You are on page 1of 34

มลภาวะทางอากาศ

บทนำา
มลภาวะทางอากาศ หรือ มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) หมายถึง ภาวะของอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ใน
ปริมาณที่มากพอ และเป็นระยะเวลานานพอที่จะทำาให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ อนามัยของมนุษย์ สัตว์ พืช และวัสดุ
ต่างๆ สารดังกล่าวอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำาของมนุษย์ หรือ
อาจอยู่ ใ นรู ป ของก๊ า ซ หยดของเหลว หรื อ อนุ ภ าคของแข็ ง ก็ ไ ด้ สารมลภาวะอากาศหลั ก ที่ สำา คั ญ คื อ ฝุ่ น
ละออง(SPM) ตะกั่ว (Pb) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน
(NOx) และก๊าซโอโซน (O3)
ระบบภาวะมลภาวะอากาศ (Air pollution System) มีส่วนประกอบ 3 ส่วน ที่มีความสัมพันธ์กัน คือ
แหล่งกำาเนิดสารมลภาวะ (Emission Sources) อากาศหรือบรรยากาศ (Atmosphere) และผู้รับผลเสียหรือผลก
ระทบ (Receptor) แสดงเป็นแผนภูมิความสัมพันธ์ดังรูป

แผนภูมิที่ 1 ระบบภาวะมลพิษทางอากาศ
ที่มา : http://www.aqnis.pcd.go.th/basic/pollution_basic.htm

(1)แหล่งกำาเนิดมลภาวะทางอากาศ (Emission Sources) เป็นแหล่งกำาเนิดที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ


และระบายออกสู่อากาศภายนอก โดยที่ชนิดและปริมาณของสารมลภาวะอากาศที่ถูกระบายออกสู่อากาศขึ้นอยู๋กับ
ประเภทของแหล่ งกำา เนิด สารมลภาวะอากาศ และวิ ธีก ารควบคุม การระบายสารมลภาวะอากาศ แหล่ งกำา เนิ ด
มลภาวะทางอากาศ ได้แก่
(2) อากาศหรือบรรยากาศ (Atmosphere) เป็นส่วนของระบบที่รองรับ สารมลภาวะอากาศที่ ถูก ระบาย
ออกจากแหล่งกำาเนิดต่างๆ และเป็นตัวกลาง (Medium) ให้สารมลภาวะอากาศที่ถูกระบายออกสู่อากาศ มีการแพร่
กระจายออกไป โดยมีปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา เช่น อุณหภูมิของอากาศ ความเร็ว และทิศทางกระแสลม รวมทั่ง
ลักษณะภูมิประเทศ เช่น ภูเขา หุบเขา และอาคารบ้านเรือน เป็นตัวกำาหนดลักษณะการแพร่กระจายของสารมลภาวะ
ในอากาศ
2

(3) ผู้รับผลเสียหรือผลกระทบ (Receptors) เป็นส่วนของระบบที่สัมผัสกับสารมลภาวะในอากาศ ทำา ให้


ได้รับความเสียหาย หรืออันตรายโดยผู้รับผลเสียอาจเป็นสิ่งที่มีชีวิต เช่น คน พืช และสัตว์ หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
เช่นเสื้อผ้า อาคาร บ้านเรือน วัสดุและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ความเสียหายหรือหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น จะมีความรุนแรง
มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความเข้มข้น ของสารมลภาวะในอากาศและระยะเวลาที่สัมผัส ผลกระทบจากมลภาวะทาง
อากาศสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
1.เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะระบบหายใจ มะเร็งผิวหนัง ระบบประสาท และอาจ
สะสมในเนื้อเยื่อร่างกายมลสารแต่ละชนิดจะเป็นผลกระทบต่อสุขภาพต่างกัน
2.สารพิษที่ระบายออกสู่บรรยากาศ บางชนิดคงตัวอยู่ในบรรยากาศได้เป็นเวลานาน และแพร่กระจาย
ออกไปได้ไกล บางชนิดเป็นปฏิกิริยาต่อกันและเกิดเป็นสารใหม่ที่เป็นอันตราย
3.ทำาให้เกิดฝนกรด โดยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่มีสารกำามะถัน
เจือปน เมื่อทำา ปฏิกิริยารวมตัวกับนำ้า และกลั่นตัวเป็นฝน จะมีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่ง
ก่อสร้าง
4.ทำา ให้ เ กิ ด ปรากฏการณ์ เ รื อ นกระจก (Greenhouse Effect) เกิ ด จากก๊ า ซคาร์ บ อนมอนอกไซด์
คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ออกไซด์ของไนโตรเจน โอโซน และสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) เมื่อลอย
ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ จะปกคลุมมิให้รังสีความร้อนจากผิวโลกระบายขึ้นสู่บรรยากาศระดับสูงขึ้นได้ ทำาให้เกิด
การสะสมความร้อนของผิวโลก

ปัญหามลภาวะทางอากาศ
ปัญหามลภาวะทางอากาศเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งนับวันจะทวีปัญหาเพิ่มขึ้น และ
ปัจจุบันก็จัดว่าเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมของโลกที่มีความสำาคัญยิ่งในการควบคุมและป้องกัน ทั้งนี้เป็นผลเนื่อง
มาจากจำานวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วการนำาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เป็นเครื่องอำานวยความสะดวก
แก่มนุษย์ขบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มขยายมากขึ้นทั้งประเภทและปริมาณโดยที่ประเทศต่างๆทั่วโลกได้
หันมาสนใจการพัฒนาประเทศมาสู่ระบบอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำาให้เกิดของเสียที่ปล่อยออกมาสู่อากาศภายนอก
จากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำานวนมาก รวมทั้งจำานวนยวดยานพาหนะบนท้องถนนที่นับว่าเป็นตัวการสำาคัญใน
การทำาให้เกิดมลภาวะทางอากาศ จากควันเสียและก๊าซพิษในเขตเมืองหลวงของประเทศต่างๆในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา
ที่อยู่ในรูปของก๊าซชนิดต่างๆมากขึ้น (gaseous pollution) อันเป็นผลมาจากการใช้นำ้ามัน และจากยวดยานพาหนะ
บนท้องถนน ซึ่งบางพื้นที่ก็ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม
มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นโดยควันนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของถ่านหิน ที่ใช้ใน
บ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม สำาหรับออกไซด์ของซัลเฟอร์นั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้ถ่านหิน และนำ้ามัน
ปิโตรเลี่ยมเป็นเชื้อเพลิงจึงเกิดการศึกษาค้นคว้าหาแหล่งพลังงานอื่นที่จะสามารถมาทดแทนและแก้ปัญหามลพิษ
ทางอากาศในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1900 ปริมาณการใช้นำ้ามันปิโตรเลี่ยมเป็นเชื้อเพลิงมีเพียงไม่มากนัก แต่ในช่วงหลังๆ
ได้มีการเพิ่มปริมาณใช้มากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลให้มีปริมาณของออกไซด์ของซัลเฟอร์ที่ถูกปล่อยออก
3

มามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และได้มีการนำาเอานำ้ามันเบนซินและ นำ้ามันดีเซลมาใช้ในยวดยานพาหนะ ซึ่งทำาให้เกิดมล


สารอันเป็นผลมาจากยวดยานพาหนะทางบกอันได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน อัลดีไฮด์ ออกไซด์
ของไนโตรเจน และออกไซด์ของซัลเฟอร์ ซึ่งปัญหาของมลพิษทางอากาศจะมากน้อยเพียงใด พิจารณาได้จากระดับ
หรือปริมาณของมลสารในอากาศ
องค์ประกอบของอากาศ
อากาศบริสุทธิ์ประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจนร้อยละ 78.09 โดยปริมาตร และก๊าซออกซิเจน ร้อยละ 20.94
โดยปริมาตร ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 0.97 ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซฮีเลียม ก๊าซอาร์กอน ก๊าซคริป
ตอน ก๊าซซีนอน ก๊าซอนินทรีย์และอินทรีย์ ซึ่งจะมีปริมาณเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์และเวลา และสถานที่
โดยประมาณ ร้อยละ 1-3 โดยปริมาตร ปริมาณไอนำ้า เหล่านี้อาจจะอยู่ในรูปของก๊าซหรือรวมตัวกันเป็นกลุ่มเมฆ
(could) หมอก (fog) หรื อ ละอองไอนำ้า (mist) ฝุ่น ละออง ซึ่งมี ข นาดตั้ งแต่ ข นาดโมเลกุ ล จนหลายสิบ ไมครอน
สำาหรับอากาศบริสุทธิ์ตามชนบทสามารถที่จะมีก๊าซ NO2, O3, SO2, CO และ NH3 ประกอบอยู่ได้ ก๊าซเหล่านี้จะมา
จากขบวนการทางธรรมชาติ แต่มีในปริมาณที่น้อยมาก โดยปกติแล้วก๊าซเหล่านี้ถูกจัดว่าเป็นมลสารที่ทำา ให้เกิด
มลพิษทางอากาศ
แหล่งกำาเนิดสารมลพิษทางอากาศ
แหล่งกำาเนิดมลพิษทางอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง ด้วยกันคือ
1. แหล่งกำา เนิดที่เกิดจากการกระทำา ของธรรมชาติ (Natural Sources) เป็นแหล่งกำา เนิดที่ก่อให้เกิดสาร
มลพิษอากาศตามกระบวนการทางธรรมชาติ ไม่มีการกระทำา ของมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เช่น ภูเขาไฟ
ระเบิด ไฟป่า ทะเล และมหาสมุทร ซึ่งเป็นแหล่งกำาเนิดของละอองเกลือ เป็นต้น
1.1 ภูเขาไฟ
ภูเขาไฟ เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษโดยทางธรรมชาติ มักจะปล่อยสารมลพิษได้แก่ ฟลูม ควัน
หรือ แก๊สต่างๆ เช่น SO2, H2S, CH4 ฯลฯ
1.2 ไฟไหม้ป่า
ไฟไหม้ป่า เป็นการเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยเฉพาะในฤดูร้อนซึ่งอากาศในบรรยากาศมีอุณหภูมิ
สูงและการเสียดสีของต้นไม้ใบหญ้าที่อยู่ในป่าทำาให้เกิดการลุกไหม้เป็นไฟขึ้น สารมลพิษที่อาจปล่อยออกมาจาก
การเกิดไฟไหม้ป่า ได้แก่ ควัน เถ้า หรือแก๊สต่างๆ เช่น CO, NOx, HC, SOx เป็นต้น
1.3 การเน่าเปื่อยและการหมัก
การเน่าเปื่อยและการหมักสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์โดยจุลินทรีย์หรือปฏิกิริยาเคมีอาจทำาให้
เกิดสารมลพิษออกสู่บรรยากาศ ได้แก่ ออกไซด์ของคาร์บอน แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟต์
1.4 การฟุ้งกระจาย
การฟุ้งกระจาย ของดิน เมล็ดพืช สปอร์หรือเกสรของพืชอาจก่อให้เกิดการปล่อยสารมลพิษในรูป
ของอนุภาคของของแข็ง เช่น ฝุน่ เปลือกของเมล็ดพืช หรือการฟุ้งกระจายของนำ้าทะเลหรือนำ้าในมหาสมุทร อาจก่อ
4

ให้เกิดมลพิษในรูปของแอโรซอล คือ มีทั้งอนุภาคของของแข็ง และของเหลวถูกปล่อยสู่บรรยากาศ เช่น อนุภาค


ของเกลือ
2. แหล่งกำาเนิดที่เกิดจากการกระทำาของมนุษย์ (Man-Made Sources)
แหล่งกำาเนิดที่เกิดจากการกระทำาของมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 แหล่งกำาเนิดที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile Sources) ได้แก่ รถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น
2.2 แหล่งกำา เนิดที่อยู่กับที่ (Stationary Sources) หมายถึง แหล่งกำา เนิดที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสารมลพิษอากาศเกิดจากการใช้เชื้อเพลิงและเกิดจากกระบวนการผลิตต่างๆ ดัง
ตัวอย่างในตารางที่ 1 ในหน้าถัดไป

ภาพที่ 1 สัดส่วนของแหล่งกำาเนิดมลภาวะทางอากาศ
ที่มา : http://www.ec.gc.ca/doc/media/m_124/brochure/images/BR_fig3_s_e.gif

(1) โรงงานอุตสาหกรรม: สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมาก ได้แก่ ฝุน่


