You are on page 1of 16

ไพโรเทคนิ ค

บทที่ ๑
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไพโรเทคนิค
๑. กล่าวทั่วไป
ไพโรเทคนิคมาจากภาษากรีก คาว่า Pyro (Fire) และ Tekhnikos (“made by art”) เป็นอุปกรณ์ที่มี
การใช้งานกว้างขวางเกือบทุกประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส โดยทั่วไปใช้พลุ
เป็นยุทโธปกรณ์ในการส่องสว่าง สาหรับนาทาง หรือบอกตาแหน่งในการรบ หรือการลาเลียงทางการทหาร
และใช้ในงานแสดง งานบันเทิง งานเฉลิมฉลอง และในงานรื่นเริงทั้งในด้านวัฒนธรรมและทางศาสนา
ไพโรเทคนิคในกองทัพอากาศ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ไพโรเทคนิคทางทหาร และไพโรเทคนิค
ทางพลเรือน โดยบทที่ ๑ กล่าวถึง ประวัติและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไพโรเทคนิค บทที่ ๒ ไพโรเทคนิคทาง
ทหาร ได้แก่
- Flare LUU-2D/B
- Flare MJU-7A/B, M-206
- Aircraft Signal
- Pyrotechnic Pistol AN-M8
- Personnel Distress Signal Kit, A/P 25S-1, A/P 25S-5B
- AN-MK13 MOD O
- Ground Illumination Signal
- Flare, Surface Trip, M49A1
- Simulator, Projectile, Ground Burst, M115 A2
- Smokey Sam Simulator
และไพโรเทคนิคทางพลเรือน ได้แก่ พลุ, อักษรสวรรค์, สายธารา, Bengals และข้อบังคับในการผลิตดอกไม้ไฟ
และบทที่ ๓ ความปลอดภัยในโรงงานไพโรเทคนิค
๒. ประวัติศาสตร์ของไพโรเทคนิค
วิชาทางด้านไพโรเทคนิคเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว มีการพัฒนาจากอดีตถึงปัจจุบัน ดังนี้
ศตวรรษที่ ๑ จีน, อินเดีย ผสมดินประสิว, ซัลเฟอร์ และถ่านเข้าด้วยกัน
ศตวรรษที่ ๗ จีน ดินดา (Black powder)
ศตวรรษที่ ๘ ไบแซนเทียน ไฟกรีก (ซัลเฟอร์, ดินประสิว, การบูร, น้ามัน ฯลฯ)
ศตวรรษที่ ๑๒ อาหรับ ดินดาจากจีนเข้าสู่บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน
ค.ศ. ๑๒๓๑ จีน กาเนิดลูกระเบิดขว้างลูกแรก
ค.ศ. ๑๒๔๒ อังกฤษ เกิดนิยามคาว่าดินดา
ค.ศ. ๑๒๕๙ จีน พัฒนาปืนใหญ่กระบอกแรก
ค.ศ. ๑๓๒๖ ฟลอเรนซ์ พัฒนาปืนใหญ่กระบอกแรกในยุโรป
ค.ศ. ๑๓๖๐ เยอรมัน ค้นพบดินดาอีกครั้ง
ค.ศ. ๑๕๒๐ โปรตุเกส ปืนใหญ่กระบอกแรกบนเรือ(ใช้ดินดาที่เป็นผงละเอียด)
ค.ศ. ๑๖๐๓ ฮังการี ใช้ดินสาหรับระเบิดเหมืองแร่
ค.ศ. ๑๗๕๐ ฝรั่งเศส ค้นพบโพแทสเซียมคลอเรต
ฉบับปรั บปรุ งเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๒

ค.ศ. ๑๗๘๖ โรงงาน เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ครั้งแรกในโรงงานไพโรเทคนิคที่ผลิต


ดินดากับโพแทสเซียมคลอเรต
ค.ศ. ๑๘๓๘ ฝรั่งเศส ใช้ดินปืนกับกรดพิคริกสาหรับปืนใหญ่
ค.ศ. ๑๘๔๕ สวิตเซอร์แลนด์ ค้นพบดินระเบิด
ค.ศ. ๑๘๔๗ อิตาลี ค้นพบไนโตรกลีเซอรีน
ค.ศ. ๑๘๗๐ สวีเดน ค้นพบวัตถุระเบิดชนิดแรงสูงทาจากเมอร์คิวรี และไดนาไมท์
ค.ศ. ๑๘๗๔ เบลเยี่ยม ค้นพบการระเบิดเหมืองก๊าช (แอมโมเนียมไนเตรต)
ค.ศ. ๑๘๘๔ ฝรั่งเศส ค้นพบดินฐานเดี่ยวแบบควันน้อย
ค.ศ. ๑๘๘๘ สวีเดน ค้นพบดินฐานคู่แบบควันน้อย
ค.ศ. ๑๘๙๑ เยอรมัน พัฒนานา TNT ไปใช้ในยุทโธปกรณ์
ค.ศ. ๑๘๙๗ อังกฤษ ค้นพบสารคลอเรต
ศตวรรษที่ ๒๐ มีการพัฒนาวัตถุระเบิดประเภทเอมีน (Tetryl, Hexogen,
Octogen) พัฒนาวัตถุระเบิดพลาสติก และมีความเจริญก้าวหน้า
ในด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธเกิดขึ้นอย่างมาก
ประวัติของไพโรเทคนิคทางพลเรือน (FIRE WORK)
ศตวรรษที่ ๑ จีน ใช้ดอกไม้ไฟ (เสียงและควัน)
ศตวรรษที่ ๑๔ มาโคโปโล เดินทางมาถึงจีน
ค.ศ. ๑๔๘๗ อังกฤษ ใช้ดอกไม้ไฟกับงานราชาภิเษก
ค.ศ. ๑๕๓๐ ฝรั่งเศส (ปารีส) แสดงดอกไม้ไฟแบบมีแรงดัน
ค.ศ. ๑๖๑๒ ฝรั่งเศส (ปารีส) เป็นครั้งแรกที่มีการแสดงดอกไม้ไฟสมัยใหม่ในฝรั่งเศส
เนื่องในงานอภิเษกสมรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13
ค.ศ. ๑๗๐๐ อังกฤษ ก่อตั้งโรงงานผลิตดอกไม้ไฟชื่อ Brock , s Fire Work
ค.ศ. ๑๗๓๙ ฝรั่งเศส พี่น้องตระกูล Ruggieri เดินทางมาถึงฝรั่งเศส
ค.ศ. ๑๘๒๐ ฝรั่งเศส มีการแสดงดอกไม้ไฟโดยพี่น้องตระกูล Ruggieri
ค.ศ. ๑๘๐๖ ฝรั่งเศส ค้นพบส่วนผสมที่ให้เปลวไฟสีเขียวและสีแดง
ค.ศ. ๑๘๑๒ ฝรั่งเศส งานแสดงดอกไม้ไฟจากโรงงาน Ruggieri ครั้งแรก
ค.ศ.๑๘๑๕ นาเอาอลูมิเนียม และแมกนีเซียม มาใช้ในส่วนผสมไพโรเทคนิค
๓. นิยามและคาศัพท์ที่ใช้ในด้านไพโรเทคนิค
วิชาด้านไพโรเทคนิคจัดอยู่ในกลุ่มของวิชาด้านวัตถุหรือสารระเบิด ซึ่งแสดงอยู่ในรูปแผนผังดังนี้

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๓

 

 

 
HE LE

 
SHE PHE

 

SHE DYNAMITE

  จุดตัว ถ่วงเวลา
เวลาเวลา

สารที่ส ามารถระเบิดได้ (Explosible substance) หมายถึงสารใด ๆ ที่ส ามารถระเบิดได้ หรือ


