You are on page 1of 10

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 อากาศรอบตัวเรา

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 ความสำคัญของอากาศ

ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 เวลา 1 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์
ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ว 6.1 ป.3/2 สืบค้นข้อมูลและอภิปรายส่วนประกอบของอากาศ และความสำคัญของอากาศ
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้
การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบาย
และตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด
1. ว 8.1 ป.3/1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
2. ว 8.1 ป.3/2 วางแผนการสังเกต เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้า โดยใช้ความคิด
ของตนเอง ของกลุ่ม และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
3. ว 8.1 ป.3/3 เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ และ
บันทึกข้อมูล
4. ว 8.1 ป.3/4 จัดกลุ่มข้อมูล เปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้และนำเสนอผล
5. ว 8.1 ป.3/5 ตั้งคำถามใหม่จากผลการสำรวจตรวจสอบ
6. ว 8.1 ป.3/6 แสดงความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มนำไปสู่การสร้างความรู้

7. ว 8.1 ป.3/7 บันทึกและอธิบายผลการสังเกต สำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริง


มีแผนภาพประกอบคำอธิบาย
8. ว 8.1 ป.3/8 นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา และเขียนแสดงกระบวนการ
และผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด

1. ทำกิจกรรมและสรุปผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับความสำคัญของอากาศได้ (P)
2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของอากาศได้ (P)
3. อธิบายความสำคัญของอากาศได้ (K)
4. เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิดช่างสงสัย และเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหา
ความรู้ (A)

สาระสำคัญ

อากาศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

สาระการเรียนรู้

ความสำคัญของอากาศ

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
 การอ่าน การเขียน การพูดหน้าชั้นเรียน
2. ความสามารถในการคิด
 การคิดวิเคราะห์ การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ การอภิปราย การสื่อความหมาย
การสืบค้นโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
 การแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอากาศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ใฝ่ เรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 4.2 แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม บันทึกความรู้ วิเคราะห์ สรุปเป็นองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้
ในชีวิตประจำวันได้

ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน ร่องรอยแสดงความรู้)

แผนภาพ ความสำคัญของอากาศต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

คำถามท้าทาย

อากาศมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ (engagement) (5 นาที)


1. ครูทบทวนความรู้และนำเข้าสู่กิจกรรมความสำคัญของอากาศ จากนั้นครูตั้งประเด็นปัญหา
เพื่อให้นักเรียนเกิดความสงสัยและต้องการหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยครู
ใช้คำถาม ดังนี้
1.1 อากาศมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ ใช้ในการหายใจของสิ่งมี
ชีวิต ช่วยในการสร้างอาหารของพืช)
2. ให้นักเรียนตอบคำถามในกระดาษที่ครูเตรียมให้

ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (exploration) (20 นาที)


1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษากิจกรรม เรื่อง ความสำคัญ
ของอากาศ ให้เข้าใจ
2. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของอากาศต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต จากนั้นนำผลการสืบค้นมาออกแบบวิธีนำเสนอ
ให้อยู่ในแบบที่น่าสนใจ

ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป (explanation) (20 นาที)


1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการสืบค้นหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
2. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการสืบค้น โดยครูถามคำถามหลังทำกิจกรรม ดังนี้
2.1 อากาศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างไร (ตัวอย่างคำตอบ อากาศ
ใช้ในการหายใจของสิ่งมีชีวิต ใช้ในการสร้างอาหารของพืช ช่วยห่อหุ้มโลก ป้ องกันรังสีจากดวงอาทิตย์
ช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ช่วยให้เกิดการลุกไหม้ของเชื้อเพลิง เป็ น
ตัวกลางในการเคลื่อนที่ของเสียง)
2.2 สรุปผลกิจกรรมนี้ได้อย่างไร (อากาศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต)
2.3 ให้นักเรียนลองคาดคะเนว่า ถ้าโลกของเรามีอุณหภูมิสูงกว่าปกติที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
จะมีผลต่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตในโลกหรือไม่ อย่างไร (มีผลต่อความเป็ นอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยสิ่ง
มีชีวิตไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูงได้ และจะตายในที่สุด)
จากนั้นให้นักเรียนตอบคำถามหลังทำกิจกรรม และฝึกนักเรียนถามคำถามที่สงสัยด้วยการ
ถามเพื่อนโดยไม่จำเป็นต้องถามครูอย่างเดียว
3. ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของอากาศให้ได้ประเด็นตามจุด
ประสงค์การเรียนรู้

