You are on page 1of 82

สธ ส

หน่วยที่ 4


การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้น
ความรับผิดเพื่อละเมิด

. อาจารย์ ดร.ชัชชัย ลาภปรารถนา


สธ สธ
อาจารย์ ดร.ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์

มส . มส

ธ.

ชื่อ อาจารย์ชัชชัย ลาภปรารถนา


วุฒิ น.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
LL.M. (Temple University)
LL.M. (Southern Methodist University)
S.J.D. (Southern Methodist University)
.ม
ต�ำแหน่ง อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชานิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่เขียน หน่วยที่ 4 (เรื่องที่ 4.1.4 และตอนที่ 4.2)

ชื่อ อาจารย์ ดร.ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์


วุฒิ น.บ. (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น.บ.ท., Master II de Recherche spécialité Droit
Social (mention assez bien), Docteur en Droit Social (mention très
honorable avec les félicitations du jury, prix de thèse de droit comparé
et droits étrangers 2009), Université Paul-Cézanne (Aix-Marseille III)
ต�ำแหน่ง อาจารย์ประจ�ำคณะนิติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หน่วยที่เขียน หน่วยที่ 4
สธ ส
4-2 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

แผนการสอนประจ�ำหน่วย


ชุดวิชา กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

.
หน่วยที่ 4 การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด
สธ สธ
มส . มส
ตอนที่
4.1 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
4.2 นิรโทษกรรม

แนวคิด

1. เมื่อเกิดละเมิดขึ้น ผู้เสียหายจากละเมิดนั้นชอบที่จะได้รับ “ค่าสินไหมทดแทน” เพื่อเยียวยา
ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือฐานะที่ใกล้เคียงกับฐานะเดิมมากที่สุดก่อนที่จะเกิดละเมิดดังกล่าว
ส่วนการเยียวยาจะเป็นเช่นใด เพียงใด และสถานใดนั้น กฎหมายได้บัญญัติทั้งหลักการทั่วไป
และหลักการเฉพาะที่สอดคล้องกับประเภทของความเสียหาย เพื่อการก�ำหนดค่าสินไหม
ธ.

ทดแทนความเสียหายจากละเมิด โดยให้ศาลเป็นผู้มีหน้าที่ในการวินิจฉัยตามสมควรแก่
พฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งละเมิด
2. นิรโทษกรรมเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้ผู้กระท�ำไม่ต้องรับผิดฐานละเมิด

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 4 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
.ม
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับนิรโทษกรรมในเรื่องละเมิดได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 4
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 4.1-4.2
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน
4. ฟังซีดีเสียงประกอบชุดวิชา (ถ้ามี)
5. ฟังรายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
6. ชมรายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-3

7. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)


8. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 4

สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน

.
2. แบบฝึกปฏิบัติ
สธ สธ
3. ซีดีเสียงประกอบชุดวิชา (ถ้ามี)

มส . มส
4. รายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
5. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์
6. การสอนเสริม (ถ้ามี)
7. การสอนเสริมผ่านดาวเทียม (ถ้ามี)

การประเมินผล

1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจ�ำภาคการศึกษา
ธ.

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 4 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป
.ม
สธ ส
4-4 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ตอนที่ 4.1


ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 4.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
4.1.1 แนวคิดในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

มส . มส
4.1.2 หลักทั่วไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
4.1.3 หลักเฉพาะในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดให้สอดคล้องกับประเภทของ
ความเสียหาย
4.1.4 อายุความในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

แนวคิด
1. การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดนั้น มีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง หมายถึง การ
กระท�ำใดๆ เพื่อเยียวยาให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่สถานะเดิมหรือใกล้เคียงกับสถานะเดิม
มากที่สุดเสมือนก่อนที่จะเกิดละเมิดขึ้น แต่ถ้าไม่อาจกระท�ำการดังนั้นได้ก็อาจก�ำหนด
เป็นค่าเสียหายในรูปของตัวเงินแทน ซึ่งแนวคิดในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนใน
ธ.

กฎหมายไทยนัน้ ยึดตามแนวทางของระบบกฎหมายลายลักษณ์อกั ษร (civil law) เป็น


ส�ำคัญ กล่าวคือเพื่อเป็นการเยียวยาให้กับผู้เสียหาย มากกว่าเป็นการลงโทษ แต่การ
ก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนในเชิงการลงโทษก็เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมบ้างแล้วใน
บทกฎหมายไทย โดยเริม่ ทีก่ ฎหมายเฉพาะเรือ่ ง 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเกีย่ วกับความลับ
ทางการค้า กฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และกฎหมายคุ้มครอง
.ม
ผู้บริโภค
2. ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่าค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดจะพึงชดใช้กันสถานใด เพียงใด ทั้งนี้
ขึน้ อยูพ่ ฤติการณ์แห่งกรณี และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึง่ ค่าสินไหมทดแทนนีอ้ าจเป็น
ค่าสินไหมทดแทนที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงหรือเป็นค่าเสียหายทั้งที่อาจค�ำนวณเป็น
จ�ำนวนเงินได้โดยแน่นอนและไม่แน่นอนแต่ต้องมีการกะประมาณ อีกทั้งอาจรวมถึง
ดอกเบี้ยในค่าเสียหาย และค่าเสียหายในอนาคตอีกด้วย
3. บทบัญญัตกิ ฎหมายได้กำ� หนดหลักเฉพาะในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดไว้
3 ประเภท ได้แก่ ละเมิดอันท�ำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์ประการหนึ่ง ละเมิดอัน
ท�ำให้เกิดความเสียหายต่ออนามัย เสรีภาพ เนื้อตัวร่างกายและชีวิตประการหนึ่ง และ
ละเมิดอันท�ำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงอีกประการหนึ่ง
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-5


4. ในคดีละเมิด อายุความส�ำหรับผู้เสียหายในการฟ้องร้องให้ผู้กระท�ำละเมิดชดใช้ค่าเสีย
หายที่เกิดจากการกระท�ำละเมิด คือ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะ
พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันท�ำละเมิด

วัตถุประสงค์

.
เมื่อศึกษาตอนที่ 4.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
สธ สธ
1. อธิบายแนวคิดของการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดได้

มส . มส
2. อธิบายและวินิจฉัยหลักทั่วไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดได้
3. อธิบายและวินจิ ฉัยหลักเฉพาะในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิด ให้สอดคล้อง
กับประเภทของความเสียหายได้
4. อธิบายและวินิจฉัยหลักการเรื่องอายุความในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ได้

ธ.
.ม
สธ ส
4-6 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เรื่องที่ 4.1.1


แนวคิดในการใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420-437 ได้บัญญัติกรณีต่างๆ อันเป็นมูลเหตุที่ก่อ


ให้เกิดละเมิดไว้ ซึง่ อาจเกิดจากการกระท�ำของตัวผูท้ ำ� ละเมิดเอง หรือเป็นการกระท�ำจากบุคคลอืน่ แต่ดว้ ย
สธ สธ
สถานะหรือความสัมพันธ์ของบุคคลนั้นกับผู้ทำ� ละเมิด กฎหมายจึงบัญญัติให้บุคคลดังกล่าวต้องร่วมรับผิด

มส . มส
ในละเมิดที่เกิดขึ้นแม้ว่าบุคคลนั้นมิใช่ผู้ที่กระท�ำให้เกิดละเมิดโดยตรงก็ตาม นอกจากนี้แล้วละเมิดอาจเกิด
ได้จากตัวทรัพย์ ที่ท�ำให้ผู้ใกล้ชิดดูแลทรัพย์นั้นจ�ำต้องตกอยู่ในฐานะผู้รับผิดในผลแห่งละเมิดอีกด้วย แต่
ไม่วา่ เหตุทที่ ำ� ให้เกิดละเมิดขึน้ จะเป็นเช่นไร เงือ่ นไขส�ำคัญประการหนึง่ ของการกระท�ำทีจ่ ะเป็นละเมิดได้ก็
คือ การกระท�ำนั้นจะต้องท�ำให้เกิด “ความเสียหาย” ขึ้นกับผู้ถูกกระท�ำละเมิด จึงเท่ากับว่าการกระท�ำใด
ทีเ่ มือ่ เกิดขึน้ แล้ว ไม่มผี ลในอันทีก่ อ่ ให้เกิดความเสียหายตามมา การกระท�ำนัน้ ย่อมไม่เป็นละเมิด1 ซึง่ ความ

เสียหายเช่นว่านีอ้ าจจะเป็นความเสียหายต่อชีวติ ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สนิ หรือสิทธิอย่างหนึง่
อย่างใดก็ได้อนั ท�ำให้ผทู้ ำ� ละเมิดตลอดจนบุคคลทีก่ ฎหมายก�ำหนดไว้มหี นีต้ อ้ งชดใช้คา่ สินไหมทดแทน2 จึง
เท่ากับว่าละเมิดเป็นบ่อเกิดแห่งหนีโ้ ดยมี “ค่าสินไหมทดแทน” เป็นวัตถุแห่งหนีอ้ นั เกิดจากมูลละเมิดนัน่ เอง
อย่างไรก็ตาม แม้ละเมิดจะเป็นบ่อเกิดแห่งหนีป้ ระการหนึง่ แต่หนีใ้ นมูลละเมิดนัน้ มีความแตกต่าง
จากมูลหนี้ในลักษณะอื่น ในข้อที่ว่าหนี้ในมูลละเมิดนั้นเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการท�ำละเมิด และต้องถือว่า
ธ.

ลูกหนี้อยู่ในสถานะผู้ผิดนัดนับแต่เวลานั้นตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 2063 อันเป็นผลให้ผู้เสียหายจาก


ละเมิดเกิดสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ท�ำละเมิดหรือบุคคลที่กฎหมายก�ำหนดไว้ทันที4
ส�ำหรับค่าสินไหมทดแทน จะเรียกกันได้อย่างไร มากน้อยเพียงใดในกฎหมายไทยนั้น ได้มีการ
บัญญัตไิ ว้ใน ป.พ.พ. ตัง้ แต่มาตรา 438 ถึงมาตรา 448 แม้กระนัน้ การทีจ่ ะปรับใช้บทบัญญัตทิ งั้ 11 มาตรา
ให้ตอ้ งตรงความมุง่ หมายของกฎหมายได้อย่างแท้จริง จะต้องเข้าใจแนวคิดพืน้ ฐานทีส่ ำ� คัญ 2 ประการของ
.ม
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดเสียก่อน ได้แก่ (1) ความหมายของค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
และ (2) วัตถุประสงค์ของค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

1
จิตติ ติงศภัทิย์ ปรับปรุงโดย เขมภูมิ ภูมิถาวร, ชวิน อุ่นภัทร และอ�ำนาจ ตั้งคีรีพิมาน. ค�ำอธิบายประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ เรียงมาตรา ว่าด้วยจัดการงานนอกสัง่ ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพ 2 มาตรา 395–452. กองทุนศาสตราจารย์จติ ติ
ติงศภัทิย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา. 2555. หน้า 239.
2
ป.พ.พ. มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ท�ำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหาย... ท่านว่าผู้นั้นท�ำ
ละเมิด จ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
3
ป.พ.พ. มาตรา 206 “ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ท�ำละเมิด”
4
เพ็ง เพ็งนิติ. ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวเนื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: หจก. จิรรัชการพิมพ์. 2556. หน้า 386.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-7

1. ความหมายของค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด


ในทางทฤษฎีกฎหมายแพ่ง ค�ำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” นัน้ มักจะถูกใช้คกู่ บั ค�ำว่า “ค่าเสียหาย”
จนท�ำให้เกิดการตัง้ ค�ำถามว่า แท้จริงแล้ว ค่าสินไหมทดแทนและค่าเสียหาย เป็นค�ำทีม่ คี วามหมายเหมือน
กัน ใกล้เคียง หรือต่างกันอย่างไร ซึง่ หากพิจารณาจากถ้อยค�ำของบทบัญญัตกิ ฎหมายลักษณะหนี้ ในเรือ่ ง
ที่ว่าด้วยการไม่ชำ� ระหนี้ ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง “การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่

.
เรียกค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติ...” ก็ทำ� ให้เข้าใจได้วา่ “ค่าสินไหมทดแทน” และ
สธ สธ
“ค่าเสียหาย” เป็นค�ำค�ำเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับกฎหมายลักษณะละเมิดนั้น ค�ำว่า “ค่าสินไหม
ทดแทน” ดูเหมือนว่าจะมีความหมายที่กว้างกว่าค�ำว่า “ค่าเสียหาย” ดังปรากฏใน ป.พ.พ. มาตรา 438

มส . มส
วรรคสอง ความว่า “อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะ
ละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ
อันได้กอ่ ขึน้ นัน้ ด้วย” ซึง่ หากพิจารณาจากถ้อยค�ำตัวอักษรของบทกฎหมายแล้วก็จะเห็นได้วา่ มีการกล่าวถึง
“ค่าสินไหมทดแทน” ในทางละเมิดไว้ 2 ประการด้วยกัน5 คือ การคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแห่งทรัพย์สิน
ที่ผู้ถูกท�ำละเมิดต้องสูญเสียไปเพราะละเมิดนั้นประการหนึ่ง และการใช้ค่าเสียหายอีกประการหนึ่ง

อย่างไรก็ตามถ้อยค�ำที่ว่า “ได้แก่” ใน ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสองนั้น ท�ำให้พิจารณาได้อีก
ว่าแท้จริงแล้ว การคืนทรัพย์การใช้ราคาทรัพย์ ตลอดจนการจ่ายค่าเสียหายนั้น มิใช่ขอบเขตทั้งหมดของ
ค�ำว่า “ค่าสินไหมทดแทน” เพื่อละเมิด แต่เป็นเพียงตัวอย่างที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายต้องการยกมาให้
เห็นเป็นแนวทางในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนกันเท่านั้น ซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าวนี้สามารถพิสูจน์ให้
ธ.

เห็นเป็นรูปธรรมได้ เมื่อพิเคราะห์บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 447 อันเป็นเรื่องที่ว่าด้วยการชดใช้ค่า


สินไหมทดแทนกรณีที่ท�ำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียงเป็นตัวอย่างประกอบ เพราะบทบัญญัติมาตรา
ดังกล่าวได้ระบุชัดเจนถึงวิธีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่ทั้งการคืนทรัพย์หรือการใช้ราคา
ทรัพย์ อีกทั้งมิใช่การจ่ายค่าเสียหายเพียงอย่างเดียว กล่าวคือ “...เมื่อผู้ต้องเสียหายร้องขอ ศาลจะสั่งให้
บุคคลผู้ท�ำละเมิดจัดการตามควรเพื่อท�ำให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหาย หรือทั้งให้ใช้
ค่าเสียหายด้วยก็ได้” ดังนี้แล้ว จึงอาจสรุปได้ว่าในทางทฤษฎี “ค่าสินไหมทดแทน” เพื่อละเมิดนั้นมี
.ม
ความหมายค่อนข้างกว้าง และอาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
1. ค่าสินไหมทดแทนในรูปแบบเฉพาะเจาะจง6 ที่ขึ้นอยู่กับลักษณะของการกระท�ำอันท�ำให้เกิด
เป็นละเมิดขึ้นมา เช่น การคืนทรัพย์ การใช้ราคาทรัพย์ การท�ำให้ชื่อเสียงผู้ถูกท�ำละเมิดกลับคืนมาดังเดิม
ฯลฯ และ
2. ค่าสินไหมทดแทนในรูปของตัวเงิน หรือซึง่ ก็คอื “ค่าเสียหาย” ในความหมายของกฎหมายไทย7
โดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในลักษณะนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อไม่อาจจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในรูปแบบ
5
เพ็ง เพ็งนิต.ิ เรือ่ งเดียวกัน. หน้า 389; วารี นาสกุล. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยละเมิด จัดการงานนอกสัง่
และลาภมิควรได้. กรุงเทพฯ: หสน. วิบูลย์กิจการพิมพ์. 2544. หน้า 247.
6
ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี). โสตถิพันธุ์. ค�ำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ (พิมพ์ครั้งที่ 5).
กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน. 2557. หน้า 294–295.
7
ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 294.
สธ ส
4-8 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เฉพาะกันได้ หรือสามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในรูปแบบเฉพาะเจาะจงได้เพียงบางส่วน จึงก�ำหนดให้


มีการชดใช้คา่ สินไหมทดแทนในลักษณะทีเ่ ป็นค่าเสียหายท�ำนองทีเ่ ป็นการเติมเต็มความเสียหายทีข่ าดหาย
ไป เพราะถือว่า “เงิน” เป็นวัตถุกลางที่ยอมรับกันในการทดแทนสิ่งต่างๆ ได้นั่นเอง

2. วัตถุประสงค์ของการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด: การเยียวยาให้ผู้เสียหายกลับ

.
คืนสู่สถานะเดิม
สธ สธ
นอกจาก ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง จะได้แสดงให้เห็นถึงความหมายของ “ค่าสินไหม

มส . มส
ทดแทน” เพื่อละเมิดแล้ว การวิเคราะห์เนื้อความของบทบัญญัติมาตรานี้ ก็ยังท�ำให้เห็นถึงวัตถุประสงค์
ของการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดได้อีกด้วย จากถ้อยค�ำที่ว่า “...เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ
อันได้ก่อขึ้นด้วย” ย่อมเป็นการแสดงในตัวว่า ค่าสินไหมทดแทนในบทบัญญัติเรื่องละเมิดนั้น ต้องการที่
จะ “เยียวยา” ในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ กับผูท้ ถี่ กู ละเมิด เพือ่ ให้บคุ คลดังกล่าวได้กลับคืนสูส่ ถานะเดิมหรือ
ใกล้เคียงกับสถานะเดิมมากที่สุดเป็นส�ำคัญ ซึ่งหลักการดังกล่าวถือเป็นหัวใจส�ำคัญของกฎหมายลักษณะ
ละเมิด8 ที่ทำ� ให้กฎหมายลักษณะนี้มีความแตกต่างจากความรับผิดในทางอาญา ที่มุ่ง “ลงโทษ” ผู้กระท�ำ

ผิดเป็นส�ำคัญนัน่ เอง และเพือ่ ความกระจ่างชัดถึงความแตกต่างดังกล่าว อาจพิจารณาเปรียบเทียบผลต่าง
ในทางกฎหมายของข้ อ เท็ จ จริ ง เดี ย วกั น ที่ เข้ า ทั้ ง หลั ก เกณฑ์ ข องการกระท� ำ อั น เป็ น ละเมิ ด และครบ
องค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น “นายด�ำขโมยรถยนต์ของนายแดงไปเป็นเวลา 5 วัน”
ในทางละเมิดก็จะมองว่านายแดงเป็นผูเ้ สียหาย ดังนัน้ นายแดงต้องได้รถยนต์ทถี่ กู ขโมยไปคืนมาในสภาพ
ธ.

เดิม หากเกิดความช�ำรุดบกพร่องอย่างใดๆ กับรถยนต์คันดังกล่าว นายด�ำก็มีหน้าที่ซ่อมแซมให้เหมือน


เดิม หรืออาจจะต้องจ่ายเงินเพื่อใช้เป็นค่าซ่อมแซม ค่าสึกหรอ ในท�ำนองของค่าเสียหาย อีกทั้งในระหว่าง
5 วันที่นายแดงไม่มีรถยนต์ใช้นั้น นายแดงเกิดค่าเสียหายอะไรอย่างอื่นอีกหรือไม่ เช่น ต้องนั่งแท็กซี่ไป
ท�ำงานเป็นจ�ำนวนเงินเท่าใด นายด�ำก็มคี วามรับผิดในการชดใช้เงินในส่วนนีใ้ ห้กบั นายแดงด้วย กล่าวอย่าง
ง่ายก็คอื ชดใช้ให้เหมือนกับรถยนต์ของนายแดงไม่ได้ถกู ขโมยรถยนต์ไปนัน่ เอง ในทางกลับกันข้อเท็จจริง
เดียวกันนี้ในทางกฎหมายอาญามองว่านายด�ำมีเจตนาทุจริต ลักเอาทรัพย์ที่นายแดงเป็นเจ้าของอยู่ไป
.ม
ดังนั้นแล้ว การกระท�ำของนายด�ำครบตามองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 334
ท�ำให้ต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท
อย่างไรก็ตาม อาจตัง้ เป็นข้อสังเกตได้วา่ การชดใช้คา่ สินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดซึง่ มีวตั ถุประสงค์
ส�ำคัญในการเยียวยาผู้เสียหาย (compensatory damages) ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นแนวคิดของ
ประเทศทีใ่ ช้ระบบกฎหมายแบบประมวลกฎหมาย (civil law) แต่สำ� หรับประเทศทีใ่ ช้ระบบจารีตประเพณี
(common law) แล้ว ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอาจจะเป็นไปในลักษณะของการลงโทษ (punitive
damages) ด้วยก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในกรณีทผี่ เู้ สียหายเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือเป็นกรณีทเี่ กีย่ วเนือ่ ง
กับประโยชน์สาธารณะ แม้กระทัง่ กรณีทผี่ เู้ สียหายเป็นบุคคลทัว่ ไปแต่การกระท�ำอันเป็นละเมิดเป็นกรณีที่
ร้ายแรงเกินปกติซึ่งมักเป็นกรณีที่ผู้กระท�ำละเมิดได้กระท�ำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
8
วารี นาสกุล. เรื่องเดียวกัน. หน้า 246.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-9

อุทาหรณ์


1) คดี BMW North of America Inc. V Gore (94-896), 517 U.S. 559 (1996) ซึ่งในคดีนี้
ปรากฏว่ามีการซื้อรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับเบิ้ลยูจากตัวแทนจ�ำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ตัวแทน
จ�ำหน่ายได้มีการท�ำสีรถยนต์ใหม่โดยไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้กับผู้ซื้อได้ทราบก่อน คณะลูกขุนตัดสิน
ให้ตัวแทนจ�ำหน่ายรถยนต์ต้องชดใช้ค่าทดแทนเป็นเงินจ�ำนวน 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเสียหายที่

.
เป็นการลงโทษอีก 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2) คดี Liebeck V McDonal Restaurants P.T.S., Inc and McDonald’s international, Inc.
สธ สธ
ซึง่ เป็นคดีทรี่ า้ นอาหารจานด่วน (fast food) แมคโดนัลด์ชงกาแฟร้อนเกิน จนท�ำให้นางไลเบค อายุ 79 ปี

มส . มส
ทีข่ บั รถยนต์เข้าไปซือ้ กาแฟจากร้านดังกล่าวแล้ววางถ้วยกาแฟไว้ทหี่ น้าตัก ซึง่ ต่อมาได้เปิดฝาถ้วยเพือ่ เติม
ครีมและน�ำ้ ตาล แต่กาแฟได้กระฉอกออกมาหกรดหน้าตักทัง้ สองข้างและเป้าจนไหม้ ท�ำให้นางไลเบคต้อง
เข้ารับการรักษาและศัลยกรรมทีโ่ รงพยาบาล อันมีผลให้นางไลเบคฟ้องแมคโดนัลด์เพือ่ เรียกร้องค่าเสียหาย
ซึ่งคณะลูกขุนได้ตัดสินให้นางไลเบคชนะคดี โดยให้ค่าทดแทนเป็นเงิน 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ
ค่าเสียหายอันเป็นการลงโทษด้วยเหตุที่อุณหภูมิของน�้ำต้มกาแฟสูงกว่าบรรทัดฐานทางอุตสาหกรรมจน

ท�ำให้ผิวหนังไหม้อีก 2.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อุทาหรณ์ทั้งสองคดีนี้ศาลสหรัฐได้ก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดเป็นสองส่วนด้วยกัน คือ
ส่วนที่เป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเงินจ�ำนวนที่เทียบเคียงได้กับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้ถูก
ท�ำละเมิดได้เสียไปเพื่อเยียวยาหรือบรรเทาเหตุละเมิดนั้น กับค่าสินไหมทดแทนในเชิงลงโทษที่ศาลสหรัฐ
ธ.

มักจะก�ำหนดไว้ในอัตราที่ค่อนข้างสูงทั้งนี้ด้วยเหตุที่เห็นว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแม้จะผู้รับผลร้ายจะเป็น
เอกชนแต่เหตุแห่งละเมิดนั้นเกิดร้ายแรงเกิดจากบุคคลที่มีวิชาชีพเช่นนั้นอันพึงควรระวังเป็นพิเศษ และ
เป็นการกระท�ำโดยประมาทเลินเล่อร้ายแรงนั่นเอง ซึ่งทั้งสองคดีมีการอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์มลรัฐและ
ค�ำพิพากษาในชัน้ อุทธรณ์กไ็ ด้ปรับลดค่าเสียหายในส่วนทีเ่ ป็นไปเพือ่ การลงโทษลง แม้กระนัน้ ก็ยงั เห็นอยู่
ว่าศาลสหรัฐยอมรับการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดในเชิงลงโทษอยู่เอง9
ในส่วนกฎหมายลักษณะละเมิดของไทยนัน้ ยังคงยึดแนวคิดทีว่ า่ การชดใช้คา่ สินไหมทดแทนนัน้
.ม
ก็เพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ถูกท�ำละเมิด ให้กลับคืนคู่สถานะเดิมหรือในสถานะที่ใกล้เคียง
เป็นส�ำคัญ10 แม้ถงึ ว่าแนวค�ำพิพากษาศาลฎีกาบางฎีกาอาจท�ำให้เข้าใจได้วา่ การกระท�ำอันเป็นละเมิดนัน้
มิได้ทำ� ให้เกิดความเสียหายใดๆ ขึ้นมา แต่ศาลก็ยังใช้ดุลพินิจในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ถูก
กระท�ำละเมิด หรือเป็นการกระท�ำที่ท�ำให้เกิดความเสียหาย แต่ค่าสินไหมทดแทนที่ศาลก�ำหนดให้นั้น
ดูเหมือนจะหนักเกินไปกว่าเพื่อเยียวยาความเสียหาย ซึ่งก็อาจแปลความได้ว่าผู้พิพากษาศาลไทยเริ่ม
ยอมรับแนวคิดในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดในลักษณะของค่าเสียหายเชิงการลงโทษบ้างแล้ว11
แต่อกี นัยหนึง่ ก็อาจแปลความได้วา่ ตามหลักของมาตรา 438 ศาลเป็นผูใ้ ช้ดลุ พินจิ ในการก�ำหนดค่าสินไหม

9
เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 398-405.
10
ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 296.
11
เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 406-408.
สธ ส
4-10 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ทดแทนตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแก่ละเมิดซึ่งเป็นเรื่องที่จะได้กล่าวในรายละเอียดไว้ใน


เรื่องที่ 4.1.2 ต่อไป
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2475 ศาลพิพากษาจ�ำคุกจ�ำเลยฐานฉุดคร่ากระท�ำอนาจารนางสาว
เล็ก โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจ�ำเลย 3,000 บาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในชั้นที่จ�ำเลยต้องคดีอาญา

.
จ�ำเลยยังให้การและน�ำสืบว่า นายถมยงค์จำ� เลยกับนางสาวเล็กเคยลักลอบร่วมประเวณีกนั ซึง่ ทวีความเสีย
ชื่อเสียงเกียรติยศแก่นางสาวเล็กอยู่ชั่วชีวิต จึงให้จ�ำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเบี้ยท�ำขวัญให้โจทก์
สธ สธ
1,500 บาท เพื่อเป็นการสมแก่เหตุที่เจ้าทุกข์ระก�ำใจเป็นเยี่ยงอย่างส�ำหรับป้องกันไม่ให้กระท�ำความผิด

มส . มส
ชนิดนี้อีกในภายหน้า
จากค�ำพิพากษาศาลฎีกา เงินจ�ำนวน 1,500 บาท อาจจะมองว่าเป็นจ�ำนวนทีไ่ ม่มากเท่าใดนัก แต่
เมือ่ เปรียบเทียบกับค่าเงินในสมัยนัน้ ก็ถอื ว่าเป็นจ�ำนวนทีม่ ากอยูพ่ อสมควร โดยอาจใช้ราคาทองค�ำใน พ.ศ.
2475 ซึ่งประมาณการได้ที่บาทละ 20 บาท แต่ในปัจจุบัน ราคาทองค�ำโดยประมาณบาทละ 20,000 บาท
ก็เท่ากับว่าการก�ำหนดค่าเบี้ยท�ำขวัญ 1,500 บาท ในสมัยนั้น สามารถตีเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบันได้

1,500,000 บาทโดยประมาณนัน่ เอง ซึง่ ก็ถอื ได้วา่ เป็นมูลค่าทีค่ อ่ นข้างสูงทีศ่ าลใช้ดลุ พินจิ ในการก�ำหนดค่า
สินไหมทดแทนเพือ่ การกระท�ำอันเป็นละเมิดในข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึง่ อาจเป็นไปในเชิงลงโทษมากกว่าเชิง
เยียวยาความเสียหายนั่นเอง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2501 บริษัทจ�ำเลยเลียนชื่อบริษัทโจทก์มานาน เป็นการท�ำให้โจทก์
ธ.

เสียหาย จ�ำเลยต้องรับผิด แต่จะคิดมูลค่าเลียนชื่อเป็นเงินเท่าใดไม่มีราคาเหมือนทรัพย์สินอื่น ศาลจึง


ก�ำหนดให้ตามความร้ายแรงแห่งละเมิด โดยศาลฎีกามองว่าจ�ำเลยมีเจตนากระท�ำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งๆ ที่
มีผู้ทักท้วงแล้วจ�ำเลยยังฝ่าฝืน และแม้ว่าโจทก์จะไม่ได้เสียหายเป็นเงินตราเพราะยังมีก�ำไรในทางการค้า
แต่การที่ศาลชั้นต้นก�ำหนดให้จ�ำเลยมีความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 50,000 บาทนั้น ก็เป็นการ
สมควรแล้ว
ส�ำหรับค�ำพิพากษาศาลฎีกานี้จะเห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงแม้จะมีการกระท�ำอันเป็นละเมิดแต่ผู้ถูก
.ม
ละเมิดไม่เกิดความเสียหายใดๆ ในทางตรงกันข้ามยังมีกำ� ไรในทางการค้า แต่ศาลก็ยงั คงใช้ดลุ พินจิ ในการ
ให้ผู้ท�ำละเมิดต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นจ�ำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับค่าเงินในสมัยนั้น ซึ่งก็
อาจถือได้ว่าเป็นการที่ศาลก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนในเชิงลงโทษอีกเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษนั้นเริ่มมีปรากฏให้เห็นชัดเจนเป็น
รูปธรรมมากขึ้นในบทบัญญัติเฉพาะเรื่อง ดังปรากฏความในกฎหมาย 3 ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหา
เกีย่ วกับประโยชน์สาธารณะ และการกระท�ำอันเป็นละเมิดนัน้ ได้เกิดขึน้ โดยการกระท�ำโดยจงใจหรือประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ท�ำละเมิด อีกทั้งกฎหมายได้มีการก�ำหนดอัตราสูงสุดที่จะก�ำหนดค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อการลงโทษไว้ ได้แก่
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-11

1) พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) ได้บัญญัติให้ศาลสามารถก�ำหนด


ค่าสินไหมทดแทนเพื่อลงโทษผู้ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริงอีกต่าง
หากได้ไม่เกินสองเท่า ถ้าหากปรากฏว่าการกระท�ำอันเป็นละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นโดยจงใจหรือมีเจตนา
กลั่นแกล้ง
2) พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 16 วรรคสอง ได้บัญญัติ

.
ให้ศาลสามารถก�ำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่ผพู้ กิ ารซึง่ ถูกละเมิดด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบตั โิ ดย
ไม่เป็นธรรมได้ ถ้าการถูกเลือกปฏิบตั เิ ช่นนัน้ เกิดขึน้ ด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของ
สธ สธ
ผู้เลือกปฏิบัติ แต่ต้องไม่เกินกว่าสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง

มส . มส
3) พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงอ�ำนาจที่ศาล
สามารถก�ำหนดค่าเสียหายเพือ่ การลงโทษแก่ผปู้ ระกอบธุรกิจทีม่ เี จตนาเอาเปรียบผูบ้ ริโภคโดยไม่เป็นธรรม
หรือจงใจท�ำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่อไม่น�ำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่
ผู้บริโภค หรือการกระท�ำอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้
วางใจของประชาชน โดยค่าเสียหายดังกล่าวนี้ต้องมีอัตราที่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาล

ก�ำหนด แต่ถา้ ค่าเสียหายแท้จริงมีจำ� นวนไม่เกิน 50,000 บาทก็สามารถก�ำหนดค่าเสียหายเพือ่ การลงโทษ
ได้ไม่เกิน 5 เท่า โดยศาลต้องค�ำนึงถึงพฤติการณ์ต่างๆ ประกอบ เช่น ความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับ ผล
ประโยชน์ทผี่ ปู้ ระกอบธุรกิจได้รบั สถานะทางการเงินของผูป้ ระกอบธุรกิจ การทีผ่ ปู้ ระกอบธุรกิจได้บรรเทา
ความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจนการที่ผู้บริโภคมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย เป็นต้น
โดยสรุป แล้วกฎหมายไทยเริม่ ยอมรับในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดในลักษณะของ
ธ.

ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษบ้างแล้วในกฎหมายเฉพาะเรื่อง แต่สำ� หรับกฎหมายลักษณะละเมิดในบรรพ 2


ป.พ.พ. นั้น ก็ควรถือตามแนวคิดทั่วไปก่อนว่า กฎหมายไทยยอมให้มีการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อ
ละเมิดก็แต่เพื่อเป็นการเยียวยาผู้ถูกท�ำละเมิดหรือผู้ต้องเสียหายให้กลับคืนสู่สถานะเดิม ทั้งนี้จะมากหรือ
น้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งกรณี และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจ ซึ่ง
เป็นเรื่องที่จะกล่าวในส่วนต่อไปนั่นเอง
.ม
กิจกรรม 4.1.1
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามหลักกฎหมายลักษณะละเมิดของไทยมีวัตถุประสงค์อย่างไร

แนวตอบกิจกรรม 4.1.1
วัตถุประสงค์ของการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ก็คือ การเยียวยาในความเสียหายที่เกิด
ขึ้นกับผู้ที่ถูกละเมิด ให้บุคคลดังกล่าวได้กลับคืนสู่สถานะเดิมหรือใกล้เคียงกับสถานะเดิมมากที่สุด
สธ ส
4-12 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เรื่องที่ 4.1.2


หลักการทั่วไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 บัญญัตวิ า่ “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถาน

.
ใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
สธ สธ
อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือ

มส . มส
ใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้น
นั้นด้วย”
บทบัญญัติดังกล่าวถือเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันท�ำให้
การกระท�ำทีเ่ ข้าเงือ่ นไขของละเมิด แต่ไม่มหี ลักเกณฑ์โดยเฉพาะในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน (ป.พ.พ.
มาตรา 439-441 และ ป.พ.พ. มาตรา 443-447) มาปรับใช้ ต้องกลับมาพิจารณาความในมาตรานี้เพื่อ

เป็นแนวทางในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน ผลทีต่ ามมาก็คอื ไม่อาจมีการอ้างกันได้วา่ เมือ่ ไม่มกี ฎหมาย
ก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนที่ต้องใช้กันไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ก็จะเรียกค่าสินไหมทดแทนกันไม่ได้เพราะเมื่อ
มีละเมิดก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกันนั่นเอง12
ส�ำหรับหลักเกณฑ์ทวั่ ไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนนัน้ เมือ่ พิจารณาจากบทบัญญัตแิ ห่ง
ป.พ.พ. มาตรา 438 แล้วก็อาจจ�ำแนกได้เป็น 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ใครเป็นผู้กำ� หนดค่าสินไหม
ธ.

ทดแทนเพือ่ ละเมิด ประการที่สอง ปัจจัยในการพิจารณาถึงจ�ำนวนค่าสินไหมทดแทนทีเ่ หมาะสม ซึง่ หลัก


การทัง้ สองประการนีป้ รากฏชัดแจ้งตามถ้อยค�ำของมาตรา 438 วรรคหนึง่ ส่วนหลักการประการที่สามนัน้
เกิดขึน้ จากการปรับใช้ความในวรรคสองของมาตราดังกล่าว ซึง่ ได้มกี ารอธิบายกันไปบ้างแล้วในข้างต้นว่า
ข้อความในส่วนนี้ได้แสดงให้เห็นว่า “ค่าสินไหมทดแทน” นั้นมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบเฉพาะ
เจาะจง กับรูปที่เป็นตัวเงินหรือที่เรียกว่า ค่าเสียหาย13 ส่วนละเมิดในแต่กรณีจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนแบบใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนใน
.ม
รูปแบบใดรูปแบบหนึง่ หรือทัง้ สองรูปแบบร่วมกันก็ได้ แต่ปญ ั หาทีม่ กั พบและอาจถือเป็นข้อพิจารณาทัว่ ไป
ในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนนัน้ ก็คอื ค่าสินไหมทดแทนในส่วนทีเ่ ป็นค่าเสียหายนัน้ ว่ามีหลักเกณฑ์ใน
การก�ำหนดค�ำนวณกันอย่างไร

1. ผู้ก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ถ้อยค�ำใน ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่า “ศาล” เป็นผู้วินิจฉัย
ค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิด จะใช้กนั เพียงใด สถานใด แต่กระนัน้ ก็ใช่วา่ ศาลจะก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน
12
ไพจิตร ปุญญพันธุ.์ ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด พร้อมด้วยภาคผนวกตารางความรับ
ผิดต่างๆ ค่าสินไหมทดแทนและนิรโทษกรรม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และหลักกฎหมาย
ละเมิด ข้อสันนิษฐานความผิดทางกฎหมาย พร้อมด้วยภาคผนวก (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ. 2553. หน้า 148.
13
โปรดศึกษารายละเอียดในเรื่องที่ 4.1.1 แนวคิดในการใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-13

เพือ่ ละเมิดได้ตามอ�ำเภอใจ เพราะว่าค่าสินไหมทีศ่ าลก�ำหนดนัน้ จะต้องขึน้ อยูก่ บั ค�ำขอบังคับ14 และการน�ำ


สืบพิสูจน์ด้วย
1.1 ศาล: องค์กรผู้ก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน เมื่อเกิดละเมิดขึ้น ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ถูก
กระท�ำละเมิดต้องการได้รับการเยียวยาที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งถ้ากฎหมายปล่อยให้เป็นเช่นนั้น
ก็อาจเกิดการเรียกร้องที่เกินกว่าความเสียหายที่แท้จริง จึงได้มีการก�ำหนดให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่า ค่า

.
สินไหมทดแทนนัน้ ควรจะใช้กนั เพียงใด ก็คอื มากน้อยเพียงใด และสถานใด ก็คอื การใช้คา่ สินไหมทดแทน
นัน้ จะออกมาในรูปแบบใด เป็นตัวเงิน เป็นการกระท�ำให้เสมือนไม่มลี ะเมิดเกิดขึน้ หรือเป็นการงดเว้นการ
สธ สธ
กระท�ำอย่างใดๆ นั่นเอง เช่น การบุกรุกปลูกสร้างบ้านในที่ดินของผู้อื่น ก็ต้องรื้อถอนและท�ำที่ดินของ

มส . มส
ผู้ถูกละเมิดนั้นให้กลับดีดังเดิม หรือกรณีที่มีการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยไม่มีอ�ำนาจที่จะท�ำได้ก็
ต้องหยุดการกระท�ำดังกล่าว เป็นต้น ส�ำหรับเหตุผลทีใ่ ห้ศาลเป็นผูม้ อี ำ� นาจในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน
นั้นอาจพิจารณาได้ 2 ประการ คือ เหตุผลทางด้านโครงสร้างของระบบกฎหมายประการหนึ่ง และเหตุผล
ทางด้านเหตุปัจจัยที่แตกต่างอันเป็นบริบทในการกระท�ำละเมิดอีกประการหนึ่ง
1.1.1 เหตุผลทางด้านโครงสร้างของระบบกฎหมาย กฎหมายลักษณะละเมิดของไทยได้

ยกร่างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (civil law)
เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี และญี่ปุ่น เป็นต้น ดังนี้แล้ว การบัญญัติกฎหมายจึงไม่อาจให้ศาลสามารถ
ใช้ดุลพินิจได้อย่างเต็มที่อย่างเช่นศาลในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law) อันมี
ผลท�ำให้เมือ่ ใดทีก่ ฎหมายเปิดโอกาสให้ศาลใช้ดลุ พินจิ ก็มกั จะก�ำหนดกรอบหรือแนวทางไว้ดว้ ยเสมอ เพือ่
ให้การใช้ดุลพินิจของศาลอยู่ในกรอบของกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง15
ธ.

1.1.2 เหตุผลทางด้านปัจจัยทีแ่ ตกต่างอันเป็นบริบทในการกระท�ำละเมิด การกระท�ำทีถ่ อื ว่า


เป็นละเมิดและก่อให้เกิดความเสียหายขึน้ มานัน้ เช่น การลักทรัพย์ การท�ำร้ายร่างกาย การกล่าวหรือไขข่าว
ข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ อาจเกิดจากเหตุปัจจัย บริบท ตลอดจนความร้ายแรงที่แตกต่างกันไป หรือ
อาจมีเหตุตา่ งๆ หลายเหตุรวมอยูด่ ว้ ยกันในการกระท�ำเดียวก็ได้เช่นเป็นการท�ำละเมิดเกิดขึน้ ในยามวิกาล
เป็นการกระท�ำละเมิดทีโ่ จทก์และจ�ำเลยต่างกระท�ำต่อกันหรือไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่ากัน เป็นการกระท�ำละเมิด
.ม
ทีผ่ กู้ ระท�ำละเมิดมีดว้ ยกันหลายรายซึง่ แต่ละรายมีพฤติกรรมอันเป็นละเมิดทีแ่ ตกต่างกัน เช่น คนหนึง่ สร้าง
เรือ่ งอันเป็นเท็จขึน้ เพือ่ ให้คนอืน่ น�ำเอาเรือ่ งนัน้ ๆ ไปเผยแพร่ เป็นต้น เหตุตา่ งๆ เหล่านีต้ อ้ งน�ำมาพิเคราะห์
ประกอบการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน ไม่ใช่ว่าค่าสินไหมทดแทนจะเป็นอย่างไรให้พิเคราะห์กันเพียงแต่
ผลของการกระท�ำของจ�ำเลยแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรืออาจกล่าวง่ายๆ ก็คือ ค่าสินไหมทดแทนจะ
เป็นเช่นไรจะต้องพิเคราะห์จากพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังนี้แล้วจึงจ�ำเป็นต้องให้ศาลซึ่ง
เป็นคนกลางเป็นผู้วินิจฉัยเป็นกรณีๆ ไปว่าในแต่ละเรื่องนั้นควรจะมีการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนกัน
อย่างไรจึงจะเหมาะสมแก่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั่นเอง

14
ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง “ค�ำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึง่ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และค�ำขอบังคับ ทัง้ ข้ออ้างที่
อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น”
15
ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 297.
สธ ส
4-14 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

1.2 การน�ำสืบค่าสินไหมทดแทน การน�ำสืบค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ย่อมเป็นไปตาม


หลักการทัว่ ไปว่าด้วยภาระการพิสจู น์นำ� สืบคดีแพ่งทีม่ สี าระส�ำคัญอยู่ 2 ประการ คือ ใครมีหน้าทีใ่ นการน�ำ
สืบประการหนึ่ง และการน�ำสืบนั้นต้องให้ได้ความอย่างไรอีกประการหนึ่ง
1.2.1 ผู้มีหน้าที่น�ำสืบ หลักแห่งภาระการพิสูจน์พยานตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 84/1
ที่ว่า “ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นมีหน้าที่ในการน�ำสืบ” ก็ถือเป็นหลักในการน�ำสืบพยานเพื่อการเรียกค่าสินไหม

.
ทดแทนในทางละเมิดเช่นเดียวกัน ดังนี้แล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ในการน�ำสืบถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น
1.2.2 ขอบเขตของการน�ำสืบ การน�ำสืบดังกล่าวมิได้หมายความถึงน�ำสืบเฉพาะว่าโจทก์
สธ สธ
เสียหายอย่างไร แต่ต้องน�ำสืบในฐานะเป็นผู้ฟ้องฐานละเมิดว่ามีการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย และเป็นไปโดย

มส . มส
จงใจหรือประมาทเลินเล่อ กับทั้งให้ได้ความว่าการกระท�ำนั้นส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างไร และความ
เสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเช่นไรบ้าง16 อย่างไรก็ดี แม้การน�ำสืบของโจทก์จะได้ความเป็นประการใด ศาลก็ยัง
มีอำ� นาจในการใช้ดลุ พินจิ เพือ่ ปรับลดค่าสินไหมทดแทนให้เหมาะสม หาจ�ำต้องผูกพันให้คา่ สินไหมทดแทน
ตามที่โจทก์ขอไม่ และในทางกลับกันแม้โจทก์จะพยายามน�ำสืบพยานให้ได้ความตามฟ้องแล้วก็ตาม ถ้า
ศาลฟังไม่ได้ดงั ว่านัน้ ก็อาจไม่พพิ ากษาให้จำ� เลยชดใช้คา่ เสียหายเลยก็ได้เช่นกัน ทัง้ นีเ้ พราะ ป.พ.พ. มาตรา

438 ได้บัญญัติถึงอ�ำนาจในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนให้เป็นของศาลนั่นเอง
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2516 โจทก์สืบเรื่องค่าเสียหายแล้วแต่ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่ควรได้รับ
ค่าเสียหายถึงขนาดนั้น ศาลย่อมมีอ�ำนาจก�ำหนดค่าเสียหายได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2520 ทางน�้ำธรรมชาติไหลซัดเซาะเข้ามาในทีน่ าของโจทก์แล้วผ่าน
ธ.

