You are on page 1of 5

ไพโรเทคนิค

บทที่ ๓
ความปลอดภัยในโรงงานไพโรเทคนิค
๑. สุขวิทยาทั่วไป
ประกอบด้วย เสื้อผ้า ความสะอาด อาหาร และสภาพการทางาน
๑.๑ เสื้อผ้า ให้ปฏิบัติตามคาแนะนาเกี่ยวกับความปลอดภัยโดยเปลี่ยนเสื้อผ้า และรองเท้าใส่มา
ทางานเก็บไว้ห้องรับฝากเสื้อและสิ่งของ (Cloakroom) เป็นชุดกันไฟ และไฟฟูาสถิต ซึ่งเนื้อผ้าทาด้วยผ้าฝูาย
ชนิดทนความร้อนสูงได้ เช่น Nomex III และสวมใส่รองเท้าปูองกันซึ่งพื้นรองเท้าเป็นแบบกันลื่น และสามารถ
ปูองกันบริเวณรองเท้าและหัวรองเท้าได้ เปุาทาความสะอาดชุดกันไฟ และไฟฟูาสถิตทุกวัน และซักด้วยวิธี
พิเศษทุกสัปดาห์ ใช้อุปกรณ์ปูองกันตามข้อบังคับในห้องปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือ แว่นตา หน้ากากช่วยหายใจ
๑.๒ ความสะอาดข้อบังคับเกี่ยวกับการติดตั้งสุขาภิบาล ตามข้อกาหนดเงื่อนไขในกฎหมายแรงงาน
ของประเทศฝรั่งเศสต้องปฏิบัติ ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องจัดให้มี ห้องรับฝากเสื้อผ้าและสิ่ง ของแยกกัน
สาหรับชายและหญิง เป็นตู้กันไฟพร้อมกุญแจล็อคให้เพียงพอกับจานวนผู้ปฏิบัติงาน อ่างล่างหน้า ห้องน้า ฟัก
บัว พร้อมทั้งที่การระบายอากาศเช่นเดียวกับในห้องปฏิบัติงาน ปัดฝุุนออกจากเสื้อผ้า และล้างมือ ทุกครั้งที่
หยุดพักการทางาน เมื่อสิ้นสุดการทางาน ของแต่ละวันให้เปลี่ยนเสื้อผ้า และถ้าจาเป็นก็ให้อาบน้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
ข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยของเฉพาะอย่างนั้น
๑.๓ อาหาร ห้ามรับประทานอาหาร ของว่างในห้องปฏิบัติงาน ให้รับประทานในห้องอาหารที่จัดไว้
เฉพาะ ห้ามดื่มเครื่องที่มแี อลกอฮอล์ทุกชนิดในห้องอาหารและห้องปฏิบัติงาน
๑.๔ สภาพการทางาน ตามกฎข้อบังคับกาหนดให้มีการระบายอากาศบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อลด
มลภาวะของสารเคมีหรือสาเหตุอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อน แบ่งเป็น ๒ แบบ
๑.๔.๑ การระบายอากาศทั่วไปซึ่งเกี่ยวข้องกับอาคาร และไม่ใช่มลภาวะ ที่ มีลักษณะเฉพาะ
(Non-specific pollution) สามารถ ระบายอากาศตามธรรมชาติหรือใช้เครื่องจักรและอัตราการหมุนเวียน
อากาศขึ้นอยู่กับแบบของสถานที่นั้น เช่น สานักงาน
๑.๔.๒ การระบายอากาศที่จัดตั้งขึ้น ณ บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานและเกี่ยวข้องกับมลภาวะ ที่มี
ลักษณะเฉพาะในกรณีนี้ การระบายอากาศอัตราการหมุนเวียนอากาศจะกาหนดขึ้นตามชนิดของมลภาวะนั้น
ถ้าการระบายอากาศไม่เพียงพอต้องใช้เครื่องปูองกันแต่ละอย่างตามข้อกาหนดตัวอย่าง เช่น
- ห้องปฏิบัติงานในโรงงานไพโรเทคนิคไม่มีมีหน้าต่าง และสานักงานใช้การระบาย
อากาศส่วนรวม
- ตาแหน่งที่ผลิตส่วนผสมใช้เครื่องดูดอากาศซึ่งต่อท่อจุ่มลงในน้ามัน
- พ่นสี ใช้ Equipped paint booths
- ในกรณีที่มีความเข้มข้นสูงให้ใช้ Extractor tables
การระบายอากาศต้องไม่ก่อให้เกิดสิ่งไม่พึ่งประสงค์ อื่น ๆ เช่น เสียง ระดับความดังของเสียง
ต้องมีการประมาณ และตรวจวัดไม่ให้เกินกว่าค่าที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัติคือ ๘๕ dB(A) ในที่มีการปูองกัน
เสียงสะท้อนโดยมีการเก็บรวบรวม ระดับความดังของเสียงอย่างต่อเนื่องที่ละขั้นโดยลาดับ ถ้ามากกว่า ๘๕ dB
ต้องกาหนดเป็นพื้นที่เฉพาะ และจัดแผนการทางานเพื่ อที่จะจากัดเสียง ถ้าเสียงดังเกินกว่า ๙๐ dB(A) หรือ
๑๔๐ dB ในที่มีการปูองกันเสียงสะท้อน ต้องใช้เครื่องปูองกันเฉพาะอย่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณที่มี
เสียงดังต้องได้รับการประกันสุขภาพ และดูแลจากแพทย์ ตัวอย่างเช่น ในโรงงานไพโรเทคนิค ให้จัดหาเครื่องวัด

