You are on page 1of 297

บทที่ 3

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
วิชากฎหมายควรรู้ (ส33201)
บรรพที่ 1 หลักทั่วไป กล่าวถึงบทเบ็ดเสร็จ บุคคล ทรัพย์ นิติกรรม

บรรพที่ 2 หนี้ กล่าวถึงบทเบ็ดเสร็จทัว่ ไป สัญญา จัดการงาน


นอกสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด

บรรพที่ 3 เอกเทศสัญญา กล่าวถึงสัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน การให้ เช่า


ทรัพย์ เช่าซื้อ ค้้าประกัน จ้านอง จ้าน้า ฯลฯ
บรรพที่ 4 ทรัพย์สิน กล่าวถึงกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ฯลฯ

บรรพที่ 5 ครอบครัว กล่าวถึงการหมั้น การสมรส ความสัมพันธ์ระหว่าง


สามี ภรรยา ความสั ม พัน ธ์ ระหว่า งบิ ดา มารดาและ
บุตร บุตรบุญธรรม ค่าอุปการะเลี้ยงดู ฯลฯ

บรรพที่ 6 มรดก กล่าวถึงบทเบ็ดเสร็จทัว่ ไป การรับมรดก สิทธิโดย


ชอบธรรมในการรับมรดก พินัยกรรม
จากค้ากล่าวที่ว่า “ที่ใดมีสังคม ที่นั่นย่อมมีกฎหมาย”
แสดงโดยนัยว่ากฎหมายนั้นเข้ามามีบทบาทในช่วงชีวิตของ
มนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กฎหมาย
จึงได้ก้าหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการเริ่มต้นและสิ้นสุด “สภาพ
บุคคล” (สภาพของความเป็นมนุษย์ ) ประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ได้แบ่งประเภทของบุคคลออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล
1. บุคคลธรรมดา
1.1 การเริม่ ต้นสภาพบุคคล

ต้องมี “การคลอด” อีกทั้งต้องมี “การอยู่


รอดเป็นทารก” (มาตรา 15) โดยต้องมีการหายใจ
ไม่ว่าจะโดยการหายใจเองหรือใช้เครื่องมือ
1.2 สิทธิหน้าทีข่ องบุคคล
สิ ท ธิ หมายถึ ง อ้ าน าจหรื อ
ผลประโยชน์ ที่ ก ฎหมายรั บ รองและ
คุ้มครอง บุคคลจะละเมิดล่วงเกินหรือ
กระท้ า การใดๆที่ ก ระทบกระเทื อ นต่ อ
สิทธิของผู้อื่นไม่ได้
หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความ
รั บ ผิ ด ชอบที่ บุ ค คลจะต้ อ งปฏิ บั ติ ต าม
กฎหมาย
1.3 ทารกในครรภ์มารดา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1604 บัญญัติ
ว่า “บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถ
มีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่
ความตาย
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายใน
สามร้อยสิบวัน นับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกใน
ครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย”
1.4 ความสามารถของบุคคล
คื อ การที่ บุ ค คลมี สิ ท ธิ แ ละสามารถใช้ สิ ท ธิ ข องตนตามกฎหมายได้
ความสามารถในการมีสิทธิ เช่น สิทธิในทรัพย์สิน และความสามารถในการใช้
สิทธิ เช่น ความสามารถในการท้าสัญญา อย่างไรก็ตามบุคคลบางประเภท
อาจมีความด้อยทางวุฒิภาวะร่างกายหรือสติปัญญา กฎหมายจึงต้องเข้ามา
คุ้มครองด้วยการก้าหนดหลักเกณฑ์ของ “ผู้ไร้ความสามารถ” ขึ้น
ผู้ไร้ความสามารถ ตามกฎหมายมี 4 ประเภท คือ

1. ผู้เยาว์ 2. คนไร้ความสามารถ

3. คนเสมือนไร้ความสามารถ 4. บุคคลวิกลจริต
1.4.1 ผู้เยาว์

หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีสิทธิตามกฎหมาย แต่ด้วย
ความอ่ อ นด้ อ ยทางอายุ แ ละวุ ฒิ ภ าวะท้ า ให้
ก ฎ ห ม า ย จ้ า กั ด ก า ร ใ ช้ สิ ท ธิ เ พื่ อ คุ้ ม ค ร อ ง
ผลประโยชน์ของผู้เยาว์
การบรรลุนิติภาวะ เกิดใน 2 กรณี คือ

1) อายุ 20 ปีบริบูรณ์

2) สมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์
ความสามารถของผู้เยาว์
มาตรา 21 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้วางหลักทั่วไป
เกี่ยวกับ การท้านิติกรรมของผู้เยาว์ไว้ว่า “ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใดๆต้อง
ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆที่ผู้เยาว์ได้ทาลง
ปราศจากความยินยอมเช่นนัน
้ เป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัตไิ ว้เป็นอย่างอื่น ”
ผู้แทนโดยชอบธรรม
เป็นบุคคลที่กฎหมายก้าหนดขึ้นเพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ โดย
หลักผู้เยาว์จะต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนหรือขณะท้านิติ
กรรมโดยผู้แทนโดยชอบธรรม คือ
1) ผู้ใช้อ้านาจปกครอง คือ บิดา มารดาของผู้เยาว์ เป็นผู้ใช้อ้านาจปกครองร่วมกัน

2) ผู้ปกครอง คือ บุคคลที่ศาลตั้งขึ้นในกรณีไม่มีบิดา มารดา เช่น บิดา มารดา


ตายหรือไม่ปรากฏ หรือบิดา มารดา ถูกถอนอ้านาจปกครอง

3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม อ้านาจปกครองจะอยู่


กับผู้รับบุตรบุญธรรม โดยบิดา มารดา ผู้ให้ก้าเนิดจะหมดอ้านาจปกครองนับ
แต่วันที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรม
นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถกระท้าได้ด้วยตนเอง
1. หากเป็ น เพี ย งเพื่ อ จะได้ ไ ปซึ่ ง สิ ท ธิ อั น ใด
อั น หนึ่ ง หรื อ เป็ น การให้ ห ลุ ด พ้ น จากหน้ า ที่ อั น ใด
อั น หนึ่ ง ได้ แ ก่ กิ จ การอั น เป็ น ประโยชน์ แ ก่ ผู้ เ ยาว์
ฝ่ า ยเดี ย วไม่ มี ท างเสี ย เช่ น ผู้ เ ยาว์ รั บ ทรั พ ย์ สิ น ที่
บุ ค คลอื่ น ให้ โ ดยเสน่ ห า โดยไม่ มี ข้ อ ผู ก มั ด หรื อ
เงื่อนไข ๆ ใดทั้งสิ้น
2 . กิ จ ก า ร ที่ จ ะ ต้ อ ง ท้ า เ อ ง
เฉพาะตั ว เช่ น การรั บ เด็ ก เป็ น บุ ต รหรื อ
เข้าสู่พิธีการสมรส
3. กิ จ การที่ เ ป็ น การสมควรแห่ ง
ฐานานุ รู ป และเป็ น การจ้ า เป็ น เพื่ อ การ
เลี้ ย งชี พ ตามสมควร กิ จ การที่ เ ป็ น การ
สมควรแห่ ง ฐานานุ รู ป แห่ ง ตนนั้ น ต้ อ ง
พิจารณาดูวา่ สิง่ ใดถือว่าสมควรกับสภาพ
ผู้เยาว์
4. ผู้เยาว์อาจท้าพินัยกรรม
ได้เมื่ออายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์
1.4.2 คนไร้ความสามารถ
หมายถึ ง บุ ค คลวิ ก ลจริ ต ที่
ศาลสั่ ง ให้ เ ป็ น คนไร้ ค วามสามารถ
(คนไร้ ค วามสามารถเริ่ ม ต้ น ขึ้ น เมื่ อ
ศาลสั่งไม่ได้เริ่มต้นเมื่อวิกลจริต)
หลักเกณฑ์ของคนไร้ความสามารถ
1) เป็นคนวิกลจริตถึงขนาด
2) เมื่อคู่สมรส บุพการี (บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด) ผู้สืบสันดาน
(ลูก หลาน เหลน ลื่อ) ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์หรือพนักงานอัยการยื่นค้าร้องขอ
ต่อศาลเพื่อให้ศาลมีค้าสั่ง
3) ต้องประกาศค้าสั่งของศาลที่สั่งให้ผู้ใดเป็นคนไร้ความสามารถในราช
กิจจานุเบกษา
คนไร้ความสามารถจะตกอยู่ในความดูแลของ “ผู้อนุบาล” โดยนิติกรรม
ที่คนไร้ความสามารถท้าลงไปมีผลเป็น “โมฆียะเสมอ” (มาตรา29) เนื่องจาก
กฎหมายประสงค์ให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ท้าแทน
การสิ้นสุดแห่งการเป็นคนไร้ความสามารถ

1) เมื่อคนไร้ความสามารถถึงแก่ความ
ตาย หรือ

2) เมื่อศาลได้สั่งเพิกถอนค้าสั่งให้เป็น
คนไร้ความสามารถ
1.4.3 คนเสมือนไร้ความสามารถ

ห ม า ย ถึ ง บุ ค ค ล ที่ ไ ม่
สามารถจั ด การงานของตนเองได้
เพราะมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือ น
ไ ม่ ส ม ป ร ะ ก อ บ ห รื อ ป ร ะ พ ฤ ติ
สุรุ่ยสุร่ายเป็นอาจิณ
หลักเกณฑ์ของคนเสมือนไร้ความสามารถ

1) มีเหตุตามกฎหมาย ได้แก่ ร่างกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ


ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา

2) เหตุข้างต้นท้าให้ไม่สามารถจัดท้าการงานของตนเองได้

3) เมื่อมีการร้องขอต่อศาลโดยบุคคลตามข้อ 1.4.2 ศาลอาจสั่งให้บุคคล


นั้ น เป็ น คนเสมื อ นไร้ ค วามสามารถและต้ อ งประกาศค้ า สั่ ง นั้ น ในราชกิ จ จา
นุเบกษา
***คนเสมือนไร้ความสามารถตกอยูใ่ นความดูแลของ “ผู้พิทักษ์”
โดยหลักการท้านิติกรรมของคนเสมือนไร้ความสามารถ ท้านิติกรรมใดๆ
ได้ ต ามปกติ แ ละมี ผ ลสมบู ร ณ์ เว้ น แต่ นิ ติ ก รรมบางอย่ า งที่ ก ฎหมาย
ก้าหนด กฎหมายจึงก้าหนดให้คนเสมือนไร้ความสามารถต้องไปขอความ
ยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน เนื่องจากนิติกรรมเหล่านี้มีความส้าคัญ ถ้าท้า
โดยฝ่าฝืนนิติกรรมนั้น ย่อมตกเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 34 ได้แก่
1) น้าทรัพย์สินไปลงทุน

2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น

3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า

4) รับประกันโดยประการใดๆอันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับช้าระหนี้

5) เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีก้าหนดระยะเวลา เกินกว่าหกเดือน

หรืออสังหาริมทรัพย์มีก้าหนดระยะเวลา เกินกว่าสามปี

6) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปเพื่อการกุศลหรือตามหน้าที่
7) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือภาระติดพัน
8) ท้าการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ /
สังหาริมทรัพย์อันมีค่า
9) ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือซ่อมแซมอย่างใหญ่

10) เสนอคดีต่อศาลหรือด้าเนินกระบวนการพิจารณาใดๆ

11) ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
การสิ้นสุดแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
1) คนเสมือนไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย
2) เมื่อศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
3) เมื่อศาลได้สั่งถอนค้าสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
1.4.4 บุคคลวิกลจริต
หมายถึง บุคคลที่มีอาการวิกลจริต
ที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
*** ถ้าบุคคลนั้นกระท้าการใดๆ ลง
ไปขณะที่ (มาตรา 30)
1) จริตวิกลอยู่ และ
2) คู่ก รณี อีก ฝ่ า ยรู้ว่ า ผู้ก ระท้า เป็ น
คนวิกลจริตการนั้นตกเป็น โมฆียะ
ตารางเปรียบเทียบคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถและบุคคลวิกลจริต

คนไร้ คนเสมือนไร้
หัวข้อ บุคคลวิกลจริต
ความสามารถ ความสามารถ
ค้าสัง่ ศาล สั่งแล้ว สั่งแล้ว ยังไม่ได้สั่ง
คนไร้ คนเสมือนไร้
หัวข้อ บุคคลวิกลจริต
ความสามารถ ความสามารถ

- ถู ก จ้ า กั ด - ท้ า นิ ติ ก ร ร ม ไ ด้ - โดยหลั ก การกระท้ า นิ ติ
ความสามารถโดย ต า ม ป ก ติ มี ผ ล กรรมใดๆมีผลสมบูรณ์ แต่จะ

การท้านิตกิ รรม สิ้นเชิง ท้ านิติกรรม สมบู ร ณ์ เว้ น แต่ เ ข้ า เป็นโมฆียะเมื่อเข้ากรณี


ใ ด ๆ ต ก เ ป็ น ข้ อ ย ก เ ว้ น ต า ม 1) กระท้ า การใดๆลงไปขณะ
“โมฆี ย ะ” หมด แม้ กฎหมายต้องขอความ จริตวิกล
ได้ รั บ ความยิ น ยอม ยิ น ยอมจากผู้ พิ ทั ก ษ์ 2) คู่กรณีอีกฝ่ายรู้ว่าผู้กระท้า
จากผู้อนุบาล ก่อน เป็นคนวิกลจริต
คนไร้ คนเสมือนไร้
หัวข้อ บุคคลวิกลจริต
ความสามารถ ความสามารถ

สมบูรณ์แต่จะเป็นอัน
พินัยกรรม โมฆะเสมอ สมบูรณ์ เสียเปล่า หากกระท้า
ในขณะจริตวิกล
1.5 การสิ้นสภาพบุคคล

1.5.1 การตายตามธรรมชาติ
การที่หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นและสมองหยุดท้างาน โดยการตรวจ
ด้วยการวัดคลื่นสมองด้วยไฟฟ้า

1.5.2 การตายโดยผลของกฎหมาย
“การสาบสูญ” คือ การสิ้นสุดสภาพบุคคลโดยผลแห่งกฎหมาย
ข้อสังเกตผลของการสาบสูญ
1) กรณีมีคสู่ มรส – การสาบสูญ ไม่ท้าให้การสมรสขาด
จากกัน แต่เป็นเหตุให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
2) เรื่องมรดก – เมื่อศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ
มรดกย่ อ มตกแก่ ท ายาท แต่ ก รณี นี้ ผู้ รั บ มรดกอาจต้ อ งคื น
ทรัพย์มรดกที่ได้รับมาหากภายหลังพิสูจน์ได้ว่าผู้สาบสูญนั้นมี
ชีวิตอยู่
กรณีคนสาบสูญนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือตายเวลาอื่นผิดไปจากเวลาที่
กฎหมายสันนิษฐานไว้ คือ 5 ปี ในกรณีธรรมดาและ 2 ปีในกรณีพิเศษ ผู้มี
สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนค้าสั่งแสดงความสาบสูญ ได้แก่บุคคลต่อไปนี้ คือ
ตัวผู้สาบสูญเองหรือผู้มีส่วนได้เสีย (บิดามารดา บุตร คู่สมรส) หรือพนักงาน
อัยการ ผลของการเพิกถอนค้าสั่ง คือ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์
แห่งการกระท้าทั้งหลายที่ได้กระท้าไปโดยสุจริตในระหว่างที่ศาลมีค้าสั่งให้
เป็นคนสาบสูญ
2. นิติบุคคล
คือ บุคคลตามกฎหมายที่กฎหมายสมมติขึ้นมาและรับรองให้มีสิทธิและ
หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เป็นลักษณะของการที่บุคคลหลายคนร่วมกัน
ท้ากิจกรรมอันเดียวกัน
2.1 นิติบค
ุ คลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ได้แก่ มูลนิธิ เพื่อด้าเนินกิจกรรมสาธารณกุศล , สมาคม ที่ด้าเนิน
กิจการต่อเนื่องที่ไม่ได้แสวงหาก้าไรหรือรายได้มาแบ่งกัน , ห้างหุ้นส่วน
หรือ บริษัท กิจการที่บุคคลท้าร่วมกันเพื่อแบ่งก้าไร
2.2 นิติบค
ุ คลตามกฎหมายอืน

- รัฐวิสาหกิจต่างๆที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย
- มหาวิทยาลัย , พรรคการเมือง , กระทรวง , ทบวง , กรม , จังหวัด ,
เทศบาล , อบจ. , อบต. , กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา (คณะรัฐมนตรี ,
รัฐบาล , อ้าเภอ ≠ นิติบุคคล)
หนี้

เมื่อบุคคลอยู่รวมกันย่อมจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันโดยอาจอยู่ใน
รูปแบบของการให้กระท้า / งดเว้นการกระท้าบางอย่าง หรืออาจมีการ
ส่ ง มอบทรั พ ย์ สิ น แก่ กั น ด้ ว ยเหตุ เ หล่ า นี้ ป ระมวลกฎหมายแพ่ ง และ
พาณิชย์จึงต้องก้าหนดบทบัญญัติเรื่อง “หนี้” ขึ้น
สิทธิ

