You are on page 1of 5

Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

บทที่

1 ประวัติความเป็นมาของการถ่ายภาพ

1.1 จุดก�ำเนิดและพัฒนาการของการถ่ายภาพ
จุดก�ำเนิดและพัฒนาการถ่ายภาพแบ่งออกเป็น 2 ศาสตร์ คือ ศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์ เกี่ยวข้องกับเรื่องของกล้องถ่าย
ภาพ และศาสตร์ทางด้านเคมีซึ่งเกี่ยวข้องกับการท�ำปฏิกิริยาของพวกสารไวแสงกับวัสดุไวแสงเพื่อให้ปรากฏภาพออกมา
ศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์
ศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์เกิดขึ้นเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตศักราช โดยนักปราชญ์นาม อริสโตเติล ได้เขียนบันทึกไว้มี
ข้อความว่า “หากปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปในช่องเล็กๆ ของห้องมืด แล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15
ซม. จะปรากฏภาพในกระดาษที่มีลักษณะเป็นภาพจริงหัวกลับ แต่เป็นภาพที่ไม่ชัดเจนนัก”
หลักการของอริสโตเติลดังกล่าว น�ำมาซึ่งการพัฒนาห้องที่เรียกว่า “กล้องออบสคิวรา” ซึ่งแปลว่า “ห้องมืด”

“กล้องออบสคิวรา” ในยุคแรก นอกจากจะใช้เพื่อ
Reflex Camera
แสดงภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจแล้ว ยังสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์
อื่น ๆ เช่น เป็นเครื่องมือส�ำหรับจิตรกรในการช่วยลอกแบบ
วาดภาพทิวทัศน์ หรืองานทางด้านสถาปัตยกรรม จนกระทั่งใน
ช่วง ค.ศ. 1550–1573 มีการพัฒนากล้องออบสคิวราให้
มีประสิทธิภาพขึ้นโดยการน�ำเลนส์นูนใส่ในช่องหรือรูรับแสง
เพื่อท�ำให้ภาพสว่างขึ้น มีการประดิษฐ์ม่านบังคับแสง (Diaphragm)
เพิ่มเติมในกล้อง ท�ำให้ภาพชัดขึ้นและใช้กระจกเว้าเพื่อให้ได้
ภาพหัวตั้ง
ตัวอย่างกล้องออบสคิวราที่ปรากฏในประเทศไทย เช่น ที่วัดพระธาตุล�ำปางหลวง จังหวัดล�ำปาง ซึ่งภายในวิหาร
พระพุทธกับซุ้มพระบาท จะมีช่องเล็กๆ บนผนังที่มีแสงสว่างลอดเข้าไป โดยมีการน�ำผ้าขาวมาขึงหรือวางไว้บนโต๊ะเพื่อรับ
ภาพของพระธาตุที่ตกลงบนพื้นผ้าขาว ซึ่งสามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม
กล้องถ่ายภาพเริ่มมีวิวัฒนาการที่ชัดเจนขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1676 โดยมีการพัฒนาตัว “กล้องรีเฟรกซ์” ขึ้นมา โดย
Johann Sturm ชาวเยอรมันจึงได้ประดิษฐ์กล้องรีเฟลกซ์ (Reflex Camera) กล้องแรกของโลก โดยใช้กระจกเงาวางตั้งมุม
45 องศา เพื่อสะท้อนภาพให้สะดวกแก่การมองภาพ

ศาสตร์ทางด้านเคมี
ศาสตร์ทางด้านเคมีเพิ่งปรากฏออกมาในช่วงหลังจากที่มีการประดิษฐ์กล้องรีเฟลกซ์ ด้วยเหตุผลที่ต้องการบันทึก
ภาพที่มองเห็น อาจบันทึกไว้เป็นความทรงจ�ำหรือเป็นที่ระลึกจึงมีการคิดค้นขึ้นมาว่าท�ำยังไงถึงให้ภาพพวกนี้ปรากฏขึ้นมา
ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์หลายคนช่วยกันคิดค้นจนค้นพบลักษณะที่เป็นการให้สารไวแสงผสมผสานกันแล้วสามารถที่เกิดสีออก
มาได้หลังจากที่กระทบกับตัวแสงแล้ว
ช่วงประมาณปี ค.ศ.1727 ถึง ค.ศ.1777 เป็นช่วงที่มีการคิดค้นเรื่องของสารไวแสงขึ้นมา โดย Johann Heinrich
Schulze ชาวเยอรมัน ได้ท�ำการทดลองและค้นพบสารผสมของสารบางตัวที่เมื่อถูกแสงแล้วเกิดสีด�ำ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่
น�ำไปสู่การหาค�ำตอบว่าจะบันทึกภาพจากกล้องถ่ายภาพได้อย่างไร

