You are on page 1of 31

Primary Vote

การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งขั้นต้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุ ทธศักราช 2560

มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถี
ทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่
กฎหมายบัญญัติ
กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับ การบริหาร
พรรคการเมือง ซึ่งต้องกำหนดให้เป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้ เปิดโอกาส
ให้สมาชิกมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการกำหนดนโยบาย และการส่งผู้สมัคร
รับเลือกตั้ง และกำหนดมาตรการให้สามารถดำเนินการโดยอิสระไม่ถูกครองงำ
หรือชี้นำโดยบุคคลซึ่งมิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองนั้น รวมทั้งมาตรการ
กำกับดูแลมิให้สมาชิกของพรรคการเมืองกระทำการ อันเป็นการฝ่าฝืนหรือ
ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุ ทธศักราช 2560

มาตรา 258 ให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ดังต่อไปนี้


ก. ด้านการเมือง
ฯลฯ
(2) ให้การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองเป็นไปโดยเปิดเผยและตรวจสอบได้
เพื่อให้พรรคการเมืองพัฒนาเป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชนซึ่งมีอุดมการณ์
ทางการเมืองร่วมกันมีกระบวนการให้สมาชิกพรรคการเมืองมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบ
อย่างแท้จริงในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและการคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถ
ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรม เข้ามาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
ฯลฯ
องค์ประกอบการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

สาขา/ตัวแทน คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการบริหาร


พรรคการเมือง ผู้สมัคร ส.ส. พรรคการเมือง
สาขาพรรคการเมือง

จำนวนสมาชิก คุณสมบัติสมาชิก หน้าที่

ไม่น้อยกว่า 500 คน ขึ้นไป มีภูมิลำเนาอยู่ใน - เสนอชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ


เขตพื้นที่รับผิดชอบ ให้คณะกรรรมการสรรหา
(เขตเลือกตั้ง/จังหวัด) - จัดประชุมสมาชิกสาขาเพื่อให้
ตามข้อบังคับพรรค สมาชิกให้ความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ

สถานะสาขา คณะกรรมการ

เริ่มเมื่อหัวหน้าพรรคการเมือง ตามข้อบังคับพรรคการเมือง
มีประกาศจัดตั้งสาขา (ท.พ.7) ไม่น้อยกว่า 7 คน
(หัวหน้าสาขา 1 คน กรรมการสาขา 6 คน)
ตัวแทนพรรคการเมือง
ประจำจังหวัด
จำนวนสมาชิก คุณสมบัติสมาชิก หน้าที่

เกิน 100 คน (101 คน) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด - เสนอชื่อผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ



ให้คณะกรรรมการสรรหา
- จัดประชุมสมาชิกสาขาเพื่อให้
สมาชิกให้ความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ

สถานะตัวแทน คณะกรรมการ

เริ่มเมื่อหัวหน้าพรรคการเมือง จำนวนตามข้อบังคับพรรคการเมือง
มีประกาศจัดตั้งตัวแทน (ท.พ.13) ไม่น้อยกว่า 1 คน

คณะกรรมการสรรหา
ผู้สมัคร ส.ส.

ที่มา จำนวน หน้าที่

มาจากการเลือกจากที่ประชุมใหญ่ *ตามข้อบังคับพรรคการเมือง - ตรวจสอบคุณสมบัติ/ลักษณะ


ของพรรคการเมือง (ประชุมลับ) - กรรมการบริหารพรรคฯไม่เกินกึ่งหนึ่ง ต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการ
ของคณะกรรมการสรรหา สรรหาเป็น ส.ส.
- หัวหน้าสาขา (ไม่น้อยกว่า 4 สาขา + 4 ภาค) - พิจารณาให้ความเห็นชอบหรือ
- ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ไม่เห็นชอบผู้รับสมัครเข้ารับการ
สรรหาเป็น ส.ส.
- จัดทำบัญชีรายชื่อผู้เข้ารับการ
สรรหาไม่เกิน 100 รายชื่อ
คณะกรรมการบริหาร
พรรคการเมือง

ที่มา จำนวน หน้าที่

มาจากการเลือกจากที่ประชุมใหญ่ *ตามข้อบังคับพรรคการเมือง + มาตรา 21 - เสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.