ต่อไปลงหนองนอกนาโจทก์ ทางน�้ำนั้นเป็นของโจทก์ ประชาชนปล่อยสัตว์ลงกินน�้ำ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์


อุทิศให้เป็นสาธารณะ โจทก์น�ำสืบค่าเสียหายไม่ได้ ศาลไม่ก�ำหนดให้
นอกจากนี้แล้ว ในบางกรณีการที่โจทก์จะน�ำสืบถึงความเสียหายที่แน่นอนนั้นเป็นไปไม่ได้ หรือ
เป็นไปได้ยาก อันท�ำให้ความเสียหายทีป่ รากฏจากการน�ำสืบนัน้ ไม่เด่นชัด17 หรือด้วยสภาพของความเสีย
หายเองเป็นการยากที่จะพิสูจน์ความเสียหาย หรือการพิสูจน์ความเสียหายนั้นจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากเกิน
.ม
จ�ำเป็น หรืออาจท�ำให้ผู้น�ำสืบได้รับความเสียหายอย่างอื่น เช่น ต้องเปิดเผยความลับในทางธุรกิจซึ่งเป็น
เรื่องไม่สมควร18 ศาลก็สามารถก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนได้ตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายก�ำหนด19

16
วารี นาสกุล. เรื่องเดียวกัน. หน้า 249-250.
17
ปราโมทย์ ประจนปัจจนึก. หน่วยที่ 14 การยกเว้นความรับผิดเพื่อการละเมิด และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน.
ใน กฎหมายแพ่ง 2: หนี้ ละเมิด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2554. หน้า 14-11.
18
วารี นาสกุล. เรื่องเดียวกัน. หน้า 250.
19
“กฎเกณฑ์ที่กฎหมายก�ำหนด” นั้นต้องพิจารณาว่ากฎหมายได้บัญญัติกฎเกณฑ์ใดไว้เป็นการเฉพาะในการก�ำหนด
ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ (มาตรา 439 ถึงมาตรา 441 และมาตรา 443 ถึงมาตรา 447) ซึ่งหากเป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติ
วิธีการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ก็จะต้องกลับมาหาหลักทั่วไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนที่ศาลต้อง
พิเคราะห์จากพฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งละเมิด แสดงให้เห็นว่าแม้โจทก์มีหน้าที่ในการน�ำสืบถึงความเสียหาย แต่ถ้าผลการ
น�ำสืบนั้นไม่ชัดเจน “ศาล” ก็ยังมีหน้าที่ในการประมาณค่าสินไหมทดแทนนั่นเอง – ผู้เขียน
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-15

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2497 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดนั้นแม้โจทก์นำ� สืบไม่ได้ว่าเสียกัน
เท่าไรแน่ ศาลอาจก�ำหนดให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2498 ท�ำหลังคารุกล�้ำให้น�้ำฝนไหลไปถูกฝาโรงเรือนเขา เป็นละเมิด
แม้โจทก์สืบไม่ได้ความชัดเจนว่าเสียหายเท่าใด ศาลก็ก�ำหนดให้ได้ตามสมควร

. ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517-18/2500 รื้อสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่นเอารวมกองไว้ ไม่มีเจตนาแกล้ง


ท�ำให้เสียหายโดยปราศจากเหตุผล อาจเป็นเพราะเข้าใจว่าผูว้ า่ ราชการจังหวัดสัง่ ให้ทำ� ได้ ไม่เป็นความผิด
สธ สธ
ฐานท�ำให้เสียทรัพย์ แต่เป็นละเมิด ค่าเสียหายฐานละเมิดเพราะท�ำลายครัว ห้องน�้ำ ซึ่งใช้ทรัพย์นั้นไม่ได้

มส . มส
ตามปกติ ศาลก�ำหนดค่าเสียหายให้ตามสมควรนอกเหนือไปกว่าราคาทรัพย์ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2511 จ�ำเลยแกล้งปิดกั้นทางภาระจ�ำยอมเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
ย่อมเป็นการท�ำละเมิดต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้โจทก์จะน�ำสืบค่าเสียหายแน่นอนมิได้ ศาลก�ำหนด
ให้เองตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

2. ปัจจัยในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
จากแนวคิดทีว่ า่ การชดใช้คา่ สินไหมทดแทนเป็นไปเพือ่ การเยียวยาในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ ท�ำให้
เข้าใจได้วา่ การก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดนัน้ ย่อมพิเคราะห์ตามผลโดยตรงอันเกิดจากการกระท�ำ
ที่เป็นละเมิดเป็นส�ำคัญ โดยไม่จ�ำต้องดูว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ตัวผู้กระท�ำละเมิดจะคาดหมายได้
ธ.

เป็นการล่วงหน้าหรือไม่ก็ตาม20 ซึ่งเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ศาลใช้เป็นข้อพิจารณาในการก�ำหนด
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ พฤตการณ์แห่งละเมิดประการหนึ่ง
และความร้ายแรงแห่งละเมิดอีกประการหนึ่ง
อย่างไรก็ดี การที่ศาลก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลต้องใช้เงื่อนไขทั้งสองประการนี้ประกอบ
ด้วยกันเสมอ จะใช้เพียงพฤติการณ์แห่งกรณี หรือความร้ายแรงแห่งละเมิดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น
ไม่ได้
.ม
2.1 พฤติการณ์แห่งละเมิด ส�ำหรับ “พฤติการณ์แห่งละเมิด” นี้ก็อาจเข้าใจได้ว่าเป็นข้อเท็จจริง
ทั้งที่เกี่ยวกับการกระท�ำของผู้กระท�ำละเมิดเอง เช่น กระท�ำโดยจงใจ ปราศจากความระมัดระวัง และ
สถานการณ์รอบข้างต่างๆ เช่น ขับรถด้วยความเร็วในขณะทีเ่ ป็นเวลาเร่งด่วนมีจำ� นวนรถยนต์คอ่ นข้างหนา
แน่นบนท้องถนน หรือการจุดไฟเพื่อเผากองขยะในที่ชุมชนซึ่งมีลมกรรโชกแรง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม “พฤติการณ์” ในที่นี้ มิใช่พฤติการณ์ที่เป็นเงื่อนไขที่จะท�ำให้การกระท�ำนั้นเป็น
ละเมิดหรือไม่ เช่น จ�ำเลยได้กระท�ำไปโดยประมาทหรือไม่ เพราะการพิจารณาถึงพฤติการณ์แห่งละเมิด
ในข้อนี้เป็นการพิจารณาเพื่อก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจะต้องได้ความเป็นที่ยุติแล้วเสียก่อนว่าจ�ำเลย
มีพฤติการณ์เยี่ยงใดอันเป็นองค์ประกอบแห่งความรับผิดในมูลละเมิดนั่นเอง21
20
สุษม ศุภนิตย์. ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด (พิมพ์ครัง้ ที่ 8). กรุงเทพฯ: นิตบิ รรณาการ.
2555. หน้า 213.
21
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 214–215.
สธ ส
4-16 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

2.2 ความร้ายแรงแห่งละเมิด ผลของความเสียหายหรือความร้ายแรงที่เกิดจากการกระท�ำของ


ผู้กระท�ำละเมิดนั้นมากน้อย หรือมีความหนักหนาเพียงใด เช่น จ�ำเลยท�ำโดยอุกอาจ ใช้อาวุธในการ
ประทุษร้าย ท�ำในยามวิกาล ผูท้ ี่ได้รบั บาปเคราะห์หรือความเสียหายเป็นเด็ก สตรีหรือผู้ทไี่ ม่อาจมีหนทาง
ในการป้องกันตัวได้อย่างเหมาะสม เป็นการกระท�ำละเมิดซ�้ำ ตลอดจนลักษณะของการกระท�ำที่เป็นไป
อย่างทารุณโหดร้ายต่างๆ เป็นต้น

. 2.3 เหตุต่าง ๆ ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นตัวอย่างในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนโดยพิเคราะห์ถึง


พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ศาลฎีกาได้วางแนวทางการปรับใช้หลักการก�ำหนดค่าสินไหม
สธ สธ
ทดแทนซึ่งต้องพิเคราะห์จากพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดเอาไว้ โดยอาจแบ่งพิจารณาได้เป็น

มส . มส
2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเกี่ยวด้วยความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ผู้เสียหาย
มีสว่ นผิดอยูด่ ว้ ย และกลุม่ ทีเ่ ป็นการใช้ดลุ พินจิ ของศาลโดยแท้ในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนให้เหมาะสม
กับข้อเท็จจริงอันเป็นการกระท�ำอันเป็นละเมิด
2.3.1 กลุม่ ทีม่ บี ทกฎหมายบัญญัตไิ ว้โดยชัดแจ้งเกีย่ วด้วยความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ นัน้ ผูเ้ สีย
หายมีส่วนผิดอยู่ด้วย ป.พ.พ. มาตรา 442 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่าง

หนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้น�ำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดย
อนุโลม”
ป.พ.พ. มาตรา 223 “ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนท�ำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิด
ความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น
ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อส�ำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้น เพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อ
ธ.

ยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้แม้ทั้งที่ความผิดของฝ่ายผู้ที่เสียหายจะมีแต่เพียงละเลยไม่เตือนลูก
หนี้ ให้รู้สึกถึงอันตรายแห่งการเสียหายอันเป็นอย่างร้ายแรงผิดปกติ ซึ่งลูกหนี้ไม่รู้หรือไม่อาจจะรู้ได้หรือ
เพียงแต่ละเลยไม่บ�ำบัดปัดป้อง หรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วย อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา 220 นั้น
ท่านให้น�ำมาใช้บังคับโดยอนุโลม”
.ม
บทมาตราดังกล่าวได้ก�ำหนดเหตุไว้ 2 ประการที่ให้ศาลใช้พิจารณาประกอบการก�ำหนด
ค่าสินไหมทดแทน คือ กรณีที่ผู้เสียหายมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย ประการหนึ่ง และกรณีที่ผู้เสียหาย
ไม่ช่วยบรรเทาความเสียหายอีกประการหนึ่ง
1) กรณีที่ผู้เสียหายมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย หมายความว่า ละเมิดที่เกิดขึ้นนั้น ผู้
เสียหายมีสว่ นผิดในเหตุแห่งการกระท�ำทีก่ อ่ ให้เกิดความเสียหายด้วย และเมือ่ เป็นเช่นนีศ้ าลจึงอาจก�ำหนด
ค่าเสียหายให้ตำ�่ กว่าความเสียหายทีแ่ ท้จริงโดยถือเอา “ส่วนแห่งความยิง่ หย่อนของผูม้ สี ว่ นก่อให้เกิดความ
เสียหาย” เป็นพฤติการณ์ในการประมาณ22 ซึ่งจากหลักการดังกล่าวนี้นักกฎหมาย23 ต่างก็ยอมรับเป็นที่
ยุตใิ นทางทฤษฎีแล้วว่าบทบัญญัตขิ องกฎหมายประสงค์จะให้ศาลเทียบเรือ่ งส่วนผิดในการกระท�ำ กล่าวคือ

22
ฎ. 463/2503 และ ฎ. 1080/2507
23
เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 409 และสุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 237.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-17

ถือเอาการกระท�ำอันเป็นละเมิดทีฝ่ า่ ยผูเ้ สียหายมีสว่ นผิดอยูด่ ว้ ยเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหักลดส่วนทีฝ่ า่ ย


ท�ำละเมิดต้องรับผิด มิใช่ถอื เอาความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ มากน้อยเป็นเกณฑ์24 อันจะกลายเป็นเรือ่ งการเฉลีย่
ความเสียหายไป แต่ในทางปฏิบัติแล้วเหตุผลที่ปรากฏในค�ำพิพากษาศาลฎีกาบางฉบับ เมื่ออ่านแล้วอาจ
ท�ำให้เข้าใจได้ว่า ถ้าต่างฝ่ายต่างประมาทเลินเล่อแล้ว ก็ถือว่าไม่ต้องรับผิดต่อกันหรือเป็นพับต่อกันโดย
เฉพาะอุทาหรณ์ในค�ำพิพากษาศาลฎีกาทีเ่ ป็นกรณีขบั รถชนกัน และเมือ่ ทัง้ สองฝ่ายต่างขับรถมาด้วยความ

.
ประมาทเลินเล่อและก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันแล้ว ศาลมักจะพิพากษาว่าต่างฝ่าย
ต่างไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน หรือความรับผิดเป็นพับต่อกันนั่นเอง25 ซึ่งนักกฎหมายฝ่าย
สธ สธ
หนึ่งเห็นว่าการให้เหตุผลดังกล่าวนี้อาจจะไม่ถูกต้องนักตามหลักของ ป.พ.พ. มาตรา 223 เพราะจะท�ำให้

มส . มส
เข้าใจไปได้ว่าหากไปท�ำละเมิดผู้อื่นแล้วอาจไม่ต้องรับผิดเลย ถ้าหากผู้เสียหายมีส่วนผิดอยู่บ้าง แม้จะ
ประมาทด้วยกัน ประมาทพอๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ก็ถือว่าต่างมีส่วนผิดความเสียหายที่เกิดขึ้นจึง
เป็นพับกันไปอันอาจท�ำให้เกิดความไม่ยุติธรรม เช่น ถ้าต่างฝ่ายต่างประมาทแต่ความเสียหายเกิดขึ้นต่าง
กันมาก ศาลจะพิเคราะห์แต่เพียงความผิด คือ ประมาทเลินเล่อทัง้ สองฝ่ายแล้วค่าเสียหายเป็นพับ ย่อมไม่
ยุตธิ รรมกับฝ่ายทีเ่ สียหายมาก และผลจะกลายเป็นว่ากฎหมายเปิดทางให้คนใช้ความระมัดระวังน้อยลงใน

การด�ำรงชีวิตประจ�ำวันนั่นเอง26 แต่ข้อเท็จจริงเดียวกันนี้นักกฎหมายอีกฝ่ายซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่มองว่า
ศาลได้ชั่งส่วนแห่งความยิ่งหย่อนของผู้มีส่วนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแล้ว และอาจเป็นการยากที่จะ
ประเมินค่าเสียหายให้เป็นจ�ำนวนที่แน่นอนตายตัวแก่แต่ละฝ่าย ดังนี้เมื่อได้ความว่าความเสียหายที่เกิดมี
เหตุมาจากพฤติการณ์แห่งความประมาทที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน อันเป็นการที่ศาลได้วินิจฉัยพฤติการณ์
ธ.

และความร้ายแรงแห่งละเมิดแล้ว มิใช่การที่ศาลจะหักกลบลบหนี้กัน ถ้าฝ่ายที่เสียหายมากเป็นฝ่ายที่


ประมาทมาก ฝ่ายที่เสียหายน้อยเป็นฝ่ายที่ประมาทน้อย จึงจะมีเหตุผลพอที่ความรับผิดของต่างฝ่ายต่าง
จะเป็นพับกันได้นั่นเอง27 และด้วยความเคารพในส่วนตัวของผู้เขียนเองก็เห็นด้วยกับความเห็นของ
นักกฎหมายฝ่ายที่สองนี้
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2492 เจ้าของไร่ได้ใช้ปืนยิงสุกรที่เข้ามากินผลไม้ในไร่
.ม
ปรากฏว่าเป็นสุกรบ้านไม่ดรุ า้ ย มีทางทีจ่ ะจับกุมได้โดยละม่อมและตามรูปเรือ่ งเจ้าของไร่ยงิ ไปโดยโทสะจึง
ไม่เป็นนิรโทษกรรม และต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนในคดีเรียกค่าเสียหายทีส่ กุ รเข้าไปกินผลไม้ในไร่เขา
เสียหาย เจ้าของไร่ใช้ปืนยิงสุกรตาย เมื่อปรากฏว่าเจ้าของสุกรปล่อยปละละเลยเข้าไปในไร่เขาบ่อยๆ
เป็นการมีส่วนในการรับผิดอยู่ด้วย ศาลมีอ�ำนาจลดค่าเสียหายได้ตามสมควร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442
24
ฎ. 834/2524 และ ฎ. 480/2548
25
ฎ. 505/2519, ฎ. 143-144/2521, ฎ. 107-108/2524, ฎ. 676/2524, ฎ. 2324/2523, ฎ. 341/2526, ฎ. 406/2536
และ ฎ. 6036/2544
26
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 237.
27
จิตติ ติงศภัทยิ ์. ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. เนติบณ ั ฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2523 หน้า 608; จิตติ ติงศภัทิย์ ปรับปรุงโดย เขมภูมิ ภูมิถาวร, ชวิน อุ่นภัทร และอ�ำนาจ ตั้งคีรีพิมาน.
เรื่องเดียวกัน. หน้า 246–247; เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 409; ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 192–193; วารี
นาสกุล. เรื่องเดียวกัน. หน้า 258-262.
สธ ส
4-18 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2498 ความเสียหายจากละเมิดอาจเกิดจากหลายคนท�ำ


ละเมิด เช่น โดยต่างคนต่างประมาท ท�ำให้โจทก์เสียหาย ศาลอาจแบ่งค่าเสียหายให้รบั ผิดตามพฤติการณ์
ไม่จำ� ต้องแบ่งเท่าๆ กัน
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2503 เมือ่ ความเสียหายเกิดขึน้ โดยความประมาทเลินเล่อ
ของโจทก์จำ� เลยด้วยกันทัง้ สองฝ่าย กฎหมายให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ดว้ ยว่าฝ่ายไหนเป็นผูก้ อ่ ให้เกิด

.
ความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แล้วให้ศาลก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนสูงต�่ำตามส่วนแห่งความ
ยิ่งหย่อนของผู้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2509 ในกรณีที่จ�ำเลยควบคุมเรือยนต์โดยประมาทเป็น

มส . มส
เหตุให้ชนสะพานและท่าเทียบเรือของโจทก์ การที่โจทก์ไม่จุดไฟขาวไว้ที่สะพานและท่าเทียบเรือตามที่
ใบอนุญาตของกรมเจ้าท่าบังคับไว้ นับว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือฯ เพราะหากโจทก์จดุ ไฟ
ขาวไว้ให้ผู้เดินเรือในเวลากลางคืนเห็นได้ ก็จะเป็นทางป้องกันมิให้เรือแล่นมาชนสะพานและท่าเทียบเรือ
ซึ่งล่วงล�้ำร่องน�ำ้ อยู่ 3 เมตรนั้นได้ จึงถือว่าโจทก์มีส่วนผิดอยู่ด้วย ศาลพิพากษาให้จ�ำเลยชดใช้ค่าเสียหาย
ให้เพียง 3 ใน 4 ของค่าเสียหายทั้งหมด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 และ 223

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2514 จ�ำเลยและผูต้ ายต่างประมาทด้วยกัน ฝ่ายไหนเป็น
ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายเสียหายมาก แต่เป็นฝ่าย
ประมาทน้อยกว่า จ�ำเลยเสียหายน้อยแต่ประมาทมากกว่า เห็นควรแบ่งค่าเสียหายทัง้ หมดออกเป็น 3 ส่วน
ให้จำ� เลยรับผิด 2 ใน 3 ส่วน
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2523 กระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์อนั เกิดอันตรายได้โดยสภาพ
ธ.

ซึง่ การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าคจ�ำเลยผูผ้ ลิตและจ�ำหน่ายเป็นผูม้ ไี ว้ครอบครอง จะต้องรับผิดชอบเพือ่ การเสียหาย


ที่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 การที่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรไหม้ทรัพย์สินของโจทก์ เพราะเหตุ
ที่ต้นมะพร้าวอยู่ใกล้ชิดกับแนวสายไฟฟ้า เป็นเหตุให้ทางมะพร้าวพาดไปถูกสายไฟฟ้าเมื่อมีลมพัด มิใช่
เหตุสุดวิสัย เพราะจ�ำเลยอาจป้องกันได้ถ้าตัดต้นมะพร้าวหรือแจ้งให้โจทก์ตัด อันเป็นหน้าที่จ�ำเลย ถือได้
ว่าโจทก์มสี ว่ นท�ำผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไม่ยงิ่ หย่อนกว่าจ�ำเลยที่ 1 จ�ำเลยที่ 1 จึงควรรับผิดในความ
เสียหายที่เกิดขึ้นเพียงครึ่งหนึ่ง
.ม
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2524 จ. ลูกจ้างของจ�ำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษฐาน
กระท�ำโดยประมาทให้บตุ รโจทก์ตาย แต่การวินจิ ฉัยความรับผิดทางแพ่งของนายจ้างซึง่ เป็นบุคคลภายนอก
ศาลวินิจฉัยโดยอาศัยตามหลักฐานทั้งหมดทั้งปวงเท่าที่ทั้งสองฝ่ายน�ำเข้าสืบ บุตรโจทก์ขี่รถจักรยานออก
จากท้ายรถโดยสารทีจ่ อดล�ำ้ เข้าไปในทางรถของจ�ำเลยทีส่ วนมาเป็นการประมาทมากกว่า มีสว่ นก่อให้เกิด
ความเสียหายมากกว่า
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2533 เมื่อการที่โจทก์ขับรถไปชนไม้ที่รถจ�ำเลยบรรทุก
ยืน่ ออกมา เกิดเพราะโจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าจ�ำเลย โจทก์ไม่มสี ทิ ธิฟอ้ งเรียกค่าเสียหายจากจ�ำเลย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2534 ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุมีป้ายจราจรติดตั้งไว้ 2 ป้าย
ป้ายแรกเขียนว่า ให้ระวังรถไฟ และอีกป้ายหนึ่งเขียนว่า หยุด แต่จ�ำเลยไม่ได้หยุดรถและเมื่อเห็นรถไฟ
แล่นมาขณะอยู่ห่างประมาณ 30 เมตร จ�ำเลยเร่งเครื่องยนต์เพื่อขับข้ามทางรถไฟให้พ้น แต่ไม่ทัน เป็น
เหตุให้รถยนต์จ�ำเลยชนกับรถไฟ ดังนี้จ�ำเลยไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร กลับฝ่าฝืนและเสี่ยงภัยอย่างชัดแจ้ง
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-19

แสดงว่าจ�ำเลยขับรถด้วยความประมาทอย่างร้ายแรง แม้การรถไฟโจทก์ไม่มีแผงกั้นทางขณะรถไฟ


แล่นผ่านที่เกิดเหตุ ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วย จ�ำเลยประมาทฝ่ายเดียว
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2547 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223
วรรคหนึ่ง เมื่อคู่กรณีต่างมีส่วนประมาท การที่ฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากน้อย
เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ เมือ่ ข้อเท็จจริงเป็นทีย่ ตุ วิ า่ ผูฟ้ อ้ งประมาทมากกว่าจึงเป็นฝ่ายผิด

.
มากกว่า ผูฟ้ อ้ งจึงไม่มสี ทิ ธิฟอ้ งให้คกู่ รณีอกี ฝ่ายหนึง่ ซึง่ ประมาทน้อยกว่ารับผิดในความเสียหายทีผ่ ฟู้ อ้ งได้รบั
และส่งผลให้ผู้รับประกันภัยของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายด้วย
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2550 แม้โจทก์จะมีส่วนก่อเหตุ โดยเฉพาะกับจ�ำเลยที่

มส . มส
เป็นพ่อตาโจทก์ที่ถูกโจทก์กระท�ำไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่การที่จ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์อันถือว่าเป็นการ
กระท�ำของจ�ำเลยที่ร้ายแรงมากกว่าการกระท�ำของโจทก์ที่เป็นผู้ก่อเหตุคดีนี้ ตามข้อเท็จจริงที่รับฟังมาได้
แล้วว่า การกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการที่จำ� เลยกระท�ำละเมิดต่อโจทก์
แล้ว กรณีหาใช่ว่าเป็นความยินยอมของโจทก์ไม่ จ�ำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442
ประกอบมาตรา 223

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2550 การที่โจทก์ขี่รถจักรยานยนต์มาด้วยความเร็วสูง
ทั้งที่เป็นทางร่วมแยก ซึ่งโจทก์จะต้องลดความเร็วลงเพื่อมิให้เกิดอุบัติเหตุ เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 70 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์จึงมีส่วนประมาทอยู่
ด้วย จึงต้องอาศัยพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นประมาณในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 442 และมาตรา 223 การที่ศาลอุทธรณ์ก�ำหนดให้จ�ำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์สองในสาม
ธ.

จึงชอบแล้ว
2) กรณีที่ผู้เสียหายไม่ช่วยบรรเทาความเสียหาย คือ กรณีที่ผู้เสียหายมิได้มีส่วนในการ
ลงมือกระท�ำอันก่อให้เกิดความเสียหาย แต่การอยู่เฉยๆ ของผู้เสียหายนั้นท�ำให้เกิดความเสียหายเช่นนั้น
ซึ่งถ้าผู้เสียหายไม่อยู่เฉยๆ เสียแล้ว ความเสียหายก็อาจน้อยกว่าที่เป็นอยู่28 เช่น กรณีที่ผู้เสียหายรู้
ข้อเท็จจริงบางประการทีผ่ ทู้ ำ� ละเมิดไม่อาจรูไ้ ด้ และผูท้ ำ� ละเมิดก็ไม่อาจคาดคิดมาก่อนว่าพฤติการณ์ทเี่ ป็น
ละเมิดจะท�ำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงผิดปกติขึ้นได้ ซึ่งหากผู้เสียหายได้มีการเตือนผู้ท�ำละเมิดกันไว้
.ม
ก่อนแล้วก็อาจจะช่วยบรรเทาความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ ได้ หรือกรณีทไี่ ด้เกิดความเสียหายจากการกระท�ำอัน
เป็นละเมิดขึ้นแล้ว แต่ผู้เสียหายกลับนิ่งเสียไม่บ�ำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย ซึ่งหากได้ท�ำการ
เช่นนั้นแล้วศาลก็อาจจะก�ำหนดค่าสินไหมให้ลดลง
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2499 การที่เจ้าของที่ดินแปลงใดจะเอาที่ดินของตนไป
จ�ำนองหรือไม่นนั้ เป็นการยากทีบ่ คุ คลภายนอกจะรูด้ ว้ ย โดยปกติกน็ า่ จะเข้าใจกันว่าไม่มภี าระผูกพัน การ
ทีโ่ จทก์ไม่ยอมบอกกล่าวให้จำ� เลยรูถ้ งึ ความเสียหายอันผิดปกติซงึ่ จ�ำเลยไม่อาจรูไ้ ด้เช่นนี้ เป็นความผิดของ
โจทก์ประกอบอยู่ด้วยตามมาตรา 442 และมาตรา 223 พฤติการณ์เช่นนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรก�ำหนดให้
จ�ำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนจ�ำนวนเพียง 2,000 บาท
28
ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 324.
สธ ส
4-20 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2525 ผูต้ ายขับรถจักรยานยนต์ชนกับรถยนต์โดยประมาท


คนขับรถยนต์สามารถถอยรถยนต์ให้พ้นจากอันตรายจากไฟที่ลุกไหม้รถจักรยานยนต์ได้แต่ไม่ท�ำกลับ
หลบหนี เป็นการไม่บำ� บัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหาย เจ้าของรถยนต์ต้องรับความเสียหายอันเกิด
แก่รถยนต์ของตน
2.3.2 กลุ ่ ม ที่ เ ป็ น การใช้ ดุ ล พิ นิ จ ของศาลโดยแท้ เ พื่ อ ก� ำ หนดค่ า สิ น ไหมทดแทนให้

.
เหมาะสมกับข้อเท็จจริงอันเป็นการกระท�ำละเมิด ซึ่งสามารถจ�ำแนกเป็นกรณีต่างๆ ได้ดังนี้
1) ถ้าผู้กระท�ำละเมิดได้กระท�ำโดยจงใจ หรือท�ำไปในลักษณะอุกอาจไม่เกรงกลัวต่อ
สธ สธ
กฎหมาย หรือผู้ละเมิดท�ำผิดแล้วแต่ไม่ยอมรับว่าได้กระท�ำความผิด ศาลย่อมให้ค่าสินไหมทดแทนสูงกว่าการ

มส . มส
กระท�ำโดยประมาทเลินเล่อ แต่ก็ต้องไม่เกินความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2474 จ�ำเลยยิงเจ้าพนักงานได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
น�ำสืบไม่ได้ว่าเสียหายเท่าใด แต่จ�ำเลยท�ำโดยอุกอาจร้ายแรง ในลักษณะดูหมิ่นเหยียดหยามไม่เกรงขาม
อ�ำนาจบ้านเมืองเป็นทีห่ วาดเสียวมาก ศาลก�ำหนดค่าเสียหายให้เป็นจ�ำนวนอย่างสูงได้ตามพฤติการณ์และ

ความร้ายแรงแห่งละเมิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2475 จ�ำเลยฉุดคร่าหญิงไปเพื่อการอนาจาร เมื่อถูกฟ้อง
ยังสู้คดีว่าหญิงสมัครใจกับจ�ำเลย เป็นการทวีความเสียหาย ศาลก�ำหนดค่าเสียหายให้สมกับความบอบช�ำ้
ระก�ำใจ เป็นเยี่ยงอย่างได้ ขอแต่มิให้เหลือเกินไปเท่านั้น
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2501 จ�ำเลยละเมิดโดยจงใจทั้งที่มีผู้ทักท้วงแล้ว เป็น
ธ.

พฤติการณ์แสดงความร้ายแรงที่ศาลค�ำนึงในการก�ำหนดค่าเสียหาย
2) กรณีทกี่ ระท�ำโดยประมาทเลินเล่อ ศาลจะพิจารณาว่าเป็นการประมาทเลินเล่ออย่าง
ร้ายแรง อย่างธรรมดา หรืออย่างอ่อน ซึง่ ระดับของความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนัน้ อาจจะเทียบได้
กับการกระท�ำโดยจงใจ ย่อมแยกออกจากการกระท�ำทีเ่ ป็นการประมาทเลินเล่ออย่างธรรมดาหรืออย่างอ่อน
อันเป็นเพียงการปราศจากความระมัดระวังได้ ท�ำให้ศาลย่อมก�ำหนดค่าเสียหายแตกต่างกัน
.ม
3) กรณีทเี่ ป็นความรับผิดเพือ่ ละเมิดทีผ่ อู้ นื่ ได้กระท�ำนัน้ ถือว่าเป็นความรับผิดทีก่ ฎหมาย
ได้ก�ำหนดไว้ จึงไม่มีความจ�ำเป็นที่ต้องพิจารณาถึงความจงใจหรือความประมาทของบุคคลผู้มีหน้าที่
ต้องร่วมรับผิดกับผู้ท�ำละเมิด (นายจ้าง เจ้าของโรงเรือน ผู้ควบคุมสัตว์)
4) กรณีทเี่ ป็นการกระท�ำความผิดต่อเนือ่ ง เช่น แย่งการครอบครองทรัพย์ของผูอ้ นื่ หรือ
การใช้สิทธิเกินขอบเขตให้เป็นที่เดือดร้อนร�ำคาญและเสียหายแก่ผู้อื่น การใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าหรือ
ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ฯลฯ นอกจากศาลจะก�ำหนดค่าเสียหายแล้ว ศาลอาจวินิจฉัยทาง
แก้ละเมิดด้วยวิธีการที่ควรจะเป็นโดยประการอื่นให้เหมาะสมกับพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
แต่หลักในเรื่องนี้ก็คือจะต้องได้ความว่าสิทธิของโจทก์ถูกละเมิดโดยมีเหตุผลอันสมควรเชื่อว่าจะมีการท�ำ
ละเมิดแน่นอน หรือเป็นที่พึงวิตกควรเชื่อว่าจะมีการท�ำละเมิดซ�้ำขึ้นอีก
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-21

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2501 จ�ำเลยใช้นามเมืองทองเป็นชือ่ บริษทั เลียนชือ่ ทีโ่ จทก์
ใช้มานาน ท�ำให้โจทก์เสียหาย เป็นละเมิด ศาลให้ถอนชื่อและให้ค่าเสียหายตามความร้ายแรงแห่งละเมิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168-7172/2545 จ�ำเลยเป็นผู้สร้างตึกแถวของโจทก์โดยผนัง
ตึกแถวด้านหลังมีประตูและหน้าต่างติดกับเขตที่ดินของจ�ำเลย แม้จะเป็นการผิดเทศบัญญัติก็เป็นเรื่องที่

.
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องด�ำเนินการแก่โจทก์ จ�ำเลยไม่มีสิทธิอ้างเหตุดังกล่าวก่อสร้างรั้วอิฐบล็อกติดกับ
ผนังตึกแถวด้านหลังของโจทก์ จนเป็นเหตุให้ปดิ กัน้ ทางลมและแสงสว่างทีจ่ ะผ่านเข้าออกทางด้านหลังของ
สธ สธ
ตึกแถวของโจทก์โดยที่โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และแม้จำ� เลยจะก่อสร้างในเขตที่ดินของจ�ำเลย ก็เป็นการใช้

มส . มส
สิทธิซ่ึงมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการท�ำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421
ดังนัน้ จ�ำเลยต้องช�ำระเงินให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ท่ี 2 โจทก์ที่ 4 และโจทก์ที่ 5 คนละ 3,600 บาท และค่าเสียหาย
เดือนละ 300 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจ�ำเลยจะรื้อถอนรั้วอิฐบล็อกเสร็จ และช�ำระเงินแก่โจทก์ที่ 3
จ�ำนวน 1,000 บาท และค่าเสียหายเดือนละ 100 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจ�ำเลยจะรื้อถอนรั้ว
อิฐบล็อกเสร็จ

5) กรณีที่โจทก์มีสิทธิไม่ว่าจะเป็นไปตามสัญญาหรือตามกฎหมายในการได้รับความช่วย
เหลือเยียวยาอยู่แล้ว ก็ไม่เป็นเหตุให้จ�ำเลยอ้างขึ้นเพื่อเป็นเหตุลดหย่อนในการที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เพื่อความเสียหาย
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2507 เมือ่ โจทก์มสี ทิ ธิทจี่ ะเรียกร้องให้จำ� เลยใช้คา่ ปลงศพ
ธ.

บุตรโจทก์ ซึ่งถูกจ�ำเลยกระท�ำให้ถึงแก่ความตาย แม้นายจ้างของบุตรโจทก์จะได้บริจาคเงินแก่โจทก์ให้ใช้


จ่ายในการท�ำศพเป็นเงินจ�ำนวนเท่าๆ กันแล้ว จ�ำเลยก็จะยกมาเป็นข้อปัดความรับผิดของจ�ำเลยหาได้ไม่
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446-449/2516 การที่มีผู้คนเอาเงินมาช่วยท�ำศพผู้ตายมาก
น้อยเพียงไร จะเอามาช่วยบรรเทาความรับผิดของจ�ำเลยทีท่ ำ� ละเมิดเป็นผลให้ผตู้ ายถึงแก่ความตายหาได้ไม่
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435-2437/2516 กรณีทลี่ กู จ้างถูกผูอ้ นื่ ท�ำละเมิดและนายจ้าง
ได้จา่ ยเงินค่าทดแทนให้แก่ลกู จ้างอันเป็นการปฏิบตั ติ ามกฎหมายเกีย่ วด้วยการจ้างแรงงานอีกส่วนหนึง่ ต่าง
.ม
หากนัน้ กฎหมายมิได้บญ ั ญัตใิ ห้มผี ลเกีย่ วข้องถึงความรับผิดของบุคคลในละเมิดตาม ป.พ.พ. ผูท้ ำ� ละเมิด
และนายจ้างของผู้ท�ำละเมิดจึงยังคงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2519 จ�ำเลยท�ำละเมิดโจทก์ ซึง่ เป็นข้าราชการได้รบั เงิน
ค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการ โจทก์ยงั มีสทิ ธิเรียกร้องเอาจากจ�ำเลยได้ ค่ารักษาพยาบาลซึง่ รัฐจ่ายให้
แก่ข้าราชการไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจ�ำเลย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2522 จ�ำเลยขับรถยนต์โดยประมาทท�ำให้คนตาย โจทก์
เป็นทายาทฟ้องเรียกค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ทผี่ ตู้ ายเช่าซือ้ มาและต้องรับผิดต่อผูใ้ ห้เช่าซือ้ ได้ และแม้โจทก์
ได้รับเงินประกันชีวิตผู้ตายแล้ว ก็ไม่ท�ำให้หมดสิทธิที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นค่าเสียหายด้วย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2522 กรณีละเมิดท�ำให้คนตาย ค่าปลงศพ ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 443 แม้นายจ้างของผูต้ ายออกให้สนิ้ ก็ไม่ปดั ความรับผิดชอบของผูท้ ำ� ละเมิด พิพากษาไว้ในท�ำนอง
เดียวกับค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2507
สธ ส
4-22 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

3. ประเภทของค่าสินไหมทดแทน


ในอันทีจ่ ริงเรือ่ งประเภทของค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดได้มกี ารกล่าวกันมาแล้วในส่วนทีว่ า่ ด้วย
ความหมายของค่าสินไหมทดแทน ตามความในบทบัญญัติ มาตรา 438 วรรคสอง ว่าค่าสินไหมทดแทน
อาจแบ่งเป็น การคืนทรัพย์ที่ได้เอาของเขามาประการหนึ่ง และถ้าหากคืนทรัพย์ไม่ได้ก็ต้องมีการใช้ราคา
ทรัพย์ ตลอดจนการใช้ค่าสินไหมทดแทนในรูปของค่าเสียหาย หรือกล่าวอย่างง่ายก็คือ การใช้เงินเพื่อ

.
ทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นอีกประการหนึ่งนั่นเอง
สธ สธ
4. หลักเกณฑ์ในการก�ำหนดค�ำนวณค่าเสียหาย

มส . มส
เมือ่ การใช้คา่ สินไหมทดแทนเป็นไปเพือ่ เยียวยาความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ โดยให้ผเู้ สียหายได้กลับคืน
สู่สถานะเดิมหรือใกล้เคียงสถานะเดิมมากที่สุด ในกรณีที่ความเสียหายสามารถค�ำนวณกันเป็นตัวเงินได้
แน่นอน ศาลก็มักจะก�ำหนดให้ใช้ค่าเสียหายกันตามนั้น แต่ในพฤติการณ์บางอย่างโดยสภาพแล้วไม่อาจ
ค�ำนวณจ�ำนวนเงินได้เป็นการแน่นอน ศาลก็จะต้องใช้วิธีการกะประมาณค่าเสียหาย หรือในกรณีที่ความ
เสียหายอันเป็นผลแห่งละเมิดมิได้เกิดขึ้นในทันที หรือในเวลาที่มีการฟ้องร้องกัน หรืออาจเป็นความ

เสียหายที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากละเมิดนั้น แต่โดยพฤติการณ์แล้วอาจเห็นได้ว่าไกลเกินกว่าที่ตามปกติควร
จะเป็น ดังนี้จึงเป็นเรื่องที่สมควรพิเคราะห์ถึงขอบเขตของค่าเสียหายที่ศาลไทยยอมรับได้อีกด้วย
4.1 ความเสียหายที่สามารถค�ำนวณเป็นเงินได้แน่นอน ในกรณีทคี่ วามเสียหายสามารถค�ำนวณ
กันเป็นตัวเงินได้แน่นอน ศาลก็มักจะก�ำหนดให้กันตามนั้นโดยพิจารณาตามพฤติการณ์และความร้ายแรง
ธ.

