You are on page 1of 9

“กฎหมายแพ่งว่าด้วยกรรมสิทธิ์ที่ดนิ สิทธิเจ้าบ้าน

และกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง”

นางวิลาสินี สิทธิโสภณ
วิทยากรเชี่ยวชาญ
กลุ่มงานกฎหมาย ๓ สานักกฎหมาย

บทความนี้ใช้เพื่อนาออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
รายการเจตนารมณ์กฎหมาย
สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
กฎหมายแพ่งว่าด้วยกรรมสิทธิ์ทดี่ ิน สิทธิเจ้าบ้าน และกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง
นางวิลาสินี สิทธิโสภณ
วิทยากรเชี่ยวชาญ
สานักกฎหมาย สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
บทนา
ที่ดิน ถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงมากในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะนาไปพัฒนาเป็นสาธารณูปโภค
ต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ได้แล้ว มูลค่าในตัวของที่ดินยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา การมีสิทธิครอบครองที่ดิน
จึงเป็นเรื่องสาคัญ และเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่ามาก การที่จะเป็นเจ้าของที่ดินได้นั้น จะต้องทาการซื้อขายที่ดิน
ก่อนที่จะเข้าใช้ทาประโยชน์จากที่ดิน เจ้าของที่ดินจะต้องรู้ด้วยว่าเมื่อมีที่ดินอยู่ในครอบครองแล้วจาเป็นต้องรู้
อะไรบ้าง เพื่อที่จะได้สิทธิครอบครองที่ดินของตนเองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การซื้อขายที่ดิน ผู้ใดมีที่ดิน
ครอบครองไม่ว่าจะได้มาจากการซื้อขาย หรือครอบครองที่ดินจากการทาประโยชน์ในที่ดินมาก่อ น สิ่งแรก
ที่เจ้าของที่ดินจะต้องรู้คือการยื่นคาขอต่อเจ้าหน้าที่เพื่อออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือ ที่เรียกกันว่า
“โฉนดที่ดิน” โดยการขอออกโฉนดจากกรมที่ดิน บนโฉนดที่ดินจะระบุเลขที่โฉนด และที่ตั้งของที่ดินว่าอยู่ในตาบล
หรือแขวง อาเภอหรือเขต และจังหวัดใด ระบุชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินคนแรก และผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
คนปัจจุบัน นอกจากนั้นโฉนดที่ดินจะบอกรายละเอียดของที่ดิน โดยผู้ที่เป็นเจ้าของโฉนดที่ดินนี้ถือว่ามี กรรมสิทธิ์
ในที่ดินนั้นเต็มที่ มีสิทธิใช้สอยที่ดินนั้นตลอดจนการขายที่ดินนั้นก็ได้ รวมไปถึงการขัดขวางไม่ให้ผู้ใดมาเกีย่ วข้องกับ
ที่ดินนั้น โดยมิชอบตามกฎหมายด้วย
เมื่อมีการซื้อขายที่ดิน หรือมีการทานิติกรรมต่างๆ เกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนด โดยมีการเปลี่ยนมือ
เจ้าของไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย มอบอานาจให้ แลกเปลี่ยน นาไปจานอง หรือจากการได้มรดกตกทอด
จะต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่สานักงานที่ดินเสมอ หากเป็นการซื้อขายแล้วไม่ได้ไปจดทะเบียน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือแจ้งให้ทราบ จะถือว่าการซื้อขายที่ดินหรือให้จานองที่ดินโฉนดดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ซึ่งใครที่ไม่ทราบข้อกฎหมายที่ดินนี้ อาจจะทาการซื้อที่ดินแล้วได้โฉนดที่เป็นชื่อของเจ้าของเดิมมา และถูกเจ้าของเดิม
แจ้งออกโฉนดใหม่จากการบอกว่าโฉนดหาย และในที่สุดเกิดการฟ้องร้องระหว่างผู้ซ้ือ ผู้ขาย และผู้ซ้ือที่ดิน
ก็จะไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ส่วนผู้ที่ครอบครองโฉนดไม่ว่าจะเป็นแบบ น.ส.๓ หรือ น.ส. ๔ สามารถถูกแย่ง
ครอบครองปรปักษ์ได้จากการเข้ายึดครอบครอง โดยสงบ โดยเปิดเผย ด้วยเจตนายึดถือเป็นเจ้าของครบสิบปี
จึงจะได้กรรมสิทธิ์ โดยครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินจาเป็นต้องฟ้องเรียกคืนการครอบครองภายในหนึ่งปี
มิฉะนั้นจะเสียสิทธิครอบครองได้
โฉนดที่ดินจึงถือเป็นเอกสารสาคัญมาก ผู้ที่จะลงทุนอสังหาริมทรัพย์แนวที่ดิน หรือซื้อที่ดินเพื่อสร้าง
ที่อยู่อาศัย จาเป็นต้องมีความรู้ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินเพื่อที่จะได้สิทธิการครอบครองที่ดินอย่างเต็มที่ และ
ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหากบุคคลใดที่อาศัยอยู่ที่ดินนั้นเป็นเวลานานแสดงการครอบครองที่ดินโดยการใช้ประโยชน์
มาตลอดแต่ไม่ได้ยื่นขอหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ทางกฎหมายก็จะถือว่าที่ดินนั้น ๆ เป็นที่ดินตกค้างการแจ้งการ
ครอบครอง และต้องไปแจ้งการครอบครองต่อเจ้าหน้าที่ หรือถ้ามีเจ้าหน้าที่มาทาการตรวจสอบและที่ดินนั้น ๆ
เป็นที่ดินของรัฐที่ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่ดินนั้น ๆ ก็จะกลายเป็นที่ดินที่เข้าครอบครองโดยผิดกฎหมาย
ซึ่งถือว่ามีความผิดทางกฎหมายและมีบทลงโทษด้วย

