You are on page 1of 74

สธ ส

หน่วยที่ 5


จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้
อาจารย์รชฏ เจริญฉ�่ำ

. ศาสตราจารย์วิกรณ์ รักษ์ปวงชน
สธ สธ
มส . มส

ธ.
.ม
ชื่อ อาจารย์รชฏ เจริญฉ�ำ่
วุฒิ น.บ., นบ.ท., น.ม.
ต�ำแหน่ง ข้าราชการบ�ำนาญ
ส�ำนักงานอัยการสูงสุด
หน่วยที่เขียน หน่วยที่ 5

ชื่อ ศาสตราจารย์วิกรณ์ รักษ์ปวงชน


วุฒิ น.บ., น.ม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ต�ำแหน่ง อาจารย์ตามสัญญาจ้าง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่เขียน หน่วยที่ 5
สธ ส
5-2 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

แผนการสอนประจ�ำหน่วย


ชุดวิชา กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

.
หน่วยที่ 5 จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้
สธ สธ
มส . มส
ตอนที่
5.1 จัดการงานนอกสั่ง
5.2 ลาภมิควรได้

แนวคิด

1. จัดการงานนอกสั่งเป็นการเข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่น โดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ หรือโดยมิได้มี
สิทธิที่จะท�ำการงานนั้นแทนผู้อื่น และจะต้องจัดการงานไปในทางที่สมประโยชน์ของตัวการ
ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือตามที่พึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของ
ตัวการ กรณีทเี่ ป็นการจัดการงานนอกสัง่ และมิใช่การจัดการงานนอกสัง่ ย่อมมีผลแตกต่างกัน
ธ.

ทั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
2. ลาภมิควรได้เป็นกรณีทบี่ คุ คลหนึง่ ได้ทรัพย์สงิ่ ใดมาจากอีกบุคคลหนึง่ เป็นการกระท�ำเพือ่ ช�ำระ
หนี้หรือได้มาด้วยประการอื่น การรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่ ได้ทรัพย์มาเพราะเหตุ
อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว โดยปราศจาก
มูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบ บุคคลนั้นจ�ำต้องคืน
ทรัพย์สินให้แก่เขาในฐานลาภมิควรได้
.ม
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 5 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับจัดการงานนอกสั่งได้
2 อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับลาภมิควรได้ได้

กิจกรรมระหว่างเรียน
1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 5
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 5.1–5.2
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-3

4. ฟังซีดีเสียงประกอบชุดวิชา (ถ้ามี)


5. ฟังรายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
6. ชมรายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์
7. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
8. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 5

.
สื่อการสอน
สธ สธ
มส . มส
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
3. ซีดีเสียงประกอบชุดวิชา (ถ้ามี)
4. รายการสอนทางวิทยุกระจายเสียง
5. รายการสอนทางวิทยุโทรทัศน์
6. การสอนเสริม (ถ้ามี)

7. การสอนเสริมผ่านดาวเทียม (ถ้ามี)

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
ธ.

2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
3. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจ�ำภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 5 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป
.ม
สธ ส
5-4 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

บทน�ำ


ลักษณะของจัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้เป็นมูลแห่งหนี้ซึ่งเกิดขึ้นจากนิติเหตุ กล่าวคือ
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อกฎหมาย ซึ่งกฎหมายได้ก�ำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่จะต้อง

.
ปฏิบัติต่อกัน ดังนั้น เรื่องจัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ จึงมิใช่เกิดจากนิติกรรม สัญญา การบังคับ
สธ สธ
ตามสิทธิและหน้าทีข่ องบุคคล ในทีน่ มี้ อิ าจจะน�ำเรือ่ งนิตกิ รรมมาใช้ได้ การจัดการงานนอกสัง่ และลาภมิควร

มส . มส
ได้เป็นเรือ่ งทีก่ ฎหมายก�ำหนดสิทธิและหน้าทีข่ องบุคคลขึน้ เพือ่ ให้เกิดความเป็นธรรมเท่านัน้ เพราะไม่อาจ
จะอ้างสิทธิและหน้าที่ในทางนิติกรรมได้จึงต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะก�ำหนดสิทธิและหน้าที่ของ
บุคคลไว้ต่างหาก อาจจะอ้างกฎหมายในเรื่องหนี้ทางแพ่ง (บุคคลสิทธิ) ได้ สิทธิและหน้าที่ของบุคคลใน
เรือ่ งจัดการนอกสัง่ และลาภมิควรได้ จึงเกิดขึน้ ได้ตามกฎหมายเท่านัน้ คือ ต้องมีและเป็นไปตามทีก่ ฎหมาย
บัญญัติ หากไม่มีกฎหมายในเรื่องนี้แล้วก็ไม่อาจจะบังคับกันได้
การจัดการงานนอกสั่งมีที่มาจากกฎหมายโรมันเรียกว่า “negotiorumgestio” กฎหมายโรมัน

เป็นต้นแบบของกฎหมายในประเทศทีใ่ ช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อกั ษร (civil law) หลายประเทศ ทีม่ า
ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจัดการงานนอกสั่งของไทยนั้นมีต้นร่างมาจากประมวล
กฎหมายแพ่งเยอรมันและญี่ปุ่น จึงถือได้ว่าต้นแบบดั้งเดิมของลักษณะจัดการงานนอกสั่งของไทยมาจาก
กฎหมายโรมันนั่นเอง การที่กฎหมายบัญญัติก�ำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลนั้นเป็นนิติเหตุเรื่องจัดการ
ธ.

งานนอกสั่งนี้ ก็เนื่องจากคนไทยเป็นชนชาติที่มีความเป็นอยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูลกันในฐานะต่างๆ เช่น


ผู้ปกครอง ผู้ดูแล ผู้เยาว์ ผู้ท�ำการแทนในกิจการอื่นๆ หรือผู้จัดการทรัพย์สินที่เป็นมรดก เป็นต้น อันมี
สภาพเดียวกับชาวโรมันในสมัยโบราณ ดังนัน้ เมือ่ มีเหตุซงึ่ ท�ำให้ตวั การไม่อาจท�ำกิจการของตนด้วยตนเอง
ได้ ท�ำให้เกิดความจ�ำเป็นต้องมีการจัดการงานแทนขึ้น หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานจึงต้องมีกฎหมาย
บัญญัติยอมรับว่าเมื่อมีการจัดการแทนโดยเรียกค่าใช้จ่าย ผู้จัดการย่อมมีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายนั้นได้ตาม
กฎหมาย เพราะไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะอ้างหนีใ้ นทางนิตกิ รรมสัญญาได้ ทัง้ นี้ เพือ่ เป็นการสนับสนุนในการทีเ่ อือ้ เฟือ้
.ม
กันนั้น และให้บุคคลที่ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันที่ได้ออกค่าใช้จ่ายไปแล้วโดยไม่ต้องแบกรับภาระไว้โดย
ไม่เป็นธรรม การจัดการงานนอกสั่งจึงมีขึ้นได้เฉพาะกฎหมายเท่านั้น
ส่วนลาภมิควรได้นนั้ มีทมี่ าจากกฎหมายโรมันเช่นเดียวกัน เดิมมูลหนีล้ าภมิควรได้เป็นเพียงการ
ยอมรับให้ผู้เสียเปรียบสามารถด�ำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ตนได้โดยปราศจากการ
อ้างสิทธิในหนี้ โดยในกฎหมายโรมันถือว่าการส่งมอบท�ำให้กรรมสิทธิโ์ อนไปยังผูร้ บั โอนโดยมิพกั ต้องค�ำนึง
ถึงความสมบูรณ์ของสัญญา ดังนั้น หากหนี้ที่กระท�ำเพื่อตอบแทนการส่งมอบ เช่น การช�ำระราคา ไม่อาจ
บังคับได้การส่งมอบก็สมบูรณ์ ท�ำให้ผสู้ ง่ มอบไม่อาจใช้สทิ ธิเรียกร้องตามสัญญาให้ผรู้ บั ส่งมอบคืนให้ตนได้
จึงต้องอาศัยมูลหนี้พิเศษอีกมูลหนี้หนึ่งซึ่งนอกเหนือจากมูลหนี้ทางแพ่ง คือ นิติกรรมสัญญาเพื่อให้เกิด
ความเป็นธรรม มูลหนีด้ งั กล่าวเรียกว่า “condictio indebiti” คือ หนีท้ ชี่ ำ� ระไปโดยปราศจากมูลหนี้ ผูร้ บั
ช�ำระจึงไม่มีมูลอันจะอ้างเอาไว้ได้ ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกคืนทรัพย์ที่เจ้าของเสียกรรมสิทธิ์ไปโดย
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-5

ปราศจากมูลหนีโ้ ดยวิธที างศาลได้ กฎหมายลักษณะลาภมิควรได้ของไทยมีทมี่ าจากประมวลกฎหมายแพ่ง


เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สวิส ซึ่งเป็นแนวความคิดจากกฎหมายโรมันนั่นเอง อีกกรณีหนึ่ง ลาภมิควรได้นี้
เป็นเรื่องที่ท�ำให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ และเมื่อฝ่ายที่ได้เปรียบไม่มีหนี้หรือหน้าที่ต้อง
ส่งมอบส่วนที่ตนได้มาคืนเพราะหามูลหนี้บังคับกันมิได้ ย่อมจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม กฎหมายจึง
จ�ำเป็นต้องก�ำหนดลาภมิควรได้ไว้ในลักษณะของนิติเหตุเพื่อเป็นทางแก้ให้เกิดความเป็นธรรม แต่กรณีจะ

.
อ้างหรือน�ำหลักลาภมิควรได้ไปใช้จะต้องมีข้อเท็จจริงว่า ไม่มีมูลหนี้อื่นในทางแพ่งที่จะบังคับกันเพื่อความ
ยุติธรรมได้อีกแล้ว ดังนั้น หากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ยังสามารถบังคับได้โดยอาศัยมูลหนี้อื่นไม่ว่าจะเป็น
สธ สธ
นิตกิ รรม สัญญา ละเมิด จัดการงานนอกสัง่ หรือการติดตามเอาทรัพย์คนื ก็คงต้องเป็นไปตามมูลหนีเ้ หล่านัน้

มส . มส
จะเรียกเอาคืนโดยอาศัยหลักลาภมิควรได้ไม่ได้ ซึง่ หลักนีผ้ ปู้ ฏิบตั กิ ารตามกฎหมายในการด�ำเนินคดีจะไม่
เข้าใจลึกซึ้ง ท�ำให้เกิดการด�ำเนินคดีผิดพลาด โดยไม่เรียกทรัพย์คืนตามมูลหนี้นั้นๆ กลับเรียกบังคับเอา
ฐานลาภมิควรได้ ย่อมไม่ถกู ต้อง เพราะการทีจ่ ะเรียกบังคับจากมูลหนีฐ้ านลาภมิควรได้นน้ั จะต้องได้ความว่า
ไม่มีมูลหนี้อย่างอื่นที่จะเรียกกันได้อีกแล้ว หากสามารถบังคับได้ตามมูลหนี้อื่นแล้ว จะต้องบังคับเอาจาก
มูลหนี้หรือสิทธิเรียกร้องส�ำรอง (subsidiare)1 เท่านั้น คือใช้หลักลาภมิควรได้ก็ต่อเมื่อไม่มีมูลหนี้อันที่จะ

บังคับกันได้อีกแล้ว จึงเกิดศัพท์เทคนิคขึ้นเป็นภาษาไทยที่เข้าใจกันในหมู่นักกฎหมายมานานแล้วว่า การ
จะฟ้องเรียกร้องคืนลาภมิควรได้ต้อง “ไม่มีทางแก้ตามกฎหมายอื่นแล้ว” คือ ต้องไม่มีทางฟ้องเรียกเอา
ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นแล้ว จึงจะฟ้องเรียกร้องเอาจากลาภมิควรได้ได้ ลาภมิควรได้จึงเป็นบท
สุดท้ายที่จะใช้แก้ความไม่เป็นธรรมที่ไม่อาจจะหากฎหมายบทอื่นแก้ไขได้อีกแล้ว ถ้อยค�ำที่ว่าไม่มีทางแก้
ธ.

ตามกฎหมายอื่นอีกแล้วนี้ ถือว่าเป็นทฤษฎีรากเหง้าของกฎหมายเรื่องลาภมิควรได้ทีเดียว
การศึกษาในหมวดนี้ จึงแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
1. จัดการงานนอกสั่ง
2. ลาภมิควรได้
.ม

1
จิตติ ติงศภัทิย์. (2526). มูลแห่งหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์วิญญูชน. หน้า 138.
สธ ส
5-6 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ตอนที่ 5.1


จัดการงานนอกสั่ง
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
5.1.1 ลักษณะของจัดการงานนอกสั่ง

มส . มส
5.1.2 ผลของจัดการงานนอกสั่งและกรณีที่ไม่ใช่จัดการงานนอกสั่ง

แนวคิด
1. ลักษณะของการจัดการงานนอกสั่งมีลักษณะส�ำคัญ 3 ประการ คือ (1) บุคคลใดเข้าท�ำ
กิจการแทนผูอ้ นื่ (2) โดยเขามิได้วา่ ขานวานใช้ให้ทำ� หรือโดยมิได้มสี ทิ ธิทจี่ ะท�ำการงาน

นั้ น แทนผู ้ อื่ น ด้ ว ยประการใด และ (3) บุ ค คลนั้ น จะต้ อ งจั ด การงานไปในทางที่
สมประโยชน์ของตน ตามความประสงค์อนั แท้จริงของตัวการหรือตามทีจ่ ะพึงสันนิษฐาน
ได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ
2. หากการจัดการนัน้ เป็นการสมประโยชน์ของตัวการและต้องตามความประสงค์อนั แท้จริง
ของตัวการหรือตามความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ ผู้จัดการมีสิทธิเรียกตัวการ
ธ.

ให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนได้ แม้การทีไ่ ด้ทำ� นัน้ ขัดกับความประสงค์ของตัวการ หาก


เป็นการท�ำเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะบ�ำรุงรักษาผู้อ่ืน
ก็เรียกให้ตัวการชดใช้คืนได้เช่นเดียวกัน หากการเข้าจัดการแทนไม่ต้องตามความ
ประสงค์ของตัวการหรือไม่ถูกต้องตามหน้าที่ ผู้จัดการก็ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้
แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อย่างไรก็ตาม กรณีที่บุคคลหนึ่งเข้าท�ำการงาน
.ม
ของผู้อื่นโดยส�ำคัญว่าเป็นการงานของตนเอง มิใช่จัดการงานนอกสั่ง

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 5.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของจัดการงานนอกสั่งได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับผลของจัดการงานนอกสั่งและกรณีที่มิใช่จัดการงาน
นอกสั่งได้
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-7

ความน�ำ


ประมวกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติมูลหนี้การจัดการงานนอกสั่งไว้ ซึ่งสามารถบังคับให้
ช�ำระหนี้กันได้ในลักษณะของนิติเหตุ กล่าวคือ เป็นเรื่องที่บุคคลหนึ่งมีความเอื้อเฟื้อเข้าท�ำกิจการแทน

.
ผูอ้ นื่ โดยเขามิได้วา่ ขานวานใช้ให้ทำ� หรือโดยมิได้มสี ทิ ธิทจี่ ะท�ำการงานนัน้ แทนผูอ้ นื่ ถือว่าเป็นการกระท�ำ
สธ สธ
แทนโดยปราศจากอ�ำนาจ ผู้เข้าท�ำกิจการแทนนี้ เรียกว่า “ผู้จัดการ” ส่วนผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการ เรียกว่า

มส . มส
“ตัวการ” ซึ่งจะจ�ำแนกอธิบายออกเป็น 2 เรื่อง คือ
1. ลักษณะของจัดการงานนอกสั่ง
2. ผลของจัดการงานนอกสั่งและกรณีที่มิใช่จัดการงานนอกสั่ง

เรื่องที่ 5.1.1
ลักษณะของจัดการงานนอกสั่ง
ธ.

ในเรื่องลักษณะของจัดการงานนอกสั่งนี้ ป.พ.พ. มาตรา 395 บัญญัติว่า “บุคคลใดเข้าท�ำกิจการ


แทนผูอ้ นื่ โดยเขามิได้วา่ ขานวานใช้ให้ทำ� ก็ดี หรือโดยมิได้มสี ทิ ธิทจี่ ะท�ำการงานนัน้ แทนผูอ้ นื่ ด้วยประการ
ใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นจะต้องจัดการงานไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์
อันแท้จริงของตัวการหรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ”
จากบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าลักษณะจัดการงานนอกสั่งแบ่งออกเป็นข้อ มีสาระส�ำคัญ 3
.ม
ประการ คือ
1. บุคคลใดเข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่น
2. เป็นการท�ำโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะท�ำแทนผู้อื่น และ
3. จะต้องจัดการไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ และตามความประสงค์อันแท้จริงของ
ตัวการหรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ

1. บุคคลใดเข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่น
บทบัญญัตใิ นข้อนีม้ าจากถ้อยค�ำในมาตรา 395 ทีว่ า่ “ผูใ้ ดเข้าท�ำกิจการ” การทีจ่ ะเป็นจัดการงาน
นอกสั่งได้ ต้องเป็นเรื่องของการมีกิจการให้ท�ำ สภาพของจัดการงานนอกสั่งที่กฎหมายไทยใช้ค�ำว่า
“กิจการ” นี้ มีลักษณะที่กว้างมากโดยแปลมาจากภาษาอังกฤษว่า “affair” จึงไม่อาจจะแปลความหมาย
สธ ส
5-8 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ของค�ำว่ากิจการในลักษณะจ�ำกัดได้ เพราะการงานทุกอย่างถือว่าเป็นกิจการด้วยกันทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ จึง


เป็นกิจการใดๆ ก็ได้ที่สามารถท�ำแทนกันได้ โดยไม่มีขอบเขตจ�ำกัด นอกจากกิจการนั้นๆ ไม่อาจจะท�ำ
แทนกันได้อันเป็นกิจการเฉพาะตัวของผู้นั้นโดยแท้ ผู้อื่นย่อมไม่อาจจะท�ำการแทนได้
กิจการที่เข้าท�ำแทนนี้อาจจะเป็นกิจการเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ใช้เงินไปเพื่อจัดการเอาที่ดิน
คืนมา ซ่อมแซมบ้านทีจ่ วนจะพังหรือซ่อมแซมห้อง3 เข้าท�ำความสะอาดบ้านเรือน ฉีดน�ำ้ ป้องกันมิให้เพลิง
2

.
ลุกลามไหม้บ้าน ค่าซ่อมรถยนต์ที่ยังขาดอยู4่ หรือซ่อมรถที่เสีย เอาที่นอนหมอนมุ้งที่เปียกขึ้นออกตาก
จัดหาอาหารให้สัตว์เลี้ยง เก็บเครื่องรูปพรรณมิให้สูญหาย หว่านข้าวในนา ช�ำระค่าสินค้าที่จ�ำหน่ายไป5
สธ สธ
ช�ำระหนีค้ า่ ภาษีสนิ ค้าของผูส้ ง่ ของออก6 เป็นต้น เป็นกิจการงานทีจ่ ดั การแทนในสภาพของการจัดการงาน

มส . มส
นอกสั่งได้ทั้งสิ้น
กิจการทีไ่ ม่เกีย่ วกับทรัพย์สนิ โดยตรงก็สามารถท�ำแทนได้ ช่วยพาเขาหรือลูกหลานของเขาซึง่ เจ็บ
ป่วยส่งโรงพยาบาล ช่วยจัดหาแพทย์มารักษาเขาหรือลูกหลานของเขาซึ่งเขามีหน้าที่เลี้ยงดู จัดเลี้ยงดูลูก
หลาน ช่วยโทรเลขบอกญาติของเขาว่าเขาป่วย หรือพาผู้ป่วยไปส่งโรงพยาบาล เป็นต้น
อุทาหรณ์

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2503 โจทก์แต่งให้จ�ำเลยเป็นทนายฟ้องคดีให้โจทก์จ�ำเลยได้ด�ำเนิน
กระบวนพิจารณาในศาลชัน้ ต้นเมือ่ ศาลชัน้ ต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีโจทก์ขอถอนจ�ำเลยออกจากการเป็น
ทนายโดยจ�ำเลยยินยอมโจทก์ตงั้ ทนายใหม่เป็นผูด้ ำ� เนินคดีชนั้ อุทธรณ์ตอ่ มา ดังนี้ หน้าทีท่ นายความระหว่าง
จ�ำเลยกับโจทก์เป็นอันสิน้ สุดลง แต่ในแง่ทเี่ กีย่ วกับศาลและคนอืน่ จ�ำเลยยังเป็นทนายของโจทก์อยู่ เพราะ
ธ.

โจทก์จำ� เลยยังหาได้แจ้งถอนหรือเลิกการการแต่งตั้งไม่ การที่จ�ำเลยเซ็นรับทราบค�ำพิพากษาศาลอุทธรณ์


ในคดีซงึ่ ตนพ้นจากหน้าทีท่ นายแล้ว มีผลเท่ากับจ�ำเลยท�ำกิจการแทนโจทก์ โดยทีต่ นไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะกระท�ำ
การนั้น จ�ำเลยต้องบอกกล่าวแก่โจทก์โดยเร็ว
จึงเป็นทีเ่ ห็นได้วา่ กิจการทีม่ กี ารเข้าท�ำแทนได้ ต้องเป็นกิจการหรืองานทีผ่ ใู้ ดก็สามารถท�ำได้โดย
ไม่มขี อ้ จ�ำกัด ไม่วา่ งานนัน้ ท�ำเพือ่ สาธารณประโยชน์หรือเพือ่ ประโยชน์ตอ่ เอกชน หรืองานทีเ่ ป็นหน้าทีต่ าม
กฎหมายทีจ่ ะบ�ำรุงรักษาผูอ้ นื่ ตลอดจนงานทีเ่ ป็นกิจการเพือ่ ประสงค์จะปกป้องอันตรายอันมีมาใกล้ ตัวการ
.ม
ย่อมเข้าท�ำแทนได้ทั้งสิ้น แต่การใดที่เป็นสิทธิเฉพาะตัวซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถท�ำแทนได้ เช่น การสมรส
การหมัน้ การรับรองบุตร การใช้สทิ ธิเลือกตัง้ ผูแ้ ทนราษฎรหรือวุฒสิ ภา เป็นต้น ก็ไม่อาจมีจดั การงานนอก
สั่งได้
ลักษณะของการจัดการงานนอกสั่งที่สำ� คัญ คือ ต้อง “เข้าท�ำ” กิจการแทน การเข้าท�ำจึงต้องมี
การเคลือ่ นไหวอิรยิ าบถในลักษณะกระท�ำการ จึงมิใช่นงิ่ เฉย หรือการไม่กระท�ำ การนิง่ เฉยเสียทัง้ ๆ ทีจ่ ติ ใจ
อยากจะเข้าท�ำแต่ยังไม่มีการเข้าท�ำอย่างใด จะไม่เป็นการจัดการงานนอกสั่งได้
2
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2478
3
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159-60/2492
4
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2518
5
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527
6
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1394/2492
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-9

การเข้าท�ำกิจการในทีน่ มี้ ไิ ด้หมายเฉพาะจัดการเท่านัน้ การจัดการเป็นแต่เพียงชือ่ ว่า “จัดการงาน


นอกสัง่ ” แต่เมือ่ ดูถอ้ ยค�ำของตัวบทกฎหมายทีก่ ำ� หนดลักษณะของจัดการงานนอกสัง่ ตามมาตรา 395 กลับ
ใช้ค�ำว่า “เข้าท�ำ” หาได้ใช้ถ้อยค�ำว่า “จัดการ” ไม่ สภาพของการเข้าท�ำย่อมมีความหมายกว้างกว่าค�ำว่า
“จัดการ” ลักษณะถ้อยค�ำที่ว่า “จัดการ” เป็นแต่เพียงชื่อเรื่องเท่านั้น ตามบทบัญญัติกลับใช้ค�ำว่า
“เข้าท�ำ” ค�ำว่า “จัดการ” ไม่ปรากฏว่ามีอยู่ในตัวบทเลย

. ดังนั้น กิจการใดๆ ที่เข้าท�ำได้เมื่อท�ำแทนผู้อื่น ย่อมเป็นการจัดการงานนอกสั่งได้ทั้งสิ้น การเข้า


ท�ำจึงอาจเป็นการเข้าท�ำนิติกรรมสัญญา ไม่ว่าจะมีลักษณะเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับ
สธ สธ
ซึ่งสิทธิ หรือไม่ว่าจะเป็นการซื้อ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดก็ตาม ไม่ว่าจะท�ำในฐานะเจ้าหนี้หรือลูกหนี้

มส . มส
เช่น ซือ้ ขาย แลกเปลีย่ น ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซือ้ จ้างแรงงาน จ้างท�ำของ ยืม ฝากทรัพย์ จ�ำนอง จ�ำน�ำ ขาย
ฝาก หรือรับขน เป็นต้น นิติกรรมสัญญาตามที่ยกตัวอย่างมานี้ ย่อมเข้าท�ำแทนในลักษณะการจัดการงาน
นอกสั่งได้ทั้งสิ้น เช่น รับฝากเงินของเขาไว้หาประโยชน์โดยจะให้กู้เอาดอกเบี้ย ได้เอาเงินนั้นซื้อที่ดินเพื่อ
ประโยชน์ของเขาถือว่าท�ำแทนเขาโดยล�ำพัง เป็นจัดการงานนอกสั่ง7 นอกจากนี้ การเข้าท�ำนิติกรรมใน
ลักษณะของการจ�ำหน่ายจ่ายโอนย่อมมีสภาพเดียวกับการซื้อขาย เปลี่ยนแปลงและให้ นิติกรรมในทาง

จ�ำหน่ายจ่ายโอนย่อมสามารถเข้าท�ำในลักษณะของการจัดการงานนอกสั่งได้ทั้งสิ้น
การจัดการงานนอกสั่งอาจจะเป็นการเข้าท�ำนิติกรรมการช�ำระหนี้ก็ได้ เช่น ช่วยใช้หนี้แก่เจ้าหนี้
หรือบุคคลภายนอกที่มาทวง หรือเพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์เอาไปขายทอดตลาดช�ำระหนี8้ ช่วยใช้
หนี้ค่าภาษีอากรที่ถึงก�ำหนด หรือช�ำระค่าภาษีของผู้ส่งของออก9 ช่วยออกเงินตีทะเบียนรถยนต์ เรือยนต์
ให้10 จ่ายเงินค่าซ่อมรถยนต์เกินกว่าที่ควรจ่ายตามสัญญาประกันภัย11 ช่วยออกเงินค่าไฟฟ้า ค่าเช่า
ธ.

โทรศัพท์12 ช�ำระเงินค่าเสียหายแก่ผถู้ กู ท�ำละเมิดไปแทน13 นอกจากนีอ้ าจจะเป็นนิตกิ รรมทีร่ บั ช�ำระหนีก้ ไ็ ด้


เช่น มีคนมายืมเงินของเขาไป ผูย้ มื ช�ำระหนีห้ รือส่งของคืนก็รบั ไว้แทนเขาหรือรับเงินค่าซ่อมรถไว้แทนเป็น
จัดการงานนอกสั่งได้14 เป็นต้น
นอกจากนี้ การเข้าท�ำแม้จะไม่ได้เป็นนิติกรรม ก็ยังถือว่าเข้าท�ำแทนกันได้ เช่น ทนายความที่
คู่ความเพิกถอนแล้วได้อุทธรณ์คดีให้ ต่อมา15 เข้าไปซ่อมแซมห้อง16 ช่วยจัดการเอาที่ดินคืน17 หรือเมื่อ
.ม
7
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2479
8
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2523
9
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1394/2492
10
ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช. (2539). นิติกรรมและหนี้. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นิติบรรณาการ. หน้า 565-566.
11
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2518
12
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2520
13
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2491
14
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2491
15
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2503
16
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159-60/2492 และค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2515
17
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2478
สธ ส
5-10 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เรือจะจมได้เอาขึน้ นอนคานไว้18 เป็นต้น การจัดการงานงานนอกสัง่ ดังกล่าวแม้จะมิใช่นติ กิ รรม แต่กท็ ำ� ให้


เกิดหนี้ที่กฎหมายยอมรับให้ใช้บังคับได้
ข้อสังเกต
(1) กิจการทีเ่ ข้าท�ำแทนนัน้ จะเป็นนิตกิ รรมหรือไม่กไ็ ด้ แต่ตอ้ งเป็นการทีช่ อบด้วยกฎหมาย หาก
ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วย่อมไม่เกิดหนี้ที่จะใช้บังคับกันได้ เช่น เข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่นในการค้าขายของ

.
หนีภาษี ย่อมไม่เป็นการจัดการงานนอกสั่ง
(2) การเข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่นนั้น จะต้องเป็นเรื่องของการจัดการงานหรือการจัดทรัพย์สิน เช่น
สธ สธ
การจัดการดูแลรักษา การซ่อมแซมสิ่งที่ช�ำรุดบกพร่อง หรือแม้แต่การจ�ำหน่ายจ่ายโอนแทนก็ได้แล้ว

มส . มส
แต่กรณี แต่ต้องมิใช่การท�ำกิจการหรือสิ่งใดขึ้นใหม่ เช่น ก. เก็บไม้อัดสักไว้ในโรงเก็บวัสดุ ขณะ ก. ไป
ต่างประเทศเกิดพายุพัดหลังคาโรงเก็บวัสดุนั้นเสียหาย ข. เพื่อนบ้านติดต่อกับ ก. ไม่ได้ จึงจ้างช่างมา
ซ่อมแซมหลังคานั้น เช่นนี้ เป็นการเข้าท�ำกิจการงานแทนผู้อื่น เป็นจัดการงานนอกสั่งได้ แต่หาก ข. เอา
ไม้สักอัดนั้นมาท�ำเฟอร์นิเจอร์ขาย เช่นนี้ หาใช่จัดการนอกสั่งไม่ เป็นต้น
ส�ำหรับผู้ที่เข้าไปท�ำการแทนนั้นจะต้องเป็นบุคคลไม่ใช่สัตว์ สิ่งของ นอกจากบุคคลจะใช้สัตว์

สิ่งของเป็นเครื่องมือในการเข้าท�ำ ย่อมถือได้ว่าเป็นเรื่องที่บุคคลเข้าท�ำและบุคคลที่เข้าท�ำนี้จะเป็นบุคคล
ปกติ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 395 ใช้ค�ำว่า
“ผู้ใด” จึงไม่จ�ำกัดเพศ และวัย จะมีความสมบูรณ์ทางร่างกายเพียงใดหรือไม่ ถือว่าไม่ส�ำคัญ สามารถ
เข้าไปท�ำกิจการงานในลักษณะของการจัดการงานนอกสั่งได้ทั้งสิ้น
ธ.

กรณีที่จะเป็นการจัดการงานนอกสั่งได้จะต้องได้ความว่า การเข้าท�ำกิจการนั้นต้องเป็นกิจการที่
ท�ำแทนผู้อื่น ซึ่งค�ำว่า “ผู้อื่น” ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่า กิจการที่เข้าท�ำแทนนั้นต้องเป็นกิจการของ
ผูอ้ นื่ มิใช่กจิ การของตนเองเพราะหากเข้าท�ำกิจการของตนเอง แม้จะเข้าใจผิดว่าเป็นกิจการของผูอ้ นื่ ย่อม
ไม่อาจเป็นการจัดการงานนอกสั่งได้ ด้วยไม่ใช่เป็นการท�ำแทนผู้อื่นตามความเป็นจริงแต่อย่างใด
บุคคลผู้ท�ำแทนผู้อื่นซึ่งเรียกกันว่า “ผู้จัดการ” ต้องรู้ในขณะที่เข้าท�ำการแทนนั้นว่า กิจการที่ท�ำ
แทนเป็นกิจการของผู้อื่น ค�ำว่า “รู้” ในที่นี้หมายความว่า ผู้จัดการจะต้องมีเจตนาเข้าท�ำกิจการนั้นแทน
.ม
ผูอ้ นื่ โดยใจสมัคร สภาพจิตใจของผูจ้ ดั การจะต้องรูอ้ ย่างชัดเจนว่ากิจการทีเ่ ข้าท�ำนัน้ เป็นของผูอ้ นื่ ไม่ใช่ของ
ตนเอง และค�ำว่า “ผู้อื่น” นั้น ผู้จัดการจะรู้จักหรือไม่ก็ไม่ส�ำคัญ เพียงแต่รู้ว่าไม่ใช่ของตนเองก็เป็นการ
เข้าใจชัดแล้วว่าเป็นกิจการของผู้อื่นแล้ว และแม้แต่ตั้งใจจะท�ำแทนผู้หนึ่ง แต่ผลที่ได้รับเป็นการท�ำแทน
ผู้อื่นอีกคนหนึ่ง ก็ยังถือว่าเป็นการจัดการงานนอกสั่งตามมาตรา 404
ค�ำว่า “ผูอ้ น่ื ” ข้อส�ำคัญทีส่ ดุ คือ ผูจ้ ดั การต้องเข้าท�ำการนัน้ โดยมุง่ หมายว่าเป็นการงานของตัวการ
ถ้าการเข้าท�ำกิจการนัน้ กระท�ำโดยเข้าใจหรือส�ำคัญว่าเป็นการงานของตนเองแล้ว ก็จะไม่ใช่เรือ่ งจัดการงาน
นอกสัง่ ดังทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 405 แต่หากเป็นการเข้าท�ำกิจการงานของผูอ้ นื่ โดยรูห้ รือเข้าใจว่าเป็นงาน
ของผู้อื่นแล้ว แม้ผู้จัดการจะท�ำการนั้นในนามของตนเองหรือท�ำโดยอ้างว่าท�ำแทนผู้อื่น ก็ต้องเป็นจัดการ
งานนอกสัง่ อยูน่ นั่ เอง เพราะตามปกติแล้วผูจ้ ดั การย่อมท�ำกิจการของผูอ้ นื่ ในนามของตนเอง และหากจะมี

18
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2506
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-11

การอ้างว่าท�ำแทนผู้อื่นก็ยังถือว่าเป็นจัดการงานนอกสั่งไม่ใช่ตัวแทนเพราะเป็นการท�ำแทนโดยปราศจาก


อ�ำนาจ
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2491 เจ้าของรถม้ารับเงินค่าเสียหายจากฝ่ายเจ้าของรถยนต์ที่ขับชน
รถม้าและเครือ่ งเรือนของผูอ้ นื่ ทีต่ นรับจ้างบรรทุกเสียหาย โดยรูด้ วี า่ เงินทดแทนค่าเสียหายนัน้ เป็นส่วนของ

.
เจ้าของเครือ่ งเรือนด้วยส่วนหนึง่ ดังนี้ ถือว่าเจ้าของรถม้ารับแทนเจ้าของเครือ่ งเรือนด้วย จึงก่อให้เกิดหน้าที่
ที่จะต้องน�ำเงินนั้นส่งแก่เจ้าของเครื่องเรือน เมื่อไม่ส่งหรือไม่ยอมให้ ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิตามประมวล
สธ สธ
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ฟ้องร้องได้

มส . มส
ดังนัน้ การเข้าจัดการงานแทนผูอ้ นื่ นี้ จึงมิใช่สญั ญาหรือนิตกิ รรมระหว่างผูจ้ ดั การกับตัวการ เพราะ
มิได้มเี จตนาต่อกัน เพียงแต่ผจู้ ดั การมีเจตนามุง่ หมายท�ำแทนแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านัน้ จึงมิอาจจะปรับใน
เรือ่ งตัวแทนตามมาตรา 797 ได้ ด้วยมิได้มกี ารมอบหมายกัน เพียงแต่มลี กั ษณะเป็นการท�ำแทนผูอ้ นื่ ด้วย
ความเอื้อเฟื้อซึ่งถือว่าเป็นกรณีที่มนุษย์จะพึงช่วยเหลือกันในฐานะที่อยู่ในสังคมเดียวกัน การเข้าท�ำแทน
ผู้อื่นจึงเป็นเรื่องของความสมัครใจ มีความยินดีที่จะช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเต็มใจนั่นเอง

ข้อสังเกต
(1) กิจการที่ท�ำแทนต้องเป็นของ “ผู้อื่น” เท่านั้น หากกิจการนั้นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับ
ผูอ้ นื่ “ไม่ถอื ว่าเป็นการท�ำกิจการแทนผูอ้ นื่ ” แต่เป็นเรือ่ งของสิทธิการจัดการทรัพย์สนิ ของเจ้าของรวม ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1358, มาตรา 1359 ไม่เป็นการจัดการงานนอกสั่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 395 นี้
ธ.

(2) ส�ำหรับ “ผูอ้ นื่ ” นัน้ จะเป็นบุคคลใดไม่สำ� คัญ แม้การท�ำกิจการงานแทนบุคคลหนึง่ โดยเข้าใจ


ว่าเป็นของอีกบุคคลหนึ่งก็ไม่เป็นสาระส�ำคัญ ท�ำให้เกิดผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป เช่น ก. เข้าจัด
กิจการงานของ ข. โดยเข้าใจว่าเป็นการเข้าจัดกิจการงานของ ค. ก็เป็นการจัดกิจการงานแทนผู้อื่นอยู่
นั่นเอง ก็ย่อมเป็นการจัดการงานนอกสั่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 395 ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในมาตรา 404
(3) การเข้าท�ำกิจการงานของผู้อื่นแต่ได้กระท�ำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง เช่น เช่าที่ดินท�ำสวน
ผลไม้เกิดน�้ำท่วมจึงท�ำคันดินกันมิให้น�้ำท่วมเข้าไปในสวนผลไม้นั้น ดังนี้ เป็นการเข้าท�ำกิจการงานเพื่อ
.ม
ประโยชน์ของผู้เช่าเอง ไม่ถือเป็นจัดการงานนอกสั่ง เป็นต้น

2. เป็นการท�ำโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ หรือโดยมิได้มีสิทธิท่ีจะท�ำแทนผู้อื่น
กิจการทีผ่ จู้ ดั การเข้าไปท�ำแทนผูอ้ นื่ นี้ เป็นการกระท�ำฝ่ายเดียวโดยสมัครใจโดยผูจ้ ดั การเป็นผูส้ อด
เข้าไปท�ำเอง ซึ่งตัวการไม่ได้มอบหมาย มิได้ว่าขานวานใช้ หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะท�ำแทนตัวการได้
ถ้าท�ำแทนผูอ้ นื่ โดยรับอ�ำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น โดยสัญญาตัวแทน ก็เป็นการทีเ่ ขาว่าขานวานใช้
ให้ท�ำ หรือท�ำโดยฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมแทนบุตรผู้เยาว์ การจัดการนั้นถือว่าเป็นตัวแทนหรือมีสิทธิ
ที่จะท�ำได้ จะไม่เป็นการจัดการงานนอกสั่ง
กรณีเป็นเรื่องของการท�ำตามสัญญา มิใช่เข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ท�ำ
ย่อมไม่เป็นจัดการงานนอกสั่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 395
สธ ส
5-12 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ตัวอย่าง 1 ก. เป็นตัวการมอบอ�ำนาจให้ ข. ตัวแทนจัดการท�ำธุรกิจการค้าแทนตน ดังนี้ เป็นการ


มอบหมายให้ทำ� ตามสัญญาตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 มิใช่เข้าท�ำกิจการแทนผูอ้ นื่ โดยเขามิได้วา่ ขาน
วานใช้ แม้ ข. ตัวแทนจะท�ำธุรกิจการค้าที่ได้รับมอบหมายท�ำให้กิจการรุ่งเรืองดีกว่าที่ ก. ท�ำเอง ก็ไม่เป็น
จัดการงานนอกสั่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 395 แต่อย่างใด
ตัวอย่าง 2 ก. จ้าง ข. ปั้นมังกร 1 ตัวตามแบบที่ก�ำหนดให้ ดังนี้ ข. ท�ำการปั้นมังกรดังกล่าวตาม

.
สัญญาจ้างท�ำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 มิใช่เข้าท�ำการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ แม้ ข.
จะปั้นมังกรมาส่งมอบให้ ก. ถึง 2 ตัว ซึ่งเกินกว่าที่จ้างท�ำก็ต้องว่ากล่าวกันตามสัญญา ไม่เป็นจัดการงาน
สธ สธ
นอกสั่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 395 แต่อย่างใด

มส . มส
กรณีเป็นเรื่องของการท�ำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่เข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่น โดยเขามิได้
ขานวานใช้ให้ท�ำ ย่อมไม่เป็นจัดการงานนอกสั่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 395
ตัวอย่าง 1 ก. เช่าบ้านจาก ข. การที่ ก. ผู้เช่าซ่อมแซมเล็กน้อย เป็นหน้าที่และความรับผิดของ
ผูเ้ ช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 553 มิใช่เข้าท�ำการแทนผูอ้ นื่ โดยเขามิได้วา่ ขานวานใช้ให้ทำ� ไม่เป็นจัดการงาน
นอกสั่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 395 แต่อย่างใด

ตัวอย่าง 2 ก. เป็นคนไร้ความสามารถตามค�ำสั่งศาล มี ข. เป็นผู้อนุบาล ซึ่งเป็นผู้มีอำ� นาจหน้าที่
ท�ำการแทน ก. คนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 28 มิใช่เป็นการท�ำการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้
ว่าขานวานใช้ให้ทำ� การที่ ข. ผู้อนุบาลท�ำแทน ก. คนไร้ความสามารถ จึงไม่เป็นจัดการงานนอกสั่งตาม
ป.พ.พ. มาตรา 395 แต่อย่างใด
ธ.

