You are on page 1of 102

สธ ส

หน่วยที่ 4


เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ
รองศาสตราจารย์จิตรา เพียรล�้ำเลิศ

.
สธ สธ
มส . มส

ธ.
.ม
ชื่อ รองศาสตราจารย์จิตรา เพียรล�้ำเลิศ
วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยม),
นศ.บ. (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ต�ำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจ�ำสาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่เขียน หน่วยที่ 4

ปรับปรุงและเรียบเรียงใหม่จากต้นฉบับเดิม รายวิชา 41231 กฎหมายอาญา 1 ภาคบทบัญญัตทิ วั่ ไป หน่วยที่ 8 เหตุยกเว้น


ความผิดของ อาจารย์ ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ และอาจารย์เบญจรัตน์ เนติโพธิ์ อัตตาหกุล และหน่วยที่ 9 เหตุยกเว้นโทษของอาจารย์
ยืนหยัด ใจสมุทร และอาจารย์ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์.
สธ ส
4-2 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

แผนการสอนประจ�ำหน่วย


ชุดวิชา กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

.
หน่วยที่ 4
สธ สธ
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ

มส . มส
ตอนที่
4.1 เหตุยกเว้นความผิด
4.2 เหตุยกเว้นโทษ
4.3 เหตุลดโทษ

แนวคิด
1. บ ุคคลไม่ต้องรับผิดทางอาญา เมื่อมีเหตุยกเว้นความผิด ซึ่งอาจแยกพิจารณา ดังนี้ 1)
บทบัญญัตกิ ฎหมายหรือจารีตประเพณีให้อำ� นาจกระท�ำ 2) ความยินยอม และ 3) การป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมาย
ธ.

2. บคุ คลไม่ตอ้ งรับโทษทางอาญา เมือ่ มีเหตุยกเว้นโทษ ซึง่ อาจแยกพิจารณา ดังนี้ 1) การกระท�ำ


โดยจ�ำเป็น 2) ความไม่สามารถรู้ผิดชอบและความอ่อนอายุ และ 3) การกระท�ำตามค�ำสั่งที่
มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานและการกระท�ำความผิดบางประเภทระหว่างสามีภริยา
3. บคุ คลอาจได้รบั ลดโทษทางอาญา เมือ่ มีเหตุลดโทษ ซึง่ อาจแยกพิจารณา ดังนี้ 1) เหตุลดโทษ
โดยทั่วไป 2) เหตุบันดาลโทสะ และ 3) เหตุบรรเทาโทษ
.ม
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 4 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเหตุยกเว้นความผิดได้
2. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเหตุยกเว้นโทษได้
3. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเหตุลดโทษได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 4
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 4.1-4.3
3. ฟังเทปเสียงหรือซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา (ถ้ามี)
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-3

4. ท�ำกิจกรรมในเอกสารการสอน


5. ฟังรายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
6. ชมรายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์
7. เข้ารับการสอนเสริม
8. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 4

.
สื่อการสอน
สธ สธ
มส . มส
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ (แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน)
3. เทปเสียงหรือซีดีเสียงประกอบชุดวิชา (ถ้ามี)
4. รายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
5. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์
6. การสอนเสริม (ถ้ามี)

7. ประมวลกฎหมายอาญา

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน (ประเมินผลด้วยตนเอง)
ธ.

2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง (ประเมินผลด้วยตนเอง)
3. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจ�ำภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 4 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป
.ม
สธ ส
4-4 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ตอนที่ 4.1


เหตุยกเว้นความผิด
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 4.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
4.1.1 บทบัญญัติกฎหมายหรือจารีตประเพณีให้อำ� นาจกระท�ำ

มส . มส
4.1.2 ความยินยอม
4.1.3 การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

แนวคิด
1. บ คุ คลอาจได้รบั ยกเว้นความผิดทางอาญา หากมีบทบัญญัตกิ ฎหมายหรือจารีตประเพณี

ให้อำ� นาจกระท�ำได้
2. บคุ คลอาจได้รบั ยกเว้นความผิดทางอาญา หากผูเ้ สียหายยินยอมต่อการกระท�ำนัน้ ทัง้ นี้
โดยเป็นความยินยอมอันบริสุทธิ์ ไม่ขัดต่อส�ำนึกในศีลธรรมอันดี และเป็นความยินยอม
ที่มีอยู่จนถึงขณะกระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด
3. บุคคลอาจได้รับยกเว้นความผิดทางอาญา หากการกระท�ำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบ
ธ.

ด้วยกฎหมายเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการ
ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อีกทั้งได้กระท�ำไป
ไม่เกินขอบเขต

วัตถุประสงค์
.ม
เมื่อศึกษาตอนที่ 4.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายหลักเกณฑ์และวินจิ ฉัยปัญหาเกีย่ วกับบทบัญญัตกิ ฎหมายหรือจารีตประเพณีให้
อ�ำนาจกระท�ำได้
2. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความยินยอมได้
3. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-5

ความน�ำ


ดังที่ได้ศึกษามาแล้วว่า ในการพิจารณาว่า ผู้กระท�ำจะต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่นั้น จะต้อง
พิจารณาโครงสร้างความรับผิดทางอาญา อันได้แก่

. 1. การกระท�ำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
สธ สธ
2. การกระท�ำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด

มส . มส
3. การกระท�ำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
ดังนั้น แม้การกระท�ำครบ “องค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติตามโครงสร้างข้อ 1 แต่หากการ
กระท�ำนั้นมีกฎหมายยกเว้นความผิดตามโครงสร้างข้อ 2 ก็ย่อมมีผลให้ผู้กระท�ำ “ไม่มีความผิด” และไม่
ต้องรับผิดในทางอาญา
กฎหมายยกเว้นความผิดนัน้ มีหลายกรณี ทัง้ นี้ จะได้แยกอธิบายในตอนที่ 4.1 ดังนี้ 1) บทบัญญัติ
กฎหมายหรือจารีตประเพณีให้อำ� นาจกระท�ำ 2) ความยินยอม และ 3) การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

เรื่องที่ 4.1.1
ธ.

บทบัญญัติกฎหมายหรือจารีตประเพณีให้อ�ำนาจกระท�ำ

การกระท�ำที่ครบ “องค์ประกอบ” ซึ่งกฎหมายบัญญัติตามโครงสร้างข้อ 1 หากการกระท�ำนั้น


ผูก้ ระท�ำมีอำ� นาจกระท�ำภายใต้ขอบเขตทีก่ ฎหมายให้อำ� นาจไว้ การกระท�ำดังกล่าวก็ถอื ว่าไม่เป็นความผิด
.ม
ผู้กระท�ำย่อมไม่ต้องรับผิดในทางอาญา1
ในทีน่ ี้ อาจแยกพิจารณาออกเป็น 1) บทบัญญัตกิ ฎหมายให้อำ� นาจกระท�ำ และ 2) จารีตประเพณี
ให้อ�ำนาจกระท�ำ

1. บทบัญญัติกฎหมายให้อ�ำนาจกระท�ำ
มีหลายประการ ดังเช่น
1.1 กฎหมายยกเว้นความผิดตาม ปอ. เช่น
1) การกระท�ำโดยป้องกัน ตามมาตรา 68 ซึ่งจะอธิบายกล่าวโดยละเอียดในเรื่องที่ 4.1.3

1โอฬาร กุลวิจิตร, และอมรพจน์ กุลวิจิตร. เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ เหตุรอการลงโทษและรอ


การก�ำหนดโทษ. กรุงเทพฯ. 2552. น. 71.
สธ ส
4-6 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

2) กรณีท�ำแท้ง ตามมาตรา 3052 ซึ่งบัญญัติยกเว้นความผิดส�ำหรับหญิงซึ่งยอมให้ผู้อื่น


ท�ำแท้งขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ตามมาตรา 301 หรือแพทย์ผู้ท�ำแท้งให้หญิงโดยหญิงนั้นยินยอม
ตามมาตรา 302 หากเป็นไปตามเงื่อนไข คือ หากการท�ำแท้งนั้นเป็นการกระท�ำของผู้ประกอบวิชาชีพ
เวชกรรม ตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ (1) จ�ำเป็นต้องกระท�ำเนื่องจากการตั้งครรภ์
ของหญิงจะเสี่ยงต่ออันตรายแก่สขุ ภาพกายหรือจิตใจของหญิงนั้น (2) จ�ำเป็นต้องกระท�ำเนือ่ งจากมีความ

.
เสี่ยงมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์ควรเชื่อได้ว่าทารกคลอดมาจะผิดปกติหรือทุพพลภาพร้ายแรง (3)
หญิงยืนยันว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระท�ำความผิดเกี่ยวกับเพศ (4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่ถึง 12
สธ สธ
สัปดาห์ ยืนยันจะยุตกิ ารตัง้ ครรภ์หรือ (5) หญิงซึง่ มีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ยนื ยัน

มส . มส
จะยุตกิ ารตัง้ ครรภ์หลังตรวจและรับค�ำปรึกษาจากผูป้ ระกอบวิชาชีพเวชกรรมและผูป้ ระกอบวิชาชีพอืน่ ตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณุสุขประกาศ โดยค�ำแนะน�ำของแพทยสภา
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
3) การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตามมาตรา 3293 หรือการแสดงความ
คิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลโดยคูค่ วามหรือทนายความของคูค่ วามตามมาตรา 3314

อุทาหรณ์
ฎ. 1459/2541 ผูว้ า่ การท่าอากาศยานตอบหนังสือของกองทัพอากาศว่า โจทก์ถกู ปลดเพราะต้องหา
ว่าลักทรัพย์ของท่าอากาศยาน เป็นการแสดงข้อเท็จจริงโดยสุจริตของเจ้าพนักงานตามหน้าที่ ได้รับข้อ
ยกเว้นตาม ปอ. มาตรา 329 (2) ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
1.2 กฎหมายยกเว้นความผิดตามรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัตแิ ห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ธ.

ไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 124 วรรคหนึง่ บัญญัตวิ า่ “ในทีป่ ระชุมสภาผูแ้ ทนราษฎร ทีป่ ระชุมวุฒสิ ภา
หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยค�ำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น
หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด ผู้ใดจะน�ำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้น
ในทางใดๆ มิได้”
1.3 กฎหมายยกเว้นความผิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น
1) เจ้าของที่ดินใช้สิทธิตัดรากไม้ ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินที่ติดต่อและเอาไว้เสียตาม ปพพ.
.ม
5
มาตรา 1347 ไม่เป็นความผิดฐานท�ำให้เสียทรัพย์ ซึง่ ตามมาตรา 1347 มิได้หา้ มเจ้าของทีด่ นิ ติดต่อใช้สทิ ธิ
2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ปอ. (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 มาตรา 4.
3 มาตรา 329 บัญญัติว่า “ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระท�ำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการด�ำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท”
4 มาตรา 331 บัญญัติว่า “คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิดเห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณา
คดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท”.
5 มาตรา 1347 บัญญัติว่า “เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล�้ำเข้ามา
เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้”.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-7

ทางศาล หากเป็นเพียงอนุญาตไว้เพราะในบางกรณีอาจฉุกเฉินรีบด่วน และเจ้าของทีด่ นิ ติดต่ออีกฝ่ายหนึง่


ได้ละเลยเพิกเฉยต่อค�ำบอกกล่าว และถ้าจะไปใช้สทิ ธิทางศาลอาจไม่รวดเร็วทันกับความจ�ำเป็น ก็ให้เจ้าของ
ที่ดินที่ได้รับความเดือดร้อนนั้น จัดการเอาเองได้โดยกฎหมายไม่ถือเป็นละเมิด6
2) การท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบ�ำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมา
เป็นสาธารณะโดยฉุกเฉินตาม ปพพ. มาตรา 4507

. อุทาหรณ์
ฎ. 291/2473 ท�ำลายท�ำนบของเอกชนโดยจ�ำเป็นเพื่อป้องกันน�ำ้ ท่วมนาของราษฎร ท�ำไป
สธ สธ
โดยความจ�ำเป็นไม่เกินแก่เหตุ เพื่อป้องกันประโยชน์ของประชาชน ถึงโจทก์จะเสียหายก็น้อยกว่าความ

มส . มส
เสียหายของราษฎรที่จะพึงได้รับ และไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกด้วย แม้จะเป็นการรบกวนครอบครอง
อสังหาริมทรัพย์ของผูอ้ นื่ โดยปกติสขุ ตาม ปอ. มาตรา 362 ก็ตาม เพราะถือว่าผูก้ ระท�ำมีอำ� นาจตาม ปพพ.
มาตรา 450 ที่จะกระท�ำเช่นนั้นได้
3) การที่ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ฆ่าสัตว์ที่เข้ามาท�ำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์
ตาม ปพพ. มาตรา 4528 ไม่เป็นความผิดฐานท�ำให้เสียทรัพย์

4) การที่ผู้ใช้อ�ำนาจปกครอง เช่น บิดามารดาท�ำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
ตาม ปพพ. มาตรา 1567 (2)9
5) เจ้าส�ำนักโรงแรมชอบที่จะยึดหน่วงเครื่องเดินทางหรือทรัพย์สินอย่างอื่นของคนเดินทาง
หรือแขกอาศัยอันเอาไว้ในโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานทีเ่ ช่นนัน้ ได้จนกว่าจะได้รบั ใช้เงินบรรดาทีค่ า้ งช�ำระแก่
ตน ฯลฯ ตาม ปพพ. มาตรา 679
ธ.

6) บิดาเอาเงินของบุตรที่บิดาครองครองไปใช้โดยอาศัยอ�ำนาจตาม ปพพ. มาตรา 157310


ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
6 ฎ. 1165/2502.
7 มาตรา 450 บัญญัติว่า “ถ้าบุคคลท�ำบุบสลาย หรือท�ำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบ�ำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมา
เป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่จำ� ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตราย
ถ้าบุคคลท�ำบุบสลาย หรือท�ำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบ�ำบัดปัดป้องภยันตรายอันมีแก่เอกชนโดยฉุกเฉิน ผู้นั้นจะ
.ม
ต้องใช้คืนทรัพย์นั้น
ถ้าบุคคลท�ำบุบสลาย หรือท�ำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะป้องกันสิทธิของตนหรือของบุคคลภายนอกจากภยันตราย
อันมีมาโดยฉุกเฉิน เพราะตัวทรัพย์นนั้ เองเป็นเหตุ บุคคลเช่นว่านีห้ าต้องรับผิดใช้คา่ สินไหมทดแทนไม่ หากว่าความเสียหายนัน้ ไม่เกิน
สมควรแก่เหตุ แต่ถ้าภยันตรายนั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลนั้นเองแล้ว ท่านว่าจ�ำต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้”.
8 มาตรา 452 บัญญัติว่า “ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามาท�ำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์
นั้น และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทน อันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้ และถ้าเป็นการจ�ำเป็นโดยพฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสีย
ก็ชอบที่จะท�ำได้
แต่วา่ ผูน้ นั้ ต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชกั ช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบ ผูท้ จี่ บั สัตว์ไว้ตอ้ งจัดการตามสมควร
เพื่อสืบหาตัวเจ้าของ”.
9 มาตรา 1567 บัญญัติว่า “ผู้ใช้อ�ำนาจปกครองมีสิทธิ...(2) ท�ำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน...”.
10 มาตรา 1573 บัญญัตวิ า่ “ถ้าบุตรมีเงินได้ ให้ใช้เงินนัน ้ เป็นค่าอุปการะเลีย้ งดูและการศึกษาก่อน ส่วนทีเ่ หลือผูใ้ ช้อำ� นาจ
ปกครองต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร แต่ถ้าผู้ใช้อ�ำนาจปกครองไม่มีเงินได้เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ใช้
อ�ำนาจปกครองจะใช้เงินนัน้ ตามสมควรก็ได้ เว้นแต่จะเป็นเงินได้ทเี่ กิดจากทรัพย์สนิ โดยการให้โดยเสน่หาหรือพินยั กรรมซึง่ มีเงือ่ นไข
ว่ามิให้ผู้ใช้อำ� นาจปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นๆ”.
สธ ส
4-8 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

7) ผู้ทำ� พินัยกรรมท�ำลายพินัยกรรมตาม ปพพ. มาตรา 169511 แม้ว่าจะส่งมอบพินัยกรรม


ให้ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมไปแล้วก็ตาม12 การกระท�ำย่อมไม่เป็นความผิดตาม ปอ. มาตรา 188
1.4 กฎหมายยกเว้นความผิดตาม ปวิอ. เช่น
1) การที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือต�ำรวจจับผู้กระท�ำ “ความผิดซึ่งหน้า” ตาม ปวิอ.
มาตรา 78 (1) หรือการจับบุคคลตามหมายจับ ผู้จับไม่มีความผิดต่อเสรีภาพ หรือหากการจับนั้นจ�ำเป็น

.
ต้องท�ำให้ทรัพย์ของผู้ถูกจับเสียหาย เช่น จ�ำเลยเป็นพนักงานป่าไม้ บอกให้รถยนต์ซ่ึงบรรทุกไม้ผิด
กฎหมายหยุด รถไม่หยุด จ�ำเลยจึงยิงไปที่ยางล้อรถต้องการให้รถหยุดเพื่อจะท�ำการจับ โดยใช้วิธีเท่าที่
สธ สธ
เหมาะแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับตาม ปวิอ. มาตรา 83 แล้ว อันเป็นการใช้อ�ำนาจหน้าที่ตามที่

มส . มส
กฎหมายบัญญัติไว้ การกระท�ำของจ�ำเลยจึงไม่มีความผิด13
2) ปวิอ. มาตรา 117 บัญญัติว่า “เมื่อผู้ต้องหาหรือจ�ำเลยหนีหรือจะหลบหนี ให้พนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือต�ำรวจที่พบการกระท�ำดังกล่าวมีอ�ำนาจจับผู้ต้องหาหรือจ�ำเลยนั้นได้ แต่ในกรณีที่บุคคล
ซึง่ ท�ำสัญญาประกันหรือเป็นหลักประกันเป็นผูพ้ บเห็นการกระท�ำดังกล่าว อาจขอให้พนักงานฝ่ายปกครอง
หรือต�ำรวจที่ใกล้ที่สุดจับผู้ต้องหาหรือจ�ำเลยได้ ถ้าไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานได้ทัน

ท่วงที ก็ให้มีอ�ำนาจจับผู้ต้องหาหรือจ�ำเลยได้เอง...”
1.5 กฎหมายยกเว้นความผิดตามกฎหมายอื่น เช่น
1) พนักงานเจ้าหน้าที่มีอ�ำนาจตัดโค่นต้นไม้หวงห้ามเพื่อประโยชน์ในการบ�ำรุงป่า การ
ค้นคว้าหรือการทดลองในทางวิชาการได้ตามมาตรา 1714 ไม่ถือว่ามีความผิดฐานท�ำไม้ไม่ได้รับอนุญาต
ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 1115
ธ.

2) ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข มีไว้ในครอบครองยาเสพติด


ให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน ได้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 516 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.
2522
.ม
11 มาตรา 1695 บัญญัตวิ า่ “ถ้าพินยั กรรมได้ทำ� เป็นต้นฉบับแต่ฉบับเดียว ผูท
้ ำ� พินยั กรรมอาจเพิกถอนพินยั กรรมนัน้ ทัง้ หมด
หรือบางส่วนได้ โดยท�ำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจ”.
12 จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญาภาค 2 ตอน 1. กรุงเทพฯ. เนติบัณฑิตยสภา. 2548. น. 401.
13 ฎ. 699/2502.
14 อ�ำนาจทีใ่ ห้พนักงานเจ้าหน้าทีน
่ ี้ ให้อำ� นาจรวมตลอดไปถึงบุคคลทีพ่ นักงานเจ้าหน้าทีจ่ า้ งหรือใช้สอยให้กระท�ำการต่างๆ
ดังที่ระบุได้ด้วย ดังนัย ฎ. 1210/2503 ยืนหยัด ใจสมุทร. ค�ำอธิบายพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
นิติบรรณการ. 2533. น. 60.
15 มาตรา 11 บัญญัติว่า “ผู้ใดท�ำไม้ หรือเจาะ หรือสับ หรือเผา หรือท�ำอันตรายด้วยประการใดๆ แก่ไม้หวงห้าม ต้องได้
รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้ และต้องปฏิบัติตามข้อก�ำหนดในกฎกระทรวง
หรือในการอนุญาต”
16 มาตรา 5 บัญญัตวิ า่ “พระราชบัญญัตน ิ ไี้ ม่ใช้บงั คับแก่สำ� นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข แต่
ให้ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข รายงานการรับ การจ่าย การเก็บรักษา และวิธีการปฏิบัติอย่างอื่นที่
เกีย่ วกับการควบคุมยาเสพติดให้โทษให้คณะกรรมการทราบทุกหกเดือน แล้วให้คณะกรรมการเสนอพร้อมกับให้ความเห็นต่อรัฐมนตรี
เพื่อสั่งการต่อไป”
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-9

3) เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ประหารชีวิตนักโทษ เป็นการปฏิบัติตามค�ำพิพากษาของศาลตาม


ปอ. ไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตาม ปอ. มาตรา 288
4) การกระท�ำของเจ้าพนักงานท้องถิน่ ซึง่ ปฏิบตั หิ น้าทีเ่ ข้าไปรือ้ ถอนอาคารสิง่ ปลูกสร้างของ
ผู้อื่น เป็นอ�ำนาจตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40, 41 และ 4217 ไม่เป็นความผิดฐาน
บุกรุกและท�ำให้เสียทรัพย์ตาม ปอ. มาตรา 362 และ 358

. 5) การกระท�ำของเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 1918


ไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารของผู้อื่นตาม ปอ. มาตรา 188
สธ สธ
6) กรณีท่ีกฎหมายให้อ�ำนาจให้กระท�ำได้หากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาต เช่น พ.ร.บ.

มส . มส
ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 “ผู้ใดท�ำไม้ หรือเจาะ หรือสับ หรือเผา หรือท�ำอันตรายด้วยประการใดๆ แก่
ไม้หวงห้าม ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้
และต้องปฏิบัติตามข้อก�ำหนดในกฎกระทรวงหรือในการอนุญาต...” เป็นต้น
2. จารีตประเพณีให้อ�ำนาจกระท�ำ

ในบางกรณี แม้ว่าจะมิได้มีกฎหมายบัญญัติให้อ�ำนาจแก่บุคคลเพื่อกระท�ำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
แต่ถ้าปรากฏว่ามีจารีตประเพณีให้อ�ำนาจแก่บุคคลกระท�ำการอย่างใดได้โดยชอบ แม้การนั้นจะเข้าองค์
ประกอบทีก่ ฎหมายบัญญัตเิ ป็นความผิดอาญาก็ตาม บุคคลก็อาจกระท�ำการนัน้ ได้โดยไม่มคี วามผิดอาญา
หรือได้รับยกเว้นความผิดอาญา “จารีตประเพณี” ที่กล่าวนี้เป็นกฎหมายที่มิได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์
อักษร ซึ่งนักกฎหมายให้ค�ำอธิบายว่า จารีตประเพณี คือ ทางปฏิบัติเกี่ยวกับความประพฤติของมนุษย์ใน
ธ.

สังคมในเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ ซึง่ ได้ถอื ปฏิบตั สิ บื เนือ่ งกันมาสม�ำ่ เสมอเป็นเวลานาน โดยความเชือ่ มัน่ ว่าเป็นสิง่
ที่ถูกต้องและต้องปฏิบัติตาม ทั้งนี้จารีตประเพณีบางส่วนภายหลังอาจถูกน�ำไปบัญญัติรับรองไว้เป็น
กฎหมายลายลักษณ์อักษร แต่ก็ยังคงมีจารีตประเพณีอีกบางส่วนที่คงถือปฏิบัติต่อๆ กันมาในฐานะเป็น
จารีตประเพณี
.ม
17 มาตรา 40 บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง
พระราชบัญญัตนิ ี้ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ ทีอ่ อกตามพระราชบัญญัตนิ ี้ หรือกฎหมายอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิน่
มีอ�ำนาจด�ำเนินการดังนี้...(3) พิจารณามีค�ำสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี…”
มาตรา 41 บัญญัติว่า “ถ้าการกระท�ำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ให้เจ้าพนักงาน
ท้องถิน่ มีอำ� นาจสัง่ ให้เจ้าของอาคารยืน่ ค�ำขออนุญาตหรือด�ำเนินการแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ หรือด�ำเนินการแก้ไขเปลีย่ นแปลงให้ถกู ต้อง
ภายในระยะเวลาที่กำ� หนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน...”
มาตรา 42 บัญญัติว่า “ถ้าการกระท�ำตามมาตรา 40 เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของ
อาคารมิได้ปฏิบัติตามค�ำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอ�ำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
อาคาร ผูค้ วบคุมงาน หรือผูด้ ำ� เนินการรือ้ ถอนอาคารนัน้ ทัง้ หมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาทีก่ ำ� หนดแต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่าสามสิบ
วัน...”
18 มาตรา 19 บัญญัตวิ า่ “ค�ำสัง่ พิทก
ั ษ์ทรัพย์ให้ถอื เสมือนว่า เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา
สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ และบรรดาทรัพย์สนิ ซึง่ อยูใ่ นความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผูอ้ นื่ อันอาจแบ่งได้ในคดีลม้ ละลาย
ในการยึดทรัพย์นนั้ เจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์มอี ำ� นาจเข้าไปในสถานทีใ่ ดๆ อันเป็นของลูกหนี้ หรือทีล่ กู หนีไ้ ด้ครอบครองอยู่
และมีอ�ำนาจหักพังเพื่อเข้าไปในสถานที่นั้นๆ รวมทั้งเปิดตู้นิรภัย ตู้หรือที่เก็บของอื่นๆ ตามที่จ�ำเป็น”
สธ ส
4-10 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ในเบื้องต้น จึงต้องพิจารณาว่าการปฏิบัตินั้นๆ เป็น “จารีตประเพณี” ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี19้


1) มีการปฏิบตั มิ าเป็นเวลานานติดต่อกันมาอย่างสม�ำ่ เสมอจนเป็นทางปฏิบตั ทิ แี่ พร่หลายในสังคมนัน้
ประกอบกับ
2) ความเชื่อมั่นของกลุ่มคนในสังคมนั้นว่า สิ่งที่ยึดถือปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องถือปฏิบัติ
ตาม

. ทั้งนี้ จารีตประเพณีซึ่งจะอ้างเพื่อยกเว้นความผิดทางอาญาได้นั้น จะต้องพิจารณาว่า จารีต


ประเพณีนั้นยังคงมีอยู่ถึงขณะที่มีการกระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด20
สธ สธ
ดังนั้น หากกรณีใดมีปัญหาว่า บุคคลมีอ�ำนาจกระท�ำการใดหรือไม่ ถ้าหากไม่มีบัญญัติไว้ใน

มส . มส
กฎหมายลายลักษณ์อักษรก็อาจพิสูจน์ว่ามีจารีตประเพณีให้อำ� นาจไว้เช่นนั้นหรือไม่
ตัวอย่าง จารีตประเพณีบางส่วนอาจได้รับการบัญญัติรับรองไว้ในรูปกฎหมายลายลักษณ์อักษร
ซึ่งอาจอ้างเพื่อยกเว้นความผิดทางอาญาได้ เช่น ปพพ. มาตรา 1354 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้ามีจารีตประเพณี
แห่งท้องถิ่นให้ทำ� ได้และถ้าเจ้าของไม่ห้าม บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่า ที่ดง หรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็น
ทีด่ นิ ของผูอ้ นื่ เพือ่ เก็บฟืน หรือผลไม้ปา่ ผักเห็ด และสิง่ เช่นนัน้ ” เช่นนี้ ถ้าท้องถิน่ ใดมีจารีตประเพณีดงั กล่าว

บุคคลผูก้ ระท�ำก็มอี ำ� นาจกระท�ำการนัน้ ได้โดยไม่มคี วามผิดฐานบุกรุกตาม ปอ. มาตรา 362 หรือลักทรัพย์ตาม
มาตรา 334, 335 เป็นต้น

กิจกรรม 4.1.1
ธ.

จงยกตัวอย่างบทบัญญัติใน ปอ. ที่ให้อ�ำนาจแก่บุคคลกระท�ำการบางกรณีได้โดยไม่มีความผิด

แนวตอบกิจกรรม 4.1.1
บทบัญญัตใิ น ปอ. ทีใ่ ห้อำ� นาจแก่บคุ คลกระท�ำการบางกรณีได้โดยไม่มคี วามผิด เช่น การป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 68 หรือการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต ตามมาตรา
.ม
329 หรือการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลโดยคู่ความหรือทนายความ
ของคู่ความ ตามมาตรา 331 เป็นต้น

19
สมยศ เชื้อไทย. ความกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน. 2562. น. 100.
20
โอฬาร กุลวิจิตร, และอมรพจน์ กุลวิจิตร. เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ เหตุรอการลงโทษ และ
รอการก�ำหนดโทษ. กรุงเทพฯ: 2552. น. 79.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-11

เรื่องที่ 4.1.2


ความยินยอม

. ความยินยอม อันเป็น “เหตุยกเว้นความผิด” นี้ หมายถึง ความยินยอมต่อการกระท�ำอย่างหนึ่ง


อย่างใด อันจะมีผลให้การกระท�ำซึ่งแม้ครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่เป็นความผิด เนื่องจาก
สธ สธ
ความยินยอมของผู้ถูกกระท�ำ สามารถอ้างเป็นเหตุยกเว้นความผิดได้

มส . มส
ตัวอย่าง ผูป้ ว่ ยยินยอมให้แพทย์ผา่ ตัดหัวเข่าเพือ่ รักษาโรค แม้การกระท�ำของแพทย์จะครบองค์ประกอบ
ทีก่ ฎหมายบัญญัตเิ ป็นความผิดฐานท�ำร้ายร่างกาย แต่แพทย์กไ็ ม่ตอ้ งรับผิด เพราะความยินยอมของผูป้ ว่ ย
เป็นเหตุยกเว้นความผิดฐานท�ำร้ายร่างกายให้แก่ผู้นั้น
“ความยินยอม” ดังกล่าวนี้ แม้จะไม่มกี ารบัญญัตไิ ว้เป็นลายลักษณ์อกั ษรใน ปอ. ของไทยโดยตรง
แต่ศาลฎีกาก็ได้เคยวางหลักเป็นบรรทัดฐานไว้ ปรากฏใน ฎ. 1403/2508 ดังนี้

“มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาอยู่ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใด
กระท�ำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความส�ำนึกในศีลธรรมอันดี
และมีอยู่จนถึงขณะกระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้น
มิให้การกระท�ำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้”
ตามค�ำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น “ความยินยอม” จึงถูกน�ำมาใช้ในฐานะเป็น “หลักกฎหมาย
ธ.

ทั่วไป” ซึ่งสามารถน�ำมาใช้ได้แม้มิได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยไม่ขัดต่อ ปอ. มาตรา 2 เพราะ


เป็นการน�ำมาใช้เพื่อเป็นคุณแก่ผู้กระท�ำ กล่าวคือ เพื่อ “ยกเว้นความผิด” ให้แก่ผู้กระท�ำนั่นเอง
ทั้งนี้ หลักความยินยอม ซึ่งจะน�ำมาใช้เพื่อเป็นคุณแก่ผู้กระท�ำ นั้น ต้องมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ต้องเป็นความยินยอมอันบริสุทธิ์ หมายความว่า เป็นความยินยอมโดยสมัครใจ ไม่มีการ
หลอกลวง หรือส�ำคัญผิด หรือข่มขู่ ด้วยประการใดๆ
.ม
ดังนั้น หากมิใช่ความยินยอมโดยสมัครใจแล้ว ก็จะอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ได้ เช่น จ�ำเลย
กับพวกผลักประตูบา้ นทีผ่ เู้ สียหายเปิดแง้มเข้าไป แม้ผเู้ สียหายมิได้ขดั ขืนหรือห้ามปรามมิให้จำ� เลยกับพวก
เข้าไป ก็ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้จ�ำเลยกับพวกเข้าไปในบ้าน การกระท�ำของจ�ำเลยกับพวกย่อม
เป็นความผิดฐานร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรโดยร่วมกันกระท�ำความผิด
ตั้งแต่สองคนขึ้นไป21
2. ความยินยอมนั้นต้องไม่ขัดต่อความส�ำนึกในศีลธรรมอันดี โดยต้องพิจารณาตามความรูส้ กึ
ของบุคคลทั่วไปในท้องที่และเวลาที่เกิดการกระท�ำนั้น22 เช่น ความยินยอมของผู้ป่วยให้แพทย์ผ่าตัดเพื่อ
การรักษา หรือความยินยอมของนักมวยในการชกตามกติกา หรือความยินยอมของนักกีฬาซึ่งอาจมีการ
21 ฎ. 6551/2558.
22 จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญาภาค 1. น. 815-816. หัวข้อ 263 และดูบันทึกท้าย ฎ. 787/2483 โดย ศาสตราจารย์
หยุด แสงอุทัย.
สธ ส
4-12 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

กระทบกระแทกร่างกายกันในการเล่นกีฬาบางอย่าง เช่น ฟุตบอล รักบี้ มวยปล�้ำ หากเป็นการเล่นตาม


กติกาของกีฬาประเภทนั้นๆ แล้ว ถือว่าเป็นความยินยอมที่ไม่ขัดต่อความส�ำนึกในศีลธรรมอันดี23
ดังนั้น หากเป็นความยินยอมที่ขัดต่อส�ำนึกในศีลธรรมอันดี ย่อมไม่อาจอ้างเพื่อยกเว้นความรับ
ผิดทางอาญาได้ เช่น ก. ยอมให้ ข. ใช้ดาบฟันที่แขนของ ก. เพื่อทดสอบว่าพระเครื่องที่เช่ามานั้นท�ำให้
ฟันแทงไม่เข้าจริงตามที่กล่าวอ้างกันหรือไม่ เป็นต้น

. 3. เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะกระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ดังนัน้ หาก


ภายหลังบอกเลิกความยินยอมไปแล้ว ผู้กระท�ำยังกระท�ำอีก ก็จะอ้างเป็นเหตุยกเว้นความผิดไม่ได้
สธ สธ
ข้อสังเกต ในบางกรณีความยินยอมอาจมิใช่เป็น “เหตุยกเว้นความผิด” ดังทีไ่ ด้อธิบายในตอนต้น

มส . มส
หากแต่อาจเป็นเหตุให้การกระท�ำนั้น “ขาดองค์ประกอบ” ที่กฎหมายบัญญัติไว้สำ� หรับความผิดฐานนั้นๆ
ไปเลยทีเดียว
ตัวอย่าง
(1) หญิงยอมให้ชายกระท�ำช�ำเราคือร่วมประเวณี ชายจึงไม่ผดิ ฐานข่มขืนกระท�ำช�ำเราเพราะความ
ยินยอมของหญิงท�ำให้การกระท�ำของชายขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิด ตามมาตรา 27624

(2) ผูเ้ สียหายยินยอมให้จำ� เลยซึง่ รูจ้ กั กับผูเ้ สียหายเข้าไปในอาคารทีเ่ กิดเหตุ จ�ำเลยจึงไม่มคี วามผิด
ฐานบุกรุก เนื่องจากความยินยอมของผู้เสียหายท�ำให้การกระท�ำของจ�ำเลยขาดองค์ประกอบตามมาตรา
36225
ธ.

กิจกรรม 4.1.2
จงอธิบายหลักกฎหมายทัว่ ไปเกีย่ วกับความยินยอมของผูเ้ สียหายซึง่ ท�ำให้ผกู้ ระท�ำไม่มคี วามผิดใน
ทางอาญา

แนวตอบกิจกรรม 4.1.2
.ม
1) ต้องเป็นความยินยอมอันบริสทุ ธิ์ 2) ความยินยอมนัน้ ต้องไม่ขดั ต่อความส�ำนึกในศีลธรรมอันดี
และ 3) เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะกระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด

23จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญาภาค 1. น. 816 และจิตติ ติงศภัทิย์. “ความยินยอมไม่ทำ� ให้เป็นความผิด”. วารสาร


กฎหมายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3 (พฤษภาคม–สิงหาคม 2520), น. 52.
24 ฎ. 1668/2532.
25 ฎ. 32/2536.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-13

เรื่องที่ 4.1.3


การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

. เหตุผลทีก่ ฎหมายยอมให้มกี ารป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เนือ่ งมาจากแนวคิดนับตัง้ แต่โบราณ


เช่น ซีเซโร (Cicero) โกรเชียส (Grotius) วูลฟ์ (Wolff) และคาร์รารา (Carrara) เห็นว่า เมื่อเจ้าหน้าที่
สธ สธ
บ้านเมืองไม่อาจให้ความคุม้ ครองแก่ผทู้ ไี่ ด้รบั ผลร้ายจากการกระท�ำอันละเมิดต่อกฎหมายได้ทนั ท่วงทีแล้ว

มส . มส
เขาก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะคุ้มครองป้องกันตนเองได้26 ในแง่สัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว จะเห็นได้ว่า
มนุษย์มีสัญชาตญาณที่จะต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด สัญชาตญาณดังกล่าวนี้ควรจะได้รับการยอมรับจาก
กฎหมายตามสมควร มิฉะนัน้ ก็จะดูเสมือนว่ากฎหมายปล่อยให้ประชาชนต้องเผชิญหน้ากับชะตากรรมเพียง
ล�ำพังโดยฝืนธรรมชาติของมนุษย์27 อย่างไรก็ตาม การที่กฎหมายยอมให้บุคคลป้องกันสิทธิของตนหรือ
ผู้อื่นใดนั้น มิใช่เพราะรัฐมอบอ�ำนาจให้ลงโทษกันเอง แต่เป็นเพราะรัฐยังไม่มีเครื่องมือเพียงพอบริบูรณ์ที่

จะเข้าไปป้องกันให้ผู้ได้รับผลร้ายจากการกระท�ำอันละเมิดต่อกฎหมายได้ทันท่วงที จึงต้องยอมให้บุคคล
ดังกล่าวป้องกันตนไปได้เท่าที่สมควรแก่กรณี28
ดัง ปอ. มาตรา 68 บัญญัติว่า “ผู้ใดจ�ำต้องกระท�ำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น
ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้
กระท�ำพอสมควรแก่เหตุ การกระท�ำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”
ธ.

จากบทบัญญัติข้างต้น อาจอธิบายหลักเกณฑ์ของการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ดังนี29 ้


1. มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
3. ผู้กระท�ำจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย
4. การป้องกันไม่เกินขอบเขต
.ม
1. มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
1.1 การป้องกันจะกระท�ำได้ต่อเมื่อ “มีภยันตราย” คือ ภัยหรือความเสียหายต่อ “สิทธิ” ของ
บุคคล เช่น ชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เป็นต้น30
อุทาหรณ์ การป้องกัน “ภยันตรายต่อสิทธิเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย”

26 เสริม วินิจฉัยกุล. กฎหมายอาญา ภาค 1. พระนคร: ไทยพณิชยการ. 2482. น. 87.


27 สง่า ลีนะสมติ. กฎหมายอาญา 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง. 2523. น. 1076.
28 สิทธิ จุณณานนท์. กฎหมายอาญา. พระนคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2486. น. 105.
29 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดจิรรัชการ
พิมพ์. 2546. น. 336.
30 จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เนติบัณฑิตยสภา. 2555. น. 747.
สธ ส
4-14 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

(1) ฎ. 1465/2509 ผูต้ ายเดินเข้าไปหาและยืน่ หน้าจ้องหน้าจ�ำเลย จ�ำเลยถามว่ามองท�ำไม ผูต้ าย


ชกหน้าจ�ำเลย 1 ที จ�ำเลยทรุดนั่ง ผู้ตายชักมีดเงื้อแทงจ�ำเลย จ�ำเลยแย่งมีดได้ก็เอามีดนั้นแทงผู้ตาย 1 ที
ดังนี้แม้ว่าจ�ำเลยแย่งมีดได้ก็หาได้หมายความว่าอันตรายได้หมดไป ถือว่าจ�ำเลยแทงผู้ตายในขณะที่การ
ต่อสู้ยังมีอยู่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
(2) ฎ. 2285/2528 ผู้ตายมาพูดขอแบ่งวัวจากจ�ำเลย จ�ำเลยไม่ยอมแบ่งและชวนให้ไปตกลงกัน

.
ทีบ่ า้ นผูใ้ หญ่บา้ นหรือทีบ่ า้ นก�ำนัน แต่ผตู้ ายไม่ยอมกลับชักปืนออกมาจากเอวจ�ำเลยย่อมเข้าใจว่าผูต้ ายจะ
ใช้ปืนยิงจ�ำเลย อันเป็นอันตรายจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
สธ สธ
การทีจ่ ำ� เลยใช้ปนื ยิงผูต้ ายไป 1 นัด และผูต้ ายถึงแก่ความตายจึงเป็นการป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ

มส . มส
การกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจ�ำเลยไม่มีความผิด
อุทาหรณ์ การป้องกัน “ภยันตรายต่อสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน”
(1) ฎ. 943/2508 คนร้ายจูงกระบือไปจากใต้ถุนเรือนจ�ำเลยเมื่อเวลาประมาณ 24 นาฬิกา จ�ำเลย
ร้องถาม คนร้ายหันปืนมาทางจ�ำเลย จ�ำเลยยิงปืนจากบนเรือน 2 นัดถูกคนร้ายตาย จ�ำเลยเคยถูกลักกระบือ
มาแล้วครั้งหนึ่งและหมู่บ้านนั้นมีการลักกระบือเสมอเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

(2) ฎ. 7940/2551 บ้านและบริเวณบ้านของจ�ำเลยถือว่าเป็นเคหสถานทีป่ ระชาชนทัว่ ไปย่อมเห็น
ว่าเป็นที่ปลอดภัยไม่ควรถูกบุคคลอื่นรุกล�้ำเข้ามากระท�ำการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย จ�ำเลยไม่จำ� เป็นต้อง
หลบหนีและมีสทิ ธิทจี่ ะป้องกันสิทธิของตนเพราะจ�ำเลยเป็นผูส้ จุ ริต หาต้องถูกบังคับให้ไปเสียจากเคหสถาน
ของจ�ำเลยซึ่งมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยและเคลื่อนไหวโดยอิสระ หากจ�ำเลยต้องหนีแล้ว สิทธิเสรีภาพของจ�ำเลย
ธ.

ก็จะถูกกระทบกระเทือน
อุทาหรณ์ การป้องกัน “ภยันตรายต่อสิทธิเกี่ยวกับเสรีภาพ”
ฎ. 187/2507 จ�ำเลยกระท�ำความผิดลหุโทษซึ่งหน้าในเวลากลางคืน แล้วหลบหนีเข้าบ้านของ
จ�ำเลยเสียเอง ซึ่งเจ้าพนักงานผู้ไล่จับกุมก็รู้จักดีอยู่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจ�ำเลยจะหนีต่อไปอีก ไม่ถือว่า
เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตามความในมาตรา 96 (2) ปวิอ. เจ้าพนักงานต�ำรวจผู้ไล่จับไม่มีอ�ำนาจเข้าไป
จับกุมจ�ำเลยในเรือนของจ�ำเลยอันเป็นที่รโหฐานได้ การที่จ�ำเลยเงื้อมีดจะฟันต�ำรวจที่เข้ามาจับ ถือว่า
.ม
เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
การทีพ่ บสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายขณะมีชหู้ รือร่วมประเวณีกบั หญิงหรือชายอืน่ ถือว่า
มีภยันตรายต่อชือ่ เสียงเกียรติยศของภริยาหรือสามีซงึ่ เป็นคูส่ มรสอีกฝ่ายแล้ว จึงกระท�ำการป้องกันชือ่ เสียง
เกียรติยศของตนได้ แต่หากมิได้พบในขณะร่วมประเวณี เพียงแต่พบอยู่ในห้องนอนกันล�ำพังเท่านั้น อ้าง
ป้องกันไม่ได้ แต่ก็ถือเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นเหตุบันดาลโทสะตาม
มาตรา 72 ได้
อุทาหรณ์ การป้องกัน “ภยันตรายต่อสิทธิเกี่ยวกับชื่อเสียงเกียรติยศ”
(1) ฎ. 3583/2555 จ. เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจ�ำเลย ซึ่งจ�ำเลยมีสิทธิตามกฎหมาย
ที่จะกระท�ำการป้องกันเกียรติยศชื่อเสียงของตน โดยมิให้ชายอื่นมามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับภริยาของ
ตนได้ แต่ขณะเกิดเหตุจ�ำเลยพบเห็น จ. นอนหนุนตักผู้ตายและกอดจูบกันโดยยังไม่มีการร่วมประเวณี
และ จ. สมัครใจยินยอม ยังถือไม่ได้ว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และ
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-15

เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงซึ่งจ�ำเลยจ�ำต้องกระท�ำการป้องกันสิทธิ แต่การที่ผู้ตายกับ จ. กอดจูบกันนับ


เป็นการข่มเหงจิตใจจ�ำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จ�ำเลยอดกลั้นโทสะไม่ไหวจึงเข้าไปต่อย
ผูต้ ายแล้วใช้มดี ทีว่ างใกล้ตวั แทงผูต้ ายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72
(2) ฎ. 3861/2547 แม้จ�ำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต. มีสิทธิป้องกันมิให้หญิงอื่น
มามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีของตน แต่ขณะจ�ำเลยพบโจทก์ร่วมนั้น โจทก์ร่วมก�ำลังนอนหลับอยู่
กับ ต. เท่านั้น มิได้ก�ำลังร่วมประเวณีกัน พฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการ

.
ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันจ�ำเลยจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกันสิทธิ
สธ สธ
ของจ�ำเลยแต่อย่างใด การกระท�ำของจ�ำเลยจึงมิใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่โจทก์

มส . มส
ร่วมเข้าไปนอนหลับอยูก่ บั ต. สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจ�ำเลย เช่นนี้ นับได้วา่ เป็นการกระท�ำทีข่ ม่ เหง
จิตใจของจ�ำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม เมื่อจ�ำเลยพบเห็นไม่สามารถอดกลั้นโทสะไว้ได้ ใช้มีด
ฟันศีรษะโจทก์ร่วมไปในทันทีทันใด การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นบันดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72
แต่ถ้าไม่ใช่สามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้พบขณะร่วมประเวณีกับหญิงอื่นหรือชายอื่น
ก็อ้างป้องกันไม่ได้ แต่อาจอ้างบันดาลโทสะได้

อุทาหรณ์
ฎ. 2373/2544 การป้องกันสิทธิของตนทีจ่ ะอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย สิทธินนั้
ต้องเป็นสิทธิอนั บุคคลมีอยูโ่ ดยกฎหมายรับรองและคุม้ ครองให้ดว้ ย เมือ่ ปรากฏว่าขณะเกิดเหตุ น. ซึง่ เป็น
ภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของจ�ำเลยหลับนอนร่วมประเวณีอยู่กับผู้เสียหายในห้อง จ�ำเลยเข้ามาและ
ยิงผู้เสียหาย โดย น.ไม่ได้ร้องให้ผู้ใดช่วยเหลือ จึงไม่มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
ธ.

กฎหมาย จ�ำเลยจะอ้างป้องกันโดยชอบมิได้ แต่การที่ผู้เสียหายหลับนอนร่วมประเวณีกับ น. และจ�ำเลย


ยิงผู้เสียหายในขณะนั้น เป็นการบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
1.2 ภยันตรายนัน้ เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ภยันตรายต่อสิทธิซงึ่ เป็นต้นเหตุ
ให้มีการป้องกันตามหลักแห่งมาตรา 68 แห่ง ปอ. นั้นต้องเป็นภยันตรายซึ่ง “เกิดจากการประทุษร้ายอัน
ละเมิดต่อกฎหมาย” กล่าวคือ ภยันตรายนั้นต้อง “เกิดจากผู้ก่อภยันตรายที่ไม่มีอ�ำนาจโดยชอบด้วย
กฎหมาย” ดังนั้น หากภยันตรายเกิดจากผู้กอ่ ภยันตรายทีม่ ีอำ� นาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับภยันตราย
.ม
ย่อมไม่อาจที่จะป้องกันได้31
ตัวอย่าง ผู้ก่อภยันตรายมีอ�ำนาจกระท�ำได้โดยชอบ ผู้รับภยันตรายจึงไม่อาจป้องกันได้
(1) กรณีเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอ�ำนาจยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามค�ำพิพากษาได้ ตามประมวล
กฎหมายวิธพี จิ ารณาความแพ่ง ลูกหนีต้ ามค�ำพิพากษาจึงไม่สามารถทีจ่ ะท�ำร้ายเจ้าพนักงานบังคับคดีเพือ่
ป้องกันสิทธิในทรัพย์สินของตนเอง
(2) เจ้าพนักงานต�ำรวจจับกุมผูต้ อ้ งหาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือราษฎรจับกุมผูก้ ระท�ำความผิด
ซึ่งหน้า ตาม ปวิอ. เช่นนี้ ผู้ต้องหาหรือผู้กระท�ำความผิดจะท�ำร้ายเจ้าพนักงานต�ำรวจหรือราษฎรผู้เข้า
จับกุมโดยอ้างว่ากระท�ำเพื่อป้องกันสิทธิไม่ได้32
31 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ.์ ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษท
ั กรุงสยามพับลิชชิง่ จ�ำกัด.
2562. น. 495.
32 ฎ. 692/2557 แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจับกุมคนร้ายโดยวิธีการจับกุมที่ไม่ชอบด้วย เช่น บุกเข้าไปจับกุมในที่รโหฐานใน
เวลากลางคืนโดยไม่เข้ากรณียกเว้นให้จับกุมได้ คนร้ายก็มีอำ� นาจป้องกันได้ตามมาตรา 68 นี้ (ฎ. 187/2507).
สธ ส
4-16 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

(3) เมื่อสัญญาเช่าซื้อระงับลง โดยผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาตาม ปพพ. มาตรา 574 ผู้ให้เช่าซื้อ


ย่อมมีอำ� นาจยึดทรัพย์ทใี่ ห้เช่าซือ้ กลับคืนจากผูเ้ ช่าซือ้ ได้ โดยผูเ้ ช่าซือ้ ไม่สามารถทีจ่ ะท�ำร้ายผูใ้ ห้เช่าซือ้ เพือ่
ป้องกันสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวได้
(4) ตาม ปพพ. มาตรา 1567 บิดามารดาผู้ใช้อำ� นาจปกครองมีอำ� นาจท�ำโทษบุตรซึ่งยังไม่บรรลุ
นิติภาวะได้ตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน ดังนี้ บุตรจะท�ำร้ายผู้ใช้อ�ำนาจปกครองโดยอ้างว่ากระท�ำเพื่อ

.
ป้องกันสิทธิในร่างกายหาได้ไม่ เป็นต้น
อนึง่ “ภยันตรายซึง่ เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย” นัน้ หาจ�ำต้องละเมิดแต่เพียง
สธ สธ
กฎหมายอาญาเท่านั้นจึงจะอ้างป้องกันตามมาตรา 68 ได้ หากแต่ยังรวมถึงการละเมิดต่อกฎหมายอื่นๆ

มส . มส
ด้วย เช่น การละเมิดต่อกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา หรือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น และการ
ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายนั้น อาจเป็นการกระท�ำโดยเจตนาหรือโดยประมาทก็ได้ ประการส�ำคัญ
ก็คือ จะต้องเป็นภยันตรายต่อสิทธิซึ่งผู้ก่อภยันตรายไม่มีอำ� นาจกระท�ำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 4282/2555 ขณะเกิดเหตุที่จ�ำเลยแทงผู้ตาย ผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุและไม่เห็น

เหตุการณ์ โดยผู้เสียหายยืนอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 50 เมตร มองไม่เห็นที่เกิดเหตุเพราะมีร้านค้า
บังอยู่ ผู้เสียหายซึ่งเป็นราษฎรจึงไม่มีอ�ำนาจตามกฎหมายที่จะจับกุมจ�ำเลยได้ เพราะมิใช่เป็นการกระท�ำ
ความผิดซึ่งหน้าตาม ปวิอ. มาตรา 79 การที่ผู้เสียหายจะจับจ�ำเลยและใช้ไม้กระบองฟาดไปที่หลังจ�ำเลย
จ�ำเลยย่อมมีสทิ ธิปอ้ งกันตนเองได้ แต่การทีจ่ ำ� เลยจับไม้กระบองผูเ้ สียหายไว้แล้วใช้มดี แทงผูเ้ สียหายไปถึง
ธ.

3 ครัง้ ทีช่ ายโครงซึง่ เป็นอวัยวะส�ำคัญ และอาจท�ำให้ผเู้ สียหายถึงแก่ความตายได้ การกระท�ำของจ�ำเลยจึง


เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จ�ำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผูอ้ นื่ โดยเป็นการป้องกันเกินสมควร
แก่เหตุ
(2) ฎ. 483-484/2550 กล่าวค�ำหยาบเป็นแต่เพียงค�ำพูดที่ไม่สมควร อาจยั่วยุให้จ�ำเลยรู้สึกเจ็บ
แค้นและโมโหบ้างเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
ทั้งนี้ ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายดังได้กล่าวไว้ในข้างต้นนั้นต้อง
.ม
เป็นการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายของคนเท่านั้น สัตว์หรือสิ่งของย่อมไม่อาจกระท�ำการใดๆ ซึ่ง
เป็นการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ ดังกรณีของช้างป่าตกมันวิง่ ท�ำร้ายคน คนไม่อาจจะหนีให้พน้
อันตรายจากการทีช่ า้ งป่าวิง่ ท�ำร้ายได้จงึ ใช้ปนื ยิงช้างป่าตัวดังกล่าวบาดเจ็บ เช่นนีไ้ ม่ถอื ว่าเป็นการป้องกัน
ตามมาตรา 68 แต่อาจถือว่าเป็นการกระท�ำโดยจ�ำเป็นตามมาตรา 67 แห่ง ปอ. ได้ ส่วนในกรณีของคนใช้
คนหรือสัตว์หรือทรัพย์เป็นเครือ่ งมือในการท�ำร้ายผูอ้ นื่ เช่น นายแดงจับมือนายขาวจะเขกศีรษะนายด�ำ หรือ
นายแดงขี่ช้างบังคับให้ไล่เหยียบนายด�ำ หรือนายแดงขับรถยนต์จะพุ่งเข้าชนนายด�ำ ดังนี้ นายด�ำผู้ซึ่งได้
รับภยันตรายจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่นายแดงก่อขึ้น ย่อมป้องกันได้ตามมาตรา 68
โดยนายด�ำสามารถกระท�ำการป้องกันได้ตอ่ นายแดงหรือช้างหรือรถยนต์กย็ อ่ มได้ กรณีดงั กล่าวนี้ รวมไปถึง
การที่สัตว์หรือสิ่งของที่มีเจ้าของได้ก่อให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลอื่น ซึ่งเจ้าของจะต้องรับผิดทางแพ่งหรือ
ทางอาญา ซึ่งถือว่าเป็นภยันตรายจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายของเจ้าของ ผู้รับภยันตายจึง
อาจกระท�ำอันตรายต่อสัตว์หรือสิ่งของนั้น โดยอ้างป้องกันตามมาตรา 68 ได้
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-17

ตัวอย่าง


นายฟิวส์เป็นเจ้าของสุนขั นายฟิวส์ไม่ระมัดระวังในการดูแลสุนขั ของตน เป็นเหตุให้สนุ ขั หลุดออก
จากบ้าน วิ่งตรงไปกัดบริเวณหัวและตาของเด็กเล็กบาดเจ็บสาหัส และก�ำลังจะตรงไปกัดผู้อื่นที่เดินอยู่
บริเวณนั้นอีก กรณีนี้ถ้านายเฟรมเอาปืนยิงสุนัขนั้นตาย ย่อมเป็นการป้องกันตามมาตรา 68 เพราะถือว่า
เป็นการป้องกันภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายของนายฟิวส์ กล่าวคือ ประมาท

.
เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัสตาม ปอ. มาตรา 300
อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้รับภยันตรายมีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายนั้นขึ้น เช่น เป็นผู้ก่อ
สธ สธ
ภยันตรายขึน้ ก่อนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือสมัครใจเข้าวิวาทต่อสูท้ ำ� ร้ายกัน เช่นนี้ เมือ่ เกิดภยันตราย

มส . มส
จะอ้างอ�ำนาจป้องกันตามมาตรา 68 นี้ไม่ได้
ตัวอย่าง นายแอลบุกขึ้นบนเรือนและเข้าท�ำร้ายชกต่อยนายเอ็ม นายเอสบิดานายเอ็มใช้ไม้ตีนาย
แอลไปที่หลังเพื่อให้นายแอลหยุดการกระท�ำดังกล่าว ดังนี้แล้วนายแอลจะท�ำร้ายตอบนายเอสโดยอ้างว่า
กระท�ำเพื่อป้องกันตามมาตรา 68 หาได้ไม่ เพราะภยันตรายจากนายเอสมิได้เกิดจากการประทุษร้าย
อันละเมิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด หากแต่นายแอลเป็นผู้ก่อภัยนั้นขึ้นเอง และในกรณีที่นายเอสใช้ไม้ตี

นายแอลเพื่อป้องกันดังกล่าวนี้ ถ้านายเอสได้กระท�ำการป้องกันเกินกว่าเหตุตามมาตรา 69 เป็นต้นว่า
นายแอลถูกนายเอสตีจนหยุดท�ำร้ายนายเอ็มและวิง่ หนีลงจากเรือนไปแล้ว นายเอสก็ยงั ไล่ทำ� ร้ายติดพันไป
ไม่ลดละเช่นนี้ นายแอลก็ยังใช้อำ� นาจป้องกันตามมาตรา 68 ไม่ได้อยู่นั้นเอง เพราะนายแอลเป็นฝ่ายผิด
โดยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อน33
อุทาหรณ์
ธ.

