You are on page 1of 11

รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ

Assignment 2 - Fire Prevention and Control


1. จากกรณีโรงงานสารเคมีบริษัท หมิงตี้ เคมิคอล จำกัด ซ.กิ่งแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.1 สารเคมีที่เป็นเหตุคือสารชนิดใด มีสมบัติอย่างไรบ้าง
➢ สไตรีนมอนอเมอร์ (Styrene monomer) ที่ใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติกพอลิสไตรีน (Expanded Polystyrene) มี
คุณสมบัติดังนี้
• สถานะทางกายภาพ ของเหลว ไม่มีสี มีกลิ่น • ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของส่วนผสม ไอ/
หอมหวาน อากาศ ที่ 20 Cํ (อากาศ=1) : 1.02
• จุดเดือด : 145 ํC • ค่าจํากัดการระเบิด ร้อยละของปริมาตรสาร
• จุดหลอมเหลว : -30.6 Cํ ในอากาศ: 0.9-6.8
• จุดวาบไฟ : 31 ํC c.c.(closed cup) • ค่าสัมประสิทธิ์การแบ่งส่วน Octanol/น้ำ
• อุณหภูมิทตี่ ิดไฟได้เอง : 490 ํC ตาม log Pow: 3.0
• ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (น้ำ=1) : 0.91 • เมื่อติดไฟให้ควัน(หรือก๊าซ) ที่ระคายเคือง
• การละลายในน้ำ (g/100 ml ที่ 20 ํ C) : หรือเป็นพิษ
0.03 • จุดวาบไฟน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 °C
• ความดันไอ, kPa ที่ 20 ํ C : 0.67 • ผสมเข้ากับน้ำไม่ได้
• ความหนาแน่นไอสัมพัทธ์ (อากาศ = 1) : 3.6 • เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
➢ เพนเทน (Pentane)
• สถานะทางกายภาพ ของเหลว ไม่มีสี • ค่าสูงสุดที่อาจเกิดระเบิด 8 %(V)
กลิ่นคล้ายเบนซิน • ความดันไอ โดยประมาณ 570 hPa ที่
• ของเหลวและไอไวไฟสูง 20 °C
• จุดหลอมเหลว โดยประมาณ -130 °C • ความหนาแน่นสัมพัทธ์ของไอ 2.49
• จุดเดือด/ช่วงของจุดเดือด โดยประมาณ • ความหนาแน่น โดยประมาณ 0.63
36 °C ที่ 1,013 hPa g/cm3 ที่ 20 °C
• จุดวาบไฟ -48 °C • ความสามารถในการละลายน้ำ
• อุณหภูมิทสี่ ามารถติดไฟได้เอง 285ºC โดยประมาณ 0.4 g/l ที่ 16 °C
• ค่าต่ำสุดที่อาจเกิดระเบิด 1.4 %(V)
➢ นอกจากนี้ยังมีสารเคมีอื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต เช่น โทลูอีน (Toluene) RS Resin อีกจำนวนมาก

1.2 มีความเป็นพิษที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร
➢ สไตรีนมอนอเมอร์
• เป็นอันตรายเมื่อหายใจเข้าไป
• การกัดกร่อน และระคายเคืองต่อผิวหนังมาก
• ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง
• การกระตุ้นให้ไวต่อการแพ้ในระบบทางเดินหายใจ หรือผิวหนัง
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ

• มีข้อสงสัยว่าอาจเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์
• ทำอันตรายต่ออวัยวะ เมื่อรับสัมผัสเป็นเวลานาน หรือรับสัมผัสซ้ำ
➢ เพนเทน (Pentane)
• ระคายเคืองต่อเยื่อเมือก, อาการง่วงซึม, การสูดดมอาจทำให้เกิดอาการบวมน้ำา (edema) ในทางเดินหายใจ
• เป็นอันตรายถึงตายได้เมื่อกลืนกินและผ่านเข้าไปทางช่องลม
• อาจทำให้ผิวหนังแห้งหรือแตก

1.3 สาเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัยคืออะไร
เกิดจากการั่วไหลของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งมีความไวไฟสูงเมื่อสัมผัสความร้อนทำให้เกิดการลุกติดไฟและ
เกิดเพลิงไหม้ตามมา

1.4 ปรากฎการณ์ด้านอัคคีภัยของสารเคมีที่ทำให้เกิดเหตุอัคคีภัยเป็นลักษณะใด มีข้อจำกัดและวิธกี ารอย่างไรในการดับเพลิง


ปรากฎการณ์ด้านอัคคีภัยของสารเคมี เป็นแบบ Boilover ที่มีเชื้อเพลิงเหลวรั่วไหลอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างปิดและเกิไฟไหม้
เมื่อทำการดับด้วยน้ำจึงทำให้ไม่สามารถดับได้ เนื่องจากสารเคมีเบากว่าน้ำเมื่อฉีดน้ำดับเพลิงสารเคมีจะลอยอยูเ่ หนือน้ำและลุก
ไหม้ต่อ รวมทั้งยังสามารถไหลไปตามน้ำดับเพลิงและเกิดการลุกลามไปยังพื้นที่อื่นได้ วิธีการดับเพลิงจึงต้องจำกัดปริมาณและพื้นที่
การรั่วไหลแล้วฉีดควบคุมเพลิงด้วยโฟมหรือสารดับเพลิงอื่นที่เหมาะสม