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิ ค ๕๖

ความดังของเสียงมาใช้ตรวจวัด เมื่อมีการจัดตั้ง ดัดแปลงเปลี่ยนแปลงห้องปฏิบัติงานใหม่หรือมีข้อสงสัย ใน


กรณีที่มีความดังของเสียงมากกว่า ๑๑๐ dB(A) ให้ใช้เครื่องปูองกัน ๒ แบบ คือ Ear muffs และ Ear plugs มี
การตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานตามระยะเวลาอย่างน้อยปีละครั้ง
แสงสว่างต้องมีการออกแบบและติดตั้งในวิถีทางที่เจ้าหน้าที่สามารถเห็นได้ชัดและไม่ทาให้ดวงตา
เหนื่อยล้า ระดับความสว่างขึ้นอยู่กับงานที่ปฏิบัติดังนี้ ทางเดินในอาคาร ๔๐ ลักซ์ ห้องเก็บพัสดุ ๖๐ ลักซ์ ห้อง
ปฏิบัติงาน ห้องรับฝากเสื้อผ้าและห้องที่ติดตั้งสุขาภิบาล ๑๒๐ ลักซ์ ห้องทางานที่มีม่าน ๒๐๐ ลักซ์
พื้นที่ปฏิบัติงานต้องติดเครื่องปูองกัน ชนิดถาวร หรือเคลื่อนที่ได้เพื่อปูองกันแสงอาทิตย์ไม่ให้
ส่องตรงลงมาโดยสารไพโรเทคนิค และจัดหา Luxmeter มาใช้เมื่อมีการจัดตั้ง ดัดแปลงหรือมีการเปลี่ยนแปลง
ห้องปฏิบัติการใหม่ ในโรงงานไพโรเทคนิค ความสว่างของแสงที่ใช้จะมากกว่าที่กาหนดเอาไว้ในข้อบังคับ คือ
ทางเดิน ๒๐๐ ลักซ์ ห้องปฏิบัติงาน ๓๐๐ ลักซ์ ห้องทดลองและสานักงาน ๕๐๐ ลักซ์