เจ้าหนี้ ลูกหนี้
หน้าที่
1.1 ลักษณะส้าคัญ
- มีเจ้าหนี้และลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับช้าระหนี้จากลูกหนี้
- มีความผูกพันในทางกฎหมายอันก่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่ เช่น
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ช้าระหนี้เมื่อถึงก้าหนด
- มีวัตถุแห่งหนี้อันเป็นข้อก้าหนดที่ว่า “ลูกหนี้ต้องปฏิบัติการช้าระหนี้ให้แก่
เจ้าหนี้อย่างไร” ได้แก่

 การส่ ง มอบทรั พ ย์ สิ น เช่ น ฟ้ า ซื้ อ คอมพิ ว เตอร์ จ ากฝน ฝนเป็ น


ลูกหนี้ในอันที่ต้องส่ง มอบคอมพิวเตอร์นั้นแก่ฟ้า

 การให้กระท้า เช่น ขาวรับจ้างสร้างบ้านให้แก่ด้า ขาวเป็นหนี้ในอันที่


จะต้องสร้าง บ้านเช่นว่า วัตถุแห่งหนี้ในกรณีนี้ คือ การสร้างบ้าน

 การงดเว้นการกระท้า เช่น นายจ้างกับลูกจ้างท้าสัญญาห้ามแข่งขัน


กับนายจ้าง
1.2 องค์ประกอบของหนี้
องค์ประกอบของหนี้มี 3 ประการ ได้แก่

1.2.1 นิ ติ สั ม พั น ธ์ หมายถึ ง ความผู ก พั น ทางกฎหมายที่ จ ะ


ก่อให้เกิดหนี้และมีผลท้าให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ช้าระหนี้

1.2.2 เจ้ า หนี้ แ ละลู ก หนี้ ความผู ก พั น กั น ทางกฎหมายและ


ก่อให้เกิดหนี้จะต้องมีบุคคล 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้ และ ลูกหนี้
1.2.3 วัตถุแห่งหนี้ หมายถึง ข้อก้าหนดว่าลูกหนี้จะต้องปฏิบัติการช้าระหนี้แก่
เจ้าหนี้อย่างไร ซึ่งได้แก่ ต้องกระท้าการ งดเว้นการกระท้า หรือ ต้องส่งมอบทรัพย์สิน

(1) กรณีวัตถุแห่งหนี้เป็นทรัพย์

1. หากก้าหนดทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งการช้าระหนี้ถึงเวลาต้องช้าระ

2. หากก้าหนดเป็นแค่ประเภท ไม่ระบุชัดเจนให้ลูกหนี้ส่ง “ทรัพย์ชนิดปานกลาง”


(2) กรณีวัตถุแห่งการช้าระหนี้เป็นเงินตรา
หากเป็ น เงิ น ต่ า งประเทศ ลู ก หนี้ ส ามารถช้ า ระเป็ น เงิ น ได้
ค้านวณเงินต่างประเทศให้เป็นเงินไทย

(3) กรณีวัตถุแห่งการช้าระหนี้มีหลายอย่าง
กฎหมายให้สิทธิลูกหนี้เป็นผู้เลือกและต้องเลือกภายในเวลาที่ก้าหนด
1.3 บ่อเกิดของหนี้
1.3. 1 หนี้ ที่ เ กิ ด จากนิติ ก รรม
หมายถึง การแสดงเจตนาของบุคคลที่
จะก่อให้เกิดหนี้ขึ้นตามกฎหมาย บ่อเกิด
หนี้ ส้ า คั ญ ที่ สุ ด เช่ น สั ญ ญาซื้ อ ขาย ,
ขายฝาก , เช่าทรัพย์ เป็นต้น
1.3.2 หนี้ที่เกิดจากนิติเหตุ มี 4 กรณี ดังต่อไปนี้

1) การจั ด งานนอกสั่ ง หมายถึ ง การที่ บุ ค คลหนึ่ ง เรี ย กว่ า


“ผู้จัดการ” เข้าท้ากิจการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ตัวการ”
โดยที่เขามิได้ใช้ให้ท้า ถ้าเป็นผลประโยชน์ของ “ตัวการ” สามารถเรียก
ค่าใช้จ่ายได้
2) ลาภมิ ค วรได้ บุ ค คลใดได้ ท รั พ ย์ ข องเขามา
โดยไม่มีมูลจะอ้างได้และเป็นทางให้บุคคลอื่นเสียเปรียบ
บุคคลนั้นต้องคืนทรัพย์ให้เจ้าของไป

3) ละเมิ ด การที่ บุ ค คลใดจงใจหรื อ ประมาท


เลินเล่อท้าต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหาย
ถึงชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน
4) บทบัญญัติแห่งกฎหมาย บางกรณี
กฎหมายก้าหนดหนี้ไว้โดยเฉพาะ เช่น
ผู้ มี ร ายได้ ต้ อ งเสี ย ภาษี แ ก่ รั ฐ , บุ ต ร
ต้องเลี้ยงดูบิดามารดา
ค้าถาม
นาย ก เป็นคนระยองมีสวนติดกับสวนของนาย ข ที่เป็นคนกรุงเทพ โดยที่นาย ข ไม่
มีเวลาไปดูสวน เมื่อฝนตกหนักน้้าท่วม นาย ก จึงไปเก็บผลไม้เพื่อเอาไปขายให้นาย ข

การจัดการนอกสั่ง ลาภมิควรได้

ละเมิด บทบัญญัตแิ ห่งกฎหมาย


1.4 ผลแห่งหนี้

กรณี เมื่อครบกาหนดการชาระหนี้ หากเจ้าหนี้ได้เรียกให้ลูกหนี้ช้าระหนี้


และลูกหนี้ได้ช้าระตามวัตถุแห่งหนี้แล้ว หนี้เป็นอันระงับไป กรณีตรงกัน
ข้ามหากลูกหนี้ไม่ยอมช้าระหนี้กฎหมายก็ให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะร้องขอต่อศาล
ให้ศาลบังคับให้ช้าระหนี้ได้ และหากการไม่ช้าระหนี้นั้นท้าให้เจ้าหนี้ต้อง
เสียหาย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
หากการชาระหนี้ เป็นการกระทาเฉพาะตัวของลูกหนี้ และลูกหนี้
ผิ ด นั ด ไม่ ไ ด้ ช้ า ระหนี้ ต ามมู ล เหตุ แ ห่ ง หนี้ เจ้ า หนี้ มี สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ ง
ค่าเสียหายได้

กรณีที่การชาระหนี้เป็นการงดเว้นการกระทา กฎหมายให้อ้านาจ
เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระท้าลงไปแล้ว โดยฝ่ายลูกหนี้
ต้องเสียค่าใช้จ่ายและให้จัดการอันควรเพื่อการภายหน้าด้วยก็ได้
1.5 การผิดนัด
การผิดนัด สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 การผิดนัดของลูกหนี้
การผิดนัดของลูกหนี้เกิดขึ้นหลังจากที่หนี้ถึงก้าหนดช้าระแล้ว แต่
ลู ก หนี้ ยั ง ไม่ ช้ า ระหรื อ ช้ า ระล่ า ช้ า ซึ่ ง ลู ก หนี้ จ ะต้ อ งรั บ ผิ ด การผิ ด นั ด ของ
ลูกหนี้จะต้องประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
1. หนี้ ถึ ง ก้ า หนดช้ า ระแล้ ว หากไม่ มี ก้ า หนดเวลา
เจ้าหนี้สามารถเรียกช้าระหนี้ได้ทันที

2. เจ้ า หนี้ เ ตื อ นให้ ลู ก หนี้ ช้ า ระหนี้ หากลู ก หนี้ ไ ม่


ช้าระหนี้ตามเวลาและเจ้าหนี้เตือนแล้ว อาจเตือนด้วยวาจา
ลายลักษณ์อักษร
ข้อยกเว้นทีเ่ จ้าหนีไ้ ม่ตอ้ งเตือน ได้แก่

1) กรณีก้าหนดเวลาช้าระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน

2) หนี้มูลละเมิด เจ้าหนี้ไม่ต้องเตือนเพราะลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาท้าละเมิดแล้ว
ผลของการทีล่ กู หนีผ
้ ิดนัด
เมื่อลูกหนี้ผิดนัด นอกจากกฎหมายจะบัญญัติให้ลูกหนี้ต้องปฏิบัติการช้าระหนี้
เท่าที่ท้าได้แล้ว ลูกหนี้ยังต้องรับผิดเป็นพิเศษอีก ได้แก่
1) ลูกหนี้ต้องรับผิดค่าสินไหมทดแทนการไม่ช้าระหนี้

2) เจ้าหนี้บอกปัดไม่รับช้าระหนี้ได้

3) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหาย

4) ลูกหนี้ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยในหนี้สิน คิดในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
กรณีที่ 2 การผิดนัดของเจ้าหนี้
การผิดนัดของเจ้าหนี้ ได้แก่ กรณีที่เจ้าหนี้ไม่รับช้าระหนี้หรือไม่เสนอช้าระ
หนี้ตอบแทน โดยไม่มีเหตุที่จะอ้างตามกฎหมายได้ มีผลท้าให้ลูกหนี้ไม่ตกเป็นฝ่าย
ผิดนัดและอาจหลุดพ้นความผิดได้ การผิดนัดของเจ้าหนี้แยกพิจารณา ได้ดังนี้
1. เจ้าหนี้ผิดนัด เพราะไม่รับช้าระหนี้
2. เจ้าหนี้ผิดนัด เพราะไม่เสนอที่จะท้าการช้าระหนี้ตอบแทน
ผลของการทีเ่ จ้าหนีผ
้ ิดนัด

1) เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยในหนี้เงินระหว่างผิดนัดไม่ได้

2) ลูกหนี้หลุดพ้นจากความผิดทั้งปวง อันเกิดจากการไม่ช้าระหนี้
1.6 ลูกหนี้หลายคนและเจ้าหนี้หลายคน
1. หนี้อันแบ่งช้าระกันได้
หากมีเจ้าหนี้หลายคน เจ้าหนี้แต่ละคนต่างมีสิทธิเรียกร้องและจะ
ได้รับการช้าระหนี้ในส่วนที่ เท่าๆกัน หรือหากมีลูกหนี้หลายคน ลูกหนี้แต่
ละคนก็ต้องรับผิดช้าระหนี้เป็นส่วนเท่าๆกัน
2. เจ้าหนี้ร่วมและลูกหนี้ร่วม
หากเป็ น หนี้ ที่ บุ ค คลหลายคนต้ อ ง
ร่วมผูกพันตนช้าระหนี้จนครบถ้วนเรียกว่า
ลูกหนี้ร่วม และถ้าเป็นหนี้ที่บุคคลหลายคน
มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ช้าระหนี้จนกว่าจะ
ครบถ้วนเรียกว่า เจ้าหนี้ร่วม
2.1 ลูกหนี้ร่วม
กรณี ข องลู กหนี้ ห ลายคนหรื อ ลู กหนี้ ร่ ว มทุ กคนจะต้ อ งช้ า ระหนี้ โ ดย
สิ้นเชิง ถึงแม้ว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ช้าระเพียงครั้งเดียว ลูกหนี้ทุกคนยังคงต้อง
ผูกพันอยู่จนกว่าหนี้จะได้รับการช้าระ
ผลของการเป็นลูกหนีร้ ว่ ม

1) เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้คนใดคนหนึง่ จากจ้านวนลูกหนี้ทั้งหมดแต่เพียง
คนเดียวก็ได้

2) การที่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งช้าระหนี้ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นด้วย

3) การที่เจ้าหนี้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่
ลูกหนี้คนอื่นๆ
4) การที่เจ้าหนี้ผิดนัดต่อลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งนั้น ย่อมเป็นคุณประโยชน์แก่
ลูกหนี้คนอื่นด้วย

5) การที่หนี้เกลื่อนกลืนส้าหรับลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่ง เป็นคุณเฉพาะ
ลูกหนี้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้ร่วม

1) ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนๆเท่ากัน ถ้าส่วนที่ลูกหนี้คนใด
คนหนึ่งต้องช้าระแต่เรียกเอาจากลูกหนี้คนนั้นไม่ได้ ลูกหนี้คนอื่นต้องช่วยกันรับผิด

2) ถ้าลูกหนี้ร่วมคนใดช้าระหนี้แก่เจ้าหนี้เกินส่วนไปแล้ว ลูกหนี้คนนั้นย่อม
รับสิทธิจากเจ้าหนี้ฟ้องไล่เบี้ยส่วนดังกล่าวจากลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ช้าระหนี้
2.2 เจ้าหนี้ร่วม

ได้ แ ก่ กรณี ที่ เ ป็ น มู ล หนี้ ร ายเดี ย วกั น โดยมี เ จ้ า หนี้ ห ลายคน


เจ้าหนี้แต่ละคนมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ช้าระหนี้แก่ตนทั้งหมด
ผลของการเป็นเจ้าหนี้ร่วม
1) การที่ลูกหนี้ร่วมช้าระหนี้ต่อเจ้าหนี้ร่วมคนหนึ่ง ย่อมมีผลถึงเจ้าหนี้ร่วมคนอื่นด้วย

2) เจ้าหนี้ร่วมมีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ช้าระหนี้ทั้งหมดแก่ตนเพียงผู้เดียว โดยไม่ต้องให้
เจ้าหนี้ร่วมยินยอม

3) เมื่อเจ้าหนี้ร่วมคนใดผิดนัดย่อมเป็นโทษแก่เจ้าหนี้ร่วมคนอื่นด้วย

4) เจ้าหนี้ร่วมคนหนึ่งโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่บุคคลอื่นย่อมไม่กระทบสิทธิเจ้าหนี้อื่น
3. หนี้ที่แบ่งช้าระไม่ได้

3.1 กรณีของหนี้ที่แบ่งช้าระไม่ได้ที่มีลูกหนี้หลายคน

ให้บุคคลที่เป็นลูกหนี้เหล่านั้นต้องรับผิดชอบเช่นอย่างลูกหนี้ร่วม
เพราะไม่มีหนทางที่จะแบ่งแยกช้าระหนี้กันได้
3.2 กรณีของหนี้ที่แบ่งช้าระไม่ได้ทมี่ ีเจ้าหนี้หลายคน
ลู ก หนี้ จ ะช้ า ระหนี้ ใ ห้ ไ ด้ป ระโยชน์ แ ก่ เ จ้ า หนี้ ด้ว ยกั น
ทั้ ง หมดและเจ้ า หนี้ แ ต่ ล ะคนเรี ย กช้ า ระหนี้ ก็ ไ ด้ แ ต่ เ พื่ อ
ประโยชน์ด้วยกันหมดทุกคนเท่านั้น
1.7 ความระงับแห่งหนี้

1. การช้าระหนี้
 การที่ลูกหนี้ได้ช้าระหนี้ถูกต้องตามความประสงค์ของเจ้าหนี้

2. การปลดหนี้
 เจ้าหนี้ยินยอมยกหนี้ให้ลูกหนี้ โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนต้องท้าเป็นหนังสือ
3. หักลบกลบหนี้
 ต้องเป็นวัตถุอย่างเดียวกัน

4. แปลงหนีใ้ หม่
 การระงับหนี้เก่าแต่มีหนี้ใหม่เกิดขึ้น

5. หนี้เกลือ่ นกลืนกัน
 สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้มารวมกันอยู่ในบุคคลเดียวกัน
ทรัพย์/ทรัพย์สน

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 บัญญัติว่า “ทรัพย์”


หมายความว่า วัตถุที่มีรูปร่าง เช่น บ้าน รถยนต์ คอมพิวเตอร์

ตามประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา 138 บั ญ ญั ติ ว่ า


“ทรัพย์สิน” หมายถึง ทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้
ประเภทของทรัพย์

1. อสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 บัญญัติว่า

“อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ” หมายความว่ า ที่ ดิน และทรั พ ย์อัน ติ ดอยู่กับ ที่ ดิน มี
ลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น รวมถึงทรัพยสิทธิอัน
เกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดกับที่ดิน
1.1 ที่ดิน หมายถึง พื้นดินที่เป็นผิวโลก

1.2 ทรัพย์อน
ั ติดอยู่กับทีด
่ ินเป็นการถาวร หมายถึง ทรัพย์ถาวรที่
เกิดโดยธรรมชาติหรือมนุษย์

1.3 ทรัพย์อน
ั ประกอบเป็นอันเดียวกับทีด
่ ิน ได้แก่ ภูเขา แม่น้า แร่ธาตุต่างๆ

1.4 ทรัพยสิทธิอน
ั เกีย
่ วกับทีด
่ ิน หมายถึง สิทธิที่มีเหนือทรัพย์สินนั้น
2. สังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 140 บัญญัติว่า
“ สั ง ห า ริ ม ท รั พ ย์ ” ห ม า ย ค ว า ม ว่ า ท รัพย์ สิ น อื่ นนอ กจา ก
อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสิทธิอันเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นด้วย
3. ทรัพย์แบ่งได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 141 บัญญัติว่า
“ทรัพย์แบ่งได้” หมายความว่า ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ
โดยไม่เสียรูปร่าง รูปทรงเดิม เพียงแต่ปริมาณอาจลดลง เช่น ข้าวสาร , ที่ดิน
4. ทรั พ ย์ แ บ่ ง ไม่ไ ด้ ประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิ ช ย์
มาตรา 142 บัญญัติว่า