1.5 วิธีการดับเพลิงต้องใช้สารดับเพลิงชนิดใด และหลักการทำงานคืออะไร


• คาร์บอนไดออกไซด์(CO2) โฟม สารดับเพลิงชนิดผง
• ห้ามฉีดดับเพลิงจากสารเคมีที่รั่วไหลด้วยน้ำ เนื่องจากสารเคมีไม่ละลายน้ำจะเป็นการนำเพลิงลุกลามไปไหม้ในบริเวณ
อื่นๆ
• ไอหนักกว่าอากาศและอาจกระจายไปตามพื้น เมื่อสัมกับอากาศก่อให้เกิดของผสมที่ระเบิดได้เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
• เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะก่อให้เกิดแก๊สหรือไอระเหยทีเ่ ป็นอันตราย
• ห้ามอยู่ในพื้นที่อันตรายโดยปราศจากอุปกรณ์ช่วยหายใจ ควรอยู่ในระยะห่างที่ปลอดภัยและสวมใส่อปุ กรณ์ป้องกันตาม
ความเหมาะสมเพื่อหลีกเลีย่ งการสัมผัสกับผิวหนัง
• ย้ายถังบรรจุออกจากบริเวณอันตราย ลดอุณหภูมิโดยการฉีดพ่นด้วยน้ำ ป้องกันไม่ให้น้ำจากอุปกรณ์ดบั เพลิงปนเปื้อน
ระบบน้ำผิวดินหรือระบบน้ำใต้ดิน

1.6 ปัญหาที่ทำให้การดับเพลิงใช้เวลายาวนานคืออะไร และต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร


1) เกิดการระเบิดและมีสารเคมีรั่วไหลออกมาตลอดเวลา โดยไม่สามารถเข้าไปหยุดการรั่วไหลของสารเคมีได้
2) ไม่มีข้อมูลแผนผังโรงงานและระบบท่อและถังเก็บสารเคมี ทำให้ไม่สามารถเข้าไปตัดแยกระบบหรือหยุดการรั่วไหลได้
3) นักดับเพลิงใช้สารดับเพลิงไม่เหมาะกับชนิดของสารเคมีที่เป็นเชื้อเพลิง โดยใช้น้ำในการดับเพลิงโดยตรงซึ่งสารเคมีที่เป็น
เชื้อเพลิงเบากว่าน้ำจึงเกิดการไหลและลุกลามของเพลิง
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ
แนวทางการแก้ไข
1) โรงงานควรมีการจัดทำแผนผังโรงงาน ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบท่อ/ถังสารเคมี และจัดเก็บไว้ใน
บริเวณทีเ่ ข้าถึงได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมทั้งต้องมอบหมายให้มผี ู้ประสานงานให้ข้อมูลกับหน่วยงานดับเพลิงที่เข้ามา
ช่วยเหลือในที่เกิดเหตุ
2) มีการฝึกซ้อมดับเพลิงให้กับบุคลากรของโรงงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ระงับเหตุได้อย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของการเกิด
เพลิงไหม้ โดยเฉพาะกะกลางคืนทีอ่ าจมีคนทำงานอยู่น้อยต้องมั่นใจว่าพนักงานที่ทำงานกะกลางคืนมีความรู้และทักษะใน
การระงับเหตุเพลิงไหม้
3) มีการฝึกซ้อมดับเพลิงร่วมกับหน่วยงานดับเพลิงของราชการส่วนท้องถิ่นเป็นประจำ เพื่อให้หน่วยงานนั้นคุ้นเคยและมี
ข้อมูลความเสี่ยง ชนิดสารเคมีของโรงงาน เมื่อเกิดเหตุจะสามารถดับเพลิงด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมได้

1.7 เขียนผังแสดงลำดับขั้นตอนการจัดการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัยหรืออุบตั ิเหตุ พร้อมทั้งอธิบายวิธีการออกแบบและป้องกัน


ในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง

• นโยบายด้านการป้องกันอัคคีภัย
• แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ประกอบด้วย 1) การตรวจตรา 2) การอบรม 3) การรณรงค์ 4) การดับเพลิง 5) การ
อพยพหนีไฟและ 6) การบรรเทาทุกข์
1. แผนการตรวจตรา
เป็นแผนการสำรวจความเสี่ยงและตรวจตรา เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและขจัดต้นเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ก่อนจัดทำแผน
ต้องมีข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้ เชื้อเพลิง สารเคมี สารไวไฟ ระบบไฟฟ้าจุดที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และต้องมีการ
บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ คุณสมบัติลกั ษณะการลุกไหม้ ปริมาณของสารอันตรายทีม่ ีอยู่สูงสุด ชนิดของสารดับเพลิงและปริมาณที่
ต้องใช้ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการตรวจตรา และกำหนดบุคคล พื้นที่ที่รับผิดชอบ หัวข้อและจุดทีต่ ้องตรวจระยะเวลา
ความถี่ ผู้ตรวจสอบรายงาน การส่งรายงานผล การแจ้งข้อบกพร่องในการตรวจตราที่ชัดเจนเพื่อการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่อง
ต่างๆ ที่ตรวจพบ
2. แผนการอบรม
เป็นการอบรมให้ความรู้กบั พนักงานทั้งในเชิงป้องกันและการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ โดยกำหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา
ดำเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน หลักสูตรทีต่ ้องจัดทำในแผนการอบรม เช่น
- การดับเพลิงขั้นต้นให้กับพนักงาน
- การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- การผายปอดและนวดหัวใจ
3. แผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย
เป็นแผนเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบการโดยเป็นการสร้างความสนใจ และส่งเสริมในเรื่องการป้องกันอัคคีภัย
ให้เกิดขึ้นในพนักงานทุกระดับ มีกำหนดผูร้ ับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน หัวข้อที่จะทำการรณรงค์
ป้องกันอัคคีภัย เช่น
- ๕ ส. - การลดการสูบบุหรี่
- การจัดนิทรรศการ - จัดทำโปสเตอร์
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ
4. แผนการดับเพลิง
เป็นการจัดทำแผนเพื่อแสดงลำดับขั้นตอนการปฏิบตั ิเมื่อพนักงานพบเหตุเพลิงไหม้ ต้องแจ้งใครบ้าง และปฏิบตั ิอะไรบ้าง
เพื่อการระงับและควบคุมเหตุ รวมทั้งการกำหนดตัวบุคคลและหน้าที่เพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้ ทั้งในขั้นต้นและเมื่อเพลิงไหม้ขั้น
รุนแรง ตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อำนวยการดับเพลิง ทีมดับเพลิง ทีมสื่อสารประชาสัมพันธ์ ทีมไฟฟ้า ทีมอพยพ ทีมค้นหาและ
ปฐมพยาบาล ทีมสนับสนุน เป็นต้น
5. แผนอพยพหนีไฟ
แผนอพยพหนีไฟกำหนดขั้นตอนการอพยพในขณะเกิดเพลิงเหตุไหม้ เช่น กำหนดเส้นทางอพยพ จุดรวมพล การ
ตรวจสอบจำนวนพนักงาน, กำหนดผู้นำทางหนีไฟ, ทีมค้นหาและช่วยเหลือ และยานพาหนะ เป็นต้น
6. แผนบรรเทาทุกข์
แผนบรรเทาทุกข์จะประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ เพื่อการดูแลบรรเทาทุกข์ของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเพลิงไหม้ทั้ง
ภายในสถานประกอบการและบุคคลภายนอก เช่น
- การประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ
- การสำรวจความเสียหาย
- การรายงานตัวของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายและกำหนดจุดนัดพบเพื่อรอรับคำสั่ง
- การช่วยชีวิตและขุดค้นหาผู้เสียชีวิต
- การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ทรัพย์สินและผู้เสียชีวิต
- การประเมินความเสียหาย ผลการปฏิบัติงานและรายงานสถานการณ์เพลิงไหม้
- การช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
- การปรับปรุงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้โดยเร็วที่สุด