ฎ. 78-79/2532 จ�ำเลยเป็นฝ่ายด่าโจทก์กอ่ น เมือ่ โจทก์จะท�ำร้ายจ�ำเลย จ�ำเลยจึงได้ท�ำร้ายโจทก์


เช่นนี้ จ�ำเลยจะอ้างป้องกันไม่ได้ เพราะจ�ำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุภยันตรายขึ้นก่อน
กรณีเพียงโต้เถียงกัน หากไม่มกี ารสมัครใจท�ำร้ายกัน ไม่เป็นการสมัครใจวิวาทต่อสูก้ นั อ้างป้องกันได้
อุทาหรณ์
ฎ. 3233/2541 โจทก์ร่วมถามจ�ำเลยที่ 1 ถึงเรื่องที่จ�ำเลยที่ 1 ด่าบิดาโจทก์ร่วม การที่จ�ำเลยที่ 1
.ม
ตอบว่า “ให้กลับไปถามพ่อมึงดู” ถ้อยค�ำดังกล่าวหาได้มคี วามหมายเป็นการด่าไม่ จึงมิใช่เป็นเรือ่ งทีจ่ ำ� เลย
ที่ 1 สมัครใจเข้าวิวาทกับโจทก์ร่วม เมื่อจ�ำเลยที่ 1 ถูกโจทก์ร่วมเข้าท�ำร้ายก่อน จ�ำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะ
ป้องกันตนเองได้
กรณีรอ้ งท้าทายฝ่ายเดียว หากอีกฝ่ายมิได้รบั ท้า หรือไม่ตอบโต้ หรืออยูใ่ นบ้านไม่ออกมา ไม่เป็น
การสมัครใจวิวาทต่อสู้
อุทาหรณ์
ฎ. 14559/2556 เมื่อเกิดเหตุรถเฉี่ยวกัน การที่ทั้งสองฝ่ายอยู่ในอาการมึนเมา ตะโกนด่ากันแล้ว
จ�ำเลยทั้งสองเลี้ยวรถกลับมาหาผู้ตายกับ ป. ซึ่งจอดรถอยู่ในที่เกิดเหตุ แม้ฝ่ายผู้ตายพูดด้วยว่าถ้าแน่จริง
ให้ลงมา แต่จ�ำเลยทั้งสองก็ยังนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ที่แล่นมาจอดห่างประมาณ 3 ถึง 5 เมตรและไม่มี

33 ฎ. 431/2457, ฎ. 284/2486 และ ฎ. 683/2471.


สธ ส
4-18 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

พฤติการณ์อื่นให้เห็นว่าจ�ำเลยทั้งสองสมัครใจทะเลาะวิวาท การที่ผู้ตายกับ ป. เข้าไปรุมชกจ�ำเลยทั้งสอง


ซึ่งยังนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์อยู่โดยไม่ปรากฏว่าจ�ำเลยทั้งสองสมัครใจเข้าต่อสู้กับผู้ตายนับว่าเป็น
ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย จ�ำเลยทั้งสองย่อมมีอำ� นาจกระท�ำการป้องกัน
สิทธิของตนได้ (แต่การที่จ�ำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงใส่ผู้ตายกับ ป. โดยที่ผู้ตายกับ ป. ไม่มีอาวุธและเพียง
แต่ชกจ�ำเลยทั้งสอง การกระท�ำของจ�ำเลยที่ 1 จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ)

. แต่หากอีกฝ่ายรับค�ำท้า หรือตอบโต้ หรือออกมาร่วมวิวาท อันเป็นการสมัครใจเข้าวิวาทต่อสูก้ นั แล้ว


แม้ฝา่ ยใดจะลงมือท�ำร้ายอีกฝ่ายก่อนจึงมิใช่สาระส�ำคัญ เช่นนี้ ไม่วา่ ฝ่ายใดก็จะอ้างเป็นการป้องกันไม่ได้34
สธ สธ
ฎ. 10271/2555 เมื่อผู้ตายถือท่อนเหล็กไล่ตีจ�ำเลยมาถึงหน้าห้องจ�ำเลย จ�ำเลยหนีเข้าไปในห้อง

มส . มส
และปิดประตูไว้ได้ ผู้ตายจึงใช้มือเคาะประตูอย่างแรง อันเป็นท�ำนองท้าทายชวนวิวาท ดังนั้น เมื่อจ�ำเลย
ปิดประตูหอ้ งไว้ได้แล้วและข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าผูต้ ายจะพังประตูหอ้ งจ�ำเลยเข้ามา หากจ�ำเลยไม่สมัครใจ
ทีจ่ ะวิวาทหรือต่อสูก้ บั ผูต้ าย จ�ำเลยก็ชอบทีจ่ ะไม่ตอบโต้หรือเปิดประตูหอ้ งอีก แต่จำ� เลยกลับพูดว่า ถ้าเปิด
ประตูจะแทงนะ แล้วจ�ำเลยได้เปิดประตูห้องพร้อมถืออาวุธมีดด้วย แสดงว่าจ�ำเลยสมัครใจเข้าวิวาท และ
ต่อสู้กับผู้ตาย และเข้าสู่ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อ�ำนาจ การที่จ�ำเลยแทงผู้ตาย จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการ

ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้
อุทาหรณ์ กรณีการสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กันนั้นได้ขาดตอนไปแล้ว ก็ย่อมป้องกันสิทธิได้
ฎ. 1254/2510 จ�ำเลยกับผูเ้ สียหายมีปากเสียงกัน ผูเ้ สียหายท้าทายจ�ำเลย แต่จำ� เลยไม่ยอมรับค�ำท้า
มุ่งหน้าจะกลับบ้าน ผู้เสียหายตามไปกระชากแขนและต่อยจ�ำเลย จ�ำเลยจึงเข้ากอดปล�้ำและตกลงไปใน
ธ.

คลองด้วยกัน จ�ำเลยถูกผู้เสียหายกดให้จมน�ำ้ และถูกกัด จ�ำเลยจึงกัดผู้เสียหายหูขาด ดังนี้ เห็นว่าการโต้


เถียงเป็นปากเสียงกันได้ขาดตอนแล้ว โดยจ�ำเลยไม่ยอมรับค�ำท้า การที่ผู้เสียหายได้ตามไปต่อยจ�ำเลย
ก่อน มิใช่เป็นการสมัครใจวิวาทกัน เมือ่ ตกลงในคลอง จ�ำเลยก็ถกู ผูเ้ สียหายกดให้จมน�ำ้ และถูกกัดอีก จ�ำเลย
จึงกัดไปบ้างเพื่อมิให้ถูกผู้เสียหายกดจมน�ำ้ ตาย ถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
อุทาหรณ์ กรณีการสมัครใจวิวาทต่อสู้กันยังไม่ขาดตอน ก็ไม่อาจอ้างป้องกันได้
ฎ. 5698/2537 จ�ำเลยที่ 1 ซึง่ เป็นบิดาของจ�ำเลยที่ 2 ได้สมัครใจวิวาทชกต่อยกับผูเ้ สียหาย จ�ำเลย
.ม
ที่ 2 เข้าห้ามปรามมิให้ผเู้ สียหายท�ำร้ายร่างกายจ�ำเลยที่ 1 ผูเ้ สียหายกลับชกต่อยและเตะจ�ำเลยที่ 2 จนเซไป
แม้ผู้เสียหายจะหวนกลับไปท�ำร้ายร่างกายจ�ำเลยที่ 1 อีก ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในขณะที่วิวาท
กัน จ�ำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหายเพื่อป้องกันจ�ำเลยที่ 1 ได้ ทั้งไม่อาจอ้างได้ว่าจ�ำต้อง
กระท�ำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองด้วย เพราะภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
ทีเ่ กิดขึน้ แก่จำ� เลยที่ 2 เอง คือการถูกผูเ้ สียหายชกต่อยและเตะจนเซไปได้ผา่ นพ้นไปแล้ว แต่ถอื ได้วา่ จ�ำเลย
ที่ 2 ได้กระท�ำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม
ถ้าผู้สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ ก็ไม่อาจอ้างป้องกันได้ ผู้อื่นก็ไม่มีสิทธิอ้างป้องกันสิทธิของผู้นั้น

34 ฎ. 18586/2555.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-19

อุทาหรณ์


ฎ. 5640/2533 ภริยาจ�ำเลยกับผูเ้ สียหายสมัครใจทะเลาะวิวาทท�ำร้ายร่างกายซึง่ กันและกัน จ�ำเลย
ใช้มีดแทงผู้เสียหาย จ�ำเลยจะอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของภริยาจ�ำเลยไม่ได้
ข้อสังเกต “ภยันตรายซึง่ เกิดขึน้ จากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย” นี้ อาจเป็นภยันตราย
ทีผ่ กู้ อ่ ได้รบั การยกเว้นโทษจากกฎหมายก็เป็นได้ ไม่จำ� เป็นจะต้องเป็นภยันตรายทีม่ คี วามผิดและโทษตาม

.
กฎหมายเสมอไป
ตัวอย่าง
สธ สธ
(1) เล็กใช้มีดขู่บังคับให้ใหญ่เอาไม้ตีหัวน้อย ใหญ่จึงได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 67 แห่ง ปอ.

มส . มส
เพราะเป็นการกระท�ำโดยจ�ำเป็น อย่างไรก็ตาม น้อยย่อมมีอำ� นาจป้องกันภยันตรายอันเกิดจากใหญ่ได้
(2) เด็กชายหนึง่ อายุ 10 ปี ลักแหวนทองค�ำของนายสองพาวิง่ หนีไป เด็กชายหนึง่ ย่อมได้รบั การ
ยกเว้นโทษตามมาตรา 74 แห่ง ปอ. แต่นายสองก็ย่อมมีอำ� นาจป้องกันสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้
ตามมาตรา 68 ถ้าเด็กชายหนึง่ ไม่ยอมคืนแหวนให้โดยดี นายสองก็อาจใช้กำ� ลังท�ำร้ายเด็กชายหนึง่ ได้ตาม
สมควรเพื่อแย่งแหวนคืนไป

2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
ภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดด้วยกฎหมายอันจะเป็นเหตุให้มีการป้องกันโดย
ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 68 ได้นั้น จะต้องเป็น “ภยันตรายที่ใกล้จะมาถึง” ด้วย หากภยันตรายนั้น
ธ.

อยู่ห่างไกล อ�ำนาจป้องกันยังไม่เกิดขึ้น35 เพราะผู้ซึ่งจะได้รับภยันตราย ยังอาจพึ่งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองได้


หรือหาวิธีการหลีกเลี่ยงภยันตรายโดยวิธีอื่น หรือขจัดปัดเป่าภยันตรายที่จะเกิดขึ้นเสียได้
อุทาหรณ์
ฎ. 4083/2562 หากภยันตรายยังไม่ใกล้จะถึงเสียแล้วย่อมไม่อาจกระท�ำการเพื่อป้องกันได้ การ
ที่ ว. เพียงยกอาวุธปืนชูขึ้นเหนือศีรษะและยิงขึ้นฟ้า 1 นัด ซึ่งเห็นชัดเจนว่าเป็นการข่มขู่จ�ำเลยกับพวก
เท่านั้น การที่จ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปยังรถกระบะที่ ว. นั่งอยู่ทันที โดยไม่ปรากฏว่า ว. กระท�ำการอื่นใด
.ม
อีกในลักษณะจะท�ำร้ายพวกจ�ำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายและภยันตรายที่ใกล้
จะถึงเกิดขึ้น อันจะเป็นเหตุให้จำ� เลยอ้างเหตุป้องกันได้
“ภยันตรายนัน้ ใกล้จะถึง” (imminent danger) หมายความว่า ภยันตรายนัน้ จวนเจียนหรือก�ำลัง
จะเกิดขึน้ ทัง้ นี้ ไม่จำ� เป็นต้องรอให้ภยันตรายนัน้ เกิดขึน้ จริงๆ เสียก่อนแต่อย่างใด เพราะวัตถุประสงค์ของ
มาตรา 68 นั้น ก็เพื่อมิให้ผู้ซึ่งจะต้องประสบภยันตรายได้รับภยันตรายนั้นจนถึงกับต้องสูญสิ้นเสียสิทธิ
ต่างๆ ไป จึงไม่จ�ำเป็นต้องรอให้ผู้ก่อภัยกระท�ำถึงขั้น “ลงมือ” ซึ่งการป้องกันอาจไม่ทันการณ์ ฉะนั้น แม้
ผู้ก่อภัยยังกระท�ำ “ไม่ถึงขั้นลงมือ” หรือ “ไม่ถึงขั้นเป็นความผิด” แต่หากภยันตรายจากการกระท�ำนั้น
“ใกล้จะถึง” ผู้รับภัยก็อ้างป้องกันตามมาตรา 68 ได้ โดยผู้รับภัยไม่จ�ำต้องหลบหนีภยันตรายนั้น36
35 ฎ. 1983/2544.
36 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษัทกรุงสยามพับลิชชิ่ง
จ�ำกัด. 2562. น. 517 และ น. 520.
สธ ส
4-20 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ตัวอย่าง


ก. ชักปืนออกจากเอวเพื่อจะยิง ข. ข. ย่อมเข้าใจว่า ก. จะใช้ปืนยิงตน อันเป็นภยันตรายซึ่งเกิด
จากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ข. จึงใช้ปืนยิง ก. ถึงแก่ความ
ตายโดยอ้างป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้37
อุทาหรณ์

. (1) ฎ. 1732/2509 ผู้ตายรูปร่างสูงและใหญ่กว่าจ�ำเลย ผู้ตายต่อยเตะจ�ำเลย จ�ำเลยล้มลง พอ


จ�ำเลยลุกขึ้น ผู้ตายใช้มือขวาจับด้ามมีดพกแต่ยังไม่ทันชักมีดออกจากฝัก กิริยาของผู้ตายที่ใช้มือขวาจับ
สธ สธ
ด้ามมีดพก ในขณะที่การท�ำร้ายยังไม่ขาดตอนนั้น ย่อมชี้ให้เห็นว่าผู้ตายมีเจตนาที่จะแทงจ�ำเลย ข้อที่ว่า

มส . มส
ผู้ตายยังไม่ทันชักมีดออกจากฝักนั้น การชักมีดออกจากฝักนั้นย่อมกระท�ำได้โดยง่ายและรวดเร็ว จึงไม่ใช่
ข้อส�ำคัญ และในขณะนั้นผู้ตายอยู่ห่างจ�ำเลยในระยะห่าง 1 วา ย่อมเห็นได้ว่าภยันตรายจากผู้ตายนั้นใกล้
จะถึงตัวจ�ำเลยอยู่แล้ว ผู้ตายเดินเข้าไปหาจ�ำเลยพร้อมกับดึงมีดพกออกมาถือไว้ เป็นมีดพกที่ฝักอยู่เกือบ
ศอก จ�ำเลยยิงผู้ตาย 1 นัด ผู้ตายเดินเข้าหาจ�ำเลย แสดงชัดว่าผู้ตายเจตนาแรงกล้าที่จะแทงจ�ำเลย จ�ำเลย
ยิงไป 1 นัด แล้วผูต้ ายเดินเข้าไปหาอีก จ�ำเลยจึงยิงไปอีก 1 นัด ผูต้ ายถึงแก่ความตาย ถือว่าจ�ำเลยกระท�ำ

ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
(2) ฎ. 1336/2553 จ�ำเลยกับพวกได้กลับมาที่เกิดเหตุ ก็เพื่อเอารถจักรยานยนต์ของพวกจ�ำเลย
ที่จอดทิ้งไว้ มิได้กลับมาหาเรื่องและชวนทะเลาะวิวาทกับผู้เสียหายที่ 1 กับพวก การที่ผู้เสียหายที่ 1 กับ
พวกเข้าไปรุมท�ำร้ายจ�ำเลยกับพวก จ�ำเลยกับพวกไม่มีหน้าที่จะต้องหลบหนี แต่มีอ�ำนาจที่จะป้องกันตน
ให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการรุมท�ำร้ายของผู้เสียหายที่ 1 กับพวกและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
ธ.

ทัง้ นี้ ถ้าภยันตรายได้เกิดขึน้ แล้ว และยังคงเกิดอยูใ่ นขณะนัน้ ผูป้ ระสบภยันตรายก็ยงั มีสทิ ธิปอ้ งกัน
ภยันตรายนั้นอยู่ได้ตลอดเวลา เนื่องจากสิทธิในการป้องกันนั้นเริ่มนับแต่ “ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง” ต่อ
เมื่อภยันตรายหมดสิ้นไปแล้ว สิทธิในการป้องกันจึงจะหมดสิ้นไปด้วย ทั้งนี้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าความ
ผิดของฝ่ายผูก้ อ่ ให้เกิดภยันตรายจะส�ำเร็จแล้วหรือไม่ เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ส�ำเร็จเมือ่ ผูล้ กั ทรัพย์ได้
น�ำทรัพย์นั้นเคลื่อนที่ไปจากที่เดิม แต่ถ้าคนร้ายพาทรัพย์นั้นหนีไป เจ้าทรัพย์ไล่ติดตามไปทัน เจ้าทรัพย์
ย่อมมีอำ� นาจทีจ่ ะใช้กำ� ลังเพือ่ ป้องกันทรัพย์นนั้ ได้38 และถ้าคนร้ายจะท�ำอันตรายต่อชีวติ ของเจ้าทรัพย์ดว้ ย
.ม
เจ้าทรัพย์ก็ย่อมมีอ�ำนาจป้องกันชีวิตของตนได้ด้วย39 แต่ถ้าคนร้ายทิ้งทรัพย์นั้นไว้ แล้วหนีไป ภยันตราย
ต่อสิทธิในทรัพย์นั้นย่อมหมดสิ้นไปแล้ว สิทธิป้องกันย่อมหมดไปด้วย40 เป็นต้น
บางกรณีก็เป็นการยากที่จะวินิจฉัยว่าภยันตรายที่เกิดขึ้นนั้นได้หมดสิ้นไปแล้วหรือไม่ โดยเหตุนี้
จึงจ�ำต้องพิจารณาช่วงระยะเวลาทีผ่ รู้ บั ภัยตอบโต้เพือ่ ป้องกันสิทธิของตน ซึง่ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป เช่น
ผู้ก่อภัยหลบหนีไปแล้วหรือไม่ หรืออาวุธร้ายหลุดไปจากมือผู้ก่อภัยแล้วหรือไม่ หรือการต่อสู้ก็ยังชุลมุน
ติดพันกันอยู่ไม่จบสิ้นหรือไม่ ดังเช่น
37 ฎ. 2285/2528 แต่ถ้าผู้ก่อภัยเพียงแต่ท�ำกิริยา “คล้ายจะ” ชักอาวุธออกมาท�ำร้าย ยังมิใช่ “ภยันตรายใกล้จะถึง”
(ฎ. 1283/2544).
38 ฎ. 943/2528.
39 ฎ. 729/2541.
40 ฎ. 1250/2502 (ประชุมใหญ่).
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-21

อุทาหรณ์


(1) ฎ. 5638/2533 การที่โจทก์ร่วมซึ่งไม่มีอาวุธติดตัวได้เข้าไปในบริเวณบ้านของผู้อื่นในเวลา
กลางคืนโดยไม่มเี หตุสมควร ถือว่าเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย เมือ่ จ�ำเลยมาพบเข้า โจทก์รว่ มก็วงิ่ หนีออกมา
เหตุละเมิดจึงหมดไป การที่จ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วมด้านหลัง ไม่ใช่เป็นการกระท�ำเพื่อป้องกันตาม
ปอ. มาตรา 68

. (2) ฎ. 21/2553 พฤติการณ์ที่ผู้ตายท�ำร้าย ส. ล้มลงแล้วจะตามไปท�ำร้าย ส. อีก เมื่อจ�ำเลยเข้า


ห้ามปราม ผูต้ ายก็ใช้มดี แทงจ�ำเลย ถือว่ามีภยันตรายซึง่ เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและ
สธ สธ
เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ส. และจ�ำเลยแล้ว การที่จ�ำเลยใช้ด้ามพร้าตีผู้ตายจนล้มลงนั้น เป็นการป้องกัน

มส . มส
โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมือ่ ผูต้ ายพยายามจะลุกขึน้ อีก แต่จ�ำเลยใช้เท้าขวาเหยียบมือผู้ตายที่ก�ำลัง
ถือมีดอยู่ แสดงว่าภยันตรายที่เกิดจากการกระท�ำของผู้ตายนั้นถูกจ�ำเลยควบคุมมิให้ก่อให้เกิดความ
เสียหายขึ้นอีกได้ ถือว่าภยันตรายที่จะเกิดแก่ ส. และจ�ำเลยหมดไปแล้ว จ�ำเลยไม่จำ� เป็นต้องท�ำร้ายผูต้ าย
อย่างใดอีก ดังนั้น จึงฟังไม่ได้ว่าการที่จ�ำเลยฆ่าผู้ตายเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
(3) ฎ. 10584/2555 ผู้ตายจะใช้อาวุธปืนยิงจ�ำเลย จ�ำเลยเข้าไปแย่งอาวุธปืน แล้วใช้อาวุธปืนยิง

ผู้ตายถูกที่มือขวาและหน้าผาก แม้ผู้ตายเป็นฝ่ายเอาอาวุธปืนพกพาติดตัวขึ้นมา ยังไม่ได้ลั่นกระสุนปืนใส่
จ�ำเลย แต่จ�ำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนดังกล่าวไปได้เสียก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีอาวุธอื่นใดติดตัวมาอีก
และได้ทำ� ร้ายร่างกายจ�ำเลยอีก ภยันตรายซึง่ เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายจากการกระท�ำ
ของผูต้ ายผ่านพ้นไปแล้วและไม่มภี ยันตรายทีใ่ กล้จะถึงตัว ถือไม่ได้วา่ การกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการป้องกัน
ธ.

สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย
(4) ฎ. 8345/2544 ก่อนเกิดเหตุผตู้ ายกับจ�ำเลยมีเรือ่ งทะเลาะจะท�ำร้ายกันทีบ่ า้ น ป. แต่มคี นห้ามไว้
จ�ำเลยจึงขับรถจักรยานยนต์กลับบ้าน การทีผ่ ตู้ ายตามจ�ำเลยไปทันระหว่างทางพร้อมกับพูดท�ำนองว่าตาย
กันไปข้างหนึง่ แล้วเข้าชกต่อยและชักมีดจะแทงท�ำร้ายจ�ำเลยก่อนเช่นนี้ จ�ำเลยย่อมมีสทิ ธิปอ้ งกันตนเองได้
ถึงแม้จ�ำเลยจะแย่งมีดจากมือผู้ตายได้แล้ว ก็มิใช่ภยันตรายที่จะเกิดแก่จ�ำเลยจากผู้ตายได้ผ่านพ้นหรือสิ้น
สุดไปแล้ว เพราะผู้ตายมีรูปร่างสูงใหญ่และก�ำย�ำกว่าจ�ำเลยซึ่งขาข้างซ้ายพิการใส่ขาเทียม โอกาสที่ผู้ตาย
.ม
จะแย่งมีดจากจ�ำเลยยังมีอยู่ การที่จ�ำเลยแทงผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
(5) ฎ. 455/2537 เมือ่ ผูต้ ายยกอาวุธปืนเล็งมายังจ�ำเลย จ�ำเลยได้เข้าแย่งอาวุธปืนจากผูต้ ายท�ำให้
มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด ผู้ตายจึงได้หักล�ำกล้องปืนและบรรจุกระสุนขึ้นใหม่ จ�ำเลยได้เข้าแย่งอาวุธปืนอีก
เป็นเหตุให้ปืนลั่นอีก 1 นัด และอาวุธปืนได้หลุดจากมือผู้ตาย ถือว่าภยันตรายที่จ�ำเลยต้องป้องกันได้ผ่าน
พ้นไป ไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงอันจะต้องป้องกันอีก การที่จ�ำเลยใช้มีดโต้ฟันผู้ตายในขณะนั้น จึงไม่อาจ
เป็นการกระท�ำโดยป้องกันได้ แต่การกระท�ำของผู้ตายถือได้ว่าจ�ำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุ
อันไม่เป็นธรรม การที่จ�ำเลยฟันผู้ตายจึงเป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ41

41
แต่การกระท�ำของผู้ตายถือได้ว่า จ�ำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จ�ำเลยฟันผู้ตายจึงเป็น
การกระท�ำโดยบันดาลโทสะตามมาตรา 72.
สธ ส
4-22 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

(6) ฎ. 7941/2551 ผูต้ ายตบและชกต่อยจ�ำเลยจนจ�ำเลยล้มลง ผูต้ ายกระชากคอเสือ้ จ�ำเลย ท�ำให้


อาวุธปืนของผูต้ ายหล่นออกจากตัวผูต้ าย ผูต้ ายและจ�ำเลยแย่งอาวุธปืนกัน ระหว่างนัน้ จ�ำเลยยิงปืน 2 นัด
กระสุนปืนถูกผูต้ าย การทีผ่ ตู้ ายตบและชกต่อยจ�ำเลยจนล้มลง นับได้วา่ การกระท�ำของผูต้ ายเป็นภยันตราย
ต่อจ�ำเลยซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จ�ำเลยจึงมีสิทธิ
กระท�ำการอย่างใดเพื่อป้องกันตนเองได้ ดังนั้น เมื่ออาวุธปืนของผู้ตายหล่นจากตัวผู้ตาย ในภาวะเช่นนั้น

.
จ�ำเลยย่อมไม่มีทางเลือกนอกจากจะแย่งอาวุธปืนดังกล่าว เพราะหากผู้ตายแย่งอาวุธปืนได้ ผู้ตายอาจใช้
อาวุธปืนยิงจ�ำเลยได้ แต่ขณะที่แย่งอาวุธปืนกันจ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึง 2 นัด นับว่าเป็นการกระท�ำ
สธ สธ
เกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพือ่ ป้องกัน การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นความผิดตาม ปอ. มาตรา 290

มส . มส
วรรคแรก ประกอบมาตรา 69
ข้อควรพิจารณาต่อไป คือ ผู้ประสบภยันตรายจะต้องได้เผชิญหน้ากับภยันตรายนั้นด้วยหรือไม่
ซึ่งถ้าจะพิจารณาค�ำว่า “ภยันตรายที่ใกล้จะถึง”แล้ว ก็ดูเสมือนหนึ่งว่า ผู้ประสบภัยจะต้องเผชิญหน้าอยู่
กับภยันตรายอยู่ขณะนั้นด้วยจึงจะท�ำการป้องกันได้ อย่างใดก็ตามศาลฎีกาได้วางแนวไว้แล้วว่า “การ
ป้องกันล่วงหน้า” แม้ผู้ประสบเหตุจะไม่อยู่ในขณะเกิดเหตุก็อาจท�ำการใดๆ เพื่อป้องกันได้ ถ้าฟังได้ว่า

หากเขาอยู่ด้วยในขณะเกิดเหตุก็มีอำ� นาจป้องกันได้ตามมาตรา 68 เช่นกัน
อุทาหรณ์
ฎ. 1923/2519 ผูต้ ายบุกรุกเข้าไปพยายามลักทรัพย์ในโรงเก็บของอยูใ่ นบริเวณสวนจ�ำเลยมีรวั้ เป็น
แนวเขตและขึงลวดไฟฟ้าไว้ปอ้ งกันคนร้ายลักทรัพย์และเคยถูกลักมาแล้ว ไฟฟ้าดูดเอาจ�ำเลยถึงแก่ความตาย
เป็นภยันตรายที่เกิดแก่ทรัพย์จำ� เลยที่ใกล้จะถึงเป็นการป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย
ธ.

แต่ถา้ ฟังได้วา่ แม้จำ� เลยอยูใ่ นขณะเกิดเหตุจำ� เลยก็ไม่มอี ำ� นาจป้องกันได้แล้ว เช่นนีถ้ า้ จ�ำเลยไม่อยู่


แต่ได้กระท�ำการใดเตรียมไว้เป็นการป้องกัน จ�ำเลยก็ยังต้องรับผิดถ้าได้เกิดเหตุการณ์อย่างใดขึ้นจากการ
กระท�ำของจ�ำเลยนั้น
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 4884/2528 ผูต้ ายเข้าไปในบริเวณบ่อปลาของนายจ้างจ�ำเลยเพือ่ จะเกีย่ วหญ้า จ�ำเลยไม่มี
สิทธิท�ำร้ายผู้ตายได้ เมื่อจ�ำเลยขึงลวดไว้ภายในรั้วลวดหนามที่ล้อมรอบบริเวณบ่อเลี้ยงปลาของนายจ้าง
.ม
และปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปตามลวดนัน้ ผูต้ ายมาถูกสายไฟฟ้าของจ�ำเลยเข้าถึงแก่ความตาย ดังนี้ การกระท�ำ
ของจ�ำเลยไม่เป็นการป้องกันสิทธิของผูอ้ นื่ โดยชอบด้วยกฎหมายจ�ำเลยมีความผิดตาม ปอ. มาตรา 290
(2) ฎ. 1429/2530 จ�ำเลยตกกล้าในนาหลังบ้านและได้ขงึ ลวด 2 เส้น รอบทีต่ กกล้าสูงจากพืน้ ดิน
ประมาณ 3 นิ้ว แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าขนาด 220 โวลท์ จากบ้านเข้าไปเส้นลวดที่ขึงไว้เพื่อป้องกันมิให้
หนูไปกินข้าวโดยรู้อยู่ว่าสายลวดที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้นั้นหากสัตว์ไปถูกเข้าจะถึงแก่ความตายได้ ทั้ง
จ�ำเลยปักป้ายห้ามเข้าในเขตที่ตกกล้า แสดงว่าจ�ำเลยรู้ว่าสายลวดที่กระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นอันตรายต่อ
คนที่เข้าไปในเขตที่ตกกล้า การที่จำ� เลยขึงลวดมีกระแสไฟฟ้าดังกล่าวเป็นอันตรายต่อคนที่เข้าไปในเขตที่
ตกกล้า การทีจ่ ำ� เลยขึงลวดมีกระแสไฟฟ้าดังกล่าวย่อมเล็งเห็นผลได้วา่ คนหากบหาปลาตามทุง่ นา อาจเดิน
มาถูกลวดที่มีกระแสไฟฟ้าและได้รับอันตรายแก่กาย จึงถือได้ว่าจ�ำเลยมีเจตนาท�ำร้ายผู้อื่นแล้ว เมื่อผู้ตาย
ผ่านไปถูกสายลวดมีกระแสไฟฟ้าถึงแก่ความตาย อันเป็นผลจากการกระท�ำของจ�ำเลย จ�ำเลยต้องมีความผิด
ฐานท�ำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตายโดยไม่มีเจตนาตาม ปอ. มาตรา 290
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-23

3. ผู้กระท�ำจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย


การป้องกันตามมาตรา 68 นั้น ต้องเป็นการกระท�ำ “โดยเจตนา”ต่อผู้ก่อภัย อีกทั้งต้องมีมูลเหตุ
จูงใจ “เพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น” ให้พ้นจากภยันตราย ซี่งอาจแยกพิจารณาดังนี้
3.1 ต้องเป็นการกระท�ำ “โดยเจตนา” ต่อผู้ก่อภัย หากเป็นการกระท�ำโดยประมาทย่อมไม่อาจ
เป็นการกระท�ำโดยป้องกันได้

. อุทาหรณ์
สธ สธ
ฎ. 96/2529 การกระท�ำซี่งจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ปอ. มาตรา 68 ต้อง
เป็นการกระท�ำโดยเจตนา จ�ำเลยเอาอาวุธปืนออกมาขู่ผู้ตายและท�ำปืนลั่นโดยประมาท ถูกผู้ตายถึงแก่

มส . มส
ความตาย ไม่ใช่การกระท�ำโดยเจตนา การกระท�ำของจ�ำเลยจึงมิใช่เป็นการป้องกัน
การกระท�ำโดยป้องกัน นอกจากต้องเป็นการกระท�ำโดยเจตนาแล้ว ยังต้องเป็นการกระท�ำต่อ
“ผู้ก่อภัย” ด้วย หากมิได้กระท�ำต่อผู้ก่อภัย แต่เป็นการกระท�ำต่อบุคคลที่สาม ย่อมมิใช่การป้องกันตาม
มาตรา 68 แต่อาจเป็นการกระท�ำโดยจ�ำเป็นตามมาตรา 67 ทั้งนี้ การกระท�ำต่อผู้ก่อภัยนั้น อาจเป็นการ
กระท�ำต่อชีวติ ร่างกาย เสรีภาพ ทรัพย์สนิ ของผูก้ อ่ ภัย หรือทรัพย์สนิ ทีเ่ ป็นเครือ่ งมือในการกระท�ำความผิด

ของผู้ก่อภัยซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินของบุคคลภายนอกก็ได้ นอกจากนั้น ยังรวมถึงการกระท�ำต่อผู้ซึ่งไม่มี
การกระท�ำตามนัยของกฎหมายซึง่ เป็นเครือ่ งมือในการกระท�ำความผิดอันเป็นเหตุแห่งภยันตรายด้วย เช่น
ก. จับมือ ข. เพื่อให้เขกศีรษะ ค. แต่ ค. เห็นก่อน จึงคว้าไม้ใกล้มือตีไปที่มือของ ข. เช่นนี้ ค. อ้างป้องกัน
ได้ เนื่องจากถือเป็นการกระท�ำต่อ ก. ผู้ก่อภัย โดยถือเสมือนว่า ข. เป็นเครื่องมือในการกระท�ำความผิด
ของ ก.42
ธ.

3.2 ต้องมีมูลเหตุจูงใจ “เพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น” การกระท�ำโดยป้องกันนอกจาก


ต้องมีเจตนา ยังต้องปรากฏว่า มีมูลเหตุจูงใจเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง รวมทั้งสิทธิของ “ผู้อื่น” ซึ่งแม้
จะไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับผู้กระท�ำโดยป้องกันก็ตาม ทั้งนี้ เพราะเป็นหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี
อย่างไรก็ตาม ต้องปรากฏว่า “ผูอ้ นื่ ” นีม้ สี ทิ ธิทจี่ ะป้องกันตนเองด้วย จึงจะกระท�ำการเพือ่ ป้องกัน
สิทธิของผู้อื่นนั้นได้ หากผู้อื่นนั้นไม่มีสิทธิที่จะป้องกันตนเองแล้ว ก็ไม่อาจอ้างการกระท�ำเพื่อป้องกันสิทธิ
.ม
ของผู้อื่นดังกล่าวได้
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 5817/2545 การทีช่ าวบ้านไปขว้างปาบ้านบิดาจ�ำเลย เป็นภยันตรายซึง่ เกิดจากการประทุษร้าย
อันละเมิดต่อกฎหมาย จ�ำเลยย่อมมีสิทธิที่จะกระท�ำการเพื่อป้องกันทรัพย์สินของบิดาจ�ำเลยได้
(2) ฎ. 5698/2537 จ�ำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของจ�ำเลยที่ 2 ได้สมัครใจวิวาทชกต่อยกับผู้เสียหาย
จ�ำเลยที่ 2 เข้าห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายท�ำร้ายร่างกายจ�ำเลยที่ 1 ผู้เสียหายกลับชกต่อยและเตะจ�ำเลยที่ 2
จนเซไป แม้ผู้เสียหายจะหวนกลับไปท�ำร้ายร่างกายจ�ำเลยที่ 1 อีก ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องใน
ขณะทีส่ มัครใจวิวาทกัน จ�ำเลยที่ 2 จึงไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะใช้เก้าอีต้ ผี เู้ สียหายเพือ่ ป้องกันจ�ำเลยที่ 1 ได้ ทัง้ ไม่อาจ

42เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ.์ ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษทั กรุงสยามพับลิชชิง่ จ�ำกัด.
2562. น. 528-532.
สธ ส
4-24 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

อ้างได้วา่ จ�ำต้องกระท�ำเพือ่ ป้องกันสิทธิของตนเองด้วย เพราะภยันตรายซึง่ เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิด


ต่อกฎหมายที่เกิดขึ้นแก่จ�ำเลยที่ 2 เองคือการถูกผู้เสียหายชกต่อย และเตะจนเซไปได้ผ่านพ้นไปแล้ว
แต่ถือได้ว่าจ�ำเลยที่ 2 ได้กระท�ำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม

4. การป้องกันไม่เกินขอบเขต

. การกระท�ำโดยป้องกันตามมาตรา 68 นัน้ หากกระท�ำไปเกินขอบเขต ผูก้ ระท�ำย่อมไม่ได้รบั ยกเว้น


สธ สธ
ความผิด เพียงแต่อาจได้รบั ลดหย่อนผ่อนโทษให้เท่านัน้ เนือ่ งจากมาตรา 69 บัญญัตวิ า่ “ในกรณีทบี่ ญ ั ญัติ

มส . มส
ไว้ใน..........มาตรา 68 นั้น ถ้าผู้กระท�ำได้กระท�ำไปเกินสมควรแก่เหตุ ....... หรือเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำ
ต้องกระท�ำเพือ่ ป้องกัน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับความผิดนัน้ เพียงใดก็ได้ แต่ถา้
การกระท�ำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจหรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระท�ำก็ได้”
“การป้องกันไม่เกินขอบเขต” จึงจะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้แก่
4.1 การป้องกัน “พอสมควรแก่เหตุ” หมายถึง การป้องกันด้วย “วิถที างน้อยทีส่ ดุ ” และ“ไม่เกิน
สัดส่วน”

ทั้งนี้ “วิถีทางน้อยที่สุด” เป็นการกระท�ำขั้นต�ำ่ สุดที่จ�ำต้องกระท�ำเพื่อให้พ้นภยันตราย กล่าวคือ
หากมีหลายวิธีการที่อาจกระท�ำเพื่อให้พ้นภยันตรายได้ ผู้กระท�ำจะต้องใช้ “วิธีการขั้นต�ำ่ สุด” ซึ่งก็คือวิธี
การที่จะก่ออันตรายแก่ผู้ก่อภัยน้อยที่สุด หากเลือกใช้วิธีการที่จะก่ออันตรายแก่ผู้ก่อภัยมากกว่า ก็ถือ
เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
ธ.

ส่วน “ไม่เกินสัดส่วน” หมายถึง ภัยจากการกระท�ำเพื่อป้องกันต้องมีความรุนแรงน้อยกว่าหรือ


เท่ากันกับภัยอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายของผู้ก่อภัย จึงจะถือว่า การป้องกันนั้นได้
สัดส่วนกับภยันตราย เช่น ก. ใช้ปืนจะยิง ข. ข. จึงยิง ก. เพื่อป้องกัน เช่นนี้ ย่อม “ได้สัดส่วน” เพราะ
เป็นการกระท�ำต่อผู้ก่อภัย แต่หากการกระท�ำเพื่อป้องกันมีความรุนแรงมากกว่าภยันตรายอันเกิดจากการ
ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายของผูก้ อ่ ภัยแล้ว ต้องถือว่า “เกินสัดส่วนกับภยันตราย” ดังนี้ ย่อมเป็นการ
ป้องกัน “เกินสมควรแก่เหตุ” อันเป็นการป้องกันเกินขอบเขต ไม่อาจอ้างยกเว้นความผิดได้43 เป็นแต่อาจ
.ม
อ้างเป็นเหตุลดโทษได้ตามมาตรา 69 (ซึ่งจะอธิบายในตอนที่ 4.3 เหตุลดโทษต่อไป)
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 5904/2553 จ�ำเลยถูกผูเ้ สียหายใช้ไม้ตที ำ� ร้ายก่อน ไม้ดงั กล่าวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
1 นิ้ว และเมื่อตีถูกจ�ำเลยแล้ว ไม้ดังกล่าวก็หักทันที ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายจะกระท�ำการอย่างใดอีกที่ส่อ
แสดงให้เห็นแจ้งชัดว่ามีเจตนาท�ำร้ายจ�ำเลยให้หนักขึน้ กว่าเดิม การทีจ่ ำ� เลยใช้อาวุธปืนยิงสวนไปทีผ่ เู้ สียหาย
ไปในขณะนั้น โดยมีโอกาสที่จะหยุดยั้งการกระท�ำของผู้เสียหายโดยวิธีอื่นอีก พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือ
ได้วา่ การกระท�ำของจ�ำเลยไม่เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ อันจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

43 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). น. 539-543.


สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-25

(2) ฎ. 5817/2545 การทีช่ าวบ้านไปขว้างปาบ้านบิดาจ�ำเลย เป็นภยันตรายซึง่ เกิดจากการประทุษร้าย


อันละเมิดต่อกฎหมาย จ�ำเลยย่อมมีสทิ ธิทจี่ ะกระท�ำการเพือ่ ป้องกันทรัพย์สนิ ของบิดาจ�ำเลยได้ แต่ภยันตราย
ทีเ่ กิดจากการขว้างปาบ้านยังไม่รา้ ยแรงถึงขนาดทีจ่ ะต้องใช้อาวุธปืนยิงท�ำร้ายร่างกายโจทก์รว่ มผูท้ ขี่ ว้างปา
การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการกระท�ำโดยเจตนาป้องกันทรัพย์สินที่เกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา
69 จ�ำเลยมีความผิดฐานท�ำร้ายร่างกายโจทก์รว่ มจนเป็นเหตุให้ได้รบั อันตรายสาหัสโดยป้องกันเกินสมควร

.
แก่เหตุ มิใช่เป็นความผิดฐานกระท�ำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส
4.2 การป้องกัน “ไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน” หมายถึง การกระท�ำโดย
สธ สธ
มีเจตนาเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่นจากภยันตราย ซึ่งมิใช่ “ภยันตรายที่ยังอยู่ห่างไกล” หรือ

มส . มส
“ภยันตรายทีผ่ า่ นพ้นไปแล้ว” มิฉะนัน้ ย่อมเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพือ่ ป้องกัน44
ซึง่ ถือว่าเป็น“การป้องกันเกินขอบเขต” ไม่อาจอ้างยกเว้นความผิด เพียงแต่อาจอ้างเพือ่ ให้ศาลลดโทษตาม
มาตรา 69 (ซึ่งจะอธิบายในตอนที่ 4.3 เหตุลดโทษต่อไป)
อุทาหรณ์
ฎ. 1272/2560 ในช่วงเวลาเกิดเหตุ ผู้ตายเดินถือมีดเข้าหาจ�ำเลยในลักษณะมีเจตนาจะใช้มีดเป็น

อาวุธแทงประทุษร้ายจ�ำเลย การที่จ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย 2 นัด ถูกบริเวณต้นขาขวา ในขณะที่ผู้ตาย
มีอาการเมาสุราและผูต้ ายมีอายุมากกว่าจ�ำเลย นับว่าน่าจะหยุดยัง้ การกระท�ำของผูต้ ายได้แล้ว การทีจ่ ำ� เลย
ยังเลือกยิงผู้ตายอีก 1 นัด บริเวณหน้าอกอันเป็นอวัยวะส�ำคัญจนผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ เป็นการ
ป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน
ธ.

กิจกรรม 4.1.3
1. นายปลากับนายนก โต้เถียงและกอดปล�ำ้ ชกต่อยท�ำร้ายซึง่ กันและกันทีร่ า้ นขายของ นายปลา
ใช้ขวดตีนายนกที่บริเวณใบหน้าโลหิตไหลแล้วหลบหนีไป ต่อมาเมื่อนายนกท�ำแผลเสร็จจะกลับบ้าน
ระหว่างทางพบนายปลาถือมีดสปาร์ตา้ ยาวประมาณ 1 วา มาดักท�ำร้ายนายนก เมือ่ นายนกเดินเข้าไปใกล้
ห่างประมาณ 1 เมตร นายปลาได้เงื้อมีดจะฟันนายนก นายนกจึงใช้ปืนยิงไปถูกนายปลา 1 นัด จนถึงแก่
.ม
ความตาย นายนกจะอ้างว่ากระท�ำไปเพื่อป้องกันตาม ปอ. มาตรา 68 ได้หรือไม่เพียงใด
2. นายจิตพูดจาโต้เถียงกับนายจันทร์ทางโทรศัพท์ นายจิตโกรธแค้นนายจันทร์มาก จึงพูดว่าแน่
จริงอย่าหนีไปไหนให้รออยู่ที่บ้าน เดี๋ยวตนจะไปฆ่านายจันทร์ท่ีบ้าน แล้ววางหูโทรศัพท์ด้วยโทสะอย่าง
รุนแรง นายจันทร์เกิดความกลัวเชื่อว่านายจิตจะฆ่าตนจริงๆ อีกทั้งบ้านของทั้งสองก็อยู่ห่างเพียง 1
กิโลเมตรเท่านั้น นายจันทร์จึงตัดสินใจขับรถออกจากบ้านไปหานายจิตโดยขับรถไปจอดอยู่ห่างจากบ้าน
นายจิตประมาณ 100 เมตร แล้วไปดักซุม่ อยูท่ บี่ า้ นนายจิต เวลาต่อมานายจิตเปิดประตูบา้ นและพกปืนออก
มาจากบ้าน นายจันทร์จึงยิงนายจิตถึงแก่ความตาย ดังนี้แล้วนายจันทร์จะอ้างว่ากระท�ำไปเพื่อป้องกันตัว
ตาม ปอ. มาตรา 68 ได้หรือไม่

44 จิตติ
ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญาภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
2546. น. 773. และโปรดดูบันทึกหมายเหตุท้าย ฎ. 782/2520 ของศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์.
สธ ส
4-26 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ


แนวตอบกิจกรรม 4.1.3
1. ตามข้อเท็จจริงนั้นในตอนต้น นายปลาและนายนกได้สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กัน แต่เมื่อนาย
ปลาใช้ขวดตีนายนกจนโลหิตไหลและได้หนีไปแล้ว จนนายนกท�ำแผลเสร็จและเดินทางกลับบ้านแล้ว เห็น
ได้ว่าการสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ได้ขาดตอนลงแล้ว และเมื่อนายปลาดักท�ำร้ายนายนกระหว่างทางโดยเมื่อ
นายนกเดินเข้าไปใกล้ห่างประมาณ 1 เมตร นายปลาใช้มีดยาวประมาณ 1 วา ฟันนายนกนั้นถือได้ว่านาย

.
ปลาก่อภัยขึน้ ใหม่ เป็นภยันตรายซึง่ เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายทีใ่ กล้
สธ สธ
จะถึง โดยนายนกมิได้มีส่วนก่อภยันตรายนี้ขึ้นมาแต่อย่างไร การที่นายนกใช้ปืนยิงไปทันทีในขณะนั้น 1

มส . มส
นัดถูกนายปลาถึงแก่ความตาย หากนายนกไม่ยิงนายปลา นายปลาอาจจะใช้มีดนั้นฟันนายนกจนถึงแก่
ความตายได้ ดังนี้ ถือได้ว่าการกระท�ำของนายนกเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ และไม่เกินกว่ากรณี
ที่จำ� ต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน การกระท�ำของนายนกได้รับยกเว้นความผิดตามมาตรา 68 แห่ง ปอ. (นัย ฎ.
1284/2513)
2. กรณีที่นายจันทร์ยิงนายจิตจนถึงแก่ความตายนั้น แม้นายจันทร์จะเชื่อว่านายจิตจะไปฆ่าตน

ที่บ้านจริงก็ตาม แต่ภยันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้นยังเป็นภยันตรายที่ยังอยู่ไกลไม่ใกล้จะถึง ซึ่งนายจันทร์ยังมี
หนทางที่จะหลีกเลี่ยงภยันตรายดังกล่าวให้พ้นไปได้ด้วยวิธีการอื่น เช่น หนีไปให้พ้นจากบ้าน ปิดประตู
บ้านไม่ย่อมให้นายจิตเข้าไปในบ้านได้ ไปแจ้งความไว้กับต�ำรวจ เป็นต้น ดังนั้น การที่นายจันทร์ตัดสินใจ
ไปดักซุม่ ยิงนายจิตทีบ่ า้ น จึงเป็นการกระท�ำทีไ่ ม่อาจอ้างอ�ำนาจป้องกันตามมาตรา 68 ได้ ดังนี้ นายจันทร์
ย่อมมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ปอ. มาตรา 289 (4)
ธ.
.ม
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-27

ตอนที่ 4.2


เหตุยกเว้นโทษ
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 4.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
4.2.1 การกระท�ำโดยจ�ำเป็น

มส . มส
4.2.2 ความไม่สามารถรู้ผิดชอบและความอ่อนอายุ
4.2.3 การกระท�ำตามค�ำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานและการกระท�ำความผิด
บางประเภทระหว่างสามีภริยา

แนวคิด

1. เหตุยกเว้นโทษเนือ่ งจากการกระท�ำโดยจ�ำเป็น ได้แก่ 1) การกระท�ำความผิดด้วยความ
จ�ำเป็น เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำ� นาจ และ 2) การกระท�ำความผิดด้วยความ
จ�ำเป็น เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
2. เหตุยกเว้นโทษเนือ่ งจากความไม่รผู้ ดิ ชอบและความอ่อนอายุ ได้แก่ 1) กระท�ำความผิด
ในขณะวิกลจริต 2) กระท�ำความผิดในขณะมึนเมา และ 3) เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีกระท�ำ
ธ.

ความผิด
3. เหตุยกเว้นโทษอาจเนือ่ งจากการกระท�ำตามค�ำสัง่ ทีม่ ชิ อบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน
และการกระท�ำความผิดบางประเภทระหว่างสามีภริยา

วัตถุประสงค์
.ม
เมื่อศึกษาตอนที่ 4.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการกระท�ำโดยจ�ำเป็นได้
2. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับความไม่สามารถรู้ผิดชอบและความอ่อน
อายุได้
3. อธิบายหลักเกณฑ์และวินจิ ฉัยปัญหาเกีย่ วกับการกระท�ำตามค�ำสัง่ ทีม่ ชิ อบด้วยกฎหมาย
ของเจ้าพนักงานและการกระท�ำความผิดบางประเภทระหว่างสามีภริยาได้
สธ ส
4-28 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ความน�ำ


แม้การกระท�ำครบ “องค์ประกอบ” ทีก่ ฎหมายบัญญัตติ ามโครงสร้างข้อ 1 และการกระท�ำนัน้ ไม่มี
กฎหมายยกเว้นความผิดตามโครงสร้างข้อ 2 ซึ่งมีผลให้การกระท�ำของผู้กระท�ำเป็นความผิด ก็ยังไม่อาจ

.
วินิจฉัยได้ในทันทีว่า ผู้กระท�ำต้องรับผิดในทางอาญาเสมอไป ยังต้องพิจารณาต่อไปว่า การกระท�ำนั้นมี
สธ สธ
“กฎหมายยกเว้นโทษ” หรือไม่ตามโครงสร้างข้อ 3 เพราะหากมีกฎหมายยกเว้นโทษย่อมมีผลให้ผกู้ ระท�ำ

มส . มส
ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา
ทั้งนี้ เหตุยกเว้นโทษตามที่ ปอ. บัญญัติไว้มีหลายกรณีด้วยกัน ซึ่งอาจแยกอธิบาย ในเรื่องที่
4.2.1-4.2.3 ตามล�ำดับ ดังนี้ 4.2.1 การกระท�ำโดยจ�ำเป็น 4.2.2 ความไม่สามารถรู้ผิดชอบและความอ่อน
อายุ 4.2.3 การกระท�ำตามค�ำสัง่ ทีม่ ชิ อบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานและการกระท�ำความผิดบางประเภท
ระหว่างสามีภริยา
อนึ่ง นอกจากเหตุยกเว้นโทษตามที่บัญญัติไว้ใน ปอ. แล้ว อาจมีเหตุยกเว้นโทษพิเศษอื่นๆ

อีก เช่น เหตุที่ถูกล่อให้กระท�ำผิดโดยเจ้าพนักงานหรือตัวแทน เป็นต้น45
ธ.

เรื่องที่ 4.2.1
การกระท�ำโดยจ�ำเป็น

เมือ่ ค�ำนึงถึงภาษิตกฎหมายอยูบ่ ทหนึง่ ความว่า “ความจ�ำเป็นไม่เหลียวแลดูกฎหมาย” (nescessitas


.ม
non habet legem) ซึ่งมีความหมายว่า หากบุคคลใดก็ตามตกอยู่ในภาวะต้องเอาตัวให้รอดพ้นจากภาวะ
บังคับหรือภยันตรายอย่างใดอย่างหนึง่ แม้ตอ้ งกระท�ำการอันผิดกฎหมาย บุคคลนัน้ ก็อาจจะต้องยอมกระท�ำ
หากปรากฏว่าภาวะบังคับหรือภยันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้น น่าเกรงกลัวกว่าการที่ต้องกระท�ำผิดต่อกฎหมาย
เพราะไม่มบี คุ คลใดทีจ่ ะยอมรับภยันตรายโดยทีต่ นมิได้ดนิ้ รนทีจ่ ะต่อสูใ้ ห้รอดพ้น เหตุนกี้ ฎหมายจึงยอมให้
อภัยแก่ผนู้ นั้ โดยยกเว้นโทษให้ เนือ่ งจากไม่มปี ระโยชน์อนั ใดทีจ่ ะเอาโทษแก่บคุ คลซึง่ ในขณะกระท�ำความผิด
นัน้ จิตใจก�ำลังตกอยูใ่ นความกลัวเกรงสิง่ ทีบ่ บี บังคับเขาอย่างรุนแรงหรือมีภยันตรายเกิดขึน้ อันน่าเกรงกลัว
ส�ำหรับเขาจนไม่อาจหลีกเลี่ยงมิให้ต้องกระท�ำความผิดได้

45 โปรดศึกษารายละเอียดใน เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ:


บริษัทกรุงสยามพับลิชชิ่ง จ�ำกัด. 2562. น. 653-663.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-29

ปอ. มาตรา 67 จึงบัญญัติว่า “ผู้ใดกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็น


(1) เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อ�ำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
(2) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้น
โดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระท�ำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ”

. การกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นตามบทบัญญัตขิ า้ งต้น แบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ 1) ความ


จ�ำเป็นเพราะอยูใ่ นทีบ่ งั คับหรือภายใต้อำ� นาจ ตามมาตรา 67 (1) โดยการบังคับหรืออ�ำนาจบงการให้กระท�ำ
สธ สธ
ความผิดนัน้ มาจากภายนอก และผูก้ ระท�ำไม่อาจหลีกเลีย่ งตัดสินใจเป็นอย่างอืน่ ได้ ผูก้ ระท�ำจึงมิได้คิดริเริ่ม

มส . มส
กระท�ำการนั้นขึ้นด้วยตนเอง 2) ความจ�ำเป็นเพราะเพื่อให้พ้นภยันตราย ตามมาตรา 67 (2) โดยมี
ภยันตรายที่จะต้องหลีกเลี่ยงและผู้กระท�ำเลือกหลีกเลี่ยงภยันตรายนั้นด้วยการกระท�ำความผิดโดยความ
คิดริเริ่มของตน แม้อาจท�ำอย่างอื่นได้ แต่การกระท�ำอย่างอื่นนั้นก็ยังท�ำความเสียหายแก่ผู้อื่นอยู่นั่นเอง
ดังนั้น การกระท�ำด้วยความจ�ำเป็นตาม ปอ. มาตรา 67 ดังกล่าว จึงเป็นการกระท�ำความผิดโดยผู้กระท�ำ
“ไม่มีการตัดสินใจโดยอิสระ” ซึ่งเป็นมูลเหตุที่กฎหมายยอมยกเว้นโทษให้แก่ผู้กระท�ำ มิใช่ผู้กระท�ำมีสิทธิ

หรืออ�ำนาจที่จะกระท�ำได้46
ทั้งนี้ อาจแยกพิจารณาการกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (1) และ 67 (2) ดังนี้
1. การกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำ� นาจ
2. การกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็นเพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย
ธ.

1. การกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อ�ำนาจ
ตาม ปอ. มาตรา 67 (1) การกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็น เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้
อ�ำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ ถ้าได้กระท�ำไปไม่เกินสมควรแก่เหตุ เช่นนี้กฎหมายยกเว้น
โทษให้ อนึ่ง ตามมาตรา 69 การกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นนั้น หากกระท�ำไปเกินสมควรแก่เหตุ
หรือเกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียง
.ม
ใดก็ได้…
ดังนัน้ การกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็นเพราะอยูใ่ นทีบ่ งั คับหรือภายใต้อำ� นาจ ซึง่ จะเป็นเหตุยกเว้น
โทษ จึงต้องพิจารณา ดังนี้
1.1 กระท�ำความผิดเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อ�ำนาจ กล่าวคือ มีการบังคับหรือการใช้
อ�ำนาจบงการจากภายนอกให้กระท�ำการอันเป็นความผิด เช่น ก. ใช้ปืนขู่ว่าจะยิง ข. หาก ข. ไม่ต่อย ค.
ดังนี้ หาก ข. ต่อย ค. ก็ถือว่า ข. กระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับ
ทัง้ นี้ จะอ้างกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นตามมาตรา 67 ได้นนั้ ผูถ้ กู บังคับจะต้องมี “การกระท�ำ”
ตามนัยของกฎหมาย และต้องมีการกระท�ำความผิด “โดยเจตนา”

46 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). น. 591.


สธ ส
4-30 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ตัวอย่าง


ก. เป็นนักสะกดจิต ได้สะกดจิต ข. ให้น�ำอาวุธปืนไปยิง ค. จนถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ข. ไม่มี
ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เพราะ ข. มิได้กระท�ำโดยรูส้ ำ� นึก จึงไม่มคี วามผิดเพราะไม่มกี ารกระท�ำ
ตามมาตรา 59 กรณีจึงมิใช่การกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็นตามมาตรา 6747
อุทาหรณ์

. ฎ. 7227/2553 ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนปืนออกจากลูกโม่แล้วจ่อยิงศีรษะของ


ตนหรือผู้อื่นเพื่อล้อเล่น ในวันเกิดเหตุผู้ตายน�ำอาวุธปืนมาเล่นอีก แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตาย
สธ สธ
เอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะของตนเองแล้วจ�ำเลยเข้าแย่งเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น ผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตาย

มส . มส
เมาสุราจนไม่ได้สติแต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจ�ำเลยรู้หรือไม่ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุลูกกระสุนหรือไม่
ดังนั้น การที่จ�ำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนดังกล่าวถือว่าจ�ำเลยกระท�ำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลใน
ภาวะเช่นนัน้ จักต้องมีตามวิสยั และพฤติการณ์ และจ�ำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านัน้ ได้แต่หาได้ใช้ให้
เพียงพอไม่ อันเป็นการกระท�ำโดยประมาท การทีจ่ ะอ้างว่าเป็นการกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นได้นนั้
ต้องเป็นเรือ่ งการกระท�ำผิดโดยเจตนา แต่เมือ่ จ�ำเลยกระท�ำผิดโดยประมาทจึงมิใช่เป็นการกระท�ำความผิด

ด้วยความจ�ำเป็น
1.2 ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ กล่าวคือ ผูก้ ระท�ำไม่มที างหลีกเลีย่ งหรือขัดขืน นอกจาก
กระท�ำความผิดตามทีถ่ กู บังคับหรืออ�ำนาจบงการ ดังนัน้ หากผูก้ ระท�ำสามารถหลีกเลีย่ งทีบ่ งั คับนัน้ ได้ หรือ
สามารถขัดขืนอ�ำนาจนั้นได้ แต่ยังกระท�ำความผิดไป เช่นนี้ ไม่อาจอ้างจ�ำเป็นเพื่อยกเว้นโทษได้
ตัวอย่าง
ธ.

