคาไปแถบหนึ่ง บริษัทประสงค์จะซ่อมหลังคา
จึงเรียกให้แดงขนข้าวเปลือกออกไป กรณีนี้บริษัทจะกระท�ำไม่ได้

5-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ในทางตรงข้าม ถ้าแดงต้องการของคืน บริษัทโกดังทองต้องจัดการคืนสินค้าให้แดงตามต้องการ


แม้จะได้ก�ำหนดเวลาฝากไว้ก็ตาม มิฉะนั้นถือว่าผิดหน้าที่ซึ่งก็คือผิดนัดและจะต้องรับผิดชอบในความ
เสียหายบรรดาทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างนัน้ แม้กระทัง่ ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ โดยอุบตั เิ หตุ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร เกิด
เพลิงไหม้ยา่ นนัน้ ลามมาไหม้โกดังทีเ่ ก็บของของแดงอันมิใช่ความผิดของบริษทั โกดังทองเลยก็ตาม บริษทั
ก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่แดง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงแม้ตนจะคืนข้าวให้แดงตามที่แดงบอก ความ


เสียหายก็ยังจะเกิดขึ้นอยู่ดี เช่น แดงแจ้งว่าจะน�ำข้าวไปเก็บไว้ใต้ถุนบ้านของแดงในย่านนั้น ซึ่งบ้านของ
แดงก็ถูกไฟไหม้เหมือนกัน

ไว้ได้
มส
อย่างไรก็ตามผูฝ้ ากจะต้องช�ำระค่าฝากด้วย มิฉะนัน้ นายคลังสินค้าอาจใช้สทิ ธิยดึ หน่วงของทีฝ่ าก

2. กรณีที่มิได้ก�ำหนดเวลาฝาก ในกรณีนี้ผู้ฝากถอนสินค้าเมื่อใดก็ได้ โดยยอมเสียค่าฝากตาม


อัตราที่ตกลง และถอนได้ในทันทีที่ต้องการ แต่ในทางกลับกันนายคลังสินค้าจะส่งคืนแก่ผู้ฝากทันทีไม่ได้
เหตุผลก็เพราะว่าผูฝ้ ากไม่มที เี่ ก็บของ ผูฝ้ ากจึงได้นำ� มาฝากเก็บในคลังสินค้า ถ้านายคลังสินค้าคืนของแก่
ผู้ฝากโดยกะทันหันผู้ฝากก็ไม่สามารถหาที่เก็บของได้ ปพพ. มาตรา 774 จึงให้นายคลังสินค้าบอกกล่าว
ก่อนว่า จะคืนของที่ฝากล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน และจะต้องเป็นเวลา 2 เดือน หลังจากฝากด้วยเพื่อ
ให้ผู้ฝากได้เตรียมตัว
ตัวอย่าง แดงน�ำข้าวเปลือกไปฝากไว้ในไซโล6 ของบริษัทโกดังทอง เมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

เพื่อรอส่งไปต่างประเทศโดยไม่ได้กำ� หนดระยะเวลาฝากไว้ ต่อมาอีก 10 วัน มีลูกค้ารายใหญ่ซึ่งจะต้องน�ำ
ข้าวเปลือกมาฝากไว้ในไซโลอีกเป็นจ�ำนวนมาก ถ้าบริษัทโกดังทองไม่คืนข้าวของแดงไปที่เก็บข้าวจะมีไม่
มส

เพียงพอ บริษัทโกดังทองจึงส่งคืนข้าวเปลือกของแดงที่ฝากไว้ในอีก 5 วันต่อมา จากกรณีนี้แดงต้องไป


เช่าไซโลของบริษทั สรรพสินค้าในอัตราค่าเช่าแพงขึน้ ไปอีก และเสียค่าใช้จา่ ยอย่างอืน่ อีกคิดเป็นเงิน 10,000
บาท บริษทั โกดังทองต้องรับผิดชอบชดใช้คา่ เสียหาย 10,000 บาทให้แก่แดง เพราะยังไม่ได้บอกกล่าวก่อน
ว่าจะคืนของที่ฝากให้ทราบล่วงหน้าก่อน 1 เดือน
จากกรณีดงั กล่าวมาในข้างต้นหมายความว่านายคลังสินค้ากระท�ำโดยฝืนใจผูฝ้ าก หากแดงตกลง
ด้วยก็จะไม่เกิดปัญหา หรือแม้แต่แดงจะไม่ตกลงด้วย ถ้าบริษัทโกดังทองได้บอกกล่าวให้แดงทราบล่วง

หน้า 1 เดือนว่าจะส่งคืนสินค้านั้นและได้ส่งภายหลังการฝาก 2 เดือนก็เป็นอันใช้ได้ ตามตัวอย่างข้างต้น
บริษัทโกดังทองจะส่งคืนข้าวเปลือกแก่แดงได้ต่อเมื่อภายหลังวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และจะต้อง
บอกให้นายแดงรู้ตัวก่อนหน้านั้น 1 เดือน เป็นอย่างน้อย กรณีเช่นนี้แม้จะเกิดความเสียหายแก่แดง เช่น
แดงไม่ได้เตรียมที่เก็บต้องกองข้าวเปลือกไว้หน้าบ้าน ถูกฝนเสียหาย บริษัทก็ไม่ต้องรับผิดชอบ
การนับระยะเวลา 1 เดือนก่อนส่งคืนสินค้าทีฝ่ ากนัน้ นับแต่ผฝู้ ากได้รบั ค�ำบอกกล่าวไม่ใช่นบั แต่วนั
ส่งค�ำบอกกล่าว
สธ
6สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ทําด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน ภายในมีระบบกันความชื้นและระบายอากาศเป็นต้น สําหรับเก็บ
ผลิตผลทางเกษตร

เก็บของในคลังสินค้า 5-15

กิจกรรม 5.1.3
ระยะเวลาฝากก�ำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ผู้ใด จงอธิบาย

แนวตอบกิจกรรม 5.1.3


ระยะเวลาฝากก�ำหนดไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ฝากดังจะเห็นได้จาก ปพพ. มาตรา 774 ซึ่งบัญญัติ
ว่า “นายคลังสินค้าจะเรียกให้ผู้ฝากถอนสินค้าไปก่อนสิ้นระยะเวลาที่ตกลงกันไว้นั้น ท่านว่าหาอาจท�ำ

มส
ได้ไม่ ถ้าไม่มีกำ� หนดเวลาส่งคืนสินค้า นายคลังสินค้าจะส่งคืนได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้ผู้ฝากทราบล่วงหน้า
เดือนหนึ่ง แต่ท่านมิให้ผู้ฝากต้องถูกบังคับให้ถอนสินค้าไปก่อนเวลาล่วงแล้วสองเดือน นับแต่วันที่ได้
ส่งมอบฝากไว้” และ ปพพ. มาตรา 663 บัญญัติว่า “ถึงแม้ว่าคู่สัญญาจะได้ก�ำหนดเวลาไว้ว่าจะพึงคืน
ทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเมื่อไรก็ตาม ถ้าว่าผู้ฝากจะเรียกคืนในเวลาใดๆ ผู้รับฝากก็ต้องคืนให้”

มส


สธ

5-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 5.2
สิทธิหน้าที่และความรับผิดของนายคลังสินค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

มส
5.2.1
5.2.2
5.2.3
5.2.4
5.2.5
5.2.6
5.2.7
สิทธิของนายคลังสินค้า
หน้าที่เก็บรักษาสินค้าที่ฝาก
หน้าที่บอกกล่าวเมื่อบุคคลภายนอกอ้างสิทธิเหนือสินค้าที่ฝาก
หน้าที่คืนสินค้าที่ฝาก
หน้าที่เบ็ดเตล็ด
ความรับผิดของนายคลังสินค้า
หน้าที่และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้องกับการฝากสินค้า

แนวคิด

1. น ายคลังสินค้ามีสิทธิที่จะได้บ�ำเหน็จค่าฝาก ค่าบ�ำรุงรักษาทรัพย์ที่ฝาก ค่าส่งคืนทรัพย์
และค่าเสียหาย นอกจากนี้ยังมีสิทธิที่จะยึดหน่วงทรัพย์ และจัดการกับทรัพย์ที่รับฝาก
ได้ตามความจ�ำเป็น
มส

2. ในการเก็บรักษาทรัพย์ทฝี่ ากนัน้ นายคลังสินค้าจะต้องเก็บรักษาทรัพย์ดว้ ยตนเอง ยกเว้น


ในกรณีทเี่ กิดความจ�ำเป็นรีบด่วน หรือผูฝ้ ากยินยอมให้ปฏิบตั เิ ช่นนัน้ ได้ นอกจากนีน้ าย
คลังสินค้าจะต้องใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาทรัพย์นั้นด้วย
3. เมือ่ มีบคุ คลภายนอกอ้างสิทธิเหนือทรัพย์สนิ ทีร่ บั ฝากและยืน่ ฟ้องนายคลังสินค้า หรือยึด
ทรัพย์ที่ฝาก ผู้รับฝากหรือนายคลังสินค้าต้องรีบบอกกล่าวแก่ผู้ฝากโดยฉับพลัน ถ้า
ชักช้าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ฝากนั้น นายคลังสินค้าจะต้องรับผิด

4. ในกรณีทไี่ ม่มใี บรับของคลังสินค้า การคืนทรัพย์ทฝี่ ากให้ปฏิบตั ติ ามลักษณะการคืนทรัพย์
โดยทั่วไป แต่ถ้ามีการออกใบรับของคลังสินค้า ต้องมีการเวนคืนเอกสารด้วยและการ
เรียกทรัพย์คนื ผูฝ้ ากจะปฏิบตั เิ มือ่ ใดก็ได้ แต่นายคลังสินค้าจะคืนทรัพย์กอ่ นก�ำหนดเวลา
มิได้
5. นายคลังสินค้าจะต้องคืนทรัพย์ทฝี่ ากให้แก่ผฝู้ ากซึง่ เป็นคูส่ ญั ญาโดยตรง และต้องเวนคืน
ใบรับของคลังสินค้าด้วย
สธ
6. นายคลังสินค้ามีหน้าที่เบ็ดเตล็ดอื่นๆ อีก ได้แก่ การให้ผู้ทรงตราสารตรวจและเอา
ตัวอย่างสินค้า ออกเอกสารการฝาก จดรายการจ�ำน�ำลงในต้นขั้วเอกสารตลอดจนแยก
สินค้าและออกเอกสารใหม่ เป็นต้น

เก็บของในคลังสินค้า 5-17

7. น ายคลังสินค้าจะต้องรับผิด ถ้าน�ำเอาสินค้าทีฝ่ ากไปใช้โดยไม่ได้รบั อนุญาตหรือน�ำทรัพย์


ไปให้ผู้อื่นเก็บรักษา มิได้จดแจ้งการจ�ำน�ำ ตลอดจนมิได้แจ้งการขายสินค้า
8. ใบรับของคลังสินค้าหรือประทวนสินค้า หรือเอกสารอืน่ ๆ ทีน่ ายคลังสินค้าได้ออกให้แก่
ผูฝ้ าก ถ้ามีขอ้ ความยกเว้นหรือจ�ำกัดความรับผิดของนายคลังสินค้าประการใด ข้อความ


นั้นตกเป็นโมฆะ เว้นแต่ผู้ฝากจะแสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง
9. ความรับผิดของนายคลังสินค้าจะสิ้นสุดลงในเมื่อผู้ฝากได้รับของคืนไว้แล้ว และถ้าเป็น

มส กรณีที่มีความสูญหายหรือบุบสลายเกิดขึ้น โดยเห็นไม่ได้จากสภาพภายนอก ผู้ฝากจะ


ต้องบอกกล่าวแก่นายคลังสินค้าภายใน 8 วันนับแต่วันส่งมอบสินค้า
10. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเก็บของในคลังสินค้านอกจากคู่สัญญาเก็บของในคลังสินค้าแล้ว
ยังมีผู้รับโอนสินค้า และผู้รับจ�ำน�ำ
11. ผฝู้ ากมีหน้าทีต่ อ้ งแจ้งสภาพและปริมาณแก่นายคลังสินค้า ตลอดจนเสียค่าใช้จา่ ยในการ
คืนทรัพย์ที่ฝาก ส�ำหรับผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ฝาก ยกเว้นหน้าที่การแจ้ง
สภาพและจ�ำนวนของทรัพย์นนั้ ส่วนผูร้ บั จ�ำน�ำมีหน้าทีร่ ว่ มกับผูฝ้ ากจดแจ้งการสลักหลัง
ประทวนสินค้า แต่หน้าที่อันส�ำคัญก็คือแจ้งการจ�ำน�ำให้นายคลังสินค้าทราบ
12. ผู ้ ฝ ากและผู ้ รั บ โอนสิ น ค้ า มี สิ ท ธิ ที่ จ ะถอนทรั พ ย์ ที่ ฝ าก ตรวจตรา และได้ รั บ ชดใช้

ค่าเสียหาย ส่วนผู้รับจ�ำน�ำมีสิทธิที่จะให้นายคลังสินค้าเอาทรัพย์สินตามประทวนสินค้า
ออกขายทอดตลาด เอาเงินมาช�ำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น อีกทั้งมีสิทธิที่จะฟ้องไล่เบี้ย
เอาจากผู้สลักหลังตราสารได้
มส

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 5.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของนายคลังสินค้าได้
2. วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิและความรับผิดของนายคลังสินค้าได้

ผู้เกี่ยวข้องได้

3. ร ะบุผู้เกี่ยวข้องกับการเก็บของในคลังสินค้า ตลอดจนอธิบ ายสิท ธิและหน้าที่ของ

4. วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการเก็บของในคลังสินค้าได้
สธ

5-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 5.2.1
สิทธิของนายคลังสินค้า


สิทธิตา่ งกับหน้าทีเ่ พราะสิทธิเป็นประโยชน์ทกี่ ฎหมายรับรอง ผูม้ สี ทิ ธิจะสละสิทธิเสียก็ได้ แต่หน้าที่
นั้นต้องกระท�ำตามกฎหมาย มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายผู้มีหน้าที่ต้องรับผิด สิทธิของนายคลังสินค้ามี

มส
หลายประการ กล่าวคือ
1. สิทธิที่จะได้บ�ำเหน็จค่าฝาก ซึ่งเป็นค่าตอบแทนในการเก็บรักษาสินค้าปกติมีเสมอเพราะ
นายคลังสินค้าเป็นพ่อค้า ประกอบกิจการเพือ่ ผลก�ำไร ปพพ. มาตรา 770 จึงบัญญัตไิ ว้วา่ “นายคลังสินค้า
นั้นเก็บรักษาสินค้าเพื่อบ�ำเหน็จสินจ้าง ในทางการค้าปกติของตน” ผู้ใดก็ตามที่น�ำสินค้ามาฝากใน
คลังสินค้า หากไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอืน่ แล้วต้องเสียบ�ำเหน็จให้นายคลังสินค้า ไม่เหมือนกับการฝาก
ทรัพย์ทั่วๆ ไป ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว
1.1 ผู้ช�ำระค่าฝาก ผู้มีหน้าที่เสียค่าฝากคือ ผู้ฝากซึ่งเป็นคู่สัญญาเก็บของในคลังสินค้า
อย่างไรก็ตาม นายคลังสินค้านั้นมีสินค้าอยู่ในมือและมีสิทธิยึดหน่วง ตาม ปพพ. มาตรา 630 และมาตรา
670 นายคลังสินค้าจึงใช้สิทธิยึดหน่วงนี้ต่อสู้ได้ทุกคนแม้แต่ผู้รับจ�ำน�ำ ตราบใดที่ยังไม่มีการช�ำระค่าฝาก

นายคลังสินค้าก็ไม่จำ� ต้องปล่อยสินค้าให้ไป หากมีการขายทอดตลาดในการบังคับจ�ำน�ำนายคลังสินค้าก็มี
สิทธิทจี่ ะหักค่าฝากของตนไว้กอ่ นจนครบจ�ำนวน ผูร้ บั จ�ำน�ำจึงจะได้รบั ช�ำระหนีต้ ามจ�ำนวน ไม่วา่ จะคุม้ หนี้
ที่ค้างช�ำระหรือไม่ก็ตาม
มส

1.2 ก�ำหนดเวลาช�ำระค่าฝาก สิทธิที่จะได้บ�ำเหน็จเมื่อใดนั้น ถ้ามิได้ก�ำหนดไว้ในสัญญา


หรือไม่มีจารีตประเพณีว่าจะช�ำระเมื่อใดแล้ว ก็ให้ช�ำระเมื่อคืนทรัพย์สินที่ฝากซึ่งตามปกติมักจะก�ำหนด
กันไว้แต่อตั ราค่าฝาก ส่วนก�ำหนดเวลาช�ำระค่าฝากจ่ายมักจะไม่ก�ำหนดกันไว้เลย โดยเข้าใจกันว่ารับสินค้า
เมื่อใดจึงช�ำระกัน ปฏิบัติกันมาอย่างนี้จนกลายเป็นธรรมเนียม
เหตุทคี่ สู่ ญ
ั ญามิได้ตกลงเรือ่ งก�ำหนดเวลาช�ำระจ่ายค่าฝากกันไว้กเ็ นือ่ งจากว่า การฝากของ

ในคลังสินค้านั้น เป็นสัญญาตามใจลูกค้า ไม่แน่ว่าลูกค้าจะมาถอนสินค้าเมื่อใด จึงเป็นการยากที่จะไป
ก�ำหนดให้เสียค่าฝากเมื่อนั้นเมื่อนี้ได้
จารีตประเพณีหรือประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ย่อมถือว่าคู่สัญญาตกลง
ปฏิบตั ติ ามนัน้ โดยปริยาย มิฉะนัน้ คูส่ ญ ั ญาจะต้องก�ำหนดกันไว้ให้ชดั เจน เช่น ในท้องทีแ่ ห่งหนึง่ มีประเพณี
การฝากเก็บของในคลังสินค้าว่า ทันทีที่นายคลังสินค้ารับสินค้าที่ผู้ฝากจะต้องช�ำระเงินค่าฝาก 1 เดือน
ถ้าฝากนานกว่านั้นค่อยเพิ่มและถ้าถอนสินค้าก่อนหนึ่งเดือนนายคลังจะคืนค่าฝากให้ตามส่วน ดังนี้ ต้อง
ถือว่าผู้ฝากตกลงด้วยและต้องเสียตามนั้น
สธ
1.3 อัตราค่าฝาก ส่วนใหญ่นายคลังมักจะตั้งอัตราเอาไว้ คลังสินค้าใดมีความต้องการมาก
ก็มักจะแพงแต่ที่ไม่ค่อยมีลูกค้าก็มักจะถูกลง

เก็บของในคลังสินค้า 5-19

2. สิทธิได้ค่าบ�ำรุงรักษาทรัพย์ที่ฝาก เช่น ค่าอาหารสัตว์ที่ฝาก ค่าวัคซีนป้องกันโรค ค่าคนเฝ้า


ทั้งนี้เป็นไป ตาม ปพพ. มาตรา 668 ซึ่งบัญญัติว่า “ค่าใช้จ่ายใดๆ อันควรแก่การบ�ำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่ง
ฝากนั้น ผู้ฝากจ�ำต้องชดใช้ให้แก่ผู้รับฝาก เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ในสัญญาว่าผู้รับฝากจะเป็นผู้ออก
ค่าใช้จ่ายนั้นเอง” ปกตินายคลังสินค้าจะไม่ยอมเสียเพราะนายคลังสินค้าหารายได้ตามทางค้าโดยปกติ
แต่ก็อาจมีได้ในบางกรณี เช่น ที่รับฝากสัตว์ อาจตกลงว่าจะเสียค่าวัคซีนฉีดให้แก่สัตว์ของลูกค้าในกรณีที่


มีสัตว์อื่นติดโรคมาก็ได้
อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จา่ ยทีน่ ายคลังสินค้าจะพึงเรียกได้นนั้ จะต้องเป็นค่าใช้จา่ ยอันควรแก่การบ�ำรุง

มส
รักษาทรัพย์สนิ เช่น ค่าอาหารไก่ทรี่ บั ฝาก ค่ายาวัคซีนทีฉ่ ดี ยามมีโรคระบาด เป็นต้น เท่าทีจ่ ำ� เป็น ส�ำหรับ
การท�ำให้ทรัพย์ที่ฝากคงอยู่ หากผู้ฝากดูแลทรัพย์นั้นเองก็คงท�ำอย่างเดียวกัน ถ้านายคลังสินค้าใช้จ่ายไป
เกินกว่าที่จ�ำเป็น ก็คงเรียกได้เป็นจ�ำนวนที่จ�ำเป็นหรือสมควร ไม่ใช่เรียกไม่ได้เลย
มีปัญหาว่าค่าใช้พื้นที่ที่นายคลังสินค้าได้ใช้จ่ายเงินไปในการนี้จะเรียกดอกเบี้ยได้หรือไม่ ถ้าเรียก
ได้ตั้งแต่เมื่อใด ความในตัวบทไม่ได้แสดงไว้เป็นพิเศษ นายคลังสินค้าจะเรียกดอกเบี้ยจากเงินดังกล่าวได้
ก็ตงั้ แต่ผดิ นัดเป็นต้นไป คือทวงถามแล้วผูฝ้ ากไม่ยอมใช้ให้ในอัตราร้อยละ 7 ครึง่ ต่อปี ตาม ปพพ. มาตรา
224 คิดตั้งแต่เวลาออกแทนไปให้เหมือนดังกรณีตัวแทนซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน ปพพ. มาตรา 816
ตัวอย่าง นายคลังสินค้าได้จ่ายค่าบ�ำรุงรักษาทรัพย์ของนายแดงที่ฝากเป็นเงินจ�ำนวนหนึ่งซึ่ง
สมควร ต่อมานายแดงมาถอนสินค้า นายคลังสินค้าเรียกให้นายแดงจ่ายค่าบ�ำรุงรักษาดังกล่าว แต่นายแดง

ไม่ยอมจ่าย ดังนี้ถือว่านายแดงผิดนัด นายคลังสินค้ามีสิทธิคิดดอกเบี้ยในเงินจ�ำนวนนั้นในอัตราร้อยละ 7
ครึ่งต่อปี นับแต่วันที่นายแดงมาถอนสินค้า
มส

3. สิทธิได้ค่าส่งคืนทรัพย์ อาจมีบางกรณีทนี่ ายคลังสินค้าเรียกให้ผฝู้ ากถอนสินค้าไปแต่ผฝู้ ากไม่


ยอมถอน นายคลังสินค้าจึงน�ำสินค้าที่ฝากไปส่งคืนแก่ผู้ฝากเสียเอง ตาม ปพพ. มาตรา 774 ที่ได้กล่าว
มาแล้ว ซึง่ นายคลังสินค้าจะต้องเสียค่าใช้จา่ ย เช่น ค่าขนสินค้าขึน้ รถหรือลงเรือเพือ่ ขนส่งไปมอบให้ผฝู้ าก
หรือผู้รับโอนรวมทั้งค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ปพพ. มาตรา 667 ให้ผู้ฝากหรือผู้รับโอนแล้วแต่กรณีเป็น
ผู้เสีย
ค่าใช้จา่ ยนีจ้ ะต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นค่าใช้จา่ ยทีส่ มควร ท�ำนองเดียวกับทีก่ ล่าวไว้ใน ปพพ. มาตรา
668 แม้กฎหมายจะไม่ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะก็ตาม ม
ตัวอย่าง แดงฝากทรัพย์ไว้กับโกดังของบริษัทโกดังทองโดยไม่มีก�ำหนดเวลาฝาก แดงไม่ถอน
สินค้าเป็นเวลา 1 ปีมาแล้ว บริษทั ต้องการใช้โกดังเก็บสินค้ารายอืน่ จึงบอกกล่าวให้แดงมารับสินค้าคืน แต่
แดง ไม่มารับสินค้าคืน บริษัทจึงจัดการส่งคืนแดงโดยทางเครื่องบิน แทนที่จะส่งทางรถไฟหรือรถบรรทุก
ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า บริษัทจะเรียกค่าขนส่งคืนจากแดงได้เท่ากับค่าขนส่งธรรมดาเท่านั้น
4. สิทธิยดึ หน่วง คือ นายคลังสินค้ามีสทิ ธิทจี่ ะยึดทรัพย์สนิ ทีฝ่ ากไว้จนกว่าจะได้รบั เงินทีค่ า้ งช�ำระ
แก่ตนเกีย่ วด้วยการฝากทรัพย์นนั้ ตามทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ใน ปพพ. มาตรา 670 มาตรา 772 ให้นำ� สิทธิยดึ หน่วง
สธ
เกีย่ วกับการรับขนใน ปพพ. มาตรา 630 มาใช้ดว้ ย มาตรานีใ้ ห้ยดึ ไว้เป็นประกันหนีท้ คี่ า้ งช�ำระแก่ตน ไม่ใช่
ยึดหน่วงธรรมดา เหมือนเป็นทรัพย์ทจี่ ำ� น�ำ ถ้าไม่ได้รบั ช�ำระหนีก้ อ็ าจบอกกล่าวผูฝ้ ากแล้วเอาออกขายทอด
ตลาดเอาเงินมาช�ำระหนี้ตนได้ ปพพ. มาตรา 630 นี้ ให้ยึดหน่วงไว้ได้ตามที่จำ� เป็น

5-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ค�ำว่าตามทีจ่ ำ� เป็นนัน้ ต้นฉบับภาษาอังกฤษใช้คำ� ว่า to retain the goods necessary to secure


payment… คือ ยึดสินค้าไว้เท่าที่จ�ำเป็นต่อการเป็นประกันในการจ่ายค่าบ�ำเหน็จ (เงินที่ต้องช�ำระ)
แค่ไหนเป็นปริมาณที่จ�ำเป็นก็แล้วแต่จ�ำนวนเงินที่ค้างช�ำระ หากมีการขายสินค้าที่ยึดไว้ นายคลังก็มี
บุริมสิทธิที่จะได้รับช�ำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามที่เรียงล�ำดับไว้ใน ปพพ. มาตรา 278
เงินที่ค้างช�ำระนั้นอาจเป็นค่าบ�ำเหน็จ ค่าบ�ำรุงรักษาทรัพย์สิน หรือเงินอื่นใดที่ผู้ฝากจะพึงรับผิด


ต่อนายคลังสินค้า เช่น สินค้าที่ฝากมีสภาพเป็นอันตราย แต่ผู้ฝากไม่ได้แจ้งให้นายคลังสินค้าทราบ ต่อมา
สินค้านัน้ ระเบิดขึน้ มาท�ำให้คลังสินค้าและสินค้าอืน่ เสียหาย เหล่านีล้ ว้ นเป็นเงินทีค่ า้ งช�ำระทีน่ ายคลังสินค้า

มส
จะพึงใช้สิทธิยึดหน่วงได้ทั้งสิ้น
ตัวอย่าง แดงฝากข้าวเปลือกไว้ในไซโลของบริษทั โกดังทอง 1,000 กระสอบ กระสอบละ 500 บาท
แดงค้างค่าฝากอยู่ 2,000 บาท บริษัทโกดังทองน่าจะยึดไว้เพียง 5-6 กระสอบ
ในกรณีนี้หากพิจารณาตาม ปพพ. มาตรา 224 จะพบว่าใน ปพพ. มาตรา 224 จะเป็นเรื่อง
ยึดหน่วงทัว่ ๆ ไป ให้สทิ ธิเจ้าหนีท้ จี่ ะยึดหน่วงทรัพย์สนิ ไว้ได้ทงั้ หมด โดยไม่คำ� นึงถึงจ�ำนวนหนี้ แต่ ปพพ.
มาตรา 630 นี้เป็นเรื่องเฉพาะให้ยึดไว้ได้ตามที่จ�ำเป็นเพื่อเป็นประกันหนี้เท่านั้น
การยึดหน่วงนั้นตามธรรมดาย่อมยึดไว้ได้จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับช�ำระหนี้ ไม่มีสิทธิขายทรัพย์นั้น
แต่การยึดหน่วงของนายคลังสินค้า ตาม ปพพ. มาตรา 630 นี้ ยึดไว้เป็นประกันหนี้เท่ากับหนี้นั้นมีทรัพย์
ที่ยึดเป็นประกัน เท่ากับจ�ำน�ำนั่นเอง เมื่อนายคลังสินค้าได้บอกกล่าว ตาม ปพพ. มาตรา 764 แล้วก็นำ�

สินค้านั้นออกขายทอดตลาดเอาเงินมาช�ำระหนี้ของตนได้ ข้อส�ำคัญก็คือ อย่าปล่อยทรัพย์ให้กลับไปอยู่ใน
ความครอบครองของลูกหนี้เพราะจะท�ำให้สิทธิยึดหน่วงหมดไป
มส

5. สิทธิที่จะจัดการกับทรัพย์ที่รับฝาก สิทธิในข้อนี้ใช้ได้ตามความจ�ำเป็น โดยอาศัยบทบัญญัติ


ใน ปพพ. มาตรา 631 และ 632 ในเรื่องรับขนมาใช้บังคับตามที่กล่าวไว้ใน ปพพ. มาตรา 772 ดังนี้ คือ
มาตรา 631 “ถ้าหาตัวผู้รับตราส่งไม่พบก็ดี หรือถ้าผู้รับตราส่งบอกปัดไม่ยอมรับมอบของก็ดี
ผู้ขนส่งต้องบอกกล่าวไปยังผู้ส่งทันทีและถามเอาค�ำสั่งของผู้ส่ง
ถ้าหากว่าพฤติการณ์ขัดขวางไม่สามารถจะท�ำได้ดังนี้ก็ดี หรือถ้าผู้ส่งละเลยเสียไม่ส่งค�ำสั่งมาใน
เวลาอันสมควรก็ดี หรือส่งมาเป็นค�ำสั่งอันไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปได้ก็ดี ท่านว่าผู้ขนส่งมีอ�ำนาจที่จะเอา
ของไปฝากไว้ ณ ส�ำนักงานฝากทรัพย์ได้ ม
ถ้าของนั้นเป็นลหุภัณฑ์ของสดเสียได้ และการหน่วงช้าไว้ย่อมเป็นการเสี่ยงความเสียหายก็ดี
หรือถ้าราคาของนั้นดูไม่น่าจะคุ้มค่าระวางพาหนะและอุปกรณ์ก็ดี ผู้ขนส่งจะเอาของนั้นออกขายทอด
ตลาดเสียก็ได้
อนึ่ง การเอาของไปฝากหรือเอาออกขายทอดตลาดเช่นว่านั้น ผู้ขนส่งต้องบอกกล่าวแก่ผู้ส่งหรือ
ผู้รับตราส่งมิให้ชักช้า เว้นแต่ไม่สามารถจะท�ำได้ ถ้าและผู้ขนส่งละเลยเสียไม่บอกกล่าวไซร้ท่านว่าจะ
ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย”
สธ
มาตรา 632 “เมื่อเอาของออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินจ�ำนวนสุทธิเท่าใด ให้ผู้ขนส่งหักเอาไว้
เป็นเงินค่าระวางพาหนะและค่าอุปกรณ์ ถ้าและยังมีเงินเหลืออยู่อีกเท่าใดต้องส่งมอบให้แก่บุคคลผู้ควร
ที่จะได้เงินนั้นโดยพลัน”

เก็บของในคลังสินค้า 5-21

ตาม ปพพ. มาตรา 631 และมาตรา 632 นี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการจัดการกับสินค้าที่ฝากของ


นายคลังสินค้า ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีคือ
5.1 น�ำสินค้าที่ฝากไปฝากไว้ ณ ส�ำนักงานฝากทรัพย์ ซึ่งเป็นการช�ำระหนี้อย่างหนึ่งเพราะ
ไม่อาจช�ำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยตรงได้ตามปกติ ตาม ปพพ. มาตรา 331 กรณีอาจเป็นว่า นายคลังสินค้า
น�ำสินค้าไปคืนแก่ผู้ฝากตามอ�ำนาจใน ปพพ. มาตรา 774 ครั้นขนไปถึงบ้านของผู้ฝากกลับไม่พบผู้ฝาก


ในกรณีเช่นนี้กฎหมายให้นายคลังบอกกล่าวผู้ฝากเพื่อขอค�ำสั่งว่าจะให้เก็บสินค้าไว้ที่ไหน เมื่อถามไป
แม้ผู้ฝากไม่สั่งว่ากระไรหรือสั่งแต่ไม่อาจจะปฏิบัติตามได้ เช่น บอกประชดให้เอาไปไว้บนต้นไม้ เป็นต้น

มส
แต่ถ้าไม่รู้ว่าผู้ฝากอยู่ที่ไหน ก็เป็นกรณีที่ไม่อาจบอกกล่าวได้ ถ้าเป็นเช่นนี้กฎหมายให้นายคลังสินค้า
น�ำสินค้าไปฝากไว้ที่สำ� นักงานฝากทรัพย์แล้วตนเองก็พ้นหน้าที่
5.2 การขายสินค้าที่ฝากนั้น เป็นกรณีที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 5.1
แต่สินค้าที่ฝากนั้นเป็นของสดของเสียง่าย เช่น อาจเป็นผลไม้ซึ่งเก็บไว้นานนักไม่ได้จะน�ำไปฝากไว้ ณ
ส�ำนักงานวางทรัพย์อย่างในกรณีแรกก็ไม่เหมาะ เพราะเก็บไว้นานไม่ได้หรือพอจะน�ำไปส่งได้ แต่เมื่อ
พิจารณาแล้วเห็นว่าราคาของไม่มาก ไม่คุ้มกับค่าระวางและบ�ำเหน็จค่าฝากของตน นายคลังก็มีสิทธิที่จะ
เอาสินค้านั้นออกขายทอดตลาดเสียได้ ได้เงินสุทธิเท่าใด นายคลังมีสิทธิที่จะหักไว้ใช้หนี้ตนก่อน เหลือ
เท่าใดถ้ามีการจ�ำน�ำก็ให้ส่งให้แก่ผู้รับจ�ำน�ำ เหลือจากนี้จึงส่งแก่ผู้ฝากหรือผู้รับโอนแล้วแต่กรณี
การเอาของไปฝากก็ดี ขายทอดตลาดก็ดี นายคลังจะต้องแจ้งเจ้าของทรัพย์และผู้เกี่ยวข้อง

เช่น ผูท้ รงประทวนสินค้าทราบทุกคนด้วยโดยมิชกั ช้า เว้นแต่ไม่สามารถจะท�ำได้โดยให้บอกก่อนวางทรัพย์
หรือก่อนขายได้ ถ้าไม่บอกกล่าวเขาในกรณีที่สามารถท�ำได้ นายคลังสินค้าจะต้องรับผิดต่อเขาในความ
มส

เสียหายที่เกิดจากการไม่บอกนั้น
ตัวอย่าง นายคลังสินค้าเอาสินค้าไปฝาก ณ ส�ำนักงานฝากทรัพย์และก็ละเลยมิได้แจ้งให้
ผูฝ้ ากทราบ ผูฝ้ ากไม่รจู้ งึ ไม่ได้มารับเอาสินค้า ท�ำให้สนิ ค้าเสียหายหลายรายการ ดังนัน้ นายคลังสินค้าต้อง
รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ถ้ามีผรู้ บั สลักหลังเอกสารทัง้ สองฉบับนัน้ นายคลังสินค้าต้องบอกกล่าวให้ทราบเช่นเดียวกัน
6. สิทธิที่จะได้รับค่าเสียหาย ปพพ. มาตรา 619 บัญญัติไว้ว่า “ถ้าของเป็นสภาพอันจะก่อให้

เกิดอันตรายได้ หรือเป็นสภาพเกลือกจะก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินไซร้ ผู้ส่งต้องแสดง
สภาพแห่งของนั้นไว้ก่อนท�ำสัญญา ถ้ามิได้ท�ำเช่นนั้นผู้ส่งจะต้องรับผิดในการเสียหายไม่ว่าอย่างใด ๆ
อันเกิดแต่ของนั้น” เช่นนี้ ถ้าสินค้าทีจ่ ะขนส่งมีสภาพทีอ่ าจจะก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายได้ เช่น
ดินปืน นํ้ามันหรือนํ้ายาเคมี เป็นต้น ผู้ส่งต้องบอกผู้ขนส่งให้รู้ถึงสภาพของที่ขนส่งก่อนท�ำสัญญาโดยใน
ปพพ. มาตรา 772 ให้น�ำมาตรานี้มาใช้กับเรื่องเก็บของในคลังสินค้าด้วย เพราะฉะนั้นผู้ฝากจะต้องบอก
สภาพสินค้าที่ฝากให้นายคลังสินค้าทราบด้วยเพื่อเขาจะได้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บได้ถูกต้อง
เหมาะสม ถ้าไม่บอกก็เรียกว่าเป็นความผิดของผู้ฝาก เพราะไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นก็ดีไป แต่ถ้าเกิด
สธ
อะไรขึน้ เช่น ดินระเบิดเกิดประทุระหว่างอากาศร้อนไฟไหม้คลังสินค้าหมด เช่นนีน้ ายคลังสินค้ามีสทิ ธิเรียก
ค่าเสียหายเอาจากผู้ฝากผู้เป็นต้นเหตุ ถ้าผู้ฝากตายความรับผิดนี้จะตกทอดไปยังทายาทตามกฎหมาย

5-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ลักษณะมรดก นายคลังสินค้าจะไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับโอนสินค้าไม่ได้ เพราะผู้รับโอนสินค้าไม่มี


ส่วนผิดด้วย
ถ้าผู้ฝากได้บอกนายคลังสินค้าก่อนท�ำสัญญาแล้วว่าของที่ฝากเป็นอะไร ภายหลังของที่ฝากเกิด
ระเบิดหรือรั่วซึมท�ำให้ของอื่นเสียหาย ผู้ฝากไม่ต้องรับผิดชอบ อย่างไรก็ตาม แม้จะได้บอกนายคลังถึง
สภาพของสินค้าทีฝ่ ากแล้ว แต่ความเสียหายนัน้ เกิดขึน้ เพราะความผิดของผูฝ้ ากเอง เช่น ผูฝ้ ากบรรจุหบี ห่อ


ไม่ดี ท�ำให้นํ้ายาเคมีซึมออกมาถูกสินค้าอื่นเสียหาย ดังนี้ผู้ฝากก็ยังต้องรับผิดชอบอยู่ เว้นแต่จะได้บอก
ด้วยว่าสภาพของหีบห่อนั้นไม่ค่อยมั่นคง ถ้าเก็บไม่เหมาะสมจะก่อให้เกิดอันตรายได้ อย่างนี้ผู้ฝากอาจจะ

หลักสุจริต
มส
พ้นความรับผิด กล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้ฝากต้องแจ้งถึงสภาพและอันตรายของสินค้าที่ฝากทุกอย่างโดยถือ

กฎหมายให้แจ้งก่อนลงมือท�ำสัญญา คือเมื่อขนสินค้าที่จะฝากไปถึงคลังก่อนน�ำของเข้าเก็บไม่ใช่
ก่อนลงมือเขียนใบรับของคลังสินค้าหรือใบประทวนสินค้า เพราะการออกเอกสารนั้นอาจจะออกภายหลัง
นัน้ หลายวันก็ได้ แต่สญ ั ญาฝากทรัพย์เกิดขึน้ แล้วในขณะตกลงฝาก ถ้าบอกภายหลังท�ำสัญญาฝากแล้วผล
จะเป็นอย่างไร เช่นนึกได้ในภายหลังก่อนเกิดอันตรายขึน้ จึงไปบอกนายคลังสินค้าว่าของทีต่ นฝากนัน้ เป็น
อันตราย อย่างนี้ไม่ท�ำให้ผู้ฝากพ้นความรับผิด แต่อาจรับผิดน้อยลงหากเป็นความผิดของนายคลังสินค้า
ด้วยที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังหลังจากทราบเรื่องแล้ว
เพือ่ ป้องกันความผิดพลาดหลงลืม นายคลังสินค้ามักจะก�ำหนดไว้ในแบบฟอร์มใบรับของคลังสินค้า

ของตนให้มีการแจ้งสภาพของสินค้าที่ฝากด้วย
มส

กิจกรรม 5.2.1
แดงน�ำสินค้าไปฝากไว้ในโกดังของห้างโกดังทอง ต่อมาสินค้าเกิดระเบิดท�ำให้โกดังเสียหาย กรณี
นี้แดงและนายคลังสินค้ามีสิทธิและหน้าที่ต่อกันประการใดบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 5.2.1

แดงมีหน้าที่ต้องแจ้งสภาพของสินค้าที่ฝาก เสียบ�ำเหน็จค่าฝาก อาจมีหน้าที่ต้องเอาประกันภัย
สินค้า หากมีข้อตกลงกันเช่นนั้น และมีสิทธิที่จะเรียกร้องไม่รับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า สิทธิที่จะ
รับสินค้าจากคลังเมือ่ เสียค่าฝากแล้ว และสิทธิทจี่ ะให้นายคลังสินค้าแยกสินค้าออกเป็นส่วนๆ โดยยอมเสีย
ค่าใช้จา่ ยและเวนคืนใบรับของและประทวนสินค้า นอกจากนัน้ ยังมีสทิ ธิทจี่ ะจ�ำหน่ายหรือจ�ำน�ำสินค้าทีฝ่ าก
หากมีการขายก็มีสิทธิที่จะได้รับเงินที่เหลือจากการช�ำระหนี้จ�ำน�ำและค่าบริการต่างๆ แล้ว
ส่วนนายคลังสินค้านั้นมีหน้าที่จะเก็บรักษาสินค้าที่ฝากด้วยความสามารถและระมัดระวัง และใช้
ฝีมือสมกับที่มีอาชีพเช่นนั้น และมีหน้าที่ที่จะจดแจ้งการจ�ำน�ำลงในต้นขั้วเอกสาร หน้าที่แยกทรัพย์สินที่
สธ
ฝากออกเป็นส่วนๆ และออกเอกสารหลายใบตามส่วนสินค้าที่แยกออกนั้น หน้าที่ที่จะคืนสินค้าที่ฝากเมื่อ
ผูฝ้ ากหรือผูท้ รงเอกสารทีฝ่ ากได้เวนคืนเอกสารดังกล่าวตามกฎหมาย และหน้าทีท่ จี่ ะขายทอดตลาดสินค้า
เมือ่ ผูท้ รงประทวนได้รอ้ งขอให้ทำ� เช่นนัน้ และหน้าทีเ่ บ็ดเตล็ดอีกหลายประการ ส่วนสิทธินนั้ เบือ้ งต้นมีสทิ ธิ

เก็บของในคลังสินค้า 5-23

ที่จะได้บ�ำเหน็จและเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการฝากทรัพย์ ตลอดจนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากสภาพ


อันตรายของทรัพย์สนิ ทีฝ่ าก และสิทธิทจี่ ะขายทรัพย์สนิ ทีฝ่ ากหรือเอาทรัพย์สนิ ทีฝ่ ากไปฝากไว้ทสี่ ำ� นักงาน
ฝากทรัพย์ ถึงผู้รับขนรวมทั้งสิทธิยึดหน่วงในกรณีที่ผู้ฝากไม่ช�ำระค่าฝากและเงินเกี่ยวค้างอย่างอื่น


เรื่องที่ 5.2.2

มส
หน้าที่เก็บรักษาสินค้าที่ฝาก

หน้าที่เก็บสินค้าที่ฝากนี้เป็นหน้าที่โดยตรงของนายคลังสินค้า ซึ่งแบ่งได้เป็นหลายประการคือ
1. หน้าที่เก็บรักษาสินค้าด้วยตนเอง เมือ่ เก็บรักษาทรัพย์ทฝี่ ากไว้ในอารักขาแห่งตนคือรักษาไว้
เองในที่เก็บซึ่งตนเป็นผู้ดูแล ดังปรากฏอยู่ใน ปพพ. มาตรา 657 จะน�ำไปให้คนอื่นเก็บรักษาไว้แทนไม่ได้
เพราะผู้ฝากเขาไว้ใจ นายคลังสินค้าผู้มีหน้าที่เก็บรักษาสินค้าคนเดียว ผู้ฝากจึงได้น�ำทรัพย์มาฝากไว้กับ
ตน

ในกรณีที่นายคลังไปเช่าคลังสินค้าของผู้อื่น แล้วน�ำของที่ฝากไปเก็บในคลังที่เช่ายังได้ชื่อว่านาย
คลังเก็บสินค้าไว้ในความอารักขาของเขาเอง ไม่ต้องห้าม ตาม ปพพ. มาตรา 660 ถ้านายคลังสินค้า
มส

น�ำทรัพย์ทลี่ กู ค้าฝากไปให้คนภายนอกเก็บรักษา นายคลังสินค้าจะต้องรับผิดต่อผูฝ้ าก ส�ำหรับความเสียหาย


ใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์นั้น
ตัวอย่าง แดงฝากสินค้าไว้กับบริษัทโกดังทอง บริษัทโกดังทองต้องเก็บสินค้าของแดงไว้ในโกดัง
ของบริษัทเองโดยหน้าที่ จะน�ำไปฝากโกดังของบริษัทโกดังเงินเก็บรักษาสินค้าของแดงต่อไปหาได้ไม่ ถ้า
ฝ่าฝืนเกิดความเสียหายขึน้ ตนจะต้องรับผิด แม้ความเสียหายนัน้ จะเกิดจากเหตุสดุ วิสยั ตาม ปพพ. มาตรา
660
ข้อยกเว้น อาจมีในกรณีต่อไปนี้

โกดังทอง อาจน�ำสินค้านั้นไปฝากให้คนอื่นเก็บรักษาชั่วคราวได้ (เทียบ ปพพ. มาตรา 802)



ก) เมื่อเกิดความจ�ำเป็นขึ้นโดยฉุกเฉิน เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฝากบริษัท

ตัวอย่าง กรณีแดงฝากสินค้าไว้กบั บริษทั โกดังทอง ตามตัวอย่างข้างต้น ตกกลางคืนนํา้ ท่วม


คนงานของบริษัทโกดังทองต้องขนสินค้าในโกดังของบริษัทหนีนํ้าไปฝากไว้ในโกดังของบริษัทโกดังแก้ว
ซึ่งมีที่เก็บปลอดภัย ดังนี้ แม้ภายหลังเกิดความเสียหายหากมิใช่ความผิดของตนแล้วบริษัทโกดังทองก็ไม่
ต้องรับผิด (เทียบ ฎ. 1216/2508)
สธ
ข) เมื่อผู้ฝากยินยอม ให้นายคลังสินค้าน�ำสินค้าไปให้ผอู้ นื่ เก็บรักษาได้ ถ้าอย่างนีก้ ไ็ ม่ถอื ว่า
นายคลังสินค้าท�ำผิดหน้าที่

5-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ความยินยอมนี้อาจตกลงโดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายก็ได้ เช่น ในขณะฝากสินค้าที่บริษัท


โกดังทอง หัวหน้าแผนกรับฝากบอกกับผู้ฝากว่าของที่ฝากจะต้องน�ำไปเก็บไว้ที่โกดังของบริษัทโกดังเงิน
บริการซึง่ เป็นญาติกนั เพราะโกดังของบริษทั โกดังทองเต็ม ผูฝ้ ากก็มไิ ด้คดั ค้านพนักงานผูร้ บั ฝากของบริษทั
จึงหมายเหตุไว้วา่ ของอยูท่ โี่ กดัง 3 ของบริษทั โกดังเงินบริการ อย่างนีถ้ อื ว่าผูฝ้ ากยินยอมให้นายคลังสินค้า
มอบให้คนภายนอกเก็บรักษาทรัพย์ของตนโดยปริยาย


อุทาหรณ์
ฎ.999/2493 โจทก์มอบทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จะยกให้บุตรโจทก์ไว้กับจ�ำเลย เพราะบุตร

คือ
มส
ของโจทก์ก็อยู่กับจ�ำเลยต่อมาบุตรของโจทก์ออกจากจ�ำเลยไปมีผัวและเมีย ได้น�ำเอาสิ่งของทองรูปพรรณ
ซึ่งโจทก์ฝากไว้ติดตัวไปด้วย โจทก์รู้เห็นมิได้คัดค้านประการใด ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ยอมให้จ�ำเลยมอบ
ทรัพย์ให้บุตรโจทก์ไปแล้ว
2. หน้าที่ใช้ความระมัดระวังและฝีมือ หน้าที่นี้กฎหมายบัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 659 กล่าว

“ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการท�ำให้เปล่าไม่มีบ�ำเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจ�ำต้องใช้ความ
ระมัดระวังสงวนทรัพย์สิน ซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง
ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบ�ำเหน็จค่าฝาก ท่านว่าผู้รับฝากจ�ำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือ
เพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น ทั้งนี้ย่อมรวมทั้งการใช้
ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย

ถ้าและผูร้ บั ฝากเป็นผูม้ วี ชิ าชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึง่ อย่างใดก็จำ� ต้องใช้ความ
ระมัดระวังและใช้ฝมี อื เท่าทีเ่ ป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่าง
มส

นั้น”
กฎหมายมาตรานี้แยกหน้าที่ของนายคลังสินค้าไว้เป็นสามกรณี คือ
2.1 ในกรณีที่ฝากทรัพย์ไม่มีบ�ำเหน็จ ซึ่งอาจมีได้ในบางกรณี เช่น การบุญ การกุศล หรือ
เพื่อชาติบ้านเมือง นายคลังสินค้าอาจรับรักษาสิ่งของให้เปล่า กรณีเช่นนี้ กฎหมายให้นายคลังสินค้าใช้
ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สนิ ซึง่ มากนัน้ เหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง ไม่ใช่ทงิ้ ขว้าง เพราะ
เห็นว่าไม่มีบ�ำเหน็จสินจ้าง

ตัวอย่าง บริษัทโกดังทองรับฝากอาวุธที่กระทรวงกลาโหมส่งเข้ามาโดยไม่คิดบ�ำเหน็จ โดย
ให้เก็บไว้ในโกดังเปลีย่ ว และไม่ให้ยามเฝ้าเพราะเห็นว่าไม่ได้คา่ ตอบแทนอะไร ทัง้ ๆ ทีบ่ ริเวณนัน้ ขโมยชุม
ดังนี้ได้ชื่อว่าบริษัทไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ หากสิ่งของที่ฝากถูกขโมยลัก บริษัทจะ
ต้องรับผิด
อุทาหรณ์
ฎ.1216/2508 คดีนี้จ�ำเลยขายข้าวให้โจทก์ แล้วรับฝากข้าวไว้ในยุ้งโดยไม่มีบำ� เหน็จต่อมา
เกิดอุทกภัย จ�ำเลยให้โจทก์มารับข้าว โจทก์ไม่มา จ�ำเลยจึงขายข้าวนั้นไป หลังจากที่จ�ำเลยขายข้าวของ
สธ
ตนเองไปหมดแล้ว เพราะเกรงว่านํา้ จะท่วมข้าวเสียหาย ศาลฎีกาตัดสินว่า จ�ำเลยในฐานะผูร้ บั ฝากต้องการ
ท�ำให้เปล่าไม่มบี ำ� เหน็จ ได้ใช้ความระมัดระวังในการรักษาทรัพย์สนิ ทีฝ่ ากเหมือนเช่นได้ประพฤติในกิจการ
ของตนเอง และเป็นการกระท�ำเพื่อจะปัดป้องอันตรายอันจะเป็นภัยแก่ทรัพย์สินนั้น โดยมิได้จงใจท�ำผิด

เก็บของในคลังสินค้า 5-25

หรือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประการใด จึงไม่ต้องรับผิด ตามนัยแห่ง ปพพ. มาตรา 398


ตามตัวอย่างฎีกาเรือ่ งนี้ จ�ำเลยท�ำต่อทรัพย์ของโจทก์เหมือนกับจ�ำเลยท�ำต่อทรัพย์ของตนเอง
จ�ำเลยอาจขนข้าวหนีนํ้าไปเก็บไว้ในโกดังอื่นที่อยู่บนที่สูงกว่าได้ โดยคิดเอาค่าใช้จ่ายจากโจทก์ได้ เพราะ
ค่าขนข้าวนั้นเป็นค่าบ�ำรุงรักษาทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 668
2.2 ในกรณีที่การฝากมีบ�ำเหน็จ อันเป็นปกติของการฝากของในคลังสินค้า ดังปรากฏอยู่


ในมาตรา 770 ว่า นายคลังสินค้านัน้ รับท�ำการเก็บรักษาสินค้าเพือ่ บ�ำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตน เพราะ
เขาเป็นพ่อค้าที่ไม่คิดเอาค่าตอบแทนแล้วย่อมจะอยู่ไม่ได้ กฎหมายให้นายคลังสินค้าใช้ความระมัดระวัง

มส
และใช้ฝมี อื เพือ่ สงวนทรัพย์สนิ นัน้ เหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงปฏิบตั ิ โดยพฤติการณ์ดงั นัน้ รวมทัง้ การใช้ฝมี อื
พิเศษเฉพาะการที่จะพึงใช้เช่นนั้นด้วย
ค�ำว่า “วิญญูชน” นัน้ หมายถึงบุคคลผูม้ คี วามระมัดระวัง คือเมือ่ จะเอาบ�ำเหน็จเขาแล้วต้อง
รักษาของเขาให้ดี สมกับนํ้าเงินที่เขาจ้าง ยิ่งกว่าของตัวเอง ของตัวเองบางอย่างอาจไม่ชอบเพราะเห็นว่า
มันเก่าแล้ว อาจเก็บตามมีตามเกิด แต่ถ้าเป็นของซึ่งลูกค้าน�ำมาฝากแม้มันจะเก่าอย่างไรก็ต้องเก็บรักษา
ของเขาให้ดี และด้วยความระมัดระวัง
ตัวอย่าง บริษัทเกษตรกรรมพืชผล ต้องการเงินมาหมุนเวียนด้วยการจ�ำน�ำข้าวเปลือกใน
ไซโลของตนไว้กบั บริษทั สุนทรทรัสต์ แต่เนือ่ งจากสินค้าเก็บไว้ในคลังสินค้าของตนเองไม่อาจจ�ำน�ำได้ตาม
กฎหมาย จึงตกลงกับบริษัทสุนทรทรัสต์ให้บริษัทโกดังทองเป็นผู้ครอบครองรักษาสินค้าในไซโลของตน

โดยบริษัทโกดังทองเก็บค่าเฝ้ารักษาตามระเบียบและออกใบรับของคลังสินค้า และประทวนสินค้าให้แก่
บริษัทเกษตรกรรมพืชผลเพื่อสลักหลังจ�ำน�ำตามกฎหมาย แต่บริษัทโกดังทองไม่ได้ให้คนเฝ้าจึงถูกขโมย
มส

ลักข้าว ดังนี้ถือว่าบริษัทโกดังทองมิได้ใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาสินค้าที่ฝากตามสมควร เช่น


วิญญูชนจะพึงประพฤติ บริษัทโกดังทองจะต้องรับผิดต่อบริษัทเกษตรกรรมพืชผล
ในกรณีที่นายคลังสินค้ารับฝากสินค้าชนิดที่มีลักษณะพิเศษ นายคลังสินค้าก็จะต้องใช้ฝีมือ
เป็นพิเศษเฉพาะการ เพื่อรักษาทรัพย์ที่รับฝากมิให้เสียหาย
ตัวอย่าง บริษทั โกดังทองรับฝากผักและผลไม้ของลูกค้าซึง่ จะส่งไปต่างประเทศ ปกติบริษทั
นีเ้ คยใช้กมั มันตภาพรังสีอบของสดให้ลกู ค้าทุกราย แต่คราวนีม้ ไิ ด้ใช้ ท�ำให้ผกั ผลไม้ของลูกค้าเน่าเสีย ดังนี้
ถือว่านายคลังสินค้ามิได้ใช้ฝีมือพิเศษเฉพาะการ ต้องรับผิดต่อผู้ฝาก ม
ในกรณีที่นายคลังสินค้าเป็นผู้มีวิชาชีพ หรืออาชีพเฉพาะกิจการค้าขาย นายคลังสินค้าก็จะ
ต้องใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีพเช่นนั้นตามวรรค
3 ของมาตรา 659
ตัวอย่าง บริษัทโกดังทองมีสาขาห้องเย็นรับฝากปลาสดที่ริมทะเล วันหนึ่งมีลูกค้าเอาปลา
มาฝากโดยเสียบ�ำเหน็จค่าฝากตามธรรมเนียม แต่คนงานของบริษัทมิได้เร่งความเย็นให้เพียงพอท�ำให้
ปลาเน่า ดังนี้ต้องถือว่านายคลังสินค้าบกพร่องต่อหน้าที่ข้างต้น
สธ
สมมติว่าคนงานได้เร่งเครื่องเย็นตามปกติ แต่ไฟฟ้าดับเป็นเวลานานท�ำให้ปลาลูกค้าเน่า
อย่างนี้ก็ถือว่านายคลังสินค้าบกพร่องต่อหน้าที่อยู่ เพราะตามธรรมดาไฟฟ้านั้นดับได้และมีอยู่เสมอ นาย
คลังสินค้าน่าจะได้คิดหาทางแก้ไขได้ เพราะคนมีอาชีพเช่นนั้น อาจมีเครื่องท�ำไฟของตนเองส�ำรองไว้หรือ

5-26 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

หาทางแก้ไขโดยวิธอี นื่ สุดแต่ควรให้สมกับหน้าทีใ่ นอาชีพ มิฉะนัน้ ต้องรับผิดต่อผูท้ รงเอกสารการฝากสินค้า


ส�ำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น
อุทาหรณ์
ฎ.2920/2522 จ�ำเลยรับเก็บรักษาล�ำไยในห้องเย็นของจ�ำเลย จ�ำเลยเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะ
กิจการค้าทางห้องเย็น ต้องใช้ความระวังและฝีมืออันเป็นธรรมดาและสมควรให้กิจการห้องเย็น จ�ำเลยใช้


ความเย็นไม่พอ ล�ำไยของโจทก์เน่าเสีย จ�ำเลยต้องใช้ค่าเสียหาย

มส
กิจกรรม 5.2.2
เหตุใดกฎหมายจึงให้นายคลังมีหน้าที่เก็บรักษาสินค้าด้วยตนเอง จงอธิบาย

แนวตอบกิจกรรม 5.2.2
เหตุทกี่ ฎหมายบัญญัตใิ ห้นายคลังสินค้ามีหน้าทีเ่ ก็บรักษาสินค้าด้วยตนเองก็เพราะว่า สัญญาฝาก
ทรัพย์นั้นเป็นสัญญาที่อาศัยความไว้วางใจเฉพาะตัว

เรื่องที่ 5.2.3
มส

หน้าที่บอกกล่าวเมื่อบุคคลภายนอกอ้างสิทธิเหนือสินค้าที่ฝาก

หน้าที่บอกกล่าวเมื่อบุคคลภายนอกอ้างสิทธิเหนือสินค้าที่ฝากปรากฏใน ปพพ. มาตรา 661 ซึ่ง


บัญญัตวิ า่ “ถ้าบุคคลภายนอกอ้างว่ามีสทิ ธิเหนือทรัพย์สนิ ทีฝ่ ากและยืน่ ฟ้องผูร้ บั ฝากก็ดี หรือยึดทรัพย์สนิ
นั้นก็ดี ผู้รับฝากต้องรีบบอกกล่าวแก่ผู้ฝากโดยพลัน”
ความในมาตรานี้ให้นายคลังสินค้าบอกกล่าวแก่ผู้ฝากทราบใน 2 กรณีคือ

1. เมื่อมีบุคคลภายนอกอ้างว่ามีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ฝาก กรณีนี้บุคคลภายนอกอ้างว่ามีสิทธิ
เหนือทรัพย์สินที่ฝาก และได้ฟ้องผู้รับฝากด้วย 2 อย่างประกอบกับ ถ้าเพียงแต่อ้างสิทธิแต่เขายังไม่ฟ้อง
ก็ไม่ต้องบอกกล่าว
สิทธิของบุคคลภายนอกเหนือทรัพย์สินที่ฝากนั้นอาจเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นก็ได้
ตัวอย่าง 1 แดงฝากข้าวเปลือกไว้ที่บริษัทโกดังทอง เหลืองอ้างว่าเป็นเจ้าของข้าวเปลือกที่ฝาก
สธ
กึ่งหนึ่ง และให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้บริษัทโกดังทองแยกข้าวเปลือกกึ่งจ�ำนวนมอบให้แก่ตน
เพียงเท่านี้บริษัทโกดังทองยังไม่ต้องบอกกล่าวแก่แดงผู้ฝาก เพราะยังไม่ถูกฟ้อง

เก็บของในคลังสินค้า 5-27

ต่อมาเหลืองฟ้องบริษัทโกดังทองให้ส่งข้าวเปลือกกึ่งจ�ำนวนแก่ตน มิฉะนั้นให้ใช้ราคาข้าวเปลือก
กรณีเช่นนี้บริษัทโกดังทองต้องรีบแจ้งให้แดงผู้ฝากทราบ มิฉะนั้นถือว่าละเลยต่อหน้าที่ หากเกิดความ
เสียหายต้องรับผิดต่อ ผู้ฝากหรือผู้รับโอนแล้วแต่กรณี
ถ้าผู้ฝากได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่ฝากด้วยการสลักหลังใบรับของคลังสินค้า ปกติการสลักหลัง
ใบรับของคลังสินค้านัน้ ไม่จำ� ต้องบอกกล่าวแก่นายคลังสินค้า นายคลังสินค้าจึงไม่จำ� ต้องบอกกล่าวแก่ผรู้ บั


สลักหลังดังกล่าว นายคลังสินค้าบางแห่ง เช่น องค์การคลังสินค้า เป็นต้น จะก�ำหนดเงื่อนไขไว้ให้ผู้ฝาก
แจ้งนามและที่อยู่ของผู้รับโอนให้แก่ตนทราบด้วยจะได้สะดวกแก่การติดต่อและการคืนสินค้า

มส
ตัวอย่างที่ 2 กรณีตามตัวอย่างข้างต้น เหลืองฟ้องบริษัทโกดังทองเป็นจ�ำเลยที่ 1 และฟ้องแดง
ผูฝ้ ากเป็นจ�ำเลยที่ 2 เรียกสินค้าทีฝ่ ากนัน้ กึง่ หนึง่ กรณีเช่นนี้ บริษทั โกดังทองไม่ตอ้ งแจ้งให้แดงผูฝ้ ากทราบ
เพราะแดงทราบอยู่แล้ว
2. กรณีทรัพย์ที่ฝากถูกยึด อาจเป็นการยึดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ตามหมายบังคับคดีของศาล
หรือโดยเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยปกครองหรือต�ำรวจก็ได้ หรือแม้เพียงได้รบั ค�ำสัง่ อายัดให้สง่ ทรัพย์ดงั กล่าว นายคลัง
สินค้าต้องรีบแจ้งแก่ผู้ฝากเช่นเดียวกัน เว้นแต่ผู้ฝากเองจะรู้อยู่แล้ว
ตัวอย่าง 1 แดงฝากสินค้าไว้กับบริษัทโกดังทองต่อมามีเจ้าหน้าที่ต�ำรวจมีหมายค้นมาขอตรวจ
แล้วยึดเอาสินค้าทีฝ่ ากนัน้ ไปโดยอ้างว่าเป็นของโจรทีถ่ กู ขโมยมา กรณีเช่นนีบ้ ริษทั โกดังทองต้องรีบแจ้งให้
แดงผู้ฝากทราบมิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายแก่แดง บริษัทโกดังทองต้องรับผิด

ตัวอย่าง 2 แดงฝากสินค้าไว้กับบริษัทโกดังทองต่อมาแดงถูกเจ้าหน้าที่ฟ้องเรียกหนี้สิน และ
มส

เจ้าหนี้ขอคุ้มครองชั่วคราวห้ามมิให้แดงจ�ำหน่ายจ่ายโอนสินค้าที่ฝาก ศาลได้ส่งค�ำสั่งห้ามแดงและบริษัท
โกดังทองจ�ำหน่ายจ่ายโอนสินค้านั้น กรณีเช่นนี้บริษัทโกดังทองไม่ต้องแจ้งให้แดงทราบเพราะแดงก็ได้รับ
ค�ำสั่งศาลอยู่แล้ว
ทีว่ า่ รีบบอกกล่าว นัน้ คือบอกกล่าวโดยไม่ชกั ช้าบอกกล่าวให้ทนั การในโอกาสแรกทีจ่ ะบอกกล่าว
ได้ถ้าบอกกล่าวโดยวิธีนี้ไม่ได้ เพราะมีอุปสรรค เช่น นํ้าท่วมไปมาไม่สะดวกที่จะส่งจดหมาย ก็อาจบอก
กล่าวโดยวิธีอื่นที่เป็นไปได้ เช่น โทรศัพท์หรือทางเครื่องมือสื่อสารอย่างอื่น อย่างน้อยก็ภายในเวลาที่ผู้

ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฝาก

กิจกรรม 5.2.3

ฝากจะสามารถเข้าปกปักษ์รักษาประโยชน์ของเขาได้ ถ้าแจ้งช้าไปท�ำให้ผู้ฝากเสียหาย นายคลังสินค้าจะ

ถ้านายคลังไม่บอกกล่าวตามหน้าที่ผลจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย
สธ
แนวตอบกิจกรรม 5.2.3
ถ้านายคลังสินค้าไม่บอกกล่าวตามหน้าทีจ่ ะได้ชอื่ ว่าท�ำผิดหน้าทีห่ ากเกิดความเสียหาย ตนเองจะ
ต้องรับผิดต่อผู้ฝากหรือผู้สืบสิทธิของเขา

5-28 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 5.2.4
หน้าที่คืนสินค้าที่ฝาก


หน้าที่คืนสินค้าที่ฝากของนายคลังสินค้านั้น เป็นสาระส�ำคัญอันหนึ่งในการเก็บของในคลังสินค้า
เป็นหน้าที่ที่กฎหมายบังคับดังกล่าวไว้ใน ปพพ. มาตรา 657 นั่นเอง สาระส�ำคัญของมาตรานี้มีว่า ผู้รับ

มส
ฝากเก็บรักษาทรัพย์ทฝี่ ากไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ การฝากทรัพย์นนั้ บางกรณีอาจไม่มกี ารออก
ใบรับของคลังสินค้า เพราะผู้ฝากไม่ต้องการ ตาม ปพพ. มาตรา 775 ด้วยเอกสาร ใบรับของคลังสินค้า
กับประทวนสินค้านัน้ ออกเมือ่ ผูฝ้ ากต้องการ บางกรณีซงึ่ ผูฝ้ ากไม่ประสงค์จะให้ผรู้ บั ฝากยุง่ ยาก เช่น ฝาก
ของในโกดังญาติพนี่ อ้ งกันเอง อาจจะให้ผรู้ บั ฝากเซ็นชือ่ ในบัญชีสนิ ค้าก็ได้ ซึง่ สะดวกกว่า กรณีทไี่ ม่มใี บรับ
ของคลังสินค้านี้ การคืนทรัพย์ที่ฝากคงปฏิบัติ ตาม ปพพ. มาตรา 662 และ 663 คือคืนแบบธรรมดา แต่
ถ้ามีการออกใบรับรองของคลังสินค้า และประทวนสินค้าก็ต้องปฏิบัติ ตาม ปพพ. มาตรา 788 และ 789
คือต้องมีการเวนคืนเอกสารด้วย มิฉะนัน้ จะรับของไปไม่ได้ ขอกล่าวถึงการคืนทรัพย์แบบธรรมดาก่อน ตาม
หัวข้อต่อไปนี้
1. ก�ำหนดเวลาคืนทรัพย์ ตามทีไ่ ด้ศกึ ษามาแล้วว่า สัญญาฝากทรัพย์เป็นสัญญาเพือ่ ผูฝ้ าก เพราะ
ฉะนั้นถ้าผู้ฝากเรียกคืนเมื่อใดนายคลังจะต้องคืนให้ทุกเมื่อไม่ว่าสัญญาฝากจะได้ก�ำหนดเงื่อนเวลาไว้หรือ

ไม่กต็ าม แต่ตรงกันข้ามนายคลังสินค้าไม่มสี ทิ ธิคนื สินค้าก่อนเวลาทีก่ ำ� หนด เว้นแต่ในเหตุจำ� เป็นอันมิอาจ
จะก้าวล่วงเสียได้ ดังปรากฏอยู่ใน ปพพ. มาตรา 662 และ 663 ที่บัญญัติว่า
มส

มาตรา 662 “ถ้าได้ก�ำหนดเวลากันไว้ว่าจะพึงคืนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเมื่อไร ท่านว่าผู้รับฝากไม่มี


สิทธิจะคืนทรัพย์สนิ ก่อนถึงเวลาก�ำหนด เว้นแต่ในเหตุจ�ำเป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้” และมาตรา 663
ความว่า “ถึงแม้คู่สัญญาจะได้ก�ำหนดเวลาไว้ว่าจะพึงคืนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเมื่อไรก็ตาม ถ้าว่าผู้ฝากจะ
เรียกคืนในเวลาใดๆ ผู้รับฝากก็ต้องคืนให้”
ทีก่ ฎหมายบัญญํตไิ ว้เช่นนีก้ ด็ ว้ ยเหตุผลทีจ่ ะอ�ำนวยความสะดวกแก่เจ้าของทรัพย์ในการจัดการกับ
ทรัพย์สินของเขา โดยปราศจากอุปสรรค แม้หากจะมีก็ให้น้อยที่สุด

ตัวอย่าง 1 แดงฝากข้าวเปลือกไว้ในไซโลของบริษทั โกดังทอง มีกำ� หนด 6 เดือน ฝากได้ 2 เดือน
ข้าวเปลือกขึ้นราคา แดงจึงขายข้าวเปลือกนั้นให้ขาว โดยสลักหลังใบรับของคลังสินค้า ขาวย่อมน�ำใบรับ
ของคลังสินค้ามาเวนคืนเอาข้าวเปลือกที่ซื้อจากบริษัทโกดังทองได้ บริษัทโกดังทองต้องส่งข้าวเปลือกให้
แก่ขาว จะอ้างว่ายังไม่ครบก�ำหนดสัญญาฝากไม่ได้และจะเรียกให้ขาวช�ำระค่าฝากเต็ม 6 เดือน จึงจะคืนให้
ก็ไม่ได้ ขาวมีความผูกพันที่จะต้องเสียค่าฝากเท่าเวลาที่เก็บสินค้าตามอัตราที่ตกลง
ตัวอย่าง 2 กรณีแดงฝากข้าวเปลือกตามตัวอย่างข้างต้น ฝากได้สัปดาห์เศษๆ เกิดอุทกภัยโดย
ไม่คาดฝัน นาํ้ ท่วมยุง้ ฉางต้องขนข้าวออกตากแดดบนลานสูง และไม่มที เี่ ก็บ บริษทั โกดังทองอาจจะขอคืน
สธ
ข้าวเปลือกของแดงได้ เพราะเป็นกรณีจำ� เป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้
อย่างไรก็ตาม ถ้านายคลังสินค้ายังไม่ได้รับช�ำระค่าฝากก็ย่อมจะมีสิทธิที่จะยึดหน่วงสินค้าไว้ได้
ตามมาตรา 630 และมาตรา 670 สิทธิยึดหน่วงนี้ย่อมใช้ยันผู้รับโอนได้ทุกคน

เก็บของในคลังสินค้า 5-29

2. บุคคลใดมีสิทธิรับคืนทรัพย์ที่ฝาก การคืนทรัพย์ให้ผู้ใดนั้นเป็นไปตามบทบัญญัติใน ปพพ.


ดังนี้ คือ
มาตรา 665 บัญญัติว่า “ผู้รับฝากจ�ำต้องคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากไว้นั้นให้แก่ผู้ฝาก หรือทรัพย์สิน
นัน้ ฝากในนามของผูใ้ ด คืนให้แก่ผนู้ นั้ หรือผูร้ บั ฝากได้รบั ค�ำสัง่ โดยชอบให้คนื ทรัพย์สนิ นัน้ ไปแก่ผใู้ ด คืนให้
แก่ผู้นั้น แต่หาก ผู้ฝากทรัพย์ตาย ท่านให้คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ทายาท”


มาตรานี้หมายถึง การฝากธรรมดาไม่มีเอกสารใบรับของคลังสินค้า ซึ่งอาจมิได้
มาตรานีก้ ล่าวถึงผูม้ สี ทิ ธิรบั คืนได้ 4 กรณี ถ้านายคลังสินค้าคืนให้บคุ คลอืน่ นอกจากนีถ้ อื ว่า ช�ำระ

มส
หนี้ผิดตัวเจ้าหนี้ เท่ากับไม่ได้ช�ำระหนี้ บุคคล ผู้มีสิทธิรับคืนทรัพย์ที่ฝาก ได้แก่
2.1 ผู้ฝาก ซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยตรง ผู้ฝากอาจไม่ใช่เจ้าทรัพย์ที่ฝากก็ได้ เมื่อเขาเป็นผู้ฝาก
ก็ต้องคืนให้แก่เขา
ตัวอย่าง 1 แดงเจ้าของไร่กระเทียม ส่งกระเทียมมาให้ดำ� พ่อค้าขายส่งที่ตลาดท่าเตียนขาย
แทน ด�ำให้น�ำกระเทียมไปฝากไว้ที่โกดังของบริษัทโกดังทองในนามของด�ำ เพื่อรอการจ�ำหน่าย บริษัท
โกดังทองต้องคืนกระเทียมให้แก่ด�ำผู้ฝาก แม้แดงเจ้าของที่แท้จริงมาขอรับคืนบริษัทโกดังทองก็ไม่จำ� ต้อง
คืนให้
ตัวอย่าง 2 องค์การ ร.ส.พ. บรรทุกสินค้าของลูกค้าจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ไปถึง
นครสวรรค์ รถเสียจ�ำเป็นต้องขนสินค้าออกจากรถเพือ่ ซ่อม ผูจ้ ดั การ ร.ส.พ. ทีน่ ครสวรรค์ได้นำ� สินค้าฝาก

ที่โกดังฮวดเง็กตึ้งเจ้าของโกดังต้องคืนสินค้าที่ฝากให้แก่ผู้ฝาก สมมติว่าเจ้าของสินค้าอันแท้จริงมาขอรับ
สินค้านายคลังสินค้าของโกดังฮวดเง็กตึง้ ได้คนื สินค้าให้แก่เจ้าของอันแท้จริงท�ำให้ผขู้ นส่งซึง่ ฝากสินค้านัน้
มส

เสียหาย เพราะยังไม่ได้รับค่าขนส่งและไม่อาจใช้สิทธิยึดหน่วงสินค้าที่ขนส่งได้ ตามมาตรา 630 นายคลัง


สินค้าต้องรับผิดต่อผู้ฝาก
2.2 ฝากในนามของผู้ใดให้คืนแก่ผู้นั้น หมายความว่าผูฝ้ ากไม่ได้ฝากในนามของตนเอง แต่
ฝากในนามของคนอื่น ฝากในนามของใครก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ฝากต้องคืนให้แก่คนนั้น
ตัวอย่าง แดงหุ้นส่วนคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดผลิตผลการเกษตร ได้น�ำข้าวโพดของ
ตนฝากไว้ในไซโลเช่งฮวดหลีในนามของห้าง เพราะตกลงกับห้างไว้เช่นนัน้ เพือ่ ตนจะได้ไม่ตอ้ งเสียค่าฝาก

เอง กรณีเช่นนีน้ ายคลังสินค้าของไซโลเช่งฮวดหลีตอ้ งคืนสินค้าให้หา้ งดังกล่าว แดงจะขอรับสินค้าคืนก็ตอ้ ง
ขอคืนในนามของห้าง เช่น มีใบมอบอ�ำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการให้ใบรับจึงจะรับได้
ขอให้สังเกตค�ำว่า ฝากในนามของผู้อื่นนั้น ต้องถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ฝาก และเป็นผู้รับผิดต่อ
นายคลังสินค้าโดยตรง อาจมีกรณีตวั แทนค้าต่างฝากสินค้าของตัวการในนามของตนเอง เช่น แดงตัวแทน
ค้าต่างของด�ำน�ำสินค้าของด�ำไปฝากในนามของแดงเอง ซึง่ ปกติมกั จะเป็นเช่นนัน้ กรณีเช่นนีต้ อ้ งคืนให้แดง
แต่ถ้าแดงระบุว่า “ฝากในนามของด�ำ” หรือ “ฝากแทนด�ำ” หรือข้อความอื่นใดที่มี
ความหมายอย่างเดียวกันแล้ว นายคลังต้องคืนสินค้าที่ฝากให้แก่ด�ำ
สธ
2.3 คืนตามค�ำสั่งของผู้ฝาก เป็นกรณีที่ผู้ฝากจะให้ส่งคืนแก่ผู้ใด ขอให้สังเกตว่าหมายถึง
ไม่ได้ออกใบรับของคลังสินค้า ซึง่ มีการสลังหลังกันได้ และคืนให้แก่ผทู้ รงตัวบทใช้คำ� ว่า ค�ำสัง่ โดยชอบ คือ
ค�ำสั่งของผู้มีอ�ำนาจนั่นเอง

5-30 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตัวอย่าง 1 แดงฝากสินค้าของด�ำ ซึง่ ตนรับฝากขายไว้กบั บริษทั โกดังทอง ด้วยการลงลายมือ


ชื่อรับไว้ในบัญชีสินค้า (ไม่ได้ออกใบรับ) ต่อมาแดงขายสินค้านั้นให้ขาวจึงเขียนจดหมายถึงบริษัทโกดัง
ทองให้มอบสินค้านัน้ ให้แก่ขาว โดยให้ขาวถือหนังสือพร้อมกับบัญชีสนิ ค้าไปรับของทีโ่ กดัง ดังนี้ จดหมาย
ของแดงเป็นค�ำสั่งโดยชอบ บริษัทต้องมอบสินค้าให้แก่ดำ� ตามสั่ง
ตัวอย่าง 2 แดงน�ำสินค้าของด�ำไปฝากเก็บในโกดังของบริษัทโกดังทองโดยระบุว่าฝากใน


นามของด�ำ (ไม่ได้ออกใบรับของคลังสินค้าแต่เซ็นรับสินค้าในบัญชีสินค้า) ต่อมาด�ำสั่งให้คืนสินค้าที่ฝาก
ให้แก่ขาวผู้ซื้อ ค�ำสั่งของด�ำเป็นค�ำสั่งที่ชอบ แต่แดงไม่มีอำ� นาจสั่ง

มส ตัวอย่าง 3 กรณีตามตัวอย่าง 2 สมมติวา่ ด�ำเจ้าของสินค้าตาย ทายาทของด�ำได้ขายสินค้า


ให้แก่ขาวแล้วมีหนังสือถึงนายคลังสินค้าให้มอบสินค้าทีฝ่ ากให้แก่ขาว ค�ำสัง่ ของทายาทนัน้ เป็นค�ำสัง่ ทีช่ อบ
นายคลังสินค้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
2.4 คืนให้แก่ทายาท ในกรณีทผี่ ฝู้ ากตาย คือสัญญาฝากทรัพย์นนั้ เป็นสัญญาเฉพาะตัว เมือ่
ผูฝ้ ากตายสัญญาฝากทรัพย์ยอ่ มสิน้ สุดลง นายคลังสินค้าต้องคืนสินค้าให้แก่ทายาทของผูฝ้ าก ซึง่ เป็นผูร้ บั
มรดกเป็นเจ้าของสินค้านั้น
มีปญั หาว่า ในกรณีผฝู้ ากเป็นเพียงตัวแทนค้าต่างฝากทรัพย์ของตัวการแล้วตายลง นายคลัง
จะต้องคืนให้แก่ใคร กรณีเช่นนีน้ ายคลังต้องถือว่าตัวแทนค้าต่างเป็นเจ้าของทรัพย์นนั้ ต้องคืนให้แก่ทายาท
ของผู้ตาย แล้วก็พ้นหน้าที่

ตัวอย่าง 1 แดงฝากสินค้าไว้กบั บริษทั โกดังทองต่อมาแดงตายบริษทั โกดังทองต้องคืนสินค้า
ที่ฝากให้แก่ทายาทของแดง
มส

การคืนทรัพย์ตามข้อนีไ้ ม่ได้คนื ตามสัญญาแต่คนื ตามกฎหมาย แม้จะได้กำ� หนดเวลาฝากไว้


นายคลังสินค้าก็มีสิทธิที่จะคืนก่อนก�ำหนดได้
ตัวอย่าง 2 แดงฝากสินค้าไว้ในโกดังเซ่งฮวดหลีในนามของด�ำ มีก�ำหนด 6 เดือน กรณี
เช่นนี้ ต้องถือว่าด�ำเป็นผูฝ้ าก ต่อมาอีก 2 เดือนหลังจากฝาก แดงตายนายคลังสินค้ามีหน้าทีค่ นื ให้ดำ� ไม่ใช่
คืนให้แก่แดงหรือคืนให้แก่ทายาทของแดงผู้ตาย
ต่อมาอีก 1 เดือนด�ำถึงแก่กรรม กรณีเช่นนี้นายคลังสินค้าต้องคืนสินค้าที่ฝากให้แก่ทายาท

ของด�ำแม้จะยังไม่ครบ 6 เดือนก็ตาม เว้นแต่ทายาทของด�ำจะแสดงความจ�ำนงทีจ่ ะฝากสินค้านัน้ ต่อไปเป็น
คนท�ำสัญญาใหม่
3. ทรัพย์ที่คืน นอกจากจะคืนตัวทรัพย์ทฝี่ ากในสภาพเรียบร้อยแล้ว ถ้ามีดอกผลเกิดแต่ทรัพย์สนิ
ซึ่งฝากเท่าใด นายคลังสินค้าจะต้องส่งไปพร้อมกับทรัพย์สินนั้นด้วย ตามที่กล่าวไว้ใน ปพพ. มาตรา 666
ดอกผลที่นี้หมายถึง ทั้งดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย ตาม ปพพ. มาตรา 148 ที่กฎหมาย
บัญญัติไว้เช่นนี้ก็เพราะว่า ดอกผลเป็นของเจ้าของทรัพย์ที่ฝากไม่ใช่ของผู้รับฝาก แม้ทรัพย์ที่ฝากตกดอก
ออกผลมาอย่างไรต้องให้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์นั้น แต่นายคลังสินค้ามีหน้าที่คืนทรัพย์ที่ฝากให้แก่ผู้ฝาก
สธ
กฎหมายจึงบัญญัติให้คืนดอกผลให้แก่ผู้ฝากแม้บางอย่างผู้อื่นอาจเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ฝากก็ตาม

เก็บของในคลังสินค้า 5-31

ตัวอย่าง พ่อค้าสัตว์ปกี ฝากไก่พนั ธุ์ 20 ตัว ไว้กบั ทีพ่ กั สัตว์ของห้างซุน่ ฮวดหลีบริการ เพือ่ ให้เจ้า
หน้าทีต่ รวจ 3 วันก่อนส่งขึน้ เครือ่ งบิน ระหว่างนัน้ ไก่ไข่ออกมาหลายฟอง นายคลังต้องคืนทัง้ ไก่ทฝี่ ากและ
ไข่ไก่ที่ว่านั้นให้แก่ ผู้ฝากด้วย ถ้าขืนเอาไปกินมีความผิดฐานยักยอก
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีข้อตกลงว่าไม่ต้องคืนดอกผลก็เป็นเรื่องยกเว้น ถ้าเช่นนั้นนายคลังสินค้าก็ไม่
ต้องคืน ดอกผลด้วย


4. ค่าใช้จ่ายในการคืนทรัพย์ ค่าใช้จ่ายในการคืนทรัพย์นั้น ปพพ. มาตรา 667 ให้ตกแก่ผู้ฝาก
เป็นผูเ้ สีย เช่น ค่ากุลแี บกหามสินค้า ค่าขนส่ง ปกตินายคลังจะคิดรวมไว้ในค่าบริการ อันนีไ้ ม่ใช่หน้าทีน่ าย

มส
คลังสินค้า เว้นแต่จะได้เขียนไว้ในสัญญาฝากทรัพย์เป็นอย่างอืน่ ให้นายคลังน�ำมารวมไว้ในค่าบริการ เพราะ
จะให้รักษาทรัพย์สินด้วยและเรียกค่าคืนทรัพย์ด้วยเป็นการไม่ยุติธรรมอย่างที่เห็นได้อยู่ในตัว
อนึ่ง การขนส่งสินค้ามาฝากและขนกลับนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ฝากอยู่แล้ว ผู้ฝากจึงต้องเสียค่า-
ใช้จ่ายนายคลังมีหน้าที่รับฝากและคืนทรัพย์ที่ฝากให้เขาเท่านั้นแม้ในกรณีที่นายคลังน�ำสินค้าไปคืนให้แก่
ผู้ฝากตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 774 ผู้ฝากก็ยังจะต้องเป็นผู้เสียค่าส่งคืนสินค้าอยู่นั่นเอง
ตัวอย่าง แดงฝากสินค้าไว้กับบริษัทโกดังทอง โดยไม่มีกำ� หนด ต่อมามีลูกค้ารายใหญ่นำ� ของมา
ฝากซึง่ ทางบริษทั ต้องการเนือ้ ที่ จึงบอกกล่าวแก่แดงให้มารับสินค้าคืนไป แต่แดงไม่นำ� พาต่อการคืนสินค้า
หลังจากบอกกล่าวได้ 1 เดือน และเป็นเวลากว่า 2 เดือนนับแต่แดงฝากทรัพย์ บริษัทจึงขนสินค้าไปคืน
แดง แดงจะต้องเป็นผู้เสียค่าขนส่งสินค้าให้แก่บริษัทโกดังทอง ผู้รับฝาก

สมมติว่า แดงน�ำสินค้าไปฝากไว้กับโกดังของบริษัทโกดังทอง รุ่งขึ้นจากวันฝากบริษัทโกดังทอง
ต้องการ ใช้สอยที่ จึงขนเอาสินค้ามาคืนแดง ซึ่งไม่มีอำ� นาจท�ำได้ ตาม ปพพ. มาตรา 774 แม้กระนั้นแดง
มส

ก็จะต้องเสียค่าคืนทรัพย์ ส่วนแดงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ส�ำหรับการคืนทรัพย์ในกรณีที่มีการออกใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น ต้องถือเอา
เอกสารเป็นส�ำคัญ คือใบรับของคลังสินค้านั้นผู้ฝากสามารถสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ผู้อื่นได้
ผู้ทรงใบรับของคลังสินค้าจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้น เพราะฉะนั้น ปพพ. มาตรา 788 จึงบัญญัติว่า
“อันสินค้าที่เก็บรักษาไว้ในคลังนั้นจะรับเอาไปได้ก็แต่เมื่อเวนคืนใบรับของคลังสินค้า”
ผู้เวนคืนใบรับของคลังสินค้านั้นจะต้องเป็นผู้ทรงโดยชอบมีชื่อรับสลักหลังโดยชอบด้วยกฎหมาย

หมายถึงการคืนโดยการส่งมอบใบส�ำคัญต่างๆ และ/หรือจดแจ้งไว้ในใบส�ำคัญนั้นๆ

ไม่ใช่เป็นผูถ้ อื ใบรับของคลังสินค้า ซึง่ อาจเป็นผูข้ โมยเขามาก็ได้ ใบรับของคลังสินค้าไม่อาจออกให้แก่ผถู้ อื
และจะมีการสลักหลังให้แก่ผู้ถือก็ไม่ได้ตามที่กล่าวไว้ใน ปพพ. มาตรา 779 นั่นเอง การเวนคืนในที่นี้

ตัวอย่าง แดงฝากสินค้าในโกดังของบริษัทโกดังทอง บริษัทได้ออกเอกสารใบรับของคลังสินค้า


และประทวนสินค้าให้แดง แดงจะถอนสินค้าได้ก็แต่เมื่อน�ำใบรับของคลังสินค้าฉบับนั้นไปเวนคืน ขาว
น้องชายของแดงหรือบุคคลอื่นจะน�ำใบรับของไปเวนคืนเอาสินค้าออกมาไม่ได้เว้แต่จะท�ำในฐานะตัวแทน
ถ้าแดงสลักหลังใบรับของคลังสินค้านั้นให้แก่ขาวน้องชาย โดยระบุชื่อขาวในใบรับของคลังสินค้า
สธ
เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์โดยถูกต้องแล้ว ขาวน�ำใบรับของคลังสินค้าไปเวนคืนเอาสินค้าออกมาได้

5-32 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ผู้รับสลักหลังจ�ำน�ำใบรับของคลังสินค้า ตาม ปพพ. มาตรา 785 นั้นเขาไม่อาจเวนคืนใบรับของ


คลังสินค้าทีต่ นรับจ�ำน�ำไว้เพือ่ รับเอาสินค้าไปได้ เพราะตนมิได้เป็นผูส้ บื สิทธิของผูฝ้ ากแต่เป็นเพียงเจ้าหนี้
ผู้มีประกันเท่านั้น
ในกรณีนอี้ าจเป็นทีส่ งสัยว่าท�ำไมไม่เวนคืนใบประทวนสินค้ามิกลัวว่าเขาจะเอาใบประทวนไปจ�ำน�ำ
ต่างหากแล้วมาไล่เบี้ยเอาจากนายคลังสินค้าหรือ ข้อนี้เห็นว่าไม่จ�ำเป็นเพราะตราบใดที่ยังไม่มีการจ�ำน�ำ


สินค้าที่ฝาก การสลักหลังใบรับของคลังสินค้าโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นจะต้องโอนใบประทวนสินค้าไป
ด้วย การรับสลักหลังใบรับของคลังสินค้าจึงมีใบประทวนสินค้าอยูใ่ นมือด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 786 สินค้า

มส
ทีฝ่ ากไม่ได้เป็นประกันหนีอ้ นั นายคลังสินค้าจะพึงรับผิดเลย เพราะฉะนัน้ เขาเอาใบรับของคลังสินค้าใบเดียว
มาเวนคืนเอาสินค้า นายคลังก็ยอ่ มจะคืนให้ได้ ผูฝ้ ากจะน�ำเอาใบประทวนสินค้าทีม่ อี ยูใ่ นมือไปจ�ำน�ำได้หลัง
จากถอนสินค้าออกไปแล้วย่อมไม่เกี่ยวข้องกับนายคลังสินค้า
แต่กรณีทมี่ กี ารสลักหลังจ�ำน�ำใบประทวนสินค้าตามกฎหมายถือว่า นายคลังสินค้าครอบครองสินค้า
ทีจ่ ำ� น�ำในฐานะตัวแทนของเจ้าหนีแ้ ละจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนีถ้ า้ ขืนปล่อยสินค้าไปเสีย เพราะฉะนัน้ ปพพ.
มาตรา 789 จึงบังคับไว้ในวรรคหนึง่ ว่า “ถ้าได้แยกประทวนสินค้าออกสลักหลังจ�ำน�ำแล้วจะรับเอาสินค้า
ได้แต่เมื่อเวนคืนทั้งใบรับของสินค้าและประทวนสินค้า”
ที่บังคับไว้ให้เวนคืนเอกสารทั้งสองใบนั้นก็เพื่อเป็นที่แน่ใจว่า สินค้านั้นปลอดจากการเป็นประกัน
แล้ว นายคลังสินค้าไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้แต่อย่างใด ถ้าเขาเวนคืนใบรับของคลังสินค้าใบเดียวนายคลัง

สินค้าปล่อยให้สินค้าเขาไป ตนต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ถ้าผู้ฝากต้องการถอนสินค้าโดยไม่ช�ำระหนี้จ�ำน�ำก่อน
ต้องน�ำเงินมาวางตามความใน ปพพ. มาตรา 789 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “แต่ว่าผู้ทรงใบรับของคลัง
มส

สินค้าอาจให้คืนสินค้าแก่ตนได้ในเวลาใดๆ เมื่อวางเงินแก่นายคลังสินค้าเต็มจ�ำนวนหนี้ซึ่งลงไว้ใน
ประทวนสินค้า กับทั้งดอกเบี้ยจนถึงวันก�ำหนดช�ำระหนี้นั้นด้วย”
เมื่อผู้ฝากวางเงินเต็มจ�ำนวนหนี้ซึ่งลงไว้ในประทวนสินค้า นายคลังสินค้าต้องคืนสินค้าให้แก่เขา
จะเกี่ยงเอามากไปกว่านั้นไม่ได้
เงินนีน้ ายคลังเอาไว้จา่ ยให้แก่ผรู้ บั จ�ำน�ำเมือ่ เขาน�ำประทวนสินค้ามาเวนคืน ดังความในมาตรา 789
วรรคสาม ซึ่งบัญญัติว่า “อนึ่ง จ�ำนวนเงินที่วางเช่นนี้นายคลังสินค้าต้องช�ำระแก่ผู้ทรงประทวนสินค้า
เมื่อเขาเวนคืนประทวนนั้น” ม
ตัวอย่าง แดงฝากสินค้ามูลค่าหนึ่งล้านบาทไว้กับบริษัทโกดังทอง แล้วสลักหลังจ�ำน�ำสินค้านั้นไว้
กับด�ำเพียง 100,000 บาท ก�ำหนดช�ำระภายใน 6 เดือน ดอกเบี้ย 7,500 บาท ต่อมาจะต้องส่งสินค้านั้น
ไปต่างประเทศ แต่ปล่อยสินค้าไม่ได้เพราะยังไม่ได้ชำ� ระหนีแ้ ก่ดำ � เพือ่ เอาประทวนคืนมา จึงไปยืมเงินเพือ่ น
ฝูงได้มาแสนกว่าบาทแล้วเอามาวางไว้กบั บริษทั โกดังทอง 107,500 บาท ดังนัน้ บริษทั โกดังทองต้องปล่อย
สินค้าให้แดงไป จะเกี่ยงเอาประกันมากกว่านั้นไม่ได้
เงินจ�ำนวนนี้นายคลังสินค้าเก็บไว้จ่ายให้ด�ำผู้ทรงประทวนสินค้า เมื่อเขาน�ำประทวนสินค้ามา
สธ
เวนคืน ดังความในมาตรา 789 วรรคสาม

เก็บของในคลังสินค้า 5-33

นายคลังสินค้าไม่จำ� ต้องรับผิดมากกว่าจ�ำนวน 107,500 บาท แม้ดำ� จะน�ำประทวนสินค้ามาเวนคืน


หลังจากนัน้ หนึง่ ปี ก็จะเรียกเอาดอกเบีย้ เกินกว่า 6 เดือนไม่ได้ เป็นความผิดของด�ำเองทีเ่ วนคืนช้าไป และ
จะเรียกเอาดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้ ส�ำหรับเงิน 107,500 บาทนั้นซึ่งเป็นเงินจ�ำนวนหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะ
สัญญาจ�ำน�ำระงับ
มาตรา 789 วรรคสาม ก�ำหนดให้ผู้ทรงน�ำเงินมาวางท�ำให้สงสัยว่าจะน�ำทรัพย์สินอย่างอื่นมาวาง


แทนได้หรือไม่ข้อนี้ตอบได้ว่าไม่ได้ ถ้าน�ำทรัพย์สินอย่างอื่นมาวาง เช่น แหวนเพชรราคาแพงๆ นายคลัง
สินค้าไม่มีหน้าที่ต้องรับไว้ เนื่องจากกฎหมายบัญญัติมิให้ผู้ทรงน�ำเงินมาวางพร้อมดอกเบี้ย เวลามีผู้น�ำ

มส
ประทวนมาเวนคืนนายคลังสินค้าจะต้องจ่ายเงินให้เขาไป
ในกรณีทนี่ ายคลังสินค้ารับเอาทรัพย์อนื่ ไว้แทนเงินเช่นรับแหวนเพชรไว้ ต่อมาขายได้ไม่ถงึ จ�ำนวน
หนี้ที่ค้างช�ำระก็ดี นายคลังสินค้าต้องรับผิด
อย่างไรก็ตาม นายคลังสินค้าอาจเอือ้ เฟือ้ ให้ความสะดวกแก่ลกู ค้า เพือ่ เอาใจกันไว้โดยรับเอาหลัก
ประกันอย่างอื่นไว้แทน เช่น หนังสือคํ้าประกันของธนาคารหรือแม้แต่ตั๋วสัญญาใช้เงินของลูกหนี้เองก็ได้
อันนี้เป็นสิทธิของนายคลังสินค้าไม่ใช่หน้าที่
ข้อสังเกต ตัวบทใน ปพพ. มาตรา 663 และ 664 ใช้คำ� ว่าผู้ฝากจะเรียกคืนทรัพย์สินเมื่อใดก็ได้
ทุกเมื่อ เป็นปัญหาว่า ผู้ฝากจะเรียกคืนสินค้าในเวลาวิกาล หรือวันหยุดท�ำการงานได้หรือไม่ ข้อนี้ต้อง
อาศัยบทกฎหมายทีใ่ กล้เคียง ตาม ปพพ. มาตรา 773 คือ จะต้องเป็นเวลาอันสมควร การเรียกคืนในเวลา

กลางคืนนั้นย่อมไม่ใช่วิสัย ส�ำหรับในวันหยุด ตามปกตินั้นคงไม่สะดวกแก่นายคลังทั้งเป็นการที่เห็นได้ว่า
คู่สัญญาตกลงกันโดยปริยายว่า จะไม่มีการเรียกคืนในวันเช่นนั้น
มส

อย่างไรก็ตาม นายคลังสินค้าผู้รับฝากก็ยังมีสิทธิยึดหน่วงตามมาตรา 670 หากมีเงินที่ค้างช�ำระ


อยู่แก่ตนเกี่ยวด้วยการฝากนั้น เช่น ค่าบ�ำเหน็จ และค่าใช้จ่ายในการบ�ำรุงรักษาทรัพย์สินที่ฝาก เป็นต้น
ถ้ายังไม่ได้ช�ำระนายคลังสินค้าย่อมจะยึดหน่วงทรัพย์สินที่ฝากไว้ได้ แม้ผู้ทรงจะน�ำเอกสารมาเวนคืนครบ
ทุกใบ แต่ไม่ยอมช�ำระเงินที่เกี่ยวค้างอยู่นั้น นายคลังสินค้าก็ไม่จ�ำเป็นต้องคืนสินค้าให้

กิจกรรม 5.2.4
1. นายคลังสินค้ามีหน้าที่ต้องคืนสินค้าที่ฝากให้แก่ใคร
2. นายคลังสินค้าไม่ต้องคืนสินค้าในกรณีใดบ้าง

3. การคืนสินค้าในกรณีที่การฝากมีเอกสารการฝากกับไม่มีเอกสารการฝากต่างกันหรือไม่
4. การคืนสินค้าให้แก่ผู้ไม่ควรรับ ผลจะเป็นอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 5.2.4
สธ
1. นายคลังสินค้ามีความผูกพันกับผู้ฝากเพราะฉะนั้นนายคลังสินค้าจึงต้องคืนทรัพย์ที่ฝากให้แก่
ผู้ฝากเว้นแต่

5-34 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

1) ผู้ฝากสั่งให้คืนแก่ผู้อื่น
2) ผู้ฝากตายคืนให้แก่ทายาท
3) ผู้ฝากในนามของผู้อื่น กรณีเช่นนี้ผู้ฝากอยู่ในฐานะเพียงตัวแทน นายคลังต้องคืนให้แก่
เจ้าของซึ่งเป็นผู้ฝากอันแท้จริง
2. นายคลังสินค้าอาจไม่ต้องคืนสินค้าในกรณีที่ผู้ฝากมิได้เวนคืนเอกสารรับฝากตามที่กฎหมาย


บังคับ หรือผู้ฝากเวนคืนเอกสารแต่ไม่ยอมช�ำระเงินที่เกี่ยวค้าง เช่น บ�ำเหน็จ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ นายคลัง
สินค้าอาจใช้สิทธิยึดหน่วงสินค้าเอาไว้ได้

มส
3. การคืนสินค้าในกรณีฝากทรัพย์โดยออกเอกสารใบรับของและประทวนสินค้ากับกรณีไม่ได้ออก
เอกสารดังกล่าวนั้นต่างกัน ในกรณีที่มีการออกเอกสารใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้นจะต้องมี
การเวนคืนเอกสาร 2 ฉบับนี้ตามที่กฎหมายก�ำหนดไว้ในลักษณะนี้ แต่ในกรณีที่ไม่มีการออกตราสรา
ดังกล่าวนั้น การคืนทรัพย์ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการฝากทรัพย์ทั่วไป
4. การคืนทรัพย์ให้แก่ผทู้ ไี่ ม่ควรรับนัน้ เป็นการช�ำระหนีผ้ ดิ ตัวเจ้าหนี้ นายคลังสินค้าจะต้องรับผิด
ต่อผู้ฝากหรือผู้สืบสิทธิอันแท้จริงของเขา

เรื่องที่ 5.2.5
หน้าที่เบ็ดเตล็ด
มส

หน้าที่เบ็ดเตล็ดนั้นเป็นหน้าที่อื่นๆ ของนายคลังสินค้าซึ่งมีสาระส�ำคัญโดยล�ำดับ ดังนี้ คือ


1. หน้าที่ให้ผู้ทรงตราสารตรวจและเอาตัวอย่างสินค้าไปได้ ตามที่กล่าวไว้ใน ปพพ. มาตรา
773 บัญญัติว่า “นายคลังสินค้าจ�ำต้องยอมให้ผู้ทรงใบรับของคลังสินค้าหรือผู้ทรงประทวนสินค้าตรวจ
สินค้าและเอาตัวอย่างไปได้ ในเวลาอันควรระหว่างเวลาท�ำงานทุกเมื่อ”

กฎหมายมาตรานี้ก�ำหนดให้นายคลังอ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้ทรงตราสารอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่ง
อาจเป็น ผู้ทรงใบรับของคลังสินค้า หรือผู้ทรงประทวนสินค้าก็ได้ให้ตรวจดูสินค้าที่ฝากและเอาตัวอย่างไป
ได้ โดยนายคลังจะต้องเปิดประตูโกดังให้ และจัดตัวอย่างให้ถ้าเขาต้องการเพื่อป้องกันความยุ่งยากเวลา
รับฝาก นายคลังอาจจะขอตัวอย่างไว้จากผูฝ้ ากก็ได้ เมือ่ มีใครมาจะได้ให้ดโู ดยไม่ตอ้ งเปิดหีบห่อหรือโกดัง
ผูท้ รงตราสารทัง้ สองฉบับนัน้ พึงเข้าใจว่าต้องเป็นผูท้ รงโดยชอบ มีชอื่ ปรากฏบนตราสารนัน้ ในฐานะ
ผู้ฝากหรือผู้รับสลักหลังแล้วแต่กรณี ผู้เก็บตกหรือขโมยตราสารเขามา หาใช่ผู้ทรงไม่
สธ
ผู้ทรงเหล่านี้อาจพาคนอื่นมาด้วยหรือมอบหมายให้คนอื่นซึ่งผู้ประสงค์จะซื้อหรือรับจ�ำน�ำสินค้า
นั้นมาตรวจหรือเอาตัวอย่างไปดูก็ได้ เช่น บริษัทธุรกิจที่ประสงค์จะรับจ�ำน�ำสินค้านั้นอยากรู้ว่าสินค้านั้นมี
สภาพเช่นไร มีปริมาณตรงตามที่ระบุไว้หรือไม่ และควรจะมีราคาเท่าใดพอจะขายได้เงินคุ้มกับหนี้ของตน
หรือไม่ นายคลังสินค้าจะต้องอ�ำนวยความสะดวกให้เช่นเดียวกับผู้ทรง

เก็บของในคลังสินค้า 5-35

แต่ทว่าผู้ทรงตราสารหรือตัวแทนเช่นว่านั้นจะต้องมาในเวลาอันควรและจะต้องมาในเวลาที่
นายคลังเปิดท�ำการงานติดต่อกับลูกค้าตามปกติด้วย ผู้ทรงจะมาขอตรวจสินค้าในเวลากลางคืนหรือใน
ระหว่างที่เขาเปิดท�ำงานเป็นพิเศษ เช่น ปิดบัญชีงบครึ่งปีและไม่มีการติดต่อกับลูกค้าอย่างนี้ไม่ได้
อย่างไรเป็นเวลาอันควรนั้นแล้วแต่พฤติการณ์แต่ละแห่ง คลังสินค้าบางแห่งอาจเปิดบริการลูกค้า
ตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าเช่นนั้นผู้ทรงก็สามารถติดต่อขอตรวจหรือขอตัวอย่างสินค้าได้ทุกมื่อ


2. หน้าที่ออกเอกสารการฝาก เอกสารการฝากอันมีใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าตาม
ที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 775 ความว่า“ถ้าผู้ฝากต้องการไซร้ นายคลังสินค้าต้องส่งมอบเอกสารซึ่ง

มส
เอาออกจากทะเบียนมีตน้ ขัว้ เฉพาะการอันมีใบรับของคลังสินค้าฉบับหนึง่ และประทวนสินค้าฉบับหนึง่
ให้แก่ผู้ฝาก”
กฎหมายให้นายคลังออกเอกสาร 2 ฉบับนี้ กล่าวคือใบรับรองของคลังสินค้าและใบประทวนสินค้า
เมื่อผู้ฝากต้องการ ลูกค้าบางรายที่ไม่ประสงค์จะขายหรือจ�ำน�ำสินค้าด้วยการสลักหลังเอกสาร 2 ฉบับนี้
เพียงแต่อยากจะเก็บสินค้าไว้เฉยๆ เพื่อรอราคาหรือรอเวลา เขาอาจจะไม่ต้องการเอกสาร 2 ฉบับนี้ก็ได้
นายคลังสินค้าอาจลงลายมือชื่อรับสินค้าในบัญชีสินค้าที่ผู้ฝากน�ำมาก็ได้ซึ่งสะดวกกว่าซึ่งเอกสาร 2 ฉบับ
ที่ว่านี้จะต้องท�ำขึ้นมีรายการครบถ้วนตามที่บังคับไว้ใน ปพพ. มาตรา 778
การออกเอกสาร 2 ฉบับนี้ ปพพ. มาตรา 779 บัญญัติว่าจะออกให้แก่ผู้ถือไม่ได้ หรือสลักหลังให้
แก่ผถู้ อื ไม่ได้คอื จะต้องออกโดยระบุชอื่ ผูฝ้ ากสารไปในตราสารทุกกรณีไปจะเขียนเพียงว่า “บริษทั โกดังทอง
จ�ำกัดได้รับฝากสินค้า ตามบัญชีสินค้าแนบท้ายไว้จากผู้ถือเอกสารนี้” อย่างนี้ไม่ได้

เมื่อเริ่มฝากผู้ฝากอาจไม่ต้องการเอกสารใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า ต่อมาผู้ฝากเกิด
ต้องการขึน้ มาจะด้วยเหตุผลอันใดก็แล้วแต่ นายคลังสินค้าจ�ำต้องออกให้เขา ถ้าไม่ยอมออกผูฝ้ ากฟ้องเรียก
มส

เอาได้
คลังสินค้าบางแห่งเคยออกแต่ใบรับของคลังสินค้าไม่เคยออกประทวนสินค้า ถ้าผูฝ้ ากต้องการทัง้
ใบรับและประทวน ก็คงไม่ยาก เพราะประทวนสินค้ากับใบรับนั้นมีรายการเหมือนกัน นายคลังสินค้าอาจ
ถ่ายรูปใบรับแล้ว ขีดฆ่าค�ำว่าใบรับออกแล้วเขียนค�ำว่า ประทวนสินค้าลงไปแทน แล้วกรอกข้อความ
ปิดอากรแสตมป์ลงลายมือชื่อ นายคลังสินค้าเท่านั้นก็มใช้ได้ตามกฎหมาย
3. หน้าที่จดรายการจ�ำน�ำลงในต้นขั้วเอกสาร ตามความใน ปพพ. มาตรา 782 ซึ่งบัญญัติว่า

“เมื่อใดผู้ฝากจ�ำน�ำสินค้าและส่งมอบประทวนสินค้าแก่ผู้รับสลักหลังแล้ว ผู้รับสลักหลังเช่นนั้นต้องมี
จดหมายบอกกล่าวแก่นายคลังสินค้าให้ทราบจ�ำนวนหนีซ้ งึ่ จ�ำน�ำสินค้านัน้ เป็นประกัน ทัง้ จ�ำนวนดอกเบีย้
และวันอันหนี้นั้นจะถึงก�ำหนดช�ำระ เมื่อนายคลังสินค้าได้รับค�ำบอกกล่าวเช่นนั้นแล้วต้องจดรายการทั้ง
นั้นลงในต้นขั้ว
ถ้ามิได้จดในต้นขั้วเช่นนั้น ท่านว่าการจ�ำน�ำนั้นหาอาจจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ทั้งหลายของ
ผู้ฝากได้ไม่”
หน้าทีจ่ ดรายการจ�ำน�ำตามมาตรานีเ้ กิดขึน้ เมือ่ นายคลังสินค้าได้รบั ค�ำบอกกล่าวการจ�ำน�ำจากผูร้ บั
สธ
สลักหลังเป็นการรักษาผลประโยชน์ของเขา การทีผ่ รู้ บั สลักหลังบอกมาเช่นนัน้ เท่ากับแจ้งให้นายคลังสินค้า
ทราบโดยปริยายว่า ต่อแต่นั้นไปนายคลังสินค้าครอบคลุมสินค้าที่ฝากแทนเขาในฐานะผู้รับจ�ำน�ำด้วย จะ
ส่งคืนสินค้าแก่ผู้ฝากหรือบุคคลอื่นใดไม่ได้ จนกว่าจะได้ชำ� ระหนี้จ�ำน�ำแก่เขาก่อน

5-36 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ถ้านายคลังสินค้าหลงลืมมิได้จดรายการจ�ำน�ำลงไว้ในต้นขั้วจะเกิดผลตามมาตรา 782 วรรคสอง


คือ จะยกการจ�ำน�ำขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ทั้งหลายของผู้ฝากไม่ได้เลย คือจะอ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้จ�ำน�ำ ขอรับ
ช�ำระหนี้ก่อนคนอื่นไม่ได้
ตัวอย่าง 1 แดงฝากสินค้าไว้กับบริษัทโกดังทองได้ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้ามาตาม
ระเบียบต่อมาเงินขาดมือ แดงได้สลักหลังจ�ำน�ำประทวนสินค้าไว้กับด�ำ แต่ด�ำมิได้แจ้งการจ�ำน�ำให้บริษัท


โกดังทองทราบเพราะไม่รู้ระเบียบ
ต่อมาแดงถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องและยึดสินค้าในคลังออกขายทอดตลาด ด�ำจะมายื่นค�ำร้องขอรับ

มส
ช�ำระหนี้จ�ำน�ำก่อนเจ้าหนี้อื่นในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ตาม ปพพ. มาตรา 278, 282 ประกอบด้วย
ปวพ. มาตรา 289 ไม่ได้ ด�ำต้องฟ้องคดีให้ศาลพิพากษาเสียก่อนแล้วจึงมาขอเฉลี่ยหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ
ซึ่งอาจไม่ทันกาลก็ได้ ถ้าได้รับช�ำระหนี้ไม่พอก็จะมาโทษนายคลังสินค้าไม่ได้ เพราะเป็นความผิดของ
ตัวเองที่ไม่ได้แจ้งให้นายคลังสินค้าทราบ
ตัวอย่าง 2 กรณีตามตัวอย่างข้างต้น หลังจากด�ำได้รับจ�ำน�ำไว้แล้ว ได้แจ้งการจ�ำน�ำให้นายคลัง
สินค้าทราบเป็นหนังสือ แต่นายคลังสินค้ามิได้จดแจ้งการจ�ำน�ำลงไว้ในต้นขั้วใบรับของคลังสินค้า ต่อมา
สินค้าทีฝ่ ากถูกเจ้าหนีต้ ามค�ำพิพากษาของแดงยึดขายทอดตลาด กรณีเช่นนีด้ ำ� จะขอรับช�ำระหนีจ้ ำ� น�ำก่อน
เจ้าหนีอ้ นื่ ไม่ได้เช่นกันเพราะมิได้จดแจ้งการจ�ำน�ำลงในต้นขัว้ ใบรับของคลังสินค้า ตาม ปพพ. มาตรา 782
แต่การไม่จดเกิดจากความเลินเล่อของนายคลังสินค้าเอง นายคลังสินค้าต้องรับผิดต่อด�ำเจ้าหนี้ในความ

เสียหายใดๆ ที่เกิดแต่การที่ตนไม่กระท�ำตามหน้าที่นั้น
4. หน้าที่แยกสินค้าและออกเอกสารใหม่ หน้าทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ใน ปพพ. มาตรา 783 ความว่า “ผู้ทรง
มส

เอกสารอันมีทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น จะให้นายคลังสินค้าแยกสินค้าที่เก็บรักษา
ไว้ออกเป็นหลายส่วนและให้ส่งมอบเอกสารแก่ตนส่วนละใบก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ทรงเอกสารต้องคืน
เอกสารเดิมแก่นายคลังสินค้า
อนึ่ง ค่าใช้จ่ายในการแยกสินค้าและการส่งมอบเอกสารใหม่นั้น ผู้ทรงเอกสารต้องรับใช้”
หน้าที่แยกสินค้าออกเป็นส่วนๆ และออกเอกสารส�ำหรับแต่ละส่วนที่แยกออกเกิดขึ้นตามความ
ต้องการของผูท้ รงเอกสารทัง้ สองใบอยูใ่ นมือ ปกติกม็ กั จะเป็นผูฝ้ าก แต่อาจเป็นผูร้ บั โอนสินค้าก็ได้ เพราะ

การโอนสินค้าก่อนล่วงหน้านัน้ จะต้องโอนเอกสาร 2 ฉบับนีไ้ ปด้วยกันตามความมุง่ หมายในการแยกสินค้า
เป็นส่วนๆ ก็เพื่อจะได้ขายหรือจ�ำน�ำเป็นส่วนๆ สะดวกขึ้น ผู้ทรงต้องมีเอกสาร 2 ฉบับนั้นอยู่ในมือพร้อม
ที่จะเวนคืนให้นายคลังสินค้าเพื่อแลกเอาเอกสารชุดใหม่ จึงจะมีสิทธิขอให้แยกสินค้าและออกเอกสารใหม่
ตามมาตรานี้ได้ ถ้ามีเพียงใบเดียว เช่น มีแต่ประทวนสินค้า หรือมีแต่ใบรับของคลังสินค้าหามีสิทธิขอให้
เขาแยกไม่ เหตุกเ็ พราะว่า ถ้าเอกสาร 2 ใบนีแ้ ยกกันเมือ่ ใด หมายถึงว่าสินค้าในคลังถูกจ�ำน�ำเสียแล้วกรณี
เช่นนี้กฎหมายไม่ให้แยก นายคลังสินค้าไม่จ�ำต้องแยกให้
อนึ่ง ผู้ทรงที่ขอให้แยกสินค้าจะต้องยอมเสียค่าใช้จ่ายด้วย ถ้าไม่ยอมนายคลังสินค้าก็ไม่มีหน้าที่
สธ
ต้องแยกอีกเหมือนกัน

เก็บของในคลังสินค้า 5-37

การแยกสินค้านัน้ กระท�ำได้โดยระบุไว้ในเอกสารเป็นส่วนๆ เช่นเดิม ฝากข้าวโพด 1,000 กระสอบ


ถ้าผู้ทรงต้องการเอกสาร 2 ชุด ก็แยกได้เป็นชุดละ 500 กระสอบ คือระบุจดไปในเอกสารใบรับของและ
ประทวนใหม่ ชุดละ 500 กระสอบ โดยไม่ต้องไปจับสินค้าในคลังแยกออกจากกัน เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่าย
ก็คงมีเฉพาะค่ากระดาษแบบฟอร์มและค่าเสียเวลาเขียน นายคลังสินค้าที่เอาใจลูกค้าเพื่อแข่งขันกับคลัง
สินค้าอื่นอาจไม่คิดเงินก็ได้


ผู้ฝากอาจแจ้งแยกสินค้าที่ฝากเป็นหลายๆ ส่วนตั้งแต่เริ่มฝากเลยทีเดียวก็ได้ ถ้าเช่นนั้นนายคลัง
สินค้าก็ตอ้ งออกเอกสารให้หลายชุดตามทีผ่ ฝู้ ากต้องการ และอาจไม่คดิ เอาค่าใช้จา่ ยพิเศษอะไรเลยก็ได้ ซึง่

มส
ตามหลักเขามีสิทธิคิด เพราะตามกฎหมายให้เขามีหน้าที่ออกให้ชุดเดียว
เอกสารชุดเก่าผู้ทรงต้องคืนให้นายคลังสินค้าไปมิฉะนั้นจะเกิดมีการขายและจ�ำน�ำสินค้ารายนั้น
ซํ้าซ้อนกันได้

กิจกรรม 5.2.5
1. เหตุใดกฎหมายจึงยอมให้ผู้ทรงใบประทวน หรือใบรับของคลังสินค้ามีอ�ำนาจตรวจและเอา
ตัวอย่างสินค้าในคลังไปได้
2. ในการฝากสินค้าในชั้นต้น ผู้ฝากไม่ต้องการเอกสารใบรับของคลังสินค้าและประทวนหากต่อ

มาเกิดต้องการขึ้นจะมีสิทธิขอให้นายคลังสินค้าออกเอกสารดังกล่าวแก่ตนหรือไม่
3. นายคลังสินค้ามีหน้าที่จดแจ้งการจ�ำน�ำในต้นขั้วเอกสารเมื่อใด แดงรับจ�ำน�ำประทวนสินค้าใน
มส

คลังแล้ว บอกนายคลังด้วยวาจา กรณีนี้นายคลังมีหน้าที่จดแจ้งการจ�ำน�ำในต้นขั้วเอกสารการฝากหรือไม่


4. เหตุใดกฎหมายจึงบังคับให้นายคลังสินค้าแยกสินค้าและออกเอกสารเป็นหลายส่วน เมือ่ ผูท้ รง
เอกสารต้องการ

แนวตอบกิจกรรม 5.2.5
1. เหตุที่กฎหมายได้ก�ำหนดไว้เช่นนั้นก็เพื่อความสะดวกในการค้าขายของผู้ทรง

2. กฎหมายให้นายคลังสินค้ามีหน้าที่ออกเอกสาร 2 ฉบับนี้แก่ผู้ฝาก ไม่ว่าผู้ฝากต้องการขณะ
ฝากหรือในภายหลัง นายคลังสินค้ามีหน้าที่ต้องออกให้เขา
3. กฎหมายให้ผู้รับจ�ำน�ำแจ้งการจ�ำน�ำเป็นหนังสือให้นายคลังสินค้าทราบ ถ้าแจ้งด้วยวาจา นาย
คลังสินค้าไม่จ�ำต้องจดแจ้งการจ�ำน�ำลงไว้ในต้นขั้วเอกสารการฝาก
4. ทีก่ ฎหมายก�ำหนดหน้าทีไ่ ว้เช่นนัน้ ก็เพือ่ เป็นการเอือ้ อ�ำนวยให้ผทู้ รงเอกสารมีความสะดวกใน
การน�ำมาค้าขาย
สธ

5-38 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 5.2.6
ความรับผิดของนายคลังสินค้า


ความรับผิดของนายคลังสินค้านัน้ เกีย่ วเนือ่ งกับหน้าทีข่ องนายคลังสินค้า เนือ่ งจากสิทธิกบั หน้าที่
นัน้ เป็นของคูก่ นั หน้าทีก่ อ่ ให้เกิดความรับผิด และความรับผิดของนายคลังสินค้าก็คอื สิทธิของผูท้ เี่ กีย่ วข้อง

มส
กับนายคลังสินค้านั่นเอง
สาระส�ำคัญในเรื่องความรับผิดของนายคลังสินค้ามี 3 ประการ คือ
1. ความรับผิดของนายคลังสินค้า
2. ข้อยกเว้นความรับผิด และ
3. ความสิ้นสุดแห่งความรับผิดของนายคลังสินค้า
1. ความรับผิดของนายคลังสินค้า มีอยู่ 6 ประการ คือ
1.1 รับผิดเพราะเอาสินค้าที่ฝากไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ฝาก ไม่ว่าจะใช้เองหรือให้
คนอื่นใช้ ตามที่กล่าวไว้ใน ปพพ. มาตรา 660
1.2 รับผิดเพราะให้ผู้อื่นเก็บรักษาทรัพย์ที่ฝาก ซึ่งกล่าวไว้ใน ปพพ. มาตรา 660 เช่นกัน

หากทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลาย นายคลังสินค้าจะต้องรับผิด ถึงแม้ความสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะ
เกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรทรัพย์ที่ฝากนั้นก็ต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่
นั่นเอง
มส

ตัวอย่าง 1 แดงสัง่ รถยนต์มาจากต่างประเทศเก็บไว้ในโกดังของการท่าเรือระหว่างหาเงินมา


เสียภาษีขาเข้า วันหนึง่ เจ้าหน้าทีข่ องการท่าเรือขับรถดังกล่าวออกมาซือ้ ของข้างนอก ระหว่างจอดซือ้ อาหาร
เกิดแผ่นดินไหว รถเสียหายทั้งคัน ดังนี้การท่าเรือแห่งประเทศไทยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่แดง
ตัวอย่าง 2 แดงสั่ ง ซื้ อ รถยนต์ ม าจากต่ า งประเทศฝากไว้ ใ นโกดั ง ของการท่ า เรื อ แห่ ง
ประเทศไทย ระหว่างรอเสียภาษีศุลกากร เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือฯ ได้น�ำรถคันนั้นไปฝากเก็บที่โรงเก็บ

ของบริษัทโกดังทองซึ่งอยู่ติดๆ กัน อย่างนี้เป็นการกระท�ำที่กฎหมายห้าม สมมติว่าต่อมานํ้าท่วม ท�ำให้
รถเสียหายหลายอย่าง การท่าเรือจะต้องรับผิดต่อแดง เว้นแต่ว่า การท่าเรือพิสูจน์ได้ว่าถึงแม้จะเก็บไว้ใน
โกดังของการท่าเรือก็จะเสียหายอยู่นั่นเอง เพราะที่โกดังของการท่าเรือนํ้าท่วมเหมือนกัน หรือการน�ำรถ
ไปให้โกดังอื่นเก็บรักษานั้นได้รับอนุญาตจากแดงเจ้าของรถแล้ว การอนุญาตอาจท�ำโดยชัดแจ้งหรือโดย
ปริยายก็ได้
1.3 รับผิดเพราะสินค้าที่ฝากสูญหายหรือบุบสลายในขณะที่เก็บไว้ในคลังของตน
1.4 รับผิดเพราะส่งมอบสินค้าที่ฝากชักช้า ความรับผิดในข้อ (1.3) และ (1.4) ข้อนี้กล่าวไว้
สธ
ใน ปพพ. มาตรา 616 โดยบัญญัติข้อยกเว้นไว้ 3 ประการว่า
1) ความสูญหายหรือบุบสลายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เช่น นํ้าท่วมโกดัง หรือเกิด
วาตภัยโดยกะทันหัน เป็นต้น

เก็บของในคลังสินค้า 5-39

ขอให้สังเกตด้วยว่าถ้านายคลังสินค้าเก็บสินค้าไว้เองนั้นถ้าสินค้าเสียหายเพราะ
เหตุสุดวิสัย นายคลังสินค้าไม่รับผิด
2) ความสูญหายหรือบุบสลายนั้นเกิดแต่สภาพของของที่ฝากนั้นเอง เช่น ระหว่างที่
เก็บไว้ในคลังสินค้านั้น ของที่ฝากซึ่งเป็นนํ้ายาเคมีเกิดระเบิดขึ้นมา อย่างนี้นายคลังสินค้าก็ไม่ต้องรับผิด
หรือ


3) ความสูญหายหรือบุบสลายนัน้ เกิดเพราะความผิดของผูฝ้ ากหรือคนของผูฝ้ าก เช่น
ผูฝ้ ากห่อของ ไม่ดี ท�ำให้หอ่ ของแตก สินค้าทีเ่ ก็บกระจุยกระจายเสียหาย หรือของทีฝ่ ากนัน้ มีสภาพทีเ่ ป็น

มส
อันตราย แต่ไม่ได้แจ้งให้นายคลังสินค้าทราบก่อนท�ำสัญญาฝาก นายคลังจึงไม่ได้ระมัดระวัง ท�ำให้เกิด
ระเบิดขึ้น อย่างนี้ก็เป็นความผิดของผู้ฝากเอง นายคลังไม่ต้องรับผิดชอบ
1.5 รับผิดเพราะมิได้จดแจ้งการจ�ำน�ำ ตาม ปพพ. มาตรา 782 สาระส�ำคัญของมาตรานี้มี
ว่า เมื่อผู้ฝากจ�ำน�ำสินค้าที่ฝากด้วยการสลักหลังและส่งมอบประทวนสินค้าให้แก่ผู้รับจ�ำน�ำแล้ว ผู้รับจ�ำน�ำ
นั้นมีหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือบอกกล่าวแก่นายคลังสินค้าให้ทราบว่า มีหนี้จ�ำน�ำจ�ำนวนเท่าใด วันถึง
ก�ำหนดช�ำระเมื่อใด คิดดอกเบี้ยถึงนั้นเป็นเงินเท่าใด เมื่อนายคลังสินค้าได้รับแจ้งเช่นนี้แล้วจะต้องจด
รายการทั้งหมดที่เขาบอกนั้นลงไว้ในต้นขั้ว ถ้านายคลังสินค้าไม่ได้จด ไม่ว่าจะเป็นเพราะความรู้เท่าไม่ถึง
การณ์ หรือความหลงลืมก็ตามที มีผลว่าจะยกการจ�ำน�ำนั้นขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ทั้งหลายไม่ได้ หากท�ำให้ผู้รับ
จ�ำน�ำเสียหายนายคลังจะต้องชดใช้

ตัวอย่าง แดงฝากสินค้าไว้กบั บริษทั โกดังทอง ต่อมาแดงจ�ำน�ำสินค้าไว้กบั ขาว 50,000 บาท
ก�ำหนดช�ำระใน 2 เดือน ดอกเบี้ย 1,200 บาท ขาวได้มีจดหมายบอกกล่าวให้บริษัทโกดังทองทราบแล้ว
มส

แต่หวั หน้าโกดังมิได้จดแจ้งรายการจ�ำน�ำลงในต้นขัว้ ใบรับของคลังสินค้า (ต้นขัว้ เดียวกันกับประทวนสินค้า)


ต่อมา แดงถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องเรียกหนี้สินและมีการยึดทรัพย์ของแดงหลายอย่าง รวมทั้งสินค้าที่ฝากไว้
ในคลังดังกล่าว ออกขายทอดตลาด แต่ได้เงินไม่คมุ้ หนี้ ตามกฎหมายขาวเจ้าหนีจ้ ำ� น�ำเป็นเจ้าหนีบ้ รุ มิ สิทธิ
จะต้องได้รบั ช�ำระหนีก้ อ่ นเจ้าหนีอ้ นื่ ตามทีบ่ ญ
ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 278 แต่เนือ่ งจากนายคลังสินค้าไม่ได้จดแจ้ง
รายการจ�ำน�ำไว้ในต้นขัว้ ของเอกสารการฝาก จึงไม่สามารถทีจ่ ะขอรับช�ำระหนีไ้ ด้กอ่ นเจ้าหนีอ้ นื่ จึงจะต้อง
ไปฟ้องให้ศาลตัดสินให้ตนชนะเสียก่อนจึงจะมาขอเฉลีย่ หนีไ้ ด้ ความเสียหายนีเ้ กิดจากนายคลังสินค้าละเลย
ต่อหน้าที่ซึ่งกฎหมายก�ำหนดไว้ ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ทรงจนเต็มจ�ำนวน

ความผิดของขาวเอง ขาวจะไปโทษนายคลังสินค้าไม่ได้

แต่ถ้ารับจ�ำน�ำไว้แล้ว ขาวละเลยไม่บอกกล่าวการจ�ำน�ำให้นายคลังสินค้าทราบก็เป็นเรื่อง

1.6 รับผิดเพราะไม่ได้แจ้งการขายหรือการวางทรัพย์ ได้กล่าวมาใน ปพพ. มาตรา 631 แล้ว


ว่า ในกรณีจ�ำเป็นนายคลังสินค้าอาจขายทรัพย์ของผู้ฝากหรือน�ำไปวางไว้ที่สำ� นักงานวางทรัพย์ได้
ในการขายทรัพย์กด็ ี ในการน�ำทรัพย์ไปวางไว้เช่นว่านัน้ ก็ดี กฎหมายมาตราดังกล่าวให้นาย
คลังบอกกล่าวให้ผู้ฝากทราบ เมี่อมีหน้าที่เช่นนี้ หากไม่ปฏิบัติย่อมก่อให้เกิดความรับผิดตามมา หากเกิด
สธ
ความเสียหายแก่ผู้ฝากเพราะการไม่บอกกล่าว นายคลังสินค้าจะต้องรับผิดต่อผู้ฝากในความเสียหายใดๆ
ที่เกิดแก่การนั้น เว้นแต่จะไม่สามารถบอกกล่าวได้

5-40 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตัวอย่าง แดงฝากสินค่าไว้กับบริษัทโกดังทอง โดยไม่มีก�ำหนดเป็นเวลานานไม่ยอมถอน


บริษทั จึงบอกกล่าวแนะน�ำสินค้าไปคืน แต่แดงไม่ยอมรับ บริษทั จึงน�ำสินค้าของแดงไปฝากไว้ ณ ส�ำนักงาน
วางทรัพย์ แต่ไม่ได้แจ้งให้ แดงทราบ ต่อมาสินค้าดังกล่าวขึ้นราคา แดงต้องการขาย แต่ไม่รู้ว่าสินค้าอยู่
ทีไ่ หน จึงขายไม่ทนั ต้องถามไปยังบริษทั กว่าบริษทั จะตอบมาก็เป็นเวลาหลายวัน สินค้านัน้ ลงราคา ท�ำให้
แดงไม่ได้ก�ำไรมากเท่าที่ควร ดังนี้บริษัทโกดังทองจะต้องรับผิด แต่ศาลอาจให้ไม่เต็มเพราะเป็นความผิด


ของแดงด้วยที่ไม่รับสินค้านั้นไว้และไม่น�ำพาต่อผลประโยชน์ของตนเอง
2. ข้อจ�ำกัดความรับผิดของนายคลังสินค้า ข้อจ�ำกัดความรับผิดนี้ เป็นเรื่องที่กฎหมายเป็นห่วง

มส
ประชาชน เกรงว่าจะถูกพ่อค้าเอาเปรียบ ด้วยการพิมพ์ข้อยกเว้นความรับผิดลงไว้ในเอกสารสัญญาใน
ลักษณะมัดมือชก บางรายพิมพ์ตัวอักษรขนาดเล็กจนคนทั่วๆ ไปไม่อ่านดู พอมีเรื่องมีราวถึงตรงที่ตนจะ
ต้องรับผิด ก็น�ำเอาข้อยกเว้นที่ตัวเองพิมพ์ไว้นั้นขึ้นมาต่อสู้ ถ้ายอมให้ท�ำเช่นนั้นได้ก็จะไม่เป็นธรรมแก่
ประชาชน เพราะเขาไม่ได้ตกลงด้วยจริงๆ
ปพพ. มาตรา 616 และ 625 น�ำมาใช้กบั การเก็บของในคลังสินค้าตาม ปพพ. มาตรา 772 มาตรา
616 ได้อธิบายมาแล้วว่า ปพพ. มาตรา 625 เป็นมาตราที่ยํ้าถึงความรับผิดที่ว่านั้นเมื่อใช้กับการเก็บของ
ในคลังสินค้า ใบรับของคลังสินค้าก็ดี ประทวนสินค้าก็ดี หรือเอกสารอืน่ ๆ ท�ำนองเดียวกันนัน้ ซึง่ นายคลัง
สินค้าได้ออกให้แก่ผฝู้ าก ถ้ามีขอ้ ความยกเว้นหรือจ�ำกัดความรับผิดของนายคลังสินค้าประการใด กฎหมาย
ให้ความนั้นเป็นโมฆะ คือเท่ากับไม่ได้เขียนไว้เลย ผลก็คือนายคลังสินค้าจะต้องรับผิดต่อผู้ฝากหรือผู้ทรง

เอกสารนั้นแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายก�ำหนดไว้ เว้นแต่ผู้ฝากจะได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง
การตกลงด้วยโดยชัดแจ้งนั้นเป็นข้อเท็จจริง หมายถึงผู้ฝากเข้าใจข้อความยกเว้นหรือจ�ำกัดความ
มส

รับผิดนั้นแล้วตกลงกันกับนายคลังสินค้าและตกลงให้ถือเอาเป็นเงื่อนไขในสัญญาได้โดยชัดแจ้ง เช่น นาย


คลังสินค้าให้ผู้ฝากอ่านดูข้อความในเงื่อนไขจนเข้าใจ ตรงไหนไม่เห็นด้วยก็ให้ขีดออกแล้วเซ็นชื่อก�ำกับไว้
ตรงไหนเห็นด้วยก็คงไว้ อย่างนี้ก็พอถือได้ว่าผู้ฝากตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง หรือนายคลังสินค้าและผู้ฝากได้
ตกลงกันในเงื่อนไขต่างหากก็ให้เซ็นชื่อไว้ทั้งสองคน
ตัวอย่าง 1 แดงฝากสินค้าไว้บริษทั โกดังทอง บริษทั ได้ออกใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
ให้แดง ในใบรับและประทวนนัน้ มีเงือ่ นไขมากมายมีอยูข่ อ้ หนึง่ เขียนไว้วา่ “ถ้าผูฝ้ ากไม่มารับของคืนภายใน

3 เดือนถือว่าสละสิทธิ” แดงมาถึงบ้านจึงได้อ่านดูพบข้อความดังกล่าว หลังจาก 3 เดือนแล้ว แดงได้ไป
ขอถอนสินค้าที่ฝาก นายคลังสินค้าบอกว่า แดงสละสิทธิแล้วตามสัญญาข้อนั้น แดงโต้แย้งว่าไม่ได้ตกลง
ด้วยเพิ่งเห็นข้อความเมื่อกลับมาถึงบ้าน กรณีเช่นนี้ต้องให้นายคลังสินค้าคืนสินค้าให้แดง
ตัวอย่าง 2 กรณีตามตัวอย่างข้างต้น มีเงือ่ นไขข้อหนึง่ ในใบรับของคลังสินค้า เขียนไว้วา่ “ถ้าของ
ทีฝ่ ากเสียหายเพราะหีบห่อแตก ผูร้ บั ฝากไม่ตอ้ งรับผิดชอบ” แดงได้อา่ นดูกอ่ นและเห็นข้อความนีใ้ นใบรับ
ของคลังสินค้าแล้ว แต่กไ็ ม่ได้ทกั ท้วง ต่อมาแดงถอนสินค้า ปรากฏว่ากุลที ำ� ห่อของหล่นแตกหลายห่อ สินค้า
เสียหายหลายรายการ ทางบริษทั จะไม่รบั ผิดชอบอ้างว่ามีเงือ่ นไขพิมพ์ไว้แล้ว โดยชัดเจนเป็นตัวสีแดงด้วย
สธ
กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าการที่แดงเพียงแต่อ่านพบแล้วไม่ทักท้วงนั้นจะถือว่าแดงตกลงด้วยโดยชัดแจ้งไม่ได้

เก็บของในคลังสินค้า 5-41

ตัวอย่างเงื่อนไขในใบรับของคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้ามาให้ดูเป็นตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่างเงื่อนไขขององค์การคลังสินค้า

(1) องค์การคลังสินค้าจะไม่รบั ผิดชอบในสินค้าทีฝ่ ากไว้ ซึง่ สูญหรือเสียหายไปโดยธรรมชาติหรือ


โดยความปรวนแปรของอากาศ หรือโดยความบกพร่องในการท�ำ มัดหรือหีบห่อหรือด้วยเหตุทหี่ บี ห่อหรือ
เครื่องป้องกันนั้นได้บุบสลายเสียหายไป หรือโดยภัยนอกอ�ำนาจ เช่น อุทกภัย วาตภัย ภัยอันเนื่องจาก

มส
สงคราม การจลาจล การนัดหยุดงานของกรรมกร และอื่นๆ
(2) สินค้าที่น�ำมาฝาก ผู้ฝากต้องจัดการเอาประกันวินาศภัยไว้ในนามขององค์การคลังสินค้าใน
วงเงินไม่ตํ่ากว่าราคาสินค้าที่องค์การคลังสินค้าก�ำหนด โดยผู้ฝากสินค้าเป็นผู้ออกเงินค่าเบี้ยประกันและ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการเอาประกันภัยทั้งสิ้น
(3) ความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าจะจ�ำกัดเพียงจ�ำนวนเงินเท่าที่ปรากฏในกรมธรรม์
ประกันภัย หรือเพียงเท่าราคาสินค้าที่องค์การคลังสินค้าก�ำหนด และถ้ากรณีที่ได้มีการถอนคืนสินค้าไป
แล้วบางส่วน ความรับผิดชอบดังกล่าวจะต้องลดลงตามส่วนของราคาสินค้าที่ถอนคืนไปนั้น
(4) สินค้าใดทีน่ ำ� มาฝากไว้ หากปรากฏว่ามีวตั ถุระเบิดหรือวัตถุอนั ตรายหรือวัตถุผดิ กฎหมายอยู่
ด้วย องค์การคลังสินค้าจะไม่รับผิดชอบ และสงวนสิทธิที่จะจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร

โดยคิดค่าใช้จ่ายในการนี้จากผู้ฝาก และถ้าองค์การคลังสินค้าหรือบุคคลใดๆ ได้รับความเสียหายจากวัตถุ
นัน้ ด้วยประการใดๆ ผูฝ้ ากสินค้าจะต้องรับผิดชอบชดใช้คา่ เสียหายให้แก่องค์การคลังสินค้าและบุคคลทีร่ บั
มส

ความเสียหายทุกประการ
(5) ในกรณีที่ระยะเวลาฝากสินค้าที่ตกลงกันได้สิ้นสุดลง ถ้าไม่มีการต่ออายุสัญญาหรือในกรณีที่
ไม่มีการก�ำหนดระยะเวลาฝาก และองค์การคลังสินค้าได้แจ้งให้ผู้ฝากทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือน
ให้ถอนสินค้าทีฝ่ ากคืนไปและผูฝ้ ากมิได้นำ� สินค้าออกจากทีเ่ ก็บรักษาองค์การคลังสินค้าจะเรียกเก็บค่ารักษา
เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นับแต่วันที่ซึ่งก�ำหนดดังกล่าวแล้ว
(6) ภายในบริเวณคลังสินค้า ผู้ฝากจะต้องใช้กรรมกรขององค์การคลังสินค้า และเสียค่าจ้าง

คิดค่าใช้จ่ายจากผู้ฝาก

กรรมกรตามอัตราที่องค์กรคลังสินค้าก�ำหนด การขนสินค้าเข้าเก็บในคลังสินค้าก็ดี การขนออกจากคลัง
สินค้าก็ดี ตลอดจนการขนย้ายเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อความปลอดภัยก็ดีองค์การคลังสินค้าย่อมท�ำได้โดย

(7) การค�ำนวณเวลาเพื่อคิดค่าฝากนั้น ให้ค�ำนวณเป็นเดือนๆ ตามเดือนในปฏิทิน ถ้าสินค้าซึ่ง


ฝากไว้ก่อนหรือถอนไปภายหลังวันที่ 15 ให้ค�ำนวณค่าฝากในเดือนนั้นเป็น 1 เดือน แต่ถ้าฝากไว้ภายหลัง
หรือถอนไปก่อนวันที่ 15 จะคิดค่าฝากประจ�ำเดือนนั้นเพียงครึ่งเดือน
(8) การรับฝากสินค้า องค์การคลังสินค้าจะออกใบรับของฉบับหนึ่ง กับประทวนสินค้าอีกฉบับ
สธ
หนึ่ง

5-42 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

(9) ในกรณีที่ผู้ฝากโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่ฝากด้วยการสลักหลังใบรับของคลังสินค้าผู้โอนต้องมี
หนังสือแจ้งให้องค์การคลังสินค้าทราบการโอนกรรมสิทธิ์ภายในก�ำหนด 7 วัน นับแต่วันโอน ว่าได้โอนให้
แก่ผู้ใด มีภูมิลำ� เนาอยู่ที่ใด เมื่อใด
(10) ในกรณีทผี่ ฝู้ ากจ�ำน�ำสินค้าทีฝ่ ากโดยสลักหลังประทวนสินค้าให้แก่ผใู้ ด ซึง่ เป็นผูร้ บั จ�ำน�ำ ผูร้ บั
จ�ำน�ำต้องมีหนังสือแจ้งให้องค์การคลังสินค้าทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันรับจ�ำน�ำ ให้ทราบวันรับจ�ำน�ำ


สินค้า จ�ำนวนหนีท้ จี่ ำ� น�ำสินค้าไว้เป็นประกันรวมทัง้ อัตราดอกเบีย้ วันอันหนีน้ นั้ จะถึงก�ำหนดช�ำระและให้จด
รายการทั้งสิ้นลงในต้นขั้ว

มส
(11) ในระหว่างเวลาที่จ�ำน�ำ ถ้าองค์การคลังสินค้าเห็นว่าสินค้าที่รับจ�ำน�ำส่วนใดส่วนหนึ่งได้เสื่อม
คุณภาพ บุบสลายหรือสูญหายไป องค์การคลังสินค้ามีสิทธิที่จะแจ้งให้ผู้จ�ำน�ำจัดสินค้ามาเพิ่มเติมให้ครบ
ถ้วนภายในเวลาที่ก�ำหนดให้พร้อมทั้งดอกเบี้ยและอุปกรณ์ ถ้าผู้จ�ำน�ำไม่ปฏิบัติตามที่ให้ค�ำบอกกล่าวไป
องค์การคลังสินค้ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และให้ผู้จ�ำน�ำเงินกู้มาช�ำระคืนให้แก่องค์การคลังสินค้า เพื่อ
ไถ่ถอนการจ�ำน�ำพร้อมทั้งดอกเบี้ยและอุปกรณ์ภายในเวลา 15 วัน
เงือ่ นไขเหล่านีจ้ ะถือว่าผูฝ้ ากตกลงด้วยไม่ได้ เพียงแต่พมิ พ์ไว้เป็นเครือ่ งเตือนสติเท่านัน้ เอง เพราะ
ผู้ฝากไม่ได้อ่านและลงชื่อด้วย เอกสารฝากของคลังสินค้านั้นนายคลังสินค้ามักจะลงชื่อฝ่ายเดียว
อุทาหรณ์
ฎ. 763/2522 คดีนี้จำ� เลยมีรถเย็นรับส่งของสด โจทก์ได้ส่งไก่สดไปกับรถเย็นจ�ำเลย แต่เนื่องจาก

ความเย็นไม่พอท�ำให้ไก่ของโจทก์เน่าเสีย ใบส่งสินค้าของจ�ำเลยพิมพ์ข้อความจ�ำกัดความรับผิดไว้ว่าจะ
ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เกิน 500 บาท ปรากฏว่าโจทก์มิได้ลงชื่อยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
มส

ทั้งไม่ได้ความตามทางน�ำสืบของจ�ำเลยว่า โจทก์ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง ศาลฎีกาตัดสินว่าข้อก�ำหนดความ


รับผิดดังกล่าวเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 625 ตัดสินให้จ�ำเลยผู้รับขนส่งรับผิดเต็มราคาของที่เสียหาย
ไปจริง ใบส่งสินค้าทีจ่ �ำเลยในคดีนอี้ อกให้กท็ �ำนองเดียวกับใบรับของคลังสินค้าทีน่ ายคลังออกอยูใ่ นเวลานี้
ขอให้สังเกตด้วยว่าเงื่อนไขที่ยกมาให้ดูข้างต้นนั้น บางอย่างก็เป็นข้อยกเว้นความรับผิดตาม
กฎหมายอยูแ่ ล้ว เช่น ภัยนอกอ�ำนาจ (ตัวอย่างเช่น แผ่นดินแยก, แผ่นดินไหว) ซึง่ เป็นเหตุสดุ วิสยั เป็นต้น
ข้อตกลงจ�ำกัดความรับผิดของนายคลังสินค้านี้ หากผู้ฝากได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้งตามกฎหมาย

แล้วย่อมผูกพันไม่เฉพาะแต่ผู้ฝากเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้รับสลักหลังใบรับของคลังสินค้าและผู้รับจ�ำน�ำ
ประทวนสินค้าด้วย
ตัวอย่าง แดงฝากสินค้าไว้ในโกดัง บริษัทโกดังทอง ในใบรับของคลังสินค้า มีข้อจ�ำกัดความ
รับผิดไว้ว่า “ถ้าคนงานนัดหยุดงานเกิดความเสียหาย นายคลังสินค้าจะไม่รับผิดชอบ” แดงลงชื่อตกลง
ด้วยโดยชัดแจ้ง ต่อมาแดงสลักหลังใบรับของคลังสินค้าขายสินค้านัน้ ให้ขาวไป หลังจากนัน้ อีกหลายเดือน
ขาวได้ไปขอรับสินค้า แต่เป็นเวลาที่คนงานนัดหยุดงานประท้วงขอค่าแรงขึ้น เสียเวลาอยู่หลายวันกว่าจะ
เอาสินค้าออกจากคลังได้ ขาวได้รับความเสียหาย แต่จะเรียกค่าเสียหายจากนายคลังสินค้าไม่ได้ เพราะ
สธ
ข้อตกลงนั้นมีผลถึงขาวผู้รับโอนด้วย

เก็บของในคลังสินค้า 5-43

3. ความรับผิดสิ้นสุด ความรับผิดของนายคลังสินค้าสิ้นสุดลงเมื่อใด ปพพ. มาตรา 772 ให้น�ำ


มาตรา 623 ว่าด้วยรับขนมาใช้บังคับโดยอนุโลม ขอยกเอาความใน ปพพ. มาตรา 623 มาพิจารณาดังนี้
“อันความรับผิดของผูข้ นส่งย่อมสุดสิน้ ลงในเมือ่ ผูร้ บั ตราส่งได้รบั เอาของไว้แล้ว โดยไม่อดิ เอือ้ น
และได้ใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว
แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ของสูญหายเห็นไม่ได้แต่สภาพภายนอกแห่งของ


นั้น หากว่าได้บอกกล่าวความสูญหาย หรือบุบสลายแก่ผู้ขนส่ง ภายในแปดวันนับแต่วันที่ส่งมอบ
อนึ่ง บทบัญญัติทั้งหลายนี้ท่านมิให้ใช้บังคับในกรณีที่มีการทุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่าง

มส
ร้ายแรง อันจะปรับเอาเป็นความผิดของผู้ขนส่งได้”
พึงเข้าใจด้วยว่าความรับผิดของนายคลังสินค้านั้นมีสามประการใหญ่ๆ คือ
1. เพื่อความสูญหายของทรัพย์สินที่ฝาก
2. เพื่อความบุบสลายของทรัพย์ที่ฝากอย่างหนึ่ง และ
3. เพื่อส่งมอบทรัพย์ที่ฝากชักช้าอีกอย่างหนึ่ง
ปพพ. มาตรา 623 วรรคหนึ่ง วางหลักความรับผิด ส่วนวรรคสอง และวรรคสาม เป็นบทยกเว้น
ขยายความของวรรคแรกอีกทีหนึง่ วรรคแรกให้ความรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า
ของนายคลังสินค้าสิน้ สุดลงเมือ่ ผูฝ้ ากหรือผูร้ บั โอนแล้วแต่กรณีได้รบั เอาสินค้าทีฝ่ ากไว้แล้วโดยไม่อดิ เอือ้ น
หมายความว่าผูฝ้ ากเห็นสินค้าแล้วรับเอาไว้โดยดุษฎี กับทัง้ ได้ใช้คา่ บ�ำเหน็จและเงินเกีย่ วค้างอย่างอืน่ เช่น

ค่าบ�ำรุงรักษาทรัพย์ทฝี่ าก เป็นต้น ให้แก่นายคลังเสร็จสิน้ แล้วด้วย สองอย่างประกอบกัน ถ้าผูฝ้ ากเป็นแต่
รับทรัพย์ไว้แต่ยังไม่ได้ใช้ค่าบ�ำเหน็จ นายคลังก็ยังไม่พ้นความรับผิด บางกรณีผู้ฝากอาจจะคอยดูทรัพย์
มส

เสียก่อนว่าสูญหายหรือแตกหักบุบสลายบ้างหรือเปล่า เมื่อเห็นว่าสินค้าปลอดภัยแล้วจึงจ่ายเงินค่าฝากก็
เป็นได้
ตัวอย่าง 1 แดงฝากโถลายครามทีส่ งั่ เข้ามาจากต่างประเทศหลายร้อยใบไว้ในโกดังของบริษทั โกดัง
ทอง วันที่ไปรับของออกจากโกดัง แดงได้ตรวจดูโถทุกใบ มีบางใบปากบิ่นไปบ้างเพราะกระทบกันตอน
ขนเข้าขนออก แดงเห็นว่าเล็กน้อยจึงไม่ตดิ ใจเรียกเอาค่าเสียหายจากบริษทั แดงได้จา่ ยค่าฝากและขนของ
กลับบ้าน ดังนีบ้ ริษทั โกดังทองหมดความรับผิด ต่อมาแดงจะกลับใจไปเรียกค่าเสียหายเอาจากบริษทั โกดัง
ทองอีกไม่ได้ ม
ตัวอย่าง 2 กรณีแดงฝากทรัพย์ตามตัวอย่างข้างต้นตอนที่แดงไปขอถอนทรัพย์นั้นคนงานลา
หลายคน ท�ำให้บริษทั ส่งมอบของให้แก่แดงล่าช้าไปหลายวัน กรณีเช่นนีแ้ ดงเรียกค่าเสียหายได้ แต่ถา้ แดง
ไม่ทักท้วงและยอมจ่ายค่าฝากไปแล้ว แดงจะมาเรียกเอาค่าเสียหายจากบริษัทในภายหลังไม่ได้
อนึ่ง หากผู้รับฝากมิได้รับฝากสินค้าเพื่อบ�ำเหน็จเป็นทางการค้าปกติของตนก็ไม่ต้องรับผิดต่อ
ผู้ฝาก
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 1529-1530/2531 แม้การท่าเรือประเทศไทยจ�ำเลย จะเป็นผูท้ ำ� การเก็บรักษาสินค้า แต่กป็ รากฏ
ว่าการรับฝากสินค้า 3 วันแรก จ�ำเลยไม่คดิ ค่าฝาก หากเจ้าของสินค้าไม่มารับสินค้านัน้ ภายใน 3 วัน จ�ำเลย
จะคิดค่าฝากในอัตราก้าวหน้า เพื่อเป็นการเร่งรัดให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รีบน�ำสินค้าออกจากโรงพักสินค้า

5-44 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

โดยเร็ว และการที่เจ้าของสินค้าฝากสินค้าดังกล่าวไว้ก็เพื่อรอผ่านพิธีการทางศุลกากร เช่นนี้ การที่จ�ำเลย


รับท�ำการเก็บรักษาสินค้าก็เพื่อประโยชน์ของกรมศุลกากรในการเรียกเก็บภาษีหาใช่เพื่อบ� ำเหน็จเป็น
ทางค้าปกติของตนไม่ จ�ำเลยจึงมิใช่นายคลังสินค้าตาม ปพพ. มาตรา 770 และน�ำ ปพพ. มาตรา 772
ประกอบมาตรา 616 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวมาบังคับแก่จ�ำเลยหาได้ไม่
ถ้าเป็นกรณีทคี่ วามสูญหายหรือบุบสลายไม่เห็นได้จากสภาพภายนอกของสิง่ ของนัน้ ขณะรับของ


และเสียค่าบ�ำเหน็จอะไรต่างๆ นั้น ผู้ฝากจึงไม่ได้ทักท้วง แต่มาพบเอาภายหลัง นายคลังสินค้าก็ยังต้อง
รับผิดอยู่ แต่ว่าผู้ฝากหรือผู้รับโอนแล้วแต่กรณีจะต้องบอกกล่าวแก่นายคลังสินค้าภายใน 8 วัน นับแต่วัน

มส
ส่งมอบ ต้องระวังให้ดีถ้านับ 8 วันไปแล้ว ก็จะไปเรียกเอาอะไรจากนายคลังสินค้าไม่ได้
กรณีที่มีการทุจริต หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอันถือได้ว่าเป็นความผิดของนายคลังสินค้า
นั้น ผู้ฝากหรือผู้รับโอนแล้วแต่กรณีเรียกค่าเสียหายได้เสมอ ไม่ต้องอาศัยเงื่อนไขตามที่กล่าวไว้ในบท
บัญญัติก่อนๆ
ตัวอย่าง 3 แดงฝากปลาสดไว้ในห้องเย็นของบริษัทห้องเย็นสยาม บริษัทบรรจุปลาเกินอัตรา จึง
ท�ำให้ความเย็นไม่ถึงขนาดปลาเสียเป็นจ�ำนวนมาก ตอนขนออกจากห้องเย็นแดงไม่ได้สังเกตเพราะปลา
อยูใ่ นลัง จึงได้จา่ ยค่าฝากไปตามระเบียบ วันหลังลูกค้าจึงแจ้งมาว่าปลาไม่สดพอ มีเน่าเป็นบางส่วนขอลด
ราคา แดงจึงทราบว่าปลาเสีย แต่เป็นเวลาหลังขนปลาจากห้องเย็น 10 วันแล้ว แดงจึงบอกไปยังนายคลัง
สินค้าและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย กรณีเช่นนี้แดงยังเรียกค่าเสียหายจากบริษัทได้เพราะเป็นความประมาท

เลินเล่ออย่างร้ายแรงและเป็นความผิดของนายคลัง
ตัวอย่าง 4 แดงสั่งแจกันเกาหลีซึ่งมีราคาแพงมากเข้ามาขาย และได้ฝากไว้ที่โกดังของการท่าเรือ
มส

ก่อนเสียภาษีขาเข้าเพื่อเอาของออก พนักงานของการท่าเรือหยิบเอาแจกันของแดงไป 5 ใบ ราคา 5,000


บาท และตอนขนถ่ายแจกันจากโกดังขึ้นรถ คนงานของการท่าเรือโยนแจกันเหมือนขนลูกแตงโม แจกัน
หลุดมือแตกไป 4 ใบ ราคา 4,000 บาท แดงได้จา่ ยค่าฝากแล้วขนของไปโดยมิได้วา่ กระไร การทีพ่ นักงาน
ของการท่าเรือหยิบเอาแจกันของแดงไปนัน้ เป็นการทุจริตและการทีค่ นงานของการท่าเรือโยนแจกันเหมือน
อย่างโยนลูกแตงโมก็เป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งสองกรณีปรับเป็นความผิดของการท่าเรือ
ได้ การท่าเรือต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่แดง แม้แดงจะได้รับของเองและใช้ค่าบ�ำเหน็จไปแล้วโดย

รับของคืนไปตามวรรคสองก็ตาม

กิจกรรม 5.2.6

ไม่อิดเอื้อนตามวรรคแรกและไม่ได้แจ้งนายคลังสินค้าถึงความสูญหายของทรัพย์ที่ฝากใน 8 วัน นับแต่วัน

เหตุใดกฎหมายจึงให้ข้อจ�ำกัดความรับผิดที่นายคลังสินค้าเขียนไว้ข้างเดียวเป็นโมฆะ จงอธิบาย
สธ
แนวตอบกิจกรรม 5.2.6
กฎหมายให้ข้อจ�ำกัดความรับผิดที่นายคลังเขียนไว้เป็นโมฆะ เพื่อป้องกันมิให้นายคลังสินค้าเอา
เปรียบผู้ฝาก

เก็บของในคลังสินค้า 5-45

เรื่องที่ 5.2.7
หน้าที่และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้องกับการฝากสินค้า


หน้าที่และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้องกับการฝากสินค้า ได้แก่ หน้าที่และความรับผิดของผู้ฝาก
หน้าที่และความรับผิดของผู้สืบสิทธิของผู้ฝากและหน้าที่และความรับผิดของผู้รับจ�ำน�ำสินค้า ซึ่งมีสาระ

มส
ส�ำคัญโดยล�ำดับ ดังต่อไปนี้ คือ

1. ผู้ฝาก
1.1 หน้าที่ของผู้ฝาก
1) ผูฝ้ ากมีหน้าทีต่ อ้ งแจ้งสภาพและปริมาณแก่นายคลังสินค้าตามความเป็นจริง โดยเฉพาะ
ถ้าของที่ฝากมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ตาม ปพพ. มาตรา 619 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าของเป็นสภาพ
อันจะก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือเป็นสภาพเกลือกจะก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินไซร้ ผู้ส่ง
ต้องแสดงสภาพแห่งของนั้นไว้ก่อนท�ำสัญญา ถ้ามิได้ท�ำเช่นนั้น ผู้ส่งจะต้องรับผิดในการเสียหายไม่ว่า
อย่างใดๆ อันเกิดแต่ของนั้น” เช่น ผู้ฝากน�ำกล่องดินระเบิดไปฝากก็ต้องแจ้งให้เขารู้ว่าเป็นดินระเบิดอัน

อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ถ้าไม่แจ้งหรือแจ้งผิดไปจากความจริง เช่น แจ้งว่าเป็นดินนํ้ามัน ภายหลังเกิด
ระเบิดขึ้นมาผู้ฝากจะต้องรับผิดต่อนายคลังสินค้าโดยไม่มีเงื่อนไข
มาตรา 619 ให้ผู้ฝากแจ้งก่อนท�ำสัญญา ทั้งนี้เพื่อเขาได้ใช้ความระมัดระวังในการแก้สินค้า
มส

นั้นอย่างเหมาะสม ถ้าแจ้งเอาภายหลังก่อนเกิดอันตรายอาจท�ำให้รับผิดน้อยลงและอาจจะต้องชดใช้ค่าใช้
จ่ายในการที่ นายคลังสินค้าขนย้ายสิ่งของไปเก็บไว้ในที่เหมาะสม นอกจากนั้นยังอาจถูกนายคลังสินค้า
บอกเลิกสัญญาฝากเสียได้แม้จะก่อนถึงก�ำหนดฝากก็ตาม เพราะถือว่าผูฝ้ ากปกปิดความจริงเป็นกลฉ้อฉล
2) หน้าที่เสียค่าใช้จ่ายในการคืนทรัพย์ที่ฝาก ตาม ปพพ. มาตรา 667 ซึ่งบัญญัติว่า “ค่า
คืนทรัพย์สินที่ฝากนั้นย่อมตกแก่ผู้ฝากเป็นผู้เสีย” ค่าคืนทรัพย์ทฝี่ ากก็เช่นค่ากุลขี นของขึน้ มา ค่าพาหนะ

เรื่องสิทธิของนายคลังสินค้าประกอบ

ดังนี้

ขนส่ง แม้ว่านายคลังสินค้าจะเป็นผู้นำ� ทรัพย์มาส่งคืนผู้ฝาก ตาม ปพพ. มาตรา 774 ก็ตามผู้ฝากก็มีหน้า
ทีเ่ สียค่าใช้จา่ ย แต่ทว่าค่าใช้จา่ ยนัน้ จะต้องไม่เกินความจ�ำเป็นดังได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อก่อนๆ ขอให้ดใู น

3) หน้าที่เสียค่าบ�ำเหน็จค่าฝาก ซึ่งกล่าวไว้ในตาม ปพพ. มาตรา 658 และมาตรา 669

“มาตรา 658 ถ้าโดยพฤติการณ์พึงคาดหมายได้ว่าเขารับฝากทรัพย์ ก็เพื่อจะได้รับบ�ำเหน็จ


ค่าฝากทรัพย์เท่านั้นไซร้ ท่านให้ถือว่าเป็นอันได้ตกลงกันแล้วโดยปริยายว่ามีบ�ำเหน็จเช่นนั้น”
สธ
“มาตรา 669 ถ้าไม่ได้กำ� หนดเวลาไว้ในสัญญาหรือไม่มกี ำ� หนดโดยจารีตประเพณีวา่ บ�ำเหน็จ
ค่าฝากทรัพย์นั้นจะพึงช�ำระเมื่อไรไซร้ ท่านให้ช�ำระเมื่อคืนทรัพย์สินซึ่งฝาก ถ้าได้ก�ำหนดเวลากันไว้เป็น
ระยะอย่างไร ก็พึงช�ำระเมื่อสิ้นระยะยาวนั้นทุกคราวไป”

5-46 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

สองมาตรานี้ได้อธิบายมาแล้วขอให้ย้อนไปดูในเรื่องสิทธิของนายคลังสินค้า
4) หน้าที่เสียค่าบ�ำรุงรักษาให้แก่นายคลังสินค้า ตาม ปพพ. มาตรา 668 ซึ่งได้อธิบาย
มาแล้วในเรื่องสิทธิของนายคลังสินค้า
5) หน้าที่จดแจ้งการจ�ำน�ำส่งในใบรับของคลังสินค้าร่วมกับผู้รับจ�ำน�ำ ตาม ปพพ. มาตรา
780 จะได้อธิบายเมื่อถึงเรื่องจ�ำน�ำ


1.2 สิทธิของผู้ฝาก
1) สิทธิทจี่ ะถอนทรัพย์ทฝี่ าก ปพพ. มาตรา 662 และ 663 ให้ผฝู้ ากหรือรับโอนแล้วแต่กรณี

มส
มีสิทธิเรียกทรัพย์ที่ฝากคืนได้ทุกเมื่อ แม้การฝากนั้นจะได้ก�ำหนดระยะเวลาฝากไว้ก็ตาม

นายคลังสินค้า
2) สิทธิที่จะตรวจสินค้าที่ฝากและเอาตัวอย่างไปได้ในเวลาอันควรระหว่างเวลาท�ำงาน

นอกจากนัน้ ก็มสี ทิ ธิทจี่ ะได้รบั ชดใช้คา่ เสียหาย หากของทีฝ่ ากสูญหายบุบสลายหรือส่งมอบ


ชักช้าตาม ปพพ. มาตรา 616 และ 660 ทีไ่ ด้อธิบายมาแล้วตลอดจนสิทธิทจี่ ะสลักหลังใบรับของคลังสินค้า
ขายสินค้าตาม ปพพ. มาตรา 784, 786, 787 และสลักหลังประทวนสินค้าจ�ำน�ำสินค้าที่ฝาก ตาม ปพพ.
มาตรา 288 ซึ่งจะอธิบายในเรื่อง 5.3.2 ต่อไป

2. ผู้สืบสิทธิของผู้ฝาก

ผู้สืบสิทธิของผู้ฝาก ได้แก่ ผู้รับโอนด้วยการรับสลักหลังใบรับของคลังสินค้าและผู้รับมรดก ผู้สืบ
สิทธิของผู้ฝากก็มีสิทธิและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้ฝาก เว้นแต่หน้าที่บางประการที่คงมีได้เฉพาะผู้ฝาก เช่น
มส

หน้าที่แจ้งสภาพสินค้าที่ฝาก เป็นต้น เช่น แดงสลักหลังใบรับของคลังสินค้าโอนขายสินค้าให้แก่ขาว


ขาวย่อมมีสิทธิที่จะไปตรวจดูสินค้าและเอาตัวอย่างที่ฝากไปได้เช่นเดียวกับผู้ฝากและมีสิทธิจะถอนสินค้า
ที่ฝากเมื่อใดก็ได้ด้วย
ถ้าผูฝ้ ากมีความบกพร่องแห่งสิทธิประการใด ไม่วา่ จะโดยสัญญาหรือโดยผลของกฎหมายย่อมจะ
มีผลไปถึงผูส้ บื สิทธิ ด้วย เช่น ผูฝ้ ากไปตกลงกับนายคลังสินค้าว่า ถ้าของทีฝ่ ากช�ำรุดสูญหายมูลค่าไม่เกิน
500 บาท ผู้ฝากจะไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอย่างนั้น ข้อตกลงเช่นนี้ผูกพันผู้รับโอนด้วย หากมีความ

แต่ทว่าข้อตกลงนั้นจะต้องได้เขียนไว้ให้ปรากฏในเอกสารใบรับของคลังสินค้า

3. ผู้รับจ�ำน�ำสินค้า

เสียหายเกิดขึ้นไม่เกินนี้ ผู้รับโอนจะไปเรียกร้องจากนายคลังสินค้า โดยอ้างว่าตนไม่ได้ตกลงด้วยหาได้ไม่

3.1 หน้าที่ของผู้รับจ�ำน�ำสินค้า
1) จดแจ้งการสลักหลังประทวนสินค้าลงในใบรับของคลังสินค้า กล่าวคือ จดแจ้งแล้วลงชื่อ
สธ
ด้วยกันกับผู้จ�ำน�ำมิฉะนั้นถ้ามีการโอนสินค้าไปแล้วผู้รับจ�ำน�ำจะเสียสิทธิคือจะยกการจ�ำน�ำขึ้นต่อสู้ผู้ซื้อ
สินค้าไม่ได้ ทั้งนี้โดยนัยแห่งความใน ปพพ. มาตรา 780 และนอกจากนั้นยังจะต้องร่วมกันจดแจ้งไว้ใน
ประทวนสินค้าว่าได้จดแจ้งข้อความนั้นลงในใบรับของคลังสินค้าแล้ว แล้วลงชื่อด้วยกันกับผู้ฝากตามนัย
แห่ง ปพพ. มาตรา 781

เก็บของในคลังสินค้า 5-47

2) แจ้งการจ�ำน�ำให้นายคลังสินค้าทราบ เพื่อนายคลังสินค้าจะได้จดแจ้งจ�ำน�ำลงไว้ในต้นขั้ว
ถ้าละเลยอาจเสียสิทธิ ตาม ปพพ. มาตรา 782
3) ยอมให้นายคลังสินค้าเอาทรัพย์จำ� น�ำออกขายทอดตลาด ตาม ปพพ. มาตรา 790
4) มีจดหมายบอกกล่าวให้ผู้ฝากทราบ วัน เวลา และสถานที่ ที่จะขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ในคลังสินค้า ตาม ปพพ. มาตรา 791


3.2 สิทธิของผู้รับจ�ำน�ำสินค้า ได้แก่ สิทธิที่จะให้นายคลังสินค้าเอาทรัพย์สินตามประทวนออก
ขายทอดตลาดเอาเงินมาช�ำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ตาม ปพพ. มาตรา 790 และถ้าได้เงินไม่คุ้มหนี้ก็มี

มส
สิทธิทจี่ ะฟ้องไล่เบีย้ เอาจากผูส้ ลักหลังตราสารได้ ตาม ปพพ. มาตรา 794 ซึง่ จะได้กล่าวในรายละเอียดต่อ
ไปในเรื่องการจ�ำน�ำและบังคับจ�ำน�ำ

กิจกรรม 5.2.7
1. ผู้ฝากไม่แจ้งสภาพของสินค้าที่ฝากกับแจ้งผิดจากความจริงนี้ผลต่างกันหรือไม่
2. ถ้าผู้ฝากไม่ยอมเสียค่าฝากมีผลอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 5.2.7

1. ผลอย่างเดียวกันคือ ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นผู้ฝากจะต้องรับผิดต่อนายคลังสินค้า และนาย
คลังสินค้าอาจถือว่าเป็นกลฉ้อฉลได้
มส

2. ถ้าผู้ฝากไม่ยอมเสียค่าฝากก็จะท�ำให้นายคลังสินค้ามีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินที่ฝากไว้เป็น
ประกันค่าฝากได้


สธ

5-48 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 5.3
ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
5.3.1
5.3.2
5.3.3
5.3.4
ลักษณะของเอกสาร
การจ�ำน�ำสินค้าในคลังสินค้า
การโอนกรรมสิทธิ์และการรับเอาสินค้าที่ฝาก
การบังคับจ�ำน�ำและการไล่เบี้ย

1. ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าจะมีลกั ษณะและรายการอย่างเดียวกันแต่ตา่ งกัน


ที่การระบุข้อความว่าเป็นใบรับของคลังสินค้าหรือประทวนสินค้า ใบรับของคลังสินค้านี้
นอกจากจะใช้เป็นหลักฐานในการฝากทรัพย์แล้วยังมีประโยชน์ในการจ�ำหน่ายหรือจ�ำน�ำ

ทรัพย์ทฝี่ ากได้อย่างคล่องตัว ส่วนประทวนสินค้านัน้ กฎหมายให้ใช้ประโยชน์อย่างเดียว
คือสลักหลังจ�ำน�ำสินค้าที่ฝาก
มส

2. การจ�ำน�ำสินค้าในคลังสินค้า เป็นการจ�ำน�ำตราสารแทนการจ�ำน�ำสินค้า ซึ่งผู้จ�ำน�ำจะ


ต้องจ�ำน�ำประทวนสินค้าก่อนโดยสลักหลังจ�ำน�ำไว้กับเจ้าหนี้ จากนั้นเจ้าหนี้ท�ำหนังสือ
บอกแก่นายคลังสินค้าเพือ่ ให้นายคลังสินค้าจดแจ้งการจ�ำน�ำไว้ในต้นขัว้ กับใบรับของคลัง
สินค้า
3. การโอนกรรมสิทธิใ์ นสินค้าทีฝ่ ากไว้กบั คลังสินค้าเกิดขึน้ ได้โดยการท�ำนิตกิ รรมหรือโดย
การตกทอดทางมรดก หรือโดยค�ำพิพากษาของศาล หรือโดยผลของกฎหมาย

4. การรับสินค้าที่ฝากคืน ผู้ทรงเอกสารจะต้องเวนคืนเอกสารอันได้แก่ใบรับของคลังสินค้า
และประทวนสินค้าให้แก่นายคลังสินค้าไป ในกรณีที่มีการสลักหลังประทวนสินค้า แต่
จะเวนคืนเฉพาะใบรับของคลังสินค้าเฉพาะกรณีที่มิได้มีการสลักหลังประทวนสินค้า
5. เมือ่ ลูกหนีผ้ ดิ นัดเจ้าหนีจ้ ะบังคับจ�ำน�ำ เจ้าหนีผ้ รู้ บั จ�ำน�ำจะต้องท�ำค�ำคัดค้านไปยังลูกหนี้
เพือ่ แจ้งให้ชำ� ระหนีแ้ ละอุปกรณ์ภายในเวลาอันสมควร ถ้าลูกหนีไ้ ม่ชำ� ระหนีผ้ รู้ บั จ�ำน�ำจึง
จะน�ำเอาทรัพย์สินที่จ�ำน�ำออกขายทอดตลาดโดยจะต้องบอกกล่าวให้ผู้จ�ำน�ำรู้เวลาและ
สถานที่ขายทอดตลาดด้วย
สธ
6. ผู้ทรงประทวนสินค้ามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาจ�ำนวนเงินที่ยังค้างช�ำระนั้นแก่ผู้สลักหลังคน
ก่อนๆ ทัง้ หมดหรือคนใดคนหนึง่ ได้ แต่ตอ้ งภายหลังการขายทอดตลาดพ้นเวลา 1 ปีนบั
แต่วันขายทอดตลาด

เก็บของในคลังสินค้า 5-49

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 5.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายลักษณะและประโยชน์ของใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าได้
2. อ ธิ บ ายให้ เ หตุ ผ ลความจ� ำ เป็ น ที่ ต ้ อ งมี ร ายการต่ า งๆ ในใบรั บ ของคลั ง สิ น ค้ า และ


ประทวนสินค้าได้
3. อธิบายวิธีจ�ำน�ำสินค้าในคลังสินค้าได้

มส
4. ระบุวิธีโอนกรรมสิทธิ์และอธิบายการรับสินค้าที่ฝากคืนได้
5. เปรียบเทียบการโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่ฝากกับการโอนตั๋วเงินได้
6. อธิบายการบังคับจ�ำน�ำหรือการขายทอดตลาดและการไล่เบี้ยได้

มส


สธ

5-50 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 5.3.1
ลักษณะของเอกสาร


ลักษณะของเอกสารมี 2 ฉบับอันได้แก่ ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้ามีขอ้ ทีน่ า่ พิจารณา
อยู่ 3 ประการคือ

มส
1. ลักษณะทั่วๆ ไป
2. ความมุ่งหมายในการใช้ และ
3. รายการที่กฎหมายบังคับให้มี

1. ลักษณะทั่วๆ ไป
ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านี้หากพิจารณาแล้วจะพบว่าเหมือนคู่ฉบับกัน เพราะมี
ลักษณะและรายการอย่างเดียวกันออกจากต้นขัว้ อันเดียวกัน จะต่างกันก็แต่จา่ หน้าว่าอันไหนเป็นใบรับของ
คลังสินค้าและอันไหนเป็นประทวนสินค้ากับข้อความเล็กๆ น้อยๆ ไม่กี่ค�ำ
เอกสาร 2 ฉบับนีเ้ ป็นตราสารอันจะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร และเป็นตราสารที่

โอนกันได้โดยการสลักหลังตามวิธกี ารทีก่ ฎหมายบัญญัตไิ ว้โดยเฉพาะใน ปพพ. มาตรา 779 ซึง่ บัญญัตวิ า่
“อันใบรับของคลังสินค้าก็ดี ประทวนสินค้าก็ดี ท่านว่าหาอาจออกให้หรือสลักหลังให้แก่ผู้ถือ
ได้ไม่”
มส

เอกสารสองฉบับนี้เป็นหลักฐานในการฝาก ซึ่งนายคลังสินค้าเป็นผู้ออก เมื่อผู้ฝากต้องการตาม


ความใน ปพพ. มาตรา 775 ซึ่งบัญญัติ “ถ้าผู้ฝากต้องการไซร้ นายคลังสินค้าต้องส่งมอบเอกสารซึ่งเอา
ออกจากทะเบียนมีต้นขั้วเฉพาะการอันมีใบรับของคลังสินค้าฉบับหนึ่ง และประทวนสินค้าฉบับหนึ่งให้
แก่ผู้ฝาก”
ในที่นี้หมายความว่า ถ้าผู้ฝากไม่ต้องการก็ไม่ต้องออก ซึ่งในทางปฏิบัติมักออกกันเสมอเพราะ

รับรองไว้ในบัญชีสินค้าดังนี้ก็เป็นได้

นอกจากจะเป็นหลักฐานการฝากทรัพย์แล้วผูฝ้ ากสามารถใช้สลักหลังโอนขายหรือจ�ำน�ำสินค้าทีฝ่ ากได้ดว้ ย
แต่อาจมีบางกรณีที่ไม่ออกเอกสารเช่นว่านี้ เช่น บริษัทในเครือเดียวกันฝากสินค้ากันเองอาจจะเพียงเซ็น

ตามถ้อยค�ำของ ปพพ. มาตรา 779 นัน้ ทีว่ า่ จะออกให้แก่ผถู้ อื ไม่ได้นนั้ หมายความว่า ต้องกรอก
ชื่อผู้ทรงไว้ในแบบฟอร์ม กล่าวคือ ในช่องผู้ฝากต้องระบุชื่อผู้ฝากลงไป เช่น จะกรอกข้อความลงไปว่า
องค์การคลังสินค้าได้รับฝากสินค้าจากผู้ถือเอกสารนี้ อย่างนี้ไม่ได้ต้องระบุชื่อผู้ฝากลงไปทุกกรณี จ�ำน�ำก็
จะต้องระบุชื่อผู้รับจ�ำน�ำเช่นเดียวกัน
สธ

เก็บของในคลังสินค้า 5-51

2. ความมุ่งหมายที่จะใช้
ส�ำหรับความมุ่งหมายที่จะใช้นั้น เอกสาร 2 ฉบับนี้ไม่เหมือนกัน
2.1 ใบรั บ ของคลั ง สิ น ค้ า ใบรั บ ของคลั ง สิ น ค้ า นั้ น มี ป ระโยชน์ ใ นการโอนขายสิ น ค้ า ในคลั ง
ดังบัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 776 ความว่า “อันใบรับของคลังสินค้านั้น ย่อมให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะ
สลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าไปเป็นของผู้อื่นได้”


ตัวอย่าง แดงฝากของในคลังสินค้าของบริษัทโกดังทองได้รับใบรับของคลังสินค้ามาแดงประสงค์
จะขายสินค้าให้ขาว จึงเขียนลงใบรับของคลังสินค้าว่า โอนขายให้ขาวแล้วมอบใบรับของให้ขาวไป ขาวจะ

มส
เป็นเจ้าของสินค้านั้นตามกฎหมาย
ขาวผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่บรรดาที่ปรากฏอยู่บนตราสารนั้น สมมติว่า แดงยังไม่
ช�ำระค่าบ�ำเหน็จ ขาวก็ต้องเสียบ�ำเหน็จ รวมทั้งค่าบ�ำรุงรักษาทรัพย์ที่ฝาก ถ้าหากมีด้วย ถ้าขาวไม่เสีย
นายคลังสินค้ามีสิทธิยึดหน่วงสินค้าไว้ได้
ในทางกลับกัน นายคลังสินค้ามีหน้าที่และความรับผิดต่อขาวผู้รับโอนเหมือนกับมีต่อผู้ฝาก เช่น
มีเหตุทจี่ ะต้องแจ้ง หรือมีผมู้ ายึดสินค้านัน้ โดยอ้างว่าเป็นของเขา นายคลังสินค้าก็ตอ้ งแจ้งให้ขาวทราบเว้น
แต่จะไม่รู้ และถ้าของทีฝ่ ากสูญหายหรือบุบสลาย หรือส่งมอบชักช้า นายคลังสินค้าก็ตอ้ งรับผิดต่อขาวเช่น
เดียวกัน
ประโยชน์ของใบรับของคลังสินค้านอกจากจะใช้สำ� หรับสลักหลังโอนกรรมสิทธิใ์ นสินค้าแล้วยังอาจ

สลักหลังจ�ำน�ำสินค้านั้นได้อีกด้วย แต่ต้องเป็นเวลาภายหลังประทวนสินค้าได้สลักหลังจ�ำน�ำไปแล้ว
ดังความในมาตรา 785 ซึง่ บัญญัตวิ า่ “สินค้าซึง่ เก็บรักษาไว้นนั้ อาจจ�ำน�ำได้แต่ดว้ ยสลักหลังประทวนสินค้า
มส

เมื่อประทวนสินค้าได้สลักหลังแล้วสินค้านั้นจะจ�ำน�ำแก่ผู้อื่นอีกชั้นหนึ่งด้วยสลักใบรับของคลังสินค้า
อย่างเดียวกับสลักหลังประทวนสินค้านั้นก็ได้”
ความจริงเอกสารสองฉบับนี้แสดงว่า ผู้ฝากมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ฝาก ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ย่อมมีสทิ ธิทจี่ ะจ�ำหน่ายจ่ายโอน หรือจ�ำน�ำจ�ำนองทรัพย์นนั้ ๆ ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ได้อยูแ่ ล้ว เป็น
แต่กฎหมายจัดระเบียบและวิธีการจ�ำน�ำไว้ให้เพื่อไม่ให้สับสนเท่านั้น
มีปญ
ั หาว่าในกรณีทผี่ ฝู้ ากฉ้อฉล หรือประมาทเลินเล่อไม่แจ้งสภาพสินค้าทีเ่ ป็นอันตราย หรือแจ้ง

ปล่อยสินค้า ผู้รับโอนต้องจ�ำยอมอีกเหมือนกัน แล้วมาไล่เบี้ยเอาจากผู้โอนอีกชั้นหนึ่ง



ผิดจากความเป็นจริงเพราะกลัวจะไม่ให้ฝาก ในที่สุดสินค้าที่ฝากก่อความเสียหายแก่นายคลัง ผู้รับโอนจะ
ต้องรับผิดด้วยหรือไม่วา่ ตามหลัก ผูร้ บั โอนไม่นา่ จะต้องรับผิด แต่ถา้ ไม่ชำ� ระค่าเสียหาย นายคลังก็ไม่ยอม

2.2 ใบประทวนสินค้า ส�ำหรับใบประทวนสินค้านั้นกฎหมายให้ใช้ประโยชน์อย่างเดียวคือ สลัก


หลังจ�ำน�ำสินค้าที่ฝาก ดังปรากฏอยู่ใน ปพพ. มาตรา 777 ดังนี้
“อันประทวนสินค้านั้น ย่อมให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจ�ำน�ำสินค้าซึ่งจดแจ้งไว้ในประทวน
ได้ โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง
สธ
แต่ว่าเมื่อผู้ฝากประสงค์จะจ�ำน�ำสินค้า ต้องแยกประทวนออกเสียจากใบรับของคลังสินค้าและ
ส่งมอบประทวนนั้นให้แก่ผู้รับสลักหลัง”

5-52 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ต้นขั้ว

เลขที่....................................

บริษัท พาณิชย์ 2 จ�ำกัด


ปทุมวัน กรุงเทพฯ

วันที่............................................................................

มส
ได้รับฝากสินค้าจาก......................................................................................................................................................
อยู่บ้านเลขที่........................ถนน..................................แขวง............................เขต..............................จังหวัด...............................
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ โดยผู้ฝากยอมรับเงื่อนไขดังปรากฏในด้านหลัง
เก็บไว้ในคลังสินค้า บริษัท พาณิชย์ 2 จ�ำกัด โกดังที่.................................ถนน.....................................จังหวัด..............................
ก�ำหนดเวลาฝากสินค้าตั้งแต่วันที่............................................................ถึงวันที่.............................................................................
ค่าบ�ำเหน็จเก็บรักษา......................................................ละ.......................................บาท..................................................ต่อเดือน

เครื่องหมายและ
เลขล�ำดับบนหีบห่อ
สภาพและรายการสินค้าเป็นไปตามที่รับแจ้ง จ�ำนวน นํ้าหนัก/ขนาด ราคาประเมิน หมายเหตุ
จากผู้ฝากโดยไม่มีการตรวจสอบ

มส

รายการประกันภัย

วันที่ นามผู้รับประกัน กรมธรรม์ จ�ำนวนเงินที่ประกัน ก�ำหนดเวลาประกัน

วันที่ รายการ จ�ำนวน


รายการถอนสินค้า

คงเหลือ นามผู้ฝาก
ม ผู้จัดการ หมายเหตุ

บริษัท พาณิชย์ 2 จ�ำกัด


สธ
ลงนาม..............................................นายคลังสินค้า

เก็บของในคลังสินค้า 5-53

ใบรับของคลังสินค้า

เลขที่....................................

บริษัท พาณิชย์ 2 จ�ำกัด


ปทุมวัน กรุงเทพฯ

วันที่............................................................................

มส
ได้รับฝากสินค้าจาก......................................................................................................................................................
อยู่บ้านเลขที่........................ถนน..................................แขวง............................เขต..............................จังหวัด...............................
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ โดยผู้ฝากยอมรับเงื่อนไขดังปรากฏในด้านหลัง
เก็บไว้ในคลังสินค้า บริษัท พาณิชย์ 2 จ�ำกัด โกดังที่.................................ถนน.....................................จังหวัด..............................
ก�ำหนดเวลาฝากสินค้าตั้งแต่วันที่............................................................ถึงวันที่.............................................................................
ค่าบ�ำเหน็จเก็บรักษา......................................................ละ.......................................บาท..................................................ต่อเดือน

เครื่องหมายและ
เลขล�ำดับบนหีบห่อ
สภาพและรายการสินค้าเป็นไปตามที่รับแจ้ง จ�ำนวน นํ้าหนัก/ขนาด ราคาประเมิน หมายเหตุ
จากผู้ฝากโดยไม่มีการตรวจสอบ

มส

รายการประกันภัย

วันที่ นามผู้รับประกัน กรมธรรม์ จ�ำนวนเงินที่ประกัน ก�ำหนดเวลาประกัน

วันที่ รายการ จ�ำนวน


รายการถอนสินค้า

คงเหลือ นามผู้ฝาก
ม ผู้จัดการ หมายเหตุ

บริษัท พาณิชย์ 2 จ�ำกัด


สธ
ลงนาม..............................................นายคลังสินค้า
ข้อสังเกต: (1) ถ้าผู้ฝากประสงค์จะโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้ผู้อื่น ต้องสลักหลังใบรับนี้ และต้องระบุชื่อผู้รับโอนนั้นด้วย
(2) เมื่อจะรับเอาสินค้า ต้องเวนคืนใบรับฉบับนี้
(3) ถ้ายังไม่มีการจ�ำน�ำ จะโอนใบรับของสินค้าและประทวนสินค้าต่างหากจากกันไม่ได้

5-54 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ใบประทวนสินค้า
เลขที่....................................
บริษัท พาณิชย์ 2 จ�ำกัด
ปทุมวัน กรุงเทพฯ


ได้รับฝากสินค้าจาก......................................................................................................................................................
อยู่บ้านเลขที่........................ถนน..................................แขวง............................เขต..............................จังหวัด...............................
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ โดยผู้ฝากยอมรับเงื่อนไขดังปรากฏในด้านหลัง

เครื่องหมายและ
เลขล�ำดับบนหีบห่อ
มส
เก็บไว้ในคลังสินค้า บริษัท พาณิชย์ 2 จ�ำกัด โกดังที่.................................ถนน.....................................จังหวัด..............................
ก�ำหนดเวลาฝากสินค้าตั้งแต่วันที่............................................................ถึงวันที่.............................................................................
ค่าบ�ำเหน็จเก็บรักษา......................................................ละ.......................................บาท..................................................ต่อเดือน

สภาพและรายการสินค้าเป็นไปตามที่รับแจ้ง จ�ำนวน นํ้าหนัก/ขนาด ราคาประเมิน หมายเหตุ


จากผู้ฝากโดยไม่มีการตรวจสอบ

รายการประกันภัย

วันที่ นามผู้รับประกัน กรมธรรม์ จ�ำนวนเงินที่ประกัน ก�ำหนดเวลาประกัน
มส

รายการถอนสินค้า

วันที่ รายการ จ�ำนวน คงเหลือ นามผู้ฝาก ผู้จัดการ หมายเหตุ

บริษัท พาณิชย์ 2 จ�ำกัด



ลงนาม..............................................นายคลังสินค้า
ข้อสังเกต: (1) ถ ้าผู้ฝากต้องการจ�ำน�ำสินค้าที่ฝากไว้ ก็อาจท�ำได้ด้วยวิธีสลักหลังประทวนสินค้านี้ แต่ต้องแยกประทวนออกจาก
ใบรับของคลังสินค้า และส่งมอบประทวนนั้นแก่ผู้รับสลักหลัง
สธ
(2) เมื่อสลักหลังประทวน ต้องจดแจ้งไว้ในใบรับของคลังสินค้านี้ด้วย
(3) ผู้รับสลักหลังต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่นายคลังสินค้าให้ทราบจ� ำนวนหนี้ ซึ่งจ�ำน�ำสินค้าเป็นประกันทั้งบอก
จ�ำนวนดอกเบี้ย และวันอันหนี้นั้นถึงก�ำหนดช�ำระ
(4) ถ้าแยกประทวนออกสลักหลังจ�ำน�ำแล้วจะรับเอาสินค้าได้แต่เมื่อเวนคืนทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า

เก็บของในคลังสินค้า 5-55

รายการสลักหลัง

ข้าพเจ้า..............................................ผูฝ้ าก ได้จำ� น�ำสินค้าทีจ่ ดแจ้งในประทวนนีไ้ ว้กบั ..........................


เป็นจ�ำนวนเงิน.................................................บาท (................................................................................)
มีกำ� หนด.........................นับตัง้ แต่วนั สลักหลังนีเ้ ป็นต้นไป และยอมเสียดอกเบีย้ ในอัตราร้อยละ..............................


ต่อเดือน
ข้าพเจ้าผู้ฝากกับผู้รับจ�ำน�ำ ได้จดแจ้งการสลักหลังนี้ไว้ในใบรับของคลังสินค้าด้วยแล้วแต่วันที่...............

มส
เดือน................พ.ศ. ....................

เงื่อนไขของการฝาก

ผู้ทรงใบรับนี้ย่อมผูกพันตนเองตามเงื่อนไขดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ.-
ลงนาม.................................................ผู้ฝาก
ลงนาม.................................................ผู้รับจ�ำน�ำ
สลักหลัง ณ วันที่.............เดือน......... พ.ศ. .......

(1) บริษัทจะไม่รับผิดชอบในการที่ของซึ่งเก็บรักษาไว้นี้ต้องสูญเสียไป ซึ่งนํ้าหนักหรือส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดต้อง


ถูกท�ำลายหรือสูญเสียไปโดยธรรมชาติ หรือโดยความแปรปรวนของอากาศ หรือโดยความบกพร่องในการผูกมัดหีบห่อ หรือด้วยเหตุ
ทีห่ บี ห่อหรือเครือ่ งป้องกันนัน้ ได้บบุ สลายเสียหายไป หรือโดยอันตรายอันเกิดจากการกระท�ำของแมลงหรือสัตว์หรือโดยภัยนอกอ�ำนาจ

เช่น อุทกภัย วาตภัย ภัยอันเกิดจากการสงคราม การจลาจล การนัดหยุดงานของกรรมกรและอื่นๆ
(2) ในกรณีทสี่ นิ ค้าทีน่ ำ� ฝากมิได้มปี ระกัน และผูฝ้ ากมิได้ขอร้องให้บริษทั นีจ้ ดั การในเรือ่ งเอาประกันอัคคีภยั แทนตน บริษทั
เป็นอันพ้นความรับผิดอันเกิดจากอัคคีภัยไม่ว่ากรณีใดๆ
มส

(3) ความรับผิดของบริษัทจะจ�ำกัดเพียงจ�ำนวนเงินเท่าที่ปรากฏในใบส�ำคัญประกันภัย หรือเพียงเท่าราคาสินค้าที่ผู้ฝาก


ได้แจ้งไว้ และถ้าในกรณีที่ได้มีการถอนสินค้าไปบ้างแล้ว ความรับผิดที่กล่าวแล้วก็จะต้องลดลงตามส่วน
(4) ผูใ้ ดจะโดยรูห้ รือโดยประมาทเลินเล่อก็ตาม น�ำวัตถุระเบิดหรือวัตถุอนั ตรายหรือวัตถุอนั ต้องห้ามตามกฎหมายมาฝาก
ไว้ โดยมิได้บอกกล่าวและได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นพิเศษแล้ว เป็นการมิชอบและถ้าบริษัทตรวจพบบริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะ
ท�ำลาย จ�ำหน่ายหรือจัดการอย่างหนึง่ อย่างใดได้ตามทีบ่ ริษทั เห็นสมควร โดยคิดว่าใช้จา่ ยในการนีจ้ ากผูฝ้ าก และถ้าบริษทั ได้รบั ความ
เสียหายจากวัตถุนั้นด้วยประการใดๆ ผู้น�ำวัตถุนั้นๆ มาฝากจักต้องรับผิดชอบใช้ค่าเสียหายนั้นให้แก่บริษัทอีกด้วย
(5) ในกรณีทกี่ ำ� หนดอายุของการฝากได้สดุ สิน้ ลง หรือในกรณีทบี่ ริษทั ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้ามาแล้วไม่นอ้ ยกว่า 1 เดือน

ผู้ทรงใบรับนี้มิได้มาน�ำของออกไปจากที่เก็บรักษา บริษัทจะได้คิดค่าเก็บรักษาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่านับแต่วันที่ซึ่งถึงก�ำหนดดังกล่าว
แล้ว
(6) ค่าใช้จ่ายต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการขนของในขณะรับเข้าเก็บในโรงสินค้าก็ดี ในการขนออกจากโรงสินค้าก็ดี
ตลอดจนการขนย้ายตรวจสอบเพื่อความบริสุทธิ์ปลอดภัยก็ดี บริษัทย่อมท�ำได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากผู้ฝาก
(7) อันการค�ำนวณเวลาในการคิดค่าเช่นนั้น หากการฝากสินค้าตํ่ากว่า 15 วัน ก็จะค�ำนวณเป็น 15 วัน หากฝากสินค้า
เกินกว่า 15 วัน แต่ไม่เกิน 1 เดือน ก็จะค�ำนวณเป็น 1 เดือน เมื่อฝากเกินกว่า 1 เดือนแล้ว ก็จะค�ำนวณตามเกณฑ์เช่นเดียวกัน
(8) เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้าบริษัทเห็นว่าของที่ผู้ฝากท�ำการสลักหลังจ�ำน�ำไว้กับบริษัทได้เสื่อมราคาลงจะเนื่องด้วยเหตุใดๆ
ก็ตาม หรือถ้าว่าสิ่งของที่จ�ำน�ำไว้นี้ได้บุบสลายหรือต้องภัยอันตรายสูญเสียไป บริษัททรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ฝากน�ำของมา
เพิ่มเติมหรือน�ำเงินส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นเงินและดอกเบี้ยมาคืนให้กับบริษัท ถ้าผู้จ�ำน�ำบิดพริ้วไม่ยอมปฏิบัติหรือไม่สามารถ
สธ
ปฏิบัติตามความที่กล่าวมานี้ บริษัทมีสิทธิจะเอาทรัพย์ที่ฝากไว้นี้ออกขายทอดตลาดได้ อนึ่งถ้าเงินซึ่งได้จากการขายทอดตลาดนี้
มีจำ� นวนสุทธินอ้ ยกว่าจ�ำนวนเงินทีค่ า้ งช�ำระคือ ต้นเงิน และดอกเบีย้ และค่าอุปกรณ์ตา่ งๆ เงินยังขาดจ�ำนวนอยูเ่ ท่าใด ผูจ้ ำ� น�ำจะต้อง
รับผิดชอบรับใช้เงินที่ขาดจ�ำนวนอยู่นั้นให้แก่บริษัทจนครบถ้วน

5-56 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

รายการโอนกรรมสิทธิ์
ข้าพเจ้า.........................................................................................ผู้ฝากได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าตามใบรับของคลังสินค้านี้
ให้แก่......................ตั้งแต่วันสลักหลังนี้เป็นต้นไป

ลงนาม.......................................ผู้ฝาก (สลักหลัง)


ลงนาม..................................................ผู้รับโอน
สลักหลัง ณ วันที่.......เดือน............พ.ศ. ................

มส รายการจ�ำน�ำสินค้าตามประทวน
ข้าพเจ้า.............................................ผู้ฝากได้จ�ำน�ำสินค้าตามใบรับของคลังสินค้านี้ไว้กับ..........................................
เป็ น จ� ำ นวนเงิ น ....................................................บาท (...............................................................................................)
มีก�ำหนด................................นับแต่วันที่.......................เดือน................................พ.ศ. .................เป็นต้นไป ดอกเบี้ยในอัตรา
ร้อยละ...................ต่อเดือน และได้ส่งมอบใบประทวนสินค้าแก่ผู้รับจ�ำน�ำแล้วจึงได้จดแจ้งไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ลงนาม..........................................ผู้ฝาก (สลักหลัง)
ลงนาม.....................................................ผู้รับจ�ำน�ำ
สลักหลัง ณ วันที่........เดือน...........พ.ศ. ..........

เงื่อนไขของการฝาก

ผู้ทรงใบรับนี้ย่อมผูกพันตนเองตามเงื่อนไขดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ.-
(1) บริษัทจะไม่รับผิดชอบในการที่ของซึ่งเก็บรักษาไว้นี้ต้องสูญเสียไป ซึ่งนํ้าหนักหรือส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดต้องถูกท�ำลาย
หรือสูญเสียไปโดยธรรมชาติ หรือโดยความแปรปรวนของอากาศ หรือโดยความบกพร่องในการผูกมัดหีบห่อ หรือด้วยเหตุที่หีบห่อหรือเครื่อง
มส

ป้องกันนั้นได้บุบสลายเสียหายไป หรือโดยอันตรายอันเกิดจากการกระท�ำของแมลงหรือสัตว์หรือโดยภัยนอกอ�ำนาจ เช่น อุทกภัย วาตภัย ภัย


อันเกิดจากการสงคราม การจลาจล การนัดหยุดงานของกรรมกรและอื่นๆ
(2) ในกรณีที่สินค้าที่น�ำฝากมิได้มีประกัน และผู้ฝากมิได้ขอร้องให้บริษัทนี้จัดการในเรื่องเอาประกันอัคคีภัยแทนตน บริษัทเป็น
อันพ้นความรับผิดอันเกิดจากอัคคีภัยไม่ว่ากรณีใดๆ
(3) ความรั บ ผิ ด ชอบของบริ ษั ท จะจ� ำ กั ด เพี ย งจ� ำ นวนเงิ น เท่ า ที่ ป รากฏในใบส� ำ คั ญ ประกั น ภั ย หรื อ เพี ย งเท่ า ราคาสิ น ค้ า ที่
ผู้ฝากได้แจ้งไว้ และถ้าในกรณีที่ได้มีการถอนสินค้าไปบ้างแล้ว ความรับผิดที่กล่าวแล้วก็จะต้องลดลงตามส่วน
(4) ผู้ใดจะโดยรู้หรือโดยประมาทเลินเล่อก็ตาม น�ำวัตถุระเบิดหรือวัตถุอันตรายหรือวัตถุอันต้องห้ามตามกฎหมายมาฝากไว้ โดย
มิได้บอกกล่าวและได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นพิเศษแล้ว เป็นการมิชอบและถ้าบริษัทตรวจพบบริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะท�ำลาย จ�ำหน่ายหรือ
จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่บริษัทเห็นสมควร โดยคิดว่าใช้จ่ายในการนี้จากผู้ฝาก และถ้าบริษัทได้รับความเสียหายจากวัตถุนั้นด้วย
ประการใดๆ ผู้นำ� วัตถุนั้นๆ มาฝากจักต้องรับผิดชอบใช้ค่าเสียหายนั้นให้แก่บริษัทอีกด้วย

(5) ในกรณีทกี่ ำ� หนดอายุของการฝากได้สดุ สิน้ ลง หรือในกรณีทบี่ ริษทั ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้ามาแล้วไม่นอ้ ยกว่า 1 เดือน ผูท้ รงใบรับ
นี้มิได้มาน�ำของออกไปจากที่เก็บรักษา บริษัทจะได้คิดค่าเก็บรักษาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่านับแต่วันที่ซึ่งถึงก�ำหนดดังกล่าวแล้ว
(6) ค่าใช้จ่ายต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการขนของในขณะรับเข้าเก็บในโรงสินค้าก็ดี ในการขนออกจากโรงสินค้าก็ดี ตลอดจนการขน
ย้ายตรวจสอบเพื่อความบริสุทธิ์ปลอดภัยก็ดี บริษัทย่อมท�ำได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากผู้ฝาก
(7) อันการค�ำนวณเวลาในการคิดค่าเช่านัน้ หากการฝากสินค้าตาํ่ กว่า 15 วัน ก็จะค�ำนวณเป็น 15 วัน หากฝากสินค้าเกินกว่า 15 วัน
แต่ไม่เกิน 1 เดือน ก็จะค�ำนวณเป็น 1 เดือน เมื่อฝากเกินกว่า 1 เดือนแล้ว ก็จะค�ำนวณตามเกณฑ์เช่นเดียวกัน
(8) เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้าบริษัทเห็นว่าของที่ผู้ฝากท�ำการสลักหลังจ�ำน�ำไว้กับบริษัทได้เสื่อมราคาลงจะเนื่องด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม หรือ
สธ
ถ้าว่าสิ่งของที่จ�ำน�ำไว้นี้ได้บุบสลายหรือต้องภัยอันตรายสูญเสียไป บริษัททรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ฝากน�ำของมาเพิ่มเติมหรือน�ำเงิน
ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นเงินและดอกเบี้ยมาคืนให้กับบริษัท ถ้าผู้จ�ำน�ำบิดพริ้วไม่ยอมปฏิบัติหรือไม่สามารถปฏิบัติตามความที่กล่าวมานี้
บริษัทมีสิทธิจะเอาทรัพย์ที่ฝากไว้นี้ออกขายทอดตลาดได้ อนึ่งถ้าเงินซึ่งได้จากการขายทอดตลาดนี้มีจ�ำนวนสุทธิน้อยกว่าจ�ำนวนเงินที่ค้างช�ำระ
คือ ต้นเงิน และดอกเบี้ยและค่าอุปกรณ์ต่างๆ เงินยังขาดจ�ำนวนอยู่เท่าใด ผู้จ�ำน�ำจะต้องรับผิดชอบรับใช้เงินที่ขาดจ�ำนวนอยู่นั้นให้แก่บริษัทจน
ครบถ้วน

เก็บของในคลังสินค้า 5-57

วันที่................เดือน..............................พ.ศ. 25….......…..ได้รับหนังสือจาก................................................................................
แจ้งว่าได้รับจ�ำน�ำสินค้ารายนี้จาก....................................................................ผู้ฝากเป็นจ�ำนวนเงิน.........................................บาท
(................................................................บาทถ้วน) คิดดอกเบีย้ ร้อยละ....................................ต่อเดือน และหนีถ้ งึ ก�ำหนดช�ำระใน
วันที่..........เดือน.....................................พ.ศ. ...........................

ลงนาม...................................นายคลังสินค้า


เงื่อนไขของการฝาก

มส
ผู้ทรงใบรับนี้ย่อมผูกพันตนเองตามเงื่อนไขดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ.-
(1) บริษัทจะไม่รับผิดชอบในการที่ของซึ่งเก็บรักษาไว้นี้ต้องสูญเสียไป ซึ่งนํ้าหนักหรือส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดต้อง
ถูกท�ำลายหรือสูญเสียไปโดยธรรมชาติ หรือโดยความแปรปรวนของอากาศ หรือโดยความบกพร่องในการผูกมัดหีบห่อ หรือด้วยเหตุ
ทีห่ บี ห่อหรือเครือ่ งป้องกันนัน้ ได้บบุ สลายเสียหายไป หรือโดยอันตรายอันเกิดจากการกระท�ำของแมลงหรือสัตว์หรือโดยภัยนอกอ�ำนาจ
เช่น อุทกภัย วาตภัย ภัยอันเกิดจากการสงคราม การจลาจล การนัดหยุดงานของกรรมกรและอื่นๆ
(2) ในกรณีทสี่ นิ ค้าทีน่ ำ� ฝากมิได้มปี ระกัน และผูฝ้ ากมิได้ขอร้องให้บริษทั นีจ้ ดั การในเรือ่ งเอาประกันอัคคีภยั แทนตน บริษทั
เป็นอันพ้นความรับผิดอันเกิดจากอัคคีภัยไม่ว่ากรณีใดๆ
(3) ความรับผิดของบริษัทจะจ�ำกัดเพียงจ�ำนวนเงินเท่าที่ปรากฏในใบส�ำคัญประกันภัย หรือเพียงเท่าราคาสินค้าที่ผู้ฝาก
ได้แจ้งไว้ และถ้าในกรณีที่ได้มีการถอนสินค้าไปบ้างแล้ว ความรับผิดที่กล่าวแล้วก็จะต้องลดลงตามส่วน
(4) ผูใ้ ดจะโดยรูห้ รือโดยประมาทเลินเล่อก็ตาม น�ำวัตถุระเบิดหรือวัตถุอนั ตรายหรือวัตถุอนั ต้องห้ามตามกฎหมายมาฝาก
ไว้ โดยมิได้บอกกล่าวและได้รับความยินยอมจากบริษัทเป็นพิเศษแล้ว เป็นการมิชอบและถ้าบริษัทตรวจพบบริษัทสงวนสิทธิ์ที่จะ

ท�ำลาย จ�ำหน่ายหรือจัดการอย่างหนึง่ อย่างใดได้ตามทีบ่ ริษทั เห็นสมควร โดยคิดว่าใช้จา่ ยในการนีจ้ ากผูฝ้ าก และถ้าบริษทั ได้รบั ความ
เสียหายจากวัตถุนั้นด้วยประการใดๆ ผู้น�ำวัตถุนั้นๆ มาฝากจักต้องรับผิดชอบใช้ค่าเสียหายนั้นให้แก่บริษัทอีกด้วย
(5) ในกรณีทกี่ ำ� หนดอายุของการฝากได้สดุ สิน้ ลง หรือในกรณีทบี่ ริษทั ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้ามาแล้วไม่นอ้ ยกว่า 1 เดือน
มส

ผูท้ รงใบรับนีม้ ไิ ด้มาน�ำของออกไปจากทีเ่ ก็บรักษา บริษทั จะได้คดิ ค่าเก็บรักษาเพิม่ ขึน้ เป็นสองเท่านับแต่วนั ทีซ่ งึ่ ถึงก�ำหนด
ดังกล่าวแล้ว
(6) ค่าใช้จา่ ยต่างๆ อันเกีย่ วเนือ่ งกับการขนของในขณะรับเข้าเก็บในโรงสินค้าก็ดี ในการขนออกจากโรงสินค้าก็ดี ตลอด
จนการขนย้ายตรวจสอบเพื่อความบริสุทธิ์ปลอดภัยก็ดี บริษัทย่อมท�ำได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากผู้ฝาก
(7) อันการค�ำนวณเวลาในการคิดค่าเช่นนั้น หากการฝากสินค้าตํ่ากว่า 15 วัน ก็จะค�ำนวณเป็น 15 วัน หากฝากสินค้า
เกินกว่า 15 วัน แต่ไม่เกิน 1 เดือน ก็จะค�ำนวณเป็น 1 เดือน เมื่อฝากเกินกว่า 1 เดือนแล้ว ก็จะค�ำนวณตามเกณฑ์เช่นเดียวกัน
(8) เวลาใดเวลาหนึ่ง ถ้าบริษัทเห็นว่าของที่ผู้ฝากท�ำการสลักหลังจ�ำน�ำไว้กับบริษัทได้เสื่อมราคาลงจะเนื่องด้วยเหตุใดๆ

ปฏิบัติตามความที่กล่าวมานี้ บริษัทมีสิทธิจะเอาทรัพย์ที่ฝากไว้นี้ออกขายทอดตลาดได้ อนึ่งถ้าเงินซึ่งได้จากการขายทอดตลาดนี้มี


จ�ำนวนสุทธิน้อยกว่าจ�ำนวนเงินที่ค้างช�ำระคือ ต้นเงิน และดอกเบี้ยและค่าอุปกรณ์ต่างๆ เงินยังขาดจ�ำนวนอยู่เท่าใด ผู้จ�ำน�ำจะต้อง
รับผิดชอบรับใช้เงินที่ขาดจ�ำนวนอยู่นั้นให้แก่บริษัทจนครบถ้วน

ก็ตาม หรือถ้าว่าสิ่งของที่จ�ำน�ำไว้นี้ได้บุบสลายหรือต้องภัยอันตรายสูญเสียไป บริษัททรงไว้ซึ่งสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ฝากน�ำของมา
เพิ่มเติมหรือน�ำเงินส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของต้นเงินและดอกเบี้ยมาคืนให้กับบริษัท ถ้าผู้จ�ำน�ำบิดพริ้วไม่ยอมปฏิบัติหรือไม่สามารถ
สธ

5-58 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ปกติการจ�ำน�ำนั้นเจ้าหนี้ผู้รับจ�ำน�ำจะต้องครอบครองทรัพย์สินที่จ�ำน�ำเป็นประกันหนี้รายใดราย
หนึ่ง ซึ่งเกี่ยวค้างอยู่กับเจ้าหนี้ เมื่อลูกหนี้ชำ� ระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว จ�ำน�ำอันเป็นสัญญาอุปกรณ์จะระงับสิ้นไป
ทันที ตาม ปพพ. มาตรา 769
แต่กรณีฝากของคลังสินค้านี้ เป็นกรณีพเิ ศษ กฎหมายให้เพียงสลักหลังใบประทวนสินค้าจ�ำน�ำของทีฝ่ าก
แล้วมอบใบประทวนให้ผู้รับจ�ำน�ำครอบครอง ส่วนสินค้าที่ฝากนั้น นายคลังครอบครองแทนผู้รับจ�ำน�ำโดยปริยาย


จ�ำเดิมแต่ได้รับค�ำบอกกล่าวเป็นต้นไป หากลูกหนี้ผิดนัดผู้รับจ�ำน�ำย่อมจะบอกให้นายคลังสินค้าซึ่งอยู่ในฐานะ
ตัวแทนของตนนั้น เอาสินค้าออกขายทอดตลาดเอาเงินมาช�ำระหนี้แก่ตนได้

มส
3. รายการในใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
ได้กล่าวมาแล้วว่าใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้นมีต้นขั้วเดียวกัน และมีรายการ
เหมือนกัน ตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 778 ความว่า
“ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าต้องมีเลขล�ำดับตรงกับเลขในต้นขั้ว และลงลายมือชื่อ
ของนายคลังสินค้า
อนึ่ง ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้านั้น ท่านให้มีรายละเอียดดังกล่าวต่อไปนี้คือ
(1) ชื่อยี่ห้อ และส�ำนักของผู้ฝาก
(2) ที่ตั้งคลังสินค้า

(3) ค่าบ�ำเหน็จส�ำหรับเก็บรักษา
(4) สภาพของสินค้าที่เก็บรักษา และนํ้าหนักหรือขนาดแห่งสินค้านั้น กับทั้งสภาพ จ�ำนวน และ
เครื่องหมายหีบห่อ
มส

(5) สถานที่และวันออกใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
(6) ถ้าได้ก�ำหนดกันไว้ว่าให้เก็บสินค้าไว้ชั่วเวลาเท่าใดให้แจ้งก�ำหนดนั้นด้วย
(7) ถ้าของที่เก็บรักษามีประกันภัย ให้แสดงจ�ำนวนเงินที่ประกันก�ำหนดเวลาที่ประกันภัยและ
ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัยด้วย
อนึ่ง นายคลังสินค้าต้องจดรายละเอียดทั้งนี้ลงไว้ในต้นขั้วด้วย”

ถ้าไม่มลี ายมือชือ่ ของนายคลัง เอกสารนัน้ ไม่สมบูรณ์เป็นตราสารใช้บงั คับไม่ได้ ผูฝ้ ากไม่มอี �ำนาจ
บังคับให้ออกใบใหม่ หรือให้ลงชื่อให้บริบูรณ์ได้
ส�ำหรับรายการต่างๆ ตามวรรค 2 อันเป็นรายละเอียดของเอกสาร 2 ฉบับนี้ นัน้ ไม่ใช่สาระส�ำคัญ
ถึงขาดไปบางรายการหาท�ำให้เอกสารเสียไป เป็นแต่อาจท�ำให้เกิดความไม่สะดวกในการติดต่อ เช่น
ไม่ได้ระบุที่ตั้งคลังสินค้าอาจประสบความล�ำบากในการแจ้งการจ�ำน�ำไปยังนายคลังสินค้า ถ้าไม่ระบุค่า
บ�ำเหน็จในการเก็บรักษาก็ต้องถือตามธรรมเนียม ถ้าไม่มีธรรมเนียมก็ต้องคิดกันตามสมควรหรือถ้าได้
ตกลงกันไว้แต่เดิม ก็คิดตามนั้นได้ แม้จะไม่ได้เขียนลงไป แต่ต่อสู้ได้เฉพาะผู้ฝากกับนายคลังเท่านั้นส่วน
สธ
ผู้รับสลักหลังต่อสู้ไม่ได้

เก็บของในคลังสินค้า 5-59

ตัวอย่าง แดงฝากสินค้าไว้ในโกดังของบริษัทเซ่งหลี ตกลงค่าบ�ำเหน็จกิโลกรัมละ 70 สตางค์ แต่


มิได้ระบุลงไว้ในใบรับของคลังสินค้า ต่อมาแดงสลักหลังโอนขายสินค้าให้แก่ขาว ขาวรับโอนโดยไม่รู้ว่า
ค่าบ�ำเหน็จกิโลกรัมละ 70 สตางค์ คงคิดกิโลกรัมละ 1 บาท ตามที่คิดกันทั่วๆ ไป ในท้องถิ่นนั้น เพราะ
ข้อตกลงใดที่ไม่ปรากฏบนตราสารไม่ผูกพันผู้รับโอนโดยสุจริต ทั้งนี้โดยอาศัยหลักทั่วไป
ถ้าไม่ได้แสดงสภาพของสินค้าที่ฝากก็ใช้ได้ แต่ถ้าเกิดอันตรายขึ้นมา ผู้ฝากอาจต้องรับผิดต่อ


นายคลังสินค้าในความเสียหายใดๆ ที่เขาได้รับ ตามที่อธิบายมาแล้ว
บางกรณีนํ้าหนักของสินค้าอาจไม่จ�ำเป็น เพราะอาจถือเอาปริมาตรเป็นส�ำคัญ กรณีเช่นนี้ก็ไม่

มส
จ�ำเป็นต้องระบุนํ้าหนัก
ส่วนจ�ำนวนหีบห่อและเครื่องหมายนั้น ถ้าไม่ได้ระบุก็อาจยุ่งได้ในกรณีฝากหลายเจ้าของ เป็น
หน้าที่ของนายคลังสินค้าที่จะคืนสินค้าให้แก่ผู้ทรงตราสารครบตามจ�ำนวนที่ฝาก แม้ว่าจะได้ระบุจ�ำนวน
หีบห่อและเลขหมายในใบรับของคลังสินค้าหรือไม่ก็ตาม
ถ้ามิได้ระบุสถานที่ออกเอกสารก็พึงสันนิษฐานได้ว่าออก ณ ที่ทำ� การของนายคลังสินค้า ส่วนวัน
เดือน ปี ที่ออกเอกสารนั้น ผู้ทรงอาจจดลงตามที่ถูกต้องแท้จริงได้
ส�ำหรับก�ำหนดเวลาฝากนั้น ถ้าไม่ได้จดลงไปก็อาจจะให้นายคลังสินค้าจดลงในภายหลังก็ได้
ถ้าไม่ได้จดลงเลยต่อมาภายหลังเอกสารนั้นเปลี่ยนมือไปยังผู้ทรงด้วยกัน ซึ่งรับโอนไว้โดยสุจริต ก็จะต้อง
ถือว่าฝากไม่มีกำ� หนดเวลา
ในกรณีที่มีการประกันภัย ถ้าไม่ได้แสดงจ�ำนวนเงินที่เอาประกัน ก�ำหนดเวลาเอาประกันภัย และ

ชื่อยี่ห้อของผู้รับประกันภัยไว้ ก็อาจจะท�ำให้เกิดความไม่สะดวกในการที่ผู้ทรงจะเรียกร้องค่าเสียหายจาก
ผู้รับประกันภัยหรือท�ำให้ผู้ทรงไม่รู้ว่าผู้รับประกันภัยเป็นใคร ท�ำให้ผู้ทรงเสียสิทธิได้
มส

ตัวอย่าง แดงเอาประกันภัยทรัพย์สนิ ทีฝ่ ากไว้กบั บริษทั ประกันสรรพภัย แต่ไม่ได้บอกให้นายคลัง


เขียนลงไปในใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า ต่อมาแดงโอนสินค้าให้ขาวโดยวิธีสลักหลังใบรับของ
คลังสินค้าหลังจากนั้นไฟไหม้โกดัง ขาวจึงฟ้องนายคลังและแดงให้รับผิด แต่ไม่สามารถจะฟ้องเรียกค่า
เสียหายเอาจากผูร้ บั ประกันภัยเพราะไม่รู้ นายคลัง หรือแดงอาจขอให้ศาลเรียกบริษทั ประกันภัยเข้ามาเป็น
คู่ความร่วม ตาม ปวพ. มาตรา 57 หากระทบกระเทือนสิทธิของคู่สัญญาแต่ประการใดไม่
รายละเอียดที่จดลงไว้ในเอกสารใบรับของประทวนสินค้านี้นายคลังสินค้าจะต้องจดลงไว้ในต้นขั้ว

ด้วย ถ้าเลินเล่อลืมจดลงไปอาจก่อให้เกิดความสับสน หากเกิดความเสียหายแก่ผู้ทรงตราสาร นายคลัง
สินค้าจะต้องรับผิด
ตัวอย่าง นายคลังสินค้า ลืมจดต�ำบลที่อยู่ของผู้ฝาก ต่อมามีคนมายึดสินค้าที่ฝากโดยอ้างว่าเป็น
ของเขา นายคลังสินค้ารีบแจ้งให้ผู้ฝากทราบโดยส่งไปตามความจ�ำ ท�ำให้ผู้ฝากไม่ได้รับค�ำบอกกล่าว จึง
ไม่สามารถเข้ามาร้องขัดทรัพย์ ตาม ปวพ. มาตรา 288 ทันเวลา เกิดความเสียหาย นายคลังต้องรับผิด
กรณีเอกสารสูญหาย
ถ้าเอกสารอันมีใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าที่กล่าวถึงอยู่นี้สูญหายไปใบเดียวหรือทั้ง
สธ
สองใบ ปพพ. มาตรา 796 ให้ผทู้ รงเอกสารมีสทิ ธิขอให้นายคลังสินค้าออกใบใหม่ให้แก่ตนได้ แต่ทว่าผูท้ รง
จะต้องให้ประกันแก่นายคลังสินค้าตามสมควร เพื่อป้องกันความเสียหายในกรณีที่เอกสารเหล่านั้นตกไป
อยู่ในมือผู้ทุจริต

5-60 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ในการออกเอกสารใบใหม่ทดแทนใบเดิมนัน้ ปพพ. มาตรา 796 ให้นายคลังสินค้า เขียนหมายเหตุ


ลงไว้ในต้นขัว้ เป็นส�ำคัญ เช่น จดว่าเมือ่ วันเดือนปีนนั้ ได้มผี ทู้ รงชือ่ นัน้ มาแจ้ง ว่าเอกสารใบรับของคลังสินค้า
หรือประทวนสินค้าแล้วแต่กรณีสญ ู หายไป และขอให้ตนออกเอกสารทีส่ ญ ู หายให้ใหม่ ตนได้ออกใบใหม่ให้
แล้วโดยใช้แบบฟอร์มเลขที่เท่านั้นมาเขียนแทน โดยผู้ขอได้วางโฉนดที่ดิน เลขที่ 1234 เขตบางขุนนนท์
กรุงเทพฯ จ�ำนวนเนื้อที่ 3 ไร่ ราคาประมาณ 3 ล้านบาท ไว้เป็นประกันความเสียหาย


การประกัน
การประกันอาจใช้ทรัพย์สนิ อะไรก็ได้ เช่น เงินสด พันธบัตรรัฐบาล ตัว๋ สัญญาใช้เงิน เช็คทีธ่ นาคาร

มส
รับรอง หนังสือคํ้าประกันของธนาคาร สมุดฝากเงินธนาคารหรือใบประทวนสินค้าของผู้อื่นที่มาสลักหลัง
จ�ำน�ำไว้เป็นประกันก็ได้
กฎหมายให้นายคลังสินค้าเรียกได้ตามสมควร คือเป็นราคาเงินพอคุม้ กับความเสียหายทีน่ ายคลัง
สินค้าจะพึงได้รบั เนือ่ งจากการออกใบแทนนัน้ ถ้าเรียกสูงเกินไปจะเท่ากับปฏิเสธ ผูท้ รงมีอำ� นาจฟ้องบังคับ
ให้ออกได้ แค่ไหนสมควรแล้วแต่พฤติกรรมไม่เหมือนกันทุกกรณีไป
ตัวอย่าง แดงฝากสินค้าไว้ในโกดังราคา 1,000,000 บาท ปรากฏในต้นขั้วว่าแดงได้สลักหลัง
ประทวนสินค้าจ�ำน�ำไว้กับขาว 300,000 บาท ต่อมาขาวมาขอให้ออกประทวนสินค้าให้ใหม่โดยอ้างว่า ใบ
ประทวนถูกลักไป ขาวต้องหาประกันอันสมควรให้ ในที่นี้น่าจะเป็นทรัพย์สินมีราคาคุ้มหนี้ 300,000 บาท
พร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึงก�ำหนด อาจเกินไปบ้างเล็กน้อยก็เป็นการประกันค่าใช้จ่ายเมื่อต้องบังคับจ�ำน�ำ

การที่ให้เรียกเท่านั้นก็เพราะว่า เผื่อว่าใบเดิมไม่ได้หายจริง หากแต่ขาวผู้ทรงเอกสารสลักหลัง
จ�ำน�ำต่อไปยังเขียว ซึ่งนายคลังสินค้าไม่รู้เพราะการจ�ำน�ำครั้งหลังไม่ต้องแจ้งให้นายคลังทราบ เมื่อได้
มส

ใบใหม่ไป ขาวสลักหลังจ�ำน�ำต่ออีก พอหนี้ถึงก�ำหนดกลายเป็นมีเจ้าหนี้ 2 ราย มาขอให้ขายทอดตลาด


สินค้าที่ฝาก ดังนี้ ขาวจะต้องรับผิดเจ้าหนี้ทั้งสองราย ถ้าไม่มีประกันก็คงจะล�ำบาก

กิจกรรม 5.3.1
1. เหตุใดกฎหมายจึงบัญญัติให้มีทั้งใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า

เหตุใด
3. ใบรับของคลังสินค้ากับทรัสต์รีซีทต่างกันอย่างไร

2. กฎหมายบัญญัติให้เอกสาร 2 ฉบับนี้มีรายการต่างๆ เหมือนกันนั้นเพื่อความมุ่งหมายอันใด

4. กฎหมายบังคับให้นายคลังสินค้าเรียกประกันในกรณีที่มีการขอให้ออกเอกสารใหม่เพราะ

แนวตอบกิจกรรม 5.3.1
1. การที่กฎหมายบัญญัติให้มี 2 ฉบับก็เพื่อความสะดวกในการค้าขาย ใบหนึ่งไว้สลักหลังขาย
สธ
ส่วนอีกใบหนึ่งไว้สลักหลังจ�ำน�ำ ถ้ามีใบเดียวก็จะท�ำได้เพียงอย่างเดียว การค้าขายก็จะไม่สะดวก
2. การที่กฎหมายให้เอกสาร 2 ฉบับมีรายการต่างๆ เหมือนกันก็เพราะออกมาจากต้นขั้ว
อันเดียวกัน และรายการต่างๆ นั้นกฎหมายก็บังคับให้มีตามความจ�ำเป็นในทางธุรกิจ

เก็บของในคลังสินค้า 5-61

3. ทรัสต์รีซีทเป็นหนังสือแสดงว่าธนาคารหรือนายเงินเป็นเจ้าของสินค้าให้ลูกหนี้รับสินค้าไป
จ�ำหน่ายจ่ายโอนน�ำเงินมาช�ำระหนี้แก่ตน ส่วนใบรับของคลังสินค้านั้นเป็นเอกสารแสดงถึงกรรมสิทธิ์ใน
สินค้าที่ฝาก
4. การทีก่ ฎหมายบังคับให้นายคลังสินค้าเรียกประกันในกรณีมกี ารขอให้ออกเอกสารการฝากใหม่
ก็เพื่อป้องกันความรับผิดของนายคลังสินค้าเอง และเพื่อรักษาประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย


มส
เรื่องที่ 5.3.2
การจ�ำน�ำสินค้าในคลังสินค้า

โดยปกติการจ�ำน�ำนั้นผู้จ�ำน�ำต้องมอบทรัพย์สินที่จ�ำน�ำให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้ เพื่อประกันหนี้นั้น แต่


การจ�ำน�ำสินค้าในคลังนัน้ ท�ำได้งา่ ยกว่า โดยกฎหมายให้จำ� น�ำเอกสารการฝากทีก่ ล่าวมาแล้วในหัวข้อก่อน
ส่วนสินค้าที่ฝากนั้นนายคลังเป็นผู้ครอบครองรักษาไว้แทนเจ้าหนี้ผู้รับจ�ำน�ำโดยปริยาย คือ เป็นการจ�ำน�ำ

ตราสารแทนการจ�ำน�ำสินค้า ซึง่ จะต้องอาศัยหลักการในการจ�ำน�ำตราสารทีก่ ล่าวไว้ในเรือ่ งการจ�ำน�ำทัว่ ไป
ด้วย โดยเฉพาะ ปพพ. มาตรา 750-756
ใน ปพพ. มาตรา 750 วางหลักไว้วา่ การจ�ำน�ำทรัพย์สนิ อันมีสทิ ธิตราสารนัน้ ต้องส่งมอบตราสาร
มส

ให้แก่ผรู้ บั จ�ำน�ำมิฉะนัน้ เป็นโมฆะ คือเท่ากับไม่มกี ารจ�ำน�ำ เพราะฉะนัน้ การจ�ำน�ำเอกสารใบประทวนสินค้า


และใบรับของคลังสินค้าจึงถือหลักเดียวกัน คือต้องส่งมอบตราสารนัน้ ให้แก่เจ้าหนีค้ รอบครองและบอกกล่าว
เป็นหนังสือให้ลูกหนี้แห่งสิทธิทราบ มิฉะนั้นการจ�ำน�ำไม่เกิด และ ปพพ. มาตรา 752 บัญญัติว่า “ให้จด
แจ้งการจ�ำน�ำไว้ในตราสารก่อนส่งมอบแก่เจ้าหนี้” กับท�ำค�ำบอกกล่าวให้ลูกหนี้แห่งตราสารทราบด้วย
การจ�ำน�ำประทวนสินค้าและใบรับของคลังสินค้าก็ท�ำนองเดียวกัน กฎหมายบัญญัติวิธีการพิเศษ

เฉพาะเรือ่ งรัดกุมขึน้ อีกเล็กน้อย กล่าวคือ ให้จำ� น�ำประทวนก่อนโดยแยกประทวนออกสลักหลังจ�ำน�ำไว้กบั
เจ้าหนี้ จากนั้นเจ้าหนี้บอกกล่าวแก่นายคลังสินค้าเป็นหนังสือ และนายคลังสินค้าจดแจ้งการจ�ำน�ำไว้ใน
ต้นขั้ว กับทั้งจะต้องมีการจดแจ้งการจ�ำน�ำไว้ในใบรับของคลังสินค้า

1. การสลักหลังประทวนสินค้า
การสลักหลังมีวิธีการหลายขั้นตอนดังนี้คือ
1.1 ผู้ทรงเขียนลงในประทวนสินค้า จะเป็นด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้ ปกตินายคลังจะออกแบบ
สธ
ฟอร์ม มีช่องส�ำหรับสลักหลังจ�ำน�ำไว้ให้หนึ่งแห่ง ข้อความที่จะต้องจดลงไปในช่องสลักหลังนั้นกล่าวไว้ใน
มาตรา 787 ความว่า “ในการสลักหลังลงในประทวนสินค้าครั้งแรกนั้นต้องจดแจ้งจ�ำนวนหนี้ที่จ�ำน�ำ
สินค้าเป็นประกัน ทั้งจ�ำนวนดอกเบี้ยที่จะต้องช�ำระและวันที่หนี้จะถึงก�ำหนดช�ำระด้วย”

5-62 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตามความในมาตรานี้มีสิ่งที่จะต้องจดแจ้งในการสลักหลังตราสารฉบับนี้จ�ำน�ำถึง 3 ประการคือ
1) จ�ำนวนหนี้ 2) จ�ำนวนดอกเบี้ย และ 3) วันถึงก�ำหนดช�ำระแล้วลงชื่อก�ำกับไว้
ข้อส�ำคัญก็คอื ต้องระบุชอื่ ผูร้ บั จ�ำน�ำลงในประทวนสินค้า เพราะ ปพพ. มาตรา 779 ห้ามมิให้สลัก
หลังให้แก่ผู้ถือ


ตัวอย่าง
รายการสลักหลังประทวนสินค้า

มส
ข้าพเจ้า...................................................................ผู้ฝาก ได้จ�ำน�ำสินค้าที่จดแจ้งในประทวนสินค้านี้
ไว้กับ........................................................................ เป็นจ�ำนวนเงิน.......................................................บาท
(...................................................................... บาท) มีก�ำหนด 3 เดือนนับตั้งแต่วันสลักหลังนี้เป็นต้นไป และ
ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ.....................................ต่อเดือน
ข้ า พเจ้ า ผู ้ ฝ ากกั บ ผู ้ รั บ จ� ำ น� ำ ได้ จ ดแจ้ ง การสลั ก หลั ง นี้ ไว้ ใ นใบรั บ ของคลั ง สิ น ค้ า ด้ ว ยแล้ ว ตั้ ง แต่
วันที่...........เดือน........................................... พ.ศ. 25.................................