“ทรัพย์แบ่งไม่ได้ ” หมายความว่า ทรัพย์อันจะ


แยกจากกั น ไม่ ไ ด้ หากแบ่ ง แยกจากกั น จะท้ า ให้ ท รั พ ย์
บุบสลาย เปลี่ยนแปลงไป เช่น รูปภาพ รถยนต์
5. ทรัพย์นอกพาณิชย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
143 บัญญัติว่า “ทรั พ ย์ น อกพาณิ ช ย์ ” หมายความว่ า ทรั พ ย์ ที่ ไ ม่
สามารถถือเอาได้ คือ ไม่สามารถจะน้ามาครอบครองเป็นสิทธิของ
ตนได้ ไม่สามารถจ้าหน่ายจ่ายโอนได้ เช่น ดวงจันทร์ ก้อนเมฆ
ตารางเปรียบเทียบอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์
อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์
1. อสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 139 ได้แก่ 1. สังหาริมทรัพย์ นั้น มาตรา 140 วางหลักไว้ว่า เป็น
1) ที่ดิน ทรั พ ย์ อื่ น นอกจากอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ละยั ง รวมถึ ง
2) ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น กรวด
สิทธิทั้งหลายเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เช่น
ทราย แร่ธาตุ
ไม้ล้มลุก (ข้าว , อ้อย)
3) ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินเป็นการถาวร ไม่ว่าจะโดย
ธรรมชาติหรือโดยการกระท้าของมนุษย์ เช่น ไม้ยืนต้น ตึก
4) ทรัพยสิทธิ (สิทธิเหนือทรัพย์สิน) อันเกี่ยวกับที่ดิน
หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบอันเดียวกับที่ดิน
เช่น สิทธิครอบครองกรรมสิทธิ์
อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์
2. การท้ า นิ ติ ก รรมบางอย่ า ง เช่ น ซื้ อ 2. ปกติการท้านิติกรรมไม่มี “แบบ”
ขาย ต้องท้าตาม “แบบ” กล่าวคือ ต้อง
ท้าเป็น หนังสื อจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้ า หน้ า ที่ มิ เ ช่ น นั้ น ตกเป็ น “โมฆะ”
(มาตรา 456)
อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์
3. ครอบครองปรปักษ์ 10 ปีติดต่อกันได้ 3. ครอบครองปรปักษ์ 5 ปี ติดต่อกันได้
กรรมสิทธิ์ (มาตรา 1382) กรรมสิทธิ์
อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์
4. เมื่อน้าทรัพย์ไปประกันการช้าระหนี้ 4. เมื่อน้าทรัพย์ไปประกันการช้าระหนี้
เรียกว่า “จ้านอง” (มาตรา 702) เรียกว่า “จ้าน้า” (มาตรา 747)
ส่วนประกอบของทรัพย์
ทรั พ ย์ นั้ น จะประกอบด้ ว ยส่ ว นที่ ต่ อ เนื่ อ งกั บ
ตั ว ทรั พ ย์ อี ก 3 ส่ ว น จึ ง จะท้ า ให้ เ กิ ด ผลทางกฎหมาย
ส่วนประกอบดังกล่าว มีดังนี้
1. ส่วนควบของทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144
บัญญัติว่า “ส่วนควบของทรัพย์” หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพของทรัพย์
เป็ น สาระส้ า คั ญ ในความเป็ น อยู่ ข องทรั พ ย์ นั้ น ไม่ อ าจแยกออกจากกั น ได้
นอกจากจะท้าลาย เช่น เสาบ้านเป็นส่วนควบของบ้าน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 บัญญัติว่า “ไม้ยืนต้นเป็นส่วน
ควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่

ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลไม้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี
ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 บัญญัติว่า “ทรัพย์ซึ่งติดกับ


ที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น
ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้าง
ไว้ในที่ดินนั้นด้วย”
2. อุปกรณ์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 147 บัญญัติว่า
“อุปกรณ์” หมายความว่า เป็นของใช้ประจ้าอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็น
อาจิณเพื่อประโยชน์แก่ การจัดการดูแลใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน
และเจ้าของทรัพย์ได้น้ามาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการน้ามาติดต่อ
3. ดอกผลของทรั พ ย์ ประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา 148
บัญญัติว่า “ดอกผลของทรัพย์” หมายความว่า ดอกผลธรรมดาและดอกนิตินัย

ดอกผลธรรมดา หมายความว่ า สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ตามธรรมชาติ เป็ น


ผลิตผลจากตัวแม่ทรัพย์ซึ่งงอกเงยมาจากตัวทรัพย์เป็นปกติ ธรรมดา โดยตัว
แม่ทรัพย์ยังคงสภาพเดิม
ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ดอกผลที่ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ
แต่เกิดจากการที่ได้ใช้แม่ทรัพย์นั้น และกฎหมายได้ให้การรับรองให้เป็น
ดอกผล
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพยสิทธิและบุคคลสิทธิ
ทรัพยสิท ธิ คือ สิทธิซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน หรือ สิทธิเหนือ
ทรัพย์สิน ทรัพยสิทธิจะก่อตั้งขึ้นได้โดยอาศัยอ้านาจของกฎหมายเท่านั้น และ
ใช้ยันแก่บุคคลได้ทั่วไปไม่จ้ากัด และการเรียกร้องโดยอาศัยทรัพยสิทธิไม่มีอายุ
ความเสียสิทธิ
1. กรรมสิทธิ์ หมายถึง สิทธิทั้งปวงภายในบังคับแห่งกฎหมายที่เจ้าของ
ทรั พ ย์ สิ น มี สิ ท ธิ ใ ช้ ส อย และจ้ า หน่ า ยทรั พ ย์ สิ น ของตน และได้ ซึ่ ง ดอกผลแห่ ง
ทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตาม และเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน จากบุคคลผู้ไม่
มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิ
ชอบด้วยกฎหมาย
2. สิทธิครอบครอง หมายถึง สิทธิที่จะยึดถือทรัพย์สินเพื่อตน
ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1367 ว่า “บุคคลใดยึดถือทรัพย์สิน
โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง” สิทธิ
ครอบครองเป็นสิทธิส่วนหนึ่งของกรรมสิทธิ์และเป็นสิทธิที่มีความยิ่งใหญ่
รองจากกรรมสิท ธิ์ เจ้ า ของสิ ท ธิครอบครองมี อ้า นาจใช้ ส อยทรั พ ย์ ให้
ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครอง เรียกเอาคืนซึ่งการครอบครอง
ได้ดอกผล และโอนสิทธิครอบครองได้
3 . ภ า ร ะ จ้ า ย อ ม ห ม า ย ถึ ง ข้ อ ผู ก พั น ที่ ท้ า ใ ห้ เ จ้ า ข อ ง
อสังหาริมทรัพย์จ้าต้องยอมรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สิน
ของตน หรื อ ต้ อ งงดเว้ น การใช้ สิ ท ธิ บ างอย่ า งอั น มี อ ยู่ ใ นกรรมสิ ท ธิ์
ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น
4. สิทธิอาศัย หมายถึง สิทธิประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ที่
ได้มาโดยผลของการเข้าท้านิติกรรมระหว่างคู่สัญญา ซึ่งฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ใน
อสังหาริมทรัพย์นั้นให้สิทธิแก่คู่สัญญา อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิอาศัยในทรัพย์สินนั้น ซึ่งในทาง
กฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1402 ระบุว่า “ บุคคลใดได้รับ
สิทธิอาศัยในในโรงเรือน บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า”
5. สิ ท ธิ เ หนื อ พื้ น ดิ น หมายถึ ง
สิทธิที่บุคคลหนึ่งได้เป็นเจ้าขอโรงเรือน สิ่ง
ปลูกสร้าง หรือ สิ่งเพาะปลูกบนที่ดิน หรือ
ใต้ ดิ น ของผู้ อื่ น โดยจะเสี ย ค่ า ตอบแทน
ให้ กั บ เจ้ า ของที่ ดิ น ด้ ว ยหรื อ ไม่ ก็ ไ ด้ สิ ท ธิ
เหนือพื้นดินจะได้มาก็แต่โดยทางนิติกรรม
เท่านั้น ไม่อาจได้มาโดยทางอื่น
6. สิทธิเก็บกิน หมายถึง สิทธิที่บุคคลสามารถครอบครอง ใช้ และถือเอา
ซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น เป็นต้นว่า เจ้าของที่นามีสิทธิใช้ที่นา
โดยประการต่าง ๆ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินในที่นานั้นก็ใช้ที่นาท้านาได้ หรือจะน้าที่นานั้น
ออกให้เช่าเพื่อเก็บค่าเช่าก็ได้เสมอกับเป็นเจ้าของเองทีเดียว เพียงแต่กรรมสิทธิ์ในที่นา
ดังกล่าวยังอยู่ที่เจ้าของบุคคลผู้มีสิทธิเช่นนี้เรียก “ผู้ทรงสิทธิเก็บกิน” และสิทธิเก็บ
กินจะมีได้ก็แต่ในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ไม่มีในสังหาริมทรัพย์
7. ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งที่ไม่ได้
เป็ น เจ้ า ของอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แต่ มี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ การช้ า ระหนี้ เ ป็ น คราวๆ จาก
อสังหาริมทรัพย์นั้นๆหรือได้ใช้
8. จ้านอง หมายถึง เจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์
นั้น น้าเอกสารจดทะเบียนของเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์
เป็นหลักประกันการช้าระหนี้
บุ ค คลสิ ท ธิ คื อ สิ ท ธิ ซึ่ ง มี วั ต ถุ แ ห่ ง สิ ท ธิ
เป็ น การกระท้ า หรื อ งดเว้ น กระท้ า การอย่ า งใด
อย่ า งหนึ่ ง (มี สิ ท ธิ เ หนื อ บุ ค คล) เช่ น สิ ท ธิ ข อง
เจ้ า หนี้ ต ามสั ญ ญากู้ เป็ น สิ ท ธิ ที่ จ ะบั ง คั บ เอากั บ
ลูกหนี้หรือทายาทไม่อาจยันแก่บุคคลทั่วไปได้
นิติกรรม

ประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ มาตรา 149


บั ญ ญั ติ ว่ า นิ ติ ก รรม หมายความว่ า การใดๆอั น ท้ า ลงโดย
ชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร
ลักษณะของนิติกรรม มีลักษณะดังนี้

1. ต้อ งมีก ารแสดงเจตนาของบุคคล คือ ต้องมีการกระท้าของ


บุ ค คลโดยการแสดงออกมาให้ ป รากฏ ให้ บุ ค คลภายนอกรั บ รู้ เข้ า ใจใน
ความต้องการของผู้แสดงเจตนา ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปใดก็ได้ ดังนี้
- แสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง โดยการพูด การเขียน การแสดงกิริยาท่าทางที่
เป็นที่เข้าใจได้อย่างหนึ่งอย่างใด

- แสดงเจตนาโดยปริยาย เป็นการแสดงเจตนาออกมา เพียงแต่ไม่อาจ


เข้าใจได้ว่ามีความหมายอย่างไร แต่เมื่อค้านึงถึงพฤติการณ์ ต่างๆ โดยทั่วไป
แล้ว พอจะเข้าใจได้ว่ามีความหมายอย่างไร
- แสดงเจตนาโดยการนิ่ง ตามกฎหมายหรือธรรมเนียมประเพณีให้ถือว่า
การนิ่งเป็นการแสดงเจตนา แต่การนิ่งหรือการละเว้นในบางกรณีกฎหมาย
ถือว่าเป็นการแสดงเจตนา
2. การกระท้านั้นต้องประกอบด้วยใจสมัคร ปราศจากการส้าคัญผิด ,
กลฉ้อฉล , ถูกข่มขู่

3. ต้องมุง่ ให้ผลผูกพันทางกฎหมาย โดยประสงค์ให้มีผลผูกพันกันระหว่าง


คู่สัญญา

4. ต้องเป็นการกระท้าทีช่ อบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อกฎหมาย , ศีลธรรม


5. ต้องมุ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิ

การกระท้าเพื่อก่อให้เกิดผลทางกฎหมายหรือก่อให้เกิดผลของนิติกรรม
ท้าให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิของบุคคล ตามวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรมนั้น
มีด้วยกัน 5 ประการ คือ
5.1 การก่อสิทธิ เป็นการก่อตั้งสิทธิใหม่ขึ้นจากสัญญาต่างๆ

5.2 การเปลี่ยนแปลงสิทธิ โดยทั้งสองฝ่ายยินยอม

5.3 การโอนสิทธิ ตกลงส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินจากฝ่ายหนึ่งไปอีกฝ่ายหนึ่ง


5.4 การสงวนสิ ท ธิ การรั บสภาพหนี้ เช่ น หนี้ใกล้จ ะขาดอายุความ
เจ้าหนี้จึงให้ลูกหนี้ท้าหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ ท้าให้อายุความสะดุดหยุดลงต้อง
เริ่มนับอายุความใหม่ จึงเป็นการสงวนสิทธิมิให้ขาดอายุความ หรือ ขอให้สิทธินั้น
ต่อไป โดยไม่ยอมสละสิทธิ

5.5 การระงับสิทธิ นิติกรรมที่ท้าให้สิทธิเรียกร้องที่มีอยู่หมดไป


ประเภทของนิติกรรม
1. นิติกรรมฝ่ายเดียวกับนิติกรรมหลายฝ่าย

 นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ การท้าพินัยกรรม การปลดหนี้

 นิติกรรมสองฝ่าย ได้แก่ สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า สัญญาค้้าประกัน


2. นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ท้ามีชีวิตอยู่กับนิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ท้าตายแล้ว

 นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ท้ายังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ การรับสภาพหนี้

 นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ท้าตายแล้ว ได้แก่ พินัยกรรม


3. นิติกรรมมีค่าตอบแทนกับนิติกรรมไม่มีค่าตอบแทน

 นิติกรรมมีค่าตอบแทน ได้แก่ สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าทรัพย์

 นิติกรรมที่ไม่มีค่าตอบแทน ได้แก่ สัญญาให้โดยเสน่หา สัญญายืมใช้คงรูป


หลักเกณฑ์เรื่องแบบของนิติกรรม
แบบของนิติกรรม หมายถึง วิธีการที่กฎหมายก้าหนดไว้เป็นพิเศษเพื่อเป็น
หลักบังคับให้ผู้ท้านิติกรรมต้องท้าตามให้ครบถ้วน มิฉะนั้นนิติกรรมจะตกเป็นโมฆะ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 บัญญัติไว้ว่า “การใดมิได้ทา


ให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ”
กฎหมายก้าหนดให้แบบแห่งนิติกรรมไว้ 5 แบบ ดังนี้

1. แบบที่ต้องท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

เนื่องจากเป็นนิติกรรมที่มีความส้าคัญมาก กฎหมายจึงก้าหนด
ไว้ ว่ า นอกจากจะท้ า เป็ น หนั ง สื อ แล้ ว ต้ อ งไปจดทะเบี ย นต่ อ พนั ก งาน
เจ้า หน้ าที่ ด้ว ย เช่ น สัญ ญาซื้ อขายอสั งหาริม ทรั พย์ , สัญ ญาจ้า นอง ,
เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี เป็นต้น
2. แบบที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

เป็นนิติกรรมที่กฎหมายก้าหนดให้จดทะเบียนโดยไม่ก้าหนดให้ท้าเป็นหนังสือ

3. แบบที่ต้องท้าเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

นิ ติ ก รรมแบบนี้ ค ล้ า ยการจดทะเบี ย นต่ า งที่ เ พี ย งแต่ ไ ปปรากฎตั ว ต่ อ


พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงตนโดยท้าเป็นหนังสือไม่มีแบบพิมพ์หรือแบบฟอร์มให้
4. แบบที่ต้องท้าเป็นหนังสือระหว่างกันเอง

นิติกรรมที่กฎหมายก้าหนดให้ต้องท้าเป็นหนังสืออย่างน้อยสุดระหว่าง
กันเองซึ่งอาจจะมีประโยชน์ส้าหรับการใช้เป็นหลักฐานเพื่ออ้างอิงภายหลัง

5. แบบอื่นๆตามที่กฎหมายก้าหนด
กล่าวคือ เป็นแบบเฉพาะตามที่กฎหมายก้าหนดเป็นเรื่องๆไป ต่าง
จากนิติกรรม 4 แบบ ข้างต้น แต่เป็นนิติกรรมที่กฎหมายก้าหนดไว้เป็นพิเศษ
กฎหมายก้ า หนดแบบต่ า งๆของนิ ติ ก รรมไว้ แ ล้ ว ดั ง นั้ น คู่ สั ญ ญาจึ ง ต้ อ ง
ปฏิบัติตามเพื่อให้การท้านิติกรรมนั้นมีความสมบูรณ์ หากคู่สัญญาไม่ท้าตามแบบ
ของนิติกรรมที่ก้าหนดไว้จะก่อให้เกิดผล ดังนี้
1) นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ

2) คู่กรณีกลับสู่สภาพเดิมก่อนท้านิติกรรม

3) นิติกรรมที่เป็นโมฆะอาจถือไม่เป็นโมฆะได้

4) โมฆกรรมไม่กระทบถึงทรัพยสิทธิอย่างอืน
่ นอกเหนือจากนิติกรรม
หลักเกณฑ์เรื่องวัตถุประสงค์ของนิติกรรม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 บัญญัติ


ว่า “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย
เป็ น การพ้ น วิ สั ย หรื อ เป็ น การขั ด ต่ อ ความสงบเรี ย บร้ อ ยหรื อ
ศีลธรรมอันดีงามของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ” หมายความ
ว่า นิติกรรมที่สมบูรณ์นั้นจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. ต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย หมายถึง การท้านิติกรรม
ที่สมบูรณ์จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์ที่กฎหมายห้ามมิให้กระท้า

2. เป็ น การพ้ น วิ สั ย คื อ นิ ติ ก รรมที่ มี วั ต ถุประสงค์ ในสิ่ ง ที่


เป็นไปไม่ได้ เช่น สั ญญาว่าจ้างชุบชีวิตคนที่ตายไปแล้ว , สัญญา
ว่าจ้างจับพญานาค , จ้างผู้ชายอุ้มท้อง
3. เป็ น การขั ด ต่ อ ความสงบเรี ย บร้ อ ยหรื อ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การท้าสัญญาโดย
ต้องการให้เจ้าหน้าที่ใช้ต้าแหน่งช่วยเหลือ (ติดสินบน)
, การฮั้วประมูล
หลักเกณฑ์เรื่องการแสดงเจตนาในการท้านิติกรรม

1. การแสดงเจตนาซ่อนเร้น คือ การแสดงเจตนาหลอก เพราะผู้แสดงเจตนาได้


แสดงเจตนาออกมาเพียงหลอก ๆ ไม่ต้องการให้มีผลผูกพันจริงจังดังที่แสดงออกมา

ผลของการแสดงเจตนาซ่อนเร้น  นิติกรรมยังคงสมบูรณ์อยู่ คู่กรณีทั้งสอง


ฝ่ายยังคงมีสิทธิและหน้าที่ตามนิติกรรมที่แสดงออกทุกอย่าง เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะ
ได้รู้ถึงเจตนาอันแท้จริงในใจ จึงจะท้าให้นิติกรรมที่แสดงออกมานั้นตกเป็น โมฆะ
2. การแสดงเจตนาลวง หมายถึง การที่คู่กรณี 2 ฝ่าย ไม่มีเจตนาที่จะท้า
นิ ติ ก รรมกั น จริ ง ๆ แต่ สมรู้ กั น แสดงเจตนาท้ า นิ ติ ก รรมอั น หนึ่ ง เพื่ อ หลอก
บุคคลภายนอก

ผลของนิติกรรมที่เกิดจากเจตนาลวงตกเป็น โมฆะ แต่ห้ามยกขึ้นเป็นข้อ


ต่อสู้บุคคลภายนอกที่สุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
3. การแสดงเจตนาอ้าพราง หรือ นิติกรรมอ้าพราง หมายถึง นิติกรรม
ที่ท้าขึ้นโดยเปิดเผยและคู่กรณีมีเจตนาสมรู้ร่วมคิดกันเพื่อปกป้องนิติกรรมอีก
อันที่ประสงค์ให้ผูกพันอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามนิติกรรมอ้าพรางนั้น จะต้องท้าให้ถูกต้องตาม “แบบ” ที่
กฎหมายบังคับไว้ด้วย มิฉะนั้นนิติกรรมอ้าพรางนั้นย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้
4. การแสดงเจตนาโดยส้ า คั ญ ผิ ด เป็ น เรื่ อ งการเข้ า ใจความจริ ง ที่ ไ ม่
ถูกต้อง กล่าวคือเหตุการณ์เป็นอย่างหนึ่งแต่เข้าใจว่าเป็นอีกอย่างหนึ่ง การส้าคัญ
ผิดที่ท้าให้นิติกรรมไม่สมบูรณ์แบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ

4.1 การแสดงเจตนาโดยส้าคัญผิดในสาระส้าคัญแห่งนิติกรรม มีผลท้า ให้


นิติกรรมเป็น โมฆะ
1) ส้าคัญผิดในตัวบุคคลคู่กรณีแห่งนิติกรรม
ตั ว อย่ า งเช่ น นายเอกให้ เ งิ น 10,000 บาทกั บ ฝาแฝดชื่ อ นาย
ใหญ่ ซึ่งนายเอกเชื่อว่าเป็นนายเล็กแฝดผู้น้อง ถือเป็นการส้าคัญผิดใน
ตัวคู่กรณีที่เกี่ยวข้องในนิติกรรม การแสดงเจตนาของนายเอกเป็นโมฆะ
2) ส้าคัญผิดในลักษณะแห่งนิติกรรม
ตัวอย่างเช่น นายเอกต้องการจ้านองที่ดินแก่นายโท แต่นาย
เอกอ่านหนังสือไม่ออกและเชื่อใจนายโท นายโทจึงน้าสัญญามาให้ลง
ชื่อโดยบอกว่าเป็นสัญญาจ้านอง แต่ความจริงเป็นสัญญาขายที่ดิน
หรือยกที่ดินให้นายโทหากมีการไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามสัญญาขายหรือสัญญาให้นิติกรรมนั้นถือเป็นการแสดงเจตนาท้า
นิติกรรมโดยส้าคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ซึ่งเป็นโมฆะ
3) ส้าคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรมฝ่ายที่ส้าคัญผิดต้องรับผิดชอบในตัวทรัพย์
ตัวอย่างเช่น นายด้าต้องการซื้อม้าจากนายแดง แต่นายแดงน้าเอาลา
มาส่งมอบให้โดยส้าคัญผิดคิดว่า ลา คือ ม้า นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ
4.2 การแสดงเจตนาโดยส้าคัญผิดในคุณสมบัติ
ของบุคคลหรือทรัพย์ เป็นความส้าคัญผิดในมูลเหตุจูง
ใจให้ท้านิติกรรม ซึ่งหากเป็นการส้าคัญผิดในคุณสมบัติ
ของบุคคลหรือทรัพย์นั้นเป็นสาระส้าคัญ จะมีผลในทาง
กฎหมายท้าให้การแสดงเจตนานั้นเป็น โมฆียะ
5. การแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉล หมายถึง
การส้ า คั ญ ผิ ด ซึ่ ง มิ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น จากความนึ ก คิ ด ของผู้
แสดงเจตนาเอง หากเป็นเพราะมีบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่ง
อาจเป็ น คู่ ก รณี อี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง หรื อ บุ ค คลภายนอกมา
หลอกลวงให้ส้าคัญผิด ผลของการแสดงเจตนาเพราะ
ถูกกลฉ้อฉลเป็น โมฆียะ
6. ก า ร แ ส ด ง เ จ ต น า โ ด ย ถู ก ข่ ม ขู่
หมายถึ ง การท้ า ให้ ก ลั ว ภั ย อั น ใดอั น หนึ่ ง
เพื่อให้เขาท้านิติกรรม ถ้าหากไม่ท้าตามที่บอก
จะได้รับภัย ผลของการแสดงเจตนาเพราะเหตุ
ข่มขู่มีผลเป็น โมฆียะ
ความไม่เป็นผลของนิติกรรม
1. โมฆกรรม หมายความว่า นิติกรรมใดหรือการกระท้าใดที่กระท้าลงไปนั้นเป็น
การเสียเปล่าไม่มีผลตามกฎหมาย

สรุปได้ว่า “โมฆกรรม” หมายถึง นิติกรรมที่เสียเปล่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย

ไม่มีผลตามกฎหมาย และไม่สามารถให้สัตยาบันให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์ได้
2. โมฆียกรรม หมายความว่า นิติกรรมที่อาจถูกบอกล้างให้เป็นโมฆะแต่
เริ่มแรกได้แต่ตามความหมายทางกฎหมายนั้น นอกจากโมฆียกรรมอาจถูกบอก
ล้างให้เป็นโมฆะแต่เริ่มแรกได้แล้ว โมฆียะกรรมอาจได้รับสัตยาบันท้าให้นิติกรรม
นั้นสมบูรณ์แต่เริ่มแรกได้เช่นกัน
สรุปได้ว่า “โมฆียะ” หมายถึง นิติกรรมที่มีผลจนกว่าจะถูกบอกล้างโดย
ผู้มีอ้านาจบอกล้างตามกฎหมาย
ก้าหนดระยะเวลาในการบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ กฎหมายก้าหนดไว้เป็น
2 ช่วงเวลา ดังนี้

1) ต้องบอกล้างภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือ

2) ต้องบอกล้างภายใน 10 ปี นับแต่ท้านิติกรรม
ข้อแตกต่างระหว่างโมฆกรรมและโมฆียกรรม

โมฆกรรม โมฆียกรรม
1. มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้จนกว่าจะ
1. ถือว่าเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น
ถูกบอกล้าง

2. บุ ค คลมี สิ ท ธิ บ อกล้ า งหรื อ ให้


2. บุ ค คลผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย คนใด
สั ตยาบั น ได้ นั้ น จะ ต้ อ งเป็ น ผู้ ที่
คนหนึ่งจะยกขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
กฎหมายก้าหนดไว้เท่านั้น
ข้อแตกต่างระหว่างโมฆกรรมและโมฆียกรรม

โมฆกรรม โมฆียกรรม
3. จะยกขึ้นกล่าวอ้างเมื่อใดก็ได้ ไม่มี 3. จะต้องบอกล้างภายในระยะเวลา
ก้าหนดเวลา ที่กฎหมายก้าหนด

4. ไม่อาจให้สัตยาบันได้ ไม่สามารถ 4. สามารถให้สัตยาบันซึ่งท้าให้นิติ


ท้าให้กลับมาสมบูรณ์ได้ กรรมมีผลสมบูรณ์ตลอดไป
อายุความ
อายุความ หมายถึง ระยะเวลาที่กฎหมายก้าหนดไว้ให้สิทธิเรียกร้องทาง
ศาลภายในก้าหนดเวลาที่กฎหมายก้าหนดไว้ หากปล่อยไว้นานเกินระยะเวลาที่
กฎหมายก้าหนดจะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ เรียกว่า “ขาดอายุความ”
เหตุผลทีก่ ฎหมายมีการก้าหนดอายุความ ได้แก่

1. เพื่อความยุติธรรมแก่ฝ่ายลูกหนี้

2. เพื่อเป็นการลงโทษผู้มีสิทธิแล้วไม่ใช้สิทธิ

3. เพื่อความสะดวกในเรื่องการหาพยาน หลักฐาน

4. เพื่อความสงบสุขเรียบร้อยในสังคม

5. เพื่อไม่ให้คดีความในศาลมีมากเกินควร
เอกเทศสัญญา

เอกเทศสัญญา คือ สัญญาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก้าหนด


รายละเอียดเอาไว้เป็นการเฉพาะ เนื่องจากเป็นสัญญาที่ใช้เป็นการทั่วไป แต่
สัญญาตามกฎหมายไม่ได้มีเพียงที่ก้าหนดในเอกเทศสัญญาเท่านั้น บุคคลยังมี
เสรีภาพในการท้าสัญญาอื่นๆได้อีก
องค์ประกอบของสัญญา

1. ต้องมีบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป

2. ต้องมีการแสดงเจตนาตรงกัน

3. ต้องมีวัตถุประสงค์
การก่อให้เกิดสัญญา
1. องค์ประกอบในการก่อให้เกิดสัญญา สัญญาเกิดขึ้นด้วยการแสดง
เจตนา ซึ่งคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็น “ค้า เสนอ” และอีกฝ่ายหนึ่ง
แสดงเจตนาเป็น “ค้าสนอง”
1.1 เงื่อนไขในการก่อให้เกิดสัญญา สัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อมีบุคคลตั้งแต่
สองฝ่ายขึ้นไป ฝ่ายหนึ่งมีค้าเสนอ อีกฝ่ายหนึ่งมีค้าสนอง
ก. ความสามารถของคู่ สั ญ ญา หากคู่สั ญ ญาฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ งไม่ มี
ความสามารถตามที่กฎหมายก้าหนด สัญญาต้องเป็น “โมฆียะ” (ผู้เยาว์ ,
บุคคลวิกลจริต , คนเสมือนไร้ความสามารถ)
ข. ความยินยอมของคู่สัญญา ทั้งสองฝ่ายต้องมีความตกลงยินยอมร่วมกัน

ค. วัตถุประสงค์ นิติกรรมต่างๆต้องมีวัตถุประสงค์ และวัตถุประสงค์ต้องไม่


ผิดกฎหมาย , เป็นการพ้นวิสัย หรือขัดต่อศีลธรรม ความสงบ มิฉะนั้นนิติกรรมเป็น
“โมฆะ”
1.2 เงื่อนไขในความสมบูรณ์แห่งสัญญา

ก. โมฆะและโมฆียะ

1) สัญญาที่ท้าขึ้นและมีผลบังคับโดยสมบูรณ์

2) สั ญ ญาที่ ท้ า ขึ้ น แต่ ไ ม่ อ าจมี ผ ลบั ง คั บ เรี ย กว่ า โมฆี ย ะ คื อ


สัญญาที่ท้าขึ้นโดยบุคคลที่มีความบกพร่องเรื่องความสามารถ และสัญญา
ที่ท้าขึ้นโดยกลฉ้อฉล ถูกข่มขู่ หรือท้าขึ้นโดยส้าคัญผิดในคุณสมบัติของ
บุคคลหรือทรัพย์สิน
3) สัญญาที่ท้าขึ้นแต่ไม่มีผลบังคับใช้โดยสิ้นเชิง เรียกว่า โมฆะ คือ สัญญาที่
ไม่อาจให้สัตยาบันได้

ข. การไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นที่ต้องห้ามของกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือขัด


ต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีงาม
1.3 การแสดงเจตนา ค้าเสนอและค้าสนองต้องตรงกัน

ก. การแสดงเจตนาโดยตรงหรื อ โดยชั ด แจ้ ง ท้ า เป็ น หนั ง สื อ ,


กิริยาท่าทาง เป็นต้น

ข. การแสดงเจตนาโดยอ้อมหรือโดยปริยาย การกระท้าที่ผู้กระท้า
ท้าไปโดยมีวัตถุประสงค์อื่น
ค. การแสดงเจตนาโดยการนิ่ง ตามหลักการนิ่งไม่เป็นการแสดงเจตนา

กรณีที่ 1 ข้อยกเว้นตามบัญญัติของกฎหมาย

กรณีที่ 2 ข้อยกเว้นตามหลักความซื่อสัตย์สุจริตซึ่งคู่กรณีควรมีต่อกัน
2. ค้าเสนอและค้าสนอง

2.1 ค้าเสนอ หมายถึง การแสดงเจตนา


ซึ่งเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวที่เสนอไปยัง
บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อขอให้บุคคลฝ่ายนั้นร่วม
ประสงค์ท้าสัญญา
ลักษณะของค้าเสนอ

1) ค้าเสนอเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่มีผลผูกพันผู้เสนอ

2) ค้าเสนออาจอยู่ต่อหน้าหรือไม่ก็ได้ อาจแสดงด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร กิริยาต่างๆ

3) ค้าเสนอต้องชัดเจนเพียงพอที่จะให้อีกฝ่ายตอบ “ตกลง” หรือ “ยอมรับ”

4) เมื่อผู้เสนอได้แสดงค้าเสนอไปแล้ว ผู้เสนอไม่มีสิทธิปฏิเสธหรือเลือกปฏิบัติ
5) ค้าเสนอไม่จ้าเป็นต้องกระท้าหรือเสนอไปยังบุคคลหนึ่ง
ประเภทของค้าเสนอ
1) ค้าเสนอเฉพาะหน้า อาจกระท้าได้ด้วยการเสนอต่อบุคคลที่อยู่เฉพาะหน้า
คือ พูดคุยกันต่อหน้า หรือพูดคุยกันทางโทรศัพท์ ตอบโต้กัน ท้าให้สามารถเข้าใจได้
ทันทีในขณะนั้น ถือว่าเป็นค้าเสนอเฉพาะหน้า ค้าเสนอเฉพาะหน้าย่อมรู้ผลได้ทันทีว่า
ค้าสนองตอบมาจะตรงกับค้าเสนอหรือไม่ สัญญาจะเกิดขึ้นหรือไม่ เว้นไว้แต่ว่าผู้เสนอ
จะก้าหนดเวลาให้ตอบค้าสนองในภายหลังหรือภายในระยะเวลาที่ก้าหนด
2) ค้าเสนออยู่ห่างโดยระยะทาง อาจกระท้าได้ด้วยส่งค้าเสนอไป
ยังต่างจังหวัด หรือต่างส้านักงาน ค้าเสนอต้องใช้เวลาเดินทาง เช่น ส่งค้า
เสนอไปทางไปรษณีย์ ผู้เสนอต้องก้าหนดระยะเวลาพอสมควรในการที่จะให้
ผู้รับค้าเสนอตอบรับค้าสนองกลับมา
ผลของค้าเสนอ เมื่อมีการแสดงเจตนามีผลเป็นค้าเสนอแล้ว ค้าเสนอ
นั้นจะมีผลตามกฎหมายอย่างไร สามารถแยกพิจารณาได้ ดังนี้