ขั้นที่ 4 ขยายความรู้ (elaboration) (10 นาที)


ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนแผนภาพความสำคัญของอากาศต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
จัดทำเป็นชิ้นงาน ให้ได้ลักษณะ ดังนี้
2. อากาศช่วยในการสร้างอาหารของพืช
โดยแก๊สในอากาศที่พืชใช้ในกระบวนการ-
สังเคราะห์ด้วยแสง คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

1. อากาศใช้ในการหายใจของสิ่งมีชีวิต 3. อากาศช่วยให้เกิดการลุกไหม้ของเชื้อเพลิง
โดยแก๊สในอากาศที่พืช สัตว์ และมนุษย์ โดยแก๊สที่ช่วยให้ไฟติด คือ แก๊สออกซิเจน
ใช้ในการหายใจ คือ แก๊สออกซิเจน ความสำคัญของอากาศ
ต่อการดำรงชีวิต
ของสิ่งมีชีวิต
6. อากาศเป็ นตัวกลางในการเคลื่อนที่ของเสียง 4. อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้เหมาะสมกับ
การดำรงชีวิต โดยช่วยให้โลกไม่ได้รับความร้อน
ทำให้เราสามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ รอบตัวเราได้ มากเกินไปในเวลากลางวันและช่วยกักเก็บความร้อน
ไว้ ไม่ให้โลกเย็นลงอย่างรวดเร็วในเวลากลางคืน
5. อากาศช่วยห่อหุ้มโลก ป้ องกันรังสี
จาก
ดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก
แผนภาพ ความสำคัญของอากาศต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

ขั้นที่ 5 ประเมิน (evaluation) (5 นาที)


1. ให้นักเรียนประเมินตนเองโดยพูดแสดงความรู้สึกหลังการเรียนประเด็น ดังนี้
1.1 สิ่งที่ได้จากการเรียน
1.2 สิ่งที่ประทับใจในการเรียน
1.3 สิ่งที่ต้องการทราบเพิ่มเติม

2. ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน ดังนี้ สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกัน


สังเกตการตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน ศึกษาผลการประเมินตนเองของนักเรียนจากการพูด
แสดงความรู้สึกหลังเรียน ประเมินการสืบค้นของนักเรียน ประเมินแผนภาพ และประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ โดยใช้แบบประเมินตามสภาพจริง

การจัดบรรยากาศเชิงบวก

ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบคำถามโดยไม่ต้องกังวลเรื่องถูกผิด ช่วยกันปรับปรุงแก้ไข

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกชั้นเรียน

กิจกรรมเสนอแนะ

ให้นักเรียนประดิษฐ์ร่มชูชีพโดยใช้เชือกยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ผูกมุมทั้งสี่ของ


ผ้าเช็ดหน้า รวบปลายทั้งสี่ของเส้นเชือกเข้าด้วยกัน แล้วผูกกับถุงพลาสติกที่ใส่เหรียญบาทไว้ 1 เหรียญ
(ดังภาพ) ขยำร่มให้เป็นก้อนกลมแล้วขว้างขึ้นไปในอากาศ จากนั้นตอบคำถาม
1. เพราะเหตุใดร่มจึงตกลงมาอย่างช้า ๆ
(เพราะมีอากาศต้านการเคลื่อนที่ของผ้าเช็ดหน้า)
2. ถ้าเพิ่มจำนวนเหรียญในถุงพลาสติกเป็น
เชือก
5 เหรียญ ผลการทดลองจะเป็นอย่างไร (ร่มจะตกลงมาเร็วขึ้น)
3. ถ้าใช้ผ้าเช็ดหน้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (ใส่เหรียญใน ถุงพลาสติก