กรรมสิทธิ์ที่ดิน
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ดินทีม่ ีโฉนดย่อมเป็นหลักฐานสาคัญที่จะแสดงว่าบุคคลผู้มีชื่อถือ
กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย และภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สิน
ที่ดินมีโฉนดดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้สอยและจาหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมี
สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้าเกี่ยวข้อง
กับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ความหมายที่เกี่ยวข้อง
สิทธิในที่ดิน ตามความหมายของประมวลกฎหมายที่ดิน ได้แก่ กรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดิน
กรรมสิทธิ์ หมายถึง ความเป็นเจ้าของ ซึ่งบุคคลอาจเป็นเจ้าของที่ดินไดโดยการมีกรรมสิทธิ์โดยรัฐ
จะออกหนังสือสาคัญแสดงกรรมสิทธิ์ให้
สิทธิครอบครอง หมายถึง สิทธิครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ โดยการทาประโยชน์หรือการถือ
ครอง แต่ไม่มีหนังสื อส าคัญแสดงกรรมสิ ทธิ์ โดยรัฐจะออกหนังสื อรับรองการทาประโยชน์หรือหลั กฐานที่
เรียกชื่ออย่างอื่นให้ การแย่งการครอบครองที่ดินกรรมสิทธิ์ ต้องแย่งการครอบครองโดยสงบ เปิดเผยและเจตนา
เป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ การ
ครอบครองปรปักษ์ ส่วนที่ดินที่มีสิทธิครอบครองหากถูกแย่ง การครอบครองเรียกคืนภายใน ๑ ปี ไม่เช่นนั้น หมด
สิทธิ์ฟ้อง
ที่ดินของรัฐ หมายถึง บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของ
แผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือทาประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมาย
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมาย ที่ดินไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายๆ แม้จะตาเห็น จ่ายเงิน แต่ถ้า
ไม่ได้โอนกันเรียบร้อย ณ สานักงานที่ดิน ก็ยังไม่สามารถวางใจได้นอกจากการซื้อขายแล้ว กรรมสิทธิ์ที่ดิน
ยังสามารถได้มาด้วยเงื่อนไขอื่นๆ ซึ่งสิทธิและวิธีการที่จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มีทั้งสิ้น ๔ แบบด้วยกันคือ
๑. การได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน คือ ได้มาโดยการขอออกโฉนดที่ดิน และได้มาโดยขอ
ออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยทางนิติกรรม เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยน จานอง
ขายฝาก โดยทาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ
๒. การได้มาโดยผลของกฎหมาย เป็นที่ดินที่ควรมีควรได้ตามกฎหมายและไม่ได้ไปแย่งใครมา
ที่ดินที่มีลักษณะนี้ เช่น ที่ดินงอกริมตลิ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเพราะแม่น้าพัดพาเอาดินทรายมาถมพอกพูนขึ้นทุ กวัน
จนกลายเป็นที่ดินขึ้นมา ซึ่งกฎหมายกาหนดให้ที่ดินงอกซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาตินี้ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนเดิม
ที่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นสามารถนาไปขอออกโฉนดได้ โดยมีข้อกาหนดว่า ต้องเป็นที่ดินที่งอกโดยธรรมชาติ
และเป็นผืนเดียวกัน ซึ่งหมายความว่า ต้องไม่ใช่ที่ดินซึ่งเกิดจากการถมที่ หรือสร้างคันกั้นน้า และต้องไม่ตัดถนนผ่าน
ระหว่างที่ดินที่งอกขึ้นมากับที่ดินผืนเดิม ซึ่งจะมีผลทาให้ที่ดินกลายเป็นสองแปลง จนเป็นเหตุให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์
ที่ดิน สูญเสียความเป็นเจ้าของในที่ดินที่งอกนั้นไป
แต่ถ้าเจ้าของกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ดินนี้โดยการใช้ประโยชน์หรือที่เรียกว่า ที่ดินมือเปล่า แต่ไม่ มี
เอกสารสิทธิ์ก็จะได้เพียงสิทธิ์ในการครอบครองเท่านั้น ไม่สามารถนาไปออกโฉนดหรือซื้อขายได้ ที่ดินงอกแบบ
มีโฉนดจะถูกแย่งสิทธิ์ด้วยการครอบครองปรปักษ์ หากมีผู้มาใช้ประโยชน์เกิน ๑๐ ปี ส่วนที่ดินงอกซึ่งเป็นที่ดิน

