You are on page 1of 9

By ทอใจ & ทลว

ถอดเทปครั้งที่ 7 วิชากฎหมายระหว่างประเทศ
อาจารย์จตุรนต์ ถิระวัฒน์

คาบที่ผ่านมาเราก็ได้ศึกษากันในประเด็นของที่มาหรือบ่อเกิด ของกฎหมายระหว่างประเทศซึ่ง มิได้ถูก


บัญญัติเอาไว้อย่างชัดแจ้งในธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ก็คือการกระทำฝ่ายเดียวซึ่งมีด้วยกัน 2 จำพวก
ได้แก่ การกระทำฝ่ายเดียวของรัฐ(การให้คำมั่น )และการกระทำฝ่ายเดีย วองค์การระหว่ างประเทศ(ข้อมติของ
องค์การระหว่างประเทศ) ดังที่ได้เริ่มศึกษากันไปบ้างแล้วว่าการกระทำฝ่ายเดียวขององค์การระหว่างประเทศเป็น
เอกสารที่ในปัจจุบันมีอยู่จำนวนมากเพราะองค์การระหว่างประเทศมีอยู่มากมาย ซ้ำในเชิงโครงสร้างของแต่ละ
องค์การยังมีองค์กรที่ร่วมดำเนินงานกันอีกหลายองค์กร แต่ละองค์กรก็จะมีภาระหน้าที่ขึ้นอยู่ กับกฎเกณฑ์ของ
องค์การนั้นๆในการจะออกข้อมติต่างๆ เป็นเหตุให้มีเอกสารจำนวนมากมาย
ในประการของข้อมติ ข้อสังเกตเบื้องต้นจึงเป็นประเด็นที่ว่ามันมีอยู่เป็นจำนวนมาก ประการที่ 2 คือชื่อ
ของข้อมติจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปเช่น Resolution, Recommendation, Decision, Directive, Regulation
โดยแม้ชื่อเรียกจะมีหลากหลายแต่สิ่งที่เราจะให้ความสำคัญมี 2 ประเด็นคือ
1.ความสมบูรณ์ของข้อมติดังกล่าวว่าออกมาโดยชอบหรื อไม่ อันนี้มิใช่ประเด็ นที่ เราจะพิ จารณากั น
เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะองค์กร เราจะมุ่งพิจารณาไปที่ประเด็นที่ 2 คือ
2.ผลในทางกฎหมาย อันจะสามารถแบ่งผลออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
2.1ข้อมติที่ไม่มีผลผูกพัน(จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นคำกลางว่า Recommendation)(ไม่มีค่าบังคับในทาง
กฎหมาย)อันเป็นมติส่วนใหญ่ของมติทั้งหมด
2.2ข้อมติซึ่งในตัวของมันเองมีค่าบังคับในทางกฎหมาย มีผลผูกพันรัฐสมาชิกให้ต้องปฏิบัติตาม เกิดพันธะ
กรณีระหว่างประเทศ รัฐสมาชิกใดไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงต่อการต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ โดยโทษจะ
เป็นเช่นไรก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์ขององค์การนั้นๆ เช่นนี้แล้วเราก็จะมาศึกษาต่อกันในประเด็นว่าข้อมติแบบใดบ้าง
ที่เราพึงให้ความสำคัญ

1.ข้อมติที่ไม่มีค่าบังคับในทางกฎหมาย
เนื่องมาจากองค์การส่วนใหญ่ก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือจากรัฐสมาชิก
ความร่วมมือจึงย่อมหมายถึงเป็นเรื่องของการเชิญชวนแนะนำให้รัฐเข้าทำกิจกรรม แบ่งปันผลประโยชน์หน้ าที่ จึง
ควรที่จะต้องอาศัยความสมัครใจ ไม่มีการสั่งการ ดังนี้ข้อมติที่เรี ยกว่า Recommendation จึงเป็นข้อ มติท ี่มี
ลักษณะเป็นการให้คำแนะนำ ชักชวน เชิญชวน ส่วนเนื้อหาก็ จะมี ลัก ษณะเป็น แนวทางการปฏิ บั ติ มีตัวเลือ ก
(Option)ให้เลือก ในตัวมันเองแล้วเมื่อรัฐไม่ปฏิบัติตามจึงไม่เกิดความรับผิดในทางกฎหมายใดๆ คือรัฐอื่นๆจะมา
เรียกร้องให้มีการชดใช้ในทางกฎหมายไม่ได้ แต่ทั้งนี้มิไ ด้หมายความว่าจะไม่มีผลอื่นใดเกิดขึ้นเลย
By ทอใจ & ทลว

ผลในประการแรกที่ม ิใช่ผลในทางกฎหมายคื อ ผลทางด้ านการเมือ ง รั ฐ นั ้ น อาจจะต้อ งสู ญเสีย ความ