ลงนาม............................................ผู้ฝาก
ลงนาม............................................ผู้รับจ�ำน�ำ

สลักหลัง ณ วันที่ ................เดือน.......พ.ศ. 25….......

1.2 คู่สัญญาจ�ำน�ำจดแจ้งการสลักหลังลงไว้ในใบรับของคลังสินค้า ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 780


มส

ว่า “เมื่อใดผู้ฝากสลักหลังประทวนสินค้าให้แก่ผู้รับจ�ำน�ำคู่สัญญาต้องจดแจ้งการที่สลักหลังนั้นลงไว้ใน
ใบรับของคลังสินค้าด้วย”
ค�ำว่า “คู่สัญญา” ในที่นี้คือ คู่สัญญาจ�ำน�ำ ได้แก่ ผู้ฝากกับผู้รับจ�ำน�ำนั่นเอง ไม่ใช่ผู้ฝากกับนาย
คลังสินค้า
เหตุที่กฎหมายบังคับให้ผู้ฝากและผู้รับจ�ำน�ำจดแจ้งการจ�ำน�ำลงไว้ในใบรับของคลังสินค้าก็เพื่อจะ
ได้ปรากฏการจ�ำน�ำอยู่บนใบรับของคลังสินค้า อันเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ ผู้จะ

พร้อมดอกเบี้ยได้
ตัวอย่าง 1 แดงฝากสินค้า ราคา 1,000,000 บาทไว้ในโกดังแห่งหนึ่ง ต่อมาแดงสลักหลัง
ประทวนสินค้าจ�ำน�ำไว้กบั ขาว 500,000 บาท แต่มไิ ด้จดแจ้งการจ�ำน�ำไว้ในใบรับของคลังสินค้า ต่อมาแดง

ซือ้ สินค้าต่อไปจะได้รวู้ า่ สินค้าทีต่ นจะซือ้ นัน้ มีภาระจ�ำน�ำติดอยู่ เขาจะได้ซอื้ ในราคาทีส่ ามารถช�ำระหนีจ้ ำ� น�ำ

โอนขายสินค้าดังกล่าวให้แก่ม่วงในราคา 1,200,000 บาท กรณีเช่นนี้ขาวจะยกเอาการจ�ำน�ำขึ้นยันม่วงไม่


ได้ จะขอให้นายคลังสินค้าขายสินค้าในคลังช�ำระหนี้ตนไม่ได้
สธ
ตัวอย่าง 2 แดงผู้ฝากสินค้าได้สลักหลังประทวนจ�ำน�ำสินค้าไว้กับขาว โดยไม่ได้จดแจ้งการจ�ำน�ำ
ลงไว้ในใบรับของคลังสินค้า โดยไม่ได้จดแจ้งการจ�ำน�ำลงไว้ในใบรับของคลังสินค้า ต่อมาแดงไม่ช�ำระหนี้
กรณีเช่นนี้ขาวย่อมยกเอาการจ�ำน�ำขึ้นต่อสู้แดงคู่สัญญาได้ เพราะระหว่างแดงกับขาวต่อสู้กันได้เสมอ ถ้า
แดงไม่ช�ำระหนี้ ขาวก็มีสิทธิที่จะบังคับจ�ำน�ำได้

เก็บของในคลังสินค้า 5-63

เพราะเหตุนี้เองในแบบฟอร์มใบรับของคลังสินค้ามักจะจัดช่องไว้ส�ำหรับบันทึกแสดงถึงการจ�ำน�ำ
ไว้ ดังปรากฏในตัวอย่างทีย่ กมาให้ดขู า้ งต้น ถ้าไม่ได้ออกแบบเว้นช่องไว้จะจดลงไปในช่องว่างตรงไหนก็ได้
แล้วผู้จำ� น�ำและผู้รับจ�ำน�ำลงชื่อด้วยกัน
1.3 คู่สัญญาจ�ำน�ำหมายเหตุไว้ในประทวนสินค้าว่าได้จดแจ้งการจ�ำน�ำในใบรับของคลังสินค้า
แล้ว ตามความใน ปพพ. มาตรา 781 ซึ่งบัญญัติว่า “เมื่อประทวนสินค้าได้สลักหลังและส่งมอบแก่ผู้รับ


จ�ำน�ำแล้ว ให้ผู้ฝากกับผู้รับจ�ำน�ำจดลงไว้ในประทวนสินค้าเป็นส�ำคัญ ว่าได้จดข้อความตามที่บัญญัติใน
มาตราก่อนไว้ในใบรับของคลังสินค้าแล้ว”

มส
มาตรา 781 ได้ก�ำหนดให้ผู้ฝากและผู้รับจ�ำน�ำร่วมกันจดแจ้ง คือเมื่อได้จดลงไปแล้วคู่สัญญา
ดังกล่าวก็ลงชื่อด้วยกัน ที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ก็เพื่อเตือนสติคู่สัญญาให้จดแจ้งการจ�ำน�ำลงในใบรับ
ของคลังสินค้า แต่การจดแจ้งลงในประทวนตามมาตรา 781 นี้เป็นวิธีการเพื่อให้ผู้ที่รับประทวนสินค้าได้
ทราบว่า คู่สัญญาจ�ำน�ำได้จดแจ้งการสลักหลังนั้นไว้ในใบรับของคลังสินค้าตาม ปพพ. มาตรา 780 แล้ว
1.4 ผู้รับจ�ำน�ำบอกกล่าวการจ�ำน�ำให้นายคลังสินค้าทราบ การที่ต้องบอกกล่าวนั้น ก็เนื่องจาก
การจ�ำน�ำนั้นผู้รับจ�ำน�ำต้องเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินที่จ�ำน�ำไว้เป็นส�ำคัญ แต่กรณีฝากของในคลังสินค้า
นั้น ตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ อยู่ในความครอบครองของนายคลังสินค้ามาแต่ต้น ต่อมาเมื่อมีการจ�ำน�ำ
สินค้า กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้รับจ�ำน�ำต้องแจ้งให้นายคลังสินค้าทราบถึงการจ�ำน�ำนั้น และนับตั้งแต่นาย
คลังทราบก็ถือว่า นายคลังสินค้าครอบครองสินค้านั้นแทนผู้รับจ�ำน�ำ ทั้งนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 782 “เมื่อ

ใดผูฝ้ ากจ�ำน�ำสินค้าและส่งมอบประทวนสินค้าแก่ผรู้ บั สลักหลังแล้ว ผูร้ บั สลักหลังเช่นนัน้ ต้องมีจดหมาย
บอกกล่าวแก่นายคลังสินค้าให้ทราบจ�ำนวนหนี้ซึ่งจ�ำน�ำสินค้านั้นเป็นประกัน ทั้งจ�ำนวนดอกเบี้ยและวัน
มส

อันหนี้พึงจะถึงก�ำหนดช�ำระ เมื่อนายคลังสินค้าได้รับค�ำบอกกล่าวเช่นนั้นแล้วต้องจดรายการทั้งนั้นลง
ในต้นขั้ว
ถ้าและมิได้จดในต้นขั้วเช่นนั้น ท่านว่าการจ�ำน�ำนั้นหาอาจจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ทั้งหลาย
ของผู้ฝากได้ไม่”

ข้อความในใบแจ้งควรเป็นดังนี้
เรียน ผู้จัดการบริษัทโกดังทอง จ�ำกัด ม
เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ข้าพเจ้าได้รับจ�ำน�ำใบประทวนสินค้า เลขที่ 123 ลง
วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งท่านเป็นผู้ออกเป็นจ�ำนวนเงิน 500,000 บาท มีกำ� หนด 3 เดือน (ครบ
ก�ำหนด 29 มกราคม พ.ศ. 2557) ดอกเบีย้ ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วนั ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
ขอได้โปรดจดแจ้งการจ�ำน�ำลงในต้นขั้วด้วย จักขอบคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ
สธ
(...............................)

5-64 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เมื่อได้รับหนังสือแล้วนายคลังมีหน้าที่จดแจ้งการจ�ำน�ำลงในต้นขั้ว จะละเลยหรือหลงลืมเสียมิได้
ถ้ามิได้จดลงไปไม่วา่ เพราะเหตุประการใด นายคลังสินค้าจะต้องรับผิดต่อผูร้ บั จ�ำน�ำ ส�ำหรับความเสียหาย
ใดๆ ที่เขาได้รับขอให้ดูตัวอย่างที่อธิบายมาแล้วในตอนก่อน
ค�ำว่าต้นขั้วในที่นี้ก็คือต้นขั้วใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า เอกสาร 2 ฉบับนี้มีต้นขั้ว
อันเดียวกัน


ผลของการไม่ได้จดแจ้งการจ�ำน�ำ อาจแบ่งแยกได้เป็น 2 กรณี คือ ผลต่อบุคคลภายนอกและ
ผลต่อความรับผิดของนายคลังสินค้า

มส
1) ผลต่อบุคคลภายนอก การไม่ได้จดแจ้งการจ�ำน�ำไว้ ย่อมท�ำให้ไม่สามารถยกการจ�ำน�ำมาต่อสู้
บุคคลภายนอกได้ ไม่วา่ การไม่จดแจ้งนัน้ จะเกิดจากการทีน่ ายคลังสินค้าไม่ได้รบั แจ้ง หรือเกิดจากนายคลัง
สินค้าละเลยไม่ได้จดแจ้งก็ตาม ทั้งนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 782 วรรคสอง
2) ผลต่อความรับผิดของนายคลังสินค้า ในกรณีที่นายคลังสินค้าไม่จดแจ้งการจ�ำน�ำไว้ แม้จะได้
รับแจ้งแล้วก็ตาม กรณีนนี้ ายคลังสินค้าต้องรับผิดต่อผูร้ บั จ�ำน�ำแต่ถา้ เป็นกรณีทนี่ ายคลังสินค้าไม่ได้รบั แจ้ง
กรณีเช่นนี้นายคลังสินค้าก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับจ�ำน�ำ
การบอกกล่าวนั้น ปพพ. มาตรา 782 มิได้ก�ำหนดเวลาไว้ว่าผู้รับจ�ำน�ำจะต้องบอกกล่าวแก่
นายคลังสินค้าช้าเร็วอย่างไร ดังนั้นจะบอกกล่าวเมื่อไรก็ย่อมได้ แต่ต้องก่อนที่จะมีการยึดทรัพย์สินออก
ขายทอดตลาด และนายคลังสินค้าน่าจะได้จดลงในต้นขั้วก่อนที่ทรัพย์ถูกยึดออกขายทอดตลาด เช่น

ขาวรับจ�ำน�ำแล้วได้แจ้งการจ�ำน�ำไปยังนายคลังสินค้าตามระเบียบ แต่นายคลังสินค้าลืมจดแจ้งการจ�ำน�ำลง
ไว้ในต้นขั้ว จนแดงผู้ฝากถูกเจ้าหนี้รายอื่นยื่นฟ้องคดี ขาวรู้ได้โทรศัพท์ไปบอก นายคลังสินค้าจึงนึกได้
และได้จดแจ้งการจ�ำน�ำลงในต้นขั้วก่อนเจ้าหนี้ของแดงมายึดสินค้าที่ฝาก 1 วัน กรณีเช่นนี้ขาวยังยกการ
มส

จ�ำน�ำขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้อื่นและขอรับช�ำระหนี้จ�ำน�ำก่อนเขาได้ แต่ถ้าเจ้าหนี้อื่นมายึดทรัพย์ในคลังและเปิดดู
ต้นขัว้ ไม่มกี ารจดแจ้งการจ�ำน�ำไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจงึ ได้หมายเหตุไว้วา่ ไม่มกี ารจ�ำน�ำเช่นนีข้ าวจะมา
กล่าวอ้างว่าตนได้รับจ�ำน�ำสินค้าที่ยึดจึงขอรับช�ำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นในฐานะผู้รับจ�ำน�ำไม่ได้

2. การสลักหลังใบรับของคลังสินค้า
การจ�ำน�ำใบรับของคลังสินค้านี้ เป็นการจ�ำน�ำตราสาร ตาม ปพพ. มาตรา 752 กล่าวคือ ต้อง
จดแจ้ง การจ�ำน�ำให้ปรากฏในตราสาร และบอกกล่าวแก่ลูกหนี้ตามตราสารนั้น

หนึ่งและกรณีมีใบประทวนอีกอย่างหนึ่ง

การสลักหลังจ�ำน�ำใบรับของคลังสินค้านั้น แยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ กรณีไม่มีใบประทวนอย่าง

อาจมีความสงสัยว่า มีกรณีไม่มีใบประทวนด้วยหรือข้อนี้ต้องตอบว่ามี คือนายคลังสินค้าไม่น้อย


ในทางปฏิบตั อิ อกแค่ใบรับของคลังสินค้าตอนเดียวเพราะสะดวกดี เจ้าของสินค้าอยากจะขายก็ขายไปตาม
ใบรับของคลังสินค้าอยากจะจ�ำน�ำก็เอาใบรับของคลังสินค้านั้นไปจ�ำน�ำ
เมือ่ ไม่มใี บประทวนก็จำ� น�ำด้วยการสลักหลังใบรับของคลังสินค้า ท�ำนองเดียวกัน แต่ลดพิธกี ารลง
สธ
บ้างคือสลักหลังจ�ำน�ำแล้ว เจ้าหนีม้ จี ดหมายแจ้งการจ�ำน�ำให้นายคลัง จดหมายเหตุการจ�ำน�ำลงไว้ในต้นขัว้
เป็นเสร็จพิธี

เก็บของในคลังสินค้า 5-65

แต่ในกรณีทอี่ อกใบประทวนสินค้าด้วยนัน้ กฎหมายให้จ�ำน�ำใบประทวนสินค้าก่อน เรือ่ งจ�ำน�ำใบรับ


ของคลังสินค้าดังปรากฏอยูใ่ น ปพพ. มาตรา 785 ความว่า “...เมื่อประทวนสินค้าได้สลักหลังแล้ว สินค้า
นั้นจะจ�ำน�ำแก่ผู้อื่นอีกชั้นหนึ่งด้วยการสลักหลังใบรับของคลังสินค้า อย่างเดียวกับสลักหลังประทวน
สินค้านั้นก็ได้”
มาตรา 785 ให้สลักหลังใบรับของคลังสินค้าอย่างเดียวกับสลักหลังประทวนสินค้าเบื้องต้นก็คือ


เขียนลงไปในใบรับของคลังสินค้าว่า จ�ำน�ำไว้กบั บุคคลใด หนีจ้ ำ� นวนเท่าใด อัตราดอกเบีย้ เท่าใด ถึงก�ำหนด
ช�ำระคืนเมื่อใด แล้วลงลายมือชื่อผู้จ�ำน�ำ

ตัวอย่าง
มส
ข้าพเจ้า นายแดง สีม่วง ผู้ฝาก ได้จ�ำน�ำสินค้ารายนี้ไว้กับนายขาว สีเผือก อีกเป็นจ�ำนวนเงิน 50,000
บาทมีก�ำหนดช�ำระใน 3 เดือนนับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงได้มอบ
ใบรับของคลังสินค้านี้ไว้กับนายขาวผู้รับจ�ำน�ำตั้งแต่บัดนี้

(ลงชื่อ) แดง สีม่วง ผู้จำ� น�ำ


(ลงชื่อ) ขาว สีเผือก ผู้รับจ�ำน�ำ

จากนัน้ ขาวผูร้ บั จ�ำน�ำจะต้องบอกกล่าวการจ�ำน�ำให้นายคลังสินค้าทราบ ตาม ปพพ. มาตรา 782



เช่นเดียวกับการจ�ำน�ำใบประทวนสินค้า เพือ่ นายคลังสินค้าจะได้จดแจ้งรายการจ�ำน�ำลงไว้ในต้นขัว้ มิฉะนัน้
จะยกเอาการจ�ำน�ำขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ไม่ได้
มส

กิจกรรม 5.3.2
1. หลักในการจ�ำน�ำเอกสารการฝากมีอย่างไรบ้าง
2. แดงจ�ำน�ำใบประทวนสินค้าไว้กบั ขาว โดยมอบประทวนทีจ่ ำ� น�ำให้ขาวครอบครองโดยมิได้สลัก
หลังดังนี้จะมีผลตามกฎหมายอย่างใดบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 5.3.2

1. เอกสารการฝากอันมีใบรับของคลังสินค้า และประทวนสินค้านัน้ เป็นตราสารอันมีวตั ถุประสงค์
แห่งสิทธิเป็นทรัพย์สนิ ตามหลักการจ�ำน�ำ เอกสารเช่นนีต้ อ้ งสลักหลังตราสารแล้วมอบแก่เจ้าหน้าทีใ่ ห้ยดึ ถือ
ไว้เป็นจ�ำน�ำ แล้วบอกกล่าวลูกหนีแ้ ห่งตราสารในทีน่ กี้ ค็ อื นายคลังสินค้า นอกจากนัน้ ยังต้องบัญญัตติ ามวิธี
การที่กฎหมายบัญญัติไว้ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอีกหลายประการ
สธ
2. การจ�ำน�ำใบประทวนโดยมิได้สลักหลัง เช่นนัน้ หามีผลเป็นการจ�ำน�ำสินค้าตามกฎหมายไม่ แต่
เป็นการจ�ำน�ำแผนกระดาษ เหมือนกับจ�ำน�ำใบโฉนดที่ดิน จะมีผลดีแต่เพียงว่าลูกหนี้ไม่สามารถจะจ�ำน�ำ
สินค้าอีกต่อไป จะถอนก็ไม่ได้เท่านั้น

5-66 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 5.3.3
การโอนกรรมสิทธิ์และการรับเอาสินค้าที่ฝาก


ในเรื่องนี้จะแบ่งกล่าวเป็น 2 หัวข้อย่อยคือวิธีโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ฝากข้อหนึ่ง และวิธีรับเอา
ทรัพย์ที่ฝากจากคลังอีกหัวข้อหนึ่ง

มส
1. วิธีโอนกรรมสิทธิ์
การโอนกรรมสิทธิข์ องสินค้าทีฝ่ ากนัน้ จะต้องโอนโดยบทบัญญัตขิ อง ปพพ. มาตรา 784 ซึง่ บัญญัติ
ว่า “กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่เก็บรักษาไว้นั้น ท่านว่าอาจโอนได้แต่ด้วยสลักหลังใบรับของคลังสินค้าเท่านั้น”
มาตรานี้เป็นการโอนโดยทางนิติกรรม ส่วนกรณีการโอนโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมนั้น ไม่อยู่ในบังคับ
ของ ปพพ. มาตรา 784 นี้ เช่น กรณีมีการบังคับจ�ำน�ำ ผู้รับจ�ำน�ำชอบที่จะเอาทรัพย์สินที่จ�ำน�ำออกขาย
ทอดตลาด ตามบทบัญญัติเรื่องจ�ำน�ำสินค้า (ปพพ. มาตรา 790-794) ผู้ที่ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอด
ตลาด ก็ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ฝากไว้ในคลัง อนึ่ง การสลักหลัง ตาม ปพพ. มาตรา 784 นี้ มิได้
บัญญัติว่าจะต้องท�ำอย่างไรจึงอาจท�ำได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ คือ

ตัวอย่าง 1
โอนให้นายขาว สีม่วง
มส

(ลงชื่อ) แดง สีแสด ผู้สลักหลัง


10 พ.ย. พ.ศ. 2556

ตัวอย่าง 2
รายการสลักหลังนี้แสดงว่านายแดง สีแสด ได้โอนขายสินค้าให้นายขาว สีม่วง ในราคา 100,000 บาท

จึงลงชื่อไว้เป็นส�ำคัญ

(ลงชื่อ) แดง สีแสด ผู้โอน



กับได้มอบใบรับของคลังสินค้าและประทวนให้แก่ผู้รับโอนไปแล้วตั้งแต่วันสลักหลังเป็นต้นไป ผู้โอนและผู้รับโอน

(ลงชื่อ) ขาว สีม่วง ผู้รับโอน


สธ

เก็บของในคลังสินค้า 5-67

ในทางปฏิบัติ คลังสินค้าบางแห่งเขียนมีรายการตามตัวอย่างที่ 3
ตัวอย่างที่ 3
สลักหลังลงวันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เพื่อแสดงว่าได้โอนกรรมสิทธิ์ในคลังสินค้าตามใบรับ
ของคลังสินค้านี้ให้แก่นายขาว สีม่วง ตั้งแต่วันที่สลักหลังนี้เป็นต้นไป


(ลงชื่อ) แดง สีแสด ผู้สลักหลัง (ผู้ฝาก)
(ลงชื่อ) นายขาว สีม่วง ผู้รับสลักหลัง

มส
อนึง่ การสลักหลังใบรับของคลังสินค้านัน้ ถ้าได้มกี ารท�ำก่อนมีการสลักหลังประทวนสินค้า ผูส้ ลัก
หลังจะต้องส่งมอบประทวนสินค้าให้แก่ผู้รับสลักหลังไปด้วยเพราะประทวนสินค้ากับใบรับของคลังสินค้า
นั้นเป็นคู่ฉบับกัน กฎหมายห้ามโอนแยกต่างหากจากกันดังความใน ปพพ. มาตรา 786 ซึ่งบัญญัติว่า
“ตราบใดสินค้าที่เก็บรักษาไว้ไม่ได้จ�ำน�ำ ท่านว่าจะโอนใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้าไป
ต่างหากกันไม่ได้อยู่ตราบนั้น”

2. การรับของที่ฝากคืน
การรับของที่ฝากไว้ในคลังสินค้านั้นอาจแยกได้เป็น 3 กรณี ตามหลักเกณฑ์ของ ปพพ. มาตรา

788 และมาตรา 789 ดังนี้คือ
2.1 กรณีที่ไม่ได้แยกใบประทวนออกจ�ำน�ำ กรณีเช่นนีเ้ มือ่ จะรับสินค้าก็ตอ้ งเวนคืนใบรับของคลัง
สินค้าทั้งนี้ตามมาตรา 788
มส

2.2 กรณีที่แยกใบประทวนออกจ�ำน�ำต่างหาก กรณีเช่นนี้ผู้รับก็จะต้องเวนคืนทั้งใบรับของคลัง


สินค้าและใบประทวนสินค้าให้แก่นายคลังสินค้า ทั้งนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 789 วรรคหนึ่ง
2.3 กรณีที่น�ำใบรับของคลังสินค้ามารับสินค้าโดยไม่มีใบประทวนสินค้า กรณีเช่นนี้ ผูร้ บั จะต้อง
วางเงินตามจ�ำนวนหนีซ้ งึ่ ลงไว้ในประทวนสินค้ากับทัง้ ดอกเบีย้ จนถึงวันก�ำหนดช�ำระหนี้ เพราะเมือ่ วางเงิน
แล้ว เมื่อผู้ทรงใบประทวนสินค้าเขามารับสินค้า นายคลังสินค้าจะได้มอบเงินดังกล่าวให้แก่เขาไป ทั้งนี้

สินค้านั้น

กิจกรรม 5.3.3

ตาม ปพพ. มาตรา 789 วรรคสองและวรรคสาม กล่าวคือนายคลังสินค้าจะมอบเงินให้แก่ผรู้ บั จ�ำน�ำไปแทน

1. การโอนสินค้าด้วยการสลักหลังตราสารนั้น มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง
2. การรับเอาสินค้าจากคลังสินค้าจะต้องปฏิบัติอย่างไร
สธ
3. แดงฝากสินค้าในคลังสินค้า ต่อมาได้ยืมเงินนายคลังสินค้าและระบุในสัญญากู้ว่าให้สินค้าใน
คลังเป็นประกันเงินกู้ ต่อมาแดงได้สลักหลังใบรับของคลังสินค้าโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นให้ขาว กรณีนี้
ขาวจะรับเอาสินค้าในคลังได้หรือไม่

5-68 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แนวตอบกิจกรรม 5.3.3
1. การโอนสินค้าที่ฝากด้วยการสลักหลังตราสารใบรับของคลังสินค้านั้นมีหลักอยู่ที่ว่า 1) จะต้อง
สลักหลังใบรับของคลังสินค้าระบุชอื่ ผูร้ บั โอนเพราะกฎหมายห้ามสลักหลังให้แก่ผถู้ อื 2) มอบใบรับของคลัง
สินค้าและประทานให้แก่ผรู้ บั สลักหลังไปด้วยเว้นแต่ประทวนนัน้ จะได้สลักหลังจ�ำน�ำแล้ว ควรหมายเหตุการ


โอนไว้ในประทวนด้วย
2. การรับเอาสินค้าจากคลังนั้นจะต้องเวนคืนใบรับของคลังสินค้า แต่ถ้ามีการสลักหลังจ�ำน�ำ
ประทวนสินค้า แล้วตามระเบียบจะต้องเวนคืนประทวนด้วย เพื่อเป็นการแสดงว่าสินค้านั้นปลอดจากการ

มส
จ�ำน�ำแล้ว แต่ถ้าการฝากไม่มีใบรับของคลังสินค้า หรือสินค้านั้นโอนกรรมสิทธิ์ไปยังบุคคลภายนอกโดย
ทางอื่น ซึ่งมิใช่นิติกรรม ก็ถอนคืนสินค้าวิธีธรรมดา

ขาวไม่ได้
3. ขาวเวนคืนใบรับของคลังสินค้าเอาสินค้าออกจากคลังได้ นายคลังจะยกเอาการจ�ำน�ำขึ้นต่อสู้

เรื่องที่ 5.3.4

การบังคับจ�ำน�ำและการไล่เบี้ย
มส

ในเรื่องนี้จะแบ่งกล่าวเป็น 2 หัวข้อ คือ


1. การบังคับจ�ำน�ำตอนหนึ่ง และ
2. การไล่เบี้ยอีกตอนหนึ่งดังนี้

1. การบังคับจ�ำน�ำ

หนี้อันเป็นประธาน

การบังคับจ�ำน�ำเกิดขึน้ เมือ่ ลูกหนีผ้ ดิ นัดไม่ชำ� ระหนีจ้ งึ เอาทรัพย์ทจี่ ำ� น�ำออกขายทอดตลาดเอาเงิน
สุทธิที่ได้มาช�ำระหนี้ของตน ถ้าลูกหนี้ช�ำระหนี้เสียแล้วจ�ำน�ำก็หมดไป เพราะจ�ำน�ำเป็นเพียงอุปกรณ์ของ

เงินสุทธิคอื เงินทีห่ กั ค่าใช้จา่ ยแล้ว ทัง้ นี้ เพราะการขายทอดตลาด บางคนอาจสงสัยว่าท�ำไมจึงเอา


เงินสุทธิมาช�ำระ จะเอามาช�ำระหนี้ก่อนไม่ได้หรือ ข้อนี้ขอให้เข้าใจว่าการขายทอดตลาดมักจะมีค่าใช้จ่าย
เช่นต้องประกาศขาย ค่าจดหมาย ค่าอากรแสตมป์ จนกระทัง่ ค่าจ้างคนงานในการขาย ค่าแรงงาน รวมทัง้
ค่าบ�ำเหน็จของคนขาย โดยเฉพาะการขายทอดตลาดทรัพย์ทฝี่ ากอยูใ่ นคลังนัน้ ผูร้ บั จ�ำน�ำมิได้ขายเอง แต่
สธ
นายคลังสินค้าเป็นผู้ขาย ตาม ปพพ. มาตรา 790 มาตรา 792 ให้นายคลังสินค้าหักค่าใช้จ่ายของเขาไว้
ก่อนเหลือสุทธิเท่าใดผูร้ บั จ�ำน�ำจึงจะได้ เงินค่าใช้จา่ ยต่างๆ ในการบังคับจ�ำน�ำมีบรุ มิ สิทธิเหนือกว่าหนีจ้ ำ� น�ำ
ตามมาตรา ปพพ.277 วรรคสอง และมาตรา 792 เพราะก่อนจะได้เงินมาใช้หนี้จำ� น�ำผู้จ�ำน�ำต้องพึ่งเขา

เก็บของในคลังสินค้า 5-69

การบังคับจ�ำน�ำทั่วๆ ไปนั้น มีหลักว่าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้จะบังคับจ�ำน�ำ เจ้าหนี้ผู้รับจ�ำน�ำจะ


ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อน ว่าให้ช�ำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลาอันสมควรเสียก่อน ถ้า
ลูกหนี้ไม่ช�ำระหนี้ ผู้รับจ�ำน�ำจึงจะน�ำเอาทรัพย์สินที่จ�ำน�ำออกขายทอดตลาดได้และจะต้องบอกกล่าวให้
ผู้จ�ำน�ำรู้เวลาและสถานที่ขายทอดตลาดด้วย การบังคับจ�ำน�ำสินค้าในคลังก็ท�ำนองเดียวกัน แต่เนื่องจาก
จ�ำน�ำสินค้าในคลังนั้นมีตราสารเป็นหลักฐานในการจ�ำน�ำ กฎหมายบัญญัติให้ท�ำค�ำคัดค้านแทนการบอก


กล่าวแก่ลูกหนี้เหมือนกับในเรื่องตั๋วเงิน นอกนั้นปฏิบัติท�ำนองเดียวกับการบังคับจ�ำน�ำทั่วๆ ไปภายในหัว
ข้อนี้มีเรื่องที่จะกล่าวถึง 3 ประการคือ

มส
1.1 ลูกหนี้ผิดนัดและการท�ำค�ำคัดค้าน ข้อนี้ได้บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 790 ว่า “ถ้าหนี้ซึ่ง
สินค้าจ�ำน�ำเป็นประกันมิได้ช�ำระเมื่อวันถึงก�ำหนดไซร์ ผู้ทรงประทวนสินค้าเมื่อได้ยื่นค�ำคัดค้านตาม
ระเบียบแล้วชอบที่จะให้นายคลังสินค้าขายทอดตลาดสินค้านั้นได้ แต่ท่านห้ามมิให้ขายทอดตลาดก่อน
แปดวันนับแต่วันคัดค้าน”
ความในมาตรานี้ก�ำหนดเงื่อนไขไว้ 2 ขั้นตอน คือ
1) หนี้ถึงก�ำหนด ตัวบทแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วผู้อ่านคงจ�ำได้ว่าการจ�ำน�ำประทวนสินค้า
และใบรับของคลังสินค้านัน้ จะต้องระบุกำ� หนดเวลาหนีถ้ งึ ก�ำหนดไว้ดว้ ยเป็นช�ำระภายใน 3 เดือนหรือภายใน
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เป็นต้น หนี้บางรายอาจมิได้ก�ำหนดเวลาช�ำระเอาไว้ เช่น แดงยืมเงินด�ำ
น้องชาย 50,000 บาทเนือ่ งจากเป็นพีน่ อ้ งกันจึงไม่ได้กำ� หนดเวลาช�ำระหนีไ้ ว้แล้วแต่จะให้เมือ่ ใด ต่อมาแดง

น�ำสินค้าไปฝากไว้ในคลังและสลักหลังจ�ำน�ำประทวนให้แก่น้องชายเป็นจ�ำน�ำประกันหนี้เดิม โดยไม่ได้
ก�ำหนดเวลาช�ำระไว้เพราะความเกรงใจกัน กรณีเช่นนี้ต้องบอกกล่าวก�ำหนดเวลาให้แดงช�ำระหนี้ภายใน
มส

ก�ำหนดเวลาเสียก่อน เมื่อแดงไม่ช�ำระจึงจะท�ำค�ำคัดค้านและจากนั้นจึงจะให้นายคลังสินค้าขายสินค้าใน
คลังได้
2) การท�ำค�ำคัดค้าน เป็นวิธีการตามกฎหมายอย่างหนึ่ง แสดงว่าลูกหนี้ตามตราสารผิดนัด
เจ้าหนี้ไม่พอใจจะใช้สิทธิเรียกร้องท�ำนองเดียวกับการบอกกล่าวแต่เป็นทางการว่า “ค�ำคัดค้าน” ภาษา
อังกฤษใช้ protest
การคัดค้านนี้ ปพพ. มาตรา 961 ให้นายอ�ำเภอหรือผู้ทำ� การแทน หรือทนายความซึ่งได้รับ
อ�ำนาจเพื่อการนี้เป็นผู้ท�ำ

ส่วนทนายผู้ได้รับอ�ำนาจเพื่อการนี้นั้น ในต่างประเทศได้แก่ โนตารีปับลิค



ผู้ท�ำการแทนนายอ�ำเภอก็ได้แก่ ปลัดอ�ำเภอหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอ�ำนาจลงนามแทน

ส�ำหรับประเทศไทยมีกฎเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเกี่ยวกับการนี้มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
พ.ศ. 2470 เมื่อครั้งพระยาจินดาภิรมย์เป็นเสนาบดี กระทรวงยุติธรรมเรียกว่ากฎที่ 67 ให้อ�ำนาจอธิบดี
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นผู้อนุญาตให้ทนายความท�ำค�ำคัดค้านตั๋วเงินและตราสารท�ำนองนี้ได้ มีอายุ
ใบอนุญาตคราวละ 1 ปี ตลอดจนได้ออกแบบไว้ให้ด้วย แต่ไม่มีผู้นิยม ส่วนใหญ่มักจะเขียนไว้ในตั๋วเงินว่า
สธ
“ไม่ต้องคัดค้าน” เมื่อเขียนไว้อย่างนี้และก็ไม่ต้องคัดค้าน พอตั๋วเงินถึงก�ำหนดก็มักจะให้ทนายยื่นโนติส
หรือค�ำบอกกล่าวเป็นพิธีแล้วก็ฟ้องกันและศาลก็อ�ำนวยความยุติธรรมให้เป็นอย่างดีเสมอมา

5-70 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เหตุผลทีก่ ฎหมายให้บา้ นเมืองเข้ามายุง่ เกีย่ วด้วยในการท�ำค�ำคัดค้าน แทนทีจ่ ะให้ทนายหรือ


เจ้าตัวยืน่ ค�ำบอกกล่าวธรรมดาๆ ก็เนือ่ งจากคูส่ ญั ญาในตัว๋ เงิน และในการจ�ำน�ำเอกสารประทวนสินค้าและ
ใบรับของคลังสินค้านั้นมีคู่สัญญาหลายฝ่าย ไม่ใช่ 2 ฝ่ายดังในสัญญากู้ยืมหรือซื้อขายทั่วๆ ไป กฎหมาย
จึงให้ทำ� ตามแบบระเบียบเป็นทางการเรียกว่า protest เป็นหลักกฎหมายต่างประเทศไทยเราเอามาใช้แล้ว
ไม่นิยมกัน ทั้งนี้เห็นจะเป็นเพราะกฎหมายไทยในเรื่องหนี้ก�ำหนดไว้แล้วว่าเมื่อได้ก�ำหนดวันช�ำระหนี้ ไว้


แล้วลูกหนีต้ อ้ งช�ำระหนีภ้ ายในก�ำหนดนัน้ ถ้าไม่ชำ� ระได้ชอื่ ว่าผิดนัดเจ้าหนีใ้ ช้สทิ ธิเรียกร้องได้โดยไม่จำ� ต้อง
บอกกล่าว

มส
ตัวอย่างค�ำคัดค้าน
ที่ท�ำการอ�ำเภอเมืองกาฬสินธุ์
จังหวัดกาฬสินธุ์
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เนือ่ งด้วย นายแดง สีมว่ ง อยูบ่ า้ นเลขที่ 123 หมู่ 1 ต�ำบลล�ำพาน อ�ำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้ทรงประทวนสินค้าตามส�ำเนาที่แนบท้ายค�ำคัดค้านนี้ได้มาแจ้งว่า ลูกหนี้ตามประทวนสินค้าซึ่งปรากฏที่อยู่ใน
ประทวนดังกล่าวแล้ว มิได้ช�ำระหนี้ตามก�ำหนดในประทวน (หรือในค�ำบอกกล่าว) ประสงค์จะให้นายคลังสินค้า

น�ำทรัพย์ออกขายทอดตลาด และได้ร้องขอให้ทำ� ค�ำคัดค้านให้
เพราะฉะนั้นตามค�ำร้องดังกล่าวข้างต้นและโดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้า นายเก่ง ยิ่งอุดม ในฐานะ
นายอ�ำเภอโนนสะอาด จึงคัดค้านการไม่ช�ำระหนี้ตามประทวนดังกล่าวนั้น เพื่อสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงของผู้ทรง
มส

อันมีต่อผู้สลักหลังประทวนสินค้านั้น และบุคคลทั้งหลายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งปวง และเพื่อนายคลังสินค้าจะได้น�ำ


ทรัพย์ที่ฝากออกขายทอดตลาดได้ตามกฎหมายต่อไป
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการท�ำค�ำคัดค้านนี้รวมเป็นเงิน 500 บาท

(ลงชื่อ) เก่ง ยิ่งอุดม ผู้ท�ำค�ำคัดค้าน


นายอ�ำเภอ

ประทับตราประจ�ำต�ำแหน่งเป็นส�ำคัญ

จากนั้นผู้ท�ำค�ำคัดค้านจะมอบค�ำคัดค้านให้ผู้ขอและผู้ขอจะต้องรีบส่งค�ำบอกกล่าวการคัดค้านนั้น
ไปยังผู้ถูกคัดค้าน หรือลูกหนี้จ�ำน�ำ วิธีส่งนั้นจะเดินไปส่งให้ด้วยมือหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้
แต่ถ้าไม่ทราบภูมิล�ำเนาหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ แต่ถ้าไม่ทราบภูมิล�ำเนาเพราะเหตุที่ลูกหนี้
หนีหายหรือเหตุอนื่ ใด จะปิดส�ำเนาคัดค้านไว้ทเี่ ห็นได้งา่ ย ณ ทีว่ า่ การอ�ำเภอท้องทีท่ ลี่ กู หนีม้ ภี มู ลิ ำ� เนาครัง้
หลังสุดก็ได้
สธ

เก็บของในคลังสินค้า 5-71

นอกจากนัน้ กฎหมายให้ผทู้ รงบอกกล่าวการไม่ชำ� ระหนีไ้ ปยังผูส้ ลักหลังถัดตนขึน้ ไปและผูฝ้ ากด้วย


ภายใน 4 วันต่อจากวันคัดค้าน แล้วผู้สลักหลังแต่ละคนก็บอกกล่าวผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไปภายใน 2 วัน
นับแต่วันที่ตนได้รับค�ำบอกกล่าว บอกให้เขารู้เรื่องที่ตนได้รับค�ำบอกกล่าว และชื่อพร้อมที่อยู่ของผู้บอก
กล่าวคนก่อนๆ นั้นด้วยติดต่อกันไป จนกระทั่งถึงผู้ฝาก
ในกรณีที่ไม่ทราบภูมิล�ำเนาลูกหนี้นั้น เจ้าหนี้น่าจะประกาศหนังสือพิมพ์ แจ้งการคัดค้านแทนปิด


ส�ำเนาค�ำคัดค้านไว้ ณ ที่ว่าการอ�ำเภอจะได้บอกกล่าวแก่ผู้สลักหลังคนก่อนๆ ซึ่งไม่ทราบที่อยู่ ถ้าหากมี
ด้วย

มส
1.2 การขายทอดตลาดสินค้าทีจ่ ำ� น�ำ การขายทอดตลาดนัน้ กฎหมายบังคับให้ผทู้ รงบอกสถานที่
ขายทรัพย์แก่ผู้ฝากทราบ ตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 791 ความว่า “ผู้ทรงประทวนสินค้าต้องมี
จดหมาย บอกกล่าวให้ผู้ฝากทราบเวลาและสถานที่จะขายทอดตลาด”
มาตรานีร้ ะบุไว้แต่เพียงว่า ผูท้ รงประทวนสินค้าเป็นผูบ้ อกกล่าว ผูอ้ า่ นอาจสงสัยว่าแล้วผูท้ รงใบรับ
ของคลังสินค้าในฐานะผู้รับจ�ำน�ำไม่ต้องท�ำอย่างเดียวกันหรือข้อนี้ขอตอบว่า ผู้ทรงใบรับของคลังสินค้านั้น
เป็นผูร้ บั จ�ำน�ำคนหลัง เมือ่ ประทวนสินค้าได้สลักหลังจ�ำน�ำแล้วไม่คอ่ ยจะมีโอกาสบังคับจ�ำน�ำ เป็นแต่เพียง
ผู้คอยรับประโยชน์เมื่อเขาขายทรัพย์แล้วก็น�ำใบรับของคลังสินค้าไปยื่นขอรับเงินที่ค้างช�ำระอยู่แก่ตน
ภายหลัง ผู้ทรงประทวนสินค้าได้รับไปแล้วตามที่กล่าวไว้ใน ปพพ. มาตรา 792 วรรคสอง
ทีก่ ฎหมายให้ผทู้ รงบอกกล่าวให้ผฝู้ ากทราบ วัน เวลา และสถานทีข่ ายทอดตลาดสินค้านัน้ ก็เพือ่

ว่าผู้ฝากจะได้รักษาผลประโยชน์ของเขา เช่น บอกคนเข้าสู้ราคาเพื่อให้การขายได้ราคาดีขึ้น เพราะการ
ขายทอดตลาดนั้นเป็นการขายด้วยการประมูลราคา ถ้ามีคนเข้าสู้ราคาน้อยหรือผู้ซื้อสมคบกันให้ราคาตํ่า
มส

ผู้ฝากก็เสียหาย คือได้เงินไม่พอช�ำระหนี้ซึ่งตนจะต้องรับผิดในจ�ำนวนที่เหลือ
ค่าใช้จา่ ยในการบอกกล่าวก็ดี ค่าท�ำคัดค้านก็ดเี ป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึง่ ผูท้ รงมีสทิ ธิทจี่ ะหักไว้กอ่ น
รายการอื่นทั้งนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 253 (1)
บุคคลอื่นอาจบอกกล่าวได้เป็นการท�ำแทนผู้ทรงไปเช่น นายคลังก่อนจะเอาทรัพย์ออกขายทอด
ตลาด รู้ว่าผู้ทรงไม่ได้บอกผู้ฝาก นายคลังอยากจะให้ผู้ฝากรู้บ้าง จึงจดหมายบอกกล่าวให้ผู้ฝากรู้สถานที่
และวันเวลาขายทอดตลาด ย่อมจะใช้ได้ตามมาตรานี้

หนังสือพิมพ์อันเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไป

ที่กฎหมายให้บอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อความแจ้งชัดและเป็นหลักฐานที่แน่นอน ควร
จะส่งลงทะเบียนด้วยจะได้อ้างอิงเป็นหลักฐานยันผู้ฝากได้ ถ้าหาตัวไม่พบหรือย้ายที่อยู่ก็ให้ประกาศ

ผลของการมิได้บอกกล่าว กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ แต่เห็นได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากผู้ทรงใบ


ประทวนสินค้าละเลยต่อหน้าที่ ผู้ทรงซึ่งมีหน้าที่จะต้องรับผิดต่อผู้ฝากในความเสียหายซึ่งผู้ฝากได้รับ
ตัวอย่าง 1 แดงผู้ทรงประทวนสินค้าได้บังคับจ�ำน�ำโดยมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้แก่ผู้ฝากทราบ
สถานที่ และวันเวลาขายทอดตลาด ผู้ฝากจึงไม่ได้ไปรักษาประโยชน์ท�ำให้ขายทอดตลาดสินค้าได้ราคา
สธ
ตํ่ากว่าปกติไป 50,000 บาท ผู้ทรงจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจ�ำนวนนี้แก่ผู้ฝาก

5-72 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ผูฝ้ ากจะคัดค้านการขายทอดตลาดว่าไม่ชอบ ให้ขายใหม่นนั้ ไม่ได้ เพราะคนภายนอกเขาไม่รดู้ ว้ ย


ผู้ฝากอาจฟ้องเรียกค่าเสียหายและอายัดเงินที่ขายได้ ให้นายคลังช�ำระค่าเสียหายแก่ตนก่อนจะจ่ายให้แก่
ผู้ทรง ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก
ในกรณีที่ผู้ฝากมารู้ในภายหลังว่านายคลังจะเอาสินค้าออกขายทอดตลาด ผู้ฝากควรจะมารักษา
ประโยชน์ของตนเอง จะมาสัง่ ห้ามไม่ให้นายคลังเอาสินค้าออกขายทอดตลาด เห็นจะไม่ได้ ถ้าผูฝ้ ากละเลย


ก็เรียกว่าผู้ฝากมีส่วนผิดด้วย จะเรียกค่าเสียหายจากผู้ทรงเต็มที่ไม่ได้
1.3 การจ่ายเงิน เจ้าหนีผ้ รู้ บั เงินจากการขายทรัพย์นนั้ คือ ผูท้ รงประทวน กับผูท้ รงใบรับของคลัง
สินค้า

ประการคือ มส
ก่อนอื่นขอให้เข้าใจในเบื้องต้นว่า การจ�ำน�ำนั้นเป็นประกันการช�ำระทั้งหนี้อันเป็นประธานและ
อุปกรณ์ หนี้อันเป็นประธานก็เช่น เงินยืม 50,000 บาท ส่วนอุปกรณ์นั้น ปพพ. มาตรา 748 จ�ำแนกไว้ 5

1) ดอกเบี้ย คือ ดอกเบี้ยของเงินต้น 50,000 บาทนั่นเอง อัตราเท่าใดแล้วแต่จะตกลงกัน


ซึ่งจะต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายก�ำหนด แต่ถ้าไม่ตกลงกันไว้ก็ได้ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7
ครึ่งต่อปี
2) ค่าสินไหมทดแทน ในการไม่ช�ำระหนี้ เช่น ค่าท�ำค�ำคัดค้านก่อนเอาทรัพย์ที่ฝากออก
ขายทอดตลาด ค่าทวงถาม
3) ค่าฤชาธรรมเนียม ในการบังคับจ�ำน�ำ เรียกอย่างภาษาธรรมดาว่า ค่าใช้จา่ ยในการบังคับ

จ�ำน�ำ เช่น ค่าขนของที่ฝากออกมาให้ประชาชนประมูลสู้ราคา ค่าป่วยการของคนขายและค่าคอมมิชชันที่
ผู้ขายคิดเอา เป็นต้น
มส

4) ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจ�ำน�ำ อันนีไ้ ด้แก่ ค่าฝาก ซึง่ นายคลังสินค้าจะต้องหักไว้


และ
5) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความช�ำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินจ�ำน�ำ
ซึ่งไม่เห็นประจักษ์ เช่น ของที่ฝากเป็นนํ้ายาเคมี ซึ่งเป็นอันตรายและผู้ฝากไม่ได้แจ้งให้นายคลังสินค้า
รู้ล่วงหน้า นายคลังจึงไม่ได้ระวัง นํ้ายาเคมีรั่ว ทรัพย์สินของนายคลังถูกนํ้ายาเคมีเสียหาย นายคลังมีสิทธิ
หักเงินที่ขายได้ไว้เป็นค่าเสียหายแก่ตนก่อนจ่าย
ส�ำหรับการจ่ายเงินนั้น ปพพ. มาตรา 792 บัญญัติไว้ว่าดังนี้ ม
“นายคลังสินค้าต้องหักเงินที่ค้างช�ำระแก่ตนเนื่องด้วยการเก็บรักษาสินค้านั้นจากจ�ำนวน
เงินสุทธิที่ขายทอดตลาดได้ และเมื่อผู้ทรงประทวนสินค้าน�ำประทวนมาเวนคืน ต้องเอาเงินที่เหลือนั้น
ให้ตามจ�ำนวนที่ค้างช�ำระแก่เขา
ถ้ามีเงินเหลือเท่าใด ต้องใช้แก่ผู้รับจ�ำน�ำคนหลังเมื่อเขาเวนคืนใบรับของคลังสินค้า หรือ
ถ้าไม่มีผู้รับจ�ำน�ำคนหลัง หรือผู้รับจ�ำน�ำคนหลังได้รับช�ำระหนี้แล้ว ก็ให้ช�ำระเงินที่เหลืออยู่นั้นให้แก่
ผู้ทรงใบรับของคลังสินค้า”
สธ
ความในมาตรานีพ้ ดู ให้เข้าใจง่ายก็คอื ขายทรัพย์ได้เท่าใดให้หกั ค่าใช้จา่ ยไปก่อน คือค่าฤชา-
ธรรมเนียมในการบังคับจ�ำน�ำ เหลือเท่าใดเรียกว่าเงินสุทธิ แล้วนายคลังสินค้าจะหักเงินที่ค้างช�ำระแก่ตน
เหลือจากนั้นจึงจ่ายให้แก่ผู้ทรงใบประทวนซึ่งเป็นผู้รับจ�ำน�ำ หรือผู้สืบสิทธิของเขาเหลือจากนั้นจึงจ่ายให้

เก็บของในคลังสินค้า 5-73

แก่ผู้รับจ�ำน�ำคนหลังคือผู้รับจ�ำน�ำใบรับของคลังสินค้า เมื่อเขาเอาเอกสารดังกล่าวมาเวนคืนถ้ายังเหลืออยู่
อีกผู้ฝากจึงค่อยรับไป
ถ้าจ่ายให้ล�ำดับก่อนแล้วเงินหมดล�ำดับหลังก็ไม่ได้หรือได้เงินน้อยนิดเดียว นายคลังสินค้า
หักเงินที่ค้างช�ำระแก่ตนแล้วเหลือเพียง 100 บาท อย่างนี้ผู้ทรงประทวนก็ต้องรับไปเพียง 100 บาท ผู้รับ
จ�ำน�ำคนหลังและผู้ฝากย่อมจะไม่ได้รับ


กรณีได้เงินไม่คุ้มหนี้ การขายทอดตลาดนั้นมักได้ราคาตํ่า ถ้าประจวบกับสินค้าราคาตก
อาจขายได้เงินไม่พอช�ำระหนีผ้ ทู้ รงประทวนสินค้า หรือช�ำระหนีผ้ ทู รงประทวนสินค้าแล้วยังเหลือเงินไม่พอ

มส
ช�ำระหนี้ผู้รับจ�ำน�ำใบรับของคลังสินค้าก็ได้ ปพพ. มาตรา 793 บัญญัติวางหลักไว้ว่า “ถ้าจ�ำนวนเงินสุทธิ
ที่ขายทอดตลาดได้ไม่พอช�ำระหนี้แก่ผู้ทรงประทวนสินค้าไซร้ นายคลังสินค้าต้องคืนประทวนสินค้า
แก่เขา กับจดบอกจ�ำนวนเงินที่ได้ช�ำระลงไว้ในประทวนสินค้านั้นแล้วจดลงไว้ในสมุดบัญชีของตนด้วย”
ตั ว อย่ า ง แดงฝากสิ น ค้ า มู ล ค่ า 100,000 บาท ไว้ ใ นคลั ง สิ น ค้ า แล้ ว สลั ก หลั ง จ� ำ น� ำ
ประทวนสินค้านัน้ ไว้กบั ขาว 70,000 บาท ต่อมาขาวบังคับจ�ำน�ำ นายคลังขายสินค้าทีฝ่ าก หักรายจ่ายและ
ค่าฝากแล้วเหลือเงิน 70,000 บาท พอช�ำระหนี้แต่เงินต้น ดอกเบี้ยอีก 9,000 บาท ไม่ได้ชำ� ระ กรณีเช่น
นี้นายคลังสินค้าต้องปฏิบัติดังนี้
1) จดจ�ำนวนเงินที่ได้ช�ำระ 70,000 บาท ลงไว้ในประทวนสินค้า ลงลายมือชื่อไว้เสียด้วย
2) มอบประทวนสินค้านั้นให้แก่ผู้ทรงไปจะเอาไว้ไม่ได้
3) จดลงในสมุดบัญชีของตนด้วยว่าขายสินค้าได้เงินเท่าใด เสียค่าใช้จ่ายไปเท่าใด ค่าฝาก

เท่าใด เหลือเท่าใดซึง่ ไม่คมุ้ หนีผ้ ทู้ รงประทวน ตนได้จดแจ้งจ�ำนวนทีช่ ำ� ระลงในประทวนและได้มอบประทวน
นั้นให้แก่ผู้ทรงไปแล้ว
มส

เหตุผลที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ก็เนื่องจากว่าผู้ฝากและผู้สลักหลังต่อมา จะต้องรับผิดต่อ
ผู้ทรงส�ำหรับจ�ำนวนหนี้ที่ค้างช�ำระอยู่นั้น จะได้ใช้ประทวนสินค้าที่รับคืนมานั้นไล่เบี้ย
ถ้าผูร้ บั จ�ำน�ำใบรับของคลังสินค้าน�ำเอกสารดังกล่าวมาเวนคืนไม่มเี งินจ่ายให้เขา ก็ตอ้ งบันทึก
ให้ปรากฏบนเอกสารนัน้ ท�ำนองเดียวกัน ไม่เหมือนกับการจ�ำนองซึง่ กฎหมายบัญญัตไิ ว้ใน ปพพ. มาตรา
733 เป็นพิเศษว่า ถ้าบังคับจ�ำนองได้เงินไม่พอช�ำระหนี้ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด
แต่น่าสังเกตว่า ปพพ. มาตรา 793 นี้กล่าวถึงเฉพาะหนี้ตามใบประทวน ถ้าผู้ฝากจ�ำน�ำ

ใบรับสินค้าด้วยต่อมาบังคับจ�ำน�ำแล้วได้เงินพอช�ำระหนี้ในใบประทวน แต่ไม่พอช�ำระหนี้ของผู้ทรงใบรับ
ของคลังสินค้า จะท�ำอย่างไร ซึ่งอาจมีได้เหมือนกัน ข้อนี้เห็นได้ว่านายคลังสินค้าต้องปฏิบัติอย่างเดียวกับ
กรณีเงินไม่พอช�ำระหนี้ผู้ทรงประทวนสินค้าคือ นายคลังสินค้าจะต้องบันทึกจ�ำนวนเงินที่ได้ชำ� ระแก่ผู้ทรง
ใบรับของคลังสินค้า ลงลายมือชือ่ แล้วมอบใบรับของคลังสินค้าแก่ผทู้ รงไป แล้วจดแจ้งจ�ำนวนหนีท้ ไี่ ด้ชำ� ระ
แก่ใครต่อใครไปแล้วเท่าใดในสมุดบัญชีของตนด้วย
ที่ว่าลงลายมือชื่อนั้นตัวบทไม่ได้กล่าวไว้ แต่ตามหลักทั่วไปบุคคลใดจดแจ้งการได้ลงใน
เอกสารใด เพือ่ เป็นหลักฐานว่าการนัน้ ได้กระท�ำโดยชอบบุคคลนัน้ จะต้องลงชือ่ ก�ำกับไว้ให้ปรากฏ มิฉะนัน้
สธ
ก็จะมีการกล่าวอ้างในภายหลังว่าตนมิได้ท�ำ แต่ถ้ากรณีใดที่กฎหมายก�ำหนดให้ท�ำเป็นหนังสือ ผู้กระท�ำ
ต้องลงลายมือชื่อไว้ด้วย (ปพพ. มาตรา 9)

5-74 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. การไล่เบี้ย
การไล่เบี้ยตามรูปค�ำแปลว่าไล่เอาเงิน ทางกฎหมาย หมายถึงการเรียกให้ช�ำระหนี้ ขั้นต่อมา
ค�ำว่าเบี้ยนั้นหมายถึงเงิน การไล่เบี้ยของผู้ทรงประทวนสินค้าก็ท�ำนองเดียวกัน เมื่อรับช�ำระหนี้จากการ
ขายทอดตลาดได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว จึงหันไปไล่เอาจากลูกหนี้อื่นที่รับผิดต่อตน นัยก็คือผู้สลักหลัง


ประทวนสินค้า ซึ่งอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ จะไล่เอาจากผู้สลักหลังคนหนึ่งคนใดหรือทั้งหมดก็ได้
ความใน ปพพ. มีดังนี้
มาตรา 794 “ผู้ทรงประทวนสินค้ามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาจ�ำนวนเงินที่ยังค้างช�ำระนั้นแก่ผู้สลักหลัง

มส
คนก่อนๆ ทั้งหมดหรือแต่คนใดคนหนึ่งได้ แต่ต้องได้ขายทอดตลาดภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันคัดค้าน
อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องไล่เบี้ยเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันขายทอดตลาด”
เงื่อนไขในมาตรานี้มีว่า จะต้องขายทอดตลาดภายใน 1 เดือนนับแต่วันคัดค้าน ถ้าขายทอดตลาด
เมื่อพ้น 1 เดือนนับแต่วันคัดค้าน ก็หมายความว่าผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง เพราะฉะนั้นผู้ทรง
ต้องกระตือรือร้นให้มาก จะมาไล่เบี้ยเอาจากผู้สลักหลังไม่ได้
ตัวอย่าง 1 แดงสลักหลังประทวนสินค้าจ�ำน�ำไว้กับขาว ขาวสลักหลังจ�ำน�ำต่อให้เขียว เขียวจ�ำน�ำ
ต่อให้มว่ งหลังจากหนีถ้ งึ ก�ำหนดแล้วม่วงได้ทำ� ค�ำคัดค้าน และเร่งให้นายคลังเอาสินค้าทีจ่ ำ� น�ำออกขายทอด
ตลาด ได้เงินไม่พอช�ำระหนี้ นายคลังจึงจดแจ้งจ�ำนวนหนีท้ ชี่ ำ� ระแล้วไว้บนประทวน อย่างนีม้ ว่ งน�ำประทวน
นั้นไปฟ้องเรียกเงินที่เหลือรวมทั้งค่าป่วยการเอาจากแดง ขาวและเขียวได้จะฟ้องคนหนึ่งคนใด หรือฟ้อง

ทั้งหมดทุกคนพร้อมกันก็ได้
ตัวอย่าง 2 ข้อเท็จจริงตามตัวอย่างข้างต้น ม่วงบอกนายคลังเอาสินค้าออกขายทอดตลาด
มส

แต่นายคลังเผลอเรอท�ำให้ขายทอดตลาดช้ากว่าหนึง่ เดือน ม่วงจึงใช้สทิ ธิไล่เบีย้ เอาจากแดง ขาว และเขียว


ไม่ได้ แต่ม่วงเรียกเอาค่าเสียหายจากนายคลังสินค้าในฐานที่ท�ำให้ตนเสียสิทธิได้
การใช้สิทธิไล่เบี้ยนั้น ปพพ. มาตรา 795 บัญญัติว่า “บทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้
อันว่าตั๋วเงินนั้น ท่านให้ใช้ได้ถึงประทวนสินค้า และใบรับของคลังสินค้าซึ่งได้สลักหลังอย่างประทวน
สินค้านั้นด้วย เพียงที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะนี้” มาตรานี้ให้เอาบทบัญญัติในเรื่องตั๋วเงิน
มาใช้ได้เท่าทีไ่ ม่ขดั กันกับเรือ่ งนี้ คือเอาข้อความทีป่ รากฏบนเอกสารนัน้ เป็นส�ำคัญ อนึง่ สิทธิและหน้าทีต่ าม

ตั๋วเงินก็ได้

เอกสารดังกล่าวเป็นของเอกชนผู้เกี่ยวข้องกับตราสารนั้นเท่านั้น เพราะเหตุนั้นคู่สัญญาจึงอาจเขียน
ข้อยกเว้นความรับผิดไว้บนตราสารนั้นได้ เช่น เขียนไว้บนประทวนว่า “ไม่จ�ำต้องคัดค้าน” เหมือนดัง

ตัวอย่าง 3 แดงฝากสินค้าในคลัง ต่อมาแดงสลักหลังประทวนสินค้าจ�ำน�ำไว้กับขาว และเขียนไว้


ในค�ำสลักหลังว่า “ไม่ต้องคัดค้าน” ต่อมาขาวสลักหลังจ�ำน�ำต่อไปยังเขียวและเขียวจ�ำน�ำต่อให้ม่วง เมื่อ
หนีถ้ งึ ก�ำหนดแดงไม่ชำ� ระม่วงจึงบังคับจ�ำน�ำเหมือนอย่างการบังคับจ�ำน�ำทัว่ ๆ ไป โดยไม่ตอ้ งท�ำค�ำคัดค้าน
เทียบได้กับ ปพพ. มาตรา 915, 964 ในเรื่องตั๋วเงิน ได้เงินไม่พอช�ำระหนี้ กรณีเช่นนี้ ม่วงย่อมไล่เบี้ยเอา
สธ
แก่ขาว เขียว และแดงได้

เก็บของในคลังสินค้า 5-75

ตัวอย่าง 4 กรณีตามตัวอย่าง 3 ในการที่แดงสลักหลังจ�ำน�ำประทวนสินค้าไว้กับขาวนั้น คู่กรณี


ตกลงกันเขียนลงในประทวนว่า “ให้ขายทอดตลาดหลัง 1 เดือนหลังคัดค้านได้” กรณีเช่นนี้แม้จะได้น�ำ
สินค้าออกขายทอดตลาดภายหลัง 1 เดือนหลังท�ำค�ำคัดค้าน ก็ไม่ท�ำให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจาก
ผู้สลักหลังก่อนตน
ตัวอย่าง 5 แดงสลักหลังประทวนสินค้าจ�ำน�ำด�ำและได้เขียนห้ามสลักหลังต่อไป ต่อมาด�ำสลักหลัง


ประทวนนัน้ ต่อไปยังขาว ต่อมาขาวบังคับจ�ำน�ำได้เงินไม่พอช�ำระหนีข้ าวจะมาไล่เบีย้ เอาจากแดงไม่ได้ โดย
อาศัย ปพพ. มาตรา 923 ในเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับโดยอนุโลม

มส
ตัวอย่าง 6 แดงสลักหลังประทวนสินค้าจ�ำน�ำไว้กับด�ำ ด�ำสลักหลังต่อให้ขาว และขาวสลักหลังต่อ
ไปยังม่วง ต่อมาม่วงบังคับจ�ำน�ำได้เงินไม่พอช�ำระหนีแ้ ละอุปกรณ์ ม่วงย่อมฟ้องไล่เบีย้ เอาจากแดง ด�ำ และ
ขาวได้ทกุ คน แดงจะต่อสูม้ ว่ งว่าตนได้ใช้หนีจ้ ำ� น�ำให้แก่ขาวแล้วจึงไม่ตอ้ งรับผิดต่อม่วงไม่ได้ เพราะ ปพพ.
มาตรา 916 ในเรื่องตั๋วเงินห้ามมิให้ยกข้อต่อสู้ระหว่างบุคคลขึ้นต่อสู้ผู้ทรง
ที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างการน�ำบทบัญญัติในเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับเรื่องเก็บของในคลังสินค้าโดย
อนุโลม ตัวอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้นอกจากนี้ยังมีมาก เช่น อาจมีข้อห้ามเปลี่ยนมือลงไว้ในใบรับของคลัง
สินค้าก็เป็นได้ กรณีเช่นนั้นต้องน�ำ ปพพ. มาตรา 917 มาใช้บังคับคือจะสลักหลังเอกสารใบรับของคลัง
สินค้าไม่ได้ หากจะซื้อขายสินค้ากันก็ซื้อขายอย่างธรรมดา นอกจากนั้นยังอาจมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้
หนีแ้ ทนลูกหนี้ ผูส้ ลักหลัง หรือผูฝ้ ากคนใดคนหนึง่ ซึง่ ใช้แทนได้กใ็ ห้เขียนระบุลงในประทวนให้ปรากฏ เมือ่

ผูท้ รงได้รบั ช�ำระหนีแ้ ล้วต้องส่งมอบเอกสารแก่เขาพร้อมด้วยค�ำคัดค้านหากมี ทัง้ นีโ้ ดยอาศัย ปพพ. มาตรา
957 ในเรื่องตั๋วเงินนั่นเอง
มส

การระงับของสัญญาฝากของในคลังสินค้า
บทบัญญัติแห่ง ปพพ. มาตรา 771 ได้บัญญัติให้น�ำบทบัญญัติในเรื่องฝากทรัพย์ มาใช้แก่กรณี
การฝากของในคลังสินค้า ดังนัน้ ในเรือ่ งการระงับของสัญญาฝากของในคลังสินค้าจึงต้องน�ำหลักเกณฑ์ใน
สัญญาฝากทรัพย์มาใช้บังคับ

กิจกรรม 5.3.4

2. ถ้าบังคับจ�ำน�ำแล้วได้เงินไม่คุ้มหนี้จะท�ำอย่างไร
3. การบังคับจ�ำน�ำจะต้องท�ำค�ำคัดค้านเสมอไปหรือไม่

1. การบังคับจ�ำน�ำสินค้าในคลังสินค้านั้นต่างกับการบังคับจ�ำน�ำทั่วๆ ไปอย่างไร

4. ท�ำไมกฎหมายจึงให้น�ำบทบัญญัติเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับแก่การรับของคลังสินค้าโดยอนุโลม
ค�ำว่าใช้อนุโลมคือใช้อย่างไร
สธ

5-76 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แนวตอบกิจกรรม 5.3.4
1. การบังคับจ�ำน�ำสินค้าในคลังนั้นเหมือนกับการบังคับจ�ำน�ำทั่วๆ ไปนั่นเอง คือเอาทรัพย์ที่ฝาก
ออกขายทอดตลาดเอาเงินมาช�ำระหนีแ้ ละอุปกรณ์ แตกต่างกับการบังคับจ�ำน�ำธรรมดาอยูต่ รงทีว่ า่ ต้องท�ำ
ค�ำคัดค้าน แทนที่จะบอกกล่าวบังคับจ�ำน�ำอย่างกรณีธรรมดา เว้นแต่จะเขียนยกเว้นไว้ให้ไม่ต้องท�ำค�ำ


คัดค้าน อีกประการหนึง่ นายคลังสินค้าเป็นผูข้ ายทอดตลาดแทนผูร้ บั จ�ำน�ำไม่เหมือนกับจ�ำน�ำทัว่ ๆ ไป ซึง่
ผู้รับจ�ำน�ำเป็นผู้ขายทอดตลาดทรัพย์เอง

มส
2. ถ้าได้เงินไม่คุ้มหนี้ ผู้ทรงก็มีสิทธิที่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาจากผู้สลักหลังส�ำหรับเงินที่ค้างช�ำระ แต่
ทั้งนี้ต้องได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเรื่องนี้
3. ถ้าไม่มขี อ้ ยกเว้นเขียนไว้บนประทวนสินค้าในขณะจ�ำน�ำ ปกติกต็ อ้ งท�ำค�ำคัดค้าน แต่ในสังคม
ธุรกิจเมืองไทยไม่คอ่ ยนิยมการท�ำค�ำคัดค้านจนกลายเป็นประเพณีไปเสียแล้วขณะนี้ อีกอย่างหนึง่ ในกรณี
ที่ผู้ทรงประทวนสินค้าได้ครอบครองทรัพย์สินที่จ�ำน�ำเสียเองในภายหลังต้องบังคับจ�ำน�ำโดยวิธีบอกกล่าว
เองอย่างธรรมดาก็ได้
4. ที่กฎหมายให้น�ำบทบัญญัติในเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับโดยอนุโลมก็เพราะประทวนสินค้าและ
ใบรับของคลังสินค้าเป็นตราสารแลกเปลี่ยนท�ำนองเดียวกับตั๋วเงิน
ค�ำว่าใช้บังคับโดยอนุโลมหมายความว่าดัดแปลงใช้เท่าที่พอใช้กันได้ ไม่ขัดกับบบัญญัติและ
เจตนารมณ์ของหมวดนี้

มส


สธ

เก็บของในคลังสินค้า 5-77

ตอนที่ 5.4
อายุความ
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.4 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
5.4.1 อายุความเรียกเอาสินค้าจากนายคลังสินค้า
5.4.2 อายุความไล่เบี้ยของผู้ทรงตราสาร
5.4.3 อายุความเรียกเอาบ�ำเหน็จ ค่าใช้จ่าย และค่าสินไหมทดแทน

1. ก ารฟ้องเรียกเอาสินค้าจากนายคลังสินค้า มิได้บญ
ทั่วไปโดยอนุโลม คือ ภายในเวลา 10 ปี
ั ญัตไิ ว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ

2. การฟ้องคดีนั้นผู้ทรงตราสารมีสิทธิจะไล่เบี้ยจากผู้สลักหลังตราสาร และผู้ฝากภายใน
เวลา 1 ปี นับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์

3. ความรับผิดเพือ่ ใช้เงินบ�ำเหน็จค่าฝาก ค่าใช้จา่ ย และค่าสินไหมทดแทนเกีย่ วกับการฝาก
ทรัพย์จะฟ้องร้องคดีได้ภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา
มส

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 5.4 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายอายุความเกี่ยวกับการฝากของในคลังสินค้าได้
2. วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับอายุความการเก็บของในคลังสินค้าได้
3. อธิบายอายุความเรียกเอาบ�ำเหน็จ ค่าใช้จ่ายและค่าสินไหมทดแทนได้

สธ

5-78 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 5.4.1
อายุความเรียกเอาสินค้าจากนายคลังสินค้า


การเรียกเอาสินค้าคืนจากนายคลังสินค้าผู้รับฝากนั้น กฎหมายในเรื่องฝากทรัพย์ไม่ได้บัญญัติไว้
เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 คือ 10 ปี นับแต่ขณะที่จะอาจบังคับสิทธิ

มส
เรียกร้องได้เป็นต้นไป คือขณะฝากทรัพย์นเี้ อง เพราะผูฝ้ ากมีสทิ ธิทจี่ ะถอนทรัพย์คนื ทุกเมือ่ แม้จะได้กำ� หนด
เวลาฝากไว้ก็ตาม ตามมาตรา 663 นายคลังจะอ้างอ�ำนาจปรปักษ์ต่อสู้ผู้ฝากไม่ได้ ตราบใดที่สัญญาฝาก
ยังอยู่ เพราะนายคลังครอบครองทรัพย์สินตามสัญญาหาใช่ครอบครองโดยเจตนาเพื่อตนไม่
อุทาหรณ์
ฎ. 349/2500 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฝากทรัพย์ไว้กับจ�ำเลยไว้แล้วน�ำมาฝากกันใหม่นั้น
เป็นการฝากกันใหม่ประจ�ำปี เรือ่ งอายุความไม่ตอ้ งค�ำนึงถึงส่วนทีจ่ ำ� เลยต่อสูว้ า่ ใช้สทิ ธิครอบครองเกินกว่า
10 ปี ได้สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งหมายความว่าจ�ำเลยยกอายุความปรปักษ์ ตาม ปพพ. มาตรา 1332 ขึ้น
เป็นข้อต่อสู้ จ�ำเลยหาได้อา้ งอายุความฝากทรัพย์ไม่ ศาลจึงยกขึน้ วินจิ ฉัยไม่ได้ เพราะต้องห้าม ตาม ปพพ.
มาตรา 193/30 ตัดสินให้จ�ำเลยคืนทรัพย์ให้โจทก์

กรณีนายคลังตาย ถ้านายคลังสินค้าตายลงจะใช้อายุความตามมาตรา 1754 วรรคสามหรือไม่
ความในวรรคนี้บัญญัติว่า “ภายในบังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้อง
ของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดก มีก�ำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นก�ำหนด
มส

หนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก”
ในกรณีทผี่ รู้ บั ฝากเป็นบุคคลธรรมดา ก็ตอ้ งเอาอายุความเรือ่ งมรดกมาใช้บงั คับ แต่ถา้ เป็นนิตบิ คุ คล
ก็ต้องน�ำอายุความที่เกี่ยวกับการเรียกร้องหนี้ ในกรณีที่นิติบุคคลสิ้นสภาพมาใช้บังคับ
อย่างไรก็ตาม การเก็บของในคลังสินค้านัน้ เป็นกิจการค้าขายทีก่ ระทบถึงความปลอดภัยและความ
ผาสุกของสาธารณสุข ตามที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น โอกาสที่บุคคลธรรมดาจะประกอบกิจการประเภทนี้

น่าจะยากมีแต่ นิติบุคคลมีแต่เลิกกัน ซึ่งจะต้องมีการช�ำระบัญชี กรณีเช่นนี้ผู้ฝากจะต้องฟ้องเรียกทรัพย์
คืนหรือเรียกค่าเสียหายภายใน 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการช�ำระบัญชี ตาม ปพพ. มาตรา 1272

กิจกรรม 5.4.1
1. จงให้เหตุผลเหตุใดเมื่อผู้รับฝากตาย อายุความจึงสั้นเข้า
2. ในกรณีทนี่ ายคลังสินค้าล้มละลาย ท่านคิดว่าสัญญาฝากสิน้ สุดลงหรือไม่ และควรจะฟ้องเรียก
สธ
คืนสินค้าในระยะเวลานานเท่าใด

เก็บของในคลังสินค้า 5-79

แนวตอบกิจกรรม 5.4.1
1. เหตุผลทีอ่ ายุความสัน้ เข้าในกรณีทผี่ รู้ บั ฝากตายนัน้ ก็เพราะว่าเมือ่ ผูร้ บั ผิดตายสัญญาฝากทรัพย์
สิ้นสุดลงประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ทายาททั้งหลายเขาจะต้องจัดการแบ่งปันมรดกกัน สมควรที่จะให้
เขาได้ช�ำระสะสางกองมรดกภายในเวลาอันไม่ยาวเกินไป กฎหมายจึงบัญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 1754


วรรคสามให้เจ้าหนี้เรียกร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก มิฉะนั้นก็จะเป็นภาระแก่
ทายาทซึ่งมีมีหน้าที่โดยไม่จ�ำเป็น

มส
2. ในกรณีนายคลังสินค้าล้มละลายนัน้ กฎหมายมิได้บญ ั ญัตใิ ห้สญ
ั ญาฝากทรัพย์นนั้ สิน้ สุดลงอย่าง
ในกรณีตวั แทน เพราะฉะนัน้ เราจะตีความว่าสัญญาฝากสิน้ สุดลงนัน้ ไม่ได้ อย่างไรก็ตามเจ้าพนักงานพิทกั ษ์
ทรัพย์อาจบอกเลิกสัญญาเสียได้ ตามกฎหมายล้มละลาย การเรียกคืนทรัพย์สินก็น่าจะเป็นไปตามหลัก
ทั่วไปคือ 10 ปี

เรื่องที่ 5.4.2
อายุความไล่เบี้ยของผู้ทรงตราสาร

มส

อายุความส�ำหรับผูท้ รงตราสาร หมายถึง ผูท้ รงประทวนสินค้าทีไ่ ด้มกี ารจ�ำน�ำฟ้องไล่เบีย้ นัน้ ปพพ.


มาตรา 794 บัญญัติไว้ในวรรคสองว่า “อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องไล่เบี้ยเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่ง นับแต่วันขาย
ทอดตลาด”
พึงเข้าใจว่าความในวรรคสองนี้สืบเนื่องจาก ปพพ. มาตรา 793 และมาตรา 794 วรรคหนึ่งคือ
หมายถึง ผู้ทรงที่ได้รับช�ำระหนี้ไม่ครบ เนื่องจากขายสินค้าในคลังได้เงินไม่คุ้มหนี้เท่านั้น
ตัวอย่าง แดงสลักหลังจ�ำน�ำประทวนสินค้าไว้กับขาว 50,000 บาท ขาวสลักหลังโอนสิทธิจ�ำน�ำ

สินค้าต่อให้เหลือง ต่อมาเหลืองบังคับจ�ำน�ำได้เงินเพียง 30,000 บาท นายคลังสินค้าจึงบันทึกจ�ำนวนเงิน
ที่จ�ำน�ำและมอบประทวนสินค้าให้เหลืองไป เหลืองมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากขาวผู้สลักหลังและแดงผู้ฝาก
แต่เหลืองต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ขาดทอดตลาดทรัพย์นั้น
มาตรานี้จะน�ำไปใช้กับขาวซึ่งจะไล่เบี้ยรองจากแดงไม่ได้ สิทธิของขาวที่จะไล่เบี้ยเอาจากแดงนั้น
เกิดขึ้นเมื่อขาวได้ใช้เงินให้แก่เหลืองไปแล้ว ซึ่งอาจเป็นเวลากว่าปีนับแต่วันขายทอดตลาดก็ได้
ผู้สลักหลังฟ้องไล่เบี้ยกันเอง กรณีเช่นนี้ก็เช่นตามตัวอย่างที่ 1 นั้น ถ้าขาวซึ่งได้ช�ำระหนี้ให้แก่
สธ
เหลืองไปแล้วมาไล่เบีย้ เอาจากแดงผูฝ้ ากซึง่ ได้สลักหลักประทวนสินค้าให้จำ� น�ำไว้กบั ตนนัน้ จะใช้อายุความ
เท่าใด

5-80 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ปพพ. มาตรา 795 ให้น�ำบทบัญญัติทั้งหลายในเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับกับเรื่องเก็บของในคลัง


สินค้าโดยอนุโลม เพราะฉะนัน้ ในกรณีทกี่ ฎหมายในเรือ่ งเก็บของในคลังสินค้ามิได้บญ ั ญัตไิ ว้ จึงน�ำเอาอายุ
ความในเรื่องตั๋วเงินมาใช้บังคับได้โดยอนุโลมด้วย
ปพพ. มาตรา 1003 “ในคดีผู้สลักหลังทั้งหลายฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายแห่ง
ตั๋วเงิน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน หรือ


นับแต่วันที่ผู้สลักหลังนั้นเองถูกฟ้อง” ตาม ปพพ. มาตรา 1003 นี้ แยกพิจารณาได้ดังนี้ คือ
1) ถ้าผูส้ ลักหลังถูกฟ้อง ผูส้ ลักหลังนัน้ ต้องฟ้องผูส้ ลักหลังคนก่อนภายใน 6 เดือน นับแต่วนั ทีต่ น

มส
ถูกฟ้องแม้ตนจะยังไม่ได้ช�ำระเงินให้ผู้ทรงก็ตาม
2) ถ้าไม่มีการฟ้องคดี แต่ผู้สลักหลังได้ใช้หนี้ให้แก่ผู้ทรงเองและถือเอาประทวนสินค้าหรือใบรับ
ของคลังสินค้านั้น 2 อย่างประกอบกัน ต้องได้ตั๋วเงินมาไว้ในมือด้วย และได้ใช้เงินด้วย
ผู้ทรงฟ้องตามหนี้เดิม ได้กล่าวมาแล้วว่า การจ�ำน�ำประทวนสินค้านั้นเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ของ
หนี้อันเป็นประธานซึ่งอาจเป็นเงินกู้ หรือซื้อขายหลายมือโดยประการหนึ่งประการใดก็ได้ถ้าผู้ทรงหลงลืม
ไปมิได้บังคับจนหนี้ตามตราสารขาดอายุความ ผู้ทรงก็ยังสามารถฟ้องตามหนี้เดิมได้ ปพพ. มาตรา 1005
ซึง่ บัญญัตไิ ว้มขี อ้ ความดังนี้ “ถ้าตั๋วเงินได้ท�ำขึ้นหรือได้โอนหรือสลักหลังไปแล้วในมูลหนี้ อันหนึ่งอันใด
และสิทธิตามตั๋วเงินนั้นมาสูญสิ้นไปเพราะอายุความก็ดี หรือเพราะละเว้นไม่ด�ำเนินการให้ต้องตามวิธี
ใดๆ อันจะพึงต้องท�ำก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังคงมีอยู่ตามหลักกฎหมาย อันแพร่หลายทั่วไป เท่าที่

ลูกหนี้มิได้ต้องเสียหายแต่การนั้น เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น”
มาตรานีส้ บื เนือ่ งมาจาก ปพพ. มาตรา 321 วรรคสาม ซึง่ บัญญัตใิ จความว่า “ถ้าการช�ำระหนีด้ ว้ ย
มส

ออก ด้วยโอนหรือด้วยสลักหลังตั๋วเงินหรือประทวนสินค้า หนี้นั้นจะระงับสิ้นไป ต่อเมื่อตั๋วเงินหรือ


ประทวนสินค้านัน้ ได้ใช้เงินแล้ว” เพราะฉะนัน้ ตราบใดทีห่ นีเ้ ดิมยังไม่ได้ชำ� ระเต็มจ�ำนวนจากประทวนสินค้า
ที่จำ� น�ำเป็นประกัน ลูกหนี้ก็ยังจะต้องรับผิดอยู่นั่นเอง
ตัวอย่าง แดงกูเ้ งินด�ำ 50,000 บาท ต่อมาแดงไม่ขอผ่อนหนีแ้ ละสลักหลังประทวนสินค้าฉบับหนึง่
ไว้เป็นจ�ำน�ำ ถ้าบังคับจ�ำน�ำขายสินค้าได้เงินช�ำระหนี้เพียง 30,000 บาท ด�ำย่อมฟ้องตามสัญญากู้เรียก
เอาเงิน 20,000 บาท ที่เหลือได้ภายใน 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30

น่าสังเกตว่า ปพพ. มาตรา 1005 นี้ ให้ผู้ทรงฟ้องเรียกตามหนี้เดิมได้เท่าที่ลูกหนี้ไม่เสียหาย
ตัวอย่างค่อนข้างจะหายาก เพราะเป็นหนี้เขาทั้งนี้ถึงเวลาเขามาเรียกเอาจะว่าตนเสียหายได้อย่างไร จะมี
ดังตัวอย่างต่อไปนี้หรือไม่ยังสงสัยอยู7่
สธ

7 เสนีย์ ปราโมช คำ�อธิบายกฎหมายตั๋วเงิน พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร ผดุงไทย พ.ศ. 2499 น. 241.



เก็บของในคลังสินค้า 5-81

กิจกรรม 5.4.2
1. ผู้ทรงฟ้องไล่เบี้ยกับผู้สลักหลังฟ้องกันเองใช้อายุความเหมือนกันหรือต่างกัน
2. แดงผู้ฝากได้สลักหลังจ�ำน�ำประทวนสินค้าไว้กับขาวประกันหนี้เงินกู้ซึ่งแดงยืมไปซื้อสินค้า
ดังกล่าว ขาวบังคับจ�ำน�ำ แต่ได้เงินไม่คมุ้ หนี้ ขาวจะฟ้องเรียกเงินทีเ่ หลือจากแดงได้ภายในอายุความเท่าใด


แนวตอบกิจกรรม 5.4.2

มส
1. ผูท้ รงฟ้องไล่เบีย้ เอาเงินทีค่ า้ งช�ำระตามประทวนสินค้านัน้ ใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วนั ขายทอด
ตลาด ตาม ปพพ. มาตรา 795 แต่ถ้าผู้สลักหลังฟ้องกันเอง ใช้อายุความ 6 เดือน ตาม ปพพ. มาตรา
1003 นับแต่วันถูกฟ้องหรือวันที่ผู้นั้นเข้าใช้เงินและรับเอาประทวนสินค้ามา
2. ขาวเลือกฟ้องได้ 2 ทางคือ ถ้าฟ้องตามประทวนสินค้าต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วนั ขายทอด
ตลาด แต่ถ้าขาวไม่ฟ้องตามประทวนสินค้า แต่ฟ้องตามสัญญากู้ ขาวฟ้องได้ใน 10 ปีนับแต่วันกู้

เรื่องที่ 5.4.3

อายุความเรียกเอาบ�ำเหน็จ ค่าใช้จ่าย และค่าสินไหมทดแทน
มส

เนือ่ งจากการเก็บของในคลังสินค้า ไม่มบี ทบัญญัตเิ ป็นพิเศษเกีย่ วกับเรือ่ งอายุความ ดังนัน้ จึงต้อง


ใช้อายุความทั่วไปในเรื่องการฝากทรัพย์มาใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาดัง ปพพ. มาตรา 671 ซึ่งบัญญัติว่า
“ในข้อความรับผิดเพื่อใช้เงินบ�ำเหน็จค่าฝากทรัพย์ก็ดี ชดใช้ค่าใช้จ่ายก็ดี ใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับ
การฝากทรัพย์ก็ดี ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นก�ำหนดหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา”
สิทธิเรียกร้องตามมาตรานี้ เริ่มนับเมื่อสัญญาฝากทรัพย์สิ้นสุดลง ซึ่งมีอยู่ 2 ประการ คือ

1. โดยผลของกฎหมาย เช่น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย หรือเลิกนิติบุคคลหรือสินค้าที่ฝาก
สูญหาย เช่น ไฟไหม้โกดังและสินค้าที่ฝาก หรือสัญญาฝากทรัพย์นั้นกลายเป็นผิดกฎหมาย เช่น สินค้าที่
ฝากนั้น ต่อมาทางการถือว่าเป็นของผิดกฎหมาย หรือสัญญาฝากนั้นกลายเป็นพ้นวิสัย เช่น ทางการยึด
เอาสินค้าทีฝ่ ากไปเพือ่ ป้องกันประเทศระหว่างสงคราม เป็นต้น กรณีหนึง่ กรณีใดทีก่ ล่าวมานีเ้ กิดขึน้ สัญญา
ฝากทรัพย์ย่อมสิ้นสุดลง
2. โดยเจตนาของคูก่ รณี คูก่ รณีอาจวางเงือ่ นไขหรือเงือ่ นเวลาให้สญ
ั ญาสิน้ สุดลงไว้อย่างหนึง่ อย่าง
สธ
ใดก็ได้ เช่น แดงฝากทรัพย์ไว้กบั บริษทั โกดังทองมีกำ� หนด 2 เดือน ครบสองเดือนแล้วให้ถอื ว่าสัญญาฝาก
ทรัพย์สิ้นสุดลง อย่างนี้ก็ต้องเป็นไปตามนั้น หรือผู้ฝากถอนสินค้าเสีย สัญญาฝากก็สิ้นสุดลงเหมือนกัน

5-82 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตัวอย่าง 1 แดงฝากสินค้าไว้กับบริษัทโกดังทอง แดงถอนสินค้ามาแล้วไม่จ่ายค่าฝาก บริษัทเห็น


ว่าแดงเป็นลูกค้าประจ�ำจึงยอมให้เอาสินค้าไป ต่อมาอีก 6 เดือนเศษ บริษัทเรียกเอาค่าฝากแดงไม่ให้
บริษัทจึงฟ้อง แดงต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ กรณีเช่นนี้ศาลต้องยกฟ้อง
ตัวอย่าง 2 แดงฝากนํ้ายาเคมีไว้กับบริษัทโกดังทองโดยไม่ได้บอกเป็นนํ้ายาเคมี ต่อมานํ้ายาเคมี
ระเบิดไฟไหม้โกดัง กรณีเช่นนี้ทรัพย์ที่ฝากไม่มีแล้ว สัญญาฝากย่อมสิ้นสุดลง ต่อมาอีก 7 เดือนมีบริษัท


อื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายอ้างว่าเป็นละเมิด แดงต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ศาลต้องตัดสินใจให้จ�ำเลย
ชนะคดี เพราะฟ้องโจทก์ยื่นเกิน 6 เดือนนับแต่สัญญาสิ้นสุดลง

มส
ขอให้สงั เกตด้วยว่าการทีผ่ ฝู้ ากเรียกสินค้าคืนจากนายคลังสินค้า ถ้าคืนไม่ได้กใ็ ห้ใช้ราคานัน้ ไม่ใช่
ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืออายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30
ตัวอย่าง 3 แดงฝากกระบือไว้กบั บริษทั สัตวบาลเอ็กซ์ปอร์ต ซึง่ จัดการเตรียมฉีดวัคซีนส�ำหรับสัตว์
ที่จะส่งนอก บริษัทได้ฉีดวัคซีนเสียค่าให้อาหารสัตว์ และค่าบริการรวมเป็นเงิน 5,000 บาท หลังจากแดง
ส่งสัตว์ออกนอกแล้ว 8 เดือน บริษัทฟ้องเรียกค่าบริการที่ว่านั้น แดงต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เกิน 6 เดือนนับแต่
สัญญาฝากสิ้นสุดลง ศาลต้องตัดสินให้แดงชนะคดี เพราะโจทก์ฟ้องเกิน 6 เดือน ขาดอายุความแล้ว
อายุความ 6 เดือนนี้ไม่ใช่บังคับกรณีที่นายคลังยึดหน่วงสินค้าของผู้ฝากไว้เป็นประกันเงินที่
เกี่ยวค้าง นายคลังอาจยึดไว้เกิน 6 เดือน หลังจากสัญญาฝากสิ้นสุดลงก็ได้ กรณีเช่นนี้แม้หนี้จะขาดอายุ
ความก็ยังบังคับเอาจากทรัพย์ที่ยึดหน่วงไว้ได้

ตัวอย่าง แดงฝากสินค้าไว้กบั บริษทั โกดังทอง ถึงเวลาถอนสินค้าไม่ชำ� ระค่าบริการแต่ยอมให้บริษทั
ยึดหน่วงสินค้าไว้สว่ นหนึง่ เป็นประกันเงินทีค่ า้ งช�ำระ กรณีเช่นนี้แม้หนี้นนั้ จะขาดอายุความแล้วบริษัทก็ยัง
ยึดหน่วงไว้ได้ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ช�ำระหนี8้ และบังคับช�ำระหนี้เอาจากสินค้านั้นได้
มส

มีตัวอย่างในเรื่องฝากทรัพย์เกี่ยวกับอายุความที่นำ� มาใช้ในเรื่องเก็บข้องในคลังสินค้าได้
อุทาหรณ์
ฎ. 2185/2519 กรณีฝากทรัพย์แล้วทรัพย์ทฝี่ ากได้หายไป มิใช่เป็นเรือ่ งทีผ่ รู้ บั ฝากทรัพย์ทำ� ละเมิด
จึงไม่ใช่อายุความ 1 ปี และไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ปพพ. มาตรา 671
ที่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา ต้องใช้อายุความสิบปี ตาม ปพพ. มาตรา 164
(ปัจจุบนคือมาตรา 193/30) ในการใช้ราคาทรัพย์ ม
ฎ. 301/2520 ผู้เอาประกันฝากรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับจ�ำเลย รถหายไป ผู้รับประกันภัยใช้
ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ได้รับช่วงสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจ�ำเลยให้ใช้ราคาที่ฝากจ�ำเลยไว้ กรณีไม่ใช่
เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 671 แต่เป็นการเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์
อายุความ 10 ปี
ฎ. 991/2521 ฟ้องให้ผรู้ บั ฝากรถใช้คา่ ซ่อมรถทีเ่ สียหายเพราะความผิดของผูร้ บั ฝาก เป็นฟ้องเรียก
ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ ต้องห้ามมิให้ฟ้องเกิน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา คือวันที่
สธ
ผู้ฝากรับรถคืน

8 การใช้สิทธิยึดหน่วงได้ทำ�ให้อายุความสะดุดหยุดลง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 248



เก็บของในคลังสินค้า 5-83

ฎ. 3517/2525 เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัว


ทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินค้าไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์
ตาม ปพพ. มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ โดยเฉพาะจึงมีก�ำหนด 10 ปี ตาม
ปพพ. มาตรา 164 (ปัจจุบันคือมาตรา 193/30)


กิจกรรม 5.4.3

มส
การใช้สิทธิยึดหน่วงท่านเข้าใจว่าอย่างไร อย่างเดียวกับจ�ำน�ำหรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 5.4.3
การใช้สิทธิยึดหน่วงนั้นเป็นการใช้อ�ำนาจตามกฎหมายยึดเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เพื่อหน่วงให้
เขาใช้หนี้ เป็นการกระท�ำโดยพลการ ซึ่งต่างกับการจ�ำน�ำซึ่งเป็นเรื่องสัญญาที่ลูกหนี้เต็มใจให้เจ้าหนี้ยึด
สิ่งของไว้เป็นประกันหนี้

มส


สธ

5-84 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บรรณานุกรม

นงเยาว์ ชัยเสรี. (2519). ธุรกิจการเงินภาคต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


เสนีย์ ปราโมช. (2499). ค�ำอธิบายกฎหมายตั๋วเงิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ผดุงไทย.
สุปัน พูลพัฒน์. (2532). ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์นิติ

มส
บรรณาการ.

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-1

หน่วยที่ 6
ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน


อาจารย์ ดร.ประพันธ์ ทรัพย์แสง

มส

มส

ชื่อ
วุฒิ
อาจารย์ ดร.ประพันธ์ ทรัพย์แสง
น.บ. (เกียรตินิยมดีมาก), นบท.

ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง
น.ด. (กิตติมศักดิ์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สธ
ต�ำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 6

ปรับปรุงจากต้นฉบับเดิม หน่วยที่ 6 ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน รองศาสตราจารย์กฤตยชญ์ ศิริเขต



6-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจ�ำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 6 ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน

ตอนที่

แนวคิด
มส
6.1 ความรู้เบื้องต้นของสัญญาตัวแทน
6.2 ชนิดของตัวแทน

1. ส ัญญาตัวแทนมีความส�ำคัญในทางพาณิชย์เพราะท�ำให้เกิดความสะดวกในทางการค้า ท�ำให้
บุคคลสามารถท�ำกิจการแทนกันได้โดยไม่กระทบกระเทือนถึงความรับผิดในทางกฎหมาย
2. ธรรมเนียมประเพณีในทางการค้าสามารถน�ำมาใช้กบั สัญญาตัวแทนได้ เพราะกฎหมายตัวแทน

นั้นมีวิวัฒนาการมาจากธรรมเนียมประเพณีทางการค้าในสมัยก่อน
3. ชนิดของตัวแทนแบ่งแยกตามอ�ำนาจหน้าทีข่ องตัวแทน ซึง่ มีผลต่อความรับผิดของตัวแทนต่อ
ตัวการและต่อบุคคลภายนอก
มส

4. ในบางกรณีบุคคลอาจเป็นตัวแทนโดยผลของกฎหมายได้ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอก
ผู้สุจริตมิให้ได้รับผลเสียหายจากความส�ำคัญผิดอันเนื่องมาจากการกระท�ำของบุคคลที่แสดง
ตัวเชิดตัวเองเป็นตัวแทนของบุคคลอื่นหรือเชิดบุคคลอื่นเป็นตัวแทนของตน

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 6 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความเป็นมาและประโยชน์ของกฎหมายตัวแทนได้
2. อธิบายหลักเกณฑ์การก่อสัญญาตัวแทนได้
3. อธิบายความแตกต่างของตัวแทนแต่ละชนิดได้
4. วินิจฉัยปัญหาลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทนได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
สธ
1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 6
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 6.1-6.2
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-3

4. ฟังซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
6. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
7. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 6


สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2.
3.
4.
5.
มส
แบบฝึกปฏิบัติ
ซีดีเสียงประกอบชุดวิชา
รายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบประจ�ำภาคการศึกษา

มส

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 6 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป


สธ

6-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 6.1
ความรู้เบื้องต้นของสัญญาตัวแทน
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 6.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
6.1.1 ความเป็นมาของกฎหมายตัวแทน
6.1.2 หลักเกณฑ์การก่อสัญญาตัวแทน

1. ก ฎหมายตัวแทนมีวิวัฒนาการมาจากธรรมเนียมประเพณีทางการค้าที่ยึดถือกันมาเป็น
เวลานาน
2. สญั ญาตัวแทนเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึง่ ดังนัน้ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์โดยทัว่ ไปของ
นิติกรรมสัญญาด้วย คือมีคู่สัญญา มีค�ำเสนอค�ำสนองตรงกัน มีวัตถุประสงค์ ความ
สามารถในการท�ำนิติกรรมและแบบ

3. สัญญาตัวแทนมีลักษณะเฉพาะ คือมีการมอบอ�ำนาจให้ท�ำการแทนกัน เป็นสัญญา
ไม่ต่างตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนและเป็นสัญญาเฉพาะตัว
มส

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 6.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความเป็นมาและประโยชน์ของกฎหมายตัวแทนได้
2. อธิบายหลักเกณฑ์การก่อสัญญาตัวแทนได้
3. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของสัญญาตัวแทนได้

สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-5

เรื่องที่ 6.1.1
ความเป็นมาของกฎหมายตัวแทน


สัญญาตัวแทนเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึง่ ซึง่ บัญญัตไิ ว้ใน ปพพ. มาตรา 797 ถึงมาตรา 844
ซึง่ ส่วนใหญ่นำ� มาจากบทบัญญัตขิ องกฎหมายเรือ่ งตัวแทนของประเทศเยอรมนี ญีป่ นุ่ อังกฤษ และฝรัง่ เศส

มส
ซึ่งมักจะเป็นต้นแบบของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยทั่วไป กฎหมายพาณิชย์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ได้มี
วิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลานานร่วมสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช กฎหมายพาณิชย์ที่รู้จักกันเป็นฉบับแรก
คือ Law of Hammurabi (ฮัมมูราบี) วิวัฒนาการมาจากธรรมเนียมประเพณีทางการค้าซึ่งศาลได้
ตัดสินไว้และต่อมาก็ได้นำ� มารวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้น ปัจจุบันกฎหมายพาณิชย์มีแนวโน้มที่จะ
บัญญัติให้มีหลักเกณฑ์คล้ายกันเกือบทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าระหว่างประเทศ โดยมีการ
ท�ำสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศขึน้ เช่น ในกลุม่ ตลาดร่วมยุโรป (EEC) เป็นต้น ประมวลกฎหมาย
ทีบ่ ญ
ั ญัตขิ นึ้ ในระยะหลัง อย่างเช่น Uniform Commercial Code ของสหรัฐอเมริกา ซึง่ แม้วา่ จะเป็นการ
รวบรวมหลัก Common Law มาไว้เป็นประมวล แต่ในด้านนิติวิธีก็ยังยึดถือตามแบบประมวลกฎหมาย
ของภาคพืน้ ยุโรป ซึง่ มีรากฐานมาจากกฎหมายโรมัน แต่เดิมนัน้ กฎหมายโรมันไม่ยอมรับรูเ้ รือ่ งการท�ำการ

แทนกัน แต่ต่อมาโรมันก็ยอมรับในเรื่องการท�ำการแทนกันโดยถือเป็นจารีตประเพณี กฎหมายตัวแทนใน
รูปแบบสมัยใหม่ได้กำ� เนิดมาจากกฎหมายศาสนาในสมัยกลาง กฎหมายดังกล่าววางหลักเรื่องการท�ำการ
แทนไว้ ในอังกฤษก็เพิง่ รูจ้ กั เรือ่ งตัวแทนเมือ่ ศตวรรษที่ 13 นีเ้ อง อาจสรุปได้วา่ กฎหมายตัวแทนในปัจจุบนั
มส

แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มประมวลกฎหมายนโปเลียน ซึ่งมีฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน


กลุม่ เยอรมนี ซึง่ มีฟนิ แลนด์ สวีเดน และนอร์เวย์ และกลุม่ แองโกล-อเมริกนั ซึง่ มีสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
แต่ละกลุ่มแม้จะมีหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ในเรื่องตัวแทนคล้ายกัน แต่ในรายละเอียดยังมีความแตกต่างกันอยู่
กลุม่ ฝรัง่ เศสแบ่งเป็นตัวแทนโดยตรงและตัวแทนโดยทางอ้อม เยอรมนีแบ่งสัญญาฝ่ายเดียวกับสัญญาสอง
ฝ่าย ส�ำหรับแองโกล-อเมริกันนั้นอาจกล่าวได้ว่าเรื่องการจัดการงานนอกสั่งนั้นแทบจะไม่รู้จักเพราะถือว่า
เป็นสัญญาตัวแทนชนิดหนึ่งเท่านั้น
ความส�ำคัญและประโยชน์ของกฎหมายตัวแทนโดยทั่วไป

ในปัจจุบันนี้ธุรกิจการค้ามีโครงสร้างที่ใหญ่โตซับซ้อน บางแห่งมีลักษณะการจัดองค์กรประดุจดัง
องค์การระหว่างประเทศ เพราะจัดสายงานแบ่งเป็นส�ำนักงานสาขาครอบคลุมไปทั่วโลก การตัดสินใจรวม
อยู่ที่ศูนย์กลางที่ใดที่หนึ่ง มีการบังคับบัญชาเป็นล�ำดับชั้น ทั้งนี้เพราะความเจริญทางวิทยาการ การ
คมนาคมที่ก้าวหน้าสะดวกรวดเร็วและแนวความคิดแบบเสรีนิยมในทางเศรษฐกิจ เมื่อสภาพขององค์กร
ธุรกิจมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ลักษณะการบริหารโดยตรงของผู้ประกอบการจึงไม่อาจ
สธ
จะเป็นไปได้ ดังนั้นผู้ประกอบการเหล่านั้นย่อมต้องการคนใดคนหนึ่งที่ไว้วางใจได้ให้ท�ำการแทนในธุรกิจ
ต่างๆ ที่อยู่ในเครือขององค์กรธุรกิจนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อท�ำให้ธุรกิจต่างๆ ด�ำเนินไปได้อย่างราบรื่น มีการแบ่ง
สรรหน้าทีค่ วามรับผิดชอบโดยชัดเจน มีการท�ำการแทนกันได้ในบางครัง้ ธุรกิจบางประเภทต้องการบุคคล

6-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะเป็นพิเศษในการด�ำเนินการต่างๆ ธุรกิจการเป็นตัวแทนจึงพัฒนาขึน้ เพือ่ สร้างบุคลากร


ไว้รับใช้ธุรกิจต่างๆ ที่ก�ำลังเกิดขึ้นทุกวัน เช่น กิจการสั่งสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก กิจการด้านการเงิน
ระหว่างประเทศหรือกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ ฯลฯ เป็นต้น
นอกจากนี้ในบางกรณีผู้ด�ำเนินธุรกิจอาจไม่ต้องการเปิดเผยตัวเองด้วยเหตุผลที่ว่าถ้าคู่กรณีเปิด
เผยตัวให้รกู้ อ็ าจท�ำให้ฝา่ ยทีด่ ำ� เนินธุรกิจอยูด่ ว้ ยนัน้ ตัดสินใจเปลีย่ นแปลงราคาซือ้ ขายสินค้าหรือด�ำเนินการ


ใดๆ อันท�ำให้ธุรกิจของเขาได้เปรียบมากขึ้น ในกรณีเช่นนี้ตัวการก็อาจตั้งตัวแทนให้กระท�ำการแทนโดย
มิต้องเปิดเผยชื่อของตัวการให้ฝ่ายตรงข้ามรู้ หรือในบางกรณีมีความจ�ำเป็นที่จะต้องปกปิดชื่อหรือสถานะ

มส
ของตัวการไว้เป็นความลับ เพราะเหตุทตี่ วั การได้แก่รฐั บาลต่างประเทศ เช่น ระหว่างสงคราม รัฐบาลทีท่ ำ�
สงครามอาจตั้งตัวแทนให้ด�ำเนินการในเรื่องการจัดซื้ออาวุธหรือสิ่งอื่นๆ อันจ�ำเป็น โดยผู้ขายก็มิทราบว่า
ตนก�ำลังขายให้ใครเพราะตัวแทนนั้นจะปกปิดความลับ อันอ�ำนวยประโยชน์ต่อกิจการบริหารประเทศของ
รัฐบาลนั้นๆ เป็นอย่างยิ่ง
ในบางกรณีการขนส่งสินค้านั้นมีปัญหาและอุปสรรคโดยเฉพาะ เช่น วิธีการขนส่ง วิธีการทาง
ศุลกากร และค่าระวางบรรทุก สิง่ ต่างๆ เหล่านีจ้ ำ� เป็นต้องใช้ผรู้ อบรูห้ รือเชีย่ วชาญโดยเฉพาะมาด�ำเนินการ
ธุรกิจตัวแทนประเภทนี้จึงมีขึ้นตามท่าเรือหรือท่าอากาศยานอันเป็นคุณประโยชน์ต่อพ่อค้าเอง ตัวแทน
ประเภทนีเ้ รียกว่า ชิปปิง้ (Shipping Agent) ซึง่ มีความสามารถเฉพาะตัวและเป็นทีพ่ งึ่ ของผูท้ ำ� ธุรกิจการ
ค้าส่งออกหรือสัง่ เข้าเป็นอันมาก ประโยชน์ทวี่ งการธุรกิจได้รบั จากการมีตวั แทนจึงมีอยูอ่ ย่างมากในปัจจุบนั

แม้ในการด�ำเนินคดีในศาล ทนายความก็อยู่ในฐานะตัวแทนของโจทก์หรือจ�ำเลย และกฎหมายในเรื่องนี้
ก็ยอมให้มีการตั้งตัวแทนให้ด�ำเนินคดีแทนกันได้ อันแสดงให้เห็นถึงการยอมรับถึงความจ�ำเป็นและความ
มส

ส�ำคัญของตัวแทน ในการที่จะรักษาประโยชน์หรือสร้างความเป็นธรรมให้แก่ลูกความของตน เพราะการที่


ตนมีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะสามารถด�ำเนินการทางคดีความได้อย่างถูกต้อง
อนึง่ ในปัจจุบนั กฎหมายเรือ่ งตัวแทนของประเทศต่างๆ มีแนวโน้มทีจ่ ะก�ำหนดให้เป็นแบบเดียวกัน
มากขึน้ ทัง้ นีเ้ พราะกฎหมายตัวแทนเป็นประโยชน์มาก ในธุรกิจระหว่างประเทศยิง่ การคมนาคม การสือ่ สาร
เจริญมากขึน้ เท่าใดการค้าระหว่างประเทศก็จะเจริญมากขึน้ เป็นล�ำดับ ตัวแทนทีเ่ ข้าท�ำการแทนตัวการของ
ตนในการท�ำธุรกิจในต่างประเทศจึงควรทีจ่ ะใช้กฎหมายในรูปแบบกฎเกณฑ์เดียวกัน มิฉะนัน้ จะเกิดความ
ไม่สะดวกและเป็นอุปสรรคต่อการด�ำเนินธุรกิจดังกล่าว ม
ปัจจุบนั มีคำ� พูดถึง นอมินี (NOMINEE) ซึง่ มีคนจ�ำนวนมากยังไม่เข้าใจความหมาย รายงานการ
วิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องตัวแทนอ�ำพราง ที่เสนอส�ำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยรองศาสตราจารย์ปิยะนุช
โปตะวณิช พ.ศ. 2554 นิยามศัพท์วา่ “ตัวแทนอ�ำพราง” หรือ นอมินี (NOMINEE) หมายถึงบุคคลหรือ
นิตบิ คุ คลใดเข้าท�ำนิตกิ รรมใดแทนตัวการซึง่ เป็นคนต่างด้าว โดยอ�ำพรางการกระท�ำของตัวการซึง่ ไม่อาจ
ท�ำนิติกรรมนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งผู้ท�ำนิติกรรมแทนตัวการซึ่งไม่อาจท�ำนิติกรรมนั้นได้โดย
ชอบด้วยกฎหมาย หรือโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย โดยอาจจะอยู่ในรูปของบุคคลธรรมดา
สธ
หรือนิติบุคคล เช่น การให้คู่สมรส ซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแทน หรือการจัดตั้ง
บริษัทเพื่อถือหุ้นแทนคนต่างด้าว ด�ำรงสถานะอยู่อย่างคนไทย และอ�ำนาจในการบริหาร หรือครอบง�ำ
กิจการยังเป็นของคนต่างด้าว ทัง้ นีเ้ พือ่ อ�ำพรางการด�ำเนินการ หรือสถานะทีแ่ ท้จริง เช่น การถือครองทีด่ นิ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-7

แทนคนต่างด้าว การเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเพื่อเลี่ยงกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือการ


ตัง้ ตัวแทนอ�ำพรางซึง่ เป็นคนไทยถือหุน้ หรือถือครองทรัพย์สนิ ของนักการเมือง เพือ่ หลีกเลีย่ งการแจ้งบัญชี
ทรัพย์สินตามกฎหมาย เป็นต้น
ค�ำว่า Nominee ในภาษาอังกฤษที่ได้กล่าวมาข้างต้นหรือที่มักเรียกทับศัพท์ว่านอมินี ภายใต้
Black’s Law Dictionary หรือพจนานุกรมกฎหมายของแบล็กซึง่ เป็นพจนานุกรมประเภทหนึง่ ซึง่ จัดท�ำขึน้


เพื่อให้นิยามส�ำหรับบรรดาค�ำที่ใช้ในทางกฎหมายได้ให้ค�ำนิยาม นอมินีว่าหมายถึง บุคคลที่ถูกก�ำหนดให้
กระท�ำการแทนบุคคลอื่นซึ่งโดยทั่วไปใช้ในกรณีเฉพาะ และอาจหมายถึงคู่สัญญาซึ่งถือกรรมสิทธิ์ตาม

มส
กฎหมายที่ส�ำคัญเป็นพื้นฐานเพื่อประโยชน์ส�ำหรับบุคคลอื่นหรือบุคคลซึ่งได้รับหรือจ�ำหน่ายเงินเพื่อ
ประโยชน์ของบุคคลอื่น หรือผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งหรือบุคคลที่มีชื่อในการลงทะเบียน
เป็นเจ้าของหลักทรัพย์แทนบุคคลอื่นที่เป็นเจ้าของตัวจริงอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การใช้ค�ำว่านอมินีในภาษาอังกฤษนั้นมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับบริบทที่ใช้ใน
แต่ละเรื่องซึ่งอาจน�ำมาใช้ได้ในทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบได้เช่นกัน ทั้งนี้ พบว่ามีการใช้นอมินีเพื่อเป็น
เครือ่ งมือทีส่ อ่ ไปในทางทุจริตโดยเฉพาะการหลีกเลีย่ งการเสียภาษี การฟอกเงิน การถือครองกรรมสิทธิใ์ น
ทรัพย์สิน การเป็นตัวแทนถือหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
ส�ำหรับในกรณีของการเสียภาษีในสหรัฐอเมริกามีการกล่าวถึงนอมินไี ว้อย่างชัดเจนในคูม่ อื การเสีย
ภาษีของสรรพากร (Internal Revenue Manual) ซึง่ เป็นเอกสารทีส่ รรพากรจัดท�ำขึน้ เพือ่ อธิบายระเบียบ

หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการเสียภาษี ที่สอดคล้องกับประมวลรัษฎากร (Internal Revenue Code. 1986)
ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่ใช้ในการบังคับจัดเก็บภาษีของอเมริกา โดยคู่มือดังกล่าวให้นิยามไว้ว่า นอมินี คือ
มส

บุคคลทีถ่ กู ก�ำหนดให้กระท�ำการเพือ่ บุคคลอืน่ ซึง่ หากใช้ในบริบททีเ่ กีย่ วกับภาษีของรัฐบาลกลางแล้ว โดย


ทั่วไปจะหมายถึงบุคคลธรรมดาภายนอกซึ่งถือกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในทรัพย์ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีใน
ขณะที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนั้นได้ใช้และได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากทรัพย์สินนั้น หรือกล่าวได้ว่า
หมายความรวมถึงทรัพย์สินซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีเป็นเจ้าของโดยแท้จริง แม้ว่าบุคคลภายนอกดังเช่น
นอมินีจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายก็ตาม กล่าวโดยทั่วไปแล้ว บุคคลภายนอกซึ่งอยู่ในสถานการณ์
ที่มีการใช้นอมินีจะเป็นบุคคลธรรมดาอื่นหรือทรัสต์นั่นเอง ซึ่งในสถานการณ์ที่มีการใช้นอมินีมักเกี่ยวข้อง

กับการฉ้อโกงในการโอนกรรมสิทธิ์หรือการโอนทรัพย์สินของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเพื่อหลบเลี่ยงหน้าที่ต่างๆ
ตามกฎหมาย
ดังนั้นค�ำว่า NOMINEE ก็คือตัวแทนตาม ปพพ. นั่นเอง วัตถุประสงค์ของการใช้ NOMINEE
มองได้ทั้งทางสุจริตและทุจริต ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนทางธุรกิจ คล้ายกับเรื่องตัวแทนเชิด
ตาม ปพพ. มาตรา 821 หรือตัวแทนไม่เปิดเผยชื่อตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 806
ปพพ. ได้บัญญัติเรื่องตัวแทนไว้ในลักษณะ 15 ตั้งแต่มาตรา 797 ถึงมาตรา 844 และบทบัญญัติ
เรื่องตัวแทนยังน�ำไปใช้ในเรื่องต่างๆ ได้อีก หลายกรณี เช่น ปพพ. มาตรา 54, 60, 77, 399, 402, 1042,
สธ
1167, 1720 เป็นต้น บางกรณีกฎหมายก็บัญญัติคำ� ว่าตัวแทนไว้โดยเฉพาะ เช่น มาตรา 220 บัญญัติว่า
“ลูกหนี้ต้องรับผิดในความผิดของตัวแทนแห่งตน กับทั้งของบุคคลที่ตนใช้ในการช�ำระหนี้นั้น โดยขนาด
เสมอกับว่าเป็นความผิดของตนเองฉะนัน้ แต่บทบัญญัตแิ ห่งมาตรา 373 หาใช้บงั คับแก่กรณีเช่นนีด้ ว้ ยไม่”

6-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 6.1.1
กฎหมายตัวแทนมีความส�ำคัญและมีประโยชน์ต่อธุรกิจการค้าในปัจจุบันนี้อย่างไร จงอธิบายและ
ยกตัวอย่าง


แนวตอบกิจกรรม 6.1.1
มีความส�ำคัญเพราะท�ำให้มกี ารท�ำการแทนกันได้ในกิจการต่างๆ โดยมิได้เปลีย่ นแปลงความรับผิด

มส
ในทางกฎหมายของบุคคลและมีประโยชน์ตอ่ วงการธุรกิจ เพราะท�ำให้ผปู้ ระกอบการสามารถด�ำเนินกิจการ
ทีก่ ว้างใหญ่ทซี่ บั ซ้อนได้โดยผ่านทางตัวแทน และในบางกรณีกจิ การบางอย่างต้องใช้บคุ คลทีม่ คี วามสามารถ
เฉพาะด�ำเนินการได้ ตัวแทนสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าวได้ เช่น การด�ำเนินคดีใน
ศาลหรือการขนส่งสินค้า เป็นต้น

เรื่องที่ 6.1.2
หลักเกณฑ์การก่อสัญญาตัวแทน

มส

ปพพ. มาตรา 797 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า


ตัวแทน มีอ�ำนาจท�ำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะท�ำการดังนั้น
อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้”
สัญญาตัวแทนประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ
1. เป็นสัญญาที่ต้องใช้หลักเกณฑ์ของสัญญาทั่วไป
2. ลักษณะพิเศษของสัญญาตัวแทน

1. เป็นสัญญาซึ่งต้องอาศัยหลักเกณฑ์ของสัญญาทั่วไป

สัญญาตัวแทนเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึง่ ซึง่ บัญญัตไิ ว้ใน ปพพ บรรพ 3 แต่ตอ้ งใช้หลักเกณฑ์
ของสัญญาที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. บรรพ 1 และบรรพ 2 ด้วย กล่าวคือ
1.1 ต้องมีคู่สัญญา คูส่ ญ
ั ญาในสัญญาตัวแทนก็คอื ตัวการและตัวแทน ตัวการ ได้แก่ บุคคลทีต่ กลง
ให้ผอู้ นื่ กระท�ำกิจการในนามของตนเองภายใต้การควบคุมสัง่ การจากตน ส่วนตัวแทนก็ได้แก่บคุ คลทีร่ บั จะ
สธ
ท�ำกิจการแทนผู้อื่นภายใต้การควบคุมสั่งการของตัวการ เช่น นายแดงตกลงให้นายด�ำไปซื้อกระบือจาก
ตลาดโคกระบือเพือ่ เอามาไว้ไถนา นายแดงก็เป็นตัวการ ส่วนนายด�ำถ้าตกลงทีจ่ ะท�ำการดังกล่าวนัน้ ก็ได้
ชือ่ ว่าเป็นตัวแทนของนายแดง บุคคลทีเ่ ป็นคนธรรมดาหรือนิตบิ คุ คลก็ได้ไม่มกี ฎหมายห้าม (ฎ. 1361/2527)

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-9

อย่างไรก็ตามการเป็นตัวแทนนั้นมิใช่เพียงพิจารณาว่ามีการท�ำการแทนกันหรือไม่เท่านั้น แต่จ�ำเป็นต้อง
พิจารณาถึงเจตนาของคูส่ ญ ั ญาด้วยว่ามีเจตนาทีจ่ ะก่อสัญญาตัวแทนขึน้ หรือไม่ การพิจารณาเจตนาจะต้อง
พิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นรายๆ ไป ถ้าผู้ที่รับท�ำการแทนนั้นไม่มีเจตนาที่จะเป็นตัวแทนเพียงแต่ทำ� การ
งานให้ตามอัธยาศัยการสมาคม หรือท�ำกิจการร่วมกัน หรือการปฏิบตั ริ าชการด้วยกัน หรือการใช้สอยไหว้
วานกันไม่ใช่ตัวแทน


กรณีไม่เป็นตัวแทน
อุทาหรณ์

มส
ฎ. 600/2476 การที่บุคคลหนึ่งรับเงินมาจากโจทก์แล้วจัดการให้จ�ำเลยกู้ไปโดยใส่ชื่อโจทก์เป็น
ผู้ให้กู้ในหนังสือสัญญา เพียงเท่านี้ไม่พอจะถือว่าผู้นั้นเป็นตัวแทนโจทก์
ฎ. 273/2487 การที่ปลัดอ�ำเภอมอบฉันทะให้สารวัตศึกษาไปรับสลากกินแบ่งมาถือว่าต้องปฏิบัติ
ราชการด้วยกัน ไม่ถือว่าเป็นตัวการตัวแทนกัน เมื่อสารวัตศึกษายักยอกเงินสลากกินแบ่งนั้น ปลัดอ�ำเภอ
ไม่ต้องรับผิดชอบในฐานะตัวการตัวแทน
ฎ. 367/2489 เจ้าหน้าทีป่ ระตูนำ�้ ไม่ใช่ตวั แทนของกรมชลประทานในการชีเ้ ขตบริเวณประตูนำ �้ ใน
กรณีทเี่ จ้าของทีด่ นิ ข้างเคียงรังวัดขอสอบเขต การทีเ่ จ้าหน้าทีป่ ระตูนำ�้ ชีเ้ ขตไปโดยไม่ได้รบั มอบอ�ำนาจหรือ
มอบฉันทะจากกรมชลประทาน จึงไม่ผูกพันรัฐ
ฎ. 1176/2510 เจ้าของรถยนต์น�ำรถยนต์ไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถยนต์ เจ้าของรถยนต์วานช่างซ่อมรถ

ขับรถคันนัน้ ไปส่งทีอ่ นื่ เมือ่ ส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับอูไ่ ปเกิดชนกับรถจักรยานยนต์ของผูเ้ สียหาย
ระหว่างทาง ดังนี้ช่างซ่อมรถไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ ไม่ต้องร่วม
มส

รับผิดในการละเมิดนั้น
ฎ. 3049/2528 โจทก์ซื้อกระจกจากบริษัท ก. แล้วขายต่อไปให้บริษัท ม. อีกต่อหนึ่ง ไม่ปรากฏ
ว่าโจทก์เป็นผู้ท�ำการชี้ช่องหรือจัดการให้บริษัท ก. ได้เข้าท�ำสัญญากับผู้ใด หรือโจทก์ได้ขายกระจกแทน
บริษทั ก. และหนังสือสัญญาระหว่างโจทก์กบั บริษทั ก. ก็ระบุไว้ดว้ ยว่า ความสัมพันธ์ทงั้ สองฝ่ายไม่ใช่เป็น
ความสัมพันธ์ในทางตัวการตัวแทน แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โจทก์จึงมิได้เป็นนายหน้า
หรือตัวแทนของบริษัท ก.

ฎ. 1607/2532 โจทก์มอบพลอยจ�ำนวน 3 หมู่ให้จ�ำเลยไปขาย โดยก�ำหนดราคาขั้นต�ำ่ ไว้ จ�ำเลย
จะขายในราคาสูงกว่าก็ได้ เช่นนี้จ�ำเลยย่อมมีสิทธิขายพลอยอย่างเป็นของตนเองไม่ใช่เป็นตัวแทนในการ
ขายในนามของโจทก์ แม้จะมีข้อตกลงให้ค่าตอบแทนแก่จ�ำเลยเป็นเงิน 3 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่ขายได้
ก็ไม่ท�ำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ จ�ำเลยเปลี่ยนแปลงไป การที่จ�ำเลยไม่ยอมคืนพลอยหรือใช้เงินให้
โจทก์เป็นเพียงผิดข้อตกลงกันซึ่งโจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องแก่จ�ำเลยทางแพ่ง หาเป็นเรื่องที่มีความผิด
ในทางอาญาฐานยักยอกไม่
ฎ. 85/2540 จ�ำเลยที่ 1 ท�ำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 มีข้อตกลงให้จ�ำเลยที่ 2
สธ
และที่ 3 เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรร แล้วจ�ำเลยที่ 1 จะเป็นผู้น�ำที่ดินไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อ เมื่อ
ผู้เช่าซื้อช�ำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว จ�ำเลยที่ 1 จะน�ำเงินดังกล่าวช�ำระให้จ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจ�ำเลย
ที่ 2 และที่ 3 ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้เช่าซื้อ แสดงว่าจ�ำเลยทั้งสามได้ร่วมกันจัดสรรที่ดินเพื่อ

6-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

จ�ำหน่ายโดยแบ่งหน้าที่กันท�ำ มิใช่เป็นตัวการตัวแทน จ�ำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 โอน


กรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ด้วย
ฎ. 1521/2548 จ�ำเลยที่ 2 เป็นภรรยาของจ�ำเลยที่ 1 และร่วมกันตกลงว่าจ้างโจทก์ให้เป็นพยาน
ให้ค�ำปรึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีด้วย จ�ำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นผู้ร่วมว่าจ้าง กรณีมิใช่
เรื่องตัวการตัวแทน


กรณีที่เป็นตัวแทน
อุทาหรณ์

มส
ฎ. 890/2503 ผูเ้ สียหายไม่วา่ จะเป็นนิตบิ คุ คลหรือบุคคลธรรมดาย่อมมอบอ�ำนาจให้ฟอ้ งคดีอาญา
แทนได้ เมื่อผู้เสียหายมอบอ�ำนาจให้ฟ้องคดีอาญาแล้ว ผู้ที่รับมอบอ�ำนาจก็ย่อมลงชื่อในฟ้องแทนผู้มอบ
อ�ำนาจได้ไม่ขัดกับ ปวอ. มาตรา 158 (7)
ฎ. 33/2532 โจทก์มอบหมายให้จ�ำเลยซึง่ เป็นทนายความของโจทก์ในคดีกอ่ นมีอ�ำนาจรับเงินจาก
จ�ำเลยในคดีนั้นแทนโจทก์ได้ เมื่อจ�ำเลยรับเงินจากธนาคารซึ่งช�ำระหนี้แก่โจทก์แทนจ�ำเลยในคดีดังกล่าว
เงินทีจ่ ำ� เลยรับไว้จงึ ตกเป็นของโจทก์ จ�ำเลยเบียดบังเอาเงินนัน้ ไปเป็นประโยชน์สว่ นตนโดยทุจริต การกระท�ำ
ของจ�ำเลยเป็นความผิดฐานยักยอก โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอ�ำนาจฟ้องจ�ำเลยได้
ฎ. 4145/2533 เมื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ท�ำตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แล้ว จึงถือได้ว่าเป็นสัญญาที่ผูกพันเกี่ยวข้องกับคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายโดยสมบูรณ์ และเมื่อโจทก์ซื้อหุ้นให้

จ�ำเลยแล้ว โจทก์กย็ อ่ มมีสทิ ธิเรียกร้องให้จำ� เลยผูม้ คี ำ� สัง่ ซือ้ ชดใช้คา่ หุน้ ทีโ่ จทก์ได้ทดรองจ่ายไป เมือ่ จ�ำเลย
ช�ำระค่าหุ้นครบถ้วนและมีความประสงค์จะรับโอนหุ้นก็ย่อมท�ำได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1129 โจทก์ขอรับ
มส

ใบหุ้นพร้อมตราสารการโอนหุ้นซึ่งมีลายมือชื่อผู้ถือหุ้นเดิมในลักษณะการโอนลอยไปลงชื่อและจดแจ้งการ
โอนลงในทะเบี ย นผู ้ ถื อ หุ ้ น ได้ อั น เป็ น คนละขั้ น ตอนกั บ ขั้ น ตอนการซื้ อ ขายในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง
ประเทศไทย ฉะนั้นการซื้อขายหุ้นดังกล่าวที่โจทก์ซื้อแทนจ�ำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
คูส่ ญ
ั ญาตัวแทนนัน้ จะเป็นฝ่ายตัวการหรือตัวแทนอาจมีกคี่ นก็ได้ไม่จำ� เป็นว่าจะต้องมีเพียงสองคน
เช่น นายแดงตัวการอาจตั้งนายด�ำ นายขาว นายเขียว และนายเหลืองให้เป็นตัวแทนท�ำการใดการหนึ่ง
ร่วมกันแทนตนได้ หรือนายแดง นายด�ำ และนายเขียวอาจตัง้ ให้นายเหลืองและนายฟ้าร่วมกันเป็นตัวแทน
ให้ตนได้ คูส่ ญ
อุทาหรณ์

ั ญาในตัวแทนจึงอาจมีมากกว่าหนึง่ คนก็ได้และอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิตบิ คุ คลได้เช่นกัน

ฎ. 1759/2545 แม้ในสัญญากู้ยืมเงินจะระบุคณะกรรมการกองทุนผู้บริหาร ส�ำนักงานการประถม


ศึกษาเป็นผู้กู้ โดยมีจ�ำเลยเป็นผู้ลงนามในฐานะประธานกรรมการกองทุนฯ แต่เมื่อคณะกรรมการกองทุน
ดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่จะรับผิดต่อโจทก์ในฐานะบุคคลภายนอกส�ำหรับกิจการที่
จ�ำเลยกระท�ำไป ตาม ปพพ. มาตรา 820 จึงถือไม่ได้ว่า จ�ำเลยท�ำสัญญาแทนตัวการที่มีตัวอยู่จริง จ�ำเลย
จึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินตามล�ำพัง
สธ
ฎ. 5591/2551 บริษัทจ�ำเลยที่ 1 จัดตัง้ ขึ้นภายหลังจากที่จำ� เลยที่ 2 ท�ำสัญญากับโจทก์แล้ว แต่ได้
จัดตัง้ ขึน้ หลังจากท�ำสัญญาเพียงหนึง่ ปี โดยมีจำ� เลยที่ 2 เป็นกรรมการผูม้ อี ำ� นาจของจ�ำเลยที่ 1 แม้ไม่อาจ
ถือว่าจ�ำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจ�ำเลยที่ 1 ในการท�ำสัญญาเพราะขณะนั้นยังไม่มกี ารจัดตัง้ จ�ำเลยที่ 1 แต่

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-11

พฤติการณ์ที่ต่อมาจ�ำเลยที่ 1 ซึ่งมีจ�ำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอ�ำนาจกระท�ำการแทนได้รับและถือเอา


ประโยชน์จากการที่จำ� เลยที่ 2 ตกลงท�ำสัญญากับโจทก์โดยการจัดจ�ำหน่ายหนังสือนิยายของโจทก์ต่อไป
ถือว่าจ�ำเลยที่ 1 โดยจ�ำเลยที่ 2 ทราบ และผูกพันตามข้อตกลงในการจ�ำหน่ายนวนิยายให้เสร็จสิ้นภายใน
ระยะเวลา 2 ปีด้วย จ�ำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจ�ำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
การแสดงเจตนาเป็นตัวการตัวแทนนัน้ คือ ต้องมีคำ� เสนอค�ำสนองตรงกัน และการแสดงเจตนานัน้


ต้องไม่ตกเป็นโมฆะหรือเป็นโมฆียะ และอาจแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ การแสดงเจตนา
โดยชัดแจ้งอาจท�ำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาก็ได้ เช่น นายแดงแต่งตั้งนายขาวเป็นตัวแทนโดย

โดยชัดแจ้ง
มส
ท�ำสัญญาเป็นหนังสือหรือโดยบอกกล่าวตกลงกับนายขาวด้วยวาจา เช่นนีย้ อ่ มถือได้วา่ เป็นการแสดงเจตนา

การแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง
อุทาหรณ์
ฎ. 7314/2537 จ�ำเลยเป็นพนักงานของโจทก์และเป็นทนายว่าความให้โจทก์จึงถือว่าโจทก์เป็น
ตัวการและจ�ำเลยเป็นตัวแทน (แสดงว่าสัญญาตัวแทนซ่อนอยู่ในสัญญาจ้างท�ำของ)
ฎ. 514/2538 จ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสทิ ธิแต่งตัง้ ทนายความให้วา่ ความและด�ำเนินกระบวนพิจารณา
แทนได้ ตาม ปวพ. มาตรา 60 ซึง่ เป็นการแต่งตัง้ ตัวแทนมาตรา 797 และการแต่งตัง้ ผูใ้ ดเข้าเป็นทนายความ
ขึ้นอยู่กับความไว้วางใจของจ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นส�ำคัญ ฉะนั้นจ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีสิทธิขอถอน

ทนายความซึ่งเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 827 วรรคหนึ่ง หากทนายจ�ำเลยที่ 1 และที่ 2
เสียหายอย่างไร ชอบที่ว่ากล่าวเอาแก่จำ� เลยที่ 1 และที่ 2 ตามที่ ปพพ. มาตรา 827 วรรคสองให้สิทธิไว้
มส

ฎ. 4762-4763/2546 ตามสัญญาแต่งตัง้ ตัวแทนประกันชีวติ ทีโ่ จทก์ทงั้ สองท�ำกับบริษทั จ�ำเลย และ


ตามสัญญาแต่งตัง้ ผูบ้ ริหารตัวแทนประกันชีวติ ทีโ่ จทก์ที่ 1 ท�ำกับจ�ำเลย ระบุทำ� นองเดียวกันว่า ความผูกพัน
ระหว่างบริษัทกับผู้บริหารตัวแทนประกันชีวิตเป็นไปในฐานะตัวการกับตัวแทนรับมอบอ� ำนาจเฉพาะการ
เท่านั้น มิใช่ในฐานะบริษัทกับพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท การที่จ�ำเลยแต่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทน
ประกันชีวิตของจ�ำเลย โดยแต่งตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นผู้บริหารตัวแทนประกันชีวิต ด�ำรงต�ำแหน่งผู้จัดการเขต
โจทก์ทั้งสองกับจ�ำเลยมีเจตนาที่จะผูกพันต่อกันในฐานะเป็นตัวการกับตัวแทนตามบทบัญญัติใน ปพพ.

บรรพ 3 ลักษณะ 15 หาได้มีความประสงค์จะผูกพันกันอย่างลูกจ้างกับนายจ้างไม่ ถึงแม้โจทก์ที่ 1 จะมี
สิทธิได้คา่ ตอบแทนเป็นเงินเดือนและเงินสนับสนุนการขายงานก็ตาม แต่กเ็ ป็นระเบียบทีจ่ ำ� เลยก�ำหนดขึน้
ใช้เฉพาะตัวแทนประกันชีวิตมิได้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างทั่วไปของจ�ำเลย โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิได้รับผล
ประโยชน์อนื่ ดังลูกจ้างทัว่ ไปของจ�ำเลย แสดงว่าจ�ำเลยแบ่งแยกผูท้ เี่ ป็นตัวแทนประกันชีวติ ออกจากผูท้ เี่ ป็น
ลูกจ้างของจ�ำเลย ฐานะและสิทธิของโจทก์ทั้งสองจึงแตกต่างจากลูกจ้างของจ�ำเลย ข้อที่โจทก์ทั้งสองลง
เวลาท�ำงานเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองกับจ�ำเลยปฏิบัติต่อกันตามเงื่อนไขของสัญญาและเพื่อให้กิจการของ
จ�ำเลยมีประสิทธิภาพและรัดกุม โจทก์ทงั้ สองกับจ�ำเลยจึงท�ำความตกลงกันได้ และไม่ปรากฏว่ากรณีทโี่ จทก์
สธ
ทัง้ สองฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าว จ�ำเลยมีอำ� นาจลงโทษโจทก์ทงั้ สองเป็นประการอืน่ นอกเหนือจากการเลิก
สัญญา แม้โจทก์ทั้งสองต้องท�ำงานด้านธุรการของส�ำนักงานด้วย ก็เป็นเพียงการช่วยเหลืองานของจ�ำเลย

6-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานของโจทก์ที่ 1 ให้บรรลุผลส�ำเร็จอันเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสองด้วย โจทก์ทั้งสองจึง


ไม่มีสถานะเป็นลูกจ้างของจ�ำเลย
การแสดงเจตนาโดยปริยาย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของธรรมเนียมประเพณี สัญญาตัวแทนอาจมีการ
ตัง้ ตัวแทนโดยเฉพาะเป็นสัญญาเดียว เช่น ตัง้ ตัวแทนไปท�ำสัญญาซือ้ ขายรถยนต์ แต่บางกรณีตวั แทนอาจ
มี 2 ฐานะ คือมีฐานะที่เกี่ยวพันกัน เช่น จ้างแรงงานจ้างท�ำของรับขน ฯลฯ และอีกฐานะคือตัวแทน เช่น


นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างไปซื้อรถยนต์ 1 คัน ลูกจ้างมีฐานะเป็นลูกจ้างและฐานะตัวแทนนายจ้างหรือจ้างทนาย
ว่าความ ทนายมีฐานะเป็นผู้รับจ้างท�ำของและฐานะตัวแทน

มส
อุทาหรณ์
ฎ. 3643/2532 โจทก์มอบหมายให้จำ� เลยด�ำเนินการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชือ่ โจทก์ไปเป็น
ของ ส. ผู้รับโอนให้เป็นที่เรียบร้อย จ�ำเลยจึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์
ฎ. 2519/2537 จ�ำเลยเป็นเพียงบริษัทนายหน้าในการประกันภัยและที่ปรึกษาประกันภัย แต่ตาม
พฤติการณ์ทจี่ ำ� เลยแสดงออกในการติดต่อให้โจทก์นำ� เอาความเสีย่ งภัยทีโ่ จทก์รบั ประกันภัยไว้ไปประกันภัย
ต่อแก่ผู้รับประกันภัยซึ่งอยู่ต่างประเทศนั้น เกินเลยกว่าการเป็นนายหน้า แม้ผู้รับประกันภัยต่อมิได้
มีหนังสือแต่งตัง้ จ�ำเลยเป็นตัวแทนให้กระท�ำในกิจการดังกล่าว แต่การปฏิบตั ขิ องผูร้ บั ประกันภัยต่อทีไ่ ด้ยนิ ยอม
ให้จำ� เลยปฏิบตั งิ านแทนตลอดมา จ�ำเลยย่อมจะอยูใ่ นฐานะเป็นตัวแทนของผูร้ บั ประกันภัยต่อในต่างประเทศ
โดยปริยาย ตาม ปพพ. มาตรา 797 วรรคสอง ในกรณีเช่นว่านีต้ วั การไม่จำ� ต้องแต่งตัง้ ตัวแทนเป็นหนังสือ

และไม่อยู่ในบังคับของ ปพพ. มาตรา 798 เมื่อตัวการซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยต่ออยู่ต่างประเทศและ
มีภูมิล�ำเนาอยู่ในต่างประเทศ จ�ำเลยซึ่งเป็นตัวแทนท�ำสัญญาประกันภัยต่อแทนตัวการจึงต้องรับผิดตาม
มส

สัญญาประกันภัยต่อตามล�ำพัง ตาม ปพพ. มาตรา 824


อย่างไรก็ตาม การนิง่ เฉยไม่ถอื ว่าเป็นการแสดงเจตนาโดยปริยาย ทัง้ นีต้ อ้ งดูธรรมเนียมประเพณี
ในเรื่องนั้นๆ ประกอบกับการปฏิบัติระหว่างกันของบุคคลผู้เป็นคู่สัญญานั้นด้วย
การแสดงเจตนาจะต้องถูกต้องตรงกันซึ่งอาศัยหลักนิติกรรมสัญญาโดยทั่วไป เหตุที่กฎหมาย
ก�ำหนดไว้โดยเฉพาะใน ปพพ. มาตรา 797 วรรคสอง ในเรือ่ งการแสดงเจตนานัน้ ก็เพราะกฎหมายตัวแทน
ต้องอาศัยธรรมเนียมประเพณีในทางการค้ามาใช้ในการวินิจฉัยประกอบด้วย ในเรื่องการแต่งตั้งตัวแทน

หากใช้หลักนิติกรรมโดยทั่วไปมาใช้บังคับก็อาจเกิดความไม่คล่องตัวในการก่อสัญญาตัวแทนขึ้นจึงต้องมี
บทบัญญัตใิ ห้มกี ารผ่อนคลายหลักความชัดเจนในการแสดงเจตนาไว้โดยยอมให้มกี ารแต่งตัง้ ตัวแทนกันโดย
ปริยายได้ อันเป็นผลดีต่อธุรกิจการค้า อย่างไรก็ตามก็ต้องน�ำธรรมเนียมประเพณีในทางการค้ามาใช้
พิจารณาประกอบด้วย เช่น ลูกจ้างเป็นตัวแทนโดยปริยายของนายจ้าง สามีภริยาเป็นตัวแทนโดยปริยาย
ของกันและกัน
อุทาหรณ์
ฎ. 3913/2534 จ�ำเลยที่ 9 ว่าจ้างจ�ำเลยที่ 7 เจ้าของเรือลากจูงไปท�ำการลากจูงเรือพ่วง โดยจ�ำเลย
สธ
ที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจ�ำเลยที่ 7 เป็นผู้ควบคุมเรือแล้วขับไปชนสะพานเสียหายเป็นละเมิดเท่ากับจ�ำเลย
ที่ 7 เป็นตัวแทนของจ�ำเลยที่ 9 และถือได้ว่าจ�ำเลยที่ 9 เป็นนายจ้างของจ�ำเลยที่ 5 ด้วย จ�ำเลยที่ 9 จึง
ต้องร่วมรับผิดกับจ�ำเลยที่ 7 ในผลแห่งละเมิด (ฎ. 5751/2544)

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-13

ฎ. 668/2535 ปพพ. มาตรา 172 (มาตรา 193/14 (1) ปัจจุบัน) การรับสภาพหนี้จะต้องกระท�ำ


โดยลูกหนี้ แต่ลกู หนีอ้ าจตัง้ ตัวแทนให้ชำ� ระหนีแ้ ทนได้ ซึง่ ย่อมต้องถือว่าเป็นการช�ำระหนีข้ องลูกหนีน้ นั้ เอง
จ�ำเลยที่ 2 เคยลงลายมือชื่อรับสินค้าที่จ�ำเลยที่ 1 ซื้อมาจากโจทก์แทนจ�ำเลยที่ 1 และเคยพูดขอผัดผ่อน
ช�ำระหนี้แทนจ�ำเลยที่ 1 การที่จ�ำเลยที่ 2 มอบหลังคาไฟเบอร์กระบะช�ำระหนี้ให้โจทก์เป็นการกระท�ำโดย
ตระหนักโดยปริยายว่ายอมรับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ ถือได้ว่าจ�ำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจ�ำเลยที่ 1 โดย


ปริยาย จึงเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีผลผูกพันจ�ำเลยที่ 1 ท�ำให้อายุความสะดุดหยุดลง
นอกจากนี้ยังมีตัวแทนที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย คือ ไม่ได้มีการแต่งตั้งกันมาตั้งแต่ต้น แต่

มส
กฎหมายให้ถือว่าเป็นตัวแทนคือตัวแทนเชิด ตาม ปพพ. มาตรา 821 ซึ่งจะได้กล่าวภายหลัง
1.2 คู่สัญญาต้องมีความสามารถในการท�ำนิติกรรม โดยหลักแล้วคู่สัญญาต้องมีความสามารถ
ในการท�ำนิตกิ รรมสัญญา คือ ไม่เป็นผูเ้ ยาว์ คนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลล้มละลาย
มิฉะนัน้ นิตกิ รรมนัน้ จะเป็นโมฆียะ ถ้าตัวการเป็นผูม้ คี วามสามารถในการท�ำนิตกิ รรมตัง้ ตัวแทนผูบ้ กพร่อง
ในเรือ่ งความสามารถในการท�ำนิตกิ รรม หากตัวการทราบว่าตัวแทนนัน้ ไร้ความสามารถและประสงค์จะตัง้
บุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทน ตัวการดังกล่าวก็ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนผู้ไร้ความ
สามารถดังกล่าวได้กระท�ำไป ตัวการจะอ้างความเป็นโมฆียะมาปฏิเสธความรับผิดต่อคนภายนอกไม่ได้
โดย ปพพ. มาตรา 799 บัญญัตวิ า่ “ตัวการคนใดใช้บคุ คลผูไ้ ร้ความสามารถเป็นตัวแทน ท่านว่าตัวการคนนัน้
ย่อมต้องผูกพันในกิจการที่ตัวแทนกระท�ำ”

อุทาหรณ์
ฎ. 598/2506 ยายยกที่ดินให้หลานโดยท�ำใบมอบอ�ำนาจให้หลานไปท�ำนิติกรรมแทน แม้หลาน
มส

นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะก็เป็นผู้รับมอบอ�ำนาจได้
ดังนัน้ คูส่ ญ
ั ญาทีแ่ ท้จริงจึงได้แก่ตวั การ เมือ่ เป็นเช่นนีค้ วามสามารถของตัวแทนจึงไม่มคี วามส�ำคัญ
อย่างไร ในเรื่องความสามารถในการท�ำนิติกรรมของตัวแทนนี้เป็นข้อยกเว้นจากหลักเกณฑ์ทั่วไปในเรื่อง
นิติกรรมสัญญา ส่วนที่เกี่ยวความสามารถ จึงกล่าวได้ว่าปกติแล้วตัวแทนอาจเป็นบุคคลใดๆ ก็ได้ แม้เป็น
คนไร้ความสามารถ ซึ่งในเรื่องความสามารถในการท�ำนิติกรรมของตัวแทนนี้เป็นเรื่องระหว่างตัวการกับ
บุคคลภายนอก กล่าวคือไม่มีผลท�ำให้ตัวการหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่เข้าท�ำนิติกรรม

เจตนาของคู่กรณีเป็นส�ำคัญ

กับตัวแทนที่ไร้ความสามารถนั้น แต่ในระหว่างตัวการกับตัวแทนนั้นอาจมีผลต่อความสมบูรณ์ของสัญญา
และความรับผิดต่อกันในระหว่างตัวการและตัวแทนได้ ซึ่งต้องดูเป็นกรณีๆ ไป ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและ

ถ้าตัวการและตัวแทนมีความสามารถท�ำนิตกิ รรมแต่ตน้ ถ้าความสามารถหมดสิน้ ไปเมือ่ ใดสัญญา


ตัวแทนยอมระงับสิ้นไป ตาม ปพพ. มาตรา 828 และ 829 ดังนั้นถ้าตัวการตั้งตัวแทนให้ไปซื้อรถยนต์ 1
คัน ต่อมาตัวแทนกลายเป็นคนไร้ความสามารถก่อนทีต่ วั แทนจะไปท�ำสัญญาซือ้ รถยนต์แทนตัวการ สัญญา
ตัวแทนย่อมระงับไปแล้ว
สธ
อย่างไรก็ตามในกรณีของตัวแทนค้าต่างนัน้ ซึง่ เป็นตัวแทนชนิดพิเศษ บุคคลผูไ้ ร้ความสามารถไม่
อาจเป็นตัวแทนค้าต่างได้ เนือ่ งจากตัวแทนค้าต่างจะต้องเข้าท�ำนิตกิ รรมสัญญาในนามของตนเองกับบุคคล
ภายนอก ดังนั้นความสามารถของตัวแทนค้าต่างจึงมีความจ�ำเป็นมิฉะนั้นนิติกรรมสัญญาที่ตัวแทน

6-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ค้าต่างกระท�ำไปอาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย โดย ปพพ. มาตรา 836 บัญญัตวิ า่ “บุคคลไร้ความสามารถหา


อาจจะท�ำการเป็นตัวแทนค้าต่างได้ไม่ เว้นแต่จะได้รับอ�ำนาจโดยชอบให้ท�ำได้” ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับ
เรื่องนี้จะได้ศึกษาต่อไปในหน่วยที่ว่าด้วยตัวแทนค้าต่าง
1.3 วัตถุประสงค์ของสัญญา หลักเกณฑ์ข้อนี้น�ำมาจากหลักกฎหมายเรื่องนิติกรรมโดยทั่วไป
ซึ่งบัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 150 ว่า “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย


เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็น
โมฆะ” ดังนั้นวัตถุประสงค์สัญญาตัวแทนจึงต้องชอบด้วยกฎหมายและไม่พ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบ

มส
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น นายแดงแต่งตัง้ ให้นายด�ำเป็นตัวแทนไปซือ้ หรือขายยาเสพติด
หรือแต่งตั้งให้ไปดูแลบ่อนการพนันที่ตั้งโดยผิดกฎหมาย กรณีเช่นนี้สัญญาตัวแทนย่อมเป็นโมฆะ ตาม
ปพพ. มาตรา 150
1.4 แบบของสัญญา สัญญาตัวแทนนั้นโดยทั่วไปเป็นสัญญาที่ไม่ต้องมีแบบหรือหลักฐานเป็น
หนังสือแต่อย่างใด เพียงแต่ตกลงด้วยวาจาสัญญาก็เกิดแล้ว แต่เนือ่ งจากกิจการทีต่ วั แทนจะไปกระท�ำแทน
ตัวการนั้นเป็นกิจการซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกเสมอ ดังนั้นในบางกรณีจึงจ�ำเป็นต้องอาศัย
กิจการทีต่ วั แทนจะต้องกระท�ำการนัน้ เป็นเครือ่ งพิจารณาว่าสัญญาตัง้ ตัวแทนนัน้ จะต้องท�ำตามแบบประการ
ใดหรือไม่ โดย ปพพ. มาตรา 798 ได้บัญญัติว่า “กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องท�ำเป็น
หนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องท�ำเป็นหนังสือด้วย

กิจการอันใดท่านบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้อง
มีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย” สัญญาตัวแทนนั้นไม่ต้องมีแบบหรือหลักฐานใดๆ เพราะมาตรานี้มิใช่แบบ
มส

และเป็นบทบัญญัตทิ ใี่ ช้กล่าวอ้างในระหว่างตัวการและตัวแทนกับบุคคลภายนอกเท่านัน้ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้บคุ คล


ภายนอกรูว้ า่ ใครเป็นตัวการ โดยตัวการกับคนภายนอกจะต้องผูกพันแล้วฟ้องร้องกันโดยตรง แต่ในระหว่าง
ตัวการกับตัวแทนนั้น ตัวแทนหรือตัวการจะยกมาตรา 798 นี้มากล่าวอ้างไม่ได้เพราะมิฉะนั้นตัวแทนเชิด
ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้
ค�ำว่าแบบนั้นถ้าจะพิจารณาเอาจากบทบัญญัติทั้งหลายใน ปพพ. แล้วก็มี 2 ชนิด คือท�ำเป็น
หนังสือกับการท�ำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส�ำหรับ ปพพ. มาตรา 798 วรรคแรก

นัน้ ไม่คำ� นึงว่าแบบในกิจการนัน้ จะต้องไปจดทะเบียนด้วยหรือไม่ ขอเพียงว่ากิจการนัน้ กฎหมายบังคับให้
ท�ำเป็นหนังสือการท�ำสัญญาตัวแทนก็อยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่ง
ปพพ. มาตรา 798 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการท�ำสัญญาตัวแทนไว้ 2 กรณีด้วยกันคือ
กรณีตอ้ งท�ำเป็นหนังสือ ปพพ. บัญญัตไิ ว้ในมาตรา 798 วรรคหนึง่ ว่า “กิจการอันใดท่านบังคับไว้
โดยกฎหมายว่าต้องท�ำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นๆ ก็ต้องท�ำเป็นหนังสือด้วย” ดังนั้น
ในกรณีนี้จึงต้องพิจารณาว่ากิจการนั้นเป็นกิจการที่ตัวแทนจะต้องไปท�ำกับบุคคลภายนอกมีแบบหรือไม่
ถ้ากฎหมายก�ำหนดในเรื่องแบบเอาไว้ว่าต้องท�ำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนก็ต้องท�ำเป็นหนังสือ กิจการที่
สธ
กฎหมายก�ำหนดให้ท�ำเป็นหนังสือก็ได้แก่การท�ำสัญญาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิเกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์ เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตาม ปพพ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง สัญญาเช่า
อสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปี (ปพพ. มาตรา 538) ต้องท�ำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-15

เจ้าหน้าที่ ฯลฯ เป็นต้น การท�ำเป็นหนังสือหมายความว่าการลงลายมือชือ่ คูส่ ญ ั ญาทัง้ สองฝ่ายอย่างถูกต้อง


มีขอ้ ความและเงือ่ นไขของข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อกั ษร และบางกรณีตอ้ งมีการไปจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่
กรณีต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ปพพ. มาตรา 798 วรรคสอง บัญญัติว่า “กิจการอันใดท่าน
บังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้น ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ


ด้วย” กิจการบางอย่างกฎหมายก�ำหนดให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออันเป็นหลักฐานเพื่อการฟ้องร้องคดีกัน
สัญญาตัวแทนที่จะกระท�ำกิจการดังกล่าวก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย เช่น นายด�ำตั้งนายแดงเป็น

มส
ตัวแทน ในการไปกู้ยืมเงินจากนายเขียว หากต่อมานายด�ำเขียนจดหมายไปถึงนายแดงระบุว่านายด�ำได้
ตั้งนายแดงให้ท�ำสัญญากู้แทน ก็ถือว่าเป็นหลักฐานเป็นหนังสือตามความหมายใน ปพพ. มาตรา 798
วรรคสองแล้ว หลักฐานเป็นหนังสือจึงหมายถึงข้อความที่พอแสดงให้เห็นว่าได้มีการตั้งตัวแทนไว้
ข้อสังเกต
มีคำ� ทีเ่ ราเคยได้ยนิ กันอยูค่ อื ค�ำว่าใบมอบฉันทะกับใบมอบอ�ำนาจ ใบมอบฉันทะนัน้ มิใช่แบบของ
สัญญาตัวแทนแต่ใบมอบฉันทะเป็นแบบทีท่ างราชการก�ำหนดขึน้ ในกรณีทตี่ อ้ งมีการลงนามแทนกันในการ
เสนอหรือแจ้งเรื่องราวบางประการแก่ทางราชการ กล่าวอีกนัยหนึง่ ใบมอบฉันทะนั้นคือแบบของการแสดง
เจตนาในการลงนามแทนกัน ซึง่ ก�ำหนดโดยฝ่ายปกครองโดยเฉพาะ แต่ปจั จุบนั มักมีความสับสนโดยน�ำไป
ใช้เรียกการตั้งตัวแทนในทางแพ่ง แต่หากจะถือว่าเป็นหลักฐานในการตั้งตัวแทนก็ย่อมจะใช้ได้อยู่แล้ว

ส�ำหรับใบมอบอ�ำนาจก็มีความหมายเช่นเดียวกับใบมอบฉันทะดังกล่าวมาแล้ว
นอกจากนี้คำ� ว่ากิจการ ตาม ปพพ. มาตรา 798 นั้น จะหมายถึงกิจการในทางนิติกรรมสัญญา
มส

หรือไม่ก็ได้ เช่น ตกลงให้เป็นตัวแทนในการด�ำเนินคดีในศาล ไม่ใช่เป็นการให้ไปท�ำสัญญา นอกจากนี้


ตาม ปพพ. มาตรา 798 ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ตัวการตั้งตัวแทนโดยแสดงออกชัดไม่ใช้บังคับแก่ตัวแทนที่
เกิดขึน้ โดยผลของกฎหมายคือไม่สามารถน�ำไปใช้กรณีการตัง้ ตัวแทนเชิดได้ ตาม ปพพ. มาตรา 821 เพราะ
ตัวแทนเชิดเป็นหลักคุ้มครองผู้สุจริต เพราะตัวแทนเชิดเป็นตัวแทนโดยผลกฎหมาย และไม่ใช้กับตัวแทน
ที่ไม่เปิดเผยชื่อตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 806 ด้วย
ในเรื่องของสัญญาตัวแทนจึงอาจสรุปได้ว่า โดยทั่วไปแล้วสัญญาตัวแทนไม่มีแบบหรือไม่ต้องมี

หลักฐานใด แต่ถ้ากิจการที่ตัวแทนจะต้องกระท�ำแทนตัวการกับบุคคลภายนอกนั้นเป็นกิจการที่กฎหมาย
บังคับก�ำหนดให้มแี บบหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ สัญญาตัวแทนก็ตอ้ งท�ำตามแบบหรือต้องมีหลักฐานเป็น
หนังสือแล้วแต่กรณีเพือ่ ให้ตวั แทนได้ไปอ้างกับคนภายนอกว่าได้มาท�ำกิจการแทนตัวการ เพือ่ คนภายนอก
จะได้ฟ้องร้องว่ากล่าวกับตัวการโดยตรง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวการกับตัวแทนไม่ต้องมีแบบหรือ
หลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องกันได้
อุทาหรณ์
ฎ. 435/2507 ปพพ. มาตรา 798 หมายความถึงกิจการที่ตัวแทนจะไปท�ำกับบุคคลภายนอกแทน
สธ
ตัวการ ถ้ามีกฎหมายบังคับไว้วา่ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตัง้ ตัวแทนไปท�ำกิจการนัน้ ก็ตอ้ งมีหลักฐาน
เป็นหนังสือด้วย มิเช่นนั้นกิจการที่ตัวแทนกระท�ำกับบุคคลภายนอกจะไม่สมบูรณ์ แต่ในระหว่างตัวแทน

6-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กับตัวการด้วยกัน ในกรณีที่ตัวการเรียกร้องเอาประโยชน์จากตัวแทนที่ได้รับไว้แทนตัวการจากบุคคล
ภายนอกนั้น ตัวแทนจะอ้าง ปพพ. มาตรา 798 มาใช้บังคับไม่ได้
ฎ. 2863/2525 ปพพ. มาตรา 798 เป็นกรณีการตั้งตัวแทนโดยมีการตกลงกันจริงๆ ส่วน ปพพ.
มาตรา 821 เป็นกรณีที่มิได้มีการตั้งตัวแทนกันจริงจังตามกฎหมาย เมื่อโจทก์แสดงออกหรือยอมให้ ส.
แสดงออกว่าเป็นตัวแทนของตน และ ส.ไปท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจ�ำเลย โจทก์กต็ อ้ งรับเอา


ผลดังกล่าวมาเป็นของตนจะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำ� เป็นหนังสือไม่ได้
ฎ. 3958/2527 การทวงหนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องท�ำหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ การ

มส
ตั้งตัวแทนเพื่อทวงหนี้สินจึงไม่จำ� เป็นต้องท�ำเป็นหนังสือหรือท�ำหลักฐานเป็นหนังสือ
ฎ. 225/2532 โจทก์เป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อของ พ. การตั้ง พ. เป็นตัวแทนในกรณีเช่นนี้จึงไม่
ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ปพพ. มาตรา 798 โจทก์ตวั การซึง่ มิได้เปิดเผยชือ่ ย่อมแสดงตนให้ปรากฏ
และเข้ารับเอาสัญญาประกันภัยรถยนต์ที่ พ. ตัวแทนท�ำไว้กับจ�ำเลยแทนตนได้ ตาม ปพพ. มาตรา 806
เมือ่ โจทก์เป็นผูเ้ ช่าซือ้ รถยนต์ทเี่ อาประกันภัยไว้กบั จ�ำเลย โจทก์จงึ เป็นผูม้ สี ว่ นได้เสียในเหตุทปี่ ระกันภัยไว้
นั้น สัญญาประกันภัยมีผลสมบูรณ์ ตาม ปพพ. มาตรา 863 (ฎ. 531/2537)
ฎ. 5761/2534 จ�ำเลยได้รับเงินค่าขายที่ดินของโจทก์ไว้ในฐานะเป็นผู้กระท�ำการแทนโจทก์ผู้ขาย
จ�ำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการตั้งจ�ำเลยเป็นตัวแทนในกิจการซื้อที่ดิน
ดังกล่าวก็หาเป็นเหตุให้จำ� เลยพ้นความรับผิดที่ต้องส่งเงินที่ได้รับไว้แทนคืนแก่โจทก์ไม่

ฎ. 2239/2547 ปพพ. มาตรา 728 มิได้บัญญัติว่า การบอกกล่าวบังคับจ�ำนองต้องท�ำเป็นหนังสือ
กรณีจงึ ไม่ตกอยูใ่ นบังคับ ปพพ. มาตรา 798 วรรคหนึง่ ทีก่ ำ� หนดการตัง้ ตัวแทนเพือ่ กิจการนัน้ ต้องท�ำเป็น
มส

หนังสือแต่อย่างใด และแม้การมอบอ�ำนาจจะมิได้ทำ� เป็นหนังสือแต่ทนายโจทก์กไ็ ด้บอกกล่าวบังคับจ�ำนอง


ในนามของโจทก์ และเมื่อจ�ำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวและไม่ชำ� ระหนี้โจทก์จึงมอบอ�ำนาจให้ ธ. ด�ำเนิน
คดีนี้แก่จ�ำเลย แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจ�ำนองของทนายโจทก์เป็นการบอกกล่าวใน
นามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระท�ำของทนายโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนที่
บอกกล่าวบังคับจ�ำนอง ตาม ปพพ. มาตรา 823 วรรคหนึง่ ย่อมถือได้วา่ โจทก์เป็นผูร้ บั จ�ำนอง มีจดหมาย
บอกกล่าวบังคับจ�ำนองไปยังจ�ำเลยผู้จ�ำนองตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 728 โดยชอบแล้ว
(ฎ.5902/2540, ฎ.1657/2550) ม
ฎ. 7626/2547 โจทก์เป็นตัวแทนของจ�ำเลยในการกู้ยืมเงินจากธนาคารแล้วน�ำเงินที่กู้ยืมมามอบ
ให้แก่จำ� เลย แม้การเป็นตัวแทนในการกูย้ มื เงินจะไม่มหี ลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ปพพ. มาตรา 798 วรรค
สอง ก็มผี ลใช้บงั คับระหว่างตัวการกับตัวแทน เมือ่ โจทก์ถกู บังคับช�ำระหนีท้ กี่ ยู้ มื จ�ำเลยจึงต้องรับผิดช�ำระ
ต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียไปคืนแก่โจทก์
ฎ. 2178/2548 โจทก์ให้จำ� เลยรับจ�ำนองทีด่ นิ โดยโจทก์เป็นผูเ้ ก็บรักษาหนังสือสัญญาจ�ำนองไว้และ
จ�ำเลยลงลายมือชือ่ ในหนังสือมอบอ�ำนาจทีย่ งั ไม่ได้กรอกข้อความให้ไว้ตอ่ โจทก์ เพือ่ ให้โจทก์สามารถไถ่ถอน
สธ
จ�ำนองได้เอง แสดงให้เห็นได้วา่ จ�ำเลยรับจ�ำนองทีด่ นิ ในฐานะตัวแทนของโจทก์ เมือ่ โจทก์ฟอ้ งบังคับจ�ำเลย
เปลี่ยนชื่อผู้รับจ�ำนองที่ดินเป็นชื่อโจทก์อันเป็นเรื่องตัวการเรียกทรัพย์สินจากจ�ำเลยซึ่งเป็นตัวแทน ตาม

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-17

ปพพ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้โดยไม่ขัดต่อ ปพพ. มาตรา


798
อนึ่ง มีกิจการบางอย่างที่กฎหมายก�ำหนดหลักฐานในการฟ้องร้องไว้หลายอย่าง เช่น สัญญาจะ
ซื้อขาย ตาม ปพพ. มาตรา 456 วรรคสอง หรือซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคา 20,000 บาท
หรือกว่านั้นขึ้นไป ตาม ปพพ. มาตรา 456 วรรคสาม การตั้งตัวแทนเพื่อไปท�ำกิจการกับบุคคลภายนอก


อาจมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีการวางมัดจ�ำหรือช�ำระหนี้บางส่วนก็ได้
อุทาหรณ์

มส
ฎ. 3125/2535 จ�ำเลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จ�ำเลยที่ 1 ขายที่ดินแทน ในวันท�ำสัญญาโจทก์ได้วาง
มัดจ�ำไว้ 5,000 บาท จึงเป็นสัญญาจะซือ้ ขายทีไ่ ม่จำ� ต้องท�ำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม
ปพพ. มาตรา 456 การตั้งตัวแทนของจ�ำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องท�ำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตาม ปพพ. มาตรา 798
ฎ. 2927/2547 จ�ำเลยทั้งสองให้การรับว่าได้ท�ำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์จริงแต่อ้างว่าโจทก์เป็น
ฝ่ายผิดสัญญาจึงไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ไม่ใช่คสู่ ญ
ั ญากับจ�ำเลยทัง้ สองและไม่มอี �ำนาจฟ้อง แม้เรือ่ งอ�ำนาจ
ฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ปวพ.
มาตรา 142 (5) ก็ตาม แต่คดีนี้จ�ำเลยทั้งสองรับว่าได้วางมัดจ�ำไว้ตามสัญญาจะซื้อขายจ�ำนวน 100,000
บาท ซึ่งตาม ปพพ. มาตรา 456 วรรคสอง ระบุว่า สัญญาจะซื้อจะขายหากมีการวางมัดจ�ำไว้แล้วแม้ไม่มี

หลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ ดังนั้นการตั้งตัวแทนหรือมอบอ�ำนาจของโจทก์ในการท�ำ
สัญญาจะซื้อจะขายที่ได้วางมัดจ�ำไว้แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้ท�ำหนังสือมอบอ�ำนาจให้บริษัท ส. ท�ำสัญญาจะ
มส

ซื้อขายกับจ�ำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำ� นาจฟ้อง กรณีไม่ต้องห้าม ตาม ปพพ. มาตรา 798

2. ลักษณะพิเศษของสัญญาตัวแทน
2.1 ต้องมีข้อตกลงและมีความยินยอมกระท�ำการแทนกัน
2.2 สัญญาตัวแทนไม่มีบ�ำเหน็จหรือค่าตอบแทน
2.3 คู่สัญญามีความสามารถเป็นตัวการและตัวแทนได้
2.4 เป็นสัญญาเฉพาะตัว ม
2.1 ต้องมีข้อตกลงและมีความยินยอมกระท�ำการแทนกัน สาระส�ำคัญของสัญญาตัวแทนก็คือ
การให้ตัวแทนมีอำ� นาจท�ำการแทนตัวการกับบุคลภายนอก ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้
1) ต้องมีข้อตกลงให้มีการท�ำการแทนกัน การแสดงเจตนาของคู่สัญญาตัวแทนนั้นต้องมี
จุดมุง่ หมายเพือ่ การท�ำการแทนกันในฐานะตัวแทนด้วย กล่าวคือ มีการแสดงเจตนาเท่านัน้ ยังไม่กอ่ ให้เกิด
สัญญาได้ แต่จะต้องมีวตั ถุประสงค์ของสัญญาและวัตถุประสงค์นนั้ จะต้องถูกต้องตรงกันระหว่างคูก่ รณีดว้ ย
สธ
สัญญาตัวแทนจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะกระท�ำการแทนกันในกิจการซึ่งสามารถท�ำการแทนกันได้ตาม
กฎหมาย คือ ต้องมีการมอบอ�ำนาจของตัวการให้ไว้แก่ตัวแทน เพื่อให้ตัวแทนท�ำงานให้แก่ตนโดยต้องมี
การติดต่อกับบุคคลภายนอก คนภายนอกจะมีหรือไม่มกี ไ็ ด้ เช่น วานให้รว่ มเอาควายไปเลีย้ งไม่ใช่ตวั แทน

6-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แต่เข้าลักษณะฝากทรัพย์ เช่น ตั้งตัวแทนไปซื้อรถยนต์จากผู้ขาย อาจเป็นกิจการที่ตัวแทนต้องไปท�ำ


นิตกิ รรมสัญญากับบุคคลภายนอกหรือไม่กไ็ ด้ เช่น การฟ้องคดีไม่ใช่การท�ำสัญญาแต่กต็ งั้ ตัวแทนได้ อย่างไร
ก็ดบี างกรณีการเป็นตัวแทนอาจเกิดขึน้ โดยผลกฎหมายได้ เช่น กรณีตวั แทนเชิด เป็นต้น ในกรณีดงั กล่าว
นี้ข้อตกลงเรื่องมอบอ�ำนาจจึงไม่ต้องน�ำมาพิจารณาเพราะเป็นข้อยกเว้น
จากหลักเกณฑ์ทวี่ า่ สัญญาตัวแทนจะต้องมีขอ้ ตกลงให้ทำ� การแทนนัน้ บางกรณีกย็ ากจะพิจารณา


ว่าข้อตกลงลักษณะนั้นๆ เป็นสัญญาตัวแทนหรือไม่ เช่นในกรณีดังต่อไปนี้
พนักงานขาย (Salesman) พนักงานขายของนัน้ ในทางธุรกิจมีสองประเภท คือ ประเภทประจ�ำร้าน

มส
เป็นลูกจ้างอยู่ในร้านกับอีกประเภทหนึ่งออกไปขายสินค้านอกร้าน กรณีขายสินค้าอยู่ในร้านนั้นมักจะเป็น
ลูกจ้างของเจ้าของร้าน แต่จะเป็นตัวแทนเสมอไปหรือไม่ต้องดูที่เจตนาของตัวการตัวแทนและธรรมเนียม
ประเพณีปฏิบัติทางการค้าด้วย ถ้าลูกจ้างดังกล่าวนี้สามารถท�ำสัญญาซื้อขายแทนตัวการ (เจ้าของร้าน)
ได้ ก็เป็นตัวแทนในการซื้อขายรายนั้นของตัวการด้วย กล่าวคือตัวการยอมให้ลูกจ้างท�ำสัญญาแทนตน
จะยินยอมโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ พนักงานขายตามร้านจึงอาจเป็นทั้งลูกจ้างและตัวแทนไปในเวลา
อันเดียวกันก็ได้ ซึง่ ต้องดูเป็นรายๆ ไป ข้อพิจารณาทีส่ ำ� คัญคือต้องดูวา่ มีการท�ำการแทนโดยตัวการยินยอม
หรือไม่
อีกประเภทหนึง่ คือพนักงานขายทีอ่ อกไปท�ำหน้าทีใ่ นท้องทีต่ า่ งๆ ตามทีต่ วั การมอบหมาย ส่วนใหญ่
จะเป็นลูกจ้างอยู่แล้วโดยมีค่าจ้างและมีบ�ำเหน็จให้ด้วย ตามปกติพนักงานประเภทนี้ไม่ได้น�ำสินค้าติดตัว

ไปขายด้วย มีอย่างมากก็แค่ตัวอย่าง หน้าที่ก็คือชักชวนให้ลูกค้าตกลงซื้อขายด้วย กล่าวคือเก็บใบสั่งมา
ให้นายจ้าง ข้อพิจารณาในเรือ่ งนีก้ ค็ อื ถ้ามีการมอบอ�ำนาจให้ทำ� สัญญาซือ้ ขายแทนตัวการด้วยหรือน�ำสินค้า
มส

ติดตัวไปขายด้วย เช่นนี้ก็เป็นตัวแทนด้วย แต่ถ้าไม่มีอ�ำนาจดังกล่าวมีหน้าที่เพียงชี้ชวนให้ซื้อขายเช่นนี้


ก็เป็นเพียงลูกจ้าง อนึ่งต้องแยกออกจากเรื่องพ่อค้าเร่ด้วย เพราะพ่อค้าเร่นั้นไม่ใช่ตัวแทนเนื่องจากเป็น
ผู้ซื้อสินค้ามาจากคนอื่นแล้วน�ำไปเร่ขายต่อซึ่งแตกต่างจากพนักงานดังกล่าว
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเป็นกรณีตัวแทนหรือลูกจ้างนั้นจะต้องน�ำหลักเกณฑ์ที่ได้กล่าวไว้
แล้วมาใช้ประกอบ คือต้องดูว่ามีการกระท�ำและมีเจตนาประกอบกันไป การท�ำการแทนกันหรือมอบหมาย
ให้ท�ำการแทนกันไม่แน่ว่าจะต้องเป็นตัวแทนเสมอไป จะต้องปรากฏว่าบุคคลทั้งสองฝ่าย มีเจตนาและ
วัตถุประสงค์ที่จะเป็นตัวการตัวแทนต่อกันด้วย ม
ทนายความ การด�ำเนินการทางศาลนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรก คือ การที่
ทนายความได้รับแต่งตั้งจากคู่ความให้ด�ำเนินคดีในศาล ลักษณะนี้เป็นสัญญาจ้างท�ำของอย่างหนึ่ง ส่วน
ในลักษณะทีส่ องนัน้ คูค่ วามมอบอ�ำนาจให้บคุ คลใดบุคคลหนึง่ เป็นตัวแทนไปด�ำเนินคดีแทนตน กรณีเช่นนี้
ระหว่างคู่ความกับผู้รับมอบอ�ำนาจนั้นเป็นสัญญาตัวแทน
ทนายความมีลกั ษณะพิเศษจากตัวแทนทัว่ ไป กล่าวคือเป็นทัง้ ตัวแทนในความหมายทางแพ่งและ
เป็นตัวแทนโดยอ�ำนาจของกฎหมาย สิทธิในการด�ำเนินคดีแพ่งนั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคล ส่วนสิทธิในการ
สธ
ด�ำเนินคดีอาญานัน้ เป็นสิทธิทเี่ กีย่ วเนือ่ งกับอ�ำนาจรัฐ เป็นการกระท�ำในนามของรัฐ ตัวความก็สามารถแต่งตัง้
ให้ทนายความด�ำเนินคดีอาญาแทนได้ (ฎ.890/2503) แต่ถ้าเป็นการมอบอ�ำนาจให้ด�ำเนินคดีอาญา
อย่างไรก็ตามทนายความนั้นมีหน้าที่พิเศษแตกต่างไปจากตัวแทน เพราะสิ่งที่ทนายความกระท�ำนั้นย่อม

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-19

มีผลผูกพันคู่ความ ทนายความมีดุลพินิจกว้างขวางกว่าตัวแทน การเป็นตัวแทนของทนายความก็เป็น


ตัวแทนทั้งต่อศาลและต่อโจทก์และจ�ำเลย ทั้งสองฝ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในบางครั้ง
ทนายความจึงเป็นตัวแทนที่มีอ�ำนาจหน้าที่พิเศษโดยเฉพาะแตกต่างจากตัวแทนโดยทั่วไป อ�ำนาจหน้าที่
ของทนายความมีกฎหมายบัญญัตไิ ว้แตกต่างจากตัวแทนโดยทัว่ ไป ส�ำหรับทนายความอาจรับมอบอ�ำนาจ
จากตัวความให้ด�ำเนินคดีแทนทนายสามารถลงชื่อในฟ้อง เรียงค�ำฟ้องได้แต่จะว่าความอย่างทนายความ


ไม่ได้
อุทาหรณ์

มส
ฎ. 24947/2516 (ป.ใหญ่) ผู้รับมอบอ�ำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำ� นาจยื่นค�ำฟ้องได้
จึงชอบที่จะเรียงหรือแต่งค�ำฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทย์ได้ด้วย หาว่าต้องมอบอ�ำนาจให้ทนายความเสียง
หรือแต่งค�ำฟ้องให้อีกต่อหนึ่งไม่ ฉะนั้นค�ำฟ้องของโจทย์ซึ่งผู้รับมอบอ�ำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียง จึงเป็นฟ้องที่
ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย (ฎ.3266/2527, ฎ.898-912/2530, ฎ.4512/2530, ฎ.2346/2531)
อนึง่ ยังมีตวั แทนในลักษณะนีอ้ กี มาก กล่าวคือเป็นตัวแทนตามบทบัญญัตขิ องกฎหมาย ดังนัน้ จึง
ต้องดูกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ตัวแทนประเภทนี้เช่น ผู้จัดการมรดก ผู้ขายทอดตลาด ผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้พิทักษ์ เป็นต้น ซึ่งต้องพิจารณาดูเป็นเรื่องๆ ไป
ผู้จัดจ�ำหน่าย ตัวแทนขายหรือผู้จัดจ�ำหน่ายเป็นตัวแทนอย่างหนึ่งเรียกว่าตัวแทนค้าต่าง ซึ่งจะ
อธิบายในภายหลัง อย่างไรก็ตามผูจ้ ดั จ�ำหน่ายนีบ้ างกรณีอาจสับสนกับนายหน้าก็ได้ ข้อส�ำคัญต้องดูเจตนา

คู่กรณีและธรรมเนียมปฏิบัติประกอบด้วย บางครั้งก็อาจมิใช่ตัวแทนก็ได้ เช่นติดป้ายหน้าร้านว่า ผู้จัด
จ�ำหน่ายสินค้าชนิดนัน้ แต่ขอ้ เท็จจริงปรากฏว่าผูจ้ ดั จ�ำหน่ายเป็นเพียงไปซือ้ แล้วเอามาขายต่อโดยบวกก�ำไร
มส

เข้าไปอีก เช่นนี้ไม่ใช่ตัวแทนแต่เป็นเพียงผู้ขายธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องดูข้อเท็จจริงเป็น


กรณีไป
อนึง่ การทีบ่ คุ คลฝ่ายหนึง่ มีขอ้ ตกลงถาวรให้บคุ คลใดบุคคลหนึง่ มีสทิ ธิแต่เพียงผูเ้ ดียวทีจ่ ะน�ำสินค้า
ทีต่ นผลิตได้ภายใต้เงือ่ นไขเครือ่ งหมายการค้านัน้ ไปจ�ำหน่ายในการค้าขายรายใดรายหนึง่ นัน้ เป็นข้อตกลง
อย่างหนึ่งเท่านั้นหาใช่เป็นตัวแทนไม่ เช่นนายแดงเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าตรางู
ขาวท�ำข้อตกลงให้นายด�ำมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะน�ำผลิตภัณฑ์ของนายแดงไปขายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เช่นนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างนายแดงและนายด�ำหาใช่เป็นตัวแทนไม่ ม
ตัวแทนประกันชีวิต ตาม พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 5 หมายถึง “ผู้ซึ่งบริษัทมอบ
หมายให้ท�ำการชักชวนให้บุคคลท�ำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท” ตัวแทนประกันชีวิตจึงเป็นผู้ท�ำหน้าที่
เพียงชักชวนให้บคุ คลเกิดความสนใจเข้าท�ำสัญญาประกันชีวติ กับบริษทั ผูร้ บั ประกันชีวติ เท่านัน้ ไม่มอี ำ� นาจ
พิจารณารับประกันชีวติ แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามตัวแทนประกันชีวติ อาจมีอำ� นาจท�ำสัญญาประกันชีวติ ใน
นามของบริษัทได้ เมื่อได้รับหนังสือมอบอ�ำนาจจากบริษัท
ตัวแทนประกันวินาศภัย ตาม พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 หมายถึง “ผู้ซึ่ง
สธ
บริษัทมอบหมายท�ำการชักชวนให้บุคคลท�ำสัญญาประกันภัยกับบริษัท” ซึ่งก็มิใช่ตัวแทนตาม ปพพ.

6-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 1333/2551 ตาม พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 5 ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความของตัวแทน
ประกันชีวิตว่า หมายความว่า “ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ท�ำการชักชวนให้บุคคลท�ำสัญญาประกันชีวิต
กับบริษัท” และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ตัวแทนประกันชีวิตอาจท�ำสัญญาประกันชีวิตในนาม
ของบริษัทได้เมื่อได้รับมอบอ�ำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท” แต่โจทก์ไม่ได้นำ� สืบว่า ช. เป็นตัวแทนประกัน


ชีวิตผู้ได้รับมอบอ�ำนาจเป็นหนังสือจากจ�ำเลยให้ท�ำสัญญาประกันชีวิตในนามของจ�ำเลยได้ เช่นนี้ ช. จึง
เป็นเพียงตัวแทนในการหาผู้เอาประกันชีวิต มีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาท�ำสัญญาประกันชีวิตกับจ�ำเลย

มส
เท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนในการท�ำสัญญาประกันชีวิตของจ�ำเลย จึงไม่ใช่ตัวแทนของจ�ำเลยตาม ปพพ. การที่
ช. ได้ทราบหรือควรทราบข้อเท็จจริงขณะท�ำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบและมี
อาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อ. จะถือว่าจ�ำเลยได้ทราบความจริง
ดังกล่าวหาได้ไม่ (ฎ.599/2537)
2) ต้องมีความยินยอมกระท�ำตามข้อตกลงนั้น ความยินยอมนั้นอาจเป็นความยินยอมโดย
ชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้เว้นแต่
(1) เมื่อมีกรณีท�ำการเกินอ�ำนาจโดยบุคคลภายนอกไม่ทราบความจริง ปพพ. มาตรา
822 บัญญัตวิ า่ “ถ้าตัวแทนท�ำการอันใดเกินอ�ำนาจตัวแทนแต่ทางปฏิบัติของตัวการท�ำให้บุคคลภายนอก
มีมลู เหตุอนั สมควรจะเชือ่ ว่าการอันนัน้ อยูภ่ ายในขอบอ�ำนาจของตัวแทนไซร้ ท่านให้ใช้บทบัญญัตมิ าตรา

ก่อนนี้เป็นบทบังคับ แล้วแต่กรณี” จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติมาตรานี้น�ำหลักเรื่องตัวแทนเชิดมาใช้บังคับ
กรณีดังกล่าวจึงเป็นข้อยกเว้นในเรื่องความยินยอมของคู่สัญญาซึ่งเป็นหลักคุ้มครองผู้สุจริต
มส

(2) เมื่อเป็นกรณีจ�ำเป็นเพื่อประโยชน์ของตัวการ โดย ปพพ. มาตรา 802 บัญญัตวิ า่


“ในเหตุฉุกเฉินเพื่อจะป้องกันมิให้ตัวการต้องเสียหาย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าตัวแทนจะท�ำการใดๆ
เช่นอย่างวิญญูชนจะพึงกระท�ำ ก็ย่อมมีอ�ำนาจจะท�ำได้ทั้งสิ้น” ดังนั้น โดยทั่วไปแล้วความยินยอมของ
คู่สัญญาเป็นลักษณะเฉพาะของสัญญาตัวแทนไม่ว่าจะขณะก่อสัญญาตัวแทนหรือในการปฏิบัติหน้าที่ของ
ตัวแทน เว้นแต่มีข้อยกเว้นดังได้กล่าวมาแล้วเท่านั้นจึงไม่จ�ำต้องน�ำหลักความยินยอมมาพิจารณา เหตุที่
ความยินยอมมีความส�ำคัญต่อสัญญาตัวแทนเพราะการทีต่ วั แทนท�ำการใดๆ แทนตัวการย่อมก่อให้เกิดผล

ทางกฎหมายต่อตัวการ กล่าวคือตัวการต้องรับผิดชอบต่อการกระท�ำนั้นๆ ของตัวแทนเสมือนหนึ่งว่าตน
ได้กระท�ำด้วยตนเอง ดังนั้นจ�ำต้องให้ตัวการรับรู้ยินยอมให้ตัวแทนกระท�ำการนั้นก่อน มิฉะนั้นตัวการจะ
ต้องมารับผิดชอบในสิ่งที่ตนมิได้มีเจตนาจะให้ตัวแทนกระท�ำ ในขณะเดียวกันการที่ตัวแทนจะท�ำการแทน
ตัวการนัน้ ท�ำให้ตวั แทนต้องรับผิดชอบต่อตัวการในทางกฎหมาย เช่นหากท�ำการโดยประมาทเลินเล่อ เกิด
ความเสียหายต่อตัวการ หรือไม่กระท�ำการในหน้าทีข่ องตน สิง่ เหล่านีท้ ำ� ให้ตวั แทนต้องรับผิดชอบต่อตัวการ
ทัง้ สิน้ ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องให้ตวั แทนยินยอมในการทีจ่ ะท�ำการแทนตัวการในเรือ่ งนัน้ ๆ มิฉะนัน้ ตัวแทน
ก็อาจต้องรับผิดในสิ่งที่ตนมิได้มีความยินยอมด้วยตั้งแต่ต้น จึงเห็นได้ว่าความยินยอมเป็นลักษณะของ
สธ
สัญญาตัวแทนและเป็นลักษณะทีส่ ำ� คัญในการก่อสัญญาตัวแทน หรือในทางปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตัวแทนมิฉะนัน้
แล้วสัญญาตัวแทนอาจไม่เกิดขึ้นหรือแม้เกิดขึ้นก็อาจจะมีผลต่อความรับผิดของตัวการและตัวแทนได้ ทั้ง
ในระหว่างตัวการและตัวแทนหรือระหว่างตัวการตัวแทนต่อบุคคลภายนอก

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-21

2.2 สัญญาตัวแทนไม่มบี ำ� เหน็จหรือค่าตอบแทน ปกติสญ ั ญาตัวแทนไม่มบี ำ� เหน็จหรือค่าตอบแทน


การเป็นตัวแทนนัน้ ในเบือ้ งต้นต้องสันนิษฐานไว้กอ่ นว่าเป็นการท�ำให้เปล่าแก่กนั เรือ่ งบ�ำเหน็จจึงไม่ใช่สาระ
ส�ำคัญของการเป็นตัวแทน กรณีที่จะให้บำ� เหน็จแก่กันนั้นอาจเกิดขึ้นใน 2 กรณี คือ
1) มีข้อตกลงกันชัดแจ้ง อาจโดยวาจา หรือโดยลายลักษณ์อักษรก็ได้ เช่น นายแดงใช้
นายด�ำให้ไปโอนที่ดินของนายแดงให้แก่บุคคลภายนอกโดยตกลงว่าจะให้บำ� เหน็จเป็นเงินเช่นนี้เป็นต้น


2) ถ้าไม่มีข้อตกลงกันไว้ก็ต้องดูที่เคยประพฤติปฏิบัติต่อกันมาอย่างไร หรือดูธรรมเนียม
ประเพณีในเรื่องนั้นๆ ว่ามีอยู่อย่างไร ถ้าเคยให้บ�ำเหน็จแก่กันหรือมีธรรมเนียมเช่นนั้นก็ถือว่ามีการคิด

มส
บ�ำเหน็จแก่กันเช่นกรณีดังกล่าวมาแล้วข้างต้น มีธรรมเนียมการให้ไปโอนที่ดินนั้นย่อมเป็นที่รู้กันว่า
มีบ�ำเหน็จแก่กันเป็นต้น
บ�ำเหน็จ บ�ำเหน็จเป็นค่าตอบแทนที่ตัวแทนได้รับจากการเป็นตัวแทนในการเข้าท�ำกิจการ
แทน ตัวการอาจเป็นทรัพย์สินชนิดอื่นใดก็ได้ ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นเงินเสมอไป บ�ำเหน็จนั้นมีความหมาย
กว้างกว่าค�ำว่าค่าจ้าง ดังนัน้ ค่าจ้างหรือเงินเดือนจึงอาจเป็นส่วนหนึง่ ของบ�ำเหน็จได้ และในเรือ่ งของจ�ำนวน
บ�ำเหน็จนัน้ หากไม่ได้ตกลงจ�ำนวนเงินไว้ตอ้ งดูธรรมเนียมประเพณีหรือพฤติการณ์ทเี่ คยปฏิบตั ติ อ่ กัน หาก
ไม่สามารถก�ำหนดได้ก็ต้องคิดอัตราที่สมควรซึ่งศาลจะวินิจฉัยให้เป็นกรณีเป็นเรื่องๆ ไป ส่วนระยะเวลาที่
จะให้บำ� เหน็จนัน้ ก็ตอ้ งดูขอ้ ตกลงหรือธรรมเนียมประเพณีดว้ ย และอาจมีบางกรณีทตี่ วั แทนอาจถูกตัดสิทธิ
ในการรับบ�ำเหน็จได้แก่กรณีดังต่อไปนี้

1) มีกฎหมายบังคับว่าตัวแทนท�ำการอย่างใดต้องมีประกาศนียบัตรหรือใบส�ำคัญเพือ่ แสดง
ว่าตัวแทนมีความสามารถท�ำกิจการนั้นได้ และตัวแทนไม่มีคุณสมบัติเช่นว่านั้น เช่น นายด�ำอวดอ้างว่า
มส

เป็นทนายความรับว่าความจากนายแดง แต่ปรากฏว่าแท้จริงแล้วนายด�ำไม่มใี บอนุญาตว่าความเพราะไม่มี


คุณสมบัติตามข้อก�ำหนดเช่นนี้ นายด�ำไม่มีสิทธิได้ค่าทนายความ
2) กิจการที่ได้รับมอบหมายเห็นได้ชัดว่ามีวัตถุประสงค์ผิดกฎหมาย หรือตัวแทนทราบแต่
แรกว่ามีวตั ถุประสงค์ผดิ กฎหมายแต่ยงั ตกลงท�ำไป กรณีเช่นนีข้ อ้ ตกลงดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ปพพ.
มาตรา 150 สัญญาย่อมไม่เกิด บ�ำเหน็จจึงไม่จ�ำต้องให้แก่กัน
3) เมื่อตัวแทนท�ำการเกินอ�ำนาจและตัวการไม่ให้สัตยาบัน เช่น ตั้งตัวแทนไปซื้อไม้ แต่
ตัวแทนไปซื้อเหล็ก เป็นต้น

ประมาทเลินเล่อท�ำให้ตัวการเสียหาย ตาม ปพพ. มาตรา 812



4) ตัวแทนกระท�ำผิดหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องมีต่อตัวการอันเนื่องจากความจงใจหรือ

5) เมือ่ ตัวแทนท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกโดยเห็นแก่อามิสสินจ้าง ตาม ปพพ. มาตรา 825


2.3 คู่สัญญาต้องมีความสามารถในการเป็นตัวการและตัวแทนได้ ความสามารถในข้อนี้ไม่ได้
หมายถึงความสามารถในการท�ำนิติกรรมดังที่กล่าวมาแล้วของบุคคลผู้ไร้ความสามารถ แต่เป็นความ
สามารถของตัวการตามกฎหมายที่จะท�ำงานนั้นได้ด้วยตนเอง แต่ตัวการอาจมีเหตุผลที่ตัวการไม่มีเวลา
สธ
หรือตัวการไม่มีความรู้ความช�ำนาญ ตัวการจึงตั้งตัวแทนให้ผู้มีความช�ำนาญทางด้านนั้นๆ โดยเฉพาะ
ท�ำการแทน เช่น ผูช้ ำ� นาญทางการขนส่งทางทะเล นอกจากนีก้ จิ การบางประเภท ซึง่ อาจมีกฎหมายบัญญัติ
ไว้โดยเฉพาะถึงคุณสมบัตใิ นการทีจ่ ะเป็นตัวแทนในกิจการนัน้ ได้ เช่นนีก้ ต็ อ้ งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ขอ้ บังคับ

6-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เหล่านัน้ ด้วยซึง่ ถือว่าเป็นกรณีเฉพาะทีแ่ ตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ทวั่ ไป เช่นการเป็นทนายความมีกฎหมาย


ควบคุมอาชีพทนายความโดยเฉพาะ คือ พรบ. ทนายความ พ.ศ. 2528 หรือการเป็นตัวแทนซื้อขายหลัก
ทรัพย์ซึ่งก็มีกฎหมายควบคุมไว้โดยเฉพาะ คือ พรบ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2535 เป็นต้น ดังนัน้ จะเห็นได้วา่ หากเป็นกรณีทกี่ ฎหมายบัญญัตคิ วบคุมการแต่งตัง้ ตัวแทนไว้โดยเฉพาะ
ในเรื่องนั้นๆ ผู้ที่จะเป็นตัวแทนในกิจการเหล่านั้นก็ต้องมีคุณสมบัติหรือต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือ


กฎเกณฑ์เหล่านัน้ โดยครบถ้วนเสียก่อนจึงสามารถเป็นตัวแทนโดยชอบด้วยกฎหมายได้ แต่โดยทัว่ ไปแล้ว
ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะบุคคลใดๆ ก็อาจเป็นตัวแทนได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะความเป็นตัวแทน

มส
เป็นเรือ่ งของการไว้วางใจกันระหว่างบุคคล กฎหมายจึงเปิดช่องให้มอี สิ ระอย่างเต็มทีใ่ นการตัง้ ตัวแทน เว้นแต่
มีกฎหมายเข้ามาควบคุมทัง้ นีเ้ พือ่ ปกป้องคุม้ ครองประชาชนทีเ่ ข้าไปเกีย่ วข้องกับตัวแทนเหล่านัน้ มิให้ตอ้ ง
ได้รับความเสียหาย เพราะความที่ตัวแทนเหล่านั้นขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อกิจการเหล่านั้น ส�ำหรับ
ตัวการกิจการบางอย่างไม่อาจตัง้ ตัวแทนให้กระท�ำการแทนได้ ตัวการก็ไม่สามารถทีจ่ ะตัง้ ตัวแทนได้ซงึ่ อาจ
จะเป็นดังต่อไปนี้
1) เป็นกิจการซึ่งต้องท�ำเองเฉพาะตัว เป็นที่ยอมรับกันว่ากิจการบางอย่างนั้นบุคคลต้องท�ำ
ด้วยตนเองหรือสภาพของกิจการบ่งชัดว่าต้องท�ำด้วยตนเอง กิจการเหล่านี้ย่อมไม่สามารถตั้งตัวแทนได้
เช่น การสมรส การเข้ารับราชการ การเข้าสอบแข่งขัน เช่นนี้เป็นต้น
2) กฎหมายบัญญัติไว้ กฎหมายอาจบัญญัติไว้ให้กิจการบางอย่างบุคคลต้องท�ำด้วยตนเอง

จะแต่งตั้งตัวแทนให้กระท�ำการแทนกันไม่ได้ หรือในบางกรณีกฎหมายอาจก�ำหนดตัวบุคคลเอาไว้เฉพาะ
เจาะจง กรณีเช่นนีก้ ไ็ ม่อาจตัง้ ตัวแทนท�ำการแทนได้ เช่น กฎหมายระบุให้มคี ณะกรรมการหรือให้บคุ คลใด
มส

บุคคลหนึง่ มีอำ� นาจกระท�ำโดยเฉพาะหรือการเข้ารับราชการทหารเช่นนีไ้ ม่อาจตัง้ ตัวแทนให้ทำ� การแทนได้


เพราะกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดเจนมิได้เปิดช่องให้มีการมอบอ�ำนาจท�ำการแทนกันได้
3) ต�ำแหน่งความสามารถหรือสิทธิเฉพาะตัว ในกรณีที่กฎหมายหรือโดยสภาพของกิจการ
เห็นได้ชดั ว่าเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่อาจท�ำการแทนกันได้ เช่นการเป็นสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒสิ ภา
ไม่อาจตั้งตัวแทนให้มาอภิปรายหรือลงคะแนนเสียงแทนตนได้ หรือในกรณีความสามารถเฉพาะตัว เช่น
เป็นศิลปินนักร้องนักแสดงเช่นนีก้ ไ็ ม่อาจมอบหมายให้ผอู้ นื่ ท�ำการแทนได้ หรือสิทธิบางอย่างเป็นสิทธิเฉพาะตัว

เช่นสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร หรือการท�ำพินยั กรรมเหล่านีไ้ ม่อาจท�ำการ
แทนกันได้
สรุปว่าบุคคลทุกคนที่มีความสามารถสมบูรณ์ที่ท�ำการใดๆ ได้ด้วยล�ำพังตนเองก็สามารถที่
เป็นตัวการได้ เว้นแต่ถูกจ�ำกัดโดยธรรมเนียมประเพณี โดยกฎหมายหรือโดยสภาพของกิจการนั้น
2.4 เป็นสัญญาเฉพาะตัว สัญญาตัวแทนเป็นเรื่องเฉพาะตัวเพราะปกติตัวการมีอิสระในการเลือก
บุคคลใดเป็นตัวแทนก็ได้ การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนก็เพราะไว้เนื้อเชื่อใจกันในความรู้ความสามารถของ
บุคคลนั้น ซึ่งตัวแทนต้องท�ำการนั้นด้วยตนเองไม่สามารถตั้งคนอื่นไปกระท�ำการแทนตนต่อไปได้ คือ
สธ
ไม่สามารถตั้งตัวแทนช่วงได้ ปพพ. มาตรา 808 บัญญัติว่า “ตัวแทนต้องท�ำการด้วยตนเอง เว้นแต่จะมี
อ�ำนาจใช้ตัวแทนช่วงท�ำการได้” นอกจากนีต้ วั การและตัวแทน เมือ่ ไม่พอใจกันก็อาจถอนตัวหรือบอกเลิก
การเป็นตัวแทนกันได้ตลอดเวลาโดยไม่จ�ำต้องให้เหตุผล และไม่ตอ้ งได้รบั ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึง่ แต่

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-23

อย่างใด โดย ปพพ. มาตรา 827 บัญญัติว่า “ตัวการจะถอนตัวแทน และตัวแทนจะบอกเลิกเป็นตัวแทน


เสียในเวลาใดๆ ก็ได้ทุกเมื่อ” และหากตัวแทนไม่ยอมท�ำการเป็นตัวแทน หรือตัวการไม่ยอมตั้งให้เป็น
ตัวแทน คู่สัญญาอีกฝ่ายจะฟ้องศาลบังคับให้ตัวแทนกระท�ำการเป็นตัวแทนหรือบังคับให้เป็นตัวการไม่ได้
เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ท�ำได้ ตาม ปพพ. มาตรา 213


กิจกรรม 6.1.2

มส
1. หลักเกณฑ์ของสัญญาตัวแทนมีประการใดบ้าง จงอธิบาย
2. นายเสรีจ้างให้นายจิระท�ำหน้าที่ขายสินค้าในร้านของนายเสรี ในการขายสินค้านั้น นายจิระ
ลงนามในสัญญาซือ้ ขายระหว่างลูกค้ากับร้านค้าของนายเสรีดว้ ย กรณีเช่นนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างนายเสรี
กับนายจิระอยู่ในความหมายของตัวแทนหรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบกิจกรรม 6.1.2
1. ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
ก. ต้องใช้หลักเกณฑ์ทั่วไปของสัญญา
ข. ต้องมีลักษณะเฉพาะของสัญญา

2. นายจิระเป็นตัวแทนของนายเสรีและยังเป็นลูกจ้างของนายเสรีดว้ ย ทัง้ นีเ้ พราะนายเสรียนิ ยอม
ให้นายจิระเป็นตัวแทนโดยปริยาย ตาม ปพพ. มาตรา 797 วรรคท้าย ในระหว่างนายเสรีและนายจิระต่าง
มส

มีความยินยอมกันโดยปริยาย


สธ

6-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 6.2
ชนิดของตัวแทน
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 6.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
6.2.1 ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการ
6.2.2 ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไปเฉพาะกิจการ
6.2.3 ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไป
6.2.4 ตัวแทนชนิดพิเศษ

1. ก ารแบ่งแยกชนิดของตัวแทนนัน้ แบ่งแยกได้หลายวิธแี ต่ทนี่ ยิ มใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการ


แบ่งแยกมากที่สุดคือการใช้ขอบเขตอ�ำนาจของตัวแทนเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาแบ่ง
แยก การทีต่ อ้ งแบ่งแยกชนิดของตัวแทนไว้กเ็ พือ่ จะทราบถึงหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ

ของตัวแทนต่อตัวการ
2. ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการ มีอ�ำนาจหน้าที่จ�ำกัดเฉพาะกิจการที่ได้รับมอบ
มส

หมายโดยเฉพาะ กิจการของตัวแทนประเภทนี้อาจแบ่งแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ


กิจการในหน้าที่และกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่
3. ตวั แทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไปเฉพาะกิจการแตกต่างจากตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะ
การ เพราะตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไปเฉพาะกิจการมีอำ� นาจกว้างขวางกว่า สามารถ
กระท�ำการได้ทุกชนิด ของกิจการที่ได้รับมอบหมายนั้นแต่ก็ยังเป็นกิจการเฉพาะอย่าง
เท่านั้น

4. ตวั แทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไปนัน้ มีอำ� นาจกว้างขวางมากสามารถท�ำการแทนตัวการได้ทกุ
อย่างยกเว้นแต่กิจการบางประเภทที่กฎหมายบัญญัติห้ามกระท�ำเว้นแต่จะได้รับความ
ยินยอมจากตัวการโดยชัดแจ้ง หรือเป็นกิจการที่เป็นการเฉพาะตัวของตัวการ
5. การเป็นตัวแทนช่วงหมายถึงตัวแทนทีไ่ ด้รบั มอบอ�ำนาจจากตัวแทนอีกต่อหนึง่ อาจเกิด
ขึ้นโดยความยินยอม โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ ความรับผิดของตัวแทนช่วงเป็น
เช่นเดียวกับตัวแทนธรรมดา
6. ตัวแทนเชิดเป็นตัวแทนโดยผลของกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอก
สธ
ผู้สุจริต

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-25

7. ต วั แทนค้าต่างเป็นตัวแทนโดยอาชีพเกีย่ วกับการเป็นตัวแทนค้าขาย เป็นตัวแทนลักษณะ


พิเศษ กล่าวคือมีสองสถานะทางกฎหมายในเวลาเดียวกัน คือเป็นทั้งคู่สัญญาต่อบุคคล
ภายนอก และเป็นทั้งตัวแทนของตัวการในกิจการที่กระท�ำกับบุคคลภายนอก


วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 6.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

มส
1. อธิบายหลักเกณฑ์การแบ่งแยกชนิดของตัวแทนได้
2. อธิบายความหมาย อ�ำนาจหน้าที่ ตลอดจนยกตัวอย่างของตัวแทนชนิดต่างๆ ได้
3. อธิบายความแตกต่างของตัวแทนแต่ละชนิดได้
4. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับขอบอ�ำนาจหน้าที่ของตัวแทนแต่ละชนิดได้

มส


สธ

6-26 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ค�ำน�ำ

การแบ่งแยกชนิดของตัวแทนนั้นสามารถกระท�ำได้หลายวิธีอาจพิจารณาจากวิธีการแต่งตั้งหรือ


ประเภทกิจการที่กระท�ำหรือขอบอ�ำนาจหน้าที่ของตัวแทนก็ได้ การแบ่งแยกชนิดของตัวแทนจากวิธีการ
แต่งตั้งนั้น อาจแบ่งแยกเป็นตัวแทนโดยตรง โดยปริยายและโดยผลกฎหมาย ส�ำหรับการแบ่งแยกชนิด
ของตัวแทนโดยอาศัยขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของตัวแทนเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานั้นแบ่งแยกได้ดังนี้

มส
1. ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการ
2. ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไปเฉพาะกิจการ
3. ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไป
การแบ่งแยกชนิดของตัวแทนโดยอาศัยขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของตัวแทนค�ำนึงถึงกิจการงานที่
ตัวแทนสามารถท�ำการแทนตัวการได้ กล่าวคือพิจารณาจากตัวการว่าได้มอบหมายอ�ำนาจให้ตวั แทนกระท�ำ
ได้เพียงใด เมือ่ ทราบขอบเขตอ�ำนาจแล้วจึงวินจิ ฉัยว่าตัวแทนดังกล่าวเป็นตัวแทนชนิดใด ดังนัน้ ในการแต่ง
ตั้งตัวแทนและก�ำหนดอ�ำนาจหน้าที่นั้น ตัวการอาจไม่ได้ระบุชื่อเรียกชนิดของตัวแทนนั้นไว้เลยก็ได้ ทาง
ปฏิบัติไม่ได้คำ� นึงถึงชนิดตัวแทนมากนัก แต่พิจารณาจากข้อตกลงระหว่างตัวการกับตัวแทนเป็นส�ำคัญ

เรื่องที่ 6.2.1
มส

ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการ

1. ความหมาย
ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการ หมายถึง ตัวแทนที่ได้รับมอบอ�ำนาจให้กระท�ำกิจการแต่

เฉพาะเรื่อง เฉพาะราวหรือเฉพาะหน้าที่บางประการเท่านั้น เช่น นายแดงแต่งตั้งให้นายด�ำเป็นตัวแทน
ไปท�ำสัญญาขายที่ดินแปลงหนึ่งของนายแดงให้แก่นายเขียว เช่นนี้จะเห็นได้ว่านายด�ำมีหน้าที่เฉพาะเรื่อง
การท�ำสัญญาขายที่ดินรายนี้เท่านั้น นายด�ำเป็นตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการ ดังนั้นในกรณีที่จะ
พิจารณาว่าตัวแทนได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการหรือไม่จึงต้องพิจารณาดังนี้คือ
1. อ�ำนาจของตัวแทนมีจ�ำกัดเฉพาะการหรือเฉพาะเรื่อง หมายความว่าตัวแทนจะต้องมีอ�ำนาจ
จ�ำกัดเฉพาะ
2. ตัวการที่มีความประสงค์จะให้ตัวแทนกระท�ำการเพียงเท่าที่ก�ำหนดดังกล่าวนั้น หมายความ
สธ
ว่าตัวแทนและตัวการต้องมีเจตนาหรือวัตถุประสงค์ตรงกันในเรือ่ งทีจ่ ะกระท�ำการแทนเฉพาะการหรือเฉพาะ
เรื่องที่ตกลงหรือก�ำหนดไว้เท่านั้น

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-27

3. ตัวแทนได้กระท�ำการภายในขอบเขตอ�ำนาจของตน หมายความว่าตัวแทนนัน้ จะต้องได้กระท�ำ


ลงไปตามที่ตกลงกันนั้น
เมื่อครบหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้จึงวินิจฉัยได้ว่าตัวแทนดังกล่าวนั้นเป็นตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่
เฉพาะการ ดังนัน้ หากตัวแทนท�ำการเกินอ�ำนาจ ส่วนทีเ่ กินอ�ำนาจนัน้ ย่อมไม่ใช่อำ� นาจของตัวแทนรับมอบ
อ�ำนาจแต่เฉพาะการ แต่เป็นส่วนที่ตัวการจะต้องให้สัตยาบัน กล่าวคือกรณีเช่นนี้จะพิจารณาจากงานที่ท�ำ


ไม่ได้ ต้องพิจารณาจากข้อตกลงระหว่างตัวการกับตัวแทน เช่น นายแดงแต่งตั้งให้นายขาวดูแลกิจการ
ค้าขายของนายแดง โดยมิได้ระบุอำ� นาจหน้าที่ นายขาวจะท�ำหน้าที่เพียงรับเงินรายได้จากลูกค้า ไปฝาก

มส
ธนาคารไว้เท่านัน้ หน้าทีน่ อกเหนือจากนีแ้ ล้วนายขาวไม่ยอมกระท�ำ กรณีเช่นนีถ้ อื ว่านายขาวมิใช่ตวั แทน
รับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการแต่เป็นตัวแทนชนิดอื่น หรือในกรณีที่นายแดงแต่งตั้งให้นายขาวเป็นตัวแทน
เฉพาะการสั่งสินค้ามาขายในร้าน และจ�ำกัดเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้าเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัตินายแดง
ยินยอมให้นายขาวกระท�ำการแทนตนหมดทุกเรือ่ งในกิจการร้านค้านัน้ กรณีเช่นนีม้ ใิ ช่กรณีตวั แทนรับมอบ
อ�ำนาจแต่เฉพาะการ เพราะต้องวินจิ ฉัยว่านายแดงแต่งตัง้ ให้นายขาวเป็นตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไปเฉพาะ
กิจการโดยปริยายแล้ว

2. ขอบอ�ำนาจหน้าที่
ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการนั้นมีอ�ำนาจหน้าที่จ�ำกัด จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในขอบเขตที่

ตัวการมอบหมายเท่านัน้ ปพพ. มาตรา 800 บัญญัตวิ า่ “ถ้าตัวแทนได้รบั มอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการ ท่านว่า
จะท�ำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิง่ ทีจ่ ำ� เป็น เพือ่ ให้กจิ การอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนัน้ ส�ำเร็จลุลว่ งไป”
มส

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่จ�ำเป็นในการที่ตัวแทนต้องปฏิบัติแทนตัวการนั้นอาจเป็นงานในหน้าที่โดยตรง และการ
อันเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่ด้วย เช่น นายขาวแต่งตั้งให้นายแดงไปท�ำสัญญาขายที่ดินแปลงหนึ่งของนายขาว
ให้แก่นายด�ำ กิจการทีน่ ายแดงจะกระท�ำแทนนายขาวได้ยอ่ มหมายถึงการลงนามในสัญญา การช�ำระค่าทีด่ นิ
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนนิตกิ รรมการขายทีด่ นิ ค่าพาหนะเดินทางไปท�ำสัญญาซือ้ ขาย ค่าถ่ายส�ำเนา
เอกสารต่างๆ เช่นนี้เป็นต้น จะเห็นว่ากิจการที่นายแดงจะต้องกระท�ำนั้นมีทั้งกิจการอันเป็นหน้าที่โดยตรง
คือการลงนามในสัญญา การรับช�ำระราคาจากนายด�ำ และมีกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่ คือ ค่าพาหนะ

เดินทาง ค่าถ่ายส�ำเนาเอกสาร เช่นนี้เป็นต้น นายแดงสามารถกระท�ำได้ทั้งสิ้นในกิจการเหล่านั้น
อย่างไรก็ตามเกีย่ วกับขอบเขตอ�ำนาจของตัวแทนชนิดนี้ แม้จะมีจำ� กัด แต่ถา้ เป็นกรณีฉกุ เฉินเพือ่
ประโยชน์ของตัวการแล้ว ตัวแทนชนิดนี้ก็อาจท�ำการได้ เช่น กรณีตัวแทนตัวอย่างที่ยกมานั้นหากนายด�ำ
ผูซ้ อื้ ช�ำระราคาเป็นเช็ค และเช็คนัน้ ไม่สามารถขึน้ เงินได้ กรณีเช่นนีน้ ายแดงอาจด�ำเนินการอายัดทีด่ นิ แปลง
นั้นต่อนายทะเบียนได้เป็นต้น ดังนั้นในการพิจารณาขอบอ�ำนาจหน้าที่ของตัวแทนชนิดนี้จึงต้องพิจารณา
โดยเคร่งครัด ตาม ปพพ. มาตรา 800 กล่าวคือตัวแทนชนิดนี้จะมีอ�ำนาจหน้าที่กระท�ำการแทนตัวการ
เพียงใดในสิ่งที่จำ� เป็น เพื่อให้งานนั้นส�ำเร็จลุล่วงไปได้ตามที่ตัวการมุ่งหวังเท่านั้น จะท�ำนอกเหนืออ�ำนาจ
สธ
หน้าทีไ่ ม่ได้ หากกระท�ำนอกเหนืออ�ำนาจหน้าทีก่ ต็ อ้ งรับผิดต่อตัวการดังทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ใน ปพพ. มาตรา 812
ซึ่งหากตัวแทนจะไม่ต้องรับผิดก็ต้องเป็นกรณีที่ตัวการให้สัตยาบันแก่การกระท�ำนั้น ตาม ปพพ. มาตรา
823

6-28 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 6.2.1
1. กิจการที่ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการจะต้องกระท�ำนั้นอาจแบ่งแยกออกได้เป็นกี่
ประเภท อะไรบ้าง
2. นายจันทร์มอบหมายให้นางอาทิตย์ไปท�ำสัญญาจ�ำนองแทน กรณีเช่นนีน้ างอาทิตย์จะมีอำ� นาจ


ท�ำการแทนนายจันทร์ในเรื่องการบังคับจ�ำนองหรือการไถ่ถอนจ�ำนองหรือไม่เพราะเหตุใด

แนวตอบกิจกรรม 6.2.1

มส
1. แยกได้เป็น 2 ประเภท คือกิจการในหน้าที่และกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่
2. นางอาทิตย์ไม่มอี ำ� นาจกระท�ำเช่นนัน้ เพราะขอบเขตอ�ำนาจมีเพียงเฉพาะการคือเรือ่ งท�ำสัญญา
จ�ำนอง ทั้งนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 800

เรื่องที่ 6.2.2
ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไปเฉพาะกิจการ

มส

1. ความหมาย
ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไปเฉพาะกิจการนั้นได้แก่ตัวแทนที่มีหน้าที่ดูแลหรือด�ำเนินการแทน
ตัวการเป็นการทั่วไป แต่ก็เฉพาะกิจการบางอย่างเท่านั้น อ�ำนาจที่มีอยู่ทั่วไปจึงมีเฉพาะในกิจการหรือที่
เกีย่ วเนือ่ งกับกิจการ ตัวแทนชนิดนีแ้ ตกต่างจากตัวแทนรับมอบอ�ำนาจแต่เฉพาะการตรงทีก่ จิ การทีต่ วั แทน
จะกระท�ำการแทนตัวการได้นนั้ ยังเป็นกิจการเฉพาะการอยู่ เช่น นายแดงมอบอ�ำนาจให้นายด�ำดูแลกิจการ
ร้านค้าผ้าของตน นายด�ำย่อมเป็นตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไปเฉพาะในกิจการร้านค้าผ้าของนายแดงเท่านัน้

แต่อำ� นาจดูแลกิจการนั้นมีกว้างขวาง เช่น การสั่งซื้อสินค้า ขายสินค้า จ้างลูกจ้าง ช�ำระภาษี ฯลฯ เช่นนี้
เป็นต้น ส�ำหรับตัวแทนชนิดนี้บางทีก็อาจจะถูกจัดอยู่ในประเภทตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไปเฉพาะใน
กิจการ ตาม ปพพ. มาตรา 800 เท่านัน้ ไม่ใช่ตวั แทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไป ตาม ปพพ. มาตรา 801 เพราะ
เจตนาของนายแดงมีเพียงให้นายด�ำดูแลกิจการร้านค้าเท่านั้น นายด�ำย่อมมีอ�ำนาจจ�ำกัดในกิจการแต่
ไม่จ�ำกัดในการด�ำเนินงาน เพราะการด�ำเนินงานเป็นวิธีการ แต่กิจการเป็นเรื่องของขอบเขตอ�ำนาจ หาก
นายด�ำท�ำกิจการเหนือขอบอ�ำนาจ นายด�ำย่อมต้องรับผิดต่อนายแดง ตาม ปพพ. มาตรา 812 เว้นแต่จะ
สธ
มีข้อยกเว้น ตาม ปพพ. มาตรา 802 ซึ่งตัวแทนตามมาตรา 802 สามารถใช้ได้กับตัวแทนทุกกรณี

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-29

2. ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่
ตัวแทนชนิดนี้เป็นเพียงตัวแทนเฉพาะการอย่างหนึ่ง แต่เป็นตัวแทนเฉพาะการที่มีอ�ำนาจทั่วไป
เฉพาะในการนั้นๆ อ�ำนาจจึงกว้างขวางกว่าชนิดแรก โดยมีอ�ำนาจทั่วไปในขอบเขตเฉพาะกิจการที่ได้รับ
มอบหมายเท่านัน้ จึงเรียกว่าตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไปเฉพาะกิจการ ซึง่ จ�ำเป็นต้องพิจารณาจากอ�ำนาจ


หน้าที่ จากข้อตกลง หรือธรรมเนียมประเพณีในเรื่องนั้นๆ ด้วย
อุทาหรณ์
ฎ. 247/2510 ตัวการมอบอ�ำนาจให้ตัวแทนมีอ�ำนาจรับจ�ำนองที่พิพาทแทนจนเสร็จการ ตัวแทน

มส
ย่อมมีอ�ำนาจท�ำการใดๆ ในสิ่งจ�ำเป็นได้ เพื่อการรับจ�ำนองได้ส�ำเร็จลุล่วงไป เมื่อตัวแทนรับทราบว่าที่
พิพาทนัน้ อยูร่ ะหว่างเป็นความกันแต่กร็ บั จ�ำนองไว้ ผลก็เท่ากับตัวการได้รบั จ�ำนองไว้โดยรูว้ า่ เขาเป็นความ
กัน เมือ่ ปรากฏภายหลังว่าผูจ้ �ำนองไม่มสี ทิ ธิเอาทีพ่ พิ าทไปจ�ำนอง การจ�ำนองก็ไม่ผกู พันเจ้าของอันแท้จริง
ฎ. 10482/2546 สัญญาที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับการเงินที่โจทก์และจ�ำเลยจะต้องปฏิบัติต่อกันไม่มี
สัญญาข้อใดหรือตอนใดระบุว่าโจทก์และจ�ำเลยได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระท�ำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะ
แบ่งปันก�ำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ท�ำนั้น อันเป็นหลักการของการเป็นหุ้นส่วนดังที่บัญญัติไว้ใน ปพพ.
มาตรา 1012 ในสัญญาคงมีแต่ขอ้ ความว่า จ�ำเลยมีสทิ ธิได้รบั เงินอะไรทีไ่ ม่ตอ้ งคืนโจทก์เท่านัน้ ส�ำหรับเงิน
ที่โจทก์โอนให้แก่จ�ำเลยเพื่อซื้อที่ดินแปลงพิพาทนั้น ในสัญญาก็ระบุให้จ�ำเลยจะต้องคืนเงินทุนทั้งหมดที่
โจทก์โอนมาให้แก่จ�ำเลยเพื่อซื้อที่ดิน ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นแจ้งชัดว่าโจทก์และจ�ำเลยมิใช่หุ้นส่วนกัน เมื่อจ�ำเลย

มีหน้าทีต่ ามสัญญาเพียงส่งมอบเงินทุนทัง้ หมดคืนแก่โจทก์ จ�ำเลยจึงมีฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์ในกิจการ
นี้เท่านั้น โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีสิทธิในเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงพิพาทแต่เพียงผู้เดียว
มส

ฎ. 247/2550 ผู้รับมอบอ�ำนาจให้ฟ้องคดีแทนวัดเป็นตัวแทนเฉพาะการย่อมมีอ�ำนาจกระท�ำการ
แทนตัวการในสิ่งที่จ�ำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนส�ำเร็จลุล่วงไป การตั้งทนายความ
เป็นการกระท�ำทีจ่ ำ� เป็นในการด�ำเนินคดี ผูร้ บั มอบอ�ำนาจจึงมีอำ� นาจตัง้ ทนายความด�ำเนินคดีแทนวัด ตาม
ปพพ. มาตรา 800 และ ปวพ. มาตรา 60 วรรคสอง
อย่างไรก็ดี ถ้าตามสภาพของกิจการเองหรือธรรมเนียมประเพณีอาจมีกรณีจ�ำเป็นตัวแทนย่อม
กระท�ำการใดๆ ก็ได้ตามทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ใน ปพพ. มาตรา 802 ว่า “ในเหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันมิให้ตัวการต้อง

เสียหาย ท่านให้สนั นิษฐานไว้กอ่ นว่าตัวแทนจะท�ำการใดๆ เช่นอย่างวิญญูชนจะพึงกระท�ำ ก็ยอ่ มมีอำ� นาจ
จะท�ำได้ทั้งสิ้น” ซึ่งก็หมายความว่าตัวแทนไม่สามารถติดต่อกับตัวการได้แม้จะพยายามแล้ว และการที่
กระท�ำไปนั้นเพื่อประโยชน์ของตัวการ และจ�ำเป็นโดยพิจารณาจากหลักวิญญูชน ทั้งต้องกระท�ำไปโดย
สุจริต ซึ่งการอ้างถึงกรณีตัวแทนโดยจ�ำเป็นนั้นมักจะต้องมีความสัมพันธ์ในฐานะตัวแทนตัวการกันอยู่
ก่อนแล้ว แต่มีการท�ำการเกินอ�ำนาจเกิดขึ้น หากไม่มีความสัมพันธ์กันมาก่อนเลยก็ไม่อาจอยู่ในเรื่องของ
ตัวแทนแต่อาจเป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่ง
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 2445/2533 จ�ำเลยที่ 2 ซึง่ เป็นหุน้ ส่วนผูจ้ ดั การของห้างหุน้ ส่วนจ�ำกัดจ�ำเลยที่ 1 ได้ถงึ แก่ความ
ตายไปก่อนโจทก์ฟอ้ งจ�ำเลยขอให้ลม้ ละลาย ห้างฯ จ�ำเลยที่ 1 ซึง่ มีหนุ้ ส่วนอยู่ 2 คน คือจ�ำเลยที่ 2 และ ว.
จึงต้องเลิกกันเนื่องจากสภาพความเป็นหุ้นส่วนย่อมไม่มีอีกต่อไป คงมีอยู่แต่เฉพาะ ว. ผู้เดียว หากจะ

6-30 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ด�ำเนินกิจการของห้างฯ จ�ำเลยที่ 1 ต่อไป ก็เท่ากับด�ำเนินกิจการในกิจการส่วนตัวของ ว. เมือ่ ห้างฯ จ�ำเลย


ที่ 1 เลิกกัน ก็ต้องจัดให้มีการช�ำระบัญชีตาม ปพพ. มาตรา 1247–1273 ว. จึงไม่มีอำ� นาจตั้งตนเองเป็น
ผู้แทนของจ�ำเลยที่ 1 และแต่งทนายเข้ามาสู้คดีแทนจ�ำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นอ�ำนาจของผู้ชำ� ระบัญชี ตาม
ปพพ. มาตรา 1259 (1) และกรณีดังกล่าวก็ไม่ต้องด้วย ปพพ. มาตรา 802 เนื่องจาก ว. มิได้เป็นตัวแทน
ของจ�ำเลยที่ 1 มาก่อน ว.จึงไม่มีอ�ำนาจเข้าด�ำเนินคดีแทนจ�ำเลยที่ 1 เพราะเหตุฉุกเฉินได้ ดังนี้ศาลชอบที่


จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาทีผ่ ดิ ระเบียบนับแต่ ว.แต่งทนายเข้ามาสูค้ ดีแทนห้างฯ จ�ำเลยที่ 1 เสียทัง้ หมด

มส
กิจกรรม 6.2.2
นายเสรีมอบอ�ำนาจให้นายสุวิทย์ดูแลกิจการเหมืองแร่ของตนเป็นเวลา 1 ปี กรณีเช่นนี้นายสุวิทย์
จะมีอำ� นาจหน้าที่เพียงใด

แนวตอบกิจกรรม 62.2
อ�ำนาจหน้าทีข่ องนายสุวทิ ย์มเี ฉพาะในกิจการเหมืองแร่เท่านัน้ ซึง่ อาจเป็นอ�ำนาจโดยตรงและโดย
ทางอ้อม

มส

เรื่องที่ 6.2.3
ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไป

1. ความหมาย

ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไปคือตัวแทนทีม่ อี ำ� นาจกระท�ำการแทนตัวการทุกอย่างเว้นแต่ในกิจการ
ที่กฎหมายห้ามมิให้กระท�ำการแทนกันได้ หรือเป็นกิจการที่จ�ำเป็นต้องท�ำเองเฉพาะตัวไม่อาจจะกระท�ำ
การแทนกันได้ ตัวแทนชนิดนีม้ อี ำ� นาจกว้างขวางมาก ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไปอาจมีได้ในกรณีทตี่ วั การ
ไม่อาจด�ำเนินกิจการได้ด้วยตนเองเพราะเหตุจ�ำเป็นบางประการ เช่น นายแดงเจ็บป่วยหนักไม่สามารถ
ด�ำเนินกิจการของตนเองได้ จึงแต่งตั้งให้นายด�ำท�ำการแทนตนในทุกเรื่องได้ เป็นต้น

2. ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่
สธ
ในเรื่องขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไป ปพพ. มาตรา 801 บัญญัติว่า “ถ้า
ตัวแทนได้รับมอบอ�ำนาจทั่วไป ท่านว่าจะท�ำกิจใดๆ ในทางจัดการแทนตัวการก็ย่อมท�ำได้ทุกอย่าง

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-31

แต่การเช่นอย่างจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าหาอาจจะท�ำได้ไม่ คือ


(1) ขายหรือจ�ำนองอสังหาริมทรัพย์
(2) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่าสามปีขึ้นไป
(3) ให้
(4) ประนีประนอมยอมความ


(5) ยื่นฟ้องต่อศาล
(6) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา”

มส
จากบทบัญญัตดิ งั กล่าวจะเห็นได้วา่ ตัวแทนประเภทนีม้ อี �ำนาจท�ำการแทนตัวการได้ทกุ อย่างทีพ่ งึ
ท�ำการแทนกันได้ กฎหมายจึงจ�ำกัดอ�ำนาจไว้เฉพาะอย่างตามอนุมาตรา 1 ถึงอนุมาตรา 6 ทัง้ นีเ้ พือ่ คุม้ ครอง
ผลประโยชน์ของตัวการ ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไปแตกต่างกับตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไปเฉพาะกิจการ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
อุทาหรณ์
ฎ. 686/2546 หนังสือมอบอ�ำนาจทัว่ ไปมิได้มงุ่ หมายให้ตวั แทนกระท�ำกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจง
ทั้งการฟ้องคดีก็มิได้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นบุคคลใดย่อมมีผลในการมอบ
อ�ำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระท�ำการมากกว่าครั้งเดียว โจทก์จึงใช้หนังสือมอบอ�ำนาจ
ดังกล่าวฟ้องลูกหนี้ของโจทก์ได้ทุกคดี โดยไม่มีจ�ำกัดจ�ำนวนคดีและตัวบุคคล แม้โจทก์จะเคยใช้หนังสือ

มอบอ�ำนาจฟ้องจ�ำเลยมาแล้ว โจทก์ก็มีอ�ำนาจใช้หนังสือมอบอ�ำนาจฉบับเดิมมาฟ้องจ�ำเลยในคดีนี้ได้อีก
(ฎ. 652/2508, ฎ. 8743/2542, ฎ. 3171–3172/2545, ฎ. 1690/2551, ฎ. 6659/2551)
ฎ. 3093/2549 ผูร้ อ้ งมอบอ�ำนาจให้ อ. ยืน่ ค�ำร้องขอคืนของกลางแทนผูร้ อ้ ง โดยให้มอี ำ� นาจด�ำเนิน
มส

กระบวนพิจารณาคดีจนกว่าจะถึงทีส่ ดุ รวมทัง้ ใช้สทิ ธิในการอุทธรณ์ฎกี า และมีสทิ ธิมอบอ�ำนาจให้ตวั แทน


ช่วงด�ำเนินการแทนได้ ตามความจ�ำเป็นทุกกรณีแห่งกิจการทีม่ อบหมาย ซึง่ อ. ได้มอบอ�ำนาจให้ น. เป็น
ตัวแทนช่วง ยื่นค�ำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง แม้ในหนังสือมอบอ�ำนาจฉบับที่ 2 นี้จะระบุไว้แต่
เพียงว่าให้ น. มีอ�ำนาจยื่นค�ำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนโดยไม่มีข้อความว่าให้
ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาหนังสือมอบอ�ำนาจทั้งสองฉบับรวมกันแล้วย่อมเข้าใจได้ว่า

ผู้ร้องมอบอ�ำนาจให้ น. มีสิทธิด�ำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุดอันมีความหมาย
รวมถึงการใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาเองหรือแต่งตั้งทนายความให้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วย
ฎ. 3913/2549 หนังสือมอบอ�ำนาจของผู้ร้องระบุมอบอ�ำนาจให้ ว. ยื่นฟ้องต่อสู้คดี ด�ำเนินการไป
จนส�ำเร็จในศาลทั้งปวงแทนผู้รับมอบอ�ำนาจ ว. จึงมีอำ� นาจกระท�ำการแทนผู้รับมอบอ�ำนาจในการยื่นฟ้อง
และด�ำเนินคดีในศาลได้ทุกคดี โดยไม่มีก�ำหนดเวลาจนกว่าผู้มอบอ�ำนาจจะเพิกถอนการมอบอ�ำนาจนั้น
(ฎ. 6659/2551)
ฎ. 125/2554 แม้โจทก์รดู้ อี ยูแ่ ล้วว่าใครเป็นลูกหนีข้ องตน แต่โดยพฤติการณ์โจทก์ยอ่ มไม่อาจคาด
สธ
เดาได้ลว่ งหน้าว่าลูกหนีร้ ายใดบ้างจะประพฤติผดิ สัญญาจนถึงขนาดต้องน�ำคดีมาสูศ่ าลหรือรายใดจะปฏิบตั ิ
ตามสัญญาอย่างเคร่งครัดจนหมดพันธกรณีเพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตทัง้ สิน้ การทีห่ นังสือมอบอ�ำนาจ
ระบุให้ จ. ด�ำเนินคดีฟ้องร้อง ถอนฟ้อง และแก้คดีต่างๆ ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา คดีล้มละลายหรือ

6-32 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

คดีความอื่นใดนั้น ย่อมหมายความว่าโจทก์มอบอ�ำนาจให้ จ. ด�ำเนินคดีแก่ลูกหนี้เฉพาะรายที่ประพฤติ


ผิดสัญญาจนถึงขนาดทีต่ อ้ งฟ้องขอให้ศาลบังคับเท่านัน้ มิใช่การมอบอ�ำนาจทัว่ ไป โจทก์จงึ ไม่มอี ำ� นาจฟ้อง

กิจกรรม 6.2.3


1. ตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไป มีขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่จะกระท�ำการแทนตัวการเพียงใด และมี
ข้อจ�ำกัดอย่างไรบ้างหรือไม่ จงอธิบาย

มส
2. นายอังคารแต่งตั้งให้นายพุธเป็นตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทั่วไป ขณะที่ท�ำหน้าที่ตัวแทนให้แก่
นายอังคารนั้น นายพุธน�ำบ้านและที่ดินของนายอังคารไปจ�ำนองกับธนาคารเพื่อกู้เงินมาใช้จ่ายในกิจการ
ของนายอังคาร กรณีเช่นนี้นายพุธมีอ�ำนาจกระท�ำการแทนดังกล่าวหรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 6.2.3
1. มีอ�ำนาจกระท�ำการได้ทุกประการเว้นแต่กิจการ ตาม ปพพ. มาตรา 801 (1)-(6) และกิจการ
ที่ตัวการจะต้องท�ำเองเฉพาะตัว
2. นายพุธไม่มีอ�ำนาจกระท�ำเพราะขัดกับบทบัญญัติ ปพพ. มาตรา 801 (1)

มส

เรื่องที่ 6.2.4
ตัวแทนชนิดพิเศษ

ตัวแทนชนิดพิเศษนี้เป็นตัวแทนที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ 1) ตัวแทนช่วง


2) ตัวแทนเชิด และ 3) ตัวแทนค้าต่าง

1. ตัวแทนช่วง

ตัวแทนช่วงคือบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนให้กระท�ำการในหน้าที่ของตัวแทนให้กับตัวการ
ตัวแทนช่วงจึงเปรียบเสมือนตัวแทนคนหนึ่งของตัวการนั่นเอง แตกต่างจากการตั้งตัวแทนหลายคนตรงที่
ในกรณีตั้งตัวแทนหลายคนนั้น ตัวการเองเป็นผู้แต่งตั้ง แต่กรณีตัวแทนช่วงนั้น ตัวแทนเป็นผู้แต่งตั้ง อาจ
แต่งตัง้ โดยความยินยอมชัดแจ้งจากตัวการหรือโดยการยินยอมโดยปริยายก็ได้ ตามปกตินนั้ การเป็นตัวแทน
สธ
กันนั้นย่อมต้องอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวเพราะเป็นเรื่องความไว้วางใจกัน กฎหมายจึงวางหลักไว้ว่า
ตัวแทนเมื่อได้รับแต่งตั้งจากตัวการแล้วจะต้องกระท�ำหน้าที่ด้วยตนเอง ในบางครั้งตัวแทนก็จ�ำเป็นต้องมี
ผู้ช่วย ดังนั้นจึงอาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อช่วยเหลือในภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากตัวการได้ เช่น นาย

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-33

ด�ำตัง้ นายแดงให้ดแู ลกิจการห้างสรรพสินค้าของนายด�ำเช่นนี้ นายแดงย่อมตัง้ ตัวแทนช่วงไปท�ำกิจการบาง


อย่างในขอบเขตของการบริหารกิจการห้างสรรพสินค้าดังกล่าวได้ เช่น ตั้งตัวแทนช่วงไปซื้อสินค้ามาขาย
เป็นต้น
อันที่จริงตัวแทนช่วงก็คือตัวแทนของตัวแทนนั่นเอง แต่ตัวการก็ต้องผูกพันในการกระท�ำของ
ตัวแทนช่วงดังกล่าวนั้นด้วย ตัวแทนช่วงอาจเกิดได้ 2 กรณีคือ เกิดจากการมอบอ�ำนาจจากตัวการโดย


ชัดแจ้ง และเกิดจากการแต่งตั้งโดยปริยาย
ผลทางกฎหมายเมื่อมีการตั้งตัวแทนช่วง ฐานะตัวแทนช่วงอยู่ในฐานะเช่นเดียวกับตัวแทนไม่ว่า

มส
จะเป็นตัวแทนช่วงทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ โดยความยินยอมโดยตรงหรือโดยปริยายของตัวการก็ตาม เมือ่ มีการ
แต่งตั้งตัวแทนช่วงขึ้นแล้ว ความรับผิดระหว่างตัวการตัวแทนและตัวการช่วงมีดังนี้
1.1 กรณีที่ตัวการระบุตัวแทนช่วงชัดแจ้ง กรณีเช่นนีต้ วั การกับตัวแทนช่วงย่อมมีหน้าทีแ่ ละความ
รับผิดต่อกันโดยตรง ส่วนตัวแทนเดิมไม่ต้องรับผิดต่อตัวการในความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้น ตัวแทนจะ
รับผิดต่อตัวการเพียงในกรณีทตี่ นได้รอู้ ยูว่ า่ การตัง้ ตัวแทนช่วงนัน้ เป็นผูไ้ ม่เหมาะสมแก่การทีก่ ระท�ำนัน้ หรือ
เป็นผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจและไม่ได้แจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวให้ตัวการทราบหรือมิได้ถอนตัวแทนช่วงนั้นเสีย
ตามที่ ปพพ. มาตรา 813 บัญญัตวิ า่ “ตัวแทนผูใ้ ดตัง้ ตัวแทนช่วงตามทีต่ วั การระบุตวั ให้ตงั้ ท่านว่าตัวแทน
ผู้นั้นจะต้องรับผิดแต่เพียงในกรณีที่ตนได้รู้ว่าตัวแทนช่วงนั้นเป็นผู้ที่ไม่เหมาะแก่การ หรือเป็นผู้ที่
ไม่สมควรไว้วางใจแล้ว และไม่ได้แจ้งความนั้นให้ตัวการทราบหรือมิได้เลิกถอนตัวแทนช่วงนั้นเสียเอง”

ในกรณีที่ตัวการมิได้ระบุตัวแทนช่วงไว้แต่ระบุให้ตัวแทนมีอ�ำนาจตั้งตัวแทนช่วงได้ กรณีนี้ความ
รับผิดของตัวการกับตัวแทนก็มไิ ด้เปลีย่ นแปลงไป ตัวแทนช่วงท�ำสิง่ ใดเกิดความเสียหายแก่ตวั การ ตัวแทน
มส

คนเดิมก็ยังมีความผูกพันต่อตัวการอยู่เช่นเดิม
1.2 กรณีตัวการยินยอมให้ตั้งตัวแทนช่วงโดยปริยาย การยินยอมโดยปริยายของตัวการนี้มีผล
แตกต่างจากการยินยอมโดยตรงและระบุตัวแทนช่วงไว้ เพราะหากเป็นกรณีที่ตัวแทนตั้งตัวแทนช่วงขึ้น
โดยอาศัยความยินยอมโดยปริยายจากตัวการแล้ว ตัวแทนต้องรับผิดชอบต่อตัวการในการกระท�ำของ
ตัวแทนช่วงด้วย เช่น ตัวแทนเลือกตัวแทนช่วงที่ไม่เหมาะสมท�ำให้กิจการที่ท�ำเสียหายเช่นนี้ยังต้องรับผิด
ต่อตัวการอยู่ ส่วนตัวแทนช่วงนั้นย่อมต้องรับผิดชอบต่อตัวการอยู่แล้วไม่ว่าตนจะเป็นตัวแทนช่วงโดยได้

สัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน ในระหว่างตัวแทนกับตัวแทนช่วงยังมีความรับผิดตามข้อตกลงกันอยู่



รับความยินยอมจากตัวการโดยตรงหรือโดยปริยายก็ตาม แต่ถา้ ตัวแทนตัง้ ตัวแทนช่วงโดยปราศจากความ
ยินยอมของตัวการแล้ว ตัวการไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระท�ำของตัวแทนช่วง เพราะถือว่ามิได้มีความ

อนึ่ง เนื่องจากตัวแทนช่วงก็คือตัวแทนธรรมดาคนหนึ่ง ดังนั้นการตั้งตัวแทนจึงต้องอาศัยหลัก


เกณฑ์ของการเกิดสัญญาตัวแทนโดยทั่วไปดังที่อธิบายมาแล้วในตอนต้น
อุทาหรณ์
ค�ำสัง่ ค�ำร้องที่ 26/2519 อ. ได้รบั มอบอ�ำนาจจากโจทก์ให้มอี ำ� นาจตัง้ ป. เป็นตัวแทนช่วงฟ้องและ
สธ
ด�ำเนินคดีแทนบริษัทโจทก์ได้ แม้ อ. จะตายในเวลาต่อมา ป. ก็ยังมีอำ� นาจด�ำเนินคดีต่อไป

6-34 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. ตัวแทนเชิด
ปพพ. มาตรา 821 บัญญัติว่า “บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตน
ก็ดี รู้แล้วยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้น
จะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน” ตัวแทนเชิด


เป็นหลักกฎหมายเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริต กล่าวคือเป็นกรณีที่บุคคลหนึ่งซึ่งมิได้เป็นตัวการ
ตัวแทนกันมาก่อน แต่บุคคลนั้นไปแสดงตนต่อบุคคลภายนอกว่าตนเป็นตัวแทนของบุคคลอีกคนหนึ่ง จน
บุคคลภายนอกหลงเชื่อและก่อนิติสัมพันธ์ขึ้นด้วย ซึ่งตัวแทนเชิดนั้นต้องอาศัยการแสดงออกโดยตรงหรือ

มส
โดยปริยายของตัวการว่ายอมให้เชิดหรือไม่ มิใช่วา่ อยูด่ ๆี ใครก็ไปแอบอ้างโดยเขาไม่รเู้ รือ่ ง เรือ่ งตัวแทนเชิดนี้
อย่าน�ำไปปะปนกับกรณีที่ตัวแทนท�ำการเกินอ�ำนาจ ตาม ปพพ. มาตรา 822 หรือตัวแทนโดยการให้
สัตยาบันตาม ปพพ. มาตรา 823 หรือตัวแทนโดยจ�ำเป็น ตาม ปพพ. มาตรา 802 ซึ่งกรณีดังกล่าว
มีความเป็นตัวแทนตัวการกันมาก่อนแล้ว แต่ตัวแทนท�ำการเกินอ�ำนาจ ทั้งกรณีตัวแทนเชิดก็มิใช่ตัวแทน
ที่ไม่เปิดเผยชื่อตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 806 ซึ่งขออธิบายโดยย่อๆ
กรณีตัวแทนเชิด ตาม ปพพ. มาตรา 821 เป็นตัวแทนโดยผลของกฎหมาย เพราะมิได้มีการตั้ง
ตัวแทนกันมาก่อน แต่กฎหมายปิดปากมิให้เถียงว่าบุคคลนั้นไม่ใช่ตัวแทน
อุทาหรณ์
ฎ. 803-804/2543 บริษัทจ�ำเลยที่ 1 รู้และยินยอมให้จำ� เลยที่ 2 และที่ 3 น�ำที่ดินจัดสรรออกขาย

แก่บคุ คลภายนอกซึง่ รวมทัง้ ทีด่ นิ พิพาท ถือได้วา่ จ�ำเลยที่ 1 เชิดจ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 ออกแสดงเป็นตัวแทน
ของตน หรือรู้แล้วยอมให้จำ� เลยที่ 2 และที่ 3 เชิดตัวเองออกเป็นตัวแทนของตน จ�ำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพัน
มส

ต่อโจทย์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในกิจการที่จำ� เลยที่ 2 และที่ 3 ได้กระท�ำไปเสมือนว่าจ�ำเลยที่ 2 และที่ 3


เป็นตัวแทนของตน
ส�ำหรับกรณี ตาม ปพพ. มาตรา 822 เป็นเรื่องตัวแทนที่ได้แต่งตั้งกันไว้ แต่ตัวแทนท�ำการเกิน
ขอบอ�ำนาจ ท�ำให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเชื่อ โดย ปพพ. มาตรา 822 บัญญัติว่า “ถ้าตัวแทนท�ำการ
อันใดเกินอ�ำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการท�ำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการ
อันนั้นอยู่ภายในขอบอ�ำนาจของตัวแทนไซร้ ท่านให้ใช้บทบัญญัติมาตราก่อนนี้เป็นบทบังคับแล้วแต่
กรณี”
อุทาหรณ์

ฎ. 4708/2533 การที่ตัวการลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือมอบอ�ำนาจโดยไม่กรอกข้อความ ภายหลัง
จ�ำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้นำ� ใบมอบอ�ำนาจดังกล่าวไปกรอกข้อความแล้วขายฝากทีพ่ พิ าทให้จำ� เลยที่ 2 ที่ 3
เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก ตามมาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องจ�ำเลยที่ 1
ท�ำการเกินอ�ำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการท�ำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการ
ยันนัน้ อยูภ่ ายในขอบอ�ำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อจ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึง่ เป็นบุคคลภายนอก
สธ
ผู้สุจริต โจทย์ซึ่งเป็นทายาทของตัวการย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินดังกล่าว
(ฎ. 451-452/2509, ฎ. 1368/2552)

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-35

ส่วนตัวแทนโดยการให้สัตยาบัน ปพพ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าตัวแทนกระท�ำ


การอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอ�ำนาจก็ดี หรือท�ำนอกเหนือขอบอ�ำนาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการ
เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น”
อุทาหรณ์
ฎ. 9422/2542 แม้เชิดพิพาทที่ว่าจ�ำเลยที่ 2 ลงชื่อในเช็คแต่ผู้เดียว และประทับตราบริษัทจ�ำเลย


ที่ 1 ซึง่ ไม่ถกู ต้องตามข้อบังคับทีต่ อ้ งมีจำ� เลยที่ 2 ลงลายมือชือ่ ร่วมกับกรรมการอืน่ อีกคนหนึง่ และประทับ
ตราส�ำคัญของบริษัทก็ตาม แต่บริษัทจ�ำเลยที่ 1 ให้การยอมรับว่า จ�ำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อ

มส
ค�้ำประกันการกู้ยืมเงินของจ�ำเลยที่ 1 จึงเท่ากับเป็นการให้สัตยาบัน บริษัทจ�ำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตาม
เช็คพิพาทแก่โจทย์ตามมาตรา 823, 1167 จ�ำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
กรณีตวั แทนโดยจ�ำเป็น ปพพ. มาตรา 802 บัญญัตวิ า่ “ในเหตุฉุกเฉินเพื่อจะป้องกันมิให้ตัวการ
ต้องเสียหาย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ตัวแทนจะท�ำการใดๆ เช่นอย่างวิญญูชนจะพึงกระท�ำ ก็ย่อม
มีอ�ำนาจจะท�ำได้ทั้งสั้น”
ตัวแทนโดยจ�ำเป็นเน้นเรือ่ งทีม่ กี ารตัง้ ตัวแทนไว้ แต่มกี รณีจำ� เป็นในเหตุฉกุ เฉินต้องกระท�ำการแต่
ตัวแทนไม่สามารถติดต่อขอค�ำสั่งจากตัวการได้ ซึ่งแต่เดิมตัวแทนไม่ได้มีอ�ำนาจจะกระท�ำการเช่นนั้น
ตัวแทนจึงต้องป้องกันเพื่อมิให้ตัวการเสียหาย ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวการ โดยตัวแทนต้อง
กระท�ำอย่างวิญญูชนจะพึงกระท�ำ

อุทาหรณ์
นายด�ำตั้งให้นายแดงเป็นตัวแทนในการขายรถยนต์ ในราคา 2000,000 บาท นายแดงขายอยู่
มส

หลายวันก็ขายไม่ได้ ต่อมาได้เกิดน�้ำท่วมใหญ่ไม่สามารถขนย้ายรถยนต์ได้ทัน นายขาวมาขอซื้อรถยนต์


คันดังกล่าวในราคา 150,000 บาท นายแดงจึงขายรถยนต์คันนั้นไป ดังนี้ย่อมท�ำได้
ฎ. 2455/2533 จ�ำเลยที่ 2 ซึง่ เป็นหุน้ ส่วนผูจ้ ดั การของห้างหุน้ ส่วนจ�ำกัดจ�ำเลยที่ 1 ได้ถงึ แก่ความ
ตายไปก่อนโจทย์ฟ้องจ�ำเลยขอให้ล้มละลาย ห้างฯ จ�ำเลยที่ 1 ซึ่งมีหุ้นส่วนอยู่ 2 คน คือจ�ำเลยที่ 2 และ
ว. จึงต้องเลิกกัน เนื่องจากสภาพความเป็นหุ้นส่วนร่วมไม่มีอีกต่อไป คงมีอยู่แต่เฉพาะ ว. ผู้เดียว หากจะ
ด�ำเนินกิจการของห้างฯ จ�ำเลยที่ 1 ต่อไป ก็เท่ากับด�ำเนินกิจการส่วนตัวของ ว. เท่านั้น เมื่อห้างฯ จ�ำเลย

ที่ 1 เลิกกัน ก็ต้องจัดให้มีการช�ำระบัญชีตามมาตรา 1247 ถึง 1273 ว. จึงไม่มีอำ� นาจตั้งตัวเองเป็นผู้แทน
ของจ�ำเลยที่ 1 และแต่งตัง้ ทนายเข้ามาสูค้ ดีแทนจ�ำเลยที่ 1 ได้ เพราะเป็นอ�ำนาจของผูช้ ำ� ระบัญชีตามมาตรา
1259 (1) และกรณีดังกล่าวไม่ต้องด้วยมาตรา 802 เนื่องจาก ว. มิได้เป็นตัวแทนของจ�ำเลยที่ 1 มาก่อน
จึงไม่มีอ�ำนาจเข้าด�ำเนินคดีแทนจ�ำเลยที่ 1 เพราะเหตุฉุกเฉินได้ ดังนี้ต่างชอบที่จะเพิกถอน กระบวน
พิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น แต่ ว. แต่งทนายเข้ามาสู้คดีแทนห้างฯ จ�ำเลยที่ 1 เสียทั้งหมด
อนึ่ง ตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อนั้น ปพพ. มาตรา 806 บัญญัติว่า “ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับ
แสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใดๆ ซึ่งตัวแทนได้ท�ำไว้แทนตนก็ได้ แต่ถ้าตัวการผู้ใดยอมให้
สธ
ตัวแทนของตนท�ำการออกนอกหน้าเป็นตัวการไซร้ ท่านว่าตัวการผู้นั้นหาอาจจะท�ำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิ
ของบุคคลภายนอกอันเขามีต่อตัวแทนและเขาขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่รู้ว่าเป็นตัวแทนนั้นได้ไม่” ซึ่ง
ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีการตั้งตัวแทนมาก่อนแต่ตัวแทนกับตัวการปกปิดบุคคล

6-36 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ภายนอกถึงความเป็นตัวแทนหรือตัวการไว้ ซึง่ กฎหมายยอมให้ทำ� ได้ การไม่เปิดเผยชือ่ ตัวการนัน้ อาจเป็น


ได้ 2 กรณี คือ 1) ตัวแทนไม่เปิดเผยชือ่ ให้บคุ คลภายนอกทราบว่าได้ทำ� การแทนตัวการ 2) ตัวแทนเปิดเผย
กับคนภายนอกว่าเป็นตัวแทน แต่ไม่เปิดเผยชื่อและตัวตนของตัวการ ส่วนใหญ่เพื่อประโยชน์ทางการค้า
เมื่อตัวแทนไม่เปิดเผยชื่อ ตัวการบุคคลภายนอกอาจคิดว่าตัวแทนนั้นกระท�ำเพื่อตนเอง แต่เมื่อตัวการ
ปรากฏตัวขึน้ มาย่อมรับเอาสัญญาใดๆ ทีต่ วั แทนท�ำไปแทนตนได้ แต่จะท�ำให้เสียสิทธิของบุคคลภายนอก


ที่มีต่อตัวแทนและได้ขวนขวายมาก่อนที่จะรู้ว่าเป็นตัวแทนไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองผู้สุจริต
อุทาหรณ์

มส
นายแดงเป็นตัวแทนนายด�ำท�ำการซื้อขายที่ดินจากนายขาวโดย ปกปิดมิให้นายขาวทราบว่า
ท�ำการแทนนายด�ำ ทั้งนี้เพราะนายด�ำกับนายขาวไม่ถูกกัน หากนายขาวทราบความจริงจะไม่ยอมขายที่
ให้นายแดง ต้องถือว่านายแดงเป็นคูส่ ญ ั ญากับนายขาวโดยตรง แม้ตอ่ มาภายหลังนายแดงจะเปิดเผยความ
จริงให้ นายขาวทราบก็ตาม ดังนัน้ หากการซือ้ ขายนัน้ นายแดงตกลงจะจดทะเบียนภาระจ�ำยอมให้แก่นาย
ขาวเป็นการตอบแทนทีน่ ายขาวยอมขายทีด่ นิ ให้เช่นนี้ นายด�ำก็ตอ้ งจดทะเบียนภาระจ�ำยอมตามทีน่ ายแดง
ตกลงไว้ แต่หากภายหลังบอกความจริงกับนายขาวแล้วจึงสัญญาว่าจะจดทะเบียนภาระจ�ำยอมให้เช่นนี้
กรณีไม่ใช่นายขาวได้สิทธิขวนขวายได้มาแต่ก่อน ตาม ปพพ. มาตรา 806
ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
อุทาหรณ์

ฎ. 2761/2549 โจทก์ที่ 1 เป็นกรรมการผู้มีอ�ำนาจกระท�ำนิติกรรมแทนโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 1
รับจ�ำนองทีด่ นิ จากจ�ำเลยเพือ่ เป็นประกันหนีเ้ งินกูท้ จี่ ำ� เลยกูย้ มื ไปจากโจทก์ที่ 2 เป็นการกระท�ำแทน โจทก์
มส

ที่ 2 แม้ตามหนังสือสัญญาจ�ำนองระบุชอื่ โจทก์ที่ 1 เป็นผูร้ บั จ�ำนองเท่านัน้ โดยไม่ได้ระบุวา่ กระท�ำการแทน


โจทก์ที่ 2 ก็เป็นกรณีทโี่ จทก์ที่ 2 ตัวการซึง่ ยังไม่เปิดเผยชือ่ แสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาจ�ำนอง
ซึ่งโจทก์ที่ 1 ได้ท�ำการไว้แทนตน ซึ่งโจทก์ที่ 2 มีสิทธิกระท�ำได้ ตาม ปพพ. มาตรา 806 และเป็นกรณีที่
ไม่อยูใ่ นบังคับของ ปพพ. มาตรา 798 วรรคหนึง่ ทีก่ ารตัง้ ตัวแทนเพือ่ ท�ำสัญญาจ�ำนองต้องท�ำเป็นหนังสือ
ดังนั้น แม้การตั้งตัวแทนของโจทก์ที่ 2 เพื่อท�ำสัญญาจ�ำนองกับจ�ำเลยจะมิได้ทำ� เป็นหนังสือ แต่เมื่อสิทธิ
ของโจทก์ที่ 2 ตามสัญญาจ�ำนองเป็นสิทธิที่มีอยู่ในฐานะตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อ ตาม ปพพ. มาตรา 806
โจทก์ที่ 2 จึงมีอ�ำนาจฟ้องบังคับจ�ำนองได้ (ฎ. 3799/2551) ม
ฎ. 4921/2554 โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นที่ดินมือเปล่า ภายหลังโจทก์ได้
ให้ ด. ไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อ ด. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ต่อมาศาลพิพากษาให้
ด. ช�ำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาทให้แก่จำ� เลย โจทก์จึง
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการขายทีด่ นิ พิพาทระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกบั จ�ำเลย และให้โอนทีด่ นิ
ดังกล่าวมาเป็นของโจทก์ครึ่งหนึ่ง ดังนี้ การที่โจทก์อ้างว่า ด. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทน
โจทก์ โจทก์อยู่ในฐานะเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อที่ยอมให้ ด. ซึ่งเป็นตัวแทนโจทก์ท�ำการออกหน้าเป็น
สธ
ตัวการ โจทก์จงึ หาอาจท�ำให้เสือ่ มเสียถึงสิทธิของจ�ำเลยซึง่ เป็นบุคคลภายนอกผูซ้ อื้ ทรัพย์จากการขายทอด
ตลาดตามค�ำสั่งศาลและขวนขวายได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาก่อนที่จะรู้ว่า ด. เป็นตัวแทนโจทก์นั้น

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-37

หาได้ไม่ ตาม ปพพ. มาตรา 806 โจทก์จงึ ไม่มอี ำ� นาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนทีด่ นิ ทีจ่ ำ� เลย
ได้มาจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผลทางกฎหมาย เมือ่ เกิดตัวแทนเชิดขึน้ ก็เกิดมีสญ ั ญาตัวแทนขึน้ ในระหว่างตัวแทนเชิดและตัวการ
ดังนั้น จึงต้องบังคับไปเหมือนตัวแทนธรรมดา ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนเชิดกับตัวการคงเป็นไปตาม
ปกติเหมือนตัวแทนธรรมดานั่นเอง ซึ่งบุคคลภายนอกจะต้องฟ้องร้องให้ตัวการรับผิดไม่ใช่ตัวแทนเชิด


ยกเว้นในกรณีละเมิดซึ่งตัวแทนเชิดและตัวการต้องร่วมกันรับผิด ตาม ปพพ. มาตรา 427
อุทาหรณ์

มส
ฎ. 2452/2531 ผู้มีชื่อน�ำรถแท็กซี่มาจดทะเบียนเป็นชื่อของบริษัทจ�ำเลยที่ 2 ซึ่งมีวัตถุประสงค์
ประกอบการเดินรถยนต์บรรทุกคนโดยสาร แล้วจ�ำเลยที่ 2 ยอมให้จ�ำเลยที่ 1 น�ำรถคันดังกล่าวออกวิ่งรับ
คนโดยสาร โดยมีตราของบริษทั จ�ำเลยที่ 2 ติดอยูข่ า้ งรถ และจ�ำเลยที่ 2 ได้รบั ผลประโยชน์จากการนีด้ ว้ ย
ดังนี้เท่ากับจ�ำเลยที่ 2 เชิดให้จำ� เลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร จ�ำเลยที่ 2 ต้องร่วม
รับผิดต่อโจทก์ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการท�ำละเมิดของจ�ำเลยที่ 1
ฎ. 1925/2537 การรถไฟแห่งประเทศไทย จ�ำเลยที่ 1 มิได้สั่งให้จ�ำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานของ
จ�ำเลยที่ 1 สั่งซื้อเบียร์จากโจทก์ในนามจ�ำเลยที่ 1 แต่เป็นเรื่องจ�ำเลยที่ 3 ใช้ตำ� แหน่งหน้าที่โดยทุจริตสั่ง
ซื้อเบียร์จากโจทก์เองโดยพลการ การที่จ�ำเลยที่ 3 ใช้อำ� นาจหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้โดยใช้ใบรับเงิน
ของจ�ำเลยที่ 1 จ�ำเลยที่ 1 ก็ไม่รู้เห็นยินยอมให้จ�ำเลยที่ 3 กระท�ำ การกระท�ำของจ�ำเลยที่ 3 ต่างๆ จ�ำเลย

ที่ 1 มิได้มีส่วนได้เสียหรือยินยอมด้วย จ�ำเลยที่ 3 จึงมิใช่ตัวแทนเชิดของจ�ำเลยที่ 1
ฎ. 2305/2542 แม้จ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 จะตกลงให้จำ� เลยที่ 3 รับเหมาช่วงงานก่อสร้างบางส่วน
มส

แต่ตามข้อเท็จจริงมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่าจ�ำเลยที่ 1 ได้เชิดจ�ำเลยที่ 3 ผู้รับเหมาช่วงออกแสดง


เป็นตัวแทนหรือรู้อยู่แล้วยอมให้จ�ำเลยที่ 3 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจ�ำเลยที่ 1 ในการติดต่อ
ซื้อวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างจากโจทก์ เมื่อโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าจ�ำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้ออุปกรณ์การก่อสร้าง
จากโจทก์แทนและในนามจ�ำเลยที่ 1 มิใช่กระท�ำเป็นส่วนตัวของจ�ำเลยที่ 3 แต่อย่างใด จ�ำเลยที่ 1 ตัวการ
จึงต้องรับผิดในผลแห่งการกระท�ำของจ�ำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวแทน จ�ำเลยที่ 1 ต้องรับผิดช�ำระราคาสินค้าที่
ค้างช�ำระแก่โจทก์ จ�ำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจ�ำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จ�ำกัดความรับผิด

3. ตัวแทนค้าต่าง

จึงต้องร่วมรับผิดกับจ�ำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ด้วย แต่จ�ำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

ความหมาย ตัวแทนค้าต่างนั้น ปพพ. มาตรา 833 บัญญัติว่า “อันว่าตัวแทนค้าต่าง คือบุคคล


ซึ่งในทางค้าขายของเขาย่อมท�ำการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่นในนาม
ของตนเอง ต่างตัวการ” ซึ่งหลักของตัวแทนค้าต่างนั้นแตกต่างจากตัวแทนธรรมดา คือ
ก. กิจการของตัวแทนค้าต่าง คือการซื้อหรือขาย หรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่น
สธ
ข. กิจการของตัวแทนค้าต่างต้องเป็นการที่เขากระท�ำอยู่เป็นปกติธุระ คือท�ำอยู่เป็นกิจวัตรของ
เขาอยู่แล้ว

6-38 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ค. การท�ำกิจการให้ตวั การนัน้ เขาท�ำในนามของเขาเอง กล่าวคือเป็นคูส่ ญ ั ญากับบุคลภายนอกใน


นามของตนเอง เช่น นายแดงเป็นพ่อค้าขายรถเก่านายด�ำมอบรถให้นายแดงช่วยขายรถให้เช่นนี้ หากนาย
ด�ำมาซื้อรถคันดังกล่าวไปจากนายแดงสัญญาซื้อขายนั้น นายแดงจะต้องท�ำกับนายด�ำในนามของตนเอง
และต้องรับผิดชอบต่อสัญญาเอง ซึง่ รายละเอียดในเรือ่ งตัวแทนค้าต่างจะได้ศกึ ษารายละเอียดในหน่วยที่ 8
ส่วนบุคคลอืน่ นอกจากนีเ้ ช่น ผูแ้ ทนนิตบิ คุ คลผูแ้ ทนโดยชอบธรรม ผูอ้ นุบาล ผูพ้ ทิ กั ษ์ ผูป้ กครอง


ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ ผู้จัดการงานนอกสั่ง ผู้จัดการมรดกมิได้มีนิติสัมพันธ์กันโดยแต่งตั้งตาม
สัญญาเป็นแต่กฎหมายให้นำ� บทบัญญัตเิ รือ่ งตัวแทนมาอนุโลมใช้บงั คับเท่านัน้ มิใช่ตวั แทนตามความหมาย

มส
ใน ปพพ. แต่เป็นตัวแทนที่เกิดขึ้นโดยอ�ำนาจของกฎหมาย
อุทาหรณ์
ฎ. 1217/2543 ผู้จัดการมรดกที่ศาลมีคำ� สั่งตั้งมีอำ� นาจและหน้าที่ที่จะท�ำการอันจ�ำเป็นเพื่อให้การ
เป็นไปตามค�ำสัง่ แจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินยั กรรมและเพือ่ จัดการมรดกโดยทัว่ ไปหรือเพือ่ แบ่งปันทรัพย์
มรดก และเป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการโดยตนเอง จะให้ผู้ใดท�ำแทนไม่ได้ เว้นแต่กรณีเข้า
ข้อยกเว้นให้ผู้จัดการมรดกมอบให้ตัวแทนท�ำการได้ตามอ�ำนาจที่ให้ไว้โดยชัดแจ้ง หรือโดยปริยายใน
พินยั กรรม หรือโดยค�ำสัง่ ศาล หรือในพฤติการณ์เพือ่ ประโยชน์แก่กองมรดกผูจ้ ดั การมรดกทีศ่ าลมีคำ� สัง่ ตัง้
มิใช่ตัวแทนของทายาท อ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้จัดการมรดกต่อทายาทเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติ
ของกฎหมาย จึงมีฐานะเป็นผู้แทนตามกฎหมายของทายาทที่จะต้องจัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กอง

มรดกและทายาท ทายาทหามีอ�ำนาจที่จะสั่งการให้ผู้จัดการมรดกกระท�ำการใดได้เพียงแต่ผู้จัดการมรดก
จะต้องรับผิดต่อทายาทโดยกฎหมายอนุโลมให้น�ำบทบัญญัติบางมาตราของลักษณะตัวแทนมาใช้ และ
มส

ทายาทย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ควบคุมการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกให้อยู่ในขอบอ�ำนาจที่พินัยกรรม
และกฎหมายก�ำหนดไว้ รวมทั้งมีอ�ำนาจที่จะขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกที่ละเลยไม่ท�ำการตามหน้าที่
ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1729, 1731, 1726, 1732 และ 1727 วรรคสอง เป็นกรณี
ที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลเป็นผู้ดูแลให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้การ
จัดการมรดกเป็นไปโดยเรียบร้อย ดังนั้น วิธีการจัดการมรดกซึ่งเป็นอ�ำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะ
กระท�ำเองทายาทและศาลไม่มีอ�ำนาจที่จะบังคับให้ผู้จัดการมรดกปฏิบัติตามมติที่ประชุมทายาทได้

กิจกรรม 6.2.4
1. ตัวแทนช่วงนั้นจะต้องรับผิดต่อใครบ้าง

2. นายแดงเป็นเจ้าของร้านค้าชือ่ แดงพาณิชย์ ต่อมานายแดงได้ให้นายด�ำเช่าร้านค้าเพือ่ ประกอบ
กิจการค้าโดยนายแดงไม่ได้ปลดป้ายชือ่ ร้านเดิมออก นายด�ำได้สงั่ ซือ้ สินค้าจากนายขาวเข้ามาใช้โดยใช้ชอื่
ร้านของนายแดง โดยนายขาวไม่ทราบว่านายแดงได้ให้นายด�ำเช่าร้านค้านัน้ แล้ว ต่อมานายด�ำไม่ชำ� ระค่า
สธ
สินค้า กรณีเช่นนี้ท่านเห็นว่านายแดงจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินต่อนายขาวหรือไม่ เพราะเหตุใด

ลักษณะทั่วไปของสัญญาตัวแทน 6-39

แนวตอบกิจกรรม 6.2.4
1. ต้องรับผิดต่อตัวการโดยตรงเสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนธรรมดา
2. นายแดงต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อนายขาวเพราะพฤติการณ์ของนายแดงเป็นการเชิดนาย
ด�ำเป็นตัวแทนของตนโดยนายขาวสุจริตไม่ได้ทราบความจริง ตาม ปพพ. มาตรา 821


มส

มส


สธ

6-40 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บรรณานุกรม

กมล สนธิเกษตรริน. (2557). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนและนายหน้า. (พิมพ์ครั้งที่ 6).


กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.
จักรพงษ์ เล็กสกุลไชย. (2545). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยตัวแทน นายหน้า จ้างท�ำของ
รับขน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม

มส
ไผทชิต เอกจริยกร. (2543). ตัวแทน นายหน้า. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
มาโนช สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2525). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า. (พิมพ์
ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน จ�ำกัด.
สรรเสริญ ไกรจิตติ. (2520). กฎหมายว่าด้วยตัวแทนและนายหน้า. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามค�ำแหง.

มส


สธ

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-1

หน่วยที่ 7
หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ


อาจารย์ ดร.ประพันธ์ ทรัพย์แสง

มส

มส

ชื่อ
วุฒิ
อาจารย์ ดร.ประพันธ์ ทรัพย์แสง
น.บ. (เกียรตินิยมดีมาก) นบท.
ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง

น.ด. (กิตติมศักดิ์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ต�ำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 7
สธ

ปรับปรุงจากต้นฉบับเดิม หน่วยที่ 7 สิทธิและหน้าที่ระหว่างตัวการกับตัวแทน รองศาสตราจารย์กฤตยชญ์ ศิริเขต


อาจารย์ ดร.ประพันธ์ ทรัพย์แสง

7-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจ�ำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 7 หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ

ตอนที่

แนวคิด
มส
7.1 หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ
7.2 หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน
7.3 อายุความฟ้องร้องระหว่างตัวการกับตัวแทน

1. ห น้าทีแ่ ละความรับผิดในระหว่างตัวแทนและตัวการนัน้ นอกจากจะมีกฎหมายบัญญัตไิ ว้โดยตรง


แล้ว ตัวแทนและตัวการยังสามารถตกลงเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไปจากบทบัญญัติของ

กฎหมายได้
2. ตวั แทนต้องปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามทีต่ วั การมอบหมายซึง่ หน้าทีน่ นั้ ตัวการอาจก�ำหนดไว้โดยชัดแจ้ง
หรือโดยปริยายหรือเป็นหน้าที่ตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อกันมาในกิจการนั้นๆ
มส

3. ตัวแทนต้องรับผิดต่อตัวการหากปฏิบัติผิดหน้าที่
4. ตัวการมีหน้าที่ต้องรับผิดต่อตัวแทนในกิจการที่ตัวแทนได้กระท�ำไปตามหน้าที่หรือตามค�ำสั่ง
ของตัวการ หากการกระท�ำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวแทน
5. เมื่อเกิดความรับผิด ตัวการและตัวแทนย่อมฟ้องร้องกันในก�ำหนดอายุความ

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 7 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

1. อธิบายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวการกับตัวแทนได้
2. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวการกับตัวแทนได้
3. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอายุความฟ้องร้องระหว่างตัวการกับตัวแทนได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
สธ
1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 7
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 7.1-7.3
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-3

4. ฟังซีดีเสียงประกอบชุดวิชา
5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
6. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
7. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 7


สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2.
3.
4.
5.
มส
แบบฝึกปฏิบัติ
ซีดีเสียงประกอบชุดวิชา
รายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบประจ�ำภาคการศึกษา

มส

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 7 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป


สธ

7-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 7.1
หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 7.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
7.1.1 หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน
7.1.2 หน้าที่ของตัวแทนต่อตัวการ
7.1.3 ความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ

1. ง านของตัวแทนนั้นอาจแบ่งแยกได้ 2 ชนิด คืองานในหน้าที่โดยตรงและงานอัน


เกี่ยวเนื่องกับหน้าที่
2. หน้าที่ของตัวแทนอาจเป็นหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย และหน้าที่ตามข้อตกลง
นอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ

3. ตัวแทนต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเองเว้นแต่ตัวการจะยินยอมให้ตัวแทนมอบหมายผู้อื่น
ให้กระท�ำการแทนได้ กรณีมีตัวแทนหลายคน ตัวแทนทุกคนต้องร่วมกันท�ำหน้าที่
มส

4. ตัวแทนไม่อาจได้รับประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆ จากบุคคลภายนอกในเหตุที่ตนได้
กระท�ำไปในหน้าทีต่ วั แทน หากรับไว้กต็ อ้ งมอบให้แก่ตวั การ และหากเอาเงินของตัวการ
ไปใช้ต้องเสียดอกเบี้ย
5. ในการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนตามที่ได้รับมอบหมายจากตัวการนั้น หากตัวการได้รับ
ความเสียหายใดๆ ตัวการสามารถเรียกร้องเอาจากตัวแทนได้

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 7.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของตัวแทนได้

2. อธิบายเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนที่มีต่อตัวการได้
3. วินิจฉัยปัญหาเรื่องหน้าที่และความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการได้
สธ

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-5

เรื่องที่ 7.1.1
หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน


เมือ่ ตัวการและตัวแทนก่อสัญญาตัวแทนขึน้ โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตัวแทนก็ตอ้ งปฏิบตั หิ น้าที่
ของตนตามทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากตัวการอย่างดีที่สุดโดยเต็มความสามารถและโดยสุจริต ในขณะเดียวกัน

มส
ตัวการก็ย่อมมีอ�ำนาจในการที่ควบคุมดูแลและสั่งการให้ตัวแทนปฏิบัติหน้าที่สมดังเจตนาของตัวการ
ลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดหลักเกณฑ์ทวั่ ไปในการปฏิบตั งิ านของตัวแทนซึง่ แบ่งแยกลักษณะการท�ำงานได้
เป็น 2 ประการคือ
1. ลักษณะงานในหน้าที่ของตัวแทน
2. ลักษณะการใช้อำ� นาจของตัวแทน
1. ลักษณะงานในหน้าที่ของตัวแทน อาจกล่าวได้ว่างานของตัวแทนนั้นมีอยู่ 2 ชนิดคือ งานใน
หน้าที่โดยตรงและงานอันเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่
1.1 งานในหน้าที่โดยตรง หมายถึง งานที่ตัวการมีเจตนาโดยตรงที่จะให้ตัวแทนปฏิบัติ
อันเป็นวัตถุประสงค์ของการตั้งตัวแทน เช่น นายแดงมอบให้นายด�ำเป็นตัวแทนในการด�ำเนินธุรกิจบ้าน

จัดสรร หน้าที่โดยตรงของนายด�ำก็คือการหาคนมาซื้อบ้านจัดสรรให้ได้ หน้าที่อื่นๆ นอกจากนั้นย่อมเป็น
หน้าที่ที่เกี่ยวเนื่องทั้งสิ้น การที่จะให้ตัวการก�ำหนดหน้าที่ของตัวแทนอย่างละเอียดไปทุกขั้นตอนและ
ทุกเรื่องในทางปฏิบัติกระท�ำได้ยาก ดังนั้นเมื่อตัวการมอบหมายให้ตัวแทนกระท�ำกิจการใดๆ ย่อมต้องใช้
มส

ธรรมเนียมปฏิบตั ใิ นกิจการธุรกิจนัน้ เป็นเครือ่ งพิจารณาว่าตัวแทนจะมีหน้าทีอ่ ย่างไร งานในหน้าทีโ่ ดยตรง


ของตัวแทนจึงมักเป็นงานหลักที่จะต้องกระท�ำในหน้าที่
1.2 งานอันเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่ ซึง่ ได้แก่ งานรอง หมายถึง งานทีต่ อ้ งปฏิบตั เิ พือ่ ให้หน้าที่
หลักส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอันเป็นรายละเอียดในระดับปฏิบัติงาน กรณีตัวอย่างที่ยกมาแล้ว งานอัน
เกี่ยวเนื่องกับหน้าที่ของนายด�ำจึงอาจเป็นงานการยื่นขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอจัดสรรที่ดิน การยื่น

หรือเป็นงานอันเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่
อุทาหรณ์

ขอไฟฟ้าหรือนาํ้ ประปาในเขตทีด่ นิ ทีจ่ ดั สรร งานโฆษณาประชาสัมพันธ์กจิ การ งานจ้างลูกจ้างเพือ่ ท�ำหน้าที่
ต่างๆ ฯลฯ งานเหล่านี้นับได้ว่าเป็นงานอันเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่ทั้งสิ้น อย่างไรเป็นงานในหน้าที่โดยตรง

ฎ. 581/2494 ผู้ให้กู้มอบหมายให้ทนายความไปทวงถามผู้กู้ให้ช�ำระเงินกู้ ผู้กู้ยังไม่มีเงิน


ช�ำระทันที ทนายความจึงตกลงผ่อนผันโดยบันทึกไว้ในท้ายสัญญากู้ให้ผู้กู้ผ่อนช�ำระเป็นงวดๆ และ
ทนายความและผู้กู้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานด้วยกัน ดังนี้เมื่อผู้ให้กู้ยอมรับเอาข้อตกลงตามบันทึกนั้น
สธ
แล้วโดยแสดงออกโดยตรงหรือโดยปริยายก็ตาม ข้อความในบันทึกนั้นก็ย่อมผูกพันผู้ให้กู้
ฎ. 536/2512 โจทก์มอบอ�ำนาจให้ตวั แทนฟ้องขับไล่จำ� เลย เมือ่ คดีถงึ ทีส่ ดุ โดยศาลพิพากษา
ให้ขับไล่จำ� เลย ตัวแทนโจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามค�ำพิพากษานั้นได้

7-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 2207/2533 ทนายโจทก์ไม่อ�ำนาจรับเงินช�ำระหนี้ตามค�ำพิพากษาจากจ�ำเลยนอกศาล
แทนโจทก์ โดยไม่ได้รับมอบอ�ำนาจจากโจทก์ให้รับเงินนั้นแทน การที่จ�ำเลยช�ำระหนี้ให้แก่ทนายเท่ากับ
เป็นการช�ำระหนี้ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอ�ำนาจรับช�ำระหนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ให้สัตยาบันในการกระท�ำดังกล่าว
การช�ำระหนี้ของจ�ำเลยย่อมไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีต่อไปได้
2. ลักษณะการใช้อ�ำนาจในหน้าที่ของตัวแทน ปพพ. มาตรา 807 บัญญัติว่า “ตัวแทนต้อง


ท�ำการตามค�ำสั่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายของตัวการ เมื่อไม่มีค�ำสั่งเช่นว่านั้น ก็ต้องด�ำเนินตามทาง
ที่เคยท�ำกันมาในกิจการค้าขายอันเขาให้ตนท�ำอยู่นั้น

มส
อนึ่งบทบัญญัติมาตรา 659 ว่าด้วยการฝากทรัพย์นั้น ท่านให้น�ำมาใช้ด้วยโดยอนุโลมตามควร”
ปพพ. มาตรา 807 วรรคหนึ่ง วางหลักเกณฑ์ทั่วไปในการใช้อำ� นาจของตัวแทนไว้ 2 ประการคือ
2.1 การใช้อ�ำนาจโดยความยินยอมโดยชัดแจ้งจากตัวการ หมายถึง การใช้อ�ำนาจของ
ตัวแทนเพือ่ สัง่ การในหน้าทีน่ นั้ ซึง่ ต้องพิจารณาขอบเขตของอ�ำนาจทีต่ วั การมอบหมายไว้ให้เป็นหลัก อ�ำนาจที่
ตัวการมอบหมายให้แก่ตัวแทนโดยชัดแจ้งนั้นจึงได้แก่อ�ำนาจที่จะกระท�ำหน้าที่ในงานหลักที่ตัวการมอบ
หมาย เช่น นายด�ำมอบอ�ำนาจให้นายแดงไปท�ำสัญญาขายสวนผลไม้ให้แก่นายขาว อ�ำนาจโดยชัดแจ้งที่
นายแดงได้รับจากนายด�ำคือการขายสวนผลไม้ อ�ำนาจนี้เป็นอ�ำนาจที่ชัดแจ้งดังนั้นการที่นายด�ำลงนามใน
สัญญาขายพร้อมทัง้ รับช�ำระราคาจากนายขาวจึงเป็นอ�ำนาจทีก่ ระท�ำได้จากการมอบหมายโดยชัดแจ้งของ
นายแดง

2.2 การใช้อ�ำนาจโดยความยินยอมโดยปริยายจากตัวการ อ�ำนาจชนิดนี้ตัวแทนสามารถ
ใช้ได้โดยความยินยอมโดยปริยายจากตัวการซึ่งพิจารณาจากสภาพของงานหรือธรรมเนียมประเพณีใน
มส

ทางการค้าหรือธรรมเนียมประเพณีของกิจการนัน้ ๆ เช่น นายแดงมอบอ�ำนาจให้นายขาวไปท�ำสัญญาขาย


รถยนต์ให้แก่นายด�ำ นายขาวย่อมมีอ�ำนาจที่จะขับรถไปให้นายด�ำดู ยอมให้นายด�ำขับทดลอง และเมื่อ
ซื้อขายกันแล้วก็ต้องโอนทะเบียนรถให้เป็นชื่อของนายด�ำ ฯลฯ เหล่านี้เป็นการใช้อ�ำนาจของนายขาวอัน
เกิดจากสภาพของงานและธรรมเนียมในทางการค้า ซึง่ นายแดงยินยอมโดยปริยายแม้จะมิได้ระบุไว้ในการ
มอบอ�ำนาจ นายขาวก็ย่อมกระท�ำได้
อุทาหรณ์

ฎ. 1413/2513 โจทก์ท�ำสัญญาให้ ก. เช่าตลาดโดยให้รื้อตึกแถวและแผงลอยออกแล้วสร้าง
ตึกใหม่ และมอบอ�ำนาจให้ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าตึกและแผงลอย ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ตั้ง ก. เป็น
ตัวแทนไปตกลงเรื่องจ่ายค่าขนย้ายออกจากแผงลอย การที่ ก. ตกลงจะให้ค่าขนย้ายแก่ผู้ที่อยู่ในแผงลอย
จึงไม่ผูกพันโจทก์
ฎ. 2101/2514 จ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างท�ำสัญญากับบริษัท ว. มีข้อความ
ส�ำคัญว่า ผู้ว่าจ้าง จ. ตกลงให้ผู้รับจ้าง ว. ขน ขาย หรือเลหลังที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างได้ในราคา
ไม่ตํ่ากว่าสองล้านบาท หรือหากตํ่ากว่าราคานี้ก็ต่อเมื่อผู้รับจ้าง ว. ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้าง จ. ให้
สธ
ขายได้ ดังนี้ย่อมมีความหมายว่าถ้ามีผู้ซื้อเสนอขอซื้อในราคาที่ก�ำหนดไว้นี้แล้ว ว. มีอ�ำนาจเป็นตัวแทน
ของ จ. ท�ำสัญญาจะซื้อขายกับผู้ขอซื้อได้เลย และสัญญานั้นมีผลผูกพัน จ. และเมื่อ ว. ท�ำสัญญาจะ
ซือ้ ขายกับผูข้ อซือ้ ไว้ในนามของ ว. แต่เวลาจะโอนกรรมสิทธิ์ จ. ซึง่ เป็นเจ้าของต้องจัดการโอนให้ ไม่ใช่วา่

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-7

ว. จะท�ำการโอนขายไปเป็นผลส�ำเร็จได้เอง ดังนี้แม้ ว. จะเป็นผู้มีอาชีพประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าขาย


ทอดตลาดก็ไม่ทำ� ให้สัญญาระหว่าง จ. กับ ว. เป็นเรื่องตัวแทนค้าต่าง
ฎ. 2735/2516 บริษัทจ�ำเลยท�ำหนังสือมอบอ�ำนาจให้ ส. น�ำหลักฐานการเป็นเจ้าของ
กรรมสิทธิร์ ถยนต์ซงึ่ ผูท้ เี่ ช่าซือ้ ไปจากจ�ำเลยน�ำไปให้อรู่ ถของโจทก์ทำ� การซ่อมเพือ่ รับรถกลับคืนไปยังบริษทั
จ�ำเลย ดังนี้ย่อมแสดงว่าจ�ำเลยได้รู้เห็นและยอมรับเอาผลการซ่อมรถของโจทก์แล้ว โจทก์จ�ำเลยจึงมี


นิตสิ มั พันธ์ตอ่ กัน และในการรับรถคืนไปนี้ ส. ได้บนั ทึกจ�ำนวนเงินค่าแรงซ่อมและเครือ่ งอะไหล่ให้โจทก์ไว้
เป็นหลักฐาน เพื่อให้โจทก์ไปรับเงินจากบริษัทจ�ำเลย ถือว่าการกระท�ำของ ส. เป็นไปภายในขอบเขต

มส
วัตถุประสงค์ของการมอบอ�ำนาจ ทั้งเมื่อบริษัทจ�ำเลยทราบเรื่องที่ ส. ได้บันทึกหนี้สินไว้กับโจทก์แล้วก็ไม่
ทักท้วงกลับนิ่งเฉยและรับเอาผลการซ่อมรถจึงเป็นการให้สัตยาบันโดยปริยายด้วย
ฎ. 3582/2534 แม้จำ� เลยที่ 1 จะมอบอ�ำนาจให้จำ� เลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตร
ใหญ่ แต่สารวัตรใหญ่ก็เป็นพนักงานสอบสวนคนหนึ่งและเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนด้วย การมอบ
อ�ำนาจให้กระท�ำต่อสารวัตรใหญ่ย่อมกระท�ำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่จ�ำเลยที่ 2
ยื่นค�ำร้องต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระท�ำภายในขอบอ�ำนาจที่ได้รับมอบหมายและผูกพันจ�ำเลยที่
1 ด้วย การมอบอ�ำนาจให้ขอรับรถยนต์คืนจากพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมรวมถึงการกระท�ำใดๆ เกี่ยวกับ
การขอรับรถยนต์ เช่น ยื่นค�ำขอรับรถยนต์และเซ็นรับรถยนต์ไว้ถือเป็นการกระท�ำการครั้งเดียวตามที่ได้
รับมอบอ�ำนาจให้ขอรับรถยนต์คืน

ฎ. 237/2535 ตามหนังสือมอบอ�ำนาจของโจทก์ ช. มีอำ� นาจเต็มในการขายรถยนต์ ให้เช่า
ซื้อรถยนต์ ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ อ�ำนาจเช่นนี้ย่อมหมายความรวมถึงอ�ำนาจในการขาย
มส

ลดราคา หรือราคาเช่าซือ้ หรือลดค่าเช่าซือ้ ทีค่ า้ งช�ำระด้วย การที่ ช. ลดค่าเช่าซือ้ ทีค่ า้ งเป็นการกระท�ำทีไ่ ด้


รับมอบอ�ำนาจจากโจทก์

กิจกรรม 7.1.1
1. งานทีต่ วั แทนจะต้องปฏิบตั เิ พือ่ ตัวการนัน้ สามารถแบ่งแยกออกได้เป็นกีช่ นิด การแบ่งแยกชนิด
ดังกล่าวก่อให้เกิดผลประการใดต่อตัวแทน
2. การใช้อ�ำนาจของตัวแทนนั้น อาจใช้อ�ำนาจในลักษณะใดบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 7.1.1

1. แบ่งแยกออกได้เป็น 2 ชนิด คืองานในหน้าที่โดยตรงและงานอันเกี่ยวเนื่องกับหน้าที่ การแบ่ง
แยกดังกล่าวก่อให้เกิดอ�ำนาจในการที่ตัวแทนจะกระท�ำตามหน้าที่เหล่านั้นโดยชอบ
2. ตัวแทนใช้อ�ำนาจในลักษณะที่ได้รับความยินยอมจากตัวการโดยตรงและโดยปริยายอันเป็น
สธ
หลักเกณฑ์ทั่วไปที่กฎหมายก�ำหนดไว้

7-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 7.1.2
หน้าที่ของตัวแทนต่อตัวการ


1. หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับหน้าที่ที่ตัวแทนมีต่อตัวการ
โดยทั่วไปเมื่อตัวการมอบหมายให้ตัวแทนปฏิบัติหน้าที่ ตัวแทนย่อมต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้

มส
ค�ำสัง่ หรือการควบคุมจากตัวการ หากปฏิบตั หิ น้าทีโ่ ดยถูกต้องตามค�ำสัง่ หรือตามบทบัญญัตขิ องกฎหมาย
แล้ว ตัวแทนย่อมหลุดพ้นความรับผิดใดๆ ต่อตัวการและต่อบุคคลภายนอก เพราะการที่ตัวแทนด�ำเนิน
การไปนัน้ ย่อมต้องถือว่าเป็นการกระท�ำไปในนามของตัวการทัง้ สิน้ ตัวแทนจึงไม่ตอ้ งรับผิดชอบต่อตัวการ
หรือต่อบุคคลภายนอก หากงานที่ตัวแทนจะต้องท�ำนั้นเป็นงานที่ผิดกฎหมาย ตัวแทนก็มีสิทธิปฏิเสธ
ไม่ปฏิบัติตามได้แม้จะท�ำให้ตัวการเสียหายตัวแทนก็ไม่ต้องรับผิดต่อตัวการ หรือกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัย
ตัวแทนก็ไม่ต้องรับผิดต่อตัวการ เว้นแต่ตัวแทนและตัวการจะได้ตกลงกันไว้เป็นประการอื่น อนึ่งในกรณีที่
มีการตั้งตัวแทนหลายคนให้ท�ำกิจการรายเดียวกัน หากมิได้มีข้อตกลงไว้เป็นประการอื่นกฎหมายก�ำหนด
ให้ตัวแทนทั้งหลายต้องร่วมกันด�ำเนินการจะต่างคนต่างท�ำไม่ได้ โดย ปพพ. มาตรา 804 บัญญัติว่า
“ถ้าในสัญญาอันเดียว ตัวการคนเดียวตั้งตัวแทนหลายคนเพื่อแก่การอันเดียวกันไซร้ ท่านให้สันนิษฐาน

ไว้ก่อนว่าตัวแทนจะต่างคนต่างท�ำการนั้นๆ แยกกันไม่ได้” ซึ่งลักษณะการท�ำงานดังกล่าวคล้ายกับการ
เข้าหุ้นด�ำเนินการในลักษณะหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งเรียกว่าเป็นกิจการอันต้องร่วมกันท�ำและร่วมกันรับผิดด้วย
ซึง่ มาตรานีเ้ ป็นข้อสันนิษฐานเบือ้ งต้นเท่านัน้ หากตัวการและตัวแทนตกลงกันไว้เป็นประการอืน่ ก็ยอ่ มเป็น
มส

ไปตามข้อตกลงนั้นๆ เช่น ตกลงกันว่าตัวแทนคนใดจะท�ำในส่วนไหนบ้าง หรือตัวการตั้งตัวแทนตกลง


ท�ำการโดยตัวแทนต้องมีมติเสียงข้างมากจึงท�ำการได้เช่นนี้ ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลง
ดังนั้นหลักเกณฑ์โดยทั่วไปเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวแทนต่อตัวการจึงแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ
หน้าที่ตามบทบัญญัติกฎหมายและหน้าที่ตามข้อตกลงระหว่างตัวการและตัวแทน โดย ปพพ. ได้บัญญัติ
ถึงหน้าที่ตัวแทนต้องปฏิบัติต่อตัวการไว้โดยเฉพาะหลายกรณี เช่น ปพพ. มาตรา 809 บัญญัติว่า “เมื่อ

ตัวการมีความประสงค์จะทราบความเป็นไปของการทีไ่ ด้มอบหมายแก่ตวั แทนนัน้ ในเวลาใดๆ ซึง่ สมควร
แก่เหตุ ตัวแทนนั้นก็ต้องแจ้งให้ตัวการทราบ อนึ่งเมื่อการเป็นตัวแทนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ตัวแทนต้อง
แถลงบัญชีด้วย” หน้าที่เช่นนี้เป็นหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่หากตัวการและตัวแทนตกลง
กันไว้ว่าไม่ต้องรายงานใดๆ ให้ตัวการทราบ และไม่ต้องท�ำบัญชีแถลงแก่ตัวการเช่นนี้ก็สามารถท�ำได้ ซึ่ง
เป็นหน้าทีข่ องตัวแทนต่อตัวการตามข้อตกลง ซึง่ ถ้าหากมิได้มกี ารตกลงกันไว้กต็ อ้ งน�ำ ปพพ. มาตรา 809
มาใช้บังคับ
หน้าที่ตามกฎหมาย หากตัวแทนไม่ปฏิบัติตามก็ย่อมขอให้ศาลบังคับได้ เช่น การที่ตัวแทนไม่
สธ
แถลงบัญชีเมื่อการเป็นตัวแทนสิ้นสุดลง ตัวการชอบที่จะขอให้ศาลบังคับให้แถลงบัญชีได้ และหากตัวการ
ได้รับความเสียหายเนื่องจากการไม่แถลงบัญชีนั้น ตัวการก็อาจเรียกร้องให้ตัวแทนรับผิดได้ ส่วนหน้าที่

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-9

ตามข้อตกลงก็ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ปพพ.


มาตรา 150 บัญญัติไว้
อุทาหรณ์
ฎ. 753/2513 โจทก์เป็นผู้ออกเงินซื้อที่พิพาทและก่อสร้างโกดังบนที่แปลงนี้เพื่อใช้ในกิจการของ
บริษัทโจทก์ เหตุที่โจทก์ไม่ลงชื่อเป็นผู้ซื้อในโฉนดเพราะเป็นกรรมการคนหนึ่งในบริษัท โจทก์เป็นบุคคล


ต่างด้าว ซึ่งตาม ป. ที่ดิน มาตรา 97 บัญญัติให้โจทก์มีฐานะเสมือนคนต่างด้าวในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิใน
ที่ดิน กรรมการบริษัทโจทก์จึง ตกลงให้โอนโฉนดจากผู้ขายมาเป็นชื่อ ส. ต้องถือว่า ส. ได้มาซึ่งที่ดินใน

มส
ฐานะเป็นเจ้าของแทนนิติบุคคล ซึ่งกฎหมายให้ถือเสมือนบุคคลต่างด้าว โจทก์จะเรียกร้องเอาที่ดินเป็น
กรรมสิทธิ์ของตนไม่ได้ต้องให้อธิบดีกรมที่ดินจ�ำหน่ายที่พิพาทเสีย
ฎ. 1560/2527 การทีโ่ จทก์ให้จำ� เลยกูเ้ งินไปเพือ่ ซือ้ หุน้ ของบริษทั โจทก์เอง โดยโจทก์ยดึ ถือหุน้ นัน้
ไว้เป็นจ�ำน�ำหรือเป็นประกัน เงินที่โจทก์ทดรองจ่ายซื้อหุ้นหรือโจทก์ให้จ�ำเลยกู้เงินจากบริษัทในเครือของ
บริษทั โจทก์ โดยเงินทีก่ เู้ ป็นเงินของบริษทั โจทก์ให้บริษทั ในเครือดังกล่าวกูไ้ ปให้จำ� เลยกูอ้ กี ต่อหนึง่ ทัง้ หุน้
ที่จ�ำเลยจ�ำน�ำแก่บริษัทในเครือดังกล่าว โจทก์เป็นผู้ยึดถือไว้เอง พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้
จ�ำเลยกูเ้ งินไปซือ้ หุน้ ของบริษทั โจทก์ และโจทก์รบั จ�ำน�ำหุน้ ของตนเองเป็นประกัน เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง
ตาม ปพพ. มาตรา 1143 ทั้งต่อมา พรบ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 20/3 (ปัจจุบัน พรบ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551) บัญญัติห้าม

มิให้บริษทั เงินทุนรับหุน้ ของบริษทั เงินทุนนัน้ เองเป็นประกันหรือรับหุน้ ของบริษทั เงินทุนจากบริษทั เงินทุน
อื่นเป็นประกันอีกด้วย การกระท�ำของโจทก์จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 113 (ปัจจุบันมาตรา 150)
มส

ไม่มีผลบังคับ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้จำ� เลยชดใช้เป็นเงินที่โจทก์ฟ้องมิได้

2. หน้าที่ที่ตัวแทนมีต่อตัวการตามบทบัญญัติของกฎหมาย
1. หน้าที่โดยทั่วไป
2. หน้าที่เฉพาะเรื่อง
1. หน้าที่โดยทั่วไป ปพพ. มาตรา 807 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ตัวแทนต้องท�ำการตามค�ำสั่ง

แสดงออกชัดหรือโดยปริยายของตัวการ เมื่อไม่มีค�ำสั่งเช่นว่านั้น ก็ต้องด�ำเนินตามทางที่เคยท�ำกันมาใน
กิจการค้าขายอันเขาให้ตนท�ำอยู่นั้น” จะเห็นได้วา่ กฎหมายวางหลักในเรือ่ งหน้าทีข่ องตัวแทนทีม่ ตี อ่ ตัวการ
ไว้เป็นหลักเกณฑ์โดยทัว่ ไป คือต้องท�ำตามค�ำสัง่ ของตัวการซึง่ อาจจะเป็นค�ำสัง่ ทีแ่ สดงออกโดยชัดแจ้งหรือ
โดยปริยายก็ได้ การท�ำกิจการทุกอย่างต้องท�ำให้ดีที่สุดโดยท�ำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เต็มความสามารถ
และโดยสุจริต
การท�ำหน้าที่ตามกฎหมาย การท�ำตามค�ำสั่งของตัวการนั้นจะต้องเป็นค�ำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
หากเป็นค�ำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตัวแทนย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ปฏิบัติหน้าที่นั้นได้ เช่น นายแดง
สธ
มอบหมายให้นายขาวดูแลกิจการโรงแรมของตน ต่อมานายแดงได้โทรศัพท์ถงึ นายขาวให้นายขาวเปิดบ่อน
การพนันขึ้นในโรงแรม ดังนั้นนายขาวย่อมปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามค�ำสั่งของนายแดงได้ แม้นายแดงจะ
เสียหายเนื่องจากได้นัดหมายสถานที่จากนักพนันไว้แล้วก็ตาม นอกจากนี้ค�ำสั่งนั้นต้องเป็นค�ำสั่งที่

7-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เกี่ยวกับงานในหน้าที่ด้วย เช่นกรณีนายแดงมอบหมายให้นายขาวดูแลกิจการโรงแรมนั้น นายแดงจะขอ


ให้นายขาวช่วยคํ้าประกันหนี้ของนายแดงด้วยย่อมไม่ได้ ส�ำหรับค�ำสั่งที่ไม่ชัดแจ้งก็ต้องยึดถือธรรมเนียม
ปฏิบัติในทางการค้า
อุทาหรณ์
ฎ. 644/2494 การตั้งตัวแทนมอบอ�ำนาจให้ไปหาช่างมาสร้างโรงเรียนนั้น ต้องรวมถึงการตกลง


ราคาค่าจ้างนั้นด้วย แม้ตัวการจะไม่ได้สั่งในเรื่องตกลงราคาค่าจ้างไว้ แต่ตัวแทนไปตกลงราคาค่าจ้างกับ
ช่างในราคาที่ไม่เกินสมควรแล้ว และช่างได้ท�ำกิจการของตัวการเสร็จสมตามความประสงค์แล้วเช่นนี้

มส
ตัวการต้องรับผิดช�ำระค่าจ้างแก่ชา่ งตามราคาทีต่ วั แทนได้ตกลง ส่วนตัวแทนนัน้ เมือ่ ตัวการต้องรับผิดแล้ว
ตัวแทนก็ไม่ต้องรับผิดต่อช่างที่จ้างมานั้น
หน้าทีต่ อ้ งท�ำการโดยสุจริต เนือ่ งจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวการกับตัวแทนนัน้ เป็นความสัมพันธ์
ทีจ่ ะต้องอาศัยความไว้วางใจต่อกันเป็นอย่างยิง่ ในทางปฏิบตั ติ วั แทนจึงต้องปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตนด้วยความ
สุจริต เพราะการปฏิบัติหน้าที่ไม่สุจริตย่อมก่อให้เกิดผลต่อตัวแทนคือตัวแทนต้องรับผิดต่อตัวการ
ถ้าตัวแทนท�ำโดยไม่สุจริต ตัวแทนก็ไม่มีสิทธิจะได้รับบ�ำเหน็จในส่วนนั้นๆ และอาจต้องรับผิดต่อบุคคล
ภายนอกโดยล�ำพัง ซึ่งหน้าที่โดยทั่วไปนี้ ปพพ. มาตรา 5 บัญญัติว่า “ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการ
ช�ำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระท�ำโดยสุจริต”
มาตรา 818 บัญญัติว่า “การในหน้าที่ตัวแทนส่วนใด ตัวแทนได้ท�ำมิชอบในส่วนนั้นท่านว่า

ตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้บ�ำเหน็จ”
ปพพ. มาตรา 825 บัญญัติว่า “ถ้าตัวแทนเข้าท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกโดยเห็นแก่อามิสสิน
มส

จ้างเป็นทรัพย์สินอย่างใดๆ หรือประโยชน์อย่างอื่นอันบุคคลภายนอกได้ให้เป็นลาภส่วนตัวก็ดี หรือให้


ค�ำมั่นว่าจะให้ก็ดี ท่านว่าตัวการหาต้องผูกพันในสัญญาซึ่งตัวแทนของตนได้ท�ำนั้นไม่ เว้นแต่ตัวการจะ
ได้ยินยอมด้วย”
อุทาหรณ์
ฎ. 1063/2527 การที่จ�ำเลยที่ 2 ผู้จัดการที่ธนาคารจ�ำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารจ�ำเลยที่
4 ลงชื่อรับรองการใช้เงินตามเช็คแทนจ�ำเลยที่ 3 และที่ 4 อันเป็นการที่ตัวแทนเข้าท�ำสัญญากับบุคล

ภายนอก แต่การเข้าท�ำสัญญาดังกล่าว จ�ำเลยที่ 2 ได้กระท�ำไปโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่โจทก์ได้ให้เป็นการ
ส่วนตัวแก่จำ� เลยที่ 2 คือโจทก์ยอมรับช�ำระหนีด้ ว้ ยเช็คและคืนหลักฐานทีจ่ ำ� เลยที่ 2 ยืมเงินจากโจทก์ให้แก่
จ�ำเลยที่ 2 ซึง่ จะเป็นผลให้จำ� เลยที่ 2 หลุดพ้นจากการเป็นลูกหนีโ้ จทก์ โดยจ�ำเลยที่ 3 และที่ 4 มิได้ยนิ ยอม
ในการกระท�ำของจ�ำเลยที่ 2 ด้วย การเข้าท�ำสัญญาดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจ�ำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามนัย
แห่ง ปพพ. มาตรา 825
ฎ. 4634/2528 การที่จ�ำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วมหลอกลวงลูกค้าของโจทก์ร่วมว่าโจทก์
ร่วมขึ้นราคาสินค้า ลูกค้าหลงเชื่อซื้อสินค้าตามนั้น เงินส่วนที่ขายเกินก�ำหนดเป็นเงินของลูกค้าส่งมอบให้
สธ
แก่จำ� เลยเพราะถูกจ�ำเลยหลอกลวง มิใช่เงินทีจ่ ำ� เลยได้รบั ไว้เกีย่ วด้วยการเป็นตัวแทน ตาม ปพพ. มาตรา
810 จึงเป็นเงินของลูกค้าผู้ถูกหลอกลวงหาใช่เงินของโจทก์ร่วมไม่ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหาย เมื่อลูกค้า
เป็นเจ้าของเงินซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์โจทก์จึงไม่มีอำ� นาจฟ้อง

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-11

หน้าที่ต้องท�ำการเต็มความสามารถ หมายความว่าหน้าที่ของตัวแทนต้องใช้ฝีมือความรู้ความ
สามารถอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าตัวแทนมีความรู้ความสามารถพิเศษ ตัวแทนก็ต้องปฏิบัติเต็ม
ความสามารถ
อุทาหรณ์
ฎ. 247/2510 ตัวการมอบอ�ำนาจให้ตัวแทนมีอ�ำนาจรับจ�ำนองที่พิพาทแทนจนเสร็จการ ตัวแทน


ย่อมมีอำ� นาจท�ำการใดๆ ในสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ การรับจ�ำนองให้สำ� เร็จลุลว่ งไป เมือ่ ตัวแทนรับทราบว่าทีพ่ พิ าท
นั้นอยู่ระหว่างเป็นความกัน แต่ก็รับจ�ำนองไว้ ผลก็เท่ากับตัวการได้รับจ�ำนองไว้โดยรู้ว่าเขาเป็นความกัน

มส
เมื่อปรากฏภายหลังว่าผู้จ�ำนองไม่มีสิทธิเอาที่พิพาทไปจ�ำนอง การจ�ำนองก็ไม่ผูกพันเจ้าของอันแท้จริง
เจ้าของอันแท้จริงเพิกถอนการจ�ำนองได้
2. หน้าที่เฉพาะเรื่อง ซึ่งได้แก่หน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังนี้
2.1 ต้องท�ำงานด้วยตนเอง ปพพ. มาตรา 808 บัญญัติว่า “ตัวแทนต้องท�ำการด้วยตนเอง
เว้นแต่จะมีอ�ำนาจใช้ตัวแทนช่วงท�ำการได้” เนื่องจากการเป็นตัวแทนนั้นเป็นเรื่องการไว้วางใจกันเป็น
ส่วนตัว ดังนั้นเมื่อตัวการให้ตัวแทนไปด�ำเนินการใด ตัวแทนต้องปฏิบัติงานด้วยตนเองจะใช้ผู้อื่นท�ำแทน
ไม่ได้ เว้นแต่โดยธรรมเนียมหรือโดยสภาพการงานหรือโดยข้อตกลงระหว่างตัวการตัวแทน ตัวแทนสามารถ
ใช้ให้ผู้อื่นกระท�ำการแทนได้ หรือสามารถตั้งตัวแทนช่วงได้ เช่น นายแดงมอบให้นายขาวไปท�ำสัญญา
ซื้อขายทรัพย์สินของนายแดง นายขาวย่อมต้องกระท�ำหน้าที่ด้วยตนเองคือลงนามในสัญญา ติดต่อหา

ผู้ซื้อ และรับช�ำระราคา นายขาวจะใช้คนอื่นให้ท�ำการแทนตนมิได้ เว้นแต่โดยสภาพของงานหรือโดย
ธรรมเนียมหรือโดยอนุมัติจากนายแดง นายขาวจึงสามารถที่จะใช้ผู้อื่นท�ำการแทนได้ หรือใช้ตัวแทน
มส

ช่วงได้
หากตัวแทนฝ่าฝืนต่อหน้าทีเ่ ช่นนีโ้ ดยตัง้ ตัวแทนช่วงโดยไม่มอี ำ� นาจ ในส่วนของตัวแทนช่วง
นั้นย่อมปราศจากความสัมพันธ์กับตัวการ คือตัวการไม่ต้องรับผิดใดๆ ต่อตัวแทนช่วง ในขณะเดียวกัน
ตัวแทนช่วงก็มิต้องรับผิดใดๆ ต่อตัวการเช่นกัน แต่ถ้ามีการตั้งตัวแทนช่วงโดยชอบตัวการกับตัวแทนช่วง
ย่อมผูกพันกันโดยตรง ตัวแทนเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดชอบต่อตัวการ
อุทาหรณ์

ฎ. 1116-1117/2495 (ป. ใหญ่) ท�ำใบมอบอ�ำนาจให้เขามีอ�ำนาจแต่งตั้งผู้รับมอบอ�ำนาจ
ช่วงให้ฟอ้ งความได้ ดังนีเ้ มือ่ ผูร้ บั มอบอ�ำนาจได้แต่งตัง้ ผูร้ บั มอบอ�ำนาจช่วงเพือ่ ฟ้องคดีแล้ว ผูร้ บั มอบอ�ำนาจ
ช่วงจะมอบอ�ำนาจช่วงให้แก่บุคคลอื่นต่อไปในการฟ้องคดียังโรงศาลอีกต่อหนึ่งนั้นย่อมอยู่นอกขอบเขตใน
ใบมอบอ�ำนาจดังกล่าว ผู้รับมอบอ�ำนาจช่วงคนหลังนี้จึงไม่มีอำ� นาจที่จะฟ้องคดีได้
ฎ. 1451/2512 ผู้ได้รับมอบอ�ำนาจให้เป็นโจทก์ฟ้องความและให้รับเงินแทนด้วยนั้นจะมอบ
อ�ำนาจให้บุคคลอื่นรับเงินจากศาลแทนไม่ได้ เพราะเป็นการตั้งตัวแทนช่วงโดยมิได้รับอนุญาตจากตัวการ
ฎ. 4061/2533 เมือ่ หนังสือมอบอ�ำนาจมีขอ้ ความมุง่ หมายจะมอบอ�ำนาจให้ ท. เป็นผูม้ อี ำ� นาจ
สธ
ท�ำการตามทีร่ ะบุไว้ในกิจการอันเกีย่ วกับการรับประกันภัยทัง้ สิน้ โดยไม่จำ� กัดว่าให้กระท�ำได้แต่ในประเทศ
ญี่ปุ่นเท่านั้น และยังมอบอ�ำนาจให้ ท. มีอ�ำนาจฟ้องคดี และมีอ�ำนาจตั้งตัวแทนช่วงหรือผู้รับมอบอ�ำนาจ
ช่วงได้ ท. จึงมอบอ�ำนาจให้ พ. ซึ่งอยู่ในประเทศไทยฟ้องและด�ำเนินคดีแทนโจทก์ได้

7-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

นอกจากนี้แม้จะระบุให้ตั้งตัวแทนช่วง ไม่ว่าจะระบุชื่อตัวแทนช่วงหรือไม่ก็ตาม ถ้าหาก


การตัง้ ตัวแทนช่วงนัน้ ท�ำให้ตวั การได้รบั ความเสียหาย ตัวแทนก็ตอ้ งรับผิด ตาม ปพพ. มาตรา 812 ส�ำหรับ
กรณีที่มีการระบุตัวแทนช่วงไว้ ปพพ. มาตรา 813 บัญญัติว่า “ตัวแทนผู้ใดตั้งตัวแทนช่วงตามที่ตัวการ
ระบุตัวให้ตั้ง ท่านว่าตัวแทนผู้นั้นจะต้องรับผิด เพียงแต่ในกรณีที่ตนได้รู้ว่าตัวแทนช่วงนั้นเป็นผู้ที่ไม่
เหมาะแก่การหรือเป็นผู้ที่ไม่สมควรไว้วางใจแล้ว และมิได้แจ้งความนั้นให้ตัวการทราบหรือมิได้เลิกถอน


ตัวแทนช่วงนั้นเสียเอง”
แม้ตัวแทนจะมีอ�ำนาจตั้งตัวแทนช่วงได้ตามที่ต้องการระบุตัวให้ตั้งก็ไม่ใช่ว่าตัวแทนจะไม่

มส
ใส่ใจในการตัง้ ตัวแทนช่วงนัน้ เลย ถ้าตัวแทนรูว้ า่ ตัวแทนช่วงนัน้ เป็นผูไ้ ม่เหมาะแก่การหรือเป็นผูไ้ ม่สมควร
น่าไว้วางใจ เช่น นายแดงตัง้ นายขาวเป็นตัวแทนในการขายรถยนต์ และยินยอมให้นายขาวตัง้ นายด�ำเป็น
ตัวแทนช่วงได้ถ้านายขาวไม่ว่าง ดังนี้ถ้านายขาวรู้ว่านายด�ำไม่เคยขายรถมาก่อน หรือนายด�ำเคยติดคุก
ฐานยักยอกเงินของนายจ้างมาแล้ว เช่นนี้ถือว่านายด�ำเป็นผู้ที่ไม่เหมาะแก่การขายรถยนต์ หรือเป็นผู้ไม่
สมควรไว้วางใจ
2.2 หน้าที่รายงานกิจการให้ตัวการทราบ หากตัวการจะมีความประสงค์ที่จะทราบความ
เป็นไปของการที่ได้มอบหมายแก่ตัวแทนนั้น ตัวแทนต้องท�ำตามแต่การสั่งการดังกล่าวต้องสมเหตุสมผล
สมควร เช่น นายทองมอบหมายให้นายเงินเป็นตัวแทนไปซือ้ ขายแร่ทางภาคใต้ ต่อมานายทองเกรงว่าการ
ซือ้ ขายแร่อาจก�ำหนดราคาโดยไม่ถกู ต้องอันท�ำให้ขาดทุนได้ นายทองจึงแจ้งให้นายเงินรายงานการท�ำงาน

ติดต่อนัน้ ๆ ให้นายทองทราบเป็นระยะๆ ได้ เพราะสมควรแก่เหตุ ซึง่ ในกรณีเช่นนีน้ ายเงินต้องรายงานให้
ทราบ โดย ปพพ. มาตรา 809 บัญญัติว่า “เมื่อตัวการมีความประสงค์จะทราบความเป็นไปของการที่ได้
มส

มอบหมายแก่ตัวแทนนั้นในเวลาใดๆ ซึ่งสมควรแก่เหตุ ตัวแทนก็ต้องแจ้งให้ตัวการทราบ อนึ่งเมื่อการ


เป็นตัวแทนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ตัวแทนต้องแถลงบัญชีด้วย”
2.3 ต้องส่งมอบทรัพย์สนิ หรือประโยชน์ให้แก่ตวั การ ปพพ. มาตรา 810 วรรคหนึง่ บัญญัติ
ว่า “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้อง
ส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น
อนึ่งสิทธิทั้งหลายซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเอง แต่โดยฐานที่ท�ำการแทน
ตัวการนั้น ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจนสิ้น” ม
เหตุผลที่ต้องบัญญัติไว้เช่นนี้ เพื่อให้ตัวแทนมีความซื่อสัตย์ต่อตัวการโดยไม่เบียดบังหรือ
ยักยอกเอาประโยชน์จากตัวการโดยอาศัยหน้าที่ เช่นนายทองมอบให้นายนาคไปซือ้ สินค้า เมือ่ ได้ของแถม
มานายนาคต้องมอบสินค้าและของแถมให้แก่นายทองทั้งสิ้น หรือตัวการมอบอ�ำนาจให้น�ำเงินไปให้บุคคล
ภายนอกกูแ้ ต่ตวั แทนเกรงว่าลูกหนีจ้ ะไม่ช�ำระหนีจ้ งึ ให้ลกู หนีน้ �ำทรัพย์สนิ มาจ�ำน�ำหรือจ�ำนองไว้เป็นประกัน
เช่นนี้ตัวแทนก็ต้องโอนสิทธิจำ� น�ำและจ�ำนองให้แก่ตัวการจงสิ้น
แต่ถ้าวัตถุประสงค์ในการตั้งตัวแทนให้ท�ำการโดยมิชอบ ตัวแทนอาจไม่ต้องรับผิด เช่น
สธ
คนต่างด้าวซือ้ ทีด่ นิ ให้คนไทยเป็นผูร้ บั โอนแทน วัตถุประสงค์ของสัญญาต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามกฎหมาย
(ป.ทีด่ นิ มาตรา 86 ปพพ. มาตรา 150) คนต่างด้าวจะฟ้องขอให้พพิ ากษาว่าทีด่ นิ เป็นของตนไม่ได้ อธิบดี
กรมที่ดินมีอำ� นาจจ�ำหน่ายที่ดินนั้นได้ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 96 (ฎ. 344/2511, ฎ. 1810/2511)

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-13

อุทาหรณ์
ฎ. 1043/2522 โจทก์ตั้งจ�ำเลยเป็นตัวแทนซื้อที่ดินโดยให้จ�ำเลยออกเงินไปก่อน และลงชื่อ
ในโฉนดแทน แม้การตั้งตัวแทนนั้นจะมิได้ท�ำเป็นหนังสือ โจทก์ก็มีอ�ำนาจบังคับจ�ำเลยโอนใส่ชื่อโจทก์ใน
ที่ดินดังกล่าวได้ ไม่ขัดต่อ ปพพ. มาตรา 798 (ฎ. 640/2489, ฎ. 493/2510, ฎ. 1404–1405/2510,
ฎ. 4759/2545)


ฎ. 33/2532 โจทก์มอบหมายให้จ�ำเลยซึ่งเป็นทนายความของโจทก์ในคดีก่อนมีอ�ำนาจรับ
เงินในคดีนั้นแทนโจทก์ได้ เมื่อจ�ำเลยรับเงินจากธนาคารซึ่งช�ำระหนี้แก่โจทก์ เงินที่จ�ำเลยรับไว้จึงตกเป็น

มส
ของโจทก์ จ�ำเลยเบียดบังเอาเงินนัน้ ไปเป็นประโยชน์สว่ นตนโดยทุจริต การกระท�ำของจ�ำเลยเป็นความผิด
ฐานยักยอก โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำ� นาจฟ้องจ�ำเลยได้
ฎ. 4761/2534 จ�ำเลยได้รับเงินค่าขายที่ดินของโจทก์ไว้ในฐานะเป็นผู้กระท�ำการแทนโจทก์
ผูข้ าย จ�ำเลยจึงมีหน้าทีต่ อ้ งส่งมอบเงินให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่มหี ลักฐานการตัง้ จ�ำเลยเป็นตัวแทนในกิจการ
ซื้อขายที่ดินดังกล่าว ก็หาเป็นเหตุให้จำ� เลยพ้นความรับผิดที่ต้องส่งเงินที่ได้รับไว้แทนคืนแก่โจทก์ไม่
ฎ. 2178/2548 โจทก์ให้จำ� เลยรับจ�ำนองทีด่ นิ โดยโจทก์เป็นผูเ้ ก็บรักษาหนังสือสัญญาจ�ำนอง
ไว้ และจ�ำเลยลงลายมือชือ่ ในหนังสือมอบอ�ำนาจทีย่ งั ไม่ได้กรอกข้อความให้ไว้ตอ่ โจทก์ เพือ่ ให้โจทก์สามารถ
ไถ่ถอนจ�ำนองได้เอง แสดงให้เห็นได้วา่ จ�ำเลยรับจ�ำนองทีด่ นิ ในฐานะตัวแทนของโจทก์ เมือ่ โจทก์ฟอ้ งบังคับ
จ�ำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจ�ำนองที่ดินเป็นชื่อโจทก์อันเป็นเรื่องตัวการเรียกทรัพย์สินจากจ�ำเลยซึ่งเป็นตัวแทน

ตาม ปพพ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ ไม่ขัดต่อ ปพพ. มาตรา
798 (ฎ. 3497/2551)
มส

2.4 ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ตัวการหากน� ำเงินของตัวการไปใช้ โดย ปพพ. มาตรา 811


บัญญัติว่า “ถ้าตัวแทนเอาเงินซึ่งควรจะได้ส่งแก่ตัวการหรือซึ่งควรใช้ในกิจการของตัวการนั้นไปใช้สอย
เป็นประโยชน์ตนเสีย ท่านว่าตัวแทนต้องเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นนับแต่วันที่ได้เอาไปใช้” ในการด�ำเนิน
งานของตัวแทนนั้นบางครั้งท�ำให้ตัวแทนต้องดูแลรักษาเงินของตัวการที่มอบไว้ให้หรือที่ตัวแทนได้รับจาก
บุคคลภายนอก จึงเป็นไปได้ที่ตัวแทนอาจเอาเงินเหล่านั้นออกใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ซึ่งกฎหมายยอม
ให้กระท�ำได้แต่ตวั แทนมีหน้าทีต่ อ้ งเสียดอกเบีย้ ให้แก่ตวั การในจ�ำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วนั ทีไ่ ด้เอาเงินไป

ใช้ ซึง่ ถ้าไม่ได้กำ� หนดไว้กต็ อ้ งเสียดอกเบีย้ ตามอัตราใน ปพพ. มาตรา 7 คือร้อยละเจ็ดครึง่ ต่อปี ไม่วา่ การ
น�ำเงินดังกล่าวไปใช้จะเป็นการกระท�ำผิดต่อหน้าที่หรือไม่ก็ตาม
2.5 ต้องร่วมมือกันท�ำงานกับตัวแทนคนอื่น ปพพ. มาตรา 804 บัญญัติว่า “ถ้าในสัญญา
อันเดียว ตัวการคนเดียวตั้งตัวแทนหลายคนเพื่อแก่การอันเดียวกันไซร้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
ตัวแทนจะต่างคนต่างท�ำการนั้นๆ แยกกันไม่ได้” ดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วว่าตัวการอาจตัง้ ตัวแทนกีค่ นก็ได้ให้
ท�ำการเพื่อตน ในกรณีที่ตัวแทนหลายคนจึงเกิดปัญหาตัวแทนเหล่านั้นต้องปฏิบัติอย่างไร กฎหมายจึง
ก�ำหนดให้ตัวแทนเหล่านั้นต้องร่วมกระท�ำ เช่น นายเขียวตั้งให้นายขาว นายแดง และนายเหลืองเป็น
สธ
ตัวแทนไปเจรจาขายสินค้าให้กับลูกค้ารายหนึ่ง กรณีเช่นนี้ถ้าไม่ได้ตกลงไว้เป็นประการอื่น นายขาว นาย
แดง และนายเหลืองต้องท�ำหน้าที่ร่วมกันโดยต้องปรึกษาหารือและเจรจาร่วมกันจะท�ำการโดยล�ำพังไม่ได้
หากฝ่าฝืนตัวการได้รับความเสียหาย ตัวแทนต้องรับผิดต่อตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 812

7-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อย่างไรก็ตามมาตรานี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ซึ่งสามารถน�ำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้
อุทาหรณ์
ฎ. 992/2479 เมื่อสัญญาตั้งผู้จัดการไว้หลายคนเพื่อกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ถ้าไม่มี
ข้อความให้อ�ำนาจผู้จัดการผู้เดียวจัดการแทนผู้อื่นได้ดังนี้ ผู้จัดการแต่ผู้เดียว หามีสิทธิร้องขัดทรัพย์ต่อ
ศาลเกี่ยวกับทรัพย์ที่ถูกยึดไม่


2.6 ตัวแทนท�ำนิตกิ รรมแทนตัวการกับตนเองไม่ได้ ปพพ. มาตรา 805 บัญญัตวิ า่ “ตัวแทน
นั้นเมื่อไม่ได้รับความยินยอมของตัวการ จะเข้าท�ำนิติกรรมอันใดในนามของตัวการท�ำกับตนเองในนาม

มส
ของตนเองหรือในฐานเป็นตัวแทนของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ เว้นแต่นิติกรรมนั้นจะมีเฉพาะแต่การ
ช�ำระหนี”้ เนือ่ งจากการทีต่ วั แทนกระท�ำการให้ตวั การนัน้ ในทางกฎหมายถือเสมือนว่าตัวการได้ทำ� ด้วยตัวเอง
ดังนั้นถ้าตัวแทนกลายเป็นคู่สัญญาของตัวการเสียเองจึงเท่ากับตัวแทนอยู่ในสองฐานะในเวลาเดียวกัน
คือเป็นตัวแทนและเป็นคูส่ ญ ั ญา ซึง่ การกระท�ำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ตวั การเพราะอาจท�ำให้
ตัวแทนเกิดผลประโยชน์ขดั กันกับหน้าที่ เช่น ถ้าเป็นตัวแทนในการขายสินค้าก็ตอ้ งพยายามขายให้ได้ราคา
สูงเท่าที่จะท�ำได้ แต่ถ้าเป็นผู้ซื้อก็ต้องซื้อให้ได้ในราคาตํ่าสุด เช่นนี้เห็นได้ว่าผลประโยชน์และหน้าที่ของ
ตัวแทนเกิดขัดกัน แต่การเป็นตัวแทนของบุคคล 2 ฝ่ายอาจมีได้ เช่น คู่พนันมอบเงินให้คนกลางไว้
เพื่อจ่ายให้แก่ฝ่ายชนะ ถือว่าคนกลางเป็นตัวแทนของทั้งสองฝ่าย (ฎ. 595/2491) ส�ำหรับหลักเกณฑ์ตาม
มาตรานี้ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า
1) การที่ตัวแทนจะเข้าท�ำกับตัวการได้นั้นต้องเป็นนิติกรรมเท่านั้น ดังนั้นหากมิใช่

นิติกรรมก็ไม่อยู่ในบังคับของมาตรานี้
2) ตัวแทนได้เข้ากระท�ำการในฐานะคู่สัญญากับตัวการ เช่น กรณีตัวการให้ไปขาย
มส

สินค้าแต่ตัวแทนกลับรับซื้อสินค้าไว้เสียเอง หรือ
3) ตัวแทนได้เข้าท�ำการในฐานะเป็นตัวแทนของบุคคลภายนอกด้วย เช่น นายแดง
มอบให้นายด�ำไปขายรถยนต์ให้นายขาว แต่นายขาวเกิดไม่วา่ งในวันนัดซือ้ ขายกัน นายขาวจึงมอบอ�ำนาจ
ให้นายด�ำเป็นตัวแทนของตนเจรจาซื้อขายรถยนต์ของนายแดงแทน เป็นต้น
4) นิติกรรมนั้นมิได้เป็นนิติกรรมซึ่งเป็นการช�ำระหนี้ ค�ำว่านิติกรรมที่มีแต่การช�ำระ
หนี้นั้นหมายความว่าเป็นการช�ำระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์ให้เมื่อถึงก�ำหนดเวลาเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่ท�ำให้

ตัวการหรือตัวแทนได้เปรียบหรือเสียเปรียบอย่างใด เช่น นายแดงเป็นตัวแทนนายขาวไปขายรถยนต์ของ
นายขาวให้แก่นายเขียวราคา 500,000 บาท กรณีเช่นนี้นายแดงต้องเข้าท�ำสัญญาขายรถยนต์คันดังกล่าว
ในนามของนายขาว แต่ปรากฏว่านายเขียวซึ่งนัดจะน�ำค่ารถยนต์มาช�ำระติดธุระไม่สามารถมาตามนัดได้
จึงมอบหมายให้นายแดงเป็นตัวแทนน�ำเงิน 500,000 บาท มาช�ำระแก่นายขาวแทนเช่นนี้ถือว่านิติกรรม
ช�ำระหนีน้ นั้ นายแดงสามารถกระท�ำในนามของตัวแทนนายเขียวได้ โดยไม่ตอ้ งได้รบั ความยินยอมจากนาย
ขาว เพราะกรณีเช่นนี้เห็นได้ว่าตัวแทนมิได้ท�ำให้ตัวการเสียหายแต่อย่างใด
เมื่อตัวแทนท�ำนิติกรรมแทนตัวการกับตนเองหรือตัวแทนได้เข้ากระท�ำการในฐานะตัวแทน
สธ
บุคคลภายนอกด้วย ตัวแทนต้องแจ้งให้ตัวการทราบความจริงและต้องได้รับความยินยอมจากตัวการก่อน
มิฉะนัน้ ตัวการอาจงดบ�ำเหน็จ ตาม ปพพ. มาตรา 818 หรืออาจท�ำให้ตวั แทนต้องรับผิดต่อตัวการได้ ตาม
ปพพ. มาตรา 812

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-15

อุทาหรณ์
ฎ. 1966/2526 ก. ตัวแทนของจ�ำเลยได้ทำ� สัญญาขายไม้ให้แก่โจทก์ในนามของจ�ำเลยท�ำกับ
ตัว ก. เอง โดยอาศัยโจทก์เป็นเครื่องมือ เมื่อ ก. ไม่ได้รับความยินยอมจากจ�ำเลยซึ่งเป็นตัวการสัญญานี้
ย่อมไม่ผูกพันจ�ำเลยตาม ปพพ. มาตรา 805
2.7 ต้องดูแลทรัพย์สินที่ตัวการมอบไว้ให้ โดย ปพพ. มาตรา 807 วรรคสอง ได้บัญญัติ


ไว้ว่า “อนึ่งบทบัญญัติมาตรา 659 ว่าด้วยการฝากทรัพย์นั้น ท่านให้น�ำมาใช้ด้วยโดยอนุโลมตามควร”
กรณีนเี้ ป็นเรือ่ งทีต่ วั การมอบทรัพย์สนิ ไว้ให้ตวั แทนดูแลซึง่ เป็นทรัพย์สนิ ทีต่ วั แทนจะต้องขายหรือให้เช่าหรือ

มส
ท�ำประการใดตามหน้าทีท่ ไี่ ด้รบั มอบหมายตัวแทนต้องดูแลทรัพย์สนิ นัน้ ซึง่ หลักเกณฑ์การฝากทรัพย์ ปพพ.
มาตรา 659 บัญญัติว่า “ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการท�ำให้เปล่าไม่มีบ�ำเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจ�ำต้อง
ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง
ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบ�ำเหน็จค่าฝาก ท่านว่าผู้รับฝากจ�ำต้องใช้ความระมัดระวังและ
ใช้ฝีมือ เพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น ทั้งนี้ย่อม
รวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย
ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใดก็จ�ำต้อง
ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรือ
อาชีวะอย่างนั้น” ซึ่งเมื่ออนุโลมตามบทบัญญัติดังกล่าวแยกได้ดังนี้

1) ถ้าการท�ำการเป็นตัวแทนเป็นการท�ำให้เปล่าไม่มีบำ� เหน็จ ตัวแทนจ�ำต้องใช้ความ
ระมัดระวังในการท�ำการแทนตัวการในกิจการนัน้ เหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง ตาม ปพพ.
มส

มาตรา 659 วรรคหนึ่ง


2) ถ้าการท�ำการเป็นตัวแทนมีบ�ำเหน็จ ตัวแทนจ�ำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือ
ในการท�ำการนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น ทั้งนี้ย่อมรวมถึงการใช้ฝีมืออัน
พิเศษเฉพาะในการที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 659 วรรคสอง
3) ถ้าตัวแทนเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใดก็จ� ำ
ต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรือ
อาชีวะอย่างนั้น ตาม ปพพ. มาตรา 659 วรรคสาม ม
อนึ่ง ทรัพย์สินที่ตัวแทนได้รับจากบุคคลภายนอกก็เป็นทรัพย์สินซึ่งตัวแทนจะต้องใช้ความ
ระมัดระวังดูแลเช่นกัน เช่น ตัวการตัง้ ตัวแทนไปซือ้ ม้า ตัวแทนซือ้ ม้าได้แล้ว ระหว่างทีน่ ำ� ม้ามาส่งแก่ตวั การ
ตัวแทนก็ต้องดูแลม้านั้นตามหน้าที่เช่นกัน
หน้าที่ดูแลทรัพย์สินของตัวการนี้จะต้องเป็นงานในหน้าที่ของตัวแทนเท่านั้น ถ้ามิใช่หน้าที่
แต่ตวั การน�ำมาฝากไว้ชวั่ ครัง้ คราวเพราะเหตุจำ� เป็นไม่จำ� ต้องน�ำบทบัญญัตเิ รือ่ งตัวแทนมาใช้บงั คับแต่เป็น
เรื่องฝากทรัพย์โดยตรง
สธ
2.8 ต้องแถลงบัญชีให้ตัวการทราบเมื่อสัญญาตัวแทนสิ้นสุดลง หน้าที่ดังกล่าวตามที่
บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 809 ดังกล่าวมาแล้ว

7-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 7.1.2
1. นายประสงค์มอบหมายให้นายประสาทเป็นตัวแทนไปซือ้ อาวุธจากต่างประเทศเพือ่ น�ำมาขาย
ให้กับกองทัพบก แต่ในระหว่างนั้นมีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้เอกชนซื้ออาวุธเข้ามาจ�ำหน่ายในประเทศ
นายประสาททราบเรื่องจึงระงับการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวที่ได้รับมอบหมายจากนายประสงค์ กรณีเช่นนี้


นายประสาทมีสิทธิจะกระท�ำโดยชอบหรือไม่เพราะเหตุใด
2. นายขาวมอบให้นายเขียวเป็นตัวแทนขายสินค้า นายเขียวเมื่อรับช�ำระราคาจากแล้วก็น�ำเงิน

มส
นั้นไปใช้ส่วนตัวโดยมิได้แจ้งให้นายขาวทราบ กรณีเช่นนี้นายเขียวจะมีความรับผิดอย่างไรต่อนายขาว

แนวตอบกิจกรรม 7.1.2
1. นายประสาทมีสทิ ธิโดยชอบทีจ่ ะไม่ปฏิบตั ิ เพราะการปฏิบตั กิ ารนัน้ เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและ
ไม่ต้องรับผิดในเหตุเสียหายใดๆ ต่อนายประสงค์
2. นายเขียวต้องใช้เงินคืนแก่นายขาว ตาม ปพพ. มาตรา 810 และต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่
เอาเงินไปใช้ด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 811

เรื่องที่ 7.1.3
มส

ความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการ

ปพพ. มาตรา 812 บัญญัติว่า “ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใดๆ เพราะความประมาทเลินเล่อ


ของตัวแทนก็ดี เพราะไม่ท�ำการเป็นตัวแทนก็ดี หรือเพราะท�ำการโดยปราศจากอ�ำนาจหรือนอกเหนือ
อ�ำนาจก็ดี ท่านว่าตัวแทนจะต้องรับผิด”
ตัวแทนต้องรับผิดในผลของการกระท�ำอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1. มีความเสียหายเพราะความประมาทเลินเล่อของตัวแทน
2. มีความเสียหายเพราะตัวแทนไม่ท�ำการเป็นตัวแทน
3. มีความเสียหายเพราะตัวแทนท�ำการโดยปราศจากอ�ำนาจ

4. ท�ำการนอกเหนืออ�ำนาจในการท�ำหน้าทีด่ งั ได้กล่าวมาแล้ว ถ้าเกิดความเสียหายขึน้ เพราะเหตุ
ใดเหตุหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ท�ำให้ตัวการเสียหายตัวการก็ย่อมเรียกร้องให้ตัวแทนรับผิดได้
สธ
1. กรณีประมาทเลินเล่อ เป็นกรณีตวั แทนท�ำการโดยปราศจากความระมัดระวังทีค่ วรจะใช้ในการ
ปฏิบัติหน้าที่จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตัวการ

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-17

อุทาหรณ์
ฎ. 1107/2497 ตัวแทนซึ่งเป็นลูกจ้างตัวการในต�ำแหน่งผู้จัดการฝ่ายสินค้าขาออกมีหน้าที่ตรวจ
ตีตราไม้ซึ่งตัวการจะรับซื้อ ตัวแทนตีตราไม้ซึ่งมีคุณภาพเลวกว่าที่ตกลงกันเป็นความประมาทเลินเล่อก่อ
ให้เกิดความเสียหายแก่ตัวการ ตัวแทนต้องรับผิดชอบค่าเสียหายตามมาตรา 812
ฎ. 7314/2537 ตามค�ำสั่งจ้างจ�ำเลยเป็นนิติกรของโจทก์ท�ำหน้าที่ทนายความก�ำหนดไว้ว่า แม้


ทนายความซึ่งได้แต่งตั้งโดยให้มีอ�ำนาจท�ำการประนีประนอมยอมความได้ก็ตาม หากจะประนีประนอม
ยอมความแล้วให้ทนายความเสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรือ่ งทีจ่ ะประนีประนอมยอมความต่อ

มส
โจทก์ทุกครั้งก่อน การที่จ�ำเลยท�ำการประนีประนอมยอมความกับจ�ำเลยในคดีที่จ�ำเลยเป็นทนายความให้
โจทก์ โดยมิได้เสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะตกลงหรือประนีประนอมยอมความต่อ
โจทก์ ย่อมถือว่าจ�ำเลยมิได้ปฏิบัติตามค�ำสั่งของโจทก์อันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ท�ำให้
โจทก์เสียหาย จ�ำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ จ�ำเลยจะอ้างเพียงว่าใบแต่งทนายความให้จ�ำเลยมีอ�ำนาจ
ประนีประนอมยอมความได้แล้วจ�ำเลยย่อมมีอ�ำนาจท�ำการประนีประนอมยอมความที่จ�ำเลยเห็นสมควร
โดยพลการหาได้ไม่
2. กรณีไม่ทำ� การเป็นตัวแทน เป็นกรณีทตี่ วั แทนไม่ไปท�ำการงานตามทีต่ วั การมอบหมาย รวมถึง
การไปท�ำหน้าที่ของตัวแทนแต่ตัวแทนละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ควรกระท�ำด้วย
อุทาหรณ์

ฎ. 1725-1726/2516 โจทก์น�ำเช็คซึ่งบริษัทโรงสีไปออกให้เข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่ธนาคาร
จ�ำเลย เพือ่ ให้จำ� เลยเรียกเก็บเงินตามเช็คนัน้ ปรากฏว่าธนาคารจ�ำเลยเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ และมิได้
มส

แจ้งให้โจทก์ทราบภายในเวลาอันสมควร ถือว่าธนาคารจ�ำเลยซึง่ เป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินตามเช็คให้โจทก์


มิได้ปฏิบัติอันควรแก่หน้าที่ตัวแทน
ฎ. 4604/2547 โจทก์ฟ้องจ�ำเลยในฐานะที่เป็นตัวแทนรับเงินค่าปุ๋ยจากบริษัท น. แล้วไม่น�ำไป
มอบให้แก่องค์การ ต. ท�ำให้โจทก์เสียหายต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่องค์การ ต. มูลคดีดังกล่าวเกิดจากการที่
จ�ำเลยมิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนซึ่งจ�ำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ปพพ. มาตรา 812
ฎ. 4266/2550 จ�ำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่สั่งซื้อสินค้าจาก พ. ในฐานะเป็นตัวแทนของส�ำนักงาน

ทั้งสองปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนที่ต้องรับผิด ตาม ปพพ. มาตรา 812



ต�ำรวจแห่งชาติ โจทก์ซงึ่ เป็นตัวการ เมือ่ สินค้าต่างๆ ทีส่ งั่ ซือ้ ไม่ได้มกี ารน�ำไปใช้ผดิ วัตถุประสงค์หรือน�ำไป
ใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวของจ�ำเลยทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีความเสียหายอย่างใดเกิดขึ้นจากการที่จ� ำเลย

3. กรณีท�ำการโดยปราศจากอ�ำนาจ เป็นกรณีทตี่ วั การไม่ได้มอบอ�ำนาจให้กระท�ำ แต่ตวั แทนไป


กระท�ำ เช่น ให้ตัวแทนเอาสินค้าไปขายเงินสดเท่านั้น แต่ตัวแทนเอาไปขายเงินเชื่อโดยไม่มีอ�ำนาจและ
ปรากฏว่าผู้ซื้อไม่ช�ำระหนี้
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 2762/2532 จ�ำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ มีจ�ำเลยที่ 2 เป็นผู้คํ้าประกัน
จ�ำเลยที่ 1 ให้ ส. ซึง่ เป็นลูกค้าของโจทก์เบิกเงินเกินบัญชีไปโดยไม่ได้ทำ� หนังสือสัญญาและไม่มหี ลักประกัน
ทัง้ ไม่ได้รบั อนุมตั จิ ากโจทก์ตามระเบียบ เป็นการกระท�ำนอกเหนือขอบอ�ำนาจ จ�ำเลยทัง้ สองต้องรับผิดต่อ

7-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

โจทก์ การที่โจทก์ยังไม่ฟ้อง ส. ให้ช�ำระหนี้แก่โจทก์โดยตรง ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ละเลยไม่บ�ำบัดปัดป้อง


หรือบรรเทาความเสียหายเพราะหนีร้ ายนีไ้ ม่มหี ลักประกันในการทีโ่ จทก์จะฟ้อง ส. ให้ชำ� ระหนีค้ นื แก่โจทก์
โจทก์จะต้องพิจารณาทางได้เสียทุกๆ ทางจึงถือได้ว่าโจทก์มิได้มีส่วนท�ำความผิดก่อให้เกิดความเสียหาย
ด้วย
ฎ. 2031/2551 ลูกหนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน การลงทุน ลูกหนี้ในฐานะ


ตัวแทนต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้ และสมควรต้องใช้ในการน�ำเงินของ
เจ้าหนี้ไปลงทุน ตาม ปพพ. มาตรา 807 วรรคสอง ประกอบ ปพพ. มาตรา 659 วรรคสาม การที่ลูกหนี้

มส
น�ำเงินของเจ้าหนี้ไปซื้อลดตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัท ก. และเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินสั่งจ่ายให้แก่
ม. กับมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. เป็นผู้อาวัล เป็นการลงทุนโดยไม่ปฏิบัติตามหนังสือยืนยันนโยบาย
การลงทุนที่ลูกหนี้มีถึงประธานคณะกรรมการของเจ้าหนี้ว่า จะลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง จึง
เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตัวแทนโดยปราศจากอ�ำนาจหรือนอกเหนืออ�ำนาจตามที่ตัวการได้มอบหมาย ซึ่งผล
ปรากฏต่อมาว่าเจ้าหนี้ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินนั้นได้ แม้เจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องเรียกเงินตาม
ตัว๋ แลกเงินจากผูส้ งั่ จ่าย ผูอ้ าวัลและผูส้ ลักหลังกับได้ยนื่ ค�ำขอรับช�ำระหนีจ้ ากกองทรัพย์สนิ ของผูอ้ าวัล และ
ศาลมีค�ำสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับช�ำระหนี้แล้วแต่ไม่เป็นที่แน่นอนว่าเจ้าหนี้จะได้รับเงินครบถ้วนหรือไม่
การกระท�ำของลูกหนี้จึงเป็นเหตุให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
แก่เจ้าหนี้

4. ท�ำการนอกเหนืออ�ำนาจ เป็นกรณีตวั แทนท�ำการเกินอ�ำนาจทีต่ วั การให้อำ� นาจไว้ เช่น ตัวการ
ให้เอาสินค้าไปขายโดยตั้งราคาไว้ 10,000 บาท หากซื้อเงินสดลดราคาได้ 10% แต่ตัวแทนไปลดราคาให้
มส

20%
ข้อสังเกต
แม้ตัวการให้สัตยาบันแก่การกระท�ำนอกเหนือขอบอ�ำนาจของตัวแทน ตาม ปพพ. มาตรา 823
แล้ว ก็ไม่มีผลท�ำให้ตัวแทนหลุดพ้นจากความรับผิดต่อตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 812 เพียงแต่ตัวแทน
ไม่ต้องผูกพันกับคนภายนอกเท่านั้น และถ้าตัวการละเลยไม่บ�ำบัดขัดข้องความเสียหายที่เกิดขึ้น ตัวแทน
ก็ไม่ต้องรับผิดต่อตัวการ นอกจากนี้ ถ้าตัวแทนท�ำการตามหน้าที่อย่างถูกต้องไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือ

อุทาหรณ์

ท�ำการโดยปราศจากอ�ำนาจหรือท�ำนอกเหนืออ�ำนาจ แม้เกิดความเสียหายขึ้นตัวแทนก็ไม่ต้องรับผิดต่อ
ตัวการ

ฎ. 1585/2529 การทีต่ วั การให้สตั ยาบันต่อการกระท�ำนอกเหนือขอบอ�ำนาจของตัวแทนต่อบุคคล


ภายนอก อันมีผลท�ำให้นิติกรรมซึ่งไม่ผูกพันตัวการกลับเป็นผูกพันตัวการโดยตรง และท�ำให้ตัวแทน
หลุดพ้นความรับผิดที่มีต่อบุคคลภายนอก ตาม ปพพ. มาตรา 823 นั้น ไม่ท�ำให้ตัวแทนหลุดพ้นจาก
ความรับผิดต่อตัวการในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการที่ตนกระท�ำนอกเหนือขอบอ�ำนาจนั้นตามที่
สธ
บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 812

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-19

จ�ำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์ โดยมีจำ� เลยที่ 2 เป็นผู้คํ้าประกัน บ. เป็นลูกค้าได้ท�ำ


สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารสาขาธนาคารโจทก์ โดยมี ส. เป็นผู้คํ้าประกัน ก่อนที่จ�ำเลยที่ 1 จะรับ
หน้าที่เป็นผู้จัดการ เมื่อจ�ำเลยที่ 1 เข้ารับหน้าที่เป็นผู้จัดการได้ให้ บ. เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ท�ำ
สัญญาไว้มาก เป็นการเกินขอบอ�ำนาจของผู้จัดการสาขา ต่อมา บ. ถึงแก่กรรม ธนาคารโจทก์ทราบแล้ว
ไม่ได้ด�ำเนินการเรียกร้องหรือฟ้องเรียกหนี้จากกองมรดกของ บ. ลูกหนี้หรือจาก ส. ผู้คํ้าประกัน ทั้งๆ ที่


มีโอกาสจะท�ำได้ จนโจทก์หมดสิทธิฟ้องเพราะขาดอายุความมรดก เมื่อ บ. มีทรัพย์สินและโจทก์มีโอกาส
จะได้รับช�ำระหนี้สิ้นเชิงหากด�ำเนินการฟ้องร้องหนี้นั้น ดังนั้นการที่โจทก์ไม่ฟ้องร้องย่อมเป็นการละเลยไม่

มส
บ�ำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย ถือเป็นเหตุทใี่ ห้เจ้าหนีม้ สี ว่ นท�ำความผิดให้เกิดความเสียหาย หรือ
นัยหนึ่งความเสียหายเกิดจากการละเว้นการกระท�ำของโจทก์ที่ไม่ยอมบ�ำบัดปัดป้องไม่ให้ความเสียหาย
เกิดขึ้น จ�ำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนผู้กระท�ำการนอกเหนือขอบอ�ำนาจจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และจ�ำเลย
ที่ 2 ในฐานะผู้คํ้าประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย
ฎ. 326/2515 จ�ำเลยเป็นตัวแทนท�ำพลอยของโจทก์ไปขาย ผู้ซื้อช�ำระค่าพลอยมาเป็นเช็คลงวันที่
สั่งจ่ายล่วงหน้า จ�ำเลยก็น�ำเช็ดทั้งหมดมามอบให้โจทก์เช็คบางฉบับก่อนจะถึงก�ำหนดวันที่สั่งจ่ายผู้ซื้อยัง
ไม่มเี งินในบัญชีของธนาคารขอให้จำ� เลยไปติดต่อกับโจทก์ขอเปลีย่ นเช็คใหม่โดยขยายเวลาต่อไปอีกโจทก์
ก็ยอม เมื่อโจทก์น�ำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ ได้ใช้ให้จำ� เลยไปดูพลอยที่ขายในร้านของผู้ซื้อเพื่อจะ
เอาคืนมาจ�ำเลยก็ไปดูให้ เมือ่ พบว่าไม่มสี งิ่ ของในร้านผูซ้ อื้ เหลืออยู่ จ�ำเลยก็กลับมาแจ้งให้โจทก์ทราบ ดังนี้

ถือได้วา่ จ�ำเลยปฏิบตั หิ น้าทีต่ วั แทนครบถ้วนแล้ว จ�ำเลยไม่ตอ้ งรับผิดต่อโจทก์เป็นเรือ่ งของโจทก์จะต้องว่า
กล่าวเอากับผู้สั่งจ่ายเช็ค
มส

กิจกรรม 7.1.3
ผูจ้ ดั การธนาคารให้ลกู ค้าเบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่มหี ลักประกัน ต่อมาลูกค้าไม่ใช้หนีธ้ นาคารท�ำให้
ธนาคารเสียหาย ดังนี้ ผู้จัดการธนาคารต้องรับผิดต่อธนาคารหรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 7.1.3 ม
ผู้จัดการธนาคารต้องรับผิดในความเสียหายเพราะท�ำการนอกเหนือขอบอ�ำนาจ ตาม ปพพ.
มาตรา 812
สธ

7-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 7.2
หน้าที่และความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 7.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
7.2.1 หน้าที่ของตัวการต่อตัวแทน
7.2.2 ความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน

1. หน้าที่ของตัวการแบ่งได้ 2 ชนิด คือ หน้าที่โดยทั่วไปและหน้าที่เฉพาะเรื่อง


2. เมือ่ ตัวแทนปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากตัวการถูกต้องครบถ้วนแล้ว ตัวแทน
ย่อมเรียกร้องให้ตัวการจ่ายบ�ำเหน็จ ได้ถ้าตกลงไว้ ชดใช้เงินทดรอง ช�ำระหนี้แทน
ตัวแทน และใช้ค่าสินไหมทดแทนได้
3. หากตัวการค้างช�ำระเงินที่ควรให้แก่ตัวแทนโดยชอบ ตัวแทนมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สิน

ใดๆ ของตัวการอันตกอยู่ในความครอบครองของตนได้ จนกว่าตัวการจะได้ช�ำระให้
เสร็จสิ้น
มส

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 7.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยหน้าที่ของตัวการที่มีต่อตัวแทนได้
2. อธิบายและวินิจฉัยความรับผิดของตัวการที่มีต่อตัวแทนได้


สธ

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-21

เรื่องที่ 7.2.1
หน้าที่ของตัวการต่อตัวแทน


ในเรื่องหน้าที่ของตัวการต่อตัวแทนนั้น เป็นการรองรับสิทธิของตัวแทน กล่าวคือหากตัวการไม่
ปฏิบัติตามหน้าที่ที่มีต่อตัวแทน ตัวแทนก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ตัวการรับผิดได้ สิทธิหน้าที่จึงเป็นสิ่ง

เฉพาะเรื่อง
มส
คูก่ นั หน้าทีข่ องตัวการทีม่ ตี อ่ ตัวแทนนัน้ แยกได้เป็น 2 ประเภทเช่นเดียวกัน คือ หน้าทีโ่ ดยทัว่ ไปและหน้าที่

1. หน้าที่โดยทั่วไป มี 2 ประการ คือ


1.1 หน้าที่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก โดยหลักแล้วเมือ่ ตัวแทนกระท�ำการใดแทนตัวการ
โดยชอบแล้ว ตัวการก็มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกโดยล�ำพัง เพราะสิ่งที่ตัวแทนท�ำไปนั้น
เป็นการกระท�ำในนามตัวการ ตัวแทนไม่ต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกโดยล�ำพัง ตาม ปพพ. มาตรา
820 เว้นแต่ตวั การจะมีเหตุอา้ งได้ตาม ปพพ. มาตรา 825 ดังกล่าวมาแล้ว แต่ในกรณีทตี่ วั แทนท�ำการแทน
ตัวการซึง่ อยูต่ า่ งประเทศและมีภมู ลิ ำ� เนาในต่างประเทศนัน้ ตัวแทนต้องรับผิดตามล�ำพังโดย ปพพ. มาตรา
824 บัญญัติว่า “ตัวแทนคนใดท�ำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิล�ำเนาในต่างประเทศ

ท่านว่าตัวแทนคนนั้นจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ล�ำพังตนเอง แม้ทั้งชื่อของตัวการจะได้เปิดเผยแล้ว
เว้นแต่ข้อความในสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน” อย่างไรก็ดีแม้ตัวแทนจะต้องรับผิดต่อ
บุคคลภายนอกโดยล�ำพัง แต่ตวั แทนก็ได้ชอื่ ว่ากระท�ำแทนตัวการ ดังนัน้ ในระหว่างกันเองตัวการจะต้องรับ
มส

ผิดต่อตัวแทนด้วยตามหลักเกณฑ์ทั่วไป
อุทาหรณ์
ฎ. 3109/2553 หนังสือแต่งตั้งจ�ำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของบริษัท ช. แต่งตั้งจ�ำเลยที่ 2 ให้
เป็นตัวแทนรับมอบอ�ำนาจทัว่ ไป ดังนัน้ จ�ำเลยที่ 2 จะท�ำกิจใดๆ ในทางจัดการแทนตัวการก็ยอ่ มท�ำได้ทกุ
อย่าง ตาม ปพพ. มาตรา 801 นอกจากนี้ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ระบุชื่อผู้ประกอบการคือบริษัท

ช. จ�ำกัด กระท�ำการแทนโดยจ�ำเลยที่ 2 เมื่อสัญญารับขนของทางทะเลกระท�ำในราชอาณาจักรมีบริษัท
ช. ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำ� เนาอยู่ต่างประเทศเป็นผู้ขนส่ง โดยจ�ำเลยที่ 2 รับจองวางเรือและมีการ
ออกใบตราส่งที่ระบุชัดว่า จ�ำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่ง (AS AGENTS FOR
THE CARRIER) ทั้งยังเป็นผู้แจ้งให้ผู้ส่งของน�ำสินค้ามาบรรทุกลงเรือและรับช�ำระค่าระวางโดยออกใบ
เสร็จรับเงิน/ใบก�ำกับภาษีในนามของผู้ขนส่ง พฤติการณ์จึงรับฟังได้ว่า จ�ำเลยที่ 2 ท�ำสัญญารับขนของ
ทางทะเลรายนี้ในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัท ช. ผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิล�ำเนาใน
ต่างประเทศ จ�ำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำ� พังตนเอง ตาม ปพพ. มาตรา 824
สธ
1.2 หน้าที่ต้องจ่ายบ�ำเหน็จให้แก่ตัวแทน โดยหลักแล้วสัญญาตัวแทนเป็นสัญญาที่ท�ำให้
เปล่าแก่กนั เว้นแต่จะมีขอ้ ตกลงหรือมีธรรมเนียมให้บำ� เหน็จ ทัง้ นีเ้ ป็นหลักเกณฑ์ทบี่ ญ
ั ญัตไิ ว้ใน ปพพ. มาตรา
803 ดังนั้นในกรณีที่มีข้อตกลงให้บ�ำเหน็จแก่กัน ตัวการก็ต้องผูกพันที่จะต้องช�ำระหนี้ค่าบ�ำเหน็จให้แก่

7-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตัวแทน ซึ่งหากไม่ได้ก�ำหนดกันไว้ว่าจะจ่ายบ�ำเหน็จกันเมื่อใดก็ต้องบังคับ ตาม ปพพ. มาตรา 817 กล่าว


คือ จะต้องจ่ายบ�ำเหน็จให้เมื่อการเป็นตัวแทนได้เสร็จสิ้นลง และการในหน้าที่ตัวแทนส่วนใดตัวแทนได้ทำ�
มิชอบในส่วนนั้นตัวแทนก็ไม่มีสิทธิจะได้บ�ำเหน็จ ตาม ปพพ. มาตรา 818
2. หน้าที่เฉพาะเรื่อง มี 4 ประการ ดังนี้
2.1 หน้ า ที่ ต ้ อ งจ่ า ยเงิ น ทดรองเมื่ อ ตั ว แทนประสงค์ ปพพ. มาตรา 815 บั ญ ญั ติ ว ่ า


“ถ้าตัวแทนมีความประสงค์ไซร้ ตัวการต้องจ่ายเงินทดรองให้แก่ตัวแทนตามจ�ำนวนที่จำ� เป็น เพื่อท�ำการ
อันมอบหมายแก่ตัวแทนนั้น” ทัง้ นีเ้ พราะในการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตัวการบางครัง้ ต้องมีคา่ ใช้จา่ ยหากจะให้

มส
ตัวแทนออกไปก่อนก็ย่อมเป็นภาระแก่ตัวแทน ย่อมเกิดความไม่เป็นธรรม ตัวแทนจึงมีสิทธิของให้ตัวการ
จ่ายเงินทดรองให้แก่ตัวแทนได้ ซึ่งตัวการก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติหากไม่ปฏิบัติและเกิดความเสียหาย
อย่างใดๆ แก่ตัวแทนแล้ว ตัวการก็ต้องรับผิดหรือตัวแทนอาจมีสิทธิบอกเลิกสัญญาการเป็นตัวแทนได้
2.2 หน้าที่ต้องชดใช้เงินทดรองหรือค่าใช้จ่ายที่ตัวแทนได้จ่ายไป ปพพ. มาตรา 816 วรรค
หนึ่ง บัญญัติว่า “ถ้าในการจัดท�ำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนได้ออกเงินทดรองหรือออก
เงินค่าใช้จ่ายไป ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็นการจ�ำเป็นได้ไซร้ ท่านว่าตัวแทนจะเรียกเอาเงินชดใช้
จากตัวการ รวมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้ออกเงินไปนั้นด้วยก็ได้” ทั้งนี้เป็นกรณีที่ตัวแทนได้ออกเงิน
ทดรองให้แก่ตัวการไปก่อนหรือเสียค่าใช้จ่ายไปบางประการ เพราะในการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนนั้น
อาจจ�ำเป็นต้องใช้เงินโดยเร่งด่วนและจ�ำเป็นจะต้องตัดสินใจกระท�ำเช่นนัน้ กรณีเช่นนีต้ วั การก็มหี น้าทีต่ อ้ ง

ชดใช้คืนให้แก่ตัวการพร้อมดอกเบี้ย
อุทาหรณ์
มส

นายสมานมอบให้นายจารึกเป็นตัวแทนไปขายรถยนต์ให้แก่นายศักดิ์ แต่ปรากฏว่ารถยนต์
ของนายสมานเกิดช�ำรุดก่อนส่งมอบ นายจารึกจึงต้องน�ำไปให้ช่างแก้ไขซ่อมแซมก่อนส่งมอบให้นายศักดิ์
และได้เสียค่าใช้จ่ายไปก่อน ดังนี้นายจารึกมีสิทธิเรียกร้องให้นายสมานช�ำระค่าซ่อมให้แก่ตนได้พร้อม
ดอกเบี้ย
2.3 หน้าที่ต้องช�ำระหนี้แทนตัวการ ปพพ. มาตรา 816 วรรคสอง บัญญัติว่า “ถ้าในการ
จัดท�ำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนต้องรับภาระเป็นหนี้อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งพิเคราะห์ตาม

เหตุควรนับว่าเป็นการจ�ำเป็นได้ไซร้ ท่านว่าตัวแทนจะเรียกให้ตัวการช�ำระหนี้แทนตนก็ได้ หรือถ้ายังไม่
ถึงเวลาก�ำหนดช�ำระหนี้ จะให้ตัวการให้ประกันอันสมควรก็ได้” เช่นกรณีตวั อย่างในข้อ 2.2 หากตัวแทน
ไม่มีเงินไปช�ำระค่าจ้างในการซ่อมแซมรถยนต์ โดยได้ติดค้างช�ำระค่าจ้างดังกล่าว ตัวแทนก็อาจจะ
เรียกร้องให้ตัวการคือนายสมานน�ำเงินไปช�ำระหนี้ค่าจ้างซ่อมได้ หรืออาจจะให้นายสมานน�ำแหวนหนึ่งวง
มาเป็นประกันการช�ำระหนี้ได้
2.4 หน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ปพพ. มาตรา 816 วรรคสาม บัญญัติว่า “ถ้าในการจัดท�ำกิจการอันเขามอบหมายแก่ตน
สธ
นั้น เป็นเหตุให้ตัวแทนต้องเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด มิใช่เป็นเพราะความผิดของตนเองไซร้ ท่านว่า
ตัวแทนจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากตัวการก็ได้” เนือ่ งจากการทีต่ วั แทนท�ำการให้ตวั การนัน้ เป็นการ
กระท�ำไปเพื่อประโยชน์ของตัวการและท�ำในนามตัวการ ดังนั้นหากการกระท�ำนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-23

อย่างใดๆ แก่ตัวแทน ตัวการก็ต้องรับผิดต่อตัวแทนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ ซึ่งความเสียหายดังกล่าว


ต้องเป็นความเสียหายที่ตัวแทนได้รับเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่โดยตรง และมิใช่เกิดจากความผิดของ
ตัวแทนเอง เช่น ตัวการใช้ให้ตวั แทนไปท�ำสัญญาเช่าซือ้ กับลูกค้า ตัวแทนขับรถไปแล้วเกิดยางแตกเสียหาย
รถยนต์ของตัวแทนไปชนต้นไม้ ตัวแทนได้รับบาดเจ็บ ดังนี้ตัวแทนสามารถเรียกร้องให้ตัวการชดใช้
ความเสียหายนัน้ ได้ แต่ถา้ ตัวแทนไปท�ำสัญญาเช่าซือ้ ตามหน้าทีเ่ สร็จแล้ว ขณะเดินทางกลับถูกรถยนต์ชน


ล้มลงได้รับบาดเจ็บถือไม่ได้ว่าตัวแทนประสบอันตรายเนื่องจากการเป็นตัวแทน
อุทาหรณ์

มส ฎ. 186/2510 ค่าใช้จ่ายในการที่จำ� เลยได้รับมอบหมายให้จัดการโอนขายที่ดินแทนโจทก์ใน


ภายหลังอีกส่วนหนึ่งนั้น แม้จ�ำเลยไม่สามารถน�ำสืบฟังได้ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าจ�ำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
การนีแ้ น่นอน ซึง่ จ�ำเลยมีสทิ ธิเรียกร้องเอาได้ ตาม ปพพ. มาตรา 816 เมือ่ ไม่ได้ความว่าค่าใช้จา่ ยทีจ่ ำ� เลย
เสียไปนั้นเป็นจ�ำนวนเท่าใด ศาลก็มีอ�ำนาจก�ำหนดให้ตามที่ควรนับว่าจ�ำเป็นใช้จ่ายไป
ฎ. 319/2510 โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ช�ำระหนี้แทนจ�ำเลยเป็นฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญา
ตัวแทน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้
ฎ. 4145/2533 เมื่ อ การซื้ อ ขายหลั ก ทรั พ ย์ ไ ด้ ท� ำ ตามข้ อ บั ง คั บ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง
ประเทศไทยแล้ว จึงถือได้วา่ เป็นสัญญาทีผ่ กู พันเกีย่ วข้องกับคูส่ ญ ั ญาทัง้ สองฝ่ายโดยสมบูรณ์ และเมือ่ โจทก์
ซื้อหุ้นให้จ�ำเลยแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำ� เลยผู้มีคำ� สั่งซื้อชดใช้ค่าให้หุ้นที่โจทก์ได้ทดรองจ่ายไป

เมือ่ จ�ำเลยช�ำระค่าหุน้ ครบถ้วนและมีความประสงค์จะรับโอนหุน้ ก็ยอ่ มท�ำได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1129 โดย
ขอรับใบหุน้ พร้อมตราสารการโอนหุน้ ซึง่ มีลายมือชือ่ ผูถ้ อื หุน้ เดิมในลักษณะการโอนลอยไปลงชือ่ และจดแจ้ง
มส

การโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นได้ อันเป็นคนละขั้นตอนกับขั้นตอนการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย การซื้อขายหุ้นดังกล่าวที่โจทก์ซื้อแทนจ�ำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย (ฎ. 5388/2545)

กิจกรรม 7.2.1
นายแจ้งมอบหมายให้นายสว่างขับรถไปส่งของให้ลูกค้าที่ต่างจังหวัดและรับเงินค่าซื้อสินค้าจาก

นี้นายสว่างจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากนายแจ้งได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบกิจกรรม 7.2.1

ลูกค้า ในระหว่างทางมีรถคันหนึ่งขับโดยประมาทชนรถของนายสว่างจนท�ำให้นายสว่างบาดเจ็บกรณีเช่น

นายสว่างมีสิทธิเรียกร้องเพราะเกิดความเสียหายในขณะปฏิบัติหน้าที่ให้นายแจ้ง และไม่ใช่ความ
ผิดของนายสว่าง (ปพพ. มาตรา 816 วรรคท้าย)
สธ

7-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 7.2.2
ความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน


เมือ่ ตัวการไม่ปฏิบตั ติ ามหน้าทีด่ งั กล่าว นอกจากตัวแทนจะเรียกร้องให้ตวั การรับผิดตามหน้าทีใ่ น
เรื่องที่ 7.2.1 หน้าที่ของตัวการต่อตัวแทนแล้ว ตัวแทนยังมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์ของตัวการอีกด้วย โดย

มส
ปพพ. มาตรา 819 บัญญัติว่า “ตัวแทนชอบที่ยึดหน่วงทรัพย์สินอย่างใดๆ ของตัวการอันตกอยู่ในความ
ครอบครองของตนเพราะเป็นตัวแทนนัน้ เอาไว้ได้ จนกว่าจะได้รบั เงินบรรดาค้างช�ำระแก่ตนเพราะการเป็น
ตัวแทน”
เมือ่ เกิดสัญญาตัวแทนขึน้ ตัวการและตัวแทนต่างมีหนีต้ อ้ งปฏิบตั ติ อ่ กันตามสัญญา ดังนัน้ ในกรณี
ที่ตัวการจะต้องช�ำระเงินใดๆ ซึ่งตัวแทนมีสิทธิเรียกร้องโดยชอบตามกฎหมายจากตัวการ ตัวการก็ต้อง
ช�ำระให้ หากตัวการละเลยนอกจากตัวแทนจะมีสิทธิในฐานะคู่สัญญาแล้ว ตัวแทนยังอาจใช้สิทธิยึดหน่วง
แก่ทรัพย์สินของตัวการที่ตกอยู่ในความครอบครองของตัวแทนได้ แต่ทั้งนี้ต้องปรากฏหลักเกณฑ์ ดังต่อ
ไปนี้
1. ตัวการติดค้างช�ำระหนี้ให้แก่ตัวแทน ถ้าหนี้ระงับแล้ว เช่น เพราะแปลงหนี้ใหม่ตัวแทนจะยึด

หน่วงไม่ได้
2. หนี้นั้นเป็นหนี้ที่ต้องช�ำระเป็นเงิน
3. หนี้นั้นเกิดจากการที่ตัวแทนปฏิบัติหน้าที่ให้ตัวการ เช่น หนี้ค่าบ�ำเหน็จ เป็นต้น
มส

4. ทรัพย์สินซึ่งตัวแทนยึดหน่วงไว้นั้นเป็นทรัพย์สินของตัวการ และตัวแทนได้รับมอบมาจาก
ตัวการเพื่อใช้ในกิจการของตัวแทน
5. ทรัพย์สินนั้นตัวแทนได้ครอบครองอยู่แล้วในขณะใช้สิทธิยึดหน่วง
6. ตัวแทนและตัวการไม่มีข้อตกลงเป็นพิเศษห้ามมิให้ตัวแทนยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้
7. ตัวแทนมีสิทธิยึดหน่วงไว้เท่านั้นแต่ไม่มีสิทธิน�ำไปขายเพื่อช�ำระหนี้หรือโอนให้ใคร

อุทาหรณ์

การใช้สิทธิยึดหน่วงของตัวแทนจึงต้องด�ำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว สิทธิยึดหน่วงนี้เป็น
ทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง ซึ่ง ปพพ. บัญญัติไว้ในมาตรา 241 ถึง 250

ฎ. 1725/2528 เจ้าหนี้ได้ออกเงินช�ำระหนี้ค่าซื้อหุ้นแทนจ�ำเลยไปในฐานะเป็นตัวแทนซื้อหุ้นให้
จ�ำเลยในตลาดหลักทรัพย์ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นอันตกอยู่ในความครอบครองของ
เจ้าหนี้ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างช�ำระแก่ตน เพราะการเป็นตัวแทน ตาม ปพพ. มาตรา 819
ฎ. 1815/2534 แม้เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้นซึ่งเป็น
สธ
ทรัพย์สินของจ�ำเลย แต่เมื่อโจทก์และจ�ำเลยได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยท�ำเป็นสัญญาประนีประนอม
ยอมความ หนี้ที่มีประกันเดิมของโจทก์ย่อมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามผลของ ปพพ. มาตรา

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-25

349 และเมือ่ สัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ให้สทิ ธิโจทก์ยดึ ถือใบหุน้ ไว้ในฐานะเจ้าหนีม้ ปี ระกันต่อไป


โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พรบ. ล้มละลาย มาตรา 6
หมายเหตุ ความรับผิดระหว่างตัวการตัวแทน และคนภายนอกนั้น นักศึกษามักตอบผิดสลับกับ
ความรับผิดของตัวการตัวแทนต่อคนภายนอกเสมอ จึงขอให้ดูแผนผังดังนี้


ม.820-823
ฟ้อง ม.810, 812, 813

มส
ตัวการ
หน้าที่และความรับผิด
ไม่จำ� เป็นต้องมีหลักฐาน
ตั้งตัวแทน
ฟ้อง ม.816, 819
ม.820–823
ตัวแทน นิติกรรม

- ม.900
- ม.824
คนภายนอก

ยกเว้น - ม.427
- ท�ำนอกเหนืออ�ำนาจ

มส

กิจกรรม 7.2.2
นายแดงให้นายด�ำยืมรถยนต์ไปขับต่างจังหวัด เมือ่ กลับมาแล้วนายแดงตัง้ นายด�ำเป็นตัวแทนขาย
ทองตกลงให้บำ� เหน็จ 10% ของราคาขาย นายด�ำขายทองได้แล้ว นายแดงไม่ยอมจ่ายค่าบ�ำเหน็จ นายด�ำ
จึงยึดรถยนต์คันนั้นไว้เพื่อช�ำระค่าบ�ำเหน็จ ดังนี้จะท�ำได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบกิจกรรม 7.2.2

นายด�ำจะยึดหน่วงรถยนต์ของนายแดงทีย่ มื มาเพือ่ ช�ำระหนีไ้ ม่ได้ เพราะทรัพย์ทยี่ ดึ ไว้นนั้ ไม่ได้มา
เนื่องจากการท�ำหน้าที่ตัวแทน ตาม ปพพ. มาตรา 819
สธ

7-26 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 7.3
อายุความ
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 7.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
7.3.1 อายุความฟ้องให้ตัวแทนรับผิด
7.3.2 อายุความฟ้องให้ตัวการรับผิด

1. อ ายุความตัวแทนฟ้องให้ตัวแทนรับผิด ถ้าเป็นกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้
เป็นอย่างอืน่ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 เว้นแต่เป็นการใช้สทิ ธิ
ติดตามเอาทรัพย์คนื ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ไม่มกี ำ� หนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สทิ ธิ
2. อายุความตัวแทนฟ้องให้ตัวการรับผิด ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้
อายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30

วัตถุประสงค์
มส

เมื่อศึกษาตอนที่ 7.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ


1. อธิบายและวินิจฉัยอายุความที่ฟ้องร้องให้ตัวแทนรับผิดไว้
2. อธิบายและวินิจฉัยอายุความที่ตัวแทนฟ้องให้ตัวการรับผิดชอบได้


สธ

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-27

เรื่อที่ 7.3.1
อายุความต้องให้ตัวแทนรับผิด


อายุความเป็นก�ำหนดระยะเวลาตามทีก่ ฎหมายบัญญัตไิ ว้เพือ่ ให้ใช้สทิ ธิเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึง่
ถ้าพ้นก�ำหนดเวลานั้นแล้วผู้ใดจะอ้างสิทธิเรียกร้องอย่างใดๆ ย่อมไม่อาจท�ำได้

มส
อายุความฟ้องร้องให้ตัวแทนรับผิดหรืออายุความฟ้องร้องให้ตัวการรับผิดตามหน้าที่ดังกล่าวมา
แล้ว ปกติแล้วไม่มีกฎหมายก�ำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 กล่าว
คือ ต้องฟ้องร้องกันภายในก�ำหนด 10 ปี นับแต่วันเกิดสิทธิเรียกร้อง มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ เว้นแต่
เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีก�ำหนดเวลา นอกจากนี้ยังมีอายุ
ความเฉพาะเรือ่ ง และในการฟ้องร้องถือว่าโจทก์ผฟู้ อ้ งใช้สทิ ธิขอ้ หาใดฐานะใด นอกจากนีต้ อ้ งดูฐานะตัวแทน
ด้วยบางกรณีตวั แทนอาจมีฐานะเป็นลูกจ้าง หรือจ้างท�ำของ เช่น ทนายความอาจมีทงั้ ฐานะเป็นลูกจ้างของ
บริษทั หรือเป็นผูร้ บั จ้างท�ำของ และเป็นตัวแทนด้วย ซึง่ มีกฎหมายบัญญัตเิ รือ่ งอายุความไว้เป็นพิเศษ และ
อายุความฟ้องร้องนี้หมายถึงตัวการ ตัวแทนฟ้องร้องกันโดยตรง ถ้าฝ่ายใดตามอาจมีการฟ้องร้องทายาท
อาจมีเรื่องอายุความมรดกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จึงต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

อายุความฟ้องให้ตัวแทนรับผิด
1. ตัวการฟ้องตัวแทนให้รับผิดตามสัญญาตั้งตัวแทน
มส

อุทาหรณ์
ฎ. 741/2523 โจทย์ฟ้องจ�ำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขา อันเป็นสัญญาตั้ง
ตัวแทนมีอายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 164 (มาตรา 193/30 ปัจจุบัน)
ฎ. 2602/2524 สัญญาจัดตัง้ สาขาธนาคาร ซึง่ ธนาคารโจทก์ยอมให้จำ� เลยเปิดสาขาธนาคารโจทก์
ขึ้นเพื่อด�ำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์นั้น เมื่อตามสัญญาโจทก์ยอมให้จ�ำเลยด�ำเนินกิจการภายใต้ความ

ควบคุมของโจทก์ จ�ำเลยไม่มีอ�ำนาจด�ำเนินการอย่างอิสระ จึงไม่ใช่สัญญาจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นใหม่
ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์
ธนาคารโจทก์ฟ้องจ�ำเลยโดยอาศัยสัญญาตัวแทน (สัญญาจัดตั้งสาขาธนาคาร) เป็นมูลฐาน แม้
จะกล่าวว่าจ�ำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารโจทก์ ท�ำการโดยประมาทเลินเล่อปราศจาก
อ�ำนาจ นอกเหนือขอบอ�ำนาจหน้าที่ แสวงหาประโยชน์โดยไม่สุจริต ก็เป็นการกล่าวตามที่มีปรากฏใน
สัญญาเป็นเรื่องฟ้องขอให้จ�ำเลยรับผิดตามสัญญา ซึ่งไม่มีกฎหมายก�ำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นมิใช่
ฟ้องโดยอาศัยมูลละเมิดจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 165 (มาตรา 193/30 ปัจจุบัน)
สธ
2. สิทธิเรียกร้องของตัวการให้ตัวแทนรับผิดส่งเงินและทรัพย์สินอย่างอื่น บรรดาทีต่ วั แทนรับ
ไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนให้แก่ตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 810 กรณีนี้เช่น

7-28 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 1877/2542 โจทก์ฟอ้ งขอให้บงั คับจ�ำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ป. ผูต้ ายให้สง่ มอบเงิน
จากกองทุนไฟป่าทีผ่ ตู้ ายเบิกและรับไว้แทนให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำ� เลยในฐานะทายาทรับผิดกรณีที่
ผู้ตายซึ่งเป็นตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ มิใช่โจทก์ฟ้องจ�ำเลยในฐานะทายาทของ ป. ในกรณีละเมิด และ
กรณีตัวการฟ้องเรียกเงินที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวกับการเป็นตัวแทน ตาม ปพพ. มาตรา 810 กฎหมายไม่ได้


บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30 นับแต่วันที่ ป. ผู้ตาย
รับเงินจากกองทุนไฟป่าไว้แทนโจทก์

มส
ถ้ า ตั ว การฟ้ อ งให้ ตั ว แทนส่ ง มอบทรั พ ย์ ที่ ส ่ ง มอบแก่ ตั ว แทนหรื อ บุ ค คลภายนอกส่ ง มอบนั้ น
ถ้าเป็นการใช้สทิ ธิตดิ ตามเอาทรัพย์คนื ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ไม่มกี ำ� หนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สทิ ธิ
เว้นแต่จะถูกจ�ำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ
อุทาหรณ์
ฎ. 2185/2533 จ�ำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ท�ำหน้าที่เป็นตัวแทนรับเงินค่าซื้อรถจากลูกหนี้ของ
โจทก์ จ�ำเลยที่ 1 รับเงินตามหน้าทีแ่ ล้วไม่สง่ มอบให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นทัง้ ละเมิดและปฏิบตั ผิ ดิ หน้าทีต่ วั แทน
ตามสัญญาจ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายในการละเมิด หรือติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์ที่จ�ำเลย
เอาไปได้ การฟ้องเรียกให้จ�ำเลยคืนเงินจึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจ�ำเลยที่ 1
ผู้ไม่มีสิทธิยึดถือเอาทรัพย์ของโจทก์ไว้ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีก�ำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้
สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจ�ำกัดด้วยอายุความได้สทิ ธิ ดังนัน้ โจทก์ยอ่ มมีสทิ ธิฟอ้ งเรียกทรัพย์คนื จากจ�ำเลยที่

1 ได้ แม้เกิน 1 ปี จ�ำเลยที่ 2 ซึ่งคํ้าประกันจ�ำเลยที่ 1 มูลหนี้ของจ�ำเลยที่ 2 ก็เกิดจากสัญญาหาได้เกิดจาก
มูลละเมิดอันจะมีอายุความ 1 ปี ไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
มส

ดังนั้นโจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าเป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย หรือฟ้อง
เรียกทรัพย์คืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ไม่ใช่ฟ้องในฐานะบุคคลสิทธิอย่างเดียว
3. อายุความฟ้องเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ตัวแทนเอาเงินไปใช้
อุทาหรณ์
ฎ. 4604/2547 โจทก์ฟอ้ งจ�ำเลยในฐานทีเ่ ป็นตัวแทนรับเงินค่าปุย๋ จากบริษทั น. แล้วไม่นำ� ไปมอบ
ให้แก่องค์การ ต. ท�ำให้โจทก์เสียหายต้องเสียดอกเบีย้ ให้แก่องค์การ ต. มูลคดีดงั กล่าวเกิดจากการทีจ่ ำ� เลย

มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนซึ่งจ�ำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ปพพ. มาตรา 812 ส่วน ปพพ.
มาตรา 811 นั้น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อให้ตัวการมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินที่ตัวแทนรับไว้แล้วมิได้ส่งให้
ตัวการเท่านั้น โจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จ�ำเลยคืนหรือใช้เงินที่รับไว้ซึ่งจ�ำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในจ�ำนวนเงิน
ดังกล่าวด้วย แต่โจทก์ฟ้องให้จ�ำเลยใช้ค่าเสียหายโดยอาศัยดอกเบี้ยเป็นฐานในการค�ำนวณค่าเสียหาย
เท่านัน้ มิใช่ฟอ้ งเรียกดอกเบีย้ โดยตรง และการทีโ่ จทก์ฟอ้ งเรียกค่าเสียหายจากจ�ำเลย ตาม ปพพ. มาตรา
812 ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 164
เดิม (ปัจจุบันมาตรา 153/30) และอายุความเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิที่เรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม
สธ
ปพพ. มาตรา 169 เดิม (ปัจจุบันมาตรา 193/12) เมื่อจ�ำเลยได้รับเงินไว้แทนโจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31
มีนาคม พ.ศ. 2526 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2526 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องวันที่ 2
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เกิน 10 ปีแล้วจึงขาดอายุความ

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-29

4. อายุความฟ้องร้องให้ตัวแทนรับผิด ตาม ปพพ. มาตรา 812 คือ กรณีที่ตัวแทนท�ำความ


เสียหายแก่ตัวการโดยประมาทเลินเล่อไม่ท�ำการเป็นตัวแทนหรือท�ำการโดยปราศจากอ�ำนาจ หรือ
นอกเหนืออ�ำนาจตัวการฟ้องให้ตัวแทนรับผิด มีอายุความ 10 ปี
อุทาหรณ์
ฎ. 347/2526 จ�ำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ ตาม


ปพพ. มาตรา 812 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (มาตรา 193/30 ปัจจุบัน)
ฎ. 7314/2537 จ�ำเลยเป็นพนักงานของโจทก์และเป็นทนายว่าความให้โจทก์จึงถือว่าโจทก์เป็น

มส
ตัวการและจ�ำเลยเป็นตัวแทน เมื่อโจทก์ฟ้องให้จ�ำเลยรับผิดในฐานะเป็นตัวแทนกระท�ำการโดยประมาท
เลินเล่อท�ำให้โจทก์ผู้เป็นตัวการเสียหายซึ่งมิได้มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมมีอายุความ
ฟ้องร้อง 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 164 เดิม (มาตรา 190/30 ปัจจุบัน) ไม่ใช่กรณีละเมิดซึ่งต้องใช้อายุ
ความ 1 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 420, 448

อายุความฟ้องให้ตัวการรับผิด
อุทาหรณ์
ฎ. 1180/2530 โจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนฟ้องเรียกเงินทดรองจากจ�ำเลยซึ่งเป็นตัวการ ตาม ปพพ.
มาตรา 816 กฎหมายมิได้ก�ำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม
ปพพ. มาตรา 164 (มาตรา 193/30 ปัจจุบัน) (ฎ. 3566/2525, ฎ. 1757/2527, ฎ. 1865/2530, ฎ.

2744/2534)
ฎ. 10875/2555 โจทก์เป็นกรรมการของจ�ำเลยที่ 1 เป็นผูด้ แู ลการผลิต การตลาด และการขายแร่
มส

ทีจ่ งั หวัดนครศรีธรรมราชทัง้ หมด ส่วนจ�ำเลยทัง้ สองอยูท่ กี่ รุงเทพมหานคร แสดงว่าการดูแลกิจการเหมืองแร่


ตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ การส่งเงินให้แก่จ�ำเลยที่ 1 รวมทั้งการมอบเงินผ่านพนักงานของจ�ำเลยที่ 1
ต่างเป็นการกระท�ำในฐานะที่โจทก์เป็นกรรมการของจ�ำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของจ�ำเลยที่ 1 เป็นหลัก
จึงเป็นเรือ่ งทีโ่ จทก์ในฐานะกรรมการได้ออกเงินของตนเพือ่ ทดรองจ่ายในกิจการของจ�ำเลยที่ 1 การทีโ่ จทก์
มาเรียกเงินคืนจากจ�ำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีความเกีย่ วพันระหว่างกรรมการและบริษทั ซึง่ ตาม ปพพ. มาตรา
1167 ให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน และตามมาตรา 816 ตัวแทนชอบที่จะเรียกเงินที่ตนทดรอง

10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30

กิจกรรม 7.3.1

จ่ายคืนจากตัวการได้ สิทธิเรียกร้องนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงมีอายุความ

นายสุนทรตั้งนายทองเป็นตัวแทนไปรับโอนที่ดินโดยไม่ได้ท�ำเป็นหนังสือตั้งตัวแทน นายทองใส่
ชื่อในโฉนดที่ดินเป็นของตน หลังจากนั้นอีก 11 ปี นายสุนทรขอให้นายทองโอนโฉนดที่ดินมาเป็นชื่อของ
สธ
นายสุนทร นายทองปฏิเสธไม่ยอมโอนให้อ้างว่าคดีขาดอายุความแล้ว ดังนี้ ท่านเห็นว่าคดีขาดอายุความ
หรือไม่เพราะเหตุใด

7-30 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แนวตอบกิจกรรม 7.3.1
ตัวการฟ้องตัวแทนเรียกทรัพย์ของตัวการซึ่งอยู่ในความครอบครองของตัวแทนเป็นการใช้สิทธิ
ติดตามเอาทรัพย์คืนจากตัวแทน ซึ่งไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 ไม่มีอายุความฟ้องร้อง
คดีจึงไม่ขาดอายุความ


มส
เรื่องที่ 7.3.2
อายุความต้องให้ตัวการรับผิด

อายุความฟ้องให้ตัวการรับผิด
ตัวแทนอาจฟ้องร้องให้ตวั การรับผิดมีได้ 2 กรณีคือ ตาม ปพพ. มาตรา 816 โดยเฉพาะการเรียก
เงินทดรองที่จ่ายไปคืนจากตัวการ และกรณีฟ้องเรียกบ�ำเหน็จ
1. กรณีฟอ้ งเรียกเงินทดรองทีจ่ า่ ยไปคืนจากตัวการ มีอายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/34

อุทาหรณ์
ฎ. 1757/2527 จ�ำเลยสัง่ ให้โจทก์ซอื้ หุน้ ในตลาดหลักทรัพย์และยอมช�ำระค่าหุน้ 30 เปอร์เซ็นต์แก่
มส

โจทก์ไปแล้ว ส่วนค่าหุ้นอีก 70 เปอร์เซ็นต์ โจทก์ผู้เป็นตัวแทนจ�ำต้องออกเงินทดรองจ่ายไปโจทก์จึงชอบ


ที่จะเรียกเอาจากจ�ำเลยผู้เป็นตัวการได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 807, 816 และกรณีนี้เป็นเรื่องตัวแทน
เรียกร้องเอาเงินทีไ่ ด้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ซึง่ ไม่มกี ฎหมายบัญญัติ
อายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (มาตรา 193/30 ปัจจุบัน)
ฎ. 3566/2525 จ�ำเลยมอบให้โจทก์เป็นผู้หาบริษัทประกันภัยเข้าท�ำสัญญาประกันภัยกับจ�ำเลย
และให้โจทก์ต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยไปอีก 1 ปี ดังนี้ จ�ำเลยจะยกข้อต่อสู้เฉพาะกับบริษัทผู้รับประกัน
ภัยซึง่ เป็นคูส่ ญ ม
ั ญาว่าการทีจ่ ำ� เลยไม่สง่ เบีย้ ประกันภัยในงวดต่อไป ถือว่าสัญญาประกันภัยเป็นอันสิน้ สุดลง
มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช�ำระเบี้ยประกันภัยแทนจ�ำเลยไม่ได้กรณีเป็นเรื่องตัวแทนเรียกเงินทดรองที่จ่ายไป
คืนจากตัวการ มิใช่โจทก์เป็นผูค้ า้ เรียกเอาค่าทีไ่ ด้ออกเงินทดรองไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) (มาตรา
193/34 ปัจจุบัน) ต้องใช้อายุความ 10 ปี มาตรา 164 (มาตรา 193/30 ปัจจุบัน)
ฎ. 1180/2530 โจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนฟ้องเรียกเงินทดรองจากจําเลยซึ่งเป็นตัวการ ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 กฎหมายมิได้กำ� าหนดระยะเวลาให้ใช้สทิ ธิเรียกร้องไว้เป็นอย่างอืน่
จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
สธ
ฎ. 1183/2531 การที่โจทก์ซื้อและขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรียกร้อง
เงินทดรองทีโ่ จทก์ออกแทนจ�ำเลยไปในการซือ้ ขายหลักทรัพย์นนั้ นิตสิ มั พันธ์ระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยหาใช่
เป็นเรือ่ งโจทก์ประกอบการค้าในการดูแลกิจการของผูอ้ นื่ และเรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รบั ในการนัน้ ตาม

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-31

ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) ไม่ เพราะโจทก์จะต้องปฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ ของจ�ำเลย โจทก์หามีอำ� นาจทีจ่ ะใช้ดลุ พินจิ
ของตนเองด�ำเนินการอย่างใดไม่ ดังนี้ เป็นการกระท�ำในฐานะตัวแทนในกิจการของจ�ำเลยซึ่งเป็นตัวการ
และเมื่อกฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความในกรณีเช่นนี้ไว้เป็นพิเศษ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี อันเป็น
บทบัญญัติทั่วไป ตามมาตรา 164 ) (มาตรา 193/30 ปัจจุบัน) (ฎ. 4145/2543, 2744/2534)
ฎ. 10875/2555 โจทก์เป็นกรรมการของจ�ำเลยที่ 1 เป็นผูด้ แู ลการผลิต การตลาด และการขายแร่


ทีจ่ งั หวัดนครศรีธรรมราชทัง้ หมด ส่วนจ�ำเลยทัง้ สองอยูท่ กี่ รุงเทพมหานคร แสดงว่าการดูแลกิจการเหมืองแร่
ตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ การส่งเงินให้แก่จำ� เลยที่ 1 รวมทั้งการมอบเงินผ่านพนักงานของจ�ำเลยที่ 1 ต่าง

มส
เป็นการกระท�ำในฐานะที่โจทก์เป็นกรรมการของจ�ำเลยที่ 1 และเพื่อประโยชน์ของจ�ำเลยที่ 1 เป็นหลัก จึง
เป็นเรือ่ งทีโ่ จทก์ในฐานะกรรมการได้ออกเงินของตนเพือ่ ทดรองจ่ายในกิจการของจ�ำเลยที่ 1 การทีโ่ จทก์มา
เรียกเงินคืนจากจ�ำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการและบริษัทซึ่ง ตาม ปพพ. มาตรา
1167 ให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน และตามมาตรา 816 ตัวแทนชอบที่จะเรียกเงินที่ตนทดรอง
จ่ายคืนจากตัวการได้ สิทธิเรียกร้องนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษ จึงมีอายุความ
10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30
2. ตัวแทนฟ้องเรียกบ�ำเหน็จ การฟ้องเรียกร้องค่าบ�ำเหน็จการเป็นตัวแทนนั้น กฎหมายไม่ได้
ก�ำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30
แต่ส�ำหรับตัวแทนที่ประกอบธุรกิจการค้า อาจมีอายุความเป็นพิเศษตาม ปพพ. มาตรา 193/34

ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้
มาตรา 193/34 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำ� หนดอายุความสองปี
มส

(1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรม


หรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ท�ำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้
ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ท�ำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(2) ผู้ประกอบเกษตรกรรมหรือการป่าไม้เรียกเอาค่าของที่ได้ ส่งมอบอันเป็นผลิตผลทาง
เกษตรหรือป่าไม้ เฉพาะที่ใช้สอยในบ้านเรือนของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(3) ผูข้ นส่งคนโดยสารหรือสิง่ ของหรือผูร้ บั ส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า
ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป ม
(4) ผู ้ ป ระกอบธุ ร กิ จ โรงแรมหรื อ หอพั ก ผู ้ ป ระกอบธุ ร กิ จ ในการ จ� ำ หน่ า ยอาหารและ
เครือ่ งดืม่ หรือผูป้ ระกอบธุรกิจสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ เรียกเอาค่าทีพ่ กั อาหารหรือ
เครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ท�ำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(5) ผู้ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือสลากที่คล้ายคลึงกัน เรียกเอาค่าขายสลาก
เว้นแต่เป็นการขายเพื่อการขายต่อ
(6) ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า
สธ
(7) บุคคลซึง่ มิได้เข้าอยูใ่ นประเภททีร่ ะบุไว้ใน (1) แต่เป็นผูป้ ระกอบธุรกิจในการดูแลกิจการ
ของผู้อื่นหรือรับท�ำงานการต่างๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

7-32 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

(8) ลูกจ้างซึง่ รับใช้การงานส่วนบุคคล เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอืน่ เพือ่ การงานทีท่ �ำ


รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
(9) ลูกจ้างไม่วา่ จะเป็นลูกจ้างประจ�ำ ลูกจ้างชัว่ คราว หรือลูกจ้างรายวันรวมทัง้ ผูฝ้ กึ หัดงาน
เรียกเอาค้าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่า
นั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป


(10) ครูสอนผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าฝึกสอนและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ตามที่ได้ตกลงกันไว้
รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป

ออกทดรองไป
มส (11) เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เรียกเอาค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าธรรม
เนียมอื่นๆ หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(12) ผูร้ บั คนไว้เพือ่ การบ�ำรุงเลีย้ งดูหรือฝึกสอน เรียกเอาค่าการงานทีท่ ำ� ให้ รวมทัง้ เงินทีไ่ ด้

(13) ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนสัตว์ เรียกเอาค่าการงานที่ท�ำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป


(14) ครูหรืออาจารย์ เรียกเอาค่าสอน
(15) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ผู้ประกอบการ
บ�ำบัดโรคสัตว์หรือผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ท�ำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรอง
ไป

(16) ทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย รวมทั้ง พยานผู้เชี่ยวชาญ เรียกเอา
ค่าการงานที่ท�ำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออก ทดรองไป หรือคู่ความเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่าย
มส

ล่วงหน้าไป
(17) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ
อื่น เรียกเอาค่าการงานที่ท�ำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงานดังกล่าว
เรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
กรณีตาม ตาม ปพพ. มาตรา 193/34 มีได้หลายกรณี มีข้อความชัดเจนอยู่แล้ว ค�ำว่าผู้ประกอบ
การค้าหรืออุตสาหกรรมตาม (1) หมายถึงผู้ประกอบการค้าทุกชนิด รวมถึงตัวแทนถ้าต่าง ตาม ปพพ.

ปพพ. มาตรา 193/34 (16)



มาตรา 835 ด้วย ส�ำหรับทนายความรับจ้างว่าความเป็นทัง้ กรณีจา้ งท�ำของ และทนายความท�ำหน้าทีเ่ ป็น
ตัวแทนด้วย ทนายความฟ้องเรียกบ�ำเหน็จค่าจ้าง ซึ่งก็คือบ�ำเหน็จการเป็นตัวแทน มีอายุความ 2 ปี ตาม

ฎ. 2121/2540 สัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก่จําเลยเป็นสัญญาจ้างทําของซึ่งการเริ่มนับอายุ
ความในการเรียกร้องให้จําเลยชําระหนี้ค่าว่าความนี้ ปพพ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับ
สิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป และมาตรา 602 วรรคหนึ่ง กําหนดให้สินจ้างพึงใช้เมื่อรับมอบการที่ทํา ก็คือ
เมือ่ ศาลชัน้ ต้นพิพากษาคดีแล้ว เมือ่ โจทก์ทำ� การตามสัญญาจ้างว่าความเสร็จสิน้ ตัง้ แต่ศาลชัน้ ต้นพิพากษา
สธ
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 แล้ว สิทธิที่โจทก์จะเรียกเอาสินจ้างย่อมเกิดขึ้นทันที โจทก์นําคดีมา
ฟ้องจาํ เลยวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2537 เกินกว่า 2 ปีนบั แต่วนั ทีศ่ าลชัน้ ต้นพิพากษาคดี จึงขาดอายุความ

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-33

ฎ. 4785/2540 ศาลชั้นต้นพิพากษาและมีการอ่านค�ำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม


พ.ศ. 2533 แต่มีการอุทธรณ์อยู่ แสดงว่าจ�ำเลยตกลงให้โจทก์ว่าความในชั้นอุทธรณ์ด้วย สิทธิเรียกร้องค่า
ว่าความของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาและอ่านค�ำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวัน
ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 แล้วจ�ำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้แก้ฎีกาให้จำ� เลยสิทธิเรียกร้องค่าจ้างว่าความ
จึงเริ่มนับแต่วันอ่านค�ำพิพากศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นฟ้อง วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 จึงไม่เกิน 2 ปี


ตาม ปพพ. มาตรา 193/34 (16)
อนึ่ง ถ้าทนายความเป็นลูกจ้างของบริษัท ทนายความฟ้องเรียกเงินเดือนค่าจ้างที่จ่ายเป็นระยะ

มส
เวลาต้องใช้อายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 193/33 (4) มีอายุความ 5 ปี
ส�ำหรับกรณีที่ตัวการหรือตัวแทนตายและมีการฟ้องร้องทายาทของตัวการหรือตัวแทนให้รับผิด
นั้น อาจเกี่ยวข้องกับอายุความมรดกด้วย โดย ปพพ. มาตรา 1754 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดก
เมื่อพ้นก�ำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความ
ตายของเจ้ามรดก
คดีฟอ้ งเรียกตามข้อก�ำหนดพินยั กรรม มิให้ฟอ้ งเมือ่ พ้นก�ำหนดหนึง่ ปี นับแต่เมือ่ ผูร้ บั พินยั กรรม
ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิที่ตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อ
เจ้ามรดกมีก�ำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นก�ำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้า

หนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพันก�ำหนดสิบปีนับ
มส

แต่เมื่อเจ้ามรดกตาย”
อุทาหรณ์
ฎ. 1679/2522 ระหว่างจัดการมรดกทายาททีค่ รอบครองทรัพย์มรดกทีย่ งั มิได้แบ่งกัน ย่อมถือได้
ว่าครอบครองแทนทายาทอื่น ตาม ปพพ. มาตรา 1363, 1745, 1748 ทายาทอื่นหรือผู้จัดการมรดกซึ่งเป็น
ตัวแทนของทายาททัง้ ปวงย่อมมีสทิ ธิฟอ้ งเรียกทรัพย์มรดกเพือ่ จัดการแบ่งปันต่อไปได้ แม้จะล่วงพ้นก�ำหนด
อายุความ ตาม ปพพ. มาตรา 1754 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

ฎ. 8205/2554 นิติสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้กับผู้ตายที่ซื้อและขายหลักทรัพย์ตามสัญญาแต่งตั้ง
นายหน้า/ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์และการให้กู้ยืมมีลักษณะเป็นตัวการตัวแทน การที่ผู้คัดค้านใช้สิทธิ
เรียกร้องของลูกหนี้เรียกเอาเงินที่ลูกหนี้ทดรองจ่ายไปแทนผู้ตายเป็นเรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องของตัวแทน
เรียกเอาเงินชดใช้จากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ มีอายุความ 10 ปี ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2543 จึงเป็นกรณีที่สิทธิ
เรียกร้องของลูกหนีท้ มี่ ตี อ่ ผูต้ ายมีกำ� หนดอายุความยาวกว่า 1 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 1754 วรรคสาม ห้าม
มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นก�ำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
สธ

7-34 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 7.3.2
ทนายความฟ้องเรียกบ�ำเหน็จค่าจ้างว่าความจากผู้ว่าจ้าง มีอายุความเท่าไร

แนวตอบกิจกรรม 7.3.2


ทนายความรับจ้างว่าความ เป็นการรับจ้างท�ำของและท�ำหน้าที่เป็นตัวแทนด้วย ฟ้องเรียกค่า
บ�ำเหน็จ มีอายุความ 2 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/34 ไม่ใช่อายุความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30

มส

มส


สธ

หน้าที่และความรับผิดระหว่างตัวแทนกับตัวการ 7-35

บรรณานุกรม

กมล สนธิเกษตรริน. (2527). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนและนายหน้า. (พิมพ์ครั้งที่ 6).


กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.
จักรพงษ์ เล็กสกุลไชย. (2545). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยตัวแทน นายหน้าจ้างท�ำของ
รับขน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม.

มส
ไผทชิต เอกจริยกร. (2543). ตัวแทน นายหน้า. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
มาโนช สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2525). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า. (พิมพ์
ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชน จ�ำกัด.
สรรเสริญ ไกรจิตติ. (2520). กฎหมายว่าด้วยตัวแทนและนายหน้า. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามค�ำแหง.

มส


สธ
มส

มส
สธ ธ
ม ม

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-1

หน่วยที่ 8
ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก
และความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน


รองศาสตราจารย์วรวุฒิ เทพทอง

มส

มส


ชื่อ รองศาสตราจารย์วรวุฒิ เทพทอง
วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2)
น.บ.ท., รป.ม. ประกาศนียบัตรบัณฑิต กฎหมายมหาชน
สธ
ประกาศนียบัตรกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ตำ�แหน่ง รองศาสตราจารย์ประจำ�สาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 8

8-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจำ�หน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 8 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญา

ตอนที่

แนวคิด
มส ตัวแทน

8.1 ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก
8.2 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน

1. ตัวแทนเป็นเพียงเครื่องมือของตัวการ เมื่อตัวแทนทำ�การแทนตัวการไปภายในขอบอำ�นาจ
แห่งฐานตัวแทนแล้วการนั้นย่อมผูกพันตัวการ คือตัวการและบุคคลภายนอกย่อมผูกพันกัน

โดยตรง ตัวแทนย่อมไม่มีความรับผิดใดๆ ต่อบุคคลภายนอก
2. สญ
ั ญาตัวแทนย่อมระงับสิน้ ไปเมือ่ คูส่ ญ
ั ญาบอกเลิกสัญญา หรือคูส่ ญ
ั ญาตาย ตกเป็นผูไ้ ร้ความ
สามารถหรือล้มละลาย
มส

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 8 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาความรับผิดของตัวแทนต่อบุคคลภายนอกได้
3. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทนได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
1.
2.
ทำ�แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 8
ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 8.1-8.2

3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน
4. ฟังซีดีเสียงประจำ�ชุดวิชา
สธ
5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
6. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
7. ทำ�แบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 8

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-3

สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. ซีดีเสียงประจำ�ชุดวิชา


4. รายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
5. การสอนเสริม (ถ้ามี)

มส
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำ�ภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ทำ�แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 8 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

มส


สธ

8-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 8.1
ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 8.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
8.1.1 ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก
8.1.2 ความรับผิดของตัวแทนต่อบุคคลภายนอก

1. เมือ่ ตัวแทนได้ท�ำ การแทนตัวการไปภายในขอบอำ�นาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว การนัน้ ย่อม


ผูกพันตัวการ
2. ตัวการต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตในกรณีตัวแทนเชิด หรือตัวแทนทำ�เกิน
อำ�นาจและมีทางปฏิบัติของตัวการทำ�ให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำ�นั้นอยู่ภายใน
ขอบอำ�นาจของตัวแทน

3. ตัวแทนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในการกระทำ�ซึ่งทำ�ไปโดยปราศจากอำ�นาจหรือ
นอกเหนืออำ�นาจและตัวการมิได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น
มส

4. ตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกเมื่อได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำ�ของตัวแทนซึ่งทำ�
ไปโดยปราศจากอำ�นาจหรือนอกเหนืออำ�นาจ
5. ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญาต่อบุคคลภายนอกแม้ได้กระทำ�ไปภายในขอบอำ�นาจ ใน
กรณีที่ตัวการมีภูมิลำ�เนาและอยู่ต่างประเทศ
6. กรณีตัวแทนทำ�การโดยเห็นแก่อามิสสินจ้างหรือประโยชน์อันบุคคลภายนอกได้ให้เป็น
ส่วนตัว ตัวการไม่จำ�ต้องผูกพันในการนั้น เว้นแต่ตัวการจะยินยอมด้วย

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 8.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาความรับผิดของตัวแทนต่อบุคคลภายนอกได้
สธ

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-5

เรื่องที่ 8.1.1
ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก


ตัวแทนเป็นเพียงเครื่องมือของตัวการ โดยปกติเมื่อตัวแทนได้จัดทำ�การไปแทนตัวการตาม
ที่ตัวการมอบหมายแล้ว ตัวการย่อมต้องเข้ามาผูกพันในกิจการที่ตัวแทนได้จัดการไปเช่นนั้นต่อบุคคล

มส
ภายนอก ส่วนตัวแทนย่อมไม่มคี วามรับผิดใดต่อบุคคลภายนอกอีก อย่างไรก็ตาม ตัวการอาจไม่ตอ้ งรับผิด
ต่อบุคคลภายนอกในกรณีทตี่ วั แทนทำ�การไปโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ เว้นแต่
ตัวการจะได้ให้สตั ยาบันแก่การนัน้ หรือในกรณีทตี่ วั แทนทำ�การไปโดยเห็นแก่อามิสสินจ้างทีบ่ คุ คลภายนอก
ให้เป็นลาภส่วนตัวหรือให้คำ�มั่นว่าจะให้แก่ตัวแทน เว้นแต่ตัวการจะได้ยินยอมด้วย สำ�หรับในเรื่องความ
รับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกนี้ จะกล่าวถึงเรื่องตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอก ตัวการไม่ต้อง
ผูกพันต่อบุคคลภายนอก ตัวการต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ดังจะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไปนี้

1. ตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอก
สัญญาตัวแทนเป็นสัญญาซึง่ ให้ตวั แทนมีอ�ำ นาจทำ�การแทนตัวการ ดังนัน้ โดยหลักแล้วเมือ่ ตัวแทน

หรือตัวแทนช่วงได้ท�ำ การแทนตัวการไปภายในขอบอำ�นาจของตัวแทนนัน้ แล้ว โดยเฉพาะการทีต่ วั แทนหรือ
ตัวแทนช่วงทำ�กิจการกับบุคคลภายนอก กิจการนัน้ ย่อมผูกพันตัวการ ตัวแทนหรือตัวแทนช่วงไม่มหี น้าทีแ่ ละ
ความรับผิดใดๆ ต่อบุคคลภายนอกดังกล่าว เปรียบเสมือนหนึง่ ว่าตัวแทนหรือตัวแทนช่วงนัน้ เป็นเพียงเครือ่ ง
มส

มือของตัวการนัน่ เอง หลักดังกล่าวปรากฏในบทบัญญัตมิ าตรา 820 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


ว่า “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำ�
ไปภายในขอบอำ�นาจแห่งฐานตัวแทน” จากบทบัญญัตดิ งั กล่าวอาจแยกเป็นหลักเกณฑ์เพือ่ พิจารณาได้ดงั นี้
1.1 มีสัญญาตัวแทน การที่ตัวการจะต้องผูกพันในกิจการที่ตัวแทนได้กระทำ�ไปนั้น ต้องปรากฏ
ว่าได้มกี ารแต่งตัง้ ตัวแทนหรือมีสญ
ั ญาตัวแทนกันโดยสมบูรณ์แล้ว ซึง่ การตัง้ ตัวแทนนัน้ อาจเป็นการตัง้ โดย

อุทาหรณ์

ชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ หรือในกรณีทมี่ กี ารตัง้ ตัวแทนช่วง ต้องปรากฏว่ามีการตัง้ ตัวแทนช่วงโดยชอบ
ด้วยเช่นกัน หากไม่มีสัญญาตัวแทนหรือมิได้เป็นตัวแทน ย่อมไม่มีความผูกพันตามมาตราดังกล่าว

ฎ. 2161/2553 ตามบันทึกข้อตกลงเป็นเพียงบันทึกทีแ่ สดงว่าบริษทั เงินทุนหลักทรัพย์ ส. (ต่อมา


เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธ.) ประสบปัญหาไม่สามารถดำ�เนินกิจการต่อไปอย่างมั่นคงได้
จึงขอให้จำ�เลยเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อตกลงที่ต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลง
ดังกล่าว ไม่มีข้อตกลงที่ระบุว่าจำ�เลยจะเข้าไปดำ�เนินกิจการของบริษัทด้วยตนเองหรือจะส่งตัวแทนเข้าไป
สธ
บริหารกิจการของบริษทั การทีใ่ ห้จ�ำ เลยพิจารณากำ�หนดชือ่ บุคคลหนึง่ บุคคลใดเข้าไปเพือ่ ทีจ่ ะได้รบั แต่งตัง้
เป็นกรรมการหรือกรรมการบริหารของบริษทั นัน้ เป็นแต่เพียงต้องผ่านการพิจารณาจากจำ�เลยเสียก่อนว่า
บุคคลนัน้ ๆ มีความเหมาะสมทีจ่ ะเข้าไปบริหารกิจการของบริษทั ได้หรือไม่ เนือ่ งจากเป็นกรณีทบ่ี ริษทั ประสบ

8-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ปัญหาทางการเงินและต้องขอความช่วยเหลือจากจำ�เลย จึงต้องมีการพิจารณาบุคคลที่จะเข้าไปบริหาร
กิจการของบริษัทเพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทแต่งตั้งอีกชั้นหนึ่ง บุคคลที่จำ�เลยเสนอชื่อเข้าไปไม่ได้
กระทำ�การในฐานะตัวแทนบริหารงานบริษทั แทนจำ�เลย จำ�เลยไม่มอี �ำ นาจในการควบคุมกรรมการบริหาร
บริษัท และการบริหารงานของบริษัทก็ไม่ได้กระทำ�ตามคำ�สั่งของจำ�เลย ดังนั้น กรรมการและกรรมการ
บริหารบริษัทจึงมิใช่ตัวแทนของจำ�เลย ตาม ปพพ. มาตรา 797 จำ�เลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการ


บริหารงานของกรรมการบริษัท ธ.
1.2 ตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำ�ไปภายในขอบอำ�นาจ ตัวการจะมีความผูกพันต่อบุคคล

มส
ภายนอกในกิจการที่ตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำ�ไปนั้น ต้องปรากฏว่า ตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำ�ไป
ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทนนัน้ ด้วย แม้วา่ การกระทำ�ดังกล่าวของตัวแทนหรือตัวแทนช่วงจะผิดระเบียบ
ที่เป็นเรื่องกิจการภายในของตัวการบ้างก็ตาม
ผลการผูกพันคือ ตัวการย่อมถือเอาสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอก หรือถูกบุคคลภายนอก
เรียกร้องให้ปฏิบัติการชำ�ระหนี้ตามกิจการที่ตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ท�ำ ไปภายในขอบอำ�นาจนั้น
อุทาหรณ์
ฎ. 455/2506 ตัวแทนว่าจ้างโจทก์เป็นทนายว่าคดีให้แก่จำ�เลย จำ�เลยซึ่งเป็นตัวการย่อมผูกพัน
ต่อโจทก์ซึ่งเป็นทนายความโดยตรง ตัวแทนหาต้องรับผิดไม่
ฎ. 7728-7729/2548 ลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งไม่ประจำ�ทางให้บริษัทเขมจิรา

ขนส่ง จำ�กัด เช่ารถบรรทุกนาํ้ มันคันเกิดเหตุโดยมีชอื่ และเครือ่ งหมายของลูกหนีอ้ ยูท่ รี่ ถ แล้วนำ�ไปบรรทุกนาํ้
มันส่งให้แก่ลกู ค้าทัว่ ราชอาณาจักร ถือได้วา่ บริษทั ดังกล่าวเป็นตัวแทนของลูกหนีใ้ นการขนส่งนํา้ มัน เมือ่ ผูข้ บั
มส

รถบรรทุกนาํ้ มันซึง่ เป็นลูกจ้างของบริษทั ดังกล่าวได้กระทำ�ละเมิดต่อเจ้าหนีท้ งั้ สองในทางการทีจ่ า้ ง ลูกหนี้


ย่อมต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างของตัวแทนได้กระทำ�ไป ตาม ปพพ. มาตรา 425, 427, 820
ฎ. 12239-12405/2553 จำ�เลยรับว่ามอบให้ ธ. ซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัทจำ�เลยที่จังหวัดสงขลาเป็น
ตัวแทนของจำ�เลยในการประชุมแจ้งเรื่องให้พนักงานรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดไปทำ�งานที่บริษัท ซ. ธ. จึงเป็น
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอ�ำ นาจกระทำ�การแทนจำ�เลย จึงเป็นตัวแทนและนายจ้างตาม พรบ. คุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 และจำ�เลยซึ่งเป็นตัวการจะต้องผูกพันต่อลูกจ้างและโจทก์ทั้งหมดในการ
กระทำ�ของ ธ. ที่ได้กระทำ�ไปภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำ�เลย ตาม ปพพ. มาตรา 820 ม
ฎ. 18623/2555 แม้จ�ำ เลยที่ 2 มิได้เป็นกรรมการผูม้ อี �ำ นาจของจำ�เลยที่ 1 แต่การติดต่อซือ้ ขายรถ
ระหว่างโจทก์กบั จำ�เลยที่ 2 นัน้ กระทำ�การในทีท่ �ำ การและเวลาทำ�การของจำ�เลยที่ 1 โดยจำ�เลยที่ 1 แต่งตัง้
ให้จำ�เลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำ�เลยที่ 1 ทำ�หน้าที่ในตำ�แหน่งผู้จัดการฝ่ายขายของจำ�เลยที่ 1 ตาม
พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงว่า จำ�เลยที่ 1 ได้แสดงให้โจทก์หรือบุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำ�เลยที่ 2 เป็น
ตัวแทนในการขายรถยนต์ของจำ�เลยที่ 1 แล้ว การกระทำ�ใดๆ ของจำ�เลยที่ 2 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการ
ขายรถยนต์ของจำ�เลยที่ 1 นั้น ย่อมเป็นการกระทำ�ในขอบอำ�นาจแห่งตัวแทนเพื่อกิจการค้าขายที่จำ�เลยที่
สธ
1 จะถือเอาประโยชน์จากกิจการนั้นได้ ไม่ว่าการที่จำ�เลยที่ 2 รับซื้อรถคันเก่าจากโจทก์โดยนำ�ไปฝากขาย
ที่เต็นท์รถมือสอง จะเป็นการกระทำ�โดยจำ�เลยที่ 1 จะมีวัตถุประสงค์ในการรับซื้อรถเก่าจากลูกค้าหรือ
ไม่ก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการดำ�เนินการส่วนหนึ่งของการขายซึ่งเป็นไปตามนโยบายการขายของจำ�เลยที่ 1

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-7

อันเป็นการกระทำ�ในหน้าที่ของจำ�เลยที่ 2 ในกิจการของจำ�เลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการแล้ว จำ�เลยที่ 1 ย่อม


ต้องผูกพันต่อโจทก์ในกิจการที่จ�ำ เลยที่ 2 กระทำ�ไปด้วย แม้จะปรากฏว่าการกระทำ�ของจำ�เลยที่ 2 อาจ
เป็นเรื่องการกระทำ�โดยผิดระเบียบของจำ�เลยที่ 1 แต่เป็นเรื่องกิจการภายในของจำ�เลยที่ 1 ซึ่งจำ�เลยที่ 1
ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำ�เลยที่ 2 เอง ไม่อาจยกเป็นข้ออ้างต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเพื่อให้ตนพ้นผิดได้
ข้อสังเกต เมื่อตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้กระทำ�ไปภายในขอบอำ�นาจของตัวแทนแล้ว แม้จะ


ปรากฏว่าเกิดความเสียหายแก่ตวั การ ตัวการย่อมต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอก ส่วนความเสียหายทีเ่ กิดขึน้
ดังกล่าว ต้องพิจารณาในเรื่องความรับผิดระหว่างตัวการกับตัวแทนกันต่อไป

มส
ตัวอย่าง นายจันทร์แต่งตัง้ นายอังคารเป็นตัวแทนไปรับชำ�ระหนีเ้ งินกูท้ นี่ ายพุธกูย้ มื ตนไปจำ�นวน
10,000 บาท หลังจากที่นายพุธได้ส่งมอบเงินจำ�นวน 10,000 บาท ให้แก่นายอังคารและนายอังคารคืน
หนังสือสัญญากูย้ มื ให้แก่นายพุธไปแล้วปรากฏว่านายอังคารนำ�เงินดังกล่าวไปเล่นการพนันจนหมด เช่นนี้
นายจันทร์ยอ่ มต้องผูกพันในการชำ�ระหนีเ้ งินกูด้ งั กล่าว จะเรียกร้องให้นายพุธชำ�ระหนีใ้ ห้ตนอีกไม่ได้ นาย
จันทร์ต้องไปเรียกร้องเอาจากนายอังคาร
อุทาหรณ์
ฎ. 645/2515 ตัวการให้ตัวแทนไปรับเงินที่กู้แม้ตัวแทนจะไม่ได้นำ�เงินที่รับมานั้นไปมอบให้แก่
ตัวการ ตัวการก็ผูกพันรับผิดใช้คืนเงินนั้นให้แก่ผู้ให้กู้
ข้อสังเกต กรณีทที่ นายความเป็นตัวแทนฟ้องคดีแทนตัวการซึง่ เป็นโจทก์ โดยปกติทนายความจะ

มีอ�ำ นาจหน้าทีใ่ นการดำ�เนินคดีเท่านัน้ ไม่มอี �ำ นาจหน้าทีร่ บั ชำ�ระหนีจ้ ากคูค่ วามอีกฝ่ายหนึง่ ซึง่ เป็นจำ�เลย
ดังนั้น หากจำ�เลยซึ่งเป็นคู่ความอีกหนึ่งฝ่ายได้ชำ�ระหนี้ให้แก่ทนายความตัวแทนนั้นไป การชำ�ระหนี้นั้น
มส

ย่อมไม่ผูกพันตัวการโจทก์ หากทนายความไม่นำ�เงินนั้นมาส่งมอบให้แก่โจทก์ โจทก์ยังคงมีสิทธิที่จะ


เรียกร้องเอาแก่จำ�เลยได้ เว้นแต่จะมีข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีทางปฏิบัติของโจทก์อันเป็นเหตุให้จำ�เลยเชื่อ
โดยสุจริตว่าทนายความนั้นมีอำ�นาจรับชำ�ระหนี้แทนโจทก์ด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 822 หรือเป็นกรณี
ที่โจทก์ได้มอบหมายให้ทนายความเป็นตัวแทนมีอำ�นาจรับชำ�ระหนี้จากจำ�เลยแทนโจทก์ด้วยโดยชัดแจ้ง
เช่นนี้การที่จำ�เลยชำ�ระหนี้ให้แก่ทนายความไปย่อมผูกพันโจทก์ ถ้าทนายความไม่นำ�เงินนั้นมาส่งมอบ
ให้แก่โจทก์ โจทก์ต้องไปเรียกร้องเอาจากทนายความตัวแทนเอง จะมาเรียกร้องจากจำ�เลยอีกย่อมไม่ได้

2. ตัวการไม่ต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอก

โดยหลักตัวการต้องผูกพันกับบุคคลภายนอกในกิจการที่ตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้กระทำ�ไป
ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทนดังกล่าวมาแล้ว แต่ก็มีกรณีที่ตัวการไม่ต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกได้แก่
กรณีตัวแทนกระทำ�การไปโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ หรือกรณีตัวแทนเข้าทำ�
สัญญากับบุคคลภายนอกโดยเห็นแก่อามิสสินจ้างเป็นทรัพย์สนิ อย่างใดๆ หรือประโยชน์อย่างอืน่ อันบุคคล
ภายนอกได้ให้เป็นลาภส่วนตัว หรือให้คำ�มั่นว่าจะให้ แยกพิจารณาเป็น 2 กรณี ดังนี้
สธ
2.1 กรณีตัวแทนกระทำ�การไปโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ
มาตรา 823 บัญญัตวิ า่ “ถ้าตัวแทนกระทำ�การอันใดอันหนึง่ โดยปราศจากอำ�นาจก็ดี หรือทำ�นอก
ทำ�เหนือขอบอำ�นาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น

8-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ถ้าตัวการไม่ให้สตั ยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำ�พังตนเอง เว้นแต่


จะพิสจู น์ได้วา่ บุคคลภายนอกนัน้ ได้รูอ้ ยูว่ า่ ตนทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจ”
“ตัวแทนกระทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจ” หมายความว่า ตัวแทนกระทำ�การไปโดยไม่มีอ�ำ นาจ
เช่น แต่งตั้งตัวแทนไปทำ�สัญญาเช่าซื้อที่ดิน ปรากฏว่าตัวแทนไปทำ�สัญญาซื้อขายที่ดิน
“ตัวแทนทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ” หมายความว่า ตัวแทนกระทำ�การไปโดยเกินขอบอำ�นาจ


เช่น แต่งตั้งตัวแทนไปทำ�สัญญากู้ยืมเงินจำ�นวน 100,000 บาท ปรากฏว่าตัวแทนไปทำ�สัญญากู้ยืมเงิน
จำ�นวน 150,000 บาทเกินขอบอำ�นาจไป 50,000 บาท

มส
ดังนี้แล้ว การกระทำ�ของตัวแทนดังกล่าวไม่ผูกพันตัวการ ซึ่งตัวการย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่ผูกพัน
ตามสัญญาดังกล่าวข้างต้นได้และผู้ที่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกก็คือตัวแทนนั่นเอง เว้นเสียแต่ว่าใน
ขณะทำ�การนั้น บุคคลภายนอกได้รู้อยู่แล้วว่าตัวแทนได้ทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจหรือทำ�นอกทำ�เหนือ
ขอบอำ�นาจแล้วแต่กรณี
ตัวอย่าง นายนาํ้ ตัง้ นายฝนไปซือ้ ทุเรียนหมอนทองจากสวนของนายดินจำ�นวน 1,000 ลูก นายฝน
ไปซื้อทุเรียนก้านยาวจากสวนของนายดินจำ�นวน 1,000 ลูก เพราะเห็นว่าทุเรียนก้านยาวน่ารับประทาน
กว่าทุเรียนหมอนทอง เช่นนีส้ ญ ั ญาซือ้ ทุเรียนก้านยาวจำ�นวน 1,000 ลูกนัน้ ไม่ผกู พันนายนาํ้ เพราะนายฝน
ตัวแทนทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ
อุทาหรณ์

ฎ. 5336/2550 ส. เดินทางไปกับ ก. ซึง่ เป็นผูร้ บั มอบอำ�นาจช่วงของโจทก์และร่วมกันเจรจาขอรับ
รถยนต์คืนตลอดจนทำ�บันทึกการตรวจสภาพรถมอบให้แก่ตัวแทนของจำ�เลยที่ 1 เป็นพฤติการณ์ที่ ส.
มส

แสดงออกเป็นตัวแทนของโจทก์ และโจทก์ก็รับเอารถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปจากการยึด เห็นได้ว่าโจทก์


เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตน ตาม ปพพ. มาตรา 821 แต่อ�ำ นาจหน้าที่ของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทน
เชิดมีเพียงเท่าทีผ่ รู้ บั มอบอำ�นาจช่วงของโจทก์มอี ยู่ คือติดตามเอาคืน ยึดเข้าครอบครองเคลือ่ นย้ายรถ แจ้ง
ความร้องทุกข์ และกระทำ�การตามความจำ�เป็นตามกฎหมายเพื่อนำ�รถยนต์คันที่เช่าซื้อกลับคืนโจทก์ ส.
ไม่มีอำ�นาจที่จะไปตกลงไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ กับจำ�เลยที่ 1 นอกเหนือไปจากความจำ�เป็นเพื่อยึด
รถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนได้ การที่ ส. ไปทำ�ข้อตกลงในหนังสือรับรองว่าไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น

ซึ่งนอกเหนืออำ�นาจในการเป็นตัวแทน โดยโจทก์ไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพัน
โจทก์ ตาม ปพพ. มาตรา 823 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำ�เลยที่ 1 ได้อีก
อย่างไรก็ดี ถ้าตัวการยอมรับในการกระทำ�ของตัวแทนซึ่งได้ทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจหรือ
ทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจนัน้ โดยให้สตั ยาบันแก่การนัน้ ซึง่ กระทำ�โดยการแสดงเจตนาต่อบุคคลภายนอก
ผูเ้ ป็นคูก่ รณีกบั ตัวแทนนัน้ ไม่วา่ จะแสดงด้วยวาจาหรือทำ�เป็นหนังสือ การทีต่ วั แทนทำ�ไปดังกล่าวนัน้ ก็จะ
ผูกพันตัวการกับบุคคลภายนอก
สธ

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-9

การให้สัตยาบันของตัวการ นำ�หลักการให้สัตยาบันในเรื่องโมฆียะกรรมมาใช้บังคับโดยอนุโลม1
กล่าวคือ ต้องแสดงเจตนาแก่คกู่ รณีอกี ฝ่ายหนึง่ ซึง่ เป็นบุคคลทีม่ ตี วั กำ�หนดได้แน่นอน ในกรณีนยี้ อ่ มหมายถึง
บุคคลภายนอกและหากบุคคลภายนอกถึงแก่ความตายก็ต้องแสดงเจตนาต่อทายาทของบุคคลดังกล่าว
ตาม ปพพ. มาตรา 178 การให้สัตยาบันนั้นอาจกระทำ�โดยชัดแจ้งคือยอมรับหรือรับรองการที่ตัวแทนได้
ทำ�ไป หรือกระทำ�โดยปริยาย ตาม ปพพ. มาตรา 180 เช่น ได้ปฏิบัติการชำ�ระหนี้แล้วทั้งหมดหรือแต่บาง


ส่วน ได้มีการเรียกให้ช�ำ ระหนี้นั้นแล้ว ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น หรือได้มีการกระทำ�อย่างอื่นอันแสดง
ได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน เป็นต้น

มส
ตัวอย่าง นายนาํ้ ตัง้ นายฝนไปซือ้ ทุเรียนหมอนทองจากสวนของนายดินจำ�นวน 1,000 ลูก นายฝน
ไปซื้อทุเรียนก้านยาวจากสวนของนายดินจำ�นวน 1,000 ลูก เพราะเห็นว่าทุเรียนก้านยาวน่ารับประทาน
กว่าทุเรียนหมอนทอง ปรากฏว่านายนํ้าเห็นดีด้วยและได้ชำ�ระหนี้ค่าทุเรียนก้านยาวบางส่วนให้แก่นาย
ดินไปแล้ว เช่นนี้ สัญญาซื้อทุเรียนก้านยาวจำ�นวน 1,000 ลูกนั้นย่อมผูกพันนายนํ้า เพราะนายนํ้าได้ให้
สัตยาบันในการกระทำ�ของนายฝนตัวแทนซึ่งทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ
อุทาหรณ์
ฎ. 12523/2547 หนังสือมอบอำ�นาจที่โจทก์มอบอำ�นาจให้ ด. ฟ้องคดีระบุว่า ให้เป็นผู้มีอำ�นาจ
ฟ้องร้องและดำ�เนินคดีแพ่งกับจำ�เลย รวมทั้งแต่งทนายความถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความ ใช้สิทธิ
หรือสละสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ผู้รับมอบอำ�นาจจึงเป็นตัวแทนโจทก์ในการดำ�เนินคดีฟ้องจำ�เลยใน

คดีเกีย่ วกับทางจำ�เป็นเท่านัน้ การทีผ่ รู้ บั มอบอำ�นาจได้แถลงต่อศาลตกลงจะขายทีด่ นิ ของโจทก์ให้แก่จ�ำ เลย
จึงเป็นการกระทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจของโจทก์ ย่อมไม่ผูกพันตัวการ แต่หลังจากผู้รับมอบอำ�นาจกับ
มส

จำ�เลยได้ตกลงจะซือ้ ทีด่ นิ กันแล้ว โจทก์ได้ดำ�เนินการให้ผอู้ าศัยในทีด่ นิ ของโจทก์ออกจากทีด่ นิ หมดสิน้ ตาม


เงื่อนไขที่ผู้รับมอบอำ�นาจและจำ�เลยตกลงกัน ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมที่ผู้รับมอบอำ�นาจ
ได้กระทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจแล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 823 โจทก์จึงต้องผูกพันตามนิติกรรมนั้นด้วย
ฎ. 3953/2548 การที่ จ. ลงนามในสัญญาจ้างแรงงานในฐานะรองกรรมการผูจ้ ดั การของบริษทั ลูกหนี้
แม้จะไม่มอี �ำ นาจกระทำ�แทนบริษทั แต่เมือ่ ปรากฏว่าลูกหนีไ้ ด้ยอมรับเอาผลงานทีเ่ จ้าหนีท้ �ำ ให้และลูกหนีไ้ ด้
จ่ายค่าจ้างนับแต่เจ้าหนีเ้ ริม่ ทำ�งานตลอดมาจนเลิกจ้าง เป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน โดยไม่ได้โต้แย้งถือว่าลูกหนี้

ตัวการได้ให้สตั ยาบันยอมรับโดยปริยายว่าเจ้าหนีเ้ ป็นลูกจ้างของลูกหนีแ้ ล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 823 ลูกหนี้
จะต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงาน
ฎ. 6444/2551 การที่ ธ. พนักงานของโจทก์ลงนามในสัญญาเช่าโดยมิได้รบั มอบอำ�นาจจากโจทก์
แม้จะถือไม่ได้วา่ ทำ�ในฐานะผูแ้ ทนโจทก์ แต่โจทก์ได้รบั เอาผลแห่งนิตกิ รรมนัน้ โดยได้ฟอ้ งขับไล่จ�ำ เลยเป็น
คดีนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ตาม ปพพ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง
สธ

1 กุศล บุญยืน คำ�อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วย ตัวแทน นายหน้า พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร


ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดยงพลเทรดดิ้ง. พ.ศ. 2535 น. 141.

8-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 6324/2552 จำ�เลยที่ 2 และที่ 3 กรรมการของจำ�เลยที่ 1 ลงชือ่ ในสัญญาค่าสิทธิการเช่าโดยไม่มี


อำ�นาจกระทำ�การซึง่ ไม่ถกู ต้องตามข้อบังคับของจำ�เลยที่ 1 ตามหนังสือรับรองทีต่ อ้ งมีจ�ำ เลยที่ 2 ลงลายมือชือ่
ร่วมกับกรรมการอืน่ อีกหนึง่ คนซึง่ ต้องมิใช่จ�ำ เลยที่ 3 และประทับตราสำ�คัญของบริษทั ก็ตาม แต่จ�ำ เลยที่ 1
ก็ได้ให้สตั ยาบันการกระทำ�ดังกล่าวตามรายงานการประชุมกรรมการจึงผูกพันจำ�เลยที่ 1 ตาม ปพพ. มาตรา
823, 1167 จำ�เลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว


ฎ. 10625/2554 แม้ผู้บอกกล่าวบังคับจำ�นองจะมิใช่ผู้รับจำ�นองและไม่ได้รับมอบอำ�นาจจากผู้รับ
จำ�นอง แต่โจทก์ผู้รับจำ�นองยอมรับเอาการกระทำ�ของผู้บอกกล่าวบังคับจำ�นองที่ได้กระทำ�ไปในนามของ

มส
โจทก์โดยการฟ้องคดีนี้ ถือว่าโจทก์ได้ให้สตั ยาบันแก่การบอกกล่าวบังคับจำ�นองนัน้ แล้ว ตาม ปพพ. มาตรา
823 โจทก์จึงมีอ�ำ นาจฟ้องบังคับจำ�นอง
มีข้อสังเกตว่า แม้การทีต่ วั การได้ให้สตั ยาบันแก่การนัน้ ทำ�ให้ตวั แทนย่อมหลุดพ้นความรับผิดต่อ
บุคคลภายนอก แต่ถ้าการกระทำ�ของตัวแทนนั้นปรากฏว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ตัวการ ตัวแทนย่อม
ต้องรับผิดในความเสียหายต่อตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 812
อุทาหรณ์
ฎ. 1585/2529 การทีต่ วั การให้สตั ยาบันต่อการกระทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจของตัวแทนต่อบุคคล
ภายนอกอันมีผลทำ�ให้นติ กิ รรมซึง่ ไม่ผกู พันตัวการกลับเป็นผูกพันตัวการโดยตรงและทำ�ให้ตวั แทนหลุดพ้น
ความรับผิดทีม่ ตี อ่ บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 นัน้ ไม่ท�ำ ให้ตวั แทน

หลุดพ้นจากความรับผิดต่อตัวการในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการที่ตนกระทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจ
นั้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 812 จำ�เลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์โดยมีจำ�เลยที่ 2 เป็นผู้คํ้า
มส

ประกัน บ. เป็นลูกค้าได้ทำ�สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับสาขาธนาคารโจทก์โดยมี ส. เป็นผู้คํ้าประกันก่อน


ที่จ�ำ เลยที่ 1 จะรับหน้าที่เป็นผู้จัดการเมื่อจำ�เลยที่ 1 เข้ารับหน้าที่ผู้จัดการได้ให้ บ. เบิกเงินเกินบัญชีเกิน
วงเงินทีท่ �ำ สัญญาไว้มากเป็นการเกินขอบอำ�นาจของผูจ้ ดั การสาขาต่อมา บ. ถึงแก่กรรมธนาคารโจทก์ทราบ
แล้วไม่ได้ดำ�เนินการเรียกร้องหรือฟ้องเรียกหนี้จากกองมรดกของ บ. ลูกหนี้หรือจาก ส. ผู้คํ้าประกันทั้งๆ
ที่มีโอกาสจะทำ�ได้จนโจทก์หมดสิทธิฟ้องเพราะขาดอายุความมรดกเมื่อ บ. มีทรัพย์สินและโจทก์มีโอกาส
จะได้รับชำ�ระหนี้สิ้นเชิงหากดำ�เนินการฟ้องร้องหนี้นั้นดังนี้การที่โจทก์ไม่ฟ้องร้องย่อมเป็นการละเลยไม่

บำ�บัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายถือเป็นเหตุที่เจ้าหนี้มีส่วนทำ�ความผิดให้เกิดความเสียหายหรือ
นัยหนึ่งความเสียหายเกิดจากการละเว้นการกระทำ�ของโจทก์ที่ไม่ยอมบำ�บัดปัดป้องไม่ให้ความเสียหาย
เกิดขึ้นจำ�เลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนผู้กระทำ�การนอกเหนือขอบอำ�นาจจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำ�เลยที่
2 ในฐานะผู้คํ้าประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย
ฎ. 12523/2547 หนังสือมอบอำ�นาจที่โจทก์มอบอำ�นาจให้ ด. ฟ้องคดีระบุว่า ให้เป็นผู้มีอำ�นาจ
ฟ้องร้องและดำ�เนินคดีแพ่งกับจำ�เลย รวมทั้งแต่งทนายความถอนฟ้อง ประนีประนอมยอมความ ใช้สิทธิ
หรือสละสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา ผู้รับมอบอำ�นาจจึงเป็นตัวแทนโจทก์ในการดำ�เนินคดีฟ้องจำ�เลยใน
สธ
คดีเกีย่ วกับทางจำ�เป็นเท่านัน้ การทีผ่ รู้ บั มอบอำ�นาจได้แถลงต่อศาลตกลงจะขายทีด่ นิ ของโจทก์ให้แก่จ�ำ เลย
จึงเป็นการกระทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจของโจทก์ ย่อมไม่ผูกพันตัวการ แต่หลังจากผู้รับมอบอำ�นาจกับ
จำ�เลยได้ตกลงจะซือ้ ทีด่ นิ กันแล้ว โจทก์ได้ดำ�เนินการให้ผอู้ าศัยในทีด่ นิ ของโจทก์ออกจากทีด่ นิ หมดสิน้ ตาม

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-11

เงือ่ นไขทีผ่ รู้ บั มอบอำ�นาจและจำ�เลยตกลงกัน ถือได้วา่ โจทก์ได้ให้สตั ยาบันแก่นติ กิ รรมทีผ่ รู้ บั มอบอำ�นาจได้
กระทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจแล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 823 โจทก์จึงต้องผูกพันตามนิติกรรมนั้นด้วย
ฎ. 397/2554 ในขณะทีจ่ �ำ เลยที่ 1 เป็นประธานกรรมการดำ�เนินการของโจทก์ และจำ�เลยที่ 2 ถึงที่ 14
เป็นคณะกรรมการ ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำ�ปี 2540 ของโจทก์มีมติอนุมัติให้ซื้อรถยนต์เพื่อใช้ใน
กิจการของโจทก์สองคัน ในวงเงิน 1,500,000 บาท ต่อมาจำ�เลยทั้งสิบสี่ซื้อรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด 1 คัน ราคา


291,970 บาท และยี่ห้อเบนซ์ 1 คัน ราคา 1,750,000 บาท เกินกว่าวงเงินตามมติของโจทก์ดังกล่าวถึง
541,970 บาท ย่อมเป็นการกระทำ�ที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ และทำ�ให้โจทก์เสียหาย เพราะโจทก์

มส
จะต้องจ่ายเงินซื้อรถยนต์ในราคาที่สูงเกินไป แทนที่จะนำ�เงินจำ�นวนนั้นไปใช้อย่างอื่นตามวัตถุประสงค์
ของโจทก์เป็นการไม่ประหยัดไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของโจทก์ ที่จำ�เลยทั้งสิบสี่อ้างว่าโจทก์ให้สัตยาบัน
ยอมรับรู้การกระทำ�ดังกล่าวแล้ว ทั้งโจทก์ยังขายรถยนต์ทั้งสองคัน โดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุน
ไม่ท�ำ ให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่า ความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำ�เลยทั้งสิบสี่ซื้อ
รถยนต์ทั้งสองคันดังกล่าว แม้ภายหลังโจทก์จะขายรถยนต์ทั้งสองคันโดยหักค่าเสื่อมราคาแล้วไม่ขาดทุน
ก็ไม่อาจทำ�ให้ความเสียหายของโจทก์กลับเป็นไม่มีความเสียหายอีกได้ และการให้สัตยาบันยอมรับรู้การ
กระทำ�ของจำ�เลยทั้งสิบสี่ก็เป็นเพียงทำ�ให้โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อผู้ขายรถยนต์ทั้งสองคัน ผู้สุจริตจากการ
กระทำ�ของจำ�เลยทั้งสิบสี่ ตาม ปพพ. มาตรา 77 ประกอบมาตรา 820 ถึง 823 เท่านั้นโดยมิได้ทำ�ให้
จำ�เลยทั้งสิบสี่พ้นความรับผิดในความเสียหายจากการกระทำ�ของตนต่อโจทก์

มีข้อสังเกตอีกว่า การให้สัตยาบันนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นตัวแทน หาก
ปรากฏว่าตัวแทนกระทำ�การไปโดยปราศจากอำ�นาจหรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจตัวแทน แล้วการทำ�ไป
มส

นัน้ อยูน่ อกวัตถุประสงค์ของนิตบิ คุ คลนัน้ ด้วย เช่น ตัวแทนเป็นมูลนิธแิ ล้วมูลนิธนิ นั้ ไปทำ�การแสวงหากำ�ไร
ซึง่ เป็นการกระทำ�โดยปราศจากอำ�นาจหรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจตัวแทนและอยูน่ อกวัตถุประสงค์ของ
มูลนิธินั้น เช่นนี้ตัวการไม่อาจให้สัตยาบันแก่การดังกล่าวได้ หรือในกรณีเป็นเรื่องอำ�นาจฟ้อง ที่ตัวแทน
ฟ้องคดีเกินอำ�นาจที่ได้รับมอบหมายจากตัวการ เช่น ตัวการมอบอำ�นาจให้ตัวแทนฟ้องคดีแบ่งมรดก แต่
ตัวแทนกลับไปฟ้องคดีเรียกทรัพย์คนื โดยไม่มอี �ำ นาจฟ้อง เช่นนีต้ วั การย่อมไม่อาจให้สตั ยาบันแก่การฟ้อง
คดีดังกล่าวได้

อนึ่ง ถ้าตัวการไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การที่ตัวแทนทำ�ไปโดยปราศจากอำ�นาจหรือทำ�นอกทำ�เหนือ
ขอบอำ�นาจดังกล่าว ตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำ�พังตนเอง เว้นแต่จะพิสจู น์ได้วา่ บุคคล
ภายนอกนัน้ ได้รอู้ ยูว่ า่ ตนทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ ดังจะได้กล่าวต่อไป
ในเรื่องที่ 8.1.2 ความรับผิดของตัวแทนต่อบุคคลภายนอก
2.2 กรณีตวั แทนเข้าทำ�สัญญากับบุคคลภายนอกโดยเห็นแก่อามิสสินจ้างเป็นทรัพย์สนิ อย่างใด ๆ
หรือประโยชน์อย่างอื่นอันบุคคลภายนอกได้ให้เป็นลาภส่วนตัว หรือให้คำ�มั่นว่าจะให้
มาตรา 825 บัญญัตวิ า่ “ถ้าตัวแทนเข้าทำ�สัญญากับบุคคลภายนอกโดยเห็นแก่อามิสสินจ้างเป็น
สธ
ทรัพย์สินอย่างใด ๆ หรือประโยชน์อย่างอื่นอันบุคคลภายนอกได้ให้เป็นลาภส่วนตัวก็ดี หรือให้คำ �มั่น
ว่าจะให้ก็ดี ท่านว่าตัวการหาต้องผูกพันในสัญญาซึ่งตัวแทนของตนได้ทำ�นั้นไม่ เว้นแต่ตัวการจะได้ยิน
ยอมด้วย”

8-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

การที่ตัวแทนได้เข้าทำ�สัญญากับบุคคลภายนอกโดยเห็นแก่อามิสสินสินจ้าง หมายความว่า วัตถุ


เครื่องล่อใจเช่น เงิน หรือประโยชน์อย่างอื่นเป็นลาภส่วนตัว เช่น ได้อยู่อาศัยในบ้านของบุคคลภายนอก
โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน หรือได้รับคำ�มั่นจากบุคคลภายนอกว่าจะให้ประโยชน์เช่นนั้น สัญญานั้นย่อม
ไม่ผกู พันตัวการ ทีก่ ฎหมายกำ�หนดไว้เช่นนี้ เพราะการทีต่ วั แทนทำ�สัญญาแทนตัวการโดยเห็นแก่สงิ่ ต่างๆ
เป็นลาภส่วนตัวดังกล่าวนัน้ อาจเป็นช่องทางให้ตวั แทนแสวงหาประโยชน์สว่ นตัวจนละเลยผลประโยชน์ของ


ตัวการและอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ตลอดจนกระทำ�การโดยไม่สุจริตต่อตัวการได้ในที่สุด
มีข้อสังเกตว่า การกระทำ�ของตัวแทนโดยเห็นแก่อามิสสินจ้างเป็นทรัพย์สินอย่างใดๆ หรือ

825 นี้ มส
ประโยชน์อย่างอืน่ อันบุคคลภายนอกได้ให้เป็นลาภส่วนตัว หรือให้ค�ำ มัน่ ว่าจะให้นนั้ ต้องเป็นการทำ�สัญญา
กับบุคคลภายนอกเท่านัน้ หากเป็นการกระทำ�การอืน่ ทีม่ ใิ ช่สญ ั ญาย่อมไม่อยูใ่ นบังคับบทบัญญัตขิ องมาตรา

ตัวอย่าง นายหนึ่งตั้งนายสองเป็นตัวแทนไปซื้อกระเบื้องมามุงหลังคาบ้านของนายหนึ่ง นายสอง


ไปซือ้ กระเบือ้ งมุงหลังคาบ้านจากร้านของนายสามเพราะเห็นแก่ประโยชน์ทนี่ ายสามให้เป็นเงินจำ�นวนหนึง่
แก่นายสอง เช่นนี้ สัญญาซื้อกระเบื้องมุงหลังคาบ้านดังกล่าวไม่ผูกพันนายหนึ่ง
ข้อสังเกต แม้ว่าการกระทำ�ของตัวแทนดังกล่าวจะอยู่ภายในขอบอำ�นาจตัวแทน โดยตัวแทน
มิได้ทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจหรือนอกเหนือขอบอำ�นาจแต่อย่างใด จึงอาจกล่าวได้ว่ามาตรา 825
ดังกล่าวเป็นข้อยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 820 และแม้ว่าการกระทำ�ของตัวแทนดังกล่าวจะไม่ได้ก่อให้เกิด

ความเสียหายแก่ตัวการด้วยก็ตาม ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ตัวการ ตัวแทนต้องรับผิดต่อตัวการ ตาม
ปพพ. มาตรา 812 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ เพราะความประมาทเลินเล่อของ
มส

ตัวแทนก็ดี เพราะไม่ทำ�การเป็นตัวแทนก็ดี หรือเพราะทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจหรือนอกเหนืออำ�นาจ


ก็ดี ท่านว่าตัวแทนจะต้องรับผิด”
อุทาหรณ์
ฎ. 1063/2527 การที่จำ�เลยที่ 2 ผู้จัดการธนาคารจำ�เลยที่ 3 ซึ่งเป็นสาขาของธนาคารจำ�เลยที่ 4
ลงชื่อรับรองการใช้เงินตามเช็คแทนจำ�เลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการที่ตัวแทนเข้าทำ�สัญญากับบุคคลภายนอก
แต่ในการเข้าทำ�สัญญาดังกล่าวจำ�เลยที่ 2 ได้กระทำ�ไปโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่โจทก์ได้ให้เป็นลาภส่วนตัว

แก่จำ�เลยที่ 2 คือโจทก์ยอมรับชำ�ระหนี้ด้วยเช็คและคืนหลักฐานที่จำ�เลยที่ 2 ยืมเงินจากโจทก์ให้แก่จำ�เลย
ที่ 2 ซึ่งจะเป็นผลให้จำ�เลยที่ 2 หลุดพ้นจากการเป็นลูกหนี้โจทก์โดยจำ�เลยที่ 3 และที่ 4 มิได้ยินยอมใน
การกระทำ�ของจำ�เลยที่ 2 ด้วย การเข้าทำ�สัญญาดังกล่าวจึงไม่มผี ลผูกพันจำ�เลยที่ 3 และที่ 4 ตามนัยแห่ง
ปพพ. มาตรา 825
อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวการยินยอมในการเข้าทำ�สัญญาดังกล่าวของตัวแทนแล้ว สัญญานัน้ ย่อมผูกพัน
ตัวการกับบุคคลภายนอก ความยินยอมของตัวการดังกล่าวนัน้ ผูเ้ ขียนเห็นว่าจะให้กอ่ นหรือหลังทีต่ วั แทน
เข้าทำ�สัญญากับบุคคลภายนอกแล้วก็ได้ และจะให้ความยินยอมโดยแสดงเจตนาด้วยวาจาหรือลายลักษณ์
สธ
อักษรต่อตัวแทนหรือบุคคลภายนอกก็ได้เช่นกัน

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-13

ตัวอย่าง นายหนึง่ ตัง้ นายสองเป็นตัวแทนไปซือ้ กระเบือ้ งมามุงหลังคาบ้านของนายหนึง่ นายสอง


ไปซือ้ กระเบือ้ งมุงหลังคาบ้านจากร้านของนายสามเพราะเห็นแก่ประโยชน์ทนี่ ายสามให้เป็นเงินจำ�นวนหนึง่
แก่นายสอง ปรากฏว่านายหนึง่ ยินยอมด้วยเพราะพอใจในสีและลวดลายของกระเบือ้ งนัน้ มาก เช่นนี้ สัญญา
ซื้อกระเบื้องมุงหลังคาบ้านดังกล่าวผูกพันนายหนึ่ง
อนึ่ง ในกรณีที่บุคคลภายนอกให้เงิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตัวแทนในภายหลังจากที่เข้าทำ�


สัญญาแล้วโดยสิ่งที่ให้ไม่ใช่อามิสสินจ้าง ตัวการจะปฏิเสธความผูกพันกับบุคคลภายนอกตามสัญญา
ดังกล่าวย่อมไม่ได้

มส
อุทาหรณ์
ฎ. 791/2515 จำ�เลยมอบอำ�นาจให้ จ. ทำ�สัญญาจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กบั โจทก์แทนจำ�เลย เป็น
เรือ่ งที่ จ. ทำ�สัญญาไปโดยได้รบั ความเห็นชอบยินยอมจากจำ�เลย ถึงหากต่อมาภายหลังโจทก์จะทำ�สัญญา
จ่ายเงินให้ จ. บ้าง ก็ไม่ถือว่า จ. ทำ�สัญญาจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับโจทก์แทนจำ�เลยโดยเห็นแก่อามิส
สินจ้าง จำ�เลยจะยกเอา ปพพ. มาตรา 825 ขึ้นปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่
การที่ตัวแทนเข้าทำ�สัญญาโดยเห็นแก่อามิสสินจ้างเป็นลาภส่วนตัวนั้น นักกฎหมายเห็นว่าถือว่า
เป็นการที่ตัวแทนทำ�การไปโดยมิชอบในหน้าที่ หากเป็นกรณีที่มีบำ�เหน็จตัวแทน ตัวแทนย่อมไม่มีสิทธิ
ได้รับบำ�เหน็จนั้นด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 8182 บัญญัติว่า “การในหน้าที่ตัวแทนส่วนใดตัวแทนได้ทำ�มิ
ชอบในส่วนนั้น ท่านว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้บำ�เหน็จ”

มีปัญหาว่า อามิสสินจ้างที่ตัวแทนได้รับมาจากบุคคลภายนอกนั้น ตัวแทนมีหน้าที่ต้องส่งมอบให้
แก่ตวั การหรือไม่ ซึง่ ในประเด็นดังกล่าวมีนกั กฎหมายให้ความเห็นไว้วา่ ถ้าตัวการให้ความยินยอมภายหลัง
แล้ว ตัวแทนต้องส่งคืนให้แก่ตัวการด้วย3 และถ้าตัวการไม่ยินยอม การนั้นไม่ผูกพันตัวการแล้วก็ไม่น่าจะ
มส

ถือว่าเป็นทรัพย์สนิ ทีต่ วั แทนได้มาในฐานทำ�การเป็นตัวแทน อันตัวแทนจะต้องส่งให้แก่ตวั การ ตามมาตรา


8104 ซึง่ ปพพ. มาตรา 810 บัญญัตวิ า่ “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการ
เป็นตัวแทนนัน้ ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตวั การจงสิน้ อนึง่ สิทธิทงั้ หลายซึง่ ตัวแทนขวนขวายได้มาใน
นามของตนเอง แต่โดยฐานที่ทำ�การแทนตัวการนั้น ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจงสิ้น” หากพิจารณา
บทบัญญัตดิ งั กล่าวแล้ว ผูเ้ ขียนมีความเห็นว่า อามิสสินจ้างทีต่ วั แทนได้รบั มาจากบุคคลภายนอกนัน้ แม้จะ

ได้ในนามของตนเองแต่เป็นการได้มาโดยฐานที่ทำ�หน้าที่แทนตัวการ ตัวแทนจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบให้แก่
ตัวการจงสิน้ เช่นกัน ไม่วา่ ตัวการจะยินยอมด้วยกับการทีต่ วั แทนเข้าทำ�สัญญากับบุคคลภายนอกนัน้ หรือไม่

2 กุศล บุญยืน เรื่องเดียวกัน น. 162, สถิตย์ เล็งไธสง คำ�อธิบายกฎหมายตัวแทนและนายหน้า กรุงเทพมหานคร บริษัท


สำ�นักพิมพ์วิญญูชนจำ�กัด 2539 น. 213,ไผทชิต เอกจริยากร ตัวแทน นายหน้า พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพมหานคร บริษัทสำ�นักพิมพ์
สธ
วิญญูชนจำ�กัด พ.ศ. 2554 น. 281.
3 หลวงสุทธิมนต์นฤนาท คำ�อธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ตัวแทน นายหน้า กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2511 น. คำ�นำ�
4 ไผทชิต เอกจริยากร เรื่องเดียวกัน น. 283.

8-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

3. ตัวการต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ถ้าตัวแทนได้ทำ�การไปภายในขอบอำ�นาจของตัวแทน ตัวการต้องผูกพัน
กับบุคคลภายนอกในกิจการนั้นกล่าวคือตัวการมีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกรับผิดในการนั้นได้ และ
บุคคลภายนอกก็มสี ทิ ธิเรียกร้องให้ตวั การรับผิดในการนัน้ ได้เช่นกัน แต่กม็ กี รณีทตี่ วั การต้องรับผิดต่อบุคคล


ภายนอกฝ่ายเดียว ได้แก่ กรณีตัวแทนเชิด หรือกรณีตัวแทนทำ�การเกินอำ�นาจแต่ทางปฏิบัติของตัวการ
เป็นเหตุให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าตัวแทนมีอ�ำ นาจทำ�การนั้น ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
3.1 ตัวแทนเชิด

มส
มาตรา 821 บัญญัตวิ า่ “บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดีรู้แล้ว
ยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิด
ต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน”
ลักษณะของตัวแทนเชิดนัน้ ต้องเข้าใจในเบือ้ งต้นเสียก่อนว่า ตัวแทนเชิดเป็นตัวแทนทีม่ ไิ ด้เกิดขึน้
โดยสัญญาตัวแทน กล่าวคือตัวการมิได้ตงั้ แต่งตัวแทนโดยตกลงทำ�สัญญาตัวแทนกันแต่อย่างใด ไม่มสี ญ
ตัวแทนเกิดขึ้น จึงเป็นลักษณะของกฎหมายปิดปากไม่ให้บุคคลอีกคนหนึ่งดังกล่าวมานั้นปฏิเสธความ
รับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตโดยการอ้างว่าไม่มีสัญญาตัวแทนกันหรืออ้างว่าตัวแทนเชิดไม่ใช่ตัวแทน
ั ญา

ของตน ซึง่ มาตรา 821 นีเ้ ป็นบทบัญญัตเิ กีย่ วกับความรับผิดของตัวการทีม่ ตี อ่ บุคคลภายนอกเท่านัน้ ไม่มี
ข้อความใดที่กำ�หนดให้บุคคลภายนอกต้องรับผิดหรือมีความผูกพันต่อตัวการเลย บุคคลภายนอกจึงมี

อำ�นาจฟ้องให้ตวั การรับผิดได้แต่บคุ คลภายนอกไม่อาจฟ้องตัวแทนได้ และตัวการก็จะฟ้องบุคคลภายนอก
ให้รับผิดไม่ได้เช่นกัน
มส

ตัวแทนเชิด คือ บุคคลซึง่ เชิดตัวเองออกแสดงว่าเป็นตัวแทนของบุคคลอีกคนหนึง่ ซึง่ บุคคลอีกคน


หนึง่ นัน้ ได้รอู้ ยูแ่ ล้วยอมให้กระทำ�ดังกล่าวกรณีหนึง่ และบุคคลซึง่ ถูกบุคคลอีกคนหนึง่ เชิดออกแสดงว่าเป็น
ตัวแทนของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นอีกกรณีหนึ่ง อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
3.1.1 เชิดตัวเอง กล่าวคือ เป็นกรณีที่บุคคลคนหนึ่งเชิดตัวเองออกแสดงว่าเป็นตัวแทนของ
บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นได้รู้อยู่แล้วยอมให้กระทำ�ดังกล่าว
ตัวอย่าง นายเอกชัยน้องชายของนายธงชัยเจ้าของร้านขายอะไหล่รถยนต์ มักแสดงแก่

ตัวแทนเชิดของนายธงชัย

ลูกค้าว่าตนเป็นตัวแทนทำ�หน้าทีข่ ายอะไหล่รถยนต์เสมอมา โดยนายธงชัยรูเ้ ห็นพฤติกรรมของนายเอกชัย
โดยตลอดก็ไม่ได้ว่ากล่าวทักท้วงแต่ประการใด เช่นนี้แล้วการแสดงออกของนายเอกชัยจึงมีลักษณะเป็น

ฎ. 3328/2554 จำ�เลยที่ 1 ทำ�สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องทีจ่ ะได้รบั ค่าจ้างจากจำ�เลยที่ 3 ให้แก่


โจทก์และบอกกล่าวการโอนไปยังจำ�เลยที่ 3 แล้วแต่เมื่อจำ�เลยที่ 1 ผิดสัญญาไปรับเงินค่าจ้างงวดแรกจาก
จำ�เลยที่ 3 แล้วนำ�ไปชำ�ระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ได้รับชำ�ระหนี้ไว้และไม่ด�ำ เนินการใดๆ เช่น แจ้งให้จำ�เลยที่
3 ระงับการจ่ายเงินสำ�หรับงวดต่อๆ ไป ย่อมทำ�ให้จำ�เลยที่ 3 เข้าใจว่าสามารถจ่ายเงินให้แก่จำ�เลยที่ 1
สธ
ได้โดยตรง การกระทำ�ของโจทก์นับว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่การชำ�ระหนี้งวดแรก ทั้งยังเป็นการยอมให้
จำ�เลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนโจทก์ในการขอรับชำ�ระหนี้ในงวดต่อๆ ไปด้วย เมื่อจำ�เลยที่ 3

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-15

ชำ�ระหนีต้ ามสัญญาจ้างให้แก่จ�ำ เลยที่ 1 ไปจนครบถ้วนแล้ว หนีข้ องจำ�เลยที่ 3 จึงระงับสิน้ ไป โจทก์ไม่อาจ


เรียกให้จ�ำ เลยที่ 3 ชำ�ระหนี้อีกได้ เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จ�ำ เลยที่ 1 เอง
3.1.2 เชิดคนอื่น กล่าวคือ เป็นกรณีที่บุคคลคนหนึ่งซึ่งถูกบุคคลอีกคนหนึ่งเชิดออกแสดง
ว่าเป็นตัวแทนของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น
ตัวอย่าง นายเอกชัยน้องชายของนายธงชัยเจ้าของร้านขายอะไหล่รถยนต์เพิง่ จบปริญญาตรี


ยังหางานทำ�ไม่ได้ จึงมาช่วยดูแลลูกค้าร้านขายอะไหล่รถยนต์ของนายธงชัย เวลาที่ลูกค้ามาติดต่อซื้อ
อะไหล่ นายธงชัยจะบอกกับลูกค้าว่านายเอกชัยเป็นตัวแทนทำ�หน้าที่ขายอะไหล่รถยนต์ โดยนายเอกชัย

มส
ก็ไม่ได้ขัดข้องแต่ประการใด เช่นนี้แล้วนายเอกชัยจึงมีลักษณะเป็นตัวแทนเชิดซึ่งถูกเชิดโดยนายธงชัย
ตัวอย่าง ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดเขียวทองได้เชิดให้นายทองหลางซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำ�กัด
ความรับผิดออกแสดงเป็นผู้มีอำ�นาจจัดกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนจำ�กัดเขียวทอง นายทองหลางได้
แสดงตนเองต่อบุคคลภายนอกรวมทัง้ นางนฤมลว่าเป็นผูม้ อี �ำ นาจจัดกิจการงานต่างๆ ของห้างหุน้ ส่วนจำ�กัด
เขียวทอง และได้สงั่ จ่ายเช็คแลกเงินสดจากนางนฤมลมาใช้ในกิจการของห้างหุน้ ส่วนจำ�กัดเขียวทอง ต่อมา
นางนฤมลนำ�เช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ เช่นนี้ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดเขียวทองต้องรับผิดต่อนางนฤมล5
อุทาหรณ์
ฎ. 2448/2518 ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดจำ�เลยที่ 1 มีจำ�เลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำ�เลยที่ 3
เป็นหุ้นส่วนจำ�พวกจำ�กัดความรับผิด จำ�เลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อจากโจทก์อยู่ จำ�เลยที่ 3 ได้คิด

บัญชีกับโจทก์แล้วได้ทำ�หนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้โดยจำ�เลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้มอบอำ�นาจให้ทำ�แทน
แต่มีพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำ�เลยที่ 1 โดยจำ�เลยที่ 2 เชิดให้จ�ำ เลยที่ 3 ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำ�เลย
มส

ที่ 1 ตลอดมา จำ�เลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 821 และจำ�เลยที่ 2


ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำ�เลยที่ 3 แม้จะเป็นหุ้นส่วนจำ�พวกจำ�กัดความรับผิด
แต่ก็ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการในกิจการของจำ�เลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้น
ด้วย ตามมาตรา 1088
ฎ. 258/2535 การที่จ�ำ เลยที่ 2 ซึ่งเป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างของบริษัทจำ�เลยที่ 1 กับ
จำ�เลยที่ 4 ซึง่ เป็นลูกจ้างฝ่ายตรวจสอบอุบตั เิ หตุของจำ�เลยที่ 3 ร่วมกันเจรจาและทำ�สัญญาประนีประนอม

ยอมความกับโจทก์ ณ สำ�นักงานของจำ�เลยที่ 3 ประกอบกับการที่ทนายของจำ�เลยที่ 3 กับจำ�เลยที่ 1
ยอมรับผิดตามหนังสือของโจทก์ที่ขอให้ช�ำ ระหนี้ จึงแสดงว่าจำ�เลยที่ 1 และจำ�เลยที่ 3 เห็นชอบในการทำ�
สัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ถือได้ว่าจำ�เลยที่ 1 และจำ�เลยที่ 3 รู้อยู่แล้วยอมให้จ�ำ เลยที่ 2 และที่
4 เชิดตัวเขาเองออกเป็นตัวแทน จำ�เลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอม
ความ
สธ
5 นายทองหลางเป็นหุน
้ ส่วนประเภทจำ�กัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกีย่ วข้องจัดการงานของห้างหุน้ ส่วนจำ�กัดเขียวทอง
จึงต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำ�กัดเขียวทองด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 1088

8-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 7802/2552 เมือ่ เกิดเหตุรถชนกัน ส. ไปเจรจาค่าเสียหายกับโจทก์โดยมอบใบมอบอำ�นาจ


ที่มี จ. กรรมการของจำ�เลยลงลายมือชื่อโจทก์ พร้อมหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทของจำ�เลยให้
ร้อยตำ�รวจเอก พ. เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า จ. กระทำ�ในนามของจำ�เลย แม้ จ. มิได้ประทับตราสำ�คัญ
ของจำ�เลยลงในหนังสือมอบอำ�นาจ แต่การที่ ส. เจรจาค่าเสียหายกับโจทก์ยอมชำ�ระค่ารักษาพยาบาลให้
แก่โจทก์ 70,000 บาท และรับรถกระบะของโจทก์เพื่อนำ�ไปซ่อม ทั้งยังนำ�รถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุคืน


ไปจากพนักงานสอบสวนและไม่ปรากฏว่าจำ�เลยมิได้รับรถคันดังกล่าวไว้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำ�เลย
เชิด จ. เป็นตัวแทนในการตกลงค่าเสียหายกับโจทก์ แม้ จ. จะมิได้กระทำ�ด้วยตนเองแต่มอบอำ�นาจให้

มส
ส. กระทำ�การแทนก็ตาม จำ�เลยจึงต้องรับผิดตามบันทึกตกลงค่าเสียหาย
ฎ. 4723/2553 ส. เป็นบุตรของ ว. และ ฉ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ โดย ส. เป็น
หุน้ ส่วนประเภทจำ�กัดความรับผิดของโจทก์อยูด่ ว้ ย ทัง้ ยังมีหน้าทีข่ บั รถยนต์คนั หนึง่ และเป็นผูป้ ระสานงาน
ตามสัญญาว่าจ้างเหมารถรับส่งพนักงานระหว่างโจทก์กับจำ�เลยตลอดมา ส่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
โจทก์กบั ส. ว่า โจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทน โจทก์จงึ ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผูส้ จุ ริตเสมือนว่า
ส. เป็นตัวแทนของตน ตาม ปพพ. มาตรา 821 ประกอบมาตรา 1042 ซึ่งบัญญัติว่าความเกี่ยวพันระหว่าง
หุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่า
ด้วยตัวแทน ดังนัน้ การที่ ส. ลงลายมือชือ่ ในหนังสือแจ้งเลิกสัญญากับจำ�เลยย่อมผูกพันโจทก์ซงึ่ เป็นตัวการ
ฎ. 11488/2555 การที่จำ�เลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อของจำ�เลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง

ไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อเลี้ยวขวากลับรถกะทันหันให้รถขวางถนนจนเป็นเหตุให้ อ.
ซึ่งขับรถยนต์กระบะพุ่งชนจน อ. ถึงแก่ความตาย และ ส. ซึ่งนั่งโดยสารมาด้วยได้รับบาดเจ็บ เมื่อขณะ
มส

เกิดเหตุปรากฏว่าจำ�เลยที่ 2 นำ�รถยนต์บรรทุกหกล้อรับจ้างขนส่งสินค้าให้แก่จ�ำ เลยที่ 3 ซึง่ มีวตั ถุประสงค์


ในการรับจ้างขนส่งสินค้าและมีเครื่องหมายสัญลักษณ์ของจำ�เลยที่ 3 ติดไว้ที่ข้างรถบรรทุกหกล้อ เช่นนี้
พฤติการณ์ของจำ�เลยที่ 3 จึงเป็นการยอมให้จ�ำ เลยที่ 2 นำ�รถยนต์บรรทุกหกล้อรับจ้างขนส่งสินค้าให้แก่
จำ�เลยที่ 3 เป็นประจำ�โดยใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์ของจำ�เลยที่ 3 ติดไว้ที่ข้างรถมองเห็นได้ชัดเจน อันมี
ลักษณะเป็นการเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำ�เลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำ�เลยที่ 3 ในการรับจ้างขนส่ง
สินค้า ถือได้ว่าจำ�เลยที่ 3 เชิดให้จ�ำ เลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตน ตาม ปพพ. มาตรา 821 จึงต้องร่วมรับ
ผิดกับจำ�เลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 ม
การทีจ่ ะถือว่าเป็นตัวแทนเชิด ตาม ปพพ. มาตรา 821 นัน้ บุคคลภายนอกจะต้องรับติดต่อ
โดยหลงเข้าใจว่าเป็นกิจการของตัวการ ถ้าไม่หลงเช่นนั้น กล่าวคือเชื่อว่าเป็นกิจการของผู้มาติดต่อเอง ก็
ไม่ใช่กรณีตามมาตรา 821 (ฎ.5863/2552)
“บุคคลภายนอกผู้สุจริต” หมายความว่า บุคคลซึง่ มิใช่ตวั แทนเชิดและบุคคลอีกคนหนึง่ นัน้
ไม่ทราบว่าตัวแทนเชิดไม่ใช่ตัวแทนของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นและเข้าใจโดยสุจริตว่าตัวแทนเชิดกระทำ�การ
ในนามของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นหรืออีกนัยหนึ่งว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวการ
สธ
มีข้อสังเกตว่า มาตรา 821 บัญญัติให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
ผู้สุจริต แสดงให้เห็นว่ากฎหมายมุ่งคุ้มครองบุคคลภายนอกซึ่งไม่ทราบว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นมิใช่ตัวการ
ของตัวแทนเชิด โดยให้บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกดังกล่าว มิได้บัญญัติให้

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-17

ผูกพันในกิจการที่ตัวแทนเชิดทำ�ไปนั้น ดังนั้นบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นจะฟ้องร้องบังคับบุคคลภายนอกไม่ได้
ตัวการทีจ่ ะฟ้องบุคคลภายนอกได้ตอ้ งมีสญ ั ญาตัวแทนหรือมีความเป็นตัวการตัวแทนจริงจังเพือ่ ให้เกิดความ
ั ญัตไิ ว้ตามมาตรา 8206 และเมือ่ ตัวแทนเชิดได้กระทำ�ไปภายในขอบอำ�นาจแล้ว
ผูกพันบังคับกันได้ดงั ทีบ่ ญ
ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัว
อุทาหรณ์


ฎ. 6567/2544 จำ�เลยที่ 1 อ้างแก่โจทก์ว่าเป็นตัวแทนจำ�หน่ายรถยนต์ของจำ�เลยที่ 2 ซึ่ง
เป็นบริษทั ประกอบกิจการขายรถยนต์ จำ�เลยที่ 1 ได้ออกหนังสือรับรองการจำ�หน่ายรถยนต์ซงึ่ หัวกระดาษ

มส
เป็นชื่อของจำ�เลยที่ 2 ให้แก่โจทก์และลูกค้าทั่วๆ ไป ที่มาซื้อรถยนต์ จำ�เลยที่ 2 ทราบแต่ไม่ได้ทักท้วง
หรือสั่งห้ามจำ�เลยที่ 1 แต่อย่างใด ทั้งจำ�เลยที่ 2 ยังได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของ
จำ�เลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำ�เลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำ�เลยที่ 1 จะนำ�
รถยนต์พพิ าทขายแก่บคุ คลทัว่ ๆ ไป พฤติการณ์เช่นนีถ้ อื ได้วา่ จำ�เลยที่ 2 รูแ้ ล้วยอมให้จ�ำ เลยที่ 1 เชิดตัวเอง
ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำ�เลยที่ 2 เมือ่ โจทก์ซอื้ รถยนต์พพิ าทจากจำ�เลยที่ 1 โดยสุจริต จำ�เลยที่ 2 จึงต้อง
รับผิดต่อโจทก์
ฎ. 5587/2551 การผลิตปลากระป๋อง การสัง่ ปลาและการรับมอบปลาจากโจทก์ จำ�เลยรับว่า
เกิดในที่ทำ�การของจำ�เลย แต่อ้างว่าเป็นการกระทำ�โดยส่วนตัวของ พ. และ ร. การที่จ�ำ เลยยินยอมให้ พ.
และ ร. ใช้สถานทีข่ องจำ�เลยประกอบการผลิตปลากระป๋องโดยเครือ่ งมือการผลิตเครือ่ งมือสือ่ สารติดต่อกับ

โจทก์ทงั้ เครือ่ งโทรศัพท์และเครือ่ งโทรสารรวมทัง้ แบบฟอร์มใบสำ�คัญจ่ายซึง่ เป็นหลักฐานแสดงการยอมรับ
ว่าเป็นหนีข้ องจำ�เลย ประกอบกับวัตถุประสงค์ของจำ�เลยตามทีจ่ ดทะเบียนระบุวา่ จำ�เลยประกอบกิจการค้า
มส

อาหารทะเลบรรจุกระป๋องย่อมทำ�ให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าใจโดยสุจริตว่า พ. และ ร. กระทำ�การ


ในนามของจำ�เลยหรืออีกนัยหนึ่งจำ�เลยเป็นผู้ประกอบกิจการดังกล่าวเองเป็นการที่จ�ำ เลยเชิด พ. และ ร.
ออกเป็นตัวแทนหรือยินยอมให้ พ. และ ร. เชิดตัวเองเป็นตัวแทน จำ�เลยจึงต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำ�
ของ พ. และ ร. ในฐานะตัวการต้องชำ�ระค่าปลาให้แก่โจทก์ ตาม ปพพ. มาตรา 821
ฎ. 5863/2552 แม้จ�ำ เลยไม่ได้มอบหมายหรือแต่งตัง้ จำ�เลยร่วมเป็นตัวแทนซือ้ ปุย๋ รายพิพาท
กับโจทก์และการซื้อปุ๋ยของจำ�เลยร่วมไม่ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของจำ�เลยข้อ 56 แต่พฤติการณ์ที่จำ�เลย

ปล่อยให้จำ�เลยร่วมแสดงออกเป็นตัวแทนของจำ�เลยในการซื้อขายปุ๋ยกับโจทก์ในระหว่างปี 2537 ถึงปี
2538 ก่อนการซือ้ ขายรายพิพาทถึง 5 ครัง้ มีการออกใบกำ�กับสินค้าและใบเสร็จรับเงินรับเงินให้กนั ในนาม
ของโจทก์และจำ�เลยโดยจำ�เลยไม่ได้ทักท้วง ประกอบกับ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็เคยซื้อปุ๋ยจากจำ�เลย
มาก่อน 7 ถึง 8 ครั้ง โดยติดต่อกับจำ�เลยร่วมได้ชำ�ระราคาครบถ้วนและยืนยันว่าซื้อปุ๋ยรายพิพาทจำ�นวน
1,000 กระสอบ จากจำ�เลยโดยติดต่อผ่านจำ�เลยร่วม เมือ่ ครบกำ�หนดชำ�ระเงินงวดแรกก็ได้ช�ำ ระค่าสินค้าให้
แก่พนักงานเก็บเงินของจำ�เลย ทัง้ จำ�เลยออกหลักฐานการชำ�ระเงินค่าสินค้าลงชือ่ พนักงานของจำ�เลยพร้อม
ประทับตราของจำ�เลยตามใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง ว. พนักงานของจำ�เลยมาเบิกความเป็นพยานโจทก์ยอมรับ
สธ

6 กุศล บุญยืน เรื่องเดียวกัน น. 124.