(1) ค้าเสนอที่กระท้าต่อบุคคลอยู่เฉพาะหน้าและมิได้ก้าหนดระยะเวลา
ค้าเสนอเฉพาะหน้าได้กล่าวมาแล้วว่า เมื่อส่งค้าเสนอไปย่อมได้ค้าตอบสนอง
ทันทีว่าค้าสนองที่ตอบกลับมาตรงกันหรือไม่ ถ้าไม่ตรงกับค้าเสนอ ค้าเสนอ
นั้นก็สิ้นผล หรือสิ้นความผูกพัน
ตัวอย่างเช่น นายปราโมทย์เสนอขายรถยนต์ให้นายปรีดาราคาสองแสนบาท
นายปรีดารับฟังแล้วก็นิ่งเฉยไม่ตอบแต่ประการใด หรือว่าตอบว่าไม่ซื้อ เท่ากับเป็นการ
บอกปัด หรือตอบแต่บอกว่าให้ลดราคาให้เหลือหนึ่งแสนแปดหมื่นบาทได้มั้ย เช่นนี้เป็น
ค้าสนองที่ไม่ตรงกับค้าเสนอ นายปราโมทย์อาจตอบ ตกลงขาย หรือให้นายปรีดาไป
คิดก่อน และมาให้ค้าสนองอีก หรือตอบปฏิเสธไม่ขายก็ได้
(2) ค้าเสนอที่ก้าหนดระยะเวลา เมื่อก้าหนดระยะเวลาไว้ให้ผู้รับค้า
เสนอท้าค้าสนอง ผู้เสนอจะต้องผูกพันต่อค้าเสนอนั้นจนกว่าจะหมด
ระยะเวลา จะถอนค้ า เสนอก่ อ นหมดระยะเวลาไม่ ไ ด้ ค้ า เสนอที่ ก้ า หนด
ระยะเวลาให้ ต อบสนองนี้ หากใช้ กั บ ผู้ อ ยู่ ห่ า งโดยระยะทาง ผู้ เ สนอต้ อ ง
ก้าหนดระยะเวลาให้ตอบ ค้าสนองยาวมากขึ้นเป็น 15 วัน หรือ 30 วัน
ส่ว นหลักการคงยึดหลักเดียวกัน ว่า กาหนดระยะเวลาไว้แ ล้ว จะ
ถอนค าเสนอก่ อ นก าหนดไม่ ไ ด้ เมื่ อ ครบก าหนดระยะเวลาแล้ ว ไม่ มี ค าสนอง
กลับมา คาเสนอก็สิ้นผลผูกพัน

ตัวอย่างเช่น นายปราโมทย์เสนอขายรถยนต์ให้นายปรีดาว่า ถ้า


สนใจก็ให้ตอบมาภายใน 7 วัน ดังนี้ ค้าเสนอของนายปราโมทย์จะต้องคงมีอยู่
ตลอด 7 วัน จะถอนค้าเสนอได้ต่อเมื่อครบ 7 วันแล้ว
(3) ค้าเสนอที่เสนอไปยังผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง แต่มิได้ก้าหนดระยะเวลา
ไว้ ผู้ให้ค้าเสนอจะต้องให้ระยะเวลาพอสมควร กล่าวคือ จะถอนค้าเสนอของตน
เสียภายในเวลาก่อนคาดหมายว่าจะได้รับค้าบอกกล่าวตอบสนองนั้นไม่ได้
ตัวอย่างเช่น นายปราโมทย์เสนอขายรถยนต์ให้นายอินค้าซึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่
ราคาสองแสนบาท โดยมิได้ก้าหนดระยะเวลาให้ตอบค้าสนองกลับ นายปราโมทย์ต้องพึง
คาดหมายไว้ว่า ตนได้ส่งค้าเสนอไปจะใช้เวลาเดินทางกี่วัน เช่น 5 วัน เมื่อนายอินค้ารับค้า
เสนอแล้ว คงต้องใช้เวลาคิดพิจารณาตัดสินใจอีก 5 วัน แล้วจึงท้าค้าสนองตอบกลับส่งทาง
ไปรษณีย์ ใช้เวลาเดินทางอีก 5 วัน รวมเป็น 15 วัน นี้คือระยะเวลาอันพึงคาดหมายว่าจะได้
รับค้าบอกกล่าวตอบสนองนั้น ฉะนั้นภายในระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันส่งค้าเสนอ นาย
ปราโมทย์จะถอนค้าเสนอไม่ได้ แต่ถ้าตามระยะเวลาอันพึงคาดหมายว่าจะได้รับค้าตอบ
สนองผ่านพ้นไปแล้วค้าเสนอนั้นก็สิ้นผลผูกพัน
(4) ผู้เสนอตายหรือไร้ความสามารถก่อนมีค้าสนองตอบ ผู้ตอบสนอง
ได้ ท ราบแล้ ว ว่ า ผู้ ใ ห้ ค้ า เสนอได้ ถึ ง แก่ ค วามตาย หรื อ กลายเป็ น ผู้ ไ ร้
ความสามารถ (วิกลจริต คนเสมือนไร้ความสามารถ คนไร้ความสามารถ)
เสียแล้ว ค้าเสนอนั้นก็สิ้นผลผูกพัน แม้มีค้าสนองกลับมาภายในระยะเวลาที่
ก้าหนด สัญญาก็ไม่เกิดขึ้น
2.2 ค้าสนอง หมายถึง การแสดงออกที่มุ่งให้เกิดสัญญา ต้องแสดงออกซึ่งความ
ยินยอมตรงข้อความที่ได้ก้าหนดไว้ในค้าเสนอ

ลักษณะของค้าสนอง
1) ค้าสนองเป็นการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง โดยปริยาย และโดยการนิ่ง

2) หากค้าสนองยังไม่ได้ส่งไปหรือส่งไปยังไม่ถึงผู้รับ = สัญญายังไม่เกิด
3) หากในค้าสนองมีข้อความเพิ่มเติม ถือเป็นการบอกปัดไม่รับค้าเสนอ
4) ค้าสนองต้องมุ่งเจาะจงไปยังผู้เสนอ
ผลของค้าสนอง เมื่อผู้รับค้าเสนอได้แสดงเจตนาเป็นค้าสนองแล้ว จะมีผล
ทางกฎหมายเพียงใด สามารถแยกพิจารณาได้ ดังนี้
1. เมื่อมีการสนองรับตามค้าเสนอทุกประการก่อนค้าเสนอสิ้นความผูกพัน
สัญญาจะเกิดขึ้นทันที
2. เมื่อท้าค้าสนองแล้วจะถอนค้าสนองไม่ได้ เว้นแต่เป็นค้าสนองที่
ส่งไปถึงผู้เสนอที่อยู่ห่างโดยระยะทาง และการบอกถอนค้าสนองได้ไปถึง
ผู้เสนอก่อนหรือพร้อมกับค้าสนอง ค้าสนองนั้นจึงจะถอนได้
3. ค้าสนองไม่สิ้นความผูกพันเพราะเหตุผู้สนองตายหรือตกเป็นคน
ไร้ ค วามสามารถ คนเสมื อ นไร้ ความสามารถ เว้ น แต่ ผู้ส นองนั้ น ได้แ สดง
เจตนาไว้ในค้าสนองด้วยว่าถ้าตนตายหรือตกเป็นคนไร้ความสามารถ คน
เสมือนไร้ความสามารถก่อนค้าสนองจะไปถึงผู้เสนอให้ค้าสนองนั้นสิ้นความ
ผูกพัน ค้าสนองนั้นจึงสิ้นความผูกพันได้
4. ค้าสนองล่วงเวลา หมายถึง ค้าสนองที่ไปถึงผู้เสนอช้ากว่าเวลาที่ก้าหนดให้
ท้าค้าสนอง หรือค้าสนองที่เห็นโดยประจักษ์ว่าได้สั่งโดยทางการแล้ว ซึ่งตามปกติ
ควรจะมาถึ ง ภายในก้ า หนดเวลาที่ ใ ห้ ท้ า ค้ า สนอง แต่ ค้ า สนองนั้ น มาถึ ง ล่ า ช้ า กว่ า
ก้าหนด และผู้เสนอได้บอกกล่าวแก่ผู้สนอง โดยพลันว่าก้าหนดสนองนั้นมาถึงช้ากว่า
ก้าหนด ผลของค้าสนองล่วงเวลา คือ ท้าให้ค้าเสนอสิ้นความผูกพัน และค้าสนองที่
ไปถึงล่วงเวลานั้นกลายเป็นค้าเสนอขึ้นมาใหม่
5. ค้าสนองที่มีข้อความเพิ่มเติมหรือมีข้อจ้ากัด หรือมีข้อแก้ไขที่ไม่ตรงกับ
ข้อความในค้าเสนอทุกประการ ถือว่าเป็นค้าบอกปัดไม่รับค้าเสนอ ซึ่งมีผลให้ค้า
เสนอสิ้นความผูกพัน และค้าสนองนั้นจะกลายเป็นค้าเสนอขึ้นมาใหม่
การเกิดสัญญา
1. การเกิดสัญญาโดยทั่วไป มีดังต่อไปนี้
ก. หลักเบื้องต้นของการเกิดสัญญา
ข. เวลาที่เกิดสัญญา สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 หากบุคคลทั้งสองฝ่ายอยู่ห่างกันโดยระยะทาง สัญญา
จะเกิดขึ้นเมื่อค้าสนองไปถึงผู้เสนอ
กรณีที่ 2 หากบุคคลทั้งสองฝ่ายอยู่เฉพาะหน้า และ
มีการเสนอกันเฉพาะหน้าและมิได้บ่งระยะเวลาให้สนองรับ
หากได้สนองรับในทันทีสัญญาเกิดเวลานั้น

ค. สถานที่ซึ่งเกิดสัญญา
2. กรณีที่สัญญาไม่เกิด
สัญญาจะไม่เกิดขึ้นหากทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ตกลงสาระส้าคัญของ
สัญญาจนครบทุกข้อ กรณีที่สองฝ่ายตกลงกันว่าสัญญาจะเกิดขึ้นต้องท้า
เป็นลายลักษณ์อักษร ถ้ายังไม่ท้าสัญญาไม่เกิด
การตีความสัญญา
ก. การตีความสัญญาไปตามประสงค์ในทางสุจริต

ข. ปกติประเพณี

ค. หลักที่ใช้ประกอบในการตีความสัญญา มีดังต่อไปนี้

1) การหาเจตนารมณ์ของคู่สัญญาจะต้องพิจารณาสัญญานั้นทั้งฉบับ

2) ถ้ามีสัญญาหลายฉบับ ต้องพิจารณาทุกฉบับร่วมกัน
3) บางกรณีการแสวงหาเจตนารมณ์ของคู่สัญญาในขณะท้าสัญญาอาจ
หาได้จากการที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกัน

4) หากเดิมคู่สัญญาตกลงกันด้วยวาจาอย่างหนึ่ง แต่เมื่อท้าสัญญาเป็น
ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรกลั บ แตกต่ า งจากที่ ต กลงด้ ว ยวาจาให้ ถื อ ตามลายลั ก ษณ์
อักษร

5) หากข้อความในสัญญาเกิดขัดแย้งกันเองจนหาเจตนารมณ์ของคู่กรณี
ไม่ได้ศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงอื่นเพื่อประกอบการตีความ
6) สัญญานั้นต้องตีความไปในทางที่มีผลบังคับได้

7) หากกรณี ที่ เ ป็ น ข้ อ สงสั ยให้ ตี ค วามในทางที่ เ ป็น คุ ณ แก่ คู่ก รณี


ฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น

8) หากในเอกสารนั้นมีจ้านวนเงินที่เป็นทั้งตัวเลขและตัวอักษร และ
ปรากฏว่ าตั วเลขและตั วอักษรนั้นไม่ต รงกัน หากศาลไม่อาจหยั่งทราบ
เจตนาอันแท้จริงได้ต้องถือเอา จ้านวนเงินที่เป็นตัวอักษรนั้นเป็นประมาณ
9) หากจ้านวนเงินหรือปริมาณได้แสดงไว้เป็นตัวอักษรหลายแห่งหรือเป็น
ตัวเลขหลายแห่ง แต่ละแห่งไม่ตรงกันให้เอา จ้านวนเงินหรือปริมาณที่น้อยสุด

10) กรณีที่ท้าเอกสารไว้หลายภาษา ไม่ว่าจะเป็นฉบับเดียวหรือหลายฉบับ


โดยมีภาษาไทยด้วย ถ้าข้อความในหลายภาษานั้นต่างกันและมิอาจหยั่งรู้เจตนา
ของคู่กรณีได้ให้ถือตาม ภาษาไทย

11) ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน และมิได้ก้าหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ให้ใช้อัตรา


ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
12) ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามไว้โดยตรง คู่สัญญาย่อมตกลง
กันในเรื่องใดๆได้ทั้งสิ้น เว้นแต่เรื่องที่ได้ตกลงกันนั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชน

13) หากสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือ


เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญา
นั้นเป็น โมฆะ

14) สัญญาเป็น โมฆียะ เพราะเหตุบกพร่องเรื่องความสามารถ ส้าคัญผิด


กลฉ้อฉลหรือข่มขู่
ผลแห่งสัญญา

1. ผลแห่งสัญญาทั่วไป แยกพิจารณาได้ดังนี้

ก. ผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา ค้าเสนอและค้าสนองตรงกัน
ก่อให้เกิดการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คือ “เจ้าหนี้” และ “ลูกหนี้”
ข. ผลบั ง คั บ ทางกฎหมายเพื่ อ ให้ เ ป็ น ไปตามข้ อ ตกลงในสั ญ ญา ย่ อ ม
ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกให้ลูกหนี้ปฏิบัติการช้าระหนี้

ค. ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติบังคับแห่งหนี้ ห้ามมิให้ลูกหนี้ท้าความตก
ลงยกเว้นมิให้ตนต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลไว้ล่วงหน้า

ง. สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เช่น สัญญาประกันชีวิต ผู้รับ


ประกันและผู้เอาประกันเป็นคู่สัญญากัน
2. ผลแห่งสัญญาต่างตอบแทน แยกพิจารณาได้ดังนี้

ก. ผลแห่งสัญญาต่างตอบแทนว่าด้วยการช้าระหนี้

เมื่อ คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ช้า ระหนี้ ก็จะเรียกให้คู่สั ญญาอีกฝ่า ยหนึ่ ง


ช้าระหนี้แก่ตนไม่ได้
ข. ผลแห่งสัญญาต่างตอบแทนว่าด้วยการรับผลแห่งภัย
พิบัติ หากเกิดกรณีที่การช้าระหนี้ของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ไม่สามารถปฏิบัติได้เพราะพ้นวิสัย จะต้องมีฝ่ายหนึ่งที่ต้องรับ
ผลแห่งภัยพิบัตินั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้
1) กรณีที่ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องรับผิด อาจเป็นเพราะภัยพิบัตินั้นเกิด
จากการกระท้าของบุคคลภายนอกหรือเหตุสุดวิสัย หากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ยังไม่ได้โอนไปยังเจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผลแห่งภัยพิบัตินั้น กล่าวคือ ฝ่ายลูกหนี้
ช้าระหนี้ไม่ได้เพราะเหตุสุดวิสัย และขณะเดียวกันก็ไม่สามารถเรียกร้องการช้าระ
หนี้จากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย
2) กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องรับผิดชอบ

กรณีที่ 1 เจ้าหนี้มีความผิด ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากการช้าระหนี้


และยังมีสิทธิที่จะได้รับช้าระหนี้ตอบแทนด้วย

กรณีที่ 2 ลูกหนี้มีความผิด เจ้าหนี้ย่อมไม่มีภาระจะต้องท้าการ


ช้าระหนี้ตอบแทนให้แก่ลูกหนี้ แม้ว่าทรัพย์นั้นจะเสียหายเพียงบางส่วน
แต่ก็ไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมรับช้าระหนี้และมี
สิทธิบอกเลิกสัญญาได้
การเลิกสัญญา
1. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ก. เมื่ อ คู่ สั ญ ญาฝ่ า ยหนึ่ ง ไม่ ช้ า ระหนี้ แ ละคู่ สั ญ ญาอี ก


ฝ่ายหนึ่งได้ก้าหนดระยะเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้ช้าระภายใน
เวลานั้น ถ้าฝ่ายนั้นยังไม่ช้าระหนี้ภายในระยะเวลาที่ก้าหนดอีกฝ่าย
หนึ่งสามารถบอกเลิกสัญญาได้
ข. หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ช้าระหนี้ภายในระยะเวลาที่ก้าหนดไว้ใน
สัญญา อีกฝ่ายหนึ่งสามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที

ค. เมื่ อการช้ าระหนี้ ทั้งหมดหรือ บางส่ว นกลายเป็ นพ้น วิสั ยเพราะ


ความผิดของลูกหนี้เจ้าหนี้บอกเลิกสัญญาได้
2. สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยข้อสัญญา