น่าเชื่อถือจากรัฐอื่น เนื่องมาจากรัฐมาประชุมหารือกันจนมีข้อสรุปออกมาจากการเห็นพ้องต้องตรงกัน ของหมู่มาก
แต่เมื่อถึงเวลาสมาชิกในกลุ่มกลับไม่นำมติดังกล่าวไปดำเนินการ ในเชิงการเมื องในเชิงนโยบายในสายตาของรัฐอื่น
ก็ย่อมมองว่ารัฐดังกล่าวไม่จริงจัง ไม่จริงใจ ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ในอนาคตมีอะไรก็จะไม่อ ยากชวนให้เ ข้า
ร่วม เกิดผลเสียในทางอ้อม
ซ้ำก็ยังมีผลในทางกฎหมายในลักษณะอื่นอย่างน้อย 2 ประการ คือ 1.ตามหลักสุจริต รัฐที่ไม่ดำเนินการ
ตามข้อมติจะมีหน้าที่ที่จะต้องชี้แจงอธิบายเหตุผล ส่งผลให้ต้องตกอยู่ในสถานะที่ต้องรู้สึกกระอักกระอ่วน ทั้งนี้ถ้ามี
เหตุผลที่น่าเชื่อถือย่อมไม่มีปัญหาเช่นมีปัญหาทางด้านงบประมาน ประเทศยังประสบปัญหาด้านอื่นอยู่ จนไม่
สามารถนำบุคลากรหรือเงินทุนมาทำกิจการดังกล่าวได้ ถ้าชี้แจงได้ก็แล้วไป แต่ถ้าชี้แจงแบบไร้เหตุผลข้างๆคูๆ ก็จะ
เสียความน่าเชื่อถือ ในอนาคตจะไปขอความร่วมมือ ไปเชิญหรือไปขอความอนุเคราะห์จากใครก็ คงไม่ค่อยมีใคร
สนใจ 2.ส่วนผลในกรณีที่รัฐปฏิบัติตามข้อมติ เช่นนี้ก็จะได้รับความชอบธรรมในการกระทำดังกล่าว ใครจะมา
โต้แย้งกล่าวหากล่ าวร้ายว่ารัฐสมาชิกนั้นกระทำผิดกฎหมายไม่ว่าจะด้วยฐานใดก็แล้วแต่ รัฐสมาชิกย่อมสามารถ
ชี้แจงโดยอ้างอิงข้อมติดังกล่าวได้ ในเมื่อมติเป็นผลจากเสียงส่วนมากหรือแทบทั้งหมดของหน่วยงานที่เ ป็น หนึ่ งใน
หน่วยงานในสังคมระหว่างประเทศ สิ่งที่กระทำไปจึงย่อมมีความชอบธรรม สามารถยกขึ้นโต้แย้งได้
และแม้ว่ามติแบบดัง กล่าวจะไม่มีข้ อบั งคับหรื อผลผูกพั น แต่ ห ากว่ า คำแนะนำหรือ แนวทางปฏิบัติ
ดังกล่าว มีรัฐสมาชิกนำไปปฏิบัติกันจนเข้าเงื่อนไขของการเกิ ดขึ้นของจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือตาม
เงื่อนไขของบ่อเกิดอื่นๆ ตัวอย่างเช่นการออกข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีการออก
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อันเป็นการวางหลักการรากฐานของการรับรองสิทธิของมนุษย์ เมื่อข้อมติ
ดังกล่าวถูกประกาศกลุ่มรัฐก็เริ่มมีการรับเอาหลักการไปทำเป็นสนธิสัญญาในกลุ่มของตัวเองขึ้นไม่ว่าจะเป็น ในทวีป
อเมริกาเหนือและทวีปยุโรป หรือยิ่งไปกว่านั้น รัฐสมาชิกอื่นๆยังมีการรับเอาหลักการดังกล่าวไปบัญญัติเอาไว้ใน
กฎหมายภายในของตนอย่างเช่นรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
เช่นนี้เห็นได้ว่าจากข้อมติที่ในตัวของมันเองแล้วนั้นไม่มีข้อบังคับ ถูกนำไปปรับใช้ในลักษณะต่างๆ ทาง
ปฏิบัติเหล่านี้ส่งผลทำให้มันเกิดเป็นจารีตประเพณีอันมีขอบเขตการใช้บังคับที่กว้างขึ้น จนในปัจจุบันสิทธิมนุษยชน
เป็นที่ยอมรับในสากลแล้วว่ามีสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่มีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไป1

1 ทั้งนี้แต่ละรัฐจะรับไปใช้ในระดับใดก็เป็นเรื่องของรัฐดังกล่าว เช่น ไทยบัญญัติเรื่องของความเท่าเทียมแต่ใช้เฉพาะกับบุคคล


สัญชาติไทยอย่างการเก็บค่าเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือในสหรัฐอเมริกาสิทธิของคนผิวดำมีสิทธิที่จะได้ลงมติเลือกตั้งก็ เพิ่งมี
ได้เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมาทั้งที่รัฐธรรมนูญมีมายาวนาน หรือในทำนองเดียวกันคือเรื่ องของการไม่เลือกปฏิบัติทางเพศ ก็เห็นได้ว่า
สถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอย่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด คณะนิติศาสตร์ก็เพิ่งจะมีการรับนักศึกษาเพศหญิงเมื่อปี
1950(จากการค้นหา) นี่ขนาดเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมเสรีภาพอย่างอเมริกา เพราะฉะนั้นเห็นได้ว่าการนำไปปรับใช้ในระดับ
ใดนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของรัฐนั้นๆ เนื่องจากแต่ละรัฐย่อมมีความเฉพาะ บริบทหรือเงื่อนไขต่างๆแตกต่างกันไป
By ทอใจ & ทลว