8-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ในข้อนี้และยังเบิกความด้วยว่า จำ�เลยร่วมมีตำ�แหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการของจำ�เลยมีอำ�นาจสูงสุดในการ
จัดการแทนจำ�เลย แสดงว่าจำ�เลยร่วมเป็นพนักงานที่มีตำ�แหน่งสูงสุดของจำ�เลย ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่า
จำ�เลยรู้แล้วยอมให้จำ�เลยร่วมเชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำ�เลยว่ามีอำ�นาจสั่งซื้อขายสินค้ากับ
บุคคลภายนอกแทนจำ�เลยได้ จำ�เลยซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดชำ�ระค่าปุ๋ยที่ค้างชำ�ระให้แก่โจทก์ที่เป็น
บุคคลภายนอกผูส้ จุ ริตเสมือนว่าจำ�เลยร่วมเป็นตัวแทนของจำ�เลย ตาม ปพพ. มาตรา 821 ส่วนจำ�เลยร่วม


เป็นเพียงตัวแทนเชิดของจำ�เลยและได้กระทำ�ไปภายในขอบอำ�นาจไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคล
ภายนอกเป็นส่วนตัว

มส ข้อสังเกต (1) ตัวแทนเชิดจะต้องทำ�กิจการในนามตัวการ ซึ่งแตกต่างกับตัวแทนไม่เปิดชื่อ


ตาม ปพพ. มาตรา 806 ที่ทำ�กิจการในนามตนเอง
(2) ตัวแทนเชิดไม่อยู่ในบังคับ ปพพ. มาตรา 798 ที่ต้องตั้งตัวแทนเพื่อกิจการโดยทำ�เป็น
หนังสือ หรือตั้งตัวแทนเพื่อกิจการโดยทำ�หลักฐานเป็นหนังสือ เพราะมิได้มีการตั้งตัวแทนโดยทำ�สัญญา
ตัวแทนกันแต่อย่างใด
อุทาหรณ์
ฎ. 1168/2521 การตั้งตัวแทนซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าต้องทำ�เป็นหนังสือ ตาม ปพพ. มาตรา
798 นัน้ ใช้แต่กรณีทมี่ กี ารตัง้ ตัวแทนจริงๆ ไม่รวมถึงการเป็นตัวแทนเชิด ตามมาตรา 821 จึงไม่ตอ้ งมีหลัก
ฐานเป็นหนังสือ

(3) ความเกี่ยวพันระหว่างตัวแทนเชิดกับบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่อาจนำ�บทบัญญัติเรื่อง
หน้าทีแ่ ละความรับผิดของตัวแทนต่อตัวการและบทบัญญัตเิ รือ่ งหน้าทีแ่ ละความรับผิดของตัวการต่อตัวแทน
มส

มาใช้บังคับได้ เพราะไม่มีสัญญาตัวแทนให้ผูกพันกัน
อุทาหรณ์
ฎ. 1522/2535 จำ�เลยที่ 2 เชิดจำ�เลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำ�สัญญาเช่าท่าเทียบเรือประมงกับ
โจทก์ จำ�เลยที่ 2 เข้าดำ�เนินกิจการท่าเทียบเรือแต่ผู้เดียวหลังจากทำ�สัญญา จำ�เลยที่ 1 จึงไม่มีหน้าที่ต้อง
รับผิดตามสัญญาเช่าท่าเทียบเรือประมงร่วมกับจำ�เลยที่ 2 ซึง่ เป็นตัวการดังนี้ โจทก์ไม่มอี �ำ นาจฟ้องจำ�เลยที่
1 ให้ช�ำ ระค่าเช่าตามสัญญาเช่าดังกล่าว

อุทาหรณ์

(4) ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตนั้น นอกจากต้องรับผิดตามสัญญาที่ตัวแทนเชิด
ไปทำ�แล้วยังรวมถึงกรณีที่ตัวแทนเชิดไปทำ�ละเมิดบุคคลภายนอกผู้สุจริตด้วย

ฎ. 2452/2531 ผู้ มี ชื่ อ นำ � รถแท็ ก ซี่ ม าจดทะเบี ย นเป็ น ชื่ อ ของบริ ษั ท จำ � เลยที่ 2 ซึ่ ง มี
วัตถุประสงค์ประกอบการเดินรถยนต์บรรทุกคนโดยสาร แล้วจำ�เลยที่ 2 ยอมให้จำ�เลยที่ 1 นำ�รถคันดัง
กล่าวออกวิง่ รับคนโดยสารโดยมีตราบริษทั จำ�เลยที่ 2 ติดอยูข่ า้ งรถ และจำ�เลยที่ 2 ได้รบั ผลประโยชน์จาก
การนี้ด้วย ดังนี้ เท่ากับจำ�เลยที่ 2 เชิดให้จ�ำ เลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร จำ�เลยที่
สธ
2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ผู้ได้รับความเสียหายจากการทำ�ละเมิดของจำ�เลยที่ 1

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-19

ฎ. 1627/2544 รถแท็กซี่คันเกิดเหตุมีชื่อจำ�เลยที่ 2 และหมายเลขโทรศัพท์ของจำ�เลยที่ 2


ปรากฏอยูข่ า้ งรถ การทีจ่ �ำ เลยที่ 1 นำ�รถคันดังกล่าวออกมาขับรับผูโ้ ดยสาร ย่อมเป็นการแสดงออกต่อโจทก์
ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตว่าจำ�เลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำ�เลยที่ 2 เจ้าของรถในการรับจ้างบรรทุก
ผูโ้ ดยสาร จำ�เลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำ�เลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดทีเ่ กิดขึน้ ตาม ปพพ. มาตรา 427, 821
มีปัญหาว่า ถ้าตัวแทนเชิดทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจที่บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดเขาออกแสดง


เป็นตัวแทนของตนนัน้ บุคคลอีกคนหนึง่ นัน้ ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผูส้ จุ ริตด้วยหรือไม่ ผูเ้ ขียนมีความ
เห็นว่า ในกรณีตวั แทนเชิดทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจทีบ่ คุ คลอีกคนหนึง่ เชิดเขาออกแสดงเป็นตัวแทนของ

มส
ตนนัน้ บุคคลอีกคนหนึง่ นัน้ ไม่ตอ้ งรับผิดต่อบุคคลภายนอกผูส้ จุ ริต เว้นแต่บคุ คลอีกคนหนึง่ นัน้ ให้สตั ยาบัน
แก่การดังกล่าว ตาม ปพพ. มาตรา 823 โดยนำ�บทบัญญัติมาตรา 823 มาใช้ในกรณีดังกล่าวในฐานะที่
เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 ซึ่งในประเด็นนี้ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ว่า ถ้าบุคคลอีกคน
หนึ่งนั้นไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้นก็ไม่ผูกพันต่อบุคคลภายนอก
อุทาหรณ์
ฎ. 5336/2550 ส. เดินทางไปกับ ก. ซึง่ เป็นผูร้ บั มอบอำ�นาจช่วงของโจทก์และร่วมกันเจรจา
ขอรับรถยนต์คืนตลอดจนทำ�บันทึกการตรวจสภาพรถมอบให้แก่ตัวแทนของจำ�เลยที่ 1 เป็นพฤติการณ์ที่
ส. แสดงออกเป็นตัวแทนของโจทก์และโจทก์ก็รับเอารถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปจากการยึด เห็นได้ว่าโจทก์
เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตน ตาม ปพพ. มาตรา 821 แต่อ�ำ นาจหน้าทีข่ อง ส. ซึง่ เป็นตัวแทนเชิด

มีเพียงเท่าที่ผู้รับมอบอำ�นาจช่วงของโจทก์มีอยู่ คือ ติดตามเอาคืน ยึดเข้าครอบครองเคลื่อนย้ายรถ แจ้ง
ความร้องทุกข์ และกระทำ�การตามความจำ�เป็นตามกฎหมายเพื่อนำ�รถยนต์คันที่เช่าซื้อกลับคืนโจทก์ ส.
มส

ไม่มีอำ�นาจที่จะไปตกลงไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ กับจำ�เลยที่ 1 นอกเหนือไปจากความจำ�เป็นเพื่อยึด


รถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนได้ การที่ ส. ไปทำ�ข้อตกลงในหนังสือรับรองว่าไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น
ซึ่งนอกเหนืออำ�นาจในการเป็นตัวแทนโดยโจทก์ไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพัน
โจทก์ ตาม ปพพ. มาตรา 823 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำ�เลยที่ 1 ได้อีก
3.2 ตัวแทนทำ�การเกินอำ�นาจแต่ทางปฏิบัติของตัวการทำ�ให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าอยู่ในขอบ
อำ�นาจมาตรา 822 บัญญัตวิ า่ “ถ้าตัวแทนทำ�การอันใดเกินอำ�นาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำ�ให้

บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการอันนั้นอยู่ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทนไซร้ ท่านให้ใช้
บทบัญญัติมาตราก่อนนี้เป็นบทบังคับ แล้วแต่กรณี”
กรณีนี้เป็นเรื่องที่มีการตั้งแต่งตัวแทนกล่าวคือมีสัญญาตัวแทน แล้วตัวแทนนั้นได้ทำ�การเกิน
อำ�นาจของตนเองแต่ปรากฏว่า มีทางปฏิบัติของตัวการทำ�ให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อ
ว่าการที่ตัวแทนได้ท�ำ ไปนั้นอยู่ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทน
“ทางปฏิบัติของตัวการ” นั้นต้องพิจารณาจากพฤติการณ์ที่ตัวการแสดงออกว่าทำ�ให้บุคคล
ภายนอกมีมลู เหตุอนั สมควรจะเชือ่ ได้หรือไม่วา่ การทีต่ วั แทนได้ท�ำ ไปนัน้ อยูภ่ ายในขอบอำ�นาจของตัวแทน
สธ
หากมีมลู เหตุอนั สมควรจะเชือ่ ได้เช่นนัน้ ตัวการต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผูส้ จุ ริต เนือ่ งจากมาตรา 822
บัญญัติให้นำ�มาตรา 821 ซึ่งเป็นมาตราก่อนมาเป็นบทบังคับ แต่ถ้าพิจารณาแล้วไม่มีมูลเหตุอันสมควรจะ

8-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เชือ่ ได้เช่นนัน้ ตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำ�พัง เว้นแต่ตวั การจะให้สตั ยาบันตามมาตรา


823 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องตัวการไม่ต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอก
อุทาหรณ์
ฎ. 6057/2545 หนังสือมอบอำ�นาจของเจ้าหนี้ระบุข้อความอันเป็นการกระทำ�ภายในขอบอำ�นาจ
แห่งฐานตัวแทนไว้โดยชัดแจ้งว่า ให้ ก. ผู้รับมอบอำ�นาจมีอำ�นาจเพียงเจรจาตกลงกับลูกหนี้จนเสร็จการ


เท่านัน้ มิได้มอบอำ�นาจให้เป็นตัวแทนรับชำ�ระหนีจ้ ากลูกหนีแ้ ต่อย่างใด การที่ ก. รับชำ�ระหนีต้ ามหนังสือ
รับสภาพหนีไ้ ว้จากลูกหนี้ จึงเป็นการกระทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจของตัวแทน ทัง้ ตามหนังสือมอบอำ�นาจ

มส
ก็ระบุว่าเจ้าหนี้ยอมรับผิดต่อลูกหนี้เฉพาะในการกระทำ�ที่ ก. ได้ทำ�ไปตามที่เจ้าหนี้มอบอำ�นาจเท่านั้น
เจ้าหนี้จึงไม่ต้องผูกพันกับการรับชำ�ระหนี้ของ ก. ประกอบกับตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดอันจะพึงถือได้ว่า ทางปฏิบัติของเจ้าหนี้ทำ�ให้ลูกหนี้มีมูลเหตุอันสมควรจะ
เชื่อว่าการชำ�ระหนี้แก่ ก. นั้นอยู่ภายในขอบอำ�นาจของ ก. ซึ่งจะทำ�ให้เจ้าหนี้ต้องรับผิดต่อลูกหนี้ผู้สุจริต
เสมือนว่า ก. เป็นตัวแทนผูม้ อี �ำ นาจรับชำ�ระหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 การรับชำ�ระ
หนี้ของ ก. จึงเป็นการกระทำ�โดยปราศจากอำ�นาจย่อมไม่ผูกพันเจ้าหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 823 เจ้าหนี้
ชอบที่จะได้รับชำ�ระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เต็มจำ�นวน โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำ�นาจนำ�
เงินที่ลูกหนี้ชำ�ระต่อ ก. ซึ่งมิใช่บุคคลผู้มีอำ�นาจรับชำ�ระหนี้แทนเจ้าหนี้มาหักชำ�ระหนี้ได้
ดังนั้น กรณีที่จะบังคับ ตาม ปพพ. มาตรา 822 ให้ตัวการต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกได้หรือไม่

นัน้ ย่อมขึน้ อยูก่ บั ว่าในทางปฏิบตั ขิ องตัวการทำ�ให้บคุ คลภายนอกมีมลู เหตุอนั สมควรจะเชือ่ ว่าการนัน้ อยูใ่ น
ขอบอำ�นาจของตัวแทนหรือไม่ หากทางปฏิบตั ขิ องตัวการไม่มมี ลู เหตุทที่ �ำ ให้บคุ คลภายนอกสมควรจะเชือ่
มส

ว่าการนัน้ อยูใ่ นขอบอำ�นาจของตัวแทนแล้ว ตัวการย่อมไม่มหี น้าทีต่ อ้ งรับผิดต่อบุคคลภายนอกแต่อย่างใด


อุทาหรณ์
ฎ. 8331/2551 เมือ่ ปรากฏว่าหนังสือมอบอำ�นาจของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ผรู้ บั มอบอำ�นาจมอบอำ�นาจ
ช่วงได้ดว้ ย การทีผ่ รู้ บั มอบอำ�นาจมอบอำ�นาจช่วงจึงไม่มผี ลผูกพันโจทก์ ทัง้ ขณะทีผ่ รู้ บั มอบอำ�นาจช่วงทำ�
บันทึกข้อตกลงว่าโจทก์จะไม่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำ�เลยนั้น ผู้รับมอบอำ�นาจช่วงได้มอบหนังสือมอบ
อำ�นาจของโจทก์ให้ฝ่ายจำ�เลยแล้วด้วย กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะทำ�ให้จำ�เลยควรเชื่อว่าผู้รับมอบอำ�นาจช่วง

กระทำ�การแทนโจทก์ภายในขอบเขตอำ�นาจของตัวแทนอันมีผลทำ�ให้โจทก์ตอ้ งรับผิดต่อจำ�เลยเสมือนผูร้ บั
มอบอำ�นาจช่วงเป็นตัวแทนโจทก์ ตาม ปพพ. มาตรา 822 ประกอบ มาตรา 821
ตัวอย่างพฤติการณ์ที่ตัวการแสดงออกทำ�ให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าการที่
ตัวแทนได้ทำ�ไปนั้นอยู่ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทน
ตัวการจดทะเบียนให้ตัวแทนถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทน
อุทาหรณ์
ฎ. 10865/2555 จำ�เลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำ�เลยที่ 2 โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงการที่
สธ
โจทก์จดทะเบียนให้พระครูสริ กิ จิ จานุยตุ ถือกรรมสิทธิท์ ดี่ นิ พิพาทแทนโจทก์ เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิด
ของตัวการต่อบุคคลภายนอก ตาม ปพพ. มาตรา 822 ซึง่ เป็นเรือ่ งทีต่ วั แทนคือพระครูสริ กิ จิ จานุยตุ ทำ�การ
เกินอำ�นาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำ�ให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการอันนั้น

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-21

อยู่ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต ดังนั้น โจทก์จึงต้องรับ


ผิดผูกพันตามสัญญาขายที่ดินพิพาทต่อจำ�เลยที่ 3
ตัวการลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำ�นาจให้ตัวแทนโดยไม่กรอกข้อความ
อุทาหรณ์
ฎ. 1605/2506 จำ�เลยเซ็นชื่อในหนังสือมอบอำ�นาจเพื่อให้ ล.เอาที่ดินของจำ�เลยไปจำ�นอง


ไม่เกิน 60,000 บาท ส่วนข้อความในใบมอบอำ�นาจให้ ล. กรอกเอาเอง ต่อมา ล. กรอกข้อความใน
หนังสือมอบอำ�นาจว่า ล. เป็นผู้มีอำ�นาจจำ�นอง และจำ�นองโจทก์ไว้เป็นเงิน 200,000 บาท ดังนี้ หาทำ�ให้

มส
การตั้งตัวแทนเป็นโมฆะไม่ แต่เป็นเรื่องที่ ล. ทำ�เกินอำ�นาจของตนซึ่ง ล. จะต้องรับผิดต่อจำ�เลยเป็นอีก
ส่วนหนึ่งต่างหาก แต่ทางปฏิบัติของจำ�เลยทำ�ให้โจทก์เชื่อว่าการที่ ล. จำ�นองโจทก์ถึง 200,000 บาทนั้น
อยู่ในอำ�นาจของ ล. เพราะถ้าจำ�เลยจะให้บุคคลอื่นรู้ว่า ล. มีอ�ำ นาจจำ�นองได้เพียง 60,000 บาท ก็ชอบ
ทีจ่ ะเขียนจำ�นวนเงินทีจ่ ะจำ�นองลงในหนังสือมอบอำ�นาจให้ปรากฏชัด การทีจ่ �ำ เลยละเลย ถือว่าเป็นความ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับจำ�นองโดยสุจริต ตาม ปพพ. มาตรา 822
ฎ. 4708/2533 การที่ตัวการลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือมอบอำ�นาจโดยไม่กรอกข้อความไว้
ภายหลังจำ�เลยที่ 1 โดยทุจริตได้นำ�ใบมอบอำ�นาจดังกล่าวไปกรอกข้อความแล้วขายฝากที่พิพาทให้
จำ�เลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก ตาม ปพพ. มาตรา 822
ซึง่ เป็นเรือ่ งทีต่ วั แทนคือจำ�เลยที่ 1 ทำ�การเกินอำ�นาจตัวแทน แต่ทางปฏิบตั ขิ องตัวการทำ�ให้บคุ คลภายนอก

มีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่า การอันนั้นอยู่ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อจำ�เลยที่
2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของตัวการย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการ
มส

ขายฝากดังกล่าว
ฎ. 1368/2552 โจทก์กู้ยืมเงินจากจำ�เลยที่ 1 และมอบหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ (น.ส.
3) หนังสือสำ�คัญที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำ�นาจให้จดทะเบียนโอนของ ค. เจ้าของที่ดินเดิมและลงชื่อใน
หนังสือมอบอำ�นาจ โดยที่ยังไม่กรอกข้อความให้ไว้แก่จำ�เลยที่ 1 เป็นประกันหนี้กู้ยืม ซึ่งต่อมาจำ�เลยที่ 1
ปลอมหนังสือมอบอำ�นาจดังกล่าวด้วยการกรอกข้อความโดยไม่ได้รบั ความยินยอมและฝ่าฝืนคำ�สัง่ ของโจทก์
โอนขายทีด่ นิ ให้แก่จ�ำ เลยที่ 2 พฤติการณ์ดงั กล่าวย่อมทำ�ให้บคุ คลภายนอกผูส้ จุ ริตหลงเข้าใจว่า จำ�เลยที่ 1

รับผิดต่อจำ�เลยที่ 2 ซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต

เป็นตัวแทนของโจทก์ในทีด่ นิ พิพาท ทัง้ การทีโ่ จทก์ลงลายมือชือ่ ในหนังสือมอบอำ�นาจโดยไม่กรอกข้อความ
ถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์ไม่อาจยกเอาความผิดของตนดังกล่าวมาปฏิเสธความ

ถ้าบุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าการที่ตัวแทนทำ�เกินอำ�นาจนั้นอยู่ในขอบอำ�นาจของตัวแทน
โดยเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลภายนอกเอง เช่นนี้ บุคคลภายนอกนั้นย่อมไม่
อาจได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 822 นี้
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 4998/2549 การที่จ�ำ เลยที่ 4 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทเป็นจำ�นวนเงินถึง 2,500,000 บาท
โดยรูเ้ ห็นอยูแ่ ล้วว่าหนังสือมอบอำ�นาจมีเพียงลายมือชือ่ ของโจทก์ซงึ่ ไม่มขี อ้ ความว่ามอบอำ�นาจให้ท�ำ สิง่ ใด
และรูเ้ ห็นถึงการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำ�นาจโดยโจทก์ไม่ได้ยนิ ยอมด้วย จึงเกิดจากความประมาท

8-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำ�เลยที่ 4 เองทีห่ ลงเชือ่ การหลอกลวงของจำ�เลยที่ 1 มิใช่เกิดจากการทีโ่ จทก์เชิด


จำ�เลยที่ 1 หรือยอมให้จ�ำ เลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบต่อจำ�เลยที่ 4
ตาม ปพพ. มาตรา 821, 822 ดังนั้น จำ�เลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธินำ�ที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนขายฝากต่อ
จำ�เลยที่ 4 นิติกรรมขายฝากระหว่างโจทก์กับจำ�เลยที่ 4 จึงไม่ชอบและไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิ
ติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม


ขายฝากระหว่างโจทก์กับจำ�เลยที่ 4 ได้
ข้อสังเกต กรณีตัวการตั้งตัวแทนให้ไปทำ�กิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยตัวการลงชื่อใน

มส
หนังสือมอบอำ�นาจไว้ แล้วมอบให้ตวั แทนไปกรอกข้อความในหนังสือมอบอำ�นาจเองนัน้ ถ้าตัวแทนไปกรอก
ข้อความเป็นว่ามอบอำ�นาจให้ไปทำ�เรื่องอื่น เช่นนี้ เป็นกรณีมาตรา 822 คือตัวแทนทำ�การเกินอำ�นาจแต่
ทางปฏิบตั ขิ องตัวการทำ�ให้บคุ คลภายนอกหลงเชือ่ ว่าอยูใ่ นอำ�นาจ แต่ถา้ เป็นกรณีปลอมหนังสือมอบอำ�นาจ
โดยบุคคลคนหนึง่ ซึง่ มิใช่ตวั แทนกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำ�นาจว่าบุคคลอีกคนหนึง่ มอบอำ�นาจให้
ตนไปทำ�กิจการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนแล้วปลอมลายมือชื่อของบุคคลนั้น เช่นนี้ มิใช่กรณีมาตรา 822
ดังนัน้ แม้จะปรากฏว่าบุคคลภายนอกหลงเชือ่ โดยสุจริตว่ามีการมอบอำ�นาจกันจริง บุคคลภายนอกนัน้ ก็ไม่
ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 822 นี้
ตัวการมอบสร้อยคอเพชรให้ตัวแทนไปขาย แต่ตัวแทนกลับนำ�ไปเป็นหลักประกัน โดย
บอกแก่บุคคลภายนอกว่าตัวการให้นำ�มาเป็นหลักประกันและตัวการเคยใช้ตัวแทนให้จำ �นำ�ทรัพย์แก่

บุคคลภายนอกมาแล้วนั้น
อุทาหรณ์
มส

ฎ. 1348/2493 ตัวการมอบสร้อยคอเพชรให้แก่ตัวแทนเพื่อไปขายแก่บุคคลภายนอกแต่
ตัวแทนกลับนำ�สร้อยคอเพชรนั้นไปเป็นหลักประกันแทนแหวนเพชรที่ตัวแทนจำ�นำ�ไว้กับบุคคลภายนอก
โดยบอกกับบุคคลภายนอกว่าตัวการให้นำ�สร้อยคอเพชรมาเป็นหลักประกันแทนแหวนเพชรและขอรับ
แหวนเพชรกลับไป ดังนี้ถือว่าทางปฏิบัติของตัวการที่เคยใช้ตัวแทนให้จำ�นำ�ทรัพย์แก่บุคคลภายนอกมา
แล้วนั้นทำ�ให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการจำ�นำ�โดยการแลกเปลี่ยนกับทรัพย์ที่จำ�นำ�ไว้
นั้นอยู่ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทนตามที่ตัวแทนบอกยืนยันตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกใน
กิจการที่ตัวแทนได้ทำ�ไป ตาม ปพพ. มาตรา 820, 822
ข้อสังเกต

(1) มาตรา 822 บัญญัติให้ตัวการต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกการกระทำ�ของตัวแทน
ที่ทำ�การเกินอำ�นาจตัวแทน แม้มีทางปฏิบัติของตัวการทำ�ให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่า
การอันนั้นอยู่ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทนก็ตาม แต่ถ้าการกระทำ�ของตัวแทนนั้นทำ�ให้ตัวการเสียหาย
ตัวแทนมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายนั้นต่อตัวการ ตามมาตรา 812
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 9272/2553 จำ�เลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำ�เลยที่ 1 ขณะเกิดเหตุจ�ำ เลยที่ 3 ทำ�งานใน
ตำ�แหน่งผู้บริหารงานลูกค้าอาวุโสสายงานธนบดีธนกิจของจำ�เลยที่ 1 ซึ่งเป็นสายงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้
บริการแนะนำ�ลูกค้าด้านการลงทุนซึง่ โดยตำ�แหน่งหน้าทีข่ องจำ�เลยที่ 3 รวมถึงลักษณะงานทีท่ ำ�ย่อมทำ�ให้

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-23

โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรเชื่อว่าจำ�เลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำ�เลยที่ 1 และการทำ�


สัญญาขายลดตั๋วแลกเงินกับโจทก์อยู่ในขอบอำ�นาจของจำ�เลยที่ 3 ดังนั้น แม้ตามความเป็นจริงจำ�เลยที่ 3
จะไม่มอี �ำ นาจทำ�สัญญาขายลดตัว๋ แลกเงินกับโจทก์และไม่ได้น�ำ เงินทีไ่ ด้รบั จากโจทก์ไปมอบให้แก่จ�ำ เลยที่
1 ก็ตาม จำ�เลยที่ 1 ในฐานะตัวการก็ตอ้ งรับผิดชดใช้เงินคืนโจทก์ ตาม ปพพ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา
820 ส่วนการกระทำ�ของจำ�เลยที่ 3 จะเป็นละเมิดต่อโจทก์ด้วยหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก


(2) ตัวแทนทำ�การเกินอำ�นาจแต่ทางมีทางปฏิบัติของตัวการ ตามมาตรา 822 นี้ ไม่อยู่
ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา 798

มส อุทาหรณ์
ฎ. 1815/2493 ตั้งตัวแทนจัดการร้านค้าของตัวการแล้ว ตัวการไปต่างประเทศเสียชั่วคราว
ในระหว่างที่ตัวการไปอยู่ต่างประเทศนั้น ตัวแทนซึ่งเป็นผู้จัดการร้านได้กู้ยืมเงินของบุคคลภายนอกมาใช้
จ่ายในกิจการค้าของร้านตัวการ ผูใ้ ห้กกู้ เ็ ข้าใจว่าตัวแทนมีสทิ ธิท�ำ การกูย้ มื เงินไปใช้ในกิจการค้านัน้ ได้ เช่น
นีเ้ ข้าลักษณะตัวแทน ตาม ปพพ. มาตรา 821, 822 แม้ตวั การจะไม่ได้ตงั้ ตัวแทนเป็นหนังสือ ตัวการก็ตอ้ ง
รับผิดในจำ�นวนเงินที่ตัวแทนไปกู้เขามาดังกล่าว
(3) ตัวแทนเชิดตามมาตรา 821 กับตัวแทนทำ�การเกินอำ�นาจแต่ทางปฏิบตั ขิ องตัวการทำ�ให้
บุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าอยู่ในอำ�นาจตามมาตรา 822 นี้ มีความแตกต่างที่สำ�คัญคือ ตัวแทนเชิดตาม
มาตรา 821 นั้น ไม่มีการตั้งแต่งตัวแทนโดยสัญญาตัวแทนแต่อย่างใด ส่วนตัวแทนทำ�การเกินอำ�นาจแต่

ทางปฏิบตั ขิ องตัวการทำ�ให้บคุ คลภายนอกหลงเชือ่ ว่าอยูใ่ นอำ�นาจตามมาตรา 822 นี้ มีการตัง้ แต่งตัวแทน
โดยสัญญาตัวแทน แต่ตวั แทนไปทำ�การเกินอำ�นาจตัวแทนและมีทางปฏิบตั ขิ องตัวการทำ�ให้บคุ คลภายนอก
มส

มีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการอันนั้นอยู่ภายในขอบอำ�นาจของตัวแทน อนึ่ง บทบัญญัติทั้งสองมาตรา


ดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริต

กิจกรรม 8.1.1
1. การทีต่ วั แทนหรือตัวแทนช่วงได้กระทำ�ไปภายในขอบอำ�นาจของตัวแทนแล้ว ถ้าปรากฏว่าการ

ผูกพันตัวการในกรณีใด

กระทำ�นั้นเกิดความเสียหายแก่ตัวการ ตัวการจะต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกอยู่หรือไม่ อย่างไร
2. ตัวแทนกระทำ�การอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ จะ

3. รถแท็กซีค่ นั นายสมัยขับเฉีย่ วชนนางสาวสุดใจโดยละเมิดมีชอื่ สหกรณ์แห่งหนึง่ และหมายเลข


โทรศัพท์ของสหกรณ์นนั้ ปรากฏอยูข่ า้ งรถ นางสาวสุดใจจะมีสทิ ธิฟอ้ งเรียกร้องให้สหกรณ์แห่งนัน้ ร่วมรับผิด
กับนายสมัยในผลแห่งละเมิดนั้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
4. บริษัทสุโขจำ�กัด สั่งซื้อสินค้าจากบริษัททองหลางจำ�กัด โดยในการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งนั้น
สธ
กรรมการผู้มีอำ�นาจกระทำ�การแทนบริษัทสุโขจำ�กัด จะมิได้เป็นผู้ทำ�คำ�สั่งซื้อกับบริษัททองหลางจำ�กัด
โดยตรง ด้วยการลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำ�คัญของบริษัทสุโขจำ�กัดในใบสั่งซื้อสินค้าที่มีต่อบริษัท
ทองหลางจำ�กัด แต่จะมอบให้นางสุภาพรรณพนักงานของบริษัทสุโขจำ�กัดซึ่งได้รับอนุมัติจากบริษัทสุโข

8-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

จำ�กัดเป็นการภายในให้เป็นผู้ติดต่อสั่งซื้อกับบริษัททองหลางจำ�กัด รับสินค้าที่บริษัททองหลางจำ�กัด นำ�


มาส่งมอบ และบริษัทสุโขจำ�กัดจะชำ�ระค่าสินค้าที่นางสุภาพรรณสั่งซื้อให้แก่บริษัททองหลางจำ�กัด ใน
การซื้อขายสินค้าที่บริษัททองหลางจำ�กัด และบริษัทสุโขจำ�กัดปฏิบัติต่อกันมานั้น นางสุภาพรรณต้องส่ง
สำ�เนาใบสั่งซื้อที่ได้รับอนุมัติจากนายศุภกิจ กรรมการบริษัทสุโขจำ�กัดซึ่งลงลายมือชื่อผู้อนุมัติในใบสั่งซื้อ
ไปให้บริษัททองหลางจำ�กัด ทางโทรสาร และบริษัททองหลางจำ�กัด จะต้องนำ�สำ�เนาใบสั่งซื้อดังกล่าวไป


แสดงเพื่อขอรับต้นฉบับใบสั่งซื้อจากนางสุภาพรรณเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้า
จากบริษทั สุโขจำ�กัด ปรากฏว่าการซือ้ สินค้าในครัง้ นี้ บริษทั สุโขจำ�กัดไม่ได้มอบหมายให้สงั่ ซือ้ แต่นางสุภา

มส
พรรณทำ�การทุจริตสั่งซื้อไปเป็นประโยชน์ส่วนตน โดยการสั่งซื้อจากบริษัททองหลางจำ�กัด ทางโทรศัพท์
โดยไม่มีใบสั่งซื้อที่ได้รับอนุมัติจากนายศุภกิจ กรรมการผู้มีอ�ำ นาจของบริษัทสุโขจำ�กัด เช่นนี้ บริษัทสุโข
จำ�กัด ต้องรับผิดชำ�ระค่าสินค้าที่นางสุภาพรรณสั่งซื้อในครั้งนี้หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 8.1.1
1. เมื่อตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้กระทำ�ไปภายในขอบอำ�นาจของตัวแทนแล้ว แม้จะปรากฏว่า
เกิดความเสียหายแก่ตวั การ ตัวการย่อมต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอก ส่วนความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ ดังกล่าว
ต้องพิจารณาในเรื่องความรับผิดระหว่างตัวการกับตัวแทนกันต่อไป
2. ตัวแทนกระทำ�การอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ จะ

ผูกพันตัวการในกรณีที่ตัวการให้สัตยาบันแก่การนั้น ตาม ปพพ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง
3. การที่นายสมัยนำ�รถแท็กซี่คันดังกล่าวออกมาขับรับผู้โดยสาร ย่อมเป็นการแสดงออกต่อ
มส

นางสาวสุดใจซึง่ เป็นบุคคลภายนอกผูส้ จุ ริตว่า นายสมัยเป็นตัวแทนเชิดของสหกรณ์นนั้ โดยสหกรณ์นนั้ เป็น


เจ้าของรถในการรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร สหกรณ์แห่งนั้นจึงต้องร่วมรับผิดกับนายสมัยในผลแห่งละเมิดที่
เกิดขึ้น ตาม ปพพ. มาตรา 427 และมาตรา 821
4. ในการซื้อขายสินค้าที่บริษัททองหลางจำ�กัดและบริษัทสุโขจำ�กัดปฏิบัติต่อกันมานั้น นางสุภา
พรรณพนักงานของบริษทั สุโขจำ�กัด ซึง่ ได้รบั อนุมตั จิ ากบริษทั สุโขจำ�กัดเป็นการภายในจะเป็นผูต้ ดิ ต่อสัง่ ซือ้
กับบริษัททองหลางจำ�กัด โดยต้องส่งสำ�เนาใบสั่งซื้อที่ได้รับอนุมัติจากนายศุภกิจ กรรมการบริษัทบริษัทสุ

โขจำ�กัด ซึ่งลงลายมือชื่อผู้อนุมัติในใบสั่งซื้อไปให้บริษัททองหลางจำ�กัด ทางโทรสารและบริษัททองหลาง
จำ�กัดจะต้องนำ�สำ�เนาใบสัง่ ซือ้ ดังกล่าวไปแสดงเพือ่ ขอรับต้นฉบับใบสัง่ ซือ้ จากนางสุภาพรรณเพือ่ เป็นหลัก
ฐานประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากบริษทั สุโขจำ�กัด เห็นได้วา่ บริษทั สุโขจำ�กัดถือการส่งสำ�เนาใบสัง่
ซื้อทางโทรสารเป็นเงื่อนไขสำ�คัญในการสั่งซื้อสินค้าจากบริษัททองหลางจำ�กัด เพื่อป้องกันมิให้พนักงาน
ของบริษัทสุโขจำ�กัดซึ่งทำ�หน้าที่จัดซื้อกระทำ�การทุจริตแอบอ้างสั่งซื้อสินค้าโดยไม่ได้รับอนุมัติจากบริษัท
สุโขจำ�กัด การที่นางสุภาพรรณสั่งซื้อสินค้าจากบริษัททองหลางจำ�กัด ทางโทรศัพท์โดยไม่ได้ส่งสำ�เนา
ใบสั่งซื้อทางโทรสารไปยังบริษัททองหลางจำ�กัด ซึ่งผิดเงื่อนไขทางปฏิบัติในการซื้อขายดังกล่าว จะถือว่า
สธ
บริษัทสุโขจำ�กัดเชิดนางสุภาพรรณเป็นตัวแทนหรือยอมให้นางสุภาพรรณเชิดตนเองเป็นตัวแทนในการสั่ง
ซื้อสินค้าจากบริษัททองหลางจำ�กัด ด้วยวิธีการดังกล่าวหาได้ไม่ เมื่อบริษัททองหลางจำ�กัดส่งสินค้าให้แก่

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-25

นางสุภาพรรณทัง้ ทีร่ อู้ ยูแ่ ล้วว่าการสัง่ ซือ้ สินค้าของนางสุภาพรรณไม่เป็นไปตามเงือ่ นไขการสัง่ ซือ้ สินค้าของ
บริษัททองหลางจำ�กัด และนางสุภาพรรณนำ�สินค้าที่ได้รับไปเป็นประโยชน์ส่วนตน เช่นนี้แล้ว บริษัทสุโข
จำ�กัดจึงไม่ต้องรับผิดชำ�ระค่าสินค้าแก่บริษัททองหลางจำ�กัด (นัย ฎ.8191/2555)


เรื่องที่ 8.1.2

มส
ความรับผิดของตัวแทนต่อบุคคลภายนอก

โดยปกติเมื่อตัวแทนทำ�การแทนตัวการไปภายในขอบอำ�นาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว ตัวแทนย่อม
หลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลภายนอกและตัวการย่อมต้องผูกพันในการนั้นต่อบุคคลภายนอกต่อไป
ตาม ปพพ. มาตรา 820 ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 8.1.1 ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก ถ้า
ตัวแทนกระทำ�การไปโดยปราศจากอำ�นาจหรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจโดยบุคคลภายนอกไม่รู้ว่า
ตัวแทนกระทำ�การไปโดยปราศจากอำ�นาจหรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจและตัวการไม่ได้ให้สัตยาบัน

แก่การนัน้ ดังนีแ้ ล้วตัวแทนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก หรือแม้ในกรณีทตี่ วั แทนทำ�สัญญาแทนตัวการไป
ภายในขอบอำ�นาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว หากตัวการนัน้ อยูแ่ ละมีภมู ลิ �ำ เนาในต่างประเทศ ดังนีแ้ ล้วตัวแทน
มส

ยังมีหน้าที่ต้องรับผิดตามสัญญานั้นต่อบุคคลภายนอก สำ�หรับในเรื่องความรับผิดของตัวแทนต่อบุคคล
ภายนอกนี้ จะกล่าวถึงเรือ่ งตัวแทนกระทำ�การอันใดอันหนึง่ โดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกทำ�เหนือของ
อำ�นาจ ตัวแทนทำ�สัญญาแทนตัวการซึง่ อยูแ่ ละมีภมู ลิ �ำ เนาในต่างประเทศ ดังจะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไปนี้

1. ตัวแทนกระทำ�การอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ
มาตรา 823 บัญญัตวิ า่ “ถ้าตัวแทนกระทำ�การอันใดอันหนึง่ โดยปราศจากอำ�นาจก็ดี หรือทำ�นอก

ทำ�เหนือขอบอำ�นาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น
ถ้าตัวการไม่ให้สตั ยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำ�พังตนเอง เว้นแต่
จะพิสจู น์ได้วา่ บุคคลภายนอกนัน้ ได้รูอ้ ยูว่ า่ ตนทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจ”
ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 8.1.1 ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอก ว่าการที่ตัวการให้
สัตยาบันต่อการกระทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจของตัวแทนต่อบุคคลภายนอกอันมีผลทำ�ให้นิติกรรมซึ่ง
ไม่ผกู พันตัวการกลับเป็นผูกพันตัวการโดยตรงและทำ�ให้ตวั แทนหลุดพ้นความรับผิดทีม่ ตี อ่ บุคคลภายนอก
และถ้าตัวการไม่ได้ให้สตั ยาบันแก่การทีต่ วั แทนทำ�ไปโดยปราศจากอำ�นาจหรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ
สธ
ดังกล่าว ตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำ�พังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอก
นั้นได้รู้อยู่ว่าตนทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ

8-26 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตัวอย่าง นายนํา้ ตัง้ นายฝนไปซือ้ ทุเรียนหมอนทองจากสวนของนายดินจำ�นวน 1,000 ลูก นายฝน


ไปซื้อทุเรียนก้านยาวจากสวนของนายดินจำ�นวน 1,000 ลูก เพราะเห็นว่าทุเรียนก้านยาวน่ารับประทาน
กว่าทุเรียนหมอนทอง ปรากฏว่านายนาํ้ ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับสัญญาซือ้ ทุเรียนดังกล่าว เช่นนี้ นายฝน
ต้องรับผิดชำ�ระหนี้ค่าทุเรียนก้านยาวจำ�นวน 1,000 ลูกต่อนายดินโดยลำ�พังตนเอง แต่ถ้านายฝนพิสูจน์
ได้วา่ ขณะทีต่ นตกลงซือ้ ทุเรียนก้านยาวนัน้ นายดินรูอ้ ยูแ่ ล้วว่านายฝนทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจตัวแทน


เนือ่ งจากนายนาํ้ ได้โทรศัพท์แจ้งให้นายดินทราบก่อนแล้วว่านายนํา้ ตัง้ นายฝนไปซือ้ ทุเรียนหมอนทองจาก
สวนของนายดินจำ�นวน 1,000 ลูก

มส
อุทาหรณ์
ฎ. 443/2524 จำ�เลยที่ 3 เป็นผูจ้ ดั การคลังนาํ้ มันของจำ�เลยที่ 1 เมือ่ จำ�เลยที่ 1 ได้รบั เงินจากลูกค้า
และอนุมตั ใิ ห้ขายนาํ้ มันได้แล้ว จำ�เลยที่ 3 มีอ�ำ นาจออกใบเสร็จรับเงินให้ลกู ค้าและควบคุมการจ่ายนํา้ มันให้
ลูกค้า ในชัน้ สอบสวนคดีอาญาทีจ่ �ำ เลยที่ 3 ต้องหาว่าฉ้อโกงโจทก์ จำ�เลยที่ 3 รับว่ารับเงินเดือนจากจำ�เลยที่
1 จำ�เลยที่ 3 จึงเป็นตัวแทนของจำ�เลยที่ 1 แต่จ�ำ เลยที่ 1 มอบอำ�นาจให้จำ�เลยที่ 3 รับคำ�สั่งซื้อจากผู้ซื้อได้
เฉพาะแต่ผู้ที่เป็นลูกค้าที่ได้ทำ�สัญญาไว้กับจำ�เลยที่ 1 ที่สำ�นักงานใหญ่เท่านั้น การที่จำ�เลยที่ 3 เอาชื่อปั๊ม
ซึง่ เป็นลูกค้าทีไ่ ด้ท�ำ สัญญาไว้กบั จำ�เลยที่ 1 ซือ้ นาํ้ มันจากจำ�เลยที่ 1 มาขายให้โจทก์ จึงเป็นการกระทำ�โดย
ปราศจากอำ�นาจหรือทำ�นอกเหนืออำ�นาจ เมื่อจำ�เลยที่ 1 ไม่ได้ให้สัตยาบัน จำ�เลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อ
โจทก์ ส่วนจำ�เลยที่ 3 เมื่อไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าโจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำ�เลยที่ 3 ดำ�เนินการโดยปราศจากอำ�นาจ

จำ�เลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยลำ�พัง
ฎ. 6057/2545 หนังสือมอบอำ�นาจของเจ้าหนี้ระบุข้อความอันเป็นการกระทำ�ภายในขอบอำ�นาจ
มส

แห่งฐานตัวแทนไว้โดยชัดแจ้งว่า ให้ ก. ผู้รับมอบอำ�นาจมีอำ�นาจเพียงเจรจาตกลงกับลูกหนี้จนเสร็จการ


เท่านัน้ มิได้มอบอำ�นาจให้เป็นตัวแทนรับชำ�ระหนีจ้ ากลูกหนีแ้ ต่อย่างใด การที่ ก. รับชำ�ระหนีต้ ามหนังสือ
รับสภาพหนีไ้ ว้จากลูกหนี้ จึงเป็นการกระทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจของตัวแทน ทัง้ ตามหนังสือมอบอำ�นาจ
ก็ระบุวา่ เจ้าหนีย้ อมรับผิดต่อลูกหนีเ้ ฉพาะในการกระทำ�ที่ ก. ได้ท�ำ ไปตามทีเ่ จ้าหนีม้ อบอำ�นาจเท่านัน้ เจ้า
หนีจ้ งึ ไม่ตอ้ งผูกพันกับการรับชำ�ระหนีข้ อง ก. ประกอบกับตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ก็
ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดอันจะพึงถือได้วา่ ทางปฏิบตั ขิ องเจ้าหนีท้ �ำ ให้ลกู หนีม้ มี ลู เหตุอนั สมควรจะเชือ่ ว่าการ

ชำ�ระหนีแ้ ก่ ก. นัน้ อยูภ่ ายในขอบอำ�นาจของ ก. ซึง่ จะทำ�ให้เจ้าหนีต้ อ้ งรับผิดต่อลูกหนีผ้ สู้ จุ ริตเสมือนว่า ก.
เป็นตัวแทนผู้มีอ�ำ นาจรับชำ�ระหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 การรับชำ�ระหนี้ของ ก.
จึงเป็นการกระทำ�โดยปราศจากอำ�นาจย่อมไม่ผูกพันเจ้าหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 823 เจ้าหนี้ชอบที่จะได้
รับชำ�ระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เต็มจำ�นวน โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอ�ำ นาจนำ�เงินที่ลูกหนี้
ชำ�ระต่อ ก. ซึ่งมิใช่บุคคลผู้มีอำ�นาจรับชำ�ระหนี้แทนเจ้าหนี้มาหักชำ�ระหนี้ได้
สธ

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-27

2. ตัวแทนทำ�สัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำ�เนาในต่างประเทศ
มาตรา 824 บัญญัติว่า “ตัวแทนคนใดทำ�สัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำ�เนา
ในต่างประเทศ ท่านว่าตัวแทนคนนั้นจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำ�พังตนเอง แม้ทั้งชื่อของตัวการ
จะได้เปิดเผยแล้ว เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน”


โดยปกติเมื่อตัวแทนทำ�การแทนตัวการโดยกระทำ�ไปภายในขอบอำ�นาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว
ตัวการต้องผูกพันในการนัน้ กับบุคคลภายนอกตามมาตรา 820 ตัวแทนไม่ตอ้ งรับผิดต่อบุคคลภายนอกแต่
ประการใด ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่มีกรณีที่ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนเองได้ทำ�ไว้แทนตัวการ แม้

มส
การทำ�สัญญานั้นจะอยู่ภายในขอบอำ�นาจแห่งฐานตัวแทนก็ตาม ดังหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
2.1 ตัวการอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำ�เนาในต่างประเทศ ตัวการต้องอยู่และมีภูมิลำ�เนาในต่าง
ประเทศ การที่กฎหมายบัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญานั้นก็เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่บุคคล
ภายนอกที่สามารถฟ้องร้องตัวแทนในประเทศไทย โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำ�เนาใน
ต่างประเทศ หากตัวการอยูใ่ นประเทศไทยหรือมีภมู ลิ �ำ เนาในประเทศไทย ตัวแทนไม่ตอ้ งรับผิดตามสัญญา
ที่ได้ท�ำ ไว้นั้น ซึ่งตัวการย่อมต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกตามสัญญาดังกล่าว
อุทาหรณ์
ฎ. 3934/2546 จำ�เลยที่ 2 อยูต่ า่ งประเทศและมีภมู ลิ �ำ เนาในต่างประเทศโดยไม่มสี �ำ นักงานหรือสาขา
อยูใ่ นประเทศไทย จำ�เลยที่ 2 ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลระหว่างประเทศโดยมีบ�ำ เหน็จเป็นทางค้า

ปกติรวมทัง้ ในประเทศไทยด้วย ซึง่ ในการประกอบกิจการในประเทศไทยจำ�เลยที่ 2 ได้มอบหมายให้จ�ำ เลยที่ 1
เป็นผูก้ ระทำ�การแทนและจำ�เลยที่ 1 ได้เข้าทำ�สัญญารับขนสินค้าทางทะเลกับโจทก์ที่ 1 ผูส้ ง่ แทนจำ�เลยที่ 2
มส

เมื่อจำ�เลยที่ 2 ผู้เป็นตัวการปฏิบัติผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่โจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งเมื่อ


สินค้านั้นถึงเมืองท่าปลายทาง จำ�เลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนต้องรับผิดสำ�หรับความเสียหายเนื่องจากการผิด
สัญญานั้นต่อโจทก์ที่ 1 ผู้ส่งและโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงใบตราส่งแต่ลำ�พังตนเอง ตาม ปพพ. มาตรา 824
ฎ. 4580/2552 โจทก์ผู้ส่งว่าจ้างให้จำ�เลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่ง โดยจำ�เลยที่ 2 ติดต่อทำ�สัญญารับขน
แทนจำ�เลยที่ 1 ตั้งแต่แรก จนกระทั่งเป็นผู้ออกใบตราส่ง ซึ่งเป็นใบตราส่งที่ใช้ชื่อบริษัทจำ�เลยที่ 1 และ
จำ�เลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำ�เนาอยู่ต่างประเทศ พฤติการณ์ของจำ�เลยที่ 2 จึงถือ

เป็นตัวแทนผู้ทำ�สัญญาแทนจำ�เลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำ�เนาอยู่ต่างประเทศ จำ�เลยที่
2 จึงต้องรับผิดในฐานะเดียวกับจำ�เลยที่ 1 ตาม ปพพ. มาตรา 824
ฎ. 6806/2554 จำ�เลยเป็นตัวแทนผูข้ นส่งติดต่อประสานงานกับโจทก์ จำ�เลยลงชือ่ ในใบตราส่งแทน
ผูข้ นส่ง จำ�เลยประกอบกิจการเป็นตัวแทนและนายหน้าให้ผรู้ บั จัดการขนส่งสินค้าทางทะเลและเป็นตัวแทน
ผูข้ นส่งหรือผูข้ นส่งอืน่ ในการดำ�เนินธุรกิจเนือ่ งจากการรับขนของทะเล ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้วา่ จำ�เลย
ทำ�สัญญารับขนของทางทะเลคดีนกี้ บั โจทก์แทนผูข้ นส่ง เมือ่ ปรากฏว่าผูข้ นส่งสินค้าพิพาทมีภมู ลิ �ำ เนาอยูต่ า่ ง
ประเทศจำ�เลยจึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลแต่ล�ำ พังตนเอง ตามนัยแห่ง ปพพ. มาตรา 824
สธ
ฎ. 4115/2556 บริษัท ย. มีหนังสือมอบอำ�นาจให้จำ�เลยที่ 1 โดยจำ�เลยที่ 2 เป็นตัวแทนกระทำ�
การทุกอย่างแทนในการจัดหาคนหางานไปทำ�งานในประเทศไนจีเรีย จำ�เลยที่ 1 โดยจำ�เลยที่ 2 ซึ่งเป็น
กรรมการผู้มีอ�ำ นาจกระทำ�การแทนจำ�เลยที่ 1 จัดทำ�สัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ จำ�เลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ

8-28 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

พร้อมประทับตราของจำ�เลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง เป็นกรณีจ�ำ เลยทัง้ สองเป็นตัวแทนทำ�สัญญาจ้างแรงงาน


แทนบริษทั ย. ซึง่ เป็นตัวการอยูต่ า่ งประเทศและมีภมู ลิ �ำ เนาในต่างประเทศ จำ�เลยทัง้ สองจึงต้องรับผิดตาม
สัญญาจ้างแรงงานนั้นเอง ตาม ปพพ. มาตรา 824
มีข้อสังเกตว่า นิติบุคคลที่อยู่ต่างประเทศและมีสำ�นักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย ต้องถือว่ามี
ภูมิล�ำ เนาอยู่ในประเทศไทย จึงไม่อาจเป็นตัวการ ตามมาตรา 824 นี้ได้


2.2 ตัวแทนทำ�สัญญาแทนตัวการ ตัวแทนไม่มหี น้าทีต่ อ้ งรับผิดตามสัญญาทีต่ วั การได้ท�ำ ไว้ไม่วา่
จะได้ท�ำ ในประเทศไทยหรือทำ�ในต่างประเทศ และไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดจากการกระทำ�ของ

มส
ตัวการหรือลูกจ้างของตัวการ
อุทาหรณ์
ฎ. 987/2506 ตัวแทนในประเทศมีหน้าที่ดำ�เนินธุรกิจจัดรับส่งสินค้าและผู้โดยสารแทนตัวการซึ่ง
อยูต่ า่ งประเทศจะต้องรับผิดตามลำ�พังตนเองก็แต่เฉพาะในกรณีทตี่ วั แทนทำ�สัญญาแทนตัวการเท่านัน้ และ
ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างของตัวการได้กระทำ�ไปในหน้าที่การงานของตัวการนั้นแต่อย่างใด
ฎ. 1265/2517 โจทก์ฟอ้ งจำ�เลยที่ 1 ซึง่ เป็นตัวแทนของเจ้าของเรือเดินสมุทรชือ่ ไตชุนชาน ซึง่ อยู่
ต่างประเทศ ให้รบั ผิดใช้คา่ เสียหายฐานละเมิดแก่โจทก์ เนือ่ งจากความประมาทเลินเล่อของกัปตันผูค้ วบคุม
เรือดังกล่าว ซึง่ เป็นลูกจ้างของเจ้าของเรือ ขณะปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามทางการทีจ่ า้ งระหว่างเข้ามาในประเทศไทย
เป็นเหตุให้เรือดังกล่าวนัน้ กระแทกเรือของโจทก์แตกและจมเสียหาย ตัวแทนของตัวการซึง่ อยูต่ า่ งประเทศ

และมีภมู ลิ �ำ เนาในต่างประเทศจะต้องรับผิดตามลำ�พังตนเองก็แต่เฉพาะกรณีตวั แทนทำ�สัญญาแทนตัวการ
เท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 824 ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด
มส

ที่ลูกจ้างของตัวการได้กระทำ�ไปในหน้าที่การงานของตัวการด้วยเลย ไม่ว่าตัวการจะอยู่ต่างประเทศหรือ
ในประเทศ ฉะนั้น จำ�เลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดโดยลำ�พังตนเองตามที่โจทก์ฟ้อง
ฎ. 155/2519 จำ�เลยเป็นตัวแทนของสายการเดินเรือซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ต่างประเทศต้องรับผิด
ตามสัญญาที่จำ�เลยเป็นผู้ทำ�ในประเทศเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดในสัญญารับขนที่ตัวการทำ�ไว้ในต่างประเทศ
แล้วมาเกิดความเสียหายในประเทศไทย
2.3 ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ล�ำ พังตนเอง แม้ทงั้ ชือ่ ของตัวการจะได้เปิดเผยแล้ว เว้น
แต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ม
ความว่า “ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำ�พังตนเอง” มีความหมายเพียงใด ตัวการยังคง
ต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกหรือไม่นนั้ ผูเ้ ขียนมีความเห็นว่ากฎหมายต้องการให้ตวั แทนรับผิดตามสัญญา
นั้นจะปฏิเสธโดยอ้างว่าได้กระทำ�ไปภายในขอบอำ�นาจแห่งฐานตัวแทนแล้วไม่ได้ เนื่องจากตัวการอยู่และ
มีภูมิลำ�เนาในต่างประเทศย่อมไม่สะดวกที่ให้บุคคลภายนอกฟ้องร้องตัวการ ถือได้ว่าเป็นหลักกฎหมาย
ปิดปากตัวแทนอีกมาตราหนึง่ ซึง่ เป็นบทยกเว้นมาตรา 820 อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่าเมือ่ กฎหมาย
บัญญัตใิ ห้ตวั แทนรับผิดตามสัญญานัน้ แล้ว ตัวการจะหลุดพ้นความผูกพันตามสัญญานัน้ ต่อบุคคลภายนอก
สธ
ตัวการยังคงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอก ตามมาตรา 820

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-29

อุทาหรณ์
ฎ. 630/2500 บทบัญญัติของ ปพพ. มาตรา 824 ซึ่งกำ�หนดว่าตัวแทนของตัวการซึ่งอยู่ต่าง
ประเทศและมีภูมิลำ�เนาในต่างประเทศจะต้องรับผิดตามสัญญาที่ได้ทำ�แทนไปแต่โดยลำ�พังนั้น เป็นบท
ยกเว้นจากหลักทั่วไปของมาตรา 820 เป็นผลให้ตัวแทนต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หาใช่เป็นบทยกเว้นความ
รับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกไม่


ฎ. 788/2500 ตัวการย่อมต้องรับผิดในกิจการทัง้ หลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ท�ำ ไปภายใน
ขอบอำ�นาจ ตาม ปพพ. มาตรา 820 มิได้มีข้อยกเว้นว่าหากตัวการอยู่ต่างประเทศแล้วจะมิต้องรับผิด

มส
ส่วน ปพพ. มาตรา 824 ที่ให้ตัวแทนต้องรับผิดในเมื่อตัวการอยู่ต่างประเทศนั้นเป็นการเพิ่มความรับผิด
แก่ตัวแทนเท่านั้น มิได้เปลี่ยนแปลงหลักกฎหมายแต่อย่างใด
ฎ. 50/2501 ปพพ. มาตรา 824 บัญญัตไิ ว้เพือ่ ความสะดวกแก่บคุ คลในประเทศไทยทีจ่ ะฟ้องร้อง
ตัวแทนที่อยู่ในประเทศไทยของตัวการที่อยู่ในต่างประเทศต่อศาลไทย แทนที่จะต้องไปฟ้องในศาลต่าง
ประเทศเท่านัน้ ไม่ได้หมายความเลยไปว่าตัวการทีอ่ ยูใ่ นต่างประเทศจะไม่มคี วามรับผิดต่อบุคคลภายนอก
ทีท่ �ำ สัญญากับตัวแทนของตนในประเทศไทยและไม่ได้หมายความว่าตัวแทนไม่มสี ทิ ธิไล่เบีย้ เอาแก่ตวั การ
ของตนที่อยู่ในต่างประเทศสำ�หรับหนี้สินใดๆ ที่ตัวแทนได้ก่อขึ้นเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทน
มีปญ
ั หาน่าคิดว่า เมือ่ บุคคลภายนอกฟ้องตัวการซึง่ อยูต่ า่ งประเทศและมีภมู ลิ �ำ เนาในต่างประเทศ
ให้รบั ผิดตามสัญญาทีต่ วั แทนเป็นคูส่ ญ
ั ญากับบุคคลภายนอกแล้ว ตัวแทนซึง่ ถูกฟ้องรวมมาด้วยยังต้องรับผิด

ในฐานะเป็นตัวแทนซึ่งทำ�สัญญานั้นแทนตัวการอยู่อีกหรือไม่นั้น ในประเด็นปัญหานี้ ศาลฎีกาแผนกคดี
ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศโดยมติที่ประชุมใหญ่ที่ 4199/2546 วินิจฉัยว่าแม้โดยหลัก
มส

ทั่วไปว่าด้วยความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอก เมื่อตัวแทนกระทำ�การแทนตัวการไป
ภายในขอบอำ�นาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายที่
ตัวแทนได้ทำ�ไปดังกล่าวนั้น โดยตัวแทนไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดต่อบุคคลภายนอก ตาม ปพพ. มาตรา
820 ก็ตาม แต่ในกรณีตัวแทนที่ทำ�สัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิล�ำ เนาในต่างประเทศนั้น
เป็นกรณีที่มี ปพพ. มาตรา 824 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ตัวแทนเช่นนี้ต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำ�พัง
ตนเอง ซึ่งหมายความว่าตัวแทนเช่นว่านี้ต้องมีความรับผิดด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำ�เลยที่ 1 ตัวการซึ่ง

จำ�เลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกคนหนึ่งได้ ตาม ปพพ. มาตรา 824



อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำ�เนาในต่างประเทศกับจำ�เลยที่ 2 ตัวแทนที่ทำ�สัญญารับขนของทางทะเลแทน
จำ�เลยที่ 1 รวมกันมาและศาลได้พิจารณาเห็นว่าจำ�เลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว

หมายเหตุ ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำ�เลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์และให้จำ�เลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์อีกคน


หนึ่งด้วยนั้น น่าจะเป็นการวินิจฉัยให้ร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
ความว่า “ตัวแทนต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำ�พังตนเอง แม้ทั้งชื่อของตัวการจะได้เปิดเผย
แล้ว” มีขอ้ สังเกตว่า กฎหมายบัญญัตใิ ห้ตวั แทนต้องรับผิดตามสัญญานัน้ ต่อบุคคลภายนอก มีขอ้ น่าคิดว่า
สธ
ตัวแทนจะฟ้องร้องบุคคลภายนอกได้หรือไม่ เห็นว่า แม้สัญญานั้นผูกพันบุคคลภายนอก ตามมาตรา 820
ก็ตาม แต่ตวั แทนย่อมไม่มอี �ำ นาจฟ้องร้องบุคคลภายนอกตามสัญญานัน้ ตามมาตรา 801(5) ต้องให้ตวั การเป็น

8-30 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ผูฟ้ อ้ งร้องหรือตัวการจะมอบอำ�นาจให้ตวั แทนฟ้องร้องคดีแทนหรือจะมีอำ�นาจฟ้องร้องคดีได้ตามทีก่ ฎหมาย


บัญญัติ เช่น เป็นกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน ตามมาตรา 802
ความรับผิดของตัวแทนดังกล่าวพิจารณาในขณะที่ทำ�สัญญาหรือผิดสัญญาหรือขณะฟ้องร้องคดี
น่าคิดว่าถ้าขณะที่บุคคลภายนอกฟ้องตัวแทนนั้น ตัวการได้กลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแล้วหรือเลิกเป็น
ตัวแทนแล้ว เช่นนี้ บุคคลภายนอกจะมีอ�ำ นาจฟ้องตัวแทนได้หรือไม่ ผูเ้ ขียนมีความเห็นว่า กฎหมายบัญญัติ


ว่า “ตัวแทนคนนั้นจะต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำ�พังตนเอง” ดังนั้น ความรับผิดของตัวแทนเกิดจาก
สัญญาที่ตัวแทนทำ�กับบุคคลภายนอก ดังนั้น แม้ตัวการได้กลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแล้วหรือเลิกเป็น

มส
ตัวแทนแล้วก็ย่อมไม่ทำ�ให้ความรับผิดของตัวแทนหมดสิ้นไปด้วยเหตุดังกล่าว
ความว่า “แม้ทั้งชื่อของตัวการจะได้เปิดเผย” แสดงอยู่ในตัวว่า แม้ในขณะที่บุคคลภายนอกทำ�
สัญญากับตัวแทนจะไม่รู้ว่าใครคือตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิล�ำ เนาในต่างประเทศ ก็ไม่เป็นเหตุที่ตัวแทนจะนำ�
มากล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิด ถึงแม้ว่าบุคคลภายนอกจะได้รู้ชื่อของตัวการนั้นในภายหลัง
อนึ่ง มาตรา 824 มีบทบัญญัติยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ โดยให้สิทธิตัวแทนทำ�สัญญา
ตกลงยกเว้นความรับผิดของตนกับบุคคลภายนอกได้
อุทาหรณ์
ฎ. 3116/2549 แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำ�เลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำ�เลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่าง
ประเทศและมีภูมิลำ�เนาอยู่ต่างประเทศซึ่ง ตาม ปพพ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดแต่ลำ�พัง

ตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ดังนี้ เมื่อตามใบตราส่งพิพาท
ข้อ 27 ได้ก�ำ หนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ เท่ากับผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงยกเว้นความ
มส

รับผิดไว้ ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 824 ดังกล่าว จำ�เลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งหรือโจทก์

กิจกรรม 8.1.2
1. การทีต่ วั แทนกระทำ�การอันใดอันหนึง่ โดยปราศจากอำ�นาจก็ดี หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ
ก็ดี ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ผลจะเป็นอย่างไร และตัวแทนจะปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายได้หรือไม่
ในกรณีใด ม
2. กรณีทตี่ วั แทนทำ�สัญญากับบุคคลภายนอกแทนตัวการซึง่ มีทอี่ ยูแ่ ละมีภมู ลิ �ำ เนาในต่างประเทศ
นั้น บุคคลภายนอกจะฟ้องร้องให้ตัวการปฏิบัติตามสัญญานั้นได้หรือไม่ อย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 8.1.2
1. การทีต่ วั แทนกระทำ�การอันใดอันหนึง่ โดยปราศจากอำ�นาจก็ดี หรือทำ�นอกทำ�เหนือขอบอำ�นาจ
ก็ดนี นั้ ถ้าตัวการไม่ให้สตั ยาบัน ตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำ�พังตนเอง และตัวแทนจะ
สธ
ปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายได้ในกรณีใดทีพ่ สิ จู น์ได้วา่ บุคคลภายนอกนัน้ ได้รอู้ ยูว่ า่ ตัวแทนทำ�การโดย
ปราศจากอำ�นาจ หรือทำ�นอกเหนือขอบอำ�นาจนั้น ตาม ปพพ. มาตรา 823

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-31

2. บทบัญญัติของ ปพพ. มาตรา 824 ซึ่งกำ�หนดว่าตัวแทนของตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมี


ภูมิล�ำ เนาในต่างประเทศ จะต้องรับผิดตามสัญญาที่ได้ท�ำ แทนไปแต่โดยลำ�พังนั้น เป็นบทยกเว้นจากหลัก
ทัว่ ไปของมาตรา 820 เป็นผลให้ตวั แทนต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หาใช่เป็นบทยกเว้นความรับผิดของตัวการ
ต่อบุคคลภายนอกไม่ และมิได้มขี อ้ ยกเว้นว่าหากตัวการอยูต่ า่ งประเทศแล้วตัวการจะมิตอ้ งรับผิด ทีม่ าตรา
824 ให้ตัวแทนต้องรับผิดในเมื่อตัวการอยู่ต่างประเทศนั้นเป็นการเพิ่มความรับผิดแก่ตัวแทนเท่านั้น มิได้


เปลี่ยนแปลงหลักกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้นบุคคลภายนอกชอบที่จะฟ้องร้องให้ตัวการปฏิบัติตามสัญญา
นั้นได้

มส

มส


สธ

8-32 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 8.2
ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 8.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
8.2.1 เหตุที่ท�ำ ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป
8.2.2 ผลแห่งความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน

1. สญ
ั ญาตัวแทนอาจระงับสิน้ ไปได้โดยเจตนาของคูส่ ญ
ั ญาทีต่ กลงกัน หรือโดยบทบัญญัติ
กฎหมายได้แก่ตัวการถอนตัวแทนหรือตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทน หรือตัวการหรือ
ตัวแทนตาย ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย
2. กฎหมายคุม้ ครองคูส่ ญ ั ญาตัวแทนและบุคคลภายนอกทีก่ ระทำ�การโดยสุจริตซึง่ ไม่ทราบ
ถึงเหตุที่ท�ำ ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป

วัตถุประสงค์
มส

เมื่อศึกษาตอนที่ 8.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ


1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเหตุที่ทำ�ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับผลแห่งความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทนได้


สธ

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-33

เรื่องที่ 8.2.1
เหตุที่ทำ�ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป


สัญญาตัวแทนอาจระงับสิ้นไปด้วยเหตุที่คู่สัญญาตัวแทนมีข้อตกลงกำ�หนดเหตุที่ทำ�ให้สัญญา
ตัวแทนระงับสิน้ ไป หรือมีกรณีทกี่ ฎหมายบัญญัตใิ ห้สญ
ั ญาตัวแทนระงับสิน้ ไปไว้ ดังจะได้กล่าวโดยละเอียด
ต่อไปนี้

มส
1. คู่สัญญาตัวแทนกำ�หนดกรณีให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป
เนื่องจากสัญญาตัวแทนเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้น คู่สัญญาอาจตกลงกำ�หนดเหตุที่ทำ�ให้
สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปได้ อาทิ กำ�หนดเวลาเมื่อครบกำ�หนดเวลานั้น หรือกำ�หนดกรณีอันเป็นเหตุให้
สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป เมื่อมีกรณีนั้นเกิดขึ้น เช่น กำ�หนดว่าถ้ามีการปฏิวัติหรือรัฐประหารในประเทศ
เมือ่ ใดให้สญ
ั ญาตัวแทนระงับสิน้ ไป หรือกำ�หนดว่าถ้ารัฐบาลประกาศยุบสภาเมือ่ ใดให้สญ ั ญาตัวแทนระงับ
สิ้นไป เป็นต้น
ตัวอย่าง นายคนองมอบหมายให้นายประวิทย์เป็นตัวแทนทำ�หน้าทีเ่ ก็บเงินค่าเช่าแผงในตลาดสด

ของนายคนองโดยมีกำ�หนดเวลา 3 ปี เช่นนี้ เมื่อครบกำ�หนดเวลา 3 ปี สัญญาตัวแทนที่นายคนองตั้งแต่ง
นายประวิทย์เป็นตัวแทนนั้นย่อมระงับสิ้นไป
ตัวอย่าง นายอาวุธมอบหมายให้นายทรงยศเป็นตัวแทนสั่งซื้อผลไม้ต่างประเทศเพื่อจำ�หน่ายใน
มส

ประเทศ โดยมีขัอกำ�หนดในสัญญาตัวแทนไว้ว่า ถ้ารัฐบาลชุดนี้ประกาศยุบสภาเมื่อใดให้สัญญาตัวแทน


ระงับสิ้นไป เช่นนี้ เมื่อรัฐบาลในขณะนั้นประกาศยุบสภา สัญญาตัวแทนที่นายอาวุธตั้งแต่งนายทรงยศ
เป็นตัวแทนนั้นย่อมระงับสิ้นไป

2. กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป

นอกจากนั้นกรณีที่สัญญาตัวแทนอาจระงับสิ้นไปเพราะเหตุที่มีข้อกำ�หนดไว้ในสัญญาตัวแทนดัง
ได้กล่าวมาแล้วนั้น สัญญาตัวแทนอาจระงับสิ้นไปเพราะเหตุที่กฎหมายบัญญัติไว้ ได้แก่กรณีตัวการถอน
ตัวแทนหรือตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทน หรือกรณีตัวการหรือตัวแทนตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ
หรือล้มละลาย ดังจะกล่าวต่อไปนี้
2.1 ตัวการถอนตัวแทนหรือตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทน
มาตรา 826 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “อันสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไปด้วยตัวการถอนตัวแทน
หรือด้วยตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทน”
สธ
มาตรา 827 บัญญัติว่า “ตัวการจะถอนตัวแทน และตัวแทนจะบอกเลิกเป็นตัวแทนเสียในเวลา
ใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ

8-34 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

คู่สัญญาฝ่ายซึ่งถอนตัวแทนหรือบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จะต้อง
รับผิดต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นในความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น เว้นแต่ในกรณีที่เป็นความจำ�เป็น
อันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้”
สัญญาตัวแทนมีคู่สัญญาคือตัวการและตัวแทน เมื่อคู่สัญญาไม่มีความประสงค์จะผูกพันกันตาม
สัญญาตัวแทนต่อไปย่อมที่จะยุติความผูกพันตามสัญญานั้นได้โดยแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี ดังนี้


2.1.1 ตัวการถอนตัวแทน การทีต่ วั การสามารถถอนตัวแทนเพือ่ ยุตคิ วามผูกพันตามสัญญา
ตัวแทนได้โดยแสดงเจตนาไปยังตัวแทนซึง่ อาจจะแสดงเจตนาถอนตัวแทนด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อกั ษร

มส
ก็ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 386 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือ
โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำ�ด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง” เมื่อการ
แสดงเจตนานั้นมีผลสมบูรณ์แล้ว กล่าวคือกรณีเป็นการแสดงเจตนาถอนตัวแทนต่อตัวแทนซึ่งอยู่เฉพาะ
หน้า เมื่อตัวแทนได้ทราบถึงการแสดงเจตนาถอนตัวแทนนั้นแล้ว7 หรือกรณีเป็นการแสดงเจตนาถอน
ตัวแทนต่อตัวแทนซึง่ มิได้อยูเ่ ฉพาะหน้า เมือ่ การแสดงเจตนาถอนตัวแทนนัน้ ได้ไปถึงตัวแทนแล้ว8 สัญญา
ตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป
ตัวการจะถอนตัวแทนในเวลาใดก็ได้ทุกเมื่อหลังจากที่เกิดสัญญาตัวแทนขึ้นแล้ว แม้ว่าใน
เวลาที่ ตัวการถอนตัวแทนนั้นจะเป็นเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวแทนก็ตาม
อุทาหรณ์

ฎ. 1947/2545 การที่จำ�เลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนขายสินค้าในประเทศสาธารณรัฐ
ประชาชนจีนและฮ่องกง และโจทก์ตกลงทำ�การดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะของสัญญาตัวแทน ตาม ปพพ.
มส

มาตรา 797 ความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำ�เลยทั้งสองในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นจึงตกอยู่


ในบังคับ ปพพ. ว่าด้วยตัวแทน จำ�เลยทัง้ สองในฐานะตัวการย่อมมีสทิ ธิถอนโจทก์ออกจากการเป็นตัวแทน
เสียเมือ่ ใดก็ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 827 วรรคแรก ดังนัน้ การทีจ่ �ำ เลยทัง้ สองแจ้งแก่โจทก์ขอให้เลิกสัญญา
โดยไม่ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนอีกต่อไปย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและมีผลตามกฎหมายทันที
ตัวการซึ่งถอนตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวแทน จะต้องรับผิดต่อตัวแทนในความเสีย
หายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น เว้นแต่ในกรณีที่เป็นความจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้

“ในเวลาที่ไม่สะดวก” ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป ตัวอย่างเช่น นายแก้วตั้ง
แต่งนายม้าเป็นตัวแทนให้ไปส่งสินค้ายังต่างจังหวัดโดยตกลงให้บ�ำ เหน็จกัน นายม้าได้ลางานประจำ�พร้อม
เช่ารถเพือ่ บรรทุกสินค้าไปส่งทีต่ า่ งจังหวัดตามทีน่ ายแก้วมอบหมาย ก่อนออกเดินทาง 2 ชัว่ โมง นายแก้ว
แสดงเจตนาถอนนายม้าออกจากการเป็นตัวแทน เช่นนีเ้ ป็นการถอนตัวแทนในเวลาทีไ่ ม่สะดวกแก่ตวั แทน
นายแก้วจะต้องรับผิดต่อนายม้าในความเสียหายทีน่ ายม้าได้ลางานประจำ�พร้อมเช่ารถเพือ่ บรรทุกสินค้านัน้
สธ
7 ปพพ. มาตรา 168
8 ปพพ. มาตรา 169

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-35

“ความจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้” ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นแต่ละกรณีไป
เช่นกัน หากตัวการถอนตัวแทนในกรณีที่เป็นความจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้แม้จะเป็นเวลาที่ไม่
สะดวกแก่ตัวแทน ตัวการก็ไม่ต้องรับผิดต่อตัวแทนในความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น ตัวอย่าง
เช่น นายแก้วตัง้ แต่งนายม้าเป็นตัวแทนให้ไปส่งสินค้ายังต่างจังหวัดโดยตกลงให้บ�ำ เหน็จกัน นายม้าได้ลา
งานประจำ�พร้อมเช่ารถเพื่อบรรทุกสินค้าไปส่งที่ต่างจังหวัดตามที่นายแก้วมอบหมาย ก่อนออกเดินทาง 2


ชั่วโมง นายแก้วทราบว่านายม้าได้เตรียมขนยาเสพติดไปพร้อมกับสินค้าของนายแก้ว เช่นนี้เป็นกรณีที่มี
ความจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้ การที่นายแก้วแสดงเจตนาถอนนายม้าจากตัวแทน แม้จะเป็นการ

มส
ถอนตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวแทน นายแก้วก็ไม่ต้องรับผิดต่อนายม้าในความเสียหายที่นายม้าได้
ลางานประจำ�พร้อมเช่ารถเพื่อบรรทุกสินค้านั้น
ข้อสังเกต แม้ว่าตัวการจะถอนตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวแทนก็เป็นเหตุให้สัญญา
ตัวแทนระงับสิ้นไป ส่วนประเด็นที่ตัวการจะต้องรับผิดต่อตัวแทนในความเสียหายอย่างใดๆ หรือไม่นั้น
ต้องพิจารณาต่อไปว่าเป็นกรณีที่เป็นความจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีดังกล่าว
ตัวการก็ไม่ต้องรับผิดต่อตัวแทนในความเสียหายนั้น แต่ถ้าไม่เป็นกรณีดังกล่าว ตัวการก็ต้องรับผิดต่อ
ตัวแทนในความเสียหายนั้น
2.1.2 ตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทน การทีต่ วั แทนสามารถบอกเลิกเป็นตัวแทนเพือ่ ยุตคิ วาม
ผูกพันตามสัญญาตัวแทนได้โดยแสดงเจตนาไปยังตัวการซึ่งอาจจะแสดงเจตนาบอกเลิกเป็นตัวแทนด้วย
วาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 386 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิก

สัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำ�ด้วยแสดงเจตนา
แก่อีกฝ่ายหนึ่ง” เมื่อการแสดงเจตนานั้นมีผลสมบูรณ์แล้ว กล่าวคือกรณีเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกเป็น
มส

ตัวแทนต่อตัวการซึง่ อยูเ่ ฉพาะหน้า เมือ่ ตัวการได้ทราบถึงการแสดงเจตนาบอกเลิกเป็นตัวแทนนัน้ แล้ว หรือ


กรณีเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกเป็นตัวแทนต่อตัวการซึง่ มิได้อยูเ่ ฉพาะหน้า เมือ่ การแสดงเจตนาบอกเลิก
เป็นตัวแทนนั้นได้ไปถึงตัวการแล้ว สัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป
อุทาหรณ์
ฎ. 375/2506 การตั้งตัวแทนนั้น แม้ตามกฎหมายจะให้สิทธิแก่ตัวแทนที่จะบอกเลิกสัญญา
เสียในเวลาใดๆ ได้ก็ดี แต่การบอกเลิกสัญญานั้นจะต้องปฏิบัติ ตาม ปพพ. มาตรา 386 คือต้องแสดง
เจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง จะแสดงเจตนาแก่บุคคลภายนอกหาได้ไม่ ม
ตัวแทนจะบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาใดก็ได้ทุกเมื่อหลังจากที่เกิดสัญญาตัวแทนขึ้นแล้ว
แม้ว่าในเวลาที่ตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวการก็ตาม
อุทาหรณ์
ฎ. 5699/2539 สัญญาพิพาททีโ่ จทก์และฝ่ายจำ�เลยทำ�กันไว้เป็นสัญญาทีโ่ จทก์มอบหมายให้
ฝ่ายจำ�เลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของ ก. เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำ�เร็จและฝ่าย
จำ�เลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วฝ่ายจำ�เลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรม
สธ
ธนารักษ์ไม่ได้มผี ลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ ดังนัน้ ฝ่ายจำ�เลยซึง่ เป็นตัวแทนจะบอก
เลิกสัญญาที่ท�ำ กันไว้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ ฝ่ายจำ�เลยจึง
จะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้น ตาม ปพพ. มาตรา 827

8-36 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 2203/2547 ความเกี่ยวพันกันระหว่างบริษัทจำ�เลยกับ น. ผู้เป็นกรรมการนั้น ปพพ.


มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น การที่ น. ลา
ออกจากตำ�แหน่งกรรมการของบริษทั จำ�เลยซึง่ มีผลเป็นอย่างเดียวกับการบอกเลิกเป็นตัวแทนย่อมบอกเลิก
เสียในเวลาใดๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่จ�ำ เลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,
827 หาใช่มีผลต่อเมื่อจำ�เลยได้นำ�ไปจดทะเบียนไม่ ส่วนเรื่องการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัทจะ


ต้องกระทำ�โดยที่ประชุมใหญ่ และการแต่งตั้งกรรมการบริษัทจะต้องนำ�ความไปจดทะเบียน ตาม ปพพ.
มาตรา 1151 และ 1157 เท่านั้น ส่วนกรณีกรรมการบริษัทลาออกไม่มีบทกฎหมายบังคับไว้9 เมื่อปรากฏ

มส
ว่าขณะที่ น. บอกเลิกจ้างโจทก์เป็นเวลาภายหลังที่ น. ลาออกจากบริษัทจำ�เลย น. ย่อมพ้นจากตำ�แหน่ง
กรรมการผู้จัดการจำ�เลยแล้ว จึงไม่มีอำ�นาจกระทำ�การแทนจำ�เลย ถือไม่ได้ว่าจำ�เลยบอกเลิกจ้างโจทก์
โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินต่างๆ อันเนื่องจากการเลิกจ้าง
ตัวแทนซึง่ บอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาทีไ่ ม่สะดวกแก่ตวั การ จะต้องรับผิดต่อตัวการในความ
เสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น เว้นแต่ในกรณีที่เป็นความจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้
“ในเวลาทีไ่ ม่สะดวก” ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป ตัวอย่างเช่น นายแก้วตัง้ แต่ง
นายม้าเป็นตัวแทนให้ไปส่งสินค้ายังต่างจังหวัดโดยตกลงให้บำ�เหน็จกัน นายม้าได้บอกเลิกเป็นตัวแทน
ก่อนถึงกำ�หนดส่งสินค้าเพียงวันเดียวโดยนายแก้วไม่สามารถให้ผู้อื่นไปส่งสินค้าได้ทันตามกำ�หนด เช่น
นี้เป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวการ นายม้าจะต้องรับผิดต่อนายแก้วในความเสีย

หายที่นายแก้วผิดนัดการส่งสินค้านั้น
“ความจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้” ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นแต่ละกรณีไป
มส

เช่นกัน หากตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทนในกรณีที่เป็นความจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้แม้จะเป็น
เวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวการ ตัวแทนก็ไม่ต้องรับผิดต่อตัวการในความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น
ตัวอย่างเช่น นายแก้วตัง้ แต่งนายม้าเป็นตัวแทนให้ไปส่งสินค้ายังต่างจังหวัดโดยตกลงให้บ�ำ เหน็จกัน นาย
ม้าได้บอกเลิกเป็นตัวแทนก่อนถึงกำ�หนดส่งสินค้าเพียงวันเดียวโดยนายแก้วไม่สามารถให้ผอู้ นื่ ไปส่งสินค้า
ได้ทนั ตามกำ�หนด เพราะนายม้ามีอาการป่วยเนือ่ งจากเส้นโลหิตแตกในสมองต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
เช่นนีเ้ ป็นกรณีทมี่ คี วามจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้ การทีน่ ายม้าได้บอกเลิกเป็นตัวแทน แม้จะเป็นการ

บอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาทีไ่ ม่สะดวกแก่ตวั การ นายม้าก็ไม่ตอ้ งรับผิดต่อนายแก้วในความเสียหายทีน่ าย
แก้วผิดนัดการส่งสินค้านั้น
ข้อสังเกต แม้ว่าตัวแทนจะบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวการก็ตาม ย่อม
เป็นเหตุให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป ส่วนประเด็นที่ตัวแทนจะต้องรับผิดต่อตัวการในความเสียหายอย่าง
ใดๆ หรือไม่นนั้ ต้องพิจารณาต่อไปว่าเป็นกรณีทเี่ ป็นความจำ�เป็นอันมิอาจจะก้าวล่วงเสียได้หรือไม่ ถ้าเป็น
ตัวแทนก็ไม่ต้องรับผิดต่อตัวการในความเสียหายดังกล่าว แต่ถ้าไม่เป็น ตัวแทนก็ต้องรับผิดต่อตัวการใน
ความเสียหายดังกล่าว
สธ
9 ปัจจุบน
ั ปพพ. มาตรา 1153/1 บัญญัตวิ า่ “กรรมการคนใดจะลาออกจากตำ�แหน่ง ให้ยนื่ ใบลาออกต่อบริษทั การลาออก
มีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงบริษัท กรรมการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่ง จะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้”

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-37

2.2 ตัวการหรือตัวแทนตาย ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย


มาตรา 826 วรรคสอง บัญญัติว่า “อนึ่ง สัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่าย
หนึ่งตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับข้อสัญญาหรือสภาพ
แห่งกิจการนั้น”
สัญญาตัวแทนอาจระงับสิ้นไปด้วยเหตุคู่สัญญาคือตัวการหรือตัวแทนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดเหตุ


ดังต่อไปนี้
2.2.1 ตัวการหรือตัวแทนตาย เมื่อตัวการหรือตัวแทนถึงแก่ความตายไม่ว่าจะตายโดย

มส
ธรรมชาติคือสิ้นลมหายใจหรือตายโดยผลของกฎหมายคือมีคำ�สั่งศาลให้เป็นคนสาบสูญ สัญญาตัวแทน
ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป เนื่องจากตัวแทนเป็นเพียงเครื่องมือของตัวการและตัวการจะตั้งบุคคลใดเป็น
ตัวแทนย่อมพิจารณาอย่างรอบคอบและมอบความไว้วางใจให้ประกอบกับการเป็นตัวแทนเป็นเรือ่ งเฉพาะตัว
ดังนั้นเมื่อตัวการตาย การเป็นตัวแทนย่อมต้องยุติลงด้วยเช่นกัน และในกรณีตัวแทนตาย สัญญาตัวแทน
ก็ต้องระงับสิ้นไป
อุทาหรณ์
ฎ. 926/2530 ผู้รับมอบอำ�นาจตายก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หนังสือมอบอำ�นาจย่อม
ระงับสิ้นไปหรือหมดสภาพไป ตาม ปพพ. มาตรา 826 จำ�เลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วว่า
ผู้มอบอำ�นาจตายแต่ยังดำ�เนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจนเสร็จสิ้น ก่อให้เกิดความเสียหาย

แก่โจทก์ การกระทำ�ของจำ�เลยร่วมเป็นการปฏิบตั ริ าชการในหน้าทีฝ่ า่ ฝืนกฎหมายเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ฎ. 5241/2537 การทีค่ คู่ วามแต่งตัง้ ทนายความให้วา่ ความและดำ�เนินกระบวนพิจารณาแทน
มส

ตาม ปวพ. มาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทน ตาม ปพพ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนเมื่อโจทก์ซึ่ง


เป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไป
ฎ. 357/2554 ส. ทำ�หนังสือมอบอำ�นาจให้ ป. ไปจดทะเบียนขายที่ดิน แต่ตราบใดที่ยังมิได้
ไปจดทะเบียนขายที่ดิน การขายก็ยังไม่มีขึ้นโดยสมบูรณ์ เพราะยังไม่ได้ทำ�ตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้
ตาม ปพพ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย หนังสือมอบอำ�นาจย่อมสิ้นผล ตาม ปพพ.
มาตรา 826 วรรคสอง การที่ ป. นำ�หนังสือมอบอำ�นาจทีส่ นิ้ ผลแล้วไปดำ�เนินการจดทะเบียนขายทีด่ นิ หลัง

จาก ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จึงไม่มีผลให้ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนกองมรดก
ของ ส. เพื่อประโยชน์ของทายาทต่อไป
ข้อสังเกต กรณีนิติบุคคลมีผู้แทนดำ�เนินการ การที่ผู้แทนของนิติบุคคลในฐานะตัวการตั้ง
ตัวแทนไปทำ�การซึ่งมิใช่ทำ�การในฐานะส่วนตัวของตน แล้วตัวการนั้นตายเช่นนี้สัญญาตัวแทนหาได้ระงับ
สิ้นไปไม่ เพราะนิติบุคคลยังอยู่ การที่ผู้แทนของนิติบุคคลตายจะถือว่านิติบุคคลตายไม่ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 574-580/2516 เจ้าอาวาสวัดโจทก์ทำ�หนังสือมอบอำ�นาจให้ผู้รับมอบอำ�นาจดำ�เนินคดี
สธ
แทนวัดโจทก์ มิใช่มอบอำ�นาจเป็นการส่วนตัว ดังนัน้ แม้ภายหลังเจ้าอาวาสผูม้ อบอำ�นาจจะถึงแก่มรณภาพ
ลงก็หาทำ�ให้ฐานะของผู้รับมอบอำ�นาจนั้นเสียไปไม่ จึงไม่จ�ำ ต้องมีการมอบอำ�นาจกันใหม่อีก

8-38 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 1462-1463/2523 หม่อมเจ้าอาชวดิศเป็นผู้จัดการของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์ จำ�กัด


สำ�นักงานใหญ่ มอบอำ�นาจให้นายบัญญัตไิ ปร้องทุกข์ในฐานะผูจ้ ดั การธนาคาร หาใช่มอบอำ�นาจให้ไปร้อง
ทุกข์ในฐานะส่วนตัวของหม่อมเจ้าอาชวดิศไม่ เมื่อนายบัญญัติไปร้องทุกข์ไว้แล้วถือได้ว่าคดีนี้ธนาคารได้
ร้องทุกข์ไว้แล้วโดยหม่อมเจ้าอาชวดิศ ผู้จัดการของธนาคาร พึงเห็นได้ว่าผู้มอบอำ�นาจกล่าวคือตัวการ
ที่แท้จริงในคดีนี้คือธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การจำ�กัดหาใช่หม่อมเจ้าอาชวดิศไม่ ดังนั้นแม้หม่อมเจ้า


อาชวดิศจะถึงแก่ชีพิตักษัยต่อมา กรณีไม่ใช่ลักษณะสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไป เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่งตายที่จำ�เลยจะพึงหยิบยกขึ้นอ้างว่านายบัญญัติไม่มีอำ�นาจร้องทุกข์เพราะหม่อมเจ้าอาชวดิศ

มส
ผู้มอบอำ�นาจถึงแก่ชีพิตักษัยแล้ว
อนึ่ง ในกรณีที่ตัวการหลายคนตั้งตัวแทนคนเดียวร่วมกัน ถ้าตัวการคนใดคนหนึ่งตาย
ศาสตราจารย์กมล สนธิเกษตริน ให้ความเห็นไว้ว่าสัญญาตัวแทนก็ระงับไป10 และถ้ากรณีตัวแทนตาย
สัญญาตัวแทนนั้นก็ระงับสิ้นไป
สำ�หรับสัญญาอันเดียวตัวการคนเดียวตั้งตัวแทนหลายคนเพื่อการอันเดียวกัน ตามมาตรา
804 ซึ่งบัญญัติว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าตัวแทนจะต่างคนต่างทำ�การนั้นๆ แยกกันไม่ได้ ดังนั้น หาก
ตัวแทนคนหนึง่ คนใดตาย ผูเ้ ขียนเห็นว่า สัญญาตัวแทนอันเดียวนัน้ ย่อมระงับสิน้ ไปเช่นกัน แต่ถา้ เป็นกรณี
ทีต่ กลงให้ตวั แทนต่างคนต่างทำ�การนัน้ ๆ แยกกันได้ ผูเ้ ขียนเห็นว่า หากตัวแทนคนหนึง่ คนใดตาย สัญญา
ตัวแทนอันเดียวนั้นยังไม่ระงับสิ้นไป

มีปญั หาน่าคิดว่า ในกรณีทตี่ วั แทนมีอ�ำ นาจตัง้ ตัวแทนช่วงได้ และตัวแทนได้ตงั้ ตัวแทนช่วง
ดำ�เนินกิจการแล้ว เช่นนี้ ตัวแทนช่วงย่อมต้องผูกพันต่อตัวการโดยตรง ตัวแทนหาต้องผูกพันต่อตัวการ
มส

ไม่แม้ว่าสัญญาตัวแทนยังมิได้ระงับสิ้นไปก็ตาม ดังนั้น หากต่อมาตัวแทนถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ตัวแทน


ช่วงย่อมยุติลงด้วยหรือไม่ ผู้เขียนมีความเห็นว่า เมื่อตัวแทนตั้งตัวแทนช่วงแล้ว มาตรา 814 บัญญัติว่า
“ตัวแทนช่วงย่อมรับผิดโดยตรงต่อตัวการฉันใดกลับกันก็ฉันนั้น” เห็นได้วา่ ตัวแทนช่วงแยกต่างหากจาก
ตัวแทนและต้องรับผิดต่อตัวการโดยตรง ดังนัน้ เมือ่ ตัวแทนตายสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิน้ ไป แต่ไม่กระทบ
กระเทือนการทำ�หน้าที่และสิทธิระหว่างตัวแทนช่วงกับตัวการ กล่าวคือตัวแทนช่วงยังไม่ยุติลง แต่ถ้าเป็น
กรณีตัวการตาย เห็นว่าสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปและตัวแทนช่วงย่อมยุติลงด้วยเช่นกัน
อุทาหรณ์ ม
ฎ. 26/2519 อ. ได้รับมอบอำ�นาจจากโจทก์แล้วมีอำ�นาจตั้ง ป. เป็นตัวแทนช่วงฟ้องและ
ดำ�เนินคดีแทนบริษัทโจทก์ได้ แม้ อ. จะตายในเวลาต่อมา ป. ก็ยังมีอ�ำ นาจดำ�เนินคดีต่อไป
สธ
10กมล สนธิเกษตริน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ตัวแทนและนายหน้า กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์นิติ
บรรณาการ พ.ศ. 2536 น. 115.

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-39

2.2.2 ตัวการหรือตัวแทนตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ตามปกติตัวการสามารถตั้งบุคคลผู้ไร้


ความสามารถเป็นตัวแทนได้ตามนัย มาตรา 799 แห่ง ปพพ. ในกรณีนี้จึงหมายความถึงตัวการตั้งบุคคล
ผูม้ ไิ ด้ไร้ความสามารถเป็นตัวแทนแล้วภายหลังแต่นนั้ ตัวแทนตกเป็นผูไ้ ร้ความสามารถ เช่น เป็นคนวิกลจริต
ถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถ เป็นต้น ทำ �ให้ตัวแทนไม่มีความ
สามารถอย่างบริบูรณ์เป็นอุปสรรคต่อการทำ�การแทนตัวการ ส่วนกรณีตัวการตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ


นั้น การที่จะให้สัญญาตัวแทนยังไม่อยู่ต่อไปย่อมอาจเป็นปัญหาต่อตัวการได้และการจะให้ถอนตัวแทนใน
ภายหลังอาจเกิดอุปสรรคเพราะความบกพร่องในความสามารถของตัวการจึงสมควรให้สัญญาตัวแทนสิ้น

มส
สุดลงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826 วรรคสองนี้
2.2.3 ตัวการหรือตัวแทนล้มละลาย ตัวการหรือตัวแทนซึง่ ตกเป็นคนล้มละลายในภายหลัง
ที่มีการตั้งตัวแทนกันแล้ว สัญญาตัวแทนก็เป็นอันระงับสิ้นไป ในกรณีตัวการตกเป็นคนล้มละลาย อำ�นาจ
จัดการทรัพย์สนิ ของตัวการตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ ดังนัน้ การจะให้ตวั แทนทำ�การแทนตัวการ
ต่อไปย่อมเกิดการทับซ้อนในการจัดการทรัพย์สนิ ของตัวการ ส่วนกรณีตวั แทนตกเป็นคนล้มละลาย อำ�นาจ
จัดการทรัพย์สนิ ของตัวแทนตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ หากจะให้ตวั แทนทำ�การแทนตัวการต่อ
ไปย่อมเกิดอาจความเสียหายแก่ตัวการได้เช่นกัน
แม้กฎหมายจะบัญญัติให้เหตุที่ตัวการหรือตัวแทนตาย ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้ม
ละลาย ทำ�ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปนั้น อย่างไรก็ตาม กฎหมายยังบัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่า “เว้นแต่จะ

ปรากฏว่าขัดกับข้อสัญญาหรือสภาพแห่งกิจการนั้น” ซึ่งแยกพิจารณาข้อยกเว้นดังกล่าวได้ 2 กรณีดังนี้
(1) ขัดกับข้อสัญญา หมายความว่า สัญญาตัวแทนมีขอ้ ตกลงกันไว้วา่ แม้ตวั การหรือ
มส

ตัวแทนตาย ตกเป็นผูไ้ ร้ความสามารถ หรือล้มละลาย ก็ไม่ท�ำให้สญ ั ญาตัวแทนระงับสิน้ ไป เช่นนีแ้ ล้วก็ตอ้ ง


เป็นไปตามที่คู่สัญญามีความประสงค์นั้น
ตัวอย่าง นายกมลป่วยเป็นโรคมะเร็งตั้งนายอาจเป็นตัวแทนเพื่อขายรถยนต์ของตน
คันหนึง่ เพือ่ นำ�เงินมาชำ�ระค่ารักษาพยาบาลหากเหลือให้มอบให้บตุ รคนเดียวของตน สัญญาตัวแทนมีขอ้
ตกลงว่าถ้านายกมลถึงแก่ความตายไปก่อน สัญญาตัวแทนก็ไม่ระงับ เช่นนี้ เมื่อนายกมลถึงแก่ความตาย
ไปก่อนที่นายอาจขายรถยนต์ได้ สัญญาตัวแทนก็ไม่ระงับตามข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้

ระงับสิ้นไป

(2) ขั ดกับสภาพแห่งกิจการ หมายความว่า กิจการที่ตัวการให้ตัวแทนไปท�ำการนั้น
โดยสภาพแล้วแม้ตวั การหรือตัวแทนตาย ตกเป็นผูไ้ ร้ความสามารถ หรือล้มละลาย ก็ไม่ท�ำให้สญ ั ญาตัวแทน

ตัวอย่าง นายธงชัยนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มอบหมายให้นายดรุณ วิศวกรผูม้ ชี อื่ เสียง


ควบคุมการออกแบบและก่อสร้างสนามกอล์ฟเนือ้ ที่ 300 ไร่ ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างก�ำหนดให้นายดรุณ
เป็น ผู้ควบคุมงานจนแล้วเสร็จ ระหว่างการก่อสร้างสนามกอล์ฟนายธงชัยถึงแก่ความตาย เช่นนี้ สัญญา
ตัวแทนยังไม่ระงับสิน้ ไป เพราะสภาพแห่งกิจการก่อสร้างสนามกอล์ฟต้องให้นายดรุณตัวแทนท�ำหน้าทีต่ อ่
สธ
ไปจนแล้วเสร็จ

8-40 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 8.2.1
1. ตัวการถอนตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวแทน เช่นนี้ สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปหรือไม่
2. สัญญาตัวแทนไม่ระงับแม้ตัวการถึงแก่ความตายในกรณีใด


แนวตอบกิจกรรม 8.2.1
1. ตัวการจะถอนตัวแทนในเวลาก็ได้ทกุ เมือ่ ตาม ปพพ. มาตรา 827 วรรคแรก แม้จะเป็นเวลาที่

826 วรรคแรก

มส
ไม่สะดวกแก่ตวั แทนก็ตาม เมือ่ ตัวการถอนตัวแทนแล้ว สัญญาตัวแทนย่อมระงับสิน้ ไป ตาม ปพพ. มาตรา

2. สัญญาตัวแทนไม่ระงับ แม้ตวั การถึงแก่ความตาย ตาม ปพพ. มาตรา 826 วรรคสอง ในกรณี


ที่ปรากฏว่าขัดกับข้อสัญญา คือสัญญาตัวแทนมีข้อตกลงกันไว้ว่า แม้ตัวการหรือตัวแทนตาย ตกเป็นผู้ไร้
ความสามารถ หรือล้มละลาย ก็ไม่ท�ำ ให้สญั ญาตัวแทนระงับสิน้ ไป หรือขัดกับสภาพแห่งกิจการ คือกิจการ
ที่ตัวการให้ตัวแทนไปทำ�การนั้นโดยสภาพแล้วแม้ตัวการหรือตัวแทนตาย ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือ
ล้มละลาย ก็ไม่ท�ำ ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป

เรื่องที่ 8.2.2
มส

ผลแห่งความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน

เมื่อสัญญาระงับสิ้นไปแล้วตามปกติบุคคลซึ่งเคยเป็นคู่สัญญาย่อมหมดหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตาม
สัญญานัน้ แต่ส�ำ หรับสัญญาตัวแทน กฎหมายยังบัญญัตกิ รณีทใี่ ห้ตวั แทนหรือทายาทหรือบุคคลผูร้ บั หน้าที่
ดูแลมรดกของตัวแทนยังมีหน้าที่ต้องจัดการบางอย่างเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการจนถึงเวลา

อันสมควร สำ�หรับในเรื่องผลแห่งความระงับสิ้นไปของสัญญาตัวแทนนี้ จะกล่าวถึงการปกปักรักษา
ประโยชน์ของตัวการ การห้ามมิให้ยกเหตุแห่งสัญญาตัวแทนระงับขึน้ เป็นข้อต่อสู้ และสิทธิของตัวการเรียก
ให้เวนคืนหนังสือมอบอำ�นาจ ดังจะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไปนี้

1. การปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการ
มาตรา 828 บัญญัติว่า “เมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวการตายก็ดี ตัวการตกเป็น
สธ
ผู้ไร้ความสามารถหรือล้มละลายก็ดี ท่านว่าตัวแทนต้องจัดการอันสมควรทุกอย่างเพื่อจะปกปักรักษา
ประโยชน์อันเขาได้มอบหมายแก่ตนไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของตัวการจะอาจเข้าปกปักรักษา
ประโยชน์นั้น ๆ ได้”

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-41

มาตรา 829 บัญญัติว่า “เมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวแทนตายก็ดี ตัวแทนตกเป็น


ผู้ไร้ความสามารถหรือล้มละลายก็ดี ท่านว่าทายาทหรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์มรดกของตัวแทน
โดยชอบด้วยกฎหมายต้องบอกกล่าวแก่ตัวการและจัดการเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการไปตาม
สมควรแก่พฤติการณ์ จนกว่าตัวการอาจเข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้น ๆ ได้”
การปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการดังกล่าวนั้น กฎหมายกำ�หนดให้เป็นหน้าที่ของตัวแทน


ทายาทหรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลมรดกของตัวแทน แล้วแต่กรณี โดยแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณีดังนี้
1.1 กรณีสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวการตายก็ดี ตัวการตกเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือ

มส
ล้มละลาย ตัวแทนมีหน้าที่ต้องจัดการอันสมควรทุกอย่างเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์ตามที่ตัวการได้
มอบหมายไว้ไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของตัวการจะอาจเข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้นๆ ได้
“จัดการอันสมควรทุกอย่างเพือ่ จะปกปักรักษาประโยชน์” มีขอบเขตแค่ไหนเพียงไร ต้องพิจารณา
จากข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป เช่น ตัวการตายในระหว่างพิจารณาคดี ตัวแทนเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่
ผู้มรณะตัวการได้ หรือตัวการตายในระหว่างบังคับคดี ตัวแทนยังมีอำ�นาจยื่นคำ�ร้องขอทุเลาการบังคับ
คดีได้ หรือตัวการตายภายในกำ�หนดระยะเวลาฎีกา ตัวแทนยังมีอ�ำ นาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนตัวการได้
อุทาหรณ์
ฎ. 789/2550 จำ�เลยที่ 2 แต่งตั้ง พ. ทนายความให้ว่าความและดำ�เนินกระบวนพิจารณาแทน
จำ�เลยที่ 2 ตาม ปวพ. มาตรา 60 เป็นการแต่งตัง้ ตัวแทน ตาม ปพพ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้จ�ำ เลยที่ 2

ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตายไปจะเป็นผลให้สัญญาตัวแทนระงับไปก่อนที่ พ. จะยื่นอุทธรณ์ แต่ พ. ก็ยัง
คงมีอ�ำ นาจและหน้าทีจ่ ดั การดำ�เนินคดีเพือ่ ปกปักรักษาประโยชน์ของจำ�เลยที่ 2 ต่อไป ตาม ปพพ. มาตรา
มส

828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำ�เลยที่ 2 จะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำ�เลยที่ 2 ได้ อำ�นาจ


ทนายความหาหมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำ�เลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไม่ พ. จึงมีอำ�นาจลงนามในฐานะทนาย
จำ�เลยที่ 2 ในอุทธรณ์แทนจำ�เลยที่ 2 ได้
ฎ. 2071-2074/2550 การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำ�เนินกระบวนพิจารณา
แทนตน ตาม ปวพ. มาตรา 60 เป็นการตั้งตัวแทน ตาม ปพพ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้สัญญา
ตัวแทนจะระงับไปเมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรม ทนายผู้ร้องก็ยังมีอำ�นาจและหน้าที่จัดการดำ�เนินคดีเพื่อปกปัก

รักษาประโยชน์ของผู้ร้องต่อไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของผู้ร้องจะอาจเข้ามาปกปักรักษาผลประโยชน์
ของผู้ร้องโดยการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องผู้มรณะ ตาม ปวพ. มาตรา 42 ร้องถึงแก่กรรมวันที่ 30
พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ทายาทหรือผู้จัดการมรดก
หรือผูป้ กครองทรัพย์มรดกของผูร้ อ้ งจึงอาจร้องขอเข้ามาเป็นคูค่ วามแทนทีผ่ รู้ อ้ งเพือ่ ปกปักรักษาประโยชน์
ในการดำ�เนินคดีของผู้ร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม ตาม ปวพ. มาตรา 42 แต่ก็ไม่มี
การร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำ�ร้องขอให้จ�ำ หน่าย
คดี ศาลอุทธรณ์ได้มีคำ�สั่งให้จำ�หน่ายคดีออกจากสารบบความ และศาลชั้นต้นอ่านคำ�สั่งศาลอุทธรณ์ให้คู่
สธ
ความฟังในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2548 จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้อง
จะจัดการ ตาม ปพพ. มาตรา 828 แล้ว ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอ�ำ นาจดำ�เนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป

8-42 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

หมายเหตุ คดีนี้กำ�หนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ตัวการถึงแก่ความตาย ทายาทหรือผู้จัดการ


มรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของตัวการอาจร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ตัวการเพื่อปกปักรักษา
ประโยชน์ในการดำ�เนินคดีของตัวการได้ ศาลฎีกาจึงเห็นว่าเมือ่ พ้นกำ�หนดระยะเวลาดังกล่าว ตัวแทนย่อม
หมดหน้าที่ต้องทำ�การเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการต่อไปแล้ว
ฎ. 11076/2553 โจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ตามคำ�ร้องของ


ทนายโจทก์ที่ 2 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ศาลชัน้ ต้นอนุญาตให้ทนายโจทก์ที่ 2 ดำ�เนินคดีแทน
โจทก์ที่ 2 ในฐานะตัวแทนเพือ่ ไม่ให้กระบวนพิจารณาเสียหายเท่านัน้ ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวัน

มส
ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือภริยาของโจทก์ที่ 2
ประสงค์เข้าดำ�เนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ปวอ. มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ประกอบ พรบ. จัดตั้งศาลแขวง
และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 โจทก์ที่ 2 ฎีกาโดยทนายโจทก์ที่ 2 เป็น
ผูก้ ระทำ�การแทนและลงลายมือชือ่ เป็นผูฎ้ กี า เช่นนี้ เมือ่ โจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของ
ศาลชั้นต้นนับจนถึงเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 ยื่นฎีกาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทนายโจทก์ที่ 2 ย่อมหมดสภาพ
จากการเป็นทนายของโจทก์ที่ 2 และล่วงเลยเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2 จะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษา
ประโยชน์ทโี่ จทก์ที่ 2 มอบหมายแก่ตน จนกว่าจะมีผเู้ ข้าดำ�เนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 ตาม ปพพ. มาตรา 828
แล้ว จึงไม่มีอำ�นาจกระทำ�การแทนโจทก์ที่ 2 อีกต่อไป
หมายเหตุ คดีนี้ โจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 คำ�ร้องของ

ทนายโจทก์ที่ 2 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 การทีศ่ าลอนุญาตให้ทนายโจทก์ที่ 2 ดำ�เนินคดีแทน
โจทก์ที่ 2 ในฐานะตัวแทนเพื่อไม่ให้กระบวนพิจารณาเสียหายถือได้ว่าเป็นการจัดการอันสมควรเพื่อจะ
มส

ปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการ หลังจากนัน้ ไม่ปรากฏว่ามีผบู้ พุ การี ผูส้ บื สันดาน หรือภริยาของโจทก์ที่ 2


ประสงค์เข้าดำ�เนินคดีแทนโจทก์ที่ 2 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ศาลฎีกาเห็นว่าล่วงเลยเวลาที่ทนายโจทก์ที่ 2
จะจัดการอันสมควรเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ที่โจทก์ที่ 2 มอบหมายแก่ตนแล้ว
มีข้อสังเกตว่า กรณีสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวการตายก็ดี ตัวการตกเป็นผู้ไร้ความ
สามารถหรือล้มละลาย หากตัวแทนจัดการสิ่งใดไปโดยมิได้เป็นการปกปักรักษาประโยชน์ตามที่ตัวการได้
มอบหมายไว้ เช่นนี้แล้วตัวแทนไม่มีอำ�นาจจัดการดังกล่าว
อุทาหรณ์ ม
ฎ. 356/2537 จำ�เลยที่ 2 ถึงแก่กรรมขณะคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค
2 โดยไม่มผี ใู้ ดร้องขอเข้ามาเป็นคูค่ วามแทนทีจ่ �ำ เลยที่ 2 ผูม้ รณะภายใน 1 ปี นับแต่วนั ทีจ่ �ำ เลยที่ 2 ถึงแก่
กรรมจนกระทัง่ ได้มกี ารอ่านคำ�พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้คคู่ วามฟังแล้วถือได้วา่ เป็นการล่วงพ้นระยะ
เวลาที่ตัวแทนหรือทนายจำ�เลยที่ 2 จะจัดการดำ�เนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำ�เลยที่ 2 ตาม
ปพพ. มาตรา 828 แล้ว ทนายจำ�เลยที่ 2 จึงไม่มีอำ�นาจดำ�เนินคดีแทนอีกต่อไป ทนายจำ�เลยที่ 2 ยื่น
ฎีกาหลังจากที่หมดอำ�นาจแล้ว ฎีกาของจำ�เลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สธ
ฎ. 3297/2547 คดีนี้จำ�เลยถึงแก่กรรมภายในกำ�หนดระยะเวลาฎีกา แม้ทนายจำ�เลยจะมีอำ�นาจ
และหน้าที่จัดการดำ�เนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำ�เลยต่อไป ตาม ปพพ. มาตรา 828 จนกว่า
ทายาทหรือผูแ้ ทนของจำ�เลยจะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำ�เลยโดยทนายจำ�เลยมีอ�ำ นาจลงนามเป็น

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-43

ฎีกาแทนจำ�เลยได้ก็ตาม แต่ความปรากฏต่อศาลฎีกาว่าจำ�เลยได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.


2546 ดังนั้น เมื่อครบกำ�หนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าจำ�เลยถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำ�ขอ
เข้าเป็นคู่ความแทนที่จ�ำ เลย โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงต้องจำ�หน่ายคดีออกจากสารบบ
ความ ตาม ปวพ. มาตรา 42
ฎ. 6121/2550 ก่อนถึงวันนัดฟังคำ�สัง่ ศาลฎีกาเรือ่ งการขอดำ�เนินคดีอย่างคนอนาถาในชัน้ ฎีกาของ


จำ�เลยที่ 1 ทนายจำ�เลยที่ 1 ได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบว่าจำ�เลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้ว ในกรณีเช่นนี้
ศาลชั้นต้นจะต้องสอบข้อเท็จจริงให้แน่ชัดว่าจำ�เลยที่ 1 ถึงแก่ความตายจริงหรือไม่ และหากเป็นความจริง

มส
ก็ถือว่าจำ�เลยที่ 1 ถึงแก่ความตายระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นจะต้องจัดให้มีผู้เข้าเป็นคู่
ความแทนที่จ�ำ เลยที่ 1 ตาม ปวพ. มาตรา 42 เสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำ�สั่งศาลฎีกาดังกล่าวโดย
มิได้ด�ำ เนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการดำ�เนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ตาม ปวพ. มาตรา
27 และการที่ทนายจำ�เลยที่ 1 มิได้ดำ�เนินการใดๆ เพื่อขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ดังกล่าวภายในกำ�หนดเวลา 8 วัน นับแต่วนั ทราบเรือ่ งผิดระเบียบ แต่กลับยืน่ คำ�ร้องขอขยายระยะเวลานำ�
เงินค่าธรรมเนียมศาลชัน้ ฎีกามาวางต่อศาลชัน้ ต้นตามคำ�สัง่ ศาลฎีกาแทนจำ�เลยที่ 1 นัน้ ก็ถอื ไม่ได้วา่ เป็นการ
กระทำ�ของจำ�เลยที่ 1 ตัวการ เพราะการกระทำ�ดังกล่าวมิใช่การดำ�เนินคดีไปในทางปกปักรักษาประโยชน์
ของตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 828 แต่เป็นการกระทำ�ทีม่ ผี ลทำ�ให้จ�ำ เลยที่ 1 ซึง่ เป็นคูค่ วามฝ่ายทีเ่ สียหาย
เสียสิทธิทจี่ ะยกข้อคัดค้านเรือ่ งผิดระเบียบดังกล่าวขึน้ กล่าวอ้างในภายหลัง ตาม ปวพ. มาตรา 27 วรรคสอง

เมือ่ ทนายจำ�เลยที่ 1 ไม่มสี ทิ ธิยนื่ คำ�ร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชัน้ ฎีกาแทนจำ�เลยที่ 1
การทีศ่ าลชัน้ ต้นมีค�ำ สัง่ อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินตามขอก็ดี และต่อมามีค�ำ สัง่ ให้จ�ำ หน่ายคดีเพราะ
มส

เหตุจ�ำ เลยที่ 1 ทิง้ ฟ้องฎีกาเนือ่ งจากไม่น�ำ เงินค่าธรรมเนียมมาวางภายในเวลาทีศ่ าลชัน้ ต้นอนุญาตให้ขยาย


ก็ดี จึงเป็นการดำ�เนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไปด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่
ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วให้ศาลชั้นต้นดำ�เนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง
มีปัญหาว่า ถ้าตัวแทนไม่ทำ�การจัดการอันสมควรทุกอย่างเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์ตามที่
ตัวการได้มอบหมายไว้ไปจนกว่าทายาทหรือผูแ้ ทนของตัวการจะอาจเข้าปกปักรักษาประโยชน์นนั้ ๆ ได้ เป็น
เหตุให้เกิดความเสียหายขึน้ เช่นนี้ ตัวแทนต้องรับผิดต่อทายาทหรือผูแ้ ทนของตัวการหรือไม่ ในประเด็นนี้
ปพพ. มาตรา 812 ได้บญ ม
ั ญัตไิ ว้แล้วว่า “ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ เพราะความประมาทเลินเล่อ
ของตัวแทนก็ดี เพราะไม่ทำ�การเป็นตัวแทนก็ดี หรือเพราะทำ�การโดยปราศจากอำ�นาจหรือนอกเหนือ
อำ�นาจก็ดี ท่านว่าตัวแทนจะต้องรับผิด” เห็นว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใดๆ เพราะไม่ทำ�การ
เป็นตัวแทน ตัวแทนจะต้องรับผิด
1.2 กรณีสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวแทนตาย ตัวแทนตกเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือ
ล้มละลาย กฎหมายกำ�หนดให้เป็นหน้าที่ของทายาทหรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์มรดกของตัวแทน
โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ผูจ้ ดั การมรดก หรือผูป้ กครองทรัพย์มรดก ต้องบอกกล่าวแก่ตวั การและจัดการ
สธ
เพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการไปตามสมควรแก่พฤติการณ์ จนกว่าตัวการอาจเข้าปกปักรักษา
ประโยชน์นนั้ ๆ ได้ เนือ่ งจากตัวการอาจไม่รถู้ งึ ความตาย การตกเป็นผูไ้ ร้ความสามารถ หรือล้มละลายของ
ตัวแทนดีกว่าทายาทหรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์มรดกของตัวแทน

8-44 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ผู้เขียนมีความเห็นว่า ในระหว่างทายาทหรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์มรดกของตัวแทนโดย
ชอบด้วยกฎหมาย คนใดคนหนึ่งได้บอกกล่าวแก่ตัวการและจัดการเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการ
ไปตามสมควรแก่พฤติการณ์ จนกว่าตัวการอาจเข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้นๆ ได้แล้ว คนอื่นก็ไม่จำ�ต้อง
ทำ�หน้าที่นั้นซํ้าอีก
มีข้อสังเกตว่า กฎหมายมิได้กำ�หนดระยะเวลาการบอกกล่าวไว้ว่าต้องบอกกล่าวเมื่อใด ผู้เขียน


มีความเห็นว่าต้องบอกกล่าวในทันทีที่บอกกล่าวได้ กล่าวคือเมื่อทราบถึงความตายของตัวแทนและอยู่ใน
ฐานะที่จะบอกกล่าวตัวการได้นั่นเอง อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ยังไม่ได้บอกกล่าวหรือบอกกล่าวแล้วก็ยัง

มส
มีหน้าที่ต้องจัดการเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการไปตามสมควรแก่พฤติการณ์ จนกว่าตัวการอาจ
เข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้นๆ ได้
ตัวอย่าง นายอนันต์มอบหมายให้นายดนัยเป็นตัวแทนขายเรือกลไฟ ต่อมานายดนัยถึงแก่ความ
ตาย เช่นนี้ ทายาทของนายดนัยหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก แล้วแต่กรณี ต้องบอก
กล่าวถึงความตายของนายดนัยให้นายอนันต์ทราบ และต้องดูแลรักษาเรือกลไฟนัน้ ไปจนกว่าจะได้สง่ มอบ
ให้นายอนันต์แล้ว
มีข้อน่าฉงนว่า กฎหมายกำ�หนดให้เป็นหน้าที่ของทายาทหรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์มรดก
ของตัวแทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะมีขึ้นได้ก็แต่ในกรณีตัวแทนตาย ส่วนกรณีตัวแทน
ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือล้มละลายนั้น ไม่อาจมีทายาทหรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์มรดกของ

ตัวแทนโดยชอบด้วยกฎหมายดัง่ ทีว่ า่ นัน้ มีนกั กฎหมายเห็นว่า กรณีตวั แทนตกเป็นผูไ้ ร้ความสามารถ หรือ
ล้มละลายนั้น ผู้อนุบาลของตัวแทนโดยพฤตินัยหรือผู้อนุบาลที่ศาลแต่งตั้งของตัวแทนซึ่งตกเป็นผู้ไร้ความ
สามารถ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของตัวแทนซึ่งล้มละลายนั้นควรมีหน้าที่ดังกล่าว11
มส

มีปญ ั หาว่า ในกรณีทตี่ วั แทนตายมีทายาทหลายคน ทายาทคนใดมีหน้าทีต่ อ้ งบอกกล่าวแก่ตวั การ


และจัดการเพือ่ ปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการไปตามสมควรแก่พฤติการณ์ จนกว่าตัวการอาจเข้าปกปัก
รักษาประโยชน์นนั้ ๆ ได้ มีนกั กฎหมายให้ความเห็นไว้วา่ ทายาทผูม้ หี น้าทีด่ งั กล่าวน่าจะเป็นทายาทผูท้ ราบ
เหตุและอยู่ในฐานะที่จะทำ�หน้าที่นั้นได้ด้วย12

2. การห้ามมิให้ยกเหตุแห่งสัญญาตัวแทนระงับขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ม
มาตรา 830 บัญญัติว่า “อันเหตุที่ทำ�ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปนั้นจะเกิดแต่ตัวการหรือ
ตัวแทนก็ตาม ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง จนกว่าจะได้บอกกล่าวเหตุนั้น ๆ ไป
ยังคู่สัญญาฝ่ายนั้นแล้ว หรือจนกว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะได้ทราบเหตุแล้ว”
สธ
11 สถิตย์ เล็งไธสง คำ�อธิบายกฎหมายตัวแทนและนายหน้า กรุงเทพมหานคร บริษท
ั สำ�นักพิมพ์วญ
ิ ญูชนจำ�กัด พ.ศ. 2539
น. 234.
12 เรื่องเดียวกัน

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-45

มาตรา 831 บัญญัตวิ า่ “อันความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทนนั้น ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อ


ต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำ�การโดยสุจริต เว้นแต่บุคคลภายนอกหากไม่ทราบความนั้นเพราะความประมาท
เลินเล่อของตนเอง”
เหตุที่ทำ�ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปนั้น กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคล
ดังต่อไปนี้คือ


2.1 คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
“คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง” หมายความว่า ตัวการหรือตัวแทน แล้วแต่กรณี

มส
จนกว่าจะได้บอกกล่าวเหตุนนั้ ๆ ไปยังคูส่ ญ
ั ญาฝ่ายนัน้ แล้ว หรือจนกว่าคูส่ ญ
ั ญาฝ่ายนัน้ จะได้ทราบ
เหตุแล้ว สำ�หรับเหตุที่ทำ�ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปนั้นจะเกิดแต่ตัวการหรือตัวแทนซึ่งหมายถึงเหตุที่
ตัวการหรือตัวแทนตาย ตกเป็นผูไ้ ร้ความสามารถ หรือล้มละลาย ส่วนเหตุทตี่ วั การถอนตัวแทน หรือตัวแทน
บอกเลิกเป็นตัวแทน หรือตัวการและตัวแทนตกลงเลิกสัญญากันนัน้ ได้มกี ารแสดงต่อคูส่ ญ ั ญาอีกฝ่ายอยูแ่ ล้ว
ดังนั้น ทายาทหรือผู้แทนของตัวการ หรือทายาท หรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์มรดกของ
ตัวแทนแล้วแต่กรณี จะยกเหตุดังกล่าวข้างต้นขึ้นต่อสู้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้บอกกล่าว
เหตุนั้นๆ ไปยังคู่สัญญาฝ่ายนั้นแล้ว หรือจนกว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะได้ทราบเหตุแล้ว
ตัวอย่าง นายสมยศตั้งนายอาทิตย์ทนายความเป็นตัวแทนฟ้องคดีโดยให้มีอำ�นาจถอนฟ้อง และ
ยอมความได้ ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลนายสมยศถึงแก่ความตายโดยนายอาทิตย์ไม่ทราบ นาย

อาทิตย์ได้ถอนฟ้องคดีนั้น เช่นนี้ นางยุพาทายาทของนายสมยศจะต่อสู้นายอาทิตย์ว่านายอาทิตย์ไม่มี
อำ�นาจถอนฟ้องเพราะสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปแล้วไม่ได้ เพราะนางยุพายังไม่ได้บอกกล่าวถึงความตาย
มส

ของนายสมยศให้นายอาทิตย์ทราบและไม่ปรากฏว่า นายอาทิตย์ได้ทราบถึงความตายของนายสมยศมาก่อน
2.2 บุคคลภายนอกผู้ทำ�การโดยสุจริต
“บุคคลภายนอก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมิใช่ตัวการและตัวแทนนั่นเอง
“โดยสุจริต” หมายความว่า ไม่ทราบถึงความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน
สำ�หรับความระงับสิน้ ไปแห่งสัญญาตัวแทนซึง่ รวมทุกเหตุไม่วา่ จะเป็นเหตุทตี่ วั การหรือตัวแทนตาย
ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย หรือเหตุที่ตัวการถอนตัวแทน หรือตัวแทนบอกเลิกเป็นตัวแทน
เว้นแต่บุคคลภายนอกหากไม่ทราบความนั้นเพราะความประมาทเลินเล่อของตนเอง ม
ดังนั้น ทายาทหรือผู้แทนของตัวการ หรือทายาท หรือบุคคลผู้รับหน้าที่ดูแลทรัพย์มรดกของ
ตัวแทนแล้วแต่กรณี จะยกเหตุดังกล่าวข้างต้นขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำ�การโดยสุจริต คือไม่รู้ถึงเหตุที่
ทำ�ให้สญั ญาตัวแทนระงับสิน้ ไปไม่ได้ แต่ถา้ ความไม่รขู้ องบุคคลภายนอกนัน้ เกิดจากความประมาทเลินเล่อ
แล้วก็ย่อมยกขึ้นต่อสู้ได้
ตัวอย่าง นายดิสัยตั้งนายสุธรรมเป็นตัวแทนขายรถยนต์ของนายดิสัย หลังจากที่นายดิสัยถึงแก่
ความตายและนายสุวัฒน์ทายาทของนายดิสัยเข้าครอบครองรถยนต์คันนั้นแล้ว นายสุธรรมได้ทำ�สัญญา
สธ
ขายรถยนต์นนั้ ให้แก่นายวรวรรณไปโดยนายสุธรรมไม่รวู้ า่ นายดิสยั ถึงแก่ความตายแล้ว เช่นนี้ นายสุวฒ ั น์
ทายาทของนายดิสัยจะต่อสู้นายวรวรรณว่านายสุธรรมไม่มีอำ�นาจทำ�สัญญาขายรถยนต์นั้นเพราะสัญญา
ตัวแทนระงับสิ้นไปแล้วไม่ได้ เพราะนายวรวรรณเป็นบุคคลภายนอกผู้ท�ำ การโดยสุจริต แต่ถ้าปรากฏว่า

8-46 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ขณะตกลงทำ�สัญญาซือ้ รถยนต์นนั้ นายวรวรรณรูถ้ งึ ความตายของนายดิสยั แล้วเนือ่ งจากเพือ่ นสนิทโทรศัพท์


มาบอก หรือไม่รู้ทั้งที่ได้มาร่วมงานรดนํ้าศพของนายดิสัยแล้ว เช่นนี้นายสุวัฒน์ทายาทของนายดิสัยย่อม
ต่อสูน้ ายวรวรรณว่านายสุธรรมไม่มอี �ำ นาจทำ�สัญญาขายรถยนต์นนั้ เพราะสัญญาตัวแทนระงับสิน้ ไปแล้วได้
ข้อสังเกต กรณีที่มีการประกาศถึงความมรณะของตัวการหรือตัวแทนทางหนังสือพิมพ์ ผู้เขียน
เห็นว่ามีผลผูกพันเฉพาะบุคคลภายนอกซึ่งทราบความตามประกาศของหนังสือพิมพ์นั้นเท่านั้น สำ�หรับ


บุคคลภายนอกซึ่งไม่ทราบความตามประกาศของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวย่อมไม่ผูกพัน และจะถือว่าการที่
บุคคลภายนอกไม่ทราบเพราะเหตุไม่ได้อา่ นหนังสือพิมพ์นนั้ ย่อมไม่อาจถือได้วา่ การทีไ่ ม่ทราบเช่นนัน้ เป็น

มส
เพราะความประมาทเลินเล่อของบุคคลภายนอกดังกล่าว

3. สิทธิของตัวการเรียกให้เวนคืนหนังสือมอบอำ�นาจ
มาตรา 832 บัญญัตวิ า่ “ในเมือ่ สัญญาตัวแทนระงับสิน้ ไป ตัวการชอบทีจ่ ะเรียกให้เวนคืนหนังสือ
มอบอำ�นาจอย่างใด ๆ อันได้ให้ไว้แก่ตัวแทนนั้นได้”
เมือ่ สัญญาตัวแทนระงับสิน้ ไปไม่วา่ ด้วยเหตุใด ตัวการย่อมมีสทิ ธิทจี่ ะเรียกคืนหนังสือมอบอำ�นาจ
ต่างๆ ทีเ่ คยให้ไว้แก่ตวั แทนนัน้ ได้ เว้นแต่ตวั แทนจะมีสทิ ธิยดึ หน่วง ตาม ปพพ. มาตรา 819 อย่างไรก็ตาม
โดยหลักแล้วเมือ่ สัญญาตัวแทนระงับ ตัวแทนย่อมไม่มสี ทิ ธิน�ำ หนังสือมอบอำ�นาจทีต่ วั การเคยให้ไว้ไปทำ�การ
ในฐานตัวแทนได้อีกต่อไปยกเว้นการอันจำ�เป็นเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการในกรณีที่ตัวการ

ตาย ตกเป็นคนไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย ตาม ปพพ. มาตรา 828 แต่เพื่อมิให้ตัวการต้องเสียหาย
การที่ตัวการเรียกคืนหนังสือมอบอำ�นาจต่างๆ ที่เคยให้ไว้แก่ตัวแทนย่อมเป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลมได้
มส

ประการหนึ่ง ซึ่งมิฉะนั้นอาจเกิดกรณีที่ทำ�ให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตเข้าใจผิดทำ�การกับตัวแทน ซึ่งทำ�ให้


เกิดความยุ่งยากแก่ตัวการที่อาจต้องมีภาระพิสูจน์การปฏิเสธความรับผิดของตนเอง
ในกรณีที่ตัวการตาย ทายาทของตัวการย่อมมีสิทธิจะเรียกคืนหนังสือมอบอำ�นาจต่างๆ ที่เคยให้
ไว้แก่ตัวแทนนั้นได้เช่นกัน
ข้อสังเกต หนังสือมอบอำ�นาจดังกล่าวนั้น จะเป็นหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือสำ�หรับการ
ตั้งตัวแทนเพื่อกิจการ ตามที่ ปพพ. บังคับไว้ตามมาตรา 798 หรือไม่ก็ได้ และหากหนังสือมอบอำ�นาจ

นั้นได้ส่งให้ทางราชการเก็บไว้แล้ว เช่นใบมอบอำ�นาจสำ�หรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์ซึ่งต้องส่งให้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน โดยสภาพแล้วตัวการก็ไม่อาจเรียกให้เวนคืนมาได้

กิจกรรม 8.2.2
1. เมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวการตาย ตัวแทนมีหน้าที่ต้องจัดการเรื่องใดอีกหรือไม่
2. นายไก่ตงั้ นายไข่เป็นตัวแทนซือ้ สินค้าเข้ามาขายในร้านของนายไก่ ในระหว่างทีน่ ายไข่ยงั ไม่ได้
สธ
ซื้อสินค้าเข้ามาขายในร้านของนายไก่ นายไก่ถึงแก่ความตายเสียก่อนโดยนายไข่ไม่ทราบ นายไข่ได้ทำ�
สัญญาซื้อสินค้าเข้ามาขายในร้านของนายไก่แล้ว ปรากฏว่านายส้มทายาทของนายไก่ปฏิเสธไม่ยอมรับ

ความรับผิดของตัวการและตัวแทนต่อบุคคลภายนอกและความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน 8-47

สินค้าดังกล่าวโดยอ้างว่านายไข่ไม่มีอำ�นาจทำ�สัญญาซื้อสินค้าแล้วเพราะสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปแล้ว
ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบกิจกรรม 8.2.2
1. เมือ่ สัญญาตัวแทนระงับสิน้ ไปเพราะตัวการตาย ตัวแทนยังมีหน้าทีต่ อ้ งจัดการเรือ่ งอันสมควร


ทุกอย่างเพือ่ จะปกปักรักษาประโยชน์อนั เขาได้มอบหมายแก่ตนไปจนกว่าทายาทหรือผูแ้ ทนของตัวการจะ
อาจเข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้น ๆ ตาม ปพพ. มาตรา 829

มส
2. นายส้มทายาทของนายจะไก่ปฏิเสธไม่ยอมรับสินค้าดังกล่าวโดยอ้างว่านายไข่ไม่มีอำ�นาจทำ�
สัญญาซื้อสินค้าแล้วเพราะสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปแล้ว ไม่ได้ เพราะนายส้มยังไม่ได้บอกกล่าวถึงความ
ตายของนายไก่ให้นายไข่ทราบและไม่ปรากฏว่านายไข่ได้ทราบถึงความตายของนายไก่มาก่อน ตาม ปพพ.
มาตรา 830 ทายาทของตัวการ จะยกเหตุสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปขึ้นต่อสู้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้
จนกว่าจะได้บอกกล่าวเหตุนั้น ๆ ไปยังคู่สัญญาฝ่ายนั้นแล้ว หรือจนกว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะได้ทราบเหตุ
แล้ว

มส


สธ

8-48 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บรรณานุกรม

กมล สนธิเกษตริน. (2536). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยตัวแทนและนายหน้า. กรุงเทพมหานคร:


สำ�นักพิมพ์นิติบรรณาการ.
กุศล บุญยืน. (2532). คำ�อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยตัวแทนและนายหน้า. กรุงเทพมหานคร:
ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดยงพลเทรดดิ้ง.

มส
ไผทชิต เอกจริยากร. (2554). ตัวแทน นายหน้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำ�นักพิมพ์วิญญูชนจำ�กัด.
สถิตย์ เล็งไธสง. (2539). คำ�อธิบายกฎหมายตัวแทนและนายหน้า. กรุงเทพมหานคร: บริษทั สำ�นักพิมพ์วญ
จำ�กัด.
ิ ญูชน

หลวงสุทธิมนต์นฤนาท. (2511). คำ�อธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยตัวแทน นายหน้า. กรุงเทพมหานคร:


โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มส


สธ

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-1

หน่วยที่ 9
ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า


รองศาสตราจารย์วรวุฒิ เทพทอง

มส

มส


ชื่อ รองศาสตราจารย์วรวุฒิ เทพทอง
วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2), น.บ.ท.,
รป.ม, ประกาศนียบัตรบัณฑิตกฎหมายมหาชน,
สธ
ประกาศนียบัตรกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
ต�ำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจ�ำสาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 9

9-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจ�ำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 9 ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า

ตอนที่

แนวคิด
มส
9.1 ตัวแทนค้าต่าง
9.2 นายหน้า

1. ต ัวแทนค้าต่างเป็นตัวแทนประเภทหนึ่งซึ่งท�ำการซื้อหรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดท�ำกิจการ
ค้าขายอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ
2. นายหน้าเป็นบุคคลทีท่ ำ� หน้าทีเ่ พือ่ ชีช้ อ่ งให้คสู่ ญ
ั ญาของตนได้เข้าท�ำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำ�

สัญญากัน โดยไม่มีอำ� นาจท�ำการแทนแต่อย่างใด

วัตถุประสงค์
มส

เมื่อศึกษาหน่วยที่ 9 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ


1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับตัวแทนค้าต่างได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับนายหน้าได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
1.
2.
3.
4.
5.
ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 9
ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 9.1-9.3
ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน
ฟังซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)

6. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
7. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 9
สธ

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-3

สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. ซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
4. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)


5. การสอนเสริม (ถ้ามี)

มส
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจ�ำภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 9 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

มส


สธ

9-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 9.1
ตัวแทนค้าต่าง
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 9.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
9.1.1 ความหมายและลักษณะของตัวแทนค้าต่าง
9.1.2 สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนค้าต่าง
9.1.3 ความระงับสิ้นไปของสัญญาตัวแทนค้าต่าง

1. ต ัวแทนค้าต่างเป็นผู้ซึ่งมีอาชีพในทางค้าขายซึ่งท�ำการซื้อหรือขายทรัพย์สินหรือรับจัด
ท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่น โดยท�ำการในนามของตนเองต่างหากจากตัวการ
2. ตัวแทนค้าต่างไม่อาจแสวงหาประโยชน์ในการซื้อหรือขายทรัพย์สินหรือท�ำกิจการการ
ค้าขายอย่างอื่นให้แก่ตัวการ เว้นแต่ในเรื่องบ�ำเหน็จที่ตัวแทนค้าต่างจะได้รับ

3. ตัวแทนค้าต่างเป็นตัวแทนประเภทหนึ่ง ไม่ได้มีบทบัญญัติเรื่องความระงับสิ้นไปไว้โดย
เฉพาะจึงต้องเป็นไปตามเรื่องความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน
มส

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 9.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาความหมายและลักษณะของตัวแทนค้าต่างได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาสิทธิ หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนค้าต่างได้
3. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาความระงับสิ้นไปของสัญญาตัวแทนค้าต่างได้

สธ

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-5

เรื่องที่ 9.1.1
ความหมายและลักษณะของตัวแทนค้าต่าง


ตัวแทนค้าต่างเป็นตัวแทนอีกประเภทหนึง่ ซึง่ มีบทบัญญัตเิ ป็นการเฉพาะในประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 833-มาตรา 844 อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติทั้งหลายในเรื่องตัวแทนตามที่ได้บัญญัติ

มส
ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น ย่อมน�ำมาใช้กับตัวแทนค้าต่างได้เท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติที่
เป็นการเฉพาะดังกล่าวซึ่งจะได้อธิบายต่อไป อนึ่ง ตัวแทนค้าต่างย่อมเกิดขึ้นได้โดยมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ
ตัวการฝ่ายหนึ่งและตัวแทนค้าต่างอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ก็ได้ ส�ำหรับเรื่องความสามารถในการท�ำนิติกรรมของตัวแทนค้าต่างนั้น กฎหมายได้บัญญัติไว้เป็นการ
เฉพาะในมาตรา 836 แล้วว่าบุคคลผูไ้ ร้ความสามารถจะท�ำการเป็นตัวแทนค้าต่างไม่ได้ เว้นแต่จะได้รบั มอบ
อ�ำนาจให้กระท�ำได้ ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป

ความหมายของตัวแทนค้าต่าง
มาตรา 833 บัญญัติว่า “อันว่าตัวแทนค้าต่าง คือบุคคลซึ่งในทางค้าขายของเขาย่อมท�ำการซื้อ

หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ”
จากบทบัญญัติดังกล่าวได้ให้ความหมายตัวแทนค้าต่าง คือบุคคลซึ่งในทางค้าขายของเขาย่อม
ท�ำการซื้อหรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ เห็นได้ว่า
มส

ตัวแทนค้าต่างเป็นบุคคลซึ่งมีอาชีพค้าขายโดยด�ำเนินกิจการในนามของตนเอง
อาจแยกพิจารณาลักษณะของตัวแทนค้าต่างได้เป็นข้อๆ ดังนี้
1. บุคคลซึ่งในทางค้าขายของเขาย่อมท�ำการซื้อหรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดท�ำกิจการค้าขาย
อย่างอื่น ตัวแทนค้าต่างจึงเป็นบุคคลซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีอาชีพค้าขาย ได้แก่ทำ� การ
ซือ้ เช่น บริษทั จ�ำกัดรับซือ้ มันส�ำปะหลังจากชาวไร่ ท�ำการขาย เช่น ร้านขายหนังสือแบบเรียนและนิตยสาร

ต่างๆ หรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่น เช่น ท�ำกิจการรับแลกเปลี่ยนรถยนต์มือสอง ท�ำกิจการให้กู้ยืม
เงิน รับจ�ำน�ำ รับจ�ำนอง หรือท�ำกิจการขนส่งสินค้า เป็นต้น
นักกฎหมายให้ความเห็นเกีย่ วกับ “รับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอืน่ ” ว่ามีความหมายกว้าง หมายถึง
กิจการใดๆ ที่ท�ำเพื่อค้าก�ำไรอันบุคคลนั้นท�ำเป็นปกติธุระ เช่น การประกอบการพาณิชย์ อุตสาหกรรม
เกษตรกรรม การให้บริการต่างๆ1
อุทาหรณ์
ฎ. 5775/2539 โจทก์ท�ำสัญญาซื้อขายสินค้ากับผู้ขายเพื่อน�ำสินค้ามาวางขายให้ห้างสรรพสินค้า
สธ
ของโจทก์โดยมีขอ้ ตกลงกันว่าในขณะทีม่ บี คุ คลทีส่ ามมาขอซือ้ สินค้าให้ถอื ว่าสินค้านัน้ ได้มกี ารซือ้ ขายเสร็จ
1 ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล คำ�อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตัวแทนค้าต่างและนายหน้า กรุงเทพมหานคร
บริษัทสำ�นักพิมพ์วิญญูชนจำ�กัด พ.ศ. 2538 น. 13.

9-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เด็ดขาดในระหว่างผูซ้ อื้ และผูข้ ายแล้ว ในทางปฏิบตั โิ จทก์ยอมให้ผขู้ ายส่งสินค้าเข้ามาวางขายในห้างสรรพ


สินค้าของโจทก์ในสถานทีท่ โี่ จทก์กำ� หนดโดยโจทก์ยงั มิตอ้ งช�ำระเงินค่าสินค้านัน้ แก่ผขู้ าย โจทก์จะช�ำระเงิน
ให้ผขู้ ายต่อเมือ่ มีลกู ค้าได้ตกลงซือ้ สินค้านัน้ ในแต่ละเดือนจึงท�ำบัญชีสนิ ค้าทีข่ ายได้ในแต่ละวันกันไว้ ราคา
ทีโ่ จทก์ซอื้ และขายให้ลกู ค้าก็ตอ้ งเกิดจากการก�ำหนดร่วมกันระหว่างโจทก์และผูข้ ายซึง่ น�ำสินค้ามาวางขาย
ในห้างสรรพสินค้าของโจทก์ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีลูกค้าของโจทก์มาขอซื้อผู้ขายก็ยังคงต้องรับผิดชอบใน


ความเสียหายหรือสูญหายของสินค้านั้นอยู่อีก ทั้งเมื่อผู้ขายจะส่งสินค้ามาวางขายผู้ขายยังต้องด�ำเนินการ
ติดตัง้ ของใช้ถาวรเฟอร์นเิ จอร์และอืน่ ๆ อันเกีย่ วกับการน�ำสินค้ามาวางขายด้วยค่าใช้จา่ ยของผูข้ ายเองโดย

มส
ความเห็นชอบจากโจทก์ก่อน โจทก์ไม่มีเจตนาอันแท้จริงที่จะซื้อสินค้าจากผู้ขายมาขายเองไม่ว่าโจทก์จะ
จัดพนักงานขายสินค้านั้นเองหรือต้องให้ผู้ขายส่งพนักงานของผู้ขายมาด�ำเนินการขายสินค้านั้นด้วยก็เป็น
เพียงข้อตกลงที่จะให้มีการขายสินค้านั้นเท่านั้น โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้น โจทก์จึงเป็นผู้รับจัด
ธุรกิจการขายให้ผู้ขายเข้าอยู่ในประเภทการค้าที่ 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง
ป.รัษฎากร เป็นตัวแทนค้าต่าง
การท�ำกิจการดังกล่าวต้องท�ำเป็นปกติธรุ ะ กล่าวคือมิได้ท�ำเป็นครัง้ เป็นคราว หากแต่ทำ� ติดต่อกัน
เป็นประจ�ำเป็นอาชีพโดยหวังผลประโยชน์ตอบแทนจากกิจการทีต่ นท�ำนัน้ ปกติอาจคิดเป็นร้อยละของราคา
ทรัพย์สินที่ตัวแทนค้าต่างจัดการซื้อหรือขายให้ได้นั้น2
ตัวอย่าง 1 นายจักรินทร์ประกอบกิจการขายพันธุไ์ ม้ลอ้ ม โดยรับซือ้ มาจากจังหวัดต่างๆ แล้วขาย

ไป ตลอดจนรับเป็นตัวแทนขายไม้ล้อมขนาดใหญ่ที่มีผู้น�ำมาฝากขาย และรับเป็นตัวแทนจัดหาซื้อไม้ล้อม
ให้แก่ผมู้ าติดต่อให้จดั ซือ้ ให้ โดยการขายหรือซือ้ เพือ่ ผูน้ ำ� มาฝากขายหรือผูม้ าติดต่อให้จดั ซือ้ นัน้ นายจักรินทร์
จะคิดค่าบ�ำเหน็จเป็นร้อยละของราคาทรัพย์สินที่ตัวแทนค้าต่างจัดการซื้อหรือขายให้ได้นั้น เช่นนี้ นาย
มส

จักรินทร์ย่อมเป็นตัวแทนค้าต่างของผู้น�ำมาฝากขายหรือผู้มาติดต่อให้จัดซื้อนั้น
ตัวอย่าง 2 บริษัทแสงทองจ�ำกัดให้บริษัทรุ่งอรุณจ�ำกัดขายปูนซีเมนต์ของจ�ำเลยตลอดจนเก็บเงิน
ทีข่ ายได้และช�ำระเงินนัน้ ให้ตน เช่นนี้ บริษทั รุง่ อรุณจ�ำกัดย่อมเป็นตัวแทนค้าต่างของบริษทั แสงทองจ�ำกัด
ตัวอย่าง 3 นายแกะประกอบกิจการขายก๋วยเตี๋ยว ที่ร้านขายก๋วยเตี๋ยวของนายแกะรับขนมต่างๆ
ที่นางอนงค์น�ำมาฝากขาย โดยการขายขนมนั้นนายแกะจะขายให้แก่ลูกค้าเอง แล้วคิดค่าบ�ำเหน็จเป็น
ร้อยละของเงินที่ขายได้นั้นจากนางอนงค์ เช่นนี้ นายแกะย่อมเป็นตัวแทนค้าต่างของนางอนงค์

2. จัดท�ำกิจการในนามของตนเองต่างตัวการ ตัวแทนค้าต่างเป็นผูท้ ำ� กิจการนัน้ ในนามของตนเอง
ซึ่งบุคคลภายนอกอาจทราบหรือไม่ทราบว่าใครเป็นตัวการก็ได้ ซึ่งท�ำให้มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่อ
บุคคลภายนอกโดยตรง แตกต่างจากตัวแทนโดยปกติทตี่ วั การต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกเมือ่ ตัวแทนได้
ท�ำการไปภายในขอบอ�ำนาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว ทีต่ วั แทนค้าต่างต้องท�ำในนามของตนเองนัน้ นักกฎหมาย
ให้ความเห็นไว้ว่าสืบเนื่องมาจากทางปฏิบัติของพ่อค้าที่รับสินค้าจากตัวการไว้ขาย เขาขายอย่างพ่อค้า
ประหนึ่งว่าเขาเป็นเจ้าของสินค้านั้น3
สธ
2 กมล สนธิเกษตริน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตัวแทนค้าต่างและนายหน้า กรุงเทพมหานคร นานา
สิ่งพิมพ์ พ.ศ. 2538 น. 118.
3 สถิตย์ เล็งไธสง คำ�อธิบายกฎหมายตัวแทนและนายหน้า กรุงเทพมหานคร บริษัทสำ�นักพิมพ์วิญญูชน จำ�กัด 2539
น. 246.

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-7

ดังนัน้ การพิจารณากรณีวา่ เป็นตัวแทนค้าต่างหรือไม่ ต้องให้ครบทัง้ 2 ข้อ ดังกล่าว หากขาดข้อใด


ข้อหนึ่งไปย่อมไม่อาจเข้าลักษณะตัวแทนค้าต่าง
อุทาหรณ์
ฎ. 2101/2514 จ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ท�ำสัญญากับบริษัท ว. มีข้อความส�ำคัญ
ว่าผู้ว่าจ้าง จ. ตกลงให้ผู้รับจ้าง ว. ขายหรือเลหลังที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างได้ในราคาไม่ตํ่ากว่า


2,000,000 บาท หรือหากตํ่ากว่าราคานี้ก็ต่อเมื่อผู้รับจ้าง ว. ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้าง จ. ให้ขายได้
ดังนี้ ย่อมมีความหมายว่า ถ้ามีผู้ซื้อเสนอขอซื้อในราคาที่ก�ำหนดไว้นี้แล้ว ว. มีอ�ำนาจเป็นตัวแทนของ จ.

มส
ท�ำสัญญาจะซือ้ ขายกับผูข้ อซือ้ ได้เลยและสัญญานัน้ มีผลผูกพัน จ. และเมือ่ ว. ท�ำสัญญาจะซือ้ ขายกับผูข้ อ
ซื้อไว้ในนามของ ว. แต่เวลาจะโอนกรรมสิทธิ์ จ. ซึ่งเป็นเจ้าของต้องจัดการโอนให้ ไม่ใช่ว่า ว. จะท�ำการ
โอนขายไปเป็นผลส�ำเร็จได้เอง ดังนี้ แม้ ว. จะเป็นผู้มีอาชีพประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าขายทอดตลาดก็
ไม่ท�ำให้สัญญาระหว่าง จ. กับ ว. เป็นเรื่องตัวแทนค้าต่าง
หมายเหตุ คดีนี้ เวลาจะโอนกรรมสิทธิ์ จ. ซึ่งเป็นเจ้าของต้องจัดการโอนให้ ไม่ใช่ว่า ว. จะท�ำการ
โอนขายไปเป็นผลส�ำเร็จได้เอง ว. จึงไม่ใช่ตัวแทนค้าต่างของ จ. เป็นเพียงตัวแทนโดยปกติ
ฎ. 2605/2520 โจทก์แต่งตั้งให้จ�ำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ในเขตท้องที่อ�ำเภอ
บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยจ�ำเลยจะต้องซื้อปูนซีเมนต์จากโจทก์ตามราคาที่กำ� หนดไว้ และช�ำระราคาให้
ภายใน 60 วัน จ�ำเลยที่ 1 จะน�ำสินค้าไปขายได้หรือไม่ ก�ำไรหรือขาดทุนเป็นเรื่องของจ�ำเลยที่ 1 โจทก์ไม่

เกี่ยวข้อง ดังนี้จ�ำเลยที่ 1 หาใช่ตัวแทนค้าต่างของโจทก์ไม่
หมายเหตุ คดีนี้ จ�ำเลยที่ 1 ไม่ใช่ตัวแทนค้าต่างของโจทก์ แต่เป็นเรื่องซื้อขายปูนซีเมนต์ระหว่าง
มส

โจทก์กับจ�ำเลยที่ 1
ฎ. 2047/2523 การประกอบกิจการค้าของจ�ำเลยคือการส่งสินค้าไปจ�ำหน่ายยังต่างประเทศโดย
จ�ำเลยรับสินค้ายางของโจทก์ไปจ�ำหน่ายในนามของจ�ำเลย จ�ำเลยได้ค่าตอบแทนจากโจทก์เป็นบ�ำเหน็จ
ร้อยละ 10 เมื่อจ�ำเลยรับเงินจากลูกค้าในต่างประเทศส่งมาตามเลตเตอร์ออฟเครดิต มีการหักค่าบ�ำเหน็จ
ร้อยละ 10 ที่จำ� เลยมีสิทธิได้จากการขายก่อนกับหักค่าที่จำ� เลยทดรองจ่ายเป็นค่าระวางเรือ ค่าประกันภัย
และอื่นๆ ออกจากเงินที่ลูกค้าส่งมาแล้วด้วย เหลือเท่าใดเป็นเงินที่จ�ำเลยต้องช�ำระให้โจทก์ ดังนี้ จ�ำเลยจึง
เป็นตัวแทนค้าต่างของโจทก์ กรณีมิใช่จ�ำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ ม
ฎ. 6594/2537 ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยระบุชื่อสัญญาว่า “สัญญาตัวแทนจ�ำหน่ายปุ๋ย”
เรียกโจทก์ว่าตัวการเรียกจ�ำเลยว่าตัวแทนข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า “ตัวแทนสัญญาว่าจะ
จ�ำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข” ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยจึง
เป็นสัญญาตัวแทนค้าต่าง ตาม ปพพ. มาตรา 833
ฎ. 1947/2545 จ�ำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนจ�ำหน่ายสินค้าของบริษัทจ�ำเลยที่ 2 โดยโจทก์
เป็นผูต้ ดิ ต่อหาลูกค้า เมือ่ ลูกค้าสัง่ ซือ้ สินค้า โจทก์จะส่งค�ำสัง่ ซือ้ ของลูกค้ามายังจ�ำเลยทัง้ สอง จ�ำเลยทัง้ สอง
สธ
ก็จะแจ้งกลับไปยังโจทก์ว่าจะส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้เมื่อใด โจทก์จึงแจ้งให้ลูกค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
เพื่อช�ำระราคาสินค้าให้แก่จ�ำเลยทั้งสอง เมื่อจ�ำเลยทั้งสองจัดส่งสินค้าแล้วก็จะเรียกเก็บเงินตามเลตเตอร์
ออฟเครดิตทีล่ กู ค้าเปิดไว้เห็นได้วา่ ลูกค้ามิได้สงั่ ซือ้ และรับสินค้ากับช�ำระราคาสินค้าแก่โจทก์โดยตรง ราคา

9-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

สินค้าที่โจทก์ขายให้แก่ลูกค้าก็คือราคาที่จ�ำเลยทั้งสองขายให้แก่ลูกค้า โดยจ�ำเลยทั้งสองจ่ายค่าตอบแทน
ให้โจทก์ ร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 7 ของจ�ำนวนสินค้าทีล่ กู ค้าสัง่ ซือ้ โจทก์มไิ ด้ขายสินค้าของจ�ำเลยที่ 2 ในนาม
ของตนเองจึงไม่ใช่ตัวแทนค้าต่างของจ�ำเลยทั้งสอง แต่การที่จ�ำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนขายสินค้า
ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและฮ่องกงและโจทก์ตกลงท�ำการดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะของสัญญา
ตัวแทน ตาม ปพพ. มาตรา 797 ความผูกพันระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยทั้งสองในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงกันไว้


เป็นอย่างอื่นจึงตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตัวแทน
หมายเหตุ คดีนี้ ลูกค้ามิได้สั่งซื้อและรับสินค้ากับช�ำระราคาสินค้าแก่โจทก์โดยตรง โจทก์มิได้ขาย

มส
สินค้าของจ�ำเลยที่ 2 ในนามของตนเองจึงไม่ใช่ตัวแทนค้าต่างของจ�ำเลยทั้งสอง เป็นเพียงตัวแทนโดยปกติ

ลักษณะส�ำคัญของตัวแทนค้าต่าง
ตัวแทนค้าต่างแม้เป็นตัวแทนประเภทหนึง่ ซึง่ มีบทบัญญัตขิ องกฎหมายบัญญัตไิ ว้โดยเฉพาะดังได้
กล่าวมาแล้ว ดังนัน้ ตัวแทนค้าต่างจึงมีความแตกต่างจากตัวแทนโดยปกติ ซึง่ แยกพิจารณาสาระส�ำคัญของ
ตัวแทนค้าต่างออกเป็นข้อๆ ดังนี้
1. น�ำบทบัญญัตเิ รือ่ งตัวแทนมาใช้บงั คับ ดังได้กล่าวมาแล้วว่าตัวแทนค้าต่างเป็นตัวแทนประเภท
หนึ่ง แม้จะมีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 833-มาตรา 844 ไว้
แล้ว อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติทั้งหลายในเรื่องตัวแทนตามที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ

พาณิชย์ นั้น ย่อมน�ำมาใช้กับตัวแทนค้าต่างได้เท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติที่เป็นการเฉพาะดังกล่าว
มาตรา 835 บัญญัติว่า “บทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยตัวแทนนั้นท่าน
มส

ให้ใช้บังคับถึงตัวแทนค้าต่างด้วยเพียงที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในหมวดนี้”
ดังนั้น การพิจารณาว่าจะน�ำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนดังกล่าวมาใช้บังคับนั้น ต้องไม่ใช่เรื่องที่
บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วในมาตรา 833-มาตรา 834 อาทิ เรื่องบ�ำเหน็จตัวแทน ตัวแทนผู้ไร้ความ
สามารถ การได้สิทธิและความผูกพันต่อคู่สัญญา ตัวแทนฐานประกัน การแถลงรายงานแก่ตัวการ เป็นต้น
ตัวอย่าง เรื่องที่น�ำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนดังกล่าวมาใช้บังคับ เช่น ตัวแทนท�ำความเสียหาย
เกิดขึ้นแก่ตัวการเพราะความประมาทเลินเล่อ ไม่ท�ำการเป็นตัวแทน หรือท�ำการโดยปราศจากอ�ำนาจหรือ

นอกเหนืออ�ำนาจตัวแทนจะต้องรับผิดต่อตัวการตามมาตรา 812 หรือการออกเงินทดรองของตัวแทนไป
ก่อนเพราะเหตุจำ� เป็น ตัวแทนย่อมเรียกเอาคืนจากตัวการพร้อมดอกเบีย้ ได้ตามมาตรา 816 วรรคหนึง่ หรือ
ตัวแทนไม่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จตามมาตรา 818 สัญญาตัวแทนระงับเมื่อตัวการหรือตัวแทนตาย ล้มละลาย
หรือตัวการถอนตัวแทน หรือตัวแทนบอกเลิกการเป็นตัวแทนตามมาตรา 826 เป็นต้น
ส�ำหรับเรือ่ งทีบ่ ญ
ั ญัตไิ ว้เป็นการเฉพาะแล้วของตัวแทนค้าต่างซึง่ ไม่อาจน�ำบทบัญญัตวิ า่ ด้วยตัวแทน
ดังกล่าวมาใช้บังคับนั้น ซึ่งนักศึกษาจะได้ศึกษาต่อไปในหน่วยนี้
มีปัญหาน่าคิดว่าบทบัญญัติมาตรา 798 เรื่องการตั้งตัวแทน จะน�ำมาใช้บังคับกับตัวแทนค้าต่าง
สธ
ด้วยหรือไม่ เนือ่ งจากบทบัญญัตเิ รือ่ งตัวแทนค้าต่างมิได้บญั ญัตไิ ว้ ในประเด็นนีผ้ เู้ ขียนมีความเห็นว่าตัวแทน
ค้าต่างเป็นผู้ซึ่งต้องท�ำสัญญาผูกพันกับบุคคลภายนอกโดยตรงและต้องท�ำในนามของตนเองต่างตัวการ
ดังที่มาตรา 833 บัญญัติไว้ มีผลให้ตัวแทนค้าต่างได้สิทธิหรือมีหน้าที่และความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-9

โดยตรง ประกอบกับมาตรา 836 ห้ามมิให้ผไู้ ร้ความสามารถเป็นตัวแทนค้าต่าง เว้นแต่จะได้รบั อ�ำนาจโดย


ชอบ และมาตรา 844 ให้ถอื ว่ากิจการทีต่ วั แทนค้าต่างท�ำไปนัน้ มีผลเสมือนดัง่ ว่าได้ทำ� ไปในนามของตัวการ
โดยตรง ดังนั้น การจะน�ำมาตรา 798 มาใช้บังคับในเรื่องการตั้งตัวแทนค้าต่างที่ว่า ถ้ากิจการนั้นต้องท�ำ
เป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนค้าต่างจะต้องท�ำเป็นหนังสือด้วย หรือถ้ากิจการนั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
การตัง้ ตัวแทนค้าต่างจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยนัน้ อาจขัดกับบทบัญญัตเิ รือ่ งตัวแทนค้าต่างดังกล่าว


เช่นนี้แล้ว เห็นว่าการตั้งตัวแทนค้าต่างสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้ ไม่มีแบบที่กฎหมายก�ำหนดไว้แต่
อย่างใด ฉะนั้น แม้การตั้งตัวแทนค้าต่างจะมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 798 ดังกล่าว ก็ไม่ท�ำให้ความผูกพัน

มส
ระหว่างตัวแทนค้าต่างกับตัวการ หรือระหว่างตัวแทนค้าต่างกับบุคคลภายนอกกลายเป็นไม่ผูกพันกันไม่
2. ผู้ไร้ความสามารถเป็นตัวแทนค้าต่างไม่ได้
มาตรา 836 บัญญัติว่า “บุคคลผู้ไร้ความสามารถหาอาจจะท�ำการเป็นตัวแทนค้าต่างได้ไม่ เว้นแต่
จะได้รับอ�ำนาจโดยชอบให้ท�ำได้”
โดยที่ตัวแทนค้าต่างซึ่งเป็นผู้มีอาชีพทางค้าขายต้องท�ำกิจการโดยตนเองต่อบุคคลภายนอก
กฎหมายจึงบัญญัติห้ามมิให้ผู้ไร้ความสามารถ ได้แก่ ผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนเสมือนไร้ความสามารถ และ
คนไร้ความสามารถ เป็นตัวแทนค้าต่าง เพราะอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับความสามารถบกพร่องในการท�ำ
นิติกรรมได้และเพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่ตัวแทนค้าต่างได้ท�ำไปกับบุคคลภายนอกนั้น ในเรื่องนี้จะ
มีความแตกต่างจากตัวแทนโดยปกติซึ่งผู้ไร้ความสามารถนั้นเป็นตัวแทนได้และเมื่อได้ท�ำการไปแล้วย่อม

ผูกพันตัวการดังที่ได้กล่าวมาแล้วในหน่วยที่ 8
อนึง่ มีขอ้ ยกเว้นว่า ผูไ้ ร้ความสามารถอาจเป็นตัวแทนค้าต่างได้ ถ้าได้รบั อ�ำนาจโดยชอบให้ทำ� ได้
มส

มีปัญหาว่า การได้รับอ�ำนาจโดยชอบนั้นหมายความว่าอย่างไร และต้องได้รับอ�ำนาจจากใคร เห็นว่า การ


ได้รับอ�ำนาจโดยชอบนั้นหมายความว่าได้รับอ�ำนาจให้ท�ำการเป็นตัวแทนค้าต่างได้นั่นเอง และต้องได้รับ
อ�ำนาจจากใครนัน้ ผูซ้ งึ่ มีอำ� นาจให้ผไู้ ร้ความสามารถท�ำการเป็นตัวแทนค้าต่างได้นนั้ หาใช่ตวั การไม่ เพราะ
ตัวการไม่มีอ�ำนาจ ส�ำหรับผู้ที่มีอ�ำนาจนั้นเห็นว่าโดยปกติหมายถึงผู้ที่มีอ�ำนาจให้ความยินยอมในการท�ำ
นิตกิ รรมของผูไ้ ร้ความสามารถซึง่ ในกรณีผเู้ ยาว์ยอ่ มได้แก่ผแู้ ทนโดยชอบธรรมหรือศาล4 แล้วแต่กรณี หรือ
ในกรณีคนเสมือนไร้ความสามารถย่อมได้แก่ผู้พิทักษ์หรือศาล5แล้วแต่กรณี ส่วนกรณีคนไร้ความสามารถ

นั้นไม่มีความสามารถในการท�ำนิติกรรมใดๆ เลย หากท�ำไปย่อมตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น6 แม้จะได้รับความ
ยินยอมของผู้อนุบาลก็ตาม ดังนั้น คนไร้ความสามารถย่อมไม่อาจเป็นตัวแทนค้าต่างได้
มีข้อสังเกตว่า ในกรณีผู้เยาว์จะท�ำการเป็นตัวแทนค้าต่างนั้น ย่อมสามารถท�ำได้โดยได้ความ
ยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม หรือถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอม ผู้เยาว์อาจขออนุญาตต่อ
ศาลได้ และเมื่อผู้เยาว์ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม หรือได้รับอนุญาตจากศาลแล้วแต่กรณี
แล้วให้ถือว่าผู้เยาว์นั้นมีฐานะเสมือนดังบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ซึ่งสอดรับกับมาตรา 835 นี้
สธ
4 ปพพ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
5 ปพพ. มาตรา 35
6 ปพพ. มาตรา 29

9-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

นอกจากนี้ บุคคลล้มละลายซึง่ อ�ำนาจในการจัดการทรัพย์สนิ เป็นของเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์นนั้


ย่อมไม่อาจท�ำการเป็นตัวแทนค้าต่างได้ เว้นแต่จะได้กระท�ำตามค�ำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้า
พนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์นนั้ ดังนัน้ อาจถือได้วา่ บุคคลล้มละลายดังกล่าวเป็นบุคคลผูไ้ ร้ความสามารถจะท�ำการ
เป็นตัวแทนค้าต่างไม่ได้ เว้นแต่จะได้รบั อ�ำนาจโดยชอบจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ให้ท�ำได้ เช่น
นายวิกรมเปิดร้านขายหนังสือ ต่อมาถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การจัดการทรัพยสินของนายวิกรม


อยูใ่ นอ�ำนาจของเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ ถ้าเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์เห็นชอบให้นายวิกรมเปิดร้านขาย
หนังสือต่อไปได้ เช่นนี้ นายวิกรมย่อมท�ำการเป็นตัวแทนค้าต่างให้แก่นายสมบัติซึ่งน�ำหนังสือมาฝากขาย

มส
ที่ร้านของนายวิกรมได้
มีปัญหาว่า ถ้าบุคคลผู้ไร้ความสามารถท�ำการเป็นตัวแทนค้าต่างโดยไม่ได้รับอ�ำนาจโดยชอบ
เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ ผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งมาตรา 836 มิได้บัญญัติไว้ ประเด็นปัญหานี้มี
นักกฎหมายให้ความเห็นไว้วา่ ผลแห่งการฝ่าฝืนมาตรา 836 นีก้ ค็ งจะต้องวินจิ ฉัยตามหลักกฎหมายว่าด้วย
ความสามารถของบุคคล กล่าวคือสัญญาตัวแทนค้าต่างเป็นโมฆียะ และนิติกรรมที่ตัวแทนค้าต่างท�ำกับ
บุคคลภายนอกก็เป็นโมฆียะด้วย7 ส�ำหรับผู้เขียนมีความเห็นต่างไปว่า สัญญาตัวแทนค้าต่างระหว่างผู้ไร้
ความสามารถกับตัวการนั้นตกเป็นโมฆะ เพราะมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตาม
ปพพ. มาตรา 150 เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 836 นี้เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่าง
อันเป็นกฎหมายเกีย่ วกับความสงบเรียบร้อยเนือ่ งจากเป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับระบบการค้าขายของประเทศโดย

ส่วนรวม หาใช่เป็นบทบัญญัติว่าด้วยความสามารถของบุคคล ตาม ปพพ. มาตรา 153 ไม่ ดังนั้น สัญญา
ทีต่ วั การท�ำกับผูไ้ ร้ความสามารถโดยมีวตั ถุประสงค์ให้ผไู้ ร้ความสามารถเป็นตัวแทนค้าต่างย่อมตกเป็นโมฆะ
มส

ส่วนสัญญาที่ผู้ไร้ความสามารถในฐานะตัวแทนค้าต่างไปท�ำกับบุคคลภายนอกจึงไม่มีผลผูกพันกันแต่
ประการใด เพราะผูไ้ ร้ความสามารถนัน้ หาใช่ตวั แทนค้าต่าง ย่อมไม่มอี ำ� นาจท�ำสัญญาผูกพันบุคคลภายนอก
เพื่อการดังกล่าว
3. ผลระหว่างตัวการกับตัวแทนค้าต่าง
มาตรา 844 บัญญัติว่า “ในระหว่างตัวการกับตัวแทนค้าต่าง ท่านให้ถือว่ากิจการอันตัวแทนได้
ท�ำให้ตกลงไปนั้น ย่อมมีผลเสมือนดั่งว่าได้ท�ำให้ตกลงไปในนามของตัวการโดยตรง”

โดยที่ตัวแทนค้าต่างท�ำกิจการในนามของตนเองต่างตัวการ กฎหมายจึงให้ถือว่ากิจการที่ตัวแทน
ค้าต่างได้ทำ� ไปนั้นมีผลเสมือนว่าได้ทำ� ไปในนามของตัวการโดยตรง มีผลว่าตัวแทนค้าต่างต้องเข้าผูกพัน
กับบุคคลภายนอก ตัวแทนค้าต่างจึงมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องบุคคลภายนอกซึ่งเป็นคู่สัญญากับตน
ต่อศาลได้ และบุคคลภายนอกก็มีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องตัวแทนค้าต่างได้เช่นเดียวกัน และตัวการไม่
อาจปฏิเสธบุคคลภายนอกในผลทีเ่ กิดจากการกระท�ำของตัวแทนค้าต่างนัน้ ซึง่ ในเรือ่ งนีม้ คี วามแตกต่างกับ
กรณีตัวแทนโดยปกติที่เมื่อตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือ
ตัวแทนช่วงได้ทำ� ไปภายในขอบอ�ำนาจแห่งฐานตัวแทน ตาม ปพพ. มาตรา 820
สธ

7 ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เรื่องเดียวกัน น. 25-26.



ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-11

ตัวอย่าง นายจักรินทร์ประกอบกิจการขายพันธุ์ไม้ล้อม นายเชาว์น�ำต้นลีลาวดีที่ขุดล้อมมาฝาก


นายจักรินทร์ขายโดยตกลงให้บ�ำเหน็จนายจักรินทร์ร้อยละ 30 จากราคาที่ขายได้ นายจักรินทร์ได้ตกลง
ขายต้นลีลาวดีดังกล่าวให้ให้แก่นางมาลีไปในราคา 60,000 บาท เช่นนี้ ย่อมมีผลเสมือนว่าได้ทำ� การขาย
ไปในนามของนายเชาว์โดยตรง นายเชาว์จะมาอ้างต่อนางมาลีวา่ ราคาทีข่ ายไปไม่เหมาะสมและจะเรียกร้อง
เอาต้นลีลาวดีนั้นคืนจากนางมาลีย่อมไม่ได้ นายเชาว์ต้องไปว่ากล่าวเอากับนายจักรินทร์เองตามสัญญาที่


ตกลงกันไว้

มส
ความแตกต่างที่ส�ำคัญระหว่างตัวแทนค้าต่างกับตัวแทนโดยปกติ
1. ผลการเข้าท�ำกิจการของตัวแทน ตัวแทนค้าต่างเข้าท�ำกิจการในนามของตนเองต่างจากตัวการ
ตาม ปพพ. มาตรา 833 ย่อมมีผลว่าตัวแทนค้าต่างได้ทำ� การนัน้ ในนามตัวการโดยตรง ตาม ปพพ. มาตรา
844 ตัวแทนค้าต่างต้องเข้าผูกพันกับบุคคลภายนอกโดยตรง ตัวแทนค้าต่างมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้อง
บุคคลภายนอกซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนต่อศาลได้ และบุคคลภายนอกก็มีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องตัวแทน
ค้าต่างได้เช่นเดียวกัน และตัวการไม่อาจปฏิเสธบุคคลภายนอกในผลที่เกิดจากการกระท�ำของตัวแทนค้า
ต่างนั้น ส่วนตัวแทนโดยปกตินั้นเมื่อเข้าท�ำกิจการไปภายในขอบอ�ำนาจแห่งฐานตัวแทนแล้ว ตัวการย่อม
ต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทัง้ หลายอันตัวแทนได้ทำ� ไปนัน้ ตาม ปพพ. มาตรา 820 ส่วนตัวแทน
ย่อมหลุดพ้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไป

2. บ�ำเหน็จตัวแทน ตัวแทนค้าต่างมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จตามอัตราธรรมเนียมเพื่อกิจการค้าขาย
อันตนได้จัดการให้ตกลงไปนั้นทุกรายไป เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ตาม ปพพ. มาตรา 834
มส

ส่วนตัวแทนโดยปกตินั้นไม่มีสิทธิจะได้รับบ�ำเหน็จตัวแทน เว้นแต่จะได้มีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาว่ามี
บ�ำเหน็จ หรือทางการที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันนั้นเป็นปริยายว่ามีบ�ำเหน็จ หรือเคยเป็นธรรมเนียมมี
บ�ำเหน็จ ตาม ปพพ. มาตรา 803
3. บุคคลผู้ไร้ความสามารถเป็นตัวแทน บุคคลผู้ไร้ความสามารถไม่อาจเป็นตัวแทนค้าต่างได้
เนือ่ งจากกฎหมายห้ามไว้ เว้นแต่จะได้รบั อ�ำนาจโดยชอบให้ทำ� การเป็นตัวแทนค้าต่างได้ ตาม ปพพ. มาตรา
836 ส่วนตัวแทนโดยปกตินนั้ บุคคลผูไ้ ร้ความสามารถย่อมอาจเป็นตัวแทนโดยปกติได้ ตาม ปพพ. มาตรา

799 ซึ่งตัวการที่ใช้บุคคลผู้ไร้ความสามารถเป็นตัวแทนย่อมต้องผูกพันในการที่บุคคลผู้ไร้ความสามารถได้
ท�ำไปนั้น
4. การได้มาซึ่งสิทธิต่อบุคคลภายนอก ตัวแทนค้าต่างอาจได้มาซึ่งสิทธิอันมีต่อคู่สัญญาอีกฝ่าย
หนึ่งในกิจการในการที่ตัวแทนค้าต่างท�ำการขายหรือซื้อหรือจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่นต่างตัวการ โดย
เป็นผูต้ อ้ งผูกพันต่อคูส่ ญ
ั ญาฝ่ายนัน้ ด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 837 ส่วนตัวแทนนัน้ เมือ่ ได้มาซึง่ สิทธิทงั้ หลาย
ทีข่ วนขวายได้มาในนามของตนเองโดยฐานทีท่ ำ� การแทนตัวการนัน้ ตัวแทนก็ตอ้ งโอนให้แก่ตวั การทัง้ หมด
ตาม ปพพ. มาตรา 810 วรรคสอง
สธ
5. การแถลงรายงานให้ตวั การทราบ ตัวแทนค้าต่างเมือ่ ได้ทำ� การอย่างไรไปแล้วต้องแถลงรายงาน
แก่ตัวการและเมื่อได้ท�ำการค้าต่างเสร็จลงแล้ว ก็ต้องแจ้งแก่ตัวการทราบโดยไม่ชักช้าด้วย ตาม ปพพ.
มาตรา 841 ส่วนตัวแทนนั้นเมื่อตัวการมีประสงค์จะทราบความเป็นไปของการที่ได้มอบหมายแก่ตัวแทน

9-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

นั้นในเวลาใดๆ ซึ่งสมควรแก่เหตุ ตัวแทนก็ต้องแจ้งให้ตัวการทราบ และเมื่อการเป็นตัวแทนนั้นสิ้นสุดลง


แล้วต้องแถลงบัญชีด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 809
ส�ำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวกับตัวแทนค้าต่าง จะกล่าวถึงต่อไปในหน่วยนี้


กิจกรรม 9.1.1
1. นางลินดามีอาชีพขายรถจักรยานมือสองเปิดร้านขายและรับฝากขายรถจักรยานมือสองให้แก่

มส
บุคคลอื่นด้วย นายเดชาน�ำรถจักรยานมือสองมาฝากนางลินดาขายที่ร้านขายของนางลินดาโดยตกลงกัน
ว่าถ้านางลินดาขายได้ในราคาไม่ตาํ่ กว่า 3,000 บาท นางลินดาจะได้รบั บ�ำเหน็จร้อยละ 10 ของราคาทีข่ าย
ได้ เช่นนี้ ข้อตกลงระหว่างนางลินดากับนายเดชาเป็นสัญญาใด
2. นายหลินแต่งตั้งให้นางฤทัยเป็นตัวแทนจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ในเขตท้องที่อ�ำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี โดยนางฤทัยจะต้องซื้อปูนซีเมนต์จากนายหลินตามราคาที่ก�ำหนดไว้ และช�ำระราคาให้
ภายใน 60 วัน นางฤทัยขายปูนซีเมนต์ได้ ก�ำไรหรือขาดทุนเป็นสิทธิของนางฤทัยเอง เช่นนี้ นางฤทัยเป็น
ตัวแทนค้าต่างของนายหลินหรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบกิจกรรม 9.1.1

1. นางลินดามีอาชีพขายรถจักรยานมือสองเปิดร้านขายและรับฝากขายรถจักรยานมือสองให้แก่
บุคคลอื่นด้วย นายเดชาน�ำรถจักรยานมือสองมาฝากนางลินดาขายที่ร้านขายของนางลินดาโดยตกลงกัน
มส

ว่าถ้านางลินดาขายได้ในราคาไม่ตาํ่ กว่า 3,000 บาท นางลินดาจะได้รบั บ�ำเหน็จร้อยละ 10 ของราคาทีข่ าย


ได้ เช่นนี้ ข้อตกลงระหว่างนางลินดากับนายเดชาเป็นสัญญาตัวแทนค้าต่าง โดยนางลินดาเป็นตัวแทน
ค้าต่างของนายเดชา ตาม ปพพ. มาตรา 833
2. นายหลินแต่งตั้งให้นางฤทัยเป็นตัวแทนจ�ำหน่ายปูนซีเมนต์ในเขตท้องที่อ�ำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี โดยนางฤทัยจะต้องซื้อปูนซีเมนต์จากนายหลินตามราคาที่ก�ำหนดไว้ และช�ำระราคาให้
ภายใน 60 วัน นางฤทัยขายปูนซีเมนต์ได้ ก�ำไรหรือขาดทุนเป็นสิทธิของนางฤทัยเอง เช่นนี้ นางฤทัยไม่

เป็นตัวแทนค้าต่างของนายหลิน ตาม ปพพ. มาตรา 833 เพราะนางฤทัยไม่ได้รับท�ำการซื้อหรือขาย
ทรัพย์สินให้แก่นายหลิน แต่เป็นกรณีที่นายหลินกับนางฤทัยท�ำสัญญาซื้อขายปูนซีเมนต์กันเอง
สธ

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-13

เรื่องที่ 9.1.2
สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนค้าต่าง


ตัวแทนค้าต่างย่อมต้องมีความผูกพันต่อตัวการตามสัญญาตัวแทนค้าต่างมีสิทธิ หน้าที่และความ
รับผิดต่อตัวการและบุคคลภายนอกดังจะได้กล่าวต่อไป

มส
สิทธิของตัวแทนค้าต่าง
1. สิทธิได้รับบ�ำเหน็จ
มาตรา 834 บัญญัติว่า “ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านว่าตัวแทนค้าต่างชอบที่จะได้รับ
บ�ำเหน็จโดยอัตราตามธรรมเนียมเพื่อกิจการค้าขายอันตนได้จัดการให้ตกลงไปนั้นทุกรายไป”
โดยหลักแล้วตัวแทนค้าต่างเป็นผู้ซึ่งมีอาชีพในทางค้าขาย การตกลงรับเป็นตัวแทนค้าต่างก็ต้อง
หวังบ�ำเหน็จเป็นธรรมดาปกติ ดังนัน้ กฎหมายจึงบัญญัตใิ ห้ตวั แทนค้าต่างชอบทีจ่ ะได้รบั บ�ำเหน็จจากตัวการ
และบ�ำเหน็จที่จะได้นั้นให้คิดอัตราตามธรรมเนียมเพื่อกิจการค้าขายที่ตัวแทนค้าต่างได้ตกลงจัดการให้นั้น
ทุกราย เว้นแต่ระหว่างตัวแทนค้าต่างกับตัวการจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่น ตกลงกันไว้ว่าไม่มี

บ�ำเหน็จ หรือตกลงกันไว้ว่าบ�ำเหน็จนั้นให้มีอัตราตามที่ก�ำหนดกันไว้ เป็นต้น
มีปัญหาว่า ถ้าการท�ำกิจการของตัวแทนค้าต่างไม่ส�ำเร็จ ตัวแทนค้าต่างจะมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จ
หรือไม่ เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 834 ที่ว่า “ตัวแทนค้าต่างชอบที่จะได้รับบ�ำเหน็จโดยอัตรา
มส

ตามธรรมเนียมเพื่อกิจการค้าขายอันตนได้จัดการให้ตกลงไปนั้นทุกรายไป” เห็นว่าถ้ากิจการของตัวการ
ที่ตัวแทนค้าต่างท�ำไม่ส�ำเร็จนั้น ตัวแทนค้าต่างย่อมไม่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จดังกล่าว
“อัตราตามธรรมเนียมเพื่อกิจการค้าขาย” ต้องพิจารณาจากกิจการที่ตัวการตกลงกันตัวแทนค้า
ต่างเป็นเรื่องๆ ไป และอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์ปัจจุบัน
ดังนั้น พอสรุปเรื่องบ�ำเหน็จของตัวแทนค้าต่างได้ดังนี้
1. กรณีตกลงกันว่าไม่มีบ�ำเหน็จ ย่อมต้องเป็นไปตามนั้น ม
2. กรณีตกลงกันว่ามีบ�ำเหน็จและก�ำหนดอัตราบ�ำเหน็จกันไว้ ย่อมต้องเป็นไปตามนั้น
3. กรณีตกลงกันว่ามีบำ� เหน็จและไม่ได้กำ� หนดอัตราบ�ำเหน็จกันไว้ ย่อมต้องเป็นไปตามอัตราตาม
ธรรมเนียมเพื่อกิจการค้าขายนั้น
4. กรณีไม่ได้ตกลงกันว่ามีบำ� เหน็จหรือไม่ ย่อมต้องเป็นไป ตาม ปพพ. มาตรา 834 คือ มีบำ� เหน็จ
และเป็นไปตามอัตราตามธรรมเนียมเพื่อกิจการค้าขายนั้น
5. กรณีที่ตัวแทนค้าต่างเป็นตัวแทนฐานประกันด้วย ย่อมมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จพิเศษ ตาม ปพพ.
สธ
มาตรา 383 ดังจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไป

9-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ข้อสังเกต กรณีที่ตัวแทนค้าต่างท�ำมิชอบในหน้าที่ส่วนใด เช่น ท�ำการประมาทเลินเล่อ ไม่ท�ำการ


เป็นตัวแทน หรือท�ำการโดยปราศจากอ�ำนาจหรือท�ำนอกท�ำเหนือขอบอ�ำนาจตัวแทน ตัวแทนค้าต่างย่อม
ไม่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จในส่วนนั้น ตาม ปพพ. มาตรา 818 ประกอบมาตรา 835
2. สิทธิที่มีต่อคู่สัญญาในกิจการที่ท�ำ
มาตรา 837 บัญญัตวิ า่ “ในการทีต่ วั แทนค้าต่างท�ำการขายหรือซือ้ หรือจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอืน่


ต่างตัวการนั้น ท่านว่าตัวแทนค้าต่างย่อมได้ซึ่งสิทธิอันมีต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งในกิจการเช่นนั้น และ
ตัวแทนค้าต่างย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นด้วย”

มส
โดยที่ตัวแทนค้าต่างเป็นผู้ซึ่งท�ำการซื้อหรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่นใน
นามของตนเองต่างตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 833 ดังนั้นในการที่ตัวแทนค้าต่างท�ำการขายหรือซื้อหรือ
จัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่นต่างตัวการนั้น ตัวแทนค้าต่างย่อมได้ซึ่งสิทธิที่มีต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใน
กิจการเช่นนัน้ เช่น มีสทิ ธิทจี่ ะเรียกร้องให้คสู่ ญ
ั ญาปฏิบตั กิ ารช�ำระหนีต้ ามสัญญาทีไ่ ด้ทำ� กันไว้ และตัวแทน
ค้าต่างย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อคู่สัญญาฝ่ายนั้นด้วย หมายความว่าตัวแทนค้าต่างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ
การช�ำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเช่นกัน
ตัวอย่าง 1 นายมณีเปิดร้านขายพันธุ์ไม้ล้อม นายเอกน�ำต้นทองหลางลายที่ล้อมมาฝากนายมณี
ขาย ต่อมานายกนกตกลงซื้อต้นทองหลางลายดังกล่าวในราคา 20,000 บาท ช�ำระราคาให้นายมณีไว้แล้ว
15,000 บาท หลังจากที่นายมณีน�ำต้นทองหลางลายไปปลูกให้แก่นายกนกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นายกนก

ผิดนัดไม่ช�ำระราคาส่วนที่ค้างนั้นจ�ำนวน 5,000 บาท เช่นนี้ นายมณีย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้นายกนก
ช�ำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนั้นด้วยได้
มส

ตัวอย่าง 2 นายมณีเปิดร้านขายพันธุ์ไม้ล้อม นายเอกน�ำต้นทองหลางลายที่ล้อมมาฝากนายมณี


ขาย ต่อมานายกนกตกลงซื้อต้นทองหลางลายดังกล่าวในราคา 20,000 บาท โดยช�ำระราคาบางส่วนให้
นายมณีไว้แล้ว 15,000 บาท หลังจากนั้นนายมณีก็ยังไม่นำ� ต้นทองหลางลายไปปลูกให้แก่นายกนกตามที่
ตกลงกัน เช่นนี้ นายกนกย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้นายมณีปฏิบัติการช�ำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้นั้นได้
นายมณีจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าให้ไปฟ้องเรียกร้องเอาจากนายเอกย่อมไม่ได้
3. สิทธิเข้าเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายทรัพย์สินอันมีรายการขานราคาของสถานแลกเปลี่ยน

มาตรา 843 บัญญัตวิ า่ “ตัวแทนค้าต่างคนใดได้รบั ค�ำสัง่ ให้ขายหรือซือ้ ทรัพย์สนิ อันมีรายการขาน
ราคาของสถานแลกเปลี่ยน ท่านว่าตัวแทนคนนั้นจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายเองก็ได้ เว้นแต่จะมีข้อห้ามไว้ชัด
แจ้งโดยสัญญา ในกรณีเช่นนั้น ราคาอันจะพึงใช้เงินแก่กันก็พึงก�ำหนดตามรายการขานราคาทรัพย์สิน
นั้น ณ สถานแลกเปลี่ยนในเวลาเมื่อตัวแทนค้าต่างให้ค�ำบอกกล่าวว่าตนจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย
เมือ่ ตัวการรับค�ำบอกกล่าวเช่นนัน้ ถ้าไม่บอกปัดเสียในทันที ท่านให้ถอื ว่าตัวการเป็นอันได้สนอง
รับการนั้นแล้ว
อนึ่ง แม้ในกรณีเช่นนั้น ตัวแทนค้าต่างจะคิดเอาบ�ำเหน็จก็ย่อมคิดได้”
สธ
“ทรัพย์สนิ อันมีรายการขานราคาของสถานแลกเปลีย่ น” หมายความว่า ทรัพย์สนิ ทีม่ รี าคาซือ้ ขาย
เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ไม่มีความแน่นอนคงที่โดยตลอด ซึ่งต้องมีการประกาศราคาทุกวัน เช่น ทองค�ำ หุ้น
นํ้ามัน ยางพารา เป็นต้น

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-15

การที่ตัวแทนค้าต่างได้รับค�ำสั่งให้ท�ำการขายหรือซื้อทรัพย์สินอันมีรายการขานราคาของสถาน
แลกเปลีย่ นนัน้ ตัวแทนค้าต่างมีสทิ ธิทจี่ ะเข้าเป็นผูซ้ อื้ หรือผูข้ ายเสียเองได้ เช่น นายมนูญให้นายวิสฐิ ซึง่ เป็น
เจ้าของร้านขายทองค�ำเป็นตัวแทนค้าต่างขายทองค�ำของตนให้ดว้ ย เช่นนี้ แม้ราคาทองค�ำจะมีการผันผวน
ไม่เท่ากันทุกวันก็ตาม นายวิสิฐย่อมมีสิทธิที่จะเข้าซื้อทองค�ำที่นายมนูญฝากขายนั้นเอาเสียเองได้ หาก
พอใจในราคาที่มีการประกาศ ณ เวลาซื้อขาย เนื่องจากกรณีดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่าตัวการจะได้รับความ


เสียหาย แม้นายวิสิฐจะซื้อทองค�ำนั้นได้ในราคาที่ถูกที่สุดตามอัตราที่ประกาศมาก็ตาม
อย่างไรก็ตาม มีขอ้ ยกเว้นทีต่ วั แทนค้าต่างจะเข้าเป็นผูซ้ อื้ หรือผูข้ ายเสียเองไม่ได้ ถ้าหากมีขอ้ ห้าม

มส
กันไว้ระหว่างตัวการกับตัวแทนค้าต่าง ไม่ว่าข้อห้ามนั้นจะตกลงกันด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ
ข้อสังเกต กรณีดงั กล่าวนีแ้ ตกต่างจากตัวแทนโดยปกติ ซึง่ ปพพ. มาตรา 805 บัญญัตหิ า้ มตัวแทน
เข้าท�ำนิติกรรมอันใดในนามของตัวการท�ำกับตนเองในนามของตนเองหรือในฐานเป็นตัวแทนของบุคคล
ภายนอก ถ้าไม่ได้รับความยินยอมของตัวการ เว้นแต่นิติกรรมนั้นมีเฉพาะแต่การช�ำระหนี้
ส�ำหรับราคาที่ตัวแทนค้าต่างจะต้องช�ำระให้แก่ตัวการนั้น ต้องคิด ณ เวลาที่ตัวแทนค้าต่างให้คำ�
บอกกล่าวแก่ตวั การถึงเจตนาทีจ่ ะเข้าเป็นผูซ้ อื้ หรือผูข้ ายทรัพย์สนิ นัน้ โดยมีกำ� หนดอัตราตามประกาศราคา
ของทรัพย์สินนั้น ณ สถานที่แลกเปลี่ยนนั้น ส่วนวิธีที่ตัวแทนค้าต่างจะเข้าเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายเสียเองนั้น
ตัวแทนค้าต่างต้องให้คำ� กล่าวแก่ตวั การว่าจะเข้าเป็นผูซ้ อื้ หรือผูข้ ายเสียเองแล้วแต่กรณี กล่าวคือถ้าเป็นค�ำ
บอกกล่าวที่แสดงเจตนาต่อตัวการซึ่งอยู่เฉพาะหน้า ย่อมมีผลสมบูรณ์เมื่อตัวการได้ทราบถึงค�ำบอกกล่าว

ดังกล่าว หากตัวการไม่บอกปัดค�ำบอกกล่าวนั้น หรือถ้าเป็นค�ำบอกกล่าวที่แสดงเจตนาต่อตัวการซึ่งมิได้
อยู่เฉพาะหน้า ย่อมมีผลสมบูรณ์เมื่อค�ำบอกกล่าวดังกล่าวได้ไปถึงตัวการ หากตัวการไม่บอกปัดค�ำบอก
มส

กล่าวนั้น
อนึง่ แม้ตวั แทนค้าต่างจะได้เข้าท�ำการเป็นผูซ้ อื้ หรือผูข้ ายเสียเองกับตัวการนัน้ ไม่เป็นการตัดสิทธิ
ของตัวแทนค้าต่างที่ยังคงมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จจากตัวการ
ตัวอย่าง นายมนูญให้นายวิสฐิ ซึง่ เป็นเจ้าของร้านขายทองค�ำเป็นตัวแทนค้าต่างขายทองค�ำของตน
มีนํ้าหนัก 20 บาท ให้ด้วยโดยตกลงให้บ�ำเหน็จแก่นายวิสิฐในอัตราร้อยละ 3 ของราคาที่ขายได้ แม้ราคา
ทองค�ำจะมีการผันผวนไม่เท่ากันทุกวันก็ตาม ต่อมาวันหนึง่ ราคาทองค�ำตกลงมาเป็นจ�ำนวนมาก นายวิสฐิ

เห็นว่าถ้าซื้อไว้จะได้ก�ำไรเมือ่ ราคาขึน้ จึงโทรศัพท์ไปบอกนายมนูญว่าตนประสงค์จะซือ้ ทองค�ำนัน้ ทัง้ หมด
นายมนูญมิได้บอกปัดแต่อย่างใด เช่นนี้ นายวิสิฐต้องช�ำระราคาทองค�ำนั้นตามอัตราซื้อขายในขณะที่แจ้ง
ความประสงค์จะซื้อทองค�ำนั้นทางโทรศัพท์แก่นายมนูญ ทั้งนี้ นายวิสิฐยังคงมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จในอัตรา
ร้อยละ 3 ของราคาที่ตนต้องช�ำระแก่นายมนูญด้วย

หน้าที่และความรับผิดของตัวแทนค้าต่าง
1. หน้าที่คิดประโยชน์ให้แก่ตัวการ
สธ
มาตรา 840 บัญญัตวิ า่ “ถ้าตัวแทนค้าต่างได้ทำ� การขายได้ราคาสูงกว่าทีต่ วั การก�ำหนด หรือท�ำการซือ้
ได้ราคาตํ่ากว่าที่ตัวการก�ำหนดไซร้ ท่านว่าตัวแทนหาอาจจะถือเอาเป็นประโยชน์ของตนได้ไม่ ต้องคิดให้
แก่ตัวการ”

9-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ในกรณีทตี่ วั การก�ำหนดราคาให้ตวั แทนค้าต่างท�ำการขายหรือท�ำการซือ้ ทรัพย์สนิ ไว้เป็นการเฉพาะ


แล้ว ตัวแทนค้าต่างอาจต้องคิดประโยชน์ที่ได้จากการท�ำการขายหรือท�ำการซื้อดังกล่าวให้แก่ตัวการ โดย
จะถือเอาเป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
1) ท�ำการขายได้ราคาสูงกว่าที่ตัวการก�ำหนด กล่าวคือขายทรัพย์สินแพงไปกว่าที่ตัวการ
ก�ำหนด


ตัวอย่าง นายมงคลเปิดแผงพระอยู่หน้าวัดแห่งหนึ่ง นายโกศลได้นำ� พระเครื่องหลวงปู่ทวด
รุน่ นิยมรุน่ หนึง่ มาฝากนายมงคลขายโดยตกลงให้บำ� เหน็จเป็นเงินจ�ำนวน 5,000 บาท โดยนายโกศลก�ำหนด

มส
ราคาไว้วา่ ห้ามขายตํา่ กว่าราคา 50,000 บาท8 หลังจากนัน้ นายชัชวาลมาดูพระเครือ่ งหลวงปูท่ วดดังกล่าว
นายมงคลเห็นว่านายชัชวาลสนใจในพระเครือ่ งนัน้ มากจึงบอกเสนอขายให้นายชัชวาลในราคา 60,000 บาท
หลังจากต่อรองราคากันแล้วได้ราคายุติที่ 56,000 บาท เช่นนี้ นายมงคลต้องคิดเงินราคาในส่วนที่สูงไป
จ�ำนวน 6,000 บาทให้แก่นายโกศลด้วยและมีสทิ ธิได้รบั บ�ำเหน็จจากนายโกศลเป็นเงินจ�ำนวน 5,000 บาท
2) ท�ำการซือ้ ได้ราคาตํา่ กว่าทีต่ วั การก�ำหนด กล่าวคือซือ้ ทรัพย์สนิ ได้ถกู กว่าทีต่ วั การก�ำหนด
ตัวอย่าง นายมงคลเปิดแผงพระอยู่หน้าวัดแห่งหนึ่ง นายอ�ำนวยบอกกับนายมงคลว่าถ้ามี
ใครน�ำพระแก้วมรกตบูชาหน้าตัก 5 นิ้วขายให้นายมงคลรับซื้อไว้ด้วยโดยตกลงให้บำ� เหน็จเป็นเงินจ�ำนวน
3,000 บาท โดยนายอ�ำนวยก�ำหนดราคาไว้ว่าห้ามซื้อสูงกว่าราคา 30,000 บาทหลังจากนั้น นายเด่นชัย
น�ำพระแก้วมรกตบูชาดังกล่าวมาเสนอขายแก่นายมงคลในราคา 35,000 บาท นายมงคลเห็นว่านายเด่นชัย

มีความต้องการเงินด่วนมากจึงต่อรองราคากัน หลังจากต่อรองกันแล้วได้ราคายุตทิ ี่ 28,000 บาทถูกไปกว่า
ที่นายอ�ำนวยก�ำหนดราคาไว้ 2,000 บาท เช่นนี้ นายมงคลต้องคิดเงินราคาในส่วนที่ตํ่าไปจ�ำนวน 2,000
มส

บาทให้แก่นายโกศลด้วยและมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จจากนายโกศลเป็นเงินจ�ำนวน 3,000 บาท


มีปัญหาน่าคิดว่า ถ้าตัวการตกลงกับตัวแทนค้าต่างว่าหากตัวแทนค้าต่างท�ำการขายทรัพย์สินไป
ในราคาทีส่ งู กว่าราคาทีต่ วั การก�ำหนดไว้ หรือซือ้ ทรัพย์สนิ ได้ถกู กว่าราคาทีต่ วั การก�ำหนดไว้แล้ว ให้เศษส่วน
เกินหรือตํ่ากว่านั้นเป็นประโยชน์ได้แก่ตัวแทนค้าต่าง ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติมาตรา 840 นี้ ข้อตกลง
ดังกล่าวมีผลใช้บงั คับได้หรือไม่ ในประเด็นปัญหานี้ ผูเ้ ขียนมีความเห็นว่ามาตรา 840 เป็นเพียงบทบัญญัติ
ทีป่ อ้ งกันมิให้ตวั แทนค้าต่างถือโอกาสแสวงหาประโยชน์สว่ นตัวจากการท�ำหน้าทีต่ วั แทนค้าต่างซึง่ เกีย่ วข้อง
กับคู่กรณีโดยเฉพาะ ไม่ใช่บทกฎหมายซึ่งเกี่ยวด้วยผลประโยชน์ของมหาชนโดยทั่วไป ทั้งไม่ได้เกี่ยวกับ
ศีลธรรมตามที่นิยมกันในหมู่ชนทั่วไปหรือธรรมเนียมประเพณีของสังคมแต่อย่างใด จึงมิใช่บทบัญญัติแห่ง
กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตัวการและตัวแทนค้าต่างอาจ

ตกลงเป็นประการอืน่ จากทีม่ าตรา 840 บัญญัตไิ ว้ ย่อมกระท�ำได้ ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับตามกฎหมาย
ไม่ตกเป็นโมฆะ
2. หน้าที่แถลงรายงานแก่ตัวการ
มาตรา 841 บัญญัตวิ า่ “ตัวแทนค้าต่างท�ำการไปอย่างไรบ้าง ท่านให้แถลงรายงานแก่ตัวการและ
สธ
เมื่อได้ท�ำการค้าต่างเสร็จลงแล้ว ก็ให้แจ้งแก่ตัวการทราบมิให้ชักช้า”
8 โดยทัว่ ไปนิยมเรียกกันว่าเช่าพระเครือ่ ง ซึง่ ในทางกฎหมายคือการซือ้ ขายทีก
่ รรมสิทธิใ์ นพระเครือ่ งนัน้ จะโอนไปเป็นของ
ผู้ซื้อ

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-17

การแถลงรายงานสิ่งที่ตัวแทนค้าต่างได้ท�ำการไปนั้น กฎหมายก�ำหนดให้ตัวแทนค้าต่างแถลง
รายงานแก่ตัวการว่าได้ท�ำการอย่างไรไปบ้าง เมื่อตัวแทนค้าต่างได้ท�ำการค้าต่างส�ำเร็จแล้วต้องรีบแจ้งให้
ตัวการทราบโดยไม่ชกั ช้า คือทันทีทสี่ ามารถท�ำได้ เพือ่ ความเข้าใจในเรือ่ งนีส้ ามารถแยกประเด็นพิจารณา
ได้ดังนี้
1) เวลาทีต่ อ้ งแถลงรายงานหรือแจ้งให้ตวั การทราบ แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงแรกเป็น


เวลาระหว่างจัดท�ำการซื้อหรือขายทรัพย์สินหรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่น แล้วแต่กรณี และช่วงที่
สองเป็นเวลาที่ได้ท�ำการค้าต่างส�ำเร็จ

มส 2) เรื่องที่ต้องแถลงรายงาน คือในระหว่างเวลาจัดท�ำการซื้อหรือขายทรัพย์สินหรือรับจัดท�ำ
กิจการค้าขายอย่างอื่น แล้วแต่กรณี ต้องแถลงรายงานถึงความเป็นไปของการจัดท�ำการซื้อหรือขาย
ทรัพย์สินหรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอื่น แล้วแต่กรณีว่าได้ด�ำเนินการไปอย่างไรบ้าง ส่วนเวลาที่ได้
ท�ำการค้าต่างส�ำเร็จ ต้องแจ้งให้ตัวการทราบถึงความส�ำเร็จนั้น
3) วิธีการแจ้ง กฎหมายไม่ได้ก�ำหนดไว้ ดังนั้น จึงอาจแจ้งได้ด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
4) ผลของการไม่แถลงรายงาน การทีต่ วั แทนค้าต่างไม่แถลงรายงานแก่ตวั การเมือ่ ได้ทำ� การ
ค้าต่างส�ำเร็จแล้ว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อหน้าที่ของตัวแทน หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ตัวการ ตัวแทน
ค้าต่างต้องรับผิดต่อตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 812 ประกอบมาตรา 835
อย่างไรก็ตาม ตัวการอาจตกลงกับตัวแทนค้าต่างให้แถลงรายงานสิง่ ทีต่ วั แทนค้าต่างได้ทำ� การไป

แตกต่างไปจากที่มาตรานี้ก�ำหนดไว้ก็ได้ เช่น ให้แถลงรายงานให้ตัวการทราบทุก 3 เดือน จนกว่าได้ท�ำ
การค้าต่างส�ำเร็จ เป็นต้น
มส

ข้อสังเกต ในกรณีตวั แทนโดยปกตินนั้ ตัวแทนไม่ตอ้ งแจ้งความเป็นไปของการทีไ่ ด้มอบหมายจาก


ตัวการให้ตัวการทราบ เว้นแต่ตัวการมีประสงค์จะทราบความเป็นไปของการที่ได้มอบหมายนั้น ก็สามารถ
ให้ตัวแทนแจ้งให้ทราบได้ในเวลาใดๆ ซึ่งสมควรแก่เหตุ และเมื่อการเป็นตัวแทนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ตัวแทน
ต้องแถลงบัญชีด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 809 ส�ำหรับกรณีตัวแทนค้าต่างนี้ กฎหมายบังคับให้ตัวแทนค้า
ต่างต้องแถลงรายงานว่าได้ทำ� การไปอย่างไรบ้างและต้องแจ้งให้ตวั การทราบเมือ่ ได้ทำ� การค้าต่างส�ำเร็จแล้ว
โดยไม่ชักช้า ไม่ว่าตัวการมีประสงค์จะทราบหรือไม่ก็ตาม
3. หน้าที่เก็บรักษาทรัพย์สินของตัวการ

ทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ ลักษณะฝากทรัพย์มาใช้บังคับ อนุโลมตามควร



มาตรา 842 บัญญัตวิ า่ “เมื่อใดเขามอบหมายทรัพย์สินไว้แก่ตัวแทนค้าต่างท่านให้น�ำบทบัญญัติ

อนึ่ง ในกรณีที่เป็นความจ�ำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ท่านว่าตัวแทนค้าต่างจะจัดการแก่


ทรัพย์สินนั้นตามวิธีการดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 631 ว่าด้วยรับขนนั้นก็ได้”
ในการจัดท�ำการซื้อหรือขายทรัพย์สินหรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายให้แก่ตัวการนั้น ถ้าตัวการมอบ
หมายทรัพย์สินให้อยู่ในความครอบครองของตัวแทนค้าต่าง การเก็บรักษาทรัพย์สินดังกล่าวต้องเป็นไป
สธ
ตามกฎหมายลักษณะฝากทรัพย์ใน ปพพ. บรรพ 3 ลักษณะ 10 กล่าวโดยสรุปคือตัวแทนค้าต่างซึ่งเป็น
ผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใดก็จ�ำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่

9-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนัน้ 9 หรือถ้าตัวการมิได้อนุญาต
และตัวแทนค้าต่างเอาทรัพย์สนิ ซึง่ ฝากนัน้ ออกใช้สอยเอง หรือเอาไปให้บคุ คลภายนอกใช้สอย หรือให้บคุ คล
ภายนอกเก็บรักษา ตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดเมือ่ ทรัพย์สนิ ซึง่ ฝากนัน้ สูญหายหรือบุบสลายอย่างหนึง่ อย่างใด
แม้ถึงจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไรๆ ทรัพย์สินนั้นก็คงจะต้องสูญหายหรือ
บุบสลายอยูน่ นั่ เอง10 หรือในกรณีเมือ่ คืนทรัพย์ ถ้ามี ดอกผลเกิดแต่ทรัพย์สนิ ซึง่ ฝากนัน้ เท่าใด ตัวแทนค้าต่าง


ต้องส่งมอบพร้อมไปกับทรัพย์สนิ นัน้ ด้วย11 หรือในกรณีมคี า่ ใช้จา่ ยใดอันควรแก่การบ�ำรุงรักษาทรัพย์สนิ ซึง่
ฝากนั้น ตัวการจ�ำต้องชดใช้ให้แก่ตัวแทนค้าต่าง เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้โดยสัญญาว่าตัวแทนค้าต่างจะ

มส
ต้องออกเงินค่าใช้จ่ายนั้นเอง12
มีข้อสังเกตว่า ทรัพย์สินที่เขามอบหมายแก่ตัวแทนค้าต่างตามมาตรา 842 วรรคหนึ่ง มีนัก
กฎหมายเห็นว่านอกจากเป็นทรัพย์สินที่ตัวการมอบหมายแก่ตัวแทนค้าต่างแล้ว ยังรวมถึงทรัพย์สินที่
ตัวแทนค้าต่างรับไว้จากบุคคลภายนอกแทนตัวการด้วย เช่น ทรัพย์สนิ ทีต่ วั แทนค้าต่างซือ้ ไว้แทนตัวการ13
ในกรณีทมี่ คี วามจ�ำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ซึง่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป ตัวแทน
ค้าต่างอาจจัดการแก่ทรัพย์สินของตัวการดังกล่าว ตาม ปพพ. มาตรา 631 ว่าด้วยรับขน ในกรณีดังต่อไป
นี้คือ
1) ถ้าหลังจากที่ตัวแทนค้าต่างได้ท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกแล้ว ปรากฏว่าหาตัวบุคคล
ภายนอกซึง่ เป็นคูส่ ญั ญาไม่พบ เช่น หายไปจากภูมลิ ำ� เนาโดยไม่มผี ใู้ ดทราบ หรือถ้าบุคคลภายนอกบอกปัด

ไม่ยอมรับมอบทรัพย์สินดังกล่าว ตัวแทนค้าต่างต้องบอกกล่าวไปยังตัวการทันที และถามเอาค�ำสั่งของ
ตัวการว่าจะให้ปฏิบตั อิ ย่างไร ถ้าหากว่าพฤติการณ์ขดั ขวางไม่สามารถจะท�ำได้ดงั นัน้ หรือถ้าตัวการละเลย
ไม่สง่ ค�ำสัง่ มาในเวลาอันควร หรือส่งมาเป็นค�ำสัง่ อันไม่อาจปฏิบตั ใิ ห้เป็นไปได้ เช่นนี้ ตัวแทนค้าต่างย่อมมี
มส

อ�ำนาจที่จะเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปฝากไว้ ณ ส�ำนักงานฝากทรัพย์ได้ ปัจจุบันคือส�ำนักงานวางทรัพย์


2) ถ้าทรัพย์สนิ ดังกล่าวเป็นลหุภณ ั ฑ์ของสดเสียได้ เช่น ผักสด ผลไม้สด และการหน่วงช้า
ไว้ย่อมเป็นการเสี่ยงความเสียหาย หรือถ้าราคาทรัพย์สินดังกล่าวดูไม่น่าจะคุ้มค่ากับการเก็บรักษาไว้
ตัวแทนค้าต่างจะเอาทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดเสียก็ได้
อนึง่ การเอาทรัพย์สนิ ดังกล่าวไปฝากหรือเอาออกขายทอดตลาดนัน้ ตัวแทนค้าต่างต้องบอกกล่าว
แก่ตัวการหรือบุคคลภายนอกมิให้ชักช้า เว้นแต่ไม่สามารถจะท�ำได้

มาตรา 838 บัญญัตวิ า่ “ถ้าคูส่ ญ



ถ้าตัวแทนค้าต่างละเลยเสียไม่บอกกล่าวดังกล่าว ตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายนั้น
4. ความรับผิดในการช�ำระหนี้ให้แก่ตัวการ
ั ญาอีกฝ่ายหนึง่ ไม่ชำ� ระหนีไ้ ซร้ ท่านว่าตัวแทนค้าต่างหาต้องรับผิด
ต่อตัวการเพื่อช�ำระหนี้นั้นเองไม่ เว้นแต่จะได้มีข้อก�ำหนดในสัญญาหรือมีปริยายแต่ทางการที่ตัวการกับ
ตัวแทนประพฤติต่อกัน หรือมีธรรมเนียมในท้องถิ่นว่าจะต้องรับผิดถึงเพียงนั้น
9 ปพพ. มาตรา 659 วรรคสาม
สธ
10 ปพพ. มาตรา 660
11 ปพพ. มาตรา 666
12 ปพพ. มาตรา 668
13 สถิตย์ เล็งไธสง เรื่องเดียวกัน น. 260.

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-19

อนึ่ง ตัวแทนค้าต่างคนใดเข้ารับประกันการปฏิบัติตามสัญญาโดยนัยดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น
ไซร้ ท่านว่าตัวแทนคนนั้นชื่อว่าเป็นตัวแทนฐานประกัน ชอบที่จะได้รับบ�ำเหน็จพิเศษ”
แม้ว่าตัวแทนค้าต่างจะเป็นผู้ที่ท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกในนามของตนเองต่างหากจากตัวการ
เพือ่ การท�ำกิจการตามทีต่ วั การมอบหมายนัน้ ก็ตาม หากปรากฏว่าบุคคลภายนอกนัน้ ผิดสัญญาไม่ชำ� ระหนี้
ตามสัญญาที่ตัวแทนค้าต่างได้ท�ำไว้กับบุคคลภายนอกนั้น โดยหลักแล้วตัวแทนค้าต่างไม่มีหน้าที่ที่จะต้อง


ช�ำระหนีน้ นั้ แทนบุคคลภายนอกให้แก่ตวั การ และตัวการก็ไม่มสี ทิ ธิเรียกร้องให้ตวั แทนค้าต่างรับผิดในกรณี
ดังกล่าว

มส
อย่างไรก็ตามมีกรณีเป็นข้อยกเว้นให้ตัวแทนค้าต่างต้องรับผิดต่อตัวการเพื่อช�ำระหนี้นั้นในกรณี
ดังกล่าว ดังนี้
1) กรณีมขี อ้ ก�ำหนดในสัญญา กล่าวคือ ในสัญญาตัวแทนค้าต่างระหว่างตัวการและตัวแทน
ค้าต่างได้ตกลงกันโดยแจ้งชัดว่า ถ้าบุคคลภายนอกผู้ซึ่งเป็นคู่สัญญากับตัวแทนค้าต่างไม่ช�ำระหนี้ตาม
สัญญานั้น ตัวแทนค้าต่างต้องรับผิดชอบต่อตัวการเพื่อช�ำระหนี้นั้น
ข้อสังเกต สัญญาตัวแทนค้าต่างกฎหมายไม่ได้ก�ำหนดแบบไว้ จึงตกลงกันด้วยวาจาหรือ
เป็นหนังสือก็ได้ ดังนั้นแล้วข้อก�ำหนดในสัญญาข้างต้นจึงก�ำหนดขึ้นโดยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ และจะ
ก�ำหนดกันในขณะที่ท�ำสัญญาตัวแทนค้าต่างหรือหลังจากที่สัญญานั้นเกิดขึ้นแล้วก็ได้
2) กรณีมีปริยายแต่ทางการที่ตัวการกับตัวแทนประพฤติต่อกัน หมายความว่า ทางปฏิบัติ

ของตัวการและตัวแทนค้าต่างที่ผ่านมา เมื่อบุคคลภายนอกผู้ซึ่งเป็นคู่สัญญากับตัวแทนค้าต่างไม่ชำ� ระหนี้
ตามสัญญานัน้ ตัวแทนค้าต่างจะรับผิดชอบต่อตัวการเพือ่ ช�ำระหนีน้ นั้ ทุกครัง้ จนเป็นปริยายไปแล้วว่าหาก
มส

บุคคลภายนอกผูซ้ งึ่ เป็นคูส่ ญ ั ญากับตัวแทนค้าต่างไม่ชำ� ระหนีต้ ามสัญญาทีท่ ำ� กันขึน้ อีก ตัวแทนค้าต่างก็จะ


รับผิดชอบต่อตัวการเพื่อช�ำระหนี้ตามสัญญานั้นอีก โดยไม่ต้องมีข้อก�ำหนดในสัญญาไว้แจ้งชัดดังข้อ 1)
3) กรณีมีธรรมเนียมในท้องถิ่นว่าจะต้องรับผิดถึงเพียงนั้น หมายความว่ากิจการที่ตัวแทน
ค้าต่างรับท�ำให้ตวั การนัน้ มีธรรมเนียมในท้องถิน่ นัน้ ๆ ซึง่ เป็นแนวปฏิบตั โิ ดยทัว่ ไปของคนในท้องถิน่ นัน้ ว่า
ถ้าบุคคลภายนอกผูซ้ งึ่ เป็นคูส่ ญั ญากับตัวแทนค้าต่างไม่ช�ำระหนีต้ ามสัญญานัน้ ตัวแทนค้าต่างต้องรับผิดชอบ
ต่อตัวการเพื่อช�ำระหนี้นั้นโดยไม่ต้องมีข้อก�ำหนดในสัญญาไว้แจ้งชัดดังข้อ 1)

ชอบที่จะได้รับบ�ำเหน็จพิเศษ”

ความในวรรคสองของมาตรา 838 บัญญัตวิ า่ “อนึ่ง ตัวแทนค้าต่างคนใดเข้ารับประกันการปฏิบัติ
ตามสัญญาโดยนัยดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้นไซร้ ท่านว่าตัวแทนคนนั้นชื่อว่าเป็นตัวแทนฐานประกัน

ตัวแทนฐานประกัน จึงหมายถึงตัวแทนค้าต่างซึ่งเข้ารับประกันการปฏิบัติตามสัญญาในกรณีที่
คู่สัญญาไม่ชำ� ระหนี้ตามสัญญาโดยตัวแทนค้าต่างรับผิดต่อตัวการเพื่อช�ำระหนี้นั้นเอง
ตัวแทนค้าต่างเข้ารับประกันการปฏิบตั ติ ามสัญญาต่อบุคคลภายนอก หมายความว่าตัวแทนค้าต่าง
เป็นฝ่ายที่แสดงเจตนาต่อตัวการว่าถ้าบุคคลภายนอกผู้ซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนไม่ช�ำระหนี้ตามสัญญานั้น
สธ
ตัวแทนค้าต่างจะรับผิดชอบต่อตัวการเพือ่ ช�ำระหนีน้ นั้ เอง ซึง่ เมือ่ พิจารณาจากบทบัญญัตใิ นวรรคหนึง่ แล้ว
เห็นได้วา่ การเข้ารับประกันการปฏิบตั ติ ามสัญญาของตัวแทนค้าต่างมีอยูใ่ นกรณีมขี อ้ ก�ำหนดในสัญญาหรือ
มีปริยายแต่ทางการทีต่ วั การกับตัวแทนประพฤติตอ่ กัน ส่วนกรณีมธี รรมเนียมในท้องถิน่ ว่าจะต้องรับผิดถึง

9-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เพียงนัน้ หาใช่เรือ่ งทีต่ วั แทนค้าต่างเข้ารับประกันการปฏิบตั ติ ามสัญญา หากแต่มธี รรมเนียมในท้องถิน่ นัน้


ก�ำหนดไว้แล้ว แต่ถา้ เป็นกรณีทมี่ ขี อ้ ก�ำหนดในสัญญาไว้ดว้ ยแม้จะมีธรรมเนียมในท้องถิน่ นัน้ อีกด้วยก็ตาม
เห็นว่ากรณีนี้ตัวแทนค้าต่างก็ย่อมมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จพิเศษในฐานะเป็นตัวแทนฐานประกันเช่นกัน
ข้อสังเกต ตัวแทนฐานประกันเป็นกรณีทตี่ วั แทนค้าต่างเข้ารับเอาความเสีย่ งในการไม่ชำ� ระหนีต้ าม
สัญญานั้นแทนตัวการ โดยทั่วไปย่อมหวังที่จะได้รับบ�ำเหน็จเป็นพิเศษต่างหากจากบ�ำเหน็จปกติ ส�ำหรับ


บ�ำเหน็จพิเศษนั้นจะเป็นอัตราเท่าใด ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างตัวแทนค้าต่างกับตัวการ
มีขอ้ สังเกตต่อไปว่า ในกรณีทตี่ วั แทนค้าต่างไม่ตอ้ งรับผิดต่อตัวการเพือ่ ช�ำระหนีท้ บี่ คุ คลภายนอก

ของคูส่ ญ
มส
ซึง่ เข้าท�ำสัญญากับตัวแทนค้าต่างนัน้ แล้วบุคคลภายนอกไม่ชำ� ระหนีต้ ามสัญญานัน้ ถ้าปรากฏว่าการกระท�ำ
ของตัวแทนค้าต่างในเรื่องนั้นได้กระท�ำไปโดยความประมาทเลินเล่อ เช่นนี้ ตัวแทนค้าต่างยังคงต้องรับผิด
ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 812 ประกอบมาตรา 835
นอกจากนีม้ ขี อ้ สังเกตถึงการเข้ารับประกันการปฏิบตั ติ ามสัญญาดังกล่าวกับการคํา้ ประกันการช�ำระหนี้
ั ญานัน้ ซึง่ มีความแตกต่างกัน กล่าวคือการเข้ารับประกันการปฏิบตั ติ ามสัญญาของตัวแทนค้าต่าง
ซึ่งเป็นตัวแทนฐานประกันตามมาตรา 838 นั้น ไม่ต้องท�ำหลักฐานเป็นเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวแทนค้า
ต่างแต่ประการใด เพราะกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของตัวแทนที่บังคับ ตาม ปพพ. บรรพ 3 เอกเทศสัญญา
ลักษณะ 15 ตัวแทน ส�ำหรับการคํ้าประกันการช�ำระหนี้ของคู่สัญญานั้น ผู้คํ้าประกันต้องผูกพันตนต่อ
เจ้าหนี้ หากตัวแทนค้าต่างเป็นเจ้าหนี้ของบุคคลภายนอก ตัวแทนค้าต่างย่อมไม่อาจเป็นผู้คํ้าประกันได้

เพราะผู้คํ้าประกันต้องเป็นบุคคลภายนอก ทั้งการคํ้าประกันต้องท�ำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้คํ้า
ประกันจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้14 และต้องบังคับ ตาม ปพพ. บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 11
คํ้าประกัน
มส

อุทาหรณ์
ฎ. 6594/2537 ตามสัญญาระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลย ระบุชอื่ สัญญาว่า “สัญญาตัวแทนจ�ำหน่ายปุย๋ ”
เรียกโจทก์ว่าตัวการ เรียกจ�ำเลยว่าตัวแทนข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า “ตัวแทนสัญญาว่าจะ
จ�ำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยจึง
เป็นสัญญาตัวแทนค้าต่าง ตาม ปพพ. มาตรา 833 การช�ำระราคาปุ๋ยจึงต้องปรับตามมาตรา 838 วรรค
หนึง่ ซึง่ เมือ่ ข้อสัญญาก�ำหนดว่าตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในหนีห้ รือราคาปุย๋ ต่อตัวการ ดังนัน้ ไม่วา่ จ�ำเลย

มิใช่รับผิดเฉพาะกรณีที่ได้รับเงินค่าปุ๋ยมาแล้วเท่านั้น
5. ความรับผิดในการรับใช้เศษที่ขาดเกินให้แก่ตัวการ

จะได้รับช�ำระหนี้ค่าปุ๋ยจากผู้ซื้อคือเกษตรกรแล้วหรือไม่จ�ำเลยจะต้องรับผิดช�ำระเงินค่าปุ๋ยที่ค้างแก่โจทก์

มาตรา 839 บัญญัติว่า “ถ้าตัวแทนค้าต่างได้ท�ำการขายเป็นราคาตํ่าไปกว่าที่ตัวการก�ำหนดหรือ


ท�ำการซื้อเป็นราคาสูงไปกว่าที่ตัวการก�ำหนดไซร้ หากว่าตัวแทนรับใช้เศษที่ขาดเกินนั้นแล้วท่านว่าการ
ขายหรือการซื้ออันนั้นตัวการก็ต้องรับขายรับซื้อ”
สธ
ตัวแทนค้าต่างมีอาชีพในทางค้าขายท�ำการซือ้ หรือท�ำการขายหรือรับจัดท�ำกิจการค้าขายอย่างอืน่
ในกรณีทตี่ วั การก�ำหนดราคาให้ตวั แทนค้าต่างท�ำการขายหรือท�ำการซือ้ ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ตัวแทนค้าต่าง

14 ปพพ. มาตรา 380



ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-21

อาจต้องรับใช้เศษที่ขาดเกินนั้น ในกรณีที่ตัวแทนค้าต่างได้ท�ำการขายหรือท�ำการซื้อไปในกรณีต่อไปนี้
โดยจะถือเอาเป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้
1) ท�ำการขายเป็นราคาตํา่ ไปกว่าทีต่ วั การก�ำหนด กล่าวคือ ขายทรัพย์สนิ ถูกไปกว่าทีต่ วั การ
ก�ำหนด
2) ท�ำการซือ้ เป็นราคาสูงไปกว่าทีต่ วั การก�ำหนด กล่าวคือ ขายทรัพย์สนิ แพงไปกว่าทีต่ วั การ


ก�ำหนด
เมื่อตัวแทนค้าต่างรับผิดใช้ราคาในส่วนที่ขาดกรณีซื้อสูงไปหรือขายตํ่าไปกว่าที่ตัวการก�ำหนดไว้

มส
แล้ว ตัวการต้องรับการซื้อหรือการขายนั้นแล้วแต่กรณี
ตัวอย่าง 1 นายมงคลเปิดแผงพระอยู่หน้าวัดแห่งหนึ่ง นายโกศลได้น�ำพระเครื่องหลวงปู่ทวด
รุ่นนิยมรุ่นหนึ่งมาฝากนายมงคลขายโดยตกลงให้บ�ำเหน็จเป็นเงินร้อยละ 15 จากราคาที่ขายได้ โดย
นายโกศลก�ำหนดราคาไว้ว่าห้ามขายตํ่ากว่าราคา 50,000 บาท หลังจากนั้น นายชัชวาลมาดูพระเครื่อง
หลวงปู่ทวดดังกล่าวต่อรองราคากันที่ 48,000 บาท นายมงคลเห็นว่าช่วงนี้เศรษฐกิจฝืดเคือง ลูกค้าสนใจ
ในพระเครื่องน้อยลงจึงตกลงขายให้นายชัชวาลในราคา 48,000 บาทดังกล่าว เช่นนี้ นายมงคลต้องรับใช้
เงินราคาในส่วนที่ขาดไปจ�ำนวน 2,000 บาท แล้วย่อมมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จจากนายโกศลเป็นเงินจ�ำนวน
7,500 บาท
ตัวอย่าง 2 นายมงคลเปิดแผงพระอยู่หน้าวัดแห่งหนึ่ง นายอ�ำนวยบอกกับนายมงคลว่าถ้ามีใคร

น�ำพระแก้วมรกตบูชาหนักตัก 5 นิ้วขายให้นายมงคลรับซื้อไว้ด้วยโดยตกลงให้บ�ำเหน็จเป็นเงินจ�ำนวน
3,000 บาท โดยนายอ�ำนวยก�ำหนดราคาไว้ว่าห้ามซื้อสูงกว่าราคา 30,000 บาทหลังจากนั้น นายเด่นชัย
น�ำพระแก้วมรกตบูชาดังกล่าวมาเสนอขายแก่นายมงคลในราคา 35,000 บาท หลังจากต่อรองราคากันแล้ว
มส

ได้ราคายุติที่ 31,500 บาท นายมงคลเห็นว่าพระแก้วมรกตรุ่นนี้หายากจึงตกลงซื้อในราคาดังกล่าวสูงไป


กว่าที่นายอ�ำนวยก�ำหนดไว้ 1,500 บาท เช่นนี้ นายมงคลต้องรับใช้เงินราคาในส่วนสูงไปนั้นจ�ำนวน 1,500
บาท แล้วย่อมมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จจากนายอ�ำนวยเป็นเงินจ�ำนวน 2,000 บาท
จากตัวอย่างข้างต้น หากปรากฏภายหลังว่า นายโกศลหรือนายอ�ำนวยทราบความจริงว่าราคาพระ
ทีน่ ายมงคลขายไปหรือซือ้ มาแล้วแต่กรณีนนั้ ไม่เป็นไปตามราคาทีก่ ำ� หนดไว้ จะปฏิเสธไม่รบั การขายหรือ
การซื้อแล้วแต่กรณีนั้นไม่ได้
มีปญ

ั หาว่า ถ้าตัวแทนค้าต่างไม่ยอมใช้ราคาในส่วนทีข่ าดกรณีซอื้ สูงไปหรือขายตาํ่ ไปกว่าทีต่ วั การ
ก�ำหนดไว้ผลจะเป็นอย่างไร ประเด็นปัญหานี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่า เป็นกรณีที่ตัวแทนค้าต่างไม่ท�ำการ
เป็นตัวแทน หรือท�ำการโดยปราศจากอ�ำนาจหรือนอกเหนืออ�ำนาจ ดังนั้น เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่
ตัวการ ตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ตาม ปพพ. มาตรา 812 ประกอบมาตรา
835
ข้อสังเกต การที่ตัวแทนค้าต่างท�ำการขายเป็นราคาตํ่าไปหรือซื้อเป็นราคาสูงไปกว่าที่ตัวการ
สธ
ก�ำหนดในกรณีดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าตัวแทนค้าต่างกระท�ำผิดหน้าที่ตัวแทนหรือท�ำนอกท�ำเหนือขอบอ�ำนาจ
ตัวแทน15 ตาม ปพพ. มาตรา 812 และถ้าเปรียบเทียบกับตัวแทนในกรณีปกติในเรื่องดังกล่าวนี้ ย่อมเป็น

15 กมล สนธิเกษตริน เรื่องเดียวกัน น. 122.