มือเปล่า เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง หากผู้อื่นแย่งการครอบครองและเจ้าของไม่ฟ้องร้องเรียกคืนภายใน ๑


ปีเจ้าของสิ้นสิทธิในที่งอกนั้น
๓. การได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย กาหนดว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สิน
ของผู้ อื่น ไว้โ ดยความสงบ และโดยเปิ ดเผย ด้ ว ยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสั งหาริมทรัพย์ได้ครอบครอง
ติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปีท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์” หมายความว่าเข้ามาอยู่อาศัย ปลูกผัก ปลูกข้าว ให้เห็น
อย่างเปิดเผย แสดงออกว่าเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆอย่างเปิดเผย แสดงออกว่าเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์
นั้นๆ แล้วไม่มีใครมาไล่เป็นเวลา ๑๐ ปีก็จะได้ที่ดินผืนนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ โดยมีข้อแม้ว่าที่ดินที่จะถูกครอบครอง
ปรปักษ์ได้ต้องเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์แล้วได้แก่ โฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองที่ตราว่าได้ทาประโยชน์
แล้ว ที่บ้าน ที่สวน ตามกฎหมายเบ็ดเสร็จ บทที่ ๔๒ และมีผู้อื่นเป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์อยู่ ที่ดินมือเปล่าจะถูก
ครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เนื่องจากเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น หากผู้ครอบครองไม่ทาประโยชน์ใน
ที่ดินนั้นอีกต่อไป ถือว่าผู้ครอบครองสละสิทธิครอบครอง
การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์จะต้องให้ศาลมีคาสั่งว่า ได้มาโดยครอบครองปรปักษ์
แล้วนาคาสั่งศาลไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินประเภทได้มาโดยการครอบครอง หากเจ้าของได้โดยการ
ครอบครองบางส่วนก็ไปขอจดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วน หรือได้รับแบ่งมาโดยการ
ครอบครอง
๔. การได้มาโดยมรดก การจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดก ที่ดินมรดกนั้นต้องเป็นที่ดินมีหนังสือสาคัญ
แสดงกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน ถ้าที่ดินมรดกเป็นที่มือเปล่า เช่น ที่ น.ส.๓ หรือ ส.ค.๑ ก็มีเพียงสิทธิครอบครอง
และการได้ทรัพย์มาโดยทางมรดกนี้จะต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินเสียก่อนจึงจะมีการเปลี่ยนแปลง
ทางทะเบียนได้ตามที่กฎหมายบัญญัติว่า “ถ้าผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
โดยทางอื่น นอกจากนิติกรรมสิทธิ์ ของผู้ได้มานั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน
ไม่ได้” การได้มาทางมรดก ก็เป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การมีที่ดินในการครอบครอง ควรที่จะรู้ถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนเอง ที่ดินที่มีเพียงสิทธิ ครอบครอง
นั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นเอกสารสิทธิที่แสดงการครอบครองและใช้ประโยชน์ในการทากินเท่านั้น
ที่ดินประเภทนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าที่ดินมือเปล่า หมายถึงกรรมสิทธิ์ยังเป็นของรัฐ ได้แก่ ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ
เช่น หนังสือรับรองการทาประโยชน์ (น.ส.๓, น.ส.๓ก) ส.ค.๑ (หนังสือแสดงสิทธิครอบครอง) หรือ ส.ป.ก. ๔-๐๑
เป็นต้น ส่วนผู้ครอบครองจะขอกรรมสิทธิ์ได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะเป็นผู้กาหนด ที่ดินเหล่านี้ผู้เป็นเจ้าของ
จะต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ คือจะต้องออกไปดูที่ดินของตนอย่างน้อยปีละครั้ง หรือหาคนอื่นเข้าไปดูแลแทน
โดยการจัดทาสัญญาให้ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาภายหลัง เพราะที่ดินเหล่านี้มีเพียงสิทธิ
ครอบครอง หากมีคนอื่นเข้าไปทากินในที่ดินโดยสงบเปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ หรือเรียกว่าแย่งการครอบครอง
ถ้าพิสูจน์ได้ว่าทากินมาเกินหนึ่งปีที่ดินเหล่านั้นก็อาจตกเป็นของคนอื่นไปโดยผลของกฎหมายได้
ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์นั้นคือที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เจ้าของที่ดินจะมีกรรมสิทธิ์สิทธิต่าง ๆ และกรรมสิทธิ์
ในที่ดินนั้นจะมีความมั่นคงกว่าสิทธิครอบครอง แต่ถ้าบุคคลอื่นจะมาแย่งที่ของเราไปก็ต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน
กว่าถึง ๑๐ ปี ที่ดินที่มีโฉนดนั้นอาจเสียกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ได้ตามหลักกฎหมาย เพราะกฎหมาย
ต้องการให้ถือเอาการครอบครอง และการทาประโยชน์ในที่ดินมากกว่าจะถือเอาเอกสารสิทธิ แนวทางป้องกั น
คือ ถ้ามีผู้บุกรุกเข้ามาควรต้องแจ้งความจับดาเนินคดีอาญา (ภายใน ๑ ปี กรณีเป็นที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง
และ ๑๐ ปีกรณีเป็นที่ดินที่มีโฉนด)