ละออง เขม่าควัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนได
ออกไซด์ และก๊าซพิษอื่นๆ อีกหลายชนิด ซึ่งกระบวนการผลิตต่างๆ สามารถทำาให้เกิดสารมลพิษได้ ดังนี้
- กระบวนการเผาไหม้ของหม้อไอนำ้า เตาเผาซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการก่อให้เกิดพลังความร้อน เช่น
เตาเผาเพิ่ม ความร้ อ น เตาเผากำา จั ดของเสีย นอกจากจะทำา ให้ เ กิ ด SO2, NOx เขม่ า และ CO แล้ ว บางครั้ ง ก็ยั ง มี
ไฮโดรคาร์บอน ไฮโดรเจนคลอไรด์ และไดออกซินเกิดขึ้นอีกด้วย
- การถลุงและแปรรูปโลหะ ในกระบวนการถลุงแร่ เช่น การเผาและอบ จะเกิดการแพร่กระจาย
ของทองแดง ตะกั่ว สังกะสี แคดเมียม ปรอทและธาตุอื่นๆ ในสินแร่ในการอบแร่ที่ปนอยู่กับกำามะถัน นอกจากจะ
เกิด SO2 เป็นจำานวนมากแล้วก็ยังมี NOx และเขม่าเกิดขึ้นอีกด้วย
- การทำา งานเกี่ยวข้องกับวัตถุดิบที่ มีลักษณะเป็นผง เช่น การบดวัต ถุดิ บ การคั ดแยก การผสม
แปรรูปและการขนส่งที่จะก่อให้เกิดฝุน่ ละออง
- การกลั่นเชื้อเพลิงเหลว ซึ่งการใช้สารละลายและสีจะทำาให้เกิดไฮโดรคาร์บอน
- การแพร่กระจายของก๊าซพิษเกิดจากการจัดการที่ขาดความระมัดระวัง การกระจายของสารเคมี
5

ทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เป็นตั้น


- การก่อสร้างทำาให้เกิดฝุ่นละออง
(2) โรงงานไฟฟ้า (การผลิตพลังงานไฟฟ้า): สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานไฟฟ้าที่สำาคัญ
เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆอีกหลายชนิด ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อ
เพลิงเพื่อให้ได้กระแสไฟฟ้าออกมา
(3) การใช้เชื้อเพลิงภายในบ้าน:การเผาไหม้เป็นกระบวนการที่มีความจำา เป็นอย่างยิ่งในการดำารง
ชีวิตของมนุษย์ ในการประกอบกิจกรรมประจำาวันภายในบ้าน มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อนำาพลังงานความร้อนไป
ใช้ประโยชน์ต่างๆ ซึ่งการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงดังกล่าวอาจก่อให้เกิดก๊าซที่ไม่พึงประสงค์หลายชนิด เช่น ก๊าซ
คาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนและพวกอนุภาคมลสารต่างๆ
(4) กิ จการค้า สถาบั น และหน่ ว ยงานของรั ฐ : การประกอบกิจ การค้ า หรื อ การดำา เนิ น งานของ
สถาบันและหน่วยงานของรัฐ ย่อมมีการใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้เพื่อก่อให้เกิดพลังงานนำาไปใช้ประโยชน์ในรูป
ต่างๆ จะก่อให้เกิดสารมลพิษทางอากาศหลายชนิดเช่นเดียวกับการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในอาคารบ้านเรือน
(5) การเผาขยะมู ล ฝอย: การเผาขยะมู ล ฝอยจะก่ อ ให้ เ กิ ด สารมลพิ ษ ทางอากาศที่ สำา คั ญ เช่ น
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของกำามะถัน ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
ตารางที่ 1 ตัวอย่างมลพิษอากาศกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
6

ตารางที่ 1 (ต่อ)

ที่มา : รายงานสถานการณ์คณ
ุ ภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2540 สำานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม

สารมลพิษทางอากาศ (Air Pollutants )


ความหมายของสารมลพิษทางอากาศ
สารมลพิษทางอากาศ หมายถึง สิ่งแปลกปลอมในอากาศ ที่อาจจะอยู่ในรูปของก๊าซหรืออยู่ในรูปของ
อนุภาคที่ฟุ้งในอากาศ ซึ่งมีทั้งที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถฟุ้งอยู่ในอากาศชั่งคราวและตกลงสู่พื้นดิน หรืออาจจะเป็น
อนุภาคที่มีขนาดเล็กจนถึงเล็กมาก ที่สามารถอยู่ในสภาพแขวนลอยอยู่ในอากาศและเคลื่อนที่ได้ตามทิศทางลม
ในอีกแง่หนึ่ง สารมลพิษทางอากาศ หมายถึง สารใดๆ ก็ตามในอากาศซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์หรือสิ่ง
มีชีวิตอื่นๆ เป็นที่น่ารังเกียจหรือไม่พึงปรารถนาต่อมนุษย์โดยภายในหรือภายนอกร่างกาย หรือสารที่มีผลเสียต่อ
ความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยทางตรงหรือทางอ้อม สารนี้อาจเป็นก๊าซพิษไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีผลร้ายเรื้อรังต่อสิ่งมี
ชีวิต เนื่องจากตัวสารแต่ลำาพังหรือเมื่อรวมตัวกับสารอื่น หรือเป็นฝุ่นละอองที่น่ารำา คาญและอาจมีผลร้ายเช่นกัน
อาจเป็นกัมมันตภาพรังสีซึ่งมองไม่เห็นแต่เป็นอันตรายต่อเซลล์ที่มีชีวิต
ประเภทของสารมลพิษทางอากาศ
สารมลพิษทางอากาศ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. สารมลพิษที่มีลักษณะเป็นอนุภาค (Particulate Matter) เป็นอนุภาคสารมลพิษที่อยู่ในรูปของแข็งหรือ
ของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ อนุภาคจะมีขนาดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดและแหล่งที่ปล่อยออกมา โดย
จะมีขนาดตั้งแต่ 0.01-1,000 ไมครอน แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเล็กกว่า 50 ไมครอน อนุภาคที่ทำาให้เกิดปัญหาต่อ
สุขภาพและเข้าสู่ร่างกายได้ คือ อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน จะสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของ
7

ร่างกายมนุษย์ได้ อนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมครอน เรียกว่า สารอนุภาค (Suspended particulate


matter ) PM 10 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ฝุ่นละออง สามารถจะลอยและฟุ้กระจายอยู่ในอากาศได้เป็นเวลาค่อนข้าง
นาน โดยจะถูกแรงดึงดูดของโลกทำาให้ตกลงบนพื้น และอาจจะกลับฟุ้งกระจายขึ้นไปใหม่ได้ ขึ้นอยู่กับขนาด และ
นำ้าหนักของอนุภาคมลสารทีเ่ ป็นอนุภาค สามารถแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
(1) ฝุน่ ขนาดใหญ่ (grit) เป็นของแข็งที่สามารถลอยปะปนอยู่ในอากาศและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า
500 ไมครอน
(2) ฝุ่น (dust) เป็นอนุภาคของแข็งขนาดเล็กที่ลอยปะปนอยู่ในอากาศ เส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 0.25-500
ไมครอน อาจจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ก็ได้
(3) ละออง (mist) คือ อนุภาคที่เป็นของเหลวซึ่งเกิดจากการควบแน่นของไอหรือก๊าซบางอย่าง หรือเกิดจาก
การแยกตัวของของเหลวออกจากกระบวนการบางอย่าง เมื่อความเข้มข้นของละอองไอสูงจนลดความสามารถใน
การมองเห็น จะเรียกว่า หมอก (fog)
(4) ควัน (smoke) คือ อนุภาคของคาร์บอนที่รวมตัวกับ อนุ ภาคของของเหลวที่มาจากการเผาไหม้ที่ ไม่
สมบูรณ์ โดยทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.0 ไมครอน
(5) ไอควัน หรือ ฟูม (fume) คือ ของแข็ งที่มีขนาดเล็กกว่ า 1 ไมครอน ส่วนใหญ่เกิดจากการควบแน่น
(condensation) ของไอจากปฏิกิริยาทางเคมีบางอย่าง
(6) ละอองลอย (aerosol) คือ อนุภาคของของแข็งหรือของเหลวที่แขวนลอยอยู่ในบรรยากาศและมีเส้นผ่า
ศูนย์กลางน้อยกว่า 1.0 ไมครอน
(7) หมอกควัน (smog) เป็นสภาวะที่ใช้เรียกการเกิด smoke และ fog ร่วมกัน

ภาพที่ 2 องค์ประกอบของการเกิดหมอกควัน (smog)


ที่มา : http://www.davidsuzuki.org/files/WOL/recipe_smog.jpg

(8) ไอเสีย ประกอบด้วยอนุภาคซึ่งเกิดจากการกลั่นตัว sublimation หรือปฏิกิริยาเคมี ส่วนใหญ่แล้วขนาด


8

เล็กกว่า 1 ไมครอน ควันบุหรี่และไอระเหยของโลหะออกไซด์ที่กลั่นตัวเป็นตัวอย่างหนึ่ง


(9) ขี้เถ้า หรื อขี้เ ถ้าลอยที่ป ลิว ออกมากับ ไอเสียจากการเผาไหม้เ ชื้อ เพลิง ได้แ ก่ เชื้ อเพลิ งที่ เผาไหม้ไ ม่
สมบูรณ์ และแร่ธาตุต่างๆ
โดยสรุป ฝุน่ ขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน มาจากไอเสียรถยนต์ ปฏิกิริยาระหว่างก๊าซชนิดต่างๆ ควันไฟ พายุ
ฝุ่น ละอองนำ้าทะเล และโรงงานอุตสาหกรรม ฝุ่นขนาด 0.1-1.0 ไมครอน มาจากการรวมตัวของควัน ไอเสียกับไอ
นำ้า อนุภาคขนาด 0.4-0.9 ไมครอน เป็นตัวการในการกระจายแสงและทำาให้ท้องฟ้าขมุกขมัว ฝุ่นขนาดใหญ่กว่า 1.0
ไมครอน มาจากการรวมตัวใหญ่ขึ้นของควันไฟ ขีเ้ ถ้า ผงโลหะจากการขัดสี เกสรดอกไม้ และแมลง
1.1 ฝุ่นละออง (Suspended Particulate Matter: SPM)
ฝุ่นละออง เป็นสารที่มีความหลากหลายทางด้านกายภาพ และองค์ประกอบอาจมีสภาพเป็นของแข็งหรือ
ของเหลวก็ได้ ฝุ่นละอองที่มีอยู่ในบรรยากาศรอบ ๆ ตัวเรา มีขนาดตั้งแต่ 0.002 ไมครอน (เป็นกลุ่มของโมเลกุลที่
มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์แบบอิเลกตรอน ) ไปจนถึง ฝุน่ ที่ ขนาดใหญ่กว่า 500 ไมครอน (ฝุน่ ที่
มองเห็นด้วยตาเปล่ามีขนาดตั้งแต่50ไมครอนขึ้นไป) ฝุ่นละอองที่แขวนลอย อยู่ในอากาศได้นานจะเป็นฝุ่นละออง
ขนาดเล็ก (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตำ่ากว่า 10 ไมครอน) เนื่องจากมีความเร็วในการตกตัวตำ่า และจะแขวนลอยอยู่ใน
อากาศได้นานมากขึ้นหากมีแรงกระทำาจากภายนอกเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การไหลเวียน ของอากาศ กระแสลม
เป็นต้น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่ (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 100ไมครอน) อาจแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้
เพียง 2-3 นาที แต่ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะขนาดเล็กกว่า 0.5 ไมครอน อาจแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นาน
เป็นปีฝุ่นละอองในบรรยากาศอาจแยกได้เป็นฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นและแพร่กระจายสู่บรรยากาศจากแหล่งกำา เนิด
โดยตรงและฝุ่นละอองซึ่งเกิดขึ้น โดยปฎิกิริยาต่าง ๆ ในบรรยากาศ เช่นการรวมตัวด้วยปฎิกิริยาทางฟิสิกส์ หรือ
ปฏิกิริยาทางเคมี หรือปฎิกิริยาเคมีแสง (photochemical reaction) ฝุน่ ละอองที่เกิดขึ้นเหล่านี้
ฝุ่นละออง จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการ รวมตัวฝุ่นละออง เช่น ควัน (smoke) ฟูม (fume) หมอก
นำ้าค้าง (mist) เป็นต้น ฝุ่นละอองอาจเกิดจากธรรมชาติ เช่น ฝุ่นดิน ทราย หรือเกิดจากควันดำาจากท่อไอเสียรถยนต์
การจราจรและการอุตสาหกรรมฝุ่นที่ถูกสูดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ทำาให้เกิด อันตรายต่อสุขภาพ รบกวน
การมองเห็น และทำาให้สิ่งต่าง ๆ สกปรกเสียหายได้ในบริเวณ ที่พักอาศัยปริมาณฝุ่นละออง 30% เกิดจากกิจกรรม
ของมนุษย์ ส่วน บริเวณที่อยู่อาศัยใกล้ถนนฝุ่นละออง 70-90% เกิดจากการกระทำาของมนุษย์และ พบว่าฝุน่ ละอองมี
มีสารตะกั่วและสารประกอบโบไมด์สูงกว่าบริเวณนอกเมือง อันเนื่องมาจากมลพิษที่เกิดจากยานพาหนะ ฝุน่ ละออง
เมื่อแยกตามขนาด พบว่า 60% โดยประมาณ จะเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนฝุ่นประเภทนี้เกิดจากรถประจำา
ทางและรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลบางส่วนมาจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมากจะพบอยู่ทั่วไปในเขตเมือง
เขตอุตสาหกรรม และเขตกึ่งชนบท
ผลกระทบต่อสุขภาพ
การศึกษาวิจัยผลกระทบของฝุ่นละอองต่อสุขภาพของระบบทางเดินหายใจทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง
ในช่วงเดือนกันยายน 2537 ถึง เดือนสิงหาคม 2538 โดยใช้อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพทาง
9

