You are on page 1of 6

-"ภูมิลำเนา" คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ตอบ
"ภูมิลำเนา" เป็ นสถานที่ที่ใช้กับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อ
สำหรับเป็ นที่อยู่ในการติดต่อกับผู้ที่จะผูกนิติสัมพันธ์กัน ซึ่งตามความเข้าใจ
ของคนทั่วไป ภูมิลำเนาก็คือ การมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั่นเอง หรือบางคน
อาจเข้าใจว่า คือ มาตุภูมิ ก็เป็ นการไม่ถูกต้อง
ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ได้แก่ ถิ่นอันเป็ นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอัน
เป็ นที่ตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเข็นภูมิลำเนาเฉพาะการ
ตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็ น
แหล่งสำคัญ

ในที่นี้จะให้ความสำคัญกับภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดาเท่านั้น เพราะว่า
บุคคลธรรมดาสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลาตามความชอบตาม
ความสมัครใจของตน ต่างกับภูมิลำเนาของนิติบุคคล ซึ่งเป็ นบุคคลตาม
กฎหมาย หากจะเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาย่อมทำได้ยาก ภูมิลำเนาของบุคคล
ธรรมดาได้เป็ นสองประเภท คือ ตามที่มีเจตนาอยากจะอยู่ที่ไหน กับตามที่
กฎหมายกำหนดไว้เป็ นการเฉพาะอีก ดังนั้น บุคคลธรรมดาจึงอาจมีภูมิลำเนา
ได้รวมทั้งหมดเป็ น 10 แห่ง ดังนี้
1. ที่ใช้เป็ นถิ่นที่อยู่ถาวร คือ ไม่จำเป็ นจะต้องมีชื่อตามทะเบียนราษฎร์
หรือทะเบียนสำมะโนครัว และไมใช่ถิ่นที่อยู่ที่พักอาศัยในระยะเวลาสั้น ๆ
2. ถ้ามีที่อยู่หลายแห่งชื่งใช้อยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมีที่ทำงานเป็ นปกติ
หลายแห่ง โดยที่ทุกแห่งก็ล้วนแต่สำคัญและไม่อาจถือได้ว่าที่ใดสำคัญกว่า
กัน ก็ให้ถือเอาที่ใดที่หนึ่งก็ได้เป็ นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น ทำให้เป็ นบุคคลนี้
มีภูมิลำเนาหลายแห่ง
เช่น ประกอบอาชีพหลายแห่ง
3.กรณีภูมิลำเนาไม่ปรากฏ ให้ถือว่า ถิ่นที่อยู่ที่พำนักนั้นเป็ นภูมิลำเนา
หากนักหลายแห่ง ก็ให้เลือกถิ่นที่อยู่ใดที่พำนักนั้นเป็ นภูมิลำเนาก็ได้
เช่น คนนั้นไม่เปิดเผยให้ผู้ใดทราบ หรือไม่มีความชัดเจนว่าจะให้ถิ่นใดเป็ น
ภูมิลำเนาของตน
4. กรณีได้เลือกเอาถิ่นใดโดยมีเจตนาปรากฎชัดแจ้งว่าจะให้เป็ น
ภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อกระทำการใด ก็ให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็ นภูมิลำเนาเฉพาะ
การสำหรับการนั้น
5. กรณีไม่มีที่อยู่ปกติเป็ นหลักแหล่ง หรือ เป็ นผู้ครองชีพในการเดินทาง
ไปมาปราศจากหลักแหล่งที่ทำการงาน ดังนี้ ถ้าพบตัวผู้นั้นในถิ่นไหนก็ให้
ถือว่าถิ่นนั้นเป็ นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น เช่น ทำงานและปฏิบัติกิจวัตรต่าง 1
บนรถบรรทุก พวกเร่ร่อน รับจ้างไปเรื่อย ๆ
6.กรณีสามีภริยา ให้ถิ่นที่อยู่ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา เป็ นภูมิลำเนา
อีกแห่งหนึ่ง เว้นแต่ จะได้แสดงเจตนาให้ปรากฎว่ามีภูมิลำเนาแยกต่างหาก
จากกัน
7. กรณีผู้เยาว์ ให้ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งเป็ นผู้ใช้อำนาจ
ปกครอง หรือผู้ปกครอง เป็ นภูมิลำเนาของผู้เยาว์ ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจ
ปกครองของผู้เยาว์คือบิดาและมารดา ถ้าบิดาและมารดามีภูมิลำเนาแยกต่าง
หากจากกัน ภูมิลำเนาของ
ผู้เยาว์ได้แก่ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาซึ่งตนอยู่ด้วย (จนกว่าจะบรรลุ
นิติภาวะ) ต้องเป็ นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง จดทะเบียน
สมรส หรือ บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง บิดาที่จด
ทะเบียนรับรองบุตร หรือ มารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็ นเสมอ
8.กรณีคนไร้ความสามารถ ให้ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล เป็ นภูมิลำเนาของ
คนไร้ความสามารถ(แต่ถ้าเป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถ ได้แก่ภูมิลำเนาของ
ตนเอง)
9.กรณีข้าราชการ ให้ถิ่นอันเป็ นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ เป็ น
ภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่ง หากมิใช่เป็ นตำแหน่งหน้าที่ชั่วคราวชั่วระยะเวลา หรือ
เป็ นเพียงแต่งตั้งไปเฉพาะการครั้งเดียว คราวเดียว
10. กรณีผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดย
ชอบด้วยกฎหมาย ให้ภูมิลำเนาได้แก่ เรือนจำ หรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่
จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว ไม่รวมถึงการถูกคุมขังเป็ นการชั่วคราว หรือถูก
คุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี

ภูมิลำเนามีความสำคัญต่อบุคคลอย่างยิ่ง กล่าวคือ ใช้สำหรับกรมีสิทธิ


หรือการใช้สิทธิตามกฎหมาย การลงคะแนนเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง
เป็ นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเป็ นผู้ฟ้องคดีหรือการถูกฟ้องคดี โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร

1. กฎหมายมหาชนเบื้องต้น มีหลักแนว วิธีทางแนวทางอย่างไร จงอธิบาย?


ตอบ
หลักกฎหมายมหาชน หมายถึง หลักสาระสำคัญในกฎหมาย ที่ว่าด้วยสิทธิ และ
ความเกี่ยวข้องระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อ
1.ทำให้รู้ และเข้าใจถึงหลักการ ในกฎหมายมหาชนได้ลึกซึ้งถ่องแท้
2.ทราบถึงเบื้องหลังของหลักการกฎหมายมหาชน
3.ปรับใช้กฎหมายได้ถูกต้อง
กฎหมายมหาชนมีหลักการสำคัญๆ 7 หลักการ ได้แก่
1.)หลักอำนาจอธิปไตย
อำนาจ หมายถึง สิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม
อำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดของเอกราช ของรัฐ ที่ใช้ในการปกครองใช้
ในทางการเมืองการปกครองบริหารจัดการบ้านเมือง
แนวคิดที่มาของอำนาจอธิปไตยมีดังนี้
1. อำนาจอธิปไตยเป็ นของพระผู้เป็ นเจ้า God
2. อำนาจอธิปไตยเป็ นของพระสันตปาปา Pope
3.อำนาจอธิปไตยเป็ นของกษัตริย์
4.อำนาจอธิปไตยเป็ นของประชาชน
5. อำนาจอธิปไตยเป็ นของชาติ
ลักษณะสำคัญอำนาจอธิปไตย
1. มีความสมบูรณ์เด็ดขาด
2. มีความยืนยงถาวร
3. มีลักษณะครอบคลุม
4. ไม่อาจถูกแบ่งแยกได้
อำนาจอธิปไตยเป็ นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็ นประมุข
2.)หลักการแบ่งแยกอำนาจ
หลักการแบ่งแยกอำนาจ จะเป็ นการใช้อำนาจรัฐหรือกระจายหน้าที่ตามความสามารถ
เฉพาะด้าน และดูแลให้เกิดการคานและดุลกัน เพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจโดยมิชอบ
หลักการแบ่งแยกอำนาจ มี 3 หลักการ ได้แก่
1.อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจการออกกฎหมาย สส./สว.
2. อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการใช้หรือบังคับการให้เป็ นไปตามกฎหมาย รัฐบาล
3.อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการวินิจฉัยอรรถดีศาล
หลักการแบ่งแยกอำนาจ รูปแบบหรือระบบรัฐบาลสามารถแบ่งแยกอำนาจได้ 3 ระบบ
ได้แก่
1.ระบบรัฐสภา
2.ระบบประธานาธิบดี
3.ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี
3.)หลักนิติรัฐ
ความหมายเชิงรูปแบบ หมายถึง รัฐที่ปกครองภายใต้กฎหมาย ปกครองด้วยกฎหมาย
ถือกฎหมายเป็ นใหญ่
ความหมายเชิงเนื้อหา หมายถึง รัฐที่ปกครองโดยมุ่งประกันสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน และกำหนดให้รัฐก้าวล่วงแดนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ต่อเมื่อมี
กฎหมายให้อำนาจไว้ ซึ่งมีในแง 5 ข้อ ได้แก่
1.ในแง่ผู้ปกครอง แม้จะมีอำนาจสูงสุด แต่หากจะกระทำการใดๆอันเป็ นการกระทบ
ต่อสิทธิเสรีภาพประชาชน จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจ
2.ในแง่ผู้ใต้ปกครอง ประชาชน มีหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ กฎหมายสูงสุด คือ
รัฐธรรมนูญ
3. มีการแบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อำนาจ
4. มีการตรวจสอบควบคุมซึ่งกันและกัน
5. ผู้พิพากษา ตุลาการ จะต้องมีความเป็ นอิสระ
อำนาจตัดสินใจรูปแบบระบอบการปกกรอง
1. อำนาจการตัดสินใจสูงสุดอยู่กับบุคคลผู้เดียว เรียกว่าเป็ น ระบอบเผด็จการ
2. อำนาจการตัดสินใจสูงสุดอยู่กับคณะบุคคล เรียกว่าเป็ น ระบอบคณาธิปไตย
3. อำนาจการตัดสินใจสูงสุดอยู่กับประชาชน เรียกว่าเป็ น ระบอบประชาธิปไตย
4.)หลักประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็ นส่วนใหญ่ การถือ
เสียงข้างมากเป็ นใหญ่
การพิจารณาความเป็ นประชาธิปไตย
1. ประชาชนมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
2.ประชาชนได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
3.การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อาศัยหลักเลือกเสียงข้างมาก
คติสำคัญของประชาธิปไตย แบ่งได้ดังนี้
1.เสรีภาพ เช่น
-เสรีภาพในชีวิตร่างกาย ในเคทสถาน ในการเดินทาง เลือกถิ่นที่อยู่
-เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
-เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
-เสรีภาพทางวิชาการในการศึกษา
-เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม
2.ความเสมอภาค สมภาพ สมานภาพ เช่น ชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
3.ภราดรภาพ ศักดิ์ศรีความเป็ นมนุษย์สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้
รับความคุ้มครองไม่ว่าจะเป็ นเพศ หรือศาสนาต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน
5.)หลักความชอบด้วยกฎหมาย
หลักความชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง หลักการที่ว่าการกระทำทุกอย่างขององค์กรรัฐ
ต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ได้แก่
1. ในแง่กระบวนการนิติบัญญัติ
2.ในแง่กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย เช่น ศาลปกครอง
3.ในแง่กระบวนการตัดสินคดีของฝ่ ายตุลาการ
6.) หลักบริการสาธารณะ
บริการสาธารณะ หมายถึง กิจการที่รัฐจะต้องจัดทำเพื่อสนองความต้องการ ขั้นพื้น
ฐานของคนในชาติและอยู่ในอำนวยการ หรือในความควบคุมของฝ่ ายปกครอง
ลักษณะสำคัญของ บริการสาธารณะ
1. มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองประ โยชน์สังคมส่วนรวม
2.จะต้องให้เอกชนมีสิทธิได้รับประโยชน์โดยเท่าเทียมกัน
3.จะต้องดำเนินอยู่เป็ นนิจและด้วยความสม่ำเสมอ
4.รัฐสามารถแก้ไขปรับปรุงได้
5.เป็ นกิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ ายปกครอง เช่น
การฟ้องศาล เป็ นต้น
ประเภทของบริการสาธารณะ
1. บริการสาธารณะทางปกครอง เช่นกิจการด้านการต่างประเทศการทูต
2. บริการสาธารณะที่มีใช่ทางปกครอง ได้แก่
-ทางด้านสังคม ได้แก่ การศึกษา การสังคมสงเคราะห์ เป็ นต้น
-ทางค้านเศรษฐกิจและสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา เป็ นต้น
การดำเนินงานบริการสาธารณะ
1.ในรูปของสัญญา คือ สัญญาสัมปทาน
2.ในรูปการอนุญาตตามคำขอ เช่น
-สำนักงานช่างรังวัดเอกชน
-สถานตรวจสภาพรถ
-สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (มหาวิทยาลัยเอกชน)
7.) หลักความเป็ นกลาง
หลักความเป็ นกลาง หมายถึง ไม่เข้าข้างฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่ง เช่นวางตัวเป็ นกลาง
ไม่เข้าข้างฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่ง Impartiality
การออกกำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่
1.ความไม่เป็ นกลางจากสภาพภายนอก ได้แก่
1.จ้าหน้าที่เป็ นคู่กรณีเสียเอง
2. เจ้าหน้าที่เป็ นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
3. เจ้าหน้าที่เป็ นญาติของคู่กรณี(ญาติสนิท)
4.เป็ นหรือเคยเป็ นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือตัวแทนของคู่กรณี
5.เป็ นเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือนายจ้างของคู่กรณี
6.อื่นๆ เช่น เคยแสดงความคิดเห็นอย่างจริงจังนอกหน้าที่การงานมาก่อน
2.ความไม่เป็ นกลางโดยสภาพภายใน อคติ 4 ประการ ได้แก่
1.ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก/ชอบ
2.โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
3.ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
4.โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง
ความเป็ นกลางหรือเป็ นกลาง แท้ เอาความถูกต้องเป็ นเกณฑ์อยู่กับความถูกต้อง ทาง
สายกลางก็คือทางที่ตรงตามธรรม ทางที่ดำเนินไปตามธรรม กลางมีจุดเดียว คือ จุดที่ถูก
เป็ นกลางที่แท้คือ การอยู่กับความถูกต้อง ถือเอาความถูกต้องเป็ นหลัก เป็ นเกณฑ์ใน
การพิจารณา
โดยใช้หลักเรื่อง มัชฌิมาปฏิปทา มาเป็ นเกณฑ์ในการตัดสิน คือ ไม่เอียง ไม่ติด ไม่ตก
ไปข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ตกไปข้างซ้าย ไม่ตกไปข้างขวา
-นิติบุคคล คืออะไร แบ่งออกเป็ นกี่ประเภท?
ตอบ
นิติบุคคล คือ บุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นเพื่อให้มีความสามารถ มีสิทธิหน้าที่ และ
ความรับผิดชอบได้ตามกฎหมายเหมือนกับบุคคลธรรมดา แม้ว่านิติบุคคลจะมีสิทธิและ
หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่ก็ไม่สามารถกระทำการเหมือนกับบุคคลธรรมดาได้
ทุกเรื่อง เนื่องจากนิติบุคคลเป็ นเพียงบุคคลสมมติที่ไม่มีชีวิต ร่างกาย และสติปัญญา
เหมือนกับบุคคลธรรมดา ดังนั้นนิติบุคคลจึงต้องมี "ผู้แทนนิติบุคคล"เพื่อแสดงออกถึง
สิทธิ หน้าที่ และความประสงค์ของนิติบุคคล...

