You are on page 1of 5

Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

บทที่

2 ความหมายและหลักการท�ำงาน
ของกล้องถ่ายภาพ

2.1 ความหมายและความส�ำคัญของการถ่ายภาพ
1) ความหมายของการถ่ายภาพ
การถ่ายภาพ (Photography) มาจากภาษากรีก 2 ค�ำ ค�ำแรกคือค�ำว่า Phos ที่แปลว่า แสงสว่าง และค�ำว่า Graphein
ที่แปลว่า การเขียน เมื่อเอา 2 ค�ำมารวมกัน Photography จึงหมายถึง การเขียนด้วยแสงสว่าง
ความหมายของการถ่ายภาพ มองใน 2 ประเด็น คือ ความหมายเชิงวิทยาศาสตร์ และความหมายเชิงศิลปศาสตร์
1) ความหมายในเชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง การท�ำปฏิกิริยาระหว่างแสงกับวัสดุไวแสง
2) ความหมายในเชิงศิลปะหรือศิลปศาสตร์ หมายถึง การวาดภาพด้วยแสงและเงา รวมถึงการผสมสีเพื่อ
ถ่ายทอดความหมาย ความรู้สึก อารมณ์หรือทัศนะคติ

เมื่อน�ำความหมายของการถ่ายภาพทั้ง 2 ส่วน คือด้านวิทยาศาสตร์และด้านศิลปศาสตร์มารวมกัน การถ่ายภาพ


จึงหมายถึง การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนะคติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
นั่นคือการปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนจากวัตถุผ่านเข้ามา กระทบกับวัสดุไวแสงและน�ำวัสดุไวแสงนั้นไปผ่านประบวนการ
สร้างภาพให้ปรากฏออกมา หากเป็นระบบฟิล์มแบบเก่าเราไปล้างกับน�้ำยาและมีภาพปรากฏออกมา หากเป็นระบบ
ดิจิทัลคือการแปลงสัญญาณไฟฟ้าออกมาเป็นภาพ เป็นความหมายของการถ่ายภาพที่รวบรวมทั้งในส่วนของ วิทยาศาสตร์
และศิลปะเข้ามาร่วมมือกัน

2) ความส�ำคัญและบทบาทหน้าที่ของการถ่ายภาพ
คงเคยได้ยินค�ำว่า ภาพหนึ่งภาพมีความหมายมากกว่าค�ำพูดหรือการเขียนนับพันค�ำ หรือว่าเป็นค�ำไทยที่บอกว่า สิบ
ปากว่าไม่เท่าตาเห็น นั่นหมายความว่าภาพภาพเดียว หากเรามองภาพเดียวเข้าใจความหมายของสิ่งที่ภาพสื่อได้เลย แต่หาก
เราฟังมาหลายค�ำหรือคนอื่นถ่ายทอดมาอีกทีทั้งที่เราไม่เห็นด้วยตัวเอง เราอาจมีตีความหรือเข้าใจความหมายขของสิ่งนั้นผิด
ไป ซึ่งสามารถสรุปบทบาทหน้าที่ของการถ่ายภาพที่มีความส�ำคัญต่องานต่างๆ ได้ดังนี้
2.1) การใช้ภาพถ่ายเพื่อบันทึกภาพและข้อมูลส�ำคัญทาง
ประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นหลักฐาน รวมถึงการถ่ายทอดศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม
และวิถีชีวิตของคนในสังคมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสืบสานต่อไปยังคนรุ่นหลัง
2.2) การใช้ภาพถ่ายเพื่อแสดงตัวตนอาจเป็นหลักฐานทางกฏ
หมาย หากเป็นลักษณะการถ่ายภาพในเชิงกีฬาน�ำภาพถ่ายมาเป็นหลักฐานในการ
ตัดสินได้
2.3) การใช้ภาพถ่ายเพื่อบอกหรือว่าอธิบายเรื่องราวหรือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น ภาพข่าว
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รวมทั้งโทรทัศน์ สื่อมวลชนต่างๆ
2.4) การใช้ภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพื่อ
ดึงดูดความสนใจ ของผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายให้อยากใช้สินค้าและบริการ หรือ
เข้าร่วมกับกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้น รวมทั้งเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ
องค์กรเพื่อให้เป็นที่จดจ�ำของผู้บริโภคได้