9-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กรณีที่ตัวแทนกระท�ำการไปโดยปราศจากอ�ำนาจ หรือท�ำนอกท�ำเหนือขอบอ�ำนาจ การซื้อหรือการขาย


ทรัพย์สินนั้นย่อมไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น และถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน
ตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยล�ำพังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่
ว่าตนท�ำการโดยปราศจากอ�ำนาจ หรือท�ำนอกเหนือขอบอ�ำนาจดังกล่าว ตาม ปพพ. มาตรา 823


กิจกรรม 9.1.2

มส
1. ในการจัดการขายหรือซื้อทรัพย์สินของตัวแทนค้าต่างแทนตัวการนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันในเรื่อง
บ�ำเหน็จไว้ ตัวแทนค้าต่างชอบที่จะได้รับบ�ำเหน็จหรือไม่ อย่างไร
2. ตัวแทนค้าต่างต้องแถลงรายงานความเป็นไปของการจัดท�ำกิจการแทนตัวการให้ตวั การทราบ
หรือไม่ หากปรากฏว่าตัวการมิได้มีความประสงค์จะทราบถึงความเป็นไปนั้น
3. ตัวแทนฐานประกัน หมายถึงใคร
4. ตัวแทนค้าต่างได้รับมอบหมายให้ขายทรัพย์สินแทนตัวการ 2 ชิ้นโดยตัวการก�ำหนดราคา
ทรัพย์สินทั้ง 2 ชิ้นนั้นไว้ไม่ให้ขายตํ่ากว่า 5,000 บาท ปรากฏว่าตัวแทนค้าต่างขายชิ้นที่ 1 ได้ราคา 4,000
บาท และขายชิ้นที่ 2ได้ราคา 6,000 บาท เช่นนี้ ตัวแทนค้าต่างมีหน้าที่และความรับผิดต่อตัวการอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 9.1.2
1. ในการจัดการขายหรือซื้อทรัพย์สินของตัวแทนค้าต่างแทนตัวการนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันในเรื่อง
มส

บ�ำเหน็จไว้ ตัวแทนค้าต่างชอบที่จะได้รับบ�ำเหน็จจากตัวการโดยคิดตามอัตราตามธรรมเนียมเพื่อกิจการ
ค้าขายอันตนได้จัดการให้ตกลงไปนั้นทุกรายไป ตาม ปพพ. มาตรา 834
2. ตัวแทนค้าต่างมีหน้าทีต่ อ้ งแถลงรายงานความเป็นไปของการจัดท�ำกิจการแทนตัวการให้ตวั การ
ทราบ ตาม ปพพ. มาตรา 841 แม้จะปรากฏว่าตัวการมิได้มคี วามประสงค์จะทราบถึงความเป็นไปนัน้ ก็ตาม
3. ตัวแทนฐานประกัน หมายถึง ตัวแทนค้าต่างซึ่งเข้ารับประกันการปฏิบัติตามสัญญาในกรณีที่
คู่สัญญาไม่ช�ำระหนี้ตามสัญญาโดยตัวแทนค้าต่างรับผิดต่อตัวการเพื่อช�ำระหนี้นั้นเอง ซึ่งมีสิทธิได้รับ
บ�ำเหน็จพิเศษจากตัวการ ม
4. กรณีตัวแทนค้าต่างขายชิ้นที่ 1 ได้ราคา 4,000 บาท ตัวแทนค้าต่างต้องรับใช้เศษที่ขาดไป
จ�ำนวน 1,000 บาทนั้นแก่ตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 839 ส่วนกรณีขายชิ้นที่ 2 ได้ราคา 6,000 บาท นั้น
ตัวแทนค้าต่างจะถือเอาส่วนที่เกินไปจ�ำนวน 1,000 บาทนั้นเป็นประโยชน์ของตนไม่ได้และต้องคิดให้แก่
ตัวการ ตาม ปพพ. มาตรา 840
สธ

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-23

เรื่องที่ 9.1.3
ความระงับสิ้นไปของสัญญาตัวแทนค้าต่าง


ตัวแทนค้าต่างเป็นตัวแทนประเภทหนึ่งและมาตรา 835 บัญญัติว่า “บทบัญญัติทั้งหลายแห่ง
ประมวลกฎหมายนีอ้ นั ว่าด้วยตัวแทนนัน้ ท่านให้ใช้บงั คับถึงตัวแทนค้าต่างด้วยเพียงทีไ่ ม่ขดั กับบทบัญญัติ

มส
ในหมวดนี้” ดังนั้นบทบัญญัติในหมวด 5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทนย่อมน�ำมาใช้กับตัวแทน
ค้าต่างด้วยเท่าทีไ่ ม่ขดั กับบทบัญญัตใิ นหมวด 6 ตัวแทนค้าต่าง ซึง่ ปรากฏว่าบทบัญญัตใิ นหมวด 6 ตัวแทน
ค้าต่าง ไม่ได้บญ
ั ญัตถิ งึ ความระงับสิน้ ไปแห่งตัวแทนค้าต่างไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องน�ำบทบัญญัตใิ นหมวด
5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทนมาใช้บังคับ

ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทนค้าต่าง
สัญญาตัวแทนค้าต่างอาจระงับสิ้นไปด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้
1. คู่สัญญาตกลงก�ำหนดกันไว้ในสัญญา เช่น ตัวการและตัวแทนค้าต่างตกลงกันก�ำหนดกรณี
อันเป็นเหตุที่จะเลิกกัน เมื่อมีกรณีนั้น หรือก�ำหนดเวลาไว้ให้สัญญาตัวแทนค้าต่างระงับสิ้นไป เมื่อครบ
ก�ำหนดเวลานัน้ หรือสัญญาตัวแทนค้าต่างท�ำไว้เฉพาะเพือ่ ตัง้ ตัวแทนท�ำกิจการอย่างหนึง่ อย่างใดแต่อย่างเดียว

เมื่อเสร็จการนั้น เป็นต้น
ตัวอย่าง นายมงคลเปิดแผงพระอยูห่ น้าวัดแห่งหนึง่ นายโกศลได้นำ� พระเครือ่ งหลวงปูท่ วดรุน่ นิยม
มส

รุ่นหนึ่งมาฝากนายมงคลขายโดยตกลงให้บ�ำเหน็จเป็นเงินร้อยละ 15 จากราคาที่ขายได้ โดยนายโกศล


ก�ำหนดราคาไว้ว่าห้ามขายตํ่ากว่าราคา 50,000 บาท และก�ำหนดเวลาไว้ด้วยว่าฝากให้นายมงคลขายเป็น
เวลา 3 เดือน เช่นนี้ เมื่อครบก�ำหนดเวลา 3 เดือนแล้ว ยังไม่สามารถขายพระเครื่องหลวงปู่ทวดดังกล่าว
ได้ เช่นนี้ การเป็นตัวแทนค้าต่างของนายมงคลย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป หรือถ้าปรากฏว่าก่อนครบก�ำหนด
เวลา 3 เดือนแล้ว นายมงคลสามารถขายพระเครื่องหลวงปู่ทวดดังกล่าวได้ เช่นนี้ การเป็นตัวแทนค้าต่าง
ของนายมงคลย่อมเป็นอันระงับสิ้นไปเช่นกัน
2. ตามบทบัญญัติในหมวด 5 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน ในกรณีดังต่อไปนี16้ ม
2.1 ตัวการถอนตัวแทนค้าต่าง ซึง่ ตัวการจะถอนตัวแทนค้าต่างในเวลาใดๆ ก็ได้ทกุ เมือ่ ถ้า
ตัวการถอนตัวแทนค้าต่างในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวแทนค้าต่างนั้น ตัวการต้องรับผิดต่อตัวแทนค้าต่างใน
ความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างใดๆ นั้นด้วย เว้นแต่จะเป็นความจ�ำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้
2.2 ตัวแทนค้าต่างบอกเลิกเป็นตัวแทน ซึ่งตัวแทนค้าต่างจะบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลา
ใดๆ ก็ได้ทุกเมื่อ ถ้าตัวแทนค้าต่างบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ตัวการนั้น ตัวแทนค้าต่าง
ต้องรับผิดต่อตัวการในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ อย่างใดๆ นัน้ ด้วย เว้นแต่จะเป็นความจ�ำเป็นอันมิอาจก้าวล่วง
สธ
เสียได้

16 รายละเอียดได้กล่าวมาแล้วในหน่วยที่ 8 เรื่องที่ 8.2.1 เหตุที่ทำ�ให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป



9-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2.3 ตัวการตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย อย่างไรก็ดี ตัวแทนค้าต่าง


ต้องจัดการอันสมควรทุกอย่างเพือ่ จะปกปักรักษาประโยชน์อนั เขาได้มอบหมายแก่ตนไปจนกว่าทายาทหรือ
ผู้แทนของตัวการจะอาจเข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้นๆ ได้
อนึง่ ถ้าสัญญาตัวแทนค้าต่างมีขอ้ ตกลงกันไว้วา่ สัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ระงับเมือ่ ตัวการตาย
หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย ก็ย่อมเป็นไปตามข้อตกลงนั้น


2.4 ตัวแทนค้าต่างตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย อย่างไรก็ดี ทายาท
หรือบุคคลผูร้ บั หน้าทีด่ แู ลทรัพย์มรดกหรือทรัพย์สนิ ของตัวแทนค้าต่างโดยชอบด้วยกฎหมายต้องบอกกล่าว

มส
แก่ตวั การและจัดการเพือ่ ปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการไปตามสมควรแก่พฤติการณ์ จนกว่าตัวการอาจ
เข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้นๆ ได้
อนึ่ง ถ้าสัญญาตัวแทนค้าต่างมีข้อตกลงกันไว้ว่าสัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ระงับเมื่อตัวแทน
ค้าต่างตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถก็ย่อมเป็นไปตามข้อตกลงนั้น ส�ำหรับกรณีตัวแทนค้าต่าง
ล้มละลายนั้น นักกฎหมายเห็นกันว่าสัญญาตัวแทนค้าต่างต้องระงับไปเสมอเพราะตัวแทนค้าต่างเป็น
ผู้ท�ำการแทนตัวการโดยอาชีพ เมื่อล้มละลายแล้วตามกฎหมายล้มละลายอ�ำนาจจัดการทรัพย์สินของ
ผู้ล้มละลายย่อมตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตัวแทนค้าต่างนั้นจึงไม่อาจท�ำกิจการของตน
ต่อไปได้17

กิจกรรม 9.1.3
มส

ตัวแทนค้าต่างระงับสิ้นไปด้วยเหตุใดบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 9.1.3
ตัวแทนค้าต่างระงับสิ้นไปด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้
1. คู่สัญญาตกลงก�ำหนดกันไว้ในสัญญา
2. ตามบทบัญญัตใิ น ปพพ. มาตรา 826 และมาตรา 827 บรรพ 3 ลักษณะ 15 ตัวแทน หมวด 5
ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาตัวแทน ในกรณีดังต่อไปนี้
2.1 ตัวการถอนตัวแทนค้าต่าง
2.2 ตัวแทนค้าต่างบอกเลิกเป็นตัวแทน
2.3 ตัวการตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย
2.4 ตัวแทนค้าต่างตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลาย

สธ

17 กมล สนธิเกษตริน เรื่องเดียวกัน น. 125, กุศล บุญยืน เรื่องเดียวกัน น. 178.



ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-25

ตอนที่ 9.2
นายหน้า
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 9.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
9.2.1 ความหมายและลักษณะของสัญญานายหน้า
9.2.2 สิทธิและหน้าที่ของนายหน้า
9.2.3 ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญานายหน้า

1. น ายหน้าเป็นเพียงคนกลางที่ท�ำหน้าที่ชี้ช่องให้คู่สัญญาของตนได้ท�ำสัญญากับบุคคล
ภายนอก
2. นายหน้ามีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จและค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
3. สัญญานายหน้าย่อมระงับสิ้นไปตามที่คู่สัญญานายหน้าได้ตกลงกัน ตลอดจนนายหน้า

ได้ทำ� หน้าที่ของตนส�ำเร็จ

วัตถุประสงค์
มส

เมื่อศึกษาตอนที่ 9.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ


1. อธิบายและวินิจฉัยความหมายและลักษณะของนายหน้าได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาสิทธิและหน้าที่ของนายหน้าได้
3. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาความระงับสิ้นไปแห่งสัญญานายหน้าได้


สธ

9-26 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 9.2.1
ความหมายและลักษณะของสัญญานายหน้า


โดยทีก่ ารท�ำกิจการต่างๆ นัน้ บุคคลไม่จำ� ต้องท�ำการทุกอย่างด้วยตนเอง ในบางกรณีสามารถตัง้
ตัวแทนท�ำการแทนได้ดงั ทีไ่ ด้ศกึ ษามาแล้ว และในกิจการบางอย่างบุคคลอาจมีความประสงค์ตอ้ งท�ำกิจการ

มส
นั้นเองแต่อาจมีข้อจ�ำกัดในเรื่องต่างๆ อาทิ ไม่มีเวลา ไม่มีความช�ำนาญ จ�ำเป็นต้องพึงพาความสามารถ
ของบุคคลอื่นเพื่อคอยชี้ช่องหรือติดต่อบุคคลอื่นๆ ให้มาพบกันเพื่อท�ำสัญญากันต่อไปตามวัตถุประสงค์
ดังกล่าว บุคคลอื่นซึ่งจ�ำต้องพึงพาความสามารถของเขาที่กล่าวถึงนั้นหมายถึงนายหน้านั่นเอง นายหน้า
เป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งที่มีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะใน ปพพ. บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 16
สัญญานายหน้า หมายถึงสัญญาซึง่ บุคคลคนหนึง่ ตกลงให้บคุ คลอีกคนหนึง่ เรียกว่านายหน้าเป็นผูช้ ชี้ อ่ งหรือ
จัดการให้บุคคลนั้นได้เข้าท�ำสัญญากับบุคคลภายนอก และนายหน้าตกลงกระท�ำการดังกล่าวนั้น ซึ่งเป็น
เอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง
นายหน้าคือใคร มีลกั ษณะอย่างไร กฎหมายก�ำหนดมีสทิ ธิและหน้าทีข่ องนายหน้าไว้เป็นประการใด
ตลอดจนนายหน้าระงับสิ้นไปในกรณีใดจะได้กล่าวถึงในเรื่องที่ 9.2.1 นี้ และเรื่องที่ 9.2.2 สิทธิและหน้าที่

ของนายหน้า ต่อไป

ความหมายของนายหน้า
มส

มาตรา 845 บัญญัติว่า “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบ�ำเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าท�ำ


สัญญาก็ดี จัดการให้ได้ท�ำสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบ�ำเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้น
ได้ท�ำกันส�ำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ท�ำกันไว้นั้นมีเงื่อนไข
เป็นเงื่อนบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบ�ำเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่จนกว่าเงื่อนไขนั้นส�ำเร็จแล้ว
นายหน้ามีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปก็ต่อเมื่อได้ตกลงกันไว้เช่นนั้นความข้อนี้ท่าน
ให้ใช้บังคับแม้ถึงว่าสัญญาจะมิได้ท�ำกันส�ำเร็จ”

ให้คู่สัญญาของตนได้เข้าท�ำสัญญาหรือจัดการให้คู่สัญญาของตนได้ทำ� สัญญากัน

จากบทบัญญัตดิ งั กล่าวพอจะให้ความหมายของนายหน้าได้วา่ นายหน้า หมายถึงบุคคลผูซ้ งึ่ ชีช้ อ่ ง

สัญญานายหน้าจะเกิดขึน้ ได้กต็ อ้ งมีการตกลงกันระหว่างบุคคลทีป่ ระสงค์จะท�ำสัญญากับบุคคลที่


จะท�ำหน้าที่ชี้ช่องให้ได้เข้าท�ำสัญญาหรือจัดการให้ได้ท�ำสัญญาที่เรียกว่านายหน้า ดังนั้น สัญญานายหน้า
จึงมีคู่สัญญา 2 ฝ่ายคือนายหน้าและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่ให้นายหน้า
ท�ำการชี้ช่องให้ได้เข้าท�ำสัญญาหรือจัดการให้ได้ท�ำสัญญากัน โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะต้องรับผิดใช้
สธ
บ�ำเหน็จค่านายหน้าต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำ� กันส�ำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น
ถ้าสัญญาที่ได้ท�ำกันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน นายหน้าจะเรียกร้องบ�ำเหน็จดังกล่าวยังไม่ได้
จนกว่าเงื่อนไขนั้นได้ส�ำเร็จแล้ว นอกจากนั้นนายหน้าอาจมีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เสียไปได้ ถ้าได้

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-27

ตกลงกันไว้และนายหน้ามีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายดังกล่าวแม้ว่าสัญญาจะมิได้ท�ำกันส�ำเร็จ จะเห็นได้ว่าการ
ท�ำการของนายหน้านัน้ แตกต่างจากตัวแทนโดยส�ำคัญกล่าวคือ นายหน้าเป็นเพียงคนกลางคอยชีช้ อ่ งหรือ
จัดการเท่านั้น มิได้มีอ�ำนาจเข้าไปท�ำสัญญาแทนคู่สัญญาแต่อย่างใด
ตัวอย่าง นายสมบูรณ์ตอ้ งการขายบ้านหลังหนึง่ ของตน จึงตกลงให้นายสมหวังซึง่ เป็นผูก้ ว้างขวาง
รูจ้ กั ผูค้ นจ�ำนวนมากเป็นนายหน้าไปหาผูซ้ อื้ มาท�ำสัญญากับตน ถ้านายสมหวังหาผูซ้ อื้ มาท�ำสัญญาซือ้ ขาย


บ้านหลังดังกล่าวได้ นายสมบูรณ์จะให้บ�ำเหน็จเป็นเงินจ�ำนวน 30,000 บาท และนายสมหวังตกลงที่จะ
ท�ำการเช่นนั้นให้ เช่นนี้เกิดเป็นสัญญานายหน้าโดยมีคู่สัญญาคือนายสมบูรณ์และนายสมหวังซึ่งเป็นนาย
หน้า

มสตามตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า นายสมหวังไม่มีหน้าที่ท�ำสัญญาซื้อขายกับบุคคลภายนอกเลย
นายสมหวังมีหน้าที่เพียงแต่ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาท�ำสัญญากับนายสมบูรณ์เท่านั้น

คู่สัญญา
สัญญานายหน้า

นายหน้า ชี้ช่องหรือจัดการ บุคคลภายนอก

ท�ำสัญญากับ

ภาพที่ 9.1 ภาพแสดงสัญญานายหน้า
มส

ลักษณะส�ำคัญของสัญญานายหน้า
สัญญานายหน้า หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายหน้าเป็น
ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลนั้นได้เข้าท�ำสัญญากับบุคคลภายนอก และนายหน้าตกลงกระท�ำการดังกล่าว
นั้น ซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่งเช่นกัน มีลักษณะที่ส�ำคัญดังต่อไปนี้
1. เป็นสัญญาที่มีคู่กรณีสองฝ่าย ประกอบด้วยนายหน้าฝ่ายหนึ่งและคู่สัญญาของนายหน้าอีก
ฝ่ายหนึง่ มีปญ ม
ั หาว่านายหน้าต้องมีความสามารถหรือไม่ นายหน้าเป็นเพียงคนกลางทีท่ ำ� หน้าทีเ่ พียงชีช้ อ่ ง
หรือจัดการให้คสู่ ญ
ั ญาของตนได้เข้าท�ำสัญญา มิได้เข้าท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกแทนคูส่ ญ ั ญาของตนแต่
อย่างใด ดังนัน้ นายหน้าจึงไม่จำ� ต้องมีความสามารถในการท�ำนิตกิ รรมแต่อย่างใด เปรียบเทียบกับตัวแทน
ซึ่งแม้เป็นบุคคลผู้ไร้ความสามารถท�ำการแทนตัวการ ตัวการก็ยังผูกพันในกิจการที่ตัวแทนกระท�ำไปนั้น18
ส่วนการที่บุคคลผู้ไร้ความสามารถเข้าท�ำสัญญานายหน้านั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง เพราะการท�ำสัญญา
นายหน้าเป็นการท�ำนิติกรรม ดังนั้นคู่สัญญาจึงต้องไม่บกพร่องในเรื่องความสามารถด้วย มิฉะนั้นสัญญา
สธ
นายหน้าตกเป็นโมฆียะ กล่าวโดยสรุปได้ว่า นายหน้าเกิดจากสัญญานายหน้า ซึ่งนายหน้าจะเป็นบุคคล
ธรรมดาหรือนิตบิ คุ คลก็ได้ กรณีเป็นบุคคลธรรมดาซึง่ เป็นบุคคลผูไ้ ร้ความสามารถจะเป็นนายหน้าได้ ก็ตอ้ ง

18 ปพพ. มาตรา 799



9-28 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

มีการท�ำสัญญานายหน้ากับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เพราะหากไม่มีสัญญานายหน้าก็ย่อมไม่อาจมี
นายหน้าเกิดขึ้นได้
ฉะนั้นการท�ำสัญญานายหน้าโดยบุคคลผู้ไร้ความสามารถจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของ
กฎหมายว่าด้วยความสามารถด้วย มิฉะนั้นสัญญานั้นจะเป็นโมฆียะ19 อย่างไรก็ตาม แม้สัญญานายหน้า
นั้นเป็นโมฆียะตราบใดที่ยังไม่มีการบอกล้างย่อมมีผลสมบูรณ์อยู่ ดังนั้นเมื่อสัญญานายหน้ามีผลสมบูรณ์


แล้ว นายหน้าซึ่งเป็นบุคคลผู้ไร้ความสามารถย่อมท�ำการในฐานะนายหน้าได้
ตัวอย่าง นายสมบูรณ์ต้องการให้นายพรศักดิ์ผู้เยาว์อายุ 18 ปี เป็นนายหน้าขายรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง

มส
ของตน ด้วยเห็นว่านายพรศักดิม์ เี พือ่ นฝูงในหมูน่ กั นิยมรถรุน่ นีม้ าก ถ้านายพรศักดิไ์ ด้รบั ความยินยอมของ
ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อน การท�ำสัญญานายหน้าระหว่างนายสมบูรณ์กบั นายพรศักดิย์ อ่ มไม่ตกเป็นโมฆียะ
หลังจากที่นายพรศักดิ์เป็นนายหน้าแล้ว การท�ำหน้าที่นายหน้าของนายพรศักดิ์ซึ่งมิได้ทำ� นิติกรรมใดย่อม
ไม่จ�ำต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมอีก
2. เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ให้นายหน้าไปท�ำการชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลภายนอกเข้ามา
ท�ำสัญญากับคู่สัญญาของนายหน้านั้น
สัญญานายหน้ามีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้นายหน้าชีช้ อ่ งให้ได้เข้าท�ำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำ� สัญญากัน
หากเป็นการชี้ช่องที่มิได้มีวัตถุประสงค์ให้มีการท�ำสัญญากันระหว่างคู่สัญญากับบุคคลภายนอกแล้ว
ย่อมไม่อาจเป็นนายหน้าได้ เช่น นายหนึง่ ต้องการหาทีท่ งิ้ ขยะเนือ่ งจากขยะในบ้านของนายหนึง่ มีจำ� นวนมาก

จึงให้นายสองชี้ช่องให้ว่าจะทิ้งขยะได้ที่ไหนบ้าง เช่นนี้ นายสองย่อมไม่ใช่นายหน้าของนายหนึ่ง
“สัญญา” ที่กล่าวถึงนั้นหมายถึงสัญญาที่นายหน้าชี้ช่องหรือจัดการให้คู่สัญญานายหน้าอีกฝ่าย
มส

หนึ่งได้ท�ำกันกับบุคคลภายนอก จะเป็นสัญญาอะไรก็ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ทั้งนี้ต้อง


ไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนด้วย มิฉะนั้นสัญญานั้นจะตกเป็นโมฆะ20
อุทาหรณ์
ฎ. 331/2497 รับเป็นนายหน้าจัดให้เขาได้เช่าที่ดินของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์โดยวิ่งเต้นให้
เจ้าหน้าที่ในส�ำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ใช้ต�ำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือผู้ขอเช่าดังนี้ ย่อมเป็นการ

ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนฉะนั้นความตกลงทั้งหลายในกรณีเช่นนี้จึง
เป็นโมฆะกรรม ใช้บังคับไม่ได้จึงฟ้องเรียกค่านายหน้าจากผู้เช่าไม่ได้ด้วย
“ชีช้ อ่ งให้ได้เข้าท�ำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำ� สัญญากัน” ต้องดูจากพฤติการณ์แต่ละกรณีวา่ ความ
ส�ำเร็จในการได้เข้าท�ำสัญญากันนั้นเกิดจากนายหน้าหรือไม่ โดยนายหน้าไม่จ�ำเป็นที่จะต้องอยู่ด้วยในการ
เจรจาท�ำสัญญาทุกๆ ครั้ง เช่น แนะน�ำ ชักพา วิ่งเต้น ชักจูง ชักน�ำ หรือท�ำด้วยวิธีอื่นใดเพื่อให้บุคคล
ภายนอกเข้ามาท�ำสัญญากับคู่สัญญานายหน้าหรือจัดการให้มีการท�ำสัญญากัน
สธ
19 ปพพ. มาตรา 153
20 ปพพ. มาตรา 150

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-29

อุทาหรณ์
ฎ. 3181/2536 นายหน้าตามความหมายของ ปพพ. มาตรา 845 นั้น ได้แก่ผู้ชี้ช่องให้ได้มีการเข้า
ท�ำสัญญากันหรือผูท้ จี่ ดั การให้ได้ทำ� สัญญากัน และนายหน้ามีสทิ ธิได้รบั บ�ำเหน็จต่อเมือ่ สัญญานัน้ ได้ทำ� กัน
เสร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น การที่ ก. ได้พา ส. ผู้ซื้อไปพบจ�ำเลยที่ 4
ผู้ขายและพากันไปดูที่ดิน และต่อมาได้มีการซื้อขายกันเนื่องมาจากการชี้ช่องดังกล่าว ก. จึงมีสิทธิได้รับ


ค่าบ�ำเหน็จโดยไม่จำ� เป็นที่ ก. จะต้องอยู่ด้วยในการเจรจาซื้อขายทุกๆ ครั้ง แต่อย่างใด
ตัวอย่างพฤติการณ์ที่นายหน้าชี้ช่องให้ได้เข้าท�ำสัญญาหรือจัดการให้ได้ท�ำสัญญากันส�ำเร็จ

มส
อุทาหรณ์
ฎ. 2984/2525 จ�ำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายทีด่ นิ ของจ�ำเลย โดยจ�ำเลยจะให้คา่ นายหน้า
ร้อยละ 5 ของราคาที่ขายได้ จ�ำเลยได้มอบนามบัตรของจ�ำเลยมีที่อยู่และเลขหมายโทรศัพท์ที่บ้านจ�ำเลย
กับได้มอบแผนที่หลังโฉนดให้โจทก์ไว้ด้วย ต่อมามี ต. และ บ. มาถามซื้อที่ดินบริเวณนั้น โจทก์จึงพาคน
ทั้งสองไปดูที่ดินของจ�ำเลย ต่อมา คนทั้งสองดังกล่าวได้พา พ. และ ย. มาดูที่ดินจ�ำเลย พ. กับพวกตกลง
จะซื้อ ต. และ บ. จึงขอนามบัตรของจ�ำเลยและแผนที่หลังโฉนดจากโจทก์มอบให้ พ. กับพวกไปติดต่อกับ
จ�ำเลยเอง ในที่สุด พ. ได้ทำ� สัญญาซื้อที่ดินดังกล่าวกับจ�ำเลย ดังนี้ ถือได้ว่า การซื้อขายที่ดินรายนี้เป็นผล
ส�ำเร็จได้ก็เนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ซึ่งเป็นนายหน้าได้ชี้ช่องนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบ�ำเหน็จจาก
จ�ำเลย

ฎ. 1821/2540 จ�ำเลยให้โจทก์ทั้งสามเป็นนายหน้าขายที่ดินของจ�ำเลยและของบุตรสาวในราคา
13,650,000 บาท โดยเริม่ แรกโจทก์ทงั้ สามติดต่อกับบริษทั ผูซ้ อื้ เพือ่ ขายทีด่ นิ ของจ�ำเลยในราคาดังกล่าว แต่
มส

ไม่ตกลงกันในเรื่องราคา ต่อมา ส. ซึ่งเป็นสามีของบุตรสาวจ�ำเลยได้ติดต่อประสานงานจนกระทั่งมีการท�ำ


สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาดังกล่าว ดังนี้แม้ ส. จะเป็นผู้ติดต่อประสานงานขายที่ดินส�ำเร็จใน
ภายหลังแต่กค็ งขายให้แก่บริษทั ผูซ้ อื้ ซึง่ โจทก์ทงั้ สามได้ตดิ ต่อไว้กอ่ นในราคาเดิมซึง่ โจทก์ทงั้ สามเคยเสนอไว้
เป็นกรณีทจี่ ำ� เลยถือเอาประโยชน์จากการทีโ่ จทก์ทงั้ สามเป็นผูต้ ดิ ต่อบอกขายทีด่ นิ แก่บริษทั ผูซ้ อื้ มาตัง้ แต่ตน้
ถือได้ว่าการซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ท�ำกันส�ำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนายหน้าชี้ช่อง
จัดการ

ฎ. 4362/2545 โจทก์เป็นผู้เริ่มต้นติดต่อขอซื้อที่ดินจากจ�ำเลยที่ 1 และเจรจาติดต่อกับญาติพี่น้อง
ของจ�ำเลยที่ 1 หลายครั้ง รวมทั้งไปพบกันที่บ้านมารดาจ�ำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เสนอขายที่ดินต่อบริษัท ค.
แล้ว ทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทดังกล่าวรวมทั้งโจทก์ต่างก็มาดูที่ดินที่จะซื้อขายตลอดทั้งน�ำเจ้าหน้าที่ของ
บริษัท ค. มาเจรจาตกลงจะซื้อจะขายที่ดินกับจ�ำเลยทั้งสองและได้จดทะเบียนให้บริษัท ค. เช่าที่ดินเป็น
ผลส�ำเร็จนั้น จึงเกิดจากการที่โจทก์เป็นผู้ชี้ช่องให้ทั้งสองฝ่ายเข้าท�ำสัญญากัน
ฎ. 7604/2553 ทางน�ำสืบของโจทก์และค�ำขอท้ายฟ้องปรากฏว่าเงินจ�ำนวนที่โจทก์เรียกร้องไม่ใช่
เงินส่วนที่ตํ่ากว่าไร่ละ 65,000 บาท ตามที่อ้างว่าเป็นข้อตกลงให้ค่าบ�ำเหน็จนายหน้า หากแต่เป็นเงินที่
สธ
โจทก์อ้างว่าโจทก์กับพวกซื้อที่ดินพิพาทมาในราคาไร่ละ 50,000 บาท แล้วน�ำมาเสนอขายแก่ฝ่ายจ�ำเลย
ในราคาไร่ละ 60,000 บาท ส่วนที่เกินไร่ละ 10,000 บาท ตกเป็นของโจทก์กับพวก อันมีลักษณะเป็นการ
หาก�ำไรจากการซื้อขายที่ดินตามปกติ และเมื่อพิจารณาจากหนังสือทวงถามเงินและสรุปรายการซื้อขาย

9-30 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ที่ดินซึ่งโจทก์เป็นคนท�ำเอกสารดังกล่าวเองก็ยิ่งปรากฏชัดเจนว่า เป็นเรื่องที่โจทก์กับพวกซื้อที่ดินมาขาย
ให้แก่ฝ่ายจ�ำเลยจริง โดยเอาก�ำไรจากราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อมาหักออกจากราคาที่ตั้งขายแก่ฝ่ายจ�ำเลย
ในราคาไร่ละ 60,000 บาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายของเจ้าของที่ดินชื่อ ข. ที่ปรากฏในล�ำดับที่ 6 โจทก์
ไปซื้อที่ดินรายนี้มาในราคาไร่ละ 100,000 บาท ขายให้แก่ฝ่ายจ�ำเลยราคาไร่ละ 60,000 บาท โดยโจทก์
จ่ายเงินเพิ่มเอง อันเป็นผลขาดทุนในการซื้อขายที่ดินรายนี้ ท�ำให้เห็นเจตนาของทั้งสองฝ่ายว่าการด�ำเนิน


การเกี่ยวกับที่ดินทุกแปลงรวมทั้งแปลงพิพาทเป็นเรื่องการท�ำธุรกิจซื้อขายที่ดินกัน หากโจทก์ซื้อที่ดินมา
ได้ในราคาถูกเมือ่ น�ำไปขายในราคาทีต่ กลงกัน โจทก์กม็ กี ำ� ไรมาก หากโจทก์ซอื้ ทีด่ นิ มาได้ในราคาแพงก็จะ

ส�ำเร็จ
มส
มีก�ำไรน้อย และโจทก์อาจขาดทุนได้หากซื้อที่ดินมาในราคาสูงกว่าที่ตกลงขายให้แก่ฝ่ายจ�ำเลย ลักษณะ
การท�ำธุรกิจกันดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการชี้ช่องให้ฝ่ายจ�ำเลยได้เข้าท�ำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อเอาค่า
บ�ำเหน็จนายหน้าตาม ปพพ. มาตรา 845 วรรคหนึ่ง
ตัวอย่างพฤติการณ์ที่ถือไม่ได้ว่านายหน้าชี้ช่องให้ได้เข้าท�ำสัญญาหรือจัดการให้ได้ท�ำสัญญากัน

อุทาหรณ์
ฎ. 3592/2532 โจทก์เป็นนายหน้าให้จ�ำเลยในการขายเครื่องมือวิเคราะห์ธาตุในอาหารให้แก่
องค์การผลิตอาหารส�ำเร็จรูปโดยวิธพี เิ ศษ แต่ยงั ไม่ได้ทำ� สัญญาซือ้ ขายกันทางองค์การผลิตอาหารส�ำเร็จรูป
ก็ได้ก�ำหนดให้มีการจัดซื้อใหม่โดยวิธีประกวดราคา จ�ำเลยจึงได้ไปยื่นซองประกวดราคาและเจรจาต่อรอง

ราคากับองค์การดังกล่าวเองจนตกลงท�ำสัญญาซือ้ ขายกันได้ การซือ้ ขายรายนีจ้ งึ ส�ำเร็จลงได้เพราะการเข้า
เสนอประกวดราคาของจ�ำเลยเองโดยโจทก์ไม่ได้มสี ว่ นเกีย่ วข้อง ส่วนการกระท�ำของโจทก์ในระหว่างทีเ่ ป็น
มส

นายหน้าให้จำ� เลยในตอนแรกก็ถอื ไม่ได้วา่ เป็นการชีช้ อ่ งหรือจัดการในส่วนส�ำคัญอันท�ำให้สญ ั ญาซือ้ ขายได้


ท�ำกันส�ำเร็จในตอนหลัง จ�ำเลยไม่ต้องช�ำระค่านายหน้าให้แก่โจทก์
3. เป็นสัญญาที่กฎหมายไม่ได้ก�ำหนดแบบไว้ กฎหมายไม่ได้กำ� หนดแบบของสัญญานายหน้าไว้
ดังนั้น การท�ำสัญญานายหน้าจะตกลงกันด้วยวาจาหรือท�ำเป็นหนังสือก็ได้ เมื่อมีปัญหาฟ้องร้องกันก็ต้อง
สืบให้ได้ความว่ามีการตกลงท�ำสัญญานายหน้ากัน หากมิได้ตกลงท�ำสัญญานายหน้ากันนายหน้าย่อมไม่
อาจเกิดขึน้ ได้ ในทางปฏิบตั มิ กั จะท�ำสัญญากันเป็นหนังสือไว้เพือ่ ความสะดวกในการฟ้องร้องคดีเมือ่ มีการ

ผิดสัญญานายหน้าดังกล่าว อนึ่ง ผู้ใดจะอ้างตนเป็นนายหน้าฝ่ายเดียวเพื่อเรียกร้องเอาค่าบ�ำเหน็จโดยอีก
ฝ่ายหนึง่ มิได้มสี ญ
ั ญาด้วยแต่อย่างหนึง่ อย่างใดเลยนัน้ ย่อมไม่ได้ เพราะไม่มกี ฎหมายสนับสนุนให้เรียกร้อง
ได้เช่นนัน้ ฉะนัน้ บุคคลธรรมดาหรือนิตบิ คุ คล หากต้องการประโยชน์คอื บ�ำเหน็จค่านายหน้าจากผูใ้ ดจะต้อง
มีสัญญากับผู้นั้นโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย จะกระท�ำไปฝ่ายเดียวโดยอีกฝ่ายหนึ่ง
มิได้ตกลงรับรู้ด้วยอย่างใดแล้วมาอ้างว่าเป็นนายหน้าเรียกร้องเอาบ�ำเหน็จย่อมไม่ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 705/2505 นายหน้าที่จะได้รับบ�ำเหน็จหรือค่านายหน้านั้น ในเบื้องต้นจะต้องมีสัญญาต่อกัน
สธ
โดยชัดแจ้ง ตาม ปพพ. มาตรา 845 หรือมีสัญญาต่อกันโดยปริยายตามมาตรา 846 ผู้ใดจะอ้างตนเป็น
นายหน้าฝ่ายเดียวเรียกร้องเอาค่าบ�ำเหน็จโดยอีกฝ่ายหนึง่ มิได้มสี ญ ั ญาด้วยแต่อย่างหนึง่ อย่างใดเลยนัน้ จึง
หามีกฎหมายสนับสนุนให้เรียกร้องได้ไม่

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-31

ฎ. 724/2540 โจทก์ไม่เคยรูจ้ กั จ�ำเลย พ. น้องจ�ำเลยเป็นผูต้ ดิ ต่อขอให้โจทก์ชว่ ยเสนอขายทีด่ นิ ของ


จ�ำเลยโดยโจทก์ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและราคาจาก พ. พ. ตกลงกับโจทก์ว่าค่านายหน้าที่จ�ำเลยจะให้ใน
อัตราร้อยละ 3 ของราคาซื้อขายที่ดินนั้น พ. จะแบ่งให้โจทก์ร้อยละ 2 ส่วน พ. จะเอาไว้ร้อยละ 1 โจทก์ไม่
เคยตกลงเรือ่ งค่านายหน้ากับจ�ำเลยในวันท�ำสัญญาจะซือ้ ขายโจทก์ได้รบั เงินค่านายหน้าจาก พ. และในวันที่
มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิท์ ดี่ นิ ระหว่างจ�ำเลยกับ จ. โจทก์ไม่ได้ไปทีส่ ำ� นักงานทีด่ นิ จ. เป็นคนรับเงิน


ค่านายหน้าไว้แทนโจทก์ 200,000 บาทและบอกว่าส่วนที่เหลือให้โจทก์ติดต่อ พ. แสดงให้เห็นว่าจ�ำเลยไม่
ได้ตกลงโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้ จ. มาซื้อที่ดินจ�ำเลยแม้โจทก์ตกลงร่วม

มส
กับ พ. ท�ำหน้าที่ติดต่อชี้ช่องให้ จ. เข้าท�ำสัญญากับจ�ำเลยหรือจัดการให้ จ. ท�ำสัญญาซื้อขายที่ดินกับ
จ�ำเลยแล้วได้ส่วนแบ่งค่านายหน้าจาก พ. ก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ พ. เท่านั้น

ความแตกต่างระหว่างตัวแทนกับนายหน้า
1. ตัวแทนเป็นบุคคลที่เข้าท�ำสัญญาแทนตัวการ ส่วนนายหน้ามีหน้าที่เพียงชี้ช่องหรือจัดการให้
คู่สัญญาของตนได้ท�ำสัญญากับบุคคลภายนอก ไม่มีหน้าที่เข้าท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกแต่อย่างใด
อุทาหรณ์
ฎ. 1249/2506 กรณีทจี่ ำ� เลยมิใช่แต่เพียงเป็นสือ่ กลางให้เอาท�ำสัญญากันหากแต่จำ� เลยยังรับสินค้า
ไปจ�ำหน่ายและช�ำระเงินค่าสินค้าให้ตวั การโดยจ�ำเลยได้รบั บ�ำเหน็จเป็นผลประโยชน์ และจ�ำเลยยังมีอำ� นาจ

ครอบครองสินค้าแล้วส่งมอบแก่ผู้ซื้อเรียกและรับเงินค่าสินค้า ทั้งหนังสือยังระบุว่าหนังสือสัญญารับเป็น
ตัวแทนจ�ำหน่ายสินค้า อนึ่งการจัดหาระวางเรือโดยจ�ำเลยตกลงกับผู้รับขนแทนโดยองค์การสรรพาหาร
มส

เสียค่าระวางเองนั้น ย่อมเป็นการที่จำ� เลยท�ำในฐานเป็นตัวแทน มิใช่เป็นนายหน้า


ฎ. 920/2523 เอกสารมีใจความส�ำคัญว่า จ�ำเลยทัง้ สองซึง่ เป็นเจ้าของทีพ่ พิ าทร่วมกันขอมอบทีด่ นิ
ให้แก่นายณรงค์ (จ�ำเลยที่ 3) ไปขายในวงเงิน 400,000 บาท ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างหากขายได้เกินกว่า
นี้ ส่วนที่เกินให้เป็นของผู้ขายจ�ำเลยทั้งสองขอมอบสิทธิในการขายโดยให้เวลาภายใน 3 เดือน พ้นก�ำหนด
นี้แล้วผู้ขายไม่มีสิทธิ ถ้ามีคนมาซื้อภายในเวลาที่ก�ำหนดให้นี้ เป็นสิทธิของจ�ำเลยที่ 3 ผู้เดียว และข้อเท็จ
จริงได้ความว่า ก่อนจ�ำเลยที่ 3 จะไปขอให้จ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 ท�ำหนังสือเอกสารนี้ให้จ�ำเลยที่ 1 และที่ 2

ได้เคยติดต่อกับจ�ำเลยที่ 3 ให้ช่วยขายที่พิพาทมาก่อนแล้ว แสดงว่าจ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มอบอ�ำนาจให้
จ�ำเลยที่ 3 ขายที่พิพาทได้อย่างเต็มที่ ไม่มีข้อความตอนใดในเอกสารดังกล่าวที่ส่อแสดงว่าจ�ำเลยทั้งสอง
ตกลงให้จ�ำเลยที่ 3 เป็นนายหน้าโดยจะให้ค่าบ�ำเหน็จเพื่อชี้ช่องให้จ�ำเลยทั้งสองได้เข้าท�ำสัญญาซื้อขาย
ที่พิพาท เมื่อจ�ำเลยที่ 3 ไปท�ำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทให้โจทก์ภายในขอบอ�ำนาจแห่งฐานตัวแทนจ�ำเลย
ทั้งสองซึ่งเป็นตัวการย่อมมีความผูกพันตามสัญญานั้น
ฎ. 1142/2534 เมือ่ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จ�ำเลยที่ 2 เป็นผูพ้ าจ�ำเลยที่ 1 มาเช่าซือ้ รถยนต์จากโจทก์
โดยจ�ำเลยที่ 2 ได้รบั ผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์จำ� นวนหนึง่ และก่อนหน้านีค้ วามสัมพันธ์ระหว่างโจทก์
สธ
กับจ�ำเลยที่ 2 ก็เป็นเช่นนีต้ ลอดมา จ�ำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงนายหน้าเท่านัน้ หาใช่เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์
ไม่ การซื้อขายรถยนต์พิพาทระหว่างจ�ำเลยที่ 1 กับจ�ำเลยที่ 2 จึงไม่ผูกพันโจทก์

9-32 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 6313/2552 จ�ำเลยให้การต่อสู้ว่า จ�ำเลยมิได้เป็นผู้ให้เช่าห้องพิพาท มิได้รับเงินจากโจทก์การ


กระท�ำของ ม. เป็นการเรียกร้องแทนเจ้าของห้องในฐานะนายหน้า จ�ำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ศาล
วินิจฉัยว่า ม. เป็นตัวแทนเชิดของจ�ำเลยในการน�ำห้องออกให้โจทก์เช่า ถือได้ว่าโจทก์ได้เช่าห้องดังกล่าว
จากจ�ำเลยเพราะผูใ้ ห้เช่าไม่จำ� ต้องเป็นเจ้าของห้องทีใ่ ห้เช่า ประกอบกับจ�ำเลยมีวตั ถุประสงค์ให้เจ้าของร่วม
น�ำห้องทีจ่ ะให้เช่ามามอบให้จำ� เลยเป็นผูบ้ ริหารจัดการเองเพือ่ ประโยชน์ตอ่ เจ้าของรวมทุกคน จ�ำเลยจึงต้อง


ผูกพันกับการเช่าห้องดังกล่าวด้วย
2. ตัวแทนเมือ่ ไม่ทำ� หน้าทีต่ ามสัญญาตัวแทนแล้วมีความเสียหายเกิดขึน้ แก่ตวั การ ต้องรับผิดต่อ

หน้า
มส
ตัวการ ส่วนนายหน้าแม้ไม่ท�ำหน้าที่ชี้ช่องหรือจัดการตามสัญญานายหน้า ก็ไม่ต้องรับผิดต่อคู่สัญญานาย

3. กฎหมายห้ามมิให้ตัวแทนเป็นตัวแทนของบุคคลภายนอกในขณะที่เป็นคู่สัญญากับบุคคล
ภายนอกในนามของตัวการ ส่วนนายหน้าไม่มกี ฎหมายห้ามการเป็นนายหน้าของบุคคลภายนอกไว้ ดังนัน้
จึงเป็นนายหน้าได้ทั้งสองทาง
4. ตัวแทนมีอ�ำนาจท�ำการแทนตัวการได้แม้ว่าการนั้นจะไม่ใช่สัญญา เช่น การฟ้องคดี การแจ้ง
ความร้องทุกข์ ส่วนนายหน้ามีหน้าทีเ่ พียงชีช้ อ่ งหรือจัดการให้มกี ารเข้าท�ำสัญญากันเท่านัน้ เช่น ท�ำสัญญา
ซื้อขายที่ดิน ท�ำสัญญาเช่าบ้าน เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างตัวแทนเชิดกับนายหน้า
1. ตัวแทนเชิดเป็นตัวแทนที่มิได้เกิดขึ้นโดยสัญญาตัวแทน กล่าวคือ ตัวการมิได้ตั้งแต่งตัวแทน
มส

โดยตกลงท�ำสัญญาตัวแทนกันแต่อย่างใด ไม่มสี ญ ั ญาตัวแทนเกิดขึน้ แต่เป็นกรณีทมี่ กี ารเชิดบุคคลอืน่ ออก


แสดงเป็นตัวแทนหรือเป็นกรณีที่บุคคลอื่นเชิดตัวเองออกแสดงโดยบุคคลอีกคนหนึ่งรู้แล้วยอมให้ท�ำการ
ดังกล่าว ส่วนนายหน้าจะเกิดขึ้นได้ต้องมีสัญญานายหน้า บุคคลใดจะเชิดตัวเองออกแสดงเป็นนายหน้า
หาได้ไม่
2. เรื่องตัวแทนเชิดนั้น เป็นลักษณะของกฎหมายปิดปากไม่ให้บุคคลอีกคนหนึ่งดังกล่าวมานั้น
ปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตโดยการอ้างว่าไม่มีสัญญาตัวแทนกัน หรืออ้างว่าตัวแทนเชิด

ไม่ใช่ตวั แทนของตน ส่วนนายหน้านัน้ หากบุคคลใดเชิดตัวเองออกแสดงเป็นนายหน้า บุคคลอีกคนหนึง่ ไม่
จ�ำต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตซึ่งไม่รู้ว่าบุคคลนั้นไม่ใช่นายหน้า
3. ตัวแทนเชิดไม่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จตัวแทน ส่วนนายหน้ามีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้า
ดังจะได้กล่าวในเรื่องที่ 9.2.2 สิทธิและหน้าที่ของนายหน้า ต่อไป
4. ตัวแทนเชิดเป็นเรื่องที่ตัวแทนดังกล่าวเข้าท�ำการกับบุคคลภายนอก ส่วนนายหน้ามิได้เข้า
ท�ำการกับบุคคลภายนอกแต่อย่างใด เพียงแต่ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลอื่นเข้าท�ำสัญญากัน
สธ

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-33

ความแตกต่างระหว่างตัวแทนค้าต่างกับนายหน้า
1. ตัวแทนค้าต่างเป็นบุคคลซึ่งเข้าท�ำสัญญาแทนตัวการในนามของตนเองต่างหากจากตัวการ
ส่วนนายหน้ามีหน้าที่เพียงชี้ช่องหรือจัดการให้คู่สัญญาของตนได้ทำ� สัญญากับบุคคลภายนอก ไม่มีหน้าที่
เข้าท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกแต่อย่างใด
2. ตัวแทนค้าต่างนั้นโดยหลักแล้วกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถเป็นตัวแทน


ค้าต่าง ส่วนนายหน้านัน้ กฎหมายมิได้บญ ั ญัตหิ า้ มไว้แต่อย่างใด ดังนัน้ บุคคลผูไ้ ร้ความสามารถจึงเป็นนาย
หน้าได้

มส
3. ตัวแทนค้าต่างมีสทิ ธิเรียกร้องให้บคุ คลภายนอกซึง่ เป็นคูส่ ญ ั ญากับตนปฏิบตั กิ ารช�ำระหนีต้ าม
สัญญานั้นได้ ส่วนนายหน้าไม่มีสิทธิดังกล่าว เพราะมิได้เข้าท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกแต่อย่างใด
4. ตัวแทนค้าต่างซึ่งเข้ารับประกันการปฏิบัติตามสัญญาของบุคคลภายนอกกับตัวการ เรียกว่า
ตัวแทนฐานประกันนั้นมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จพิเศษจากตัวการ ส่วนนายหน้านั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติใน
ลักษณะดังกล่าวไว้
5. ตัวแทนค้าต่างมีหน้าที่แถลงรายงานถึงการจัดกิจการไปให้ตัวการทราบและเมื่อการค้าต่าง
ส�ำเร็จต้องแจ้งตัวการทราบด้วย ส่วนนายหน้านั้นกฎหมายไม่ได้กำ� หนดหน้าที่ดังกล่าวไว้

กิจกรรม 9.2.1
1. นายหน้าคือใคร
มส

2. สัญญานายหน้ามีลักษณะที่สำ� คัญอย่างไรบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 9.2.1
1. นายหน้าตามความหมายของ ปพพ. มาตรา 845 นั้น ได้แก่ ผู้ชี้ช่องให้ได้มีการเข้าท�ำสัญญา
กันหรือผูท้ จี่ ดั การให้ได้ทำ� สัญญากัน และนายหน้ามีสทิ ธิได้รบั บ�ำเหน็จต่อเมือ่ สัญญานัน้ ได้ทำ� กันเสร็จเนือ่ ง
แต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น
2. สัญญานายหน้ามีลักษณะที่ส�ำคัญดังนี้

อีกฝ่ายหนึ่ง

2.1 เป็นสัญญาทีม่ คี กู่ รณีสองฝ่าย ประกอบด้วยนายหน้าฝ่ายหนึง่ และคูส่ ญ ั ญาของนายหน้า

2.2 เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ให้นายหน้าไปท�ำการชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลภายนอก
เข้ามาท�ำสัญญากับคู่สัญญาของนายหน้านั้น
2.3 เป็นสัญญาทีก่ ฎหมายไม่ได้กำ� หนดแบบไว้ ดังนัน้ จึงสมบูรณ์เมือ่ นายหน้าตกลงรับท�ำการ
เป็นนายหน้า แม้จะเป็นการตกลงด้วยวาจาก็ตาม
สธ

9-34 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 9.2.2
สิทธิและหน้าที่ของนายหน้า


ดังได้กล่าวมาแล้วว่า สัญญานายหน้า หมายถึง สัญญาซึง่ บุคคลคนหนึง่ ตกลงให้บคุ คลอีกคนหนึง่
เรียกว่านายหน้าเป็นผูช้ ชี้ อ่ งหรือจัดการให้บคุ คลนัน้ ได้เข้าท�ำสัญญากับบุคคลภายนอก และนายหน้าตกลง

มส
กระท�ำการดังกล่าวนัน้ ซึง่ เป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึง่ ซึง่ กฎหมายได้บญ
ไว้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

สิทธิของนายหน้า
ั ญัตสิ ทิ ธิและหน้าทีข่ องนายหน้า

มาตรา 845 บัญญัติว่า “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบ�ำเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าท�ำ


สัญญาก็ดี จัดการให้ได้ท�ำสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบ�ำเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้น
ได้ท�ำกันส�ำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ท�ำกันไว้นั้นมีเงื่อนไข
เป็นเงื่อนบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบ�ำเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่จนกว่าเงื่อนไขนั้นส�ำเร็จแล้ว
นายหน้ามีสิทธิจะได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปก็ต่อเมื่อได้ตกลงกันไว้เช่นนั้นความข้อนี้ท่าน

ให้ใช้บังคับแม้ถึงว่าสัญญาจะมิได้ท�ำกันส�ำเร็จ”
มาตรา 846 บัญญัตวิ า่ “ถ้ากิจการอันได้มอบหมายแก่นายหน้านัน้ โดยพฤติการณ์เป็นทีค่ าดหมาย
ได้ว่าย่อมท�ำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบ�ำเหน็จไซร้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบ�ำเหน็จนายหน้า
มส

ค่าบ�ำเหน็จนั้นถ้ามิได้ก�ำหนดจ�ำนวนกันไว้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันเป็นจ�ำนวนตามธรรมเนียม”
จากบทบัญญัติดังกล่าวแยกพิจารณาสิทธิของนายหน้าได้เป็น 2 กรณี คือ สิทธิได้รับบ�ำเหน็จ
นายหน้า และสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เสียไป ดังต่อไปนี้
1. สิทธิในการได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้า โดยหลักแล้วนายหน้าไม่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จค่า
นายหน้าจากคู่สัญญานายหน้า เว้นแต่ว่าคู่สัญญานายหน้าได้ตกลงกันให้มีบ�ำเหน็จค่านายหน้า ซึ่งการ

ตกลงกันในเรือ่ งบ�ำเหน็จค่านายหน้านัน้ อาจเป็นการตกลงกันโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ แยกพิจารณา
ได้ดังนี้
(1) การตกลงกันโดยชัดแจ้ง ตาม ปพพ. มาตรา 845 วรรคหนึ่ง หมายความว่าคู่สัญญา
นายหน้าได้ตกลงกันให้นายหน้ามีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้าไว้โดยชัดเจน ไม่ว่าจะตกลงกันด้วยวาจา
หรือลายลักษณ์อกั ษรก็ได้ เช่น ตกลงว่าถ้าสัญญาท�ำกันส�ำเร็จจะให้บำ� เหน็จนายหน้าเป็นเงินจ�ำนวน 20,000
บาท หรือตกลงว่าถ้าสัญญาท�ำกันส�ำเร็จจะให้บำ� เหน็จนายหน้าเป็นเงินร้อยละ 10 ของเงินทีบ่ คุ คลภายนอก
ต้องช�ำระ เป็นต้น
สธ
อุทาหรณ์
ฎ. 5604/2548 ตามสัญญานายหน้าจ�ำเลยตกลงจ่ายค่านายหน้าให้แก่โจทก์ไว้ 2 กรณี ใน
กรณีแรกตามสัญญาข้อ 3 ถ้าโจทก์ชชี้ อ่ งให้จำ� เลยขายอาคารพาณิชย์ได้ในราคาไม่ตาํ่ กว่าห้องละ 6,500,000

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-35

บาท จ�ำเลยทั้งสองตกลงจ่ายค่านายหน้าห้องละ 300,000 บาท ในกรณีที่สองตามสัญญาข้อ 4 หากโจทก์


สามารถชี้ช่องให้จ�ำเลยขายอาคารพาณิชย์ได้ในราคาสูงกว่าที่ก�ำหนดไว้ในข้อ 3 จ�ำเลยทั้งสองตกลงให้
จ�ำนวนเงินส่วนทีเ่ กินเป็นของโจทก์ ดังนัน้ เมือ่ โจทก์ชชี้ อ่ งให้จำ� เลยขายอาคารพาณิชย์หอ้ ง เอ. 9 และ เอ.
10 ได้ตามราคาที่ก�ำหนดโจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่านายหน้าห้องละ 300,000 บาท และโจทก์ชี้ช่องให้จ�ำเลย
ขายอาคารพาณิชย์หอ้ ง เอ. 2, เอ. 6 ถึง เอ. 8 ในราคาสูงกว่าทีก่ ำ� หนด โจทก์ยอ่ มมีสทิ ธิได้รบั ค่านายหน้า


ทีช่ ชี้ อ่ งให้จำ� เลยทัง้ สองขายอาคารพาณิชย์ได้ในราคาไม่ตาํ่ กว่าทีก่ ำ� หนดตามสัญญาข้อ 3 และมีสทิ ธิได้รบั
เงินในส่วนที่สามารถชี้ช่องให้จ�ำเลยทั้งสองขายในราคาสูงกว่าที่กำ� หนดตามสัญญาข้อ 4 อีกด้วย

มส (2) การตกลงโดยปริยาย ตาม ปพพ. มาตรา 846 หมายความว่าคู่สัญญานายหน้ามิได้


ตกลงกันอย่างชัดแจ้งหรือชัดเจนว่าจะให้ค่าบ�ำเหน็จแก่นายหน้า แต่มีพฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่า
การที่นายหน้ายอมรับเป็นนายหน้าให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งนั้นเพื่อหวังจะเอาบ�ำเหน็จค่านายหน้า ไม่ได้
เป็นการท�ำให้โดยเสน่หาหรือท�ำให้เปล่าแต่อย่างใด เช่นนี้ย่อมถือว่าได้มีการตกลงกันโดยปริยายแล้วว่าจะ
ให้ค่าบ�ำเหน็จแก่นายหน้า
ปัจจุบัน การที่บุคคลใดตกลงรับเป็นนายหน้าให้บุคคลอื่นนั้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะท�ำให้เพื่อ
หวังเอาบ�ำเหน็จค่านายหน้าแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะการเป็นนายหน้าซื้อขายที่ดินในประเทศไทย เนื่องจาก
การเป็นนายหน้าต้องมีภาระในการติดต่อวิ่งเต้น เสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเสียเวลาต่างๆ มากมาย อาทิ
ค่าโทรศัพท์ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเลี้ยงรับรอง ยกเว้นในบางกรณีที่เป็นพิเศษ

แตกต่างออกไปจากที่กล่าวถึง
อนึ่ง กรณีตกลงกันโดยปริยายว่ามีบ�ำเหน็จค่านายหน้านั้น ถ้าไม่ได้กำ� หนดจ�ำนวนกันไว้ว่า
เป็นจ�ำนวนเท่าใด กฎหมายให้คิดจ�ำนวนตามธรรมเนียมส�ำหรับในเรื่องนั้นๆ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ
มส

ไปเช่นกันว่า เรือ่ งนัน้ ๆ ตามธรรมเนียมแล้วบ�ำเหน็จค่านายหน้าคิดกันเป็นจ�ำนวนเท่าใด และถ้าไม่ปรากฏ


ธรรมเนียมในเรือ่ งใด ศาลจะเป็นผูก้ ำ� หนดให้เท่าทีก่ ำ� หนดได้ตามสมควร ในทางปฏิบตั โิ ดยทัว่ ไปธรรมเนียม
ส�ำหรับการเป็นนายหน้าซื้อขายที่ดินนั้นมีอัตราร้อยละ 3 อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับท้องที่แต่ละแห่งด้วย ใน
กรณีทมี่ ปี ญ ั หาไม่อาจหาข้อยุตกิ นั ได้วา่ เป็นอัตรา ศาลจะเป็นพิพากษาก�ำหนดให้ มีปญั หาว่า ส�ำหรับสัญญา
ซือ้ ขายทีด่ นิ การคิดค่าบ�ำเหน็จนายหน้านัน้ จะคิดจากราคาทีซ่ อื้ ขายกันจริง หรือคิดจากราคาประเมินทีท่ าง
ราชการประกาศก�ำหนด อาจมีกรณีที่คู่สัญญาตกลงราคาซื้อขายที่แท้จริงไว้ แต่เวลาไปจดทะเบียนโอน ณ

คิดค่าบ�ำเหน็จนายหน้านั้นต้องคิดจากราคาที่ซื้อขายกันจริง
อุทาหรณ์

ส�ำนักงานที่ดินระบุราคาตามราคาประเมินที่ทางราชการประกาศก�ำหนด ในประเด็นปัญหานี้เห็นว่า การ

ฎ. 2199/2535 โจทก์ช่วยติดต่อขายที่ดินให้จ�ำเลยส�ำเร็จเป็นกิจการที่ท�ำให้แก่กันโดย
พฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่าย่อมท�ำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบ�ำเหน็จ ถือได้ว่าตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่า
บ�ำเหน็จนายหน้า ตาม ปพพ. มาตรา 846 วรรคแรก ส่วนข้อตกลงให้เงินส่วนทีเ่ กินจากราคาทีด่ นิ ทีจ่ ำ� เลย
สธ
ก�ำหนดไว้ 2,000,000 บาทเป็นค่าบ�ำเหน็จแก่โจทก์นนั้ เป็นข้อตกลงพิเศษส่วนหนึง่ ต่างหากแยกจากกัน แม้
จ�ำเลยจะขายที่ดินให้แก่ ฉ. ในราคา 2,000,000 บาทก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้ค่าบ�ำเหน็จ และเมื่อไม่ได้
ความว่าค่าบ�ำเหน็จนัน้ ได้ตกลงกันเป็นจ�ำนวนเท่าใดและไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนีโ้ ดยชัดแจ้ง ศาลย่อม
มีอ�ำนาจก�ำหนดให้เท่าที่กำ� หนดได้ตามสมควร

9-36 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เคยมีปญ ั หาว่า ในกรณีทไี่ ม่ได้ตกลงกันในเรือ่ งบ�ำเหน็จไว้โดยชัดแจ้งและโดยพฤติการณ์เป็น


ทีค่ าดหมายได้วา่ นายหน้าท�ำให้เพือ่ จะเอาค่าบ�ำเหน็จ เช่นนีบ้ ำ� เหน็จค่านายหน้าจะต้องคิดจากราคาทีเ่ สนอ
ขายหรือราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ในประเด็นปัญหานี้ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ใน ฎ.2512/2530 ว่าบ�ำเหน็จ
ค่านายหน้าจะต้องคิดจากราคาที่ดินที่จำ� เลยทั้งสองขายได้ จะเรียกค่านายหน้าจากราคาที่เสนอขายไม่ได้
อุทาหรณ์


ฎ. 2512/2530 ค่านายหน้าต้องเป็นไปตามที่คู่สัญญาตกลงกัน เมื่อไม่ได้ตกลงกันว่าจะคิด
จากราคาที่เสนอขายหรือราคาซื้อขายที่ตกลงกัน ดังนี้ โดยพฤติการณ์ที่คาดหมายได้ว่าโจทก์ท�ำให้เพื่อจะ

มส
เอาค่าบ�ำเหน็จ และกิจการทีโ่ จทก์ทำ� ไปท�ำให้ขายทีพ่ พิ าทให้จำ� เลยได้ โจทก์จงึ เรียกค่านายหน้าจากจ�ำเลย
ตามราคาที่ขายได้ ไม่ใช่ราคาเสนอขาย
ส�ำหรับจ�ำนวนบ�ำเหน็จนายหน้าตามธรรมเนียมในเรือ่ งซือ้ ขายทีด่ นิ นัน้ ศาลฎีกาเคยวินจิ ฉัย
ให้ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่ซื้อขายกันจริง
อุทาหรณ์
ฎ. 3581/2526 ค่าบ�ำเหน็จนายหน้าที่คู่สัญญาตกลงกันเป็นพิเศษจะต้องก�ำหนดกันไว้โดย
ชัดแจ้ง มิฉะนัน้ จะต้องถือว่าตกลงกันเป็นจ�ำนวนตามธรรมเนียมตามบทบัญญัตมิ าตรา 846 วรรคสองแห่ง
ปพพ. เมื่อทางพิจารณาไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่ามีการตกลงก�ำหนดค่าบ�ำเหน็จนายหน้ากันไว้เท่าใดแน่นอน
จึงต้องถือเอาอัตราตามธรรมเนียมซึ่งได้ความว่าจ�ำนวนร้อยละ 5 ของราคาที่ซื้อขายกันแท้จริง

สิทธิในการได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้า แยกพิจารณาเป็น 2 กรณี ดังนี้
1.1 กรณีเป็นสัญญาที่ไม่มีเงื่อนไขบังคับก่อน สิ ท ธิ ใ นการได้ รั บ บ� ำ เหน็ จ ค่ า นายหน้ า
มส

เนื่องจากการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการจนคู่สัญญาของตนได้เข้าท�ำสัญญากับบุคคลภายนอกแล้ว
นายหน้าย่อมมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จเมื่อสัญญานั้นได้ทำ� กันส�ำเร็จ
“เงื่อนไขบังคับก่อน” หมายความว่าข้อความอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลต่อเมื่อมี
เหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคตได้สำ� เร็จลงแล้ว21
“สัญญานั้นได้ท�ำกันส�ำเร็จ” หมายความว่าสัญญาระหว่างบุคคลภายนอกกับคู่สัญญาของ
นายหน้าได้ทำ� กันขึ้นอันเนื่องมาจากผลของการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น

อนึง่ ถ้านายหน้าได้ชชี้ อ่ งหรือจัดการไปเช่นนัน้ แล้ว ปรากฏว่าสัญญานัน้ ยังมิได้ทำ� กันส�ำเร็จ
เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าชี้ช่องหรือจัดการนั้น นายหน้าย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าบ�ำเหน็จนายหน้า ใน
กรณีซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องท�ำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ได้ท�ำกันเป็น
สัญญาจะซือ้ จะขายอสังหาริมทรัพย์นนั้ แล้วก็ถอื ได้วา่ สัญญานัน้ ได้ทำ� กันส�ำเร็จแล้ว หรือในกรณีสญ ั ญาทีท่ ำ�
นัน้ กฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ถ้าได้ทำ� สัญญากันแล้วแม้ยงั ไม่ได้ทำ� หลักฐานเป็นหนังสือ
ก็ถือได้ว่าสัญญานั้นได้ทำ� กันส�ำเร็จแล้วเช่นกัน
สธ

21 ปพพ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง



ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-37

อุทาหรณ์
ฎ. 2173/2519 โจทก์จะเรียกค่านายหน้าได้ก็ต่อเมื่อจ�ำเลยกับผู้ซื้อได้ท�ำสัญญาซื้อขายกัน
เสร็จเนื่องจากผลของการที่โจทก์ชี้ช่องหรือจัดการ เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจ�ำเลยกับผู้ซื้อยังไม่ได้
กระท�ำกัน โจทก์จึงไม่มีอ�ำนาจฟ้อง
ตัวอย่าง 1 นายแดงต้องการคนมาเช่าบ้านของตนแต่ไม่มีเวลาหาผู้เช่า จึงให้นายด�ำช่วยหา


คนมาท�ำสัญญาเช่าบ้านหลังดังกล่าวกับตนโดยตกลงให้บำ� เหน็จค่านายหน้าแก่นายด�ำเป็นเงินจ�ำนวน 2,000
บาท และนายด�ำตกลงรับท�ำการดังกล่าวให้ เช่นนี้สัญญานายหน้าเกิดขึ้นแล้วโดยมีนายด�ำเป็นนายหน้า

มส
หากนายด�ำน�ำนายเหลืองมาพบกับนายแดงและดูบ้านเช่า จนนายเหลืองตกลงเช่าโดยท�ำสัญญาเช่าบ้าน
นั้นกับนายแดง ดังนี้ นายด�ำย่อมมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้าเป็นเงินจ�ำนวน 2,000 บาทจากนายแดง
แล้ว แต่นายถ้าเหลืองมาดูบ้านหลังดังกล่าวแล้วไม่ประสงค์จะเช่าและไม่ท�ำสัญญาเช่ากับนายแดง เช่นนี้
นายด�ำย่อมไม่มสี ทิ ธิได้รบั บ�ำเหน็จค่านายหน้าเป็นเงินจ�ำนวน 2,000 บาท เพราะสัญญาเช่ายังไม่ได้ทำ� กัน
ส�ำเร็จ
ตัวอย่าง 2 นายแดงต้องการขายที่ดินแปลงหนึ่งแต่ไม่มีเวลาหาผู้ซื้อ จึงให้นายด�ำช่วยหา
ผูซ้ อื้ มาท�ำสัญญาซือ้ ขายทีด่ นิ นัน้ กับนายแดง โดยตกลงจะให้บำ� เหน็จค่านายหน้าแก่นายด�ำเป็นเงินจ�ำนวน
ร้อยละ 10 ของราคาขายที่ดินแปลงนั้น และนายด�ำได้อาสารับท�ำการดังกล่าวให้ เช่นนี้ สัญญานายหน้า
เกิดขึ้นแล้วโดยมีนายด�ำเป็นนายหน้า หากนายด�ำน�ำนายม่วงมาพบกับนายแดงและดูที่ดินแปลงดังกล่าว

แล้ว นายม่วงตกลงซื้อที่ดินแปลงนั้น โดยวางเงินมัดจ�ำให้ไว้ก่อนในวันท�ำสัญญา เช่นนี้นายด�ำย่อมมีสิทธิ
ได้รบั ค่าบ�ำเหน็จเป็นเงินจ�ำนวนร้อยละ 10 ของราคาทีข่ ายทีด่ นิ นัน้ นับตัง้ แต่วนั ทีว่ างมัดจ�ำ ซึง่ เป็นวันทีน่ ายแดง
มส

กับนายม่วงได้ท�ำสัญญากันส�ำเร็จ กล่าวคือเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าว ไม่ใช่วันที่ช�ำระ


ราคาเสร็จ หรือวันที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด
แต่ถ้านายม่วงดูที่ดินแล้วไม่ประสงค์จะซื้อจึงไม่ได้ท�ำสัญญากับนายแดง เช่นนี้ นายด�ำนาย
หน้าย่อมไม่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้าดังกล่าว เพราะสัญญายังไม่ได้ทำ� กันส�ำเร็จ
ตัวอย่าง 3 นายเดชตกลงมอบหมายให้นายเอกไปติดต่อขายที่ดินแปลงหนึ่ง ตกลงว่าจะให้
บ�ำเหน็จค่านายหน้า นายเอกได้ไปติดต่อขายที่ดินให้แก่นายโท ปรากฏว่า นายโทได้ท�ำเพียงสัญญาจอง

นายเอกจึงไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าบ�ำเหน็จในการเป็นนายหน้าจากนายเดช
อุทาหรณ์

ที่ดินนั้นไว้ ดังนี้ เป็นเพียงการท�ำหนังสือแจ้งความประสงค์จะจองที่ดินเท่านั้น ยังไม่ได้ทำ� สัญญาจะซื้อจะ
ขายระหว่างนายเดชกับนายโทกัน ผลจากการชีช้ อ่ งหรือจัดการของนายเอกทีท่ ำ� การเป็นนายหน้ายังไม่เกิดขึน้

ฎ. 5335/2550 สัญญาจองเป็นเพียงหนังสือแจ้งความประสงค์จะจองทีด่ นิ เท่านัน้ ส่วนสัญญา


จะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับผู้ซื้อยังไม่ได้ท�ำกัน ผลจากการชี้ช่องหรือจัดการของโจทก์ที่ท�ำการเป็น
นายหน้าจึงยังไม่เกิดขึน้ โจทก์จงึ ไม่มสี ทิ ธิเรียกค่าบ�ำเหน็จในการเป็นนายหน้าจากจ�ำเลยทัง้ สอง ตาม ปพพ.
สธ
มาตรา 845
ข้อสังเกต หากสัญญานั้นได้ท�ำกันส�ำเร็จ แต่ไม่ได้เกิดจากผลแห่งการที่นายหน้าชี้ช่องหรือ
จัดการนั้น นายหน้าก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าบ�ำเหน็จนายหน้าเช่นกัน

9-38 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตัวอย่าง 4 นายเดชตกลงมอบหมายให้นายเอกไปติดต่อขายที่ดินแปลงหนึ่ง ตกลงว่าจะให้


บ�ำเหน็จค่านายหน้า นายเอกได้ไปติดต่อขายที่ดินให้แก่นายโท แต่นายโทไม่ซื้อเพราะไม่มีเงินพอ หลัง
จากนัน้ นายเอกก็ไม่เคยติดต่อกับนายโทเกีย่ วกับเรือ่ งซือ้ ขายทีด่ นิ นัน้ อีก ต่อมานายตรีบตุ รเขยของนายเดช
ได้ติดต่อกับนายโทเกี่ยวกับเรื่องซื้อขายที่ดินนั้นอีก นายโทบอกกับนายตรีว่าไม่มีเงินมาซื้อที่ดินนั้นได้ แต่
ถ้าจะน�ำทีด่ นิ มาร่วมลงทุนกัน และหาก�ำไรมาแบ่งกันก็สามารถท�ำได้ นายตรีนำ� ความมาแจ้งนายเดช นายเดช


ตกลงด้วย โดยน�ำที่ดินแปลงดังกล่าวมาร่วมกับนายตรี ดังนี้ไม่อาจถือได้ว่านายเดชขายที่ดินนั้นได้ส�ำเร็จ
แล้วด้วยการชี้ช่องของนายเอก นายเอกจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาบ�ำเหน็จค่านายหน้าจากนายเดช

มส อุทาหรณ์
ฎ. 7550/2550 จ�ำเลยทัง้ ห้าตกลงมอบหมายให้โจทก์ไปติดต่อขายทีด่ นิ ทัง้ ห้าแปลง โจทก์จงึ
ได้ไปติดต่อขายทีด่ นิ ให้แก่ ส. แต่ทโี่ จทก์นำ� สืบว่า ส. ไปตรวจดูทดี่ นิ แล้วพอใจ ส. และจ�ำเลยทัง้ ห้าจึงตกลง
ท�ำสัญญาซื้อขายกันที่บ้านของ ส. โดยโจทก์ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาซื้อขายด้วยนั้นไม่น่าเชื่อ
เพราะโจทก์ไม่มหี ลักฐานสัญญาซือ้ ขายทีก่ ล่าวอ้างมาแสดง คงมีแต่คำ� เบิกความลอยๆ เท่านัน้ จึงยังถือไม่
ได้วา่ โจทก์ทำ� งานเสร็จเรียบร้อย หลังจากนัน้ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์ไม่ได้ตดิ ต่อกับ ส. และจ�ำเลยทัง้ ห้าเกีย่ วกับ
เรื่องซื้อขายที่ดินนี้อีก ข้อเท็จจริงจึงเชื่อตามที่จ�ำเลยทั้งห้าน�ำสืบต่อมาโดยมีหลักฐานเป็นพยานเอกสาร
สนับสนุนว่า อ. บุตรเขยจ�ำเลยที่ 1 เป็นผู้ด�ำเนินการติดต่อกับ ส. ต่อมา โดย ส. อ้างว่าไม่มีเงินมาซื้อที่ดิน
ทั้งห้าแปลงของจ�ำเลยทั้งห้า แต่ถ้าจะน�ำที่ดินมาร่วมลงทุนกันและหาก�ำไรมาแบ่งกันก็สามารถท�ำได้ ข้อ

ตกลงทีว่ า่ ให้น�ำทีด่ นิ มาร่วมลงทุนและหาก�ำไรมาแบ่งกัน จึงเป็นข้อตกลงและวัตถุประสงค์ใหม่ซงึ่ จ�ำเลยทัง้
ห้าต้องน�ำไปปรึกษาหารือกันและตัดสินใจกันใหม่วา่ จะรับข้อเสนอใหม่นหี้ รือไม่ แสดงว่าการชีช้ อ่ งของโจทก์
มส

ทีต่ อ้ งการให้จำ� เลยทัง้ ห้าขายทีด่ นิ ให้แก่ ส. นัน้ ไม่เป็นผลส�ำเร็จเนือ่ งจาก ส. ไม่มเี งินซือ้ การตกลงน�ำทีด่ นิ
เข้าร่วมลงทุนกับ ส. แล้วน�ำก�ำไรมาแบ่งกันภายหลัง จึงเป็นวัตถุประสงค์ใหม่ของจ�ำเลยทั้งห้าไม่เกี่ยวข้อง
กับโจทก์และไม่อยู่ในกรอบวัตถุประสงค์เดิม เพราะการเข้าร่วมลงทุนนั้นเป็นการน�ำเอาที่ดินของจ�ำเลยทั้ง
ห้ามาเข้าร่วมกับ ส. และให้ ส. เป็นผู้บริหารจัดการโดยจ�ำเลยทั้งห้าได้เข้าร่วมเป็นเจ้าของโดยรับหุ้นของ
บริษัท บ. ของ ส. ซึ่งเป็นข้อตกลงใหม่ การเข้าร่วมลงทุนกับ ส. ตามข้อตกลงใหม่ดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่า
จ�ำเลยทั้งห้าขายที่ดินได้สำ� เร็จแล้วด้วยการชี้ช่องของโจทก์ แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงวิธีการขายที่ดิน

ในรูปแบบใหม่ ซึ่งในที่สุดข้อเท็จจริงกลับปรากฏว่าจ�ำเลยทั้งห้าทราบว่าถูก ส. หลอกลวง จ�ำเลยทั้งห้าจึง
ได้ฟ้องเรียกที่ดินทั้งห้าแปลงคืนจากบริษัท บ. และ ส. กับพวก และศาลพิพากษาตามยอมให้คืนที่ดินทั้ง
ห้าแปลงดังกล่าวแก่จำ� เลยทั้งห้าแล้ว ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์สามารถชี้ช่องให้จ�ำเลยทั้งห้าขายที่ดิน
ตามฟ้องจนส�ำเร็จวัตถุประสงค์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจ�ำเลยทั้งห้าตามที่ตกลงกัน
1.2 กรณีเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน สิทธิในการได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้าในกรณีนี้
จะเกิดขึ้นเมื่อเงื่อนไขนั้นส�ำเร็จแล้ว มิใช่เกิดขึ้นตั้งแต่วันท�ำสัญญา
“สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน” หมายความว่า สัญญานั้นจะมีผลบังคับได้ก็ต่อเมื่อมี
สธ
เหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตที่กำ� หนดไว้เป็นเงื่อนไขนั้นได้เกิดขึ้นส�ำเร็จแล้ว เช่น ให้สัญญานั้นมี
ผลเมือ่ บุคคลภายนอกซึง่ เป็นคูส่ ญ ั ญากลับมาจากต่างประเทศแล้ว หรือให้สญ ั ญานัน้ มีผลเมือ่ บุคคลภายนอก

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-39

ซึ่งเป็นคู่สัญญาช�ำระเงินครบถ้วนแล้ว หรือให้สัญญานั้นมีผลเมื่อคู่สัญญานายหน้าได้โอนกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินให้แก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นแล้ว เป็นต้น
ดังนั้น ในวันท�ำสัญญาดังกล่าวนี้ นายหน้ายังไม่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จจนกว่าเหตุการณ์ใน
อนาคตที่กำ� หนดไว้เป็นเงื่อนไขนั้นได้เกิดขึ้นส�ำเร็จแล้ว
อุทาหรณ์


ฎ. 3777/2533 ข้อตกลงเป็นนายหน้ามิได้ตกลงหรือก�ำหนดไว้เป็นอย่างอืน่ ประกอบกับสัญญา
จะซื้อขายที่ได้ท�ำกันไว้มีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขตามสัญญาไม่ส�ำเร็จก็มิได้มีการเลิก

มส
สัญญาเช่นนี้ โจทก์จะเรียกค่าบ�ำเหน็จค่านายหน้าจากจ�ำเลยหาได้ไม่
ตัวอย่าง 1 นายแดงต้องการขายรถยนต์โตโยต้าโคโรน่าหมายเลขทะเบียน กก-2159
กรุงเทพมหานคร ใช้แล้วเป็นเวลา 8 ปี ในราคา 200,000 บาท โดยตกลงให้นายด�ำหาผู้ซื้อมาท�ำสัญญา
ซื้อขายกับนายแดง และตกลงให้บ�ำเหน็จค่านายหน้าเป็นเงินจ�ำนวน 10,000 บาท นายด�ำตกลงรับท�ำการ
ดังกล่าวให้ ต่อมานายด�ำได้พานายแสดมาพบนายแดงและดูรถยนต์คนั ดังกล่าวจนนายแสดตกลงซือ้ รถยนต์
คันนัน้ โดยมีเงือ่ นไขว่าให้นายแสดได้รบั ค�ำสัง่ ย้ายมารับราชการทีก่ รุงเทพฯ ก่อน เช่นนีเ้ ป็นสัญญาซือ้ ขาย
ที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน นายด�ำยังไม่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้าเป็นเงินจ�ำนวน 10,000 บาท จากนาย
แดงเพราะเงื่อนไขตามสัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้น นายด�ำต้องรอจนกว่านายแสดได้รับค�ำสั่งย้ายให้มารับ
ราชการที่กรุงเทพฯ ก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้าดังกล่าว

ตัวอย่าง 2 นายแดงต้องการขายที่ดินแปลงหนึ่งแต่ไม่มีเวลาหาผู้ซื้อ จึงตกลงให้นายด�ำเป็น
นายหน้าหาผู้ซื้อมาท�ำสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นกับนายแดง โดยตกลงจะให้บ�ำเหน็จค่านายหน้าแก่นายด�ำ
มส

เป็นเงินจ�ำนวนร้อยละ 10 ของราคาขายที่ดินแปลงนั้นเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นให้แก่
ผูซ้ อื้ แล้ว นายด�ำน�ำนายม่วงมาพบกับนายแดงและดูทดี่ นิ แปลงดังกล่าวแล้ว นายม่วงตกลงซือ้ ทีด่ นิ แปลงนัน้
โดยวางเงินมัดจ�ำให้ไว้ก่อนในวันท�ำสัญญา เช่นนี้นายด�ำยังไม่มีสิทธิได้รับค่าบ�ำเหน็จ เพราะเป็นกรณีที่
สัญญามีเงือ่ นไขบังคับก่อน นายด�ำจะมีสทิ ธิได้รบั ค่าบ�ำเหน็จเป็นเงินจ�ำนวนร้อยละ 10 ของราคาทีข่ ายทีด่ นิ นัน้
นับตั้งแต่วันที่นายแดงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นให้แก่นายม่วงแล้วซึ่งเป็นวันที่เงื่อนไขส�ำเร็จ
เมื่อนายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาท�ำสัญญาแล้ว และนายหน้ามี
สิทธิได้รบั บ�ำเหน็จค่านายหน้าดังกล่าวมาแล้วไม่วา่ ในกรณีใด แม้ตอ่ มาคูส่ ญ

นายหน้าแต่อย่างใด กล่าวคือนายหน้านั้นยังคงมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จอยู่เช่นเดิม
อนึง่ ในกรณีทคี่ สู่ ญ
ั ญาทัง้ สองฝ่ายคือ บุคคลภายนอกกับคูส่ ญ

ั ญาได้ประพฤติปฏิบตั ผิ ดิ สัญญา
ต่อกัน หรือมีการเลิกสัญญากันก็ยอ่ มไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิทจี่ ะได้รบั บ�ำเหน็จค่านายหน้าต่อคูส่ ญ ั ญา

ั ญานายหน้าไม่ชำ� ระหนีต้ อ่ กัน


ตามสัญญาทีไ่ ด้ทำ� กันไว้แล้วนัน้ นายหน้าก็ไม่ตอ้ งรับผิดช�ำระหนีต้ ามสัญญาดังกล่าวแทนแต่อย่างใด เพราะ
นายหน้าไม่ใช่คู่สัญญาซึ่งมีหน้าที่ต้องรับผิดตามสัญญานั้น22
ตัวอย่าง 3 นายด�ำเป็นนายหน้าขายรถยนต์ให้นายแดงตามที่ได้ตกลงไว้และมีข้อตกลงให้
สธ
บ�ำเหน็จค่านายหน้าแก่นายด�ำเป็นเงินจ�ำนวน 5,000 บาท ต่อมาเมื่อนายด�ำพานายเหลืองมาพบนายแดง

22 ปพพ. มาตรา 848



9-40 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

และดูรถยนต์คนั ดังกล่าว จนนายเหลืองตกลงซือ้ จากนายแดง หากปรากฏว่าต่อมานายแดงไม่ยอมส่งมอบ


รถยนต์คันดังกล่าวให้แก่นายเหลือง เช่นนี้นายด�ำไม่ต้องรับผิดต่อนายเหลืองตามสัญญาซื้อขายระหว่าง
นายเหลืองกับนายแดงแต่อย่างใด และนายด�ำยังคงมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จค่านายหน้าเป็นเงินจ�ำนวน 5,000
บาท จากนายแดงเพราะสัญญาซือ้ ขายได้ทำ� กันส�ำเร็จแล้ว แม้วา่ ภายหลังนายแดงผิดสัญญาซือ้ ขายไม่ยอม
ส่งมอบรถยนต์ให้แก่นายเหลืองก็ตาม


อุทาหรณ์
ฎ. 517/2494 นายหน้าได้ชักน�ำผู้ซื้อมาตกลงท�ำสัญญาซื้อขายกับผู้ขายตามความประสงค์

ผู้ขาย
มส
ของผู้ขายที่ได้ตกลงไว้กับนายหน้าแล้วนับว่านายหน้าได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน ตาม ปพพ. มาตรา 845
แล้ว แม้ภายหลังผู้ซื้อผิดสัญญากับผู้ขาย โดยไม่มีเงินไปช�ำระแก่ผู้ขายก็ตาม ก็เป็นเรื่องของผู้ขายจะ
ว่ากล่าวแก่ผู้ซื้อไม่เกี่ยวแก่นายหน้าอย่างใด ฉะนั้นนายหน้าย่อมมีสิทธิได้รับค่านายหน้าตามที่ตกลงไว้กับ

อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบ�ำเหน็จนายหน้า กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความสิทธิเรียกร้อง
ค่าบ�ำเหน็จนายหน้าไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีกำ� หนด 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/30
อุทาหรณ์
ฎ. 5103/2539 โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าบ�ำเหน็จนายหน้าโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุ
ความเกี่ยวกับนายหน้าไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใดจึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำ� หนด 10 ปี

ฎ. 6952/2552 โจทก์ฟ้องเรียกค่าบ�ำเหน็จและเงินส่วนเกินตามสัญญานายหน้า ตาม ปพพ.
มาตรา 845 มิได้ฟ้องเรียกเอาสินจ้างจากการรับท�ำการงาน สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติ
มส

เรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำ� หนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30


2. สิทธิในการได้รบั ชดใช้คา่ ใช้จา่ ย นายหน้าจะมีสทิ ธิได้รบั ชดใช้คา่ ใช้จา่ ยต่อเมือ่ คูส่ ญ
ั ญานายหน้า
ได้ตกลงกันไว้ให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายที่นายหน้าได้ออกไปซึ่งการตกลงกันในกรณีนี้ต้องเป็นการตกลงกันอย่าง
ชั ด แจ้ ง โดยจะตกลงกั น ด้ ว ยวาจาหรื อ ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรก็ ไ ด้ เมื่ อ สั ญ ญานายหน้ า ได้ มี ก ารตกลงใน
เรื่องค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาแล้ว สิทธิในการได้รับค่าใช้จ่ายของนายหน้าจากคู่สัญญาของนายหน้าย่อมเกิด
ขึ้นเมื่อนายหน้าได้ออกค่าใช้จ่ายไปส�ำหรับการชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลภายนอกได้เข้าท�ำสัญญากับ

เป็นต้น

คู่สัญญาของตน แม้ว่าสัญญาระหว่างบุคคลภายนอกกับคู่สัญญาของนายหน้าจะมิได้ท�ำกันส�ำเร็จก็ตาม
ดังที่ ปพพ. มาตรา 845 วรรคสองบัญญัติไว้
“ค่าใช้จ่ายของนายหน้า” เช่น ค่าพาหนะ ค่าส่งจดหมายไปรษณีย์ ค่าโทรสาร ค่าโทรศัพท์ตดิ ต่อ

ตัวอย่าง นายแดงต้องการขายทีด่ นิ มีโฉนดแปลงหนึง่ ตกลงให้นายด�ำหาผูซ้ อื้ มาท�ำสัญญาซือ้ ขาย


กับนายแดง โดยตกลงให้ค่าใช้จ่าย 2,000 บาท และนายด�ำตกลงรับท�ำการดังกล่าวให้ ต่อมานายด�ำได้
ติดต่อนายเหลืองจนพานายเหลืองมาพบนายแดงและดูที่ดินดังกล่าว แต่นายเหลืองไม่ประสงค์จะได้ที่ดิน
สธ
นั้น จึงไม่มีการท�ำสัญญาซื้อขายกัน เช่นนี้นายด�ำนายหน้าย่อมมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่าย 2,000 บาทจากนาย
แดง แม้ว่าจะไม่เกิดสัญญาซื้อขายระหว่างนายแดงกับนายเหลืองก็ตาม

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-41

ตามตัวอย่างข้างต้น ถ้านายแดงตกลงจะให้คา่ บ�ำเหน็จแก่นายด�ำ 30,000 บาทอีกด้วย เช่นนี้


นายด�ำนายหน้าไม่มีสิทธิได้รับค่าบ�ำเหน็จดังกล่าวจากนายแดงเพราะสัญญาซื้อขายมิได้ท�ำกันส�ำเร็จ
นายด�ำคงมีสิทธิเพียงได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายเท่านั้น

หน้าที่ของนายหน้า


มาตรา 847 บัญญัตวิ า่ “ถ้านายหน้าท�ำการให้แก่บคุ คลภายนอกด้วยก็ดี หรือได้รบั ค�ำมัน่ แต่บคุ คล
ภายนอกเช่นนั้นว่าจะให้ค่าบ�ำเหน็จอันไม่ควรแก่นายหน้าผู้กระท�ำการโดยสุจริตก็ดีเป็นการฝ่าฝืนต่อการ

ไม่”
มส
ที่ตนเข้ารับท�ำหน้าที่ไซร้ ท่านว่านายหน้าหามีสิทธิจะได้รับค่าบ�ำเหน็จหรือรับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไป

นายหน้ามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. หน้าที่ต้องชี้ช่องหรือจัดการให้มีการท�ำสัญญากัน ดังได้กล่าวมาแล้วว่าสัญญานายหน้ามี
วัตถุประสงค์เพือ่ ให้นายหน้าชีช้ อ่ งให้ได้เข้าท�ำสัญญาหรือจัดการให้ได้ทำ� สัญญากัน ดังนัน้ หน้าทีข่ องนายหน้า
ในเรื่องชี้ช่องหรือการจัดการดังกล่าวนั้นจึงเป็นหน้าที่อันส�ำคัญของนายหน้า นายหน้าไม่มีหน้าที่เข้าไป
จัดการท�ำสัญญาด้วยตนเองแต่อย่างใด ซึง่ เป็นข้อแตกต่างจากสัญญาตัวแทนเว้นแต่คสู่ ญ ั ญาจะได้ตกลงให้
นายหน้านั้นเป็นตัวแทนด้วย
2. หน้าที่ต้องท�ำการตามหน้าที่ด้วยความสุจริต เมือ่ มีการตกลงรับเป็นนายหน้าแก่บคุ คลใดแล้ว

นายหน้าจะต้องกระท�ำด้วยความสุจริต ถ้านายหน้าท�ำการให้แก่บุคคลภายนอกด้วย หรือได้รับค�ำมั่นแต่
บุคคลภายนอกว่าจะให้คา่ บ�ำเหน็จอันไม่ควรแก่นายหน้าผูก้ ระท�ำการโดยสุจริต เป็นการฝ่าฝืนต่อการทีต่ น
มส

เข้ารับท�ำหน้าที่ดังกล่าว นายหน้าย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับค่าบ�ำเหน็จหรือรับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไป
ตัวอย่าง นายวิชัยตกลงให้นายทนงเป็นนายหน้าขายที่ดินเนื้อที่ 10 ไร่ ในราคา 2.5 ล้านบาท แต่
ถ้าผูซ้ อื้ ต้องการซือ้ ในราคา 2 ล้านบาท ก็ให้ตกลงขาย ตกลงให้บำ� เหน็จร้อยละ 5 ของราคาทีต่ กลงซือ้ ขาย
กันและห้ามมิให้นายทนงไปเรียกร้องบ�ำเหน็จจากผู้ซื้อ นายทนงทราบว่านายสุรยุทธ์ต้องการที่ดินดังกล่าว
จึงไปเรียกร้องบ�ำเหน็จร้อยละ 7 ของราคาทีต่ กลงซือ้ ขายกันจากนายสุรยุทธ์และรับว่าจะด�ำเนินการให้นาย
สุรยุทธ์ซอื้ ทีด่ นิ นัน้ ในราคา 2 ล้านบาท ซึง่ เป็นราคาตํา่ ทีส่ ดุ ทีน่ ายวิชยั จะขายได้ ท�ำให้ประโยชน์ทนี่ ายวิชยั

จะได้รบั ลดลง จนสัญญาซือ้ ขายทีด่ นิ นัน้ ได้ทำ� กันระหว่างนายวิชยั กับนายสุรยุทธ์ เช่นนี้ เป็นการท�ำการให้
แก่บุคคลภายนอกด้วยเพื่อหวังค่าบ�ำเหน็จจากผู้ซื้ออันไม่ควรแก่นายหน้าผู้กระท�ำการโดยสุจริต เป็นการ
ฝ่าฝืนต่อการเข้ารับท�ำหน้าที่ เช่นนี้ นายทนงไม่มสี ทิ ธิจะได้รบั ค่าบ�ำเหน็จหรือรับชดใช้คา่ ใช้จา่ ยทีไ่ ด้เสียไป
จากนายวิชัย
จากตัวอย่างข้างต้น นายทนงมีสทิ ธิเรียกร้องบ�ำเหน็จค่านายหน้าจากนายสุรยุทธ์ได้ เพราะนายทนง
มิได้ทำ� การใดที่เป็นการฝ่าฝืนต่อการเข้ารับท�ำหน้าที่เป็นนายหน้าของนายสุรยุทธ์
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 326-328/2518 จ�ำเลยทั้งสามได้ตกลงจะให้ค่าบ�ำเหน็จแก่โจทก์ผู้เป็นนายหน้า เพื่อชี้ช่องให้ได้
เข้าท�ำสัญญาขายที่ดินแก่กระทรวงการคลังในอัตราร้อยละยี่สิบของราคาที่ดินที่ขายได้ และสัญญาซื้อขาย
ทีด่ นิ ระหว่างจ�ำเลยกับกระทรวงการคลังได้ทำ� กันเสร็จเนือ่ งแต่ผลแห่งการทีโ่ จทก์ได้ชชี้ อ่ งนัน้ ศาลฎีกาเห็น

9-42 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ว่า จ�ำเลยได้ขายทีด่ นิ ของจ�ำเลยให้แก่กระทรวงการคลัง มิได้ขายให้แก่ ค. ตามสัญญามัดจ�ำจะซือ้ ขายทีด่ นิ


ที่จ�ำเลยท�ำไว้กับ ค. ในราคาที่ก�ำหนดไว้ในสัญญานั้น และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับค่าบ�ำเหน็จ ค. หรือ
กระท�ำการโดยไม่สุจริตอย่างใด จะว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ส�ำเร็จและโจทก์ได้กระท�ำการให้บุคคล
ภายนอกอันไม่สมควรแก่หน้าที่ผู้กระท�ำการโดยสุจริต เป็นการฝ่าฝืนต่อการที่ได้รับหน้าที่หาได้ไม่
อนึง่ การเป็นนายหน้าทัง้ สองทางนัน้ ไม่มกี ฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด กล่าวคือ บุคคลคนเดียวอาจ


เป็นนายหน้าของบุคคลภายนอกและเป็นนายหน้าของบุคคลทีจ่ ะเป็นคูส่ ญ ั ญากับบุคคลภายนอกนัน้ ในขณะ
เดียวกันได้ แต่ต้องไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อการที่ตนเข้ารับท�ำหน้าที่นายหน้านั้นด้วย มิฉะนั้นแล้วนายหน้าผู้

มส
นั้นจะไม่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จและค่าใช้จ่ายจากคู่สัญญาที่ตนฝ่าฝืนหน้าที่เช่นนั้น
ตัวอย่าง นายแดงต้องการขายทีด่ นิ แปลงหนึง่ เนือ้ ที่ 10 ไร่ ซึง่ ตัง้ อยูต่ ดิ แม่นาํ้ เจ้าพระยาและอยูใ่ กล้
ถนนในราคา 20 ล้านบาท โดยตกลงให้นายด�ำหาผู้ซื้อมาท�ำสัญญาซื้อขายกับนายแดง และตกลงจะให้
บ�ำเหน็จค่านายหน้าแก่นายด�ำเป็นเงินจ�ำนวนร้อยละ 5 ของราคาขาย และให้ค่าใช้จ่ายอีกเป็นเงินจ�ำนวน
50,000 บาท หากนายด�ำรู้ว่านายเขียวต้องการที่ดินลักษณะดังกล่าว นายด�ำจึงขอเป็นนายหน้าให้แก่นาย
เขียวเพือ่ หาทีด่ นิ มาให้นายเขียวท�ำสัญญาซือ้ ขายโดยนายเขียวตกลงและจะให้บำ� เหน็จค่านายหน้าแก่นาย
ด�ำเป็นเงินจ�ำนวน 200,000 บาท และค่าใช้จา่ ยอีก 100,000 บาท เช่นนีถ้ า้ นายด�ำชีช้ อ่ งหรือจัดการจนนาย
แดงกับนายเขียวได้ท�ำสัญญาซือ้ ขายกันส�ำเร็จ นายด�ำย่อมมีสทิ ธิได้รบั บ�ำเหน็จค่านายหน้าเป็นเงินจ�ำนวน
ร้อยละ 5 ของราคาขายที่ดินแปลงนั้นในราคา 20 ล้านบาท ทั้งค่าใช้จ่าย 50,000 บาทจากนายแดง และ

นายด�ำยังมีสทิ ธิได้รบั บ�ำเหน็จเป็นเงินจ�ำนวน 200,000 บาท และค่าใช้จา่ ยอีก 100,000 บาทจากนายเขียว
ด้วย เพราะนายด�ำเป็นนายหน้าทั้งสองทาง กล่าวคือนายด�ำเป็นนายหน้าของนายแดงและนายเขียว และ
นายด�ำก็ไม่ได้ฝา่ ฝืนหน้าทีข่ องการเป็นนายหน้าต่อนายแดงหรือต่อนายเขียวแต่อย่างใด เมือ่ สัญญาซือ้ ขาย
มส

ได้ท�ำกันส�ำเร็จ นายด�ำจึงมีสิทธิได้รับค่าบ�ำเหน็จและค่าใช้จ่ายจากคู่สัญญาตามสัญญานายหน้านั้น
แต่ถ้าตามตัวอย่างข้างต้น นายแดงได้ตกลงกับนายด�ำไว้ว่า ห้ามนายด�ำไปเรียกบ�ำเหน็จจากฝ่าย
ผู้ซื้ออีก เมื่อนายด�ำฝ่าฝืนไปเรียกบ�ำเหน็จจากนายเขียวผู้ซื้อดังกล่าว เช่นนี้เป็นกรณีที่นายด�ำนายหน้า
ท�ำการฝ่าฝืนหน้าทีก่ ารเป็นนายหน้าต่อนายแดง นายด�ำย่อมไม่มสี ทิ ธิได้รบั บ�ำเหน็จเป็นเงินจ�ำนวนร้อยละ
5 ของราคาขายที่ดิน 20 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายอีก 20,000 บาทจากนายแดง แต่นายด�ำยังคงมีสิทธิได้
รับบ�ำเหน็จ 200,000 บาท และค่าใช้จา่ ย 100,000 บาทจากนายเขียว เพราะนายด�ำไม่ได้กระท�ำการฝ่าฝืน
ต่อการที่เข้ารับท�ำหน้าที่เป็นนายหน้าของนายเขียวแต่อย่างใด
3. หน้าที่ต้องบอกชื่อของฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 848 บัญญัติว่า “ตัวนายหน้าไม่ต้องรับผิดไปถึงการช�ำระหนี้ตามสัญญาซึ่งได้ท�ำต่อกัน
เพราะตนเป็นสื่อ เว้นแต่จะมิได้บอกชื่อของฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่ง”
โดยหลักแล้ว นายหน้าไม่มหี น้าทีต่ อ้ งรับผิดไปถึงการช�ำระหนีข้ องบุคคลภายนอกซึง่ เป็นคูส่ ญ ั ญา
ของคู่สัญญากับนายหน้า หรือการช�ำระหนี้ของคู่สัญญานายหน้ากับบุคคลภายนอกซึ่งเป็นคู่สัญญากับ
สธ
คูส่ ญ
ั ญานายหน้า เพราะนายหน้าเป็นเพียงคนกลางทีช่ ชี้ อ่ งหรือจัดการให้ได้ทำ� สัญญากัน โดยนายหน้ามิได้
เข้าท�ำสัญญาด้วย อย่างไรก็ดี การทีม่ าตรา 848 บัญญัตขิ อ้ ยกเว้นให้นายหน้าต้องรับผิดไปถึงการช�ำระหนี้
ตามสัญญาซึ่งคู่สัญญาของนายหน้ากับบุคคลภายนอกได้ท�ำไว้เพราะตนเป็นสื่อนั้น ในกรณีที่นายหน้าไม่
ได้บอกชื่อของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-43

ความว่า “บอกชื่อฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่ง” หมายความว่า บอกชือ่ ของบุคคลภายนอกซึง่ เป็น


คูส่ ญ
ั ญากับคูส่ ญ
ั ญานายหน้าให้คสู่ ญ
ั ญานายหน้าทราบ หรือบอกชือ่ ของคูส่ ญ
ั ญานายหน้าให้บคุ คลภายนอก
ซึ่งเป็นคู่สัญญากับคู่สัญญานายหน้าทราบนั่นเอง ส�ำหรับผู้เขียนมีความเห็นเป็นส่วนตัวว่า การที่นายหน้า
จะต้องรับผิดช�ำระหนี้ดังกล่าวเพราะตนเป็นสื่อนั้น ต้องมีพฤติการณ์ของนายหน้าเข้าไปเกี่ยวพันกับการ
ช�ำระหนี้ของคู่สัญญาดังกล่าวพอสมควร เช่น นายหน้ารับช�ำระหนี้ให้แก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งด้วย ดังตัวอย่าง


ต่อไปนี้

มส
คู่สัญญา บุคคลภายนอก

บอกชื่อของบุคคลภายนอก บอกชื่อของคู่สัญญา

นายหน้า

ตัวอย่าง 1 นายหนึ่งต้องการขายแหวนทองวงหนึ่งของตนราคา 20,000 บาท ตกลงให้นายสอง


เป็นนายหน้าและจะให้บำ� เหน็จ 2,000 บาท ถ้านายสองขายแหวนวงนัน้ ได้โดยมอบแหวนวงนัน้ ให้นายสอง
จัดการ นายสองติดต่อนายสามมาดูแหวนวงนัน้ จนนายสามตกลงซือ้ จากนายหนึง่ โดยพูดคุยกันทางโทรศัพท์

และนายสามได้โอนเงินทางธนาคารช�ำระราคาให้นายหนึ่งไป 10,000 บาท และรับมอบแหวนวงนั้นไปจาก
นายสอง ต่อมานายสามไม่ชำ� ระเงินทีค่ า้ งอีก 10,000 บาท เช่นนี้ โดยหลักแล้วนายสองไม่มหี น้าทีต่ อ้ งรับผิด
ช�ำระหนี้เงินที่ค้างอีก 10,000 บาทนั้นให้แก่นายหนึ่งแต่อย่างใด
มส

การที่มีข้อยกเว้นว่า ถ้านายหน้าซึ่งเป็นสื่อมิได้บอกชื่อของฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่ง กล่าวคือ


ไม่บอกชื่อบุคคลภายนอกซึ่งเป็นคู่สัญญากับคู่สัญญานายหน้าให้คู่สัญญานายหน้าทราบ หรือไม่บอกชื่อ
คู่สัญญานายหน้าให้บุคคลภายนอกซึ่งเป็นคู่สัญญากับคู่สัญญานายหน้าทราบ เช่นนี้ นายหน้าต้องรับผิด
ใช้หนี้ดังกล่าวแก่คู่สัญญานายหน้าหรือคู่สัญญากับคู่สัญญานายหน้าดังกล่าว แล้วแต่กรณี เพราะเมื่อฝ่าย
หนึ่งไม่รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่งว่าคือใคร ย่อมไม่อาจที่จะไปเรียกร้อง หรือฟ้องร้องเอาแก่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญา
ดังกล่าวได้ ม
ตัวอย่าง 2 จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าปรากฏว่านายสองมิได้บอกให้นายหนึง่ ทราบถึงชือ่ ของนายสาม
เช่นนี้ นายสองต้องรับผิดช�ำระหนี้เงินที่ค้างอีก 10,000 บาทนั้นให้แก่นายหนึ่ง และถ้านายสองได้บอกให้
นายหนึ่งทราบถึงชื่อของนายสามก่อนที่นายสามจะผิดสัญญาแล้ว ไม่ว่าจะบอกด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ
นายสองย่อมไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดช�ำระหนี้เงินที่ค้างอีก 10,000 บาทนั้นให้แก่นายหนึ่งแต่อย่างใด
อุทาหรณ์
ฎ. 3343/2541 จ�ำเลยที่ 1 เป็นเพียงนายหน้าชี้ช่องให้โจทก์กับจ�ำเลยที่ 2 เข้าท�ำสัญญากัน เมื่อ
สธ
โจทก์ได้รบั กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 ซึง่ ระบุชอื่ จ�ำเลยที่ 2 เป็นผูร้ บั ประกันภัย และ
โจทก์ยอมช�ำระเบี้ยประกันภัยแก่จ�ำเลยที่ 2 แล้ว ถือได้ว่าจ�ำเลยที่ 1 ได้บอกชื่อของอีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีก
ฝ่ายหนึ่ง ตาม ปพพ. มาตรา 848 แล้ว จ�ำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

9-44 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ข้อสังเกต การทีม่ าตรา 848 บัญญัตขิ อ้ ยกเว้นให้นายหน้าต้องรับผิดไปถึงการช�ำระหนีต้ ามสัญญา


ซึ่งคู่สัญญาของนายหน้ากับบุคคลภายนอกได้ท�ำไว้เพราะตนเป็นสื่อนั้น ในกรณีที่นายหน้าไม่ได้บอกชื่อ
ของคูส่ ญ ั ญาฝ่ายหนึง่ ให้คสู่ ญ
ั ญาอีกฝ่ายหนึง่ รูน้ นั้ ท�ำให้เกิดข้อฉงนว่า นายหน้าต้องรับผิดถึงเพียงนัน้ เชียวหรือ
ทั้งที่นายหน้าท�ำหน้าที่เป็นเพียงสื่อกลางเท่านั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า ในกรณีดังกล่าวนี้คงต้องตีความ
ค�ำว่า “เพราะตนเป็นสื่อ” ว่ามีความหมายเพียงใดซึง่ จะมีผลให้นายหน้าต้องรับผิดในการช�ำระหนีด้ งั กล่าว


ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าต้องมีพฤติการณ์ของนายหน้ามาประกอบการวินิจฉัย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้นายหน้า
แสวงหาประโยชน์โดยไม่สุจริตจากกรณีการท�ำหน้าที่นายหน้าดังกล่าว อย่าไรก็ตาม การวินิจฉัยจาก

มส
พฤติการณ์ต่างๆ ของนายหน้าในประเด็นความรับผิดของนายหน้าถึงการช�ำระหนี้ตามสัญญาซึ่งคู่สัญญา
ของนายหน้ากับบุคคลภายนอกได้ทำ� ไว้ เพราะตนเป็นสือ่ ในกรณีทนี่ ายหน้าไม่ได้บอกชือ่ ของคูส่ ญ
หนึ่งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งรู้นั้น คงต้องรอศึกษาจากค�ำพิพากษาของศาลฎีกาต่อไปว่าจะตีความค�ำว่า
“เพราะตนเป็นสื่อ” แค่ไหนเพียงไร
ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
มาตรา 849 บัญญัติว ่า “การรับเงินหรือรับช�ำระหนี้อันจะพึงช�ำระตามสัญญานั้น ท่านให้
สันนิษฐานไว้ก่อนว่านายหน้าย่อมไม่มีอ�ำนาจที่จะรับแทนผู้เป็นคู่สัญญา”
ั ญาฝ่าย

บทบัญญัติมาตรานี้เป็นข้อสันนิษฐานว่า นายหน้าไม่มีอำ� นาจที่จะรับเงินหรือรับช�ำระหนี้อันจะพึง


ช�ำระตามสัญญานัน้ แทนผูเ้ ป็นคูส่ ญ ั ญา กล่าวคือ นายหน้าไม่มอี ำ� นาจทีจ่ ะรับเงินหรือรับช�ำระหนีต้ ามสัญญา

ทีค่ สู่ ญ
ั ญานายหน้าท�ำไว้กบั บุคคลภายนอกซึง่ เป็นคูส่ ญ ั ญากับคูส่ ญั ญานายหน้านัน้ แทนฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ ไม่
ว่าจะรับจากฝ่ายคูส่ ญ ั ญานายหน้าแทนบุคคลภายนอกซึง่ เป็นคูส่ ญ ั ญากับคูส่ ญ
ั ญานายหน้านัน้ หรือรับจาก
มส

บุคคลภายนอกซึ่งเป็นคู่สัญญากับคู่สัญญานายหน้านั้นแทนคู่สัญญานายหน้า

รับเงินหรือรับช�ำระหนี้แทน

คู่สัญญา นายหน้า บุคคลภายนอก

นายหน้าและจะให้บ�ำเหน็จ 2,000 บาท ถ้านายหนึ่งขายแหวนวงนั้นได้โดยมอบแหวนวงนั้นให้นายสอง



ตัวอย่าง นายหนึ่งต้องการขายแหวนทองวงหนึ่งของตนราคา 20,000 บาท ตกลงให้นายสองเป็น

จัดการ นายสองติดต่อนายสามมาดูแหวนวงนัน้ จนนายสามตกลงซือ้ จากนายหนึง่ โดยพูดคุยกันทางโทรศัพท์


แล้ว เช่นนี้ นายสองไม่มอี ำ� นาจรับเงินค่าแหวนไว้แทนนายหนึง่ ต้องให้นายสามไปช�ำระให้แก่นายหนึง่ เอง
อย่างไรก็ตาม บทบัญญัตดิ งั กล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายเท่านัน้ หากปรากฏว่ามีขอ้
ตกลงกันระหว่างนายหน้ากับคูส่ ญ ั ญานายหน้าให้นายหน้ามีอำ� นาจรับเงินหรือรับช�ำระหนีด้ งั กล่าวได้ ก็ตอ้ ง
สธ
เป็นไปตามข้อตกลงนั้น

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-45

กิจกรรม 9.2.2
1. นายหนึ่งต้องการขายสุนัขของตนราคา 12,000 บาท ตกลงให้นายสองเป็นนายหน้าและจะให้
บ�ำเหน็จ 2,000 บาท ถ้าตนขายสุนัขนั้นได้ นายสองติดต่อนายสามมาดูสุนัขจนนายสามตกลงซื้อสุนัขนั้น
จากนายหนึ่งโดยนายสามได้วางเงินมัดจ�ำให้นายหนึ่งไป 3,000 บาท ต่อมานายสามเกิดเปลี่ยนใจไม่ยอม


มารับสุนัขนั้นและไม่ชำ� ระเงินที่ค้างอีก 9,000 บาท โดยยินดีให้นายหนึ่งริบไป เช่นนี้ นายสองมีสิทธิได้รับ
บ�ำเหน็จนายหน้า 2,000 บาท หรือไม่

มส
2. นายไก่ต้องการขายพระเครื่ององค์หนึ่ง ตกลงให้นายไข่เป็นนายหน้าหาผู้ซื้อจะให้ค่าบ�ำเหน็จ
2,000 บาท นายไข่ตกลงด้วย ต่อมานายไข่ทราบมาว่านายเป็ดเสาะหาพระเครื่ององค์ดังกล่าวมานานแล้ว
จึงรับเป็นนายหน้าติดต่อผู้ขายให้และขอค่าบ�ำเหน็จนายหน้า 3,000 บาท นายเป็ดตกลงด้วย ในที่สุดนาย
ไข่ได้น�ำนายไก่และนายเป็ดมาพบกันจนตกลงซื้อขายพระเครื่ององค์นั้นในราคา 30,000 บาท นายไข่จึง
เรียกร้องค่าบ�ำเหน็จ 2,000 บาท จากนายไก่ นายไก่ปฏิเสธอ้างว่านายไข่ได้บ�ำเหน็จจากนายเป็ดแล้ว ตน
ไม่มีหน้าที่ต้องให้อีก เช่นนี้ ข้ออ้างของนายไก่ฟังขึ้นหรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 9.2.2
1. นายหนึ่งต้องการขายสุนัขของตนราคา 12,000 บาท ตกลงให้นายสองเป็นนายหน้าและจะให้
บ�ำเหน็จ 2,000 บาท ถ้าตนขายสุนัขนั้นได้ นายสองติดต่อนายสามมาดูสุนัขจนนายสามตกลงซื้อสุนัขนั้น

จากนายหนึ่งโดยนายสามได้วางเงินมัดจ�ำให้นายหนึ่งไป 3,000 บาท เช่นนี้ สัญญาซื้อขายสุนัขนั้นได้ทำ�
กันส�ำเร็จแล้วโดยเกิดจากการชี้ช่องหรือจัดการของนายสองนายหน้า นายสองย่อมมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จ
มส

นายหน้า 2,000 บาทจากนายหนึ่งแล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 845 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมานายสามเกิดเปลี่ยน


ใจไม่ยอมมารับสุนัขนั้นและไม่ช�ำระเงินที่ค้างอีก 9,000 บาท โดยยินดีให้นายหนึ่งริบไปก็ตาม
2. นายไก่ต้องการขายพระเครื่ององค์หนึ่ง ตกลงให้นายไข่เป็นนายหน้าหาผู้ซื้อจะให้ค่าบ�ำเหน็จ
2,000 บาท นายไข่ตกลงด้วย ต่อมานายไข่ทราบมาว่านายเป็ดเสาะหาพระเครื่ององค์ดังกล่าวมานานแล้ว
จึงรับเป็นนายหน้าติดต่อผู้ขายให้และขอค่าบ�ำเหน็จนายหน้า 3,000 บาท นายเป็ดตกลงด้วย ในที่สุด
นายไข่ได้น�ำนายไก่และนายเป็ดมาพบกันจนตกลงซื้อขายพระเครื่ององค์นั้นในราคา 30,000 บาท เช่นนี้

นายไข่ท�ำการเป็นนายหน้าทั้งสองทางคือเป็นนายหน้าของนายไก่และเป็นนายหน้าของนายเป็ดด้วย เมื่อ
สัญญาได้ทำ� กันส�ำเร็จเพราะเกิดจากการที่นายไข่ชี้ช่อง นายไข่ย่อมมีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จทั้งจากนายไก่และ
นายเป็ดด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 845 วรรคหนึง่ เมือ่ ไม่ปรากฏว่านายไข่ทำ� การฝ่าฝืนต่อการเป็นนายหน้า
ของนายไก่ ตาม ปพพ. มาตรา 847 เช่นนี้ นายไก่ปฏิเสธอ้างว่านายไข่ได้บ�ำเหน็จจากนายเป็ดแล้ว
ตนไม่มีหน้าที่ต้องให้อีกย่อมไม่ได้ ข้ออ้างของนายไก่จึงฟังไม่ขึ้น
สธ

9-46 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 9.2.3
ความระงับสิ้นไปแห่งสัญญานายหน้า


บทบัญญัติใน ปพพ. บรรพ 3 ลักษณะ 16 นายหน้า ไม่ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำ� ให้สัญญานายหน้า
ระงับสิ้นไป ดังนั้นย่อมเป็นไปตามหลักทั่วไป และใน ปพพ. บรรพ 2 ลักษณะ 2 หมวด 4 การเลิกสัญญา

มส
มาใช้บังคับด้วย
สัญญานายหน้าอาจระงับสิ้นไปในกรณีดังต่อไปนี้
1. ถ้าในสัญญานายหน้าที่ทำ� ไว้มีก�ำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะให้ระงับสิ้นไป เมื่อมีกรณีนั้น
อุทาหรณ์
ฎ. 225/2481 จ�ำเลยท�ำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าขายทีด่ นิ โดยให้คา่ นายหน้าร้อยละ 5 และส่วน
ที่ขายได้เกินตารางวาละ 2.75 บาท ให้เป็นของโจทก์ด้วย แต่ถ้าจ�ำเลยขายได้เองหรือมีผู้นำ� เอาไปขายให้
ได้แล้วสัญญานี้เป็นระงับ ท�ำสัญญาแล้วได้ 8 เดือน โจทก์ก็ยังขายไม่ได้จำ� เลยจึงแบ่งที่ออกเป็น 10 แปลง
แล้วมีผอู้ นื่ มารับเป็นนายหน้าขายทีด่ นิ ไปได้ 8 แปลง โดยโจทก์กท็ ราบดังนี้ สัญญานายหน้าระหว่างโจทก์
จ�ำเลยเป็นอันระงับ

ฎ. 4522/2533 ตามหนังสือสัญญานายหน้าได้ระบุไว้ว่า โจทก์จะต้องจัดการจดทะเบียนโอนขาย
ทีด่ นิ ให้เสร็จภายใน 200 วัน นับแต่วนั ท�ำสัญญา จึงเห็นได้วา่ การทีจ่ ะถือว่าโจทก์ทำ� การเป็นนายหน้าส�ำเร็จ
ต่อเมื่อจดทะเบียนโอนขายที่ดินกัน
มส

2. ถ้าสัญญานายหน้าที่ท�ำไว้มีก�ำหนดเวลา เมื่อครบก�ำหนดเวลานั้น
อุทาหรณ์
ฎ. 827/2523 สัญญานายหน้าระบุให้นายหน้าจัดการขายที่ดินให้เสร็จภายใน พ.ศ. 2518 เว้นแต่
มีเหตุสุดวิสัยเจ้าของที่ดินจะผ่อนเวลาต่อไปให้อีกตามที่เห็นสมควรนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่สัญญา
ว่า ได้กำ� หนดระยะเวลาไว้แน่นอนแล้วว่าจะต้องขายทีด่ นิ ให้เสร็จภายในสิน้ ปี พ.ศ. 2518 หากไม่มกี ารผ่อน
เวลา ย่อมถือได้ว่าสัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดลง ม
ฎ. 1118/2533 จ�ำเลยตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้าขายที่ดินให้จ�ำเลย โดยหนังสือสัญญานายหน้า
มีข้อความว่า “มอบให้นายหน้าไปจัดการให้จดทะเบียน ณ ส�ำนักงานที่ดินให้เสร็จภายในก�ำหนด 10 วัน
นับแต่วันท�ำสัญญานี้ถ้าพ้นก�ำหนดเวลาดังกล่าวสัญญานายหน้านี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลง”ดังนี้เห็นได้ว่าคู่
สัญญามีเจตนาก�ำหนดเวลาไว้แน่นอนว่าจะต้องจดทะเบียนซือ้ ขายโอนกรรมสิทธิใ์ ห้เสร็จสิน้ ภายในก�ำหนด
เวลา 10 วัน นับแต่วันท�ำสัญญา ก�ำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นข้อสาระส�ำคัญของสัญญานายหน้า ทั้งไม่
ปรากฏว่าจ�ำเลยได้ผ่อนเวลาออกไปอีกแต่อย่างใด แม้โจทก์จะเป็นผู้ติดต่อให้ ม. ซื้อที่ดินจากจ�ำเลยก็ตาม
สธ
แต่เมือ่ พ้นก�ำหนด 10 วัน ตามสัญญา โจทก์ยงั ไม่สามารถจัดการให้มกี ารจดทะเบียนซือ้ ขายโอนกรรมสิทธิ์
กันได้ ถือว่าสัญญาสิ้นสุดไม่มีผลผูกพันคู่กรณี

ตัวแทนค้าต่างและนายหน้า 9-47

3. ถ้าสัญญานายหน้าทีท่ ำ� ไว้เฉพาะเพือ่ ท�ำกิจการอย่างหนึง่ อย่างใดแต่อย่างเดียว เมือ่ เสร็จการนัน้


4. เมือ่ คูส่ ญ
ั ญานายหน้าตกลงเลิกสัญญานายหน้า โดยน�ำบทบัญญัตใิ น ปพพ. บรรพ 2 ลักษณะ
2 หมวด 4 การเลิกสัญญา มาใช้บังคับ
5. เมื่อนายหน้าถึงแก่ความตาย


กิจกรรม 9.2.3

มส
สัญญานายหน้าระหว่างนายอรุณเจ้าของทีด่ นิ กับนางสายทองนายหน้าระบุให้นางสายทองจัดการ
ขายทีด่ นิ ให้เสร็จภายใน พ.ศ. 2556 เว้นแต่มเี หตุสดุ วิสยั นายอรุณจะผ่อนเวลาต่อไปให้อกี ตามทีเ่ ห็นสมควร
ปรากฏว่านางสายยังไม่สามารถจัดการให้มีคนมาซื้อที่ดินนั้นได้ เช่นนี้ สัญญานายหน้าระหว่างนายอรุณ
กับนางสายทองได้ระงับสิ้นไปแล้วหรือยัง

แนวตอบกิจกรรม 9.2.3
สัญญานายหน้าระหว่างนายอรุณเจ้าของทีด่ นิ กับนางสายทองนายหน้าระบุให้นางสายทองจัดการ
ขายทีด่ นิ ให้เสร็จภายใน พ.ศ. 2556 เว้นแต่มเี หตุสดุ วิสยั นายอรุณจะผ่อนเวลาต่อไปให้อกี ตามทีเ่ ห็นสมควร
ปรากฏว่านางสายยังไม่สามารถจัดการให้มคี นมาซือ้ ทีด่ นิ นัน้ ได้ เช่นนี้ แสดงให้เห็นถึงเจตนาของนายอรุณ

กับนางสายทองคู่สัญญาว่า ได้ก�ำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนแล้วว่าจะต้องขายที่ดินนั้นให้เสร็จภายในสิ้นปี
พ.ศ. 2556 เมื่อไม่มีการผ่อนเวลา ย่อมถือได้ว่าสัญญานายหน้าระหว่างนายอรุณกับนางสายทองได้ระงับ
มส

สิ้นไปแล้ว


สธ

9-48 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บรรณานุกรม

กมล สนธิเกษตริน. (2536). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนและนายหน้า. กรุงเทพมหานคร:


ส�ำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.
กุศล บุญยืน. (2532). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยตัวแทนและนายหน้า. กรุงเทพมหานคร:
ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดยงพลเทรดดิ้ง.

มส
ไผทชิต เอกจริยากร. (2554). ตัวแทน นายหน้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัทส�ำนักพิมพ์วิญญูชนจ�ำกัด.
สถิตย์ เล็งไธสง. (2538). ค�ำอธิบายกฎหมายตัวแทนและนายหน้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัทส�ำนักพิมพ์วิญญูชน
จ�ำกัด.

มส


สธ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-1

หน่วยที่ 10
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ


ศาสตราจารย์ ดร.เสาวนีย์ อัศวโรจน์

มส

มส

ชื่อ
วุฒิ
ศาสตราจารย์ ดร.เสาวนีย์ อัศวโรจน์

น.บ. (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
น.บ.ท., น.ม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
น.ด. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.ศ.ด. กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สธ
LL.M. (International Legal Studies) New York University
LL.M. (General Studies) New York University
ต�ำแหน่ง กรรมการปฏิรูปกฎหมาย ส�ำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 10

10-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจ�ำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 10 ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ

ตอนที่

แนวคิด
มส
10.1 ประนีประนอมยอมความ
10.2 การพนันและขันต่อ

1. ป ระนีประนอมยอมความเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดการระงับข้อพิพาทซึ่งเป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง
นอกจากการฟ้องคดีต่อศาล โดยคู่กรณีพิพาทตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทของตนที่มีอยู่แล้ว
หรือจะมีขึ้นด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือและมีผลท�ำให้ข้อพิพาท

เดิมระงับสิ้นไปและคู่กรณีแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
2. การพนันและขันต่อเป็นสัญญาทีค่ สู่ ญ
ั ญาได้ตกลงกันว่า ฝ่ายแพ้จะจ่ายเงินหรือทรัพย์สนิ แก่อกี
ฝ่ายหนึ่งซึ่งชนะ เมื่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งไม่แน่นอนเกิดขึ้นในอนาคตอันเป็นการ
มส

เสี่ยงโชคโดยอาศัยความสามารถของคู่สัญญา และอาจมีการต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัย
เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะโดยคู่สัญญามิได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
เหล่านั้น แต่ผลของการพนันและขันต่อนั้นไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 10 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาในเรื่องประนีประนอมยอมความได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาในเรื่องการพนันและขันต่อได้

กิจกรรมระหว่างเรียน

1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 10
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 10.1-10.2
สธ
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน
4. ฟังซีดีเสียงประกอบชุดวิชา
5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-3

6. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
7. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 10

สื่อการสอน


1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. ซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
4.
5.
มส
รายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบประจ�ำภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 10 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป
มส


สธ

10-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 10.1
ประนีประนอมยอมความ
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 10.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
10.1.1 สาระส�ำคัญของประนีประนอมยอมความ
10.1.2 ประเภทของประนีประนอมยอมความ
10.1.3 หลักฐานของประนีประนอมยอมความ
10.1.4 ผลของประนีประนอมยอมความ
10.1.5 การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความและอายุความ

1. ป ระนีประนอมยอมความเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดการระงับข้อพิพาทที่คู่กรณีพิพาทตกลง
กันระงับข้อพิพาททีม่ อี ยูห่ รือทีจ่ ะมีขนึ้ ในอนาคตให้เสร็จสิน้ ไปโดยคูก่ รณีพพิ าทต่างยอม
ผ่อนผันให้แก่กนั และเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกอย่างหนึง่ นอกจากการฟ้องคดีตอ่

ศาล โดยเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. ดังนั้นในกรณีใดที่ไม่มี
บทบัญญัตขิ องกฎหมายทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้เป็นพิเศษก็ตอ้ งอยูภ่ ายใต้บงั คับของบทบัญญัตขิ อง
มส

กฎหมายลักษณะนิตกิ รรม และสัญญา เช่น ความสามารถของคูส่ ญ ั ญาและเจตนาในการ


ท�ำสัญญาต้องสมบูรณ์ไม่บกพร่อง แต่ในกรณีทมี่ กี ฎหมายบัญญัตไิ ว้เป็นพิเศษแล้วก็ตอ้ ง
ใช้บทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษบังคับกับสัญญาประนีประนอมยอมความ เช่น การมี
หลักฐานเป็นหนังสือของสัญญาประนีประนอมยอมความ
2. ประนีประนอมยอมความแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ ประนีประนอมยอมความนอกศาล
ซึ่งเป็นการประนีประนอมข้อพิพาทที่ด�ำเนินการโดยบุคคลที่เป็นคู่กรณีพิพาทตกลง

กันเอง หรือบุคคลภายนอกเข้าไปช่วยไกล่เกลี่ย โดยข้อพิพาทนั้นยังมิได้มีการฟ้องคดี
ต่อศาลหรือมีการฟ้องคดีต่อศาลแล้วแต่คู่กรณีพิพาทตกลงประนีประนอมยอมความ
กั น เองนอกศาลโดยศาลไม่ รั บ รู ้ และประนี ป ระนอมยอมความในศาล ซึ่ ง เป็ น
ประนีประนอมยอมความข้อพิพาทซึ่งอยู่ในการพิจารณาคดีของศาลและศาลมีส่วนร่วม
ในประนีประนอมยอมความนั้น
3. ประนีประนอมยอมความไม่มีแบบแต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา
สธ
ฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องบังคับคดีกันได้
4. ผลของประนีประนอมยอมความย่อมท�ำให้การเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่ได้ยอมสละนั้น
ระงับสิ้นไปและแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่ตกลงกัน

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-5

5. ก ารบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นต้องกระท� ำโดยการฟ้องคดีต่อศาล
ส�ำหรับประนีประนอมยอมความนอกศาล หรือบังคับโดยขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี
ส�ำหรับประนีประนอมยอมความในศาล
6. อายุความส�ำหรับการฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีก�ำหนด


สิบปี หากไม่มีการฟ้องคดีภายในก�ำหนดอายุความ คดีย่อมขาดอายุความอันท�ำให้
คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องคดีสามารถยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้

มส
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 10.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายสาระส�ำคัญของประนีประนอมยอมความและสัญญาประนีประนอมยอมความได้
2. อธิบายประเภทและลักษณะของประนีประนอมยอมความของแต่ละประเภทได้
3. อธิบายหลักฐานของประนีประนอมยอมความได้
4. อธิบายผลของประนีประนอมยอมความได้
5. อธิบายการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และอายุความของการบังคับตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความได้

6. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับประนีประนอมยอมความได้
มส


สธ

10-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 10.1.1
สาระส�ำคัญของประนีประนอมยอมความ


ประนีประนอมยอมความเป็นการระงับข้อพิพาททางแพ่งวิธีหนึ่งนอกจากการฟ้องคดีต่อศาลและ
การอนุญาโตตุลาการ โดยเป็นการระงับข้อพิพาททีเ่ ป็นทางเลือกชนิดหนึง่ นอกจากการฟ้องคดีตอ่ ศาล เช่น

มส
เดียวกับการอนุญาโตตุลาการ เนือ่ งจากการระงับข้อพิพาทหลักของประเทศไทย คือ การฟ้องคดี แต่คกู่ รณี
พิ พ าทอาจเลื อ กระงั บ ข้ อ พิ พ าทของตนโดยวิ ธี ก ารอื่ น ๆ ได้ คื อ ประนี ป ระนอมยอมความและการ
อนุญาโตตุลาการ
ประนีประนอมยอมความเป็นวิธกี ารระงับข้อพิพาททีเ่ กิดขึน้ และใช้กนั ในสังคมตัง้ แต่ยคุ เริม่ แรกและ
ยังได้รับความนิยมใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน1 เนื่องจากมีความสะดวก ประหยัด รวดเร็ว และสามารถรักษา
ชื่อเสียง ความลับและความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีพิพาทไว้ได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับการระงับข้อพิพาทวิธี
อื่นๆ2
การระงับข้อพิพาทโดยประนีประนอมยอมความนั้นมีลักษณะเป็นสัญญา กล่าวคือ เกิดขึ้นจาก
สัญญาระหว่างคูก่ รณีพพิ าททีต่ กลงกันให้ระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กนั และคูก่ รณีผกู พันได้

สิทธิต่างๆ กันตามที่ตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
ส�ำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับประนีประนอมยอมความนั้นมีบทบัญญัติลักษณะทั่วไปไว้ ใน ปพพ.
บรรพ 3 ลักษณะ 17 ซึ่งอยู่ใน มาตรา 850-852 กล่าวคือ มาตรา 850 เป็นเรื่องค�ำนิยามและหลักเกณฑ์
มส

อันเป็นสาระส�ำคัญของประนีประนอมยอมความ มาตรา 851 เป็นเรือ่ งหลักฐานของประนีประนอมยอมความ


และมาตรา 852 เป็นเรื่องผลของประนีประนอมยอมความ และมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับประนีประนอมยอม
ความในศาลซึ่งบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นส�ำหรับประนีประนอมยอมความที่มีลักษณะพิเศษดังกล่าวไว้ใน ปวพ.
มาตรา 138
ดังนั้น สาระส�ำคัญหรือหลักเกณฑ์ของประนีประนอมยอมความ ไม่ว่าประนีประนอมยอมความ

อยู่ใน ปพพ. มาตรา 850 ดังนี้



นอกศาลหรือในศาล ซึง่ ท�ำให้การระงับข้อพิพาทชนิดนีแ้ ตกต่างจากการระงับข้อพิพาทวิธอี นื่ ๆ นัน้ มีบญ

“อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใด


อันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน”
ั ญัติ
สธ
1 Albert Kocourek and John H. Wigmore (comp.) Sources of Ancient and Primitive Law, Boston: Little
Brown and Company 1915 p. 465; Simon Roberts “Mediation in Family Disputes” 46 (5) The Modern Law Review
(1983) p. 537-538.
2 Protecting Confidentiality in Mediation” (note) 98 (2) Harvard Law Review (1984) p. 441.

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-7

จากบทบัญญัตินี้สามารถแบ่งแยกสาระส�ำคัญหรือหลักเกณฑ์ของประนีประนอมยอมความได้
ดังจะกล่าวต่อไป
1. เป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีพิพาทและเป็นเอกเทศสัญญา
2. มีการระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไป
3. คู่กรณีต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน


1. เป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีพิพาทและเป็นเอกเทศสัญญา

มส
การทีจ่ ะมีการระงับข้อพิพาทโดยประนีประนอมยอมความได้นนั้ จะต้องมีสญ ั ญา คือ มีการตกลงกัน
ระหว่างคู่กรณีพิพาทที่จะระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ระหว่างกันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยประนีประนอม
ยอมความ นอกจากนัน้ ในความสัมพันธ์ระหว่างคูก่ รณีหลังจากตกลงระงับข้อพิพาทโดยประนีประนอมยอม
ความแล้วในบางส่วนก็ยงั เป็นเรือ่ งของสัญญา เช่น คูก่ รณีพพิ าทตกลงกันในเรือ่ งทีพ่ พิ าทว่าจะให้สทิ ธิหน้าที่
ในเรื่องที่พิพาทต่อกันแก่บุคคลใดและอย่างไรบ้าง
นอกจากประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาแล้วก็มลี กั ษณะเป็นเอกเทศสัญญา คือ หากมีกรณีที่
กฎหมายบัญญัตไิ ว้เป็นเอกเทศ คือ เป็นพิเศษแยกต่างหากจากกรณีทวั่ ไปก็อยูภ่ ายใต้บงั คับบทบัญญัตขิ อง
กฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือเป็นพิเศษนั้น ซึ่งมีเพียงสองเรื่อง คือ ประนีประนอมยอมความต้องมี
หลักฐานเป็นหนังสือเพื่อใช้ในการฟ้องบังคับคดี และผลของประนีประนอมยอมความย่อมท�ำให้ข้อพิพาท

เดิมระงับสิ้นไปและคู่กรณีผูกพันกัน คือ ได้รับสิทธิตามที่ได้ตกลงระบุกันไว้ในสัญญา แต่ถ้าเรื่องใดไม่มี
กฎหมายบัญญัตไิ ว้โดยเฉพาะก็อยูภ่ ายใต้บงั คับบทบัญญัตนิ ติ กิ รรมสัญญา เช่น ความสามารถของคูส่ ญ ั ญา
มส

การเกิดของสัญญา และการแสดงเจตนาของคู่กรณี
ด้วยเหตุดังกล่าว ประนีประนอมยอมความจึงมีส่วนเนื้อหาสาระส�ำคัญส่วนใหญ่เป็นสัญญา และ
ต้องน�ำบทบัญญัติในกฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญาไปใช้บังคับ ตั้งแต่การเกิด การปฏิบัติตามสัญญา
ประนีประนอมยอมความ การบังคับการให้เป็นไปตามสัญญาในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติตามสัญญา และการ
สิ้ น สุ ด ของประนี ป ระนอมยอมความ แต่ ใ นเรื่ อ งหลั ก ฐานของประนี ป ระนอมยอมความและผลของ
ประนีประนอมยอมความย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะ โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไป

ได้
คูก่ รณีพพิ าท คือ บุคคลทีม่ ปี ญ

1.1 คู่สัญญา บุคคลที่จะเป็นคู่สัญญาในประนีประนอมยอมความนั้นต้องเป็นคู่กรณีพิพาทในข้อ
พิพาทที่จะระงับกันนั้น
ั หาพิพาทหรือความขัดแย้งในปัญหาใดๆ ทีย่ งั ไม่สามารถตกลงกัน

คูก่ รณีพพิ าทดังกล่าวผูซ้ งึ่ เป็นผูม้ สี ทิ ธิทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ อาจเป็นบุคคลธรรมดา


หรือนิติบุคคลและจะต้องมีคู่กรณีสองฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายจะมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องกี่คนก็ได้ แต่ในกรณีที่
มีคู่พิพาทหลายคน คู่พิพาทที่เข้าท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นที่จะผูกพัน ส่วนคู่กรณีพิพาท
สธ
คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมไม่ผูกพัน
ดังนั้น หากผู้ที่มิใช่เป็นคู่กรณีพิพาทเข้าท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาย่อมไม่เกิดผล
เนื่องจากกระท�ำขึ้นโดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิที่จะเป็นคู่สัญญา

10-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 7473/2537 โจทก์จ�ำเลยอยูก่ นิ ฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ขณะทีโ่ จทก์และจ�ำเลย
ท�ำบันทึกข้อตกลงแยกกันอยู่โดยให้ ย. ผู้เยาว์อยู่กับแต่ละฝ่ายคนละ 2 สัปดาห์ โจทก์ไม่ได้เป็นบิดาโดย
ชอบด้วยกฎหมายของ ย. โจทก์จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว ข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการปกครองดูแล ย.
ระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยย่อมไม่มี โจทก์และจ�ำเลยจึงไม่อาจท�ำบันทึกข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับ


ย. ได้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 โจทก์
ไม่อาจฟ้องให้บังคับจ�ำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวได้

มส
อนึง่ ในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ คูก่ รณีพพิ าทอาจเป็นผูท้ ำ� สัญญาด้วยตนเองหรือ
มอบอ�ำนาจให้บุคคลอื่นท�ำแทนก็ได้ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่มีความแตกต่างกันบ้าง ดังจะกล่าวต่อไป
1) คู่กรณีท�ำสัญญาด้วยตนเอง ในกรณีทคี่ กู่ รณีพพิ าทประสงค์จะท�ำสัญญาด้วยตนเองก็ตอ้ ง
เป็นผู้มีความสามารถในการท�ำนิติกรรม กล่าวคือ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องมีความสามารถบริบูรณ์ตาม
กฎหมาย หรือหากมีความสามารถบกพร่องก็ตอ้ งกระท�ำการโดยบุคคลซึง่ มีอำ� นาจกระท�ำการแทนและปฏิบตั ิ
ตามบทบัญญัตขิ องกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง แต่ถา้ เป็นนิตบิ คุ คลก็ตอ้ งกระท�ำโดยผ่านทางผูแ้ ทนของนิตบิ คุ คล
โดยมีรายละเอียด เพราะหากคู่กรณีท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่มีความสามารถแล้วก็มีผล
เช่นเดียวกับการท�ำนิติกรรมใดๆ โดยไม่มีความสามารถ คือ มีผลเป็นโมฆียะซึ่งอาจถูกบอกล้างให้เป็น
โมฆะได้ ตาม ปพพ. มาตรา 153 ดังนัน้ บุคลทีจ่ ะท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงต้องมีความสามารถ

ตามกฎหมาย ดังนี้
(1) บุคคลธรรมดา ดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลธรรมดาทีจ่ ะเป็นคูส่ ญ ั ญาในสัญญาใน
มส

สัญญาประนีประนอมยอมความได้ก็ต้องมีความสารถบริบูรณ์ครบถ้วน ไม่บกพร่อง เช่น ไม่เป็นผู้เยาว์


คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และถ้าบุคคลเหล่านีป้ ระสงค์จะท�ำสัญญาประนีประนอม
ยอมความก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ เช่น กระท�ำการแทนโดยผู้ที่มีอ�ำนาจกระท�ำการ
แทน ดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ก) ผูเ้ ยาว์ ในกรณีผเู้ ยาว์ ซึง่ หมายถึงบุคคลธรรมดาทีย่ งั ไม่บรรลุนติ ภิ าวะ กล่าว
คือ อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ตาม ปพพ. มาตรา 19 หรือมิได้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส คือ ต้อง

ท�ำการสมรสเมื่อมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ตาม ปพพ. มาตรา 20 ประกอบกับ มาตรา 1448 นั้นในการ
ท�ำนิตกิ รรมทัว่ ไปนัน้ จะกระท�ำมิได้เว้นแต่จะได้รบั ความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อนหรือผูแ้ ทนโดย
ชอบธรรมท�ำแทนให้ มิฉะนัน้ นิตกิ รรมจะเป็นโมฆียะ ตาม ปพพ. มาตรา 21 ซึง่ อาจถูกบอกล้างให้เป็นโมฆะ
ได้
อย่างไรก็ตามในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ ผูแ้ ทนโดยชอบธรรม
จะอนุญาตให้ผู้เยาว์ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือท�ำสัญญาแทนผู้เยาว์โดยล�ำพังมิได้ ต้องขอ
อนุญาตศาลก่อน มิฉะนัน้ สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อบทบัญญัตขิ อง ปพพ.
สธ
มาตรา 1574 (12) อันเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-9

อุทาหรณ์
ฎ. 767/2499 สัญญาแบ่งมรดกระหว่างทายาท เมื่อทายาทคนหนึ่งเป็นผู้เยาว์
ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องแบ่งมรดก แม้พี่สาวจะลงชื่อในสัญญาแทนก็ใช้ไม่ได้ตามกฎหมาย
ฎ. 1019/2512 ทีน่ าพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกทอดได้แก่โจทก์ โจทก์ทงั้ สามเป็น
ผูเ้ ยาว์ มารดาโจทก์ไม่มอี ำ� นาจท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความเกีย่ วกับทีพ่ พิ าทได้โดยพลการ ต้องห้าม


ตาม ปพพ. สัญญาประนีประนอมยอมความที่ท�ำกันไว้ ไม่มีผลบังคับโจทก์ได้
ฎ. 1313/2512 ทายาททุกคนท�ำสัญญาแบ่งปันมรดกซึง่ ไม่มพี นิ ยั กรรม เป็นการ

ตกเป็นโมฆะ
มส
ระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่การที่ผู้เยาว์อายุ 18 ปี
มีภริยาทีไ่ ม่ได้จดทะเบียนสมรส จึงยังไม่บรรลุนติ ภิ าวะได้ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความในการแบ่งปัน
ทรัพย์มรดก โดยผู้ใช้อ�ำนาจปกครองให้ความยินยอมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลนั้นย่อมใช้บังคับไม่ได้

ฎ. 1903/2514 กรณีเด็กผูเ้ ยาว์ถกู ท�ำละเมิด อันมีผลให้เด็กมีสทิ ธิได้รบั ค่าสินไหม


ทดแทนจากผู้ท�ำละเมิดนั้น เป็นการที่เด็กจะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีประนีประนอมยอมความ
กัน ซึ่งผู้ใช้อ�ำนาจปกครองจะต้องท�ำสัญญาแทนเด็กผู้ใช้อ�ำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลเสียก่อน
เพราะเป็นการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเด็ก (ฎ. 1837/2523)
ฎ. 3376/2516 การท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความเกีย่ วกับทรัพย์สนิ ของเด็ก

ตาม ปพพ. มาตรา 1546 ผู้ใช้อ�ำนาจปกครองจะท�ำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลก่อน และศาลดังกล่าว
นั้นจะต้องเป็นศาลที่มีอ�ำนาจอนุญาตด้วย
มส

ขณะที่ผู้ใช้อำ� นาจปกครองท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ของเด็กในศาลแพ่ง ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางเปิดด�ำเนินการแล้ว ผู้ใช้อ�ำนาจปกครองจึงต้องได้รับ
อนุญาตจากศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง ตาม พรบ. จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 8
ก่อนมิฉะนั้นเป็นการขัดต่อ ปพพ. มาตรา 1546 สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและค�ำพิพากษา
ตามยอม ไม่ผูกพันเด็ก ไม่ว่าเด็กจะรู้เห็นยินยอมหรือไม่
ฎ. 1602/2519 ข้อตกลงแบ่งที่ดินมรดกเป็นการระงับข้อพิพาทที่จะมีขึ้นเป็น

สัญญาประนีประนอมยอมความ บิดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยขอบธรรมของผู้เยาว์ท�ำแทนโดยไม่ได้รับอนุญาต
จากศาลตกเป็นโมฆะ ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความ
สงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จ�ำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ก็มี
อ�ำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ (ฎ. 1072/2527)
ข) คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริตที่ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้
ซึง่ ศาลได้สงั่ ให้เป็นคนไร้ความสามารถและอยูใ่ นความอนุบาลของผูอ้ นุบาลแล้วนัน้ จะท�ำนิตกิ รรมใดๆ ด้วย
ตนเองมิได้ ดังนั้น หากคนไร้ความสามารถจะท�ำนิติกรรมใดๆ ต้องให้ผู้อนุบาลกระท�ำแทน ตาม ปพพ.
สธ
มาตรา 29 แต่ในกรณีการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอาจมีปัญหาว่าผู้อนุบาลจะท�ำสัญญาแทน
คนไร้ความสามารถเหมือนกับนิติกรรมอื่นๆ ได้หรือไม่เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติใดห้ามหรือตั้งเงื่อนไขไว้
อย่างชัดเจนซึ่งไม่เหมือนกับกรณีของผู้เยาว์

10-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าวชัดแจ้ง แต่การท�ำสัญญา


ประนีประนอมยอมความของผูอ้ นุบาลคนไร้ความสามารถก็ตอ้ งขอความยินยอมจากศาลก่อนเช่นกัน เพราะ
บทบัญญัตขิ องกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับผูอ้ นุบาลบัญญัตใิ ห้ใช้บทบัญญัตใิ นเรือ่ งผูเ้ ยาว์รวมทัง้ ปพพ. มาตรา
1574 (12) แก่ผู้อนุบาลคนไร้ความสามารถด้วย จึงท�ำให้ผู้อนุบาลซึ่งจะท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความ
แทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กรณี ด้วยกัน คือ คนไร้ความสามารถซึ่งเป็น


ผูเ้ ยาว์และมีบดิ ามารดาเป็นผูอ้ นุบาล คนไร้ความสามารถทีม่ ใิ ช่ผเู้ ยาว์และมีบดิ ามารดาหรือบุคคลอืน่ ทีม่ ใิ ช่
คูส่ มรสเป็นผูอ้ นุบาลและคนไร้ความสามารถทีเ่ ป็นผูเ้ ยาว์แต่มบี คุ คลอืน่ ทีม่ ใิ ช่บดิ ามารดาเป็นผูอ้ นุบาล และ

มส
คนไร้ความสามารถที่มิใช่ผู้เยาว์และมีคู่สมรสเป็นผู้อนุบาล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- คนไร้ความสามารถซึ่งเป็นผู้เยาว์และมีบิดามารดาเป็นผู้อนุบาล
ในกรณีคนไร้ความสามารถซึง่ เป็นผูเ้ ยาว์และมีบดิ ามารดาเป็นผูอ้ นุบาลนัน้
มีบทบัญญัติของ ปพพ. มาตรา 1598/18 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องการอนุบาลคนไร้ความสามารถบัญญัติให้
น�ำบทบัญญัตวิ า่ ด้วยอ�ำนาจหน้าทีข่ องผูใ้ ช้อำ� นาจปกครองมาใช้บงั คับโดยอนุโลม จึงต้องน�ำบทบัญญัตขิ อง
ปพพ. มาตรา 1574 (12) ซึ่งอยู่ในเรื่องอ�ำนาจหน้าที่ของผู้ใช้อ�ำนาจปกครองมาใช้บังคับกับประนีประนอม
ยอมความที่ผู้อนุบาลดังกล่าวท�ำแทนผู้ไร้ความสามารถซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วย
- คนไร้ความสามารถซึง่ เป็นผูบ้ รรลุนติ ภิ าวะแล้วและมีบดิ าหรือมารดาเป็น
ผู้อนุบาล

ส�ำหรับกรณีคนไร้ความสามารถซึง่ เป็นผูบ้ รรลุนติ ภิ าวะแล้วและมีบดิ าหรือ
มารดาเป็นผู้อนุบาล หรือในกรณีที่มีบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือคู่สมรสเป็นผู้อนุบาล ซึ่งรวมทั้งกรณี
มส

ทีค่ นไร้ความสามารถเป็นผูเ้ ยาว์และมีบคุ คลอืน่ ทีม่ ใิ ช่บดิ าหรือมารดาเป็นผูอ้ นุบาลด้วยนัน้ มีบทบัญญัตขิ อง


ปพพ. มาตรา 1598/18 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้น�ำบทบัญญัติว่าด้วยอ�ำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้
บังคับโดยอนุโลม และในเรือ่ งอ�ำนาจหน้าทีข่ องผูป้ กครองก็มบี ทบัญญัตขิ อง ปพพ. มาตรา 1598/3 บัญญัติ
ว่าผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้อยู่ในปกครอง จึงต้องน�ำบทบัญญัติของ ปพพ. มาตรา 1574
(12) มาใช้บังคับกับการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความของผู้อนุบาลดังกล่าวด้วย
- คนไร้ความสามารถซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วและมีคู่สมรสเป็นผู้
อนุบาล ม
ส่วนในกรณีคนไร้ความสามารถซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วและมีคู่สมรส
เป็นผูอ้ นุบาลนัน้ ปพพ. มาตรา 1598/15 บัญญัตใิ ห้คสู่ มรสซึง่ เป็นผูอ้ นุบาลมีอ�ำนาจและหน้าทีเ่ ช่นเดียวกับ
ผู้ใช้อ�ำนาจปกครอง จึงต้องน�ำบทบัญญัติของ ปพพ. มาตรา 15474 (12) มาใช้บังคับกับการท�ำสัญญา
ประนีประนอมยอมความของผู้อนุบาลดังกล่าวเช่นกัน
- คนวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
ส�ำหรับคนวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้นหากท�ำ
สธ
สัญญาประนีประนอมยอมความด้วยตนเองย่อมเกิดผลเช่นเดียวกับการท�ำนิติกรรมทั่วไป กล่าวคือ ยังคง
สมบูรณ์ใช้บังคับได้ แต่จะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้ กระท�ำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่าย
หนึ่งได้รู้แล้ว ด้วยว่าผู้กระท�ำเป็นคนวิกลจริต ตาม ปพพ. มาตรา 30

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-11

ค) คนเสมือนไร้ความสามารถ ส�ำหรับคนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลที่


ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟัน่ เฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติสรุ ยุ่ สุรา่ ยเสเพล
เป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สงั่ ให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถแล้วนัน้ ตามปกติยงั สามารถ
จัดการงานและท�ำนิติกรรมของตนเองได้ แต่ไม่สามารถท�ำนิติกรรมบางอย่างได้ด้วยตนเอง รวมทั้งไม่
สามารถท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความตามล�ำพังด้วยตนเอง แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์


ก่อน เพราะเป็นกิจการที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 34 (11) ว่าเป็นกิจการที่ต้องได้รับความ
ยินยอมจากผูพ้ ทิ กั ษ์กอ่ น มิฉะนัน้ ประนีประนอมยอมความย่อมเป็นโมฆียะซึง่ อาจถูกบอกล้างให้เป็นโมฆะ
ได้

มส ง) ผู้ซึ่งถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์และบุคคลล้มละลาย บุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้และมี
หนี้สินล้นพ้นตัวอาจถูกเจ้าหนี้ฟ้องต่อศาลเป็นคดีล้มละลายได้และหากศาลมีค�ำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์สินของ
ลูกหนีไ้ ม่วา่ เด็ดขาดหรือชัว่ คราว ย่อมมีผลท�ำให้ลกู หนีห้ มดอ�ำนาจจัดการทรัพย์สนิ ของตน เนือ่ งจากอ�ำนาจ
จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์
ดังนั้น ผู้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือเด็ดขาด ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็น
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล และประสงค์จะท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความก็ต้องด�ำเนินการโดยเจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เนื่องจากบุคคลดังกล่าวไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้ ตาม มาตรา 22 แห่ง
พรบ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 และหากบุคคลนั้นถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่สามารถกระท�ำ

นิติกรรมใดๆ รวมทั้งการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความได้เช่นกัน เพราะเป็นอ�ำนาจของเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์
มส

อุทาหรณ์
ฎ. 8707/2555 ตาม พรบ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 บัญญัติว่า “เมื่อ
ศาลสั่ ง พิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ ข องลู ก หนี้ แ ล้ ว เจ้ า พนั ก งานพิ ทั ก ษ์ ท รั พ ย์ แ ต่ ผู ้ เ ดี ย วมี อ� ำ นาจดั ง ต่ อ ไปนี้ . ..(3)
ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้” การที่ผู้ร้องยื่น
ค�ำร้องขอกันส่วนจากเงินขายทอดตลาดที่ดิน ซึ่งจ�ำเลยที่ 1 ผู้ล้มละลายมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วย ย่อมมีผล
เกี่ยวกับทรัพย์สินของจ�ำเลยที่ 1 อ�ำนาจในการต่อสู้คดีนี้ของจ�ำเลยที่ 1 จึงตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติดังกล่าว จ�ำเลยที่ 1 หามีสิทธิด�ำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีด้วยตนเอง
ไม่ ที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งส�ำเนาค�ำร้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจ�ำเลยที่ 1 เพื่อเข้าด�ำเนินกระบวน
พิจารณาแทนจ�ำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ

(2) นิตบิ คุ คล ส�ำหรับนิตบิ คุ คลซึง่ จะท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ ก็เหมือนกับ
การท�ำนิตกิ รรมอืน่ ๆ ทัว่ ไป คือ ต้องกระท�ำโดยผ่านผูแ้ ทนของนิตบิ คุ คล โดยปฏิบตั ติ ามข้อบังคับ ตราสาร
จัดตั้ง และอยู่ในขอบวัตถุประสงค์และอ�ำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล เนื่องจาก ปพพ. มาตรา 70 บัญญัติไว้
มีใจความว่า นิตบิ คุ คลต้องมีผแู้ ทนคนหนึง่ หรือหลายคน ทัง้ นีต้ าม ทีก่ ฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตัง้
สธ
จะได้ก�ำหนดไว้ และความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล
3) ผู้มีอ�ำนาจท�ำสัญญาแทนคู่สัญญา นอกจากคู่กรณีพิพาทที่มีความสามารถบริบูรณ์จะท�ำ
สัญญาด้วยตนเองแล้ว ก็อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนตนได้ แต่ถ้า

10-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ไม่มีการมอบอ�ำนาจให้ท�ำแทนแล้ว การท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนบุคคลอื่น (คู่กรณีพิพาท)


นั้นย่อมไม่มีผลผูกพันคู่กรณีพิพาท ซึ่งมีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไป
(1) ตัวแทน ตัวแทนซึ่งได้รับมอบอ�ำนาจทั่วไปนั้นตามปกติจะท�ำกิจการใดๆ ในทาง
จัดการแทนตัวการนัน้ ย่อมสามารถกระท�ำได้ เว้นแต่กจิ การบางประเภทซึง่ บัญญัตไิ ว้ใน ปพพ. มาตรา 801
(4) ซึ่งมีกิจการหลายอย่างรวมทั้งประนีประนอมยอมความ


อย่างไรก็ตาม ในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเนื่องจากต้องมีการท�ำ
หลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องบังคับคดีกันได้ ในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความของตัวแทนแทน

มส
ตัวการก็ตอ้ งมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย เนือ่ งจาก ปพพ. มาตรา 798 วรรคสอง บัญญัตไิ ว้วา่ กิจการอันใด
ทีก่ ฎหมายบังคับไว้วา่ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตัง้ ตัวแทนเพือ่ กระท�ำกิจการนัน้ ก็ตอ้ งมีหลักฐานเป็น
หนังสือด้วย เว้นแต่เข้ากรณียกเว้นไม่ต้องด�ำเนินการตามปกติ เช่น ตัวแทนเชิด หรือการให้สัตยาบันการ
กระท�ำที่นอกขอบอ�ำนาจ
อุทาหรณ์
ฎ. 946/2509 (ป.ใหญ่) เจ้าหนี้ของจ�ำเลยฟ้องจ�ำเลยเรียกหนี้สิน ผู้รับมอบอ�ำนาจจาก
จ�ำเลยน�ำใบมอบอ�ำนาจมาขอท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจ�ำเลย แต่ใบมอบอ�ำนาจนั้นเป็นเรื่อง
ท�ำให้คำ� ขอรับรองการท�ำประโยชน์และท�ำนิติกรรมขายที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 607 แม้จะมีข้อความว่าให้มี
อ�ำนาจด�ำเนินคดีทางศาล เช่น ยอมความได้ดว้ ยก็ตาม ก็เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับทีด่ นิ นัน้ เท่านัน้ ดังนัน้ ผูร้ บั มอบ

อ� ำ นาจจึ ง ไม่ มี อ� ำ นาจท� ำ สั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความกั บ เจ้ า หนี้ ข องจ� ำ เลย แม้ ศ าลจะท� ำ สั ญ ญา
ประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมให้ ก็ไม่มีผลผูกพันจ�ำเลย เมื่อจ�ำเลยถูกศาลพิพากษาให้
มส

เป็นคนล้มละลาย เจ้าหนีข้ องจ�ำเลยนัน้ จึงจะน�ำหนีต้ ามสัญญาประนีประนอมยอมความมาขอรับช�ำระหนีต้ อ่


เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้
ฎ. 317/2527 บ. ท�ำสัญญา ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในนามของตนเองในฐานะ
เป็นผูค้ าํ้ ประกันลูกจ้างขององค์การขนส่งมวลชน จ�ำเลย ในกรณีทลี่ กู จ้างก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำ� เลย
สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กบั บ. ซึง่ บ. ได้ทำ� กับโจทก์โดยคิดว่าตนจะได้หลุดพ้นจากความ
รับผิดตามสัญญาคํา้ ประกันทีท่ ำ� ไว้แก่จำ� เลย สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนีจ้ งึ ไม่มผี ลระงับข้อพิพาท
ในมูลละเมิดที่จำ� เลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ม
ฎ. 258/2535 การทีจ่ ำ� เลยที่ 2 ซึง่ เป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างของบริษทั จ�ำเลยที่ 1
และที่ 4 ซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่ายตรวจสอบอุบัติเหตุของจ�ำเลยที่ 3 ร่วมกันเจรจาและท�ำสัญญาประนีประนอม
ยอมความกับ โจทก์ ณ ส�ำนักงานของจ�ำเลยที่ 3 ประกอบกับการที่ จ�ำเลยที่ 1 และทนายความของ จ�ำเลย
ที่ 3 ยอมรับผิดตามหนังสือของ โจทก์ ที่ขอให้ช�ำระหนี้ แสดงว่า จ�ำเลยที่ 1 และที่ 3 เห็นชอบในการท�ำ
สัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ถือได้ว่า จ�ำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้อยู่แล้วยอมให้ จ�ำเลยที่ 3 และที่ 4
เชิดตัวเขาเองออกเป็นตัวแทน จ�ำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอม
สธ
ยอมความ เมื่อมิใช่เป็นเรื่องการตั้งตัวแทนไปท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามปกติแต่เป็นเรื่อง
ตัวแทนเชิด จึงหาจ�ำต้องมีหนังสือมอบอ�ำนาจให้กระท�ำการแทนแต่อย่างใดไม่

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-13

ฎ. 1892/2538 จ�ำเลย และ ว. ต่างขับรถยนต์โดยประมาทและต่างถูกร้อยต�ำรวจโท


อ. พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ การทีร่ อ้ ยต�ำรวจโท อ. เปรียบเทียบปรับจ�ำเลยและ ว. และค่าเสียหาย
ของรถยนต์ทงั้ สองคันได้มกี ารตกลงกันให้ตา่ งคนต่างซ่อมโดยขณะนัน้ ช. เจ้าของรถยนต์ทโี่ จทก์รบั ประกันภัย
และเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงเกี่ยวกับรถยนต์ที่มีการชนกันไม่ได้คัดค้านแสดงว่าเหตุที่รถยนต์ทั้งสองคัน
ชนกันเกิดจากความประมาทของจ�ำเลยและ ว. ไม่ยงิ่ หย่อนกว่ากัน จึงได้มกี ารตกลงกันเพือ่ ระงับข้อพิพาท


ที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมี
ต่อกัน ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป

มส
การที่ ช. ยินยอมให้ ว. ตกลงระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดโดยการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความเท่ากับ
ช. แสดงออกหรือยอมให้ ว. แสดงออกว่า ว. เป็นตัวแทนของ ช. ในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความ
ช. จึงต้องผูกพันและรับเอาผลของการที่ ว. ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจ�ำเลยซึ่งเป็นบุคคล
ภายนอกผู้สุจริตที่มีเหตุควรเชื่อว่า ว. เป็นตัวแทนของ ช. ตาม ปพพ. มาตรา 821 โจทก์จะอ้างว่าการตั้ง
ตัวแทนไม่ได้ทำ� เป็นหนังสือ ตาม ปพพ. มาตรา 789 ไม่ได้ แม้ร้อยต�ำรวจโท อ. พนักงานสอบสวนเป็น
ผู้ท�ำบันทึกรายงานประจ�ำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อเปรียบเทียบปรับจ�ำเลย และ ว. แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อ
ตกลงระหว่างคู่กรณีที่มุ่งจะระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอม
ยอมความรายงานประจ�ำวันเกี่ยวกับคดีจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ชอบด้วยกฎหมาย
(2) ทนายความ โดยหลัก ทนายความมีอำ� นาจว่าความและด�ำเนินกระบวนพิจารณา

แทนตัวความเพือ่ ประโยชน์ของตัวความ และต้องไม่ดำ� เนินกระบวนพิจารณาใดๆ ทีเ่ ป็นไปในทางจ�ำหน่าย
สิทธิของตัวความ เว้นแต่ได้รับมอบอ�ำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ดังนั้น ทนายความจึงไม่สามารถท�ำ
ประนีประนอมยอมความแทนตัวความได้ เว้นแต่ได้รับมอบอ�ำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง เช่น ระบุว่าให้
มส

มีอ�ำนาจท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ในใบแต่งทนายหรือในภายหลังโดยระบุไว้ในเอกสารอื่นๆ
เพราะประนีประนอมยอมความอาจก่อผลในทางจ�ำหน่ายสิทธิของคูค่ วามได้ เนือ่ งจากต้องมีการสละข้อเรียกร้อง
ที่พิพาทกันและยอมรับผูกพันว่าจะได้รับสิทธิตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือได้
มีการให้สัตยาบันส�ำหรับการกระท�ำที่เกินขอบอ�ำนาจ
อุทาหรณ์
ฎ. 1328/2480 สัญญายอมความที่ทนายลงนามแทนตัวความโดยมิได้รับมอบอ�ำนาจ

พิเศษจากตัวความนัน้ หาตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไม่ ตัวความอาจให้ความรับรองในภายหลังได้ แม้วา่ สัญญา
ยอมความทีศ่ าลได้มคี ำ� พิพากษาท้ายยอมแล้วนัน้ จักบกพร่องไม่สมบูรณ์เนือ่ งจากทีท่ นายความลงนามโดย
ปราศจากอ�ำนาจก็ตาม เมื่อตัวความทราบข้อบกพร่องนี้แล้วมิได้ฟ้องอุทธรณ์ขอให้ท�ำลายสัญญาย่อมนั้น
จนล่วงเลยเวลามาเช่นนี้ ต้องถือว่าค�ำพิพากษาท้ายยอมนั้นเด็ดขาดถึงที่สุดจะรื้อฟื้นขึ้นโต้เถียงอีกไม่ได้
ฎ. 2851/2530 ทนายโจทก์มอี ำ� นาจท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความและได้ทำ� สัญญา
ประนีประนอมยอมความกับจ�ำเลย ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้แม้ทนายจ�ำเลยจะบอกเล่าเรื่อง
สธ
ราวต่างๆ แก่ทนายโจทก์ไม่ตรงต่อความจริงแต่ทนายโจทก์ยอ่ มมีโอกาสใช้ดลุ พินจิ ไตร่ตรองแล้วว่าสมควร
จะตกลงท�ำสัญญากับจ�ำเลยหรือไม่ ทัง้ ข้ออ้างทีว่ า่ ทนายโจทก์ขาดสติสมั ปชัญญะเพราะเหตุผลเรือ่ งสุขภาพ
จึงตกลงประนีประนอมยอมความกับทนายจ�ำเลยนั้นก็เป็นความบกพร่องของทนายโจทก์เอง โจทก์จึงจะ
อ้างว่าได้ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยถูกฝ่ายจ�ำเลยฉ้อฉลหาได้ไม่

10-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 7626/2541 ตามค�ำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าทนายความของโจทก์ซึ่ง
เป็นตัวแทนกระท�ำการนอกเหนือขอบอ�ำนาจของการเป็นตัวแทน แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้รับความ
เสียหาย เป็นประการใดก็ชอบที่โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ทนายความของโจทก์ตามกฎหมาย เมื่อคดี
ดังกล่าวโจทก์เป็นคู่ความและโจทก์จ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษา
ตามยอมแล้วเช่นนี้ ค�ำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมผูกพันโจทก์ตาม ปวพ. มาตรา


145 หากโจทก์เห็นว่าไม่ถกู ต้องก็อาจจะอุทธรณ์คดั ค้าน ค�ำพิพากษาดังกล่าวได้ หากเข้ากรณีตามทีบ่ ญ ั ญัติ
ไว้ใน ปวพ. มาตรา 138 เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และคดี ถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนค�ำ

มส
พิพากษา ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหาได้ไม่
1.2 การแสดงเจตนา เนื่องจากประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาชนิดหนึ่ง ในการท�ำสัญญา
ประนีประนอมยอมความนัน้ คูก่ รณีพพิ าทจึงต้องตกลงกันว่าจะระงับข้อพิพาทโดยประนีประนอมยอมความ
กันด้วย ซึง่ มีลกั ษณะเช่นเดียวกับการท�ำสัญญาโดยทัว่ ไป คือ ต้องมีการท�ำค�ำเสนอของคูก่ รณีพพิ าทฝ่ายหนึง่
และมีการท�ำค�ำสนองของคู่กรณีพิพาทอีกฝ่ายหนึ่ง โดยค�ำเสนอและค�ำสนองของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้อง
ถูกต้องตรงกัน และการแสดงเจตนาต้องไม่บกพร่อง
อนึง่ ในการตกลงกันเพือ่ ประนีประนอมยอมความนัน้ อาจเกิดขึน้ จากการตกลงกันโดยคูก่ รณีพพิ าท
เอง หรืออาจเกิดขึ้นโดยการไกล่เกลี่ยของบุคคลภายนอก เช่น ญาติผู้ใหญ่ เพื่อน หรือประนีประนอมยอม
ความในศาลซึ่งอาจท�ำโดยศาลไกล่เกลี่ย หรือมีผู้ไกล่เกลี่ยในศาลให้คู่พิพาทตกลงกันประนีประนอมยอม

ความกัน
1) มีการแสดงเจตนาของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความที่
มส

คูก่ รณีพพิ าททัง้ สองฝ่ายต้องแสดงเจตนาว่าจะประนีประนอมยอมความเพือ่ ระงับข้อพิพาทของทัง้ สองฝ่าย


นัน้ แต่ถา้ มีการแสดงเจตนาของคูก่ รณีฝา่ ยหนึง่ ฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียว แต่คกู่ รณีอกี ฝ่ายหนึง่ ไม่ยนิ ยอมด้วย
ย่อมไม่มีสัญญาประนีประนอมยอมความ เช่นตัวอย่าง ดังนี้
อุทาหรณ์
ฎ. 421/2494 โจทก์จ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมกันในศาลว่าจ�ำเลยยอมซื้อที่ดินพิพาท
ทั้งแปลงเป็นเงิน 23,000 บาท ต่อมาฝ่ายโจทก์ยื่นค�ำร้องต่อศาลว่าที่พิพาทมีชื่อบุตรโจทก์เป็นเจ้าของอยู่

ด้วย ขอให้ศาลสัง่ ว่าสัญญาประนีประนอมดังกล่าวไม่ผกู พันทรัพย์สว่ นของบุตร ศาลไต่สวนแล้วสัง่ ว่าสัญญา
ประนีประนอมระหว่างโจทก์จ�ำเลย ไม่ผูกพันส่วนของเด็ก ฝ่ายจ�ำเลยจึงขอช�ำระราคาที่ดินเพียง 11,500
บาทครึ่งราคาทั้งหมด ดังนี้ ฝ่ายโจทก์จะให้จ�ำเลยช�ำระราคาที่ดินเต็ม 23,000 บาท ย่อมไม่ได้เพราะตน
ยอมขายที่ดินให้จำ� เลยเพียงครึ่งเดียว ซึ่งฝ่ายจ�ำเลยจะไม่ซื้อเสียทั้งหมดก็ย่อมท�ำได้
ฎ. 707-708/2505 สัญญาขายฝากท�ำเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2498 ก�ำหนดไถ่ใน 15 เดือน
วันสุดท้ายที่จะไถ่ คือ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2499 แต่วันนั้นและวันที่ 1-2 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็นวัน
หยุดราชการ ผู้ขายฝากจึงมีสิทธิขอไถ่ได้ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2500 ตาม ปพพ. มาตรา 161 และการ
สธ
ที่ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในก�ำหนดแล้วผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากท�ำหนังสือขึ้นว่าสัญญา
ขายฝากหมดก�ำหนดไถ่ถอนแล้วและทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึง่ ไม่ตรงกับความจริง ดังนี้ หนังสือนัน้ ไม่ใช่
สัญญาประนีประนอมยอมความ ว่าผู้ขายสละสิทธิไถ่ถอนและไม่ทำ� ให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-15

ฎ. 296/2508 สัญญาทีจ่ ำ� เลยผูท้ ำ� ละเมิดท�ำให้ไว้แก่โจทก์ซงึ่ เป็นผูเ้ สียหายเพือ่ ระงับข้อพิพาท


โดยโจทก์มิได้ตกลงด้วยนั้น ยังหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ แต่ในชั้นพิจารณาถ้าจ�ำเลยแถลง
ต่อศาลโดยอ้างถึงสัญญานี้ และโจทก์กไ็ ด้แถลงรับ ทัง้ ขอให้จำ� เลยปฏิบตั ติ ามสัญญา แล้วต่างลงลายมือชือ่
ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลด้วยรายงานกระบวนพิจารณานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอม
ความอันเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงย่อมจะมาฟ้องจ�ำเลยในมูลละเมิดเดิมอีกไม่ได้


ได้แต่จะฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ท�ำกันไว้เท่านั้น
ฎ. 1610/2513 โจทก์กับจ�ำเลยถูก ต. ฟ้องขอแบ่งมรดก แล้วโจทก์ท�ำหนังสือมอบให้จ�ำเลย

มส
ไว้ มีใจความว่า โจทก์ขอสละสิทธิรับมรดกเพราะโจทก์ไม่ต้องการไปศาลเพราะสุขภาพไม่ดีและไม่มีจิตใจ
ตลอดจนเงินทองในการสู้คดีให้จ�ำเลยออกเงินและสู้คดีไปโดยล�ำพัง ดังนี้ ไม่มีผลเป็นการสละมรดก ตาม
ปพพ. มาตรา 1612 เพราะโจทก์มิได้มอบหนังสือนั้นไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และหนังสือนั้นเป็นหนังสือที่
โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียว ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ฎ. 4919/2528 ข้อตกลงตามบันทึกประจ�ำวันของพนักงานสอบสวนมีขอ้ ความว่า “พ. ผูข้ บั ขี่
ยินยอมรับผิดและยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับ ธ. แต่ในวันนี้ยังไม่สามารถท�ำการตกลงค่าเสียหายได้
ได้นดั ให้คกู่ รณีมาตกลงค่าเสียหายกันใหม่ในวันต่อไปจึงบันทึกไว้ ฯลฯ” ตามบันทึกดังกล่าวทีค่ กู่ รณีตกลง
กันได้คือ พ. ยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้เท่านั้น แต่จ�ำนวนค่าเสียหายที่ยอมชดใช้ยังตกลงกัน
ไม่ได้ จะต้องตกลงกันอีกครั้งหนึ่งในวันต่อไปตามที่พนักงานสอบสวนนัดไว้ดังนี้ข้อพิพาทเรื่องจ�ำนวน

ค่าเสียหายยังไม่เสร็จสิ้นข้อตกลงตามบันทึกประจ�ำวันดังกล่าว จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ฎ. 5573/2552 ตามสัญญาระบุวา่ จ�ำเลยที่ 3 ยินดีทจี่ ะให้การช่วยเหลือโจทก์ทไี่ ด้เสียค่าใช้จา่ ย
มส

ในการดูแลรักษาสุขภาพและอาการป่วยจากการติดเชื้อเอชไอวีในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาประมาณ 5 ปี
เป็นเงินจ�ำนวนหนึ่งไม่เกิน 500,000 บาท โดยจ�ำเลยที่ 3 จะน�ำเรื่องนี้ไปปรึกษาคณะกรรมการบริหารของ
จ�ำเลยที่ 1 ก่อนและจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันท�ำสัญญาฉบับนี้ แสดงว่าข้อตกลงดังกล่าว
เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขว่าต้องให้จ�ำเลยที่ 3 น�ำไปปรึกษาคณะกรรมการบริหารของจ�ำเลยที่ 1 ก่อน ซึ่งยัง
ไม่แน่ว่าคณะกรรมการบริหารของจ�ำเลยที่ 1 จะเห็นชอบและตกลงท�ำสัญญาดังกล่าวหรือไม่ ข้อพิพาท
ระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงยังไม่ระงับไปตามสัญญา สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สญ ั ญาประนีประนอม
ยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 อันมีผลเป็นการรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ ตาม ปพพ. มาตรา ม
193/35 การใช้สิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายแต่ละมูลละเมิดของโจทก์จึงต้องใช้ภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ถึง
การละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2539 โจทก์น�ำคดีมาฟ้อง
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 จึงล่วงพ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้อง
ใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
อนึง่ ในการแสดงเจตนาตกลงกันประนีประนอมยอมความต้องมีรายละเอียดทีช่ ดั เจนว่าตกลง
กันระงับข้อพิพาทแล้ว
สธ
อุทาหรณ์
ฎ. 3600/2524 นายจ้างของคนขับรถทีข่ บั รถชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายและมีผไู้ ด้รบั บาดเจ็บ
ท�ำบันทึกยอมจะซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้การได้ดอี ยูใ่ นสภาพเดิมกับยอมใช้คา่ รักษาพยาบาล ค่าทดแทน

10-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ให้แก่ ผูบ้ าดเจ็บเมือ่ บริษทั ประกันภัยได้พจิ ารณาแล้ว ไม่มรี ายละเอียด หรือข้อตกลงทีแ่ น่นอนอันปราศจาก
การโต้แย้งเป็นต้นว่าซ่อมที่อู่ไหน สภาพอย่างไรที่เรียกว่าใช้การได้ดีอยู่ในสภาพเดิม จ�ำนวนเงินที่จะต้อง
ช�ำระ เป็นต้น โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลและค่าทดแทนของผู้บาดเจ็บเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไข ต้องให้
บริษทั ประกันภัยพิจารณาเสียก่อน ซึง่ บริษทั ประกันภัยอาจมีความเห็นว่าไม่ตอ้ งรับผิดก็ได้ จึงไม่เป็นสัญญา
ประนีประนอมยอมความ (ฎ. 7802/2552)


ฎ. 898/2534 จ�ำเลยที่ 2 ขับรถสองแถวของจ�ำเลยที่ 1 ไปในทางการที่จ้างของจ�ำเลยที่ 1
โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย แล้วโจทก์กับจ�ำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อใน

มส
รายงานประจ�ำวันเกี่ยวกับคดีซึ่งมีข้อความว่า จ�ำเลยที่ 2 ยินยอมชดใช้ค่าซ่อมรถตามที่โจทก์เรียกร้อง
คู่กรณีตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาอีกต่อไปข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่
ติดใจจะด�ำเนินคดีอาญาแก่จำ� เลยที่ 2 เพือ่ พนักงานสอบสวนจะได้เปรียบเทียบปรับจ�ำเลยที่ 2 เท่านัน้ ส่วน
ข้อความที่จ�ำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชดใช้ค่าซ่อมรถตามที่โจทก์เรียกร้องนั้น ไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่
แน่นอนเกี่ยวกับจ�ำนวนเงินที่ต้องช�ำระ วิธีการช�ำระ อันจะท�ำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก ข้อความใน
รายงานประจ�ำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวมิใช่เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดจึงมิใช่สัญญาประนีประนอม
ยอมความอันจะท�ำให้จ�ำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างหลุดพ้นความรับผิดในมูลละเมิด
ฎ. 207/2541 บันทึกข้อตกลงในรายงานประจ�ำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า วันนี้คู่กรณีทั้ง
สามฝ่ายได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายกันโดยฝ่าย ช. (จ�ำเลยที่ 1) ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นตกลง

ชดใช้ค่าเสียหายให้กับรถยนต์ตู้หมายเลขทะเบียน ม-3558 ภูเก็ต โดยรับซ่อมให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดี
เหมือนเดิม และรับชดใช้ค่าโทรทัศน์สี 14 นิ้วที่ได้รับความเสียหายครั้งนี้ และในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.
มส

2537 จะน�ำเงินมาช�ำระค่าซ่อมรถยนต์ตลู้ ว่ งหน้าก่อนจ�ำนวน 30,000 บาทคูก่ รณีทงั้ สามฝ่ายสามารถตกลง


กันได้ จึงได้มอบรถยนต์ให้ตา่ งฝ่ายต่างรับคืนไปถูกต้องแล้วแต่เวลานี้ ข้อความในบันทึกดังกล่าวแสดงเพียง
ว่า จ�ำเลยที่ 1 ยอมรับผิดว่าเป็นผูก้ อ่ ให้เกิดความเสียหายและตกลงชดใช้คา่ เสียหายให้แก่โจทก์โดยรับซ่อม
รถยนต์ตู้และรับชดใช้ค่าโทรทัศน์เท่านั้น ไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจ�ำนวนเงินที่จะ
ต้องช�ำระและวิธีการช�ำระตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะท�ำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และหาได้มี
ข้อความโดยแจ้งชัดว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่
อย่างใดไม่ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ม
ฎ. 1607/2552 บันทึกข้อตกลงระหว่างจ�ำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิด
เหตุกับผู้เอาประกันภัยมีข้อความเพียงว่า จ�ำเลยจะซ่อมรถยนต์คันที่ถูกชนให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่มีราย
ละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจ�ำนวนเงิน วิธีช�ำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะท�ำให้
ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และไม่มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดย
ยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดจึงยังไม่ระงับ โจทก์
ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจ�ำเลยได้
สธ
ฎ. 7802/2552 เมือ่ เกิดเหตุรถชนกัน ส. ไปเจรจาค่าเสียหายกับโจทก์โดยมอบใบมอบอ�ำนาจ
ที่มี จ. กรรมการของจ�ำเลยลงลายมือชื่อโจทก์ พร้อมหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทของจ�ำเลยให้
ร้อยต�ำรวจเอก พ. เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า จ. กระท�ำในนามของจ�ำเลย แม้ จ. มิได้ประทับตราส�ำคัญ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-17

ของจ�ำเลยลงในหนังสือมอบอ�ำนาจ แต่การที่ ส. เจรจาค่าเสียหายกับโจทก์ยอมช�ำระค่ารักษาพยาบาลให้


แก่โจทก์ 70,000 บาท และรับรถกระบะของโจทก์เพื่อน�ำไปซ่อม ทั้งยังน�ำรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุคืน
ไปจากพนักงานสอบสวน และไม่ปรากฏว่าจ�ำเลยมิได้รบั รถคันดังกล่าวไว้ พฤติการณ์ดงั กล่าวถือว่าจ�ำเลย
เชิด จ. เป็นตัวแทนในการตกลงค่าเสียหายกับโจทก์ แม้ จ. จะมิได้กระท�ำด้วยตนเอง แต่มอบอ�ำนาจให้
ส. กระท�ำการแทนก็ตาม จ�ำเลยจึงต้องรับผิดตามบันทึกตกลงค่าเสียหาย แต่บันทึกตกลงค่าเสียหายไม่มี


ข้อความระบุชัดแจ้งว่าฝ่ายจ�ำเลยจะช�ำระค่าซ่อมรถยนต์เป็นเงินเท่าใด และหากฝ่ายจ�ำเลยไม่ซ่อม โจทก์
จะเรียกร้องได้เพียงใด ไม่ชดั แจ้งทีจ่ ะเป็นการระงับข้อพิพาท จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม

จ�ำเลย
มส
ปพพ. มาตรา 850 ที่จะท�ำให้มูลหนี้ละเมิดระงับไป จ�ำเลยจึงยังต้องรับผิดในการกระท�ำละเมิดของลูกจ้าง

ดังนั้น ถ้าในการตกลงกันระหว่างคู่กรณีพิพาททั้งสองฝ่ายที่จะประนีประนอมยอมกันอย่าง
ชัดเจนแล้วย่อมมีผลเป็นประนีประนอมยอมความ
อุทาหรณ์
ฎ. 647/2515 ล. ซึ่งได้รับสิทธิเข้าท�ำการก่อสร้างอาคารในที่ดินของกระทรวงการคลังและมี
สิทธิให้เช่าช่วงได้ ท�ำสัญญาให้โจทก์เข้าก่อสร้างและได้รบั ผลประโยชน์แทน จ�ำเลยบุกรุกเข้าไปอยูใ่ นอาคาร
รายพิพาทที่โจทก์มีสิทธิจากการก่อสร้าง โจทก์ด�ำเนินคดีหาว่าจ�ำเลยบุกรุก แล้วโจทก์จ�ำเลยตกลงกันโดย
จ�ำเลยยอมช�ำระเงินให้โจทก์บางส่วนก่อน และจะช�ำระให้อีกจ�ำนวนหนึ่งภายในก�ำหนดสามเดือนหากถึง

ก�ำหนดไม่ช�ำระให้ถือว่าตกลงเลิกสัญญา ให้โจทก์คืนเงินที่รับไว้จากจ�ำเลยให้แก่จ�ำเลยในวันที่จ�ำเลยออก
ไปจากอาคาร และหากจ�ำเลยไม่ยอมออกไปต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์วันละหนึ่งร้อยบาทจนกว่าจะได้
มส

ออกไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำ� เลยดังกล่าวแล้วถือได้วา่ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึง่ มีผลบังคับ


ตามกฎหมาย
ฎ. 64/2528 สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่าลูกจ้างของจ�ำเลยยินยอมชดใช้ค่า
เสียหายโดยการซ่อมแซมรถให้ผเู้ สียหาย ผูเ้ สียหายไม่ตดิ ใจด�ำเนินคดีแก่ลกู จ้างของจ�ำเลย โดยมีจำ� เลยซึง่
เป็นเจ้าของรถและเป็นนายจ้างตกลงยินยอมและลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญา ย่อมถือได้ว่าจ�ำเลย
ยินยอมตกลงรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายตามข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วย

2) การแสดงเจตนาต้องสมบูรณ์ไม่บกพร่อง ในการแสดงเจตนาท�ำสัญญาประนีประนอม
ยอมความของคู่กรณีนั้นต้องสมบูรณ์ไม่บกพร่องเช่นเดียวกับการท�ำสัญญาทั่วไป จึงจะใช้บังคับได้ หากมี
การแสดงเจตนาที่บกพร่อง เช่น เพราะถูกข่มขู่ กลฉ้อฉล ส�ำคัญผิดต่างๆ ย่อมท�ำให้สัญญานั้นใช้บังคับ
มิได้ เว้นแต่เป็นการกระท�ำที่สามารถด�ำเนินการได้ตามกฎหมาย เช่น การข่มขู่ว่าจะใช้สิทธิฟ้องคดีตาม
กฎหมายซึ่งเป็นไปตามปกตินิยม ตาม ปพพ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง
อุทาหรณ์
ฎ. 707-708/2505 ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ถอนการขายฝากได้ในก�ำหนด แต่ผู้ซื้อฝาก
สธ
บิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากท�ำสัญญาขึ้นใหม่ว่า สัญญาขายฝากครบก�ำหนดไถ่ถอน และทรัพย์หลุดเป็น
สิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง ดังนี้ หนังสือสัญญานั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความว่าผู้ขายสละ
สิทธิไถ่ถอนและไม่ทำ� ให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน

10-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 2516/2519 ที่ดินมีชื่อจ�ำเลยเป็นเจ้าของ 3 โฉนด จ�ำเลยตกลงท�ำสัญญาประนีประนอม


ยอมความยกทีด่ นิ โฉนดทีม่ เี นือ้ ทีม่ ากทีส่ ดุ ให้แก่บดิ าโจทก์ โดยลงชือ่ โจทก์ทงั้ สีเ่ ป็นผูร้ บั ทนายความผูเ้ ขียน
สัญญาดูแต่ภาพถ่ายด้านหน้าโฉนด ไม่ได้ดสู ารบัญจดทะเบียน เข้าใจว่าเป็นโฉนดที่ 2600 มีเนือ้ ทีม่ ากทีส่ ดุ
จึงได้เขียนสัญญาประนีประนอมยอมความไปตามนัน้ จ�ำเลยจ�ำเลขโฉนดและเนือ้ ทีท่ งั้ สามแปลงไม่ได้ เข้าใจ
ว่าทนายความลงเลขโฉนดและเนือ้ ทีด่ นิ ในสัญญาถูกต้องตรงเจตนาของจ�ำเลย จึงรับว่าถูกต้องและลงลายมือ


ชื่อให้ไว้ แท้จริงโฉนดที่ 2598 มีเนื้อที่มากที่สุด ดังนี้ การที่จ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความยก
ที่ดินโฉนดที่ 2600 ให้แก่โจทก์ทั้งสี่เป็นการส�ำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระส�ำคัญแห่งนิติกรรม สัญญา

มส
ประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 119
แต่ถ้าไม่มีเหตุใดๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงเจตนา คือ ไม่บกพร่องย่อมใช้บังคับได้
อุทาหรณ์
ฎ. 2968/2516 โจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจ�ำเลยที่ 1 โดยช�ำระเงินกับออกเช็คสั่งจ่ายเงินช�ำระ
ราคาค่าที่ดินให้แก่จำ� เลยที่ 1 และได้ท�ำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ ต่อมาปรากฏว่าจ�ำเลยที่ 1 ไม่มีที่ดินที่จะ
ขายให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องจ�ำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกง แล้วโจทก์และจ�ำเลยทั้งสองได้ท�ำสัญญา
ประนีประนอมยอมความไว้ตอ่ กัน ในการท�ำสัญญาดังกล่าวแม้จะฟังตามทีจ่ ำ� เลยน�ำสืบว่าจ�ำเลยทัง้ สองลงชือ่
ไปเพราะโจทก์พูดว่า “ต้องคืนเงิน (ที่จ�ำเลยรับไป) ถ้าไม่คืนจะเอาเข้าตะราง” ก็ดี หรือทนายโจทก์พูดว่า
“ขอให้คืนมัดจ�ำและเช็คให้เสีย ถ้าไม่คืนเงินจะให้เอาเข้าตะราง” ก็ดี เป็นเรื่องที่โจทก์ขู่ว่า ถ้าจ�ำเลยไม่คืน

เงินและเช็คทีร่ บั ไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเอาผิดกับจ�ำเลยทางอาญาฐานฉ้อโกง อันเป็นการใช้สทิ ธิทางศาลโดย
สุจริตเพราะตนมีสทิ ธิในมูลกรณีนนั้ ดังนี้ ถือได้วา่ เป็นการขูว่ า่ จะใช้สทิ ธิตามปกตินยิ มหาจัดว่าเป็นการข่มขู่
มส

ไม่ และไม่ใช่เรื่องหลอกลวงสัญญาประนีประนอมยอมความจึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
ฎ. 2259/2526 แม้จำ� เลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมขายทีด่ นิ คืนแก่โจทก์เพราะ
เข้าใจผิดคิดว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก ก็เป็นเรื่องจ�ำเลยส�ำคัญผิดต่อฐานะทางกฎหมายของโจทก์
เท่านั้น หาใช่ความส�ำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งตามปกติย่อมเป็นสาระส�ำคัญ ตาม ปพพ. มาตรา
120 อันจะท�ำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จ�ำเลยเป็นโมฆียะไม่
ฎ. 2851/2530 ทนายโจทก์มีอ�ำนาจท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความและได้ท�ำสัญญา

ประนีประนอมยอมความกับจ�ำเลยศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ดังนีแ้ ม้ทนายจ�ำเลยจะบอกเล่าเรือ่ งราวต่างๆ
แก่ทนายโจทก์ไม่ตรงต่อความจริงแต่ทนายโจทก์ยอ่ มมีโอกาสใช้ดลุ พินจิ ไตร่ตรองแล้วว่าสมควรจะตกลงท�ำ
สัญญากับจ�ำเลยหรือไม่ ทั้งข้ออ้างที่ว่าทนายโจทก์ขาดสติสัมปชัญญะเพราะเหตุผลเรื่องสุขภาพ จึงตกลง
ประนีประนอมยอมความกับทนายจ�ำเลยนั้นก็เป็นความบกพร่องของทนายโจทก์เอง โจทก์จึงจะอ้างว่าได้
ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยถูกฝ่ายจ�ำเลยฉ้อฉลหาได้ไม่
ฎ. 5594/2536 จ�ำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการร้านค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ตรวจพบว่าสินค้าและเงิน
ในความรับผิดชอบของจ�ำเลยที่ 1 สูญหายไป และจ�ำเลยที่ 1 ไม่ยอมรับผิดชอบ โจทก์ข่มขู่ว่าจะจับกุม
สธ
ด�ำเนินคดีอาญากับจ�ำเลยที่ 1 ในข้อหายักยอก จ�ำเลยที่ 1 จึงยอมท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ
โจทก์ ดังนี้เป็นสิทธิอันชอบธรรมของโจทก์ที่พึงใช้สิทธิของตนตามปกตินิยม กรณีหาใช่เป็นการข่มขู่อันจะ
ท�ำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะไม่ สัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีผลใช้บังคับได้

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-19

3) วัตถุประสงค์ของสัญญาต้องสมบูรณ์ไม่บกพร่อง ในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอม
ความนั้นก็เช่นเดียวกับการท�ำสัญญาอื่นๆ คือ ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่เป็นการพ้น
วิสัย หรือไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ปพพ. มาตรา 150 เนื่องจาก
ประนีประนอมยอมความเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง มิฉะนั้นสัญญาประนีประนอมย่อมเป็นโมฆะ
อย่างไรก็ตาม ในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความข้อพิพาททางแพ่งแม้เกีย่ วเนือ่ งกับ


คดีอาญาก็สามารถท�ำได้ หากผู้กระท�ำตกลงกันเรื่องค่าเสียหายทางแพ่งโดยไม่มีการตกลงกันระงับเรื่อง
ความรับผิดทางอาญาทีเ่ ป็นความผิดต่อแผ่นดิน หรือตกลงเรือ่ งค่าเสียหายทางแพ่ง และระงับคดีทางอาญา

มส
ที่สามารถยอมความกันได้เพราะการตกลงกันประนีประนอมยอมความในเรื่องทางแพ่งนั้นท�ำได้ไม่ขัดต่อ
ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น มีการท�ำร้ายร่างกายและผู้กระท�ำและผู้ถูกกระท�ำ
ตกลงกันชดใช้คา่ เสียหายทีเ่ กิดจากการกระท�ำละเมิด แต่มไิ ด้ตกลงกันระงับคดีทางอาญา หรือมีการกระท�ำ
อนาจารผู้หญิงและผู้กระท�ำกับผู้ถูกกระท�ำตกลงเรื่องค่าเสียหายทางแพ่งและยอมความในคดีอาญา ดังนั้น
คูก่ รณีในคดีอาญาไม่วา่ จะเป็นความผิดอันยอมความกันได้หรือไม่กต็ ามอาจตกลงประนีประนอมยอมความ
เรือ่ งค่าเสียหายในทางแพ่งตามสิทธิของตนได้ เพราะกฎหมายห้ามเฉพาะการตกลงยอมความเพือ่ ระงับการ
ฟ้องคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อแผ่นดินเท่านั้น
อุทาหรณ์
ฎ. 524/2484 ท�ำสัญญายอมความให้ค่าเสียหายเพื่อมิให้ฟ้องร้องคดีอาญาแผ่นดินด้วยนั้น

นับว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญานั้นเป็นโมฆะ
ฎ. 1331/2505 สัญญาประนีประนอมที่มีเงื่อนไขว่า จะจ่ายเงินที่เหลือต่อเมื่อศาลพิพากษา
มส

ว่า ผู้ขับรถชนสามีโจทก์ ไม่มีผิดทางอาญานั้น ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นโมฆะใช้ไม่ได้


ฎ. 198/2506 การทีจ่ ำ� เลยซึง่ เป็นสามีให้การยอมให้โจทก์นำ� ยึดทรัพย์เพือ่ ใช้หนี้ ต่อมาไม่ถงึ
3 เดือน จ�ำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นภริยามาท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ผู้ร้องไม่ใช่ภริยาของจ�ำเลย
ทรัพย์สมบัตทิ มี่ อี ยูเ่ ป็นทรัพย์ทจี่ ดั หาและมีขนึ้ ด้วยทรัพย์สนิ ส่วนตัวของผูร้ อ้ ง เช่นนีย้ อ่ มเป็นการสมยอมกัน
จะป้องกันมิให้ทรัพย์พิพาทถูกยึดมาใช้หนี้โจทก์ ฉะนั้น จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์อย่างใด
ฎ. 1730/2513 บุตรจ�ำเลยขับจักรยานยนต์ชนบุตรโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสโจทก์จ�ำเลยจึง

ของประชาชน สัญญาจึงตกเป็นโมฆะ

ได้ทำ� สัญญาปรองดองกัน โดยฝ่ายจ�ำเลยยอมชดใช้คา่ เสียหายทัง้ สิน้ ฝ่ายโจทก์ไม่เอาความผิดในคดีอาญา
ดังนี้ วัตถุประสงค์ของสัญญามีผลเท่ากับตกลงให้ระงับคดีอาญาแผ่นดินเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย

ฎ. 283/2516 (ป.ใหญ่) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เป็นกฎหมายพิเศษเกี่ยวด้วย


แรงงาน ซึ่งประกาศขึ้นใช้แทน พรบ. แรงงาน พ.ศ. 2499 มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้มีเหตุการณ์ต่างๆ อัน
เกิดจากความไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง เป็นการคุ้มครองและอ�ำนวยประโยชน์แก่ลูกจ้าง ทั้งป้องกันมิให้เกิด
ความระสํ่าระสายในการเศรษฐกิจของประเทศและความสงบสุขของบ้านเมือง จึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับ
สธ
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น การที่ลูกจ้างของโจทก์ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์
กับมารดาของผู้ตายได้ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องเงินค่าทดแทนกันไว้ว่า หากโจทก์จะต้อง
จ่ายเงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ตามค�ำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวง

10-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

มหาดไทยแต่งตัง้ โจทก์จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นรายเดือน เดือนละ 200 บาท มีกำ� หนด 5 ปี ค�ำนวณ


แล้วเป็นเงินถึง 12,000 บาท แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จา่ ยเงินเพียง 2,000 บาทเท่านัน้
เป็นการหลีกเลี่ยงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวในส่วนที่
เกี่ยวกับเงินค่าทดแทน จึงเป็นข้อตกลงที่ผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ซึ่ง
เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ


ฎ. 2624/2516 สัญญาประนีประนอมยอมความที่จ�ำเลยท�ำให้ไว้แก่โจทก์เนื่องจากจ�ำเลย
บุกรุกขึน้ ไปบนเรือนโจทก์ในเวลากลางคืนและกระท�ำอนาจารโจทก์ มีขอ้ ความว่า จ�ำเลยยอมเสียค่าท�ำขวัญ

มส
ให้แก่โจทก์เป็นเงินจ�ำนวนหนึ่งภายในเวลาที่ก�ำหนด หากไม่ท�ำตาม ยอมให้ดำ� เนินคดีต่อไปนั้น เป็นเรื่อง
ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้คา่ เสียหายฐานละเมิดให้แก่โจทก์ในทางแพ่งเท่านัน้ ไม่ใช่คา่ เสียหาย
ที่เรียกร้องเพื่อระงับการฟ้องคดีอาญาซึ่งกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเนื่องจาก
สัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ กฎหมายมิได้บงั คับว่าคูก่ รณีจะต้องลงชือ่ ทัง้ สองฝ่าย แม้จ�ำเลยผูเ้ ดียว
ลงชื่อรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้
ฎ. 958/2519 จ�ำเลยท�ำสัญญายอมชดใช้คา่ เสียหายแก่โจทก์โดยมีเจตนาทีจ่ ะไม่ให้โจทก์แจ้ง
ความด�ำเนินคดีอาญากับบุตรจ�ำเลยในการที่ท�ำให้บุตรโจทก์ตาย โจทก์ตกลงด้วยวัตถุประสงค์ของสัญญา
เป็นการตกลงให้ระงับคดีอาญาแผ่นดิน ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ปพพ. มาตรา 113
(ปัจจุบัน คือ มาตรา 150) สัญญาจึงตกเป็นโมฆะกรรม
ฎ. 570/254 การที่ศาลฎีกาจะพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาสัญญา

ประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอม
ความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลฎีกาก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญา
มส

ประนีประนอมยอมความนัน้ ได้ เพราะเป็นการขัดต่อ ปวพ. มาตรา 138 เมือ่ ปรากฏตามสัญญาประนีประนอม


ยอมความทีโ่ จทก์เสนอต่อศาลในข้อ 1 ระบุวา่ จ�ำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตกลงร่วมกันช�ำระเงินจ�ำนวน 1,150,253.55
บาท แก่โจทก์และจ�ำเลยที่ 1 กับที่ 5 ตกลงร่วมกันช�ำระเงินจ�ำนวน 558,543.32 บาท แก่โจทก์ เมื่อรวม
จ�ำนวนเงินทั้งสองจ�ำนวนแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 1,708,796.87 บาท ซึ่งเงินจ�ำนวนดังกล่าวนี้มีจ�ำนวนเงินซึ่ง
ค�ำนวณจากดอกเบี้ยเกินอัตราอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
มาตรา 3 (ก) รวมอยูด่ ว้ ย สัญญาประนีประนอมยอมความทีโ่ จทก์เสนอต่อศาลจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้ได้

ฎ. 701/2553 จ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันท�ำสัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่ 30 กันยายน
พ.ศ. 2541 จ�ำนวนเงิน 500,000 บาท และฉบับลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 จ�ำนวนเงิน 200,000
บาท โดยมิได้เป็นหนีก้ นั จริง แล้วด�ำเนินคดีและบังคับคดีตามค�ำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดง
ที่ 42/2545 ของศาลชั้นต้นต่อที่ดินโฉนดเลขที่ 47781 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจ�ำเลยที่ 1 เพื่อมิให้โจทก์ซึ่ง
เป็นเจ้าหนี้ตามค�ำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1142/2544 ของศาลชั้นต้น บังคับคดีต่อทรัพย์สิน
สธ
ดังกล่าวได้ การกระท�ำของจ�ำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจท�ำผิดกฎหมาย อันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ตาม ปอ. มาตรา 350 สัญญากู้ยืมเงินทั้ง 2 ฉบับและสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งหมายเลข
แดงที่ 42/2545 ของศาลชัน้ ต้น จึงมีวตั ถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดต่อความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 150 โดยไม่ต้องเพิกถอน

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-21

ฎ. 2976/2554 ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14 และมาตรา 16 กฎหมายมิได้


ก�ำหนดเกีย่ วกับการโอนหนังสืออนุญาตให้บคุ คลเข้าท�ำประโยชน์หรืออยูอ่ าศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ตามมาตรา 16 ไว้ ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตจึงไม่สามารถโอนสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้ผู้อื่นได้ เมื่อจ�ำเลย
ที่ 1 เป็นผูไ้ ด้รบั อนุญาตให้เข้าท�ำสวนปาล์มนาํ้ มันในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงเป็นคุณสมบัตเิ ฉพาะตัวจ�ำเลย
ที่ 1 เท่านั้น การที่จ�ำเลยที่ 1 ผู้ได้รับอนุญาตจะเปลี่ยนแปลงฐานะผู้ได้รับอนุญาตจากบุคคลธรรมดาเป็น


นิติบุคคล ซึ่งโจทก์และจ�ำเลยทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกัน เป็นการเปลี่ยนตัวผู้รับอนุญาตหรือการโอนสิทธิ
ตามทีไ่ ด้รบั อนุญาตให้แก่บคุ คลอืน่ นัน่ เอง จึงไม่สามารถกระท�ำได้ ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอม

มส
ความรวมทั้งข้อตกลงเพิ่มเติมในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม
ชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 150 กระบวนพิจารณาต่างๆ ที่ด�ำเนินมาภายหลัง
ค�ำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมตกไปด้วย
ดังนั้น การกระท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมาย ความ
สงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญานั้นย่อมสมบูรณ์
อุทาหรณ์
ฎ. 125/2521 จ�ำเลยมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยูแ่ ล้ว ได้มาอยูก่ นิ กับโจทก์ฉนั สามีภริยา
ต่อมาโจทก์จ�ำเลยได้ตกลงเลิกอยู่กินด้วยกันโดยจ�ำเลยจะให้เงินโจทก์ 40,000 บาท และได้ขอให้พนักงาน
สอบสวนจดบันทึกข้อตกลงนัน้ ไว้ในรายงานประจ�ำวันแล้วโจทก์จำ� เลยลงชือ่ ไว้เป็นหลักฐาน บันทึกข้อตกลง

ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย มีผลสมบูรณ์ให้จำ� เลยต้องปฏิบัติตามไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อศีลธรรมอันดีของ
ประชาชนไม่เป็นโมฆะ
มส

ฎ. 331/2528 บันทึกข้อตกลงที่จำ� เลยที่ 1 กับพวกท�ำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจ�ำเลยที่ 1 ได้


น�ำเช็คต่างๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และ
สาขาทัง้ สองได้นำ� เข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าทีต่ รวจพบในขณะท�ำบันทึกมีจำ� นวนประมาณ 5,035,407
บาทนัน้ จ�ำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจ�ำนวนนีใ้ ห้กบั ธนาคารโจทก์เป็นงวดๆ ตามทีป่ รากฏในสัญญาข้อ 2 และ
เพื่อเป็นหลักประกันจ�ำเลยที่ 1 จะจัดให้จำ� เลยที่ 2 น�ำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจ�ำนองเป็นหลักประกันภายใน
วงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทัง้ สองฝ่ายไม่ตดิ ใจทีจ่ ะด�ำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้าย

ของบันทึกลงชื่อของจ�ำเลยที่ 1 กับพวก และนายส�ำราญผู้รับมอบอ�ำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้
มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและ
ทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงทีว่ า่ โจทก์จะถอนค�ำร้องทุกข์ให้ตอ่ เมือ่ มีการจดทะเบียนจ�ำนองและจ�ำเลยที่ 1 กับ
พวกจะไม่ดำ� เนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูก
หนี้คือจ�ำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนค�ำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้ว
แต่ใจของลูกหนีอ้ นั จะเป็นเหตุให้จ�ำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมือ่ จ�ำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จ�ำเลย
ที่ 2 จดทะเบียนจ�ำนองตามข้อตกลง จ�ำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยที่ 1
สธ
มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะส�ำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้ จึงใช้บังคับได้
อย่างไรก็ตามแม้บางส่วนของสัญญาประนีประนอมยอมความตกเป็นโมฆะ เช่น มีข้อความ
ทีข่ ดั ต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่บางส่วนยังคงสมบูรณ์ใช้บงั คับได้

10-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

สัญญาประนีประนอมยอมความก็ยงั คงใช้บงั คับได้ในส่วนทีย่ งั คงสมบูรณ์อยูน่ นั้ เช่น เป็นส่วนทีพ่ งึ สันนิษฐาน


ได้ว่าคู่กรณีเจตนาจะแยกส่วนนี้ออกจากส่วนอื่นได้ สัญญาประนีประนอมยอมความก็ยังสมบูรณ์
อุทาหรณ์
ฎ. 306/2509 สัญญาประนีประนอมยอมความเพือ่ ระงับคดีอาญาทีโ่ จทก์ฟอ้ งจ�ำเลยฐานฉ้อโกง
และมีข้อความตอนหนึ่งว่า จ�ำเลยยินยอมไม่ฟ้องคดีอาญาอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ฟ้องคดีอาญาเรื่อง


ฉ้อโกงนั้นถือว่าข้อความตอนนี้เป็นส่วนที่พึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีเจตนาจะแยกส่วนนี้ออกหากจากส่วน
อื่นได้ สัญญาประนีประนอมยอมความนี้จึงสมบูรณ์

มส ฎ. 1949/2543 มูลหนี้ที่จ�ำเลยออกเช็คพิพาทคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องจ�ำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้


ชดใช้เงิน โจทก์จ�ำเลยได้ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด
แล้ว ผลของประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมท�ำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้น
ไปและท�ำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 852
โจทก์คงมีสทิ ธิเรียกให้จำ� เลยช�ำระหนีแ้ ก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านัน้ แม้จำ� เลยไม่ชำ� ระหนี้
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จ�ำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาท
คดีนี้ได้อีก หนี้ที่จ�ำเลยได้ออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมี
ค�ำพิพากษาถึงทีส่ ดุ คดีจงึ เป็นอันเลิกกันตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา
7 สิทธิของโจทก์ในการน�ำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ปวอ. มาตรา 39 สิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้อง

ระงับไปหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หากมีการกระท�ำที่ต้องด้วยบทบัญญัติของ
กฎหมายกรณีใดกรณีหนึ่งแล้วย่อมท�ำให้สิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องระงับไปทันที ไม่ใช่เรื่องที่คู่สัญญาจะท�ำ
มส

สัญญาหรือตกลงกันยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายมิให้สิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องระงับได้ แม้ในสัญญา
ประนีประนอมยอมความ จะมีข้อความว่า การตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจ�ำเลยไม่ถือว่า
ได้ตกลงยอมความในคดีอาญาหากจ�ำเลยไม่ช�ำระหนี้ตามสัญญานี้โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะด�ำเนินคดีอาญา
กับจ�ำเลยจนถึงทีส่ ดุ นัน้ หากจะฟังว่าไม่เป็นการยอมความในคดีอาญา ก็เป็นคนละเรือ่ งกับกรณีหนีท้ จี่ �ำเลย
ได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพัน ซึ่งมีผลให้คดีเลิกกันและสิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
อีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณี ตาม ปวอ. มาตรา 39 (2) โจทก์และจ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า

การตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ถอื ว่าเป็นการยอมความในคดีอาญา อันเป็นเรือ่ งทีโ่ จทก์และ
จ�ำเลยท�ำสัญญาหรือข้อตกลงกันไม่ให้สทิ ธิในการฟ้องคดีอาญาเกีย่ วกับเช็คพิพาทคดีนเี้ ป็นอันระงับไป ถือว่า
มีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 150 แต่ข้อตกลงในส่วน
ดังกล่าวนีส้ ามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมในส่วนอืน่ ได้ จึงไม่ทำ� ให้สญ
ประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งตกเป็นโมฆะทั้งหมด ตาม ปพพ. มาตรา 173
ั ญา
สธ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-23

2. เป็นการระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไป
ในประนีประนอมยอมความนั้นคู่กรณีพิพาทต้องมีการระงับข้อพิพาทของตน ดังนั้นจึงต้องมี
ข้อพิพาทเกิดขึ้นและยังคงอยู่ในขณะตกลงระงับข้อพิพาท
2.1 มีการระงับข้อพิพาท ค�ำว่า ข้อพิพาท คือ “ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
ซึ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในระหว่างคู่กรณีพิพาท”


ข้อพิพาทที่จะสามารถระงับได้โดยประนีประนอมยอมความนั้นเป็นข้อพิพาททางแพ่งที่ชอบด้วย
กฎหมาย และไม่ใช่เรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เรื่องที่พิพาท

มส
กันนั้นอาจเป็นเรื่องใดๆ ก็ได้ แม้เป็นข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาก็สามารถระงับได้โดย
ประนีประนอมยอมความ
ข้อพิพาทที่สามารถระงับได้โดยประนีประนอมยอมความจึงเป็นเรื่องทางแพ่งใดๆ ก็ได้ เช่น หนี้
สัญญา ละเมิด ห้างหุ้นส่วนและบริษัท ครอบครัว มรดก และสิทธิในทรัพย์สินต่างๆ
นอกจากนั้นข้อพิพาทที่จะท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอาจเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้ว
หรือข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยท�ำสัญญากันไว้ล่วงหน้าว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างคู่กรณี
ให้ระงับโดยประนีประนอมยอมความ ซึ่งมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากทางปฏิบัติในเรื่องข้อพิพาทต่างๆ ดังจะ
กล่าวต่อไป
1) การระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญา ในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอาจ

เป็นการระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสัญญาต่างๆ
อุทาหรณ์
มส

ฎ. 2175/2524 จ�ำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารเรียน โจทก์ใช้เหล็กเส้นผิดขนาดจาก


ที่ก�ำหนดไว้ในแบบในการก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าว โจทก์จึงบันทึกข้อความไว้ว่ายอมให้จ�ำเลยหักเงิน
เป็นค่าปรับตามจ�ำนวนที่จ�ำเลยก�ำหนดไว้ได้และจ�ำเลยยินยอมให้โจทก์ด�ำเนินการก่อสร้างต่อไป โดยไม่
ต้องรือ้ อาคารทีก่ อ่ สร้างไปแล้ว ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเรือ่ งเบีย้ ปรับทีต่ กลงกันไว้ลว่ งหน้า ตาม ปพพ. มาตรา 379
แต่เป็นกรณีที่โจทก์จ�ำเลยมาท�ำความตกลงระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งมีผลเป็นสัญญาประนีประนอม
ยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 จ�ำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินตามจ�ำนวนที่ก�ำหนดไว้ ปัญหาว่าโจทก์ผิด

สัญญาหรือไม่หรือจ�ำเลยเสียหายมากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นอันยุติไปแล้วโดยผลของสัญญาประนีประนอม
ยอมความ ไม่มีเหตุที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาอีก
ฎ. 3746/2551 หากจ�ำเลยที่ 1 ช�ำระหนีโ้ ดยไม่ผดิ นัดจนครบจ�ำนวนเงิน 130,000 บาท โจทก์
ไม่ตดิ ใจเรียกร้องหนีส้ ว่ นทีเ่ หลืออีกต่อไป บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์
กับจ�ำเลยที่ 1 ซึ่งเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญา
ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความท�ำให้การ
เรียกร้องซึ่งแต่ฝ่ายยอมสละระงับสิ้นไป และได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นว่า
สธ
เป็นของตน ตาม ปพพ. มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของโจทก์อนั เนือ่ งมาจากการผิดสัญญาเช่าซือ้ จึงระงับไป

10-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2) การระงับข้อพิพาททีเ่ กีย่ วกับละเมิด ข้อพิพาททีค่ กู่ รณีตกลงกันท�ำสัญญาประนีประนอม


ยอมความอาจเกิดจากเรื่องละเมิดก็ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 283/2506 น้องชายจ�ำเลยฉุดคร่าพาบุตรสาวที่อยู่ในความปกครองของโจทก์ไป อัน
เป็นการละเมิด เมื่อจ�ำเลยมาขอขมาผูกพันท�ำสัญญาให้เงินแก่โจทก์เป็นการตอบแทนที่โจทก์ยอมให้บุตร


ได้อยู่กินกับน้องจ�ำเลยนั้น สัญญาเช่นนี้ เป็นสัญญาตกลงกันระงับข้อพิพาทอันปรับได้ว่าเป็นสัญญา
ประนีประนอมยอมความซึ่งบังคับกันได้ตามกฎหมาย หาใช่เป็นการให้ตามหน้าที่ในทางศีลธรรมไม่

มส ฎ. 2624/2516 คูก่ รณีในคดีอาญาไม่วา่ จะเป็นความผิดอันยอมความกันได้หรือไม่กต็ าม อาจ


ตกลงประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเสียหายในทางแพ่งอันพึงมีพึงได้ตามสิทธิของตนได้ กฎหมายห้าม
เฉพาะการตกลงประนีประนอมยอมความเพือ่ ระงับหรืองดการฟ้องคดีอาญาทีม่ ใิ ช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านัน้
สัญญาประนีประนอมยอมความทีจ่ ำ� เลยท�ำให้ไว้แก่โจทก์เนือ่ งจากจ�ำเลยบุกรุกขึน้ ไปบนเรือน
โจทก์ในเวลากลางคืนและกระท�ำอนาจารโจทก์ มีขอ้ ความว่า จ�ำเลยยอมเสียค่าท�ำขวัญให้แก่โจทก์เป็นเงิน
จ� ำ นวนหนึ่ ง ภายในเวลาที่ ก� ำ หนด หากไม่ ท� ำ ตาม ยอมให้ ด� ำ เนิ น คดี ต ่ อ ไปนั้ น เป็ น เรื่ อ งท� ำ สั ญ ญา
ประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดให้แก่โจทก์ในทางแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายที่
เรียกร้องเพื่อระงับการฟ้องคดีอาญาซึ่งกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
ฎ. 2545/2524 จ�ำเลยขับรถยนต์ประมาทชนรถยนต์โจทก์เสียหายโจทก์จำ� เลยได้ตกลงเกีย่ วกับ

ค่าเสียหายซึ่งพนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้และโจทก์จ�ำเลยได้ลงลายมือชื่อแล้วข้อตกลงมีความว่าจ�ำเลย
ยินยอมซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิมและจ�ำเลยยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการท�ำ
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทอันเกิดจากมูลละเมิดให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กนั
มส

และเมือ่ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำ� เลยเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลละเมิด


ย่อมสิ้นไปชอบที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก
จ�ำเลยในมูลละเมิดอีกหาได้ไม่ (ฎ. 898/2534, ฎ. 258/2535, ฎ. 127/2538, ฎ. 1892/2538, ฎ. 2569/2540
และ ฎ. 3356/2540)
ฎ. 600/2533 การที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ตกลงกับจ�ำเลยที่ 1 และ น. ให้จ�ำเลยที่
1 ซึ่งเป็นลูกวงเปียแชร์น�ำเงินไปช�ำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ที่ 2 ท�ำละเมิดต่อ น. โดยโจทก์

ทั้งสองรับจะเป็นผู้ส่งเงินแชร์วงดังกล่าว และแชร์วงอื่นอีกแทนจ�ำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงด้วยนั้น ข้อตกลง
เช่นนี้เป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกันค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ท�ำละเมิดต่อ น. เป็นสัญญาประนีประนอม
ยอมความ
ฎ. 3833/2534 การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา และจ�ำเลยที่ 1 แถลงในคดีอาญาว่า
ตกลงกันได้โดยจ�ำเลยที่ 1 ยินยอมช�ำระเงินให้โจทก์ 80,000 บาทพร้อมดอกเบีย้ ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วนั
แถลงจนกว่าจ�ำเลยที่ 1 จะช�ำระหนี้ให้โจทก์เสร็จฯ โดยโจทก์ยอมถอนค�ำร้องทุกข์เป็นการตกลงระงับข้อ
สธ
พิพาทในคดีอาญาให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กนั จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และการ
ที่จ�ำเลยที่ 1 กระท�ำข้อตกลงกับโจทก์ดังกล่าวข้างต้นไม่ถือว่าเป็นการกระท�ำที่ไม่มีอิสระเพราะเป็นการ
ด�ำเนินกระบวนพิจารณาต่อหน้าศาล ซึ่งจ�ำเลยที่ 1 มีอิสระที่จะตกลงด้วยหรือไม่ก็ได้ หามีใครบังคับไม่
จ�ำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามนั้น

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-25

3) การระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับครอบครัว ข้อพิพาททีเ่ กีย่ วกับครอบครัวมักมีการระงับโดย


ประนีประนอมยอมความเพื่อให้เกิดความสงบสุขระหว่างคู่กรณีพิพาทและบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
อุทาหรณ์
ฎ. 867/2508 โจทก์จำ� เลยเป็นสามีภริยากัน เมื่อหย่าขาดจากกัน จ�ำเลยยอมเป็นผู้ออกค่า
อุปการะเลีย้ งดูบตุ ร และท�ำหนังสือสัญญากันไว้เป็นหลักฐาน เป็นการระงับข้อพิพาทซึง่ อาจจะมีขนึ้ สัญญา


ดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ (ฎ. 867/2508, ฎ. 1079/2512, ฎ. 3/2535, ฎ. 2435/2536
และ ฎ. 7473/2537)

มส ฎ. 1254/2493 สามีภริยาท�ำหนังสือขึ้นฉบับหนึ่งระบุไว้ว่า เป็นสัญญาประนีประนอมเพื่อ


ระงับข้อพิพาทเรื่องเรือนและสวนยางไม่ให้ต้องเป็นความกันในโรงศาลโดยตกลงโอนกรรมสิทธิ์สวนแปลง
นั้นให้บุตร 2 คนๆ ละส่วนนับแต่วันท�ำสัญญา แม้จะมีข้อความว่าให้บุตรทั้งสองเข้าถือสิทธิครอบครองได้
ต่อเมื่อสามีภริยาตายแล้วทั้งสองคน ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา
850 และเป็นสัญญาซึง่ คูส่ ญ
ั ญาตกลงจะช�ำระหนีแ้ ก่บตุ รซึง่ เป็นบุคคลภายนอก บุตรจึงมีสทิ ธิจะเรียกช�ำระหนี้
จากคู่สัญญาได้ ตาม ปพพ. มาตรา 374 วรรคต้น และเมื่อบุตรได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา
นี้แล้ว สิทธิของบุตรก็เกิดขึ้นแล้วตามวรรคสอง บุตรย่อมฟ้องขอให้ปฏิบัติตามสัญญานั้นได้
ฎ. 766/2509 เดิมสามีจ�ำเลยท�ำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ยังไม่ทันจดทะเบียนโอนกัน
สามีจำ� เลยก็ตาย ต่อมาโจทก์จำ� เลยจะพิพาทกันจึงพากันไปอ�ำเภอและท�ำสัญญาต่อกันไว้วา่ จ�ำเลยจะให้เงิน

โจทก์ 4,000 บาท โจทก์จะคืนที่สวนแปลงหนึ่งและต่อไปก็จะคืนที่พิพาทให้บุตรจ�ำเลยอีกด้วย สัญญานี้
เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ฎ. 125/2521 จ�ำเลยมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยูแ่ ล้ว ได้มาอยูก่ นิ กับโจทก์ฉนั สามีภริยา
มส

ต่อมาโจทก์จ�ำเลยได้ตกลงเลิกอยู่กินด้วยกันโดยจ�ำเลยจะให้เงินโจทก์ 40,000 บาท เป็นค่าที่ได้อยู่กินกัน


มา และได้ขอให้พนักงานสอบสวนจดบันทึกข้อตกลงนัน้ ไว้ในรายงานประจ�ำวันแล้วโจทก์จำ� เลยลงชือ่ ไว้เป็น
หลักฐาน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850
มิใช่สัญญาให้โดยเสน่หาและชอบด้วยกฎหมาย มีผลสมบูรณ์ให้จ�ำเลยต้องปฏิบัติตาม ไม่มีวัตถุประสงค์
ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ

อุทาหรณ์

4) การระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับมรดก ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับมรดกเป็นข้อพิพาทอย่างหนึ่งที่
นิยมระงับกันโดยประนีประนอมยอมความ

ฎ. 977/2497 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้ไปแจ้งทะเบียนส�ำมะโนครัวว่าเป็นบุตรและใช้
นามสกุลของบิดา และบิดาได้อปุ การะบุตรมาอันเป็นพฤติการณ์ทรี่ อู้ ยูก่ นั ทัว่ ไป ดังนีไ้ ด้ชอื่ ว่าบิดาได้รบั รอง
แล้ว และถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานของบิดาและมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาได้ และแม้คดีจะขาดอายุความ
มรดกแล้วแต่ทายาทท�ำสัญญาประนีประนอมแบ่งทรัพย์มรดกแก่กัน สัญญานั้นย่อมใช้บังคับได้
สธ
ฎ. 503/2500 โจทก์จำ� เลยร่วมกันท�ำหนังสือถึงนายอ�ำเภอขอให้จดั การท�ำนิตกิ รรมแบ่งทีด่ นิ
ซึ่งเป็นมรดกตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบ ตาม ปพพ. มาตรา
850

10-26 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 825/2514 โจทก์จ�ำเลยท�ำสัญญาแบ่งที่ดินมรดกโดยจ�ำเลยยอมแบ่งให้โจทก์เพื่อไม่ต้อง
เป็นความกัน ดังนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ใช่สัญญายกให้โดยเสน่หา
ฎ. 590/2540 บันทึกที่ จ. ให้ถ้อยค�ำต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีใจความส�ำคัญว่า ที่ดินมรดกที่
มีชื่อ ฉ. ผู้ตายเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์นี้ ทายาทของผู้ตายคือจ�ำเลยและ จ. แต่ จ. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดก
ที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใด และยินยอมให้จ�ำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียวนั้น เป็นบันทึก


ที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตาม ป. ที่ดินฯ มาตรา 81 ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 24 (พ.ศ.
2516) ออกตามความใน พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ ซึ่งถ้อยค�ำดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละ

มส
มรดกตามความหมายใน ปพพ. มาตรา 1612 เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่ง
ของตนโดยไมไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด แต่บันทึกถ้อยค�ำของ จ. ดังกล่าวมีลักษณะเป็น
ประนีประนอมยอมความ มีผลบังคับได้ ตาม ปพพ. มาตรา 850, 852 และ 1750 ทั้งตามโฉนดที่ดินซึ่ง
จ�ำเลยส่งศาลในวันชีส้ องสถานระบุชอื่ จ�ำเลยเป็นผูร้ บั โอนเสร็จสิน้ โดยโจทก์ทงั้ สองซึง่ เป็นทายาทของ จ. ไม่
คัดค้านความถูกต้อง ถือได้วา่ จ�ำเลยผูม้ ชี อื่ ในโฉนดได้รบั กรรมสิทธิใ์ นทีด่ นิ แปลงนีโ้ ดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ที่ดินแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจ�ำเลย
ฎ. 4031/2540 พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้ใน ปพพ. มาตรา 1612 หมายถึงนายอ�ำเภอ
ตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 หาใช่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ การที่โจทก์ท�ำหนังสือ
ไม่ขอรับมรดกไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่ใช่เป็นการสละมรดก แต่ที่โจทก์ท�ำหนังสือไม่ขอรับมรดกที่ดิน

พิพาทโดยยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทให้แก่จำ� เลยที่ 1 หากมีข้อผิดพลาด
หรือเสียหายประการใด โจทก์ขอรับผิดชอบเองทัง้ สิน้ พร้อมทัง้ โจทก์และจ�ำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชือ่ ต่อหน้า
พยาน 2 คนเช่นนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้อง ตาม ปพพ. มาตรา 1612
มส

ตอนท้าย ประกอบด้วย มาตรา 850 แห่ง ปพพ. เมื่อโจทก์และจ�ำเลยที่ 1 ได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งจะมี


ขึ้นให้เสร็จไปโดยโจทก์สละมรดกในที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอีก จึงไม่มี
อ�ำนาจฟ้องจ�ำเลยทั้งห้า
ฎ. 4921/2552 การสละมรดกมี ปพพ. มาตรา 1612 บัญญัติให้กระท�ำได้ 2 แบบคือ แสดง
เจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือท�ำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ค�ำว่า
พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ปพพ. มาตรา 1612 หมายถึง ผู้อ�ำนวยการเขตหรือนายอ�ำเภอหรือหัวหน้ากิ่ง

อ�ำเภอและหมายรวมถึงบุคคลที่กระท�ำหน้าที่แทนด้วย ดังนั้น การที่บุตรทั้งเจ็ดของเจ้ามรดกไปให้ถ้อยค�ำ
และท�ำบันทึกหลักฐานเป็นหนังสือระบุชัดแจ้งว่าไม่ขอรับโอนมรดกที่ดินไว้ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน
อ�ำเภอซึง่ เป็นหัวหน้าส่วนราชการประจ�ำส�ำนักงานทีด่ นิ อ�ำเภอสวี ในฐานะเจ้าหน้าทีบ่ ริหารงานทีด่ นิ ปฏิบตั ิ
ราชการแทนนายอ�ำเภอ ซึ่งนายอ�ำเภอมีอำ� นาจ ตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
มาตรา 38 (10) ทีใ่ ช้บงั คับอยูใ่ นขณะนัน้ ทีจ่ ะมอบอ�ำนาจให้หวั หน้าส่วนราชการทีป่ ระจ�ำอยูใ่ นอ�ำเภอปฏิบตั ิ
ราชการแทนได้ จึงเป็นการแสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว แต่การที่บุตรทั้งเจ็ดระบุ
สธ
ว่า ไม่ประสงค์ขอรับมรดกทีด่ นิ แปลงนีแ้ ละยินยอมให้จำ� เลยรับมรดกแปลงนีแ้ ต่ผเู้ ดียว ไม่ใช่การสละมรดก
ตาม ปพพ. มาตรา 1612 เพราะเป็นการสละมรดกโดยมีเงือ่ นไข ต้องห้าม ตาม ปพพ. มาตรา 1613 อย่างไร
ก็ตามบันทึกดังกล่าวมีลกั ษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้บงั คับผูกพันบุตรทัง้ เจ็ดกับจ�ำเลย
ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 850, 852 และ 1750

