You are on page 1of 36

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

‘อัคคีภัย’
ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท

FIRE EXIT


ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย’
สารบัญ
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

ลิง

ความ
เพ
เชื้อ

ร้อน
ออกซิเจน

2 ประเภทของไฟ
3 องค์ประกอบของไฟ
4 การควบคุมเพลิง

5 ระยะเวลาการเกิดไฟไหม้
6 ระยะการเกิดไฟไหม้
7 ระดับ
และการลุกลามของไฟ และการควบคุมเพลิง การควบคุมเพลิง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

8 ปัจจัยเสี่ยงอันตราย 10 การสังเกตลักษณะ 11 สาเหตุการเกิด


จากเพลิงไหม้ ของควันไฟ เพลิงไหม้

12 วิธีป้องกัน
16 การตรวจสอบระบบป้องกัน 20 การเตรียมพร้อมรับมือ
เพลิงไหม้ และระงับเหตุเพลิงไหม้ในอาคารสูง เพลิงไหม้อาคารสูง

22 การปฏิบัติตน
24 การอพยพออกจาก
26 ข้อควรรู้
เมื่อเกิดเพลิงไหม้ พื้นที่เกิดเพลิงไหม้ ในการอพยพหนี ไฟ

28 30 31
การเลือกใช้ถังดับเพลิง วิธีใช้งาน การช่วยเหลือและปฐมพยาบาล
ให้เหมาะสมกับประเภทเชื้อเพลิง ถังดับเพลิง ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

‘อัคคีภัย’
ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท
อัคคีภัย เป็นภัยใกล้ตัวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่มีสาเหตุ
จากความประมาท และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งแต่ละครั้ง
ที่เกิดเพลิงไหม้ สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน
อย่างมหาศาล โดยเฉพาะหากเกิดในชุมชนแออัด อาคารสูง
อาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม
จะยิ่งสร้างความเสียหายมากขึ้น เพื่อความปลอดภัย กระทรวง
มหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ขอแนะสาเหตุการเกิด วิธีป้องกันเพลิงไหม้ รวมถึงการปฏิบัติตน
และอพยพออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้อย่างปลอดภัย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
1
ประเภทของไฟ
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

ประเภทของไฟ วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง

A
ประเภท A
เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง อาทิ
กระดาษ ไม้ ผ้า ยาง พลาสติก

B
ประเภท B
เชื้ อ เพลิ ง ที่ เ ป็ น ของเหลว
ติดไฟและก๊าซ อาทิ น้ำมัน
แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ ยางมะตอย

C
ประเภท C
เชื้ อ เพลิ ง ที่ มี ก ระแสไฟฟ้ า
อาทิ อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟ
ปลั๊กไฟ สวิตช์ไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า

เชื้ อ เพลิ ง ที่ เ ป็ น โลหะหรื อ


D สารเคมีติดไฟง่าย อาทิ
อลูมิเนียม แม็กนีเซียม โซเดียม
ประเภท D วัตถุระเบิด ปุ๋ยยูเรีย

K เชื้ อ เพลิ ง ประเภทน้ำ า มั น ที่


ติดไฟยาก อาทิ น้ำมันประกอบ
อาหาร น้ำมันพืช ไขมันสัตว์
ประเภท K
2 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท
องค์ประกอบของไฟ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ิง

ควา
เพล

มร้อ
เชื้อ


ออกซิเจน

ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

1 เชื้อเพลิง 2 ความร้อน 3 ออกซิเจน


ส่วนที่เป็นไอ โดย ต้องมีความร้อนสูง การเผาไหม้แต่ละครัง้
เชื้อเพลิงที่ทำให้ เพียงพอที่จะทำให้ อ า ก า ศ ต้ อ ง มี
เกิ ด การลุ ก ไหม้ เชื้อเพลิงเกิดการ ออกซิเจนไม่ต่ำกว่า
มาจากสารอนินทรีย์ ลุ ก ไหม้ จ นถึ ง ขั้ น ร้อยละ 16 ยิง่ เชือ้ เพลิง
เคมี และสารอินทรีย์ ติดไฟ มี อ อกซิ เ จนมาก
เคมี จะยิ่งทำให้ติดไฟ
ได้ดี

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย l


3
การควบคุมเพลิง
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

ให้ลดความร้อน โดยใช้น้ำฉีดพ่นบริเวณ
water

ต้นเพลิง

ทำาให้เกิดการอับอากาศ โดยควบคุม
ปริมาณออกซิเจน หรือใช้ถังดับเพลิง
ชนิดผงเคมีแห้งหรือโฟมฉีดพ่นบริเวณ
ต้นเพลิง