1.8 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับควบคุมถังบรรจุสารเคมีขนาดใหญ่นี้ควรใช้แบบใด และมีหลักการอย่างไรในการป้องกันอัคคีภัย


อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับควบคุมถังบรรจุสารเคมีขนาดใหญ่ ได้แก่เครื่องมือวัดต่างๆ เช่น เครื่องมือวัดระดับของเหลว
และ เครื่องมือวัดอุณหภูมิ จะต้องเป็นประเภท Intrinsically Safe เท่านั้นเพราะอุปกรณ์ประเภทนี้จะใช้กำลังไฟฟ้าในระดับต่ำมาก
ทำให้เมื่อมีการเกิดลัดวงจรในอุปกรณ์เครื่องมือวัดเหล่านี้ พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นจะไม่มากพอให้แก๊สหรือไอระเหยไวไฟเกิด
การจุดติดไฟได้

2. อัคคีภัยที่เกิดขึ้นจากโรงงานผลิตแป้งมันเกิดจากอะไร หน่วยการผลิตใดบ้างที่เป็นจุดเสี่ยง และอุปกรณ์ใดที่มีโอกาสทำให้


เกิดความเสียหายจากการระเบิดและการเกิดอัคคีภัย พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขการควบคุมและป้องกัน
อัคคีภัยที่เกิดขึ้นจากโรงงานผลิตแป้งมันเกิดจากการฟุ้งกระจายของฝุ่นแป้งในกระบวนการผลิตจนทำให้เกิดการลุกติดไฟ
หรือเกิดการระเบิดของฝุุนแบบ deflagration ขึ้น
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ

แผนผังกระบวนการผลิตแป้งมัน
หน่วยการผลิตที่เป็นจุดเสี่ยงจากการระเบิดของฝุ่นจะเป็นกระบวนการผลิตขั้นกลางจนถึงขั้นสุดท้าย ได้แก่ หน่วยอบแป้ง
ร่อนแป้ง การจัดเก็บในไซโล และการบรรจุแป้ง
อุปกรณ์ที่มีโอกาสทำให้เกิดความเสียหายจากการระเบิดและการเกิดอัคคีภัยแนวทางแก้ไขการควบคุมและป้องกัน ได้แก่
1) รางป้อนแป้ง
รางป้อนแป้งจะรับแปู้งที่สลัดแห้งแล้วป้อนเข้าสลิงเกอร์ ซึ่งแปู้งจะมีความชื้นประมาณ 32-37% ลักษณะการเกิด
อันตราย คือ เมื่อแป้งมีความชื้นสูงมากกว่า 38% ทำให้แป้งไม่ถูกลมดึงขึ้นไปตามท่อ แป้งจะตกลงมาอยู่ใต้สลิงเกอร์
เมื่อได้รับความร้อนสูง แป้งที่กองอยู่จะลุกติดไฟ หรือหากมีเศษโลหะติดเข้ามากับแป้งหมาด เมื่อเคลื่อนที่เข้ามาในส
ลิงเกอร์ ท่ออบแป้ง ไซโคลน เศษโลหะก็สามารถทำให้เกิดประกายไฟได้
การควบคุมและป้องกันเพื่อความปลอดภัย
1.1 วัดความชื้น เมื่อแป้งมีความชื้นเกิน 38% ให้หยุดป้อนแป้ง
1.2 ตรวจสอบเศษโลหะที่ติดมากับแป้งหมาดด้วยสายตาเป็นระยะ
2) บริเวณสลิงเกอร์
สลิงเกอร์ทำหน้าที่ตีแป้งเพื่อให้แป้งแตกตัวคลุกเคล้ากับอากาศร้อน ลักษณะการเกิดอันตราย คือ แป้งที่มีความชื้น
มาก ตกลงมากองใต้สลิงเกอร์ หรือติดกับผนังท่อ หรือท่อส่งลมร้อน กรณีแป้งขาดรางจะทำให้แป้งที่กองใต้สลิงเกอร์
ได้รับความร้อนสูง เกิดการลุกไหม้ เกิดเป็นลูกไฟวิ่งไปตามท่ออบแป้งและไซโคลนร้อน ทาให้เกิดการระเบิดของฝุุน
ในท่ออบแป้งหรือไซโคลนร้อน
การควบคุมและป้องกันเพื่อความปลอดภัย
2.1 ออกแบบให้มีช่องว่างใต้สลิงเกอร์น้อย เพื่อลดการสะสมของแปูงใต้สลิงเกอร์
2.2 มีประตูเปิด ปิดใต้สลิงเกอร์ เพื่อทำความสะอาด
2.3 มีประตูเปิด ปิดด้านบนท่อส่งลมร้อน เพื่อตรวจสอบการสะสมของแปูงใต้สลิงเกอร์หรือท่อส่งลมร้อนเป็นระยะ
2.4 ออกแบบให้ท่อลมร้อนที่ทางเข้าหน้าสลิงเกอร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าท่ออบแปูง ทาให้ความเร็วลมร้อนสูง
แปูงตกลงมาสะสมได้ยาก
2.5 ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิท่อระบายลมทางออกของไซโคลนร้อน เพื่อป้องกันแป้งขาดราง เมือ่ อุณหภูมสิ ูง
เกินที่กำหนด จะส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ควบคุมเพื่อ
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ
ก. ปรับความเร็วรอบของสกรูป้อนแป้งหมาด เมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่ตงั้ ไว้ ความเร็วสกรูป้อนแป้งจะเร็วขึ้น
ในทางกลับกัน เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าที่ตั้งไว้ ความเร็วสกรูป้อนแป้งจะช้าลง
ข. ลดอุณหภูมริ ้อนที่จะเข้าท่ออบแป้ง โดยการติดตั้งวาล์ว 3 ทาง กรณีใช้หม้อต้มน้ามันร้อน ให้ป้อนน้ำมัน
ร้อนเข้าชุดแลกเปลี่ยนความร้อนน้อยลง หรือตัดการทำงานของ Burner
ค. ส่งสัญญาณเสียงและแสงเตือน กรณีที่อุณหภูมสิ ูงกว่าที่กำหนดคือประมาณ 90 – 95%
3) ท่ออบแป้ง
ท่ออบแป้งมีอุณหภูมิในการอบแป้ง 120-200oซ ทำหน้าที่อบปำงหมาดที่มีความชื้น 32-37% ให้มีความชื้นเหลือ
11-12% ลักษณะการเกิดอันตราย คือ ขณะแป้งเคลื่อนที่ทาให้เกิดการเสียดสี ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิต หรือมีเศษโลหะ
ติดเข้ามาทำให้เสียดสีกับท่อเกิดความร้อน ทำให้แป้งมันสำปะหลังเกิดการลุกติดไฟหรือเกิดระเบิดในท่ออบแป้ง
การควบคุมและป้องกันเพื่อความปลอดภัย
3.1 ข้อต่อหน้าแปลนของท่ออบแป้งมีการต่อฝากและต่อลงดิน
3.2 ติดตั้งประตูระบายการระเบิดที่ท่ออบแป้ง กรณีประตูระบายการระเบิดอยู่ภายในอาคารต้องต่อท่อระบายการ
ระเบิดไปภายนอกอาคาร
3.3 ติดตั้งระบบ suppression (ระบบการตรวจจับความดัน และการฉีดสารเคมีเพื่อระงับการระเบิด) ซึ่งทำหน้าที่
ดับเปลวไฟจากการระเบิดกรณีเกิดระเบิดในไซโคลนร้อนไม่ให้เปลวไฟย้อนกลับมายังท่ออบแป้ง
