You are on page 1of 6

การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

ตอนที่ 1 ความรู้ทั่วไป
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมช เชี่ยวชาญ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เมื่อเข้าหน้าแล้งของทุกปี ข่าวการเกิดเพลิงไหม้ ตามสถานที่ต่าง ๆก็มีให้พบเห็นเรื่อยมา ทั้งที่เป็นชุมชน บ้าน


เรือน และที่เป็นสถานประกอบกิจการและ/หรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะช่วงนี้ข่าวเกี่ยวกับอัคคีภัยที่เกิดกับโรงงาน
อุตสาหกรรมพบได้บ่อยมาก
การเกิดอัคคีภัยไม่ว่าจะสถานที่ใดย่อมนำ�มาซึ่งความสูญเสียและผลกระทบต่อผู้ที่ประสบเหตุ โดยเฉพาะเมื่อเกิด
กับโรงงานอุตสาหกรรมด้วยแล้ว ผลกระทบดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบวงกว้าง ทั้งกับเจ้าของโรงงานและพนักงานที่ทำ�งานอยู่ใน
โรงงาน รวมทั้งชุมชนโดยรอบบริเวณที่เกิดเหตุ
งานป้องกันและระงับอัคคัภัยในโรงงานอุตสาหกรรม จัดเป็นงานหนึ่งในด้านความปลอดภัยในการทำ�งาน ซึ่ง
โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ จำ�เป็นต้องมีให้มีการดำ�เนินการภายในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้น จป. หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
ในการทำ�งานระดับต่าง ๆโดยเฉพาะระดับวิชาชีพ จึงต้องมีส่วนร่วมในการดำ�เนินการในเรื่องดังกล่าวด้วย
จุลสารฉบับนี้ จึงขอทบทวนความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องอัคคีภัย มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
ความหมายและองค์ประกอบของไฟ
เมื่อกล่าวถึงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอัคคีภัย ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องกล่าวถึง ความหมายและองค์ประกอบของไฟก่อน
เสมอ
ไฟ (Fire) เกิดจากกระบวนการเผาไหม้หรือปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) ระหว่างเชื้อเพลิง (Fuel) กับ
ออกซิเจน (Oxygen) และสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อน (Ignition / Heat) จนถึงอุณหภูมิติดไฟ (Ignition
Temperature) กระบวนการหรือปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และคายพลังงานออกมาในรูปของความร้อน และ
แสงสว่าง รวมทั้งก่อให้เกิดเปลวไฟหรือกลุ่มแก๊สที่กำ�ลังลุกไหม้ และควัน (smoke) ด้วย นอกจากนี้ ความร้อนที่เกิดขึ้นจาก
กระบวนการยังเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้การลุกไหม้ของไฟดำ�เนินไปอย่างต่อเนื่อง
จากนิยามข้างต้นทำ�ให้สามารถสรุปองค์ประกอบของไฟได้เป็น สามองค์ประกอบหลัก ดังแสดงในภาพที่ 1 สามเหลี่ยม
ของการเกิดไฟ (Fire Triangle) โดยแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมจะแทนแต่ละองค์ประกอบของการเกิดไฟ คือ
1) เชื้อเพลิง (Fuel) 2) ความร้อน (Heat) 3) ออกซิเจน (Oxygen)
เมื่อองค์ประกอบทั้งสามรวมตัวกันในสัดส่วนที่พอเหมาะก็จะทำ�ให้เกิดไฟขึ้น แต่ถ้าขาดหรือแยกองค์ประกอบใดองค์
ประกอบหนึ่งออกไฟก็จะดับลง