สามารถทาให้เกิดความเสียหายแก่บริเวณรอบ ๆ ได้ในระหว่างเกิดปฏิกิริยาการแตกตัวทางเคมี (Chemical
decomposition) การระเบิดในที่นี้ หมายถึงการที่ระบบปล่อยก๊าซจานวนมาก ภายในระยะเวลาอันสั้น
ปฏิกิริยาการแตกตัวทางเคมี (Chemical decomposition) ของสารต่าง ๆ แบ่งตามระดับของความ
รุนแรงจากน้อยไปมากได้เป็น ๓ ระดับ คือ การเผาไหม้ธรรมดา การเผาไหม้ความร้อนสูง และการเผาไหม้ที่มี
การระเบิด
การเผาไหม้ธ รรมดา (Combustion) เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน (Exothermic) ปฏิกิริยาสามรถ
ดาเนินการต่อไปได้เอง การเผาไหม้ที่ผิว หน้าของสารระเบิด (Explosive substance) เป็นไปอย่างช้า ๆ
ความเร็วอยู่ในช่วงเมตรต่อวินาที ผลที่เกิดขึ้น คือ ความร้อน, ควัน, แสง ช่วงระยะเวลาที่เกิดปรากฏการณ์นาน
การเผาไหม้ ค วามร้ อ นสู ง (Deflagration) เป็ น ปฏิ กิ ริ ย าคายความร้ อ น (Exothermic) ปฏิ กิ ริ ย า
สามารถดาเนินการต่อไปได้เอง ความเร็วของการเผาไหม้ที่หน้าของสารระเบิด (Explosive substance) อยู่
ในช่วงเมตรต่อวินาที ถึงหลายร้อยเมตรต่อวินาที ผลที่เกิดขึ้นคือความร้อน และคลื่นความดันขนาด ๓๐๐๐-
๕๐๐๐ บาร์ ช่วงระยะเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ประมาณ ๑/๑๐๐๐ วินาที
การเผาไหม้ที่มีการระเบิด (Detonation) เป็นปฏิกิริยาความร้อน (Exothermic) ปฏิกิริยาสามารถ
ดาเนินไปได้เองจากคลื่นกระแทก (Shock wave) ที่เกิดขึ้น ความเร็วการเผาไหม้ที่ผิวหน้าสูงมาก อยู่ในช่วง
หลายพันเมตรต่อวินาที ผลที่เกิดดังคลื่นกระแทก ขนาด ๒๕๐๐๐๐ บาร์ ช่วงระยะเวลาที่เกิดปรากฏการณ์
ประมาณ ๑/๑๐๐๐๐ วินาที
สารที่สามารถระเบิดได้สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ สารระเบิด(Explosive substance) และ
สารที่ไม่ได้ถูกใช้เพื่อการระเบิด (Substances not used for their explosive properties) สารระเบิด

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๔

แบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ๓ ประเภท คือ วัตถุระเบิด (Explosives) ดินขับ (Propellant) และส่วนผสมไพโร


เทคนิค (Pyrotechnics composition)
๓.๑. วัตถุระเบิด (Explosives) หมายถึง สารซึ่งมีอัตราการแตกตัวแบบที่มีการระเบิด (Detonation)
แบ่ งได้เป็น ๒ ชนิด คือ วัตถุระเบิดแรงสู งไวมาก (Primary explosives) และวัตถุระเบิดแรงสู งไวน้อย
(Secondary explosives)
๓.๑.๑ วัตถุระเบิดแรงสูงไวมาก (Primary explosives) เป็นสารที่มีความไวสูงมากในการจุดตัว
จึงถูกใช้เพื่อเป็นตัวเริ่มต้น จุดวัตถุระเบิดแรงสูงไวน้อย หรือสารไพโรเทคนิค วัตถุระเบิดแรงสูงไวมากจะอยู่ใน
รูปของดินเริ่ม (Primer) มีหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานภายนอก ที่ไม่เกี่ยวกับไพโรเทคนิคให้เป็นพลังงานของ
ไพโรเทคนิค ตัวอย่างของวัตถุระเบิดแรงสูงไวมาก ได้แก่ ลีดเอไซด์ (Lead azide), สติปเนต (Styphnate),
เตตระซีน (Tetrazene)
๓.๑.๒ วัตถุระเบิดแรงสูงไวน้อย (Secondary explosives) เป็นสารที่มีความไวในการจุดตัว
น้อย จึงต้องอาศัยวัตถุระเบิดแรงสูงไวมาก ในการจุดตัวเสมอ แต่เมื่อจุตัวแล้ว จะมีความรุนแรงมากกว่าวัตถุ
ระเบิดแรงสูงไวมาก การใช้งานของวัตถุระเบิดแรงสูงไวน้อย แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ วัตถุระเบิดทางทหาร
และวัตถุระเบิดทางอุตสาหกรรม

กลไกไฟฟ้า ดินเริ่ม เปลวไฟ วัตถุระเบิดแรงสูง


ความร้อน วัตถุระเบิดแรงสูงไวมาก คลื่นกระแทก ไวน้อย
มาก
รูปที่ ๑.๑ กลไกการจุดตัวของวัตถุระเบิดแรงสูงไวน้อย

- วัตถุระเบิดแรงสูงไวน้อย ทางทหาร (Military explosives) โดยการนาวัตถุระเบิด


แรงสูงไวน้อยบรรจุในอาวุธ (ลูกระเบิด, จรวด, กระสุนปื น) เพื่อให้ผลของการระเบิดมีอานาจความรุนแรงและ
ทาลายสูง ได้แก่ ทีเอ็นที (Trinitrotoluene), เฮกโซเจน (Hexogen) หรือ RDX, ออกโตเจน (Octogen) หรือ
HMX, ไนโตรกัวนิดีน (Nitroguanidine), พีอีทีเอ็น (PETN), ไนโตรกลีเซอรีน , ระเบิดไดนาไมท์ (Dynamite
explosives), ระเบิดพลาสติก (Plastic explosives) ในฝรั่งเศสใช้ พีทีอีเอ็น (PEPN) เป็นส่วนผสมสาคัญ แต่ใน
อเมริกาใช้เฮกโซเจน (Hexogen) เป็นส่วนผสมสาคัญ
- วัตถุระเบิดแรงสูงไวน้อย ทางอุตสาหกรรม (Industrial explosives) สาหรับพลเรือน
โดยการนาเอาวัตถุระเบิดแรงสูงไวน้อยมาใช้ระเบิดหิน งานก่อสร้าง งานหลอมโลหะ เป็นต้น
๓.๒. ดิ น ขั บ (Propellant) เป็ น สารระเบิ ด ที่ มี ค วามเร็ ว ในการเผาไหม้ แ บบความร้ อ นสู ง
(Deflagration) ส่วนมากใช้ในอาวุธปืนและจรวดขับเคลื่อนแบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ ดินขับจรวด, ดินส่งกระสุน
และดินดา
๓.๒.๑ ดินขับจรวด (Rocket propellant) ประกอบดินขับ ๑ อัน หรือหลาย ๆ อันเข้า
ด้วยกัน ส่วนมากจะอยู่ในรูปของแข็ง ใช้พลักดันจรวดให้เคลื่อนที่ แบ่งได้เป็นหลายชนิด ได้แก่ ชนิด Double
base, Composite และ Liquid propellant
๓.๒.๒ ดินส่งกระสุน (Gun propellant) ใช้ขับเคลื่อนกระสุนปืน อาจอยู่ใ นรูปของผง ทรง
กลม แท่งทรงกระบอก แบ่งได้เป็นหลายชนิด ได้แก่ ชนิด Single base propellant (ส่วนประกอบสาคัญคือ
ไนโตรเซลลูโลส) ชนิด Double base (มีส่วนประกอบสาคัญ คือ ไนโตรเซลลูโลสและไนโตรกลีเซอรีน) และ
ชนิด Multibase powder (ส่วนประกอบของสารมากกวาหนึ่งชนิด)