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-27

5) การระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับแรงงาน ข้อพิพาทเกี่ยวกับแรงงานนั้นอาจมีบางส่วนที่
เกี่ยวข้องกับทางแพ่ง เช่น ค่าจ้าง ซึ่งสามารถระงับได้โดยประนีประนอมยอมความ
อุทาหรณ์
ฎ. 552/2533 โจทก์ฟ้องจ�ำเลยและจ�ำเลยฟ้องแย้งเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งช�ำระเงินแก่ตน
ครั้นถึงวันนัดสืบพยาน คู่ความยอมตกลงกันตามที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย ศาลแรงงานกลางจัดท�ำ


สัญญาประนีประนอมยอมความและได้มคี ำ� พิพากษาตามยอม ในวันนัน้ ตามข้อ 2 แห่งสัญญาประนีประนอม
ยอมความได้ระบุไว้ว่า โจทก์จ�ำเลยต่างไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดกันอีก ซึ่งหมายความว่า จ�ำเลยได้สละข้อ

มส
เรียกร้องของตนตามฟ้องแย้งแล้ว ถือว่าข้อเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจ�ำเลยได้ระงับสิน้ ไปด้วยผลของสัญญา
ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 852
ฎ. 4800/2534 โจทก์จำ� เลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2534
มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตาม
กฎหมายเนือ่ งจากบริษทั ได้เลิกจ้างโจทก์ตงั้ แต่วนั ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2534 ไว้ตามจ�ำนวนทีต่ กลงกันถูกต้อง
แล้วในขณะท�ำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้
เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือ
ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใดๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันท�ำสัญญา
ระหว่างคูก่ รณีทมี่ อี ยูน่ นั้ ให้ถอื ตามความทีต่ กลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้อง

ของโจทก์เกีย่ วกับเงินใดๆ รวมทัง้ ค่าล่วงเวลาและค่าท�ำงานในวันหยุดทีม่ ขี อ้ พิพาทกันอยูก่ อ่ นวันท�ำสัญญา
นีเ้ ป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จงึ ไม่มอี ำ� นาจฟ้องบังคับให้จำ� เลยรับผิด
มส

ในเงินดังกล่าวอีกได้
ฎ. 352/2540 โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างสมัครใจเข้าร่วมโครงการลาออกด้วยความสมัครใจของ
จ�ำเลยผู้เป็นนายจ้างซึ่งมีข้อความว่าข้าพเจ้าขอสละสิทธิและขอปลดเปลื้องบริษัทจากข้อเรียกร้องทั้งปวง
ความรับผิดข้อเรียกร้องและมูลคดีทขี่ า้ พเจ้าหรือบุคคลอืน่ โดยการเรียกร้องผ่านข้าพเจ้าซึง่ เคยมีกำ� ลังมีหรือ
อาจเรียกร้องให้มไี ด้ในอนาคตต่อบริษทั ฯลฯ ทัง้ ยังมีขอ้ ความตามบันทึกอีกว่าเงินทีจ่ ำ� เลยจ่ายให้โจทก์ตาม
โครงการดังกล่าวเป็นเงินทุกประเภทที่จำ� เลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมหมายความว่าการที่จำ� เลยยอมจ่าย

เงินให้โจทก์ตามโครงการการลาออกด้วยความสมัครใจนั้นได้รวมเงินทุกประเภทที่โจทก์อาจเรียกร้องจาก
จ�ำเลยได้อยูแ่ ล้ว ข้อตกลงทีว่ า่ โจทก์จะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ใดๆ จากจ�ำเลยอีก เพราะจ�ำเลยได้จา่ ยเงิน
ทีโ่ จทก์พงึ จะได้รบั ตามกฎหมายให้แก่โจทก์หมดแล้วซึง่ ไม่นอ้ ยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้ จึงไม่ขดั ต่อความ
สงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผลบังคับระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยได้ โจทก์ยอ่ มไม่มสี ทิ ธิฟอ้ งเรียกผลประโยชน์
ใดๆ จากจ�ำเลยอีก
ฎ. 2157/2543 การทีโ่ จทก์นำ� สาเหตุจากการทีจ่ ำ� เลยเลิกจ้าง ไปยืน่ ค�ำร้องกล่าวหาจ�ำเลยต่อ
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระท�ำอันไม่เป็นธรรม ขอให้จำ� เลยช�ำระค่าเสียหายแก่โจทก์และ
สธ
ต่อมาโจทก์ได้นำ� เหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจ�ำเลยต่อศาลแรงงานขอให้บงั คับจ�ำเลยชดใช้คา่ เสียหาย
จากการเลิกจ้างทีไ่ ม่เป็นธรรมเป็นเงิน อีกจ�ำนวนหนึง่ พร้อมทัง้ ช�ำระเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอก
กล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจ�ำเลยได้ตกลงท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจ�ำเลยยอมช�ำระเงิน

10-28 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

147,820 บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายและเงินอื่นใดจาก


จ�ำเลยอีกศาลแรงงานมีคำ� พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ท�ำให้ขอ้ พิพาทระงับสิน้ ไป
และโจทก์ไม่มีอำ� นาจมาฟ้องให้จำ� เลยรับผิดได้อีก
6) การระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัท ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน
และบริษัทเป็นข้อพิพาทที่มีความเหมาะสมที่คู่กรณีพิพาทควรตกลงกันเองโดยไม่จ�ำเป็นต้องฟ้องคดี


เนือ่ งจากความสัมพันธ์ใกล้ชดิ ระหว่างคูก่ รณีพพิ าทและหลังจากระงับข้อพิพาทแล้วคูก่ รณีอาจจ�ำเป็นต้องมี
ความสัมพันธ์ที่ดีในการเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนหรือเป็นผู้ถือหุ้นหรือบริษัทที่มีปัญหานั้นกันต่อไป

มส อุทาหรณ์
ฎ. 7033/2539 โจทก์ทั้งห้าได้มอบหมายให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับ ฉ. ด�ำเนินการท�ำสัญญา
แบ่งคืนทรัพย์สนิ อันเป็นกรรมสิทธิร์ วมโจทก์ทงั้ ห้าจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวจะกลับมาโต้แย้งว่าโจทก์
ที่ 3 ถึงที่ 5 มิได้มอบอ�ำนาจเป็นหนังสือไม่ผูกพันโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 ไม่ได้ และข้อความตามสัญญาแบ่งคืน
ทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับบันทึกต่อท้ายมีลักษณะเป็นการที่คู่ความตกลงระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับ
การแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างทั้งหมดให้เสร็จสิ้นไปโดยให้ทรัพย์สินนอกเหนือจากที่ปรากฏในสัญญาเป็น
ของผูใ้ ดในขณะท�ำสัญญาก็คงให้เป็นของผูน้ นั้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม
ปพพ. มาตรา 850 และโจทก์ทั้งห้าต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งห้าและ
จ�ำเลยทัง้ สองตกลงให้จดั การทรัพย์สนิ โดยวิธอี นื่ ในระหว่างผูเ้ ป็นหุน้ ส่วนด้วยกันไม่จำ� ต้องช�ำระบัญชีกนั อีก

ตาม ปพพ. มาตรา 1061
7) การระงับข้อพิพาทที่เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน คู่กรณีพิพาทในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิใน
มส

ทรัพย์สินต่างๆ และที่ดินสามารถระงับข้อพิพาทของตนโดยประนีประนอมยอมความได้เช่นเดียวกับ
ข้อพิพาททางแพ่งอื่นๆ
อย่างไรก็ตามปัญหาพิพาทในเรื่องทรัพย์สินและบุคคลนั้นสามารถมีสิทธิบางประการตาม
กฎหมายได้แม้บคุ คลนัน้ จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ ทีพ่ พิ าทก็ตามบุคคลนัน้ ก็เป็นคูก่ รณีพพิ าทได้
อุทาหรณ์
ฎ. 5515/2538 ผู้ครองสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะถูกท�ำละเมิดมีสิทธิรับช�ำระหนี้ค่าสินไหม

ทดแทนจากผูท้ ำ� ละเมิดได้ ตาม ปพพ. มาตรา 441 ย่อมมีสทิ ธิทจี่ ะท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความเกีย่ ว
กับการรับช�ำระหนีค้ า่ สินไหมทดแทนได้เช่นกัน การทีจ่ ำ� เลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ที่ ส.
ขับ และได้มกี ารท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจ�ำเลยกับ ส. ขึน้ ในเรือ่ งค่าเสียหาย สัญญานัน้
ย่อมมีผลบังคับได้ แม้ ส. จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์คันที่ขับก็ตาม
ฎ. 1418/2520 เดิมโจทก์เคยฟ้องจ�ำเลยขอให้เปิดทางในที่ดินของจ�ำเลยโดยอ้างว่าเป็นทาง
ภารจ�ำยอม แล้วโจทก์จำ� เลยได้ตกลงท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจ�ำเลยยอมเปิดทางในทีด่ นิ
ดังกล่าวกว้าง 2 เมตร 50 เซนติเมตร ยาวตลอดที่ดิน ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ค�ำพิพากษานั้น
สธ
ย่อมผูกพันคูค่ วามทัง้ สองฝ่าย ตาม ปวพ. มาตรา 145 เมือ่ จ�ำเลยได้เปิดทางให้ผา่ นทีด่ นิ ของจ�ำเลยถูกต้อง
ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้รับความสะดวกเพราะปากทางแคบไป
โจทก์ก็ไม่มีอำ� นาจมาฟ้องจ�ำเลยขอให้เปิดทางให้กว้างขึ้นไปอีก

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-29

ฎ. 3045/2530 โจทก์กับจ�ำเลยทั้งสามได้ท�ำบันทึกข้อตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ใน
ที่ดินออกจากกัน จ�ำนวน 3 แปลง แต่ละคนได้ที่ดินกันคนละ 1 แปลง และยังมีเอกสารซึ่งเป็นรูปจ�ำลอง
แผนที่มีรอยขีดเส้นแบ่งที่ดินเขียนชื่อโจทก์และจ�ำเลยทั้งสาม โดยทั้งโจทก์และจ�ำเลยทั้งสามลงชื่อรับรอง
เอกสารและรูปแผนที่ดังกล่าวไว้ด้วย การตกลงกันว่าผู้ใดได้ที่ดินส่วนใดย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะ
มีขึ้นให้เสร็จไปจึงเป็นประนีประนอมยอมความ


ฎ. 183/2531 โจทก์และบิดาจ�ำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน ต่อมาได้ร่วมกันยื่นค�ำร้องขอ
แบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยบันทึกข้อตกลงแบ่งแยกให้บิดาจ�ำเลยได้เนื้อที่ 1 ใน 5 ส่วน

มส
โจทก์และบิดาจ�ำเลยลงชื่อไว้ บันทึกนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850
ฎ. 1401/2531 โจทก์ฟ้องคดีก็เพื่อต้องการที่ดินในส่วนที่ฝ่ายจ�ำเลยรุกลํ้าเข้าไปในที่ดินของ
โจทก์กลับคืน เมื่อโจทก์จ�ำเลยตกลงกันโดยฝ่ายจ�ำเลยยอมให้โจทก์ได้รับที่ดิน เพิ่มขึ้น 7 ตารางวา และ
ฝ่ายจ�ำเลยเป็นผู้เสียสละที่ดินตามเนื้อที่ดังกล่าวให้โจทก์ ดังนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
2.2 การระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วหรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไป ประนีประนอมยอมความนั้นต้องมี
การระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีพิพาทให้เสร็จสิ้นไป โดยอาจเป็นข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วในขณะท�ำสัญญา
หรือมีการตกลงกันระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้เสร็จสิ้นไป โดยอาจเป็นการระงับข้อพิพาท
ทั้งหมด ไม่ใช่เพียงบางส่วนดังนั้น หากไม่มีข้อพิพาทต่อกันหรือมีข้อพิพาทแต่ไม่มีตกลงกันให้ระงับ
ข้อพิพาทให้เสร็จสิ้นไปก็ไม่เป็นประนีประนอมยอมความ

อุทาหรณ์
ฎ. 347/2488 สัญญาซึง่ ไม่มขี อ้ ความอันเกีย่ วกับการระงับข้อพิพาทย่อมไม่ใช่สญ ั ญาประนีประนอม
มส

ยอมความ
ฎ. 1314/2501 โจทก์ฟ้องขอให้จำ� เลยแบ่งที่พิพาทให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จ�ำเลย
ต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญายกให้ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่มีผลบังคับ
เมื่อข้อความในสัญญาที่โจทก์อ้าง มีข้อความแสดงให้เห็นว่าการที่จ�ำเลยจะให้ที่ดินครั้งนี้เพราะ
โจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของนาง กี เจ้าของเดิม ซึ่งบอกว่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่ก่อนที่ นางกี โอนที่พิพาทให้
แก่จำ� เลย ไม่มขี อ้ ความตอนใดระบุวา่ เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยเลยสัญญาดังกล่าว จึง

ตาม ปพพ. มาตรา 850



เป็นเรือ่ งทีจ่ �ำเลยจะยกทีด่ นิ ให้โจทก์ตามทีน่ าง กี ได้เคยพูดไว้เท่านัน้ ไม่ใช่สญ
ั ญาประนีประนอมยอมความ

ฎ. 2537/2523 โจทก์ขายฝากทีด่ นิ ของโจทก์ไว้กบั จ�ำเลย ครบก�ำหนดเวลาไถ่แล้ว จ�ำเลยท�ำสัญญา


ว่าจะแบ่งทีด่ นิ คืนให้โจทก์บางส่วนเพือ่ มนุษยธรรม ดังนี้ ไม่มขี อ้ พิพาททีจ่ ะระงับและโจทก์ได้ประโยชน์ฝา่ ย
เดียว สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สญ ั ญาประนีประนอมยอมความแต่เป็นสัญญาให้ หรือค�ำมัน่ จะให้ทรัพย์สนิ เมือ่
ไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 526 สัญญานั้นก็ไม่ผูกพันจ�ำเลย โจทก์จะอาศัยสัญญา
ดังกล่าวมาฟ้องบังคับให้จำ� เลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ไม่ได้
สธ
ฎ. 882-884/2530 รายงานประจ�ำวันเกี่ยวกับคดีของพนักงานสอบสวนมีข้อความว่าโจทก์ทั้งสาม
พร้อมด้วยจ�ำเลยไปแจ้งว่า เมือ่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 ส. ได้นำ� เงินจ�ำนวนหนึง่ มาไว้กบั จ�ำเลยเพือ่
ที่ให้มาจ่ายแก่โจทก์ทั้งสาม จ�ำเลยได้เก็บรักษาไว้แล้วและได้พากันมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งความ

10-30 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ไว้เป็นหลักฐานว่าในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2526 จ�ำเลยจะมาจัดการเคลียเงินทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสาม


รายงานดังกล่าวไม่มีข้อความในท�ำนองว่ามีข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วหรือที่จะมีขึ้นภายหลัง
ทั้งไม่ปรากฏมูลหนี้ใดๆ ที่จ�ำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ ข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องจ�ำเลยรับเงิน
ไว้ในฐานะตัวแทนของ ส.เพือ่ น�ำไปช�ำระให้โจทก์ การตกลงช�ำระเงินให้โจทก์ในวันใดก็เป็นการท�ำตามหน้าที่
ของตัวแทนเท่านัน้ จ�ำเลยไม่ตอ้ งรับผิดเป็นส่วนตัว เอกสารดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ


ฎ. 3038/2533 โจทก์และ ม. เอาทีด่ นิ พิพาทไปขายฝากไว้กบั จ�ำเลยแล้วไม่ไถ่คนื ตามก�ำหนดระยะ
เวลาในสัญญาที่ดินพิพาทตกเป็นของจ�ำเลยโดยเด็ดขาดเป็นเรื่องการท�ำนิติกรรมขายฝากที่ดินโดยทั่วไป

มส
มิได้กอ่ ให้เกิดกรณีพพิ าทระหว่างโจทก์ ม. และจ�ำเลย การทีโ่ จทก์ไปร้องทุกข์ตอ่ ส�ำนักนายกรัฐมนตรีขอให้
ทางราชการไกล่เกลี่ยให้จ�ำเลยขายที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ นายอ�ำเภอจึงท�ำการไกล่เกลี่ยตามค�ำร้องทุกข์
ของโจทก์ ก็มใิ ช่กรณีพพิ าทระหว่างโจทก์จำ� เลย เพราะจ�ำเลยไม่มเี รือ่ งอะไรทีจ่ ะพิพาทกับโจทก์แต่เป็นเรือ่ ง
ทีโ่ จทก์ตอ้ งการซือ้ ทีด่ นิ พิพาทจากจ�ำเลยโดยขอให้ทางราชการช่วยไกล่เกลีย่ ให้ ทัง้ ให้บนั ทึกค�ำเปรียบเทียบ
ของนายอ�ำเภอ ก็ไม่มีข้อความระบุว่านายอ�ำเภอไกล่เกลี่ยเนื่องจากมีข้อพิพาทระหว่างโจทก์จ�ำเลย และ
เป็นการไกล่เกลีย่ เพือ่ ระงับข้อพิพาท ตาม ปพพ. มาตรา 850 ดังนีจ้ งึ ไม่ใช่สญ ั ญาประนีประนอมยอมความ
แม้จ�ำเลยจะลงลายมือชื่อในเอกสารก็ไม่มีความผูกพันที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงในเอกสารดังกล่าว เอกสาร
นั้นมีข้อความเพียงว่า จ�ำเลยตกลงขายที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ในราคา 30,000 บาท ไม่มีข้อความตอนใด
ระบุว่าโจทก์จำ� เลยจะช�ำระเงิน และไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเมื่อไร ข้อตกลงของโจทก์จ�ำเลยดังกล่าว

จึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท แต่เป็นสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเสร็จเด็ดขาด เมื่อทรัพย์ที่ซื้อขาย
เป็นทีด่ นิ ซึง่ เป็นอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซือ้ ขายทีด่ นิ พิพาทระหว่าง
มส

โจทก์จ�ำเลย จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 456 วรรคแรก จ�ำเลยจึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องขาย


ที่ดินพิพาทให้โจทก์

3. คู่กรณีต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
ในประนีประนอมยอมความนั้นต้องมีการระงับข้อพิพาทโดยคู่กรณีพิพาทต่างยอมผ่อนผันให้แก่
กัน ซึ่งไม่มีคำ� นิยามไว้โดยเฉพาะ แต่จากแนวค�ำพิพากษาศาลฎีกา สามารถสรุปได้ว่า คู่กรณีพิพาทตกลง

กันสละข้อเรียกร้องของคูก่ รณีพพิ าทผ่ายหนึง่ และให้ประโยชน์แก่คกู่ รณีพพิ าทอีกฝ่ายหนึง่ จึงจะท�ำให้มผี ล
เป็นประนีประนอมยอมความ โดยอาจเป็นการกระท�ำต่างๆ เช่น สละสิทธิเดิมทีพ่ พิ าทกันและตกลงในเรือ่ ง
สิทธิทเี่ คยพิพาทกันใหม่ ไม่ดำ� เนินคดีแพ่งและอาญาทีส่ ามารถยอมความกันได้เนือ่ งจากมีการมอบเงินหรือ
ทรัพย์สินอื่นให้ ถอนฟ้องและไม่เรียกร้องค่าเสียหาย เนื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งยอมช�ำระเงินหรือทรัพย์สินอื่น
ให้ และการผ่อนผันให้แก่กันอาจเกิดจากการที่คู่กรณีพิพาทตกลงผ่อนผันกันเองหรืออาจเกิดจากบุคคล
ภายนอกหรือคนกลางเข้าไปช่วยให้คู่กรณีพิพาทตกลงผ่อนผันให้แก่กันซึ่งเรียกว่าการไกล่เกลี่ยก็ได้
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 530/2496 เจ้าของร่วมตกลงแบ่งแยกโฉนดกัน ตกลงก�ำหนดลงไปว่าใครได้ตรงไหนแน่ เช่นนี้
ย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญา
ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-31

ฎ. 766/2509 เดิมสามีจ�ำเลยท�ำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ยังไม่ทันจดทะเบียนโอนกันสามี
จ�ำเลยก็ตายต่อมาโจทก์จำ� เลยจะพิพาทกันจึงพากันไปอ�ำเภอและท�ำสัญญาต่อกันไว้วา่ จ�ำเลยจะให้เงินโจทก์
4,000 บาท โจทก์จะคืนทีส่ วนแปลงหนึง่ และต่อไปก็จะคืนทีพ่ พิ าทให้บตุ รจ�ำเลยอีกด้วยสัญญานีเ้ ป็นสัญญา
ประนีประนอมยอมความ
ฎ. 876/2509 บันทึกทีม่ ใี จความว่า “1. โจทก์ยนื ยันว่าถ้าจ�ำเลยน�ำหลักฐานการซือ้ ขายมาแสดงได้


ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป 2. จ�ำเลยยืนยันว่าได้ซื้อขายมีหลักฐานเป็นหนังสือท�ำที่บ้านก�ำนัน
กาศ จะน�ำหลักฐานมาแสดง ถ้าไม่สามารถน�ำมาแสดงได้ยอมคืนทีด่ นิ ให้โจทก์โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน

มส
ใดๆ ทั้งสิ้น” เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850
ฎ. 1077-1078/2512 บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จ�ำเลยซึง่ มีขอ้ ความว่า หากพยานคนกลางชีข้ าด
ว่าที่พิพาทเป็นของผู้ใดแล้ว ก็ให้ผู้นั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ดังนี้ จึงเป็นข้อตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาท
ระหว่างโจทก์จำ� เลย เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อพยานคนกลางชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของจ�ำเลย โดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ดังกล่าว ย่อมท�ำให้จำ� เลยได้สทิ ธิเป็นเจ้าของทีพ่ พิ าท โจทก์จงึ จะฟ้องขอให้พพิ ากษาให้ทพี่ พิ าทนัน้ เป็นของ
โจทก์ไม่ได้
ฎ. 3138/2523 โจทก์ที่ 2 กับจ�ำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสส�ำนักสงฆ์วัดราษฎร์
สามัคคีมขี อ้ พิพาทกันเกีย่ วกับเขตทีด่ นิ ของโจทก์ที่ 2 กับทีด่ นิ อันเป็นทีต่ งั้ ของส�ำนักสงฆ์ซงึ่ อยูต่ ดิ ต่อกันว่า

อยู่ตรงที่ใด และที่ดินตรงนั้นจะเป็นของโจทก์ที่ 2 หรือของส�ำนักสงฆ์ โจทก์ที่ 2 จ�ำเลยที่ 1 และจ�ำเลยที่
2 จึงท�ำบันทึกข้อตกลงว่าให้ทดี่ นิ ตรงทีพ่ พิ าทกันนัน้ ตกเป็นของส�ำนักสงฆ์วดั ราษฎร์สามัคคี ส่วนทีด่ นิ ของ
มส

โจทก์ที่ 2 ทีข่ าดไปนัน้ จ�ำเลยที่ 1 ยินยอมให้รงั วัดทีด่ นิ ส่วนของจ�ำเลยที่ 1 ชดใช้โจทก์ที่ 2 จนครบข้อตกลง


ระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจ�ำเลยที่ 1 ดังกล่าวนี้เป็นการผ่อนผันให้กันและกันเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์
ที่ 2 กับจ�ำเลยที่ 2 เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ฎ. 331/2528 จ�ำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบญ ั ชีเงินฝากอยูใ่ นธนาคารโจทก์สาขาคลองตัน
และสาขาสุขุมวิท 57 จ�ำเลยที่ 1 ได้น�ำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียก
เก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คทีจ่ ำ� เลยที่ 1 น�ำมาเข้านัน้ เรียกเก็บเงินไม่ได้ดว้ ยเหตุตา่ งๆ

เมือ่ จ�ำเลยที่ 1 น�ำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าทีส่ าขาทัง้ สองของโจทก์ได้เปลีย่ นค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้า
ในบัญชีกระแสรายวันของจ�ำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จ�ำเลยที่ 1 น�ำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่
เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจ�ำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าทีข่ องโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จงึ ร้องทุกข์
ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ด�ำเนินคดีแก่จ�ำเลยที่ 1 และจ�ำเลยที่ 1 ได้ท�ำบันทึกข้อตกลงยอม
ชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำ� เลยที่ 2 เป็นผูค้ าํ้ ประกันและสัญญาว่าจะจ�ำนองทีด่ นิ ของจ�ำเลยที่ 2 เป็นประกัน
หนี้สินและความรับผิดของจ�ำเลยทั้งสองด้วย โดยในข้อ 1 ระบุว่าจ�ำเลยที่ 1 ได้น�ำเช็คต่างๆ มาให้โจทก์
สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้งสองได้นำ� เข้าบัญชี
สธ
กระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะท�ำบันทึกมีจ�ำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จ�ำเลยที่ 1 ยอม
ชดใช้เงินจ�ำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวดๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกัน
จ�ำเลยที่ 1 จะจัดให้จ�ำเลยที่ 2 น�ำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจ�ำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน

10-32 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

3,000,000 บาท และทัง้ สองฝ่ายไม่ตดิ ใจทีจ่ ะด�ำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึก


ลงชื่อของจ�ำเลยที่ 1 กับพวก และนายส�ำราญผู้รับมอบอ�ำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะ
เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ฎ. 3045/2530 โจทก์กบั จ�ำเลยทัง้ สามได้ทำ� บันทึกข้อตกลงแบ่งส่วนทีด่ นิ ของตนทีม่ อี ยูใ่ นทีด่ นิ ออก
จากกัน จ�ำนวน 3 แปลง แบ่งที่ดินทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก แปลงที่ 1 เป็นของจ�ำเลยที่ 2


แปลงที่ 2 ถัดจากแปลงที่ 1 มาทางทิศใต้ เป็นของโจทก์ แปลงที่ 3 เป็นของจ�ำเลยที่ 1 แปลงคงเหลือเป็น
ของจ�ำเลยที่ 3 ส่วนเนื้อที่จะแจ้งในวันไปรังวัดและยังมีเอกสารซึ่งเป็นรูปจ�ำลองแผนที่ มีรอยขีดเส้นแบ่ง

มส
ที่ดินออกเป็น 4 ส่วน เขียนชื่อโจทก์ในบริเวณที่ดินด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชื่อจ�ำเลยที่ 3 ในบริเวณที่ดิน
ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งโจทก์และจ�ำเลยทั้งสามลงชื่อรับรองเอกสารและรูปแผนที่ดังกล่าวไว้ด้วยเมื่อ
โจทก์กบั จ�ำเลยทัง้ สามมีกรรมสิทธิร์ วมกันในทีด่ นิ พิพาทการก�ำหนดลงไปในเอกสารทัง้ สองฉบับว่า ผูใ้ ดได้ที่
ดินส่วนใดย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไปเพราะเป็นการตกลงเพื่อให้เป็นที่แน่นอนไม่
โต้เถียงแย่งกันเอาทีด่ นิ ส่วนนัน้ ส่วนนี้ ทัง้ ตามข้อตกลงก็ระบุวา่ จะน�ำช่างรังวัดท�ำการปักหลักเขตแสดงว่ามี
การตกลงกันแน่นอนแล้วมิฉะนั้นก็ย่อมจะน�ำช่างรังวัดที่ดินเพื่อแบ่งแยกมิได้และหลังจากรังวัดแล้วจึงจะรู้
เนือ้ ทีข่ องแต่ละคนเป็นทีแ่ น่นอนเอกสารดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา
850
ฎ. 2245/2544 บันทึกข้อตกลงในช่องข้อตกลงของคูก่ รณีระบุให้ ส. (บุตรโจทก์) ขนย้ายครอบครัว

ออกจากบ้านเช่าภายใน 60 วัน ส่วนจ�ำเลยยินยอมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 8021 เนื้อที่ 35 ตารางวา ให้แก่
โจทก์ ดังนี้ จะเห็นว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยดังกล่าวก�ำหนดให้คกู่ รณีทงั้ สองฝ่ายต่างมีภาระหน้าที่
มส

ต่อกันและเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
อย่างไรก็ตามการยอมผ่อนผันให้แก่กนั นัน้ ไม่จำ� เป็นทีค่ กู่ รณีพพิ าทจะให้ประโยชน์แก่คกู่ รณีพพิ าท
อีกฝ่ายหนึง่ แต่อาจตกลงสละข้อเรียกร้องทีพ่ พิ าทและให้ประโยชน์แก่บคุ คลภายนอกก็ได้หรือระบุให้บคุ คล
ภายนอกที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่และให้คู่กรณีได้รับประโยชน์ก็ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 1254/2493 สามีภริยาท�ำหนังสือขึ้นฉบับหนึ่งระบุไว้ว่า เป็นสัญญาประนีประนอมเพื่อระงับ

ข้อพิพาทเรื่องเรือนและสวนยางไม่ให้ต้องเป็นความกันในโรงศาลโดยตกลงโอนกรรมสิทธิ์สวนแปลงนั้นให้
บุตร 2 คนๆ ละส่วนนับแต่วันท�ำสัญญา แม้จะมีข้อความว่าให้บุตรทั้งสองเข้าถือสิทธิครอบครองได้ต่อเมื่อ
สามีภริยาตายแล้วทั้งสองคน ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 และ
เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาตกลงจะช�ำระหนี้แก่บุตรซึ่งเป็นบุคคลภายนอก บุตรจึงมีสิทธิจะเรียกช�ำระหนี้จาก
คูส่ ญ
ั ญาได้ ตาม ปพพ. มาตรา 374 วรรคต้นและเมือ่ บุตรได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญานีแ้ ล้ว
สิทธิของบุตรก็เกิดขึ้นแล้วตามวรรคสอง บุตรย่อมฟ้องขอให้ปฏิบัติตามสัญญานั้นได้
ฎ. 766/2509 เดิมสามีจ�ำเลยท�ำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ยังไม่ทันจดทะเบียนโอนกันสามี
สธ
จ�ำเลยก็ตาย ต่อมาโจทก์จำ� เลยจะพิพาทกันจึงพากันไปอ�ำเภอและท�ำสัญญาต่อกันไว้วา่ จ�ำเลยจะให้เงินโจทก์
4,000 บาท โจทก์จะคืนทีส่ วนแปลงหนึง่ และต่อไปก็จะคืนทีพ่ พิ าทให้บตุ รจ�ำเลยอีกด้วยสัญญานีเ้ ป็นสัญญา
ประนีประนอมยอมความ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-33

ฎ. 7355/2553 โจทก์ (จ�ำเลยในคดีน)ี้ ตกลงท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ บ. ซึง่ เป็นบุตร


น. เพือ่ ยุตขิ อ้ พิพาทเกีย่ วกับมรดกของ น. โดยตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีการตกลงแบ่งทรัพย์สนิ
กันหลายรายการ และมีข้อตกลงให้โจทก์ (จ�ำเลยในคดีนี้) รับผิดชอบช�ำระหนี้สินที่มีต่อธนาคาร และหนี้
สินการค้าผลไม้ซงึ่ หลักฐานบ่งชีช้ ดั เจนว่ารวมหนีท้ มี่ ตี อ่ โจทก์ดว้ ย อันเป็นเงือ่ นไขส�ำคัญประการหนึง่ ในการ
ยุติข้อพิพาท และ บ. ตกลงยอมรับและยุติข้อพิพาทด้วย ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ


ระหว่างโจทก์ (จ�ำเลยในคดีน)ี้ กับ บ. ดังกล่าว จึงมีสว่ นหนึง่ ทีม่ ลี กั ษณะเป็นสัญญาเพือ่ ประโยชน์แก่บคุ คล
ภายนอก ตาม ปพพ. มาตรา 374 รวมอยู่ด้วย เมื่อจ�ำเลยตกลงยอมรับผิดชอบช�ำระหนี้การค้าผลไม้ซึ่ง

มส
รวมหนี้ที่มีต่อโจทก์ด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้จ�ำเลยช�ำระหนี้ได้และการที่โจทก์ทวงถามให้จ�ำเลย
ช�ำระหนี้เท่ากับเป็นการแสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว
อนึ่ง สัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้ประโยชน์แก่บุคคลภายนอกนั้นย่อมเกิดผลเมื่อบุคคล
ภายนอกแสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์แห่งสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาเพือ่ ประโยชน์ของบุคคลภายนอกทัว่ ไป
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ต้องด�ำเนินการบางอย่างก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายในเรื่องเหล่านั้นว่าบุคคลภายนอกจะ
เข้าด�ำเนินการได้หรือไม่ เช่น ในเรือ่ งการบังคับคดีบคุ คลภายนอกผูไ้ ด้รบั ประโยชน์จากประนีประนอมยอม
ความไม่มีสิทธิบังคับคดีเพราะไม่ใช่คู่ความในคดี ต้องให้คู่ความด�ำเนินการ
อุทาหรณ์
ฎ. 269/2508 เจ้าหนี้ตามค�ำพิพากษาอาจเป็นโจทก์หรือจ�ำเลยหรืออาจเป็นบุคคลภายนอกซึ่งร้อง

สอดเข้ามาในคดีก็ได้ ฉะนั้น ผู้ที่เป็นแต่เพียงผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้นจึง
หาใช่เจ้าหนี้ตามค�ำพิพากษาที่จะมีสิทธิบังคับคดีไม่
มส

ฎ. 3053/2527 โจทก์จ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่
สุดแล้ว เมือ่ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏข้อความชัดว่า จ�ำเลยยอมแบ่งทีด่ นิ ตามโฉนดทีด่ นิ
เลขที่ 40888 ให้กับ ส.ธ.พ. และโจทก์โดยระบุเนื้อที่ดินที่จะแบ่งให้แต่ละคนไว้ ส่วนที่เหลือเป็นของจ�ำเลย
และจ�ำเลยยอมโอนกรรมสิทธิใ์ นทีด่ นิ ตามโฉนดทีด่ นิ เลขที่ 42487 ให้กบั ส. ซึง่ เป็นบุคคลภายนอกทัง้ หมด
หากจ�ำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ให้บังคับคดีได้ทันที จ�ำเลยยินยอมจะยื่นค�ำร้องต่อ
เจ้าพนักงานที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะแบ่งให้กับโจทก์และบุคคลดังกล่าว เมื่อได้รับหนังสือบอก

กล่าวจากทนายความโจทก์เท่านั้น คดีได้ความว่า ส.ธ. และ พ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาถือ
เอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ แล้ว สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขนึ้ โจทก์จำ� เลย
ซึ่งเป็นคู่สัญญาประนีประนอมยอมความหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ดังนี้
โจทก์มสี ว่ นได้เสียตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตรงได้ขอให้บงั คับจ�ำเลยปฏิบตั ติ ามค�ำพิพากษา
ของศาล ซึง่ ได้พพิ ากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว หาได้บงั คับเอาแก่บคุ คลภายนอก
แต่อย่างใดไม่ การบังคับให้จ�ำเลยปฏิบัติตามค�ำพิพากษาของศาลอยู่ในวิสัยที่จ�ำเลยปฏิบัติได้ จ�ำเลยจึง
มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
สธ
ฎ. 7355/2553 จ�ำเลยเคยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ บ. บุตรของ น. ในคดีที่พิพาท
กันเรื่องมรดกของ น. โดยตกลงแบ่งทรัพย์มรดกกันหลายรายการและมีข้อตกลงให้จำ� เลยรับช�ำระหนี้ของ
บ. ที่มีต่อธนาคารและหนี้สินในการค้าผลไม้ซึ่งมีหนี้ที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้รวมอยู่ด้วย ข้อตกลงตามสัญญา

10-34 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ประนีประนอมดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อ
ประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ปพพ. มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จ�ำเลยช�ำระหนี้ดังกล่าวแก่
โจทก์ได้โดยตรงตามบทบัญญัติดังกล่าว
ด้วยเหตุทใี่ นสัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีการทีค่ กู่ รณีพพิ าทตกลงกันระงับข้อพิพาทโดย
ต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ดังนั้น ถ้าไม่มีการผ่อนผันให้แก่กันระหว่างคู่กรณีพิพาท เช่น คู่กรณีพิพาทฝ่าย


หนึง่ ยอมปฏิบตั ติ ามข้อเรียกร้องของคูก่ รณีพพิ าทอีกฝ่ายหนึง่ ทุกประการ ย่อมไม่ใช่ประนีประนอมยอมความ
แต่อาจเป็นเรือ่ งอืน่ ๆ เช่น การรับสภาพหนีห้ ากมีการระบุในข้อตกลงยอมรับว่าเป็นหนีต้ อ่ กันและจะใช้หนีใ้ ห้

มส
อุทาหรณ์
ฎ. 2537/2523 โจทก์ขายฝากทีด่ นิ ของโจทก์ไว้กบั จ�ำเลย ครบก�ำหนดเวลาไถ่แล้ว จ�ำเลยท�ำสัญญา
ว่าจะแบ่งทีด่ นิ คืนให้โจทก์บางส่วนเพือ่ มนุษยธรรม สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สญ ั ญาประนีประนอมยอมความแต่
เป็นสัญญาให้ หรือค�ำมั่นจะให้ทรัพย์สิน เมื่อไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 526 สัญญา
นั้นก็ไม่ผูกพันจ�ำเลย โจทก์จะอาศัยสัญญาดังกล่าวมาฟ้องบังคับให้จำ� เลยแบ่งที่พิพาทให้โจทก์ไม่ได้
ฎ. 2968/2530 หนังสือที่แสดงหลักฐานแห่งการสงวนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ในมูลหนี้เดิม และมีข้อ
ตกลงในการช�ำระหนีท้ งั้ หมดว่าจะช�ำระเมือ่ ใด หากผิดนัดจะคิดดอกเบีย้ ในอัตราเท่าใด โดยไม่มกี ารทีจ่ ำ� เลย
ยอมผ่อนผันประการใดให้โจทก์ ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
ฎ. 1001/2531 เมือ่ หนีท้ โี่ จทก์เรียกร้องมีมลู มาจากการท�ำละเมิด โจทก์ผเู้ ป็นเจ้าหนีย้ อ่ มมีสทิ ธิเรียกร้อง

ให้คืนทรัพย์สินอันต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือให้ใช้ราคาทรัพย์นั้น การที่จ�ำเลยได้ทำ� หนังสือไว้ต่อโจทก์มี
ใจความว่ายอมจะใช้ราคาทรัพย์สนิ ทีเ่ สียหาย ดังนี้ ถือได้วา่ หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือทีจ่ ำ� เลยผูเ้ ป็น
มส

ลูกหนีย้ อมรับสภาพต่อโจทก์ผเู้ ป็นเจ้าหนีต้ ามสิทธิเรียกร้อง ไม่เป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ


เพราะไม่มีข้อความที่แสดงว่าผู้ท�ำหนังสือดังกล่าวระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จ
ไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
ฎ. 3050/2533 ข้อความที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จ�ำเลยทั้งสองจะน�ำ
เงินมาช�ำระให้โจทก์ 30,000 บาท ในวันที่ 15 เดือนหน้าซึ่งโจทก์ยอมตามนี้ เป็นเพียงความตกลงในการ
ทีจ่ ำ� เลยทัง้ สองจะน�ำเงินตามเช็คมาช�ำระให้โจทก์ในภายหลัง มิได้มขี อ้ ตกลงทีโ่ จทก์ยอมผ่อนผันให้แก่จำ� เลย
ทั้งสองเพื่อระงับข้อพิพาท จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ม
ฎ. 430/2542 บันทึกข้อตกลงซึ่งมีข้อความว่า ผู้เสียหายได้ตกลงประนอมหนี้กับจ�ำเลย ซึ่งมียอด
หนี้ค้างช�ำระอยู่ 212,000 บาท วันนี้จ�ำเลยช�ำระหนี้ให้ผู้เสียหาย 12,000 บาท ส่วนที่เหลือจะผ่อนช�ำระเป็น
รายเดือน เดือนละ 10,000 บาท ทุกสิน้ เดือน นับแต่วนั ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป หากผิดนัดใด
นัดหนึง่ ยอมให้ฟอ้ งบังคับคดีตอ่ ศาล ทัง้ สองฝ่ายได้อา่ นข้อความแล้วเป็นไปตามวัตถุประสงค์จงึ ลงลายมือชือ่
ไว้เป็นหลักฐาน บันทึกข้อตกลงดังกล่าว ไม่มีข้อความตอนใด ที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงสละสิทธิในการ
ด�ำเนินคดีอาญาแก่จำ� เลยในทันทีหรือตกลงระงับข้อพิพาทตามสัญญา คํา้ ประกันและกูเ้ งินทีจ่ ำ� เลยออกเช็ค
สธ
พิพาทช�ำระหนี้ข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นแต่เพียงข้อตกลงในการผ่อนช�ำระหนี้ตามเช็คพิพาทเท่านั้น ยังไม่
อาจถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและมิใช่เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระส�ำคัญแห่งหนี้ อัน

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-35

จะถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทยังมีอยู่มิได้สิ้นผลผูกพัน คดีอาญายังมิได้เลิกกัน


ตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
ฎ. 298/2551 บันทึกข้อตกลงทีจ่ ำ� เลยที่ 1 ผูก้ ระท�ำละเมิดยอมรับผิดต่อ น. ซึง่ เป็นผูข้ บั รถยนต์คนั ที่
โจทก์รบั ประกันภัยไว้วา่ จะน�ำรถยนต์ทไี่ ด้รบั ความเสียหายไปซ่อมแซมให้อยูใ่ นสภาพดีดงั เดิม แม้วา่ จ�ำเลย
ที่ 1 จะยอมรับผิดชอบในค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บด้วย แต่ก็ไม่มีข้อตกลงที่เป็นการสละสิทธิเรียกร้องใน


ค่าเสียหายส่วนอื่นที่เจ้าของรถยนต์มีสิทธิเรียกร้องจากจ�ำเลยที่ 1 ได้อีก ข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะ
เป็นการระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่

มส
เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850
ฎ. 3630/2552 ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจ�ำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาเป็นข้อตกลงใน
ศาลชัน้ บังคับคดีหลังจากทีศ่ าลแรงงานกลางมีคำ� พิพากษาให้จำ� เลยช�ำระหนีแ้ ก่โจทก์แล้ว โจทก์จงึ เป็นเจ้าหนี้
ตามค� ำ พิ พ ากษาและได้ ข อให้ ศ าลตั้ ง เจ้ า พนั ก งานบั ง คั บ คดี ยึ ด ทรั พ ย์ จ� ำเลยเพื่ อ บั ง คั บ ช� ำ ระหนี้ ต าม
ค�ำพิพากษาแล้ว ฉะนัน้ การทีโ่ จทก์ยอมตกลงกับจ�ำเลยในชัน้ ไต่สวนค�ำร้องขอพิพากษาคดีใหม่ โดยยอมรับ
ตามที่จ�ำเลยขอผ่อนช�ำระหนี้ในยอดเงิน 41,000 บาท โดยแบ่งช�ำระเป็น 2 งวด เป็นเพียงโจทก์ยอมสละ
สิทธิในหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่จ�ำเลย หากจ�ำเลยปฏิบัติการช�ำระหนี้ให้ครบถ้วนตามก�ำหนดในข้อตกลง
ดังกล่าว ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ได้มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าโจทก์ยอมยกเลิกหรือไม่ติดใจบังคับคดีตาม
ค�ำพิพากษาเดิมจากจ�ำเลยทันที แต่ระบุวา่ หากจ�ำเลยน�ำเงินมาช�ำระครบถ้วนแล้ว โจทก์กไ็ ม่ตดิ ใจจะบังคับ

คดีกบั จ�ำเลยในคดีนอี้ กี เท่านัน้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่สญ ั ญาประนีประนอมยอมความทีท่ ำ� ให้หนีเ้ ดิมตาม
ค�ำพิพากษาสิ้นผลบังคับไป
มส

ฎ. 9106/2552 ข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาทีโ่ จทก์และจ�ำเลยทัง้ ห้าเคยตกลงกันว่าโจทก์


ตกลงลดหย่อนต้นเงินและลดต้นเงินเหลือ 10,000,000 บาท หากจ�ำเลยทั้งห้าช�ำระครบถ้วน โจทก์จะถอน
ฟ้องให้ เป็นเพียงข้อตกลงที่โจทก์ยอมลดยอดหนี้และยอมให้จ�ำเลยทั้งห้าผ่อนช�ำระหนี้เท่านั้น โดยจ�ำเลย
ทัง้ ห้าจะต้องช�ำระหนีใ้ ห้แก่โจทก์อนั เป็นเงือ่ นไขทีจ่ ำ� เลยทัง้ ห้าต้องปฏิบตั ใิ ห้ครบถ้วนเสียก่อน โจทก์จงึ ถอน
ฟ้องให้หากจ�ำเลยทัง้ ห้าไม่ชำ� ระหนีต้ ามข้อตกลง โจทก์ไม่มคี วามผูกพันทีจ่ ะต้องถอนฟ้องกรณีจงึ ไม่ใช่เรือ่ ง
ที่โจทก์และจ�ำเลยทั้งห้าตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปในทันทีด้วยต่างผ่อนผันให้
แก่กัน อันจะถือเป็นประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 ม
ฎ. 2236/2553 ตามรายการประจ�ำวันเกี่ยวกับคดีระบุข้อความว่า จ�ำเลยที่ 1 ยอมรับว่าได้กู้เงิน
โจทก์เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2545 จ�ำนวน 260,000 บาท จ�ำเลยที่ 1 ช�ำระให้โจทก์แล้ว 50,000 บาท
เป็นต้นเงิน 40,000 บาท ดอกเบี้ย 10,000 บาท ส่วนเงินที่ค้างช�ำระ 225,000 บาท จ�ำเลยที่ 1 จะช�ำระให้
โจทก์หลังจากน�ำที่ดินไปจ�ำนองกับธนาคารแล้ว ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ มิใช่
เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยที่ 1 ทีจ่ ะระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึง่ ซึง่ มีอยูห่ รือจะมีขนึ้ นัน้ ให้เสร็จไป
ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่เป็นประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850
สธ
ฎ. 2389/2553 สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีสาระส�ำคัญเพียงว่า จ�ำเลยที่ 1 มีภาระหนี้สินกับ
โจทก์ตามสัญญากูแ้ ละตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนีโ้ ดยการเปลีย่ นแปลงการช�ำระหนีเ้ ท่านัน้ ไม่มกี ารตกลง
เปลีย่ นแปลงในลักษณะทีต่ อ้ งการระงับข้อพิพาทเดิมโดยต่างยอมผ่อนผันแก่กนั และก�ำหนดหนีข้ นึ้ ใหม่ ตาม

10-36 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ความหมายของค�ำว่าประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 จึงไม่ทำ� ให้หนี้เงินกู้ของจ�ำเลยที่


1 ระงับไป ดังนั้นสัญญาจ�ำนองที่ ว. ท�ำไว้กับโจทก์เป็นประกันการช�ำระเงินตามสัญญากู้เงินของจ�ำเลยที่ 1
จึงมีผลผูกพันอยู่ จ�ำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์
ฎ. 3779/2553 แม้จะมีข้อความในรายงานประจ�ำวันเกี่ยวกับคดีที่ร้อยต�ำรวจโท ม. บันทึกไว้ตอน
หนึ่งว่า จ�ำเลยที่ 1 ยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับรถของ น. รถของ ค. และรถของ ส. ทุก


ประการ ในส่วนของความเสียหายจะไปตรวจสอบอีกครั้งและคู่กรณีแจ้งว่าจะไปตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
กันเอง แต่ข้อความดังกล่าวก็ได้ความเพียงว่าจ�ำเลยที่ 1 ยอมรับผิดว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายและ

มส
ตกลงชดใช้คา่ เสียหายให้แก่คกู่ รณีอกี ฝ่ายหนึง่ เท่านัน้ โดยไม่มรี ายละเอียดหรือข้อตกลงทีแ่ น่นอนเกีย่ วกับ
จ�ำนวนเงินที่ต้องช�ำระ วิธีการช�ำระ ตลอดจนก�ำหนดเวลาช�ำระที่แน่นอนอันจะท�ำให้ปราศจากการโต้แย้ง
กันอีก นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อ
พิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญา
ประนีประนอมยอมความอันจะท�ำให้หนี้ในมูลละเมิดระงับสิ้นไป ตาม ปพพ. มาตรา 850 ถึง 852
ฎ. 5240/2553 ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจ�ำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มี
ข้อความว่า จ�ำเลยจะช�ำระเงินให้แก่โจทก์จ�ำนวนเต็มตามฟ้องโดยผ่อนช�ำระเป็นรายเดือนจนกว่าจะ
ครบถ้วนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี หากโจทก์ได้รับช�ำระครบถ้วนแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องคดีนั้น เป็นข้อตกลง
ในการผ่อนช�ำระหนีต้ ามเช็คเท่านัน้ และตามข้อตกลงดังกล่าวไม่มขี อ้ ความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละ

สิทธิในการด�ำเนินคดีอาญาแก่จำ� เลยในทันที จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำ� ให้มลู หนีเ้ ดิม
ตามเช็คระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็น
มส

สาระส�ำคัญแห่งหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะท�ำให้หนี้เดิมระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจ�ำเลยมิได้ใช้


เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความ
ผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการน�ำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับ
ไป ตาม ปวอ. มาตรา 39 (2)
ฎ. 14381/2553 บันทึกการเจรจาตกลงชดใช้ช�ำระหนี้ค่าปรับที่นามีความว่า เมื่อเดือนมกราคม
2541 โจทก์ได้รับจ้างใช้รถแทรกเตอร์ปรับที่นาให้จ�ำเลยในราคา 20,000 บาท จ�ำเลยช�ำระเงินให้โจทก์

บางส่วนแล้ว ในวันท�ำบันทึกจ�ำเลยช�ำระเงินให้โจทก์อีก 2,000 บาท ส่วนที่ค้างช�ำระ 12,000 บาท จ�ำเลย
ขอผ่อนช�ำระเป็น 2 งวด งวดที่ 1 ในวันที่ 30 เมษายน 2542 เป็นเงิน 6,000 บาท และงวดที่ 2 ในวันที่
31 กรกฎาคม 2542 เป็นเงิน 6,000 บาท ดังนี้จะเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์เพียงฝ่ายเดียวยอมผ่อนผันให้
จ�ำเลยผ่อนช�ำระหนีซ้ งึ่ ถึงก�ำหนดช�ำระแล้วได้ อันเป็นการทีโ่ จทก์สละประโยชน์แห่งเงือ่ นเวลาของโจทก์เอง
ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 192 วรรคสอง บันทึกดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ หากแต่
เป็นเพียงกรณีที่จ�ำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจ้างท�ำของตามมาตรา
193/14 (1)
สธ
อนึง่ มีขอ้ สังเกตว่า เนือ่ งจากการทีค่ กู่ รณีตกลงกันระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กนั ใน
บางกรณีอาจท�ำให้คู่กรณีแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันและต่างตอบแทนกัน และท�ำให้ต้องน�ำ
บทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องสัญญาต่างตอบแทน คือ ปพพ. มาตรา 369 มาใช้บังคับด้วย กล่าวคือ ใน

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-37

สัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมช�ำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะช�ำระหนี้หรือขอปฏิบัติ
การช�ำระหนี้ก็ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 825/2514 โจทก์จ�ำเลยท�ำสัญญาแบ่งที่ดินมรดกโดยจ�ำเลยยอมแบ่งให้โจทก์เพื่อไม่ต้องเป็น
ความกัน ดังนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่สัญญายกให้โดยเสน่หา


ข้อความในสัญญามีวา่ โจทก์จะต้องแบ่งครึง่ หนึง่ ของทีด่ นิ ทีไ่ ด้รบั ให้แก่บตุ รโจทก์ดว้ ยแล้วลงลายมือ
ชื่อโจทก์ จ�ำเลย พยาน และผู้เขียน แต่โจทก์จ�ำเลยยังตกลงกันอีกด้วยว่า บุตรของโจทก์จะต้องเสียเงิน

มส
2,000 บาทให้แก่จ�ำเลย จ�ำเลยจึงจะโอนที่ดินให้และบอกให้ผู้เขียนสัญญาเขียนข้อตกลงนี้ลงในสัญญาใน
ขณะนัน้ เองผูเ้ ขียนจึงเขียนข้อตกลงนีไ้ ว้ใต้ลายมือชือ่ ทีไ่ ด้ลงกันไว้นนั้ แล้วผูเ้ ขียนลงลายมือชือ่ ก�ำกับข้อความ
ตอนท้ายนีไ้ ว้คนเดียว ดังนี้ ก็ตอ้ งถือว่าข้อความตอนท้ายนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของสัญญาประนีประนอมยอมความ
และสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนด้วย ตราบใดที่ฝ่ายโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติการช�ำระหนี้ โดย
ให้เงินแก่จ�ำเลย 2,000 บาทโจทก์ก็จะฟ้องบังคับให้จำ� เลยโอนที่ดินให้โจทก์ยังไม่ได้
ฎ. 2198/2514 (ประชุมใหญ่) โจทก์จำ� เลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาลว่า จ�ำเลย
ยอมออกจากบ้านพิพาทภายในก�ำหนด 3 เดือนนับแต่วันท�ำสัญญาและในวันที่จ�ำเลยขนย้ายออกจากบ้าน
โจทก์ โจทก์ยอมจ่ายเงินให้จ�ำเลยหนึง่ หมืน่ บาททันที พ้นก�ำหนดแล้วจ�ำเลยไม่ยอมออกไปตามสัญญายอม
จนโจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จับจ�ำเลยมาขังไว้จนกว่าจ�ำเลยจะออกไปดังนี้ สัญญายอมดังกล่าวเป็นสัญญา

ต่างตอบแทน เมื่อจ�ำเลยมิได้ปฏิบัติตามสัญญา และการที่จ�ำเลยออกจากบ้านพิพาทเพราะการบังคับคดี
ของศาล โจทก์จึงมิต้องจ่ายเงินหนึ่งหมื่นบาทให้จำ� เลย
มส

ฎ. 795/2516 บ.โจทก์ในคดีหนึ่งน�ำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จ�ำเลยโจทก์ร้องขัดทรัพย์แล้ว
ได้มปี ระนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมให้เงิน บ. 5,000 บาท บ. ยอมถอนการยึดทรัพย์และจ�ำเลย
ยอมยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ สัญญาที่จ�ำเลยยกที่ดินพิพาทให้โจทก์จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เพื่อระงับ
ข้อพิพาทระหว่างบุคคลสามฝ่าย มิใช่สญ ั ญาทีจ่ ำ� เลยยกทีด่ นิ พิพาทให้โจทก์โดยเสน่หา แม้มไิ ด้จดทะเบียน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้
ฎ. 3910/2525 สัญญาประนีประนอมยอมความซึง่ คูส่ ญ ั ญาจ�ำต้องปฏิบตั ติ อ่ กันตามสัญญาทีร่ ะบุไว้

เดียวหาได้ไม่

ทุกข้อ อันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้น เมื่อฝ่ายหนึ่งยังมิได้ปฏิบัติการช�ำระหนี้ให้ครบถ้วนตาม
สัญญา ก็จะหยิบยกข้อตกลงเฉพาะข้อหนึง่ ข้อใดมาบังคับเอากับอีกฝ่ายหนึง่ เพือ่ เป็นประโยชน์ของตนฝ่าย

ฎ. 95/2533 เหตุขัดข้องที่ท�ำให้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์กันได้ตามสัญญา
ประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยทั้งสองเนื่องมาจากการค้างช�ำระค่าภาษีรถยนต์ประจ�ำปี
เมื่อตามสัญญาประนีประนอมยอมความก�ำหนดให้จ�ำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมค่าอากร
แสตมป์และค่าใช้จ่ายต่างๆ อันเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ทั้งหมด ค่าภาษีรถยนต์ประจ�ำปีที่ค้าง
สธ
ช�ำระดังกล่าวจึงเป็นค่าใช้จา่ ยอันเกีย่ วกับการโอนกรรมสิทธิร์ ถยนต์ตามทีร่ ะบุในสัญญาประนีประนอมยอม
ความ จ�ำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบจ�ำเลยทั้งสองจะถือเป็นเหตุไม่ช�ำระหนี้แก่โจทก์และขอให้เพิกถอน
หมายบังคับคดีหาได้ไม่

10-38 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 2017/2533 โจทก์ จ�ำเลย และ ช. ได้ แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เป็นส่วนสัดของแต่ ละคน


และได้ ท�ำบันทึกตกลง กันต่อ เจ้าพนักงานทีด่ นิ ว่าไปจดทะเบียนทางภารจ�ำยอมหลังจากได้ รับโฉนด ทีด่ นิ
แล้ว บันทึกข้อตกลงดังกล่าวใช้ บังคับได้ แม้ตอ่ มาภายหลังจ�ำเลยได้ถอน ข้อตกลงนัน้ แต่โจทก์ไม่ได้ถอนด้วย
ดังนี้ โจทก์ จ�ำเลยต้องผูกพันตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
ฎ. 6929/2542 สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจ�ำเลยมีข้อความว่าโจทก์ยอม


ช�ำระเงินให้แก่จำ� เลยและจ�ำเลยยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิท์ ดี่ นิ พิพาทให้แก่โจทก์ หากจ�ำเลยไม่ปฏิบตั ิ
ตามให้ถอื เอาค�ำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจ�ำเลยสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และ

มส
จ�ำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาต่างก็มีหน้าที่จะต้องช�ำระหนี้ต่อกัน ดังนั้น การที่โจทก์จะ
ด�ำเนินการให้มกี ารจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิท์ ดี่ นิ พิพาทให้เป็นของโจทก์นนั้ โจทก์กต็ อ้ งขอปฏิบตั กิ ารช�ำระ
หนี้ให้แก่จ�ำเลยด้วย เมื่อโจทก์ไม่ด�ำเนินการดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นค�ำร้องเพื่อขอให้บังคับจ�ำเลย
ปฏิบัติตามค�ำพิพากษาได้
อย่างไรก็ตาม ในกรณีทใี่ นการผ่อนผันให้แก่กนั นัน้ ไม่มกี ารต้องกระท�ำการทีต่ า่ งตอบแทนกันก็ไม่
เป็นสัญญาต่างตอบแทน เช่น การทีส่ ามีภริยาหย่ากันและตกลงกันมอบทรัพย์สนิ ทีท่ งั้ สองมีรว่ มกันให้บตุ ร
ของทั้งสองฝ่าย ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน

กิจกรรม 10.1.1
1. จงบอกความหมายของประนีประนอมยอมความ
มส

2. นายเอ และนางสาวแอน พิพาทกันเรื่องทรัพย์มรดกเรื่องที่ดิน 2 แปลงของบิดา จึงตกลงกัน


ว่า นาย เอ มีสิทธิได้รับที่ดินที่อยู่ใน เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร และนางสาวแอน มีสิทธิ
ได้รับที่ดินที่อยู่ในอ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบกิจกรรม 10.1.1

1. ประนีประนอมยอมความ เป็นสัญญาที่คู่กรณีพิพาทตกลงกันระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือที่จะมี
ขึ้นในอนาคตให้เสร็จสิ้นไปโดยคู่กรณีพิพาทต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ตาม ปพพ. มาตรา 850
2. ข้อตกลงของ นายเอ และนางสาวแอน เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะนายเอ และ
นางสาวแอน มีปญ ั หาพิพาทกันเรือ่ งกรรมสิทธิใ์ นทีด่ นิ มรดกของบิดา และได้มกี ารตกลงกันระงับข้อพิพาท
ในเรื่องที่ดินนั้นโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือ แต่ละฝ่ายให้ประโยชน์แก่อีกฝ่ายหนึ่ง โดยตกลงกันว่า
นาย เอ มีสทิ ธิได้รบั ทีด่ นิ ทีอ่ ยูใ่ น เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร และนางสาวแอน มีสทิ ธิได้รบั
ที่ดินที่อยู่ในอ�ำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ตาม ปพพ. มาตรา 850
สธ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-39

เรื่องที่ 10.1.2
ประเภทของประนีประนอมยอมความ


การตกลงประนีประนอมยอมความกันอาจจะท�ำได้ทั้งในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้วหรือก่อน
ข้อพิพาทเกิด และเมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นแล้ว คู่กรณีพิพาทสามารถประนีประนอมยอมความกันได้ในทุก

มส
ขั้นตอน กล่าวคือ ในขณะที่ยังมิได้น�ำข้อพิพาทไปฟ้องเป็นคดีต่อศาล ในขณะที่มีการฟ้องคดีต่อศาล และ
คดีอยู่ในระหว่างการพิจาณาของศาลชั้นต้น หรือศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วแต่อยู่ในระหว่างการอุทธรณ์
ค�ำพิพากษาของศาลชัน้ ต้น หรือคดีอยูใ่ นระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์พพิ ากษาคดี
แล้วแต่อยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ค�ำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ หรือคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ
ศาลฎีกา หรือแม้แต่คดีถงึ ทีส่ ดุ แล้วก็ตาม เช่น ศาลฎีกามีคำ� พิพากษาแล้ว ก็อาจตกลงประนีประนอมยอมความ
โดยมิให้มีการบังคับคดีตามค�ำพิพากษาที่ถึงที่สุดนั้นก็ได้
ด้วยเหตุดงั กล่าว ประนีประนอมยอมความจึงอาจแบ่งประเภทได้ตามสภาพของข้อพิพาทว่าอยูใ่ น
ขั้นตอนใดและเกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีในศาลหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
ประนีประนอมยอมความนอกศาล และประนีประนอมยอมความในศาล

1. ประนีประนอมยอมความนอกศาล
ประนีประนอมยอมความนอกศาลเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วหรือจะมีขึ้นใน
มส

อนาคตโดยท�ำการผ่อนฝันให้แก่กนั ในระหว่างทีข่ อ้ พิพาทนัน้ ยังมิได้นำ� ไปฟ้องเป็นคดีในศาลหรือหากมีการ


ฟ้องคดีในศาลแล้วแต่คดียงั ไม่ถงึ ทีส่ ดุ และคูค่ วามไปตกลงกันระงับข้อพิพาทนอกศาลโดยศาลมิได้รบั รูห้ รือ
ไม่มสี ว่ นร่วมในประนีประนอมยอมความ หรือคดีถงึ ทีส่ ดุ แล้วแต่คกู่ รณีไปตกลงกันเองนอกศาลในชัน้ บังคับ
คดีหรืออื่นๆ ซึ่งอาจเป็นกรณีที่คู่กรณีพิพาทเจรจาท�ำความตกลงกันเองหรือมีองค์กรหรือบุคคลภายนอก
เข้าด�ำเนินการเป็นคนกลางท�ำการไกล่เกลี่ย จนท�ำให้คู่กรณีพิพาทตกลงกัน
อุทาหรณ์ ม
ฎ. 744/2464 จ�ำเลยชนะคดีผู้ร้อง ผู้ร้องจะต้องใช้เงินให้ จ�ำเลย 3,226 บาท 12 สตางค์ ตาม
ค�ำพิพากษาศาลจังหวัดนครล�ำปาง แต่จ�ำเลยกับผู้ร้องได้ตกลงยอมกันนอกศาล จ�ำเลยยอมรับเงินเพียง
1,100 บาทจากผู้ร้อง และขอให้น้องผู้ร้องถอนฟ้องจ�ำเลยซึ่งน้องผู้ร้องฟ้องอยู่เรื่องหนึ่ง ผู้ร้องได้จัดการให้
น้องผู้ร้องถอนฟ้องเสร็จ
โจทก์ได้ฟอ้ งและชนะคดีจำ� เลยเรือ่ งหนีส้ นิ จ�ำเลยไม่ใช้ โจทก์จงึ ขอให้ศาลยึดทรัพย์ผรู้ อ้ ง ศาลฎีกา
ตัดสินว่าสัญญายอมกันนอกศาลนัน้ ใช้ได้ไม่ตอ้ งบทห้าม เพราะเจ้าหนีล้ กู หนีไ้ ด้ตกลงปลงใจท�ำกันโดยสุจริต
สธ
และมีประโยชน์แลกเปลี่ยนกันแล้ว โจทก์จะยึดทรัพย์ผู้ร้องอีกไม่ได้
ฎ. 1031/2484 โจทก์จำ� เลยท�ำสัญญากันนอกศาลว่าคดีทอี่ ยูใ่ นระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
นั้นถ้าศาลอุทธรณ์ให้จ�ำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนั้นชนะ จ�ำเลยจะคืนค่าเสียหายและค่าธรรมเนียมค่าทนาย

10-40 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ให้โจทก์ ถ้าโจทก์ชนะโจทก์จะไม่เรียกเอาอะไรแก่จ�ำเลย ดังนี้ ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมกันโดยชอบ


ด้วยกฎหมาย บังคับกันตามสัญญานี้ได้
ฎ. 2576/2531 คดีนี้ถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้จ�ำเลยทั้งสี่แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์จ�ำนวน
9 ส่วนใน 21 ส่วน ในระหว่างบังคับคดีโจทก์ จ�ำเลยทั้งสี่ได้ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยศาล
ชั้นต้นรับรู้เป็นผู้ท�ำให้มีข้อตกลงกันไม่ให้บังคับคดีตามค�ำพิพากษาคดีนี้ และให้ยุติคดีทุกคดีทั้งคดีที่


พิพากษาแล้วและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินกันใหม่ เมื่อโจทก์
จ�ำเลยทั้งสี่ได้ลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวต่อหน้าศาลแล้ว จึงเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้

มส
ตาม ปพพ. มาตรา 850 โดยมีผลท�ำให้การเรียกร้องซึง่ แต่ละฝ่ายได้ยอมสละนัน้ ระงับสิน้ ไป และท�ำให้แต่ละ
ฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตน ตาม ปพพ. มาตรา 852 การบังคับคดีนี้และมูลหนี้
ตามค�ำพิพากษาศาลฎีกาจึงเป็นอันระงับสิ้นไป โจทก์ จ�ำเลยทั้งสี่จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอม
ยอมความดังกล่าว เมือ่ จ�ำเลยผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ของโจทก์ชอบทีจ่ ะไป
ว่ากล่าวเอาแก่จ�ำเลยตามสิทธิที่เกิดขึ้นตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจะกลับมาขอให้ศาลออก
หมายบังคับคดีตามค�ำพิพากษาซึ่งมูลหนี้ระงับไปแล้วหาได้ไม่
ฎ. 7907/2551 ข้อตกลงในการช�ำระหนี้ที่คู่ความท�ำขึ้นใหม่แตกต่างจากข้อตกลงในการช�ำระหนี้ที่
คูค่ วามก�ำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความทีศ่ าลพิพากษาตามยอมไปแล้วนัน้ เมือ่ มิได้กระท�ำต่อ
หน้าศาล ศาลไม่รับรู้ข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น หากปรากฏว่าจ�ำเลยทั้งสองยังไม่ปฏิบัติการช�ำระหนี้ตามที่

ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือว่าจ�ำเลยทัง้ สองผิดนัด ศาลย่อมออกหมายบังคับคดีตาม
ที่โจทก์ร้องขอได้
มส

2. ประนีประนอมยอมความในศาล
ประนีประนอมยอมความในศาลเป็นการตกลงกันเพือ่ ระงับข้อพิพาททีก่ ำ� ลังเป็นคดีอยูใ่ นศาล โดย
คูก่ รณีตา่ งยอมผ่อนฝันให้แก่กนั และศาลรับรูโ้ ดยมีสว่ นร่วมในประนีประนอมยอมความนัน้ เนือ่ งจากคูก่ รณี
ต้องแจ้งให้ศาลทราบและเมือ่ มีประนีประนอมยอมความแล้ว เสนอให้ศาลพิจารณา ซึง่ เมือ่ ศาลเห็นว่าสัญญา
ประนีประนอมยอมความดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็จะพิพากษาให้เป็นไปตามที่ได้ตกลง

ประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งมีบทบัญญัติอยู่ใน ปวพ. มาตรา 20 มาตรา 20 ทวิ และมาตรา 138 โดย
ใน มาตรา 20 เป็นเรื่องที่สนับสนุนให้ศาลพยายามไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงประนีประนอมยอมความกัน
ในข้อพิพาทที่เป็นคดีอยู่ในศาล และในมาตรา 20 ทวิ เป็นรายละเอียดในการไกล่เกลี่ยและหลักเกณฑ์และ
วิธีการในการไกล่เกลี่ย เช่น อาจท�ำเป็นความลับ และการแต่งตั้งผู้ประนีประนอมให้เป็นไปตามที่กำ� หนด
ไว้ในข้อก�ำหนดของประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา และมาตรา 138
เป็นเรื่องวิธีการและหลักเกณฑ์ของประนีประนอมยอมความในศาล เช่น ต้องไม่มีการถอนฟ้อง ไม่ฝ่าฝืน
ต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานประนีประนอมยอมความและพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอม
สธ
ความ ดังนี้
มาตรา 20 “ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ด�ำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลมีอ�ำนาจที่จะไกล่เกลี่ยให้คู่
ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกันในข้อพิพาทนั้น”

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-41

มาตรา 20 ทวิ “เพือ่ ประโยชน์ในการไกล่เกลีย่ เมือ่ ศาลเห็นสมควร หรือเมือ่ คูค่ วามฝ่ายใดฝ่ายหนึง่


ร้องขอ ศาลจะสั่งให้ด�ำเนินการเป็นการลับเฉพาะต่อหน้าตัวความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยจะให้มี
ทนายความอยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้
เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลอาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคล
เป็นผู้ประนีประนอม เพื่อช่วยเหลือศาลในการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ประนีประนอมกัน


หลักเกณฑ์และวิธกี ารในการไกล่เกลีย่ ของศาล การแต่งตัง้ ผูป้ ระนีประนอม รวมทัง้ อ�ำนาจหน้าที่
ของผู้ประนีประนอม ให้เป็นไปตามที่ก�ำหนดไว้ในข้อก�ำหนดของประธานศาลฎีกา โดยความเห็นชอบ

มส
ของทีป่ ระชุมใหญ่ของศาลฎีกาหลักเกณฑ์และวิธกี ารในการไกล่เกลีย่ ของศาล การแต่งตัง้ ผูป้ ระนีประนอม
รวมทั้งอ�ำนาจหน้าที่ของผู้ประนีประนอม ให้เป็นไปตามที่ก�ำหนดไว้ในข้อก�ำหนดของประธานศาลฎีกา
โดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา”
มาตรา 138 “ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอม ความกันในประเด็นแห่งคดีโดย
มิได้มกี ารถอนค�ำฟ้องนัน้ และข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันนัน้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความเหล่านี้ไว้ แล้ว
พิพากษาไปตามนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์ค�ำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

(2) เมื่อค�ำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วย
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) เมื่อค�ำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลง หรือประนีประนอมยอมความ”
มส

จากลักษณะของประนีประนอมยอมความในศาลและบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงสรุป
ได้ว่า ประนีประนอมยอมความในศาลเป็นการระงับข้อพิพาทโดยคู่กรณีพิพาทตกลงกันให้ระงับข้อพิพาท
ระหว่างกันโดยการยอมผ่อนผันให้แก่กนั เมือ่ ข้อพิพาททีเ่ กิดขึน้ ได้นำ� ไปฟ้องเป็นคดีตอ่ ศาล และในระหว่าง
ที่ศาลก�ำลังพิจารณาคดีดังกล่าวอยู่ คู่กรณีได้ทำ� ความตกลงกันได้ในข้อพิพาทดังกล่าว อันท�ำให้ข้อพิพาท
ที่มีอยู่นั้นสิ้นสุดลง และต้องท�ำหลักฐานของสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้วเสนอให้ศาลพิจารณา

อุทาหรณ์

ซึง่ เมือ่ ศาลเห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายศาลก็จะพิพากษาให้เป็นไป
ตามที่ได้ยอมความกันดังกล่าว

ไก่ เช่า ห้องชุดของ ไข่ ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท ต่อมา ไก่ ค้างค่าเช่า 6 เดือน เป็น
เงิน 30,000 บาท ไข่ จึงบอกเลิกสัญญาเช่า ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ค้างช�ำระจาก ไก่ ต่อศาลที่มีเขต
อ�ำนาจ และระหว่างการพิจารณาของศาล ไก่ ได้ท�ำความตกลงกับ ไข่ ว่า ไก่ จะขนย้ายทรัพย์สนิ ออกจาก
ห้อง เช่าภายในเวลาหนึ่งเดือน และ ไข่ ไม่ติดใจเรียกค่าเช่าที่ค้างช�ำระอีกต่อไป ไก่ และ ไข่ จึงท�ำสัญญา
สธ
ประนีประนอมยอมความเสนอต่อศาล และศาลได้พิพากษาให้เป็นไปตามที่ตกลงประนีประนอมยอมความ
กันนั้น

10-42 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ข้อแตกต่างระหว่างประนีประนอมยอมความที่ท�ำนอกศาลและในศาล คือ ในกรณีประนีประนอม


ยอมความนอกศาล หากต่อมาภายหลังคูส่ ญ ั ญาบิดพลิว้ ไม่ยอมปฏิบตั ติ ามสัญญา ฝ่ายทีไ่ ด้รบั ความเสียหาย
ก็จะต้องน�ำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาลเพือ่ บังคับให้อกี ฝ่ายปฏิบตั ติ ามสัญญา
นั้นอีกที ส่วนสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลหากต่อมาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามก็ไม่
ต้องน�ำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลอีกครั้งโดยผู้เสียหายมีสิทธิยื่นค�ำร้องต่อศาลขอให้บังคับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง


ปฏิบัติตามสัญญานั้นได้ทันที กล่าวคือ คู่สัญญาฝ่ายนั้นอาจถูกยึดหลักอายัดทรัพย์สินมาขายทอดตลาด
ช�ำระหนี้ให้ฝ่ายผู้เสียหายได้ หรือบังคับให้ต้องกระท�ำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ให้ออกไปจากบ้านเช่า

มส
ตามที่ระบุไว้ในค�ำพิพากษาได้
อุทาหรณ์
ฎ. 2169/2523 เมื่อทนายโจทก์ทนายจ�ำเลยแถลงร่วมกันว่าคดีตกลงกันได้แล้วขอให้ท�ำสัญญา
ประนีประนอมยอมความก็ไม่มคี วามจ�ำเป็นทีศ่ าลชัน้ ต้นจะต้องมีคำ� สัง่ รับค�ำให้การและค�ำแถลงจ�ำเลยเพราะ
ไม่เป็นสาระแก่คดีจะต้องพิจารณาต่อไป ชอบทีศ่ าลจะท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตาม
ยอมได้
ฎ. 2959/2551 โจทก์ จ�ำเลยทั้งสาม และจ�ำเลยร่วมท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลและ
ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความ ตาม ปวพ. มาตรา 145 หากจ�ำเลยที่ 1 เห็นว่าค�ำพิพากษา
นัน้ ไม่ชอบเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัตแิ ห่งกฎหมายเกีย่ วด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึง่ เข้าข้อ

ยกเว้นที่สามารถอุทธรณ์คำ� พิพากษาได้ ตาม ปวพ. มาตรา 138 วรรคสอง (2) จ�ำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะใช้
สิทธิอุทธรณ์คัดค้านค�ำพิพากษานั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน เมื่อจ�ำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่
มส

สุดไปแล้วจ�ำเลยที่ 1 จะมายื่นค�ำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนค�ำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอม
ความหาได้ไม่
ฎ. 3192/2551 โจทก์และจ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โดยจ�ำเลยยอมช�ำระเงิน
5,624,000 บาท แก่โจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ของค�ำพิพากษาซึ่งจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้เมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตาม
ปวพ. มาตรา 143 วรรคแรก ประกอบ พรบ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

หลังจากนัน้ จ�ำเลยได้ชำ� ระเงินแก่โจทก์เพียงบางส่วน โจทก์จงึ ยืน่ ค�ำร้องขอให้ศาลมีคำ� สัง่ ให้โจทก์ได้รบั ช�ำระหนี้
ในส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันที่จ�ำเลยผิดนัดไม่ช�ำระหนี้ตามค�ำพิพากษาจนกว่าจะช�ำระเสร็จ เป็นค�ำร้องขอให้
ศาลแก้ไขค�ำพิพากษาเพิ่มความรับผิดของจ�ำเลยในส่วนของดอกเบี้ยที่จำ� เลยมิได้ยินยอมรับผิดหากผิดนัด
ไม่ชำ� ระหนีต้ ามก�ำหนดอันมิใช่ค�ำร้องขอให้ศาลวินจิ ฉัยข้อขัดข้องในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี
และมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ดังกล่าวศาลชอบที่จะยกค�ำร้องดังกล่าวได้
ฎ. 5716/2551 เมือ่ จ�ำเลยได้ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความโอนทีด่ นิ พิพาทให้ผรู้ อ้ งตามมูลหนี้
สัญญาจะซือ้ จะขาย และศาลชัน้ ต้นพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความจนคดีถงึ ที่
สธ
สุดแล้ว สิทธิของผู้ร้องตามค�ำพิพากษาที่จะเรียกร้องให้จ�ำเลยปฏิบัติตามค�ำพิพากษา หรือไปจดทะเบียน
โอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนย่อมเกิดขึ้นทันที ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนตาม

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-43

ค�ำพิพากษาได้อยู่ก่อนแล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 1300 โจทก์ทั้งสองจึงหามีสิทธิขอให้บังคับคดียึดทรัพย์


พิพาทเพือ่ น�ำออกขายทอดตลาดช�ำระหนีอ้ นั เป็นการกระทบถึงสิทธิของผูร้ อ้ ง ตาม ปวพ. มาตรา 287 ได้ไม่
ฎ. 6479/2551 แม้จ�ำเลยจะท�ำสัญญาคํ้าประกันหนี้เงินกู้ของ จ. โดยยอมรับผิดร่วมกับ จ. อย่าง
ลูกหนี้ร่วมก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความกับ จ. และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม
ความรับผิดของ จ. ตามสัญญากู้ยืมเงินย่อมระงับสิ้นไปและท�ำให้ จ. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา


ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 และมาตรา 852 เมือ่ ความรับผิดของ จ. ต่อโจทก์เปลีย่ น
เป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ของ จ. ตามสัญญากู้เงินจึงระงับสิ้นไป จ�ำเลยใน

มส
ฐานะผู้คํ้าประกันการช�ำระหนี้ตามสัญญากู้เงินของ จ. จึงหลุดพ้นความรับผิด ตาม ปพพ. มาตรา 698

กิจกรรม 10.1.2
ประนีประนอมยอมความมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 10.1.2
ประนีประนอมยอมความมี 2 ประเภท คือ ประนีประนอมยอมความนอกศาลและประนีประนอม
ยอมความในศาล

ประนีประนอมยอมความนอกศาลเป็นการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วหรือจะมีขึ้นใน
อนาคตโดยท�ำการผ่อนฝันให้แก่กนั ในระหว่างทีข่ อ้ พิพาทนัน้ ยังมิได้นำ� ไปฟ้องเป็นคดีในศาลหรือหากมีการ
มส

ฟ้องคดีในศาลแล้วแต่คดียงั ไม่ถงึ ทีส่ ดุ และคูค่ วามไปตกลงกันระงับข้อพิพาทนอกศาลโดยศาลมิได้รบั รูห้ รือ


ไม่มีส่วนร่วมในประนีประนอมยอมความ ส่วนประนีประนอมยอมความในศาลเป็นการตกลงกันเพื่อระงับ
ข้อพิพาทที่ก�ำลังเป็นคดีอยู่ในศาล โดยคู่กรณีต่างยอมผ่อนฝันให้แก่กัน และศาลรับรู้โดยมีส่วนร่วมใน
ประนีประนอมยอมความนั้น เนื่องจากคู่กรณีต้องแจ้งให้ศาลทราบและเมื่อมีประนีประนอมยอมความแล้ว
ศาลจะพิพากษาตามที่คู่ความตกลงกันนั้น


สธ

10-44 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 10.1.3
หลักฐานของประนีประนอมยอมความ


ถึงแม้วา่ ประนีประนอมยอมความเกิดขึน้ โดยการตกลงกันระหว่างคูก่ รณีพพิ าททีจ่ ะระงับข้อพิพาท
โดยการผ่อนผันให้แก่กัน เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายก�ำหนดว่าต้องมีแบบ แต่ประนีประนอมยอม

มส
ความนั้นต้องมีหลักฐานของการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องบังคับคดี
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

1. หลักฐานเป็นหนังสือ
ในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมิฉะนั้นจะฟ้องบังคับคดี
กันมิได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 851 ว่า
“อันสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อของตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นส�ำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้
บังคับคดีหาได้ไม่”

หลักฐานเป็นหนังสือของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอาจอยู่ในรูปของสัญญาที่คู่กรณี
ทั้งสองฝ่ายท�ำขึ้นที่แสดงว่ามีการตกลงประนีประนอมยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีหรือ
หลั ก ฐานอื่ น ๆ ของทางราชการที่ ไ ด้ ช ่ ว ยให้ คู ่ ก รณี ต กลงกั น และบั น ทึ ก ข้ อ ตกลงของคู ่ ก รณี ว ่ า ได้ ท� ำ
มส

ประนีประนอมยอมความกัน เช่น บันทึกของนายอ�ำเภอ บันทึกของเจ้าพนักงานทีด่ นิ บันทึกแจ้งความของ


พนักงานสอบสวนที่สถานีต�ำรวจ และรายงานการพิจารณาคดีของศาล หรือหลักฐานอื่นๆ เช่น จดหมาย
หรือหนังสือของคู่สัญญาที่ต้องรับผิดมอบให้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
อุทาหรณ์
ฎ. 503/2500 โจทก์จำ� เลยร่วมกันท�ำหนังสือถึงนายอ�ำเภอขอให้จดั การท�ำนิตกิ รรมแบ่งทีด่ นิ ซึง่ เป็น
มรดกตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบ ตาม ปพพ. มาตรา 850 ม
ฎ. 500/2506 จ�ำเลยไปยื่นค�ำร้องขอรับมรดกที่ดินของพี่ชาย ณ หอทะเบียนโจทก์ซึ่งเป็นน้องต่าง
บิดาคัดค้านภายหลังโจทก์จ�ำเลยตกลงกันโดยจ�ำเลยยอมแบ่งที่บ้านให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ส่วนที่นาโจทก์ไม่
เกีย่ วข้องดังนี้ การทีโ่ จทก์ลงชือ่ ขอถอนค�ำคัดค้านโดยเจ้าพนักงานทีด่ นิ บันทึกไว้วา่ โจทก์ไม่ตดิ ใจเกีย่ วข้อง
กับทีพ่ พิ าท ยอมให้จำ� เลยรับมรดกไปได้ผเู้ ดียวนัน้ บันทึกดังกล่าว แม้โจทก์จะท�ำกับเจ้าพนักงานผูไ้ กล่เกลีย่
เปรียบเทียบก็ตามก็ยอ่ มถือว่าเป็นหลักฐานของสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลบังคับได้อย่างหนึง่
(ฎ. 1300/2509, ฎ. 3045/2530 และ ฎ. 183/2531)
สธ
ฎ. 296/2508 สัญญาที่จำ� เลยผู้ท�ำละเมิดท�ำให้ไว้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อระงับข้อพิพาทโดย
โจทก์มิได้ตกลงด้วยนั้น ยังหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ แต่ในชั้นพิจารณาถ้าจ�ำเลยแถลงต่อ
ศาลโดยอ้างถึงสัญญานี้ และโจทก์ก็ได้แถลงรับ ทั้งขอให้จำ� เลยปฏิบัติตามสัญญา แล้วต่างลงลายมือชื่อไว้

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-45

ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลด้วยรายงานกระบวนพิจารณานีจ้ งึ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
อันเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงย่อมจะมาฟ้องจ�ำเลยในมูลละเมิดเดิมอีกไม่ได้ได้แต่จะ
ฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ท�ำกันไว้เท่านั้น (ฎ.1322/2521 และ ฎ. 3395/2530)
ฎ. 308/2509 โจทก์แจ้งยอดจ�ำนวนหนีท้ จี่ ำ� เลยเป็นหนีอ้ ยูแ่ ละจะให้ทนายฟ้องเรียกจากจ�ำเลยโดย
ทนายได้แสดงใบแต่งทนายของบริษัทโจทก์ให้ดูด้วย จ�ำเลยจึงได้ขอร้องอย่าให้ฟ้องต่อมาจึงได้ท�ำหนังสือ


ประนีประนอมยอมความว่า ลูกหนี้สละสิทธิ์ที่จะฟ้องเรียกหนี้สินจากเจ้าหนี้ตามที่เคยให้ทนายทวงถามมา
และรับว่าค้างช�ำระหนีแ้ ก่เจ้าหนี้ 30,574.56 บาท ซึง่ ลูกหนีจ้ ะช�ำระให้เสร็จภายใน 3 ปีโดยผ่อนช�ำระเดือน

มส
ละ 850 บาทในตอนท้ายลงชื่อลูกหนี้ กับลงชื่อทนายโจทก์ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการท�ำสัญญาประนีประนอม
ยอมความเพื่อระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วย ต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ตาม ปพพ. มาตรา 850
แล้ว
สัญญาประนีประนอมยอมความได้มีหลักฐานเป็นหนังสือและจ�ำเลยฝ่ายที่ต้องรับผิดได้ลงลายมือ
ชื่อไว้เป็นส�ำคัญแล้วโจทก์ก็ย่อมฟ้องบังคับคดีได้ เพราะตาม ปพพ. มิได้มีข้อความว่าจะต้องมีลายมือชื่อ
ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายลงไว้ด้วยกันจึงเป็นสัญญาอันสมบูรณ์
ฎ. 1420/2510 ที่พิพาทมีชื่อโจทก์จำ� เลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดโดยมิได้ระบุส่วนของ
ใครเท่าใด ในเบื้องต้นก็ต้องถือว่าโจทก์จำ� เลยต่างมีส่วนเป็นเจ้าของคนละครึ่ง แต่เมื่อต่อมาโจทก์จ�ำเลยได้
ตกลงแบ่งที่พิพาทกัน จ�ำเลยได้ 3 ไร่ โจทก์ได้ 5 ไร่ 70 ตารางวา ข้อตกลงแบ่งที่ดินดังกล่าวนี้เข้าลักษณะ

สัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 เพราะการตกลงก�ำหนดลงไปว่า ใครได้เนื้อที่
เท่าไรย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไปไม่ต้องโต้เถียงกันว่าฝ่ายใดมีเหตุสมควรจะได้มาก
มส

ได้นอ้ ยกว่าครึง่ อย่างไร เมือ่ ข้อตกลงนีไ้ ด้มหี ลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชือ่ โจทก์จำ� เลยเป็นส�ำคัญ ซึง่ โจทก์
จ�ำเลยต่างรับรองต้องกัน จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ส่วนที่การรังวัดแบ่งแยกให้เป็นไปตามค�ำขอ ยัง
มิได้ส�ำเร็จลง จะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ก็ไม่ท�ำให้ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
เสียไป
ฎ. 1962/2523 โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ส่วนหนึ่งของที่พิพาทมาจาก ช. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวมกับ
จ�ำเลยแล้วโจทก์ครอบครองทีพ่ พิ าทส่วนทางทิศเหนือตามที่ ช. เจ้าของเดิมครอบครองมา ส่วนจ�ำเลยครอบ

ครองทางทิศใต้โดยถือเอาคันสวนเป็นแนวเขต ต่อมาโจทก์จ�ำเลยได้ ท�ำบันทึกตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมมี
ความว่า โจทก์จ�ำเลยตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ในที่ดินแปลงนี้ออกจากกันทางทิศใต้แบ่งเป็นของ
จ�ำเลยให้ได้เนือ้ ทีค่ รึง่ หนึง่ ส่วนแปลงคงเหลือเป็นของโจทก์ บันทึก ดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอม
ความใช้บังคับกันได้
ฎ. 2017/2533 โจทก์ จ�ำเลย และ ช. ได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินเป็นสัดส่วนของแต่ละคนและ
ได้ทำ� บันทึกตกลงกันต่อเจ้าพนักงานทีด่ นิ ว่าจะไปจดทะเบียนทางภารจ�ำยอมหลังจากได้รบั โฉนดทีด่ นิ แล้ว
บันทึกข้อตกลงดังกล่าวใช้บังคับได้ แม้ต่อมาภายหลังจ�ำเลยได้ถอนข้อตกลงนั้น แต่โจทก์ไม่ได้ถอนด้วย
สธ
ดังนี้ โจทก์ จ�ำเลย ต้องผูกพันตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

10-46 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 2930/2523 บันทึกรายงานประจ�ำวันเกีย่ วกับคดีซงึ่ มีขอ้ ความเป็นการตกลงระงับพิพาทระหว่าง


โจทก์จ�ำเลยในเรื่องการสร้างรั้วรุกลํ้า และได้ลงลายมือชื่อโจทก์จ�ำเลยไว้เป็นหลักฐานด้วย ถือได้ว่าเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850, 851
ฎ. 3558/2552 โจทก์และจ�ำเลยที่ 1 ท�ำบันทึกข้อตกลงกันที่ว่าการอ�ำเภอท่าเรือว่า ให้รังวัดแบ่ง
ทีด่ นิ ออกเป็น 5 ส่วน โดยยึดการถือครองตามเดิมเป็นหลัก ทางเดินให้ใช้ทางหลังอาคารพาณิชย์กว้าง 1.2


เมตร ออกสู่ถนนทางด้านข้างอาคารพาณิชย์ถึงถนนสาธารณะโดยให้ใช้ได้ตลอดไป ส่วนท่อระบายนํ้าให้
ขุดลอกหน้าท่อระบายนํา้ ให้มรี ะดับตํา่ กว่าปากท่อ หากมีการซือ้ ขายส่วนเกินให้คดิ ราคา 1,800 บาท ต่อตารางวา

มส
และภายหลังจัดท�ำแผนที่โจทก์และจ�ำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อไว้ บันทึกและแผนที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็น
การระงับข้อพิพาทซึง่ มีอยูใ่ ห้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กนั จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
การทีโ่ จทก์และจ�ำเลยทัง้ สองตกลงแบ่งทีด่ นิ กันอีกตามรูปแผนที่ ซึง่ ทัง้ โจทก์ และจ�ำเลยทัง้ สองลงลายมือชือ่
รับรองไว้ จึงมีผลผูกพันคูค่ วาม แม้โจทก์จะมิได้ลงชือ่ ในบันทึกข้อตกลงด้วยตนเอง แต่พฤติการณ์โจทก์ถอื
ได้ว่าเชิด ส. เป็นผู้ลงลายมือชื่อกระท�ำการแทน มีผลเช่นเดียวกับที่โจทก์ลงลายมือชื่อเอง และถือเป็น
ส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความข้างต้น ซึ่งรูปแผนที่ตรงกับแผนที่วิวาทจึงต้องแบ่งแยก
กรรมสิทธิ์ที่ดินไปตามแผนที่วิวาท
ฎ. 5704/2555 ปพพ. มาตรา 851 บัญญัตวิ า่ อันสัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ ถ้ามิได้มหี ลักฐาน
เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นส�ำคัญ

ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บงั คับคดีหาได้ไม่ หมายความว่า สัญญาประนีประนอมยอมความอาจท�ำขึน้ ได้โดยไม่
ต้องมีแบบของสัญญา แต่หากท�ำขึ้นโดยไม่มีลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดแล้ว ฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จาก
มส

สัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่อาจฟ้องร้องให้บงั คับคดีตามสัญญาได้ สัญญาประนีประนอมมีขอ้ ความ


ระบุความเสียหายทั้งหมดว่ามีประมาณ 12,000,000 บาท แต่เพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จสิ้น
ไป ก. ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารโกดังที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ตกลงยอมรับเงินจากจ�ำเลยที่ 2 จ�ำนวน 3,000,000
บาท และขอสละสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายใดๆ ทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อจ�ำเลยทั้งสอง ข้อตกลง
ดังกล่าวเป็นสัญญาซึ่งทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่
กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 850 เมื่อจ�ำเลยที่ 2 ช�ำระเงินให้ ก. ครบถ้วนแล้ว

ถือว่า ก. ได้สละสิทธิเรียกร้องใดๆ ที่มีต่อจ�ำเลยทั้งสองในเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้ไปแล้ว แม้จำ� เลยที่ 2 ไม่ได้
ลงลายมือชือ่ ในสัญญาประนีประนอมยอมความก็มผี ลเพียงท�ำให้ ก. ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำ� เลย
ที่ 2 ได้ตามมาตรา 851 เท่านั้น แต่ก็มิได้ท�ำให้สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำ� กันขึ้นเสียไป เมื่อ ก.
ผู้เอาประกันภัยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ แก่จำ� เลยที่ 2 แล้ว จึง
มีผลท�ำให้โจทก์ผู้รับประกันภัยไม่อาจรับช่วงสิทธิจาก ก. มาฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจ�ำเลยที่
2 ได้
ฎ. 1368/2556 โจทก์สมัครใจลงลายมือชือ่ ในช่องผูร้ บั เงินในใบรับเงินทีม่ ขี อ้ ความว่าจ�ำเลยเลิกจ้าง
สธ
โจทก์และได้จ่ายเงินเดือน ค่าเสียหายแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า กับค่าชดเชย ซึ่งโจทก์ได้รับเงิน
จ�ำนวนดังกล่าวเรียบร้อยแล้วและไม่ตดิ ใจเรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดจากจ�ำเลยอีก ใบรับเงินฉบับนีม้ ลี กั ษณะ
เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลผูกพันโจทก์ว่าหลังจากโจทก์ได้รับเงินทั้งสามจ�ำนวนอันเป็นเงิน

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-47

ตามกฎหมายว่าด้วยการคุม้ ครองแรงงานแล้ว โจทก์สละสิทธิทจี่ ะเรียกเงินอืน่ ใดตามกฎหมายซึง่ มีความหมาย


รวมทัง้ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างทีไ่ ม่เป็นธรรมอันไม่ใช่เงินตามกฎหมายว่าด้วยการคุม้ ครองแรงงานทีเ่ ป็น
กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
ที่ไม่เป็นธรรมจากจ�ำเลย
อนึง่ การลงลายมือชือ่ ของคูก่ รณีพพิ าทในประนีประนอมยอมความนัน้ อาจมีการลงลายมือชือ่ ของ


คู่กรณีพิพาทเพียงฝ่ายเดียวก็ได้ไม่จ�ำเป็นต้องลงลายมือชื่อของคู่กรณีพิพาททั้งสองฝ่าย เพราะ ปพพ.
มาตรา 851 บัญญัตบิ งั คับให้ตอ้ งมีลายมือชือ่ ของคูส่ ญั ญาฝ่ายทีต่ อ้ งรับผิด ไม่ได้ระบุวา่ ต้องมีลายมือชือ่ ของ

มส
คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
อุทาหรณ์
ฎ. 2624/2516 สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น กฎหมายมิได้บังคับว่าคู่กรณีจะต้องลงชื่อทั้ง
สองฝ่าย แม้จ�ำเลยผู้เดียวลงชื่อรับผิดต่อโจทก์ก็เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้
ฎ. 3555/2528 โจทก์ทำ� ตั๋วรถยนต์โดยสารของจ�ำเลยหายต่อมาโจทก์ทำ � หนังสือยอมรับผิดชดใช้
เงินเท่าราคาตั๋วที่หายให้แก่จ�ำเลยโดยขอผ่อนช�ำระจนครบเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในเงิน ค่าตั๋ว
รถยนต์โดยสารที่หายได้ลงชื่อรับผิดไว้ในหนังสือนั้นถูกต้อง หนังสือดังกล่าวก็เป็นหลักฐานแห่งสัญญา
ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 851 แล้ว
อนึ่ง การท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นคู่กรณีพิพาทอาจด�ำเนินการด้วยตนเองหรือมอบ

หมายให้บคุ คลอืน่ เช่น ตัวแทนไปด�ำเนินการให้แทนได้แต่ตอ้ งมีหลักฐานเป็นหนังสือในการมอบอ�ำนาจให้
ไปด�ำเนินการแทน เนื่องจาก กิจการอันใดที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือการมอบอ�ำนาจให้ตัวแทนไปท�ำ
มส

กิจการนั้นก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 798 วรรคสอง


อุทาหรณ์
ฎ. 2478/2526 จ�ำเลยที่ 1 ลูกจ้างจ�ำเลยที่ 2 ขับรถไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ได้ทำ� สัญญา
ประนีประนอมยอมความกับตัวแทนโจทก์ ระบุวา่ จ�ำเลยที่ 1 ยอมใช้คา่ เสียหายให้โจทก์ ไม่ปรากฏมีหลักฐาน
เป็นหนังสือแสดงการตั้งจ�ำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจ�ำเลยที่ 2 แม้จ�ำเลยที่ 2 จะลงชื่อในสัญญาด้วยก็ลงไว้ใน
ฐานะเป็นพยานเจ้าของรถ หาใช่ในฐานะนายจ้างหรือตัวการหรือคู่สัญญาไม่ สัญญาประนีประนอมยอม

ความจึงไม่ผกู พันจ�ำเลยที่ 2 เมือ่ โจทก์กบั จ�ำเลยที่ 1 ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาท อัน
เป็นเหตุให้มูลหนี้ละเมิดระงับสิ้นไป และโจทก์ได้สิทธิใหม่ตามสัญญา ความรับผิดของจ�ำเลยที่ 2 ในฐานะ
นายจ้างและตัวการเพื่อการกระท�ำละเมิดของจ�ำเลยที่ 1 ตาม ปพพ. มาตรา 425 และมาตรา 427 ย่อม
ระงับ เมื่อจ�ำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย จ�ำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย
จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
หลักฐานของการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นอาจระบุชื่ออย่างชัดเจนว่าเป็นสัญญา
ประนีประนอมยอมความหรือใช้ชื่ออื่นๆ ก็ได้
สธ
อุทาหรณ์
ฎ. 343/2534 แม้สัญญาจะใช้ชื่อว่า สัญญารับสภาพหนี้ แต่ข้อความในสัญญาว่าจ�ำเลยยอมรับว่า
ได้สั่งจ่ายเช็คจ�ำนวน 800,000 บาท และยอมรับว่ามีหนี้ดังกล่าวอยู่กับโจทก์ตามมูลหนี้ดังกล่าวจริง กับ

10-48 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ยอมช�ำระให้โจทก์ 400,000 บาท โดยผ่อนช�ำระเป็นงวดจนกว่าจะช�ำระเสร็จ หนี้จ�ำนวนที่เหลือตกลงให้


โจทก์เรียกร้องเอาจากบริษทั เครดิตฟองซิเอร์ เสรีสากลธนกิจ จ�ำกัด เห็นได้ชดั ว่าเป็นการทีโ่ จทก์จำ� เลยทัง้
สองฝ่ายระงับข้อพิพาทที่มีขึ้นตามมูลหนี้ตั๋วเงินนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญา
ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 หาใช่เป็นการรับสภาพหนี้โดยก�ำหนดเวลาและเงื่อนไข
ให้จ�ำเลยช�ำระหนี้และมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 168 โจทก์บรรยายถึงมูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอม


ยอมความมาในฟ้องของโจทก์โดยชัดเจนแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นแล้ว
ฎ. 7919/2551 หนังสือที่จ�ำเลยท�ำไว้แก่โจทก์ แม้จะใช้ค�ำว่า “หนังสือรับสภาพหนี้” แต่เมื่อข้อ

มส
ก�ำหนดและเหตุผลในการจัดท�ำเป็นเรื่องที่โจทก์กับจ�ำเลยต่างตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งเกิดจากหนังสือรับ
สภาพหนี้ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ.
มาตรา 850 ซึ่งเมื่อจ�ำเลยปฏิบัติการช�ำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2540 อายุความที่
โจทก์จะต้องบังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงมีกำ� หนดสิบปีนับแต่วันดังกล่าว ตาม ปพพ. มาตรา 193/32

2. ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ขาดหลักฐานเป็นหนังสือ
การที่คู่กรณีพิพาทท�ำประนีประนอมยอมความโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของ
คู่กรณีฝ่ายที่ต้องรับผิดนั้นก็ยังมีสัญญาประนีประนอมยอมความเกิดขึ้น เนื่องจากสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้น
จากการที่คู่กรณีพิพาทตกลงกันระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยต่างยอมผ่อนผัน

ให้แก่กนั แต่ถา้ คูก่ รณีฝา่ ยหนึง่ ฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบตั ติ ามสัญญาประนีประนอมยอมความคูก่ รณีอกี ฝ่ายหนึง่
ก็ไม่สามารถฟ้องบังคับให้มีการปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความและจะขอน�ำ
มส

พยานบุคคลเข้าสืบในการฟ้องคดีเพี่อบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้
อุทาหรณ์
ฎ. 318/2496 เจ้าของร่วมในที่ดินแปลงหนึ่งนั้น ตามกฎหมายในเบื้องต้นก็ต้องถือว่า ต่างคนต่าง
มีส่วนเป็นเจ้าของพัวพันกันอยู่ ฉะนั้น เมื่อเจ้าของร่วมได้ตกลงกันก�ำหนดลงไปว่า ใครได้ตรงไหนดังนี้
ก็ย่อมเป็นการระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นให้เสร็จไป เพราะเป็นการตกลงเพื่อเป็นที่แน่นอนไม่โต้เถียง
แย่งกันเอาส่วนนัน้ ส่วนนีฉ้ ะนัน้ ข้อตกลงดังกล่าว จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา
850 เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ย่อมจะฟ้องร้องบังคับคดี ไม่ได้ ม
ฎ. 530/2496 เจ้าของร่วมตกลงแบ่งแยกโฉนดกัน โดยตกลงก�ำหนดลงไปว่าใครได้ตรงไหน และ
ข้อตกลงที่เจ้าของร่วมคนหนึ่งยอมให้ เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งผ่านที่ ที่ตนได้รับในการแบ่งแยกนั้น ก็ย่อม
เป็นส่วนหนึง่ ของการตกลงแบ่งแยกโฉนดดังกล่าวเมือ่ ไม่ได้ท�ำเป็นหนังสือ ก็ยอ่ มจะน�ำมาฟ้องร้องให้บงั คับ
หาได้ไม่
ฎ. 1609/2512 มารดาตาย โจทก์จำ� เลยได้รบั โอนมรดกทีพ่ พิ าทร่วมกัน ต่อมาได้ตกลงแบ่งแยกกัน
ครอบครอง ถื อ ว่ า เป็ น การตกลงเพื่ อ ระงั บ ข้ อ พิ พ าทซึ่ ง จะมี ขึ้ น ให้ เ สร็ จ ไป เข้ า ลั ก ษณะเป็ น สั ญ ญา
สธ
ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 แต่เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่
ต้องรับผิด ตาม ปพพ. มาตรา 851 จะน�ำพยานบุคคลมาสืบหาได้ไม่ ต้องห้าม ตาม ปวพ. มาตรา 94

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-49

ฎ. 600/2533 การที่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นนายวงแชร์ตกลงกับจ�ำเลยที่ 1 และ น. ให้จ�ำเลยที่ 1 ซึ่ง


เป็นลูกวงเปียแชร์น�ำเงินไปช�ำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ที่ 2 ท�ำละเมิดต่อ น. โดยโจทก์ทั้งสอง
รับจะเป็นผู้ส่งเงินแชร์วงดังกล่าว และแชร์วงอื่นอีกแทนจ�ำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกวงด้วยนั้น ข้อตกลงเช่นนี้
เป็นการระงับข้อพิพาทเกีย่ วกันค่าเสียหายทีโ่ จทก์ที่ 2 ท�ำละเมิดต่อ น. เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด กรณีย่อมไม่อาจบังคับตาม


ข้อตกลงดังกล่าวได้
นอกจากนั้น การไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ท�ำให้คู่สัญญาในประนีประนอมยอมความไม่สามารถ

มส
ยกสัญญาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้เช่นกัน
ฎ. 2289/2531 จ�ำเลยที่ 2 ตกลงท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับฝ่ายโจทก์ว่าจะจ่ายค่า
ท�ำขวัญให้ในกรณีเรือยนต์หางยาวรับจ้างของจ�ำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 จมลงท�ำให้มารดา พีส่ าว และบุตรโจทก์
ซึ่งโดยสารเรือมาด้วยจมนํ้าตาย แต่ปรากฏว่าจ�ำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดไม่ได้ลงลายมือชื่อใน
เอกสารดังกล่าว ดังนัน้ สัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ ย่อมเป็นสัญญาทีไ่ ม่ชอบ จ�ำเลยจะอ้างเอาสัญญา
ประนีประนอมยอมความขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำ� นาจฟ้องจ�ำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดใน
มูลละเมิดซึง่ จ�ำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขบั เรือยนต์หางยาวไปในทางการทีจ่ า้ งท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความ
ทีต่ อ้ งมีหลักฐานเป็นหนังสือนัน้ เป็นเรือ่ งอ�ำนาจฟ้องและเกีย่ วด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึง่ ศาล
สามารถยกขึ้นเองได้แม้คู่กรณีมิได้กล่าวอ้าง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรือ่ งการห้ามฟ้องคดีหรือการยกขึน้ ต่อสูใ้ นคดี เพราะขาดหลักฐานเป็นหนังสือ
ตาม ปพพ. มาตรา 851 นั้นเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้คู่กรณีจะ
มส

ไม่ยกขึ้นอ้าง ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
อุทาหรณ์
ฎ. 623/2498 ผูเ้ ช่าตึกพิพาทตายทายาทตกลงกันถ้าฝ่ายใดได้เช่าตึกนัน้ ต่อไปก็จะต้องใช้คา่ ทดแทน
ให้ อี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง มิ ฉ ะนั้ น จะต้ อ งไปขอรั บ โอนการเช่ า ในนามของทายาทร่ ว มกั น ข้ อ ตกลงนี้ เ ป็ น สั ญ ญา
ประนีประนอมยอมความและในการที่โจทก์ฟ้องขอให้ปฏิบัติตามข้อตกลง จ�ำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ตกลงกับ
โจทก์แม้ไม่ได้ต่อสู้ว่า ข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความต้องท�ำเป็นหนังสือก็ตามศาลก็ยก

บุคคลอื่นไปท�ำการแทนซึ่งเข้าลักษณะของตัวแทนเชิดก็สามารถบังคับกันได้
อุทาหรณ์

ประเด็นเรื่องไม่ได้ทำ� เป็นหนังสือขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นเรื่องอ�ำนาจฟ้อง (ฎ. 1087/2515)
อย่างไรก็ตาม หากไม่มีกรณีที่ต้องใช้หลักฐานเป็นหนังสือเพื่อด�ำเนินการเช่น อาจมีการเชิดให้

ฎ. 258/2535 ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามฎีกาของจ�ำเลยที่ 1 และที่ 3 หรือไม่ เมื่อจ�ำเลย


ที่ 1 มิได้ยกขึน้ ต่อสูไ้ ว้ในค�ำให้การ จึงเป็นข้อทีม่ ไิ ด้ยกขึน้ ว่ากันมาแล้วในศาลชัน้ ต้น ต้องห้ามมิให้ฎกี า โจทก์
บรรยายว่า จ�ำเลยที่ 3 เชิดจ�ำเลยที่ 4 ให้ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โจทก์ไม่จ�ำต้อง
สธ
บรรยายฟ้องถึงพฤติการณ์ว่าจ�ำเลยที่ 3 ได้เชิดจ�ำเลยที่ 4 อย่างไร เพราะสามารถน�ำสืบได้ในชั้นพิจารณา
ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่จ�ำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวิศวกรควบคุมการก่อสร้างของบริษัทจ�ำเลยที่ 1 และ
ที่ 4 ซึ่งเป็นลูกจ้างฝ่ายตรวจสอบอุบัติเหตุของจ�ำเลยที่ 3 ร่วมกันเจรจาและท�ำสัญญาประนีประนอมยอม

10-50 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ความกับโจทก์ ณ ส�ำนักงานของจ�ำเลยที่ 3 ประกอบกับการที่จ�ำเลยที่ 1 และทนายความของจ�ำเลยที่ 3


ยอมรับผิดตามหนังสือของโจทก์ที่ขอให้ช�ำระหนี้ แสดงว่าจ�ำเลยที่ 1 และที่ 3 เห็นชอบในการท�ำสัญญา
ประนีประนอมยอมความด้วย ถือได้ว่าจ�ำเลยที่ 1 และที่ 3 รู้อยู่แล้วยอมให้จำ� เลยที่ 3 และที่ 4 เชิดตัวเขา
เองออกเป็นตัวแทน จ�ำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อ
มิใช่เป็นเรื่องการตั้งตัวแทนไปท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามปกติแต่เป็นเรื่องตัวแทนเชิด


จึงหาจ�ำต้องมีหนังสือมอบอ�ำนาจให้กระท�ำการแทนแต่อย่างใดไม่

มส
กิจกรรม 10.1.3
จอย ซื้อ แหวนเพชรจาก แก้ว ราคา 1,000,000 บาท และตกลงว่าจะช�ำระเงินให้ภายใน 3 เดือน
แต่ต่อมา จอย ไม่ยอมช�ำระราคาแหวนเพชร โดยอ้างว่าแหวนเพชรนั้นราคาเพียง 500,000 บาท จึงมี
ข้อพิพาทกันระหว่าง จอย และแก้ว แต่ต่อมาได้ตกลงกันด้วยวาจาให้ จอย ช�ำระเงินให้ แก้ว เป็นจ�ำนวน
700,000 บาท ดังนี้ หาก จอย ยังไม่ยอมช�ำระเงินจ�ำนวน 700,000 บาท ให้ แก้ว แก้วจะฟ้องเรียกร้องให้
จอย ช�ำระเงินจ�ำนวน 700,000 บาท ได้หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 10.1.3

เนือ่ งจากในการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ คูก่ รณีพพิ าทไม่สามารถท�ำสัญญาโดยเพียง
การตกลงกันด้วยวาจา เพราะ ปพพ. มาตรา 851 บัญญัติบังคับว่าในการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญา
มส

ประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือ
ลายมือชื่อของตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นส�ำคัญ ดังนั้น แก้ว จึงไม่สามารถบังคับเรียกร้องตามสัญญา
ประนีประนอมยอมความให้ จอย ช�ำระเงินจ�ำนวน 700,000 บาท ได้ ต้องไปฟ้องคดีตามสัญญาซื้อขาย
แหวนเพชร


สธ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-51

เรื่องที่ 10.1.4
ผลของประนีประนอมยอมความ


เมื่อมีการท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมก่อผลคือท�ำให้ข้อพิพาทเดิมนั้นระงับสิ้นไปและ
คู่สัญญาหรือคู่กรณีพิพาทมีสิทธิได้รับสิทธิหรือผูกพันกันตามที่ได้ตกลงกันระบุไว้ในสัญญาประนีประนอม

มส
ยอมความ ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 852 ว่า
“ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมท�ำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้น
ระงับสิ้นไปและท�ำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน”

1. สิทธิเรียกร้องของแต่ละฝ่ายที่ได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป
เมือ่ คูก่ รณีพพิ าทตกลงกันระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กนั อันเป็นประนีประนอมยอม
ความแล้วนั้น ย่อมท�ำให้สิทธิต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายเคยเรียกร้องอันท�ำให้เกิดข้อพิพาทต่อกัน แต่ทั้งสองฝ่าย
ได้ยอมสละนั้นย่อมระงับสิ้นไปและผูกพันคู่สัญญาตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
เนือ่ งจากสิทธิเรียกร้อง คือ สิทธิทบี่ คุ คลหนึง่ มีเหนือหรือต่อบุคคลอีกบุคคลหนึง่ ในการเรียกร้องให้

กระท�ำการต่างๆ จึงอาจหมายถึงสิทธิในเรื่องหนี้หรือไม่ก็ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 1274/2521 โจทก์เคยฟ้องหย่าจ�ำเลย ในทีส่ ดุ ได้ทำ� สัญญาไว้ตอ่ กันเป็นข้อสาระส�ำคัญว่า โจทก์
มส

จ�ำเลยยอมคืนดีเป็นสามีภริยากันดังเดิม และข้อความในหนังสือสัญญานั้นได้กล่าวไว้ชัดว่าเป็นสัญญาที่
ท�ำขึน้ เพือ่ ระงับการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์จำ� เลยไม่ตอ้ งเป็นความกันต่อไป โจทก์จำ� เลยจึงได้ตกลงแบ่งปัน
ทรัพย์สินกันเป็นสัดส่วน กล่าวคือให้โจทก์ได้วัวที่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณ 16 ตัว นอกจากทรัพย์ดังกล่าวนี้แล้ว
โจทก์ไม่ขอเอาอีกต่อไป หนังสือสัญญานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และเมื่อข้อสัญญาระบุชัด
ว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อนื่ นอกจากทีโ่ จทก์ได้รบั ตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พพิ าทอันเป็นทรัพย์ที่

มีอยูแ่ ล้วในขณะทีท่ ำ� สัญญานัน้ ตกเป็นสิทธิของจ�ำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พพิ าทอีกไม่ได้
ฎ. 2388/2523 โจทก์ไปแจ้งความให้ตำ� รวจด�ำเนินคดีอาญากับจ�ำเลยฐานบุกรุกแล้วโจทก์จำ� เลยได้
ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์ยอมให้จำ� เลยท�ำประโยชน์ในที่พิพาทต่อไปอีกหนึ่งปี โดย
จ�ำเลยยอมจ่ายค่าเช่าให้โจทก์ 4,000 บาท ดังนี้ จ�ำเลยต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
จะอ้าง พรบ. ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 5 มาเพื่อขยายเวลาเช่าออกไปเป็น 6 ปีหาได้ไม่
ฎ. 3289/2532 โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยในการขนส่งสินค้าที่ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ธ. ผู้รับตราส่งสั่ง
ซื้อจากประเทศสิงคโปร์ มายังท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย จ�ำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขาย
สธ
ในการขนส่งสินค้าดังกล่าว และได้ว่าจ้างจ�ำเลยที่ 2 ให้ขนถ่ายสินค้านั้นลงจากเรือไปโรงพักสินค้าของการ
ท่าเรือแห่งประเทศไทย เมือ่ ปรากฏว่าสินค้าของห้างหุน้ ส่วนจ�ำกัด ธ. ผูร้ บั ตราส่งทีส่ ง่ มาทางทะเลนัน้ สูญหาย
และฝ่ายจ�ำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าดังกล่าวได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ตามข้อจ�ำกัด

10-52 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ความรับผิดของผู้ขนส่งที่ระบุไว้ในใบตราส่งครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างห้างหุ้น
ส่วนจ�ำกัด ธ. และจ�ำเลยทั้งสองแล้ว เช่นนี้ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเหลืออยู่ให้โจทก์ผู้รับประกันภัยรับช่วงมา
ฟ้องเรียกร้องเอาแก่จ�ำเลยทั้งสองอีก ถึงแม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ธ.
ตามพันธะ ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนอกจากที่ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ธ. ได้รับจากจ�ำเลยตามสัญญา
ประนีประนอมยอมความแล้วก็ตาม


ฎ. 2656/2542 โจทก์ฟ้องจ�ำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จ�ำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาท ต่อมาโจทก์และ
จ� ำ เลยได้ ท� ำ สั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความและศาลได้ พิ พ ากษาคดี ต ามยอมถึ ง ที่ สุ ด แล้ ว ผลของ

มส
ประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จ�ำเลยช�ำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอม
ยอมความเท่านัน้ แม้จำ� เลยจะไม่ชำ� ระหนีต้ ามสัญญาประนีประนอมยอมความนัน้ โจทก์กไ็ ม่มสี ทิ ธิทจี่ ะเรียกร้อง
ให้จ�ำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จ�ำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอัน
ระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีค�ำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดอัน
เกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการน�ำคดีมาฟ้องย่อมระงับ ตาม ปวอ. มาตรา
39 แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงท�ำสัญญาประนีประนอมยอม
ความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะท�ำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับ
เช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้
เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าว

สามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ท�ำให้สัญญา
ประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด (ฎ. 719/2543, ฎ. 893/2544, ฎ.
มส

9286/2552 และ ฎ. 566/2553)


ฎ. 719/2543 โจทก์นำ� มูลหนีต้ ามเช็คในคดีนไี้ ปฟ้องจ�ำเลยเป็นคดีแพ่ง ซึง่ ต่อมาได้มกี ารท�ำสัญญา
ประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมแล้ว ผลของประนีประนอมยอมความดังกล่าว
ย่อมท�ำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป หนี้ที่จ�ำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงิน
นั้นจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันและคดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการน�ำคดีอาญามาฟ้องจึงเป็นอันระงับไป (ฎ. 893/2544, ฎ.
9286/2552 และ ฎ. 566/2553) ม
ฎ. 8640/2552 เมื่อโจทก์และจ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ถ้าจ�ำเลยช�ำระเงิน
ครบถ้วนแล้ว โจทก์จะด�ำเนินการถอนฟ้องคดียกั ยอกทีศ่ าลชัน้ ต้นทีโ่ จทก์ได้ฟอ้ งจ�ำเลยไว้ ทัง้ โจทก์ไม่ตดิ ใจ
ที่จะด�ำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญากับจ�ำเลยอันเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับบริษัท ป. อีกต่อไป จึงเป็นการ
ยอมความโดยมีเงื่อนไขที่ให้จ�ำเลยช�ำระเงินแก่โจทก์เสียก่อน โจทก์จึงจะไม่ติดใจด�ำเนินคดีแก่จำ� เลย การ
ยอมความในลักษณะเช่นนีจ้ ะมีผลให้สทิ ธินำ� คดีอาญามาฟ้องระงับไปต่อเมือ่ จ�ำเลยชดใช้เงินให้แก่โจทก์ครบ
ตามจ�ำนวนแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจ�ำเลยน�ำเงินมาวางที่ศาลเพื่อช�ำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนตาม
สธ
สัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องคดียักยอกที่ศาลชั้นต้นให้แก่
จ�ำเลยตามข้อตกลง กรณีจึงเป็นผลเป็นการยอมความในคดีอาญา สิทธิน�ำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อม
ระงับไป ตาม ปวอ. มาตรา 39 (2)

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-53

ฎ. 1528/2554 ปพพ. มาตรา 761 มิได้บังคับให้เจ้าหนี้ต้องน�ำดอกผลนิตินัยอันเกิดจากทรัพย์ที่


จ�ำน�ำไปหักจากจ�ำนวนหนี้ที่ค้างช�ำระ เพียงแต่หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิดังกล่าว จะต้องน�ำดอกผลนิตินัยไปหัก
ออกจากหนี้ ต ามล� ำ ดั บ ที่ ก ฎหมายบั ญ ญั ติ ไว้ เ ท่ า นั้ น โจทก์ ช� ำ ระหนี้ ใ ห้ จ� ำ เลยที่ 1 ในวั น ที่ ท� ำ สั ญ ญา
ประนีประนอมยอมความแล้ว จ�ำเลยที่ 1 จึงมีหนังสือแจ้งการปลดหนี้และหลักประกัน และในท้ายหนังสือ
ฉบับนี้ยังระบุว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามซึ่งข้อก�ำหนดในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาปลดหนี้ โดยมีเงื่อนไข


ครบถ้วนทุกประการ จึงต้องถือว่าหนีท้ งั้ หมดระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยที่ 1 ได้ระงับไปแล้วโดยประนีประนอม
ยอมความ ทั้งในสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้ระบุว่าให้น�ำเงินปันผลที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเป็นอีก

มส
ส่วนหนึง่ ทีโ่ จทก์จะต้องน�ำมาช�ำระให้แก่จำ� เลยที่ 1 อีกด้วย และในการประชุมผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั ล. ในวันที่
27 เมษายน พ.ศ. 2544 ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 6 บาท ดังนั้น
ดอกผลนิตินัยอันเกิดจากหุ้นที่โจทก์จ�ำน�ำไว้แก่จ�ำเลยที่ 1 จึงเกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ระหว่างโจทก์และ
จ�ำเลยที่ 1 ได้ระงับไปทั้งหมดแล้ว รวมทั้งหลักประกันต่างๆ ที่จ�ำเลยที่ 1 เคยมีสิทธิบังคับเอาแก่โจทก์
จ�ำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะน�ำเงินปันผลมาช�ำระหนี้ได้อีก จ�ำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินปันผลที่รับไว้แก่โจทก์
ฎ. 536/2554 ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 นั้น คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญา
ทัง้ สองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึง่ ซึง่ มีอยู่ หรือจะมีขนึ้ นัน้ ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กนั แต่
ส�ำเนารายงานประจ�ำวันเกี่ยวกับคดีมีใจความเพียงว่า “ค่าเสียหายในการนี้ คู่กรณีทั้งสองตกลงกันเองได้
และจะน�ำไปซ่อมกันเอง” ไม่มีสาระส�ำคัญแสดงว่าจ�ำเลยเจรจาตกลงกับ ส. คนขับรถบรรทุกหกล้อที่โจทก์

รับประกันภัยไว้ในเรื่องการช�ำระค่าเสียหายให้ชัดแจ้งแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นประนีประนอมยอมความ
ตามกฎหมาย มูลหนี้ละเมิดจึงไม่ระงับสิ้นไปเมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยน�ำรถยนต์บรรทุกหกล้อคัน
มส

ดังกล่าวไปซ่อมจนมีสภาพดีดงั เดิม โจทก์ยอ่ มเข้ารับช่วงสิทธิของผูเ้ อาประกันภัยเรียกร้องให้จำ� เลยผูก้ ระท�ำ


ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้
ฎ. 14113/2555 ในคดีกอ่ น จ�ำเลยได้ฟอ้ งขับไล่โจทก์ที่ 2 และบริวารออกจากทีด่ นิ พิพาทโดยอาศัย
สิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดิน อันเป็นเอกสารฉบับเดียวกันกับที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องขอให้เพิกถอน ต่อมา
โจทก์ที่ 2 และจ�ำเลยได้ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความเกีย่ วกับทีด่ นิ พิพาท โดยในสัญญาประนีประนอม
ยอมความระบุว่า ภายใน 3 เดือน หากโจทก์ที่ 2 ประสงค์จะซือ้ ที่ดินคืน จ�ำเลยยินยอมขายคืนให้ หากพ้น
ก�ำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ที่ 2 และบริวารยินยอมขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท สัญญา ม
ประนีประนอมได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทแปลงเดียวกัน ซึ่งล้วนเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี ต้องถือว่ามีการ
ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีแล้ว การทีโ่ จทก์ทงั้ สองน�ำสัญญาซือ้ ขายทีด่ นิ พิพาท
ฉบับเดิมซึ่งเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมาฟ้องเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ได้
วินจิ ฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ถกู ฟ้องในคดีกอ่ น แต่ไม่วา่ โจทก์ที่ 1 จะอยูใ่ นฐานะ
เป็นสามีของโจทก์ที่ 2 หรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิร์ วม ค�ำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ทงั้ สอง
ตาม ปวพ. มาตรา 145 ฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องซํ้า ตาม ปวพ. มาตรา 148
สธ
อย่างไรก็ตาม ถ้าคู่กรณีตกลงกันในข้อพิพาทบางเรื่องและยังมีบางส่วนที่ยังไม่ตกลงกันอันท�ำให้
ยังมีข้อพิพาทอยู่ ข้อพิพาทนั้นก็ระงับสิ้นไปเฉพาะส่วนที่ตกลงกันเท่านั้น ส่วนที่ยังไม่ได้ตกลงกันก็ยังคงมี
ข้อพิพาทอยู่และหากมีสิทธิเรียกร้องใดๆ ในข้อพิพาทนั้นคู่กรณีพิพาทก็ยังคงเรียกร้องได้ต่อไป

10-54 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 146/2532 แม้ขอ้ ตกลงระหว่าง ส. กับจ�ำเลยตามรายงานเบ็ดเสร็จประจ�ำวันมีใจความว่า ส. ได้
เรียกร้องค่าเสียหายและค่ารักษาพยาบาลตัวเองและของภรรยาเป็นเงินรวม 27,500 บาท และไม่ติดใจ
เรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและอาญาก็ตาม แต่ยังมีข้อความอีกว่า ส�ำหรับรถยนต์ของ
ส. นัน้ คูก่ รณีทงั้ สองฝ่ายจะไปท�ำการเจรจากันในภายหลังต่อไป แสดงว่าคูก่ รณีเจตนาแยกการเรียกค่าเสียหาย


จากการซ่อมแซมรถยนต์ออกจากค่าเสียหายจ�ำนวน 27,500 บาท ส. จึงไม่สญ ู สิทธิทจี่ ะเรียกร้องค่าซ่อมแซม
รถยนต์ในภายหลัง เมือ่ โจทก์ผรู้ บั ประกันภัยรถยนต์ของ ส. ได้นำ� รถยนต์ดงั กล่าวไปซ่อมแซมและช�ำระค่า

ปพพ. มาตรา 880


มส
ซ่อมแซมแล้ว โจทก์ยอ่ มเข้ารับช่วงสิทธิของ ส. ในอันทีจ่ ะเรียกร้องเงินค่าซ่อมแซมรถยนต์จากจ�ำเลย ตาม

ฎ. 2188/2532 โจทก์จ�ำเลยได้ เจรจากันเรื่องทรัพย์มรดกของบิดามารดา ฝ่ายจ�ำเลยเสนอให้โค


แก่โจทก์ 3 ตัว เท่านั้น ฝ่ายโจทก์ยืนยันจะขอแบ่งที่นาด้วย และโจทก์จ�ำเลยลงชื่อไว้ในบันทึกเช่นนี้ ถือว่า
บันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จ�ำเลยในเรือ่ งทรัพย์สนิ อืน่ ทีม่ ใิ ช่ทดี่ นิ เมือ่
โจทก์ได้รับโคไป 3 ตัว ตาม ข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะขอแบ่งทรัพย์สินอื่นจากจ�ำเลยได้
เว้นแต่ที่ดินซึ่ง เดิมเป็นทรัพย์มรดกของบิดามารดาและบ้านซึ่งเป็นส่วนควบ

2. คู่กรณีแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่ตกลงกันในประนีประนอมยอมความว่าเป็นของตน

เมือ่ คูก่ รณีได้ตกลงกันระงับข้อพิพาทโดยประนีประนอมยอมความในรายละเอียดต่างๆ ในข้อพิพาท
แล้วย่อมได้สิทธิตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
มส

จากการที่ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความท�ำให้ข้อพิพาทหรือข้อเรียกร้องเดิมระงับสิ้นไป
และคูก่ รณีพพิ าทแต่ละฝ่ายได้สทิ ธิตามทีต่ กลงกันว่าเป็นของตนจึงท�ำให้เป็นสัญญาทีม่ ลี กั ษณะพิเศษแตกต่าง
จากสัญญาทั่วไป กล่าวคือ สัญญาทั่วไปมักก่อสิทธิขึ้นใหม่ เช่น ในสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อจะได้กรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินที่ตนซื้อ ส่วนผู้ขายจะได้รับเงินค่าขายทรัพย์สิน แต่ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
คู่สัญญามิได้ได้สิทธิใหม่แต่อย่างใด คงเป็นเพียงสัญญาที่แสดงสิทธิที่ตนมีอยู่แล้ว เนื่องจากคู่สัญญาจะได้
สิทธิตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาว่าเป็นของตน ซึ่งมีผลเป็นการยุติข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งในเรื่องสิทธิที่

อุทาหรณ์

พิพาทกัน ซึ่งก็เป็นสิทธิส่วนหนึ่งของคู่สัญญาที่มีอยู่เดิม3 ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญญาที่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่
คู่กรณีเห็นว่าเป็นสิทธิของตน

ฎ. 215/2501 การทีโ่ จทก์จำ� เลยท�ำสัญญากันไว้ เมือ่ มีขอ้ โต้เถียงกันเรือ่ งทีน่ าทีบ่ า้ นว่าให้ทดี่ งั กล่าว
เป็นของลูกจ�ำเลยซึง่ เกิดด้วยนางเอิบ บุตรีโจทก์ เป็นสัญญาทีท่ ำ� ขึน้ เพือ่ ระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำ� เลย
เป็นสัญญาประนีประนอมที่ใช้ได้ตามกฎหมาย มีผลผูกพันคู่สัญญา โจทก์ไม่มีอ�ำนาจมาฟ้องเรียกทรัพย์
พิพาทจากจ�ำเลยเว้นแต่จะฟ้องตามสัญญาประนีประนอมนั้น
สธ
3
จิ๊ด เศรษฐบุตร กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ การ
พนันและขันต่อ กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2492 น. 169.

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-55

ฎ. 601/2507 โจทก์ฟ้องว่า จ�ำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจ�ำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างในทางการที่จ้าง


โดยประมาทเลินเล่อ ชนโจทก์บาดเจ็บ ขอให้จ�ำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหาย 99,000 บาท ได้ความว่า ก่อน
ฟ้องคดีนี้ โจทก์กับจ�ำเลยที่ 2 ได้ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมรับค่าเสียหายในมูล
ละเมิดนี้ 4,000 บาท ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำ� เลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด
นั้นย่อมระงับสิ้นไปตาม ปพพ. มาตรา 852 คงมีแต่สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำ� เลยที่ 2 ช�ำระหนี้ตามสัญญา


ประนีประนอมยอมความเท่านัน้ จะมาฟ้องให้รบั ผิดฐานละเมิดเช่นนีอ้ กี ไม่ได้ ส่วนจ�ำเลยที่ 1 นัน้ โดยตนเอง
มิได้กระท�ำละเมิดต่อโจทก์ หากแต่ ปพพ. มาตรา 425 บัญญัติให้ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดในฐานะ

มส
ที่เป็นนายจ้าง เมื่อหนี้ในมูลละเมิดในกรณีนี้ได้ระงับสิ้นไปดังกล่าวแล้ว ความรับผิดของจ�ำเลยที่ 1 ก็ย่อม
ระงับสิ้นไปด้วย โจทก์จึงฟ้องเรียกร้องให้จำ� เลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งการละเมิดของจ�ำเลยที่ 2
นั้นอีกไม่ได้ (ฏ. 580/2518, ฎ. 1399/2526, ฎ. 7026/2538 และ ฎ. 2569/2540)
ฎ. 2569/2551 เมื่อโจทก์ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความกับบริษัท ร. ผู้สลักหลังย่อมท�ำให้มูล
หนี้เดิมตามเช็คระงับสิ้นไป และท�ำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
อันถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัท ร. ช�ำระหนี้แก่ตนตามสัญญา
ประนีประนอมยอมความ ไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะเรียกให้บริษทั ร. และจ�ำเลยในฐานะผูส้ งั่ จ่ายรับผิดในมูลหนีต้ ามเช็ค
ได้อีก
ฎ. 6479/2551 แม้จ�ำเลยจะท�ำสัญญาคํ้าประกันหนี้เงินกู้ของ จ. โดยยอมรับผิดร่วมกับ จ. อย่าง

ลูกหนี้ร่วมก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความกับ จ. และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม
ความรับผิดของ จ. ตามสัญญากู้ยืมเงินย่อมระงับสิ้นไปและท�ำให้ จ. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
มส

ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 และมาตรา 852 เมือ่ ความรับผิดของ จ. ต่อโจทก์เปลีย่ น
เป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนีข้ อง จ. ตามสัญญากูเ้ งินจึงระงับสิน้ ไป จ�ำเลยในฐานะ
ผู้คํ้าประกันการช�ำระหนี้ตามสัญญากู้เงินของ จ. จึงหลุดพ้นความรับผิด ตาม ปพพ. มาตรา 698
ฎ. 2208/2552 โจทก์ฟอ้ งจ�ำเลยทัง้ สามในคดีเช็ค ต่อมาโจทก์และจ�ำเลยทัง้ สามท�ำสัญญาตกลงกัน
โดยโจทก์ให้จำ� เลยทัง้ สามผ่อนช�ำระหนีต้ ามเช็คพิพาทเป็นงวดและฝ่ายจ�ำเลยออกเช็คฉบับใหม่ 3 ฉบับ ให้
แก่โจทก์ ตามหนังสือรับสภาพหนี้ ดังนัน้ การกระท�ำของจ�ำเลยและโจทก์ทตี่ กลงกันว่าจะยุตคิ ดีเดิมและรับ

ช�ำระหนีแ้ ละเรียกร้องกันตามเช็คฉบับใหม่สามฉบับนัน้ ย่อมเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อน
ผันให้แก่กัน อันมีผลท�ำให้ข้อพิพาทและสิทธิเรียกร้องในเช็คฉบับเดิมระงับสิ้นไป และคู่กรณีต้องผูกพัน
บังคับกันตามเช็คพิพาทฉบับใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และย่อมท�ำให้สิทธิน�ำคดีอาญามา
ฟ้องส�ำหรับเช็คฉบับเดิมระงับสิน้ ไป ดังนัน้ แม้โจทก์จะเรียกเก็บเงินตามเช็คสามฉบับใหม่ไม่ได้ ก็ไม่สามารถ
ฟ้องเรียกร้องตามเช็คฉบับเดิมได้ เพราะสิทธิเรียกร้องตามเช็คฉบับเดิมนั้นระงับสิ้นไปแล้ว ตาม ปพพ.
มาตรา 852 กล่าวคือ หนี้ที่จำ� เลยทั้งสามได้ออกเช็คพิพาทเดิมตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันสิ้นผลผูกพัน
ไปคดีอาญาจึงเป็นอันเลิกกันตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิ
สธ
ในการน�ำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยอ่ มระงับไป ตาม ปวอ. มาตรา 39 ดังนัน้ โจท์คงต้องฟ้องคดีตามเช็ค
ฉบับใหม่เท่านั้นทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534

10-56 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 5645/2555 โจทก์และจ�ำเลยทัง้ สามท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จ�ำเลยทัง้ สามยอมรับ


ว่าเป็นหนีโ้ จทก์ตามฟ้องและตกลงร่วมกันหรือแทนกันช�ำระเงินพร้อมดอกเบีย้ แก่โจทก์ จ�ำเลยทัง้ สามตกลง
ช�ำระหนีโ้ จทก์โดยน�ำทรัพย์จำ� นองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิช์ ำ� ระหนีใ้ ห้แก่โจทก์ภายใน 30 วัน หากผิดนัด
ยินยอมให้โจทก์ถอื เอาค�ำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิไ์ ด้ทนั ทีเพียงประการ
เดียว ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่ามีการตกลงกันให้จ�ำเลยทั้งสามช�ำระหนี้ได้สองวิธีคือ น�ำทรัพย์


จ�ำนองตีราคาช�ำระหนี้ หรือน�ำเงินมาช�ำระหนี้แก่โจทก์ การที่สัญญาระบุว่าจ�ำเลยทั้งสามรับว่าเป็นหนี้และ
ตกลงร่วมกันหรือแทนกันช�ำระหนี้ก็เป็นเพียงการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น ผลของสัญญา

มส
ประนีประนอมยอมความย่อมท�ำให้มูลหนี้เดิมระงับ โจทก์และจ�ำเลยทั้งสามต้องผูกพันกันตามมูลหนี้ใหม่
โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีโดยถือเอาค�ำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจ�ำเลย โจทก์หามีสิทธิเลือกบังคับ
คดีด้วยวิธีการยึดทรัพย์จ�ำนองออกขายทอดตลาดแล้วน�ำเงินมาช�ำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมแก่โจทก์ไม่
ฎ. 1368/2556 โจทก์สมัครใจลงลายมือชือ่ ในช่องผูร้ บั เงินในใบรับเงินทีม่ ขี อ้ ความว่าจ�ำเลยเลิกจ้าง
โจทก์และได้จ่ายเงินเดือน ค่าเสียหายแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า กับค่าชดเชย ซึ่งโจทก์ได้รับเงิน
จ�ำนวนดังกล่าวเรียบร้อยแล้วและไม่ตดิ ใจเรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดจากจ�ำเลยอีก ใบรับเงินฉบับนีม้ ลี กั ษณะ
เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลผูกพันโจทก์ว่าหลังจากโจทก์ได้รับเงินทั้งสามจ�ำนวนอันเป็นเงิน
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุม้ ครองแรงงานแล้ว โจทก์สละสิทธิทจี่ ะเรียกเงินอืน่ ใดตามกฎหมายซึง่ มีความหมาย
รวมทัง้ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างทีไ่ ม่เป็นธรรมอันไม่ใช่เงินตามกฎหมายว่าด้วยการคุม้ ครองแรงงานทีเ่ ป็น

กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง
ที่ไม่เป็นธรรมจากจ�ำเลย
มส

อย่างไรก็ตาม ผลของประนีประนอมยอมความนั้นผูกพันเฉพาะคู่กรณีพิพาทซึ่งเป็นบุคคลที่
เกี่ยวข้องเท่านั้นไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก
อุทาหรณ์
ฎ. 7159/2539 แม้โจทก์ผู้ได้รับความเสียหายจากการที่คนขับรถยนต์บรรทุกของจ�ำเลยที่ 1 ขับ
รถยนต์ชนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บและรถยนต์ของโจทก์เสียหายกับจ�ำเลยที่ 1 จะได้ท�ำบันทึกข้อ
ตกลงในเรื่องค่าสินไหมทดแทนต่อกันอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความท�ำให้ความรับผิดของจ�ำเลย

ต้องเปลี่ยนแปลงหรือต้องระงับไปด้วยไม่ จ�ำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์



ที่ 1 ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อโจทก์เปลี่ยนแปลงไปเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็หา
ท�ำให้ความรับผิดของจ�ำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยคํ้าจุนจ�ำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ก่อนแล้วตามกรมธรรม์ประกันภัย

ฎ. 6393/2551 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุจ�ำนวนเงินจ�ำกัดความรับผิด กรมธรรม์ประกันภัยนี้


ให้ความคุ้มครองเฉพาะสัญญาข้อที่มีจ�ำนวนเงินจ�ำกัดความรับผิดระบุไว้เท่านั้น ในข้อสัญญาดังกล่าวไม่
ระบุถึงต้องรับผิดในส่วนค่าขาดไร้อุปการะด้วยการที่จ�ำเลยจ่ายเงินไปเห็นได้ชัดว่าเป็นค่าปลงศพเท่านั้น
การจ่ายเงินค่าซ่อมรถก็เป็นค่าเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งค่าเสียหายทั้งสองรายการนี้ต้องจ่ายตามกรมธรรม์
สธ
ประกันภัยที่จ�ำเลยที่ 1 ท�ำไว้กับจ�ำเลยร่วมเท่านั้น ในการท�ำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ทั้งสองถึงแก่
ความตาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้
ตาม ปพพ. มาตรา 443 วรรคสาม ประกอบมาตรา 1563 ไม่ว่าในขณะเกิดเหตุผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดู

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-57

โจทก์ทงั้ สองจริงหรือไม่ และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ การทีโ่ จทก์ทงั้ สองถอนฟ้องจ�ำเลยร่วมทีจ่ ำ� เลย


ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ขอให้ศาลเรียกเข้ามานั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับจ�ำเลยทั้งห้าเพราะคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้
จ�ำเลยทัง้ ห้าชดใช้คา่ ขาดไร้อปุ การะตามกฎหมาย ไม่ใช่คา่ ปลงศพและค่าเสียหายต่อทรัพย์สนิ ของกรมธรรม์
ประกันภัย จึงไม่เป็นการปลดหนี้ให้แก่จ�ำเลยร่วมอันจะมีผลท�ำให้จ�ำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 หลุดพ้นจาก
ความรับผิดในส่วนนี้ ทัง้ การทีโ่ จทก์ทงั้ สองท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจ�ำเลยร่วมว่าไม่ตดิ ใจเรียกร้อง


อะไรอีกนั้น เป็นกรณีเฉพาะประนีประนอมยอมความกันในเรื่องค่าซ่อมรถเท่านั้น
ฎ. 9131/2551 แม้สัญญาให้ระหว่างโจทก์ผู้ให้กับจ�ำเลยผู้รับได้ก�ำหนดเงื่อนไขรายละเอียดไว้ใน

มส
สัญญาโดยให้จำ� เลยปลูกบ้านและกรีดยางพาราในทีด่ นิ ของโจทก์พร้อมทัง้ ให้สง่ รายได้สว่ นแบ่งให้โจทก์อนั
เป็นการให้โดยมีคา่ ภาระติดพันก็ตาม แต่ขอ้ ตกลงดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิคงมีผลผูกพันเฉพาะคูส่ ญ
คือโจทก์กับจ�ำเลยเท่านั้นไม่มีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับสิทธิในที่ดินจากจ�ำเลย
เพราะไม่ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสามได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวไว้และอยู่รู้เห็นด้วยขณะท�ำสัญญาให้
ดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อขณะจ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องที่ 3 จ�ำเลยยังเป็นเจ้าของ
ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินย่อมมีสิทธิต่างๆ ตาม ปพพ. มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และไม่ใช่กรณีผู้รับโอน
ไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการกระท�ำโดยชอบด้วยกฎหมาย
ั ญา

ฎ. 1774/2552 เมือ่ จ�ำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายท�ำละเมิดโดยขับรถยนต์คนั เกิดเหตุของจ�ำเลยที่ 2 เฉีย่ วชน


กับรถยนต์ของโจทก์โดยประมาท จ�ำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์จนเต็มจ�ำนวน

ตาม ปพพ. มาตรา 420 โดยไม่ต้องค�ำนึงว่าจะมีการเอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุที่จ�ำเลยที่ 1 ขับไว้
หรือไม่ การที่จ�ำเลยที่ 2 เอาประกันภัยรถยนต์เกิดเหตุไว้กับบริษัท ส. ในลักษณะประกันภัยคํ้าจุนก็เพื่อ
มส

ให้บริษัท ส. ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแทนจ�ำเลยที่ 2 ภายในวงเงินประกันภัย ซึ่งโจทก์ผู้ได้


รับความเสียหายมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้ ตาม ปพพ. มาตรา 887 วรรค
สอง การที่โจทก์เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการกรมการประกันภัย ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาทระหว่าง
โจทก์กับผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยและที่โจทก์ตกลงท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับ
ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินจ�ำนวนดังกล่าวก็เนือ่ งจากมีขอ้ จ�ำกัดเกีย่ วกับวงเงินทีผ่ รู้ บั ประกันภัยจะต้องรับผิด
ตามสัญญาประกันภัย สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นเรือ่ งระหว่างโจทก์กบั ผูร้ บั ประกันภัย

ไม่เกีย่ วกับจ�ำเลยทัง้ สองแต่อย่างใด แม้ในบันทึกข้อความเรือ่ งจ่ายค่าสินไหมทดแทน มีขอ้ ความเพิม่ เติมว่า
“เมือ่ ผูเ้ สนอข้อพิพาทได้รบั ค่าสินไหมทดแทนแล้วจะไม่ตดิ ใจเรียกร้องใดๆ จากบริษทั หรือผูอ้ นื่ ใดอีกต่อไป”
ค�ำว่า “ผูอ้ นื่ ” ในทีน่ กี้ ไ็ ม่ชดั แจ้งว่าหมายถึงจ�ำเลยทัง้ สอง จึงไม่อาจตีความว่าหมายถึงจ�ำเลยทัง้ สองซึง่ ไม่มี
ส่วนเกีย่ วข้องกับการตกลงประนีประนอมยอมความได้ ดังนัน้ สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์
กับผู้รับประกันภัยดังกล่าวจึงไม่มีผลท�ำให้มูลละเมิดตามฟ้องระงับสิ้นไป
ฎ. 7631/2552 คดีก่อนโจทก์น�ำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจ�ำเลยให้ช�ำระหนี้เงินกู้ โจทก์กับสามีจ�ำเลย
ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีค�ำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอม
สธ
ยอมความท�ำให้สทิ ธิเรียกร้องตามสัญญากูย้ มื เงินสิน้ สุดไป โจทก์ถอื สิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอม
ความ ตาม ปพพ. มาตรา 852 การที่สามีจำ� เลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จ�ำเลยไม่ได้
ร่วมท�ำสัญญาด้วย จึงไม่มผี ลผูกพันจ�ำเลย เมือ่ จ�ำเลยไม่ใช่คสู่ ญ ั ญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จ�ำเลย

10-58 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

จึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและค�ำพิพากษาตามยอมไม่
ผูกพันจ�ำเลยเพราะไม่ใช่คคู่ วามในคดีดงั กล่าว โจทก์ไม่สามารถน�ำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
มาฟ้องจ�ำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอ�ำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอ�ำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบ
เรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอ�ำนาจที่จะยกขึ้นได้ ตาม ปวพ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ
247


3. ปัญหาเกี่ยวกับผลของประนีประนอมยอมความ

มส
ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลของประนีประนอมยอมความมักมีปัญหาเกิดขึ้นต่างๆ ดังนี้
3.1 ประนีประนอมยอมความกับการระงับแห่งหนี้ ผลของประนีประนอมยอมความนัน้ มีปญ
ประการหนึ่งว่าท�ำให้หนี้ระงับสิ้นไปหรือไม่
ในบางกรณีทขี่ อ้ พิพาทเกีย่ วข้องกับหนี้ ผลของประนีประนอมยอมความอาจท�ำให้หนีท้ พี่ พิ าทระงับ
ไปได้ แต่ต้องมีกรณีที่ทำ� ให้หนี้ระงับสิ้นไป ซึ่งมีเหตุที่ท�ำให้หนี้ระงับนั้นมี 5 ประการ ตาม ปพพ. บรรพ 2
ลักษณะ 1 หมวดที่ 5 คือ การช�ำระหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 314 กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้ช�ำระต้นเงิน ดอกเบี้ย
และค่าสินไหมทดแทนอื่นๆ ให้กับเจ้าหนี้จนครบถ้วน การช�ำระหนี้ไม่ว่าจะช�ำระหนี้ด้วยตนเองหรือบุคคล
ั หา

ภายนอก เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง เพื่อนช�ำระแทนให้ก็ท�ำให้หนี้นั้นระงับ การปลดหนี้ ตาม ปพพ.


มาตรา 340 โดยเจ้าหนีแ้ สดงเจตนาต่อลูกหนีว้ า่ จะปลดหนีใ้ ห้หนีน้ นั้ ก็เป็นอันระงับสิน้ ไป การหักกลบลบหนี้

ตาม ปพพ. มาตรา 341 กล่าวคือ ในกรณีที่บุคคลตั้งแต่สองคนมีความผูกพันเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ต่อกัน
โดยมีมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและหนี้ทั้งสองรายนั้นถึงก�ำหนดจะช�ำระ ทั้งสองฝ่ายอาจหักกลบ
มส

ลบหนี้กันเท่าจ�ำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้น เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้หักกลบลบกันได้
การแปลงหนี้ใหม่ ตาม ปพพ. มาตรา 349 ซึ่งเป็นกรณีที่เมื่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกันเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่ง
เป็นสาระส�ำคัญแห่งหนี้ เช่น ตัวเจ้าหนี้ ลูกหนี้ วัตถุแห่งหนี้ เพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
และหนีเ้ กลือ่ นกลืนกัน ตาม ปพพ. มาตรา 353 กล่าวคือ ในกรณีทสี่ ทิ ธิและความรับผิดในหนีร้ ายใดตกอยู่
แก่บุคคลคนเดียวกัน หนี้นั้นย่อมระงับสิ้นไป
ดังนั้น ในประนีประนอมยอมความที่มีการกระท�ำที่เข้าลักษณะที่ท�ำให้หนี้ระงับ เช่น พิพาทกันใน

หนี้ที่พิพาทกันระงับสิ้นไป
อุทาหรณ์

เรือ่ งหนี้ และมีการแปลงหนีใ้ หม่เพราะเปลีย่ นสิง่ ซึง่ เป็นสาระส�ำคัญแห่งหนี้ เช่น ตัวลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือวัตถุ
แห่งหนีก้ เ็ ป็นการแปลงหนีใ้ หม่ได้ดว้ ยและย่อมเกิดผลในลักษณะของการแปลงหนีใ้ หม่ดว้ ยเช่นกัน คือ ท�ำให้

ฎ. 5433/2551 การทีจ่ ำ� เลยทัง้ สองยอมให้โจทก์ในฐานะผูค้ าํ้ ประกันของจ�ำเลยทัง้ สองในการเช่าซือ้


รถยนต์บรรทุกจ�ำนวน 22 คัน ไปท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบริษัทซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ให้เช่าซื้อ
รถยนต์ดังกล่าว โดยโจทก์จะเป็นผู้ช�ำระหนี้ให้แก่บริษัทจ�ำนวน 14,683,970 บาท โดยบริษัทจะโอน
สธ
กรรมสิทธิร์ ถยนต์บรรทุกทัง้ หมดให้แก่โจทก์ และไม่ตดิ ใจจะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ อีกต่อไป ถือเป็นการ
แปลงหนีใ้ หม่โดยเปลีย่ นตัวลูกหนี้ โดยลูกหนีเ้ ก่าคือจ�ำเลยทัง้ สองให้ความยินยอม ตาม ปพพ. มาตรา 350
ดังนั้น หนี้เดิมตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาคํ้าประกันจึงเป็นอันระงับไปตามมาตรา 349 วรรคหนึ่ง

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-59

ส�ำหรับกรณีที่การระงับข้อพิพาทไม่เกี่ยวข้องกับหนี้ก็จะไม่มีการระงับหนี้หรือเกี่ยวข้องกับหนี้แต่
ไม่เข้าลักษณะที่จะให้ท�ำหนี้ระงับก็ไม่มีการระงับแห่งหนี้
3.2 ปัญหาเกี่ยวกับหนี้อุปกรณ์จะระงับไปหรือไม่ในกรณีที่มีประนีประนอมยอมความหนี้
ประธาน ในเรื่องผลของประนีประนอมยอมความนั้นมีปัญหาประการหนึ่งว่า ในกรณีที่มีหนี้ประธาน เช่น
หนี้เงินกู้และมีการคํ้าประกันหรือจ�ำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์นั้น หากมีการตกลงกันระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น


จากหนีป้ ระธานและตกลงระงับข้อพิพาทเรือ่ งหนีป้ ระธานโดยยอมผ่อนผันให้แก่กนั ซึง่ ท�ำให้หนีป้ ระธานระงับ
สิ้นไป แต่จะท�ำให้หนี้อุปกรณ์ เช่น หนี้คํ้าประกันและผู้คํ้าประกัน หรือหนี้จ�ำนองและผู้จ�ำนองประกันหนี้

มส
หลุดพ้นความรับผิดไปด้วยหรือไม่
ในเรื่องนี้มีความเห็นและค�ำพิพากษาศาลฎีกาแบ่งได้เป็นสองฝ่าย ดังนี้
ฝ่ายที่หนึ่งเห็นว่าเมื่อหนี้ประธานระงับสิ้นไป หนี้อุปกรณ์ คือ หนี้คํ้าประกันและหนี้จำ� นอง และผู้
คํ้าประกันหรือผู้จ�ำนองย่อมหลุดพ้นความรับผิดไปด้วย เนื่องจากไม่มีหนี้ประธานแล้ว4 ทั้งนี้เพราะผู้คํ้า
ประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ ตาม ปพพ.
มาตรา 698 และจ�ำนองย่อมระงับสิน้ ไปเมือ่ หนีท้ ปี่ ระกันระงับสิน้ ไปด้วยเหตุประการอืน่ ใดอันมิใช่อายุความ
ตาม ปพพ. มาตรา 744 และมีคำ� พิพากษาฎีกาตามแนวนี้หลายฉบับ
อุทาหรณ์
ฎ. 8072/2542 หลังจากโจทก์ฟ้องจ�ำเลยแล้ว ผู้เสียหายได้น�ำมูลหนี้ตามเช็คพิพาทไปฟ้องเฉพาะ

น. ซึ่งเป็นผู้คํ้าประกันหนี้จ�ำเลยตามเช็คพิพาทให้ชดใช้เงินตามคดีแพ่งผู้เสียหาย และ น. ได้ท�ำสัญญา
ประนีประนอมยอมความ และศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว แม้จ�ำเลยจะมิได้เป็นคู่ความในคดี
มส

แพ่งด้วยก็ตาม แต่ผลของประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมท�ำให้การเรียกร้องซึง่ แต่ละฝ่ายได้ยอมสละ


นั้นระงับสิ้นไปและท�ำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ใน ปพพ.
มาตรา 852 เมื่อหนี้ที่จ�ำเลยได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงิน และ น. เป็นผู้คํ้าประกันการช�ำระเงินดังกล่าว
เป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีค�ำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พรบ. ว่าด้วยความ
ผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
ฎ. 4235/2547 เช็คที่จ�ำเลยที่ 1 สั่งจ่ายช�ำระหนี้ให้แก่โจทก์ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์

จึงร้องทุกข์ให้ดำ� เนินคดีอาญาแก่จำ� เลยที่ 1 ต่อมาได้มีการท�ำสัญญาขึ้นโดยตามสัญญาดังกล่าว จ�ำเลยที่ 1
ไม่ต้องช�ำระหนี้เต็มจ�ำนวนทันที แต่แบ่งช�ำระหนี้เป็น 4 งวด มีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทต่อกันและ
ผ่อนผันการช�ำระหนี้ให้แก่กัน เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850
ย่อมท�ำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และท�ำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงใน
สัญญานั้นว่าเป็นของตนตามมาตรา 852 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามมูลหนี้ซื้อขายเดิมจึงระงับไป
โจทก์คงได้แต่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเท่านั้น จ�ำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้คํ้า
ประกันมูลหนี้ซื้อขายเดิมของจ�ำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
สธ
4 โสภณ รัตนากร คำ�อธิบาย ปพพ. ว่าด้วยหนี้: บทเบ็ดเสร็จทั่วไป กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ์นิติบรรณาการ พ.ศ.
2556 น. 578.

10-60 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 1732/2550 จ�ำเลยท�ำสัญญาคํ้าประกันการช�ำระหนี้ตามสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายของ
ก. ต่อโจทก์ แต่เมือ่ โจทก์และ ก. ได้ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความเกีย่ วกับค่าเสียหายที่ ก. จะต้องรับผิด
ความรับผิดของ ก. ทีเ่ กิดจากสัญญารับผิดชดใช้ความเสียหายและความรับผิดของจ�ำเลยในฐานะผูค้ าํ้ ประกัน
จึงระงับสิ้นไป และท�ำให้ ก. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา
850 และ 852 เมือ่ ความรับผิดของ ก. ต่อโจทก์เปลีย่ นเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ


จ�ำเลยในฐานะผู้คํ้าประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยเนื่องจากหนี้ของ ก. ตามสัญญารับผิดชดใช้
ความเสียหายระงับสิ้นไปแล้วตามมาตรา 698

มส
ฎ. 6479/2551 แม้จ�ำเลยจะท�ำสัญญาคํ้าประกันหนี้เงินกู้ของ จ. โดยยอมรับผิดร่วมกับ จ. อย่าง
ลูกหนี้ร่วมก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความกับ จ. และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม
ความรับผิดของ จ. ตามสัญญากู้ยืมเงินย่อมระงับสิ้นไปและท�ำให้ จ. ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
ประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 และมาตรา 852 เมือ่ ความรับผิดของ จ. ต่อโจทก์เปลีย่ น
เป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ของ จ. ตามสัญญากู้เงินจึงระงับสิ้นไป จ�ำเลยใน
ฐานะผู้คํ้าประกันการช�ำระหนี้ตามสัญญากู้เงินของ จ. จึงหลุดพ้นความรับผิด ตาม ปพพ. มาตรา 698
ฎ. 11069/2554 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จ. ลูกหนีต้ ามค�ำพิพากษาต้องผ่อนช�ำระหนี้
ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 โจทก์จะขอบังคับคดีได้หลังวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.
2537 ไปแล้ว ก�ำหนดเวลา 10 ปี ตาม ปวพ. มาตรา 271 ย่อมเริม่ นับแต่วนั ทีโ่ จทก์อาจขอด�ำเนินการบังคับ

คดีได้ คือวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป ซึ่งจะครบก�ำหนดภายในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
แม้ปรากฏว่า จ. ลูกหนี้ตามค�ำพิพากษาขอขยายระยะเวลาการช�ำระหนี้ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.
มส

2538 เป็นผลให้แตกต่างไปจากค�ำพิพากษาตามยอมก็ตาม แต่กเ็ ป็นเพียงข้อตกลงนอกศาลของคูค่ วามใน


ชั้นบังคับคดีไม่อาจส่งผลเปลี่ยนแปลงค�ำพิพากษาและก�ำหนดเวลาของการบังคับคดีแต่อย่างใด อีกทั้ง
ก�ำหนดเวลาของการบังคับคดี ตาม ปวพ. มาตรา 271 ไม่ใช่อายุความ ดังนี้การที่โจทก์ไปยึดทรัพย์ของ
ลูกหนี้มาช�ำระหนี้บางส่วนเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 จึงไม่ท�ำให้ก�ำหนดเวลาบังคับคดีสะดุดหยุด
ลงหรือขยายออกไปได้อีก โจทก์มีสิทธิบังคับคดีส�ำหรับหนี้ตามค�ำพิพากษาที่ยังค้างของ จ. ลูกหนี้ตาม
ค�ำพิพากษาภายในก�ำหนด 10 ปี คือภายในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และเมื่อพ้นก�ำหนดเวลา

ดังกล่าวโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับเอากับ จ. ลูกหนี้ตามค�ำพิพากษาอีกต่อไป ตาม ปวพ. มาตรา 271
จ�ำเลยทั้งสองและ ส. ในฐานะผู้คํ้าประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดด้วย ตาม ปพพ. มาตรา 698
ฝ่ายที่สองเห็นว่าแม้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นหนี้ประธานระงับสิ้นไปแต่หนี้
ตามสัญญาอุปกรณ์อาจไม่ระงับสิน้ ไป เพราะอาจถือว่าเป็นการตกลงกันโดยปริยายว่าให้หนีอ้ ปุ กรณ์ตกติด
มากับสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย5 โดยมีคำ� พิพากษาศาลฎีกาตัดสินตามแนวนี้หลายฉบับ
สธ
5 ดูความเห็นของ ศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ ใน หมายเหตุท้ายคำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 2406/2524 ซึ่งบันทึกไว้ว่า
สัญญาประนีประนอมยอมความอาจตกลงให้สทิ ธิเดิมยังคงมีอยูต่ ามข้อตกลงใหม่กไ็ ด้ มาตรา 852 ไม่หมายความว่าต้องเป็นสิทธิคนละ
อย่างกับสิทธิเดิม

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-61

อุทาหรณ์
ฎ. 1007/2517 โจทก์ฟ้อง ถ. ให้ช�ำระหนี้เงินกู้แล้วท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาล
พิพากษาตามยอมแล้ว โจทก์บังคับคดีได้เงินไม่พอช�ำระหนี้ โจทก์มีสิทธิฟ้องให้จ�ำเลยซึ่งเป็นผู้คํ้าประกัน
หนี้เงินกู้รายนี้ให้ชำ� ระหนี้ส่วนที่ยังไม่ได้รับช�ำระได้ การที่โจทก์ กับ ถ. ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความ
และศาลพิพากษาตามยอมนั้นเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ ไม่ท�ำให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับ และ


ไม่ใช่การผ่อนเวลาให้ลูกหนี้อันจะท�ำให้จ�ำเลยซึ่งเป็นผู้คํ้าประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
ฎ. 137/2522 ผู้ร้องคํ้าประกันลูกหนี้ตามค�ำพิพากษาชั้นทุเลาการบังคับคดีระหว่างลูกหนี้อุทธรณ์

มส
ซึง่ ตามสัญญามีผลจนคดีถงึ ทีส่ ดุ โดยน�ำโฉนดมาวางประกัน ชัน้ ฎีกาถือหลักประกันเดิม ระหว่างฎีกาโจทก์
จ�ำเลยยอมความกันแบ่งช�ำระหนี้ 18 งวด มีผู้อื่นเข้าคํ้าประกันอีกด้วย สัญญาข้อ 8 ยอมคืนโฉนดต่อเมื่อ
ลูกหนี้ช�ำระหนี้งวดที่ 7 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจ�ำเลยยังไม่ได้ชำ� ระเงินงวดที่ 7 และเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าหนี้
จ�ำเลยฝ่ายเดียว จ�ำเลยไม่มีสิทธิที่จะสละและไม่ได้สิทธิอะไรจากสัญญา กรณีไม่ต้องด้วย ปพพ. มาตรา
852 หนี้เดิมจึงยังคงมีอยู่ ดังนี้ ผู้ร้องในฐานะผู้คํ้าประกันจึงยังต้องรับผิดตามสัญญาคํ้าประกัน เหตุที่โจทก์
จ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีผู้คํ้าประกันตามสัญญาดังกล่าวอีก ไม่มีผลท�ำให้ความ
รับผิดตามสัญญาคํ้าประกันเปลี่ยนแปลงไป
ฎ. 957/2523 โจทก์ผู้ให้กู้ฟ้องผู้กู้ตามสัญญากู้ แล้วท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาล
พิพากษาตามยอมเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่ผู้กู้ยังไม่ช�ำระหนี้ หนี้นั้นยังไม่ระงับความรับผิดของจ�ำเลยใน

ฐานะผู้คํ้าประกันยังมีอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจ�ำเลยตามสัญญาคํ้าประกันอีกได้
ฎ. 2406/2524 การที่ ท. ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความช�ำระหนีต้ ามสัญญากูเ้ บิกเงินเกินบัญชี
มส

แก่โจทก์ และศาลพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาด ไปแล้ว แต่ ท. ยังมิได้ช�ำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกิน


บัญชีแก่โจทก์ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเลย เพราะยังอยู่ในระหว่าง บังคับคดี ดังนี้ หนี้ที่
ประกันจึงยังมิได้ระงับสิน้ ไป ตาม ปพพ. มาตรา 698 จ�ำเลยผูค้ าํ้ ประกัน และผูจ้ ำ� นองจึงยังไม่หลุดพ้นจาก
ความรับผิด
ฎ. 5831/2553 ผูร้ อ้ งกับจ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลโดยจ�ำเลยยอมรับ
ว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องตามค�ำฟ้องและขอผ่อนช�ำระหนี้ หากผิดนัดยอมให้ผู้ร้องยึดทรัพย์

จ�ำนองและทรัพย์สินอื่นของจ�ำเลยออกขายทอดตลาดน�ำเงินมาช�ำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องจนครบถ้วน และศาล
พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว การที่จ�ำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
ต่อผู้ร้องหนี้ประธานจึงยังไม่ระงับไปและจ�ำเลยยังตกลงว่าหากจ�ำเลยผิดนัด ให้ผู้ร้องยึดทรัพย์จ�ำนองอัน
เป็นประกันหนีต้ ามตัว๋ สัญญาใช้เงินออกขายทอดตลาดน�ำเงินมาช�ำระหนีใ้ ห้แก่ผรู้ อ้ ง เป็นการทีจ่ ำ� เลยยอมรับ
ผิดตามสัญญาจ�ำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ด้วย ดังนี้ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันจ�ำนองเป็นประกันยังไม่
ระงับสิ้นไป หนี้ตามสัญญาจ�ำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป ตาม ปพพ. มาตรา 744 ผู้ร้องในฐานะผู้รับจ�ำนองมี
สิทธิขอรับช�ำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จ�ำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ตาม ปวพ. มาตรา 289
สธ
ในปัญหาทีว่ า่ หากมีการระงับข้อพิพาทในหนีป้ ระธานและมีการคาํ้ ประกันหรือจ�ำนองจ�ำน�ำซึง่ เป็น
หนี้อุปกรณ์ด้วย จะท�ำให้หนี้อุปกรณ์ระงับไปด้วยหรือไม่นั้น ผู้เขียนเห็นว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องการระงับแห่ง
หนี้

10-62 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ดังได้ที่เคยกล่าวมาแล้วว่า ตาม ปพพ. บรรพ 2 ลักษณะ 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป หมวดที่ 5 ได้มี


การบัญญัติเกี่ยวกับความระงับแห่งหนี้ไว้เป็น 5 ส่วนด้วยกัน คือ การช�ำระหนี้ การปลดหนี้ การแปลงหนี้
ใหม่ การหักกลบลบหนี้ และหนี้เกลื่อนกลืนกัน เท่านั้น ดังนั้นหากมีการตกลงประนีประนอมข้อพิพาทซึ่ง
เป็นเรื่องหนี้และมีการระงับข้อพิพาททั้งหมดและมีการตกลงกันใหม่และท�ำให้ข้อพิพาทเดิมที่เป็นหนี้นั้น
ระงับสิน้ ไป เช่น ด้วยการแปลงหนีใ้ หม่ ก็ทำ� ให้หนีอ้ ปุ กรณ์ระงับสิน้ ไปได้ ซึง่ ท�ำให้ผคู้ าํ้ ประกัน จ�ำนอง จ�ำน�ำ


หลุดพ้นความรับผิดไปได้ แต่ถา้ ไม่มกี ารกระท�ำใดๆ ทีเ่ ป็นเหตุให้หนีเ้ ดิมอันเป็นหนีป้ ระธานระงับสิน้ ไป หนี้
อุปกรณ์ทั้งหลายก็ยังคงอยู่แม้มีประนีประนอมยอมความข้อพิพาทต่อกัน

มส
กิจกรรม 10.1.4
นายอาทิตย์ ขับรถยนต์ไปชนรถยนต์ ของนางสาวจันทร์ และได้ตกลงกันที่สถานีต�ำรวจ โดย
ร.ต.ต. อังคาร ได้ลงบันทึกประจ�ำวันไว้วา่ นายอาทิตย์ยนิ ดีชดใช้คา่ เสียหายให้นางสาวจันทร์เพือ่ ซ่อมแซม
รถยนต์ เป็นจ�ำนวนเงิน 50,000 บาท และนางสาวจันทร์ จะไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ จากนายอาทิตย์
อีก โดยมีนายอาทิตย์ ลงลายมือชื่อรับทราบไว้ด้วย แต่หลังจากนั้นนายอาทิตย์ ไม่ยอมมอบเงินจ�ำนวน
50,000 บาท ให้นางสาวจันทร์ ดังนี้ นางสาวจันทร์ จะฟ้องคดีเพื่อบังคับให้ นายอาทิตย์ ปฏิบัติตามข้อ
ตกลงที่ได้ทำ� ไว้ได้หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 10.1.4
มส

นางสาวจันทร์ มีสทิ ธิฟอ้ งคดีตอ่ ศาลเพือ่ บังคับให้นายอาทิตย์ปฏิบตั ติ ามสัญญาประนีประนอมยอม


ความ โดยชดใช้เงินจ�ำนวน 50,000 บาทได้ เพราะได้ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีหลักฐาน
เป็นหนังสือลงลายมือชื่อนายอาทิตย์ฝ่ายที่ต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ.
มาตรา 851 และมีผลผูกพันให้ทั้งสองฝ่ายได้รับสิทธิตามที่มีอยู่ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม
ปพพ. มาตรา 852


สธ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-63

เรื่องที่ 10.1.5
การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความและอายุความ


ในกรณีทคี่ สู่ ญ
ั ญาฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ ไม่ยอมปฏิบตั ติ ามสัญญาประนีประนอมยอมความและคูก่ รณีอกี
ฝ่ายหนึ่งยังคงประสงค์จะให้มีการปฏิบัติตามสัญญาก็ต้องด�ำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา โดยการ

มส
บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของประนีประนอมยอมความ

1. การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล
ในกรณีของประนีประนอมยอมความนอกศาลนัน้ หากมีการตกลงกันท�ำสัญญาประนีประนอมยอม
ความแล้วคู่กรณีไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา คู่กรณีฝ่ายที่ยังคงประสงค์จะให้มีการปฏิบัติตามสัญญาก็ต้อง
ฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอ�ำนาจ เช่นเดียวกับกรณีผิดสัญญาทั่วไป เพื่อให้ศาลพิพากษาบังคับตามสัญญา
ประนีประนอมยอมความ โดยจะไปฟ้องตามข้อพิพาทเดิมมิได้ เนื่องจากข้อพิพาทเดิมระงับสิ้นไปแล้ว
อุทาหรณ์
ฎ. 159/2475 ตามวิธพี จิ ารณาแพ่ง เมือ่ ผิดสัญญาประนีประนอม ฟ้องขอให้บงั คับฝ่ายทีผ่ ดิ สัญญา

ให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ตามที่น�ำสืบพยาน
ฎ. 2065-2091/2524 ในการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับการเคหะแห่งชาติ โจทก์รับรองว่าจะ
รื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างกับอพยพผู้อาศัยและบริวารออกไปจากที่ดินให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะท�ำการ
มส

จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิท์ ดี่ นิ หากไม่ปฏิบตั ติ ามสัญญาหรือผิดสัญญาข้อหนึง่ ข้อใด ยินยอมชดใช้คา่ เสียหาย


400,000 บาท อีกโสดหนึ่งด้วย ดังนั้น ถึงแม้โจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่การเคหะแห่ง
ชาติไปแล้ว โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงในสัญญา มิฉะนั้นอาจถูกเรียกร้องให้
ชดใช้คา่ เสียหายได้ โจทก์จงึ มีสทิ ธิทำ� สัญญาประนีประนอมยอมความกับจ�ำเลยผูอ้ ยูอ่ าศัยและท�ำประโยชน์
ในที่ดินที่โจทก์ขายและมีอำ� นาจฟ้องบังคับตามสัญญาที่ท�ำกับจ�ำเลยได้

ฎ. 2248/2524 จ�ำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจ�ำเลยที่ 1 ท�ำละเมิดต่อโจทก์ แล้วจ�ำเลยที่ 2 และผู้รับ
มอบอ�ำนาจจากโจทก์ท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จึงมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับสิ้นไป โจทก์จะ
ฟ้องจ�ำเลยทั้งสองตามมูลหนี้ละเมิดอีกไม่ได้ชอบที่จะฟ้องจ�ำเลยที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ฎ. 5795/2538 โจทก์ จ�ำเลย ได้ซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และมีปัญหาพิพาทกัน แต่ปลัด
อ�ำเภอท�ำการไกล่เกลี่ยและสามารถตกลงกันได้ โดยจ�ำเลยตกลงขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้บันทึกข้อ
ตกลงกันไว้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไป
ด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กนั จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ปพพ. มาตรา 850 มีผลบังคับ
สธ
ได้ การทีจ่ ำ� เลยไม่ยอมขายทีพ่ พิ าทให้แก่โจทก์ตามทีต่ กลงกันไว้ยอ่ มเป็นการผิดสัญญาและโต้แย้งสิทธิของ
โจทก์ โจทก์จึงมีอ�ำนาจฟ้องบังคับให้จำ� เลยปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำ� กันไว้ได้

10-64 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
ในประนีประนอมยอมความในศาลซึง่ ศาลได้พพิ ากษาตามยอมแล้วก็เหมือนกับคดีทวั่ ไป คือ ศาล
จะมีคำ� บังคับให้คคู่ วามในคดีปฏิบตั ติ ามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึง่ เกิดผลบังคับให้คกู่ รณีตอ้ งปฏิบตั ิ
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล แต่ถ้าคู่กรณีฝ่ายที่ต้องปฏิบัติตามค�ำบังคับไม่ยอมปฏิบัติตาม
คูก่ รณีฝา่ ยทีป่ ระสงค์จะบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพียงแต่ยนื่ ค�ำร้องต่อศาลให้ออกหมาย


บังคับคดี หากจ�ำเป็นต้องด�ำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้บังคับตามค�ำพิพากษาตามสัญญา
ประนีประนอมยอมความนัน้ ตาม ปวพ. มาตรา 138 คูก่ รณีจะฟ้องคดีอกี ไม่ได้ หากฟ้องคดีอกี เป็นฟ้องซํา้

มส
เพราะเคยมีการฟ้องคดีในศาลจนมีค�ำพิพากษาไปแล้ว แต่ถ้าไม่จ�ำเป็นต้องด�ำเนินการทางเจ้าพนักงาน
บังคับคดี ก็ไม่มีกรณีที่ต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แต่อาจมีการขอให้ออกค�ำบังคับอีกได้6
อุทาหรณ์
ฎ. 3529/2541 ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและมีคำ� สั่งท้ายค�ำพิพากษาว่าบังคับตามยอม ทั้ง
มีคำ� สัง่ ไว้ทหี่ น้าส�ำนวนว่า บังคับตามยอม หากไม่ปฏิบตั ติ ามจะถูกยึดทรัพย์ตาม ปวพ. โดยโจทก์กบั จ�ำเลย
ได้ลงลายมือชือ่ ไว้เป็นส�ำคัญ ถือได้วา่ ศาลชัน้ ต้นได้มคี ำ� บังคับก�ำหนดวิธที จี่ ะปฏิบตั ติ ามค�ำบังคับนัน้ ไว้และ
จ�ำเลยทราบค�ำบังคับนั้นแล้ว เมื่อจ�ำเลยไม่ปฏิบัติตามค�ำบังคับ โจทก์จะต้องร้องขอให้บังคับคดีอีกชั้นหนึ่ง
โจทก์ยื่นค�ำร้องว่า โจทก์ประสงค์จะบังคับคดีโดยน�ำเงิน 18,200,000 บาท มาวางศาลเพื่อช�ำระแก่จ�ำเลย
ตามค�ำพิพากษาตามยอมและค�ำบังคับ อันเป็นการช�ำระหนีต้ า่ งตอบแทนในการขอให้จ�ำเลยโอนกรรมสิทธิ์

ที่ดินให้แก่โจทก์ตามค�ำพิพากษาตามยอมแต่ค�ำบังคับของศาลไม่มีกรณีต้องด�ำเนินการทางเจ้าพนักงาน
บังคับคดีหรือต้องยื่นค�ำขอให้ออกหมายบังคับคดี การยื่นค�ำร้องดังกล่าวของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการร้องขอ
มส

ให้บังคับคดี ตาม ปวพ. มาตรา 271 เมื่อเป็นการร้องขอให้บังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย การที่


ศาลชัน้ ต้นด�ำเนินกระบวนพิจารณาชัน้ บังคับคดีเพือ่ ให้จำ� เลยปฏิบตั กิ ารช�ำระหนีต้ ามค�ำพิพากษาตามยอม
และค�ำบังคับก็ย่อมชอบด้วยกฎหมายด้วย แม้การบังคับคดีจะยังไม่แล้วเสร็จภายในสิบปีก็ตาม
ฎ. 1873/2550 คูค่ วามตกลงท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมใจความ
ว่า จ�ำเลยยอมช�ำระหนีใ้ ห้แก่โจทก์พร้อมดอกเบีย้ จ�ำเลยจะผ่อนช�ำระเป็นรายเดือนทุกเดือนติดต่อกัน หาก
ผิดนัดยอมให้โจทก์ยดึ ทรัพย์จ�ำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอช�ำระหนีใ้ ห้ยดึ ทรัพย์อนื่ ของจ�ำเลย

ช�ำระหนี้จนครบ ปรากฏต่อมาว่าจ�ำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ได้น�ำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์
จ�ำนองออกขายทอดตลาดแล้วแต่ยงั ขายไม่ได้ โจทก์จงึ ยังไม่มสี ทิ ธิได้รบั ช�ำระหนีจ้ ากทรัพย์สนิ อืน่ ของจ�ำเลย
ฎ. 5091/2552 ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำ� เลยตกลงช�ำระหนี้แก่โจทก์
หากไม่ช�ำระให้ยึดทรัพย์จ�ำนองขายทอดตลาด หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นบังคับช�ำระหนี้ ค�ำพิพากษา
ก�ำหนดขัน้ ตอนการบังคับคดีโดยมีลำ� ดับก่อนหลังไว้ชดั แจ้งโดยต้องบังคับจ�ำนองก่อน เมือ่ ได้เงินไม่พอช�ำระหนี้
จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สนิ ของจ�ำเลยต่อไป ตราบใดทีย่ งั ไม่มกี ารบังคับคดีแก่ทรัพย์จำ� นอง โจทก์กย็ อ่ มไม่
สธ
6 อย่างไรก็ตาม ในการบังคับคดีนั้นหากการออกคำ�บังคับไปยังลูกหนี้ตามคำ�พิพากษาก่อนมีการออกหมายบังคับคดีจะ
ทำ�ให้เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาได้รับความเสียหายและหากเนิ่นช้าไปจะไม่อาจบังคับคดีได้ เจ้าหนี้ตามคำ�พิพากษาอาจมีคำ�ขอฝ่าย
เดียวต่อศาลเพื่อให้ออกหมายบังคับคดีไปทันทีโดยไม่จำ�ต้องออกคำ�บังคับก่อนก็ได้ แต่ก็ยังต้องมีการขอออกคำ�บังคับอยู่

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-65

อาจขอให้บงั คับคดีแก่ทรัพย์สนิ อืน่ ของจ�ำเลยเพิม่ เติมได้ เพราะเป็นการบังคับคดีเกินกว่าข้อตกลงในสัญญา


ประนีประนอมยอมความและค�ำพิพากษาตามยอม
ฎ. 10409/2555 ก่อนคดีนี้จ�ำเลยได้น�ำหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทมาฟ้องให้โจทก์รับผิด
แล้ว แต่ภายหลังตกลงท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งศาลจังหวัดขอนแก่นได้พิพากษาไปตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและค�ำพิพากษาตามยอมถึงทีส่ ดุ แล้ว ผลของสัญญาประนีประนอม


ยอมความย่อมท�ำให้สิทธิของจ�ำเลยที่จะเรียกร้องให้โจทก์รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเป็นอันระงับสิ้นไป
ตาม ปพพ. มาตรา 852 จ�ำเลยคงมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ช�ำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอม
ความเท่านั้น

มส
ฎ. 10872/2555 การที่โจทก์และจ�ำเลยทั้งสองตกลงกันท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล
และศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว โจทก์และจ�ำเลยทัง้ สองย่อมมีเจตนาตรงกันทีจ่ ะให้สญ ั ญาประนีประนอม
ยอมความส�ำเร็จลงสมประสงค์ของทัง้ สองฝ่าย ข้อความส�ำคัญของสัญญาประนีประนอมในข้อ 2 คือ จ�ำเลย
ทั้งสองจะช�ำระเงินจ�ำนวน 3,900,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10
สิงหาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะช�ำระเสร็จ หากจ�ำเลยทัง้ สองปฏิบตั กิ ารช�ำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์
แล้ว ย่อมเป็นอันบรรลุวตั ถุประสงค์ตามสัญญาข้อ 2 นัน้ ส่วนทีม่ ขี อ้ ความว่า โดยจ�ำเลยทัง้ สองจะช�ำระเงิน
ดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อจ�ำเลยทั้งสองสามารถขายที่ดินโฉนดเลขที่ 6244 เรียบร้อยแล้ว หากผิดนัดยอมให้
โจทก์บงั คับคดีทนั ทีนนั้ เป็นเพียงการอธิบายขยายความวิธกี ารช�ำระหนีข้ องจ�ำเลยทัง้ สองว่ามีวธิ กี ารหาเงิน

มาช�ำระหนีโ้ ดยการขายทีด่ นิ ข้อความดังกล่าวมิใช่เงือ่ นไขการช�ำระหนี้ และเป็นสัญญาทีไ่ ม่ได้กำ� หนดระยะ
เวลาการช�ำระหนี้ไว้ จ�ำเลยทั้งสองต้องช�ำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความภายในระยะเวลาอัน
มส

สมควร การที่จ�ำเลยทั้งสองไม่ช�ำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจนเวลาล่วงเลยไปนานถึง 7 ปี
นับแต่วันท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมเป็นเวลาที่นานเกินสมควร และถือได้ว่าจ�ำเลยทั้งสอง
ผิดนัดไม่ชำ� ระหนีต้ ามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุให้โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้โดย
ชอบ
นอกจากนัน้ ก็เป็นไปตามหลักของการบังคับคดี เช่น ผูท้ จี่ ะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีตอ้ งเป็น
คู่ความบุคคลภายนอกจะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีมิได้
อุทาหรณ์ ม
ฎ. 3053/2527 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเป็น
บุคคลภายนอกคดี จึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีได้ ในกรณีเช่นนี้ถือว่า คู่ความเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิขอ
ให้บังคับคดีได้
ฎ. 6378/2539 ผู้มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ต้องเป็นบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดีหรือเจ้าหนี้ตาม
ค� ำ พิ พ ากษา ดั ง นั้ น บุ ค คลภายนอกแม้ จ ะได้ รั บ ประโยชน์ ต ามสั ญ ญาประนี ป ระนอมยอมความซึ่ ง
ศาลพิพากษาตามยอมไม่ใช่ผู้ชนะคดี ไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้
สธ

10-66 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

3. อายุความ
ในการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นมีช่วงเวลาหรือก�ำหนดเวลาที่กฎหมายให้
ด�ำเนินการ ซึ่งเรียกว่าอายุความ หากไม่ด�ำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายก�ำหนด ย่อมหมดสิทธิที่
จะด�ำเนินการเช่นเดียวกับสิทธิเรียกร้องทั้งหลายที่ต้องบังคับภายในอายุความ โดยมีก�ำหนดอายุความที่
ต้องด�ำเนินการเรียกร้องส�ำหรับประนีประนอมยอมความ คือ ภายใน 10 ปี ซึ่งท�ำให้อายุความตามหนี้เดิม


สะดุดหยุดลง แล้วอายุความตามสัญญาประนีประนอมยอมความเริ่มต้นใหม่ต่อไปอีก 10 ปี ดังนั้น ในบาง
กรณีอายุความตามสัญญาเดิมอาจน้อยกว่า 10 ปี แต่เมื่อท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความอายุความก็จะ

มส
ยาวออกไปอีก 10 ปี เช่น พ่อค้าโรงงานทอผ้าขายผ้าให้ร้านค้า แต่ยงั ไม่ได้รบั เงินค่าผ้าตามอายุความเรียก
เอาเงินค่าผ้าที่ขายตามกฎหมายซึ่งมีเพียง 2 ปี ซึ่งตามปกติเมื่อพ้น 2 ปีไปแล้วเรียกร้องเงินค่าซื้อขายผ้า
ไม่ได้ จึงมีปัญหาพิพาทกันและผู้ซื้อผู้ขายท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน เช่น โดยพ่อค้าผ้ายอมให้
ผู้ซื้อช�ำระเงินภายในก�ำหนดใหม่ โดยผู้ซื้อยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขายดังนี้ อายุความเรียกร้องเอาเงิน
ค่าผ้านัน้ จะเปลีย่ นไปเป็นตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยมีอายุความ 10 ปี ดังทีบ่ ญ
มาตรา 193/32 ดังนี้
ั ญัตไิ ว้ใน ปพพ.

“สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยค�ำพิพากษาของศาล ที่ถึงที่สุดหรือโดยสัญญาประนีประนอมยอม
ความให้มีก�ำหนดอายุความสิบปี ทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีก�ำหนดอายุความเท่าใด”
อุทาหรณ์

ฎ. 679/2514 (ป.ใหญ่) จ�ำเลยท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ให้โจทก์มสี ทิ ธิเก็บกินในทีด่ นิ
ของจ�ำเลย ย่อมเป็นการท� ำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จ� ำเลยไป
มส

จดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้เป็นทรัพย์สิทธิอันบริบูรณ์ตามกฎหมายได้ตราบเท่าที่จ�ำเลยยังมิได้โอนที่ดินให้
แก่บคุ คลอืน่ และสิทธิเรียกร้องอันตัง้ หลักฐานขึน้ โดยประนีประนอมยอมความเช่นนี้ มีกำ� หนดอายุความ 10 ปี
ฎ. 142/2549 บันทึกข้อตกลงช�ำระค่าเสียหายโดยมีการลดค่าเสียหายและก�ำหนดจ�ำนวนเงินที่จะ
ต้องผ่อนช�ำระและระยะเวลาช�ำระเสร็จรวมทัง้ ก�ำหนดอัตราดอกเบีย้ ขึน้ ใหม่แตกต่างกับข้อตกลงและจ�ำนวน
ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเดิม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่คู่สัญญาระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ตามสัญญา
เช่าซื้อให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอม

ยอมความ มิใช่หนังสือรับสภาพหนี้ มีผลให้หนี้เดิมตามสัญญาเช่าซื้อระงับไปและก่อให้เกิดหนี้ใหม่ตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความมีก�ำหนดอายุ
ความ 10 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 193/32 ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำ� หนดอายุความเท่าใด ดังนั้น
เมื่อจ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โจทก์ฟ้องคดีนี้
วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ

4. การระงับสิ้นไปของสัญญาประนีประนอมยอมความ
สธ
สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมระงับสิ้นไปเช่นเดียวกับสัญญาอื่นๆ เนื่องจากไม่มีกฎหมาย
บัญญัตไิ ว้เป็นพิเศษ เช่น การเลิกสัญญาโดยการตกลงกัน โดยผลของกฎหมาย โดยเหตุทรี่ ะบุไว้ในสัญญา

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-67

ซึ่งท�ำให้คู่กรณีไม่ต้องผูกพันกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความและข้อพิพาทเดิมก็ยังคงมีอยู่ไม่ระงับ
สิ้นไป
อุทาหรณ์
ฎ. 1507/2512 จ�ำเลยกล่าวหาว่าบิดาโจทก์ยักยอกไม้ เพื่อระงับข้อพิพาทโจทก์ผู้เป็นบุตรได้เข้า
ท�ำสัญญาแทนบิดายอมส่งไม้ให้จ�ำเลย โดยจ�ำเลยจะช�ำระเงินค่าไม้ โจทก์จึงตกอยู่ในฐานะเป็นคู่กรณีกับ


จ�ำเลย สัญญานีจ้ งึ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามสัญญาโจทก์จำ� เลยมีหน้าทีช่ ำ� ระหนีต้ า่ งตอบแทน
ซึง่ กันและกันครัน้ เมือ่ โจทก์สง่ ไม้มาตามสัญญา ไม้เสือ่ มคุณภาพเพราะความผิดของโจทก์ทชี่ กั ลากไม้ลา่ ช้า

มส
การช�ำระหนีจ้ งึ กลายเป็นไร้ประโยชน์แก่จำ� เลย เมือ่ จ�ำเลยบอกปัดไม่รบั มอบไม้ถอื ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญา
แล้ว โจทก์จะฟ้องบังคับให้จ�ำเลยรับไม้และช�ำระเงินไม่ได้
ฎ. 2329-2330/2523 จ�ำเลยขับรถโดยใช้ความเร็วขณะฝนตกหนักและถนนลืน่ จึงเสียหลักเข้าปะทะ
กับรถของโจทก์ซงึ่ จอดคร่อมอยูใ่ นผิวจราจร โจทก์และจ�ำเลยจึงได้ตกลงท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความ
เกี่ยวกับเรื่องค่าเสียหายไว้ว่า จ�ำเลยยินยอมช�ำระเงินจ�ำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ หากจ�ำเลยช�ำระเงินภายใน
ก�ำหนด โจทก์จะไม่เรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีเงื่อนเวลาสิ้นสุดก�ำหนดไว้
เมือ่ จ�ำเลยไม่ชำ� ระเงินภายในก�ำหนด ข้อตกลงย่อมสิน้ ผลบังคับ มูลหนีล้ ะเมิดจึงไม่ระงับ และเมือ่ จ�ำเลยยก
เรื่องข้อตกลงระหว่างโจทก์จ�ำเลยเป็นข้อต่อสู้ว่ามูลหนี้ละเมิดระงับ ศาลก็ย่อมมีอ�ำนาจวินิจฉัยว่าข้อตกลง
ตามเอกสารดังกล่าวมีผลให้มลู หนีล้ ะเมิดระงับหรือไม่ แม้โจทก์จะมิได้ยกประเด็นข้อนีข้ นึ้ เป็นข้อต่อสูก้ ต็ าม

ฎ. 4126/2530 โจทก์เช่าสถานทีจ่ ากจ�ำเลยโดยจ�ำเลยเรียกเงินกินเปล่าจ�ำนวน 220,000 บาท โจทก์
ช�ำระให้ไปก่อน 110,000 บาท ต่อมาเจ้าของที่ดินที่แท้จริงให้โจทก์ออกจากที่เช่า โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา
มส

กับจ�ำเลยและไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานต�ำรวจกล่าวหาว่า จ�ำเลยฉ้อโกงเงินจ�ำนวน 110,000 บาทจ�ำเลย


จึงตกลงจ่ายเงินจ�ำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์โดยแบ่งช�ำระเป็นงวด หากผิดสัญญาจ�ำเลยยินดีให้โจทก์ฟ้อง
บังคับคดีได้ พนักงานสอบสวนได้ทำ� บันทึกและให้โจทก์จ�ำเลยลงชือ่ ไว้ บันทึกนีจ้ งึ เป็นสัญญาประนีประนอม
ยอมความในทางแพ่ง ต่อมาถึงวันที่จ�ำเลยต้องช�ำระเงินงวดแรก โจทก์จ�ำเลยไปพบพนักงานสอบสวนที่
สถานีต�ำรวจแต่ตกลงกันไม่ได้ โจทก์แจ้งให้ด�ำเนินคดีกับจ�ำเลยและขอถอนข้อตกลงทั้งหมดโดยพนักงาน
สอบสวนบันทึกไว้ ส่วนจ�ำเลยก็ขอให้บันทึกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเช่นกันตามพฤติการณ์

ดังกล่าวแสดงว่า คู่กรณีมีเจตนายกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชัดแจ้งแล้ว แม้โจทก์จ�ำเลย
ต่างลงลายมือชือ่ เฉพาะในบันทึกของตนแยกจากกันก็ตาม ความผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ระหว่างโจทก์จ�ำเลยก็เป็นอันสิ้นไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำ� เลยคืนเงินให้โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่ได้
ฎ. 9746/2539 สัญญาประนีประนอมยอมความที่ท�ำขึ้นระหว่างคู่กรณีมีผลให้ระงับสิทธิเรียกร้อง
ของคู่กรณีเดิมและก่อให้เกิดสิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หลังจากท�ำแล้ว
คู่กรณีย่อมจะแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นหรือยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความที่ท�ำไว้ได้
ตามสมัครใจเมื่อต่อมาคู่กรณีได้แสดงเจตนายกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว จึงไม่จ�ำต้อง
สธ
ผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำ� ไว้ต่อไป

10-68 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

5. การอุทธรณ์ค�ำพิพากษา
ในกรณีที่ศาลพิพากษาบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ตามปกติจะมีการอุทธรณ์
ค�ำพิพากษานัน้ ต่อไปมิได้ เนือ่ งจากจะท�ำให้เสียเวลา เพราะคูก่ รณีได้ตกลงระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผัน
ให้แก่กนั แล้ว และเมือ่ ไม่ปฏิบตั ติ ามก็ได้มกี ารฟ้องบังคับคดีทางศาลซึง่ ก็มกี ารตรวจสอบจากศาลอีกชัน้ หนึง่
แล้วจึงสมควรยุติข้อพิพาทนั้นได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ปวพ. มาตรา 138 วรรคสอง ดังนี้


“ห้ามมิให้อุทธรณ์ค�ำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล

มส
(2) เมื่อค�ำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วย
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) เมื่อค�ำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลง หรือประนีประนอมยอมความ”
อย่างไรก็ตามในบางกรณีที่เห็นได้ว่าอาจไม่ยุติธรรมถ้าไม่ให้คู่กรณีสามารถอุทธรณ์ค�ำพิพากษา
ของศาลได้ กล่าวคือ มีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล หรือค�ำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่า
เป็นการละเมิดต่อบทบัญญัตแิ ห่งกฎหมายอันเกีย่ วด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหหรือมิได้เป็นไป
ตามข้อตกลง หรือประนีประนอมยอมความ
ดังนั้น หากคู่ความไม่พอใจค�ำพิพากษาที่บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความต้องอุทธรณ์
ค�ำพิพากษาจะขอเพิกถอนค�ำพิพากษาของศาลมิได้

อุทาหรณ์
ฎ. 2294/2552 ศาลชัน้ ต้นมีคำ� พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมือ่ วันที่ 27 เมษายน
มส

พ.ศ. 2547 หากโจทก์เห็นว่าค�ำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้อง


ด้วยข้อยกเว้นตาม ปวพ. มาตรา 138 วรรคสอง ที่โจทก์สามารถอุทธรณ์ค�ำพิพากษาตามยอมได้ โจทก์
ต้องอุทธรณ์คำ� พิพากษาศาลชัน้ ต้นภายในก�ำหนด 1 เดือน นับแต่วนั ทีอ่ า่ นค�ำพิพากษาตามยอมให้คคู่ วามฟัง
คือภายในวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 แต่โจทก์มไิ ด้อทุ ธรณ์ กลับยืน่ ค�ำร้องลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2549
ขอให้ศาลชัน้ ต้นมีคำ� สัง่ ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ ความมุง่ หมายของโจทก์กค็ อื ต้องการ
ให้คำ� พิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บงั คับไม่ได้ มีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนค�ำพิพากษาตาม

ยอม ซึ่งไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์กระท�ำเช่นนั้นได้ ค�ำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกค�ำร้องของโจทก์จึงชอบแล้ว
ส่วนค�ำพิพากษาตามยอมย่อมเป็นอันถึงที่สุด ตาม ปวพ. มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ไม่อาจอุทธรณ์
ค�ำพิพากษาตามยอมได้อีก
สธ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-69

กิจกรรม 10.1.5
1. เอ ขายแหวนเพชรให้ บี โดยตกลงกันในราคา 1,000,000 บาท แต่ บี ไม่ยอมช�ำระเงินตามที่
ตกลงกันโดยอ้างว่าแหวนเพชรราคาตํ่ากว่านั้น ต่อมาจึงได้ตกลงช�ำระเงินกันใหม่ในราคา 700,000 บาท
โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงที่ท�ำต่อกันที่สถานีต�ำรวจข้างบ้านของ เอ ดังนี้ หาก บี


ยังไม่ยอมช�ำระเงิน เอ ต้องด�ำเนินการอย่างไรจึงจะบังคับให้ บี ช�ำระเงินให้ตนได้
2. เอ ขายแหวนเพชรให้ บี โดยตกลงกันในราคา 1,000,000 บาท แต่ บี ไม่ยอมช�ำระเงินตาม

มส
ที่ตกลงกันโดยอ้างว่าแหวนเพชรราคาตํ่ากว่านั้น ต่อมา เอ จึงฟ้องคดี บี ต่อศาลที่มีเขตอ�ำนาจ และต่อมา
ศาลได้ไกล่เกลี่ยจนทั้งสองฝ่ายได้ตกลงช�ำระเงินกันใหม่ในราคา 700,000 บาท และศาลได้พิพากษาตาม
ยอมแล้ว แต่ต่อมา บี ยังไม่ยอมช�ำระเงิน เอ ต้องด�ำเนินการอย่างไรจึงจะบังคับให้ บี ช�ำระเงินให้ตนได้
3. อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำ� หนดกี่ปี

แนวตอบกิจกรรม 10.1.5
1. เอ ต้องฟ้องคดี บี ต่อศาลที่เขตอ�ำนาจเพื่อบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม
ปพพ. มาตรา 852
2. เอ ต้องด�ำเนินการให้ศาลออกหมายบังคับคดีและบังคับโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ตาม
ปวพ. มาตรา 138

3. อายุความการใช้สทิ ธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำ� หนด 10 ปี ตาม ปพพ.
มาตรา 193/32
มส


สธ

10-70 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 10.2
การพนันและขันต่อ
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 10.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
10.2.1
10.2.2
10.2.3
10.2.4
ความหมายของการพนันและขันต่อ
หลักเกณฑ์ของการพนันและขันต่อ
ผลของการพนันและขันต่อ
การออกสลากกินแบ่งและสลากกินรวบ

1. ก ารพนันและขันต่อเป็นสัญญาใน ปพพ. ซึง่ คูส่ ญ ั ญาตกลงกันว่า ฝ่ายแพ้ จะจ่ายเงินหรือ


ทรัพย์สนิ แก่อกี ฝ่ายชนะ เมือ่ เหตุการณ์อย่างหนึง่ อย่างใดซึง่ ไม่แน่นอนเกิดขึน้ ในอนาคต
แต่เป็นสัญญาที่ไม่ก่อให้เกิดหนี้หรือผลที่ใช้บังคับกันได้

2. การพนัน คือ การเล่นเอาเงินหรือทรัพย์สนิ อย่างอืน่ ด้วยการเสีย่ งโชคหรือฝีมอื ของผูเ้ ล่น
โดยในการแพ้ชนะกัน โดยคู่สัญญาจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันเป็นเงื่อนไข
แห่งการแพ้ชนะกัน
มส

3. การขันต่อ คือ การต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็น


ข้อแพ้ชนะ โดยการเอาแพ้ชนะกัน นั้นคู่สัญญาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อัน
เป็นเงื่อนไขแห่งการแพ้ชนะกัน
4. ผลของการพนันและขันต่อ คือ ไม่ก่อให้เกิดหนี้ ซึ่งท�ำให้ตั๋วเงินหรือตราสารที่ออกให้
เพื่อใช้เงินยืมที่เล่นการพนันเป็นหนี้ที่ไม่สมบูรณ์และใช้บังคับไม่ได้ เนื่องจากการพนัน
และขันต่อไม่ก่อให้เกิดหนี้

รวบที่รัฐบาลให้อ�ำนาจหรือให้สัตยาบัน

5. ข้อยกเว้นของการที่การพนันขันต่อไม่สมบูรณ์ คือ การออกสลากกินแบ่งหรือสลากกิน

6. ในทางอาญา การพนันอยู่ภายใต้บังคับของ พรบ. การพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่งแบ่งการ


พนันเป็นสองประเภท คือ ประเภทที่ห้ามเด็ดขาด และประเภทที่อนุญาตให้เล่นได้
สธ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-71

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 10.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมายของการพนันและขันต่อได้
2. อธิบายความแตกต่างของการพนันและขันต่อได้


3. อธิบายความแตกต่างระหว่างการพนันขันต่อและสัญญาประเภทอืน่ ทีม่ ลี กั ษณะคล้ายคลึง
กันได้

มส
4. ระบุประเภทของการพนันและขันต่อได้
5. อธิบายผลของการพนันและขันต่อได้
6. อธิบายสลากกินแบ่งและสลากกินรวบซึง่ เป็นข้อยกเว้นของผลของการพนันและขันต่อได้

มส


สธ

10-72 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 10.2.1
ความหมายของการพนันและขันต่อ


การพนันเป็นกิจกรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ โดยมนุษย์เล่นการพนันกันมานาน
แล้วตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ในอาณาจักรบาบิโลเนีย อียิปต์ กรีซ โรมัน จีน อินเดีย และแพร่ขยายต่อไป

มส
ยังประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปกันอย่างแพร่หลาย7
ส�ำหรับในประเทศไทยนั้นการพนันเริ่มเข้ามาพร้อมกับชาวจีนซึ่งเข้ามาท�ำการค้าในประเทศไทย
ในสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศก็มกี ารตัง้ บ่อนมีการเก็บค่าธรรมเนียมจาก
เจ้าบ่อนเรียกว่า อากรบ่อนเบี้ย จนถึงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มกี ารเก็บอากรบ่อนเบีย้ เพิม่ ขึน้ เพือ่ เพิม่ รายได้ให้กบั ประเทศเพือ่ ใช้ทดแทนรายได้ภาษีทขี่ าดไปเนือ่ งจาก
ผลของการยกเลิกภาษีผูกขาดหลายประเภท ซึ่งสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยมีสัญญาทางการค้ากับ
ต่างชาติมากขึ้น8
อย่างไรก็ตามแม้การพนันจะให้ความบันเทิงและความสนุกสนานตลอดจนรายได้จากการเก็บภาษี
การพนัน (หากมี) แต่กก็ อ่ ให้เกิดปัญหาต่างๆ ในสังคมได้มาก เช่น ปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม

ซึ่งเกิดจากการพนันและขันต่อ ในสมัยต่อๆ มา จึงได้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการพนันขึ้นใช้ มีการ
ควบคุมโดยการตรา พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2473 ขึ้นใช้บังคับเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการพนันฉบับ
แรกของประเทศไทยซึ่งเนื้อหาของกฎหมายดังกล่าวเป็นการรวบรวมกฎหมายการพนันต่างๆ มาไว้ในที่
มส

เดียวกัน9 ต่อมาเมื่อกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับไปได้ระยะหนึ่งก็ได้มีการประกาศใช้ พรบ. การพนัน


พุทธศักราช 2478 ทีม่ เี นือ้ หาสาระเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกีย่ วกับการพนันให้ทนั สมัยยิง่ ขึน้ รวมทัง้
ยังได้เพิ่มเติมประเภทของการพนันเข้าไปเพื่อให้ครอบคลุมการเล่นพนันประเภทต่างๆ โดยแยกการพนัน
เป็นบัญชี ก. และบัญชี ข. 10 และกฎหมายนี้ใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบัน

com;
7

Gambling: From Ancient Cultures Until Today | The History of Poker ... www.thehistoryofgambling.

The History of Gambling-Gypsy King Software, www.gypsyware.com/gamblingHistory.html;


A History of Gambling-Craps Dice Control, www.crapsdicecontrol.com/gambling_history.htm.
8 กนกศักดิ์ เวชยานนท์ คําอธิบายวิธีเล่นการพนัน เนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2508 น. 1-3.
สธ
9 ประชุมกฎหมายประจําศก เล่ม 4 วันอังคาร เดือนหก ขึ้น 2 คํ่า ร.ศ. 33 (พ.ศ. 2357) น. 45; ประชุมกฎหมายประจําศก
เล่ม 11 วันหนึ่ง เดือนสิบเอ็ด แรม 1 คํ่า ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2431) น. 180; ประชุมกฎหมายประจําศก เล่ม 13 วันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 105
(พ.ศ. 2433) น. 250; ประชุมกฎหมายประจําศก เล่ม 18 วันที่ 28 พฤษภาคม ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2449) น. 373.
10 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52/-/ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 น. 1978.

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-73

ส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพนันและขันต่อของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์
ของเอกชน หรือผู้เป็นคู่สัญญาในการพนัน คือ ปพพ. พ.ศ. 2472 บรรพ 3 ลักษณะ 18 ซึ่งมีบทบัญญัติ
ใน มาตรา 853-855 และยังคงใช้กนั อยูใ่ นปัจจุบนั ซึง่ เป็นบทบัญญัตใิ นทางกฎหมายแพ่ง แต่มบี ทบัญญัติ
อีกส่วนหนึ่งที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอาญา คือ พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 ตลอดจน
กฎกระทรวงและระเบียบที่ออกตามความใน พรบ. การพนันฯ


ส�ำหรับการพนันขันต่อตาม พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 นั้น มีทั้งประเภทที่ห้ามเด็ดขาด
และประเภทที่ห้ามเล่นแต่ขอรับอนุญาตเล่นได้ตามที่ระบุไว้ใน พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 รวมทั้ง

มส
การเล่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่ พรบ. การพนันฯ ห้ามไว้นั้น จึงนับว่าเป็นการพนันขันต่อตามความ
หมายใน ปพพ. มาตรา 853 ด้วย
ในส่วนทีเ่ กีย่ วกับค�ำนิยามหรือความหมายของการพนันหรือขันต่อนัน้ ไม่มบี ทบัญญัตใิ ดๆ ใน ปพพ.
มาตรา 853-855 และกฎหมายอื่นๆ คือ พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 ซึ่งบัญญัติถึงการพนันและ
ขันต่อนั้นที่ให้ค�ำนิยามหรือความหมายของการพนันและขันต่อไว้โดยตรงเลย แต่สามารถหาความหมาย
หรือค�ำจ�ำกัดความของการพนันได้ดังนี้
1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของค�ำว่า การพนัน หมายถึง
เล่นเอาเงิน หรือสิ่งอื่นโดยอาศัยความฉลาด ความช�ำนาญ เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบและฝีมือรวมทั้งโชคด้วย
การเล่นเช่นนั้นเรียกว่า การพนัน และให้ค�ำนิยามค�ำว่า พนันขันต่อไว้ว่า การพนันซึ่งได้เสียกันโดยวิธีต่อ

รอง11
2. บทบัญญัตบิ างมาตราของ พรบ. การพนันฯ ได้กล่าวถึงลักษณะการพนันเอาไว้ ได้แก่ มาตรา
มส

4 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า “ค�ำว่า “การเล่น” ให้หมายความรวมตลอดถึงการทายและการท�ำนายด้วย”


ซึ่งแสดงว่าการพนันในกฎหมายนี้รวมถึงการขันต่อด้วย และในมาตรา 5 บัญญัติว่า “ผู้ใดจัดให้มีการเล่น
ซึ่งตามปกติย่อมจะพนันเอาเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแก่กัน” หรือมาตรา 9 บัญญัตวิ า่ “การเล่นอย่างใด
ที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่น” แสดงความหมายของการพนันว่าจะต้องมีการเล่นที่มี
ลักษณะได้หรือเสียเงินหรือทรัพย์สินกันในตัว
3. ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ในค�ำพิพากษาศาลฎีกาในคดีต่างๆ ได้วางหลักเกณฑ์ที่ส�ำคัญของการ
พนันไว้ว่าต้องมีลักษณะที่ผู้เล่นเสี่ยงต่อการได้และเสีย12 ม
4. คณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 3 (คณะที่ 11) ได้ให้ความเห็นถึงลักษณะ
ของการพนันเอาไว้สรุปความได้ว่า จะถือว่าเป็นการพนันได้ผู้เล่นจะต้องเสี่ยงต่อการเสียประโยชน์13
5. ค�ำนิยามจากนักวิชาการด้านกฎหมายนั้น มีค�ำอธิบายของนักกฎหมายชั้นน�ำหลายท่านได้
อธิบายค�ำว่าการพนันขันต่อไว้คล้ายคลึงกัน ซึ่งมีตัวอย่าง ดังนี้

11 ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 น. 756.


สธ
12 ฎ. 2542/2527 และ ฎ. 142/2479
13 บันทึก เรือ่ ง หารือปัญหาข้อกฎหมายว่าด้วยการพนันเกีย
่ วกับการใช้โทรศัพท์ ระบบหมายเลข 1900 ในการจัดให้มกี าร
ทายผลการแข่งขันกีฬาและตอบปัญหาชิงรางวัล (เรื่องเสร็จที่ 589/2545) www.krisdika.go.th/wps/portal/general/!ut/pc5/ 6
สิงหาคม 2556.