ภาพที่ 1 สามเหลี่ยมของการเกิดไฟ
ที่มา : http://www.fire2fight.com/articles.php?article_id=3
อย่างไรก็ตามจากภาพสามเหลี่ยมของการเกิดไฟข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเกิดไฟดังกล่าวนอกจากอาศัยองค์ประกอบทั้ง
สามข้างต้นแล้ว กรณีที่เกิดไฟขึ้นแล้ว การลุกไหม้ของไฟอย่างต่อเนื่องและลุกลามจำ�เป็นต้องอาศัยอีกองค์ประกอบคือ ปฏิกิริยา
ต่อเนื่อง (Chemical Chain Reaction) ดังนั้นตำ�ราบางเล่มเมื่อกล่าวถึงองค์ประกอบของไฟ จึงนำ� ทฤษฎีสี่เหลี่ยมของไฟ (Fire
tetrahedral)มาใช้อธิบายปรากฏการณ์การเกิดไฟให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
ความรู้พื่นฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบของไฟ ที่กล่าวข้างต้นดูเป็นหลักการพื้นฐานง่าย ๆแต่ถือได้ว่าเป็นหัวใจและ
หลักการที่สำ�คัญในการป้องกันและระงับอัคคีภัย หรือกล่าวอย่างง่าย ๆ สำ�หรับการป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัย คือต้องพยายาม
กำ�หนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อแยกองค์ประกอบเหล่านี้ออกจากกัน ไม่ให้มีโอกาสมารวมกัน จนเกิดการลุกไหม้ขึ้นได้ และใน
ทำ�นองเดียวกัน สำ�หรับการระงับอัคคีภัย หรือการดับไฟที่กำ�ลังลุกไหม้อยู่ก็อาศัยความรู้พื้นฐานจากองค์ประกอบของไฟ ในการ
ดำ�เนินการ เช่น การตัดแยกเชื้อเพลิง (Fuel Removal) การใช้แก๊สอื่นเข้าไปแทนที่ออกซิเจน (Oxygen Deprivation) เพื่อลด
ปริมาณออกซิเจน การแยกเอาความร้อนออกไปหรือลดความร้อน (Heat Reduction) การตัดปฏิกิริยาต่อเนื่อง (Breaking of
Combustion Chain) เป็นต้น
เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของไฟ จึงขอกล่าวถึงรายละเอียดขององค์ประกอบแต่ละด้าน ดังนี้
1. เชื้อเพลิง
เชื้อเพลิง เป็นองค์ประกอบสำ�คัญองค์ประกอบหนึ่งที่ทำ�ให้เกิดอัคคีภัย เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภท
มีหลายชนิด หลายสถานะ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว แก๊ส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำ�มาใช้และผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก
กระบวนการผลิตของโรงงานแต่ละประเภท
เชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ในการดำ�เนินการป้องกันและระงับอัคคีภัยจึงจำ�เป็นต้องมีความ
เข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของเชื้อเพลิง โดยคุณสมบัติของเชื้อเพลิงที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่สำ�คัญ คือ
1.1 จุดวาบไฟ (Flash Point) คือ อุณหภูมิต่ำ�สุดที่ทำ�ให้เชื้อเพลิงเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอที่บริเวณผิวของเชื้อเพลิง
ในปริมาณมากพอที่จะผสมกับอากาศในอัตราส่วนที่เหมาะสมที่จะทำ�ให้เกิดเปลวไฟวาบขึ้นได้ชั่วขณะหนึ่งเมื่อมีประกายไฟหรือ
แหล่งความร้อนเข้ามาใกล้ แต่ถ้านำ�ประกายไฟหรือแหล่งความร้อนออกจากบริเวณดังกล่าวแล้วไฟก็จะดับลงเมื่อไอเชื้อเพลิง
นั้นลุกไหม้หมดแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่า จุดวาบไฟ เป็นอุณหภูมิต่ำ�สุดที่ทำ�ให้เชื้อเพลิงมีโอกาสลุกติดไฟวาบขึ้นมาไฟได้ แต่เป็น
อุณหภูมิที่ไม่สูงพอที่จะทำ�ให้อัตราการระเหยเป็นไอมากพอที่จะทำ�ให้กระบวนการเผาไหม้เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากการแปรสภาพเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งให้เป็นไอนั้นต้องใช้ความร้อนหรืออุณหภูมิสูงมากจนใกล้เคียงกับ
อุณหภูมิติดไฟ เช่น ไม้จะติดไฟได้ต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 200 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นต้น ดังนั้น โดยส่วนใหญ่จึงมักใช้จุดวาบไฟ
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไวไฟของเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว
1.2 อุณหภูมิติดไฟ (Ignition Temperature) คือ อุณหภูมิที่เชื้อเพลิงสามารถลุกไหม้ได้ และทำ�ให้มีการระเหยของ
ไอเชื้อเพลิงในอัตราที่เร็วพอที่จะทำ�ให้เกิดการลุกไหม้ได้อย่างต่อเนื่องหลังจากที่ได้รับการจุดติดไฟในตอนที่เริ่มกระบวนการ ปกติ
อุณหภูมิติดไฟนี้จะสูงกว่าจุดวาบไฟเล็กน้อย