2.ข้อมติที่มีข้อบังคับในทางกฎหมาย
ข้อมติที่มีข้อบังคับในทางกฎหมาย มีผลผูกพัน มีผลที่ทำให้เกิดพันธะกรณีระหว่างประเทศขึ้นเช่นเดียวกับ
การเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาอันหมายความว่าในทางกฎหมายแล้วใครไม่ทำก็ต้องรับผิด ซ้ำยังอาจจะมี มาตรการ
ลงโทษจากตัวองค์การเองด้วยซ้ำไป โดยในภาษาอังกฤษจะมีคำกลางว่า Decision (คำตัดสิน) ประเด็นสำคัญก็คือ
ข้อมติในประเภทนี้มีกรณีใดบ้าง

ประเภทที่ 1 Recommendation ซึ่งรัฐสมาชิกรับที่จะปฏิบัติตามด้วยความยินยอม


คือโดยตัวมันเองนั้นเป็นข้อมติที่ไม่ผูกพันบังคับแต่เมื่อรัฐได้ยินยอมแล้วก็ย่อมเกิดผลผูกพันรัฐดังกล่าว
ตัวอย่างก็เช่น มติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังที่ได้เคยยกตัวอย่างไปก่อนหน้ามติดั งกล่าวไม่มี ผลผูกพัน
โดยตัวของมันเอง แต่ถ้ารัฐยอมรับให้ความยินยอมก็จะมีผลผูกพันรัฐดังกล่าว

ประเภทที่ 2 ข้อบังคับ(Regulation)
มักจะเป็นข้อมติซึ่งออกโดยองค์การระดับสากลที่มีอำนาจในทางเทคนิ คต่างๆ ตัวอย่างเช่น กรณีองค์การ
อนามัยโลก2มีอำนาจในบางกรณีที่จะกำหนดข้อบังคับให้รัฐสมาชิกต้องนำไปปฏิบัติตามเพื่อป้องกันการระบาดของ
โรคร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการระบายภายในประเทศหรือการระบาดข้ามแดนไปยังรัฐอื่นๆ เพราะฉะนั้น
มาตรการกักกันโรคแม้จะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง แต่ก็เพื่อป้องกันการสร้างความเสียหาย เช่นนี้
จึงมีอำนาจ หรือกรณีองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ICAO) ดูแลเรื่องของการสัญจรและขนส่งในทาง
อากาศโดยมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัย เมื่อการสัญจรทางบกมีกฎจารจรการสัญจรทางอากาศก็เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
กฎการสัญจรทางอากาศ มาตรการความปลอดภัยบริเวณท่าอากาศยาน การตรวจสัมภาระต่างๆ มาตรการความ
ปลอดภัยหลายๆเรื่องจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำเนื่องจากการสัญจรทางอากาศต้องใช้ความปลอดภัยมากกว่าทางบก ซึ่ง
ไทยเองก็ เ คยถูก เตือ นในประการของความหละหลวมในการตรวจความปลอดภั ย และเรื ่ อ งของการควบคุม
สมรรถนะของนักบิน เนื่องมาจากเรื่องส่วนใหญ่บนเครื่องบินอยู่ในดุลยพินิจของนักบิน การบริหารชั่งโมงงานมิ ให้
สมรรถนะของนักบิน ตกลงจึง สำคัญ สิ่งเหล่านี้ เ ป็น เรื ่องที ่ถือเป็ นหั วใจของความปลอดภัย แต่ประเทศไทยนั้ น
หละหลวม องค์การการบินพลเรือนจึงยื่นคำขาด ถ้าไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานก็จะถูกลงโทษ โทษในแง่
ของการบินก็เช่นถูกแจ้งไปยังรัฐสมาชิกอื่นๆว่าไทยบกพร่องในมาตรการความปลอดภัย เครื่องบินชาติอื่นๆก็จะไม่
เทียบท่าหรือผ่านไทยเนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัยและเครื่องบินที่ออกจากประเทศไทยก็ไม่อ าจเที ยบท่ าที่
ท่าอากาศของต่างชาติได้เพราะไม่มั่นใจว่าเครื่องมีความปลอดภัยหรือไม่

2 เป็นทบวงการชำนาญพิเศษในเครือองค์การสหประชาชาติ
By ทอใจ & ทลว

เพราะฉะนั้นเกี่ยวกับทบวงการชำนาญพิเศษต่างๆนั้นเนื่องด้วยเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่อง
ในทางเทคนิคเฉพาะต่างๆ ก็ย่อมมีอำนาจในการออกข้อบังคับ อันเป็นข้อมติซึ่งต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามก็
อาจถูกขับออกจากประชาคมโลกในด้านนั้นๆได้