แห่งละเมิดเป็นส�ำคัญ แม้วา่ ฝ่ายโจทก์จะขอมามากกว่านัน้ แต่ศาลก็ยงั คงอ�ำนาจในการปรับลดได้ตามควร


อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2516 จ�ำเลยท�ำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้องผ่าตัด
ถึง 3 ครั้งและนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึง 2 เดือนเศษ เมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วยังเดินไม่ได้
เช่นนี้ ค่าจ้างนางพยาบาลเฝ้าไข้ ค่ายา ค่าจ้างรถแท็กซีท่ ภี่ ริยาไปเฝ้าเยีย่ มปรนนิบตั ทิ โี่ รงพยาบาล ค่าจ้าง
รถแท็กซี่ที่นั่งไปท�ำงานเพราะเดินยังไม่ได้เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจ�ำเลยได้
.ม
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2533 โจทก์โดยสารรถยนต์ทลี่ กู จ้างของจ�ำเลยที่ 1 เป็นผูข้ บั ขี่ ลูกจ้าง
ของจ�ำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รบั บาดเจ็บ โจทก์ตอ้ งลางานเพือ่ รักษาตัวจนเกินกว่า
ระยะเวลาที่นายจ้างของโจทก์ก�ำหนดให้ นายจ้างจึงไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์เพราะลาเกินสิทธิ เมื่อ
การพิจารณาขั้นเงินเดือนมีอัตราก�ำหนดแน่นอนอยู่แล้ว การที่โจทก์ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน จึงเป็นผล
โดยตรงจากการกระท�ำละเมิดของลูกจ้างซึง่ กระท�ำไปในทางการทีจ่ า้ งของจ�ำเลยที่ 1 จ�ำเลยที่ 1 ต้องรับผิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2534 พนักงานของโจทก์ทไี่ ปท�ำการซ่อมแซมได้รบั เงินเดือนประจ�ำ
จากโจทก์ แต่ถา้ ไม่มกี ารท�ำละเมิดจนเป็นเหตุให้ทรัพย์สนิ ของโจทก์เสียหาย โจทก์ยอ่ มใช้พนักงานไปท�ำงาน
อื่นของโจทก์ได้โดยไม่ต้องให้ไปท�ำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์ที่ได้รับความเสียหาย และนอกจากนี้
หากโจทก์จ้างเหมาให้บุคคลอื่นไปท�ำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์ที่เสียหาย จ�ำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิด
ต่อโจทก์ชดใช้คา่ แรงงานทีโ่ จทก์จา้ งเหมาบุคคลอืน่ ดังนัน้ จ�ำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำ� หรับค่าแรงงาน
ตามฟ้อง
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-23

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2550 ระหว่างที่รถยนต์คันของโจทก์ถูกจ�ำเลยยึดไว้ย่อมท�ำให้โจทก์


ไม่สามารถใช้ประโยชน์ และระยะเวลาที่ผ่านไปเกือบ 2 ปี ย่อมท�ำให้รถยนต์ที่จอดทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งาน
เก่าลง อุปกรณ์บางอย่างหมดสภาพหรือหมดอายุการใช้งานซึ่งเป็นเหตุให้รถยนต์มีราคาลดลงจากเดิม
อันเป็นความเสียหายทีเ่ กิดจากการท�ำละเมิดของจ�ำเลย จ�ำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้คา่ ขาดประโยชน์จากการ
ที่โจทก์มิได้ใช้รถยนต์ และค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ให้แก่โจทก์ด้วย

. 4.2 ความเสียหายทีไ่ ม่สามารถค�ำนวณเป็นตัวเงินทีแ่ น่นอนได้ ความเสียหายบางอย่างมีลกั ษณะ


ค่อนข้างเป็นนามธรรม และอาจแตกต่างกันไปตามสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้เสียหาย ดังนี้แล้ว
สธ สธ
ศาลมักจะใช้วิธีการกะประมาณโดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งละเมิดเป็นกรณีๆ ไป อันมีผลท�ำให้การ

มส . มส
กระท�ำอันเป็นละเมิดที่มีลักษณะคล้ายกันแต่เกิดขึ้นกับผู้เสียหายต่างรายกันนั้น ศาลก็อาจก�ำหนดค่าเสีย
หายให้แตกต่างกันได้ นอกจากนีแ้ ล้วการทีศ่ าลกะประมาณค่าเสียหายส�ำหรับความเสียหายทีค่ ำ� นวณเป็น
ตัวเงินแน่นอนไม่ได้นั้น ในบางครั้งอาจดูเหมือนว่าเป็นการที่ศาลก�ำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษอีกด้วย
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2475 ท�ำให้ฮวงซุย้ เสียหายขาดการเซ่นไหว้ นอกจากราคาทรัพย์แล้ว

ยังค�ำนวณค่าเสียหายตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดอีกด้วย โดยใช้ตามราคาทรัพย์ที่สูงกว่า
ธรรมดาส�ำหรับโจทก์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2487 ขัดขวางให้งานมหรสพของวัดต้องเลิกล้มโดยไม่ชอบด้วย
กฎหมายเป็นเหตุให้วัดขาดรายได้นั้น ได้ชื่อว่าละเมิดจ�ำต้องใช้ค่าเสียหายที่วัดขาดประโยชน์ และในกรณี
เช่นนี้วัดอาจเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่เป็นตัวเงินได้ด้วย
ธ.

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617-1618/2500 ค่าเสียหายฐานละเมิด เพราะท�ำลายครัวห้องน�ำ้ จึงใช้


ทรัพย์นนั้ ไม่ได้ตามปกติ ขาดความสุขตามปกติ ศาลให้คา่ เสียหายสูงกว่าราคาทรัพย์ทถี่ กู ท�ำลายตามทีเ่ ห็น
สมควร
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2517 ค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยที่โจทก์เรียกร้องให้จ�ำเลยรับผิดฐาน
ละเมิด ท�ำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้น เป็นค่าทดแทนความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินตามมาตรา
446 ซึ่งศาลก�ำหนดให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
.ม
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2518 โจทก์ถูกข่มขืนจนมีครรภ์ ค่าของความเป็นสาวย่อมตกต�่ำ
ไม่มีชายใดประสงค์แต่งงานด้วย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2523 ลูกจ้างของบริษัทเดินรถโดยสาร เป็นสารวัตรควบคุมการ
เดินรถและตรวจตั๋ว ขับรถโดยประมาทในเส้นทางของบริษัทในทางค้าปกติเพราะคนขับไม่อยู่ บริษัทต้อง
รับผิดในความเสียหายที่รถตกคู คนโดยสารต้องตัดแขน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 634 ต้องใช้ค่าเสียหายรวม
ถึงการที่โจทก์ได้รับความเสียหายต้องตัดข้อมือขวา ใช้แขนเทียมแทนเสียความสามารถประกอบการงาน
และความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินด้วย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5751/2544 ความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินนี้กฎหมายให้ศาลมีอำ� นาจก�ำหนด
ให้ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่มิใช่ตัวเงิน
ย่อมจะน�ำสืบคิดเป็นจ�ำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่ในตัว เมื่อพิจารณาลักษณะบาดแผล วิธีการรักษา การทน
ทุกข์ทรมาน ทุพพลภาพตลอดชีวิต การเสียบุคลิกภาพ ถือว่าเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน
สธ ส
4-24 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7673/2550 ผลแห่งละเมิดของจ�ำเลยที่ 1 ท�ำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย


โดยต้องทุพพลภาพ ความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่เป็นตัวเงิน โจทก์มีสิทธิ
เรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้ด้วย และศาลย่อมมีอ�ำนาจวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่ง
ละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438
อย่างไรก็ตาม อาจตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่าละเมิดในบางกรณีอาจประกอบด้วยความเสียหายทั้งที่

.
สามารถค�ำนวณเป็นเงินแน่นอนได้และไม่ได้รวมกัน ตัวอย่างเช่น กรณี ค�ำพิพากษาศาลฎีกา 886/2475
จะเห็นได้ว่านอกจาก “ค่าฮวงซุ้ย” ที่สามารถค�ำนวณเป็นจ�ำนวนเงินแน่นอนแล้วศาลยังก�ำหนด “ค่าขาด
สธ สธ
การเซ่นไหว้” ซึง่ ถือว่าเป็นความเสียหายทีไ่ ม่สามารถค�ำนวณเป็นเงินแน่นอนได้มาในคราวเดียวกันอีกด้วย

มส . มส
4.3 ขอบเขตของค่าเสียหายที่ศาลไทยยอมรับได้ เมือ่ การจ่ายค่าเสียหายอยูใ่ นรูปของตัวเงินแล้ว
ค�ำถามที่ตามมาก็คือ “ดอกเบี้ย” ในเงินดังกล่าวจะมีการเรียกกันได้หรือไม่มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้
แล้ว ในกรณีที่ความเสียหายยังมิได้เกิดขึ้นในวันที่มีการฟ้องร้องกันแต่คาดว่าจะเกิดขึ้นอันเป็นผลสืบ
เนื่องจากละเมิดนั้น หรือที่เรียกว่า “ค่าเสียหายในอนาคต” ศาลจะก�ำหนดให้ฝ่ายโจทก์ได้มากน้อยเพียง
ใด และท้ายที่สุดมีค่าเสียหายอย่างใดบ้างที่แนวค�ำพิพากษาของศาลไทยไม่ยอมรับที่จะก�ำหนดให้แก่ฝ่าย

โจทก์ ซึ่งสามารถแยกอธิบายดังนี้
4.3.1 ดอกเบี้ยในค่าเสียหาย ค่าเสียหายที่ต้องใช้กันเป็นตัวเงินนั้น เมื่อฝ่ายโจทก์มีสิทธิใน
เงินดังกล่าวย่อมที่จะเรียกดอกเบี้ยได้ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 206 และมาตรา 224
มาตรา 206 “ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ท�ำละเมิด”
มาตรา 224 บัญญัตวิ า่ “หนี้เงินนั้นให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่ก�ำหนด
ธ.

ตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัย


เหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น
ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ให้พิสูจน์ได้”29
มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้ก�ำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือ
โดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละสามต่อปี
.ม
อัตราตามวรรคหนึ่งอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ
เศรษฐกิจของประเทศได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยปกติให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวน
ทุกสามปี ให้ใกล้เคียงกับอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของ
ธนาคารพาณิชย์”30
ดังนี้แล้ว จากบทบัญญัติทั้งสองมาตราข้างต้นจึงแปลความได้ว่า ในกรณีที่มีการท�ำละเมิด
ลูกหนี้ผู้ท�ำละเมิดซึ่งได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่วันท�ำละเมิดนั้น เมื่อจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เป็น
ค่าเสียหายซึ่งเป็นหนี้เงินแล้ว ลูกหนี้ผู้ท�ำละเมิดย่อมต้องใช้ดอกเบี้ยตามอัตราที่กฎหมายก�ำหนดไว้แก่
ผู้ถูกท�ำละเมิดด้วย โดยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวนี้เป็นอัตราลอยตัว กล่าวคือ ปัจจุบันกฎหมายก�ำหนด
29
มาตรานีไ้ ด้ถกู แก้ไขเพิม่ เติมโดยพระราชก�ำหนดแก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 และมีผลใช้บังคับวันถัดไปคือ วันที่ 11 เมษายน 2564
30
เรื่องเดียวกัน.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-25

อัตราดอกเบี้ยตามมาตรา 7 ไว้เป็นร้อยละ 3 ต่อปี31 เมื่อบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปีตามมาตรา


224 วรรคหนึ่ง จึงเป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ดังนั้น นับแต่วันท�ำละเมิดซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่มีการผิดนัด
เกิดขึน้ ผูท้ ำ� ละเมิดจึงต้องใช้ดอกเบีย้ ในสินไหมทดแทนในส่วนทีเ่ ป็นค่าเสียหายซึง่ เป็นหนีเ้ งินนัน้ แก่ผถู้ กู ท�ำ
ละเมิดในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีด้วย
อุทาหรณ์

. ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2515 (ประชุมใหญ่) การที่ศาลก�ำหนดจ�ำนวนเงินค่าสินไหม


ทดแทนให้จำ� เลยชดใช้นนั้ มิใช่วา่ โจทก์ได้รบั ความเสียหายตัง้ แต่วนั พิพากษา ศาลเป็นแต่กำ� หนดค่าเสียหาย
สธ สธ
ทีโ่ จทก์ได้รบั ความเสียหายมาแล้วตัง้ แต่วนั ท�ำละเมิด และกฎหมายก็บญ ั ญัตใิ ห้ถอื ว่าจ�ำเลยผิดนัดตัง้ แต่วนั

มส . มส
ท�ำละเมิด จึงต้องเสียดอกเบีย้ ในจ�ำนวนเงินทีต่ อ้ งชดใช้ตงั้ แต่วนั ท�ำละเมิด การทีโ่ จทก์ฟอ้ งเรียกค่าเสียหาย
เป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายทีค่ ำ� นวณในอนาคตด้วย จ�ำเลยก็จะต้องเสียดอกเบีย้ นับตัง้ แต่วนั ท�ำละเมิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2518 ค่าเสียหายฐานละเมิดเพราะต้องตัดขาพิการตลอดชีวิต
เป็น ค่าเสียหายซึง่ มิใช่ตวั เงิน ไม่ซำ�้ กับค่าทีไ่ ม่สามารถประกอบการงาน แม้เป็นค่าเสียหายในอนาคตก็คดิ
ดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัด คือวันท�ำละเมิด แต่ไม่เกินค�ำขอที่โจทก์ขอมาตั้งแต่วันฟ้อง

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2544 เมือ่ จ�ำเลยที่ 1 ท�ำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องชดใช้จำ� นวนเงิน
ตามบัตรภาษีที่พิพาทและตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดช�ำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่
ท�ำละเมิดหรือวันที่จ�ำเลยอื่นรับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ส่วนจ�ำเลยอื่นต้องรับผิดในมูลหนี้อันเป็นลาภมิควร
ได้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจ�ำเลยอื่นสุจริต จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดช�ำระดอกเบี้ย นับแต่วันที่
จ�ำเลยอื่นจะต้องคืนเงินหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษี
ธ.

อย่างไรก็ตาม ในบางค�ำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินว่าให้คดิ ดอกเบีย้ ในค่าสินไหมทดแทนตัง้ แต่


วันฟ้อง หรือวันทีศ่ าลมีคำ� พิพากษา33 ซึง่ นักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นว่าไม่นา่ จะเป็นการถูกต้องเท่าใดนัก34
32
และไม่ควรถือเป็นบรรทัดฐาน35
4.3.2 การเรียกค่าเสียหายในอนาคต ความเสียหายในมูลละเมิดที่กฎหมายไทยยอมรับให้
เรียกค่าสินไหมทดแทนกันได้ไม่จ�ำกัดแต่เฉพาะความเสียหายที่เป็นปัจจุบันหรือที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แต่
.ม
ยังรวมถึงความเสียหายในอนาคตอันเป็นที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นอีกด้วย36 บทบัญญัติมาตรา 443–มาตรา
446 ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวด้วยหลักเกณฑ์เฉพาะในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดต่อเนื้อตัว

31
โดยกระทรวงการคลังต้องพิจารณาทบทวนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวทุกสามปี ให้ใกล้เคียงกับอัตราเฉลี่ยระหว่างอัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากกับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์
32
ฎ. 5014/2533 การที่โจทก์ฟ้องโดยคิดดอกเบี้ยจากจ�ำเลยนับแต่วันท�ำละเมิดถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปีนั้น โจทก์มิใช่
ผู้เสียหายโดยตรง เป็นเพียงนายจ้างที่ต้องขาดแรงงานไปเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจ�ำเลยผิดนัดนับแต่เวลาท�ำละเมิด และทางน�ำสืบก็ไม่
ปรากฏว่าจ�ำเลยผิดนัดเมื่อใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้อง พิพากษาให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะช�ำระเสร็จ
33
ฎ. 1648/2509 ค่าสินไหมทดแทนความขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ค่าเสียหายในอนาคตซึ่งมีจ�ำนวนก�ำหนดแน่นอน โจทก์
สามารถบังคับได้ในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา
34
เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 415.
35
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 225.
36
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 153.
สธ ส
4-26 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ร่างกาย ถือเป็นข้อกฎหมายที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวอย่างชัดเจน โดยอาจแยกพิจารณาเป็น 2 ส่วน


ด้วยกันคือ ส่วนที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนถึงการยอมให้มีการเรียกค่าเสียหายที่
จะเกิดขึ้นในอนาคต และส่วนที่เนื้อหาสาระของตัวบทกฎหมายย่อมเป็นที่เข้าใจกันได้ว่าหมายถึงค่าเสีย
หายในอนาคต
ส�ำหรับส่วนทีม่ กี ารบัญญัตไิ ว้เป็นลายลักษณ์อกั ษรอย่างชัดเจนนัน้ ได้แก่ มาตรา 444 โดยที่

.
ความในวรรคหนึง่ ได้บญ ั ญัตริ บั รองสิทธิของผูต้ อ้ งเสียหายแก่รา่ งกายหรืออนามัยในการทีจ่ ะได้รบั การชดใช้
ค่าใช้จา่ ยอันตนต้องเสียไป และค่าเสียหายเพือ่ การทีเ่ สียความสามารถประกอบการงานสิน้ เชิงหรือแต่บาง
สธ สธ
ส่วน ทัง้ ในเวลาปัจจุบนั และในอนาคต นอกจากนีแ้ ล้วความในวรรคสองของมาตราเดียวกันยังแสดงให้เห็น

มส . มส
ถึงการทีก่ ฎหมายไทยยอมรับความเป็นไปได้ในการก�ำหนดค่าเสียหายทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคตเพิม่ เติม เพือ่
เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดต่อร่างกายหรืออนามัย กล่าวคือ ผลของละเมิดประเภทนี้โดยสภาพแล้ว
อาจเป็นความเสียหายในลักษณะยาวที่ไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ขณะที่มีค�ำพิพากษา ดังนี้
กฎหมายจึงให้อ�ำนาจแก่ศาลในการสงวนสิทธิที่จะแก้ไขค�ำพิพากษาเพื่อความเสียหายซึ่งจะเกิดขึ้นใน
อนาคตอันเป็นผลสืบเนือ่ งมาจากการกระท�ำทีเ่ ป็นละเมิดซึง่ ได้เกิดขึน้ แล้ว โดยก�ำหนดกรอบระยะเวลาทีจ่ ะ

แก้ไขค�ำพิพากษาไว้ไม่เกิน 2 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นระยะเวลาที่น่าจะนานเพียงพอที่จะตรวจสอบว่าผู้เสียหาย
มีความเสียหายที่แท้จริงเพียงใด37
ส่วนทีเ่ นือ้ หาสาระของตัวบทกฎหมายย่อมเป็นทีเ่ ข้าใจถึงการยอมรับในค่าเสียหายในอนาคต
ของกฎหมายไทยนั้น คือ ความในมาตรา 443 มาตรา 445 และมาตรา 446 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะใน
เรื่องการก�ำหนดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีละเมิดเป็นเหตุให้ถึงตายหรือเสียหายแก่ร่างกาย หรือ
ธ.

เสียหายแก่อนามัย หรือเสียหายแก่เสรีภาพ โดยบทกฎหมายยอมรับให้ผู้เสียหายหรือโจทก์สามารถเรียก


ร้องค่าสินไหมทดแทนต่างๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และค่าเสียหายบางอย่างอันเป็นส่วนประกอบของ
ค่าสินไหมทดแทนนั้น โดยลักษณะแล้วย่อมหมายถึงค่าเสียหายในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นในขณะที่มีการ
ฟ้องร้องกันนัน่ เอง ได้แก่ ค่าปลงศพ ค่าขาดประโยชน์ทำ� มาหาได้ ค่าขาดแรงงานเพือ่ บุคคลภายนอก และ
ค่าขาดไร้อุปการะเพื่อบุคคลซึ่งมีสิทธิที่จะได้รับการอุปการะตามกฎหมายจากผู้เสียหาย38
.ม
อย่างไรก็ดี บทบัญญัติทั้ง 4 มาตราดังกล่าวข้างต้นนี้อาจท�ำให้เกิดความเข้าใจว่ากฎหมาย
ละเมิดไทยยอมให้มกี ารเรียกค่าเสียหายในอนาคตก็แต่เพียงเพือ่ การกระท�ำอันเป็นละเมิดแก่เนือ้ ตัวร่างกาย
เท่านัน้ ซึง่ หากพิจารณาความในวรรคสองของมาตรา 438 โดยเฉพาะในถ้อยค�ำทีว่ า่ “... เพื่อความเสียหาย
ใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย” ก็ย่อมแปลความได้ว่าเจตนารมณ์ของผู้ร่างกฎหมายในการยอมรับให้มีการ
เรียกค่าเสียหายอันเป็นผลจากละเมิดนั้นค่อนข้างกว้าง กล่าวคือ แม้ว่าความเสียหายจะเป็นความเสียหาย
ในอนาคต และไม่ใช่ความเสียหายที่เกี่ยวกับละเมิดในเนื้อตัวร่างกายแล้ว ผู้เสียหายหรือโจทก์ก็ยังมีสิทธิ
ในการที่จะเรียกค่าเสียหายเช่นนั้นได้อยู่นั่นเอง บทบัญญัติทั้ง 4 มาตราดังกล่าวอาจถือได้ว่าเป็นแต่เพียง
บทเฉพาะในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดในเนื้อตัวร่างกายที่กฎหมายได้น�ำมายกไว้เป็น
ตัวอย่าง โดยที่หากพิเคราะห์ประกอบบททั่วไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน (มาตรา 438) แล้วนั้น
37
ศนันท์กรณ์(จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 325.
38
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 153.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-27

ผูเ้ สียหายหรือโจทก์กย็ อ่ มเรียกค่าเสียหายอืน่ ๆ อันเป็นผลสืบเนือ่ งจากละเมิดได้อกี เท่าทีจ่ ะเป็นการเยียวยา


ให้ผู้ต้องเสียหายได้กลับคืนสู่สถานะเดิมหรือใกล้เคียงกับสถานะเดิมได้มากที่สุดนั่นเอง แต่ในทางปฏิบัติ
แนวทางการก�ำหนดค่าเสียหายในอนาคตของศาลฎีกาไทยได้สะท้อนให้เห็นถึงความเคร่งครัดในตัวบท
กฎหมาย ที่ศาลไทยยอมรับให้มีการเรียกค่าเสียหายในอนาคตก็แต่เพื่อความเสียหายที่บัญญัติไว้ใน 4
มาตราดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจต้องติดตามแนวทางและพัฒนาการของค�ำพิพากษาใน

.
ประเด็นปัญหานี้กันต่อไป
4.3.3 ค่าเสียหายที่ศาลไทยไม่ยอมรับ โดยหลักแล้ว การก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อ
สธ สธ
ละเมิดของศาลไทยนั้นจะยึดตามแนวทางกฎหมายละเมิดญี่ปุ่น39 ซึ่งถือได้ว่าเป็นที่มาที่กรมร่างกฎหมาย

มส . มส
ใช้อา้ งอิงในการยกร่างมาตรา 43840 กล่าวคือ ค่าสินไหมทดแทนทีจ่ ะใช้กนั ได้นนั้ จะต้องเป็นไปเพือ่ ชดเชย
ความเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากละเมิดนั้น41 ดังนี้แล้วจึงเท่ากับว่า ค่าเสียหายอย่างใดๆ ที่ไม่ใช่ความ
เสียหายโดยตรงอันเกิดแต่ละเมิด ศาลไทยย่อมไม่รับที่จะบังคับให้กันนั้นเอง เช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้
ทราบตัวผู้กระท�ำละเมิดหรือเพื่อการฟ้องร้องด�ำเนินคดีกับผู้กระท�ำละเมิด เป็นต้น
อุทาหรณ์

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2522 ค่าใช้จ่ายในการฟ้องคดีอาญาเพื่อประสงค์ให้จ�ำเลยได้
รับโทษ โจทก์เรียกเอาจากจ�ำเลยไม่ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2528 ค่าจ้างนักสืบหาตัวผูท้ ำ� ละเมิด ไม่ใช่ความเสียหายโดยตรง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2531 การได้รบั บาดเจ็บจนเป็นเหตุให้ตอ้ งพักการศึกษาเล่าเรียน
ไม่มีกฎหมายในเรื่องละเมิดให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ธ.

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5409/2562 ค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ร่วมอ้างว่า ต้องเสียโอกาสใน


การน�ำเงินทีถ่ กู จ�ำเลยยักยอกไปใช้ดำ� เนินธุรกิจซือ้ ขายยางพารา อันเป็นอาชีพของโจทก์รว่ มซึง่ สามารถท�ำ
ก�ำไรได้ไม่นอ้ ยกว่าวันละ 5,000 บาท เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์รว่ ม และยังไม่แน่นอนว่าการด�ำเนิน
ธุรกิจดังกล่าวจะได้ก�ำไรดังที่โจทก์ร่วมกล่าวอ้างหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังไม่
เกิดขึ้น เป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ และมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงอันเกิดจากการกระท�ำละเมิดของจ�ำเลย
.ม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง โจทก์รว่ มไม่มสี ทิ ธิยนื่ ค�ำร้องขอให้บงั คับจ�ำเลยชดใช้คา่ สินไหมทดแทน
ในส่วนนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1

กิจกรรม 4.1.2
นาย ก. เป็นผู้จัดการบริษัทแห่งหนึ่ง ถูกคนร้ายที่ลอบเข้ามาเพื่อขโมยของในสถานประกอบการ
ยามวิกาลท�ำร้ายจนได้รับบาดเจ็บ นาย ก. ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล และใช้สิทธิในการเบิกค่ารักษา
39
ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น มาตรา 710
40
จิตติ ติงศภัทิย์ ปรับปรุงโดย เขมภูมิ ภูมิถาวร,
ชวิน อุ่นภัทร และอ�ำนาจ ตั้งคีรีพิมาน. เรื่องเดียวกัน. หน้า 249.
41
J.e. de Becker. Annotated Civil Code of Japan (1sted.). 1909, p. 274 อ้างใน สุษม ศุภนิตย์. เรือ่ งเดียวกัน
หน้า 214.
สธ ส
4-28 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

พยาบาลบางส่วนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนแล้ว นาย ก. ต้องการทราบว่าคนร้ายทีล่ อบเข้ามาท�ำร้าย


ตนคือใคร จึงได้วา่ จ้างนักสืบเพือ่ หาตัว ดังนี้ นาย ก. จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผูท้ ำ� ละเมิดได้ประการ
ใดบ้าง

.
แนวตอบกิจกรรม 4.1.2
ป.พ.พ. มาตรา 438 บัญญัติว่า “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาล
สธ สธ
วินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

มส . มส
อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้
ราคาทรัพย์สนิ นัน้ รวมทัง้ ค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพือ่ ความเสียหายอย่างใดๆ อันได้กอ่ ขึน้ นัน้ ด้วย”
ตามปัญหา นาย ก. ซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการถูกท�ำละเมิดย่อมมีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลจาก
ผู้ท�ำละเมิดเพื่อความเสียหายแก่ร่างกายได้จนเต็มจ�ำนวน แม้ว่าจะได้ใช้สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงิน
ทดแทนบางส่วนแล้วก็ตาม เพราะการที่ผู้ถูกท�ำละเมิดได้รับการเยียวยาโดยทางอื่นนั้น ไม่อาจเป็นข้ออ้าง

ให้ผู้ท�ำละเมิดหลุดพ้นจากความรับผิดได้แต่อย่างใด ส่วนค่าจ้างนักสืบเพื่อหาตัวผู้กระท�ำละเมิดนั้น ไม่ใช่
ค่าเสียหายโดยตรงที่ผู้ถูกท�ำละเมิดจะเรียกร้องได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438
สรุป นาย ก. มีสทิ ธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผูท้ ำ� ละเมิดเต็มจ�ำนวนเพือ่ ความเสียหายแก่รา่ งกาย
ได้จนเต็มจ�ำนวน ส่วนค่าจ้างนักสืบเพื่อหาตัวผู้กระท�ำละเมิดนั้น ไม่อาจเรียกร้องจากผู้ท�ำละเมิดได้
ธ.

เรื่องที่ 4.1.3
หลักเฉพาะในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดให้สอดคล้อง
.ม
กับประเภทของความเสียหาย

บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. 8 มาตรา (มาตรา 439–441 และมาตรา 443-448) ได้บัญญัติถึง


หลักการเฉพาะในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดไว้ ซึ่งอาจจ�ำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ตาม
ประเภทของความเสียหาย ได้แก่ (1) การก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดอันท�ำให้เกิดความเสียหาย
ต่อทรัพย์ (2) การก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันท�ำให้เกิดความเสียหายต่ออนามัย เสรีภาพ
เนื้อตัวร่างกายและชีวิต และ (3) การก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันท�ำให้เกิดความเสียหาย
ต่อชื่อเสียง ดังมีรายละเอียดดังนี้
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-29

1. การก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันท�ำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์


บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 439–441 ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติที่กล่าวถึงวิธีการเฉพาะในการ
ก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันท�ำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์ไว้ โดยอาจจ�ำแนกได้เป็น 2
ประเด็นใหญ่คอื ขอบเขตความรับผิดของผูท้ ำ� ละเมิด ประการหนึง่ และดอกเบีย้ ทีอ่ าจเรียกกันได้ในจ�ำนวน
เงินที่ต้องใช้กันในกรณีที่ไม่อาจคืนทรัพย์ที่เอาไปได้ อีกประการหนึ่ง

. 1.1 ขอบเขตความรับผิดของผู้ท�ำละเมิด ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า หลักการส�ำคัญของการชดใช้


ค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดก็คอื เพือ่ ให้ผเู้ สียหายได้กลับคืนสูส่ ถานะเดิมหรือใกล้เคียงกับสถานะเดิมมาก
สธ สธ
ทีส่ ดุ ดังนัน้ ถ้ามีการเอาทรัพย์เขาไป แล้วทรัพย์นนั้ เกิดการบุบสลายอย่างใดๆ อันท�ำให้ทรัพย์ทตี่ อ้ งคืนกัน

มส . มส
นั้นไม่อยู่ในสภาพเดิมเช่นเดียวกับขณะที่เกิดละเมิด หรือไม่อาจคืนกันได้เลยเพราะความเสียหาย ความ
สูญหาย หรือการพ้นวิสัยอย่างใดๆ อันเกิดหลังจากที่ได้เอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป ก็อาจมีการอ้างกันว่า
ความเสียหายนัน้ ไม่ได้เกิดขึน้ จากความผิดของผูก้ ระท�ำละเมิด กฎหมายจึงบัญญัตคิ วามรับผิดในกรณีทไี่ ม่
อาจคืนทรัพย์กันได้เพราะอุบัติเหตุไว้
ตามกฎหมายลักษณะทรัพย์ ป.พ.พ. มาตรา 1369 “บุคคลใดยึดถือทรัพย์สนิ ไว้ทา่ นให้สนั นิษฐาน

ไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นย่อมยึดถือเพื่อตน” ประกอบกับมาตรา 1372 “สิทธิซึ่งผู้ครอบครองใช้ในทรัพย์สินที่
ครอบครองนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสิทธิซึ่งผู้ครอบครองมีตามกฎหมาย” ท�ำให้อาจเกิด
ข้อเท็จจริงในลักษณะที่ว่าทรัพย์ที่ถูกกระท�ำนั้นผู้ครอบครองไม่ใช่ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แต่เป็นเพียง
ผู้ยึดถือหรือครอบครองไว้แทนเจ้าของทรัพย์ ดังนี้แล้วเมื่อเกิดละเมิดขึ้นและผู้กระท�ำละเมิดหรือลูกหนี้ได้
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับบุคคลผู้ถือครองทรัพย์ไปแล้วโดยสุจริต ค�ำถามที่ตามมาก็คือการชดใช้
ธ.

ค่าสินไหมทดแทนไม่ได้กระท�ำต่อเจ้าของทรัพย์ทแี่ ท้จริงผูก้ ระท�ำละเมิดจะหลุดพ้นจากความรับผิดมากน้อย


เพียงใด
นอกจากนีแ้ ล้ว การศึกษาในส่วนนีจ้ ะเป็นการวิเคราะห์ในรายละเอียดของบทบัญญัตแิ ห่ง ป.พ.พ.
มาตรา 439 และมาตรา 441 ซึ่งแม้ว่าโดยภาพรวมทั้งสองมาตรามีประเด็นร่วมกันในการศึกษาขอบเขต
ความรับผิดของผูท้ ำ� ละเมิดในการชดใช้คา่ สินไหมทดแทนเฉพาะเพือ่ ละเมิดต่อทรัพย์กต็ าม แต่จากถ้อยค�ำ
และแนวคิดในตัวบทกฎหมาย ได้ปรากฏข้อพิจารณาบางประการที่ควรตั้งเป็นข้อสังเกตในการปรับใช้
.ม
บทบัญญัติทั้ง 2 มาตราดังกล่าวด้วย
1.1.1 ความรับผิดของผู้ท�ำละเมิดในกรณีไม่อาจคืนทรัพย์กันได้เพราะอุบัติเหตุ มาตรา
439 บัญญัติว่า “บุคคลผู้จ�ำต้องคืนทรัพย์อันผู้อ่ืนต้องเสียไปเพราะละเมิดแห่งตนนั้น ยังต้องรับผิดชอบ
ตลอดถึงการที่ทรัพย์นั้นท�ำลายลง โดยอุบัติเหตุหรือการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างอื่นโดย
อุบัติเหตุ หรือทรัพย์นั้นเสื่อมเสียลงโดยอุบัติเหตุนั้นด้วย เว้นแต่เมื่อการที่ทรัพย์สินท�ำลาย หรือตกเป็น
พ้นวิสัยจะคืนหรือเสื่อมเสียนั้น ถึงแม้ว่าจะมิได้มีการท�ำละเมิดก็คงจะต้องตกไปเป็นอย่างนั้นอยู่เอง” ใน
เบือ้ งต้นนัน้ เนือ่ งจากถ้อยค�ำภาษาอังกฤษทีก่ รมร่างกฎหมายใช้ในการยกร่าง ป.พ.พ. มาตรา 439 ปรากฏ
ความว่า “deprived another of a thing by a wrongful act” ท�ำให้เข้าใจได้ว่าบทบัญญัติมาตรานี้
จ�ำกัดการกระท�ำอันเป็นละเมิดไว้แต่เฉพาะ “การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป” ก็ย่อมหมายความเป็นปริยายว่า
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ที่จะถูกละเมิดได้นั้นย่อมเป็นทรัพย์ที่อาจถูกเอาไป หรือที่เคลื่อนที่ได้ หรือก็คือ
“สังหาริมทรัพย์” นัน่ เอง42 ถ้อยค�ำตามตัวบทกฎหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 439 อาจแยกประเด็นพิจารณา
42
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. น. 168 และวารี นาสกุล. เรื่องเดียวกัน. หน้า 269.
สธ ส
4-30 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ได้ 2 ประการคือ หลักความรับผิดของผูท้ ำ� ละเมิดรวมตลอดไปถึงกรณีทที่ รัพย์ทเี่ อาไปนัน้ ไม่อาจคืนกันได้


แม้จะเป็นเพราะอุบตั เิ หตุประการหนึง่ และข้อยกเว้นความรับผิดกรณีทที่ รัพย์สนิ ถูกท�ำลายหรือเป็นการพ้น
วิสัยที่จะคืนนั้นย่อมจะเกิดขึ้นแม้จะไม่มีการท�ำละเมิดเช่นนั้นก็ตาม อีกประการหนึ่ง
1) หลักความรับผิดของผูท้ ำ� ละเมิดรวมตลอดไปถึงกรณีทที่ รัพย์ทเี่ อาไปนัน้ ไม่อาจคืนกัน
ได้แม้จะเป็นเพราะอุบตั เิ หตุ กล่าวคือ เป็นกรณีทแี่ ม้วา่ การคืนทรัพย์นนั้ ไม่อาจเกิดขึน้ ได้อย่างสมบูรณ์เพราะ

.
ทรัพย์นั้นถูกท�ำให้เสื่อมเสียลงหรือถูกท�ำลายลงโดยอุบัติเหตุที่ไม่อาจโทษว่าเป็นความผิดของผู้กระท�ำ
ละเมิดได้ก็ตาม ผู้กระท�ำละเมิดก็ยังคงมีความรับผิดในการที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอยู่นั่นเอง ทั้งนี้
สธ สธ
เป็นเพราะว่า การเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปอันเป็นละเมิดนั้นท�ำให้เกิดหนี้ซึ่งถือว่ามีการผิดนัดกันตั้งแต่ ณ

มส . มส
เวลานั้น ดังนั้นผู้กระท�ำละเมิดจ�ำต้องรับผิดแม้ความเสียหายที่เกิดขึ้นในภายหลัง การเอาทรัพย์ไปนั้นจะ
เกิดจากการที่ผู้ท�ำละเมิดไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม เพราะถ้าไม่มีละเมิดแล้วทรัพย์ก็อาจจะไม่
ถูกท�ำให้เสื่อมเสียหรือถูกท�ำลายนั่นเอง
อุทาหรณ์
ข้อเท็จจริง นายแดงขโมยลูกสุกรของนายด�ำไป ปรากฏว่า

ตัวอย่างที่ 1 ลูกสุกรท้องเสียตาย อันเป็นกรณีที่ถือได้ว่าทรัพย์ที่นายแดงได้เอาของ
ผู้อ่ืนมาถูกท�ำลายลงโดยอุบัติเหตุ มิใช่เพราะความผิดของนายแดง ดังนี้แม้ว่านายแดงไม่มีความผิด แต่
นายแดงก็ยังคงต้องรับผิดด้วยการชดใช้ราคาลูกสุกรคืนให้แก่นายด�ำ คือถือว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น
ในระหว่างทีน่ ายแดงผิดนัด เพราะหากนายแดงไม่ขโมยลูกสุกรของนายด�ำไป ลูกสุกรของนายด�ำอาจไม่ตาย
ตัวอย่างที่ 2 ลูกสุกรไม่ได้ท้องเสียตาย แต่ลูกสุกรหลุดจากคอกวิ่งหนีเข้าป่าไปแล้ว
ธ.

นายแดงหาไม่เจอ อันเป็นกรณีที่ทรัพย์ที่นายแดงขโมยมานั้นอาจจะคืนให้กับนายด�ำได้อยู่เพราะลูกสุกร
อาจยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่รู้ว่าอยู่ที่ใด จึงเท่ากับว่าเป็นการพ้นวิสัยที่จะคืน แม้นายแดงมิได้ท�ำผิดอะไรในกรณี
ดังกล่าวนี้ แต่เมื่อเหตุได้อุบัติขึ้นในระหว่างเวลาที่นายแดงผิดนัด (เอาทรัพย์ของนายด�ำไป) นายแดงก็ยัง
คงต้องมีหน้าที่รับผิดในการคืนทรัพย์ให้นายด�ำ
ตัวอย่างที่ 3 ลูกสุกรถูกสุนัขกัดจนท�ำให้ขาหักหนึ่งข้าง อันเป็นกรณีที่ถือได้ว่าทรัพย์
.ม
ทีน่ ายแดงได้เอาของผูอ้ นื่ มานัน้ ยังอยูใ่ นวิสยั ทีจ่ ะคืนให้แก่นายด�ำได้ แต่การทีส่ นุ ขั มากัดลูกสุกรท�ำให้ทรัพย์
นัน้ ต้องเสือ่ มเสียลงโดยอุบตั เิ หตุ โดยมิได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของนายแดง อันมิใช่ความ
ผิดของนายแดง แต่นายแดงก็ยงั คงต้องรับผิดด้วยการชดใช้คา่ ราคาหรือค่าเสือ่ มเสียให้แก่นายด�ำอยูน่ นั่ เอง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2502 จ�ำเลยทัง้ สามสมคบกันหลอกลวงโจทก์ น�ำรถของ
โจทก์จากจังหวัดล�ำพูนมาถึงกรุงเทพฯ โดยโจทก์มิได้ยินยอม แม้จ�ำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ขับรถนั้นไปชนโคก
กลางจนรถของโจทก์เสียหาย ในขณะนัน้ รถของโจทก์อยูใ่ นความครอบครองของจ�ำเลยทัง้ สามด้วยกัน เช่น
นี้ถือได้ว่าจ�ำเลยทั้งสามร่วมกันท�ำละเมิดต่อโจทก์ ต้องรับผิดร่วมกันตลอดจนถึงความเสียหายของรถที่ได้
รับจากการทีจ่ ำ� เลยที่ 1 ขับไปชนโคนัน้ ด้วย เพราะเป็นผลเสียหายสืบเนือ่ งโดยตรงจากการกระท�ำของจ�ำเลย
ทัง้ สาม กล่าวคือ ถ้าจ�ำเลยไม่รว่ มกันเอารถไปใช้โดยละเมิดแก่โจทก์แล้ว ความเสียหายนัน้ ก็จะไม่บงั เกิดขึน้
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-31

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2518 จ�ำเลยใช้คนลักไม้ของโจทก์ ศาลลงโทษจ�ำเลยแล้ว


ไม้เป็นของกลางอยู่ที่สถานีต�ำรวจถูกไฟไหม้หมด จ�ำเลยท�ำละเมิดตั้งแต่วันลักไม้ เมื่อจ�ำเลยพิสูจน์ไม่ได้
ว่าแม้จะไม่ละเมิดก็ยังเสียหายอยู่นั่นเอง จ�ำเลยต้องรับผิด
2) ข้อยกเว้นความรับผิดกรณีทที่ รัพย์สนิ ถูกท�ำลายหรือเป็นการพ้นวิสยั ทีจ่ ะคืนนัน้ อย่างไร
เสียก็ย่อมจะต้องเกิดขึ้นแม้จะไม่มีการท�ำละเมิดเช่นนั้นก็ตาม เป็นกรณีที่กฎหมายก�ำหนดกรอบความรับผิด

.
มิให้ผทู้ ำ� ละเมิดต้องรับผิดมากเกินไปกว่าทีค่ วรจะเป็น อันท�ำให้เกิดความยุตธิ รรมทัง้ กับฝ่ายผูเ้ สียหายและ
ผูท้ ำ� ละเมิดเองเพราะข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าว คือกรณีทถี่ งึ อย่างไรทรัพย์ทถี่ กู เอาไปก็จะต้องถูกท�ำลาย
สธ สธ
อยู่นั่นเองไม่ว่าทรัพย์นั้นจะถูกเอาไปหรือไม่ก็ตาม จึงเท่ากับว่าความเสียหายนั้นไม่ใช่ผลแห่งละเมิด เช่น

มส . มส
กรณีที่นายแดงได้ขโมยลูกสุกรของนายด�ำไปแต่ปรากฏว่าบ้านของทั้งสองคนอยู่ติดกันและในช่วงเวลานั้น
เกิดโรคระบาดท�ำให้สกุ รทัง้ หมูบ่ า้ นตายหมด ดังนีแ้ ล้วแม้นายแดงไม่ได้ขโมยลูกสุกรไปจากนายด�ำ ลูกสุกร
ตัวนั้นก็ย่อมถูกโรคระบาดตายอยู่นั่นเอง ในกรณีเช่นนี้ตามความตอนท้ายของมาตรา 439 นายแดงก็ไม่
ต้องรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ อย่างไรก็ดขี อ้ ยกเว้นความรับผิดนีจ้ ะยกเว้นแต่เฉพาะการทีผ่ ทู้ ำ� ละเมิด
ไม่ตอ้ งใช้ราคาทรัพย์ทถี่ กู ท�ำลายหรือเป็นการพ้นวิสยั ทีจ่ ะคืนกันได้เท่านัน้ แต่ยงั คงต้องรับผิดในค่าเสียหาย

อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ได้เอาทรัพย์ของเขาไป เช่น ค่าขาดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น จากกรณีตัวอย่าง
ถ้าเปลีย่ นลูกสุกรเป็นม้า เมือ่ นายแดงขโมยม้าของนายด�ำไป แล้วเกิดโรคระบาดท�ำให้มา้ ตาย แต่กอ่ นทีม่ า้
จะตายถ้าม้าไม่ถูกขโมยไป นายด�ำอาจได้ใช้สอยม้านั้นเช่นพาหนะ แต่ด้วยเหตุแห่งละเมิดที่นายแดงได้
ขโมยม้านายด�ำไป ท�ำให้นายด�ำไม่ได้ใช้สอย เช่นนี้แม้ว่าบ้านของทั้งสองคนจะอยู่ติดกันและโรคระบาดจะ
ธ.