ตัดกระแสไฟฟ้า แล้วใช้ก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซด์ไล่ออกซิเจน หรือใช้ถังดับเพลิง
ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือน้ำยา
เหลวระเหยฉีดพ่นบริเวณต้นเพลิง

ทำาให้เกิดการอับอากาศ โดยควบคุม
ปริมาณออกซิเจน หรือใช้สารเคมี อาทิ
โซเดียมคลอไรด์ ผงแกรไฟต์

ทำาให้เกิดการอับอากาศ หรือใช้ถัง
ดับเพลิงชนิดพิเศษ

4 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


ระยะเวลาการเกิดไฟไหม้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

และการลุกลามของไฟ

5
นาที

4
นาที

3
นาที

2
นาที

1
นาที

ระยะเวลา ลักษณะการลุกลามของไฟ
1 นาที ไฟลุกลามกระจายทั่วห้อง

2 นาที ควันไฟลอยตัวปกคลุมชั้นบน

3 นาที พื้นห้องมีควันไฟปกคลุมหนาแน่น

4 นาที ไฟลุกลามทั่วบริเวณ ครอบคลุมทั้งชั้นบนและชั้นล่าง

5 นาที มีควันพิษและความร้อนสูง ทำให้ผู้ประสบเหตุเสียชีวิตได้

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
5
ระยะการเกิดไฟไหม้
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

และการควบคุมเพลิง

ระยะการเกิด
ไฟไหม้ ระยะเวลา

ตั้งแต่เกิดเปลวไฟ จนถึง
ขั้นต้น 4 นาที

4 นาที

ตั้งแต่เกิดไฟไหม้ 4 – 8
ขั้นปานกลาง นาที อุณหภูมจิ ะสูงมากกว่า
400 องศาเซลเซียส
4-8 นาที

ไฟไหม้ตอ่ เนือ่ งเกิน 8 นาที


อุ ณ หภู มิ สู ง มากกว่ า
ขั้นรุนแรง 600 องศาเซลเซียส และมี
เชื้ อ เพลิ ง ปริ ม าณมาก
ที่ ทำ า ใหไฟลุ
้ ก ลามไปใน
< 8 นาที ทุกทิศทางอย่างรวดเร็ว

6 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


ระดับการควบคุมเพลิง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ควบคุมเพลิงได้ด้วย
ตนเอง โดยใช้ถังดับเพลิง

ควบคุมเพลิงโดยพนักงาน
ดับเพลิง ที่มีอุปกรณ์ในการ
ดับไฟ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ควบคุมเพลิงโดยพนักงานดับเพลิงที่มีความชำานาญ
และประสบการณ์สูง รวมถึงมีอุปกรณ์ดับเพลิงสำหรับระงับ
เพลิงไหม้ขั้นรุนแรง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
7
ปัจจัยเสี่ ยงอันตราย
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

จากเพลิงไหม้

ความร้อนจากเปลวไฟ
150 700

l หากสูดอากาศที่มีความร้อน l เพลิ ง ไหม้ ที่ ลุ ก ลามในห้ อ ง


150 องศาเซลเซียส เข้าสู่ เป็นเวลา 1 นาทีขึ้นไป ทำให้
ร่างกาย ปอดจะถูกทำลายและ อุณหภูมิสูงถึง 700 องศา
อวัยวะภายในหยุดทำงาน ส่งผล เซลเซียส หากอยูใ่ นพืน้ ทีด่ งั กล่าว
ให้หมดสติและเสียชีวิตได้ จะเสียชีวิตทันที
8 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท
ปัจจัยเสี่ ยงอันตราย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

จากเพลิงไหม้

ความมืด

l เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะมีควันไฟ
สีดาำ ทึบปกคลุมพื้นที่ ซึ่งเป็น
อุปสรรคต่อการมองเห็นและ
อพยพออกจากอาคาร

l เมื่ อ เกิ ด เพลิ ง ไหม้ ก ระแส


กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ไฟฟ้าจะดับ ส่งผลให้การอพยพ
หนีไฟเป็นไปด้วยความยาก
ลำบาก