ประเภทที่ 3 กรณียกเว้น3สำหรับองค์การสหประชาชาติ
กรณีที่เป็นข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติที่ออกในกรอบของหมวดที่ 74 ของ
กฎบัตรว่าด้วยเรื่องของการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เป็นหมวดที่ให้อำนาจคณะมนตรี
ความมั ่ น คงออกคำสั่ง (Decision)ที่ให้ร ัฐ ทั้งหลายทั้ ง ปวงต้ องนำไปปฏิ บั ต ิ มิ ฉะนั ้ น จะถู กลงโทษจากองค์การ
สหประชาชาติ เป็นข้อยกเว้นเนื่องมาจากว่าโดยปกติคณะมนตรีความมั่นคงออกข้อมติเป็น Recommendation
ด้วย แต่ในหมวดที่ 7 เป็นเรื่องสำคัญเป็นเรื่องที่เป็นภารกิจหลักขององค์การสหประชาชาติที่มีหน้าที่ป้องกัน เช่นนี้
จึงมีอำนาจพิเศษออกคำสั่งได้ รัฐสมาชิกต้องปฏิบัติตาม มีหลายครั้งหลายคราที่คณะมนตรีความมั่นคงได้ออกมติที่
มีผลผูกพันและมีข้อบังคับ
เช่น มติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการห้ามการติดต่อหรือค้าขายกับรัฐที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสันติภาพ
อย่างประเทศเพื่อนบ้านของไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีสงครามภายใน กัมพูชาเกิดสงครามภายในขึ้น กอง
กำลังของแต่ละฝ่ายก็รบกันจนประชาชนหายไป ¼ ของประเทศ สหประชาชาติจึงออกมติในคณะมนตรีความมั่นคง
ว่า ให้รัฐสมาชิกทั้งปวง(ใช้คำว่า All member state)ต้องยุติการค้าทั้งหลายกับทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกัน เหตุผลเพราะ
รัฐที่ทำสงครามอยู่ก็นำทรัพยากรมาขายเพื่อไปซื้ออาวุธไปรบต่อ หรือก็มาซื้ออาวุธเข้าไปรบต่อ แบบนี้ก็ไม่ส้นิ สุด
เสียที แต่แม้ว่าจะออกคำสั่งด้วยคำว่า All member state แต่รัฐที่ค้าขายอยู่กับฝ่ายคู่ขัดแย้งก็มีอยู่แค่ 2 รัฐบน
โลก ก็คือประเทศไทยและอีกหนึ่งประเทศ โดยคำสั่งนั้นสั่งให้ ยุติ ความสัมพัน ธ์ ภายในวันที ่ 31 เดือนธันวาคม
ปรากฏว่าเดือนธันวาคมก็รีบค้าขายขนส่งกันใหญ่โตเป็นการค้าขายรอบสุดท้าย และนอกไปจากทางตะวันออก
(กัมพูชา)ก็ยังมีทางตะวันตกที่ไทยค้าขายด้วยก็ถูกคำสั่งในแบบเดียวกันจากคณะมนตรี
ตัวอย่างอื่นเช่น สงครามอ่าวเปอร์เซียในปีพ.ศ. 2534 คณะมนตรีความมั่นคงเองก็ออกข้อมติให้รัฐสมาชิก
ยุติการมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอิรัก ปรากฎว่าก่อนมีการออกมติไม่กี่วันประเทศไทยเพิ่งจะได้ท ำสั ญญาซื้อ
ขายข้าวขายธัญพืชให้กับอิรักและได้ดำเนินการขนส่งทางเรือและก็เข้าท่าไปแล้ว เช่นนี้จะเรียกของกลับมาก็ไม่ทัน
แล้ว เช่นนี้ไทยจะถูกลงโทษหรือไม่? คำตอบคือ ไม่ใช่ครับ เราจะมิสามารถเรียกเก็บหนี้ชำระราคาจากอิรักได้เพราะ
ถ้าไทยรับหรือเรียกเงินไทยก็จะละเมิดมติของคณะมนตรี เมื่อสงครามสิ้นสุดลงอิรักก็ล้มละลายเนื่องจากต้องชดใช้
ค่าปฏิกรรมสงคราม ไทยที่เป็นแค่เจ้าหนี้สัญญาซื้อขายก็ไม่ได้รับชำระหนี้

3 อาจารย์ว่าสำคัญมาก
4 เริ่มที่มาตรา 39 เป็นต้นไป
By ทอใจ & ทลว

หรือใหม่ขึ้นอีกในปีค.ศ. 2004 เช่น มติของคณะมนตรีความมั่นคงหมายเลข 1540 ช่วงปีดังกล่าวเกิ ด


ปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมร้ายแรงระหว่างประเทศ(อาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ การฟอกเงิน การค้า
มนุษย์และองค์กรอาชญากรรมต่างๆ)ขึ้นในสังคมโลก คณะมนตรีความมั่นคงจึงออกข้อมติ อันมีเนื้อหาว่า ให้รัฐ
สมาชิกต้องร่วมกันป้องกันการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการก่ออาชญากรรมร้ายแรงระหว่างประเทศ และต้อง
หาวิธีทางควบคุมและป้องกันการแพร่ขยายของอาวุ ธที ่มีอ านุ ภาพในการทำลายร้ายแรง 5ซึ่งรวมถึ ง dual use
item(สิ่งที่ใช้งานได้สองทาง) หรือก็คือเป็นสิ่งที่ใช้ในทางพลเรือนปกติก็ได้หรือนำไปดัดแปลงเพื่อใช้ทำอาวุธร้ายแรง
ได้ เช่น ฟอสเฟต โดยพื้นฐานฟอสเฟตก็เป็นเพียงวัสดุพื้นฐานในการทำปุ๋ยเนื่องจากมีคุณสมบัติในการเร่งสลาย
หากใช้ในปริมาณมากก็ทำให้เกิดระเบิดได้ หรืออีกตัวอย่างหนึ่งที่นักศึกษาน่าจะนึกไม่ถึงคือ เครื่องซักผ้าไฟฟ้าที่
ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ท่อเหล็กใช้ในการก่อสร้างต่างๆหรือแม้กระทั่ง racket อุปกรณ์ทางกีฬา6 รัฐจึงออกมาตรการ
เพื่อป้องกันตามมติของคณะมนตรีเช่น การสั่งซื้อปุ๋ยในปริมาณมากจะต้องมีการลงชื่อเพื่อตรวจสอบ การตรวจ
สัมภาระในการเดินทางระหว่างประเทศ(มักโดนฝากถือหรือฝากนำเอาไป) ตัวอย่างเช่นถูกฝากถือของที่สนามบิน
แล้วโดนจับเพราะของที่ถูกฝากถือแม้กระทั่งธรรมดาๆอย่างน็อตก็ยังถูกจับได้
นี่ก็เป็นตัวอย่างของมติที่ออกโดยคณะมนตรีความมั่นคงอันมีผลผูกพันมีค่าบังคับให้รัฐสมาชิกต้องรับไป
ดำเนินการ อย่างเช่นประเทศไทยเองก็เพิ่งออกกฎหมายเพื่อควบคุมป้องกันเรื่องดังกล่าวไปได้ไม่นาน ใช้เวลาใน
การร่างพอสมควรเพราะรายชื่อ7ต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอๆ ผู้ประกอบกิจการทั้งหลายจึงพึงระมัดระวัง เมื่อ
ตัวผู้ขายไม่ได้ผลิตแต่เป็นผู้ขาย ต้องพึงระวังว่าใครที่เป็นผู้นำเอาสินค้าไปใช้หรือขายให้ใคร การตรวจสอบก็ท ำได้
ยาก เพราะโดยปกติของอาชญากรรมแล้วจะค่ อ ยๆซื ้ อ ต่ อ กั น หลายๆทอด คณะกรรมการร่ างกฎหมายต้ อง
ตรวจสอบประเทศที่สหประชาชาติต้องสงสัยว่าสนับสนุนการก่อการร้าย ตรวจสอบรายงานเกี่ยวกั บเรื่องร่อ งรอย
ทางด้านการเงินต่างๆ การตรวจสอบหลายๆอย่างทำให้ออกกฎหมายได้ช้า

ประเภทที่ 4 คำวินิจฉัยของศาลระหว่างประเทศ
หากพิจารณาว่าศาลระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานขององค์การระหว่างประเทศหรือเป็นองค์การระหว่ าง
ประเทศเอง คำวินิจฉัยของศาลระหว่างประเทศก็ย่อมมีค่าบังคับผูกพัน ฝ่ายต่างๆที่หยิบยกคดีขึ้น สู่ศาล ในส่วนนี้

5 ประชาคมโลกเคยมีสนธิสัญญาป้องกันการแพร่กระจายของอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงอยู่ฉบับหนึ่งแล้ว ข้อมติของคณะมนตรีความ
มั่นคงฉบับนี้จึงมีความพิเศษเนื่องจากสนธิสัญญาย่อมมีผลบังคับเฉพาะรัฐภาคีแต่ข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงนั้นผูกพันรัฐ
สมาชิกทุกรัฐ
6 ส่วนประกอบของปุ๋ย สามารถนำมาใช้ เป็นวัสดุในการผลิ ตระเบิด เส้นใยคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งเป็นวัสดุในการผลิ ตไม้ เทนนิ ส ไม้

กอล์ฟ และอุปกรณ์กีฬาสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตจรวดหรือขีปนาวุธ รวมถึงสารโปแตสเซียมไซยาไนด์ที่ใช้ทำ


ความสะอาดโลหะและสกัดสินแร่สามารถนำไปผลิตอาวุธเคมีได้ เป็นต้น (อ้างอิงจาก https://library.parliament.go.th/th)
7 ตรงนี้ค่อนข้าง out of context หน่อย ผู้ถอดเองก็งงๆ เดาว่าอาจจะหมายถึงรายชื่อคนร่าง?ไม่ก็รายชื่อสารเคมี?
By ทอใจ & ทลว

อาจารย์จะไม่อธิบายมากเนื่องมากจากได้เคยอธิบายไปแล้วในหัวข้อของคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศใน
ฐานะที่มาหรือบ่อเกิดลำดับรอง

ประเภทที่ 5 กรณีพิเศษ8
บางองค์การมีอำนาจในการที่จะออกข้อมติที่มีผลผูกพันได้ อย่างเช่นสหภาพยุ โรปที่ในธรรมนูญมีการระบุ
ชัดเจนว่าสามารถออกข้อมติที่มีผลผูกพันได้ โดยจะเรียกด้วยชื่อที่หลากหลาย เช่นข้อมติที่มีผลผูกพันเฉพาะรัฐ
สมาชิกบางรัฐจะเรียกว่า directive ส่วนข้อบังคับที่มีผลกับรัฐสมาชิกทุกรัฐเลยก็จะมี อีกชื่อหนึ่ง แต่นี่เป็นกรณี
พิเศษของบางองค์การเท่านั้น
ดังนี้เวลาที่นักศึกษาต้องพิจารณาว่าข้อมติใดมีผลอย่างไร พึงนึกก่อนเสมอว่าข้อมติดังกล่าวมาจากองค์การ
ระหว่างประเทศใดและมาจากองค์กรไหนขององค์การนั้ น ต่อด้วยการตรวจดูว่าออกมาโดยอาศั ยอำนาจของ
บทบัญญัติใด ธรรมนูญให้อำนาจไว้อย่างไรจึงจะตอบได้ว่าข้อมติดังกล่าวมีผลเช่นไร