1-1 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography)


Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

โดยมีนักวิทยาศาสตร์ทางยุโรปอีกหลายคนท�ำการทดลองแต่ก็ไม่สามารถบันทึกภาพให้ติดอยู่อย่างถาวรได้ ส่วน
ใหญ่จะเลือนรางและจางไปในที่สุด จนกระทั่งในช่วง ค.ศ. 1825 ถึง ค.ศ. 1840 เป็นช่วงที่ถือว่าการถ่ายภาพค่อนข้างได้รับ
ความนิยมมากขึ้น และเริ่มเป็นที่รู้จักกับคนทั่วไป โดยมีบุคคลที่ส�ำคัญของการถ่ายภาพอยู่ 3 ท่าน ประกอบด้วย

1) เนียพซ์ (Niepce)
โจเซฟ นีเซโฟร์ เนียพซ์ (Joseph Nicephore Niepce) ชาวฝรั่งเศส ได้ใช้แผ่นดีบุก
ผสมตะกั่วฉาบด้วยสารไวแสงจากยางไม้ใส่เข้าไปในกล้องออบสคิวราแล้วถ่ายภาพ จากนั้นน�ำ
แผ่นดังกล่าวไปล้างด้วยส่วนผสมของน�้ำมันจากต้นลาเวนเดอร์ ซึ่งเนียพซ์เรียกกระบวนการ
ถ่ายภาพนี้ว่า เฮลิโอกราฟ (Heliograph) มีความหมายว่า “ภาพที่วาดโดยพระอาทิตย์”
กระบวนการดังกล่าวท�ำให้ภาพที่ถ่ายออกมาเกิดภาพอย่างคงทนไม่เลือนหายไป ซึ่งนับได้ว่า
เป็นการบันทึกภาพถ่ายถาวรครั้งแรกของโลก
เนียพซ์ (Niepce) ผู้ถ่ายภาพ (ถาวร)
ภาพแรกของโลก ภาพที่มีชื่อเสียงของเนียพซ์ที่ผู้คนมักเข้าใจว่าเป็นภาพถ่ายถาวรภาพแรกของ
โลก ได้แก่ ภาพทิวทัศน์จากหน้าต่างบ้านของเขาที่เมืองแกรส (Grass) โดย
ใช้เวลาเปิดรับแสงนานถึง 8 ชม. แต่ต่อมาได้มีผู้ค้นพบภาพที่ถ่ายก่อนหน้า
นั้น เป็นภาพถ่ายงานแกะสลักคนจูงม้าซึ่งถ่ายก่อนภาพทิวทัศน์เป็นเวลา 1 ปี ท�ำให้
ประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพเปลี่ยนไป น่าเสียดายที่ต่อมาเนียพซ์ถึงแก่
กรรมโดยที่ยังไม่ได้พัฒนากระบวนการถ่ายภาพที่เขาคิดค้นให้มีประสิทธิภาพ
สูงสุด อย่างไรก็ตาม การค้นพบนี้ก็ท�ำให้พัฒนาการของการถ่ายภาพก้าว
กระโดดขึ้นอย่างมากในยุคนั้น
2) ดาแกร์ (Daguerre)
หลุยส์ จาเคอร์ แมนเด ดาแกร์ (Louis Jacques Mande Da-
guerre) บุคคลท่านนี้ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งการถ่ายภาพ” ผู้ท�ำให้ศาสตร์
ด้านนี้เป็นที่ยอมรับและได้แพร่กระจายสู่สังคมในวงกว้าง ดาแกร์เป็นนัก
วิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเช่นเดียวกับเนียพซ์ โดยหลังจากที่เนียพซ์ประสบ
ความส�ำเร็จในการบันทึกภาพให้ติดอยู่ถาวรได้แล้ว ปัญหาที่เนียพซ์ยังแก้ไม่
ได้ก็คือเรื่องความคมชัดของภาพถ่าย ดังนั้น เนียพซ์จึงตกลงท�ำการทดลอง
ร่วมกันกับดาแกร์ที่ก�ำลังศึกษาเรื่องการถ่ายภาพอยู่เช่นเดียวกัน ต่อมาเมื่อ
เนียพซ์ได้เสียชีวิตลง ดาแกร์จึงคิดค้นวิธีการถ่ายภาพแบบใหม่ขึ้นมา เรียก
ว่า ดาแกร์โรไทพ์ (Daguerreotype) โดยใช้แผ่นโลหะเงินที่ผ่านไอระเหย
ไอโอดีนในการถ่ายภาพ ซึ่งกระบวนการของดาแกร์ก็คือ น�ำแผ่นโลหะเงิน
มาอังด้วยไอของไอโอดีนก่อนใช้ถ่ายภาพ แล้วสร้างภาพและท�ำให้คงภาพ
ด้วยไอปรอท ระบบของดาแกร์ใช้ระยะเวลาในการถ่ายภาพสั้นลงเป็นหลัก ดาแกร์ (Daguerre) ผู้คิดค้นระบบดาแกร์โรไทพ์
ท�ำให้การถ่ายภาพได้รับความนิยมและแพร่หลาย
นาที และรายละเอียดภาพมีความคมชัดมากขึ้น