ระยะเวลาในการอพยพหนีไฟ

l เมื่อเกิดเพลิงไหม้ผู้ประสบภัยมีระยะเวลาในการ
อพยพหนี ไฟอย่างปลอดภัยเพียง 2 นาทีแรก
เนื่องจากไฟยังไม่ลุกลามขยายวงกว้างและมีควันไฟ
ปกคลุมเบาบาง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย l
9
การสั งเกตลักษณะของควันไฟ
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

ลักษณะของควันไฟ ลักษณะการลุกลามของไฟ
ควันไฟที่พุ่งออกจาก แสดงว่า จุดที่เป็นต้นเพลิงอยู่ใกล้
ช่องประตูและหน้าต่าง บริเวณดังกล่าว
อย่างรวดเร็ว
ค วั น ไ ฟ สี ดำ า แ ล ะ
เคลื่อนที่เร็ว แสดงว่า อยู่ใกล้จุดต้นเพลิง

ควั น ไฟสี จ างและ แสดงว่า อยู่ไกลจากต้นเพลิง


เคลื่อนที่ช้า
แสดงว่า เพลิงไหม้บริเวณดังกล่าว
ควันไฟหนาแน่น มี ก๊ า ซพิ ษ ที่ เ ป็ น อั น ตรายต่ อ
ระบบทางเดินหายใจ
ควั น ไฟที่ มี ลั ก ษณะ
เดียวกัน ทั้งรูปร่าง สี แสดงว่า ต้นเพลิงเป็นพื้นที่อับ
และความเร็วพุ่งออก อากาศหรือไฟลุกไหม้เต็มที่แล้ว
มาจากช่องต่างๆ
แสดงว่า มีแนวโน้มที่ควันอาจลุก
ติดไฟกลายเป็นลูกไฟขนาดใหญ่
ควันไฟสีดาำ หนาแน่น และมีการเผาไหม้ต่อเนื่องในจุดที่
ห่างออกมาจากต้นเพลิง
ควันไฟสีเทา (ไม่เป็น แสดงว่า เพลิงลุกไหม้เต็มพื้นที่และ
สีดำาหรือสีขาว) ลอย กำลังลุกลามออกมา ควรหลีกเลีย่ ง
ออกมาจากช่องประตู การเข้ า ไปในบริ เ วณดั ง กล่ า ว
และหน้าต่างที่ปิดอยู่ และให้รีบอพยพออกจากอาคาร
หรือรอยต่อฝาผนัง ทันที

10 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ความประมาทและความรู้ เ ท่ า
ไม่ถึงการณ์ ทัง้ การไม่ดบั ไฟบุหรีกอ่ นทิง้
การจุดธูปเทียนหรือยากันยุงทิ้งไว้โดยไม่
ดูแล การเผาขยะและหญ้าแห้งในบริเวณ
ที่ติดไฟง่าย รวมถึงการจัดเก็บวัสดุที่เป็น
เชื้อเพลิงใกล้แหล่งความร้อน จึงเพิ่ม
ความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้

ไฟฟ้าลัดวงจร การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่ไม่ได้มาตรฐาน สายไฟฟ้าเสื่อมสภาพ
การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ถูกวิธี
การไม่ ดู แ ลเครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า ให้ อ ยู่ ใ น
สภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงการใช้ฟิวส์
หรือสายไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เหมาะสม
กับปริมาณกระแสไฟฟ้า ทำให้ไฟฟ้า
ลัดวงจรเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้

ก๊าซหุงต้มรั่วไหล เนือ่ งจากก๊าซหุงต้ม


เป็นเชือ้ เพลิงทีม่ คี ณ
ุ สมบัตไิ วไฟ หากใช้งาน
อย่างไม่ถูกวิธีหรือถังก๊าซไม่ได้มาตรฐาน
อาจทำให้ก๊าซรั่วไหล หากมีประกายไฟ
ในบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้เกิดระเบิด
และเพลิงไหม้ได้

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
11
วิธีป้องกันเพลิงไหม้
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

จัดสภาพแวดล้อมบ้าน
ให้ปลอดภัยจากเพลิงไหม้
โดยกำจัดวัสดุท่เี ป็นเชื้อเพลิง
เก็บแยกสารเคมีที่ติดไฟง่าย
ให้ ห่ า งจากแหล่ ง ความร้ อ น
ไม่จัด เก็บ สิ่งของกีด ขวาง
ประตูทางออกฉุกเฉิน และ
บันไดหนีไฟ