4) ไซโคลนร้อน hopper และท่อระบายลมทางออก
ไซโคลนร้อนทำหน้าทีล่ ดอุณหภูมแิ ป้งพร้อมคัดแยกฝุ่นแป้งออกจากลมร้อน ส่วน hopper ทำหน้าทีเ่ ก็บฝุ่นแป้งที่ดัก
ไว้ได้ ลักษณะการเกิดอันตราย คือ ขณะที่แป้งเคลื่อนที่ทำให้เกิดการเสียดสีกันเองหรือเสียดสีกับไซโคลนร้อน ทำให้
เกิดไฟฟ้าสถิต เศษโลหะทีต่ ิดมาจากท่ออบแป้งทำให้เสียดสีในไซโคลนร้อน หรือมีการตัดหรือเชื่อม ซึง่ ทำให้เกิด
ประกายไฟ ทำให้เกิดการระเบิดในไซโคลน แป้งอุดตันด้านล่างของ hopper ทาให้ฝุ่นแป้งสะสมมากใน hopper
และในไซโคลนร้อน ทำให้ฝุนแป้งสะสมระบายออกด้านบนไซโคลนร้อนเกิดความสูญเสีย แล้วยังทำให้ท่อระบายลม
ทางออกไซโคลนร้อนมีอุณหภูมสิ ูงกว่าปกติ แสดงว่าแป้งหมาดมีปริมาณน้อย หรือเกิดการลุกไหม้ของแป้งในท่ออบ
แป้ง
การควบคุมและป้องกันเพื่อความปลอดภัย
4.1 ติดตั้งประตูระบายการระเบิดที่ทางเข้าและทางออกไซโคลนร้อน
4.2 ติดตั้งระบบ suppression ที่ไซโคลนร้อน
4.3 ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณฝุ่นใน hopper
4.4 ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิท่อระบายลมทางออกของไซโคลนร้อน เพื่อป้องกันแป้งขาดราง เมือ่ อุณหภูมสิ ูง
เกินที่กำหนด จะส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์ควบคุมเพื่อ
ก. ปรับความเร็วรอบของสกรูป้อนแป้งหมาด เมื่ออุณหภูมิสูงกว่าที่ตงั้ ไว้ ความเร็วสกรูป้อนแป้งจะเร็วขึ้น
ในทางกลับกัน เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าที่ตั้งไว้ ความเร็วสกรูป้อนแป้งจะช้าลง
ข. ลดอุณหภูมริ ้อนที่จะเข้าท่ออบแป้ง โดยการติดตั้งวาล์ว 3 ทาง กรณีใช้หม้อต้มน้ำมันร้อน ให้ป้อนน้ำมัน
ร้อนเข้าชุดแลกเปลี่ยนความร้อนน้อยลง หรือตัดการทำงานของ Burner
ค. ส่งสัญญาณเสียงและแสงเตือน กรณีที่อุณหภูมสิ ูงกว่าที่กาหนดคือประมาณ 90 – 95%
4.5 ต่อฝากและต่อลงดินทุกหน้าแปลนของไซโคลนร้อนกับ hopper
5) โรตารี่วาล์ว
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ
โรตารี่วาล์วทาหน้าที่เป็น air lock ติดตั้งอยู่ใต้ hopper หน้าที่สาคัญคือ ป้อนแป้งจาก hopper ลงมายังท่อส่งแป้ง
จากไซโคลนร้อนไปไซโคลนเย็น ลักษณะการเกิดอันตราย คือ มีเศษวัสดุ เช่น เศษเหล็ก น็อต สกรู หรือผ้าตะแกรง
หลุดเข้ามาทาให้ใบของโรตารี่วาล์วติดขัด มอเตอร์ทำงาน overload เกิดความร้อนสูง มอเตอร์ไหม้ หยุดทำงาน ทำ
ให้แป้งใน hopper และไซโคลน ร้อนมากจนระบายออกทางด้านบนไปไซโคลนร้อน กรณีทรี่ ุนแรงฝุ่นทีค่ ้างบน
มอเตอร์เกิดการลุกไหม้ ทำให้เกิดไฟไหม้ต่อเนื่องไปยังส่วนอื่นของโรงงานได้
การควบคุมและป้องกันเพื่อความปลอดภัย
5.1 ติดตั้ง over load tip ที่มอเตอร์ เมื่อมีภาระมากเกินไป
5.2 ติดตั้งสัญญาณเตือน เมื่อโรตารี่วาล์วหยุดหมุน
5.3 ใบพัดของโรตารี่วาล์วควรเป็นแบบ 6 - 8 ใบ จะช่วยลดปัญหาเมื่อเกิดระเบิดในไซโคลนร้อนแล้วความดันและ
เปลวไฟจะผ่านลงมาด้านล่างได้ยากขึ้น ลดการระเบิดที่ไซโคลนเย็น
5.4 เมื่อประตูระบายการระเบิดทำงาน มีระบบ interlock ให้โรตารี่วาล์วหยุดการทำงาน
6) ท่อส่งแป้งจากไซโคลนร้อนไปไซโคลนเย็น
ทำหน้าที่ส่งแป้งใต้ไซโคลนร้อนไปยังไซโคลนเย็น พร้อมกับลดอุณหภูมิของแป้ง ลักษณะการเกิดอันตราย คือ ขณะ
แป้งเคลื่อนที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต มีเศษโลหะมากับแป้งทำให้เกิดเสียดสีกับท่อ ก่อให้เกิดประกายไฟ ทำให้เกิด
ระเบิดในท่อส่งแป้ง
การควบคุมและป้องกันเพื่อความปลอดภัย
6.1 ตรวจสอบการฉีกขาดของ filter กรองลมเย็น
6.2 ต่อฝากและต่อลงดินทุกหน้าแปลน
6.3 ติดตั้งประตูระบายการระเบิดที่ท่ออบแป้ง กรณีท่ออบแป้งยาวเกิน 6 เมตร
6.4 ติดตั้งแผงแม่เหล็กที่ท่อส่งแป้งที่ใต้โรตารี่วาล์วหรือท่อส่งแป้ง