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๕

๓.๒.๓ ดินดา (Black powder) ประกอบด้วย โพแทสเซียมไนเตรต, ซัลเฟอร์ และถ่าน ใช้


ในรูปของผงหรือในรูปที่อัดเป็นแท่ง
๓.๓ ส่วนผสมไพโรเทคนิค (Pyrotechnic composition) มีความเร็วในการเผาไหม้แบบธรรมดา
(Combustion) มีหลายประเภทดังนี้
๓.๓.๑ ส่วนผสมให้แสงสว่าง (Flare composition)
๓.๓.๒ ส่วนผสมให้ควัน (Smoke composition)
๓.๓.๓ ส่วนผสมทาให้เกิดเสียง (Sound composition)
๓.๓.๔ ส่วนผสมช่วยในการจุดตัว (Ignition composition)
๓.๓.๕ ส่วนผสมให้ความร้อน (Thermal composition)
๓.๓.๖ ส่วนผสมถ่วงเวลา (Delay composition)
๓.๓.๗ ส่วนผสมให้ก๊าซ (Gas composition)
๓.๓.๘ ส่วนผสมอื่น ๆ (Other composition)
๔. หลักการเคมีเบื้องต้นทางไพโรเทคนิค
ปฏิกิริ ย าเคมีข องไพโรเทคนิ คเป็น ปฏิกิริ ย าออกซิเ ดชัน -รี ดัก ชั น (Oxido-reduction) ซึ่ งเป็ นการ
ถ่ายทอดอิเล็กตรอนระหว่างอะตอม อิเล็กตรอนที่แลกเปลี่ยนเรียกว่า ไอออน อะตอมที่สูญเสียอิเล็กตรอนจะ
ถูกออกซิไดซ์ อะตอมที่รับอิเล็กตรอนจะถูกรีดิวซ์ สสารทั่วไปมีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง ตัวอย่าง เช่น Na+Cl - ,
Hg2+O2- โดยที่ Na+ เรียกว่า ประจุ ไฟฟ้าบวก และ Cl – ประจุไฟฟ้าลบ ประจุไฟฟ้าบวกสามารถสูญเสี ย
อิเล็กตรอนหนึ่ง สองหรือสาม อิเล็กตรอนได้โดยง่ายกลายเป็น แอนไอออน (Anions) ส่วนประจุไฟฟ้าลบ
สามารถ รับอิเล็กตรอนหนึ่ง สองหรือ สามอิเล็ กตรอนได้โดยง่ายกลายเป็น แคทไอออน (Cations) ปฏิกิริยา
ออกซิเดชัน-รีดักชัน ประกอบด้วยปฏิกิริยาดังนี้
๔.๑ การทรานซิชันของโลหะไปเป็นไอออน (Metal oxidation)
Cu  Cu2++2e
ในปฏิ กิ ริ ย านี้ ค อปเปอร์ ถู ก ออกซิ ไ ดซ์ เป็ น ปฏิ กิ ริ ย าออกซิ เ ดชั น คื อ การสู ญ เสี ย หนึ่ ง หรื อ หลาย
อิเล็กตรอน สารที่สามารถสูญเสียหนึ่งหรือหลายอิเล็กตรอน เรียกว่า ตัวรีดิวซ์ (Reducing agent) เพราะฉะนั้น
โลหะคือตัวรีดิวซ์
๔.๒ การทรานซิชันไอออนของโลหะ (Reduction of metalic ion)
Cu2++2e Cu อะตอมของโลหะทองแดงเกาะบนแผ่นสังกะสี
ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยารีดักชัน คือ การรับหนึ่งหรือหลายอิเล็กตรอน สารที่สามารถจับหนึ่งหรือหลาย
อิเล็กตรอนเรียกว่า ตัวออกซิไดซ์ (Oxidizing agent) สรุปเป็นสมการได้ดังนี้
Cu2++2e- Cu
-
(ตัวออกซิไดซ์ +ne ตัวรีดิวซ์)
2+
Cu /Cu เรียกว่าคู่ออกซิไดซ์/รีดิวซ์ (Oxidizing/reducing couple)
ตัวอย่างปฏิกิริยาออกซิโดรีดักชัน
Cu2++2e Cu ปฏิกิริยารีดักชัน
(ตัวออกซิไดซ์)
Zn Zn2+ + 2e ปฏิกิริยาออกซิเดชัน
(ตัวริดิวซ์)

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๖

การจัดจาพวก เซลไฟฟ้าเคมี ( Electrochemical classification)


Ag+ / Ag
Cu2+ / Cu
Pb2+ / Fb
Fe2+ / Fe
Zn2+ / Zn
Mn2+ / Mn
Al3+ /Al
Mg2+ / Mg
Na+ / Na
Ca2+ / Ca
Sn2+ / Sn
Ba2+/Ba

ในการเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ข องสารไพโรเทคนิค ต้องทาให้เกิดสมดุล ทางเคมีของ


ส่วนผสมไพโรเทคนิค โดยใช้สมการการสลายตัวของออกซิไดเซอร์ (1) กับสมการออกซิเดชั นของรีดิวเซอร์ (2)
และคานวณน้าหนักของธาตุต่างๆ (Stoichiometry) และสมดุลออกซิเจน (Oxygen balance) ตัวอย่างเช่น
ปฏิกิริยาแมกนีเซียมกับแบเรียมไนเตรต
(1) Ba(NO3) 2  BaO+5/2 0 2 + N 2
(2) Mg +1/2 02  MgO
(1)+(2) Ba(NO3)2 + 5Mg  5MgO+BaO+N2
ออกซิเจนที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยา = ออกซิเจนที่ใช้ในปฏิกิริยา
การคานวณค่า K และ n เพื่อใช้สาหรับจัดประเภทของส่วนผสมไพโรเทคนิค
K = ค่าสัมประสิทธิ์รีดิวเซอร์ออกซิเดชัน
K= จานวนออกซิเจนอะตอมให้ออกมาจากออกซิไดเซอร์
จานวนออกซิเจนอะตอมที่ต้องการใช้ในการออกซิไดซ์รีดิวเซอร์
สาหรับส่วนผสมแสงสว่าง ( Flare composition) ควรมีค่า K อยู่ระหว่าง ๐.๕ ถึง ๐.๗
n = น้าหนักของออกซิเจนที่ให้ออกมาจากออกซิไดเซอร์–น้าหนักของออกซิเจนที่ใช้

คุณสมบัติทางฟิสิกส์ - เคมี ที่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา ได้แก่


- ความเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneity) ของส่วนผสม
- ขนาด (Granulometry ) ขนาดยิ่งเล็กอัตราเร็วของปฏิกิรยิ าสูงขึ้น เพราะฉะนั้นสามารถควบคุม
อัตราเร็วของปฏิกิริยาได้โดยการเลือกขนาดของสาร ตัวอย่างเช่น
ขนาดแมกนีเซียมในส่วนผสมแสงสว่าง(m) อัตราเร็วของปฏิกิริยา (ซม./นาที)
๔๕๐ ๘
๓๕๐ ๙
๑๕๐ ๑๕
๑๑๐ ๑๘

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๗

- พื้นที่ผิวเฉพาะ (Specific surface area) ทรงกลมที่มีรูพรุน หรือสารที่เป็นอสัณฐานที่มี เส้นผ่าน