นอกจากนี้ กรณีโดยมิได้มสี ทิ ธิทจี่ ะท�ำการแทนผูอ้ นื่ ด้วยประการใดนัน้ การเข้าท�ำกิจการงานแทน


ผู้อื่นนั้น ต้องเป็นการกระท�ำโดยสุจริตและท�ำเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น หากเป็นการเข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่น
โดยทุจริต และท�ำเพือ่ หวังประโยชน์ของตนเองโดยแท้ ไม่เป็นจัดการงานนอกสัง่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 395
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2472 จ�ำเลยน�ำพินยั กรรมปลอมไปยืน่ ต่อศาล ขอให้ศาลตัง้ จ�ำเลยเป็น
ผูจ้ ดั การตามพินยั กรรมนัน้ จ�ำเลยได้จา่ ยเงินของตนซือ้ หีบศพส�ำหรับผูต้ ายและท�ำบุญให้ผตู้ ายกับค่าใช้จา่ ย
.ม
อื่นๆ เห็นว่าเงินที่จ�ำเลยออกทดรองไปไม่เข้าลักษณะจัดการงานนอกสั่ง เพราะจ�ำเลยท�ำไปเพื่อหวังผล
ประโยชน์ส่วนตัว โดยอ้างพินัยกรรมอันทุจริตขึ้นบังหน้าแสดงต่อศาล และการที่จ�ำเลยท�ำนั้นก็หาใช่เป็น
ความประสงค์อนั แท้จริงของตัวการ กล่าวคือ ท�ำงานแทนโจทก์ไม่ จ�ำเลยกลับเข้าแย่งโจทก์ทำ� เสียด้วย จึง
ไม่เป็นจัดการงานนอกสั่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 395
อนึ่งจัดการงานนอกสั่งไม่ใช่ลักษณะของสัญญาตัวแทน แต่ก็มีลักษณะเกือบคล้ายเป็นสัญญา คือ
เข้าไปท�ำแทนเขา ดังนั้น แต่เดิมก่อนใช้ ป.พ.พ. นี้ ซึ่งยังไม่รู้จักจัดการงานนอกสั่ง จึงเรียกกิจการเช่นนี้
ว่า “คล้ายสัญญา (quasi-contract)19” ซึ่งสามารถบังคับหนี้กันได้
ดังนั้น มูลหนี้ที่เกิดขึ้นในที่นี้แม้จะไม่ใช่สัญญาตัวแทนหรือมีสิทธิที่จะท�ำได้ แต่มูลหนี้ในผลงานที่
ท�ำแทนไปก็มีกฎหมายรับรอง ด้วยเหตุนี้ มูลหนี้การจัดการงานนอกสั่งจึงเป็นการเกิดขึ้นโดยกฎหมาย

19
หลวงประดิษฐ์ พิจารณาการ. (2454). คำ�อธิบายมูลคดีสัญญา. พระนคร: โรงพิมพ์กองละหุโทษ. หน้า 297.
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-13

เพราะมีกฎหมายในเรื่องจัดการงานนอกสั่งนี้ก�ำหนดให้ผู้จัดการและตัวการต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน


ดังนัน้ ปัญหาเรือ่ งมูลหนีเ้ รือ่ งจัดการงานนอกสัง่ จึงเป็นปัญหาระหว่างผูจ้ ดั การกับตัวการเท่านัน้ ไม่เกีย่ วกับ
บุคคลภายนอกเพราะหากเป็นปัญหาระหว่างผู้จดั การกับบุคคลภายนอกก็ดี หรือปัญหาระหว่างตัวการกับ
บุคคลภายนอกก็ดี เป็นปัญหาที่จะต้องพิจารณาตามลักษณะตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง

.
3. จะต้องจัดการไปในทางที่จะท�ำให้สมประโยชน์ของตัวการ และตามความประสงค์อัน
สธ สธ
แท้จริงของตัวการหรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ

มส . มส
ในลักษณะของการจัดการงานนอกสั่งข้อนี้จะต้องจัดการครบทั้ง 2 ประการ คือ
1) จะต้องจัดการไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ และ
2) จะต้องจัดการไปในทางตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้
ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ
เหตุที่ลักษณะการจัดการจะต้องครบทั้งสองประการนี้ จะเห็นได้ด้วยถ้อยค�ำในบทบัญญัติของ
มาตรา 401 ได้บญ ั ญัตวิ า่ “ถ้าการทีเ่ ข้าจัดการเป็นการสมประโยชน์ของตัวการ และต้องตามความประสงค์

อันแท้จริงของตัวการหรือความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้นั้นไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจะเรียกให้
ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนเช่นอย่างตัวแทนก็ได้...” ซึง่ ตามบทบัญญัตนิ จี้ ะใช้คำ� ว่า “และ” ระหว่าง
จัดการเป็นการสมประโยชน์และต้องตามความประสงค์อันแท้จริง ดังนั้น องค์ประกอบของการจัดการงาน
นอกสั่งในข้อนี้ จึงต้องประกอบด้วยลักษณะสองประการดังกล่าวแล้ว จึงมิใช่เฉพาะต้องจัดการไปในทาง
ธ.

สมประสงค์ของตัวการเพียงอย่างเดียว ต้องพิจารณาแยกกันไป คือ นอกจากจะจัดการไปในทาง


สมประโยชน์ของตัวการแล้ว จะต้องจัดการไปทางตามความประสงค์อนั แท้จริง หรือตามทีจ่ ะพึงสันนิษฐาน
ได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการอีกด้วย
ส่วนกรณีที่จะต้องจัดการไปในทางตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือตามที่จะพึง
สันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการนั้น จะเป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ได้ เพราะกฎหมายใช้
ค�ำว่า “หรือ” คือ ตามความประสงค์อันแท้จริงก็ได้ หรือตามความประสงค์อันจะพึงสันนิษฐานก็ได้ ถือว่า
.ม
เป็นการจัดการงานนอกสั่งแล้ว
ลักษณะที่ผู้จัดการจะต้องจัดการไปในทางที่ให้สมประโยชน์ของตัวการ หมายถึง กิจการที่เข้าท�ำ
แทนต้องให้เป็นประโยชน์ตอ่ ตัวการมิให้เป็นทีเ่ สียหายแก่ตวั การ หากเข้าท�ำในกิจการค้าก็ตอ้ งได้กำ� ไรหรือ
ไม่ทำ� ให้เกิดความเสียหายถึงต้องขาดทุน ทั้งจะต้องเข้าท�ำกิจการงานนั้นให้ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไม่ใช่ท�ำ
แล้วยังไม่สำ� เร็จก็ทงิ้ งานไป โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในการทีจ่ ะจัดการไปในทางทีจ่ ะให้สมประโยชน์ของตัวการ
ผู้จัดการต้องค�ำนึงถึงความปรารถนาอันแท้จริงของตัวการเป็นหลักในการจัดการตามความประสงค์ของ
ตัวการ ไม่วา่ จะทราบมาโดยวิธใี ดก็ตาม ก็ตอ้ งจัดการให้เป็นไปตามความประสงค์นนั้ จึงจะเป็นทางทีจ่ ะให้
สมประโยชน์ของตัวการ ถ้าไม่ทราบมาก่อนก็ต้องจัดการไปในทางตามความประสงค์อันพึงสันนิษฐานได้
นอกจากนี้อาจจะทราบความประสงค์อันแท้จริงได้เมื่อได้บอกกล่าวให้ตัวการทราบก็ได้
สธ ส
5-14 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อย่างไรเป็นการสมประโยชน์ของตัวการ ต้องอาศัยความรูส้ กึ ของผูจ้ ดั การเองโดยเทียบความรูส้ กึ


ธรรมดาๆ ของคนทัว่ ไปในสภาพเดียวกับตัวการว่า การเข้าท�ำแทนกรณีนไี้ ด้สมประโยชน์ของผูเ้ ป็นตัวการ
แล้ว ซึ่งความเข้าใจของผู้จัดการนั้นมีความส�ำคัญ ผู้จัดการจะเอาความเข้าใจของตนเองไม่ได้ ต้องดูว่าได้
สมประโยชน์ตามสภาพของตัวการแล้ว หากผู้จัดการเข้าใจเอาเองแล้วว่าเป็นการสมประโยชน์ของตัวการ
ก็จะเป็นการท�ำไปเพือ่ ประโยชน์ของผูจ้ ดั การเอง และหากขัดกับความประสงค์ของตัวการด้วย ย่อมไม่อาจ

.
จะท�ำได้20 เพราะขัดกับการเข้าท�ำแทนในลักษณะของการจัดการงานนอกสั่ง
ข้อส�ำคัญที่สุด คือ การที่ต้องจัดการไปตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือตามที่จะพึง
สธ สธ
สันนิษฐานได้วา่ เป็นความประสงค์ของตัวการนี้ ต้องอาศัยความรูส้ กึ ของผูจ้ ดั การว่าได้รอู้ ยูเ่ ช่นนัน้ แล้ว หาก

มส . มส
ไม่รู้ก็ต้องสันนิษฐานเอา เพราะความในมาตรา 396 บัญญัติถึงการท�ำขัดต่อความประสงค์อันแท้จริงหรือ
ตามทีพ่ งึ สันนิษฐานได้ ต้องเป็นเรือ่ งทีผ่ จู้ ดั การ “ควรจะได้รสู้ กึ เช่นนัน้ แล้ว” ดังนัน้ ความประสงค์อนั แท้จริง
ของตัวการหรือทีจ่ ะพึงสันนิษฐานได้ตอ้ งวัดความรูส้ กึ ของผูจ้ ดั การธรรมดาว่า ในฐานะของตัวการในสภาพ
เช่นนี้จะมีความประสงค์อันใด หรือใช้ข้อสันนิษฐานว่าบุคคลธรรมดา ในฐานะของตัวการในสภาพเช่นนี้จะ
มีความประสงค์อย่างใด ผูจ้ ดั การก็ตอ้ งเข้าจัดการแทนไปตามความประสงค์อนั แท้จริงนัน้ และทัง้ นีข้ อ้ ส�ำคัญ

ที่สุด คือ ต้องไม่ใช่ตามความประสงค์อันแท้จริงของผู้จัดการเอง เพราะหากเป็นไปตามความประสงค์อัน
แท้จริงของผู้จัดการเองแล้ว ก็จะไม่เป็นจัดการงานนอกสั่ง
อุทาหรณ์
(1) กรณีผเู้ ช่าซือ้ น�ำรถยนต์มาซ่อมแล้วยังไม่ชำ� ระค่าซ่อม เจ้าของกรรมสิทธิร์ ถยนต์มาติดตามเอา
รถยนต์นั้นคืน ผู้ซ่อมรถยนต์นั้นมีสิทธิเรียกให้เจ้าของรถยนต์ชดใช้ค่าบ�ำรุงรักษารถยนต์ในส่วนค่าจอดรถ
ธ.

ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 401


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11181/2555 ว. เช่าซื้อรถยนต์จากจ�ำเลยแล้วผิดสัญญา ศาลชั้นต้น
พิพากษาให้ ว. ส่งมอบรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนแก่จ�ำเลย แต่ ว. น�ำรถยนต์ที่เช่าซื้อจากจ�ำเลยมาให้โจทก์
ซ่อมแล้วไม่ชำ� ระค่าซ่อม โจทก์จงึ ต้องเก็บรักษารถยนต์ทโี่ จทก์ซอ่ มซึง่ เป็นของจ�ำเลยไว้ในอูอ่ กี ย่อมเป็นการ
ที่โจทก์จัดการไปสมประโยชน์ของจ�ำเลยและต้องด้วยความประสงค์ของจ�ำเลยที่พึงสันนิษฐานได้ โจทก์จึง
มีสิทธิเรียกให้จำ� เลยชดใช้ค่าบ�ำรุงรักษารถยนต์ในส่วนค่าจอดรถจากจ�ำเลยได้
.ม
(2) การเข้าช�ำระหนีแ้ ทนให้บคุ คลภายนอก เป็นผลให้หนีน้ นั้ ระงับไป ลูกหนีห้ ลุดพ้นจากความรับผิด
การเข้าจัดการนั้นเป็นการสมประโยชน์ของตัวการ และต้องการตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ
ผู้จัดการเรียกให้ชดใช้เงินที่ออกไปคืนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 401
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2523 การที่โจทก์ช�ำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกแทนจ�ำเลยไปนั้นแม้
จ�ำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จดั การช�ำระหนีแ้ ทนก็ตาม แต่กเ็ ป็นผลท�ำให้หนีข้ องจ�ำเลยระงับไป จ�ำเลยหลุด
พ้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกและอาจน�ำรถเข้าวิ่งร่วมกับบุคคลภายนอกได้ตามข้อตกลงต่อไป เช่นนี้
เป็นการสมประโยชน์ของจ�ำเลยซึ่งเป็นตัวการเพราะต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือต้อง
ตามความประสงค์ตามทีจ่ ะพึงสันนิษฐานได้ กรณีจงึ เป็นเรือ่ งจัดการงานนอกสัง่ โจทก์จงึ มีสทิ ธิเรียกร้องให้
จ�ำเลยชดใช้เงินที่ออกทดรองคืนได้ตามมาตรา 401

20
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2472
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-15

(3) ผูเ้ ข้ารับประกันภัยรถยนต์จา่ ยเงินให้แก่ผเู้ สียหายทีผ่ เู้ อาประกันภัยรถยนต์ไปละเมิดเกินวงเงิน


ที่เอาประกันภัยไว้ ส่วนที่เกินวงเงินประกันภัยถือเป็นการเข้าช�ำระหนี้แทนที่เป็นการสมประโยชน์ของ
ผูเ้ อาประกันภัยและต้องตามความประสงค์ทแี่ ท้จริงของผูเ้ อาประกันภัย ผูร้ บั ประกันภัยเรียกให้ชดใช้คนื ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 401
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2518 โจทก์ฟอ้ งว่า โจทก์เป็นผูร้ บั ประกันภัยค�ำ้ จุนรถยนต์ของจ�ำเลย

.
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า โจทก์จะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกรายหนึ่งๆ ไม่เกิน 10,000
บาท รถยนต์ของจ�ำเลยคันนั้นได้ชนกับรถยนต์คันอื่น ซึ่งจ�ำเลยจะต้องรับผิดชอบโจทก์ได้ซ่อมรถคันที่ถูก
สธ สธ
ชนนั้นสิ้นเงินไป 25,000 บาท ขอให้จำ� เลยใช้เงิน 15,000 บาท ที่โจทก์จ่ายเกินไปให้โจทก์ ดังนี้ บุคคล

มส . มส
ภายนอกผูต้ อ้ งเสียหายชอบทีจ่ ะได้รบั เงินค่าซ่อมรถจากโจทก์เป็นจ�ำนวนเท่าทีโ่ จทก์กบั จ�ำเลยได้ตกลงกัน
ไว้ในกรมธรรม์ ส่วนจ�ำนวนทีย่ งั ขาดอยูน่ นั้ ชอบทีจ่ ะเรียกร้องให้จำ� เลยใช้ให้ โจทก์ไม่มหี น้าทีต่ ามกฎหมาย
ที่จะจ่ายเงินค่าซ่อมรถให้ผู้ต้องเสียหายเกินกว่าความรับผิดของตนซึ่งจ�ำกัดไว้เพียง 10,000 บาท แต่เมื่อ
ได้จ่ายไปแล้วแม้จ�ำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จัดการแทนก็ตาม ก็ย่อมเป็นผลท�ำให้หนี้ค่าซ่อมรถที่ยังขาด
อยูน่ นั้ ระงับไป และจ�ำเลยหลุดพ้นความรับผิดต่อผูต้ อ้ งเสียหายจึงอาจสมประโยชน์ของจ�ำเลยซึง่ เป็นตัวการ

และต้องตามความประสงค์อนั แท้จริงของตัวการหรือความประสงค์ตามทีจ่ ะพึงสันนิษฐานได้ กรณีตามฟ้อง
เป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งที่อาจจะก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพันจ�ำเลยให้ต้องชดใช้เงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการได้
ออกทดรองจัดการงานให้จำ� เลยไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 401 โจทก์จงึ มีสทิ ธิฟอ้ งจ�ำเลยศาลชอบทีจ่ ะรับฟ้อง
ไว้พิจารณา
ธ.

กิจกรรม 5.1.1
หนึง่ ท�ำกิจการเกีย่ วกับการจัดการงานศพ แต่ชว่ งเศรษฐกิจไม่ดไี ม่มลี กู ค้า หนึง่ จึงใช้วธิ อี า้ งตัวเป็น
ญาติเข้าจัดงานศพเอง โดยญาติคนอืน่ ไม่รจู้ กั แต่ไม่ได้ขดั ขวาง เมือ่ เสร็จงานแล้ว หนึง่ เรียกเก็บเงินทัง้ หมด
จากญาติคนอื่นนั้น ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่ากรณีดังกล่าวเป็นจัดการงานนอกสั่งหรือไม่
.ม
แนวตอบกิจกรรม 5.1.1
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 395 บุคคลใดเข้าท�ำกิจการแทนผูอ้ นื่ โดยเขามิได้วา่ ขานวานใช้ให้ทำ� ก็ดี หรือ
โดยมิได้มสี ทิ ธิทจี่ ะท�ำการงานนัน้ แทนผูอ้ นื่ ด้วยประการใดก็ดี ท่านว่าบุคคลนัน้ จะต้องจัดการงานไปในทาง
ที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่า
เป็นความประสงค์ของตัวการ
ตามปัญหา หนึง่ ท�ำกิจการเกีย่ วกับการจัดงานศพ แต่ชว่ งเศรษฐกิจไม่ดไี ม่มลี กู ค้า หนึง่ จึงใช้วธิ อี า้ งตัว
เป็นญาติเข้าจัดการงานศพเอง โดยญาติคนอืน่ ไม่รจู้ กั แต่กไ็ ม่ได้ขดั ขวาง ซึง่ เป็นการเข้าท�ำกิจการแทนผูอ้ นื่
โดยเขามิได้วา่ ขานวานใช้ หรือโดยมิได้มสี ทิ ธิทจี่ ะเข้าท�ำการงานนัน้ แทนผูอ้ นื่ ด้วยประการใด แต่เป็นการเข้า
ท�ำกิจการแทนผู้อื่นโดยไม่ชอบและท�ำเพื่อหวังผลประโยชน์ของตนเองโดยแท้ จึงไม่เป็นการจัดการงาน
นอกสั่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 395
ฉะนั้น กรณีดังกล่าวจึงไม่เป็นจัดการงานนอกสั่งแต่อย่างใด
สธ ส
5-16 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เรื่องที่ 5.1.2


ผลของจัดการงานนอกสั่งและกรณีที่มิใช่จัดการงานนอกสั่ง

. เมื่อได้เข้าจัดการงานนอกสั่งแล้วย่อมจะเกิดเป็นหนี้ขึ้นตามกฎหมาย นั่นคือนิติเหตุ เพราะมิได้


เป็นเรื่องของนิติกรรมสัญญา มูลหนี้ที่เกิดขึ้นดังนี้จึงต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้ มิฉะนั้นจะบังคับกัน
สธ สธ
ไม่ได้ และปัญหาเรื่องลูกหนี้เกี่ยวกับการจัดการงานนอกสั่งนี้เป็นเรื่องระหว่างผู้จัดการกับตัวการเท่านั้น

มส . มส
ไม่มีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง มูลหนี้ดังกล่าวนี้เรียกได้ว่าเป็นผลการจัดการงานนอกสั่ง ซึ่งตาม
บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องจัดการงานนอกสั่งนี้ แยกพิจารณาได้ 4 ประการ คือ
1. หนี้ของผู้จัดการ
2. หนี้ของผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถ
3. หนี้ของตัวการ และ

4. กรณีที่มิใช่จัดการงานนอกสั่ง

1. หนี้ของผู้จัดการ
ผลแห่งหนี้ของผู้จัดการ คือ การที่กฎหมายก�ำหนดหน้าที่ของผู้จัดการขึ้นนั่นเอง ซึ่งจะได้อธิบาย
หน้าที่ของผู้จัดการตามกฎหมายนี้ออกเป็น 2 กรณี คือ 1.1 หน้าที่ในการจัดการ และ 1.2 หน้าที่ในการ
ธ.

บอกกล่าว
1.1 หน้าที่ในการจัดการ หนีป้ ระการแรกของผูจ้ ดั การ คือ กรณีตามมาตรา 395 บัญญัตถิ งึ หน้าที่
ผู้จัดการว่า “จะต้องจัดการไปในทางที่จะให้สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของ
ตัวการ หรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ” ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
หลักอันส�ำคัญก็คอื เป็นหน้าทีข่ องผูจ้ ดั การทีจ่ ะต้องจัดการไปในทางตามความประสงค์อนั แท้จริง
.ม
ของตัวการหรือตามความประสงค์อนั จะพึงสันนิษฐานได้ ทัง้ นี้ เพือ่ ทีจ่ ะให้สมประโยชน์ของตัวการ หากขัด
ต่อความประสงค์อันแท้จริงดังกล่าว และเกิดความเสียหายขึ้นต่อตัวการ ผู้จัดการมีหน้าที่จะต้องใช้ค่า
สินไหมทดแทนเพือ่ ความเสียหายนัน้ ให้แก่ตวั การ ดังทีบ่ ญ ั ญัตใิ นมาตรา 396 ว่า “ถ้าการที่เข้าจัดการงาน
นั้ น เป็ น การขั ด กั บ ความประสงค์ อั น แท้ จ ริ ง ของตั ว การก็ ดี หรื อ ขั ด กั บ ความประสงค์ ต ามที่ จ ะพึ ง
สันนิษฐานได้ก็ดี และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจ�ำต้องใช้ค่าสินไหม
ทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ที่ได้เข้าจัดการนั้น แม้ทั้งผู้จัดการจะมิได้มี
ความผิดประการอื่น”
หนี้ของผู้จัดการที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการในความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิด
แต่การที่ได้เข้าจัดการนั้นเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ในกรณีนี้ต้องพึงเข้าใจในเบื้องต้นว่า ต้องเป็น
ลักษณะของจัดการงานนอกสั่งก่อนจึงจะปรับบทมูลหนี้ตามมาตรา 396 นี้ได้ เพราะหากไม่ใช่เรื่องการ
จัดการนอกสั่ง การที่เข้าจัดการงานของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิและเขามิได้ใช้ให้ท�ำนั้นและท�ำความเสียหายให้
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-17

แก่เขา เช่นนีแ้ ล้ว จะเป็นการกระท�ำละเมิดต่อเขา ต้องปรับด้วยกฎหมายลักษณะละเมิดโดยตรง ด้วยเหตุนี้


หากการจัดการงานนั้นเข้าลักษณะจัดการงานนอกสั่งได้แล้ว จึงดูต่อไปว่า ได้เข้าจัดการเช่นนั้น โดยรู้อยู่
ว่าเป็นการขัดต่อความประสงค์ของตัวการ กฎหมายจึงบัญญัติให้รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่ง
ไม่ต้องมีความผิดอย่างอื่นเช่นในกรณีละเมิดอีก ดังนั้น มูลหนี้ในความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงต้องปรับด้วย
บทกฎหมายในเรื่องจัดการงานนอกสั่งนี้ ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว

. หลักมูลหนี้ของผู้จัดการที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การที่ได้เข้า
จัดการนี้ จึงจัดได้ว่าแตกต่างออกไปจากลักษณะละเมิด ทั้งนี้ เพราะตามความในมาตรา 396 นั้น การเข้า
สธ สธ
จัดการที่ขัดต่อความประสงค์อันแท้จริง หรือตามพึงสันนิษฐานได้ของตัวการจะต้องได้ความว่า “และ

มส . มส
ผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้นแล้วด้วยไซร้” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญ เพราะหากผู้จัดการมิได้รู้
เช่นนัน้ เลยก็ไม่ตอ้ งชดใช้คา่ เสียหายทีเ่ กิดขึน้ ดังนัน้ กรณีทผี่ จู้ ดั การจะต้องชดใช้คา่ เสียหายในทีน่ ตี้ อ้ งเป็น
เรื่องที่ผู้จัดการควรจะได้รู้เช่นนั้นนี้ ซึ่งก็ไม่จ�ำเป็นต้องรู้โดยชัดแจ้ง เพียงแต่ควรจะได้รู้สึกเช่นนี้ก็พอแล้ว
ทีจ่ ะเกิดหนีท้ ผี่ จู้ ดั การจะต้องช�ำระหนีใ้ ห้แก่ตวั การตามทีผ่ จู้ ดั การเข้าผูกพันตนจะพึงต้องกระท�ำ แม้ผจู้ ดั การ
จะไม่มีความผิดประการอื่น เช่น มิได้ประมาทเลินเล่อแต่ประการใด เพียงแต่ผู้จัดการไม่กระท�ำการตามที่

ควรรู้ว่าเป็นความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือที่พึงสันนิษฐานได้เท่านั้น ก็เป็นมูลที่ผู้จัดการจะต้อง
รับผิดใช้ค่าเสียหายแก่ตัวการแล้ว
ความหมายของค�ำว่า “แม้ทงั้ ผูจ้ ดั การจะมิได้มคี วามผิดประการอืน่ ” นัน้ หมายถึง ผูจ้ ดั การไม่ได้
ท�ำผิดอื่น เช่น ไม่ได้กระท�ำโดยละเมิด เป็นแต่เพียงเข้าจัดการงานนอกสั่งเท่านั้น จึงบังคับความเสียหาย
ธ.

ตามมาตรา 396 นี้ แต่หากผู้จัดการได้ท�ำผิดอย่างอื่นโดยละเมิดดังกล่าวแล้ว ก็ต้องเรียกค่าเสียหายใน


ลักษณะละเมิด จะเรียกเอาค่าเสียหายในลักษณะจัดการงานนอกสั่งนี้ไม่ได้ มิฉะนั้นจะเป็นการเรียกค่าเสีย
หายซ�้ำ ดังนั้น การกระท�ำนั้นต้องจัดลักษณะของกฎหมายให้ได้เสียก่อนว่าเป็นจัดการงานนอกสั่งหรือ
ละเมิด แล้วจึงใช้หลักเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายในลักษณะนัน้ จะถือว่าการกระท�ำนัน้ เป็นทัง้ การจัดการ
งานนอกสัง่ และละเมิดด้วยไม่ได้ จะต้องให้ลกั ษณะกฎหมายแก่ขอ้ เท็จจริงให้ฟงั ได้เสียก่อนว่าเป็นลักษณะ
ใด จึงจะเรียกค่าเสียหายได้ตามกฎหมายลักษณะนั้น
.ม
ตัวอย่าง ก. เป็นเพื่อนบ้านกับ ข. ในขณะที่ ข. ไปต่างประเทศไม่มีคนดูแลบ้าน เกิดพายุพัด
หลังคาศาลาทรงไทยโบราณของ ข. เสียหาย ก. ติดต่อกับ ข. ไม่ได้ จึงจ้างช่างมาซ่อมแซมหลังคานัน้ แต่
ช่างใช้กระเบื้องสมัยใหม่ใส่ให้แทน เสียค่าใช้จ่ายไป 5,000 บาท เมื่อ ข. กลับจากต่างประเทศ ข. ได้จ้าง
ช่างรือ้ กระเบือ้ งสมัยใหม่นนั้ ออกไป เสียค่าใช้จา่ ย 2,000 บาท และจ้างช่างมาท�ำหลังคาแบบโบราณดังเดิม
เพราะต้องการอนุรักษ์ของโบราณไว้ ดังนั้น เป็นการเข้าจัดการงานที่ขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของ
ตัวการ และผู้จัดการก็ควรจะได้รู้สึกเช่นนั้น ก. ผู้จัดการจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ข. ตัวการ
ในค่ารื้อหลังคา 2,000 บาทนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 396
หมายเหตุ
ตามตัวอย่างดังกล่าว ก. ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 396 กรณีนี้ไม่เป็น
ละเมิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 เพราะ ก. มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อท�ำให้ ข. เสียหายแต่ประการใด
สธ ส
5-18 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อย่างไรก็ดี หากการจัดการที่ขัดกับวัตถุประสงค์ของตัวการนั้น หากตัวการได้อะไรไว้เพราะการ


จัดการงานนั้น ก็ต้องคืนแก่ผู้จัดการในฐานลาภมิควรได้ (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 402) ตามตัวอย่างข้างต้น
หากกระเบื้องหลังคาสมัยใหม่ที่รื้อออกมานั้นยังใช้ได้อยู่ประการใด ข. ต้องคืนแก่ ก. ในฐานลาภมิควรได้
กรณีที่ผู้จัดการไม่ต้องรับผิดมีอยู่ 2 ประการ คือ
ก. ผู้จัดการเข้าท�ำกิจการซึ่งเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการท�ำเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเป็น

.
หน้าที่ตามกฎหมายที่จะบ�ำรุงรักษาผู้อื่น
ข. ผู้จัดการท�ำกิจการเพื่อประสงค์จะปกป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ
สธ สธ
ก. ผู้จัดการเข้าท�ำกิจการซึ่งเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการท�ำเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเป็น

มส . มส
หน้าที่ตามกฎหมายที่จะบ�ำรุงรักษาผู้อื่น ในกรณีนมี้ าตรา 397 บัญญัตวิ า่ “ถ้าผู้จัดการท�ำกิจอันใดซึ่งเป็น
หน้าที่บังคับให้ตัวการท�ำเพื่อสาธารณประโยชน์ก็ดี หรือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะบ�ำรุงรักษาผู้อื่นก็
ดี และหากผู้จัดการมิได้เข้าท�ำแล้ว กิจอันนั้นจะไม่ส�ำเร็จภายในเวลาอันควรไซร้ การที่ได้ท�ำขัดกับความ
ประสงค์ของตัวการเช่นนั้น ท่านมิให้ยกขึ้นเป็นข้อวินิจฉัย”
กิจการซึง่ เป็นหน้าทีบ่ งั คับให้ตวั การท�ำเพือ่ สาธารณประโยชน์ ซึง่ เป็นกิจการทีป่ ระชาชนได้

รับผลประโยชน์รว่ มกัน เช่น ทางสาธารณะ ทางน�ำ้ ไหล เป็นต้น ย่อมมีความส�ำคัญกว่าประโยชน์ของเอกชน
เพราะเป็นเรือ่ งของบุคคลใดบุคคลหนึง่ โดยเฉพาะ หรือตัวการมีหน้าทีต่ ามกฎหมายทีจ่ ะต้องบ�ำรุงรักษาผูอ้ นื่
เช่น บิดา มารดา จ�ำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ตาม
มาตรา 1564 หรือบุตรจ�ำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาตามมาตรา 1563 หรือสามีภรรยาต้องช่วยเหลือ
ธ.

อุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตนตามมาตรา 1461 เป็นต้น ซึ่งต้องมีกฎหมายก�ำหนด


หน้าที่ไว้เพราะเห็นว่าเป็นหน้าที่สำ� คัญ ในกรณีสองประการดังกล่าวนี้ ถ้าหากได้ความว่าผู้จัดการมิได้เข้า
ท�ำแล้ว กิจการอันนัน้ จะไม่สำ� เร็จในเวลาอันควร แม้กจิ การทีผ่ จู้ ดั การเข้าท�ำนัน้ จะขัดกับความประสงค์ของ
ตัวการก็ตาม ผู้จัดการย่อมสามารถจัดการไปได้ ตัวการจะยกขึ้นอ้างว่าผู้จัดการไม่ปฏิบัติการช�ำระหนี้ให้
ตนตามความประสงค์อันแท้จริงของตนหาได้ไม่ ทั้งนี้ เพราะเป็นหน้าที่ของตัวการต้องกระท�ำ ตัวการจะ
ปฏิเสธไม่รับรู้โดยอ้างว่าไม่มีความประสงค์จะท�ำตามหน้าที่ของตน ย่อมไม่อาจยกขึ้นอ้างได้
.ม
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 397 ดังกล่าว เป็นข้อยกเว้นของมาตรา 396 แม้จะการที่
ได้ท�ำนั้นขัดกับวัตถุประสงค์ของตัวการ ผู้จัดการยังคงได้รับการคุ้มครองหรือได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ต้อง
เสียไป หากเข้าหลักเกณฑ์ครบทั้ง 2 ประการดังนี้
(1) กิจการนั้นเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการท�ำเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือเป็นหน้าที่ตาม
กฎหมายที่จะบ�ำรุงรักษาผู้อื่น และ
(2) หากผู้จัดการมิได้เข้าท�ำแล้วกิจการนั้นจะไม่ส�ำเร็จในเวลาอันควร
กรณีกิจการนั้นเป็นหน้าที่บังคับให้ตัวการท�ำเพื่อสาธารณประโยชน์
ตัวอย่าง ก. เป็นเพื่อนบ้านกับ ข. ในระหว่างที่ ก. ไปต่างจังหวัด ต้นไม้ในบริเวณบ้านของ
ก. เอียงล้มมาขวางทางสาธารณะ ข. จ้างคนงานมาค�ำ้ ยันต้นไม้นั้นขึ้นให้พ้นจากทางสาธารณะ เสียค่าใช้
จ่ายไป 1,500 บาท ดังนี้ ก. ตัวการต้องคืนค่าใช้จ่าย 1,500 บาท นั้นแก่ ข. แม้ว่า ก. ไม่มีความประสงค์
จะค�้ำยันต้นไม้นั้นขึ้น แต่ประสงค์จะตัดต้นไม้นั้นทิ้งไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็จะน�ำมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อ
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-19

จะไม่ชดใช้เงิน 1,500 บาทดังกล่าวแก่ ข. หาได้ไม่ เพราะเป็นการท�ำเพื่อสาธารณประโยชน์ตาม ป.พ.พ.


มาตรา 397
กรณีกิจการนั้นเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะบ�ำรุงรักษาผู้อื่น
อุทาหรณ์
กิจการนั้นเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะบ�ำรุงรักษาผู้อื่น ตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522

.
มาตรา 33
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2558 จัดการงานนอกสั่งนั้น ป.พ.พ. มาตรา 395 บัญญัติว่า
สธ สธ
“บุคคลใดเข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ท�ำก็ดี หรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะท�ำการงาน

มส . มส
นั้นแทนผู้อื่นด้วยประการใดก็ดี...” ดังนั้น บุคคลใดที่จะเข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่น เช่น โจทก์เข้าไปช�ำระ
ค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้าและค่าน�ำ้ ประปาแทนจ�ำเลยนั้น เข้าท�ำกิจการแทนได้เลยโดยไม่ต้องค�ำนึงถึงว่าตัวการ
จะขอให้ท�ำหรือมีสิทธิท�ำแทนหรือไม่ ยิ่งในกรณีคดีนี้เข้าท�ำกิจการอันเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของจ�ำเลย
คือเป็นการจัดการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดตาม พ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 33
และตามข้อบังคับของจ�ำเลยและตาม ป.พ.พ. มาตรา 397 ถ้าโจทก์ไม่เข้าช�ำระค่าน�้ำประปา ค่าไฟฟ้า

ส่วนกลางแทนจ�ำเลยแล้ว อาจไม่ทันท่วงทีเป็นเหตุให้ทางการไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวง
ตัดน�ำ้ ตัดไฟของอาคารชุด การทีเ่ ข้าท�ำนีย้ งั เข้าข้อยกเว้นไม่ตอ้ งค�ำนึงว่าจะขัดกับความประสงค์ของตัวการ
คือจ�ำเลย โจทก์เข้าท�ำได้โดยไม่ตอ้ งค�ำนึงว่าจ�ำเลยจะต้องการหรือไม่ และเมือ่ โจทก์ทำ� การตามมาตรา 397
นีแ้ ล้ว โจทก์ยอ่ มมีสทิ ธิเรียกให้จำ� เลยชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่โจทก์อย่างเช่นโจทก์เป็นตัวแทนจ�ำเลย
ได้ตามมาตรา 401
ธ.

ข. ผู้จัดการท�ำกิจการเพื่อประโยชน์ที่จะปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ ในกรณีนี้
มาตรา 398 บัญญัติว่า “ถ้าผู้จัดการท�ำกิจอันใดเพื่อประสงค์จะปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการ จะ
เป็นภัยแก่ตัวก็ดี แก่ชื่อเสียงก็ดี หรือแก่ทรัพย์สินก็ดี ท่านว่าผู้จัดการต้องรับผิดชอบแต่เพียงที่จงใจท�ำผิด
หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น”
ความในมาตรานี้ต้องถือว่าเป็นบทบัญญัติที่อ่านต่อเนื่องมาจากมาตรา 396 โดยถือว่าเป็น
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับมูลหนี้ของผู้จัดการที่ผู้จัดการไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อตัวการ โดยต้อง
.ม
พิจารณาการกระท�ำของผู้จัดการในเรื่องจัดการงานนอกสั่งเป็นการกระท�ำเพื่อให้สมประโยชน์ของตัวการ
ตามความประสงค์ได้อันแท้จริงของตัวการ แต่หากกิจการที่ผู้จัดการเข้าไปท�ำแทนนั้นเป็นการท�ำเพื่อ
ประสงค์จะปัดป้องอันตรายอันมีมาใกล้ตวั การ จะเป็นภัยแก่ตวั ก็ดี แก่ชอื่ เสียงก็ดี หรือแก่ทรัพย์สนิ ก็ดอี ย่างนี้
ผูจ้ ดั การไม่ตอ้ งรับผิดในความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ แม้การทีผ่ จู้ ดั การได้เข้าท�ำไปจะเป็นการขัดต่อความประสงค์
อันแท้จริงตามทีพ่ งึ สันนิษฐานได้ของตัวการก็ตาม ในกรณีนจี้ ะเกิดหนีท้ ผี่ จู้ ดั การจะต้องรับผิดในค่าเสียหาย
ให้แก่ตัวการก็เฉพาะแต่เพียงที่จงใจท�ำผิด หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น
ในเรื่องนี้โดยปกติแล้ว เหตุอันเป็นอันตรายอันมีมาใกล้ตัวการจะเป็นภัยแก่ตัวการไม่ว่าจะ
เป็นภัยแก่ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน เหตุเหล่านี้ ตัวการเองย่อมสามารถที่จะปัดป้องเสียได้ แต่หากผู้จัดการ
เข้าไปท�ำการบ�ำบัดปัดป้องแทนเสีย โดยผูจ้ ดั การรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าตัวการไม่ปรารถนาจะปัดป้องภัยอันนัน้ เช่นนี้
จะถือว่าเป็นภัยแก่ตวั การมิได้ การทีผ่ จู้ ดั การเข้าไปท�ำโดยรูเ้ ช่นนัน้ ย่อมเป็นการจงใจหรือเป็นความประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรงที่ผู้จัดการจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตัวการ
สธ ส
5-20 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เหตุที่กฎหมายให้ผู้จัดการต้องรับผิดเพียงที่จงใจท�ำผิด หรือที่เป็นความประมาทเลินเล่อ


อย่างร้ายแรงเท่านั้น ก็เนื่องจากอันตรายนั้นมีมาใกล้ตัวการจะเป็นภัยแก่ตัว ชื่อเสียง และทรัพย์สิน การที่
ผู้จัดการเข้าปัดป้องอันตรายนั้น ย่อมเห็นได้ว่าไม่มีเวลาที่จะคาดคิดถึงความประสงค์อันแท้จริง หรือหาก
ไม่ทราบก็ไม่อาจจะสันนิษฐานตามความเข้าใจของวิญญูชนได้ ทั้งลักษณะดังกล่าวเป็นการท�ำโดยฉุกเฉิน
กฎหมายจึงบัญญัติไม่ต้องรับผิดถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ได้ท�ำไปโดยขัดกับความประสงค์อัน

.
แท้จริงของตัวการหรือตามที่พึงสันนิษฐานได้
การรับผิดเพียงทีจ่ งใจท�ำผิดหรือทีเ่ ป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนี้ พึงเข้าใจว่าไม่ใช่
สธ สธ
เข้าไปท�ำโดยละเมิด เพียงแต่ผู้จัดการเข้าไปท�ำแทนในลักษณะจัดการงานนอกสั่ง แต่จงใจหรือประมาท

มส . มส
เลินเล่อในการที่ไม่พิจารณาถึงหนี้ที่เป็นความประสงค์อันแท้จริงหรือที่พึงสันนิษฐานได้เท่านั้น จึงเป็นการ
ขัดต่อความประสงค์ของตัวการโดยรู้อยู่แล้วหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กฎหมายจึงก�ำหนดให้
ผูจ้ ดั การต้องรับผิดชดใช้คา่ สินไหมทดแทนในกรณีทเี่ กิดความเสียหายแก่ตวั การขึน้ แต่หากเป็นเรือ่ งเข้าไป
ท�ำละเมิดในกิจการงานนั้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ต้องรับผิดในค่าเสียหายฐานละเมิดซึ่งเป็นอีก
ลักษณะหนึ่งของกฎหมาย

อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2548 ผูข้ ายได้ขายข้าวให้แก่ผซู้ อื้ แล้วรับฝากข้าวนัน้ ไว้โดยไม่มี
บ�ำเหน็จ ต่อมาเกิดอุทกภัย ผูข้ ายให้ผซู้ อื้ มารับข้าว ผูซ้ อื้ ก็ไม่มา จึงได้ขายข้าวนัน้ ไปเกรงน�ำ้ จะท่วมเสียหาย
หลังจากที่ผู้ขายได้ขายข้าวของตนหมดไปแล้ว ถือว่าผู้ขายได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินที่รับฝาก
ธ.