กรณี ที่ คู่ สั ญ ญาได้ต กลงกั น ก้ า หนดสิ ท ธิ ใ นการเลิ ก


สัญญาไว้ล่วงหน้าว่าถ้ามีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น
สัญญาต้องเลิก เมื่อมีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นก็ให้สิทธิบอกเลิก
สัญญาแก่คู่กรณี
ผลของการบอกเลิกสัญญา
1. การกลับคืนสู่ฐานะเดิมของคู่สัญญา

หากคู่สัญญาฝ่ายใดผิดสัญญาเป็นเหตุให้อีกฝ่ายเสียหาย ฝ่ายเสียหายมี
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย (ไม่จ้าเป็นต้องกลับสู่สถานะเดิมถ้าไม่ขัดต่อกฎหมาย
ศีลธรรม)
2. การช้าระหนี้ของคู่สัญญาในการเลิกสัญญา

กรณีต้องมีการช้าระหนี้คู่สัญญาฝ่ ายหนึ่งจะไม่ยอมช้าระหนี้จนกว่ า
คู่สัญญาอีกฝ่ายจะช้าระหนี้ก็ได้

3. ความระงับสิ้นไปของสิทธิเลิกสัญญา

กฎหมายให้ สิ ท ธิ แ ก่ คู่ สั ญ ญาฝ่ า ยที่ ไ ม่ มี สิ ท ธิ เ ลิ ก สั ญ ญาได้ มี โ อกาส


ก้าหนดระยะเวลาเพื่อให้คู่สัญญาฝ่ายนั้นเลือกว่าจะเลิกสัญญาหรือไม่ หาก
ฝ่ายที่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาไม่แจ้งถือว่าสิทธิระงับ
ประเภทของสัญญา
1. สัญญาต่างตอบแทน – สัญญาไม่ต่างตอบแทน

สัญญาต่างตอบแทน สัญญาไม่ต่างตอบแทน
คือ สัญญาที่คู่กรณีแต่เพียงฝ่ายเดียวมี
คือ สัญญาที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างเป็น
หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติการช้าระหนี้แก่อีก
เจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน
ฝ่ายหนึ่ง
เช่น สัญญาซื้อขาย , สัญญาเช่าทรัพย์
เช่น สัญญายืม
2. สัญญามีค่าตอบแทน – สัญญาไม่มค
ี า่ ตอบแทน

สัญญามีค่าตอบแทน สัญญาไม่มีค่าตอบแทน

คื อ สั ญ ญาที่ คู่ ก รณี ต่ า งได้ รั บ คือ สัญญาที่คู่กรณีเพียงฝ่ายเดียว


ผลประโยชน์จากสัญญานั้น ได้ รั บ ผลประโยชน์ แ ละไม่ เ สี ย อะไร
เช่น สัญญาซื้อขาย ตอบแทน
เช่น สัญญาให้โดยเสน่หา
สัญญายืม
1. ประเภทของสัญญายืม

เป็ น เอกเทศสั ญ ญาที่ คู่ สั ญ ญาที่ บุ ค คลฝ่ า ยหนึ่ ง เรี ย กว่ า


“ผู้ให้ยืม” ให้บุคคลอีกฝ่ายที่เรียกว่า “ผู้ยืม” ใช้สอยทรัพย์สิน
สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า (โดยทั่วไปคือไม่มีค่าตอบแทน) และจะคืนเมื่อ
ได้ใช้สอยทรัพย์นั้นเสร็จแล้ว (มาตรา 640) มี 2 ประเภท คือ
 สัญญายืมใช้คงรูป (Loan foe use)

 สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง (Loan for consumption)

แม้สัญญาทั้งสองจะบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมและเป็นสัญญาไม่ต่าง
ตอบแทนเช่นเดียวกัน แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
สัญญายืมใช้คงรูป (มาตรา 640) สัญญายืมใช้สน
ิ้ เปลือง (มาตรา 650)
1. จะต้องคืนทรัพย์สินอันเดียวกับทีย
่ ืม 1. ไม่ต้องคืนทรัพย์สินอันเดียวกับทีย
่ ืมไป
แต่จะต้องคืนทรัพย์สินที่เป็นประเภท
เดียวกัน ชนิดและปริมาณเดียวกันกับ
ทรัพย์สินที่ยืม
2. กรรมสิทธิ์ไม่โอนไปยังผู้ยืม 2. กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ยืม
3. ไม่มีค่าตอบแทน (หากมีค่าตอบแทน 3. อาจมีค่าตอบแทนได้ เช่น ดอกเบี้ยใน
อาจกลายเป็นสัญญาเช่าทรัพย์) สัญญากู้ยืมเงิน
2. การกู้ยืมเงิน

การกู้ ยื ม เงิ น เป็ น การยื ม ใช้ สิ้ น เปลื อ งแบบหนึ่ ง เพี ย งแต่ มี
บทบัญญัติที่พิเศษ กล่าวคือ

1. การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น


หนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (มาตรา 653) คือ
จะเอาพยานบุคคลมาสืบว่ามีการกู้ยืมเงินกันไม่ได้
2. กฎหมายไม่ยอมให้คู่สัญญาตกลงก้าหนดดอกเบี้ยได้ตามอ้าเภอใจ
ตามกฎหมายการให้ กู้ โ ดยเรี ย กดอกเบี้ ย เกิ น ร้ อ ยละ 15 ต่ อ ปี มี ค วามผิ ด
ดอกเบี้ยทั้งหมดตกเป็น โมฆะ (ไม่ใช่โมฆะเฉพาะส่วนที่เกินอัตรา) แต่ผู้กู้ยังมี
หน้าที่ช้าระเงินต้น
ข้อสังเกต กรณีสัญญากู้ยืมเงินที่ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ย
กั น ตามกฎหมาย แต่ ไ ม่ ไ ด้ ก้ า หนดอั ต ราว่ า เท่ า ใดนั้ น ต้ อ งคิ ด
ดอกเบี้ยกัน ร้อยละ 7.5 ต่อปี
เปรียบเทียบหลักฐานเป็นหนังสือและแบบของนิตกิ รรม

เกณฑ์ แบบ หลักฐานเป็นหนังสือ

เวลาในการท้า ขณะท้านิติกรรม เวลาใดก็ได้แต่ต้องมีก่อน


ฟ้องร้องบังคับคดี
รูปแบบ ต้ อ ง มี ข้ อ ค ว า ม ค ร บ ถ้ ว น ต า ม ที่ มีเ พีย งข้ อ ความที่พอฟัง ได้ก็ เพี ย งพอแล้ ว
ก ฎ ห ม า ย ก้ า ห น ด พ ร้ อ ม กั บ ล ง และอาจอยู่ ใ นรู ป ของจดหมาย บั น ทึ ก
ลายมือชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ประจ้าวัน ทั้งนี้การลงลายมือชื่อก็เฉพาะ
แต่ฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบเท่านั้น
ผล ถ้าไม่ท้าตามย่อมกระทบความ นิ ติ ก รรมสมบู ร ณ์ แ ต่ ไ ม่ ส ามารถ
สมบูรณ์ของนิติกรรม ฟ้องร้องบังคับคดีได้
สัญญาซื้อขาย
ซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ขาย” โอนกรรมสิทธิ์
แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ซื้อ” และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้
ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
1. หลักเกณฑ์ของสัญญาซื้อขาย มีดังนี้
1) การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ธรรมดา ถ้าซื้อขายกันมีราคาต่้ากว่า
20,000 บาท ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด
หรือไม่ต้องมีการวางมัดจ้าไว้ หรือไม่ต้องมีการช้าระหนี้บางส่วนอย่างใด
อย่างหนึ่ง แม้จะตกลงกันด้วยวาจาสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว
แต่ ถ้ า สั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่ ซื้ อ ขายกั น นั้ น มี ร าคา
เกินกว่า 20,000 บาทขึ้นไป และเป็นการซื้อขายเสร็จ
เด็ ด ขาด แต่ ต่ อ มาภายหลั ง ผู้ ซื้ อ ไม่ ช้ า ระราคาหรื อ
ช้ า ระไม่ ค รบถ้ ว น หรื อ ผู้ ข ายส่ ง มอบทรั พ ย์ สิ น ให้ ไ ม่
ครบถ้ วน ผู้ซื้ อจะฟ้อ งร้ องบังคับ คดีไ ด้ต้ องมี การท้ า
หลั ก ฐานเป็ น หนั ง สื อ หรื อ วางมั ดจ้ า ไว้ หรื อ ช้ า ระหนี้
บางส่วน อย่างใดอย่างหนึ่ง
2) การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องท้าตาม
“แบบ” คือ ต้องท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่
กฎหมายก้าหนด มิฉะนั้นสัญญาซื้อขายที่ตกลงกันไว้แล้วนั้นย่อมเป็น “โมฆะ”
สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้แก่

 เรือก้าปั่น หรือเรือที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป

 เรือกลไฟ หรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป

 แพ หมายความเฉพาะแต่แพที่เป็นทีอ่ ยู่อาศัยของคน

 สัตว์พาหนะ หมายความถึงสัตว์ที่ใช้ในการขับขี่ลากเข็น
และบรรทุกซึ่งสัตว์เหล่านี้ต้องท้าตั๋วรูปพรรณแล้ว ได้แก่ ช้าง ม้า
วัว ควาย ลา ล่อ
2. สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
สัญญาจะซื้อจะขาย
คือ การที่คู่กรณีตกลงในขั้นแรกเพียงว่าจะท้าสัญญากันแล้วเท่านั้น
ส่ ว นกรรมสิ ท ธิ์ จ ะ โอนไปเมื่ อ คู่ สั ญ ญาได้ ท้ า สั ญ ญาซื้ อ ขายตามแบบใน
ภายหลังอีกครั้ง
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
คือ คู่กรณี ต กลงกัน ทุ กเรื่ อ งโดยเสร็ จ สมบู ร ณ์ แ ละมี การ
ระบุทรัพย์สินที่ขายแน่นอน เรียกกันว่า “ทรัพย์เฉพาะสิ่ง” เกิดขึ้น
สัญญาเช่าทรัพย์ และสัญญาเช่าซื้อ
1. ลักษณะทั่วไปของสัญญาเช่าทรัพย์
หัวข้อ อสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์/สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
1. เป็นสัญญาที่ให้ “ผู้ให้เช่า” น้าทรัพย์สินออกให้ “ผู้เช่า” เช่า โดยผู้เช่ามีสิทธิ

ลักษณะส้าคัญ ที่จะใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า (ไม่ใช่กรรมสิทธิ์) เมื่อครบก้าหนด


ระยะเวลาต้องคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยในระหว่างสัญญาผู้เช่าตกลงให้ค่าเช่าเพื่อ
ตอบแทนการใช้ทรัพย์สิน

2. เป็นสัญญาที่ไม่มี “แบบ” ที่จะท้าให้สัญญาเช่าตกเป็นโมฆะ หากแต่มีเพียง


หลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีเท่านั้น กฎหมายไม่ได้ก้าหนดหลักฐานในการ
ฟ้องร้องคดีไว้ กฎหมายก้าหนดหลักฐานแต่เฉพาะการเช่าอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
สังหาริมทรัพย์/
หัวข้อ อสังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ

ห้ า มไม่ ใ ห้ ท้ า สั ญ ญาเช่ า นาน


ระยะเวลา กว่า 30 ปี แต่ถ้าก้าหนดนาน ตกลงท้าสัญญาเช่า
การเช่า กว่ า นั้ น ก็ ใ ห้ มี ผ ลให้ ล ดลงมา นานเท่าใดก็ได้
เหลือแต่ 30 ปี
สังหาริมทรัพย์/
หัวข้อ อสังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ (เป็นเอกสารที่มี กฎหมายไม่ ไ ด้ ก้ า หนดหลั ก ฐานในการฟ้ อ งร้ อ ง

เช่าไม่เกิน 3 ปี ข้อความชัดเจนเพียงพอว่ามีการเช่า ) และ บังคับคดีเอาไว้ จะตกลงกันด้วยวาจาหรือวิธีใดก็ใช้


ต้องลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบเป็น บังคับได้
ส้าคัญ คือ หากจะฟ้องให้ส่งมอบทรัพย์สินให้
ผู้เช่าเช่าต้องมีลายมือชื่อผู้ให้เช่า หรือหาก
ต้องการฟ้องให้ช้าระค่าเช่าต้องมีลายมือชื่อ
ผู้ เ ช่ า มิ ฉ ะนั้ น จะน้ า ไปฟ้ อ งร้ อ งบั ง คั บ คดี
ไม่ ไ ด้ หลั ก ฐานการเช่ า ไม่ ไ ด้ ห มายรวมถึ ง
การวางมั ด จ้ า หรื อ การช้ า ระหนี้ บ างส่ ว น
ดังเช่นสัญญาซื้อขาย
สังหาริมทรัพย์/
หัวข้อ อสังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
เช่าไม่เกิน 3 ปี ต้องท้าเป็นหนังสือ (ต้องลงชื่อ กฎหมายไม่ ไ ด้ ก้ า หนดหลั ก ฐานใน
หรือตลอดอายุ ทั้ ง ผู้ เ ช่ า และผู้ ใ ห้ เ ช่ า ) และจด การฟ้องร้องบังคับคดีเอาไว้จะตกลง
ของผู้เช่าหรือ ทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ กันด้วยวาจาหรือวิธีใดก็ใช้บังคับได้
ผู้ให้เช่า
2. ลักษณะทั่วไปของสัญญาเช่าซือ้

หัวข้อ รายละเอียด
ความหมาย คือ สัญญาซึ่ง “ผู้ให้เช่าซื้อ” เอาทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็น
อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ละสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ อ อกให้ เ ช่ า และให้
ค้ามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็น
ของ “ผู้เช่าซื้อ ” เมื่อผู้เช่าซื้อได้ช้าระเป็นจ้านวนเงิน
ครบครั้งในสัญญา
หัวข้อ รายละเอียด

การเช่ า ซื้ อ ทรั พ ย์ สิ น ทุ ก ประเภทต้ อ งท้ า เป็ น หนั ง สื อ


แบบของสัญญา กล่าวคือ ต้องมีการลงลายมือชื่อของทั้งผู้เช่าซื้อและผู้ให้
เช่าซื้อ (แต่ไม่ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ )
หากไม่ท้าตามสัญญาเช่าซื้อก็จะตกเป็น โมฆะ
หัวข้อ รายละเอียด

โดยหลักผู้เช่าซื้อสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในเวลา
ความระงับ ใดก็ ไ ด้ โดยการส่ ง มอบทรั พ ย์ สิ น คื น ส่ ว นผู้ใ ห้ เ ช่ า ซื้ อ
แห่งสัญญา สามารถบอกเลิกสัญญาได้เมื่อ ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงิน
สองคราวติดๆกัน
หัวข้อ รายละเอียด

ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะริบบรรดาเงินค่าเช่าซื้อได้
ผลของการบอกเลิก
ใช้ ม าแล้ ว แต่ ก่ อ นและกลั บ เข้ า ครอบครอง
สัญญา
ทรัพย์สินได้
สัญญาค้้าประกัน
คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้ค้าประกัน” ผูกพันตนต่อ
“เจ้าหนี”้ คนหนึ่งเพื่อช้าระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ช้าระหนี้นั้น เช่น แดงกู้เงินจากด้าโดย
มีเขียวมาท้าสัญญาค้้าประกันกับด้าเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของแดง เมื่อหนี้ถึงก้าหนด
ช้าระ แดงไม่ยอมช้าระหนี้เงินกู้ ด้าสามารถเรียกให้เขียวช้าระหนี้เงินกู้ในฐานะเป็นผู้
ค้้าประกันได้
ลักษณะของสัญญาค้้าประกัน
1) เป็นสัญญาอุปกรณ์ การค้้าประกันต้องมีหนี้เดิม (หนี้ประธาน)
ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ก่อนเสมอ สัญญาค้้าประกันนั้นเป็นเพียงสัญญา
อุปกรณ์ของหนี้ประธานซึ่งมีขึ้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีหลักประกันการช้าระหนี้ของ
ลูกหนี้ได้มั่นคงยิ่งขึ้น สัญญาค้้าประกันจะมีขึ้นเพียงล้าพังโดยปราศจาก
สัญญาประธานไม่ได้
2) เป็นสัญ ญาระหว่างเจ้า หนี้กับผู้ค้าประกัน ผู้ค้าประกัน
ต้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งไม่ใช่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ และสัญญาค้้า
ประกันเป็นสัญญาสองฝ่ายซึ่งท้าขึ้นระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ค้าประกัน
ส่วนลูกหนี้ไม่ได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาค้้าประกันด้วย
3) เป็นสัญญาที่ผู้ค้าประกันจะช้าระหนี้แทนเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ช้าระหนี้
เมื่อหนี้ถึงก้าหนดช้าระ หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ช้าระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้
ค้้า ประกั น ช้า ระหนี้ ไ ด้ แต่เ จ้ าหนี้ ต้ องมี ห นังสื อบอกกล่ า วไปยังผู้ค้า ประกัน
ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดเสียก่อน และเมื่อผู้ค้าประกันช้าระ
หนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้าประกันมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกเงินที่ตนได้ช้าระให้แก่เจ้าหนี้
ไปแล้วคืนจากลูกหนี้ได้
4) เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ ดังนั้น สัญญาค้้าประกันจึงสมบูรณ์เมื่อมีการตก
ลงกันระหว่างผู้ค้าประกันกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าจะตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์
อักษร แต่การที่จะฟ้องให้ผู้ค้าประกันรับผิดตามสัญญาค้้าประกันได้นั้นจะต้องมี
หลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้าประกันเป็นส้าคัญ
อย่างไรก็ดีสัญญาค้้าประกันที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้นก็ไม่เป็นโมฆะแต่
อย่างใด ยังมีผลสมบูรณ์เพียงแต่ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้เท่านั้น
สัญญาจ้านอง
คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้จ้านอง” เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลแก่
คนหนึ่ ง เรี ย กว่ า “ผู้ รั บ จ้ า นอง” เป็ น การประกั น การช้ า ระหนี้ โ ดยไม่ ต้ อ งส่ ง มอบ
ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจ้านอง
ลักษณะของสัญญาจ้านอง
1) เป็ น สั ญ ญาอุ ป กรณ์ สั ญ ญาจ้ า นองนั้ น เป็ น สั ญ ญาอุ ป กรณ์
เช่ น เดี ย วกั บ สั ญ ญาค้้ า ประกั น สั ญ ญาจ้ า นองจะมี ขึ้ น เพี ย งล้ า พั ง โดย
ปราศจากสัญญาประธานไม่ได้
2) ผู้จ้านองจะเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้ แต่ผู้จ้านองต้องเป็น
เจ้าของทรัพย์ที่น้ามาจ้านอง ผู้จ้านองจะเอาทรัพย์ของบุคคลอื่นมาจ้านองไม่ได้