- เบรก -

เมื่อต้นชั่วโมงเราเองก็ได้ศึกษากันในประเด็นของข้อมติซึ่งในตัวของมันเองอาจจะไม่มีค่าบังคับ แต่จาก
ความสำคัญของเรื่องและสถานการณ์ในทางการเมืองระหว่างประเทศทำให้เกิดแรงกดดันซึ่งในทางปฏิ บัติแล้ วนั้น
รัฐก็ยากที่จะปฏิเสธหรือหลบเลี่ยงไม่ปฏิบัติได้ อาจารย์ขอยกตัวอย่าง 2-3 กรณีด้วยกัน
ตัวอย่างที่ 1 เป็นเรื่องของการพยายามหาทางที่จะป้องกันและแก้ไขการก่ออาชญากรรมร้ายแรงระหว่ าง
ประเทศ เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงมีการออกมติมีผลบังคับก็จริง แต่ว่าในรายละเอียดนั้น จะปล่อยให้รัฐ สมาชิก
เป็นผู้ดำเนินการ(จะใช้มาตรการเช่นไร โทษอย่างไร เข้มข้นแค่ไหน) ซึ่งในการดำเนินการของรัฐสมาชิ กนั้นเราก็พึง
ทราบว่าแต่ละรัฐก็ย่อมปฏิบัติได้มีประสิทธิภาพมากน้อยแตกต่างกันไป อย่างกรณีประเทศไทย อย่างที่อาจารย์
กล่าวคือไทยได้ออกมาตรการทางกฎหมายขึ้นเพื่อใช้ป้องกันปราบปราม แต่ในหลายๆประเทศสมาชิก ก็มิได้มีก าร
ออกกฎหมายหรือออกกฎหมายมาก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลเท่าที่ควร ดังนั้นประเทศมหาอำนาจที่
รู้สึกว่าประเทศตนได้รับการคุกคามจากภัยดังกล่าว(อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย) ซึ่งนักศึกษาก็คงทราบ
ว่าในการก่อเหตุต่างๆอย่างดีที่สุดรัฐก็สามารถจับได้แค่พวกตัวเล็กๆ คือจับได้แต่พวกคนที่มาปฏิบัติการก่อการร้าย
ไม่ใช่การ master mind ที่คอยบงการหรือพวกที่คอยจัดการสนับสนุนทางการเงิน สนับสนุนอุปกรณ์ ด้านที่พัก
การเดินทางขนส่ง ผู้ก่อเหตุมือสุดท้ายในหลายๆครั้งก็มิใช่ผู้ก่อการร้ายด้วยซ้ำเป็นเพียงคนที่ไม่รู้เรื่องราวหรือถูกจ้าง
มา แต่ก็เพราะเป็นคนที่ไม่รู้เรื่องก็เลยโดนจับ แต่ต้นทางนั้นลอยนวลไม่อยู่ในประเทศด้วยซ้ำ เมื่อไม่เคยถูกจับก็คอย
นำเอาผลประโยชน์ผลกำไรที่ได้เอาไปฟอกให้เป็นทุนสะอาดแล้ววนเอากลับมาก่ออาชญากรรมใหม่เรื่อยๆ เช่นนี้

8 อาจารย์ไม่พูดชื่อหัวข้อให้ดังนี้ขออนุญาตเรียกว่า กรณีพิเศษ การเรียกดังกล่าวไม่ได้อิงจากหนังสือแต่อย่างใด


By ทอใจ & ทลว

เห็นได้ว่าปล่อยให้แต่ละรัฐ ทำแยกกันย่อมไม่สามารถป้องกั นยั บยั้งได้แน่นอน รัฐต้องร่วมมือกัน หนึ่งในความ