ภาพแรกที่ดาแกร์ท�ำส�ำเร็จจนได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการถ่ายภาพสมัยใหม่ มีชื่อว่า “ห้องภาพจิตรกร”


(The Artist’s Studio) โดยเป็นการถ่ายภาพวัตถุในห้องท�ำงานศิลปะ ซึ่งวัตถุที่ใช้เป็นแบบได้แก่ ภาพวาดและรูปแกะสลัก
ที่เป็นฝีมือของเขาเอง

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography) 1-2


Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เมื่อข่าวความส�ำเร็จแพร่ขยายออกไปท�ำให้ผู้คนสนใจเป็นอันมาก รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของสมาคม
วิทยาศาสตร์แห่งกรุงปารีสก็ได้มาขอศึกษาความรู้จากดาแกร์และน�ำไปเผยแพร่สาธิตต่อ และยังได้มีการเสนอรัฐบาลฝรั่งเศส
ให้ซื้อลิขสิทธิ์จากดาแกร์ ซึ่งภายหลังรัฐบาลก็ได้ประกาศให้กระบวนการ “ดาแกร์โรไทพ์” เป็นของสาธารณะ ผู้ใดจะน�ำไปใช้
ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ ต่อมารัฐบาลมีค�ำสั่งให้ดาแกร์สาธิตกระบวนการให้สาธารณชนได้ดู เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจ
วิธีการถ่ายภาพอย่างชัดเจน กล่าวกันว่าทุกครั้งที่การสาธิตจบลงผู้คนต่างพากันแย่งซื้ออุปกรณ์การสาธิตเสมือนหนึ่งว่าเป็นของ
ฝากจากรุงปารีส จนท�ำให้เกิดร้านขายอุปกรณ์เหล่านี้อยู่มากมายทั่วกรุงปารีส
ในบรรดาภาพที่มีชื่อเสียงทั้งหมดของดาแกร์ ภาพถ่ายเมือง
ปารีสซึ่งสาธิตให้สาธารณะชนได้ดูจนการถ่ายภาพแพร่หลายออกไป
ในวงกว้าง มีความน่าสนใจมาก ภาพนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นภาพถ่าย
บุคคลภาพแรกของโลก ดูผิวเผินก็คือภาพทิวทัศน์ทั่วไปมองไม่เห็นบุคคล
ใด ๆ ในภาพ แต่ถ้าสังเกตให้ดีที่บริเวณมุมล่างซ้ายของภาพจะเห็น
บุคคลคนหนึ่งก�ำลังยืนนิ่ง ๆ ให้ช่างขัดรองเท้า ค�ำถามก็คือ ท�ำไมจึงติด
อยู่เพียงคนเดียว ทั้งที่ในความเป็นจริงเมืองปารีสควรคลาคล�่ำไปด้วย
ผู้คน ที่เป็นเช่นนี้เพราะภาพนี้ใช้เวลาในการถ่ายนานกว่าสิบนาที ผู้คน
มีการเคลื่อนไหวเดินไปมาจึงท�ำให้กล้องไม่สามารถบันทึกภาพไว้ได้
ติดแต่อาคารบ้านเรือนถนนหนทาง ต้นไม้ ที่อยู่กับที่ และบุคคลคนนั้นที่ยืนนิ่งอยู่เป็นเวลานานพอที่กล้องจะบันทึกไว้ได้ จึง
กลายเป็นภาพถ่ายบุคคลคนแรกในประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ

3) ทัลบอท (Talbot)
วิลเลียม ฟอกซ์ ทัลบอท (William Fox Talbot) นักวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับสารเคมีไวแสงที่จะน�ำมาฉาบลงบน
กระดาษมาตั้งแต่ ค.ศ. 1833 จนกระทั่งใน ค.ศ. 1835 เขาก็ได้ค้นพบวิธีการที่เรียกว่า
“Photogenic Drawing” โดยหากน�ำ “เงินคลอไรด์” (Silver Chloride) ซึ่งเป็นสาร
ที่มีความไวต่อแสงสว่างไปฉาบลงบนกระดาษ แล้วลองน�ำใบไม้ ขนนก มาวางทับ
กระดาษใบนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือส่วนที่วัตถุทับอยู่จะเป็นสีขาวแต่ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะ
เป็นสีด�ำ เมื่อน�ำไปล้างในสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ จะได้ภาพที่มีลักษณะ
เป็นสีตรงข้ามกับต้นแบบคือ ขาวเป็นด�ำ และด�ำเป็นขาว หรือที่เรียกว่า “เนกาทิฟ
(Negative)” ซึ่งทัลบอทน�ำไปเป็นต้นแบบในการอัดภาพหรือท�ำส�ำเนา โดยภาพที่อัด
ออกมาได้นั้นก็จะเป็นภาพที่มีสีปกติคือ ขาวเป็นขาว ด�ำเป็นด�ำ หรือที่เรียกว่า “พอซิทิฟ
(Positive)” หลังจากนั้นทัลบอทก็ได้น�ำข้อค้นพบดังกล่าวไปใช้ในกระบวนการถ่าย
ภาพ ท�ำให้วิธีการของทัลบอทมีข้อที่ดีกว่าของ ดาแกร์ ตรงที่สามารถอัดภาพได้หลาย
ภาพตามที่ต้องการ แต่ก็ยังมีข้อด้อยตรงที่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ สีของภาพจะซีดจางลง ทัลบอท (Talbot)
ผู้คิดค้นระบบถ่ายภาพที่เป็นต้นก�ำเนิด
ของฟิล์ม

อย่างไรก็ตาม ต่อมาทัลบอทได้ปรับปรุงกระบวนการของเขาหลายขั้นตอนทั้งการถ่ายและการล้าง ท�ำให้ได้ภาพที่ดีขึ้น


เท่าเดิม ซึ่งเขาตั้งชื่อกระบวนการนี้ว่า “คาโลไทพ์” (Calotype) ซึ่งแปลว่า ความประทับใจในภาพที่สวยงาม แต่เพื่อน ๆ ของ
เขาแนะน�ำว่าควรใช้ชื่อ “ทัลบอทไทพ์” (Talbotype) และใน ค.ศ. 1844 ทัลบอทได้เผยแพร่ผลงานของเขาโดยเขียนหนังสือ
“The Pencil of Nature” แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการถ่ายภาพ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

1-3 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography)


Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

มีการคิดค้นกระบวนการกระจกเปียก (Wet Plate) กระบวนการกระจกแห้ง (Dry Plate)


และกระจกที่ไวแสงทุกสี (Panchromatic Plate) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายภาพสี ต่อมาได้มี
ค.ศ. 1851-1878
การปรับปรุงกระจกแห้งให้มีความไวแสงสูงขึ้น สามารถถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์
1/25 วินาทีได้ ซึ่งใช้เวลารับแสงเร็วกว่าเดิมถึง 50-60 เท่า

จอร์จ อีสท์แมน (George Eastman) ชาวอเมริกัน ได้ผลิตกล้องบ๊อกซ์ โกดัก (Kodak


Box Camera) ออกจ�ำหน่ายโดยใช้ฟิล์มกระดาษฉาบน�้ำยาม้วนยาวบรรจุในกล้องถ่ายภาพ สามารถ
ค.ศ. 1888 ถ่ายได้ 100 ภาพติดกัน เมื่อถ่ายแล้วต้องส่งไปล้างฟิล์มและอัดภาพที่บริษัท ท�ำให้มีผู้นิยมใช้มาก
ต่อมาได้พัฒนาฟิล์มเป็นวัตถุโปร่งใสแทนกระดาษซึ่งนับเป็นก้าวส�ำคัญในการผลิตฟิล์มสมัยต่อมา

บริษัท Kodak ได้ออกแบบกล้องไร้ฟิล์มขึ้นมาโดยใช้ Solid State CCD ของบริษัท


Fairchild Semiconductor กล้องตัวนี้หนัก 3.6 กก. บันทึกเป็นภาพขาว-ด�ำความละเอียดสูงถึง
ค.ศ. 1975 0.01 ล้านจุดภาพ (100x100 Pixel หรือ 10,000 Pixel นั่นเอง) ลงเทปบันทึกภาพ ใช้เวลา 23
วินาทีในการบันทึกภาพแรกส�ำเร็จในปี 1975 แต่กล้องตัวนี้ก็ไม่ได้มีการผลิตออกมาเพื่อจ�ำหน่ายแต่
อย่างใด นับเป็นจุดเริ่มต้นของกล้องถ่ายภาพระบบดิจิทัลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