ไว้เหมือนเช่นได้ประพฤติในกิจการของตนเองตามมาตรา 659 และเป็นการกระท�ำเพือ่ ปกป้องอันตรายอัน


เป็นภัยแก่ทรัพย์สินนั้น โดยมิได้จงใจท�ำผิดหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงแต่อย่างใด จึงไม่ต้องรับผิด
ตามมาตรา 398
หมายเหตุ
คดีดงั กล่าว แม้ตวั การหรือผูฝ้ ากข้าวนัน้ จะได้รบั ความเสียหาย เช่น ข้าวทีข่ ายไปนัน้ ได้ราคา
ต�่ำกว่าในภาวะปกติ ก็ไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ เพราะกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 398 นี้ ผู้จัดการ
.ม
จะต้องรับผิดเฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด คือ
(1) จงใจท�ำผิด หรือ
(2) ที่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (หมายถึง การกระท�ำโดยมิได้เจตนาแต่
เป็นการกระท�ำซึ่งบุคคลพึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น และหากใช้ความระมัดระวังแม้
เพียงเล็กน้อย ก็อาจป้องกันมิให้เกิดความเสียหายได้ แต่กลับมิได้ใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นเลย)21
1.2 หน้าที่ในการบอกกล่าว ในเรือ่ งหน้าทีต่ อ้ งบอกกล่าวนี้ มาตรา 399 บัญญัตวิ า่ “ผู้จัดการต้อง
บอกกล่าวแก่ตัวการโดยเร็วที่สุดที่จะท�ำได้ว่าตนได้เข้าจัดการงานแทน และต้องรอฟังค�ำวินิจฉัยของ
ตัวการ เว้นแต่ภัยจะมีขึ้นเพราะการที่หน่วงเนิ่นไว้ นอกจากนี้ ท่านให้น�ำบทบัญญัติแห่งมาตรา 809
ถึง 811 อันบังคับแก่ตัวแทนนั้นมาใช้บังคับแก่หน้าที่ของผู้จัดการด้วยโดยอนุโลม”

21
ดูคำ�พิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.10/2552 ประกอบ
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-21

การที่ผู้จัดการต้องบอกกล่าวแก่ตัวการโดยเร็วที่สุดนี้ ถือว่าเป็นหนี้ของผู้จัดการอีกประการหนึ่ง


ความมุง่ หมายทีใ่ ห้ผจู้ ดั การต้องบอกกล่าวแก่ตวั การทีต่ นเข้าจัดการแทนก็เพือ่ ป้องกันมิให้มกี ารฉวยโอกาส
เข้ายุ่งกับงานของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตนโดยไม่จ�ำเป็น22 และจะเป็นกรณีที่ผู้จัดการจะได้ทราบว่าตัวการ
ประสงค์อย่างใดอันแท้จริง เพราะในชัน้ เดิมทีผ่ จู้ ดั การเข้าไปท�ำกิจการแทนอาจจะยังไม่รคู้ วามประสงค์ของ
ตัวการได้ เพียงแต่ทำ� ไปตามทีส่ นั นิษฐานได้เท่านัน้ แต่เมือ่ ได้บอกกล่าวไป และตัวการวินจิ ฉัยมา ผูจ้ ดั การ

.
ก็ย่อมจะรู้ถึงความประสงค์อันแท้จริงของตัวการได้ ซึ่งจะได้เข้าท�ำกิจการงานนั้นต่อไปถูกต้องตามความ
ประสงค์แท้จริงของตัวการได้
สธ สธ
นอกจากนี้ กฎหมายบัญญัติให้ผู้จัดการรอฟังค�ำวินิจฉัยของตัวการก่อน ดังนั้น เมื่อผู้จัดการได้

มส . มส
บอกกล่าวแก่ตัวการแล้ว ผู้จัดการต้องหยุดการเข้าท�ำกิจการนั้น จนกว่าจะมีค�ำวินิจฉัยของตัวการออกมา
แต่กม็ ขี อ้ ยกเว้นอีกว่าถ้าภัยจะมีขนึ้ ได้เพราะการทีห่ น่วงเนิน่ ไว้ ผูจ้ ดั การก็ยอ่ มทีจ่ ะเข้าด�ำเนินการท�ำกิจการ
นัน้ ต่อไปได้ ด้วยหากรอทิง้ ไว้เพราะค�ำวินจิ ฉัยของตัวการยังไม่ออกมางานนัน้ อาจเกิดความเสียหายทีเ่ รียกว่า
ภัยจะมีขึ้นได้ ทั้งนี้ โดยเข้าท�ำแทนไปตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ
หนีใ้ นการบอกกล่าวนีเ้ ป็นเรือ่ งทีก่ ฎหมายบังคับให้ตอ้ งบอกกล่าวโดยเร็วทีส่ ดุ ทีจ่ ะท�ำได้ จะอ้างว่า

ตัวการได้ทราบหรือรู้อยู่แล้วมาก่อนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้จัดการต้องรอค�ำวินิจฉัยของตัวการก่อนที่จะ
ท�ำการต่อไป และข้อส�ำคัญการบอกกล่าวแก่ตัวการนี้ ต้องได้กระท�ำหลังจากที่ได้เข้าท�ำกิจการงานแล้ว
ไม่ใช่บอกกล่าวก่อนเข้าท�ำ
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2503 โจทก์แต่งให้จ�ำเลยเป็นทนายฟ้องคดีให้โจทก์จ�ำเลยได้ด�ำเนิน
ธ.

กระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี โจทก์ขอถอนจ�ำเลยออกจากการ


เป็นทนายโดยจ�ำเลยยินยอมโจทก์ตั้งทนายใหม่เป็นผู้ด�ำเนินคดีชั้นอุทธรณ์ต่อมา ดังนี้ หน้าที่ทนายความ
ระหว่างจ�ำเลยกับโจทก์เป็นอันสิน้ สุดลง แต่ในแง่ทเี่ กีย่ วกับศาลและคนอืน่ จ�ำเลยยังเป็นทนายของโจทก์อยู่
เพราะโจทก์จ�ำเลยยังหาได้แจ้งถอนหรือเลิกการการแต่งตั้งไม่
การทีจ่ ำ� เลยเซ็นรับทราบค�ำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีซงึ่ ตนพ้นจากหน้าทีท่ นายแล้ว มีผลเท่ากับ
.ม
จ�ำเลยท�ำกิจการแทนโจทก์ โดยที่ตนไม่มีสิทธิที่จะกระท�ำการนั้นจ�ำเลยต้องบอกกล่าวแก่โจทก์โดยเร็ว
นอกจากนี้ ผู้จัดการยังมีหนี้ที่จะต้องท�ำตามมาตรา 809 ถึง 811 อีก 3 ประการ คือ
1.2.1 หนี้ที่ผู้จัดการต้องแจ้งให้ตัวการทราบ
1.2.2 เงินและทรัพย์สินที่ผู้จัดการรับไว้ต้องส่งให้แก่ตัวการทั้งสิ้น
1.2.3 หากเอาเงินที่ควรส่งให้แก่ตัวการไปใช้ต้องเสียดอกเบี้ย
1.2.1 หนี้ที่ผู้จัดการต้องแจ้งให้ตัวการทราบ ในกรณีนี้ตามมาตรา 809 บัญญัติว่า “เมื่อ
ตัวการมีความประสงค์ที่จะทราบความเป็นไปของการที่ได้มอบหมายแก่ตัวแทนนั้นในเวลาใด ๆ ซึ่ง
สมควรแก่เหตุ ตัวแทนก็ต้องแจ้งให้ตัวการทราบ อนึ่งเมื่อการเป็นตัวแทนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ตัวแทนต้อง
แถลงบัญชีด้วย”

22
จิตติ ติงศภัทิย์. เรื่องเดียวกัน. น. 395 และ De Becker. Amotated civil code of Japan. p. 2633.
สธ ส
5-22 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ในการจัดการงานนอกสั่ง ผู้จัดการมีหนี้ที่จะต้องแจ้งให้ตัวการทราบ เมื่อตัวการมีความ


ประสงค์ที่จะทราบความเป็นไปของการที่ผู้จัดการได้เข้าท�ำกิจการแทนนั้นในเวลาใดๆ ซึ่งสมควรแก่เหตุ
และเมื่อกิจการที่ผู้จัดการเข้าท�ำแทนนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ผู้จัดการต้องแถลงบัญชีด้วย
1.2.2 เงินและทรัพย์สินที่ผู้จัดการรับไว้ต้องส่งให้แก่ตัวการทั้งสิ้น กรณีนี้ตามมาตรา 810
บัญญัติว่า “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนนั้น ท่านว่า

.
ตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น
อนึ่งสิทธิทั้งหลาย ซึ่งตัวแทนขวนขวายได้มาในนามของตนเองแต่โดยฐานที่ท�ำการแทน
สธ สธ
ตัวการนั้น ตัวแทนก็ต้องโอนให้แก่ตัวการจงสิ้น”

มส . มส
ดังนัน้ เงินหรือทรัพย์สนิ หรือสิทธิตา่ งๆ ทัง้ หลายทีผ่ จู้ ดั การได้มาด้วยการเข้าจัดการพิจารณา
นัน้ แม้จะท�ำในนามของตนเอง ก็ตอ้ งส่งหรือโอนให้แก่ตวั การทัง้ สิน้ จึงถือว่าเป็นหนีท้ ผี่ จู้ ดั การจะต้องช�ำระ
ให้แก่ตัวการ
1.2.3 หากเอาเงินที่จะส่งให้แก่ตัวการไปใช้ต้องเสียดอกเบี้ย กรณีนตี้ ามมาตรา 811 บัญญัติ
ว่า “ถ้าตัวแทนเอาเงิน ซึ่งควรจะได้ส่งแก่ตัวการหรือซึ่งควรจะใช้ในกิจการของตัวการนั้นไปใช้สอยเป็น

ประโยชน์ตนเสีย ท่านว่าตัวแทนต้องเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นนับแต่วันที่เอาไปใช้”
หนี้ที่ผู้จัดการจะต้องปฏิบัตินี้เป็นหนี้เงิน คือ ผู้จัดการได้เอาเงินซึ่งควรจะได้ส่งแก่ตัวการ
หรือซึ่งควรจะใช้ในกิจการของตัวการนั้นไปใช้สอยเป็นประโยชน์ตนเสีย ผู้จัดการต้องเสียดอกเบี้ยในเงิน
นั้นนับแต่วันที่ได้เอาไปใช้ด้วย ทั้งต้องส่งเงินนั้นคืนให้แก่ตัวการด้วย
ธ.

2. หนี้ของผู้จัดการซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถ
ในกรณีที่ผู้จัดการเป็นคนไร้ความสามารถ กฎหมายได้ก�ำหนดหนี้ที่ต้องรับผิดไว้ในมาตรา 400
ซึง่ บัญญัตวิ า่ “ถ้าผู้จัดการเป็นผู้ไร้ความสามารถ ท่านว่าจะต้องรับผิดชอบแต่เพียงตามบทบัญญัติว่าด้วย
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด และว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น”
ผู้ไร้ความสามารถตามกฎหมายแพ่งในปัจจุบันมีอยู่ 3 กรณี คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และ
.ม
คนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ตามปกติจะท�ำกิจการใดๆ หรือท�ำนิติกรรมใดต้องได้รับความ
ยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้พิทักษ์ในบางเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วแต่กรณี ซึ่งบุคคล
เหล่านี้สามารถเข้าไปท�ำกิจการแทนตัวการได้ตามที่กฎหมายให้อ�ำนาจไว้ และเพื่อเป็นการเข้าท�ำกิจการ
แทนผูอ้ นื่ ในลักษณะจัดการงานนอกสัง่ นีจ้ งึ ไม่ตอ้ งได้รบั ความยินยอมจากผูใ้ ห้ความยินยอมดังกล่าว เพราะ
กิจการที่เข้าท�ำแทนนี้ไม่ใช่เป็นการท�ำนิติกรรม ถือว่ากฎหมายให้เข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่นได้ในลักษณะ
จัดการงานนอกสั่งเป็นการเฉพาะตัว
เมือ่ เข้าจัดการงานนอกสัง่ แล้ว เมือ่ ผูไ้ ร้ความสามารถจะต้องรับผิดซึง่ ได้แก่ กระท�ำไปแล้วเป็นการ
ขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือขัดต่อความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ เช่นนี้ ผู้ไร้
ความสามารถดังกล่าวนั้นจะต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตัวการเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ
อันเกิดแต่การที่ได้เข้าจัดการตามมาตรา 396 นั้น ไม่ว่าผู้ไร้ความสามารถจะต้องชดใช้หรือคืนทรัพย์สินที่
ได้มาตามมาตราต้นๆ ทีก่ ล่าวมาแล้วเพียงใดหรือไม่ กฎหมายบังคับให้ใช้หรือคืนทรัพย์สนิ ตามบทกฎหมาย
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-23

ว่าด้วยค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดและว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้เท่านั้น ซึ่งเมื่อใช้บทบัญญัติดังกล่าว


บังคับแล้ว ก็เท่ากับกฎหมายไม่ต้องการบังคับให้ผู้ไร้ความสามารถนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในเรื่อง
จัดการงานนอกสั่งนี้ เพราะการบังคับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายและการคืนทรัพย์สิน
ในเรื่องจัดการงานนอกสั่งนี้แตกต่างกับการชดใช้ค่าเสียหายทางละเมิดและการคืนทรัพย์ในลักษณะลาภ
มิควรได้

. ทัง้ นี้ ต้องท�ำความเข้าใจด้วยว่า ทีก่ ฎหมายบัญญัตวิ า่ จะต้องรับผิดแต่เพียงตามบทบัญญัตวิ า่ ด้วย


ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดและว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้ มิได้หมายความว่าการเข้าท�ำกิจการแทนใน
สธ สธ
เรื่องจัดการงานนอกสั่ง และการต้องคืนทรัพย์สินเป็นเรื่องละเมิดหรือลาภมิควรได้ เรื่องชดใช้หรือคืนนี้

มส . มส
ยังเป็นเรื่องของการจัดการงานนอกสั่งอยู่ เพียงแต่หากจะคิดให้ผู้ไร้ความสามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
หรือคืนทรัพย์ซึ่งจะต้องชดใช้หรือคืนเพียงใดหรือไม่นั้น ให้พิจารณาในเรื่องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ
ละเมิดและคืนลาภมิควรได้ เพราะหากพิจารณาในเรือ่ งละเมิดหรือลาภมิควรได้แล้ว ผูไ้ ร้ความสามารถอาจ
จะไม่ตอ้ งชดใช้หรือคืนก็ได้ แต่หากเป็นเรือ่ งจัดการงานนอกสัง่ กฎหมายบังคับให้ผจู้ ดั การต้องชดใช้หรือคืน
ดังนั้น บทบัญญัติในสองลักษณะกฎหมายนี้จึงแตกต่างกัน

3. หนี้ของตัวการ
กฎหมายได้บัญญัติถึงหน้าที่ซึ่งเป็นหนี้ของตัวการที่จะต้องปฏิบัติ 4 กรณีด้วยกัน คือ
3.1 หนี้ที่จะต้องชดใช้เงินที่ผู้จัดการได้ออกไปคืนแก่ผู้จัดการ
3.2 หนี้ที่จะต้องคืนสิ่งทั้งหลายที่ได้มาให้แก่ผู้จัดการ
ธ.

3.3 หนี้ที่ผู้จัดการมิได้มีบุรพเจตนาจะเรียกให้ตัวการชดใช้คืน
3.4 หนี้ของผู้เป็นตัวการคนก่อน
3.1 หนี้ที่จะต้องชดใช้เงินที่ผู้จัดการได้ออกไปคืนแก่ผู้จัดการ ในกรณีนี้มาตรา 401 บัญญัติว่า
“ถ้าการที่เข้าจัดการงานนั้นเป็นการสมประโยชน์ของตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของ
ตัวการ หรือความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้นั้นไซร้ ท่านว่าผู้จัดการจะเรียกให้ชดใช้เงินอันตน
.ม
ได้ออกไปคืนแก่ตนเช่นอย่างตัวแทนก็ได้ และบทบัญญัติตามมาตรา 816 วรรคสองนั้น ท่านก็ให้น�ำมา
ใช้บังคับโดยอนุโลม
อนึ่งในกรณีที่กล่าวมาในมาตรา 390 นั้น แม้ถึงว่าที่เข้าจัดการงานนั้น จะเป็นการขัดกับความ
ประสงค์ของตัวการก็ได้ ผู้จัดการก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินนั้นอยู่”
จะเห็นได้ว่า การที่ผู้จัดการกระท�ำไปหากเป็นการจัดการงานนอกสั่งแล้ว หากกิจการที่ท�ำไปนั้น
เป็นการสมประโยชน์ของตัวการ และต้องตามความประสงค์อนั แท้จริงของตัวการหรือความประสงค์ตามที่
พึงจะสันนิษฐานได้ ย่อมจะก่อให้เกิดหนีท้ ผี่ กู พันตัวการต้องชดใช้เงินซึง่ ผูจ้ ดั การได้ออกคืนไป จึงถือว่าเป็น
หนี้ของตัวการซึ่งเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ผู้จัดการมีสิทธิที่จะเรียกร้องหรือฟ้องเอาได้จากตัวการ23

23
ดูคำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2518 และ 1041/2523 ประกอบ
สธ ส
5-24 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ในกรณีทผี่ จู้ ดั การเรียกให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนแก่ตนนี้ ผูจ้ ดั การพิจารณาเรียกคืนได้อย่าง


ตัวแทนเพราะการจัดการงานนอกสัง่ ไม่ใช่เรือ่ งของตัวแทน เพียงแต่ให้นำ� บทบัญญัตขิ องตัวแทนมาใช้บงั คับ
ในเรือ่ งการเรียกให้ชดใช้เงินทีไ่ ด้ออกไปคืนเท่านัน้ โดยจะต้องคืนอย่างตัวแทนทีจ่ ะเรียกเอา และโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งหากในการที่ผู้จัดการเข้าท�ำกิจการนั้นเกิดต้องรับภาระเป็นหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ผู้จัดการจะ
เรียกให้ตัวการช�ำระหนี้แทนตนหรือหากหนี้ยังไม่ถึงก�ำหนดจะให้ตัวการให้ประกันอันสมควรก็ได้ ทั้งนี้

.
กฎหมายให้นำ� บทบัญญัติมาตรา 816 วรรคสอง มาใช้บังคับกับการจัดการงานนอกสั่งโดยอนุโลม
ส�ำหรับกรณีที่ผู้จัดการเข้าจัดการกิจการนั้นไม่สมประโยชน์ของตัวการ และไม่ต้องตามความ
สธ สธ
ประสงค์อนั แท้จริงของตัวการหรือความประสงค์ตามทีจ่ ะพึงสันนิษฐานได้ เช่นนีผ้ จู้ ดั การไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะเรียก

มส . มส
ให้ชดใช้เงินอันได้ออกไปคืน
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2520 ผูจ้ ดั การรับเลีย้ งดูบตุ รของตัวการตัง้ แต่อายุ 1 ปี ถึง 5 ปี โดย
ผู้จัดการได้จ่ายเงินทดรองน�ำบุตรตัวการนั้นเข้าเรียนอนุบาลโดยได้บอกตัวการก่อนแล้วแต่ตัวการไม่ยอม
เงินจ�ำนวนที่ผู้จัดการได้จ่ายไปขัดต่อเจตนาของตัวการอย่างชัดแจ้งย่อมไม่อาจจะเรียกคืนจากตัวการได้

อย่างไรก็ตาม หากเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นหน้าที่ให้ตัวการท�ำเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือ
เป็นหน้าทีต่ ามกฎหมายทีจ่ ะต้องบ�ำรุงรักษาผูอ้ นื่ ตามทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 397 นัน้ แม้การเข้าจัดการงาน
นั้นจะเป็นการขัดกับความประสงค์ของตัวการ ก็ยังคงเป็นหนี้ของตัวการที่มีผลให้ผู้จัดการยังคงมีสิทธิ
เรียกร้องเอาได้ ทั้งนี้ การที่ตัวการมีหน้าที่ต้องท�ำเพื่อประโยชน์หรือหน้าที่ตามกฎหมายที่จะบ�ำรุงรักษา
ธ.

ผู้อื่นนั้น หากผู้จัดการเข้าจัดการไปถูกต้องตามหน้าที่ที่มีอยู่ย่อมเป็นเรื่องส�ำคัญที่ตัวการไม่อาจจะอ้างว่า
ขัดกับความประสงค์ของตัวเองได้
3.2 หนี้ที่จะต้องคืนสิ่งทั้งหลายที่ได้มาให้แก่ผู้จัดการ ในเรื่องนี้ มาตรา 402 บัญญัติไว้ว่า
“ถ้าเงื่อนไขดังว่ามาในมาตราก่อนนั้นมิได้มี ท่านว่าตัวการจะต้องคืนสิ่งทั้งหลายบรรดาที่ได้มา เพราะเขา
เข้าจัดการงานนั้นให้แก่ผู้จัดการตามบทบัญญัติว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้
ถ้าตัวการให้สัตยาบันแก่การที่จัดท�ำนั้น ท่านให้น�ำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้
.ม
ว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี”
ถือว่า “เงือ่ นไขดังว่ามาในมาตราก่อน” ก็คอื เงือ่ นไขตามมาตรา 401 นัน้ เอง โดยเงือ่ นไขดังกล่าว
นัน้ คือ ผูจ้ ดั การจะเรียกให้ชดใช้เงินคืนแก่ตน ก็ตอ่ เมือ่ การทีเ่ ข้าจัดการนัน้ เป็นการสมประโยชน์ของตัวการ
และต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือความประสงค์ตามที่พึงจะสันนิษฐานได้ เงื่อนไข
ดังว่านีต้ อ้ งเป็นเรือ่ งเข้าจัดการในเรือ่ งจัดการงานนอกสัง่ แล้วแต่ไม่อาจจะท�ำครบเงือ่ นไขได้ เพราะเงือ่ นไข
ที่มีอยู่ 2 กรณี คือ (1) เป็นการสมประโยชน์ของตัวการ และ (2) ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงหรือ
ความประสงค์ที่พึงจะสันนิษฐานได้ โดยการเข้าจัดการนั้นขาดทั้งสองเงื่อนไข หรือขาดเพียงเงื่อนไขหนึ่ง
เงื่อนไขใดก็ได้ เช่น เข้าท�ำแล้วสมประโยชน์ของตัวการแต่ไม่สมประสงค์อันแท้จริงของตัวการหรือตามที่
พึงสันนิษฐานได้ ผู้จัดการก็ไม่อาจจะเรียกให้ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนได้ เช่นนี้จึงเรียกว่าเงื่อนไขนั้น
มิได้มี
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-25

เมื่อไม่อาจจะเรียกให้ชดใช้เงินคืนได้เพราะขาดเงื่อนไขดังกล่าว กฎหมายก็ต้องรักษาความเป็น


ธรรม โดยให้โอกาสผูจ้ ดั การทีจ่ ะเรียกคืนสิง่ ทัง้ หลายบรรดาทีต่ วั การได้มา เพราะผูจ้ ดั การได้เข้าจัดการนัน้
ให้แก่ผจู้ ดั การ แต่การคืนสิง่ ทัง้ หลายทีต่ วั การได้มานัน้ จะต้องคืนแบบลักษณะลาภมิควรได้ ไม่ใช่คนื สิง่ นัน้
แบบธรรมดา คือ กรณีที่จะคืนได้อย่างไรเพียงใดนั้น ต้องว่ากันด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการคืนลาภมิควรได้
ไม่ใช่คืนในแบบลักษณะทั่วไป

. บทบัญญัตใิ นมาตรานีย้ อ่ มชีใ้ ห้เห็นความเป็นธรรมว่า แม้ตวั การไม่ตอ้ งผูกพันทีจ่ ะต้องช�ำระหนีใ้ ห้


แก่ผจู้ ดั การเพราะจัดการไม่ครบเงือ่ นไข แต่กม็ ไิ ด้หมายความว่า ตัวการได้อะไรไปจากผูจ้ ดั การเปล่าๆ หาก
สธ สธ
ตัวการได้อะไรเป็นลาภงอกนั้น ก็ได้ชื่อว่าตัวการได้ทรัพย์มาโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย เพราะ

มส . มส
ตัวการไม่มสี ทิ ธิใดๆ ทีจ่ ะพึงเรียกร้องให้ผจู้ ดั การท�ำเช่นนัน้ หากเป็นการทีผ่ จู้ ดั การเข้าจัดการโดยปราศจาก
อ�ำนาจจึงเป็นที่เสียหายแก่ผู้จัดการเอง ตัวการก็ต้องคืนทรัพย์ที่ได้รับไว้นั้นให้แก่ผู้จัดการไปตามลักษณะ
ลาภมิควรได้ ซึง่ เป็นมูลหนีอ้ กี ประการหนึง่ 24 แต่การจัดการเช่นนัน้ ต้องเป็นลักษณะจัดการงานนอกสัง่ ไม่ใช่
ตัวแทน
อย่างไรก็ตาม หากกิจการที่เข้าจัดการไปแล้วนั้น ไม่ว่าจะจัดการเป็นไปตามเงื่อนไขในวรรคหนึ่ง

ที่กล่าวมาแล้วหรือไม่ก็ตาม หากต่อมาตัวการให้สัตยาบันแล้วตามมาตรา 402 วรรคสอง ก็ต้องถือว่าเป็น
ไปตามเงือ่ นไขดังกล่าว เป็นการรับรองผลงานทีผ่ จู้ ดั การได้ทำ� แทนไป ย่อมเกิดเป็นหนีผ้ กู พันทีผ่ จู้ ดั การจะ
เรียกให้ตัวการช�ำระหนี้แก่ตนได้ตามลักษณะตัวแทน
ที่กฎหมายให้น�ำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ “แล้วแต่กรณี” นั้น หมายถึง ความผูกพัน
ธ.

ทีม่ ตี อ่ บุคคลภายนอกด้วยไม่หมายเฉพาะความผูกพันทีผ่ จู้ ดั การมีอยูก่ บั ตัวการในลักษณะจัดการงานนอก


สัง่ เพราะถ้าผูจ้ ดั การท�ำนิตกิ รรมกับบุคคลภายนอกแทนตัวการ กรณีนตี้ อ้ งด้วยบทบัญญัตลิ กั ษณะตัวแทน
ตามมาตรา 806 และมาตรา 821 ถ้าไม่ใช่เป็นการท�ำนิติกรรมกัน บุคคลภายนอกก็ต้องรับผิดต่อกันเพียง
ตามมาตรา 401 ซึ่งถือว่าอนุโลมลักษณะตัวแทนมาใช้บังคับแล้วแต่กรณี
ค�ำว่า “ให้สัตยาบัน” หมายถึง รับรองสิ่งที่ท�ำมาแล้ว อาจจะเป็นการให้สัตยาบันโดยชัดแจ้ง เช่น
ยอมรับเอากิจการนั้นต่อผู้จัดการโดยตรง หรืออาจให้สัตยาบันโดยปริยาย เช่น รู้แล้วปล่อยให้ท�ำเรื่องหรือ
.ม
จัดการเรื่องนั้นต่อไปโดยไม่ว่ากล่าวและถือเอาประโยชน์จากการจัดการนั้นก็ได้
ตัวอย่าง ก. ท�ำกิจการเพาะพันธุ์สุนัขขาย ข. เป็นเพื่อนบ้านของ ก. ขณะที่ ก. ไม่อยู่บ้าน ค. มา
ขอซื้อสุนัขของ ก. ตัวหนึ่ง ข. เห็นว่า ค. ให้ราคาดีจึงตกลงขายไป ก. ไม่ประสงค์จะขายสุนัขตัวนั้นเลย
แต่ก็รับเงินค่าขายสุนัขจาก ข. ไว้ จึงถือว่าเป็นการให้สัตยาบันโดยปริยายแล้ว
3.3 หนี้ที่ผู้จัดการมิได้มีบุรพเจตนาจะเรียกให้ตัวการชดใช้คืน ในเรื่องนี้มาตรา 403 บัญญัติว่า
“ถ้าผู้จัดการมิได้มีบุรพเจตนาจะเรียกให้ตัวการชดใช้คืน ผู้จัดการก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเช่นนั้น
การทีบ่ ดิ า มารดา ปูย่ า่ ตายาย บ�ำรุงรักษาผูส้ บื สันดาน เป็นทางอุปการะก็ดี หรือกลับกันเป็นการ
ปฏิการะก็ดี เมือ่ กรณีเป็นทีส่ งสัย ท่านให้สนั นิษฐานไว้กอ่ นว่าไม่มเี จตนาจะเรียกให้ผรู้ บั ประโยชน์ชดใช้คนื ”

24
เรื่องเดียวกัน. หน้า 401.
สธ ส
5-26 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

บทบัญญัตินี้ย่อมเห็นว่า การเข้าท�ำกิจการของผู้อื่นนั้น เจตนาของผู้จัดการเป็นส�ำคัญ เพราะการ


เข้าจัดการงานนอกสัง่ อยูท่ เี่ จตนาฝ่ายเดียวของผูจ้ ดั การ โดยตัวการมิได้วา่ ขาน วาน ใช้ ดังนัน้ เมือ่ มีการ
เข้าจัดการนั้นเป็นการสมประโยชน์ของตัวการตามความประสงค์อันแท้จริงหรือตามที่พึงสันนิษฐานได้
ตัวการก็ต้องชดใช้เงินหรือคืนสิ่งทั้งหลาย
แต่หากเข้ากรณีหนึ่งกรณีใด ตามมาตรา 403 นี้ ผู้จัดการไม่มีสิทธิเรียกให้ตัวการชดใช้คืน ดังนี้

. (1) กรณีผจู้ ดั การมิได้มบี รุ พเจตนาจะเรียกให้ตวั การชดใช้คนื ค�ำว่า “บุรพเจตนา” หมายถึง


เจตนาแต่แรกเมื่อเข้าจัดการ หรือไม่มีเจตนาจะเรียกให้ตัวการชดใช้คืนมาแต่ก่อนลงมือกระท�ำ เท่ากับ
สธ สธ
ผู้จัดการมีเจตนาที่จะให้โดยเสน่หา หรือเป็นการให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน ซึ่งอาจเป็นการให้โดยการ

มส . มส
ปลดหนี้ให้แก่ผู้รับ หรือด้วยช�ำระหนี้ซึ่งผู้รับค้างช�ำระอยู่ก็ได้25 เพียงแต่เรื่องนี้เป็นการจัดการงานนอกสั่ง
เท่านัน้ ไม่ใช่เรือ่ งให้ซงึ่ เป็นสัญญา เมือ่ มีบรุ พเจตนาเช่นนัน้ แล้ว แม้ภายหลังเปลีย่ นใจก็ไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะเรียก
ให้ตัวการชดใช้คืนได้อีก
ตัวอย่าง ก. เป็นเพือ่ นสนิทกับ ข. เห็นเจ้าหนีพ้ านักเลงมาทวงหนีห้ ลายครัง้ และขูว่ า่ จะท�ำร้าย
แต่ ข. ก็ไม่มีให้ เมื่อเจ้าหนี้มาทวงอีกในขณะที่ ข. ไม่อยู่ ก. สงสารเพื่อนจึงช�ำระหนี้แทนให้ไป โดย ก.

ไม่มีเจตนาจะให้ ข. ใช้คืนแต่ประการใด ดังนี้ แม้ภายหลัง ข. จะมีเหตุท�ำให้ ก. ไม่พอใจ ก. ก็หามีสิทธิ
เรียกให้ ข. ชดใช้คืนได้ไม่
(2) กรณีบุพการีกับผู้สืบสันดานในทางอุปการะ26 หรือกลับกันเป็นทางปฏิการะ27
ส�ำหรับความในมาตรา 403 วรรคสอง นัน้ ได้กำ� หนดข้อสันนิษฐานไว้สำ� หรับกรณีทผี่ บู้ พุ การี
ธ.

กับผู้สืบสันดานช่วยเหลือกัน ย่อมได้รับการสันนิษฐานว่าไม่มีเจตนาจะเรียกให้ผู้รับประโยชน์ชดใช้คืน
ดังนั้น หากจะมีการเรียกร้องให้ชดใช้คืน ผู้ที่เข้าจัดการแทนนั้นจะต้องเป็นฝ่ายน�ำสืบให้เห็นว่า มีเจตนาจะ
ให้ชดใช้คืน คือ จะต้องน�ำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ถ้าไม่น�ำสืบให้เห็นดังกล่าวก็ถือว่า ผู้จัดการ
ไม่ได้มีเจตนาที่จะเรียกให้ตัวการต้องชดใช้คืน โดยต้องถือเป็นข้อเท็จจริงว่า ผู้จัดการไม่มีเจตนาให้ตัวการ
ชดใช้เงินคืน ผู้จัดการจะเรียกให้ตัวการช�ำระหนี้ไม่ได้28 เท่ากับว่าเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาจะ
ไม่ได้คืน เช่น ผู้ปกครองของเด็กได้จ่ายเงินให้แก่เด็กเป็นค่าเสื้อผ้า ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด มูลค่ายารักษาโรค
.ม
ถือว่าเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา จะเรียกเงินเหล่านี้คืนไม่ได้29 เป็นต้น
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2531 นายทองหลางผู้ตายมีบุตร 5 คน รวมทั้งจ�ำเลยด้วย
โจทก์เป็นบุตรของนางประดูน่ อ้ งสาวของนายทองหลางผูต้ าย โจทก์มใิ ช่ทายาทของผูต้ ายได้เข้าเป็นผูจ้ ดั การ
ท�ำศพ โดยบุตรของผู้ตายทั้ง 5 คนมิได้ทักท้วง หลังท�ำศพผู้ตายแล้วบุตรผู้ตายทั้ง 5 คน ปรึกษากันจะ
ชดใช้เป็นค่าท�ำศพของผู้ตายจ�ำนวนหนึ่ง น้อยกว่าที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์ไม่ยอม กรณีนี้ ผู้ตายหรือศาล
25
เรื่องเดียวกัน.
26
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง ความช่วยเหลือเกื้อกูล ความอุดหนุน
27
เรื่องเดียวกัน หมายถึง การสนองคุณ การตอบแทนบุญคุณ
28
ค�ำพิพากษาศาลฎีกา 938/2475
29
ค�ำพิพากษาศาลฎีกา 1584/2479
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-27

มิได้ตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการท�ำศพผู้ตาย และบุตรผู้ตายทั้ง 5 คนก็มิได้มอบหมายโดยชัดแจ้งให้โจทก์เป็น


ผู้จัดการท�ำศพ ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 1649 เป็นแต่โจทก์เข้าไปท�ำศพผู้ตายโดยสมัครใจเอง อัน
เป็นการท�ำหน้าทีท่ างศีลธรรมและความเป็นญาติ เนือ่ งจากโจทก์ได้รบั ทีด่ นิ จากผูต้ ายมา 1 แปลง เมือ่ ฟังได้
ว่าทายาทของผู้ตายมิได้มอบหมายตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการท�ำศพทั้งโดยตรงและโดยปริยาย โจทก์จึงไม่มี
อ�ำนาจฟ้องเรียกค่าจัดการท�ำศพทีโ่ จทก์จา่ ยไปจากกองมรดกของผูต้ าย ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1649

.
ถึงแม้จะฟังว่าการกระท�ำของโจทก์เป็นการเข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่น โดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ก็เป็นจัดการ
งานนอกสั่งซึ่งสมประโยชน์ของตัวการ โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 401 เป็นการนอก
สธ สธ
ประเด็นจากค�ำฟ้องของโจทก์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

มส . มส
หมายเหตุ
คดีนี้ ศาลฎีกามิได้วนิ จิ ฉัยในเรือ่ งจัดการงานนอกสัง่ เพราะเป็นการนอกประเด็นจากค�ำฟ้อง
ของโจทก์จงึ เป็นกรณีทนี่ า่ พิจารณาว่า หากโจทก์ฟอ้ งในประเด็นเป็นจัดการงานนอกสัง่ โจทก์จะมีสทิ ธิเรียก
เงินคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 401 หรือไม่
กรณีนี้ ผูเ้ ขียนเห็นว่าเข้าลักษณะเป็นการจัดการงานนอกสัง่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 395 เพราะ

โจทก์เข้าท�ำกิจการแทนผูอ้ นื่ โดยเขามิได้วา่ ขานวานใช้ หรือโดยมิได้มสี ทิ ธิทจี่ ะท�ำการงานนัน้ แทนผูอ้ นื่ ด้วย
ประการใด และเป็นการจัดการงานไปในทางที่สมประโยชน์ของตัวการ ตามความประสงค์อันแท้จริงของ
ตัวการหรือตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นความประสงค์ของตัวการ แต่ผู้เขียนเห็นว่า โจทก์จะเรียกให้
ชดใช้เงินอันตนได้ออกไปคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 401 ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องการตอบแทนบุญคุณในทาง
ธ.

ปฏิการะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 403 วรรคสอง แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะระบุให้ใช้บังคับในระหว่างบุพการี


กับผูส้ บื สันดานเท่านัน้ ไม่รวมถึงญาติอนื่ ๆ แต่ในคดีนโี้ จทก์เป็นหลานผูต้ าย และได้รบั ทีด่ นิ จากผูต้ ายมา 1
แปลง การที่โจทก์จัดการงานศพผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นการบ�ำรุงรักษาในทางปฏิการะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา
403 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 4 โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
3.4 หนี้ของผู้เป็นตัวการคนก่อน ในกรณีนี้มาตรา 404 บัญญัติว่า “ถ้าผู้จัดการท�ำแทนผู้หนึ่ง
โดยส�ำคัญว่าท�ำแทนผู้อื่นอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าผู้เป็นตัวการคนก่อนผู้เดียวมีสิทธิและหน้าที่อันเกิดแต่
.ม
การที่ได้จัดท�ำไปนั้น”
ค�ำว่า “ผู้เป็นตัวการคนก่อน” หมายถึง ตัวการผู้ที่ได้รับผลของการจัดการนั้น ซึ่งท�ำให้ตัวการ
ผูน้ นั้ จะต้องผูกพันในหนีท้ เี่ กิดขึน้ โดยแท้จริงแต่ผเู้ ดียว ทัง้ นี้ ก็เป็นธรรมดาอยูเ่ องว่า แม้ผจู้ ดั การจะมีเจตนา
ท�ำแทนผู้ใด แต่ผิดคน ผลกลับไปเกิดขึ้นเป็นการท�ำแทนกิจการของอีกคนหนึ่ง จะให้ผู้ที่ไม่ได้รับผลนั้นจะ
ต้องรับผิดในหนีไ้ ด้อย่างไร ก็ตอ้ งให้ตวั การคนทีไ่ ด้รบั ผลเป็นหนีต้ อ้ งผูกพันต่อผูจ้ ดั การ ฝ่ายผูจ้ ดั การจะไป
เรียกให้ตัวการผู้ที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ชดใช้คืนไม่ได้เพราะไม่เกิดหนี้ผูกพันกันตามกฎหมาย
ในเรือ่ งนีม้ าจากความคิดเห็นทีว่ า่ การจัดการงานนอกสัง่ ผูจ้ ดั การต้องเข้าท�ำกิจการแทนผูอ้ นื่ เมือ่
มีเจตนาท�ำเพือ่ ผูอ้ นื่ แล้ว ใครจะเป็นผูร้ บั ผลประโยชน์ไม่สำ� คัญ เพราะผูจ้ ดั การอาจท�ำแทนโดยส�ำคัญผิดคน
ได้ก็ยังเป็นการจัดการงานนอกสั่ง ดังนั้น เมื่อผลประโยชน์นั้นตกอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ย่อมต้องเป็นตัวการที่
จะผูกพันในหนี้ที่เกิดขึ้นแต่ผู้เดียว ไม่ถือเอาตามเจตนาที่แท้จริงของผู้จัดการเป็นส�ำคัญ
สธ ส
5-28 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ตัวอย่าง ก. จัดการงานแทน ข. โดยส�ำคัญผิดว่าเป็นการจัดการงานแทน ค. เพือ่ นของตน เช่นนี้


นิติสัมพันธ์ระหว่าง ก. กับ ข. ย่อมใช้บังคับในเรื่องจัดการงานนอกสั่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 395 ประกอบ
มาตรา 404

4. กรณีที่ไม่ใช่จัดการงานนอกสั่ง

. จะเห็นได้จากลักษณะการจัดการงานนอกสัง่ อยูท่ เี่ จตนาของผูจ้ ดั การว่าต้องเป็นการท�ำกิจการงาน


สธ สธ
นั้นของผู้อื่น ไม่ได้มีเจตนาท�ำเพื่อตนเอง ดังนั้น หากผู้จัดการมีเจตนาในตอนเข้าท�ำกิจการงานนั้น คิดว่า

มส . มส
เป็นของตนเอง แม้แท้จริงจะเป็นการท�ำการแทนผู้อื่นเพราะตนเองส�ำคัญผิด ก็ต้องถือเจตนาที่เกิดขึ้นนั้น
เป็นส�ำคัญ ว่าไม่ได้เข้าท�ำกิจการงานนั้นแทนผู้อื่น เช่นนี้ย่อมไม่เป็นการจัดการงานนอกสั่ง หนี้ต่างๆ ใน
เรื่องจัดการงานนอกสั่งนี้ย่อมไม่เกิดขึ้น บังคับให้ช�ำระกันไม่ได้
ทั้งนี้ ในมาตรา 405 บัญญัติว่า “บทบัญญัติทั้งหลายที่กล่าวมาในสิบมาตราก่อนนั้น ท่านมิให้
ใช้แก่กรณีที่บุคคลหนึ่งเข้าท�ำการงานของผู้อื่น โดยส�ำคัญว่าเป็นการงานของตนเอง
ถ้าบุคคลใดถือเอากิจการของผู้อื่นว่าเป็นของตนเองทั้งที่รู้แล้วว่าตนไม่มีสิทธิจะท�ำเช่นนั้นไซร้

ท่านว่าตัวการจะใช้สิทธิเรียกร้องบังคับโดยมูลบัญญัติไว้ในมาตรา 395, 396, 399 และ 400 นั้นก็ได้
แต่เมื่อได้ใช้สิทธิดังว่ามานี้แล้ว ตัวการจะต้องรับผิดต่อผู้จัดการดังบัญญัติไว้ในมาตรา 402 วรรคหนึ่ง”
ตามบทบัญญัติดังกล่าว กรณีที่มิใช่จัดการงานนอกสั่งอาจจ�ำแนกได้เป็น 2 ประการ คือ (1) เข้า
ท�ำการงานแทนผู้อื่นโดยส�ำคัญผิดว่าเป็นงานของตนเอง และ (2) ถือเอากิจการของผู้อื่นเป็นของตนเอง
ธ.

ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิที่จะท�ำเช่นนั้น ดังนี้
4.1 เข้าท�ำการงานแทนผู้อื่นโดยส�ำคัญผิดว่าเป็นของตนเอง ความในมาตรา 405 วรรคหนึ่งนั้น
เป็นการยืนยันชัดเจนว่า การจัดการงานนอกสั่งนั้นเป็นเรื่องที่ผู้จัดการต้องมีเจตนาท�ำการงานแทนผู้อื่น
ต้องมีเจตนานี้ตั้งแต่แรกเข้าท�ำงาน หากตอนเข้าท�ำงานนั้นมิได้มีเจตนาท�ำแทนผู้อื่น แต่มีเจตนาท�ำเพื่อ
ตนเอง โดยคิดว่าเป็นการงานของตนเอง แม้จะโดยส�ำคัญผิดโดยความจริงเป็นงานของคนอื่น เช่นนี้จะไม่
เป็นการจัดการงานนอกสั่ง เพราะผิดลักษณะของการจัดการงานนอกสั่งดังได้กล่าวมาแล้ว หนี้ต่างๆ ใน
.ม
ลักษณะการจัดการงานนอกสัง่ ก็จะไม่เกิดขึน้ ตามกฎหมาย โดยไม่อาจจะบังคับให้ชำ� ระหนีก้ นั ได้ตามทีก่ ล่าว
มาแล้วในสิบมาตราข้างต้นนั้น
ส่วนหากจะมีกรณีทจี่ ะพึงเรียกร้องต่อกันอย่างใดก็ตอ้ งอาศัยมูลหนีอ้ ย่างอืน่ เช่น ลาภมิควรได้หรือ
ละเมิด แล้วแต่ข้อเท็จจริงแห่งกรณีจะต้องด้วยมูลหนี้นั้นๆ หรือไม่30
4.2 ถือเอากิจการของผู้อื่นเป็นของตนเองทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิที่จะท�ำเช่นนั้น ส�ำหรับความ
ในมาตรา 405 วรรคสองนั้น ย่อมเห็นได้ว่า เป็นลักษณะที่แตกต่างกับความในวรรคหนึ่ง เพราะความใน
วรรคหนึง่ นัน้ เป็นเรือ่ งทีผ่ จู้ ดั การเข้าท�ำการงานของผูอ้ นื่ โดยส�ำคัญผิดว่าเป็นการงานของตนเอง จึงไม่เป็น
เรือ่ งการจัดการงานนอกสัง่ ส่วนความในวรรคสองนัน้ ผูจ้ ดั การทีเ่ ข้าท�ำการงานของผูอ้ นื่ แต่ถอื เอากิจการ
งานของผู้อื่นนั้นเป็นของตนเอง ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าความจริงเป็นการงานของผู้อื่นไม่ใช่โดยส�ำคัญผิดดังใน

30
เรื่องเดียวกัน. หน้า 410.
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-29

วรรคหนึ่ง เมื่อถือเอากิจการงานนั้นเป็นของตนเอง ก็ย่อมมิใช่เจตนาท�ำแทนผู้อื่น ย่อมจะไม่ใช่การจัดการ


งานนอกสั่งเช่นเดียวกัน
แต่ในกรณีตามวรรคสองนั้น มีส่วนในเรื่องการจัดท�ำการงานแทนผู้อื่นโดยรู้อยู่แล้วด้วย ดังนั้น
หากกิจการที่ท�ำแทนนั้นสมประโยชน์ของตัวการก็ได้ เช่นนี้กฎหมายจึงให้ตัวการเลือกเอาว่า จะใช้สิทธิ
เรียกร้องบังคับโดยมูลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 395, 396, 399 และ 400 ก็ได้ และในลักษณะนี้ตัวการ

.
อาจถือว่าไม่ได้จดั การงานนอกสัง่ โดยอาจท�ำการงานในลักษณะละเมิด เพราะผูจ้ ดั การรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าไม่มสี ทิ ธิ
ที่จะท�ำเช่นนั้นได้ ตัวการจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับโดยมูลหนี้ในมาตรา 395, 396, 399 และ 400 ก็ได้
สธ สธ
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับใจของตัวการเป็นส�ำคัญ แม้ว่ากิจการที่ท�ำนั้นจะสมประโยชน์ของตัวการก็ตาม แต่หาก

มส . มส
ตัวการได้ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาแล้ว กฎหมายก็ให้สิทธิผู้จัดการที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 402
วรรคหนึ่งได้ แต่ผู้จัดการไม่มีสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 402 วรรคสอง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
นั่นเอง
ลักษณะของการใช้สทิ ธิของตัวการตามมาตรา 405 วรรคสองนี้ ต้องแล้วแต่ตวั การจะพิจารณาทาง
ได้ทางเสียของตนว่าควรจะใช้สิทธิแก่ผู้จัดการในฐานใด ซึ่งกฎหมายให้สิทธิแก่ตัวการเท่านั้นที่จะเลือกใช้

สิทธิได้ ไม่ได้ให้สิทธิผู้จัดการที่จะเลือกใช้สิทธิเรียกร้องได้
อย่างไรก็ตามในวรรคสองนัน้ ถ้าผูจ้ ดั การรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าตนมีสทิ ธิทจี่ ะท�ำได้ ซึง่ เรียกว่าท�ำไปโดยสุจริต
ใจ เช่นนี้ผู้จัดการย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องตามมาตรา 402 วรรคหนึ่งได้
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2515 นางเขียวรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ตนไม่มีสิทธิที่จะได้รับมรดกตาม
ธ.

พินยั กรรม เพราะพินยั กรรมได้หา้ มมิให้ตนเกีย่ วข้องในทรัพย์มรดก แต่ในฐานะทีน่ างเขียวเป็นภรรยาของ


ผูต้ าย จึงเห็นว่าตนควรจะมีสว่ นเป็นเจ้าของมรดกครึง่ หนึง่ จึงได้ซอ่ มแซมห้องพิพาทไปโดยสุจริตใจเข้าใจ
ว่ามีสิทธิทำ� ได้ เช่นนี้ นางเขียวย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมห้องพิพาทคืนได้
นอกจากนี้ ยังมีกรณีอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการเข้าท�ำกิจการแทนผู้อื่น โดยเขามิได้ขาน
วานใช้ แต่ไม่เป็นจัดการนอกสั่ง เพราะเป็นการท�ำการงานนั้นแทนผู้อื่น โดยมีสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง
.ม
กฎหมาย เช่น ในเรื่องการรับช่วงสิทธิ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 ถึง 232 เป็นต้น
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540 โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิม์ สี ว่ นได้เสียในทีด่ นิ กับเป็นทายาท
และผู้จัดการมรดกของ ม. เจ้ามรดกจ�ำต้องชดใช้หนี้ไถ่ถอนจ�ำนองที่ดินแทนจ�ำเลยซึ่งเป็นผู้จ�ำนอง เพื่อ
ปัดป้องมิให้สิทธิของโจทก์ในที่ดินต้องถูกกระทบกระเทือน จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินเพราะอาจถูก
ผูร้ บั จ�ำนองบังคับยึดออกขายทอดตลาดช�ำระหนีไ้ ด้ โจทก์ซงึ่ เป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนีต้ ามสัญญาจ�ำนอง
แทนจ�ำเลยจนเป็นทีพ่ อใจของผูร้ บั จ�ำนอง โดยได้มกี ารไถ่ถอนจ�ำนองแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของ
เจ้าหนี้บังคับเอาแก่จ�ำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่
แม้เป็นการขืนใจลูกหนี้ แต่เมื่อโจทก์ได้ช�ำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจ�ำเลยไม่ยอมไถ่ถอนจ�ำนองและหากไม่มี
การไถ่ถอนจ�ำนองโจทก์กย็ อ่ มเสียสิทธิในทีด่ นิ ไป โจทก์จงึ มีอำ� นาจฟ้องจ�ำเลย โจทก์เป็นผูร้ บั ช่วงสิทธิจาก
ผู้รับจ�ำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจ�ำเลยผู้จำ� นอง ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ใน
สธ ส
5-30 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

นามของตนเอง เมือ่ หนีเ้ ดิมผูร้ บั จ�ำนองมีสทิ ธิบงั คับจ�ำนองแม้หนีท้ ปี่ ระกันนัน้ ขาดอายุความแล้วตาม ป.พ.พ.


มาตรา 189 เดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

กิจกรรม 5.1.2

. แดงตั้งใจจะรื้อซุ้มประตูรั้วบ้านของตนซึ่งท�ำด้วยไม้และเริ่มช�ำรุดแล้ว โดยจะเปลี่ยนเป็นซุ้มประตู
คอนกรีต แต่ยงั ไม่ทนั ได้ดำ� เนินการ แดงก็มภี ารกิจไปต่างประเทศโดยไม่มใี ครอยูด่ แู ลบ้าน ระหว่างนัน้ เกิด
สธ สธ
ลมพายุพัดซุ้มประตูนั้นล้มลงมากีดขวางบางส่วนของทางสัญจร ส้มซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของแดงไม่สามารถ

มส . มส
ติดต่อกับแดงได้ จึงจ้างช่างมาด�ำเนินการยกซุม้ ประตูนนั้ ขึน้ และซ่อมแซมให้เหมือนเดิมโดยไม่ทราบความ
ตั้งใจของแดงที่จะเปลี่ยนเป็นซุ้มประตูคอนกรีต แดงเสียค่าใช้จ่ายไป 5,000 บาท เมื่อแดงกลับจากต่าง
ประเทศ ส้มจึงเรียกให้แดงชดใช้เงินค่าใช้จ่ายดังกล่าว ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าแดงจะมีข้อต่อสู้ประการใด
หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 5.1.2
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 397 “ถ้ า ผู ้ จั ด การท� ำ กิ จ อั น ใดซึ่ ง เป็ น หน้ า ที่ บั ง คั บ ให้ ตั ว การท� ำ เพื่ อ
สาธารณประโยชน์ก็ดี หรือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จะบ�ำรุงรักษาผู้อื่นก็ดี และหากผู้จัดการมิได้เข้าท�ำ
แล้วกิจอันนั้นจะไม่ส�ำเร็จภายในเวลาอันควรไซร้ การที่ได้ทำ� ขัดกับความประสงค์ของตัวการเช่นนั้น ท่าน
ธ.

มิให้ยกขึ้นเป็นข้อวินิจฉัย”
ตามปัญหา แดงตั้งใจจะซื้อซุ้มประตูรั้วบ้านของตนซึ่งท�ำด้วยไม้และเริ่มช�ำรุดแล้ว โดยจะเปลี่ยน
เป็นซุ้มประตูคอนกรีต แต่ยังไม่ทันได้ด�ำเนินการแดงก็มีภารกิจไปต่างประเทศโดยไม่มีใครอยู่ดูแลบ้าน
ระหว่างนัน้ เกิดลมพายุพดั ซุม้ ประตูนนั้ ล้มลงมากีดขวางบางส่วนของทางสัญจร เช่นนี้ ย่อมเป็นหน้าทีบ่ งั คับ
ให้แดงตัวการต้องท�ำเพือ่ สาธารณประโยชน์ การทีส่ ม้ จ้างช่างมาด�ำเนินการยกซุม้ ประตูนนั้ ขึน้ และซ่อมแซม
ให้เหมือนเดิมโดยเสียค่าใช้จ่ายไป 5,000 บาท นั้น แม้จะเป็นการขัดกับวัตถุประสงค์ของแดงตัวการ ก็
.ม
ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อวินิจฉัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 397 ดังกล่าว
ฉะนั้น แดงจึงหามีข้อต่อสู้แต่ประการใดไม่
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-31

ตอนที่ 5.2


ลาภมิควรได้
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 5.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
5.2.1 ลักษณะของลาภมิควรได้

มส . มส
5.2.2 ข้อยกเว้นสิทธิเรียกคืนทรัพย์
5.2.3 การคืนลาภมิควรได้และอายุความ

แนวคิด
1. ลาภมิควรได้มีลักษณะส�ำคัญ 3 ประการ คือ (1) เป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะ

การกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ ได้มาด้วยประการอื่น เพราะการรับสภาพหนี้สิน เพราะเหตุ
อย่างใดอย่างหนึง่ ซึง่ มิได้มมี ไิ ด้เป็นขึน้ หรือเป็นเหตุทไี่ ด้สนิ้ สุดไปเสียก่อนแล้ว (2) โดย
ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และ (3) เป็นทางให้บคุ คลอีกคนหนึง่ นัน้ เสียเปรียบ
2. ข้อยกเว้นสิทธิเรียกคืนทรัพย์มี 5 ประการ คือ (1) การช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจ (2) การ
ช�ำระหนี้ก่อนถึงก�ำหนด หนี้ขาดอายุความ หรือหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรมหรือตามควรแก่
ธ.

อัธยาศัยในสมาคม (3) ผู้มิได้เป็นลูกหนี้ได้ช�ำระหนี้โดยส�ำคัญผิด (4) การช�ำระหนี้


โดยรู้ถึงความมิได้มีได้เป็นโดยฝ่าฝืนความสุจริต และ (5) การช�ำระหนี้โดยรู้อยู่ว่า
มูลหนี้ผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรม
3. การคืนลาภมิควรได้กฎหมายก�ำหนดหน้าทีข่ องฝ่ายทีไ่ ด้รบั ทรัพย์สนิ ไว้ ในกรณีการคืน
เงิน การคืนทรัพย์สนิ อืน่ นอกจากเงิน การคืนทรัพย์ทตี่ กเป็นพ้นวิสยั และการคืนดอกผล
.ม
อันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้น ก�ำหนดหน้าที่ของฝ่ายที่เรียกทรัพย์สินคืนในกรณีการชดใช้ค่า
ใช้จ่ายอันควรเพื่อบ�ำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน การชดใช้ค่าใช้จ่ายอย่างอื่นกรณี
รับไว้โดยสุจริต และการดัดแปลงหรือต่อเติมกรณีรบั ไว้โดยสุจริต นอกจากนีย้ งั ได้กำ� หนด
อายุความเรียกคืนลาภมิควรได้ไว้เป็นการเฉพาะ

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 5.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของลาภมิควรได้ได้
2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับข้อยกเว้นเรียกคืนทรัพย์ได้
3. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการคืนลาภมิควรได้และอายุความได้
สธ ส
5-32 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ความน�ำ


ในเบือ้ งต้นต้องท�ำความเข้าใจเกีย่ วกับสภาพการปฏิบตั เิ กีย่ วกับสิทธิเรียกร้องในเรือ่ งลาภมิควรได้
ให้ชัดเจนก่อนว่า ลาภมิควรได้เป็นเพียงนิติเหตุเท่านั้น ที่มีกฎหมายบังคับให้เกิดสิทธิเรียกร้องที่จะ

.
เรียกร้องกันได้จากเหตุที่ “ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้” ดังนั้น หากมีเหตุที่เป็นมูลอันจะอ้าง
สธ สธ
กฎหมายได้แล้ว ย่อมต้องใช้สทิ ธิเรียกร้องเอาจากมูลหนีท้ จี่ ะอ้างกฎหมายได้นนั้ จะใช้สทิ ธิเรียกร้องเอาจาก

มส . มส
หนีล้ าภมิควรได้ไม่ได้ ซึง่ ในทางปฏิบตั ผิ ใู้ ช้กฎหมายไม่เข้าใจหลักนีเ้ พราะไม่วา่ เรือ่ งอะไรก็ฟอ้ งร้องเรียกใน
ฐานลาภมิควรได้ ซึง่ หากมูลหนีน้ นั้ สามารถเรียกเอาได้โดยกฎหมายบทอืน่ แล้ว ศาลจะไม่บงั คับลาภมิควร
ได้ให้ เนื่องจากสามารถบังคับหนี้นั้นในลักษณะหนี้อย่างอื่นนั้นได้ จะใช้บทบัญญัติในเรื่องลาภมิควรได้
บังคับไม่ได้ ต้องฟ้องเรียกร้องเอาจากมูลหนี้ตามกฎหมายนั้นๆ ศาลจึงจะบังคับให้
ด้วยเหตุนี้ มูลหนีล้ าภมิควรได้จงึ เป็นมูลหนีท้ กี่ ฎหมายก�ำหนดให้ไว้เป็นลักษณะของมูลหนีส้ ำ� รอง
(subsidaire) เท่านั้น หากมีมูลหนี้อื่นที่สามารถเรียกร้องเอาได้ตามกฎหมายนั้นแล้ว จะต้องเรียกเอาจาก

มูลหนี้นั้น จะใช้สิทธิเรียกร้องลาภมิควรได้ไม่ได้ ศาลจะไม่บังคับให้ นอกจากไม่มีทางแก้ที่จะเรียกร้องได้
ตามกฎหมายแล้ว กรณีนี้จึงจะฟ้องร้องบังคับเอาในลักษณะฐานลาภมิควรได้นี้ได้ เพราะลาภมิควรได้เป็น
เพียงทางแก้ทใี่ ห้ความเป็นธรรม โดยจะหาทางแก้ทางอืน่ ไม่ได้แล้ว จึงขอให้ผปู้ ฏิบตั เิ ข้าใจให้ชดั เจนในเบือ้ งต้นนี้
ให้แจ่มแจ้งก่อน เพื่อจะได้ไม่ผิดพลาดในทางปฏิบัติ เพราะการฟ้องเรียกร้องเอาตามสิทธิเรียกร้องอื่นเมื่อ
ธ.

เรียกเอาทรัพย์สามารถเรียกได้เต็มจ�ำนวน แต่หากเรียกให้คนื ลาภมิควรได้อาจจะได้ไม่เต็มจ�ำนวนจนถึงไม่ได้


คืนอะไรเลยก็ได้
ในเรื่องลาภมิควรได้นี้ จะแบ่งแยกหัวข้อในการศึกษา เป็น 3 เรื่อง ด้วยกัน คือ
1. ลักษณะของลาภมิควรได้
2. ข้อยกเว้นสิทธิเรียกคืนทรัพย์
3. การคืนลาภมิควรได้และอายุความ
.ม
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-33

เรื่องที่ 5.2.1


ลักษณะของลาภมิควรได้

ลาภมิควรได้นั้นเป็นลักษณะที่บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สินใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย

.
ได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบ บุคคลนั้นจ�ำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขาซึ่งตามมาตรา 406
สธ สธ
ั ญัตไิ ว้วา่ “บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ก็ดี หรือ
ได้บญ

มส . มส
ได้มาโดยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสีย
เปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนัน้ จ�ำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึง่ การรับสภาพหนีส้ นิ ว่ามีอยูห่ รือหาไม่นนั้ ท่าน
ก็ให้ถือว่าเป็นการกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ด้วย บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มา
เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย”
ตามบทกฎหมายดังกล่าว พอจะแยกองค์ประกอบของลาภมิควรได้ ดังนี้

1. การได้ทรัพย์สิ่งใดมาเพราะ
ก. การกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้
ข. ได้มาด้วยประการอื่น
ค. การรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่ ถือว่าเป็นการกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้
ง. ได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น
ธ.

จ. ได้มาเพราะเหตุซึ่งเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว
2. โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ
3. จ�ำต้องคืนทรัพย์นั้น
โดยจะขออธิบายตามล�ำดับ ดังนี้

1. การได้ทรัพย์สินใดมา
.ม
การทีจ่ ะเป็นลาภมิควรได้ตอ้ งเป็นเรือ่ งทีบ่ คุ คลใดได้ทรัพย์สงิ่ ใดมาโดยไม่มสี ทิ ธิและเสียหายแก่เขา
ต้องคืนสิ่งที่ได้มานั้นให้แก่เขาไป
ค�ำว่า “ได้มา” ย่อมหมายความว่า ได้มาในลักษณะที่เป็นลาภงอกเพิ่มพูนขึ้นในสภาพที่โอน
กรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นเพียงได้สิทธิครอบครอง ยืม เช่า หรือแย่งการครอบครองมา ไม่เป็นกรณีที่จะบังคับกัน
ตามลักษณะลาภมิควรได้
ค�ำว่า “ทรัพย์สินใด” คงมิได้มุ่งหมายเฉพาะทรัพย์ตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นวัตถุที่มีรูปร่างเท่านั้น
ทั้งกฎหมายก็มิได้ใช้ค�ำว่าทรัพย์สินตามมาตรา 138 ด้วย แต่ใช้คำ� ว่า “ทรัพย์สิ่งใด” เป็นอีกค�ำหนึ่ง คงจะ
ใช้โดยมีความหมายเป็นอีกอย่างหนึ่ง รวมถึงประโยชน์ที่อาจค�ำนวณเป็นราคาเงินได้ เช่น แรงงานของ
บุคคลอื่น เป็นต้นว่าออกแรงงานท�ำที่ดินของผู้อื่นให้ดีมีราคาเพิ่มขึ้น เป็นต้น31

31
เรื่องเดียวกัน. หน้า 414.
สธ ส
5-34 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2507 มีการประมูลท�ำนาระหว่างคู่กรณีเป็นเวลา 1 ปี ในปีต่อมา
ผูป้ ระมูลได้เข้าท�ำนาอีกโดยมิได้มกี ารประมูลกันใหม่ ถือว่าผูป้ ระมูลได้เข้าครอบครองแทนและท�ำประโยชน์
ในที่นา ผลประโยชน์ในปีที่ไม่มีการประมูลกันนั้น ผู้ประมูลมีสิทธิที่จะเรียกคืนได้ในฐานลาภมิควรได้
ลักษณะการได้ทรัพย์สิ่งใดมามีได้ในเหตุ 5 ประการ เพราะ

. ก) การกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้
ข) ได้มาด้วยประการอื่น
สธ สธ
ค) การรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่ ถือว่าเป็นการกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้

มส . มส
ง) ได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือ
จ) ได้มาเพราะเหตุซึ่งเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว
โดยขออธิบาย ดังนี้
ก) การกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ ถ้าเป็นการกระท�ำที่ช�ำระหนี้โดยถูกต้องตามกฎหมาย ย่อมเป็นการ
ชอบที่ท�ำให้หนี้นั้นระงับไปได้ แต่ในบางครั้งอาจจะมีการช�ำระหนี้โดยส�ำคัญผิดในข้อเท็จจริงหรือข้อ

กฎหมาย เช่น อาจช�ำระหนีโ้ ดยผิดตัวเจ้าหนีห้ รือช�ำระหนีโ้ ดยไม่มหี นี้ ผูท้ ไี่ ด้รบั ช�ำระหนีไ้ ว้นนั้ ย่อมไม่มสี ทิ ธิ
และเสียหายแก่เขา ต้องคืนสิ่งที่ได้มานั้นให้แก่เขาไป
การกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ในที่นี้ยังหมายความรวมถึง การละเว้นการท�ำเพื่อช�ำระหนี้ด้วย ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 19432
อุทาหรณ์
ธ.

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2494 เช่านาเขาท�ำโดยช�ำระค่าเช่าล่วงหน้าครบถ้วนแล้ว แต่ผใู้ ห้เช่า


มอบนาให้ท�ำขาดจ�ำนวนจากที่ตกลงกันไว้ แม้การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้เช่าก็มีสิทธิฟ้องเรียก
ค่าเช่าที่ช�ำระไปเกินฐานลาภมิควรได้ได้
ข) ได้มาโดยประการอื่น เป็นการได้มาในลักษณะเป็นการช�ำระหนี้ดังได้กล่าวมาแล้วในข้อ ก)
เช่น อาจเกิดจากการใช้ทรัพย์ของผู้อื่นโดยส�ำคัญผิดคิดว่าตนมีสิทธิใช้ได้ หรือเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดย
เข้าใจว่าเป็นทรัพย์ของตน เป็นเหตุให้เกิดการเพิ่มพูนเป็นลาภแก่ผู้ได้ทรัพย์นั้นไปโดยปราศจากมูลอันจะ
.ม
อ้างกฎหมายได้ และท�ำให้เจ้าของทรัพย์เสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ เพราะหากผู้ได้ทรัพย์ไปเช่นนั้น
ได้ประโยชน์จากการใช้ทรัพย์นนั้ ไม่วา่ จะเป็นก�ำไรหรือประโยชน์อนื่ ใด เช่น ดอกเบีย้ จะต้องคืนให้แก่เจ้าของ
ทรัพย์ หรือในกรณีทผี่ ขู้ ายทีด่ นิ ได้รบั เงินจากผูซ้ อื้ เกินราคาทีซ่ อื้ ขายกันต้องคืนเงินทีเ่ กินนัน้ ให้แก่ผซู้ อื้ ฐาน
ลาภมิควรได้ (ฎ. 2041/2542)
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2515 นางแดงรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าตนไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะได้รบั มรดกตามพินยั กรรม
และพินยั กรรมได้หา้ มไม่ให้นางแดงเกีย่ วข้องในทรัพย์มรดก แต่ในฐานะทีน่ างแดงเป็นภริยาของผูต้ าย เห็น
ว่าตนควรจะมีสว่ นเป็นเจ้าของมรดกครึง่ หนึง่ จึงได้ซอ่ มแซมห้องพิพาทไปโดยสุจริตใจ เข้าใจว่ามีสทิ ธิทำ� ได้
นางแดงย่อมมีสิทธิเรียกค่าซ่อมแซมห้องพิพาทคืนได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยประการอื่น

32
เรื่องเดียวกัน. หน้า 415.
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-35

ค) การรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่ ถือว่าเป็นการกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ การรับสภาพหนี้ก็


ถือว่าเป็นการช�ำระหนี้ด้วย เพราะหากการรับสภาพหนี้นั้นปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้และเป็นทาง
ให้เขาเสียเปรียบแล้ว ก็ยอ่ มเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ได้หากได้ชำ� ระหนีไ้ ป หรืออาจจะให้มกี ารเพิกถอน
การรับสภาพหนี้นั้นได้ เช่นเดียวกับได้ทรัพย์ไปเหมือนกัน และการรับสภาพหนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้
ยิ่งไปกว่าหนี้เดิม33 ดังนั้น หากมีการช�ำระหนี้ตามที่รับสภาพเกินไปจากหนี้เดิม ลูกหนี้ย่อมเรียกคืนส่วน

.
ที่เกินนั้นจากเจ้าหนี้ได้
ตัวอย่าง ก. เป็นหนี้ที่ยังค้างช�ำระ ข. อยู่ 50,000 บาท แต่ ก. หลงผิดรับสภาพหนี้เป็นจ�ำนวน
สธ สธ
60,000 บาท ส่วนที่ช�ำระเกินไป 10,000 บาท เป็นลาภมิควรได้ ก. ลูกหนี้ย่อมเรียกคืนจาก ข. เจ้าหนี้ได้

มส . มส
ง) ได้มาเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น เหตุที่มิได้มีได้เป็นขึ้น ได้แก่ กิจการที่
เป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์ หรือเงื่อนไขบังคับก่อนไม่เป็นผลส�ำเร็จ หรือการได้ทรัพย์มาตามสัญญาต่าง
ตอบแทน ซึ่งคู่สัญญาจะต้องช�ำระหนี้ตอบแทนกันทั้งสองฝ่าย แต่การช�ำระหนี้ของฝ่ายหนึ่งมิได้กระท�ำลง
แม้จะไม่เป็นการผิดสัญญา เช่น เหตุสุดวิสัย เป็นต้น อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ต้องช�ำระหนี้ตอบแทน (มาตรา 369
และมาตรา 372) ฝ่ายที่รับช�ำระหนี้ไว้ก็ได้ชื่อว่ารับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เช่นเดียวกัน

เพราะมูลแห่งสิทธิที่จะได้รับช�ำระหนี้มามิได้มีได้เป็นขึ้น คือ เงื่อนไขบังคับก่อนไม่เกิดผลส�ำเร็จ หรือไม่มี
หนี้ที่จะต้องช�ำระตอบแทนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เป็นต้น34
อุทาหรณ์
1) การซือ้ ขายอสังหาริมทรัพย์ทที่ ำ� กันเองโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าทีย่ อ่ มเป็นโมฆะ
ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเงินที่ช�ำระไปแล้วคืนได้พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี35 (แต่หามีสิทธิเรียก
ธ.

ค่าเสียหายไม่เพราะไม่ใช่เป็นผลของการผิดสัญญา36
2) ผูข้ ายฝากผ่อนช�ำระราคาทรัพย์ทขี่ อไถ่ไปบ้างแล้ว เมือ่ ผูข้ ายฝากไม่สามารถจะไถ่ได้เพราะเกิน
ก�ำหนดเวลาไถ่ ผู้ซื้อฝากต้องคืนเงินนั้นให้37 หรือผู้ขายฝากได้รับเงินค่าขายฝากไปแล้ว เมื่อผู้ซื้อฝากได้
คืนที่ดินให้ผู้ขายฝาก ทางผู้ขายฝากก็ต้องคืนเงินให้แก่ผู้ซื้อฝาก เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอัน
จะอ้างกฎหมายได้และท�ำให้เขาเสียเปรียบ38
.ม
จ) ได้มาเพราะเหตุซึ่งเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว ในกรณีนหี้ ากจะแปลตามตัวอักษรย่อม
หมายถึง เหตุที่สิ้นสุดไปก่อนได้ทรัพย์มา ถ้าในเวลาได้ทรัพย์มานั้น สิทธิที่ได้มามีอยู่บริบูรณ์แล้ว แม้ต่อ
มามีเหตุการณ์อื่นเกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงผลในกฎหมายไปอย่างไร ก็ไม่มีเหตุที่จะต้องคืน39 แต่ความตอนนี้
คงจะตีความหมายตามเจตนารมณ์กว้างออกไปอีก เช่น การได้ทรัพย์มาโดยนิติกรรมมีเงื่อนไขบังคับหลัง

33
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2499
34
เรื่องเดียวกัน. หน้า 416.
35
ดูค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2479, 3110/2526, 8755/2551 ประกอบ
36
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2517
37
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746-474/2511
38
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2510
39
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2486
สธ ส
5-36 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เมื่อเงื่อนไขนั้นเกิดขึ้นมีผลให้นิติกรรมสิ้นผลลง คู่กรณีอาจตกลงกันไว้ให้การสิ้นสุดของเงื่อนไขมีผล


ย้อนหลังไปถึงเวลาแรกท�ำนิติกรรมก็ได้ (มาตรา 183 วรรคสามและมาตรา 1313) เป็นต้น40
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2481 ในการกู้ยืมเงินกัน ตกลงให้ชดใช้ข้าวแทนเงิน ผู้กู้ได้ตวงข้าว
ใช้หนีใ้ ห้ผใู้ ห้กไู้ ปแล้ว ภายหลังผูใ้ ห้กเู้ อาสัญญากูซ้ งึ่ มิได้คนื มาฟ้องเรียกเงินจากผูก้ ู้ ได้มกี ารยอมความและ

.
ผู้กู้ได้ใช้หนี้ตามฟ้องแล้ว ดังนี้ ผู้กู้ฟ้องเรียกข้าวหรือราคาข้าวคืนได้ในฐานลาภมิควรได้
สธ สธ
2. โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ

มส . มส
ในข้อนีจ้ ะต้องพิจารณาได้ความว่า หากการได้ทรัพย์สงิ่ ใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย
ได้แล้ว ยังต้องประกอบด้วย “และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ” เพราะกฎหมายใช้คำ� ว่า “และ”
ซึง่ จะต้องประกอบด้วยทัง้ สองกรณี หากแม้ได้ทรัพย์มาโดยไม่มมี ลู แต่ไม่ทำ� ให้บคุ คลอีกคนหนึง่ เสียเปรียบ
ก็ไม่อาจเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ได้ อย่างไรก็ตามหากได้ทรัพย์มาเป็นทางให้บคุ คลอีกคนหนึง่ เสียเปรียบ
แต่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ย่อมไม่อาจเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ได้เช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ หากได้ทรัพย์มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้แล้ว ก็ไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นทางให้
บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบหรือไม่ เพราะไม่อาจจะเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ได้อยู่แล้ว หลักส�ำคัญจึงอยู่
ที่ว่าการคืนฐานลาภมิควรได้ จึงต้องได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
การได้ทรัพย์มาไม่มมี ลู อันจะอ้างกฎหมายได้นนั้ คือไม่มกี ฎหมายให้สทิ ธิทจี่ ะได้สงิ่ นัน้ แล้ว ก็ตอ้ ง
ธ.

คืนสิ่งนั้นให้เขาไป แต่ถ้าการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้นั้น มีมูลหนี้อย่างอื่นที่จะ


เรียกร้องกันได้ เช่น ผิดสัญญาหรือละเมิด หรือมีสทิ ธิตดิ ตามเอาทรัพย์ในกรรมสิทธิข์ องผูท้ โี่ อนทรัพย์เฉพาะ
สิ่งไปโดยกิจการที่เป็นโมฆะกลับคืน ผู้ที่มีสิทธิโดยมูลหนี้นั้นหรือสิทธิเรียกร้องอย่างอื่นก็ต้องเลือกใช้สิทธิ
ในมูลหนี้นั้น โดยไม่ต้องเรียกร้องในลักษณะลาภมิควรได้ ต่อเมื่อไม่มีสิทธิในมูลหนี้อย่างอื่น จึงจะใช้สิทธิ
เรียกร้องในลักษณะลาภมิควรได้นี้ เช่น การทีผ่ เู้ ช่าฟ้องเรียกเงินกินเปล่าคืน เพราะผูใ้ ห้เช่าไม่ยอมให้ผเู้ ช่า
อยู่ครบก�ำหนดเวลา มิใช่เป็นการเรียกคืนคืนฐานลาภมิควรได้ แต่เรียกคืนเพราะเหตุที่ผู้ให้เช่าผิดสัญญา
.ม
เช่า (ฎ. 2211/2516) หรือฟ้องเรียกเงินภาษีที่เรียกเกินไปคืน หรือขอคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น ถือได้ว่า
เป็นการช�ำระภาษีโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จะเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ไม่ได้41 หรือการจ่ายเงินค่า
สินไหมทดแทนไปตามสัญญาประกันภัย กรณีมิใช่ลาภมิควรได้ (ฎ. 1112/2545) หรือจ่ายค่าจ้างเพิ่มตาม
ค�ำสัง่ ของนายจ้างทีม่ ผี ลใช้บงั คับขณะนัน้ ไม่ใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ไม่ได้
เรียกคืนฐานลาภมิควรได้ (ฎ. 3923-32/2546)
ด้วยเหตุนี้ ลักษณะลาภมิควรได้จึงต้องเป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย
ได้ และนอกจากนี้หนี้ที่จะต้องคืนทรัพย์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเหตุอันเดียวกันนั้นเป็นผลให้บุคคลผู้ส่งทรัพย์

40
เรื่องเดียวกัน.
หน้า 417.
41
ดูคำ� พิพากษาศาลฎีกาที่ ฎ. 41/2518, ฎ. 920/2520, ฎ. 1164/2520, ฎ. 1635/2520, ฎ. 57/2521 และ ฎ. 265/2521
ประกอบ
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-37

ให้มานัน้ เสียเปรียบด้วย ถ้าหากผูท้ ไ่ี ด้ลาภงอกนัน้ มาจากการกระท�ำของคนอืน่ แต่คนอืน่ ไม่เสียเปรียบแล้ว


หนี้ที่จะต้องคืนลาภมิควรได้ก็ไม่เกิดขึ้น เช่น ปลูกสร้างตลาดขึ้นในที่ดินของผู้อื่น ท�ำให้ที่ดินของผู้อื่นที่อยู่
ข้างเคียงมีราคาสูงขึ้น ดังนี้ ผู้ปลูกสร้างตลาดไม่เสียเปรียบอย่างใด จึงไม่มีลาภมิควรได้เกิดขึ้นแก่ผู้ที่อยู่
ข้างเคียงที่จะต้องช�ำระราคาที่ดินเพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ปลูกสร้างตลาด42
ดังนั้น จึงต้องเป็นกรณีที่ได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้บุคคล

.
อีกคนหนึ่งเสียเปรียบ จึงจะเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ได้ เช่น ข้อสัญญาที่คู่กรณีจะต้องตกลงกันแต่ยังไม่
ได้กระท�ำ ถือว่าสัญญาจะซือ้ จะขายทีด่ นิ ยังไม่เกิดขึน้ เงินทีร่ บั ไว้ยอ่ มเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะ
สธ สธ
อ้างกฎหมายได้ต้องคืนฐานลาภมิควรได้43

มส . มส
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2525 เจ้าหนี้ของผู้ตายได้รับเงินบ�ำเหน็จตกทอดไปเป็นการช�ำระหนี้
ที่มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ซึ่งไม่มีผลผูกพัน
ผูเ้ ยาว์ ถือได้วา่ เป็นการได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้ผเู้ ยาว์เสียเปรียบ
ผู้เยาว์มีสิทธิเรียกคืนจากเจ้าหนี้ได้ในลักษณะลาภมิควรได้ได้

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2546 การรับคืนเงินภาษีแม้ชนั้ แรกเข้าใจว่ามีมลู ทีจ่ ะอ้างกฎหมายได้
แต่ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่รับเงินภาษีคืนไปนั้นไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ถือว่าเป็นการได้มาโดย
ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้เขาเสียเปรียบ จึงต้องคืนให้ในฐานลาภมิควรได้
ส�ำหรับในกรณีที่มีกฎหมายห้ามไว้ และผู้ที่ปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมายนั้นได้รับทรัพย์ไว้ ย่อมถือว่า
เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนทรัพย์ในฐานลาภมิควรได้
ธ.

อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537 การที่มีกฎหมายห้ามมิให้ข้าราชการรับเงินเดือนสองต�ำแหน่ง
ดังนัน้ หากข้าราชการผูน้ นั้ ได้รบั เงินเดือนไปทัง้ สองต�ำแหน่ง ถือว่าได้รบั เงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้าง
กฎหมายได้ เป็นลาภมิควรได้ต้องคืนเงินเดือนนั้น

3. จ�ำต้องคืนทรัพย์นั้น
.ม
ในข้อนี้การที่ต้องคืนทรัพย์นั้น ถือว่าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายในลักษณะของนิติเหตุ
จึงเป็นสภาพของสิทธิเรียกร้อง ซึ่งบุคคลที่ต้องเสียเปรียบมีสิทธิเรียกร้องนั้นที่จะเรียกคืนทรัพย์ได้ตามที่
กฎหมายก�ำหนด ซึ่งผู้มีสิทธิจะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นหรือไม่เป็นอีกกรณีหนึ่ง
การที่กฎหมายในมาตรา 406 บัญญัติว่า “บุคคลนั้นจ�ำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา” จึงถือว่าเป็น
องค์ประกอบหนึ่งของลาภมิควรได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกิดหนี้ขึ้นโดยกฎหมายว่าต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขาไป
หากไม่ถือว่าข้อนี้เป็นองค์ประกอบของลาภมิควรได้แล้ว หนี้ที่จะเรียกร้องให้คืนทรัพย์ก็จะไม่เกิดขึ้น
อุทาหรณ์ กรณีเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทาง
ให้บุคคลอื่นเสียเปรียบ เป็นลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

42
เรื่องเดียวกัน.
43
ดูคำ� พิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2545 และ 2224/2553 ประกอบ
สธ ส
5-38 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

1) เอาที่ดินของผู้อื่นไปให้เช่าโดยไม่มีสิทธิ ค่าเช่าที่ได้รับและการใช้สอยประโยชน์จากที่ดินของ


ผู้เช่า เป็นลาภมิควรได้ ตามมาตรา 406
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2562 จ�ำเลยที่ 3 ซึ่งมิใช่เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทท�ำสัญญาให้จ�ำเลย
ที่ 4 เช่าทีด่ นิ พิพาทเป็นเวลา 30 ปี โดยมีผลนับแต่วนั ที่ 1 มกราคม 2556 จ�ำเลยที่ 3 ย่อมได้รบั ประโยชน์
เป็นเงินค่าเช่าตามสัญญาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนจ�ำเลยที่ 4 ได้ใช้สอยทีด่ นิ พิพาทโดยไม่มสี ทิ ธิ ย่อม

.
เป็นการขัดขวางการใช้สทิ ธิในทีด่ นิ พิพาทของโจทก์ในอันทีจ่ ะใช้สอยทรัพย์สนิ ของตนและได้ซงึ่ ดอกผลแห่ง
ทรัพย์สนิ นัน้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เงินค่าเช่าทีด่ นิ ทีจ่ ำ� เลยที่ 3 ได้รบั รวมทัง้ การใช้สอยประโยชน์จาก
สธ สธ
ที่ดินพิพาทของจ�ำเลยที่ 4 ซึ่งสามารถค�ำนวณเป็นราคาได้ ย่อมเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินใดที่บุคคลอื่น

มส . มส
กระท�ำเพื่อช�ำระหนี้หรือได้มาโดยประการอื่นโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และท�ำให้โจทก์เสีย
เปรียบ ถือว่าเป็นลาภที่จ�ำเลยที่ 3 และที่ 4 มิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง
2) ช�ำระเงินให้แก่ผู้ซื้อฝากโดยเข้าใจว่ายังมีสิทธิจะไถ่ที่ดินที่ขายฝากได้ ผู้ซื้อฝากรับไว้โดย
ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เป็นลาภมิควรได้ตามมาตรา 406
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14959/2556 โจทก์นำ� เงิน 220,000 บาท ไปช�ำระแก่จำ� เลยเนือ่ งจากเข้าใจ

ว่ายังมีสทิ ธิทจี่ ะไถ่ทดี่ นิ ทีข่ ายฝากได้ เมือ่ โจทก์ไม่มสี ทิ ธิไถ่ทดี่ นิ ทีข่ ายฝากคืนจากจ�ำเลยได้ การทีจ่ ำ� เลยได้
รับเงินจ�ำนวนดังกล่าวมาจากโจทก์จงึ ปราศจากมูลอันจะอ้างตามกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
โดยค�ำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอมา 2 กรณี คือขอไถ่ที่ดินคืน และขอสินไถ่ที่ช�ำระเกินไป 148,000 บาท
เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่มีสิทธิไถ่ที่ดินที่ขายฝากคืนจากจ�ำเลยได้ เงิน 220,000 บาท ที่โจทก์ช�ำระไปหลัง
ธ.