7) ไซโคลนเย็น และไซโคลนดักฝุ่น หรือถุงกรองดักฝุ่น


ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิแป้งและดักฝุนุ แป้งมันสำปะหลัง ลักษณะการเกิดอันตราย คือ ขณะแป้งเคลื่อนที่ทำให้เกิดการ
เสียดสีกับไซโคลนร้อน ทาให้เกิดไฟฟ้าสถิต เศษโลหะติดมากับฝุ่นแป้ง ทำให้เสียดสีเกิดเป็นประกายไฟ ทำให้เกิด
ระเบิดจากไซโคลนร้อน จากนั้นแรงดันและเปลวไฟวิ่งมาไซโคลนเย็น ทำให้เกิดระเบิดแบบ deflagration ที่ไซโคลน
เย็นและไซโคลนดักฝุุน
การควบคุมและป้องกันเพื่อความปลอดภัย
7.1 ต่อฝากและต่อลงดินทุกจุดทีม่ หี น้าแปลนของไซโคลนเย็นและไซโคลนดักฝุุน
7.2 ตรวจสอบการฉีกขาดของ filter กรองลมเย็น
7.3 ติดตั้งประตูระบายการระเบิดที่ทางเข้าหรือทางออกไซโคลนเย็นและไซโคลนดักฝุุน
7.4 ติดตั้งระบบ suppression ที่ไซโคลนเย็น
7.5 ติดตั้งระบบ suppression ที่ท่อทางเข้า -ทางออกไซโคลนเย็น เพื่อกั้นแยกไม่ให้เปลวไฟและความดันการ
ระเบิดในไซโคลนเย็นไปท่อส่งแป้งและไซโคลนดักฝุ่นหรือถุงกรองดักฝุ่น
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ
8) ตะแกรงร่อนแป้ง ไซโลเก็บแป้ง และหัวบรรจุ
ตะแกรงร่อนแป้งทำหน้าที่คดั ขนาดและคัดแยกสิ่งแปลกปลอมที่ติดมากับแป้ง ไซโลทำหน้าที่เก็บสะสมแป้ง ส่วนหัว
บรรจุแป้งทำหน้าที่บรรจุแป้งเข้ากับถุงขนาดต่างๆ ลักษณะการเกิดอันตราย คือ ขณะที่แป้งมีการเคลื่อนที่ก่อให้เกิด
ไฟฟ้าสถิต มอเตอร์ของตะแกรงร่อนแป้งมีความร้อน
การควบคุมและป้องกันเพื่อความปลอดภัย
8.1 มอเตอร์ตะแกรงร่อนแป้ง ควรอยู่ภายนอกห้องตะแกรงร่อนแป้งหรือมีสิ่งปิดคลุม
8.2 ต่อฝากรอยต่อทุกจุด และต่อลงดิน โดยเฉพาะทางออกของตะแกรงร่อนแป้ง
8.3 ผ้าทางออกของตะแกรงร่อน ควรเลือกผ้าที่ทำจากวัสดุต้านการเกิดไฟฟ้าสถิต
8.4 ทำความสะอาดพื้นทุกวัน ส่วนคาน ผนัง ท่อ และด้านบนเครื่องจักร ทำความสะอาดทุกสัปดาห์ เพื่อลดการ
สะสมของฝุ่นแป้ง
8.5 ห้ามใช้หัวลมเป่าทำความสะอาดบริเวณที่แป้งกองสะสม เพราะจะทำให้ฝุ่นแป้งฟุง้ กระจาย เมื่อพบความร้อนทำ
ให้เกิดระเบิดได้
8.6 แผงควบคุมไฟฟ้าปิดสนิท ป้องกันไม่ให้ฝุ่นเข้ามาสะสม หรือออกแบบให้เป็นระบบปิดสนิทและมีความดันลม
ภายใน 2 – 3 นิ้วน้ำ

3. องค์ประกอบการเกิดเพลิงไหม้ และองค์ประกอบการเกิดเพลิงไหม้ของการระเบิดของฝุ่นระเบิดได้เหมือนและแตกต่างกัน
อย่างไรจงอธิบาย
1) องค์ประกอบของการเกิดเพลิงไหม้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เชื้อเพลิง 2) ความร้อน 3) ออกซิเจน

1) เชื้อเพลิง (Fuel) ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงสถานะของแข็ง ของเหลวและก๊าซ (ภายใต้ความอัดดัน) จะต้องเปลี่ยนจาก


สถานะเดิมเป็น ไอ (ก๊าซ) ก่อนเสมอ เมื่อเชื้อเพลิงได้รับความร้อนจนเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอหรือก๊าซ แล้วเข้า
ผสมกับอากาศอย่างได้สัดส่วน และพร้อมที่จะเกิดการลุกไหม้ได้ เราเรียกว่าความร้อนถึง จุดวาบไฟ (FLASH POINT
2) ความร้อน (Heat) จะต้องมีอุณหภูมิที่สูงพอเพียงสำหรับทำให้เกิดการจุดติดของเชื้อเพลิง เราเรียกว่า ความร้อนถึง
จุดติดไฟ หรือ จุดชวาล (FIRE POINT)
3) ออกซิเจน ได้แก่ บรรยากาศมีออกซิเจนอยู่ในอัตราประมาณร้อยละ 21 แต่ถ้าออกซิเจนมีปริมาณที่ตำ่ กว่าร้อยละ
16 ไฟก็จะลุกไหม้ช้าลงและมอดดับไปในที่สุด ถึงแม้ว่าออกซิเจนจะช่วยในการเผาไหม้ แต่กต็ ้องมีส่วนผสมกับไอ
หรือก๊าซของเชื้อเพลิงแต่ละอย่างในปริมาณที่จำกัดไม่มากหรือน้อยนเกินไป เราเรียกว่าช่วงการจุดติด (EXPLOSIVE
RANGE)

2) องค์ประกอบของการระเบิดของฝุน่ ระเบิดได้ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ฝุ่นติดไฟได้(เชื้อเพลิง) 2) ความ


ร้อนหรือประกายไฟ 3) ออกซิเจน 4) การฟุ้งกระจายของฝุ่น 5) พื้นที่จำกัดหรือขอบเขตหมอกฝุ่น
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ

1) ฝุ่นติดไฟได้ (เชื้อเพลิง) (Combustible dust) เชื้อเพลิงที่สามารถเกิดการระเบิดได้นั้นฝุ่นที่สามารถติดไฟได้จะต้อง