(1) นายเขียวเป็นเจ้าหน้าที่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ถูกหัวคะแนนของผู้สมัคร
รับเลือกตั้งคนหนึ่ง ใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้แก้คะแนนของผู้สมัครให้ผิดไปจากความจริงแล้วน�ำส่งยังนาย
อ�ำเภอ เช่นนี้ นายเขียวมีความผิดฐานปลอมเอกสาร แต่เป็นการกระท�ำด้วยความจ�ำเป็นเพราะถูกบังคับ
ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ จึงได้รับยกเว้นโทษ ตามมาตรา 67 (1) นี48 ้
(2) ตามตัวอย่างที่ (1) หากหัวคะแนนผู้ใช้อาวุธปืนขู่บังคับนายเขียว เป็นเพื่อนของนายเขียวเอง
.ม
ซึง่ ท�ำไปด้วยความมึนเมาแทบจะทรงตัวไม่ตดิ อยูแ่ ล้ว ทัง้ นายเขียวก็รนู้ สิ ยั เพือ่ นของตนดีวา่ ถ้าตนเกลีย้ กล่อม
ก็จะยอมเลิกล้มการกระท�ำนัน้ หรือหากนายเขียวร่างกายแข็งแรงกว่าเพือ่ นของตน อันเป็นกรณีทนี่ ายเขียว
สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่นายเขียวกลับยอมแก้คะแนนตามที่ถูกขู่บังคับ เช่นนี้ นายเขียวจะอ้าง
จ�ำเป็นตามมาตรา 67 (1) เพื่อยกเว้นโทษไม่ได้
1.3 กระท�ำไปไม่เกินขอบเขต กล่าวคือ การกระท�ำโดยจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (1) นัน้ หาก กระท�ำ
ไปเกินขอบเขต ผูก้ ระท�ำย่อมไม่ได้รบั ยกเว้นโทษ เพียงแต่อาจได้รบั ลดหย่อนผ่อนโทษให้เท่านัน้ เนือ่ งจาก
มาตรา 69 บัญญัตวิ า่ “ในกรณีทบี่ ญ ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 67 ..... นัน้ ถ้าผูก้ ระท�ำได้กระท�ำไปเกินสมควรแก่เหตุ
หรือเกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็น ..... ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้น

47 เอช เอกูต์. กฎหมายอาญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง. 2477. น. 106.


48 ฎ. 696/2503.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-31

เพียงใดก็ได้ แต่ถ้าการกระท�ำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจหรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้


กระท�ำก็ได้”
“การกระท�ำโดยจ�ำเป็นเกินขอบเขต” จึงได้แก่
1.3.1 การกระท�ำ “เกินสมควรแก่เหตุ” ซึง่ หมายถึง การกระท�ำซึง่ เกิน “วิถที างน้อยทีส่ ดุ ”
หรือ/และ เกิน “สัดส่วน”

. ทั้งนี้ “วิถีทางน้อยที่สุด” คือ เป็นการกระท�ำขั้นต�่ำสุดที่จ�ำเป็นต้องกระท�ำ โดยมีหลักการ


ท�ำนองเดียวกับทีใ่ ช้ในกรณีปอ้ งกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วน “สัดส่วน” คือ ภัยจากการบังคับต้องร้ายแรง
สธ สธ
กว่าภัยที่ผู้กระท�ำโดยจ�ำเป็นก่อขึ้นจึงจะได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 67 เพราะเป็นการกระท�ำต่อบุคคลที่

มส . มส
สามซึ่งมิใช่ผู้ก่อภัยซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย การพิจารณาสัดส่วนของภัยจึงต่าง
จากกรณีปอ้ งกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนัน้ หากภัยจากการบังคับนัน้ น้อยกว่าหรือเท่ากันกับภัยทีผ่ กู้ ระท�ำ
โดยจ�ำเป็นก่อขึน้ ถือว่ากระท�ำเกินสัดส่วน อันเป็นการกระท�ำเกินขอบเขต ไม่อาจอ้างยกเว้นโทษได้49 เป็น
แต่อาจอ้างเป็นเหตุลดโทษได้ตามมาตรา 69 (ซึ่งจะอธิบายในตอนที่ 4.3 เหตุลดโทษต่อไป)
ตัวอย่าง

ก. ขู่ว่าจะใช้ปืนยิง ข. ถ้า ข. ไม่แทง ค. ดังนี้ เมื่อ ข. เลือกแทง ค. บริเวณแขนเป็นเหตุ
ให้ ค. บาดเจ็บ อันเป็นการกระท�ำความผิดฐานท�ำร้ายร่างกาย ค. แต่อ้างจ�ำเป็น “พอสมควรแก่เหตุ”
กล่าวคือ เลือกแทงเพียงให้บาดเจ็บมิได้ให้ถึงตาย เพื่อยกเว้นโทษได้ตามมาตรา 67 แต่หาก ก. ขู่ว่าจะยิง
ข. ถ้า ข. ไม่ฆ่า ค. ดังนี้ ถ้า ข. ใช้มีดเลือกแทง ค. บริเวณอกซ้ายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ถือเป็นการ
ธ.

กระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็น แต่เกินขอบเขต คือ เกินสมควรแก่เหตุ จึงไม่ได้รับยกเว้นโทษ แต่อาจได้รับ


การลดโทษตามมาตรา 69 ได้
1.3.2 การกระท�ำ “เกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็น” หมายถึง การกระท�ำโดยจ�ำเป็นเพราะ
อยูใ่ นทีบ่ งั คับหรือภายใต้อำ� นาจ แต่การบังคับนัน้ ยังอยูห่ า่ งไกล หรือผูก้ ระท�ำสามารถหลีกเลีย่ งหรือขัดขืน
ได้50 ซึ่งถือว่าเป็น “การกระท�ำโดยจ�ำเป็นเกินขอบเขต” จึงไม่อาจอ้างยกเว้นโทษ เพียงแต่อาจอ้างเพื่อ
ให้ศาลลดโทษตามมาตรา 69 (ซึ่งจะอธิบายในตอนที่ 4.3 เหตุลดโทษต่อไป)
.ม
อุทาหรณ์
ฎ. 8046/2542 จ�ำเลยเป็นชู้กับผู้ตาย เมื่อ บ. สามีของจ�ำเลยทราบเรื่องจึงบังคับให้จำ� เลย
นัดผู้ตายมาพบเพื่อฆ่า หากไม่นัดจะฆ่าจ�ำเลยและผู้ตายทั้งสองคน ชี้ให้เห็นว่าจ�ำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะ
ตกอยู่ภายใต้อำ� นาจของ บ. ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืน แต่การที่จ�ำเลยถึงกับยอมร่วมมือกับ บ.
ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่ากระท�ำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็น ซึ่งศาลจะลงโทษน้อย
กว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ตาม ปอ. มาตรา 67 (1), 69
ตามค�ำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น แม้จำ� เลยจะกระท�ำผิดเพราะถูกบังคับ แต่เห็นได้วา่ จ�ำเลย
สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากสามีเพียงขู่จะฆ่าหากจ�ำเลยไม่นัดผู้ตายมาเพื่อให้สามีฆ่า และแสดงว่าภัย

49 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). น. 594-595.


50 จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เนติบัณฑิตยสภา. 2555. น. 927.
สธ ส
4-32 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

จากการขู่บังคับนั้นยังห่างไกล จึงเป็นการกระท�ำเกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็น นอกจากนั้น ภัยจากการ


บังคับ คือการที่จะถูกสามีฆ่า ก็เท่ากับภัยที่จำ� เลยซึ่งเป็นผู้กระท�ำโดยจ�ำเป็นก่อขึ้นแก่ผู้ตายซึ่งเป็นบุคคล
ที่สาม ซึ่งถือว่าเกินสัดส่วน ดังนี้ จึงเป็นการกระท�ำเกินสมควรแก่เหตุด้วย51
อุทาหรณ์ กรณีที่อ้างกระท�ำโดยจ�ำเป็นเพื่อยกเว้นโทษตามมาตรา 67 (1) ไม่ได้
(1) ฎ. 9738/2544 ความผิดฐานละเมิดอ�ำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐาน

.
ละเมิดอ�ำนาจศาลก็เป็นอ�ำนาจของศาลโดยเฉพาะ เมือ่ ปรากฏว่าเอกสารทีโ่ จทก์อา้ งถึงในคดีสญ
ส�ำนวนความของศาล ต่อมาผู้ถูกกล่าวหาได้น�ำเอกสารนั้นมามอบคืนศาลชั้นต้น โดยผู้ถูกกล่าวหาเมื่อได้
ู หายไปจาก
สธ สธ
รับเอกสารดังกล่าวคืนมาแล้วยังคงเก็บเอกสารดังกล่าวไว้อีก 2 ถึง 3 วัน โดยไม่น�ำมาส่งคืนศาล และการ

มส . มส
เก็บเอกสารเช่นว่านั้นก็มิได้รับอนุญาตจากศาล การกระท�ำของผู้ถูกกล่าวหาหาใช่เป็นเพราะอยู่ในที่บังคับ
หรือภายใต้อำ� นาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ การกระท�ำของผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่ใช่กระท�ำความ
ผิดด้วยความจ�ำเป็นอันจะท�ำให้ไม่ต้องรับโทษ
(2) ฎ. 6965-6966/2546 การที่จ�ำเลยอ้างถึงการเอาเงินของกรมการศาสนาไปเพราะ
ต้องการน�ำไปใช้รกั ษาบิดามารดาว่าเป็นการกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นนัน้ เห็นได้วา่ กรณีมใิ ช่จำ� เลย

อยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อ�ำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ และมิใช่กรณีที่มีภยันตรายที่ใกล้จะ
ถึงแต่อย่างใดการกระท�ำของจ�ำเลยจึงหาใช่การกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นที่จะได้รับการยกเว้นโทษ
ตาม ปอ. มาตรา 67 ไม่
ธ.

2. การกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็นเพราะเพื่อให้พ้นภยันตราย
การกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นอีกลักษณะหนึ่ง ตาม ปอ. มาตรา 67 (2) คือ การกระท�ำ
ความผิดด้วยความจ�ำเป็น เพราะเพือ่ ให้ตนเองหรือผูอ้ นื่ พ้นจากภยันตรายทีใ่ กล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลีย่ ง
ให้พน้ โดยวิธอี นื่ ใดได้ เมือ่ ภยันตรายนัน้ ตนมิได้กอ่ ให้เกิดขึน้ เพราะความผิดของตน ถ้าการกระท�ำนัน้ ไม่เป็น
การเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
ดังนัน้ การกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็นเพราะเพือ่ ให้พน้ ภยันตราย ซึง่ จะเป็นเหตุยกเว้นโทษ จึงต้อง
.ม
พิจารณา ดังนี้
2.1 ต้องกระท�ำเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตราย
2.1.1 ต้องมี “ภยันตราย” กล่าวคือ ภยันตรายนั้น อาจเกิดจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ
เช่น น�้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุ หรือเกิดจากสัตว์ เช่น ช้างป่าตกมันเข้ามาพังรั้วบ้าน หรือเกิดจากบุคคล
อื่นซึ่งไม่มีการกระท�ำ เช่น ก. ละเมอลุกขึ้นมาจะใช้ปืนจะยิง ข. เพื่อนร่วมห้อง แม้ ข. รู้ดีว่า ก. ละเมอ แต่
ไม่มวี ธิ อี นื่ ทีจ่ ะหลีกเลีย่ ง จึงต้องใช้ไม้เทนนิสใกล้ตวั ตีทแี่ ขน ก. เช่นนี้ ถือเป็นการกระท�ำต่อ ก. ผูก้ อ่ ภัยแต่
มิใช่ภัยอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย เนื่องจากไม่มีการกระท�ำตามนัยกฎหมาย ข. จึง
อ้างจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) เพื่อยกเว้นโทษได้ อีกทั้ง ภยันตรายยังอาจเกิดจากบุคคลอื่นประทุษร้าย

51 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). น. 598.


สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-33

อันละเมิดต่อกฎหมาย แต่หากผูก้ ระท�ำได้กระท�ำต่อบุคคลทีส่ ามซึง่ ไม่ใช่ผกู้ อ่ ภัยอันละเมิดต่อกฎหมายนัน้ 52


ย่อมเป็นการกระท�ำโดยจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 307/2489 คนวิง่ ไล่จะท�ำร้ายจ�ำเลยมาอย่างกระชัน้ ชิด จ�ำเลยจ�ำเป็นจะต้องวิง่ หนีไปทาง
ซึ่งก�ำลังมีพิธีแต่งงาน แต่มีคนในพิธีกั้นไว้ จ�ำเลยจึงแทงตาย เช่นนี้ เป็นการกระท�ำโดยจ�ำเป็น (แต่เกิน

.
สมควรแก่เหตุ เนื่องจากจ�ำเลยอาจใช้เพียงก�ำลังขัดขืนได้ ไม่ต้องแทงถึงตาย)
2.1.2 ต้องเป็นการกระท�ำความผิด “โดยเจตนา” และมีมูลเหตุจูงใจ “เพื่อให้ตนเองหรือ
สธ สธ
ผู้อื่นพ้นภยันตราย” กล่าวคือ การกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็น ต้องเป็นการกระท�ำโดยมีเจตนา53 และจะ

มส . มส
เป็นการกระท�ำโดยจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) ต่อเมือ่ มีมลู เหตุจงู ใจ คือ เพือ่ ให้ตนเองหรือผูอ้ นื่ พ้นภยันตราย
ทั้งนี้โดยมีข้อสังเกตว่า “ผู้อื่น” นั้น ไม่จ�ำต้องพิจารณาว่ามีความสัมพันธ์กับผู้กระท�ำแต่อย่างใด54
ดังนัน้ จะเห็นได้วา่ ความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องกระท�ำความผิดตามมาตรา 67 (1) ดังกล่าวมาข้างต้น
กับมาตรา 67 (2) นีแ้ ตกต่างกัน กล่าวคือ ตามมาตรา 67 (1) นัน้ เป็นกรณีทจี่ ะต้องมีทบี่ งั คับหรือมีอำ� นาจ
อย่างใดอย่างหนึง่ มาเป็นผูบ้ งการให้ตอ้ งกระท�ำความผิดอย่างใดอย่างหนึง่ โดยทีบ่ คุ คลนัน้ ไม่มโี อกาสเลือก

ว่าจะท�ำหรือไม่ทำ � ดังตัวอย่าง ถูกคนร้ายเอาปืนขู่บังคับให้ปลอมเอกสาร เป็นต้น แต่ตามมาตรา 67 (2)
เป็นกรณีทไี่ ด้เกิดภยันตรายอย่างใดอย่างหนึง่ ขึน้ ซึง่ ภยันตรายมิได้บบี บังคับบุคคลนัน้ แต่อย่างใดว่าจะต้อง
กระท�ำความผิดหรือไม่ บุคคลนั้นอาจยอมให้ภยันตรายนั้นเกิดขึ้นกับตนหรือผู้อื่น แต่ถ้าไม่ยอมให้เกิดขึ้น
เช่นนั้น ก็อาจเลือกเอาการกระท�ำความผิด
ตัวอย่าง
ธ.

(1) ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ห้องแถวขึ้นและก�ำลังจะลุกลามต่อไปตลอดทั้งแถว นายฉีดซึ่งเป็น


พนักงานดับเพลิงจึงได้จัดการท�ำลายห้องแถวของนายฉาดเสีย 1 คูหา เพื่อมิให้เพลิงลุกลามต่อไป เช่นนี้
นายฉีดไม่ต้องรับโทษฐานท�ำให้เสียทรัพย์ เพราะกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็น
(2) นายพีระขับรถยนต์ไปตามถนนในเมือง ได้เกิดไฟลุกไหม้ที่เครื่องยนต์รถในขณะที่การ
จราจรติดขัด นายพีระจึงวิ่งไปที่ร้านขายเครื่องดับเพลิงริมถนน ทุบกระจกตู้โชว์จนแตกแล้วเอาเครื่องดับ
.ม
เพลิงมาฉีดดับไฟได้ เช่นนี้ นายพีระมีความผิดฐานท�ำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ แต่เนื่องจากกระท�ำไป
ด้วยความจ�ำเป็นจึงได้รับยกเว้นโทษ
2.2 เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ภยันตรายทีใ่ กล้จะเกิดขึน้ นัน้ จะต้องเป็นภยันตรายทีใ่ กล้จะถึง ซึง่
ถ้าไม่กระท�ำอะไรลงไปในขณะนัน้ ภยันตรายนัน้ ก็จะเกิดขึน้ อย่างแน่นอน บุคคลนัน้ จึงเลือกเอาการกระท�ำ
ผิดนั้น แต่ถ้าภยันตรายยังอยู่ห่างไกล หากบุคคลนั้นกระท�ำผิดไป ก็ไม่ได้รับการยกเว้นโทษตามมาตรานี้

52 หากกระท�ำต่อผูก้ อ่ ภัยซึง่ เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ก็ยอ่ มเป็นกรณีปอ้ งกัน ตามมาตรา 68 โปรดดู


เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). น. 600.
53 ฎ. 7227/2553.
54 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). น. 604.
สธ ส
4-34 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ตัวอย่าง


(1) เพลิงไหม้ห้องแถวในตลาดบริเวณใกล้เคียง แต่ยังห่างเกือบ 1 กิโลเมตร และพนักงานดับ
เพลิงก�ำลังระดมดับเพลิงกันอยู่ นายวาดเกิดความวิตกว่าเพลิงจะไหม้ลุกลามมายังห้องแถวที่ตนอยู่ได้ จึง
จัดการรื้อห้องแถวห้องที่ติดอยู่กับตนออกเสีย 2 ห้อง เช่นนี้ ถือว่า ภยันตรายยังไม่ใกล้จะถึง นายวาดจะ
อ้างว่ากระท�ำด้วยความจ�ำเป็นเพื่อยกเว้นโทษฐานท�ำให้เสียทรัพย์ไม่ได้

. (2) มีฝนตกหนัก นายกริง่ เห็นว่าถ้าตกเช่นนัน้ ตลอดไปอีกสัก 2 วัน น�ำ้ ก็จะท่วมเข้าไปในตึกแถว


ก่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินของตนอย่างแน่นอน จึงได้ไปลักเอาทรายจากวัดใกล้เคียงใส่กระสอบมาวาง
สธ สธ
ไว้รอบๆ ตึกเพื่อกันมิให้น�้ำไหลเข้าบ้านได้ แต่ฝนหยุดตกเสียก่อนภายในวันนั้น น�้ำจึงไม่ท่วมเพียงแต่เอ่อ

มส . มส
ขึ้นมาเล็กน้อยเท่านั้น เช่นนี้ ถือว่าภยันตรายยังมิใกล้จะถึง นายกริ่งจะอ้างว่ากระท�ำความผิดด้วยความ
จ�ำเป็นเพื่อยกเว้นโทษไม่ได้55
2.3 ไม่สามารถหลีกเลี่ยงภยันตรายให้พ้นโดยวิธีอื่นได้ การทีบ่ คุ คลสามารถหลีกเลีย่ งภยันตราย
ให้พ้นโดยวิธีอื่นได้ แต่ไม่หลีกเลี่ยงโดยวิธีนั้น กลับใช้วิธีกระท�ำผิดกฎหมายแทน เช่นนี้ บุคคลนั้นจะอ้าง
ว่ากระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นไม่ได้ เพราะการกระท�ำผิดโดยจ�ำเป็นเป็นการกระท�ำต่อบุคคลทีส่ ามซึง่

มิได้เป็นผูก้ อ่ ภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย56 จึงต้องหาวิธตี า่ งๆ ทีจ่ ะหลีกเลีย่ ง
เพือ่ ให้พน้ ภยันตราย จนกว่าไม่มวี ธิ อี นื่ ทีจ่ ะหลีกเลีย่ งภยันตรายได้แล้วนอกจากการกระท�ำความผิด จึงอ้าง
จ�ำเป็นเพื่อยกเว้นโทษได้57
ตัวอย่าง เกิดเพลิงไหม้บ้านของนายคล่อง นายคล่องจึงพังรั้วบ้านของนายคล้ายเข้าไปตักน�ำ้ จาก
บ่อน�้ำมาดับเพลิง ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ต่อไปว่า นายคล่องสามารถที่จะไปตักน�ำ้ จากบ่อน�้ำสาธารณะมาดับ
ธ.

เพลิงได้ทัน โดยไม่ต้องไปพังรั้วบ้านของนายคล้ายเข้าไป เช่นนี้ นายคล่องจะอ้างว่ากระท�ำความผิดด้วย


ความจ�ำเป็นตามมาตรา 67 เพื่อยกเว้นโทษไม่ได้
2.4 ภยันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน ถ้าผู้กระท�ำผิดเป็นผู้ก่อให้เกิด
ภยันตรายนัน้ ขึน้ เองหรือภยันตรายนัน้ เกิดขึน้ เพราะความผิดของตน ผูน้ นั้ ก็ยอ่ มจะอ้างเหตุความจ�ำเป็นไม่ได้
ท�ำนองเดียวกับกรณีป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
.ม
ตัวอย่าง
(1) ขณะทีน่ ายเซือ่ งผัดผักบุง้ ไฟแดงโดยประมาทจนเกิดเพลิงไหม้หอ้ งครัวบ้านของตน นายเซือ่ ง
ได้พังบ้านของนายซึมเข้าไป แล้วเอาเครื่องมือดับเพลิงมาดับเพลิงที่บ้านของตน เช่นนี้ นายเซื่องจะอ้าง
ความจ�ำเป็นเพือ่ ยกเว้นโทษในความผิดทีเ่ กิดขึน้ ไม่ได้ เพราะภยันตรายทีเ่ กิดขึน้ นัน้ เกิดขึน้ เพราะความผิด
ของนายเซือ่ งเอง แต่หากเกิดเพลิงไหม้ขนึ้ เพราะไฟฟ้าลัดวงจรขึน้ ก็ไม่ถอื ว่าเพลิงไหม้เนือ่ งจากนายเซือ่ ง
เป็นผู้ก่อ นายเซื่องย่อมอ้างเหตุยกเว้นโทษตามมาตรา 67 ได้

55 ฎ. 734/2529.
56 จึงต่างจากการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึง่ เป็นการกระท�ำต่อผูก
้ อ่ ภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิด
ต่อกฎหมาย ผู้กระท�ำจึงไม่จ�ำต้องหลีกเลี่ยงหรือหนี.
57 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). น. 601.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-35

(2) นายลนท�ำให้เพลิงไหม้บา้ นของตนเองโดยประมาท นายลานจึงบุกเข้าไปในบ้านของนายเล็ม


หยิบเอาเครือ่ งมือดับเพลิงของนายเล็มมาฉีดดับเพลิงทีบ่ า้ นของนายลน เช่นนี้ นายลานอ้างเหตุกระท�ำความผิด
ด้วยความจ�ำเป็นได้เพราะภยันตรายทีเ่ กิดขึน้ ด้วยความผิดของนายลน นายลานมิได้เป็นผูก้ อ่ แต่อย่างใด
2.5 ได้กระท�ำไปไม่เกินขอบเขต การกระท�ำความผิดโดยจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) จะได้รับ
ยกเว้นโทษเมื่อกระท�ำไปไม่เกินขอบเขต แต่ถ้าได้ “กระท�ำไปเกินขอบเขต” กล่าวคือ 1) “เกินสมควรแก่

.
เหตุ” ซึ่งต้องพิจารณาว่าเกิน “วิถีทางน้อยที่สุด” หรือเกิน “สัดส่วน” ซึ่งได้อธิบายแล้วข้างต้น หรือ 2)
“เกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็น” ซึ่งหมายถึง กระท�ำเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย แต่ภยันตราย
สธ สธ
นั้นยังอยู่ห่างไกล หรือได้ผ่านพ้นไปแล้ว เช่นนี้ ผู้กระท�ำย่อมไม่ได้รับยกเว้นโทษ แต่ศาลอาจพิจารณาลด

มส . มส
โทษให้ ตามมาตรา 69 (ซึ่งจะได้อธิบายในตอนที่ 4.3 เหตุลดโทษต่อไป)
ตัวอย่าง
นายระบิล บุตรนายระเบียน ถูกงูเห่ากัดจ�ำต้องไปให้แพทย์ฉีดเซรุ่มแก้พิษงูเป็นการด่วน แต่ไม่มี
ยานพาหนะจะไปทีอ่ ำ� เภอซึง่ อยูห่ า่ งไกลไปมาก และไม่อาจไปด้วยวิธอี นื่ ได้ นายระเบียนจึงได้ทำ� ลายประตู
บ้านของนายระบาดซึ่งขณะนั้นไม่มีคนอยู่เพื่อเข้าไปเอารถจักรยานยนต์ของนายระบาดออกมาและต่อไฟ

สายตรง ขับขีน่ ำ� นายระบิลไปทีอ่ ำ� เภอได้ทนั เช่นนี้ ถือว่าเป็นการกระท�ำโดยจ�ำเป็น “ไม่เกินสมควรแก่เหตุ”
อุทาหรณ์
ฎ. 307/2489 คนวิ่งไล่จะท�ำร้ายจ�ำเลยมาอย่างกระชั้นชิด จ�ำเลยจ�ำเป็นจะต้องวิ่งหนีไปทางซึ่ง
ก�ำลังมีพธิ แี ต่งงาน แต่มคี นในพิธกี นั้ ไว้ จ�ำเลยจึงแทงตาย เช่นนี้ เป็นการกระท�ำโดยจ�ำเป็น เกินสมควรแก่เหตุ
ธ.

(เนื่องจากจ�ำเลยอาจใช้เพียงก�ำลังขัดขืนได้ ไม่ต้องแทงถึงตาย)
เปรียบเทียบการกระท�ำเพื่อป้องกันสิทธิกับการกระท�ำผิดด้วยความจ�ำเป็น การกระท�ำผิดด้วย
ความจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) นี้ มีลกั ษณะใกล้เคียงกับการกระท�ำเพือ่ ป้องกันสิทธิตามมาตรา 68 ซึง่ ได้
ศึกษามาแล้ว กล่าวคือ
1. การป้องกันตามมาตรา 68 เป็นการกระท�ำเพื่อป้องกันให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการ
ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย โดยกระท�ำต่อผูก้ อ่ ภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมายนัน้ เอง แต่การกระท�ำ
.ม
โดยจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) นี้ เป็นการกระท�ำเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นภยันตราย โดยกระท�ำความผิดต่อ
บุคคลอืน่ ซึง่ มิใช่ผกู้ อ่ ภยันตรายอันละเมิดต่อกฎหมาย หรือกระท�ำผิดโดยไม่เกีย่ วข้องกับบุคคลใดเลย หรือ
กระท�ำผิดต่อแหล่งเกิดภยันตรายนั้นเองก็ได้
ตัวอย่าง
(1) นายดุดันเอามีดปลายแหลมไล่แทงนายด้อย ถ้านายด้อยเอาไม้ตีนายดุดัน เพื่อป้องกันมิให้
ใช้มดี แทงตนได้ ก็เป็นการกระท�ำเพือ่ ป้องกันตามมาตรา 68 แต่ถา้ นายด้อยวิง่ หนีเข้าไปในบ้านของนายดุย่
เพื่อหนีให้พ้นภยันตรายกลับถูกนายดุ่ยขวางประตูบ้านไว้มิให้เข้าไปนายด้อยจึงชกต่อยนายดุ่ย 1 ที เพื่อ
ให้หลีกทางให้ตนเข้าไปในบ้านได้เช่นนี้ เป็นการกระท�ำด้วยความจ�ำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นภยันตรายที่
ใกล้จะถึงตามมาตรา 67 (2)
(2) นายโวหารถูกนายตรีคูณขับรถยนต์ไล่ชนจนเกือบจะถูกตัวหลายครั้ง ถ้านายโวหารเอาไม้ตี
กระจกหน้ารถยนต์ของนายตรีคณ ู เพือ่ ป้องกันมิให้นายตรีคณ
ู ขับรถยนต์ชนตนได้อกี ต่อไป ถือเป็นการป้องกัน
สธ ส
4-36 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

แต่ถ้านายโวหารวิ่งหนีข้ามถนนไปโดยมิได้ข้ามตรงทางม้าลายหรือโดยมิได้ข้ามทางสะพานข้ามถนน ถือ


เป็นการกระท�ำผิดกฎหมายจราจรทางบกด้วยความจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) นี้
2. การกระท�ำด้วยความจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) กฎหมายบังคับให้กระท�ำเฉพาะในกรณีที่ไม่
อาจหลีกเลี่ยงให้พ้นภยันตรายโดยวิธีอื่นได้ ถ้ายังสามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นได้โดยวิธีอื่นที่ไม่ผิดกฎหมายก็
ต้องหลีกเลี่ยง

. ตัวอย่าง
นายกระโดดซึ่งเกรงว่าเพลิงซึ่งเริ่มไหม้ห้องแถวใกล้เคียงจะลุกลามมาไหม้ห้องแถวของตน จึงได้
สธ สธ
พังห้องแถวติดห้องของตนเพือ่ ตัดทางเดินของเพลิงเสีย เช่นนี้ ถ้านายกระโดดยังมีทางหลีกเลีย่ งภยันตราย

มส . มส
ได้โดยการไปเอาน�้ำมาสาดดับต้นเพลิงก็ยังท�ำได้ ถือว่านายกระโดดมิได้กระท�ำด้วยความจ�ำเป็น
แต่สำ� หรับการป้องกันตามมาตรา 68 นัน้ เนือ่ งจากเป็นการกระท�ำต่อตัวผูก้ อ่ ภยันตรายอันละเมิด
ต่อกฎหมายเอง กฎหมายจึงมิได้บงั คับให้กระท�ำเฉพาะกรณีไม่อาจหลีกเลีย่ งให้พน้ ภยันตรายโดยวิธอี นื่ ได้
เท่านั้น แม้ยังสามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นภยันตรายด้วยวิธีอื่นได้อีก ก็ยังป้องกันตามมาตรา 68 ได้
ตัวอย่าง

ผู้ตายเมาสุราร้องท้าทายจ�ำเลยให้มาต่อสู้กัน จ�ำเลยไม่สู้ผู้ตายก็ถือมีดดาบปลายแหลมลุยน�้ำข้าม
คลองจะเข้ามาฟันจ�ำเลยถึงในบ้าน แม้จำ� เลยจะเห็นผูต้ ายอยูก่ อ่ นและอาจหลบหนีได้ แต่กไ็ ม่มคี วามจ�ำเป็น
ที่ผู้มีสิทธิครอบครองเคหสถานของตนโดยชอบจะต้องหนีผู้กระท�ำผิดกฎหมาย ดังนี้ การที่จ�ำเลยใช้ปืนยิง
ผู้ตาย 1 นัด ขณะผู้ตายอยู่ห่างจากจ�ำเลย 6 ถึง 8 ศอก ถือว่าเป็นการกระท�ำเพื่อป้องกันชีวิตพอสมควร
แก่เหตุ58
ธ.

3. การกระท�ำเพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดจากสัตว์ป่า เช่น เสือโคร่งจะกัดจึงเอาปืนยิงเสือตาย


ไม่เป็นการกระท�ำเพื่อป้องกันตามมาตรา 68 เพราะสัตว์ป่ามิได้เป็นภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้าย
อันละเมิดต่อกฎหมาย แต่เป็นกรณีที่กระท�ำด้วยความจ�ำเป็นเพื่อให้พ้นภยันตรายตามมาตรา 67(2) แต่
ถ้าสัตว์หรือสิ่งของที่มีเจ้าของ เจ้าของอาจเป็นผู้ก่อภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมายได้ และถือว่าเป็นกรณีป้องกันตามมาตรา 68 มิใช่จำ� เป็นตามมาตรา 6759
.ม
เปรียบเทียบการกระท�ำความผิดด้วยความจ�ำเป็นกับความยินยอมให้กระท�ำ การกระท�ำความผิด
ด้วยความจ�ำเป็นนี้ ใกล้เคียงกับกรณีผเู้ สียหายยินยอมให้กระท�ำ กล่าวคือ ถ้าแพทย์ทำ� การผ่าตัดหรือฉีดยา
คนไข้ โดยที่คนไข้ยินยอมให้กระท�ำ เช่นนี้ การกระท�ำนั้นไม่เป็นความผิด แต่ถ้าคนไข้นั้นก�ำลังสิ้นสติสลบ
ไป หรือเจ็บป่วยมากจนไม่รสู้ กึ ตน แพทย์จำ� เป็นต้องผ่าตัดหรือกระท�ำการอย่างใดอย่างหนึง่ ต่อร่างกายของ
คนไข้นั้น เพื่อช่วยชีวิตคนไข้หรือรักษาพยาบาลคนไข้นั้นให้หายเจ็บป่วย เช่นนี้ เป็นกรณีกระท�ำผิดด้วย
ความจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) นี้ แม้จะต้องตัดอวัยวะของคนไข้ออกไป แพทย์กไ็ ม่ตอ้ งรับโทษฐานท�ำร้าย
ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัสแต่อย่างใด

58 ฎ. 169/2504.
59 จิตติ ติงศภัทย
ิ .์ ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 8). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง
เนติบัณฑิตยสภา. 2529. น. 183.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-37


กิจกรรม 4.2.1
1. นายหมื่นใช้ปืนขู่บังคับนายแสนให้เขียนจดหมายหมิ่นประมาทนายล้านตามค�ำสั่งของตน ถ้า
ขัดขืนจะยิงให้ตายนายแสนจึงยอมเขียนจดหมายหมิ่นประมาทมอบให้กับนายหมื่นไปใช้หมิ่นประมาท
นายล้านตามความประสงค์ ดังนี้ นายแสนมีความผิดฐานหมิ่นประมาทนายล้านหรือไม่
2. เมื่อปีกลายฝนตกหนักจนน�ำ้ ท่วมนาข้าวของนายแก้วเสียหายหมดสิ้น พอปีนี้ฝนเริ่มตกมาไม่

.
มากนายแก้วกลัวว่าฝนจะตกจนน�ำ้ ท่วมนาข้าวของตนเสียหายอีกจึงรีบขุดระบายน�ำ้ จากนาของตนผ่านถนน
สธ สธ
สาธารณะไปยังคลองระบายน�ำ้ จนประชาชนสัญจรไปมาไม่สะดวก ดังนี้ นายแก้วมีความผิดตาม ปอ. มาตรา

มส . มส
358 หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 4.2.1
1. จากปัญหา นายแสนตกอยู่ภายใต้อ�ำนาจอาวุธปืนของนายหมื่น ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือ
ขัดขืนได้ จึงต้องยอมเขียนจดหมายหมิน่ ประมาทนายล้านตามค�ำสัง่ ของนายหมืน่ จึงถือว่าได้กระท�ำความผิด

ด้วยความจ�ำเป็น เพราะอยู่ภายใต้อ�ำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ และได้กระท�ำไปไม่เกิน
สมควรแก่เหตุนายแสนจึงได้รับยกเว้นโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาท
2. จากปัญหา ฝนเพียงเริ่มตกมาไม่มาก ภยันตรายที่เกิดขึ้น คือ น�้ำท่วมต้นข้าวในนายังไม่มา
ถึงและไม่เป็นการแน่นอนว่าปีนี้ฝนจะตกหนักจนน�ำ้ ท่วมนาหรือไม่ เมื่อภยันตรายยังไม่ใกล้จะถึงนายแก้ว
ย่อมไม่อาจอ้างความจ�ำเป็นตามมาตรา 67 (2) เพือ่ เป็นข้อแก้ตวั ไม่ตอ้ งรับโทษได้ นายแก้วจึงต้องมีความ
ธ.

ผิดและต้องรับโทษตาม ปอ. มาตรา 358 (ตามนัย ฎ. 734/2529)

เรื่องที่ 4.2.2
.ม
ความไม่สามารถรู้ผิดชอบและความอ่อนอายุ

เหตุยกเว้นโทษเนือ่ งจากความไม่รผู้ ดิ ชอบและความอ่อนอายุ ซึง่ จะอธิบายในเรือ่ งที่ 4.2.2 นี้ ได้แก่


1) กระท�ำความผิดในขณะวิกลจริต 2) กระท�ำความผิดในขณะมึนเมา และ 3) เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี
กระท�ำความผิด

1. กระท�ำความผิดในขณะวิกลจริต
ในการลงโทษทางอาญาแก่บคุ คลซึง่ กระท�ำความผิดนัน้ มีทฤษฎีสำ� คัญ ซึง่ อธิบายถึงวัตถุประสงค์
ของการลงโทษไว้ ดังเช่น ทฤษฎีลงโทษเพื่อเป็นการทดแทน เมื่อผู้ใดกระท�ำความผิดก็ต้องได้รับโทษ
สธ ส
4-38 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

เป็นการทดแทนเพื่อความยุติธรรม หรือทฤษฎีลงโทษเพื่อเป็นการข่มขู่ผู้กระท�ำความผิดและเพื่อมิให้คน


ทัว่ ไปถือเป็นเยีย่ งอย่าง หรือทฤษฎีลงโทษเพือ่ เป็นการปรับปรุงแก้ไขไม่ให้ผกู้ ระท�ำผิดมาแล้วกระท�ำผิดซ�ำ้
อีก60 แต่สำ� หรับผูซ้ งึ่ กระท�ำความผิดขณะไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้นนั้ การลงโทษ
ไม่อาจก่อให้เกิดผลตามทฤษฎีต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นได้61 เพราะผู้นั้นไม่สามารถรู้ถึงผลจากการที่ตน
ถูกลงโทษ

. ปอ. มาตรา 65 จึงบัญญัติว่า “ผู้ใดกระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถ


บังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่องโรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษส�ำหรับความผิดนั้น
สธ สธ
แต่ถา้ ผูก้ ระท�ำความผิดยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ ง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บา้ ง ผูน้ นั้ ต้อง

มส . มส
รับโทษส�ำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใด
ก็ได้”
ดังนัน้ ตามบทบัญญัตมิ าตรา 65 วรรคแรก บุคคลจะได้รบั ยกเว้นโทษทางอาญาเพราะเหตุวกิ ลจริต
ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1.1 ผู้นั้นมี “การกระท�ำ” ตามนัยของกฎหมายมาตรา 59 ซึ่งหมายถึง การเคลื่อนไหวหรือไม่

เคลือ่ นไหวร่างกายโดยรูส้ ำ� นึก ฉะนัน้ หากผูน้ นั้ วิกลจริตถึงขนาดไม่รสู้ ภาพหรือสาระส�ำคัญของการกระท�ำ
ของตน เช่น ใช้มีดดาบฟันคอคนโดยคิดว่าฟันต้นไม้ ย่อมไม่มีการกระท�ำและไม่มีความผิดตามมาตรา 59
มิใช่ได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกนี62 ้
1.2 ได้กระท�ำความผิด “ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ” หรือ “ในขณะไม่สามารถบังคับตนเอง
ได้” “ไม่สามารถรู้ผิดชอบ” นั้น มิได้หมายความถึงขนาดที่รู้ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ผิด แต่ไม่สามารถรู้ว่า
ธ.

สิ่งที่กระท�ำนั้นดีหรือชั่ว ผิดหรือชอบ แยกไม่ออกระหว่างความดีกับความชั่วแล้ว ถือว่าผู้นั้นไม่สามารถรู้


ผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในมารตรา 65 นี้ แต่ถ้าสามารถรู้ได้ว่าสิ่งใดไม่ควรกระท�ำเพราะสังคมติเตียนก็ดี
เพราะผิดศีลธรรมก็ดี หรือผิดกฎหมายก็ดี เช่นนี้ ถือว่าผูน้ นั้ สามารถรูผ้ ดิ ชอบ ไม่ได้รบั การยกเว้นโทษตาม
มาตรา 65 วรรคแรกแต่อย่างใด63
ส่วน “ไม่สามารถบังคับตนเองได้” นัน้ หมายถึง เป็นกรณีทแี่ ม้ผนู้ นั้ สามารถรูผ้ ดิ ชอบ คือ รูว้ า่ การ
.ม
กระท�ำเช่นนัน้ เป็นความชัว่ ผิดศีลธรรม แต่กย็ งั ท�ำไปด้วยไม่สามารถบังคับตนเองไม่ให้กระท�ำความผิดได้
เช่นนี้ ผู้นั้นได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 65 วรรคแรก เช่นเดียวกัน
ข้อสังเกต
(1) ถ้ากระท�ำความผิดในขณะยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ งหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บา้ ง ผูน้ นั้
ยังต้องรับโทษ แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดเอาไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ตาม
มาตรา 65 วรรคสอง (ซึ่งจะได้อธิบายต่อไปในตอนที่ 4.3 เหตุลดโทษ)

60 อุททิศ แสนโกศิก. “หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ” อุททิศนุสรณ์. น. 6.


61 เอช เอกูต์. กฎหมายอาญา. น. 110.
62 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษัทกรุงสยามพับลิชชิ่ง
จ�ำกัด. 2562. น. 627.
63 จิตติ ติงศภัทิย์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 8). น. 812.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-39

(2) ตามมาตรา 65 ต้องเป็น “การกระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถ


บังคับตนเองได้” หมายความว่า “ในขณะกระท�ำความผิด” ผูน้ นั้ ไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบหรือไม่สามารถบังคับ
ตนเองได้ ดังนัน้ หากกระท�ำความผิดก่อนหรือภายหลังไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
เช่นนี้ ย่อมไม่ได้รับยกเว้นโทษหรือลดโทษตามมาตรานี้แต่อย่างใด
ตัวอย่าง

. นายมหาหิงส์เห็นเมียแต่งตัวสวยออกไปนอกบ้านตอนค�ำ่ คืนบ่อยๆ คิดว่าเมียนอกใจจึงต่อว่าและ


ห้ามปรามมิให้ออกไป ในที่สุดเกิดทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรง นายมหาหิงส์เกิดโทสะสุดขีดใช้มีดท�ำครัว
สธ สธ
แทงเมียนับครัง้ ไม่ถว้ นจนเมียถึงแก่ความตาย เมือ่ เห็นเมียถูกแทงถึงแก่ความตาย นายมหาหิงส์กค็ ลุม้ คลัง่

มส . มส
จนกลายเป็นคนวิกลจริตไป เช่นนี้ ไม่ใช่การกระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถ
บังคับตนเอง นายมหาหิงส์จึงไม่ได้รับยกเว้นโทษหรือลดโทษตามมาตรา 6564
1.3 การกระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ (ตาม
ข้อ 1.2) นัน้ มีสาเหตุเพราะ จิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟัน่ เฟือน ซึง่ ถือว่าเป็นความผิดปกติของจิตใจ
(mental abnormalities) โดยอาจแยกพิจารณาสาเหตุดังกล่าวได้ ดังนี้

1.3.1 จิตบกพร่อง (Mental Deficiency) ได้แก่ ปัญญาอ่อน (Mental Retardation) ซึ่ง
ภาษาไทยทางการแพทย์อาจเรียกว่า จิตทราม จิตเปลีย้ สมองอ่อน ผิดปกติ พิการทางสมอง หรือปัญญาอ่อน
ส่วนภาษาอังกฤษอาจเรียกว่า Feebleminded, Mental Deficiency, Mental Retardation, Mental
Subnormality, Mental Feebleminded, Reception Children, Limited Children, Idiocy Oligo-
phronia เป็นต้น65 ซึง่ ต้นเหตุแห่งปัญญาอ่อนนีอ้ าจเกิดจากสาเหตุตา่ งๆ เช่น รูปร่าง กะโหลกศีรษะ ผิดปกติ
ธ.

มาแต่กำ� เนิด เนื้องอกในสมอง สมองได้รับภยันตรายจากอุบัติเหตุ กรรมพันธุ์ สมองอักเสบ เป็นต้น66


ปัญญาอ่อนนัน้ แตกต่างจากโรคจิต (ซึง่ จะอธิบายล�ำดับต่อไป) กล่าวคือ การทีค่ นปัญญาอ่อน
มีการกระท�ำหรือความประพฤติผิดปกตินั้น เป็นเพราะสมองของเขาถูกท�ำลายจนท�ำให้มีระดับสติปัญญา
ด้อยหรือต�่ำกว่าปกติ มีผลท�ำให้มีพฤติกรรมและการปรับตัวผิดปกติไม่เหมาะสมกับวัย หรืออายุจริงที่ควร
เป็น จึงมองดูเหมือนคนผิดปกติไป ปัญญาอ่อนนั้นเป็นมาตั้งแต่เด็กในระยะที่กำ� ลังมีพัฒนาการ เริ่มตั้งแต่
แรกปฏิสนธิในครรภ์มารดาเรือ่ ยมาจนถึงเป็นเด็กเล็กจากสาเหตุใดๆ ก็ได้ดงั กล่าวแล้วข้างต้น ซึง่ ท�ำให้เกิด
.ม
มีการท�ำลายสมอง ปัญญาอ่อนนี้เป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายตลอดชีวิต คนปัญญาอ่อนไม่มีอาการทางจิต
เช่น เพ้อคลั่ง ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพผิด แปลภาพผิด หรือหวาดระแวง เป็นต้น67 แต่มีระดับสติ
ปัญญาด้อยหรือต�่ำกว่าปกติ วุฒิภาวะและพัฒนาการมีความล่าช้าไม่ทันกับอายุของตน ซึ่งอาจแยกพวก
ปัญญาอ่อนได้เป็นขนาดหนักมาก (profound) ขนาดหนัก (severe) และพอฝึกอบรมได้ (moderate)68

64แต่ต้องรอให้ผู้น้ันหายวิกลจริตหรือสามารถต่อสู้คดีได้ก่อนจึงจะด�ำเนินคดีต่อไปได้ ระหว่างนั้นอาจส่งผู้นั้นไปยัง
โรงพยาบาลโรคจิตเพื่อดูแลรักษา ตาม ปวิอ. มาตรา 14.
65 แพทย์หญิงวัณรุณี คมกฤส. “ปัญญาอ่อน” ต�ำราจิตเวชศาสตร์. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ: อักษร
ไทย. 2520. น. 661.
66 เรื่องเดียวกัน. น. 662-663.
67 เรื่องเดียวกัน. น. 667-668.
68 เรื่องเดียวกัน. น. 670-671.
สธ ส
4-40 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ตัวอย่าง


นายฉิง่ เป็นคนปัญญาอ่อนเดินผ่านข้างบ้านของนายฉาบ เห็นมะม่วงของนายฉาบสุกคาต้น
ก็อยากกินจึงเอาไม้สอยมะม่วงลงมากิน โดยที่นายฉิ่งเองไม่รู้ว่าการกระท�ำเช่นนั้นผิดหรือชอบ ดีหรือชั่ว
เช่นนี้ นายฉิ่งได้รับยกเว้นโทษฐานลักทรัพย์
1.3.2 โรคจิต (Psychoses) เป็นภาวะที่มีการสูญเสียหน้าที่การท�ำงานของจิตใจ ถึงระดับที่

.
ท�ำให้เสียความสามารถในการหยั่งรู้ตนเอง ความสามารถที่จะสนองความต้องการในการด�ำรงชีพ หรือ
ความรู้สกึ นึกคิดหรือพฤติกรรมต่างๆ ที่อยู่ในกรอบของความเป็นจริง69 ซึ่งอาจแยกออกได้มากมายหลาย
สธ สธ
จ�ำพวก เช่น

มส . มส
1) Organic Psychoses คือ โรคจิตมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องจากความผิดปกติของหรือ
ร่างกาย เป็นกลุม่ อาการทีเ่ กิดจากการสูญเสียความสามารถในการรับรูค้ วามเป็นไปรอบๆ ตัว การจดจ�ำการ
เข้าใจความหมาย การค�ำนวณ การเรียนรูแ้ ละการตัดสินความผิดถูก นอกจากนี้ คงมีอารมณ์ทางใดทางหนึง่
จรรยามารยาทเสื่อมบุคลิกภาพแปรปรวน และความสามารถในการตัดสินใจด้วยตัวเองเสียไป70
2) Senile Dementia คือ โรคสมองเสือ่ มในวัยชราเป็นการเสือ่ มของสมองซึง่ เกิดหลัง

อายุ 65 ปี เป็นผลจากพยาธิสภาพของเนือ้ สมองนอกเหนือไปจากการเหีย่ วไปตามธรรมชาติของเนือ้ สมอง
ในวัยชรา71
3) Pre-Senile Dementia คือ โรคสมองเสือ่ มก่อนวัยชรา เป็นการเสือ่ มทางสมอง ซึง่
เกิดก่อนอายุ 65 ปี เกิดจากการเหี่ยวของเนื้อสมองโดยทั่วๆ ไป หรือเหี่ยวเป็นหย่อมๆ ชนิดที่ค่อนข้าง
พบยาก72
ธ.

4) Alcoholic Psychosis คือ โรคจิตจากพิษสุรา ส่วนใหญ่เกิดจากการดืม่ สุราอย่างหนัก


เชื่อกันว่าการขาดอาหารมีส่วนส�ำคัญในการเกิดโรคนี73 ้
5) Korsakov’s Psychosis (Alcoholic) คือ โรคจิตคอร์สาคอฟว์ที่เกิดจากพิษสุรา
ความจ�ำแคบลงอย่างเห็นได้ชัดและเป็นอยู่นาน จ�ำเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ไม่เข้าใจกาลเวลาอย่าง
ลึกซึ้งและพูดตอแหล74
.ม
6) Schizophrenia คือ กลุม่ โรคจิตเวช ซึง่ มีความแปรปรวนขัน้ มูลฐานของบุคลิกภาพ
มีแนวความคิดบิดเบือนไปจากปกติ มักมีความรู้สึกถูกบังคับกับอ�ำนาจลึกลับต่างๆ ความหลงผิดซึ่งมี
ลักษณะประหลาดๆ จะไปรบกวนความสามารถในการรับรู้และเข้าใจความหมายที่ถูกต้อง ความผิดปกติ
ของอารมณ์จะมีลกั ษณะทีข่ ดั กับสภาพความเป็นจริง และมีความคิดอย่างแคบๆ เข้าหาตนเองไม่เข้าใจผูอ้ นื่
แยกตนเอง เพ้อฝันและถอยหลังไปเป็นเด็ก ผู้เป็นโรคนี้จะรู้สึกว่าความนึกคิด ความรู้สึก และการแสดง

69 สุจริต สุวรรณชีพ. “การจ�ำแนกโรคทางจิตเวช” ต�ำราจิตเวชศาสตร์ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. น. 220.


70 เรื่องเดียวกัน. น. 221.
71 เรื่องเดียวกัน.
72 เรื่องเดียวกัน. น. 222.
73 เรื่องเดียวกัน.
74 เรื่องเดียวกัน.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-41

ท่าทางต่างๆ ที่ตนเคยท�ำอยู่เป็นประจ�ำมากที่สุดนั้นถูกผู้อื่นรู้หมดหรือผู้อื่นมีส่วนร่วมด้วยมิใช่เป็นของ


ตนเองแต่ผู้เดียว ความหลงผิดที่มีนั้น เขาอาจอธิบายได้ว่าเกิดเพราะถูกอ�ำนาจจากธรรมชาติหรือเหนือ
ธรรมชาติมาบีบบังคับความคิดและการกระท�ำของเขาในทางทีค่ อ่ นข้างแปลกประหลาด เขามองเห็นตนเอง
เป็นแกนกลางของทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น มักมีประสาทหลอนโดยเฉพาะทางการได้ยินเสียง อาจได้ยิน
เสียงมาวิพากษ์วิจารณ์หรือบอกกล่าวแนะน�ำ การรับรู้และเข้าใจความหมายจะถูกรบกวนไปอีกทางหนึ่ง

.
สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันอาจถูกมองไปในลักษณะที่มีความส�ำคัญไปเสียหมด และเมื่อร่วมกับความรู้สึกไม่เป็น
ของตัวเองโดยอิสระแล้วอาจชักจูงให้เขาเกิดความหลงผิดเชือ่ ถือเหตุการณ์และสิง่ ของต่างๆ ทีพ่ บเห็นเป็น
สธ สธ
ประจ�ำทุกวันว่ามีความพิเศษส�ำหรับเขาโดยตรง ซึง่ มักเป็นไปในแง่รา้ ย ลักษณะความผิดปกติในด้านความ

มส . มส
คิดของผู้เป็นโรคนี้ คือ มีความคิดหลายอย่างกระจัดกระจายไม่เกี่ยวข้องสอดคล้องกันหรือเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน ในคนปกติความคิดต่างๆ ในส่วนทีไ่ ม่เป็นชิ้นเป็นอัน เล็กๆ น้อยๆ และไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะถูก
ควบคุมไว้ภายในไม่ให้คดิ ถึงกัน แต่ในผูเ้ ป็นโรคนี้ ความคิดดังกล่าว จะถูกหยิบยกขึน้ มาใช้แทนทีค่ วามคิด
ส่วนที่เป็นเรื่องเป็นราวและเหมาะสมต่อสถานการณ์ซึ่งโรคจิตประเภทนี้อาจแยกออกได้อีกเป็นหลาย
ประเภท ทั้งที่มีชื่อเรียกเฉพาะและไม่มีชื่อเฉพาะ75

7) Affective Psychoses คือ โรคจิตทางอารมณ์ เป็นโรคจิตที่เป็นๆ หายๆ มีความ
ผิดปกติทางอารมณ์อย่างรุนแรง ประกอบด้วยความซึมเศร้า และความกังวลเป็นส่วนใหญ่ แต่แสดงอาการ
ร่าเริงและตืน่ เต้นด้วย และตามด้วยอาการอย่างหนึง่ อย่างใดหรือมากกว่าหนึง่ อย่าง คือความหลงผิด งุนงง
ฉงนฉงาย76
8) Involutional Melancholia คือ โรคจิตอารมณ์เศร้าต่อการแสดงลักษณะโดยมี
ธ.

อาการซึมเศร้าอย่างรุนแรงมักจะมีอาการหวาดระแวงอย่างรุนแรงด้วย และเกิดเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 4577


9) Paronoid States คือ ภาวะระแวงซึ่งเป็นโรคจิตที่ไม่อาจจัดเป็นโรคจิตเภท หรือ
โรคจิตทางอารมณ์ โรคนี้มีความหลงผิดเป็นอาการส�ำคัญโดยเฉพาะความหลงผิดแบบถูกอิทธิพลครอบง�ำ
ถูกกล่าวหา ถูกขู่จะท�ำร้าย หรือถูกบีบบังคับใช้ไปในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ78
10) Other Psychoses คือ โรคจิตอืน่ ๆ ภาวะการเป็นโรคจิตทีส่ บื เนือ่ งมาจากประสบการณ์
.ม
ในชีวิตที่ผ่านมา เช่น โรคจิตปฏิกิริยาเศร้า โรคจิตปฏิกิริยาเอะอะ โรคจิตปฏิกิริยาสับสนงุนงง โรคจิต
ปฏิกิริยาระแวงอย่างเฉียบพลัน เป็นต้น79
ตัวอย่าง
(1) นายล่องลอยเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง เข้าใจอยู่ตลอดเวลาว่า นายไร้โชคผู้เป็นเพื่อน
บ้านก�ำลังวางแผนเพือ่ ฆ่าตน วันหนึง่ นายไร้โชคถือกรรไกรตัดหญ้ามาตัดหญ้าริมรัว้ ก็เชือ่ ว่านายไร้โชคก�ำลัง
จะเอากรรไกรมาตัดคอตน การที่นายไร้โชคก้มๆ เงยๆ ตัดหญ้าก็เป็นการแอบซุ่มโจมตีตน นายล่องลอย

75 เรื่องเดียวกัน. น. 232-237.
76 เรื่องเดียวกัน. น. 237.
77 เรื่องเดียวกัน.
78 เรื่องเดียวกัน. น. 240.
79 เรื่องเดียวกัน. น. 242-243.
สธ ส
4-42 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

มั่นใจว่าตนก�ำลังจะถูกฆ่าแล้ว จึงใช้มีดพร้าฟันนายไร้โชคจนถึงแก่ความตาย เช่นนี้ นายล่องลอยกระท�ำ


ความผิด เพราะไม่สามารถรู้ผิดชอบ ได้รับการยกเว้นโทษตามมาตรา 65 นี้
(2) นายอัคคีเป็นโรคจิตชนิดหนึง่ มีความต้องการอย่างแรงกล้าทีจ่ ะเห็นเพลิงไหม้บา้ น
เรือนผู้อื่น ซึ่งถ้าได้เห็นเมื่อไร จิตใจของตนเองก็สบายปลอดโปร่ง แต่ถ้าไม่ได้เห็นก็รู้สึกว่าศีรษะของตน
เจ็บปวดรวดร้าวจนจะแตกระเบิดออกไป นายอัคคีจึงลอบท�ำการวางเพลิงบ้านของนายเคราะห์หาม จน

.
ไหม้ไปหมดทั้งหลัง เช่นนี้ ถือว่านายอัคคีกระท�ำความผิด เพราะไม่สามารถบังคับตนเองได้ จึงได้รับการ
ยกเว้นโทษ ตามมาตรา 65 นี้
สธ สธ
1.3.3 จิตฟั่นเฟือน อาจมีลักษณะ ดังเช่น

มส . มส
1) โรคประสาท (Neurosis) เป็นความแปรปรวนทางจิตใจ ผู้ป่วยด้วยโรคประสาทนี้
บุคลิกภาพทัง้ หมดไม่เสียไป มักเปลีย่ นแปลงไปจากเดิมไม่มากนัก ยังอยูใ่ นขอบเขตของความเป็นจริง และ
คงสภาพตนเองไว้ได้ไม่มีอาการหลงผิด (delusion) ประสาทหลอน (hallucinations) หรือประสาทลวง
(illusion) มีความหยัง่ เห็นสภาพทางจิตของตนเองรูว้ า่ ตนเองไม่สบายใจ กลุม้ ใจ วิตกกังวล มีความผิดปกติ
ต้องการความช่วยเหลือจากแพทย์หรือผู้อื่น80 อาจจ�ำแนกออกได้หลายประเภท เป็นต้นว่า โรคประสาท

ชนิดวิตกกังวล (Anxiety Neurosis) ซึ่งอาจเป็นความวิตกกังวลชนิดเรื้อรัง ชนิดเฉียบพลันหรือชนิด
ท่วมท้น81 โรคประสาทชนิดฮีสทีเรีย (Hysterical Neurosis) อาจแยกออกได้เป็น Conversion Type
ผูป้ ว่ ยชนิดนีม้ ลี กั ษณะส�ำคัญเช่น เป็นคนขาดวุฒภิ าวะ ต้องพึง่ พาอาศัยผูอ้ นื่ เจ้าอารมณ์ อวดตัว เจ้าอุบาย
หลายรายมีปัญหาทางเพศ โดยเฉพาะผู้หญิงมักมีอาการกามเย็นชาเจ็บปวดระหว่างร่วมประเวณีหรือผนัง
ช่องคลอดเกร็งตัว82 ผูป้ ว่ ยโรคนีบ้ างรายอาจมีอาการประสาทหลอน (sendory hallucinations) ส่วนผูป้ ว่ ย
ธ.