1.3 อุณหภูมิติดไฟได้เอง (Auto-Ignition Temperature) คือ อุณหภูมิที่เชื้อเพลิงสามารถลุกติดไฟขึ้นได้เอง โดยไม่
ต้องอาศัยประกายไฟหรือแหล่งความร้อนจากภายนอก
1.4 ช่วงความเข้มข้นของการติดไฟ (Flammable Range) คือ ปริมาณไอของเชื้อเพลิงในอากาศที่สามารถเกิดการ
ลุกติดไฟได้เมื่อถึงอุณหภูมิติดไฟ โดยกำ�หนดเป็นเปอร์เซ็นต์ส่วนผสมของเชื้อเพลิงในอากาศ (Percentage Mixture) กล่าวคือ
ช่วงความเข้มข้นของไอระเหยที่เหมาะสมที่ทำ�ให้เกิดการติดไฟได้จะต้องอยู่ระหว่าง ขีดจำ�กัดล่างของการติดไฟหรือเปอร์เซ็นต์
ส่วนผสมต่ำ�สุดที่ติดไฟได้ (Lower Flammable Limits; LFL) กับขีดจำ�กัดบนของการติดไฟหรือเปอร์เซ็นต์ส่วนผสมสูงสุดที่
ติดไฟได้ (Upper Flammable Limits; UFL)
นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่นๆที่ควรนำ�มาพิจารณาด้วย เช่น ความสามารถในการละลายน้ำ� (Water Solubility)
ความถ่วงจำ�เพาะ (Specific Gravity) และความหนาแน่นไอ (Vapor Density) เป็นต้น
2. ความร้อน
ความร้อนเป็นอีกองค์ประกอบสำ�คัญที่จะทำ�ให้เชื้อเพลิงมีอุณหภูมิสูงจนถึงจุดวาบไฟ กรณีที่จุดวาบไฟสูงกว่าอุณหภูมิ
บรรยากาศ และทำ�ให้ไอเชื้อเพลิงที่ได้รับความร้อนสูงถึงจุดติดไฟทำ�ปฏิกิริยาเคมีอย่างรวดเร็วกับออกซิเจนจนเกิดการจุดติดไฟ
ขึ้น
2.1 แหล่งความร้อน ในโรงงานอุตสาหกรรมอาจมีแหล่งความร้อนที่ทำ�ให้เกิดการลุกไหม้ได้ ดังนี้
1) ความร้อนที่เกิดจากทางกล (Mechanical heat) เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะที่สำ�คัญคือ การเสียดสีของวัตถุต่าง
ๆ และการอัดตัวของแก๊สจนมีความดันและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
2) ความร้อนที่เกิดจากไฟฟ้า (Electrical heat) เกิดขึ้นได้ 4 ลักษณะที่สำ�คัญคือ ความร้อนที่เกิดจากความ
ต้านทานในวงจรไฟฟ้า (Resistance heating) เช่น ความร้อนที่เกิดจากตัวนำ�ไฟฟ้ารับกระแสไฟฟ้ามากกว่าที่ได้ออกแบบไว้
การเกิดประกายไฟ(Sparking & Arcing) เมื่อเกิดการกีดขวางการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า เช่น การเกิดประกายไฟขณะเปิด
สวิตช์ไฟ การเกิดไฟฟ้าสถิต (Static electrical charge) เช่น พื้นที่ที่มีการถ่ายเทของของเหลวไวไฟผ่านท่อ และการเกิดฟ้าผ่า
(Lightning)
3) ความร้อนที่เกิดจากการทำ�ปฏิกิริยาเคมี (Chemical heat) เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะที่สำ�คัญคือ ความร้อนที่
เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ (Combustion) และการสลายตัว/การย่อยสลาย(Decomposition)
นอกจากนี้บางโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้สารกัมมันตภาพรังสีอาจเกิดความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์
(Nuclear Heat) ได้
2.2 การถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เป็นคุณสมบัติที่ทำ�ให้ๆไฟสามารถลุกลามไปได้
ดังนั้นในการระงับอัคคีภัยเพื่อควบคุมความสูญเสียจำ�เป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ไฟสามารถลุกลามผ่าน
ทางกลไกในการถ่ายเทความร้อนได้ 4 ทางดังภาพที่ 2 คือ
- การสัมผัสกับเปลวไฟโดยตรง (Direct Burning) เป็นกลไกที่มีความสำ�คัญในช่วงเริ่มต้นของการลุกไหม้
(Incipient Stage) กล่าวคือ เป็นกลไกที่ทำ�ให้เกิดการลุกลามของไฟจากจุดหนึ่งไปยังพื้นที่ข้างเคียงโดยอาศัยการสัมผัสเปลวไฟ
โดยตรง
- การพาความร้อน (Convection) เป็นกลไกการถ่ายเทความร้อนโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของตัวกลาง เช่น
อากาศ ทำ�ให้สามารถถ่ายเทความร้อนปริมาณมากไปยังจุดที่ห่างจากเพลิงไหม้ แต่อยู่ภายในอาคารเดียวกันได้ กลไกนี้เป็นกลไก
หลักในการถ่ายเทความร้อนในช่วงการขยายตัวของเพลิงไหม้ (Developed Stage)
- การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) เป็นกลไกการถ่ายเทความร้อนโดยอาศัยคลื่นความร้อน การแผ่รังสี
ความร้อนจะเกิดในปริมาณที่เท่ากันในทุกทิศทาง
- การนำ�ความร้อน (Conduction) เป็นกลไกการถ่ายเทความร้อนผ่านวัตถุที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น การ
ถ่ายเทความร้อนผ่านผนังห้องที่มีเพลิงไหม้ไปยังผนังห้องอีกฝั่งหนึ่ง ทำ�ให้วัตถุที่อยู่ติดกับผนังห้องอีกฝั่งหนึ่งเกิดการลุกติดไฟขึ้น