เลื อ กใช้ อุ ป กรณ์ แ ละ


เครื่ อ งใช้ ไฟฟ้ า ที่ ได้
มาตรฐาน ไม่ใช้เครื่องใช้
ไฟฟ้าที่มีราคาถูก เลือกใช้
สายไฟที่มีขนาดเหมาะสม
กั บ ปริ ม าณกระแสไฟฟ้ า
ไม่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด
มาใช้งาน เพราะเสี่ยงต่อ
การเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้า
ลัดวงจร

12 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


วิธีป้องกันเพลิงไหม้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

จั ด วางเครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า


ในบริ เ วณที่ ป ลอดภั ย
ไม่วางใกล้แหล่งความร้อน
วัสดุที่ติดไฟง่าย และสารไวไฟ
โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า
ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ความร้ อ น
และมี ม อเตอร์ เ ป็ น ส่ ว น
ประกอบ ควรวางในจุดที่มี
อากาศถ่ า ยเทสะดวกและ
ระบายความร้อนได้ดี จะช่วย
ลดความเสี่ยงต่อการเกิด
เพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร

ตรวจสอบเครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า ให้ อ ยู่ ใ นสภาพใช้ ง านอย่ า ง


ปลอดภัย โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำ มีมอเตอร์
เป็นส่วนประกอบและอยู่ด้านนอกอาคาร เพราะเสี่ยงต่อการชำรุด
เสียหายได้ง่าย ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุของ
เพลิงไหม้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย
l
13
วิธีป้องกันเพลิงไหม้
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

ติ ด ตั้ ง อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น


และระงั บ เหตุ เ พลิ ง ไหม้
อาทิ ถังดับเพลิงเคมี เครื่อง
ตรวจจับควันไฟ สัญญาณเตือน
เพลิ ง ไหม้ บ ริ เ วณจุ ด เสี่ ย ง
อาทิ ห้องครัว ห้องพระ พร้อม
ติดตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้า
อัตโนมัติ เบรกเกอร์ บริเวณ
แผงควบคุมไฟฟ้า รวมถึง
หมั่ น ตรวจสอบให้ อ ยู่ ใ น
สภาพใช้งานอย่างปลอดภัย

24
ชั่วโมง

ใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ไม่เปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าติดต่อ


กันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับความร้อน
และมีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ ไม่เสียบปลั๊กไฟหลายอันกับเต้าเสียบ
เดียวกัน พร้อมปิดสวิตช์ไฟและถอดปลั๊กไฟทุกครั้งหลังใช้งาน
เพื่อป้องกันความร้อนสะสม ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้

14 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


วิธีป้องกันเพลิงไหม้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

เพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ
ไม่จุดยากันยุงหรือธูปเทียนทิ้งไว้โดยไม่ดูแล ดับไฟก้นบุหรี่ให้สนิท
ก่อนทิ้ง ไม่เผาขยะหรือหญ้าแห้งบริเวณที่มีวัสดุติดไฟง่ายและเสี่ยง
ต่อการเกิดไฟลุกลาม

ใช้งานก๊าซหุงต้มด้วยความระมัดระวัง โดยตรวจสอบ
ถังก๊าซให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ วาล์วถังก๊าซ สายยางหรือ
ท่อนำก๊าซไม่มีรอยรั่ว จัดวางถังก๊าซให้ห่างจากบริเวณที่มี
ประกายไฟ รวมถึงปิดวาล์วถังก๊าซทุกครั้งหลังใช้งาน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
15
การตรวจสอบระบบป้องกัน
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

และระงับเหตุเพลิงไหม้ในอาคารสูง

แผนผังอาคาร ต้องติดตั้ง ป้ายบอกเส้นทางหนี ไฟ


ในตำแหน่งที่มองเห็นได้อย่าง ติ ด ตั้ ง ในบริ เ วณที่ ม องเห็ น
ชั ด เจนบริ เ วณชั้ น ล่ า งของ อย่ า งชั ด เจนทั้ ง ด้ า นในและ
อาคาร ซึ่งแสดงตำแหน่งห้อง ด้ า นนอกของประตู ห นี ไ ฟ
อุปกรณ์ดบั เพลิง ประตูทางออก มีไฟฉุกเฉินส่องสว่างที่นำไปสู่
ฉุกเฉิน เส้นทางหนีไฟ ตูส้ ายยาง ทางออกจากอาคาร
และหัวฉีดน้ำในแต่ละชั้นของ
อาคาร