นิติบุคคล ตามที่กฎหมายไทยได้บัญญัติไว้ สามารถแยกออกเป็ น 2 ประเภท ดังต่อ


ไปนี้.
1. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน หมายถึง ที่บัญญัดีไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ ซึ่งแบ่งแยกย่อยออกไปได้ 5 ประเภทด้วยกัน คือ
1.บริษัทจำกัด
2.ห้างหุ้นส่วน
3.ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
4.สมาคม
5.มูลนิธิ
2. นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน หมายถึง นิติบุคคลที่บัญญัติไว้ในกฎหมายมหาชนอื่นๆ
ได้แก่ วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็ นต้น

ดังนั้น...นิติบุคคลจึงเป็ นบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นเพื่อให้มีสิทธิ หน้าที่และความรับผิด


ชอบเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา หรืออาจพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า นิติบุคคลเป็ นกลุ่มคน
หลายคนในองค์กรหลากหลาย
ประเภทไม่ว่าจะเป็ นกระทรวง กรม วัด จังหวัด สมาคม มูลนิธิ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่ง
กฎหมายให้สมมติตนเองขึ้นมาเป็ นนิติบุคคลที่มีสิทธิเทียบเท่ากับบุคคลธรรมดาได้ เพื่อ
ความสะดวกในทางกฎหมาย

You might also like