ท�ำให้มา้ ตายไม่วา่ จะอยูใ่ นความครอบครองของนายด�ำผูเ้ ป็นเจ้าของหรือนายแดงผูท้ ำ� ละเมิด แต่ในช่วงเวลา


ตัง้ แต่ทมี่ า้ ถูกขโมยไปจนถึงเวลาทีม่ า้ ตาย นายด�ำย่อมเรียกเอาค่าขาดประโยชน์จากนายแดงได้อยูน่ นั่ เอง
1.1.2 บทสันนิษฐานและการพ้นความรับผิดเมือ่ มีการชดใช้คา่ สินไหมทดแทนให้แก่ผคู้ รอง
ทรัพย์ ป.พ.พ. มาตรา 441 “ถ้าบุคคลจ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ เพราะเอา
สังหาริมทรัพย์ของเขาไปก็ดี หรือเพราะท�ำของเขาให้บุบสลายก็ดี เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคล
ซึ่ง เป็นผู้ครองทรัพย์นั้นอยู่ในขณะที่เอาไป หรือขณะที่ท�ำให้บุบสลายนั้นแล้ว ท่านว่าเป็นอันหลุดพ้น
.ม
ไปเพราะการที่ได้ใช้ให้เช่นนั้น แม้กระทั้งบุคคลภายนอกจะเป็นเจ้าของทรัพย์หรือมีสิทธิอย่างอื่นเหนือ
ทรัพย์นั้น เว้นแต่สิทธิของบุคคลภายนอกเช่นนั้นจะเป็นที่รู้อยู่แก่ตน หรือมิได้รู้เพราะความประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน” บทบัญญัตดิ งั กล่าวถือได้วา่ มีเนือ้ หาสอดคล้องกับหลักทัว่ ไปว่าด้วยการระงับ
แห่งหนีต้ ามความใน ป.พ.พ. มาตรา 31543 ประกอบมาตรา 31644 ซึง่ เมือ่ อ่านประกอบกันก็จะท�ำให้เข้าใจ
ได้วา่ การชดใช้คา่ สินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดกรณีทเี่ อาสังหาริมทรัพย์ของเขามานัน้ จะระงับไปก็ตอ่ เมือ่ ได้
ชดใช้ให้แก่เจ้าของทรัพย์หรือผู้มีอ�ำนาจรับช�ำระหนี้แทนเจ้าของทรัพย์ แต่ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ทรัพย์ที่มี
การเอาไปนั้นเป็น “สังหาริมทรัพย์” หรือทรัพย์ที่มีการเคลื่อนที่ได้ ท�ำให้ในบางครั้งจึงเป็นการยากที่ผู้ท�ำ
43
ป.พ.พ. มาตรา 315 “อันการช�ำระหนี้นั้น ต้องท�ำให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอ�ำนาจรับช�ำระหนี้แทนเจ้าหนี้
การช�ำระหนี้ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอ�ำนาจรับช�ำระหนี้นั้น ถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็นับว่าสมบูรณ์”
44
ป.พ.พ. มาตรา 316 “ถ้าการช�ำระหนี้นั้นได้ท�ำให้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ ท่านว่าการช�ำระหนี้นั้น
จะสมบูรณ์ก็แต่เมื่อบุคคลผู้ช�ำระหนี้ได้กระท�ำการโดยสุจริต”
สธ ส
4-32 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ละเมิดซึ่งเป็นลูกหนี้จะรู้ตัวเจ้าของทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริงได้ เพราะอาจมีพฤติการณ์บางอย่างท�ำให้


บุคคลทัว่ ไปเข้าใจว่าผูค้ รองทรัพย์นนั้ เป็นเจ้าของทรัพย์ แม้วา่ ในความเป็นจริงแล้วอาจเป็นการครอบครอง
ทรัพย์ในฐานะผู้เช่า ผู้ยืม ผู้รับฝาก ผู้รับจ�ำน�ำ หรือได้ทรัพย์ของบุคคลอื่นมาโดยไปท�ำละเมิดต่อเขามาอีก
ต่อหนึ่งก็ได้ ซึ่งกฎหมายก็ไม่ได้ประสงค์ให้ผู้ท�ำละเมิดต้องสืบหาตัวเจ้าของทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริง
ก่อนจึงจะช�ำระหนี้ ค่าสินไหมทดแทนกันได้ กอปรกับหลักกฎหมายลักษณะทรัพย์ทถี่ อื เอาการครอบครอง

.
เป็นข้อสันนิษฐานว่า ใครครอบครองสังหาริมทรัพย์คนนั้นเป็นเจ้าของ ดังนี้แล้วเมื่อเป็นที่เข้าใจโดยสุจริต
ว่าผู้ครองทรัพย์เป็นผู้มีสิทธิรับช�ำระหนี้และเมื่อมีการช�ำระหนี้ให้แก่บุคคลดังกล่าวแล้ว กฎหมายให้ถือว่า
สธ สธ
การช�ำระหนี้สมบูรณ์ เจ้าของทรัพย์ตัวจริงจะมาเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ท�ำละเมิดซ�้ำอีกไม่ได้

มส . มส
อุทาหรณ์
นายเขียวขอยืมรถยนต์ของนายขาวมาใช้ ปรากฏว่านายฟ้าได้งัดและขโมยรถยนต์คัน
ดังกล่าวไป ต่อมานายเขียวได้ติดตามเอารถยนต์คืน กรณีนี้ถ้านายฟ้าได้คืนรถยนต์ให้กับนายเขียวพร้อม
จ่ายค่าซ่อมแซมประตูรถยนต์ที่ถูกงัดแงะไป นายฟ้าก็หลุดพ้นจากความรับผิดในการใช้ค่าสินไหมทดแทน
เพราะต้องถือว่า นายฟ้า (ผู้ท�ำละเมิด) ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับนายเขียว (ผู้ครองทรัพย์) ไปแล้ว

โดยสุจริต
หากมีข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า บุคคลทั้ง 3 รู้จักกันและนายฟ้าทราบดีว่ารถยนต์คันดังกล่าว
เป็นของนายขาว ซึง่ นายขาวได้ให้นายเขียวยืมใช้ เมือ่ นายเขียวมาทวงถามรถยนต์คนื นายฟ้าได้คนื รถยนต์
พร้อมจ่ายค่าซ่อมแซมประตูรถให้กับนายเขียวไป เช่นนี้แล้ว ถ้านายขาวมาเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก
ธ.

นายฟ้าอีกเพราะการชดใช้คา่ สินไหมทดแทน (คืนรถยนต์และจ่ายค่าซ่อมแซมประตูรถ) ซึง่ นายฟ้าได้กระท�ำ


ต่อนายเขียวไปแล้วไม่ถูกต้อง หรือเพราะนายเขียวมิได้ส่งมอบค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด เช่น นายเขียว
คืนแต่รถยนต์ให้กับนายขาว โดยไม่ได้ส่งมอบค่าซ่อมแซมประตูรถให้ด้วย ก็ต้องถือว่านายฟ้ายังไม่หลุด
พ้นจากความรับผิดในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับนายขาว ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์ผู้มีสิทธิได้รับการ
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง
อย่างไรก็ตาม มีขอ้ พิจารณาประการหนึง่ เกีย่ วด้วยถ้อยค�ำในบทบัญญัตแิ ห่ง ป.พ.พ. มาตรา
.ม
441 ที่ว่า “...จ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน...” ซึ่งในความเป็นจริงอาจเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ท�ำละเมิดมิได้ใช้
ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ครองทรัพย์ แต่เป็นการท�ำข้อตกลงอื่นเพื่อการช�ำระหนี้หรือการประนีประนอม
ยอมความแทน จึงท�ำให้เกิดค�ำถามตามมาว่าข้อตกลงเช่นนั้น ถ้าผู้ท�ำละเมิดท�ำไปโดยสุจริตแล้วจะผูกพัน
กับเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงเพื่อหลุดพ้นจากความรับผิดหรือไม่ ในประเด็นดังกล่าวนี้จะต้องพิเคราะห์จาก
หลักทั่วไปที่การช�ำระหนี้ต้องกระท�ำแก่ตัวเจ้าหนี้หรือผู้มีอ�ำนาจในการรับช�ำระหนี้แทนเจ้าหนี้เท่านั้น หนี้
จึงจะระงับตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 315 หากแต่บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 441 เป็นบทยกเว้น
ในท�ำนองเดียวกับความที่ปรากฏใน ป.พ.พ. มาตรา 316 กล่าวคือ การช�ำระหนี้แก่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวเจ้า
หนีห้ รือผูม้ อี ำ� นาจรับช�ำระหนีแ้ ทนเป็นไปโดยความสุจริตของลูกหนี้ จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดตามถ้อยค�ำ
ในตัวบทกฎหมาย มาตรา 441 ว่าเป็น “การใช้ค่าสินไหมทดแทน” เท่านั้น ลูกหนี้จึงจะหลุดพ้นจากความ
รับผิด ดังนั้นการท�ำข้อตกลงอื่นๆ หรือการประนีประนอมยอมความจึงไม่เป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทน
ดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 441 บัญญัติไว้ และเมื่อผู้ท�ำละเมิดหรือลูกหนี้ได้กระท�ำต่อผู้ครองทรัพย์ไปย่อม
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-33

ไม่ผกู พันกับเจ้าของทรัพย์ทแี่ ท้จริง ท�ำให้ผทู้ ำ� ละเมิดหรือลูกหนีย้ งั ไม่หลุดพ้นจากความรับผิดนัน่ เอง45 แม้


กระนั้นได้ปรากฏค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับหลักการดังกล่าว ตามความในค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่
5515/2538 ซึง่ ศาลฎีกาได้วางบรรทัดฐานไว้วา่ “เมือ่ ผูค้ รองทรัพย์มสี ทิ ธิทจี่ ะรับช�ำระหนีค้ า่ สินไหมทดแทน
แล้ว การท�ำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจ�ำเลยกับผูค้ รองทรัพย์ ย่อมมีผลใช้บงั คับกันได้ ผลแห่ง
สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมท�ำให้สทิ ธิเรียกร้องซึง่ แต่ละฝ่ายได้สละแล้วนัน้ ระงับสิน้ ไปตาม ป.พ.พ.

.
มาตรา 852 โจทก์จงึ ไม่อยูใ่ นฐานะทีจ่ ะรับช่วงสิทธิได้” ซึง่ นักกฎหมายส่วนใหญ่เห็นว่าผลของค�ำพิพากษา
ศาลฎีกาฉบับนี้น่าจะไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายละเมิดเท่าใดนัก46 เพราะโดยหลักแล้วผู้เป็นเจ้าของควร
สธ สธ
ได้รับการชดใช้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจนครบ แม้ว่า ป.พ.พ. มาตรา 441 จะคุ้มครองผู้ท�ำละเมิด

มส . มส
หรือลูกหนี้ที่ได้ช�ำระหนี้โดยสุจริตแล้วก็ตาม แต่ตัวลูกหนี้เองก็จักต้องพึงระวังในการช�ำระหนี้เหมือนกัน
เพราะการช�ำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องย่อมไม่ท�ำให้หนี้ระงับ และการที่บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 441 ใช้ค�ำ
ว่า “สุจริต” นี้ไม่ได้หมายถึงการตกลงยินยอมกันหรือการลดหย่อนความรับผิดแต่อย่างใด ซึ่งข้อตกลง
เช่นนัน้ ย่อมไม่นา่ จะผูกพันเจ้าของทรัพย์ผซู้ งึ่ เป็นผูเ้ สียหายทีแ่ ท้จริง ดังนีแ้ ล้วในกรณีทเี่ ชือ่ โดยสุจริตว่าตน
ท�ำละเมิดต่อผู้ครองทรัพย์อันมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว กฎหมายย่อมคุ้มครองโดยถือว่า

ผูท้ ำ� ละเมิดหลุดพ้นจากความรับผิด แต่เจ้าของอาจเรียกร้องได้เสมอ ถ้ามีการประนีประนอมยอมความอ่อน
ข้อให้แก่กัน หรือเกิดจากการกระท�ำที่ไม่สุจริต47
1.1.3 ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 439 และมาตรา 441
อันได้แก่ ข้อสังเกตเกีย่ วกับลักษณะของการกระท�ำอันเป็นละเมิดประการหนึง่ และประเภทของ “สังหาริม-
ธ.

ทรัพย์” อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ละเมิด อีกประการหนึ่ง


1) ลักษณะการกระท�ำอันเป็นละเมิด ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.
มาตรา 439 ใช้เฉพาะกับกรณีละเมิดอันเนือ่ งจาก “เอาสังหาริมทรัพย์ของผูอ้ นื่ ไป” เท่านัน้ 48 อันท�ำให้เกิด
หน้าที่ที่จะต้องคืนทรัพย์กัน ในความเป็นจริงเมื่อได้เอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ตัวทรัพย์ดังกล่าวอาจเกิดการ
สูญหายหรือบุบสลายซึง่ ก็จะเข้าเงือ่ นไขของการปรับใช้บทบัญญัตมิ าตรานี้ แต่ถา้ เป็นการกระท�ำด้วยวิธอี นื่
ต่อทรัพย์ ที่มิใช่การเอาทรัพย์ไป เช่น การท�ำให้แตกหักหรือเสียหายด้วยวิธีการต่างๆ การท�ำลายหรือ
.ม
ท�ำให้สูญหายไปตั้งแต่เริ่มแรกโดยไม่มีการเอาทรัพย์ไปแต่อย่างใด ก็จะไม่เข้าเงื่อนไขของหลักการเฉพาะ
ในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนตามความในมาตรานี้ ฉะนั้นแล้วในกรณีหลังจึงต้องกลับไปพิจารณาตาม
หลักทัว่ ไปว่าด้วยการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิด ซึง่ โดยมากก็มกั จะเป็นการชดใช้กนั ในลักษณะ
ค่าเสียหายที่เป็นตัวเงินอย่างธรรมดานั่นเอง49 ในทางตรงกันข้ามความใน ป.พ.พ. มาตรา 441 บัญญัติไว้
อย่างชัดเจนถึงลักษณะของการกระท�ำอันเป็นละเมิดว่าไม่เพียงแต่เฉพาะการเอาสังหาริมทรัพย์ของเขาไป
เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการท�ำของเขาให้บุบสลายอีกด้วย นั่นหมายความว่าการกระท�ำซึ่งถือว่าเป็นละเมิดที่
45
เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 421-422 และสุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 234.
46
เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. และสุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน.
47
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 235.
48
โปรดดูรายละเอียดในบทน�ำของหัวข้อ ก. ความรับผิดของผู้ท�ำละเมิดในกรณีไม่อาจคืนทรัพย์กันได้โดยอุบัติเหตุ
49
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 168.
สธ ส
4-34 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

จะเข้าเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 441 นั้น อาจมีการเอาทรัพย์ของเขาไปแล้วจึงเกิดความ


เสียหายในทรัพย์นั้นอันท�ำให้เกิดหนี้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่กัน หรือละเมิดอาจกระท�ำต่อตัว
ทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่มีการเอาทรัพย์ของเขาไปเลยก็ได้
อุทาหรณ์ที่ 1 นายแดงขโมยรถยนต์ของนายด�ำไป แล้วรถยนต์เกิดความเสียหายขึ้น
ก็จะเข้าเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 439

. อุทาหรณ์ที่ 2 นายแดงทุบรถยนต์ของนายด�ำ โดยไม่มีการขโมยไปแต่อย่างใด ก็จะ


ไม่เข้าเงื่อนไขของการปรับใช้บทบัญญัติมาตรา 439 จะต้องกลับไปใช้หลักทั่วไปตามมาตรา 438
สธ สธ
อุทาหรณ์ที่ 3 ข้อเท็จจริงจากทั้งตัวอย่างที่ 1 ที่นายแดงขโมยรถยนต์ของนายด�ำไป

มส . มส
ก่อนแล้วจึงเกิดความเสียหาย และตัวอย่างที่ 2 ที่ความเสียหายเกิดขึ้นอันเป็นผลจากการกระท�ำของ
นายแดงโดยที่นายแดงไม่ได้ขโมยรถยนต์ไปจากนายด�ำ ล้วนแต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 441 ทั้งสิ้น
2) ประเภทของ “สังหาริมทรัพย์” อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ละเมิด กล่าวคือ ป.พ.พ. มาตรา
441 มีการบัญญัตไิ ว้อย่างชัดเจนว่าเป็นบทบัญญัตเิ กีย่ วด้วยการชดใช้คา่ สินไหมทดแทนเพือ่ ความเสียหาย
อันเกิดจากการเอาไปหรือท�ำให้บบุ สลายซึง่ สังหาริมทรัพย์ของผูอ้ นื่ ส่วน ป.พ.พ. มาตรา 439 นัน้ จากการ

ตีความต้นร่างภาษาอังกฤษของกรมร่างกฎหมายประกอบความเห็นของนักกฎหมาย50 ดังที่ได้กล่าวมา
แล้วในส่วนบทน�ำว่าเป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่สังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตามจุดมุ่งหมายของบทบัญญัติทั้ง 2
มาตรานี้มีความต่างกัน กล่าวคือ ป.พ.พ. มาตรา 439 มุ่งที่จะคุ้มครองผู้เสียหายจากละเมิดให้ได้รับการ
ชดใช้เยียวยา และให้เป็นไปตามหลักที่ว่าผู้ท�ำละเมิดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันท�ำละเมิดตามความใน
ป.พ.พ. มาตรา 206 ซึง่ จะต้องรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ แม้วา่ ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ จะเป็นอุบตั เิ หตุ
ธ.

ที่เกิดขึ้นโดยลูกหนี้ไม่จงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะให้เกิดขึ้นก็ตาม แต่ความใน ป.พ.พ. มาตรา 441


เป็นการคุ้มครองผู้กระท�ำละเมิดที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแก่ผู้ครองสังหาริมทรัพย์ไปโดยสุจริตแล้ว ให้
หลุดพ้นจากความรับผิดต่อผูเ้ ป็นเจ้าของตัวทรัพย์ทแี่ ท้จริงซึง่ ท�ำให้เป็นทีเ่ ข้าใจได้วา่ บทบัญญัตใิ นมาตรานี้
ได้เขียนไว้เป็นบทยกเว้นจากหลักทัว่ ไปทีว่ า่ การช�ำระหนีจ้ ะต้องกระท�ำต่อตัวเจ้าหนีห้ รือผูม้ อี ำ� นาจรับช�ำระ
หนีแ้ ทนเท่านัน้ ทัง้ นีก้ ด็ ว้ ยข้อสันนิษฐานของกฎหมายลักษณะทรัพย์วา่ สังหาริมทรัพย์นนั้ อยูใ่ นความครอบ
.ม
ครองของผู้ใดผู้นั้นย่อมเป็นเจ้าของ แต่ “สังหาริมทรัพย์” เองก็ถูกแบ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ทั่วไป และ
สังหาริมทรัพย์พิเศษที่มีทะเบียน และสังหาริมทรัพย์พิเศษนี้ผู้ใดเป็นเจ้าของย่อมสามารถตรวจดูชื่อทาง
ทะเบียนได้ ดังนี้แล้วบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 441 จึงน่าจะบังคับใช้แต่เฉพาะสังหาริมทรัพย์ทั่วไป
ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ความครอบครอง” เท่านั้น ไม่รวมสังหาริมทรัพย์พิเศษที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ
“หลักฐานทางทะเบียน”51
1.2 การเรียกดอกเบี้ยในจ�ำนวนเงินที่ต้องใช้กันเพื่อราคาทรัพย์ ละเมิดต่อทรัพย์ โดยหลักแล้ว
ผู้กระท�ำละเมิดจะต้องคืนทรัพย์ให้แก่เจ้าของทรัพย์ แต่กรณีที่ไม่อาจคืนกันได้หรือคืนได้เพียงบางส่วนก็
เกิดเป็นหนีท้ จี่ ะต้องชดใช้ราคาต่อกัน ส่วนจะใช้ราคากันเพียงใดนัน้ ก็ขนึ้ อยูก่ บั ตัวทรัพย์ทยี่ งั เหลืออยู่ กล่าว
คือ ไม่วา่ จะมีการเอาหรือไม่ได้เอาทรัพย์เขาไปก็ตาม แต่ปรากฏว่ามีการกระท�ำอันท�ำให้ทรัพย์นนั้ สูญหาย
50
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 168.
51
ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 307.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-35

หรือถูกท�ำลายไปหรือพ้นวิสัยที่จะคืนกันได้ก็ต้องใช้ราคากันทั้งหมด แต่หากทรัพย์นั้นยังคงเหลืออยู่เพียง


แต่บุบสลายหรือไม่อยู่ในสภาพเดิม อันท�ำให้ราคาของทรัพย์นั้นลดน้อยถอยลงก็จะต้องมีการคืนทรัพย์ที่
เหลืออยูพ่ ร้อมกับการคืนเป็นราคาในบางส่วน และเมือ่ การชดใช้คา่ สินไหมทดแทนมีการคืนเป็นราคาทรัพย์
ในรูปของตัวเงินทั้งหมดหรือบางส่วนดังกล่าวแล้ว กฎหมายจึงก�ำหนดให้ผู้ท�ำละเมิดต้องใช้ดอกเบี้ยในหนี้
เงินนั้นด้วย

. ในเรื่องการเรียกดอกเบี้ยนี้มีข้อที่ควรพิจารณา 2 ประการด้วยกัน คือ หลักทั่วไปในการค�ำนวณ


ราคาทรัพย์อันเป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยและอัตราดอกเบี้ยที่พึงเรียกกันได้ ประการหนึ่ง และบทบัญญัติ
สธ สธ
เฉพาะตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 440 ว่าด้วยการเรียกดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ที่ถูกละเมิด โดยใช้เวลา

มส . มส
อันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคาเป็นเกณฑ์ในการค�ำนวณ อีกประการหนึ่ง
1.2.1 หลั ก ทั่ ว ไปในการค� ำ นวณราคาทรั พ ย์ อั น เป็ น ฐานในการคิ ด ดอกเบี้ ย และอั ต รา
ดอกเบี้ยที่จะเรียกกันได้ เมื่อมีการท�ำละเมิดอันท�ำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์ และจะต้องมีการใช้ราคา
ทรัพย์กันด้วยเหตุที่ไม่อาจคืนตัวทรัพย์ได้บางส่วนหรือทั้งหมดนั้น ค�ำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ราคาทรัพย์ที่จะ
ต้องใช้กันนั้นพึงต้องค�ำนวณกันในเวลาใด ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ก็มิได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

ในบทกฎหมายลักษณะละเมิดแต่อย่างใด แต่หากพิเคราะห์จากหลักทัว่ ไปตามกฎหมายลักษณะหนี้ ป.พ.พ.
มาตรา 206 แล้วก็จะต้องถือว่าผู้ท�ำละเมิด (ลูกหนี้) ผิดนัดมานับแต่วันท�ำละเมิด อันท�ำให้ลูกหนี้มีหน้าที่
ต้องช�ำระหนีน้ บั แต่วนั นัน้ กล่าวคือ ในกรณีทมี่ กี ารเอาทรัพย์ไปก็จะต้องถือเอาราคาทรัพย์ในวันทีม่ กี ารเอา
ทรัพย์นนั้ ไปเป็นฐานในการค�ำนวณราคาทรัพย์ทตี่ อ้ งใช้กนั แม้วา่ ทรัพย์นนั้ จะถูกท�ำให้บบุ สลาย ถูกท�ำลาย
หรือสูญหายในภายหลังก็ตาม แต่กรณีที่ไม่มีการเอาทรัพย์ไปก็ต้องถือเอาวันที่ลูกหนี้ท�ำให้ทรัพย์นั้น
ธ.

บุบสลาย ถูกท�ำลายหรือสูญหายนัน่ เอง52 ในการนีฝ้ า่ ยโจทก์เองก็อาจเรียกดอกเบีย้ ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา


224 กล่าวคือ นับแต่วนั ท�ำละเมิดซึง่ ถือว่าเป็นวันทีม่ กี ารผิดนัด ในอัตราร้อยละห้าต่อปี ซึง่ ในอันทีจ่ ริงแล้ว
ก็หลักการค�ำนวณราคาทรัพย์ที่ต้องใช้กันและดอกเบี้ยนี้ ก็คือหลักการทั่วไปในการก�ำหนดค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อละเมิดนั่นเอง53
1.2.2 หลักเฉพาะว่าด้วยการเรียกดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ที่ถูกละเมิด โดยใช้ราคาในเวลา
.ม
อันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคาเป็นเกณฑ์ ส�ำหรับกรณีที่ต้องมีการใช้ราคาทรัพย์กันเพราะได้เอา
ของผูอ้ นื่ ไป หรือเพราะท�ำให้ทรัพย์นนั้ บุบสลายเสือ่ มค่าลง ได้มบี ทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 440 มาก�ำหนด
วิธเี ฉพาะเพือ่ การคิดดอกเบีย้ ในราคาทรัพย์ทตี่ อ้ งใช้ตอ่ กันไว้ ดังความว่า “ในกรณีที่ต้องใช้ราคาทรัพย์อัน
ได้เอาของเขาไปก็ดี ในกรณีที่ต้องใช้ราคาทรัพย์อันลดน้อยลงเพราะบุบสลายก็ดี ฝ่ายผู้ต้องเสียหายจะ
เรียกดอกเบี้ยในจ�ำนวนเงินที่จะต้องใช้คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นก็ได้” ซึง่
บทบัญญัตมิ าตรานีต้ รงกับความใน ป.พ.พ. มาตรา 225 “ถ้าลูกหนี้จ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคา
วัตถุอันได้เสื่อมเสียไปในระหว่างผิดนัดก็ดี หรือวัตถุอันไม่อาจส่งมอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
52
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 2 (ภาคจบบริบูรณ์) แก้ไขเพิ่ม
เติม. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ. 2505. หน้า 510.
53
โปรดศึกษาหัวข้อ “หลักเกณฑ์ในการค�ำนวณค่าเสียหาย” ในเรือ่ งที่ 4.1.2 หลักทัว่ ไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน
เพื่อละเมิด
สธ ส
4-36 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัดก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยในจ�ำนวนที่จะต้องใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน


คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นก็ได้ วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงการที่ลูก
หนีจ้ ำ� ต้องใช้คา่ สินไหมทดแทน เพือ่ การทีร่ าคาวัตถุตกต�ำ่ เพราะการทีว่ ตั ถุนนั้ เสือ่ มเสียลงในระหว่างเวลา
ที่ผิดนัดนั้นด้วย” อย่างไรก็ตาม จากถ้อยค�ำในตัวบทกฎหมาย อาจตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่า ลักษณะของ
การกระท�ำอันเป็นละเมิดที่จะเข้าเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 นั้น จ�ำกัดไว้เพียง 2 ประการด้วยกัน

.
คือ การเอาทรัพย์ของเขาไปประการหนึ่ง และการท�ำให้ทรัพย์บุบสลายอีกประการหนึ่ง แต่ถ้อยค�ำใน
ป.พ.พ. มาตรา 225 ที่ว่า “...วัตถุอันไม่อาจส่งมอบได้เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง...” น่าจะหมายความ
สธ สธ
ถึงการท�ำลายทรัพย์นั้นทั้งหมดด้วย ซึ่งเป็นลักษณะของการกระท�ำที่ไม่ได้มีการกล่าวกันไว้ในมาตรา 440

มส . มส
ดังนีแ้ ล้ว จึงเป็นข้อน่าคิดว่า ถ้ามีการท�ำให้ทรัพย์นนั้ เสียหายไปทัง้ หมด โดยไม่มกี ารเอาไป ก็นา่ จะไม่ตอ้ ง
ด้วยเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 440 อันเป็นผลให้กรณีดังกล่าวนี้ต้องกลับไปบังคับกันตามหลักทั่วไป
ว่าด้วยการค�ำนวณราคาทรัพย์และคิดดอกเบีย้ ระหว่างผิดนัดตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 206 ประกอบ
มาตรา 22454
จากบทบัญญัตดิ งั กล่าวเห็นได้วา่ กฎหมายให้ใช้ราคาทีเ่ ป็นอยูใ่ น “เวลาอันเป็นฐานทีต่ งั้ แห่ง

การประมาณราคา” เป็นฐานในการค�ำนวณดอกเบี้ยที่จะต้องใช้แก่กันในกรณีที่ละเมิดนั้นท�ำให้เกิดความ
เสียหายต่อทรัพย์ จึงเกิดการตั้งค�ำถามว่าแล้วเวลาใดคือเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคา ซึ่ง
เมือ่ บทกฎหมายไม่บญ ั ญัตไิ ว้อย่างชัดเจน จึงมีความเห็นทีห่ ลากหลายของนักกฎหมาย โดยอาจสรุปความ
ได้ดังนี้ 55
1) นับแต่วนั ทีม่ กี ารท�ำละเมิด56 ซึง่ ตามหลักกฎหมายลักษณะหนีถ้ อื ว่าเป็นเวลาทีม่ กี าร
ธ.

ผิดนัดกัน (มาตรา 206) และเมื่อเกิดการผิดนัดกันขึ้นแล้วลูกหนี้ต้องให้ดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดนั้น


ด้วย (มาตรา 224) ซึง่ ก็นา่ จะหมายถึงเวลาอันเป็นฐานทีต่ งั้ แห่งการประมาณราคานัน่ เอง อย่างไรก็ดี ความ
เห็นในข้อนี้อาจมีข้อท้วงติงได้ว่า ถ้าผู้ร่างกฎหมายประสงค์จะให้เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณ
ราคา คือ เวลาทีม่ กี ารผิดนัดหรือวันทีม่ กี ารท�ำละเมิดกันแล้ว เหตุใดถ้อยค�ำในตัวบทกฎหมายจึงไม่บญ ั ญัติ
ให้มีความชัดเจนดังเช่นความในมาตรา 224 57
.ม
2) นับแต่วันที่ทรัพย์เสียหายหรือบุบสลาย58 ด้วยเหตุผลที่ว่าในวันที่เอาทรัพย์ไป อัน
เป็นการท�ำละเมิดนั้น ตัวทรัพย์ยังคงอยู่ ถ้าหากมีการเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกันในวันดังกล่าว ก็
จะต้องคืนตัวทรัพย์กัน จะเรียกเป็นราคาทรัพย์แทนกันไม่ได้ การคิดดอกเบี้ยจึงยังไม่เกิดขึ้น แต่เมื่อใด
54
โปรดศึกษาเพิ่มเติม ความเห็นท้าย ฎ. 1550/2518 ใน สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 229.
55
ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 302–304 และสุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า
228-233.
56
ไพจิตร ปุญญพันธ์ุ. “ดอกเบี้ยในมูลละเมิด”. วารสารนิติศาสตร์, เล่มที่ 2 ตอน 4 (มีนาคม 2514) หน้า 82–95.
อ้างใน ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 302.
57
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 176.
58
เทพวิทุร, พระยา. ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-2 พ.ศ. 2576–2578 เนติบัณฑิตยสภา.
2502. หน้า 824–825 อ้างใน สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 230, ศักดิ์ สนองชาติ. ค�ำอธิบายโดยย่อประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ว่าด้วยละเมิดและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ. 2556.
หน้า 185 อ้างใน และศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 304.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-37

ตัวทรัพย์ถกู ท�ำให้เสียหายหรือบุบสลายไป หนีท้ ผี่ ทู้ ำ� ละเมิดจะต้องใช้ราคาทรัพย์แทนการคืนทรัพย์ในส่วน


ที่เสียหายหรือบุบสลายไปนั้นจึงเกิดขึ้น อันเป็นผลให้เกิดสิทธิในการเรียกดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ตามมา
ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุผลอธิบายได้ว่าเวลาดังกล่าวเป็นเวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั่นเอง
3) นับแต่วันฟ้องร้องด�ำเนินคดีเรียกค่าเสียหาย59 โดยให้เหตุผลว่า แม้หนี้ที่จ�ำเลยจะ
ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์เกิดขึ้นนับแต่วันที่มีการท�ำละเมิดกันก็ตาม แต่โจทก์เองเพิ่งจะใช้สิทธิเรียกร้องในวัน

.
ที่มีการฟ้องคดี เท่ากับว่าโจทก์เลือกที่จะใช้สิทธิบังคับให้ลูกหนี้ชดใช้นับแต่วันนั้น
4) นับแต่เวลาที่ทรัพย์นั้นมีราคาสูงที่สุด เพราะเป็นวันที่ผู้เสียหายอาจได้รับประโยชน์
สธ สธ
มากที่สุด และเมื่อทรัพย์ราคาสูงที่สุดแล้ว การคิดดอกเบี้ยจากราคาทรัพย์นั้นย่อมท�ำให้ผู้เสียหายได้

มส . มส
ประโยชน์สงู ตามไปด้วย หากทรัพย์ของเขาไม่ถกู ผูก้ ระท�ำละเมิดเอาไป เขาย่อมมีโอกาสทีจ่ ะขายทรัพย์นนั้
ในราคาทีส่ งู ได้นนั่ เอง แต่ความเห็นข้อนีก้ อ็ าจมีการท้วงติงได้วา่ แล้วจะรูไ้ ด้อย่างไรว่าทรัพย์มรี าคาสูงทีส่ ดุ
ในวันใด ถึงแม้จะรู้ราคาที่สูงที่สุดแต่ก็ใช่ว่าผู้เสียหายจะขายทรัพย์ในวันนั้น
5) ในเวลาใดก็ได้นับแต่เวลาที่มีการท�ำละเมิด (เวลาที่ได้เอาทรัพย์ไป) จนถึงเวลาที่ทำ� ให้
ตัวทรัพย์นั้นบุบสลายหรือสูญหาย60 จากถ้อยค�ำ “ก็ได้” ใน ป.พ.พ. มาตรา 440 ท�ำให้อาจเข้าใจได้ว่า

ผู้ร่างกฎหมายเองประสงค์ให้เป็นทางเลือกของเจ้าหนี้ที่จะเรียกเอาประโยชน์สูงสุดให้กับตนในระหว่างที่
เกิดสิทธิเรียกร้องให้ช�ำระหนี้ กล่าวคือ เมื่อสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ลูกหนี้เอา
ทรัพย์นั้นไปโดยละเมิด เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคาก็น่าจะเริ่มนับแต่ช่วงนั้น จนกระทั่ง
ทรัพย์นนั้ ถูกท�ำให้เสียหายหรือบุบสลายลงเพราะหลังจากเวลาดังกล่าวแล้วฐานในการคิดดอกเบีย้ (ทรัพย์
ธ.

ที่จะใช้มาประมาณราคากัน) ย่อมไม่มีอยู่อีกต่อไป ส่วนที่ว่าจะเป็นวันใดนั้น เจ้าหนี้น่าจะเป็นผู้มีสิทธิใน


การเลือกเพราะถ้าเป็นวันที่ใกล้กับวันที่มีการเอาทรัพย์ไปมากเท่าใด ระยะเวลาในการค�ำนวณดอกเบี้ยก็
จะยาวขึน้ แต่ถา้ ราคาทรัพย์นนั้ สูงขึน้ ในเวลาต่อมาซึง่ อาจเป็นเวลาทีใ่ กล้กบั วันทีม่ กี ารฟ้องร้องกันแต่อย่าง
ช้าทีส่ ดุ ในเวลาทีท่ รัพย์นนั้ ถูกท�ำให้บบุ สลายลง แล้วเจ้าหนีเ้ ลือกเอาวันนัน้ เป็นฐานทีต่ งั้ แห่งการกะประมาณ
ราคาก็อาจท�ำได้ แต่ระยะเวลาในการค�ำนวณดอกเบีย้ ก็จะน้อยลงตามส่วนนัน่ เอง อย่างไรก็ตาม หากปรากฏ
ว่าราคาทรัพย์นนั้ มีการเพิม่ ขึน้ สูงอีกหลังจากเวลาทีท่ รัพย์ได้ถกู ท�ำให้เสียหายหรือบุบสลายไปแล้ว แต่เกิด
.ม
ขึ้นก่อนการฟ้องร้องบังคับคดี และเจ้าหนี้ประสงค์จะใช้ราคาทรัพย์ที่สูงสุดในเวลานั้นเป็นฐานที่ตั้งแห่งการ
กะประมาณราคาเพือ่ คิดดอกเบีย้ ในราคาทรัพย์กอ็ าจท�ำได้ แต่ตอ้ งอาศัยหลักทัว่ ไปในบทบัญญัตกิ ฎหมาย
ลักษณะหนี้ มาตรา 22261 กล่าวคือ เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าลูกหนี้ผู้ท�ำละเมิดอาจคาดหมายได้ถึงความ
เสียหายที่เกิดจากการเอาทรัพย์ไปโดยละเมิด และไม่อาจคืนทรัพย์ได้อันเป็นผลให้เจ้าหนี้ต้องสูญเสีย
ประโยชน์จากทรัพย์นั้นถึงขนาดที่เจ้าหนี้เรียกร้อง62
59
ศักดิ์ สนองชาติ. เรือ่ งเดียวกัน. อ้างใน ศนันท์กรณ์. (จ�ำปี) โสตถิพนั ธุ.์ เรือ่ งเดียวกัน. หน้า 303 และจรัญ ภักดีธนากุล
“ดอกเบี้ยในมูลละเมิด”. วารสารนิติศาสตร์, เล่ม 1 ปี 1. หน้า 55–63.
60
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช. เรื่องเดียวกัน. หน้า 745–751. และไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 178–181.
61
มาตรา 222 “การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่การเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิด
ขึ้นแต่การไม่ช�ำระหนี้น้ัน เจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กระทั่งเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษหากว่าคู่กรณี
ที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว”
62
จิตติ ติงศภัทิย์ ปรับปรุงโดย เขมภูมิ ภูมิถาวร, ชวิน อุ่นภัทร และอ�ำนาจ ตั้งคีรีพิมาน. เรื่องเดียวกัน. หน้า 252.
สธ ส
4-38 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

โดยสรุปแล้ว เมื่อยังไม่มีความแน่ชัดของบทบัญญัติกฎหมาย ตลอดจนแนวคิดและ


แนวบรรทัดฐานค�ำพิพากษาฎีกาก็ยังมีหลากหลายแตกต่างกันออกไป ความที่ว่า “เวลาอันเป็นฐานที่ตั้ง
แห่งการประมาณราคา” จึงน่าจะเป็นการกะประมาณราคาทรัพย์ที่บุบสลาย ถูกท�ำลายหรือสูญหายไปใน
ช่วงเวลาทีไ่ ด้เกิดละเมิดขึน้ เพือ่ เป็นฐานในการค�ำนวณดอกเบีย้ ในราคาทรัพย์อนั ถือเป็นส่วนหนึง่ ของการ
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดที่ทำ� ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์ ส่วนจะเป็นเวลาใด ราคาเท่าใดนั้น

.
ก็ย่อมเป็นสิทธิที่เจ้าหนี้จะเลือกใช้ ตลอดจนการชี้ขาดของศาลให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แต่เมือ่ คิดเอาราคาในเวลาใดแล้ว ต้องคิดดอกเบีย้ ในราคานัน้ ตัง้ แต่เวลานัน้ ในกรณีทรี่ าคาทรัพย์นนั้ มีการ
สธ สธ
ขึ้นลงไม่มากนัก เจ้าหนี้ก็อาจจะกลับไปใช้สิทธิตามหลักทั่วไปในการค�ำนวณราคาทรัพย์ กล่าวคือ ถือว่า

มส . มส
ผิดนัดนับแต่วันท�ำละเมิด (มาตรา 206) และใช้สิทธิเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามความใน ป.พ.พ.
มาตรา 224 ก็ได้63 อันท�ำให้เข้าใจได้ว่าความในมาตรา 440 เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ผู้ต้อง
เสียหายจากละเมิดนั่นเอง อย่างไรก็ดี อาจตั้งเป็นข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ในการฟ้องคดีละเมิดนั้น ส่วนมาก
โจทก์มกั จะมิได้คำ� นึงถึงการเรียกเอาราคาทรัพย์และดอกเบีย้ ตามสิทธิทกี่ ฎหมายบัญญัตไิ ว้ทกุ ประการ แต่
จะเรียกรวมๆ มาเท่าที่พอจะเห็นว่าคุ้มกับความเสียหายของตน64

อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2518 ค่าเสียหายแก่รถยนต์ทถี่ กู ชนเกิดไฟไหม้เสียหาย
หมด คิดราคาในกรณีนี้ตั้งแต่เวลาอันเป็นสถานที่ตั้งแห่งการประมาณราคา คือเวลาท�ำละเมิด ไม่ใช่ราคา
รถในปัจจุบัน
นอกจากนีแ้ ล้ว สิง่ ทีค่ วรพึงค�ำนึงถึงอีกประการหนึง่ คือ บทบัญญัตแิ ห่ง ป.พ.พ. มาตรา
ธ.

440 นี้ เป็นการที่กฎหมายมุ่งจะให้มีการกะประมาณราคาทรัพย์ที่ถูกเอาไป หรือถูกท�ำให้บุบสลาย เพื่อ


เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ที่ต้องมีการชดใช้กันในสภาพความเป็นจริง เมื่อมีการกระท�ำอัน
เป็นละเมิดและท�ำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์ในครั้งหนึ่งๆ นั้นมิใช่ว่าผู้เสียหายหรือผู้ถูกละเมิดจะเกิด
ความเสียหายแต่เฉพาะในการทีต่ วั ทรัพย์ถกู เอาไป หรือถูกท�ำให้บบุ สลายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยงั มีความ
เสียหายอันเป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจากละเมิดนั้นตามมาอีกด้วย เช่น ความเสียหายเพราะขาดประโยชน์
จากการใช้ทรัพย์ ซึง่ การเรียกค่าเสียหายเพือ่ ชดเชยความเสียหายในกรณีหลังนีเ้ ป็นสิทธิทเี่ รียกร้องกันตาม
.ม
ความเสียหายทีไ่ ม่ได้มตี วั แปรมาจากการค�ำนวณราคาของตัวทรัพย์ทถี่ กู ละเมิด แต่เป็นผลสืบเนือ่ งมาจาก
การกระท�ำอันเป็นละเมิดท�ำให้ผู้ถูกละเมิดไม่มีตัวทรัพย์นั้นอยู่ จนเป็นเหตุให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น
นายแดงขโมยรถยนต์ของนายด�ำไป ในระหว่างที่รถยนต์ถูกขโมยไป นายด�ำต้องขึ้นแท็กซี่ไปท�ำงานแทน
ค่าแท็กซี่จึงเป็นค่าเสียหายเพราะขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ เช่นนี้แล้วการค�ำนวณค่าเสียหายในค่า
แท็กซี่ก็จะต้องกลับไปใช้หลักการทั่วไป (มาตรา 438) คือต้องค�ำนวณนับแต่วันที่มีการเอาทรัพย์นั้นไป
หรือวันที่มีการท�ำละเมิดเกิดขึ้น ส่วนดอกเบี้ยในเสียหายจ�ำพวกนี้ก็อาจเรียกได้กันตามหลักกฎหมาย
ลักษณะหนี้ว่าด้วยการเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 224 นั่นเอง

63
ไพจิตรปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 179.
64
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 232.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-39

2. การก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดต่ออนามัย เสรีภาพ เนื้อตัวร่างกายและชีวิต


บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 443–446 ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติที่กล่าวถึงวิธีการเฉพาะในการ
ก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันท�ำให้เกิดความเสียหายต่ออนามัย เสรีภาพ เนื้อตัวร่างกาย
และชีวติ ไว้ ส�ำหรับข้อพิจารณาทีเ่ ป็นจุดเด่นของบทบัญญัตใิ นกลุม่ นีก้ ค็ อื การทีก่ ฎหมายก�ำหนดค่าสินไหม
ทดแทนไว้ส�ำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตัวผู้ถูกกระท�ำละเมิด ประการหนึ่ง และหากว่าละเมิดนั้นส่งผล

.
กระทบต่อบุคคลอื่น ด้วยเหตุแห่งความสัมพันธ์บางประการ บุคคลนั้นก็ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน
ได้อีกส่วนหนึ่งด้วย
สธ สธ
2.1 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อบุคคลผู้ถูกท�ำละเมิด ด้วยลักษณะและสภาพของความเสียหายทีเ่ กิด

มส . มส
ขึ้นไม่ว่าจะเกิดแก่อนามัย เสรีภาพ ร่างกาย หรือชีวิตของผู้ถูกกระท�ำละเมิดก็ตาม การเยียวยาด้วยวิธี
เฉพาะเจาะจงนั้นไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นแล้วการใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้จึงมักจะอยู่ในรูปของ
ค่าสินไหมทีค่ ำ� นวณเป็นตัวเงินหรือทีเ่ รียกว่าค่าเสียหายนั่นเอง อันได้แก่ (1) ค่าใช้จ่ายต่างๆ ทีต่ ้องเสียไป
เพือ่ การรักษาและการเยียวยา (2) ค่าขาดประโยชน์ทำ� มาหาได้ระหว่างเจ็บป่วย (3) ค่าเสียความสามารถ
ในการประกอบการงาน (4) ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็นอย่างอื่นๆ กรณีที่ผู้ถูกท�ำละเมิดถึงแก่

ความตาย (5) และค่าเสียหายทางจิตใจหรือค่าเสียหายอย่างอื่นที่ไม่เป็นตัวเงิน
2.1.1 ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องเสียไปเพื่อการรักษาและการเยียวยา ส�ำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ
ที่ผู้ถูกกระท�ำละเมิดต้องเสียไป จ�ำพวกค่ารักษาพยาบาล และค่าเยียวยานี้ บทบัญญัติกฎหมายได้จำ� แนก
เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ (1) ละเมิดต่อร่างกายและอนามัย และ (2) ละเมิดต่อชีวิตอันท�ำให้ผู้ถูกท�ำละเมิด
ธ.