ชนิด Dissocitive Type อาจมีอาการสูญเสียความจ�ำทัง้ หมดหรือบางส่วน จ�ำชือ่ ตัวเองไม่ได้ ไม่รวู้ า่ เขาคือ


ใครอยูท่ ไี่ หน อาจละเมอเดินไปในทีต่ า่ งๆ ได้โดยไม่มจี ดุ หมายปลายทางโยอาจไปชนสิง่ ใดเข้าโดยไม่รสู้ กึ ตัว
ก็ได้83
2) ภาวะจิตแปรปรวนชั่วคราว (Transient Situational Disturbances) มีสาเหตุสำ� คัญ
มาจากความตึงเครียดอย่างรุนแรง ความเคร่งเครียดหรือภัยพิบัติในชีวิตประจ�ำวัน ความเสียขวัญ ความ
.ม
กลัวอย่างสุดขีด ความอาย ความส�ำนึกผิด84
ตัวอย่าง
(1) นายประศาสน์เป็นโรคประสาท เมื่อเกิดอาการขึ้นมาก็ไม่สามารถบังคับตนเองได้
ต้องการขว้างปาทุกสิง่ ทุกอย่างทีอ่ ยูใ่ นมือ และได้ขว้างเอาขวดหมึกของนายประเสริฐแตกไป 1 ขวด เช่นนี้
นายประศาสน์ได้รับยกเว้นโทษในความผิดฐานท�ำให้เสียทรัพย์

80 จ�ำลอง ดิษยวณิช. “โรคประสาท” ต�ำราจิตเวชศาสตร์. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. น. 460.


81 เรื่องเดียวกัน.
82 ค�ำว่า Hysteris ภาษากรีกแปลว่ามดลูก เพราะ Hyppocrates เชื่อว่าโรคชนิดนี้เกิดจากการที่มดลูกเคลื่อนไปตามที่
ต่างๆ ในร่างกาย.
83 จ�ำลอง ดิษยวณิช. “โรคประสาท” ต�ำราเวชศาสตร์. น. 4.
84 สงัน สุวรรณเลิศ. “ภาวะทางจิตแปรปรวนชั่วคราว” ต�ำราจิตเวชศาสตร์. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. น. 480.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-43

(2) นางสาวยวนประสบเหตุภัยพิบัติที่ท�ำให้เกิดความรู้สึกตึงเครียดอย่างรุนแรง คือ


รถบรรทุกสิบล้อชนเด็กเล็กๆ จ�ำนวนหลายสิบคนขณะเดินข้ามถนนตายคาที่ นางสาวยวนได้ถอดเสือ้ ผ้าที่
ตนสวมอยูเ่ ปลือยกายต่อหน้าสาธารณชน โดยทีไ่ ม่สามารถบังคับตนเองได้ เช่นนี้ นางสาวยวนได้รบั ยกเว้น
โทษตาม ปอ. มาตรา 388 ฐานกระท�ำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารก�ำนัล
อุทาหรณ์ การกระท�ำความผิดในขณะวิกลจริต ได้รบั ยกเว้นโทษตามมาตรา 65 วรรคแรก

. (1) ฎ. 288/2530 แม้จะไม่ปรากฏว่าได้มกี ารส่งตัวจ�ำเลยไปให้จติ แพทย์ตรวจและลง


ความเห็น แต่พฤติการณ์ของจ�ำเลยก็แสดงให้เห็นว่าการกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการกระท�ำของผูม้ จี ติ บกพร่อง
สธ สธ
กล่าวคือ เมือ่ นายพิชยั ผูเ้ สียหายเดินผ่านจ�ำเลย จ�ำเลยก็ใช้มดี ฟันโดยไม่มสี าเหตุ นายชัยชนะก็เช่นเดียวกัน

มส . มส
ขณะก�ำลังคุยเมื่อเพื่อนบอกให้ระวังพอหันไปดูก็เห็นจ�ำเลยก�ำลังเงื้อมีดฟันโดยไม่รู้สาเหตุอีกเช่นกัน เมื่อ
ฟันแล้วจ�ำเลยก็วิ่งเข้าไปในบ้านนายชัยชนะ ถือมีดควงไปมา 2-3 ครั้ง แล้วก็วิ่งออกจากบ้านนายชัยชนะ
ไปฟันคนอืน่ อีก จึงเห็นว่าการทีจ่ ำ� เลยใช้มดี ฟันผูเ้ สียหายและรถยนต์ในวันเกิดเหตุนนั้ จ�ำเลยน่าจะได้กระท�ำ
ไปในขณะที่จำ� เลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะจิตบกพร่องหรือจิตฟั่นเฟือน
ถึงแม้การที่จ�ำเลยมีจิตบกพร่องหรือจิตฟั่นเฟือนนั้นจะไม่เป็นอยู่ตลอดเวลา จ�ำเลยก็ไม่ต้องรับโทษตาม

มาตรา 65
(2) ฎ. 530/2542 จ�ำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตมานานแล้ว จะมีการก�ำเริบเป็นครัง้ คราว
และไม่อาจรูไ้ ด้ลว่ งหน้า เมือ่ มีอาการทางจิตแล้วจะรูส้ กึ กลัวและจ�ำอะไรไม่ได้ การทีจ่ ำ� เลยฟันผูเ้ สียหายทัง้ สี่
ได้รับบาดเจ็บนั้น ไม่ปรากฏว่าจ�ำเลยกับผู้เสียหายทั้งสี่มีเรื่องบาดหมางมาก่อนอันจะเป็นมูลเหตุให้จำ� เลย
ธ.

โกรธเคืองมุง่ ท�ำร้ายผูเ้ สียหาย ถือเป็นการผิดปกติวสิ ยั ทีค่ นจิตปกติจะมาฟันท�ำร้ายผูเ้ สียหายโดยไม่ปรากฏ


สาเหตุใดๆ มาก่อน ดังนั้น พฤติการณ์ที่จ�ำเลยกระท�ำย่อมแสดงให้เห็นว่าจ�ำเลยท�ำร้ายผู้เสียหายทั้งสี่ใน
ขณะทีไ่ ม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจติ บกพร่องหรือโรคจิต จ�ำเลยจึงไม่ตอ้ ง
รับโทษส�ำหรับความผิดดังกล่าวตาม ปอ. มาตรา 65 วรรคแรก การกระท�ำของจ�ำเลยทีไ่ ม่ตอ้ งรับโทษตาม
ปอ. มาตรา 65 วรรคแรก นั้นต้องพิจารณาถึงผู้กระท�ำว่ารู้สึกผิดชอบในการกระท�ำผิดลงในขณะนัน้ กับ
ขณะนั้นผู้กระท�ำสามารถยับยั้งหรือบังคับตนเองได้หรือไม่ อันเนื่องจากมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต มิใช่ถือ
.ม
เอาการกระท�ำของจ�ำเลยภายหลังเกิดเหตุ ที่น�ำชี้สถานที่เกิดเหตุกับแสดงท่าทางในการกระท�ำผิดมาเป็น
เกณฑ์พิจารณาประกอบการกระท�ำความผิดที่กระท�ำก่อนแล้วไม่
(3) ฎ. 6956/2553 วันเกิดเหตุจ�ำเลยจ้างเช่าเหมาเรือของผู้ตายให้ไปส่งที่ท่าเรือ
เกาะยาว ขณะเห็นเรือของผู้ตายเกยตื้นอยู่ใกล้ท่าเรือมาเนาะ พ. ได้เข้ามาสอบถามจ�ำเลยว่าผู้ตายไปไหน
จ�ำเลยบอกว่าเดีย๋ วมาและมีอาการกระวนกระวายเดินไปมาอยูบ่ นเรือและเมือ่ ด. ผูใ้ หญ่บา้ นสอบถามจ�ำเลย
เกีย่ วกับผูต้ าย จ�ำเลยก็ยงั บอกว่าเดีย๋ วมาอีกทัง้ จ�ำเลยยังพูดว่า “ผมไม่ได้ตงั้ ใจท�ำ ผมไม่ทราบว่าอะไรท�ำ”
จ�ำเลยมีอาการเครียดกระวนกระวายและร้องไห้ ประกอบกับหลังเกิดเหตุพนั ต�ำรวจตรี ส. ได้สอบถามจ�ำเลย
แต่จำ� เลยให้การวกไปวนมาลักษณะคล้ายคนมีอาการทางโรคประสาทจึงได้สง่ ตัวจ�ำเลยไปรักษาทีโ่ รงพยาบาล
จากการทดสอบทางจิตของนักจิตวิทยาพบว่าจ�ำเลยมีเชาว์ปญ ั ญาอยูใ่ นระดับปัญญาทึบ คณะแพทย์ทตี่ รวจรักษา
ได้ให้การวินจิ ฉัยว่าจ�ำเลยป่วยเป็นโรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง ขณะประกอบคดีผปู้ ว่ ยมีอาการหวาดระแวง
กลัวคนจะมาท�ำร้ายปรากฏตามรายงานการวินจิ ฉัยโรคประกอบกันแล้วเชือ่ ได้วา่ ขณะกระท�ำความผิดจ�ำเลย
สธ ส
4-44 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน จ�ำเลยจึง


ไม่ต้องรับโทษส�ำหรับความผิดนั้นตาม ปอ. มาตรา 65 วรรคแรก
อุทาหรณ์ ที่มิใช่การกระท�ำความผิดในขณะวิกลจริต ไม่อาจอ้างเหตุยกเว้นโทษหรือ
ลดโทษ ตามมาตรา 65 วรรคแรกหรือวรรคสอง
(1) ฎ. 834/2520 จ�ำเลยเป็นโรคเปลี่ยนวัยคือ ประจ�ำเดือนจะหมดมีอาการหงุดหงิด

.
อารมณ์ฉุนเฉียว ถ้ามีอาการมากอาจฆ่าตัวตายหรือท�ำในสิ่งที่ไม่น่าท�ำได้ เมื่อแพทย์ให้ยาไปทานอาการก็
ทุเลาลง จ�ำเลยสามารถด�ำเนินธุรกิจและน�ำเงินไปฝากธนาคารด้วยตนเองก่อนที่จะยิงโจทก์ร่วม จ�ำเลยได้
สธ สธ
ด่าว่าโจทก์ร่วม หลังเกิดเหตุแล้วจ�ำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวน น�ำพนักงานสอบสวนชี้ที่เกิดเหตุ

มส . มส
และแสดงท่าทางให้ถา่ ยภาพประกอบค�ำรับสารภาพโดยตลอด แสดงว่าจ�ำเลยมีความรูส้ กึ ผิดชอบชัว่ ดีอย่าง
บุคคลธรรมดาทัว่ ๆ ไป จะอ้างว่ายิงโจทก์รว่ มในขณะทีไ่ ม่รสู้ กึ ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองนัน้ หาได้ไม่
(2) ฎ. 7151/2541 ก่อนเกิดเหตุ 2 ถึง 3 วัน จ�ำเลยดูขา่ วโทรทัศน์ทคี่ นร้ายท�ำทีเข้าไป
ซือ้ ทองแล้วชักอาวุธปืนออกมาปล้นเอาทองหลบหนีไปได้ จึงคิดวางแผนเอาอย่างบ้างโดยไปยืมรถจักรยานยนต์
จาก ก. ใช้สก๊อตเทปปิดป้ายทะเบียนไว้เพือ่ ไม่ให้จำ� หมายเลขทะเบียนได้และเอามีดคล้ายมีดปังตอทีม่ ารดา

ใช้หนั่ ผักห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์พกเอาไว้ทเี่ อวด้านหลังแล้วขับรถจักรยานยนต์หาร้านขายทองทีไ่ ม่มี
คนพลุกพล่าน ไม่มีเจ้าพนักงานต�ำรวจ และมีผู้หญิงเป็นคนขาย ท�ำทีเข้าไปซื้อสร้อยคอทองค�ำในร้านของ
ผู้เสียหาย เมื่อได้สร้อยแล้วจ�ำเลยชักมีดขึ้นมาชูขู่คนในร้าน จากนั้นน�ำสร้อยค�ำทองค�ำไปขายและเปลี่ยน
เพิม่ สายสร้อยข้อมือของจ�ำเลย ส่วนเงินทีไ่ ด้มาได้พาพรรคพวกไปเลีย้ งไปเทีย่ วและเล่นการพนัน พฤติการณ์
ธ.

เช่นนี้ เห็นได้วา่ จ�ำเลยกระท�ำผิดโดยมีแผนการอันเนือ่ งมาจากความโลภและเอาเงินทีไ่ ด้จากการขายทรัพย์


ไปเที่ยวเตร่หาความส�ำราญเช่นเดียวกับผู้กระท�ำผิดอื่นโดยทั่วๆ ไป แม้จ�ำเลยจะสมองฝ่อเพราะเคยถูก
รถยนต์เฉี่ยวชนศีรษะกระแทกฟื้นมีผลท�ำให้เชาว์ปัญญาลดลงอารมณ์หงุดหงิดโมโหง่าย ขาดการยับยั้ง
ชั่งใจเช่นคนทั่วไปอยู่บ้าง แต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะฟังได้ว่าขณะกระท�ำผิดจ�ำเลยไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่
สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง
(3) ฎ. 101/2547 พฤติการณ์แห่งคดีตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจ�ำเลยของ
.ม
พนักงานคุมประพฤติไม่ปรากฏว่ามีผใู้ ดข่มขูห่ รือชักชวนให้จำ� เลยกระท�ำความผิด และจ�ำเลยสามารถหลบ
หนีไปโดยว่าจ้างรถสามล้อเครือ่ งให้ไปส่งทีบ่ า้ นเพือ่ น แสดงว่าระดับเชาว์ปญั ญาของจ�ำเลยไม่ได้อยูใ่ นระดับ
ปัญญาอ่อนรุนแรง จ�ำเลยกระท�ำความผิดในขณะสามารถรู้ผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้ จึงไม่เป็น
กรณีที่จะได้รับยกเว้นโทษหรือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ตาม ปอ. มาตรา 65

2. กระท�ำความผิดในขณะมึนเมา
ปอ. มาตรา 66 บัญญัตวิ า่ “ความมึนเมาเพราะเสพสุรา หรือสิง่ เมาอย่างอืน่ จะยกขึน้ เป็นข้อแก้ตวั
ตามมาตรา 65 ไม่ได้ เว้นแต่ความมึนเมานั้นจะได้เกิดโดยผู้เสพไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะท�ำให้มึนเมา หรือได้เสพ
โดยถูกขืนใจให้เสพ และได้กระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้
ผูก้ ระท�ำความผิดจึงจะได้รบั ยกเว้นโทษส�ำหรับความผิดนัน้ แต่ถา้ ผูน้ นั้ ยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ ง หรือยัง
สามารถบังคับตนเองได้บา้ ง ศาลจะลงโทษน้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้ ส�ำหรับความผิดนัน้ เพียงใดก็ได้”
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-45

โดยหลัก ตามมาตรานี้ไม่ยอมให้บุคคลผู้กระท�ำความผิดยกเหตุแก้ตัวว่าตนได้กระท�ำผิดในขณะ


ไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะเหตุที่ตนได้เสพสุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นเข้าไป
ในร่างกาย แม้วา่ ในขณะกระท�ำความผิดเขาจะไม่รผู้ ดิ ชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้กต็ าม ทัง้ นี้ เพราะ
เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นจากความผิดของเขาเอง เขาจึงจะเอาประโยชน์จากความผิดของเขาเองไม่ได้
อุทาหรณ์

. (1) ฎ. 249/2472 เมาสุราโซเซมาที่คนเลี้ยงกระบือ ถามหาผู้ใหญ่บ้านแล้วเกิดเป็นปากเสียงกับ


ผู้เลี้ยงกระบือจึงเอามีดฟันกระบือ 1 ที ผู้เลี้ยงกระบือร้องต่อว่า เลยเอามีดกดคอแล้วเอามีดฟันต้นคอ 1
สธ สธ
แผล ทีศ่ รี ษะ 1 แผล และทีบ่ า่ 1 แผล เป็นบาดแผลสาหัสถึงพิการตลอดชีวติ เช่นนี้ มีความผิดฐานพยายาม

มส . มส
ฆ่าโดยเจตนา การเมาสุราจนครองสติไม่ได้ไม่เป็นข้อแก้ตัว
(2) ฎ. 1818/2514 จ�ำเลยเมาสุราและยิงปืนไปในฝูงชน โดยมิได้คำ� นึงว่ากระสุนปืนจะไปถูกใครเข้า
จ�ำเลยย่อมเล็งเห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระท�ำของตน จ�ำเลยจะอ้างเอาความมึนเมามาเป็นเหตุยกเว้น
โทษหรือให้ได้รับโทษน้อยลงหาได้ไม่
อย่างไรก็ตาม มาตรา 66 ได้บญ ั ญัตยิ กเว้นไว้วา่ ผูก้ ระท�ำความผิดจะได้รบั ยกเว้นโทษ โดยมีหลักเกณฑ์

ดังนี้
2.1 กระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ การพิจารณาว่า
ผู้กระท�ำจะได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 66 นี้ หรือไม่ นั้น ในเบื้องต้นต้องปรากฏว่า ผู้นั้นมี “การกระท�ำ
ความผิด” กล่าวคือ มีการกระท�ำตามนัยของมาตรา 59 และเป็นการกระท�ำอันกฎหมายบัญญัตเิ ป็นความผิด
ธ.

แล้วจึงพิจารณาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 66 ต่อไปว่า ผูน้ นั้ ได้กระท�ำความผิดในขณะ “ไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบ”


ซึ่งหมายถึง ไม่สามารถรู้ว่าสิ่งที่กระท�ำนั้นดีหรือชั่ว ผิดหรือชอบ หรือไม่ควรกระท�ำเพราะสังคมติเตียน
หรือ “ไม่สามารถบังคับตนเองได้” ซึ่งหมายถึง แม้ผู้นั้นสามารถรู้ผิดชอบ คือ รู้ว่าการกระท�ำเช่นนั้นเป็น
ความชั่ว ผิดศีลธรรม แต่ก็ยังท�ำไปด้วยไม่สามารถบังคับตนเองไม่ให้กระท�ำความผิดได้
2.2 เพราะความมึนเมาจากการเสพสุราหรือสิ่งมึนเมาอย่างอื่น ตามมาตรา 66 นี้ การที่ผู้นั้น
กระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้นนั้ ต้องเป็นเพราะความมึนเมา
.ม
จากการเสพสุราหรือสิ่งมึนเมาอย่างอื่น ซึ่ง“สิ่งมึนเมาอย่างอื่น” หมายถึง สิ่งเมาอย่างอื่นนอกจากสุรา
เป็นต้นว่า สารทีอ่ อกฤทธิท์ ำ� ให้เกิดอาการทางจิต (psychotomimatic agents) เช่น เมสคาลีน (mescaline)
หรือ LSD ซึ่งเมื่อเสพเข้าไปแล้วจะท�ำให้เกิดอาการประสาทหลอน85 หรือพวกกัญชา STP, DNT หรือ
เห็ดบางอย่าง ซึ่งเมื่อเสพเข้าไปแล้วท�ำให้ประสาทการรับรู้ของผู้เสพผิดไปจากเดิม หรือ LSD (lysergic
acid diethylamide) ซึ่งผู้เสพจะมีความรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงทางประสาท คล้ายกับว่าสิ่งที่อยู่รอบตัว
เคลือ่ นไหวได้ การรับรู้ไวขึ้นแสงและสีที่เห็นจะสดใสกว่าเดิม บางครั้งก็กลับกัน เสียงดนตรีทไี่ ด้ยนิ จะกลับ
แปลเป็นแสงสีตา่ งๆ หรือแสงไปทีเ่ ห็นกลับเป็นเสียงดนตรี รูส้ กึ ดีใจและเสียใจพร้อมกัน สบายใจกับตึงเครียด
พร้อมกัน บางรายไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร บางครั้งรู้สึกว่าตนเองไม่มีน�้ำหนักและบินได้ ผลของการเสพยา

85 มงคล ม. ศรีโสภาค. “โรคจิตเภท” ต�ำราเวชศาสตร์. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. น. 299.


สธ ส
4-46 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

แต่ละครัง้ ไม่เหมือนกัน ไม่สามารถบอกได้วา่ จะเกิดผลอะไรขึน้ บางครัง้ อาจมีอาการทางจิตอย่างรุนแรงจน


ไม่สามารถคุมสติได้86 เป็นต้น
2.3 ทั้งนี้ ความมึนเมานั้น ต้องเกิดขึ้นโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
2.3.1 ผู้เสพไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะท�ำให้มึนเมา กล่าวคือ พิจารณาว่าผูเ้ สพนัน้ เอง “ไม่ร”ู้ เพราะ
ส�ำคัญผิดในสภาพของสิง่ ทีเ่ สพ และคุณลักษณะของสิง่ ทีเ่ สพคือ ไม่รวู้ า่ สิง่ ทีเ่ สพนัน้ จะท�ำให้เกิดผลแก่รา่ งกาย

.
เช่นไร โดยความส�ำคัญผิดอาจเกิดจากบุคคลอืน่ หลอก เช่น ถูกหลอกว่าเป็นแป้งหรือยาบ�ำรุง หรือเกิดจาก
ผู้เสพส�ำคัญผิดเอง เช่น ผู้เสพรู้ว่าเป็นสิ่งมึนเมา และเสพเพื่อระงับอาการป่วยหรือความเจ็บปวด ซึ่งตาม
สธ สธ
ปกติเคยเสพในปริมาณเดียวกันนั้นโดยไม่มึนเมา แต่ผู้เสพไม่รู้ถึงความผิดปกติในร่างกายของตนในขณะ

มส . มส
นั้น เช่น ร่างกายอ่อนแอมากกว่าเดิม การเสพเพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นก็จะท�ำให้มึนเมาได้ เช่นนี้ ถือ
ได้ว่าผู้เสพไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะท�ำให้มึนเมา87
อุทาหรณ์
ฎ. 691/2541 การเสพสุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นอันผู้กระท�ำผิดจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวตามปอ.
มาตรา 66 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้กระท�ำผิดได้เสพโดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะท�ำให้มึนเมาหรือถูกข่มขืนใจให้

เสพ และได้กระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรูส้ กึ ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ปรากฏว่าจ�ำเลย
สมัครใจเสพยา ซึ่งจ�ำเลยเคยเสพก่อนเกิดเหตุหลายครั้ง จ�ำเลยย่อมทราบดีว่ายาดังกล่าวท�ำให้เกิดอาการ
คลุ้มคลั่งได้ จ�ำเลยยังเบิกความยอมรับว่าฆ่าบุตรทั้งสามน่าจะเกิดจากจ�ำเลยเสพยาดังกล่าวเข้าไป เช่นนี้
จ�ำเลยจะยกข้อแก้ตัวโดยอ้างว่าได้กระท�ำผิดโดยไม่รู้ว่าสิ่งที่เสพนั้นจะท�ำให้มึนเมาและได้กระท�ำความผิด
ธ.

ในขณะไม่สามารถรู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้นั้นหาได้ไม่
2.3.2 ผู้เสพถูกขืนใจให้เสพ กล่าวคือ มิได้สมัครใจเสพ แต่ไม่จ�ำต้องถึงขนาดไม่สามารถ
ขัดขืนได้ หากเพียงแต่ปรากฏพฤติการณ์ทมี่ นี ำ�้ หนักเหนือความสมัครใจของผูน้ นั้ ก็นา่ จะพอถือว่า “ถูกขืนใจ
ให้เสพ”ได้แล้ว แต่มิใช่เพียงถูกร้องขอ ชักชวนหรือคะยั้นคะยอเท่านั้น88
ข้อสังเกต
1) หากผูน้ นั้ ยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ ง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บา้ ง ศาลอาจลงโทษ
.ม
น้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ตามมาตรา 66 ตอนท้าย (ซึ่งจะได้อธิบาย
ในตอนที่ 4.3 ต่อไป)
2) หากผูน้ นั้ เป็นโรคเกีย่ วกับพิษสุราหรือยาเสพติดจนถึงขนาดกลายเป็นโรคจิตชนิดหนึง่ แล้ว
น่าจะต้องพิจารณากันตาม มาตรา 65 มิใช่ตามมาตรา 66 นี้ เพราะมาตรา 66 นีเ้ ป็นกรณีทเี่ สพกันในขณะนัน้
และมึนเมาขึ้นมาในขณะนั้น หาใช่กรณีที่สะสมกันมาเรื้อรังจนถึงขนาดกลายเป็นโรคจิตไม่ นอกจากนี้ ถ้า
ผูน้ นั้ เป็นผูม้ คี วามผิดปกติทางจิตใจ แม้ดมื่ สุราเข้าไปเพียงเล็กน้อย ก็จะท�ำให้เกิดอาการทางจิตขึน้ ได้ ทีเ่ รียก
ว่า Pathological Intoxification อันจะท�ำให้เกิดอาการขึ้นทันทีทันใด งุนงง ความจ�ำเสื่อม ภาพลวงตา
86 อรุณ เชานาศัย. “โรคติดยาเสพติด” ต�ำราจิตเวชศาสตร์. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. น. 570-572.
87 จิตติ ติงศภัทยิ .์ กฎหมายอาญา 1 ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 11). กรุงเทพฯ: จัดพิมพ์โดยส�ำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบณ
ั ฑิตยสภา.
2555. น. 899-900.
88 เรื่องเดียวกัน. น. 900.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-47

ระแวง และประสาทหลอน ต่อมาจะมีอาการวุน่ วาย ท�ำลายสิง่ ของ แสดงออกถึงความโกรธแค้น สักครูห่ นึง่


ก็จะหลับไป เมือ่ ตืน่ ขึน้ มาก็จะจดจ�ำอะไรทีผ่ า่ นมาไม่ได้89 เช่นนี้ เห็นว่าก็เป็นกรณีมาตรา 65 เช่นเดียวกัน

3. เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีกระท�ำความผิด
ในแง่ทัณฑวิทยา ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการลงโทษผู้กระท�ำความผิดนั้น อาจแยก

.
ออกไปเป็น 3 ประการ ได้แก่ ลงโทษเพือ่ เป็นการทดแทน ลงโทษเพือ่ เป็นการข่มขู่ และลงโทษเพือ่ เป็นการ
ปรับปรุงแก้ไข90 แต่สำ� หรับเด็กซึง่ กระท�ำความผิดนัน้ จะเห็นได้วา่ แม้จะลงโทษเพือ่ เหตุอย่างใดอย่างหนึง่
สธ สธ
มส . มส
ก็ตาม ก็ไม่อาจจะบรรลุวตั ถุประสงค์ได้ทงั้ หมด ทัง้ นี้ โดยค�ำนึงถึงว่าเด็กนัน้ ยังไม่มคี วามรูผ้ ดิ ชอบเพียงพอ
ที่จะรับรู้ข้อก�ำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมได้ การลงโทษเด็กนั้นย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใดต่อเด็กนั้น
เองและต่อสังคมโดยส่วนรวม91
ตาม ปอ. ได้แบ่งแยกการกระท�ำผิดของผู้อ่อนอายุออกเป็น 4 ช่วงด้วยกัน กล่าวคือ ช่วงแรกเด็ก
อายุไม่เกินสิบปี ช่วงทีส่ องเด็กอายุเกินสิบปีแต่ไม่เกินสิบห้าปี ช่วงทีส่ ามอายุเกินสิบห้าปีแต่ไม่ถงึ สิบแปดปี
และช่วงที่สี่อายุตั้งแต่สิบแปดแต่ไม่เกินยี่สิบปี ซึ่งในเรื่องเหตุยกเว้นโทษนี้จะศึกษาเฉพาะใน 2 ช่วงแรก

ซึ่ง ปอ. บัญญัติว่าเด็กซึ่งกระท�ำผิดไม่ต้องรับโทษ ส่วน 2 ช่วงหลัง จะน�ำไปศึกษาในตอนที่ 4.3 เหตุลด
โทษต่อไป
ส�ำหรับเหตุยกเว้นโทษในกรณีผกู้ ระท�ำผิดเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี นี้ จะแยกศึกษาออกเป็น 2
กรณี คือ 3.1 กรณีเด็กอายุไม่เกินสิบปี และ 3.2 กรณีเด็กอายุเกินสิบปีแต่ไม่เกินสิบห้าปี
ธ.

3.1 กรณีเด็กอายุไม่เกินสิบปี แต่เดิมกฎหมายไทยยกเว้นโทษให้แก่เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี ดังเช่น


กฎหมายลักษณะอาญา รศ. 127 มาตรา 56 ซึง่ บัญญัตวิ า่ “ถ้าเด็กอายุไม่ถงึ เจ็ดขวบกระท�ำความผิด ท่าน
ว่ามันยังมิรู้ผิดแลชอบอย่าลงอาญาแก่มันเลย” โดยยอมรับว่า เด็กในอายุดังกล่าวเป็นวัยที่ยังไม่สามารถ
รู้ผิดชอบเช่นผู้ใหญ่ จึงไม่สมควรลงโทษ
ต่อมา ปอ. มาตรา 73 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ.
2551 ได้แก้ไขเกณฑ์อายุเด็กซึง่ กระท�ำความผิดสียใหม่ โดยบัญญัตวิ า่ “เด็กอายุยงั ไม่เกินสิบปี กระท�ำการ
.ม
อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการ
คุ้มครองเด็ก เพื่อด�ำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น”
บทบัญญัติในมาตรา 73 นี้ไม่ใช้บังคับในกรณีที่เด็กนั้นไร้เดียงสาถึงขนาดไม่รู้ส�ำนึกในการที่ตน
กระท�ำ เช่น ทารกอายุ 2 ขวบ ไม่รวู้ า่ การทีต่ นเอามีดปลายแหลมไปแทงตาของพีเ่ ลีย้ งนัน้ จะเกิดผลอย่างไร
เช่นนี้ ไม่ถือว่าทารกนั้นมีการกระท�ำโดยรู้ส�ำนึกตาม ปอ. มาตรา 59 จึงไม่ต้องรับผิดทางอาญาเลย หาใช่
เพียงแต่ได้รับการยกเว้นโทษตามมาตรา 73 นี้เท่านั้น ฉะนั้นเด็กที่จะได้รับการยกเว้นโทษตามมาตรานี้

89 เรื่องเดียวกัน. น. 577.
90 อุททิศ แสนโกศิก. “หลักกฎหมายอาญา: การลงโทษ” อุททิศนุสรณ์. น. 6.
91 เสริม วินิจฉัยกุล. กฎหมายอาญาภาค 1. พระนคร: พณิชยการ. 2482. น. 73.
สธ ส
4-48 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

จึงต้องปรากฏว่าเด็กนัน้ รูส้ ำ� นึกในการกระท�ำของตน และมีการกระท�ำอันกฎหมายบัญญัตเิ ป็นความผิดแล้ว


เช่น เด็กอายุ 9 ขวบ รู้ว่าการเอาปืนยิงคนจะท�ำให้คนตายและจะถูกต�ำรวจจับ แต่ยังเอาปืนยิงเพื่อนจนถึง
แก่ความตาย เช่นนี้ เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษตามมาตรา 73 นี้
การนับอายุเด็กตามมาตรา 73 พิจารณาอายุเด็ก “ในขณะกระท�ำความผิด” กล่าวคือ ถ้าเด็กอายุ
ยัง “ไม่เกินสิบปีบริบูรณ์” ในขณะกระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ย่อมได้รับยกเว้นโทษตาม

.
มาตรานี้ แต่ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่หยั่งรู้วันเกิดของบุคคลใดว่าเกิดวันใด ก็ให้นับอายุบุคคลผู้นั้น ตั้งแต่วัน
ต้นแห่งปฏิทนิ หลวงซึง่ เป็นปีทบี่ คุ คลผูน้ นั้ เกิด92 เช่น ด.ช.แดง เกิด พ.ศ. 2524 แต่พน้ วิสยั จะหยัง่ รูว้ นั เกิด
สธ สธ
ของเด็กชายแดงได้ เช่นนี้ ก็ให้นับวันเกิด ด.ช.แดงว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2524 จะครบก�ำหนด

มส . มส
10 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เป็นต้น
ผลตามมาตรา 73 คือ แม้เด็กกระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด แต่ได้รับยกเว้นโทษ
อย่างไรก็ตาม มาตราดังกล่าวบัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กนั้นให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก ทั้งนี้ เพื่อด�ำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายนั้น
3.2 กรณีเด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี ปอ. มาตรา 74 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช

บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ปอ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า “เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี
กระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอ�ำนาจที่จะด�ำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียก บิดา มารดา
ธ.

ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
(2) ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีค�ำสั่งให้
มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อก�ำหนดให้ บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
ระวังเด็กนัน้ ไม่ให้กอ่ เหตุรา้ ยตลอดเวลาทีศ่ าลก�ำหนดซึง่ ต้องไม่เกินสามปีและก�ำหนดจ�ำนวนเงินตามทีเ่ ห็น
สมควรซึ่ง บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง จะต้องช�ำระต่อศาลไม่เกินครั้งละหมื่นบาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุ
ร้ายขึ้น
.ม
ถ้าเด็กนั้นอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และศาลเห็นว่าไม่
สมควรจะเรียกบิดา มารดา หรือผูป้ กครองมาวางข้อก�ำหนดดังกล่าวข้างต้น ศาลจะเรียกตัวบุคคลทีเ่ ด็กนัน้
อาศัยอยู่มาถามว่า จะยอมรับข้อก�ำหนดท�ำนองที่บัญญัติไว้ส�ำหรับบิดา มารดา หรือผู้ปกครองดังกล่าวมา
ข้างต้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ยอมรับข้อก�ำหนดเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลมีคำ� สั่งมอบตัวเด็กให้
แก่บุคคลผู้นั้นไปโดยวางข้อก�ำหนดดังกล่าว
(3) ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่
ตาม (2) ศาลจะก�ำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้นเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 56 ด้วย
ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นใดเพื่อคุมประพฤติเด็กนั้น

92 ปพพ. มาตรา 16.


สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-49

(4) ถ้าเด็กนั้นไม่มีบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ศาลเห็นว่าไม่สามารถดูแลเด็กนั้น


ได้ หรือถ้าเด็กอยูอ่ าศัยกับบุคคลอืน่ นอกจากบิดา มารดา หรือผูป้ กครอง และบุคคลนัน้ ไม่ยอมรับข้อก�ำหนด
ดังกล่าวใน (2) ศาลจะมีคำ� สัง่ ให้มอบตัวเด็กนัน้ ให้อยูก่ บั บุคคลหรือองค์การทีศ่ าลเห็นสมควรเพือ่ ดูแล อบรม
และสัง่ สอนตามระยะเวลาทีศ่ าลก�ำหนดก็ได้ในเมือ่ บุคคลหรือองค์การนัน้ ยินยอม ในกรณีเช่นว่านี้ ให้บคุ คล
หรือองค์การนั้นมีอ�ำนาจเช่นผู้ปกครองเฉพาะเพื่อดูแล อบรม และสั่งสอน รวมตลอดถึงการก�ำหนดที่อยู่

.
และการจัดการให้เด็กมีงานท�ำตามสมควร หรือด�ำเนินการคุม้ ครองสวัสดิภาพเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการ
นั้นก็ได้ หรือ
สธ สธ
(5) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึก

มส . มส
และอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาลก�ำหนด แต่อย่าให้เกินกว่าที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี
ค�ำสั่งของศาลดังกล่าวใน (2) (3) (4) และ (5) นั้น ถ้าในขณะใดภายในระยะเวลาที่ศาล
ก�ำหนดไว้ ความปรากฏแก่ศาลโดยศาลรู้เอง หรือตามค�ำเสนอของผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการ หรือ
บุคคลหรือองค์การทีศ่ าลมอบตัวเด็กเพือ่ ดูแลอบรมและสัง่ สอน หรือเจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์เกีย่ วแก่คำ� สัง่
นั้นได้เปลีย่ นแปลงไป ก็ให้ศาลมีอำ� นาจเปลีย่ นแปลงแก้ไขค�ำสัง่ นัน้ หรือมีคำ� สัง่ ใหม่ตามอ�ำนาจในมาตรานี”้

บทบัญญัติมาตรานี้ยกเว้นโทษให้แก่เด็กผู้กระท�ำผิดนั้น เช่นเดียวกับกรณีเด็กอายุยังไม่เกินสิบปี
กระท�ำความผิด โดยยังถือว่าเด็กอายุระดับนีย้ งั ไม่รผู้ ดิ ชอบชัว่ ดีพอทีจ่ ะรับโทษตามกฎหมายได้ อย่างไรก็ตาม
ให้อำ� นาจศาลทีจ่ ะพิจารณาว่าควรจะ “ใช้วธิ กี ารส�ำหรับเด็ก” อย่างใดอย่างหนึง่ ดังระบุไว้ในมาตรา 74 (1)–(5)
ได้แก่
ธ.

1) ตามมาตรา 74 (1) ให้อ�ำนาจศาลที่จะว่ากล่าวตักเตือนเด็กตามที่ศาลเห็นสมควรซึ่งจะเกิด


ประโยชน์กับเด็กนั้น ในอันที่จะไม่กระท�ำความผิดและประพฤติแต่สิ่งที่ชอบที่ควรต่อไป ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่
กับพฤติการณ์ในแต่ละคดีไป และเมือ่ ว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ศาลต้องปล่อยเด็กนัน้ ไป ในการนี้ ถ้าศาลเห็น
สมควร จะเรียกบิดามารดาผูป้ กครองหรือบุคคลทีเ่ ด็กนัน้ อาศัยอยูด่ ว้ ยมาตักเตือนถึงเรือ่ งอืน่ ๆ ทีไ่ ม่เกีย่ วกับ
การกระท�ำผิดของเด็กไม่ได้ เช่น บิดาของเด็กเป็นผู้จัดการโรงภาพยนตร์ ศาลจะตักเตือนว่า เมื่อวันก่อน
เหตุใดจึงเอาภาพยนตร์ลามกมาฉาย หรือเหตุใดจึงขายตั๋วหมุนเวียนไม่ยอมฉีกตั๋ว เช่นนี้ย่อมกระท�ำไม่ได้
.ม
ค�ำว่า “ผู้ปกครอง” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ หมายถึง ผู้ปกครองที่ตั้งตามพินัยกรรมของบิดา
หรือมารดาซึ่งตายทีหลัง หรือที่ศาลตั้งให้เมื่อญาติผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอ เนื่องจากผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดา
มารดาหรือบิดามารดาถูกศาลถอนอ�ำนาจปกครองเสียแล้ว ตาม ปพพ. มาตรา 1585, 1586 ส่วนค�ำว่าบิดา
มารดานั้น ต้องหมายความรวมถึงบิดามารดาบุญธรรมในกรณีที่มีการจดทะเบียนรับเด็กนั้นเป็นบุตร
บุญธรรมด้วย เพราะตาม ปพพ. มาตรา 1598/28 บิดามารดาโดยก�ำเนิดหมดอ�ำนาจปกครองนับแต่วัน
เวลาที่เด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ฉะนั้น ศาลจะเรียกบิดามารดาโดยก�ำเนิดไม่ได้ เว้นแต่เด็กนั้นยังคง
อาศัยอยูก่ บั บิดามารดาโดยก�ำเนิด ก็อาจถือว่าบิดามารดาโดยก�ำเนิดเป็น “บุคคลทีเ่ ด็กนัน้ อาศัยอยู”่ ตาม
ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 (1) นี้ และในกรณีที่เด็กมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา กล่าวคือ บิดา
มารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้เขียนก็มีความเห็นว่า ถ้าศาลจะเรียกบิดามาศาล ก็อาจเรียก
บิดานั้นมาได้โดยเหตุที่บิดาเป็น “บุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วย” ได้เช่นกัน
สธ ส
4-50 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

2) ตามมาตรา 74 (2) เป็นกรณีที่ศาลจะมอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคล


ที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วยและจะวางข้อก�ำหนดให้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วย
ต้องระวังมิให้เด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้นตลอดเวลาที่ที่ศาลก�ำหนดไม่เกินสามปี ซึ่งมิฉะนั้นจะต้องช�ำระเงินต่อ
ศาลไม่เกินครั้งละหนึ่งหมื่นบาท การจะวางข้อก�ำหนดนี้ ส�ำหรับบิดามารดา หรือผู้ปกครองนั้น ศาลเพียง
พิจารณาว่าบิดามารดาหรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้หรือไม่เท่านั้น ถ้าเห็นว่าดูแลได้ก็อาจวาง

.
ข้อก�ำหนดได้เลยโดยไม่ตอ้ งถามความยินยอมจากบิดามารดาหรือผูป้ กครองก่อน แต่ถา้ เป็นบุคคลอืน่ ศาล
ต้องเรียกมาสอบถามความสมัครใจก่อนจึงจะวางข้อก�ำหนดให้
สธ สธ
ข้อความทีว่ า่ “สามารถดูแลเด็กได้” นัน้ เห็นว่า นอกจากจะมีความหมายว่า บิดามารดา ผูป้ กครอง

มส . มส
หรือบุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยจะต้องสามารถระวังมิให้เด็กนั้นก่อเหตุแล้วด้วย ยังจะต้องสามารถดูแลเด็ก
นัน้ ให้ประพฤติดไี ด้ดว้ ย ถ้าบิดามารดา ผูป้ กครอง หรือบุคคลทีเ่ ด็กอาศัยอยูด่ ว้ ยมีอาชีพเปิดบ่อนการพนัน
หรือเป็นเจ้าส�ำนักค้าประเวณี และเด็กต้องอาศัยอยู่ในบ่อนหรือซ่องแถวนั้นด้วยแล้ว แม้บิดามารดา ฯลฯ
จะสามารถดูแลเด็กนั้น มิน่าให้ก่อเหตุร้ายขึ้นได้ก็ไม่น่าที่จะถือว่า “สามารถดูแลเด็กนั้นได้” ตามความ
หมายในมาตรา 74 (2) นี้ และศาลจะมอบเด็กนั้นกับบิดามารดา ฯลฯ นั้นไม่ได้

ข้อความมาตรา 74 (2) วรรคสอง ที่ว่า “ถ้าเด็กนั้นอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา
หรือผูป้ กครอง และศาลเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกบิดา มารดา หรือผูป้ กครองมาวางข้อก�ำหนดดังกล่าวข้างต้น”
นั้น หมายความว่า ถ้าบิดามารดาหรือผู้ปกครองยังมีอยู่ศาลก็อาจเรียกมาได้เสมอถ้าเห็นสมควร เป็นต้น
ว่า ถ้าเด็กมาอาศัยอยู่กับพระภิกษุที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างที่เรียนหนังสืออยู่และได้กระท�ำผิดเกิดขึ้น
ธ.

เช่นนี้ ศาลจะเห็นสมควรเรียกบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาศาลแทนที่จะเรียกพระมาก็ได้
ในกรณีที่เด็กอาศัยอยู่กับบุคคลอื่น ศาลจะมอบเด็กและวางข้อก�ำหนดให้แก่บุคคลนั้นโดยฝืนใจ
บุคคลนัน้ ไม่ได้จะต้องสอบถามความสมัครใจก่อน ทัง้ นี้ เพราะโดยปกติแล้วบุคคลอืน่ นัน้ เป็นบุคคลภายนอก
ไม่มีภาระหน้าที่ตามกฎหมายแต่อย่างใด โดยอาจเป็นเพียงญาติ คนรู้จักหรือเป็นเพียงผู้มีใจบุญสุนทานที่
โอบอ้อมอารีให้เด็กอยู่ด้วยก็เป็นได้ แต่ถ้าบุคคลนั้นยอมรับข้อก�ำหนดแล้วศาลก็มอบเด็กให้ และวางขอ
ก�ำหนดให้ตามที่เห็นสมควรเช่นกัน
.ม
3) ตามมาตรา 74 (3) เป็นกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาผู้ปกครองหรือบุคคลอื่นไป
ตามมาตรา 74 (2) แล้ว ศาลจะก�ำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติเด็กนั้นเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 56
ซึง่ นักศึกษาได้ศกึ ษามาแล้ว ซึง่ ในกรณีเช่นว่านีศ้ าลจะต้องแต่งตัง้ พนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอืน่ ใด
เพื่อคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นใดเพื่อคุมประพฤติเด็กนั้นด้วย
4) ตามมาตรา 74 (4) เป็นกรณีที่ศาลไม่มอบเด็กนั้นให้แก่บิดามารดา ฯลฯ โดยเหตุต่างๆ ดังที่
บัญญัติไว้ในมาตรา 74 (2) กรณีเช่นนี้ ศาลอาจจะมอบตัวเด็กนั้นให้แก่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดา ฯลฯ
ตามทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 74 (1) (2) หรือมอบให้แก่องค์การใดทีศ่ าลเห็นสมควรเพือ่ ดูแลอบรมและสัง่ สอน
ตามระยะเวลาที่ศาลก�ำหนด ถ้าบุคคลนั้นหรือองค์การนั้นยินยอมก็ได้ หรือมิฉะนั้นศาลจะต้องด�ำเนินการ
ตามมาตรา 74 (5) ต่อไป
5) ตามมาตรา 74 (5) เป็นกรณีตามมาตรา 74 (4) แต่ศาลไม่มอบตัวเด็กนัน้ ให้แก่บคุ คลอืน่ หรือ
องค์การ ก็เหลือวิธกี ารสุดท้ายทีศ่ าลจะต้องด�ำเนินการ กล่าวคือ ส่งตัวเด็กนัน้ ไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึก
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-51

และอบรม หรือสถานที่ที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็กตลอดระยะเวลาที่ศาลก�ำหนด แต่ไม่เกินกว่าที่


เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี
ค�ำสั่งของศาลตามมาตรา 74 (2), (3), (4) และ (5) ไม่ถือว่าเป็นการเด็ดขาด ภายหลังศาลอาจ
เปลี่ยนแปลงค�ำสั่งนั้น หรือมีค�ำสั่งใหม่ตามอ�ำนาจในมาตรานี้ก็ได้ ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่าพฤติการณ์
เกีย่ วกับค�ำสัง่ นัน้ ได้เปลีย่ นแปลงไป เป็นต้นว่า ภายหลังทีศ่ าลมีคำ� สัง่ ให้ดำ� เนินการตามมาตรา 74 (2) ไป

.
แล้ว บิดามารดา ฯลฯ ได้มาร้องต่อศาลว่าไม่อาจดูแลเด็กนั้นได้อีกต่อไป เช่นนี้ ศาลอาจสั่งให้ส่งเด็กนั้น
เข้าโรงเรียนตามมาตรา 74 (5) ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าศาลมีค�ำสั่งไปตามมาตรา 74 (1) ไปแล้ว ศาลจะ
สธ สธ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงค�ำสั่งอีกไม่ได้ เป็นต้นว่า ศาลว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้น และปล่อยตัวไปแล้ว ภายหลัง

มส . มส
ศาลจะกลับสั่งให้ส่งตัวเด็กนั้นเข้าโรงเรียนตามมาตรา 74 (5) อีกไม่ได้ อนึ่ง ถ้าศาลได้พิจารณาเห็นว่า ไม่
สมควรด�ำเนินการตามมาตรา 74 (1) ตั้งแต่แรก โดยเห็นว่าควรด�ำเนินการตามมาตรา 74 (2), (3), (4)
หรือ (5) เนือ่ งจากเด็กนัน้ อาจก่อเหตุรา้ ยขึน้ ได้อกี เช่นนี้ ถ้าศาลไม่อาจด�ำเนินการตามมาตรา 74 (2) หรือ
(4) ได้ด้วยเหตุผลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 (2) หรือ (4) ศาลจะต้องด�ำเนินการตามมาตรา 74 (5) ต่อ
ไปเท่านัน้ จะย้อนกลับไปด�ำเนินการตามมาตรา 74 (1) โดยการว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยเด็กกลับไปอีกไม่ได้

ทัง้ นี้ เพราะเป็นทีเ่ ห็นได้อยูแ่ ล้วว่า การปล่อยเด็กนัน้ ไปจะก่อเหตุรา้ ยขึน้ อีก และทัง้ จะไม่เกิดคุณประโยชน์
กับเด็กนั้นแต่อย่างใด
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 2866/2544 ขณะกระท�ำความผิดจ�ำเลยมีอายุ 13 ปีไม่ต้องรับโทษตาม ปอ. มาตรา 74
ธ.

ศาลชั้นต้นมีค�ำพิพากษาให้ส่งตัวจ�ำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด
มีกำ� หนดขัน้ ต�ำ่ ไม่นอ้ ยกว่า 1 ปี และขัน้ สูงไม่เกิน 2 ปี เมือ่ ขณะจ�ำเลยยืน่ ฎีกา จ�ำเลยมีอายุครบสิบแปดปีแล้ว
ศาลจึงไม่อาจส่งตัวไปฝึกและอบรมทีส่ ถานพินจิ และคุม้ ครองเด็กและเยาวชนจังหวัดตามมาตรา 74 (5) แต่
ศาลฎีกาให้ด�ำเนินการตามมาตรา 74 ประการอื่นที่เหมาะสมแก่จ�ำเลยโดยมอบตัวจ�ำเลยให้มารดาหรือ
ผู้ปกครองซึ่งยังสามารถดูแลจ�ำเลยได้ โดยวางข้อก�ำหนดให้มารดาหรือผู้ปกครองปฏิบัติตามและเพื่อให้
จ�ำเลยหลาบจ�ำ เห็นสมควรก�ำหนดวิธีด�ำเนินการและเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจ�ำเลยด้วย
.ม
(2) ฎ. 7536/2544 ขณะเกิดเหตุจำ� เลยอายุ 14 ปี แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏ
แก่ศาลฎีกาว่า จ�ำเลยอายุเกิน 18 ปีแล้ว จึงไม่อาจส่งจ�ำเลยไปรับการฝึกและอบรมตามค�ำพิพากษาของ
ศาลล่างได้ตาม ปอ. มาตรา 74 (5) ถือว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับค�ำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ศาลฎีกามีอำ� นาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขค�ำสั่งเดิมได้ ตามมาตรา 74 วรรคท้าย
(3) ฎ. 1611/2547 การใช้วิธีการส�ำหรับเด็กตาม ปอ. มาตรา 74 (2) เป็นกรณีที่ศาลเห็นว่าบิดา
มารดาสามารถดูแลเด็กนั้นได้ แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งจ�ำเลยที่ 2 ไม่คัดค้าน ปรากฏว่า
จ�ำเลยที่ 2 ยังมีประวัติการท�ำผิดในคดีอื่นฐานร่วมกันลักทรัพย์ของผู้อื่นในเวลากลางคืน โดยท�ำอันตราย
สิ่งกีดกั้นส�ำหรับคุม้ ครองบุคคลหรือทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะอันแสดงให้เห็นว่าเป็นผูก้ ระท�ำความผิดติดนิสยั
ไม่สำ� นึกหรือเกรงกลัวต่อโทษที่ก�ำหนดไว้ในกฎหมาย ไม่น่าจะอยู่ในวิสัยที่บิดามารดาของจ�ำเลยที่ 2 จะ
สามารถดูแลได้ การทีศ่ าลใช้ดลุ พินจิ ส่งตัวจ�ำเลยที่ 2 เข้ารับการศึกษาและฝึกอบรมทีส่ ถานพินจิ และคุม้ ครอง
เด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น จึงเป็นการใช้วิธีการส�ำหรับเด็กที่เหมาะสมแก่จ�ำเลยที่ 2 แล้ว
สธ ส
4-52 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

อนึ่ง ปอ. มาตรา 77 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ศาลวางข้อก�ำหนดให้บิดามารดาผู้ปกครองหรือบุคคล


ทีเ่ ด็กนัน้ อาศัยอยู่ ระวังเด็กนัน้ ไม่ให้กอ่ เหตุรา้ ย ตามความในมาตรา 74 (2) ถ้าเด็กนัน้ ก่อเหตุรา้ ยขึน้ ภายใน
เวลาในข้อก�ำหนด ศาลมีอำ� นาจบังคับบิดามารดา ผูป้ กครองหรือบุคคลทีเ่ ด็กนัน้ อาศัยอยูใ่ ห้ชำ� ระเงินไม่เกิน
จ�ำนวนในข้อก�ำหนดนั้น ภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรถ้าบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัย
อยู่ไม่ช�ำระเงิน ศาลจะสั่งให้ยึดทรัพย์สินของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่เพื่อใช้เงิน

.
ที่จะต้องช�ำระก็ได้
ในกรณีที่ศาลได้บังคับให้บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ช�ำระเงินตามข้อ
สธ สธ
ก�ำหนดแล้วนั้นถ้าศาลมิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขค�ำสั่งที่ได้วางข้อก�ำหนดนั้นเป็นอย่างอื่นตามความในมาตรา

มส . มส
74 วรรคท้าย ก็ให้ข้อก�ำหนดนั้นคงใช้บังคับได้ต่อไปจนสิ้นเวลาที่ก�ำหนดไว้ในข้อก�ำหนดนั้น”
มาตรา 77 นี้ได้วางหลักเกณฑ์วิธีการบังคับเพื่อให้เป็นไปตามที่ศาลได้วางข้อก�ำหนดเอาไว้ตาม
มาตรา 74 (2) กล่าวคือ ถ้าศาลได้มอบตัวเด็กซึ่งกระท�ำผิดให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือบุคคลที่
เด็กนัน้ อาศัยอยู่ โดยวางข้อก�ำหนด ก�ำหนดให้ระวังเด็กนัน้ ไม่ให้กอ่ เหตุรา้ ยตลอดเวลาทีศ่ าลก�ำหนดซึง่ ไม่
เกินสามปี และก�ำหนดจ�ำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัย

อยูด่ ว้ ยจะต้องช�ำระต่อศาลไม่เกินครัง้ ละหนึง่ หมืน่ บาทในเมือ่ เด็กนัน้ ก่อเหตุรา้ ยขึน้ หากต่อมาภายก�ำหนด
เวลาทีศ่ าลก�ำหนดไว้ดงั กล่าว เด็กนัน้ ได้กอ่ เหตุรา้ ยขึน้ เช่น ได้กระท�ำผิดขึน้ มาอีก ศาลมีอำ� นาจบังคับ บิดา
มารดา ผูป้ กครอง หรือบุคคลทีเ่ ด็กนัน้ อาศัยอยูด่ ว้ ยให้ใช้เงินได้ตามจ�ำนวนเงินทีศ่ าลเห็นสมควร ซึง่ ไม่เกิน
จ�ำนวนที่ศาลได้ก�ำหนดเอาไว้ เช่น ถ้าศาลก�ำหนดเอาไว้ 500 บาท ศาลอาจให้ช�ำระเพียง 300 บาท ก็ได้
ธ.