16 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


การตรวจสอบระบบป้องกัน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

และระงับเหตุเพลิงไหม้ในอาคารสูง

ประตู ท างออกฉุ ก เฉิ น


ทำจากวัสดุทนไฟ โดยติดตั้ง
1.5 เมตร
ในลักษณะผลักเข้าสู่ด้านใน
ของบันไดหนีไฟ กรณีเป็น
ประตูทางออกชั้นล่างสุดหรือ
ดาดฟ้าต้องติดตั้งในลักษณะ
ถังดับเพลิง ต้องอยูใ่ นสภาพ
ผลักออก เพื่อสะดวกต่อการ
สมบูรณ์ ไม่ผุกร่อน หรือขึ้น
อพยพหนีไฟ อีกทั้งประตู
สนิม น้ำยาดับเพลิงไม่จับตัว
ต้องไม่ปิดล็อก ไม่วางสิ่งของ
แข็งเป็นก้อน เข็มมาตรวัดอยู่
กีดขวางบริเวณประตูทางออก
ในแถบสีเขียว รวมถึงติดตั้ง
เมือ่ เกิดเพลิงไหม้จะได้อพยพ
ในจุ ด ที่ สั ง เกตเห็ น ได้ ง่ า ย
ออกจากอาคารทันท่วงที
หยิบใช้งานสะดวก และอยู่สูง
จากระดับพื้นไม่เกิน 1.5 เมตร

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
17
การตรวจสอบระบบป้องกัน
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

และระงับเหตุเพลิงไหม้ในอาคารสูง

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
ต้องอยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งาน
ทัง้ สัญญาณเตือนเพลิงไหม้
เครื่องตรวจจับควันไฟหรือ
ความร้อน (Detector) และ บันไดหนี ไฟ ต้องมีอย่างน้อย
ระบบประกาศเรียกฉุกเฉิน 2 แห่ง ในตำแหน่งที่สามารถ
ที่ส่งสัญญาณได้ในลักษณะ หาได้ง่าย ไม่วางสิ่งของกีดขวาง
แสงหรือเสียง เมื่อตรวจพบ บริ เ วณทางเดิ น ของบั น ได
ความร้อน ควันไฟหรือเกิด หนีไฟ อีกทั้งควรมีช่องหน้าต่าง
เหตุเพลิงไหม้ จะได้แจ้งเตือน ระบายควัน จะช่วยป้องกัน
ผู้ที่อาศัยในอาคารให้อพยพ การสำ า ลั ก ควั น ไฟเสี ย ชี วิ ต
หนีไฟทันท่วงที ขณะอพยพหนีไฟ

18 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


การตรวจสอบระบบป้องกัน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

และระงับเหตุเพลิงไหม้ในอาคารสูง

อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ
(Sprinkler System)
อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี หาก
ระบบขัดข้องหรือสัญญาณ
ไม่ทำงาน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่
ตรวจสอบและซ่ อ มแซม ระบบไฟฟ้าสำารองฉุกเฉิน
โ ด ย ทุ ก ชั้ น ข อ ง อ า ค า ร ต้องแยกออกจากระบบไฟฟ้าอื่น
ต้ อ งติ ด ตั้ ง ระบบดั บ เพลิ ง ภายในอาคาร เพือ่ ให้สามารถ
อัตโนมัติ เพื่อควบคุมเพลิง ทำงานได้ทันทีที่เกิดเพลิงไหม้
ในเบื้องต้น และไฟฟ้าดับ โดยไฟสำรอง
จะจ่ายไฟไปยังระบบดับเพลิง
ได้นานกว่า 2 ชัว่ โมง โดยเฉพาะ
เครื่องสูบน้ำ ลิฟต์ดับเพลิง
และระบบสื่ อ สารต้ อ งมี ไ ฟ
สำรองตลอดเวลา

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
19
การเตรียมพร้อมรับมือเพลิงไหม้
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

อาคารสูง

ตรวจสอบ จดจำา
สั ญ ญาณเตื อ นเพลิ ง ไหม้ เส้นทางไปสู่ประตูทางออก
แ ล ะ อุ ป ก ร ณ์ ร ะ งั บ เ ห ตุ ฉุกเฉินและบันไดหนีไฟที่อยู่
เพลิ ง ไหม้ ใ ห้ อ ยู่ ใ นสภาพ ใกล้ทส่ี ดุ อย่างน้อย 2 เส้นทาง
พร้อมใช้งาน ประตูทางออก เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เส้ น ทางอพยพ
ฉุกเฉิน ไม่ปิดล็อกเส้นทาง ออกจากอาคารเมื่ อ เกิ ด
อพยพและบั น ไดหนี ไ ฟไม่ มี เพลิงไหม้
สิ่งของวางกีดขวาง เมื่อเกิด
เพลิงไหม้จะได้อพยพออกจาก
อาคารทันท่วงที