ถึงแก่ความตาย แต่มิได้ตายในทันที
1) ละเมิดต่ออนามัยและร่างกาย ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณี
ท�ำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้น ผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป...”
ถ้อยค�ำทีว่ า่ “ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป” นัน้ เป็นค�ำทีค่ อ่ นข้างกว้าง และก็อาจเป็นทีเ่ ข้าใจกันได้วา่ ค่าใช้
จ่ายที่ผู้ถูกกระท�ำละเมิดต้องเสียไปเพราะเหตุแห่งการถูกประทุษร้ายนั้น โดยหลักก็น่าจะหมายถึง ค่าใช้
จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบ�ำบัด การรักษาพยาบาล ตลอดจนการฟื้นฟูสุขภาพอนามัยและร่างกายของ
.ม
ผู้ถูกกระท�ำละเมิดให้กลับคืนสภาพเดิมนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อกฎหมายมิได้จ�ำกัดวิธีการในการที่ผู้ถูก
กระท�ำละเมิดจะได้รบั การเยียวยารักษา จึงเท่ากับว่าผูถ้ กู กระท�ำละเมิดจะเลือกรับรักษาด้วยวิธกี ารแบบแผน
โบราณหรือแบบแผนปัจจุบันก็ได้65 อีกทั้งการรักษานั้นก็มิได้จ�ำกัดว่าจะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับ
รายได้หรือฐานานุรปู ของผูถ้ กู กระท�ำละเมิดหรือไม่66 เพียงแต่การรักษาและเยียวยาดังกล่าวจะต้องจ�ำเป็น
และสัมพันธ์กบั ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ อันเป็นผลจากละเมิดนัน้ ดังนัน้ แล้วผูถ้ กู กระท�ำละเมิดย่อมมีสทิ ธิใน
การเลือกสถานพยาบาลเพื่อท�ำการรักษาเยียวยาไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลของรัฐหรือของเอกชนก็ตาม
นอกจากนี้แล้ว เมื่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติเพียงสั้นๆ ว่า “ค่าใช้จ่ายอันตน
ต้องเสียไป” จึงเท่ากับว่ากฎหมายเปิดช่องให้ผู้ถูกกระท�ำละเมิดได้รับการเยียวยาในเรื่องอื่นได้อีกด้วย
65
เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 435–436.
66
ค�ำพิพากษาศาลฎีกา 2162/2532 “การวินจิ ฉัยถึงค่าใช้จา่ ยและค่าเสียหาย ไม่มกี ฎหมายบัญญัตวิ า่ จะต้องค�ำนึงถึงฐานะ
และรายได้ของผู้เสียหายด้วย”
สธ ส
4-40 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

หากการนัน้ เป็น “ความเสียหายซึง่ เป็นผลโดยตรงจากการกระท�ำละเมิด” ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ ให้ผถู้ กู กระท�ำละเมิด


อยู่ในสภาพเสมือนดังเดิมก่อนมีการท�ำละเมิดมากที่สุดนั่นเอง
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2513 โจทก์ได้รับอันตรายแก่กายสาหัสเพราะการกระ
ท�ำละเมิดของจ�ำเลยจนโจทก์เองไม่สามารถเลีย้ งดูบตุ รเล็กๆ ได้ตามปกติ ต้องจ้างคนใช้เลีย้ งให้ นับว่าเป็น

.
ความเสียหายซึง่ เป็นผลโดยตรงเกิดจากการกระท�ำของจ�ำเลย โจทก์มอี ำ� นาจฟ้องเรียกให้จำ� เลยชดใช้ให้ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2516 จ�ำเลยท�ำละเมิดต่อโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสต้อง
สธ สธ
ผ่าตัดถึง 3 ครั้ง และนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึง 2 เดือนเศษ เมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วยังเดิน

มส . มส
ไม่ได้เช่นนี้ ค่าจ้างนางพยาบาลเฝ้าไข้ ค่ายา ค่าจ้างรถแท็กซี่ที่ภรรยาไปเฝ้าเยี่ยมปรนนิบัติที่โรงพยาบาล
ค่าจ้างรถแท็กซี่นั่งไปท�ำงานเพราะยังเดินไม่ได้เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจ�ำเลยได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2527 ผูก้ ระท�ำละเมิดต้องใช้คา่ รักษาพยาบาล แม้จะเป็น
ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของเอกชนซึ่งแพงกว่าโรงพยาบาลของรัฐ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2538 บิดามารดาโจทก์เดินทางไปเฝ้าดูแลโจทก์ขณะที่

โจทก์พกั รักษาตัวอยูท่ โี่ รงพยาบาล เนือ่ งจากโจทก์ชว่ ยตัวเองไม่ได้ แพทย์ไม่ให้เคลือ่ นไหวเพราะหากหกล้ม
จะเป็นอัมพาต จ�ำเป็นต้องมีผดู้ แู ล ค่าเดินทางและค่าทีพ่ กั ทีบ่ ดิ ามารดาโจทก์ใช้จา่ ยไป จึงเป็นค่าใช้จา่ ยอัน
จ�ำเป็นในการรักษาพยาบาลโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541 บุตรผูเ้ ยาว์ถกู ท�ำละเมิดหน้าเสียโฉมต้องหยุดเรียน
ธ.

ไปนาน ต้องเสียค่าจ้างครูมาสอนพิเศษ และเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนเปียโนเพื่อฟื้นฟูจิตใจที่หน้าเสียโฉม


ผู้เสียหายเรียกได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2547 ค่าจ้างยานพาหนะทีน่ ำ� ผูเ้ สียหายจากการท�ำละเมิด
ที่ทุพพลภาพมารับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นค่าเสียหายที่เรียกได้
ในกรณีที่ผู้ถูกกระท�ำละเมิดได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิที่พึงมีตาม
กฎหมายไปแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิบุคคลดังกล่าวที่จะเรียกค่าเสียหายจากผู้ท�ำละเมิดอีก
.ม
อุทาหรณ์
กรณีที่ 1 ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนหรือกองทุน
ประกันสังคมตลอดจนสวัสดิการหรือการช่วยเหลืออื่นจากนายจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิที่ลูกจ้างพึงมีตาม
กฎหมายแรงงานและความสัมพันธ์ในการจ้างแรงงาน จึงไม่เป็นการตัดสิทธิที่ลูกจ้างผู้ถูกกระท�ำละเมิดที่
จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำ� ละเมิดอีก
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2527 แม้นายจ้างโจทก์จะออกเงินค่ารักษาพยาบาลให้
โจทก์ไปแล้ว จ�ำเลยผู้กระท�ำละเมิดต่อโจทก์ไม่พ้นความรับผิดชดใช้ค่ารักษาพยาบาลแต่อย่างใด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2546 เงินที่โจทก์ได้รับจากส�ำนักงานประกันสังคมเป็น
ค่าทดแทนที่โจทก์พึงมีสิทธิได้รับตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติเงินทดแทนฯ มาตรา 18
เป็นการจ่ายเงินเพื่อการคุ้มครองแรงงานไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด โจทก์จึงเรียกค่าใช้จ่ายอันตน
ต้องเสียไปเพราะเหตุแห่งละเมิดอีกได้
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-41

กรณีที่ 2 กรณีเงินสวัสดิการราชการที่จ่ายให้แก่คู่สมรส บุตร บิดามารดา ที่เป็นผู้ถูก


ละเมิด แม้ทางราชการจะจ่ายให้กบั บุคคลดังกล่าวไปแล้วก็ไม่ตดั สิทธิทผี่ ถู้ กู ละเมิดจะเรียกค่าสินไหมทดแทน
จากผู้ทำ� ละเมิดได้อีก
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2538 แม้บิดาโจทก์จะเบิกทางราชการและทางราชการ
ได้จ่ายไปแล้วก็ตาม โจทก์ยังคงมีสิทธิเรียกร้องเอาจากผู้ท�ำละเมิดได้

. อย่างไรก็ตามในกรณีของการประกันวินาศภัย เมื่อผู้ถูกท�ำละเมิดเป็นผู้ท�ำประกันไว้
และบริษทั ผูร้ บั ประกันภัยมีหน้าทีต่ ามสัญญาทีจ่ ะต้องช�ำระค่ารักษาพยาบาลให้กบั ผูท้ ำ� ประกันตามข้อสัญญา
สธ สธ
เช่นนี้แล้ว บริษัทผู้รับประกันภัยย่อมได้รับช่วงสิทธิตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 88067 ที่จะฟ้องเรียกค่า

มส . มส
รักษาพยาบาลจากผูท้ ำ� ละเมิดได้ จึงเท่ากับว่าผูถ้ กู กระท�ำละเมิดทีไ่ ด้รบั ค่ารักษาพยาบาลจากบริษทั ประกัน
ภัยไปแล้ว ไม่อาจจะเรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้จากผู้ท�ำละเมิดได้อีก แต่หากยังมีค่ารักษาพยาบาล
ที่ยังขาดอยู่หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกผู้ถูกกระท�ำละเมิดย่อมไม่เสียสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนใน
ส่วนที่ขาดหรือส่วนอื่นนี้ได้อีก
ข้อสังเกตประการสุดท้ายของมาตรา 444 ก็คือ ความในวรรคสอง บัญญัติว่า “ถ้าใน

เวลาที่พิพากษาคดี เป็นพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ว่าความเสียหายนั้นได้มีแท้จริงเพียงใด ศาลจะกล่าวใน
ค�ำพิพากษาว่ายังสงวนไว้ซงึ่ สิทธิทจี่ ะแก้ไขค�ำพิพากษานัน้ อีกภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีกไ็ ด้” ซึง่ ความ
ในวรรคนี้ถือว่ากฎหมายไทยยอมรับในค่าเสียหายในอนาคตอันเป็นผลเนื่องจากละเมิด กล่าวคือ ในเวลา
ที่มีการฟ้องร้องคดีกันอาจจะพ้นวิสัยที่จะรู้ว่าค่าเสียหายที่แน่นอนนั้นเป็นจ�ำนวนเท่าใด เพราะผู้ถูกกระท�ำ
ละเมิดยังอยูใ่ นระหว่างการรักษาฟืน้ ฟูสภาพร่างกายและอนามัย ซึง่ เวลาทีศ่ าลพิพากษาก็จะเขียนสงวนไว้
ธ.

ว่าความเจ็บป่วยในกรณีดังกล่าวนี้ ศาลสงวนไว้ที่จะแก้ไขค�ำพิพากษาได้ภายในระยะเวลา 2 ปี คือหลัง


จากนั้น 2 ปี ถ้าปรากฏว่า ผู้ถูกกระท�ำละเมิดต้องใช้จ่ายมากขึ้นเพราะผลแห่งละเมิด ก็สามารถมาร้องขอ
ต่อศาลเพื่อแก้ไขค�ำพิพากษาให้จ�ำเลยจ่ายเพิ่มได้ แต่ในทางปฏิบัติโจทก์มักจะขอเผื่อมาส�ำหรับค่ารักษา
ตัวในอนาคต โดยให้แพทย์ประมาณค่าใช้จ่าย ตลอดจนค่าศัลยกรรมที่อาจต้องมีหลังจากบาดแผลสดได้
หายดีแล้ว ซึ่งศาลเองก็มักจะพิพากษาให้ถ้าเห็นว่าเป็นจ�ำนวนเงินพอสมควร68 อย่างไรก็ตาม ความใน
.ม
วรรคสองนี้เป็นอ�ำนาจของผู้พิพากษาที่จะปรับเพิ่มและลดค่าเสียหายให้สอดคล้องกับความเสียหายที่แท้
จริงมากทีส่ ดุ จึงอาจคิดไปได้วา่ ถ้าการรักษาทีผ่ ถู้ กู กระท�ำละเมิดได้รบั นัน้ ช่วยให้ผถู้ กู กระท�ำละเมิดมีสภาพ
ร่างกายอนามัยที่ดีขึ้นจนความสามารถที่สูญเสียไปกลับมาเป็นปกติหรือเกือบปกติ ค่าเสียหายต่างๆ ที่ได้
เคยก�ำหนดกันไว้เพื่อการอนาคตก็อาจมีการปรับลดกันได้เช่นเดียวกัน69

67
ป.พ.พ. มาตรา 880 “ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระท�ำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันได้ใช้ค่า
สินไหมทดแทนไปเป็นจ�ำนวนเพียงใด ผูร้ บั ประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผูเ้ อาประกันภัย และของผูร้ บั ประโยชน์ซงึ่ มีตอ่ บุคคล
ภายนอกเพียงนั้น”
68
เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 437.
69
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 259.
สธ ส
4-42 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2495 ศาลสงวนสิทธิทจี่ ะแก้ไขค�ำพิพากษา ทัง้ ในทางเพิม่
หรือลดจ�ำนวนค่าเสียหายอีกไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันพิพากษาก็ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2537 ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต นับว่าเป็นค่าเสียหาย
โดยตรง ศาลคิดว่าค่าเสียหายดังกล่าวให้ได้แต่กรณีของโจทก์ที่ 2 เป็นการพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้ได้แน่ว่าจะมี

.
อาการแทรกซ้อน ท�ำให้โจทก์ที่ 2 ต้องผ่าตัดหรือไม่ และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพียงใด ศาลฎีกาเห็นสมควร
ก�ำหนดให้โจทก์ที่ 2 เรียกได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 6,000 บาท ตามค�ำขอของโจทก์ที่ 2 โดยสงวนสิทธิ
สธ สธ
ที่จะแก้ไขค�ำพิพากษาภายในก�ำหนดเวลาสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคสอง

มส . มส
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2547 ศาลก�ำหนดให้ทั้งค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปแล้ว
และค่าท�ำกายภาพบ�ำบัดอันเป็นค่ารักษาพยาบาลในอนาคตได้อีกด้วย
2) ละเมิ ด ต่ อ ชี วิ ต อั น ท� ำ ให้ ผู ้ ถู ก กระท� ำ ละเมิ ด ถึ ง แก่ ค วามตาย แต่ มิ ไ ด้ ต ายในทั น ที
บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 443 ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติที่ก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนที่จะเรียกแก่กัน
ได้เพื่อละเมิดอันท�ำให้เขาถึงตาย ซึ่งความในวรรคสองของมาตราดังกล่าวได้บัญญัติไว้ส�ำหรับกรณี “ถ้า

มิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล...” ซึ่งย่อมเป็นธรรมดาเมื่อผู้ใดถูกละเมิดจน
ท�ำให้ถึงแก่ความตาย ถ้าละเมิดนั้นมิได้ทำ� ให้ผู้ถูกท�ำละเมิดตายในทันที ก็ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ท�ำให้
ผู้ถูกละเมิดอาจต้องใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลก่อนถึงแก่ความตายก็ได้ ซึ่งจะท�ำให้เกิดเป็นค่าใช้จ่ายที่
เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทเมื่อผู้ถูกท�ำละเมิดถึงแก่ความตาย70 อย่างไรก็ตามอาจตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่า
ธ.

ค่าสินไหมทดแทนเพือ่ “การรักษาพยาบาล” นี้ มาตรา 443 วรรคสอง บัญญัตไิ ว้อย่างชัดแจ้งส�ำหรับกรณี


ที่ละเมิดนั้นท�ำให้ผู้ถูกท�ำละเมิดถึงแก่ความตาย แต่ในกรณีที่เป็นละเมิดแก่อนามัยและร่างกาย ความใน
มาตรา 444 วรรคหนึ่ง กลับบัญญัติไว้อย่างกว้างๆ ว่า “ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป” ซึ่งก็อาจแปลความ
ได้วา่ อาจรวมถึงค่าใช้จา่ ยเพือ่ การอืน่ ด้วยดังได้อธิบายมาแล้วในหัวข้อทีผ่ า่ นมา แต่สำ� หรับ ป.พ.พ. มาตรา
443 วรรคสอง นี้ ค�ำว่า “ค่ารักษาพยาบาล” ก็มนิ า่ จะจ�ำกัดแต่เพียงเฉพาะค่าใช้จา่ ยทีเ่ ป็นไปเพือ่ การรักษา
พยาบาลแต่เพียงอย่างเดียว เพราะแม้ถ้อยค�ำในตัวบทกฎหมายเองใช้คำ� ว่า “ได้แก่” อันอาจท�ำให้เข้าใจ
.ม
ได้วา่ ค่ารักษาพยาบาลอันเป็นค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดทีท่ ำ� ให้เขาถึงแก่ความตายแต่มไิ ด้ตายในทันที
นัน้ ย่อมจะต้องรวมค่าใช้จา่ ยอันเป็นบริบทแห่งการรักษาหรือเยียวยาผูถ้ กู กระท�ำละเมิดก่อนทีเ่ ขาจะถึงแก่
ความตายด้วย หากค่าใช้จ่ายนั้นเป็นผลโดยตรงจากละเมิด เช่น ค่าห้องพักในโรงพยาบาล ค่าป่วยการ
แพทย์ ค่าพาหนะไปพบแพทย์ตามนัดหรือเพื่อรับการรักษา ค่าจ้างนางพยาบาลพิเศษมาเฝ้าไข้ เป็นต้น
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2516 ค่าจ้างนางพยาบาลเฝ้าไข้ ค่ายา ค่ารถแท็กซี่ที่
ภรรยาไปเฝ้าเยีย่ มปรนนิบตั ผิ เู้ สียหายทีโ่ รงพยาบาล ค่าจ้างแท็กซีท่ ผี่ เู้ สียหายนัง่ ไปท�ำงานเพราะยังเดินไม่
ได้ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจ�ำเลยได้

70
ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 309.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-43

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2551 ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเป็นค่าเครื่องรับโทรทัศน์


และตู้เย็นในห้องพักผู้ป่วยเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อ�ำนวยความสะดวกอันจ�ำเป็นแก่ผู้ป่วยและคนเฝ้าไข้ ทั้ง
โรงพยาบาลได้จัดเตรียมไว้ให้ใช้ในห้องอยู่แล้ว ถือเป็นค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็น
2.1.2 ค่าขาดประโยชน์ท�ำมาหาได้ระหว่างเจ็บป่วย อันหมายความถึงค่าที่ตัวผู้ถูกกระท�ำ
ละเมิดเองต้องเสียหาย เพราะขาดประโยชน์จากการท�ำมาหาได้ในระหว่างเจ็บป่วย ซึ่งค่าเสียหายในส่วน

.
นี้บทกฎหมายได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนได้แก่ (1) ละเมิดต่อชีวิตที่ท�ำให้เขาถึงแก่ความตาย แต่มิได้ตาย
ในทันที (2) ละเมิดต่ออนามัยและร่างกาย ตัวผู้ถูกกระท�ำละเมิดเองก็อาจเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้ด้วย
สธ สธ
ในฐานะที่เป็น “ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป”

มส . มส
1) ละเมิดต่อชีวิตอันท�ำให้ผู้ถูกกระท�ำละเมิดถึงแก่ความตาย แต่มิได้ตายในทันที มาตรา
443 วรรคสอง นอกจากบัญญัตใิ ห้คา่ รักษาพยาบาลเป็นค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ละเมิดทีท่ ำ� ให้เขาถึงแก่ความ
ตาย แต่มไิ ด้ตายในทันทีแล้ว ยังบัญญัตใิ ห้ “...รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ท�ำมาหาได้เพราะไม่
สามารถประกอบการงานนั้นด้วย” ซึง่ ความในส่วนนีห้ มายถึง ค่าเสียหายในผลแห่งละเมิดทีท่ ำ� ให้ผถู้ กู ท�ำ
ละเมิดถึงแก่ความตาย แต่ก่อนที่เขาจะถึงแก่ความตายนั้น ในช่วงที่ผู้ถูกกระท�ำละเมิดต้องพักรักษาตัวก็

ท�ำให้เขาไม่อาจประกอบการงานได้ ย่อมท�ำให้ผู้ถูกกระท�ำละเมิดนั้นขาดรายได้ อันถือเป็นค่าเสียหายที่
ต้องขาดประโยชน์ทำ� มาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้จนกระทัง่ เขาตาย ซึง่ กฎหมายก็ให้สทิ ธิ
นีส้ ามารถตกทอดเป็นมรดกทีท่ ายาทจะเรียกให้ผ้ทู ำ� ละเมิดชดใช้ได้ดว้ ย อย่างไรก็ตามในประเด็นข้อนี้ตอ้ ง
แยกให้ออกจากกรณีท่ีถ้าผู้ถูกท�ำละเมิดได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว และความตายของเขาท�ำให้ผู้อื่นขาด
ประโยชน์จากการท�ำงานของผูถ้ กู ท�ำละเมิด (ผูต้ าย) จะไม่อยูใ่ นบังคับของมาตรานี้แต่อาจเข้าเงือ่ นไขของ
ธ.

ป.พ.พ. มาตรา 445 ดังจะกล่าวต่อไป


อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2550 ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำ� มาหาได้เพราะ
ไม่สามารถประกอบการงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คือ ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ละเมิดจ�ำต้องใช้แก่ผู้เสียหายที่ยังไม่ถึงตาย แต่ต้องขาดประโยชน์ท�ำมาหาได้
เพราะไม่สามารถประกอบการงานเท่านัน้ หาใช่คา่ สินไหมทดแทนทีผ่ ทู้ ำ� ละเมิดจ�ำต้องใช้หลังจากผูเ้ สียหาย
.ม
นั้นถึงแก่ความตายแล้วด้วยไม่
2) ละเมิดต่ออนามัยและร่างกาย ในกรณีละเมิดต่ออนามัยและร่างกาย แม้ว่า ป.พ.พ.
มาตรา 444 วรรคหนึ่งจะมิได้ระบุโดยชัดแจ้งเหมือนกับมาตรา 443 วรรคสอง ว่าผู้ถูกท�ำละเมิดชอบที่จะ
เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่ตนขาดประโยชน์ท�ำมาหาได้ในระหว่างที่รักษาตัวก็ตาม แต่จากถ้อยค�ำ
“ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป” ซึ่งมีความหมายค่อนข้างกว้างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นการที่ตัวผู้ถูกท�ำ
ละเมิดต้องขาดประโยชน์ทำ� มาหาได้ ในระหว่างทีเ่ ขาต้องพักรักษาตัวนัน้ ก็ถอื ได้วา่ เป็น “ค่าใช้จ่ายอันตน
(ผู้ถูกท�ำละเมิด) ต้องเสียไป” ด้วยนัน่ เอง อย่างไรก็ตามจะต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า ค่าสินไหมทดแทนต่างๆ
ที่กล่าวในหัวข้อนี้เป็นค่าเสียหายที่เกิดกับตัวผู้ถูกละเมิดเท่านั้น ถ้าเป็นค่าเสียหายแก่ผู้อื่นที่ต้องเสียเวลา
มาเฝ้าไข้ ดูแลผู้ถูกท�ำละเมิดจนท�ำให้เขาเหล่านั้นต้องขาดประโยชน์ทำ� มาหาได้ไป จะไม่อยู่ในบังคับแห่ง
ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่งนี้
สธ ส
4-44 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2540 ในกรณีทำ� ให้เขาเสียหายแก่รา่ งกายนัน้ ค่าสินไหม
ทดแทนได้แก่คา่ รักษาพยาบาล รวมทัง้ ค่าเสียหายทีต่ อ้ งขาดประโยชน์ทำ� มาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบ
การงานและค่าเสียหายเพื่อการที่ต้องเสียความสามารถในการประกอบการงานสิ้นเชิงหรือบางส่วน
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2548 ค่าขาดประโยชน์ที่มารดาของผู้เสียหายไม่ได้

.
ประกอบการงานในระหว่างเฝ้าดูแลรักษาผู้เสียหายนั้น มิใช่ค่าเสียหายที่ผู้เสียหายพึงเรียกร้องได้ในกรณี
ที่มีผู้ทำ� ละเมิดต่อตนเองตามมาตรา 444 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สธ สธ
2.1.3 ค่าเสียความสามารถในการประกอบการงาน ค่าเสียหายในส่วนนี้กฎหมายก�ำหนด

มส . มส
ให้แต่เฉพาะละเมิดต่ออนามัยและร่างกายเท่านั้น ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง “ในกรณี
ท�ำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยนั้น ผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้ชดใช้...ค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความ
สามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน ทั้งในเวลาปัจจุบันนั้นและในอนาคตด้วย” ซึ่งก็คือค่า
เสียหายเพื่อเยียวยาละเมิดต่ออนามัยหรือร่างกายที่ร้ายแรงจนท�ำให้ผู้ถูกท�ำละเมิดต้องเสียความสามารถ
ในการประกอบการงาน เช่น ถูกท�ำร้ายจนกลายเป็นอัมพาตซึ่งก็คือเสียความสามารถประกอบการงาน

สิ้นเชิง หรือต้องถูกตัดอวัยวะบางส่วนทิ้งไปอันเป็นผลให้ผู้ถูกท�ำละเมิดท�ำการงานไม่ได้อย่างปกติ หรือ
ท�ำงานได้น้อยลง กล่าวคือ ยังสามารถท�ำการงานได้อยู่แต่ไม่เหมือนเดิม หรือแม้กระทั่งการบาดเจ็บนั้น
ท�ำให้การท�ำงานไม่ก้าวหน้า อันอาจท�ำให้ผู้นั้นไม่ได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนต�ำแหน่ง71 ก็ถือว่าเสียความ
สามารถประกอบการงานบางส่วนเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การเสียความสามารถประกอบ “การงาน” นัน้ ไม่จำ� ต้องหมายถึงอาชีพประจ�ำ
ธ.

หรือวิชาชีพทีผ่ ถู้ กู ท�ำละเมิดท�ำเป็นปกติอย่างเดียว แต่ยอ่ มหมายความรวมถึงการงานใดๆ ก็ได้ซงึ่ ผูถ้ กู ท�ำ


ละเมิดอาจกระท�ำเพือ่ เลีย้ งชีพด้วย72 ทัง้ นีเ้ พราะว่าค่าเสียหายดังกล่าวย่อมหมายถึงทัง้ ค่าเสียหายในปัจจุบนั
กล่าวคือ การสูญเสียความสามารถนัน้ ต้องสัมพันธ์หรือเกีย่ วกับงานทีผ่ ถู้ กู ละเมิดกระท�ำอยูก่ อ่ นถูกท�ำละเมิด
ตลอดจนค่าเสียหายในอนาคต กล่าวคือ การสูญเสียความสามารถที่คนปกติทั่วไปจักต้องมีเพื่อใช้ในการ
ประกอบการงานใดๆ เพื่อเลี้ยงชีพ แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะยังมิได้ท�ำอยู่ในปัจจุบันก็ตาม แต่เพราะเหตุ
แห่งละเมิดจนท�ำให้ร่างกายเขาต้องสูญเสียความสามารถที่จะประกอบการงานในอนาคตไป ก็ย่อมถือว่า
.ม
เป็นค่าเสียหายที่ทำ� ให้ผู้ถูกละเมิดมีสิทธิที่จะเรียกได้เช่นกัน
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2509 การทีโ่ จทก์ตอ้ งถูกออกจากราชการก่อนถึงก�ำหนดเกษียณ
อายุ เพราะความสามารถประกอบการงาน ท�ำให้เสียอาชีพขาดประโยชน์ทำ� มาหาได้ตามปกติไป ต้องถือว่า
เป็นค่าเสียหายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้ละเมิดจ�ำต้องใช้ค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ท�ำมาหาได้นี้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2516 การที่โจทก์ต้องพิการไม่สามารถเดินได้อย่างคนธรรมดา
ท�ำให้เสียสมรรถภาพในการรับราชการทหาร ทั้งไม่สามารถท�ำงานหนักได้ถือได้ว่าโจทก์สูญเสียความ
สามารถประกอบการงานในภายหน้า
71
เพ็งเพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 440.
72
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-45

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2524 โจทก์ถกู ละเมิดเหลือไตข้างเดียว แม้จะยังท�ำงานได้ปกติ


แต่ประสิทธิภาพและอายุการท�ำงานของไตทีเ่ หลือข้างเดียวย่อมจะลดน้อยลง ศาลก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน
เป็นจ�ำนวนพอสมควรได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2535 การที่โจทก์ทั้งสองได้รับบาดเจ็บจากการท�ำละเมิด และ
โจทก์ทั้งสองเป็นจักษุแพทย์ไม่สามารถท�ำงานละเอียด เช่น การผ่าตัดประสาทหูชั้นในและเยื่อผังพืดใกล้

.
จอประสาทตาได้ ดังนัน้ โจทก์ทงั้ สองจึงมีสทิ ธิเรียกค่าเสียหายทีไ่ ม่สามารถประกอบการงานในปัจจุบนั และ
อนาคตได้
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2538 เด็กชาย ส. ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายถึงสมองฝ่อ

มส . มส
เป็นอัมพาตตลอดชีวติ พูดไม่ได้ยอ่ มจะต้องได้รบั การดูแลรักษาในสภาพทีป่ ว่ ยเจ็บจนกว่าจะถึงแก่ความตาย
ค่าดูแลรักษาทีจ่ ะต้องใช้จา่ ยต่อไปจึงมีลกั ษณะเป็นค่าใช้จา่ ยอันเนือ่ งมาจากการกระท�ำละเมิดให้เสียหายแก่
ร่างกายในอนาคตนัน่ เอง และเด็กชาย ส. ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานสิน้ เชิงทัง้ ในเวลาปัจจุบนั
และในอนาคต โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2547 การที่เด็กชาย ก. ต้องเป็นคนพิการไม่สามารถเดินและ

ขับถ่ายได้ตามปกติ ถือได้วา่ เด็กชาย ก ต้องสูญเสียความสามารถประกอบการงานในภายหน้าและท�ำลาย
ความก้าวหน้าไปตลอดชีวิต โดยความเสียหายที่ไม่สามารถประกอบการงานได้สิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบัน
และในอนาคต เมื่อผลแห่งละเมิดของจ�ำเลยที่ 1 ท�ำให้เด็กชาย ก. ต้องทุพพลภาพไปตลอดชีวิต โจทก์ทั้ง
สองจึงเรียกค่าเสียหายเพือ่ การทีเ่ สียความสามารถประกอบการงานได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึง่
ธ.

และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายอันเป็นที่มาของความทุกข์ทรมานทั้งร่างกาย
และจิตใจอย่างแสนสาหัสทีบ่ งั เกิดขึน้ กับเด็กชาย ก ในขณะทีม่ อี ายุเพียง 6 ปีเท่านัน้ โจทก์ทงั้ สองจึงมีสทิ ธิ
เรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงินได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ด้วย
นอกจากนีแ้ ล้ว การก�ำหนดค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานนี้ ศาลอาจจะสงวน
สิทธิไว้ในค�ำพิพากษา ทีจ่ ะแก้ไขได้อกี ภายใน 2 ปี ในกรณีทเี่ ป็นการพ้นวิสยั ทีศ่ าลจะหยัง่ รูใ้ นขณะพิพากษา
ได้แน่ว่าความเสียหายนั้นแท้จริงมีเพียงใด ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคสอง ดังที่ได้อธิบายมา
.ม
แล้วในส่วนที่ว่าด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ตนต้องเสียไป73
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2526 โจทก์จ�ำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดมือและเท้าอีกครั้ง
หนึ่งเพื่อให้สามารถใช้การได้เป็นปกติแต่โจทก์กะประมาณค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโดยปราศจากพยาน
สนับสนุนเป็นการพ้นวิสยั ทีศ่ าลจะหยัง่ รูไ้ ด้แน่นอน ความเสียหายมีเพียงใดศาลจึงมิอาจก�ำหนดค่าเสียหาย
ในส่วนนี้และสงวนสิทธิที่จะแก้ไขค�ำพิพากษาภายในก�ำหนดเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444
วรรคสอง
2.1.4 ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็นอย่างอื่น ๆ ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง
บัญญัตวิ า่ “ในกรณีที่ท�ำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็น

73
ก. ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องเสียไปเพื่อการรักษาและการเยียวยา
สธ ส
4-46 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อย่างอื่นๆ อีกด้วย” ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จะเรียกได้ก็แต่เมื่อละเมิดท�ำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย


ไม่วา่ จะเป็นการตายในทันที หรือตายในเวลาต่อมาก็ตาม74 ส�ำหรับค่าเสียหายในกรณีนี้ มีขอ้ ทีต่ อ้ งพิจารณา
ได้แก่ (1) ขอบเขตของค่าปลงศพมีมากน้อยแค่ไหนเพียงใด (2) ใครเป็นผู้เรียกค่าปลงศพได้บ้าง และ
(3) กรณีที่ทายาทได้รับเงินช่วยหรือเงินอื่นซึ่งมีสิทธิตามกฎหมาย จะถือเป็นส่วนหักลดหย่อนค่าปลงศพ
ได้หรือไม่ ดังมีรายละเอียดดังนี้

. 1) ขอบเขตของ “ค่าปลงศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็นอย่างอื่น ๆ” ป.พ.พ. เองก็มิได้


ให้คำ� นิยามของค่าปลงศพ รวมทัง้ ค่าใช้จา่ ยอันจ�ำเป็นอย่างอืน่ ๆ ไว้แต่ประการใด แต่จากแนวค�ำพิพากษา
สธ สธ
ศาลฎีกาก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า คือ ค่าจัดการศพของผู้ถูกท�ำละเมิดจนถึงตายซึ่งจะต้องเป็นไปตาม

มส . มส
ประเพณี ลัทธิศาสนา และความเชื่อของผู้ตาย อีกทั้งจะเรียกได้เพียงให้สมแก่ฐานานุรูป ฐานะทางสังคม
ของผูต้ าย ตลอดจนเพียงตามสมควรเท่านัน้ ส่วนค่าใช้จา่ ยอันจ�ำเป็นอย่างอืน่ ๆ ก็คอื ค่าใช้จา่ ยอันเป็นบริบท
สืบเนื่องจากการปลงศพผู้ตาย เช่น ค่าใช้จ่ายในการมาร่วมงานของญาติสนิท หรือค่าใช้จ่ายเพื่อการเก็บ
อัฐผิ ตู้ าย ซึง่ ก็ตอ้ งถือหลักเช่นเดียวกันกับค่าปลงศพอีกเช่นกัน กล่าวคือ ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม
และสมควร ส่วนการเรียกค่าเสียหายประเภทนี้จะต้องมีการจัดการศพให้เรียบร้อยก่อนหรือไม่นั้น แนว

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาเห็นว่าไม่สำ� คัญ เพราะอาจจะมีการจัดการศพให้เสร็จสิ้นและรวบรวมค่าใช้จ่ายต่างๆ
มาฟ้องจ�ำเลยเพื่อเรียกค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอื่นๆ อันจ�ำเป็น หรือจะยังปลงศพไม่เสร็จแล้วมาฟ้องเป็น
คดีโดยมีการประมาณราคามาตามสมควรก็ได้
อุทาหรณ์
กรณีที่ศาลฎีกาถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกได้
ธ.

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2506 ต้องพิเคราะห์ตามฐานานุรูปของผู้ตาย มิใช่ว่าถ้ามี


การใช้จ่ายเงินท�ำศพตามประเพณีเป็นจ�ำนวนเท่าใดแล้ว ผู้ท�ำละเมิดจะต้องรับผิดทั้งหมด ค่าซื้อที่ฝังศพ
สุสาน ค่าท�ำฮวงซุ้ย ตลอดจนของเซ่นไหว้ศพ ค่าอาหารเครื่องดื่มเลี้ยงแขกก่อนน�ำศพไปสุสาน และอื่นๆ
ตามประเพณีจัดการศพคนจีนตามฐานานุรูปของผู้ตาย ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็นในการจัดการศพ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2509 และ ค�ำพิพากษาศาลฎีกา 1666/2514 ค่าปลงศพ
และค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็นจะต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจ�ำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย บิดา
.ม
มารดา จึงต้องพิจารณาถึงประเพณีการท�ำศพตามลัทธินยิ มประกอบด้วย และต้องไม่ใช่รายการทีฟ่ มุ่ เฟือย
เกินไป
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 574/2515 ค่าพาหนะทีบ่ ดิ ามารดาและญาติของผูต้ ายเดินทาง
ไปจัดการศพ ถือได้วา่ เป็นค่าใช้จา่ ยอันจ�ำเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 ซึง่ ผูท้ ำ� ละเมิดต้องรับผิดชอบด้วย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2707/2516 ค่าพิมพ์หนังสือแจกในงานศพตามสมควรแก่ฐานะ
ของผูต้ าย ค่าของทีร่ ะลึก ของแจกสมควรแก่ฐานะ และค่าเจดียบ์ รรจุอฐั ขิ องผูต้ าย ถือว่าเป็นค่าใช้จา่ ยอันจ�ำเป็น
ในการจัดการศพ

74
แต่ในกรณี “ไม่ตายในทันที” ทายาทย่อมมีสิทธิในการที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างอื่นๆ ที่กฎหมายก�ำหนดไว้
อันได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายทีต่ อ้ งขาดประโยชน์ทำ� มาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้อกี ด้วย โปรดศึกษา
ข้อ ก. และข้อ ข.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-47

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553-1555/2520 การทีโ่ จทก์นำ� สืบค่าใช้จา่ ยในการปลงศพได้


ไม่แน่นอนหรือไม่ได้นำ� สืบว่ามีจำ� นวนเท่าใด กรณีทโี่ จทก์นำ� สืบค่าใช้จา่ ยในการปลงศพได้ไม่แน่นอน ศาล
ย่อมก�ำหนดให้ได้ตามสมควร
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2522 กรณีที่เป็นชาวต่างประเทศมาตายที่ประเทศไทย
ก็ตอ้ งมีการน�ำศพกลับไปท�ำพิธที ปี่ ระเทศภูมลิ ำ� เนา ค่าขนส่งศพกลับภูมลิ ำ� เนาของผูต้ าย เช่น ค่าเครือ่ งบิน

.
ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็น เรียกได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2535 ค่าอาหารและเครื่องดื่มแขกที่มาร่วมงานศพกับ
สธ สธ
ค่าของและเงินถวายพระภิกษุที่สวดพระอภิธรรม เป็นค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็น

มส . มส
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2539 ค่าดอกไม้ ค่าบุหรี่ถวายพระ ถือเป็นค่าใช้จ่ายอัน
จ�ำเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง
อุทาหรณ์
กรณีที่ศาลฎีกาถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกไม่ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2522 ค่าเดินทางที่ญาติไปร่วมงานศพ ไม่ใช่ไปช่วย

จัดการศพ ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันไม่จ�ำเป็น
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2523 ผูต้ ายได้สร้างเจดียร์ อบฮวงซุย้ ไว้เป็นการถาวรเพือ่
บรรจุศพบรรพบุรุษและเตรียมไว้ส�ำหรับตัวผู้ตายในภายหน้า เมื่อเจดีย์รอบฮวงซุ้ยที่ได้ท�ำไปก่อนผู้ตาย
ตาย จึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่จ�ำเลยจะต้องรับผิด จ�ำเลยคงต้องรับผิดเฉพาะค่าใช้จ่ายภายหลังจากที่
ธ.

ผู้ตายตายจนกระทั่งการก่อสร้างเจดีย์รอบฮวงซุ้ยแล้วเสร็จเท่านั้น
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2526 ค่ารถยนต์รับส่งแขกที่มาช่วยงานศพไม่ใช่ค่าใช้
จ่ายอันจ�ำเป็น
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2549-2550/2530 ค่าซื้อสุราเลี้ยงแขก ค่าสร้างศาลาถวายวัด
หรือท�ำบุญ 100 วัน ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ถือว่าไม่จ�ำเป็น
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7166/2542 ค่าใช้จ่ายในอนาคตที่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตาย
.ม
ต้องเดินทางไปเคารพศพผูต้ ายในสถานทีเ่ กิดเหตุ (เครือ่ งบินตก) เป็นเวลา 10 ปี ถือไม่ได้วา่ เป็นค่าใช้จา่ ย
อันจ�ำเป็นอย่างอื่น
2) บุคคลที่อาจเรียก “ค่าปลงศพ” แนวค�ำพิพากษาฎีกาถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649
กล่าวคือ ทายาทของผู้ตายเป็นผู้มีสิทธิในค่าปลงศพ หากเป็นญาติหรือผู้ที่อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาโดย
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเป็นผูท้ จี่ ดั การศพตามข้อเท็จจริง แต่เมือ่ ไม่มอี ำ� นาจหน้าทีต่ ามทีก่ ฎหมายระบุ
ไว้ก็เรียกค่าปลงศพไม่ได้
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2508 บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแม้จะรับรองบุตรตาม
ทีบ่ ญ
ั ญัตไิ ว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1627 ก็เพียงแต่ให้บตุ รมีสทิ ธิรบั มรดกของบิดานอกกฎหมายเท่านัน้ เอง ไม่
ก่อให้เกิดสิทธิแก่บดิ านอกกฎหมายในการรับมรดกของบุตร บิดานอกกฎหมายจึงไม่มสี ทิ ธิเรียกค่าปลงศพ
หรือค่าเสียหายจากผู้ท�ำละเมิด
สธ ส
4-48 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514 ผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกเอา


ค่าปลงศพตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง จากผู้ท�ำละเมิด เพราะสิทธิดังกล่าวตกทอดมายังทายาท
ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 1649 เท่านั้น มิได้หมายความว่าใครท�ำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียก
ค่าท�ำศพเสียเองได้เสมอไป เมื่อโจทก์ไม่ใช่ทายาทของผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าปลงศพ

. ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212-213/2525 ภริยาทีไ่ ม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่มอี ำ� นาจหน้าที่


ในการจัดการศพ แม้จะเป็นผู้จัดการศพก็เรียกค่าปลงศพไม่ได้
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4828/2529 ถ้าผู้ตายไม่มีทายาทชั้นต้นคือ ไม่มีบิดามารดา

มส . มส
ไม่มีผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดาก็เป็นผู้จัดการศพ จึงเรียกค่าปลงศพได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2538 สามีของผู้ตายคนที่ 1 และมารดาของผู้ตายคนที่
2 เป็นทายาททีม่ หี น้าทีจ่ ดั การศพของผูต้ ายจึงมีสทิ ธิเรียกค่าปลงศพจากผูท้ ำ� ละเมิด ไม่วา่ ผูใ้ ดจะเป็นผูอ้ อก
ค่าใช้จ่ายในการปลงศพก็ตาม
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2549 บุตรนอกกฎหมายทีบ่ ดิ ารับรองแล้วถือว่าเป็นผูส้ บื

สันดานมีสิทธิรับมรดกก็เรียกค่าปลงศพได้
3) กรณีที่ทายาทได้รับเงินช่วย หรือเงินอื่นที่มีสิทธิตามกฎหมาย ก็ไม่ถือว่าเป็นการตัด
สิทธิทายาทที่จะฟ้องเรียกค่าปลงศพจากผู้ท�ำละเมิด หรือแม้แต่กรณีที่ผู้ท�ำละเมิดไม่ยอมรับผิด แต่มีการ
ให้เงินช่วยท�ำบุญกับครอบครัวของผู้ถูกท�ำละเมิด ก็ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายค่าปลงศพแล้ว
อุทาหรณ์
ธ.