ของพรรคการเมือง (ประชุมลับ) - จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แบบบัญชีรายชื่อ ให้คณะกรรมการ
1.หัวหน้า สรรหา
2.เลขาธิการ - พิ จ า ร ณ า ใ ห้ ค ว า ม เ ห็ น ช อ บ
3.เหรัญญิก ผู้ได้รับการสรรหาเป็น ส.ส.
4.นายทะเบียนสมาชิก (เป็นที่สุด)
5.กรรมการอื่น ๆ
กฎหมาย / ประกาศ

มาตรา ๑๔ ในวาระเริ่มแรก ให้ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดที่ดำรงตำแหน่ง


อยู่ในก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับเป็นตัวแทนพรรคการเมือง
ประจำจังหวัดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และข้อบังคับพรรคการเมือง
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจังหวัดใดที่พรรคการเมืองมีสาขาพรรคการเมืองและตัวแทน
พรรคการเมืองประจำจังหวัดด้วย ให้พรรคการเมืองนั้นกำหนดว่าจะให้สาขาพรรคการเมือง
สาขาใดหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดใดในจังหวัดนั้นเป็นสาขาพรรคการเมือง
หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการตามมาตรา ๕๐ หรือมาตรา ๕๑
แล้วแต่กรณี แล้วให้พรรคการเมืองแจ้งให้นายทะเบียนทราบ
กฎหมาย / ประกาศ

ข้อ ๓ พรรคการเมืองจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ในเขตเลือกตั้งในจังหวัดใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
ในจังหวัดนั้นกรณีมีสาขาพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งสาขาหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
มากกว่าหนึ่งตัวแทนในจังหวัดใด ให้กำหนดว่าจะให้สาขาพรรคการเมืองสาขาใดหรือตัวแทน
พรรคการเมืองประจำจังหวัดใดในจังหวัดนั้นเป็นสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมือง
ประจำจังหวัดเพื่อดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
และให้แจ้งนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยพลัน
กฎหมาย / ประกาศ

ข้อ ๔ การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้พรรคการเมือง


จัดทำบัญชีรายชื่อเพื่อส่งให้สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
โดยต้องคำนึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง
กรณีที่พรรคการเมืองใดมีสาขาพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งสาขาหรือตัวแทนพรรคการเมือง
ประจำจังหวัดมากกว่าหนึ่งตัวแทนในจังหวัดใด ให้กำหนดว่าจะให้สาขาพรรคการเมืองสาขาใด
หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดใดในจังหวัดนั้น เป็นสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทน
พรรคการเมืองประจำจังหวัดเพื่อดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ และให้แจ้งนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยพลัน
ลักษณะสาขาพรรคฯ / ตัวแทนฯ

รูปแบบที่ 1

จังหวัด ก
กรณีมีสาขา 1 แห่ง หรือ ตัวแทน 1 แห่ง ภายในจังหวัด

สาขา 1 แห่ง ตัวแทนฯ 1 แห่ง

เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2

เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 4

การดำเนินการ

ให้สาขา/ตัวแทน ทำ Prinary Vote ได้ทั้งจังหวัด (ทุกเขตเลือกตั้ง)