หรือเต็มจ�ำนวน 500 บาทก็ได้ แต่จะก�ำหนดให้ชำ� ระเงินเกิน 500 บาทไม่ได้ ถ้าบิดามารดา ผู้ปกครอง


หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วยไม่ช�ำระ ศาลมีอำ� นาจยึดทรัพย์สินของผู้นั้นมาขายทอดตลาด เพื่อบังคับ
ให้เป็นไปตามข้อก�ำหนดได้
ถ้าศาลได้มกี ารบังคับให้เป็นไปตามข้อก�ำหนดแล้วหากมิได้มคี ำ� สัง่ ให้เปลีย่ นแปลงแก้ไขข้อก�ำหนด
ก็ถอื ว่าข้อก�ำหนดนัน้ ยังใช้บงั คับต่อไปจนกว่าจะครบก�ำหนดเวลาทีว่ างไว้ซงึ่ ภายในก�ำหนดเวลาทีเ่ หลือ ถ้า
เด็กได้กอ่ เหตุรา้ ยขึน้ อีก ศาลก็มอี ำ� นาจบังคับให้ชำ� ระเงินได้อกี ตลอดไปเช่นกัน จนกว่าจะครบก�ำหนดเวลา
.ม
หรือจนกว่าศาลเห็นว่าข้อก�ำหนดเดิมไม่เหมาะสม และได้มคี ำ� สัง่ ยกเลิกข้อก�ำหนดนัน้ หรือแก้ไขข้อก�ำหนด
เสียใหม่ให้เหมาะสม เช่น เพิ่มจ�ำนวนเงินที่ต้องช�ำระให้มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการตามร่าง พ.ร.บ. แก้ไข
เพิ่มเติม ปอ. (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 73 วรรคหนึ่ง โดยแก้ไขเกณฑ์อายุเด็กซึ่ง
ไม่ต้องรับโทษแม้ได้กระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดจากอายุไม่เกินสิบปี เป็นอายุไม่เกินสิบ
สองปี และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 74 โดยแก้ไขเกณฑ์อายุเด็กในการพิจารณาเพื่อใช้วิธีการส�ำหรับเด็กจาก
อายุกว่าสิบปีแต่ยงั ไม่เกินสิบห้าปี เป็นอายุกว่าสิบสองปีแต่ยงั ไม่เกินสิบห้าปี ด้วยเหตุผลว่า ข้อมูลทางการ
แพทย์พบว่าเด็กอายุสบิ สองปีกบั เด็กอายุสบิ ปีเป็นช่วงอายุทกี่ ารพัฒนาความคิด สติปญ ั ญา จริยธรรมและ
ความรูผ้ ดิ ชอบชัว่ ดียงั ไม่เจริญเต็มที่ และยังไม่สามารถคาดการณ์ผลทีอ่ าจเกิดขึน้ จากการกระท�ำของตนได้
ดีพอ ทัง้ เด็กอายุสบิ สองปียงั อยูใ่ นวัยประถมศึกษา ยังไม่สมควรเข้าสูก่ ระบวนการด�ำเนินคดีอาญาซึง่ มีขนั้ ตอน
บางประการที่กระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคล และอาจท�ำให้เด็กเรียนรู้วิธีการกระท�ำผิดเพิ่มขึ้นจนน�ำไปสู่
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-53

การกระท�ำความผิดซ�ำ้ อีก จึงสมควรใช้มาตรการตามกฎหมายว่าด้วยการคุม้ ครองเด็กเพือ่ ให้การสงเคราะห์


และคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพของเด็กอายุไม่เกินสิบสองปี โดยค�ำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเพื่อให้
เด็กกลับตัวเป็นคนดีและเป็นประชากรทีม่ คี ณ
ุ ภาพกลับคืนสูส่ งั คมได้ตอ่ ไป ประกอบกับการก�ำหนดอายุเด็ก
ซึ่งไม่ต้องรับโทษแม้ได้กระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดจากอายุไม่เกินสิบปี เป็นอายุไม่เกิน
สิบสองปี เป็นการด�ำเนินการทีส่ อดคล้องกับข้อเสนอแนะทัว่ ไป ฉบับที่ 10 (ค.ศ. 2007) (General Comment

.
No. 10 (2007) Children’s rights in juvenile justice) ซึ่งออกตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และ
ประเทศไทยได้ตอบรับและให้คำ� มัน่ โดยสมัครใจทีจ่ ะปฏิบตั ติ ามภายใต้กลไก Universal Periodic Review
สธ สธ
(UPR) รอบที่ 2 (พ.ศ. 2559-พ.ศ. 2563) ด้วย93

มส . มส
กิจกรรม 4.2.2
1. บุคคลทีเ่ ป็นโรคจิตจากพิษสุราหรือจากยาเสพติดได้กระท�ำผิดในขณะไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบหรือ
ในขณะที่ไม่สามารถบังคับตนเองได้ บุคคลดังกล่าวจะได้รับยกเว้นโทษหรือไม่ เพราะเหตุใด

2. เด็กอายุ 1 ขวบเศษเห็นพีเ่ ลีย้ งนอนหลับและกรนเสียงดัง รูส้ กึ กึง่ กลัว กึง่ ร�ำคาญ จึงเอาของแข็ง
ที่วางอยู่ใกล้ตัว ทุบที่ปากของพี่เลี้ยงเพื่อให้หยุดกรน ท�ำให้ฟันของพี่เลี้ยงหัก 1 ซี่ โดยที่เด็กไม่รู้ว่าการที่
ตนท�ำเช่นนั้นจะท�ำให้พี่เลี้ยงได้รับบาดเจ็บ ดังนี้ เด็กมีความผิดฐานท�ำร้ายร่างกายหรือไม่ อย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 4.2.2
ธ.

1. บุคคลนั้นได้รับยกเว้นโทษตาม ปอ. มาตรา 65 โดยตรง เพราะถือว่ากระท�ำความผิดในขณะ


ที่ไม่รู้สึกผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะโรคจิต ตามมาตรา 65 มิใช่เป็นกรณีมึนเมาเพราะ
เสพสุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นตามมาตรา 66
2. เด็กอายุเพียง 1 ขวบเศษ ยังไม่รู้ส�ำนึกในการที่กระท�ำ ไม่เข้าใจว่าการที่ตนเอาของแข็งทุบตี
ปากของพี่เลี้ยง จะท�ำให้พี่เลี้ยงได้รับบาดเจ็บ เข้าใจแต่เพียงว่าจะท�ำให้พี่เลี้ยงหยุดกรนได้เท่านั้น เช่นนี้
.ม
เป็นกรณีท่ีเด็กไม่ต้องรับผิดทางอาญาเนื่องจากไม่มีการกระท�ำตาม ปอ. มาตรา 59 มิใช่กรณีตาม ปอ.
มาตรา 73 ซึ่งเด็กได้รับยกเว้นโทษ

93หนังสือส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0902/8 ลงวันที่ 9 มกราคม 2564 แจ้งตรวจพิจารณาร่าง


กฎหมายแล้วเสร็จ และเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์จึงได้มีการชี้แจงคณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมายในกระบวนการนิติบัญญัติ.
สธ ส
4-54 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

เรื่องที่ 4.2.3


การกระท�ำตามค�ำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน
และการกระท�ำความผิดบางประเภทระหว่างสามีภริยา

.
สธ สธ
เหตุยกเว้นโทษซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องที่ 4.2.3 นี้ ได้แก่ 1) การกระท�ำตามค�ำสั่งที่มิชอบด้วย

มส . มส
กฎหมายของเจ้าพนักงาน และ 2) การกระท�ำความผิดบางประเภทระหว่างสามีภริยา ดังจะได้อธิบายตาม
ล�ำดับต่อไปนี้

1. การกระท�ำตามค�ำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน
เหตุผลที่ ปอ. ยกเว้นโทษให้แก่ผปู้ ฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ ทีม่ ชิ อบของเจ้าพนักงาน เพราะผูก้ ระท�ำมีหน้าที่

หรือเชื่อโดยสุจริตว่าตนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ถ้าลงโทษก็จะไม่เป็นธรรมแก่เขา อีกทั้ง เพื่อจะมิให้ผู้อยู่
ใต้บงั คับบัญชาต้องเกิดความไม่แน่ใจในความถูกต้องของค�ำสัง่ ของผูบ้ งั คับบัญชา อันจะเกิดผลเสียต่อการ
ปฏิบัติราชการทั่วๆ ไปได้ ปอ. จึงได้บัญญัติยกเว้นโทษให้แก่ผู้ปฏิบัติตามค�ำสั่งดังกล่าว94
โดย ปอ. มาตรา 70 บัญญัติว่า “ผู้ใดกระท�ำการตามค�ำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำ� สั่งนั้นจะมิชอบ
ด้วยกฎหมาย ถ้าผูก้ ระท�ำมีหน้าทีห่ รือเชือ่ โดยสุจริตว่ามีหน้าทีต่ อ้ งปฏิบตั ติ าม ผูน้ นั้ ไม่ตอ้ งรับโทษ เว้นแต่
ธ.

จะรู้ว่าค�ำสั่งนั้นเป็นค�ำสั่งซึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย”
ตามบทบัญญัตินี้ ผู้ปฏิบัติตามค�ำสั่งซึ่งมิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงาน จะได้รับยกเว้นโทษ
เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1.1 ต้องเป็นการกระท�ำตามค�ำสั่งของเจ้าพนักงาน ผู้กระท�ำจะได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 70
ต่อเมื่อเป็นการกระท�ำตามค�ำสั่งของเจ้าพนักงาน มิใช่คำ� สั่งของผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าพนักงาน เช่น นายจ้าง จึง
ต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่า อย่างไรเป็นค�ำสั่ง และผู้ใดคือเจ้าพนักงาน “ค�ำสั่ง” หมายถึง ค�ำบงการให้
.ม
กระท�ำหรือไม่กระท�ำอย่างใดอย่างหนึง่ หากไม่กระท�ำตามถือว่าขัดขืน ซึง่ อาจมีความผิดกฎหมายหรือผิด
ทางวินยั ดังนัน้ จึงมิใช่เป็นเพียงค�ำแนะน�ำหรือแสดงความคิดเห็นทีจ่ ะกระท�ำหรือไม่กไ็ ด้แล้วแต่ความพอใจ
ทัง้ นี้ ค�ำสัง่ อาจเป็นวาจาหรือลายลักษณ์อกั ษรก็ได้ ส่วน “เจ้าพนักงาน” นัน้ หมายถึง ผูท้ ไี่ ด้รบั การแต่งตัง้
ให้มีอ�ำนาจหน้าที่ราชการตามกฎหมาย หรือมีกฎหมายเฉพาะระบุให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน95
1.2 ค�ำสัง่ นัน้ เป็นค�ำสัง่ ทีไ่ ม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการพิจารณาว่าเป็น “ค�ำสัง่ ทีช่ อบด้วยกฎหมาย”
หรือไม่ จ�ำเป็นต้องพิจารณาดูบทกฎหมายซึง่ ให้อำ� นาจหน้าแก่เจ้าพนักงานไว้วา่ มีขอบเขตเพียงใด และค�ำสัง่

94 วิจิตร ลุลิตานนท์. กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). พระนคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2507. น. 149.
และจิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญาภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมแห่งเนติบัณฑิตยสภา. 2555. น. 933.
95 จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมแห่งเนติบัณฑิตยสภา. 2555.
น. 935-936.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-55

นัน้ ได้สงั่ ภายในขอบเขตของกฎหมายหรือไม่ ซึง่ ก็ตอ้ งพิจารณาดูเป็นกรณีๆ ไป หากเป็นค�ำสัง่ ทีช่ อบด้วย


กฎหมาย เช่น มีการออกหมายจับโดยชอบด้วยกฎหมาย การทีต่ ำ� รวจไปจับผูต้ อ้ งหาตามหมายจับดังกล่าว
ย่อมไม่เป็นความผิดเพราะเป็นการกระท�ำตามค�ำสัง่ ทีช่ อบด้วยกฎหมาย ดังนัน้ จะเป็นกรณีตามมาตรา 70
ต่อเมื่อเป็นการกระท�ำตามค�ำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังเช่น
อุทาหรณ์

. ฎ. 1135/2508 ผู้บังคับการกองต�ำรวจสั่งให้จำ� เลยซึ่งเป็นต�ำรวจใต้บังคับบัญชาไปจับกุมผู้ต้องหา


โดยไม่ได้ออกหมายจับ จ�ำเลยไปจับผู้ต้องหาโดยเข้าใจว่าค�ำสั่งนั้นเป็นค�ำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ
สธ สธ
เคยถือปฏิบัติมาว่าไปจับได้ แม้การกระท�ำของจ�ำเลยจะเป็นความผิด จ�ำเลยก็ไม่ต้องรับโทษตาม ปอ.

มส . มส
มาตรา 70
1.3 ผู้ปฏิบัติตามค�ำสั่งที่มิชอบของเจ้าพนักงานดังกล่าว จะต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามค�ำสั่งนั้น
หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
“ผูก้ ระท�ำมีหน้าทีต่ อ้ งปฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ ” เช่น กรณีพลต�ำรวจมีหน้าทีต่ อ้ งปฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ ของนาย
ต�ำรวจ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามค�ำสั่งของพนักงานอัยการที่สั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมตาม

ปวิอ. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหมายของศาล ลูกบ้านมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามค�ำสั่งของ
ผู้ใหญ่บ้านในบางกรณีตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 หรือประชาชนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ
ตามค�ำสั่งของทหาร ในกรณีประกาศใช้กฎอัยการศึกตาม พ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ. 2452 เป็นต้น หรือ
แม้ไม่มีหน้าที่ แต่ “เชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม” เช่น ลูกบ้านเชื่อโดยสุจริตว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้าน
ธ.

ออกค�ำสั่งให้กระท�ำกิจการใดๆ ก็ต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตาม
ตัวอย่าง
(1) ผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ลูกบ้านฝังศพผู้ถูกฆ่าตาย โดยที่พนักงานสอบสวนยังมิได้ชันสูตรพลิกศพ
แต่ลูกบ้านเชื่อว่าตนมีหน้าที่ต้องท�ำตามค�ำสั่งของผู้ใหญ่บ้านจึงจัดการฝังศพนั้นเสีย เช่นนี้ ลูกบ้านไม่ต้อง
รับโทษตาม ปวิอ. มาตรา 14996
(2) ผูบ้ ญ
ั ชาการเรือนจ�ำสัง่ ให้นกั โทษท�ำร้ายร่างกายนักโทษอืน่ นักโทษผูร้ บั ค�ำสัง่ เชือ่ ว่าตนมีหน้าที่
.ม
ต้องปฏิบัติตามค�ำสั่งของผู้บัญชาการเรือนจ�ำ จึงท�ำร้ายร่างกายนักโทษอื่น จนได้รับบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้
นักโทษผู้รับค�ำสั่งไม่ต้องรับโทษตาม ปอ. มาตรา 29797
1.4 ผู้กระท�ำตามค�ำสั่งของเจ้าพนักงาน “ไม่รู้” ว่าค�ำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การไม่รนู้ นั้ อาจเป็นเพราะไม่รขู้ อ้ เท็จจริงบางประการ หรือเป็นเพราะได้ปฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ ท�ำนองนัน้
มาตลอดจนคิดไปว่าเป็นค�ำสัง่ ทีช่ อบด้วยกฎหมาย หรืออาจเป็นเพราะผูร้ บั ค�ำสัง่ ไม่รกู้ ฎระเบียบแบบแผนก็ได้
ตัวอย่าง
(1) นายต�ำรวจสั่งให้พลต�ำรวจไปจับกุมผู้ต้องหาคนหนึ่งตามที่ได้รับแจ้งทางวิทยุ ค�ำสั่งทางวิทยุ
ดังกล่าวมิได้แจ้งด้วยว่าได้ออกหมายจับแล้ว แต่พลต�ำรวจเชื่อว่าค�ำสั่งของนายต�ำรวจชอบด้วยกฎหมาย

96 ฎ. 442/2475.
97 ฎ. 82/2467.
สธ ส
4-56 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

จึงได้ไปจับกุมผู้ต้องหานั้น เช่นนี้ การจับกุมนี้มิชอบด้วย ปวิอ. มาตรา 78 แต่พลต�ำรวจได้รับยกเว้นโทษ


ตามมาตรา 70 นี้ จึงไม่มีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังตามมาตรา 31098
(2) พลต�ำรวจได้รับค�ำสั่งด้วยวาจาจากนายต�ำรวจให้ไปจับผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายจับ ซึ่งได้ถือ
กันเป็นหลักปฏิบัติตลอดมาว่าจับกุมได้ เมื่อพฤติการณ์น่าเชื่อว่าต�ำรวจผู้จับเข้าใจว่าเป็นค�ำสั่งที่ชอบด้วย
กฎหมาย แม้การกระท�ำของต�ำรวจเป็นการมิชอบก็ไม่ต้องรับโทษจากการกระท�ำนั้น ตามมาตรา 7099

. ข้อสังเกต
1) ถ้าค�ำสัง่ ของเจ้าพนักงานเป็นค�ำสัง่ ทีช่ อบด้วยกฎหมายแต่ผรู้ บั ค�ำสัง่ กระท�ำผิดไปจากค�ำสัง่ เช่นนี้
สธ สธ
ผู้กระท�ำจะอ้าง มาตรา 70 มาเพื่อยกเว้นโทษหาได้ไม่

มส . มส
ตัวอย่าง
พลต�ำรวจไปจับผู้ต้องหาตามหมายจับที่ออกโดยชอบ ในการจับกุมผู้ต้องหานั้น พลต�ำรวจได้ถือ
โอกาสท�ำร้ายร่างกายผู้ต้องหาถึงกับบาดเจ็บสาหัส พลต�ำรวจไม่ได้รับยกเว้นโทษในความผิดฐานท�ำร้าย
ร่างกายผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส ตาม ปอ. มาตรา 297 แต่อย่างใด
2) ถ้าค�ำสั่งของเจ้าพนักงานเป็นค�ำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและผู้รับค�ำสั่ง “รู้อยู่แล้วว่าค�ำสั่งนั้น

มิชอบด้วยกฎหมาย” แต่ได้กระท�ำไปตามค�ำสั่งนั้น เช่นนี้ ผู้กระท�ำไม่ได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 70
ตัวอย่าง
เสมียนพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการเพื่อรับรองเป็นหลักฐานว่าได้มีการกระท�ำ
อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น โดยผู้บังคับบัญชาบอกให้จดตามที่ปฏิบัติมา ทั้งที่เสมียนพนักงานนั้นรู้อยู่แล้วว่า
ธ.

ข้อความเป็นเท็จ ดังนี้ จะแก้ตัวว่ากระท�ำตามค�ำสั่งของเจ้าพนักงานไม่ได้ จึงต้องรับโทษตาม ปอ. มาตรา


162 ในฐานผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระท�ำความผิด
3) กรณีผรู้ บั ค�ำสัง่ ไม่รวู้ า่ ค�ำสัง่ มิชอบ แต่กค็ วรจะรูไ้ ด้หากได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เช่นนี้
เป็นกรณีที่ถือได้หรือไม่ว่าผู้กระท�ำได้รู้ว่าค�ำสั่งนั้นมิชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้ถ้าถือตามบทบัญญัติของ
มาตรา 70 อย่างเคร่งครัด (ในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระท�ำ) ก็น่าจะต้องถือว่าผู้กระท�ำไม่รู้ว่าค�ำสั่งนั้นมิชอบ
อ้างข้อยกเว้นโทษตามมาตรา 70 ได้
.ม
ตัวอย่าง
เจ้าหน้าที่เรือนจ�ำได้รับหมายปล่อยจากศาลให้ปล่อยนักโทษไป ทั้งๆ ที่นักโทษนั้นเพิ่งได้รับโทษ
จ�ำคุกไปหยกๆ ยังไม่ครบก�ำหนดทีจ่ ะต้องปล่อย ซึง่ ถ้าเจ้าหน้าทีเ่ รือนจ�ำจะตรวจสอบไปทางศาล ก็จะสามารถ
ทราบความจริงได้วา่ แท้จริงแล้วหมายปล่อยดังกล่าวเป็นหมายปลอมทีอ่ อกโดยมิชอบเพือ่ ปล่อยให้นกั โทษ
หลบหนี แต่เจ้าหน้าที่เรือนจ�ำก็มิได้สอบถาม หากได้จัดการปล่อยนักโทษไปตามหมายดังกล่าว เช่นนี้
น่าจะต้องถือว่าเจ้าหน้าที่เรือนจ�ำไม่ต้องรับโทษฐานปล่อยให้ผู้ต้องคุมขังหลุดพ้นไปตาม ปอ. มาตรา 204
เพราะถือว่าผู้กระท�ำไม่รู้ว่าค�ำสั่งนั้นมิชอบ อย่างไรก็ตาม น่าจะต้องถือว่า ผู้นั้นมีความผิดฐานกระท�ำโดย
ประมาทเป็นเหตุให้ผู้ต้องคุมขังหลบหนีไปตาม ปอ. มาตรา 205

98 ฎ. 1601/2509.
99 ฎ. 1135/2508.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-57

ในแง่ของเจ้าพนักงานผู้ออกค�ำสั่งนั้น ถ้าตนเองไม่รู้ว่าค�ำสั่งนั้นมิชอบด้วยเหตุผลแห่งความพลั้ง


เผลอหรือประมาทเลินเล่อ เจ้าพนักงานนัน้ อาจไม่ตอ้ งมีความรับผิดอย่างใดๆ เว้นแต่ผลจากความประมาท
ของตนนั้น กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด เช่น นายต�ำรวจสั่งให้พลต�ำรวจปล่อยผู้ต้องหาไปผิดตัว โดย
เข้าใจว่าคือผูต้ อ้ งหาทีไ่ ด้ปล่อยชัว่ คราวโดยมีประกัน เช่นนี้ นายต�ำรวจอาจมีความผิดตาม ปอ. มาตรา 205
แต่ถ้าเจ้าพนักงานออกค�ำสั่งโดยมิชอบโดยจงใจเพื่อหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นนี้ เจ้าพนักงานจะต้อง

.
รับผิดในผลแห่งการกระท�ำของตนนัน้ เช่น ผูใ้ หญ่บา้ นสัง่ ให้ลกู บ้านฝังศพคนทีถ่ กู ฆ่าตาย เพือ่ ท�ำลายพยาน
หลักฐาน ผู้ใหญ่บ้านอาจมีความผิดตาม ปอ. มาตรา 184
สธ สธ
ผลของการได้รบั ยกเว้นตามมาตรา 70 นี้ เป็นผลเฉพาะการยกเว้นโทษเท่านัน้ หาได้ยกเว้นความผิด

มส . มส
ให้ดว้ ยแต่อย่างใด ฉะนัน้ ผูท้ ตี่ อ้ งรับผลจากการกระท�ำผิดตามมาตรา 70 ยังคงมีสทิ ธิปอ้ งกันตามมาตรา 68 อยู่
อีกเช่นกัน เช่น พลต�ำรวจไปจับคนร้ายตามค�ำสัง่ ด้วยวาจาของนายต�ำรวจ ผูถ้ กู จับอาจใช้กำ� ลังขัดขวางไม่
ให้พลต�ำรวจจับกุมได้ โดยไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตาม ปอ. มาตรา 391, 295, 297
แล้วแต่กรณีและข้อเท็จจริง

2. การกระท�ำความผิดบางประเภทระหว่างสามีภริยา
โดยทีค่ รอบครัวย่อมประกอบด้วยบุคคลทีม่ คี วามสัมพันธ์ใกล้ชดิ กันเป็นพิเศษ และหากจะลงโทษ
ทางอาญาเพราะการกระท�ำความผิดระหว่างบุคคลในครอบครัวด้วยกันเอง เช่น ในระหว่างสามีภริยา โดย
เฉพาะในความผิดบางประเภท เช่น ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นั้นก็อาจเป็นการท�ำลายความความมั่นคง
ธ.

ของครอบครัวลงได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการธ�ำรงไว้ซึ่งความมั่นคงของสถาบันครอบครัว กฎหมายจึงยกเว้น


โทษให้
ดังปรากฏใน ปอ. มาตรา 71 วรรคแรก ก็บัญญัติว่า “ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ถึง
มาตรา 336 วรรคแรกและมาตรา 341 ถึงมาตรา 364 นั้น ถ้าเป็นการกระท�ำที่สามีกระท�ำต่อภริยาหรือ
ภริยากระท�ำต่อสามี ผู้กระท�ำไม่ต้องรับโทษ”
จากบทบัญญัติมาตรา 71 วรรคแรก ดังกล่าว สามีหรือภริยาจะได้รับยกเว้นโทษ จะต้องประกอบ
.ม
ด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้
2.1 เป็นการกระท�ำความผิดระหว่างสามีภริยา ความหมายของ “สามีหรือภริยา” นี้ หมายถึง
สามีภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมาย100 การอยูก่ นั ฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส แม้จะเป็นระยะยาวนาน
สักเพียงใดก็ไม่ทำ� ให้เกิดความเป็นสามีภริยาทีช่ อบด้วยกฎหมายขึน้ มาได้ ถ้าหากกระท�ำผิดต่อกันก็ตอ้ งมี
ความผิดและต้องโทษเช่นเดียวกับที่บุคคลอื่นกระท�ำต่อกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าส�ำคัญผิดว่าสามีหรือภริยา
ยินยอม หรือส�ำคัญผิดว่าทรัพย์ที่ประทุษร้ายเป็นของสามีหรือภริยา ก็อาจได้รับยกเว้นความผิดหรือโทษ
ได้ตามมาตรา 62 จึงต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
ที่ว่า “สามีกระท�ำต่อภริยา หรือภริยากระท�ำต่อสามี” นั้น หมายความว่า สามีหรือภริยาเป็น
ผู้กระท�ำผิด ไม่ว่าในฐานะเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน เช่น สามีใช้หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นลักทรัพย์

100 ฎ. 2041/2499 และ ฎ. 3756–3757/2550.


สธ ส
4-58 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ของภริยา แต่ทงั้ นีไ้ ม่รวมถึงกรณีภริยาหรือสามีเป็นผูเ้ สียหายแทนบุคคลอืน่ เช่น ภริยามีบตุ รซึง่ เป็นผูเ้ ยาว์


ติดมาและภริยาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หากสามีได้ลักทรัพย์ของผู้เยาว์ดังกล่าว กรณีนี้ ไม่ถือว่าสามี
กระท�ำความผิดต่อภริยา สามีไม่ได้รบั ยกเว้นโทษ นอกจากนี้ กรณีทสี่ ามีหรือภริยาเป็นผูแ้ ทนของนิตบิ คุ คล
เช่น เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด การกระท�ำผิดที่กระท�ำ
ต่อนิติบุคคลนั้น ไม่ถือว่ากระท�ำต่อภริยาหรือสามีแต่อย่างใด เพราะนิติบุคคลนั้นเป็นบุคคลต่างหากจาก

.
บุคคลธรรมดา สามีหรือภริยาเป็นเพียงผู้เสียหายแทนตาม ปวิอ. มาตรา 5 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าสามี
หรือภริยาเป็นผูเ้ สียหายร่วมกับบุคคลอืน่ เช่น ทรัพย์ทถี่ กู ลักมีบคุ คลอืน่ เป็นเจ้าของร่วมอยูด่ ว้ ย ก็มปี ญ
ั หา
สธ สธ
ว่าจะแยกความผิดนั้นออกเป็นสองส่วนหรือไม่ กล่าวคือ เฉพาะที่สามีภริยากระท�ำต่อกันไม่ต้องรับโทษ

มส . มส
คงรับโทษเฉพาะทีก่ ระท�ำต่อบุคคลภายนอก ซึง่ ผูเ้ ขียนมีความเห็นว่าน่าจะแยกเช่นนัน้ ไม่ได้เพราะมิฉะนัน้
ผลก็จะปรากฏว่ายังต้องรับโทษอยู่เช่นเดิมมิได้รับการยกเว้นโทษให้แต่อย่างใด กรณีนี้จึงน่าจะถือว่าสามี
หรือภริยาอ้างข้อยกเว้นโทษตามมาตรา 71 นี้ได้
ถ้าสามีหรือภริยานั้นมิได้กระท�ำความผิดแต่เพียงผู้เดียวแต่อาจมีผู้อื่นเป็นผู้กระท�ำร่วมอยู่ด้วย
ในฐานะตัวการตามมาตรา 83 ผูใ้ ช้ตามมาตรา 84 ผูโ้ ฆษณาตามมาตรา 85 หรือผูส้ นับสนุนตามมาตรา 86

เช่นนี้ สามีหรือภริยาเท่านัน้ ทีไ่ ด้รบั ยกเว้นโทษตามมาตรา 71 ส่วนผูอ้ นื่ ยังต้องรับโทษอยูต่ ามความผิดของตน
เว้นแต่ผู้อื่นนั้นก็มีเหตุส่วนตัวอันได้รับยกเว้นหรือลดโทษเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะมาตรา 71 เป็นเหตุส่วน
ตัวตามมาตรา 89 เช่น ภริยาร่วมกับผูอ้ นื่ ลักทรัพย์ของสามี ผูอ้ นื่ นัน้ มีความผิดฐานลักทรัพย์101 และจะต้อง
รับโทษในความผิดฐานลักทรัพย์โดยร่วมกระท�ำความผิดตั้งแต่สองคน ตาม ปอ. มาตรา 335 (7) ด้วย
โดยถือตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าร่วมกระท�ำกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป แต่ถ้าภริยาร่วมกับบุตรลักทรัพย์ของ
ธ.

สามี เช่นนี้ ภริยาได้รบั ยกเว้นโทษตามมาตรา 71 วรรคแรก บุตรได้รบั ลดหย่อนโทษตามมาตรา 71 วรรคสอง


และอาจเข้ากรณีผู้อ่อนอายุกระท�ำผิดตามมาตรา 73 ถึงมาตรา 76 ด้วยก็ได้ ซึ่งต้องพิจารณาข้อเท็จจริง
เป็นกรณีไป
อุทาหรณ์
ฎ. 221/2528 การที่สามีภริยากระท�ำความผิดแล้วจะไม่ต้องรับโทษหรือได้รับยกเว้นโทษ มาตรา
.ม
71 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า ต้องเป็นเรื่องกระท�ำต่อทรัพย์อันเป็นความผิดตามมาตรา 334 ถึงมาตรา 336
วรรคหนึง่ และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364 เท่านัน้ ไม่มขี อ้ จ�ำกัดว่าสามีหรือภริยานัน้ จะต้องกระท�ำความผิด
ตามล�ำพังคนเดียวแต่อย่างใด เมือ่ จ�ำเลยเป็นภริยาผูเ้ สียหายมีหลักฐานภาพถ่ายใบส�ำคัญการสมรสมาแสดง
และจ�ำเลยกระท�ำความผิดฐานรับของโจร ซึง่ จะเป็นการกระท�ำความผิดตามล�ำพังคนเดียว หรือมีบคุ คลอืน่
ร่วมกระท�ำผิดด้วยก็ต้องถือว่ามีเหตุส่วนตัวให้จ�ำเลยไม่ต้องรับโทษหรือได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 71
วรรคหนึ่งแล้ว
อย่างไรก็ตาม ถ้าสามีและภริยาได้ร่วมกันไปกระท�ำความผิดต่อบุคคลอื่นในความผิดตามที่ได้
ระบุไว้ในมาตรา 71 สามีและภริยามิได้รบั การยกเว้นโทษตามมาตรา 71 วรรคแรกนีแ้ ต่อย่างใด เช่น สามีภริยา
ร่วมกันไปลักทรัพย์คนอืน่ สามีภริยามีความผิดและต้องรับโทษฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม ปอ. มาตรา 335 (7)102
101 ฎ. 566/2547.
102 ฎ. 923/2476.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-59

หรือถ้าสามีไปลักทรัพย์ของบุคคลคนอื่นแล้วน�ำมามอบให้ภริยา สามีต้องรับโทษฐานลักทรัพย์ภริยาต้อง


รับโทษฐานรับของโจร ทั้งนี้เพราะมิได้เป็นความผิดที่สามีภริยากระท�ำต่อกันแต่อย่างใด และในการที่สามี
และภริยาร่วมกันไปกระท�ำความผิดต่อบุคคลภายนอกดังกล่าวนี้ ถ้าสามีหรือภริยามีเหตุสว่ นตัวได้รบั ยกเว้น
โทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษ สามีหรือภริยาก็ได้รับการยกเว้นโทษ ลดโทษหรือเพิ่มโทษเป็นการเฉพาะตัว
ตามมาตรา 89 เช่น สามีกับภริยาร่วมกันไปลักทรัพย์ของมารดาสามี เช่นนี้ สามีได้รับลดหย่อนโทษตาม

.
มาตรา 71 วรรคสอง เพียงผู้เดียว ภริยามิได้รับด้วยแต่อย่างใดเพราะเป็นเหตุส่วนตัวของสามีเท่านั้น
2.2 ความผิดที่สามีภริยากระท�ำต่อกันนั้น ต้องเป็นความผิดตามมาตรา 334 ถึงมาตรา 336
สธ สธ
วรรคแรก และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364103

มส . มส
ความผิดตามมาตราต่างๆ ที่มาตรา 70 ระบุไว้ เป็นความผิดฐานประทุษร้ายต่อทรัพย์ หรือที่
เกี่ยวกับทรัพย์สนิ ทัง้ สิน้ ซึง่ เป็นแนวความคิดดัง้ เดิมตัง้ แต่พระอัยการลักษณะโจร กฎหมายลักษณะอาญา
ร.ศ. 127 ตลอดมาจนถึง ปอ. เหตุผลส�ำคัญที่ยกโทษให้ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินก็คงเป็นเหตุผลดังที่
ระบุไว้ในพระอัยการลักษณะโจรกล่าวคือ “ประการเท่านีท้ า่ นว่าใช่อนื่ เขาทรัพย์เรือ่ งเดียวกันยากไร้เขาเสีย
กันมิได้ ให้คนื แต่ทรัพย์สงิ่ ของนัน้ ให้แก่กนั จะลงโทษและปรับไหมให้แก่กนั ดัง่ ฉันผูอ้ นื่ มิได้” กฎหมายเห็น

เหตุผลส�ำคัญดังกล่าวนี้จึงยกเว้นโทษให้
ส่วน ปพพ. ก็ได้กำ� หนดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาเอาไว้ เช่น มาตรา 1461 บัญญัตวิ า่ “สามี
ภริยาต้องอยูก่ นิ กันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยอุปการะเลีย้ งดูกนั ตามความสามารถและฐานะของตน”
มาตรา 1470 บัญญัตวิ า่ “ทรัพย์สนิ ระหว่างสามีภริยา นอกจากทีไ่ ด้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส”
และ มาตรา 1476 บัญญัติว่า “นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะก�ำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็น
ธ.

ผูจ้ ดั การสินสมรสร่วมกัน” ซึง่ จากบทบัญญัตดิ งั ทีไ่ ด้กล่าวมานี้ จะเห็นได้วา่ สามีภริยานัน้ มีความสัมพันธ์ที่


ลึกซึ้งแน่นแฟ้นจนยากที่จะเอาความผิดที่กระท�ำต่อกันเกี่ยวกับทรัพย์สินมาเป็นเหตุที่จะลงโทษทางอาญา
แก่สามีหรือภริยาผู้กระท�ำผิดนั้นได้
ข้อสังเกต การทีก่ ฎหมายไม่ยกเว้นโทษให้ในความผิดอืน่ ๆ นอกจากทีร่ ะบุไว้ในมาตรา 71 แม้สามี
ภริยาจะกระท�ำต่อกันก็ตาม ก็คงจะเป็นเพราะว่าความผิดอื่นๆ นอกจากที่ระบุในมาตรา 71 บางกรณีเป็น
.ม
ความผิดทีก่ ระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนโดยตรงจนยากทีจ่ ะยกเว้นโทษให้ได้
เช่น ความผิดเกีย่ วกับชีวติ ร่างกาย ความผิดฐานชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ จับตัวเรียกค่าไถ่ เป็นต้น หรือความผิด
บางอย่างแม้สามีภริยาจะกระท�ำต่อกันก็เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกด้วย และกฎหมายก็ได้บัญญัติให้เป็น
ความผิดอันยอมความได้อยู่แล้ว เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นต้น
ทรัพย์สินอันจะเป็นวัตถุให้กระท�ำผิดฐานต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 71 อันได้แก่ ความผิด
ตามมาตรา 334 ถึงมาตรา 336 วรรคแรก มาตรา 341 ถึงมาตรา 364 นี้ นอกจากทรัพย์สนิ อันเป็นส่วนตัว
ของฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ แล้ว สินสมรสก็อาจเป็นวัตถุในการกระท�ำความผิดในบางมาตราได้ เช่น ความผิดฐาน
ท�ำให้เสียทรัพย์ซงึ่ สินสมรส เป็นต้น แม้สามีภริยาจะเป็นผูม้ อี ำ� นาจจัดการสินสมรสร่วมกันตามมาตรา 1476
หรือมีอ�ำนาจจัดการเพียงฝ่ายเดียวโดยสัญญาก่อนสมรสตามมาตรา 1465 ก็ตาม แต่การท�ำให้เสียทรัพย์
นั้นไม่รวมอยู่ในอ�ำนาจจัดการสินสมรสตามมาตรา 1477 แต่อย่างใด
103 โปรดดูรายละเอียดของมาตราดังกล่าวในหน่วยที่ 13 และหน่วยที่ 14.
สธ ส
4-60 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ส�ำหรับการกระท�ำความผิดในบางมาตรานั้น ความรู้ความเข้าใจของสามีหรือภริยาผู้กระท�ำความ


ผิดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ หรือมูลเหตุจูงใจเกี่ยวกับการกระท�ำย่อมมีผลกับความรับผิดในทางอาญา
ของบุคคลนัน้ เช่น ในความผิดฐานลักทรัพย์ ถ้าสามีภริยาเข้าใจว่าทรัพย์นนั้ เป็นสินส่วนตัวของตนจึงเอาไป
เช่นนี้ สามีหรือภริยาไม่รขู้ อ้ เท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 59 วรรคสาม จึงไม่มคี วามผิด
ฐานลักทรัพย์104 หรือการที่สามีหรือภริยาเอาสินส่วนตัวของอีกฝ่ายหนึ่งไปขายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

.
น�ำมาใช้จ่ายในครอบครัวโดยสุจริต เช่นนี้ สามีหรือภริยาไม่มีเจตนาโดยทุจริต105 ย่อมไม่มีความผิดฐาน
ลักทรัพย์ตามมาตรา 334, 335 หรือฐานยักยอก ตามมาตรา 352 เป็นต้น ถ้าหากกรณีเป็นเช่นทีย่ กตัวอย่าง
สธ สธ
มานี้ ผู้กระท�ำนั้นไม่มีความผิด จึงไม่เป็นกรณีที่ได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 71 นี้

มส . มส
ความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334, 335 นั้น ถ้าการกระท�ำเข้าองค์ประกอบความผิด ตาม
มาตรา 339 ก็กลายเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ ไม่อยูใ่ นเกณฑ์ยกเว้นโทษ ตามมาตรา 71 นี้ แม้วา่ ในชัน้ ต้น
สามีหรือภริยามีความตัง้ ใจเพียงแต่จะลักทรัพย์กต็ าม หากภายหลังการกระท�ำได้เปลีย่ นเป็นชิงทรัพย์ สามี
หรือภริยาก็ตอ้ งมีความผิดฐานชิงทรัพย์ เช่น สามีลกั เงินของภริยา ภริยาพบเห็นเข้าจึงแย่งเงินคืน สามีจงึ
ตบท�ำร้ายภริยาหรือผลักภริยาล้มลงแล้วพาเงินหนีไป เช่นนี้ การกระท�ำเข้าลักษณะชิงทรัพย์ตามมาตรา

339 ไม่ได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 71 หรือความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามมาตรา 336 วรรคแรก นั้น ถ้า
ผลของการกระท�ำผิดดังกล่าว ท�ำให้สามีหรือภริยาได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ รับอันตรายสาหัสหรือ
ถึงแก่ความตายตามวรรคสองถึงวรรคสี่ตามล�ำดับ เช่นนี้ แม้สามีหรือภริยาผู้กระท�ำผิดจะไม่มีเจตนา เช่น
นัน้ ก็ตาม ก็ไม่ได้รบั ยกเว้นโทษตามมาตรา 71 แต่อย่างใด ทัง้ นี้ เพราะผลทีเ่ กิดขึน้ ดังกล่าวได้สง่ ผลกระทบ
ธ.

ต่อส่วนรวม ท�ำให้เสื่อมเสียความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง กฎหมายจึงไม่อาจยกเว้นโทษให้ได้ แม้ว่า


ผู้เสียหายจะไม่เอาโทษเอาความต่อกันก็ตาม

กิจกรรม 4.2.3
1. สามีภริยากระท�ำความผิดต่อกันหมายความว่าอย่างไร
.ม
2. ถ้าสามีหรือภริยากระท�ำความผิดต่อกันในความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 71 โดยมีผู้อื่นเป็น
ตัวการ ผู้ก่อให้กระท�ำความผิด หรือผู้สนับสนุนด้วย ผู้อื่นนั้นได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 71 ด้วยหรือไม่
อย่างไร
3. ถ้าสามีและภริยาร่วมกันกระท�ำความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 71 ต่อบุคคลภายนอก สามี
ภริยาจะได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 71 วรรคแรกหรือไม่ อย่างไร

104 แต่ถ้าลักทรัพย์ของสามีหรือภริยาโดยเข้าใจว่าเป็นทรัพย์ของคนอื่น ภริยาหรือสามีผู้กระท�ำผิดก็ยังได้รับยกเว้นโทษ


ตามมาตรา 71 นี้ เพราะมุ่งถึงตัวทรัพย์ว่าเป็นของใคร ไม่พิจารณาถึงความเข้าใจของผู้กระท�ำ (นัย ฎ. 94/2485).
105 ปอ. มาตรา 1 (1) “โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายส�ำหรับตนเอง
หรือผู้อื่น.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-61


แนวตอบกิจกรรม 4.2.3
1. สามีภริยากระท�ำความผิดต่อกัน หมายความว่า สามีหรือภริยาเป็นผูก้ ระท�ำความผิดโดยล�ำพัง
ผูเ้ ดียว เป็นตัวการร่วมกันกับผูอ้ นื่ เป็นผูก้ อ่ ให้ผอู้ นื่ กระท�ำความผิด หรือเป็นผูส้ นับสนุนผูอ้ นื่ ในการกระท�ำ
ความผิด และภริยาหรือสามีเป็นผู้เสียหายโดยตรงในการกระท�ำความผิดนัน้ เช่น สามีเป็นผู้ลกั ทรัพย์ของ
ภริยา สามีร่วมกับบุคคลอื่นลักทรัพย์ของภริยา สามีใช้ให้คนอื่นลักทรัพย์ของภริยา หรือสามีให้ความช่วย

.
เหลือคนอื่นให้ลักทรัพย์ของภริยา เป็นต้น
สธ สธ
2. ผู้อื่นที่เป็นตัวการร่วมกระท�ำความผิดด้วยสามีหรือภริยา เป็นผู้ก่อให้สามีหรือภริยากระท�ำ

มส . มส
ความผิดต่อกัน หรือเป็นผูส้ นับสนุนให้สามีหรือภริยากระท�ำความผิดต่อกัน ไม่ได้รบั ยกเว้นโทษตามมาตรา
71 เพราะเหตุยกเว้นโทษตามมาตรา 71 เป็นเหตุส่วนตัวของสามีหรือภริยาตามมาตรา 89
3. สามีและภริยาที่ร่วมกันกระท�ำความผิดต่อบุคคลภายนอก ไม่ได้รับยกเว้นโทษตามมาตรา 71
วรรคแรก เพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่สามีหรือภริยากระท�ำผิดต่อกันแต่อย่างใด

ธ.
.ม
สธ ส
4-62 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ตอนที่ 4.3


เหตุลดโทษ
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 4.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
4.3.1 เหตุลดโทษโดยทั่วไป

มส . มส
4.3.2 เหตุบนั ดาลโทสะ
4.3.3 เหตุบรรเทาโทษ

แนวคิด
1. บ ุคคลอาจได้รับการลดโทษด้วยเหตุลดโทษโดยทั่วไป ได้แก่ 1) ความไม่รู้กฎหมาย 2)

คนวิกลจริตหรือคนมึนเมาซึง่ ยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ งหรือยังสามารถบังคับตนเองได้
บ้าง 3) ป้องกันหรือจ�ำเป็นเกินขอบเขต 4) การกระท�ำความผิดเกีย่ วกับทรัพย์บางมาตรา
ระหว่างญาติใกล้ชิด และ 5) ผู้กระท�ำอายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
2. บคุ คลอาจได้รบั การลดโทษด้วยเหตุบนั ดาลโทสะ หากปรากฏว่า 1) ถูกข่มเหงอย่างร้าย
แรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม 2) การถูกข่มเหงนั้นเป็นเหตุให้บันดาลโทสะ และ 3) ได้
ธ.

กระท�ำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะ
3. บคุ คลอาจได้รบั การลดโทษ เพราะเหตุบรรเทาโทษ ซึง่ อาจแยกออกได้เป็น 1) พฤติการณ์
ก่อนการกระท�ำความผิด และ 2) พฤติการณ์หลังการกระท�ำความผิด

วัตถุประสงค์
.ม
เมื่อศึกษาตอนที่ 4.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเหตุลดโทษโดยทั่วไปได้
2. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเหตุบันดาลโทสะได้
3. อธิบายหลักเกณฑ์และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับเหตุบรรเทาโทษได้
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-63

ความน�ำ


ในกรณีทกี่ ารกระท�ำของผูก้ ระท�ำครบองค์ประกอบทีก่ ฎหมายบัญญัตติ ามโครงสร้างข้อ 1 โดยไม่มี
กฎหมายยกเว้นความผิดตามโครงสร้างข้อ 2 และไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษตามโครงสร้างข้อ 3 ผู้กระท�ำ

.
ก็จะต้องรับผิดในทางอาญา อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุลดโทษบางประการตามทีก่ ฎหมายบัญญัตไิ ว้ศาลอาจ
สธ สธ
ใช้ดุลพินิจลดโทษหรืออีกนัยหนึ่งคือ “ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใด

มส . มส
ก็ได้”
ทัง้ นี้ เหตุลดโทษตามที่ ปอ. บัญญัตไิ ว้มหี ลายกรณีดว้ ยกัน ซึง่ อาจแยกอธิบาย ในเรือ่ งที่ 4.3.1-4.3.3
ตามล�ำดับ ดังนี้
4.3.1 เหตุลดโทษทั่วไป
4.3.2 เหตุบันดาลโทสะ
4.3.3 เหตุบรรเทาโทษ

อนึ่ง ในการลดโทษนั้น ศาลอาจพิจารณาลดโทษเพราะเหตุหนึ่งและยังอาจจะลดโทษเพราะเหตุ
อื่นๆ ได้ด้วย เช่น เมื่อศาลลดโทษเพราะเหตุบันดาลโทสะตามมาตรา 72 แล้วศาลยังอาจพิจารณาเหตุ
บรรเทาโทษตามมาตรา 78 ได้อีกด้วย106 เป็นต้น
ธ.

เรื่องที่ 4.3.1
เหตุลดโทษโดยทั่วไป
.ม
เหตุลดโทษทั่วไป ตามที่ ปอ. บัญญัติไว้ นั้น ได้แก่
1. ความไม่รู้กฎหมาย (มาตรา 64)
2. คนวิกลจริตหรือคนมึนเมาซึ่งยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
(มาตรา 65 วรรคสอง และมาตรา 66)
3. ป้องกันหรือจ�ำเป็นเกินขอบเขต (มาตรา 69)
4. การกระท�ำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางมาตราระหว่างญาติใกล้ชิด (มาตรา 71 วรรคสอง)
5. ผู้กระท�ำอายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี (มาตรา 75 และมาตรา 76)

106 ฎ. 2033/2528.
สธ ส
4-64 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

1. ความไม่รู้กฎหมาย


ตามภาษิตกฎหมายแต่ดั้งเดิมนั้นถือว่า “ทุกคนต้องรู้กฎหมาย” (ne mo censetur ignorare
legem) และถือเป็นหลักว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว” (ignorantia juris non excusat,
ignorance of the law excuses no man) ซึ่งนักกฎหมายส�ำคัญของไทยก็มีความเห็นไปในท�ำนอง
เดียวกันว่า ไม่ควรจะให้ผกู้ ระท�ำความผิดยกความไม่รกู้ ฎหมายขึน้ เป็นข้อแก้ตวั เพือ่ ให้พน้ ความผิด ดังเช่น

.
เสด็จในกรมหลวงราชบุรดี เิ รกฤทธิ์ “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” ทรงอธิบายความเห็นไปในทางทีว่ า่ ผูก้ ระท�ำ
ความผิดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นความผิดไม่ได้เลย107 ศาตราจารย์เอช เอกูต์ มีความเห็นไป
สธ สธ
ในท�ำนองว่า ถ้าจะยอมให้มีการแก้ตัวได้ว่ากระท�ำผิดโดยไม่รู้กฎหมายแล้ว ก็จะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่

มส . มส
ศาลขึ้นอย่างมากที่จะต้องพิเคราะห์ดูไปถึงว่าจ�ำเลยรู้กฎหมายหรือไม่108 ศาสตราจารย์วิจิตร ลุลิตานนท์
เห็นว่า จะก่อให้เกิดความยุง่ ยากไม่สนิ้ สุด บุคคลส่วนใหญ่กจ็ ะพากันแก้ตวั ว่าไม่รกู้ ฎหมายเพือ่ ไม่ตอ้ งรับผิด
ในทางอาญา109 และศาสตราจารย์หยุด แสงอุทัย เห็นว่า หากยอมให้แก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายได้แล้วบุคคล
ก็จะไม่สนใจกฎหมาย เพราะถ้ารู้กฎหมายมากก็ยิ่งมีโอกาสท�ำความผิดได้มาก110
เหตุที่ถือเป็นหลักเช่นนั้นเพราะในสังคมดั้งเดิมนั้น กฎหมายก็คือกฎแห่งศีลธรรมหรือความรู้สึก

ผิดชอบชั่วดีของมนุษย์ ถ้าการกระท�ำใดฝ่าฝืนต่อกฎศีลธรรม การกระท�ำนั้นก็มักจะผิดกฎหมายด้วย เช่น
การฆ่าคน การลักทรัพย์ การข่มขืนกระท�ำช�ำเรา การวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น เป็นต้น ความผิดเช่นนี้
มักจะเรียกกันว่า “ความผิดในตัวเอง” หรือที่เรียกเป็นภาษาละตินว่า “mala in se” ความผิดประเภทนี้
คนโดยทัว่ ๆ ไปย่อมรูไ้ ด้โดยสามัญส�ำนึกว่าการกระท�ำอย่างใดเป็นความผิด จึงไม่อาจอ้างได้วา่ ไม่รกู้ ฎหมาย
ธ.

เพื่อให้พ้นผิด
แต่เมือ่ สภาพสังคมเปลีย่ นแปลงไป มีความเจริญและซับซ้อนมากขึน้ รัฐจึงมีความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง
ตรากฎหมายบัญญัติความผิดอีกประเภทหนึ่ง ด้วยวัตถุประสงค์พิเศษทางเทคนิคเฉพาะเรื่อง (technical
law) นักนิติศาสตร์เรียกความผิดประเภทนี้ว่า “ความผิดเพราะกฎหมายห้าม” หรือ “mala prohibita”
เช่น ความผิดฐานค้าก�ำไรเกินควร ความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรต่างๆ ความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ ความผิด
เกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ป่า เป็นต้น ความผิดประเภทนี้มิได้มีพื้นฐานจากศีลธรรมหรือความรู้สึกผิดชอบ
.ม
ชั่วดีของมนุษย์ ดังนั้นโดยปกติคนทั่วๆ ไป จึงไม่สามารถรู้ได้ด้วยสามัญส�ำนึกว่าเป็นความผิด ด้วยเหตุนี้
รัฐจึงจ�ำเป็นจะต้องก�ำหนดนโยบายเกีย่ วกับเรือ่ งนีไ้ ว้ให้แน่ชดั ว่าจะยอมรับข้อแก้ตวั เรือ่ งความไม่รกู้ ฎหมาย
นี้ได้หรือไม่เพียงใด
ส�ำหรับกฎหมายไทยแต่เดิมได้ยึดถือตามภาษิตกฎหมายที่ว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อ
แก้ตัว” (ignorantia juris non excusat, ignorance of the law excuses no man) ดังปรากฏใน
กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 45 ซึ่งว่า “บุคคลที่กระท�ำความผิดไม่รู้กฎหมาย ท่านว่าจะเอา

107 พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์. โค้ดอาญาเล่ม 2. กรุงเทพฯ: กองลหุโทษ ร.ศ. 128 น. 67. ซึ่งเป็นการ


ให้ความเห็นตามบทบัญญัติของกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 45 ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่าแก้ตัวไม่ได้เลย.
108 เอช เอกูต์. กฎหมายอาญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง. 2477. น. 102.
109 วิจิตร ลุลิตานนท์. กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). พระนคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2507. น. 138.
110 หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551. น. 73.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-65

ความที่ไม่รู้กฎหมายมาแก้ตัว เพื่อให้พ้นผิดนั้นไม่ได้เลย” ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐ


ไม่ยอมให้บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่ากระท�ำผิดแก้ตัวว่าตนไม่รู้กฎหมายได้เลย โดยถือตามภาษิตกฎหมาย
ดังที่กล่าวมาแล้วอย่างเคร่งครัด
ต่อมาเมื่อประกาศใช้ ปอ. ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีความไม่รู้กฎหมายของผู้กระท�ำไว้ใน
มาตรา 64 ความว่า “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่

.
ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระท�ำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระท�ำ
นั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลและถ้าศาลเชื่อว่าผู้กระท�ำไม่รู้ว่า
สธ สธ
กฎหมายบัญญัตไิ ว้เช่นนัน้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับความผิดนัน้ เพียงใดก็ได้”111

มส . มส
จะเห็นได้ว่า ปอ. มาตรา 64 ยังคงยึดถือหลักการที่ไม่ยอมให้บุคคลแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้
พ้นจากความรับผิดในทางอาญาอยู่เช่นเดิม
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อค�ำนึงถึงสภาพความจริงดังกล่าวข้างต้นว่า เป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนทุกคน
จะรู้กฎหมายไปทั้งหมดแม้รัฐจะใช้วิธีประกาศใช้กฎหมายโดยวิธีการต่าง เช่น ประกาศราชกิจจานุเบกษา
ปิดประกาศ ณ ทีท่ ำ� การของราชการ แล้วก็ตาม ก็อาจมีประชาชนบางส่วนทีไ่ ม่มโี อกาสได้อา่ นหรือรับทราบ

ประกาศดังกล่าว มาตรา 64 จึงได้บัญญัติผ่อนคลายหลักการลงบ้างตามสมควร โดยบัญญัติว่า “....แต่ถ้า
ศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ ผูก้ ระท�ำความผิดอาจจะไม่รวู้ า่ กฎหมายบัญญัตวิ า่ การกระท�ำนัน้ เป็น
ความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลและถ้าศาลเชือ่ ว่าผูก้ ระท�ำไม่รวู้ า่ กฎหมายบัญญัติ
ไว้เช่นนัน้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับความผิดนัน้ เพียงใดก็ได้” ความในบทบัญญัติ
ธ.

ดังกล่าวจึงเป็นข้อยกเว้นให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาลดโทษให้แก่ผู้กระท�ำความผิด โดยมี
หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.1 ศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์ ผูก้ ระท�ำความผิดอาจจะไม่รวู้ า่ กฎหมายบัญญัตวิ า่ การ
กระท�ำนั้นเป็นความผิด เมื่อศาลเห็นว่าตาม “สภาพและพฤติการณ์” ในกรณีนั้นผู้กระท�ำความผิดอาจจะ
ไม่รวู้ า่ กฎหมายบัญญัตวิ า่ การกระท�ำนัน้ เป็นความผิด กล่าวคือ พิจารณา “สภาพของการกระท�ำความผิด”
ซึง่ หมายถึง กรณีความผิดทีก่ ระท�ำนัน้ เป็นความผิดเพราะกฎหมายห้าม (mala prohibita) ไม่ใช่ความผิด
.ม
ในตัวเอง (mala inse) และ “พฤติการณ์” ซึ่งหมายถึง กรณีเฉพาะตัวผู้กระท�ำ112 เช่น คนต่างด้าวเพิ่ง
เข้ามาในประเทศไทย หรือผู้ที่อยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญมาก จึงอาจไม่ทราบว่ามีกฎหมายดังกล่าว
ประกาศใช้ เป็นต้น
1.2 ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล ถ้าตามสภาพและพฤติการณ์ไม่ปรากฏแก่
ศาลเช่นที่กล่าวไว้ในข้อ 1.1 ศาลก็จะไม่อนุญาตให้แสดงพยานหลักฐาน อย่างไรก็ตาม แม้ศาลจะเห็นว่า

111 บทบัญญัติดังกล่าวมีที่มาจาก ปอ. สวิส ค.ศ. 1939 มาตรา 20 และ ปอ. จีน ค.ศ. 1935 มาตรา 16 (รายงานการ
ประชุมอนุกรรมการตรวจพิจารณาแก้ไข ปอ. วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) อ้างโดยแสวง บุญเฉลิมวิภาส. หลักกฎหมายอาญา
(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน. 2551. น. 90.
112 หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551. น. 74. และ
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2536.
น. 321.
สธ ส
4-66 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ตามสภาพและพฤติการณ์ ผูก้ ระท�ำอาจไม่รวู้ า่ กฎหมายบัญญัตวิ า่ การกระท�ำเป็นความผิด ศาลก็อาจอนุญาต


หรือไม่อนุญาตก็ได้ เช่น ถ้าศาลเห็นว่าในกรณีนั้นศาลจะลงโทษน้อยอยู่แล้ว เพราะเป็นความผิดเล็กน้อย
ศาลก็อาจไม่อนุญาตให้ผู้กระท�ำความผิดแสดงพยานหลักฐาน ทั้งนี้ อยู่ในดุลพินิจของศาล
1.3 ถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระท�ำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมาย
ก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ เมือ่ ศาลได้พจิ ารณาพยานหลักฐานทีอ่ นุญาตให้ผกู้ ระท�ำแสดง

.
ต่อศาลตามข้อ 1.2 แล้ว หากศาลเชือ่ ว่า ผูก้ ระท�ำมิได้รวู้ า่ กฎหมายบัญญัตวิ า่ การกระท�ำเช่นนัน้ เป็นความผิด
ศาลจะใช้ดุลพินิจลดโทษโดยลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ทั้งนี้ โดยไม่คำ� นึงถึงโทษ
สธ สธ
ขั้นต�ำ
่ แต่จะไม่ลงโทษเลยนั้นไม่ได้

มส . มส
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 533/2538 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2532) เรื่องเปลี่ยนแปลง
ประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความใน พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เมื่อประกาศในราชกิจจา-
นุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลบังคับเช่นกฎหมาย การมีเพโมลีนไว้ในความครอบครองเพือ่ ขาย มิใช่เป็นความผิด
ในตัวเอง แต่เป็นความผิดเพราะมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขก�ำหนดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2

ซึง่ แต่เดิมจัดอยูใ่ นวัตถุออกฤทธิใ์ นประเภท 4 ซึง่ จ�ำเลยได้รบั อนุญาตให้ขายได้ ตามสภาพและพฤติการณ์
จ�ำเลยอาจไม่รู้ว่าการมีเพโมลีนไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นการกระท�ำที่ผิดต่อกฎหมาย และหากจ�ำเลย
สามารถน�ำพยานหลักฐานมีพิสูจน์เช่นว่านั้นได้ ศาลย่อมลงโทษจ�ำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดได้ตาม
ปอ. มาตรา 64
ธ.