ร่วมมือนั้นก็คือความพยายามในการป้องกันการให้ความสนับสนุนทางการเงิน รัฐจะติดตามร่องรอยเงินทุนของ
อาชญากรรมเพื่อ 1.สืบไปหาต้นตอผู้บงการ 2.เพื่อติดตามนำทรัพย์สินซึ่งได้จากการกระทำผิดกลับคืนมา9
ตัวอย่างที่ 2 เป็นเรื่อง IUU (Illegal, unreported, and unregulated fishing)หรือก็คือการทำประมงที่
ไม่ถูกกฎหมาย ไม่มีการควบคุมบังคับและไม่มีการรายงาน เรื่องนี้ก็เป็น Guide line ขององค์การระหว่างประเทศ
ที่มีชื่อว่า องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO- Food and Agriculture Organization of the
United Nations)10 FAOได้ทำการออกเป็นข้อมติวางแนวทางการทำประมงที่ยั่งยืน เป็นข้อเสนอแนะให้ยุติการทำ
ประมงที่ผิดกฎหมาย(IUU) ข้อมติของFAOนั้นในตัวของมันเองแล้วไม่มีค่าบังคับในทางกฎหมาย เป็นแค่คำแนะนำ
แต่ประเทศไทยเดือนร้อน เดือดร้อนเพราะอะไร ทำไมไทยต้องไปเชิญคณะกรรมการของสหภาพยุโรปมาพิ จารณา
ว่าไทยปฏิบัติตามแล้วนะ ก็เพราะว่า 1.ถ้าพิจารณาในแง่ของกฎหมายมติดังกล่าวของ FAO ไม่ผูกพันประเทศไทย
แต่ EU รับเองข้อแนะนำดังกล่าวไปเป็นข้อบังคับของรัฐสมาชิกของ EU รัฐสมาชิกของ EU ที่มี 27 ประเทศนั้นมีรัฐ
ที่มีความสัมพันธ์ในทางการค้ากับไทยมากมายไม่ใช่แค่ในด้านสินค้าการประมง เมื่อรัฐสมาชิก EU ต้องเคารพ IUU
การจะค้ากับไทย ถ้าไทยไม่เคารพเกณฑ์ IUU รัฐที่ค้าด้วยก็ละเมิดเกณฑ์ดังกล่าว สรุปก็คือเราจะค้าขายกับชาติ
สมาชิก EU ไม่ได้ถ้าเราไม่เคารพ IUU

9 เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก อย่างกรณีเหตุการณ์ต้มยำกุ้งในไทย ไม่ได้ทรัพย์สินกลับมาเลย ได้มาก็แต่ตัวบุคคลที่ต้องรับผิดเช่น ผู้ว่า


การธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ตัวบุคคลก็ชดใช้ได้ไม่มากและตัวบุคคลดังกล่าวก็เป็นแค่ตัวเล็กตัวน้อย
หรืออย่างประเทศมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจกว่า 20 ประเทศก็รวมตัวกันก่อตั้งหน่วยงานชื่อ FATF(Financial action
task force) เป็นคณะทำงานด้านการเงิน เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ศึกษาและออกข้อมติเป็น Guide line แนวทาง ชื่อข้อ
มติไม่ใช่ที่นักศึกษาคุ้นเคยเพราะมันเป็นแค่แนวทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ก็ได้มีการออกมาแล้วหลาย 10 แนวทาง เกี่ยวกับเรื่องของการ
ร่วมมือกันเพื่อรวบรวมข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อหาร่องรอยของอาชญากรรม อาจารย์ยกตัวอย่าง Guide line ที่มีการ
กำหนดให้มีการจัด เตรียมเก็บข้อมูลเช่น การใช้บริการทางการเงินอย่างการถอนการโอนถ้ามียอดเงินที่สูงท่านก็ต้องกรอกข้อมูล
สถาบันการเงินก็จะรวบรวมและส่งต่อไปยังสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ AI ก็จะช่วงกรองบุคคลที่มียอดเงินแปลกๆไปจาก
ความปกติของเขา(ดูจากธุรกิจที่ทำ อาชีพ ฯลฯ) เมื่อมีหลักฐานที่แน่นอนก็จะพร้อมเข้าดำเนินการ เห็นได้ว่าอย่าง FATF นี่ก็ออกข้อ
มติที่ไม่มีค่าบังคับในทางกฎหมาย แต่ว่าคณะมนตรีความมั่นคงได้อ้างถึง Guide line ของ FATF รัฐสมาชิกจึงต้องปฏิบัติตาม
แนวทางดังกล่าว
ประเทศไทยของเราที่เป็นประเทศท่องเที่ยวเสรีการเดินทางเสรีการลงทุนจึงต้องปฏิบัติตาม ตัวอย่างก็เช่น ออกกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยเรื่องการห้ามและป้องกันการสนับสนุนทางการเงินกับอาชญากรรมร้ายแรงระหว่างประเทศ พ.ศ.2562 (ผู้ถอดค้นเจอ
แต่พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลาย
ล้างสูง 30 ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙) รัฐสภาของเราทำงานอย่างเข้มแข็ง ออกมติกันวันที่ 30/12 มีผลบังคับใช้31/12 เห็นได้ว่าทั้งปีมี
เวลาไม่ทำเอาเวลาไปตีกันหมด พอจะสิ้นปีที่เป็นกำหนดเวลาของสหประชาชาติก็รีบทำ เพราะถ้ายังไม่มีกฎหมายก็คงจะโดนกดดัน
ทางการเงินทางการเมือง ถูกต้องสงสัยว่าส่งเสริมการก่ออาชญากรรมเป็นแน่
10 เป็นทบวงการชำนาญพิเศษองค์การหนึ่งในเครือขององค์การสหประชาชาติ
By ทอใจ & ทลว

ตัวอย่างที่ 3 ICAO องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ องค์การอันมีหน้าที่กำกับดูแลความปลอดภัย