2-1 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography)


Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

2.5) การใช้ภาพถ่ายเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของบุคคล ภาพถ่าย


ลักษณะแบบนี้ถือว่าเป็นผลงานทางด้านศิลปะที่มีคุณค่า ซึ่งช่างภาพพยายามถ่ายทอด
ความรู้สึกนึกคิดของตัวเองออกมาให้คนที่ดูภาพเกิดความรู้สึก เกิดอารมณ์คล้อยตาม
แบบที่ตัวช่างภาพต้องการ
2.6) การใช้ภาพถ่ายเพื่อสร้างความบันเทิงหรือความเพลิดเพลิน
ใจให้กับผู้ที่พบเห็น เช่น ภาพดอกไม้ ภาพสถานที่ วิวทิวทัศน์ต่างๆ แสดงให้เห็นถึง
ความสวยงาม ท�ำให้คนสนใจ อยากชื่นชม อยากไป ซึ่งพบภาพแบบนี้ได้ในสื่อต่างๆ
เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ซึ่งน�ำไปใช้ในการเล่าเรื่องเพื่อความ
บันเทิงเพลิดเพลินใจของผู้ชม
2.7) การใช้ภาพถ่ายเพื่อการค้นคว้าและการศึกษารวบรวมข้อมูล
หรือเป็นข้อมูลทางดานวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถบันทึกได้ละเอียดกว่าการใช้สายตา
ในการมองเห็น เช่น ภาพของเชื้อโรค แมลงตัวเล็กๆ หรือสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองด้วย
ตาเปล่าไม่เห็น
2.8) การใช้ภาพถ่ายเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งเราพบเห็นได้ว่าสื่อการ
เรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวีดิทัศน์ ใช้ภาพเพื่อเป็นส่วนประกอบเป็นหลัก
เพราะสื่อสารความหมายได้ชัดเจนและถูกต้องกว่าสื่อรูปแบบอื่น

การใช้ภาพประกอบสื่อต่างๆ จึงเป็นสิ่งส�ำคัญ ผู้ที่ต้องการน�ำภาพมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ต้องท�ำความเข้าใจว่าถ่าย


ภาพยังไง สื่อสารความหมายได้ตรง ท�ำยังไงถึงถ่ายภาพได้ชัดเจน ได้คมชัด เพื่อที่ให้ผู้ที่รับรู้ ผู้เรียนรู้ เกิดความเข้าใจในภาพ
นั้นๆ และสอดคล้องกับเนื้อหาที่ก�ำลังศึกษาอยู่ ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นความส�ำคัญของการถ่ายภาพ ที่มีบทบาทต่อการ
ท�ำงานในด้านต่างๆ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีทักษะในเรื่องของการถ่ายภาพจึงสามารถที่น�ำทักษะนี้ ไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆที่
เกี่ยวข้องได้

2.2 หลักการท�ำงานของกล้องถ่ายภาพ
หลักการท�ำงานของกล้องถ่ายภาพ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับ
ปัจจัย 2 ประการ คือ
1) ความคมชัดของภาพ ซึ่งอาจคมชัดทุกระยะของภาพหรือคมชัด
บางระยะ
2) แสงสว่าง ภาพถ่ายที่ดีต้องมีแสงสว่างที่พอเหมาะพอดี หรือ
เรียกว่า ภาพที่มีแสง Normal หากแสงสว่างมากเกินไปเรียกว่า ภาพ Over
หรือแสงมืดเกินไปเรียกว่า ภาพ Under