ปอดเป็นเครื่องชี้วัดสถานะสุขภาพของเด็กนักเรียน 7-12 ปี จาก 6 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งอยู่ตามพื้นที่ที่


มีปริมาณฝุ่นละอองปริมาณระดับสูง (119.57 μg/m ) ปานกลาง (65.31-72. 7μg/m ) และตำ่า (54.75μg/m ) ผลการ
3 3 3

ศึกษาพบว่า อาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเกือบทุกอาการของนักเรียนในโรงเรียน ในกลุ่มที่มีปริมาณฝุ่น


ละออง (ขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน) อยู่ในระดับสูงและปานกลาง มีอัตราชุกสูงกว่านักเรียนในโรงเรียนที่มีปริมาณ
ฝุน่ ละอองในระดับตำ่าการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดและระดับซัลเฟอร์
ไดออกไซด์ในอากาศ ในช่วงเดือนตุลาคม 2537 ถึงเดือนกันยายน 2538 โดยศึกษาในกลุ่มผู้ใหญ่และเด็กที่อาศัยใน
พื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อำาเภอแม่เมาะ จังหวัดลำาปาง เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มเสี่ยงมีอัตราชุก
ของอาการทางเดินหายใจส่วนต้นสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำาคัญทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก
นอกจากนี้ ยั ง มี ผ ลการศึ ก ษาของนายแพทย์ ส ว่ า ง แสงหิ รั ญ วั ฒ นา และคณะ (2537) เรื่ อ งความเสื่ อ ม
สมรรถภาพของปอดในตำา รวจจราจรในกรุงเทพมหานคร พบว่า ตำา รวจจราจร 174 คน มี 30 รายที่ปอดเล็กลง
(Restrictive lungs) มี 11 รายมีหลอดลมขนาดเล็กตีบ (Small airway obstruction) และมี 3 รายมีหลอดลมขนาดใหญ่
ตีบ (Large airway obstruction) รวมทั้งสิ้นมีความผิดปกติของปอด (Abnormal pulmonary function) จำานวน 44 ราย
คิดเป็นร้อยละ 25.29

1.2 สารตะกั่ว
ตะกั่ว (Lead, Pb) เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่ง มีนำ้าหนักอะตอมเท่ากับ 207.19 มีสีเทาหรือขาวแกมนำ้าเงิน ถูก
ปล่อยเข้าสู่บรรยากาศในรูปของธาตุตะกั่ว (Pb) ออกไซด์ของตะกั่ว (PbO, PbO2, PbxO3) ตะกั่วซัลเฟต (PbSO4) และ
ตะกั่วซัลไฟต์ (PbS) ตะกั่วอัลคิล (Pb(CH3)4, Pb(C2H5)4) และตะกั่วเฮไลด์ สารตะกั่วเมื่อถูกปล่อยเข้าสู่บรรยากาศใน
รูปต่างๆแล้วเกาะอยู่กับฝุ่น สารประกอบของตะกั่ว (Tetraethyl Lead) มีสูตรเคมีคือ Pb(C2H5)4
แหล่งกำาเนิดของสารตะกั่ว
1. แหล่งกำาเนิดจากธรรมชาติ สารตะกั่วในธรรมชาติมาจากฝุ่นซิลิเกตของการผุสลายของดิน และการปล่อย
ออกมาจากภูเขาไฟ
2. แหล่งกำา เนิดที่เกิดจากการกระทำา ของมนุษย์ แหล่งในการปล่อยสารตะกั่วที่สำา คัญจากการกระทำา ของ
มนุษย์เกิดจากการสันดาปของนำ้า มันที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว การเผาไหม้ของของเสียต่างๆ ยาฆ่าแมลง และ
อุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น สารตะกั่วเป็นสารที่เติมในนำ้ามันเบนซิน ทำาหน้าที่คล้ายคะตะไลต์เท่านั้น สารตะกั่วที่
ระบายออกมาจากไอเสียจะมีขนาดเล็กประมาณ 0.5 ไมครอน หรือเล็กกว่านั้น
ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
การแพร่ กระจายของตะกั่ วโดยส่วนใหญ่ พบในอากาศที่ หายใจเข้าไป ในอาหาร, พืช , นำ้า ,ดิน และฝุ่น
เนื่องจากเมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วยากแก่การขับออกมาตะกั่วจึงสะสมในร่างกาย ในเลือด กระดูก และเนื้อเยื่ออ่อน
ตะกั่วสามารถมีผลกระทบต่อ ไต ตับ ระบบประสาทและอวัยวะ อื่น ๆ การปล่อยตะกั่วมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุ
ของโรคมะเร็งในเม็ดเลือด โรคไต ระบบสืบพันธุ์ และทำาให้ระบบประสาทผิดปกติ เช่น อาการชักกระตุก การผิด
10

ปรกติท างจิต และมี พฤติ กรรมผิด ปรกติ แม้ ต ะกั่ วจะถู ก ปล่ อ ยออกมาในระดั บ ตำ่า แต่ ก็ มี ค วามสัม พัน ธ์ กั บ การ
เปลี่ยนแปลงของระบบเอ็มไซม์ การส่งผ่านพลังงาน และขบวนการอื่น ๆ ในร่างกาย สำาหรับทารกและเด็กจะง่ายต่อ
การได้รับผลกระทบจากตะกั่วเป็นพิเศษ ซึ่งตะกั่วในระดับตำ่าจะทำาลายระบบประสาทส่วนกลาง และทำาให้เกิดการ
เจริญเติบโตช้าในทารกและเด็ก อันตรายของตะกั่ว ที่ถูกฝนชะล้างลงสู่แม่นำ้า ลำาคลอง ไหลลงทะเล สัตว์นำ้า เช่นปู
ปลา กุ้ง หอย ก็รับเอาสารตะกั่วเข้าไปสะสมในร่างกาย เมื่อคนกินสัตว์นำ้าพวกนี้เข้าไปก็ได้รับอันตรายจากพิษของ
ตะกั่วเข้าไปด้วย โดยเฉพาะสัตว์นำ้าที่มีตะกั่วสะสมอยู่มาก คือ ปลาและหอยนางรม

ภาพที่ 3 การวัดปริมาณตะกั่วในกระแสเลือด (กราฟสีแดง)


และในนำ้ามันเชื้อเพลิง (กราฟสีนำ้าเงิน) ระหว่างปี 1976 - 1980
ที่มา : http://www.niehs.nih.gov/health/impacts/images/lead.jpg

1.3 ละอองกรดหรือหยดกรด
ละอองกรดหรือหยดกรดทั้งที่เป็นกรดอินทรีย์ (Organic acid) หรือกรดอนินทรีย์ (Inorganic acid) แต่โดย
ทั่วๆ ไปแล้วการเกิดกรดในบรรยากาศมักเกิดจากกรดอนินทรีย์มากกว่า มักจัดเป็นพวกสารพิษทุติยภูมิ (secondary
pollutant) แหล่งกำาเนิด ได้แก่ กระบวนการอุตสาหกรรม เช่น การผลิตโลหะ โรงงานชุบโลหะ ฯลฯ หรือโรงงาน
ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือเตาเผามูลฝอย หรือท่อไอเสียของรถยนต์
กรดอนินทรีย์ที่สำาคัญที่พบในบรรยากาศ ได้แก่ กรดไนตริก กรดกำา มะถัน กรดเกลือ (hydrochloric acid,
HCl) และกรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid, HF) เป็นต้น
(1) กรดไนตริก (nitric acid, HNO3) เป็นกรดแก่ชนิดหนึ่ง เป็นของเหลวไม่มีสี มีฤทธิ์กัดกร่อน มีจุดเดือดที่
อุณหภูมิ 86 องศาเซลเซียส เป็นตัวออกซิไดส์อย่างรุนแรง จะเกิดเป็นควันเมื่อทิ้งไว้ในอากาศ ทำาปฏิกิริยากับโลหะ
หรื อ สารอื่ น เกิ ด ควั น ของไนโตรเจนไดออกไซด์ แ ละเกลื อ ของไนเตรต อโลหะบางชนิ ด เช่ น กำา มะถั น และ
ฟอสฟอรัส ทำาปฏิกิริยากับกรดไนตริกให้กรดออกซี เป็นกรดซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมเคมี กรดไนตริกส่วนใหญ่เป็น
สารมลพิษทุติยภูมิซึ่งเกิดจากการทำาปฏิกิริยาของไนโตรเจนกับนำ้าหรือไอนำ้า
(2) กรดกำา มะถัน (sulfurous acid, H2SO3 or sulfuric acid, H2SO4) เป็นได้ทั้งกรดแก่และกรดอ่อน กรดแก่
คือ กรดซัลฟิวริก ส่วนกรดอ่อนคือ กรดซัลฟิวรัส มีคุณสมบัติในการเป็นตัวรีดิวส์ มีฤทธิ์ในการกัดกร่อน มักเป็น
สารมลพิษทุติยภูมิที่เกิดจากออกไซด์ของซัลเฟอร์ทำาปฏิกิริยากับนำ้า ดังสมการเคมีต่อไปนี้
11

S (s)+ O2 ------> SO2(g)


2SO2(g) + O2 ------> 2SO3(g)
SO3(g) + H2O -------> H2SO4(l)

(3) กรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric acid, HCl) เป็นของเหลวไม่มีสี เมื่อปล่อยทิ้งไว้ในอากาศจะเป็นควัน


จากการผ่านไฮโดรเจนคลอไรด์ลงในนำ้า เป็นกรดแก่ แตกตัวได้ดี มีฤทธิ์ในการกัดกร่อนที่รุนแรงทำา ปฏิกิริยากับ
คาร์บอเนตให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำาปฏิกิริยากับโลหะให้ก๊าซไฮโดรเจน ถูกนำามาใช้ทำาสีย้อมผ้า สารเคมีเกี่ยว
กับการถ่ายรูป ใช้แช่โลหะ ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี
(4) กรดไฮโดรฟลูออริก (hydrofluoric acid, HF) เป็นของเหลวไม่มีสี มีควัน มีพิษสูงมาก มีฤทธิ์ในการ
กัดกร่อนรุนแรง ได้จากการละลายไฮโดรเจนฟลูออไรด์ในนำ้า เป็นกรดอ่อน
(5) กรดไฮโดรโบรมิก (hydrobromic acid) เป็นของเหลวไม่มีสี เกิดจากการเติมไฮโดรโบรไมด์ลงไปในนำ้า
เป็นกรดแก่ เป็นตัวรีดิวส์ที่รุนแรง
1.4 ละอองนำำามันหรือหยดนำำามัน
ละอองนำ้ามันหรือหยดนำ้ามันถึงแม้องค์ประกอบของละอองนำ้ามันที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศจะยังไม่สามารถ
จำาแนกได้ชัดเจนว่ามีอะไรบ้าง แต่องค์ประกอบส่วนใหญ่จะเป็นสารอินทรีย์ มีนำ้า หนักโมเลกุลมาก และอยู่ในรูป
ของสารแระกอบพวกอะโรมาติก (aromatic compounds) เป็นส่วนใหญ่ มักเกิดจากการสันดาปเชื้อเพลิงจากแหล่ง
ต่างๆ ที่พบมากที่สุดคือ จากเครื่องยนต์ของรถยนต์ หรืออาจเกิดจากอุตสาหกรรมที่มีการสันดาปนำ้ามันเชื้อเพลิงไม่
สมบูรณ์อุตสาหกรรมทำานำ้ามันดิบ อุตสาหกรรมยางมะตอย อุตสาหกรรมกระเบื้องปูพื้นหรือกระเบื้องมุงหลังคา
1.5 อนุภาคของถ่านหรือเขม่า
อนุภาคของถ่านหรือเขม่า เป็นของแข็งที่มีสีดำา มักจะประกอบด้วยอนุภาคคาร์บอนขนาดเล็กๆ เป็นส่วน
ใหญ่ มัก พบทั่ วไปในบรรยากาศที่มี ก ารสันดาปหรือ เผาไหม้เ ชื้อ เพลิ งโดยเฉพาะเชื้ อเพลิ งที่ เ ป็ น ของแข็ ง เช่ น
ถ่ า นหิ น ถ่ า นไม้ ฯลฯ หรื อ เชื้ อ เพลิ ง ที่ เ ป็ น ของเหลว เช่ น นำ้า มั น ดิ บ (crude oil) หรื อ นำ้า มั น เหลื อ จากการกลั่ น
(residual distillated oil) หรื อ อาจเกิ ด จากอุ ต สาหกรรมต่ า งๆ เช่น อุ ต สาหกรรมทำา หมึ ก อุ ต สาหกรรมผลิ ต ยาง
อุตสาหกรรมพลาสติกบางอย่าง

2. สารมลพิษที่เป็นก๊าซ (Gases Pollutants)


เป็นสารพิษที่อยู่ในสภาพก๊าซและไอ ชนิดของสารมลพิษนี้ จะขึ้นอยู่กับแหล่งกำาเนิด ขบวนการผลิตในงาน
อุ ต สาหกรรม ประเภทของอุ ต สาหกรรม ชนิ ด ของยวดยานพาหนะ เช่ น Sulfur compound, CO, Nitrogen
compounds, Organic compounds, Halogen compounds, H2S,CS2, ไอนำ้า กลิ่น เป็นต้น
2.1 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide, CO)
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็น ก๊าซพิษที่ไม่มีสี ไม่มีรส และไม่มีกลิ่น เบากว่าอากาศเล็กน้อย มีความ
คงตัวสูงมาก มีช่วงชีวิตประมาณ 2-3 เดือน ในบรรยากาศ ดูดกลืนคลื่นแสงที่ความยาวคลื่น 467 ไมครอน ซึ่งอยู่ใน
12