10-74 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

การพนันขันต่อ เป็นเอกเทศสัญญาซึ่งคู่สัญญาได้ให้ค�ำมั่นซึ่งกันและกันว่า ฝ่ายหนึ่งจะจ่ายเงิน


หรือทรัพย์สนิ แก่อกี ฝ่ายหนึง่ เว้นแต่วา่ เหตุการณ์ซงึ่ คูส่ ญ ั ญายังรูไ้ ม่แน่นอนอันหนึง่ จะได้ปรากฏแก่คสู่ ญั ญา
ว่าแน่นอนในทางใด เมื่อเหตุการณ์อันไม่แน่นอนได้ปรากฏแน่นอนในทางใดแล้ว คู่สัญญาที่จ่ายเงินหรือ
ทรัพย์สินตามค�ำมันนั้นได้ชื่อว่าเป็น ผู้แพ้ ส่วนคู่สัญญาที่รับเงินหรือทรัพย์สินตามค�ำสั่งนั้นได้ชื่อว่า ผู้ชนะ
อนึง่ ผูร้ า่ งได้ใช้คำ� สองค�ำคือ การพนัน อย่างหนึง่ และขันต่อ อีกอย่างหนึง่ แสดงว่ามีความหมายแตกต่างกัน


อยู่และเราพอจะกล่าวได้ว่า ต่างกันโดยข้อที่ว่าถ้าคู่สัญญาได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันเป็นเงื่อนไข
แห่งการแพ้ชนะเช่น คนดูการวิ่งแข่งได้ให้ค�ำมั่นว่าจะจ่ายเงินแก่กันแล้ว แต่คนวิ่งคนใดมาถึงก่อน เช่นนี้

มส
เป็นการขันต่อ14
การพนันขันต่อ คือ สัญญาชนิดหนึง่ ในเอกเทศสัญญา ซึง่ ผูพ้ นันและขันต่อทีเ่ ป็นคูส่ ญ ั ญาให้คำ� มัน่
ต่อกันไว้วา่ เมือ่ มีเหตุการณ์อนั เป็นเงือ่ นไขซึง่ ยังไม่รแู้ น่นอนตามทีต่ กลงกันไว้เกิดขึน้ แน่นอนไปทางใด อีก
ฝ่ายหนึ่งจะจ่ายเงิน ซึ่งฝ่ายที่ต้องจ่ายเงินหรือทรัพย์สินเรียกว่า ผู้แพ้ ส่วนผู้จะได้รับเงินหรือทรัพย์สินนั้น
เรียกว่า ผู้ชนะ15
การพนันและขันต่อ คือ สัญญาซึง่ คูส่ ญ ั ญาได้ตกลงซึง่ กันและกันว่า ฝ่ายหนึง่ (ฝ่ายแพ้) จะจ่ายเงิน
หรือทรัพย์สินแก่อีกฝ่ายหนึ่ง (ฝ่ายชนะ) เมื่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งซึ่งคู่สัญญายังไม่รู้แน่นอนได้ปรากฏผล
เป็นที่แน่นอนอย่างใดแล้ว16
การพนัน นอกจากจะมีความหมายดังกล่าวแล้ว การพนันอาจมีลกั ษณะเฉพาะอยูต่ รงทีว่ า่ คูส่ ญ ั ญา

จะต้องมีสว่ นเกีย่ วข้องกับเหตุการณ์อนั เป็นข้อไขแห่งการแพ้ชนะ ส่วนขันต่อ นอกจากจะมีความหมายโดย
ทั่วไปดังกล่าว ขันต่ออาจมีลักษณะเฉพาะอยู่ตรงที่ว่า คู่สัญญามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันเป็น
ข้อไขแห่งการแพ้ชนะ17
มส

ดังนั้น แม้ตาม ปพพ. ไม่ได้วิเคราะห์ศัพท์ค�ำว่า “การพนันและขันต่อ” ไว้ แต่จากพจนานุกรม


ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ค�ำพิพากษาศาลฎีกา ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และจากความเห็น
ของนักกฎหมายชั้นน�ำดังกล่าว อาจสรุปค�ำนิยามของค�ำว่าการพนันขันต่อได้โดยทั่วๆ ไปว่า คือ สัญญา
ซึง่ คูส่ ญ
ั ญาได้ตกลงซึง่ กันและกันว่าฝ่ายหนึง่ (ฝ่ายแพ้) จะจ่ายเงินหรือทรัพย์สนิ แก่อกี ฝ่ายหนึง่ (ฝ่ายชนะ)
เมื่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งไม่แน่นอนเกิดขึ้นตามเงื่อนไขแล้ว ดังนี้

การพนัน คือ การเล่นเอาเงินหรือทรัพย์สนิ อย่างอืน่ ด้วยการเสีย่ งโชคหรือความสามารถและไหวพริบ
ของผูเ้ ล่น ซึง่ คูส่ ญ
ั ญาจะต้องมีสว่ นเกีย่ วข้องกับเหตุการณ์อนั เป็นเงือ่ นไขแห่งการแพ้ชนะกัน เช่น การเล่นไพ่
การเล่นก�ำถั่ว ไฮโล และปั่นแปะ

14 จิ๊ด เศรษฐบุตร คำ�อธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืมฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอม


ความ การพนันและขันต่อ กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2493 น. 170-171.
15 สุปัน พูลพัฒน์ คำ�อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอม
สธ
ยอมความ การพนันและขันต่อ พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์เลี่ยงเชียงจงเจริญ พ.ศ. 2515 น. 136.
16 มาโนช สุทธิวาทนฤพุฒิ คำ�อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง พ.ศ. 2518 น. 262.
17 เรื่องเดียวกัน

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-75

การขันต่อ คือ การเล่นเอาเงินหรือทรัพย์สนิ อย่างอืน่ ด้วยการเสีย่ งโชคโดยการต่อรองผลประโยชน์


ได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตทีไ่ ม่แน่นอนเป็นส่วนส�ำคัญของการแพ้ชนะ โดยคูส่ ญ ั ญาไม่ตอ้ งใช้
ความสามารถหรือไหวพริบและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันเป็นเงื่อนไขแห่งการแพ้ชนะกันนั้น
เช่น การทายผลของการแข่งม้า การทายหมายเลขท้ายรถยนต์ที่แล่นผ่านไปมาว่าเป็นเลขคี่หรือเลขคู่
อุทาหรณ์


เก่ง และแก้ว ตกลงกันว่า จะวิ่งแข่งกัน และหากบุคคลใดถึงเส้นชัยก่อนให้บุคคลนั้นเป็นฝ่ายชนะ
10,000 บาท การตกลงกันดังกล่าวเป็นการพนัน

มส
เก่ง และแก้ว วิ่งแข่งกัน โดยมี ข้าว และขวัญ เป็นผู้ดูการวิ่งแข่งและตกลงกันว่า หาก เก่ง วิ่งถึง
เส้นชัยก่อน ข้าว จะได้รับเงินจาก ขวัญ จ�ำนวน 10,000 บาท เนื่องจาก ข้าว เป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้า แก้ว
วิ่งถึงเส้นชัยก่อน ขวัญ จะได้รับเงินจาก ข้าว เนื่องจากการที่ ขวัญเป็นฝ่ายชนะ การตกลงกันดังกล่าว
เป็นการขันต่อ

กิจกรรม 10.2.1
1. เอก และหนึ่ง ว่ายนํ้าแข่งกัน และตกลงกันว่า ถ้าใครถึงหลักชัยก่อนฝ่ายนั้นชนะ และผู้แพ้ก็
ต้องจ่ายเงิน จ�ำนวน 10,000 บาท ให้ผู้ชนะ การตกลงดังกล่าวนี้เป็นอะไร

2. เอก และหนึ่ง ดูฟุตบอลคู่ บราซิล กับอิตาลี แข่งขันกันโดยมีการตกลงกันว่าจะเล่นกันคนละ
ข้างและใครเล่นข้างใด ข้างใดชนะอีกฝ่ายหนึง่ ข้างทีแ่ พ้กจ็ ะต้องจ่ายเงินจ�ำนวน 10,000 บาท ให้แก่อกี ฝ่าย
มส

หนึ่งที่ชนะ การตกลงดังกล่าวนี้เป็นอะไร

แนวตอบกิจกรรม 10.2.1
1. เป็นการพนัน เพราะ เอก และหนึง่ ซึง่ เป็นคูส่ ญ
ั ญาได้ตกลงซึง่ กันและกันว่าฝ่ายหนึง่ (ฝ่ายแพ้)
จะจ่ายเงินหรือทรัพย์สินแก่อีกฝ่ายหนึ่ง (ฝ่ายชนะ) เมื่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งไม่แน่นอนเกิดขึ้น
ตามเงื่อนไขแล้ว โดยเป็นการเล่นเอาเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นด้วยการเสี่ยงโชคโดยความสามารถของ

ผู้เล่น ซึ่งคู่สัญญามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันเป็นเงื่อนไขแห่งการแพ้ชนะกัน
2. เป็นการขันต่อ เพราะ เอก และหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงซึ่งกันและกันว่าฝ่ายหนึ่ง (ฝ่าย
แพ้) จะจ่ายเงินหรือทรัพย์สินแก่อีกฝ่ายหนึ่ง (ฝ่ายชนะ) ด้วยการต่อรองโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่
ไม่แน่นอนเป็นส่วนส�ำคัญของการแพ้ชนะ โดยคูส่ ญ
เหตุการณ์อันเป็นเงื่อนไขแห่งการแพ้ชนะกันนั้น
ั ญาไม่ตอ้ งใช้ความสามารถและไม่ได้มสี ว่ นเกีย่ วข้องกับ
สธ

10-76 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 10.2.2
หลักเกณฑ์ของการพนันและขันต่อ


จากลักษณะของการพนันและขันต่อดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นมีหลักเกณฑ์อันเป็นสาระส�ำคัญดังต่อ
ไปนี้

มส
1. มีคู่สัญญาสองฝ่ายขึ้นไป
2. คู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีโอกาสได้และเสียในการพนันหรือขันต่อหรือการเสี่ยงโชคนั้น
3. มีการแพ้ชนะโดยการเสี่ยงโชคโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ
4. สิ่งที่ได้เสียให้แก่กันนั้นเป็นเงินหรือทรัพย์สินโดยฝ่ายแพ้ต้องจ่ายเงินหรือทรัพย์สินให้ฝ่ายที่
ชนะตามข้อตกลง

1. มีคู่สัญญาสองฝ่ายขึ้นไป
การพนันและขันต่อนัน้ เป็นสัญญาซึง่ มีคสู่ ญ
ั ญาสองฝ่าย โดยมีคสู่ ญ ั ญาฝ่ายละกีค่ นก็ได้ไม่จำ� กัดว่า
ต้องมีคสู่ ญ
ั ญาเพียงฝ่ายละหนึง่ คน โดยฝ่ายหนึง่ เป็นผูร้ บั กิน หรือรับใช้ หรือเรียกว่าเจ้ามือ กล่าวคือ ผูร้ บั กิน

หรือรับประโยชน์จากผลของการพนันหรือขันต่อหากตนเป็นฝ่ายชนะและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เล่นการพนัน
หรือขันต่อ และหากเป็นฝ่ายแพ้ ก็จะเป็นผู้รับใช้ คือ เป็นฝ่ายที่ต้องจ่ายผลประโยชน์ให้อีกฝ่ายหนึ่งหาก
ตนแพ้และอีกฝ่ายหนึง่ เป็นฝ่ายชนะ หรือทัง้ สองฝ่ายต่างเป็นผูเ้ ล่นด้วยกันโดยไม่มเี จ้ามือก็ได้ แต่จะมีผเู้ ล่น
มส

ฝ่ายเดียวไม่ได้ ถ้าสัญญาใดมีคู่สัญญาฝ่ายใดเพียงฝ่ายเดียว เช่น มีผู้ใดได้โดยไม่มีฝ่ายเสีย หรือมีแต่ฝ่าย


เสียฝ่ายเดียว โดยไม่มีฝ่ายได้เลย ย่อมไม่ใช่การพนันและขันต่อ
ส�ำหรับคู่สัญญานั้นอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ เช่น ผู้จัดให้เล่นการพนันอาจเป็น
ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของบ่อนหรือสถานที่จัดให้มีการเล่นการพนัน
นอกจากนัน้ มีการพนันบางอย่างทีด่ เู หมือนกับมีผเู้ ล่นเพียงฝ่ายเดียว เช่น ผูเ้ ล่นการพนันใช้เหรียญ

หยอดลงไปในตู้เกมหรือสล๊อตแมชชีน ซึ่งเป็นการเล่นการพนันกับเครื่องเล่นพนันที่ประกอบด้วยวงล้อ
จ�ำนวน 3 วง หรือมากกว่าโดยผู้เล่นต้องหยอดเหรียญเพื่อหมุนวงล้อและวงล้อนี้จะหมุนเมื่อผู้เล่นกดปุ่ม
หรือโยกคันโยก จากนั้นจะคิดคะแนนจากสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ด้านหน้าเมื่อวงล้อหยุดหมุน แต่ในกรณี
ดังกล่าวมีคู่กรณีสองฝ่าย คือ ฝ่ายผู้เล่นการพนันและฝ่ายที่ควบคุมและจัดให้มีการเล่นการพนันด้วย ซึ่ง
เป็นการพนันโดยใช้เครือ่ งเล่นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2530) ออกตามความใน พรบ. การพนัน
พ.ศ. 2478 อันเป็นการเล่นพนันตามบัญชี ข. หมายเลข 28
อย่างไรก็ตามหากเป็นเรื่องในทางอาญาอาจไม่จ�ำต้องมีคู่กรณีสองฝ่ายในการเล่นการพนันก็เป็น
สธ
ความผิดได้

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-77

อุทาหรณ์
ฎ. 829/2500 จ�ำเลยตัง้ ใจเล่นสลากกินรวบแต่ไปซือ้ สลากจากเจ้าพนักงานต�ำรวจเข้า ศาลฎีกาเห็น
ว่าความผิดไม่อาจส�ำเร็จได้เพราะมีจ�ำเลยผู้แทงฝ่ายเดียว ไม่มีเจ้ามืออันแท้จริง จึงไม่เป็นพยายามท�ำผิด
พิพากษาให้ยกฟ้อง
อนึ่งมีข้อสังเกตว่าตามค�ำพิพากษาศาลฎีกานี้เป็นเรื่องในทางอาญามิใช่เรื่องทางแพ่ง และถ้าหาก


มีเจ้ามือผูท้ ำ� การขายสลากกินรวบแม้เพียงฝ่ายเดียวก็เป็นความผิดทางอาญาได้ เนือ่ งจากกฎหมายประสงค์
จะก�ำหนดความผิดของเจ้ามือผู้ทำ� การขายสลากกินรวบ

มส
ฎ. 470/2508 การพนันสลากกินรวบนั้น ไม่จ�ำเป็นต้องมีผู้เล่นสองฝ่าย เพียงแต่จำ� เลยท�ำการขาย
สลากกินรวบ แม้จะไม่มีคนซื้อก็เป็นความผิดแล้วเพราะจ�ำเลยได้จัดให้มีการเล่นการพนันขึ้น การที่ไปซื้อ
สลากกินรวบจากจ�ำเลยเพื่อประสงค์จะท�ำการจับกุมจ�ำเลยนั้น เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานแห่งการ
กระท�ำผิดของจ�ำเลย ไม่เป็นเหตุให้จำ� เลยอ้างเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดไปได้
อนึง่ ในการเล่นการพนันและขันต่อนัน้ อาจเป็นการเล่นโดยผูเ้ ล่นโดยตรงหรือมีการตัง้ ตัวแทนของ
ผู้เล่นก็ได้และผู้ที่เป็นตัวแทนนั้นอาจเป็นตัวแทนของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายก็ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 595/2491 การเป็นตัวแทนของทั้งสองฝ่ายย่อมเป็นได้ ตาม ปพพ. มาตรา 805
นายบ่อนชนโครับเงินเดิมพันจากคูพ่ นันทัง้ สองฝ่ายไว้ เพือ่ มอบเงินทัง้ หมดให้แก่ฝา่ ยชนะพนันนัน้

ย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนของเจ้าของเงินทั้งสองฝ่าย ตราบใดที่ยังมิได้จ่ายเงินไปตามที่ได้รับมอบหมายไว้
ผู้วางเงินเดิมพันมีสิทธิที่จะถอนอ�ำนาจที่ได้มอบหมายนั้น คือสั่งให้งดการจ่ายเงินของตนและขอคืนไปได้
มส

และในกรณีเช่นนีถ้ อื ว่านายบ่อนมิใช่คพู่ นันขันต่อกับผูว้ างเงินเดิมพัน แต่หากเป็นคนกลางหรือเป็นตัวแทน


ของคู่พนันเท่านั้นจึงไม่เข้าลักษณะ ปพพ. มาตรา 853 ผู้วางเดิมพันจึงมีอำ� นาจฟ้องเรียกเงินเดิมพันที่ตน
มอบหมายไว้ คืนจากนายบ่อนได้ในเมือ่ ได้บอกกล่าวขอคืนก่อนนายบ่อนจ่ายเงินนัน้ ให้คพู่ นันอีกฝ่ายหนึง่ ไป
คู่สัญญาต้องมีความสามารถบริบูรณ์ในการท�ำนิติกรรมเช่นเดียวกับการท�ำสัญญาทั่วไป กล่าวคือ
ไม่มีความสามารถบกพร่อง เพราะเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ และต้องมีการ
ตกลงกันท�ำสัญญาโดยความสมัครใจ ไม่มีความบกพร่องในการแสดงเจตนา เช่น ไม่ถูก หลอกกลวง ข่มขู่
หรือส�ำคัญผิดในสาระส�ำคัญของสัญญาหรือคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง

2. คู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีโอกาสได้และเสีย

คู่สัญญาแต่ละฝ่ายที่เข้าเล่นการพนันต้องมีโอกาสได้และเสีย ไม่ใช่มีแต่ได้หรือเสียเพียงประการ
เดียว ดังนัน้ ถ้าสัญญาใด มีคสู่ ญ
ั ญาฝ่ายใดเป็นผูไ้ ด้ฝา่ ยเดียว โดยไม่มฝี า่ ยเสีย หรือมีแต่ฝา่ ยเสียฝ่ายเดียว
โดยไม่มีฝ่ายได้เลย ย่อมไม่ใช่การพนันและขันต่อ
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 142/2479 การขายของโดยวิธีสอดธนบัตรเป็นเงินรางวัลไว้ในของนั้นเพื่อผู้ที่ซื้อของจะได้มี
โอกาสถูกได้ เงินที่สอดไว้ในซองนั้นแต่ราคาของที่ขายนั้นสูงกว่าราคาตามท้องตลาดดังนี้ ต้องถือเป็นการ
พนันเสี่ยงโชคมีได้มีเสียระหว่างผู้ซื้อแลผู้ขายเป็นความผิด

10-78 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 1429/2499 มีการจองเลขสลากกินรวบไว้แล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำ� ระเงินกัน แต่กไ็ ด้กำ� หนดแน่นอน


ว่าจะช�ำระภายหลัง ย่อมถือได้ว่าเป็นการเล่นพนันเอาทรัพย์สินกันแล้ว
ฎ. 2542/2527 การขายสินค้าด้วยวิธที ผี่ ซู้ อื้ หยอดเหรียญทีข่ วดโหลซึง่ มีขนมหรือของเล่นบรรจุอยู่
เมื่อผู้ซื้อหมุนปุ่มจะมีของเล่นหรือขนมตกลงมา ของเล่นบางชนิดหากเปิดออกไม่มีสลากอยู่ภายในผู้ซื้อก็
เป็นฝ่ายเสีย ถ้ามีสลากผู้ซื้อก็เป็นฝ่ายได้ บางชนิดขนมหรือของเล่นมีราคาน้อยหรือมากกว่าราคาเหรียญ


ที่หยอดดังนี้เป็นการพนันคล้ายสล๊อทแมชีน เพราะมีทั้งได้ทั้งเสีย
หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีโอกาสได้รับเงินหรือทรัพย์สินจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่
เป็นการพนัน

มส
อุทาหรณ์
1. เอ รับจ้างชั่งนํ้าหนักของลูกค้า ได้รับทายนํ้าหนักของ บี ซึ่งเป็นลูกค้า ก่อนขึ้นชั่งนํ้าหนักว่า
50 กิโล ถ้าทายถูก บี ต้องจ่ายเงินให้ตน 100 บาท แต่ถ้าทายผิด เอ ก็จะให้ บี ชั่งนํ้าหนักฟรี ดังนี้ ไม่
เป็นการพนันหรือขันต่อ เพราะการทายนํา้ หนักเป็นเพียงเงือ่ นไขของการจ่ายเงินเท่านัน้ ไม่มกี ารได้เสียซึง่
กันและกัน เพราะถ้า เอ ทายนํ้าหนัก ของ บี ถูกต้อง เอ จะได้รับเงินค่าชั่งนํ้าหนักจาก บี แต่ถ้า เอ ทาย
นํ้าหนักของ บี ผิด ไป เอ ก็ไม่ต้องเสียเงินให้ กับ บีแต่อย่างใด
2. อิม่ ขายนาํ้ ผลไม้บรรจุขวด และให้ผซู้ อื้ สามารถส่งกระดาษทีป่ ดิ ไว้ทขี่ วดโดยเขียนชือ่ ผูซ้ อื้ เพือ่
ชิงรางวัล ดังนี้ ไม่เป็นการพนันหรือขันต่อ เพราะผูซ้ อื้ ทีส่ ง่ ชือ่ ไปชิงรางวัลนัน้ มีโอกาสได้รบั เงินหรือทรัพย์สนิ

จาก อิ่ม เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งถ้าได้ก็ถือว่าเป็นโชค แต่ถ้าไม่ถูกรางวัลก็ไม่ได้เสียอะไร ซึ่งต่างจากการพนัน
ที่มีโอกาสได้หรือมีโอกาสเสีย
มส

ฎ. 535/2477 ขายของตามราคาธรรมดาและแถมสลากให้ผู้ซื้อเพื่อจะได้มีโอกาสถูกรางวัลเป็น
สิ่งของไม่เป็นผิดตาม พรบ. การพนันฯ

3. มีการแพ้ชนะโดยการเสี่ยงโชคซึ่งอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ
ในการพนันและขันต่อนั้นต้องมีการเล่นที่แพ้ชนะโดยการเสี่ยงโชค คือ ไม่ใช่เป็นการลงมือท�ำการ
งานหรือกระท�ำการลงทุน แต่เป็นการตกลงกันเสีย่ งโชคในสิง่ ทีไ่ ม่แน่นอน กล่าวคือ ต้องแพ้ชนะต่อกันโดย
อาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน

หวังว่าจะได้ผลทางดี เช่น งานนี้ไม่แน่ใจว่าจะส�ำเร็จหรือไม่ ต้องลองกระท�ำดู


โชค หมายความว่า สิงที่นำ� ผลมาให้โดยคาดหมายได้ยาก เช่น โชคดี โชคร้าย

เสี่ยง หมายความว่า ลองด�ำเนินการหรือกระท�ำในสิ่งที่อาจให้ผลได้สองทาง คือ ดีหรือไม่ดี แต่

การเสี่ยงโชค จึงหมายความว่า การกระท�ำด้วยวิธกี ารใดๆ ทีเ่ ป็นการเสีย่ งซึง่ ไม่อาจคาดหมายได้


และอาศัยผลที่ยังไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งโอกาสในการเข้าแข่งขันหรือได้มาซึ่งรางวัล
ในเรื่องนี้มีข้อหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกา (เรื่องเสร็จที่ 14/2546) ประเด็นข้อกฎหมายตาม
สธ
พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 กรณีการจัดให้มีการเล่นตู้เกมไฟฟ้า ดังนี18้

18 http://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=cmd&year=2546&lawPath=c2_0014_2546

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-79

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 11) ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า ลักษณะที่ส�ำคัญของการพนันคือ


จะต้องเป็นการเล่นที่เป็นการเสี่ยงโชคต่อการได้หรือเสียประโยชน์ และเมื่อการเล่นตู้เกมไฟฟ้าตามข้อหา
รือดังกล่าว ผู้จัดให้มีการเล่นกับ ผู้เล่นมีโอกาสได้หรือเสียประโยชน์โดยขึ้นอยู่กับจ�ำนวนคูปองที่ได้รับจาก
คะแนนทีเ่ ล่นเกมได้เพือ่ น�ำคูปองไปแลกของรางวัล โดยหากจ�ำนวนคูปองน้อยของรางวัลทีจ่ ะได้รบั ก็มมี ลู ค่า
น้อย แต่หากจ�ำนวนคูปองมากของรางวัลที่จะได้รับก็มีมูลค่ามาก และแม้ว่ารางวัลที่ได้รับจะมีมูลค่าน้อย


กว่าค่าเล่นเกมก็ตาม แต่เนื่องจากการได้และเสียประโยชน์อันเป็นลักษณะส�ำคัญของการพนันนั้น ไม่ได้
หมายความว่าเมือ่ น�ำการได้และเสียประโยชน์มาหักกลบกันแล้ว ผูเ้ ล่นจะต้องมีโอกาสได้ประโยชน์มากกว่า

มส
ทีเ่ สียไป โดยหากการเล่นดังกล่าวท�ำให้ผเู้ ล่นได้ประโยชน์แม้แต่เพียงเล็กน้อยเป็นสิง่ ตอบแทนแล้ว ก็ถอื ว่า
เป็นการได้และเสียประโยชน์อันเป็นการพนันแล้ว ดังนั้น การเล่นตู้เกมไฟฟ้าลักษณะดังกล่าวจึงเป็น
การพนัน ซึง่ แตกต่างจากกรณีตเู้ กมไฟฟ้าอืน่ ทีม่ งุ่ ประสงค์จะให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินและเพิม่ ทักษะ
แก่ผู้เล่นเพียงอย่างเดียว โดยมิได้มุ่งประสงค์จะให้เป็นเครื่องเล่นการพนัน เมื่อการเล่นตู้เกมไฟฟ้าเช่นนี้
เป็นการพนันแล้ว ตามมาตรา 4 วรรคสาม แห่ง พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 บัญญัติให้การเล่น
ดังกล่าวต้องมีใบอนุญาตให้จัดให้มีขึ้น หรือมีกฎกระทรวงอนุญาตให้จัดขึ้นโดยไม่ต้องมีใบอนุญาต
นอกจากนี้ เมือ่ พิจารณาลักษณะการเล่นตูเ้ กมไฟฟ้าตามข้อหารือ ซึง่ มีวธิ กี ารเล่นหลายวิธี เช่น กดปุม่ ทุบ
ปุ่ม ยิงลูกบอล หรือดึงโยกคันบังคับตามแต่ละชนิดของเครื่องเล่นตู้เกมไฟฟ้านั้น โดยในการเล่นแต่ละครั้ง
ผูเ้ ล่นต้องหยอดเหรียญสิบบาทเพือ่ เล่นตูเ้ กมไฟฟ้า และอาจได้รบั ของรางวัลโดยขึน้ อยูก่ บั คะแนนทีป่ รากฏ

และจ�ำนวนคูปองทีไ่ ด้รบั เห็นได้วา่ ตูเ้ กมไฟฟ้านัน้ มีลกั ษณะเป็นเครือ่ งเล่นตามทีร่ ะบุไว้ในล�ำดับที่ 28 ของ
บัญชี ข. ท้าย พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 ซึ่งตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่ง พรบ. การพนันฯ ได้
มส

บัญญัตใิ ห้การจัดให้มกี ารเล่นเครือ่ งเล่นดังกล่าวเพือ่ เป็นทางน�ำมาซึง่ ผลประโยชน์แก่ผจู้ ดั โดยทางตรงหรือ


ทางอ้อม แม้ว่าการเล่นนั้นจะไม่ได้พนันกันก็ตาม จะกระท�ำได้ต่อเมื่อรัฐมนตรีเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงาน
ผู้ออกใบอนุญาตเห็นสมควรและออกใบอนุญาตให้ หรือมีกฎกระทรวงอนุญาตให้จัดขึ้นโดยไม่ต้องมีใบ
อนุญาต จึงเห็นว่า ความเห็นของส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติที่เห็นว่า เครื่องเล่นตู้เกมไฟฟ้าของห้างฯ และ
วิธีการเล่นตามที่ห้างฯ กล่าวอ้างเป็นการเล่นที่ต้องขออนุญาตและวิธีการเล่นเป็นการพนันตาม พรบ.
การพนันฯ นั้น เป็นความเห็นที่ชอบตาม พรบ. ดังกล่าวแล้ว
อนึ่ง ในการพนันต้องมีการเสี่ยงโชคโดยอาศัยเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนเสมอ
อุทาหรณ์

ฎ. 538/2468 จ�ำเลยให้ราษฎรเอาสตางค์มาวางแล้วจับฉลาก ถ้าได้ฉลากเครื่องหมาย 1 ขีด ผู้จับ
ฉลากก็ขาดทุน เพราะได้แตงเม 1 อัน ราคาไม่ถงึ สตางค์ ถ้าได้เครือ่ งหมาย 3 ขีด ผูจ้ บั ฉลากได้กำ� ไร จ�ำเลย
ขาดทุนเป็นการเสี่ยงโชคมีได้มีเสียกัน เป็นการพนันจับฉลากตรงตามกฎเสนาบดีอากรการพนัน ศก 120
ประเภท 2 (7) จ�ำเลยมีผิดตาม พรบ. อากรการพนัน ศก 120 มาตรา 10
แม้วา่ ค�ำพิพากษาฎีกาข้างต้นนีจ้ ะมีขนึ้ ก่อน ปพพ. ซึง่ เป็นกฎหมายทีใ่ ช้บงั คับกันอยูใ่ นปัจจุบนั แต่
สธ
กฎหมายที่ใช้บังคับก็มีลักษณะและหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน คือ การพนันต้องมีการเสี่ยงโชคและมีการได้
หรือเสียในการพนันนั้น

10-80 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 795/2491 ท�ำเลขสลากขึ้นขาย เมื่อสลากกินแบ่งของรัฐบาลออก ผู้ซื้อสลากคนใดมีเลข 3 ตัว


ตรงกับเลขท้าย 3 ตัวของรางวัลที่ 1 ผูน้ นั้ ก็รบั ของไปดังนีเ้ ป็นการพนันประเภทสลากกินรวบอยูใ่ นประเภท
ข. ตาม พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478
ฎ. 2136/2499 (ป. ใหญ่) ซื้อสลากกินแบ่งของรัฐบาลมาแบ่งเป็นชุด แต่ละชุดเอามาพิมพ์เป็นใบ
รวมหุ้นน�ำออกขายได้ก�ำไรเกินไปกว่าราคาเดิมที่รัฐบาลขาย ด้านหลังใบรวมหุ้นวางเงื่อนไขการให้รางวัล


ไว้ซึ่งตํ่ากว่าอัตรารางวัลที่กองสลากของรัฐบาลจ่าย แล้วอาศัยวิธีออกสลากของรัฐบาล ดังนี้มีลักษณะเป็น
เรือ่ งค้าและเสีย่ งโชคในการพนันโดยน�ำเอาสลากกินแบ่งรัฐบาลมาจัดท�ำเป็นสลากขึน้ ใหม่ มีรางวัลและการ

มส
ได้เสียเป็นการเสี่ยงโชคพนันเอาทรัพย์สินกัน จึงเป็นผิดฐานออกสลากกินแบ่งโดยไม่ได้รับอนุญาต
ฎ. 481/2524 จ�ำเลยกับพวกใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่ามี
พระอาจารย์ดบี อก หวยได้ เคยบอกหวยแก่พวกของจ�ำเลยถูกสลากกินรวบได้เงินนับล้านมาแล้ว ผูเ้ สียหาย
หลงเชื่อจึงไปขอให้พระอาจารย์ (ซึ่งเป็นพวกของจ�ำเลยปลอมตัวเป็นพระมา) บอกเบอร์หวยและมอบเงิน
ให้แก่จำ� เลยเพือ่ น�ำไปซือ้ สลากกินรวบตามเลขทีพ่ ระอาจารย์บอก ดังนี้ การกระท�ำของผูเ้ สียหายจึงเป็นการ
ร่ ว มกั บ จ� ำ เลยในการน� ำ เงิ น ไปซื้ อ สลากกิ น รวบอั น เป็ น การพนั น ทรั พ ย์ สิ น ที่ ผิ ด กฎหมาย ถื อ ได้ ว ่ า
ผู้เสียหายเป็นผู้ใช้ให้จ�ำเลยกระท�ำความผิดอาญา จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้
เจ้าพนักงานน�ำคดีขึ้นว่ากล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงแก่จ�ำเลยได้
อนึ่ง ถ้าไม่มีการเสี่ยงโชคโดยอาศัยเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนย่อมไม่เป็นการพนัน

อุทาหรณ์
ฎ. 623/2465 จ�ำเลยใช้วธิ ขี ายรูปโปสการ์ดโดยเอารูปโปสการ์ดใส่ไว้ในตู้ ผูท้ จี่ ะซือ้ หยอด 10 สตางค์
มส

ลงในตูแ้ ล้วหมุนได้รปู โปสการ์ดออกมาคราวละ 1 แผ่นทุกคราวทีห่ ยอด 10 สตางค์ลงไป แต่ราคาโปสการ์ด


นั้นตามค�ำพยานโจทก์ว่า ราคาไม่ถึง 10 สตางค์บ้าง สูงกว่า 10 สตางค์บ้าง แต่จะมากหรือน้อยกว่าราคา
จริงไปเท่าใด พยานไม่ได้กล่าวถึง และจ�ำเลยมีของแถมด้วย ได้ความดังนี้ ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการขายของ
เล็กน้อย ไม่เข้าในประเภทการพนันจับฉลากตาม พรบ. การพนัน ร.ศ. 120 มาตรา 10
ฎ. 2137/2499 การที่จำ� เลยที่ 1 ไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมา 20 ฉบับราคา 210 บาท แล้วน�ำมา
ท�ำหุ้น 100 หุ้นโดยพิมพ์ใบรวมหุ้นให้ผู้ซื้อถือไว้ ถ้าถูกสลากก็แบ่งกันตามส่วนแล้วขายให้จ�ำเลยที่ 2 ไป

ผิดตาม พรบ. การพนันฯ



ราคา 225 บาท จ�ำเลยที่ 2 เอาไปขายฉบับละ 2.50 บาทขายหมดจะได้กำ� ไร 25 บาทการทีจ่ ำ� เลยท�ำเช่นนี้
เป็นการด�ำเนินการค้าอย่างธรรมดา หาใช่เป็นผู้เสี่ยงโชคแห่งการได้หรือเสียในการออกสลากไม่จึงไม่เป็น

นอกจากนั้น หากมีการกระท�ำใดๆ ที่ท�ำให้ผู้กระท�ำการนั้นได้รับเงินหรือผลประโยชน์เป็นการ


ตอบแทนซึง่ แน่นอนย่อมไม่เป็นการเสีย่ งโชคและไม่เป็นการพนัน เช่น การท้ากันโดยไม่มกี ารเสีย่ งโชค หรือ
การรับจ้างว่าความทีต่ กลงกันว่าหากแพ้คดีไม่ตอ้ งจ่ายค่าว่าความ หรือการท�ำสัญญาเล่นแชร์เปียหวย หรือ
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
สธ
การท้ากันของคู่ความโดยไม่มีการเสี่ยงโชคไม่เป็นการพนัน

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-81

อุทาหรณ์
ฎ. 1413/2494 การที่คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเพณีข้อกฎหมายศาลมีอำ� นาจตัดสินไปตาม
นั้นได้ตาม ปวพ. มาตรา 183 หาใช่กิจการพนันขันต่อไม่
ฎ. 1696/2499 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้กับดอกเบี้ย 2,037 บาท จ�ำเลยต่อสู้ว่าความจริงจ�ำเลยตกลง
ซือ้ กระบือ 2 ตัวราคา 2,000 บาท โดยโจทก์ผอ่ นช�ำระภายในเดือน 3 ทุกๆ ปี โจทก์ให้จำ� เลยท�ำเป็นสัญญา


กู้ให้ไว้ เมื่อจ�ำเลยช�ำระราคากระบือแล้วจะคืนสัญญาให้
วันชี้ คู่ความท้ากันว่าขอให้สืบนายเลี่ยม ถ้าให้การว่ากระบือรายนี้ตกอยู่แก่จ�ำเลยก่อนเดือน 11

มส
พ.ศ. 2497 แล้ว จ�ำเลยยอมคืนกระบือ 2 ตัวกับเงิน 2,000 บาท แต่ถ้าให้การว่าเพิ่งตกอยู่กับจ�ำเลยเมื่อ
เดือน 11 พ.ศ. 2498 นี้เอง จ�ำเลยยอมคืนกระบือให้โจทก์ 2 ตัวอย่างเดียว
ดังนี้เมื่อศาลพิพากษาให้จ�ำเลยคืนกระบือ 2 ตัว กับเงิน 2,000 บาทให้โจทก์ตามที่คู่ความแถลง
ตกลงกันในชั้นชี้สองสถาน จึงไม่ใช่การพนันขันต่อ
ฎ. 1745/2518 โจทก์ฟอ้ งว่าทีพ่ พิ าทเป็นของโจทก์ จ�ำเลยได้นำ� รังวัดทีด่ นิ ของจ�ำเลยเพือ่ ออก น.ส.3
แต่ได้นำ� รังวัดเอาทีพ่ พิ าทรวมเข้าไปด้วย ขอให้ศาลพิพากษาให้จำ� เลยแบ่งแยกทีพ่ พิ าทออกจาก น.ส.3 และ
ห้ามเข้าเกี่ยวข้อง จ�ำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของบิดาจ�ำเลยได้บุกเบิกแผ้วถาง
ท�ำประโยชน์มานาน 40 ปีแล้ว ต่อมาบิดาจ�ำเลยตายที่ดินนี้จึงตกได้แก่จำ� เลย ชั้นพิจารณามีการท�ำแผนที่
พิพาทปรากฏว่าที่ดินตาม น.ส.3 ของจ�ำเลยนอกจากจะพิพาทกับโจทก์ ยังพิพาทกับ จ. โดยที่พิพาทคดีนี้

กับคดีนั้นอยู่ติดกัน โจทก์จำ� เลยจึงแถลงร่วมกันว่าไม่ติดใจสืบพยาน โดยตกลงท้ากันว่าเมื่อคดีนั้นถึงที่สุด
หาก จ. ชนะคดีก็ให้ถือว่าคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายชนะ ถ้าคดีนั้นจ�ำเลยชนะก็ให้ถือว่าคดีนี้จ�ำเลยเป็นฝ่ายชนะ
มส

ต่อมาคดีทจี่ ำ� เลยพิพาทกับ จ. นัน้ ศาลฎีกาพิพากษาให้ จ.ชนะคดี ศาลชัน้ ต้นจึงพิพากษาในคดีนใี้ ห้จำ� เลย


แบ่งแยกที่พิพาทออกจาก น.ส.3 ของจ�ำเลยและห้ามจ�ำเลยเกี่ยวข้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาททั้งสอง
คดีนี้อยู่ติดกันและต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่ตาม น.ส.3 ของจ�ำเลย จ�ำเลยได้ขอออก น.ส.3
ครอบที่พิพาททั้งสองแปลงเข้าไปด้วย และทั้งสองคดีจ�ำเลยให้การต่อสู้ท�ำนองเดียวกัน คดีทั้งสองจึง
เกี่ยวข้องกัน มิใช่เป็นเรื่องเอาเหตุการณ์ภายนอกมาเป็นข้อท้าแต่อย่างใด การที่ให้ถือเอาผลแห่ง
ค�ำพิพากษาคดีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันอยู่มาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ มีผลให้บังคับคดีนี้ได้
ย่อมถือว่าเป็นค�ำท้าที่ชอบด้วยกฎหมาย หามีลักษณะเป็นการพนันขันต่อแต่อย่างใดไม่ ม
ในการท�ำสัญญาจ้างว่าความโดยตกลงกันว่าถ้าว่าความแพ้ไม่เอาเงินย่อมมิใช่เป็นการพนัน เพราะ
ไม่ได้มีการเสี่ยงโชค แต่มีการกระท�ำที่ใช้ความสามารถในการกระท�ำการงานโดยได้รับผลตอบแทน
อุทาหรณ์
ฎ. 323/2477 ทนายท�ำสัญญากับลูกความว่า หากว่าความแพ้ไม่เอาเงินค่าจ้างถ้าชนะถึงจะเอา
ค่าจ้างเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม มาตรา 113
(ปัจจุบันคือ มาตรา 150) และไม่ผิดต่อ พรบ. ทนายความ ทั้งไม่มีลักษณะคล้ายสัญญาการพนัน สัญญา
สธ
ที่มีเงื่อนไขโดยอาศัยเหตุการณ์ไม่แน่นอนนั้นหาเป็นสัญญาการพนันเสมอไปไม่ สัญญาจ้างว่าความเป็น
นิติกรรมเกี่ยวกับศีลธรรมอันดี และความสงบเรียบร้อยของประชาชนได้เพียงไร วิธีพิจารณาความแพ่ง
อ�ำนาจศาล นิตกิ รรมทีเ่ ป็นปัญหาว่าจะขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คคู่ วาม

10-82 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

จะมิได้ยกขึน้ กล่าวอ้างความเสียเปล่าศาลก็หยิบยกขึน้ วินจิ ฉัยได้วา่ จะเป็นการขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือความ


สงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่
ฎ. 1072/2499 สัญญาจ้างว่าความที่ตกลงกันว่า ถ้าหากทนายว่าความชนะลูกความจะให้ค่าจ้าง
เป็นเงินจ�ำนวนหนึง่ แต่ถา้ หากแพ้ลกู ความจะไม่ให้คา่ จ้างเลย เช่นนีเ้ ป็นสัญญาทีต่ อ้ งลงแรงปฏิบตั ไิ ม่เป็นการ
พนันขันต่อ


สัญญาเล่นแชร์เปียหวยก็ไม่ใช่การพนันหรือขันต่อ เพราะไม่มีการเสี่ยงโชค
เนื่องจากในการพนันขันต่อนั้นต้องมีการได้การเสีย ในท�ำนองการเสี่ยงโชค เป็นการแพ้ชนะด้วย

มส
การต่อรอง ไม่ใช่มีทางได้หรือเสียแต่อย่างเดียวเป็นประโยชน์ที่ผู้ชนะได้จากผู้แพ้พนัน ดังนั้นการเล่นแชร์
ซึง่ ไม่ใช่มลี กั ษณะการเสีย่ งโชค หรือหวังเอาแพ้เอาชนะกันเพือ่ การพนันหรือขันต่อแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การ
พนันหรือขันต่อ
อุทาหรณ์
ฎ. 1327/2500 การทีโ่ จทก์ผเู้ ป็นนายวงแชร์ออกเงินแทนจ�ำเลยลูกวงผูป้ ระมูลแชร์ไปแล้วและไม่สง่
เงินที่ต้องส่งให้ครบ การกระท�ำเช่นนี้ไม่เข้าลักษณะเป็นการกู้ยืมเงิน ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่
เป็นการเข้าหุ้นส่วนและไม่เป็นการเล่นการพนันขันต่อ พฤติการณ์ระหว่างนายวงแชร์กับลูกวงใกล้ไปทาง
คํ้าประกัน เมื่อโจทก์ออกเงินแทนจ�ำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำ� เลยชดใช้คืนได้
ฎ. 453-460/2501 การเล่นแชร์เปียหวยไม่เข้าลักษณะของการพนันขันต่อ เพราะไม่มีการแพ้ชนะ

ด้วยวิธีเสี่ยงโชค จึงมีสิทธิฟ้องร้องเรียกเงินกันได้
โจทก์และจ�ำเลยได้ตกลงเข้าหุ้นลงเงินเล่นแชร์เปียหวยกัน โดยมีข้อสัญญาว่าเดือนหนึ่งๆ จะต้อง
มส

น�ำเงินมารวมกันหุ้นละ 100 บาท แล้วต่างประมูลให้ดอกเบี้ยกันทุกหุ้น คนใดให้ดอกเบี้ยสูงก็ได้เงินไปใช้


ก่อน แล้วน�ำเงินมาผ่อนใช้ทกุ เดือนๆ ละ 100 บาทจนกว่าจะครบจ�ำนวนเงินทีค่ า้ งช�ำระ จ�ำเลยเป็นหัวหน้าวง
เรียกเก็บเงินจากผูถ้ อื หุน้ ทุกคนและมีหน้าทีต่ อ้ งรับผิดชอบออกเงินแทนเงินทีเ่ รียกจากผูถ้ อื หุน้ ไม่ได้ หัวหน้าวง
ได้เงินไปก่อนโดยไม่ต้องประมูล ซึ่งเท่ากับจ�ำเลยเป็นผู้คํ้าประกันผู้ถือหุ้นทุกคน โจทก์ยังไม่ได้ประมูลเอา
เงินมาใช้ถงึ คราวจะได้เงินคืนจ�ำเลยไม่จา่ ยค่าหุน้ โจทก์ตามปกติของการเล่นแชร์เปียหวย จึงฟ้องขอให้จำ� เลย
นายวงแชร์และลูกวงแชร์ทปี่ ระมูลแชร์ได้เงินไปแล้วช�ำระเงินโจทก์ ตามวิธขี องการเล่นแชร์เปียหวย กรณีนี้
ไม่เข้าอยู่ในลักษณะของการพนันขันต่อ เพราะไม่มีการแพ้ชนะด้วยวิธีเสี่ยงโชคอย่างใด

ผู้เล่นก่อนหลัง มิให้วงแชร์ล้มเนื่องจากนายวงหลบหนี ไม่เป็นการพนัน



ฎ. 1289/2518 การเล่นแชร์โดยวิธีจับสลากกันแทนการประมูลเพื่อจัดล�ำดับการช�ำระหนี้ระหว่าง

การซือ้ ขายหุน้ ในตลาดหลักทรัพย์ไม่ใช่การพนันหรือขันต่อ เพราะไม่มกี ารเสีย่ งโชค แม้วา่ การซือ้


ขายนั้นจะมีการซื้อในราคาที่สูงหรือตํ่าและอาจไม่แน่นอนก็ตาม
ในกรณีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้น อยู่ภายใต้บังคับ พรบ. ตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติไว้เพื่อกิจการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์โดย
สธ
เฉพาะการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ปพพ. มาตรา 1129 เมื่อการซื้อขายหุ้น
โจทก์ได้ท�ำตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 1129
วรรคสอง และไม่ถือเป็นเรื่องการพนันหรือขันต่อ เนื่องจากไม่มีการเสี่ยงโชค

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-83

อุทาหรณ์
ฎ. 2132/2527 ประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรือ่ งการก�ำหนดอัตราส่วนการให้กยู้ มื เงินฯ
ส�ำหรับผู้ซื้อหุ้น ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2520 ข้อ 1 โดยในช่วงระยะเวลา 4 วันแรกโจทก์ให้กู้ยืมเงิน
เกินกว่าร้อยละเจ็ดสิบซึ่งจ�ำเลยเห็นว่าเป็นการยั่วยุให้มีการซื้อขายหุ้นโดยผู้ซื้อไม่ต้องลงทุนเป็นการเสี่ยง
โชคเข้าลักษณะเป็นการพนันขันต่อนั้น ศาลเห็นว่าเป็นระเบียบหรือข้อบังคับที่ตลาดหลักทรัพย์ก�ำหนดขึ้น


เพื่อให้สมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ถือปฏิบัติหากสมาชิกใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็อาจถูกลงโทษตาม
ข้อบังคับ และการทีโ่ จทก์ออกเงินทดรองซือ้ หุน้ ให้จ�ำเลยแล้วเรียกร้องให้จำ� เลยชดใช้คนื ก็มใิ ช่เป็นการพนัน
ขันต่อ

มส
ฎ. 2523/2527 การตัง้ ตัวแทนซือ้ ขายหุน้ ในตลาดหลักทรัพย์นนั้ วัตถุประสงค์อนั แท้จริงเป็นการค้า
เก็งก�ำไรตามราคาหุ้นที่ขึ้นลงมากกว่าประสงค์ที่จะให้มีการโอนใบหุ้นใส่ชื่อผู้สั่งซื้อ จึงไม่ต้องปฏิบัติ ตาม
ปพพ. มาตรา 1129 และการซือ้ ขายหุน้ ในลักษณะดังกล่าวมิใช่เป็นการพนันขันต่อตามความหมายใน ปพพ.
มาตรา 853
ฎ. 1802/2529 โจทก์เป็นตัวแทนของจ�ำเลยในการซือ้ ขายหุน้ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จ�ำเลยจะปฏิเสธ
ไม่ยอมชดใช้เงินทดรองให้โจทก์ได้ก็เฉพาะเมื่อเงินทดรองนั้นมิใช่เป็นการจ�ำเป็นหรือจ�ำเลยไม่ต้องรับผิด
ชดใช้เงินทดรองนั้นด้วยเหตุประการอื่นทั้งไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ซื้อขายหุ้นแทนจ�ำเลยโดยไม่ได้ปฏิบัติ
ตาม ปพพ. มาตรา 1129 นั้นเป็นการผิดหน้าที่ของตัวแทนหรือท�ำให้จ�ำเลยเสียผลประโยชน์ ดังนั้น จ�ำเลย

จึงต้องรับผิดชดใช้เงินทดรองที่โจทก์ได้ออกไปก่อนรวมทั้งดอกเบี้ย ตาม ปพพ. มาตรา 816 การซื้อขาย
หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามปกติแม้จะมีการเก็งก�ำไรกันและมีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชคอยู่บ้างก็หาใช่
มส

เป็นการพนันขันต่อ ตาม ปพพ. มาตรา 853 ไม่


ส�ำหรับการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมาขายต่อนั้นตามปกติไม่ใช่การพนันหรือขันต่อ เว้นแต่ผู้ขาย
กระท�ำการให้เกิดการค้าและเสี่ยงโชคส�ำหรับผู้ซื้อ
อุทาหรณ์
ฎ. 2137/2499 การที่จ�ำเลยที่ 1 ไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมา 20 ฉบับราคา 210 บาท แล้วน�ำมา
ท�ำหุ้น 100 หุ้นโดยพิมพ์ใบรวมหุ้นให้ผู้ซื้อถือไว้ ถ้าถูกสลากก็แบ่งกันตามส่วนแล้วขายให้จ�ำเลยที่ 2 ไป

ผิดตาม พรบ. การพนันฯ



ราคา 225 บาท จ�ำเลยที่ 2 เอาไปขายฉบับละ 2.50 บาทขายหมดจะได้กำ� ไร 25 บาทการทีจ่ ำ� เลยท�ำเช่นนี้
เป็นการด�ำเนินการค้าอย่างธรรมดา หาใช่เป็นผู้เสี่ยงโชคแห่งการได้หรือเสียในการออกสลากไม่จึงไม่เป็น

ฎ. 2136/2499 (ป.ใหญ่) ซื้อสลากกินแบ่งของรัฐบาลมาแบ่งเป็นชุด แต่ละชุดเอามาพิมพ์เป็นใบ


รวมหุ้นน�ำออกขายได้ก�ำไรเกินไปกว่าราคาเดิมที่รัฐบาลขาย ด้านหลังใบรวมหุ้นวางเงื่อนไขการให้รางวัล
ไว้ซึ่งตํ่ากว่าอัตรารางวัลที่กองสลากของรัฐบาลจ่าย แล้วอาศัยวิธีออกสลากของรัฐบาล ดังนี้มีลักษณะเป็น
เรือ่ งค้าและเสีย่ งโชคในการพนันโดยน�ำเอาสลากกินแบ่งรัฐบาลมาจัดท�ำเป็นสลากขึน้ ใหม่ มีรางวัลและการ
สธ
ได้เสียเป็นการเสี่ยงโชคพนันเอาทรัพย์สินกัน จึงเป็นผิดฐานออกสลากกินแบ่งโดยไม่ได้รับอนุญาต

10-84 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

4. สิ่งที่ได้เสียให้แก่กันนั้นเป็นเงินหรือทรัพย์สินโดยฝ่ายแพ้ต้องจ่ายเงินหรือทรัพย์สินให้
ฝ่ายที่ชนะตามข้อตกลง
ในการพนันหรือขันต่อนัน้ ฝ่ายทีเ่ สียการพนันหรือขันต่อต้องมอบเงินหรือทรัพย์สนิ ให้แก่ฝา่ ยทีช่ นะ
ตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายนั้น กล่าวคือ วัตถุแห่งการช�ำระหนี้ในการพนันหรือขันต่อ ต้องเป็นเงินหรือ


ทรัพย์สิน ไม่รวมถึงการกระท�ำหรือการงดเว้นกระท�ำในหนี้ทั่วไป ดังนั้น หากมีการตกลงกันและมีการให้
ประโยชน์อย่างอืน่ นอกจากเงินหรือทรัพย์สนิ แล้วแม้จะสามารถคิดค�ำนวณเป็นเงินได้การตกลงกันดังกล่าว
ย่อมไม่เป็นการพนันหรือขันต่อ เนื่องจาก มาตรา 5 แห่ง พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 ใช้ข้อความ

มส
ว่า “ผู้ใดจัดให้มีการเล่นซึ่งตามปกติย่อมจะพนันเอาเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแก่กัน”
อุทาหรณ์
1. อาทิตย์ ตกลงกับ จันทร์ ว่าให้เอาไก่ของแต่ละฝ่ายมาตีกนั หากไก่ของฝ่ายใดชนะอีกฝ่ายหนึง่
คือ ฝ่ายที่แพ้ก็ต้องจ่ายเงินให้ฝ่ายที่ชนะ 50,000 บาท ดังนี้ เป็นการเล่นการพนัน เพราะต้องมีการมอบ
เงินให้แก่กันเพื่อช�ำระหนี้การพนัน
2. อาทิตย์ ตกลงกับ จันทร์ ว่าให้เอาไก่ของแต่ละฝ่ายมาตีกนั หากไก่ของฝ่ายใดชนะอีกฝ่ายหนึง่
คือ ฝ่ายที่แพ้ก็ต้องมอบไก่ของตนให้ฝ่ายที่ชนะ ดังนี้ เป็นการเล่นการพนัน เพราะต้องมีการมอบทรัพย์สิน
ให้แก่กันเพื่อช�ำระหนี้การพนัน
3. อาทิตย์ ตกลงกับ จันทร์ ว่าให้เอาไก่ของแต่ละฝ่ายมาตีกนั หากไก่ของฝ่ายใดชนะอีกฝ่ายหนึง่

คือ ฝ่ายทีแ่ พ้ตอ้ งไปท�ำงานรับใช้ทบี่ า้ นฝ่ายทีช่ นะเป็นเวลาหนึง่ เดือน ดังนี้ ไม่เป็นการเล่นการพนัน เพราะ
ไม่มีการช�ำระหนี้ด้วยเงินหรือมอบทรัพย์สินให้แก่กันเพื่อช�ำระหนี้
มส

อย่างไรก็ตามมีอกี ความเห็นหนึง่ เห็นว่าการพนันนัน้ อาจมีวตั ถุแห่งหนีท้ มี่ ใิ ช่เงินหรือทรัพย์สนิ เช่น


การกระท�ำก็ได้19
นอกจากนั้น สัญญาการพนันและขันต่อ เกิดขึ้นเมื่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยไม่จำ� เป็นต้อง
มีการส่งมอบทรัพย์สินที่พนันหรือวัตถุแห่งหนี้ที่ตกลงพนันให้แก่กัน

5. แบบหรือหลักฐานของสัญญา

การพนันขันต่อไม่มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องแบบของสัญญาหรือหลักฐานของสัญญาแต่อย่างใด
ดังนั้นแม้ตกลงกันด้วยวาจาก็มีสัญญาการพนันหรือขันต่อเกิดขึ้นได้ เพียงแต่ผลของสัญญาดังกล่าวจะใช้
บังคับได้หรือไม่และหากมีการผิดสัญญาจะบังคับให้ชำ� ระหนี้กันตามสัญญานั้นได้หรือไม่

6. ประเภทของการพนัน
แม้ค�ำอธิบายนี้จะให้ความส�ำคัญกับการพนันหรือขันต่อที่มีลักษณะในทางแพ่งแต่เนื่องจากมีส่วน
สธ
เกี่ยวข้องกับในทางอาญาอยู่ด้วย เช่น การบังคับให้ช�ำระหนี้จะท�ำได้เฉพาะการพนันที่ไม่ผิดกฎหมายจึง

19 สรพล สุขทรรศนีย์ คำ�อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียงมาตราว่าด้วย ประนีประนอมยอมความ การพนัน


และขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ลักษณะ 18 กรุงเทพมหานคร: กองทุนศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ พ.ศ. 2547 น. 82.

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-85

จ�ำเป็นต้องกล่าวถึงประเภทของการพนันตามกฎหมายอาญาว่ามีการพนันประเภทใดบ้าง และมีการพนัน
ที่ถูกกฎหมายหรือไม่
พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 แบ่งประเภทของการพนัน ว่ามี 2 ประเภท คือ การพนันที่
ห้ามเด็ดขาด และการพนันที่ขออนุญาตให้เล่นกันได้ ดังนี้
1. การพนันประเภทห้ามเด็ดขาด ได้แก่ การเล่นตามบัญชี ก. ท้าย พรบ. การพนัน พุทธศักราช


2478 ซึ่งมี 28 ชนิด คือ 1) หวย ก. ข. 2) โปปั่น 3) โปก�ำ 4) ถั่ว 5) แปดเก้า 6) จับยี่กี 7) ต่อแต้ม
8) เบี้ยโบกหรือคู่คี่หรืออีโจ้ง 9) ไพ่สามใบ 10) ไม้สามอัน 11) ช้างงาหรือป๊อก 12) ไม้ดำ� ไม้แดงหรือปลา

มส
ด�ำปลาแดงหรืออีด�ำอีแดง 13) อีโปงครอบ 14) ก�ำตัด 15) ไม้หมุนหรือล้อหมุนทุกๆ อย่าง 16) หัวโตหรือ
ทายภาพ 17) การเล่นซึ่งมีการทรมานสัตว์ เช่น เอามีดหรือหนามผูกหรือวางยาเบื่อยาเมา ให้สัตว์ชนหรือ
ต่อสู้กัน หรือสุมไฟบนหลังเต่าให้วิ่งแข่งขันหรือการเล่นอื่นๆ ซึ่งเป็นการทรมานสัตว์อันมีลักษณะคล้ายกับ
ที่ว่ามานี้ 18) บิลเลียดรู ตีผี 19) โยนจิ่ม 20) สี่เหงาลัก 21) ขลุกขลิก 22) นํ้าเต้าทุกๆ อย่าง 23) ไฮโล
ว์ 24) อีก้อย 25) ปั่นแปะ 26) อีโปงซัด 27) บาการา 28) สล๊อตแมชิน
การเล่นอันระบุไว้ในบัญชี ก. ประเภทนี้ ห้ามมิให้อนุญาตจัดให้มีหรือเข้าเล่น หรือเข้าพนันในการ
เล่นโดยเด็ดขาด เว้นแต่ในกรณีทรี่ ฐั บาลพิจารณาเห็นว่า ณ สถานทีใ่ ดสมควรจะอนุญาตภายใต้บงั คับเงือ่ น
ไขใดๆ ให้มีการเล่นชนิดใดก็อนุญาตได้โดยออกพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่ง พรบ.
การพนันฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การอนุญาตกระท�ำได้ยาก จึงมีผลเท่ากับไม่อนุญาตให้จัดให้มีการเล่นในตัว

2. การพนันประเภทอนุญาต ได้แก่ การเล่นตามบัญชี ข. ท้าย พรบ. การพนัน พุทธศักราช
2478 ซึ่งมี 28 ชนิด คือ 1) การเล่นต่างๆ ที่ให้สัตว์ต่อสู้หรือแข่งขัน เช่น ชนโค ชนไก่ กัดปลา แข่งม้า
มส

ฯลฯ นอกจากที่กล่าวมาในอันดับ 17 แห่งบัญชี ก. 2) วิ่งวัวคน 3) ชกมวย มวยปลํ้า 4) แข่งเรือพุ่ง แข่ง


เรือล้อ 5) ชี้รูป 6) โยนห่วง 7) โยนสตางค์หรือวัตถุใดๆ ลงในภาชนะต่างๆ 8) ตกเบ็ด 9) จับสลากโดย
วิธีใดๆ 10) ยิงเป้า 11) ปาหน้าคน ปาสัตว์หรือสิ่งใดๆ 12) เต๋าข้ามด่าน 13) หมากแกว 14) หมากหัวแดง
15) บิงโก 16) สลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือการเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงิน หรือประโยชน์อย่างอื่น
แก่ผเู้ ล่นคนใดคนหนึง่ 17) โตแตไลเซเตอร์ส�ำหรับการเล่นอย่างใดอย่างหนึง่ 18) สวีปส�ำหรับการเล่นอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง 19) บุ๊กเมกิ้งส�ำหรับการเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง 20) ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบหรือสวีป

ซึง่ ไม่ใช่ออก ในประเทศไทย แต่ได้จดั ให้มขี นึ้ โดยชอบด้วยกฎหมายของประเทศทีจ่ ดั นัน้ 21) ไพ่นกกระจอก
ไพ่ตอ่ แต้ม ไพ่ตา่ งๆ 22) ดวด 23) บิลเลียด 24) ข้องอ้อย 25) สะบ้าทอย 26) สะบ้าชุด 27) ฟุตบอลโต๊ะ
28) เครื่องเล่น ซึ่งใช้เครื่องกล พลังไฟฟ้า พลังแสงสว่าง หรือพลังอื่นใดที่ใช้เล่นโดยวิธีสัมผัส เลื่อน กด
ดีด ดึง ดัน ยิง โยน โยก หมุน หรือวิธีอื่นใด ซึ่งสามารถท�ำให้แพ้ชนะกันได้ไม่ว่าจะโดยมีการนับแต้มหรือ
เครื่องหมายใดๆ หรือไม่ ก็ตาม
นอกจากนั้น ส�ำหรับการพนันนอกเหนือจากการพนันตามที่ระบุไว้ในบัญชี ก. และบัญชี ข. ซึ่ง
มิได้ระบุชื่อหรือวิธีการเล่นไว้ใน พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 และไม่มีลักษณะคล้ายกับการพนัน
สธ
ตามบัญชี ก. และบัญชี ข. การพนันตามทีก่ ล่าวมานีจ้ ะขออนุญาตให้เล่นได้ ก็ตอ่ เมือ่ มีกฎกระทรวงระบุชอื่
และเงื่อนไขไว้แล้ว หากยังไม่มีกฎกระทรวงระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ก็จะอนุญาตไม่ได้

10-86 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

หากมีการเล่นการพนันชนิดที่สามารถท�ำได้ตามกฎหมายก็ไม่เป็นความผิดและหากมีหนี้เข้าไป
เกี่ยวข้องก็สามารถเรียกร้องกันได้
อุทาหรณ์
ฎ. 222/2488 จ�ำเลยเล่นการพนันตามใบอนุญาตที่เจ้าพนักงานได้ออกให้แต่ในใบอนุญาตเจ้า
พนักงานก�ำหนดเวลาให้เล่นเกินอ�ำนาจทีเ่ จ้าพนักงานจะให้อนุญาตได้ตามกฎกระทรวง ถือว่า จ�ำเลยได้เล่น


โดยได้รับอนุญาตตามความใน พรบ.การพนัน 2478 มาตรา 12 แล้ว จ�ำเลยไม่มีความผิด
ฎ. 1400/2492 โจทก์ฟอ้ งหาว่าจ�ำเลยเล่นการพนัน โดยไม่ได้รบั อนุญาต แต่ทางพิจารณาได้ความ

มส
ว่า การเล่นการพนันรายนีไ้ ด้รบั อนุญาตแล้ว หากแต่เล่นก่อนเวลาทีก่ ำ� หนดไว้ในใบอนุญาต ซึง่ เป็นข้อเท็จ
จริงที่โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจะลงโทษจ�ำเลยไม่ได้

7. เปรียบเทียบการพนันและขันต่อกับสัญญาอื่น ๆ
ในสัญญาต่างๆ นั้นอาจมีสัญญาบางชนิด ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสัญญาการพนันหรือขันต่อแต่
ไม่เป็นการพนันและขันต่อ เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ของการเป็นการพนันหรือขันต่อ เช่น ในสัญญานั้น
อาจมีความเสีย่ งอันเกิดจากเหตุการณ์ในอนาคตซึง่ ไม่แน่นอนหรือมีการเสีย่ งโชคแต่ไม่กอ่ ให้เกิดทางได้หรือ
เสียระหว่างคู่สัญญา เช่น สัญญาที่มีเงื่อนไข สัญญาประกันภัย สัญญาเล่นแชร์เปียหวย และสัญญาการซื้อ
ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไป

1. สัญญาที่มีเงื่อนไข สัญญาบางอย่างอาจมีการวางเงื่อนไขในสัญญาได้หากคู่สัญญาตกลงกัน
และไม่มกี ฎหมายห้ามไว้ โดยอาจเป็นเงือ่ นไขบังคับก่อน คือ สัญญาทีร่ ะบุให้สญ ั ญาเกิดผลเมือ่ มีเหตุการณ์
มส

อันใดอันหนึ่งซึ่งไม่แน่นอนเกิดขึ้นในอนาคตหรืออาจเป็นเงื่อนไขบังคับหลัง คือ ให้สัญญาที่มีอยู่สิ้นผลลง


หากมีเหตุการณ์อนั ใดอันหนึง่ ในอนาคตซึง่ ไม่แน่นอนเกิดขึน้ ซึง่ มีลกั ษณะคล้ายกับการพนันหรือขันต่อ ตรง
ทีม่ คี วามไม่แน่นอนหรือมีความเสีย่ งจากเหตุการณ์อนั ใดอันหนึง่ ในอนาคต แต่มคี วามแตกต่างกัน เนือ่ งจาก
การพนันหรือขันต่อนัน้ คูส่ ญั ญาแต่ละฝ่ายมีโอกาสได้หรือเสีย แต่กรณีนอี้ าจมีบางฝ่ายทีไ่ ม่มโี อกาสเสียมีแต่ได้
อุทาหรณ์
1. เอก บิดาของ โท ตกลง กับ โท ว่าจะมอบที่ดินแปลงหนึ่งให้ โท หาก โท สอบเนติบัณฑิต

สอบไม่ได้

ได้ ดังนี้ การที่ โท จะได้รับที่ดิน จาก เอก หรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคต คือ การสอบ
ได้เนติบณ ั ฑิตของ โท และ โท มีโอกาสได้รบั ทีด่ นิ จาก เอก เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้เสียสิง่ ใดหากตนเอง

2. เอก บิดาของ โท ตกลง กับ โท ว่าที่ดินแปลงหนึ่งใส่ชื่อ โท ไว้นั้น จะยกให้ โท จริงๆ หาก


โท สอบเนติบัณฑิตได้ แต่ถ้า โท สอบเนติบัณฑิตไม่ได้ จะไม่ยกให้ แต่ โท จะต้อง โอนที่ดินแปลงนั้นให้
คืนมาเป็นของส่วนรวมของครอบครัว ดังนี้ การที่ โท จะได้รับที่ดิน จาก เอก หรือต้อง คืน ที่ดิน นั้นขึ้น
อยู่กับเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคต คือ การสอบได้หรือสอบตก ของ โท
สธ
2. สัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัย เป็นสัญญาทีม่ กี ฎหมายบัญญัตไิ ว้โดยเฉพาะอยูใ่ น มาตรา
861 แห่ง ปพพ. ว่า เป็นสัญญาทีบ่ คุ คลหนึง่ ตกลงจะใช้คา่ สินไหมทดแทน หรือใช้เงินจ�ำนวนหนึง่ ให้ในกรณี
มีวินาศภัยเกิดขึ้น ซึ่งเหมือนกับการพนันหรือขันต่อ ตรงที่มีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่แน่นอนเกิด

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-87

ขึ้นในอนาคตอันเป็นความเสี่ยง ซึ่งคือ วินาศภัย มาเป็นเงื่อนไขของการเกิดหนี้ของผู้รับประกันภัย โดย


ผูร้ บั ประกันภัยจะเป็นผูจ้ า่ ยเงินให้แก่ผเู้ อาประกันภัยหากมีเหตุการณ์ทเี่ ป็นวินาศภัยเกิดขึน้ แต่มคี วามแตก
ต่างกันตรงทีใ่ นสัญญาประกันภัยมีลกั ษณะพิเศษ คือ ผูเ้ อาประกันภัยต้องมีสว่ นได้เสียในเหตุทเี่ อาประกันภัย
สัญญาจึงจะผูกพัน และคูส่ ญ ั ญาทัง้ สองฝ่ายไม่มที างได้ฝา่ ยเดียวหรือเสียฝ่ายเดียวในสัญญาประกันภัย แต่
ต้องมีส่วนได้และเสียด้วย กล่าวคือ ผู้เอาประกันภัยต้องส่งเบี้ยประกันภัย และจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อมี


เหตุการณ์เกิดขึน้ ตามสัญญาประกันภัย เช่น เกิดอัคคีภยั กับบ้านทีต่ นประกันภัยไว้ และผูร้ บั ประกันก็มสี ทิ ธิ
ได้รับเงินเบี้ยประกัน และจะจ่ายเงินให้ผู้เอาประกันก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามสัญญาประกันภัย เช่น

มส
เกิดอัคคีภยั กับบ้านทีต่ นรับประกันภัยไว้ ในขณะทีส่ ญ ั ญาการพนันหรือขันต่อนัน้ ฝ่ายทีช่ นะในการพนันหรือ
ขันต่อจะได้เพียงฝ่ายเดียว ส่วนฝ่ายที่แพ้จะต้องเสียหรือจ่ายเงินหรือทรัพย์สินโดยไม่ได้สิ่งตอบแทน
3. สัญญาเล่นแชร์เปียหวย สัญญาเล่นแชร์เปียหวยเป็นสัญญาไม่มีชื่อชนิดหนึ่ง เนื่องจากไม่มี
กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายในลักษณะนิติกรรมสัญญา
เช่นเดียวกับนิติกรรมสัญญาทั่วไป โดยสัญญาเล่นแชร์เปียหวยเป็นสัญญาที่นายวงแชร์รวบรวมเงินหรือ
ทรัพย์สินจากลูกวงแชร์ทั้งหมดที่เล่นแชร์และน�ำไปเป็นกองกลางและมอบให้กับตนเองในงวดแรกและมอบ
ให้กับที่ผู้ประมูลแชร์โดยให้ผลประโยชน์สูงสุดหรือโดยการจับสลากในงวดต่อๆ ไป และเวียนกันไปจนได้
รับกองกลางครบทุกคนที่เป็นสมาชิกวงแชร์ในแต่ละวง นายวงแชร์หรือเท้าแชร์ รวบรวมเงินจากลูกแชร์
คนละเท่าๆ กัน แล้วให้ลูกแชร์คนที่เปียแชร์ได้เอาไปใช้ก่อนก็เท่ากับลูกแชร์และเท้าแชร์เป็นเจ้าหนี้ (หรือ

ผูใ้ ห้กยู้ มื ) ของลูกแชร์ทปี่ ระมูลหรือเปียแชร์ได้ โดยนายวงแชร์กบั ลูกแชร์ตา่ งผลัดเปลีย่ นหมุนเวียนกันเป็น
เจ้าหนี้ลูกหนี้ไปจนครบจ�ำนวนผู้เล่นด้วยกัน
มส

ในการเล่นแชร์เปียหวยนัน้ ทัง้ นายวงแชร์และลูกวงแชร์ตา่ งมีสว่ นได้เสียกันทุกคนในเงินค่าแชร์โดย


ไม่มใี ครได้และเสียเพียงอย่างเดียว แต่มลี กั ษณะเหมือนกับการขอยืมเงินจากกองทุนไปก่อนโดยผูข้ อยืมใช้
การประมูลเสียดอกเบีย้ หรืออืน่ ๆ เช่น การจับฉลากและใช้คนื ให้หลังจากได้รบั เงินไปโดยใช้ในงวดต่อๆ ไป
จึงไม่เป็นการพนันหรือขันต่อ ซึ่งฝ่ายชนะได้เงินหรือทรัพย์สินส่วนฝ่ายที่แพ้ต้องเสียเงินหรือทรัพย์สินแต่
เพียงอย่างเดียว การเล่นแชร์ไม่ใช่การพนันขันต่อ เพราะการพนันขันต่อนัน้ ต้องมีการได้การเสีย ในท�ำนอง
การเสีย่ งโชค เป็นการแพ้ชนะด้วยการต่อรอง ไม่ใช่มที างได้หรือเสียแต่อย่างเดียวเป็นประโยชน์ทผี่ ชู้ นะได้

จากผู้แพ้พนัน ซึ่งผลจากการแข่งขันเป็นข้อตกลงกันในเชิงพนันขันต่อ ตาม ปพพ. ได้วางหลักไว้ว่า การ
พนันหรือขันต่อนัน้ ไม่กอ่ ให้เกิดมูลหนี้ สิง่ ทีไ่ ด้ให้ไปในการพนันหรือขันต่อก็ทวงคืนไม่ได้ ส่วนการเล่นแชร์
นั้น ไม่ใช่มีลักษณะการเสี่ยงโชค หรือหวังเอาแพ้เอาชนะกันเพื่อการพนันหรือขันต่อแต่อย่างใด ฉะนั้นการ
เล่นแชร์เปียหวยไม่ใช่การพนันหรือขันต่อ ซึ่งมีค�ำพิพากษาฎีกาในเรื่องนี้ เช่น ฎ. 1327/2500 วางหลักว่า
นายวงแชร์เปียหวยออกเงินใช้หนี้แทนวงลูกวงที่ไม่ช�ำระหนี้ ไม่เป็นการกู้ยืม หุ้นส่วนหรือพนันขันต่อ จึง
เรียกเงินจากลูกวงนั้นได้ ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
4. การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การซือ้ ขายหุน้ บางชนิดต้องด�ำเนินการในตลาดหลักทรัพย์
สธ
เช่น หุน้ ของบริษทั มหาชนจ�ำกัดทีต่ อ้ งการระดมเงินทุนจากประชาชน ซึง่ เรียกกันว่าหลักทรัพย์ ซึง่ อาจเป็น
หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ และวอร์แรนท์ ในตลาดที่ขายหุ้นของประเทศไทยมีหน่วยงานที่ควบคุมดูแล
การท�ำงานซื้อขายสินค้าภายในตลาดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งเรียกว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่ง

10-88 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ประเทศไทยโดยมีกฎหมายบัญญัติไว้ คือ พรบ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยผู้ที่จะ


ซือ้ หุน้ ซึง่ เรียกว่านักลงทุนต้องการซือ้ ขายหุน้ หรือสินค้าอืน่ ภายในตลาดหลักทรัพย์ จะไม่สามารถเข้ามาซือ้
ขายได้เอง แต่จะต้องท�ำผ่านนายหน้า (Broker) โดยนายหน้าเหล่านี้จะเป็นบริษัทหลักทรัพย์จดทะเบียน
พิเศษ ให้ท�ำกิจการซื้อขายหลักทรัพย์โดยเฉพาะ โดยผู้ซื้อขาย จะต้องเสียค่านายหน้าซึ่งเรียกว่าค่า
ธรรมเนียมให้กับบริษัทเหล่านี้ แต่สิ่งแรกคือ ต้องไปเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นก่อน กับบริษัทหลักทรัพย์หรือ


โบรกเกอร์ และหลังจากนั้นจึงสามารถซื้อขายหุ้นได้โดยการส่งค�ำสั่งผ่านตัวแทน หรือส่งค�ำสั่งทาง
อินเทอร์เน็ต ผูล้ งทุนสามารถท�ำการซือ้ ขายหลักทรัพย์โดยผ่านระบบการซือ้ ขายของตลาดหลักทรัพย์ได้ 2

มส
วิธี ได้แก่ การซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายส่งการเสนอซื้อและเสนอขายด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเข้ามายังระบบ
การซือ้ ขายของตลาดหลักทรัพย์ โดยทีร่ ะบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์จะท�ำการเรียงล�ำดับและจับคู่
ค�ำสั่งซื้อขายให้โดยอัตโนมัติ (Automatic Order Matching: AOM) หรือการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขาย
ได้ท�ำการเจรจาต่อรองเพื่อตกลงซื้อขายกันแล้วจึงบันทึกรายการซื้อขายนั้นเข้ามาในระบบการซื้อขาย
(Trade Report) โดยบริษทั สมาชิกสามารถประกาศโฆษณา การเสนอซือ้ หรือเสนอขายของตนผ่านระบบ
การซื้อขายได้ ในการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ผู้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์อาจมีความเสี่ยงว่าจะได้กำ� ไร
หรือขาดทุนเพราะผูล้ งทุนอาจต้องการเก็งก�ำไร ซึง่ ในบางครัง้ มีกำ� ไรแต่ในบางครัง้ ก็ขาดทุน แต่กไ็ ม่เป็นการ
พนัน เนื่องจากผู้ซื้อขายหุ้นและนายหน้าต่างได้รับผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายผู้ลงทุน
นั้นใช้เงินซื้อหุ้นไว้อันท�ำให้ตนได้รับหุ้น ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะขายหรือไม่ก็ได้ โดยอาจไม่ขายหุ้นแต่เก็บหุ้น

ไว้และรอรับเงินปันผล ในฐานะผูถ้ อื หุน้ หรืออาจขายหุน้ เมือ่ ตนเห็นว่าหุน้ มีราคาสูงกว่าในขณะทีต่ นซือ้ ก็ได้
ถ้ายังมีราคาตํ่าหรือราคาไม่เป็นที่พอใจก็ไม่ขาย ส่วนนายหน้าก็ได้รับค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายหุ้น จึง
มส

ไม่ฝ่ายใดเป็นผู้แพ้หรือชนะจากการซื้อขายหุ้น

กิจกรรม 10.2.2
การพนันและขันต่อมีหลักเกณฑ์อันเป็นสาระส�ำคัญอย่างไรบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 10.2.2
หลักเกณฑ์อันเป็นสาระส�ำคัญของการพนันและขันต่อมีดังนี้
1) เป็นสัญญาโดยต้องมีคู่สัญญาตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป

2) คู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีโอกาสได้และเสียในการพนันหรือขันต่อหรือการเสี่ยงโชคนั้น
3) มีการแพ้ชนะโดยการเสีย่ งโชคโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตทีไ่ ม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ
4) สิ่งที่ได้เสียให้แก่กันนั้นเป็นเงินหรือทรัพย์สินโดยฝ่ายแพ้ต้องจ่ายเงินหรือทรัพย์สินให้
ฝ่ายที่ชนะตามข้อตกลง
สธ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-89

เรื่องที่ 10.2.3
ผลของการพนันและขันต่อ


ในสัญญาทั่วไปนั้นเมื่อมีการแสดงเจตนา กล่าวคือ มีการท�ำค�ำเสนอและค�ำสนองถูกต้องตรงกันก็
เกิดสัญญาขึ้น เว้นแต่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับให้ต้องท�ำตามแบบ แต่ในสัญญาการพนันขันต่อนั้น

มส
แม้มีเจตนาหรือค�ำเสนอและค�ำสนองถูกต้องตรงกันถึงแม้ไม่มีการส่งมอบทรัพย์กันก็ถือว่าสมบูรณ์ท�ำให้มี
สัญญาเกิดขึน้ แล้ว แต่กห็ าท�ำให้เกิดหนีบ้ งั คับต่อกันไม่ กล่าวคือ หากคูส่ ญ
ั ญาฝ่ายทีแ่ พ้ในการพนันไม่ยอม
ช�ำระหนี้ คู่สัญญาฝ่ายที่ชนะในการพนันก็ไม่สามารถบังคับให้ฝ่ายที่แพ้ช�ำระหนี้ได้และสิ่งที่ให้แก่กันแทน
การช�ำระหนี้การพนันและขันต่อนั้นทวงคืนไม่ได้ หมายความว่าเมื่อมีการเล่นพนันขันต่อแล้วฝ่ายผู้แพ้ได้
ช�ำระหนี้ไม่ว่าเงิน ทรัพย์สิน ที่ดิน ทอง แหวนเพชร ก็เรียกคืนไม่ได้ และฝ่ายผู้ชนะไม่ต้องคืน ดังนั้น
บทบัญญัติเรื่องลาภมิควรได้เอามาใช้ไม่ได้กับการช�ำระหนี้จากการเล่นการพนันขันต่อ ดังนี้

1. การพนันหรือขันต่อนั้นไม่ก่อให้เกิดหนี้
แม้สญั ญาการพนันหรือขันต่อจะสามารถตกลงกันด้วยวาจาและมีสญ ั ญาเกิดขึน้ แต่ถา้ คูส่ ญ
ั ญาฝ่าย

ที่แพ้ไม่ยอมช�ำระหนี้คู่สัญญาฝ่ายที่ชนะก็ไม่สามารถบังคับให้ฝ่ายที่แพ้ช�ำระหนี้โดยมอบเงินหรือทรัพย์สิน
ที่ตกลงกันไว้ได้ ซึ่งแตกต่างจากสัญญาอื่นๆ โดยทั่วไปที่การท�ำสัญญาหากสมบูรณ์ตามกฎหมายย่อมก่อ
ให้เกิดผลบังคับที่ท�ำให้คู่สัญญาต้องช�ำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ และหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอม
มส

ช�ำระหนี้ คือ ไม่ปฏิบัติตามสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิดำ� เนินการบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา


เช่น ฟ้องคดีได้ แต่การพนันขันต่อนั้นมีลักษณะพิเศษ เพราะการพนันขันต่อไม่ก่อให้เกิดหนี้ ดังที่บัญญัติ
ไว้ในมาตรา 853 ว่า
มาตรา 853 “อันการพนันหรือขันต่อ ท่านว่าหาก่อให้เกิดหนี้ไม่ สิ่งที่ได้ให้กันไปในการพนัน
หรือขันต่อก็จะทวงคืนไม่ได้ เพราะเหตุหามูลหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดมิได้

อุทาหรณ์

ข้อบัญญัตทิ กี่ ล่าวนี้ ท่านให้ใช้ตลอดถึงข้อตกลงเป็นมูลหนีอ้ ย่างหนึง่ อย่างใดอันฝ่ายข้างเสียพนัน
ขันต่อ หากท�ำให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อจะใช้หนี้เงินพนันหรือขันต่อนั้นด้วย”

หนึ่ง เล่นการพนันกับ สอง แล้วแพ้ เป็นเงิน จ�ำนวน 1,000,000 บาท แต่ไม่มีเงินจ่ายจึงตกลงว่า


อีก 7 วัน ให้ สอง มารับเงินจาก หนึ่ง เมื่อครบก�ำหนดเจ็ดวัน สอง จึงไปเรียกร้องเอาเงินจ�ำนวนดังกล่าว
จาก หนึ่ง แต่หนึ่ง ปฏิเสธการช�ำระเงินให้ ดังนี้ สอง ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ หนึ่ง ช�ำระเงินให้ได้ เพราะการ
พนันไม่ก่อให้เกิดหนี้
สธ
นอกจากนั้น แม้จะมีข้อตกลงที่จะช�ำระหนี้จากหนี้การพนันหรือขันต่อ เช่น มีการท�ำเป็นหลักฐาน
กู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ดังนี้ ย่อมไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่จะปฏิบัติตามหลักฐานกู้ยืมเงินกันแต่อย่างใด

10-90 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
หากตามตัวอย่างข้างต้น หนึง่ และสองตกลงกันท�ำหลักฐานเพือ่ ช�ำระหนีก้ ารพนัน โดย หนึง่ มอบ
หนังสือกูย้ มื เงินระบุวา่ ตนกูเ้ งิน สอง ไป จ�ำนวน 1,000,000 บาท และจะจ่ายเงินให้ภายหลังจากเป็นหนีก้ นั
เป็นเวลาหนึ่งเดือน ดังนี้ หาก หนึ่ง ไม่ยอมช�ำระเงิน 1,000,000 บาท ให้สอง สองก็ไม่สามารถเรียกร้อง
หรือบังคับให้ หนึ่ง ช�ำระเงินจ�ำนวนดังกล่าวให้กับตนได้


การที่การพนันขันต่อไม่ก่อให้เกิดหนี้นั้น เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามอย่างชัดเจนแต่ในเรื่อง
นี้มีความเห็นจากค�ำพิพากษาศาลฎีกา ระบุถึงสาเหตุที่ท�ำให้ไม่เป็นหนี้ที่ผูกพันกันสองความเห็นซึ่ง

มส
แตกต่างกัน ดังนี้
ความเห็นแรกนั้นเห็นว่าหนี้ที่เกิดจากการพนันหรือขันต่อนั้นต้องห้ามตามกฎหมายและเป็นการ
ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นโมฆะ โดยมีค�ำพิพากษาศาลฎีกาบางฉบับพิพากษาว่า
สัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะทัง้ ค�ำพิพากษาศาลฎีกาก่อนและหลังจากใช้ ปพพ. ซึง่ เป็นกฎหมายฉบับปัจจุบนั
อุทาหรณ์
ฎ. 265/2470 หนี้สินอันเกิดจากการพนันผิดด้วยกฎหมายซึ่งท่านบัญญัติไว้ใน พรบ. อากรการ
พนัน ร.ศ. 111 มาตรา 10 เป็นสัญญาที่เป็นโมฆะ
ฎ. 1666/2494 ท�ำหนังสือกู้ให้ไว้แทนเงินที่แพ้พนันแก่เขานั้น ปวพ. มาตรา 855 บัญญัติไว้ว่า
หนังสือกู้เช่นนี้ ย่อมไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นหนังสือกู้นี้จึงไม่มีผลเป็นส�ำคัญแก่การก่อตั้งกรรมสิทธิ์หรือหนี้สิน

ตามกฎหมายอย่างไรเลย จึงขาดลักษณะการเป็นหนังสือส�ำคัญตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 6 (20)
ฉะนั้นถ้าหลอกลวงให้เขาส่งหนังสือเช่นว่านี้มาให้ตนแล้ว ฉีกท�ำลายเสีย ก็ยังไม่เป็นความผิดฐานท�ำลาย
มส

หนังสือส�ำคัญตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304


ฎ. 166/2523 สัญญาทีค่ นเดินโพยต้องรวบรวมเงินทีไ่ ด้จากการขายสลากกินรวบไปมอบให้แก่เจ้ามือ
เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 113 เช็ค
พิพาทที่จ�ำเลยคนเดินโพยออกให้เพื่อช�ำระหนี้ดังกล่าว จึงไม่มีมูลหนี้โจทก์รับเช็คไว้โดยทราบถึงมูลหนี้
อันมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว จึงไม่มสี ทิ ธิฟอ้ งเรียกร้องขอบังคับการช�ำระหนีไ้ ด้ โจทก์ไม่ใช่ผ้เู สียหายจึง
ไม่มีอำ� นาจฟ้อง

เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. มาตรา 150



ฎ. 7921/2543 มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทสืบเนื่องมาจากการที่จ�ำเลยเป็นหนี้การพนัน
สลากกินรวบแก่โจทก์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการขัดต่อความสงบ

ส่วนความเห็นฝ่ายที่สองเห็นว่าหนี้ที่เกิดจากการพนันนั้นเพียงแต่ไม่ก่อให้เกิดหนี้ไม่มีผลผูกพัน
แต่ไม่เป็นโมฆะ แต่หากให้สงิ่ ต่างๆ กันไปแล้วย่อมไม่สามารถเรียกคืนได้ เนือ่ งจาก มาตรา 854 วรรคหนึ่ง
บัญญัติไว้ว่า “สิ่งที่ได้ให้กันไปในการพนัน หรือขันต่อก็จะทวงคืนไม่ได้” เพราะไม่มีหนี้ต่อกัน
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 1538/2518 ค�ำฟ้องว่ากรรมการตัดสินแข่งม้าพนันของสโมสรประมาทเลินเล่อตัดสินม้าชนะผิด
ท�ำให้ผู้แทงม้าพนันขาดเงินรางวัล เป็นเรื่องสัญญาซึ่งไม่เกิดหนี้ตาม มาตรา 853 ไม่ใช่ละเมิด

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-91

ฎ. 613/2521 จ�ำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ ร. เพื่อช�ำระหนี้การพนันม้าแข่งมูลหนี้ตามเช็คดังกล่าวจึงไม่


สมบูรณ์ ตาม ปพพ. มาตรา 855 ฟ้องบังคับให้จ�ำเลยช�ำระหนี้ไม่ได้
ฎ. 912/2521 เงินที่โจทก์กับฝ่ายตรงข้ามวางไว้กับนายบ่อนหรือคนกลางก็คือเงินเดิมพันจากการ
พนันของคูก่ รณีทจี่ ะต้องจ่ายให้แก่กนั นัน่ เอง แม้จำ� เลยทัง้ สองจะไม่ได้เป็นคูพ่ นันด้วยก็ตาม ก็ถอื ได้วา่ เป็น
เงินที่ผู้เล่นพนันช�ำระให้แก่กันในการเล่นพนันดุจกัน ตาม ปพพ. มาตรา 853 โดยไม่คำ� นึงว่าจะเป็นการ


รับไว้ในฐานตัวแทนหรือไม่ โจทก์จะทวงเงินเดิมพันจากการพนันดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จงึ ไม่มอี ำ� นาจฟ้อง
ฎ. 3322-3323/2525 จ�ำเลยออกเช็คเพื่อช�ำระหนี้อันเกิดจากการพนันซึ่งตามกฎหมายหาเป็นมูล

มส
หนีไ้ ม่ ดังนัน้ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระท�ำของจ�ำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยความ
ผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ฎ. 1496/2526 ป. กับ ย. สามีจ�ำเลยเข้าหุ้นเล่นการพนัน เมื่อคิดบัญชี ย. ต้องช�ำระหนี้การพนัน
ให้ ป. แต่ไม่มีเงินและเช็คจะออกช�ำระให้ ป. ให้จ�ำเลยช�ำระแทน โดยจัดการให้จ�ำเลยเปิดบัญชีกระแสราย
วันทีธ่ นาคารแล้วจ�ำเลยออกเช็คช�ำระหนีอ้ นั เกิดจากการพนันให้ ป. ซึง่ ตามกฎหมายหามีมลู หนีไ้ ม่ แม้โจทก์
จะรับเช็คดังกล่าวไว้ด้วยประการใดก็ตาม เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จ�ำเลยก็ไม่มีความผิด
ตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
ฎ. 272/2527 จ�ำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อมอบให้แก่ พ. แต่เป็นเช็คที่มีมูลหนี้อันเกิดจาก
การเล่นการพนัน ซึ่งโจทก์ทราบอยู่แล้ว จ�ำเลยย่อมไม่มีความผิดตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก

การใช้เช็ค
ฎ. 2493/2527 จ�ำเลยออกเช็คพิพาทให้แก่ผมู้ ชี อื่ เพือ่ ช�ำระหนีอ้ นั เกิดจากการพนันซึง่ ตามกฎหมาย
มส

หาเป็นมูลหนี้ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะรับโอนเช็คพิพาทไว้ด้วยประการใดก็ตาม การกระท�ำของจ�ำเลยก็ไม่


เป็นความผิด
ฎ. 1052/2529 ตัว๋ เงินทีอ่ อกให้เพือ่ ใช้เงินทีย่ มื มาใช้ในการพนันหรือขันต่อนัน้ ไม่สมบูรณ์ เช็คพิพาท
ที่จ�ำเลยออกให้โจทก์ร่วมเพื่อเปลี่ยนเช็คของ ช. อันมีมูลหนี้มาจากการพนันขันต่อนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ไป
ด้วย การกระท�ำของจ�ำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
มาตรา 3

ฎ. 2089/2529 เช็คพิพาทได้มาจากการเล่นการพนันเป็นเช็คไม่สมบูรณ์ ตาม ปพพ. มาตรา 855
ผูท้ รงเช็คคนก่อนไม่อาจจะฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็คด้วยตนเองได้จงึ คบคิดกับโจทก์โดยโอนเช็คพิพาทและ
หาทนายความให้โจทก์ฟ้องคดี การกระท�ำดังกล่าวเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลจ�ำเลยจ�ำเลยย่อมยกขึ้นต่อสู้
โจทก์ผู้ทรงเช็คโดยอาศัยความเกี่ยวพันในการออกเช็คช�ำระเงินเสียพนัน ตาม ปพพ. มาตรา 916 ได้
ฎ. 2148/2531 จ�ำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมเพื่อช�ำระหนี้การพนันมูลหนี้ตามเช็คย่อมไม่
สมบูรณ์ ตาม ปพพ. มาตรา 855 โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธิน�ำคดีไปร้องทุกข์และไม่มีอำ� นาจฟ้องจ�ำเลยตาม
พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
สธ
ฎ. 852/2532 จ�ำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อช�ำระหนี้การเล่นพนันสลากกินรวบเป็นหนี้ที่ไม่
สมบูรณ์ ฟ้องบังคับไม่ได้

10-92 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 2041/2533 พฤติการณ์ทจี่ ำ� เลยสัง่ จ่ายเช็คพิพาทมีเหตุควรสงสัยว่าจ�ำเลยอาจออกเช็คดังกล่าว


เพื่อช�ำระเงินที่จ�ำเลยจะต้องช�ำระ เนื่องจากการเล่นการพนัน ถือว่าเช็คดังกล่าวมีมูลหนี้ไม่สมบูรณ์ตาม
กฎหมายและไม่เป็นความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จึงต้องยกประโยชน์แห่ง
ความสงสัยให้จำ� เลย
ฎ. 1890/2537 หนีก้ ารพนันหรือขันต่อซึง่ หาก่อให้เกิดหนีท้ จี่ ะมีผลบังคับต่อกันไม่ เช็คทีอ่ อกให้แก่


กันอันเกี่ยวกับการนั้นจึงไม่สมบูรณ์ แม้จะท�ำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้ต่อกันด้วย ก็ไม่อาจฟ้องร้อง
บังคับกันได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับช�ำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ
มาตรา 94 (1)

มส
ฎ. 3213/2538 โจทก์ฟ้องขอให้จ�ำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คที่จ�ำเลยน�ำมาแลก
เงินสดไปจากโจทก์ จ�ำเลยให้การว่าจ�ำเลยไม่เคยออกเช็คให้โจทก์ จ�ำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ ส. เพื่อช�ำระหนี้
การพนันโดย ส. สมคบกับ ถ. น้องของโจทก์ฉ้อฉลการเล่นการพนันกับจ�ำเลย และ ส. กับ ถ. สมคบกับ
โจทก์น�ำเช็คทั้งสามฉบับมาฟ้องจ�ำเลยในคดีนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะน�ำเอาเช็คทั้งสามฉบับอันเกิดจากการ
พนันมาฟ้องจ�ำเลยได้ เพราะเป็นการออกเช็คที่มิได้เกิดจากหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นค�ำให้การที่แสดง
โดยชัดแจ้งว่าจ�ำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ รวมทัง้ เหตุแห่งการนัน้ ตาม ปวพ. มาตรา 177 วรรคสองแล้ว
และเป็นค�ำให้การทีแ่ สดงให้เห็นว่า โจทก์น�ำเช็คมาฟ้องจ�ำเลยโดยคบคิดกันฉ้อฉล ตาม ปพพ. มาตรา 916
คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องน�ำสืบพยานกันต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีค�ำสั่งงดสืบพยานมานั้นจึงไม่ชอบ

ฎ. 1791/2550 จ�ำเลยสัง่ จ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพือ่ ช�ำระหนีก้ ารพนันสลากกินรวบ จึงไม่กอ่ ให้เกิดหนี้
อันจะเรียกร้องกันได้ ตาม ปพพ. มาตรา 853, 854 จ�ำเลยไม่ต้องรับผิดช�ำระเงินตามเช็คแก่โจทก์
มส

ในปัญหานี้ ผู้เขียนเห็นด้วยกับฝ่ายที่สอง เนื่องจาก ปพพ. มาตรา 853 บัญญัติระบุเพียงว่าการ


พนันหรือขันต่อไม่ก่อให้เกิดหนี้เท่านั้น มิได้บัญญัติว่ามีผลเป็นโมฆะ นอกจากนั้น ผลของการพนันหรือ
ขันต่อ มีเพียงท�ำให้สิ่งที่ได้ให้กันไปไม่สามารถทวงคืนกันได้ ในขณะที่ผลของการที่นิติกรรมเป็นโมฆะ คือ
ความเสียเปล่า ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะ
กรรมขึน้ กล่าวอ้างได้ ตาม ปพพ. มาตรา 172 ดังนัน้ คูก่ รณีตอ้ งกลับคืนสูส่ ภาพเดิมอันท�ำให้คกู่ รณีสามารถ
ทวงสิ่งต่างๆ ที่ให้กันไปแล้วกลับคืนได้ นอกจากนั้น การพนันบางอย่างสามารถให้สัตยาบันได้ เช่น ตาม

ปพพ. มาตรา 854 การออกสลากกินแบ่งก็ดี ออกสลากกินรวบก็ดี หากรัฐบาลได้ให้อำ� นาจหรือให้ สัตยาบัน
แก่การนั้นเฉพาะรายก็สามารถใช้บังคับได้ ในขณะที่นิติกรรมที่เป็นโมฆะไม่สามารถให้สัตยาบันได้ ด้วย
เหตุดังกล่าว ผู้เขียนจึงเห็นว่าการพนันหรือขันต่อไม่มีผลเป็นโมฆะ เป็นเพียงแต่ไม่ก่อให้เกิดหนี้เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การพนันที่ได้รับอนุญาตจากทางการซึ่งถูกกฎหมายนั้นย่อมก่อให้เกิดหนี้และ
สามารถเรียกร้องกันได้ เนื่องจากไม่มีการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย
อุทาหรณ์
ฎ. 222/2488 จ� ำ เลยเล่ น การพนั น ตามใบอนุ ญ าตที่ เจ้ า พนั ก งานได้ อ อกให้ แ ต่ ใ นใบอนุ ญ าต
สธ
เจ้าพนักงานก�ำหนดเวลาให้เล่นเกินอ�ำนาจทีเ่ จ้าพนักงานจะให้อนุญาตได้ตามกฎกระทรวง ถือว่า จ�ำเลยได้
เล่นโดยได้รับอนุญาตตามความใน พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 มาตรา 12 แล้วจ�ำเลยไม่มีความผิด

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-93

ฎ. 223/2497 สลากกินแบ่งฉบับที่ถูกรางวัลนั้น แม้สลากจะสูญหายไปเสียเจ้าของที่แท้จริงก็ยังมี


สิทธิขอรับรางวัลจากส�ำนักงานสลากกินแบ่งได้แม้ในสลากจะมีขอ้ ความว่า “เงินรางวัลจะจ่ายแก่ผถู้ อื สลาก
ฉบับที่ถูกรางวัลน�ำมาขอรับ” ก็ตาม
ฎ. 357/2509 พ่อค้าขายสลากกินแบ่งรัฐบาล ซือ้ เชือ่ สลากกินแบ่งจากส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ไปขายต่อ แม้วา่ การซือ้ สลากกินแบ่งจะเป็นการซือ้ ขาดจากส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลก็มอี ายุความฟ้อง


ร้อง 5 ปี ตาม ปพพ. มาตรา 165 (5) และ 165 วรรคสุดท้าย
ฎ. 1026/2511 จ�ำเลยเป็นนายสนามชนโคได้รับมอบเงินที่ผู้เสียหายวางเดิมพันกันไว้เพื่อมอบให้

มส
แก่ฝ่ายชนะ เมื่อโคชนะแล้วผู้เสียหายไปขอรับเงินจากจ�ำเลย แต่จ�ำเลยไม่จ่ายให้โดยอ้างว่าไม่มีเงิน และ
จะท�ำสัญญาให้แล้วก็ไม่ท�ำ เช่นนี้ถือว่าเป็นการผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น หาเป็นความผิดทางอาญาไม่
ฎ. 1538/2518 ค�ำฟ้องว่ากรรมการตัดสินแข่งม้าพนันของสโมสรประมาทเลินเล่อตัดสินม้าชนะผิด
ท�ำให้ผู้แทงม้าพนันขาดเงินรางวัล เป็นเรื่องสัญญาซึ่งไม่เกิดหนี้ตามมาตรา 853 ไม่ใช่ละเมิด ศาลไม่รับ
ฟ้อง
ฎ. 417/2520 จ�ำเลยท�ำสัญญาซือ้ สลากกินแบ่งรัฐบาลกับผูว้ า่ ราชการจังหวัดซึง่ กระท�ำในนามของ
จังหวัด ถือได้วา่ จ�ำเลยได้ทำ� สัญญากับจังหวัด ดังนัน้ จังหวัดโดยผูว้ า่ ราชการจังหวัดจึงมีอำ� นาจฟ้องจ�ำเลย
และในการฟ้องคดีต้องกระท�ำภายในอายุความในเรื่องนั้น ซึ่ง การที่ ปพพ. มาตรา 165 (5) ที่ก�ำหนดให้
มีอายุความ 2 ปี นั้น ได้บัญญัติเฉพาะบุคคลจ�ำพวกที่ขายตั๋วสลากกินแบ่งเรียกเอาเงินค่าที่ได้ขายตั๋วแต่

ถ้าเป็นการที่ได้ส่งมอบตั๋วเพียงส�ำหรับให้ขายต่อไปแล้วก็เข้าข้อยกเว้น ไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี แต่
มีอายุความ 5 ปี ตามวรรคสุดท้าย โจทก์ส่งมอบสลากกินแบ่งให้จำ� เลยไปขายอีกต่อหนึ่ง กรณีจึงเข้าข้อ
มส

ยกเว้นดังกล่าว เมื่อนับเงินค้างงวดแรกถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 5 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ


ฎ. 562/2529 ตูท้ วี เี กมของกลางมีจอภาพใช้ไฟฟ้าในการเล่นผูเ้ ล่นบางตูใ้ ช้เครือ่ งยิงให้ถกู เป้าหาก
ยิงถูกเป้าเครื่องหมายคะแนนจะขึ้นไป บางตู้ผู้เล่นต้องบังคับพวงมาลัยให้แล่นไปตามถนนโดยไม่ให้ชน
เครื่องกีดขวางเครื่องจะบอกคะแนนไปเรื่อยๆ จนจบเกม ถือได้ว่าตู้ทีวีเกมของกลางเป็นเครื่องเล่นซึ่งใช้
ไฟฟ้าโดยมีการนับแต้มเข้าลักษณะเครือ่ งเล่นซึง่ ต้องห้ามมิให้เข้าเล่นเว้นแต่จะได้รบั อนุญาตจากเจ้าพนักงาน
ตามบัญชี ข. อันดับที่ 28 ท้าย พรบ. การพนัน พุทธศักราช 2478 จ�ำเลยเป็นผู้ควบคุมการเล่นตู้ทีวีเกม

ผู้เล่นไม่ต้องเล่นพนันเอาทรัพย์สินกันแต่อย่างใด

และรับแลกเงินจากผู้เล่นที่ใช้หยอดในตู้ทีวีเกมของกลางก่อนลงมือเล่น ถือได้ว่า จ�ำเลยเป็นผู้จัดให้มีการ
เล่นเพือ่ น�ำมาซึง่ ผลประโยชน์แห่งตน เมือ่ จ�ำเลยไม่ได้รบั อนุญาตจากเจ้าพนักงานจ�ำเลยย่อมมีความผิดโดย

ฎ. 3409/2529 การที่จ�ำเลยก�ำหนดเงื่อนไขไว้ในสลากกินแบ่งทุกฉบับว่าเงินรางวัลจะจ่ายให้แก่
ผู้ถือสลากฉบับที่ถูกรางวัลน�ำมาขอรับนั้น เงื่อนไขดังกล่าวแม้จ�ำเลยจะก�ำหนดขึ้นโดยอาศัยอ�ำนาจที่มีอยู่
ตาม พรบ. ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 ก็ตาม แต่เป็นเงือ่ นไขทีก่ ำ� หนดขึน้ เพียงเพือ่ ให้จำ� เลย
มีหลักฐานในการที่จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ถูกรางวัลเท่านั้น ไม่ใช่ข้อก�ำหนดที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้ถูกรางวัล
สธ
ที่สลากหายหรือถูกไฟไหม้ และเห็นว่าการที่จำ� เลยจัดให้มีการออกสลากกินแบ่งก็โดยมีวัตถุประสงค์อย่าง
หนึ่งว่าจะแบ่งเงินที่ได้จากการขายสลากให้แก่ผู้ถูกสลากตามจ� ำนวนที่ก�ำหนดไว้จ�ำนวนเงินที่ก�ำหนดนี้

10-94 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ถือได้ว่าเป็นสัญญาอันมีผลผูกพันระหว่างผู้จัดการออกสลากกินแบ่งกับผู้ถูกรางวัล ดังนั้น เมื่อโจทก์มี


หลักฐานเชื่อได้ว่าโจทก์ถูกรางวัลแต่สลากถูกไฟไหม้โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินรางวัลจากจ�ำเลย
ฎ. 3697/2529 เงือ่ นไขหลังสลากทีว่ า่ เงินรางวัลจะจ่ายให้แก่ผถู้ อื สลากทีถ่ กู รางวัลน�ำมาขอรับนัน้
เป็นเพียงข้อก�ำหนดให้มหี ลักฐานในการทีจ่ ะจ่ายเงินให้แก่ผถู้ กู รางวัล ไม่ใช่ขอ้ ก�ำหนดทีจ่ ะไม่จา่ ยเงินรางวัล
แก่ผู้ถูกรางวัลที่สลากหายไปหากโจทก์มีหลักฐานเชื่อได้ว่าโจทก์ถูกรางวัลแต่สลากหาย จ�ำเลยก็ต้องจ่าย


เงินให้ และค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับตามระเบียบของการสื่อสารแห่งประเทศไทย เนื่องจากพัสดุไปรษณีย์
สูญหาย เป็นคนละอย่างกับสิทธิเรียกร้องรับเงินรางวัลจากสลากที่ถูกรางวัลแล้วสูญหายไป

มส
อุทาหรณ์
ฎ. 1400/2492 โจทก์ฟอ้ งหาว่าจ�ำเลยเล่นการพนัน โดยไม่ได้รบั อนุญาต แต่ทางพิจารณาได้ความ
ว่า การเล่นการพนันรายนีไ้ ด้รบั อนุญาตแล้ว หากแต่เล่นก่อนเวลาทีก่ ำ� หนดไว้ในใบอนุญาต ซึง่ เป็นข้อเท็จ
จริงที่โจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจะลงโทษจ�ำเลยไม่ได้

2. สิ่งใดที่ให้ไปแล้วในการพนันขันต่อจะมีการเรียกคืนมิได้
แม้วา่ การพนันและขันต่อจะไม่กอ่ ให้เกิดหนีท้ จี่ ะเรียกร้องต่อกัน แต่ถา้ ได้มกี ารช�ำระหนีต้ อ่ กันด้วย
สิ่งใดๆ แล้วจะมีการเรียกร้องสิ่งที่ให้กันไปแล้วกลับคืนมิได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 853
อุทาหรณ์

ฎ. 832/2512 ในการเล่นพนันชนไก่ คู่พนันได้วางเงินเดิมพันล่วงหน้าไว้กับนายบ่อนก่อนรู้ผลแพ้
ชนะ ต่อมานายบ่อนได้จ่ายเงินให้เจ้าของไก่ซึ่งชนะไป เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ชำ� ระหรือให้กันในการเล่น
มส

พนันจึงทวงคืนไม่ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 853


นอกจากนั้น ตั๋วเงินหรือเอกสารอื่นใดที่ออกให้เพื่อช�ำระหนี้การพนันนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ใช้บังคับ
กันไม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 855 วรรคหนึ่งว่า
“ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 312 และ 916 ตั๋วเงินหรือเอกสารอื่นทุกฉบับซึ่งออกให้
เต็มจ�ำนวน หรือแต่โดยบางส่วนเพื่อแทนเงินใด ๆ อันได้แต่ชนะพนันหรือขันต่อก็ดี ออกให้เพื่อใช้เงินที่
ยืมมาใช้ในการพนันหรือขันต่อเช่นว่านั้นก็ดี ท่านว่าไม่สมบูรณ์”
อุทาหรณ์ ม
ฎ. 2148/2531 จ�ำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมเพื่อช�ำระหนี้การพนันมูลหนี้ตามเช็คย่อมไม่
สมบูรณ์ตาม ปพพ. มาตรา 855 โจทก์ร่วมย่อมไม่มีสิทธินำ� คดีไปร้องทุกข์และไม่มีอำ� นาจฟ้องจ�ำเลยตาม
พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
ฎ. 852/2532 จ�ำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อช�ำระหนี้การเล่นพนันสลากกินรวบเป็นหนี้ที่ไม่
สมบูรณ์ ฟ้องบังคับไม่ได้
ฎ. 2041/2533 พฤติการณ์ทจี่ ำ� เลยสัง่ จ่ายเช็ค พิพาทมีเหตุควรสงสัยว่าจ�ำเลยอาจออกเช็คดังกล่าว
สธ
เพื่อช�ำระเงินที่จ�ำเลยจะต้องช�ำระ เนื่องจากการเล่นการพนัน ถือว่าเช็คดังกล่าวมีมูลหนี้ไม่สมบูรณ์ตาม
กฎหมายและไม่เป็นความผิดตาม พรบ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จึงต้อง ยกประโยชน์แห่ง
ความสงสัยให้จ�ำเลย

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-95

ฎ. 1890/2537 หนีก้ ารพนันหรือขันต่อซึง่ หาก่อให้เกิดหนีท้ จี่ ะมีผลบังคับต่อกันไม่ เช็คทีอ่ อกให้แก่


กันอันเกีย่ วกับการนัน้ จึงไม่สมบูรณ์ แม้จะท�ำเป็นหนังสือรับสภาพหนีใ้ ห้ไว้ตอ่ กันด้วยก็ไม่อาจฟ้องร้องบังคับ
กันได้ เจ้าหนีจ้ งึ ไม่มสี ทิ ธิขอรับช�ำระหนีต้ ามหนังสือรับสภาพหนีน้ นั้ ได้ ตาม พรบ. ล้มละลายฯ มาตรา 94 (1)
ฎ. 1791/2550 จ�ำเลยสัง่ จ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพือ่ ช�ำระหนีก้ ารพนันสลากกินรวบ จึงไม่กอ่ ให้เกิดหนี้
อันจะเรียกร้องกันได้ ตาม ปพพ. มาตรา 853, 854 จ�ำเลยไม่ต้องรับผิดช�ำระเงินตามเช็คแก่โจทก์


กิจกรรม 10.2.3

มส
การพนันและขันต่อมีผลในทางกฎหมายอย่างไรบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 10.2.3
ผลของการพนันและขันต่อมีดังนี้
1) ไม่กอ่ ให้เกิดหนีต้ ามกฎหมาย จะมีการฟ้องหรือบังคับให้ชำ� ระหนีท้ เี่ กิดจากสัญญาการพนันและ
ขันต่อมิได้ ตาม ปพพ. มาตรา 853
2) ไม่สามารถเรียกคืนทรัพย์สินที่มอบให้ได้ กล่าวคือ แม้สัญญาการพนันและขันต่อจะไม่ก่อให้
เกิดหนี้ตามกฎหมาย แต่คู่สัญญาที่ช�ำระเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กันจากการพนันและขันต่อนั้นไม่สามารถ
เรียกสิ่งเหล่านั้นที่มอบไปแล้วคืนได้ ตาม ปพพ. มาตรา 853

มส

เรื่องที่ 10.2.4
การออกสลากกินแบ่งและสลากกินรวบ

มี 2 ประเภท คือ สลากกินแบ่งและสลากกินรวบ



ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปการพนันหรือขันต่อไม่สามารถใช้บังคับได้ เพราะไม่ก่อให้เกิดหนี้ผูกพันกันแต่
มีขอ้ ยกเว้นทีก่ ฎหมายบัญญัตใิ ห้มผี ลผูกพันและสามารถบังคับกันด้วยวิธกี ารต่างๆ เช่น ฟ้องคดีกนั ได้ นัน้

การเล่นพนันประเภทสลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือลอตเตอรี่ ซึ่งมีต้นก�ำเนิดมาจากหวยซึ่งมี


ถิ่นก�ำเนิดมาจากประเทศจีนในสมัยพระเจ้าเตากวางแห่งราชวงศ์ไต้เช็ง ประมาณ พ.ศ. 2364-2394 โดย
แต่เดิมได้มีการเรียกกันว่า ฮวยหวย และภายหลังต่อมาได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศแถบทวีปยุโรปและ
อเมริกาและประเทศไทย นั้นได้รับความนิยมในการเล่นและยังคงมีการเล่นกันอยู่ในปัจจุบัน20
สธ
20 ประวัตค
ิ วามเป็นมาของหวยและสลากกินแบ่งรัฐบาล: รวยด้วยเลข http://www.ruaiduailek.blogspot.com/2012/08/
blog-post.html.

10-96 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ในประเทศไทยก็มกี ารเล่นการพนันชนิดนีแ้ ละถึงแม้วา่ โดยหลักการพนันหรือขันต่อนัน้ ไม่กอ่ ให้เกิด


หนี้และใช้บังคับกันไม่ได้ เนื่องจากการออกสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบเป็นการพนันอย่างหนึ่ง หากมี
หนี้เกิดขึ้น จึงอาจเกิดปัญหาได้ เช่น ผู้ซื้อถูกรางวัลหรือผู้ที่ซื้อสลากไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ขายไม่ว่าบุคคล
ดังกล่าวจะถูกรางวัลหรือไม่
ในเรือ่ งนี้ คือ ในกรณีของสลากกินแบ่งและสลากกินรวบนัน้ เป็นข้อยกเว้นของการพนันหรือขันต่อ


กล่าวคือ การซื้อขายและการออกสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบนั้นหากรัฐบาลได้ให้อ�ำนาจไว้หรือได้ให้
สัตยาบันในการกระท�ำดังกล่าวย่อมใช้บงั คับได้และมีหนีท้ ผี่ กู พันกันได้ ตามทีบ่ ญ
ั ญัตไิ ว้ใน มาตรา 854 ว่า

มส
“อันการออกสลากกินแบ่งก็ดี ออกสลากกินรวบก็ดี เป็นสัญญาอันจะผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้
อ�ำนาจหรือให้สัตยาบันแก่การนั้นเฉพาะราย นอกนั้นท่านให้บังคับตามบทบัญญัติมาตรา 853”

1. ความหมายของค�ำว่า สลากกินแบ่งและสลากกินรวบ
สลากกินแบ่ง คือ สลากที่จัดให้มีขึ้นเพื่อขายให้แก่ผู้เล่นเป็นการเสี่ยงโชค โดยมีการให้รางวัลที่
แบ่งเป็นหลายรางวัลแก่ผู้เล่นซึ่งถือสลากเลขหมายรางวัลที่ออกตามวิธีการที่ก�ำหนด21
สลากกินรวบ คือ สลากชนิดที่จําหน่ายแก่ผู้ถือเพื่อรับสิ่งของเป็นรางวัลในการเสี่ยงโชคโดย
ผู้จําหน่ายรวบเงินค่าสลากไว้ทั้งหมด22
ในทางปฏิบตั สิ ลากกินแบ่งมักออกโดยทางการเช่น ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นัน้ เป็นการเล่น

เสี่ยงโชคที่ผู้ออกสลากขายสลากให้แก่ผู้ซื้อที่มักเรียกกันว่าผู้เล่นและรวมเงินที่มีผู้ซื้อสลากเข้ากันเป็นก้อน
และเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ตลอดจนภาษีแล้วจึงเอาเงินที่เหลือมาจัดเป็นรางวัลมอบให้แก่ผู้ซื้อที่ถูกรางวัล
มส

ในการออกรางวัลของสลากกินแบ่งนัน้ ท�ำโดยการเสีย่ งโชคด้วยการออกเลขสลาก หากเลขสลากที่


ออกรางวัลตรงกับเลขสลากของผู้ซอื้ คนใด ผู้ซื้อคนนั้นมีสิทธิได้รับรางวัล และถ้ามีผู้ถูกรางวัลมากเกินกว่า
จ�ำนวนเงินรางวัลเริ่มต้นที่ตั้งไว้ จะต้องแบ่งเงินรางวัลกัน ซึ่งท�ำให้ผู้ออกสลากไม่ขาดทุน
นอกจากนั้นมีสลากกินแบ่งแบบพิเศษ เช่น สลากแบบรู้ผลทันที กล่าวคือ ผู้เล่นจะทราบผลทันที
ว่าถูกรางวัลหรือไม่ เนือ่ งจากหมายเลขทีไ่ ด้รบั รางวัลจะถูกพิมพ์ลงในตัวสลากไว้แล้ว และฉาบด้วยฟิลม์ ทึบแสง
กันการมองเห็นจากภายนอก ผูเ้ ล่นเพียงแต่ใช้วธิ กี ารเปิดดูผลหลังจากซือ้ สลากแล้ว เช่น อาจใช้ขอบเหรียญ

ขูดสลากเท่านั้นก็จะพบทันทีว่าตนได้รับรางวัลหรือไม่ ซึ่งเรียกว่าสลากแบบขูด ได้รับความนิยมมากใน
สหรัฐอเมริกา และได้เผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ส�ำหรับประเทศไทยเคยออกสลากแบบขูดนี้เช่น
กันในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งด�ำเนินการโดยโรงพยาบาลภูมิพลได้ขออนุญาตต่อทางการ เพื่อหาเงินรายได้สร้าง
ตึกคุ้มเกล้า23
ส่วนสลากกินรวบ นั้นในทางปฏิบัติ เป็นการเล่นเสี่ยงโชค โดยผู้ออกสลากขายสลากให้แก่ผู้เล่น
และผู้ออกสลากรวบรวมเงินค่าออกสลากไปทั้งหมด และมอบส่วนของรางวัลให้ผู้ซื้อสลากที่ถูกรางวัล
สธ
21 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 บริษัทนานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์ จำ�กัด พ.ศ. 256 น. 1139.
22 เรื่องเดียวกัน
23 สำ�นักงานสลากฯเล็งฟื้นสลากขูด เชื่อเพิ่มความเร้าใจการเสี่ยงโชค หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ วันที่ 12 พฤษภาคม 2557
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000052706

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-97

ในการออกรางวัลของสลากกินรวบนัน้ ท�ำโดยการเสีย่ งโชคด้วยการออกเลขสลาก หากเลขสลากที่


ออกรางวัลตรงกับเลขสลากของผูซ้ อื้ คนใด บุคคลนัน้ มีสทิ ธิได้รบั รางวัล ซึง่ อาจท�ำให้ผอู้ อกสลากขาดทุนได้
ในประเทศไทยมีการออกสลากโดยเอกชน ซึ่งเรียกกันว่า หวยใต้ดิน โดยเป็นสลากกินแบ่งที่ตั้ง
ขึน้ กันเองภายในชุมชน ซึง่ ผูเ้ ล่นจะเขียนตัวเลขทีต่ นเองต้องการเสีย่ งโชค 2-3 หลักลงในรายการ และระบุ
ว่าต้องการซือ้ หมายเลขนีจ้ ำ� นวนเท่าใด ในราคาเท่าไร (จ�ำนวน × ราคา) และมีเจ้ามือคนหนึง่ คอยรวบรวม


รายการเหล่านั้น การออกรางวัลจะใช้ผลจากเลขรางวัลของสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือสลากอื่นๆ เช่น สลาก
ออมสิน มาเปรียบเทียบ แต่เงินรางวัลไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับอัตราของเจ้ามือโดยปกติจะเป็นสลากกินรวบ

มส
และหวยใต้ดินนี้เป็นการเล่นที่ผิดกฎหมายเพราะไม่ได้ขออนุญาตการออกสลากต่อรัฐบาล

2. ผลของการออกสลากกินแบ่งและสลากกินรวบ
ทั้งสลากกินแบ่งและสลากกินรวบนี้ เป็นสัญญาระหว่างผู้จัดให้มีการออกสลากกินแบ่งหรือสลาก
กินรวบ กับผูเ้ ข้าเล่นนัน้ จะผูกพันฟ้องร้องบังคับกันได้ ก็ตอ่ เมือ่ รัฐบาลให้อำ� นาจหรือให้สตั ยาบันแก่การออก
สลากนัน้ เฉพาะรายไป เมือ่ ผูจ้ ดั ให้มกี ารเล่นรายใดได้รบั อ�ำนาจหรือสัตยาบันจากรัฐบาลแล้ว สัญญาก็ผกู พัน
กันและฟ้องบังคับกันได้ ไม่อยู่ในบังคับของ ปพพ. มาตรา 853 แต่ถ้ารายใดรัฐบาลไม่ให้อ�ำนาจหรือ
สัตยาบัน การเล่นย่อมไม่ก่อให้เกิดหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 853 เนื่องจากโดยสภาพของสลากทั้งสอง
ประเภทนี้เป็นการพนัน

การอนุญาตให้ออกสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบนี้ รัฐบาลให้อ�ำนาจออกได้โดยไม่ต้องมีการขอ
อนุญาต ตาม พรบ. การพนันฯ โดยผู้ที่ขออาจจะเป็นหน่วยงานของรัฐบาลหรือเอกชน เมื่อคณะรัฐมนตรี
มส

อนุมัติให้ออกสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบตามค�ำขอแล้ว
ส่วนกรณีทรี่ ฐั บาลได้ให้สตั ยาบันนัน้ ได้แก่ การออกสลากกินแบ่งของรัฐบาลซึง่ เป็นการจัดขึน้ โดย
ส�ำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลของกระทรวงการคลัง กรณีเช่นนีไ้ ม่ตอ้ งมีการขออนุญาตโดยทีก่ ระทรวงการ
คลังเสนอเหตุผลไปยังคณะรัฐมนตรีเพือ่ ขอออกสลากกินแบ่ง เมือ่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมตั ติ ามนัน้
กรณีเช่นนี้ถือว่ารัฐบาลได้ให้สัตยาบัน
อุทาหรณ์

ข. ตาม พรบ. การพนัน 2478



ฎ. 795/2491 ท�ำเลขสลากขึ้นขาย เมื่อสลากกินแบ่งของรัฐบาลออก ผู้ซื้อสลากคนใดมีเลข 3 ตัว
ตรงกับเลขท้าย 3 ตัวของรางวัลที่ 1 ผูน้ นั้ ก็รบั ของไปดังนีเ้ ป็นการพนันประเภทสลากกินรวบอยูใ่ นประเภท

สลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบที่มิได้รับอนุญาตจากทางการหรือไม่ได้รับการสัตยาบันเป็นสิ่งที่
ผิดกฎหมายและไม่เป็นหนี้ที่ผูกพันบังคับกันได้
อุทาหรณ์
ฎ. 1017/2494 เล่นสลากกินรวบพนันเอาทรัพย์สินกัน โดยถือเอาเลขท้ายสองตัวของเลขสลาก
สธ
ฉบับทีไ่ ด้รบั รางวัลทีห่ นึง่ ของสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดใดงวดหนึง่ นัน้ เป็นแต่อาศัยเลขสลากกินแบ่งทีร่ ฐั บาล
ออกเป็นเครื่องมือแทนการออกสลากกินรวบ ซึ่งเป็นการพนันที่ตนจัดให้มีขึ้น หาใช่เป็นการเล่นสลากกิน
แบ่งของรัฐบาลไม่ ฉะนั้นถ้าไม่ได้รับอนุญาต ก็ต้องมีความผิดตาม พรบ. การพนันฯ

10-98 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 1747/2494 จ�ำเลยจ�ำหน่ายขายเลขสลาก 1,000 ฉบับมีตั้งแต่เลขหมาย 000 จนถึง 999 ให้แก่


ผู้ซื้อซึ่งเรียกว่าผู้แทง ส่วนจ�ำเลยเป็นเจ้ามือ ถ้าสลากของผู้ซื้อตรงกับเลขท้าย 3 ตัวของสลากรางวัลที่ 1
ของสลากกินแบ่งรัฐบาล ถือว่าทายถูกเป็นผู้ชนะ จ�ำเลยจะต้องใช้ หรือจ่ายเงินให้แก่ผู้ซื้อที่ถูกสลากเป็น
จ�ำนวน 600 ต่อ ดังนี้ เป็นการเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นตามที่ระบุไว้ในบัญชี
ข. ล�ำดับ-เลข 16 ท้าย พรบ. การพนัน 2478 เมื่อจัดการเล่นขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตก็เป็นความผิดตาม


พรบ. การพนันฯ
ฎ. 304/2495 จ�ำเลยขายสลากกินรวบไปแล้วโดยให้ถอื เอาเลขท้ายสามตัวของรางวัลที่ 1 แห่งสลาก

มส
กินแบ่งของรัฐบาลเป็นการแพ้ชนะสลากกินแบ่งของรัฐบาลนั้นจะออกภายหลัง แต่จ�ำเลยถูกจับเสียก่อน
ดังนี้ จ�ำเลยมีความผิดฐานเล่นการพนันสลากกินรวบพนันเอาทรัพย์สินกันแล้ว
ฎ. 505/2498 เมื่อได้ความว่าจ�ำเลยเล่นการพนันสลากกินรวบเพื่อเอาทรัพย์สินกันแม้ยังไม่มีการ
ได้เสียกันกล่าวคือสลากกินแบ่งของรัฐบาลที่จะถือเป็นหลักในการแพ้ชนะจะยังไม่ออกดังนี้ก็เป็นผิดแล้ว
ฎ. 753/2498 การทีจ่ ำ� เลยจัดให้มกี ารแถมบัตรสมนาคุณแก่ผทู้ ซี่ อื้ ยาของจ�ำเลยกล่าวคือ แจกบัตร
ดังกล่าวแก่ผู้ซื้อยาธาตุห้าของจ�ำเลย 1 บัตร ต่อยาธาตุ 1 ขวด หากเลขสลากในบัตรนั้นตรงกับเลขสลาก
ลอตเตอรี่ที่ออกผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงิน 1 ใน 20 ส่วนของรางวัลลอตเตอรี่นั้นๆ ดังนี้ ถือว่าเป็นการแถมพก
หรือรางวัลด้วยการเสีย่ งโชคเพราะในบัตรมีหมายเลขสลากตรงกับเลขสลากลอตเตอรีข่ องรัฐบาล ซึง่ อาจจะ
ถูกรางวัลได้รับเงินตามที่ปรากฏในบัตรนั้นได้ ท�ำให้ผู้ซื้อยาจากจ�ำเลยมีหวังในการเสี่ยงโชค จ�ำเลยจะขาย

ยานัน้ โดยราคาปกติ ในท้องตลาดหรือไม่ๆ ส�ำคัญ ประกอบกับการกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการประกอบกิจการ
ค้าหรืออาชีพ ดังนี้ เมื่อจ�ำเลยไม่รับรับอนุญาตก็มีความผิด ตาม พ.ร.บ.การพนัน
มส

ฎ. 1429/2499 มีการจองเลขสลากกินรวบไว้แล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำ� ระเงินกัน แต่กไ็ ด้กำ� หนดแน่นอน


ว่าจะช�ำระภายหลัง ย่อมถือได้ว่าเป็นการเล่นพนันเอาทรัพย์สินกันแล้ว
ฎ. 505/2498 เมื่อได้ความว่าจ�ำเลยเล่นการพนันสลากกินรวบเพื่อเอาทรัพย์สินกันแม้ยังไม่มีการ
ได้เสียกันกล่าวคือสลากกินแบ่งของรัฐบาลที่จะถือเป็นหลักในการแพ้ชนะจะยังไม่ออกดังนี้ก็เป็นผิดแล้ว
ฎ. 52/2530 การพนันสลากกินรวบเป็นการพนันที่มอมเมาประชาชน เป็นอบายมุขที่ก่อให้เกิด
ความเสียหายแก่เศรษฐกิจของชาติบา้ นเมือง ต้องก�ำราบปราบปรามมิให้มกี ารเล่นหรือให้ลดน้อยลง จ�ำเลย

ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจ�ำเลยนั้นชอบแล้ว

กิจกรรม 10.2.4

เป็นเจ้ามือรายใหญ่ตามสมุดจดสลากกินรวบของกลางปรากฏว่ามีการเล่นการพนันกันถึงหลายแสนบาท ที่

การออกสลากกินแบ่งและสลากกินรวบการออกสลากกินแบ่งและสลากกินรวบมีผลตามกฎหมาย
อย่างไรบ้าง
สธ

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-99

แนวตอบกิจกรรม 10.2.4
ผลของการออกสลากกินแบ่งและสลากกินรวบมีดังนี้
1. ตามปกติไม่กอ่ ให้เกิดหนีต้ ามกฎหมาย จะมีการฟ้องหรือบังคับให้ชำ� ระหนีม้ ไิ ด้และไม่สามารถ
เรียกคืนทรัพย์สินที่มอบให้ได้ ตาม ปพพ. มาตรา 853 เนื่องจากเป็นการพนัน


2. แต่การออกสลากกินแบ่งและสลากกินรวบรายใดได้รบั อ�ำนาจหรือสัตยาบันจากรัฐบาลแล้ว การ
ออกและสิ่งที่เกี่ยวข้องก็ผูกพันกันและฟ้องบังคับกันได้ ตาม ปพพ. มาตรา 854

มส

มส


สธ

10-100 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บรรณานุกรม

กนกศักดิ์ เวชยานนท์. (2508). คําอธิบายวิธีเล่นการพนัน. กรุงเทพมหานคร: เนติบัณฑิตยสภา.


จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2493). ค�ำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประชุมกฎหมายประจําศก เล่ม 4 วันอังคาร เดือนหก ขึ้น 2 คํ่า ร.ศ. 33 (พ.ศ. 2357).

มส
ประชุมกฎหมายประจําศก เล่ม 11 วันหนึ่ง เดือนสิบเอ็ด แรม 1 คํ่า ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2431).
ประชุมกฎหมายประจําศก เล่ม 13 วันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 105 (พ.ศ. 2433).
ประชุมกฎหมายประจําศก เล่ม 18 วันที่ 28 พฤษภาคม ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2449).
มาโนช สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2518). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ฝากทรัพย์ เก็บของใน
คลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52/-/ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์ จ�ำกัด.
สรพล สุขทรรศนีย์. (2547). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียงมาตราว่าด้วย ประนีประนอมยอม
ความ การพนันและขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ลักษณะ 18. กรุงเทพมหานคร: กองทุน

ศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์.
ส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา บันทึก เรื่อง หารือปัญหาข้อกฎหมายว่าด้วยการพนันเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์
มส

ระบบหมายเลข 1900 ในการจัดให้มีการทายผลการแข่งขันกีฬาและตอบปัญหาชิงรางวัล (เรื่องเสร็จที่


589/2545).
สุปัน พูลพัฒน์. (2515). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง
จงเจริญ.
โสภณ รัตนากร. (2556). ค�ำอธิบาย ปพพ. ว่าด้วยหนี้: บทเบ็ดเสร็จทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์นิติ
บรรณาการ.

bling_history.htm‎.

A History of Gambling-Craps Dice Control. Retrieved from www.crapsdicecontrol.com/gam-

Albert Kocourek and John H. Wigmore (comp.). (1915). Sources of Ancient and Primitive Law.
Boston: Little Brown and Company.
Gambling: From Ancient Cultures Until Today | The History of Poker ... Retrieved from www.
thehistoryofgambling.com.
สธ
http://www.ruaiduailek.blogspot.com/2012/08/blog-post.html.
http://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=cmd&year=2546&lawPath
=c2_0014_2546.
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000052706.

ประนีประนอมยอมความ การพนันและขันต่อ 10-101

http://www.krisdika.go.th/wps/portal/general/!ut/pc5/.
Protecting Confidentiality in Mediation”. (note) 98 (2) Harvard Law Review. (1984).
Simon Roberts. (1983). “Mediation in Family Disputes”. 46 (5) The Modern Law Review.
The History of Gambling-Gypsy King Software. Retrieved from www.gypsyware.com/gamblin-
gHistory.html.


มส

มส


สธ
มส

มส
สธ ธ
ม ม

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-1

หน่วยที่ 11
ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย


อาจารย์จาตุรนต์ บุณยธนะ

มส

มส

ชื่อ
วุฒิ
อาจารย์จาตุรนต์ บุณยธนะ
น.บ. มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง

LL.M. Energy Law and Policy at CEPMLP, University of Dundee
ตำ�แหน่ง อาจารย์ประจำ�สาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่ปรับปรุง
สธ
หน่วยที่ 11

ปรับปรุงจากต้นฉบับเดิม หน่วยที่ 11 ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย อาจารย์มานพ นาคฑัต และอาจารย์วรวุฒิ


เทพทอง

11-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจำ�หน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 11 ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย

ตอนที่

แนวคิด
มส
11.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัย
11.2 ความหมาย ลักษณะ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย
11.3 สาระส�ำคัญของสัญญาประกันภัย

1. ส ัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ในการสร้าง
หลักประกันให้เกิดความมั่นคงแก่ชีวิตและครอบครัว เนื่องจากแบ่งเฉลี่ยความเสียหายที่อาจ

จะเกิดขึ้นแก่ผู้เอาประกันภัย
2. สัญญาประกันภัย ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปของการก่อให้เกิดขึ้นแห่งสัญญา โดยคู่สัญญา
มส

ในสัญญาประกันภัยประกอบไปด้วยผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย นอกจากนี้สัญญา
ประกันภัยยังต้องตกอยู่ภายใต้กฎหมายพิเศษซึ่งควบคุมกิจการประกันภัยด้วย
3. สัญญาประกันภัย เป็น สัญญาต่างตอบแทนที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชค ซึ่งต้องอาศัยความ
ซื่อสัตย์สุจริตของคู่สัญญาเป็นส�ำคัญและถูกควบคุมโดยรัฐ

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 11 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความเป็นมา วิวัฒนาการ และประโยชน์ของการประกันภัยได้
2. อธิบายลักษณะส�ำคัญ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัยได้

3. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัยได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
สธ
1. ท�ำแบบประเมินตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 11
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 11.1-11.3
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-3

4. ฟังซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
6. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
7. ท�ำแบบประเมินผลตอนเองหลังเรียนหน่วยที่ 11


สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2.
3.
4.
5.
มส
แบบฝึกปฏิบัติ
ซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา
รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบประจ�ำภาคการศึกษา

มส

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ทำ�แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 11 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป


สธ

11-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

บทนำ�

การประกั นภัยเป็นวิธีการหนึ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อจัดการกับความเสี่ยงภัยและอันตราย


ต่างๆ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน โดยผู้เอาประกันภัยกระจาย
ความเสี่ ยงด้วยการโอนความเสี่ยงภัยของของตนไปให้แก่ผู้รับประกันภัย อนึ่งการประกันภัยถือเป็น
เอกเทศสัญญาอย่างหนึง่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึง่ บัญญัตไิ ว้ในลักษณะ 20 ตัง้ แต่มาตรา

มส
861 ถึงมาตรา 897 โดยสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วน คือ 1) บทน�ำ 2) การประกันวินาศภัย และ
3) การประกันชีวิต โดยบทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่ 1 บทน�ำนั้น จะถูกน�ำมาใช้กับการประกัน
วินาศภัย และการประกันชีวิตด้วย นอกจากนี้การประกันภัยยังเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับอื่นที่ส�ำคัญอีก
เช่น พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติประกัน
ชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 เป็นต้น อีกทั้งภาครัฐยังได้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาก�ำกับดูแล
กิจการเกี่ยวกับการประกันภัยด้วย ได้แก่ กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งในปัจจุบันคือ
คณะกรรมการก�ำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-5

ตอนที่ 11.1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันภัย
โปรดอ่านหัวเรี่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 11.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไปนี้


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
11.1.1 ความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประกันภัย
11.1.2 กฎเกณฑ์ทฤษฎีพื้นฐานและประโยชน์ของการประกันภัย

1. ก ารประกันภัยเกิดขึ้นเนื่องจากความจ�ำเป็นของพ่อค้าที่ต้องการหาหลักประกันส�ำหรับ
สินค้าและเงินทุนของตน และได้วิวัฒนาการตลอดมาเป็นล�ำดับจนถึงปัจจุบัน
2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทสี่ �ำคัญถูกน�ำมาใช้เพือ่ ประโยชน์ในการบริหารความเสีย่ งได้อย่าง
มีประสิท ธิภาพและพัฒนาการประกันภัย เนื่องจากการประกันภัยก่อให้เกิดประโยชน์
ต่อการพั ฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทัง้ ในทางส่วนรวมและในทางส่วนตัวของผูเ้ อาประกันภัย

ในการสร้ างความมั่นคงให้แก่ ชีวิต ครอบครัว ทรัพย์สิน ตลอดจนบรรดาธุรกิจ
ต่างๆ และยังเป็นการแบ่งเบาภาระทีร่ ฐั ในการช่วยเหลือและควบคุมธุรกิจการประกันภัย
มส

อีกด้วย

วัตถุประสงค์
เมื่อได้ศึกษาตอนที่ 11.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายถึงความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประกันภัยได้
2. อธิบายถึงกฎเกณฑ์ทฤษฎีพื้นฐานและประโยชน์ของการประกันภัยได้

สธ

11-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 11.1.1
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประกันภัย


ความไม่แน่นอนจากการเกิดภัยและอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินท�ำให้มนุษย์มีความหวาดกลัว
มนุษย์จึ งได้คิดวิธีการ หรือจัดหาวิธีการ เพื่อให้หลักประกันว่า เมื่อเกิดมีภัยขึ้นมาแล้วจะไม่เป็นเหตุให้

มส
หมดเนื้อหมดตัว หรือสูญสิ้นทุกอย่าง แนวคิดท�ำนองนี้ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ในสมัยโบราณเพื่อให้หลักประกัน
แก่ผู้ที่อยู่ในภาวะต้องเสี่ยงภัยว่าเขาจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย หรือได้รับสิ่งที่เขาต้องการ หากเกิด
เหตุการณ์ หรือเกิดมีภัยขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้ โดยวิวัฒนาการของการประกันภัยสามารถจ�ำแนกออก
ได้ดังนี้

1. ความเป็นมาของการประกันภัย
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์การประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อใด และเกิด ณ ที่ใดเป็นครั้งแรกไม่
สามารถระบุได้อย่างแน่นอน แต่เป็นทีย่ อมรับกันว่า หลักการประกันภัยนัน้ ได้เกิดมีขนึ้ ตัง้ แต่ในสมัยโบราณ
โดยยุคต่างๆ ต่อไปนี้มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาการของการประกันภัยในปัจจุบัน

ในประเทศจีนในสมัยโบราณมีวิธีการในจัดการกับภัยและอันตรายโดยวิธีการต่างๆ เช่น กรณีที่
มีส�ำนักต่างๆ รับจ้างให้ความคุ้มกันการส่งของ หรือสินค้าจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง หรือกรณีที่
มีการขนส่ งสินค้าตามล�ำน�้ำ แทนที่เจ้าของสินค้าแต่ละรายจะบรรทุกสินค้าทั้งหมดในเรือล�ำเดียวเพื่อ
มส

ล�ำเลียงไปขาย เจ้าของสินค้าแต่ละรายจะแบ่งสินค้าใส่เรือหลายๆ ล�ำ เพราะหากใส่สินค้าทั้งหมดในเรือ


ล�ำเดียว และเรือล�ำนั้นล่มเจ้าของสินค้าก็จะต้องสูญเสียสินค้าไปทั้งหมด แต่ถ้ากระจายสินค้าไปในเรือ
หลายล�ำแล้ว และเรือล�ำหนึ่งล่ม เจ้าของสินค้าจะได้รับความเสียหายเพียงจ�ำนวนหนึ่งเท่านั้น วิธีเช่นนี้
เป็นการกระจายความเสี่ยงภัยซึ่งยังคงเป็นหลักการที่ส�ำคัญในการประกันภัยในปัจจุบัน
ในแถบลุ่มแม่น�้ำยูเฟรตีส พวกชาวบาลิโลเนียน (Babylonian)1 เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว
ได้พฒ ม
ั นาอุตสาหกรรมขึน้ จึงมีความจ�ำเป็นจะต้องอาศัยวัตถุดบิ จากแหล่งทีไ่ กลออกไป และเมือ่ ผลิตสินค้า
ได้แล้วก็จะต้ อ งน�ำสินค้าเหล่านั้นไปขายในที่ต่างๆ ในช่วงแรกพวกพ่อค้าและนักอุตสาหกรรมมักใช้ทาส
และบริวารของตนเองไปจัดท�ำล�ำเลียงวัตถุดบิ และขายสินค้า แต่ตอ่ มาการค้าและการอุตสาหกรรมได้ขยาย
ไปกว้างมากขึ้ น ล�ำพังแต่ทาสและบริวารไม่พอเพียงที่จะท�ำงานติดต่อค้าขายได้ จึงต้องมีการท�ำสัญญา
ให้คนอืน่ ไปท�ำการค้าขายแทน ซึง่ พวกพ่อค้าเร่ (Salesman) เหล่านีจ้ ะต้องมอบทรัพย์สนิ บุตรและภรรยา
ไว้ให้เจ้าของกิ จ การเพื่อเป็นหลักประกัน ส�ำหรับเงินหรือสินค้าที่ตนได้น�ำไป เพื่อเป็นการประกันความ
ซื่อสัตย์ของพ่อค้าเร่นั้น
สธ

1 Robert I Mehr and Emerson Cammauk Principles of Insurance 4th Ed. 1966 p. 883.

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-7

แต่สิ่งที่พวกพ่อค้าเร่ต้องประสบ คือ ความเสี่ยงภัยในเรื่องโจรผู้ร้ายปล้นสดมภ์เอาเงินทอง และ


สินค้าไป ท�ำให้ ท รั พ ย์สิน บุตร และภรรยาถูกยึดไปเป็นของเจ้าของกิจการ โดยมิได้เจตนาทุจริตหรือ
เพราะความผิดของพ่ อ ค้ าเร่นั้นเอง ยิ่งการค้าขายกระจายกว้างออกไปในถิ่นที่มีความเจริญน้อย ความ
เสี่ยงในเรื่องดังกล่าวก็ยิ่งมากขึ้น
พวกพ่อค้าเร่เหล่านี้จึงมีความจ�ำเป็นต้องหาหลักประกันส�ำหรับตนเองซึ่งเชื่อกันว่า เป็นพวกแรก


ที่ท�ำให้เกิดระบบการประกันภัยขึ้นโดยแท้จริงเพราะพวกนักธุรกิจเจ้าของกิจการต่างๆ จ�ำต้องอาศัยพวก
พ่อค้าเร่ และพวกพ่อค้าเร่ก็จ�ำต้องอาศัยพวกนักธุรกิจ จึงจ�ำเป็นจะต้องมีการประนีประนอมกัน โดยยังคง

มส
ใช้ระบบเก่าอยู่ต่ อ ไป คือ พวกพ่อค้าเร่ต้องมอบทรัพย์สิน บุตร และภรรยาไว้เป็นหลักประกัน แต่มีข้อ
เพิ่มเติมว่า ในกรณี ที่กองคาราวานถูกปล้นสดมภ์โดยปราศจากความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของ
พ่อค้าเร่ พ่อค้าเร่ไม่ต้องรับภาระในหนี้สินเมื่อได้สาบานตนและให้ข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการ
เดินทางหลังจากกลับมาถึงแล้ว
ลักษณะข้อตกลงเช่นนี้ได้ใช้กันแพร่หลายในสมัยนั้น ซึ่งกฎเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว ได้ถูกรวบรวม
อยู่ในกฎหมายฮัมมูราบี (Code of Hamurabi) ซึ่งเมื่อประมาณ 2250 B.C. วิธีการดังกล่าวได้กระจาย
แพร่หลายเข้าไปใช้ กั น ในฟินิเซีย (Phoenicia) น�ำไปใช้กับกิจการเดินเรือและกระจายแพร่หลายไปสู่
แหล่ง อื่นๆ
สัญญาบอตทอมรี (Bottomry) ของกรีก (Greek) ได้พัฒนามาจากแนวความคิดและวิธีการของ

พวกบาบิโลเนียน (Babylonian)2 ในกรณีที่เจ้าของเรือ ต้องการที่จะไปขนสินค้ามาจากต่างเมือง เขาก็
จะกู้เงินโดยใช้เรือเป็นประกัน เงื่อนไขของสัญญามีว่าถ้าเรือไม่กลับมาถึงท่าโดยปลอดภัย ผู้ให้กู้จะไม่
มส

เรียกร้องเงินคืนจากเจ้าของเรือแต่ ถ้าเรือกลับมาถึงท่าโดยปลอดภัยผูใ้ ห้กจู้ ะได้รบั การช�ำระหนี้ ซึง่ บางครัง้


อาจจะเอาสินค้าเป็นหลักประกันก็ได้ และในกรณีทเี่ อาสินค้าเป็นประกันแทนตัวเรือ จะเรียกสัญญาประเภท
นี้ว่าเรสปอนเดนเทีย (Respondentia)3
เมื่อการค้าขายเจริญรุ่งเรืองขึ้น ย่อมมีความจ�ำเป็นต้องไปส่งและรับสินค้าจากต่างเมืองซึ่งอยู่ห่าง
ไกลออกไป จึงจะต้องมีระบบและวิธีการช�ำระเงินค่าสินค้า มีการกู้ยืมเงินจากพวกนายทุน ซึ่งอาจกล่าว
ได้ว่า เป็นการร่วมกันหาผลประโยชน์ระหว่างนักลงทุนและนักเดินเรือ อัตราดอกเบี้ยซึ่งคิดกันอยู่ในอัตรา

ที่สูงมาก เพราะผู้ให้กู้จะต้องรวมค่าความเสี่ยงภัยของการเดินทางไว้ด้วยซึ่งในสมัยกรีก (Greek) ได้ใช้
เมืองเอเธนส์ (Athens)4 เป็นศูนย์กลางในการกู้ยืมประเภทนี้
จึงอาจจะกล่าวได้วา่ เอเธนส์เป็นศูนย์กลางของการประกันภัยแห่งแรกของโลก ณ ทีน่ ี้ จะสามารถ
ท�ำสัญญาบอตทอมรี (bottomry) ได้งา่ ย เนือ่ งจากมีขา่ วสารเกีย่ วกับเดินเรือเรือ่ งสินค้าข่าวสารของพ่อค้า
และข่าวสารทางการค้าอื่นๆ
พวกฮินดู (Hindus) ได้รู้จักสัญญาบอตทอมรี มาตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตกาล (600 B.C)5
สธ
2 Ibid. p 884.
3 Encyclopaedia Britannica Micropaedia Volumn 2 1980 p 185.
4 Supra Note 1 p 885.
5 Supra Note 3 p 657.

11-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

การค้าขายในระยะเริ่มแรกของยุโรป ส่วนใหญ่อาศัยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทางริมฝัง่ ด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นจุดรวมของยุโรป เอเชียและอาฟริกา มีการส่งสินค้า
ไปขายยังต่างเมืองซึ่งอยู่ห่างไกลออกไประบบการช�ำระเงินซึ่งเรียกว่า “maritime or sea loan”6 ได้
ใช้กันเพื่อวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น เป็นค่าซื้อสินค้าระหว่างเมืองท่าต่างๆ ค่าขนส่งทางทะเล
เป็นต้น หลักประกันในการช�ำระเงิน ได้แก่ ตัวเรือ และสินค้า ถ้าสินค้าและเรือไปไม่ถึงเมืองท่าปลายทาง


โดยปลอดภัยความเสียหายที่เกิดขึ้นจะตกอยู่กับผู้ให้กู้หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าสินค้ามาถึงเมืองท่าโดย
ปลอดภัยก็เท่ากับผู้ให้กู้ได้รับการช�ำรหนี้ ถ้าสินค้ามาไม่ถึงผู้ให้กู้ก็จะไม่ได้รับการช�ำระหนี้7

มส
เรเนส (Reynes)8 ได้ยกตัวอย่างสัญญาโดยดีมอสเทนเนส (Demosthenes) ประมาณ 384
B.C. (ก่อนคริสต์ศกั ราช) ซึง่ ในสัญญาดังกล่าว ผูใ้ ห้กู้ 2 คนร่วมกันให้เงินกู้ 3,000 ดราชมัส (Drachmas)
เพื่อไปขนเหล่าไวน์ 3,000 ไห ซึ่งจะต้องไปรับมาจากเมืองเมนต์ (Mende) โดยเรือซึ่งมี 20 ฝีพายและ
เป็นเรือของบุคคลที่ 3 จะต้องน�ำเหล่าไวน์ไปส่งให้ที่เมืองเอเธนส์ พร้อมด้วยสินค้าซึ่งได้จากการขายเหล้า
ไวน์ ดอกเบี้ยของเงินกู้จะต้องจ่ายในอัตรา 225 ดราชมัส (Drachmas) ต่อ 1,000 แต่ถ้าเรือกลับจาก
ปอนตูส (Pontus) ล่าช้าจนกระทั่งดาวอาคตูรูส (Arcturus) ขึ้นแล้วการเดินทางจะมีอันตรายมากขึ้น
เพราะอาจจะมีพายุจัดในตอนนั้น อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มเป็น 300 ดราชมัส (Drachmas) ต่อ 1,000 ถ้า
สินค้าได้ถูกน�ำกลับมาอย่างปลอดภัย ผู้กู้ยืมจะจ่ายเงินคืนให้ผู้ให้กู้พร้อมเงินต้นและดอกเบี้ยภายใน 20
วันนับแต่วันมาถึง และเมื่อสินค้ามาถึงที่เอเธนส์แล้วผู้ให้กู้มีสิทธิยึดหน่วงสินค้านั้นไว้จนกว่าจะได้รับคืน

เงินกู้และดอกเบี้ย ถ้าผู้กู้ไม่ช�ำระเงินที่กู้ ให้ผู้ให้กู้มีสิทธิจ�ำหน่ายสินค้านั้นได้เพื่อช�ำระหนี้และถ้าเงินที่ขาย
สินค้าได้ไม่พอช�ำระหนี้ ผู้ให้กู้สามารถพิสูจน์และเรียกให้ผู้กู้ช�ำระหนี้จนครบได้ ในกรณีที่เกิดความเสีย
มส

หายแก่สินค้าบางสวนในระหว่างอยู่ในทะเล (Partial loss at sea) หรือมีการโยนสินค้าทิ้งทะเลบางส่วน


เพื่อที่จะให้เรือและสินค้าอื่นปลอดภัย (Jettisoned) ซึ่งความเสี่ยงและความเสียหายดังกล่าวมานี้ผู้ให้กู้
จะต้องเป็นผู้รับภาระซึ่งจะต้องมาค�ำนวณดูเมื่อเรือเดินทางกลับมาถึงแล้ว
จะเห็นได้ว่ามีหลักของการประกันภัยรวมอยู่ด้วย แม้ว่าจะไม่ใช่สัญญาประกันภัยโดยตรงอย่าง
เช่นปัจจุบัน สัญญาดังกล่าวข้างต้นเป็นการรวมระหว่างการให้กู้และการประกันความเสี่ยงภัยทางทะเล
ปรากฏตามหลักฐานในหนังสือภาษาละตินว่าในสมัยโรมันก็ได้มกี ารประกันภัยกันอย่างกว้างขวาง

และคล้ายกับการประกันภัยในปัจจุบัน เรเนส (Reynes)9 ได้อ้างถึงลิวี (Livy)10 ซึ่งได้บรรยายไว้ว่า
กองทัพสเปนได้สั่งซื้ออาวุธจากโรงงาน 19 แห่ง และในสัญญาระบุว่ารัฐบาลสเปนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ในกรณีที่ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการขนส่งทางทะเล ซิเซโร (Cicero)11 ได้กล่าวไว้ในหนังสือ
6 Harold E. Raynes A History of British Insurance 2nd ed., 1964 P. 1.
7 Ibid. p 1.
8 Ibid. p 2.
9 Ibid. p 2.
สธ
10 Livy ชื่อเต็มในภาษาลาตินว่า Titus Livius (เกิดเมื่อ 64 B.C. ที่เมือง Padua Italy ถึงแก่กรรมเมื่อ 17 A.D.
ที่เมือง Patavium) เป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์ที่ส�ำ คัญของโรมัน ผลงานสำ�คัญที่เขาเขียนคือ History of Rome
11 Crcero (Marcus Tullius) เกิดเมือ่ 106 B.C. ทีเ่ มือง Arpino Italy เป็นรัฐบุรษ
ุ นักการเมือง นักวิชาการ นักกฎหมาย
นักเขียน และกล่าวว่าเป็นนักกล่าวสุนทรพจน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโรม

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-9

ของเขาว่า เพื่อเป็นการป้องกันภัยเขาตั้งใจที่จะท�ำประกันภัยที่ Laodicea ส�ำหรับเงินของรัฐทั้งหมดซึ่ง


จ�ำเป็นจะต้องมีการขนส่งไปยังโรม
สมัยโรมันมีวิธีการอีกประการหนึ่งในการกระจายความเสี่ยงภัยส�ำหรับพวกพ่อค้าคือการเข้าหุ้น
ร่วมกัน คาโต้ (Cato)12 (234 ถึง 149 B.C.) ได้แนะน�ำให้พวกนายทุนว่าอย่าลงทุนทั้งหมดในเรือล�ำเดียว
แต่ควรจะเข้าหุ้นกับคนอื่นอีก 49 คน เพื่อที่จะได้มีเรือ 50 ล�ำ และมีหุ้นอยู่ 2 ใน 50 ส่วนของเรือแต่ละ


ล�ำ ซึ่งวิธีนี้ชาวจีนก็ใช้เช่นเดียวกัน กล่าวคือแทนที่จะบรรทุกสินค้าในเรือล�ำเดียวกันเพื่อส่งไปขายก็แบ่ง
สินค้าของแต่ละคนใส่ล�ำเลียงลงไปในเรือหลายๆ ล�ำ ถ้ามีเรือบางล�ำล่มสินค้าที่เสียหายเพียงส่วนเดียวไม่

มส
สูญเสียไปทั้งหมด หลักการนี้เป็นหลักในการกระจายความเสี่ยงภัย ซึ่งเป็นหลักการส�ำคัญของสัญญา
ประกันภัย ในปัจจุบันการกระจายความเสี่ยงภัย ด�ำเนินการโดยใช้วิธีการเก็บเบี้ยประกันจากผู้เอาประกัน
หลายๆ รายเพื่อน�ำเงินที่เก็บได้มาจ่ายทดแทนให้แก่ผู้ได้รับภัยพิบัติ ซึ่งจะเก็บเป็นจ�ำนวนเท่าไรขึ้นอยู่
กับการค�ำนวณของผู้พิจารณารับประกันภัย (Underwriter) โดยอาศัยสถิติต่างๆ เป็นส�ำคัญ
หลังจากที่จักรวรรดิโรมันถูกท�ำลายลงยุโรปก็เข้าสู่ยุคมืด (Dark Age) การค้าขายต้องไปกันเอง
เป็นกองคาราวาน ระบบการธนาคารหรือเข้าหุ้นส่วนต่างๆ ได้หายไปไม่เหมือนดังเช่น ในสมัยโรมันที่
รุ่งเรือง จนกระทั่งศตวรรษที่ 13 ได้มีการปรับปรุงฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยมีการขยายการค้าการเดินเรือ
เช่นที่ เวนิส (Venice) เจนัว (Genoa) และฟลอเรนซ์ (Florence) เป็นต้น มีการเข้าหุ้นส่วนทั้งการค้า
ต่างๆ มีผ้าไหม และเครื่องเทศต่างๆ จากทางตะวันออกไปจ�ำหน่าย มีการจัดตั้งเป็นรูปนิติบุคคลต่างหาก

จากบุคคลธรรมดาขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส�ำนักงานใหญ่ในเวนิสและมีสาขากระจายออกไปเช่นที่ บรูกส์
(Bruges)13 แอนทเวิฟ (Antwerp) หรือลอนดอน (London) เป็นต้น เพื่อเป็นตัวแทนในการจ�ำหน่าย
มส

สินค้า การกู้ยืมทางทะเล (Maritime Loan) ดังที่ดีมอสเทนเนส (Demosthenes) บรรยายไว้ก็เริ่มขึ้น


ใหม่และได้รับการปรับปรุงขึ้น มีการท�ำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรและปรากฏหลักฐานของกรมธรรม์
ประกันภัยอยู่ด้วย
สัญญาประกันภัยในระยะแรกจะมีเรือ่ งเกีย่ วกับการกูย้ มื เงินรวมอยูด่ ว้ ย กรมธรรม์ประกันภัยฉบับ
แรกซึ่งถือว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่แท้จริงเท่าที่ปรากฏหลักฐานเกิดขึ้นที่เมืองพาเลอโม (Palermo)14
ลงวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1350 เลโอนาโด แคตตานีโอ (Leonardo Cattaneo) รับประกันการขนข้าว

ของเบนเนดิต (Benedict) มูลค่า 300 ฟลอนส์ (floins) จากเมืองซิซิลี (Sicily) ไปเมืองตูนิส (Tunis)
แคตตานีโอ (Cattaneo) สัญญาว่านับตั้งแต่เรือออกจากท่าซิซิลี (Sicily) จนกระทั่งถึงตูนิส (Tunis) เขา
จะเป็นผู้รับความเสี่ยงภัยทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นภัยเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดจากการกระท�ำของคน หรือ
จากท้องทะเลก็ตามโดยจะจ่าย 300 ฟลอนส์ (floins) ให้ภายใน 2 เดือน นับจากวันที่ได้ข่าวที่แน่นอน
ว่าสินค้าได้สูญหายหรือเสียหายไป เบี้ยประกันที่จ่ายเท่ากับ 54 ฟลอนส์ (Floins) แบบฟอร์มของ

12 Cato (Marcus Porcius) เกิดเมื่อ 234 B.C. ที่เมือง Tusculum, Italy เป็นรัฐบุรุษของโรมัน ได้เขียนหนังสือสำ�คัญ
สธ
ไว้หลายเล่มรวมทั้ง The First Latin History of Rome
13 เป็นชื่อภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษเรียกว่า Brugge เป็นเมืองหลวงของ West Flanders Province ทางตะวันตก
เฉียงเหนือของ Belgium เป็นเมืองท่าอยู่ริมทะเลเหนือ
14 Supra Note 6 p 10.

11-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กรมธรรม์ประกันภัยมีลักษณะคล้ายกับแบบที่ใช้กันเช่นในปัจจุบัน15 ในเวลานั้นในเมืองเจนัว เวนิส และ


ฟลอเรนซ์ สัญญาประกันภัยคงมีลักษณะของสัญญากู้รวมอยู่ด้วย แต่ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงและมี
กรมธรรม์โดยแท้จริงออกมาใช้ในปลายศตวรรษที่ 14 การรับประกันภัยได้กลายมาเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง
ของพ่อค้า และได้เกิดมีการประกอบธุรกิจประกันภัยขึ้นอย่างแพร่หลายดังปรากฏหลักฐานใน ค.ศ. 1384
มีบริษัทรับประกันอย่างจริงจังขึ้นชื่อ Francico of Prato and Company มีหุ้นส่วนอยู่ในเมืองปิซ่า


(Pisa) พ่อค้าชาวเมืองฟลอเรนซ์ในศตวรรษที่ 15 ระหว่าง ค.ศ. 1453-1450 ได้บันทึกไว้ว่า เขาได้จ่าย
ค่าสินไหมทดแทนมากกว่าเบีย้ ประกันทีไ่ ด้รบั อัตราค่าเบีย้ ประกันภัยระหว่างเมืองเซาท์แธมป์ตนั (South-

รับประกันภัย
มส
ampton) ไปเมืองปอตร์ปิซาโน (Porto Pisano) อยู่ประมาณ 7 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของจ�ำนวนเงินที่

เมืองบาเซโลนา (Barcelona) เป็นเมืองแรกที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยใน ค.ศ. 1435


ได้มีการประกาศใช้กฎหมายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระท�ำอันทุจริตในการเอาประกันภัยเรือ
และสินค้ากฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติว่า16 “ให้ถือว่าเป็นการผิดกฎหมายในกรณีที่
1. ในการเอาประกันภัยเรือในบาเซโลนา ถ้าผู้เอาประกันเป็นคนต่างชาติ
2. ในการเอาประกันภัยเรือของต่างชาติและค่าระวางในบาเซโลนาโดยมีจ�ำนวนเงินเอาประกัน
ภัยเกินกว่า 1 ใน 2 ของมูลค่าที่แท้จริง
3. ในการเอาประกันภัยเรือของตนเองโดยมีจำ� นวนเงินเอาประกันภัยมากกว่า 3 ใน 4 ของมูลค่าเรือ”

ในกรณีที่มีการกระท�ำที่ผิดต่อกฎหมายดังกล่าว ผู้รับประกันภัยไม่จ�ำต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน
และไม่จ�ำต้องคืนเบี้ยประกันภัยด้วย ใน ค.ศ. 1523 เมืองฟลอเรนซ์ได้ออกกฎหมายประกันภัยเช่นกัน17
มส

และในกฎหมายนี้ได้มีกรมธรรม์ประกันภัย 2 แบบแนบติดอยู่กับกฎหมายด้วย ซึ่งกรมธรรม์ที่ใช้อยู่ใน


ปัจจุบันมีเงื่อนไขหลายประการที่เหมือนกับกรมธรรม์ของเมืองฟลอเรนซ์
โดยสภาพภูมิศาสตร์ทางยุโรปภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ การค้าได้อาศัยทะเลบอลติก
(Baltic) ทะเลเหนือ และแม่น�้ำที่ส�ำคัญบางสาย เช่น แม่น�้ำไรน์ (Rhine) เป็นเส้นทางส�ำหรับการติดต่อ
ค้าขายโดยมีเมืองบรูกจ์ซึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งทะเล เป็นศูนย์กลางการค้าที่ส�ำคัญและเป็นเมืองแรกในยุโรปทาง
ภาคเหนือที่มีการท�ำประกันภัย ซึ่งได้รับหลักการต่างๆ มาจากทางด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ปรากฏ

หลักฐานว่าใน ค.ศ. 1310 ได้มีการจัดตั้ง Chamber of Insurance ขึ้นในเมือง บรูกจ์ (Bruges)18 การค้า
ส่วนใหญ่ในเมืองบรูกจ์ตกอยู่ในมือของชาวอิตาเลี่ยนเป็นส่วนใหญ่ ส�ำหรับในอังกฤษพวกพ่อค้าชาว
อิตาเลียนและลอมบาดส์ (Lombards)19 ได้เข้าไปท�ำการค้าอยู่ตามเมืองต่างๆ เป็นจ�ำนวนมาก

15 Ibid. p 12.
16 Ibid. p 13.
17 Ibid. p 13.
สธ
18 Ibid. p 20.
19 Lombards เป็นชนเชื้อชาติเยอรมันเผ่าหนึ่งซึ่งสามารถเอาชนะพวกโรมันและปกครองอิตาลีในระหว่าง
ค.ศ. 568
ถึง ค.ศ. 774 พวก Lombards ในระยะแรกมีอาณาจักรและมีกษัตริย์ของตนเอง ในปัจจุบันแม้ไม่มีอาณาจักรของ Lombards แต่
พวกนี้ได้ทิ้งความเจริญไว้หลายเรื่อง โดยเฉพาะทางด้าน ศิลปะ ภาษาและกฎหมาย

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-11

ในศตวรรษที่ 15 พวกอังกฤษยังต้องอาศัยการเรียนรู้เรื่องการค้าต่างๆ จากพ่อค้าชาวต่างชาติ


อยู่ซึ่งรวมทั้งเรื่องการประกันภัย
การท�ำกิจการประกันภัยในลอนดอน ไม่ใช่ได้รบั มาจากบรูกจ์ แต่ได้รบั มาจากพ่อค้าชาวอิตาเลียน
และลอมบาดส์โดยตรง
ในประเทศอังกฤษหลักฐานในเรื่องการประกันภัยครั้งแรกที่เป็นลายลักษณ์อักษรใน ค.ศ. 152420


ซึ่งเป็นหลักฐานการบันทึกคดีของ Admiralty Court ส�ำหรับกรมธรรม์เท่าที่พบฉบับแรกท�ำเมื่อวันที่ 20
กันยายน ค.ศ. 1547 เป็นภาษา Italian มีข้อความอยู่ 14 บรรทัด21 ท�ำที่ London, Lombard Street

มส
ความส�ำคัญของ London ในเรือ่ งการรับประกันภัย ได้ปรากฏหลักฐานขึน้ เมือ่ วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1565
ซึ่งปรากฏว่ามีผู้รับประกันภัยถึง 37 รายร่วมกันรับประกันค่าเสียหายของเรือ 2 ล�ำ ซึ่งผู้เอาประกันภัย
คือ Pieter de Moncheron กรมธรรม์ได้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสจ�ำนวนเงินเอาประกัน 1,274 ปอนด์ 13
ซิลลิง 4 เพ็นนี
ในศตวรรษที่ 17 เป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปของพวกพ่อค้าและนักธุรกิจใน London ที่ไป
พบปะกันตามร้านกาแฟ (Coffee House) ซึ่งท�ำให้ร้านกาแฟเป็นศูนย์กลางของข่าวสารต่างๆ มีการ
ตกลงการค้าและการเจรจาต่างๆ ตามร้านกาแฟ ในตอนปลายศตวรรษที่ 17 ตามร้านกาแฟจะมีประกาศ
ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องการเดินเรือ การขายเรือสินค้า ร้านที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งคือร้านของ Edward Lloyd
ตั้งอยู่ที่ Tower Street เป็นสถานที่เหมาะส�ำหรับเรื่องการค้าขายทางทะเล เพราะอยู่ใกล้กับ Custom

House, Navy Office และ Trinity House ใน ค.ศ. 1691 Edward Lloyd ได้ย้ายจาก TowerStreet
มาอยู่ที่ Lombard Street ใกล้กับร้านกาแฟที่มีชื่ออื่นๆ เช่น Garraway’s, Jonathan’s Banker’s
มส

และ Elmer’s ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของพวกนายหน้าและพ่อค้าชาติต่างๆ เช่น พวกยิว และฝรั่งเศส เป็นต้น


ใน ค.ศ. 1696 Lloyd ได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ Lloyd’s News ให้ข่าวสารทางการค้าต่างๆ โดยออก
สัปดาห์ละ 3 ครั้ง และต่อมาก็ได้หยุดไป
ในต้นศตวรรษที่ 18 พวกนายหน้า (Broker) ต่างๆ ไม่จ�ำเป็นต้องระบุที่อยู่แห่งอื่น นอกจาก
ตามร้านกาแฟที่พวกเขาไปอยู่เป็นประจ�ำ ร้านกาแฟจึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่ส�ำคัญ
Edward Lloyd ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1713 และได้ยกร้านให้ลูกจ้างของเขา

ชื่อ William Newton ซึ่งแต่งงานกับลูกสาวของ Lloyd กิจการของเขาได้ด�ำเนินสืบเนื่องมามีลูกหลาน
ท�ำต่อๆ กันมาโดยตลอดในระยะต่อมาได้มีการจัดท�ำ Lloyd’s List ขึ้น ซึ่งยังมีอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
ประมาณว่าจัดพิมพ์ออกมาครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1734 โดยออกสัปดาห์ละครั้ง ปัจจุบันออกสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ทุกวันอังคารและศุกร์ ท�ำให้ร้านกาแฟของ Lloyd กลายเป็นศูนย์กลางในการประกันภัยที่ส�ำคัญ
พวกชาวเรือ (Seamen) หรือพ่อค้า ที่ต้องการจะท�ำประกันภัยเรือหรือสินค้า จะมาพบกลุ่มของ
พวกนักรับประกันภัยเหล่านี้เพื่อแจ้งข้อความต้องการจะท�ำประกันภัยข้อเสนอในการเอาประกันภัยจะถูก
น�ำมาวางไว้บนโต๊ะนักรับประกันภัยก็จะดูและเซ็นชื่อระบุอัตราส่วนที่รับประกันภัยไว้ว่าเป็นอัตราส่วน
สธ
20 Supra Note 6 p 24.
21 Ibid. p 26.

11-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เท่าใดของมูลค่าทั้งหมดที่รับเสี่ยงภัย ตามธรรมเนียมผู้รับประกันภัยลงชื่อไว้ข้างใต้ข้อเสนอของผู้เอา
ประกันภัยนี้เองเป็นที่มาของค�ำว่า “Underwriter”22

2. วิวัฒนาการเกี่ยวกับการประกันชีวิต


การประกันชีวิตเริ่มต้นเมื่อใดนั้นยังไม่สามารถหาหลักฐานที่แน่ชัดได้ในระยะแรกๆ ของประเทศ
กรีซ (Greece) มีพวกกลุม่ ศาสนาต่างๆ อยูห่ ลายกลุม่ แต่ละกลุม่ จะให้ความช่วยเหลือและคุม้ ครองสมาชิก
ในกลุ่มของตน นอกจากเรื่องของศาสนาแล้วสถาบันต่างๆ เหล่านี้จะมีการเก็บเงินจากสมาชิกเป็นราย

มส
เดือน โดยมีผลตอบแทนที่สมาชิกได้รับคือการประกันว่า จะได้รับการจัดการศพโดยถูกต้องตามประเพณี
ของแต่ละกลุ่มถ้าสมาชิกรายใดช�ำระเบี้ยที่จะต้องจ่ายรายเดือนไม่ครบก�ำหนดจะมีเบี้ยปรับ และถ้าเขา
ถึงแก่กรรมในขณะที่ผิดสัญญา พิธีการทางศาสนาของศพของเขาก็จะไม่มี และจากนั้นอย่างน้อยที่สุดมี
โบสถ์แห่งหนึ่งซึ่งจัดให้มีบริการให้เงินกู้ในกรณีที่สมาชิกต้องการจะขอกู้เงินภายใต้เงื่อนไขที่ก�ำหนดไว้
ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งในการกู้ยืมเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิตนั่นเอง23
ชาวโรมันได้รับอิทธิพลทางอารยธรรมจากชาวกรีซทั้งในด้านศิลปะ วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา
รวมทัง้ เรือ่ งการท�ำพิธศี พทางศาสนาด้วย แต่ชาวโรมันได้เปลีย่ นวิธกี ารโดยไม่เคร่งครัดในเรือ่ งของศาสนา
แต่เปิดรับจากสาธารณชนทั่วไป มีการพัฒนาให้เกิดสมาคมเพื่อที่จะรับประกันภัยพวกทหาร ซึ่งไม่เพียง
แต่ให้ประโยชน์แก่สมาชิกเมื่อถึงแก่กรรมยังมีการจ่ายบ�ำนาญ (Pensions) ให้เมื่อชราภาพลง หรือ

ไม่สามารถท�ำงานได้ นอกจากนั้นสมาคมนี้ยังจ่ายเงินให้เป็นกรณีพิเศษในกรณีที่มีการเดินทาง เมื่อมี
การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ หรือได้รับแจ้งแต่งตั้งเลื่อนขั้นขึ้น
มส

ในยุคกลาง (Middle Ages) การประกันชีวติ คงเป็นไปในลักษณะเดียวกับการประกันการจัดการ


เรื่องศพในสมัยโรมัน เพียงแต่ไม่จ�ำกัดเฉพาะในกลุ่มศาสนาเท่านั้น
เมือ่ วันที่ 18 มิถนุ ายน ค.ศ. 1536 ริชาร์ด มาร์ตนิ (Richard Martin) ซึง่ ปกติเป็นผูร้ บั ประกันภัย
ทางทะเล (Marine Underwriter) ในกรุงลอนดอน ได้ชักชวนเพื่อนฝูงที่เป็น Underwriter ด้วยกันรวม
15 คน รับประกันชีวิตของนายกิบบอนส์ (Gybbons) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการประกัน
ชีวิตแบบสมัยใหม่ ที่มีการก�ำหนดจ�ำนวนทุนประกันภัยและเบี้ยประกันภัยขึ้น จ�ำนวนเงินเอาประกันภัย

3. วิวัฒนาการเกี่ยวกับการประกันอัคคีภัย

ในครั้งนั้นประมาณ 2,000 ปอนด์ ค่าเบี้ยประกันภัย 80 ปอนด์ และระยะเวลาเอาประกันภัย 12 เดือน24

นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ประเทศอังกฤษก็ได้พัฒนาการค้าไปอย่างรวดเร็วเริ่ม


ตั้งแต่สมัย Queen Elizabeth เป็นต้นมา โดยมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง มีนโยบายซึ่งได้ด�ำเนินการติดกันมา
โดยไม่ขาดตอน
สธ
22 Supra Note 1 p 887.
23 Ibid. p 885.
24 Ibid. p 890.

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-13

การประกันภัยในระยะแรกๆ ไม่ได้ระบุถึงภัยที่รับเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการประกันภัยตามเมืองท่า


ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตอนต้นของศตวรรษที่ 14 หรือการประกันภัยในลอนดอนในศตวรรษที่
16 ก็ตาม โดยถือว่าภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเรือและสินค้าจะได้รับการคุ้มครองทั้งหมด ซึ่งรวมถึงภัยจาก
ไฟไหม้ด้วย ในระยะแรกนั้นการประกันภัยจะให้ความคุ้มครองเฉพาะสินค้าที่อยู่ในเรือและที่อยู่ในระหว่าง
การขนส่งในทะเลเท่านั้น ถ้าได้น�ำสินค้าขึ้นจากเรือและเก็บไว้ในโกดังแล้ว เกิดไฟไหม้สินค้าในโกดังการ


ประกันภัยจะไม่มีผลคุ้มครอง
เมื่อวันศุกร์ที่ 2 กันยายน ใน ค.ศ. 166625 เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นที่กรุงลอนดอน โดยต้นเพลิง

มส
เกิดจากโรงอบขนมปังของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ไฟได้ไหม้อยู่เป็นเวลานานถึง 5 วัน เกือบจะท�ำลาย
กรุ ง ลอนดอนไปทั้งเมือง ชาวอังกฤษได้ตระหนักถึงภัยอันเกิดจากอัคคีภัยที่ผู้คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย
ทรัพย์สิน ถูกท�ำลายไปเป็นจ�ำนวนมาก คนที่เคยร�่ำรวยมหาศาลต้องหมดเนื้อหมดตัวไป จึงได้มีผู้คิดที่
จะรับประกันทางด้านวินาศภัยโดยเฉพาะขึ้น
ดร.นิโคลัส บาร์บอน (Dr. Nicolas Barbon)26 เปิดกิจการรับประกันอัคคีภัยใน ค.ศ. 1667 ซึ่ง
ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมากใน ค.ศ. 1680 ได้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นจากความส�ำเร็จของ Dr. Barbon
ท�ำให้มีการจัดตั้งองค์การและบริษัทต่างๆ ขึ้นเพื่อรับประกันอัคคีภัย
ในปัจจุบันการประกันอัคคีภัยได้กลายเป็นสิ่งส�ำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจหรือในชีวิต
ประจ�ำวันของคนโดยทั่วไป ทุกหนทุกแห่งที่เราไป และทุกอย่างที่เราท�ำมีความเสี่ยงอยู่ไม่มากก็น้อย

ธุรกิจประกันภัยได้ขยายออกไปกว้างเพื่อสนองความต้องการและความจ�ำเป็นของมนุษย์เรา ได้เกิดมีการ
ประกันภัยแบบใหม่ๆ มากขึ้นกว่าเดิมมาก
มส

นอกจากประกันภัยทางทะเล การประกันชีวิต และการประกันวินาศภัย ซึ่งมีแบบการประกันภัย


เป็นจ�ำนวนมากแล้ว ยังมีการประกันภัยอื่นๆ ที่ท�ำกันในปัจจุบัน เช่น การประกันอุบัติเหตุ (Accident
Insurance) ซึ่งการประกันภัยประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 184827 การประกันสุขภาพ (Health
Insurance) การประกันรถยนต์ (Motor Vehicle Insurance) การประกันฝน (Rain Insurance) การ
ประกันผลก�ำไร (Profit Insurance) การประกันการช�ำระหนี้ (Credit Insurance)

4. ความเป็นมาของการประกันภัยในประเทศไทย ม
ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปรากฏตามหลักฐานการ
ติดต่อค้าขายกับจีน และในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้มีการติดต่อกับชาวยุโรปและชาวญี่ปุ่น ตลอดถึงสมัย
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังนั้นการที่มีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศที่ไกลออกไปอาจจะมีการท�ำ
ประกันภัย หรือใช้หลักการหรือวิธีการในการประกันภัยประกอบการค้าขายหรือขนส่ง
สธ
25 Ibid. p 888.
26 Ibid. p 889.
27 W.A. Dinfdele History of Accident Insurance in Great Britain Brentford 1954 p.1.

11-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กฎหมายฉบับแรกเท่าที่ค้นพบ ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการประกันภัยคือ พระราชบัญญัติ


ลักษณะเข้าหุ้นส่วนและบริษัท ร.ศ. 13028 (พ.ศ. 2456) มาตรา 115 บัญญัติว่า “บริษัทเดินรถไฟ รถราง
บริษทั รับประกันต่าง ๆ บริษทั ท�ำการคลังเงินเหล่านี้ ท่านห้ามมิให้ตงั้ ขึน้ นอกจากได้รบั พระบรมราชานุญาต”
ต่อมาใน พ.ศ. 2468 ได้มีการประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 บทบัญญัติใน
ลักษณะที่ 20 ว่าด้วยประกันภัยภายหลังได้ถูกยกเลิกและให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 3 ที่ตรวจช�ำระใหม่


ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ซึ่งในบรรพ 3 ที่ตรวจช�ำระใหม่นี้มีบทบัญญัติในลักษณะที่ 20 ว่าด้วย
ประกันภัยทั้งสิ้น 37 มาตรา ตั้งแต่มาตรา 861 ถึงมาตรา 597 และได้ใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบัน

มส
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายสารบัญญัติซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับ
สัญญาประกันภัย โดยกล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาและหลักเกณฑ์ทั่วไปของสัญญาประเภทนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึง
ความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้เพื่อควบคุม
กิจการค้าขายทั้งหลาย อันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชนและคุ้มครองรักษา
ผลประโยชน์ของประชาชน ซึง่ ในพระราชบัญญัตนิ ไี้ ด้รวมกิจการประกันภัยไว้ดว้ ย เนือ่ งจากกิจการประกันภัย
มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลเป็นจ�ำนวนมากไม่ว่าจะเป็นผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ ตลอดจนทายาท
ของผู้เอาประกันภัยและลักษณะของการประกันภัยนั้นเป็นการให้หลักประกันหรือความเชื่อถือของผู้รับ
ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยและครอบครัวของผู้เอาประกันภัยนั้นในอนาคต ดังนั้นความมั่นคงใน

การประกอบกิจการของผู้รับประกันภัยจึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ให้ไว้
กับผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือครอบครัวของผู้เอาประกันนั้นตามที่ได้มีการตกลงไว้
มส

ต่อมาใน พ.ศ. 2510 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 และพระ-


ราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังนี้คือ
“โดยทีไ่ ม่มกี ฎหมายควบคุมการประกันชีวติ และการประกันวินาศภัย โดยเฉพาะบทบัญญัตคิ วบคุมกิจการ
ค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ. 2471 ยังไม่รัดกุมพอ เป็นเหตุ
ให้บริษัทประกันภัยมีฐานะไม่มั่นคงอาจเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยเสียเปรียบไม่ได้รับความคุ้มครองเท่า
ที่ควร และเพื่อให้บริษัทประกันภัยด�ำเนินการโดยเล็งถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยเพื่อส่งเสริมให้
กิจการประกันภัยให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นให้ทันกับความต้องการของประชาชน”

เป็นส�ำคัญ
1. เพื่อควบคุมการด�ำเนินกิจการของบริษัทประกันภัยให้มีความมั่นคง

วัตถุประสงค์ในการออกพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวสรุปได้เป็น 3 ประการ ดังนี้คือ

2. เพื่อให้การประกอบกิจการประกันภัยด�ำเนินไปโดยเล็งถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย

3. เพื่อส่งเสริมกิจการประกันภัยให้เจริญก้าวหน้า
สธ
28 ไชยยศ เหมะรัชตะ กฎหมายว่าด้วยประกันภัย พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ์นิติบรรณการ พ.ศ.
2534 น. 18.

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-15

จะเห็นได้วา่ บทบัญญัตใิ นพระราชบัญญัตทิ งั้ สองมุง่ ไปในการวางแนวทางให้บริษทั ประกันภัยต้อง


ปฏิบัติและควบคุมการด�ำเนินงานของผู้รับประกันภัยในบางประการ ซึ่งบทบัญญัติในพระราชบัญญัติ
ทั้งสองยังคงใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ยกเลิก
พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือความผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ.
2471 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ยังคงก�ำหนดให้กิจการประกันภัยเป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาต


ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และการประกัน
วินาศภัย ซึ่งได้ยกเลิกพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.

มส
2510 และประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.
2535 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวคือ “เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการประกัน
ชีวิต และการประกันวินาศภัย (พ.ศ. 2510) ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานมีบทบัญญัติหลายประการ
ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ก�ำลังขยายตัวใน
ปัจจุบันและในอนาคต ประกอบกับได้มีการเปลี่ยนฐานะของส�ำนักงานประกันภัยเป็นกรมการประกัน
ภัย ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยสมควรปรับปรุง
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการด�ำเนินการประกอบธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้มีความคล่องตัว
และสามารถอ�ำนวยประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้น ตลอดจนควรก�ำหนดขอบเขตอ�ำเภอและหน้าที่
ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เสียใหม่ เพื่อให้สามารถควบคุมและก�ำกับดูแลกิจการธุรกิจ

ประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”
และต่อมาใน พ.ศ. 2551 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และ
มส

พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 โดยเหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติม “เนื่องจากกฎหมายว่าด้วย


การประกันชีวิต และการประกันวินาศภัย (พ.ศ. 2535) ได้ใชบังคับมานาน และปรากฏวาหลักเกณฑเกี่ยว
กับการกํากับดูแลบริษัทที่ไดรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต บริษัทที่ไดรับใบอนุญาตประกอบ
ธุรกิจประกันวินาศภัย ตัวแทนประกันชีวิต ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต และนายหน้า
ประกันวินาศภัยในพระราชบัญญัติดังกลาวไมสอดคลองกับสภาวการณในปจจุบันและไมเพียงพอที่จะ
คุมครองประชาชนและผู เอาประกันภัย ดังนั้นสมควรแกไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้

ใหเหมาะสมยิ่งขึ้นเพื่อคุมครองประชาชนและผูเอาประกันภัย และพัฒนาการประกอบธุรกิจประกันชีวิต
ใหมีความมั่นคงและเสถียรภาพ จึงจําเปนตองตราพระราชบัญญัตินี้”
ดังนั้นในปัจจุบันการประกอบธุรกิจประกันภัยจะกระท�ำได้ต่อเมื่อได้จัดตั้งขึ้นในรูปบริษัทจ�ำกัด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษทั มหาชนจ�ำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษทั มหาชนจ�ำกัด
และต้องได้รบั ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยจากรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมตั จิ ากคณะ
รัฐมนตรี
สธ

11-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 11.1.1
จงอธิบายถึงความเป็นมาของการประกันชีวิต

แนวตอบกิจกรรม 11.1.1


การประกันชีวิตเริ่มต้นเมื่อใดนั้นยังไม่สามารถหาหลักฐานที่แน่ชัดได้ในระยะแรกๆ ของกรีซ
(Greece) มีพวกกลุ่มศาสนาต่างๆ อยู่หลายกลุ่มแต่ละกลุ่มจะให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองสมาชิก

มส
ในกลุ่มของตน นอกจากเรื่องของศาสนาแล้วสถาบันต่างๆ เหล่านี้จะมีการเก็บเงินจากสมาชิกเป็น
รายเดือน โดยมีผลตอบแทนที่สมาชิกได้รับคือการประกันว่า จะได้รับการจัดการศพโดยถูกต้องตาม
ประเพณีของแต่ละกลุ่มถ้าสมาชิกรายใดช�ำระเบี้ยที่จะต้องจ่ายรายเดือนไม่ครบก�ำหนดจะมีเบี้ยปรับ และ
ถ้าเขาถึงแก่กรรมในขณะที่ผิดสัญญา พิธีการทางศาสนาของศพของเขาก็จะไม่มี และจากนั้นอย่างน้อย
ทีส่ ดุ มีโบสถ์แห่งหนึง่ ซึง่ จัดให้มบี ริการให้เงินกูใ้ นกรณีทสี่ มาชิกต้องการจะขอกูเ้ งินภายใต้เงือ่ นไขทีก่ �ำหนด
ไว้ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งในการกู้ยืมเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิตนั่นเอง
ชาวโรมันได้รับอิทธิพลทางอารยธรรมจากชาวกรีซทั้งในด้านศิลปะ วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา
รวมทัง้ เรือ่ งการท�ำพิธศี พทางศาสนาด้วย แต่ชาวโรมันได้เปลีย่ นวิธกี ารโดยไม่เคร่งครัดในเรือ่ งของศาสนา
แต่เปิดรับจากสาธารณชนทั่วไป มีการพัฒนาให้เกิดสมาคมเพื่อที่จะรับประกันภัยพวกทหาร ซึ่งไม่เพียง
แต่ให้ประโยชน์แก่สมาชิกเมื่อถึงแก่กรรมยังมีการจ่ายบ�ำนาญ (Pensions)ให้เมื่อชราภาพลง หรือ

ไม่สามารถท�ำงานได้ นอกจากนั้นสมาคมนี้ยังจ่ายเงินให้เป็นกรณีพิเศษในกรณีที่มีการเดินทาง เมื่อมีการ
โยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ หรือได้รับแจ้งแต่งตั้งเลื่อนขั้นขึ้น
มส

ในยุคกลาง (Middle Ages) การประกันชีวติ คงเป็นไปในลักษณะเดียวกับการประกันการจัดการ


เรื่องศพในสมัยโรมัน เพียงแต่ไม่จ�ำกัดเฉพาะในกลุ่มศาสนาเท่านั้น
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1536 ริชาร์ด มาร์ติน (Richard Martin) ซึ่งปกติเป็นผู้รับประกัน
ภัยทางทะเล (Marine Underwriter) ในกรุงลอนดอน ได้ชักชวนเพื่อนฝูงที่เป็น Underwriter ด้วยกัน
รวม 15 คน รับประกันชีวติ ของนายกิบบอนส์ (Gybbons) ซึง่ อาจกล่าวได้วา่ เป็นจุดเริม่ ต้นของการประกัน
ชีวิตแบบสมัยใหม่ ที่มีการกำ�หนดจำ�นวนทุนประกันภัยและเบี้ยประกันภัยขึ้น จำ�นวนเงินเอาประกันภัย

ในครั้งนั้นประมาณ 2,000 ปอนด์ ค่าเบี้ยประกันภัย 80 ปอนด์ และระยะเวลาเอาประกันภัย 12 เดือน
สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-17

เรื่องที่ 11.1.2
กฎเกณฑ์ทฤษฎีพื้นฐานและประโยชน์ของการประกันภัย


การประกันภัยในปัจจุบันได้น�ำกฎเกณฑ์และทฤษฎีที่ส�ำคัญมาใช้เพื่อการบริหารความเสี่ยงได้
อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยกฎเกณฑ์ทฤษฎีที่ส�ำคัญได้แก่29

มส
1. ทฤษฎีความน่าจะเป็น (Theory of Probability)
ทฤษฎีนี้เป็นการศึกษาเพื่อคาดคะเนถึงความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่างๆ ว่ามี
มากน้อยเพียงใด โดยอาศัยข้อมูลจากการเก็บสถิติและวิชาคณิตศาสตร์เพื่อท�ำนายว่าภัยแต่ละชนิดใน
ช่วงเวลาหนึ่งจะเกิดขึ้นกี่ครั้งมีขนาดและลักษณะเป็นอย่างไร สมมติว่าจากสถิติใน 1 ปี มีอัคคีภัยเกิดขึ้น
100 ราย จากจ�ำนวนบ้าน 100,000 หลัง ความอาจจะเป็นไปได้ที่บ้านจะเกิดอัคคีภัยใน 1 ปี ก็คือ บ้าน
ทุกๆ 1,000 หลัง จะเกิดไฟไหม้ 1 หลัง ยิ่งถ้าจ�ำนวนบ้านยิ่งมากขึ้น การคาดการณ์ก็ยิ่งใกล้ความเป็นจริง
มากขึ้น นอกจากนี้ผลลัพธ์จากการค�ำนวนดังกล่าวยังสามารถน�ำมาใช้ประกอบกับการพิจารณาของผู้รับ
ประกันภัยในการที่จะตกลงรับประกันภัยรายใด เนื่องจากผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถบอกผู้รับประกันภัย

ว่าตนมีความเสีย่ งภัยมากเพียงใด หากผูร้ บั ประกันภัยมีความเสีย่ งภัยสูง อาจปฏิเสธไม่รบั ประกันภัย หรือ
หากความเสีย่ งภัยอยูใ่ นเกณฑ์ทผี่ รู้ บั ประกันภัยสามารถรับประกันภัยได้กส็ ามารถช่วยในการก�ำหนดอัตรา
เบี้ยประกันภัยได้อย่างเหมาะสม
มส

2. กฎว่าด้วยจำ�นวนมาก (Law of Large Number)


กฎว่าด้วยจ�ำนวนมากเป็นการศึกษาถึงระดับหรือความถี่ของความน่าจะเป็นไปได้ โดยมีหลักว่า
ถ้าเพิ่มจ�ำนวนของวัตถุที่ร่วมเสี่ยงภัย หรือวัตถุที่เอาประกันมากขึ้นแล้ว ค่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจริง
จะเท่ากับค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ หรือความน่าจะเป็นของโอกาสที่จะเกิดความเสียหายจะ

แม่นย�ำหรือถูกต้องมากขึน้ จึงเป็นประโยชน์ส�ำหรับการค�ำนวณเบีย้ ประกันภัยแต่ละประเภท กล่าวคือ การ
เสี่ยงภัยจะลดลงถ้าจ�ำนวนวัตถุที่มีส่วนในเหตุการณ์เสี่ยงภัยมากขึ้น ดังนี้หากผู้รับประกันภัยรับประกัน
ภัยไว้จ�ำนวนมากราย โอกาสที่จะขาดทุนย่อมน้อยเพราะโอกาสที่จะเกิดภัยเป็นเหตุให้ทรัพย์สินที่รับ
ประกันไว้เสียหายพร้อมกันทั้งหมดย่อมเป็นไปไม่ได้ และเงินเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจ�ำนวนมาก
ได้จ่ายให้ย่อมเพียงพอที่จะน�ำไปชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายโดยที่ผู้รับประกันภัยไม่ขาดทุน30
สธ
29 พินิจ ทิพย์มณี หลักกฎหมายประกันภัย กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์วิญญูชน พ.ศ. 2550 น. 10.
30 จิตรา เพียรล้ำ�เลิศ คำ�อธิบายกฎหมายว่าด้วยประกันภัย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์นิติธรรม พ.ศ.
2555 น. 32.

11-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

3. กฎของการเฉลี่ย (Law of average)


กฎของการเฉลี่ยเป็นกฎที่ใช้มุ่งเน้นถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเฉลี่ยความสูญเสียในกลุ่มผู้เสี่ยงภัย
ด้วยกัน หากมีภัยเกิดขึ้นความสูญเสียมีเท่าใดก็เฉลี่ยกันไปในระหว่างผู้เสี่ยงภัย ค่าสูญเสียเฉลี่ยกันไปนี้
แสดงออกในรูปของเบี้ยประกันภัย กล่าวคือ ถ้ากลุ่มผู้เสี่ยงภัยมีน้อย ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะถูกก�ำหนดให้


มีอัตราสูงท�ำให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับภาระจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น ท�ำให้ผู้เอาประกันภัยเข้ามาท�ำ
ประกันภัยน้อย จึงส่งผลท�ำให้การด�ำเนินงานการประกันภัยไปได้ยาก ในทางตรงกันข้าม ถ้ากลุม่ ผูเ้ สีย่ งภัย
มีมาก ค่าเบี้ยประกันภัยก็จะถูกก�ำหนดให้มีอัตราต�่ำ ผู้เอาประกันภัยมีภาระในการจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย

มส
น้อยลง จึงท�ำให้ผเู้ อาประกันภัยเข้ามาท�ำประกันภัยมากขึน้ และส่งผลให้การประกันภัยด�ำเนินการไปด้วยดี
เมื่อมีการกระท�ำประกันภัยกันอย่างมีเหตุผลและเป็นไปตามกฎเกณฑ์และทฤษฎีพื้นฐานที่ส�ำคัญ
แล้วจึงท�ำเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย นอกจากนี้การประกันภัยได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมนุษย์
ขึ้นหลายประการดังนี้ คือ

1. เป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับครอบครัว
การประกันชีวิตช่วยให้ครอบครัวของผู้เอาประกันมีเงินส�ำหรับใช้สอยในช่วงเวลาหนึ่ง ในกรณีที่
บุคคลซึ่งเป็นผู้เลี้ยงครอบครัวต้องถึงแก่กรรมลง การประกันอัคคีภัยบ้านท�ำให้มีเงินส�ำหรับที่จะสร้างบ้าน
ใหม่ได้ท�ำให้ไม่ต้องไร้ที่อยู่อาศัย เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยขึ้น การประกันสุขภาพเป็นหลักประกันว่าเมื่อเจ็บไข้

ได้ปว่ ยจะมีเงินเพียงพอ ส�ำหรับการรักษาพยาบาลให้หายเป็นปกติ การประกันอุบตั เิ หตุสว่ นบุคคลจะช่วย
ให้มีค่ารักษาพยาบาลในกรณีประสบอุบัติเหตุและมีเงินมาทดแทนในขณะที่ไม่สามารถปฏิบัติงานหา
มส

รายได้มาเลี้ยงครอบครัวได้ตามปกติ เป็นต้น

2. เป็นหลักประกันความมั่นคงและคุ้มครองผู้ลงทุน
ธุรกิจทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยงภัยมากบ้างน้อยบ้างตามประเภท ชนิด และขนาดของธุรกิจนั้น
เช่น ในกรณีต้องมีการขนส่งสินค้า ภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับสินค้า เช่น สูญหาย ถูกไฟไหม้ เป็นต้น ดังนั้น
เพื่อความมั่นคงของธุรกิจ นักธุรกิจจึงยอมจ่ายเบี้ยประกันภัยจ�ำนวนหนึ่งแก่บริษัทประกันภัยเพื่อให้

ในสัญญา

คุ้มครองสินค้าของตน และชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่แท้จริงเมื่อเกิดมีภัยขึ้นตามที่ได้ระบุไว้

ในการลงทุนประกอบธุรกิจทุกประเภท จะต้องมีความเสี่ยงภัยมาก ทั้งที่อยู่ในความสามารถและ


นอกเหนือความสามารถของนักลงทุนที่จะป้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนประเภทโรงงานอุตสาห-
กรรมใหญ่ๆ ซึ่งต้องลงทุนมากมีขนั้ ตอนในการด�ำเนินงานต่างๆ มากมายเริม่ ตั้งแต่ การขออนุมตั ปิ ระกอบ
การอุตสาหกรรม ออกแบบก่อสร้างโรงงานจัดหาเงินลงทุน เลือกเครื่องจักร สั่งซื้อเครื่องจักร ติดตั้ง
สธ
เครื่องจักร รับคนงานและพนักงานเจ้าหน้าที่ เริ่มผลิต ควบคุมคุณภาพ หาตลาด ท�ำสัญญากับลูกค้า จัด
ส่ ง ผลผลิ ต ให้ ลู ก ค้ า เก็ บ เงิ น จากลู ก ค้ า ดู แ ลรั ก ษาโรงงานและเครื่ อ งจั ก ร จั ด สวั ส ดิ ก ารให้ ค นงาน
และอื่นๆ อีกมาก ซึ่งทุกขั้นตอนมีความเสี่ยงภัยทั้งสิ้น ทางที่ดีควรจะมีผู้จัดการทางด้านความเสี่ยงภัย

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-19

(Risk Manager) มาช่วยดูแลในเรือ่ งนีโ้ ดยเฉพาะภัยบางอย่างบางเรือ่ งอาจจะหลีกเลีย่ งหรือหาวิธปี อ้ งกัน


เองได้ บางอย่างอาจจะยอมเสี่ยงเองแต่บางอย่างจะต้องท�ำประกันภัยไว้ตามตัวอย่างข้างต้น ในขั้นตอน
แรกการขออนุญาตประกอบการอุตสาหกรรมก็มคี วามส�ำคัญและมีความเสีย่ ง อาจจะขออนุญาตผิดประเภท
เช่นต้องการผลิตขวดแก้วแต่ไปขออนุญาตเป็นผลิตถ้วยแก้ว เป็นต้น สั่งเครื่องจักรเข้ามาติดตั้งเสร็จหมด
แล้ว ปรากฏว่าไม่สามารถจะด�ำเนินการผลิตได้เพราะไม่มีใบอนุญาต ขอใหม่ก็ไม่ได้ เพราะรัฐบาลไม่


อนุญาต เป็นต้น การออกแบบสร้างโรงงานก็มีความส�ำคัญถ้าออกแบบผิดโรงงานอาจจะพังตั้งแต่ก่อสร้าง
ก็ได้ หรือขณะก่อสร้างตอกเสาเข็มอาจจะท�ำให้อาคารข้างเคียงเสียหายต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย

มส
ซึ่งอาจจะท�ำประกันภัยความรับผิดไว้ได้ (Liability Insurance) หรือในกรณีที่ตัวโครงสร้างโรงงานไม่มี
ปัญหาแต่สายไฟที่วางไว้ขนาดเล็กไปเมื่อเริ่มด�ำเนินการแล้วเกิดไฟไหม้โรงงานหมดเพราะสายไฟ ขนาด
ไม่พอท�ำให้ร้อนจัดเกิดไฟไหม้ ในขั้นตอนอื่นๆ ก็มีความเสี่ยงภัยเช่นกัน การน�ำเครื่องจักรเข้ามาจาก
ต่างประเทศระหว่างการขนส่งอาจจะต้องท�ำประกันภัยทางทะเล เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วท�ำประกันภัยอัคคีภัย
ทั้งโรงงานและเครื่องจักร พวกคนงานอาจจะต้องท�ำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลและประกันสุขภาพ เพราะ
เป็นความรับผิดชอบของเจ้าของโรงงานที่จะต้องดูแลรักษาพยาบาลคนงานของตนและจ่ายค่าทดแทน
ถ้าเขาได้รับอุบัติเหตุจากงานที่ท�ำ เป็นต้น หากมีการจัดเรื่องการป้องกันภัยและประกันภัยไว้โดยถูกต้อง
ผูล้ งทุนก็จะมีความมัน่ ใจได้วา่ เงินทีล่ งทุนไปเป็นจ�ำนวนมากนัน้ จะไม่สญ
ู หายไปหมด เมือ่ เกิดภัยขึน้ เพราะ
จะได้รับการชดใช้ไม่สิ้นเนื้อประดาตัวกลายเป็นบุคคลล้มละลายไป การประกันภัยจึงเป็นกลไกอันหนึ่งใน

การส่งเสริมการลงทุนเพราะนักลงทุนสามารถที่จะได้รับความคุ้มครองซึ่งจะกระจายความเสี่ยงของเขา
ออกไป โดยการจ่ายเบี้ยประกันภัย
มส

3. เป็นการสร้างเครดิตหรือความเชื่อถือแก่ผู้เอาประกัน
การให้เครดิตหรือความเชื่อถือเป็นหัวใจส�ำคัญส�ำหรับเรื่องการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งการ
ประกันภัยมีส่วนช่วยในเรื่องนี้อย่างมาก เช่น การจ�ำน�ำใบประทวนสินค้า โดยใช้สินค้าที่เก็บรักษาไว้ใน
โกดังเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน ถ้าได้มีการท�ำประกันอัคคีภัยหรือประกันขโมยไว้ ผู้รับจ�ำน�ำใบ
ประทวนสินค้าย่อมยินดีที่จะรับจ�ำน�ำใบประทวนสินค้านั้น แต่ถ้าไม่มีการท�ำประกันภัยไว้แล้ว ผู้รับจ�ำน�ำ

คงจะไม่อยากรับจ�ำน�ำ เพราะหากสินค้าถูกไฟไหม้เสียหายหมด หลักประกันก็จะหมดไปด้วยและในกรณี
เช่นนี้ลูกหนี้ก็จะสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะสินค้าถูกไฟไหม้หมดไปแล้ว หนี้ที่กู้ยืมไว้ก็จะไม่ได้ช�ำระ หรือ
กรณีจะจ�ำนองบ้านหรือโรงงาน เพื่อกู้ยืมเงินมาใช้หมุนเวียน เจ้าหนี้ส่วนใหญ่จะขอให้ผู้กู้หรือผู้จ�ำนอง
ท�ำประกันอัคคีภัยบ้านหรือโรงงานนั้นๆ ไว้ด้วย เป็นต้น หรืออาจจะเป็นกรณีประกันภัยหนี้สินก็ได้
(Credit Insurance) กล่าวคือผู้ให้กู้จะท�ำประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัยว่าถ้าลูกหนี้ไม่ช�ำระหนี้กู้ยืมไป
ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ช�ำระหนี้แทน ถ้าผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ช�ำระหนี้แทน ถ้าผู้รับประกันภัยพิจารณา
เห็นว่าลูกหนี้เป็นผู้มีหลักฐานมั่นคงยอมรับประกันภัยก็เท่ากับเป็นการให้เครดิตกับผู้กู้โดยตรง
สธ

11-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

4. เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพแก่วงธุรกิจ
เมื่อนักธุรกิจไม่ต้องพะวงกับภัยที่เกิดขึ้นเพราะได้มีการท�ำประกันภัยไว้แล้ว เขาก็จะสามารถ
ประกอบธุรกิจได้อย่างเต็มที่ เมือ่ เกิดมีความเสียหายจากภัยทีเ่ อาประกันภัยไว้ ผูร้ บั ประกันภัยจะรับผิดชอบ
ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ ท�ำให้ธุรกิจไม่หยุดชะงัก สามารถด�ำเนินการต่อไปได้


5. เป็นแหล่งระดมทุน
เงินทีผ่ เู้ อาประกันภัยแต่ละรายจ่ายเบีย้ ประกันภัยรายละเล็กละน้อยนัน้ บริษทั ประกันภัยสามารถ

มส
รวบรวมเงินดังกล่าวเป็นก้อนใหญ่มากพอที่จะน�ำไปพัฒนาบ้านเมืองและเศรษฐกิจของประเทศได้ในรูป
แบบต่างๆ เช่น ซื้อพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น ซึ่งโดยแท้จริงแล้วส่วนหนึ่งของกิจการประกันภัย คือ การ
ท�ำหน้าทีเ่ สมือนกับธนาคารและผูล้ งทุนทีส่ �ำคัญ และยังสามารถให้สนิ เชือ่ ระยะยาวได้ดกี ว่าธนาคารอีกด้วย

6. เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและเป็นหลักประกันแก่สังคม
การประกันภัยนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัยและครอบครัวแล้ว ยังเป็นประโยชน์
แก่ชุมชนและเป็นหลักประกันแก่สังคมอีกด้วย เพราะการประกันภัยทุกชนิดจะช่วยลดหรือบรรเทาความ
ทุกข์ร้อนของผู้ประสบภัย ช่วยพยุงให้ผู้ประสบภัยสามารถด�ำรงชีพในระดับเดิมได้ ช่วยบรรเทาความ
ขาดแคลนและทุกข์ยาก ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นแล้วผู้ต้องประสบภัยทั้งหมดต้องสิ้นเนื้อประดาตัว ไม่มีที่อยู่

อาศัย ขาดแคลนอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นผลให้ระดับศีลธรรมของชุมชนนั้นๆ จะต�่ำลง ถ้าชุมชนนั้นได้
จัดในเรื่องความเสี่ยงภัยและการประกันภัยไว้โดยถูกต้องชุมชนนั้นก็สามารถจะอยู่อย่างราบรื่นต่อไปได้
มส

แม้ไม่มีองค์การสาธารณกุศลช่วยเหลือ ตัวอย่างไฟไหม้โรงงานถ้าเจ้าของโรงงานไม่ได้ท�ำประกันอัคคีภัย
ไว้ ไม่สามารถสร้างโรงงานได้ใหม่ คนงานและพนักงานทั้งหมดก็ไม่มีงานท�ำ ความเสียหายและความ
ทุกข์ยากจะกระจายขยายออกไป ไม่เพียงแต่เจ้าของโรงงานเท่านัน้ ทีจ่ ะต้องหมดตัว เพราะนอกจากโรงงาน
จะไหม้ ทรัพย์สินถูกท�ำลายไปหมดแล้วถ้าไม่สร้างโรงงานใหม่ ก็จะต้องจ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้างและ
คนงานทุกคนเนื่องจากการเลิกจ้าง หรือถ้าจะสร้างโรงงานใหม่ ก็ต้องว่าจ้างพนักงานหรือคนงานที่มีความ
ส�ำคัญไว้และต้องจ่ายเงินเดือนในช่วงที่โรงงานยังก่อสร้างไม่เสร็จ ส่วนคนที่เลิกจ้างก็จะต้องจ่ายทดแทน

ให้แก่เขา โรงงานที่ก่อสร้างใหม่อาจจะต้องใช้เงินมากกว่าเดิม เพราะค่าแรงและสินค้าต่างๆ ราคาสูงขึ้น
กว่าเมื่อแรกสร้าง เมื่อสร้างเสร็จสามารถจะผลิตสินค้าใหม่ได้แล้ว ก็จะต้องด�ำเนินการในเรื่องโฆษณาและ
ท�ำสัญญาติดต่อกับลูกค้าใหม่ เมื่อขณะที่ไฟไหม้ถ้าได้มีการท�ำสัญญาขายล่วงหน้าไว้กับลูกค้าไว้แล้วก็จะ
ต้องชดใช้คา่ เสียหายหรือคืนเงินให้ลกู ค้าด้วย จะเห็นได้วา่ ความเสียหายทีต่ ามมานัน้ มีมากถ้าไม่ได้จดั การ
ประกันภัยไว้โดยถูกต้อง จะสร้างปัญหาให้กับสังคมและชุมชนแต่ถ้ามีการจัดประกันภัยไว้โดยถูกต้องแล้ว
บริษัทประกันภัยจะรับภาระเหล่านี้ไป และถ้าหากได้มีการท�ำประกันภัยอย่างทั่วถึง อัตราความเสี่ยงก็จะ
สธ
กระจายออกไปลดน้อยลง อัตราเบีย้ ประกันภัยก็จะลดต�ำ่ ลงด้วย นอกจากนัน้ ยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระ
ของรัฐในการให้สวัสดิการแก่ประชาชนอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-21

7. ทำ�ให้ทราบต้นทุนของการเสี่ยงภัย
บริษัทประกันภัยพิจารณาประกันภัยโดยค�ำนวณหาต้นทุนของการรับเสี่ยงภัย จากการหา
ถัวเฉลี่ยจากกฎจ�ำนวนมาก ซึ่งจะพิจารณาความเสี่ยงภัยของวัตถุที่เอาประกันภัย และการเกิดภัยที่ได้
ตกลงท�ำประกันภัยกันไว้แล้วน�ำไปค�ำนวณหาอัตราเบี้ยประกันภัย โดยปกติแล้ว ผู้เอาประกันภัยประเภท


เดียวกันควรจะจ่ายเบี้ยประกันภัยเท่ากัน และได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน ถ้าบุคคลใดมีความเสี่ยง
มากกว่า ก็ควรจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยมากขึ้น เช่น เบี้ยประกันอัคคีภัยของอาคารที่สร้างด้วยไม้ย่อม
สูงกว่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่เป็นคอนกรีตทั้งหลังเพราะโอกาสที่บ้านไม้จะเกิดอัคคีภัย มีสูงกว่าอาคารที่

มส
เป็นคอนกรีต เป็นต้น

กิจกรรม 11.1.2
จงอธิบายถึงทฤษฎีความน่าจะเป็น (Theory of Probability)

แนวตอบกิจกรรม 11.1.2
ทฤษฎีนี้เป็นการศึกษาเพื่อคาดคะเนถึงความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่างๆ ว่ามี
มากน้อยเพียงใด โดยอาศัยข้อมูลจากการเก็บสถิติและวิชาคณิตศาสตร์เพื่อทำ�นายว่าภัยแต่ละชนิดใน

ช่วงเวลาหนึ่งจะเกิดขึ้นกี่ครั้งมีขนาดและลักษณะเป็นอย่างไร สมมติว่าจากสถิติใน 1 ปี มีอัคคีภัยเปิดขึ้น
100 ราย จากจำ�นวนบ้าน 100,000 หลัง ความอาจจะเป็นไปได้ที่บ้านจะเกิดอัคคีภัยใน 1 ปี ก็คือ บ้าน
มส

ทุกๆ 1,000 หลัง จะเกิดไฟไหม้ 1 หลัง ยิ่งถ้าจำ�นวนบ้านยิ่งมากขึ้น การคาดการณ์ก็ยิ่งใกล้ความเป็น


จริงมากขึ้น นอกจากนี้ผลลัพธ์จากการคำ�นวนดังกล่าวยังสามารถนำ�มาใช้ประกอบกับการพิจารณาของ
ผู้รับประกันภัยในการที่จะตกลงรับประกันภัยรายใด เนื่องจากผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถบอกผู้รับประกัน
ภัยว่าตนมีความเสี่ยงภัยมากเพียงใด หากผู้รับประกันภัยมีความเสี่ยงภัยสูง อาจปฏิเสธไม่รับประกันภัย
หรือหากความเสีย่ งภัยอยูใ่ นเกณฑ์ทีผ่ ูร้ บั ประกันภัยสามารถรับประกันภัยได้กส็ ามารถช่วยในการกำ�หนด
อัตราเบี้ยประกันภัยได้อย่างเหมาะสม

สธ

11-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 11.2
ความหมาย ลักษณะ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 11.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไปนี้


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
11.2.1 ความหมายและประเภทของสัญญาประกันภัย
11.2.2 ลักษณะของสัญญาประกันภัย
11.2.3 บุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย

1. ส ญ
ั ญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทนเพือ่ การเสีย่ งภัยในอนาคต กรมธรรม์ประกันภัย
ไม่ใช่สัญญาประกันภัย เป็นเพียงแต่หลักฐานของสัญญาประกันภัย
2. สัญญาประกันภัยมีลักษณะเป็นการเสี่ยงโชคต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งของ
คู่สัญญา และเป็นสัญญาที่รัฐคอยควบคุมดูแล

3. ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญา
ประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มส

วัตถุประสงค์
เมื่อได้ศึกษาตอนที่ 11.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมายและประเภทของสัญญาประกันภัยได้
2. อธิบายและวินิจฉัยลักษณะของสัญญาประกันภัยได้
3. อธิบายและวินิจฉัยเกี่ยวกับลักษณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัยได้

สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-23

เรื่องที่ 11.2.1
ความหมายและประเภทของสัญญาประกันภัย


สัญญาประกันภัยเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึง่ ดังนัน้ สัญญาประกันภัยจึงย่อมอยูภ่ ายใต้บงั คับ
ของบทบัญญัตทิ วั่ ไปในเรือ่ งนิตกิ รรมสัญญาเช่นกัน กล่าวคือ คูส่ ญ ั ญาต้องมีความสามารถในการท�ำสัญญา

มส
สัญญานั้นต้องไม่มีวัตถุที่ประสงค์เป็นการพ้นวิสัย ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบ
เรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เพียงแต่สญ
หรือมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ
ั ญาประกันภัยอาจจะมีวธิ กี ารทีแ่ ตกต่างออกไปบ้าง

ในการเข้าท�ำสัญญาประกันภัยมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษแต่ประการใด คงด�ำเนินการ
ตามหลักเกณฑ์ในการท�ำสัญญาทัว่ ไปกล่าวคือ ต้องมีค�ำเสนอและค�ำสนองเมือ่ ค�ำเสนอและค�ำสนองถูกต้อง
ตรงกัน สัญญาก็จะเกิดขึ้นในทันทีเพราะสัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ไม่ต้องท�ำตามแบบที่กฎหมาย
ก�ำหนดแต่อย่างไร แต่วิธีการเสนอและสนองในการเข้าท�ำสัญญาประกันภัยเป็นเรื่องที่ควรจะได้ศึกษาใน
รายละเอียด เพราะอาจจะมีการเข้าใจผิดพลาดได้
ค�ำเสนอ ในการท�ำสัญญาประกันภัยนัน้ ถือว่าฝ่ายผูเ้ อาประกันภัยเป็นฝ่ายเสนอขอให้ผรู้ บั ประกันภัย

ตกลงเข้ารับเสี่ยงภัยแทนผู้เอาประกันภัย
ค�ำสนอง หมายความถึงการที่บริษัทตกลงรับประกันภัยของผู้ขอเอาประกันภัยกับบริษัท ซึ่งโดย
ปกติแล้วบริษัทผู้รับประกันภัยจะมอบหมายบุคคลผู้มีสิทธิพิจารณารับประกันภัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบุคคล
มส

เหล่านี้จะต้องพิจารณาถึงภัยที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะเข้ารับเสี่ยง เช่น คนหนุ่มอายุ 30 ปีอัตราเบี้ย


ประกันชีวติ ย่อมต�ำ่ กว่าคนทีม่ อี ายุ 50 ปีเทียบกัน โดยมีอตั ราทุนประกันชีวติ และเงือ่ นไขประการอืน่ เหมือนกัน
หรือเบี้ยประกันชีวิตของบุคคลที่มีสุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ย่อมต้องต�่ำกว่าบุคคลที่มีโรคภัยต่างๆ เช่น
มีความดันโลหิตสูง เป็นต้น ถ้าทั้งสองคนอายุเท่ากันและเงื่อนไขประการอื่นๆ เป็นต้น หรือบ้านที่เป็นตึก
ทั้งหมดย่อมเสียเบี้ยประกันอัคคีภัยถูกกว่าบ้านไม้ที่มุงด้วยหลังคาจาก ถ้าอยู่ในละแวกเดียวกันและมีทุน

ประกันภัยและเงื่อนไขอื่นๆ เหมือนกันเรื่องเหล่านี้เป็นหน้าที่ของผู้พิจารณารับประกันภัย (Under-
writer) เป็นผู้พิจารณา เมื่อตกลงรับประกันภัยรายใดแล้วซึ่งเป็นการสนองค�ำเสนอของผู้เอาประกันภัย
ถือว่าสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นมีผลสมบูรณ์ในทันทีแม้ว่าจะยังไม่มีการออกกรมธรรม์ประกันภัยก็ตาม
เว้นแต่ ว่าจะได้มีเงื่อนไขอื่นๆ เช่น มีข้อก�ำหนดว่าบริษัทจะเริ่มให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัยช�ำระ
เบี้ยประกันภัยงวดแรกให้บริษัทแล้ว เป็นต้น แต่ถ้าไม่มีเงื่อนไขก�ำหนดไว้เป็นประการอื่นแล้ว เมื่อ
ผูพ้ จิ ารณารับประกันภัยตกลงท�ำค�ำสนองรับประกันภัยรายใด สัญญาประกันภัยย่อมเกิดขึน้ แล้วโดยสมบูรณ์
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 2598/2520 ค�ำสนองรับประกันภัยที่แก้ไขค�ำเสนอ คนของผู้รับประกันภัยน�ำไปตกลงกับ
ผู้เอาประกันภัย เป็นค�ำเสนอต่อหน้าขึ้นใหม่เกิดสัญญาเมื่อตกลงทันที บันทึกล่วงหน้าของผู้รับประกันภัย

11-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เป็นเอกสาร ตาม ปพพ. มาตรา 867 ได้ ไม่ต้องส่งมอบกรมธรรม์ เงื่อนไขในใบสมัครที่ว่าต้องได้ออก


และส่งมอบกรมธรรม์ก่อนไม่มีผลบังคับ
ข้อสังเกต ตามค�ำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ ได้ปรากฏชัดแจ้งว่าผูร้ บั ประกันภัยได้ตกลงรับประกันภัย
แล้วเพียงแต่ยงั ไม่ได้สง่ มอบกรมธรรม์ประกันภัย สัญญาประกันภัยเกิดเมือ่ ผูร้ บั ประกันภัยตกลงรับประกัน
ภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับประกันภัยหรือตัวแทนแล้วย่อมฟ้องร้อง


บังคับคดีให้ผู้รับประกันภัยรับผิดได้

มส
2. ความหมายของสัญญาประกันภัย
ปพพ. มาตรา 861 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะ
ใช้คา่ สินไหมทดแทน หรือใช้เงินจ�ำนวนหนึง่ ให้ในกรณีวนิ าศภัย หากมีขนึ้ หรือในเหตุอย่างอืน่ ในอนาคต
ดั่งได้ระบุไว้ในสัญญาและในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย”
จากบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาประกันภัย หมายถึง ความตกลงระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยฝ่าย
หนึ่งเรียกว่าผู้รับประกันภัยและอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้เอาประกันภัย ฝ่ายผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้
ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจ�ำนวนหนึ่งให้ ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดัง
ได้ระบุไว้ในสัญญาและฝ่ายผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินให้แก่ผู้รับประกันภัยซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าความตกลงหรือข้อตกลงระหว่างผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัยที่

เกี่ยวข้องกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจ�ำนวนหนึ่ง เหตุวินาศภัยหรือเหตุอย่างอื่นในอนาคต
ซึง่ อาจเรียกรวมว่า “ความเสีย่ งภัย” (risk) ทีไ่ ด้ตกลงก�ำหนดกันไว้และทีเ่ กี่ยวกับเบีย้ ประกันภัย วิธชี �ำระ
มส

เบี้ยประกันภัย เป็นต้น ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันภัยได้ทั้งสิ้น มิใช่จะถือเอาหลักฐาน


อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวว่าสัญญาประกันภัย เช่น กรมธรรม์ประกันภัยย่อมถือได้เพียงว่า
เป็นหลักฐานประการหนึ่งของสัญญาประกันภัย
อุทาหรณ์
ฎ.1564/2525 ศาลฎีกาตรวจส�ำนวนและประชุมปรึกษาแล้ว ตามค�ำฟ้องค�ำให้การและทาง
พิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2521 บริษัท อ. ได้ยื่นค�ำขอประกันภัย

ทางทะเลต่อโจทก์เพื่อประกันภัยนมข้นกระป๋อง จ�ำนวน 11,504 หีบ ซึ่งจะขนส่งจากกรุงเทพฯ ถึงกรุง
โคลัมโบ ประเทศศรีลังกา โดยเรือเดินทะเลชื่อ “โกตาเมเลอร์” โจทก์ได้ตอบรับประกันภัยในวันนั้นเวลา
ประมาณ 11.30 นาฬิกา และได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่บริษัท อ. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.
2521 ตามเอกสารหมาย จ.11 ถึง จ.14 การประกันภัยรายนี้โจทก์คิดเบี้ยประกันภัยเริ่มจากคลังสินค้าของ
บริษัท อ. ถึงคลังสินค้าของผู้ซื้อ บริษัท อ. เคยส่งนมข้นกระป๋องไปจ�ำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลาย
ครั้งและได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์เช่นเดียวกัน กรมธรรม์ประกันภัยครั้งก่อนๆ ก็เหมือนกับกรมธรรม์
ประกันภัยครั้งนี้ หลังจากโจทก์รับประกันภัยแล้วในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2521 นั้นเอง เรือล�ำเลียงซึ่ง
สธ
บริษัท อ. ว่าจ้างให้ขนส่งนมข้นกระป๋องเพื่อน�ำไปส่งมอบให้แก่เรือเดินทะเลโกตาเมเลอร์ได้จมลงที่ท่า
คลองขุด ต�ำบลบางหญ้าแพรก อ�ำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเหตุให้นมข้นกระป๋องซึ่ง
โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ผู้เอาประกันภัย

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-25

ไปแล้วจึงมาฟ้องเรียกร้องจากทั้งสาม โดยอ้างว่า โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย คงมีปัญหา


ที่จะต้องวินิจฉัยในขั้นฎีกาเป็นข้อแรกว่า โจทก์ได้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัยหรือไม่
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ระหว่างโจทก์กับบริษัทอุตสาหกรรมนมพระนคร จ�ำกัด ผู้เอา
ประกันภัยไม่มีปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย ไม่มีปัญหาข้อโต้แย้ง
เกี่ยวกับความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย โดยโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกัน


ภัยไปแล้ว จ�ำเลยเองก็มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นว่าตามสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับบริษัท
อุตสาหกรรมนมพระนคร จ�ำกัด ไม่คมุ้ ครองนมข้นกระป๋องทีเ่ อาประกันภัยตัง้ แต่คลังสินค้าของผูเ้ อาประกันภัย

มส
จนถึงผู้รับตราส่ง เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์ท�ำกรมธรรม์รับประกันภัยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
ความเสียหายเกิดก่อนโจทก์ท�ำสัญญารับประกันภัยโจทก์จงึ ไม่มอี �ำนาจรับช่วงสิทธิแม้จ�ำเลยจะให้การว่าน
อกจากจ�ำเลยจะให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งแล้ว จ�ำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ก็เป็นค�ำให้การที่
ไม่ชดั แจ้งว่าจ�ำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์สว่ นใด ด้วยเหตุผลอย่างใดย่อมถือไม่ได้วา่ จ�ำเลยให้การปฏิเสธ
ข้ออ้างตามค�ำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับขอบเขตการให้คุ้มครองตามสัญญาประกันภัย แต่อย่างไรก็ดี
ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียด้วยว่า สัญญาประกันภัยนั้น กฎหมายมิได้ก�ำหนดแบบแห่งนิติกรรมไว้
เพียงบังคับให้มหี ลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึง่ ลงลายมือชือ่ ฝ่ายทีต่ อ้ งรับผิดหรือตัวแทนเป็นส�ำคัญ
มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้ ดังนั้น สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาท�ำค�ำเสนอ
ค�ำสนองถูกต้องตรงกัน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริษัท อ. ได้ยื่นค�ำขอประกันภัยต่อโจทก์อันเป็นการ

แสดงเจตนาท�ำค�ำเสนอและโจทก์ได้สนองรับ สัญญาประกันภัยย่อมเกิดขึน้ มาตรา 867 วรรคสอง บัญญัตวิ า่
“ให้ ส ่ ง มอบกรมธรรม์ ป ระกั น ภั ย อั น มี เ นื้ อ ความต้ อ งตามสั ญ ญานั้ น แก่ ผู ้ เ อาประกั น ภั ย ฉบั บ หนึ่ ง ”
มส

กรมธรรม์ประกันภัย คือ เอกสารในการรับประกันภัย หรือหลักฐานเป็นหนังสือซึง่ ผูร้ บั ประกันภัยลงลายมือ


ชือ่ มอบให้ไว้แก่ผู้เอาประกันภัยเกี่ยวกับข้อสัญญาและเงื่อนไขการประกันภัย แม้บริษัทกับโจทก์จะได้ท�ำ
ค�ำขอประกันภัย และค�ำตอบรับประกันภัยเป็นหนังสือ ก็มิได้หมายความว่าสัญญาประกันภัยมีข้อความ
อยู่เพียงเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ย่อมไม่มีประโยชน์อย่างใดที่กฎหมายจะบัญญัติให้ผู้รับประกันภัย
ต้องส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยอีกในเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออยู่แล้ว นอกจากนี้
ตามค�ำขอประกันภัยยังมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า “โปรดออกกรมธรรม์ประกันภัยต้นฉบับ คู่ฉบับ และ

ส�ำเนา ชนิดเปลี่ยนมือไม่ได้ 5 ส�ำเนา” ซึ่งแสดงว่าคู่สัญญามีเจตนาให้สัญญาประกันภัยมีข้อความเป็นไป
ตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ค�ำขอประกันภัยเป็นสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์
ประกันภัยต้องมีข้อความดังที่ปรากฏในค�ำขอประกันภัย แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าบริษัท อ. ขอให้โจทก์รับ
ประกันภัยส�ำหรับสินค้าที่บรรทุกลงเรือโกตาเมเลอร์แล้วเท่านั้น การที่โจทก์ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้
ความคุ้มครองเริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานีของผู้ตราส่งด้วยเป็นเรื่องที่โจทก์ท�ำขึ้นฝ่ายเดียวฝ่าฝืน
มาตรา 867 วรรคสอง จะน�ำเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ท�ำขึ้นฝ่ายเดียวมาใช้เพื่อก่อให้โจทก์
เกิดสิทธิย้อนหลังไปรับช่วงสิทธิช่วงบริษัท อ. ไม่ได้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยจริงอยู่สัญญาประกันภัย
สธ
รายนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2521 เวลาประมาณ 11.30 นาฬิกา ซึ่งโจทก์ตอบรับค�ำขอประกันภัย
ของบริษัทอุตสาหกรรมนมพระนคร จ�ำกัด และโจทก์เพิ่งออกกรมธรรม์ประกันภัยในวันที่ 1 พฤศจิกายน
2521 แต่กรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ออกให้นั้นบริษัทอุตสาหกรรมนมพระนคร จ�ำกัด ผู้เอาประกันภัย

11-26 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ก็ยอมรับว่าตรงตามเจตนาในการท�ำสัญญาประกันภัย โดยมิได้โต้แย้งคัดค้านประการใด ทัง้ ยังได้รบั ชดใช้


ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาไปแล้วด้วย ย่อมไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าโจทก์ท�ำกรมธรรม์ประกันภัยฝ่าฝืน
มาตรา 867 วรรคสอง อนึ่ง ข้อความตามค�ำขอประกันภัยที่ว่า “โปรดให้มีการประกันภัยทางทะเลคุ้มถึง
สินค้าที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ ดังได้บรรทุกลงเรือโกตาเมเลอร์ ซึ่งมีก�ำหนดออกเดินทางวันที่ 4 พฤศจิกายน
2521 จากกรุงเทพฯ ถึงโคลัมโบ...” นั้น ก็ยังไม่ชัดแจ้งว่าบริษัท อ. ประสงค์จะขอให้โจทก์รับประกันภัย


ส�ำหรับสินค้าลงเรือโกตาเมเลอร์แล้วเท่านั้น ในการตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ใน
ทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย บริษัท อ. มิใช่เพิ่งจะเอาประกันภัยกับโจทก์ครั้งนี้เป็น

มส
ครั้งแรก แต่เคยส่งนมข้นกระป๋องไปจ�ำหน่ายยังต่างประเทศมาแล้วหลายครั้ง และได้เอาประกันภัยไว้กับ
โจทก์เช่นเดียวกัน กรมธรรม์ประกันภัยครั้งก่อนๆ ก็เหมือนกับกรมธรรม์ประกันภัยครั้งนี้ย่อมเป็นเหตุผล
ชี้ให้เห็นว่ากรมธรรม์ประกันภัยรายนี้ได้ออกให้ตรงตามเจตนาในการท�ำสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์
กับบริษัท อ. แล้ว หาเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคสอง แต่อย่าง
ใดไม่ เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า การประกันภัยรายนี้เริ่มต้นตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่ของผู้ตราส่ง
ซึ่งหมายความถึงคลังสินค้าของบริษัทอุตสาหกรรมนมพระนคร จ�ำกัด ผู้เอาประกันภัย การที่นมข้น
กระป๋องที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหายระหว่างขนส่งลงเรือล�ำเลียงเพื่อน�ำไปส่งมอบให้แก่เรือ
เดินทะเลโกตาเมเลอร์ จึงอยู่ในขอบเขตแห่งความรับผิดของโจทก์ตามสัญญาประกันภัย เมื่อโจทก์ได้ใช้
ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์ย่อมได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย ถ้าหากมี

โดยสรุปแล้วสัญญาประกันภัย เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงเข้ารับความเสี่ยงภัยแทน
ผู้เอาประกันภัย โดยสัญญาแก่ผู้เอาประกันภัยว่าเมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายเพราะวัตถุที่เอา
มส

ประกันภัยไว้วินาศไป หรือมีเหตุเกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน


ความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือใช้เงินจ�ำนวนหนึ่งตามที่ได้ตกลงกันไว้ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ในการนี้ผู้เอา
ประกันภัยตกลงที่จะส่งคืน ซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัยเพื่อเป็นการตอบแทนการที่ผู้รับ
ประกันภัยตกลงเข้ารับเสี่ยงภัยดังกล่าว การที่ผู้เอาประกันภัยส่งเงินเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัย
นี้เป็นวิธีการกระจายความเสี่ยงภัยโดยการใช้เงินมาเป็นสื่อกลางในการกระจายความเสี่ยงภัย โดยให้ผู้รับ
ประกันภัยเป็นตัวกลางในการกระจายความเสี่ยงภัยนั่นเอง ผู้รับประกันภัยจะรับประกันภัยจากบุคคลที่

ต้องเสี่ยงภัยประเภทเดียวกัน เมื่อผู้เอาประกันภัยคนใดได้รับความเสียหายจากภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้
ผู้รับประกันภัยก็จะน�ำเงินเบี้ยประกันภัยที่เก็บมาได้จากบุคคลที่ต้องประสบภัยประเภทเดียวกันมาจ่าย
ทดแทนความเสียหาย

3. ประเภทของสัญญาประกันภัย
สัญญาประกันภัยอาจแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ 1. สัญญาประกันชีวิต (Life
Insurance) และ 2. สัญญาประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance)
สธ
3.1 สัญญาประกันชีวิต หมายถึง เฉพาะการประกันชีวิตบุคคลเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการประกัน
ชีวติ ของตนเองหรือของบุคคลอืน่ ก็ตาม วัตถุทเี่ อาประกันคือชีวติ ของบุคคลแม้วา่ เป็นสิง่ ทีแ่ น่นอนว่าบุคคล
ทุกคนย่อมจะต้องถึงแก่กรรม แต่ความไม่แน่นอนอยู่ที่ว่าจะถึงแก่กรรมเมื่อใด การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-27

ถึงแก่กรรมลงไปในเวลาทีไ่ ม่คาดฝัน อาจจะท�ำให้ครอบครัวเขา หรือคนอีกหลายคนต้องได้รบั ความล�ำบาก


ขาดรายได้มาอุปการะเลีย้ งดู และอาจรวมถึงการสร้างภาระในเรือ่ งการจัดการศพให้แก่ครอบครัวลูกหลาย
อีกด้วย ประกันชีวิตมีขึ้นก็เพื่อเป็นการบรรเทาภาระดังกล่าวประการหนึ่ง และเนื่องจากชีวิตของบุคคล
เป็นสิ่งที่ไม่อาจประเมินราคาได้จึงใช้วิธีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อมีเหตุการณ์ที่ก�ำหนดไว้ในสัญญา
นั้นจะมีการจ่ายเงินให้เป็นจ�ำนวนเท่าใด และจ�ำนวนเงินนี้จะตกลงกันเท่าใดก็ได้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่า


ผู้เอาประกันได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใดลักษณะเช่นนี้อาจกล่าวได้ว่าสัญญาประกันชีวิตเป็น
สัญญามิใช่เพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Non-Indemnity Contract)

มส
3.2 สัญญาประกันวินาศภัย นอกจากสัญญาประกันชีวติ ตามทีก่ ล่าวมาแล้วถือเป็นสัญญาประกัน
วินาศภัยทัง้ สิน้ (Non-Life Insurance) เป็นสัญญาเพือ่ ชดใช้คา่ สินไหมทดแทน (Indemnity Contract)
หลักการที่ส�ำคัญในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) ก็คือผู้รับประกันภัยจะชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนให้ผเู้ อาประกันภัยหรือผูร้ บั ประโยชน์ตามความเสียหายจริงทีเ่ กิดขึน้ การตีราคาค่าเสียหาย
ให้ตีราคา ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดเหตุวินาศภัย31 ความเสียหายบางอย่างอาจจะประเมินได้ล�ำบาก
คู่สัญญาจะท�ำความตกลงกันไว้ล่วงหน้าได้ว่าในแต่ละกรณีผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้
เป็นจ�ำนวนเท่าใด เช่น กรณีทรัพย์ที่เป็นวัตถุโบราณ กรณีอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เสียไต
1 ข้าง เป็นต้น กรมธรรม์ชนิดนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า Valued Policy
การประกันวินาศภัยแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทดังนี้คือ

1. การประกันอัคคีภัย
2. การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง
3. การประกันภัยรถยนต์ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) การประกันภัยรถภาคบังคับ
มส

(Compulsory Motor Insurance) หมายถึง การประกันภัยรถประเภทที่ พระราชบัญญัติคุ้มครอง


ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ก�ำหนดให้เจ้าของรถซึ่งใช้หรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความ
เสียหายส�ำหรับผู้ประสบภัย โดยประกันภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับ
อนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทการประกันภัยรถ โดยรัฐบาลมีเจตจ�ำนงเพื่อให้เกิดความคุ้มครองแก่
ชีวิตร่างกายของประชาชนที่ประสบภัย และเพื่อการชดใช้ค่าเสียหายที่แน่นอน รวดเร็ว และเป็นธรรม (2)

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance) หมายถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้น
โดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ โดยไม่ได้เกิดจากการถูก
บังคับโดยกฎหมายแต่อย่างใด การประกันภัยรถยนต์ทใี่ ช้กนั อย่างแพร่หลายในตลาดประกันภัยในปัจจุบนั
นี้เป็นการประกันภัยในภาคสมัครใจ
4. การประกันภัยเบ็ดเตล็ด การประกันภัยประเภทนี้ มีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น การ
ประกันอุบัติเหตุเดินทาง การประกันโจรกรรม การประกันความซื่อสัตย์ การประกันความรับผิดชอบต่อ
บุคคลที่สามหรือบุคคลภายนอก การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล การประกันเกี่ยวกับค่าทดแทนแรงงาน
สธ
การประกันกระจก การประกันเกี่ยวกับการบิน การประกันเครื่องจักรในโรงงาน การประกันภัยทุกชนิด
เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีค่าสูง เป็นต้น
31 ปพพ. มาตรา 877

11-28 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ข้อสังเกต
1) การประกันชีวิต หมายถึง การประกันชีวิตบุคคลเท่านั้นไม่รวมถึงการประกันชีวิตสัตว์ เพราะ
สัตว์ถือว่าเป็นทรัพย์สิน การประกันชีวิตสัตว์เป็นสัญญาประกันวินาศภัย
2) ในกรณีทสี่ ญั ญาประกันภัยประเภทมีทงั้ ลักษณะของสัญญาประกันวินาศภัยและสัญญาประกัน
ชีวิตรวมอยู่ในสัญญาหรือกรมธรรม์ประกันภัยเดียวกัน เช่น สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นต้น


ซึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุ ต้องเสียค่ารักษา
พยาบาล หรือต้องขาดประโยชน์ต่างๆ ในส่วนของความคุ้มครองในส่วนนี้ถือว่าเป็นประกันวินาศภัย ซึ่ง

มส
จะต้องพิจารณาความเกี่ยวพัน สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาตามกฎหมายในส่วนที่ใช้บังคับกับการประกัน
วินาศภัยเช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะชดใช้ตามความเสียหายจริงที่เกิดขึ้น ตามหลักในเรื่องการ
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) เช่น เสียค่ารักษาพยาบาลไป 1,000 บาท ผู้รับ
ประกันภัยก็ทดแทนความเสียหายโดยจ่ายค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ให้ 1,000 บาท เป็นต้น
3) ในส่วนที่ก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนกันเป็นการยาก เช่น ในเรื่องการขาดประโยชน์ต่างๆ
เพราะผู้ป่วยเจ็บไม่สามารถท�ำงานได้ หรือในกรณีต้องสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไป ซึ่งถือว่าเป็น
ความเสียหายที่ได้รับ แต่ถือว่าเสียหายเท่าใดเป็นเรื่องยากที่จะพิจารณา คู่สัญญาอาจจะตกลงกันไว้ล่วง
หน้าว่า ในแต่ละกรณีผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจ�ำนวนเท่าใด เช่น ค่าขาด
ประโยชน์จากการหารายได้ ผู้รับประกันจะจ่ายให้วันละ 100 บาท ถ้าเสียมือไปข้างหนึ่ง จะจ่ายค่าสินไหม

ทดแทนให้ 10,000 บาท กรณีที่มีการก�ำหนดจ�ำนวนค่าเสียหายไว้ล่วงหน้านี้ กรมธรรม์ชนิดนี้เรียกกัน
โดยทั่วไปว่า Valued Policy ซึ่งจะได้ศึกษาเรื่องนี้ในรายละเอียดต่อไป
มส

4) ในส่วนที่เป็นเรื่องของการประกันชีวิตก็จะต้องน�ำกฎหมายที่ใช้กับการประกันชีวิตมาใช้บังคับ
เช่น ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ตามจ�ำนวน
เอาประกันภัยที่ได้ตกลงกันไว้ ไม่ใช่ว่าจะมาพิจารณาว่าค่าเสียหายจริงเท่าใด ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงจุดนี้แล้ว
แท้จริงสัญญาประกันชีวิตก็มีลักษณะเป็น Valued Policy เช่นเดียวกัน Valued Policy ในประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีค�ำแปลที่ตรงกับ Valued Policy โดยตรง แต่เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของ
Valued Policy แล้ว จะเห็นว่าน่าจะถือว่าเป็นกรมธรรม์ประกันภัย หรือสัญญาประกันภัยที่มีการก�ำหนด
ราคาแห่งมูลประกันภัยกันไว้นั่นเอง

4. เปรียบเทียบสัญญาประกันภัยกับสัญญาอื่นที่มีส่วนคล้ายกัน
4.1 เปรียบเทียบการประกันภัยกับการพนันขันต่อ

1) สัญญาประกันภัย ผูเ้ อาประกันภัยอยูใ่ นฐานะต้องเสีย่ งภัยอยูแ่ ล้ว จึงไปขอเอาประกันภัย
เพื่อโอนภัยที่ต้องเสี่ยงไปให้ผู้รับประกันภัยซึ่งมีหน้าที่ในการกระจายความเสี่ยงภัยนั้นออกไปยังผู้ต้อง
ประสบการเสีย่ งภัยในลักษณะเดียวกัน โดยการใช้เบีย้ ประกันภัย เป็นสือ่ กลางในการกระจายความเสีย่ งภัย
สธ
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าสัญญาประกันภัย เป็นภัยที่น�ำมาท�ำสัญญากันนั้นมีอยู่แล้วในขณะท�ำสัญญา
การพนันขันต่อ ก่อนพนันกันคูส่ ญั ญาไม่มคี วามเสีย่ งภัยใดๆ เลย สัญญาการพนันเป็นสัญญา
ที่ก่อให้เกิดการเสี่ยงภัยขึ้นว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้ หรือฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายเสียในการพนันครั้งนั้น

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-29

2) สัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้ เช่น เป็น


เจ้าของบ้านจึงเอาประกันอัคคีภัยบ้านเพราะถ้าบ้านเกิดไฟไหม้ผู้เอาประกันจะสูญเสียทรัพย์สินคือบ้านที่
ถูกไฟไหม้ไป
สัญญาการพนันขันต่อ คูส่ ญั ญาต่างไม่ตอ้ งมีสว่ นได้เสีย เป็นการมุง่ ค่าแสวงหาผลประโยชน์
จากการพนันซึ่งถ้าไม่ได้ประโยชน์ก็ต้องเสียประโยชน์


4.2 เปรียบเทียบการประกันภัยกับการค�้ำประกัน ประเภทของการประกันภัยที่ใกล้เคียงกับการ
ค�้ำประกันคือ การประกันภัยลูกหนี้ไม่ใช้หนี้ สัญญาประกันภัยชนิดนี้เจ้าหนี้จะเป็นผู้เอาประกันภัยกับ

มส
บริษทั ประกันภัย เพือ่ โอนความเสีย่ งภัยในการทีล่ กู หนีจ้ ะไม่ช�ำระหนีม้ าให้ผรู้ บั ประกันภัยเข้าเสีย่ งภัยแทน
สิ่งที่ผู้รับประกันภัยได้รับเป็นการตอบแทนก็คือเบี้ยประกันภัย เป็นการท�ำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับผู้รับ
ประกันภัย
การคำ�้ ประกันลูกหนี้ มีลกั ษณะใกล้เคียงกับการประกันภัยประเภททีก่ ล่าวมาแล้วถือเป็นการสร้าง
หลักประกันให้เจ้าหนี้เพื่อให้มีโอกาสได้รับช�ำระหนี้ ลดความเสี่ยงในเรื่องการไม่ได้รับช�ำระหนี้โดยการน�ำ
บุคคลภายนอกเข้ามาผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการช�ำระหนี้ด้วย
ข้อแตกต่างการประกันภัยการช�ำระหนี้ และการค�้ำประกันหนี้
1) การประกันภัย ผู้รับประกันภัยจะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประกันภัย
กระท�ำเป็นการค้าและมีค่าตอบแทนเสมอคือเบี้ยประกันภัย

2) การค�้ำประกันนั้น โดยปกติผู้ค�้ำประกันจะเป็นใครก็ได้ที่เจ้าหนี้ยอมรับ อาจจะมีค่าตอบแทน
หรือไม่ก็ได้ ถ้าเป็นบุคคลค�้ำประกันโดยปกติจะไม่มีค่าธรรมเนียมในการค�้ำประกัน แต่ถ้าเป็นนิติบุคคล
มส

ซึ่งมีการเข้าค�้ำประกันบุคคลอื่นด้วย และด�ำเนินการเป็นธุรกิจ เช่น ธนาคาร ก็จะมีการเรียกเก็บเงินค่า


ธรรมเนียมเช่นกัน
3) การประกันภัยการช�ำระหนี้ถ้าลูกหนี้ไม่ช�ำระหนี้ผู้รับประกันภัยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ให้แก่เจ้าหนี้ โดยใช้หลักการในเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) แต่การ
ค�้ำประกันถ้าลูกหนี้ไม่ช�ำระหนี้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค�้ำประกันช�ำระหนี้แทนลูกหนี้ได้ ซึ่งผู้ค�้ำประกันอาจ
จะยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ได้ หรืออาจจะบอกปัดให้เจ้าหนี้บังคับช�ำระหนี้เอาจากลูก

เป็นต้น

กิจกรรม 11.2.1

หนี้ก่อนได้ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีทางที่จะช�ำระหนี้ได้ ซึ่งผู้รับประกันภัยไม่อาจจะใช้สิทธิดังกล่าวได้

สัญญาประกันภัยในประเทศไทยแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
สธ

11-30 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แนวตอบกิจกรรม 11.2.1
สัญญาประกันภัยอาจแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ สัญญาประกันชีวิต (Life
Insurance) และสัญญาประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance)
สัญญาประกันชีวิต หมายถึง เฉพาะการประกันชีวิตบุคคลเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการประกันชีวิต


ของตนเองหรือของบุคคลอื่นก็ตาม วัตถุที่เอาประกันคือชีวิตของบุคคล และเนื่องจากชีวิตของบุคคลเป็น
สิ่งที่ไม่อาจประเมินราคาได้จึงใช้วิธีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อมีเหตุการณ์ที่ก�ำหนดไว้ในสัญญานั้น

มส
จะมีการจ่ายเงินให้เป็นจ�ำนวนเท่าใด และจ�ำนวนเงินนี้จะตกลงกันเท่าใดก็ได้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้เอา
ประกันได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใดลักษณะเช่นนี้อาจกล่าวได้ว่าสัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญา
มิใช่เพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Non-Indemnity Contract)
สัญญาประกันวินาศภัย นอกจากสัญญาประกันชีวิตตามที่กล่าวมาแล้วถือเป็นสัญญาประกัน
วินาศภัยทัง้ สิน้ (Non-Life Insurance) เป็นสัญญาเพือ่ ชดใช้คา่ สินไหมทดแทน (Indemnity Contract)
หลักการที่สำ�คัญในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Principle of Indemnity) ก็คือผู้รับประกันภัยจะชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนให้ผเู้ อาประกันภัยหรือผูร้ บั ประโยชน์ตามความเสียหายจริงทีเ่ กิดขึน้ การตีราคาค่าเสียหาย
ให้ตีราคา ณ สถานที่และในเวลาที่เกิดเหตุวินาศภัย ความเสียหายบางอย่างอาจจะประเมินได้ลำ�บาก
คู่สัญญา จะทำ�ความตกลงกันไว้ล่วงหน้าได้ว่าในแต่ละกรณีผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้
เป็นจำ�นวนเท่าใด เช่น กรณีทรัพย์ที่เป็นวัตถุโบราณ กรณีอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เสียไต

1 ข้าง เป็นต้น กรมธรรม์ชนิดนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า Valued Policy
มส

เรื่องที่ 11.2.2
ลักษณะของสัญญาประกันภัย

มาตรา 861 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่า
สินไหมทดแทนหรือใช้เงินจ�ำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้
ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย”
สัญญาการประกันภัยเป็นนิติกรรมสองฝ่ายที่เกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคล ซึ่งต้องอยู่ใน
บังคับบทบัญญัตแิ ห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทัว่ ไปด้วย กล่าวคือคูส่ ญ
ั ญาประกันภัย
สธ
ต้องมีความสามารถในการท�ำนิติกรรมสัญญาได้ตามกฎหมาย และสัญญาประกันภัยดังกล่าวต้องไม่มี
วัตถุประสงค์ที่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย พ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
อันดีของประชาชน นอกจากนั้นแล้วสัญญาประกันภัยยังมีลักษณะเฉพาะที่ส�ำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-31

1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทน กล่าวคือ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และ
ลูกหนี้ซึ่งกันและกันโดยฝ่ายผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจ�ำนวนหนึ่งให้ตามที่ได้
ตกลงไว้ เมือ่ มีเหตุวนิ าศภัยหรือเหตุตามทีก่ �ำหนดไว้ในสัญญาเกิดขึน้ และฝ่ายผูเ้ อาประกันภัยจะตอบแทน


ผู้รับประกันภัยโดยการจ่ายเงินจ�ำนวนหนึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัยให้
การที่สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้รับประกันภัยจึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนหรือเงินจ�ำนวนหนึ่งตามที่ก�ำหนดไว้ในสัญญาเมื่อเกิดเหตุวินาศภัยหรือเหตุการณ์ในอนาคต และ

มส
มีสิทธิที่จะได้รับช�ำระหนี้คือเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัย ส่วนผู้เอาประกันภัยก็มีหน้าที่ต้องส่งเบี้ย
ประกันภัย และมีสทิ ธิทจี่ ะได้รบั ชดใช้คา่ สินไหมทดแทนหรือเงินตามจ�ำนวนทีก่ �ำหนดเมือ่ เกิดเหตุวนิ าศภัย
หรือเหตุการณ์ในอนาคตจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติเรื่องสัญญาต่างตอบแทนด้วย เช่น ปพพ. มาตรา
369 ซึ่งบัญญัติว่า “ในสัญญาต่างตอบแทนนั้น คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมช�ำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง
จะช�ำระหนี้หรือขอปฏิบัติการช�ำระหนี้ก็ได้ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับถ้าหนี้ของคู่สัญญาอีกฝ่าย
หนึ่งยังไม่ถึงก�ำหนด”
อย่างไรก็ตาม ในสัญญาประกันภัยนั้นอาจมีข้อก�ำหนดว่า ผู้รับประกันภัยยังจะไม่เริ่มให้ความ
คุ้มครองจนกว่าผู้เอาประกันภัยจะได้ช�ำระเบี้ยประกันภัยก็ได้
อุทาหรณ์

ฎ. 876/2511 เงื่อนไขแนบกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า “หากมิได้ช�ำระเบี้ยประกันภัยให้
บริษัทฯ ในงวดใดก็ให้ยกกรมธรรม์โดยไม่ต้องคุ้มครองในงวดนั้นและผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้อง
มส

ค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น” นั้นหมายความว่า ไม่ใช้กรมธรรม์ประกันภัยบังคับเอาแก่ผู้รับประกันภัย และ