ตามความแห่ งประมวลกฎหมายอาญา ในกฎหมายกาหนดว่าผู้ ใดเข้าไปในอสั งหาริ ม ทรั พ ย์


ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทาการใด ๆ อันเป็น
การรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุข ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท
หรือทั้งจาทั้งปรับ และหากการเข้ามาในที่ดินนั้นทาให้ทรัพย์เสียหายด้วยก็แจ้งความเพิ่มในข้อหาทาให้เสียทรัพย์
และผู้ใดทาให้เสียหาย ทาลาย ทาให้เสื่อมค่า หรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
ผู้นั้นกระทาความผิดฐานทาให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือ
ทั้งจาทั้งปรับ ที่ดินถือว่าเป็นทรัพย์ที่นับวันมีแต่มูลค่าจะสูงขึ้น อย่าปล่อยให้ คนอื่นมาแย้งการครอบครอง หรือ
ครอบครองปรปักษ์ เพื่อให้ได้ไปซึ่งสิทธิตามกฎหมาย
บุคคลในครัวเรือนมีสิทธิในการเข้าครอบครองที่ดิน
๑. เจ้าของที่ดิน หมายถึง คนในครัวเรือนนั้นมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น
๑.๑ กรณีที่ผู้ซื้อชาระเงินค่าที่ดินแก่ผู้ขายยังไม่ครบ แต่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไปจานอง
ไว้กับธนาคาร แล้วผู้ซื้อผ่อนชาระเงินกับธนาคารเป็นงวดๆ ให้ถือว่าผู้ซื้อเป็นเจ้าของที่ดิน
๑.๒ กรณีที่ได้นาที่ดินไปจานองหรือไปค้าประกัน โดยยังมีชื่อเป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ให้ถือ
ว่าเป็นเจ้าของที่ดิน
๑.๓ การปลูกบ้านในที่ดินเอกชนโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินหรือไม่ก็ตาม ถ้าอยู่มาแล้ว
ตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไปโดยไม่เสียค่าเช่าที่ดิน ให้ถือว่าเป็นเจ้าของที่ดิน แต่ถ้าไม่ถึง ๑๐ ปี ให้ถือว่าไม่เสียค่าเช่าที่ดิน
๑.๔ การมีกรรมสิทธิ์ร่วมในการเป็นเจ้าของที่ดินมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งแยก ให้ถือว่าเป็นเจ้าของที่ดิน
๒. เช่าซื้อที่ดิน หมายถึง การซื้อที่ดินโดยผ่อนชาระเงินเป็นรายเดือนหรือเป็นงวดๆ ตามสัญญา
ที่ตกลงกัน เมื่อชาระเงินครบจึงจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
๓. เช่าที่ดิน หมายถึง การปลูกสร้างที่อยู่อาศัยในที่ดินของผู้อื่น โดยเสียค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของที่ดิน
๔. ไม่เสียค่าเช่าที่ดิน หมายถึง เจ้าของที่ดินอนุญาตให้ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย โดยไม่เสียค่าเช่าที่ดิน
รวมทั้งการเข้าอยู่อาศัยในที่ดินของผู้อื่น ที่ดินป่าสงวน หรือที่สาธารณะประโยชน์ ฯลฯ
สิทธิการครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การที่บุคคลได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการครอบครองตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กาหนดไว้ว่า บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และ
โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์
ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ ซึ่งการที่ผู้ใดจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
มาโดยครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายนั้น จะต้องมีหลักเกณฑ์ครบถ้วน
หลักเกณฑ์การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ มีดังต่อไปนี้
๑. ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สนิ ของผู้อื่น โดยมีการเข้าไปยึดถือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของผูอ้ ื่น
จะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินของผู้ครอบครองปรปักษ์เอง เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะ
ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น
๒. ทรัพย์สินที่ครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น
และหากที่ดินดังกล่าวทางราชการเพิ่งจะออกโฉนดที่ดิน ระยะเวลาที่ครอบครองก่อนที่ดินจะออกโฉนดจะไม่ นามา
นับรวมเพื่อได้สิทธิ์ ที่ดินมีการออกโฉนดเมื่อใดก็เริ่มนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไปจนครบสิบปีจึงจะได้กรรมสิทธิ์
ส่วนที่ดินมือเปล่า ได้แก่ ที่ดินตาม ส.ค.๑ หรือ น.ส.๓ หรือ น.ส. ๓ ก. หรือไม่มีหลักฐานใดเลย จะมีได้เพียงสิทธิ
ครอบครองเท่านั้น จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมายได้