ช่วงคลื่นแสงอินฟาเรด (IR)
แหล่งที่มาหรือแหล่งเกิดของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จำาแนกได้ 2 แหล่ง คือ
1. แหล่งธรรมชาติ ได้แก่ ปฏิกิริยาออกซิเดชันของมีเธน หรือโฟโตเคมีคัลออกซิเดชันของสารอินทรีย์บน
ผิวทะเล
2. จากการกระทำาของมนุษย์ ได้แก่ การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง เช่น นำ้ามันปิโตรเลียม ถ่านหิน
หรือถ่านไม้ ซึ่งมีส่วนผสมของคาร์บอน (C) เป็นต้น คาร์บอนมอนอกไซด์ จะเกิดเมื่อคาร์บอนในเชื้อเพลิงเกิดการ
เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่แพร่กระจายถูกปล่อยสู่บรรยากาศ ร้อยละ 60 มาจากยานพาหนะ
สำาหรับในเขตเมืองคาร์บอนมอนนอกไซด์ถูกปล่อยจากยานพาหนะเป็นหลัก ซึ่งเป็นผลให้ในพื้นที่ที่มีการจราจร
ติดขัดมีปริมาณของคาร์บอนมอนนอกไซด์สูง นอกจากนี้กระบวนการอุตสาหกรรมและการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
จากแหล่งกำาเนิดประเภทเตาเผาหรือหม้อต้มนำ้าก็เป็นแหล่งที่ปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์ ได้เช่นกัน
ผลต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ มีผลต่อมนุษย์ ไม่ปรากฏว่ามีผลต่อผิวของวัตถุ ไม่มีผลต่อพืช แม้จะมีความเข้ม
ข้ น สู ง ๆ ก็ ต าม ก๊ า ซคาร์ บ อนมอนอกไซด์ มี อั น ตรายต่ อ มนุ ษ ย์ โ ดยตรงเพราะเมื่ อ ร่ า งกายหายใจเอาก๊ า ซ
คาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปจะทำา ให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรับออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ
เนื่องจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีความสามารถในการรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้มากกว่าก๊าซ
ออกซิเจนถึง 200-250 เท่า ลดปริมาณการนำาส่งออกซิเจนสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย จะมีผลเสียอย่างมากต่อผู้
ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ สำาหรับคนทั่วไปก็ได้รับผลกระทบด้วยจะทำาให้เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว หายใจอึดอัด
คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม หมดสติ ถ้าร่างกายรับเข้าไปในปริมาณมากอาจเสียชีวิตได้ แม้ว่าคาร์บอนมอนนอกไซด์จะ
ไม่ได้ปล่อยออกมาในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของระดับคาร์บอนมอนนอกไซด์จะเกี่ยวข้องกับการเสื่อมของการมอง
เห็น ระดับความสามารถในการทำางานลดลง ทำาให้เฉื่อยชาความสามารถในการเรียนรู้ตำ่าลง และความสามารถใน
การทำางานที่ซับซ้อนลดลง
เมื่อหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไป ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะไปแย่งออกซิเจนโดยไปรวมกับ
เฮโมโกลบิน (Haemoglobin) ซึ่งเรียกย่อว่า Hb เป็นสารหนึ่งที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง กลายเป็นคาร์บอกซีเฮโมโกล
บิน (Carboxy haemoglobin; COHb) ปกติร่างกายของคนเราต้องการออกซิเจนจะไปรวมตัวกับเฮโมโกลบินกลาย
เป็น ออกซีโมโกลบิน (Oxyhaemoglobin) เขียนย่อ ๆ ว่า HbO2 ในเลือดที่มี HbO2 นี้จะถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่ว
ร่างกายในแหล่งที่ มี HbO2 ในเนื้อเยื่อจะได้รับออกซิเจน แต่ถ้าหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ข้ าไป ก๊า ซ
คาร์บอนมอนอกไซด์จะเข้าไปรวมตัวกับเฮโมโกลบินได้เร็วกว่าออกซิเจน การที่จะเกิด COHb ในเลือดมากหรือ
น้อยนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่หายใจเข้าไป นั้นคือ ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะเวลา
ที่หายใจเข้าไปนั้นเอง
การควบคุ ม การปล่ อ ยก๊ า ซคาร์ บ อนมอนอกไซด์ จากการจราจรได้ มี ก ารกำา หนดการปล่ อ ยก๊ า ซ
คาร์ บอนมอนอกไซด์จ ากท่ อ ไอเสีย การติ ด ตั้ งอุ ป กรณ์ catalytic converter นอกจากนี้สามารถควบคุ ม โดยการ
ปรับปรุงกระบวนการเผาไหม้ให้ความความสมบูรณ์ มีออกซิเจนที่เพียงพอในการสันดาป
13

2.2 ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogendioxide, NO2)


ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นก๊าซประเภทเดียวกับก๊าซที่มีปฏิกิริยาสูงที่เรียกว่า ออกไซด์ของ
ไนโตรเจน (NOx) ก๊าซเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อเชื้อเพลิงถูกเผาไหม้มีอุณหภูมิสูง ออกไซด์ของไนโตรเจนมีทั้งหมด 7
รูป ได้แก่ N2O, NO, NO2, N2O5, N2O3, N2O4 และ NO3 แต่มีเพียง NO และ NO2 ที่เป็นสารมลพิษทางอากาศที่สำาคัญ
N2O เป็นก๊าซเรือนกระจก
สมบัติสารออกไซด์ของไนโตรเจนบางชนิด
1. ก๊ า ซไนตริ ค ออกไซด์ (NO) เป็ น ก๊ า ซไม่ มี สี และกลิ่ น จะทำา ปฏิ กิ ริ ย ากั บ ก๊ า ซออกซิ เ จนเปลี่ ย นเป็ น
ไนโตรเจนไดออกไซด์
2. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นก๊าซสีนำ้าตาลแกมแดงที่มีกลิ่นฉุน คล้ายคลอรีน ก๊าซไนโตรเจน
ไดออกไซด์ ละลายนำ้าได้ดี และอยู่ในอากาศได้เพียง 3 วันเท่านั้น การที่สามารถละลายนำ้าได้ดีทำาให้เป็นต้นเหตุของ
การเกิดฝนกรด โดยก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์จะทำา ปฏิกิริยากับละอองนำ้า ในบรรยากาศ ได้เ ป็นกรดไนตริก
(HNO3) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดฝนกรด
แหล่งกำาเนิด
ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน จะถูกปล่อยจากยานพาหนะ และโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผลิต
เครื่องใช้อิเล็กทรอนิค และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์จะมีสีนำ้า ตาลและทำาให้สำาลัก ซึ่ง
ก๊าซนี้จะทำาปฏิกริยากับโอโซนในอากาศได้ง่าย และกลายเป็นกรดไนตริกที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเช่นเดียวกับไนเตรดที่
เป็นสารพิษนอกจากนี้ไนโตรเจนออกไซด์ยังมีบทบาทสำาคัญในการเกิดปฏิกริยาในชั้นบรรยากาศ ซึ่งผล ปฏิกริยานี้
จะเกิดโอโซน(หรือหมอกควัน)
ผลต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ทำาให้เกิดการระคายเคืองในปอด และภูมิต้านทานของร่างกายตำ่าลง ก๊าซชนิดนี้
เมื่อ รวมตัว กับนำ้า จะเกิด เป็ นกรดไนตริคเป็นอั นตรายร้า ยแรงต่ อสิ่งมี ชีวิ ต ถ้า ร่างกายรั บเอาก๊ า ซไนโตรเจนได
ออกไซด์ที่มีความเข้มข้นสูง จะทำา อันตรายต่อปอดโดยตรง เช่น ทำา ให้ปอดอักเสบ เนื้องอกในปอด และทำา ให้
หลอดลมตีบตัน และยังเป็นผลให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่นไข้หวัดใหญ่ ผลกระทบจากการปล่อย
ไนโตรเจนไดออกไซด์ในระยะสั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดและสำาหรับการปล่อยอย่างต่อเนื่องหรือถี่มาก ๆ ในลักษณะนี้
ไนโตรเจนไดออกไซด์จะมีความเข้มข้นสูงกว่าที่พบในอากาศโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้น
ของการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจอย่างรุนแรงในเด็ก
ไนโตรเจนไดออกไซด์มีช่วยทำาให้เกิดโอโซน และสามารถส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศทั้ง
บนพื้นดินและแหล่งนำ้า ไนโตรเจนไดออกไซด์ในอากาศยังเป็นตัวการสำาคัญที่ทำาให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เช่น ฝนกรด และปรากฏการณ์ Eutrophication
14

ภาพที่ 4 กระบวนการเกิดปรากฏการณ์ Eutrophication


ที่มา : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/dd/Scheme_eutrophication-
en.svg/800px-Scheme_eutrophication-en.svg.png

โดยทั่วไปแล้ว NO ในอากาศจะถูกออกซิไดซ์ไปเป็น NO2 แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันว่าระดับของ NO ที่พบ


ในอากาศโดยทั่วไปจะทำา ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ สำา หรับ NO2 เมื่อหายใจเข้าไปแล้ว อาจทำา ให้เกิดความ
ระคายเคืองในถุงลม ทำาให้เกิดอาการคล้ายกับโรคหลอดลมตีบตัน โดยเฉพาะในบุคคลที่เป็นโรคหืดอยู่แล้ว
ทั้ง NO และ NO2 ไม่มีผลโดยตรงต่อวัตถุ อย่างไรก็ตาม NO2 จะทำาปฏิกิริยากับความชื้นเกิดเป็นกรดไนตริก
ซึ่งจะทำาให้เกิดการกัดกร่อนโลหะ NO2 มีสมบัติในการดูดซับแสง ทำาให้เป็นตัวการหนึ่งของการลดทัศนวิสัยเมื่อ
ความเข้มข้นในอากาศมีค่ามากกว่า 0.25 พีพีเอ็ม. ในด้านผลต่อสุขภาพนั้นพบว่าถ้าระดับความเข้มข้นของ NO2 สูง
ถึงระดับ300-500 พีพีเอ็ม. จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือสลบเนื่องจากสมองขาดออกซิเจน ความเข้มข้นระดับ 0.7-
20 พีพีเอ็ม. ในเวลา 10 นาที จะทำาให้หายใจไม่ออก และที่ระดับ 0.11-0.22 พีพีเอ็ม. จะเริ่มได้กลิ่น สารประกอบ
ชนิดแรกของการเกิดออกไซด์ของไนโตรเจนส่วนใหญ่คือ NO ซึ่งต่อมาก็จะทำาปฏิกิริยากับ ออกซิเจนหรือโอโซน
เกิดเป็น NO2 นอกจากนี้ในบรรยากาศจะมีสารไฮโดรคาร์บอนอยู่ด้วยทำาให้เกิดปฏิกิริยาอื่นเกิดขึ้นระหว่างอะตอม
ของออกซิเจน โอโซน และ NOโดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเกิดเป็นกลุ่มสารมลพิษทางอากาศที่เรียกว่า ออกซิ
แดนท์เคมีแสง (Photochemical Oxidants) ดังนั้นผลจากการทำานายความเข้มข้นของการแพร่กระจาย NO2 จึงให้ผล
เกินจริงราว 1-10 เท่า

2.3 ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide, SO2)


ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี มีกลิ่นกรด ถ้ามีความเข้มข้นในระดับ 0.3–0.1 พีพีเอ็ม ถ้ามี
15

ถึงระดับ 3 พีพีเอ็ม จะมีกลิ่นฉุน แสบจมูก ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่ระเบิด มีจุดเดือด –10 องศาเซลเซียส โดย