(2) ฎ. 3353/2541 คนต่างด้าวที่จ�ำเลยให้ความช่วยเหลือเป็นผู้เข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิด


กฎหมายและมีจำ� นวนมากถึง 10 คน ย่อมยากแก่การควบคุมดูแลตลอดจนสืบหาติดตามตัวท�ำให้เกิดปัญหา
แก่สังคมโดยส่วนรวมและก่อให้เกิดปัญหาแรงงานกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ
การที่จ�ำเลยมีอายุถึง 52 ปี ทั้งยังเป็นผู้จัดการสถานีบริการน�ำ้ มันเชื้อเพลิง ย่อมมีความรู้ความเข้าใจต่อ
ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจว่า การกระท�ำของจ�ำเลยเกิดผลเสียต่อส่วนรวมได้ ที่จ�ำเลยอ้างว่า กระท�ำไปโดย
ขาดความรู้ความเข้าใจในตัวบทกฎหมายย่อมไม่มีเหตุผล
.ม
(3) ฎ. 2352/2551 ค�ำฟ้องบรรยายชัดแจ้งถึงประกาศกรมสรรพสามิตเรื่อง ก�ำหนดราคายาสูบ
เพื่อประโยชน์ในการค�ำนวณค่าปรับ ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2542 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2544)
พร้อมรายละเอียดของวันทีไ่ ด้ประกาศ เมือ่ จ�ำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมเป็นการรับสารภาพตาม
ข้อความทีโ่ จทก์กล่าวในฟ้อง ทัง้ กฎกระทรวงดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมือ่ วันที่ 27 มีนาคม
2544 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกฎกระทรวง
ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับเช่นกฎหมาย การที่จ�ำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องจึงเป็นการเพียงพอที่จะรับ
ฟังได้ว่าจ�ำเลยทราบประกาศกรมสรรพสามิตและกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว จ�ำเลยไม่อาจแก้ตัวว่าไม่รู้
กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้ ศาลย่อมลงโทษจ�ำเลยตามประกาศกรมสรรพสามิตและ
กฎกระทรวงนั้นได้
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-67

ข้อสังเกต ตาม ปอ. มาตรา 64 นี้ “ความไม่รกู้ ฎหมาย” หมายถึง ไม่รวู้ า่ มีกฎหมายอาญาบัญญัติ


ว่าการกระท�ำนั้นเป็นความผิด (ignorance of penal law) มิใช่หมายถึง ความไม่รู้กฎหมายอื่นๆ ทั่วไป
(ignorance of law) เช่น อ้างว่าไม่รู้ว่าการฆ่าสัตว์พาหนะของผู้อื่นมีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด จึง
เป็นการอ้างว่า “ไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระท�ำนั้นเป็นความผิด” ตาม ปอ. มาตรา 64 แต่ถ้า
ผู้กระท�ำรู้อยู่แล้วว่า การฆ่าสัตว์พาหนะของผู้อื่นเป็นความผิดตาม ปอ. แต่ผู้กระท�ำเข้าใจว่า สัตว์พาหนะ

.
นัน้ เป็นของตน เช่นนีเ้ ป็นการไม่รกู้ ฎหมายแพ่ง จึงเป็นการไม่รขู้ อ้ เท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
ท�ำให้ไม่มคี วามผิดเพราะขาดเจตนาตามมาตรา 59 วรรคสาม แต่หากผูก้ ระท�ำรูว้ า่ สัตว์พาหนะนัน้ เป็นของ
สธ สธ
ผูอ้ นื่ แต่เข้าใจว่าตนเองมีอำ� นาจฆ่าสัตว์พาหนะนัน้ ได้ ดังนี้ เป็นการส�ำคัญผิดในข้อเท็จจริงตามมาตรา 62

มส . มส
วรรคหนึ่ง113

2. คนวิกลจริตหรือคนมึนเมาซึง่ ยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ งหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บา้ ง


อาจแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี ดังนี้
2.1 คนวิกลจริตซึ่งยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ปอ. มาตรา

65 บัญญัตวิ า่ “ผูใ้ ดกระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจติ
บกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษส�ำหรับความผิดนั้น
แต่ถา้ ผูก้ ระท�ำความผิดยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ ง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บา้ ง ผูน้ นั้ ต้อง
รับโทษส�ำหรับความผิดนัน้ แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับความผิดนัน้ เพียงใดก็ได้”
ธ.

ตาม ปอ. มาตรา 65 เป็นกรณีที่ผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน114 กระท�ำความผิดใน


ขณะที่มีความบกพร่องทางจิต ถึงขนาด “ไม่สามารถรู้ผิดชอบ” หรือ “ไม่สามารถบังคับตนเองได้” ซึ่ง
ดร.คณิต ณ นคร อธิบายว่า เป็นเรื่องของการขาดความชั่ว (Schuld) โดยสิ้นเชิง จึงจะได้รับยกเว้นโทษ
แต่หากผู้กระท�ำความผิดดังกล่าวยัง “สามารถรู้ผิดชอบ” หรือ “สามารถบังคับตนเองได้” บ้าง
กล่าวคือ “มีความชั่วอยู่บ้าง” ผู้กระท�ำความผิดก็ยังต้องมีความรับผิดทางอาญาอยู่ อย่างไรก็ตาม ปอ.
มาตรา 65 วรรคสองได้บญ ั ญัตใิ ห้ศาลมีอำ� นาจใช้ดลุ พินจิ ลดโทษโดยจะลงโทษผูก้ ระท�ำน้อยกว่าทีก่ ฎหมาย
.ม
ก�ำหนดไว้สำ� หรับความผิดนัน้ เพียงใดก็ได้ ทัง้ นี้ ก็เพือ่ ให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายอาญาทีว่ า่ “จะลงโทษ
เกินความชั่วของบุคคลไม่ได้”115
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 5895/2540 จ�ำเลยป่วยทางจิต แต่ก่อนเกิดเหตุจ�ำเลยยังรับราชการที่แผนกการเงินกอง
ก�ำกับการต�ำรวจภูธรจังหวัดได้ตามปกติ แสดงว่าบางขณะจ�ำเลยมีอาการคุม้ ดีคมุ้ ร้าย บางขณะก็เป็นปกติ
คืนเกิดเหตุจำ� เลยเคาะประตูเรียก ป. และโวยวายให้คนช่วยหาคนที่เอามดแดงไปใส่ในรองเท้าจ�ำเลยและ
ท�ำลายข้าวของในห้องพักของจ�ำเลย เมื่อจ�ำเลยไปค้นห้องพักผู้ตายพบมีดและปืนของผู้ตาย จ�ำเลยหยิบ
113 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์. 2536. น. 322.
114 โปรดศึกษารายละเอียดซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในเรื่องที่ 4.2.2.
115 คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน. 2551. น. 263-264.
สธ ส
4-68 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

มีดและปืนออกจากห้องและเดินตามหาผู้ตาย เมื่อพบผู้ตายจ�ำเลยพูดว่า “เฮ้ย มึงว่ากูกล้ายิงไหม” แล้ว


จ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงทันที นอกจากนี้หลังเกิดเหตุจำ� เลยได้พูดกับ ป. ว่า “เป็นไง เพื่อน มึงวิ่งหนีกูทำ� ไม”
พฤติการณ์ของจ�ำเลยก่อนและหลังกระท�ำความผิดเช่นนีแ้ สดงให้เห็นว่าภาวะจิตใจของจ�ำเลยขณะกระท�ำ
ความผิดยังสามารถรูส้ กึ ผิดชอบอยูบ่ า้ งหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บา้ งตาม ปอ. มาตรา 65 วรรคสอง
(2) ฎ. 2721/2546 จ�ำเลยต้องไปพบแพทย์เพือ่ รับยา 2 เดือนต่อครัง้ หากจ�ำเลยไม่ได้รบั ประทาน

.
ยาจะมีอาการคลุ้มคลั่ง จ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายไปเพราะเป็นโรคจิตเภท แต่การที่จ�ำเลยเชื่อฟังและ
มีอาการสงบลงเมื่อมารดาและพี่สาวจ�ำเลยเข้าห้ามปรามแสดงว่าจ�ำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้างหรือ
สธ สธ
ยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง จ�ำเลยจึงต้องรับโทษส�ำหรับการกระท�ำความผิดนัน้ ซึง่ ศาลจะลงโทษน้อย

มส . มส
กว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
(3) ฎ. 1226/2547 จ�ำเลยมีอาการป่วยทางจิตคล้ายเป็นโรคจิตเภท โดยมีอาการระแวง การรักษา
ครั้งสุดท้ายจ�ำเลยบอกแพทย์ว่าหายแล้ว ขอเลิกกินยา แสดงว่าอาการของจ�ำเลยต้องดีขึ้น สามารถพูดจา
รู้เรื่องแล้ว ในวันเกิดเหตุจำ� เลยงัดกุญแจประตูห้องนอน ม. แล้วน�ำอาวุธปืนของกลางออกไป โดยก่อนไป
ยังขอเงินภริยาจ�ำเลยเพื่อเติมน�้ำมันแล้วขับรถยนต์ออกไป หลังเกิดเหตุ มีการใช้อาวุธปืนยิง ป. ผู้ตาย

จ�ำเลยยังสามารถขับรถยนต์หลบหนีกลับบ้านได้ ในชัน้ สอบสวนจ�ำเลยพูดจารูเ้ รือ่ ง สามารถพูดโต้ตอบได้
จึงเป็นกรณีที่จ�ำเลยกระท�ำความผิดในขณะยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
ตาม ปอ. มาตรา 65 วรรคสอง
(4) ฎ. 809/2548 การทีจ่ ำ� เลยเกิดความหวาดกลัวว่าจะมีคนมาท�ำร้าย และหลังเกิดเหตุจำ� เลยวิง่
ธ.

หลบหนีไปนั้น แสดงว่าจ�ำเลยมีอาการผิดปกติทางจิตใจหรือจิตบกพร่อง แต่ก็เชื่อได้ว่าจ�ำเลยยังสามารถรู้


ผิดชอบอยู่บ้าง ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ตาม ปอ.
มาตรา 65 วรรคสอง
ข้อสังเกต หน้าที่น�ำสืบให้ศาลเห็นว่า มีเหตุลดโทษ ตาม ปอ. มาตรา 65 วรรคสอง เป็นหน้าที่
น�ำสืบของจ�ำเลย116
2.2 คนมึนเมาซึง่ ยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ งหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บา้ ง ปอ. มาตรา 66
.ม
บัญญัตวิ า่ “ความมึนเมาเพราะเสพสุราหรือสิง่ เมาอย่างอืน่ จะยกขึน้ เป็นข้อแก้ตวั ตามมาตรา 65 ไม่ได้ เว้น
แต่ความมึนเมานั้นจะได้เกิดโดยผู้เสพไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะท�ำให้มึนเมา หรือได้เสพโดยถูกขืนใจให้เสพ และได้
กระท�ำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผู้กระท�ำความผิดจึงจะได้รับ
ยกเว้นโทษส�ำหรับความผิดนัน้ แต่ถา้ ผูน้ นั้ ยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ ง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บา้ ง
ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”
ตาม ปอ. มาตรา 66 เป็นกรณีทกี่ ระท�ำความผิดในขณะมึนเมาเพราะเสพสุราหรือสิง่ มึนเมาอย่างอืน่
โดยผู้เสพไม่รู้ว่าสิ่งที่เสพนั้นจะท�ำให้มึนเมาและได้เสพโดยถูกขืนใจให้เสพ ซึ่งหากได้กระท�ำความผิดใน
ขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผู้กระท�ำความผิดก็จะได้รับยกเว้นโทษ117

116 ฎ. 1462 /2535.


117 โปรดศึกษารายละเอียดซึ่งได้อธิบายแล้ว ในเรื่องที่ 4.2.2.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-69

แต่หากผู้กระท�ำความผิด “ยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง” หรือ “ยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง”


ในขณะกระท�ำความผิดผู้กระท�ำความผิดก็ยังต้องมีความรับผิดทางอาญาอยู่ อย่างไรก็ตาม ปอ. มาตรา
66 ได้บญ
ั ญัตใิ ห้ศาลมีอำ� นาจใช้ดลุ พินจิ ลดโทษ โดยจะลงโทษผูก้ ระท�ำน้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับ
ความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ท�ำนองเดียวกับกรณีตามมาตรา 65 วรรคสอง ข้างต้น
3. ป้องกันหรือจ�ำเป็นเกินขอบเขต

. ปอ. มาตรา 69 บัญญัติว่า “ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 67 และมาตรา 68 นั้น ถ้าผู้กระท�ำได้


สธ สธ
กระท�ำไปเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็น หรือเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำ

มส . มส
เพือ่ ป้องกัน ศาลจะลงโทษน้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับความผิดนัน้ เพียงใดก็ได้ แต่ถา้ การกระท�ำ
นั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระท�ำก็ได้”
ตามบทบัญญัติดังกล่าว อาจแยกศึกษาออกเป็น 2 กรณี คือ 3.1 ป้องกันเกินขอบเขต และ 3.2
จ�ำเป็นเกินขอบเขต
3.1 ป้องกันเกินขอบเขต การป้องกันเกินขอบเขต ตาม ปอ. มาตรา 69 นัน้ ได้แก่ 3.1.1 ป้องกัน

เกินสมควรแก่เหตุ และ 3.1.2 ป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพือ่ ป้องกัน ดังจะแยกศึกษาต่อไปนี้
3.1.1 ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ในการพิจารณาว่า การกระท�ำโดยป้องกันนัน้ “เกินสมควร
แก่เหตุ” หรือไม่ จ�ำต้องพิจารณาหลักส�ำคัญ 2 ประการ คือ118
1) หลัก “วิถีทางน้อยที่สุด” พิจารณาว่า ได้กระท�ำการป้องกันสิทธิของตนเองหรือ
ของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย เกินวิถีทางน้อยที่สุดที่จ�ำต้องกระท�ำเพื่อให้พ้นภยันตรายหรือไม่ กล่าวคือ
ธ.

หากสามารถกระท�ำการเพื่อให้พ้นภยันตรายได้หลายวิธี แต่ผู้กระท�ำมิได้เลือกวิธีการขั้นต�ำ่ สุดที่จ�ำต้องท�ำ


หรือวิธีการที่ก่ออันตรายแก่ผู้ก่อภัยน้อยที่สุด ก็อาจเป็นการป้องกัน “เกินสมควรแก่เหตุ”
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 4955/2528 จ�ำเลยใช้มีดอีโต้ฟันผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กเข้าไปลักทรัพย์ในบ้าน
ของจ�ำเลยในเวลากลางคืน 1 ที ท�ำให้เกิดบาดแผลฉกรรจ์ยาว 6 เซนติเมตร กะโหลกศีรษะใต้บาดแผล
แตกเป็นแนวยาวไปตามบาดแผล 5 เซนติเมตร แสดงว่าจ�ำเลยฟันโดยแรงขณะผู้เสียหายเพิ่งโผล่ออกมา
.ม
จากใต้แคร่ ในสภาพทีผ่ เู้ สียหายซ่อนตัวอยูใ่ นแคร่ซงึ่ อยูใ่ นเขตจ�ำกัด จ�ำเลยอาจจะใช้วธิ กี ารอืน่ ทีจ่ ะสกัดกัน้
ไม่ให้ผเู้ สียหายออกมา และร้องเรียกให้ผอู้ นื่ มาช่วยจับผูเ้ สียหายไว้ได้ ทัง้ มีทางทีจ่ ะสังเกตได้ทนั ทีวา่ ผูโ้ ผล่
ออกมาเป็นใคร จะเกิดภัยแก่จำ� เลยเพียงใดหรือไม่ ดังนี้ การกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
(2) ฎ. 4500/2531 ผู้ตายเตะต่อยและใช้ขวดตีจ�ำเลยก่อน จ�ำเลยจึงใช้ขวดตีผู้ตาย
ถึงแก่ความตาย การที่ผู้ตายเมาสุราจะเข้าไปท�ำร้ายจ�ำเลยก่อน จ�ำเลยก็ชอบที่จะป้องกันได้ตามกฎหมาย
แต่เนื่องจากจ�ำเลยทราบอยู่แล้วว่า ผู้ตายชอบด่าและท�ำร้ายคนในบ้าน ทั้งผู้ตายมีอายุมากและยังเมาสุรา
จ�ำเลยอาจกระท�ำการใดเพือ่ ป้องกันโดยไม่จำ� ต้องรุนแรงจนถึงกับเป็นเหตุให้ผตู้ ายถึงแก่ความตายก็นา่ จะได้

118 หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญาภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551.


น. 136. และเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ.์ ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2536. น. 260-262.
สธ ส
4-70 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

การทีจ่ ำ� เลยใช้ขวดตีผตู้ ายตรงบริเวณทีส่ ำ� คัญของร่างกายเป็นเหตุให้ผตู้ ายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการป้องกัน


เกินสมควรแก่เหตุ
(3) ฎ. 1408/2537 จ�ำเลยแทงผู้ตายเพราะผู้ตายใช้ขาโต๊ะตีจำ� เลยก่อน แต่ไม่ถูกและ
ผู้ตายจะตีซ�้ำ การกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการป้องกัน แต่การที่ผู้ตายใช้เพียงขาโต๊ะท�ำร้ายจ�ำเลย จ�ำเลย
สามารถหยุดยั้งผู้ตายด้วยวิธีการอื่นได้ แต่ไม่กระท�ำ กลับใช้มีดแทงผู้ตายทันทีที่บริเวณหน้าอกอันเป็น

.
อวัยวะส�ำคัญ การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ
2) หลัก “สัดส่วนแห่งภยันตราย” พิจารณาว่า ได้กระท�ำการป้องกันเกินกว่าสัดส่วน
สธ สธ
แห่งภยันตรายหรือไม่ กล่าวคือ หากการกระท�ำเพื่อป้องกันมีความร้ายแรงน้อยกว่าหรือแม้แต่เท่ากันกับ

มส . มส
ภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย ก็ถอื ว่า การป้องกันนัน้ ได้สดั ส่วนกับภยันตราย
เช่น เมือ่ ภยันตรายทีม่ มี าอาจท�ำให้ถงึ ตายได้ ก็สามารถป้องกันตอบโต้ถงึ ตายได้119 แต่หากการกระท�ำเพือ่
ป้องกันมีความรุนแรงมากกว่าภยันตรายแล้ว ต้องถือว่า เกินสัดส่วนกับภยันตราย ดังนี้ ย่อมเป็นการป้องกัน
“เกินสมควรแก่เหตุ” เช่น ผู้ก่อภัยเพียงใช้ไม้จะท�ำร้าย จ�ำเลยจึงใช้ปืนยิงผู้ก่อภัยตาย120
อุทาหรณ์

(1) ฎ. 2072/2532 ผูต้ ายมาขอเงินจ�ำเลยซึง่ เป็นภรรยาไปซือ้ สุราแล้วครัง้ หนึง่ ต่อมา
ผู้ตายกลับมาขอเงินจ�ำเลยไปซื้อสุราอีก จ�ำเลยบอกว่าไม่มี ผู้ตายก็บีบคอจ�ำเลย และพูดว่าไม่ให้จะฆ่า
จ�ำเลยหายใจไม่ออก จึงหยิบมีดโต้แถวหัวนอนฟันผู้ตาย เพื่อป้องกันขัดขวางมิให้ผู้ตายบีบคอจ�ำเลย แต่
การที่จ�ำเลยใช้มีดโต้ขนาดใหญ่ฟันผู้ตายที่ศีรษะ 4 แผลจนกระโหลกแตกและถึงแก่ความตาย เป็นการ
ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ มีความผิดตาม ปอ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69
ธ.

(2) ฎ. 6490/2548 แม้ขณะเกิดเหตุผู้ตายจะเข้าไปในบริเวณบ่อปลากัดของจ�ำเลย


เพื่อลักปลากัด ซึ่งถ้าจ�ำเลยพบเห็นจ�ำเลยย่อมมีสิทธิท�ำร้ายผู้ตายพอสมควรแก่เหตุเพื่อป้องกันทรัพย์สิน
ของตนได้ แต่กระแสไฟฟ้าที่จ�ำเลยปล่อยผ่านเส้นลวดที่ล้อมรอบบ่อปลากัดย่อมเป็นอันตรายร้ายแรง
โดยสภาพซึง่ สามารถท�ำให้ผอู้ นื่ ถึงแก่ความตายได้ ส่วนทรัพย์สนิ ของจ�ำเลยเป็นเพียงปลากัดมีมลู ค่าไม่มากนัก
การปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าเส้นลวดกับการป้องกันทรัพย์สนิ ของจ�ำเลยย่อมไม่เป็นสัดส่วนกัน เมือ่ ผูต้ ายถูก
.ม
กระแสไฟฟ้าทีจ่ ำ� เลยปล่อยผ่านเส้นลวดดังกล่าวดูดถึงแก่ความตาย การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการป้องกัน
สิทธิของตนเกินสมควรแก่เหตุตาม ปอ. มาตรา 69
ข้อสังเกต กรณีที่ผลสุดท้ายของการกระท�ำโดยป้องกันอยู่นอกเหนือเจตนา เช่น ก.
ท�ำท่าจะต่อย ข. ข. จึงต่อยกลับไปหนึ่งที ก. ล้มลงศีรษะกระแทกพื้นและตายในเวลาต่อมา เช่นนี้การ
วินิจฉัยสัดส่วนแห่งภยันตราย ให้เปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างภยันตรายที่ผู้ก่อภัยก่อให้เกิดขึ้นและการ
กระท�ำของผู้ป้องกัน โดยไม่ค�ำนึงถึงผลสุดท้ายนอกเหนือเจตนาของผู้ป้องกัน ดังนั้น ตามตัวอย่างจึงต้อง
ถือว่าได้สัดส่วนแห่งภยันตรายแล้ว121
119 ตัวอย่างเช่น ก. ใช้ปืนจะยิง ข. ข. จึงยิง ก. เพื่อป้องกัน เช่นนี้ย่อมได้สัดส่วน เพราะเป็นการกระท�ำต่อผู้ก่อภัย.
120 ฎ. 873/2521.
121 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์. 2536. น. 266.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-71

ทัง้ นี้ หลักดังกล่าวข้างต้นจะต้องพิจารณาประกอบกัน แม้ไม่เกินสัดส่วนแต่เกินวิถที าง


น้อยทีส่ ดุ หรือแม้ไม่เกินวิถที างน้อยทีส่ ดุ แต่เกินสัดส่วน ก็พจิ ารณาได้วา่ เป็นป้องกัน “เกินสมควรแก่เหตุ”122 เช่น
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 294/2500 ใช้ปนื ยิงผูท้ กี่ ำ� ลังขีแ่ ละจูงกระบือไปโดยเข้าใจผิดว่าผูน้ นั้ เป็นคนร้าย
ลักกระบือ ซึง่ ตนติดตามมาในเวลากลางคืน บริเวณนัน้ เป็นป่ามีตน้ ไม้และมืด แต่ผนู้ นั้ มิได้แสดงกิรยิ าต่อสู้

.
เป็นการป้องกันทรัพย์เกินสมควรแก่เหตุ
ข้อเท็จจริงจากค�ำพิพากษาศาลฎีกาเรือ่ งนี้ จะเห็นได้วา่ การยิงเป็นวิถที างสุดท้ายเพราะ
สธ สธ
หากไม่ยิงคนร้ายก็พากระบือไปได้ จึง “ไม่เกินวิถีทางน้อยที่สุด” แต่เมื่อคนร้ายมือเปล่าไม่มีอาวุธอันใด

มส . มส
การที่เจ้าทรัพย์ยิงไปจึง “เกินสัดส่วนแห่งภยันตราย” จึงเป็นการป้องกัน”เกินสมควรแก่เหตุ”123
(2) ฎ. 4500/2531 ผูต้ ายเตะต่อยและใช้ขวดตีจำ� เลยก่อน จ�ำเลยจึงใช้ขวดตีผตู้ ายถึงแก่
ความตาย การที่ผู้ตายเมาสุราและเข้าไปท�ำร้ายจ�ำเลยก่อน จ�ำเลยก็ชอบที่จะป้องกันได้ตามกฎหมาย แต่
เนือ่ งจากจ�ำเลยทราบอยูแ่ ล้วว่าผูต้ ายชอบด่าและท�ำร้ายคนในบ้าน ทัง้ ผูต้ ายมีอายุมากและยังเมาสุรา จ�ำเลย
อาจกระท�ำการใดเพื่อป้องกันโดยไม่จ�ำต้องรุนแรงจนถึงกับเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายก็ได้ การที่

จ�ำเลยใช้ขวดตีผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ
ข้อเท็จจริงจากค�ำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้ จ�ำเลยใช้ขวดตีผู้ก่อภยันตรายซึ่งใช้ขวดตี
จ�ำเลย เป็นการป้องกัน “ไม่เกินสัดส่วนแห่งภยันตราย” แต่ “เกินวิถีทางน้อยที่สุด” จึงเป็นการป้องกัน
เกินสมควรแก่เหตุ124
3.1.2 ป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพือ่ ป้องกัน ต้องพิจารณาว่า หากเป็นการ
ธ.

กระท�ำโดยมีเจตนาเพือ่ ป้องกันสิทธิของตนเองหรือผูอ้ นื่ จาก “ภยันตรายทีย่ งั อยูห่ า่ งไกล” หรือ “ภยันตราย


ที่ผ่านพ้นไปแล้ว” ย่อมเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน125
อุทาหรณ์ “ภยันตรายที่ยังอยู่ห่างไกล”
ฎ. 872/2510 จ�ำเลยใช้ปืนยิงเด็กซึ่งส่องไฟหากบที่ริมรั้วบ้านจ�ำเลยถึงแก่ความตาย โดย
จ�ำเลยส�ำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าพี่จ�ำเลย ซึ่งขณะที่จ�ำเลยใช้ปืนยิงผู้ถูกยิงอยู่ห่างจ�ำเลยประมาณ 7
.ม
วาโดยผูถ้ กู ยิงยังไม่ทนั เข้ามาในรัว้ บ้านจ�ำเลยและพีช่ ายจ�ำเลยอยูใ่ นห้องบนเรือนในบริเวณบ้านซึง่ ห่างไกล
ออกไป จึงถือได้ว่าภยันตรายนั้นยังอยู่ห่างไกล เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อ
ป้องกัน

122 จิตติ ติงศภัทยิ .์ กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 10). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบณ
ั ฑิตยสภา.
2546. น. 775.
123 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: กรุงสยามพับลิชชิ่ง. 2562.
น. 542.
124 เรื่องเดียวกัน. น. 541-542.
125 จิตติ ติงศภัทยิ .์ กฎหมายอาญาภาค 1. (พิมพ์ครัง้ ที่ 10). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบณ
ั ฑิตยสภา.
2546. น. 773. และโปรดดูบันทึกหมายเหตุท้ายค�ำ ฎ. 782/2520 ของศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์.
สธ ส
4-72 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

อุทาหรณ์ “ภยันตรายที่ผ่านพ้นไปแล้ว”


(1) ฎ. 2066/2533 หลังจากผูต้ ายวิง่ ออกมาจากห้องพักของจ�ำเลยแล้ว จ�ำเลยติดตามออก
มาและใช้มดี แทงผูต้ ายอีก 3 ที เป็นเหตุให้ผตู้ ายถึงแก่ความตาย แม้การกระท�ำของจ�ำเลยดังกล่าวเป็นการ
กระท�ำที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการกระท�ำของจ�ำเลยในตอนแรกซึ่งเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
แต่เมื่อจ�ำเลยแทงผู้ตายในขณะที่หมดโอกาสท�ำร้ายจ�ำเลยแล้ว การกระท�ำของจ�ำเลยในตอนหลังนี้จึง

.
เป็นการกระท�ำเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน
(2) ฎ. 1407/2537 ผูต้ ายหยิบจอบไล่ตจี ำ� เลย จ�ำเลยวิง่ หนีแล้วหันมาต่อสูแ้ ละแย่งจอบจาก
สธ สธ
ผูต้ ายได้ แล้วตีผตู้ าย เป็นการกระท�ำโดยป้องกัน จากบาดแผลทีจ่ ำ� เลยตีผตู้ าย แสดงว่าเป็นการตีอย่างแรง

มส . มส
การถูกตีอย่างแรงเช่นนี้เพียงครั้งเดียว ผู้ตายก็ไม่อาจจะท�ำร้ายจ�ำเลยได้ต่อไป การที่จ�ำเลยตีซำ�้ อีกจึงเป็น
การกระท�ำเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน
(3) ฎ. 7941/2551 ผู้ตายชกต่อยจ�ำเลยจนล้มลง ปืนของผู้ตายหล่นออกจากตัว จ�ำเลยแย่ง
ปืนได้จึงยิงผู้ตายสองนัด เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน
ข้อสังเกต ค�ำพิพากษาศาลฎีกาวินจิ ฉัยเกีย่ วกับการป้องกัน “เกินสมควรแก่เหตุ” และ “เกิน

กว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน” ปะปนหรือสับสนกัน เช่น
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 782/2520 ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปลักแตงในไร่ของจ�ำเลยในเวลากลางคืน จ�ำเลย
ใช้อาวุธปืน .22 ยิงผู้เสียหายขณะผู้เสียหายกับพวกวิ่งหนีถูกที่หลังกระสุนฝังใน การที่จ�ำเลยยิงผู้เสียหาย
โดยเหตุทผี่ เู้ สียหายลักแตง 2-3 ใบราคาเล็กน้อย กระสุนถูกทีส่ ำ� คัญตรงหน้าอก ย่อมเล็งเห็นได้วา่ มีเจตนา
ธ.

จะฆ่าจึงเป็นการกระท�ำทีเ่ กินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพือ่ ป้องกัน จ�ำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่า


ผู้เสียหายเพื่อป้องกันสิทธิของตนเกินสมควรแก่เหตุ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้นนี้ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้บันทึกหมายเหตุไว้ท้าย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาความว่า
“ถ้าจะว่าโดยเคร่งครัด โดยพิจารณาข้อแตกต่างระหว่าง “เกินสมควรแก่เหตุ” กับ “เกิน
.ม
กว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพือ่ ป้องกัน” เห็นจะต้องกล่าวว่าเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งท�ำเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ใช่
เกินกว่ากรณีที่จ�ำต้องท�ำ คือเหตุเพียงลักทรัพย์ไม่ควรที่จะฆ่า การพยายามฆ่าจึงเกินกว่าเหตุ ไม่ใช่ยัง
ไม่ทันถึงขั้นที่จ�ำต้องป้องกันก็ยิงหรือเลยขั้นที่จ�ำต้องป้องกันแล้วก็ยิง........ควรสังเกตว่า มาตรา 67 และ
68 มีหลักว่าพอสมควรแก่เหตุ ในมาตรา 69 จึงมีเกินสมควรแก่เหตุ ซึง่ ใช้สำ� หรับมาตรา 67 และ 68 อย่าง
หนึง่ เกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็นใช้สำ� หรับมาตรา 67 อย่างหนึง่ และเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำ
เพื่อป้องกัน ใช้ส�ำหรับมาตรา 68 อีกอย่างหนึ่ง”126
(2) ฎ. 620/2532 การที่ผู้ตายถือมีดใช้ทำ� ครัวบุกรุกเข้าไปในห้องจ�ำเลยในลักษณะที่จะใช้
มีดนั้นท�ำร้ายร่างกายจ�ำเลยนับได้ว่าเป็นภยันตรายแก่จ�ำเลย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จ�ำเลยจึงมีสิทธิกระท�ำพอสมควรแก่เหตุเพื่อป้องกันตนเองได้ แต่

126 อ้างโดยทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. ประมวลกฎหมายอาญา (พิมพ์ครัง้ ที่ 25). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วญ


ิ ญูชน. 2553. น. 172.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-73

การที่จ�ำเลยใช้อาวุธปืนที่มีอานุภาพในการท�ำลายร้ายแรงยิงผู้ตายถึง 5 นัด แม้ผู้ตายจะมีรูปร่างสูงใหญ่


กว่าจ�ำเลยก็ตาม ก็นับว่าเป็นการกระท�ำเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน จึงเป็นความผิด
ตาม ปอ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 69
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้นนี้ ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้บันทึกหมายเหตุไว้ท้าย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาความว่า

. “..........ข้อเท็จจริงตามค�ำพิพากษาค�ำพิพากษาศาลฎีกานี้ จ�ำเลยกระท�ำการโต้ตอบโดยมี
เจตนาพิเศษเพื่อป้องกันภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่ภยันตรายที่จ�ำเลยได้รับนั้น คือ การถูกท�ำร้ายจากมีด
สธ สธ
ท�ำครัว แต่จำ� เลยโต้ตอบกลับไปเกินสัดส่วน ด้วยการใช้ปนื ยิงจนถึงแก่ความตาย เช่นนีถ้ อื ว่าเป็นการกระท�ำ

มส . มส
เกินสมควรแก่เหตุ ไม่ใช่การกระท�ำเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน”127
(3) ฎ. 1037/2542 ขณะเกิดเหตุผเู้ สียหายเพียงแต่ใช้มอื ผลักอกจ�ำเลยจนล้มลง โดยผูเ้ สียหาย
ไม่มอี าวุธใดๆ แต่จำ� เลยกลับใช้มดี ปลายแหลมยาวรวมทัง้ ตัวใบมีดและส่วนทีเ่ ป็นด้าม ประมาณ 6 นิว้ เป็น
อาวุธแทงท�ำร้ายร่างกายผู้เสียหายหลายครั้งจนได้รับอันตรายสาหัส ถือได้ว่าจ�ำเลยกระท�ำไปเกินสมควร
กว่าเหตุและเกินกว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน

ข้อสังเกต ค�ำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์
เห็นว่า น่าจะถือว่าเป็นการป้องกัน “เกินสมควรแก่เหตุ” เนือ่ งจากเกินสัดส่วนแห่งภยันตราย128 มิใช่ “เกิน
กว่ากรณีแห่งการจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกัน”
3.2 จ�ำเป็นเกินขอบเขต การกระท�ำโดยจ�ำเป็นเกินขอบเขต ตาม ปอ. มาตรา 69 ได้แก่ 3.2.1
ธ.

กระท�ำโดยจ�ำเป็นเกินสมควรแก่เหตุ 3.2.2 กระท�ำโดยจ�ำเป็นเกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็น ดังจะแยก


ศึกษาต่อไปนี้
3.2.1 กระท�ำโดยจ�ำเป็น “เกินสมควรแก่เหตุ” หมายถึง การกระท�ำด้วยความจ�ำเป็น (1)
เพราะอยูใ่ นทีบ่ งั คับ หรืออยูภ่ ายใต้อำ� นาจทีไ่ ม่สามารถหลีกเลีย่ งหรือขัดขืนได้ หรือ (2) เพือ่ ให้ตนเองหรือ
ผู้อื่นพ้นจากภยันตราย แต่การกระท�ำนั้น “เกินวิถีทางน้อยที่สุด” หรือ “เกินสัดส่วนแห่งภยันตราย”129
ทั้งนี้ การกระท�ำ “เกินวิถีทางน้อยที่สุด” นั้น พิจารณาว่า หากการกระท�ำนั้นมิใช่วิธีการ
.ม
ขัน้ ต�ำ่ สุดทีจ่ ำ� เป็นต้องกระท�ำ หรืออีกนัยหนึง่ ก็คอื วิธกี ารสุดท้ายซึง่ จ�ำเป็นต้องกระท�ำแล้ว ก็เป็นการจ�ำเป็น”
เกินสมควรแก่เหตุ”
ส่วนการกระท�ำ “เกินสัดส่วนแห่งภยันตราย” นั้น พิจารณาว่า กรณีกระท�ำโดยจ�ำเป็นต่อ
บุคคลที่สามซึ่งไม่มีส่วนผิด หากภยันตรายร้ายแรงพอกัน ก็ต้องถือว่าเกินสัดส่วนแห่งภยันตราย เช่น ก.
ขู่ว่าจะยิง ข. หาก ข. ไม่ยิง ค. ดังนี้ หาก ข. ยิง ค. ตาย ถือว่าเกินสัดส่วน จึงเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ

127 อ้างโดยเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์พลสยาม


พริ้นติ้ง. 2551. น. 428.
128 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์พลสยามพริ้นติ้ง.
2551. น. 425 และ น. 428.
129 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์. 2536. น. 284-285 และ น. 290.
สธ ส
4-74 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

เพราะเหตุว่าการกระท�ำเพื่อให้ตนพ้นภัยโดยการกระท�ำต่อบุคคลที่สามนั้น ต้องถูกจ�ำกัดเคร่งครัดยิ่งกว่า


การกระท�ำต่อผู้ก่อภัยเอง (ซึ่งมิได้ละเมิดกฎหมาย)130 เช่น ก. ละเมอจะยิง ข. ข. จึงยิง ก. ตาย ดังนี้
ภยันตรายร้ายแรงพอกันกับการกระท�ำโดยจ�ำเป็น แต่ก็ถือว่าได้สัดส่วน จึงสมควรแก่เหตุ เพราะเป็นการ
กระท�ำต่อผู้ก่อภัยเอง
อุทาหรณ์

. ฎ. 307/2489 จ�ำเลยไปช่วยงานแต่งงานแล้วมีคนไล่ทำ� ร้ายจ�ำเลย จ�ำเลยวิ่งหนีจะเข้าไปใน


ทางห้องที่พวกเจ้าบ่าวเจ้าสาวอยู่ มีคนกั้นไม่ให้จ�ำเลยเข้าไป จ�ำเลยใช้มีดแทงคนกั้นตาย ดังนี้เป็นการ
สธ สธ
กระท�ำโดยจ�ำเป็น อย่างไรก็ตาม จ�ำเลยอาจใช้ก�ำลังหักโหมขืนผ่านคนที่กั้นทางไปได้ แต่จ�ำเลยกลับใช้

มส . มส
อาวุธแทงคนที่กั้นทางตาย จึงเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ
3.3.2 กระท�ำโดยจ�ำเป็น “เกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็น” หมายถึง การกระท�ำด้วยความ
จ�ำเป็น (1) เพราะอยูใ่ นทีบ่ งั คับหรืออยูภ่ ายใต้อำ� นาจ แต่การบังคับหรืออ�ำนาจนัน้ ยังห่างไกล หรือสามารถ
หลีกเลีย่ งหรือขัดขืนได้ หรือ (2) เพือ่ ให้ตนเองหรือผูอ้ นื่ พ้นจากภยันตราย แต่ภยันตรายนัน้ ยังอยูห่ า่ งไกล
หรือผ่านพ้นไปแล้ว131

อุทาหรณ์ กรณีจ�ำเป็นเกินขอบเขต
(1) ฎ. 8046/2542 จ�ำเลยกับผู้ตายลักลอบได้เสียกัน ต่อมา บ. สามีจ�ำเลยทราบเรื่องและ
จะให้โอกาสจ�ำเลยกลับตัว แต่ตอ้ งท�ำตามทีส่ งั่ ถ้าไม่เช่นนัน้ จะฆ่าเสียทัง้ สองคน จ�ำเลยและ บ. อยูด่ ว้ ยกัน
เพียงสองคนในบ้านพัก จ�ำเลยเป็นหญิงซึ่งเป็นเพศที่อ่อนแอกว่าจึงอาจถูก บ. ข่มเหงเอาได้ตลอดเวลา
ธ.

จ�ำเลยเป็นชู้กับผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ บ. สามีอาจฆ่าจ�ำเลยเสียได้จริง ด้วยความกลัวจ�ำเลยจึง


ยอมท�ำตาม บ. บอกแผนให้จ�ำเลยนัดผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุและก�ำชับว่าให้พาผู้ตายไปยังที่เกิดเหตุให้ได้
ไม่งนั้ เตรียมตัวตาย จ�ำเลยจึงไปหลอกชวนผูต้ ายให้ไปร่วมหลับนอนกันอีกในวันรุง่ ขึน้ วันเกิดเหตุเมือ่ จ�ำเลย
พาผู้ตายมาถึงที่เกิดเหตุ ผู้ตายถูก บ. ฆ่าตาย จ�ำเลยร่วมฆ่าผู้ตายเพราะตกอยู่ภายใต้อ�ำนาจของ บ. ซึ่ง
ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ แต่การที่จ�ำเลยยอมร่วมมือกับ บ. ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าได้กระท�ำไปเกิน
สมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความจ�ำเป็นตาม ปอ. มาตรา 67 (1), 69
.ม
ผลของการกระท�ำโดยป้องกันหรือจ�ำเป็นเกินขอบเขต
การกระท�ำโดยป้องกันหรือจ�ำเป็นเกินขอบเขตถือว่าเป็นความผิด เป็นแต่ ปอ. มาตรา 69
บัญญัติว่า “......ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” ดังนั้น จึง

130 Andenaes, Johannes. The General Part of the Criminal Law of Norway. Translated by Thomas
P. Ogie. London: Sweet & Maxwell. 1965 มีความตอนหนึ่งว่า “ The right to save oneself at a third person’s expense
must be limited more strictly than the right to protect oneself against an aggressor.” อ้างโดยเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์.
ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2536. น. 285 และโปรดดูจติ ติ
ติงศภัทยิ .์ กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 10). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบณ ั ฑิตยสภา. 2546. น. 893-897.
131 จิตติ ติงศภัทยิ .์ กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 10). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบณ ั ฑิตยสภา.
2546. น. 893. และเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์. 2536. น. 286, 290.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-75

เป็นดุลพินิจของศาล ศาลอาจไม่ลดโทษให้เลยหรือลดโทษให้โดยอาจลดโทษต�่ำกว่าโทษขั้นต�่ำที่กฎหมาย


ก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
แต่ถา้ การกระท�ำโดยป้องกันหรือจ�ำเป็นเกินขอบเขตนัน้ เกิดขึน้ จากความตืน่ เต้น ความตกใจ
หรือความกลัว ปอ. มาตรา 69 บัญญัตวิ า่ “ศาลจะไม่ลงโทษผูก้ ระท�ำก็ได้” ซึง่ หมายความว่า การกระท�ำนั้น
ยังเป็นการกระท�ำที่ผิดกฎหมายอยู่ แต่ศาลอาจไม่ลงโทษเลย หรืออาจลดโทษให้ หรือไม่ลดโทษให้เลย

.
ก็ได้132 เช่น ก. เป็นผู้ร้ายที่ทารุณโหดร้ายขู่จะท�ำร้าย ข. ซึ่งเป็นหญิง ด้วยความหวาดกลัว ข. จึงยิง ก.
ตาย แม้ศาลจะฟังว่า ข. ได้กระท�ำไปเป็นการป้องกันอันเกินสมควรแก่เหตุ แต่ถ้าศาลเห็นว่า ข. กระท�ำ
สธ สธ
ไปด้วยความหวาดกลัว สมควรยกโทษให้ ข. ดังนี้ ศาลจะไม่ลงโทษ ข. เลยก็ได้133

มส . มส
4. การกระท�ำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางมาตราระหว่างญาติใกล้ชิด
ตาม ปอ. มาตรา 71 บัญญัตวิ า่ “ความผิดตามทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336 วรรคหนึง่
และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364 นั้น ถ้าเป็นการกระท�ำที่สามีกระท�ำต่อภริยา หรือภริยากระท�ำต่อสามี
ผู้กระท�ำไม่ต้องรับโทษ

ความผิดดังระบุมานี้ ถ้าเป็นการกระท�ำที่ผู้บุพการีกระท�ำต่อผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานกระท�ำต่อ
ผู้บุพการี หรือพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระท�ำต่อกัน แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิด
อันยอมความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ และนอกจากนัน้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนด
ไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”
ธ.

เหตุผลที่ ปอ. มาตรา 71 วรรคสอง บัญญัตลิ ดโทษให้สำ� หรับความผิดบางประเภททีบ่ พุ การีกระท�ำ


ต่อผูส้ บื สันดาน ผูส้ บื สันดานกระท�ำต่อบุพการี หรือพีห่ รือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระท�ำต่อกัน อีกทัง้
ยังบัญญัติให้ความผิดบางประเภทที่ได้กระท�ำต่อกันซึ่งโดยปกติไม่อาจยอมความกันได้นั้น สามารถยอม
ความกันได้ ก็เพือ่ ความมุง่ หมายทีจ่ ะธ�ำรงรักษาไว้ซงึ่ ความมัน่ คงและความเป็นเอกภาพหรือความเป็นปึกแผ่น
ของสถาบันครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานที่ส�ำคัญของสังคม134
จากบทบัญญัติมาตรา 71 วรรคสอง แห่ง ปอ. ดังกล่าว อาจแยกพิจารณาได้ ดังนี้
.ม
4.1 เป็นกรณีทบี่ พุ การีกบั ผูส้ บื สันดาน หรือพีน่ อ้ งร่วมบิดามารดาเดียวกัน กระท�ำความผิดต่อกัน
4.2 ความผิดที่กระท�ำต่อกันนั้น ต้องเป็นความผิดความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางมาตราดังระบุไว้ใน
ปอ. มาตรา 71 วรรคหนึ่ง
4.3 ผลของการกระท�ำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางมาตราระหว่างญาติใกล้ชิดดังกล่าว

132 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย


ธรรมศาสตร์. 2536. น. 275.
133 หยุด แสงอุทยั . กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 20). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551. น. 137.
134 ยืนหยัด ใจสมุทร เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายอาญา 1: ภาคบทบัญญัติทั่วไป (หน่วยที่ 10, ปรับปรุงครั้งที่ 1).
นนทบุรี: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2535 น. 424 และทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. กฎหมายอาญาหลักและปัญหา
(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม. 2549 น. 340.
สธ ส
4-76 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

4.1 เป็นกรณีทบี่ พุ การีกบั ผูส้ บื สันดาน หรือพีน่ อ้ งร่วมบิดามารดาเดียวกัน กระท�ำความผิดต่อกัน


ค�ำว่า “บุพการี” และ “ผู้สืบสันดาน” นี้ ปอ. มิได้นิยามไว้จึงต้องเทียบเคียงจาก ปพพ. มาตรา 28 ซึ่งได้
บัญญัติไว้ว่า “บุพการี” คือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวดซึ่งเป็นผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ส่วน
“ผู้สืบสันดาน” คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ ซึ่งเป็นผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา ดังนั้น ค�ำว่า “บุพการี” และ
“ผูส้ บื สันดาน” ตาม ปอ. มาตรา 71 วรรคสองนี้ จึงหมายถึงผูส้ บื สายโลหิต “โดยตรง” ขึน้ ไปหรือผูส้ บื สาย

.
โลหิต “โดยตรง” ลงมา135 แต่ระหว่างบุตรบุญธรรมกับผูร้ บั บุตรบุญธรรม ไม่อาจถือได้วา่ เป็นผูส้ บื สันดาน
กับบุพการีตามนัยของ ปอ. มาตรา 71 วรรคสอง เพราะมิใช่ผสู้ บื สายโลหิตต่อกัน ฉะนัน้ หากบุตรบุญธรรม
สธ สธ
กับผู้รับบุตรบุญธรรมกระท�ำความผิดต่อกัน ก็ไม่ได้รับประโยชน์ดังที่ระบุไว้ใน ปอ. มาตรา 71 วรรคสอง

มส . มส
แต่อย่างใด136
ส่วนค�ำว่า “พี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน” ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ เห็นว่า หมายถึงพี่
หรือน้องร่วมบิดามารดาตามความเป็นจริงด้วย137 ดังนั้น กรณีบิดามารดามิได้สมรสกัน และบิดารับรอง
บุตรเพียงบางคนแม้บตุ รบางคนทีก่ ระท�ำความผิดต่อกันอาจมิใช่บตุ รโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาเพราะ
เหตุที่บิดามิได้รับรองบุตรนั้นก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอยู่นั่นเอง

อนึ่ง การที่ ปอ. มาตรา 71 วรรคสอง มุ่งหมายลดโทษให้เฉพาะแต่ “พี่น้องร่วมบิดามารดา
เดียวกัน” แต่ไม่รวมถึงพีน่ อ้ งร่วมแต่บดิ าหรือมารดา นัน้ น่าจะเป็นเพราะเกรงว่าจะเกิดความสับสนวุน่ วาย
มากเกินไป และความสัมพันธ์ทางสายโลหิตอาจเจือจางลงไปในกรณีทชี่ ายหญิงมีภรรยาหรือสามีหลายคน
หรือในกรณีที่ชายที่สมรสแล้วไปมีภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีบุตรด้วยกัน138
ข้อสังเกต
ธ.

1) กรณีกระท�ำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเป็นเจ้าของร่วมกับ
บุคคลอื่น เช่นนี้ย่อมมิใช่การกระท�ำความผิดต่อพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเท่านั้น แต่ยังเป็นการ
กระท�ำความผิดต่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงไม่อาจได้ประโยชน์ตาม ปอ. มาตรา 71 วรรคสอง
อุทาหรณ์
ฎ. 2185/2532 ทรัพย์ทโี่ จทก์ฟอ้ งว่าจ�ำเลยลักไปเป็นทรัพย์ทพี่ สี่ าวจ�ำเลยและสามีของพีส่ าวจ�ำเลย
.ม
เป็นเจ้าของร่วมกัน มิใช่ทรัพย์ของพี่สาวจ�ำเลยเพียงผู้เดียว หากจ�ำเลยลักทรัพย์ดังกล่าวไปจริงตามฟ้อง
จ�ำเลยก็มไิ ด้กระท�ำต่อพีส่ าวจ�ำเลยแต่เพียงผูเ้ ดียว แต่กระท�ำต่อสามีของพีส่ าวจ�ำเลยซึง่ มิใช่พหี่ รือน้องร่วม
บิดามารดาเดียวกับจ�ำเลยด้วย การกระท�ำของจ�ำเลยจึงมิใช่ความผิดอันยอมความได้ตาม ปอ. มาตรา 71
วรรคสอง
135 เทียบเคียง ปพพ. มาตรา 28 และ ฎ. 303/2497 (ประชุมใหญ่) ซึ่งวินิจฉัยว่า “ผู้สืบสันดาน” ตาม ปวิอ. มาตรา 5
(2) หมายถึงผู้สืบสันดานตามความเป็นจริง เพราะกฎหมายมิได้ความจ�ำกัดไว้ประการใด และ ฎ. 1384/2516 โปรดดูทวีเกียรติ
มีนะกนิษฐ. กฎหมายอาญาหลักและปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม. 2549. น. 342.
136 ฎ. 956/2509 (ประชุมใหญ่).
137 จิตติ ติงศภัทยิ .์ กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 10). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบณ
ั ฑิตยสภา.
2546. น. 917.
138 ยืนหยัด ใจสมุทร. เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายอาญา 1: ภาคบทบัญญัติทั่วไป (หน่วยที่ 10, ปรับปรุงครั้งที่ 1).
นนทบุรี: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2535. น. 426.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-77

2) แม้ผู้กระท�ำจะไม่รู้ว่าเป็นการกระท�ำต่อทรัพย์ของญาติใกล้ชิด ผู้กระท�ำก็ได้รับผลตามมาตรา


71 วรรคสอง ด้วย เช่น ลักทรัพย์ของมารดาไปจากผู้อื่นซึ่งยืมทรัพย์นั้นไปจากมารดา แม้ผู้กระท�ำไม่รู้ว่า
ทรัพย์นั้นเป็นของมารดา ก็ได้รับผลตาม ปอ. มาตรา 71 วรรคสอง
4.2 ความผิดที่กระท�ำต่อกันนั้น ต้องเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางมาตราดังระบุไว้ใน ปอ.
มาตรา 71 วรรคหนึ่ง ตาม ปอ. มาตรา 71 วรรคสอง นั้น ความผิดที่บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือพี่น้อง

.
ร่วมบิดามารดาเดียวกันกระท�ำต่อกันนั้น ต้องเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ โดยจ�ำกัดเฉพาะดังที่บัญญัติไว้
ในมาตรา 334 ถึงมาตรา 336 วรรคหนึ่ง และมาตรา 341 ถึงมาตรา 364 อันได้แก่ ความผิดฐานลักทรัพย์
สธ สธ
วิ่งราวทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร ท�ำให้เสียทรัพย์ และบุกรุก

มส . มส
ข้อสังเกต
หากเป็นการกระท�ำความผิดทีม่ ผี ลกระทบต่อชีวติ หรือร่างกายด้วยแล้ว ย่อมไม่ได้รบั การลดโทษ
เช่น วิ่งราวทรัพย์ที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความ
ตายตามมาตรา 336 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ เป็นต้น
4.3 ผลของการกระท�ำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางมาตราระหว่างญาติใกล้ชิดดังกล่าว

4.3.1 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางมาตรา แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอม
ความได้ ก็ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ข้างต้นที่กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็น
ความผิดอันยอมความได้ ได้แก่ ความผิดตามมาตรา 334 ถึงมาตรา 336 วรรคหนึ่ง มาตรา 343 มาตรา
357 มาตรา 360 และมาตรา 360 ทวิ นั้น หากเป็นกรณีที่บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดา
ธ.

มารดาเดียวกันกระท�ำต่อกันแล้ว ปอ. มาตรา 71 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้


4.3.2 ศาลจะลงโทษผู้กระท�ำความผิดน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้น
เพียงใดก็ได้ หากปรากฏว่าคดีความผิดดังกล่าว ไม่มีการยอมความกัน แต่ได้มีการด�ำเนินคดีไปจนถึงขั้น
ทีศ่ าลจะพิจารณาลงโทษ ศาลก็มอี ำ� นาจทีจ่ ะใช้ดลุ พินจิ ลดโทษให้นอ้ ยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับความ
ผิดนัน้ เพียงใดก็ได้ โดยไม่จำ� ต้องค�ำนึงถึงโทษขัน้ ต�่ำ แต่อย่างไรก็ตาม ศาลอาจไม่ลดโทษให้เลยก็ได้ ทัง้ นี้
ถือเป็นดุลพินิจของศาล
.ม
5. ผู้กระท�ำอายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
อาจแยกพิจารณาออกเป็น 2 กรณี คือ 5.1 ผู้กระท�ำอายุกว่า 15 ปี แต่ตำ�่ กว่า 18 ปี และ 5.2
ผู้กระท�ำอายุตั้งแต่ 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
5.1 ผู้กระท�ำอายุกว่า 15 ปี แต่ต�่ำกว่า 18 ปี ปอ. มาตรา 75 บัญญัติว่า “ผู้ใดอายุกว่าสิบห้าปีแต่
ต�ำ่ กว่าสิบแปดปี กระท�ำการอันกฎหมายบัญญัตเิ ป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรูผ้ ดิ ชอบและสิง่ อืน่
ทัง้ ปวงเกีย่ วกับผูน้ นั้ ในอันทีจ่ ะควรวินจิ ฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผูน้ นั้ หรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าไม่สมควร
พิพากษาลงโทษก็ให้จัดการตามมาตรา 74 หรือถ้าศาลเห็นว่าสมควรพิพากษาลงโทษ ก็ให้ลดมาตราส่วน
โทษที่ก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง”
สธ ส
4-78 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ตามบทบัญญัติมาตรา 75 นี้ เป็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของเยาวชน139 ซึ่งกฎหมายให้ศาล


พิจารณาว่า สมควรจะใช้วธิ กี ารส�ำหรับเด็กตามมาตรา 74 หรือสมควรจะลงโทษเยาวชนผูก้ ระท�ำความผิด
ทัง้ นีโ้ ดยก�ำหนดให้ศาลพิจารณาถึง “ความรูผ้ ดิ ชอบ” ของผูก้ ระท�ำ โดยมีแนวคิดว่า เยาวชนอาจมีความรู้
ผิดชอบ ซึง่ อาจพิจารณาได้จากพฤติการณ์ตา่ งๆ ของผูก้ ระท�ำ เช่น การตระเตรียมการก่อนกระท�ำความผิด
เป็นต้น140

. อีกทั้งให้พิจารณา “สิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้น” เช่น อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา


การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสยั อาชีพ สิง่ แวดล้อมของผูก้ ระท�ำ สภาพความผิด หรือเหตุอนื่ ๆ141
สธ สธ
จึงเห็นได้วา่ กฎหมายมิได้คำ� นึงถึง “ความรูผ้ ดิ ชอบ” ของเยาวชนผูก้ ระท�ำผิดแต่เพียงอย่างเดียว

มส . มส
แต่ยงั ค�ำนึงถึง “สิง่ อืน่ ทัง้ ปวงเกีย่ วกับเยาวชนผูก้ ระท�ำผิดแต่ละราย” ดังทีก่ ล่าวแล้วด้วย ดังนัน้ แม้เยาวชน
ผู้กระท�ำผิดจะมีความรู้ผิดชอบในขณะกระท�ำความผิด แต่หากศาลพิจารณาเห็นว่าหากใช้วิธีการส�ำหรับ
เด็กตามมาตรา 74142 แล้วจะท�ำให้เยาวชนผู้กระท�ำผิดกลับตนได้ดีกว่าที่จะพิพากษาลงโทษศาลก็สมควร
ใช้วธิ กี ารส�ำหรับเด็กตามมาตรา 74 ทัง้ นี้ เพราะเยาวชนจูงใจได้งา่ ย และสามารถแก้ไขปรับตัวเป็นคนดีได้งา่ ย
กว่าผูใ้ หญ่143 หลักในการพิจารณาลงโทษจึงควรแตกต่างจากผูใ้ หญ่ คือ ไม่ควรมุง่ เน้นลงโทษเพือ่ ทดแทน

ความผิด144 หรือลงโทษเพือ่ ให้หลาบจ�ำหรือมิให้บคุ คลอืน่ ถือเป็นเยีย่ งอย่าง145 แต่ควรมุง่ พิจารณาตัวผูก้ ระท�ำ
แต่ละราย สิง่ แวดล้อม หรือสาเหตุการกระท�ำความผิดเพือ่ หาวิธกี ารทีเ่ หมาะสมทีจ่ ะแก้ไขปรับปรุงผูก้ ระท�ำ
ให้กลับตนเป็นคนดีและไม่กระท�ำผิดต่อไป146
อย่างไรก็ตาม หากศาลพิจารณาเห็นว่าสมควรลงโทษมาตรา 75 บัญญัติว่า “...ให้ศาลลดมาตรา
ธ.