จากพ้นก�ำหนดเวลาไถ่ทดี่ นิ แล้ว จึงไม่ใช่เป็นเพียงค่าสินไถ่ทโี่ จทก์ชำ� ระเกินไปตามค�ำขอท้ายฟ้องของโจทก์


แต่เป็นเงินทีจ่ ำ� เลยรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ กรณีจงึ เป็น
เรื่องลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง จ�ำเลยต้องคืนเงินจ�ำนวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อม
ดอกเบี้ยตามกฎหมาย
3) ผูจ้ ดั การมรดกน�ำทีด่ นิ อันเป็นทรัพย์มรดกทีย่ งั ไม่มกี ารแบ่งปันไปโอนขายโดยปราศจากอ�ำนาจ
นิติกรรมโอนที่ดินในส่วนที่ตนไม่มีกรรมสิทธิ์จึงตกเป็นโมฆะ ผู้ซื้อน�ำที่ดินนั้นไปจ�ำนองจึงมีหน้าที่ต้อง
.ม
ไถ่ถอนจ�ำนองคืนให้แก่ทายาทในฐานลาภมิควรได้ ตามมาตรา 406
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2556 การที่จ�ำเลยที่ 1 ปล่อยให้ที่ดินพิพาทเป็นชื่อของบิดาและ
มารดาต่อมาโดยมิได้ด�ำเนินการใดๆ เป็นเวลาประมาณ 60 ปี โดยโจทก์ที่ 1 และพี่น้องคนอื่นให้จ�ำเลยที่
1 เก็บค่าเช่าทีด่ นิ พิพาทเนือ่ งจากจ�ำเลยที่ 1 ไม่มที ที่ ำ� กิน ทัง้ ในการยืน่ ค�ำร้องขอเป็นผูจ้ ดั การมรดกของบิดา
และมารดานัน้ จ�ำเลยที่ 1 ไม่ได้ขอความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 แต่ในการไต่สวนค�ำร้องขอเป็นผูจ้ ดั การมรดก
จ�ำเลยที่ 1 อ้างว่า โจทก์ท่ี 1 ให้ความยินยอมในการเป็นผู้จัดการมรดกของจ�ำเลยที่ 1 แล้ว ส่อแสดงว่า
จ�ำเลยที่ 1 รู้ว่าตนไม่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนทั้งหมด พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งห้าที่
น�ำสืบว่ายังไม่มีการแบ่งปันมรดกที่ดินพิพาทมีน�้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจ�ำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริง
รับฟังได้วา่ โจทก์ที่ 1 และพีน่ อ้ งมอบให้จำ� เลยที่ 1 เป็นผูค้ รอบครองทีด่ นิ พิพาทซึง่ เป็นทรัพย์มรดกทีย่ งั ไม่มี
การแบ่งปัน เมือ่ จ�ำเลยที่ 1 ในฐานะผูจ้ ดั การมรดกน�ำทีด่ นิ พิพาทส่วนของโจทก์ทงั้ ห้าไปโอนขายให้แก่จำ� เลย
ที่ 2 โดยปราศจากอ�ำนาจ นิติกรรมการโอนระหว่างจ�ำเลยทั้งสองเฉพาะส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้ง
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-39

ห้าจึงตกเป็นโมฆะ และจ�ำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องไถ่ถอนจ�ำนองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งห้าที่จำ� เลยที่ 2


น�ำไปจ�ำนองโดยปราศจากมูลอันจะอ้างตามกฎหมายได้คืนให้แก่โจทก์ทั้งห้าในฐานลาภมิควรได้
4) สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่เกิดขึ้น มัดจ�ำที่รับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้าง
กฎหมายได้ เป็นลาภมิควรได้ตามมาตรา 406
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2553 ใบรับเงินมีขอ้ ความว่า “จ�ำเลยตกลงจะขายทีด่ นิ ให้โจทก์ โดย

.
มีเงื่อนไขการช�ำระเงินเป็นเวลา 2 ปี และในวันนี้โจทก์ได้ช�ำระเงินมัดจ�ำจ�ำนวน 500,000 บาทด้วยเช็ค
ส่วนทีเ่ หลือจะช�ำระตามเงือ่ นไขสัญญาจะซือ้ จะขายทีท่ งั้ สองฝ่ายจัดท�ำขึน้ ภายใน 30 วัน” เห็นได้วา่ ใบรับ
สธ สธ
เงินเป็นเพียงหลักฐานการรับเงินมัดจ�ำที่โจทก์ช�ำระแก่จ�ำเลยเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์กับจ�ำเลยจะต้องท�ำ

มส . มส
สัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะได้จัดท�ำขึ้นภายหลัง 3 วัน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันแสดงให้เห็นว่า โจทก์จ�ำเลยมี
เจตนาจะท�ำจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ที่
บัญญัติว่า “ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะท�ำนั้นจะต้องท�ำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่าน
นับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ท�ำขึ้นเป็นหนังสือ” ดังนัน้ เมือ่ โจทก์และจ�ำเลยยังมิได้ทำ� สัญญา
จะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจ�ำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจ�ำที่จ�ำเลยรับ

ไว้จงึ เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จ�ำเลยไม่มสี ทิ ธิรบิ มัดจ�ำ จึงต้องคืนให้โจทก์ฐาน
ลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
5) การรับช�ำระหนี้ค่าเช่าซื้อจักรยานยนต์ซ�้ำซ้อน เป็นการรับเงินมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้าง
กฎหมายได้ เป็นลาภมิควรได้ตามมาตรา 406
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2552 โจทก์ชำ� ระหนีค้ า่ เช่าซือ้ รถจักรยานยนต์แก่จำ� เลยที่ 2 ตามเช็ค
ธ.

และรายการช�ำระเงินจ�ำนวน 3,320,150 บาท อันเป็นการช�ำระหนี้ซ�้ำช้อน จ�ำเลยที่ 1 ได้รับเงินจ�ำนวนนี้


มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จ�ำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงิน
ดังกล่าวให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ และเนื่องจากทรัพย์ที่ต้องคืนเป็นเงิน จ�ำเลยที่ 1 จึงต้องช�ำระคืน
พร้อมดอกเบีย้ อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำ� เลยที่ 1 คืนเงินดังกล่าวก่อน
ฟ้องคดี จึงให้คิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะช�ำระแล้วเสร็จ
.ม
อุทาหรณ์ กรณีมิใช่เป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ไม่เป็น
ลาภมิควรได้ตามมาตรา 406
1) การได้รับช�ำระหนี้ต่างตอบแทนที่เกินไปกว่าปริมาณงานตามความเป็นจริง แต่ยังมีข้อโต้แย้ง
จากการท�ำงานตามสัญญา ไม่เป็นลาภมิควรได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2561 โจทก์กล่าวอ้างในค�ำฟ้องว่าการค�ำนวณปริมาณงานผิดพลาด
ในขัน้ ตอนการออกแบบและประมาณราคากับขัน้ ตอนการก�ำหนดราคากลาง ท�ำให้คา่ งานก่อสร้างทีค่ ำ� นวณ
ได้และน�ำไปใช้ในการก�ำหนดราคากลางนั้นสูงเกินค่าก่อสร้างจริง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิจ่าย
ค่าจ้างให้แก่จ�ำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างตามราคาต่อหน่วยของงานแต่ละรายการที่ได้ท�ำส�ำเร็จจริงตามข้อตกลงใน
สัญญาว่าจ้าง หากโจทก์ไม่ยินยอมจ่ายเงินในส่วนที่เกินราคาต่อหน่วยของงานแต่ละรายการที่ได้ท�ำส�ำเร็จ
จริง ย่อมเป็นข้อโต้แย้งสิทธิอนั เกิดจากสัญญาว่าจ้างระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยที่ 1 การทีจ่ ำ� เลยที่ 1 ได้รบั เงิน
ค่าจ้างตามสัญญาว่าจ้างไปจากโจทก์ซงึ่ เกินไปกว่าปริมาณงานตามความเป็นจริงทีก่ ำ� หนดไว้ในสัญญาเป็น
สธ ส
5-40 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

กรณีที่จ�ำเลยที่ 1 ได้รับช�ำระหนี้ต่างตอบแทนที่ยังมีข้อโต้แย้งจากการท�ำงานตามสัญญาให้แก่โจทก์ มิใช่


เป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่โจทก์กระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดย
ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์นั้นเสียเปรียบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
2) การมอบเงินค่าใช้จ่ายให้ด�ำเนินการออกโฉนดที่ดิน ไม่ปรากฏว่าเป็นการให้ไปด�ำเนินการที่
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หาได้เป็นโมฆะไม่ การเรียกเงินคืนจากการผิดสัญญา มิใช่อาศัยมูลหนี้ละเมิด

. ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6001/2559 แม้โจทก์กับจ�ำเลยที่ 1 จะตกลงซื้อขายที่ดิน ภ.บ.ท.544 กัน


โดยมีเงื่อนไขว่า จ�ำเลยที่ 1 จะโอนกรรมสิทธิ์ต่อเมื่อมีการออกโฉนดที่ดินเรียบร้อยก่อนและให้เป็นหน้าที่
สธ สธ
ของโจทก์ที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอออกโฉนดที่ดินแก่จ�ำเลยที่ 1 และโจทก์ได้มอบเงินค่าใช้จ่ายแก่

มส . มส
จ�ำเลยที่ 1 ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบเงินเพื่อให้จ�ำเลยที่ 1 น�ำไปให้เจ้าพนักงานเพื่อ
จูงใจให้กระท�ำการใดๆ ที่มิชอบด้วยหน้าที่ อันเป็นวิธีการที่ถือว่าโจทก์กับจ�ำเลยที่ 1 ให้สินบนแก่
เจ้าพนักงานทีด่ นิ แล้ว การกระท�ำดังกล่าวจึงหาได้มวี ตั ถุประสงค์ตอ้ งห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการ
ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ไม่ การ
ที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องขอให้จ�ำเลยที่ 1 คืนเงินแก่โจทก์ตามฟ้องเนื่องจากการผิดสัญญาของจ�ำเลยที่มิใช่

เป็นการฟ้องร้องโดยอาศัยมูลหนี้ลาภมิควรได้เพราะสัญญาหรือข้อตกลงเป็นโมฆะซึ่งมีก�ำหนดอายุความ
หนึ่งปีอันจะเป็นเหตุให้ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ
3) การโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเพื่อการช�ำระหนี้ เป็นการรับไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
มิใช่ลาภมิควรได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11344/2556 การที่ ว. น�ำฝากโอนเงินจ�ำนวน 1,175,750 บาท เข้าบัญชี
ธ.

เงินฝากของโจทก์เป็นการช�ำระหนี้ที่ ว. กู้ยืมเงินโจทก์ไป จึงถือได้ว่าโจทก์รับเงินจ�ำนวนดังกล่าวไว้ โดย


มีมลู อันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รบั ไว้ในฐานะลาภมิควรได้ ทัง้ ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ไม่ได้มสี ว่ นรูเ้ ห็น
และเกีย่ วข้องในการที่ ว. กระท�ำความผิด แสดงว่าโจทก์รบั โอนเงินดังกล่าวมาโดยสุจริต ซึง่ สิทธิของโจทก์
ผู้ได้เงินตรามาโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไปถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าเงินนั้นมิใช่ของบุคคลซึ่งได้โอน
ให้มาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1331 โจทก์จึงได้รับการคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการยกเว้น
.ม
หลักกฎหมายที่ว่า “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” และเมื่อ ว. โอนเงินจ�ำนวน 1,175,350 บาท เข้าบัญชี
เงินฝากของโจทก์ จึงเป็นการฝากเงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึง
ต้องส่งคืน เป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจ�ำนวน
4) ถูกผู้อื่นแอบอ้างและใช้เอกสารปลอมในการจดทะเบียนรับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยตน
ไม่มีส่วนรู้เห็น ไม่มีเจตนารับโอน และมิได้โต้แย้งสิทธิของเจ้าของ ไม่เป็นลาภมิควรได้
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2555 แม้คดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างในฟ้องว่าเป็นเรื่องลาภมิควรได้ใน
การเรียกให้จ�ำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่ออ่านฟ้องทั้งหมดแล้วจ�ำเลยถูกผู้อื่น
แอบอ้างและใช้เอกสารปลอมในการจดทะเบียนรับโอนทีด่ นิ พร้อมสิง่ ปลูกสร้างพิพาท โดยจ�ำเลยไม่มเี จตนา

44
เป็นเอกสารเสียภาษีบำ�รุงท้องที่ของราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกว่า “ภาษีดอกหญ้า” มิใช่เอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแต่
อย่างใด ปัจจุบันยกเลิกแล้ว - ผู้เขียน
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-41

รับโอนเป็นของตน จึงถือไม่ได้ว่าจ�ำเลยได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และ


เป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 506 โจทก์ฟ้องขอให้จ�ำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
พิพาทแก่โจทก์ได้ โดยใช้สิทธิติดตามเอาคืนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แต่ไม่
อาจเรียกให้จำ� เลยชดใช้หนีเ้ งินกูพ้ ร้อมดอกเบีย้ และเบีย้ ประกันภัยตามฟ้องได้ เพราะจ�ำเลยไม่มนี ติ สิ มั พันธ์
ตามสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์

.
สธ สธ
กิจกรรม 5.2.1

มส . มส
แดงเช่าซื้อรถยนต์คันหนึ่งจากบริษัทขาว แดงหลงผิดช�ำระค่างวดสุดท้ายซ�้ำไป เช่นนี้ให้ท่าน
วินิจฉัยว่า แดงจะเรียกค่างวดที่ช�ำระซ�้ำไปดังกล่าวคืนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

แนวตอบกิจกรรม 5.2.1
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่ง

กระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทาง
ให้บคุ คลอีกคนหนึง่ นัน้ เสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนัน้ จ�ำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึง่ การรับสภาพหนีส้ นิ
ว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ด้วย
ตามปัญหา แดงเช่าซื้อรถยนต์คันหนึ่งจากบริษัทขาว แดงหลงผิดช�ำระค่างวดสุดท้ายซ�้ำไป การ
ธ.

ที่บริษัทขาวได้มาซึ่งค่างวดเช่าซื้อรถยนต์งวดสุดท้ายซ�้ำจากการช�ำระหนี้ โดยปราศจากมูลอันจะอ้าง
กฎหมายได้ และเป็นเหตุให้แดงเสียเปรียบ เช่นนี้ บริษทั ขาวต้องคืนค่างวดทีช่ ำ� ระซ�ำ้ นัน้ ให้แก่แดงในฐานะ
ลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ มาตรา 406 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว
ฉะนั้น แดงจะเรียกค่างวดที่ช�ำระซ�้ำไปคืนได้ในฐานลาภมิควรได้
.ม
สธ ส
5-42 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เรื่องที่ 5.2.2


ข้อยกเว้นสิทธิเรียกคืนทรัพย์

. ในกรณีนี้เป็นเรื่องที่กฎหมายก�ำหนดว่าไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์คืน ถือว่าขาดองค์ประกอบ
ของลาภมิควรได้ในข้อที่ว่าจ�ำต้องคืนทรัพย์นั้น เมื่อกฎหมายก�ำหนดว่าไม่มีสิทธิจะเรียกคืนให้คืนทรัพย์
สธ สธ
จึงไม่เป็นลาภมิควรได้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

มส . มส
1. การช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจ
2. การช�ำระหนี้ก่อนถึงก�ำหนดช�ำระหรือช�ำระหนี้ที่ขาดอายุความและหนี้ตามศีลธรรม
3. การช�ำระหนี้โดยส�ำคัญผิดและท�ำให้เจ้าหนี้ท�ำลายพยานหลักฐานหรือสละหลักประกัน
4. การช�ำระหนี้โดยรู้ถึงความมิได้มีได้เป็นหรือโดยฝ่าฝืนความสุจริต
5. การช�ำระหนี้ที่ผู้ชำ� ระรู้อยู่ว่ามูลหนี้ผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรม

โดยจะขออธิบายตามล�ำดับไป ดังนี้

1. การช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจ
ในกรณีนี้ มาตรา 407 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลใดได้กระท�ำการอันใดตามอ�ำเภอใจเหมือนหนึ่งว่า
เพื่อช�ำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์
ธ.

นั้นไม่”
ลักษณะการกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระ ย่อมเห็นได้ว่า
เป็นการกระท�ำโดยสมัครใจทีจ่ ะช�ำระหนีน้ นั้ เอง จึงมีความมุง่ หมายอย่างเดียวกับการให้โดยเสน่หาโดยตรง
ซึ่งไม่มีมูลที่จะเรียกทรัพย์ที่ช�ำระไปแล้วโดยใจสมัครคืนได้ เพราะเท่ากับได้ให้เขาไปแล้ว
การช�ำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าไม่มีความผูกพันนั้น หนี้นั้นอาจจะไม่มีอยู่เลย หรือไม่เกิดขึ้น หรือมีหนี้
.ม
เหมือนกันแต่ระงับไปแล้วด้วยเหตุระงับหนีอ้ ย่างใดอย่างหนึง่ ก็ได้ การรูอ้ ยูว่ า่ ไม่มคี วามผูกพันนีต้ อ้ งถือตาม
ความเข้าใจของผูช้ ำ� ระหนีเ้ ป็นส�ำคัญว่าในขณะทีช่ ำ� ระหนีน้ นั้ รูว้ า่ ไม่มคี วามผูกพัน แต่หากผูก้ ระท�ำได้ชำ� ระ
หนี้ไปโดยส�ำคัญผิดว่ามีหนี้ แต่ความจริงไม่มี กรณีนี้ต้องถือว่าความเข้าใจของผู้ช�ำระหนี้นั้นเป็นใหญ่ว่ามี
หนี้อยู่ จะถือว่าเป็นการช�ำระหนี้โดยรู้ว่าไม่มีความผูกพันไม่ได้
ค�ำว่า “ได้กระท�ำการอันใดตามอ�ำเภอใจ” หมายความถึงว่า ได้กระท�ำการนั้นไปโดยความสมัคร
ใจเอง ด้วยความเต็มใจปราศจากการบังคับด้วยประการใดๆ ดังนัน้ หากปรากฏว่าเป็นการกระท�ำทีเ่ กิดขึน้
จากการส�ำคัญผิด หรือเกรงว่าหากไม่ช�ำระหนี้จะมีความผิดหรือเข้าใจผิดในข้อกฎหมายว่าตนเป็นหนี้หรือ
เกรงว่าจะถูกฟ้องและน�ำสืบการช�ำระหนี้ไม่ได้ อาจต้องเสียหายจึงท�ำให้ต้องช�ำระหนี้ซ�้ำอีก เช่นนี้ไม่ถือว่า
เป็นการกระท�ำตามอ�ำเภอใจ สามารถเรียกทรัพย์ที่ชำ� ระไปนั้นคืนได้ เช่น ผู้ค�้ำประกันได้ช�ำระหนี้แทนลูก
หนี้ไปตามสัญญาค�้ำประกัน แต่ความจริงได้ค�้ำประกันโดยไม่มีอำ� นาจย่อมไม่ใช่ชำ� ระหนี้โดยรู้ว่าไม่ผูกพัน
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-43

ย่อมเรียกเงินคืนได้45 หรือเรียกคืนเงินภาษีที่ชำ� ระไปโดยความจริงไม่ต้องเสียภาษีเพราะไม่ใช่ชำ� ระหนี้ไป


ตามอ�ำเภอใจ46 หรือธนาคารได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีการแก้ไขโดยไม่ประจักษ์เกินไปจากจ�ำนวนจริง
ไม่ถอื ว่าจ่ายให้ไปตามอ�ำเภอใจ ธนาคารเรียกคืนได้พร้อมด้วยดอกเบีย้ 47 เหล่านีถ้ อื ว่าเป็นการช�ำระหนีไ้ ป
โดยส�ำคัญผิดหรือเข้าใจผิด ไม่ใช่ตามอ�ำเภอใจจึงสามารถเรียกคืนได้ แต่หากจ่ายไปตามอ�ำเภอใจแล้ว จะ
เรียกคืนไม่ได้

. อุทาหรณ์
(1) การที่ช�ำระดอกเบี้ยเงินกู้ไปร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินก�ำหนดในกฎหมายโดยสมัครใจ โดยรู้อยู่
สธ สธ
แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระ จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้48

มส . มส
(2) การที่นายจ้างรู้อยู่แล้วว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพียงวันที่ 21 มกราคม แต่ได้จ่ายค่าจ้าง
ไปถึงวันที่ 31 เดือนเดียวกัน เป็นการช�ำระหนี้ไปตามอ�ำเภอใจ โดยไม่ปรากฏว่าส�ำคัญผิดประการใด จึง
ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน49
ตามถ้อยค�ำในกฎหมายนอกจากเป็นการกระท�ำตามอ�ำเภอใจแล้ว ยังต้องประกอบด้วยโดยรูว้ า่ ตน
ไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระด้วย จึงจะไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์คืน การรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันย่อมอยู่ที่

ข้อเท็จจริงและใจของผู้ช�ำระเป็นส�ำคัญ เช่น ผู้ซื้อรู้อยู่ดีแล้วในขณะท�ำสัญญาซื้อขายที่พิพาทว่าไม่ใช่ของ
ผู้ขายแต่เป็นป่าสงวนแห่งชาติซึ่งไม่อาจโอนให้แก่กันได้ แต่ก็ยังซื้อและช�ำระเงินให้ไป ผู้ซื้อย่อมไม่มีสิทธิ
เรียกเงินคืน50
ในสภาพเช่นนี้จะเห็นได้ว่า หากได้ช�ำระหนี้ไปโดยรู้อยู่ว่ามีความผูกพันจะต้องช�ำระโดยอาจจะ
เป็นการช�ำระหนี้ที่อาศัยมูลหนี้อื่นที่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่ถือว่าเป็นการช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจ เช่น มี
ธ.

สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบัญชีเดินสะพัดกัน การที่จ่ายเงินเกินบัญชีไปจึงมิใช่เป็นการจ่ายเงินตาม
อ�ำเภอใจตามมาตรา 407 แต่เป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงย่อมเรียกคืนได้51
ในกรณีท่ีลูกหนี้ได้ช�ำระหนี้ไปโดยไม่รู้ถึงระเบียบของเจ้าหนี้ในการค�ำนวณดอกเบี้ย ถือว่าลูกหนี้
ได้ช�ำระหนี้โดยไม่รู้ว่ามีความผูกพันต้องช�ำระ ดังนี้ การไม่รู้ว่าได้ช�ำระหนี้โดยรู้ว่ามีความผูกพันต้องช�ำระ
จึงสามารถพิจารณาได้จากสภาพและพฤติการณ์ว่าลูกหนี้ได้รู้หรือไม่ เพราะไม่อาจจะพิจารณาจากจิตใจ
ของลูกหนี้โดยตรงได้
.ม
อุทาหรณ์
(1) เมื่อตามสภาพและตามส�ำนวนไม่ปรากฏเหตุผลที่แสดงว่าจ�ำเลย (ลูกหนี้) จะทราบถึง
หลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารเจ้าหนี้แต่ประการใด ดังนั้น
ล�ำพังแต่การที่ลูกหนี้นำ� เงินมาช�ำระแก่เจ้าหนี้เพราะตนเป็นหนี้แล้ว เจ้าหนี้นำ� ไปจัดการหักช�ำระหนี้ต่างๆ

45
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่
255/2522
46
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่2350/2520
47
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่1845/2524
48
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่487/2506, 199/2515, 1747/2522, 2654/2546, 8183/2554 และ ฎ. 1073/2554
49
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่2519/2532
50
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่2786/2515
51
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2184/2542
สธ ส
5-44 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ตามจ�ำนวนหนีท้ เี่ จ้าหนีค้ ดิ ค�ำนวณขึน้ มาเอง ประกอบกับเจ้าหนีเ้ ป็นธนาคารอันเป็นสถาบันการเงินซึง่ เป็น


ทีเ่ ชือ่ ถือของประชาชนย่อมมีเหตุทำ� ให้ลกู หนีเ้ ข้าใจและเชือ่ ว่าเจ้าหนีค้ ดิ ดอกเบีย้ ถูกต้องแล้ว จึงถือไม่ได้วา่
ลูกหนี้ช�ำระหนี้คิดค�ำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นโดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน หรือเป็นการกระท�ำอันใดตามอ�ำเภอใจเสมือนว่าเพือ่ ช�ำระหนีโ้ ดยรูอ้ ยูว่ า่ ตนไม่มคี วามผูกพันต้อง
ช�ำระ อันเป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิรับทรัพย์คืนตามมาตรา 407 แห่ง ป.พ.พ.

. ฉะนัน้ เมือ่ ข้อสัญญาเกีย่ วกับการคิดดอกเบีย้ ของโจทก์ (เจ้าหนี)้ ตกเป็นโมฆะแล้ว ก็เท่ากับสัญญา


กูย้ มื เงินมิได้มกี ารตกลงเรือ่ งดอกเบีย้ กันไว้ อันเป็นเหตุให้เจ้าหนีไ้ ม่มสี ทิ ธิได้ดอกเบีย้ ก่อนผิดนัดไม่อาจน�ำ
สธ สธ
เงินทีล่ กู หนีช้ ำ� ระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบีย้ ทีเ่ จ้าหนีไ้ ม่มสี ทิ ธิคดิ ได้ จึงต้องน�ำเงินทีล่ กู หนีช้ ำ� ระ

มส . มส
หนี้ไปช�ำระเงินต้นทั้งหมด52
(2) เมื่อจ�ำเลยเป็นเพียงลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ และจ�ำเลยผ่อนช�ำระหนี้ให้แก่ธนาคารตาม
ข้อตกลงในสัญญากู้เงิน ธนาคารน�ำเงินไปจัดการหักช�ำระหนี้ต่างๆ ตามจ�ำนวนนั้นธนาคารคิดค�ำนวณขึ้น
มาเองนั้น ไม่อาจถือว่าจ�ำเลยช�ำระดอกเบี้ยอันตกเป็นโมฆะตามอ�ำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าช�ำระหนี้โดยรู้อยู่
ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระตามมาตรา 407 ที่ศาลชั้นต้นน�ำเงินที่จ�ำเลยช�ำระดอกเบี้ยซึ่งตกเป็น

โมฆะไปหักช�ำระหนี้ต้นเงิน จึงชอบแล้ว53
(3) การคิดดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่ธนาคารได้กระท�ำไปฝ่ายเดียว จ�ำเลยมีหน้าที่เพียงแต่ช�ำระเงิน
เท่านัน้ การทีธ่ นาคารคิดดอกเบีย้ แก่จำ� เลยโดยไม่มสี ทิ ธิ ถือไม่ได้วา่ เป็นกรณีทจี่ ำ� เลยกระท�ำการอันใดตาม
อ�ำเภอใจเสมือนหนึง่ ว่าเพือ่ ช�ำระหนีโ้ ดยรูอ้ ยูว่ า่ ตนไม่มคี วามผูกพันทีจ่ ะต้องช�ำระ หรือเป็นการช�ำระหนีโ้ ดย
ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย เมื่อธนาคารไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เนื่องจาก
ธ.

ข้อตกลงเรือ่ งดอกเบีย้ เป็นโมฆะจึงต้องน�ำเงินทีจ่ ำ� เลยช�ำระให้แก่ธนาคารไปแล้วทัง้ หมดหักออกจากต้นเงิน


ซึ่งเป็นหนี้ค้างช�ำระ54 หรือจ�ำต้องน�ำเงินดอกเบี้ยที่ได้ชำ� ระไปแล้วทั้งหมดไปหักช�ำระออกจากต้นเงินที่ยัง
คงค้างช�ำระตามสัญญากู้เงินทั้งสองฉบับ55
(4) ทีด่ นิ มีขอ้ ก�ำหนดห้ามโอน 10 ปี แต่กซ็ อื้ ขายกันโดยท�ำเป็นสัญญาจะซือ้ จะขาย และจดทะเบียน
การเช่าให้แก่ผจู้ ะซือ้ เป็นการอ�ำพราง ทัง้ ยังท�ำพินยั กรรมอีกว่า หากผูจ้ ะขายถึงแก่กรรมให้ทดี่ นิ ตกเป็นของ
ผู้จะซื้อ ซึ่งนิติกรรมต่างๆ เป็นโมฆะทั้งสิ้นมิใช่โมฆียะ ดังนั้น เงินค่าที่ดินบางส่วนที่ช�ำระไปถือว่าเป็นการ
.ม
ช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันจะต้องช�ำระ จึงไม่มีสิทธิจะรับเงินคืน56
อุทาหรณ์ ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่า เป็นการกระท�ำตามอ�ำเภอใจเพื่อช�ำระหนี้ โดยรู้อยู่
ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
(1) ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6518/2562 ผู้ประกันน�ำเงินมาช�ำระค่าปรับตามสัญญาประกันต่อศาล
ชั้นต้นโดยรู้ว่าศาลชั้นต้นสิ้นสิทธิบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 (เดิม)
และตนไม่มคี วามผูกพันทีจ่ ะต้องช�ำระ ผูป้ ระกันตนย่อมไม่มสี ทิ ธิรบั เงินดังกล่าวคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
52
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2550
53
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8168/2551
54
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151/2552
55
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8000/2553
56
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2554
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-45

(2) ช�ำระดอกเบี้ยเงินกู้อัตราร้อยละ 36 ต่อปี เกินกว่าอัตราที่กฎหมายก�ำหนด เป็นการช�ำระหนี้


ตามอ�ำเภอใจ ตามมาตรา 40757
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7207/2555 บิดาโจทก์และโจทก์คิดคอกเบี้ยอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน หรือ
ร้อยละ 36 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 และ พ.ร.บ. ห้าม
เรียกดอกเบีย้ เกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ดอกเบีย้ ตกเป็นโมฆะ ต้นเงินตามสัญญากูเ้ งินทีไ่ ด้มาจากดอกเบีย้

.
ทีไ่ ม่ชอบทัง้ หมดย่อมตกเป็นโมฆะด้วย แม้สญ ั ญากูย้ มื เงินมีสว่ นของต้นเงินทีม่ าจากดอกเบีย้ ทีไ่ ม่ชอบรวม
อยู่ด้วยก็ไม่ท�ำให้ส่วนของต้นเงินที่ชอบจ�ำนวน 208,115.06 บาท เสียไปด้วยเพราะพึงสันนิษฐานโดย
สธ สธ
พฤติการณ์แห่งกรณีได้วา่ โจทก์และจ�ำเลยทัง้ สองเจตนาให้สว่ นทีไ่ ม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนทีเ่ ป็นโมฆะ

มส . มส
ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 โจทก์จึงคงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ในส่วนต้นเงินจ�ำนวน 208,115.06
บาท การที่จ�ำเลยทั้งสองช�ำระหนี้ให้แก่โจทก์จ�ำนวน 550,000 บาท ที่ได้น�ำไปคิดค�ำนวณหักกับดอกเบี้ย
และทีจ่ ำ� เลยทัง้ สองช�ำระหนีใ้ ห้แก่โจทก์อกี ครัง้ จ�ำนวน 30,000 บาท เป็นกรณีทจี่ ำ� เลยทัง้ สองช�ำระดอกเบีย้
ทีไ่ ม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการช�ำระหนีต้ ามอ�ำเภอใจทัง้ ทีร่ อู้ ยูว่ า่ ตนไม่มคี วามผูกพันทีจ่ ะต้องช�ำระ จ�ำเลย
ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกร้องคืนหรือให้น�ำมาหักหนี้ที่จ�ำเลยทั้งสองค้างช�ำระอยู่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407

(3) ซื้อที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิเรียกเงินที่ช�ำระ
ไปคืนได้ เป็นการช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจ ตามมาตรา 407
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7464/2555 ทีด่ นิ พิพาทเป็นทีส่ าธารณประโยชน์จงึ เป็นสาธารณสมบัตขิ อง
แผ่นดิน ซึง่ ป.พ.พ. มาตรา 1305 บัญญัตวิ า่ “ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่
กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอ�ำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา” การที่โจทก์จ�ำเลยท�ำสัญญา
ธ.

ซื้อขายที่ดินพิพาทแก่กัน จึงเป็นการท�ำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จ�ำเลยย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และมีผลเป็นการเสียเปล่า
เท่ากับโจทก์ จ�ำเลยมิได้ท�ำสัญญาซื้อขายกันและต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมแก่กัน โดยให้น�ำ
บทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 แต่การที่โจทก์ช�ำระราคาที่ดินพิพาท
แก่จำ� เลยตามสัญญาโดยรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าทีด่ นิ พิพาทเป็นทีส่ าธารณประโยชน์ ถือว่าเป็นการกระท�ำตามอ�ำเภอใจ
.ม
เหมือนหนึ่งว่าเพื่อช�ำระหนี้ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระ ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตาม
กฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 411 โจทก์จงึ ไม่มสี ทิ ธิจะได้รบั คืนราคาทีด่ นิ ทีช่ ำ� ระแก่จำ� เลย
ดังกล่าว
(4) ซื้อที่ดินที่มีข้อก�ำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี โดยเลี่ยงเป็นท�ำสัญญาจะซื้อจะขายและ
จดทะเบียนการเช่าเป็นการอ�ำพราง รวมทั้งท�ำพินัยกรรมยกให้ผู้ซื้อ นิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ เงินค่า
ที่ดินที่ช�ำระไปเป็นการช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจ ตามมาตรา 407
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2554 โจทก์และจ�ำเลยทราบดีว่าที่ดินมีข้อก�ำหนดห้ามโอนภายใน
10 ปี ตามมาตรา 31 แห่ง ป. ที่ดิน แต่ก็ซื้อขายกันโดยหลีกเลี่ยงข้อก�ำหนดดังกล่าว โดยวิธีท�ำเป็นสัญญา
จะซือ้ จะขาย อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ทัง้ ยังจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำ� เลยซึง่ เป็นผูจ้ ะซือ้

57
ดูคำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2552, 7666/2552, 10573/2554 ประกอบ
สธ ส
5-46 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เป็นการอ�ำพราง และท�ำพินัยกรรมไว้ว่าเมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายให้ที่ดินของโจทก์ตกเป็นของจ�ำเลย ซึ่ง


นิติกรรมดังกล่าวล้วนเป็นโมฆะมาแต่ต้น มิใช่กรณีที่เป็นโมฆียะแล้วมาถูกบอกล้างในภายหลัง อันที่จะ
ท�ำให้คกู่ รณีตอ้ งกลับคืนสูฐ่ านะดังทีเ่ ป็นอยูเ่ ดิม เงินค่าทีด่ นิ บางส่วนทีจ่ ำ� เลยช�ำระไป จึงเป็นการกระท�ำการ
ตามอ�ำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อช�ำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระจึงไม่มีสิทธิจะได้
รับเงินดังกล่าวคืนจากโจทก์

407

. อุทาหรณ์ ค�ำพิพากษาศาลฎีกาวินจิ ฉัยว่า ไม่เป็นการช�ำระหนีต้ ามอ�ำเภอใจ ตาม ป.พ.พ. มาตรา


สธ สธ
(1) ช�ำระหนี้ดอกเบี้ยซึ่งเป็นโมฆะตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้ ไม่เป็นการช�ำระ

มส . มส
หนี้ตามอ�ำเภอใจ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4067/2561 จ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 ช�ำระหนี้ดอกเบี้ยซึ่งเป็นโมฆะตามสัญญา
เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินไม่ใช่เป็นการช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจโดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้อง
ช�ำระ ธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธินำ� เงินที่จ�ำเลยที่ 1 และที่ 2 ช�ำระไปหักจากดอกเบี้ยที่ธนาคารไม่มีสิทธิเรียก
เก็บได้และต้องน�ำเงินที่ได้รับช�ำระทั้งหมดไปช�ำระต้นเงิน

(2) หนังสือสัญญาเงินกู้ระบุว่าคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี แต่ข้อเท็จจริงคิดดอกเบี้ยร้อยละ 60
ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายก�ำหนด ตกเป็นโมฆะ แต่ลูกหนี้อ้างว่าช�ำระต้นเงินกู้เท่ากับปฏิเสธว่าไม่
ได้ชำ� ระดอกเบี้ย จึงไม่เป็นการช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2560 แม้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตรา
ธ.

ร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่ข้อเท็จจริงตามค�ำฟ้องและทางน�ำสืบของ น. โจทก์เรียก


ค่าตอบแทนหรือดอกเบีย้ สัญญากูย้ มื เงินกันในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน หรืออัตราร้อยละ 60 ต่อปี เป็นการ
ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตหิ า้ มเรียกดอกเบีย้ เกินอัตรา พ.ศ. 2475 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 655 ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบและตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น โจทก์ได้
รับช�ำระหนี้เงินกู้ยืมเป็นรายเดือนจาก ส. จ�ำเลยที่ 1 โดยจ�ำเลยที่ 1 อ้างว่าช�ำระต้นเงินกู้ เท่ากับปฏิเสธว่า
เป็นการช�ำระดอกเบี้ยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายก�ำหนดอันจะถือว่าเป็นการช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจของ
.ม
จ�ำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 เมื่อน�ำเงินที่จ�ำเลยที่ 1 ช�ำระมาหักช�ำระหนี้ตามสัญญากู้ จึงไม่มีเงิน
ต้นที่จำ� เลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อีก ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์
(3) ไม่มนี ติ สิ มั พันธ์ทจี่ ะปฏิบตั ติ ามสัญญาเช่า แต่ชำ� ระค่าเช่าไปโดยหลงผิด มิใช่เป็นการช�ำระหนี้
ตามอ�ำเภอใจ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2560 โจทก์และจ�ำเลยไม่ได้ท�ำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทย่อมไม่มี
นิติสัมพันธ์ที่ปฏิบัติตามสัญญาเช่า โดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องช�ำระค่าเช่าให้แก่จำ� เลย และจ�ำเลยก็ไม่มีสิทธิ
รับเงินค่าเช่า การที่จำ� เลยรับเงินค่าเช่าจากโจทก์ จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเป็นลาภมิควรได้ จ�ำเลยต้องคืนเงินค่าเช่าให้โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา
406 วรรคแรก ทั้งการที่โจทก์ช�ำระค่าเช่าให้แก่จ�ำเลยโดยผิดหลง มิใช่เป็นการช�ำระหนี้โดยอ�ำเภอใจที่จะ
เรียกคืนไม่ได้ตามมาตรา 407 จ�ำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์เต็มจ�ำนวนตามฟ้อง
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-47

(4) การจ่ายดอกเบี้ยเกินอัตราตามที่ธนาคารคิดค�ำนวณ มิใช่เป็นการช�ำระหนี้ตามอ�ำเภอใจ ตาม


มาตรา 40758
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8000/2553 การที่ธนาคาร ร. เป็นเจ้าหนี้สถาบันการเงินย่อมต้องทราบ
รายละเอียดหลักเกณฑ์ รวมถึงอัตราในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนลูกหนี้นั้นโดยสภาพและ
ข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏว่าจะทราบถึงหลักเกณฑ์ดังกล่าวแต่อย่างใด การด�ำเนินการของสถาบันการเงินซึ่ง

.
ประกอบกิจการอันเป็นที่เชื่อถือของประชาชน ย่อมมีเหตุให้ลูกหนี้เข้าใจและเชื่อโดยสุจริตว่ามีการคิด
ดอกเบีย้ โดยถูกต้องแล้ว จึงถือไม่ได้วา่ การช�ำระดอกเบีย้ เป็นการช�ำระหนีต้ ามอ�ำเภอใจโดยรูอ้ ยูว่ า่ ไม่มคี วาม
สธ สธ
ผูกพันที่จะต้องช�ำระ และเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 และมาตรา 511

มส . มส
กรณีจงึ ต้องน�ำเงินดอกเบีย้ ทีไ่ ด้ชำ� ระไปแล้วทัง้ หมดไปหักช�ำระออกจากต้นเงินทีย่ งั คงค้างช�ำระตามสัญญา
กู้เงินทั้งสองฉบับ

2. การช�ำระหนี้ก่อนถึงก�ำหนดช�ำระหรือช�ำระหนี้ที่ขาดอายุความและหนี้ตามศีลธรรม
ในข้อนีต้ ามมาตรา 408 ได้บญ ั ญัตวิ า่ “บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ ไม่มีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ คือ

(1) บุคคลผู้ช�ำระหนี้อันมีเงื่อนเวลาบังคับเมื่อก่อนถึงก�ำหนดเวลานั้น
(2) บุคคลผู้ช�ำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้ว
(3) บุคคลผู้ช�ำระหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม หรือตามควรแก่อัธยาศัยในสมาคม”
ตามบทบัญญัตินี้จะเห็นได้ว่า ไม่เป็นลาภมิควรได้ที่จะเรียกคืนทรัพย์ได้ซึ่งได้แก่ บุคคลในสาม
ธ.