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446-449/2516 การที่มีผู้คนเอาเงินมาช่วยท�ำศพผู้ตายมาก


น้อยเพียงไรจะเอามาช่วยบรรเทาความรับผิดของจ�ำเลยหาได้ไม่
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2522 กรณีละเมิดท�ำให้คนตาย ค่าปลงศพตามมาตรา
443 แม้นายจ้างของผู้ตายออกให้ทั้งสิ้น ก็ไม่ปัดความรับผิดของผู้ท�ำละเมิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2525 บุตรโจทก์ตายเนือ่ งจากผลการท�ำหน้าทีข่ องต�ำรวจ
.ม
ผู้แทนกรมต�ำรวจจ�ำเลยจึงมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็น
อย่างอื่นให้โจทก์ ซึ่งมีหน้าที่จัดการปลงศพของผู้ตาย แม้จ�ำเลยได้จัดงานศพให้ผู้ตายไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่
เงินทีใ่ ช้จา่ ยไปในการจัดการศพก็เป็นเงินทีไ่ ด้รบั บริจาคมาจากผูม้ าท�ำบุญในงานศพนัน้ หาใช่เงินของจ�ำเลย
ไม่ จ�ำเลยยังมีหน้าที่ชำ� ระค่าปลงศพให้แก่โจทก์ จะยกเอากรณีมีผู้บริจาคเงินให้มาเป็นข้อปัดความรับผิด
ของจ�ำเลยหาได้ไม่
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2528 เงิน 3,000 บาท ที่จ�ำเลยที่ 3 ช่วยค่าท�ำศพใน
ขณะที่จ�ำเลยที่ 3 มิได้ยอมรับผิดว่าการตายเกิดจากการกระท�ำละเมิดของจ�ำเลยที่ 1 ลูกจ้าง และมิได้มอบ
ให้ในฐานะเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่ง แต่เป็นการให้ในลักษณะร่วมท�ำบุญอันเป็นส�ำนึกในด้านศีลธรรมและ
เรื่องการบุญการกุศล จะน�ำมาหักกับจ�ำนวนเงินค่าท�ำศพที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องไม่ได้
2.1.5 ค่าเสียหายทางจิตใจหรือค่าเสียหายอย่างอื่นที่ไม่เป็นตัวเงิน ป.พ.พ. มาตรา 446
บัญญัติว่า “ในกรณีท�ำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีท�ำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ผู้ต้อง
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-49

เสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพือ่ ความทีเ่ สียหายอย่างอืน่ อันมิใช่ตวั เงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียก


ร้องอันนี้ไม่โอนกันได้ และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่ สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้
เริ่มฟ้องคดีตามสิทธิ นั้นแล้ว
อนึ่ง หญิงที่ต้องเสียหาย เพราะผู้ใดท�ำผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรม แก่ตนก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้อง
ท�ำนองเดียวกันนี้”

. เมื่อมีละเมิดรายหนึ่งเกิดขึ้น ความเสียหายอาจค�ำนวณกันเป็นจ�ำนวนเงินได้โดยแน่นอนตามค่า
ใช้จ่ายที่ผู้ถูกท�ำละเมิดต้องเสียไปเพื่อเยียวยาผลแห่งละเมิดนั้น หรือแม้จะค�ำนวณกันเป็นจ�ำนวนตายตัว
สธ สธ
ไม่ได้แต่อย่างน้อยก็อาจกะประมาณกันได้ตามสมควรแก่ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ แต่ความเสียหายหายบาง

มส . มส
อย่างซึง่ เป็นผลจากการกระท�ำอันเป็นละเมิดเดียวกันก็ไม่สามารถจะระบุเจาะจงเป็นตัวเงินได้อย่างแน่นอน
อีกทั้งก็ไม่อาจท�ำให้กลับคืนดีโดยวิธีเจาะจงเช่นการคืนทรัพย์ได้ ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวนี้เรียกว่า “ค่าเสีย
หายที่มิใช่ตัวเงิน” หรือถ้าจะให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ “ค่าเสียหายทางจิตใจ” ซึ่งก็คือการชดเชยความเสีย
หายด้วยเหตุทลี่ ะเมิดนัน้ ท�ำให้ผถู้ กู ท�ำละเมิดต้องชอกช�ำ้ ระก�ำใจ ตกใจ หวาดกลัว โศกเศร้า รัดทนใจ หรือ
มีความรูส้ กึ อย่างอืน่ ทางจิตใจทีเ่ ป็นไปในเชิงลบ โดยบทบัญญัตแิ ห่ง ป.พ.พ. มาตรา 446 ได้กำ� หนดให้แต่

เฉพาะละเมิดต่ออนามัย ร่างกาย เสรีภาพ และหญิงที่ต้องเสียหายเพราะผู้ใดผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรมแก่
ตน หรือก็คือความผิดทางเพศเท่านั้นที่จะเรียกค่าเสียหายประเภทนี้ได้ แต่ละเมิดต่อชีวิตอันท�ำให้ผู้ถูก
กระท�ำละเมิดถึงแก่ความตายนั้น ไม่อาจเรียกได้ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะ ป.พ.พ. มาตรา 446 นี้เป็นการก�ำหนด
ค่าเสียหายให้แก่ตวั ผูถ้ กู กระท�ำละเมิดเป็นส�ำคัญ มิใช่ให้กบั บุคคลอืน่ ทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั ตัวผูถ้ กู ท�ำละเมิด
และบุคคลนัน้ จ�ำต้องอยูใ่ นสภาพว้าเหว่ รัดทนใจ อันเพราะเหตุแห่งละเมิดทีไ่ ด้เกิดแก่บคุ คลอืน่ ในครอบครัว
ธ.

นอกจากนีแ้ ล้ว จากถ้อยค�ำทีว่ า่ “สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้ และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธิ


นั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว” นั้นเป็นการยืนยันถึงความเป็น
สิทธิเฉพาะตัวของค่าเสียหายทางจิตใจนี้ ทีก่ ฎหมายประสงค์จะก�ำหนดให้แก่ผถู้ กู กระท�ำละเมิดเป็นส�ำคัญ
แต่ถา้ ได้มกี ารฟ้องร้องด�ำเนินคดีกนั ไว้แล้ว หรือมีการรับสภาพหนีก้ นั ไว้แล้วอันถือว่าเป็นการแปลงหนีใ้ หม่
สิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจนี้จึงอาจโอนหรือตกทอดยังทายาทได้นั่นเอง
.ม
ส�ำหรับการค�ำนวณค่าเสียหายประเภทนี้ เมื่อโดยสภาพแล้วไม่อาจค�ำนวณเป็นตัวเงินได้
ศาลก็จะใช้หลักทัว่ ไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน คือ พิเคราะห์ตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่ง
ละเมิด โดยทีศ่ าลเองไม่นำ� ปัจจัยในเรือ่ งฐานะและรายได้ของผูถ้ กู กระท�ำละเมิดมาเป็นข้อพิจารณาแต่อย่างใด
นอกจากนีแ้ ล้ว การเรียกค่าเสียหายทางจิตใจนีอ้ าจเป็นกรณีทผี่ ถู้ กู กระท�ำละเมิดเรียกค่าเสีย
หายทางจิตใจมาเพียงประการเดียว หรือเป็นกรณีที่ผู้ถูกกระท�ำละเมิดได้เรียกค่าเสียหายในประการอื่นที่
อาจค�ำนวณเป็นตัวเงินได้ไปแล้ว เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียความสามารถในการประกอบการงาน ฯลฯ และ
ยังเรียกค่าเสียหายทางจิตใจมาอีกส่วนหนึง่ ก็ได้ดว้ ย โดยไม่ถอื ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายซ�ำ้ ซ้อนแต่อย่างใด
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2532 การเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่าง
อื่นอันมิใช่ตัวเงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าจะต้องค�ำนึงถึงฐานะ และรายได้
ของผู้เสียหาย
สธ ส
4-50 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2535 จ�ำเลยตอกเสาเข็มปลูกสร้างอาคาร 16 ชั้น ท�ำให้โจทก์


ทุกขเวทนาแสนสาหัส นอนไม่หลับเพราะหนวกหู ฝุ่นละอองจากการก่อสร้างท�ำให้บ้านเรือนสกปรก บ้าน
สั่นสะเทือน หินและไม้ตกลงบนหลังคาบ้านโจทก์อันอาจเกิดอันตรายต่อโจทก์และบริวารได้ ไม่ปรากฏว่า
ความทุกข์ทรมานสาหัสดังกล่าวเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของโจทก์ แต่เป็นเรือ่ งเสียหายต่ออนามัย
และสิทธิจะอยูอ่ ย่างสงบไม่ถกู รบกวนเพราะความทรมานนอนไม่หลับอันเนือ่ งจากฝุน่ ละออง เสียงจากการ

.
ก่อสร้างอันได้แก่การตอกเสาเข็ม และความหวาดระแวงอันเกิดจากสิ่งของตกหล่น รวมทั้งการอัดตัวของ
ดินท�ำให้บ้านเรือนโจทก์เสียหายอันอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อาศัย เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สธ สธ
เป็นเวลา 2 เดือน ท�ำให้โจทก์เสียหายแก่อนามัยรวมทั้งสิทธิส่วนตัวที่จะมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขทั้ง

มส . มส
ร่างกายและจิตใจ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2538 ค่าเสียหายเพราะเหตุทโี่ จทก์ตอ้ งทุพพลภาพตลอดชีวติ โดย
ระบบประสาทไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ เสียสมรรถภาพทางเพศและไม่สามารถเดินได้ กับค่าเสีย
หายที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานจากการทุพพลภาพตลอดชีวิต เป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงิน ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 446 ทั้ง 2 กรณี อันเนือ่ งมาจากเหตุทตี่ า่ งกัน จึงแยกกันค�ำนวณให้ชดใช้ตามเหตุทแี่ ยกออกจากกัน

เป็นแต่ละเหตุได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2538 ค่าเสียหายเพราะร่างกายพิการท�ำให้สงั คมรังเกียจ อับอาย
ขายหน้า ไม่ได้เล่นกีฬา ไม่ได้สมรส ขาดความสุขส�ำราญเป็นเรือ่ งการขาดหรือสูญเสียความสุขความส�ำราญ
จากความรูส้ กึ ทีด่ ี เป็นค่าเสียหายเกีย่ วกับความรูส้ กึ ทางด้านจิตใจอันมิใช่ตวั เงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446
ธ.

ส่วนค่าทนทุกขเวทนาเป็นเรือ่ งการต้องทนยอมรับความเจ็บปวดหรือทรมานก็เป็นค่าเสียหายอันมิใช่ตวั เงิน


แต่ก็มิใช่ค่าเสียหายเดียวกัน จึงไม่ซ�้ำซ้อน
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2542 นอกจากค่าท�ำคลอดบุตรที่เกิดจากการข่มขืน ค่าเสีย
หายส�ำหรับความเสียหายทีม่ ใิ ช่ตวั เงินเหล่านี้ เมือ่ กฎหมายบัญญัตใิ ห้เรียกร้องกันได้ ศาลจึงก�ำหนดให้ตาม
พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด เพราะค่าเสียหายทดแทนความเสียหายทีม่ ใิ ช่ตวั เงิน ย่อมจะน�ำสืบ
ว่าคิดเป็นจ�ำนวนเงินเท่าใดไม่ได้อยู่เอง นอกจากความเสียหายต่อร่างกาย อนามัย และเสรีภาพแล้ว ยัง
.ม
รวมถึงความเสียหายของหญิงเพราะการท�ำผิดอาญา ซึ่งใน ป.อ. เรียกว่า ความผิดเกี่ยวกับเพศมาตรา
276–มาตรา 287 อีกด้วย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2544 โจทก์เป็นหญิง รับราชการเป็นอาจารย์โดยต�ำแหน่ง
หน้าทีต่ อ้ งพบปะผูค้ นจ�ำนวนมาก แต่ตอ้ งเสียบุคลิกภาพ ใบหน้าเสียโฉมเนือ่ งจากหนังตาแหว่งเห็นตาขาว
มากกว่าปกติ ย่อมเป็นความทุกข์ทรมานทีโ่ จทก์รสู้ กึ ได้อยูต่ ลอดเวลาจนความเสียโฉมดังกล่าวจะได้รบั การ
แก้ไข ค่าที่โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานกับค่าที่โจทก์ต้องสูญเสียบุคลิกภาพตั้งแต่จำ� เลยผ่าตัดโจทก์จนโจทก์
ต้องได้รบั การผ่าตัดแก้ไข ถือเป็นความเสียหายอย่างอืน่ อันมิใช่ตวั เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 วรรคหนึง่
2.2 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อบุคคลอื่น ด้วยเหตุแห่งความสัมพันธ์กับผู้ถูกท�ำละเมิด ค่าสินไหม
ประเภทนี้มิได้เป็นการจ่ายชดเชยหรือเยียวยาให้แก่ตัวผู้ถูกท�ำละเมิด หากแต่เป็นการจ่ายให้กับบุคคลซึ่ง
มีความสัมพันธ์กบั ผูถ้ กู ท�ำละเมิดและบุคคลดังกล่าวได้รบั ความเสียหายจากการกระท�ำละเมิด ซึง่ อาจจ�ำแนก
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-51

ได้เป็น 2 กรณี คือ ค่าขาดไร้อุปการะในกรณีที่ละเมิดท�ำให้ผู้ถูกกระท�ำถึงแก่ความตายประการหนึ่ง และ


ค่าขาดแรงงานกรณีทเี่ ป็นละเมิดต่ออนามัย ร่างกาย เสรีภาพ หรือชีวติ ของผูถ้ กู กระท�ำละเมิดอีกประการหนึง่
2.2.1 ค่าขาดไร้อปุ การะ กรณีทลี่ ะเมิดนัน้ ท�ำให้ผถู้ กู กระท�ำถึงแก่ความตาย ป.พ.พ. มาตรา
443 วรรคสาม บัญญัตวิ า่ “ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้น ท�ำให้บุคคลหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
ไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” หมายถึงละเมิดที่เกิดขึ้นนั้น

.
ท�ำให้ผู้ถูกท�ำละเมิดถึงแก่ความตาย บุคคลซึ่งผู้ตายนั้นมีหน้าที่ตามกฎหมาย (มิใช่ตามข้อเท็จจริง) ต้อง
อุปการะสามารถเรียก “ค่าขาดไร้อปุ การะ” นีไ้ ด้ ทัง้ นีบ้ คุ คลดังกล่าวได้แก่ สามีภริยา75 บิดามารดา76 บุตร
สธ สธ
ผู้เยาว์77 บุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้78 บุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์

มส . มส
และบุตรบุญธรรมซึง่ บรรลุนติ ภิ าวะแล้วแต่ทพุ พลภาพและหาเลีย้ งตนเองไม่ได้79 ผูร้ บั บุตรบุญธรรม80 และ
ทารกในครรภ์มารดา81 ซึ่งการจ่าย “ค่าขาดไร้อุปการะ” ดังกล่าวนี้ศาลถือเอาหน้าที่ตามกฎหมายเป็น
ส�ำคัญโดยไม่ต้องค�ำนึงถึงความจ�ำเป็น หรือฐานะในทางเศรษฐกิจของผู้เรียกค่าขาดไร้อุปการะเลย ดังนั้น
แม้ผู้เรียกค่าขาดไร้อุปการะซึ่งเป็นโจทก์จะเป็นผู้มีฐานะดี และในทางข้อเท็จจริงบุคคลนั้นไม่ได้ล�ำบาก
ยากจนลงหรือขัดสนจากการที่ผู้ถูกกระท�ำละเมิดถึงแก่ความตาย แต่หากเป็นบุคคลที่กฎหมายก�ำหนดให้

ผู้ตายมีหน้าที่ต้องอุปการะเขาแล้ว เขาก็ชอบที่จะเรียกค่าขาดไร้อุปการะนี้ได้นั่นเอง
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2501 บุตรซึง่ บรรลุนติ ภิ าวะแล้ว ซึง่ ไม่ทพุ พลภาพไม่มสี ทิ ธิเรียก
ค่าที่ขาดอุปการะเพราะมารดาตาย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2511 ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ผูต้ ายซึง่ เป็นบิดามีบตุ รกับโจทก์ 4
ธ.

คน บุตรเหล่านีอ้ ยูใ่ นความอุปการะเลีย้ งดูของผูต้ ายขณะยังมีชวี ติ เมือ่ ผูต้ ายตาย บุตรเหล่านีข้ าดทีพ่ งึ่ และ
ผูอ้ ปุ การะเลีย้ งดู จึงขอเรียกค่าอุปการะเลีย้ งดูของบุตรเหล่านี้ ดังนีม้ คี วามหมายพอเข้าใจได้วา่ บุตรเหล่านี้
ขอเรียกค่าเสียหายตามสิทธิของตนนั่นเอง แต่เพราะเหตุที่บุตรเหล่านี้มีอายุอย่างสูงเพียง 6 ปี ฟ้องด้วย
ตนเองไม่ได้โจทก์ซงึ่ เป็นมารดาจึงฟ้องแทนตามฟ้อง ถือได้วา่ โจทก์ฟอ้ งในนามของบุตรโดยปริยาย มารดา
ไม่มสี ทิ ธิฟอ้ งเรียกค่าเลีย้ งดูบตุ รจากผูท้ ำ� ละเมิดต่อบิดาของบุตรในนามของมารดาเพราะค่าเสียหายส่วนนี้
.ม
เป็นค่าเสียหายของบุตรที่ขาดการอุปการะเลี้ยงดู
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143–144/2521 ค่าขาดไร้อปุ การะนัน้ บุตรมีหน้าทีต่ อ้ งอุปการะบิดา
มารดาตามกฎหมาย การทีบ่ ตุ รโจทก์ตาย ถือได้วา่ โจทก์ตอ้ งขาดไร้อปุ การะตามกฎหมายแล้ว มิตอ้ งค�ำนึง
ว่าโจทก์ผู้เป็นบิดามารดาจะเป็นผู้มีทรัพย์สินมากน้อยเพียงใด หรือยังสามารถเลี้ยงตนเองได้หรือไม่

75
ป.พ.พ.มาตรา 1416 วรรคสอง
76
ป.พ.พ.มาตรา 1563
77
ป.พ.พ.มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง
78
ป.พ.พ.มาตรา 1564 วรรคสอง
79
ป.พ.พ.มาตรา 1598/28
80
ป.พ.พ.มาตรา 1598/28
81
ป.พ.พ. มาตรา 15 วรรคสอง
สธ ส
4-52 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2523 เมือ่ คดีฟงั ได้วา่ จ�ำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บตุ ร


โจทก์ถงึ แก่ความตาย อันท�ำให้โจทก์ขาดไร้อปุ การะตามกฎหมาย จ�ำเลยก็ตอ้ งรับผิดชดใช้คา่ ขาดไร้อปุ การะ
ให้แก่โจทก์ แม้ในขณะผูต้ ายถึงแก่ความตายจะไม่มรี ายได้อย่างใด และโจทก์ประกอบอาชีพมีรายได้อยูก่ ต็ าม
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2548 ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม ก�ำหนดให้ผกู้ ระท�ำละเมิด
ในกรณีท�ำให้เขาถึงตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมาย

.
เท่านั้น แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1563 และมาตรา 1564 ที่บัญญัติให้บุตรและธิดาจ�ำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้น
หมายถึง บุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติก�ำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจ�ำต้อง
สธ สธ
อุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย ดังนั้น แม้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมี

มส . มส
สิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้
อุปการะจากผู้กระท�ำละเมิด
2.2.2 ค่าขาดแรงงาน กรณีที่เป็นละเมิดต่ออนามัย ร่างกาย เสรีภาพหรือชีวิตของผู้ถูก
กระท�ำละเมิด ป.พ.พ. มาตรา 445 บัญญัติว่า “ในกรณีท�ำให้เขาถึงตาย หรือให้เสียหายแก่ร่างกาย หรือ
อนามัยก็ดี ในกรณีท�ำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ถ้าผู้ต้องเสียหาย มีความผูกพันตามกฎหมาย จะต้องท�ำการ

งานให้เป็นคุณแก่บคุ คลภายนอกในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนัน้ ไซร้ ท่านว่าบุคคล
ผู้จ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อที่เขาต้องขาด
แรงงานอันนั้นไปด้วย” การกระท�ำอันเป็นละเมิดทัง้ ต่ออนามัย ร่างกาย เสรีภาพ และชีวติ ของผูถ้ กู ละเมิด
นอกจากจะท�ำให้ผถู้ กู ละเมิดมีสทิ ธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเพือ่ การต่างๆ ดังได้กล่าวมาข้างต้นนีแ้ ล้ว
ละเมิดเดียวกันนั้นยังอาจเป็นผลให้บุคคลภายนอกได้รับความเสียหายอีกด้วย กล่าวคือ ในกรณีที่ผู้ถูกท�ำ
ธ.

ละเมิดมีหน้าทีต่ ามกฎหมายในการท�ำการงานให้แก่บคุ คลภายนอกดังกล่าวแต่เมือ่ เขาถูกท�ำละเมิดจนต้อง


พักรักษาตัว หรือถึงแก่ชีวิต หรือถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังเสรีภาพจนไม่สามารถมาท�ำการงานได้ตามปกติ
แล้ว กฎหมายจึงก�ำหนดให้บคุ คลภายนอกผูต้ อ้ งเสียหายจากการนีส้ ามารถเรียก “ค่าขาดแรงงาน” ได้ ซึง่
แบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ (1) ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน และ (2) ค่าขาดแรงงานเพื่อการ
อุตสาหกรรมแก่บุคคลภายนอก
1) ค่าขาดแรงงานในครัวเรือน กล่าวคือ หน้าทีท่ กี่ ฎหมายก�ำหนดให้ผถู้ กู ท�ำละเมิดต้อง
.ม
ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นในฐานะที่เป็นอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน เช่น สามีภริยามีหน้าที่ประกอบการงานในครัว
เรือนให้แก่กันและกัน เพราะสามีภริยาจ�ำต้องอยู่กินฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู
ซึง่ กันและกัน82 นอกจากนีแ้ ล้วบุตรมีหน้าทีป่ ระกอบการงานให้แก่บดิ ามารดาเพราะบิดามารดาซึง่ เป็นผูใ้ ช้
อ�ำนาจปกครองมีสิทธิให้บุตรท�ำงานตามสมควร83
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2525 การทีล่ กู จ้างของโจทก์ตอ้ งเสียชีวติ เพราะการกระท�ำ
ละเมิดของลูกจ้างจ�ำเลยนั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ต้องขาดแรงงาน เพราะเมื่อลูกจ้างโจทก์เสียชีวิต การจ้าง
แรงงานย่อมเป็นอันเลิกกัน โจทก์ไม่ได้แรงงานแต่ขณะเดียวกันโจทก์ก็ไม่ต้องให้สินจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิ
เรียกค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้จากจ�ำเลย
82
ป.พ.พ. มาตรา 1461
83
ป.พ.พ. มาตรา 1567 (3)
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-53

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2538 โจทก์ที่ 2 ซึง่ เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับผูต้ ายอาศัย


อยูบ่ า้ นเดียวกับโจทก์ที่ 1 การทีโ่ จทก์ที่ 1 จ้าง ม. มาท�ำงานบ้านทุกอย่างทีผ่ ตู้ ายเคยท�ำอยูแ่ ทนผูต้ ายโจทก์
ที่ 2 ย่อมได้รับประโยชน์จากการท�ำงานของ ม. ด้วยทั้งโจทก์ที่ 2 ก็มิได้จ้างบุคคลอื่นมาช่วยท�ำงานอีก
เมื่อศาลพิพากษาให้จ�ำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดแรงงานในครอบครัวของผู้ตายซึ่งเป็นภริยาโจทก์ที่ 1
ซึง่ ถึงแก่ความตายเนือ่ งจากการท�ำละเมิดของจ�ำเลยแก่โจทก์ที่ 1 แล้ว ความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ในส่วนนี้

.
ย่อมหมดไป โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้อีก
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 445 และมาตรา 1567 แสดงให้เห็นว่า
สธ สธ
หากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อ�ำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรท�ำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือน

มส . มส
แล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดท�ำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องท�ำการงานให้แก่บิดา
มารดาจนถึงแก่ความตาย ผู้ท�ำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่
บิดามารดาทีต่ อ้ งขาดแรงงานนัน้ ด้วยและการฟ้องเรียกค่าขาดแรงงานดังกล่าว มิใช่การฟ้องเรียกค่าขาดไร้
อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม ขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดา
ผูต้ ายได้ให้ผตู้ ายช่วยด�ำเนินกิจการของบริษทั ว. ทีโ่ จทก์ทงั้ สองได้จดั ตัง้ ขึน้ และโจทก์ทงั้ สองเป็นผูม้ อี ำ� นาจ

กระท�ำการแทนบริษทั แต่บริษทั ว. เป็นนิตบิ คุ คล หากการทีผ่ ตู้ ายช่วยด�ำเนินกิจการของบริษทั ว. จะถือว่า
ผูต้ ายช่วยด�ำเนินกิจการของโจทก์ทงั้ สองหาได้ไม่ และเมือ่ ผูต้ ายถึงแก่ความตาย โจทก์ทงั้ สองต้องจ้างบุคคล
ภายนอกมาท�ำงานแทนผูต้ ายก็เป็นการจ้างมาท�ำงานให้แก่บริษทั ว. หากเป็นกรณีทตี่ อ้ งขาดแรงงานบริษทั
ว. ก็คอื บุคคลทีต่ อ้ งขาดแรงงานหาใช่โจทก์ทงั้ สองไม่ โจทก์ทงั้ สองไม่มอี ำ� นาจฟ้องเรียกค่าขาดแรงงานจาก
ธ.

จ�ำเลย
2) ค่าขาดแรงงานเพื่อการอุตสาหกรรมแก่บุคคลภายนอก กล่าวคือ เป็นหน้าที่ตาม
สัญญาที่ผู้ถูกท�ำละเมิดได้สัญญาว่าจะประกอบการงานให้แก่บุคคลภายนอก (ครัวเรือน) หรือซึ่งก็คือการ
เป็นนายจ้างลูกจ้างกันตามสัญญาจ้างแรงงานนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ตามแนวค�ำพิพากษาศาลฎีกาการที่
นายจ้างจะเรียกค่าขาดแรงงานนีไ้ ด้ มักจะเป็นช่วงเวลาทีล่ กู จ้างซึง่ เป็นผูถ้ กู กระท�ำละเมิดอยูใ่ นระหว่างการ
รักษาตัว การฟืน้ ฟูสภาพร่างกาย ท�ำให้ไม่อาจมาท�ำการงานให้แก่นายจ้างได้ แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวสัญญา
.ม
จ้างแรงงานยังไม่สิ้นสุดลง ดังนั้นนายจ้างยังคงมีหน้าที่ในการจ่ายค่าจ้าง อันท�ำให้ถือว่าเหตุดังกล่าวเป็น
เหตุที่นายจ้างขาดแรงงาน แต่ถ้าสัญญาจ้างแรงงานได้สิ้นสุดลงแล้ว เช่น ลูกจ้างถึงแก่ความตาย ก็ท�ำให้
นายจ้างหมดหน้าทีใ่ นการจ่ายค่าจ้าง เท่ากับว่านายจ้างไม่มคี วามเสียหายอย่างใดทีจ่ ะเรียกค่าขาดแรงงาน
นอกจากนี้แล้ว ค่าขาดแรงงานนี้กฎหมายก�ำหนดไว้แต่เพื่องานอุตสาหกรรมเท่านั้น
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2533 ข. เป็นลูกจ้างของจ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์
บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจ�ำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไป
ชนรถยนต์ที่ ส. ขับท�ำให้ ส. ได้รับบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้โจทก์
ได้ตามปกติ การกระท�ำละเมิดของ ช. ดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ตอ้ งขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทัง้ ๆ
ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ชอบที่จะได้รับ
ค่าสินไหมทดแทนจากจ�ำเลยทั้งสาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 445
สธ ส
4-54 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2535 จ�ำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชน ก. พนักงานของ


โจทก์ได้รับบาดเจ็บต้องหยุดงานเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลรวม 17 วัน โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้จ่ายเงิน
เดือนให้ในระหว่างหยุดงาน 17 วัน เป็นเงิน 8,257 บาท ก. เป็นพนักงานมีหน้าที่จะต้องประกอบการงาน
ในอุตสาหกรรมให้แก่โจทก์เป็นประจ�ำ จึงมีความผูกพันตามกฎหมายทีจ่ ะต้องท�ำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์
ละเมิดของจ�ำเลยเป็นเหตุให้ ก. ไม่สามารถประกอบการงานให้โจทก์ได้ตามปกติเป็นเหตุให้โจทก์ขาด

.
ประโยชน์จากการงานของ ก. โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 445 ชอบที่จะได้รับค่า
สินไหมทดแทนจากจ�ำเลยในส่วนนี้ การไฟฟ้านครหลวงโจทก์ประกอบกิจการจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้าเพือ่ หา
สธ สธ
ก�ำไร และเป็นกิจการขนาดใหญ่ทตี่ อ้ งใช้แรงงานและทุนมาก จึงเป็นอุตสาหกรรมตามความหมายทีบ่ ญ ั ญัติ

มส . มส
ไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 445
อย่างไรก็ตาม อาจตัง้ เป็นข้อสังเกตประการหนึง่ ได้วา่ “ค่าขาดแรงงาน” ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 445 นี้ต้องเป็นการขาดแรงงานของผู้ถูกกระท�ำละเมิด ไม่ใช่ค่าขาดประโยชน์ที่ผู้เสียหายสูญเสีย
ไปเพราะต้องลางานมาเฝ้าอาการผู้ถูกละเมิดแต่ประการใด
อุทาหรณ์

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2548 ค่าขาดประโยชน์ที่มารดาของเด็กชาย ด. ไม่ได้
ประกอบการงานในระหว่างทีเ่ ฝ้าดูแลรักษาเด็กชาย ด. มิใช่คา่ เสียหายทีเ่ ด็กชาย ด. พึงเรียกร้องได้ในกรณีที่
มีผทู้ ำ� ละเมิดต่อเด็กชาย ด. ท�ำให้เด็กชาย ด. ได้รบั ความเสียหายแก่กายหรืออนามัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444,
445 และ 446
ธ.

3. การก�ำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดต่อชื่อเสียง
ป.พ.พ. มาตรา 447 บัญญัติว่า “บุคคลใดท�ำให้เขาต้องเสียหายแก่ชื่อเสียง เมื่อผู้ต้องเสียหาย
ร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นจัดการตามควรเพื่อท�ำให้ชื่อเสียงของผู้นั้นกลับคืนดีแทนให้ใช้ค่าเสียหาย
หรือทั้งให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้” กล่าวคือ การกล่าวหรือไขข่าวข้อความอันเป็นเท็จท�ำให้ผอู้ นื่ เสียชือ่ เสียง
ซึง่ เป็นละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 423 นัน้ ทางแก้ทจี่ ะท�ำให้ชอื่ เสียงของผูถ้ กู ละเมิดกลับ
.ม
คืนมาก็คือ การท�ำให้บุคคลทั่วไปรู้ว่าข้อความที่ได้กล่าวมานั้นฝ่าฝืนต่อความจริง ซึ่งอาจโดยวิธีประกาศ
ในหนังสือพิมพ์แสดงความจริงหรือถอนความเท็จเสีย หรืออาจเป็นการประกาศโฆษณาค�ำพิพากษาทีแ่ สดง
ว่าจ�ำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ได้ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 447 ได้บัญญัติว่าศาลอาจก�ำหนดให้ผู้ละเมิดจัดการ
เพื่อให้ชื่อเสียงของผู้ถูกละเมิดกลับคืนดีแต่เพียงอย่างเดียว หรือจะให้ใช้ค่าเสียหายด้วยก็ได้
อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตประการหนึ่งของ ป.พ.พ. มาตรา 447 คือ บทบัญญัติกฎหมายใช้ค�ำว่า
“เมื่อผู้ต้องเสียหายร้องขอ” ซึ่งความตอนนี้ ในอันที่จริงแล้วเป็นหลักในวิธีพิจารณาความที่ศาลย่อมไม่
พิพากษาเกินไปกว่าทีโ่ จทก์มคี ำ� ขอ นอกจากนีแ้ ล้วความเสียหายทีเ่ กีย่ วกับชือ่ เสียง อาจเป็นความเสียหาย
ต่อเกียรติคุณ ทางเจริญ ทางท�ำมาหาได้ ดังที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 423 อีกด้วย ซึ่งความเสียหาย
ดังกล่าวมิได้มีการบัญญัติทางเยียวยาไว้ในมาตรานี้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปในการก�ำหนดค่าสินไหมทดแทน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 นั่นเอง84
84
จิตติ ติงศภัทิย์ ปรับปรุงโดย เขมภูมิ ภูมิถาวร, ชวิน อุ่นภัทร และอ�ำนาจ ตั้งคีรีพิมาน. เรื่องเดียวกัน. หน้า 274.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-55

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939 -940/2487 ถ้าเพียงแต่การโฆษณาแสดงความจริงเป็นการเพียงพอ
ศาลจะไม่กำ� หนดค่าเสียหายเป็นเงินอีกก็ได้ เพราะเป็นการกล่าวเท็จในข้อที่ไม่ส�ำคัญ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2534 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศจะพูดกับ
จ�ำเลยที่ 1 ผู้มาขอให้โจทก์ช่วยตรวจสอบเรื่องของจ�ำเลยที่ 1 ว่า “ผมไม่ชอบให้พ่อค้าเร่งข้าราชการ ผมรู้

.
หน้าที่ของผมดี ผมไม่ชอบ” ก็ไม่ใช่ถ้อยค�ำที่ไม่สุภาพ เชื่อว่าเกิดจากความไม่พอใจที่จำ� เลยที่ 1 มาเร่งรัด
ประกอบกับโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยไม่ชักช้า โจทก์จึงไม่มีอคติในการท�ำงาน การที่จ�ำเลยที่ 1
สธ สธ
ร้องเรียนต่อผูบ้ งั คับบัญชาของโจทก์วา่ โจทก์ไม่ยอมท�ำงานเอาแต่นงั่ อ่านหนังสือพิมพ์ มีอคติในการท�ำงาน

มส . มส
และกระท�ำการหน่วงเหนี่ยวเป็นก�ำแพงป้องกันการส่งสินค้าออก จึงเป็นการร้องเรียนกล่าวหาที่ฝ่าฝืนต่อ
ความจริง เป็นละเมิดต่อโจทก์ ส่วนค่าเสียหายมีเพียงใดนั้น ศาลได้ก�ำหนดให้จ�ำเลยโฆษณาในหนังสือ
สยามรัฐรายวันเพียงวันเดียว ประกอบกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่โจทก์ได้ตามค�ำพิพากษา
ของศาลอุทธรณ์ไปแล้วจึงเป็นการสมควร
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2539 การละเมิดชือ่ เสียงและเกียรติคณ ุ ของบุคคลอืน่ บทบัญญัตแิ ห่ง

ป.พ.พ. มาตรา 423 และมาตรา 447 ก�ำหนดให้ผู้กระท�ำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความ
เสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนัน้ และศาลอาจสัง่ ให้ผทู้ ำ� ละเมิดจัดการตามควรเพือ่ ให้ชอื่ เสียงของผูน้ นั้
กลับคืนดีเท่านั้น ที่โจทก์ขอให้เพิกถอนทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดจ�ำเลยเป็นกรณีที่บทบัญญัติมาตรา
ดังกล่าวมิได้ให้ความคุ้มครองไว้ ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ตามค�ำขอดังกล่าวได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2543 แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 447 จะบัญญัติให้จำ� เลยในคดีแพ่ง
ธ.

รับผิดชอบจัดการโฆษณาค�ำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ อันเป็นทางแก้เพือ่ ให้ชอื่ เสียงเกียรติคณ ุ ของโจทก์กลับ


คืนดีกต็ ามแต่เมือ่ ในคดีอาญาศาลได้มคี ำ� พิพากษาให้จำ� เลยโฆษณาค�ำพิพากษาคดีสว่ นอาญาในหนังสือพิมพ์
โดยจ�ำเลยเป็นผู้ช�ำระค่าโฆษณาแล้วเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีแล้ว จึงไม่
จ�ำเป็นที่จะต้องโฆษณาในคดีส่วนแพ่งอีกต่อไปอีก
.ม
กิจกรรม 4.1.3
นาย ก. ถูกนาย ข. เอาไม้หน้าสามฟาด ท�ำให้นาย ก. บาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล
ที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 3 วัน นาง ค. ภริยาชอบด้วยกฎหมายของนาย ก. ต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลนาย
ก. ต่อมานาย ก. ถึงแก่ความตาย นาง ค. จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอะไรจากนาย ข. ได้บ้าง

แนวตอบกิจกรรม 4.1.3
ป.พ.พ. มาตรา 443 บัญญัติว่า “ในกรณีท�ำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพ
รวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจ�ำเป็นอย่างอื่นๆ อีกด้วย
ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาด
ประโยชน์ท�ำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย
สธ ส
4-56 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นท�ำให้บุคคลหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่า


บุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
ตามปัญหา นาย ก. ถูกนาย ข. เอาไม้หน้าสามฟาด ท�ำให้นาย ก. บาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารับการ
รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 3 วัน เนื่องจากนาย ข. ท�ำละเมิดนาย ก. ต่อชีวิต ท�ำให้นาย
ก. ผู้ถูกท�ำละเมิดถึงแก่ความตายซึ่งมิได้ตายในทันทีนั้น ดังนี้ นาง ค. ภริยา นาย ก. ย่อมมีสิทธิเรียกร้อง

.
ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคหนึ่ง และค่ารักษาพยาบาลก่อนที่
นาย ก. จะถึงแก่ความตายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง นอกจากนีแ้ ล้ว การทีน่ าย ก. ซึง่ มีหน้า
สธ สธ
ทีต่ อ้ งอุปการะเลีย้ งดูนาง ค. ภริยาซึง่ ชอบด้วยกฎหมาย ก่อนถึงแก่ความตายตามกฎหมายนัน้ ย่อมท�ำให้

มส . มส
นาง ค. มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะดังกล่าวจากนาย ข. ผู้ท�ำละเมิดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443
วรรคสาม ได้อีกด้วย
สรุป นาง ค. มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ ค่าปลงศพ ค่ารักษาพยาบาลก่อนที่นาย
ก. จะถึงแก่ความตาย และค่าขาดไร้อุปการะจากนาย ข. ได้

เรื่องที่ 4.1.4
อายุความในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ธ.

ในกรณีทมี่ ลี ะเมิดเกิดขึน้ แล้วมีขอ้ ถกเถียงกันระหว่างผูท้ ไี่ ด้รบั ความเสียหายจากการท�ำละเมิดและ


ผูท้ ำ� ละเมิดในเรือ่ งการชดใช้คา่ สินไหมทดแทนทีเ่ กิดขึน้ เช่นนีผ้ ทู้ ไี่ ด้รบั ความเสียหายมีสทิ ธิทจี่ ะน�ำเรือ่ งของ
ตนมาฟ้องเป็นคดีต่อศาลได้ ซึ่งในการยื่นฟ้องคดีนั้น นอกจากโจทก์จะต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายวิธี
.ม
พิจารณาความแล้ว โจทก์จะต้องพึงระวังในเรื่องของระยะเวลาในการใช้สิทธิเรียกร้องของตนที่จะน�ำคดีมา
ยื่นฟ้องต่อศาลด้วยว่ายังอยู่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายก�ำหนดหรือไม่ ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวเรียกว่า
“อายุความ”
ส�ำหรับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสองนั้น
สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ (1) การคืนทรัพย์สิน (2) การใช้ราคาทรัพย์สิน และ (3) การใช้ค่าเสีย
หาย85 ดังนี้ เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าวประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 448 จะเห็นได้ว่า มาตรา 448
เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความของการใช้สิทธิเรียกร้องในการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดอัน
รวมถึงค่าเสียหายในราคาทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นการเรียกร้องให้คืนทรัพย์สิน86 ดังนี้แล้วจึงอาจ
85
ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง บัญญัติว่า “อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้น ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสีย
ไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย”
86
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 228-231.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-57

กล่าวได้วา่ อายุความเพือ่ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพือ่ การละเมิดจึงมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ


(1) อายุความเพื่อการเรียกร้องทรัพย์สิน และ (2) อายุความเพื่อการเรียกร้องค่าเสียหาย

1. อายุความเพื่อการเรียกร้องทรัพย์สิน
การเรียกร้องให้คนื ทรัพย์สนิ นัน้ ได้มบี ทบัญญัตขิ อง ป.พ.พ. ก�ำหนดให้เจ้าของทรัพย์สนิ มีสทิ ธิเรียก

.
ร้องทรัพย์สินคืนจากบุคคลอื่นที่น�ำทรัพย์สินของตนไปโดยละเมิดได้ตลอดไปโดยไม่มีก�ำหนดอายุความ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 133687 เว้นแต่จะมีบุคคลอื่นอ้างอายุความได้สิทธิในทรัพย์สินจากการครอบครอง
สธ สธ
มส . มส
ปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา
138388 แต่ในกรณีที่ไม่อาจเรียกร้องให้คืนทรัพย์ได้แล้ว เนื่องจากทรัพย์นั้นถูกท�ำลายลง เช่นนี้โจทก์ต้อง
ใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด อันมีอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 44889
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2504 กรณีทโี่ จทก์ฟอ้ งว่าจ�ำเลยสบคบกันรือ้ ถอนเอาเครือ่ งยนต์และ
อุปกรณ์ในการหีบอ้อยของโจทก์ไป ขอให้จำ� เลยส่งคืน ถ้าคืนไม่ได้ก็ให้ใช้ราคานั้น ไม่ใช่การเรียกร้องเอา

ค่าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 จึงไม่ถืออายุความตามมาตรา 448 แม้โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปีก็ไม่ขาด
อายุความ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2508 อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 นั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีที่
ผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ถ้าเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินฟ้องร้องเอาทรัพย์ที่ผู้ท�ำ
ละเมิดยึดถือครอบครองของเขาไว้ฐานละเมิดซึง่ โจทก์กย็ อ่ มมีสทิ ธิตดิ ตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
ธ.