20 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


การเตรียมพร้อมรับมือเพลิงไหม้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

อาคารสูง

ROOM

เรียนรู้ เตรียมพร้อม
วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดเพลิงไหม้ จัดเตรียมสิ่งของและเครื่องใช้
อาทิ การแจ้งเหตุฉุกเฉิน ที่จำเป็น อาทิ กุญแจห้อง
การส่งสัญญาณเตือน การใช้ โทรศัพท์มือถือ ไฟฉาย นกหวีด
ถังดับเพลิง รวมถึงเข้าร่วมการ ไว้ในจุดที่หยิบใช้งานสะดวก
อพยพหนีไฟ จะได้ปฏิบัติตน หากเกิดเพลิงไหม้จะได้นำมา
ได้อย่างถูกต้องเมือ่ เกิดเพลิงไหม้ ใช้งานทันที

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
21
การปฏิบัติตนเมื่อเกิดเพลิงไหม้
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

ตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก ประเมินสถานการณ์ ในเบื้องต้น

เพลิงไหม้เล็กน้อย
ใช้ถังดับเพลิงควบคุม
เ พ ลิ ง ใ น เ บื้ อ ง ต้ น
พร้ อ มโทรศั พ ท์ แ จ้ ง
เจ้ า หน้ า ที่ ม าควบคุ ม
เพลิง

เพลิงไหม้รุนแรง
ตะโกนบอกหรือกดสัญญาณเตือน
เพลิงไหม้ เพื่อแจ้งให้ผู้อื่นทราบ พร้อม
อพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้
จากนั้ น ให้ โ ทรศั พ ท์ แ จ้ ง เจ้ า หน้ า ที่
มาควบคุมเพลิง

22 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


การปฏิบัติตนเมื่อเกิดเพลิงไหม้
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ก่อนออกจากห้องให้ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตู

หากไม่ร้อน ให้เปิดประตูออกไปช้าๆ และอพยพไปตามเส้นทาง


หนีไฟที่ปลอดภัย

หากมีความร้อนสูง ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะอยู่ในวงล้อม


ของเพลิงไหม้ ให้ใช้ผ้าหนาๆ ชุบน้ำอุดตามช่องที่ควันไฟสามารถลอย
เข้ามาได้ ปิดพัดลมระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกัน
การสูดดมควันไฟ จากนั้นโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อบอกตำแหน่ง
ที่ติดอยู่ และส่งสัญญาณให้ผู้อื่นทราบ จะได้รับการช่วยเหลืออย่าง
ทันท่วงที
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย
l
23
การอพยพออกจากพื้ นที่
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

เกิดเพลิงไหม้

หลีกเลี่ยงการสูดดมควันไฟเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
โดยใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่
อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาครอบศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดม
ควันไฟเข้าสู่ร่างกาย ทำให้หมดสติและเสียชีวิต

1 ฟุต

อพยพไปตามเส้นทางที่ปลอดภัย โดยหนีไฟไปในทิศทาง
เดียวกับควันไฟและความร้อน พร้อมหมอบคลานต่ำหรือย่อตัว
ให้ใกล้กับระดับพื้นมากที่สุด เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือ
พื้นในระดับไม่เกิน 1 ฟุต

24 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


การอพยพออกจากพื้ นที่
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

เกิดเพลิงไหม้

ใช้บันไดหนี ไฟในการ
อพยพออกจากอาคาร
เนื่ อ งจากมี ช่ อ งระบาย
อากาศ จึงช่วยลดการ
สูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย

หลี ก เลี่ ย งการใช้ บั น ได


ภายในอาคารเป็นเส้นทาง
อพยพหนี ไฟ เพราะบันได
มีลักษณะเป็นปล่อง ทำให้
ควันไฟและเปลวเพลิงลอยตัว
ขึ้นมาปกคลุม จึงเสี่ยงต่อการ
สำลักควันไฟและถูกไฟคลอก
เสียชีวิต