๒. อันตรายจากกระแสไฟฟ้า
ในอาคารไพโรเทคนิค อาจเกิดอันตรายจากไฟไหม้ และการระเบิด สาเหตุอาจเกิดจากไฟฟูาลัดวงจร
ประกายไฟและไฟฟูาสถิต ซึ่งผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับอันตรายจากอวัยวะภายในถูกเผาไหม้ ระบบการหายใจ
และหัวใจ หยุดชะงักหรือช้าลง เพราะฉะนั้นโรงงานต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับความปลอดภัยทางไพโรเทคนิค
ความปลอดภัยในการติดตั้งระบบกระแสไฟฟูา มาตรฐานวัสดุที่ใช้และวิธีการ สายเคเบิลต้องหุ้มด้วยฉนวนกัน
ไพโรเทคนิค และต่อกับสายดินภายใต้อาคาร สายเคเบิลระหว่างอาคารต้องฝังใต้ดิน และห้ามเดินสายในรางน้า
หรือท่อน้า สายล่อฟูาบนอาคารไพโรเทคนิค ต้องต่อโดยตรงกับสายดิน ห่างไกลจากตัวนาไฟฟูาในอาคารและ
สื่อไฟฟูาอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากประกายไฟ สาหรับการต่อสายดินรูปสามเหลี่ยม ต้องต่อ
ในแนวตั้งฉากกับแต่ละจุด
การบารุงรักษาระบบไฟฟูา ต้องดูแลฉนวนปูองกันที่หุ้มสายเคเบิล ฟิวส์ สะพานไฟ (Circuit breakers)
และซ่อมแซมทันทีเมื่อเกิดปัญหาขึ้น อบรมผู้สมัครงานให้สามารถ เปิดปิดสวิ ตช์ตู้ควบคุมไฟได้ถูกต้อง ให้การ
อบรมพิเศษกับช่างไฟฟูา ถึงอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟูาแรงดันปานกลาง (๒๐๐๐๐ โวลต์) และไฟฟูา
แรงต่า (๒๒๐ - ๕๐๐ โวลต์) อนุญาตให้เฉพาะช่างไฟฟูาเพียง ๒ คนเท่านั้นที่สามารถ เข้าไปปฏิบัติงานกับหม้อ
แปลงไฟฟูาได้ ต้องตรวจสอบระบบไฟฟูาทุก ๆ ปี ข้อต่อสายดินทุกแห่ง หม้อแปลงไฟฟูา
๓. อันตรายจากสารเคมีและสารพิษ
สารเคมี และสารพิษจะกัดกร่อนต่อผิวหนังดวงตาทาให้เกิดอาการคันเป็นโรคผื่นคัน เกิดอาการระคาย
เคืองและเป็นพิษต่อระบบหายใจ และระบบย่อยอาหารวิธีปูองกันจัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับ
- สัญลักษณ์อันตรายของสารเคมี
- ภัยอันตรายจากสารเคมี
- ระดับความรุนแรงในการสัมผัสของสารเคมี
- สถานที่เก็บสารเคมี
- การใช้ภาชนะบรรจุอาหารกับสารเคมี
- ความสะอาดส่วนบุคคล เช่น ล้างมือก่อนทาการใด ๆ ทุกครั้ง
- การใช้เครื่องปูองกันส่วนบุคคล
เครื่องปูองกันอันตรายจากสารเคมีไม่รวมเครื่องปูองกันทางไพโรเทคนิค ได้แก่ ระบบการปูองกันโดย
ส่วนรวม อาทิเช่น สร้างระบบระบายอากาศ หรือ ระบบฟอกอากาศ สาหรับเครื่องปูองกันส่วนบุคคล ให้ใช้ถุง

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิ ค ๕๗

มือเหมาะกับชนิดของสาร ถุงมือยางนิ โอพรีน ส าหรับสารที่เป็นฝุุนละออง และเครื่ องมือปูองกันดวงตาให้