3) เป็นสัญญาทีไ่ ม่มกี ารส่งมอบทรัพย์สน


ิ ทีจ่ ้านอง ซึ่งแตกต่างจากสัญญาจ้าน้า

4) เป็นสัญญาที่มีแบบ สัญญาจ้านองต้องท้าเป็นหนังสือและจดทะเบียน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิเช่นนั้นสัญญาจ้านองจะตกเป็น “โมฆะ”
ความรับผิดชอบของผู้จ้านอง

เมื่อหนี้ถึงก้าหนดช้าระแล้ว ผู้รับจ้านองต้องมีจดหมายบอก
กล่าวแก่ลูกหนี้ให้ช้าระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งต้องไม่น้อยกว่า
60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับค้าบอกกล่าว ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตาม
ค้ า บอกกล่ า ว ผู้ รั บ จ้ า นองจึ ง มี สิ ท ธิ ฟ้ อ งคดี ต่ อ ศาลเพื่ อ ให้ ศ าล
พิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์สินซึ่งจ้านองและขายทอดตลาด
เปรียบเทียบสัญญาจ้านอง – ขายฝาก

จ้านอง ขายฝาก
1. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ 1. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อ
จ้านอง
2. ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือ 2. ทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นทรัพย์สินใดก็ได้
สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
3. ไม่ต้องมีการส่งมอบ 3. ตามหลักกฎหมายต้องมีการส่งมอบ
ทรัพย์สิน
4. เป็นสัญญาอุปกรณ์ต้องอาศัยสัญญา 4. ส้าเร็จในตัวเองไม่ต้องพึ่งสัญญาอื่น
อื่นเป็นประธาน
สัญญาจ้านอง
คือ สัญญาที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้จ้าน้า” ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่ง
หนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจ้าน้า” เพื่อเป็นประกันการช้าระหนี้
ลักษณะของสัญญาจ้าน้า
1) เป็ น สั ญ ญาอุ ป กรณ์ สั ญ ญาจ้ า น้ า นั้ น เป็ น สั ญ ญาอุ ป กรณ์
เช่นเดียวกับสัญญาค้้าประกันและสัญญาจ้านอง

2) ผู้จ้าน้าจะเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้ แต่ผู้จ้าน้าต้องเป็น
เจ้าของทรัพย์ที่น้ามาจ้าน้า ผู้จ้าน้าจะเอาทรัพย์ของบุคคลอื่นมาจ้าน้าไม่ได้
3) เป็นสัญญาที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จ้าน้าแก่ผู้รับจ้าน้า ถ้าไม่มีการส่ง
มอบทรัพย์ สัญญาจ้าน้าไม่เกิดขึ้น แตกต่างกับสัญญาจ้านอง

4) เป็นสัญญาทีไ่ ม่มีแบบ ดังนั้น สัญญาจ้าน้าจึงสมบูรณ์เมื่อมีการตกลงกัน


ระหว่างผู้จ้าน้ากับผู้รับจ้าน้า ไม่ว่าจะตกลงกันด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร
อย่างไรก็ดีผู้จ้าน้าต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จ้าน้าให้แก่ผู้รับจ้าน้า มิเช่นนั้นสัญญา
จ้าน้าย่อมไม่เกิดขึ้น
ความรับผิดของผู้จ้าน้า

เมื่อหนี้ถึงก้าหนดช้าระและผู้รับจ้าน้าได้บอกกล่าวให้ลูกหนี้
ช้ า ระหนี้ แ ต่ ลู ก หนี้ ไ ม่ ช้ า ระ เจ้ า หนี้ มี สิ ท ธิ ที่ จ ะบั ง คั บ จ้ า น้ า โดยน้ า
สังหาริมทรัพย์ที่จ้าน้าออกขายทอดตลาดโดยไม่จ้าเป็นต้องอาศั ย
ค้าสั่งศาลให้ขายทอดตลาด และถ้าบังคับจ้าน้าแล้วราคายังคงอยู่ที่
ผู้รับจ้าน้าก็สามารถเรียกร้องเอาเงินส่วนที่ขาดจากผู้จ้าน้าได้
ความแตกต่างระหว่างสัญญาจ้านอง – สัญญาจ้าน้า

ประเด็น สัญญาจ้านอง สัญญาจ้าน้า


1. ทรัพย์ทน
ี่ ้ามาประกัน อ สั ง ห า ริ ม ท รั พ ย์ สังหาริมทรัพย์ทุกชนิด
สั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ช นิ ด พิ เ ศษ
แ ล ะ สั ง ห า ริ ม ท รั พ ย์ ซึ่ ง
ก ฎ ห ม า ย ก้ า ห น ด ใ ห้ จ ด
ทะเบียนเป็นการเฉพาะ
2. แบบของสัญญา ท้ า เ ป็ น ห นั ง สื อ แ ล ะ จ ด ไม่มีแบบ
ท ะ เ บี ย น ต่ อ พ นั ก ง า น
เจ้าหน้าที่
ประเด็น สัญญาจ้านอง สัญญาจ้าน้า
3. การส่งมอบทรัพย์ที่ ไม่ต้องส่งมอบ ต้องส่งมอบทรัพย์ที่
น้ามาประกัน ทรัพย์ที่จ้านอง จ้าน้า
4. การบังคับทรัพย์ที่ ต้องฟ้องศาลเพื่อขาย ขายทอดตลาดได้เอง
น้ามาประกัน ทอดตลาด
5. ความรับผิดของลูกหนี้ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ลูกหนี้ต้องรับผิด
ในหนี้ทเี่ หลือจากการ ในส่วนที่เหลือ ในส่วนที่เหลือ
บังคับทรัพย์ทป
ี่ ระกัน
ครอบครัว

กฎหมายครอบครัวนั้นเดิมเรียกว่า “กฎหมายลักษณะผัวเมีย”
ซึ่งเป็นกฎหมายลักษณะหนึ่งของกฎหมายตราสามดวง ต่อมามีการใช้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัวขึ้นใช้บังคับแทน
การบังคับใช้กฎหมายครอบครัว
นั้ น ได้ มี ก ารผ่ อ นปรนไม่ น้ า ประมวล
กฎหมายแพ่ ง และพาณิ ช ย์ บรรพ 5
ครอบครั ว ไปใช้ ใ น 4 จั ง หวั ด ชายแดน
ภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา
และสตูล
มีการน้ากฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมาบังคับใช้แทน
โดยให้ ด ะโต๊ ะ ยุ ติ ธ รรม 1 นาย นั่ ง พิ จ ารณาคดี ร่ ว มกั บ ผู้ พิ พ ากษา
ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม ค้าวินิจฉัยใน
ข้อกฎหมายของดะโต๊ะยุติธรรมถือเป็นเด็ดขาดจะอุทธรณ์ ฎีกา ไม่ได้

ปัจจุบันข้อพิพาทเกี่ยวกับครอบครัวต้องฟ้องต่อ ศาลเยาวชน
และครอบครัว
การหมั้น

คื อ สั ญ ญาที่ ฝ่ า ยชายและฝ่ า ยหญิ ง


ตกลงกั น ว่ า จะท้ า การสมรสตามกฎหมาย
ต่ อ ไป กฎหมายไม่ ไ ด้ บั ง คั บ ว่ า จะต้ อ งมี ก าร
หมั้นก่อ นการสมรส ชายหญิ งอาจสมรสกัน
โดยไม่จ้าเป็นต้องหมั้นก่อนก็ได้
 เงื่อนไขของการหมั้น

1) อายุของคู่หมั้น

ชายและหญิงจะท้าการหมั้นกันได้ทั้งคู่ต้องมีอายุไม่ต่้า กว่ 17 ปีบริบูรณ์ หาก


คนใดคนหนึ่งมีอายุต่้ากว่า 17 ปีบริบูรณ์ การหมั้นนั้นย่อมตกเป็น “โมฆะ” ชายและ
หญิงที่มีอายุต่้ากว่า 17 ปีจะขออนุญาตศาลท้าการหมั้นไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้
อ้านาจไว้ ต่างจากการสมรสซึ่งหากมีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ชายหรือหญิง
ที่มีอายุต่้ากว่า 17 ปี ท้าการสมรสได้
2) ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม

ในกรณีที่ผู้เยาว์ท้าการหมั้น ผู้เยาว์จะท้า
การหมั้น ได้ต้ องได้รั บความยินยอมจากผู้แทน
โดยชอบธรรมก่อน มิเช่นนั้นการหมั้นจะตกเป็น
“โมฆียะ”
 แบบของการหมั้น

การหมั้นสามารถกระท้าด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ แต่ฝ่าย
ชายจะต้องส่งมอบ “ของหมั้น” ให้แก่ฝ่ายหญิงขณะท้าการหมั้น มิฉะนั้น
การหมั้น “ไม่สมบูรณ์”
 ของหมั้น
คื อ ทรั พ ย์ สิ น ที่ ฝ่ า ยชายส่ ง มอบหรื อ โอนให้ แ ก่ ฝ่ า ยหญิ ง เพื่ อ เป็ น
หลั ก ฐานว่ า จะสมรสกั บ หญิ ง นั้ น เมื่ อ หมั้ น แล้ ว ของหมั้ น ย่ อ มตกเป็ น
กรรมสิทธิ์ของฝ่ายหญิงทันที
 กรณีที่หญิงต้องคืนของหมั้น

1) ฝ่ า ยหญิ งเป็น ฝ่ า ยผิด สั ญ ญาหมั้ น การ


ผิดสัญญาหมั้น หมายถึง การไม่ยอมสมรสโดยไม่มี
เหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อหญิงผิดสัญญาหมั้น
หญิงต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย
2) ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นเนื่องจากมีเหตุส้าคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นอัน
ท้าให้ชายคู่หมั้นไม่สมควรสมรสด้วย

3) คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกล้างสัญญาหมั้นที่เป็นโมฆียะ ท้าให้คู่กรณีทั้ง
สองฝ่ายกลับคืนสู่สถานะเดิมเสมือนไม่มีการหมั้นเกิดขึ้น
 กรณีที่หญิงต้องไม่ต้องคืนของหมั้น

1) ฝ่ายชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น

2) หญิงบอกเลิกสัญญาหมั้น เนื่องจากมีเหตุอันส้าคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น
อันท้าให้หญิงคู่หมั้นไม่สมควรสมรสด้วย

3) คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
ข้อสังเกต หากมีการผิดสัญญา
หมั้น ฝ่ายที่ไม่ได้ผิดสัญญาหมั้นจะฟ้อง
บังคับให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาหมั้นให้ทาการ
สมรสกับตนไม่ได้ เพราะการสมรสต้อง
เกิดจากความสมัครใจทั้งสองฝ่าย
 สินสอด

คื อ ทรั พ ย์ สิ น ที่ ฝ่ า ยชายมอบให้ แ ก่ บิ ด า


มารดา ผู้ รั บ บุ ต รบุ ญ ธรรม หรื อ ผู้ ป กครองของ
หญิงที่ตนจะสมรสด้วย เพื่อตอบแทนที่หญิงยอม
สมรสกับชาย
ความแตกต่างระหว่างของหมัน
้ – สินสอด
ประเด็น ของหมัน
้ สินสอด
เป็นเงื่อนไขแห่งความสมบูรณ์ ไม่เป็นเงื่อนไขแห่งความสมบูรณ์
1. ความส้าคัญ
แห่งสัญญาการหมั้น แห่งสัญญาการหมั้น
ให้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรส ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิง
2. วัตถุประสงค์
ตามกฎหมายกับหญิง ยอมสมรสตามกฎหมาย
ต้องส่งมอบสินสอดให้แก่บิดา
ต้องส่งมอบของหมัน

3. ผู้รับ มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือ
ให้แก่หญิงคู่หมั้น
ผู้ปกครองของหญิง

4. เวลาที่สง่ มอบ ต้องส่งมอบในขณะท้าการหมัน


้ ส่งมอบเมื่อใดก็ได้
 กรณีที่ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

1) กรณีไม่มีการสมรสโดยมีเหตุส้าคัญอันเกิดแก่หญิง ท้าให้ชายไม่สมควร
หรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น

2) กรณีไม่มีการสมรสโดยพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบท้าให้ชาย
ไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น
การสมรส
คือ การตกลงระหว่างชายและหญิง
ที่จะอยู่กินฉันสามีภริยา โดยการจดทะเบียน
สมรสเพื่ อ ก่ อ สถานะเป็ น สามี ภ ริ ย าที่ ช าย
ด้วยกฎหมาย
 เงื่อนไขของการสมรส

1) ชายหญิงต้องอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้วทั้งสองคน

หากคู่สมรสคนใดคนหนึ่งอายุต่้ากว่า 17 ปี การสมรสนั้นเป็น
“โมฆียะ” อย่างไรก็ดี ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้
ชายหญิงที่มีอายุต่้ากว่า 17 ปี ท้าการสมรสกันได้
2) ชายและหญิงต้องไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงทั้งขึ้นไปและลง
มา ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา

ญาติ ท างสายโลหิ ต ที่ ก ฎหมายห้ า มมิ ใ ห้ ส มรสด้ ว ยกั น มิ ฉ ะนั้ น การ


สมรสจะเป็น “โมฆะ”
2.1) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด

2.2) ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงมา ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ

2.3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

2.4) พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน
3) ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ

หากคู่สมรสคนใดคนหนึ่งเป็นบุคคลวิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ
การสมรสนั้ น เป็ น “โมฆะ” แต่ ห ากคู่ ส มรสคนใดคนหนึ่ ง เป็ น คนเสมื อ นไร้
ความสามารถ การสมรสนั้นย่อมสมบูรณ์
4) ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้

ถ้าบุคคลทั้งสองสมรสกัน การสมรสนั้นสมบูรณ์ แต่มีผลท้า


ให้การรับบุตรบุญธรรมยกเลิกไป
5) ชายหรือหญิงจะสมรสกันขณะ
ตนมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้วไม่ได้

การสมรสที่ คู่ ส มรสคนใด


คนหนึ่ ง มี คู่ ส มรสอยู่ ก่ อ นแล้ ว เรี ย กว่ า
“การสมรสซ้อน” มีผลท้าให้การสมรสใน
ครั้งหลังเป็น “โมฆะ”
6) ชายและหญิงทั้งสองคนต้องสมรส
โดยยินยอมเป็นสามีภริยากัน

หากคู่ ส มรสคนใดคนหนึ่ ง ไม่ ยิ น ยอม


สมรสด้ ว ยหรื อ ยิ น ยอมสมรสด้ ว ยแต่ ไ ม่ มี
เจตนาเป็ น สามี ภริ ย ากัน การสมรสนั้ น เป็ น
“โมฆะ”
7) หญิงหม้ายจะท้าการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการ
สมรสเดิมสิ้นสุดลงผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน

เพื่อป้องกันปัญหาว่าใครเป็นบิดาของเด็กที่อาจ
เกิดมาในระหว่างนั้น หากหญิงหม้ายสมรสใหม่ภายใน
310 วัน นับแต่การสมรสเดิมสิ้นสุดลง การสมรสนั้นก็
สมบูรณ์ เพีย งแต่ห ากเด็กคลอดออกมาในระยะเวลา
310 วันนับแต่วันที่การสมรสเดิมสิ้นสุดลง กฎหมายจะ
สันนิษฐานว่าสามีใหม่เป็นบิดาของเด็กคนดังกล่าว
8) ผู้ เ ยาว์ ต้ อ งได้ รั บ ความยิ น ยอมจากบิ ด ามารดา
ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองให้ท้าการสมรส