ในการเดินทางทางอากาศ โดยมีข้อมติทั้งที่เป็นข้อบังคับและที่เป็นข้อ แนะนำ แต่ในหลายๆเรื่องที่แม้จะไม่มีผล
ผูกพันทางกฎหมาย หากรัฐใดไม่ปฏิบัติตาม ไม่ใช่แค่จะถูก sanction แค่เขาเอารายงานไปแจ้งกับรัฐต่างๆว่ ารัฐ ใด
บกพร่องเรื่องใดๆ รัฐที่ติดต่อกับรัฐดังกล่าวก็จะระงับไปด้วยเรื่องทางความปลอดภัย กระทบหมดไม่ว่าจะรายได้
หรือการเมือง
สรุป มีข้อมติที่ในตัวของมันเองไม่มีข้อบังคับในทางกฎหมายก็จริงอยู่ แตในความสัมพันธ์กับบริบทของ
สถานการณ์ที่มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อประชาคมโลก ประเทศอย่างไทย(ประเทศอื่นบางประเทศอาจจะไม่ได้ ต้องใส่
ใจมากเท่าเนื่องมาจากอาจจะไม่ได้พึ่งพาการค้ าระหว่ างประเทศ ไม่พึ่งพานักท่องเที่ยว ไม่พึ่งพาการเดินทาง
ระหว่างประเทศมากนัก ) แต่ประเทศอย่างประเทศไทยไม่อาจปฏิเสธได้เพราะไทยมีกิจกรรมในประชาคมโลกมาก
ถ้าไทยยังต้องการที่จะได้รับผลประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆเหล่านั้นไทยย่อมไม่อาจละเลยได้เลย ซึ่งเรื่องเหล่านี้
มักจะเกี่ยวข้องกับมาตรฐานเช่น มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะทางทะเลทางบก(ไม่ทิ้ง หรือเทขยะลงในทะเล)
สมมติไทยไม่ทำตาม ก็ได้ไม่มีปัญหาเพราะไทยอาจจะไม่ได้เข้าเป็นภาคีหรือ อะไรต่างๆสิ่งดังกล่าวก็ไม่ผูกพันไทย แต่
ถ้าเป็นเช่นนั้นเรือไทยก็ล้ำเข้าไปในพื้นที่ของน่านน้ำของชาติที่ปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นเมื่อมีเรื่องเหล่านี้เข้ามาจากต่างประเทศ เรามักจะได้ยินว่า ไทยมีเอกราชไม่ต้องไปฟังไปทำ
ตามมัน พูดถูกต้อง แต่ถามว่าถ้าเราไม่ทำ ผลประโยชน์ของประเทศเราได้ประเมินแล้วหรือยัง ผลประโยชน์ที่เราจะ
ได้กับที่เราจะเสียไปนั้นคุ้มค่ากันไหม นี่คือสมดุลที่ต้องพิจารณาไปพร้อมๆกัน บางทีนักกฎหมายก็เป็นชาวเกาะ
เกาะแต่ตัวบทหลักการ เรารู้ว่าใช้อย่างไรแต่ก็ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศของตนเองด้วย ทั้งนี้นัก
กฎหมายก็ยังต้องยืนอยู่บนหลักกำหมายด้วยเช่นกันเช่น ต้องตอบให้ตรง ผูกพันหรือไม่ผูกพัน หรือผูกพันแต่... ต้อง
ตอบให้ครบ อย่าเป็นนักกฎหมายที่แสนซื่อเขาถามกฎหมายเราก็ตอบแค่กฎหมายเรื่องอื่นก็ปล่อยเขาไปคิดเอาเอง
เพราะหากเกิดความผิดพลาดมันกระทบไปทั้งประเทศไม่โดยตรงก็โดยอ้อม

เราศึกษากันในประเด็นของที่มาและบ่อเกิดทั้งหมดแล้ว อาจารย์อยากสรุปว่าเราเห็นลักษณะการเกิด ขึ้น


ในบ่อเกิดและที่มาต่างๆ บทเรียนที่สำคัญก็คือว่า 1.ไม่ว่าจะมาจากที่มาหรือบ่อเกิดใด กฎเกณฑ์นั้นก็มี ค่าบังคับ
เหมือนกันโดยไม่มีลำดับศักดิ์ 2.บรรดาที่มาต่างๆนั้นมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอยู่ตลอดเวลา จากบ่อเกิดหนึ่งก็อาจจะ
นำไปสู่การเกิดขึ้นของกฎเกณฑ์ในอีกบ่อเกิดหนึ่งก็ได้ มันมีปฏิสัมพันธ์ทั้งในทางบวก(เกิดกฎเกณฑ์ในบ่อเกิดอื่นๆ)11
และในทางลบ(หักล้างเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่เดิม)12 กฎหมายระหว่างประเทศจึงมีความพลวัตรอยู่เสมอ เวลา
ที่จะต้องอ้างอิง กฎหมายระหว่างประเทศนัก ศึ กษาจึง ไม่ ควรเชื ่อ หนัง สื อเพียงเล่ม เดีย ว ควรติดตามอยู่ ต ลอด
อาจารย์ถึงได้พยายามสอบถามความรู้รอบตัว สถานการณ์โลกต่างๆกับเราอยู่ตลอดเวลา ในคราวหน้าเราก็จะมา

11 เช่นจารีตถูกนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายภายในหรือสนธิสัญญา
12 เช่นทำประมวลเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่เดิม
By ทอใจ & ทลว

ศึกษากันในหัวข้อใหม่คือ ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายใน สิ่งที่เราเรียนกันมา


ทั้งหมดนี่จะถูกนำมาใช้ในประเทศได้อย่างไร

You might also like