ประการนี้ คือ
2.1 บุคคลผู้ช�ำระหนี้ซึ่งมีเงื่อนเวลาบังคับเมื่อก่อนถึงก�ำหนดเวลานั้น กรณีตามมาตรา 408 (1)
นี้ เป็นเรื่องต่างจากมาตรา 407 กล่าวคือ มาตรา 407 เป็นเรื่องที่คู่กรณีไม่มีมูลหนี้ใดต่อกัน แต่มาตรา
408 (1) เป็นเรือ่ งทีม่ มี ลู หนีผ้ กู พันกันอยูแ่ ล้ว เพียงแต่ลกู หนีย้ งั ไม่ได้ชำ� ระหนี้ เพราะมีเงือ่ นเวลาในการช�ำระ
หนีอ้ ยู่ ซึง่ เจ้าหนีจ้ ะทวงถามให้ชำ� ระหนีก้ อ่ นก�ำหนดไม่ได้ เพราะเงือ่ นเวลาก�ำหนดไว้เพือ่ ประโยชน์แก่ฝา่ ย
ลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 เมื่อลูกหนี้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่มีอยู่เสียแล้ว มาตรา 408 (1)
.ม
จึงไม่อนุญาตให้เรียกคืนได้
ตัวอย่าง ก. ซื้อนาฬิกาเรือนหนึ่งจาก ข. โดยก�ำหนดช�ำระเงินในวันสิ้นปี แต่ ก. ถูกลอตเตอรี่จึง
ช�ำระเงินให้แก่ ข. ก่อนถึงก�ำหนดเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อช�ำระเงินไปแล้ว ก. จะขอกลับคืนมาโดยรอถึง
ก�ำหนดวันสิ้นปีจึงจะช�ำระไม่ได้
มีปัญหาว่า หากลูกหนี้ช�ำระก่อนถึงก�ำหนดเวลานั้น โดยหลงผิดไม่ว่าเหตุใดก็ตาม จะขอเรียกคืน
ก่อนได้หรือไม่ กรณีนี้เห็นว่าไม่มีสิทธิเรียกคืนเช่นเดียวกัน เพราะมาตรา 408 (1) มิได้บัญญัติว่าต้องรู้ว่า
เป็นการช�ำระหนีก้ อ่ นเวลาด้วย ดังเช่นทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในมาตรา 407 ทีต่ อ้ งรูว้ า่ ตนไม่มคี วามผูกผันต้องช�ำระ59
ฉะนัน้ แม้จะช�ำระหนีก้ อ่ นถึงก�ำหนดเวลาโดยส�ำคัญผิดก็มผี ลเช่นเดียวกัน ไม่มบี ทบัญญัตใิ ดให้เรียกคืนได้
58
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2550, 8168/2551, 1151/2552 ประกอบ
59
ไพจิตร ปุญญพันธ์ุ. (2525). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะลาภมิควรได้. กรุงเทพฯ: แสงทอง
การพิมพ์. หน้า 39.
สธ ส
5-48 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

2.2 บุคคลผู้ช�ำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้ว หนี้ที่ขาดอายุความ กฎหมายเพียงแต่ห้ามฟ้องร้อง


กันซึ่งไม่ใช่ทำ� ให้หนี้นั้นระงับไป และเมื่อฟ้องแล้วลูกหนี้อาจจะไม่ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ก็ได้ ศาลจะ
ยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ ก็แสดงว่าหนี้ที่ขาดอายุความนั้น ยังถือว่ามีหนี้กันอยู่โดยอาจจะมีการรับสภาพ
ความผิด ท�ำให้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
นอกจากนีใ้ นมาตรา 193/28 ก็ได้บญ ั ญัตริ บั รองเรือ่ งนีไ้ ว้อกี ว่า “การช�ำระหนีต้ ามสิทธิเรียกร้องซึง่

.
ขาดอายุความแล้วนั้นไม่ว่ามากน้อยเพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ช�ำระหนี้นั้นจะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้อง
ขาดอายุความแล้วก็ตาม
สธ สธ
บทบัญญัตใิ นวรรคหนึง่ ให้ใช้บงั คับแก่การทีล่ กู หนีร้ บั สภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ

มส . มส
หรือโดยการให้ประกันด้วยแต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้คำ�้ ประกันเดิมไม่ได้”
จากบทบัญญัติในมาตรา 193/28 นี้เอง ย่อมเห็นได้ว่า แม้หนี้นั้นขาดอายุความแล้วต่อมาลูกหนี้
ได้ทำ� หนังสือรับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน อันจะท�ำให้หนี้นั้นสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ก็ตาม
การทีล่ กู หนีไ้ ด้ชำ� ระหนีไ้ ปก่อนการขาดอายุความนัน้ ก็ไม่สามารถเรียกคืนได้ และแม้ลกู หนีจ้ ะไม่รวู้ า่ หนีน้ นั้
ขาดอายุความแล้ว ก็ไม่อาจจะเรียกคืนได้เช่นกัน

2.3 บุคคลช�ำระหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม หรือตามอัธยาศัยในสมาคม ในเรื่องนี้ต้องเข้าใจให้ดีว่า
ต้องมีหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม หรือตามอัธยาศัยในสมาคมเกิดขึ้นก่อน แล้วลูกหนี้ได้ชำ� ระหนี้นั้นไป เช่นนี้
จะเรียกคืนไม่ได้ คงไม่ใช่เป็นเรื่องการให้โดยเสน่หาซึ่งเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาอันไม่อาจจะถอน
คืนการให้ได้อยู่แล้ว ย่อมจะไม่ใช่เรื่องลาภมิควรได้ ดังนั้น ค�ำว่าหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรมหรือตามอัธยาศัย
ในสมาคมนีท้ บี่ ญ ั ญัตไิ ว้ในลาภมิควรได้คงเป็นกรณีทอี่ ยูน่ อกเหนือบทบัญญัตทิ รี่ ะบุไว้โดยเฉพาะในเรือ่ งอืน่ ๆ
ธ.

แล้ว เช่น การให้โดยเสน่หาดังกล่าวข้างต้น และต้องมีหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม หรืออัธยาศัยในสมาคมเกิด


ขึ้นแล้ว ลูกหนี้จึงได้ชำ� ระหนี้นั้นไป ผลก็ย่อมเรียกคืนไม่ได้
ส่วนกรณีใดจะเป็นหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม หรือตามอัธยาศัยในสมาคมย่อมจะต้องพิจารณาเป็น
เรือ่ งๆ ไป โดยพิจารณาจากสภาพจิตใจของวิญญูชนว่า กรณีใดเป็นหนีต้ ามหน้าทีศ่ ลี ธรรมหรือตามอัธยาศัย
ในสมาคม โดยอาศัยประเพณีและความประพฤติปฏิบัติของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น การยอมใช้ค่า
.ม
เสียหายและค่าล้างอายในกรณีทฉี่ ดุ คร่าหญิงไปเป็นภริยา ซึง่ เป็นประเพณีทปี่ ฏิบตั กิ นั มาอันเป็นเรือ่ งหน้าที่
โดยศีลธรรม เมื่อได้ช�ำระหนี้กันตามที่ตกลงกันแล้วนั้น ก็ไม่มีสิทธิเรียกคืน (ฎ. 1566/2499)
อุทาหรณ์
(1) บุตรช�ำระหนี้แทนมารดา เป็นการช�ำระหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม ไม่มีสิทธิที่ได้รับคืนทรัพย์ตาม
มาตรา 408 (3)
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14860/2558 การที่ผู้คัดค้านเป็นบุตรซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับจ�ำเลยกล่าว
อ้างว่า ก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทได้น�ำเงินมาช�ำระหนี้เจ้าหนี้อ่ืนแทนจ�ำเลยมารดาของตนเพื่อ
ปลดภาระจ�ำนอง แสดงว่าผู้คัดค้านย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าจ�ำเลยไม่สามารถช�ำระหนี้เจ้าหนี้ได้และจ�ำเลย
เป็นผูม้ หี นีส้ นิ ล้นพ้นตัว การทีบ่ ตุ รช�ำระหนีแ้ ทนมารดาเป็นหน้าทีท่ างศีลธรรมประการหนึง่ ไม่มสี ทิ ธิได้รบั
คืนทรัพย์แต่ประการใด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 408 (3)
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-49

(2) มารดายกทีด่ นิ และห้องทัง้ หมดให้บตุ ร และสัง่ ให้แบ่งทีด่ นิ และห้องบางส่วนให้หลาน การแบ่ง


ให้หลานนั้นถือเป็นการช�ำระหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม ไม่มีสิทธิจะได้คืนทรัพย์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2502 มารดายกที่ดินและห้องทั้งหมดให้โจทก์ผู้เป็นบุตร และสั่งให้
แบ่งทีด่ นิ และห้องบางส่วนให้จำ� เลยซึง่ เป็นหลานด้วย โจทก์กแ็ บ่งให้ตามทีม่ ารดาสัง่ ดังนีถ้ อื เป็นการยกให้
โดยหน้าที่ธรรมจรรยา โจทก์จะถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณไม่ได้

.
3. การช�ำระหนี้โดยส�ำคัญผิดและท�ำให้เจ้าหนี้ท�ำลายพยานหลักฐานหรือสละหลักประกัน
สธ สธ
ในข้อนี้ตามมาตรา 409 ได้บัญญัติว่า “เมื่อบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ได้ช�ำระไปโดย

มส . มส
ส�ำคัญผิด เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ท�ำการโดยสุจริตได้ท�ำลาย หรือลบล้างเสียซึ่งเอกสารอันเป็นพยานหลักฐาน
แห่งหนี้ก็ดี ยกเลิกหลักประกันเสียก็ดี สิ้นสิทธิไปเพราะขาดอายุความก็ดี ท่านว่าเจ้าหนี้ไม่จ�ำต้องคืน
ทรัพย์
บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ไม่ขัดขวางต่อการที่บุคคลผู้ได้ช�ำระหนี้น้ันจะใช้สิทธิไล่เบี้ย
เอาแก่ลูกหนี้และผู้ค�้ำประกันถ้าจะพึงมี”

กรณีนี้ตามปกติถือว่า บุคคลภายนอกที่มิได้เป็นลูกหนี้ย่อมจะเข้ามาช�ำระหนี้แทนลูกหนี้ได้ และ
ท�ำให้หนี้นั้นระงับไป แต่หากบุคคลภายนอกได้กระท�ำการช�ำระหนี้ไปโดยส�ำคัญผิดในตัวเจ้าหนี้ ตามปกติ
แล้วถือว่าเจ้าหนี้นั้นได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ต้องคืนทรัพย์นั้นไป กรณีนี้หาก
เจ้าหนีไ้ ด้รบั ช�ำระหนีไ้ ว้โดยสุจริต คือไม่รวู้ า่ บุคคลภายนอกได้ชำ� ระหนีโ้ ดยส�ำคัญผิด และต้องประกอบด้วย
ธ.

เงือ่ นไขว่าเจ้าหนีไ้ ด้ทำ� ลายหรือลบล้างเอกสารอันเป็นพยานหลักฐานแห่งหนี้ หรือยกเลิกหลักประกัน หรือ


ต้องสิ้นสิทธิไปเพราะขาดอายุความ อย่างใดอย่างหนึ่ง ท�ำให้เจ้าหนี้ไม่อาจจะเรียกร้องให้ลูกหนี้นั้นช�ำระ
หนีไ้ ด้ ก็ตอ้ งถือว่าเจ้าหนีไ้ ด้รบั ช�ำระหนีโ้ ดยชอบแล้ว การทีก่ ฎหมายบัญญัตใิ ห้เจ้าหนีไ้ ม่ตอ้ งคืนทรัพย์ทจี่ ะ
ช�ำระนีไ้ ว้นนั้ ย่อมเป็นธรรมแก่ลกู หนีแ้ ล้วเพราะเป็นความเลินเล่อของบุคคลภายนอกทีม่ าช�ำระหนีเ้ องก็ตอ้ ง
ยอมรับผลพิบัตินั้น
อย่างไรก็ดี แม้บุคคลภายนอกที่ช�ำระหนี้ไปจะไม่อาจเรียกคืนจากเจ้าหนี้ได้ เพราะไม่เป็นลาภมิ
.ม
ควรได้แล้ว กฎหมายก็ยงั ให้สทิ ธิแก่บคุ คลภายนอกทีช่ ำ� ระหนีแ้ ทนลูกหนีไ้ ปนัน้ ใช้สทิ ธิไล่เบีย้ เอาจากลูกหนี้
และผูค้ ำ�้ ประกันหนีน้ นั้ ได้เพือ่ ความเป็นธรรมในการทีจ่ ะได้คนื ทรัพย์ สิทธิไล่เบีย้ ถือว่าเป็นหนีท้ เี่ กิดขึน้ โดย
กฎหมายอันเป็นลาภมิควรได้อย่างหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้หากลูกหนี้มีข้อต่อสู้อย่างไรอยู่กับเจ้าหนี้แล้ว ก็ย่อมจะ
ยกข้อต่อสู้นั้นแก่ผู้ใช้สิทธิไล่เบี้ยได้อันจะต้องว่ากันอีกขั้นตอนหนึ่ง
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2522 ผู้ค�้ำประกันคนหนึ่งของลูกหนี้ได้ใช้หนี้ที่ค�้ำประกันนั้นให้แก่
เจ้าหนี้ไปโดยส�ำคัญผิดว่าผูกพัน แต่ความจริงเป็นการค�้ำประกันโดยไม่มีอ�ำนาจ เช่นนี้ ผู้ค�้ำประกันเรียก
เงินคืนจากลูกหนี้ได้ ไม่ใช่ช�ำระหนี้โดยรู้ว่าไม่ผูกพัน ถือว่าเป็นการเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ตามมาตรา
409 วรรคสองนั่นเอง
สธ ส
5-50 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

4. การช�ำระหนี้โดยรู้ถึงความมิได้มีได้เป็นหรือโดยฝ่าฝืนความสุจริต


ในข้อนี้มาตรา 410 บัญญัติว่า “บุคคลผู้ใดได้ท�ำการช�ำระหนี้โดยมุ่งต่อผลอย่างหนึ่ง แต่มิได้เกิด
ผลขึ้นเช่นนั้น ถ้าและบุคคลนั้นได้รู้มาแต่แรกว่าการที่จะเกิดผลนั้นเป็นพ้นวิสัยก็ดี หรือได้เข้าป้องปัด
ขัดขวางเสียมิให้เกิดผลเช่นนั้นโดยอาการอันฝ่าฝืนความสุจริตก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นไม่มีสิทธิจะได้
รับคืนทรัพย์”

. ความในมาตรานี้เป็นการบัญญัติมุ่งหมายเชื่อมโยงกับมาตรา 406 วรรคสอง คือ การได้ทรัพย์มา


สธ สธ
เพราะเหตุที่มิได้มีได้เป็นขึ้นอันจะต้องคืนทรัพย์ให้แก่กันในฐานลาภมิควรได้
หากแต่ในการช�ำระหนี้เพราะเหตุที่มิได้มีได้เป็นขึ้นนั้น ถ้าผู้ช�ำระหนี้รู้มาแต่แรกว่า การที่จะเกิด

มส . มส
ผลนั้นเป็นการพ้นวิสัย อย่างนี้ผู้ที่ชำ� ระหนี้ไปนั้นจะเรียกคืนทรัพย์ไม่ได้ เพราะเท่ากับเป็นการช�ำระหนี้ไป
โดยสมัครใจในสถานการณ์เช่นนัน้ เช่น ให้เงินแก่เจ้าของบ้านทีอ่ นุญาตให้ใช้หน้าต่างส�ำหรับดูกระบวนแห่
เลียบเมือง บังเอิญงดกระบวนแห่ เช่นนี้ ย่อมเรียกเงินคืนได้เพราะเหตุได้ทรัพย์มามิได้มีได้เป็นขึ้น แต่ถ้า
หากผูใ้ ห้เงินรูอ้ ยูแ่ ล้วในขณะเมือ่ ช�ำระเงินนัน้ ว่าจะไม่มกี ระบวนแห่ในวันนี้ ย่อมไม่มสี ทิ ธิเรียกเงินคืนเพราะ
รู้อยู่แล้วว่าจะเกิดผลนั้นเป็นพ้นวิสัย

ส�ำหรับในเรื่องการกระท�ำที่ไม่สุจริตได้เข้าป้องปัดขัดขวางเสียมิให้เกิดผลเช่นนั้น ผู้ช�ำระหนี้ที่เข้า
ป้องปัดขัดขวางนัน้ เป็นความผิดของตนเอง จะเรียกคืนไม่ได้ เช่น ท�ำสัญญากันให้ตดั ไม้มาส่งและช�ำระเงิน
ค่าจ้างไปแล้ว ต่อมาผูว้ า่ จ้างรูว้ า่ ราคาไม้ไม่ดจี งึ บอกเลิกสัญญาเสียซึง่ เป็นการผิดสัญญา เช่นนีเ้ ป็นการช�ำระ
หนีโ้ ดยมุง่ ต่อผลทีใ่ ห้ตดั ไม้มาส่งให้ เมือ่ บอกเลิกสัญญานัน้ เสียก็เท่ากับเป็นการป้องปัดขัดขวางเสียมิให้เกิด
ธ.

ผลขึน้ ตามสัญญาโดยไม่สจุ ริตเพราะรูแ้ ล้วว่าราคาไม้ไม่ดี เช่นนี้ ย่อมไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะเรียกให้คนื เงินทีไ่ ด้ชำ� ระ
ไปแล้ว60

5. การช�ำระหนี้ที่ผู้ช�ำระรู้อยู่ว่ามูลหนี้ผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรม
ในข้อนี้ มาตรา 411 บัญญัติว่า “บุคคลได้กระท�ำการเพื่อช�ำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตาม
กฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่”
.ม
ตามบทบัญญัตนิ แี้ บ่งได้เป็น 2 กรณี คือ การกระท�ำช�ำระหนีท้ ฝี่ า่ ฝืนข้อห้ามตามกฎหมายประการ
หนึ่ง หรือการช�ำระหนี้ที่ฝ่าฝืนศีลธรรมอันดีอีกประการหนึ่ง ทั้งสองประการนี้ผู้ช�ำระหนี้นั้นไม่อาจจะเรียก
ร้องคืนทรัพย์ได้
ในกรณีทชี่ ำ� ระหนีโ้ ดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายบัญญัตหิ า้ มไว้โดยชัดแจ้ง
อาจจะเป็นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา หรือกฎหมายอื่นใดก็ได้ ซึ่งมิใช่เป็นแต่เพียงค�ำสั่งหรือข้อบังคับ
เท่านั้น เช่น ช�ำระหนี้ในกรณีที่เรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา61 หรือเอาเงินไปให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน62 หรือ
เอาเงินไปช�ำระหนีใ้ นการเล่นการพนันหรือเอาเงินไปช�ำระในการท�ำสัญญาจะซือ้ จะขายทีด่ นิ ซึง่ เป็นโมฆะ63
60
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 2-3/2472
61
ดูคำ� พิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2509, 17/2511, 1747/2522, 422/2524, 2167/2545 และ ฎ. 8183/2554 ประกอบ
62
ดูค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2485, 806/2485 และ ฎ. 299/2490 ประกอบ
63
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-51

เหล่านีเ้ ป็นกรณีทฝี่ า่ ฝืนข้อห้ามตามกฎหมายทัง้ นัน้ เพราะมีกฎหมายห้ามการกระท�ำไว้ ผูท้ ชี่ ำ� ระหนีไ้ ปนัน้


ไม่มีสิทธิจะเรียกคืนทรัพย์ได้
อุทาหรณ์
(1) การมอบเงินเพื่อการวิ่งเต้นให้ได้ต�ำแหน่ง เป็นการกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้อันฝ่าฝืนข้อห้ามตาม
กฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หาอาจเรียกคืนทรัพย์ได้ไม่

. ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6614/2562 โจทก์ตกลงมอบเงินให้ตามข้อเสนอของจ�ำเลยที่จะไปด�ำเนิน


การวิง่ เต้นให้โจทก์ได้รบั การแต่งตัง้ ให้ดำ� รงต�ำแหน่งทีต่ อ้ งการ เป็นการส่งเสริมให้อทิ ธิพลของระบบอุปถัมภ์
สธ สธ
เข้ามาแทรกแซงกระบวนการแต่งตั้งข้าราชการต�ำรวจ ก่อให้เกิดผลเสียแก่ทางราชการอย่างร้ายแรงส่งผล

มส . มส
กระทบต่อความสงบสุขของสังคม ทั้งยังเป็นการบั่นทอนขวัญก�ำลังใจของข้าราชการต�ำรวจที่มีคุณสมบัติ
ครบถ้วนและมีความเหมาะสมแต่ไม่ได้รบั การแต่งตัง้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลย เป็นนิตกิ รรมทีม่ วี ตั ถุประสงค์
เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมต้องน�ำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตามมาตรา 172
วรรคสอง โจทก์มอบเงินให้จ�ำเลยไปด�ำเนินการวิ่งเต้นเพื่อให้ตนเองได้รับการแต่งตั้งให้ดำ� รงต�ำแหน่งตาม

ที่ต้องการ ถือเป็นการกระท�ำตามอ�ำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อช�ำระหนี้โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพัน
ที่จะต้องช�ำระ ทั้งยังเป็นช�ำระหนี้อันฝ่าฝืนศีลธรรมอันดี โจทก์ไม่อาจเรียกร้องเงินคืนจากจ�ำเลยได้ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 407 และ 411
(2) ช�ำระดอกเบีย้ เกินอัตราทีก่ ฎหมายก�ำหนด เป็นการช�ำระหนีฝ้ า่ ฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตาม
ธ.

มาตรา 411 หาอาจเรียกดอกเบี้ยนั้นคืนได้ไม่


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2560 จ�ำเลยยอมช�ำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายก�ำหนดไว้แก่
โจทก์ซงึ่ ตกเป็นโมฆะ ถือได้วา่ เป็นการช�ำระหนีฝ้ า่ ฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 จ�ำเลย
หาอาจจะเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ช�ำระได้ไม่ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่
กฎหมายก�ำหนดไว้จากจ�ำเลย เมือ่ ข้อตกลงเรือ่ งดอกเบีย้ ตกเป็นโมฆะ และจ�ำเลยไม่อาจเรียกร้องให้คนื เงิน
ดอกเบีย้ ทีช่ ำ� ระฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้ โจทก์กย็ อ่ มไม่มสี ทิ ธิได้ดอกเบีย้ ดังกล่าวด้วย ต้องน�ำดอกเบีย้
.ม
ที่จำ� เลยช�ำระให้แก่โจทก์ไปหักเงินต้นตามหนังสือสัญญากู้เงิน
(3) บริษัทประกันจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทน เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือ
ศีลธรรมอันดี ตามมาตรา 411 หาอาจเรียกคืนได้ไม่
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2558 ตามสัญญาบริการ โจทก์จะให้เงินค่าตอบแทนจ�ำเลยเป็นการ
ล่วงหน้าเพื่อให้จ�ำเลยสามารถท�ำผลงานให้ได้ตามเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ในสัญญา หากไม่สามารถบรรลุ
เป้าหมายตามที่ก�ำหนด โจทก์ก็จะค�ำนวณให้ผลตอบแทนตามสัดส่วนที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา และจ�ำเลยที่
1 จะต้องคืนผลตอบแทนบางส่วนที่ได้รับล่วงหน้าไปแล้ว การที่โจทก์จ่ายเงินแก่จ�ำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงมี
ลักษณะเป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าเป็นค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนส�ำหรับงานที่จ�ำเลย
ที่ 1 จะต้องท�ำให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวแต่อย่าง
ใด สัญญาบริการจึงเป็นสัญญาที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 33 (7) เป็นสัญญา
ทีม่ วี ตั ถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
สธ ส
5-52 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ของประชาชน จึงเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่โจทก์จ่ายเงินให้แก่จ�ำเลยที่ 1 ไป


ตามสัญญาดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี โจทก์หาอาจจะเรียกร้องให้จำ� เลย
ที่ 1 คืนเงินนั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 จ�ำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจ�ำเลยที่ 1 และจ�ำเลย
ที่ 3 ที่ 4 ในฐานะผู้ค�้ำประกันจ�ำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
(4) ท�ำสัญญาซื้อขายที่ดินในเขตหวงห้ามเพื่อประโยชน์ในราชการทหาร เป็นการต้องห้ามตาม

.
กฎหมาย ตามมาตรา 411 หาอาจเรียกเงินที่ช�ำระไปคืนได้ไม่
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18476/2557 ที่ดินที่ซื้อขายกันเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของ
สธ สธ
แผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอ�ำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามที่บัญญัติไว้

มส . มส
ใน ป.พ.พ. มาตรา 1305 การทีบ่ ิดาโจทก์และบิดาจ�ำเลยทั้งสองท�ำสัญญาซือ้ ขายทีด่ นิ กัน ทัง้ ทีท่ งั้ สองฝ่าย
ก็ทราบดีอยูแ่ ล้วว่าทีด่ นิ ทีซ่ อื้ ขายกันอยูใ่ นเขตหวงห้ามเพือ่ ประโยชน์ในราชการทหาร สัญญาซือ้ ขายจึงเป็น
สัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตั้งแต่วันท�ำ
สัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่บิดาโจทก์ช�ำระเงินค่าซื้อขายที่ดินให้แก่บิดาจ�ำเลยทั้งสองย่อม
เป็นการช�ำระหนี้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 411 โจทก์ไม่อาจเรียก

เงินค่าซื้อขายที่ดินพร้อมดอกเบี้ยคืนจากจ�ำเลยที่ 1 ได้
ส่วนในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ ก็ต้องพิจารณาดูว่าการกระท�ำนั้นเป็นการผิดศีลธรรม
หรือไม่ หากเป็นการกระท�ำช�ำระหนี้ที่ฝ่าฝืนศีลธรรมแล้ว ก็ย่อมจะเรียกคืนไม่ได้ เช่นกัน การกระท�ำใดที่
เป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรม จะต้องพิจารณาตามความรู้สึกของประชาชนและประเพณีแห่งท้องถิ่นนั้นเป็น
ส�ำคัญ เช่น มอบเงินไว้เป็นสินพนันเป็นการที่ขัดขวางต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนโดยนิตินัย64 หรือท�ำ
ธ.

สัญญายกที่ดินให้แก่เขา เพื่อตอบแทนในการที่เขาออกเงินและวิ่งเต้นให้เป็นความกับบุคคลอื่นจนได้ที่ดิน
มาย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม ให้ส่งข้าวไปต่างประเทศเป็นสัญญาที่ขัดต่อความ
สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะเป็นผลกระทบถึงราคาข้าวซึ่งในที่สุดจะท�ำให้ผู้ผลิต
ได้รับน้อยลง65 เป็นต้น เหล่านี้หากได้มีการช�ำระหนี้กันไปแล้วย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกคืนได้
อุทาหรณ์
.ม
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2505 ชายมีภริยาอยูแ่ ล้ว ได้ตกลงกับหญิงอืน่ อีกว่าจะอยูก่ นิ เป็นสามี
ภริยากัน ข้อตกลงนี้ถือว่าขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน หากชายได้มอบเงินให้แก่หญิงไปในกรณีที่
หญิงเรียกร้องเพือ่ การทีต่ กลงยอมให้อยูก่ นิ เป็นภริยา ถือว่าเป็นการช�ำระหนีท้ ฝี่ า่ ฝืนศีลธรรมอันดี ไม่มสี ทิ ธิ
ที่จะเรียกร้องทรัพย์นั้นคืน
อย่างไรก็ตาม การช�ำระหนี้อันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีนี้ ผู้ช�ำระหนี้
ต้องรูว้ า่ ได้ชำ� ระหนีไ้ ปนัน้ เป็นมูลหนีท้ ผ่ี ดิ กฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หากว่าผูช้ ำ� ระหนีไ้ ม่รหู้ รือไม่อาจ
ทีค่ วรจะรูไ้ ด้วา่ เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีแล้ว เช่นนีผ้ ชู้ ำ� ระหนีไ้ ปนัน้ ย่อม
เรียกร้องทรัพย์คืนได้

64
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2551
65
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2501
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-53

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2550 การที่ธนาคารคิดดอกเบี้ยผิดไปเกินจ�ำนวนซึ่งเกินอัตราตาม
กฎหมาย ลูกค้าได้ชำ� ระหนี้ไปตามที่ธนาคารเรียกเก็บนั้น ธนาคารเป็นที่เชื่อถือของประชาชน ท�ำให้ลูกค้า
เข้าใจและเชื่อว่าคิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว ถือไม่ได้ว่าการช�ำระหนี้ที่คิดค�ำนวณไม่ถูกต้องนั้นเป็นการจงใจ
ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือเป็นการกระท�ำตามอ�ำเภอใจตามมาตรา 407 จึงต้อง

.
คืนให้แก่ลูกค้า
สธ สธ
มส . มส
กิจกรรม 5.2.2
ส้มกู้เงินนอกระบบจากมะนาว โดยต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน ทั้งที่ดอกเบี้ยสูง
เกินกว่าอัตราที่กฎหมายก�ำหนดมาก แต่ก็ต้องกู้ด้วยความจ�ำเป็น เพราะภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ส้มจึงจ่ายได้
เฉพาะดอกเบี้ยมาเป็นเวลา 3 ปี จนรวมดอกเบี้ยเกินว่าเงินต้นแล้ว ส้มเห็นว่าการเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า
อัตราที่กฎหมายก�ำหนดท�ำให้ตนเสียเปรียบมาก จึงเรียกให้มะนาวคืนดอกเบี้ยส่วนที่เกินจากอัตราที่

กฎหมายก�ำหนดหรือให้น�ำไปหักจากเงินต้นเสีย เช่นนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้อเรียกร้องของส้มชอบด้วย
กฎหมายหรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 5.2.2
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 “บุคคลใดได้กระท�ำการอันใดตามอ�ำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อช�ำระหนี้
ธ.

โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ไม่”
มาตรา 411 “บุคคลใดได้กระท�ำการเพื่อช�ำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีล
ธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่”
ตามปัญหา ส้มกู้เงินนอกระบบจากมะนาว โดยต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน ซึ่ง
ค�ำนวณแล้วเท่ากับคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 36 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายก�ำหนด ส้มจ่ายเฉพาะ
.ม
ดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี จนรวมดอกเบี้ยเกินกว่าเงินต้นแล้วนั้น การเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมาย
ก�ำหนด ส่วนของดอกเบี้ยนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ การช�ำระดอกเบี้ยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการช�ำระหนี้
ตามอ�ำเภอใจทั้งที่รู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องช�ำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 การช�ำระหนี้ฝ่าฝืน
ข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าว จึงหาอาจเรียกคืนได้ไม่ หรือจะเรียกให้นำ� ดอกเบีย้ ส่วนทีเ่ กินกฎหมายก�ำหนด
ไปพักออกจากเงินต้นก็ไม่ได้ทั้งสิ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411
ฉะนั้น ข้อเรียกร้องของส้มจึงหาชอบด้วยกฎหมายไม่
สธ ส
5-54 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เรื่องที่ 5.2.3


การคืนลาภมิควรได้และอายุความ

. ในเรื่องการคืนลาภมิควรได้ เป็นคนละเรื่องกับการกลับสู่ฐานะเดิมในกรณีอื่นๆ เช่น การบอกล้าง


นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ66 หรือการเลิกสัญญา67 เป็นต้น หากแต่เป็นการคืนในลักษณะลาภมิควรได้
สธ สธ
โดยเฉพาะซึ่งปฏิบัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 412 ถึง มาตรา 419 ซึ่งจะได้จำ� แนกอธิบายออกเป็น 3 หัวข้อ

มส . มส
คือ (1) หน้าทีข่ องฝ่ายทีร่ บั ทรัพย์สนิ ไว้ (2) หน้าทีข่ องฝ่ายทีเ่ รียกทรัพย์สนิ คืน และ (3) อายุความเรียกคืน
ลาภมิควรได้

1. หน้าที่ของฝ่ายที่รับทรัพย์สินไว้
หน้าที่ของฝ่ายที่รับทรัพย์สินไว้นี้ จะได้จ�ำแนกอธิบายออกเป็น 4 หัวข้อ คือ (1) การคืนเงิน (2)

การคืนทรัพย์สินอื่นนอกจากเงิน (3) การคืนทรัพย์ที่ตกเป็นพ้นวิสัย และ (4) การคืนดอกผลอันเกิดแต่
ทรัพย์สินนั้น
1.1 การคืนเงิน มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 412 ดังนี้
มาตรา 412 “ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจ�ำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนเต็ม
จ�ำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริต จึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อ
ธ.

เรียกคืน”
จากบทบัญญัตนิ แี้ สดงให้เห็นว่า การทีต่ อ้ งคืนเงินทีร่ บั ไว้เป็นลาภมิควรได้นนั้ ต้องคืนเต็มจ�ำนวน
นั้น ซึ่งจะต้องไม่เกินจ�ำนวนที่เป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ และจะต้องไม่เกินจ�ำนวนที่เสียเปรียบหรือขาด
ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ซึง่ เจ้าหนีจ้ ะเรียกคืนเกินกว่าทีก่ ำ� หนดไว้ดงั กล่าวไม่ได้ ดังนัน้ หากจะต้องคืนเงินทีร่ บั
ไว้ ปกติก็ต้องคืนเต็มจ�ำนวนนั้น
.ม
ในกรณีที่รับเงินมา ผู้รับรับไว้โดยสุจริต คือไม่รู้ว่าไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินนั้น จะคืนเงินเพียงส่วน
ที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนเท่านั้น เช่น ถูกคนร้ายลักเอาไปเสียจ�ำนวนเท่าใด ก็ต้องคืนเท่าที่ยังคงมีอยู่
หากเงินนั้นได้กลายสภาพเป็นอื่นไป ไม่มีลาภอย่างใดเหลืออยู่อีกแล้วก็ไม่จ�ำต้องคืน
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2470 แดงน�ำยึดทรัพย์ดำ� มาขายโดยส�ำคัญผิดโดยสุจริตว่าเป็นทรัพย์
ของขาวผู้แพ้คดี ไม่เป็นการละเมิดอันจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่ด�ำ แต่เงินค่าขายนั้นแดงได้รับไปจาก
เจ้าพนักงานบังคับคดี แดงต้องคืนให้ขาว
หากเป็นกรณีทรี่ บั ไว้โดยไม่สจุ ริตจะอ้างคืนเพียงส่วนทีย่ งั มีอยูใ่ นขณะเมือ่ เรียกคืนหรืออ้างว่าไม่มี
เหลืออยู่แล้ว ย่อมไม่อาจจะอ้างได้ จะต้องคืนเต็มจ�ำนวนนั้น
66
ดู ป.พ.พ. มาตรา 176, คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2538 ประกอบ
67
ดู ป.พ.พ. มาตรา 391, ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17918/2557 ประกอบ
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-55

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2506 ปลัดกระทรวงเป็นผูส้ งั่ จ่ายเงินโดยฝ่าฝืนระเบียบให้แก่ตน เพราะ
ไม่มีอ�ำนาจลงนามในระเบียบ จะอ้างว่าไม่ต้องคืนเงินเพราะรับเงินนั้นไว้โดยสุจริตไม่ได้ ต้องคืนเงินที่รับ
เกินไปนั้นเต็มจ�ำนวน
บทกฎหมายมาตรานี้ ใช้คำ� ว่า ต้องคืนส่วนที่ยังเหลืออยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน ดังนั้น การค�ำนวณ

.
ส่วนทีเ่ หลือ ต้องถือในขณะเมือ่ เรียกคืนเป็นส�ำคัญ หากขณะทีเ่ รียกคืนยังมีเงินอยูเ่ ต็มจ�ำนวน ก็ตอ้ งคืนเต็ม
จ�ำนวน ดังนั้น สิทธิเรียกร้องย่อมเกิดมีขึ้นเมื่อมีการเรียกคืน หากผู้รับไว้ไม่คืนให้ในขณะนั้นจะต้องเสีย
สธ สธ
ดอกเบี้ยตามกฎหมายตั้งแต่เมื่อเรียกคืนจนกว่าจะช�ำระคืนให้เสร็จ เช่น การคิดดอกเบี้ยในส่วนเงินที่ยัง

มส . มส
เหลืออยู่จะเริ่มคิดค�ำนวณตั้งแต่วันฟ้อง ซึ่งเป็นเวลาในขณะที่เรียกคืนเป็นต้นไป (ฎ. 1915/2531 และ ฎ.
2343/2533)
มีข้อสังเกตว่า การคืนเงินที่เป็นลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังเหลืออยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนนั้น ผู้ที่
ต้องคืนเงินจะต้องพิสจู น์ให้เห็นว่ารับเงินไว้โดยสุจริต หากไม่พสิ จู น์ในข้อนี้ ย่อมไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา
412 ดังนั้น เมื่อไม่พิสูจน์ให้เห็นว่าได้รับเงินไว้โดยสุจริต ก็ต้องคืนเงินเต็มจ�ำนวนนั้นพร้อมดอกเบี้ย

อุทาหรณ์
(1) ซื้อขายที่ดินมือเปล่า68 ไม่มีเอกสารสิทธิใด เมื่อไม่มีการส่งมอบการครอบครอง69 สัญญาซื้อ
ขายไม่สมบูรณ์ ต้องคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ ตามมาตรา 412
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2562 การซือ้ ขายทีด่ นิ พิพาทอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ซงึ่ ไม่มขี อ้ ตกลง
ว่าจะไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อไม่ได้จดทะเบียนย่อมตก
ธ.

เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง และเมื่อเป็นที่ดินมือเปล่าที่ไม่มีเอกสารสิทธิใดมีเพียงสิทธิ


ครอบครอง การซื้อขายย่อมอาจสมบูรณ์ได้โดยการส่งมอบการครอบครอง แต่เมื่อไม่มีการส่งมอบสัญญา
ซือ้ ขายไม่สมบูรณ์ คูส่ ญ
ั ญาต้องกลับคืนสูฐ่ านเดิมโดยคืนทรัพย์แก่กนั ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา
172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 412 จ�ำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินค่าที่ดินที่รับไว้ทั้งหมดแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
(2) ท�ำสัญญาซื้อขายที่ดินโดยส�ำคัญผิดในสาระส�ำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ ต้องคืนทรัพย์ฐาน
.ม
ลาภมิควรได้ ตามมาตรา 412
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5057/2558 จ�ำเลยรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าตนเองไม่มสี ทิ ธิในทีด่ นิ แปลงพิพาททีจ่ ะออก
หนังสือรับรองการท�ำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เฉพาะราย แต่จ�ำเลยร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทุจริตประพฤติ
มิชอบน�ำหลักฐานของทีด่ นิ แปลงอืน่ มาเป็นหลักฐานในการออกหนังสือรับรองการท�ำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)
ทีด่ นิ แปลงพิพาทซึง่ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทัง้ นีเ้ พือ่ จะหลอกลวงให้โจทก์หลงเชือ่ ว่าทีด่ นิ แปลงพิพาท
มีเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการท�ำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) มิฉะนัน้ โจทก์จะไม่ตกลงซือ้ ทีด่ นิ แปลงพิพาท
การที่โจทก์เข้าท�ำสัญญาซื้อขายกับจ�ำเลย จึงเป็นการท�ำสัญญาโดยส�ำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระส�ำคัญแห่ง
นิตกิ รรม สัญญาซือ้ ขายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จึงต้องคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.
68
ที่ดินมือเปล่า คือ ที่ดินที่เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง เช่น ที่ดินที่มีเพียงหนังสือแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) หรือ
ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำ�ประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3 ก., น.ส.3 ข.) เป็นต้น มิได้มีกรรมสิทธิ์ดังเช่นที่ดินมีโฉนดที่ดิน - ผู้เขียน
69
ดู ป.พ.พ. มาตรา 1378 ประกอบ
สธ ส
5-56 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

มาตรา 172 วรรคสอง ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวมาตรา 412 ว่าด้วยลาภมิควรได้ก�ำหนดให้ต้องคืน


เต็มจ�ำนวน ดังนัน้ โจทก์มอี ำ� นาจฟ้องบังคับให้จำ� เลยคืนเงินค่าทีด่ นิ เต็มจ�ำนวน และเป็นการใช้สทิ ธิตดิ ตาม
เอาเงินค่าที่ดินคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์
ไม่ได้นำ� สืบว่ามีการทวงถามจ�ำเลยให้ชำ� ระเงินค่าทีด่ นิ คืนเมือ่ ไร จ�ำเลยจึงต้องคืนเงิน พร้อมดอกเบีย้ อัตรา
ร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

. (3) ซื้อขายที่ดินโดยส�ำคัญผิดในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ ต้องคืนทรัพย์ฐาน


ลาภมิควรได้ ตามมาตรา 412
สธ สธ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18211/2557 จ�ำเลยน�ำที่ดินที่ตนมิใช่เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองตาม

มส . มส
น.ส.3 ก. ทีอ่ อกมาโดยชอบด้วยกฎหมายมาหลอกลวงขายให้แก่โจทก์ และโจทก์หลงเชือ่ ท�ำสัญญาซือ้ ขาย
จากจ�ำเลย จึงถือได้ว่าโจทก์ท�ำสัญญาซื้อขายโดยส�ำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม อันเป็น
สิ่งซึ่งเป็นสาระส�ำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จ�ำเลยจะต้องคืน
เงินค่าที่ดินที่รับไปจากโจทก์ในฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 412
มีปญ
ั หาว่า กรณีทางราชการจ่ายเงินเบีย้ หวัด เงินบ�ำนาญ เงินบ�ำเหน็จด�ำรงชีพเงินช่วยค่าครองชีพ

เงินเบีย้ ยังชีพผูส้ งู อายุ เงินค่าเช่าบ้าน หรือเงินค่าตอบแทนอืน่ ๆ โดยส�ำคัญผิดว่าผูน้ นั้ มีสทิ ธิได้รบั การรับไป
โดยไม่มสี ทิ ธิดงั กล่าวเป็นการได้มาซึง่ ทรัพย์สงิ่ ใด โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้นนั้ จะถือว่าเป็น
ลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อการคืนทรัพย์ และอายุความการเรียกคืน
ทรัพย์ด้วย กรณีนี้มีความเห็นตามค�ำวินิจฉัยของศาลฎีกาเป็น 2 แนว ดังนี้
แนวแรก เห็นว่าเป็นลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 เพราะเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด
ธ.

โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นเหตุให้ทางราชการต้องเสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ หา


ใช่เป็นเงินทีม่ สี ทิ ธิตดิ ตามเอาคืนได้อย่างเจ้าของไม่ เป็นผลให้ผไู้ ด้รบั ไว้โดยสุจริต ต้องคืนลาภมิควรได้นนั้
เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 412 และมีผลต่ออายุความการฟ้องเรียกคืน
มิให้ฟอ้ งคดีเมือ่ พ้นก�ำหนดเวลาปีหนึง่ นับแต่เวลาทีฝ่ า่ ยผูเ้ สียหายรูว้ า่ ตนมีสทิ ธิเรียกคืน หรือเมือ่ พ้น 10 ปี
นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
.ม
อุทาหรณ์
(1) เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบ�ำนาญตามกฎหมายที่ทางราชการจ่ายไปโดยหลงผิด เป็น
ลาภมิควรได้ การเรียกคืนเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 412
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2559 จ�ำเลยไม่มสี ทิ ธิได้รบั เงินช่วยค่าครองชีพผูร้ บั เบีย้ หวัดบ�ำนาญ
ตามกฎหมาย แต่โจทก์จ่ายเงินดังกล่าวให้จำ� เลยไปโดยผิดหลง จึงเป็นเงินที่จำ� เลยได้รับไว้โดยปราศจาก
มูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และท�ำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นลาภมิควรได้ หาใช่เป็นเงินทีโ่ จทก์มสี ทิ ธิตดิ ตาม
เอาคืนได้อย่างเจ้าของทรัพย์สนิ ไม่ และเมือ่ ได้ความว่าจ�ำเลยได้รบั เงินช่วยค่าครองชีพผูร้ บั เบีย้ หวัดบ�ำนาญ
ไว้โดยสุจริตและน�ำไปใช้จา่ ยหมดแล้วก่อนทีโ่ จทก์จะเรียกคืน จ�ำเลยจึงไม่ตอ้ งคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 412
(2) เงินค่าเช่าบ้านทีเ่ บิกจากทางราชการไปโดยสุจริต แต่เป็นการเบิกโดยไม่มสี ทิ ธิเป็นลาภมิควร
ได้ การเรียกคืนทรัพย์เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 412 ภายใต้อายุความ ป.พ.พ. มาตรา 419
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-57

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2551 โจทก์ฟ้องขอให้จ�ำเลยคืนเงินค่าเช่าบ้านที่จ�ำเลยเบิกไปโดย


จ�ำเลยไม่มีสิทธิเบิกจากทางราชการตาม พ.ร.ฎ. ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 มาตรา 7 (1) อันเป็น
เรือ่ งทีโ่ จทก์ไม่มหี น้าทีต่ อ้ งจ่ายให้จำ� เลยและจ�ำเลยก็ไม่มสี ทิ ธิรบั เงินดังกล่าว แต่จำ� เลยรับไปโดยสุจริตเข้าใจ
ว่าตนมีสิทธิที่จะเบิกค่าเช่าบ้านได้ตามกฎหมาย การที่จ�ำเลยรับเงินไปจากโจทก์จึงเป็นการได้มาโดย
ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ กรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียก

.
ทรัพย์คนื ในฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จึงอยูใ่ นบังคับก�ำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา
419 ที่โจทก์ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกคืนจากจ�ำเลยภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน
สธ สธ
แนวที่สอง เห็นว่าแม้จะเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดโดยปราศจากมูลอันจะอ้างตามกฎหมายได้

มส . มส
แต่เป็นการได้รับไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มิใช่กระท�ำเพื่อการช�ำระหนี้แต่อย่างใด จึงไม่เป็นลาภมิควร
ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ทางราชการจึงมีสทิ ธิตดิ ตามเอาคืนจากผูไ้ ม่มสี ทิ ธิจะยึดถือไว้ในฐานะเจ้าของ
กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 133670 ได้เต็มจ�ำนวนและโดยไม่มีอายุความ
อุทาหรณ์
(1) เงินเบีย้ หวัด เงินบ�ำนาญ เงินบ�ำเหน็จด�ำรงชีพ และเงินช่วยค่าครองชีพ ผูร้ บั เบีย้ หวัดบ�ำนาญ

ทีท่ างราชการจ่ายไปโดยส�ำคัญผิด แม้จะเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่เป็นการ
ได้มาโดยมิชอบ มิใช่ลาภมิควรได้ ทางราชการในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1336
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2562 กองทัพบกโจทก์เบิกจ่ายเงินเบีย้ หวัด เงินบ�ำนาญ เงินบ�ำเหน็จ
ธ.

ด�ำรงชีพ และเงินช่วยค่าครองชีพ ผู้รับเบี้ยหวัด บ�ำนาญจ่ายให้แก่จ�ำเลยไปโดยส�ำคัญผิดว่าจ�ำเลยมีสิทธิ


ได้รับ การให้รับเงินของจ�ำเลยไปจากโจทก์เป็นการได้รบั ไปโดยมิชอบ และมิใช่กรณีโจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ย
หวัด เงินบ�ำนาญ เงินบ�ำเหน็จด�ำรงชีพ และเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบ�ำนาญให้แก่จ�ำเลยเพื่อ
ช�ำระหนี้ เพราะเป็นเรื่องจ�ำเลยขอรับสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งจ�ำเลยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ของทางราชการ แม้เงินที่จ�ำเลยได้รับไปจะเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่เมื่อ
เป็นการได้มาโดยมิชอบก็หาใช่เรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ไม่ โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินที่
.ม
ส่งมอบให้จ�ำเลยไปโดยส�ำคัญผิดมีสิทธิติดตามเอาเงินของโจทก์คืนจากจ�ำเลยผู้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับหรือ
ยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่ก�ำหนดอายุความ
(2) เงินค่าเช่าบ้านที่ทางราชการจ่ายไปโดยส�ำคัญผิด แม้จะเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะ
อ้างกฎหมายได้ แต่หาใช่ลาภมิควรได้ ทางราชการในฐานะเจ้าของทรัพย์ยอ่ มติดตามเอาคืนจากผูไ้ ม่มสี ทิ ธิ
จะได้รับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2563 จ�ำเลยได้รับเงินค่าเช่าบ้านไปจากกรมโจทก์โดยมิชอบ และ
มิใช่กรณีจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่จำ� เลยเพื่อช�ำระหนี้ เพราะเป็นเรื่องที่จ�ำเลยขอรับสวัสดิการจากหน่วยงาน
ของรัฐ ซึง่ จ�ำเลยต้องปฏิบตั ติ ามระเบียบของทางราชการ แม้เงินทีจ่ ำ� เลยได้รบั ไปเป็นการได้มาโดยปราศจาก
มูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่หาใช่เรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ไม่ โจทก์ในฐานะเจ้าของ

70
ศึกษาเพิ่มเติมในหน่วยที่ 9
สธ ส
5-58 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

เงินที่ส่งมอบให้จ�ำเลยโดยส�ำคัญผิดย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินของโจทก์คืนจากจ�ำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับ


หรือยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่มีก�ำหนดอายุความ
(3) เรียกเงินประจ�ำต�ำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอืน่ จากวุฒสิ มาชิกทีต่ อ้ งออกจากต�ำแหน่ง
เพราะเหตุได้รับเลือกตั้งมาโดยไม่ชอบ ทางราชการในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1336 โดยไม่มีอายุความ

.
อืน่ ทีว่ ฒ
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2558 การเรียกคืนเงินประจ�ำต�ำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่าง
ุ สิ มาชิกได้รบั มา เนือ่ งจากการด�ำรงต�ำแหน่งในกรณีทอี่ อกจากต�ำแหน่งเพราะเหตุทผี่ นู้ นั้ ได้รบั เลือก
สธ สธ
ตัง้ มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตัง้ สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎรและสมาชิก

มส . มส
วุฒิสภานั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินที่จ�ำเลยได้ไปโดยไม่ชอบและโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิในเงิน
ดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากผู้ไม่มีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีก�ำหนดอายุความ
คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้รับเบี้ยหวัดบ�ำนาญไม่สุจริตเพราะปกปิดข้อมูล ทาง
ราชการจ่ายให้ไปเพราะส�ำคัญผิดย่อมมีสทิ ธิตดิ ตามเอาคืนจากผูไ้ ม่มสี ทิ ธิจะได้รบั ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336

โดยไม่มีอายุความเช่นเดียวกัน
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2561 (ประชุมใหญ่) คดีนโี้ จทก์ฟอ้ งขอให้จำ� เลยคืนเงินเบีย้ หวัด เงิน
ช่วยค่าครองชีพผูร้ บั เบีย้ หวัดบ�ำนาญ เงินบ�ำนาญ และเงินบ�ำเหน็จด�ำรงชีพทีโ่ จทก์จา่ ยให้แก่จำ� เลยไป โดย
จ�ำเลยไม่มีสิทธิจะรับเงินดังกล่าว เนื่องจากจ�ำเลยปิดบังไม่ให้โจทก์ทราบว่าจ�ำเลยกลับเข้ารับราชการ ซึ่ง
ธ.

เป็นต�ำแหน่งที่มีสิทธิได้รับบ�ำเหน็จบ�ำนาญตามพระราชบัญญัติบ�ำเหน็จบ�ำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2543 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัดจ่ายให้แก่
จ�ำเลยโดยส�ำคัญผิดว่าจ�ำเลยมีสิทธิได้รับ การได้รับเงินเบี้ยหวัดของจ�ำเลยไปจากโจทก์จึงเป็นการรับโดย
ไม่ชอบซึ่งไม่ใช่กรณีที่โจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัดแก่จ�ำเลยเพื่อช�ำระหนี้ เพราะเป็นเรื่องจ�ำเลยขอรับ
สวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐ จ�ำเลยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ ดังนี้ แม้เงินที่จำ� เลยจะ
ได้รับไปจะเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่เมื่อเป็นการได้มาโดยไม่ชอบก็ไม่ใช่
.ม
เรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินที่ส่งมอบให้จ�ำเลยไปโดยส�ำคัญผิด
ย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินของโจทก์คืนจากจ�ำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มี
ก�ำหนดอายุความ
กรณีดังกล่าว เป็นเรื่องของการจ่ายเงินไปโดยหลงผิด ส�ำหรับ “เงิน” เป็นสื่อกลางในการแลก
เปลีย่ นหรือช�ำระหนี71้ เป็นสิง่ แทนมูลค่าซึง่ มีการนับเป็นจ�ำหน่วยได้ตามแต่สกุลเงินตรานัน้ ๆ เงินโดยทัว่ ไป
จึงมิใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่ง เว้นแต่จะหมายให้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งโดยระบุเลขธนบัตรเป็นการเจาะจง เช่นนี้
ผูเ้ ขียนจึงเห็นว่ากรณีนมี้ ใิ ช่เรือ่ งของอ�ำนาจแห่งกรรมสิทธิข์ องเจ้าของทรัพย์สนิ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
แต่เป็นเรื่องสิทธิทางหนี้ เมื่อบุคคลได้มาซึ่งเงิน เพราะกระท�ำเพื่อช�ำระหนี้หรือได้มาด้วยประการอื่น โดย
ปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายมิได้ และเป็นทางให้ผจู้ า่ ยเงินเสียเปรียบย่อมเป็นลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ.

71
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-59

มาตรา 406 การคืนเงินซึ่งรับไว้เป็นลาภมิควรได้ย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 412


โดยมีกำ� หนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 การน�ำหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา
1336 มาใช้บังคับในกรณีเช่นนี้ ผู้เขียนเข้าใจว่ามาจากแนวคิดที่ว่า “ทรัพย์สินของแผ่นดินตกน�้ำไม่ไหล
ตกไฟไม่ไหม้” ซึง่ ส่งผลให้เจ้าของหรือทางราชการมีสทิ ธิตดิ ตามเอาคืนได้โดยไม่มอี ายุความ72 ซึง่ ต่างจาก
อายุความในเรื่องลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ซึ่งมีอายุความเพียง 1 ปี นับแต่เวลาที่ผู้เสียหาย

.
รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือ 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้เกิดขึ้น ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดทรัพย์สินของ
แผ่นดินดังกล่าวสอดคล้องกับทรัพย์สนิ ของแผ่นดินทีเ่ ป็นสาธารณสมบัตขิ องแผ่นดิน อันได้รบั การคุม้ ครอง
สธ สธ
ยิ่งกว่าทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา73 และไม่สอดคล้องกับเรื่องสิทธิทางหนี้ในกรณีเป็นเงินตราดังกล่าว

มส . มส
นอกจากนี้ กรณีเงินตราดังกล่าวหากใช้บังคับในฐานะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา
1336 สิทธิของผูร้ บั โอนเงินตรานัน้ ต่อไป อาศัยเพียงการได้มาโดยสุจริตประการเดียวโดยไม่ตอ้ งมีคา่ ตอบแทน
ก็ได้รับความคุ้มครองแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าเงินตรานั้นมิใช่ของบุคคลซึ่งได้โอนให้มา ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 133174 และเงินตราในฐานะเป็นทรัพย์เฉพาะสิง่ เป็นสังหาริมทรัพย์ทมี่ ใิ ช่สาธารณสมบัตขิ องแผ่นดิน
ก็อาจถูกครอบครองปรปักษ์ได้โดยอายุความเพียง 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 138275

ผูเ้ ขียนจึงเห็นว่ากรณีดงั กล่าวข้างต้น เป็นเรือ่ งสิทธิทางหนี้ ตรงตามหลักเกณฑ์ในเรือ่ งลาภมิควร
ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ซึ่งเป็นบทบัญญัติโดยตรงและเป็นบทเฉพาะ จึงต้องใช้บังคับตามบทเฉพาะ
ดังกล่าว บทบัญญัติอ�ำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ใช้ค�ำว่า “ภายในบังคับแห่ง
กฎหมาย...” ซึ่งเป็นบทบัญญัติท่ัวไป การน�ำบททั่วไปมาใช้บังคับกรณีที่มีบทเฉพาะชัดเจนอยู่แล้วเช่นนี้
ธ.

จึงไม่นา่ จะสอดคล้องด้วยหลักการใช้บงั คับกฎหมาย หากใช้อำ� นาจแห่งเจ้าของกรรมสิทธิต์ ดิ ตามเอาคืนได้


ในกรณีลาภมิควรได้ด้วย บทบัญญัติลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวจึงอาจหมดความจ�ำเป็น หรือ
เหลือกรณีที่จะใช้บังคับได้น้อยมาก
1.2 การคืนทรัพย์สินอื่นนอกจากเงิน ในข้อนีม้ าตรา 413 บัญญัตวิ า่ “เมื่อทรัพย์สินอันจะต้องคืน
นัน้ เป็นอย่างอืน่ นอกจากจ�ำนวนเงินและบุคคลได้รบั ไว้โดยทุจริต ท่านว่าบุคคลเช่นนัน้ จ�ำต้องคืนทรัพย์สนิ
เพียงตามสภาพที่เป็นอยู่ และมิต้องรับผิดชอบในการที่ทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลาย แต่ถ้าได้อะไรมา
.ม
เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการสูญหายหรือบุบสลายเช่นนั้นก็ต้องให้ไปด้วย
ถ้าบุคคลได้รับทรัพย์สินไว้โดยสุจริตท่านว่าจะต้องรับผิดชอบในการสูญหายหรือบุบสลายนั้น
เต็มภูมิ แม้กระทั่งการสูญหายหรือบุบสลายจะเกิดเพราะเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าถึงอย่างไร
ทรัพย์สินนั้นก็คงต้องสูญหายหรือบุบสลายอยู่นั่นเอง”

72
ดูคำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2518, 601/2518, 2681/2519, 308-309/2521, 3978/2524, 3219/2525, 4015/2528,
2185/2533, 4193/2533, 917/2534, 1286/2537, 733/2538, 2308/2538, 1723/2540, 5644/2541, 6660/2541, 1888/2547,
1760/2548, 1971/2551, 4643/2551, 454/2553, 1110/2555, 725/2556, 6636/2556, 15211/2556, 7114/2557, 1912/2558
ประกอบ
73
ศึกษาเพิ่มเติมในหน่วยที่ 7
74
ศึกษาเพิ่มเติมในหน่วยที่ 10
75
ศึกษาเพิ่มเติมในหน่วยที่ 12
สธ ส
5-60 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

บทบัญญัตินี้เป็นกรณีที่จะต้องคืนทรัพย์สินที่ไม่ใช่เงิน กฎหมายให้แบ่งพิจารณาออกเป็น 2 กรณี


คือ ได้รับไว้โดยสุจริต หรือรับไว้โดยทุจริต ซึ่งจะมีผลต้องคืนแตกต่างกัน
ในกรณีที่รับไว้โดยสุจริต การพิจารณาเรื่องคืนทรัพย์สินให้พิจารณาถึงการที่ผู้รับได้รับไว้โดย
สุจริตเป็นส�ำคัญ การรับไว้โดยสุจริต ก็คือ การรับไว้โดยไม่รู้ว่าจะต้องคืนทรัพย์นั้น หรือไม่รู้ว่าเป็นลาภมิ
ควรได้ เช่นนีใ้ นขณะทีเ่ รียกคืนนัน้ ทรัพย์นนั้ มีสภาพเป็นอยูอ่ ย่างไรไม่วา่ จะเก่าผุพงั ไป หรือมีสภาพเหมือน

.
เดิมก็ตอ้ งคืนให้ไปตามสภาพทีเ่ ป็นอยูน่ นั้ หรือมีการดัดแปลงเสือ่ มสภาพของทรัพย์ไปก็ตอ้ งคืนไปในสภาพ
นั้น และไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะได้สูญหายหรือบุบสลายหมดไปด้วยเหตุอันใด ผู้รับทรัพย์สินไว้ไม่ต้องรับผิด
สธ สธ
ชอบเพียงแต่ต้องคืนทรัพย์ไปตามสภาพนั้น แม้ทรัพย์สินนั้นสิ้นสลายไปก็ไม่ต้องรับผิดชอบ จนกระทั่ง

มส . มส
ทรัพย์สินนั้นหมดไปก็ไม่ต้องคืน ความสุจริตนี้ถือเป็นเรื่องส�ำคัญที่ให้ความคุ้มกันผู้รับทรัพย์นั้นไว้ได้
อย่างไรก็ตาม หากได้อะไรมาเป็นค่าสินไหมทดแทนเพือ่ การสูญหายหรือบุบสลายนัน้ สิง่ นีก้ ถ็ อื ว่าเป็นลาภ
ก็ตอ้ งคืนให้เขาไปด้วย จะถือว่าเป็นประโยชน์แก่ผรู้ บั ทรัพย์ไว้ไม่ได้ เช่น กรณีทเี่ อารถยนต์คนั ทีร่ บั ประกัน
ภัยไว้ รถยนต์สูญหายหรือบุบสลาย เช่นนี้ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้รับประกันจ่ายมาให้ก็ต้องคืนให้ไปด้วย
ผู้ที่ได้ลาภอาจฟ้องร้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจากผู้รับประกันภัยโดยตรงได้

อุทาหรณ์
(1) ผูใ้ ห้เช่าซือ้ รับเงินค่าเช่าซือ้ ไว้โดยสุจริต ต้องคืนตามมาตรา 412 ส่วนผูเ้ ช่าซือ้ ต้องคืนทรัพย์สนิ
ตามมาตรา 413
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2559 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง
ธ.

บัญญัติว่า ในกรณีที่ต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้น�ำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่ง


ประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ เมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะท�ำสัญญาทั้งโจทก์และจ�ำเลยทราบว่าสัญญาเช่า
ซื้อไม่ได้ทำ� เป็นหนังสือ อันเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ประทับตราส�ำคัญของโจทก์ในขณะท�ำสัญญา โจทก์จึงรับ
เงินเป็นค่าเช่าซือ้ และจ�ำเลยรับทรัพย์ทเี่ ช่าซือ้ ไว้โดยสุจริต โจทก์จำ� ต้องคืนเงินให้แก่จำ� เลยเพียงส่วนทีย่ งั มี
อยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 412 และจ�ำเลยจึงต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อเพียงตามสภาพที่
เป็นอยูแ่ ละมิตอ้ งรับผิดชอบในการทีท่ รัพย์นนั้ สูญหายหรือบุบสลาย แต่ถา้ ได้อะไรมาเป็นค่าสินไหมทดแทน
.ม
เพื่อการสูญหายหรือบุบสลายเช่นนั้นก็ต้องให้ไปด้วย ตามมาตรา 413 วรรคหนึ่ง เมื่อจ�ำเลยช�ำระเงินให้
โจทก์เพียงบางส่วนไม่คุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุน ถือว่าโจทก์ไม่เหลือเงินที่จะคืนแก่จ�ำเลยในขณะเรียกคืน
ส่วนจ�ำเลยต้องคืนทรัพย์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์
(2) เมือ่ มีการถอนคืนการให้ทรัพย์สนิ ผูร้ บั ไว้โดยสุจริตต้องคืนทรัพย์สนิ นัน้ ตามมาตรา 413 วรรค
หนึ่ง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2553 ถ้อยค�ำทีจ่ ำ� เลยด่าโจทก์วา่ “อีแก่ไม่ยตุ ธิ รรม มึงท�ำให้ครอบครัว
กูแตกแยก กูจะไม่อยู่กับมึงแล้ว” เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ซึ่งเป็นอา จ�ำเลยเรียกโจทก์ว่า อีแก่
ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ ย่อมท�ำให้โจทก์อับอายเสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม
ป.พ.พ. มาตรา 531 (2) โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำ� เลยประพฤติเนรคุณได้ ก่อนฟ้องคดี
จ�ำเลยจดทะเบียนจ�ำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 27546 พร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้อื่น เมื่อถอนคืนการให้ จ�ำเลย
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-61

ต้องส่งคืนทรัพย์สนิ แก่โจทก์ตามบทบัญญัตวิ า่ ด้วยลาภมิควรได้ โดยคืนทีด่ นิ ดังกล่าวแก่โจทก์ตามสภาพที่


เป็นอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 413 วรรคหนึ่งและมาตรา 534
ในกรณีที่รับทรัพย์สินไว้โดยทุจริต ผู้รับทรัพย์ไว้หากพิจารณาได้ว่าทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบ
สลายไปแม้เพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม ยังต้องรับผิดชอบที่จะต้องคืนทรัพย์นั้นให้เต็มตัวทรัพย์ จะคืนตาม
สภาพที่เป็นอยู่ไม่ได้ ความทุจริตไม่ได้รับความคุ้มครองกันตามกฎหมาย ค�ำว่า “โดยทุจริต” ในที่นี้

.
รวมหมายถึงไม่สุจริตซึ่งตรงข้ามกับสุจริตและยังรวมไปถึงการที่รับทรัพย์นั้นไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์
อันมิชอบด้วยกฎหมายส�ำหรับตนเองหรือผูอ้ นื่ อีกด้วย เพราะเมือ่ รับไว้โดยรูว้ า่ ไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะได้รบั ซึง่ จะต้อง
สธ สธ
คืนให้แก่เขาไป เมื่อยังรับเอาไว้ก็เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยทุจริต ไม่ใช่หมายเฉพาะรับทรัพย์ไว้โดย

มส . มส
รู้ว่าไม่มีสิทธิจะรับทรัพย์นั้นในกรณีไม่สุจริตเท่านั้น เช่น คนเลี้ยงโคได้รับเอาโคของผู้อื่นที่วิ่งเข้ามาอยู่ใน
ฝูงโคของตนโดยรู้อยู่เช่นนั้นแล้ว ถือเป็นลาภโดยทุจริต ต่อมาโคนั้นป่วยเป็นโรคระบาดตาย คนเลี้ยงโคก็
ยังต้องรับผิดต่อเจ้าของโคนั้น แต่มีข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องรับผิดอยู่ประการเดียวเท่านั้น คือ ผู้รับทรัพย์ไว้
สามารถพิสจู น์ได้วา่ ถึงอย่างไรทรัพย์สนิ นัน้ ก็คงต้องสูญหายหรือบุบสลายอยูน่ นั่ เอง เช่น จากตัวอย่างข้างต้น
หากผูร้ บั โคไว้นนั้ สามารถพิสจู น์ได้วา่ โคนัน้ เป็นโรคมาก่อนทีจ่ ะรับไว้ ถึงอย่างไรโคนัน้ ก็ตอ้ งตายอย่างแน่นอน

จึงจะพ้นความรับผิดในการคืนทรัพย์
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2498 แดงโอนโกดังให้ดำ� 1 หลัง ต่อมาเจ้าพนักงานพิทกั ษ์ทรัพย์ของ
แดงเพิกถอนการโอนรายนี้ ปรากฏว่าโกดังถูกพายุไต้ฝุ่นพัดพังไปหมดแล้ว เช่นนี้ แม้จะรับโอนไว้โดย
ธ.

ไม่สุจริตหรือทุจริต แต่โกดังยังคงตั้งอยู่ในที่เดิม ถึงอย่างไรก็ต้องพัง ด�ำไม่ต้องรับผิดชอบราคาโกดังแก่


เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
1.3 การคืนทรัพย์ที่ตกเป็นพ้นวิสัย ในข้อนี้ มาตรา 414 บัญญัติว่า “ถ้าการคืนทรัพย์ตกเป็นพ้น
วิสัยเพราะสภาพแห่งทรัพย์สินที่ได้รับไว้นั้นเองก็ดี หรือเพราะเหตุอย่างอื่นก็ดี และบุคคลได้รับทรัพย์สิน
ไว้โดยสุจริต ท่านว่าบุคคลเช่นนั้นจ�ำต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน
ถ้าบุคคลได้รับทรัพย์สินนั้นไว้โดยทุจริตท่านว่าต้องใช้ราคาทรัพย์สินนั้นเต็มจ�ำนวน”
.ม
ความในมาตรานี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากมาตรา 413 ดังได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งความในมาตรา 414 นี้
กล่าวถึงกรณีที่ทรัพย์จะคืนนั้นตกเป็นพ้นวิสัยเลย ไม่ใช่เพียงแต่สูญหายหรือบุบสลายเท่านั้น
การคืนทรัพย์อาจจะตกเป็นพ้นวิสยั ได้ เช่นเดียวกับการช�ำระหนีต้ กเป็นพ้นวิสยั ท�ำให้หลุดพ้นจาก
การช�ำระหนีไ้ ป ซึง่ การพ้นวิสยั ในทีน่ อี้ าจมีได้หลายอย่าง เช่น สภาพแห่งทรัพย์เสือ่ มสลายหมดไปเองตาม
ธรรมชาติ หรืออาจเพราะเหตุอนื่ เช่น ขายหรือโอนไปแล้ว ไม่อาจจะเอาทรัพย์นนั้ กลับคืนมาได้ ย่อมถือว่า
การคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัย
เมือ่ การทีจ่ ะต้องคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสยั หากบุคคลได้รบั ทรัพย์สนิ ไว้โดยสุจริตก็ไม่ตอ้ งรับผิดชอบ
ในเหตุที่การคืนทรัพย์ตกเป็นพ้นวิสัย ถ้าไม่มีทรัพย์เหลืออยู่เลยก็ไม่มีอะไรต้องคืน แต่หากมีอะไรเหลืออยู่
ก็ตอ้ งคืนให้ไป หรือหากได้อะไรมาทดแทนทรัพย์ทเ่ี สือ่ มสลายหมดไป หรือทีจ่ ำ� หน่ายจ่ายโอนไปนัน้ ก็ตอ้ ง
คืนให้เขาไป
สธ ส
5-62 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ส่วนในกรณีที่บุคคลผู้รับทรัพย์สินไว้โดยทุจริตก็ต้องรับผิดใช้ราคานั้นเต็มจ�ำนวน โดยแม้จะไม่มี


ทรัพย์นั้นเหลืออยู่ก็ต้องใช้ราคาทรัพย์นั้น แต่หากทรัพย์นั้นยังเหลืออยู่เท่าใดก็ต้องคืนทรัพย์สินไป และใช้
ราคาทรัพย์ที่ขาดหายไป
1.4 การคืนดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สนิ นัน้ ในข้อนีม้ าตรา 415 บัญญัตวิ า่ “บุคคลผูใ้ ดรับทรัพย์สนิ
ไว้โดยสุจริต ย่อมจะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่

. ถ้าผู้ที่ได้รับไว้จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใด ให้ถือว่าผู้นั้นตกอยู่ในฐานะทุจริต จ�ำเดิมแต่เวลาที่


เรียกคืนนั้น”
สธ สธ
ตามปกติแล้ว ผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือเจ้าของทรัพย์สิน ย่อมมีสิทธิได้ซึ่งดอกผลแห่ง

มส . มส
ทรัพย์สินนั้น บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินไว้โดยสุจริตต้องถือว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ตลอดเวลาที่สุจริตอยู่ ดังนั้น ใน
ระหว่างนั้นหากมีดอกผลเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นดอกผลธรรมดาหรือดอกผลนิตินัย ผู้นั้นย่อมมีสิทธิในดอกผล
นั้นตามกฎหมาย เหตุนี้เมื่อกฎหมายคุ้มครองผู้สุจริตตลอดเวลาที่สุจริตนั้น ผู้รับทรัพย์สินไว้ก็ต้องได้ดอก
ผลนั้น และในการแปลกลับกัน หากบุคคลนั้นได้รับทรัพย์สินไว้โดยไม่สุจริตตั้งแต่แรกก็จะไม่ได้ดอกผลใน
ทรัพย์สนิ นัน้ เพราะไม่สามารถทีจ่ ะอ้างกรรมสิทธิห์ รือความเป็นเจ้าของแห่งทรัพย์สนิ ทีร่ บั ไว้นนั้ ได้ และใน

กรณีที่แต่แรกได้รับทรัพย์ไว้โดยสุจริต ต่อมารู้ว่าจะต้องคืนทรัพย์สินนั้น แต่ก็ยังไม่ได้คืน ถือว่าตกอยู่ใน
ฐานะทุจริตตั้งแต่เวลาที่เรียกคืน เช่นนี้ หลังจากทุจริตแล้วนั้น ผู้รับไว้จะไม่ได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์นั้น
นับตั้งแต่เวลาที่เรียกคืน แต่ก็คงได้ดอกผลตลอดเวลาที่รับไว้โดยสุจริตนั้น เพราะกฎหมายใช้ค�ำว่า “ย่อม
จะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้น ตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่”
ธ.

ส่วนความในวรรคสองนั้น แปลความได้ว่า ในตอนแรกนั้นได้รับทรัพย์สินนั้นไว้โดยสุจริต ต่อมา


รู้ว่าจะต้องคืนทรัพย์สินเมื่อใด ย่อมตกอยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่เวลาที่เรียกคืน ซึ่งตามต�ำราเห็นว่า “ตั้งแต่
เวลาที่เรียกคืน” หมายถึง การเรียกร้องเป็นคดีต่อศาลเพราะปัญหาเรื่องสุจริตหรือทุจริตไม่เกี่ยวกับการ
ผิดนัดแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาล ต้องถือว่ารู้แล้วว่าจะต้องคืนเป็นการทุจริตตั้งแต่เวลา
นัน้ ซึง่ ทางศาลก็ถอื เอาวันทีก่ ารส่งหมายเรียกตามค�ำฟ้องนัน้ มีผลว่าจ�ำเลยได้รบั แล้ว76 เป็นจุดเริม่ ต้นการ
นับตั้งแต่เวลาที่เรียกคืน
.ม
อุทาหรณ์
(1) ค่าเช่าเป็นดอกผลของทีด่ นิ ผูร้ บั ไว้ถอื ว่าตกอยูใ่ นฐานะทุจริตนับแต่เวลาทีเ่ รียกคืน ตามมาตรา
415 วรรคสอง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6923/2562 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์มิได้บอกกล่าวให้จำ� เลยที่ 3 คืนค่า
เช่าซึง่ เป็นดอกผลของทีด่ นิ พิพาทของโจทก์กอ่ นฟ้องคดี จ�ำเลยที่ 3 ย่อมตกอยูใ่ นฐานะทุจริตนับแต่เวลาที่
โจทก์ฟ้องเรียกคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง ส่วนจ�ำเลยที่ 4 ได้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดิน
พิพาทและเป็นผู้ชำ� ระค่าเช่าให้แก่จ�ำเลยที่ 3 จ�ำเลยที่ 4 ต้องรับผิดกับจ�ำเลยที่ 3 ชดใช้คืนค่าเช่าแก่โจทก์
(2) การคืนเงินให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้รับไว้ตกอยู่ในฐานะทุจริตจ�ำเดิม
แต่เวลาที่ถูกเรียกคืน ตามมาตรา 415 วรรคสอง

76
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2520
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-63

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2560 การช�ำระหนีข้ องลูกหนีท้ ี่ 2 เป็นการโมฆะตามพระราชบัญญัติ


ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 24 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 เงินที่
ผู้คัดค้านที่ 3 รับไว้จากลูกหนี้ที่ 2 จ�ำต้องคืนให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 2 ฐานลาภมิควรได้ ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 412 หากมีการเรียกเงินคืน แต่ผู้คัดค้านที่ 3 ไม่คืนให้ ต้องถือว่าผู้คัดค้านที่ 3 ตกอยู่
ในฐานะทุจริตจ�ำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง และตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้อง

.
เสียดอกเบี้ยนับแต่เวลานั้นเป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และ 204 วรรคหนึ่ง ประกอบ
ด้วยมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
สธ สธ
(3) ผูเ้ ช่าซือ้ ตกอยูใ่ นฐานะทุจริตนับแต่เวลาทีผ่ ใู้ ห้เช่าซือ้ เรียกรถยนต์ทเี่ ช่าซือ้ คืน ตามมาตรา 415

มส . มส
วรรคสอง
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14208/2558 โจทก์ฟอ้ งให้จำ� เลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ทเี่ ช่าซือ้ แก่โจทก์เพราะ
เหตุที่จ�ำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้
จ�ำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจ�ำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่
โจทก์ในเรื่องลาภมิควรได้หรือไม่ เพราะโจทก์ไม่ได้กล่าวมาในค�ำฟ้อง แม้สัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะ จ�ำเลย

ที่ 1 อาจจะไม่มีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้ก็ตาม แต่เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตามลักษณะลาภมิควรได้
ซึง่ ต้องไปว่ากล่าวกันอีกต่างหาก ดังนัน้ ทีศ่ าลอุทธรณ์ภาค 8 วินจิ ฉัยว่า เมือ่ สัญญาเช่าซือ้ เป็นโมฆะ จ�ำเลย
ที่ 1 ไม่มสี ทิ ธิยดึ รถยนต์ทเี่ ช่าซือ้ ไว้ตอ่ ไป โจทก์ยอ่ มอาศัยอ�ำนาจแห่งกรรมสิทธิต์ ดิ ตามเอารถยนต์ทเี่ ช่าซือ้
คืนจากจ�ำเลยที่ 1 ได้ โดยถือว่าจ�ำเลยที่ 1 ตกอยู่ในฐานะทุจริตนับแต่เวลาที่โจทก์เรียกรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 415 วรรคสอง
ธ.

อย่างไรก็ตาม ค�ำว่า “นับตั้งแต่ที่เรียกคืน” ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้น ไม่จำ� เป็นต้องนับแต่วัน


ฟ้องศาล อาจจะเป็นเรือ่ งทีค่ กู่ รณีเรียกคืนเองก็ได้ ก็ตอ้ งถือว่าผูท้ ไี่ ด้รบั ทรัพย์ไว้รวู้ า่ จะต้องคืนทรัพย์นนั้ แล้ว
ต้องตกอยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่เวลาที่เรียกคืนนั้นแล้ว
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2548 ในกรณีทมี่ หี น้าทีต่ อ้ งคืนเงิน เมือ่ คูก่ รณีได้เรียกเงินนัน้ คืนแล้ว
เมื่อไม่ยอมคืนให้ถือว่าตกอยู่ในฐานะทุจริตจ�ำเดิมแต่เวลาที่ถูกเรียกคืนตามมาตรา 415 วรรคสอง และตก
.ม
เป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อไป นับแต่เวลานั้นเป็นต้นไป
2. หน้าที่ของฝ่ายที่เรียกทรัพย์คืน
ในเรื่องลาภมิควรได้ กฎหมายได้ก�ำหนดหน้าที่ของฝ่ายที่เรียกทรัพย์คืนไว้เหมือนกันว่า จะต้อง
ชดใช้อะไรให้แก่ผตู้ อ้ งคืนทรัพย์บา้ ง โดยจะเอาแต่ได้ฝา่ ยเดียวไม่ได้จะท�ำให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึน้ หน้าที่
ของฝ่ายที่เรียกทรัพย์คืน คือ ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ผู้รับทรัพย์สินไว้ได้ใช้จ่ายไปเกี่ยวกับทรัพย์นั้น โดยใน
มาตรา 416 จะว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อบ�ำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์นั้นให้คงสภาพเดิมอยู่ มาตรา 417 ได้
ขยายไว้ถึงค่าใช้จ่ายอย่างอื่นรวมทั้งการดัดแปลงต่อเติม ส่วนมาตรา 418 บัญญัติต่อเนื่องจากมาตรา 417
ในกรณีทรี่ บั ทรัพย์ไว้โดยทุจริต ซึง่ หน้าทีข่ องฝ่ายทีเ่ รียกทรัพย์คนื พอแยกพิจารณาได้เป็น 3 กรณี คือ (1)
การชดใช้ค่าใช้จ่ายอันควรเพื่อบ�ำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน (2) การชดใช้ค่าใช้จ่ายอย่างอื่นกรณีรับ
ไว้โดยสุจริต และ (3) การดัดแปลงหรือต่อเติมกรณีรับไว้โดยสุจริต ดังนี้
สธ ส
5-64 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

2.1 การชดใช้ค่าใช้จ่ายอันควรเพื่อบ�ำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน ในข้อนี้ มาตรา 416


บัญญัตวิ า่ “ค่าใช้จ่ายทั้งหลายอันควรแก่การเพื่อรักษาบ�ำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ท่านว่าต้องชดใช้
แก่บุคคลผู้คืนทรัพย์สินนั้นเต็มจ�ำนวน
แต่บคุ คลเช่นว่านีจ้ ะเรียกร้องใช้ชดใช้คา่ ใช้จา่ ยตามธรรมดาเพือ่ บ�ำรุงซ่อมแซมทรัพย์สนิ นัน้ หรือ
ค่าภาระติดพันที่ต้องเสียไปในระหว่างที่ตนคงเก็บดอกผลอยู่นั้นหาได้ไม่”

. บทบัญญัตติ ามมาตรานีจ้ ะเห็นได้วา่ ปกติการคืนทรัพย์สนิ ในทางลาภมิควรได้นนั้ ผูท้ รี่ บั ทรัพย์สนิ


ไว้ต้องคืนทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่ โดยมิต้องรับผิดชอบในการที่ทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลาย
สธ สธ
นอกจากกรณีรบั ทรัพย์ไว้ทจุ ริตเท่านัน้ จึงจะต้องรับผิดชอบ ซึง่ เท่ากับคืนตามสภาพทีเ่ ป็นอยูน่ นั่ เอง ดังนัน้

มส . มส
หากทรัพย์สินนั้นสูญหายหรือบุบสลายไปจนหมดสิ้น ก็ไม่มีอะไรเหลืออยู่จะคืนให้แม้แต่รับไว้โดยทุจริต ก็
เพียงแต่ต้องรับผิดชอบในความสูญหาย หรือบุบสลายจนหมดไปนั้น ดังนั้น หากผู้ที่ได้รับทรัพย์ไว้ได้ออก
ค่าใช้จ่ายอันควรแต่การเพื่อรักษาบ�ำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น เพื่อยังให้คงสภาพเดิมหรือสามารถให้
คงรูปอยูเ่ พือ่ ใช้สอยได้ ก็ยอ่ มจะเป็นธรรมทีผ่ เู้ รียกทรัพย์สนิ คืนจะต้องชดใช้คา่ ใช้จา่ ยเหล่านัน้ ให้ดว้ ย เพราะ
มิฉะนั้นแล้วทรัพย์สินนั้นก็จะสูญหายหรือบุบสลายไปหมดแล้ว ซึ่งจะไม่ได้อะไรคืนเลย ดังนั้น ไม่ว่าผู้รับ

ทรัพย์ไว้นนั้ จะรับไว้โดยสุจริตหรือทุจริต ผูท้ เี่ รียกทรัพย์คนื จะต้องชดใช้คา่ ใช้จา่ ยดังกล่าวนีแ้ ก่ผคู้ นื ทรัพย์สนิ
นั้นทั้งสิ้น เพราะเป็นการชดใช้ให้ในกรณีสามารถรักษารูปทรงของทรัพย์สินไว้ได้โดยไม่สูญสิ้นสภาพไป
ด้วยเหตุน้ี หากว่าผูท้ ไี่ ด้รบั ทรัพย์สนิ ไว้ได้ใช้จา่ ยในการบ�ำรุงรักษาโดยทัว่ ไป ไม่วา่ จะเป็นการบ�ำรุง
รักษาหรือซ่อมแซมโดยปกติหรือเป็นการซ่อมแซมใหญ่ ซึ่งเป็นค่าใช้ที่ได้จ่ายไปตามสมควร ไม่ใช้จ่ายไป
ธ.