ศูนย์กลาง D จะมีพื้นที่ผิวมากกว่าสารที่มีลักษณะเป็นทรงกลมเรียบหรือผลึกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากัน
เนื่องจากปฏิกิริยาเกิดขึ้นบนพื้นที่ผิวสาร สารที่มีพื้นที่ผิวเฉพาะมากจะมีอัตราเร็วของปฏิกิริยาสูงขึ้น
- ความชื้น (Humidity) การใช้น้าในไพโรเทคนิคต้องถูกจากัด การควบคุมสารระเหยในวัตถุดิบเป็นสิ่ง
สาคัญ เพราะน้าทาให้อัตราเร็วของปฏิกิริยาลดลง จึงต้องถูกขจัดออกไปโดยทาให้แห้ง
- ความบริสุทธิ์ (Purity) วัตถุดิบต้องบริสุทธิ์เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยทราบชนิดของความบริสุทธิ์ของ
สาร เช่น ทราบปริมาณของสารไม่บริสุทธิ์ที่มีอยู่ในผงของสารหรือปริมาณสารละลายที่ใช้
ผลของคุณสมบัติทางฟิสิกส์และสารเคมี สรุปได้ดังนี้ เมื่อขนาดของสารลดลงอัตราเร็วของปฏิกิริยา
เพิ่มขึ้น เมื่อพื้นที่ผิวเฉพาะเพิ่มขึ้นอัตราเร็วของปฏิกิ ริยาเพิ่มขึ้น ความชื้นเพิ่มขึ้น อัตราเร็วของปฏิกิริยาลดลง
อาจเกิดอันตราย เช่น น้าไม่สามารถใช้รวมกับแมกนีเซียม ความบริสุทธิ์น้อยลงความเสี่ยงการเข้ากันทางเคมี
ระหว่างสารไม่บริสุทธิ์กับส่วนประกอบอื่น ๆ
๕. ส่วนผสมไพโรเทคนิค (Pyrotechnic composition)
ส่วนผสมไพโรเทคนิค ประกอบด้วย ๓ ส่วนสาคัญ ๆ คือ สารให้ออกซิเจน (Oxidizer) สารเชื้อเพลิง
(Reducer) และสารช่วยในการเกาะยึด (Binder agent)
๕.๑ สารให้ออกซิเจน (Oxidzer) ในการเผาไหม้ธรรมดาต้องใช้ออกซิเจนจากอากาศ แต่ในการเกิด-
ปฏิกิริยาไพโรเทคนิคปริมาณออกซิเจนจากอากาศอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องอาศัยปริมาณออกซิเจนบางส่วน
หรือทั้งหมดจากสารให้ออกซิเจนด้วย คุณสมบัติของสารให้ออกซิเจน คือ
- มีปริมาณออกซิเจนสูงสุด
- ให้ออกซิเจนได้ง่ายในระหว่างการเผาไหม้ (Combustion)
- มีความเสถียรที่อุณหภูมิระหว่าง –๖๐ 0C และ +๖๐ 0C
- ไม่ทาปฏิกิริยากับน้า
- ไม่ดูดความชื้นหรือดูดความชื้นเพียงเล็กน้อย เพื่อประโยชน์ในการเก็บ
สารให้ อ อกซิ เ จนที่ ใ ช้ กั บ เป็ น หลั ก ได้ แ ก่ โพแทสเซี ย มไนเตรต, โพแทสเซี ย มคลอเรต,
โพแทสเซียมเปอร์คลอเรต และแอมโมเนียมเปอร์คลอเรต
๕.๑.๑ โพแทสเซียมไนเตรต (KNO3) จุดหลอมเหลว ๓๓๙ องศาเซลเซียส โพแทสเซียมไน
เตรต ๑ กรัม ให้ก๊าซออกซิเจน ๐.๑๕๘ กรัม หรือถ้ามีแมกนีเซียม (Mg) หรือซัลเฟอร์ (S) ให้ก๊าซออกซิเจนมาก
ถึง ๐.๓๙๖ กรัม ปฏิกิริยาการแตกตัวเป็นดังนี้
KNO3  KNO2 + O2 - 58.5 Kcal
คุณสมบัติของโพแทสเซียมไนเตรต ได้แก่
- ให้ก๊าซออกซิเจนที่อุณหภูมิสูง
- ไม่ระเบิดด้วยตัวเอง, ไม่เป็นพิษ
- ง่ายในการผลิต
- ดูดความชื้นเล็กน้อย
- ผลิตภัณฑ์ที่มโี พแทสเซียมไนเตรตเป็นองค์ประกอบจะมีคุณภาพและมาตรฐาน
๕.๑.๒ โพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) จุดหลอมเหลว ๓๖๘ องศาเซลเซียส โพแทสเซียมคลอ
เรต ๑ กรัม ให้ก๊าซออกซิเจน ๐.๓๙๒ กรัม ปฏิกิริยาการแตกตัวมี ๒ สมการ ณ อุณหภูมิ ๕๐๐ องศาเซลเซียส
และ ๖๐๐ องศาเซลเซียส ดังนี้

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๘

๕๐๐ องศาเซลเซียส , KClO3  KCl + 302 + 213Kcal


๖๐๐ องศาเซลเซียส , KClO3  K2O + Cl2 + 5/2O2 + 100 kcal
คุณสมบัติของโพแทสเซียมคลอเรต ได้แก่
- ดูดความชื้น
- ระเบิดได้ด้วยตัวเองถ้ามีประกายไฟ
- ทาปฏิกิริยากับฟอสฟอรัส (P) และซัลเฟอร์ (S)
- ง่ายในการผลิต
๕.๑.๓ โพแทสเซียมเปอร์คลอเรต (KClO4) จุดหลอมเหลว ๕๗๐ องศาเซลเซียส โพแทสเซียม
เปอร์คลอเรต ๑ กรัม ให้ก๊าซออกซิเจน ๐.๔๖๒ กรัม ปฏิกิริยาการแตกตัว เป็นดังนี้
KClO4  KCl + 2O2 + 0.-68 Kcal
คุณสมบัติของโพแทสเซียมเปอร์คลอเรต ได้แก่
- ให้ก๊าซออกซิเจนสูง มากกว่า โพแทสเซียมไนเตรต
- ระเบิดได้ด้วยตัวเอง ถ้าเกิดประกายไฟ
- ทาปฏิกิริยากับฟอสฟอรัส (P) ซัลเฟอร์ (S) และแอนติโมนีไตรซัลเฟอร์ (SbS3)
- มีความไวน้อยกว่า โพแทสเซียมคลอเรต
๕.๑.๔ แอมโมเนียมเปอร์คลอเรต (NH4ClO4) ไม่มีจุดหลอมเหลวเพราะว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
จะเกิดการแตกตัว (Decomposition) ปฏิกิริยาการแตกตัวเป็นดังนี้
NH4ClO4  N2 + 3H2O + 2HCl + 2.5O2
คุณสมบัติของแอมโมเนียมเปอร์คลอเรต ได้แก่
- อุณหภูมิที่จะเกิดการแตกตัว (Decomposition temperature) ที่ ๒๖๐ องศา
เซลเซียสถึง ๓๖๐ องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับสารเชื้อเพลิง (Reducer) ที่ใช้
- ความไวต่อสารเจือปน
- ระเบิดถ้าผสมกับโพแทสเซียมคลอเรต
สารให้ออกซิเจนยังมีอีก ๒ ชนิด ได้แก่ สารให้ออกซิเจนที่ทาให้เกิดสี (Color producing oxidizer)
และสารให้ออกซิเจนที่ให้คลอรีน (Chlorine producing agent)
ในผลิตภัณฑ์ไพโรเทคนิคบางชนิดที่ต้องการผลทางด้านสี จะใช้ประโยชน์จากสารให้ออกซิเจนที่ทาให้
เกิดสี หมายความว่า เป็นสารที่เป็นทั้งตัวให้ออกซิเจน และ เป็นตัวทาให้เกิดสีได้ในเวลาเดียวกัน สารประเภท
นี้ได้แก่ เกลือของโลหะเป็ นส่วนใหญ่ เมื่อเกลือของโลหะระเบิดกลายเป็นไอ อะตอมจะไปอยู่ในสภาวะเร้า
(Excited state) และเมื่ออะตอมกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ (Ground state) จะปลดปล่อยโฟตอนที่ความยาว
คลื่นต่าง ๆ กันขึ้นกับชนิดของเกลือของโลหะ ทาให้เป็นสีต่าง ๆ เกลือของโลหะที่ใช้ในการทาให้เกิดสีต่าง ๆ
ดังนี้
- สีแดง ได้จากสตรอนเทียมไนเตรต (Sr(NO3)2) สตรอนเทียมคาร์บอเนต (SrCO3) และ
สตรอนเทียมออกซาเลต (SrC2O4.H2O) ส่วนใหญ่จะใช้สตรอนเทียมไนเตรต สตรอนเทียมออกซาเลตไม่ค่อยใช้
เพราะว่ามีโมเลกุลของน้าอยู่ ถ้าโมเลกุลของน้าหลุดออกไป อาจจะทาปฏิกิริยากับสารชนิดอื่นได้
- สีเขียว ได้จากแบเรียมไนเตรต ((Ba(NO3)2) แบเรียมคาร์บอเนต (BaCO3) และแบเรียม
ออกซาเลต (BaC2O4) ส่วนใหญ่จะใช้แบเรียมไนเตรต แบเรียมคาร์บอเนตยากที่จะแตกตัว ต้องใช้อุณหภูมิสูง
มาก
- สีน้าเงิน ได้จากคอปเปอร์ซัลเฟต (CuSo4.5H2O)
- สีเหลือง ได้จากโซเดียมออกซาเลต (Na2C2O4) และโซเดียมคาร์บอเนต
ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๙