มีขนาดเล็กกว่า 420 ไมครอน (microns) เช่น ฝุ่นข้าวโพด ฝุ่นข้าวสาลี ฝุ่นถั่วเหลือง ฝุ่นแป้งมันสำปะหลัง ฝุ่น
น้ำตาล ฝุ่นพลาสติก ฝุ่นเรซิน ฝุ่นถ่านไม้ ฝุ่นถ่านหินชนิดลิกไนต์ ฝุ่นอะลูมิเนียม ฝุ่นแมกนีเซียม
2) ความร้อนหรือแหล่งจุดติดไฟ (Ignition source) แหล่งจุดติดไฟ ต้องมีพลังงานที่เพียงพอในการเกิดการเผาไหม้ของ
ฝุ่น และกระตุ้นการแพร่ขยายของเปลวไฟออกไปเป็นวงกว้างและสัมผัสกับฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในบรรยากาศ พลังงาน
ต่ำสุดที่ใช้ในการจุดติดไฟจะเปลี่ยนแปลงตามขนาดและชนิดของฝุ่น เช่น ขนาดฝุ่นเท่ากัน ค่าพลังงานต่ำสุดในการ
จุดติดไฟของฝุ่นโพลีเอทิลีนจะมีคา่ สูงกว่าพลังงาน ต่ำสุดในการจุดติดไฟของฝุ่นอะลูมิเนียม แหล่งจุดติดไฟ เช่น
เปลวไฟจากเตา สะเก็ดไฟที่เกิดจากการเชื่อม ประกายไฟและความร้อนจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ไฟฟ้าสถิต
3) ออกซิเจน (Oxygen) อากาศที่มีปริมาณออกซิเจนมากกว่า 21% ทำให้ฝุ่นลุกติดไฟได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าปริมาณ
ออกซิเจนลดลง ความเร็วในการเผาไหม้ก็จะลดลงตาม ปริมาณออกซิเจนต่าสุดในบรรยากาศทีต่ ้องการเพื่อให้เกิด
การลุกไหม้คือ 14 – 16%
4) การฟุ้งกระจายของฝุ่น (Dispersion) ฝุ่นที่ฟุ้งกระจายต้องมีความเข้มข้นประมาณตั้งแต่ 25 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร
จึงจะเกิดการระเบิดได้ ปัจจัยที่มีอทิ ธิพลต่อการฟุ้งกระจายของฝุ่น ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะตัวของฝุ่นแต่ละชนิด
และขนาดอนุภาค ความรุนแรงของการระเบิดจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของฝุ่น
5) พื้นที่จำกัดหรือขอบเขตหมอกฝุ่น (Confinement of dust cloud) ขอบเขตหมอกฝุ่นในที่นี้ หมายถึง เครื่องจักร
และอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตทีม่ ีฝุ่นแขวนลอยอยูภ่ ายใน เช่น เครือ่ งบด เครื่องผสม ไซโคลน ถุงกรอง ไซโล และ
ห้องที่ปิด จะช่วยเพิ่มแรงดันของการระเบิด

4. จงเปรียบเทียบความเหมือนกันของพื้นที่อนั ตรายระหว่างมาตรฐาน NEC และ IEC พร้อมทั้งอธิบาย