ส่วนโทษที่ก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง” ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลเห็นสมควรลงโทษแล้ว


กฎหมายบังคับให้ศาล “ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง” ดังนั้น จึงไม่เปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลพินิจ
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 1620/2544 ตามค�ำฟ้องระบุวา่ จ�ำเลยที่ 2 อายุ 17 ปี ถ้าศาลจะพิพากษาลงโทษจ�ำคุกจ�ำเลย
ที่ 2 ย่อมต้องลดมาตราส่วนโทษให้จำ� เลยที่ 2 ลงกึง่ หนึง่ ตามที่ ปอ. มาตรา 75 บัญญัตบิ งั คับไว้โดยเด็ดขาด
การทีศ่ าลชัน้ ต้นไม่ลดมาตราส่วนโทษให้จำ� เลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้แก้ไขจึงเป็นการไม่ชอบ
.ม
139 พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 4 ก�ำหนดนิยามไว้
ดังนี้ “....
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์
“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์...”.
140 เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า จ�ำเลยมีความรู้ผิดชอบ สมควรถูกลงโทษทางอาญา.
141 หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551. น. 161.
142 โปรดศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการส�ำหรับเด็กตามมาตรา 74 แห่ง ปอ. ได้ในตอนที่ 4.2 เหตุยกเว้นโทษ.
143 ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. กฎหมายอาญาหลักและปัญหา (พิมพ์ครัง้ ที่ 7). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นต
ิ ธิ รรม. 2549. น. 318.
และหยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551. น. 162.
144 ทฤษฎีการลงโทษเพื่อทดแทน (retributive theory).
145 ทฤษฎีการลงโทษเพื่อป้องกัน (preventive theory).
146 ทฤษฎีแก้ไขปรับปรุง (reformative theory).
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-79

(2) ฎ. 7618 /2560 ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับ


ที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และ 76 แห่งปอ. และให้ใช้ความใหม่แทน คดี
นีข้ ณะกระท�ำความผิดจ�ำเลยอายุ 17 ปีเศษ ........กฎหมายทีแ่ ก้ไขใหม่กำ� หนดว่าถ้าศาลเห็นสมควรลงโทษ
ให้ศาลลดมาตราส่วนโทษให้จำ� เลยกึง่ หนึง่ อันเป็นบทบัญญัตบิ งั คับเด็ดขาด มิใช่เป็นเรือ่ งทีศ่ าลเห็นสมควร
ลดมาตราส่วนโทษหรือไม่ก็ได้ และการลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึง

.
ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จ�ำเลยตาม ปอ. มาตรา 3
ทั้งนี้ “การลดมาตราส่วนโทษ” นั้น หมายถึง การลดอัตราโทษตามที่กฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับ
สธ สธ
ความผิดนั้นลงกึ่งหนึ่งก่อนแล้วจึงก�ำหนดโทษที่จะลง147 เช่น ความผิดนั้นมีอัตราโทษจ�ำคุก 10 ปี ลด

มส . มส
มาตราส่วนโทษลงกึง่ หนึง่ เหลืออัตราโทษจ�ำคุกเพียง 5 ปี แล้วจึงก�ำหนดโทษทีจ่ ะลงภายในอัตราโทษดังกล่าว
เป็นต้น
ข้อสังเกต
1. เมื่อศาล “ลดมาตราส่วนโทษ” ลงกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 75 นี้แล้ว หากมีเหตุลดโทษประการ
อื่นอีก เช่น เหตุบรรเทาโทษ ตามมาตรา 78 ศาลอาจ “ลดโทษที่จะลง” ได้อีก148

2. จากบทบัญญัติ มาตรา 75 เห็นได้ว่า ผู้มีอายุต�่ำกว่า 18 ปี จึงไม่อาจถูกลงโทษประหารชีวิต
หรือจ�ำคุกตลอดชีวิตได้149
5.2 ผู้กระท�ำอายุตั้งแต่ 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี ปอ. มาตรา 76 บัญญัติว่า “ผู้ใดอายุตั้งแต่สิบแปด
ปีแต่ยงั ไม่เกินยีส่ บิ ปี กระท�ำการอันกฎหมายบัญญัตเิ ป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษ
ที่กำ� หนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้”
ธ.

ตามบทบัญญัตดิ งั กล่าวเป็นเรือ่ งความรับผิดทางอาญาของบุคคลซึง่ มีอายุตงั้ แต่ 18 ปีแต่ยงั ไม่เกิน


20 ปีซงึ่ โดยทัว่ ไปถือว่าเป็นผูใ้ หญ่แล้ว ย่อมมีความรูส้ กึ ผิดชอบ เช่น ผูใ้ หญ่ บุคคลในกลุม่ นีจ้ งึ ต้องมีความ
รับผิดทางอาญา กล่าวคือ เมื่อกระท�ำความผิดทางอาญาก็จะต้องถูกลงโทษทางอาญา
อย่างไรก็ตาม กฎหมายค�ำนึงว่า ในความเป็นจริงบุคคลซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีอาจมิได้มีความรู้สึก
ผิดชอบที่สมบูรณ์เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ทั่วไปเสมอไป เช่น ยังไม่มีความยั้งคิดเพียงพอ กระท�ำไปด้วยความ
คึกคะนอง ดังนี้ ในกรณีที่บุคคลซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีแต่ยังไม่เกิน 20 ปี กระท�ำความผิด มาตรา 76 จึง
.ม
เปิดโอกาสให้ศาลใช้ดลุ พินจิ ได้ตามควรแก่กรณีโดยพิเคราะห์ถงึ ความรูส้ กึ ผิดชอบและสิง่ อืน่ ทัง้ ปวงเกีย่ วกับ
ผู้กระท�ำ กล่าวคือ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่ก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นก็ได้ โดยให้มี
อ�ำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ ดังนี้ คือ หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง ตามแต่จะเห็นสมควร หรือศาลอาจไม่ลด
มาตราส่วนโทษให้เลยก็ได้ บทบัญญัติมาตรา 76 หาได้บังคับให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำ� เลย
ทุกกรณีเสมอไป150
147 ฎ. 6815/2548.
148 ฎ. 3321/2535.
149 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปอ. มาตรา 18 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติชัดเจนมิให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจ�ำคุกตลอดชีวิตแก่
ผูก้ ระท�ำความผิดในขณะทีอ่ ายุตำ�่ กว่า 18 ปี และหากกระท�ำความผิดซึง่ มีโทษประหารชีวติ หรือจ�ำคุกตลอดชีวติ มาตรา 18 วรรคสาม
ก็ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจ�ำคุกห้าสิบปี.
150 ฎ. 248/2545.
สธ ส
4-80 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

อุทาหรณ์


(1) ฎ. 287/2510 จ�ำเลยอายุ 19 ปี กับพวก กระท�ำความผิดด้วยความคะนองจนตัวเองถูกยิงบาด
เจ็บ ศาลลดมาตราส่วนโทษหนึ่งในสาม
(2) ฎ. 1030/2533 ขณะกระท�ำผิด จ�ำเลยที่ 1 ที่ 2 อายุ18 ปี ทั้งให้การรับสารภาพตลอดมา แต่
พฤติกรรมทีจ่ ำ� เลยทัง้ สองกระท�ำความผิดตัง้ แต่เริม่ แรกโดยร่วมกันวางแผนและด�ำเนินการตามแผนทีว่ างไว้

.
เป็นพฤติกรรมอันส่อแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกผิดชอบเสมือนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ศาลย่อมใช้ดุลพินิจไม่ลด
มาตราส่วนโทษ
สธ สธ
(3) ฎ. 7584/2543 ปอ. มาตรา 76 เป็นดุลพินิจของศาล ถ้าเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษให้

มส . มส
หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นดุลพินิจที่เห็นว่าจ�ำเลยที่ 1
อายุ 19 ปีเศษ รู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงไม่ลดมาตราส่วนโทษให้
ทั้งนี้ “การลดมาตราส่วนโทษ” ตามมาตรา 76 นี้ ก็เช่นเดียวกับมาตรา 75 คือ เป็นการลดอัตรา
โทษตามทีก่ ฎหมายบัญญัตแิ ล้วจึงก�ำหนดโทษทีจ่ ะลงในระหว่างอัตราโทษนัน้ มิใช่ให้ศาลก�ำหนดโทษทีจ่ ะ
ลงไว้ก่อนแล้วจึงลดจากโทษที่ก�ำหนดนั้น151

ข้อสังเกต หากข้อเท็จจริงเป็นกรณีที่ผู้กระท�ำอายุกว่า 20 ปีแล้ว ก็ย่อมไม่ได้รับการลดโทษตาม
มาตรา 76 นี้ แต่อาจมีเหตุลดโทษประการอื่นได้ เช่น เหตุบรรเทาโทษ ตามมาตรา 78 เป็นต้น

กิจกรรม 4.3.1
ธ.

1. ปอง ขอเงิน แก้วซึ่งเป็นภรรยาไปซื้อสุรา แก้วไม่ให้ ปองจึงตรงเข้ากระชากผมและท�ำร้าย


ตบตีแก้ว แก้วจึงใช้ปนื ทีห่ วั นอนยิงปองเพือ่ ป้องกัน ถูกบริเวณหน้าอกถึงแก่ความตาย ดังนี้ ศาลอาจพิจารณา
พิพากษาเช่นไร
2. การใช้ดุลพินิจของศาลของ ปอ. มาตรา 75 กับมาตรา 76 แตกต่างกันอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 4.3.1
.ม
1. กรณีตามปัญหา การที่แก้วถูกท�ำร้ายตบตี แต่กระท�ำการโต้ตอบเพื่อป้องกันโดยการใช้ปืนยิง
ปองถูกบริเวณอกนั้น เป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ปอ. มาตรา 69 ซึ่งศาลจะลงโทษแก้วน้อย
กว่าที่กฎหมายก�ำหนดส�ำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตาม ปอ. มาตรา 288 เพียงใดก็ได้
2. ตาม ปอ. มาตรา 75 ให้ศาลใช้ดลุ พินจิ ว่าจะสมควรพิพากษาลงโทษจ�ำเลยหรือไม่ ถ้าศาลเห็น
ว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษ ก็ให้จัดการตามมาตรา 74 แต่ถ้าศาลเห็นว่าสมควรพิพากษาลงโทษ ก็ให้
ศาลลดมาตราส่วนโทษที่กำ� หนดไว้ส�ำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง
แต่ตามมาตรา 76 ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำ� เลยหรือไม่ ถ้าศาล
เห็นสมควรก็ให้ลดมาตราส่วนโทษทีก่ ำ� หนดไว้สำ� หรับความผิดนัน้ ลงหนึง่ ในสามหรือกึง่ หนึง่ ก็ได้ แต่ถา้ ศาล
ไม่เห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้ ก็ให้ลงโทษจ�ำเลยไปตามโทษที่ก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้น

151 ฎ. 6387/2540.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-81

เรื่องที่ 4.3.2


เหตุบันดาลโทสะ

. การทีบ่ คุ คลบันดาลโทสะหรือไม่อาจควบคุมความโกรธของตนเองได้ อาจท�ำให้ขาดสติหรือเหตุผล


ยัง้ คิดและเป็นเหตุให้กระท�ำความผิดได้โดยง่าย ซึง่ โดยปกติการกระท�ำความผิดโดยมีโทสะหรือความโกรธ
สธ สธ
แม้จะมิได้ทำ� ให้การกระท�ำนัน้ ชอบด้วยกฎหมาย แต่หากการกระท�ำความผิดโดยมีโทสะหรือความโกรธนัน้

มส . มส
เป็นเพราะการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงโดยไม่เป็นธรรม ผู้กระท�ำความผิดก็ไม่ควรต้องรับโทษเต็มที่ ทั้งนี้
โดยค�ำนึงถึงจิตใจของผูก้ ระท�ำซึง่ กระท�ำไปโดยขาดสติหรือเหตุผลยัง้ คิด เนือ่ งจากเกิดโทสะเพราะถูกข่มเหง
หรือยัว่ ยุ จึงย่อมเป็นภัยน้อยกว่าผูท้ กี่ ระท�ำโดยมีสติหรือเหตุผลยัง้ คิดดีทกุ ประการ อีกทัง้ ผูเ้ สียหายเองก็มี
ส่วนก่อเหตุบันดาลโทสะ ผู้กระท�ำความผิดจึงสมควรได้รับการลดหย่อนโทษ กฎหมายจึงจ�ำต้องยอมรับ
ธรรมชาติของมนุษย์ดงั กล่าว152 ดังมีภาษิตกฎหมายว่า “ผูก้ ระท�ำความผิดโดยบันดาลโทสะควรถูกลงโทษ

แต่เพียงสถานเบา” (Delinquens Par Iram Provocatus Puniri Debet Mitius) ซึ่ง ปอ. ก็ได้บัญญัติ
รับรองไว้ในมาตรา 72 ว่า “ผูใ้ ดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรม จึงกระท�ำ
ความผิดต่อผูข้ ม่ เหงในขณะนัน้ ศาลจะลงโทษผูน้ นั้ น้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้สำ� หรับความผิดนัน้ เพียง
ใดก็ได้”
ทัง้ นี้ อาจแยกพิจารณาหลักเกณฑ์ของการกระท�ำความผิดโดยบันดาลโทสะ ตาม ปอ. มาตรา 72
ธ.

ดังกล่าว ออกเป็น 4 ประการ ดังต่อไปนี้


1. ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
2. การถูกข่มเหงนั้นเป็นเหตุให้ผู้กระท�ำบันดาลโทสะ
3. กระท�ำต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะ
4. ผลของการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ
.ม
1. ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ในการพิจารณาว่าการกระท�ำใดจะถือได้ว่า เป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ อันจะเป็นเหตุให้ได้
รับการลดโทษนัน้ มีหลักเกณฑ์ประการแรก คือ จะต้องปรากฏว่าผูก้ ระท�ำถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุ
อันไม่เป็นธรรม โดยอาจแยกพิจารณาได้ ดังนี้
1.1 ถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม “การข่มเหง” ต้องเป็นการกระท�ำใดๆ ของบุคคล หรือ
พฤติการณ์ทบี่ คุ คลต้องรับผิดชอบ เช่น การใช้กำ� ลังท�ำร้าย การแสดงกิรยิ าท่าทาง การใช้วาจาดูถกู ดูหมิน่
เป็นต้น แต่หากเป็นเหตุการณ์ตามธรรมชาติ หรือสัตว์ สิ่งของที่ไม่มีบุคคลใดรับผิดชอบท�ำให้เกิดโทสะ
เช่น เกิดพายุแรงพัดกิ่งไม้ตกใส่กระจกรถยนต์แตกเสียหาย เจ้าของรถยนต์จึงเกิดโทสะด่าทอบุคคลอื่นที่
อยู่ในบริเวณนั้น เช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการข่มเหงแต่อย่างใด
152 ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. กฎหมายอาญาหลักและปัญหา (พิมพ์ครัง้ ที่ 7). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นติ ธิ รรม. 2549. น. 343.
สธ ส
4-82 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ประการส�ำคัญคือ ต้องเป็นการข่มเหงด้วย “เหตุอันไม่เป็นธรรม” กล่าวคือ การข่มเหงได้กระท�ำ


ไปโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร153 ซึ่งอาจเป็นการกระท�ำอันละเมิดต่อกฎหมายหรือแม้ไม่ถึงขั้นละเมิด
ต่อกฎหมายก็ตาม ดังนัน้ จึงแตกต่างจากการป้องกันซึง่ จะต้องมีภยันตรายทีเ่ กิดจากการกระท�ำอันละเมิด
ต่อกฎหมายเท่านั้น
อุทาหรณ์ ที่ถือว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

. (1) ฎ. 249/2515 จ�ำเลยเห็นผูต้ ายก�ำลังช�ำเราภรรยาจ�ำเลยในห้องนอน แม้มใิ ช่ภรรยาทีช่ อบด้วย


กฎหมาย แต่ก็อยู่กินกันมาจนมีบุตรด้วยกัน 6 คน จ�ำเลยย่อมมีความรักและหวงแหน การที่จ�ำเลยใช้มีด
สธ สธ
พับเล็กที่หาได้ในทันทีทันใดแทงผู้ตาย 2 ที และแทงภรรยา 1 ที ดังนี้ ถือว่าจ�ำเลยกระท�ำความผิดโดย

มส . มส
บันดาลโทสะ
ตามค�ำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น จ�ำเลยและภรรยามิใช่สามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่
ผู้ตายก�ำลังช�ำเราภรรยาจ�ำเลยมิใช่ภยันตรายทีเ่ กิดจากการละเมิดกฎหมายจึงไม่เป็นการป้องกัน แต่ถอื ว่า
เป็นการข่มเหงจ�ำเลยด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ
(2) ฎ. 3861/2547 แม้จ�ำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต. มีสิทธิป้องกันมิให้หญิงอื่น

มามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสามีของตน แต่ขณะจ�ำเลยพบโจทก์ร่วมนั้น โจทก์ร่วมก�ำลังนอนหลับอยู่
กับ ต. เท่านั้น มิได้ก�ำลังร่วมประเวณีกัน พฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการ
ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันจ�ำเลยจ�ำต้องกระท�ำเพื่อป้องกันสิทธิ
ของจ�ำเลยแต่อย่างใด การกระท�ำของจ�ำเลยจึงมิใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่โจทก์
ร่วมเข้าไปนอนหลับอยู่กับ ต. สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจ�ำเลยที่เตียงนอนในฟาร์มเลี้ยงไก่ของ ต.
ธ.

เช่นนีน้ บั ได้วา่ เป็นการกระท�ำทีข่ ม่ เหงจิตใจของจ�ำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม เมือ่ จ�ำเลยพบเห็น


โดยบังเอิญมิได้คาดคิดมาก่อนและไม่สามารถอดกลัน้ โทสะไว้ได้ ใช้มดี ฟันศีรษะโจทก์รว่ มไปในทันทีทนั ใด
การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ ตาม ปอ. มาตรา 72
ข้อสังเกต
1) หากได้กระท�ำโดยมีสิทธิหรือมีอ�ำนาจตามกฎหมาย ก็ไม่ถือว่าเป็นการข่มเหงด้วยเหตุอันไม่
เป็นธรรมแต่อย่างใด154
.ม
อุทาหรณ์
ฎ. 929/2534 ผูต้ ายเป็นผูบ้ งั คับบัญชาของจ�ำเลย ไม่ดำ� เนินการย้ายจ�ำเลยกลับมาท�ำงานต�ำแหน่ง
พนักงานขับรถตามที่จ�ำเลยขอร้อง กลับน�ำบันทึกขอความเป็นธรรมของจ�ำเลยมาเขียนว่า ให้ปฏิบัติตาม
ค�ำสั่งกรมการแพทย์ที่สั่งให้จ�ำเลยไปท�ำหน้าที่คนกลั่นน�้ำ ดังนี้ เป็นการที่ผู้ตายปฏิบัติตามอ�ำนาจหน้าที่
มิใช่การข่มเหงจ�ำเลยด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรมจ�ำเลยจะน�ำมาอ้างเพือ่ กระท�ำต่อผูต้ ายโดยอาศัยเหตุบนั ดาล
โทสะมิได้
แต่หากเป็นการกระท�ำเกินกว่าสิทธิหรืออ�ำนาจตามกฎหมาย ก็อาจถือว่าเป็นการข่มเหงด้วยเหตุ
อันไม่เป็นธรรมได้

153 หยุด แสงอุทยั . กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 20). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2551. น. 172.
154 ฎ. 1720/2530 และ ฎ. 429-430/2505.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-83

อุทาหรณ์


ฎ. 1787/2511 บุตรใช้เท้าถีบฝาเรือนต่อหน้าบิดา บิดาจึงเอามีดดาบขนาดใหญ่ตามแทงบุตร
เป็นการใช้สิทธิความเป็นบิดาเกินควร ถือว่าเป็นการข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม บุตรปัดมีดดาบจาก
มือบิดาแล้วหยิบมีดดาบนั้นขึ้นท�ำร้ายบิดาในทันที อ้างเหตุบันดาลโทสะได้
2) กรณีเป็นผูก้ อ่ เหตุขนึ้ ก่อน หากอีกฝ่ายกระท�ำโต้ตอบ เช่นนี้ ไม่ถอื ว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอนั ไม่
เป็นธรรม155

. อุทาหรณ์
สธ สธ
ฎ. 1776/2518 จ�ำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อนโดยเปิดน�้ำในนาของผู้ตายจนแห้งเพื่อน�ำน�้ำเข้าไป

มส . มส
ใช้ในนาของจ�ำเลย เมื่อผู้ตายมาด่าและท้าทายจ�ำเลย จ�ำเลยท�ำร้ายผู้ตาย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าถูกข่มเหงด้วย
เหตุอันไม่เป็นธรรม จะอ้างว่ากระท�ำไปโดยบันดาลโทสะไม่ได้
3) กรณีสมัครใจวิวาทต่อสูท้ ำ� ร้ายกัน ไม่ถอื ว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรม จะอ้างว่ากระท�ำ
โต้ตอบอีกฝ่ายโดยบันดาลโทสะไม่ได้156
อุทาหรณ์

ฎ. 643/2562 การทีผ่ เู้ สียหายกับจ�ำเลยมีเรือ่ งโต้เถียงกัน และจ�ำเลยท้าทายให้ผเู้ สียหายลงจากรถ
ตามพฤติการณ์ถอื ได้วา่ จ�ำเลยได้สมัครใจเข้าวิวาทกับผูเ้ สียหายแล้ว แม้ผเู้ สียหายจะขับรถพุง่ ชนถังน�ำ้ แข็ง
และรถจักรยานยนต์บริเวณหน้าบ้านของจ�ำเลยก่อนก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่จ�ำเลยกับผู้เสียหาย
สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน ดังนัน้ จ�ำเลยจึงไม่อาจทีจ่ ะอ้างสิทธิปอ้ งกันได้ตามกฎหมาย เมือ่ ข้อเท็จจริงฟังได้
ว่าจ�ำเลยสมัครใจทีจ่ ะวิวาทกับผูเ้ สียหายเองแล้ว จึงไม่อาจถือได้วา่ จ�ำเลยถูกข่มเหงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรม
ธ.

อันจะอ้างเหตุบันดาลโทสะได้
4) การพัวพันอยู่ในที่เกิดเหตุ เสมือนเป็นการสนับสนุนให้ผู้ข่มเหงฮึกเหิม อาจถือว่าเป็นการ
ข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมได้
อุทาหรณ์
ฎ. 1704/2518 ส. และ ป. ด่าจ�ำเลยหยาบช้ารุนแรงประมาณครึ่งชั่วโมง จ�ำเลยคว้ามีดดาบฟัน ส.
และ ป. ตาย และฟัน ค. น้องสาวของ ส. ด้วยแต่ไม่ตาย เพราะ ค. พัวพันอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุเสมือน
.ม
เป็นการสนับสนุนเป็นพวกของ ส. และ ป. ให้ฮกึ เหิมขึน้ ถือว่าจ�ำเลยฟัน ค. เป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ
1.2 เหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องร้ายแรง เหตุอันไม่เป็นธรรมนั้นต้องเป็นเรื่องร้ายแรง โดยต้อง
พิจารณาเปรียบเทียบกับความรู้สึกของบุคคลธรรมดาหรือวิญญูชนทั่วไปที่อยู่ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์
เช่นเดียวกับผู้กระท�ำความผิด (objective test) จะถือเอาความรู้สึกนึกคิดของตัวผู้กระท�ำความผิดเป็น
เกณฑ์ในการพิจารณาว่าผูก้ ระท�ำความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ไม่ได้เพราะ
หากผูก้ ระท�ำความผิดเป็นคนอารมณ์โกรธฉุนเฉียวง่ายกว่าปกติ จะกลายเป็นว่าสนับสนุนให้คนทีไ่ ม่รจู้ กั ใช้
เหตุผลหรือสติยั้งคิดในการระงับอารมณ์โกรธของตนเองได้รับการลดโทษ157
155 ฎ. 5916/2533 และ ฎ. 5371/2542.
156 ฎ. 3089/2541, ฎ. 4686/2545 และ ฎ. 8347/2554.
157 ฎ. 10/2549, ฎ. 7835/2554 และ ฎ. 19190/2555 และโปรดดู ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. กฎหมายอาญาหลักและปัญหา
(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นิติธรรม. 2549. น. 346. และเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2536. น. 332.
สธ ส
4-84 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

อุทาหรณ์ ที่ถือว่าถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม


(1) ฎ. 1249/2535 ในวันเกิดเหตุจำ� เลยซึง่ เป็นภริยาผูเ้ สียหายนอนเฝ้าห้างนาเพียงคนเดียวผูเ้ สียหาย
ไปดืม่ สุรากับเพือ่ น เพิง่ ไปหาจ�ำเลยเมือ่ เวลา 24 นาฬิกา และให้จำ� เลยไปหาข้าวมาให้ผเู้ สียหายรับประทาน
จ�ำเลยต้องเดินไปเอาข้าวที่บ้านซึ่งอยู่ห่างห้างนา 3 เส้น เมื่อเอามาแล้วผู้เสียหายไม่ยอมรับประทาน กลับ
บ่นว่าจ�ำเลยและยังพูดถึงภรรยาน้อยอีกด้วย การกระท�ำของผูเ้ สียหายเป็นการข่มเหงน�ำ้ ใจจ�ำเลยอย่างร้าย

.
แรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จ�ำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายในขณะนั้น เป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ
(2) ฎ. 6802/2545 จ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเป็นเพราะนายดาบต�ำรวจ อ. สามีจ�ำเลย ได้
สธ สธ
แสดงความรักใคร่ในท�ำนองพลอดรักกับผู้เสียหาย ซึ่งมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับนายดาบต�ำรวจ อ. สามี

มส . มส
จ�ำเลย ย่อมท�ำให้จำ� เลยได้รบั ความกระทบกระเทือนทางด้านจิตใจอย่างรุนแรงและถือได้วา่ จ�ำเลยถูกข่มเหง
อย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรม การทีจ่ ำ� เลยใช้อาวุธปืนยิงผูเ้ สียหายไปในขณะนัน้ โดยทันทีจงึ เป็นการ
กระท�ำโดยเหตุบนั ดาลโทสะ แม้จะไม่ปรากฏว่าผูเ้ สียหายกับนายดาบต�ำรวจ อ. ทราบว่าจ�ำเลยอยูใ่ นบริเวณ
ที่เกิดเหตุขณะที่บุคคลทั้งสองพลอดรักกันก็ตาม แต่เมื่อการกระท�ำดังกล่าวมีผลเป็นการข่มเหงจ�ำเลยแล้ว
ก็มีเหตุที่จ�ำเลยจะบันดาลโทสะได้หาจ�ำต้องเป็นกรณีที่ผู้เสียหายกระท�ำโดยเจตนามุ่งที่จะข่มเหงจ�ำเลย

โดยตรงแต่ประการใดไม่
(3) ฎ. 1371/2540 การทีผ่ เู้ สียหายซึง่ เป็นเจ้าพนักงานในต�ำแหน่งนายอ�ำเภอผูม้ หี น้าทีร่ กั ษาความ
สงบเรียบร้อยในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบได้ออกค�ำสั่งให้จ�ำเลยผู้เป็นราษฎรในเขตท้องที่ที่ตนดูแลอยู่ให้ปิด
สถานบริการก่อนเวลาที่ทางราชการก�ำหนดอันเป็นค�ำสั่งที่ไม่ชอบด้วยหน้าที่ และปฏิเสธการขอร้องของ
ธ.

จ�ำเลยที่จะอนุญาตให้เปิดสถานบริการต่อตามก�ำหนดเวลาของทางราชการ ตลอดจนการที่ผู้เสียหายผลัก
จ�ำเลยให้พ้นทางของตนโดยไม่ยอมรับฟังจ�ำเลยต่อไปนั้น เป็นการข่มเหงจ�ำเลยราษฎรในความปกครอง
ของตนอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อจ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายผู้ข่มเหงตนในขณะนั้น
จึงถือได้ว่าจ�ำเลยกระท�ำความผิดไปโดยบันดาลโทสะ
(4) ฎ. 2958/2540 แม้ผตู้ ายกับจ�ำเลยจะเคยเป็นสามีภริยากันแต่กไ็ ด้หย่าขาดกันแล้ว ผูต้ ายไม่มี
ความชอบธรรมที่พาพวกมารื้อบ้านจ�ำเลยถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุ เมื่อจ�ำเลยห้ามปรามกลับถูกผู้ตาย
.ม
ด่าด้วยถ้อยค�ำหยาบคาย ทัง้ สภาพบ้านของจ�ำเลยทีถ่ กู ผูต้ ายกับพวกรือ้ เอาไม้กระดานและฝาบ้านออกจาก
ตัวบ้านจนไม่อยูใ่ นสภาพจะใช้อยูอ่ าศัยได้ การกระท�ำของผูต้ ายดังกล่าวถือได้วา่ เป็นการข่มเหงจ�ำเลยอย่าง
ร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เหลือวิสัยที่จ�ำเลยจะอดกลั้นโทสะไว้ได้ จ�ำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายใน
ทันที การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการกระท�ำผิดโดยบันดาลโทสะ ตาม ปอ. มาตรา 72
(5) ฎ. 3649-3650/2547 ผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นวัยรุ่นบุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้านที่จ�ำเลยที่ 2
และครอบครัวอยู่อาศัยและปีนหลังคาห้องน�้ำแอบดูการอาบน�้ำของน้องสาวจ�ำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในวัยรุ่น
เช่นกันและยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาของจ�ำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการข่มเหงจ�ำเลยที่ 2 อย่าง
ร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จนก่อให้เกิดโทสะขึ้นถึงขั้นกระท�ำความผิดลงได้ จ�ำเลยที่ 2 ใช้มีดพร้า
ฟันผูเ้ สียหายทัง้ สองได้รบั อันตรายสาหัส แม้การกระท�ำของจ�ำเลยที่ 2 จะกระท�ำต่อผูเ้ สียหายทัง้ สองในลักษณะ
ที่รุนแรงเกินไป การกระท�ำของจ�ำเลยที่ 2 ก็ยังเป็นการกระท�ำผิดโดยบันดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-85

ซึง่ ศาลมีอำ� นาจลงโทษจ�ำเลยที่ 2 น้อยกว่าทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ทัง้ นีโ้ ดยค�ำนึงถึงความเหมาะสม


แห่งพฤติการณ์และความร้ายแรงในการกระท�ำผิด
(6) ฎ. 3471/2553 จ�ำเลยเป็นเจ้าพนักงานต�ำรวจมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย การที่
นาย อ. กับพวกไล่ท�ำร้ายกลุ่มวัยรุ่น จ�ำเลยได้เข้าห้ามปรามและสั่งให้ทุกฝ่ายหยุดและนั่งลง กลุ่มวัยรุ่น
ปฏิบตั ติ าม แต่นาย อ. ไม่ปฏิบตั ติ าม กลับท้าทายอ�ำนาจหน้าทีต่ ามกฎหมายของจ�ำเลย โดยเข้าไปเตะวัยรุน่

.
ทีน่ งั่ ตามค�ำสัง่ ของจ�ำเลย ย่อมท�ำให้จำ� เลยโกรธเคือง ถือเป็นการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็น
ธรรม จ�ำเลยจึงท�ำร้ายนาย อ. ผู้ตายเข้าไปดึงเอวจ�ำเลยไว้ จ�ำเลยเข้าใจว่าผู้ตายเป็นพวกเดียวกับนาย อ.
สธ สธ
ทีท่ า้ ทายอ�ำนาจตามกฎหมายของจ�ำเลย การทีจ่ ำ� เลยใช้อาวุธปืนยิงผูต้ ายจึงเป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ

มส . มส
นอกจากนั้น การใช้ค�ำพูดดูถูก เย้ยหยันเหยียดหยาม สบประมาทผู้อื่น โดยมีพฤติการณ์บาง
ประการ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นอับอาย แค้นเคือง หรือกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง อาจถือเป็นการ
ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมได้ เช่น
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 5495/2534 ผูต้ ายเมาสุรากล่าววาจาล่วงเกินจ�ำเลยโดยกล่าวว่าท�ำงานไม่เป็นแต่ได้คา่ แรง

แพงท�ำงานผิดแล้วไม่ยอมรับผิด ท�ำงานเป็นช่างไม้ได้ ไม่เท่าไรท�ำเป็นอวดเก่ง และด่าแม่จ�ำเลย ผู้ตาย
พูดจาถากถางซ�้ำไปซ�้ำมาหลายครั้ง ครั้นจ�ำเลยจะกลับก็ไม่ยอมให้กลับ พฤติการณ์เหล่านี้เห็นได้ว่าผู้ตาย
กล่าววาจาและกระท�ำการอันเป็นการดูถูกเหยียดหยาม เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม
จนจ�ำเลยบันดาลโทสะ จึงไปหยิบค้อนมาตีผู้ตายในขณะนั้น ดังนี้ เป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ
ธ.

(2) ฎ. 428/2536 เมือ่ จ�ำเลยกับผูต้ ายอยูก่ นิ ร่วมกันฉันสามีภรรยา การทีผ่ ตู้ ายไปนอนค้างคืนกับ


นาย พ. และผู้ตายยังบอกจ�ำเลยต่อหน้านาย พ. อย่างปราศจากความย�ำเกรงจ�ำเลยว่า ผู้ตายมานอนกับ
นาย พ. ทุกคืน จึงเป็นการเยาะเย้ยท้าทายจ�ำเลยว่าได้ทำ� ชูก้ นั อยูเ่ รือ่ ยๆ อันเป็นการยัว่ ยุอารมณ์ของจ�ำเลย
ถือได้ว่าเป็นการสบประมาทจ�ำเลยอย่างร้ายแรง ย่อมเหลือวิสัยที่จำ� เลยจะอดกลั้นไว้ได้ พฤติการณ์เช่นนี้
ถือได้วา่ เป็นการกดขีข่ ม่ เหงจิตใจของจ�ำเลยอย่างร้ายแรง การทีจ่ ำ� เลยใช้อาวุธปืนยิงผูต้ ายในทันทีจงึ เป็นการ
กระท�ำโดยบันดาลโทสะ
.ม
(3) ฎ. 7774/2544 ผู้ตายได้พูดกับจ�ำเลยด้วยถ้อยค�ำว่า “มึงไม่นักเลง พ่อมึงถูกฆ่าตั้งแต่เล็กๆ
มึงไม่มีนำ�้ ยา” จ�ำเลยตอบว่า “เสร็จแล้วก็ให้เสร็จกันไป” ผู้ตายพูดว่า “เสร็จแต่มึง กูไม่เสร็จ” ในบริเวณ
งานศพต่อหน้าผู้มาร่วมงานศพจ�ำนวนหลายคน ทั้งผู้ตายถูกกล่าวหาว่าร่วมกันฆ่าบิดาจ�ำเลย แต่ผู้ตาย
ต่อสู้คดีจนพ้นความผิด พฤติการณ์ที่ผู้ตายกล่าวถ้อยค�ำต่อหน้าจ�ำเลยและบุคคลอื่นอีกหลายคนตอกย�้ำ
ความรู้สึกของจ�ำเลยว่าผู้ตายฆ่าบิดาจ�ำเลยตั้งแต่จำ� เลยยังเป็นเด็ก แต่จำ� เลยก็ไม่มีความกล้าหาญพอที่จะ
ท�ำอะไรได้ แม้จำ� เลยจะพูดโต้ตอบไปว่าไม่ตดิ ใจในเรือ่ งดังกล่าวอีกต่อไปแล้วก็ตามแต่ผตู้ ายก็ยงั พูดท�ำนอง
ท้าทายจะเอาเรื่องกับจ�ำเลยอีกย่อมเป็นการเย้ยหยันสบประมาทต่อจ�ำเลยอย่างร้ายแรง ท�ำให้จ�ำเลยรู้สึก
อับอายขายหน้าและแค้นเคืองขึน้ มาโดยทันใดอย่างมาก ถือได้วา่ การกระท�ำของผูต้ ายเป็นการข่มเหงจิตใจ
ของจ�ำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จ�ำเลยหยิบมีดพร้าในบริเวณที่เกิดเหตุฟันผู้ตายใน
ขณะนั้น 1 ครั้ง ที่บริเวณศีรษะจนเป็นให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะตาม
ปอ. มาตรา 72
สธ ส
4-86 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

(4) ฎ. 7552/2551 จ�ำเลยเป็นบิดาของผู้เสียหาย คืนเกิดเหตุผู้เสียหายดื่มสุราจนเมา จ�ำเลยได้


ไล่ให้ผเู้ สียหายไปนอนทีบ่ า้ น ไม่ให้นอนทีก่ ระท่อมของจ�ำเลย ผูเ้ สียหายไม่ยอมไปได้ดา่ จ�ำเลยเสียๆ หายๆ
ด้วยถ้อยค�ำหยาบคายว่า พ่อ..... พ่อเหี้ย พ่อสัตว์ ไม่รักลูก แล้วผู้เสียหายกลับออกไป 2 ถึง 3 นาทีได้
กลับมาใหม่เพือ่ มาเอาห่อยาเส้น จ�ำเลยไล่ผเู้ สียหายกลับไปนอนทีบ่ า้ นอีกครัง้ แต่ผเู้ สียหายไม่ยอมไป กลับ
ด่าจ�ำเลยเช่นเดียวกับครั้งแรกและด่าให้อวัยวะเพศชายอีก ทั้งผู้เสียหายมีมีดยาว 1 ศอกอยู่ในย่ามและท้า

.
จ�ำเลยให้ออกมาฟันกัน ประกอบกับโจทก์คำ� พิพากษาศาลฎีการับว่า จ�ำเลยโกรธแค้นทีผ่ เู้ สียหายไม่เคารพ
ย�ำเกรงและด่าจ�ำเลยด้วยถ้อยค�ำหยาบคาย ดังนัน้ การทีจ่ ำ� เลยซึง่ เป็นบิดาใช้อาวุธปืนยิงผูเ้ สียหาย กรณีจงึ
สธ สธ
เป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ

มส . มส
แต่การใช้คำ� พูดประชดประชัน ค�ำพูดแดกดัน ค�ำสบถ ค�ำหยาบคาย ค�ำก้าวร้าว แม้ระคายเคือง
บ้าง หรือค�ำเสียดสี ค�ำท้าทายในลักษณะหยอกล้อ ไม่ถอื ว่าถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรม
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 19190/2555 ขณะเกิดเหตุจ�ำเลยสอบถามและตักเตือนเรื่องที่ผู้ตายออกไปเที่ยวนอกบ้าน
ในเวลากลางคืน แม้ค�ำพูดของผู้ตายจะมีความหมายท�ำนองว่าผู้ตายอยู่กับจ�ำเลยแล้วไม่มีความสุข ผู้ตาย

จึงไปหาความสุขด้วยการนอนกับคนอืน่ แต่ขอ้ เท็จจริงไม่ปรากฏว่าผ้ตายไปหลับนอนกับชายอืน่ ในท�ำนอง
ชู้สาว จึงเป็นเพียงการพูดประชดประชันเท่านั้น ยังไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วย
เหตุอันไม่เป็นธรรม
(2) ฎ. 6135/2556 ก่อนและขณะเกิดเหตุผู้ตายได้ด่าว่าจ�ำเลย “เย็ดแม่” เป็นเวลาหลายนาที จน
ธ.

จ�ำเลยรับประทานข้าวจนเสร็จและลุกไปนอน ผู้ตายยังมายืนด่าหน้าห้องนอนจ�ำเลย 3 ครั้ง จ�ำเลยทนไม่


ไหวจึงลุกไปนอกห้อง พยานเบิกความว่าผู้ตายพูดว่า “เพื่อนอย่างนี้คบไม่ได้อย่าไปคบมันเลย” เป็นค�ำ
พูดแดกดัน สบถค�ำหยาบคาย เห็นว่าค�ำด่าดังกล่าวแม้ใช้ถอ้ ยค�ำก้าวร้าวหยาบคายเป็นทีร่ ะคายเคืองจ�ำเลย
อยู่บ้าง แต่ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงถือไม่ได้ว่าการที่
จ�ำเลยยิงผู้ตายเป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะตามมาตรา 72
(3) ฎ. 6190/2560 ขณะจ�ำเลยเดินมาซื้อส้ม ผู้ตายเพียงพูดว่า “ท�ำไมซื้อส้มเท่านี้ตังมีเยอะ” แม้
.ม
ผูต้ ายเป็นฝ่ายพูดกับจ�ำเลยจนเป็นเหตุให้จำ� เลยไม่พอใจ แล้วมีการพูดจาเสียดสีและท้าทายกัน จนเป็นเหตุ
ให้จำ� เลยยิงผูต้ าย แต่ถอ้ ยค�ำของผูต้ ายมีลกั ษณะเป็นเพียงการหยอกล้อจ�ำเลย ยังถือไม่ได้วา่ เป็นการข่มเหง
จ�ำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
(4) ฎ. 5714/2548 จ�ำเลยไปหาผู้ตายที่ที่ท�ำงานของผู้ตายและถามผู้ตายว่า “มึงเล่นชู้กับเมียกู
ท�ำไม” การทีผ่ ตู้ ายพูดว่า “มึงไม่มนี ำ�้ ยากูเลยเล่น” นัน้ เป็นการพูดตอบจ�ำเลยแม้จะพูดในท�ำนองยั่วยุ แต่
ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจ�ำเลยอย่างรุนแรง ทั้งผู้ตายไม่ได้พูดต่อหน้าผู้อื่นที่จะท�ำให้จ�ำเลย
ได้รับความอับอายขายหน้าผู้อื่น ยังถือไม่ได้ว่าจ�ำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็น
ธรรม จึงฟังไม่ได้ว่าจ�ำเลยฆ่าผู้ตายโดยบันดาลโทสะ
(5) ฎ. 10/2549 แม้จ�ำเลยจะเป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ตาย และพูดตักเตือนผู้ตายเรื่องการขับรถ
จักรยานยนต์ในหมูบ่ า้ นว่าไม่ให้ขบั เร็วเพราะเกรงว่าจะชนเด็ก แล้วผูต้ ายตอบว่าเป็นรถของผูต้ ายเองจะยัง
คงขับเร็ว และพูดท้าทายจ�ำเลยว่า “มึงแก่แล้วอย่ามายุ่งกับกูหากแน่จริงให้ลุกขึ้นมา” ซึ่งเป็นการแสดง
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-87

กิริยายโสโอหัง ไม่สมควรที่จะกระท�ำต่อจ�ำเลยซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ก็ตาม แต่ยังถือไม่ได้ว่าจ�ำเลยถูกข่มเหง


อย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรม การกระท�ำของจ�ำเลยจึงมิใช่เป็นการกระท�ำความผิดโดยบันดาลโทสะ
อุทาหรณ์ กรณีอื่น ๆ ที่ไม่ถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
(1) ฎ. 548/2537 จ�ำเลยที่ 1 ประกอบอาชีพขายสุรา ลาบ และส้มต�ำ การที่ผู้ตายซึ่งเป็นลูกค้า
ดื่มสุราแล้วมึนเมาก่อเหตุกวาดสิ่งของบนโต๊ะและล้มโต๊ะ เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ร้านขายสุราและอาหาร

.
ประสบอยู่เสมอ มิใช่เป็นการข่มเหงจ�ำเลยที่ 1 อย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม
(2) ฎ. 3887/2542 พฤติการณ์ที่จำ� เลยมาทวงเงินค่าจ้างที่ค้างจากผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างแล้ว
สธ สธ
ถูกผัดช�ำระอยูห่ ลายครัง้ โดยไม่ปรากฏว่าผูเ้ สียหายได้กระท�ำการอืน่ ใดต่อจ�ำเลยอีก เพียงเท่านัน้ ถือไม่ได้

มส . มส
ว่าจ�ำเลยถูกผู้เสียหายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จะอ้างเหตุบันดาลโทสะหาได้ไม่
(3) ฎ. 6083/2546 การทีจ่ ำ� เลยกับผูต้ ายมีความสัมพันธ์กนั ฉันคนรัก แต่ผตู้ ายต้องการเลิกความ
สัมพันธ์กบั จ�ำเลยไปมีรกั กับผูช้ ายคนใหม่ เมือ่ ไม่สมหวังจ�ำเลยก็ฆา่ ผูต้ าย  ถือไม่ได้วา่ จ�ำเลยถูกผูต้ ายข่มเหง
อย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงมิใช่การกระท�ำโดยบันดาลโทสะ
(4) ฎ. 5080/2551 ก่อนเกิดเหตุ ผู้เสียหายชกจ�ำเลยที่บริเวณใบหน้า 1 ครั้ง แต่จ�ำเลยเองเป็น

ผูร้ บเร้าและยินยอมให้ผเู้ สียหายท�ำร้ายจ�ำเลยเพือ่ ประสงค์จะยุตเิ รือ่ งบาดหมางทีม่ ตี อ่ กัน และได้ความจาก
ผูเ้ สียหายว่าชกจ�ำเลยเพียงเบาๆ จึงยังถือไม่ได้วา่ ผูเ้ สียหายข่มเหงจ�ำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็น
ธรรมดังที่จำ� เลยกล่าวอ้างในค�ำพิพากษาศาลฎีกา การที่จ�ำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหาย 1 ครั้ง เป็นเหตุ
ให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสฟังไม่ได้ว่าจ�ำเลยกระท�ำความผิดโดยบันดาลโทสะ
ข้อสังเกต
ธ.

1) การข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรมนัน้ อาจเป็นการกระท�ำต่อหน้าหรือลับหลังและ


มีผู้บอกเล่าภายหลัง
อุทาหรณ์
ฎ. 863/2520 (ประชุมใหญ่) ผู้ตายขึ้นไปบนเรือนจ�ำเลย พบภริยาจ�ำเลยอยู่เดียว จึงคุกคาม
เกรีย้ วกราดเป็นท�ำนองข่มเหง ภริยาจ�ำเลยร้องขึน้ ผูต้ ายก็ลงจากเรือนไป พอดีจำ� เลยกลับมาเกือบถึงบ้าน
.ม
ได้ยินภริยาร้อง และเมื่อมาถึงบ้านทราบเรื่องจากภริยาก็ตามไปห่างเรือน 6-7 เส้นก็ทันผู้ตาย จึงท�ำร้าย
ผู้ตาย ดังนี้ ถือว่าจ�ำเลยกระท�ำโดยบันดาลโทสะ
2) การข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมนั้น อาจเป็นการกระท�ำต่อผู้กระท�ำความผิด
โดยตรงหรือต่อบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้กระท�ำความผิด เช่น บิดามารดา สามีภรรยา บุตร
หรือญาติใกล้ชิดอื่นๆ ของผู้กระท�ำความผิด อันมีผลเป็นการข่มเหงโดยอ้อมต่อผู้กระท�ำความผิด158
อุทาหรณ์
ฎ. 1992/2532 ผู้ตายใช้อาวุธปืนตบหน้าบุตรจ�ำเลย บุตรจ�ำเลยวิ่งหนีขึ้นไปบนบ้านของจ�ำเลย
ผู้ตายซึ่งมีอาวุธปืนก็ยังตามไปอีกโดยไม่มีความประสงค์จะท�ำร้ายบุตรจ�ำเลยอีกและเกิดโต้เถียงกับจ�ำเลย
158ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. กฎหมายอาญาหลักและปัญหา (พิมพ์ครัง้ ที่ 7). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นติ ธิ รรม. 2549. น. 345
และเกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2536. น. 338.
สธ ส
4-88 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

จ�ำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผูต้ ายในขณะนัน้ ดังนี้ การกระท�ำของจ�ำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบ แต่เป็นการ


กระท�ำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม ปอ. มาตรา 72

2. การถูกข่มเหงนั้นเป็นเหตุให้ผู้กระท�ำบันดาลโทสะ
เมือ่ มีการถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรมแล้ว ต้องปรากฏว่าการถูกข่มเหงนัน้ เป็น

.
เหตุให้ผถู้ กู ข่มเหงบันดาลโทสะกล่าวคือเกิดอารมณ์โกรธแค้นขึน้ โดยขาดเหตุผลหรือสติยงั้ คิด และกระท�ำ
สธ สธ
ความผิดขึ้น อนึ่ง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า ผู้กระท�ำบันดาลโทสะหรือไม่ ต้องพิจารณาจิตใจของ
ผู้กระท�ำความผิดนั้นเอง (subjective test)159 ว่าเขาบันดาลโทสะ เพราะเหตุที่ถูกข่มเหงนั้นหรือไม่

มส . มส
ข้อสังเกต หากการกระท�ำความผิดมิได้เกิดขึ้นเพราะการถูกข่มเหง แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุอื่น
จะอ้างเหตุบันดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72 ไม่ได้
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 108/2482 ภริยาทุบตีด่าว่าสามีและเก็บของจะไปจากสามี สามีอ้อนวอนให้อยู่ก็กลับทุบตี
ด่าว่าสามีอกี สามีจงึ ยิงภริยาตาย ตัดสินว่าสามียงิ ภริยาเพราะภริยาจะทิง้ สามีไปไม่ใช่เพราะด่าตีสามี ภริยา

เคยด่าตีสามีมาก่อนแต่สามีไม่เคยโกรธ ไม่เป็นกรณีกระท�ำโดยบันดาลโทสะ
(2) ฎ. 708/2535 ตอนแรกจ�ำเลยที่ 1 ใช้ไม้ตี ก. เพราะถูก ก. ดุ ด่า และท�ำร้ายร่างกาย แต่หลัง
จาก ก. ดุดา่ และท�ำร้ายร่างกายจ�ำเลยที่ 1 แล้ว ก. ได้เดินเข้าไปนัง่ ซ่อมโทรศัพท์อยูใ่ นห้อง จ�ำเลยที่ 1 เดิน
ไปหาไม้ที่หลังบ้านมีช่วงเวลาที่จะคิดได้ว่าสมควรท�ำร้าย ก. หรือไม่ จ�ำเลยที่ 1 หาไม้ได้แล้วเดินเข้าไปตี
ธ.

ก. ในขณะที่ก�ำลังนั่งซ่อมโทรศัพท์อยู่ ก. ยังมีลมหายใจอยู่และส่งเสียงร้อง จ�ำเลยที่ 1 เกรงว่าเพื่อนบ้าน


จะได้ยินเสียงร้อง จึงใช้ผ้ารัดคอ ก. โดยแรงจนกระทั่งแน่นิ่งไปซึ่งเป็นการกระท�ำที่มีสาเหตุมาจากเกรงว่า
เพือ่ นบ้านจะได้ยนิ เสียงร้อง มิใช่เพราะสาเหตุถกู ข่มเหง จึงมิใช่การกระท�ำโดยบันดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72

3. กระท�ำต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะ
ในการพิจารณาว่า เป็นการกระท�ำต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะนั้น ประการแรก ต้องเป็น
.ม
การกระท�ำความผิดในขณะบันดาลโทสะ และประการที่สอง ต้องเป็นการกระท�ำต่อผู้ข่มเหง
3.1 ต้องเป็นการกระท�ำความผิดในขณะบันดาลโทสะ เมือ่ เกิดบันดาลโทสะขึน้ แล้ว ผูก้ ระท�ำต้อง
กระท�ำความผิด “ในขณะนัน้ ” ซึง่ หมายความว่า ต้องกระท�ำความผิด “ในขณะบันดาลโทสะอยู”่ กล่าวคือ
ไม่จำ� ต้องกระท�ำความผิดทันทีขณะทีถ่ กู ข่มเหง หรือ ณ ทีซ่ งึ่ ถูกข่มเหง หากแต่ได้กระท�ำในระยะเวลาต่อเนือ่ ง
กระชั้นชิด ในขณะที่ยังมีโทสะอยู่ก็เพียงพอแล้ว160
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า กระท�ำความผิด “ในขณะบันดาลโทสะ” หรือไม่นั้น ต้อง
พิจารณาโดยเปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไปในฐานะเช่นเดียวกับผู้กระท�ำ (a reasonableman under like

159 เรื่องเดียวกัน. น. 339.


160 ฎ. 863/2502 (ประชุมใหญ่), ฎ. 1260/2513 และ ฎ. 4895/2561.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-89

circumstances) ว่า นับแต่มีการข่มเหงเกิดขึ้นบุคคลทั่วไปในฐานะเช่นนั้นสามารถระงับโทสะ กล่าวคือ


ได้กลับมีเหตุผลหรือสติยงั้ คิดเช่นปกติ แล้วหรือไม่161 ซึง่ เป็นการพิจารณาในทางภาวะวิสยั (objective test)
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 4053/2539 ผู้ตายโกรธและทะเลาะกับน้องภริยาจ�ำเลยซึ่งไม่ยอมไปล่ามวัวที่ทำ� ให้วัวของ
ผูต้ ายตืน่ ผูต้ ายร้องด่าไปตลอดทางทีเ่ ดินไปบ้านน้องภริยาจ�ำเลยซึง่ เป็นบ้านทีจ่ ำ� เลยพักอาศัยอยูด่ ว้ ย แล้ว

.
ผูต้ ายใช้ไม้ฝาบ้านตีนอ้ งภริยาจ�ำเลย 2 ถึง 3 ครัง้ จ�ำเลยห้ามปราม ผูต้ ายไม่ยอมหยุด กลับใช้ไม้ตฝี าบ้าน
อีก พฤติการณ์ของผู้ตายถือได้ว่าจ�ำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ท�ำให้จำ� เลยโกรธ
สธ สธ
ผูต้ าย การทีจ่ ำ� เลยใช้ไม้ตผี ตู้ ายถึงแก่ความตายจึงเป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ และแม้จะฟังข้อเท็จจริง

มส . มส
ว่าจ�ำเลยลุกขึน้ เดินตามผูต้ ายไปและร้องห้ามปรามแล้วจ�ำเลยใช้ไม้ตผี ตู้ ายทีห่ น้าบ้านจ�ำเลยซึง่ อยูห่ า่ งออก
มาประมาณ 15 เมตร การกระท�ำของจ�ำเลยก็เป็นการกระท�ำความผิดต่อผู้ตายที่ข่มเหงในระยะเวลาต่อ
เนื่องกระชั้นชิดอันถือได้ว่ากระท�ำต่อผู้ตายที่ข่มเหงในขณะนั้น
(2) ฎ. 1601/2532 ผู้ตายถือมีดดาบติดตัวเข้าไปในโรงเรียนซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของ
จ�ำเลย เมื่อจ�ำเลยห้ามปราม ผู้ตายไม่เชื่อฟังกลับใช้มีดดาบฟันศีรษะจ�ำเลยจนได้รับบาดเจ็บมีโลหิตไหล

จ�ำเลยแย่งมีดดาบจากผู้ตายได้แล้วเดินออกจากโรงเรียนเพื่อจะไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานต�ำรวจ ผู้ตาย
มาดักขอโทษจ�ำเลยในเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ จ�ำเลยไม่ยอมยกโทษให้ผตู้ าย และได้ใช้มดี ดาบทีถ่ อื อยูใ่ นมือฟัน
ผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระท�ำของจ�ำเลยไม่เป็นการป้องกันสิทธิตามกฎหมาย เพราะภยันตรายผ่าน
พ้นไปแล้ว และไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงอีก แต่การที่จ�ำเลยใช้มีดฟันผู้ตายหลังจากเกิดเหตุในตอนแรก
ธ.

แล้วประมาณ 3-4 นาที ซึง่ เป็นระยะเวลาต่อเนือ่ งกระชัน้ ชิดในขณะทีโ่ ทสะยังรุนแรงอยูอ่ นั เนือ่ งมาจากถูก
ผูต้ ายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรม เช่นนี้ การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการกระท�ำโดยบันดาล
โทสะ
(3) ฎ. 1756/2539 ขณะจ�ำเลยกับพวกและผู้ตายกับพวกดูภาพยนตร์ในงานศพผู้ตายกับพวกใช้
ขวดสุราขว้างปาจอภาพยนตร์และล้มจอระหว่างผูต้ ายกับพวกเดินกลับบ้านได้รว่ มกันท�ำร้ายน้องชายจ�ำเลย
จนตกลงในคูนำ�้ เมือ่ มาพบจ�ำเลยกับเด็กเดินสวนทางมาก็ได้รว่ มกันท�ำร้ายจ�ำเลยฝ่ายเดียวจนตกลงไปในคู
.ม
น�ำ้ จ�ำเลยวิง่ กลับบ้านซึง่ อยูห่ า่ งไปประมาณ 300 เมตร เอามีดมาต่อสูก้ บั พวกผูต้ ายแม้ไม่ได้กระท�ำลงทันที
หรือ ณ ที่ซึ่งถูกข่มเหง แต่อยู่ในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกัน ถือว่าจ�ำเลยกระท�ำผิดด้วยเหตุบันดาล
โทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
(4) ฎ. 4895/2561 การที่ผู้ตายมึนเมาสุราและขอมีเพศสัมพันธ์กับจ�ำเลยแล้วจ�ำเลยไม่ยินยอม
ผูต้ ายไม่พอใจจึงท�ำร้ายจ�ำเลยโดยใช้มดี ท�ำครัวเป็นอาวุธ เมือ่ จ�ำเลยหนีไปนอกบ้านแล้วกลับเข้ามาผูต้ ายก็
ยังท�ำร้ายจ�ำเลยอีกจนเป็นเหตุให้จำ� เลยยิงผูต้ ายถึงแก่ความตาย พฤติการณ์ทจี่ ำ� เลยยิงผูต้ ายถึง 6 นัดแล้ว

161 Perkins, Rollin M. Perkins on Criminal Law (2nd ed.). New York: The Foundation Press. 1969. p. 68
อ้างโดย เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ.์ ค�ำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 3). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2536. น. 341. ทั้งนี้ โดยได้ยกตัวอย่างข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าโทสะระงับลงไปแล้ว และกลับมีสติสัมปชัญญะอย่างมีเหตุมีผล
ดังบุคคลธรรมดา เช่น หลังจากถูกข่มเหงแล้วผู้กระท�ำพยายามโทรศัพท์เรียกต�ำรวจ แสดงว่ามีสติสัมปชัญญะดีดังเดิมแล้ว หรือไป
ท�ำธุระอื่นๆ ได้ตามปกติหลังจากถูกข่มเหง หรือพูดจาอย่างมีเหตุมีผลในเรื่องอื่นๆ กับคนอื่นๆ ได้ เป็นต้น.
สธ ส
4-90 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

ยังบรรจุกระสุนปืนเพิม่ และยิงผูต้ ายอีกก็ตอ่ เนือ่ งมาจากผูต้ ายมึนเมาสุรา ขอมีเพศสัมพันธ์กบั จ�ำเลย ใช้มดี


ท�ำร้ายจ�ำเลย ซึง่ ถือได้วา่ เป็นการข่มเหงจ�ำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรม การทีจ่ ำ� เลยยิงผูต้ าย
ไปในระยะเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการกระท�ำดังกล่าว การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการกระท�ำความผิด
โดยบันดาลโทสะ
ข้อสังเกต หากระยะเวลาหรือเหตุการณ์การข่มเหงได้ขาดตอนไปแล้ว จะอ้างว่ากระท�ำใน

.
ขณะบันดาลโทสะไม่ได้ และข้อเท็จจริงอาจฟังได้ว่าเป็นการวางแผนไตร่ตรองไว้ก่อนได้
อุทาหรณ์
สธ สธ
(1) ฎ. 6309/2533 วันเกิดเหตุตอนใกล้เทีย่ งวันจ�ำเลยทราบเรือ่ งจากภริยาว่าผูต้ ายข่มขืนกระท�ำ

มส . มส
ช�ำเราภริยา แล้วจ�ำเลยออกจากบ้านไปจับปลา การทีจ่ ำ� เลยพบผูต้ ายในตอนเย็นระหว่างน�ำปลาทีจ่ บั ได้ไป
ให้บดิ าแล้วจ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงผูต้ ายทันที ดังนี้ จ�ำเลยหาได้กระท�ำต่อผูต้ ายในขณะมีโทสะหรือระยะเวลา
ทีต่ อ่ เนือ่ งกระชัน้ ชิดกับทีม่ โี ทสะไม่ เมือ่ ไม่ปรากฏว่าผูต้ ายกระท�ำการข่มเหงจ�ำเลยอย่างใดอีก จึงถือไม่ได้
ว่าจ�ำเลยยิงผู้ตายเพราะเหตุบันดาลโทสะ
(2) ฎ. 81/2554 หลังจากผู้ตายใช้ขวดสุราตีศีรษะจ�ำเลย ผู้ตายกับจ�ำเลยยังได้รับประทานอาหาร

ด้วยกัน และจ�ำเลยกลับไปบ้านแล้ว ต่อมานานถึง 2 ชั่วโมงเศษ จ�ำเลยจึงมาที่บ้านเกิดเหตุและใช้มีดโต้
ฟันผูต้ ายขณะทีผ่ ตู้ ายกับ ข. นอนหลับกันแล้ว เหตุการณ์ทผี่ ตู้ ายใช้ขวดสุราตีศรี ษะจ�ำเลยได้ขาดตอนตัง้ แต่
นั่งรับประทานอาหารด้วยกัน จ�ำเลยจึงมิได้กระท�ำความผิดในขณะที่บันดาลโทสะอยู่ แต่กระท�ำความผิด
ในภายหลังเป็นเวลานาน ถือได้ว่าเหตุบันดาลโทสะขาดตอนแล้ว และการที่จ�ำเลยกลับบ้านนั่งคิดแค้นอยู่
ธ.