(Na 2CO3 .H2 O)


- สีส้ม ได้จากแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3)
สารให้ออกซิเจน ประเภทสุดท้าย คือ สารที่ให้คลอรีนด้วย ประโยชน์ของสารประเภทนี้คือเป็นแหล่ง
ของคลอรีนในส่วนผสมเพื่อทาหน้าที่ ทาให้สีเข้มขึ้น ประโยชน์อีกอย่างคือเป็นแหล่งของคลอรีนในสารช่วยยึด
เกาะ (Binding agent) เพราะสารยึดเกาะส่วนใหญ่เป็นพวกโมเลกุลออแกนิคที่มีอะตอมของคลอรีน ตัวอย่าง
ของสารให้ออกซิเจนที่ให้คลอรีนด้วย ได้แก่ โพลีเอทิลีนคลอไรด์ และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC)
๕.๒ สารเชื้อเพลิง (Reducer) ทาหน้าที่เป็นเชื้อเพลิงในขณะเกิดการเผาไหม้ สารเชื้อเพลิงมี
คุณสมบัติดังนี้
- สามารถเผาไหม้ได้โดยใช้ออกซิเจนปริมาณน้อยที่สุด
- ออกซิไดซ์ได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับสารให้ออกซิเจขนหรือออกซิเจนในอากาศ
- มีความเสถียรที่อุณหภูมิ ระหว่าง -๖๐ 0C และ +๖๐ 0C
- ไม่ทาปฏิกิริยากับกรดต่าง ๆ
- ไม่ดูดความชื้น
สารเชื้อเพลิงมี ๒ ชนิด ได้แก่ ชนิดที่เป็นสารอินทรีย์ (Organic) และชนิดที่เป็นสารอนินทรีย์
(Inorganic) สารเชื้อเพลิงที่เป็นสารอินทรีย์ ได้แก่ แลกโตส, ฟรุกโตส, แป้ง, น้ามัน (Oil), ผงสี สารชนิดนี้จัดว่า
เป็นสารให้ออกซิเจนระดับที่ ๒ เนื่องจากให้ออกซิเจนได้ยาก เผาไหม้ได้ยาก และต้องผสมกับสารให้ออกซิเจน
เช่น โพแทสเซียมคลอเรต สารเชื้อเพลิงเป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ผงโลหะต่าง ๆ ซึ่งจัดว่าเป็นสารเชื้อเพลิงที่
แท้จริง
๕.๒.๑ แลกโตส (Lactose) สูตรโมเลกุล C12H22O11H2O น้าหนักโมเลกุล ๓๖๐ กรัม จุดหลอม-
เหลว ๒๒.๘ องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิ ๑๕๐ องศาเซลเซียส โมเลกุลของน้าจะหลุดไป ให้พลังงาน ๖๕๑ กิโล
แคลอรีต่อกรัม ใช้ในส่วนผสมให้ควัน (Smoke composition) ข้อควรระวังในการใช้คือ ห้ามผสมกับคลอเรต
โดยตรงเพราะจะเกิดการระเบิดขึ้นได้
๕.๒.๒ แป้ง (Starch) สูตรโมเลกุล (C6H10O5) น้าหนักโมเลกุล ๑๖๒ กรัม ให้พลังงาน ๑.๕๕
กิโลแคลเลอรีต่อกรัม ใช้ในส่วนผสมให้ควัน (Smoke composition) และดอกไม้ไฟ (Fireworks) แป้งเมื่อทา
ปฏิกิริยากับน้าในสภาวะที่เป็นกรด จะได้กลูโคส (Glucose)
๕.๒.๓ ผงสี (Dyes and pigments) ใช้ในการทาควันสีต่าง ๆ ซึง่ แต่ละสีจะมีชอ่ื ทางเคมีนาหนั ้ ก
โมเลกุลและจุดหลอมเหลวที่แตกต่างกัน เช่น สีแดงใช้ 1 (Methylamine) Anthraquinone น้าหนักโมเลกุล
๒๓๗.๓ กรัม จุดหลอมเหลว ๑๖๕ - ๑๗๕ องศาเซลเซียส สีส้มใช้ 1 Amino 2 Methylanthraquinone น้าหนัก
โมเลกุล ๒๓๗.๒ กรัม จุดหลอมเหลว ๑๙๐ - ๒๐๒ องศาเซลเซียส โดยทั่วไปอุณหภูมิที่ทาให้ผงสีเกิดการ
ระเหิด ประมาณ ๒๓๐ - ๒๕๐ องศาเซลเซียส
๕.๒.๔ ผงโลหะ (Metal powders) แบ่งเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ ชนิดที่เป็นโลหะจริง ๆ (Al, Mg,
Zn, Al-Mg, Si-Al, Fe-Si) และประเภทธาตุกงึ่ โลหะ (Metaloids) เช่น P, S, C, Si2Ca
๕.๒.๔.๑ อลูมิเนียม (Aluminium) เป็นผงที่ใช้มากในส่ว นผสมไพโรเทคนิค ให้
พลังงานความร้อนสูงถึง ๓๙๓ น้าหนักอะตอม ๒๖.๙๘๒ กรัม ความหนาแน่น ๒.๖๙๙ (ผลึก) จุดหลอมเหลว
๖๖๐ องศาเซลเซียส จุดเดือด ๒๒๗๐ องศาเซลเซียส ประโยชน์ของอลูมิเนียม คือ มีความเสถียรในอากาศ
เนื่ อ งจากการก่ อ ตั ว เป็ น ชั้ น ของ Al2O3 บนผิ ว อลู มิเ นี ย ม นอกจากนี้ ยั ง มีค วามเสถี ย รในน้ าหรือ กรดที่
อุณหภูมิห้องเนื่องจากก่อตัวเป็นชั้นของ Al(OH)3 บนพื้นผิวอลูมิเนียม แต่ถ้าอยู่ในน้าหรือกรดหลายชั่วโมง ชั้น
ของ Al(OH)3 จะแตกและอาจจะเกิดปฏิกิริยาได้ ข้อเสียของอลูมิเนียม คือสึกกร่อนได้ง่ายถ้าสัมผัส กับสารแอล
คาไลน์ (Alkaline substances) ทาปฏิกิริยาที่รุนแรงกับไนเตรต เมื่อมีน้าอยู่ทาให้เกิด H2, NH3 และ NOx

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๑๐

ดังนั้นจึงไม่ควรใช้อลูมิเนียมร่วมกับโพแทสเซียมไนเตรต สตรอนเซียมไนเตรต แบเรียมไนเตรต หรือโซเดียมไน