ลักษณะสาขาพรรคฯ / ตัวแทนฯ
รูปแบบที่ 2

จังหวัด ก
กรณีมีสาขามากกว่า 1 แห่ง ภายในจังหวัด

สาขาที่ 1 สาขาที่ 2

เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2

เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 4

การดำเนินการ เช่น
1. ให้สาขาที่ 1 ทำ Primary Vote ทั้ง 4 เขต ก็ได้
2. ให้สาขาที่ 1 ทำ Primary Vote เฉพาะเขตที่ 1 ก็ได้
3. ให้สาขาที่ 2 ทำ Primary Vote เฉพาะเขตที่ 2 ก็ได้
4. ให้สาขาที่ 2 ทำ Primary Vote เฉพาะเขตที่ 2 หรือ เขตที่ 3 หรือ เขตที่ 4 ก็ได้
หมายเหตุ พรรคการเมืองจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนว่าจะให้สาขาใดทำ Primary Vote (ข้อ 3 ข้อ 4 ประกาศ กกต.)
ลักษณะสาขาพรรคฯ / ตัวแทนฯ
รูปแบบที่ 3

จังหวัด ก
กรณีมีตัวแทนฯ มากกว่า 1 แห่ง ภายในจังหวัด

ตัวแทนฯ ตัวแทนฯ

เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2

เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 4

การดำเนินการ เช่น
1. ให้ตัวแทนฯเขตที่ 1 ทำ Primary Vote ทั้ง 4 เขต ก็ได้
2. ให้ตัวแทนฯเขตที่ 1 ทำ Primary Vote เฉพาะเขตที่ 1 ก็ได้
3. ให้ตัวแทนฯเขตที่ 2 ทำ Primary Vote เฉพาะเขตที่ 2 ก็ได้
4. ให้ตัวแทนฯเขตที่ 2 ทำ Primary Vote เฉพาะเขตที่ 2 หรือ เขตที่ 3 หรือ เขตที่ 4 ก็ได้
หมายเหตุ พรรคการเมืองจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนว่าจะให้ตัวแทนฯ ใดทำ Primary Vote (ข้อ 3 ข้อ 4 ประกาศ กกต.)
ลักษณะสาขาพรรคฯ / ตัวแทนฯ
รูปแบบที่ 4

จังหวัด ก
กรณีมีสาขา และ ตัวแทนฯ ภายในจังหวัด

สาขา ตัวแทนฯ

เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2

เขตเลือกตั้งที่ 3 เขตเลือกตั้งที่ 4

การดำเนินการ

1. ให้สาขาทำ Primary Vote ได้ทั้งจังหวัด (ทุกเขตเลือกตั้ง) หรือ


2. ให้ตัวแทนฯทำ Primary Vote ได้ทั้งจังหวัด (ทุกเขตเลือกตั้ง) ก็ได้

หมายเหตุ พรรคการเมืองจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนว่าจะให้สาขา หรือ ตัวแทนฯ ใดทำ Primary Vote (มาตรา 14 ว.2)


การส่งผู้สมัครฯ แบบแบ่งเขต (ม.50)
คณะกรรมการสรรหา ประกาศ วัน เวลา สถานที่ ในการสมัคร
และประกาศให้สมาชิกทราบ

คณะกรรมการสรรหา ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม
ของผู้สมัคร และส่งให้ สาขา/ตัวแทน ของพรรคการเมือง

สมาชิก
สาขา (ไม่น้อยกว่า 100 คน) หรือตัวแทนพรรคฯ (ไม่น้อยกว่า 50 คน) ให้ความเห็นชอบ หรือ
ไม่เห็นชอบ
ประชุมสมาชิกเพื่อรับฟังความคิดเห็นและให้ความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบ (เป็นรายเขต/รายบุคคล)
ตามประกาศ กกต.