ปกติในบรรยากาศมีส่วนประกอบที่เป็นไอนำ้า หมอก เมฆ และฝน เมื่อก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ถูกปล่อยออกสู่
บรรยากาศก็จะทำาให้เกิดปฏิกิริยากับนำ้าเป็นกรดซัลฟูริค (H2SO4) ซึ่งเป็นอันตรายมากกว่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
เอง โดยเฉพาะสามารถทำาให้วัตถุเกิดการผุกร่อนได้ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีครึ่งชีวิต (half-life) ประมาณ 3 วัน
โดยทั่วไปก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จะถูกออกซิไดซ์เป็น SO3 โดยออกซิเจน (O2) หรือโอโซน (O3) และควบแน่น
หรื อตกสู่ใ นรู ป ของ H2SO4 หรื อซัล เฟต (SO42-) โดยปฏิ กิริ ยาเคมี แ สงในอากาศ และมี ตั ว เร่ งปฏิ กิ ริ ยา เช่ น ฝุ่ น
ซัลเฟอร์ ที่พบในบรรยากาศ อยู่ในรูปสารประกอบ 3 ชนิด คือ SO2, H2S และ SO42- ในรูป แอโรซอล ซึ่งทั้งสาม
ชนิด ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) มีความสำาคัญที่สุด
แหล่งกำาเนิดจากการกระทำาของมนุษย์
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์อยู่ในกลุ่มของก๊าซซัลเฟอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นออกไซด์ของกำามะถันหรือซัลเฟอร์
อย่างหนึ่ง เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ่านหิน นำ้ามัน ซึ่งมีกำามะถันหรือซัลเฟอร์เจือปนอยู่
โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศในปริมาณสูงได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมที่
ต้องใช้นำ้ามันปิโตรเลียม โรงงานอุตสาหกรรมโลหะ เป็นต้น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดจากการกระทำาของมุษย์
มากกว่าที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีซัลเฟอร์ (S) เป็นองค์ประกอบ จะถูกออกซิไดซ์ เป็น SO2
การเผาไหม้อาจเกิดก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) ขึ้นได้ แต่มีปริมาณเพียงเล็กน้อย การปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ได
ออกไซด์ออกสู่บรรยากาศจากการเผาไหม้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของซัลเฟอร์ ซึ่งปรากฏอยู่ในเชื้อเพลิง แหล่งที่สำาคัญ
อีกแหล่งหนึ่งในการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ คือ อุตสาหกรรมถลุงโลหะ ซึ่งสินแร่บางชนิด
เช่นสินแร่สังกะสีและทองแดง มักอยู่ในรูปของซัลไฟต์ ระหว่างการถลุงจะมีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ระบายออกมา
ด้วย แหล่งที่น่าสนใจอีกแหล่งหนึ่งคือ จากโรงงานผลิตกรดซัลฟูริค
แหล่งกำาเนิดจากธรรมชาติ
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ได้จากแหล่งธรรมชาติ เกิดจากการออกซิเดชันของไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
โดย O, O2 หรือ O3 โดยที ฝุ่น หรือละอองนำ้า เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นได้เร็วเมื่อเกิดปรากฏการณ์
การณ์ของหมอกควันเคมีแสง (Photochemical smog) เพราะทั้ง O, O3 และฝุน่ มีความเข้มข้นสูง
ผลต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีความเข้มข้นสูง มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมาก ก๊าซนี้มีอันตรายต่อ
ร่างกายมากยิ่งขึ้นเมื่อรวมตัวกับฝุ่น ซึ่งฝุ่นบางชนิดสามารถดูดซึมและละลายก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไว้ในตัว เช่น
โซเดียมคลอไรด์ ละอองไอของเหล็ก เฟอรัส แมงกานีส วานาเดียม เป็นต้น ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อการเจ็บป่วยของ
ระบบทางเดินหายใจ โรคปอด โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ และผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ เด็ก คนชรา และ
ผู้ป่วยโรคหืด โรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคปอด เช่น โรคหลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น ทำาให้ระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก ลำาคออักเสบ ระคาย
เคืองทั้งนี้เนื่องมาจากในนำ้ามันเชื้อเพลิงรถยนต์มีกำามะถันปนอยู่ เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์จะมีสารกำามะถัน
16

ปนอยู่ เมื่อเกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบรูณ์จะมีก๊าซกำามะถันหลุดออกมาทางท่อไอเสียรถยนต์ ดังนั้นโรงกลั่นนำ้า มัน


ต้องกำาจัดกำามะถันในนำ้ามันดิบออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ก๊าซนี้มีอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าก๊าซคาร์บอน
มอนนอกไซด์ เพราะเป็นตัวนำาที่ทำาให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ ทำาให้สัตว์เจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดิน
หายใจส่วนต้นในอัตราสูง ถ้าสูดเข้าไปเสมอ ๆ ทำาให้เกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถ้ามากทำาให้ลิ้นไก่สั้นเกิดการเกร็ง
หดปิดทางเดินหายใจตายทันที ที่สำาคัญที่สุดเป็นอันตรายต่อปอดในรายที่คนไข้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอยู่
แล้ว จะมีอาการเพิ่มมากขึ้น เมื่อได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขนาด 0.25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ขนาดได้กลิ่น
ฉุน)
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อปรากฎอยู่รวมกับฝุ่น และความชื้น จะมีผลต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นมาก มีการศึกษา
ผลต่อร่างกายของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ SO3 กับสัตว์ พบว่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีผลต่อระบบหายใจ
ส่วนบนเมื่อระดับตำ่ากว่า 20 พีพีเอ็ม ซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีผลเฉพาะเฉียบพลัน ไม่มีผลเรื้อรัง จากการศึกษากับสัตว์
พบว่า การได้รับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ขนาดปานกลาง และไม่ต่อเนื่อง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะไม่มีผลสะ
สมใดๆ และจะต้องมีระดับจนถึง 1 พีพีเอ็ม จึงจะเกิดผลกับสุขภาพหรือให้ผลแตกต่างระหว่างคนปกติ

2.4 ก๊าซโอโซน
โอโซน คื อ ก๊ า ซธรรมชาติ รู ป แบบหนึ่ ง ของออกซิ เ จนที่ ไ ม่ เ สถี ย รแต่ มี พ ลั ง งานในการทำา ปฏิ กิ ริ ย า
ออกซิเดชันสูงโดยเมื่อทำาปฏิกิริยาแล้ว จะไม่เหลือสารพิษตกค้างใดๆ นอกจากออกซิเจน จึงมีการนำาโอโซนไปใช้
งานอย่างแพร่หลาย ทั้งในครัวเรือน สำานักงาน จนถึงโรงงานอุตสาหกรรม
ก๊าซโอโซน (O3) บริสุทธิ์จะมีสีนำ้า เงินแก่มีกลิ่นคล้ายคลอรีน ละลายนำ้า ได้มากกว่าออกซิเจน มีจุดเดือดที่
-111.5 องศาเซลเซียส และมีจุดหลอมเหลวที่ – 251 องศาเซลเซียส โอโซนที่ระดับพื้น เป็นสารมลพิษทุติยภูมิ
(secondary pollutant) เกิ ด จากปฏิ กิ ริ ย าออกซิ แ ดนท์ เ คมี แ สง (Photochemical Oxidation) ระหว่ า งสารประกอบ
ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เกิดได้ง่ายในถนน เพราะแหล่ง
กำาเนิดคือรถดีเซล มักใช้เวลาในการเกิด 3 ชั่วโมง ในเวลากลางวัน ก๊าซโอโซนทำาให้ระคายตา และระคายเคืองต่อ
ระบบทางเดินหายใจ ลดความสามารถในการทำางานของปอดลง เหนื่อยเร็ว โอโซนมีผลกระทบต่อวัสดุ เช่น ยาง
พลาสติก เป็นต้น ทำาให้วัสดุเหล่านั้นเสื่อมคุณภาพได้เร็ว
17

แผนภูมิที่ 2 แสดงการเกิดปฏิกิริยาโฟโตเคมีคัล ออกซิแดนท์ (Photochemical Oxidant)


ที่มา : http://www.aqnis.pcd.go.th/basic/pollution_o3.htm
จากแผนภูมิข้างต้นในกระบวนการเกิดปฏิกิริยานี้ขั้นแรก NO2 จะเกิด ปฏฺกิริยาโฟโตลิซิส (Photolysis)
ทำาให้เกิดอะตอมออกซเจน (O) ซึ่งตอมาอะตอมจะทำาปฏิกิริยากับออกซิเจน (O2) ทำาให้เกิโอโซน (O3) และ O3 ก็จะ
ทำาปฏิกิริยากับไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) ทำาให้เกิดจาก NO2 แล้วกลับไปเริ่มต้นปฏิกิริยาโฟโตลิซิสอีก ดังแสดง
ในสมการ
NO2 + hv -----> NO + O (สมการที่ 1)
O+O2 -----> O3 (สมการที่ 2)
NO + O3 -----> NO2 + O2 (สมการที่ 3)
18

Stephen (1968) แสดงในเห็นว่าหากมีไนโตรเจนไดออกไซด์ 0.1 ส่วนในล้านส่วน จะทำา ให้เกิด โอโซน


ประมาณ 0.027 ส่วนในล้านส่วน แต่ในสภาพความเป็นจริงระดับของโอโซน อาจขึ้นไปสูงถึง 0.5 ส่วนในล้านส่วน
ได้ ดังนั้นปฏิกิริยการเกิดดอโวนจะต้องมีกระบวนการอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งมีผลต่อปฏิกิริยาโฟโตลอซิสของใน
โตรเจนไดออกไซด์ ทำาให้ความเข้มข้นของโอโซนเพิ่มขึ้น สารที่มีผลต่อการเกิด O3 คือ สารเอกทีฟไฮโครคาร์บอน
โดยจะทำาปฏิกิริยากับอนุมูลไฮดรอกซิล (Hydroxyl Redical : OH) ทำาให้เพิ่มปริมาณของโอโซน ปฏิกิริยาการเกิด
อนุมูลไฮดรอกซิลเกิดจากปฏิกิริยาที่ไอนำ้าในอากาศทำา ปฏิกิริยากับอะตอมของออกซิเจนดังสมการ
O3 + UV -----> O2 + O*0 (สมการที่ 4)
O0 + ไอนำ้า ----> 2OH0 (สมการที่ 5)
นอกจากนี้ Formaldehyde (HCHO) ยังเกิดการแตกตัวโดยแสงอาทิตย์เกิดเป็น H และ HCO เมื่อทำาปฏิกิริยา
กับออกซิเจนจะทำาให้เกิด HO2 (เปอร์ออกซีไฮดรอกซิลราดิคัล) เมื่อทำาปฏิกิริยา NO จะเปลี่ยนเป็นอนุมูลไฮดรอก
ซิล (OH0) ดังสมการ
OH2 + NO -----> OH0 + NO2 (สมการที่ 6)
ในบรรยากาศที่มีสารรีเอคทีฟไฮโดรคาร์บอน (RH) จำา ทำา ปฏิกิริยากับ OH0 จะได้สาร R0 ซึ่ง R0 จะทำา
ปฏิกิริยากับ O2 ในอากาศ ถ้าเป็นอนุมูลเปอร์ออกซี (Pexoxy Radical, RO2) ทำาปฏิกิริยากับ NO ทำาให้เกิดเป็น NO2
สารมารถเกิดปฏิกิริยา โฟโตลิซิสเกิดเป็นโอโซนได้ ดังสมการ
RH + OH0 -----> R0 + H2O (สมการที่ 7)
R0 + O3 -----> RO2 (สมการที่ 8)
RO2 + NO -----> NO2 + RO0 (สมการที่ 9)
(NO2 ทำาให้เกิด O3)
19

แผนภูมิที่ 3 ปฏิกิริยาการแตกตัวของไฮโดรคาร์บอนในอากาศและการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่กับ HO
ที่มา : http://www.aqnis.pcd.go.th/basic/pollution_o3.htm

OH ที่เกิดขึน้ ในอากาศเป็นสารออกซิแดนท์รุนแรงที่ทำาให้สารประกอบหลายชนิด เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน่


ได้ ในกรณีที่ไฮโดรคาร์บอนเป็นอีเธนปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแสดงได้ดังรูปที่ 2 การเกิดปฏิกิริยาอาจดูเหมือนซับซ้อน
มาก โดยจะเริ่มจาก OH ดึงไฮโดรเจนไปจากอีเธน จากนั้นปฏิกิริยาก็จะดำาเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยมี O2 และ NO
เข้ามาเกี่ยวข้อง จุดสำาคัญอยู่ที่การเกิด Aldehyde และ HO2 จากไฮโดรคาร์บอน และการเกิด OH ขึ้นอีก เนื่องจาก
การทำาปฏิกิริยาของ HO2 และ NO กล่าวคือปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรคาร์บอนและ OH ในขณะที่มี NO อยู่ในปริมาณ
หนึ่ ง จะเกิ ด ปฏิ กิ ริ ยาลู ก โซ่ ของอนุ มู ล ของสารประกอบนี้ จ ะสิ้น สุด ลงเมื่ อ มี Nitric Ester และ Peroxy Acyetyl
Nitrate (PAN) เกิดขึน้
การเกิด Protochemical Smog หรือเรียกอีกอย่างคือการเกิดโอโซนนั้นความเข้มข้นจะขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาของ
ทั้ ง (RO2 + NO) และ (RO2 + NO) ดั ง รู ป ที่ 2 RO2 และ HO2 ที่ เ กิ ด ขึ้ น เมื่ อ มี ไ ฮโดรคาร์ บ อนจะทำา ให้ NO เกิ ด
ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกลายเป็น NO2 ตามสมการที่ 1 ถึง 3 การใช้ O3 โดย NO จึกถุกจำากัดทำาให้ O3 สะสมแสดงให้
เห็นได้ว่าในสมการจัดการ Phochemical Smog โดยการลดความเข้มข้นของ NOx และไฮโดรคาร์บอนมีความสำาคัญ
อย่างยิ่ง
20