โดยไม่มเี หตุอนั ควรทีต่ อ้ งใช้ อย่างนีแ้ ล้วผูเ้ รียกคืนทรัพย์สนิ ต้องชดใช้แก่บคุ คลผูค้ นื ทรัพย์สนิ นัน้ เต็มจ�ำนวน
อย่างไรก็ตาม หากผู้ได้รับทรัพย์สินไว้นั้น หากตนได้เก็บดอกผลในทรัพย์นั้นอยู่ เช่น ให้เช่าบ้าน
นั้นโดยได้รับค่าเช่าแล้ว ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายธรรมดาหรือค่าใช้จ่ายปกติเพื่อบ�ำรุง
ซ่อมแซมทรัพย์สนิ ให้คงสภาพเดิม นอกจากกรณีทเี่ ป็นการซ่อมแซมใหญ่จงึ จะสามารถเรียกร้องได้ นอกจากนี้
ค่าภาระติดพันอื่นๆ ที่จะต้องเสียไป เช่น ค่าภาษี ค่าที่ดินหรือโรงเรือน หรือภาษีที่ให้เช่าทรัพย์นั้นใน
ระหว่างที่ผู้รับทรัพย์สินไว้เก็บดอกผลอยู่ ย่อมไม่อาจจะเรียกให้ชดใช้ได้ เพราะผู้รับทรัพย์สินไว้ได้ดอกผล
.ม
อันไม่เป็นธรรม
2.2 การชดใช้ค่าใช้จ่ายอย่างอื่นกรณีรับไว้โดยสุจริต ในข้อนีต้ ามมาตรา 417 บัญญัตวิ า่ “ในส่วน
ค่าใช้จา่ ยอย่างอืน่ นอกจากทีก่ ล่าวมาในวรรคต้นแห่งมาตราก่อนนัน้ บุคคลผูค้ นื ทรัพย์สนิ จะเรียกให้ชดใช้
แต่เฉพาะที่เสียไปในระหว่างที่ตนท�ำการโดยสุจริต และเมื่อทรัพย์สินนั้นได้มีราคาเพิ่มสูงขึ้นเพราะ
ค่าใช้จ่ายนั้นในเวลาที่คืน และจะเรียกได้ก็แต่เพียงเท่าราคาที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
อนึ่งบทบัญญัติแห่งมาตรา 415 วรรค 2 นั้น ท่านให้น�ำมาบังคับใช้ด้วยแล้วแต่กรณี”
ในมาตรานี้เป็นความที่เชื่อมโยงมาจากมาตรา 416 ซึ่งต้องมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบ�ำรุงหรือ
ซ่อมแซมทรัพย์สินนั้นให้คงสภาพเดิมอยู่ แต่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบ�ำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน ท�ำให้
ทรัพย์สนิ มีราคาเพิม่ สูงขึน้ อันได้แก่คา่ ใช้จา่ ยในการต่อเติมดัดแปลงทรัพย์สนิ นัน้ ซึง่ ค่าใช้จา่ ยนีผ้ คู้ นื ทรัพย์
จะเรียกให้ชดใช้ได้เฉพาะระหว่างทีต่ นท�ำการโดยสุจริตอยู่ คือ ไม่รถู้ งึ การณ์ทจี่ ะต้องคืนทรัพย์ แต่หากรูว้ า่
จะต้องถูกเรียกคืนเมื่อใด ก็ถือว่าไม่สุจริตหรือทุจริตตั้งแต่เวลานั้น หากได้กระท�ำซ่อมแซมต่อเติมหลังจาก
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-65

ทุจริตแล้ว ก็จะไม่มสี ทิ ธิได้รบั ชดใช้คนื คงเรียกให้ชดใช้คนื ได้เฉพาะกรณีทยี่ งั คงสุจริตอยูเ่ ท่านัน้ เพราะใน


วรรคสองของมาตรานี้ให้น�ำความในมาตรา 415 วรรคสองมาใช้บังคับแล้วแต่กรณี ดังนั้น หากทุจริต
เมื่อใด ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ท�ำขึ้นภายหลังนั้นไม่อาจจะเรียกได้
นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เหล่านี้จะเรียกเอาได้ต้องประกอบด้วยเงื่อนไขอีก 2 ประการ คือ ต้อง
ไม่เกินราคาทรัพย์ที่สูงเพิ่มขึ้นเพราะค่าใช้จ่ายในการต่อเติมทรัพย์สินนั้น และต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายที่ได้

.
เสียไปจริงด้วย ดังนั้น หากเมื่อใช้จ่ายไปแล้วไม่ทำ� ให้ราคาทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น ก็ไม่อาจจะเรียกเอาค่าใช้จ่าย
นี้ได้ ก็คงจะได้เป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 416 เท่านั้น และหากได้ใช้จ่ายไปจ�ำนวนสูงกว่าราคาทรัพย์ที่
สธ สธ
เพิม่ ขึน้ ก็คงได้เฉพาะเท่าทีค่ า่ ใช้จา่ ยได้จา่ ยไปจริง จะจ่ายสูงกว่าราคาทรัพย์ทเี่ พิม่ ขึน้ ไม่ได้ เช่น ค่าใช้จา่ ย

มส . มส
ในการต่อเติมดัดแปลงบ้านที่ได้รับมาเป็นเงิน 300,000 บาท ซึ่งท�ำให้หุ้นนั้นมีราคาสูงขึ้นเพียงจ�ำนวน
200,000 บาท เท่านั้น จะเรียกเอาตามราคาที่จ่ายไปจริงไม่ได้เพราะจะท�ำให้ขาดความเป็นธรรม
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2511 บุตรคนต่างด้าวซื้อที่ดินจากเจ้าของแล้วปรับปรุงที่ดิน แต่ทาง
การไม่อนุญาตให้ซอื้ จึงให้นายแดงเป็นผูซ้ อื้ นายแดงก็ไม่ได้รบั อนุญาตอีก เช่นนี้ บุตรคนต่างด้าวเรียกเงิน

ที่จ่ายบ�ำรุงที่ดินไปคืนได้เท่าที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นตามมาตรา 417 เพราะสุจริตคิดว่าจะได้รับอนุญาตให้ซื้อ
2.3 การดัดแปลงหรือต่อเติมกรณีรับไว้โดยทุจริต ในข้อนี้มาตรา 418 บัญญัติว่า “ถ้าบุคคลรับ
ทรัพย์สินอันมิควรได้ไว้โดยทุจริต และได้ท�ำการดัดแปลงหรือต่อเติมขึ้นในทรัพย์สินนั้น ท่านว่าบุคคล
เช่นนั้นต้องจัดท�ำทรัพย์สินนั้นให้คืนคงสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองแล้วจึงส่งคืนเว้นแต่เจ้าของ
ทรัพย์สินจะเลือกให้ส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของจะใช้ราคาค่าท�ำดัดแปลงหรือต่อเติม
ธ.

หรือใช้เงินจ�ำนวนหนึ่งเป็นราคาทรัพย์สินเท่าที่เพิ่มขึ้นนั้นก็ได้ แล้วแต่จะเลือก
ถ้าในเวลาที่จะต้องคืนทรัพย์นั้นเป็นพ้นวิสัยจะท�ำให้ทรัพย์สินคืนคงสภาพเดิมได้ หรือถ้าท�ำไป
ทรัพย์สินจะบุบสลายไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้ได้รับไว้จะต้องส่งคืนทรัพย์สินตามสภาพที่เป็นอยู่ และไม่มี
สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเพราะการดัดแปลงหรือต่อเติมนั้นได้”
มาตรานี้เป็นมาตราที่ต่อเนื่องมาจากมาตรา 417 นั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตาม
.ม
มาตรา 417 นั้น ก็คือค่าใช้จ่ายในการท�ำการดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินที่ได้รับไว้นั้นตามมาตรา 418 นี้
เอง หรืออาจจะเป็นค่าใช้จา่ ยอย่างอืน่ อีกก็ได้ ค่าใช้จา่ ยในการดัดแปลงหรือต่อเติมนี้ หากผูร้ บั ทรัพย์สนิ ได้
รับไว้แต่แรกโดยสุจริต ก็สามารถที่จะได้รับการชดใช้ตามความในมาตรา 417 หากได้รับทรัพย์ไว้แต่แรก
นั้นโดยทุจริตก็จะต้องได้รับผลตามมาตรา 418
ค�ำว่า “รับไว้โดยทุจริต” ตามมาตรา 418 ย่อมหมายถึง รับไว้ตั้งแต่แรกมีความทุจริตเลยทีเดียว
ผิดกับโดยทุจริตตามความในวรรคสองของมาตรา 417 เพราะโดยทุจริตตามมาตรา 417 นัน้ เป็นเรือ่ งทีเ่ กิด
ขึน้ ภายหลังจากทีร่ บั ทรัพย์ไว้โดยสุจริตแล้ว ซึง่ ผลจะต้องปฏิบตั ติ ามมาตรา 417 ไม่ใช่ปฏิบตั ติ ามมาตรา 418
ดังนั้น ถ้าได้ท�ำการดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินที่ได้รับไว้แต่แรกนั้นโดยทุจริต ในการคืน
ทรัพย์สิน ผู้ที่รับทรัพย์สินนั้นไว้ต้องจัดท�ำทรัพย์สินนั้นให้คงสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง แล้วจึง
ส่งคืน แต่ในการนี้ผู้เรียกทรัพย์คืนจะเลือกให้ส่งคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ คือ ตามสภาพที่ดัดแปลงหรือ
ต่อเติมแล้วนั้นก็ได้ หากผู้เรียกทรัพย์คืน เรียกให้คืนตามสภาพที่เป็นอยู่ กฎหมายก็มีทางให้ผู้เรียกทรัพย์
สธ ส
5-66 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

คืนเลือกได้อีกกรณีหนึ่ง คือ เลือกที่จะใช้ราคาค่าดัดแปลงหรือต่อเติม หรือจะใช้เงินจ�ำนวนหนึ่งเป็นราคา


ทรัพย์สินเท่าที่เพิ่มขึ้นนั้นก็ได้ แล้วแต่ว่าจ�ำนวนเงินอันใดจะเสียน้อยกว่า ผู้เรียกทรัพย์สินคืนก็คงจะเลือก
ชดใช้ตามนั้น คงจะหายากที่ผู้เรียกทรัพย์คืนจะเลือกชดใช้ในจ�ำนวนเงินที่มากกว่า เหตุที่ผู้เรียกทรัพย์คืน
ต้องใช้เงินให้กเ็ พราะผูเ้ รียกคืนทรัพย์ไม่มสี ทิ ธิทจ่ี ะถือเอาประโยชน์อนั ได้จากการดัดแปลงต่อเติมของผูค้ นื
ทรัพย์ไว้เปล่าๆ ย่อมจะไม่เป็นธรรม

. ส�ำหรับในกรณีทกี่ ารดัดแปลงต่อเติมนัน้ ไม่สามารถท�ำให้ทรัพย์กลับคืนสูส่ ภาพเดิมได้ถอื ว่าเป็นการ


พ้นวิสัยหรือว่าถ้าได้ท�ำไปทรัพย์สินนั้นจะบุบสลายได้ตามมาตรา 418 วรรคสอง เช่น ช่างก่อสร้างที่ว่าจ้าง
สธ สธ
มาต่อเติมท�ำผิดแบบ จนไม่อาจคืนสภาพอาคารอย่างเดิมได้ ในกรณีนี้ ผู้ได้รับทรัพย์สินไว้จะต้องส่งคืน

มส . มส
ทรัพย์ตามสภาพที่เป็นอยู่ และไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเพราะการ
ดัดแปลงหรือต่อเติมนั้นได้

3. อายุความเรียกคืนลาภมิควรได้
อายุความที่จะกล่าวต่อไปนี้ ถือว่าเป็นบทบัญญัติเฉพาะเรื่องอายุความของลาภมิควรได้เท่านั้น

เมือ่ ได้ความว่าเป็นลาภมิควรได้แล้วต้องใช้อายุความเรือ่ งลาภมิควรได้ จะใช้อายุความทัว่ ไปย่อมไม่ได้ ส่วน
ในกรณีที่ไม่ใช่เรื่องลาภมิควรได้จะใช้อายุความลาภมิควรได้บังคับไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะมาตรา 419 เป็น
เจตนารมณ์ ข องกฎหมายที่ บั ญ ญั ติ อ ายุ ค วามไว้ เ ฉพาะเพื่ อ ให้ แ ตกต่ า งจากอายุ ค วามทั่ ว ไป ดั ง นั้ น
แม้กฎหมายลักษณะอืน่ จะให้นำ� ลักษณะลาภมิควรได้มาใช้บงั คับได้อนุโลม ต้องใช้อายุความทัว่ ไปหรือตาม
ธ.

กฎหมายลักษณะนัน้ ๆ บังคับ จะไม่ใช้อายุความเรือ่ งลาภมิควรได้นเี้ พราะเป็นการบังคับตามกฎหมายนัน้ ๆ


ไม่ใช่บังคับเรื่องลาภมิควรได้ เพียงให้น�ำบทบัญญัติลาภมิควรได้ไปใช้ในเรื่องผลบังคับเท่านั้น เช่น ฟ้อง
เรียกเงินคืนเพราะผิดสัญญาไม่ใช่เรือ่ งลาภมิควรได้ ไม่ใช้อายุความเรือ่ งลาภมิควรได้77 หรือการทีผ่ วู้ า่ จ้าง
ช�ำระค่าจ้างให้ผู้รับจ้างไปก่อนงานเสร็จ โดยยังมิได้รับมอบงานที่ทำ� แล้วงานนั้นวินาศลง ผู้ว่าจ้างจึงเรียก
เงินคืน เป็นกรณีเรียกเงินฐานผิดสัญญา มิใช่ลาภมิควรได้จึงจะน�ำอายุความตามมาตรา 419 มาใช้ไม่ได้78
การที่ผู้เช่าฟ้องเรียกเงินกินเปล่าคืนจากผู้ให้เช่า เพราะผู้ให้เช่าไม่ให้ผู้เช่าอยู่ครบก�ำหนดเวลาที่ตกลงกัน
.ม
ไม่ใช่เรือ่ งลาภมิควรได้ตอ้ งใช้อายุความทัว่ ไปซึง่ มีกำ� หนด 10 ปี79 การช�ำระภาษีตามทีเ่ รียกเก็บตามประมวล
กฎหมายรัษฎากรเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ไม่ใช่ลาภมิควรได้ ที่จะใช้อายุความ 1 ปี80
หรือการคืนเงินค่าจ้างเพิ่มทีจ่ ่ายไปตามค�ำสั่งของนายจ้าง ไม่ใช่ลาภมิควรได้ต้องใช้อายุความ 10 ปี81 หรือ
เมื่อได้ยกอายุความเรื่องตั๋วเงินขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะยกอายุความเรื่องลาภมิควรได้มาปรับแก่คดีไม่ได้82

77
ดูคำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2502, 3534/2546, 6782/2549 ประกอบ
78
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2509
79
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2516
80
ดูค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2534, 3983/2553 ประกอบ
81
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-32/2546
82
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2487
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-67

ในกรณีทตี่ อ้ งบังคับในเรือ่ งลาภมิควรได้ จะต้องใช้อายุความลาภมิควรได้นจี้ ะใช้อายุความเรือ่ งอืน่


ไม่ได้ เช่น ฟ้องขอให้คืนฐานลาภมิควรได้ ไม่ได้ฟ้องขอให้บังคับในเรื่องซื้อขายขาดตกบกพร่อง ต้องน�ำ
อายุความลาภมิควรได้ตามมาตรา 419 มาใช้บังคับ จะน�ำอายุความตามมาตรา 467 มาบังคับมิได้83 หรือ
การเรียกเงินภาษีที่จ่ายคืนไปเกินต้องใช้อายุความลาภมิควรได้84
ในเรื่องอายุความลาภมิควรได้นี้ มาตรา 419 บัญญัติว่า “ในเรื่องลาภมิควรได้นั้นท่านห้ามมิให้

.
ฟ้องคดี เมื่อพ้นก�ำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่
เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น”
สธ สธ
บทบัญญัตดิ งั กล่าวนีจ้ ะเห็นได้วา่ อายุความเรือ่ งลาภมิควรได้มกี ำ� หนดเป็น 2 ระยะ คือ มีกำ� หนด

มส . มส
1 ปีนบั แต่เวลาทีฝ่ า่ ยผูเ้ สียหายรูว้ า่ ตนมีสทิ ธิเรียกคืน และหากผูเ้ สียหายยังไม่รถู้ งึ สิทธิทจี่ ะเรียกคืน เมือ่ พ้น
สิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ย่อมขาดอายุความเช่นกัน
กรณีที่เป็นปัญหา ก็คือ ค�ำว่านับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนนั้นจะนับเมื่อใด
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า
“ในกรณีที่นิติกรรมเป็นโมฆะนั้น สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่กระท�ำเพื่อช�ำระหนี้ของฝ่ายผู้เสียเปรียบ

นัน้ ย่อมคิดขึน้ ทันทีทอี่ กี ฝ่ายหนึง่ ได้ทรัพย์มา ฯลฯ สิทธิของโจทก์ทจี่ ะเรียกคืนลาภมิควรได้จากจ�ำเลยก็ได้
เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่จ�ำเลยรับเงินจากโจทก์ เพราะการที่จ�ำเลยรับเงินไว้ตามโมฆะกรรมนั้น เป็นการได้
ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้มาตัง้ แต่ตน้ ค�ำว่า “นับตัง้ แต่เวลาทีร่ วู้ า่ ตนมีสทิ ธิเรียกคืน”
ตามมาตรา 419 นั้น หาได้หมายถึงเวลาที่ผู้เสียหายรู้กฎหมายไม่ หากแต่หมายถึงเวลาที่ผู้เสียหายรู้ถึง
ธ.

พฤติการณ์ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าตนมีสิทธิเรียกคืน เช่นนั้น”
ปัญหาที่ว่าโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนเงินที่กล่าวนี้แต่เมื่อใดนั้น ศาลนี้เห็นว่าตามธรรมดา เมื่อมี
กฎหมายบัญญัตไิ ว้แล้วว่า การซือ้ ขายทีด่ นิ ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าทีท่ า่ นว่าเป็นโมฆะ ดังนี้
แล้วจะต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้ว ผู้ใดจะอ้างว่าไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์
เฉพาะตัวเป็นพิเศษโดยแน่ชัดว่าตนไม่รู้ และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นนั้น ในคดีเรื่องที่โจทก์มิได้แสดง
อย่างไรเลยว่าโจทก์มิได้รู้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จ�ำเลยเป็นโมฆะ ฯลฯ ฉะนั้น อย่างน้อยจะต้องถือว่า
.ม
โจทก์ได้รวู้ า่ โจทก์มสี ทิ ธิเรียกคืนราคาทีด่ นิ อันเป็นลาภมิควรได้จากจ�ำเลย นับแต่วนั ทีจ่ ำ� เลยขัดขวางยึดถือ
เอาทีน่ าคืนไปเสียตามทีโ่ จทก์กล่าวในฟ้อง ฯลฯ และทัง้ ตามฟ้องของโจทก์กแ็ สดงว่า โจทก์ได้รเู้ ช่นนัน้ จริงๆ
ฯลฯ (เมื่อเป็นเวลาเกิน 1 ปี) คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความเสียแล้วตามบทบัญญัติมาตรา 41985
ตามแนวความคิดดังกล่าวทีจ่ ะเห็นได้วา่ การนับเวลาเริม่ ต้นทีฝ่ า่ ยผูเ้ สียหายรูว้ า่ ตนมีสทิ ธิเรียกคืน
ต้องนับแต่วนั ทีผ่ เู้ สียหายรูไ้ ด้ตามข้อเท็จจริง ไม่ใช่รใู้ นวันเวลาทีส่ ทิ ธินนั้ ได้มขี นึ้ แต่หากรูว้ า่ ตนมีสทิ ธิเรียก
คืนในเวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ก็ถือว่าตนได้รู้ว่ามีสิทธิเรียกคืนแล้วอายุความ 1 ปีเริ่มนับได้ ในกรณีที่รู้ว่าตน
มีสิทธิเรียกคืนในวันอื่นหลังจากสิทธินั้นได้มีขึ้นแล้ว ก็ต้องนับอายุความครบ 1 ปีนับแต่วันนั้น

83
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2502
84
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2546
85
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2487
สธ ส
5-68 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

อุทาหรณ์


ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054-1056/2551 โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ. การปฏิรูป
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ โดยมีเลขาธิการเป็นผู้แทนมีอ�ำนาจบังคับบัญชาและรับผิดชอบ จึงมีฐานะเป็น
ผู้แทนโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 หาใช่ปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุดรธานีไม่ เมื่อเลขาธิการ
โจทก์ลงนามรับทราบค�ำสั่งและสั่งการในวันที่ปรากฏในเอกสาร ถือว่าโจทก์ทราบเรื่องในวันที่ดังกล่าวนับ

.
ถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 419
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2552 โจทก์โดยกรรมการโจทก์เพิ่งรู้ว่า โจทก์ได้รับช�ำระราคารถ
สธ สธ
จักรยานยนต์ทเี่ ข้าใจกันว่าค้างช�ำระอยูใ่ ห้แก่จำ� เลยจนครบถ้วนไปแล้ว อันเป็นผลให้โจทก์กม็ สี ทิ ธิเรียกเงิน

มส . มส
ที่ช�ำระให้แก่จ�ำเลยตามฟ้องคดีนี้คืนในฐานะลาภมิควรได้เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ
วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่โจทก์โดยกรรมการโจทก์รู้สิทธิเรียกคืนนั้น จึงไม่ต้อง
ห้ามมิให้ฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 419
ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งโจทก์ช�ำระราคาที่ดินที่ซื้อจากจ�ำเลยเกินราคาจริงไป
จ�ำนวนหนึ่ง แต่โจทก์เข้าใจว่าจ�ำเลยส่งมอบที่ดินขาดจ�ำนวน โจทก์จึงฟ้องจ�ำเลยให้ส่งมอบที่ดินให้ตาม

จ�ำนวน ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเพราะความจริงเนื้อที่ดินที่ซื้อขายกันมีเท่าที่ส่งมอบเท่านั้น โจทก์จึง
มาฟ้องคดีนี้เรียกราคาที่ช�ำระเกินคืนไป ในปัญหาเรื่องอายุความตามมาตรา 419 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
“ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ได้ถือว่าจ�ำเลยผิดสัญญาตั้งแต่แรก โดยส่งที่ดินไม่ครบตามสัญญา
โจทก์จึงฟ้องเรียกที่ดินให้ครบตามสัญญา ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏเลยว่า โจทก์ได้รู้ว่าตนมีสิทธิที่จะเรียกเงิน
คืนในฐานลาภมิควรได้จนกระทั่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีเรื่องก่อน ฯลฯ และนับจากวันนั้นถึงวันฟ้อง
ธ.

ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่”86
ด้วยเหตุนี้ หากเป็นกรณีทฟี่ อ้ งเรียกคืนลาภมิควรได้แล้ว เมือ่ ยังไม่เกินระยะเวลา 1 ปีนบั แต่ทราบ
ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ย่อมไม่ขาดอายุความตามมาตรา 419 แต่ข้อส�ำคัญที่สุดก็คือ จะต้องได้ความว่าเรื่อง
นัน้ เป็นการเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ ไม่ใช่เป็นการเรียกในฐานอาศัยกฎหมายหรือสัญญา เช่น มีการรับ
เงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากฟ้องเรียกเงินนั้นคืน ซึ่งยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่ทราบว่า
.ม
ตนไม่มีสิทธิเรียกคืน จึงไม่ขาดอายุความ87
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์คดีนี้ยื่นค�ำให้การในคดีที่ศาลเป็นแรงงานกลางซึ่งโจทก์ในคดีนี้
เป็นจ�ำเลย เมือ่ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ว่าจ�ำเลยในคดีนซี้ งึ่ เป็นโจทก์ในคดีดงั กล่าวมิใช่ลกู จ้างของ
โจทก์ไม่มสี ทิ ธิได้รบั ค่าชดเชยจากโจทก์ แต่โจทก์คดีนฟี้ อ้ งเรียกค่าชดเชยคืนในฐานลาภมิควรได้จากจ�ำเลย
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2543 จึงพ้นก�ำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาด
อายุความ88

86
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่466/2442
87
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่1068/2531
88
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13827/2553
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-69

ส�ำหรับกรณีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นเกี่ยวกับอายุความ 10 ปีตามมาตรา 419 นั้น ต้องนับแต่


เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้นอย่างแท้จริง ผู้เสียหายจะรู้ถึงสิทธินั้นหรือไม่ไม่ส�ำคัญ หากฟ้องเมื่อพ้น 10 ปี นับ
แต่เวลาที่สิทธินั้นก็มีขึ้น ก็ถือว่าขาดอายุความ เช่น โจทก์ช�ำระเงินแก่จ�ำเลยเนื่องจากเป็นลูกหนี้ฐานมูล
ละเมิดที่โจทก์ทำ� เงินของจ�ำเลยขาดบัญชีไป ในกรณีนี้ ถ้าโจทก์ช�ำระเงินเกินไปกว่าจ�ำนวนหนี้ที่จะต้องรับ
ผิด จ�ำเลยก็ต้องคืนส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกคืนจึงมีขึ้นตั้งแต่วัน

.
ทีโ่ จทก์ชำ� ระเงินแก่จำ� เลยแล้ว นับแต่วนั นัน้ ถึงวันทีโ่ จทก์ฟอ้ งคดีนเี้ กินกว่า 10 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์จงึ ขาด
อายุความตามมาตรา 41989
สธ สธ
อุทาหรณ์ ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าอยู่ในบังคับอายุความเรียกคืนลาภมิควรได้ ตาม

มส . มส
ป.พ.พ. มาตรา 419
(1) ช�ำระค่าเช่าโดยผิดพลาด เป็นกรณีอายุความเรียกคืนลาภมิควรได้ ตามมาตรา 419
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2560 แม้ขณะที่มีการช�ำระค่าเช่าโดยผิดพลาดของพนักงานโจทก์
โจทก์ทราบว่าจ�ำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิท์ ดี่ นิ ทีใ่ ห้เช่าและไม่มสี ทิ ธิรบั เงินค่าเช่าจากโจทก์ แต่จะถือเป็น
เหตุให้โจทก์รู้ว่ามีสิทธิเรียกเงินคืนจากจ�ำเลยนับแต่วันดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะระหว่างเวลานั้นโจทก์ยังไม่

ทราบว่าพนักงานของโจทก์โอนเงินช�ำระค่าเช่าให้จ�ำเลยไปโดยส�ำคัญผิด เมื่อโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงิน
คืนจากจ�ำเลยปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ยังไม่พ้นก�ำหนดหนึ่งปี
นับแต่เวลาที่รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 419
(2) ลูกหนี้เรียกคืนการช�ำระหนี้ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดช�ำระหนี้ในส่วนที่เหลือจากการบังคับจ�ำนอง
ธ.

อยู่ในบังคับอายุความเรียกคืนลาภมิควรได้ตามมาตรา 419
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5325/2559 ศาลอุทธรณ์มคี ำ� พิพากษาให้แก้ไขเพิม่ เติมค�ำพิพากษาศาลชัน้
ต้นให้โจทก์ไม่ตอ้ งรับผิดช�ำระหนีใ้ นส่วนทีเ่ หลือจากการบังคับจ�ำนองซึง่ ยังไม่ได้รบั การช�ำระตามค�ำพิพากษา
ในคดีของศาลชัน้ ต้น ซึง่ จ�ำเลยไม่มสี ทิ ธินำ� ไปฟ้องขอให้พทิ กั ษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้โจทก์ซงึ่ เป็น
ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจ�ำนองเป็นบุคคลล้มละลายในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556 ถือได้ว่าโจทก์
ซึ่งเป็นฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 พฤษภาคม 2557 ยังไม่
.ม
พ้นก�ำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
(3) ขายฝากทีด่ นิ ตามหลักฐานการเสียภาษีบำ� รุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) เป็นโมฆะ โดยเข้าใจว่าสามารถ
ท�ำได้เพียงส่งมอบการครอบครอง อยู่ในบังคับอายุความเรียกคืนลาภมิควรได้ ตามมาตรา 419
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2357/2559 โจทก์เข้าใจว่าการขายฝากทีด่ นิ ตามหลักฐานการเสียภาษีบำ� รุง
ท้องที่ (ภ.บ.ท.5) สามารถท�ำได้เพียงการส่งมอบการครอบครองไม่ใช่โจทก์รวู้ า่ สัญญาขายฝากตกเป็นโมฆะ
ตั้งแต่ยื่นค�ำให้การและฟ้องแย้ง เมื่อค�ำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่อ่านให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 2
กรกฎาคม 2557 พิพากษายืนตามศาลชัน้ ต้นว่าการซือ้ ขายทีด่ นิ ระหว่างโจทก์กบั จ�ำเลยเป็นโมฆะ ย่อมถือ
ได้ว่าโจทก์เพิ่งทราบว่าการขายฝากตกเป็นโมฆะในวันดังกล่าว โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ยังไม่ครบ 1 ปี นับแต่
เวลาที่รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
89
คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2525
สธ ส
5-70 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

(4) เรียกคืนค่าชดเชยจากการรับไปของบุคคลที่มิใช่ลูกจ้าง อยู่ในบังคับอายุความเรียกคืนลาภ


มิควรได้ตามมาตรา 419
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13827/2553 การเรียกเอาทรัพย์คืนจากผู้ที่ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะ
อ้างกฎหมายได้ หรือทีเ่ รียกว่าลาภมิควรได้นนั้ ป.พ.พ. มาตรา 419 ห้ามมิให้ฟอ้ งคดีเมือ่ พ้นก�ำหนดหนึง่ ปี
นับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น เมื่อ

.
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์คดีนี้ยื่นค�ำให้การในคดีที่ศาลแรงงานกลางซึ่งโจทก์ในคดีนี้เป็นจ�ำเลยเมื่อวันที่
22 พฤษภาคม 2541 ว่า จ�ำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวมิใช่ลูกจ้างของโจทก์ ไม่มีสิทธิได้รับค่า
สธ สธ
ชดเชยจากโจทก์ แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกค่าชดเชยคืนในฐานลาภมิควรได้จากจ�ำเลยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม

มส . มส
2543 จึงพ้นก�ำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
(5) เรียกเงินทีช่ ำ� ระราคารถจักรยานยนต์ทเี่ กินไปคืน อยูใ่ นบังคับอายุความเรียกคืนลาภมิควรได้
ตามมาตรา 419
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4657/2552 โจทก์ โ ดยกรรมการโจทก์ เ พิ่ ง รู ้ ว ่ า โจทก์ ช� ำ ระราคารถ
จักรยานยนต์ทเี่ ข้าใจกันว่า ค้างช�ำระอยูใ่ ห้แก่จำ� เลยที่ 1 จนครบถ้วนไปก่อนแล้ว อันเป็นผลให้โจทก์มสี ทิ ธิ

เรียกเงินที่ช�ำระให้จ�ำเลยทั้งสองตามฟ้องคดีนี้คือในฐานลาภมิควรได้ เมื่อเดือนตุลาคม 2543 โจทก์ฟ้อง
คดีนี้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 ยังไม่พ้นก�ำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์โดยกรรมการโจทก์รู้สิทธิเรียกคืนนั้น
จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
ข้อสังเกต
ธ.

ในเรื่องอายุความบางกรณีต้องพิจารณาว่าเป็นการฟ้องคดีในมูลหนี้ใดด้วย เช่น สัญญาซื้อขาย


กรณีส่งมอบขาดตกบกพร่องหรือล�้ำจ�ำนวน หากฟ้องให้รับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล�้ำ
จ�ำนวน มีก�ำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 467 หากฟ้องให้คืนทรัพย์สิ่งใด
ในฐานลาภมิควรได้ก็ต้องน�ำอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 มาใช้บังคับ
อุทาหรณ์
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9150/2539 สัญญาซื้อขายระบุว่า ซื้อขายที่ดินเนื้อที่ประมาณ 65 ไร่ราคา
.ม
ไร่ละ 4,300 บาท แสดงว่าคู่สัญญาเจตนาถือเอาเนื้อที่ดินเป็นสาระส�ำคัญ เป็นการซื้อขายโดยก�ำหนด
จ�ำนวนเนือ้ ทีด่ นิ ไม่ใช่เป็นการซือ้ ขายเหมาทีด่ นิ กันทัง้ แปลง โจทก์ฟอ้ งเรียกเงินค่าทีด่ นิ บางส่วนคืนโดยอ้าง
ว่าจ�ำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ มิใช่ฟ้องให้รับ
ผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล�้ำจ�ำนวน จึงต้องน�ำอายุความเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ ซึ่ง
เมือ่ ศาลชัน้ ต้นวินจิ ฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์อทุ ธรณ์คดั ค้านค�ำพิพากษาศาลชัน้ ต้นก็ได้ยกปัญหา
เรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้
การทีศ่ าลอุทธรณ์ภาค 3 วินจิ ฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความลาภมิควรได้ จึงไม่เป็นการนอกเหนือค�ำฟ้อง
และค�ำฟ้องอุทธรณ์
อุทาหรณ์ ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่า ไม่อยู่ในบังคับอายุความเรียกคืนลาภมิควรได้ ตาม
ป.พ.พ. มาตรา 419
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-71

(1) ธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกคืนเงินจากผู้ไม่มีสิทธิจะรับ ไม่อยู่ในบังคับอายุความเรียกคืน


ลาภมิควรได้ ตามมาตรา 419 แต่ไม่มีก�ำหนดอายุความ ตามมาตรา 133690
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7730/2560 ธนาคารแห่งประเทศไทยฟ้องเรียกเงินทีโ่ จทก์จา่ ยให้จำ� เลยซึง่
จ�ำเลยไม่มีสิทธิที่จะได้รับ ตามประกาศธนาคารโจทก์ เรื่อง การออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน
พ.ศ. 2550 คืน มิใช่เป็นการฟ้องเรียกในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี นับแต่เวลาที่

.
โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรืออายุความ 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้เกิดขึ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419
แต่เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนที่จ�ำเลยได้ไปโดยไม่ชอบ และโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิย่อมมีสิทธิติดตามและ
สธ สธ
เอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีก�ำหนดอายุความ

มส . มส
(2) การเรียกเงินส่วนต่างคืนจากการผิดสัญญาซือ้ ขาย ไม่อยูใ่ นบังคับอายุความเรียกคืนลาภมิควร
ได้ ตามมาตรา 419 แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2557 จ�ำเลยซึ่งเป็นผู้ชายมิได้ส่งมอบรถให้ตรงตามรุ่นตามความ
ประสงค์ของผู้ซื้อโดยมีผลต่างราคากันอยู่เป็นเงิน 94,000 บาท กรณีดังกล่าวย่อมไม่ถือว่าเป็นเงินส่วนที่
โจทก์ช�ำระเงินไปดังกล่าวเป็นเงินที่จ�ำเลยได้มาเพราะการที่โจทก์กระท�ำเพื่อช�ำระหนี้โดยปราศจากมูลอัน

จะอ้างกฎหมายได้ อันจะถือได้ว่าเป็นลาภมิควรได้ที่ตกแก่จ�ำเลย ซึ่งโจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงิน
คืนจากจ�ำเลยเสียภายในก�ำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 แต่อย่างใด และกรณีดังกล่าว
เป็นการฟ้องฐานผิดสัญญาซื้อขายเรียกค่าเสียหายเอาเงินส่วนต่างของราคารถที่โจทก์ช�ำระเกินไปคืนอัน
เนื่องมาจากการที่จ�ำเลยส่งมอบรถไม่ตรงกับรุ่นที่ตกลงซื้อขาย ซึ่งไม่มีกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติ
ธ.

ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี


(3) การคืนทรัพย์ที่ได้จากการบังคับตามค�ำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่ถูกกลับโดยค�ำพิพากษาศาล
ฎีกา ไม่อยู่ในบังคับอายุความเรียกคืนลาภมิควรได้ตามมาตรา 419 แต่มีอายุความครบ 10 ปี ตามมาตรา
193/30
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11350/2556 การทีไ่ ด้มกี ารบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลชัน้ ต้น โดยการ
ยึดทรัพย์โจทก์ออกขายทอดตลาดเพือ่ น�ำเงินมาช�ำระหนีน้ นั้ ทรัพย์ทจี่ ำ� เลยได้มาดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ทไี่ ด้
.ม
มาโดยมีมูลอันอ้างกฎหมายได้ หาใช่เป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้แต่อย่างใด
ไม่ ทรัพย์ทจี่ ำ� เลยได้มาจึงไม่ใช่ลาภมิควรได้ เมือ่ ต่อมาศาลสูงไม่เห็นพ้องด้วยกับศาลชัน้ ต้น โดยพิพากษา
กลับเป็นให้ยกฟ้องแย้งของจ�ำเลย เช่นนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ต้องถือว่าค�ำพิพากษาของศาลชั้นต้น
ที่ให้จ�ำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีสิ้นผลบังคับไป จ�ำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ที่ได้จากการบังคับตามค�ำ
พิพากษาของศาลชัน้ ต้นทัง้ หมดให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้กต็ อ้ งชดใช้ราคา เมือ่ ไม่มกี ฎหมายก�ำหนดอายุความ
เรียกคืนทรัพย์ในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
(4) การได้รับเงินเกินไปจากการท�ำบัญชีผิดพลาด ไม่อยู่ในบังคับอายุความเรียกคืนลาภมิควรได้
ตามมาตรา 419 แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

90
ดูความเห็นของผู้เขียนในหัวข้อ 1.1 การคืนเงิน ประกอบ
สธ ส
5-72 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11407/2556 เนื่องจากมีการท�ำบัญชีที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนท�ำให้จ�ำเลย


ได้รับเงินเกินไป กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องที่จ�ำเลยได้มาซึ่งเงินเพราะการที่โจทก์กระท�ำเพื่อช�ำระหนี้หรือด้วย
ประการอื่นโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ ซึ่งโจทก์ต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืน
จากจ�ำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 หากแต่เป็นการเรียกเงินอันเนื่องมาจากการที่
โจทก์ปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามค�ำพิพากษาของศาลและตามกฎหมายในการรวบรวมและจ�ำหน่ายทรัพย์สนิ ของลูก

.
หนี้ เพื่อให้เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียได้รับการชดใช้จากลูกหนี้ตามขั้นตอนของการบังคับคดีแพ่ง เมื่อไม่มี
บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
สธ สธ
ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้

มส . มส
(5) การน�ำเงินของผู้ฝากไปประกอบกิจการที่ต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งเป็นโมฆะนั้น ผู้ฝากเงิน
มิได้มีส่วนรู้เห็น ไม่อยู่ในบังคับอายุความเรียกคืนลาภมิควรได้ ตามมาตรา 419 แต่มีอายุความ 10 ปี ตาม
มาตรา 193/30
ค�ำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15693/2555 จ�ำเลยทั้งสามจะร่วมกันน�ำเงินที่รับฝากไปหาประโยชน์ใน
ลักษณะการประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือใช้ประโยชน์เงินนั้น ในทาง

หนึง่ หรือหลายทางโดยท�ำเป็นปกติธรุ ะหรือไม่อย่างไร จะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือไม่ ล้วน
เป็นเรื่องที่จ�ำเลยทั้งสามด�ำเนินการไปเอง โจทก์ที่ 1 กับพวกมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระท�ำของจ�ำเลย
ทั้งสาม และเป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของโจทก์ที่ 1 กับพวก จ�ำเลยทั้งสามจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ว่า
วัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการหาประโยชน์จากเงินที่รับฝากของกลุ่มออมทรัพย์ต้องห้ามชัดแจ้งโดย
ธ.

กฎหมายขึ้นอ้างได้ นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจ�ำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นโมฆะ กรณีจึงไม่อาจ


น�ำบทบัญญัติเกี่ยวกับการคืนทรัพย์ในฐานลาภมิควรได้ที่ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นก�ำหนด 1 ปี นับแต่เวลา
ทีผ่ เู้ สียหายรูว้ า่ ตนมีสทิ ธิเรียกคืนมาบังคับใช้ แต่ตอ้ งใช้กำ� หนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

กิจกรรม 5.2.3
.ม
อ้ายขายทีด่ นิ มีหนังสือรับรองการท�ำประโยชน์ (น.ส.3) แปลงหนึง่ แก่ยี่ โดยอ้ายส�ำคัญผิดไปชีท้ ดี่ นิ
แปลงอื่นให้ยี่ดู ในระหว่างการจดทะเบียนโอนจึงปรากฏความจริงว่าเป็นที่ดินคนละแปลง ยี่จึงขอยกเลิก
และขอเงินคืน เช่นนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าอ้ายจะต้องคืนเงินแก่ยี่หรือไม่

แนวตอบกิจกรรม 5.2.3
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 412 ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจ�ำนวนหนึ่ง ท่าน
ว่าต้องคืนเต็มจ�ำนวนนัน้ เว้นแต่เมือ่ บุคคลได้รบั ไว้โดยสุจริต จึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนทีย่ งั มีอยูใ่ น
ขณะเมื่อเรียกคืน
ตามปัญหา อ้ายขายทีด่ นิ มีหนังสือรับรองการท�ำประโยชน์ (น.ส.3) แปลงหนึง่ แก่ยี่ โดยอ้ายส�ำคัญ
ผิดไปชี้ที่ดินแปลงอื่นให้ยี่ดู ในระหว่างจดทะเบียนโอนจึงปรากฏความจริงว่าเป็นที่ดินคนละแปลง เช่นนี้
นิติกรรมการซื้อขายดังกล่าวเป็นโมฆะ เนื่องจากส�ำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ตาม
สธ ส
จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ 5-73

ป.พ.พ. มาตรา 156 ซึ่งต้องคืนทรัพย์สินในฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง และการ


คืนเงินอันเป็นลาภมิควรได้นั้น ต้องคืนเต็มจ�ำนวน เว้นแต่บุคคลได้รับไว้โดยสุจริตต้องคืนเพียงส่วนที่มีอยู่
ในขณะเรียกคืน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 412
ฉะนั้น อ้ายต้องคืนเงินแก่ยี่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 412 ดังกล่าว

.
สธ สธ
มส . มส

ธ.
.ม
สธ ส
5-74 กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิดและทรัพย์สิน

บรรณานุกรม


จิตติ ติงศภัทิย์. (2526). มูลแห่งหนี้ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์วิญญูชน.
จี๊ด เศรษฐบุตร. (2540). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะละเมิด. โครงการต�ำราและเอกสารประกอบการสอน

. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.


สธ สธ
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. (2525). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจัดการงานนอกสั่ง. กรุงเทพฯ:
แสงทองการพิมพ์.

มส . มส
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. (2525). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะลาภมิควรได้. กรุงเทพฯ:
แสงทองการพิมพ์.
วิกรณ์ รักษ์ปวงชน. (2560). ค�ำอธิบายกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
เสนีย์ ปราโมช. (2539). นิติกรรมและหนี้. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.
โสภณ รัตนากร. (2539). ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์นิติ

บรรณาการ.
หลวงประดิษฐ์ พิจารณาการ. (2454). ค�ำอธิบายมูลคดีสัญญา. พระนคร: โรงพิมพ์กองละหุโทษ.
ธ.
.ม

You might also like