เหรียญบาท
ถุงพลาสติก 1 เหรียญ) ผลการทดลองจะเป็นอย่างไร
(ร่มจะตกช้าลง)

ความรู้เพิ่มเติมสำหรับครู

1. อากาศบริสุทธิ์ หมายถึง อากาศที่มีส่วนประกอบของแก๊สต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ คือ แก๊ส-


ไนโตรเจน 78 % ออกซิเจน 21 % คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ และแก๊สอื่น ๆ อีก 1 %
2. อากาศเสีย หมายถึง อากาศที่มีปริมาณแก๊สต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของอากาศ
เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีปริมาณฝุ่ นละออง แก๊สพิษ เชื้อโรค ละอองกัมมันตภาพรังสี เขม่าเจือปน
อยู่ในอากาศมากเกินไป จนก่อให้เกิดอันตรายต่อความเป็นอยู่ของคน สัตว์ พืช ตลอดจนทรัพย์สิน
ต่าง ๆ
3. สาเหตุที่ทำให้อากาศเสีย มี 2 ประการ คือ
3.1 จากธรรมชาติ เช่น ไฟป่ าทำให้มีเขม่า ควันลอยไปตามที่ต่าง ๆ การปะทุของภูเขาไฟ
ทำให้มีแก๊สชนิดต่าง ๆ รวมทั้งฝุ่ นละอองจำนวนมากฟุ้ งกระจายขึ้นไปในอากาศ
3.2 จากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น
- จากกิจกรรมด้านคมนาคมทำให้มีไอเสีย ซึ่งประกอบด้วยแก๊สชนิดต่าง ๆ เช่น
ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของกำมะถัน คาร์บอนมอนอกไซด์ ออกมาเจือในอากาศ
- จากกิจกรรมอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหาร
อุตสาหกรรมโลหะ กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งสำคัญที่ปล่อยสิ่งเจือปนออก
มาในอากาศทำให้อากาศเสีย
- จากกิจกรรมด้านการเกษตร เช่น การฉีดยาฆ่าแมลง ยาปราบวัชพืช การเผาไร่นา
ทำให้เกิดฝุ่ นละอองและสารเคมีเจือปนในอากาศ
- จากกระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศ เช่น การระเบิดหิน การก่อสร้าง
- จากการระเหยของแก๊สบางชนิดในขณะทำงาน เช่น พ่นสีรถยนต์ การทาแล็กเกอร์
- จากขยะมูลฝอยและของเสียต่าง ๆ เช่น กลิ่นเหม็นจากกองขยะ เชื้อโรคจากน้ำทิ้ง
และของใช้ในโรงพยาบาล
สาเหตุที่ทำให้อากาศเสีย ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
แบบประเมินการเรียนรู้
เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินการจัดกระทำและนำเสนอแผนภาพ
ระดับคะแนน
ตัวชี้วัด
4 3 2 1
การจัดกระทำและ จัดกระทำแผนภาพ จัดกระทำแผนภาพ จัดกระทำแผนภาพได้ จัดกระทำแผนภาพ
นำเสนอแผนภาพ อย่างเป็นระบบ และ อย่างเป็นระบบ มีการยกตัวอย่างเพิ่ม อย่างไม่เป็นระบบ
นำเสนอด้วยแบบ มีการจำแนกข้อมูลให้ เติม และนำเสนอด้วย และนำเสนอไม่สื่อ
ที่ชัดเจน ถูกต้อง เห็นความสัมพันธ์ แบบต่าง ๆ แต่ยัง ความหมาย และ
ครอบคลุมและมีการ และนำเสนอด้วยแบบ ไม่ครอบคลุม ไม่ชัดเจน
เชื่อมโยงให้เห็นเป็น ที่ครอบคลุม
ภาพรวม

เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินการแสวงหาแหล่งข้อมูล
ระดับคะแนน
ตัวชี้วัด
4 3 2 1
1. การวางแผน วางแผนที่จะค้นคว้า วางแผนที่จะค้นคว้า วางแผนที่จะค้นคว้า ไม่มีการวางแผนที่จะ
ค้นคว้าข้อมูลจาก ข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ ข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ ข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่ง
แหล่งเรียนรู้ ที่หลากหลายเชื่อถือได้ ที่หลากหลาย และเหมาะสม โดยมีครูหรือผู้อื่น เรียนรู้อย่างเป็นระบบ
และมีการเชื่อมโยง แต่ไม่มีการเชื่อมโยง แนะนำบ้าง
ให้เห็นเป็นภาพรวม ให้เห็นเป็นภาพรวม
แสดงให้เห็นถึงความ
สัมพันธ์ของวิธีการ
ทั้งหมด
2. การเก็บรวบรวม เก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูล ตามแผนที่กำหนด โดยคัดเลือกและ/ โดยไม่มีการคัดเลือก เป็นระยะ ขาดการประเมิน
ทุกประการ หรือประเมินข้อมูล และ/หรือประเมินข้อมูล เพื่อคัดเลือก
3. การจัดกระทำ จัดกระทำข้อมูลอย่าง จัดกระทำข้อมูลอย่าง จัดกระทำข้อมูลอย่าง จัดกระทำข้อมูลอย่าง
ข้อมูลและ เป็นระบบ มีการเชื่อม เป็นระบบ มีการ เป็นระบบ มีการยก ไม่เป็นระบบ และนำเสนอ
การนำเสนอ โยงให้เห็นเป็นภาพ จำแนกข้อมูลให้เห็น ตัวอย่างเพิ่มเติม ไม่สื่อความหมาย และ
รวม และนำเสนอด้วย ความสัมพันธ์ ให้เข้าใจง่ายและนำ ไม่ชัดเจน
แบบต่าง ๆ อย่างชัดเจน นำเสนอด้วยแบบต่าง ๆ เสนอด้วยแบบต่าง ๆ
ถูกต้อง ได้อย่างถูกต้อง แต่ยังไม่ถูกต้อง
4. การสรุปผล สรุปผลได้อย่างถูกต้อง สรุปผลได้อย่างกระชับ สรุปผลได้กระชับ สรุปผลโดยไม่ใช้ข้อมูล
กระชับ ชัดเจน และ แต่ยังไม่ชัดเจนและ กะทัดรัด แต่ไม่ชัดเจน และไม่ถูกต้อง
ครอบคลุม มีเหตุผลที่ ไม่ครอบคลุมข้อมูล
อ้างอิงจากการสืบค้น จากการวิเคราะห์ทั้งหมด
ได้
5. การเขียนรายงาน เขียนรายงานตรง เขียนรายงานตรง เขียนรายงานโดย เขียนรายงานได้
ตามจุดประสงค์ ถูก ตามจุดประสงค์อย่างถูก สื่อความหมายได้ ตามตัวอย่าง แต่ใช้ภาษา
ต้องและชัดเจน ต้อง และชัดเจน โดยมีครู หรือผู้อื่น ไม่ถูกต้อง และไม่ชัดเจน
และมีการเชื่อมโยง แต่ขาดการเรียบเรียง แนะนำ
ให้เห็นเป็นภาพรวม

ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________

ลงชื่อ__________________________(ผู้บริหารสถานศึกษา)
(__________________________)
_________/________/________
บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________

ปัญหา/อุปสรรค
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________

แนวทางแก้ไข
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________
________________________________________________________________________________

ลงชื่อ__________________________(ผู้บันทึก)
(__________________________)
_________/________/________

You might also like