เตรต ยกเว้น แอมโมเนียมเปอร์คลอเรต
๕.๒.๔.๒. แมกนีเซียม (Magnesium) น้าหนักอะตอม ๒๔.๓๑๒ กรัม ความหนาแน่น
๑.๗๔ จุดหลอมเหลว ๖๕๐ องศาเซลเซียส จุดเดือด ๑๑๐๗ องศาเซลเซียส ให้พลังงานความร้อน ๑๖๖ กิโล
แคลเลอรีต่อกรัมโมล
ข้อดีของแมกนีเซียม
- จุ ด เดื อ ดของแมกนี เ ซี ย มมี ค่ า น้ อ ยกว่ า จุ ด เดื อ ดของอลู มิ เ นี ย ม
แมกนีเซียมจึงระเหยเป็นไอได้ที่อุณหภูมิต่ากว่าอลูมิเนียม ดังนั้นจึงลุกไหม้ได้ง่ายกว่าอลูมิเนียม
- ให้สีของเปลวไฟได้ เมื่อใช่ร่วมกับสารให้ออกซิเจนเพียงชนิดเดียว เช่น ไน
เตรดเป็นลักษณะ เฉพาะ ของแมกนีเซียม
- ในระหว่าการทาปฏิกิริยา ถ้าปริมาณออกซิเจนของสารให้ออกซิเจนไม่
เพียงพอ แมกนีเซียมก็มีความสามารถ ในการนาเอาออกซิเจนจากอากาศมาใช้ได้
- ไม่ทาปฏิกิริยาหรือทาปฏิกิริยาเพียงเล็กน้อยกับเบส
ข้อเสียของแมกนีเซียม
- ให้พลังงานน้อยกว่าอลูมิเนียม
- ทาปฏิกิริยากับน้าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น Mg + 2H2 O  Mg(OH)2 + H2
- ทาปฏิกิริยารุนแรงกับกรด
- ทาปฏิกิริยารุนแรงกับแอมโมเนียมไนเตรต หรือแอมโมเนียมเปอร์คลอเรต
เมื่อมีน้า
- ทาปฏิกิริยากับซัลเฟอร์ ให้ H2S
โดยทั่วไป เมื่อมีการใช้แมกนีเซียม จะต้องมีการเคลือบแมกนีเซียมด้วย น้ามันพาราฟิน
หรือ โพแทสเซียมไบโครเมต (KCr2O7) หรือโพลีเอสเตอร์ (Polyester)
๕.๒.๕ ผงคาร์บอเนต (Carbonated powders) สูตรโมเลกุล C20H7O จัดเป็นคาร์บอนประเภท
อสัณฐาน น้าหนักโมเลกุล ๒๖๓ กรัม ใช้เป็นส่วนผสมสาคัญในส่วนผสมช่วยจุดตัว (Ignition composition)
ในดอกไม้ไฟ ช่วยเพิ่มความสว่างของเปลวไฟ
๕.๓ สารช่วยในการยึดเกาะ (Binders) ประโยชน์ของสารประเภทนี้มีดังนี้
- ช่วยให้ง่ายในการผลิตส่วนผสมไพโรเทคนิค เช่น ใช้เวลาในการจัดส่วนผสมเร็วขึ้น
- ช่วยให้อัดส่วนผสมบางชนิดได้ ส่วนผสมบางชนิดถ้าไม่มีสารช่วยในการยึดเกาะจะไม่สามารถ
อัดได้ไม่ว่าจะใช้แรงอัดมากเท่าไร ส่วนผสมก็ยังคงเป็นสภาพเป็นผง
- เพื่อลดความไวของส่วนผสมที่มีต่อน้า
- เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของส่วนผสมเมื่ออัดแล้ว
คุณสมบัติของสารช่วยในการยึดเกาะมีดังนี้
- ต้องทาให้สารยึดเกาะกันได้อย่างแข็งแรง
- ต้องช่วยสารที่รวมตัวเข้าด้วยกันยากรวมตัวกันได้
- ต้องไม่มีผลต่อการอบหรือขึ้นรูปส่วนผสม
- ต้องไม่ทาให้ส่วนผสมเกิดเป็นโพรงเมื่ออบให้แห้ง
- การละลายกับน้าหรือสารละลายได้แม้ในอุณหภูมิที่เย็น
- ไม่ทาให้ส่วนผสมเสื่อมสภาพเมื่อเก็บนาน ๆ

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๑๑

ตัวอย่างของสารช่วยในการยึดเกาะ ได้แก่ กัมอารบิก , อะคารอยเรซิน (Acaroid resin), แชลแลค


เดกตริน, น้ามัน (Standoil) น้ามันเมล็ดฝ้าย (linseed oil) น้ามันหล่อลื่น (Castor oil) และน้ามันเครื่อง
(Engine oil) เป็นต้น
๕.๓.๑ กัม (Gum) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากยางเหนียวของต้นไม้บางชนิด กัมอารบิก (Gum
arabic) ได้จากเม็ดสีดา สีแดง หรือสีเหลืองของต้น Australian shrub นามาผสมกับแอลกอฮอล์ หรืออะซีโตน
(Alcohol or acetone) ใช้ส่วนผสมให้ควัน (Smoke composition) หรือใช้ในผลิตภัณฑ์ของดอกไม้ไฟ
(Firework) ผสมในส่วนผสมประมาณ ๑-๕ % ของส่วนผสมทั้งหมด
๕.๓.๒ แชลแลค (Shellac) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารไฮโดรคาร์บอน
สูตรโมเลกุล C16H24O5 จุดหลอมเหลว ๗๐ - ๑๐๐ องศาเซลเซียส ใช้ผสมกับอัลลอยหรืออะซีโตนใช้ใน
ผลิตภัณฑ์พวกดอกไม้ไฟ ผสมในส่วนผสมประมาณ ๑ - ๑๕ % ของส่วนผสมทั้งหมด
๕.๓.๓ เดกตริน (Dextrin) เตรียมได้จากการให้ความร้อนและกรดแก่แป้ง เดกตรินมี ๓ ประเภท
คือ
- เดกตรินขาว (White dextrin) ไม่ละลายในน้า ใช้ในส่วนใหญ่ใช้ในทางเภสัชกรรม
ใช้ไม่มากในไพโรเทคนิค
- เดกตรินเหลือง (Yellow dextrin) ละลายในน้าได้ใช้ในส่วนผสมให้แสงสว่าง (Flare
composition) ผลิตภัณฑ์พวกดอกไม้ไฟ
- เดกตรินหวาน (Sweet dextrin) ละลายในน้าได้ ใช้ในส่วนผสมให้แสงสว่างและให้
ควัน (Flare and smoke composition)
๕.๓.๔ น้ามัน (Oil) ได้จาก ๒ แหล่งคือ จากพืช (Plant) และแร่ธาตุ (Mineral) ใช้ผสมใน
ส่วนผสม๑-๒ %ของส่วนผสมทั้งหมด ข้อดีของน้ามัน คือ ไม่ละลายในน้า จึงช่วยป้องกันส่วนผสมจากความ
เปียกชื้นได้ดี
๕.๓.๕ แป้ง (Starch) สูตรโมเลกุล (C6H10O5 ) เมื่อละลายในน้าจะได้ของเหลวมีลักษณะเหมือน
กาวใช้ผสมในส่วนผสม ๑ - ๑๕ % ของส่วนผสมทั้งหมด ใช้ในส่วนผสมให้ควัน (Smoke composition) เพื่อ
ทาให้เวลาในการเผาไหม้คงที่
๕.๓.๖ เรซิน (Resin) มี ๓ ชนิด คือ ฟินอลิกเรซิน (Phenolic resin) ใช้ในส่วนผสมให้แสงสว่าง
(Flare composition) และดินขับ (Propellant) โพลีเอสเตอร์เรซิน (Polyester resin) ใช้ในส่วนผสมให้แสง
สว่าง โพลียูรีเทนเรซิน (Polyurethane resin) ใช้ในส่วนผสมให้แสงสว่าง (Flare composition) และดินขับ
(Propellant) เรซินทาหน้าที่เป็นสารช่วยในการยึดเกาะและเป็นสารเชื้อเพลิงได้ด้วย ข้อควรระวังในการใช้
เรซิน คือความเป็นพิษของเรซิน และเรซินไม่สามารถเข้ากันได้กับสารบางอย่าง
นอกจากสารให้ออกซิเจน (Oxidizer) สารเชื้อเพลิง (Reducer) และสารช่วยในการยึดเกาะ(Binder) ซึง่
เป็นส่วนสาคัญในส่วนผสมแล้ว ยังมีสารอื่น ๆ อีก คือ
- สารเร่งปฏิกิริยา (Accelerator) เช่น สารออกาโนเมทัลลิก (Organometallic), เฟอร์โรเซนต์ และ
บิวทิลเฟอร์โรเซนต์ (Butyl ferrocene)
- สารหน่วงปฏิกิริยา (Modenators) เช่น Kieselghur (เป็นฟอสซิลชนิดหนึ่ง) ช่วยดูดความร้อนใน
กรณีที่ความร้อนของปฏิกิริยามากเกินไป
- สารช่วยให้เกิดความเสถียรและป้องกันการจับเป็นก้อน (Stabilizer and anticlodding agent)
เช่น ซิลิก้า (Silica) โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (Sodium hydrogen carbonate) แมกนีเซียมคาร์บอเนต
(Magnesium carbonate) และแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate)
๖. การแบ่งประเภทของส่วนผสมไพโรเทคนิค
ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๑๒

ส่วนผสมไพโรเทคนิคแบ่งเป็น ๖ ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้