ผู้เอาประกันภัยในชั่วระยะนั้น ซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นการเลิกสัญญากรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราวในระยะที่
ไม่ช�ำระเบี้ยประกันภัยนั่นเอง
ฎ. 1114/2512 เงื่อนไขแนบกรมธรรม์สัญญาประกันภัยมีว่า “กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้อง
ช�ำระเบี้ยประกันให้กับบริษัทครบอายุ 1 ปี แต่ทางบริษัทอนุโลมให้ผ่อนช�ำระเบี้ยประกันภัยได้ ทั้งนี้ต้อง
ช�ำระเบีย้ ประกันภัยทุกๆ งวด หากผูเ้ อาประกันภัยไม่ปฏิบตั ติ ามเงือ่ นไขนี้ ผูเ้ อาประกันภัยยินดีจะให้เรียก

เคลมที่บริษัทโจทก์จ่ายไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย

ร้องเงินค่าเคลมซึ่งบริษัทได้จ่ายไปนั้นๆ ทั้งหมด” นั้นเป็นการท�ำสัญญาประกันภัยมีก�ำหนด 1 ปี จ�ำเลย
ส่งเบี้ยประกันภัยเพียง 29 งวด ไม่ได้ส่งครบอายุ 1 ปี จ�ำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงต้องรับผิดคืนเงินค่า

ตามตัวอย่างค�ำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น จะเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่หรือมีหนี้ต่อกันและกัน
ในกรณีตาม ฎ. 876/2511 เมื่อผู้เอาประกันภัยไม่ช�ำระหนี้เบี้ยประกันภัย ฝ่ายผู้รับประกันภัยก็ไม่ให้ความ
คุ้มครองในช่วงเวลานั้น เมื่อมีการช�ำระเบี้ยประกันภัย ฝ่ายผู้รับประกันภัยจึงจะมีหนี้ผูกพันที่จะต้องจ่าย
ค่าสินไหมทดแทนเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นตามสัญญา ส่วน ฎ. 1114/2512 เมื่อฝ่ายผู้เอาประกันภัยไม่ช�ำระหนี้
สธ
คือค่าเบี้ยประกันภัยให้ถูกต้องครบถ้วน ฝ่ายผู้รับประกันภัยจึงมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้
แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วคืนมาได้

11-32 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

2. เป็นสัญญาเสี่ยงโชค
เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่ส�ำคัญของสัญญาประกันภัย คือเมื่อมีเหตุการณ์ในอนาคตดังระบุไว้ใน
สัญญาเกิดขึ้น ผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเงินจ�ำนวนหนึ่ง ให้แก่ผู้เอาประกันภัย
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการช�ำระหนี้ทางฝ่ายผู้รับประกันภัยขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ดังนี้


2.1 เหตุการณ์ในอนาคต และ
2.2 เหตุการณ์นั้นไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือว่าจะเกิดขึ้นในเวลาใด
ลักษณะเช่นนี้ท�ำให้สัญญาประกันภัยได้ชื่อว่าเป็นสัญญาเสี่ยงโชค กล่าวคือการช�ำระหนี้ตาม

มส
สัญญานั้นจะต้องกระท�ำต่อเมื่อมีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตที่ไม่แน่นอนเกิดขึ้น
ลักษณะของการเสี่ยงโชคทางฝ่ายผู้รับประกันภัยเป็นสาระส�ำคัญในสัญญาประกันภัย สิ่งที่ท�ำให้
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาเสี่ยงโชคคือการเสี่ยงภัย (RISK) ซึ่งในกรมธรรม์ประกันภัยต้องระบุภัยที่
ผูร้ บั ประกันภัยรับเสีย่ ง วัตถุประสงค์ขนั้ แรกแห่งสัญญาประกันภัยคือการทีผ่ รู้ บั ประกันภัยเข้ารับเสีย่ งแทน
ผู้เอาประกันภัย ก่อนท�ำสัญญาผู้เอาประกันภัยเป็นผู้เสี่ยง เมื่อท�ำสัญญาแล้วผู้รับประกันกลับเป็นผู้รับ
เสี่ยงภัยแทนต่อไป หากไม่มีการเสี่ยง วัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็ไม่อาจมีได้ ฉะนั้นการเสี่ยงภัยจึงเป็นสิ่ง
ที่จะท�ำให้วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นได้หรือไม่ได้ การเสี่ยงภัยจึงมีความส�ำคัญในสัญญา
ประกันภัยซึ่งมีผลตามกฎหมาย
สัญญาเสี่ยงโชคมีลักษณะคล้ายกับสัญญามีเงื่อนไขบังคับก่อน กล่าวคือสัญญาทั้งสองประเภทมี

ข้อก�ำหนดในเรื่องของเหตุการณ์ในอนาคตเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ว่าสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน สัญญา
เกิดขึ้นแล้วแต่จะยังบังคับตามสัญญาไม่ได้จนกว่าเงื่อนไขจะส�ำเร็จลง แต่สัญญาเสี่ยงโชค เป็นสัญญาที่มี
มส

ผลบังคับแล้วทุกประการ เพียงแต่การช�ำระหนี้ของอีกฝ่ายหนึ่งขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน
เท่านั้น
อุทาหรณ์
นายด�ำ ตกลงจะให้นาฬิกา นายแดง 1 เรือน ถ้านายแดงสามารถส�ำเร็จการศึกษาโดยได้รับ
ปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ตามตัวอย่างนี้ผลของสัญญายังไม่เกิดขึ้น จนกว่าที่ นายแดงจะส�ำเร็จ
ปริญญาและได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเนื่องจากเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน

ส�ำหรับสัญญาเสีย่ งโชคนัน้ มีผลใช้บงั คับตัง้ แต่ท�ำสัญญา เช่น สัญญาประกันภัยเมือ่ ได้มกี ารตกลง
เข้าท�ำสัญญาแล้วสัญญามีผลใช้บงั คับทันที ผูเ้ อาประกันภัยต้องช�ำระเบีย้ ประกันภัย ถ้าไม่ช�ำระผูร้ บั ประกันภัย
มีสิทธิเรียกให้ช�ำระได้ ความคุ้มครองที่ผู้รับประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยก็เริ่มต้นตั้งแต่สัญญามีผลใช้
บังคับเช่นกันเพียงแต่การจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือการใช้เงินของผู้รับประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย
ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่นอนเท่านั้น จึงท�ำให้สัญญาประกันภัยมีลักษณะเป็นสัญญา
เสี่ยงโชค
สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-33

3. เป็นสัญญาไม่มีแบบแต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
นิติกรรมสัญญาที่กฎหมายบังคับให้ท�ำตามแบบ ถ้าไม่ท�ำตามแบบดังกล่าวนิติกรรมสัญญานั้น
ตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา เช่น สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องท�ำเป็น
หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การทีก่ ฎหมายก�ำหนดว่าจะต้องท�ำเป็นหนังสือ หมายความ


ว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือหรือในสัญญานั้นจึงจะสมบูรณ์ แต่ถ้าระบุแต่เพียงว่า
ให้มีหลักฐานเป็นหนังสือ เพียงแต่มีลายมือชื่อของฝ่ายที่ต้องรับผิดก็เพียงพอแล้ว
สัญญาประกันภัยนั้นกฎหมายก�ำหนดแต่เพียงว่า จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้อง

มส
บังคับคดีได้เท่านั้นซึ่งหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวมิใช่แบบของสัญญาประกันภัย ดังนั้นถ้าฝ่ายผู้เอา-
ประกันภัยจะฟ้องผู้รับประกันภัย ก็เพียงแต่มีข้อความแสดงว่ามีการเอาประกันภัยและมีลายมือชื่อของ
ผู้รับประกันภัยย่อมถือว่ามีหลักฐานเพียงพอที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้แล้วเช่นใบเสร็จรับเงินที่แสดงว่า
เป็นการรับเบี้ยประกันภัย และมีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยก็ใช้ได้แล้ว ส่วนทางฝ่ายผู้รับประกันภัย
หลักฐานทีอ่ าจจะน�ำมาใช้ฟอ้ งร้องผูเ้ อาประกันภัยได้ เช่น ใบค�ำขอเอาประกันภัย เป็นต้น ทัง้ นีต้ าม มาตรา
867 ซึ่งบัญญัติว่า “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือ
ชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นส�ำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญานั้นแก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง
กรมธรรม์ประกันภัย ต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยและมีรายการดังต่อไปนี้

(1) วัตถุที่เอาประกันภัย
(2) ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง
มส

(3) ราคาแห่งมูลประกันภัย ถ้าหากได้ก�ำหนดกันไว้


(4) จ�ำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย
(5) จ�ำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย
(6) ถ้าหากสัญญาประกันภัยมีก�ำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย
(7) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย
(8) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย
(9) ชื่อของผู้รับประโยชน์ถ้าจะพึงมี
(10) วันท�ำสัญญาประกันภัย
(11) สถานที่และวันที่ได้ท�ำกรมธรรม์ประกันภัย”

4. เป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งของคู่สัญญา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติหลักสุจริตไว้ในหลายมาตรา เช่น
มาตรา 5 บัญญัติว่า “ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการช�ำระหนี้ก็ดี ท่านว่าบุคคลทุกคนต้อง
สธ
กระท�ำโดยสุจริต”

11-34 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

มาตรา 5 เป็นบทบัญญัติในบรรพ 1 หลักทั่วไป ซึ่งใช้บังคับกับนิติกรรมซึ่งรวมถึงการท�ำสัญญา


โดยทั่วไปด้วย สัญญาโดยทั่วไปก�ำหนดแต่เพียงให้คู่สัญญาเข้าท�ำสัญญาด้วยความสุจริต สัญญาจะตก
เป็นโมฆียะ เช่น เมื่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้แสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉล
เช่นนัน้ สัญญานัน้ คงมิได้ท�ำขึน้ หรือการแสดงเจตนาเพราะการข่มขู่ (ตาม ปพพ. มาตรา 159, 164) เป็นต้น
ส�ำหรับสัญญาประกันภัย ได้มีบทบัญญัติในเรื่องนี้ไว้เป็นพิเศษ เนื่องจากข้อตกลงทั้งหลายใน


สัญญาประกันภัยอาศัยจากข้อมูลต่างๆ ที่ผู้เอาประกันภัยแถลงเป็นส�ำคัญและการให้ความคุ้มครองใน
สัญญาก็เป็นเรื่องในอนาคต ดังนั้นความซื่อสัตย์สุจริตต่อกันอย่างยิ่ง (Utmost Good Faith) ระหว่าง

มส
คู่สัญญาจึงเป็นเรื่องส�ำคัญ ซึ่งถ้าพิจารณาในทางปฏิบัติแล้ว อาจกล่าวได้ว่าสัญญาประกันภัยที่สมบูรณ์
นัน้ นอกจากการแสดงเจตนาเข้าท�ำสัญญาระหว่างคูส่ ญ
ซึ่งกันและกันในอันที่จะเข้าท�ำสัญญา

5. เป็นสัญญาที่รัฐควบคุมดูแล
ั ญาแล้ว คูส่ ญ
ั ญาจะต้องมีความเชือ่ และความศรัทธา

รัฐบาลได้ออกกฎหมายมาเป็นพิเศษเพื่อใช้บังคับกับกิจการประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
ได้แก่ พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
โดยมีการควบคุมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่ส�ำคัญ เช่น
5.1 กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่

นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ (พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 29)
5.2 การก�ำหนดอัตราดอกเบี้ยประกันภัยของบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
มส

(พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 30)


5.3 การค�ำนวณผลก�ำไรของบริษัทว่ามีหรือไม่และเท่าใด เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินปันผลแก่
ผู้ถือหุ้นนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน (พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 32)
5.4 การติดต่อกับประชาชนบริษทั ต้องเปิดท�ำการตามวันและเวลาทีน่ ายทะเบียนประกาศก�ำหนด
แต่จะเปิดท�ำการเกินกว่าทีก่ �ำหนดก็ได้ (พรบ. ประกันชีวติ พ.ศ. 2535 มาตรา 39, พรบ. ประกันวินาศภัย
พ.ศ. 2535 มาตรา 38)

มาตรา 44)

5.5 บริษัทต้องจัดท�ำสมุดทะเบียนและสมุดบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทตามแบบและรายการที่
นายทะเบียนก�ำหนด (พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 40, พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535

5.6 บริษัทต้องจัดส่งรายงานประจ�ำปีแสดงฐานการเงินและกิจการของบริษัทส�ำหรับรอบปีปฏิทิน
ทีล่ ว่ งแล้วต่อนายทะเบียนตามแบบและรายการทีน่ ายทะเบียนก�ำหนดภายในห้าเดือนนับแต่วนั สิน้ ปีปฏิทนิ
(พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 43, พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 47) เป็นต้น
นอกจากนั้นได้ให้อ�ำนาจนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบกิจการและฐานการเงิน
สธ
ของบริษัท และเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอ�ำนาจ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-35

1) เข้าไปในส�ำนักงานของบริษัทในระหว่างเวลาท�ำการเพื่อทราบข้อเท็จจริง ในการนี้ให้มี
อ�ำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานอืน่ ๆ จากกรรมการผูจ้ ดั การทีป่ รึกษาพนักงาน หรือลูกจ้างของบริษทั และ
สอบถามบุคคลดังกล่าวได้
2) เข้าไปในสถานทีป่ ระกอบธุรกิจของบริษทั หรือสถานทีใ่ ดๆ ทีม่ เี หตุอนั ควรสงสัยว่ามีสมุด
บัญชี เอกสารหรือดวงตรา หรือหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับกิจการสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท เพื่อตรวจ


สอบหรือประเมินราคาทรัพย์สินของบริษัท ในระหว่างเวลาท�ำการหรือในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและ
พระอาทิตย์ตก

มส3) สั่งให้บริษัทหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นๆ
4) เรียกบุคคลดังกล่าวใน 1) หรือ 3) มาให้ถ้อยค�ำหรือจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวยื่นค�ำชี้แจง
แสดงข้อเท็จจริงตามที่ต้องการก็ได้32

กิจกรรม 11.2.2
จงอธิบายความหมายและลักษณะของสัญญาประกันภัยมาโดยสังเขป

แนวตอบกิจกรรม 11.2.2

สัญญาประกันภัยเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือ
ใช้เงินจ�ำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และ
มส

ในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย (มาตรา 861)


สัญญาประกันภัยมีลักษณะดังนี้คือ
1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน
2. เป็นสัญญาเสี่ยงโชค
3. เป็นสัญญาไม่มีแบบแต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
4. เป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งของคู่สัญญา
5. เป็นสัญญาที่รัฐควบคุมดูแล ม
สธ

32 พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 48 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 51

11-36 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 11.2.3
บุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย


มาตรา 862 บัญญัติว่า “ตามข้อความในลักษณะนี้
ค�ำว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือ

เงินใช้ให้ มส
ใช้เงินจ�ำนวนหนึ่งให้
ค�ำว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย
ค�ำว่า “ผูร้ บั ประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผูจ้ ะพึงได้รบั ค่าสินไหมทดแทน หรือรับจ�ำนวน

อนึ่ง “ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้”


ดังนั้นสัญญาประกันภัยจึงมีบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยกันหลายฝ่าย ได้แก่

1. ผู้เอาประกันภัย (Insured)
ผู้เอาประกันภัย หมายถึง คู่สัญญาฝ่ายซึ่งมีความเสี่ยงภัยที่เสนอให้ผู้รับประกันภัยเข้ารับความ

เสี่ยงภัยของตน โดยตกลงส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัยให้เป็นการตอบแทน โดยมีหน้าที่ที่ส�ำคัญคือ
ต้องเปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระส�ำคัญที่มีผลโดยตรงต่อการพิจารณาของผู้รับประกันภัยว่าจะรับท�ำ
สัญญาประกันภัยหรือไม่ และมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อมีวินาศภัยเกิดขึ้นตามสัญญา
มส

2. ผู้รับประกันภัย (Insurer)
ผู้รับประกันภัย หมายถึง คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงเข้ารับความเสี่ยงภัยแทนผู้เอาประกันภัยโดย
สัญญาว่า จะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจ�ำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่าง
อื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา ในปัจจุบันจะต้องเป็นบริษัทจ�ำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ

ประกันชีวิต หรือประกันวินาศภัย แล้วแต่กรณีเท่านั้น บุคคลธรรมดาทั่วไปจะเป็นผู้รับประกันภัยไม่ได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยกิจการค้าอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยของประชาชน พ.ศ. 2471
ก�ำหนดให้การประกันภัยเป็นกิจการค้าอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยแห่งประชาชน ผู้ประกอบ
การค้าจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเสียก่อน ซึ่งปัจจุบันมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26
มกราคม พ.ศ. 2515 ใช้แทน ซึ่งยังคงก�ำหนดให้กิจการประกันภัยเป็นกิจการค้าที่ต้องได้รับอนุญาตอยู่
เช่นเดิม นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535
ก�ำหนดถึงการขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการประกันภัย ซึ่งโดยสรุปที่ส�ำคัญแล้วผู้ประกอบกิจการรับ
สธ
ประกันภัยจะต้องเป็นบริษทั จ�ำกัดหรือบริษทั มหาชนและต้องได้รบั ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยจาก
รัฐมนตรี โดยอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับยังได้บัญญัติถึงการควบคุม
บริษัทประกันภัย การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-37

3. ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary)
ผูร้ บั ประโยชน์ หมายถึง บุคคลทีผ่ เู้ อาประกันภัยก�ำหนดให้เป็นผูร้ บั ประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย
ที่ได้ท�ำขึ้น ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่าสัญญาประกันภัยต้องประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 2 ฝ่าย คือ
ผูเ้ อาประกันภัย และผูร้ บั ประกันภัย ซึง่ อาจกล่าวอีกนัยหนึง่ ว่า สัญญาประกันภัย หากมีผเู้ อาประกันภัย และ


ผู้รับประกันภัยสัญญาก็อาจสมบูรณ์ได้ แม้ว่าไม่มีผู้รับประโยชน์ก็ตาม
ผู ้ เ อาประกั น ภั ย จะก�ำหนดให้ ต นเองเป็ น ผู ้ รั บ ประโยชน์ ห รื อ จะก�ำหนดให้ บุ ค คลอื่ น เป็ น
ผู้รับประโยชน์ก็ได้ ในกรณีที่ไม่มีการก�ำหนดบุคคลอื่นเป็นผู้รับประโยชน์และผู้เอาประกันภัยได้ถึงแก่

มส
กรรมไปแล้ว ผู้รับประกันภัยก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันภัย
ในกรณีทไี่ ด้ก�ำหนดให้บคุ คลอืน่ นอกจากผูเ้ อาประกันภัยเป็นผูร้ บั ประโยชน์ ซึง่ มีลกั ษณะเป็นการ
ท�ำสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อผู้รับประโยชน์ได้แสดงเจตนาที่จะเข้ารับเอาประโยชน์ตาม
สัญญาประกันภัยแล้วผู้รับประโยชน์ก็มีเข้ามาเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในสัญญาประกันภัยนั้น มีสิทธิที่จะ
เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือการใช้เงินจากผู้รับประกันภัยโดยตรง (ดู ปพพ. มาตรา 374, 375 และ
376 ประกอบ) ใน ปพพ. มาตรา 891 ได้วางหลักไว้วา่ แม้ในกรณีทผี่ เู้ อาประกันภัยมิได้เป็นผูร้ บั ประโยชน์
เองก็ดี ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะ
ได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้วและผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไป
ยังผู้รับประกันภัยแล้วว่า ตนจ�ำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้น

ผู้รับประโยชน์ย่อมมีสิทธิในการได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือจ�ำนวนเงินที่ผู้รับประกันใช้ให้และ
มีหน้าทีบ่ อกกล่าวแก่ผรู้ บั ประกันภัยโดยไม่ชกั ช้า ถึงความวินาศเกิดขึน้ เนือ่ งจากภัยทีผ่ รู้ บั ประกันภัยตกลง
มส

ประกันภัยไว้เมื่อผู้รับประโยชน์ทราบความวินาศนั้น
อุทาหรณ์
ฎ. 32/2521 ผู้เช่าซื้อเอาประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยระบุผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้รับประโยชน์รถยนต์
เกิดอุบัติเหตุผู้ให้เช่าซื้อแจ้งให้ผู้รับประกันภัยใช้ค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นการถือเอา
ประโยชน์ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกและฟ้องคดีเองได้ ไม่ใช่ฟ้องแทนผู้ซื้อ
ฎ. 35/2523 ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่ง ช. ผู้เอาประกันภัยท�ำไว้กับจ�ำเลยผู้รับประกันภัยระบุ

ให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ เมื่อทรัพย์ที่เอาประกันภัยถูกเพลิงไหม้หมดและโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้
จ�ำเลยทราบแล้วว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาตามกรมธรรม์นนั้ สิทธิของโจทก์ยอ่ มเกิดมีขนึ้ ตัง้ แต่เวลา
ที่แสดงเจตนาดังกล่าว ช. หรือจ�ำเลยหาอาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่
ฎ. 2447/2516 ไม่มีกฎหมายบทใดจ�ำกัดสิทธิผู้เอาประกันภัยว่าจะระบุใครเป็นผู้รับประโยชน์
ไม่ได้บ้าง แม้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ญาติของผู้เอาประกันภัยก็อาจถูกระบุเป็นผู้รับประโยชน์ได้
อนึ่ง ได้มีค�ำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับคู่สัญญาประกันภัย ดังนี้
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 2664/2517 โจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจ�ำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อว่าโจทก์เป็น
ผู้เสียค่าประกันภัยรถยนต์ในนามจ�ำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถแล้วจ�ำเลยที่ 1 ได้ไปท�ำสัญญาประกันภัย
รถคันนีก้ บั จ�ำเลยที่ 2 ซึง่ เป็นผูร้ บั ประกัน และโจทก์เป็นผูอ้ อกเงินในการประกันภัย ดังนี้ ถือไม่ได้วา่ โจทก์

11-38 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ได้ร่วมกับจ�ำเลยที่ 1 เอาประกันภัยรถคันที่เช่าซื้อ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจ�ำเลยที่ 2 และไม่มีอ�ำนาจ


ฟ้องจ�ำเลยที่ 2 ให้รับผิดใช้เงินค่ารถยนต์คันที่เช่าซื้อซึ่งได้หายไป
ฎ.656/2521 โจทก์ผู้เช่าซื้อช�ำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ครบถ้วนแล้ว ได้เอารถยนต์ไปประกันภัยกับ
บริษัทจ�ำเลย โดยผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้แนะน�ำได้รับค่าคอมมิชชันจากบริษัทจ�ำเลย และเป็นผู้รับฝากเงินเบี้ย
ประกันภัยจากโจทก์ เพื่อช�ำระให้แก่บริษัทจ�ำเลย การที่มีชื่อผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้เอาประกันภัยในกรมธรรม์


แต่ในวงเล็บมีชื่อโจทก์ และที่อยู่ของผู้เอาประกันภัยก็ลงที่อยู่ในโจทก์ ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าซื้อมิได้มีส่วนได้
เสียในเหตุที่ประกันภัยนั้น หลังจากโจทก์ช�ำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนก็เพื่อเป็นการสะดวกแก่การที่จ�ำเลยจะ

มส
มาเก็บเงินและเพื่อผู้ให้เช่าซื้อจะได้คอมมิชชันด้วยเท่านั้น โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงเป็นผู้เอาประกันภัย มีอ�ำนาจ
ฟ้องจ�ำเลยผู้รับประกันภัยเกี่ยวกับความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้ได้
ฎ.1406/2523 สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก�ำหนดให้ผู้เช่าซื้อเอาประกันภัยรถยนต์ ผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้รับ
ประโยชน์รถหายผู้ให้เช่าซื้อไม่เรียกร้องเอาจากผู้รับประกันภัยเพราะเสี่ยงที่ผู้รับประกันภัยอาจยกต่อสู้
ผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ เมื่อล่วงเลยไป 3 ปี จึงเรียกร้องเอาจากผู้เช่าซื้อ ไม่เป็นการใช้
สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้เช่าซื้อต้องช�ำระค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่แก่ผู้ให้เช่าซื้อ
ในส่วนทีเ่ กีย่ วกับสิทธิหน้าทีข่ องผูร้ บั ประกันภัย ผูเ้ อาประกันภัยและผูร้ บั ประโยชน์จะกล่าวเฉพาะ
ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาในสัญญาประกันภัย
คู่สัญญาอาจตกลงกันไว้ประการใดก็ได้ถ้าไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

และได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน นอกจากนี้ยังมีกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติประกัน
วินาศภัยและพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ได้บัญญัติหน้าที่ของบริษัทผู้รับประกันภัยไว้อีก
หลายประการเช่น ต้องมีหลักทรัพย์ของบริษัทวางไว้กับนายทะเบียน33 การด�ำรงไว้ซึ่งเงินกองทุน34 การ
มส

ลงทุนประกอบธุรกิจอื่นๆ ของบริษัทจะท�ำได้เฉพาะที่ก�ำหนดไว้ในกฎกระทรวง35 เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็น


หน้าที่ของผู้รับประกันภัยจะต้องปฏิบัติ
อย่างไรก็ตามในการท�ำสัญญาประกันภัยนั้นย่อมมีบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่
ตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยซึ่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้
ให้ความหมายของตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัยดังนี้

“ตัวแทนประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ท�ำการชักชวนให้บุคคลท�ำ
สัญญาประกันภัยกับบริษัท
“นายหน้าประกันวินาศภัย” หมายความว่า ผู้ซึ่งชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลท�ำสัญญาประกันภัย
กับบริษัทโดยหวังบ�ำเหน็จเนื่องจากการนั้น
ส่วนพระราชบัญญัตปิ ระกันชีวติ พ.ศ. 2535 มาตรา 5 ก็ได้ให้ความหมายของตัวแทนประกันชีวติ
และนายหน้าประกันชีวิตไว้เช่นเดียวกัน คือ
สธ
33 พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 20 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 19
34 พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 27 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 27
35 พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 28 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 28

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-39

“ตัวแทนประกันชีวิต” หมายความว่า ผูซ้ งึ่ บริษทั มอบหมายให้ท�ำการชักชวนให้บคุ คลท�ำสัญญา


ประกันชีวิตกับบริษัท
“นายหน้าประกันชีวิต” หมายความว่า ผู้ชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลท�ำสัญญาประกันชีวิตกับ
บริษัทโดยกระท�ำเพื่อบ�ำเหน็จเนื่องจากการนั้น
ดังนั้นตัวแทนประกันภัยและนายหน้าประกันภัยจึงมิใช่เป็นบุคคลที่มีความหมายเช่นเดียวกัน


หากแต่มีความแตกต่างกันดังนี้คือ
1. ตัวแทนประกันภัยเป็นบุคคลที่บริษัทแต่งตั้งขึ้นโดยอยู่ในการควบคุมบังคับบัญชาของบริษัท

มส
ผู้รับประกันภัย ซึ่งจะท�ำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนนายหน้าประกันภัยเป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในการ
ควบคุมบังคับบัญชาของบริษัทผู้รับประกันภัยสามารถท�ำหน้าที่ของตนได้โดยอิสระ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการ
ท�ำหน้าที่แทนผู้รับประกันภัยหรือได้รับมอบหมายให้กระท�ำการใดแทนผู้รับประกันภัย
2. ตัวแทนประกันภัยมีหน้าที่ชักชวนให้บุคคลเข้าท�ำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัย
เท่านั้น ไม่มีอ�ำนาจเข้าท�ำสัญญาประกันภัยกับบุคคลอื่นแทนบริษัทผู้รับประกันภัย เว้นแต่จะเป็นกรณีที่
ได้มอบอ�ำนาจเป็นหนังสือจากผู้รับประกันภัยตามแบบที่อธิบดีกรมการประกันภัยก�ำหนด ส่วนนายหน้า
ประกันภัยจะมีหน้าที่เพียงแนะน�ำชี้ช่องหรือจัดการให้ผู้เอาประกันภัยได้เข้าท�ำสัญญาประกันภัยกับบริษัท
ผู้รับประกันภัยจนส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเท่านั้น
3. การท�ำงานของตัวแทนประกันภัยนัน้ จะได้รบั ค่าจ้างในรูปของเงินเดือนจากบริษทั ผูร้ บั ประกันภัย

ส่วนนายหน้าประกันภัยนั้นจะท�ำการงานก็เพื่อหวังบ�ำเหน็จที่จะได้จากการที่ตนได้ชี้ช่องหรือจัดการให้
บุคคลเข้าท�ำสัญญาประกันภัยกับบริษัทผู้รับประกันภัย
มส

4. ตัวแทนประกันภัยต้องระบุด้วยว่าเป็นตัวแทนของบริษัทผู้รับประกันภัยใด ซึ่งอาจจะเป็น
ตัวแทนของหลายบริษัทผู้รับประกันภัยก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือยินยอมของบริษัทผู้รับประกันภัยซึ่งตนได้
เป็นตัวแทนอยู่แล้วยินยอมด้วย เพื่อให้นายทะเบียนพิจารณาออกใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนของบริษัท
ผูร้ บั ประกันภัยรายใหม่ ส่วนนายหน้าประกันภัยไม่จ�ำเป็นต้องระบุวา่ เป็นนายหน้าของบริษทั ผูร้ บั ประกันภัย
รายใด
5. ตัวแทนประกันภัยต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น ส่วนนายหน้าประกันภัยจะเป็นบุคคล
ธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

ภัยจะต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ พนักงานหรือลูกจ้างในบริษัทผู้รับประกันภัยใด



6. ตัวแทนประกันภัยจะมีต�ำแหน่งใดในบริษัทผู้รับประกันภัยรายอื่นก็ได้ ส่วนนายหน้าประกัน

นอกจากนั้นยังมีความแตกต่างระหว่างตัวแทนและนายหน้าประกันภัยอื่นอีกตามบทบัญญัติใน
พระราชบัญญัติประกันชีวิตและพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
นอกจากนี้ พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 61 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
มาตรา 64 ได้ก�ำหนดคุณสมบัติของตัวแทนประกันภัยไว้ดังนี้คือ
สธ
(1) บรรลุนิติภาวะ
(2) มีภูมิล�ำเนาในประเทศไทย
(3) ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

11-40 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

(4) ไม่เคยต้องโทษจ�ำคุกโดยค�ำพิพากษาถึงทีส่ ดุ ให้จ�ำคุกในความผิดเกีย่ วกับทรัพย์ทกี่ ระท�ำโดย


ทุจริต เว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
(5) ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
(6) ไม่เป็นนายหน้าประกันชีวิตหรือวินาศภัยแล้วแต่กรณี
(7) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือวินาศภัย หรือใบอนุญาตเป็น


นายหน้าประกันชีวิตหรือวินาศภัยแล้วแต่กรณี ในระยะเวลาสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
(8) ได้รับการศึกษาวิชาประกันชีวิตจากสถาบันการศึกษาที่นายทะเบียนประกาศก�ำหนด หรือ

มส
สอบความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตได้ตามหลักสูตรและวิธีการที่นายทะเบียนประกาศก�ำหนด
อนึ่ง ทั้งตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิตจะท�ำหน้าที่ของตนได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตจากนาย
ทะเบียนประกันชีวิตแล้วเท่านั้น เนื่องจากกฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดกระท�ำการเป็นตัวแทนประกันชีวิต หรือ
นายหน้าประกันชีวติ เว้นแต่จะได้ใบอนุญาตจากนายทะเบียน หากฝ่าฝืนจะมีความผิดโทษจ�ำคุก หรือปรับ
หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ
อนึ่ง ตัวแทนประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยอาจท�ำสัญญาประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยแล้ว
แต่กรณีในนามของบริษัทได้ เมื่อได้รับมอบอ�ำนาจเป็นหนังสือจากบริษัท36
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งไม่เป็นตัวแทนประกันภัย หรือเป็นกรรมการผู้จัดการ พนักงาน
หรือลูกจ้างในบริษัทใดหากมีคุณสมบัติดังเช่นผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันภัยดังได้กล่าวมาแล้ว

นั้นก็มีสิทธิยื่นค�ำขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนได้
ส�ำหรับนิติบุคคลอาจขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตหรือนายหน้าประกันวินาศภัยแล้ว
มส

แต่กรณีได้เมื่อ
(1) นิติบุคคลนั้นมีส�ำนักงานใหญ่ในประเทศไทย
(2) กิจการดังกล่าวอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น
(3) นิติบุคคลนั้นมีพนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตหรือประกัน
วินาศภัย แล้วแต่กรณีเป็นผู้ท�ำการแทนนิติบุคคลดังกล่าว
(4) นิตบิ คุ คลนัน้ ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวติ หรือวินาศภัยแล้วแต่
กรณีในระยะเวลาสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต37 ม
และนายทะเบียนมีอ�ำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตหรือวินาศภัย หรือใบ
อนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตหรือวินาศภัย เมื่อปรากฏแก่นายทะเบียนว่าตัวแทนประกันภัยหรือ
นายหน้าประกันภัยดังมีลักษณะกล่าว38นี้
(1) กระท�ำการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัย
แล้วแต่กรณี
สธ
36พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 71 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 66
37พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 72 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 67
38พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 81 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 76

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-41

(2) ขาดคุณสมบัตติ ามมาตรา 69 หรือมาตรา 72 ส�ำหรับพระราชบัญญัตปิ ระกันชีวติ พ.ศ. 2535


หรือมาตรา 64 หรือมาตรา 67 ส�ำหรับพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
(3) ด�ำเนินงานท�ำให้เกิด หรืออาจท�ำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ตาม
กรมธรรม์ประกันภัยหรือประชาชน
อุทาหรณ์


ฎ. 599/2537 ตัวแทนในการขายประกันมีหน้าที่เพียงชักชวนให้ผู้อื่นมาท�ำสัญญาประกันชีวิตกับ
จ�ำเลยเท่านั้น มิใช่ตัวแทนในการท�ำกรมธรรม์ประกันชีวิต การที่ตัวแทนในการขายประกันจะได้รู้ถึง

มส
ข้อความจริงที่ผู้เอาประกันชีวิตไม่เปิดเผยหรือไม่ ก็หาอาจจะยกเป็นข้อยันจ�ำเลยได้ไม่

กิจกรรม 11.2.3
จงอธิบายความหมายของค�ำดังต่อไปนี้ (มาตรา 862)
1. ผู้รับประกันภัย
2. ผู้เอาประกันภัย
3. ผู้รับประโยชน์

แนวตอบกิจกรรม 11.2.3
ผูร้ บั ประกันภัย หมายความว่า คูส่ ญ
ั ญาซึง่ ตกลงจะใช้คา่ สินไหมทดแทน หรือใช้เงินจ�ำนวนหนึง่ ให้
มส

ผู้เอาประกันภัย หมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย


ผู้รับประโยชน์ หมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจำ�นวนเงินใช้ให้


สธ

11-42 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 11.3
สาระสำ�คัญของสัญญาประกันภัย
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 11.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดดังต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
11.3.1 หลักสุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกันภัย
11.3.2 หลักฐานของสัญญาประกันภัย
11.3.3 กรมธรรม์ประกันภัย

1. ส ญ
ั ญาประกันภัยเป็นสัญญาทีม่ ลี กั ษณะพิเศษแตกต่างไปจากสัญญาธรรมดาทัว่ ไป โดย
เฉพาะความเกี่ยวข้องกันระหว่างคู่กรณีในสัญญาประกันภัยที่ต้องมีความสุจริตต่อกัน
เป็นอย่างยิ่ง
2. สัญญาประกันภัยไม่มีแบบเนื่องจากกฎหมายไม่ได้ก�ำหนดแบบไว้ เพียงแต่คู่สัญญา

จะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็น
ส�ำคัญ
มส

3. กรมธรรม์ประกันภัย เป็นเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ออกและ
ส่งมอบกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 11.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายลักษณะพิเศษของสัญญาประกันภัยได้
2. อธิบายและวินิจฉัยความสมบูรณ์ของสัญญาประกันภัยได้
3. อธิบายและวินิจฉัยลักษณะและความส�ำคัญของกรมธรรม์ประกันภัยได้

สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-43

เรื่องที่ 11.3.1
หลักสุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกันภัย


การประกันภัย เป็นการเฉลี่ยความเสียหายที่เกิดจากภัยอย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคลหนึ่งไปยัง
บุคคลอืน่ ซึง่ อยูใ่ นลักษณะเสีย่ งภัยชนิดเดียวกันและร่วมกัน โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ บรรเทาความเดือดร้อน

มส
ของบุคคลผู้เอาประกันภัยที่ประสบภัย ทั้งหลักการประกันภัยนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดก�ำไรหรือประโยชน์
อย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย อันเป็นลักษณะที่แตกต่างกับการพนันขันต่อ
ดังนั้น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากภัยดังกล่าวจึงต้องเท่ากับความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดภัยจากการกระท�ำโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่อาศัยเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคต ข้อตกลงต่างๆ ใน
สัญญาประกันภัยส่วนใหญ่ได้มาจากผู้เอาประกันภัยเป็นส�ำคัญ สัญญาประกันภัยจึงต้องอาศัยความ
ซื่อสัตย์สุจริตของคู่สัญญาประกันภัยเป็นสาระส�ำคัญของสัญญาประกันภัย
ฝ่ายผู้รับประกัน จะยอมรับประกันภัยต่อเมื่อทราบหรือคาดคะเนได้ว่าภัยที่จะเข้าไปรับเสี่ยงมี
ลักษณะอย่างไร มีความรุนแรงเสียหายมากน้อยเพียงใด ซึง่ ภัยทีก่ ล่าวถึงโดยเฉพาะนีค้ อื ภัยทีผ่ เู้ อาประกันภัย

มีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญอยู่ว่าจะเกิดขึ้นได้ อันจะมีผลให้ต้องได้รับความเสียหาย จึงต้องการที่จะถ่ายเท
ความเสี่ยง (Transfer of Risk) ไปให้ผู้รับประกันภัย และผู้รับประกันภัยสามารถที่จะกระจายความเสี่ยง
ภัย (Risk Distribution) นีอ้ อกไปโดยการเข้ารับความเสีย่ งประเภทเดียวกันนีก้ บั บุคคลอืน่ ๆ ยิง่ สามารถ
มส

รับความเสี่ยงจากบุคคลต่างๆ ได้มากเท่าใด (Law of Large Number) ก็จะสามารถกระจายความเสี่ยง


ได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้นจนกว่าจะสามารถท�ำนายได้ล่วงหน้าโดยการน�ำเอาหลักวิชาสถิติเข้ามาช่วยว่าจะเกิดภัย
ขึ้นกี่รายต่อไป และความเสียหายจะเป็นเท่าใด ยิ่งมีจ�ำนวนผู้เอาประกันภัยในภัยเดียวกันมากเท่าใด การ
กระจายความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น และสามารถท�ำนายได้แม่นย�ำขึ้นด้วย ท�ำให้ผู้รับประกันภัยสามารถที่จะ
ค�ำนวณหรือบอกได้ว่าความเสี่ยงภัย (Risk) ที่ผู้เอาประกันภัยต้องการขอให้ผู้รับประกันภัยเสี่ยงภัยนั้น

มาจากการค�ำนวณ โดยใช้หลักวิชาคณิตศาสตร์ประกันภัยและสถิติ

ควรเป็นเท่าใด ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินเพื่อตั้งเป็นกองทุนไว้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ที่
ต้องประสบภัยประเภทเดียวกัน จ�ำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายนี้ เรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ซึ่งได้

พืน้ ฐานในการทีจ่ ะค�ำนวณอัตราเบีย้ ประกันภัยนัน้ มาจากลักษณะความเสีย่ งภัยทีผ่ เู้ อาประกันภัย


ต้องการจะท�ำประกันภัยไว้ ผู้ที่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงภัยที่จะเอาประกันภัยที่ดีที่สุดก็คือ ผู้เอา
ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจะทราบข้อมูลและเรื่องราวหรือลักษณะของความเสี่ยงภัยได้ก็โดยให้ผู้เอา
ประกันภัยแถลงข้อมูลและตอบค�ำถามต่างๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงภัยนั้น โดยทั่วไปแล้วผู้รับประกันภัยจะ
สธ
มีแบบฟอร์ม ซึ่งเรียกว่า “ใบค�ำขอเอาประกันภัย” ให้ผู้ขอเอาประกันภัยกรอกขอความเพื่อน�ำข้อมูลที่ได้
มาพิจารณาว่าจะรับประกันภัยโดยคิดอัตราเบี้ยประกันภัยเท่าใด ค�ำแถลงและการตอบค�ำถามต่างๆ ของ
ผู้เอาประกันภัยจึงมีความส�ำคัญมาก ซึ่งหากว่าผู้รับประกันภัยไม่มีความเชื่อในค�ำแถลงหรือข้อมูลต่างๆ

11-44 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ที่ผู้เอาประกันภัยให้มาแล้ว ผู้รับประกันภัยก็คงจะไม่ยอมรับการเสี่ยงภัยรายนั้น ถ้าการแถลงต่างๆ ของ


ผู้เอาประกันภัย ผิดพลาดไม่ถูกต้อง แถลงเท็จ หรือมีการปกปิดข้อมูลบางส่วนไว้ อัตราเบี้ยประกันภัยที่
ค�ำนวณไว้ก็ย่อมผิดพลาดไปด้วย ฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะตกลงรับประกันภัยต่อเมื่อมีความเชื่อว่าข้อมูล
ที่ผู้เอาประกันภัยให้มานั้นถูกต้อง เมื่อผู้รับประกันภัยได้รับช�ำระเบี้ยประกันภัยมาแล้วก็จะต้องด�ำเนินการ
บริหารงานโดยอาจจะกระจายความเสีย่ งภัยนัน้ ออกไปยังผูร้ บั ประกันภัยรายอืน่ ซึง่ เรียกโดยทัว่ ไปว่า “การ


ประกันภัยต่อ” (Reinsurance) เนือ่ งจากความเสีย่ งภัยบางประเภทหากเกิดความเสียหายขึน้ ผูร้ บั ประกัน
ภัยรายนั้นแต่เพียงรายเดียว ไม่สามารถที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้โดยล�ำพัง ต้องน�ำ

มส
ความเสี่ยงภัยนั้นมากระจายเฉลี่ยออกไปตามก�ำลังความสามารถ (Capacity) ของผู้รับประกันภัยแต่ละ
รายที่สามารถจะรับความเสี่ยงภัยไว้เองได้ (Retention) ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้รับประกันภัยที่สุจริต
จะต้องปฏิบัติเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ให้ไว้กับผู้เอาประกันภัยได้
ฝ่ายผู้เอาประกันภัย จะขอให้ผู้รับประกันภัยรายใดรับประกันภัยในความเสี่ยงภัยของตน ก็ต่อ
เมื่อมีความเชื่อและมีความศรัทธาในความซื่อสัตย์สุจริตในผู้รับประกันภัยรายนั้นๆ ความสามารถในการ
บริหารงานและความมั่นคงของผู้รับประกันภัยว่า สามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญากล่าวคือชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทน หรือใช้เงินตามทีไ่ ด้ตกลงกันไว้ให้ได้เมือ่ เกิดภัยขึน้ จึงอาจกล่าวได้วา่ ในการเข้าท�ำสัญญาประกันภัย
คู่สัญญานอกจากจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อกันแล้ว ยังต้องมีความเชื่อและศรัทธาซึ่งกันและกันด้วย
ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่ง (Utmost Good Faith)

มาตรา 865 บัญญัติว่า “ถ้าในเวลาท�ำสัญญาประกันภัยผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกัน
ชีวิตบุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผย
มส

ข้อความจริง ซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมท� ำ
สัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ
ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในก�ำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอก
ล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในก�ำหนดห้าปีนับแต่วันท�ำสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับ
สิ้นไป”
ควรพิจารณาตามหลักสุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกันภัย คือ

1. บุคคลผู้มีหน้าที่เปิดเผยข้อความจริง

บุคคลผู้มีหน้าที่เปิดเผยและแถลงความจริงนั้นสามารถแบ่งเป็น 2 กรณี คือ บุคคลผู้มีหน้าที่เปิด
เผยและแถลงความจริงในสัญญาประกันวินาศภัย คือ ผู้เอาประกันวินาศภัย และบุคคลผู้มีหน้าที่เปิดเผย
ข้อความจริงในสัญญาประกันชีวิต คือ ผู้เอาประกันชีวิต และในกรณีที่เป็นการประกันชีวิตบุคคลอื่น
นอกจากผูเ้ อาประกันชีวติ แล้ว ผูถ้ กู เอาประกันชีวติ (บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะ
ของเขานั้น) ย่อมมีหน้าที่ในการแถลงข้อความจริงด้วย
สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-45

2. การเปิดเผยข้อความจริงและการแถลงข้อความเท็จ
ข้อความที่ต้องเปิดเผยและแถลงได้แก่ข้อความซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ย
ประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัดไม่ยอมท�ำสัญญา และต้องเป็นข้อความที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้มีหน้า
ที่ต้องแถลงรู้อยู่แล้วในขณะท�ำสัญญาประกันภัย ถ้าไม่รู้ถือไม่ได้ว่ามีการไม่เปิดเผยข้อความจริง หรือ


แถลงข้อความเป็นความเท็จ กฎหมายมิได้บญ ั ญัตขิ ยายความต่อไปว่าข้อความอย่างไรจึงจะถือว่าถึงขนาด
ที่อาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือบอกปัดไม่ยอมท�ำสัญญา จึงต้อง
พิจารณาตามความเห็นของวิญญูชนทัว่ ไปในฐานะซึง่ เป็นผูเ้ อาประกันภัยว่า ข้อความใดถึงขนาดทีจ่ ะท�ำให้

sentation)
มส
ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือบอกปัดไม่ยอมท�ำสัญญาประกันภัย
อนึ่ง ตาม ปพพ. มาตรา 865 ได้ระบุเหตุที่จะท�ำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะไว้ 2 กรณี
คือ 1) การปกปิดข้อความจริง (Concealment) และ 2) การแถลงข้อความอันเป็นเท็จ (Misrepre-

1) การปกปิดข้อความจริง (Concealment) หมายถึง การไม่แถลงข้อความจริง ซึ่งควรจะต้อง


แถลง ในสัญญาทั่วไปบุคคลมีหน้าที่เพียงไม่ฉ้อฉลให้เขาแสดงเจตนา แต่ไม่ได้บังคับหรือก�ำหนดให้เป็น
หน้าทีว่ า่ จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกอย่างอันจะท�ำให้ตนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ หรือบอกจุดอ่อนเกีย่ วกับ
ฐานะของตนทุกอย่างให้แก่คู่กรณีอีกฝ่ายทราบ แต่ในสัญญาประกันภัยได้ก�ำหนดให้เป็นหน้าที่ของ
ผู้เอาประกันภัยในอันที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริง ซึ่งอาจจะท�ำให้ผู้รับประกันภัยปฏิเสธไม่ยอมเข้ารับ

ท�ำสัญญา หรือเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น
2) การแถลงข้อความอันเป็นเท็จ (Misrepresentation) หมายถึงการบอก กล่าวข้อความซึ่งไม่
มส

ถูกต้อง ไม่จริง ไม่ครบถ้วนโดยคู่สัญญาหรือตัวแทนในสัญญาประกันภัยในระยะเวลาก่อนที่จะได้มีการ


ตกลงท�ำสัญญากัน อาจเป็นเพียงค�ำพูดหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ โดยปกติจะเป็นข้อความตามแบบ
ค�ำขอเอาประกันภัย แต่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของข้อสัญญาเช่นเดียวกับค�ำรับรอง โดยสภาพการแถลง
ข้อความเท็จอาจจะมีได้ทั้งกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีเจตนาทุจริตซึ่งหมายถึงว่าผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้ว
ว่าการแถลงข้อความนั้นไม่ถูกต้องและอีกประการหนึ่งก็คือเป็นการแถลงข้อความเท็จโดยสุจริตเพราะว่า
ไม่ทราบว่าข้อความนั้นเป็นความจริง

ค�ำรับรอง

ในเรื่องนี้กฎหมายของอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกามีหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวคือ
เรื่องค�ำรับรองซึ่งมีเรื่องน่าพิจารณาดังนี้คือ

ค�ำรับรองเปรียบเทียบกับสัญญาประเภทอื่น คือ เงื่อนไขในสัญญานั่นเอง ดังนั้นการที่คู่สัญญา


ฝ่ายหนึ่งผิดเงื่อนไขในสัญญาท�ำให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องรับผิดชอบตามสัญญาทั้งหมด และยังอาจ
เรียกร้องค่าเสียหายได้อีกด้วย
สธ

11-46 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ข้อแตกต่างระหว่างการแถลงข้อความจริง (Representation) กับค�ำรับรอง (Warranty) คือ


การแถลงข้อความจริงเป็นการกระท�ำนอกสัญญา แต่ค�ำรับรองเป็นเงื่อนไขของสัญญา39
ข้อส�ำคัญก็คือจะต้องแยก ค�ำรับรอง (Warranty) ออกจากเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
สัญญา แต่การปฏิบัติผิดเงื่อนไขดังกล่าวไม่ท�ำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆียะ
เรื่องค�ำรับรอง (Warranty) นี้เป็นหลักกฎหมายในระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common


Law) ซึ่งได้วางหลักไว้ว่าถ้ามีการผิดค�ำรับรอง (Breach of Warranty) ไม่ว่าในกรณีใด สัญญาตกเป็น
โมฆียะ ซึง่ ผูร้ บั ประกันภัยสามารถจะปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย

มส
ได้ทันที ไม่ว่าค�ำรับรองนั้นจะเป็นสาระส�ำคัญหรือเป็นเรื่องที่ท�ำให้ช่องแห่งความเสี่ยงภัยเปลี่ยนแปลงไป
หรือไม่ก็ตาม กล่าวคือแม้จะไม่เป็นเหตุที่ถึงขนาดท�ำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือ
บอกปัดไม่ยอมรับประกันภัย ถ้ามีการผิดค�ำรับรองแล้ว สัญญาจะตกเป็นโมฆียะโดยทันที ซึง่ ในกรณีแถลง
ข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงจะต้องเป็นข้อความจริงที่เป็นสาระส�ำคัญด้วย จึงจะท�ำให้
สัญญาตกเป็นโมฆียะ
หลักกฎหมายในเรื่องนี้ยังใช้บังคับโดยเคร่งครัดในประเทศอังกฤษ ส�ำหรับในสหรัฐอเมริกายังคง
ใช้อย่างเคร่งครัดเฉพาะในสัญญาประกันภัยทางทะเล (Marine Insurance) เท่านั้น
ปัญหาที่ว่าข้อความใด เป็นค�ำรับรองหรือไม่จะต้องพิจารณาจากข้อความหรือเงื่อนไขที่ได้มีการ
ตกลงกันไว้ว่ามีลักษณะเป็นค�ำรับรองหรือไม่ โดยปกติแล้ว มักจะมีค�ำน�ำหน้าว่า “ขอให้ค�ำรับรองว่า”

หรือข้อความท�ำนองเดียวกัน เป็นต้น
กฎหมายไทยไม่มีหลักกฎหมายท�ำนองนี้ คงจะพิจารณาแต่เพียงว่าเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของ
มส

สัญญาหรือไม่ ซึ่งถ้าถือเป็นเงื่อนไขของสัญญาแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งท�ำผิดเงื่อนไขคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง อาจ


จะยกเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาก็ได้ ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างออกไปจากการบอกล้างสัญญาให้ตกเป็นโมฆะ
เพราะสัญญานัน้ เป็นโมฆียกรรม แต่ทงั้ นีจ้ ะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปด้วย ถ้าเป็นกรณีทแี่ ม้ผเู้ อาประกันภัย
จะปฏิบัติผิดเงื่อนไขแบบนั้น ผู้รับประกันภัยก็ไม่เคยบอกเลิกสัญญา หรือในทางปฏิบัติซึ่งเป็นปกติธุระ
ของผู้รับประกันภัยรายนั้น ผู้รับประกันภัยยังคงรับประกันภัยต่อไปเช่นนี้ หากเกิดภัยขึ้น ผู้รับประกันภัย
จะมาใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยที่ผู้รับประกันภัยก็ทราบเหตุมาก่อนและไม่เคยแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยจัดการ
แก้ไขให้ถูกต้องตามเงื่อนไขของสัญญาไม่ได้

ปพพ. มาตรา 865 แล้วอาจสรุปได้ 2 กรณี คือ


2.1 ผู้มีหน้าที่ต้องแถลงรู้ความจริงอยู่แล้ว

ปัญหาส�ำคัญที่จะต้องพิจารณาต่อไปคือ ข้อความใดที่ต้องเปิดเผยหรือแถลง ซึ่งพิจารณา ตาม

2.2 เป็นข้อความซึ่งอาจจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมท�ำ


สัญญา
สธ
39 Macgillivray & Parkington Insurance 6th Edition London: Sweet & Maxwell 1975 p. 262 และ Lord
Mansfieed ในคดี Pawson V. Watson (1778) 2 Cowp. 785 emphasized that “a warranty of condition makes part
of a written policy whereas a representation is made outside the written contract”

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-47

การรู้ความจริง นั้นหมายความเพียงว่า รู้ถึงข้อความหรือเหตุการณ์นั้นเท่านั้น ไม่หมายความ


เลยไปถึงว่ารูว้ า่ ข้อความนัน้ มีความส�ำคัญถึงขนาดทีว่ า่ ถ้าปกปิด หรือแถลงเท็จแล้วจะท�ำให้สญ ั ญาประกันภัย
ตกเป็นโมฆียะ
ในเรื่องที่ว่าผู้มีหน้าที่ต้องเปิดเผยหรือแถลงข้อความจริง รู้ข้อความจริงนั้นหรือไม่เป็นปัญหา
ข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องๆ ไป


ปัญหาที่ควรพิจารณาต่อไปคือ ถ้าตัวแทนของฝ่ายผู้มีหน้าที่ต้องเปิดเผยหรือแถลงได้แถลง
ข้อความจริงโดยที่ผู้มีหน้าที่ต้องเปิดเผยหรือแถลงไม่รู้เช่นนี้จะมีผลต่อสัญญาประการใด เรื่องนี้จะต้อง

มส
คอยติดตามค�ำพิพากษาของศาลฎีกาต่อไป แต่โดยความเห็นของผูเ้ ขียนแล้ว เห็นว่าหลักส�ำคัญของสัญญา
ประกันภัยคือ ความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งของคู่สัญญา โดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ผูเ้ อาประกันภัยมีหน้าทีต่ อ้ งเปิดเผยข้อความจริงเพือ่ ให้ผรู้ บั ประกันภัยได้ทราบถึงภัยทีจ่ ะตกลงเข้ารับเสีย่ ง
ข้อความจริงใดก็ตามทีเ่ กีย่ วกับเรือ่ งการเสีย่ งภัยทีเ่ อาประกันภัย ซึง่ จะท�ำให้ผรู้ บั ประกันภัยคิดเบีย้ ประกันภัย
สูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมเข้ารับเสี่ยงภัยควรจะเปิดเผยให้ผู้รับประกันภัยทราบ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ของ
ตัวผู้เอาประกันภัยหรือตัวแทนก็ตาม ในกรณีที่มีการมอบหมายให้ตัวแทนแถลงข้อความจริง หรือเปิดเผย
ข้อความจริงแทนผู้เอาประกันภัย แม้ว่าตัวผู้เอาประกันภัยเองจะไม่รู้แต่ตัวแทนรู้แล้วไม่แถลง น่าจะถือ
ได้ว่าตัวแทนของผู้เอาประกันภัยปกปิดหรือในกรณีตัวแทนแถลงเท็จยังเป็นเรื่องชัดเจนว่า น่าจะท�ำให้
สัญญาตกเป็นโมฆียะ

อุทาหรณ์
นายแดงและนางด�ำเป็นสามีภรรยากัน นายแดงป่วยไปให้นายแพทย์ตรวจปรากฏว่านายแดง
มส

เป็นมะเร็ง แพทย์ที่ตรวจแจ้งให้นางด�ำซึ่งเป็นภรรยาทราบว่านายแดงเป็นมะเร็งแต่ไม่ยอมแจ้งให้นายแดง
ทราบ นายแดงตกลงจะท�ำสัญญาประกันชีวิต และในการท�ำประกันชีวิตนี้ มอบให้นางด�ำเป็นผู้เปิดเผย
ข้อความและตอบค�ำถามแถลงข้อความจริงต่างๆ ต่อผู้รับประกันภัยในค�ำถามที่ว่านายแดงป่วยหรือเคย
ป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ นางด�ำตอบว่าไม่เคย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว นางด�ำทราบว่านายแดงก�ำลังป่วย
เป็นโรคมะเร็ง แต่นายแดงไม่ทราบ ดังนี้น่าจะถือว่าสัญญาตกเป็นโมฆียะ เพราะถ้าผู้รับประกันภัยทราบ
ข้อเท็จจริงนี้อาจจะเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมรับประกันภัยก็ได้ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว

การแถลงข้อความของนางด�ำเป็นการแถลงเท็จ โดยเจตนาของ นางด�ำแม้ว่านายแดงจะไม่รู้ข้อความจริง
ก็ตาม
ส่วนในข้อที่วา่ ถ้าผูม้ หี น้าทีต่ อ้ งเปิดเผยหรือแถลงข้อความจริงรู้ แต่ตัวแทนทีม่ อบหมายให้ไปเปิด
เผยหรือแถลงไม่รู้ และผู้มีหน้าที่ดังกล่าวไม่ได้แจ้งให้ตัวแทนทราบตัวแทนจึงไม่ได้เปิดเผยหรือแถลง
ข้อความนั้นให้ผู้รับประกันภัยทราบ กรณีนี้เห็นได้ชัดว่าฝ่ายผู้มีหน้าที่ต้องเปิดเผยหรือแถลงข้อความจริง
ท�ำผิดหน้าที่สัญญาจึงตกเป็นโมฆียะ
มีปัญหาว่าข้อความใดที่จะถือว่าเป็นสาระส�ำคัญ (Material Fact) อันจะท�ำให้ผู้รับประกันภัย
สธ
เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมรับประกันภัยนั้นจะถือตามความคิดหรือตามความเห็นของ
ผู้เอาประกันภัย หรือของวิญญูชนหรือของผู้รับประกันภัย

11-48 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

การที่จะให้ถือตามความคิด หรือความเห็นของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประกันภัยแต่ละบุคคล


ที่เข้าท�ำสัญญาประกันภัยเป็นกรณีๆ ไปคงไม่ได้ เพราะขนาดความเข้าใจ ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ไม่เท่ากันและไม่อาจจะวัดได้ว่าตามความจริงแล้วแต่ละคนคิด หรือมีความเห็นเรื่องนั้นอย่างไรจึงจ�ำต้อง
ถือเอาตามความเห็นของวิญญูชนเป็นส�ำคัญ ว่าข้อความจริงนั้นๆ เป็นสาระส�ำคัญหรือไม่ที่จะท�ำให้ผู้รับ
ประกันเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมท�ำสัญญาประกันภัยนั้น


ปัญหาที่ควรพิจารณาต่อไปคือ “วิญญูชน” ที่ว่านี้จะถือเอาวิญญูชนในฐานะผู้เอาประกันภัยหรือ
วิญญูชนในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งความคิดหรือความเห็นของวิญญูชนในฐานะผู้เอาประกันภัยและผู้รับ

มส
ประกันภัยอาจจะต่างกันได้ เพราะผู้เอาประกันภัยเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งอาจจะไม่ทราบเรื่องเกี่ยวกับการ
ประกันภัยมากเท่าผูร้ บั ประกันภัยโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในปัจจุบนั ซึง่ การประกันภัยท�ำเป็นธุรกิจผูร้ บั ประกันภัย
จึงมีฐานะเป็นผู้มีอาชีพในการรับประกันภัยย่อมที่จะเข้าใจและรู้เรื่องเกี่ยวกับการประกันภัยดีกว่าฝ่าย
ผู้เอาประกันภัย อีกประการหนึ่งเงื่อนไขและหลักการต่างๆ ในสัญญาประกันภัยโดยข้อเท็จจริงแล้วก็เป็น
เรื่องยากที่จะเข้าใจ ปัญหาในบางเรื่องอาจจะเป็นปัญหาทางเทคนิคก็ได้
ข้อสังเกต ปพพ. ไม่ได้ก�ำหนดหน้าที่ของผู้รับประกันภัยไว้เป็นพิเศษ แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความ
ว่าผู้รับประกันภัยไม่จ�ำเป็นจะต้องสุจริตในการประกันภัย ผู้รับประกันภัยคงต้องกระท�ำการหรือเข้าท�ำ
สัญญาโดยสุจริตตามบทบัญญัติในมาตรา 5 และบทบัญญัติทั่วไปในเรื่องสัญญา การที่กฎหมายก�ำหนด
เฉพาะผูเ้ อาประกันภัยก็เพราะผูเ้ อาประกันภัยเป็นฝ่ายทีม่ หี น้าทีต่ อ้ งเปิดเผยหรือต้องแถลงเกีย่ วกับสภาพ

แห่งภัยที่ได้น�ำมาตกลงท�ำสัญญาประกันภัย
อุทาหรณ์
มส

ฎ. 1675/2500 ผู้เอาประกันชีวิตตนเองแถลงข้อความเท็จในเรื่องอาชีพและค่าเสียเบี้ยประกันภัย
เอง ความจริงไม่มีอาชีพและผู้รับประโยชน์เสียเบี้ยประกันภัยให้เป็นข้อที่ผู้รับประกันภัยอาจไม่ท�ำสัญญา
ด้วย สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะ ถ้าบอกล้างไปยังผู้รับประโยชน์แล้ว การบอกล้างนั้นใช้ได้
ฎ. 49/2501 กรมธรรม์ประกันชีวิตขาดอายุ บริษัทต่ออายุให้เพราะผู้ถูกประกันชีวิตท�ำใบรับรอง
ว่าสุขภาพดีเช่นเดิม แต่ความจริงผูถ้ กู ประกันชีวติ รูอ้ ยูว่ า่ ป่วยเกีย่ วกับท้องและสุขภาพไม่สมบูรณ์ เป็นการ
ปกปิดความจริง อันควรต้องแจ้งให้บริษัททราบ บริษัทบอกล้างสัญญาซึ่งเป็นโมฆียะได้

ฎ. 355/2505 ผูเ้ อาประกันชีวติ เคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาวไม่มี
ทางรักษาหายและอาจตายภายใน 7 ถึง 6 เดือน หรืออย่างช้าภายใน 5 ปี แต่ปกปิดความจริงว่าไม่เคย
เจ็บป่วย ไม่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาล ท�ำให้สัญญาเป็นโมฆียะ เมื่อผู้รับประกันชีวิตบอกล้างภายใน
1 เดือนแล้ว ย่อมตกเป็นโมฆะ ผู้รับประโยชน์จะฟ้องเรียกร้องเงินประกันชีวิตไม่ได้
ฎ. 16/2507 ผู้เอาประกันชีวิตรู้ตัวดีว่าตนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและปัสสาวะเป็นเลือด
ก่อนขอเข้าท�ำสัญญาประกันชีวิต แต่ก็ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงให้บริษัทประกันชีวิตทราบ สัญญา
ประกันชีวิตย่อมตกเป็นโมฆียะ
สธ
ผู้ตายท�ำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทจ�ำเลย โดยระบุให้ผู้เยาว์คนหนึ่งเป็นผู้รับประโยชน์เมื่อ
ปรากฏว่าสัญญาประกันชีวิตรายนี้เป็นโมฆียะ ตาม ปพพ. มาตรา 865 และบริษัทจ�ำเลยได้บอกล้างไป
ยังผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นแล้ว สัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆะ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-49

ฎ. 2076/2514 ผู้เอาประกันชีวิตรู้ว่าตนป่วยเป็นโรคมะเร็ง เคยเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งต่อมไทมัส


ที่ทรวงอกและต่อมาที่มดลูกและรังไข่ซึ่งมะเร็งได้กระจายลงไปขณะยื่นค�ำขอเอาประกันชีวิตก็เป็นระยะที่
ตนก�ำลังได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี แต่ปกปิดความจริงดังกล่าวนี้โดยแถลงเท็จว่าเป็นการผ่าตัด
ซี่โครงข้างซ้ายซึ่งงอเพราะกระโดดน�้ำเล่น และผ่าตัดไส้ติ่ง ซึ่งบริษัทประกันภัยทราบความจริงข้างต้นนี้
แล้วก็จะไม่ยอมท�ำสัญญาประกันชีวิตด้วย เช่นนี้สัญญาย่อมเป็นโมฆียะ บริษัทมีสิทธิบอกล้างไม่ใช้เงิน


ตามสัญญาได้
ฎ. 765/2517 สามีของโจทก์เอาประกันชีวิตกับบริษัทจ�ำเลย โดยปกปิดความจริงและแถลงเท็จ

บอกล้าง
มส
ว่าไม่เคยให้แพทย์คนใดวินิจฉัยโรคมาก่อนทั้งที่สามีของโจทก์ก็เป็นโรคตับแข็งและโรคในล�ำคออยู่ก่อน
ท�ำให้บริษัทจ�ำเลยไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิตเสียได้ สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะ แต่
บริษัทจ�ำเลยไม่ใช้สิทธิบอกล้างเสียภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ทราบมูลอันจะบอกล้างได้ จึงหมดสิทธิจะ

ฎ. 2995/2517 โจทก์เอาประกันภัยกับจ�ำเลยส�ำหรับค่าทดแทนลูกจ้างของโจทก์ในระดับผู้จัดการ
ร้านสาขา ถ้าโจทก์มีความรับผิดต้องจ่ายค่าทดแทน จ�ำเลยจะต้องชดใช้เงินทุกจ�ำนวนที่โจทก์จะต้อง
รับผิดนั้น กรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทข้อ 5 ระบุว่า “ค่าเบี้ยประกันภัยจะต้องคิดตามจ�ำนวนค่าแรง
และเงินเดือนตลอดทั้งรายได้อื่นๆ ที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างระยะเวลาประกันภัยระยะ
หนึ่งๆ” ดังนั้นการแจ้งจ�ำนวนรายได้ที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายให้ลูกจ้างจึงเป็นข้อสาระส�ำคัญเมื่อ

โจทก์แจ้งจ�ำนวนเงินผิดไปถึง 10 เท่าตัวเศษ เป็นผลท�ำให้จ�ำเลยไม่อาจเรียกเบี้ยประกันภัยซึ่งตนมีสิทธิ
เรียกร้องได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยถึง 200,000 บาทเศษ ถือได้ว่าการไม่เปิดเผยข้อความจริงที่ควรต้อง
มส

แจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบในเวลาท�ำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยฉบับพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะ
ตาม ปพพ. มาตรา 865
ในสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ส�ำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกข้ออันอาจจะ
ท�ำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมท�ำสัญญาด้วย แม้กรมธรรม์ประกันภัย
จะระบุให้จ�ำเลยมีสิทธิตรวจดูสมุดบัญชีก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จ�ำเลยจะต้องแสวงหา
ข้อเท็จจริงนี้เองไม่ และจะถือว่าจ�ำเลยควรจะทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ดุจกัน

เมื่อผู้จัดการร้านสาขาคนหนึ่งของโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่โจทก์ได้แจ้งรายได้
อื่นๆ ของผู้ตายนอกจากเงินเดือนให้จ�ำเลยทราบด้วยแล้ว จ�ำเลยไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 1
เดือนนับแต่นั้น แต่การที่จ�ำเลยจะบอกล้างโมฆียกรรมนี้ได้จ�ำเลยจะต้องรู้ข้อเท็จจริงมากกว่านั้น คือต้อง
ค�ำนวณจากรายได้ทแี่ ท้จริงทัง้ หมดของผูจ้ ดั การร้านสาขาของโจทก์ทงั้ หมด เพือ่ จะได้ความว่าโจทก์ปกปิด
ข้อความจริงใดอันจะท�ำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะหรือไม่ เมื่อจ�ำเลยสอบถามไปโจทก์ก็ไม่ตอบ
ให้จ�ำเลยทราบจนกระทั่งฟ้องจ�ำเลยแล้วจ�ำเลยก็ได้บอกล้างภายใน 1 เดือนนับแต่จ�ำเลยได้สอบถามไป
กรณีจึงไม่ต้องด้วยวรรคสองของมาตรา 865
สธ
ฎ. 1218/2519 บริษทั จ�ำเลยถือว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นอันตรายร้ายแรงทีจ่ ะไม่รบั ประกันชีวติ
แต่ผู้เอาประกันชีวิตได้ให้ถ้อยค�ำต่อบริษัทจ�ำเลยว่าไม่เคยป่วยด้วยโรคเช่นว่านั้น สัญญาประกันชีวิตเป็น
โมฆียะ โดยไม่ต้องค�ำนึงว่าผู้เอาประกันชีวิตได้ตายด้วยโรคนั้นหรือไม่

11-50 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 1076/2520 โรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด และอาจท�ำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความ


ตายได้ โรคถุงลมโป่งพองจึงเป็นโรคที่มีความส�ำคัญอันอาจถือเป็นเหตุให้จ�ำเลยบอกปัดไม่ยอมท�ำสัญญา
ประกันชีวติ ผูข้ อเอาประกันภัยได้ถา้ จ�ำเลยผูร้ บั ประกันภัยได้ทราบข้อความจริงนีม้ าก่อน การทีผ่ เู้ อาประกันภัย
รู้ตัวดีว่าป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพองมานานปี เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลายแห่ง และเคยรับ
การฉายเอ็กซเรย์มาแล้วแต่ตอบค�ำถามแพทย์ผู้ตรวจสุขภาพว่าไม่เคยเจ็บป่วยเป็นโรคใดๆ ไม่เคยรับการ


รักษาในโรงพยาบาล จึงเป็นการละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงซึง่ เรือ่ งเหล่านีม้ คี วามส�ำคัญทีจ่ �ำเลยต้องการ
ทราบเพื่อจะน�ำไปประกอบการวินิจฉัยว่าจะรับประกันชีวิตผู้ขอเอาประกันภัยหรือไม่ สัญญาประกันชีวิต

มส
ที่ผู้เอาประกันภัยท�ำไว้กับจ�ำเลยจึงตกเป็นโมฆียะ ตาม ปพพ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
การตรวจโรคถุงลมโป่งพองโดยวิธีธรรมดาจะพบได้ยากนอกจากฉายเอ็กซเรย์หรือใช้ฉีดสีเข้าไป
ในปอดแล้วฉายเอ็กซเรย์ แต่เมื่อผู้ขอเอาประกันภัยปกปิดมิได้แจ้งเรื่องที่เจ็บป่วยให้แพทย์ผู้ตรวจสุขภาพ
ทราบ ก็ไม่มีเหตุที่แพทย์จะต้องฉายเอ็กซเรย์ตรวจดูถุงลมของผู้เอาประกันภัยเพราะไม่อาจรู้ได้ว่าผู้เอา
ประกันภัยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง นายแพทย์ได้ตรวจร่างกายผู้เอาประกันภัยแล้วเห็นว่าสุขภาพปกติจึง
รายงานเสนอความเห็นควรรับประกันภัยและการประกันชีวิตของจ�ำเลยก็พิจารณาจากรายงานของแพทย์
ประกับค�ำขอเอาประกันภัย เช่นนี้จะฟังว่าจ�ำเลยผู้รับประกันภัยประมาทเลินเล่อมิได้ กรณีไม่ต้อง ตาม
ปพพ. มาตรา 866
ฎ. 1543/2534 ล.รู้ตัวว่าตนเป็นโรคไตวายร้ายแรงแต่ละเว้นไม่เปิดเผยความจริง ท�ำให้จ�ำเลยเข้า

ท�ำสัญญายอมรับประกันชีวิต ล.โดยไม่ทราบการเป็นโรคไตวายร้ายแรงดังกล่าว ท�ำให้สัญญาประกันชีวิต
เป็นโมฆียะ ตาม ปพพ. มาตรา 865 เมื่อจ�ำเลยบอกล้างภายในก�ำหนดแล้วสัญญาย่อมตกเป็นโมฆะ ดังนี้
มส

โจทก์ในฐานะผู้รับประโยชน์ไม่อาจเรียกร้องให้จ�ำเลยรับผิดชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตได้
ฎ. 2397/2536 น.ผู้เอาประกันชีวิตกับจ�ำเลยในขณะท�ำสัญญาประกันชีวิตมีสุขภาพไม่สมบูรณ์
โดยป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคตับแข็ง และละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงให้จ�ำเลยทราบ ซึง่ หากจ�ำเลย
ทราบจะบอกปัดไม่ท�ำสัญญาประกันชีวิตกับ น. การปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าวท�ำให้จ�ำเลยส�ำคัญผิดใน
ข้อเท็จจริงสัญญาประกันชีวิตระหว่างจ�ำเลยกับ น. จึงตกเป็นโมฆียะ เมื่อจ�ำเลยได้บอกล้างสัญญาแล้วจึง
ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อโจทก์

ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ จะถือว่าการไม่ตรวจ
สุขภาพของผูเ้ อาประกันภัยก่อนเป็นการละเว้นหาได้ไม่ แม้การประกันชีวติ ในทุกประกันต�ำ่ ตามหลักเกณฑ์
ที่กระทรวงพาณิชย์ก�ำหนดไม่จ�ำเป็นต้องตรวจสุขภาพผู้เอาประกันภัยก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้รับประกันภัยไม่
ถือเอาเรื่องสุขภาพของผู้เอาประกันภัยเป็นส�ำคัญ
สัญญาประกันชีวิตที่กระท�ำโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติ ปพพ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง เป็นโมฆียะผู้รับ
ประกันภัยย่อมใช้สิทธิบอกล้างได้ หากไม่ใช้สิทธิบอกล้าง สัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับได้ จึงเป็นสิทธิ
ของผู้รับประกันภัยจะบอกล้างหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น แม้ผู้รับประกันภัยจะใช้สิทธิบอกล้างแต่เพียงเฉพาะ
สธ
สัญญารายใดก็หาเป็นการไม่ชอบไม่
ฎ. 599/2537 ป. รู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนเป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคร้ายแรงรักษาไม่หาย ได้
ขอเอาประกันชีวิตต่อจ�ำเลยโดยปกปิดข้อเท็จจริงไปกรอกข้อความในค�ำขอเอาประกันภัยว่าตนเป็น

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-51

โรคดังกล่าว ซึง่ ถ้าจ�ำเลยทราบความจริงข้างต้นนีแ้ ล้วอาจไม่ยอมท�ำสัญญาประกันชีวติ ด้วย ดังนัน้ สัญญา


ประกันชีวติ จึงตกเป็นโมฆียะ เมือ่ จ�ำเลยบอกล้างแล้วจ�ำเลยจึงไม่ตอ้ งรับผิดใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันชีวติ
ตัวแทนในการขายประกันมีหน้าที่เพียงชักชวนให้ผู้อื่นมาท�ำสัญญาประกันชีวิตกับจ�ำเลยเท่านั้น
มิใช่ตัวแทนในการท�ำกรมธรรม์ประกันชีวิต การที่ตัวแทนในการขายประกันจะได้รู้ถึงข้อความจริงที่ผู้เอา
ประกันชีวิตไม่เปิดเผยหรือไม่ ก็หาอาจจะยกเป็นข้อยันจ�ำเลยได้ไม่


ข้อความที่ไม่ถือว่าเป็นสาระส�ำคัญแม้ปกปิดสัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆียะ
อุทาหรณ์

มส
ฎ. 715/2513 การละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริง ซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ย
ประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมท�ำสัญญา ตาม ปพพ. มาตรา 865 จะต้องพิจารณาถึงความส�ำคัญ
ของข้อความที่ละเว้นไม่เปิดเผยด้วยมิใช่ว่าถ้ามีการปกปิดความจริงแล้วจะท�ำให้สัญญาประกันภัยเป็น
โมฆียะไปเสียทั้งหมด
โรคไส้เลื่อนมิใช่เป็นโรคอันตรายร้ายแรง เมื่อผ่าตัดแล้วอาจหายไปได้ การที่ผู้เอาประกันภัยมิได้
แจ้งเรื่องเคยเป็นโรคนี้ และได้รับการผ่าตัดมาก่อนให้ทราบยังไม่ถึงขนาดที่อนุมานเอาได้ว่า ถ้าได้แจ้ง
เช่นนั้นผู้รับประกันภัยจะบอกปัดไม่รับประกันภัย หรือเรียกเบี้ยประกันภัยให้สูงขึ้น จึงไม่ท�ำให้สัญญา
ประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
ฎ. 1422/2516 บริษัทจ�ำเลยไม่ถือว่าการที่ผู้ตายเคยถูกปฏิเสธการรับประกันชีวิตมาก่อนเป็น

ข้อส�ำคัญ ข้อส�ำคัญอยู่ที่ว่าขณะผู้ตายขอประกันครั้งที่เกิดเหตุเรื่องนี้สุขภาพของผู้ตายสมบูรณ์หรือไม่
ฉะนั้น เมื่อนายแพทย์ของบริษัทจ�ำเลยตรวจสุขภาพผู้ตายและเสนอเรื่องให้บริษัทจ�ำเลย จนบริษัทจ�ำเลย
มส

พิจารณาอนุมตั ใิ ห้ผตู้ ายประกันชีวติ จึงแสดงว่าผูต้ ายมีสขุ ภาพสมบูรณ์บริษทั จ�ำเลยจะมาปฏิเสธการจ่ายเงิน


โดยอ้างว่าผู้ตายแจ้งเท็จว่าไม่เคยได้รับการปฏิเสธในการขอเอาประกันชีวิตกับบริษัทจ�ำเลยมาก่อนไม่ได้
ฎ. 918/2519 เมื่อเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จ�ำเลยผู้รับประกันภัยถือว่าข้อความจริงที่ว่ารถเคยถูกชน
มาก่อน ซึ่งโจทก์ผู้เอาประกันภัยมิได้เปิดเผยให้จ�ำเลยทราบนั้น ไม่ใช่ข้อส�ำคัญอันจะมีผลเป็นการจูงใจ
จ�ำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นกว่าที่เรียกไว้ หรือเป็นเหตุบอกปัดไม่ยอมท�ำสัญญาด้วย เพียงแต่มีผล
ให้จ�ำเลยไม่ยอมรับประกันภัยในจ�ำนวนเงินที่โจทก์เอาประกันภัยไว้เท่านั้น จึงไม่ต้องด้วยประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 อันจะท�ำให้สัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะ ม
ฎ. 3682/2545 โจทก์กรอกค�ำตอบในใบค�ำขอเอาประกันชีวิตโจทก์ว่าไม่เคยเป็นหรือทราบว่าเป็น
หรือเคยได้รับค�ำแนะน�ำหรือการรักษาโรคมะเร็งเนื้องอกตุ่มเนื้อหรืออวัยวะใดๆ ที่งอกหรือโตขึ้นผิดปกติ
ไม่เคยมีอาการผิดปกติทเี่ ต้านมมาก่อน แต่ปรากฏว่าโจทก์เคยเข้าโรงพยาบาลด้วยอาการปวดบริเวณเต้านม
ซึ่งแพทย์ตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อที่เต้านมด้านซ้าย เมื่อโจทก์ทราบแล้ว แต่โจทก์มิได้แจ้งให้จ�ำเลยทราบซึ่ง
หากจ�ำเลยทราบอาจเรียกเบี้ยประกันให้สูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต การกระท�ำของโจทก์มีผลให้สัญญา
ประกันชีวิตและสัญญาพิเศษเพิ่มเติมตกเป็นโมฆียะ ตาม ปพพ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง
สธ
จ�ำเลยได้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์ปกปิดไว้อันเป็นมูลที่จ�ำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้อย่าง
เร็วที่สุดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2538 เมื่อโจทก์เรียกค่ารักษาพยาบาลจากจ�ำเลย จ�ำเลยปฏิเสธไม่จ่ายเงิน
ให้เพราะโจทก์ปิดบังการป่วยเป็นโรคของโจทก์ก่อนที่จะท�ำสัญญาประกันภัย ต่อมาวันที่ 8 กุมภาพันธ์

11-52 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

พ.ศ. 2538 โจทก์ท�ำบันทึกต่อนายทะเบียนกรมการประกันภัย ระบุว่าโจทก์ไปยื่นเรื่องเบิกค่ารักษา


พยาบาลเป็นค่ารักษาการผ่าตัดแต่จ�ำเลยปฏิเสธการจ่าย ต่อจากนั้นจ�ำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรม
ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ไปยังจ�ำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างภายในก�ำหนดหนึ่งเดือน ตาม
ปพพ. มาตรา 865 วรรคสอง สัญญาประกันชีวิตในส่วนสัญญาเพิ่มเติมพิเศษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา
ประกันชีวิต ในส่วนการรักษาก้อนเนื้อที่เต้านมข้างซ้ายระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยย่อมเป็นโมฆะ


ฎ. 2792/2546 ใบค�ำขอเอาประกันชีวิต พ. แจ้งว่าไม่เคยรับการตรวจสุขภาพหรือการตรวจเพื่อ
วินจิ ฉัยโรค ไม่เคยเจ็บป่วย ไม่เคยรับการรักษาในสถานพยาบาล ไม่เคยเป็นหรือรับการรักษาโรคเกีย่ วกับ

มส
ตาหูคอจมูกไม่เคยเป็นโรคหืดหอบหรือโรคเกี่ยวกับปอดหรือระบบหายใจเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2538 พ. เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล เพราะพยายามฆ่าตัวตาย วัน
ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2539 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยโรคไซนัสอักเสบติดเชื้อ เดือนตุลาคม
พ.ศ. 2539 เป็นต้นมาเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลหลายครั้งด้วยอาการหลอดลมอักเสบ กระดูก
อ่อนซี่โครงอักเสบ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย กินอาหารไม่ได้เดือนธันวาคม พ.ศ. 2539 แพทย์
ตรวจพบว่าเป็นโรคเอดส์หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดังนั้น พ. จึงแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความ
จริงต่อจ�ำเลย ซึ่งถือว่าเป็นข้อสาระส�ำคัญ สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ตาม ปพพ. มาตรา 865
วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่โดยตรงที่ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งข้อเท็จจริงตามที่ผู้รับประกันภัยจ�ำเลยต้องการ
ทราบและก�ำหนดไว้ การให้แพทย์ตรวจผู้เอาประกันภัยหรือไม่เป็นดุลพินิจของผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เอา
ประกันภัยปกปิดความจริง แถลงข้อความเป็นเท็จเสียแล้วโจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจ�ำเลยไม่ได้ให้แพทย์

ตรวจร่างกายผู้เอาประกันภัยถือว่าประมาทและไม่ท�ำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ
ฎ. 1333/2551 ช. เป็นตัวแทนในการหาผู้เอาประกันมีหน้าที่ชักชวนให้ผู้อื่นมาท�ำสัญญาประกัน
มส

ชีวิตกับจ�ำเลย ไม่ใช่ตัวแทนในการท�ำสัญญาประกันชีวิตของจ�ำเลยตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.


2535 มาตรา 5 และมาตรา 71 จึงไม่ใช่ตัวแทนของจ�ำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่
ช. ได้ทราบหรือควรจะทราบข้อความจริงขณะท�ำหนังสือรับรองสุขภาพว่า ส. เคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบ
และมีอาการแน่นหน้าอกเนื่องจากดื่มสุรามากได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จะถือว่าจ�ำเลยได้ทราบความ
จริงดังกล่าวด้วยหาได้ไม่
ส. รู้อยู่ว่าตนเป็นโรคตับอักเสบแต่ละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงที่อาจจูงใจให้จ �ำเลยปฏิเสธไม่

ปพพ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง


3. เวลาที่ต้องแถลงข้อความจริง

ท�ำสัญญาหรือเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นย่อมท�ำให้สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจ�ำเลยเป็นโมฆียะ ตาม

เวลาที่ต้องแถลง หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีการท�ำสัญญาประกันภัยจนถึงเวลาที่มีการตกลง


ต่อสัญญาประกันภัยนั้นแล้ว
อุทาหรณ์
สธ
ฎ. 68/2516 หน้าที่เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยมิได้สิ้นสุดลงเพียงในขั้นยื่นค�ำเสนอ
ขอเอาประกันภัยโดยกรอกค�ำตอบในแบบค�ำขอนั้นเท่านั้น แต่ยังคงมีอยู่ตลอดเวลาในระหว่างนั้นเรื่อยไป
จนถึงเวลาทีผ่ รู้ บั ประกันภัยสนองตอบรับจนเกิดเป็นสัญญาขึน้ แล้วระหว่างคูก่ รณีฉะนัน้ ในกรณีประกันชีวติ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-53

แม้ผู้เอาประกันภัยจะได้กรอกแบบค�ำขอเอาประกันชีวิตแล้ว โดยเฉพาะในข้อถามที่ 7 ว่า ตนไม่เคย


เป็นโรคกระเพาะอักเสบ โรคตับอักเสบ ฯลฯ ยื่นส่งแก่บริษัทประกันภัยไปแล้วก็ตาม ถ้าภายหลังนั้น
ผูเ้ อาประกันภัยเกิดเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคกระเพาะอาหารและโรคตับแข็งซึง่ เป็นผลให้ขอ้ ความจริง
ซึ่งได้แถลงไปแล้วแต่แรกนั้นคลาดเคลื่อนไม่ตรงต่อความเป็นจริง และผู้เอาประกันภัยย่อมทราบว่ายังอยู่
ในระหว่างเวลาที่บริษัทยังพิจารณาค�ำขอและยังมิได้ออกกรมธรรม์ตอบรับมา ทั้งข้อถามต่างๆ ในแบบ


ค�ำขอนั้น ผู้เอาประกันภัยเองก็ได้ทราบและรับรองไว้ว่าเป็นข้อความจริงอันเป็นมูลฐานและสาระส�ำคัญ
แห่งการออกกรมธรรม์ของฝ่ายผูร้ บั ประกันภัย ดังนีย้ อ่ มมีผลให้สญ
ั ญาไม่สมบูรณ์เป็นโมฆียะ ผูร้ บั ประกันภัย

มส
มีสิทธิบอกล้างและคืนแต่ค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันภัยเท่านั้น

4. ผลของการปกปิดหรือแถลงข้อความจริง
สัญญาประกันภัยตกเป็น “โมฆียะ” ผู้รับประกันภัยสามารถจะใช้สิทธิบอกล้างได้ภายในระยะ
เวลาที่กฎหมายก�ำหนดไว้
ข้อสังเกต ในกรณีที่ผู้เอาประกันรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริง หรือแถลงข้อความ
อันเป็นความเท็จและเป็นข้อความที่ถึงขนาดที่จะท�ำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือบอกปัด
ไม่ยอมท�ำสัญญา ซึ่งมีผลท�ำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ แม้ว่าเหตุวินาศภัยหรือเหตุที่ก�ำหนดไว้ตามสัญญา
จะเกิดจากสาเหตุอื่นไม่เกี่ยวข้องกับความที่ผู้มีหน้าที่ต้องแถลงปกปิดหรือแถลงเท็จก็ตามผู้รับประกันภัย

ยังคงมีสิทธิที่จะบอกล้างสัญญาประกันภัยนั้นได้ เพราะสัญญานั้นยังคงเป็นโมฆียะอยู่
อุทาหรณ์
มส

ฎ. 858/2515 ข้อความจริงซึง่ ผูเ้ อาประกันภัยได้ปกปิดไว้ไม่เปิดเผยให้ผรู้ บั ประกันภัยแม้อาจจูงใจ


ผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหากได้ทราบข้อเท็จจริงนั้นไม่ถึงกับให้บอกปัดไม่ยอมท�ำ
สัญญาด้วยก็ตาม ข้อความจริงในระดับความส�ำคัญทั้งสองประการนี้ย่อมมีผลให้สัญญาประกันภัยเป็น
โมฆียะเช่นเดียวกัน ตาม ปพพ. มาตรา 865
ผลแห่งโมฆียะกรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นอยู่กับการพิเคราะห์ความส�ำคัญของข้อความจริง
แต่ในชั้นขณะท�ำสัญญาประกันภัยเท่านั้น ฉะนั้น แม้จะปรากฏว่าผู้เอาประกันชีวิตมิได้มรณะด้วยโรคที่

ตนเคยป่วยมาก่อนท�ำสัญญาประกันชีวิตและได้ปกปิดไว้ไม่เปิดเผยให้ผู้รับประกันภัยทราบตามก็ไม่ท�ำให้
ผลของสัญญาซึง่ เป็นโมฆียะไปแล้วนัน้ เปลีย่ นแปลงไปแต่อย่างใด ผูร้ บั ประกันภัยชอบทีจ่ ะบอกล้างสัญญาได้

5. ระยะเวลาการบอกล้างสัญญาประกันภัยที่ตกเป็นโมฆียะ
ผูร้ บั ประกันภัยจะต้องบอกล้างสัญญาประกันภัยทีต่ กเป็นโมฆียะภายในหนึง่ เดือนนับแต่วนั ทีผ่ รู้ บั
ประกันภัยทราบมูลอันบอกล้าง แต่ไม่เกินห้าปีนับแต่วันท�ำสัญญาประกันภัยนั้น มิฉะนั้นย่อมหมดสิทธิ
สธ
บอกล้างสัญญาประกันภัยดังกล่าว

11-54 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

อุทาหรณ์
ฎ. 1247/2514 อายุความบอกล้างสัญญาประกันภัยตอนแรกของมาตรา 865 วรรคสอง นัน้ หมายถึง
ว่าผู้รับประกันภัยต้องใช้สิทธิบอกล้างภายในก�ำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบข้อมูล
อันจะต้องบอกล้างได้
โจทก์ยนื่ ค�ำขอรับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวติ ซึง่ ผูต้ ายท�ำไว้กบั บริษทั จ�ำเลยเมือ่ วันที่ 24


สิงหาคม พ.ศ. 2509 พร้อมด้วยรายงานของนายแพทย์โรงพยาบาลผู้รักษาผู้ตายครั้งสุดท้ายว่า ผู้ตาย
ป่วยเป็นมะเร็งล�ำไส้ใหญ่และตายด้วยโรคดังกล่าว และได้ระบุไว้ในรายงานนัน้ อีกว่าผูต้ ายเคยรับการผ่าตัด

มส
ด้วยโรคมะเร็งล�ำไส้ใหญ่ที่โรงพยาบาลศิริราชเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งเป็นเวลาก่อนผู้ตายเอาประกันชีวิตไว้กับ
บริษัทจ�ำเลย เช่นนี้ถือว่าบริษัทจ�ำเลยย่อมมีเหตุควรทราบได้แล้วว่าผู้ตายปกปิดข้อความจริงดังกล่าว
ตัง้ แต่วนั ที่ 29 สิงหาคม 2509 บริษทั จ�ำเลยจะอ้างว่ารายงานแพทย์ดงั กล่าวนัน้ ยังไม่แน่นอน บริษทั จ�ำเลย
ยังต้องสืบสวนต่อไปจนได้รับความจริงแน่นอนเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2509 ว่าผู้ตายได้ป่วยและรับ
การผ่าตัดด้วยโรคดังกล่าวมิได้ เพราะอายุความกฎหมายก�ำหนดให้เริม่ นับแต่วนั ทีท่ ราบมูลอันจะบอกล้าง
ได้เท่านั้น มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ทราบความจริง ฉะนั้น เมื่อบริษัทจ�ำเลยบอกล้างโมฆียกรรมเมื่อวันที่ 11
ตุลาคม 2509 ซึ่งเป็นเวลาเกินหนึ่งเดือนแล้วกรมธรรม์ประกันชีวิตจึงมีผลบังคับบริษัทจ�ำเลย
ข้อสังเกต ค�ำพิพากษาฉบับนี้ใช้ค�ำว่าอายุความบอกล้างสัญญาประกันภัย ซึ่งความจริงแล้วหา
ใช่อายุความไม่แต่เป็นเรื่องระยะเวลาบอกล้างโมฆียกรรมคู่กรณีสามารถตกลงย่นเข้าหรือขยายออกได้

อุทาหรณ์
ฎ. 1785/2538 ค�ำว่า “มูลอันจะบอกล้างได้” ตาม ปพพ. มาตรา 865 วรรคสอง คือ ข้อความ
มส

ในวรรคแรกที่ว่า “ถ้าในเวลาท�ำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดีหรือในกรณีประกันชีวิตก็ดี บุคคล


อันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริง
ซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัดไม่ยอมท�ำสัญญาหรือว่า
รู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นข้อเท็จ...”
จ�ำเลยทราบว่า ผู้ตายเป็นมะเร็ง ภายหลังจากท�ำสัญญาประกันชีวิต มิใช่เป็นก่อนหรือขณะท�ำ
สัญญา กรณียังไม่ทราบมูลที่จะบอกล้าง ก�ำหนดระยะเวลาบอกล้างหนึ่งเดือนตามมาตรา 865 วรรคสอง

จึงยังไม่เริ่มนับ ต่อมาจ�ำเลยได้รับรายงานในวันที่ 3 ธันวาคม 2528 ว่าผู้ตายน่าจะเป็นมะเร็งมาก่อนท�ำ
สัญญาแต่ปกปิดไว้ จึงเป็นการทราบมูลอันจะบอกล้างได้ว่า เมื่อจ�ำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียกรรมไป
ยังโจทก์ในวันที่ 23 และ 24 ธันวาคม 2528 จึงเป็นการใช้สิทธิบอกล้างภายในก�ำหนดหนึ่งเดือนตาม
มาตรา 865 วรรคสองแล้ว
ฎ. 8612/2550 แม้ ปพพ. มาตรา 865 วรรคสอง จะให้สิทธิผู้รับประกันภัยบอกล้างโมฆียะกรรม
ได้ แต่สัญญาประกันชีวิตเป็นนิติกรรมสองฝ่าย การบอกล้างโมฆียะกรรมต้องแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีก
ฝ่ายหนึง่ ซึง่ เป็นบุคคลทีม่ ตี วั ก�ำหนดได้แน่นอน ตาม ปพพ. มาตรา 178 เมือ่ จ�ำเลยต้องการบอกล้างโมฆียะ
สธ
กรรมสัญญาประกันชีวิตย่อมต้องแสดงเจตนาแก่ โจทก์ทั้งสามผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่าย มิใช่
เพียงแสดงหลักฐานฝ่ายเดียวว่าตนได้ใช้สิทธิบอกล้างแล้ว การแสดงเจตนาที่กระท�ำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่
เฉพาะหน้าให้ถอื ว่ามีผลนับแต่เวลาทีก่ ารแสดงเจตนานัน้ ไปถึงผูร้ บั การแสดงเจตนา ตาม ปพพ. มาตรา 169

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-55

คดีนจี้ �ำเลยมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมไปถึงโจทก์ทงั้ สามทีจ่ งั หวัดพิจติ รทางไปรษณีย์ อันเป็นการแสดง


เจตนาแก่บุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง การบอกล้างโมฆียะกรรมย่อมมีผลนับแต่เวลาที่หนังสือไปถึงโจทก์
ทั้งสาม เมื่อนับจากวันที่จ�ำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ถึงวันที่การ
แสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมมีผลในวันที่ 7 หรือ 8 กันยายน พ.ศ. 2540 จึงพ้นก�ำหนด 1 เดือน
นับแต่วันที่จ�ำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมนั้น การบอกล้างโมฆียะกรรมของจ�ำเลยจึงไม่ชอบ


ถือไม่ได้ว่าจ�ำเลยใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิตดังกล่าว ตาม ปพพ. มาตรา 865 วรรคสอง จ�ำเลย
ต้องรับผิดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตให้โจทก์ทั้งสาม

มส
6. กรณีผู้รับประกันภัยรู้ข้อความจริงที่มีการปกปิด
ปพพ. มาตรา 866 บัญญัติว่า “ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดังกล่าวใน มาตรา 865 นั้น
ก็ดี หรือรู้ว่าข้อแถลงความเป็นความเท็จก็ดี หรือควรจะได้ รู้เช่นนั้นหากใช้ความระมัดระวังดังจะพึงคาด
หมายได้แต่วิญญูชนก็ดี ท่านให้ฟังว่าสัญญานั้นเป็นอันสมบูรณ์”
มาตรานี้เน้นเรื่องความระมัดระวังของผู้รับประกันภัย ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงที่ได้มี
การปกปิดหรือมีการแถลงเป็นความเท็จนั้นแล้ว หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังจะพึง
คาดหมายได้แต่วิญญูชน สัญญาประกันภัยนั้นเป็นอันสมบูรณ์
อุทาหรณ์

ฎ. 2447/2516 การประกันชีวิตที่ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์มาตรา 865 นั้น จะต้องเป็นการปกปิดความจริงหรือแถลงความเท็จในข้อสาระส�ำคัญเฉพาะใน
มส

เวลาเข้าท�ำสัญญาประกันชีวิตเท่านั้น
แม้ผู้ขอประกันชีวิตจะปกปิดหรือแถลงเท็จเกี่ยวกับฐานะอันแท้จริง หากผู้รับประกันภัยควรจะ
ได้รู้เท่าทันถึงฐานะของบุคคลนั้น โดยใช้ความระมัดระวังสอดส่องเยี่ยงวิญญูชนแล้ว สัญญาประกันชีวิต
นั้นก็เป็นอันสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 866 ผู้รับประกันภัยหามีสิทธิบอก
ล้างไม่
การยกข้อต่อสู้ในเรื่องการปกปิดข้อความจริงหรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จกฎหมายให้สิทธิ

เฉพาะฝ่ายผู้รับประกันภัยเท่านั้นที่มีสิทธิยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อบอกล้างสัญญาประกันภัยที่เป็นโมฆียะให้
ตกเป็นโมฆะได้ทั้งนี้เพราะฝ่ายที่กระท�ำผิดคือฝ่ายผู้เอาประกันภัยที่ปกปิดข้อความจริงหรือแถลงข้อความ
อันเป็นเท็จจริง ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะยกเอาความผิดของตนมาเป็นข้อบอกล้าง
สัญญาได้
การอ้างเหตุบอกล้างสัญญาในกรณีนี้ฝ่ายผู้รับประกันภัยจะต้องอ้างหรือพิสูจน์ให้ได้ว่า
1) ฝ่ายผู้เอาประกันภัย รู้ข้อความจริงนั้นอยู่แล้ว แต่ปกปิดเสีย หรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จ
2) การรับประกันภัยของผู้รับประกันภัยได้พิจารณาโดยถือเอาข้อความ หรือข้อเท็จจริงตามที่
สธ
ผู้เอาประกันภัยเปิดเผยหรือแถลง
3) ข้อความทีป่ กปิดหรือแถลงเท็จนัน้ เป็นสาระส�ำคัญซึง่ ถ้าผูร้ บั ประกันภัยรูจ้ ะเรียกเบีย้ ประกันภัย
สูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมรับเสี่ยงภัย

11-56 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ข้อสังเกต กรณี ตาม ปพพ. มาตรา 865 นี้ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาประกันชีวิต


ส่วนการประกันวินาศภัยเกือบจะไม่มีปัญหา ที่เป็นเช่นนี้ มิได้หมายความว่าหลักกฎหมายดังกล่าวใช้
เฉพาะสัญญาประกันชีวิต แต่ไม่ใช้กับสัญญาประกันวินาศภัย หลักกฎหมายนี้อยู่ในบทเบ็ดเสร็จทั่วไปซึ่ง
ใช้บังคับกับการประกันภัยทั้งสองประเภท การที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นจะต้องเข้าใจถึงลักษณะ
ของสัญญาประกันภัยทั้งสองประเภทเสียก่อน กล่าวคือ สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาเพื่อชดใช้ค่า


สินไหมทดแทน (Indemnity Contract) เมื่อเกิดเหตุวินาศภัยขึ้น ปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ว่าค่าเสียหาย
ที่เกิดขึ้นเป็นจ�ำนวนเท่าใด

มส
นอกจากนี้ ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย กล่าวคือผู้เอาประกันภัยต้องมี
กรรมสิทธิ์ สิทธิประโยชน์ หรือความรับผิดชอบในวัตถุที่เอาประกันภัย ขณะที่ท�ำสัญญาประกันภัย และ
เป็นการป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่วัตถุที่เอาประกันภัยโดยเกิดจากความจงใจของผู้เอาประกันภัย
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัย

กิจกรรม 11.3.1
จงอธิบายเรื่องหลักความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกันภัย

แนวตอบกิจกรรม 11.3.1
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาทีต่ อ้ งการความซือ่ สัตย์ของคูส่ ญ
ั ญายิง่ กว่าสัญญาประเภทอืน่ กล่าว
มส

คือคู่สัญญาต้องซื่อสัตย์ต่อกัน ซึ่งการตัดสินใจของผู้รับประกันภัยขึ้นอยู่กับข้อมูลหรือข้อความจริงที่
ผู้เอาประกันภัยแถลงให้ทราบ และเมื่อมีภัยเกิดขึ้นหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นผู้เอาประกันภัยจะได้รับ
ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินตามจำ�นวนที่กำ�หนดไว้ในสัญญาดังนั้น มาตรา 865 จึงกำ�หนดหน้าที่ของ
ผู้เอาประกันภัยว่าถ้ามีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการประกันวินาศภัยหรือประกันชีวิตแล้ว
ผูเ้ อาประกันจะต้องมีความสุจริตอย่างยิง่ ในการเปิดเผยข้อความจริงทีต่ นทราบให้ผรู้ บั ประกันภัยทราบด้วย
หากผู้เอาประกันปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้ผู้รับประกันภัยทราบ ซึ่งหากทราบแล้วผู้รับประกันภัย

จะไม่รับประกันภัย หรือถ้ารับก็อาจจะเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นอีกเช่นนี้สัญญาประกันภัยนั้นตกเป็นโมฆียะ
สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-57

เรื่องที่ 11.3.2
หลักฐานของสัญญาประกันภัย


นิติกรรมสัญญาที่กฎหมายบังคับให้ท�ำตามแบบ ถ้าไม่ท�ำตามแบบดังกล่าวนิติกรรมสัญญานั้น
ตกเป็นโมฆะไม่มผี ลใช้บงั คับกันได้ระหว่างคูก่ รณี เช่น สัญญาซือ้ ขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องท�ำเป็นหนังสือ

มส
และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่กฎหมายก�ำหนดว่า จะต้องท�ำเป็นหนังสือ หมายความว่า
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือหรือในสัญญานั้น แต่ถ้าระบุแต่เพียงว่าให้มีหลักฐาน
เป็นหนังสือ เพียงแต่มีลายมือชื่อของฝ่ายที่ต้องรับผิดก็เพียงพอแล้ว
ปพพ. มาตรา 867 บัญญัติ “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใด
อย่างหนึง่ ลงลายมือชือ่ ฝ่ายทีต่ อ้ งรับผิดชอบหรือลายมือชือ่ ตัวแทนของฝ่ายนัน้ เป็นส�ำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้อง
ให้บังคับคดีหาได้ไม่...”
สัญญาประกันภัยนั้นกฎหมายก�ำหนดแต่เพียงว่า จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้อง
บังคับคดีได้เท่านั้น ซึ่งหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไม่ใช่แบบของสัญญาประกันภัย ดังนั้นถ้าฝ่ายผู้เอา
ประกันภัยจะฟ้องผู้รับประกันภัย ก็เพียงแต่มีข้อความแสดงว่ามีการเอาประกันภัยและมีลายมือชื่อของ

ผู้รับประกันภัยย่อมถือว่ามีหลักฐานเพียงพอที่จะฟ้องรับบังคับคดีกันได้แล้ว เช่น ใบเสร็จรับเงินที่แสดง
ว่าเป็นการรับเบี้ยประกันภัย และมีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัย เป็นต้น หลักฐานที่ฝ่ายผู้รับประกันภัย
อาจจะน�ำมาใช้ฟ้องร้องผู้เอาประกันภัยได้ เช่น ใบค�ำขอเอาประกันภัย เป็นต้น
มส

อุทาหรณ์
ฎ. 1564/2525 สัญญาประกันภัยนั้น กฎหมายมิได้ก�ำหนดแบบแห่งนิติกรรมไว้ เพียงแต่บังคับ
ให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นส�ำคัญ มิฉะนั้น
จะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้ ดังนั้น สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาท�ำค�ำเสนอค�ำสนอง
ถูกต้องตรงกัน

แม้สญ

ฎ. 2668/2528 ค�ำว่าหลักฐาน ตาม ปพพ. มาตรา 867 มิใช่แบบที่กฎหมายบังคับไว้ ตาม ปพพ.
มาตรา 115 (ปัจจุบันมาตรา 152) จึงไม่จ�ำเป็นต้องมีข้อความระบุอย่างชัดเจนว่ามีข้อตกลงกันอย่างไรบ้าง
ั ญาประกันภัยไม่มหี ลักฐานเป็นหนังสือ ก็มผี ลเป็นสัญญาถูกต้องตามกฎหมาย หากเพียงแต่จะฟ้อง
ร้องบังคับคดีไม่ได้เท่านั้น ความประสงค์ของกฎหมายที่ให้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็เพียงเพื่อความมั่นคง
แน่นอน กฎหมายหาได้บังคับไว้ว่าจะต้องเขียนหรือท�ำในรูปแบบอย่างใดไม่
ฉะนั้นหากมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดปรากฏข้อความชัดแจ้งพอรับฟังได้ว่ามีการ
ตกลงท�ำสัญญาประกันภัย และปรากฏลายมือชื่อฝ่ายที่จะต้องรับผิดแล้ว ศาลย่อมบังคับได้ตามหลักฐาน
สธ
นั้นๆ
เมื่อหนังสือมีข้อความยืนยันว่า จ�ำเลยได้ท�ำสัญญาประกันภัยกับโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
ทีโ่ จทก์ฟอ้ งจริง แต่ดว้ ยเหตุผลบางประการจ�ำเลยจ�ำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาประกันภัยดังกล่าว เมือ่ โจทก์

11-58 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฟ้อง จ�ำเลยยังได้ท�ำค�ำให้การรับรองข้อความตามหนังสือดังกล่าว ดังนี้ เป็นหลักฐานแสดงว่าจ�ำเลยได้


เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ตามมาตรา 876 แล้วโจทก์จึงฟ้องร้องบังคับจ�ำเลยได้
การที่กฎหมายก�ำหนดให้ผู้รับประกันภัยต้องออกกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันภัยยึดถือไว้ก็เพื่อให้
ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัย เพราะโดยลักษณะของสัญญาประกันภัยแล้ว การชดใช้เงินหรือค่าสินไหม
ทดแทนของผู้รับประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องในอนาคต อาจจะมีระยะเวลาเป็นปีหรือสิบปีนับ


ตั้งแต่วันท�ำสัญญาก็ได้ จึงเป็นการสมควรที่จะให้ผู้รับประกันภัยออกหลักฐานให้ผู้เอาประกันภัยยึดถือไว้
โดยให้มีรายละเอียดที่จ�ำเป็นต่างๆ อยู่โดยครบถ้วน

มส
หลักฐานอื่นๆ เช่นใบเสร็จรับเงินที่ผู้รับประกันภัยออกไว้ให้ผู้เอาประกันภัยเป็นหลักฐานว่า ได้
รับเงินเบีย้ ประกันภัยไปจากผูเ้ อาประกันภัยแล้ว ใบค�ำขอเอาประกันภัย และเอกสารอืน่ ใดก็ตามทีม่ ลี ายมือ
ชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือตัวแทนของฝ่ายนั้นอยู่ย่อมน�ำมาเป็นหลักฐานในการฟ้องคดีได้ทั้งสิ้น ซึ่งจะต้อง
พิจารณาข้อเท็จจริงประกอบเป็นกรณีๆ ไป ไม่ว่าหลักฐานที่มีอยู่ใช้ได้เพียงใดหรือไม่
อุทาหรณ์
ฎ. 2568/2520 ค�ำสนองรับประกันภัยที่แก้ไขค�ำเสนอ คนของผู้รับประกันภัยน�ำไปตกลงกับผู้เอา
ประกันภัยเป็นค�ำเสนอต่อหน้าขึน้ ใหม่ เกิดสัญญาเมือ่ ตกลงทันทีบนั ทึกปะหน้าของผูป้ ระกันภัยเป็นเอกสาร
ตาม ปพพ. มาตรา 867 ได้
ฎ. 60/2523 สารบัญประกันภัยที่โจทก์อ้างมีข้อความระบุถึงผู้รับประกันภัย ผู้เอาประกันภัย และ

รถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เท่านั้น ไม่มีลายมือชื่อผู้รับประกันภัยหรือลายมือชื่อตัวแทนผู้รับประกันภัยแต่
อย่างใดโจทก์จึงอาศัยเอกสารดังกล่าวฟ้องร้องบังคับคดีเอาจากผู้รับประกันภัยไม่ได้
ฎ. 2661/2532 ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยมีลายมือชื่อผู้จัดการของจ�ำเลย และมีรายละเอียด
มส

ต่างๆ คือ หมายเลขทะเบียนและรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย ทุนประกัน ระยะเวลา


ประกัน ทัง้ ระบุหมายเลขของกรมธรรม์ดว้ ย ดังนีใ้ บเสร็จรับเงินค่าเบีย้ ประกันภัยดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐาน
เป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
ฎ. 5884/2533 เมื่อเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยมิได้ช�ำระเบี้ยประกันภัย
ตามก�ำหนด มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาด ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่ช�ำระเบี้ยประกันภัยตามก�ำหนดบริษัท

จ�ำเลยยังผ่อนผันขยายเวลาให้ช�ำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างได้ ดังนั้น เมื่อผู้เอาประกันภัยช�ำระเบี้ยประกัน
ภัยที่ขาดช�ำระให้แก่ตัวแทนของจ�ำเลยแล้ว ถือได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ตาม
เงื่อนไขนั้นแล้ว ไม่จ�ำต้องให้จ�ำเลยอนุญาตหรือแสดงเจตนาใหม่ในการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย แม้
ตัวแทนจ�ำเลยยังไม่ได้น�ำเบี้ยประกันภัยส่งให้แก่จ�ำเลย และในวันรุ่งขึ้นผู้เอาประกันภัยถูกรถชนถึงแก่
ความตาย จ�ำเลยก็ต้องรับผิด
ฎ. 5133/2542 สัญญาประกันภัยกฎหมายมิได้ก�ำหนดแบบแห่งนิติกรรมไว้ เพียงแต่บังคับให้มี
หลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึง่ ลงลายมือชือ่ ฝ่ายทีต่ อ้ งรับผิดหรือตัวแทนเป็นส�ำคัญมิฉะนัน้ จะฟ้องร้อง
สธ
ให้บังคับคดีมิได้ ดังนั้น สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาท�ำค�ำเสนอค�ำสนองถูกต้องตรง
กัน ส. ผู้จัดการจ�ำเลย สาขาขอนแก่น มิได้เป็นตัวแทนผู้มีอ�ำนาจท�ำสัญญาประกันภัยแทนจ�ำเลย ส. จึง
ไม่มีอ�ำนาจรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทไว้จากโจทก์ แต่การที่ ส. รับค�ำขอเอาประกันภัยไว้จาก
โจทก์กเ็ พียงเพือ่ ส่งค�ำเสนอของโจทก์ให้แก่บริษทั จ�ำเลยส�ำนักงานใหญ่พจิ ารณาว่าจะรับประกันภัยได้หรือ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-59

ไม่เท่านั้น มิใช่เป็นค�ำสนองรับประกันภัย เมื่อบริษัทจ�ำเลยส�ำนักงานใหญ่ เพิ่งได้รับค�ำเสนอของโจทก์


เมื่อเวลา 13.55 นาฬิกา อันเป็นเวลาหลังจากที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทได้เกิดเหตุไปแล้วทั้งไม่ปรากฏ
ว่าจ�ำเลยได้มีค�ำสนองตอบรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทเมื่อใด จึงฟังไม่ได้ว่าขณะที่รถยนต์
บรรทุกคันพิพาทเกิดอุบัติเหตุนั้นจ�ำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้แล้ว อันจะต้องรับผิดชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์


มส
กิจกรรม 11.3.2
จงอธิบายเรื่องหลักฐานของสัญญาประกันภัย ตามมาตรา 867

แนวตอบกิจกรรม 11.3.2
หลักฐานของสัญญาประกันภัย มิใช่แบบของสัญญาประกันภัยที่กฎหมายกำ�หนดให้ทำ� จึงไม่
จำ�เป็นต้องมีขอ้ ความระบุอย่างชัดเจนว่ามีการตกลงประกันภัยกันอย่างไร แม้สญ ั ญาประกันภัยไม่มหี ลักฐาน
เป็นหนังสือก็มีผลเป็นสัญญาที่ถูกต้องตามกฎหมาย และสัญญาประกันภัยนั้นก็ย่อมสมบูรณ์ได้ หาก
เพียงแต่จะฟ้องรัองบังคับคดีกนั ไม่ได้เท่านัน้ เอง การทีก่ ฎหมายประสงค์ให้สญ
ั ญาประกันภัยต้องมีหลักฐาน
เป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำ�คัญก็เพื่อความมั่นคงแน่นอนในการฟ้องร้องบังคับกัน

ตามสัญญาดังกล่าว
มส

เรื่องที่ 11.3.3
กรมธรรม์ประกันภัย

กรมธรรม์ประกันภัยเป็นเอกสารที่ผู้รับประกันภัยจัดท�ำขึ้นและส่งมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดย
มีขอ้ ความต้องตามทีไ่ ด้ท�ำสัญญาประกันภัย ซึง่ มิใช่สญั ญาประกันภัยเนือ่ งจากสัญญาประกันภัยไม่จ�ำต้อง
ท�ำเป็นหนังสือ หากมีการตกลงกันระหว่างคู่กรณีโดยมีค�ำเสนอค�ำสนองถูกต้องตรงกันสัญญาประกันภัย
ก็เกิดขึ้นแล้ว และกรมธรรม์ประกันภัยก็มิใช่แบบของสัญญาประกันภัยด้วยดังได้กล่าวมาแล้วว่า ลักษณะ
ของสัญญาประกันภัยนั้นเป็นสัญญาที่ไม่ต้องท�ำตามแบบเพียงแต่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็สามารถจะ
ฟ้องร้องบังคับคดีได้ และได้ก�ำหนดหน้าทีข่ องผูร้ บั ประกันทีจ่ ะต้องออกหลักฐานให้ผเู้ อาประกันภัยยึดถือไว้
สธ
ซึ่งเรียกชื่อหลักฐานนี้ว่า “กรมธรรม์ (policy) โดยได้ก�ำหนดไว้ด้วยว่ากรมธรรม์ประกันภัยต้องลงลายมือ
ชื่อของผู้รับประกันภัย และมีรายการตามที่ระบุไว้อีก 11 รายการ

11-60 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ปพพ. มาตรา 867 บัญญัติว่า “ให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญา


นัน้ แก่ผเู้ อาประกันภัยฉบับหนึง่ กรมธรรม์ประกันภัย ต้องลงลายมือชือ่ ของผูร้ บั ประกันภัยและมีรายการ
ดังต่อไปนี้
(1) วัตถุที่เอาประกันภัย
(2) ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง


(3) ราคาแห่งมูลประกันภัย ถ้าหากได้ก�ำหนดกันไว้
(4) จ�ำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย

มส
(5) จ�ำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย
(6) ถ้าหากสัญญาประกันภัยมีก�ำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย
(7) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย
(8) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย
(9) ชื่อของผู้รับประโยชน์ ถ้าจะพึงมี
(10) วันท�ำสัญญาประกันภัย
(11) สถานที่และวันที่ได้ท�ำกรมธรรม์ประกันภัย”
มีข้อสังเกตว่าการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัยเพียงแต่ฝ่ายที่เสียหายมีหลักฐานเป็น
หนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ ก็ฟ้องร้องได้แล้ว การที่กฎหมายก�ำหนดให้ผู้รับประกันภัยออก

กรมธรรม์ประกันภัยโดยได้ก�ำหนดให้มรี ายการต่างๆ ถึง 11 รายการนัน้ แม้วา่ ผูร้ บั ประกันไม่ออกกรมธรรม์
ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือออกกรมธรรม์ประกันภัยให้โดยมีข้อความไม่ครบตามที่กฎหมาย
มส

ก�ำหนดก็ไม่เป็นเหตุให้สัญญาประกันภัยเสียไปแต่ประการใด ถ้าผู้เอาประกันภัยมีหลักฐานเป็นหนังสือที่
แสดงว่าได้มีการท�ำสัญญาประกันภัยและมีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยก็ย่อมจะ
ฟ้องร้องให้ผู้รับประกันภัยให้รับผิดได้
การที่กฎหมายก�ำหนดเรื่องกรมธรรม์ประกันภัยและรายการในกรมธรรม์ประกันภัยไว้ก็เพื่อ
ก�ำหนดหน้าที่ของผู้รับประกันภัยในการจัดท�ำหลักฐานให้ผู้เอาประกันภัยยึดถือไว้ให้เรียบร้อยเท่านั้น
สัญญาประกันภัยบางชนิด เช่น สัญญาประกันชีวิตมีก�ำหนดระยะเวลายาวนาน อาจเป็น 15 ปี 20 ปี หรือ

ตลอดชีวิตของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจจะไม่ทราบข้อตกลงระหว่าง
ผู้เอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัยก็ได้ จึงควรที่จะมีการก�ำหนดรายละเอียดต่างๆ ไว้ให้ชัดเจน
ในทางปฏิบตั ผิ รู้ บั ประกันภัย ซึง่ ได้แก่บริษทั ประกันภัยต่างๆ จะพิมพ์ขอ้ สัญญาซึง่ โดยทัว่ ไปเรียก
ว่าเงื่อนไขกรมธรรม์อยู่ในตัวกรมธรรม์ประกันภัยด้วย
ส�ำหรับในประเทศไทยก่อนที่บริษัทจะรับประกันภัยต้องท�ำแบบกรมธรรม์ประกันภัยไปขอรับ
ความเห็นชอบจากนายทะเบียน (Insurance Commissioner) ก่อน เมื่อได้รับความเห็นชอบในเรื่อง
แบบของตัวกรมธรรม์ เงื่อนไขของสัญญาและอัตราเบี้ยประกันภัยแล้วผู้รับประกันภัยจึงจะรับประกันภัย
สธ
ตามแบบที่ได้รับอนุญาตนั้นกับบุคคลทั่วไปได้

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-61

การที่กฎหมายมีข้อก�ำหนดเช่นนี้เพื่อมุ่งคุ้มครองประชาชนทั่วไปที่จะเอาประกันภัยไว้กับบริษัท
และควบคุมบริษทั ทีร่ บั ประกันภัยโดยให้บริษทั ก�ำหนดหลักฐานไว้ให้ถกู ต้องชัดเจน ก�ำหนดเงือ่ นไขไว้โดย
ชัดแจ้ง ไม่ใช่วา่ มีขอ้ ยกเว้นความรับผิดจนไม่ตอ้ งรับผิดเลย และให้มกี ารเก็บเบีย้ ประกันในอัตราทีเ่ หมาะสม
กับความคุม้ ครองให้แก่ผเู้ อาประกันภัยด้วยซึง่ ในทางปฏิบตั นิ นั้ บริษทั ผูร้ บั ประกันภัยจะจัดพิมพ์กรมธรรม์
ไว้เป็นครัง้ ละจ�ำนวนมากเป็นมาตรฐานของการรับประกันภัยแต่ละแบบไว้ เมือ่ มีผมู้ าขอเอาประกันภัยและ


บริษัทพิจารณารับแล้วก็เพียงแต่เติมข้อความลงในช่องที่เว้นว่างไว้เท่านั้น
ปัจจุบันนี้ได้มีความพยายามที่จะออก “กรมธรรม์มาตรฐาน” (Standard Policy) ในหลายๆ

มส
เรื่อง ซึ่งส�ำหรับประเทศไทยขณะนี้มีกรมธรรม์มาตรฐานแล้ว เช่น กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและกรมธรรม์
ประกันภัยรถยนต์ เป็นต้น กรมธรรม์มาตรฐานนี้เป็นกรมธรรม์ที่ทางราชการจัดท�ำขึ้นเพื่อให้บริษัทผู้รับ
ประกันภัยทุกบริษัทใช้ปฏิบัติเหมือนกันหมดเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งในสหรัฐอเมริกา มลรัฐ
นิวยอร์ก ได้ก�ำหนดกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมาตรฐานไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1943
การที่มีกรมธรรม์มาตรฐานก็เพื่อประโยชน์ในเรื่องป้องกันการแข่งขันกันโดยไม่เป็นธรรม การตัด
ราคากันจนเป็นผลเสียต่อธุรกิจ ประชาชน และประเทศชาติ รายการในกรมธรรม์ประกันภัยมี 11 รายการ
ดังต่อไปนี้
1) วัตถุที่เอาประกันภัย กรณีประกันชีวิต (Life Insurance) ได้แก่ ชีวิตของผู้เอาประกันใน
กรณีที่เอาประกันชีวิตตนเอง และชีวิตของบุคคลที่ถูกเอาประกันในกรณีที่เป็นการเอาประกันชีวิตบุคคล

ที่ 3
กรณีประกันอย่างอื่นนอกจากประกันชีวิต (Non-life Insurance) วัตถุที่เอาประกันหมายถึงสิ่ง
มส

ที่สามารถค�ำนวณค่าเสียหายได้ เช่น เอาประกันอัคคีภัยบ้าน วัตถุที่เอาประกันภัย คือ บ้าน ประกันภัย


รถยนต์ วัตถุที่เอาประกัน คือ รถยนต์คันที่เอาประกันภัย เป็นต้น
2) ภัยซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง กรณีประกันชีวิตได้แก่ความยังชีพหรือมรณะของผู้เอาประกัน
ภัย หรือบุคคลซึ่งอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้ถูกเอาประกันภัยไว้
กรณีประกันอัคคีภัย เช่น เหตุวินาศภัย เช่น อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ฟ้าผ่า เป็นต้น
3) ราคาแห่งมูลประกันภัย ถ้าหากได้ก�ำหนดกันไว้ ราคาแห่งมูลประกันภัยหมายถึง มูลค่าของ

วัตถุที่เอาประกันภัยไว้ ซึ่งจะมีการก�ำหนดไว้หรือไม่ก�ำหนดไว้ก็ได้ การประกันภัยที่ก�ำหนดราคาแห่งมูล
ประกันภัยไว้นี้เรียกว่า Valued Policy เมื่อเกิดภัยขึ้นตามที่เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องชดใช้
ค่าสินไหมดทแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามมูลค่าที่ได้ก�ำหนดกันไว้ โดยปกติใช้กับ
การประกันวินาศภัยไม่ใช้กับการประกันชีวิต
4) จ�ำนวนเงินซึง่ เอาประกันภัย จ�ำนวนเงินซึง่ เอาประกันภัย (Sum Insured) หมายถึง จ�ำนวนเงิน
ที่ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงขอท�ำประกันภัยรับให้ความคุ้มครองไม่เกินจ�ำนวนซึ่งเอาประกันภัย กล่าวคือ
ผูร้ บั ประกันภัยจะชดใช้ความเสียหายให้ตามความเสียหายทีแ่ ท้จริงแต่ไม่เกินจ�ำนวนเงินซึง่ เอาประกันภัยไว้
สธ
ซึง่ มีความหมายแตกต่างกับราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ จ�ำนวนเงินซึง่ เอาประกันภัยนี้ ใช้กบั ทัง้ การประกันชีวติ
และการประกันวินาศภัย

11-62 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

โดยปกติในการประกันวินาศภัยจ�ำนวนเงินซึง่ เอาประกันภัย และราคาแห่งมูลประกันภัยจะเท่ากัน


แต่ในบางกรณีผู้เอาประกันอาจจะเอาประกันไว้ไม่เต็มมูลค่าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ก็ได้ ทั้งนี้
เนื่องจากความเสียหายของวัตถุที่เอาประกันภัยนั้นแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ เสียหายทั้งหมด
(Total loss) และเสียหายบางส่วน (Partial loss)
ตัวอย่างที่ 1 บ้านหลังหนึ่ง ตีราคา 200,000 บาท เอาประกันภัยไว้ 200,000 บาท เช่นนี้ราคา


แห่งมูลประกันภัยและจ�ำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยเท่านั้น
ตัวอย่างที่ 2 บ้านหลังหนึ่งตีราคา 200,000 บาท เอาประกันไว้เพียง 100,000 บาท เช่นนี้ราคา

มส
แห่งมูลประกันภัยกับจ�ำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยแตกต่างกัน
กรณีตามตัวอย่างที่ 2 นี้ในทางประกันภัยเรียกว่า coinsurance กล่าวคือถือว่าผู้เอาประกันร่วม
รับประกันภัยตัวเองไว้ดว้ ยครึง่ หนึง่ กล่าวคือถ้าบ้านเกิดไฟไหม้ไปครึง่ หลังเสียหายเป็นเงินจ�ำนวน 100,000
บาท บริษัทประกันภัยคงจ่ายให้ผู้รับประกันภัยเพียง 100,000 บาท ส่วนอีก 100,000 บาท ถือว่าผู้เอา
ประกันภัยรับเสี่ยงภัยเอง
5) จ�ำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย เบี้ยประกันภัยเป็นเงินซึ่งผู้เอาประกันภัยจะ
ต้องจ่ายให้แก่ผู้รับประกันภัยเป็นการตอบแทนในการที่ผู้รับประกันภัยรับเสี่ยงภัยให้ความคุ้มครองแก่
ผู้เอาประกันภัยในวันที่เอาประกันภัยกับวัตถุที่เอาประกันภัย การช�ำระเบี้ยประกันภัยอาจจะส่งใช้ครั้ง
เดียว เมื่อตกลงท�ำสัญญากันหรืออาจจะส่งเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน สามเดือน หกเดือน หรือรายปีก็ได้

แล้วแต่จะตกลงกันในแต่ละประเภทของการประกันภัย
วิธกี ารส่งเบีย้ ประกันภัย ผูร้ บั ประกันภัยอาจจะส่งคนน�ำใบเสร็จรับเงินไปเก็บถึงบ้านผูเ้ อาประกันภัย
มส

หรือผูเ้ อาประกันภัยส่งโดยผ่านทางธนาคารเข้าบัญชีของผูร้ บั ประกันภัยหรือวิธกี ารอืน่ ๆ ตามแต่จะตกลงกัน


6) ถ้าหากสัญญาประกันภัยมีก�ำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย สัญญา
ประกันภัยมีทั้งแบบมีก�ำหนดเวลา และไม่มีก�ำหนดเวลา สัญญาประกันภัยแบบไม่มีก�ำหนดเวลา เช่น
Whole Life เป็นต้น สัญญาประกันภัยแบบมีก�ำหนดเวลา เช่น สัญญาประกันชีวติ แบบส่งเบีย้ ประกันภัย
8 ปี ให้ความคุ้มครอง 11 ปี เป็นต้น
สัญญาประกันวินาศภัยโดยปกติจะมีก�ำหนดระยะเวลาทั้งสิ้น เช่น สัญญาประกันอัคคีภัยประกัน

ภัยรถยนต์ โดยปกติจะมีอายุกรมธรรม์ 1 ปี ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยสัญญาประกันภัยทั้งอัคคีภัยและ
ประกันภัยรถยนต์มีกรมธรรม์มาตรฐาน (Standard Policy) ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
สัญญาประกันภัยบางชนิดระยะเวลาสั้นมาก เช่น ประกันภัยอุบัติเหตุ การเดินทางซึ่งอาจจะมี
ก�ำหนดเวลาเพียงเป็นชั่วโมงเฉพาะการเดินทางเป็นครั้งๆ ไปเท่านั้น
7) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย กฎหมายใช้ค�ำว่าชื่อหรือยี่ห้อ ซึ่งแสดงว่าจะเป็นบุคคลหรือ
นิติบุคคลก็ได้ แต่ส�ำหรับในประเทศไทยผู้รับประกันภัยจะต้องเป็นนิติบุคคลในรูปบริษัทจ�ำกัด และได้รับ
อนุญาตให้ประกอบกิจการประกันชีวิตหรือประกันวินาศภัยแล้วแต่กรณีเท่านั้น
สธ
8) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยและเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้
9) ชื่อของผู้รับประโยชน์ถ้าจะพึงมี สัญญาประกันภัยมีทั้งแบบที่มีผู้รับประโยชน์และไม่มีผู้รับ
ประโยชน์ มีขอ้ สังเกตว่าในเรือ่ งผูร้ บั ประโยชน์นกี้ ฎหมายใช้เพียงค�ำว่าชือ่ เท่านัน้ ไม่มคี �ำว่าหรือยีห่ อ้ อยูด่ ว้ ย

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-63

10) วันท�ำสัญญาประกันภัย ในเรื่องนี้ถ้าไม่มีการก�ำหนดไว้โดยชัดเจนเป็นเรื่องที่เป็นปัญหามาก


โดยเฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันภัยยังไม่ได้มีการออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยเพราะในกรณีที่ผู้เอา
ประกันภัยได้ยื่นค�ำขอต่อผู้รับประกันภัยแล้วได้เกิดความเสียหายขึ้นก่อนที่ผู้รับประกันภัยจะตอบรับ
ประกันภัยเพราะการยื่นค�ำขอเอาประกันภัยถือได้ว่าเป็นเพียงการยื่นค�ำเสนอเพื่อขอท�ำสัญญา สัญญาจะ
เกิดขึ้นเมื่อบริษัทตอบรับที่จะรับประกันภัยดังนั้นหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงและวิธี


ปฏิบัติในการพิจารณารับประกันภัยของผู้รับประกันภัยประกอบ
11) สถานที่และวันที่ได้ท�ำกรมธรรม์ประกันภัย สถานที่ท�ำกรมธรรม์ หมายถึงสถานที่ที่ออก

มส
กรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยนั่นเอง อาจจะแตกต่างจากสถานที่ที่ตกลงท�ำสัญญาประกันภัยก็ได้
เนือ่ งจากการออกกรมธรรม์เป็นเพียงการทีผ่ รู้ บั ประกันภัยออกหลักฐานเป็นหนังสือทีเ่ รียกกรมธรรม์ประกันภัย
ให้ผู้เอาประกันภัยไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น
วันทีไ่ ด้ท�ำกรมธรรม์ประกันภัย คือ วันทีผ่ รู้ บั ประกันออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผเู้ อาประกันภัย
ซึ่งอาจจะเป็นวันเดียวกับวันที่ท�ำสัญญาประกันภัย หรือหลังจากวันที่ได้มีการตกลงท�ำสัญญาประกันภัย
แล้วก็ได้แต่จะเป็นก่อนวันที่ตกลงท�ำสัญญาประกันภัยนั้นไม่น่าจะมีได้ในการท�ำสัญญาประกันภัยนั้น โดย
ปกติผู้เอาประกันจะต้องยื่นค�ำขอเอาประกันต่อบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นค�ำเสนอในการท�ำสัญญากับบริษัท
สัญญาประกันภัยยังไม่เกิดจนกว่าบริษัทจะตอบรับว่ายอมรับประกันภัยตามที่เสนอขอแล้ว เมื่อบริษัทได้
รับค�ำขอแล้วก็จะพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ จากใบค�ำขอ และหลักฐานอื่นประกอบ เช่น กรณีการประกัน

ชีวิตอาจมีรายงานการตรวจสุขภาพของแพทย์ประกอบ หรือกรณีประกันวินาศภัยอาจจะต้องมีการออก
ไปตรวจทรัพย์สินที่จะประกันภัยก่อนที่บริษัทจะรับประกันภัย เมื่อบริษัทตกลงรับประกันภัยแล้วสัญญา
มส

ประกันภัยจึงจะเกิดโดยสมบูรณ์ ซึ่งโดยปกติแล้วก็จะถือเอาวันที่บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้
เอาประกันภัย เป็นวันที่บริษัทตอบตกลงรับประกันภัย และสัญญาประกันภัยเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่นั้น
อุทาหรณ์
ฎ. 529/2513 กรมธรรม์ประกันภัยท�ำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษแนบส�ำเนากรมธรรม์ประกันภัยฉบับ
ภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยค�ำแปลเป็นภาษาไทยมาพร้อมฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จ�ำเลยยื่น
ค�ำร้องขอยืดเวลาค�ำให้การ อ้างว่ากรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษและโจทก์แปลติดมาท้ายฟ้องนั้น

จ�ำเลยจ�ำต้องตรวจค�ำแปลกับต้นฉบับว่าแปลถูกต้องหรือไม่ ศาลอนุญาตเมื่อจ�ำเลยยื่นค�ำให้การ จ�ำเลย
มิได้ให้การต่อสู้ว่าค�ำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง คดีจึง
ไม่มปี ระเด็นโต้เถียงกันว่าค�ำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยทีโ่ จทก์แนบมาท้ายฟ้องนัน้ ไม่ถกู ต้อง
การที่วินิจฉัยว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความอย่างใดและมีความหมายเป็นประการใด ศาลจึงต้องยึดถือ
ค�ำแปลภาษาไทยดังปรากฏที่โจทก์แนบมาพร้อมฟ้อง
ฎ. 1462/2515 โจทก์ฟอ้ งว่า โจทก์รบั ประกันภัยรถยนต์ไว้ตามส�ำเนากรมธรรม์ประกันภัยท้ายฟ้อง
จ�ำเลยให้การว่ารถยนต์คนั นีจ้ ะได้เอาประกันภัยไว้กบั โจทก์หรือไม่ จ�ำเลยไม่รบั รอง มีความหมายว่า จ�ำเลย
สธ
ไม่รับรองว่ามีการประกันภัยรถยนต์ แต่จ�ำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร
กรมธรรม์ประกันภัย

11-64 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ฎ. 1006/2518 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์มีข้อความยกเว้นความรับผิดชอบผู้รับประกันภัย ใน
กรณีที่ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ถูกต้องตามกฎหมาย อันสามารถใช้ขับขี่ยานยนต์ที่เอาประกัน
ภัย ผูข้ บั รถมีแต่ใบอนุญาตขับขีร่ ถยนต์ตามพระราชบัญญัตริ ถยนต์ แต่ไม่มใี บอนุญาตตามพระราชบัญญัติ
การขนส่งทางบกฯ ผู้รับประกันไม่ต้องรับผิด
ฎ. 882/2523 กรมธรรม์ประกันภัยระบุไว้วา่ โจทก์มที อี่ ยูท่ แี่ ห่งหนึง่ และได้น�ำสถานทีห่ รือทรัพย์สนิ


ที่โจทก์อยู่นี้เองเอาประกันภัยไว้กับจ�ำเลย ต่อมาโจทก์แจ้งที่อยู่ของโจทก์ใหม่ ซึ่งจ�ำเลยก็ได้สลักหลังให้
แก่โจทก์แล้ว การสลักหลังดังกล่าวจะฟังว่าเป็นการแก้เฉพาะที่อยู่ของโจทก์อย่างเดียวย่อมไม่ได้ เพราะ

มส
สถานที่อยู่ของโจทก์ก็คือวัตถุที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แต่เดิมนั้นเอง ทั้งที่อยู่ของโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะ
มีการเปลี่ยนแปลงภายหลังหรือไม่ ก็ไม่ใช่ข้อสาระส�ำคัญที่จะต้องระบุในกรมธรรม์ประกันภัย ตาม ปพพ.
มาตรา 867
ฎ. 2634/2536 เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยก�ำหนดว่า การประกันภัยไม่คุ้มครองการขับขี่โดย
บุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใดๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้
รับแต่ถกู ตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบตั เิ หตุ แต่การยกเว้นนีจ้ ะไม่น�ำมาใช้ในกรณี
ที่ความเสียหายต่อรถที่เกิดขึ้นมิใช่ความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยดังนี้ แม้จะปรากฏว่า
ในขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนกัน ผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัยไม่มีหรือไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ก็ตาม
เมื่อจ�ำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ว่าเหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้ขับขี่ และฟ้องมิได้กล่าวไว้เช่นนั้น จ�ำเลยย่อม

ไม่อาจน�ำข้อยกเว้นดังกล่าวมาใช้ปัดความผิด
ฎ. 4830/2537 เงื่อนไขจ�ำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัย มีใจความว่าไม่ว่ากรณีใดๆ จะต้อง
มส

ไม่ถือว่าการประกันภัยนี้ขยายไปคุ้มครองการสูญเสีย การเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันมีต้นเหตุอย่างใกล้ชิด
จากความล่าช้านัน้ มีความหมายถึงความล่าช้าทีเ่ ป็นเหตุโดยตรงให้สนิ ค้าทีเ่ อาประกันภัยไว้เสียหายเท่านัน้
เมื่อปรากฏว่าเหตุที่สินค้าเอาประกันภัยเกิดความเสียหายเนื่องมาจากการระเบิดในห้องเครื่องยนต์ของ
เรือ หาใช่เกิดจากความล่าช้าในการขนส่งไม่ ผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นความรับผิด
ฎ. 1922/2550 โจทก์น�ำรถยนต์บรรทุก 10 ล้อ มาประกันภัยไว้กับจ�ำเลย ในระหว่างอายุสัญญา
ประกันภัย ลูกจ้างของโจทก์ขบั รถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวโดยมีรถพ่วงอยูด่ ว้ ย ไปเกิดอุบตั เิ หตุชนการ์ดเลน

คอสะพานเป็นเหตุให้การ์ดเลนคอสะพานและรถยนต์บรรทุกมีประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย ซึ่งตาม
สัญญาประกันภัยได้ก�ำหนดถึงการคุ้มครองความรับผิดไว้ในสัญญา แต่ก็ได้ก�ำหนดข้อยกเว้นรับผิดไว้
หลายประการ โดยมีสัญญาข้อหนึ่งไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้ลากจูงหรือผลักดัน เว้นแต่
รถที่ถูกลากจูงหรือถูกผลักดันได้ประกันภัยไว้กับบริษัท แสดงให้เห็นว่า ตามกรมธรรม์ประกันภัยจ�ำเลย
ไม่ประสงค์จะคุ้มครองถึงกรณีที่มีการใช้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยไปลากจูงหรือผลักดัน อันท�ำให้เกิด
ความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งหากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะให้คุ้มครองถึงส่วนที่ลากจูงก็จะต้องแจ้งความจ�ำนง
ให้ชัดเจนเพื่อผู้รับประกันภัยจะได้ก�ำหนดเบี้ยประกันให้พอเหมาะกับความเสี่ยงที่มากขึ้น การที่โจทก์น�ำ
สธ
รถทีเ่ อาประกันภัยไปลากจูงรถพ่วงอีกคันหนึง่ จึงเป็นการกระท�ำเข้าข้อยกเว้นความรับผิดของจ�ำเลย จ�ำเลย
จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-65

ข้อสังเกต กรณีกรมธรรม์ประกันภัยมีรายการไม่ครบถ้วนตามที่ก�ำหนดไว้ในมาตรา 867 จะมี


ผลทางกฎหมายประการใดหรือไม่
เมื่อพิจารณารายการแต่ละรายการ ตามมาตรา 867 แล้วจะพบว่าในกรมธรรม์ประกันภัยอาจจะ
มีรายการไม่ครบทั้ง 11 รายการก็ได้ เช่น ในเรื่องราคาแห่งมูลประกันภัยซึ่งอาจจะมีการตกลงกันหรือไม่
ก็ได้ ตามมาตรา 867 (3) หากไม่มกี ารตกลงกันไว้ รายการนีก้ จ็ ะขาดหายไปและใน (9) ชือ่ ผูร้ บั ประโยชน์


จะมีหรือไม่ก็ได้ เป็นต้น
มีปัญหาต่อไปว่าถ้ารายการที่จ�ำเป็นต้องมี เช่น วัตถุเช่นเอาประกันภัย จ�ำนวนเบี้ยประกัน หรือ

มส
เอกสารใดๆ เป็นต้น แต่รายการนั้นไม่มีในกรมธรรม์ประกันภัยผลจะเป็นประการใด
กรมธรรม์ประกันภัยนี้ กฎหมายก�ำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้รับประกันภัยที่จะต้องออกกรมธรรม์
ประกันภัยให้แก่ผเู้ อาประกันภัย โดยให้มรี ายการตามทีก่ �ำหนดไว้ ซึง่ แต่ละรายการก็มคี วามส�ำคัญทีเ่ กีย่ วกับ
ข้อตกลงในการท�ำสัญญาประกันภัย ถ้าหากผู้รับประกันภัยออกกรมธรรม์ประกันภัยที่รายการขาดตก
บกพร่องไป เท่ากับว่าผูร้ บั ประกันภัยไม่ได้ปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้โดยถูกต้อง ผูเ้ อาประกันภัย
อาจเรียกให้ผู้รับประกันภัยออกกรมธรรม์ประกันภัยที่มีรายการครบถ้วนถูกต้องให้ใหม่ได้
ดังที่กล่าวมาตอนต้นแล้วว่ากรมธรรม์ประกันภัยเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับ
ประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยเก็บไว้เป็นหลักฐานนั้น แม้ว่ารายการจะขาดตกบกพร่องไป ตราบใดที่มี
ลายมือชื่อของผู้รับประกันภัย และมีข้อความแสดงให้เห็น หรือเป็นหลักฐานได้ว่า มีการท�ำสัญญาประกัน

ภัยระหว่างผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย ผู้เอาประกันภัยย่อมน�ำเอากรมธรรม์ประกันภัยนั้นมาเป็น
หลักฐานฟ้องร้องผู้รับประกันภัยได้ ไม่ว่ารายการในกรมธรรม์ประกันภัยนั้นจะขาดตกบกพร่องไปมาก
มส

น้อยเพียงใด หรือแม้ว่าจะมีรายการเพิ่มเติมมามากเพียงใดก็ตาม ข้อส�ำคัญอยู่ที่ว่าจะต้องมีลายมือชื่อ


ผู้รับประกันภัยปรากฏอยู่
มาตรา 867 ไม่ใช่การก�ำหนดแบบของสัญญา สัญญาประกันภัยนั้นเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบตามที่
กล่าวมาแล้ว เป็นเพียงก�ำหนดหน้าทีข่ องผูร้ บั ประกันภัยเท่านัน้ ปัญหานีใ้ นทางปฏิบตั จิ ะไม่เกิดขึน้ เพราะ
กรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยจะออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยนี้ในปัจจุบันทั้ง พรบ. ประกันชีวิต พ.ศ.
2535 และ พรบ. ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 ได้ก�ำหนดให้บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องเสนอขอความ

เห็นชอบจากนายทะเบียนประกันชีวิต หรือนายทะเบียนประกันวินาศภัยก่อนแล้วแต่กรณี จึงจะออกให้
แก่ผู้เอาประกันภัยได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการก�ำหนดกรมธรรม์ประกันภัยขึ้นเป็นมาตรฐาน (Standard
Policy) ในการประกั น ภั ย บางประเภท ซึ่ ง ผู ้ รั บ ประกั น ภั ย จะต้ อ งใช้ ก รมธรรม์ แ บบเดี ย วกั น หมด
หมายความว่า เงื่อนไขในการรับประกันภัย และข้อตกลงต่างๆ ของผู้รับประกันภัยทุกราย โดยหลักการ
แล้วจะเหมือนกันทุกประการ รวมทั้งอัตราเบี้ยประกันภัยด้วย ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีกรมธรรม์
ประกันภัยมาตรฐานแล้วเช่นกัน เช่น กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย กรมธรรม์ประกันรถยนต์ เป็นต้น
โดยสรุปกรมธรรม์ประกันภัย เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องออกให้ผู้เอาประกันภัย
สธ
โดยมีรายการตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 867 ซึ่งที่ส�ำคัญที่สุดก็คือต้องมีลายมือชื่อของผู้รับประกันภัย
เพือ่ ทีจ่ ะสามารถใช้เป็นหลักฐานฟ้องผูร้ บั ประกันภัย ให้ตอ้ งรับผิดตามทีไ่ ด้ตกลงไว้ในสัญญาประกันภัยได้

11-66 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กรมธรรม์ประกันภัยและใบค�ำขอเอาประกันภัยที่น�ำมาเป็นตัวอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจนี้
เป็นกรมธรรม์ประกันภัยทีใ่ ช้อยูใ่ นธุรกิจในปัจจุบนั ได้แก่ กรมธรรม์ประกันอัคคีภยั และกรมธรรม์ประกันภัย
รถยนต์ ซึง่ เป็นกรมธรรม์มาตรฐาน (Standard Policy) ทีบ่ ริษทั ผูร้ บั ประกันภัยทุกบริษทั ใช้อย่างเดียวกัน
หมด ส�ำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตยังไม่มีกรมธรรม์มาตรฐาน เนื่องจากการประกันชีวิตมีมากมายหลาย
ประเภท แต่ในขณะนี้ก็มีความพยายามที่จะมีเงื่อนไขมาตรฐานขึ้น กล่าวคือ หากกรมธรรม์ประกันชีวิต


ใดจะมีเงื่อนไขตามที่ได้มีการก�ำหนดมาตรฐานไว้ จะต้องใช้ข้อความหรือแบบตามเงื่อนไขมาตรฐานนั้น
เพื่อสะดวกในการเข้าใจและตีความและเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเท่าที่จะท�ำได้

มส
ขอให้ดูตัวอย่างเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยชนิดต่างๆ ในภาคผนวก

กิจกรรม 11.3.3
จงบอกรายการที่ต้องมีในกรมธรรม์ประกันภัย ตาม ปพพ. มาตรา 867

แนวตอบกิจกรรม 11.3.3
กรมธรรม์ประกันภัยนอกจากจะต้องมีการลงลายมือชื่อของผู้รับประกันภัยแล้วต้องมีรายการ
ดังต่อไปนี้

(1) วัตถุที่เอาประกันภัย
(2) ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง
มส

(3) ราคาแห่งมูลประกันภัย ถ้าหากได้ก�ำหนดกันไว้


(4) จ�ำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย
(5) จ�ำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย
(6) ถ้าหากสัญญาประกันภัยมีก�ำหนดเวลา ต้องลงเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดไว้ด้วย
(7) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย
(8) ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย
(9) ชื่อของผู้รับประโยชน์ ถ้าจะพึงมี
(10) วันท�ำสัญญาประกันภัย
(11) สถานที่และวันที่ได้ท�ำกรมธรรม์ประกันภัย

นอกจาก 11 รายการดังกล่าวข้างตนแล้วนั้น ผู้รับประกันยังอาจระบุข้อความอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก
สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-67

บรรณานุกรม

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2534). กฎหมายว่าด้วยประกันภัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ์นิติ


บรรณการ.
จิตรา เพียรล้ำ�เลิศ. (2555). คำ�อธิบายกฎหมายว่าด้วยประกันภัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำ�นัก
พิมพ์นิติธรรม.

มส
พินิจ ทิพย์มณี. (2550). หลักกฎหมายประกันภัย. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักพิมพ์วิญญูชน.
Harold E. Raynes. (1964). A History of British Insurance. 2nd ed. London: Pitman.
Macgillivray & Parkington. (1975). Insurance. 6th ed. London: Sweet & Maxwell.
Robert I Mehr and Emerson Cammauk. (1966). Principles of Insurance. 4th Ed. New York:
McGraw-Hill Higher Education.
W.A. Dinfdele. (1954). History of Accident Insurance in Great Britain. Brentford: Stone & Cox.

มส


สธ
มส

มส
สธ ธ
ม ม
มส

ภาคผนวก
มส
สธ ธ
ม ม

11-70 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


มส

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-71


มส

มส


สธ

11-72 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


มส

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-73


มส

มส


สธ

11-74 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


มส

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-75


มส

มส


สธ

11-76 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


มส

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-77


มส

มส


สธ

11-78 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


มส

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-79


มส

มส


สธ

11-80 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


มส

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-81


มส

มส


สธ

11-82 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


มส

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-83


มส

มส


สธ

11-84 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


มส

มส


สธ

ลักษณะทั่วไปของสัญญาประกันภัย 11-85


มส

มส


สธ

11-86 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


มส

มส


สธ

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-1

หน่วยที่ 12
ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย


รองศาสตราจารย์ลาวัลย์ หอนพรัตน์

มส

มส


ชื่อ รองศาสตราจารย์ลาวัลย์ หอนพรัตน์
วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยม), น.ม.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สธ
Cert. International Law
ต�ำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจ�ำสาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 12

12-2 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แผนการสอนประจ�ำหน่วย

ชุดวิชา กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย


หน่วยที่ 12 ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย

ตอนที่

แนวคิด
มส
12.1 ความทั่วไปเกี่ยวกับส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
12.2 สาระส�ำคัญของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย

1. ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ได้เอาประกันภัยไว้
2. การที่ผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียท�ำให้สัญญาประกันภัยต่างกับการพนันขันต่อ
3. ส่วนได้เสียในเหตุที่ผู้เอาประกันได้ประกันภัยไว้นั้นต้องมีอยู่ในขณะที่ทำ� สัญญา

ประกันภัยนั้น

วัตถุประสงค์
มส

เมื่อศึกษาหน่วยที่ 12 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ


1. อธิบายแนวคิด ความเป็นมา เหตุผลส�ำคัญ และความหมายของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยได้
2. อธิบายสาระส�ำคัญของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยได้
3. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
1.
2.
3.
4.
ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 12
ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 12.1–12.2
ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน
ฟังซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา

5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
6. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
สธ
7. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 12

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-3

สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. ซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา


4. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์ (ถ้ามี)
5. การสอนเสริม (ถ้ามี)

มส
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจ�ำภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 12 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

มส


สธ

12-4 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 12.1
ความทั่วไปเกี่ยวกับส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 12.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

แนวคิด
มส
12.1.1
12.1.2
12.1.3
12.1.4
แนวคิดและความเป็นมาของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
เหตุผลส�ำคัญของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
ความหมายของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
ลักษณะของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยที่อาจเอาประกันภัยได้

1. บ ุคคลใดเมื่อไม่มีส่วนได้เสียย่อมไม่มีความเสี่ยงภัย จึงไม่มีความจ�ำเป็นที่จะต้องท�ำ
ประกันภัย
2. การที่กฎหมายก�ำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ได้เอาประกันภัยไว้

ก็เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้มีการพนันขันต่อ ป้องกันการท�ำลายชีวิตและทรัพย์สินเพื่อหวัง
เอาเงินประกันภัยและป้องกันความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ
มส

3. บุคคลใดถ้าจะมีส่วนได้หรือมีส่วนเสียกับการเกิดหรือไม่เกิดของเหตุการณ์ใดย่อมถือ
ได้ว่ามีส่วนได้เสียในเหตุการณ์นั้น
4. ส่วนได้เสียที่มีกฎหมายรับรองคุ้มครองและส่วนได้เสียตามความเป็นจริงย่อมเอา
ประกันภัยได้

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 12.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

เอาประกันภัยได้
2. อธิบายเหตุผลส�ำคัญของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยได้
3. อธิบายความหมายของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยได้

1. อ ธิ บ ายแนวคิ ด และความเป็ น มาของหลั ก กฎหมายในเรื่ อ งส่ ว นได้ เ สี ย ในเหตุ ที่ ไ ด้

4. ระบุลักษณะของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยอันอาจเอาประกันภัยได้
สธ

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-5

เรื่องที่ 12.1.1
แนวคิดและความเป็นมาของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย


ตามทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในหน่วยที่ 11 ว่า การประกันภัยเกิดขึน้ จากความต้องการของบุคคลในสังคม
ทีต่ อ้ งการสร้างหลักประกันให้ความมัน่ คงและมัน่ ใจกับตนเองหรือบุคคลทีต่ นเกีย่ วข้องด้วย ไม่วา่ จะในความ

มส
สัมพันธ์ทางด้านการค้าหรือครอบครัวก็ตาม
ทั้ ง นี้ ดร.เอบราแฮม มาสโลว์ 1 (Dr. Abraham Maslow) แห่ ง มหาวิ ท ยาลั ย แบรนดี ส ์
สหรัฐอเมริกา (Brandeis University) ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับซึง่ ความต้องการ
ของมนุษย์นจี้ ะเป็นมูลเหตุชกั จูงใจหรือเป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระท�ำต่างๆ เพือ่ สนองความ
ต้องการของตน เมื่อสามารถสนองความต้องการในระดับหนึ่งได้แล้ว ก็จะมีความต้องการในระดับสูงขึ้น
ไปอีก โดยแบ่งระดับความต้องการออกเป็นดังนี้
ระดับที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) เช่น ความต้องการในเรื่องที่
อยู่อาศัย อาหาร และยารักษาโรค เป็นต้น
ระดับที่ 2 ความต้องการทางด้านความปลอดภัย ความคุ้มครองต่อภยันตรายต่างๆ และความ

ต้องการความมั่นคง (Safety needs)
ระดับที่ 3 ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับในสังคม (Social needs)
ระดับที่ 4 ความต้องการให้กับตน (Ego Needs) ความต้องการฐานะ (Status) และการยอมรับ
มส

จากคนอื่น (Recognition)
ระดับที่ 5 ความต้องการพึงพอใจในความส�ำเร็จของตนเอง (Self-fulfillment needs) ความ
ต้องการสร้างสรรค์ (Creative) และตระหนักถึงความสามารถในการพัฒนาของตนเอง
จากระดับความต้องการที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับ จะพบว่าความปลอดภัยและความมั่นคงอยู่ใน
ระดับที่ 2 กล่าวคือ เมือ่ มนุษย์สามารถทีจ่ ะมีชวี ติ อยูไ่ ด้แล้ว ก็จะมีความต้องการในเรือ่ งความปลอดภัยและ

ความมั่นคง ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษย์นี้เอง เป็นเหตุท�ำให้เกิดการประกัน
ภัยขึน้ ดังจะเห็นได้จากการประกันภัยแบบจีนในสมัยโบราณ ซึง่ มีการว่าจ้างให้มกี ารคุม้ กันทรัพย์สนิ เพือ่
ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อทรัพย์สินปลอดภัยก็จะเป็นหลักประกันในความมั่นคงของฐานะ
ของผู้ว่าจ้างนั่นเอง มีการเฉลี่ยความเสียหายกันโดยน�ำสินค้าของแต่ละแยกชนิดใส่ในเรือหลายๆ ล�ำ หาก
เรือที่บรรทุกสินค้าล�ำใดล�ำหนึ่งล่มจมลง ทรัพย์สินก็จะไม่เสียหายหรือสูญหายไปทั้งหมด อันเป็นเหตุให้
ต้องสิ้นเนื้อประดาตัว การเฉลี่ยความเสียหายกันหรือกระจายความเสี่ยงกันดังกล่าว ก็เพื่อสนองความ
ต้องการในด้านความปลอดภัยของทรัพย์สิน ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความมั่นคงในฐานะของบุคคลนั่นเอง
สธ

1 Russell F. Moor. American Management Handbook. 1970 9th Ed., pp.3-37.



12-6 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ชาวบาบิโลเนียน2 ทีม่ คี วามเจริญรุง่ เรืองอยูใ่ นบริเวณลุม่ นํา้ ยูเฟรติสและไทกริส ซึง่ มีความจ�ำเป็น


ที่จะต้องส่งคนออกไปหาวัตถุดิบและขายสินค้า และเมื่อความเจริญมีมากยิ่งขึ้นการออกไปหาวัตถุดิบและ
ขายสินค้าก็ต้องยิ่งเดินทางออกไปไกลขึ้น ผู้ลงทุนต้องเผชิญกับความเสี่ยงภัยทั้งที่เป็นภัยจากธรรมชาติ
จากโจรผูร้ า้ ย หรือภัยจากคนทีส่ ง่ ออกไปคดโกงหรือไม่ดแู ลทรัพย์สนิ ให้ดี ก็สามารถลดความเสีย่ งหรือความ
เสียหายลงได้บางส่วน โดยให้ผทู้ อี่ อกไปขายสินค้าน�ำทรัพย์สนิ บุตร ภรรยา และบริวาร มามอบให้ไว้เป็น


ประกัน ส�ำหรับผู้ที่ต้องเดินทางออกไป ภัยบางอย่างอยู่ในวิสัยที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ แต่ไม่
ทราบว่าจะเกิดขึน้ เมือ่ ใด ซึง่ ไม่มคี วามแน่นอน ดังนัน้ ผูท้ เี่ ดินทางออกไปค้าขายก็มคี วามเสีย่ งมากเช่นกัน

มส
ย่อมไม่เป็นการยุตธิ รรมส�ำหรับตัวเขา หากเกิดมีความเสียหายแก่สนิ ค้าทีเ่ ขาน�ำไปขายโดยปราศจากความ
ผิดของเขา ทัง้ ๆ ทีเ่ ขาได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว เป็นผลให้เขาต้องถูกยึดทรัพย์สนิ บุตร ภรรยา
และบริวารต่างๆ จึงได้เกิดมีขอ้ ตกลงต่างๆ ขึน้ ระหว่างฝ่ายผูท้ ลี่ งทุนและฝ่ายทีเ่ ป็นผูอ้ อกไปขายสินค้าเช่น
ว่า ถ้าผู้ที่ออกไปขายสินค้าและสินค้าสูญหาย เสียหาย หรือถูกโจรปล้นไป ผู้น�ำสินค้าไปขายไม่ต้องรับผิด
ถ้าเขาได้สาบานแถลงความจริงว่าเขาได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลทรัพย์สิน มิได้คดโกงในเรื่องสินค้า
หรือมีความผิดอื่นๆ เขาจะไม่ต้องรับผิดถูกยึดทรัพย์สิน บุตร ภรรยา และบริวาร เมื่อทั้งสองฝ่ายจ�ำเป็น
ต้องพึง่ พาอาศัยกัน จึงได้เกิดมีขอ้ ตกลงและเงือ่ นไขต่างๆ ซึง่ เป็นการประนีประนอมระหว่างทัง้ สองฝ่ายขึน้
โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ เพื่อเป็นหลักประกันและให้ความปลอดภัยกับทรัพย์สินของแต่ละฝ่าย
ซึ่งถือได้ว่ามีลักษณะเป็นการประกันภัย แม้ว่าจะมีวิธีการที่แตกต่างจากประกันภัยในสมัยปัจจุบันก็ตาม

ในสมัยกรีกมีการเดินเรือไปหาวัตถุดิบและขายสินค้าในที่ซึ่งไกลออกไป จึงเกิดมีสัญญาที่เรียกว่า
Bottomry หรือ Repondenlia ขึ้น ซึ่งสาระส�ำคัญของสัญญานี้ก็คือ เป็นสัญญากู้เงิน โดยมีเงื่อนไขการ
มส

ช�ำระเงินอยู่ที่ว่าเมื่อเริ่มเดินทางกลับมาถึงโดยปลอดภัย เจ้าของเรือก็จะน�ำสินค้าที่บรรทุกมาขายและเอา
เงินคืนให้กับผู้ให้กู้ 3 อัตราดอกเบี้ยที่คิดกันก็จะรวมเอาความเสี่ยงภัยเข้าไว้ด้วย4 จะเห็นได้ว่าทั้งในสมัย
บาบิโลเนียนและกรีก ผูเ้ ข้ามามีสว่ นในสัญญาซึง่ มีลกั ษณะคล้ายกับเป็นสัญญาประกันภัย คือผูท้ มี่ ผี ลประโยชน์
และมีส่วนได้เสียโดยตรงในความสัมพันธ์หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพวกนักลงทุนกับ
พวกนักขายในสมัยบาบิโลเนียน หรือผู้ให้กู้กับเจ้าของเรือในสมัยกรีกก็ตาม
กฎหมายประกันภัยทีไ่ ด้มกี ารบัญญัตใิ นระยะแรกๆ เช่น กฎหมายประกันภัยของเมืองบาเซโลน่า

(Barcelona) แม้ จ ะไม่ มี บ ทบั ญ ญั ติ โ ดยตรงที่ ก� ำ หนดให้ ผู ้ เ อาประกั น จะต้ อ งมี ส ่ ว นได้ เ สี ย ในเหตุ ที่
เอาประกันภัยไว้ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาบทบัญญัติโดยทั่วไปแล้วจะพบว่าแนวความคิดเรื่องส่วนได้เสีย
ได้เกิดมีขึ้นแล้ว โดยก�ำหนดว่าในกรณีต่างๆ ผู้เอาประกันภัยอาจจะเอาประกันภัยได้เป็นจ�ำนวนเงิน
เอาประกันภัยเท่าใด ซึ่งจ�ำนวนเงินที่เอาประกันภัยนี้เป็นผลโดยตรงของการพิจารณาในเรื่องส่วนได้เสีย
สธ
2 Robert I Mehr and Emerson Cammac. Principles of Insurance. 4th Ed., 1966 p.883.
3 Harold E, Rayhes. A HISTORY of British INSURNCE. 1964, P.1.
4 Ibid, p.2.

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-7

ส่วนประเทศอังกฤษนัน้ กฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ (Common Law) แต่เดิม มิได้หา้ ม


สัญญาการพนัน5 สัญญาประกันภัยในภัยพิบัติแห่งชีวิตหรือทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งผู้เอาประกันภัยและรับ
ประโยชน์จากการประกันภัยนั้นมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยอันมีลักษณะไม่แตกต่างกับการพนัน
จึงใช้บังคับได้ในขณะนั้น6 ในระยะแรกๆ มีคดีที่ศาลไม่ยอมรับบังคับให้กับสัญญาซึ่งผู้เอาประกันภัยไม่มี
ส่วนได้เสีย7 แต่ต่อมาศาลก็ได้ยอมรับบังคับกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียใน


เหตุทปี่ ระกันแม้เป็นทีแ่ น่ชดั ว่า คูส่ ญ
ั ญาประสงค์ทจี่ ะพนันขันต่อและมิได้เจตนาทีจ่ ะชดใช้คา่ สินไหมทดแทน
แก่ผู้เอาประกันภัยตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ดังได้มีค�ำพิพากษาของศาลหลายคดีที่ได้พิพากษา

มส
ตามกันมาเป็นบรรทัดฐาน8 อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายจารีตประเพณี (common Law) จะมิได้ก�ำหนดให้
ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ก็ตาม แต่คู่กรณีอาจจะตกลงหรือมีข้อก�ำหนดเป็น
เงื่อนไขขึ้นมาในสัญญว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียก็ย่อมต้องเป็นไปตามข้อตกลงนั้น9 กล่าวคือ
ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่สามารถพิสูจน์ส่วนได้เสียในผลเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ก็ไม่อาจจะเรียกให้มีการชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนได้
ต่อมาเพื่อแก้ข้อขัดข้องในเรื่องที่จะต้องพิจารณาถึงเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา จึงได้เกิดมี
กรมธรรม์ทมี่ ขี อ้ ความแสดงเจตนาของคูส่ ญ ั ญาอย่างชัดเจนขึน้ เรียกว่า “P.P.I.” (Policy Proof of Interest)
ซึ่งกรมธรรม์ชนิดนี้ได้ช่วยแก้ปัญหาการที่จะต้องพิสูจน์จ�ำนวนค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่ได้มีการท�ำ
ประกันภัยกันโดยสุจริต แต่อย่างไรก็ตาม กรมธรรม์ประเภทนี้ก็มีปัญหาอีกต่อมา กล่าวคือ ได้กลายเป็น

เครื่องมือของการพนันไปเพราะกรมธรรม์ชนิดนี้ไม่ได้เคร่งครัดกับหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แต่เป็นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามทีต่ กลงไว้โดยมิได้คำ� นึงถึงความเสียหายทีแ่ ท้จริงว่ามากน้อยเพียงไร
มส

เหตุการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะในเรื่องการประกันภัยทางทะเล
ใน ค.ศ. 1745 ได้มพี ระราชบัญญัตใิ นเรือ่ งการประกันภัยทางทะเลออกมา คือ Marine Insurance
Act 1745 เพื่อห้ามกรมธรรม์อันมีลักษณะเป็นการพนันในเรื่องที่เกี่ยวกับการเดินเรือของอังกฤษ ซึ่งเป็น
กฎหมายฉบับแรกที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยโดยตรง
แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวข้างต้นแล้ว การพนันเกี่ยวกับ
การประกันชีวิตและในเรื่องอื่นๆ ก็ยังสามารถจะกระท�ำได้ จนกระทั่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ

ประกันชีวิต ค.ศ. 1774 (Life Assurance Act. 1774) ห้ามการกระท�ำประกันชีวิตโดยบุคคลที่มิได้มีส่วน
ได้เสียในชีวิตของผู้ที่ถูกเอาประกันภัย

5 Macgillivray & Parkington. Insurance Law. 6th Edition. London. Sweet & Maxwell 1975, p.5.
6 Ibid, p.6.
สธ
7 Ibid Mortin V. Sitwell (1960X I Show 156; Goddart 716, Garret (1962) 2 Vem. 269; Le Pypre V. Farr
(1716) 2 Vem. 716 Whittingham V. Thornburg (1690) 2 Vern. 206.
8 Ibid, p.6 Lucena V. Crawfurd (1802).
9 Raoul Colinvaux. The Law of Insurance. 4th Ed.m 1979, p.38.

12-8 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ใน ค.ศ. 1845 อังกฤษได้ออกกฎหมายการพนัน (Gambling Act. 1845) เพราะกฎหมายที่ออก


มาแล้วไม่ว่า Marine Insurance Act หรือ Life Assurance Act ควบคุมเฉพาะเรื่องการประกันภัย
เท่านัน้ ไม่ได้บงั คับไปถึงการอืน่ ๆ จึงได้มกี ารออกบทบัญญัตมิ าบังคับถึงสัญญาเรือ่ งอืน่ ๆ ด้วย ซึง่ ถ้าสัญญา
ใดมีวัตถุประสงค์เป็นการพนันขันต่อแล้วจะตกเป็นโมฆะ อันครอบคลุมถึงสัญญาประกันภัยด้วย
กฎหมายของอังกฤษในเรือ่ งนีไ้ ด้มกี ารแก้ไขอีกหลายครัง้ เช่น Marine Insurance Act 1785 ซึง่


ออกมาบังคับในเรื่องการประกันภัย ตัวเรือ สิ่งของ และสินค้า โดยห้ามมิให้มีการออกกรมธรรม์เว้นว่างไว้
จะต้องมีการระบุชื่อของผู้เอาประกันภัยและรายละเอียดอื่นๆ Marine Insurance Act 1788 ได้บังคับ

มส
ให้ระบุเพียงชื่อผู้เอาประกันภัยเท่านั้น และ Marine Insurance Act 1906 เป็นการรวบรวมและแก้ไข
กฎหมายในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับการประกันภัยทางทะเลทัง้ หมด และประการส�ำคัญคือกฎหมายฉบับนี้ (Marine
Insurance Act 1906) ยังได้บัญญัติถึงค�ำจ�ำกัดความของค�ำว่า ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยไว้ด้วย10
ปัจจุบนั ประเทศอังกฤษมีกฎหมายทีบ่ ญ
ในสัญญาประกันภัยดังต่อไปนี้ คือ
ั ญัตใิ ห้ผเู้ อาประกันภัยต้องมีสว่ นได้เสียในเหตุทปี่ ระกันภัย

1. สัญญาประกันภัยทางทะเล โดย Marine Insurance Act 1906


2. สัญญาประกันชีวิต โดย Life Insurance Act 1774
3. สัญญาประกันภัยทรัพย์สินและสัญญาประกันภัยอื่นๆ นอกจากในข้อ 1 และ 2 โดย Act of
1788 และ Gambling Act 1845

ต่อมาใน ค.ศ. 1909 ประเทศอังกฤษยังได้ออกกฎหมายก�ำหนดโทษทางอาญาแก่ผเู้ อาประกันภัย
ทางทะเลที่ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย (Gambling Policies Act. 1909)
มส

ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เดิมก็ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายเรื่องส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
อย่างไรก็ตามศาลอเมริกันวางหลักว่า กรณีสัญญาประกันชีวิตหากผู้เอาประกันชีวิตมิได้มีส่วนได้เสียใน
ชีวติ ของผูถ้ กู เอาประกันชีวติ ถือว่าเป็นการพนันจึงไม่มผี ลบังคับ ส่วนสัญญาประกันวินาศภัย ศาลอเมริกนั
วางหลักว่าผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ต่อมามลรัฐต่างๆ จึงได้บัญญัติ
กฎหมายรับรองหลักการดังกล่าว11
ส�ำหรับกฎหมายของประเทศไทย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ได้บญ ั ญัตถิ งึ ลักษณะ

ประกันภัยไว้ โดยประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 และได้มีการปรับปรุงแก้ไขยกเลิก
บรรพ 3 เดิม และให้ใช้บรรพ 3 ใหม่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2471 และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
1 เมษายน 2472 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยมาตรา 863 บัญญัติว่า “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอา
ประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”
ปพพ. มาตรา 863 นี้ บัญญัติอยู่ในหมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไปของลักษณะที่ 20 ประกันภัย จึง
ย่อมใช้บังคับกับการประกันภัยทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นการประกันวินาศภัยหรือประกันชีวิต
สธ
10 บัญญัติอยู่ใน Section 5
11 ไชยยศ เหมะรัชตะ ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร
ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม พ.ศ. 2556 น.52.

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-9

ดังนั้น ตามหลักกฎหมายไทยผู้เอาประกันภัยจึงต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ มิฉะนั้น


สัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมไม่ผกู พันคูส่ ญ
ั ญา ดังจะได้อธิบายโดยละเอียดในตอนที่ 12.2 เรือ่ งสาระส�ำคัญ
ของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย ต่อไป


กิจกรรม 12.1.1
กฎหมายไทยมีบทบัญญัติรับรองแนวคิดเรื่องส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยไว้อย่างไร

มส
แนวตอบกิจกรรม 12.1.1
หลักกฎหมายไทยได้มีบทบัญญัติรับรองแนวคิดในเรื่องส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยไว้ ปรากฏ
ตาม ปพพ. มาตรา 863 กล่าวคือ ผูเ้ อาประกันภัยจะต้องมีสว่ นได้เสียในเหตุทเี่ อาประกันภัย มิฉะนัน้ สัญญา
ประกันภัยดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญา

เรื่องที่ 12.1.2

เหตุผลส�ำคัญของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
มส

เหตุผลส�ำคัญของหลักส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
หลักกฎหมายในเรื่องส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยก�ำหนดให้ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสีย
ในเหตุที่เอาประกันภัย ก็เนื่องมาจากเหตุผลส�ำคัญซึ่งศาสตราจารย์ คีตัน (Professor Keeton)12 ได้สรุป
ไว้ 3 ประการ คือ ประการแรก เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้การประกันภัยมีลักษณะเป็นการพนันขันต่อ ประการที่

สอง เพื่อป้องกันการท�ำลายทรัพย์สินหรือชีวิตเพื่อหวังเอาเงินประกันภัย และประการที่สาม เพื่อป้องกัน
ความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ
1. เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้การประกันภัยมีลักษณะเป็นการพนันขันต่อ ทัง้ นี้ เนือ่ งจากสัญญาประกัน
ภัยมีลักษณะเป็นสัญญาที่อาศัยเหตุการณ์ในอนาคต (Aleatory Contract) กล่าวคือ การช�ำระหนี้ตาม
สัญญาขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดในอนาคตที่ไม่แน่นอน เช่น สัญญาประกันอัคคีภัย ซึ่งผู้เอา
ประกันภัยได้จ่ายเงินเบี้ยประกันภัยไปแล้ว ต่อมาหากไม่มีอัคคีภัยเกิดขึ้น ผู้เอาประกันภัยดังกล่าวก็จะไม่
ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด แต่หากเกิดเหตุวินาศภัยคืออัคคีภัยตามที่ได้มีการตกลงกันไว้จึงจะ
สธ
ได้รบั การชดใช้คา่ เสียหาย ซึง่ โดยปกติแล้วเบีย้ ประกันภัยจะมีจำ� นวนน้อยมากเมือ่ เทียบกับจ�ำนวนเงินซึง่ เอา

12 Robert E. Keeton. Insurance Law. Basic Text, 2nd Reprint-1973, p.49.



12-10 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ประกันภัยไว้ ดังนัน้ ถ้ายอมให้ผเู้ อาประกันภัยเอาประกันภัยโดยไม่มสี ว่ นได้เสียกล่าวคือ ไม่มคี วามเสีย่ งภัย


หรือความเสียหายอย่างใดที่จะต้องเสี่ยงแล้ว ก็ย่อมเข้าลักษณะของการพนันขันต่อนั่นเอง
2. เพื่อป้องกันการท�ำลายทรัพย์สินหรือชีวิตเพื่อหวังเอาเงินประกันภัย หากมิได้มีบทบัญญัติ
ก�ำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้แล้ว ก็อาจเกิดผลเสียหายจากความไม่
สุจริตของผู้เอาประกันภัย กล่าวคือผู้เอาประกันภัยอาจมุ่งท�ำลายทรัพย์สินหรือชีวิตที่ได้เอาประกันภัยไว้


เพื่อหวังได้รับประโยชน์จากเงินเอาประกันภัย ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นภัยต่อ
ศีลธรรม (Moral Hazard)

มส
3. เพื่อป้องกันความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เนื่องจากการประกันภัยมีหลักการที่ส�ำคัญ
ประการหนึง่ คือ การกระจายความเสีย่ งภัย กล่าวคือ การประกันภัยเป็นการระบบหรือกลไกทีม่ วี ตั ถุประสงค์
เพือ่ ชดใช้ความเสียหายหรือบรรเทาผลร้ายอันอาจเกิดขึน้ แก่ผเู้ อาประกันภัยด้วยวิธกี ารกระจายความเสีย่ ง
ภัยหรือแบ่งเฉลี่ยความเสียหายนั้นในระหว่างผู้เอาประกันภัยทั้งหลายซึ่งเป็นผู้เสี่ยงภัยด้วยกัน โดยเงินที่
น�ำมาบรรเทาผลร้ายนี้ก็ได้มาจากเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยแต่ละรายได้จ่ายให้แก่ผู้รับประกัน
ภัยไว้ ดังนัน้ ถ้ายอมให้ผทู้ ไี่ ม่มสี ว่ นได้เสียเข้าท�ำสัญญาประกันภัยได้แล้ว ย่อมไม่เป็นไปตามหลักการหรือ
วัตถุประสงค์ของการประกันภัยดังกล่าวซึ่งนับเป็นการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ

กิจกรรม 12.1.2
จงอธิบายเหตุผลส�ำคัญของหลักส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยมาโดยสังเขป
มส

แนวตอบกิจกรรม 12.1.2
เหตุผลส�ำคัญของหลักส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย ซึ่งก�ำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้ใน
เหตุที่ประกันภัยมิฉะนั้นสัญญาประกันภัยย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญานั้น ก็เพื่อป้องกันมิให้สัญญาประกันภัย
กลายเป็นการพนันขันต่อซึง่ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นภัยต่อศีลธรรม และเพือ่ ป้องกัน
ไม่ให้มกี ารท�ำลายทรัพย์สนิ หรือชีวติ กันเพือ่ หวังให้ได้รบั เงินประกันภัย ตลอดจนเพือ่ มิให้เกิดความสูญเปล่า
ของระบบหรือกลไกการประกันภัยอันเป็นความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ ม
สธ

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-11

เรื่องที่ 12.1.3
ความหมายของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย


ค�ำว่า “ส่วนได้เสีย” ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีบญ ั ญัตไิ ว้ในหลายมาตรา เช่น มาตรา
48, 61 และ 172 เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนได้เสียในเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับลักษณะประกันภัย ส�ำหรับกฎหมาย

มส
ลักษณะประกันภัยได้มีบทบัญญัติในมาตรา 863 เพียงมาตราเดียว ซึ่งบัญญัติถึง “ส่วนได้เสียในเหตุที่
ประกันภัย” แต่ก็มิได้ให้ค�ำจ�ำกัดความไว้แต่อย่างใด จึงควรพิจารณาว่ามีความหมายเพียงใด
ลอร์ด แบล็คเบริ์น (Lord Blackburn) ผู้พิพากษาศาลของอังกฤษได้ให้คำ� จ�ำกัดความ “ผู้มีส่วน
ได้เสียในทรัพย์สนิ อันอาจเอาประกันภัยได้” ว่า คือ ผูท้ จี่ ะได้ประโยชน์จากการทีท่ รัพย์สนิ นัน้ คงสภาพเดิม
อยู่ หรือจะได้รับความเสียหายจากการที่ทรัพย์สินนั้นท�ำลายไป13
ดังนัน้ “ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย” จึงอาจหมายความถึง กรณีทมี่ เี หตุการณ์อย่างหนึง่ อย่างใด
เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีส่วนได้รับประโยชน์หรือมีส่วนเสียหายในเหตุการณ์ดังกล่าว ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะ
เอาประกันภัยในเหตุการณ์นั้นได้
ค�ำว่า “ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย” นี้ ในหลักกฎหมายของอังกฤษและสหรัฐอเมริกาใช้ค�ำว่า

“Insurable Interest” แต่ตาม ปพพ. มาตรา 863 ในตัวบทเป็นภาษาอังกฤษนั้นใช้คำ� ว่า “Interest in
the event insured against” ส�ำหรับค�ำว่า “Insurable Interest” นั้น ตรงกับค�ำว่า “มูลประกันภัย” ใน
ปพพ. ซึ่งปรากฏอยู่ในมาตราอื่นๆ ในกฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ เช่น มาตรา 867 (3), 873, 874 และ
มส

884 เป็นต้น ซึ่งท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เป็นความหมายอย่างเดียวกัน14


ดังนั้น ค�ำว่า “มูลประกันภัย” ย่อมหมายความถึงส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยนั่นเอง และเมื่อ
อธิบายความหมายของค�ำว่า “มูลประกัน” ก็ใช้ถ้อยค�ำใน มาตรา 863 มาอธิบายว่า หมายถึง ส่วนได้เสีย
ในเหตุประกันภัย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะท�ำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เพราะค�ำว่า “ส่วนได้เสียในเหตุ
ประกันภัย” นั้น เป็นถ้อยค�ำที่ธรรมดา อ่านแล้วเข้าใจได้โดยไม่ต้องพยายามแปลความหมายอีก การ

พยายามแปลความหมายสิง่ ทีเ่ ข้าใจอยูแ่ ล้ว หรือขยายความให้กว้างขวางไป เป็นเรือ่ งทีค่ อ่ นข้างล�ำบากและ
ไม่จำ� เป็น
สธ
13 ไชยยศ เหมะรัชตะ ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร
ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม พ.ศ. 2556 น.53.
14 จิตติ ติงศภัทิย์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย ค�ำสอนชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2498 แก้ไขเพิ่มเติม
พุทธศักราช 2522 น.19.

12-12 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

กิจกรรม 12.1.3
จงอธิบายความหมายของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย

แนวตอบกิจกรรม 12.1.3


ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย หมายถึง กรณีที่มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นแล้ว ผู้มีส่วน
ได้รับประโยชน์หรือมีส่วนเสียหายในเหตุการณ์ดังกล่าว ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยใน

มส
เหตุการณ์นั้นได้

เรื่องที่ 12.1.4
ลักษณะของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยที่อาจเอาประกันภัยได้

ในการพิจารณาว่า อย่างไรเป็นส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้นั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป



แล้วว่าทั้งในสัญญาประกันวินาศภัยและสัญญาประกันชีวิต หากผู้ใดมีส่วนได้เสียที่มีกฎหมายรับรองและ
คุ้มครองผู้นั้นย่อมเอาประกันภัยในสิ่งที่ตนมีส่วนได้เสียนั้นได้
มส

1. ส่วนได้เสียที่กฎหมายรับรองและคุ้มครอง เช่น สิทธิในตัวทรัพย์สนิ (Property Right) สิทธิ


ตามสัญญา (Contract Right) หรือความรับผิดตามกฎหมาย (Legal Liability)
1.1 สิทธิในตัวทรัพย์สิน (Property Right) การที่บุคคลมีสิทธิในทรัพย์สินใด เมื่อเกิดเหตุ
วินาศภัยขึ้นกับทรัพย์สินนั้น เขาย่อมได้รับความเสียหาย เช่น เจ้าของบ้านย่อมมีส่วนได้เสียในบ้านที่ตน
มีกรรมสิทธิ์ ถ้าไฟไหม้บ้านเขาย่อมได้รับความเสียหายเพราะเหตุไฟไหม้บ้านนั้น เพราะขาดประโยชน์
ใช้สอยเป็นที่อยู่อาศัยหรือหารายได้ในกรณีที่ให้ผู้อื่นเช่า เป็นต้น

1.2 สิทธิตามสัญญา (Contract Right) ส่วนสัญญาย่อมก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่าง
คู่สัญญาขึ้น ซึ่งมีผลท�ำให้คู่สัญญาเกิดมีส่วนได้เสียจากสัญญานั้น เช่น ผู้รับจ�ำนองย่อมมีส่วนได้เสียใน
ทรัพย์ที่น�ำมาจ�ำนองไว้ เพราะถ้าทรัพย์ที่จำ� นองนั้นสูญหายหรือถูกท�ำลายไป หลักประกันของผู้รับจ�ำนอง
ก็ย่อมสูญหายหรือลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน
1.3 ความรับผิดตามกฎหมาย (Legal Liability) เช่น กะรัตเป็นเจ้าของรถยนต์คนั หนึง่ กะรัต
ย่อมมีความรับผิดตามกฎหมายในกรณีถ้าเกิดความเสียหายขึ้นจากการใช้รถยนต์ของตน ดังนี้ กะรัตย่อม
สธ
เอาประกันภัยในความรับผิดต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลที่ 3 (Third Party) อันเนื่องมาจาก
รถยนต์คันดังกล่าวได้ เป็นต้น

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-13

2. ส่วนได้เสียตามความจริง แม้ในกรณีทเี่ ป็นความคาดหวังทีไ่ ม่มกี ฎหมายรับรองหรือคุม้ ครอง


ในกรณีทกี่ ล่าวมาแล้วก็ยงั อาจจะเอาประกันภัยได้ ดังนัน้ ถ้าเป็นกรณีทเี่ ป็นส่วนได้เสียตามความจริงทีไ่ ม่มี
กฎหมายรับรองหรือคุ้มครองก็ควรที่จะถือว่าเป็นส่วนได้เสียที่อาจจะเอาประกันภัยได้ เช่น หญิงชาย
ที่อยู่ร่วมกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส บุตรที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรนอกสมรสโดยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นบุตร
โดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา อย่างไรก็ตามกรณีนี้ก็ย่อมจะถือว่าบุตรผู้เยาว์ซึ่งแม้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


ก็มสี ว่ นได้เสียในชีวติ ของบิดา และบิดาก็ยอ่ มมีสว่ นได้เสียในชีวติ ของบุตรผูเ้ ยาว์นนั้ เพราะมีความสัมพันธ์
กันตามความเป็นจริง

มส
กฎหมายไทยไม่มีบทบัญญัติในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน ปพพ. มาตรา 863 เพียงแต่บัญญัติให้
ผูเ้ อาประกันภัยต้องมีสว่ นได้เสียในเหตุทปี่ ระกันภัยไว้เท่านัน้ มิได้บญ
ั ญัตวิ า่ จะต้องมีสว่ นได้เสียทีเ่ ป็นสิทธิ
ตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจจะตีความได้ว่า กฎหมายมิได้ห้ามการเอาประกันภัยในกรณีที่มีส่วนได้เสียที่
ไม่ใช่สิทธิตามกฎหมาย ถ้าผู้เอาประกันภัยสามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่ามีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นส่วนได้เสียที่เป็นสิทธิตามกฎหมาย (de jure) หรือตามความเป็นจริง (de facto) ก็ตาม
สัญญาประกันภัยย่อมมีผลผูกพันคูส่ ญ ั ญา เพราะเจตนารมณ์ของเรือ่ งทีก่ ฎหมายบัญญัตใิ ห้ผเู้ อาประกันภัย
ต้องมีสว่ นได้เสียก็เพือ่ ไม่ให้เอาสัญญาประกันภัยเป็นเครือ่ งมือในการพนันขันต่อแสวงหาก�ำไร หรือมีเจตนา
ทุจริต ท�ำลายทรัพย์สิน หรือท�ำลายชีวิตผู้อื่นเพื่อหวังที่จะได้เงินที่เอาประกันภัยไว้ อีกประการหนึ่งเมื่อ
กฎหมายไม่ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความไว้ย่อมต้องตีความตามความหมายที่ใช้โดยทั่วไป ดังนั้น ถ้าผู้เอาประกัน

ภัยมีสว่ นได้เสียในเหตุทปี่ ระกันตามความจริงแล้ว ย่อมทีจ่ ะเอาประกันภัยได้ ซึง่ ศาลอเมริกนั ส่วนใหญ่กไ็ ด้
มีแนวค�ำพิพากษาไว้ในแนวดังกล่าวนี้มาแล้ว โดยศาลอเมริกันจะพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นส�ำคัญว่า ผู้เอา
มส

ประกันภัยมีส่วนได้เสียหรือไม่
กรณีที่มีส่วนได้เสียตามความเป็นจริง ย่อมไม่ถือว่าเป็นการขัดหรือแตกต่างกับหลักกฎหมายที่
บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 863 นี้ แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายดังกล่าว ถ้าเป็น
กรณีที่ไม่มีส่วนได้เสีย จึงจะถือว่าเป็นการขัดหรือแตกต่างกับหลักกฎหมายดังกล่าว
ศาลอเมริกนั ยอมรับส่วนได้เสียทัง้ ทีเ่ ป็นสิทธิตามกฎหมาย และส่วนได้เสียตามความเป็นจริง15 ซึง่
แม้ว่าไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายก็อาจจะเอาประกันภัยได้16 โดยได้ถือหลักว่า บุคคลย่อมมีส่วนได้เสียใน

ทรัพย์สินที่อาจจะเอาประกันภัยได้ ถ้าเป็นความจริงแล้ว เขาจะได้รับประโยชน์ ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงอยู่
และจะเสียประโยชน์ ถ้าทรัพย์สินนั้นถูกท�ำลายไป แม้ว่าเขาจะไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องค่า
เสียหายใดก็ตาม17
สธ
15American Ins. Co., V. Batenan, 1971, 186 S.E. 2d 547, 125 Ga. App. 189.
16 Aetna Ins. Co., V. King, (1972) 265. So. 2d 716.
17 Liverpool and London and Globe V. Bolling. 10 S.E. 2d 578 (Va., 1940): Womble V. (Mass, 1941)
Dubuque Fire and Marine, 37 N.E. 2d 263.

12-14 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

นอกจากนัน้ ศาลอเมริกนั ยังยอมรับการเอาประกันภัยประโยชน์ทจี่ ะได้รบั ในอนาคตอีกด้วย แม้วา่ จะ


ยังไม่มสี ทิ ธิตามกฎหมายทีจ่ ะเรียกร้องก็ตาม ถ้าความคาดหวังนัน้ มีเหตุผลน่าเชือ่ และได้กลายเป็นความจริง18
ปัญหาทีค่ วรพิจารณา คือ ความคาดหวังในอนาคต หรือส่วนได้เสียตามความจริงซึง่ กฎหมายมิได้
บัญญัติรับรองหรือคุ้มครอง จะสามารถเอาประกันภัยได้หรือไม่
ความคาดหวังในอนาคต มีหลักในการพิจารณาว่า ความคาดหวังที่อาจเอาประกันภัยได้นั้น


ความหวังนั้นต้องมีเหตุผล มีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่มีเหตุการณ์พิเศษอันใดมาขัดขวางทุกอย่าง
ย่อมด�ำเนินไปได้ตามปกติ ความหวังนัน้ จะเป็นความจริง เช่น การเอาประกันภัยผลก�ำไรทีจ่ ะได้จากกิจการ

มส
ในกรณีเช่นนี้ กิจการนั้นจะต้องมีอยู่แล้ว และกิจการนั้นถ้าด�ำเนินไปตามปกติจะต้องมีก�ำไร เช่น บริษัท
เคยได้ก�ำไรมาทุกปี และภัยที่เอาประกันภัยไว้นั้นจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจน เช่น อัคคีภัย เป็นต้น ในกรณี
เช่นนี้หากมีวินาศภัยกรณีไฟไหม้โรงงานท�ำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหม
ทดแทนให้ ไม่ใช่ว่าจะเอาประกันภัยก�ำไรในกรณีที่ไม่ได้กำ� ไร โดยไม่คำ� นึงว่าจะเป็นเพราะสาเหตุใด ตาม
ตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นเป็นการประกันอัคคีภัย ถ้าบริษัทไม่ได้ก�ำไรเนื่องจากคนงานสไตรค์ย่อมไม่ได้รับ
ความคุ้มครอง แต่ถ้าเอาประกันภัยไว้ในเหตุคนงานสไตรค์ แต่บริษัทไม่ได้ก�ำไรเนื่องจากขาดวัตถุดิบโดย
คนงานไม่ได้สไตรค์แต่ประการใดก็เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไม่ได้เช่นกัน
ตามกฎหมายไทย ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้ในเรื่องนี้อย่างชัดเจน และยังไม่มีคำ� พิพากษาของ
ศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐาน แต่ถ้าพิจารณา ปพพ. มาตรา 863 นี้แล้ว ก็เห็นว่าน่าจะตีความหมายได้ว่า ถ้า

เป็นความหวังในอนาคตที่แน่นอน มีเหตุผล มีพฤติการณ์ประกอบ แสดงให้เห็นว่าความหวังนั้นถ้าไม่มี
เหตุการณ์พิเศษขึ้นมาแล้ว ย่อมจะเป็นความจริงขึ้นมา น่าจะถือได้ว่า ผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียตาม
มส

มาตรา 863 แล้ว เพราะมาตรา 863 ไม่ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความว่าจะต้องเป็นส่วนได้เสียตามกฎหมายเท่านั้น


ดังนัน้ ย่อมต้องพิจารณาตามความเข้าใจของวิญญูชนว่ากรณีใดทีถ่ อื ว่ามีสว่ นได้เสีย ถ้าเป็นเพียงความหวัง
ลอยๆ ไม่มพี ฤติการณ์ประกอบว่าจะเป็นความจริงอย่างแน่นอน หรือเป็นความหวังทีข่ นึ้ อยูก่ บั ตัวบุคคลสุด
แล้วแต่ว่าเขาจะกรุณาหรือไม่ เช่นนี้ย่อมไม่เป็นส่วนได้เสียที่อาจจะเอาประกันภัยได้ แต่ถ้าเป็นความหวัง
ในอนาคตทีเ่ ป็นจริง หรือความหวังทีท่ า่ นศาสตราจารย์จติ ติ ติงศภัทยิ ์ 19 เรียกว่าเป็นสิง่ ทีแ่ น่นอนตามความ
รู้สึกของจิตใจ (Moral Certainty) แล้วย่อมถือว่า เป็นส่วนได้เสียที่อาจจะเอาประกันภัยได้

สธ
18 North British and Mercantile Ins., co., V. Sciandria, 54 So. 2d 764 (Ala. 9151): Putnam V. Mercantile
Marine Ins. Co., 46 Mass (5 Met) 386 (1843)
19 จิตติ ติงศภัทิย์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย ค�ำสอนชั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2498 แก้ไขเพิ่มเติม
พุทธศักราช 2522 น.24

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-15

กิจกรรม 12.1.4
จงอธิบายถึงส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้

แนวตอบกิจกรรม 12.1.4


การพิจารณาว่า อย่างไรเป็นส่วนได้เสียอันอาจเอาประกันภัยได้นั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
แล้วว่าทั้งในสัญญาประกันวินาศภัยและสัญญาประกันชีวิต หากผู้ใดมีส่วนได้เสียที่มีกฎหมายรับรองและ

มส
คุ้มครอง เช่น สิทธิในตัวทรัพย์สิน (Property Right) สิทธิตามสัญญา (Contract Right) หรือความรับ
ผิดตามกฎหมาย (Legal Liability) ผูน้ นั้ ย่อมเอาประกันภัยในสิง่ ทีต่ นมีสว่ นได้เสียนัน้ ได้ ส่วนความคาดหวัง
ในอนาคตนัน้ ตามกฎหมายไทยไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้ในเรื่องนี้อย่างชัดเจน และยังไม่มีค�ำพิพากษา
ของศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐาน แต่ถ้าพิจารณา ปพพ. มาตรา 863 นี้แล้ว ก็เห็นว่าน่าจะตีความหมายได้ว่า
ถ้าเป็นความหวังในอนาคตที่แน่นอน มีเหตุผล มีพฤติการณ์ประกอบ แสดงให้เห็นว่าความหวังนั้นถ้าไม่มี
เหตุการณ์พิเศษขึ้นมาแล้ว ย่อมจะเป็นความจริงขึ้นมา น่าจะถือได้ว่า ผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียตาม
มาตรา 863 และอาจจะตีความได้วา่ กฎหมายมิได้หา้ มการเอาประกันภัยในกรณีทมี่ สี ว่ นได้เสียทีไ่ ม่ใช่สทิ ธิ
ตามกฎหมาย ถ้าผูเ้ อาประกันภัยสามารถทีจ่ ะพิสจู น์ได้วา่ มีสว่ นได้เสียในเหตุทปี่ ระกันภัยแล้ว ไม่วา่ จะเป็น
ส่วนได้เสียที่เป็นสิทธิตามกฎหมาย (de jure) หรือตามความเป็นจริง (de facto) ก็ตาม

มส


สธ

12-16 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ตอนที่ 12.2
สาระส�ำคัญของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 12.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป


หัวเรื่อง

มส
12.2.1 บุคคล และเวลาที่ต้องมีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
12.2.2 ราคาของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
12.2.3 ส่วนได้เสียในสัญญาประกันวินาศภัย
12.2.4 ส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิต
12.2.5 ผลของการท�ำสัญญาประกันภัยโดยไม่มีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย

แนวคิด
1. ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยในขณะท�ำสัญญาประกันภัย
2. กฎหมายไม่ได้บังคับให้ระบุราคาของส่วนได้เสียไว้ในสัญญาประกันภัย แต่ถ้าคู่สัญญา

ประกันภัยได้กำ� หนดกันไว้ ก็ต้องให้ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัยด้วย
3. สัญญาประกันวินาศภัย เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่ง
มส

ผูเ้ อาประกันภัยต้องมีสว่ นได้เสียในเหตุทเี่ อาประกันภัย ซึง่ สามารถประมาณเป็นจ�ำนวน


เงินได้ หากในขณะเกิดวินาศภัยผูเ้ อาประกันภัยไม่มสี ว่ นได้เสีย แม้วา่ สัญญาประกันภัย
สมบูรณ์ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้
4. สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น
ส่วนได้เสียในการท�ำสัญญาประกันชีวิตจึงไม่จ�ำเป็นต้องประมาณเป็นจ�ำนวนเงิน และ
ผู้รับประกันภัยย่อมต้องใช้เงินตามจ�ำนวนที่ตกลงกันไว้

สัญญานัน้ ย่อมไม่ผกู พันคูส่ ญ


ต่อสู้ได้

5. กรณีผู้เอาประกันภัยท�ำสัญญาประกันภัยโดยไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย
ั ญาและเป็นการพนันขันต่อทีผ่ รู้ บั ประกันภัยยกขึน้ เป็นข้อ
สธ

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-17

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 12.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเรื่องบุคคล และเวลาที่ต้องมีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเรื่องราคาของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยได้


3. อธิบายและวินิจฉัยเรื่องส่วนได้เสียในสัญญาประกันวินาศภัยได้
4. อธิบายและวินิจฉัยเรื่องส่วนได้เสียในสัญญาประกันชีวิตได้

มส
5. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาผลของการท�ำสัญญาประกันภัยโดยไม่มีส่วนได้เสียในเหตุ
ประกันภัยได้

มส


สธ

12-18 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 12.2.1
บุคคล และเวลาที่ต้องมีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย


1. บุคคลที่มีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
ปพพ. มาตรา 863 บัญญัติว่า “อันสัญญาประกันภัยนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุ

มส
ที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”
จากบทบัญญัติดังกล่าวบังคับให้ “ผู้เอาประกันภัย” จะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยไว้
ไม่ว่าจะเป็นกรณีสัญญาประกันวินาศภัยหรือสัญญาประกันชีวิต
ปัญหาคือ ในบางกรณีอาจมีการท�ำสัญญาประกันชีวิตตนเอง โดยมีบุคคลอื่นซึ่งไม่มีส่วนได้เสีย
ในชีวิตของผู้นั้นเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันภัยและเป็นผู้รับประโยชน์ จึงอาจมีปัญหาที่ต้องพิจารณาในเบื้องต้น
ว่า ผูใ้ ดเป็นผูเ้ อาประกันภัยทีแ่ ท้จริง20 ซึง่ จะต้องเป็นผูม้ สี ว่ นได้เสียในเหตุประกันภัยนัน้ ตาม ปพพ. มาตรา
863
อุทาหรณ์
ฎ. 1366/2509 สัญญาประกันชีวิตระบุ อ. เป็นผู้เอาประกันชีวิต โดยมี ส. เป็นผู้รับประโยชน์ ข้อ

เท็จจริงฟังได้ว่า อ. ยากจนไม่มีเงิน ไม่ใช่ญาติกับ ส. ส.จัดให้ อ. เอาประกันชีวิตโดย ส. เป็นผู้เสียเบี้ย
ประกันภัยและรับประโยชน์ ดังนี้ ส. เป็นผูเ้ อาประกันชีวติ อ. โดยไม่มสี ว่ นได้เสียในเหตุประกันภัย สัญญา
มส

ประกันภัยย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญา ตาม ปพพ. มาตรา 863 โจทก์ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากกรมธรรม์นั้น


1.1 ความหมายของบุคคลทีม่ สี ว่ นได้เสียในเหตุประกันภัย เนือ่ งจากบทบัญญัติ ปพพ. มาตรา 863
ใช้บงั คับแก่การประกันภัยทัง้ การประกันวินาศภัยและการประกันชีวติ จึงอาจแยกพิจารณาความหมายของ
บุคคลที่มีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย ดังนี้
กรณีประกันวินาศภัย โดยที่ “ส่วนได้เสียในเหตุที่อาจประกันวินาศภัย” นั้น หมายความถึงความ
สัมพันธ์ทผี่ เู้ อาประกันวินาศภัยมีตอ่ ทรัพย์สนิ ทีเ่ อาประกันภัยไว้ ซึง่ หากมีความวินาศภัยเกิดขึน้ แก่ทรัพย์สนิ
นั้นแล้วย่อมมีผลให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหาย และความเสียหายนั้นสามารถประมาณราคาเป็น

ประกันภัยซึ่งมีความสัมพันธ์โดยชอบธรรมในทรัพย์สินที่เอาประกันภัย กล่าวคือ มีกรรมสิทธิ์ สิทธิ


ประโยชน์ หรือความรับผิดตามกฎหมายในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไว้

จ�ำนวนเงินได้ ดังนั้น “บุคคลที่ต้องมีส่วนได้เสียในเหตุประกันวินาศภัย” จึงหมายความถึง บุคคลผู้เอา

กรณีประกันชีวิต “ส่วนได้เสียในเหตุที่อาจเอาประกันชีวิต” นั้น หมายความถึง ผู้เอาประกันชีวิต


ต้องมีความสัมพันธ์ถึงขนาดที่จะเรียกได้ว่ามีส่วนได้เสียในชีวิตของบุคคลที่ตนเอาประกันภัยไว้ ไม่ว่าจะ
เป็นชีวิตของตนเองหรือชีวิตของผู้อื่น และส่วนได้เสียนั้นไม่จ�ำเป็นต้องประมาณราคาเป็นจ�ำนวนเงินได้
สธ
20 จิตติ ติงศภัทยิ .์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยประกันภัย. พิมพ์ครัง้ ที่ 12 กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2545 น.29-30.

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-19

เนื่องจากสัญญาประกันชีวิตไม่ใช่สัญญาที่มุ่งจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น “บุคคลที่ต้องมีส่วนได้เสีย


ในเหตุประกันชีวิต” จึงหมายความถึง บุคคลผู้เอาประกันภัยซึ่งมีความผูกพันกับผู้ที่ตนเอาประกันชีวิตไว้
ไม่ว่าจะเป็นความผูกพันตามกฎหมาย ความผูกพันทางครอบครัว ตลอดจนความผูกพันธ์ทางธุรกิจ เช่น
การเป็นหุ้นส่วนในกิจการที่ทำ� ร่วมกัน ซึ่งหากหุ้นส่วนดังกล่าวเสียชีวิตแล้วจะเกิดความเสียหายแก่กิจการ
ที่กระท�ำร่วมกันนั้น


1.2 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย พอจ�ำแนกเป็นตัวอย่างได้ ดังนี้
1.2.1 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของ (ownership)

มส กรณีประกันวินาศภัย บุคคลผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ
คนเดียว เจ้าของร่วมกับผูอ้ นื่ เจ้าของสินค้าทีอ่ ยูใ่ นระหว่างขนส่ง หรือเจ้าของทรัพย์สนิ ทีอ่ ยูใ่ นระหว่างผ่อน
ช�ำระก็ตาม ย่อมเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากวินาศภัยหากมีขึ้นแก่ทรัพย์สินนั้น ดังนั้น เจ้าของ
ทรัพย์สินหรือผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุประกันวินาศภัย
อุทาหรณ์
ฎ. 807/2533 โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยในขณะที่
ท�ำสัญญาประกันภัย โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันดังกล่าว กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กับ
จ�ำเลยไม่ผูกพันคู่กรณี ตาม ปพพ. มาตรา 863
กรณีประกันชีวิต บุคคลผูเ้ ป็นเจ้าของชีวติ ตนเองในกรณีประกันชีวติ ตนเองย่อมเป็นผูม้ สี ว่ น

ได้เสียในเหตุประกันชีวิต ส�ำหรับในกรณีประกันชีวิตบุคคลอื่น ผู้เอาประกันชีวิตต้องมีส่วนได้เสียในชีวิต
ของบุคคลที่ตนเอาประกันไว้ด้วย ซึ่งอาจจะเป็นความสัมพันธ์ทางครอบครัว เนื่องจากเป็นญาติร่วมสาย
มส

โลหิต เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา ผู้สืบสันดาน ซึ่งมีการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน หรือเนื่องจาก
การเป็นสามีภริยา หรือความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เนือ่ งจากเป็นหุน้ ส่วนในการท�ำกิจการร่วมกัน หากหุน้ ส่วน
นั้นเสียชีวิตไปแล้วจะท�ำให้กิจการได้รับความเสียหาย
1.2.2 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าหนี้ (creditors)
กรณีประกันวินาศภัย บุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีหลักประกัน อันได้แก่ เจ้าหนี้ผู้รับจ�ำนอง
เจ้าหนีผ้ รู้ บั จ�ำน�ำ หากทรัพย์สนิ ทีจ่ ำ� นองหรือจ�ำน�ำซึง่ เป็นหลักประกันในการช�ำระหนีข้ องลูกหนีน้ นั้ เกิดความ

เสียหาย บุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ดังกล่าวย่อมต้องได้รับความเสียหาย เนื่องจากการไม่สามารถบังคับช�ำระหนี้
เอาจากทรัพย์สนิ ทีจ่ ำ� นองหรือจ�ำน�ำนัน้ ได้ ดังนัน้ จึงเป็นเจ้าหนีท้ มี่ สี ว่ นได้เสียในทรัพย์สนิ ทีเ่ ป็นประกันการ
ช�ำระหนี้ของลูกหนี้นั้น ย่อมมีสิทธิเอาประกันวินาศภัยในทรัพย์สินดังกล่าวได้ ส่วนทรัพย์สินอื่นนอกจาก
ทรัพย์สินที่เป็นประกันดังกล่าวแล้ว บุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้นั้นหามีส่วนได้เสียไม่ เว้นแต่เป็นเจ้าหนี้ตาม
ค�ำพิพากษาซึ่งขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้แล้วเอาประกันทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ยึดไว้นั้น
กรณีประกันชีวิต บุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่งไม่มีหลักประกัน เช่น ไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้รับจ�ำนอง ไม่ใช่
เจ้าหนี้ผู้รับจ�ำน�ำ หากลูกหนี้ถึงแก่ความตาย บุคคลผู้เป็นเจ้าหนี้ดังกล่าวย่อมอาจได้รับความเสียหาย
สธ
เนือ่ งจากการช�ำระหนีน้ นั้ ได้ ดังนัน้ จึงเป็นเจ้าหนีท้ มี่ สี ว่ นได้เสียในชีวติ ของลูกหนีน้ นั้ ย่อมมีสทิ ธิเอาประกัน

12-20 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

ชีวิตลูกหนี้ได้ ส่วนเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันของลูกหนี้ ซึ่งสามารถบังคับช�ำระหนี้เอาจาก


ทรัพย์สินซึ่งเป็นหลักประกันนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการประกันชีวิตของลูกหนี21้
1.2.3 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียในฐานะที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
กรณีประกันวินาศภัย บุคคลที่ต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินหรือเกิดจาก
ทรัพย์สินนั้นถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยทรัพย์สินดังกล่าวได้ เช่น ผู้รับประกันวินาศภัย


มีหน้าทีต่ อ้ งชดใช้คา่ เสียหายให้แก่ผเู้ อาประกันภัยเมือ่ ทรัพย์สนิ ทีเ่ อาประกันภัยเสียหาย ดังนัน้ ผูร้ บั ประกัน
วินาศภัยจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ จึงมีสิทธิเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปประกัน

มส
วินาศภัยต่อได้ หรือผู้รับจ้างท�ำของเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่รับจ้างท�ำ เป็นต้น
อุทาหรณ์
ฎ. 37/2534 โจทก์เป็นผูช้ ว่ ยผูจ้ ัดการห้าง ได้รบั มอบรถยนต์จากห้างไว้ใช้โดยโจทก์มหี น้าที่
ดูแลรับผิดชอบตลอดจนการซ่อมแซม โจทก์จงึ เป็นผูม้ สี ว่ นได้เสียในรถยนต์คนั ดังกล่าวอยูใ่ นฐานะทีจ่ ะเอา
ประกันภัยได้
กรณีประกันชีวิต ซึง่ ความรับผิดตามกฎหมายนัน้ เป็นความรับผิดต่อชีวติ ซึง่ จะเกิดขึน้ ตาม
บทบัญญัติของกฎหมาย และบุคคลที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะเอาประกันภัยชีวิต
นั้นได้ เช่น นายจ้างต้องรับผิดต่อชีวิตของลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม
กฎหมาย จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในชีวิตของลูกจ้าง เป็นต้น

2. เวลาที่ต้องมีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย
มส

ตาม ปพพ. มาตรา 863 เพียงแต่บญ ั ญัตวิ า่ ผูเ้ อาประกันภัยจะต้องมีสว่ นได้เสียในเหตุประกันภัย


เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรงว่าจะต้องมีส่วนได้เสียในเวลาใด แต่เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าว
แล้ว ข้อก�ำหนดทีว่ า่ ผูเ้ อาประกันภัยจะต้องมีสว่ นได้เสียในเหตุทปี่ ระกันภัยไว้นนั้ เป็นองค์ประกอบแห่งความ
สมบูรณ์ของสัญญา ถ้าขาดองค์ประกอบข้อนีใ้ นขณะทีท่ ำ� สัญญา สัญญาประกันภัยนัน้ ย่อมไม่ผกู พันคูส่ ญ ั ญา
แต่อย่างใด ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ ในขณะที่เกิดสัญญาประกัน
ภัย22 ซึง่ ขณะทีเ่ กิดสัญญานัน้ หมายถึง ขณะทีค่ ำ� เสนอและค�ำสนองถูกต้องตรงกัน ส�ำหรับในสัญญาประกัน

21 จิตติ ติงศภัทย
ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2545 น.27.

ภัยแล้วย่อมหมายถึง ในขณะที่ผู้รับประกันภัยตกลงเข้ารับความเสี่ยงภัยตามที่ผู้เอาประกันภัยมีค�ำเสนอ
ไปยังผู้รับประกันภัยนั้น
ิ .์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยประกันภัย. พิมพ์ครัง้ ที่ 12 กรุงเทพมหานคร: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

22 ตามกฎหมายประกันภัยทางทะเลของอังกฤษเป็นไปในทางตรงข้ามคือ ในขณะท�ำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัย


ไม่จ�ำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย แต่ต้องมีส่วนได้เสียในขณะเกิดภัย Marine Insurance Act 1906, Section 6 (1) บัญญัติว่า “The
assured must be interested in the Subject-matter insured at the time of the loss though he need not be interested
สธ
when the insurance is effected.” หลักการนี้ต่างจากกฎหมายไทย ซึ่งถ้าไม่มีส่วนได้เสียในขณะท�ำสัญญาแล้ว สัญญาไม่มีผล
ผูกพันคู่สัญญาอย่างใด แม้ในขณะที่เกิดภัยจะมีส่วนได้เสียก็ไม่อาจท�ำให้สัญญาที่ไม่สมบูรณ์แล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ แต่ในกรณีที่
ว่า ถ้าไม่มสี ว่ นได้เสียในขณะเกิดภัยจะเหมือนกันคือ ผูเ้ อาประกันภัยไม่อาจจะเรียกให้ชดใช้คา่ สินไหมทดแทนได้ เพราะเมือ่ ไม่มสี ว่ น
ได้เสียก็ไม่มีความเสียหาย แม้สัญญาจะสมบูรณ์มาตั้งแต่ต้นก็ตาม

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-21

อุทาหรณ์
ฎ. 807/2533 โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยในขณะที่ท�ำ
สัญญาประกันภัย โจทก็จงึ ไม่มสี ว่ นได้เสียในรถยนต์คนั ดังกล่าว กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลย
ไม่ผูกพันคู่กรณีตาม ปพพ. มาตรา 863
ฎ. 5120/2538 แม้ระหว่างเกิดเหตุ ช. จะโอนกรรมสิทธิ์รถแท็กซี่เพื่อเข้าร่วมกิจการกับสหกรณ์


ส. แล้ว แต่ขณะท�ำสัญญาประกันภัย ช. ยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถแท็กซี่คันดังกล่าวอยู่ จึงเป็นผู้มี
ส่วนได้เสียมีสทิ ธิทจี่ ะท�ำสัญญาประกันภัย เมือ่ สัญญาประกันภัยมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ในฐานะ

มส
ผู้รับประกันภัยซึ่งใช้ค่าสินไหมทดแทนไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยได้
ฎ. 864/2538 จ. ท�ำสัญญาเช่าซือ้ รถยนต์คนั ทีเ่ อาประกันภัยไว้กบั โจทก์หลังจากท�ำสัญญาประกันภัย
ถือได้ว่า จ. ผู้เอาประกันภัยยังมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ขณะที่โจทก์รับประกันภัย ดังนั้น
สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และ จ. จึงไม่ผูกพันคู่สัญญา ตาม ปพพ. มาตรา 863 แม้โจทก์จะได้ชดใช้
ค่าเสียหายแทน จ. ก็ไม่ได้รับช่วงสิทธิตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอ�ำนาจฟ้อง
ฎ. 4728/2540 โจทก์ท�ำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาท ซึ่งเอาประกันภัยไว้แก่จ�ำเลยหลังจากท�ำ
สัญญาประกันภัย ดังนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ผเู้ อาประกันภัยมิได้มสี ว่ นได้เสียในเหตุประกันภัยไว้ในขณะทีจ่ ำ� เลย
รับประกันภัย สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และจ�ำเลยจึงไม่ผูกพันคู่สัญญา ตาม ปพพ. มาตรา 863
ข้อสังเกต คือ ต่อมาศาลฎีกาได้วินิจฉัยท�ำนองว่า แม้สัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาเช่าซื้อช่วงจะระบุ

วันเริ่มต้นของสัญญาหลังวันเริ่มต้นของสัญญาประกันภัย แต่การตีความวันท�ำสัญญาประกันภัยย่อม
เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยค�ำส�ำนวนหรือตัวอักษรตาม ปพพ. มาตรา 171 และ
มส

ศาลวินิจฉัยว่า ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะท�ำสัญญาประกันภัยแล้ว
ดังปรากฏตามฎีกาต่อไปนี้
อุทาหรณ์
ฎ. 6886/2542 การตีความสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยไม่อาจตีความตามถ้อยค�ำส�ำนวน
หรือตัวอักษรตามสัญญาดังกล่าวได้ แต่ต้องตีความการแสดงเจตนาท�ำสัญญานั้นโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอัน
แท้จริงของคู่สัญญาทุกฝ่าย ดังที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. มาตรา 171 เป็นส�ำคัญ เมื่อเจตนาอันแท้จริงของคู่

สัญญา บริษัทจ�ำเลยผู้รับประกันภัยเจตนาเข้ารับเสี่ยงภัยในรถยนต์ที่เอาประกันภัยโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็น
รถยนต์ของบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อ จึงเป็นเรื่องที่บริษัทจ�ำเลยเชื่อว่าโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อและมีส่วนได้เสียใน
เหตุที่เอาประกันภัยขณะท�ำสัญญา จึงเข้าท�ำสัญญาด้วย ทั้งโจทก์เองก็คงเชื่อเช่นนั้น เมื่อโจทก์ผู้เช่าซื้อ
ประสงค์จะผูกพันตามสัญญาประกันภัยจ�ำเลยเองก็เจตนาจะเข้ารับเสีย่ งภัยตามสัญญาประกันภัย และบริษทั
ผู้ให้เช่าซื้อก็ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์
แห่งสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่โจทก์เป็น
ผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นส�ำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษรไว้
สธ
ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท

12-22 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

แม้หนังสือสัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าซื้อหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัย
เป็นเวลา 9 วัน ก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันท�ำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อม
ต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยค�ำส�ำนวนหรือตัวอักษรดังกล่าวมาแล้ว จึงต้อง
ตีความว่า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยได้กระท�ำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์มีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ
รถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จ�ำเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัย


ตามมาตรา 11 ที่ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น
ด้วย กรณีถอื ได้วา่ โจทก์ผเู้ อาประกันภัยเป็นผูม้ สี ว่ นได้เสียในเหตุทปี่ ระกันภัยขณะท�ำสัญญาประกันภัยกับ

มส
จ�ำเลยแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย
ดังกล่าว โจทก์ผเู้ อาประกันภัยจึงยังคงเป็นผูม้ สี ว่ นได้เสียและมีสทิ ธิได้รบั ชดใช้คา่ สินไหมทดแทนตามสัญญา
ประกันภัยจากจ�ำเลยผูร้ บั ประกันภัยเมือ่ เกิดวินาศภัยขึน้ ตามสัญญา โจทก์ยอ่ มมีอำ� นาจฟ้องเรียกค่าสินไหม
ทดแทนจากจ�ำเลยได้
ฎ. 10421/2551 บริษัท ม. เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท อ. แล้วบริษัท ม. ให้ พ. เช่าซื้อช่วง โดย
พ. น�ำรถไปประกันภัยไว้กับโจทก์ มีบริษัท ม. เป็นผู้รับประโยชน์ แม้สัญญาเช่าซื้อช่วงจะระบุวันเริ่มต้น
ของสัญญาหลังวันเริ่มต้นของสัญญาประกันภัย การตีความวันท�ำสัญญาประกันภัยย่อมเพ่งเล็งถึงเจตนา
อันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยค�ำส�ำนวนหรือตัวอักษร ตาม ปพพ. มาตรา 171 ถือว่า พ. ผู้เอาประกัน
ภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะท�ำสัญญาประกันภัยกับโจทก์แล้ว เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อหาย

ไปในบริเวณลานจอดรถของโรงแรมของจ�ำเลย และโจทก์ในฐานะผูร้ บั ประกันภัยได้จา่ ยค่าสินไหมทดแทน
แก่บริษทั ม. ผูร้ บั ประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยแล้วย่อมได้รบั ช่วงสิทธิมาเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
มส

พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัท ม. จากจ�ำเลยได้
ปัญหาที่ควรพิจารณา คือ
1) ในขณะทีผ่ เู้ อาประกันภัยมีคำ� เสนอไปยังผูร้ บั ประกันภัยนัน้ ผูเ้ อาประกันภัยยังมีสว่ นได้เสียใน
เหตุที่จะเอาประกันภัยอยู่ แต่ก่อนที่จะเกิดสัญญาประกันภัย กล่าวคือ ก่อนที่ผู้รับประกันภัยจะตกลงรับ
ประกันภัยเข้ารับความเสี่ยงภัยตามผู้เอาประกันภัยเสนอมานั้น ส่วนได้เสียของผู้เอาประกันภัยได้หมดไป
เช่นนี้ ผลของสัญญาจะเป็นประการใด

อุทาหรณ์ เมือ่ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 พิศทุ ธิเ์ ขียนใบค�ำขอเอาประกันภัยบ้านของตน โดยขอ
ให้บริษัทประกันภัยรับประกันภัยบ้านในราคา 100,000 บาท ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2550 พิศุทธิ์ได้ขาย
บ้านของตนให้กบั นาํ้ ผึง้ ไปโดยมีการโอนกรรมสิทธิก์ นั ถูกต้อง บริษทั ประกันภัยพิจารณาและตกลงรับประกันภัย
บ้านของ ก. ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2550 เช่นนี้ จะเห็นได้ว่าในขณะเกิดสัญญาประกันภัยนั้น พิศุทธิ์
ไม่มีส่วนได้เสียในบ้านหลังที่เอาประกันภัยอีกต่อไป สัญญาประกันภัยนี้ย่อมไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา
ส่วนผลจากสัญญาประกันภัยทีไ่ ม่ผกู พันคูส่ ญ ั ญาเป็นเช่นไรนัน้ โปรดดูรายละเอียดในเรือ่ งที่ 12.2.5
2) ในขณะทีผ่ เู้ อาประกันภัยมีคำ� เสนอไปยังผูร้ บั ประกันภัยนัน้ ผูเ้ อาประกันภัยยังไม่มสี ว่ นได้เสีย
สธ
ในเหตุทจี่ ะเอาประกันภัยตลอดไปจนถึงเกิดสัญญาประกันภัย แต่ตอ่ มาภายหลังจากการท�ำสัญญาประกันภัย
แล้วผู้เอาประกันภัยได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยขึ้นมา เช่นนี้ สัญญาประกันภัยดังกล่าวก็ย่อม
ไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าในภายหลังผู้เอาประกันภัยจะมีฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุ

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-23

ที่จะเอาประกันภัยขึ้นมาก็ตาม ไม่เป็นผลให้สัญญาประกันภัยที่ไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา เพราะเหตุที่ผู้เอา


ประกันภัยไม่มสี ว่ นได้เสียในเหตุทจี่ ะเอาประกันภัยในขณะเกิดสัญญาประกันภัยนัน้ กลับกลายเป็นสัญญา
ประกันภัยที่มีผลผูกพันคู่สัญญาได้
3) ในขณะทีผ่ เู้ อาประกันภัยมีคำ� เสนอไปยังผูร้ บั ประกันภัย ผูเ้ อาประกันภัยยังมีสว่ นได้เสียในเหตุ
ทีจ่ ะเอาประกันภัยตลอดไปจนถึงเกิดสัญญาประกันภัย แล้วต่อมาส่วนได้เสียดังกล่าวได้หมดไปในระหว่าง


อายุสัญญาประกันภัย เช่นนี้ สัญญาประกันภัยดังกล่าวก็ยังคงมีผลสมบูรณ์ผูกพันคู่สัญญาต่อไป แม้ว่า
ส่วนได้เสียในเหตุทเี่ อาประกันภัยจะได้หมดไปหลังจากท�ำสัญญาประกันภัยแล้วก็ตาม และไม่ทำ� ให้สญ ั ญา

มส
ประกันภัยนัน้ กลายเป็นการพนันขันต่อไปแต่อย่างใด เพียงแต่สทิ ธิและหน้าทีข่ องผูเ้ อาประกันภัยและผูร้ บั
ประกันภัยต้องเปลี่ยนแปลงไปตามแต่กรณีเท่านั้น เช่น กรณีเกิดวินาศภัยขึ้น ผู้เอาประกันภัยซึ่งไม่มีส่วน
ได้เสียในเหตุทเี่ อาประกันวินาศภัยแล้วย่อมไม่มสี ทิ ธิได้รบั ค่าสินไหมทดแทน หรือผูเ้ อาประกันภัยไม่มสี ทิ ธิ
เรียกเบี้ยประกันภัยที่ได้ชำ� ระไปแล้วคืน

กิจกรรม 12.2.1
ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยจะต้องมีในเวลาใด

แนวตอบกิจกรรม 12.2.1
ตาม ปพพ. มาตรา 863 บัญญัติว่า ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยเท่านั้น
มส

ไม่ได้บัญญัติไว้โดยตรงว่าจะต้องมีส่วนได้เสียในเวลาใด แต่เมื่อพิเคราะห์บทบัญญัติดังกล่าวแล้วก็เป็นที่
ยอมรับตรงกันว่าส่วนได้เสียในเหตุประกันภัยนั้นจะต้องมีในขณะท�ำสัญญาประกันภัย


สธ

12-24 กฎหมายพาณิชย์ 2 : ยืม ฝากทรัพย์ ตัวแทน ประกันภัย

เรื่องที่ 12.2.2
ราคาของส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย


ปพพ. มาตรา 867 ได้บัญญัติกล่าวถึงข้อความที่จะต้องมีในกรมธรรม์ประกันภัย โดยได้กำ� หนด
ถึง “ราคาแห่งมูลประกันภัยถ้าหากได้กำ� หนดกันไว้” ซึง่ ราคาแห่งมูลประกันภัยนีก้ ค็ อื ราคาของส่วนได้เสีย

มส
นั่นเอง ซึ่ง ปพพ. มาตรา 867 ไม่ได้ก�ำหนดว่าจะต้องมี แต่ถ้ามีการก�ำหนดกันไว้ ก็จะต้องให้มีปรากฏ
ในกรมธรรม์ประกันภัยด้วย
กฎหมายไม่ได้ก�ำหนดหรือบังคับให้ต้องตกลงกันถึงราคาของส่วนได้เสีย ซึ่งก็แล้วแต่คู่สัญญาจะ
ตกลงว่าจะมีหรือไม่นนั้ เนือ่ งจากสัญญาประกันภัยโดยเฉพาะสัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาเพือ่ ชดใช้
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อเกิดภัยขึ้นแล้วมีความเสียหายเท่าใด ก็จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามจ�ำนวน
ที่ตีราคาค่าเสียหาย
การที่คู่สัญญาก�ำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ ก็เพื่อความสะดวกในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
เมื่อเกิดภัยตามสัญญาและเพื่อป้องกันความยุ่งยากหรือข้อโต้เถียงในเรื่องการตีราคาค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
กรมธรรม์ที่มีการก�ำหนดราคาแห่งมูลประกันภัยกันไว้นี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Valued Policy23 ซึ่ง

Valued Policy นิยมใช้กันมากในการประกันภัยทางทะเล ซึ่งโดยปกติแล้วในการประกันภัยการขนส่ง
สินค้าทางทะเล ราคาแห่งมูลประกันภัยจะก�ำหนดไว้สงู กว่าราคาแห่งวัตถุทเี่ อาประกันภัยในขณะทีท่ ำ� สัญญา
กล่าวคือ เป็นผลรวมระหว่างราคาวัตถุทเี่ อาประกันภัยบวกด้วยค่าระวางการขนส่ง ค่าเบีย้ ประกันภัย และ
มส

อื่นๆ อีก ซึ่งโดยทั่วไปจะเท่ากับ 110 % ของราคา C&F (Cost and Freight) คือ ราคาค่าสินค้าบวกกับ
ค่าขนส่ง
การประกันภัยบางชนิด จ�ำเป็นจะต้องมีการตกลงราคาแห่งมูลประกันภัยไว้เพราะวัตถุทเี่ อาประกันภัย
นัน้ อาจเป็นของหายาก เช่น วัตถุโบราณ หรือภาพเขียนต่างๆ หรือบางครัง้ วัตถุทเี่ อาประกันภัยไม่มมี ลู ค่า
ในตัวของมันเอง แต่จะมีผลเสียหายมากถ้าวัตถุนนั้ ถูกท�ำลายหรือสูญหายไป เช่น การเอาประกันภัยเอกสาร

ปพพ. มาตรา 874 บัญญัตวิ า่ “ถ้าคูส่ ญ



ส�ำคัญของนักกฎหมาย นายแพทย์ นักประพันธ์ สถาปนิก ช่างภาพ ธนาคาร หรือแม้แต่ของบริษทั ประกัน
ภัยเอง เป็นต้น
ั ญาได้กำ� หนดราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ ผูร้ บั ประกันภัยชอบ
ที่จะได้ลดจ�ำนวนค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่า ราคาแห่งมูลประกันภัยตามที่ได้ตกลงกันไว้นั้นเป็น
จ�ำนวนสูงเกินไปหนัก และคืนจ�ำนวนเบี้ยประกันให้ตามส่วนกับทั้งดอกเบี้ยด้วย”
สธ
23 Marine Insurance Act 1906, Section 27 (21) บัญญัติว่า “A Valued policy is a policy which specifics
the agreed value of the subject matter insured.”

ส่วนได้เสียในเหตุประกันภัย 12-25

ในกรณีที่มีการตกลงกันในเรื่องราคาแห่งมูลประกันภัยไว้ การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนย่อมเป็น
ไปตามจ�ำนวนที่ตกลงกันไว้ ซึ่งมีในกรมธรรม์ประกันภัยบางประเภท เช่น การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
(Personal Accident) เป็นต้น ในกรมธรรม์ประเภทนี้จะก�ำหนดจ�ำนวนเงินที่จะชดใช้สำ� หรับการสูญเสีย
อวัยวะไว้แน่นอน เช่น การสูญเสียแขนขาหรือดวงตา ซึง่ อวัยวะต่างๆ ของคนเรานัน้ ไม่อาจจะตีราคาได้วา่
เป็นเท่าไร จึงเป็นการสะดวกและจ�ำเป็นที่จะต้องมีการก�ำหนดจ�ำนวนเงินกันไว้ตั้งแต่ในขณะท�ำสัญญา


ประกันภัย ในกรณีเช่นนี้ ผู้รับประกันภัยจะต้องจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนตามที่ตกลงไว้ โดยไม่สามารถ
จะพิสูจน์ราคาของส่วนได้เสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น แม้จะน้อยกว่าตามที่ตกลงกันไว้มากก็ตาม

มส
กรณีทจี่ ะพิสจู น์ได้จะเป็นเรือ่ งของการประกันภัยทรัพย์สนิ โดยปกติแล้วผูร้ บั ประกันภัยก็ยอ่ มจะต้องผูกพัน
ตามข้อตกลงเช่นกัน แต่กฎหมายยอมให้พิสูจน์แก้ไขได้เฉพาะกรณีที่ราคาแห่งมูลประกันภัยตามที่ตกลง
กันไว้สูงกว่าตามความเป็นจริงมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดมาจากเจตนาทุจริตหรือความผิดพลาดในการให้
ข้อมูลของฝ่ายผู้เอาประกันภัย
ในกรณีที่เกิดความเสียหายเพียงบางส่วน (Partial Loss) การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องเป็น
ไปตามหลักการโดยทั่วไปที่ว่า ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ให้ตามความเสียหาย

You might also like