เหมาะกับพื้นที่ปฏิบัติงาน เลือกใช้หน้ากาก (MASKS) ให้เหมาะสมดังนี้
ลักษณะของมลภาวะ ชนิดของหน้ากากที่ใช้
ผงหรือฝุุนละออง หน้ากากปูองกันฝุุนอย่างบางแบบ 3M
หน้ากากอย่างบางมีสารกรองสารละลายอยู่ภายใน
สารละลาย หน้ากากครึ่งหน้าพร้อมใส่กรองไอสาร และปูองกันฝุุน
ก๊าซพิษและฝุุน หน้ากากเต็มหน้าพร้อมตลับไส้กรองที่เหมาะสมเลือกใช้
ตามชนิดของก๊าซพิษ และฝุุน
ควันจากการบัดกรี หน้ากากอย่างบาง มีสารกรองที่เหมาะสมอยู่ภายใน
๔. การป้องกันสิ่งแวดล้อม
๔.๑ น้าเสีย ในเขตที่ไม่ใช่พื้นที่ไพโรเทคนิค น้าที่ใช้แล้วและสารอินทรีย์ที่เหลือให้ฝุายสถานีบาบัดส่วน
ในเขตไพโรเทคนิคให้ผ่านถังบาบัดน้าเสีย ถังตกตะกอน และหลังจากบาบัดแล้วปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยมีค่า
กาหนดดังนี้
สารแขวนลอยในน้าไม่เกิน ๓๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
Biochemical oxygen demand ไม่เกิน ๔๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
Chemical oxygen demand ไม่เกิน ๑๒๐มิลลิกรัมต่อลิตร
ไนโตรเจน ไม่เกิน ๑๐ มิลลิกรัมต่อลิตร
อุณหภูมิ น้อยกว่า ๓๐ องศาเซลเซียส
ความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ระหว่าง ๕.๕ - ๘.๕
๔.๒ เสียง ระดับเสียงในเขตโรงงานระหว่าง ๗.๐๐ น.- ๒๐.๐๐ น. ไม่เกิน ๕๐ dB(A) และระหว่าง
๒๒.๐๐ น.– ๗.๐๐ น. ไม่เกิน ๔๐ dB(A) ยกเว้นในกรณีที่มีการทดสอบ
๔.๓ อากาศเสีย โรงงานไพโรเทคนิคต้องออกแบบให้ไม่มีอากาศเสีย โดยการจัดตั้งวิธีการจัดการ
มลภาวะและวิธีการปฏิบัติงาน
๔.๔ กากของเสีย กากของเสียของไพโรเทคนิคให้จัดตั้งวิธีพิเศษในการทาลายเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศ
เสี ย รวบรวมเศษโลหะ กระดาษ พลาสติ กและน้ามันไว้ด้ว ยกัน รวบรวมผลิ ตภัณ ฑ์เคมีโ ดยเจ้ าหน้ าที่ชุ ด
ปฏิบัติงาน

๕. การรักษาความปลอดภัย
๕.๑ ในเวลากลางวัน จัดเจ้าหน้าที่รักษาการประตูทางเข้าทุกประตู ๆ ละ ๑ คน ตรวจสอบทุกคนที่
เข้ามาตรวจบันทึกคาถามของแขกที่เข้ามาพบและจากไปในทุกเหตุการณ์ ปูองกันทรัพย์สินของโรงงาน และ
ความลับทางทหารเก็บที่จุดบุหรี่ไว้ที่ทางเข้า
๕.๒ ในเวลากลางคืน จัดเจ้าหน้าที่รักษาการประตูทางเข้าทุกประตู ๆ ละ ๑ คน และเดินตรวจ
ภายในโรงงานคืนละ ๓ รอบ ทุกคืน เจ้าหน้าที่สามารถจะตืดต่อกับผู้รับผิดชอบโรงงานได้ตลอดเวลา
๕.๓ รั้ว ควรมีความสูงอย่างต่า ๒.๕ เมตร ส่วนบนยืนออกไปด้านนอกพันด้วยลวดหนาม ๓ แถว
๖. ระเบียบปฏิบัติทั่วไป
ในโรงงานไพโรเทคนิคจะต้องจัดให้มีข้อกาหนด ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิ ค ๕๘

๖.๑ สัญญาณเตือนบอกเหตุ สัญญาณเตือนไซเรน ๑ ครั้ง (ประมาณ ๑๐ วินาที) แสดงว่าจะทาการยิง