- ส่วนผสมให้แสงสว่าง (Flare composition)
- ส่วนผสมให้ควัน (Smoke composition)
- ส่วนผสมช่วยในการจุดตัว (Ignition composition)
- ส่วนผสมถ่วงเวลา (Delay composition)
- ส่วนผสมดินขับ (Propulsive composition)
- ส่วนผสมทาให้เกิดเสียง (Sound composition)
๖.๑ ส่วนผสมให้แสงสว่าง (Flare composition) เงื่อนไขของส่วนผสมชนิดนี้คือ
- ต้องให้พลังงานแสงสว่าง (Lumen/second) และให้พลังงานความร้อนอย่างน้อย ๑๕ กิโล
แคลอรีต่อกรัม
- สเปกตรัมของแสงต้องใกล้เคียงกับสเปกตรัมของแสงอาทิตย์
- ต้องมีสัมประสิทธิ์ของแสงสว่าง (Luminous coefficient) สูง ซึ่งขึ้นกับอุณหภูมิ ปริมาณของ
อนุภาคของแข็ง หรืออนุภาคของเหลว และพื้นที่ผิวของการแผ่ (Radiation surface area)
- ความเร็วในการเผาไหม้ของส่วนผสมอยู่ในช่วงเป็นมิลลิเมตรต่อวินาที
แสงสว่างเกิดจากการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของแข็งหรือของเหลวที่อุณหภูมิสูง (มากกว่า ๒๐๐๐ องศา
เซลเซียส) และการเคลื่ อนที่ของอิเล็ กตรอนชั้นนอกสุ ด การเตรียมส่ วนผสมให้ แสงสว่าง ต้องเลื อกสารให้
ออกซิเจน (Oxidizer) และสารเชื้อเพลิง (Reducer) ให้เหมาะสม ส่วนประกอบอื่น ๆ ไม่เกิน ๑๐ - ๑๕%
๖.๒ ส่วนผสมให้ควัน (Smoke composition) ส่วนผสมชนิดนี้จะได้ควันออกมาเป็นจานวนมาก
ภายในระยะเวลาหนึ่ง การพิจารณาว่าลักษณะของควันดีห รือไม่ดูได้จากความหนาแน่นของควัน (Smoke
density) ไม่มีเปลวไฟติดกับควัน มีเถ้า (Slag) ที่เกิดจาการเผาไหม้น้อย และน้าหนักมาก การเตรียมส่วนผสม
ให้ควันมี ๒ แบบ
๖.๒.๑ ส่วนผสมแบบที่มีสารทาให้เกิดควัน ลักษณะการทางานดังนี้

ระเหิดกลายเป็นไอ

(Cooling)

รูปที่ ๑.๒ ส่วนผสมแบบที่มีสารทาให้เกิดควัน

สูตรส่วนผสมทั่วไป
- สารให้ออกซิเจน ได้แก่ โพแทสเซียมคลอเรต
- สารเชื้อเพลิง ได้แก่ สารให้ออกซิเจนระดับที่ ๒ เช่น แลกโตส น้าตาล
- สารให้ควัน ได้แก่ สารอินทรีย์ เช่น ผงสี
ตัวอย่างเช่น โพแทสเซียมคลอเรต ๒๕ %, แลกโตส ๒๕ %, ผงสีแดง (Red dye) ๕๐ %
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น คือ
4KClO 3 + C12H24O12  8KCI + 12CO2 + 12H2O + ความร้อนที่ทาให้ผงสีระเหิด

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๑๓

ลักษณะเฉพาะของสวนผสมแบบนี้ ใช้หลักการระเหิดของสารในการทาให้เกิดควัน อุณหภูมิในการเผา


ไหม้ต่า โดยทั่วไปน้อยกว่า ๕๐๐ องศาเซลเซียสและอัตราการเผาไหม้ช้า

๖.๒.๒ ส่วนผสมแบบที่มีสารที่ทาให้เกิดควันเมื่อมีการเผาไหม้

( )

รูปที่ ๑.๓ ส่วนผสมแบบที่มีสารทาให้เกิดควันเมื่อมีการเผาไหม้

สูตรส่วนผสมทั่วไป
- สารให้ออกซิเจน ได้แก่ โพแทสเซียมคลอเรต แอมโมเนียมหรือโพแทสเซียมเปอร์
คลอเรต แอมโมเนียมไนเตรต และเฮกซาคลอโรอีเทน
- สารเชื้อเพลิง ได้แก่ แคลเซียมซิลิไซด์ (CaSi2) ถ่าน แมกนีเซียม อลูมิเนียม
- สารอื่น ๆ ได้แก่ ไฮโดรคาร์บอน แนพทาลีน แอมโมเนียมคลอไซด์ ซิงค์ออกไซด์
แอนทาเซน
ตัวอย่างเช่น เฮกซะคลอโรอีเทน ๕๙ %, แมกนีเซียม ๑๘ %, แอนทาเซน ๒๓ %
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ
C2Cl 6+ 3 Mg + 0.65 C10H8 + 1.3 O2 (อากาศ)  3 MgCl 2 + 2.6 H2O + 8.5 C
ลักษณะเฉพาะของส่วนผสมแบบนี้ ใช้หลักในการเผาไหม้ในการทาให้เกิดควัน อุณหภูมิในการเผาไหม้
สูงอยู่ในช่วง ๖๐๐ องศาเซลเซียส ถึง ๒๐๐๐ องศาเซลเซียส ใช้อ อกซิ เ จนจากอากาศด้ว ย มีโ อกาสที่ จะเกิ ด
เปลวไฟ
สารอื่น ๆ (Additives) ที่ควรใส่ในส่วนผสมควันด้วย ได้แก่
- สารที่ช่วยทาให้เย็น (Cooler) และสารที่ช่วยดับเปลวไฟ (Flame extinguisher) เช่น
NaHCO3 , MgCO3 , CaCO3
MgCO3  MgO + CO2
NaHCO3  1/2 Na2CO3 + 1/2 CO2 + 1/2 H2O
Na 2CO3  Na2O + CO2
CaCO3  CaO + CO2
คุณสมบัติสาคัญของสารอื่น ๆ ที่เติมลงไป ทาให้อุณหภูมิการแตกตั วต่า ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
(CO2) ซึ่งช่วยดับเปลวไฟ และทาให้เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้มีน้อยและน้าหนักเบา
- สารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน ได้แก่ ซิลิก้า
- สารทาให้ความเร็วการเผาไหม้คงที่ ได้แก่ พาราฟิน

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๑๔

๖.๓ ส่วนผสมใช้ในการจุดตัว (lgnition composition) จุดประสงค์เพื่อทาให้ส่วนผสมไพโรเทคนิค