การที่ภาพหนึ่งภาพที่เราบันทึกจะมีความคมชัดหรือแสงสว่างพอดีหรือไม่นั้น มีส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพที่
เกี่ยวข้องอยู่ 2 ส่วน คือ

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography) 2-2


Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

1) ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed)


เป็นการก�ำหนดระยะเวลาที่จะเปิดรับแสงจากภายนอกเข้ามาสู่กล้อง โดยมีตัวเลขบอกเวลาเป็นการควบคุม เช่น 1
2 8 15 30 60 125 250 500 1000 2000 ซึ่งคิดเป็นเศษส่วนของวินาที ตัวเลขที่มีค่าน้อยชัตเตอร์จะเปิดนาน แสง
จะข้าไปในกล้องได้มาก และตัวเลขที่มีค่ามากชัตเตอร์จะเปิดและปิดเร็ว แสงจะเข้าไปในกล้องได้น้อย เช่น ถ้าปรับตั้ง
ความเร็วชัตเตอร์ไว้ 1 แสงจะผ่านเข้าไปบันทึกภาพนาน 1 วินาที และถ้าตั้งที่ 500 ชัตเตอร์จะเป็นให้แสงผ่านเข้าไปบันทึก
ภาพประมาณ 1/500 วินาที ซึ่งระยะเวลาที่แตกต่างกันนี้ มีผลต่อความคมชัดของภาพ ยกตัวอย่าง การถ่ายภาพที่มีการ
เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น ภาพรถที่ก�ำลังแล่น ภาพนักกีฬาก�ำลังเล่นกีฬา หากเราตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ต�่ำเกินไปอาจได้
ภาพที่มีความเบลอเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นวิธีการคือให้เราพิจารณาว่าความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ควรตั้งความเร็วอย่างไร หาก
ความเร็วมาตรฐานปกติที่เราใช้ในการถ่ายภาพ ก็ตั้งความเร็วชัตเตอร์อยู่ระดับกลางประมาณ 60,125,150 หากเราต้องการ
ถ่ายภาพที่ต้องการให้ตัวแบบมีความหยุดนิ่งอย่าง เช่น ภาพกีฬา ความเร็วชัตเตอร์แค่ 60,125,250 อาจไม่เพียงพอ เราต้อง
ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมากขึ้น คือ ประมาณ 500,1000 ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ภาพบางประเภทช่างภาพต้องการใช้ความ
เบลอให้เป็นประโยชน์ เช่น เราอยากถ่ายภาพน�้ำตกที่ก�ำลังไหลลง จากด้านบนลงสู่ด้านล่าง ให้เป็นเส้นยาวๆ ต้องใช้ความเร็ว
ชัตเตอร์ต�่ำๆ เพื่อให้สายน�้ำตกเป็นลักษณะสายยาวๆ ออกมามีความพริ้วความสวยงามได้ ความเร็วชัตเตอร์ปกติเราใช้ที่
กลางๆ หากอยากหยุดภาพเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งใช้ชัตเตอร์ให้สูงขึ้น ถ้าอยากได้ภาพที่มีลักษณะมีความเบลอหรือเคลื่อนไหว
ช้า เราก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ต�่ำ

2-3 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography)


Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

2) ขนาดของรูรับแสง (f-number)