คุณสมบัติของโอโซน
1. ฆ่าเชื้อโรค โอโซนทำาลายผนังเซลล์ของเชื้อโรค จึงสามารถฆ่าเชื้อโรค, เชื้อรา, ไวรัส และแบคทีเรียได้
โอโซนมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ดีกว่า และเร็วกว่าคลอรีน 3,125 เท่า อีกทั้งยังไม่เหลือสารเคมีตกค้าง
2. ดับกลิ่น โอโซนสามารถสลายโครงสร้างของไอระเหยจากสารอินทรีย์ และ อนินทรีย์ส่วนใหญ่ให้เป็น
โมเลกุลที่ไม่มีกลิ่น และไม่มีพิษ
3. สลายสารพิษและสี โอโซนสามารถสลายโครงสร้างของสารเคมี, ยาฆ่าแมลง, สี และสารพิษต่างๆ ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สลายตะกรัน โอโซนทำาลายผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นต้นกำาเนิดของไบโอฟิล์ม และแหล่งสะสม
ตะกรัน
การนำาไปใช้ประโยชน์
- ใช้ในครัวเรือน เช่น ใช้ล้างผัก ผลไม้ และล้างอาหารสด ขจัดสารพิษ ยาฆ่าแมลง และเชื้อโรค
- ใช้ประกอบกับเครื่องกรองนำ้าทำานำ้าดื่ม
- ใช้ขจัดกลิ่นอับตามห้องต่างๆ
- ใช้ในรถยนต์ เพื่อปรับสภาพอากาศในห้องโดยสารรถยนต์
- ใช้ในการแพทย์ เช่น ใช้ฆ่าเชื้อในห้องผ่าตัดหรือห้องผู้ป่วย
- ใช้กับระบบนำ้าดื่มเพื่อการพาณิชย์ และระบบนำ้าดื่มชุมชนทั่วไป
- ใช้บำาบัดนำ้าเสียเพื่อการขจัดสารเคมี สารแขวนลอย ฟอกสี โลหะหนัก และเชื้อโรคในขั้นตอนสุดท้าย
- ใช้ในขบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้า เช่น บ่อปลา บ่อเพาะฟักลูกกุ้ง และบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำา
- ใช้บำาบัดนำ้าในสระว่ายนำ้า เพื่อขจัดสารปนเปื้อนและเชื้อโรค
- ใช้ในระบบนำ้าของหอระบายความร้อน เพื่อควบคุมตะไคร่นำ้า การเกิดตะกรัน และลดการกัดกร่อน
- ใช้ขจัดกลิ่นเหม็นต่างๆ ในอุตสาหกรรมและชุมชน เช่น โรงงานอาหารสัตว์ และกลิ่นจากนำ้าเสีย
- ใช้ในขบวนการล้างอาหารสดก่อนการแช่แข็งเพื่อขจัดสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรค
- ใช้ดับกลิ่น และฆ่าเชื้อโรคในสถานบริการต่างๆ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล อาบอบนวด
- ใช้ในขบวนการซักผ้า ซึ่งทำาให้ลดค่าใช้จ่ายการใช้ผงซักฟอก และยังช่วยฆ่าเชื้อได้ดีด้วย
- ใช้ขจัดกลิ่นหมึกพิมพ์ และกลิ่นทินเนอร์ตามโรงพิมพ์ และห้องพ่นสีรถยนต์
- ใช้ขจัดก๊าซไอเสียรถยนต์ตามที่จอดรถใต้อาคารสูง
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
โอโซนจะทำาให้พืชเกิดความเสียหาย โดยจะเกิดความเสียหายบริเวณเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นริ้ว ที่ผิวของ
ใบไม้จะเกิดอาการด่างเล็กๆ, จุดด่างซีด, ลักษณะของเม็ดสีจะเกิดการผิดปกติ การเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก และมี
ใบร่วง
21

การแก้ไขปัญหาโอโซน
1. หาทางเอา CFCs ออกจากบรรยากาศ (ดูในหัวข้อต่อไป)
2. หยุดปล่อยคลอรีนที่ทำาลายโอโซนก่อนที่จะเกิดความเสียหายมากกว่านี้
3. ทดแทนโอโซนที่สูญเสียไปในบรรยากาศ หรือ บางทีควรจะนำา โอโซนมลพิษในเมืองที่มากเกินไปฉีด
ขึ้นไปชดเชยส่วนที่ขาดหาย หรือสร้างขึ้นใหม่
อย่างไรก็ตามเนื่องจากโอโซนทำาปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่นได้ง่าย จึงไม่เสถียรพอที่จะถูกสร้างและส่งขึ้นไป
ในบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ได้ เมื่อพิจารณาปริมาตรของบรรยากาศและขนาดของโอโซนที่หายไป ที่มีขนาด
มหาศาล จะเป็นการลงทุนที่สูง และใช้พลังงานมากจึงเป็นสิ่งปฏิบัติยากและเป็นการทำาลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วยการ
ฟื้นฟูชั้นโอโซน ด้วยการมีพิธีสารมอนทรีออล และการแก้ไขต่างๆ ซึ่งเป็นข้อตกลงเรื่องการหยุดผลิต และบริโภค
สารทำาลายโอโซนต่างๆ โดยการหยุดผลิตอย่างสิ้นเชิงและการใช้กรณีวิกฤตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยกำาหนดให้
ปี ค .ศ. 1996 เป็ น หมายกำา หนดการเลิ ก ผลิ ต และใช้ สำา หรั บ ประเทศพั ฒ นาแล้ ว และปี ค.ศ. 2000 เป็ น หมาย
กำา หนดการเลิกผลิตและใช้สำา หรับประเทศกำา ลังพัฒนา ผลลัพธ์คือปริมาณคลอรีนในบรรยากาศชั้นล่างๆ ที่จะ
สามารถขึ้นไปถึงสตราโตสเฟียร์ได้ถึงจุดสูงสุดแล้ว และความเข้มข้นในชั้นสตราโตสเฟียร์จะถึงจุดสูงสุดในปลาย
ศตวรรษที่ 20 และจะเริ่มลดลงอย่างช้าๆ โดยขบวนการธรรมชาติ และชั้นโอโซนจะกลับคืนมาเหมือนเดิมในอีก
ประมาณ 50 ปีข้างหน้า

แผนภูมิที่ 4 การผลิต CFCs ของโลกระหว่างปี 1986 – 2004 (หน่วย : พันตัน)


ที่มา : http://www.theozonehole.com/images/gafg11.gif

2.5 ก๊าช CFCs (Chlorofluorocarbons )


CFCs หรือ Chlorofluorocarbons คือก๊าซที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา ก๊าซเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในอากาศตาม
ธรรมชาติ CFCs คือมลพิษในอากาศที่เป็นเคมี เมื่อก๊าซเหล่านี้ขึ้นไปถึงชั้นโอโซนสูงในบรรยากาศของเราจะทำาลาย
โอโซนนั้ น เมื่ อ CFCs เข้ า สู่ บ รรยากาศ จะทำา ลายออกซิ เ จนที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ชั้ น โอโซน ทำา ให้ โ อโซนถู ก ทำา ลาย
บรรยากาศชั้นโอโซนก็ลดลง ทำาให้รังสีอุตราไวโอเล็ตสามารถส่งมาถึงพื้นโลกได้โดยผ่านช่องต่าง ๆ ในชั้นโอโซน
22

หลายปีที่ผ่านมาเราใช้ CFCs ในกระป๋องสเปรย์เพื่อสูบเอาของเหลวออกมาในรูปของละอองหรือหมอกบางๆก๊าซนี้


ไม่ส่งผลกระทบต่อของเหลวที่อยู่ในกระป๋องแต่อย่างใด มีหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐฯ ที่ไม่ใช้ CFCs ในกระป๋อง
สเปรย์อีกแล้ว และมีหลายประเทศที่กำา ลังจะเลิกใช้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งที่มาอื่น ๆ ของ CFCs อีก ซึ่งทำา ให้เกิด
อันตรายต่อชั้นโอโซน
ก๊าซ CFCs แบ่งตามส่วนประกอบทางเคมีและกายภาพ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. แก๊สอินทรีย์ (Organic Gases)
แก๊สอินทรีย์ หมายถึง แก๊สที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจน และอนุพันธ์ของมัน ซึ่งรวมพวก
ไฮโดรคาร์บอนอยู่ในกลุ่มนี้ และสารประกอบพวกที่ธาตุไฮโดรเจนถูกแทนที่โดยธาตุอื่น เช่น ออกซิเจน ฮาโลเจน
ไนโตรเจน ฯลฯ
1.1 ไฮโดรคาร์บอน
เป็นสารประกอบที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน โดยอาจจะมีธาตุคาร์บอนอยู่ตั้งแต่ 1 โมเลกุลถึง
หลายร้อยโมเลกุลหรือหลายพันอะตอม การเกิดไฮโดรคาร์บอนในบรรยากาศมักเกิดจากการที่มี
- การสันดาปเชื้อเพลิง เช่น รถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ
- การขนส่งนำ้ามัน การผลิตนำ้ามันหรือการเก็บนำ้ามัน
- การพ่นสีหรือการทาสี
- โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารทำาละลายหรือตัวทำาละลาย (solvents)
1.2 Oxygenated Hydrocarbon
หมายถึง สารไฮโดรคาร์บอนที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ จึงเป็นสารที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน
ไฮโดรเจน และออกซิเจน เป็นองค์ประกอบ เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งจะพบได้ในอุตสาหกรรมพลาสติก สีย้อมผ้า
อุตสาหกรรมสิ่งทอ อาจเกิดจากการสันดาปเชื้อเพลิง หรือการใช้ตัวทำาละลาย (solvent)
2. แก๊สอนินทรีย์ (Inorganic Gases)
แก๊สอนินทรีย์ หมายถึง แก๊สที่เกิดจากธาตุอื่นซึ่งไม่เ กี่ยวกับสารประกอบของธาตุคาร์ บอนที่เ ป็น พวก
อินทรีย์ มีสารประกอบของคาร์บอนบางชนิดจัดอยู่ในพวกอนินทรีย์ ได้แก่ พวกออกไซด์ของคาร์บอน คาร์บอนได
ซัลไฟด์ เฮไลด์ เป็นต้น
3. แอโรซอล (Aerosol)
แอโรซอล หมายถึง การแขวนลอยของอนุภาคของของแข็ง อนุภาคของของเหลว หรือทั้งอนุภาคของ
ของแข็ง และอนุภาคของของเหลวซึ่งมีนำ้าหนักเบามากในตัวกลางที่เป็นอากาศ ถ้ามีอนุภาคของแข็งแขวนลอยใน
อากาศมั ก เรี ย กว่ า เกิ ด “aerosol of solid particle” ไม่ ใ ช่ เ รี ย กว่ า “soil aerosol” หรื อ ถ้ า มี อ นุ ภ าคของของเหลว
แขวนลอยอยู่ในอากาศมักเรียกว่าเกิด “aerosol of liquid particles” ไม่ใช่เรียกว่า “liquid particles” โดยทั่วไปแล้ว
ขนาดของอนุภาคมักจะโตกว่าคอลลอยด์ (ซึ่งปกติขนาดของอนุภาคประมาณ 1 นาโนเมตรไปจนถึง 1 ไมโครเมตร)
อนุภาคของของเหลว (Liquid Particles)อนุภาคของของเหลวที่ถูกปล่อยออกจากแหล่งกำา เนิดมลพิษทางอากาศที่
สำาคัญต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กรด หรือนำ้า มัน ซึ่งส่วนใหญ่มีแหล่งกำา เนิดจากกิจกรรมต่างๆ ที่
23

มนุษย์เป็นผู้สร้างมากกว่าที่จะเกิดจากธรรมชาติ อนุภาคของของเหลว ได้แก่ ละอองกรดหรือหยดกรด และละออง


นำ้ามันหรือหยดนำ้า มันอนุภาคของของแข็ง ได้แก่ อนุภาคของถ่านหรือเขม่า, เกลือและออกไซด์ของโลหะ, เกลือ
อนินทรีย์และละอองไอของโลหะ

สารมลพิษที่ใช้เป็นตัวชีำวัดคุณภาพมลพิษทางอากาศ (Criteria Air Pollutants)