การจำแนกพื้นที่อันตราย มีวิธีการจำแนก 2 วิธี คือ
1) การจำแนกเป็นโซน (Zone) เป็นไปตามมาตรฐานของ IEC (IEC 60079)
2) การจำแนกเป็นประเภท (Class) และแบบ (Division) เป็นไปตามมาตรฐานของ NEC
การแบ่งพื้นที่อันตรายตามมาตรฐาน The International Electrotechnical Commission (IEC); IEC 60079-10 และ
CEC Section 18 ซึ่งครอบคลุมสารไวไฟที่เป็นก๊าซ, ไอระเหยและหมอกฝุ่น (Gases, Vapors and Mists) แต่ไม่รวมฝุ่นไวไฟ
(Combustible or Electrically Conductive Dusts) แบ่งโอกาสความเป็นไปได้ของการเกิดสภาพบรรยากาศที่จุดติดไฟได้
(Explosive Atmosphere) ออกเป็นโซน 0, โซน 1 และ โซน 2
1. โซน 0 (Zone 0) คือ พื้นที่อันตรายเนื่องจากมีก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟ (flammable gases or vapors) ผสม
อยู่ในบรรยากาศจนเกิดบรรยากาศที่จุดติดไฟได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น ถังเก็บน้ำมันใต้ดิน
พื้นที่ใน Zone 0 จะมีโอกาสสูงที่ความเข้มข้นของไอระเหยของสารไวไฟเกินกว่า 100% ของค่า Lower Explosive
Limit (LEL) ของสารนั้นในภาวะปกติมากกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ
2. โซน 1 (Zone 1) คือ พื้นที่อันตรายเนื่องจากมีการรั่วไหลก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟ (flammable gases or
vapors) ออกมาผสมอยู่ในบรรยากาศที่จุดติดไฟได้อยู่บ่อยครั้งในกระบวนการทำงานตามปกติ หรือเมือ่ ทำการซ่อมแซม
เครื่องมืออุปกรณ์ในบริเวณดังกล่าว เช่น
· บริเวณที่มีการเติมน้ำมันเข้าถังน้ำมันรถยนต์ ซึ่งรถยนต์จะเข้ามาและวิ่งออกไปเมื่อเติมแล้วเสร็จ
· บริเวณรอบช่องเปิดของถังบรรจุ
· บริเวณรอบ Safety Valve และบริเวณใกล้กับ Seal ของ Pump หรือ Compressor
· จุดถ่ายเทสารไวไฟ
· บริเวณที่มีการถ่ายบรรจุแก๊ส
· บริเวณที่มีการใช้สารตัวทำละลาย (Solvent)
พื้นที่ใน Zone 1 จะมีโอกาสที่จะมีความเข้มข้นของไอระเหยของสารไวไฟเกินกว่า 100% ของค่า Lower Explosive
Limit (LEL) ของสารนั้นในภาวะปกติ ระหว่าง 10 ถึง 1,000 ชั่วโมงต่อปี
3. โซน 2 (Zone 2) คือ พื้นที่อันตรายเนื่องจากมีการรั่วไหลของก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟ (flammable gases or
vapors) ออกมาผสมอยู่ในบรรยากาศจนเกิดบรรยากาศที่จุดติดไฟแทบไม่เกิดขึ้นในการทำงานปกติ หรือโอกาสเกิดขึ้น
ได้นานๆครั้ง เช่น เมื่อเกิดอุบตั ิเหตุในกระบวนการทำงานหรือการทำงานผิดปกติ หรือจะเกิดขึ้นเฉพาะภายใน
ระยะเวลาสั้นๆ ไม่ปล่อยให้เกิดการรั่วไหลเป็นเวลานาน
พื้นที่ใน Zone 2 จะมีโอกาสที่จะมีความเข้มข้นของไอระเหยของสารไวไฟเกินกว่า 100% ของค่า Lower Explosive
Limit (LEL) ของสารนั้นในภาวะปกติ น้อยกว่า 10 ชั่วโมงต่อปี
มาตรฐานของ The National Electrical Code Committee (NEC) และThe National Fire Protection Association
(NFPA) Publication 70 กำหนดพื้นที่อันตรายออกได้ดังนี้
1. บริเวณอันตรายประเภทที่ 1 (Class 1) คือ บริเวณที่ซึ่งมีก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟ (Flammable vapors and
gases) ผสมอยู่ในอากาศปริมาณมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดการจุดระเบิดได้
– บริเวณอันตรายประเภทที่ 1 แบบที่ 1 (Class 1, Division 1) คือ บริเวณที่มีการใช้ก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟ
ซึ่งสามารถรั่วไหลจากกระบวนการทำงานตามปกติ การซ่อมบำรุง รวมทั้งการรั่วไหลจากเหตุหรืออุปกรณ์ หรือเครื่องจักรทำงาน
ผิดปกติ และยังอาจทำให้เกิดประกายไฟหรือความร้อนที่ทำให้สารไวไฟรั่วไหลจุดติดไฟได้
– บริเวณอันตรายประเภทที่ 1 แบบที่ 2 (Class 1, Division 2) คือ บริเวณที่มีการใช้ก๊าซหรือของเหลวไวไฟในระบบ
ปิดซึ่งไม่มีการรั่วไหลนอกจากเกิดความเสียหายของภาชนะบรรจุหรือการทำงานที่ผิดพลาดของเครื่องมืออุปกรณ์ และยัง
รวมถึงบริเวณที่อยู่ใกล้กับพื้นที่อันตรายประเภทที่ 1 แบบที่ 1 ซึง่ ก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟอาจถ่ายเทถึงกันได้
นอกจากนี้พื้นที่อันตรายประเภทที่ 1 แบบที่ 1 ซึ่งเมื่อได้ตดิ ตั้งระบบระบายอากาศเพื่อช่วยลดปริมาณสารไวไฟที่ผสมใน
อากาศอย่างเหมาะสม แต่อาจเกิดสภาพอันตรายได้เมื่อระบบระบายอากาศขัดข้อง ก็จัดเป็นพื้นที่อันตราย แบบที่ 2 ด้วย
2. บริเวณอันตรายประเภทที่ 2 (Class 2) คือ บริเวณที่ซึ่งมีฝุ่นที่เผาไหม้ได้ (Combustible dust) ในปริมาณมากเพียง
พอที่จะทำให้เกิดการจุดระเบิด (ซึง่ ในมาตรฐาน IEC ไม่ได้จำแนกไว้)
3. บริเวณอันตรายประเภทที่ 3 (Class 1) คือ บริเวณที่มีเส้นใยที่จุดติดไฟได้ง่าย (easily ignitible fibers or flyings) มี
ปริมาณมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดอันตรายจากการจุดระเบิดได้ (ซึง่ ในมาตรฐาน IEC ไม่ได้จำแนกไว้)
รหัส 6525700001 นายนคร ศรีตะปัญญะ
ตารางเปรียบเทียบการจำแนกพื้นที่อันตรายตามมาตรฐานของ IEC และ NEC
IEC Zone 0 Zone 1 Zone 2
พื้นทีอ่ ันตรายเนือ่ งจากมีก๊าซหรือไอระเหย พื้นทีอ่ ันตรายเนือ่ งจากมีการรั่วไหล พื้นทีอ่ ันตรายเนือ่ งจากมีการรั่วไหลของก๊าซหรือไอ
ของสารไวไฟ (flammable gases or ก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟ ระเหยของสารไวไฟ (flammable gases or
vapors) ผสมอยู่ในบรรยากาศจนเกิด (flammable gases or vapors) vapors) ออกมาผสมอยู่ในบรรยากาศจนเกิด
บรรยากาศที่จุดติดไฟได้อย่างต่อเนื่องเป็น ออกมาผสมอยู่ในบรรยากาศที่จุดติดไฟ บรรยากาศที่จุดติดไฟแทบไม่เกิดขึน้ ในการทำงาน
เวลานาน ได้อยู่บ่อยครั้งในกระบวนการทำงาน ปกติ หรือโอกาสเกิดขึ้นได้นานๆครั้ง
โอกาส >100%LEL, >1,000 ชั่วโมงต่อปี ตามปกติ หรือเมื่อทำการซ่อมแซม โอกาส >100%LEL, <10 ชั่วโมงต่อปี
เครื่องมืออุปกรณ์ในบริเวณดังกล่าว
โอกาส >100%LEL, 10 ถึง 1,000
ชั่วโมงต่อปี
NEC Division 1 Division 2
Class I บริเวณที่มกี ารใช้ก๊าซหรือไอระเหยของสารไวไฟ ซึ่งสามารถรัว่ ไหลจากกระบวนการ บริเวณที่มกี ารใช้ก๊าซหรือของเหลวไวไฟในระบบปิด
ทำงานตามปกติ การซ่อมบำรุง รวมทั้งการรั่วไหลจากเหตุหรืออุปกรณ์ หรือ ซึ่งไม่มีการรั่วไหลนอกจากเกิดความเสียหายของ
เครื่องจักรทำงานผิดปกติ และยังอาจทำให้เกิดประกายไฟหรือความร้อนที่ทำให้สาร ภาชนะบรรจุหรือการทำงานที่ผิดพลาดของ
ไวไฟรั่วไหลจุดติดไฟได้ เครื่องมืออุปกรณ์ และยังรวมถึงบริเวณที่อยู่ใกล้กับ
พื้นทีอ่ ันตราย Class 1 Division 1 ซึ่งก๊าซหรือไอ
ระเหยของสารไวไฟอาจถ่ายเทถึงกันได้

You might also like