ห้ า มใช้ ลิ ฟ ต์ ในการ
อพยพหนี ไฟ เพราะเมื่อ
เกิดเพลิงไหม้ ไฟฟ้าจะดับ
ทำให้ติดค้างภายในลิฟต์
ขาดอากาศหายใจเสียชีวิต

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
25
ข้อควรรูใ้ นการอพยพหนีไฟ
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

ไม่เข้าไปอยู่ในบริเวณจุดอับ
ของอาคาร อาทิ ห้องใต้ดิน
เพราะยากต่อการช่วยเหลือ
ของเจ้าหน้าที่

ไม่เข้าไปอยู่ในห้องน้ำา เพราะ
ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการ
ดับไฟ ทำให้ถูกไฟคลอกเสีย
ชีวิตได้

ไม่ขึ้นไปชั้นบนหรือดาดฟ้า
ของอาคาร เพราะไฟจะลุกลาม
จากชั้นล่างขึ้นสู่ชั้นบน ทำให้
เสี่ยงต่อการได้รับอันตราย
ยกเว้ น กรณี ที่ ไ ม่ ส ามารถ
อพยพหนีไฟลงสู่ชั้นล่างได้

26 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


ข้อควรรูใ้ นการอพยพหนีไฟ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

หยุด หมอบ กลิ้งตัว


กรณี ไฟลุกลามติดเสื้อผ้า ให้รีบถอดเสื้อผ้าหรือใช้วิธีนอน
ราบกับพื้น กลิ้งตัวไปมาให้ไฟดับ ห้ามวิ่งอย่างเด็ดขาด เพราะไฟ
จะลุกลามรวดเร็วขึ้น

กรณี ติ ด อยู่ ใ นอาคาร


ให้โทรศัพท์แจ้งเหตุ พร้อมระบุ
ตำแหน่งที่ติดอยู่ หรือส่ง
สัญญาณขอความช่วยเหลือ
จากเจ้ า หน้ า ที่ ห รื อ ผู้ ที่ อ ยู่
ภายนอกอาคาร อาทิ โบกผ้า
ใช้ไฟฉาย เป่านกหวีด

ห้ า มกลั บ เข้ า ไป ใน
อาคารทีเ่ กิดเพลิงไหม้
เพราะอาจถูกไฟคลอก
หรือได้รับอันตรายจาก
โครงสร้ า งอาคารที่ พั ง
ถล่มลงมา

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
27
การเลือกใช้ ถังดับเพลิง
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

ให้เหมาะสมกับประเภทเชื้ อเพลิง

ชนิดผงเคมีแห้ง ใช้ดับไฟที่เกิดจาก
เชื้อเพลิงได้เกือบทุกประเภท ยกเว้น
เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ติดไฟยาก A
เมื่ อ ฉี ด พ่ น ออกมาจะมี ลั ก ษณะเป็ น
ฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย จึงเป็นอุปสรรค
B
ต่อการดับเพลิง รวมถึงก่อให้เกิดคราบ C
สกปรก

A ชนิดเคมีสูตรน้าำ ใช้ดับไฟที่เกิดจาก
B เชื้อเพลิงทั่วไป ของเหลวติดไฟ ก๊าซ
C เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และน้ำมัน
ที่ติดไฟยาก เหมาะสำหรับควบคุมเพลิง
D ในห้องครัว เนื่องจากสามารถดับไฟที่เกิด
K จากน้ำมันประกอบอาหารได้

ชนิดน้ำายาเหลวระเหย เหมาะสำหรับ
ควบคุมเพลิงไหม้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ A
ห้องไฟฟ้า ห้องเก็บอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์ B
เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้สำนักงาน
เนื่องจากไม่ทำให้เกิดคราบสกปรก C

28 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


การเลือกใช้ ถังดับเพลิง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ให้เหมาะสมกับประเภทเชื้ อเพลิง

ชนิ ด ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์


เหมาะสำหรับควบคุมเพลิงไหม้สถานี
B บริการน้ำมัน ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็น

C ไอเย็นจัดคล้ายน้ำแข็งแห้ง จึงช่วยลด
ความร้อนของไฟ รวมถึงไม่ทำให้เกิด
คราบสกปรก แต่ไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้
ในบริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเท เพราะอาจ
ทำให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิต

ชนิดโฟม เหมาะสำหรับดับเพลิงในภาค
อุตสาหกรรม เชื้อเพลิงประเภททินเนอร์
และสารระเหยติดไฟ เมื่อฉีดพ่นออกมา
จะมีลักษณะเป็นฟองโฟมปกคลุมเชื้อเพลิง
ที่ลุกไหม้ แต่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ หากนำ
A
ไปดั บ เพลิ ง ที่ เ กิ ด กั บ เครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า B
และอุปกรณ์ไฟฟ้า จะทำให้ผู้ใช้งานถูก
ไฟฟ้าดูดได้

การเลือกใช้ถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับประเภทเชื้อเพลิง
จะทำาให้สามารถควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามและขยายวงกว้าง
แต่หากใช้ถังดับเพลิงควบคุมไฟผิดประเภท นอกจากจะไม่
สามารถระงับเหตุเพลิงไหม้ ได้แล้ว อาจก่อให้เกิดอันตราย
ต่อผู้ใช้งานอีกด้วย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
29
วิธีใช้ งานถังดับเพลิง
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

ดึงสลักนิรภัยออกจากคันบีบ
ดึง บริเวณหัวถังดับเพลิง โดยหมุน
สลักจนตัวยึดขาด และดึง
สลักทิ้ง

ปลดสายฉีดออกจากตัวถัง
ปลด ดับเพลิง โดยดึงจากปลาย
และใช้มอื จับสายฉีดให้มน
่ั คง

กดคั น บี บ ด้ า นบนของถั ง
กด ดับเพลิง เพื่อให้น้ำยาดับเพลิง
พุ่ ง ออกจากหั ว ฉี ด ไปยั ง
ต้นเพลิง

ส่าย ส่ายหัวฉีดของถังดับเพลิง
ให้ทั่วบริเวณต้นเพลิง

ทั้งนี้ ผู้ใช้งานถังดับเพลิงควรอยู่ห่างจาก
บริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ประมาณ 2 - 4 เมตร
ทางด้านเหนือลม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการควบคุมเพลิง 2 - 4 เมตร

30 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


การช่ วยเหลือและปฐมพยาบาล
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้

กรณีสำาลักควันไฟ
ผู้ที่สำลักควันไฟจะสูดก๊าซ
คาร์ บ อนมอนอกไซด์ เ ข้ า สู่
ร่างกาย ทำให้หายใจลำบาก ไอ
เล็บมือและเล็บเท้ามีสีเขียวคล้ำ
ส่งผลให้หมดสติ ให้นำผูส้ ำลัก
ควั น ไฟไปอยู่ ใ นบริ เ วณที่ มี
อากาศถ่ายเทสะดวก พร้อม
คลายเสื้อผ้าให้หลวม จะช่วย
ให้ ผู้ ป ระสบเหตุ ห ายใจได้
คล่องขึ้น

กรณีหมดสติ
ปฐมพยาบาลเบื้ อ งต้ น
ด้ ว ย ก า ร ผ า ย ป อ ด
และนวดหัวใจ พร้อมนำ
ผู้หมดสติส่งสถานพยาบาล
ที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย


l
31
น่ารู้
).ภป( ยภ
ั ณราธาสาทเรรบะลแนก
ั งอป
้ มรก

การสำ า ลั ก ควั น ไฟ
เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต
จากเหตุ เ พลิ ง ไหม้ ม ากกว่ า
การถูกไฟคลอก เพราะภายใน
1 นาที ควันไฟจะลอยสูงเท่ากับ
ตึก 60 ชั้น อีกทั้งทันทีที่เกิด
60 ชั้น เพลิงไหม้ ควันไฟจะปกคลุม
พืน้ ทีอ่ ย่างรวดเร็ว ทำให้รา่ งกาย
1 นาที สูดดมควันไฟเข้าสู่ระบบทาง
เดินหายใจ ส่งผลให้หมดสติ
และเสียชีวต ิ ก่อนถูกไฟคลอก

32 อัคคีภัย ภัยใกล้ตัวป้องกันได้ - ต้องใส่ใจไม่ประมาท


หมายเลขโทรศั พท์แจ้งเหตุฉุกเฉิน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

191 199
เหตุด่วนเหตุร้าย แจ้งไฟไหม้ - ดับเพลิง

1130 1129
การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

1554 1646
หน่วยแพทย์กู้ชีวิต สำานักการแพทย์กรุงเทพมหานคร
วชิรพยาบาล ศูนย์เอราวัณ

1669 1784
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กระทรวงมหาดไทย
3/12 ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์ / โทรสาร : 0 - 2243 - 0674, 0 - 2243 - 2200
1784 สายด่วนนิรภัย

www.disaster.go.th

You might also like