ลุกติดไฟได้ ลักษณะที่ต้องคานึงถึงส่วนผสมช่วยในการจุดตัว คือ ต้องช่วยในการติดไฟภายใต้ความร้อนต่า การ
เตรียมส่วนผสมช่วยในการจุดตัว มีหลักดังนี้
- ใช้สารให้ออกซิเจนที่ให้ออกซิเจนได้ง่าย เช่น เปอร์มังกาเนต, คลอเรต, ไนเตรต (ส่วนใหญ่จะ
ใช้โพแทสlเซียมไนเตรต)
- ใช้สารเชื้อเพลิงที่ถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย เช่น ถ่าน, แอนติโมนี, แมกนีเซียม, ซัลเฟอร์
ตัวอย่างสูตรผสมของส่วนผสมช่วยในการจุดตัวสาหรับสัญญาณควัน
- โพแตสเซียมไนเตรต ๖๓ %, ซัลเฟอร์ ๑๕ %, แอนติโมนี๑๑ %, ถ่าน ๑๑ %
- โพแตสเซียมคลอเรต ๓๕%, แลกโตส ๒๕ %, ถ่าน ๑๕ %, เดกตริน ๖ %, แอนติโมนี ๕ %
- ดินดา ( โพแตสเซียมไนเตรต ๗๕ %, ถ่าน ๑๕ %, ซัลเฟอร์ ๑๐ % )
ตัวอย่างสูตรส่วนผสมช่วยในการจุดตัวเพื่อต้องการพลังงานมากขึ้นโดยใช้สารเชื้อเพลิงที่มีพลังมาก
- โพแตสเซียมไนเตรต ๗๕ %, แมกนีเซียม ๑๕ %, แชลแลค ๑๐ %
ตัวอย่างสูตรส่วนผสมช่วยในการจุดตัวทางานแบบใช้การขัดสี (Friction)
- โพแตสเซียมคลอเรต ๖๓ %, แอนติโมนี ๓๐ %, เรซิน ๗ %
๖.๔ ส่วนผสมถ่วงเวลา (Delay composition) จุดประสงค์เพื่อให้มีช่วงเวลาระหว่างจุดตัวและผลที่
ต้องการให้เกิดขึ้น ส่ วนผสมแบบถ่ว งเวลาแบบเก่าใช้การอัดดินดาลงในท่อกระดาษ กฎที่ต้องคานึงถึงของ
ส่วนผสมถ่วงเวลา ได้แก่
- ส่วนผสมที่มีอัตราการเผาไหม้เร็ว จะให้ความร้อนสูงด้วย
- อัตราการเผาไหม้ และความไวของการจุดตัวขึ้นกับชนิดของสารให้ออกซิเจนที่ใช้
- คุณภาพ ขนาดอนุภาคของส่วนผสม สารเจือปน มีผลโดยตรงกับความคงที่การถ่วงเวลา
- เส้นผ่านศูนย์กลาง ความดัน ความหนาแน่น และชนิดของสารที่อยู่รอบ ๆ ส่วนผสมถ่วงเวลา
มีผลต่อเวลาถ่วงด้วยเหมือนกัน
หลักที่ต้องใช้ในการออกแบบหรือเตรียมส่วนผสมถ่วงเวลา
- ถ้าจะเพิ่มอัตราการเผาไหม้ให้สูงขึ้น ให้ใช้สัดส่วนของสารเชื้อเพลิงที่มีน้าหนักอะตอมสูง ๆ
- ถ้าจะลดอัตราการเผาไหม้ ต้องลดความร้อนที่เกิดขึ้นโดยใช้สารเชื้อเพลิงที่ให้ความร้อนน้อย
หรืออาจใส่ฉนวนป้องกันความร้อนลงไป
นอกจากนี้อาจมีข้อควรคานึงเวลาเตรียมส่วนผสม เช่น ขนาดอนุภาคส่วนผสมขนาดและคุณลักษณะ
ของสารเจือปน วิธีการอัดส่วนผสม การผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน และความชื้นขณะผสมและอัดส่วนผสม
๖.๕ ส่วนผสมดินขับ (Propulsive composition) มีหน้าที่ดันจรวด (Rocket) หรือส่วนอื่น ๆ ให้
เคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วสูง โดยมีแรงดันสูงที่ส่วนท้ายของจรวด ภายในระยะเวลาที่ต้องการส่วนผสมดินขับ
ต้องมีคุณลักษณะดังนี้
- มีความเร็วในการเผาไหม้ที่แน่นอน
- ให้ก๊าซจานวนมากจากการเผาไหม้
- ให้เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้น้อยที่สุด และสามารถถูกขับออกไปได้ง่าย
ส่วนผสมแบ่งตามหน้าที่ได้เป็น ๒ กลุม่ ส่วนผสมดินขับที่ใช้กับอาวุธ และส่วนผสมดินขับที่ทาหน้าที่ขับ
ดัน
๖.๕.๑ ส่วนผสมดินขับที่ใช้กับอาวุธ (Propulsive powders for weapons) แบ่งได้เป็น ๒
ชนิด คือ ดินดา (Black powder) และดินขับ (Organic propulsive powders)

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๑๕

๖.๕.๑ ๑ ดินดา (Black powder) ประกอบด้วยโพแตสเซียมไนเตรต, ซัลเฟอร์ และ


ถ่าน ปริมาณโพแตสเซียมไนเตรตมาก จะทาให้ดินดามีพลังมากขึ้น
ตารางแสดง ส่วนผสมของดินดา
ดินดา โพแตสเซียมไนเตรต (%) ซัลเฟอร์ (%) ถ่าน (%)
ดินดาที่ใช้ทางทหาร ๗๕ ๑๐ – ๑๒.๕ ๑๐ – ๑๒.๕
ดินดาดั้งเดิม ๖๒ ๒๐ ๑๘
ดินดาอย่างแรง ๗๕ ๑๐ ๑๕

คุณลักษณะของดินดา
- ระเบิดรุนแรง
- ลุกติดไฟได้ง่าย และลุกติดไฟเองที่อุณหภูมิ ๔๑๐ องศาเซลเซียส
- ไวต่อการกระแทกและเสียดสี
- ถ้ามีการสะสมเป็นฝุ่น จะเป็นฝุ่นที่อันตราย
- ทาให้อาวุธสกปรกหลังใช้งาน
๖.๕.๑.๒. ดินขับ (Organic propulsive powders) ส่วนผสมสาคัญคือ ไนโตรเซลลูโลส
ดินขับประเภทนี้สามารถแบ่งเป็น ๓ ชนิด ได้แก่ ชนิดฐานเดี่ยว ชนิดฐานคู่ และชนิดฐานสาม
ดินขับชนิดฐานเดี่ยว (Single base powder) ใช้ในอาวุธทุกขนาด
ส่วนผสมมีดังนี้
- ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose)
- เอทิลอีเทอร์ (Ethyl ether)
- เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol)
- สารอื่น ๆ เช่น ไดโนโตรโทลูอีน (Dintrotoluene) ช่วยทาให้เย็นลง
ดินขับชนิดฐานคู่ (Double-base powder) ใช้ในอาวุธขนาดใหญ่ ส่วนผสม
ประกอบด้วย
- ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose)
- ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine)
- เอทิลอะซีเตด (Ethyl acetate)
- ไดฟีนีลามีน (Diphenylamine)
- โพแตสเซียมซัลเฟต (Potassium sulfate)
- กัมอารบิก (Gum arabic)
ดินขับชนิดฐานสาม (Triple-base powder) ใช้ในอาวุธทุกขนาด ส่วนผสม
ประกอบด้วย
- ไนโตรเซลลูโลส (Nitrocellulose)
- ไดเอทิลีนกลีคอลไดไนเตรต (Diethylene glycol dinitrate)
- ไนโตรกัวนาดีน (Nitroguanadine)
- โพลีไวนิลไดไนเตรต (Polyvinyl dinitrate)
ประโยชน์ของดินขับเหล่านี้ คือ ให้ควันน้อย พลังงานสูง ควบคุมขีปนวิธีได้กว่าดินดา ผลิตเป็น
รูปร่างต่าง ๆ ได้ง่าย

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิค ๑๖

๖.๕.๒ ส่วนผสมดินขับดัน (Powders for self-propulsion) แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ ดินขับที่


เป็นของแข็ง (Solid Propellant) มีความเร็วต่าน้อยกว่า ๒๐ เมตรต่อวินาที ดินขับที่เป็นของเหลว (Liquid
propellant) ใช้ในยานอวกาศ และจรวด เช่น ออกซิเจนเหลว (O2) และไฮโดรเจนเหลว (H2) และดินขับที่เป็น
ทั้งของแข็งและของเหลว (Hybrid propellant)
๖.๖ ส่วนผสมทาให้เกิดเสียง (Sound composition) จุดประสงค์เพื่อเลียนเสียงอุปกรณ์ทางทหาร
เช่น ปืน หรือลูกระเบิด ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะเป็นการเผาไหม้ความร้อนสูง (Deflagration) หรือการเผาไหม้ที่
การเผาไหม้ทมี่ ีการระเบิด (Detonation) ซึ่งต้องใช้สารให้ออกซิเจนที่มีพลังงานสูงจาพวกเปอร์คลอเรต และใช้
สารเชื้อเพลิงที่เป็นผงโลหะ
ตารางแสดง ส่วนผสมเสียงระเบิด
เสียงระเบิด เสียงระเบิด เสียงระเบิด เสียงระเบิด
ส่วนผสม
เบอร์ ๑ เบอร์ ๒ เบอร์ ๓ เบอร์ ๔
โพแตสเซียมคลอ ๔๓
เรต ๕๐ ๘๔ ๗๒
โพแตสเซียมเปอร์ ๒๖ ๒๗ ๑๓
คลอเรต ๓๑ ๒๓ ๒๓ ๒๘
ซัลเฟอร์
อลูมิเนียม

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐

You might also like