ภาพที่ 2 กลไกการถ่ายเทความร้อน
ที่มา : Hughes, P. and Ferrett, E. Introduction to Health and Safety at Work, 2007.

3. ออกซิเจน
ออกซิเจนเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำ�คัญสำ�หรับการเกิดไฟ โดยถูกนำ�มาใช้เป็นตัวออกซิไดซ์ (Oxidizing
agent) ในกระบวนการเผาไหม้ แหล่งของออกซิเจนที่ใช้ในการเผาไหม้ส่วนใหญ่มาจากแก๊สออกซิเจนในบรรยากาศ ทั้งนี้สัดส่วน
ของปริมาณแก๊สออกซิเจนในบรรยากาศโดยทั่วไปมีอยู่ประมาณ 21% อย่างไรก็ตาม ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศจะแปร
ผกผันกับปริมาณไอของเชื้อเพลิงในบรรยากาศ ถ้ามีปริมาณไอเชื้อเพลิงในอากาศมากปริมาณแก๊สออกซิเจนในอากาศก็จะน้อย
ปริมาณออกซิเจนในอากาศที่เพียงพอสำ�หรับการเผาไหม้เชื้อเพลิงโดยทั่วไปคือ ประมาณ 16% ถ้ามีปริมาณออกซิเจนในอากาศ
น้อยกว่านี้ก็จะไม่สามารถทำ�ให้เกิดการลุกไหม้เป็นเปลวไฟได้
ในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากแก๊สออกซิเจนซึ่งมีอยู่ในบรรยากาศโดยทั่วไปแล้ว ยังอาจได้รับออกซิเจนทจากแห
ล่งอื่นๆ ได้อีก เช่น แก๊สออกซิเจนที่จ่ายมาตามท่อสำ�หรับกระบวนการผลิต ออกซิเจนในถังความดันหรือในท่ออากาศสำ�หรับ
ตัดหรือเชื่อมโลหะ รวมทั้งออกซิเจนที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของสารออกซิไดซ์ซึ่งจะปลดปล่อยออกซิเจนเมื่อถูกทำ�ให้ร้อน เช่น
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ แอมโมเนียมไนเตรท และแอมโมเนียมไนไตรท์ เป็นต้น