ชายและหญิ ง ที่ ส มรสกั น ก่ อ นอายุ 20 ปี บ ริ บู ร ณ์


จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทน โดยชอบธรรมก่อน
มิฉะนั้นการสมรสเป็น “โมฆียะ”
9) การสมรสต้องไม่บกพร่องในการแสดงเจตนา

คือ การสมรสต้องไม่ส้าคัญผิดในตัวคู่สมรส ไม่ถูกกลฉ้อฉล


และไม่ถูกข่มขู่ หากการสมรสโดยการส้าคัญผิดในตัวคู่สมรสหรือ
ถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ การสมรสนั้นเป็น “โมฆียะ”
 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

1) สินส่วนตัว

คื อ ทรั พ ย์ สิ น ที่ เ ป็ น กรรมสิ ท ธิ์ ข องสามี ภ ริ ย าฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง


โดยเฉพาะ กล่าวคือ สินส่วนตัวของสามีก็เป็นของสามีแต่เพียงผู้เดียว
ภริยาไม่มีส่วนเป็นเจ้าของด้วย
สินส่วนตัว มี 4 ประเภท ได้แก่

1.1) ทรัพย์สินที่สามีหรือภริยามีอยู่ก่อนสมรส

1.2) เครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับตามควรแก่ฐานะ


หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จ้าเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของสามีหรือภริยา

1.3) ทรัพย์สินที่สามีหรือภริยาได้มาโดยการรับมรดกหรือการใช้โดยเสน่หา

1.4) ของหมั้น
2) สินสมรส

คือ ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของสามีและภริยา โดยสามีและ


ภริยามีส่วนในทรัพย์สินนั้นคนละครึ่ง
สินสมรส มี 3 ประเภท ได้แก่
2.1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดที่
ได้มาหลังวันจดทะเบียนสมรส

2.2) ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือหนังสือระบุให้เป็น
สินสมรส

2.3) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
 การสิ้นสุดการสมรส

1) คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย

การตายที่ ท้ า ให้ ก ารสมรสสิ้ น สุ ด ลง หมายถึ ง การตายตาม


ธรรมชาติ ไม่รวมถึงการตายโดยผลของกฎหมายหรือการสาบสูญ ซึ่งเป็น
เพียงเหตุหย่าเท่านั้น
2) ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสทีเ่ ป็นโมฆียะ
3) คู่สมรสหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน

การหย่าอันท้าให้การสมรสสิ้นสุดลงมี 2 ประเภท คือ

3.1) การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย

3.2) การหย่าโดยค้าพิพากษาของศาล เหตุฟ้องหย่า มี 12 ประการ ได้แก่


3.2.1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี
เป็นชู้หรือมีชู้หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ

3.2.2) สามี ห รื อ ภริ ย าประพฤติ ชั่ ว ไม่ ว่ า ความประพฤติ ชั่ ว นั้ น จะเป็ น
ความผิ ด อาญาหรื อ ไม่ เป็ น เหตุ ใ ห้ ฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง ได้ รั บ ความขายหน้ า อย่ า ง
ร้ายแรง หรือถูกดูถูกเกลียดชัง

3.2.3) สามีหรือภริยาท้าร้าย หรือทรมานร่างกาย จิตใจ หรือหมิ่นประมาท


เหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีอีกฝ่ายหนึ่งอย่างร้ายแรง
3.2.4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี

3.2.5) สามีหรือภริยาต้องค้าพิพากษาถึงที่สุดและได้จ้าคุกเกิน 1 ปี

3.2.6) สามีหรือภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะอยู่ด้วยกันโดยปกติสุขไม่ได้
หรือแยกกันอยู่ตามค้าสั่งของศาลเป็นเวลาเกิน 3 ปี

3.2.7) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือหายไปเกิน 3 ปี
3.2.8) สามีหรือภริยาไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง จนเป็นที่เดือดร้อน หรือท้า
การอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง

3.2.9) สามีหรือภริยาวิกลจริตติดต่อกันเกิน 3 ปี

3.2.10) สามีหรือภริยาประพฤติผิดหนังสือทัณฑ์บนที่ทั้งคู่ท้ากันไว้

3.2.11) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่อร้ายแรง

3.2.12) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายที่ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล
บุตรบุญธรรม

 คุณสมบัติของผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม

1) ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่้ากว่า 25 ปี

2) ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรม
อย่างน้อย 15 ปี
 เงื่อนไขในการรับบุตรบุญธรรม

1) ความยิ น ยอมของบุ ต รบุ ญ ธรรม ถ้ า ผู้ ที่ จ ะเป็ น บุ ต รบุ ญ


ธรรมมีอายุเกิน 15 ปี การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอม
จากผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
2) ความยินยอมของบิดามารดา การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมต้อง
ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของผู้เยาว์ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเสียก่อน

3) ความยินยอมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม
ถ้าผู้ รับ บุ ต รบุ ญธรรมหรื อผู้ ที่จะเป็ นบุ ตรบุญธรรมมี คู่ส มรสอยู่ ต้อ งได้รั บ
ความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
 ผลของการรับบุตรบุญธรรม

1) บุตรบุญธรรมมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตร
บุญธรรม

2) บิดามารดาโดยก้าเนิดของบุตรบุญธรรมหมดอ้านาจปกครองบุตรบุญ
ธรรมของตนตั้งแต่วันที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมเป็น
ผู้ใช้อ้านาจปกครองบุตรบุญธรรม

3) บุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวเดิม
 การเลิกรับบุตรบุญธรรม

1) บุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรมตกลงเลิกรับบุตรบุญธรรม

2) บุตรบุญธรรมสมรสกับผู้รับบุตรบุญธรรม

3) ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือบุตรบุญธรรมฟ้องการรับบุตรบุญธรรม
มรดก

การบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายมรดกนั้ น ได้ มี ก ารผ่ อ นปรนไม่ น้ า


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก ไปใช้ใน 4 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
 มรดก

“ ม ร ด ก ” ข อ ง ผู้ ต า ย ห ม า ย ถึ ง
ทรั พ ย์ สิ น ของผู้ ต าย รวมถึ ง สิ ท ธิ หน้ า ที่ และ
ความรั บ ผิ ด ชอบต่ า งๆของผู้ ต ายที่ มี อ ยู่ข ณะ
ตาย เว้นแต่ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับ
ผิดนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวโดยแท้ของผู้ตาย
 ผู้มีสิทธิได้รับมรดก

1) ทายาทโดยธรรม ได้แก่ ญาติ และคู่สมรสคือ สามีและภริยาของผู้ตาย

ล้าดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตรของผู้ตาย ซึ่งอาจจะได้แก่บุตรในลักษณะ


ใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ
(ก) บุ ต รที่ ช อบด้ ว ยกฎหมายของเจ้ า มรดก ได้ แ ก่ บุ ต รประเภทใด
ประเภทหนึ่งต่อไปนี้
(1) บุตรที่เกิดจากบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาซึ่งบิดามารดา
นั้นนั้นได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย
(2) บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก กล่าวคือ เป็นบุคคลที่เจ้ามรดกได้
จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม
(3) บุตรซึ่งบิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) กับมารดาได้จดทะเบียนสมรส
กันภายหลังจากที่บุตรได้เกิดแล้ว
(ข) บุตรนอกกฎหมาย หมายถึง บุตรที่บิดา (ซึ่งเป็นเจ้ามรดก) ไม่ได้
จดทะเบียนสมรสกับมารดา แต่มีพฤติการณ์ที่เปิดเผยบางอย่างของบิดาที่
เป็นการรับรองว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
ล้าดับที่ 2 บิดามารดาของเจ้ามรดก ในกรณีของบิดา บิดานั้นจะต้อง
เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ถ้าเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(กล่ า วคื อ ไม่ ไ ด้ จ ดทะเบี ย นสมรสกั บ มารดาของเจ้ า มรดก) แม้ ว่ า จะได้ มี
พฤติการณ์รับรองบุตรนอกกฎหมายว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรตน ดังกล่าวในข้อ
ข. ก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรตน ส่วนมารดานั้นย่อมเป็นมารดา
โดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเสมอ ไม่ว่าจะจดทะเบียนสมรสกับบิดา
ของเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม
ข้อสังเกต
(1) บิดามารดาบุญธรรม ไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม
(2) ในกรณีที่บิดาหรือมารดาท้าการสมรสใหม่ หลังจากขาดการสมรสแล้ว แม่เลี้ยง
หรือพ่อเลี้ยงย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกเลี้ยง
(3) ลูกเขยไม่มีสิทธิได้รับมรดกของพ่อตา หรือแม่ยาย และพ่อตาแม่ยายก็ไม่มีสิทธิรับ
มรดกของลูกเขยเช่นกัน
(4) ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิรับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มี
สิทธิรับมรดกของลูกเขยเช่นกัน
(5) ลูกสะใภ้ไม่มีสิทธิรับมรดกของแม่สามีหรือพ่อสามมี และแม่สามีหรือพ่อสามีก็ไม่มี
สิทธิรับมรดกของลูกสะใภ้เช่นกัน
ล้าดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก

ล้าดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดาของเจ้ามรดก

ล้าดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก

ล้าดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก


 พินัยกรรม
คื อ นิ ติ ก รรมซึ่ ง บุ ค คลได้ แ สดงเจตนาฝ่ า ยเดี ย วก้ า หนดการเผื่ อ ตายในเรื่ อ ง
ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ตลอดจนความรับผิดของตนเมื่อตนได้ตายไปแล้ว

โดยนิติกรรมต้องท้าตามแบบที่กฎหมายก้าหนดเท่านั้น และพินัยกรรมจะมีผลเมื่อ
ผู้ท้าพินัยกรรมตาย
 ผู้ท้าพินย
ั กรรม

1) ผู้ท้าพินัยกรรมจะต้องมีอายุอย่างน้อย 15 ปีบริบูรณ์ หากพินัยกรรมกระท้า


โดยบุคคลที่มีอายุไม่คบ 15 ปีบริบูรณ์ พินัยกรรมนั้นตกเป็น “โมฆะ”

2) คนไร้ ค วามสามารถจะท้ า พิ นั ย กรรมไม่ ไ ด้ พิ นั ย กรรมที่ ท้ า ขึ้ น โดยคนไร้


ความสามารถ ย่อมตกเป็น “โมฆะ”
3) พินัยกรรมที่ท้าขึ้นโดยคนวิกลจริตจะตกเป็น “โมฆะ” ก็ต่อเมื่อพิสูจน์
ได้ว่าผู้นั้นท้าพินัยกรรมในขณะที่จริตวิกล หากผู้นั้นท้าพินัยกรรมในขณะไม่ได้
จริตวิกล พินัยกรรมนั้นมีผล “สมบูรณ์”

4) คนเสมือนไร้ความสามารถ ท้าพินัยกรรมได้โดยไม่ต้องได้รับความ
ยิ น ยอมจากผู้ พิ ทั ก ษ์ พิ นั ย กรรมที่ ค นเสมื อ นไร้ ค วามสามารถท้ า ย่ อ มมี ผ ล
“สมบูรณ์”
 บุคคลที่ไม่สามารถเป็นผู้รับพินัยกรรมได้

1) ผู้เขียนพินัยกรรมและคู่สมรสของผู้เขียนพินัยกรรม

2) พยานในพินัยกรรมและคู่สมรสของพยานในพินัยกรรม
3) พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ซึ่ ง ได้ จ ดแจ้ ง ข้ อ ความแห่ ง
พิ นั ย กรรมแบบท้ า ด้ ว ยวาจาและคู่ ส มรสของพนั ก งาน
เจ้าหน้าที่นั้น

4) ในกรณีผู้เยาว์ท้าพินัยกรรม ผู้ปกครองผู้เยาว์ รวม


ไปถึ ง คู่ ส มรส บุ พ การี หรื อ ผู้ สื บ สั น ดาน หรื อ พี่ น้ อ งของ
ผู้ปกครองจะเป็นผู้รับพินัยกรรมไม่ได้ เว้นแต่ผู้ปกครองได้ท้า
แถลงการณ์ปกครองแล้ว
 บุคคลทีไ่ ม่สามารถเป็นพยานในการท้าพินย
ั กรรมได้

1) บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

2) คนไร้ความสามารถ หรือคนวิกลจริต หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

3) บุคคลที่หูหนวก หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง


 แบบของพินัยกรรม

พินัยกรรมต้องท้าให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายก้าหนด หากมิได้ท้า
ให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายก้าหนดไว้ พินัยกรรมนั้นย่อมตกเป็น “โมฆะ”
โดยกฎหมายก้าหนดแบบของพินัยกรรมไว้ 5 แบบ คือ

1) พินัยกรรมแบบธรรมดา

เป็นรูปแบบพินัยกรรมที่นิยมท้ากันมาก ต้องท้าเป็น หนังสือ ลงวันเดือนปี


ขณะท้ า พิ นั ย กรรม ผู้ ท้ า พิ นั ย กรรมลงลายมื อ ชื่ อ หรื อ พิ ม พ์ ล ายนิ้ ว มื อ ต่ อ หน้ า
พยานอย่างน้อยสองคน
2) พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ

ผู้ท้าพินัยกรรมต้องเขียนข้อความเองทั้งหมดทั้งฉบับ จะเขียนบ้าง
พิมพ์บ้างไม่ได้ และต้องลงลายมือชื่อไว้ด้วย โดยไม่จ้าเป็นต้องมีพยานก็ได้
3) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง

ต้อ งไปหานายอ้า เภอหรื อผู้อ้า นวยการเขตให้ เป็นผู้จั ดท้ าให้ โดยผู้ท้ า


พินัยกรรมและพยานสองคนลงลายมือชื่อ ในพินัยกรรมแล้ว นายอ้าเภอหรื อ
ผู้อ้านวยการเขตจะเขียนรับรองพินัยกรรม พร้อมประทับตราประจ้าต้าแหน่ง
4) พินัยกรรมแบบเอกสารลับ

ผู้ท้าพินัยกรรมเขียนหรือพิมพ์เอง หรือให้ผู้อื่นท้าให้ก็ได้ เมื่อลง


ลายมือชื่อในพินัยกรรมแล้วให้ใส่ซองปิดผนึก และลงลายมือชื่อตรงรอยผนึก
นั้น พร้อมทั้งน้าพยานสองคนไปให้ถ้อยค้าต่อนายอ้าเภอหรือผู้อ้านวยการเขต
เพื่อบันทึกไว้บนซองเอกสารนั้น โดยให้ผู้ท้าพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อ
ไว้บนซอง และให้นายอ้าเภอหรือผู้อ้านวยการเขตเก็บรักษาไว้
5) พินัยกรรมแบบวาจา

ต้องเป็นในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น เช่น มีอุบัติเหตุร้ายแรงและ


ใกล้ ต าย ผู้ ท้ า พิ นั ย กรรมด้ ว ยวาจาจะต้ อ งแสดงเจตนาว่ า จะยก
ทรั พ ย์ สิ น ให้ ใ ครต่ อ หน้ า พยานสองคน จากนั้ น พยานรี บ ไปแจ้ งวั น
เดื อ นปี แ ละข้ อ ความที่ ผู้ ท้ า พิ นั ย กรรมสั่ ง ไว้ ต่ อ นายอ้ า เภอหรื อ
ผู้อ้านวยการเขต ให้นายอ้าเภอหรื อผู้อ้า นวยการเขตจดข้ อความ
แล้วให้พยานลงลายมือชื่อไว้
พินัยกรรม ข้อความ การลงชือ่ พยาน หมายเหตุ
ลายเซ็น/ อย่างน้อย
ธรรมดา เขียน/พิมพ์ พยานห้ามพิมพ์ลายนิ้วมือ
ลายนิ้วมือ 2 คน
เขียนเอง เขียน ลายเซ็น - เขียนเองเท่านั้น

เอกสารฝ่าย ลายเซ็น/ อย่างน้อย รับรองโดยนายอ้าเภอ/


เขียน/พิมพ์
เมือง ลายนิ้วมือ 2 คน ผอ.เขต

ใส่ซองปิดดผนึกให้
เอกสารลับ เขียน/พิมพ์ ลายเซ็น 2 คน
นายอ้าเภอ/ผอ.เขตเก็บไว้

พยานน้าไปแจ้ง
วาจา ค้าพูด - 2 คน
นายอ้าเภอ/ผอ.เขต
 ผู้จัดการมรดก

เป็ น บุ ค คลที่ มี ห น้ า ที่ ร วบรวมทรั พ ย์ สิ น ของเจ้ า มรดกเพื่ อ ช้ า ระหนี้ ใ ห้ แ ก่


เจ้าหนี้ของเจ้ามรดกและแบ่งปันทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก
 การจัดตั้งผู้จัดการมรดก

1) การตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม

2) การตั้งผู้จัดการมรดกโดยค้าสั่งศาล

3) การตั้งผู้จัดการมรดกโดยทายาทตกลงร่วมกัน
 บุคคลทีไ่ ม่สามารถเป็นผู้จด
ั การมรดก

1) บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

3) บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

You might also like