๓. ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ คือครอบครองอยู่ได้โดยไม่ได้ถูกกาจัดให้ออกไป หรือ


ถูกฟ้องร้องมีคดีความกัน หรือโต้เถียงกรรมสิทธิ์กัน เช่น ต่างฝ่ายต่างหวงห้ามต่อกันโดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของ
จะถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบไม่ได้
๔. ต้องเป็นการครอบครองโดยเปิดเผย คือ ไม่ได้มีการปิดบังอาพราง หรือซ่อนเร้นเข้ายึดถือ
ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น สร้างฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้าเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น
โดยมีเจตนาเพื่อซ่อนเร้นปกปิดการกระทาที่ไม่ชอบของตน ไม่อาจถือว่าครอบครองที่ดินส่วนที่รุกล้าโดยเปิดเผย
๕. ต้องเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ การยึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น
นั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น แต่จะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วย
เจตนาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย เช่น ต้องมีการทาประโยชน์ใช้สอยทรัพย์สินนั้น มีการขัดขวางห้ามบุคคล
อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น และไม่เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ หรือยอมรับอานาจกรรมสิทธิ์
ของเจ้าของทรัพย์นั้นด้วย
๖. ระยะเวลาในการได้กรรมสิทธิ์ ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ และโดยเปิดเผย ด้วยเจตนา
เป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือ ประกอบ
เป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือ
ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น
ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์
เจ้าบ้านกับสิทธิทางกฎหมาย
เจ้าบ้าน คือ คนที่มีหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวในบ้านหลังนั้น ซึ่งการครอบครองนี้อาจเป็นเจ้าของบ้าน
ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นๆก็ได้ และหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังนั้น ตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์ ได้กาหนด
ให้ผู้เป็นเจ้าบ้าน มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนดังต่อไปนี้
๑. มีคนเกิดในบ้าน
๒. มีคนตายในบ้าน
๓. มีคนย้ายออก – ย้ายเข้ามาบ้านหลังนั้น
๔. มีสิ่งปลูกสร้างบ้านใหม่ หรือรื้อถอน
๕. ขอเลขที่บ้าน
๖. เมื่อมีการรื้อถอนบ้าน
ในทุกกิจกรรมจะต้องทาการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่นายทะเบียน ภายในระยะเวลา ๑๕ วันหลังจาก ที่
มีการกระทา การทาอันใดไปแล้ว ยกเว้นเสียแต่หากมีคนเสียชีวิต จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลา
๒๔ ชั่วโมง หากไม่แจ้งถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ โทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท จะเห็นได้ว่าเจ้าบ้านมีอานาจหน้าที่ในการดาเนินการ
เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้านหลังที่ตนเป็นเจ้าบ้า นเกือบทั้งหมด แต่เจ้าบ้านก็จะไม่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์
ในการทาธุรกรรมซื้อขายใดๆทั้งสิ้น นอกเสียจากเจ้าบ้านจะเป็นคนเดียวกันกับเจ้าของบ้านผู้มีชื่ออยู่ในหนังสือ
กรรมสิทธิ์ หรือโฉนดที่ดินนั้น
เจ้าบ้านกับเจ้าของบ้าน
เจ้าบ้านกับเจ้าของบ้าน สิทธิและหน้าที่แตกต่างกัน ตามหลักกฎหมายว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน
บ้านทุกหลังต้องมีเจ้าบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ
ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน

ส่วนเจ้าของบ้าน คือ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน อันเป็นหลักฐานในการทาสัญ ญา


ซื้อ ขาย กล่า วคือ เป็น ผู้ที่มีสิท ธิ์ที่จ ะ จาหน่า ย จ่า ยโอน ในที่ดิน และบ้า นหลัง นั้น ตามกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ อีกทั้งยังมีอานาจที่จะแต่งตั้งใครก็ตามมาเป็นเจ้าบ้านหลังนั้น เพื่อให้เป็นผู้มีหน้าที่ดูแลภายในบ้านได้อีกด้วย
กรณีที่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน ที่มีบ้านมากกว่า ๑ หลัง แต่ไม่สามารถเป็นเจ้าบ้านเองได้ ทุกหลังนั้น
เพราะในทะเบียนราษฎร์ ได้กาหนดไว้แล้วว่า ๑ บุคคลสามารถมีภูมิลาเนาได้เพียงภูมิลาเนาเดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้
ผู้เป็นเจ้าของบ้าน สามารถมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านได้เพียงที่เดียว ส่วนบ้านที่เหลือ ผู้เป็นเจ้าของบ้านจะต้อง
ทาการแต่งตั้งเจ้าบ้านขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่ดูแลการย้ายเข้าย้ายออกของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านนั้นๆ
ปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์กับ ชื่อทางทะเบียนบ้าน นับ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ มีเรื่องฟ้องร้อง
ในเรื่องการฟ้องเปลี่ยนเจ้าบ้านโดยเจ้าบ้านไม่ยินยอม ตัวอย่าง เช่น นาย ก เป็นเจ้าของบ้านและเจ้าของกรรมสิทธิ์
ที่ดิน แต่งตั้ง นาง ข เป็น เจ้าบ้าน จากการเป็นเจ้าบ้านนี้เอง นาง ข ชอบไปถอนชื่อคนอื่นออกจากสาเนา
ทะเบียนบ้านโดยไม่บอกใคร ไม่พอใจใครก็ไปถอนออก ปัญหาที่สาคัญเกิดจากความเข้าใจผิดเรื่องการเป็นเจ้าบ้าน
กับการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เพราะการเป็นเจ้าบ้านแม้จะเป็นหัวหน้าครอบครองในฐานะเจ้าของก็อาจเป็นในฐานะ
ผู้เช่า หรือ ในฐานะอย่างอื่นก็ได้ ตามกฎหมายเจ้าบ้านไม่จาเป็นต้องเป็นเจ้าของก็ได้ เมื่อเป็นความเข้าใจทั่วไป
ของประชาชน ทุกคนคิดว่าหากเป็นเจ้าบ้านแล้วเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ด้วย และทาให้เกิดเป็นปัญหา บางคน
เอาทะเบียนบ้าน ไปจานา จานองกันจนเป็นคดีขึ้นสู่ศาล ฟ้องร้องบังคับกันและทะเบียนบ้านไม่ใช่หลักฐานแสดง
กรรมสิทธิ์ เพียงเป็นหลักฐานแสดงสถานะของครอบครัว และบุคคลในครอบครัวนั้น
ดังนั้นเมื่อนางข. ไปเป็นเจ้าบ้านจึงเป็นผู้ที่มีสิทธิจะให้ใครเข้ามาอยู่หรือออกไปก็ได้ แต่ก็ต้อง
อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายด้วย กล่าวคือกฎหมายให้อานาจเจ้าบ้านแจ้งการย้ายที่ อยู่ต่อนายทะเบียน
เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้านให้แจ้งการย้ายออกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก
กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง
การสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดิน ที่ตนเป็นเจ้าของโฉนดที่ดิน การปลูกสร้างนั้นต้องถือว่าเป็นส่วนควบ
กับ ที่ดิน และเป็นเจ้าของบ้านด้วย หากคนอื่นเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของที่ดินต้องทาหนังสือ สัญญา
เป็นข้อตกลงไว้เป็นหลักฐาน
ผู้มีสิท ธิ์ใ นที่ดิน คนอื่น ตามสัญญา ไม่ถือ ว่า เป็นทรัพย์ส่ว นควบ ผู้มีสิท ธิ์ ใ นที่ดิน เป็นเจ้าของสิ่ง
ปลูกสร้างนั้นเมื่อหมดสัญญา ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมทาให้ที่ดินกลับสู่สภาพเดิม ถ้าลงเสาเข็ม ก็ต้องขุด
ออกไปให้หมด ในสัญญายังมีข้อกาหนดรายละเอียดอีกมาก
ถ้าเจ้าของที่ดินไม่ให้รื้อถอนบ้านออก ก็ถือว่าเค้ายักยอกทรัพย์ แต่ถ้าไม่มีสัญญาก็ต้องแจ้งความ
หาพยานหลั กฐาน เพื่ อพิ สู จน์ ให้ ได้ ว่ า ใครเป็ นคนสร้ างบ้ านนั้ น ถ้ าเจ้ าของสิ่ งปลู กสร้ างเป็ นคนสร้ าง มี ชื่ อ
ในใบอนุญาตก่อสร้างขอบ้านเลขที่ ขอน้าขอไฟ เจ้าของที่ดินไม่ได้เกี่ยวข้อง บ้านก็เป็นของเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง
ถ้าเป็นการไม่ให้รื้อไป เจ้าของที่ดินก็ฟ้องศาล ถ้าเจ้าของบ้านปลูกสร้างโดยเจ้าของรับรู้และยินยอมแต่โ ดยดี
สิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นของเจ้าของปลูกสร้าง ถ้าเขาไม่ยอมให้รื้อถอนต้องจ่ายค่าปลูกสร้างให้ตามแต่ที่ตกลงกัน
การโอนสิ่งปลูกสร้าง
การโอนสิ่งปลูกสร้าง หรือการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จะต้องมีหลักฐานตามสัญญาที่ระบุ
การได้มาของสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ถ้าไม่มีหลักฐานการเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง ทาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สามารถ
จดทะเบียนให้ได้ มักจะเกิดปัญหาเมื่อมีผู้ยื่นขอจดทะเบียนโอนหรือจานองสิ่งปลูกสร้าง ทาให้ประชาชนผู้สุจริต
ได้รับความเดือดร้อน เช่น กรณีซื้อขายบ้าน ผู้ซื้อ ซื้อที่ดินพร้อมบ้าน แต่ในทางปฏิบัติผู้ประกอบการบางราย
จะให้ผู้ซื้อทาสัญญาจ้างเหมาปลูกบ้าน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าบ้านเป็นของผู้ซื้อ และในการจดทะเบียนก็ให้ระบุ
ในสัญญาขายว่า ขายเฉพาะที่ดิน หรือขายที่ดินเปล่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง ทาให้มีปัญหาตามมาว่า ผู้ซื้อมีกรรมสิทธิ์