1.2 การถ่ายภาพในประเทศไทย
หนังสือ “สยามประเภท” ฉบับวันที่ 11 เม.ย. 2444 บันทึกไว้ว่า การ
ถ่ายภาพเริ่มเข้ามาในเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระยาไทรบุรี ได้ส่ง
“รูปเจ้าวิลาต” (สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งประเทศ
อังกฤษ) ซึ่งเป็นภาพระบบดาแกร์โรไทพ์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย แต่พระองค์ไม่
ทรงเชื่อว่าเป็นรูปถ่าย ทรงเห็นว่าเป็นเพียงรูปเขียนอย่างแต่ก่อนมาเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ทรงให้น�ำรูปดังกล่าวไปแขวนที่ท้องพระโรง แต่ต่อมาถูกปลด
ออกไปติดที่อื่นเมื่อเซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตอังกฤษจะเข้ามาท�ำสัญญาทรง
พระราชไมตรีกับไทย จนปัจจุบันไม่มีผู้ใดพบเห็นภาพดังกล่าวอีกเลย

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography) 1-4


Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นอกจากนี้ ก.ศ.ร. กุหลาบ เจ้าของหนังสือ


เล่มเดียวกัน ยังกล่าวว่า “เรามีช่างถ่ายรูปครั้งแรก
ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) เป็นสังฆราช
ฝรั่งเศส ชื่อ ปาเลอกัว ส่วนคนไทยที่เป็นช่างถ่ายรูป
คนแรกคือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือนายโหมด
ต้นตระกูลอมาตยกุล ซึ่งเป็นศิษย์ของปาเลอกัวนั่นเอง”
(เอนก นาวิกมูล, 2530)

ตามประวัติศาสตร์แล้ว พระยากระสาปน์กิจโกศลเป็นช่างภาพที่
สนใจการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก ซึ่งจริง ๆ แล้วท่านรับราชการทางด้าน
เครื่องจักรและโลหะ ส่วนคนไทยที่เป็นช่างภาพอาชีพคนแรกคือ “หลวงอัคนีนฤมิตร”
หรือ “นายจิตร จิตราคนี” หรือ “ฟรานซิส จิตร” ซึ่งเป็นผู้เปิดร้านถ่ายรูปขึ้น
เป็นแห่งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2406 บริเวณเรือนแพหน้าวัดกุฎี
จีน ฝั่งธนบุรี (ปัจจุบันคือ วัดซางตาครูซ ตรงกันข้ามกับปากคลองตลาด) ร่วม
กับนายทองดี บุตรชาย ชื่อ “ร้านฟรานซิสจิตรแอนด์ซัน” ผลงานถ่ายภาพ
ของนายจิตร มีทั้งพระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ ภาพถ่ายของ
ขุนนาง ข้าราชการ วัด วัง บ้านเรือน และภาพเหตุการณ์ส�ำคัญต่าง ๆ ต่อมา พระยากระสาปน์กิจโกศล
ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนสุนทรสาทิสลักษณ์” หรือนายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 การถ่ายภาพได้รับความนิยมอย่างมาก ในสมัยรัชกาลที่ 5

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องของการถ่ายภาพ ทรงซื้อกล้อง


ถ่ายรูปหลายชุด และพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอองค์ละ 1 กล้อง
นอกจากนั้นยังมีกล้องถ่ายรูปติดพระหัตถ์เมื่อเสด็จประพาสที่ต่าง ๆ เสมอ ทั้งยังจัด
ให้มีการอวดรูปและประชันรูปขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยด้วย ในงานไหว้
พระพุทธชินราช ณ วัดเบญจมบพิตร ใน พ.ศ. 2447 และพ.ศ. 2448 ตามล�ำดับ จึง
ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระราชบิดาแห่งการถ่ายภาพไทย” และเพื่อเทิดพระ
เกียรติพระองค์ รัฐบาลไทยได้ก�ำหนดให้วันที่ 21 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น “วันนัก
ถ่ายภาพไทย”

นายจิตร จิตราคนี
หรือ “ฟรานซิส จิตร”

1-5 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography)

You might also like