จึงน�ำเอาอายุความตามมาตรา 448 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ โจทก์ยังมีสิทธิฟ้องจ�ำเลยได้ตามมาตรา


1336 ประกอบด้วยมาตรา 1382 และ 1383
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2515 การฟ้องเรียกร้องทรัพย์คืนจากจ�ำเลยซึ่งเอาของโจทก์ไปโดย
ละเมิดไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2518 สามียกที่ดินสินสมรสให้ผู้อื่นโดยภริยามิได้ยินยอม ภริยาเพิก
.ม
ถอนและใช้สิทธิติดตามเรียกคืนได้เสมอ เป็นคดีไม่มีอายุความฟ้องร้อง แม้ว่าจะเป็นเวลานานสักปานใด
และทราบเรือ่ งเมือ่ ใด เว้นแต่กรณีจะต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1382 และ 1383 ภริยาจึงจะหมดสิทธิตดิ ตาม
เอาคืน และน�ำมาตรา 164 มาปรับแก่คดีไม่ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2519 ทรัพย์มรดกตกทอดเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทตั้งแต่เจ้ามรดก
ตาย ผู้จัดการมรดกเอาไปโอนให้แก่ผู้ที่ไม่ใช่ทายาท ทายาทติดตามเอาคืนได้ กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องเพิก
ถอนการฉ้อฉล ไม่เกี่ยวกับการจัดการมรดกและไม่มีอายุความเรียกคืนจนกว่าจะหมดสิทธิตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1382 และ 1383

87
เรื่องเดียวกัน. หน้า 230.
88
เรื่องเดียวกัน. หน้า 227.
89
เรื่องเดียวกัน. หน้า 231.
สธ ส
4-58 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2539 ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่ผู้ปลูกบ้านได้ปลูกบ้านในที่ดินของผู้อื่น


โดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินของบุตรสาว และครอบครองที่ดินมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ปลูก
บ้านดังกล่าวได้ท�ำละเมิดสิทธิของเจ้าของที่ดินมาตลอดระยะเวลาที่ยังอยู่ในที่ดิน แม้ฟ้องเกิน 10 ปีจึงไม่
ขาดอายุความ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2541 อายุความ 1 ปี เกี่ยวกับละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448

.
วรรคหนึ่ง ใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้ต้องเสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด แต่คดีนี้โจทก์ฟ้อง
ขอให้บังคับจ�ำเลยที่ 1 ด�ำเนินการรังวัดท�ำแผนที่เพื่อออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ ฉะนั้นตราบใดที่จ�ำเลยที่
สธ สธ
1 ยังไม่ดำ� เนินการให้โจทก์โดยปราศจากข้ออ้างตามกฎหมาย โจทก์ยอ่ มฟ้องขอให้บงั คับจ�ำเลยที่ 1 ด�ำเนิน

มส . มส
การตามค�ำขอของโจทก์ได้ เพราะสิทธิฟ้องร้องของโจทก์ย่อมมีอยู่ตลอดไปตราบเท่าที่จ�ำเลยที่ 1 ยังไม่
ด�ำเนินการรังวัดท�ำแผนที่ให้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547 การใช้สิทธิฟ้องขับไล่ในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สิน
ของตนไม่ให้จ�ำเลยซึ่งไม่มีสิทธิเกี่ยวข้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีก�ำหนดอายุความ ส่วนการเรียก
ค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีก�ำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึง

ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8875/2553 การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาเงินของโจทก์คืนจากจ�ำเลยเนื่องจาก
ม. ปลอมลายมือชื่อถอนเงินจากบัญชีลูกค้าของโจทก์แล้วฝากเข้าบัญชีของจ�ำเลย จึงเป็นการฟ้องเพื่อ
ติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุ
ความ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาด
ธ.

อายุความ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6941/2560 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจ�ำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันขุดเอาหน้าดินของ
โจทก์ซงึ่ มีสภาพเป็นดินลูกรังไปเพือ่ ใช้ในการถมก่อสร้างคันกัน้ น�ำ้ และมีคำ� ขอให้จำ� เลยทัง้ เจ็ดร่วมกันคืนดิน
หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาเป็นค�ำฟ้องใช้สทิ ธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์
ในตัวทรัพย์ที่จะเรียกร้องจากผู้เอาทรัพย์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจาก
มูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 ฟ้องโจทก์ ไม่ขาดอายุความ
.ม
แต่ในกรณีทเี่ ป็นการแย่งการครอบครองในทรัพย์สนิ โดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา
1375 ผูค้ รอบครองทรัพย์สนิ มีสทิ ธิทจี่ ะฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์สนิ คืนซึง่ การครอบครองภายในก�ำหนดอายุ
ความ คือ 1 ปีนบั แต่เวลาถูกแย่งการครอบครองและไม่ถอื เป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าของทรัพย์สนิ ทีไ่ ม่มอี ายุ
ความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 133690
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2519 เมือ่ รถยนต์คนั พิพาทเป็นกรรมสิทธิข์ องโจทก์ โจทก์ยอ่ มมีสทิ ธิ
ติดตามเอาคืนตามมาตรา 1336 ได้เสมอ ไม่มีอายุความ มาตรา 1375 เป็นการฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบ
ครองในทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาคืน จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง เมื่อโจทก์มี
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะน�ำมาตรา 1375 มาใช้บังคับมิได้
90
เรื่องเดียวกัน. หน้า 228-229.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-59

2. อายุความเพื่อการเรียกค่าเสียหาย


ป.พ.พ. มาตรา 448 บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาด
อายุความเมือ่ พ้นปีหนึง่ นับแต่วนั ทีผ่ ตู้ อ้ งเสียหายรูถ้ งึ การละเมิดและรูต้ วั ผูจ้ ะพึงต้องใช้คา่ สินไหมทดแทน
หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันท�ำละเมิด
แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำ� หนด

.
อายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ”
สธ สธ
จากบทบัญญัติข้างต้น สามารถแยกอธิบายได้ดังนี้
2.1 อายุความในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ส�ำหรับก�ำหนดอายุความ

มส . มส
ส�ำหรับการเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรกมี 2 กรณี คือ
2.1.1 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
ส�ำหรับกรณีนี้อายุความ 1 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ทั้งละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน
ด้วย แต่หากผูเ้ สียหายรูเ้ พียงอย่างใดอย่างหนึง่ คือรูว้ า่ มีละเมิดเกิดขึน้ แต่ไม่รตู้ วั ผูจ้ ะพึงใช้คา่ สินไหมทดแทน
หรือไม่รู้ว่ามีละเมิดเกิดขึ้นและไม่รู้ว่าใครเป็นผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่นนี้อายุความในกรณีนี้จะยัง

ไม่เริ่มนับ
ส�ำหรับ “ผูจ้ ะพึงต้องใช้คา่ สินไหมทดแทน” ตามมาตรานี้ กฎหมายไม่ได้จำ� กัดเฉพาะว่าต้อง
เป็นเพียงผูท้ ำ� ละเมิดเท่านัน้ แต่ยงั หมายรวมถึงบุคคลทีต่ อ้ งรับผิดในการกระท�ำละเมิดของบุคคลอืน่ หรือใน
ความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ เพราะทรัพย์ดว้ ย เช่น นายจ้างในกรณีลกู จ้างท�ำละเมิดในขณะท�ำงานในทางการทีจ่ า้ ง
ธ.

ผู้ปกครองในกรณีที่ผู้ไร้ความสามารถท�ำละเมิดในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน หรือเจ้าของสัตว์หรือ
บุคคลผู้รับเลี้ยงแทนเจ้าของสัตว์ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ เป็นต้น91
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2550 ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ก�ำหนดอายุความสิทธิ
เรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรก มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้
จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่สองมีอายุความสิบปีนับแต่วันท�ำละเมิด หากเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง
.ม
ดังกล่าวก็ถือว่าสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายขาดอายุความ
ในกรณีที่ผ้เู สียหายเป็นหน่วยงานราชการ การนับอายุความ 1 ปี จะเริม่ ต้นเมื่อบุคคลที่เป็น
ผูม้ อี ำ� นาจในการฟ้องคดีแทนหน่วยงานราชการนัน้ ได้รถู้ งึ ละเมิดและรูต้ วั ผูจ้ ะพึงต้องใช้คา่ สินไหมทดแทน92
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2538 เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐในจังหวัดประมาทไม่ตรวจ
สอบรายงานการเงินจนเป็นเหตุให้ขา้ ราชการยักยอกเงินของทางราชการไป จึงถือว่าจังหวัดรูถ้ งึ ละเมิดและ
รู้ตัวผู้พึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว อายุความจึงเริ่มนับจากวันดังกล่าว

91
เรื่องเดียวกัน.
หน้า 237.
92
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 278.
สธ ส
4-60 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2542 จ�ำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจ�ำเลยที่ 2 ขับรถบรรทุกไปใน


ทางการที่จ้างของจ�ำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกไปเกี่ยวสายเคเบิล
โทรศัพท์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2536 โจทก์มีหนังสือทวงถามเรียก
ให้จำ� เลยทัง้ สองชดใช้คา่ เสียหายเมือ่ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2536 หนังสือดังกล่าวลงนามโดย ส. หัวหน้า
กองบ�ำรุงรักษาที่ 1 ท�ำการแทนผู้อ�ำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย มีข้อความว่า จ�ำเลยที่ 1

.
กระท�ำละเมิดให้จ�ำเลยที่ 2 น�ำเงินค่าเสียหาย 243,230 บาทไปช�ำระ หากไม่ชำ� ระโจทก์จะด�ำเนินการตาม
กฎหมายต่อไป แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ได้รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ข้อเท็จจริง
สธ สธ
จึงฟังได้ว่า ส. ได้รับมอบอ�ำนาจให้เป็นผู้แทนโจทก์โดยชอบ และถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึง

มส . มส
ต้องใช้คา่ สินไหมทดแทนอย่างช้าทีส่ ดุ ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2536 โจทก์ฟอ้ งคดีนเี้ มือ่ วันที่ 30 กันยายน
พ.ศ. 2537 พ้นก�ำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8122/2548 ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการชดใช้ค่าเสีย
หายอันเกิดจากละเมิด พ.ศ. 2529 ข้อ 9 ได้มอบหมายการปฏิบตั ริ าชการให้ผอู้ ำ� นวยการกอง เมือ่ ผูอ้ ำ� นวย
การกองเรียกให้นายจ้างรับผิดในมูลละเมิดของลูกหนีท้ เี่ กิดในทางการทีจ่ า้ งจึงเป็นการกระท�ำในฐานะทีเ่ ป็น

ผู้แทนกรุงเทพมหานครมิใช่ในฐานะส่วนราชการของกรุงเทพมหานครเท่านั้น ดังนั้นเมื่ออ�ำนวยการกอง
ลงชื่อรับทราบคดีและมีค�ำสั่งให้ด�ำเนินการต่อไปตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ต้องถือว่า
กรุงเทพมหานครได้รถู้ งึ ละเมิดและรูต้ วั ผูพ้ งึ ต้องชดใช้คา่ สินไหมทดแทนแล้วแต่วนั นัน้ เมือ่ กรุงเทพมหานคร
ฟ้องคดีในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542 จึงพ้นก�ำหนด 1 ปีนับแต่วันดังกล่าว คดีจึงขาดอายุความ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2550 โจทก์คือกรมทางหลวง ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีอธิบดีเป็นผู้
ธ.

แทนการนับอายุความละเมิดตามมาตรา 448 วรรคหนึง่ ต้องเริม่ นับตัง้ แต่วนั ทีอ่ ธิบดีผแู้ ทนโจทก์รถู้ งึ ละเมิด
และรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2554 โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล มีอธิบดีเป็น
ผู้แทนตามกฎหมายซึ่งมีอ�ำนาจหน้าที่บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบของราชการ รวมทั้งเป็น
ผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฉะนั้นการนับอายุความ
.ม
ละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่อธิบดีผู้แทนโจทก์รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้
จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่ออธิบดีผู้แทนโจทก์ทราบเรื่องที่ตัวแทนจ�ำเลยท�ำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวัน
ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 21
กรกฎาคม พ.ศ. 2547 นับถึงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นก�ำหนด 1 ปีคดีของ
โจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ป. และ น. มีต�ำแหน่งเป็นนายช่างแขวงการทางชัยนาท ส่วน ธ. เป็นนิติกรประจ�ำกอง
นิติการซึ่งเป็นเพียงข้าราชการในกรมของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ผู้แทนของโจทก์โดยตรง แม้เจ้าหน้าที่ของ
โจทก์จะรู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 แล้วก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้
ว่าโจทก์ได้รถู้ งึ ละเมิดและรูต้ วั ผูจ้ ะพึงต้องใช้คา่ สินไหมทดแทนอันจะเป็นเหตุให้ตอ้ งเริม่ นับอายุความตัง้ แต่
วันเวลาดังกล่าว
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-61

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8550/2554 เหตุละเมิดคดีนเี้ กิดเมือ่ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537


โจทก์มีหนังสือแจ้งให้แขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 มีหนังสือทวงถามให้จ�ำเลยทั้งสามช�ำระค่าเสียหาย
แขวงการทางนครราชสีมาที่ 2 จึงมีหนังสือแจ้งให้จ�ำเลยทั้งสามช�ำระค่าเสียหาย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม
พ.ศ. 2537 ถึงจ�ำเลยที่ 2 และที่ 3 และฉบับวันที่ 5 มิถุนายน ถึงจ�ำเลยที่ 1 แสดงว่าอย่างช้าที่สุดในวันที่
5 มิถุนายน พ.ศ. 2538 โจทก์ได้รู้แล้วว่าผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจ�ำเลยทั้งสาม แม้โจทก์จะ

.
อ้างว่าต้องรับผิดชอบคดีที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้มีงานคั่งค้างเป็นเหตุให้รายงานอธิบดี
โจทก์ทราบล่าช้า แต่การใช้เวลาด�ำเนินการเนิน่ นานไปจนผิดปกติเช่นนี้ โจทก์ควรมีพยานหลักฐานมาแสดง
สธ สธ
ให้ปรากฏว่ามีการด�ำเนินการอย่างไรบ้างและไปติดขัดอยูท่ ใี่ ด และไม่ปรากฏว่าโจทก์เร่งรัดไปยังแขวงการ

มส . มส
ทางนครราชสีมาที่ 2 เพิม่ เติมหรือด�ำเนินการอย่างหนึง่ อย่างใดทัง้ ทีร่ แู้ ล้วว่าผูท้ จี่ ะชดใช้คา่ สินไหมทดแทน
คือจ�ำเลยทั้งสามแต่กลับเพิ่งจะมีบันทึกข้อความรายงานถึงอธิบดีโจทก์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
และอธิบดีโจทก์ลงนามรับทราบในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ภายหลังวันเกิดเหตุเกือบ 10 ปี ซึ่งเป็น
ระยะเวลานานเกินสมควรกว่าขั้นตอนการปฏิบัติราชการตามปกติ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า โจทก์เพิ่ง
จะรู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เชื่อว่าโจทก์ได้รู้หรือ

ควรรูถ้ งึ ละเมิดและรูต้ วั ผูจ้ ะพึงต้องใช้คา่ สินไหมทดแทนก่อนวันทีโ่ จทก์ฟอ้ งคดีนเี้ มือ่ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.
2547 เกิน 1 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2562 พระราชบัญญัติความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.
2539 มาตรา 10 วรรคสอง เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ มีข้อความขัด
ธ.

หรือแย้งกับ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป จึงมีผลเป็นการยกเว้นมาตรา 448


วรรคหนึ่ง เฉพาะในส่วนที่ก�ำหนดให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแก่มูลละเมิดขาดอายุความเมื่อพ้นปี
หนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น แต่ไม่มี
ข้อความขัดหรือแย้งและมีผลเป็นการยกเว้นบทบัญญัตมิ าตรา 448 วรรคหนึง่ ในส่วนทีก่ ำ� หนดว่าสิทธิเรียก
ร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดขาดอายุความเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันท�ำละเมิดก�ำหนดอายุความ 10 ปี
นับแต่วันท�ำละเมิดในส่วนนี้ยังคงใช้บังคับในกรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ด้วย
.ม
ในกรณีที่โจทก์รู้ถึงละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว แต่การท�ำละเมิด
ดังกล่าวยังเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาล เช่นนี้โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกร้อง
ค่าเสียหายย้อนหลังไปเพียง 1 ปีนับตั้งแต่วันฟ้องคดีเท่านั้น93
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2508 การเรียกค่าเสียหายในกรณีละเมิดแย่งท�ำนานั้นมีอายุ
ความ 1 ปี ค่าเสียหายในตอนที่ท�ำนามาก่อนนั้นขาดอายุความ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2509 โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจ�ำเลยที่ 1 ฐานจ�ำเลยที่ 1
รูเ้ ห็นยินยอมให้จำ� เลยที่ 2 ละเมิดอยูบ่ า้ นพิพาท โจทก์มสี ทิ ธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหาย
ที่เกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจ�ำเลยที่ 1

93
เรื่องเดียวกัน. หน้า 294.
สธ ส
4-62 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2523 โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเฉพาะที่ได้รับจากการปิดกั้น


ทางภาระจ�ำยอมภายในเวลา 1 ปีนับแต่วันฟ้อง มิได้เรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น จึงไม่ขาดอายุ
ความละเมิด
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5588/2551 การที่จ�ำเลยทั้งสองเข้าไปแผ้วถาง ก่อสร้าง แล้วเข้า
ครอบครองท�ำประโยชน์ในป่าชายเลนโดยไม่มีสิทธิเรื่อยมาเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการท�ำละเมิดอย่างต่อเนื่อง

.
ตั้งแต่วันที่โจทก์ตรวจพบเรื่อยมา จึงมีลักษณะเป็นการกระท�ำต่อเนื่องดังที่โจทก์ได้นำ� สืบให้เห็นประจักษ์
แล้ว ฉะนั้นตราบใดที่จ�ำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไป ละเมิดก็ยังคงมีอยู่ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจบังคับสิทธิ
สธ สธ
เรียกร้องได้ตลอดเวลาจนกว่าจ�ำเลยทั้งสองจะหยุดการท�ำละเมิด เมื่อก่อนฟ้อง 1 ปี จ�ำเลยทั้งสองยังไม่

มส . มส
หยุดการท�ำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหาย 1 ปี ย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่โจทก์ฟ้องคดีจนถึงวันที่
31 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ได้ ค่าเสียหายจากการท�ำละเมิดของจ�ำเลยทั้งสองย้อนหลังไป 1 ปี ตั้งแต่วันฟ้อง
จึงไม่ขาดอายุความ ส�ำหรับค่าเสียหายในส่วนที่เกิน 1 ปี แล้วเท่านั้นที่ขาดอายุความ
2.1.2 10 ปีนับแต่วนั ท�ำละเมิด ส�ำหรับการนับอายุความ 10 ปี นัน้ เริม่ นับตัง้ แต่วนั ท�ำละเมิด
หมายความว่าการนับอายุความจะเริม่ นับตัง้ แต่วนั ทีม่ กี ารท�ำละเมิดเกิดขึน้ แม้วา่ ผูเ้ สียหายจะไม่รถู้ งึ ละเมิด

หรือไม่รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ตาม ดังนี้ ถ้าเมื่อมีการท�ำละเมิดเกิดขึ้นและระยะเวลาผ่าน
พ้นจากวันที่มีการท�ำละเมิดเกินกว่า 10 ปี เช่นนี้ก็ถือว่าคดีละเมิดดังกล่าวขาดอายุความ
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4843/2540 การที่ผู้สมัครสอบแจ้งวุฒิการศึกษาไม่ตรงต่อความจริง
ธ.

เกิดขึน้ และเป็นผลส�ำเร็จเป็นละเมิดตัง้ แต่บคุ คลนัน้ สมัครสอบ มิใช่เป็นการท�ำละเมิดต่อเนือ่ ง เมือ่ ผูเ้ สียหาย


ยื่นฟ้องเกิน 10 ปีนับแต่วันสมัครสอบ คดีจึงขาดอายุความแล้ว
2.2 อายุความในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดทางอาญา ในบางกรณี
การกระท�ำทีเ่ กิดขึน้ อาจเป็นทัง้ ความผิดละเมิดตามกฎหมายแพ่ง และเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาด้วย
เช่น ความผิดฐานท�ำร้ายร่างกาย ลักทรัพย์ ฉ้อโกง เป็นต้น ซึง่ ผูเ้ สียหายอาจน�ำมาฟ้องเป็นคดีทงั้ ทางแพ่ง
และอาญา หรือที่เรียกว่าคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสองได้บัญญัติเรื่องอายุ
.ม
ความในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิดทางอาญาไว้ดังนี้
“แต่ถา้ เรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และมีกำ� หนด
อายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้ ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ”
ตามความของบัญญัตขิ า้ งต้นจะใช้ในกรณีทขี่ อ้ เท็จจริงทีเ่ กิดขึน้ เป็นการกระท�ำละเมิดตามกฎหมาย
แพ่ง และเป็นการกระท�ำผิดกฎหมายอาญาด้วย ซึง่ แต่เดิมนัน้ ถ้าอายุความในคดีอาญายาวกว่าคดีแพ่ง ให้
น�ำอายุความในคดีอาญามาใช้ในการฟ้องคดีแพ่ง94 แต่ตอ่ มาได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิม่ เติม ป.วิ.อ. ฉบับที่ 24
พ.ศ. 2548 ออกมายกเลิกความในมาตรา 51 ของ ป.วิ.อ. และให้ใช้ความใหม่ดังนี้
“มาตรา 51 ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องคดีอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่ง เนื่องจากความผิดนั้น
ย่อมระงับไปตามก�ำหนดเวลาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา แม้

94
เรื่องเดียวกัน. หน้า 304.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-63

ถึงว่าผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตในมาตรา 193/20 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะเป็นผู้ฟ้องหรือได้


ฟ้องต่างหากจากคดีอาญาก็ตาม
ถ้าคดีอาญาใดได้ฟ้องต่อศาลและได้ตัวผู้กระท�ำความผิดมายังศาลด้วยแล้ว แต่คดียังไม่เด็ดขาด
อายุความซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิจะฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตามมาตรา 95 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญา และศาลพิพากษาลงโทษจ�ำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ฟ้องคดีแพ่ง

.
สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีตามก�ำหนดอายุความในมาตรา 193/32 แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์
สธ สธ
ถ้าโจทก์ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษายกฟ้องปล่อยจ�ำเลยจนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่จะได้ยื่น

มส . มส
ฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”
จากความใน ป.วิ.อ. มาตรา 51 ข้างต้น สามารถอธิบายได้ดังนี้
1) กรณียังไม่มีการฟ้องคดีอาญา ในกรณีที่มีการฟ้องละเมิดตามกฎหมายแพ่ง แต่ยังไม่มี
การฟ้องคดีอาญา ดังนี้ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึง่ บัญญัตใิ ห้ใช้อายุความทางอาญาตามมาตรา 95 แห่ง
ป.อ. ซึ่งยาวกว่าอายุความทางแพ่ง ดังนี้เมื่ออายุความในการฟ้องคดีอาญาครบแล้ว สิทธิของผู้เสียหายใน

การฟ้องละเมิดตามกฎหมายแพ่งเป็นอันระงับไปด้วยรวมถึงกรณีทผี่ เู้ ยาว์หรือผูว้ กิ ลจริตเป็นผูฟ้ อ้ งคดีดว้ ย
แม้ว่าตามหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตจะได้รับการขยายอายุความก็ตาม95
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2516 การกระท�ำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทท�ำให้ทรัพย์ของ
ผู้อื่นเสียหายเป็นมูลความผิดซึ่งมีอายุความฟ้องร้องทางอาญา 10 ปี สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องเรียก
ธ.

ค่าเสียหายจึงต้องถือตามอายุความทางอาญา หาใช่ถืออายุความ 1 ปีฐานละเมิดไม่


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2524 ป.วิ.อ. มาตรา 59 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้อง
ทางอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไป ตาม ป.อ. หากการ
กระท�ำของจ�ำเลยเป็นความผิดก็เป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 300 ซึ่งต้องระวางโทษจ�ำคุกไม่เกิน
สามปี อายุความจึงมีก�ำหนดสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4076/2533 การทีโ่ จทก์เป็นผูเ้ สียหายไม่รอ้ งทุกข์ภายในก�ำหนดเวลา
.ม
3 เดือน ท�ำให้คดีอาญาขาดอายุความ ตาม ป.อ. มาตรา 96 นั้น ไม่มีผลท�ำให้คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดี
อาญานัน้ ขาดอายุความไปด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึง่ ทัง้ นีเ้ พราะการร้องทุกข์ เป็นกรณีทดี่ ำ� เนิน
การเมื่อจะฟ้องคดีอาญาเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2540 เมื่อคดีแพ่งเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอัน
เป็นความผิดที่มีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จ�ำเลยถูกฟ้องว่ากระท�ำผิดฐานบุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์
และท�ำให้เสียทรัพย์มีโทษสูงสุดจ�ำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3)
2) กรณีที่มีการฟ้องคดีอาญา ส�ำหรับกรณีที่มีการฟ้องคดีอาญา สามารถแบ่งพิจารณาได้
ดังนี้
95
เพ็ง เพ็งนิติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 346.
สธ ส
4-64 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

(1) ถ้ามีการฟ้องคดีอาญาและได้ตัวจ�ำเลยมาพิจารณาคดีแล้ว หากคดีอาญาดังกล่าว


ยังไม่เด็ดขาด เช่นนี้หากโจทก์มีการฟ้องคดีแพ่ง (ละเมิด) ไปพร้อมกัน อายุความในการฟ้องคดีแพ่ง
(ละเมิด) ย่อมสะดุดหยุดลง96 โดยรอให้การพิจารณาคดีอาญานั้นถึงที่สุดเสียก่อน อายุความในคดีแพ่ง
(ละเมิด) จึงจะเริ่มกลับมานับใหม่
(2) ถ้ามีการฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษจ�ำเลยโดยเด็ดขาดแล้ว ต่อมาโจทก์

.
มาฟ้องคดีแพ่ง (ละเมิด) เช่นนี้คดีแพ่ง (ละเมิด) ดังกล่าวย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา
193/3297 ส�ำหรับการพิพากษาลงโทษจ�ำเลยโดยเด็ดขาดคือ การที่ค�ำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าวถึง
สธ สธ
ที่สุด ไม่ว่าคดีจะอยู่ในศาลชั้นใดก็ตาม98

มส . มส
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2542 การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
หรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นว่าเป็นการกระท�ำที่เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญา
หรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องในทางแพ่งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายอันเนื่องมาจากจ�ำเลยใช้หนังสือ
มอบอ�ำนาจปลอมก็โดยอาศัยเหตุทโี่ จทก์เคยแจ้งความให้อยั การศาลมณฑลทหารบกฟ้องในทางอาญาเรือ่ ง

จ�ำเลยใช้หนังสือมอบอ�ำนาจปลอมดังกล่าว ซึ่งศาลมณฑลทหารบกลงโทษจ�ำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว นับ
ได้ว่าคดีแพ่งและคดีอาญาต่างมีประเด็นโดยตรงอย่างเดียวกัน คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ดังนัน้ ในการพิจารณาคดีสว่ นแพ่งทีว่ า่ จ�ำเลยใช้หนังสือมอบอ�ำนาจปลอมหรือไม่ ศาลจ�ำต้องถือข้อเท็จจริง
ตามคดีอาญาว่าจ�ำเลยใช้เอกสารปลอม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วโดยศาลลงโทษ
ธ.

จ�ำเลยก่อนที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีก�ำหนดอายุความ 10 ปี ตาม


มาตรา 193/32 (มาตรา 168 เดิม) และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม คดีอาญาถึงที่สุดวันที่ 28 เมษายน
พ.ศ. 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
(3) ถ้ามีการฟ้องคดีอาญาอย่างเดียว และศาลพิพากษายกฟ้องปล่อยจ�ำเลยจนคดี
เด็ดขาด ต่อมาโจทก์มาฟ้องคดีแพ่ง (ละเมิด) อายุความส�ำหรับคดีแพ่ง (ละเมิด) ดังกล่าวให้เป็นไปตาม
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
.ม
กิจกรรม 4.1.4
นายด�ำขับรถจักรยานยนต์มาชนรถยนต์ของนายขาวได้รบั ความเสียหาย โดยนายด�ำได้ยอมรับว่า
ตนขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทมาชนรถยนต์ของนายขาวเอง ดังนีห้ ากนายด�ำไม่ยอมชดใช้คา่ เสียหาย
ให้แก่นายขาว นายขาวต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายด�ำภายในกี่ปี

96
เรื่องเดียวกัน.
หน้า 349.
97
เรื่องเดียวกัน.
หน้า 350.
98
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 306.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-65


แนวตอบกิจกรรม 4.1.4
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึง่ บัญญัตวิ า่ “สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มลู ละเมิดนัน้ ท่าน
ว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหม
ทดแทน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันท�ำละเมิด”
ตามปัญหา เมื่อนายขาวรู้ว่ารถยนต์ของตนได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชนอันเกิดแต่มูล

.
ละเมิดนัน้ และนายขาวรูต้ วั ผูจ้ ะพึงใช้สนิ ไหมทดแทนคือ นายด�ำ ดังนี้ นายขาวจึงต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสีย
สธ สธ
หายจากนายด�ำได้ภายในระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่นายขาวรู้ถึงละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหม

มส . มส
ทดแทน มิฉะนั้นจะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
สรุป นายขาวต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากนายด�ำภายในระยะเวลาหนึ่งปี

ธ.
.ม
สธ ส
4-66 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ตอนที่ 4.2


นิรโทษกรรม
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 4.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
4.2.1 การป้องกันและการกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย

มส . มส
4.2.2 การท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อป้องกันภัยฉุกเฉิน
4.2.3 การใช้กำ� ลังป้องกันสิทธิ
4.2.4 การป้องกันความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์อันเกิดขึ้นจากสัตว์

แนวคิด

1. บุคคลใดกระท�ำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วย
กฎหมาย แม้จะเกิดความเสียหายใดๆ ต่อผูอ้ นื่ จากการกระท�ำดังกล่าว บุคคลนัน้ ไม่ตอ้ ง
รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
2. บุคคลใดท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อบ�ำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็น
สาธารณะโดยฉุกเฉิน หากความเสียหายนัน้ ไม่เกินสมควรแก่ภยันตราย บุคคลนัน้ ไม่ตอ้ ง
ธ.

รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
3. บุคคลใดใช้ก�ำลังเพื่อป้องกันสิทธิของตนโดยตามพฤติการณ์แล้วไม่สามารถขอให้ศาล
หรือเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงทีได้ และหากไม่ท�ำในทันที สิทธิของตนอาจต้องประวิงไปมาก
หรืออาจสาบสูญไป บุคคลนั้นไม่ต้องผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน
4. ในกรณีทมี่ สี ตั ว์ของผูอ้ นื่ เข้ามาท�ำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์ ผูค้ รองอสังหาริมทรัพย์
.ม
นั้นสามารถจับสัตว์ดังกล่าวและยึดไว้เพื่อเป็นประกันค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 4.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาการป้องกันและการกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาการท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์ของผู้อ่ืนเพื่อป้องกันภัย
ฉุกเฉินได้
3. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาการใช้ก�ำลังป้องกันสิทธิได้
4. อธิบายและวินจิ ฉัยปัญหาการป้องกันความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์อนั เกิดขึน้ จากสัตว์
ได้
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-67

ความน�ำ


โดยหลักกฎหมายเรื่องละเมิดนั้น คือการที่บุคคลต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคล
อีกฝ่ายหนึ่งที่ได้รับความเสียหายจากการกระท�ำที่ผิดกฎหมายของตน ไม่ว่าจะเป็นการกระท�ำที่เกิดจาก

.
การจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม ในบางกรณีที่แม้ว่าบุคคลจะกระท�ำการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสีย
สธ สธ
หายแก่บคุ คลอืน่ แล้ว แต่กฎหมายถือว่าการกระท�ำดังกล่าว ผูก้ ระท�ำไม่ตอ้ งรับผิดหรือรับผิดเพียงจ�ำกัดซึง่
ป.พ.พ. บัญญัติกรณีดังกล่าวในเรื่อง “นิรโทษกรรม”

มส . มส
ในบทบัญญัติ ตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 5 ละเมิด หมวด 3 นิรโทษกรรม มาตรา 449-452 สามารถ
แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 เรื่องคือ
1. การป้องกันและการกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 449)
2. การท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อป้องกันภัยฉุกเฉิน (มาตรา 450)
3. การใช้กำ� ลังป้องกันสิทธิ (มาตรา 451)

4. สิทธิของผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ที่จะจับสัตว์ของผู้อื่น (มาตรา 452)

เรื่องที่ 4.2.1
ธ.

การป้องกันและการกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย

บทบัญญัติเรื่องแรกที่จะศึกษาในหมวด “นิรโทษกรรม” นี้ คือเรื่อง “การป้องกันและการกระท�ำ


ตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 449 บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ดังนี้
.ม
“บุคคลใดเมือ่ กระท�ำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายก็ดี กระท�ำตามค�ำสัง่ อันชอบด้วยกฎหมาย
ก็ดี หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่นไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
ผู้ต้องเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
หรือจากบุคคลผู้ให้ค�ำสั่งโดยละเมิดนั้นก็ได้”
ป.พ.พ. มาตรา 449 สามารถแยกอธิบายออกได้เป็น 3 ส่วนคือ การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย และกรณีที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

1. การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้บุคคลที่กระท�ำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ปรากฏว่าการกระท�ำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น เช่นนี้บุคคลที่กระท�ำการดังกล่าวไม่ต้องรับ
ผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระท�ำของตน
สธ ส
4-68 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ส�ำหรับการพิจารณาว่าการกระท�ำอย่างไรจึงจะถือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น


เนื่องจาก ป.พ.พ. มิได้นิยามค�ำจ�ำกัดความของ “การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย” เอาไว้ จึงต้อง
พิจารณาเทียบเคียงจากบทบัญญัตเิ รือ่ งการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแห่ง ป.อ. มาตรา 68 ซึง่ บัญญัติ
ไว้ดังนี้
“ผู้ใดจ�ำต้องกระท�ำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการ

.
ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้ท�ำพอสมควรแก่เหตุ การกระท�ำ
นั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”
สธ สธ
จากบทบัญญัติข้างต้น การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย คือการที่บุคคลกระท�ำการใดๆ เพื่อ

มส . มส
ป้องกันตนเองหรือผูอ้ นื่ จากภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันเป็นละเมิดต่อกฎหมาย และภยันตราย
ดังกล่าวเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ซึ่งการกระท�ำเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่นนั้นต้องเป็นการกระท�ำที่พอ
สมควรแก่เหตุภยันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย เช่น ผู้ก่อภัยใช้อาวุธเช่น มีด ท่อนไม้ ในการก่อภยันตราย
ผู้ป้องกันอาจใช้อาวุธชนิดเดียวกันในการป้องกันได้ถือเป็นการป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ เป็นต้น99 แต่
หากการป้องกันนัน้ ผูก้ ระท�ำการป้องกันกระท�ำไปโดยเกินกว่าเหตุ เช่นนีบ้ คุ คลนัน้ ต้องรับผิดชดใช้คา่ สินไหม

ทดแทนในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ จากการกระท�ำดังกล่าวของตนแต่ถา้ ความเสียหายนัน้ เกิดขึน้ จากความผิด
ของผูต้ อ้ งเสียหายประกอบด้วย เช่นนีส้ ามารถลดค่าสินไหมทดแทนลงได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442
เมือ่ บุคคลใดป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และปรากฏว่าการป้องกันดังกล่าวก่อให้เกิดความ
เสียหายต่อผู้อื่นซึ่งไม่ใช่ผู้ก่อเหตุประทุษร้าย เช่นนี้ผู้กระท�ำการป้องกันนั้นไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนต่อผู้ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด100
ธ.

อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2484 มีผู้ท�ำท�ำนบกั้นน�้ำโดยละเมิดกฎหมาย เป็นเหตุให้น�้ำท่วมนา
เสียหาย เจ้าของนาขุดท�ำนบนั้นเสียได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2492 สุกรบ้านเข้ากินผลไม้ในไร่ เจ้าของไร่ใช้ปืนยิงตายเป็นการ
ป้องกันเกินสมควร เพราะสุกรบ้านไม่ดรุ า้ ย มีทางจับโดยละม่อมได้โดยไม่จำ� เป็นต้องยิง ต้องใช้คา่ สินไหม
.ม
ทดแทน แต่เจ้าของสัตว์ปล่อยปละละเลยให้สัตว์เข้าไปในไร่ของเขาบ่อยๆ เจ้าของมีส่วนผิดด้วย ศาลมี
อ�ำนาจลดค่าเสียหายลงได้ตามมาตรา 442
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2507 ทีจ่ ะเป็นนิรโทษกรรมตามมาตรา 449 นัน้ ต้องเป็นการป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นจ�ำเลยจะอ้างการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งในทางอาญา จ�ำเลยก็ยังต้อง
รับโทษมาปัดความรับผิดไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนหาได้ไม่
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2515 โจทก์ปิดกั้นล�ำเหมืองพิพาท เป็นเหตุให้พวกจ�ำเลยไม่มีน�้ำใช้
ท�ำนา พวกจ�ำเลยจึงได้รอื้ ทีป่ ดิ กัน้ ออก เช่นนีเ้ ป็นการกระท�ำเพือ่ ป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย
แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จ�ำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน

99
เรื่องเดียวกัน.หน้า 311-312.
100
เรื่องเดียวกัน. หน้า 312.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-69

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2522 ตึกของโจทก์และจ�ำเลยอยู่ห่างกัน 2 เมตร 50 เซนติเมตร


ช่องว่างระหว่างตึกเป็นที่ดินของจ�ำเลย จ�ำเลยจึงชอบที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของจ�ำเลยได้ การที่ฝาผนัง
ตึกของโจทก์ชิดกับเขตที่ดินของจ�ำเลยนี้โจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าฝาผนังตึกของโจทก์ต้องมีสภาพเป็น
ก�ำแพงรั้วกั้นเขตที่ดินโจทก์และจ�ำเลยเป็นธรรมดาที่การวางสิ่งของของจ�ำเลยในที่ดินของจ�ำเลยอาจจะไป
ติดกับฝาผนังตึกของโจทก์ได้การทีจ่ ำ� เลยใช้ประโยชน์จากฝาผนังตึกนีโ้ ดยไม่ปรากฏว่าท�ำให้โจทก์เสียหาย

.
ประการใด จึงไม่เป็นละเมิดสิทธิของโจทก์
เมือ่ ฝาผนังตึกของโจทก์สงู กว่าอาคารของจ�ำเลยจึงเป็นธรรมดาทีน่ ำ�้ ฝนจากหลังคาและฝาผนังตึก
สธ สธ
ของโจทก์ย่อมจะไหลลงไปสู่ทรัพย์สินของจ�ำเลยท�ำให้ทรัพย์สินของจ�ำเลยเสียหาย โจทก์จะต้องจัดการ

มส . มส
ป้องกันหรือแก้ไขแต่โจทก์มไิ ด้จดั การ ฉะนัน้ การทีจ่ ำ� เลยพอกปูนซีเมนต์เชือ่ มหลังคาของจ�ำเลยกับผนังตึก
ของโจทก์จึงเป็นการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นแก่จ�ำเลยหาใช่จ�ำเลยใช้สิทธิไม่สุจริตมีแต่จะเกิด
ความเสียหายแก่โจทก์ประการใดไม่
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498-1499/2529 การที่เจ้าของที่ดินยอมให้โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้
ทางพิพาทสัญจรไปมาเป็นเวลาช้านานหลายสิบปีเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินดังกล่าวให้

เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้วทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ จ�ำเลยปิดกัน้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ใช้รถยนต์
ผ่านเข้าออกไม่ได้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ย่อมได้รับความเสียหาย
เมือ่ จ�ำเลยที่ 6 ท�ำรัว้ ปิดกัน้ ทางพิพาทซึง่ เป็นทางสาธารณะเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ใช้ทางพิพาทเข้า
ออกบ้านของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ใช้ทางพิพาทเข้าออกบ้านของโจทก์ที่
ธ.

2 ไม่ได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 รื้อรั้วที่จ�ำเลยที่ 6 ปิดกั้นออก เพื่อจะได้ใช้


ทางพิพาทต่อไป จึงเป็นการกระท�ำเพื่อป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่จำ� เลยที่ 6 โจทก์ที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2538 คนร้ายเคยเจาะก�ำแพงอิฐบล็อกโรงงานของจ�ำเลยแล้วลักเอา
สิ่งของจากโรงงานไป คนงานของจ�ำเลยจึงคิดวิธีป้องกันไว้ล่วงหน้าก่อนที่ภยันตรายจะถึง โดยขึงเส้นลวด
ไว้ทไี่ ม้สเี่ หลีย่ มตัง้ อยูท่ พี่ นื้ ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้ากับเส้นลวด วันเกิดเหตุกำ� แพงอิฐบล็อกโรงงานจ�ำเลยถูก
.ม
เจาะที่เดิมอีก ผู้ตายเป็นผู้เจาะก�ำแพงอิฐบล็อกแล้วมุดเข้าไปในโรงงานเพื่อลักทรัพย์ของจ�ำเลยแต่ผู้ตาย
เหยียบแผ่นไม้ส่ีเหลี่ยมที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดจนถูกช็อตจนถึงแก่ความตาย ถือว่าจ�ำเลยได้กระท�ำ
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จ�ำเลยย่อมได้รับนิรโทษกรรมไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้
แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9276/2555 ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุและวิ่งไล่ทำ� ร้าย ร. จากโรงลิเกจนไปถึงที่
เกิดเหตุ แล้วใช้มีดฟันแขน ร. ได้รับบาดเจ็บและเตะถีบ ร. จนล้มลง แล้วใช้อาวุธปืนจ่อ ร. พร้อมจะยิง
และพูดว่ามึงตาย อันเป็นการหมายเอาชีวิต ร. นับว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิด
ต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายใกล้จะถึง จ�ำเลยได้หา้ มปรามแล้ว แต่ผตู้ ายไม่เชือ่ ฟัง ในสถานการณ์เช่นนัน้
การที่จ�ำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในทันทีทันใดจึงเป็นการยับยั้งการกระท�ำของผู้ตาย และป้องกันชีวิต ร.
ทั้งจ�ำเลยยิงปืนเพียงนัดเดียว ถือได้ว่าจ�ำเลยกระท�ำพอสมควรแก่เหตุ การกระท�ำของจ�ำเลยจึงเป็นการ
ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.อ. มาตรา 68 จ�ำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
สธ ส
4-70 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ส�ำหรับคดีสว่ นแพ่งนัน้ เมือ่ การกระท�ำของจ�ำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จ�ำเลยจึง


หาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุ
ดังกล่าวจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ส. มารดาผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิด�ำเนินคดี
แทนผู้ตาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 30 ตลอดจนไม่มีสิทธิอุทธรณ์ค�ำพิพากษาศาลชั้นต้น

.
2. การกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย
สธ สธ
มส . มส
นอกจากการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจะได้รบั การยกเว้นไม่ตอ้ งรับผิดชดใช้คา่ สินไหมทดแทน
แล้ว ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้การกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายไม่ต้องรับผิด
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยเช่นกัน ส�ำหรับการกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายนั้น คือการกระท�ำ
ตามค�ำสั่งที่ออกโดยเจ้าพนักงานที่กฎหมายให้อ�ำนาจไว้และผู้รับค�ำสั่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม101 ฉะนั้น
การกระท�ำตามค�ำสั่งของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือนายจ้างจึงไม่ใช่การกระท�ำตามค�ำสั่งอันชอบด้วย
กฎหมายตามมาตรานี102 ้

อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2474 ผู้ที่ได้รับประทานบัตรเหมืองแร่ปล่อยน�้ำล้างแร่เข้าไปในที่ดิน
ของผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ต้นไม้ของเขาเสียหาย ตนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดนั้น ถึงแม้
จะปรากฏว่าได้กระท�ำไปโดยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานราชโลหะกิจก็ดี หาท�ำให้หลุดพ้นจากความรับ
ธ.