ในบ้านหรือไม่ ตามกฎหมายถือว่ากรรมสิทธิ์ในบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นของเจ้าของที่ดินแล้วตามกฎหมาย
เรื่องส่วนควบ การโอนบ้านหรือสิ่งปลูกสร้าง จะต้องจดทะเบียนด้วย
ส่วนกรณีที่มีผู้โต้แย้งว่า แม้ตามกฎหมายจะถือว่าบ้านเป็นส่วนควบของที่ดิน แต่หากไม่จดทะเบียน
การได้มา ก็จะเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้นั้น ซึ่งกฎหมายอื่นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือ
ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทาเป็นหนังสือและได้จดทะเบียน
การได้มากับเจ้าหน้าที่
ถ้ามีผู้ได้มาเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ยังมิได้จดทะเบียนจะเปลี่ยนแปลง
ทางทะเบียนมิได้และห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต
ดังนั้น กรณีที่ปรากฏว่าการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ในหนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่า
ขายที่ดินเปล่าไม่รวมสิ่งปลูกสร้าง หรือไม่มีสิ่งปลูกสร้าง หากข้อเท็ จจริงขณะที่ซื้อที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างปลูกอยู่
และผู้ซื้อ ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย สิ่งปลูกสร้างนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อโดยหลักกฎหมาย
เรื่องส่วนควบ แม้มิได้ จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม เมื่อผู้ซื้อประสงค์จะขายที่ดินพร้อม
สิ่งปลูกสร้างต่อไป ย่อมโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้
สรุป
การมีที่ดินอยู่ในการครอบครอง ควรที่จะรู้ ถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนเองว่า เป็น เจ้าของที่ดิน
ประเภทใดและจะต้องรู้ด้วยว่าเมื่อมีที่ดินอยู่ในครอบครองแล้วจาเป็นต้องรู้อะไรบ้าง เพื่อที่จะได้สิทธิครอบครอง
ที่ดินของตนเองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าเป็นโฉนดต้องไปจดทะเบียน ถ้าเป็นที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง
นั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น หนังสือรับรองการทาประโยชน์ (น.ส.๓, น.ส.๓ ก) หรือหนังสือแสดงสิทธิ
ครอบครอง (ส.ค.๑ หรือ ส.ป.ก.๔-๐๑) เป็นเอกสารสิทธิที่แสดงการครอบครองและใช้ประโยชน์ในการทากิน
เท่านั้น ไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ ส่วนการครอบครองปรปักษ์ ต้องครอบครองโดยสงบ เปิดเผยและเจตนา
เป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนในเรื่องเจ้าบ้าน
กับเจ้าของบ้าน สิทธิและหน้าที่แตกต่างกัน ตามหลักกฎหมายว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมีเจ้าบ้าน
มีฐานะเพียงแจ้งต่อนายทะเบียนเมื่อมีการเกิด การตาย แจ้งย้ายเข้า แจ้งย้ายออกจากบ้าน และเพื่อระบุว่าบุคคล
ที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน
ส่วนเจ้าของบ้าน คือ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน อันเป็นหลักฐานในการทาสัญญาซื้อขายการสร้าง
สิ่ง ปลูก สร้างในที่ดิน ที่ต นเป็น เจ้า ของโฉนดที่ดิน การปลูก สร้า งนั้นต้อ งถือ ว่าเป็น ส่ว นควบกับ ที่ดิน และ
เป็นเจ้าของบ้านด้วย หากคนอื่นเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของที่ดินต้องทาหนังสือสัญญาเป็นข้อตกลงไว้
เป็นหลักฐาน ส่วนการโอนสิ่งปลูกสร้าง หรือการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จะต้องมีหลักฐานตามสัญญาที่ ระบุ
การได้มาของสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ ถ้าไม่มีหลักฐานการเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง ทาให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ สามารถ
จดทะเบียนให้ได้ มักจะเกิดปัญหาเมื่อมีผู้ยื่นขอจดทะเบียนโอนหรือจานองสิ่งปลูกสร้าง ทาให้ประชาชนผู้สุจริต
ได้รับความเดือดร้อน
ดังนั้น การมีสิทธิครอบครองที่ดินจึงเป็นเรื่องสาคัญ และเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่ามาก จาเป็นต้องมี
ความรู้ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดิน เพื่อที่จะได้สิทธิการครอบครองที่ดินอย่างเต็มที่และถูกต้องตามกฎหมาย
ต่อไป
บรรณานุกรม
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินผู้อื่น จากเว็บไซต์ https://www.lawyers.in.th/๒๐๑๙/๐๓/๒๑/possession-
law-deatail/ สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓
การถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน จากเว็บไซต์http://statstd.nso.go.th/definition/projectdetail.aspx?periodId=
๘๕&defprodefId=๑๑๑๖ สืบค้นเมื่อ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓
กรรมสิทธิ์ที่ดิน สิทธิเจ้าบ้าน กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง จากเว็บไซต์ https://storylog.co/story/๕๙๖๒๒๙๔c
๗๖๓๔a๗a๖๑๓๑c๑๗b๑ สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๓
เกร็ดกฎหมายน่ารู้ จากเว็บไซต์https://www.senate.go.th/assets/portals/๙๓/fileups/๒๗๒/files/S%E
๐%B๙%๘๘ub_Jun/๑๒know/k๑๑๗.pdf สืบค้นเมื่อ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๓
กิตติคม พจนี . การครอบครองปรปั ก ษ์ ข้อกฎหมายควรรู้ จากเว็บไซต์ www.dotproperty.co.th สื บค้น
เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓
บุญลอง นรจิตต์ .เจ้าบ้านกับสิทธิทางกฎหมาย จากเว็บไซต์ https://www.home.co.th/hometips/detail/
๗๕๔๓๔ สืบค้นเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๓

You might also like