ที่บ้านตั้ง 2 ชั่วโมง จึงไปท�ำร้ายผู้ตายในขณะก�ำลังนอนหลับในยามวิกาลและเวลาดึกสงัด โดยใช้มีดโต้


ขนาดใหญ่เลือกฟันผูต้ ายทีศ่ รี ษะใบหน้าและล�ำคอหลายครัง้ ซึง่ เป็นอวัยวะส�ำคัญ หากถูกฟันอย่างแรงเพียง
ครั้งเดียวก็ถึงแก่ความตายแล้ว แม้จ�ำเลยมิได้เตรียมมีดมา แต่จ�ำเลยก็เตรียมไฟฉายมาค้นหาอาวุธ ซึ่ง
จ�ำเลยทราบดีอยูแ่ ล้วว่าทีบ่ า้ นเกิดเหตุมมี ดี โต้ใช้เป็นอาวุธท�ำร้ายผูต้ ายได้และใช้ไฟฉายส่องหาท�ำร้ายผูต้ าย
ได้ไม่ผิดตัว พฤติการณ์ชี้ชัดว่าจ�ำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข้อสังเกต ในกรณีบันดาลโทสะด้วยเหตุที่สะสมมา (cumulative provocation) ซึ่งหมายถึง
.ม
กรณีที่มีการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหลายครั้งหลายคราวสะสมเรื่อยมานั้น มีนัก
นิตศิ าสตร์เห็นว่า ในการพิจารณาว่าผูก้ ระท�ำได้กระท�ำความผิดต่อผูข้ ม่ เหงในขณะบันดาลโทสะหรือไม่ จะ
ต้องพิจารณานับจากการข่มเหงครั้งสุดท้ายมิใช่นับจากการข่มเหงครั้งแรกๆ ว่า มีระยะเวลานานเพียงใด
จึงมีการกระท�ำความผิดต่อผูข้ ม่ เหงทัง้ นี้ เนือ่ งจากเห็นว่า การข่มเหงครัง้ สุดท้ายนัน้ เปรียบเหมือนฟางเส้น
สุดท้าย ซึ่งท�ำให้ผู้กระท�ำบันดาลโทสะ เพราะเหตุจากการถูกข่มเหงได้สะสมทีละเล็กละน้อยตลอดมา จน
ท้ายทีส่ ดุ อดกลัน้ ไว้ไม่ได้จงึ ได้บนั ดาลโทสะมาในขณะนัน้ และเห็นว่ากรณีดงั กล่าวนีม้ ใิ ช่เป็นการกระท�ำโดย
มีเจตนาไตร่ตรองไว้กอ่ นแต่อย่างใด ผูก้ ระท�ำความผิดจึงสมควรได้รบั การลดโทษเพราะเหตุบนั ดาลโทสะ162
ทั้งนี้ โดยยกตัวอย่างค�ำพิพากษาศาลฎีกา ดังต่อไปนี้

162 ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. ประมวลกฎหมายอาญา (พิมพ์ครัง้ ที่ 25). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วญ


ิ ญูชน. 2553. น. 181-182.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-91

อุทาหรณ์


(1) ฎ. 6980/2540 จ�ำเลยรักใคร่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่ผู้เสียหายในฐานะที่
จ�ำเลยเป็นมารดาอย่างดีจนส�ำเร็จการศึกษาชัน้ ปริญญาตรี ระหว่างศึกษาผูเ้ สียหายมีทอ้ งไม่มพี อ่ เมือ่ คลอด
บุตรแล้วก็น�ำมาให้จำ� เลยเลี้ยง เมื่อผู้เสียหายส�ำเร็จการศึกษาและเข้ารับราชการครูได้สมรสกับ ถ. แต่อยู่
กินกันได้เพียง 1 เดือนก็ถูก ถ. ฟ้องหย่า ต่อมาผู้เสียหายลักลอบได้เสียกับโจทก์ร่วมและจะน�ำโจทก์ร่วม

.
เข้ามาอยูใ่ นบ้าน จ�ำเลยไม่ยอม ผูเ้ สียหายได้ขโมยไม้บางส่วนซึง่ เก็บไว้ทบี่ า้ นจ�ำเลยไปสร้างบ้านด้วย จ�ำเลย
บอกให้รอื้ ถอนออกไป ผูเ้ สียหายกลับโต้แย้งสิทธิวา่ ยกให้โดยไม่เป็นความจริง เห็นได้วา่ ผูเ้ สียหายได้สร้าง
สธ สธ
ความชอกช�้ำระก�ำใจ อับอายขายหน้าให้จ�ำเลยผู้เป็นมารดามาโดยตลอดประกอบกับผู้เสียหายบุกรุกเข้า

มส . มส
มาสร้างบ้านในทีด่ นิ ของจ�ำเลยแล้วโต้เถียงสิทธิไม่ยอมออกไป ถือได้วา่ เป็นการข่มเหงจ�ำเลยอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำ� เลยวางเพลิงเผาโรงเรือนดังกล่าวของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมจึงเป็นการ
กระท�ำผิดโดยบันดาลโทสะ
(2) ฎ. 629/2536 การทีจ่ ำ� เลยซึง่ เป็นหญิงถูกผูเ้ สียหายแย่งสามี แล้วต้องถูกสามีไล่ออกจากบ้าน
พร้อมบุตร เป็นเหตุให้ครอบครัวต้องแตกแยกจ�ำเลยต้องไปเช่าบ้านอยู่และมีรายได้ไม่พอใช้จ่าย บุตรที่

ก�ำลังศึกษาอยูต่ อ้ งออกจากโรงเรียน นับว่าผูเ้ สียหายท�ำให้จำ� เลยเกิดความคับแค้นใจอย่างมากอยูก่ อ่ นแล้ว
เมื่อจ�ำเลยไปขอเงินจากสามี แล้วพบผู้เสียหายและถูกผู้เสียหายด่าว่า และมองด้วยอาการเหยียดหยาม
ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ถือได้ว่าจ�ำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมจนท�ำให้จ�ำเลยเกิดโทสะ
การที่จ�ำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายไปในขณะนั้นจึงเป็นการกระท�ำโดยบันดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72
3.2 ต้องเป็นการกระท�ำต่อผูข้ ม่ เหง นอกจากต้องเป็นการกระท�ำความผิดในขณะบันดาลโทสะแล้ว
ธ.

ยังต้องเป็นการกระท�ำความผิดต่อผู้ข่มเหงด้วย จึงจะได้รับการลดโทษตาม ปอ. มาตรา 72 ทั้งนี้ ด้วย


เหตุผลทีว่ า่ ผูท้ ขี่ ม่ เหงนัน้ เป็นผูก้ อ่ เหตุอนั ไม่เป็นธรรมขึน้ จึงควรได้รบั ผลร้ายจากการกระท�ำของตน ถ้ามิได้
กระท�ำความผิดต่อผูข้ ม่ เหง แต่กลับไปกระท�ำความผิดต่อบุคคลอืน่ เช่นนีจ้ ะอ้างเหตุบนั ดาลโทสะตาม ปอ.
มาตรา 72 ไม่ได้ แม้บุคคลนั้นจะเป็นผู้ใกล้ชิดผู้ข่มเหงก็ตาม163 เช่น ก. เป็นผู้ข่มเหง หากไปกระท�ำผิด
ต่อลูกของ ก. ก็จะอ้างว่ากระท�ำโดยบันดาลโทสะไม่ได้ เป็นต้น
.ม
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 252/2528 ผูต้ ายกับพวกเล่นการพนันแล้วทะเลาะวิวาทกันส่งเสียงดังในยามวิกาล จ�ำเลย
อยู่บ้านใกล้กันย่อมมีความชอบธรรมที่จะไปขอร้องให้เบาๆ ลง ผู้ตายกลับด่าว่าจ�ำเลยแล้วชกต่อยจ�ำเลย
ผู้ตายกลับเข้าไปในบ้านหยิบขวดมาตีศีรษะจ�ำเลยจนโลหิตไหล จ�ำเลยจึงหยิบปืนยิงผู้ตาย จ�ำเลยอ้าง
บันดาลโทสะได้ แต่การที่จ�ำเลยยิง ว. และ ศ. ซึ่งเป็นบุตรและภริยาผู้ตายและอยู่บ้านเดียวกับผู้ตาย แต่
คนทั้งสองมิได้ร่วมท�ำร้ายจ�ำเลยด้วย จ�ำเลยจะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้
(2) ฎ. 2865/2553 ผูก้ ระท�ำผิดซึง่ เป็นผูถ้ กู ข่มเหงจะอ้างเหตุบนั ดาลโทสะได้จะต้องกระท�ำต่อผูข้ ม่ เหง
ตามข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่า ป. ได้ขม่ เหงหรือร่วมกับ น. ข่มเหงจ�ำเลยแต่อย่างใด จ�ำเลยจะใช้อาวุธปืนยิง
น. แต่กระสุนปืนไปถูก ป. ซึ่งอยู่ด้านหน้าของ น. จ�ำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระท�ำได้ว่ากระสุนปืนที่
163 กรณีนแี้ ตกต่างจากกรณีทบ
ี่ คุ คลอืน่ ถูกข่มเหงด้วยเหตุอนั ไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้ผทู้ มี่ คี วามสัมพันธ์ใกล้ชดิ เกิดบันดาล
โทสะ เช่น บุตร หรือภรรยาถูกท�ำร้าย จึงเกิดโทสะและได้ทำ� ร้ายผู้ซึ่งข่มเหงบุตรหรือภรรยาของตนในขณะบันดาลโทสะนั้น.
สธ ส
4-92 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

จ�ำเลยยิงออกไปนั้นจะถูก ป. ที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ การกระท�ำของจ�ำเลยจึงไม่เป็นการกระท�ำโดย


พลาดตาม ปอ. มาตรา 60 จ�ำเลยจะอ้างว่าจ�ำเลยเจตนาฆ่า น. ด้วยเหตุบนั ดาลโทสะแต่ผลของการกระท�ำ
เกิดแก่ ป. โดยพลาดไป จึงต้องถือว่าจ�ำเลยเจตนาฆ่า ป. ด้วยเหตุบันดาลโทสะด้วยไม่ได้ ดังนั้น เมื่อ
ข้อเท็จจริงฟังได้วา่ จ�ำเลยเจตนาฆ่า ป. โดยเล็งเห็นผล แต่ ป. มิได้เป็นผูข้ ม่ เหงจ�ำเลย จ�ำเลยจึงไม่อาจอ้าง
เหตุบนั ดาลโทสะได้ แม้จะได้ความจากทางน�ำสืบของโจทก์และโจทก์รว่ มว่า เมือ่ ป. ถูกจ�ำเลยยิงล้มลง น.

.
วิ่งหนีจ�ำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิง น. ถึงแก่ความตายด้วยเหตุบันดาลโทสะก็ตาม ก็เป็นคนละตอนและ
คนละเจตนาแยกต่างหากจากกันกับที่จำ� เลยยิง ป.
สธ สธ
ข้อสังเกต

มส . มส
1) การกระท�ำความผิดโดยบันดาลโทสะ จะต้องเป็นการกระท�ำโดยเจตนาเท่านั้น
อุทาหรณ์
ฎ. 6479/2537 การกระท�ำความผิดโดยบันดาลโทสะต้องเป็นการกระท�ำผิดโดยมีเจตนาเท่านั้น
คดีนจี้ ำ� เลยกระท�ำความผิดโดยประมาท จ�ำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าเหตุคดีนเี้ กิดขึน้ เพราะโจทก์รว่ มเปิดไฟส่อง
เข้าตาจ�ำเลย ท�ำให้จำ� เลยโกรธและบันดาลโทสะจนควบคุมสติไม่ได้ อันเป็นการกระท�ำความผิดโดยบันดาล

โทสะได้ อีกทั้งข้ออ้างตามค�ำพิพากษาศาลฎีกาของจ�ำเลยดังกล่าวก็หาใช่เป็นกรณีกระท�ำผิดโดยบันดาล
โทสะตาม ปอ. มาตรา 72 ไม่
2) การกระท�ำโดยบันดาลโทสะต่อผู้ข่มเหง หากพลาดไปถูกบุคคลที่สาม ผู้กระท�ำก็สามารถอ้าง
เหตุบันดาลโทสะในการกระท�ำโดยพลาดต่อบุคคลที่สามได้
อุทาหรณ์
ธ.

ฎ. 1682/2509 จ�ำเลยถูกข่มเหงแล้วจ�ำเลยได้ยิงคนที่ข่มเหงในขณะนั้น แต่เนื่องจากคนที่ข่มเหง


ได้วงิ่ หนีไป กระสุนปืนพลาดไปถูกผูเ้ สียหายเข้า จ�ำเลยก็ตอ้ งมีความผิดตาม ปอ. มาตรา 60 แต่การกระท�ำ
ของจ�ำเลยนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากจ�ำเลยถูกข่มเหงโดยไม่เป็นธรรมและกระท�ำลงไปโดยบันดาลโทสะ
จ�ำเลยจึงมีความผิดตาม ปอ. มาตรา 288 และมาตรา 80 ประกอบด้วยมาตรา 72
.ม
4. ผลของการกระท�ำโดยบันดาลโทสะ
เมือ่ ถือว่าบุคคลใดกระท�ำความผิดเพราะเหตุบนั ดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72 แล้ว ผลก็คอื “.......
ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้” กล่าวคือ ศาลย่อมมี
ดุลพินิจได้ ดังนี้
4.1 ศาลจะลงโทษผู้กระท�ำน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ทั้งนี้
โดยไม่ค�ำนึงถึงโทษขั้นต�่ำที่กฎหมายก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดดังกล่าว
อุทาหรณ์
ฎ. 3649-3650/2547 ผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นวัยรุ่นบุกรุกเข้ามาในบริเวณบ้านที่จ�ำเลยที่ 2 และ
ครอบครัวอยูอ่ าศัยและปีนหลังคาห้องน�ำ้ แอบดูการอาบน�ำ้ ของน้องสาวจ�ำเลยที่ 2 ซึง่ อยูใ่ นวัยรุน่ เช่นกันและ
ยังอยูใ่ นความอุปการะเลีย้ งดูให้การศึกษาของจ�ำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการข่มเหงจ�ำเลยที่ 2 อย่างร้ายแรงด้วย
เหตุอันไม่เป็นธรรม จนก่อให้เกิดโทสะขึ้นถึงขั้นกระท�ำความผิดลงได้ จ�ำเลยที่ 2 ใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหาย
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-93

ทัง้ สองได้รบั อันตรายสาหัส แม้การกระท�ำของจ�ำเลยที่ 2 จะกระท�ำต่อผูเ้ สียหายทัง้ สองในลักษณะทีร่ นุ แรง


เกินไป การกระท�ำของจ�ำเลยที่ 2 ก็ยังเป็นการกระท�ำผิดโดยบันดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72 ซึ่งศาลมี
อ�ำนาจลงโทษจ�ำเลยที่ 2 น้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ทั้งนี้โดยค�ำนึงถึงความเหมาะสมแห่ง
พฤติการณ์และความร้ายแรงในการกระท�ำผิด
4.2 ศาลอาจจะไม่ลดโทษให้เลยก็ได้

. 4.3 แต่ท้ังนี้ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระท�ำความผิดเลยไม่ได้
ข้อสังเกต การกระท�ำโดยบันดาลโทสะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จ�ำเลยจะ
สธ สธ
มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในค�ำให้การศาลฎีกาก็มีอ�ำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้164

มส . มส
กิจกรรม 4.3.2
1. เทพต้องการฆ่าพจน์ จึงใช้ปืนยิงพจน์ต่อหน้าณัฐบุตรของพจน์ แต่ยิงไม่ถูกเทพวิ่งหนีไป ณัฐ
จึงวิ่งไล่ตามไปและใช้ปืนยิงเทพถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ณัฐจะอ้างบันดาลโทสะได้หรือไม่

2. อ้อมต้องการฆ่ากรใช้ปืนยิงกร แต่ไม่ถูก อ้อมจึงรีบวิ่งหนีไป กรวิ่งไล่ติดตามอ้อมไป เห็นอ้อม
ยืนอยู่กับอ้นบุตรของอ้อม กรจึงใช้ปืนยิงอ้อมและอ้นถึงแก่ความตาย ดังนี้ กรจะอ้างกระท�ำโดยบันดาล
โทสะต่ออ้อมและอ้นได้หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 4.3.2
ธ.

1. การที่เทพใช้ปืนยิงพจน์บิดาของณัฐนั้น แม้ณัฐจะไม่ใช่ผู้ได้รับผลจากการข่มเหงโดยตรง แต่


ก็เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับผลโดยตรง จึงถือว่าณัฐถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่
เป็นธรรม และเมื่อณัฐเกิดบันดาลโทสะ และได้กระท�ำต่อเทพผู้ข่มเหงในขณะนั้น จึงอ้างว่าเป็นการกระท�ำ
โดยบันดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72 ได้
2. กรณีนี้การที่อ้อมใช้ปืนยิงกรนั้น เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อกร
.ม
วิ่งตามไปจนทันและยิงอ้อม จึงเป็นการกระท�ำต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะตาม ปอ. มาตรา 72 แต่
การที่กรยิงอ้นบุตรของอ้อมด้วยนั้น กรจะอ้างว่ากระท�ำโดยบันดาลโทสะต่ออ้นตาม ปอ. มาตรา 72 มิได้
เพราะอ้นมิใช่ผู้ข่มเหง

164 ฎ. 138/2532 และ ฎ. 3471/2553.


สธ ส
4-94 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

เรื่องที่ 4.3.3


เหตุบรรเทาโทษ

. การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้กระท�ำผิดลงไปนั้น ย่อมจะมีสาเหตุและพฤติการณ์ที่แตกต่างกันไป
รวมทัง้ ตัวผูก้ ระท�ำผิดนัน้ เองก็มไิ ด้เหมือนกันทัง้ ร่างกายและจิตใจและสิง่ แวดล้อมต่างๆ ดังนัน้ การก�ำหนด
สธ สธ
โทษที่จะลงแก่จ�ำเลย จึงไม่อาจก�ำหนดลงตายตัวแน่นอนได้ แม้ว่าจะกระท�ำความผิดบทมาตราเดียวกัน

มส . มส
ก็ตาม มิฉะนั้นแล้ว ก็จะกลับกลายเป็นว่าโทษที่ลงไม่เหมาะสมกับผู้กระท�ำความผิด ความยุติธรรมที่แท้
จริงก็หมดโอกาสทีจ่ ะเกิดขึน้ ได้ ด้วยเหตุนี้ นักนิตศิ าสตร์จงึ พยายามคิดค้นหาหนทางต่างๆ อันจะสามารถ
“ลงโทษผู้กระท�ำผิดให้เหมาะสมกับผู้กระท�ำความผิดแต่ละบุคคล”
ตามกฎหมายไทยนัน้ นอกจากศาลจะได้พจิ ารณาข้อลดหย่อนผ่อนโทษต่างๆ มาทัง้ หมดแล้ว และ
ได้ลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษให้จนทุกกรณี ทั้งได้ก�ำหนดโทษที่จะลงแก่จ�ำเลยแล้วก็ตาม ถ้ามีเหตุ

บรรเทาโทษเกี่ยวกับจ�ำเลยผู้นั้น ศาลก็ยังมีอ�ำนาจพิจารณาลดโทษให้แก่จ�ำเลยได้อีก165
ดังที่ ปอ. มาตรา 78 บัญญัติว่า “เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการ
ลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษ
ไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระท�ำความผิดนั้นก็ได้
เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ ผู้กระท�ำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ตกอยู่ในความทุกข์อย่าง
ธ.

สาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อเจ้า


พนักงาน หรือให้ความรูแ้ ก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือเหตุอนื่ ทีศ่ าลเห็นว่ามีลกั ษณะท�ำนอง
เดียวกัน”
ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว “เหตุบรรเทาโทษ” จึงหมายถึง เหตุที่กฎหมายก�ำหนดให้เป็น
ดุลพินิจศาลในการพิจารณาว่า จะลดโทษที่จะลงแก่บุคคลเท่าใด จึงจะเหมาะสมแก่ผู้กระท�ำความผิด โดย
.ม
การพิจารณาเรื่องเหตุบรรเทาโทษตาม ปอ. มาตรา 78 นี้ อาจแยกพิจารณาเป็น 3 ประการ คือ
1. พฤติการณ์ก่อนการกระท�ำความผิด
2. พฤติการณ์หลังการกระท�ำความผิด
3. ผลของเหตุบรรเทาโทษ

1. พฤติการณ์ก่อนการกระท�ำความผิด
ตาม ปอ. มาตรา 78 ได้บญ
ั ญัตกิ ำ� หนดเหตุบรรเทาโทษซึง่ เป็นพฤติการณ์กอ่ นการกระท�ำความผิด
อันได้แก่

165 ฎ.
2033/2538 การที่ศาลลงโทษจ�ำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายก�ำหนดเพราะจ�ำเลยกระท�ำความผิดโดยบันดาลโทสะแล้ว
นั้น ศาลยังลดโทษให้จ�ำเลยในกรณีที่เหตุบรรเทาโทษในประการอื่นได้อีก.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-95

1.1 เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา


1.2 ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส
1.3 มีคุณความดีมาแต่ก่อน
1.1 เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา การเป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา (lack of intelligence) หมายถึง
กระท�ำความผิดโดยมิใช่กรณีที่ผู้นั้นเป็นโรคจิต จิตบกพร่อง หรือจิตฟั่นเฟือน จึงไม่เกี่ยวกับความผิดปกติ

.
ของจิตหรือความรู้ผิดชอบ หากแต่เป็นกรณีที่ผู้กระท�ำความผิดเป็นผู้โง่เขลา ขาดสติปัญญา ขาดความรู้
ขาดประสบการณ์ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ถูกหลอก หรือเสี้ยมสอนให้กระท�ำ เป็นต้น
สธ สธ
อุทาหรณ์

มส . มส
(1) ฎ. 1433/2515 จ. ยิง ร. และ ส. ตาย และยิง ล. ก. ม. และ บ. บาดเจ็บ โดยไม่มสี าเหตุ
ผิดวิสยั คนจิตใจปกติจะท�ำ แม้จะฟังไม่ได้วา่ จิตวิปลาสไปชัว่ คราวเพราะเคยเป็นไข้ขนึ้ สมองก็เป็นการกระท�ำ
โดยโฉดเขลาเบาปัญญา ประกอบค�ำรับชั้นสอบสวนและชั้นศาล ลดโทษให้ 1 ใน 3
(2) ฎ. 1851/2522 จ�ำเลยเป็นหญิงอายุมากแล้ว ร่วมมือกระท�ำความผิดด้วยความโง่เขลา ศาล
ลงโทษเบาลงได้

1.2 ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส การตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส (serious distress) เช่น
บิดามารดาเกิดอุบัติเหตุถูกรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย เพลิงไหม้บ้านเรือนทรัพย์สินวอดวายกลายเป็นคน
สิ้นเนื้อประดาตัว ไม่มีเงินหาซื้ออาหารเลี้ยงน้องๆ ที่ยังเล็กอยู่ จ�ำต้องวิ่งราวสร้อยคอทองค�ำ เพื่อหาเงิน
ไปซื้ออาหารเลี้ยงน้องๆ166
อุทาหรณ์
ธ.

ฎ. 1244/2542 พฤติการณ์แห่งคดีที่จ�ำเลยเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยนั้น ไม่สามารถ


สือ่ สารกับเจ้าพนักงานของรัฐเมือ่ ถูกกล่าวหาว่ากระท�ำผิดเพราะไม่รหู้ นังสือและกฎหมายไทย ไม่มญ ี าติพนี่ อ้ ง
ทีจ่ ะติดต่อขอความช่วยเหลือได้ จ�ำเลยเป็นผูต้ กอยูใ่ นความทุกข์อย่างแสนสาหัส และจ�ำเลยได้รบั ความช่วยเหลือ
ทางด้านคดีเมื่อได้ถูกฟ้องคดีต่อศาลแล้ว โดยศาลขอแรงทนายความให้แก้ต่างให้ กรณีจึงมีเหตุอันควร
ปรานีแก่จำ� เลย สมควรลดโทษให้จ�ำเลยกึ่งหนึ่งตาม ปอ. มาตรา 78
.ม
1.3 มีคุณความดีมาแต่ก่อน การมีคุณความดีมาแต่ก่อน (previous good conduct) กล่าวคือ
เป็นบุคคลซึง่ เคยประกอบกรรมดีเป็นทีย่ อมรับของบุคคลทัว่ ไปว่าเป็นคนดี หรือมีประวัตปิ ระกอบคุณความดี
เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ราชการหรือประเทศชาติ เช่น เคยบ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และช่วยเหลือ
ราชการจนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ถือได้ว่าเป็นผู้มีคุณความดีมาแต่ก่อน167 รับราชการ
เป็นเจ้าพนักงานต�ำรวจมานานหลายปีจนได้ชนั้ ยศเป็นสิบต�ำรวจเอก มีผลงานการจับกุมดีเด่น168 พนักงาน

166 แม้หากข้อเท็จจริงไม่เข้ามาตรา 335 วรรคท้าย (ลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์) ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าการกระท�ำความผิด


ดังกล่าวในมาตรานี้เป็นการกระท�ำโดยความจ�ำเป็น หรือความยากจนเหลือทนทาน และทรัพย์นั้นราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษ
ผู้กระท�ำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 334 ก็ได้” ทั้งนี้เนื่องจากแม้กระท�ำความผิดเพราะความยากจนเหลือทนทาน แต่ทรัพย์
นั้นมิได้มีราคาเล็กน้อย จึงไม่ได้รับประโยชน์ ตามมาตรา 335 วรรคท้าย แต่ศาลอาจลดโทษตามมาตรา 78 นี้ได้.
167 ฎ. 744/2521.
168 ฎ. 2345/2536.
สธ ส
4-96 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

การรถไฟมีประวัติการท�ำงานที่ดี เคยหยุดขบวนรถไฟได้ทันก่อนที่จะชนคนที่นั่งขวางทางจนกระทั่งการ


รถไฟแห่งประเทศไทยประกาศขอบใจในคุณความดี169 หรือเป็นอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย170 เป็นต้น
ข้อสังเกต การที่จ�ำเลยกระท�ำความผิดเป็นครั้งแรก ไม่เคยกระท�ำความผิดมาก่อนนั้น มิใช่เหตุ
บรรเทาโทษที่จะอ้างเพื่อลดโทษได้171

.
2. พฤติการณ์หลังการกระท�ำความผิด
สธ สธ
ตาม ปอ. มาตรา 78 ได้กำ� หนดเหตุบรรเทาโทษซึง่ เป็นพฤติการณ์หลังการกระท�ำความผิด อันได้แก่

มส . มส
2.1 รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิด
2.2 ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน
2.3 ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
2.4 เหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะท�ำนองเดียวกัน
2.1 รูส้ กึ ความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิด กรณีนแี้ ม้จะก�ำหนดไว้เป็นเงือ่ นไขอยู่
2 ประการ คือ รู้สึกความผิดประการหนึ่ง และพยายามบรรเทาผลร้ายอีกประการหนึ่งก็ตาม แต่เนื่องจาก

ประการแรก คือ “รูส้ กึ ความผิด” นัน้ เป็นเรือ่ งภายในใจ ยากทีจ่ ะวินจิ ฉัยได้ ศาลจึงมักพิจารณาพฤติการณ์
ภายนอก คือ “พยายามบรรเทาผลร้าย” เป็นเกณฑ์ส�ำคัญในการวินิจฉัย เช่น ในคดีอุบัติเหตุจราจร ถ้า
จ�ำเลยพยายามชดใช้ค่าเสียหายหรือเอาใจใส่เป็นภาระต่อความเจ็บป่วยของผู้เสียหาย ศาลก็ถือเป็นเหตุ
บรรเทาผลร้ายตามมาตรา 78 นี้ได้172 หรือในคดีฉุดคร่าหญิง ถ้าจ�ำเลยกลับมาขอขมายอมรับหญิงเป็น
ธ.

ภริยา หรือในคดีวางเพลิง ถ้ากลับมาช่วยดับเพลิงมิให้ไฟไหม้ลกุ ลาม หรือในคดีลกั ทรัพย์ เจ้าของตามมา


ทวงคืนก็ยอมคืนให้ไปโดยดี มิใช่คืนไปเพราะไม่มีทางหลีกเลี่ยง เหล่านี้ล้วนเป็นกรณีที่รู้สึกความผิดและ
พยายามบรรเทาผลร้ายตามความหมายในมาตรา 78 นี้ทั้งสิ้น173
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 4197/2540 ในขณะที่ ช. ขับรถตามผู้เสียหายจนทันและแซงขึ้นประกบคู่ด้านซ้ายมือรถ
จักรยานยนต์ผู้เสียหายนั้น จ�ำเลยก็ได้ขับรถจักรยานยนต์ของตนตามไปติดๆ และแซงขึ้นประกบคู่รถ
.ม
จักรยานยนต์ของผู้เสียหายทางด้านขวา จากนั้น ช. ก็ตะปบผู้เสียหายที่บริเวณคอซึ่งสวมสร้อยคอทองค�ำ
พร้อมพระ จึงเห็นได้ชัดว่า จ�ำเลยได้ร่วมมือกับ ช. ในการประกบคู่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมิให้หัก
หลบหนี เป็นการประสานงานตามแผน ข้อแก้ตวั ของจ�ำเลยทีว่ า่ ไม่ทราบว่า ช. จะลงมือกระท�ำความผิดนัน้
จึงฟังไม่ขนึ้ แต่การทีจ่ ำ� เลยช่วยยกรถจักรยานยนต์ทที่ บั ขาผูเ้ สียหายออกนับได้วา่ เป็นการพยายามบรรเทา
ผลร้ายอันเกิดจากการกระท�ำของจ�ำเลย เป็นเหตุบรรเทาโทษเห็นสมควรลดโทษให้

169 ฎ. 2703/2537.
170 ฎ. 5339/2554.
171 ฎ. 617/2526.
172 ฎ. 5296/2540.
173 ฎ. 24/2454, ฎ. 414, 415/2465, ฎ. 656/2470, ฎ. 799/2472 และ ฎ. 1152/2484.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-97

(2) ฎ. 3337/2543 จ�ำเลยให้ผู้ตายดื่มสารพิษที่บ้านพักของผู้ตาย ภายหลังจ�ำเลยเป็นผู้น�ำผู้ตาย


ไปส่งโรงพยาบาลและพยายามบอกความจริงให้แพทย์ผรู้ กั ษาทราบว่าผูต้ ายกินสารพิษโคลชิซนิ เพือ่ แพทย์
จะได้รกั ษาผูต้ ายได้ถกู ต้องทัง้ จ�ำเลยให้ผตู้ ายรับประทานเม็ดคาร์บอนเพือ่ ช่วยดูดซึมสารพิษในร่างกายของ
ผู้ตายให้หมดไป แสดงว่าจ�ำเลยได้พยายามช่วยชีวิตผู้ตายอย่างเต็มความสามารถประกอบกับจ�ำเลยได้
ออกค่ารักษาพยาบาลผูต้ ายตลอดมาโดยมุง่ หมายให้ผตู้ ายรอดชีวติ อันเป็นการพยายามบรรเทาผลร้าย จึง

.
มีเหตุอันควรปรานีลงโทษสถานเบา
(3) ฎ. 7384/2549 ศาลฎีกาเห็นว่า จ�ำเลยที่ 1 ได้พยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิด โดย
สธ สธ
จ�ำเลยที่ 1 ยอมช่วยเหลือค่าท�ำศพนางชวนเป็นเงิน 7,000 บาท ชดใช้คา่ เสียหายให้แก่จำ� เลยที่ 2 เป็นเงิน

มส . มส
15,000 บาท และน�ำเงินมาวางศาลเพือ่ ชดใช้คา่ เสียหายให้แก่ทายาทของนางชวนผูต้ ายอีกจ�ำนวน 30,000 บาท
ข้อสังเกต
ยอมชดใช้คา่ เสียหายให้แก่ผเู้ สียหายเพือ่ บรรเทาผลร้าย แม้กระท�ำภายหลังศาลชัน้ ต้นมีคำ� พิพากษา
แล้ว ก็ถือได้ว่ามีเหตุบรรเทาโทษ174
2.2 ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน (voluntary surrender to an official) หมายถึง การบอกความผิด

ของตนเพื่อขอความกรุณา175
ตัวอย่างเช่น การเข้ามอบตัวต่อต�ำรวจ176 หรือยอมให้ต�ำรวจจับกุมแต่โดยดี การน�ำของกลางมา
มอบให้แก่ต�ำรวจ และน�ำชี้ที่เกิดเหตุให้พนักงานสอบสวนท�ำแผนที่เกิดเหตุ177 หรือให้การรับสารภาพต่อ
ต�ำรวจในชัน้ สอบสวน อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีของศาล การรับสารภาพในชัน้ จับกุม ทัง้ ทีม่ แี ต่
พยานแวดล้อมไม่มีประจักษ์พยาน178 เป็นต้น
ธ.

ข้อสังเกต
หากหลังจากออกหมายจับแล้ว จึงเข้ามอบตัวเพื่อต่อสู้คดี ศาลถือว่าไม่มีเหตุบรรเทาโทษ179
2.3 ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา180 เหตุบรรเทาโทษข้อนี้ได้ถูกวิพากษ์
วิจารณ์ว่า เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ท�ำให้อาชญากรไม่เกรงกลัวกฎหมาย เนื่องจากเมื่อผู้กระท�ำผิดถูกจับได้
ก็รบั สารภาพ ศาลก็มกั จะลดโทษให้กงึ่ หนึง่ ดังนัน้ จึงได้มแี นวคิดทีจ่ ะแก้ไขมาตรา 78 นี้ โดยในปี พ.ศ. 2512
.ม
คณะรัฐมนตรีได้เคยพิจารณามีมติทจี่ ะแก้ไขมาตราดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นว่า
ควรคงบทบัญญัตินี้ไว้ต่อไป เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาคดีของศาล เพราะมิฉะนั้นแล้วจ�ำเลยส่วนใหญ่
จะพากันต่อสูค้ ดี ไม่ยอมรับสารภาพ คดีกจ็ ะคัง่ ค้างในศาลเป็นจ�ำนวนมาก และในบางคดีกอ็ าจต้องพิพากษา
ยกฟ้องไปเพราะเหตุไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษจ�ำเลยได้
174 ฎ. 4951/2558.
175 ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. ประมวลกฎหมายอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน. 2553. น. 194.
176 ฎ. 629/2536.
177 ฎ. 3471/2536.
178 ฎ. 29/2535.
179 ฎ. 770/2515, ฎ. 1666/2520 และ ฎ. 5497/2552.
180 ยืนหยัด ใจสมุทร. เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายอาญา 1: ภาคบทบัญญัติทั่วไป (หน่วยที่ 10, ปรับปรุงครั้งที่ 1).
นนทบุรี: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2535. น. 435-437.
สธ ส
4-98 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

อนึ่ง เหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78 ด้วยเหตุ “การให้ความรู้แก่ศาล” นั้น ไม่จ�ำต้องเป็นการรับ


สารภาพผิดตามฟ้องเสมอไป ค�ำให้การของจ�ำเลยทีอ่ า้ งตนเองเป็นพยานหากได้กอ่ ให้เกิดประโยชน์ในการ
รับฟังข้อเท็จจริงในคดีแก่ศาลแล้ว ก็ถอื เป็นเหตุบรรเทาโทษได้ตาม ปอ. มาตรา 78 นี้ เช่น รับในค�ำให้การ
ว่าอยู่ในที่เกิดเหตุด้วย โดยเพียงแต่ช่วยฝังศพ แต่มีคนอื่นเป็นคนฆ่า181 หรือรับว่าได้ฆ่าคนตายจริง แต่
เป็นการกระท�ำเพื่อป้องกันตนเอง182

. “การให้ความรูแ้ ก่ศาล” ไม่จำ� ต้องเป็นการให้โดยตรงในชัน้ ศาล โดยค�ำให้การ ค�ำแถลงหรือค�ำเบิก


ความของจ�ำเลยเท่านัน้ แต่อาจให้โดยการทีจ่ ำ� เลยให้การรับสารภาพชัน้ สอบสวนต่อพนักงานสอบสวน หรือ
สธ สธ
ชั้นจับกุมต่อเจ้าพนักงานผู้จับกุม ซึ่งหากเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา ศาลก็ลดโทษให้ได้183

มส . มส
ค�ำให้การรับสารภาพที่จ�ำเลยยื่นต่อศาลแล้วขอถอนคืนไป184 หรือค�ำรับสารภาพของจ�ำเลยที่รับ
ต่อบุคคลภายนอก และบุคคลภายนอกนัน้ มาให้การยืนยันค�ำรับสารภาพของจ�ำเลยอันเป็นประโยชน์ตอ่ ศาล185
ดังนี้ ศาลก็อาจอาจลดโทษให้ได้ โดยอาจลดโทษเพียงเล็กน้อยตามประโยชน์ที่ศาลได้รับจากความรู้นั้น
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการให้การรับสารภาพเพราะจ�ำนนต่อพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน
และของโจทก์ เห็นว่าไม่มที างต่อสูค้ ดีได้จงึ รับสารภาพเสีย ไม่ถอื ว่าเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาของศาล

เพราะแม้จำ� เลยไม่รับสารภาพ ก็มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษจ�ำเลยได้อยู่แล้ว เช่นนี้ ไม่เป็นเหตุ
บรรเทาโทษ ศาลไม่ลดโทษให้186 ทั้งนี้ ในการพิจารณาว่า อย่างไรเป็นการจ�ำนนต่อพยานหลักฐานนั้นก็
ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป
อุทาหรณ์ ที่เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
ธ.

(1) ฎ. 817/2510 จ�ำเลยให้การปฏิเสธในชั้นศาล แต่จ�ำเลยให้การในชั้นสอบสวนและเบิกความ


ในชัน้ พิจารณาว่า ได้ยงิ ปืนไปทีว่ งพนันจริง กับเบิกความต่อศาลรับถึงอ�ำนาจยิงของปืนอีกด้วย ดังนี้ นับว่า
ค�ำเบิกความของจ�ำเลยเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยคดี ควรปราณีลดโทษให้จ�ำเลย
(2) ฎ. 1001/2512 จ�ำเลยรับสารภาพต่อศาลก่อนลงมือสืบพยานโจทก์เป็นประโยชน์แก่การ
พิจารณาคดี นับว่ามีเหตุบรรเทาโทษได้ ขณะจ�ำเลยท�ำร้ายผู้ตายเป็นเวลาใกล้มืดค�ำ ่ พยานโจทก์บางคน
ได้ไปไกลจากที่เกิดเหตุไกลประมาณ 5 วา ได้ยินเสียงโครมครามจึงวิ่งหวนกลับเข้ามาดู และไม่มีผู้ใดจับ
.ม
จ�ำเลยและมีดของกลางได้ในคืนนั้น จึงยากที่จะถือว่าจ�ำเลยจ�ำนนต่อพยานหลักฐานโจทก์ การที่ศาลลด
โทษให้กึ่งหนึ่งเป็นการชอบด้วย ปอ. มาตรา 78 แล้ว
(3) ฎ. 2547/2530 แม้จำ� เลยจะขอถอนค�ำให้การเดิมทีป่ ฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องเมือ่
สืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้วก็ตาม แต่จ�ำเลยยังได้แถลงรับข้อเท็จจริงบางประการจนโจทก์แถลงไม่ติดใจ

181 ฎ. 84-85/2462 และ ฎ. 2100/2531.


182 ฎ. 668/2493.
183 ฎ. 360/2474, ฎ. 568/2476, ฎ. 1087/2482, ฎ. 837/2496 และ ฎ. 2033/2528.
184 ฎ. 2780/2516.
185 ฎ. 485/2469.
186 ฎ. 1913/2514, ฎ. 811/2515, ฎ. 1509/2515, ฎ. 2969/2517, ฎ. 322/2521, ฎ. 617/2526, ฎ. 175/2527 และ
ฎ. 1720/2530.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-99

สืบพยานอีกต่อไป ดังนี้ มิใช่การรับสารภาพเพราะจ�ำนนต่อพยานหลักฐาน แต่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่


ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ศาลชอบที่จะลดโทษให้แก่จำ� เลยได้
(4) ฎ. 8123/2553 จ�ำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวน ตลอดจนข้อน�ำสืบของ
จ�ำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตาม ปอ. มาตรา 78 หนึง่ ในสาม
อุทาหรณ์ ที่ไม่เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา

. (1) ฎ. 1896/2526 เมือ่ ศาลชัน้ ต้นได้อาศัยพยานหลักฐานโจทก์ทมี่ นั่ คงทัง้ พยานบุคคล พยานวัตถุ


และพยานแวดล้อมกรณีวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่าจ�ำเลยได้กระท�ำผิดจริง และพิพากษาลงโทษโดยมิได้
สธ สธ
อาศัยค�ำรับสารภาพของจ�ำเลยแต่ประการใด จึงไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษอันจะพึงลดโทษให้แก่จ�ำเลยได้

มส . มส
(2) ฎ. 2003/2531 จ�ำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน แต่ในชั้นศาลซึ่งโจทก์
ฟ้องว่า จ�ำเลยมีเฮโรอีนยาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพือ่ จ�ำหน่าย เดิมจ�ำเลยก็แถลงยอมรับว่ามีเฮโรอีน
ไว้ในครอบครอง แต่ตอ่ มาก็นำ� สืบปฏิเสธค�ำแถลงดังกล่าว เช่นนีไ้ ม่มคี ำ� รับหรือค�ำแถลงรับของจ�ำเลยไม่วา่
ในชัน้ จับกุม ชัน้ สอบสวนหรือในชัน้ ศาลอันจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีของศาลแต่ประการใด กรณี
จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษที่จะยกมาเพื่อลดโทษให้แก่จำ� เลย

(3) ฎ. 3152/2538 จ�ำเลยมิได้สารภาพมาแต่ตน้ ปฏิเสธและสูค้ ดีมาตลอด จนโจทก์สบื พยานเสร็จ
แล้วจึงสารภาพ การสารภาพไม่เป็นประโยชน์แก่คดี
(4) ฎ. 5865/2543 ศาลอาศัยพยานวัตถุทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะเลือดทีก่ างเกงในของจ�ำเลย
ซึง่ มี DNA ตรงกับผูต้ าย แม้ไม่มปี ระจักษ์พยานรูเ้ ห็นก็สามารถชีข้ าดข้อเท็จจริงได้โดยไม่ตอ้ งอาศัยค�ำรับ
ธ.

สารภาพของจ�ำเลย และการรับสารภาพของจ�ำเลยในชัน้ สอบสวนก็เพราะจ�ำนนต่อพยานหลักฐานมิใช่เพราะ


ส�ำนึกผิด จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่คดี จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
2.4 เหตุอนื่ ทีศ่ าลเห็นว่ามีลกั ษณะท�ำนองเดียวกัน เหตุบรรเทาโทษข้อนีใ้ ห้อำ� นาจศาลทีจ่ ะใช้ดลุ พินจิ
ได้เป็นกรณีๆ ไป โดยมิได้ก�ำหนดแน่ชัดว่าต้องเป็นเหตุใด ข้อส�ำคัญจะต้องมีลักษณะท�ำนองเดียวกับที่
กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น แม้จะมิได้ท�ำผิดเพราะตกอยู่ในความทุกข์แสนสาหัส แต่ในการเข้าวิวาทต่อสู้นั้น
ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการวิวาทต่อสู้นั้นด้วย187 หรือแม้ไม่มีคุณความดีมาก่อน แต่เมื่อได้ยิงเข้าไปนัด
.ม
หนึ่งแล้วปืนไม่ลั่น มีกระสุนอีกแต่ก็ไม่ยิงซ�้ำ188 หรือเจ้าของรถที่จ�ำเลยขับได้ชดใช้ค่าเสียหายให้บรรดา
ผู้ตายถือว่ามีการบรรเทาผลร้าย แม้จ�ำเลยมิได้เป็นผู้บรรเทาผลร้ายด้วยตนเอง ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นเหตุ
อื่นๆ ที่มีลักษณะท�ำนองเดียวกัน ศาลลดโทษให้จ�ำเลย 1 ใน 3189 เป็นต้น
อุทาหรณ์
(1) ฎ. 1337/2517 จ�ำเลยเป็นต�ำรวจเข้าจับกุมคนร้าย คนร้ายหนี จ�ำเลยใช้ปนื ยิงกระสุนไปถูกผูอ้ นื่ ตาย
การกระท�ำของจ�ำเลยนับได้ว่าเป็นการกระท�ำอันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ในการจับกุมคนร้าย โดย
ใช้วธิ กี ารเกินสมควรแก่พฤติการณ์แห่งการจับกุม และเป็นการตัดสินใจผิดในขณะทีม่ เี หตุการณ์ฉกุ เฉิน เข้า
ลักษณะในเหตุอื่นอันเป็นเหตุบรรเทาโทษประการหนึ่งตาม ปอ. มาตรา 78
187 ฎ. 29/2498.
188 ฎ. 906/2463.
189 ฎ. 4473/2529.
สธ ส
4-100 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ

(2) ฎ. 312/2520 จ�ำเลยกับพวกปล้นทรัพย์และท�ำร้ายเจ้าทรัพย์ถึงแก่ความตาย แม้ข้อเท็จจริง


จะฟังได้ว่าจ�ำเลยไม่ได้ลงมือท�ำร้ายผู้ตายถึงแก่ความตาย ก็ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ปอ. มาตรา 78
เพราะมิใช่เหตุตามที่ระบุไว้ในมาตราดังกล่าว และมิใช่เหตุอื่นที่มีลักษณะท�ำนองเดียวกัน

3. ผลของเหตุบรรเทาโทษ

. การลดโทษเพราะเหตุบรรเทาโทษตาม ปอ. มาตรา 78 บัญญัติว่า “เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทา


สธ สธ
โทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่

มส . มส
ถ้าศาลเห็นสมควร จะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระท�ำความผิดนั้นก็ได้...”
การลดโทษตามมาตรา 78 นี้ จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาลดโทษที่จะลงแก่จ�ำเลยได้อีก
ไม่เกินกึง่ หนึง่ ของโทษทีจ่ ะลงนัน้ ไม่วา่ ในคดีนนั้ จะได้มกี ารเพิม่ โทษหรือลดโทษด้วยเหตุใดๆ ตามประมวล
กฎหมายนี้ หรือตามกฎหมายอื่นใดมาแล้วหรือไม่ก็ตาม
การลดโทษตามมาตรานีเ้ ป็นการลดโทษทีศ่ าลจะลงแก่จำ� เลยเป็นขัน้ ตอนสุดท้าย ซึง่ ภายหลังจากนี้
ศาลก็จะไม่เพิ่มไม่ลดโทษด้วยเหตุใดอีก จึงเท่ากับเป็นโทษสุทธิที่จะลงแก่จ�ำเลยอย่างแท้จริง

ทัง้ นี้ การลดโทษตามมาตรานี้ ศาลไม่จำ� ต้องระบุไว้กไ็ ด้วา่ ลดโทษให้เป็นอัตราส่วนเท่าใด ข้อส�ำคัญ
คือ การลดโทษตามมาตรานี้ต้องไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ศาลจะลงโทษโดย
ระบุแน่ชัดว่าลดโทษให้แก่จ�ำเลยเพราะเหตุบรรเทาโทษอย่างไร เป็นอัตราส่วนเท่าใด และคงเหลือโทษที่
จะลงเท่าใด เช่น ตัดสินว่าจ�ำเลยผิดตาม ปอ. มาตรา 334 ลงโทษจ�ำคุก 1 ปี จ�ำเลยรับสารภาพเป็น
ธ.

ประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้จำ� เลยตามมาตรา 78 กึง่ หนึง่ คงลงโทษจ�ำคุกจ�ำเลย 6 เดือน เป็นต้น


อุทาหรณ์
ฎ. 10671/2553 ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลีย่ น หรือจ�ำหน่ายภาพยนตร์และวีดทิ ศั น์
โดยท�ำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และความผิดฐาน
น�ำภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณา
ภาพยนตร์และวีดทิ ศั น์ออกจ�ำหน่าย เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานประกอบ
.ม
กิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจ�ำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.
ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 79 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษ
หนักสุด ตาม ปอ. มาตรา 90 ลงโทษปรับ 200,000 บาท จ�ำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การ
พิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ปอ. มาตรา 78 คงปรับ 100,000 บาท
อนึ่ง เหตุบรรเทาโทษตามมาตรา 78 นี้มีหลายประการ ศาลจะลดโทษให้ได้แต่เพียงคราวเดียว
จะลดโทษโดยอาศัยเหตุบรรเทาโทษแต่ละเหตุหลายครัง้ หลายหนนัน้ ไม่ได้ หากจะท�ำได้กเ็ พียงแต่กล่าวถึง
เหตุตา่ งๆ เอาไว้ แล้วรวมลดเป็นคราวเดียวกันไม่เกินกึง่ หนึง่ 190 ซึง่ เหตุบรรเทาโทษนี้ ศาลมีอำ� นาจหยิบยก
ขึน้ มาได้เองโดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอ แต่แม้จะมีเหตุบรรเทาโทษปรากฏอยู่แล้วก็ตาม ก็มิใช่ศาลจะต้องลด

190 ฎ. 2354/2531.
สธ ส
เหตุยกเว้นความผิด เหตุยกเว้นโทษ เหตุลดโทษ 4-101

ให้เสมอไป ศาลอาจจะไม่ลดให้กไ็ ด้191 หรือจ�ำเลยต่างคนกันมีเหตุบรรเทาโทษเหมือนกัน ศาลอาจลดโทษ


ให้ไม่เท่ากันก็ได้ กรณีตามมาตรา 78 นี้ จึงเป็นกรณีที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง ซึ่งศาลจะต้องอาศัยความรู้
ประสบการณ์เป็นอย่างสูง จึงสามารถจะใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อจ�ำเลยและต่อส่วนรวมโดยเต็มที่ได้
อุทาหรณ์
ฎ. 13487/2553 (ประชุมใหญ่) การทีจ่ ำ� เลยน�ำเจ้าพนักงานต�ำรวจไปตรวจค้นทีห่ อ้ งพักของจ�ำเลย

.
จนสามารถยึดได้เมทแอมเฟตามีน 760 เม็ดของกลางนั้น เป็นเรื่องที่คำ� ให้การของจ�ำเลยในชั้นจับกุมและ
ชั้นสอบสวนเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ซึ่งเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ปอ.
สธ สธ
มาตรา 78 แต่ไม่ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่ส�ำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระท�ำ

มส . มส
ความผิดเกีย่ วกับยาเสพติดให้โทษต่อต�ำรวจหรือพนักงานสอบสวน อันจะเป็นเหตุให้ศาลลงโทษจ�ำเลยน้อย
กว่าอัตราโทษขั้นต�่ำที่ก�ำหนดไว้ส�ำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
ข้อสังเกต
โทษที่ศาลจะลดให้จำ� เลยตามมาตรา 78 นี้ ก็คือ โทษที่ระบุไว้ในบทมาตราที่กระท�ำผิดนั้น ได้แก่
โทษประหารชีวิต โทษจ�ำคุก และโทษปรับ ส่วนโทษอย่างอื่นตาม ปอ. มาตรา 18 ได้แก่ กักขัง และริบ

ทรัพย์สินนั้น มิใช่โทษโดยตรงที่จะลงแก่จ�ำเลย กล่าวคือ โทษกักขังเป็นโทษที่ศาลเปลี่ยนแปลงมาจาก
โทษจ�ำคุกตามมาตรา 23 หรือเป็นโทษทีล่ งแทนโทษปรับตามมาตรา 29 จึงเป็นโทษทีม่ ขี นึ้ ภายหลังทีศ่ าล
ได้กำ� หนดโทษสุทธิเรียบร้อยแล้ว ซึง่ โทษจะเพิม่ โทษลดโทษก็ทำ� กันมาจนสิน้ กระบวนการแล้วจึงมาถึงโทษ
กักขังในภายหลัง โทษกักขังจึงไม่อาจลดกันได้อกี ส่วนโทษริบทรัพย์สนิ ไม่มอี ตั ราโทษ จะริบหรือไม่เท่านัน้
จึงไม่มีการลดโทษ192 ส�ำหรับกรณีลดโทษประหารชีวิตหรือลดโทษจ�ำคุกตลอดชีวิตนั้น ต้องพิจารณาตาม
ธ.

มาตรา 52 และมาตรา 53 ตามล�ำดับ193

กิจกรรม 4.3.3
ในคดีฆา่ คนตาย จ�ำเลยซึง่ ให้การรับสารภาพชัน้ สอบสวน ได้มาให้การปฏิเสธชัน้ ศาล อัยการโจทก์
.ม
น�ำประจักษ์พยานเข้าสืบยืนยันความผิดของจ�ำเลย 10 ปาก และมีพยานแวดล้อมกรณีอกี หลายปากรับฟังได้
สอดคล้องต้องกันว่า จ�ำเลยเป็นคนร้ายฆ่าคนตายจริง ถึงแม้จ�ำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวน
ศาลก็มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษจ�ำเลยตามฟ้องได้ เช่นนี้ หากจ�ำเลยยื่นค�ำขอให้ศาลลดโทษให้
เพราะค�ำรับสารภาพชั้นสอบสวน ถ้าท่านเป็นศาลจะลดโทษแก่จ�ำเลยเพราะเหตุบรรเทาโทษหรือไม่

191 ฎ. 3922/2547 ปอ. มาตรา 78 เป็นบทบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ของผู้กระท�ำ


ความผิดเป็นรายบุคคลไป หาใช่บทบังคับทีจ่ ะต้องลดโทษให้แก่ผกู้ ระท�ำความผิดเพราะมีเหตุบรรเทาโทษเสมอไปไม่, ฎ. 2707/2527
ไม่ลดโทษให้เพราะจ�ำเลยมีจิตใจโหดเหี้ยมหินชาติผิดมนุษย์, ฎ. 2538/2528 ไม่ลดโทษให้เพราะเป็นการกระท�ำโดยจิตใจที่โหดร้าย
ทารุณ เหี้ยมโหดไร้มนุษยธรรม, ฎ. 1720 ไม่ลดโทษให้เพราะจ�ำเลยมีจิตใจเหี้ยมอ�ำมหิต.
192 จิตติ ติงศภัทยิ .์ กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครัง้ ที่ 10). กรุงเทพฯ: ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบณ ั ฑิตยสภา.
2546. น. 989.
193 ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. กฎหมายอาญาหลักและปัญหา (พิมพ์ครัง้ ที่ 7). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นต
ิ ธิ รรม. 2549. น. 351.
สธ ส
4-102 กฎหมายอาญา: ภาคบทบัญญัติทั่วไป ความผิด และลหุโทษ


แนวตอบกิจกรรม 4.3.3
ตามอุทาหรณ์ แม้จำ� เลยให้การรับสารภาพชัน้ สอบสวน แต่จำ� เลยก็ให้การปฏิเสธในชัน้ ศาล อัยการ
โจทก์ได้นำ� ประจักษ์พยานเข้าสืบยืนยันความผิดของจ�ำเลยถึง 10 ปาก และมีพยานแวดล้อมกรณีอกี หลาย
ปาก รับฟังได้ว่าจ�ำเลยเป็นคนร้ายฆ่าคนตายจริง ถึงแม้จำ� เลยจะไม่ให้การรับสารภาพชั้นสอบสวน ศาลก็
มีพยานหลักฐานเพียงพอทีจ่ ะลงโทษจ�ำเลยได้ ค�ำให้การชัน้ สอบสวนของจ�ำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การ

.
พิจารณาคดีของศาล ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะไม่ลดโทษให้ตาม ปอ. มาตรา 78
สธ สธ
มส . มส

ธ.
.ม

You might also like