ซึ่งส่วนประกอบส่วนนี้เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในช่วงของเลนส์ คุณสมบัติของขนาดรูรับแสงมีผลต่อความคมชัด
ของภาพและแสงสว่างของภาพเช่นเดียวกัน หากเราตั้งรูรับแสงที่ไม่เหมาะสมอาจได้ภาพที่มีความสว่างหรือความมืดมาก
เกินไป หรือได้ความคมชัดที่ไม่ตรงกับความต้องการ ซึ่งขนาดของรูรับแสงมีขนาดตั้งแต่รูปแคบจนถึงรูกว้างที่เราสามารถ
ก�ำหนดค่าได้ หากปรับรูรับแสงขนาดแคบเวลาถ่ายภาพออกมาเราได้ภาพที่มีความคมชัดทุกระยะของภาพ ซึ่งรูรับแสงแคบ
เหมาะกับการถ่ายภาพทั่วๆ ไปเช่น ภาพทิวทัศน์ สถาปัตยกรรม ซึ่งต้องการให้มีความคมชัดทั้งภาพ แต่หากรูรับแสงกว้าง
ภาพมีความคมชัดเฉพาะจุดที่เราโฟกัส ยกตัวอย่างเช่น ภาพบุคคลที่ยืนเรียงกัน ด้านหน้า กลาง และหลัง หากเราโฟกัสไปที่
คนตรงกลาง โดยที่เปิดรูรับแสงกว้าง ภาพที่ออกมาคนตรงกลางก็จะชัดแต่คนที่อยู่ข้างหน้าและข้างมีความเบลอเกิดขึ้น ซึ่ง
มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดรูรับแสงที่เราเปิด แต่ถ้าปรับรูรับแสงไปที่แคบสุด ความคมชัดก็จะเท่ากันหมดทั้ง 3 คน รูรับแสง
เป็นตัวที่ช่วยให้เราก�ำหนดระยะความชัดของภาพได้เช่นเดียวกัน ซึ่งรูรับแสงแคบหรือกว้างมีค�ำศัพท์ที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ค�ำ
หากเราถ่ายภาพในลักษณะที่รูรับแสงกว้างเราได้ภาพที่เรียกว่า ภาพชัดตื้น คือ ชัดเฉพาะจุดที่เราโฟกัส แต่หากเราปรับรูรับ
แสงแคบเราได้ภาพที่เรียกว่า ชัดลึก คือ ภาพที่มีระยะชัดหมดทั้งภาพไม่ว่าวัตถุอยู่ใกล้ กลาง หรือไกล มีความคมชัดเท่ากัน
หมด

ตัวอย่างภาพรูรับแสงแคบ ชัดลึก ตัวอย่างภาพรูรับแสงกว้าง ชัดตื้น


ความเร็ ว ชั ต เตอร์ แ ละรู รั บ แสงเป็ น ส่ ว นประกอบ
ส�ำคัญของกล้องถ่ายภาพที่ต้องท�ำงานให้สัมพันธ์กัน เนื่องจาก
ท�ำหน้าที่ในการเปิดรับให้แสงสว่างส่องเข้ามาในกล้อง จากภาพ
ด้านล่างหากส่วนใดเปิดให้แสงเข้ามาน้อย อีกส่วนต้องเปิดให้
แสงเข้ามามากทดแทนกัน เช่น หากตั้งรูรับแสงกว้างซึ่งท�ำให้
แสงเข้ามาปริมาณมาก ก็ต้องปรับความเร็วชัตเตอร์ขึ้นไปความเร็ว
สูงเพื่อให้เวลาในการปล่อยแสงเข้ามาในกล้องเป็นระยะเวลา
ที่สั้น แต่หากตั้งรูรับแสงแคบซึ่งให้ปริมาณแสงเข้ามาน้อย ก็ต้อง
ตัวอย่างภาพรูรับแสงแคบ ชัดลึก ปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ความเร็วต�่ำเพื่อให้เวลาในการปล่อย
แสงเข้ามาในกล้องเป็นระยะเวลาที่นานขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าขนาดของรูรับแสงแต่ละขนาดจะสัมพันธ์กับ
ความเร็วชัตเตอร์ใดทุกครั้งไป จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพแสงที่ถ่ายภาพในขณะนั้นซึ่งจะเป็นตัวก�ำหนดว่าส่วนประกอบ
ทั้งสองจะสัมพันธ์กันที่ตัวเลขใด หากการปรับรูรับแสงกับความเร็วชัตเตอร์มีความสัมพันธ์กันจะท�ำให้ได้ภาพที่มีค่าแสงพอดี หรือ
ที่เรียกว่าภาพปกติ (Normal) แต่หากไม่สัมพันธ์กันจะได้ภาพที่มีแสงสว่างน้อยเกินไป เรียกว่าภาพอันเดอร์ (Under) หรือ
ภาพที่มีแสงสว่างมากเกินไป เรียกว่าภาพโอเวอร์ (Over) ซึ่งค่าแสงที่ต่างจากค่าปกตินี้ เราเรียกช่วงของค่าที่ห่างกันว่า
“สต็อป” (Stop) เช่น ในขณะที่จะถ่ายภาพ ค่าแสงปกติที่เครื่องวัดแสงระบุ คือ ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/60 และรูรับแสงที่ f8

เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography) 2-4


Thai MOOC สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

แต่หากเราเปลี่ยนค่าใดค่าหนึ่งไม่ว่าจะเป็นความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 1/125 หรือเปลี่ยนรูรับแสงไปที่ f11 (ตัวใดตัวหนึ่งห่างออกไป 1


ค่า) ซึ่งท�ำให้ภาพมืดลงนิดหน่อย จะเรียกว่า อันเดอร์ 1 สต็อป หรือหากเปลี่ยนค่าใดค่าหนึ่งไม่ว่าจะเป็นความเร็วชัตเตอร์ไปที่
1/30 หรือเปลี่ยนรูรับแสงไปที่ f5.6 (ตัวใดตัวหนึ่งห่างออกไป 1 ค่า) ซึ่งท�ำให้ภาพสว่างขึ้นนิดหน่อย จะเรียกว่า โอเวอร์ 1
สต็อป แต่ถ้าหากปรับให้ห่างมากกว่านั้น เช่น ปรับความเร็วชัตเตอร์หรือรูรับแสงต่างออกไป 2 ค่า ก็จะเรียกว่า อันเดอร์
หรือ โอเวอร์ 2 สต็อป เป็นต้น

หลักของการถ่ายภาพไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสองตัวนี้เท่านั้น ยังมีส่วนประกอบย่อยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีก ไม่ว่า


เป็นเรื่องของ ISO หรือว่าความไวแสง ISO มีผลในการถ่ายภาพด้วย ISO สูง เราสามารถที่ถ่ายภาพในที่ที่มีแสงสว่างน้อยๆ
ได้ดี หรือหากเราตั้ง ISO ที่เป็นความไวแสงต�่ำ เราต้องอาศัยที่ที่มีสภาพแสงเยอะๆ ถึงถ่ายได้ หากไปถ่ายที่ที่มีแสงน้อยๆถ่าย
ไม่ได้ หรือเรื่องของ White Balance การปรับค่าของแสงให้เหมาะสมกับสภาพแสง ณ ตอนนั้น ปรับ White Balance
กลางวัน ปรับ White Balance กลางคืนปรับ White Balance กับสภาพหลอดไฟที่แตกต่างกัน เป็นอีกเงื่อนไขที่ช่างภาพ
ต้องท�ำความเข้าใจกับ ในส่วนของ Shutter speed นอกจากตัวเลขอย่างที่บอกไปแล้ว จริงแล้วมีโหมดอื่น ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
ไม่ว่าเป็นโหมดออโต้ โหมดปรแกรม โหมด A โหมด Tv ซึ่งข้อมูลในส่วนต่างๆ เหล่านี้มีการปรับค่าของกล้องที่ต่างกัน บาง
โหมดอาจมีการท�ำงานร่วมกันระหว่างช่างภาพปรับครึ่งหนึ่งกล้องช่วยค�ำนวณอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือให้เราหรือบางโหมดท�ำ
งานคล้ายๆ เป็นออโต้เกือบทั้งหมดแต่ว่าช่างภาพมีสิทธิที่ ปรับบางค่าได้เพื่อให้ได้ภาพอย่างที่เราต้องการ

ตัวอย่างภาพที่มี ISO สูง

2-5 เอกสารประกอบการสอนรายวิชา KMITL001 การถ่ายภาพเบื้องต้น (Basic Photography)

You might also like