สารมลพิษที่ใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพมลพิษทางอากาศ ได้แก่
1.โอโซน (O3)
โอโซนเป็นสาร photochemical oxidant เกิดจากปฏิกิริยา photochemical oxidation ระหว่างสารประกอบ
ไฮโดรคาร์บอนและก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนโดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นตัวเติมออกซิเจนอย่างดี ทำา
หน้าที่ในการป้องกันโลกจากรังสีอุลตราไวโอเลต ซึ่งอาจทำาอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้ ผลของโอโซนที่มีต่อมนุษย์ คือ
จะไปเร่งปฏิกิริยาของเม็ดเลือดแดงที่มี ต่อการรับรังสีเอ็กซเรย์ และทำา ลายโครโมโซมได้ นอกจากนี้ ในระดับ
ประมาณ 200 มคก. ต่อลบ.ม ยังทำาให้เกิดการระคายเคืองตาและสายตาผิดปกติ ระดับตั้งแต่ 200 มคก.ต่อลบ.ม การ
ทำางานของปอดจะผิดปกติมีผลต่อระบบหายใจ โดยจะไปกระตุ้นให้ช่องจมูกบีบรัดตัวและทำาปฏิกิริยาโดยตรงกับ
ทางเดินหายใจส่วนปลาย
3.3.2 ฝุน่ ละออง (Particulate Matter)
อนุภาคสารมลพิษที่อยู่ในรูปของแข็งหรือของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ อาจอยู่ในรูปของของเหลว
หยดเล็กๆ หรือของแข็งขนาดเล็กๆจากธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากดินแห้ง ควันจากไฟไหม้ป่า หรือส่วนที่มนุษย์
ก่อขึ้นเช่น เขม่าและควันจากปล่องไฟโรงงานอุตสาหกรรม ขี้เถ้าจากการเผาไหม้ขยะ ในบรรดาสารมลพิษในอากาศ
อนุภาคมลสารเป็นประเภทที่มีอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด เช่นทำา ให้เกิดปัญหาการหายใจและหลอดลมอักเสบ
นอกจากนี้ยังทำาให้เกิดปัญหาทัศนวิสัยเนื่องจากการดูดกลืนแสงและทำาให้เกิดการกระจายของแสงที่ส่องมาสู่พื้น
โลกได้ อากาศจะมืดครึ้มแสงสว่างส่องได้น้อยกว่าปกติ ทำาให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายโดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการจราจร
3.3.3 ตะกั่ว (Pb)
ตะกั่ว ( Pb) มาจากท่อไอเสียของยานพาหนะที่ใช้นำ้ามันเบนซินที่มีสาร Tetraethyl Lead ผสมอยู่ เพื่อเพิ่มค่า
Octane ป้องกันการ Knock ของเครื่องยนต์ ผลของตะกั่วที่มีต่อมนุษย์ คือ ตะกั่วจะทำาปฏิกิริยากับร่างกาย เม็ดเลือด
แดงจะเพิ่มแรงต้านทานต่อการออสโมซิส เพิ่มความเปราะบางทางกายภาพ นอกจากนั้นยังยับยั้งการสังเคราะห์
เอนไซม์ ซึ่งจะทำาให้สูญเสียโปแตสเซียมภายในเซลล์มากขึ้น เป็นผลให้เกิดโลหิตจาง ระบบประสาท อาจทำาให้เกิด
ความผิดปกติด้านความเฉลียวฉลาด ทำาให้เกิดโรคสมองอักเสบ มีผลต่อปลายประสาท ทำาให้กล้ามเนื้อส่วนที่ยืดหด
เกิดอาการอ่อนเปลี้ย ชา และหมดความรู้สึก ทำาลายไต จะทำาให้หน้าที่กรองของเสียของไตเสีย
3.3.4 ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx)
ในที่นี้จะจำากัดเฉพาะไนตริกออกไซด์ (NO) และ ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เนื่องจากเป็นสารมลพิษที่
ความสำา คัญ ต่อ สิ่งมี ชีวิ ตมากกว่ าไนโตรเจนออกไซด์ ตั ว อื่ น ๆ ไนตริ ก ออกไซด์ เป็ น ก๊ า ซไม่ มี สี แ ละกลิ่ น ส่ว น
ไนโตรเจนไดออกไซด์ นัน้ มีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิปกติ ก๊าซทั้งสองสามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า
24

ฟ้าแลบ หรืออาจเกิดจากการกระทำาของมนุษย์ เช่น การเผาผลาญเชื้อเพลิง การทำาวัตถุระเบิด เป็นต้น ผลของก๊าซ


ไนโตรเจนออกไซด์ที่มีต่อมนุษย์ คือ อาจเริ่มตั้งแต่มีอาการบวมของเนื้อเยื่อในหลอดลม จนถึงมีอาการปอดบวม
3.3.5 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide : SO2) เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ติดไฟ มีกลิ่นฉุนรุนแรงทำาให้หายใจไม่ออก
เกิดจากการรวมตัวกันของสารกำามะถันที่เจือปนอยู่ในเชื้อเพลิงกับก๊าซออกซิเจนในขณะที่เชื้อเพลิงถูกเผาไหม้ ผล
ของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีต่อมนุษย์ หลอดลมส่วนบน ได้แก่ จมูก ช่องจมูก ต่อกับหลอดลมในคอดูดซึมก๊าซ
ซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ไ ม่น้ อ ยกว่ า 40-90% ทั้ งนี้ขึ้ นกั บความเข้มข้น ที่ไ ด้รั บ จากนั้น ก๊าซจะเข้ า สู่โ ลหิ ต แล้ว แพร่
กระจายไปทั่วร่างกายระบบที่ได้รับอันตรายมากที่สุดจะเป็นระบบหายใจ จะมีอาการชีพจรเต้นถี่ขึ้น หายใจอากาศ
เข้าออกน้อยลง เพิ่มแรงต้านในปอด ลดนำ้ามูกและขนาดช่องจมูก
3.3.6 คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและรส เกิดจากการสันดาปไม่สมบูรณ์ระหว่างออกซิเจนและ เชื้อเพลิง ยานยนต์
ต่างๆทำาให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เมื่อมีการสันดาปนำ้า มันเชื้อเพลิงที่ใช้ใน เครื่องยนต์ ส่วนอุตสาหกรรม
ต่ า งๆทำา ให้ เ กิ ด ก๊ า ซนี้ ไ ด้ ด้ ว ย 2 ลั ก ษณะ คื อ กรรมวิ ธี ก ารผลิ ต และการเผาผลาญเชื้ อ เพลิ ง ผลของ
คาร์บอนมอนอกไซด์ต่อมนุษย์คือ เมื่อหายใจเข้าสู่ปอด ก๊าซนี้จะไปจับตัวกับฮีโมโกลบินแทนที่ออกซิเจน เกิดเป็น
คาร์บอกซีฮีโมโกลบิน ซึ่งแตกตัวได้ช้ากว่าออกซิเจน นอกจากนั้นยังเปลี่ยนแปลงการแตกตัวของออกซิเจนจากออก
ซีฮีโมโกลบินที่หลงเหลืออยู่อีกด้วย ก๊าซนี้ในระดับสูงมีผลกระทบต่อการทำา งานของหัวใจอย่างเฉียบพลันทำา ให้
หัวใจผิดปกติ เช่น เต้นเร็วขึ้น เพิ่มจังหวะการเต้นนอกจากนี้อาจมีอาการหัวใจโตชั่วคราว การหอบหืดของหัวใจ
เนื่องจากขาดอากาศ และหลอดเลือดที่ปลายประสาทผิดปกติ

แผนภูมทิ ี่ 5 สัดส่วนของสารมลพิษที่ใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพมลพิษทางอากาศ ได้แก่


คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตามลำาดับ จำาแนกตามแหล่ง
กำาเนิด (ที่มา : http://tuberose.com/Graphics/air%20pollution%20percentages.gif)
25

ตารางที่ 2 การจำาแนกชนิดของมลพิษทางอากาศ

ตารางที่ 3 ผลของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และควันหรือฝุ่นละอองต่อมนุษย์

ความเข้มข้นของ
ควันหรือฝุ่นละออง
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็น
(ไมโครกรัมต่อ ผลที่เกิดขึำน เอกสารอ้างอิง
ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ลูกบาศก์เมตร )
(ส่วนในล้านส่วน)
1500 (0.52) เท่ากับหรือ MC Carroll and
เพิ่มอัตราตาย
(ค่าเฉลี่ย 24 ชัว่ โมง) มากว่า 6 Bradley (1996)
เท่ากับหรือมากกว่า 715
750 อาจเพิ่มอัตราตายต่อวัน Lawther (1963)
(0.25) (ค่าเฉลี่ย 24 ชั่มโมง)
500 (0.19) Brass และ คณะ
ตำ่า อาจเพิ่มอัตราตาย
(ค่าเฉลี่ย 24 ชัว่ โมง) (1966)
เพิ่มอัตราป่วย
เข้ารับการรักษาใน
300 - 500(0.11-0.19) Brass และ คณะ
ตำ่า โรงพยาบาล
(ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง) (1966)
ด้วยโรคทางเดินหายใจ เพิ่ม
อัตรากรขาดงาน
26

ความเข้มข้นของ
ควันหรือฝุ่นละออง
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็น
(ไมโครกรัมต่อ ผลที่เกิดขึำน เอกสารอ้างอิง
ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ลูกบาศก์เมตร )
(ส่วนในล้านส่วน)
715 (0.25) อัตราการป่วยของผู้มีอายุเกิน Carnow และ คณะ
มี
(เฉลี่ย 24 ชั่วโมง) 54 ปี เพิ่มขึ้นโดยฉับพลัน (1968)
600 (0.21) ผูป้ ่วยด้วยโรคปอดเรื้อรัง
300 Lawther (1958)
(ค่าเฉลี่ย 24 ชัว่ โมง) อาจมีอาการรุนแรง
185 มีอาการดรคทางเดินหายใจ
105-265 (0.037-0.092) Petrilli และ คณะ
บ่อยครั้งขึ้น และอาจเกิดโรค
(ค่าเฉลี่ย 1 ปี) (1966)
ปอด
100 เป็นโรคทางเดินหายใจ Lunn และคณะ (1967)
120 (0.046)
บ่อยครั้งขึ้น
(ค่าเฉลี่ย 1 ปี)
และอาการร้ายแรงขึ้น
160 เพิ่มอัตราตายด้วยโรค
115 (0.040) Back and Wicken
หลอดลมอักเสบ
(ค่าเฉลี่ย 1 ปี) (1964)
และมะเร็งปอด
ผลต่อการมองเห็น ใกล้เคียงกับค่าของ การมองเห็นไกลลดลง Bushtueva
286 (0.10) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ประมาณ 5 ไมล์ (1957&1960)
และความชื้น
ร้อยละ 5
ที่มา : USHEW, Division of Air Pollution, Washington, 1962

ผลกระทบของสารมลพิษทางอากาศ
1. ภาวะการเพิ่มขึำนของอุณหภูมิโลก (Global Warming)
เมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์เรือนกระจกเป็นเหตุให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 1 - 2 องศา
เซลเซียส นับแต่ พ.ศ. 2403 เป็นต้นมาพบว่าสูงขึ้นอีกประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส คณะกรรมการระหว่างชาติว่าด้วย
ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศสรุปว่า ถ้าหากแก้ปัญหานี้ไม่ได้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้น 0.2 - 0.5 องศา
เซลเซียส ทุก 10 ปี ทำาให้เกิดความแห้งแล้งรุนแรง ภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานกว่าปกติและเกิดปัญหาอื่นตามมา
27

2. ระดับนำำาทะเลสูงขึำนและเกิดนำำาท่วมรุนแรงกว่าเดิม
นักวิทยาศาสตร์คำานวณว่า ถ้าอุณหภูมิของโลกเพิ่ม 1.5 - 4.5 องศาเซลเซียส นำ้าแข็งขั้วโลกจะละลายเป็นผล
ให้นำ้าทะเลสูงขึ้น 20 - 140 เซนติเมตร โดยคาดว่านำ้าทะเลจะสูงขึ้นอย่างมากใน พ.ศ. 2573 ศตวรรษที่แล้วระดับสูง
กว่าเดิม 10 - 15 เซนติเมตร ปัจจุบันสูงขึ้นปีละ 1.2 มิลลิเมตร IPCC ประมาณว่าใน พ.ศ. 2573 นำ้าทะเลจะสูงขึ้น 20
เซนติเมตร พ.ศ. 2633 สูงเพิ่มอีก 60 เซนติเมตร และ พ.ศ. 2683 จะสูงกว่าเดิมถึง 1 เมตร ถ้านำ้าทะเลสูงขึ้นเพียง 50
เซนติเมตร เมืองสำา คัญและท่าเรือจะจมนำ้า ใต้ผิวนำ้า คนจำา นวนมากต้องอพยพและเกิดปัญหาสังคมมากมาย เช่น
กรุงเทพมหานคร มะนิลาโตเกียว กัลกัตตา นิวยอร์ก บัว โนส/ ไอเรส ภาคใต้ของประเทศบั งคลาเทศ มั ลดี ฟส์
เนเธอร์แลนด์ พื้นที่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักร และชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
3. ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
เมื่อนำ้าทะเลขยายตัว พื้นที่ป่าไม้จะลดลง สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวไม่ได้จะตายและสูญพันธุ์ไป ป่าจะขยายตัวไป
ทางขั้วโลก 10 กิโลเมตรต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส ดินจะพังทลายและเสื่อมโทรมมากขึ้น ภัยธรรมชาติ
จะมีแนวโน้มรุนแรงและเกิดบ่อยขึ้น ทะเลทรายจะขยายกว้างกว่าเดิม ฤดูหนาวจะอุ่นขึ้นทำา ให้ศัตรูพืชถูกทำา ลาย
น้อยลง ชายฝั่งที่เคยเป็นนำ้ากร่อยจะเป็นนำ้าเค็มซึ่งมีผลต่อห่วงโซ่อาหาร พืชนำ้าจืดจะตาย สัตว์จะอพยพและตะกอน
จากชายฝั่ ง จะถู ก พั ด พาไปทั บ ถมนอกชายฝั่ ง ทำา ให้ ทำา ให้ ไ หล่ ท วี ป สู ง ขึ้ น นอกจากนี้ การที่ ป ริ ม าณก๊ า ซ
คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจะทำาให้ผิวนำ้าทะเลมีสภาพเป็นกรดมากขึ้น และจะมีผลกระทบต่อการเจริญของแนว
หินปะการังของโลกด้วย
4. ผลกระทบต่อเกษตรกรรม
ทำาให้ขยายเกษตรไปทางขั้วโลก ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสจะสามารถปลูกธัญพืชสูงขึ้นไปทางขั้ว
โลกเหนือได้ 150 - 200 กิโลเมตร และปลูกในพื้นที่สูงขึ้นอีก 100 - 200 เมตร พืชที่ปลูกตามขอบทะเลทรายจะเสีย
หายเพราะทะเลทรายขยายตัว การนำาพืชไปปลูกถิ่นอื่นต้องปรับสภาพดินและนำ้า วัชพืชและพืชจะโตเร็วและมีขนาด
ใหญ่กว่าเดิมเนื่องจากได้รัคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น แต่ดินจะเสื่อมเร็วเพราะแร่ธาตุจะถูกนำาไปใช้มาก พืชจะขาด
ไนโตรเจนความต้านทานโรคและแมลงลดลง ผลผลิตพืชมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการ
สังเคราะห์แสงได้ดีกว่าจะให้ผลผลิตมากกว่า เช่น พืชที่ใช้คาร์บอน 3 อะตอม (พวกถั่ว มันสำาปะหลัง กล้วย มันฝรั่ง
หัวผักกาดหวาน และข้าวสาลี) จะมีผลผลิตสูงกว่าพืชที่ใช้คาร์บอน 4 อะตอม (พวกข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย และลูก
เดือย) ผลผลิตในหลายแหล่งเช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น จะมากเกินความต้องการทำาให้ราคาตกตำ่า ซึ่งจะ
กระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโลกเป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงการผลิตและการใช้ดิน ต้องปรับปรุงพันธุ์พืชให้มี
ความต้านทานโรค แมลง และอากาศที่แห้งแล้งขึน้
28