หรือทดสอบที่มีเสียงดัง สัญญาณเตือนเสียงไซเรน ๓ ครั้ง (แต่ล ะครั้งนาน ๑๐ วินาที )แสดงว่าไฟไหม้ ให้
รวบรวมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงให้พนักงานทุกคนออกจากตึก สัญญาณเตือนเสียงไซเรน ๓ ครั้ง (ประมาณ ๑๐
วินาที) และเสียงไซเรนยาว ๑ นาที เป็นสัญญาณอพยพให้พนักงานทุกคนออกจากตึกมารวมกันอยู่ที่จุดอพยพ
นับจานวนคนที่อยู่และหายไป ในกรณีที่เกิดเหตุอันตรายพนักงานกดปุุมสัญญาณอันตราย (Alarm buttons)
ที่ติดตั้งไปในแต่ละอาคารหรือติดต่อพนักงานที่โทรศัพท์แจ้งสถานที่เกิดเหตุ ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องใน
เหตุการณ์ มีผู้ ได้รับ บาดเจ็บ หรื อไม่ และรอคาสั่ งจากผู้มีอานาจ ถ้ามีผู้ ได้รับบาดเจ็บอย่าทิ้งผู้ บาดเจ็บ แม้
บาดเจ็บเล็กน้อยโดยไม่ได้ดูแล ให้แจ้งพนักงานรักษาความปลอดภัยทราบ และนาไปพยาบาลโดยด่วน ถ้า
สามารถเคลื่อนไหวได้
ในกรณีของไฟไหม้ ให้พยายามควบคุมโดยใช้ถังดับเพลิงที่ติดตั้งอยู่รอบ ๆ อาคารและติดต่อ
พนักงานโทรศัพท์ ถ้าต้องการพนักงานดับเพลิง ถ้าไม่สามารถควบคุมได้ให้ตามรถดับเพลิง
๖.๒ อันตรายจากสารเคมี ถ้าเสื้อผ้าเปรอะเปื้อนสารเคมีให้รีบเอาออกก่อนที่จะถูกผิวหนัง ถ้าสารถูก
ผิวหนัง ให้ล้างบริเวณที่ถูกสารด้วยน้าก๊อกอย่างน้อย ๑๕ นาที และใช้ฝักบัวถ้าจาเป็นถ้าสารเข้าตาต้องล้างด้วย
น้าก๊อกอย่างน้อย ๑๕ นาที และแจ้งพนักงานรักษาความปลอดภัยทราบ
๖.๓ อัน ตรายจากกระแสไฟฟูา อย่าสั มผั ส กับผู้ ที่ถูกไฟฟูา ให้ตัดแหล่ งกาเนิดไฟฟูานาผู้ ที่ไดรับ
บาดเจ็บออกจากสายเคเบิล โดยใช้วัตถุที่ไม่เป็นตัวนาไฟฟูา ถ้ามีไฟฟูาไหม้ห้ามดับด้วยน้ารีบติดต่อพนักงานต่อ
โทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือ และตามผู้เชี่ยวชาญการปฐมพยาบาลในโรงงาน
๖.๔ การฝึกอบรม โรงงานต้องจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญในการปฐมพยาบาลโดยได้รับการฝึกอบรมจากครู
ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประจาทุกปี เกี่ยวกับการปูองกันไม่ให้ผู้เคราะห์ร้ายอาการแย่ลง และได้รับอุบัติเหตุเกินกว่า
เหตุ มีความระมัดระวังโดยทราบถึงสภาพของผู้เคราะห์ ร้ายอย่างละเอียดเพื่อที่จับให้ ความช่วยเหลื อทาง
การแพทย์ และควรจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญในการปฐมพยาบาล ๑ คน ต่อพนักงาน ๑๐ คน
๖.๕ อุปกรณ์ดับเพลิงประจาห้องปฏิบัติงาน ประกอบด้วย อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติตรวจจับด้วย
เซลล์รับแสง ๙ กิโลกรัม ผงดับเพลิงไพโรเทคนิค ๖ กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สาหรับดับเพลิงที่
เกิดจากระแสไฟฟูา และเครื่องดับเพลิงขนาด ๕๐ กิโลกรัม ต่ออาคาร

_____________________________

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐
ไพโรเทคนิ ค ๕๙

เอกสารอ้างอิง
๑. MILITARY PYROTECHNICS, TM 9-1370-200/T.O.11A10-1-1, 1967
๒. กองโรงงานสรรพาวุธ ๖ กรมสรรพาวุธทหารอากาศ. หลักการพื้นฐานของไพโรเทคนิค, ๒๕๓๙
๓. Ronald Lancaster and Takeo Shimizu. FIREWORKS, Principles and Practice,
Chemical Publishing Company Inc. 1972
๔. เอกสารเทคนิค ได้แก่
T.O. 11A10-24-7 (18 August 2014)
T.O. 11A16-40-7 (7 May 2015)
T.O. 11A10-26-7 (18 JANUARY 2015)
T.O. 11W2-9-2-34 (15 FEBRUARY 2004)
T.O. 11A10-26-7 (15 JANUARY 2015)
T.O. 11A10-27-7 (10 JANUARY 2017)
๕. คู่มือสาหรับระบบปูองกันตนเองแบบอัตโนมัติของอากาศยาน (ACD)
___________________________

ฉบับปรับปรุงเมื่อปี ๖๐

You might also like