4. ปฏิกิริยาต่อเนื่อง
เชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการติดไฟแตกต่างกัน นอกจากนี้เชื้อเพลิงแต่ละสถานะก็มีกระบวนการลุกติดไฟแตก
ต่างกัน เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะแก๊สอาศัยหลัการแพร่ (Diffusion) และสามารถลุกติดไฟได้ในสภาพที่เหมาะสม แต่เชื้อเพลิงที่
อยู่ในสถานะที่เป็นของแข็งและของเหลวจะต้องอาศัยความร้อนเป็นตัวกระตุ้นให้โมเลกุลที่ผิวสลายตัวกลายเป็นไอก่อนจึงจะ
ลุกติดไฟได้ โดยเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งจะกลายเป็นไอผ่านกระบวนการไพโรไลซีส (Pyrolysis) ส่วนเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวจะ
กลายเป็นไอโดยกระบวนการระเหย (Vaporization)
เมื่อไอระเหยของเชื้อเพลิงมีปริมาณมากพอในสภาวะที่เหมาะสม คือ มีออกซิเจนและความร้อนพอเพียง ก็จะเกิดการ
จุดติดไฟอย่างต่อเนื่อง (Continuous re-ignition) ในขณะเดียวกันเปลวไฟ (Flame) ที่เกิดขึ้นก็จะแผ่รังสีความร้อนสะท้อน
กลับ (Radiative Feedback) ทำ�ให้เชื้อเพลิง ทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว กลายเป็นไอที่สามารถลุกติดไฟได้มากขึ้น เมื่อองค์
ประกอบหลักของการติดไฟทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ เชื้อเพลิง ความร้อน และออกซิเจน มีปริมาณมากเกินพอ (Excess) จะ
เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องจนเกิดการลุกลามของไฟได้ (Uninhibited Chain Reaction) ดังแสดงในภาพที่ 3

ภาพที่ 3 การเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องของการลุกไหม้
ที่มา : วิทยา อยู่สุข “การควบคุมป้องกันอัคคีภัยในงานอุตสาหกรรม” 2552
-------------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
วิทยา อยู่สุข “การควบคุมป้องกันอัคคีภัยในงานอุตสาหกรรม” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
เทคโนโลยีความปลอดภัย” นนทบุรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2552
สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ “การป้องและระงับอัคคีภัยในงานอุตสาหกรรมใน เอกสารการสอนชุดวิชา
ความปลอดภัย อาชีววอนามัย และสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2554
สำ�นักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน
อุตสาหกรรม โรงงานผลิตสีและทินเนอร์ กรุงเทพฯ : บริษัทไฟร์เทค อิน โนเวชั่น จำ�กัด, 2548.
Ferguson, L.H. and Janicak, C.A. Fundamentals of Fire Protection for the Safety Professional.
US.: The Scarecrow Press, Inc., 2005.
Furness, A. and Muckett, M. Introduction to Fire Safety Management. UK.: ELSEVIER, 2007.

Hughes, P. and Ferrett, E. Introduction to Health and Safety at Work. Solvenia: ELSEVIER, 3rd edition, 2007.

You might also like