ภาพที่ 5 ใบไม้ที่ได้รับผลกระทบจากฝนกรด (acid rain)


ที่มา : http://media-2.web.britannica.com/eb-media/54/72754-004-B387DF74.jpg

ภาพที่ 6 ผลกระทบจากโอโซนต่อใบแตงโมและนำ้าเต้า
ที่มา : http://agdev.anr.udel.edu/weeklycropupdate/wp-content/uploads/2008/07/ozonewatermelon.jpg
http://agdev.anr.udel.edu/weeklycropupdate/wp-content/uploads/2008/07/ozonesquash.jpg

5. ผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน ได้แก่
1) มีผลเสียต่ออารมณ์ ร่างกาย และการปฏิบัติกิจกรรมโดยอากาศร้อนทำาให้คนรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
เหนื่อยง่าย และประสิทธิภาพการทำางานตำ่า
2) มีอันตรายต่อผิวหนัง อุณหภูมิที่สูงมากจะทำาให้เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะตามง่ามเท้า รักแร้ และ ข้อพับ
ทำาให้ผิวหนังเปื่อย เกิดผดผื่นคันหรือถูกเชื้อราหรือแบคทีเรียทำาให้อักเสบได้ง่าย
3) ทำาให้โรคเขตร้อนระบาดได้มากขึ้น เช่น โรคไข้ส่า ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโดยยุงเป็นพาหะ มีอาการโรคไข้
เลือดออก ต่อมนำ้าเหลืองอักเสบบวม ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อาจเสียชีวิตได้ ไม่มีวัคซีนและยาที่ใช้รักษาเฉพาะ เมื่อ
29

พ.ศ. 2540 ระบาดในประเทศบราซิล มีผู้ป่วยไม่ตำ่า กว่า 24,000 คน และในเวเนซุเอลา 32,000 คน เสียชีวิต 40 คน


หากอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำาให้โรคนี้ระบาดทั่วแถบร้อนของโรคได้
4) เป็นอันตรายต่อเด็กและคนชรา โดยจะทำาให้มีโอกาสเสียชีวิตจากคลื่นความเย็นและคลื่นความร้อนมาก
ขึ้น
มลพิษทางอากาศและผลเสียหายต่อสุขภาพ
มลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสุขภาพ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. เกิดการเจ็บป่วยหรือการตายที่เป็นแบบเฉียบพลัน (acute sickness or death) การเจ็บป่วยหรือการตายใน
ลักษณะเช่นนี้มีสาเหตุมาจากการได้สัมผัส (exposed) โดยการหายใจเอามลพิษทางอากาศที่มีความเข้มข้นสูงเข้าสู่
ปอด ซึ่งสามารถจะทำาให้เกิดผลเสียหายได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
2. เกิดการเจ็บป่วยที่เป็นแบบเรื้อรัง (chronic disease) การเจ็บป่วยชนิดนี้ รวมถึงการที่บุคคลมีชีวิตสั้นลง
หรือมีการเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร เป็นผลเนื่องมาจากการได้สัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่มีความเข้มข้นไม่สูง
มากนักแต่ด้วยระยะเวลาที่นานมากพอที่จะทำาให้เกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้ โดยทั่วไปแล้วการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
จะถูกกำาหนดด้วยชนิดของมลพิษทางอากาศ แต่ที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่างๆ เช่น
การเกิดหลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง (chronic bronchitis) ถุงลมโป่งพอง (emphysema) หอบหืด (asthma) มะเร็ง
บางชนิด (cancer) และโรคหัวใจ (heart disease) เป็นต้น
3. เกิดการเปลี่ยนแปลงของหน้าที่ทางสรีระต่างๆ (physiological functions) ของร่างกายที่สำาคัญ ได้แก่ การ
เสื่อมประสิทธิภาพในการทำางานด้านการระบายอากาศ (ventilation) ของปอด การนำาพาออกซิเจนของฮีโมโกลบิน
ในเม็ดเลือดแดง การปรับตัวให้เข้ากับความมืดของตา หรือหน้าที่อื่นๆ ของระบบประสาท
4. เกิดอาการซึ่งไม่ พึงประสงค์ต่ างๆ (untoward symptoms) ตัวอย่างของอาการที่ไ ม่พึงประสงค์ ได้แ ก่
อาการระคายเคืองของอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ เช่น ตา จมูก ปาก และคอ เป็นต้น
5. เกิดความเดือดร้อนรำาคาญ (nuisance) ความเดือดร้อนรำาคาญจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ จากกลิ่น ฝุ่น ขี้
เถ้า ควัน ฯลฯ
30

ภาพที่ 7 อัตราการเสียชีวิตจากมลภาวะในชุมชนเมือง ปี 2000 จากการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก


ที่มา : http://www.wunderground.com/health/airpollution.asp

ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ที่สำาคัญได้แก่
1) ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มากขึ้น เพราะอากาศร้อนจะทำาให้มีการใช้เครื่องปรับอากาศและแร่ เชื้อเพลิง
เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในชุมชนเมืองซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงกว่าชนบท
2) ราคาพืชผลการเกษตรตกตำ่าทั่วโลก เพราะประเทศที่มีกำาลังซื้อพืชผลได้เกินความต้องการทำาให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบการค้าและสินค้าเกษตรกรรม
3) เกษตรกรจะเสียต้นทุนการผลิตมากขึ้น เพราะดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์เร็ว ศัตรูพืชเพิ่มขึ้น ความ
ต้านทานของพืชลดลงขณะเดียวกันก็ต้องลดรายจ่ายลง เช่น ลดการจ้างงาน เป็นต้น
4) ประเทศที่ยากจนจะขาดแคลนอาหารมากขึ้น เนื่องจากการปลูกพืชในบางแห่งได้ผลน้อยทะเลทรายเพิ่ม
ขนาด และพืชหลักของท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย และลูกเดือยมีอัตราเพิ่มของผลผลิตน้อยลง
5) แหล่งท่องเที่ยวชายหาดจะถูกนำ้าทะเลท่วม ดินจะพังทลายทำาให้เสียงบประมาณเพื่อการปรับปรุงจำานวน
มาก
6) การพัฒนาประเทศทำาได้ลา่ ช้า เนื่องจากต้องใช้งบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึน้
31

การป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ
1. ลดสารภาวะมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำาเนิด โดยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเชื้อเพลิง ใช้เครื่องยนต์ที่มี
มลพิษน้อย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดมลพิษจากยานพาหนะ
2. เข้มงวดกับมาตรการลดผลกระทบด้านภาวะมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบการ
ปล่อยมลสารต่างๆ จากภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับภาวะมลพิษ
ทางอากาศจากโรงงาน
3. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดยนำาวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรมาใช้เป็นพลังงานเพื่อลดการ
เผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรในที่โล่ง
4. ปรับปรุงระบบการกำาจัดขยะมูลฝอยชุมชนให้มีการบริหารจัดการแบบครบวงจร ถูกหลักวิชาการ เพื่อลด
การเผาขยะในที่โล่ง
5. ป้องกันการเกิดไฟป่า ตรวจติดตามปฏิบัติการดับไฟป่า และฟื้นฟูสภาพหลังเกิดไฟป่า
6. ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มาจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลด ภาวะมลพิษทาง
อากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน
7. ลดการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีสารประกอบของสารที่ทำาให้เกิดภาวะเรือนกระจก เช่น สารคลอโรฟลูออ
โรคาร์บอน (CFC ) เป็นต้น
8. สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการขนส่งที่มีมลพิษน้อย และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน
9. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอันตรายที่เกิดจากภาวะมลพิษทางอากาศ และมีส่วนรวม
ในการป้องกันแก้ไขมิให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ
10. ปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามและการใช้บังคับกฎหมายด้านการจัดการภาวะ
มลพิษทางอากาศ
32

ข้อสอบปรนัยเกี่ยวกับ “มลภาวะทางอากาศ”

1.ข้อใด ไม่ใช่ สารมลภาวะอากาศหลักที่สำาคัญ


ก.Pb
ข.O3
ค.SO2
ง.Z
2.อากาศบริสุทธิ์โดยปริมาตรประกอบด้วยก๊าซในข้อใดมากที่สุด
ก.ออกซิเจน
ข.ไนโตรเจน
ค.ฮีเลียม
ง.ไฮโดรเจน
3.ข้อใด ไม่ใช่ แหล่งกำาเนิดสารมลพิษที่เกิดจากการกระทำาของธรรมชาติ
ก.ไฟไหม้ป่า
ข.ภูเขาไฟ
ค.การฟุ้งกระจาย
ง.การกลั่นเชื้อเพลิงเหลว
4.ข้อใดเป็นการจับคู่ที่ถูกต้อง
ก.อุตสาหกรรมปุ๋ย – HCL
ข.อุตสาหกรรมสีย้อม – NH3
ค.อุตสาหกรรมยา – CO
ง.อุตสาหกรรมโซดาไฟ – C6H6
5.ข้อใด ไม่ใช่ เป็นสารมลพิษที่มีลักษณะเป็นอนุภาค
ก.ฝุน่
ข.ไอควัน
ค.ละอองลอย
ง.โอโซน
6.สัตว์นำ้าที่มีสารตะกั่วสะสมอยู่มากได้แก่ข้อใด
ก.กุ้งมังกร
ข.หอยนางรม
ค.ปูม้า
33

ง.แมงดาทะเล
7.ข้อใดสัมพันธ์กับฝนกรดมากที่สุด
ก.HbO2
ข.HNO3
ค.SO42-
ง.PbSO4
8.ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของโอโซน
ก.สลายสารพิษและสี
ข.ดับกลิ่น
ค.สลายนิ่ว
ง.ฆ่าเชื้อโรค
9.“การแขวนลอยของอนุภาคของของแข็ง อนุภาคของของเหลว หรือทั้งอนุภาคของของแข็ง และอนุภาคของ
ของเหลวซึ่งมีนำ้าหนักเบามากในตัวกลางที่เป็นอากาศ” คือคำานิยามของข้อใด
ก.อนุมูลไฮดรอกซิล
ข.แอโรซอล
ค.ละอองนำ้ามัน
ง.หมอกควันเคมีแสง
10.สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน เขียนย่อว่าอย่างไร
ก.CPFs
ข.CFOs
ค.CEOs
ง.CFCs

เฉลย
1. ง 2. ข 3. ง 4. ก 5. ง 6. ข 7. ข 8. ค 9. ข 10. ง
34

บรรณานุกรม

“ข้อมูลมลพิษทางอากาศ” เข้าถึงได้จาก http://www.thaienvimonitor.net/Database/table_air.htm


“ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ” เข้าถึงได้จาก http://www.aqnis.pcd.go.th/basic/pollution_basic.htm
“คุณภาพอากาศและเสียง” เข้าถึงได้จาก http://www.pcd.go.th/download/air.cfm
“บทที่ 9 มลภาวะสิ่งแวดล้อม” เข้าถึงได้จาก http://human.uru.ac.th/Major_online/SOC/09Poll/09Poll.htm
“บทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม” เข้าถึงได้จาก
http://61.19.127.107/bionew/bio6new/unit23/u23-2/u23215.htm
“มลพิษทางอากาศของไทย : ผลพวงจากโลกร้อน” เข้าถึงได้จาก
http://www.nrct.go.th/2008/downloads/020507document1.pdf
“ศูนย์พัฒนาความเลิศด้านมลพิษทางอากาศ” เข้าถึงได้จาก http://www.aqnis.pcd.go.th/tapce/

You might also like