คณะกรรมการสรรหาพิจารณาเสนอความเห็นผู้สมัคร
แต่ละสาขาให้กรรมการบริหารพรรคการเมือง

คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง พิจารณาให้ความเห็นชอบผู้สมัคร

หัวหน้าพรรคการเมืองออกหนังสือรับรองส่งผู้สมัคร (ส.ส. 4/8)


การสรรหาผู้สมัครฯ แบบบัญชีรายชื่อ (ม.51)
คณะกรรมการสรรหา กำหนดวัน เวลา สถานที่รับสมัคร/เสนอชื่อบุคคล เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง
และแจ้ง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หัวหน้าสาขา ตัวแทนฯ และประกาศให้สมาชิกทราบ

กรรมการบริหารพรรคฯ หัวหน้าสาขา ตัวแทนฯ เสนอชื่อให้กรรมการสรรหา

คณะกรรมการสรรหาตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ
เป็นผู้สมัครฯ และจัดทำบัญชีรายชื่อไม่เกิน 100 รายชื่อให้ สาขา/ตัวแทนฯ

สมาชิกให้ความเห็นชอบ
สาขา (ไม่น้อยกว่า 100 คน) หรือ ตัวแทน (ไม่น้อยกว่า 50 คน) หรือ ไม่เห็นชอบ
ประชุมสมาชิกเพื่อรับฟังความคิดเห็นและให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ (ทั้งบัญชี/เป็นรายบุคคล)
ตามประกาศ กกต.

คณะกรรมการสรรหาพิจารณาเสนอความเห็นให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง

คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับที่เหมาะสม

หัวหน้าพรรคการเมืองส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น (ส.ส. 4/21)


หลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดประชุมสมาชิกพรรคการเมือง
เพื่ อรับฟังความคิดเห็นการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

หัวหน้าสาขาฯ/ตัวแทนฯ
รับรายชื่อผู้สมัครฯแบบแบ่งเขต
จัดประชุมสมาชิกในจังหวัดนั้น ให้หัวหน้าสาขา/ตัวแทนฯ
เลือกตั้ง/แบบบัญชีรายชื่อ
(สาขาไม่น้อยกว่า 100 คน , ตัวแทนฯ เป็นประธานที่ประชุม (ถ้ามีตัวแทน
จากคณะกรรมการสรรหา
ไม่น้อยกว่า 50 คน (ข้อ 5 ว.1) หลายคน ให้คนใดคนหนึ่งทำหน้าที่
ประธาน) (ข้อ 6(3) ว.2)

ลงทะเบียน และตรวจสอบ
ความเป็นสมาชิกพรรคฯ (ส.ค.1) กรณีหัวหน้าสาขาฯ/ตัวแทนฯ
(ข้อ 6(4) ) เป็นผู้สมัครฯ ให้รองหัวหน้า
สาขาฯ/ตัวแทนฯ คนอื่น ที่ไม่ใช่
ผู้สมัครฯทำหน้าที่ประธานแทน
สมาชิกให้ความเห็นชอบ / ไม่เห็นชอบ (ข้อ 6(3) ว.2)
และแสดงความคิดเห็นแบ่งเขตเลือกตั้ง (ส.ค.2)/
แบบบัญชีรายชื่อ (ส.ค.3) (ข้อ 6(4) )

(1) แบบลงทะเบียนสมาชิก (ส.ค.1) การประชุมเสร็จสิ้น


(2) แบบแสดงความคิดเห็น (ส.ค.2) / (ส.ค.3) ให้หัวหน้าสาขา/ตัวแทนฯ ส่งเอกสารให้
(3) รายชื่อผู้สมัครทุกคน/บัญชีรายชื่อผู้สมัครฯ คณะกรรมการสรรหา (ข้อ 7 ว.1)
ข้อยกเว้นการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
โดยไม่ต้องดำเนินการสรรหา

ในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งโดยไม่ต้อง
ดำเนินการสรรหาตามที่กฎหมายกำหนด มี 3 กรณี ดังต่อไปนี้
1. การเลือกตั้งแทนการเลือกตั้งที่เป็นโมฆะ
2. การเลือกตั้งใหม่กรณีที่ไม่มีผู้ใดได้รับเลือกตั้ง
3. กรณีผู้สมัครของพรรคการเมืองนั้นตายก่อนปิดการรับสมัครเลือกตั้ง
การคัดเลือกตัวผู้สมัครของพรรคการเมือง เพื่อส่งสมัครรับเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้ง
ทั้ง 3 กรณีดังกล่าวให้พรรคการเมืองดำเนินการตามข้อบังคับพรรคการเมือง
ข้อห้ามในการสรรหา
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ข้อห้ามในการสรรหา
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

1. ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับ หรือให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน


ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อให้สมาชิกผู้ใดลงสมัครหรือไม่ลงสมัครรับ หรือเพื่อให้เสนอ
ชื่อสมาชิกผู้ใดเข้ารับการเลือก ในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือ
แบบบัญชีรายชื่อ

*** ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 - 100,000 บาท


หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นด้วย
ข้อห้ามในการสรรหา
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

2. ห้ามมิให้ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง หรือ


กรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใดยินยอมให้บุคคลใดที่มิได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมือง
เข้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมหรือให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบ
ใ น ก า ร ดำ เ นิ น ก า ร ส ร ร ห า ผู้ ส มั ค ร รั บ เ ลื อ ก ตั้ ง แ บ บ แ บ่ ง เ ข ต เ ลื อ ก ตั้ ง ห รือ
แบบบัญชีรายชื่อ

*** ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท


และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี)
*** ในการดำเนินคดี ให้ถือว่าสมาชิกของพรรคการเมืองทุกคนเป็นผู้เสียหาย
ผลของการไม่ดำเนินการ
สรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง
หรือดำเนินการไม่ครบถ้วน
ผลของการไม่ดำเนินการสรรหาผู้สมัคร
รับเลือกตั้งหรือดำเนินการไม่ครบถ้วน

เมื่อหัวหน้าพรรคการเมืองออกหนังสือรับรองการส่งผู้ได้รับการสรรหาแบบแบ่งเขต
เลือกตั้งหรือส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อแล้ว แม้ภายหลังจะปรากฏว่า
มิได้ดำเนินการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือดำเนินการไม่ครบถ้วน ไม่ทำให้การสมัครรับเลือกตั้ง
นั้นเสียไป แต่ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งทราบถึงการไม่ดำเนินการดังกล่าว ให้เป็นหน้าที่
ของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่จะต้องกล่าวโทษหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหาร
พรรคการเมืองนั้นต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งมีเขตอำนาจเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
(ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ
เลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี)
ผลของการไม่ดำเนินการสรรหาผู้สมัคร
รับเลือกตั้งหรือดำเนินการไม่ครบถ้วน

*** หัวหน้าพรรคการเมืองผู้ใดออกหนังสือรับรองการส่งผู้ได้รับการสรรหา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเป็นเท็จ ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 5 ปี
การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๑๕ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐


ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ไม่มีผลกระทบต่อการสรรหา
ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ
ที่มีอยู่แล้วในก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ หรือสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่แล้วในวันที่
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ
คำถาม?
1.เริ่มสรรหาผู้สมัครฯ ได้เมื่อใดและสิ้นสุดเมื่อใด

ตอบ ได้ตั้งแต่ก่อนมี พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. จนถึงวันเริ่มก่อนวันรับสมัคร ส.ส. (วันแรก)

2.ถ้าไม่มีการดำเนินการสรรหาผู้สมัครหรือดำเนินการไม่ครบถ้วน จะมีผลอย่างไร

ตอบ ไม่ทำให้การสมัครรับเลือกตั้งนั้นเสียไป (มาตรา 56) แต่หัวหน้าพรรคฯ และคณะกรรมการบริหารพรรคฯ


ต้องถูกดำเนินคดีตาม มาตรา 117 จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิ กถอนสิทธิ์
เลือกตั้ง 5 ปี

3.ถ้าหัวหน้าพรรคฯ ออกหนังสือรับรองเป็นเท็จ จะมีผลอย่างไร

ตอบ มีโทษตามมาตรา 120 จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาล


สั่งเพิ กถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 5 ปี
ขอบคุณครับ

You might also like