ผิดชอบทางแพ่งไม่ แต่เพียงคุ้มครองไม่ต้องมีโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติเหมืองแร่ พ.ศ. 2461


มาตรา 64 เท่านั้น
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2498 ก.ท.ส. ไม่มอี ำ� นาจให้ผใู้ ดใช้กดุ งั ซึง่ โจทก์ซอื้ จากสหประชาชาติ
จ�ำเลยใช้กุดังนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ย่อมเป็นละเมิด จะอ้างว่า ก.ท.ส. อนุญาตให้จ�ำเลยใช้
ไม่ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2505 ค�ำสั่งกระทรวงมหาดไทยไม่ให้นายทะเบียนจดทะเบียนสมรส
.ม
ให้คนไทยกับหญิงต่างด้าวซึ่งสมรสกันจริงๆ ไม่มีกฎหมายสนับสนุน ศาลบังคับให้จดทะเบียนได้
เมือ่ บุคคลใดกระท�ำตามค�ำสัง่ อันชอบด้วยกฎหมาย แม้วา่ การกระท�ำนัน้ จะก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ผอู้ นื่ เช่นนีบ้ คุ คลนัน้ ไม่ตอ้ งรับผิดชอบชดใช้คา่ สินไหมทดแทนเช่นเดียวกับผูก้ ระท�ำการป้องกันโดยชอบ
ด้วยกฎหมาย แต่ถา้ เป็นกรณีทกี่ ระท�ำการเกินค�ำสัง่ และก่อให้เกิดความเสียหาย เช่นนีต้ อ้ งชดใช้คา่ สินไหม
ทดแทนต่อผู้เสียหาย103

101
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 256.
102
เรื่องเดียวกัน. หน้า 256.
103
เรื่องเดียวกัน. หน้า 257.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-71

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2504 โจทก์จ�ำเลยแย่งการครอบครองที่ชายตลิ่งที่น�้ำท่วมถึง นาย
อ�ำเภอบอกให้โจทก์ยกให้จำ� เลยเสีย และอนุญาตให้จำ� เลยล้อมรัว้ ได้ ต่อมาอีก 2-3 วัน โจทก์เอาต้นนุน่ ไป
ปลูกในที่พิพาท จ�ำเลยได้ไปร้องต่อนายอ�ำเภออีก นายอ�ำเภอสั่งให้จำ� เลยถอนได้ จ�ำเลยจึงถอนต้นนุ่นทิ้ง
ตามค�ำสัง่ ของนายอ�ำเภอตามพระราชบัญญัตลิ กั ษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117 ดังนีถ้ อื ได้วา่

.
จ�ำเลยกระท�ำตามค�ำสัง่ ของนายอ�ำเภออันชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการเกินสมควร จ�ำเลยจึงไม่ตอ้ งรับผิด
ตามมาตรา 449
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358-1359/2506 การที่จ�ำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามค�ำสั่งของผู้ว่า

มส . มส
ราชการจังหวัดซึ่งได้สั่งการตามประกาศคณะปฏิวัติรื้อห้องแถวที่ให้โจทก์เช่าทั้งหมด มิใช่รื้อเฉพาะส่วนที่
รุกล�้ำทางสาธารณะเท่านั้น เป็นการท�ำเกินค�ำสั่ง ส่วนที่จ�ำเลยท�ำเกินจะอ้างว่าเป็นนิรโทษกรรมตาม
กฎหมายไม่ได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2528 การถ่ายทอดเสียงการอภิปรายในการประชุมรัฐสภามิใช่การ
โฆษณารายงานการประชุมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 114 วรรคสอง

จึงไม่ได้รบั เอกสิทธิแ์ ละเมือ่ ท�ำการถ่ายทอดแล้วปรากฏว่าการอภิปรายของสมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรจ�ำเลย
ที่ 1 มีขอ้ ความพาดพิงถึงผูเ้ สียหายอันเป็นข้อความทีฝ่ า่ ฝืนความจริงการถ่ายทอดเสียงการอภิปรายจึงท�ำให้
ผู้เสียหายได้รับความเสียหายด้วย แต่เนื่องจากผู้ถ่ายทอดได้ปฏิบัติตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของ
ประธานรัฐสภาและมติคณะรัฐมนตรี จึงได้รบั นิรโทษกรรมไม่ตอ้ งรับผิดชดใช้คา่ สินไหมทดแทนตามมาตรา
ธ.

449 วรรคหนึ่ง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5774/2530 การที่ลูกจ้างของกรมชลประทานร่วมกับบุคคลอื่นเข้าไปขุด
ลอกสระน�ำ้ ในเขตโฉนดทีด่ นิ ของผูเ้ สียหายโดยเข้าใจว่าเป็นทีส่ าธารณประโยชน์ แม้ผเู้ สียหายและเจ้าหน้าที่
ต�ำรวจจะห้ามปรามแล้วก็ยงั ไม่ยอมหยุด ท�ำให้ผเู้ สียหายได้รบั ความเสียหาย ถือว่าเป็นละเมิดต่อผูเ้ สียหาย
แต่เนื่องจากการกระท�ำของลูกจ้างกรมชลประทานดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามค�ำสั่งของผู้บังคับบัญชาจึง
ถือเป็นการปฏิบัติตามค�ำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายจึงได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 449 วรรคหนึ่ง จึงไม่
.ม
ต้องรับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

3. กรณีที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แม้ว่า ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่งจะบัญญัติให้ผู้ที่ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและผู้กระท�ำ
ตามค�ำสัง่ อันชอบด้วยกฎหมาย แล้วแต่กรณี ไม่ตอ้ งรับผิดชดใช้คา่ สินไหมทดแทนต่อผูไ้ ด้รบั ความเสียหาย
จากการกระท�ำดังกล่าว แต่ ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคสองบัญญัติให้ผู้ได้รับความเสียหายสามารถเรียก
ร้องให้มีการชดใช้การสินไหมทดแทนต่อความเสียหายอันเกิดขึ้นใน 2 กรณีดังนี้
3.1 การเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ส�ำหรับผู้ได้รับความ
เสียหายจากการกระท�ำที่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายก�ำหนดให้ผู้นั้นสามารถเรียก
ค่าสินไหมทดแทนได้จากผู้ที่เป็นต้นเหตุให้มีการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
สธ ส
4-72 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อุทาหรณ์


นายด�ำชักปืนขึ้นจะยิงนายขาว นายขาวเห็นเข้าจึงป้องกันโดยคว้าไม้กระบองที่อยู่ใกล้ตัวฟาดไป
ที่แขนของนายด�ำ แต่นายด�ำหลบทัน นายขาวจึงพลาดไปตีโดนนายส้มที่อยู่ใกล้ๆ กัน เป็นเหตุให้นายส้ม
ได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้นายขาวไม่ต้องรับผิดต่อนายส้ม เนื่องจากการกระท�ำของตนเป็นป้องกันอันชอบด้วย
กฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง และนายส้มสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากนายด�ำ

.
ผู้เป็นต้นเหตุให้มีการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคสอง
3.2 การเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีการกระท�ำตามค�ำสั่งของผู้ให้ค�ำสั่งโดยละเมิด ป.พ.พ.
สธ สธ
มาตรา 449 วรรคสองก�ำหนดว่า ผู้ได้รับความเสียหายจะเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระท�ำตามค�ำสั่งได้

มส . มส
นั้น ต้องเป็นกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นอันมีเหตุจากการกระท�ำตามค�ำสั่งจากบุคคลผู้ให้คำ� สั่งโดยละเมิด
ซึ่งถือว่าค�ำสั่งดังกล่าวเป็นค�ำสั่งอันมิชอบด้วยกฎหมาย และถือว่าบุคคลผู้ให้ค�ำสั่งโดยละเมิดนั้น เป็น
ผู้กระท�ำละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420104
อุทาหรณ์
พันต�ำรวจโทด�ำต้องการจะแกล้งนายส้มโดยสัง่ ให้สบิ ต�ำรวจเอกขาว ผูใ้ ต้บงั คับบัญชาเข้าไปจับกุม

นายส้มที่บ้าน โดยอ้างว่านายส้มกระท�ำผิดกฎหมายโดยมียาเสพติดไว้ในครอบครอง ซึ่งไม่เป็นความจริง
สิบต�ำรวจโทขาว ไม่ทราบว่าค�ำสั่งดังกล่าวเป็นค�ำสั่งอันมิชอบด้วยกฎหมาย จึงเข้าไปจับกุมนายส้มที่บ้าน
ตามค�ำสัง่ ของพันต�ำรวจโทด�ำ และเนือ่ งจากการกระท�ำตามค�ำสัง่ ของสิบต�ำรวจโทขาวมิได้เป็นไปโดยจงใจ
หรือประมาทเลินเล่อ เช่นนี้สิบต�ำรวจโทขาวจึงไม่ต้องรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ส�ำหรับนายส้ม
สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากพันต�ำรวจโทด�ำ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และ 449 วรรคสอง
ธ.

อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2516 การที่จ�ำเลยกับพวกได้ท�ำท�ำนบปิดกั้นน�้ำเพื่อให้ราษฎรมีน�้ำ
ใช้ในการท�ำนาโดยได้รบั ค�ำสัง่ จากนายอ�ำเภอให้ทำ� จ�ำเลยจึงท�ำไปโดยสุจริต เชือ่ ว่าเป็นค�ำสัง่ อันชอบด้วย
กฎหมาย โดยไม่ปรากฏว่าจ�ำเลยกับพวกกระท�ำไปเพื่อกลั่นแกล้งผู้เสียหาย เมื่อท�ำท�ำนบแล้วน�้ำท่วมข้าว
ในนาของผู้เสียหายได้รับความเสียหาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจ�ำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่
ผู้เสียหาย ผู้เสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ให้ค�ำสั่งโดยละเมิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449
.ม
กิจกรรม 4.2.1
ผูท้ ไี่ ด้รบั ความเสียหายจากการกระท�ำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายนัน้ สามารถเรียกค่าสินไหม
ทดแทนได้จากใคร

แนวตอบกิจกรรม 4.2.1
ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระท�ำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถเรียกค่าสินไหม
ทดแทนได้จากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449

104
เรื่องเดียวกัน. หน้า 259.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-73

เรื่องที่ 4.2.2


การท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อป้องกันภัยฉุกเฉิน

. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 450 เป็นบทบัญญัติเรื่องการกระท�ำด้วยความจ�ำเป็น


เพือ่ ป้องกันภยันตรายทีจ่ ะเกิดขึน้ โดยใช้บงั คับแก่กรณีทคี่ วามเสียหายเกิดขึน้ ต่อทรัพย์สนิ เท่านัน้ ส�ำหรับ
สธ สธ
กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อบุคคลจะไม่อยู่ในบังคับของมาตรานี105 ้ โดยมาตรา 450 บัญญัติไว้ดังนี้

มส . มส
“ถ้าบุคคลท�ำบุบสลาย หรือท�ำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบ�ำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมา
เป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่จ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่
เหตุภยันตราย
ถ้าบุคคลท�ำบุบสลาย หรือท�ำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะบ�ำบัดปัดป้องภยันตรายอันมีแก่
เอกชนโดยฉุกเฉิน ผู้นั้นจะต้องใช้คืนทรัพย์นั้น

ถ้าบุคคลท�ำบุบสลาย หรือท�ำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อจะป้องกันสิทธิของตนหรือของบุคคล
ภายนอกจากภยันตรายอันมีมาโดยฉุกเฉินเพราะตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุ บุคคลเช่นว่านี้หาต้องรับผิดใช้
ค่าสินไหมทดแทนไม่ หากว่าความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุ แต่ถ้าภยันตรายนั้นเกิดขึ้นเพราะ
ความผิดของบุคคลนั้นเองแล้ว ท่านว่าจ�ำต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้”
ส�ำหรับ ป.พ.พ. มาตรา 450 เป็นเรื่องการกระท�ำด้วยความจ�ำเป็นซึ่งจะต่างจากการกระท�ำเพื่อ
ธ.

ป้องกันตามมาตรา 449 เนือ่ งจากการกระท�ำด้วยความจ�ำเป็น คือการกระท�ำต่อผูท้ มี่ ไิ ด้กอ่ ภยันตราย และ


ภยันตรายที่เกิดขึ้นไม่จ�ำกัดว่าต้องเกิดจากการประทุษร้ายอันเป็นละเมิดต่อกฎหมายเท่านั้น แต่อาจเกิด
จากบุคคล สัตว์ หรือธรรมชาติก็ได้ แต่การกระท�ำเพื่อป้องกัน คือการกระท�ำต่อผู้ก่อภยันตราย และ
ภยันตรายที่เกิดขึ้นต้องเกิดจากการประทุษร้ายอันเป็นละเมิดต่อกฎหมาย106 จากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.
มาตรา 450 สามารถแยกอธิบายได้ดังนี้
.ม
1. การท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์เพื่อจะบ�ำบัดปัดป้องภัยสาธารณะ
ป.พ.พ. มาตรา 450 วรรคแรก เป็นกรณีทบี่ คุ คลท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์ของบุคคลอืน่ ไม่วา่
จะทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ซึ่งทรัพย์นั้นอาจจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ โดยมี
วัตถุประสงค์เพือ่ บ�ำบัดปัดป้อง “ภยันตรายอันมีมาเป็นสาธารณะ” คือ ภยันตรายต่อคนทัว่ ไป โดยไม่จำ� กัด
ว่าเป็นภยันตรายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น และภยันตรายดังกล่าวเกิดขึ้นโดยรวดเร็วฉับพลัน เช่น
ไฟไหม้ น�ำ้ ท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น ดังนี้หากความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์นั้นไม่เกินสมควรกับเหตุ
แห่งภยันตรายแล้ว บุคคลผู้ท�ำลายทรัพย์ดังกล่าวไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน107
105
เรื่องเดียวกัน. หน้า 262.
106
ศักดิ์ สนองชาติ. เรื่องเดียวกัน.
หน้า 248.
107
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 318.
สธ ส
4-74 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2473 โจทก์ได้ทำ� สัญญารับผูกขาดจับปลาในคลองจากรัฐบาล และได้
ท�ำท�ำนบปิดกั้นคลองเหลือช่วงพอให้นำ�้ ไหล เกิดน�้ำท่วมมากผิดปกติ น�ำ้ ไหลไม่สะดวกท่วมนาราษฎรเสีย
หาย จ�ำเลยจึงพากันไปรื้อท�ำนบของโจทก์ แต่รื้อไม่หมดเพื่อให้น�้ำไหลผ่านสะดวก ท�ำให้โจทก์เสียหาย
เพราะจับปลาไม่ได้ การที่จำ� เลยกระท�ำเป็นการกระท�ำโดยความจ�ำเป็น เพื่อป้องกันภยันตรายที่เกิดมีขึ้น

.
ในปัจจุบนั ทันด่วน เพือ่ ป้องกันความเสียหายแก่ประชาชนในต�ำบลเหล่านัน้ ไม่ให้ทวีมากขึน้ ถึงโจทก์จะได้
รับความเสียหายในการที่ถูกรื้อท�ำนบเป็นช่วงเพราะจับปลาไม่ได้ระหว่างนั้นบ้างก็ดี เมื่อจ�ำเลยเหล่านั้น
สธ สธ
กระท�ำด้วยความจ�ำเป็นไม่เกินกว่าเหตุแล้ว จ�ำเลยไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 450

มส . มส
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2492 น�้ำในล�ำห้วยเซาะดิน อีกวาเดียวน�ำ้ จะท่วมท�ำให้ฝายพัง ซึ่งถ้า
พัง น�ำ้ จะไหลท่วมนา เกิดความเสียหายแก่นาของราษฎรเป็นจ�ำนวนมาก จ�ำเลยจึงขุดร่องในทีน่ าของโจทก์
เพื่อเปลี่ยนทางเดินของน�้ำเพื่อไม่ให้ฝายพัง ดังนี้นับว่าเป็นการท�ำลายทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อบ�ำบัดป้อง
ภยันตรายซึง่ มีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉินและไม่เกินแก่ภยันตรายตาม ป.พ.พ. มาตรา 450 จ�ำเลยจึงไม่
ต้องรับผิดฐานละเมิด

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2506 โจทก์ประมูลท�ำการประมงในคลองพิพาทได้ จ�ำเลยและราษฎร
อีกมากเป็นเจ้าของนาหลายพันไร่ ต้องอาศัยใช้นำ�้ ในคลองนี้ทำ� นา ตอนปากคลองมีท�ำนบปิดกั้นน�้ำไว้เพื่อ
ใช้ท�ำนา ถัดเข้าไปเป็นที่ตั้งจิบส�ำหรับจับปลาของโจทก์ เมื่อน�ำ้ ในล�ำคลองเริ่มลดลง ราษฎรเจ้าของนายื่น
ค�ำร้องขอปิดท�ำนบเพือ่ กักน�ำ้ ไว้หล่อเลีย้ งต้นข้าว แต่กอ่ นทีน่ ายอ�ำเภอจะสัง่ ราษฎรเกรงว่าถ้ารอช้าต้นข้าว
จะเสียหาย จ�ำเลยและเจ้าของนาหลายคนจึงช่วยกันปิดท�ำนบ น�้ำเลยไม่ไหลไปยังจิบของโจทก์จับปลาไม่
ธ.

ได้ การที่จ�ำเลยปิดท�ำนบเช่นนี้จะรอให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งอาจไม่ทันการณ์ และเป็นการกระท�ำเพื่อ


ประโยชน์แก่การกสิกรรม ย่อมปิดเองได้ตามพระราชบัญญัตกิ ารประมงฯ มาตรา 22 ซึง่ มีมาตรา 10 วรรค
สอง สนับสนุน ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

2. การท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์เพื่อป้องกันภัยเอกชน
ป.พ.พ. มาตรา 450 วรรคสอง เป็นกรณีที่บุคคลท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์ให้เสียหายไม่ว่า
.ม
ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเพื่อปัดป้องภยันตรายที่เกิดขึ้นกับเอกชนโดยฉุกเฉิน ซึ่งต่างจากมาตรา 450
วรรคหนึ่งที่เป็นการปัดป้องภยันตรายที่เกิดขึ้นกับสาธารณชนหรือบุคคลทั่วไป ส�ำหรับ “เอกชน” ตาม
ความในมาตรา 450 วรรคสองนี้หมายถึงเอกชนคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ แต่ไม่ใช่บุคคลทั่วไปเพราะจะ
กลายเป็นสาธารณชน108 โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์นั้นไม่เกินสมควรแก่ภยันตรายแล้ว เช่นนี้
บุคคลดังกล่าวจะต้องใช้คืนทรัพย์
ส�ำหรับการใช้คืนทรัพย์ตามมาตรานี้ หมายถึง การท�ำให้ทรัพย์ที่เสียหายนั้นคืนสภาพเดิม คือถ้า
ทรัพย์นั้นยังอยูก่ ็นำ� ไปคืน หรือถ้าเสียหายก็ซ่อมแซมให้ดีเหมือนเดิม แต่หากทรัพย์นนั้ เสียหายไปทั้งหมด
ก็ต้องใช้ราคาทรัพย์นั้น109
108
ศักดิ์สนองชาติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 249.
109
เรื่องเดียวกัน. หน้า 250.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-75

อุทาหรณ์


นายขาวขับรถยนต์ชนเสาไฟฟ้าจนหมดสติ หลังจากนั้นเกิดเหตุจากห้องเครื่องยนต์ของรถยนต์
ของนายขาว นายด�ำเดินผ่านมาเห็นเข้า จึงรีบเอาถังดับเพลิงจากบ้านของนายส้มซึ่งอยู่ละแวกนั้นมาช่วย
ดับเพลิงไหม้และช่วยนายขาวออกมาจากรถได้ แต่นายด�ำใช้ถังดับเพลิงจนน�้ำยาดับเพลิงหมด เช่นนี้
นายด�ำต้องใช้ราคาถังดับเพลิงให้แก่นายส้ม

.
3. การท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์เพื่อจะป้องกันสิทธิจากภัยที่ทรัพย์นั้นเป็นเหตุ
สธ สธ
ป.พ.พ. มาตรา 450 วรรคสามเป็นกรณีทบี่ คุ คลใดท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์ของบุคคลอืน่ เพือ่

มส . มส
ป้องกันสิทธิของตนหรือของบุคคลภายนอกจากภยันตรายอันมีมาโดยฉุกเฉินซึ่งมีต้นเหตุมาจากทรัพย์ที่
ถูกท�ำบุบสลายหรือท�ำลายนั้น เช่นนี้หากความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์ดังกล่าวไม่เกินสมควรแก่เหตุ
ภยันตราย บุคคลนั้นไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งแตกต่างจากมาตรา 450 วรรคหนึ่งและวรรค
สองคือ ในวรรคสามนี้ทรัพย์ที่ถูกท�ำบุบสลายหรือท�ำลายเป็นเหตุแห่งภยันตรายเอง แต่ในวรรคแรกและ
วรรคสองนั้นทรัพย์ที่ถูกท�ำบุบสลายหรือท�ำลายไม่ได้เป็นเหตุแห่งภยันตราย110 แต่ถ้าภยันตรายที่เกิดขึ้น

นั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์นั้นเอง เช่นนี้บุคคลนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่า
สินไหมทดแทน
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2516 ม้าผู้ของโจทก์ตามเข้าไปสัดม้าเมียของจ�ำเลยที่ 1 ที่ใต้ถุนบ้าน
ของจ�ำเลยที่ 1 ม้าจ�ำเลยที่ 1 ขัดขืนและเตะม้าโจทก์เป็นเหตุให้ทรัพย์สนิ ของจ�ำเลยที่ 1 เสียหาย โดยจ�ำเลย
ธ.

ที่ 1 มิได้ยินยอมด้วย ถือได้ว่าเป็นภยันตรายอันมีมาโดยฉุกเฉิน การที่จ�ำเลยทั้งสามได้ร่วมกันใช้ไม้ตีม้า


ของโจทก์โดยจ�ำเลยที่ 1 ขอร้อง นับว่าเป็นการกระท�ำโดยจ�ำเป็นเพื่อป้องกันสิทธิของจ�ำเลยที่ 1 ซึ่งจ�ำเลย
ควรจะใช้ไม่ตีเพียงเท่าที่จะไล่ม้าของโจทก์ออกไปจากเขตบ้านของจ�ำเลยที่ 1 เท่านั้น แต่จ�ำเลยร่วมกันใช้
ไม้ตมี า้ ของโจทก์บาดเจ็บจนถึงตาย จึงเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ จ�ำเลยทัง้ สามต้องรับผิดชดใช้คา่ สินไหม
ทดแทนแก่โจทก์
.ม
กิจกรรม 4.2.2
ในการท�ำบุบสลายหรือท�ำลายทรัพย์ของผูอ้ นื่ เพือ่ ป้องกันภัยอันมีแก่เอกชนโดยฉุกเฉินนัน้ ผูก้ ระท�ำ
การดังกล่าวต้องรับผิดชอบใดๆ หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 4.2.2
บุคคลผู้กระท�ำการดังกล่าวต้องใช้คืนทรัพย์ที่ถูกท�ำบุบสลายหรือท�ำลายแก่เจ้าของทรัพย์ ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 450 วรรคสอง

110
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 265.
สธ ส
4-76 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เรื่องที่ 4.2.3


การใช้ก�ำลังป้องกันสิทธิ

. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 451 เป็นเรือ่ งของการใช้กำ� ลังป้องกันสิทธิ ซึง่ แตกต่าง


จากการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 ส�ำหรับมาตรา 451 เป็นการมุง่ หมายบังคับ
สธ สธ
ตามสิทธิของตนโดยใช้ก�ำลังบังคับเอาด้วยตนเอง แต่มาตรา 449 เป็นเรื่องการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย

มส . มส
ต่อสิทธิ111 ป.พ.พ. มาตรา 451 บัญญัติไว้ดังนี้
“บุคคลใช้ก�ำลังเพื่อป้องกันสิทธิของตน ถ้าตามพฤติการณ์จะขอให้ศาลหรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ
ให้ทันท่วงทีไม่ได้ และถ้ามิได้ท�ำในทันใด ภัยมีอยู่ด้วยการที่ตนจะได้สมดังสิทธินั้นจะต้องประวิงไปมาก
หรือถึงแก่สาบสูญได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
การใช้ก�ำลังดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น ท่านว่าต้องจ�ำกัดเคร่งครัดแต่เฉพาะที่จ�ำเป็นเพื่อจะ

บ�ำบัดปัดป้องภยันตรายเท่านั้น
ถ้าบุคคลผูใ้ ดกระท�ำการดังกล่าวมาในวรรคต้น เพราะหลงสันนิษฐานพลาดไปว่ามีเหตุอนั จ�ำเป็น
ที่จะท�ำได้โดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลอื่น แม้ทั้ง
การที่หลงพลาดไปนั้นจะมิใช่เป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของตน”
หลักเกณฑ์การใช้กำ� ลังป้องกันสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 451 นี้ คือบุคคลทีใ่ ช้กำ� ลังในการป้องกัน
ธ.

สิทธินั้นต้องเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมาย เช่น เจ้าหนี้ หรือเจ้าของทรัพย์ เป็นต้น112 โดยการใช้กำ� ลังป้องกัน


นัน้ ต้องกระท�ำต่อผูม้ หี น้าทีต่ อ่ สิทธิเฉพาะเท่าทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ บ�ำบัดปัดป้องภยันตราย โดยอาจเป็นภยันตราย
ทางแพ่งหรือทางอาญาก็ได้113 และการใช้กำ� ลังดังกล่าวจะต้องกระท�ำต่อเมือ่ ในกรณีทบี่ คุ คลดังกล่าวไม่อาจ
ขอให้ศาลหรือเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงที ซึ่งถ้าหากไม่กระท�ำในทันทีแล้วอาจจะท�ำให้ตนได้สิทธิ
ล่าช้าหรือเสียสิทธิไป เช่นนี้เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บุคคลดังกล่าวไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
.ม
ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลสามารถจะฟ้องร้องต่อศาลหรือร้องขอให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือทันท่วงทีได้แล้ว
แต่กลับใช้กำ� ลังเพือ่ ป้องกันสิทธิของตน เช่นนีเ้ มือ่ เกิดความเสียหายขึน้ บุคคลนัน้ ต้องรับผิดชดใช้คา่ สินไหม
ทดแทน ไม่ถือเป็นนิรโทษกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 451 นี้114
อุทาหรณ์
นายด�ำเช่าบ้านของนายขาวเพื่ออยู่อาศัยเป็นเวลา 1 ปี เมื่อครบก�ำหนดสิ้นสุดสัญญาเช่า นายด�ำ
ไม่ยอมย้ายออกจากบ้านเช่า นายขาวจึงใช้กำ� ลังฉุดกระชากลากนายด�ำออกมาจากบ้านเช่า เป็นผลให้นาย
ด�ำได้รบั บาดเจ็บ ถือว่าการกระท�ำดังกล่าวของนายขาวเป็นการกระท�ำละเมิดต่อนายด�ำ เนือ่ งจากนายขาว

111
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 322.
112
ศักดิ์ สนองชาติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 253.
113
เรื่องเดียวกัน. หน้า 254.
114
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 269.
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-77

สามารถน�ำคดีมาฟ้องต่อศาลเพือ่ ขับไล่นายด�ำออกจากบ้านก็ได้ แต่กลับใช้กำ� ลังแทน เช่นนีไ้ ม่เป็นนิรโทษ-


กรรมตามมาตรา 451
ส�ำหรับการใช้ก�ำลังในการป้องกันสิทธินั้น ป.พ.พ. มาตรา 451 วรรคสาม ก�ำหนดว่าหากกระท�ำ
ลงไปโดยผิดหลงหรือพลั้งพลาดเข้าใจผิดว่ามีเหตุอันจ�ำเป็นที่จะท�ำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่าการที่
หลงพลาดเข้าใจผิดนัน้ จะมิใช่เป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของตนก็ตาม เช่นนีบ้ คุ คลดังกล่าวต้องรับผิด

.
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนส�ำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น
อุทาหรณ์
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617-1618/2500 จ�ำเลยเป็นไวยาวัจกรของวัดได้บอกกล่าวให้โจทก์รอื้ ถอน

มส . มส
สิ่งปลูกสร้างรวมทั้งต้นไม้ที่ปลูกล�้ำที่เช่าวัดออกมาเพื่อทางวัดจะได้ขุดคูไปให้ทะลุคลองตามที่ได้ตกลงจ้าง
เขาไว้ โจทก์รบั ทราบและว่าจะจัดการแล้วต่อมาไม่จดั การ ประวิงเวลาไว้จนสัญญาทีท่ างวัดจ้างผูข้ ดุ จะหมด
จ�ำเลยจึงได้เข้าจัดการรือ้ ถอนสิง่ ปลูกสร้างและตัดต้นไม้ทลี่ ำ�้ นอกเขตเช่าโดยระมัดระวังพยายามให้เกิดการ
เสียหายน้อยที่สุดเพื่อขุดคลองแล้วน�ำไปกองไว้ให้โจทก์ เช่นนี้ จ�ำเลยยังไม่มีความผิดฐานท�ำให้เสียทรัพย์
เพราะมิได้มเี จตนาท�ำให้เสียทรัพย์ แต่จำ� เลยต้องรับผิดในละเมิดทีท่ ำ� แก่ทรัพย์ของโจทก์ ไม่ได้รบั การยกเว้น

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 451 นอกจากค่าเสียหายธรรมดาแล้ว ศาลยังคิดค่าเสียหายให้ตามมาตรา 446 อีก
โสตหนึ่งด้วย
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2513 โจทก์ก่อสร้างตึกเต็มเนื้อที่ดินของโจทก์ แล้วท�ำทางและคันดิน
บนทางเท้าล�ำ้ เข้าไปในทีด่ นิ ของจ�ำเลยซึง่ อยูต่ ดิ กัน เมือ่ จ�ำเลยบอกกล่าวให้โจทก์รอื้ ถอนทางเท้าและคันดิน
ธ.

ออกไปจากที่ดินของจ�ำเลย โจทก์ไม่ยอมรื้อถอน ก็ชอบที่จำ� เลยจะใช้สิทธิทางศาล ไม่มีอ�ำนาจเข้ารื้อถอน


โดยพลการ เพราะไม่เข้าเกณฑ์แห่งบทบัญญัติว่าด้วยนิรโทษกรรม หากจัดการรื้อถอนเสียเอง ย่อมเป็น
ละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2521 รถยนต์พพิ าทเป็นของโจทก์ น้องชายโจทก์เช่าไปขับรับจ้างชัก
ลากไม้ให้บริษัทจ�ำเลยที่ 3 โดยน้องชายโจทก์ได้เบิกเงินค่าจ้างล่วงหน้าไปจากจ�ำเลยที่ 3 แล้วยังชักลาก
ไม้ให้ไม่ครบตามจ�ำนวนเงินทีข่ อเบิกล่วงหน้าไป ต่อมาโจทก์ตอ้ งการใช้รถยนต์พพิ าท จึงให้นอ้ งชายโจทก์
.ม
พาคนไปขับรถยนต์พพิ าทไปเสียจากบริษทั จ�ำเลยที่ 3 จ�ำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของบริษทั จ�ำเลยที่ 3 มีหน้าที่
ควบคุมรถยนต์บรรทุกไม้รอู้ ยูแ่ ล้วว่ารถยนต์พพิ าทเป็นของโจทก์ ได้ไปขอก�ำลังต�ำรวจติดตามไปยึดรถยนต์
พิพาทไว้โดยค�ำนึงอยูแ่ ต่อย่างเดียวว่า น้องชายโจทก์ยงั ติดค้างหนีส้ นิ บริษทั จ�ำเลยที่ 3 อยู่ ดังนี้ การกระท�ำ
ของจ�ำเลยที่ 1 เป็นการกระท�ำทีม่ ชิ อบด้วยกฎหมายและเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ถือว่าเป็นละเมิดต่อโจทก์
ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการกระท�ำนั้น เมื่อจ�ำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจ�ำเลยที่ 3 ได้กระท�ำละเมิด
ต่อโจทก์ในระหว่างทีท่ ำ� หน้าทีเ่ พือ่ ประโยชน์ของบริษทั จ�ำเลยที่ 3 จ�ำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในความเสียหาย
ซึ่งเกิดจากผลของละเมิดที่จำ� เลยที่ 1 ก่อขึ้นในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 กรณีไม่
ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 451 ส่วนจ�ำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานต�ำรวจได้ติดตามรถยนต์พิพาทไป
กับจ�ำเลยที่ 1 และแจ้งให้เจ้าพนักงานต�ำรวจอีกท้องที่หนึ่งยึดรถยนต์พิพาทไว้ เมื่อปรากฏว่าได้กระท�ำไป
ตามค�ำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยสุจริตใจจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
สธ ส
4-78 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน


กิจกรรม 4.2.3
นายด�ำท�ำสัญญากูย้ มื เงินจากนายขาวจ�ำนวน 500,000 บาท เมือ่ ครบก�ำหนดช�ำระเงินตามสัญญา
นายด�ำไม่ยอมช�ำระเงินที่ค้างช�ำระแก่นายขาว นายขาวจึงใช้ก�ำลังบังคับให้นายด�ำหาเงินมาช�ำระให้ตน
ท�ำให้นายด�ำได้รับบาดเจ็บ ดังนี้นายขาวต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายด�ำหรือไม่

.
แนวตอบกิจกรรม 4.2.3
สธ สธ
ป.พ.พ. มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ท�ำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย

มส . มส
ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นท�ำละเมิดจ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
มาตรา 451 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บุคคลใช้ก�ำลังเพื่อป้องกันสิทธิของตน ถ้าตามพฤติการณ์จะ
ขอให้ศาลหรือเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือให้ทันท่วงทีไม่ได้ และถ้ามิได้ท�ำในทันใด ภัยมีอยู่ด้วยการที่ตนจะได้สม
ดังสิทธินนั้ จะต้องประวิงไปมากหรือถึงแก่สาบสูญได้ไซร้ ท่านว่าบุคคลนัน้ หาต้องรับผิดใช้คา่ สินไหมทดแทน

ไม่”
ตามปัญหา นายด�ำท�ำสัญญากู้ยืมเงินจากนายขาวจ�ำนวน 500,000 บาท เมื่อครบก�ำหนดช�ำระ
เงินตามสัญญา นายด�ำไม่ยอมช�ำระเงินที่ค้างช�ำระแก่นายขาว การที่นายขาวจึงใช้ก�ำลังบังคับให้นายด�ำ
หาเงินมาช�ำระให้ตน ท�ำให้นายด�ำได้รับบาดเจ็บนั้น ไม่มีกฎหมายให้อ�ำนาจนายด�ำกระท�ำได้ การกระท�ำ
ของนายขาวจึงเป็นการกระท�ำผิดกฎหมายและเป็นละเมิดท�ำให้นายด�ำได้รับความเสียหาย ตาม ป.พ.พ.
ธ.

มาตรา 420 และไม่เป็นนิรโทษกรรม เนื่องจากไม่ใช่กรณีตามพฤติการณ์จะขอให้ศาลหรือเจ้าหน้าที่ช่วย


เหลือให้ทันท่วงทีไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 451 วรรคหนึ่ง นายขาวสามารถฟ้องร้องต่อศาลเรียกร้องให้
นายด�ำชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้
สรุป นายขาวต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายด�ำ
.ม
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-79

เรื่องที่ 4.2.4


การป้องกันความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์อันเกิดขึ้นจากสัตว์

. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 452 เป็นเรือ่ งการป้องกันความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์


อันเกิดขึ้นจากสัตว์ โดยบัญญัติไว้ดังนี้
สธ สธ
“ผูค้ รองอสังหาริมทรัพย์ชอบทีจ่ ะจับสัตว์ของผูอ้ นื่ อันเข้ามาท�ำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์

มส . มส
นั้น และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้ และถ้าเป็นการจ�ำเป็นโดย
พฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสียก็ชอบที่จะท�ำได้
แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบ ผู้ที่จับสัตว์
ไว้ต้องจัดการตามสมควรเพื่อสืบหาตัวเจ้าของ”
มาตรานี้ เ ป็ น กรณี ที่ สั ต ว์ ข องผู ้ อื่ น เข้ า มาท� ำ ความเสี ย หายในอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ซึ่ ง ผู ้ ค รอง

อสังหาริมทรัพย์สามารถทีจ่ ะจับและยึดสัตว์ดงั กล่าวไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนส�ำหรับความเสียหาย
ทีเ่ กิดขึน้ ได้ โดยมาตรานีจ้ ำ� กัดเฉพาะอ�ำนาจของผูค้ รองสังหาริมทรัพย์เท่านัน้ 115 ซึง่ อาจจะเป็นเจ้าของหรือ
ผู้มีสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เช่น ผู้เช่า ผู้อาศัย หรือตัวแทนของเจ้าของ เป็นต้น116 ส�ำหรับความ
เสียหายที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน อาคาร เป็นต้น
อันรวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย117 เช่น สุนัขของ
ธ.

นายด�ำวิ่งเข้ามากัดเบาะรถยนต์ที่จอดอยู่ในบ้านของนายแดง กรณีนี้ถือว่าเข้าตามหลักเกณฑ์มาตรา 452


เมือ่ มีสตั ว์ของผูอ้ นื่ เข้ามาท�ำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ผูค้ รองอสังหาริมทรัพย์ดงั กล่าว
สามารถจับสัตว์ตวั นัน้ และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนต่อความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ จากเจ้าของสัตว์ได้
แต่หากสัตว์ดังกล่าวเพียงแค่บุกรุกเข้ามาในอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ได้ท�ำความเสียหายใดๆ เช่นนี้ไม่อาจ
จับและยึดสัตว์เอาไว้ได้118 ในกรณีทจี่ ำ� เป็นเช่นสัตว์นนั้ ดุรา้ ยและยังอยูส่ ร้างความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์
.ม
เช่นนี้อาจจะฆ่าสัตว์นั้นก็ได้ ส�ำหรับการพิจารณาว่ากรณีใดถือว่าจ�ำเป็นต้องฆ่าสัตว์นั้น ต้องพิจารณาจาก
ข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป119 ส�ำหรับซากสัตว์ที่ถูกฆ่านั้นต้องคืนให้แก่เจ้าของสัตว์ไป หากไม่สามารถคืน
ได้กต็ อ้ งใช้ราคา เว้นแต่กรณีทพี่ น้ วิสัยทีจ่ ะคืนและผูค้ รองอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องรับผิดชอบ เช่น ซากสัตว์
เน่าเปื่อยไปก่อนที่จะตามพบเจ้าของ เช่นนี้ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์เป็นอันหลุดพ้นจากการช�ำระหนี้ ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 219120

115
สุษม ศุภนิตย์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 325.
116
ศักดิ์ สนองชาติ. เรื่องเดียวกัน. หน้า 255.
117
เรื่องเดียวกัน. หน้า 256.
118
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 274.
119
เรื่องเดียวกัน. หน้า 275-276.
120
เรื่องเดียวกัน. หน้า 276.
สธ ส
4-80 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เมื่อผู้ครองอสังหาริมทรัพย์สามารถจับและยึดสัตว์ รวมถึงกรณีที่ฆ่าสัตว์นั้นแล้วจะต้องแจ้งให้


เจ้าของสัตว์ทราบโดยไม่ชักช้า ถ้าไม่สามารถตามหาเจ้าของสัตว์ได้ ผู้ที่จับสัตว์ต้องด�ำเนินการหาเจ้าของ
สัตว์ตามสมควร เช่น โทรศัพท์ติดต่อเจ้าของสัตว์ หรือออกประกาศตามหาเจ้าของสัตว์ เป็นต้น
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2473 จ�ำเลยเอามีดแทงโคของผูอ้ นื่ ล้มตายในขณะทีก่ ำ� ลังเข้าไปท�ำให้

.
ทรัพย์ในบ้านของจ�ำเลยเสียหาย ท่านว่าไม่ใช่เป็นกิริยาบังอาจยังไม่มีความผิดในทางอาญา เป็นคดี
ประทุษร้ายต่อทรัพย์ในทางแพ่งเท่านั้น
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2487 จ�ำเลยใช้ไม้ซางลูกดอกยิงไก่ทเี่ ข้ามากินผักสวนครัวตาย เป็นการ

มส . มส
เกินสมควรแก่เหตุ ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อเจ้าของไก่
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2492 เจ้าของไร่ใช้ปนื ยิงสุกรทีเ่ ข้าไปกินผลไม้ในไร่ตาย ปรากฏว่าเป็น
สุกรบ้านไม่ดุร้าย มีทางจะจับโดยละม่อมได้ ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องฆ่า ได้ยิงไปด้วยโทสะ ดังนี้ ย่อมไม่เป็น
นิรโทษกรรม จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน

กิจกรรม 4.2.4
แมวของนายด�ำวิ่งเข้าไปอุจจาระในบริเวณบ้านของนายขาว นายขาวจึงจับแมวไว้ ซึ่งแมวไม่มี
อาการดุร้ายใดๆ แต่นายขาวได้ทุบตีแมวด้วยความโกรธจนแมวเสียชีวิตลง ดังนี้นายขาวต้องรับผิดชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนแก่นายด�ำหรือไม่
ธ.

แนวตอบกิจกรรม 4.2.4
ป.พ.พ. มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ท�ำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย
ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด
ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นท�ำละเมิดจ�ำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
มาตรา 452 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามา
.ม
ท�ำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์นั้น และยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้
และถ้าเป็นการจ�ำเป็นโดยพฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสียก็ชอบที่จะท�ำได้”
ตามปัญหา แมวของนายด�ำวิ่งเข้าไปอุจจาระในบริเวณบ้านของนายขาว ดังนี้ นายขาวมีสิทธิจับ
แมวและยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้ และถ้าเป็นการจ�ำเป็นโดยพฤติการณ์
นายขาวมีสิทธิจะฆ่าแมวนั้นเสียก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 452 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าแมวของ
นายด�ำไม่มีอาการดุร้ายใดๆ ดังนั้น จึงมิใช่กรณีเป็นการจ�ำเป็นโดยพฤติการณ์ที่นายขาวจะมีสิทธิฆ่าแมว
นั้นได้ กรณีจึงไม่เป็นการนิรโทษกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 452 ดังนั้น การที่นายขาวทุบตีแมวซึ่งเป็น
ทรัพย์สินของนายด�ำด้วยความโกรธจนแมวตายท�ำให้เสียหายแก่ทรัพย์สินของนายด�ำ ย่อมเป็นการท�ำ
ละเมิดต่อนายด�ำ นายขาวจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
สรุป นายขาวต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่นายด�ำ
สธ ส
การใช้ค่าสินไหมทดแทนและการยกเว้นความรับผิดเพื่อละเมิด 4-81

บรรณานุกรม


จิตติ ติงศภัทิย์. (2523). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เนติบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

.
จิตติ ติงศภัทยิ ์ ปรับปรุงโดย เขมภูมิ ภูมถิ าวร, ชวิน อุน่ ภัทร และอ�ำนาจ ตัง้ คีรพี มิ าน. (2555). ค�ำอธิบายประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียงมาตรา ว่าด้วยจัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพ 2 มาตรา
สธ สธ
395–452. กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

มส . มส
ปราโมทย์ ประจนปัจจนึก. (2554). หน่วยที่ 14 การยกเว้นความรับผิดเพื่อการละเมิด และการชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทน. กฎหมายแพ่ง 2: หนี้ ละเมิด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เพ็ง เพ็งนิติ. (2556). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยละเมิด ความรับผิดทางละเมิดของ
เจ้าหน้าที่และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวเนื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: หจก. จิรรัชการพิมพ์.
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. (2553). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด พร้อมด้วยภาคผนวก

ตารางความรับผิดต่างๆ ค่าสินไหมทดแทนและนิรโทษกรรม พระราชบัญญัตคิ วามรับผิดทางละเมิดของ
เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และหลักกฎหมายละเมิด ข้อสันนิษฐานความผิดทางกฎหมาย พร้อมด้วย
ภาคผนวก (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.
วารี นาสกุล. (2544). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้.
กรุงเทพฯ: หสน. วิบูลย์กิจการพิมพ์.
ธ.

ศักดิ์ สนองชาติ. (2556). ค�ำอธิบายโดยย่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิดและความรับผิดทาง


ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.
ศนันท์กรณ์ (จ�ำปี) โสตถิพนั ธุ.์ (2557). ค�ำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสัง่ ลาภมิควรได้ (พิมพ์
ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน.
เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2505). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์วา่ ด้วยนิตกิ รรมและหนี้ เล่ม 2 (ภาคจบบริบรู ณ์)
แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.
.ม
สุษม ศุภนิตย์. (2555). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ:
นิติบรรณาการ.
ธ.
สธ สธ ม
.ม
สธ ส. ม
มส . มส

You might also like